Rakkaew Foundation

Page 1

เชื่อมโยงพลังนิสิตนักศึกษาเพื่อชุมชน

รากแกว... พลังนักศึกษาเพื่อชุมชน


สะพานเชื่อมภูมิปญญาและวิทยาการ


มูลนิธิรากแกว สนับสนุนสงเสริม แลกเปลี่ยนเรียนรู เชื่อมโยงภาคีเครือขาย เผยแพรสูสาธารณะชน ปลูกฝังสำนึกจิตอาสาและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ให้แก่นิสิตนักศึกษา ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง โดยให้นิสิตนักศึกษาร่วมเรียนรู้กับชุมชน และดำเนินโครงการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน


ปลุกสำนึกจิตอาสา หวานตนกลาของแผนดิน


สารบัญ

กลุมเศรษฐกิจ และการพัฒนาผลิตภัณฑ ชาปา ปกาเกอญอ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

หนา 1

กลุมสังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง ขาวโพด โคนม วิถีชีวิตที่ผูกพัน ปลูกจิตสำนึกที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

หนา 5

ชาวนาศตวรรษที่ 21

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่

หนา 9

ตะกราเพาะฝน Mushrooms for much more จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หนา 13

บูรณาการงานวิจัย และนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัย สูการใชประโยชนอยางยั่งยืน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สกลนคร

หนา 17

กลุมอนุรักษสิ่งแวดลอม และพลังงานทดแทน พลังงานน้ำผลิตไฟฟา สวางทั่วทิศ พัฒนาคุณภาพชีวิตสูชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

หนา 21

สรางฝาย สรางน้ำ สรางปา สรางสิ่งมีคา คืนสูสังคม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

หนา 25

ศูนยการเรียนรูการจัดการขยะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หนา 29


1

กลุม่ เศรษฐกิจ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์

โครงการ

ชาปา ปกาเกอญอ มหาวิทยาลัยแมฟาหลวง

โครงการ ชาป า ปกาเกอญอ เป น โครงการที ่ ม หาวิ ท ยาลั ย แม ฟ  า หลวงได ด ำเนิ น กิจกรรมในการสงเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑชานอเหมอ ซึ่งเปนผลิตภัณฑหลักที่ สรางรายไดใหกับชุมชนบานหวยหินลาดใน เพื่อใหชาวบานมีรายไดที่มั่งคง สงเสริม อาชีพใหเกิดความยั่งยืนและสามารถถายทอดอาชีพและวิถีชีวิตที่พอเพียงแกเยาวชน คนรุนหลังใหสำนึกรักบานเกิด หวงแหนผืนปา และอยูรวมกับธรรมชาติอยางปกติสุข


โครงการชาป่า ปกาเกอญอ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

บ้านห้วยหินลาดใน เป็นหมูบ่ า้ นขนาดเล็ก มีประชากร 105 คน 20 ครัวเรือน ตั้งอยู่ในหุบเขากลางเขตอุทยาน แห่งชาติขนุ แจ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัด เชี ย งราย เป็ น ชุ ม ชนดั ้ ง เดิ ม ของชนเผ่ า ปกาเกอญอ อพยพมาจากประเทศจีนตอนใต้เพือ่ มาตัง้ ถิน่ ฐานใหม่เมือ่ 50 ปี ก ่ อ น ซึ ่ ง ดำรงชี ว ิ ต อยู ่ ร ่ ว มกั บ ป่ า อย่ า งรู ้ ค ุ ณ ค่ า มีความมุ่งมั่นในการสืบสานวิถีชีวิตและภูมิปัญญาไปยัง

2

เยาวชนรุน่ หลัง โดยเฉพาะความรูด้ า้ นวนเกษตร ภายใต้ การนำของปราชญ์ชุมชนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและมี แนวคิดในการอนุรักษ์ผืนป่าที่ได้รับการยอมรับในระดับ สากล จนได้รบั รางวัล “Hero of the Forest, zone Asia” จากองค์กรสหประชาชาติ จึงทำให้บา้ นห้วยหินลาดในมี ป่าทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ มีแหล่งอาหารและรายได้จากป่าชุมชน เนือ่ งจากมีใบชาอัสสัมขึน้ เองตามธรรมชาติ สมาชิกชุมชน ทุกครัวเรือนประกอบอาชีพผลิตใบชาจำหน่าย โดยเก็บ ใบชาอัสสัมมาผ่านกระบวนการแบบดั้งเดิมของชนเผ่า โดยการนำใบชามาผึ่ง คั่วด้วยเตาฟืน นวดเป็นเส้นและ ตากให้แห้ง เพือ่ ผลิตชาจำหน่ายภายใต้ชอ่ื ชา “นอเหม่อ” ให้กับคณะที่มาศึกษาดูงานหมู่บ้านและผู้สนใจ รวมถึง โรงงานชาในอำเภอเวียงป่าเป้า มารับซือ้ ใบชาสด และชา ของที่นี่เป็นประจำ ในแต่ละปีจะมีชาดิบส่งออกจาก หมู่บ้านมากกว่า 60,000 กิโลกรัม เพราะชาที่นี่มีรสชาติ สี กลิ่น ที่แตกต่างไปจากชาอื่นๆ ทั้งยังควบคุมปริมาณ ไขมันในเลือดและเป็นชาทีข่ น้ึ เองตามธรรมชาติ ไม่มกี าร ใช้สารเคมีใดๆ จึงจัดเป็นชาอินทรีย์ 100% ทีต่ ลาดกลุม่ คน รักสุขภาพต้องการอยูใ่ นปัจจุบนั เป็นจำนวนมาก โดยชุมชน ได้ประกอบอาชีพนี้มากว่า 10 ปี


3

กลุ่มเศรษฐกิจ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ผืนป่าบริเวณหมู่บ้านแห่งนี้เป็นทั้งลมหายใจ และ แหล่งอาหาร ทีเ่ ปรียบเหมือนห้างสรรพสินค้าของหมูบ่ า้ น ซึง่ ก็มใี ห้เลือกหามากมาย เช่น หน่อไม้หก น้ำผึง้ มะแขว่น มะขม ลูกเดือย ฯลฯ พวกเขาจึงถนอมผืนป่าดั่งชีวิต โดย มีการทำแนวกัน้ ไฟป่า มีการตรากฎป่าขึน้ จากคนในชุมชน เพื่อประโยชน์การใช้สอยจากป่าแบบยั่งยืน และเพื่อ ร่วมกันปกป้องผืนป่า ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของพวกเขา ชาวบ้านที่นี่กำหนดเขตเพาะปลูกไว้อย่างชัดเจน และ สอดคล้องกับทุกภูมนิ เิ วศน์ ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงความบริสุทธิ์ รายได้จาก การขายชานั้น จึงไม่ใช่เพียงเลี้ยงปากเลี้ยงท้องให้กับคน ในชุมชนแต่ยังเป็นทุนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาผืนป่าให้อดุ มสมบูรณ์เช่นเดิม โดยชุมชนร่วมกัน จัดตัง้ กองทุนชาธรรมชาติ เก็บจากรายได้จากการขายชา จากสมาชิกที่จำหน่ายชาได้ร้อยละ 20 เพื่อนำไปเป็นทุน ทำแนวกั น ไฟป่ า และทุนในการพัฒนาหมู่บ ้าน โดยมี ชาวบ้านเป็นผู้บริหารกองทุนเอง

รายไดจากการขายชานั้น จึงไมใชเพียง เลี้ยงปากเลี้ยงทองใหกับคนในชุมชน แตยังเปนทุน ในการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาผืนปาใหอุดมสมบูรณเชนเดิม

แม้จะมีความต้องการชานอเหม่อในท้องตลาด แต่ การเก็บรักษาผลผลิตให้อยูไ่ ด้นานนัน้ ยังคงเป็นปัญหาของ ชุมชนเนื่องจากขาดองค์ความรู้ในการผลิตชานอเหม่อ ให้มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ และเก็บรักษาได้นานขึ้น เดิมชุมชนใช้วิธีการผึ่ง นำไปคั่วในเตาฟืน และตากชาให้ แห้ง ซึ่งมีโอกาสปนเปื้อนจากฝุ่นละอองและแมลงพาหะ ต่างๆ ได้สูง และใช้ถุงพลาสติกธรรมดาบรรจุชา จึงเกิด ปัญหาชาขึ้นรา และทำให้อายุการเก็บรักษาสั้น เก็บได้

เพี ย ง 3-6 เดื อ น ในปี พ.ศ.2555 ทางมหาวิ ท ยาลั ย แม่ฟ้าหลวงได้นำองค์ความรู้จากสำนักวิชาอุตสาหกรรม เกษตรเข้ามาส่งเสริมให้ความรูช้ มุ ชนในเรือ่ งการปรับปรุง โรงผลิตชาให้ถูกสุขลักษณะตาม GMP แต่ไม่ขัดแย้งกับ วิถีชีวิตของชุมชน ทั้งนี้ยังจัดทำบรรจุภัณฑ์ชาโดยบรรจุ ในซองอลูมเิ นียมฟอยด์ซปิ ล็อค เพือ่ ให้ชามีคณ ุ ภาพและ เก็บรักษาได้นานยิง่ ขึน้ และพัฒนาการทำชาผงบรรจุถงุ ชง เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น


โครงการชาป่า ปกาเกอญอ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

4

ประชุมแผนงานโครงการ

ผลจากการดำเนินงานของทีมรากแก้ว มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2556 ที่ได้ ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากเดิมชุมชน มีรายได้จากการขายชาต่อปี 588,000 บาท เงินกองทุน ของชุมชน 58,000 บาท และหลังจากการดำเนินงาน

คาดว่าชุมชนจะมีรายได้จากการขายชาเพิ่มขึ้นเป็น 1,911,000 บาท และกองทุ น ชุ ม ชนมี เ พิ ่ ม ขึ ้ น เป็ น 199,000 บาท จากปี พ.ศ. 2545 ทั้งนี้เงินในกองทุน ดังกล่าวได้นำไปใช้ในการทำแนวกันไฟเพือ่ ป้องกันไฟป่า และอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของชุมชน

แผนการดำเนินงานในป พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทีมรากแก้ว มุ่งที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้และฝึกปฏิบัติให้กับกลุ่มเยาวชน เกี่ยวกับการผลิตชาให้ถูกสุขลักษณะ วิธีการตรวจสอบควบคุมคุณภาพชา และส่งเสริมให้ชุมชนสามารถ บริหารจัดการได้ด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สื่อถึงเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของหมู่บ้านห้วยหินลาดใน ใช้วัสดุที่หาง่ายจากภายในชุมชน เพื่อให้มีความน่าสนใจและสร้างเสริม อาชีพให้กับคนในหมู่บ้าน เป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชนรอบข้างในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างผาสุก ส่งผล ให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน


5

กลุม่ สังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการ

ขาวโพด โคนม

วิถีชีวิตที่ผูกพัน ปลูกจิตสำนึกที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี

จากผลการสำรวจขอมูลในป พ.ศ. 2550 การผลิตนมโคในประเทศไทยไมเพียงพอตอความ ตองการการบริโภคภายในประเทศ โดยในแตละปประเทศไทยยังตองมีการนำเขานมโค จากตางประเทศเปนปริมาณมาก และจากการสำรวจฟารมโคนมขนาดเล็ก สวนมาก จะมีการกระจายตัวอยูในแถบจังหวัดนครปฐม ซึ่งปญหาที่พบสวนใหญเกิดจากฟารม โคนมขนาดเล็กไมมมี าตรฐานในการจัดการดานสุขอนามัยและสิง่ แวดลอม สงผลกระทบ ใหมูลวัวไหลลงสูแหลงน้ำสาธารณะและแปลงเกษตรชุมชน ทำใหเกิดปญหากลิ่นเหม็น และการรบกวนจากแมลงวัน และพืชลมลุกมีอาการบาใบทำใหผลผลิตลดลง


ข้าวโพด โคนม วิถีชีวิตที่ผูกพัน ปลูกจิตสำนึกที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปี พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.) ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข ปัญหา โดยมีการจัดทำโครงการวิจัยการจัดการของเสีย จากฟาร์ ม โคนมขนาดเล็ ก แบบรวมศู น ย์ และการใช้ ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพ โดยริเริม่ โครงการ ณ ชุมชนบ้าน รางอีเหนียว หมูท่ ่ี 7 ตำบลหนองกระทุม่ จังหวัดนครปฐม โดยได้รับทุนนวมินทร์จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่ ง ชาติ (วช.) มุ ่ ง เน้ น การนำแนวพระราชดำริ ด ้ า น เศรษฐกิจพอเพียง และองค์ความรู้ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ไปดำเนินการสร้างเป็นชุมชนต้นแบบ และขยายผลสู่ชุมชนทั่วประเทศต่อไป ณ พืน้ ทีห่ มูท่ ่ี 7 บ้านรางอีเหนียว ตำบลหนองกระทุม่ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีเกษตรกรผู้เลี้ยง โคนมจำนวน 117 ราย มีจำนวนโคนม 2,726 ตัว ส่วนใหญ่ เป็นฟาร์มขนาดเล็ก คนในชุมชนมีเงินลงทุนไม่เพียงพอ และยังขาดทักษะในการจัดสร้างระบบบำบัดของเสีย จึง ทำให้น้ำล้างจากคอกไหลลงสู่พื้นที่การเกษตร ลำราง สาธารณะ ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางสังคมกับ เกษตรกรหมูท่ ่ี 5 บ้านหนองขโมย ซึง่ ปลูกข้าวโพดฝักอ่อน น้ำล้างคอกวัวส่งผลให้ข้าวโพดมีผลผลิตน้อยลงและ ทำให้นำ้ เกิดการเน่าเสีย เป็นแหล่งขยายพันธุแ์ มลงต่างๆ รบกวนชุมชนบริเวณนั้น อย่างไรก็ดีภาครัฐได้เข้ามาแก้ปัญหา แต่ด้วย โครงสร้างของภาครัฐที่มีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน เมื่อมีการมาติดตั้งบ่อหมักก๊าซชีวภาพในชุมชน ไม่ได้ มีการวางแผนและการถ่ายทอดความรู้การบำรุงรักษา บ่อหมักทีช่ ดั เจน ประกอบกับคนในชุมชนเองไม่มสี ว่ นร่วม ในโครงการตั้งแต่ต้น เมื่ออุปกรณ์เกิดการชำรุดเสียหาย ก็ไม่มกี ารซ่อมแซมอย่างถูกต้อง และถูกปล่อยปละละเลย ทำให้ปัญหาสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมูลวัว ยังคงไม่สามารถแก้ไขได้ พร้อมทั้งยังส่งผลถึงความ ขัดแย้งระหว่างชุมชนโดยเฉพาะชุมชนกลุม่ ทีท่ ำการเกษตร ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนและปลูกข้าวได้รับผลกระทบจาก น้ำล้างคอกวัวทำให้ผลผลิตลดลง

6

นักศึกษาชมรมรากแก้ว มจธ. ลงพืน้ ทีใ่ ห้ความรูน้ อ้ งๆ สรุปปัญหาที่พบในพื้นที่: 1. เศรษฐกิจ: ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวลดลง ทำให้ชาวบ้านต้องใช้ปยุ๋ เคมีเพิม่ ขึน้ ซึง่ ทำให้ตน้ ทุนสูงขึน้ 2. สิง่ แวดล้อม: มลพิษทางน้ำ ทีเ่ กิดจากน้ำล้างคอกวัว ไหลลงสูแ่ หล่งน้ำ เกิดกลิน่ เหม็น แมลงวัน ส่งผลให้ผลผลิต ทางการเกษตรในพื้นที่ลดลง และเกิดปัญหาสุขอนามัย ภายในชุมชนจนเกิดเป็นความขัดแย้งของคนภายในชุมชน 3. สังคม: เกิดความขัดแย้งและทรัพยากรในชุมชนที่มี อยูแ่ ล้วหรือได้รบั มาจากภาครัฐถูกปล่อยปละละเลย ไม่มี คนเห็นคุณค่าหรือรับผิดชอบดูแล ผลการดำเนินงานโดยชมรมรากแก้ว มจธ. ปี พ.ศ. 2555 - 2556 ชมรมรากแก้ว มจธ. ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ กลุ่มนักศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชา เน้นการผสาน พลังและความรู้หลากหลาย ที่จะสามารถตอบโจทย์เชิง บูรณาการของชุมชน ผ่านกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้กับภูมิปัญญาของคนในชุมชน เพื่อนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้รว่ มกันพัฒนาโครงการขึน้ ในปี พ.ศ. 2555 โดยมีเป้าหมาย คือ 1. การสร้างและพัฒนาให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2. กระตุ้นการเรียนรู้จากชุมชนสู่ชุมชน 3. การออกแบบกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน นักศึกษา และอาจารย์


7

กลุม่ สังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง

ในปี พ.ศ. 2556 ชมรมรากแก้ว มจธ. ได้ลงพืน้ ทีเ่ พือ่ ศึกษาสภาพชุมชน มีการเก็บข้อมูลข้อคิดเห็นคนในชุมชน และระบุทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ทั้งทางด้าน สังคม เศรษฐกิจ และสิง่ แวดล้อม เพือ่ นำข้อมูลมาวางแผน ร่วมกันกับทีมงานอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อวิเคราะห์และ ออกแบบกระบวนการที่จะตอบโจทย์ชุมชน ซึ่งจากการ วิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ทรัพยากรด้านสังคม ในพื้นที่มีหัวหน้าชุมชนที่ พยายามผลักดันให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและของเสียภายในครัวเรือน กลับมาใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร โดยมีการสร้างศูนย์ การเรียนรู้ “ทวีปญ ั ญา” ในตำบลเพือ่ ให้เกิดการเชือ่ มโยง องค์ความรูใ้ นแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ไม่วา่ จะเป็นการนำน้ำ ล้างคอกวัวไปหมักก๊าซชีวภาพเพื่อนำก๊าซดังกล่าวไปใช้ เป็นเชื้อเพลิงแทนก๊าซหุงต้ม การนำกากมูลหมักจาก บ่อก๊าซไปทำปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี การบริหารจัดการ วิสาหกิจชุมชนจำหน่ายปุ๋ยหมัก เป็นต้น ทรัพยากรด้านเศรษฐกิจ - ฟาร์มโคนมขนาดเล็ก กระจายตามบ้านเรือน ซึ่ง การผลิ ต ยั ง ไม่ ไ ด้ ม าตรฐาน ไม่มีการรวมศูนย์ ใ นการ บริหารจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพ - ในชุมชนมีองค์ความรูใ้ นการใช้ปยุ๋ อินทรียแ์ ทนปุย๋ เคมีอยูห่ ลากหลายตามแต่ละบ้าน โดยใช้เพือ่ ปรับสภาพดิน ทีเ่ สือ่ มสภาพจากการใช้ปยุ๋ เคมีมาเป็นเวลานาน โดยมีการ รวมกลุม่ เป็นวิสาหกิจชุมชนจากกลุม่ เกษตรอินทรีย์ ในการ จัดจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ไปสู่ชุมชนใกล้เคียงและตลาด ในจังหวัด แต่ยงั ไม่เป็นทีแ่ พร่หลายในชุมชน เนือ่ งจากคน ในชุมชนยังมีความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีเพราะหาซื้อได้ง่าย สะดวกรวดเร็วในการใช้ ทำให้คนในชุมชนยังไม่เห็นความ สำคัญในการรักษาสภาพดินในระยะยาว - ทรัพยากรด้านอื่นๆ ในพื้นที่มีบ่อก๊าซชีวภาพที่ถูก แจกจ่ายจากภาครัฐ แต่ไม่ได้ใช้งาน เนือ่ งจากขาดทักษะ ในการติดตัง้ ดูแล และซ่อมบำรุงบ่อก๊าซชีวภาพ แต่มคี นใน ชุมชนบางกลุ่มที่ร่วมกันจัดการผลิตก๊าซจำหน่ายในกลุ่ม เองเพือ่ ใช้ในการหุงต้มตามบ้านเรือน

จากข้อมูลดังกล่าวทีมนักศึกษารากแก้ว มจธ. ได้ ระดมสมองร่วมคิดกับอาจารย์ นักวิจยั และหัวหน้าชุมชน เพื่อนำไปสู่การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยมีความ คาดหวังให้ชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันอย่าง ต่อเนื่อง มีการคิดค้นและพัฒนาการใช้คุณค่าทรัพยากร ในชุมชนอย่างเป็นประโยชน์ ซึ่งการจะไปสู่เป้าหมาย ดังกล่าวต้องดำเนินการระยะยาวและต่อเนื่อง โดยมี ตัวกลางที่คอยช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ในชุมชน คือ ชมรมรากแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และอาจารย์ที่ปรึกษา โดยชมรมรากแก้ว มจธ. ได้ริเริ่มพัฒนาศูนย์การ เรียนรู้ “ทวีปัญญา” ให้สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ ต่างๆให้เป็นภาพรวมได้อย่างครบวงจร เพื่อนำไปใช้ ในการถ่ายทอด พร้อมทั้งช่วยวางแผนและดำเนินการ ประชาสั ม พั น ธ์ โ ดยออกแบบสื ่ อ ที ่ ส ามารถถ่ า ยทอด ความรู้ความเข้าใจไปสู่คนในชุมชนให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยการทำป้ายและเอกสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ สู ่ ช ุ ม ชน อี ก ทั ้ ง จั ด กิ จ กรรมให้ ค วามรู ้ แ ละพู ด คุ ย ทำ ความเข้าใจกับคนในชุมชนและเยาวชนในพื้นที่


ข้าวโพด โคนม วิถีชีวิตที่ผูกพัน ปลูกจิตสำนึกที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แผนการดำเนินงานระยะยาวของชมรมนักศึกษารากแก้ว :

1. ปี พ.ศ. 2555 เก็บข้อมูลวิเคราะห์ปัญหา และวาง เป้าหมายระยะยาวในการสร้าง “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” 2. ปี พ.ศ. 2556 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ออกแบบกระบวนการ การมีส่วนร่วม ในขั้นการสร้างการตระหนักรู้ของชุมชน 3. ปี พ.ศ. 2557 ทีมรากแก้วได้วางแผนปรับการดำเนินการ โดยจะเน้นการลงพื้นที่ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ กับชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านต่างๆ รวมทั้ง ประเมินและปรับปรุงกระบวนการ เพือ่ เพิม่ การตระหนักรู้ และความเข้าใจของชุมชน 4. ปี พ.ศ. 2558 สร้างแรงผลักดันให้ชุมชนสามารถเริ่ม เผยแพร่องค์ความรู้ไปสู่ชุมชนใกล้เคียง

บ่อก๊าซชีวภาพ

แผนการดำเนินงานในป พ.ศ. 2557 ในปี พ.ศ. 2557 ชมรมรากแก้ว มจธ. ได้วางแผนปรับการดำเนินการ โดยจะเน้นการลงพื้นที่ การแลกเปลี่ยน องค์ความรูต้ า่ งๆ กับชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมความรูด้ า้ นต่างๆ รวมทัง้ ประเมินและปรับปรุงกระบวนการ เพือ่ เพิ่มการตระหนักรู้ และความเข้าใจของชุมชนตามแผนการดำเนินงานดังนี้ 1

พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อเผยแพร่และขยายผลไปสู่เกษตรกรใน ชุมชนให้เกิดการยอมรับและนำไปใช้ อย่างน้อย 50 ราย

2

พัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารจัดการการใช้ก๊าซชีวภาพตามครัวเรือน โดยจัดตั้งกองทุนชุมชนเพื่อ ส่งเสริมการติดตั้งบ่อก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 10 ครัวเรือน

พัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนปุ๋ยอินทรีย์ให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น และขยายตลาดการจัดจำหน่ายปุ๋ย อินทรีย์ในตลาดทั่วไปหรือชุมชนใกล้เคียง อย่างน้อย 20 ราย 4 พัฒนาและส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้มีชุมชนที่ปลูกพืชผักปลอดสารพิษที่มีคุณภาพ มากขึ้นอย่างน้อย 20 ราย 3

งบประมาณในการจัดกิจกรรม: เพือ่ ดำเนินงานตามแผนงานปี พ.ศ. 2557 - 2558 ชมรมรากแก้ว มจธ. จึงใคร่ขอการสนับสนุนในการทำโครงการ ให้สำเร็จ โดยมีการวางแผนด้านงบประมาณเป็นจำนวน 163,400 บาท และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพือ่ บรรลุเป้าหมายในการพัฒนา บ้านรางอีเหนียว ตำบลหนองกระทุม่ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ให้เป็น ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และมีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่คนรุ่นต่อไป และแบ่งปัน ความรู้สู่ชุมชนอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนสามารถเป็นชุมชนต้นแบบในระดับประเทศได้

8


9

กลุม่ สังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการ

ชาวนาศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา ภาคพายัพ เชียงใหม

ประเทศไทยเปนประเทศเกษตรกรรม เปนแหลงผลิตอาหารที่สำคัญแหงหนึ่งของโลก เปน “อูขาวอูน้ำ” โดยเฉพาะขาวเปนพืชสำคัญที่หลอเลี้ยงคนไทยมาจนถึงปจจุบันนี้ และเปนสินคาสำคัญในการสงออก ซึง่ นำรายไดเขาประเทศถึงปละกวา 200,000 ลานบาท


ชาวนาศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยเทคโนโลโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่

ประโยคที่วาชาวนาก็เปนอาชีพที่ลำบาก ทำงานหนัก หลังสูฟาหนาสูดิน ไมมีศักดิ์ศรี และไมมีตำแหนงหนาตาในสังคม เปนประโยคที่ลูกชาวนามักไดยินมาตั้งแตเกิด

ประโยคที่ว่าชาวนาก็เป็นอาชีพที่ลำบาก ทำงาน หนัก หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ไม่มีศักดิ์ศรี และไม่มีตำแหน่ง หน้ า ตาในสั ง คม เป็ น ประโยคที ่ ล ู ก ชาวนามั ก ได้ ย ิ น มาตั้งแต่เกิด เสมือนเป็นคำสั่งสอนของพ่อแม่ชาวนาที่ บอกให้ลกู หลานให้หลุดพ้นจากวงจรชีวติ ชาวนา เนือ่ งจาก เป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้า อากาศ มีหนี้สินทั้งในและนอกระบบ ดังนั้นลูกหลาน ชาวนาในปัจจุบนั จึงไม่เห็นคุณค่าอาชีพชาวนา และดูถกู รากเหง้าของตัวเอง จึงทำให้เกิดปัญหาการละทิง้ ถิน่ ฐาน เข้าเมืองใหญ่ เหลือเพียงคนชราและเด็กอยู่ในพื้นที่ ทำ

10

ให้เกิดปัญหาครอบครัว และการไม่เห็นคุณค่าที่ดินของ บรรพบุรุษ เกิดการขายที่ดินให้นายทุน เนือ่ งจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ มีจำนวนนักศึกษาปีการศึกษา ประมาณ 10,000 คน ซึง่ ร้อยละ 90 เป็นลูกหลานเกษตรกร ดังนั้นทีมรากแก้วฯ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของ การปลูกฝังจิตสำนึกเพื่อให้นักศึกษาเหล่านี้เห็นความ สำคัญของอาชีพเกษตร เพื่อกลับมาทำประโยชน์ให้กับ ถิน่ เกิดของตนเอง ซึง่ จะทำให้ปญ ั หาสังคมต่างๆ ลดน้อยลง


11

กลุม่ สังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง

ทีมรากแก้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ จึงจัดทำโครงการ “ชาวนา ศตวรรษที ่ ๒๑” ขึ ้ น โดยมี ว ั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื ่ อ ปลู ก ฝั ง จิตสำนึกในการเห็นความสำคัญของอาชีพชาวนา และ ตระหนักถึงคุณค่าที่ดินของบรรพบุรุษ จึงได้เริ่มกิจกรรม จัดทำแปลงทดลองการปลูกข้าวอินทรีย์ร่วมกับชุมชน ในตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดย ได้รับความรู้จาก คุณศุภชัย ปิติวุฒิ กลุ่มชาวนาวันหยุด เพื่อแนะนำการทำนาสมัยใหม่ที่ลดต้นทุนการผลิตและ สามารถเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นการทำนา ทางเลือก ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้าง ความผูกพันธ์ระหว่างนักศึกษากับเยาวชนและเกษตรกร ที่เป็นชาวนา ทำให้นักศึกษาได้ซึมซับวิถีชีวิต เห็นความ สำคัญของอาชีพชาวนา


ชาวนาศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยเทคโนโลโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่

12

แผนการดำเนินงานในป พ.ศ. 2557-2558 แผนในระยะต่อไปจะเป็นการสร้างกระบวนการปลูกฝังจิตสำนึกโดยให้นักศึกษาและเยาวชนเป็นผู้มี บทบาทในการสร้างความมีส่วนร่วมในกระบวนการด้วยตนเอง โดยทางทีมรากแก้วร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา โครงการ วางแผนบรรจุกิจกรรม “ชาวนาศตวรรษที่ ๒๑” ลงในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ในรายวิชาเศรษฐกิจ พอเพียง ซึ่งเป็นรายวิชาบังคับเลือกนักศึกษาทุกคนจะต้องเรียน มีจำนวน 3 หน่วยกิต จัดรูปแบบกิจกรรม ในวิชาเรียนเป็น Project Base learning (PBL) โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาที่เรียนกลุ่มละ 10 คน ในหนึ่งห้อง มี 3 กลุ่ม ในปีแรก พ.ศ. 2557 จะนำนักศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน หรือ 30 กลุ่ม เข้าไปเรียนรู้วิถี ชีวิตชาวนาร่วมกับเยาวชนและเกษตร ตั้งแต่ระยะการบำรุงดิน จนถึงการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลผลิต โดย ให้นักศึกษา 1 กลุ่ม กับเยาวชน 1 คน และเกษตรกร 1 คน ร่วมกันดูแลพื้นที่นา 1 ไร่ นักศึกษาจะได้ปฏิบัต จริงทุกกระบวนการร่วมกับเยาวชน โดยจะทำนาอินทรีย์ด้วยเทคนิคการปลูกข้าวต้นเดียวแบบเปียกสลับแห้ง มีเกษตรกรผู้มีความเชียวชาญเป็นครูผู้ให้ความรู้และคำปรึกษา และเรียนรู้เรื่องราววัฒนธรรมประเพณีที่ เป็นวิถีชีวิตของชาวนาแห่งตำนานเมืองล้านนาไทย ในปีถัดไป พ.ศ.2558 ทางทีมรากแก้วฯ มีแผนจะขยายโครงการให้ครอบคลุมกับนักศึกษาทุกคนใน มหาวิทยาลัยฯ และส่งเสริมการทำนาอินทรีย์ขยายพื้นที่ไปในอำเภอที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอ ต่อจำนวนนักศึกษาที่จะเข้ามาเรียนรู้ เพื่อสร้างต้นกล้าแห่งความดีงาม เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ชาวนาไทย ในปัจจุบันหันมาปลูกข้าวอินทรีย์ เพื่อสุขภาพของตนเอง เป็นการลดต้นทุนในการผลิต และสามารถยกระดับ ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน เพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืน ดังนั้นทางโครงการมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณที่จะมาดำเนิน โครงการนี้ ในระยะต่อไปจำนวน 200,000 บาท เพื่อเป็นการสร้างกิจกรรมที่สอดแทรกกระบวนการปลูกฝัง จิตสำนึกที่ดีงามให้กับเหล่าต้นกล้าที่เป็นอนาคตของชาติในวันข้างหน้าต่อไป โครงการ “ชาวนาศตวรรษที่ ๒๑” เป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะร่วมส่งเสริมให้ปัญหาการละทิ้งถิ่นฐาน หมดไปจากแผ่นดิน ภาคเกษตรกรรมได้มีคนมาสืบทอดในวิถีชีวิตอันมีมาแต่โบราณ และจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะคอยปกป้องมิให้ผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ ที่แลกมาด้วยเลือดเนื้อและหยาดเหงื่อของบรรพชน ต้องตก ไปอยู่ในมือของผู้ที่มิรู้ค่าของแผ่นดิน โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่มีชีวิตไม่ต้องอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม


13

กลุ่มสังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการ

ตะกราเพาะฝน

Mushrooms for Much More จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

โครงการตะกราเพาะฝน “Mushrooms for Much More” เปนโครงการที่ทีมรากแกว จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเลือกนำเอาผักตบชวาวัชพืชน้ำมาสรางสรรคประโยชนดาน ตาง ๆ โดยผสานความรูดานการเกษตร การบัญชีและการบริหารจัดการของทีมมาสราง รายไดใหกบั นักเรียนโรงเรียนในจังหวัดนครปฐมและชวยลดปญหาสิง่ แวดลอมไดอยางลงตัว


ตะกร้าเพาะฝัน Mushrooms for much more จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14

โรงเรียนมีงบประมาณไมเพียงพอที่จะสนับสนุน ทางดานการศึกษาตลอดจนขาดแคลนอุปกรณ การเรียนที่จำเปน

โรงเรียนวัดศรีวสิ ารวาจาเป็นโรงเรียนระดับชัน้ อนุบาล ถึงชั้นปฐมศึกษามีพื้นที่ 18 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองนางแช่ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม สังกัด สำนั ก งานคณะกรรมการการประถมศึ ก ษาแห่ ง ชาติ กระทรวงศึกษาธิการ มีนักเรียนทั้งหมด 118 คน และ ครูจำนวน 9 คน นักเรียนส่วนมากมีฐานะยากจน ขาด ทุนทรัพย์ ครอบครัวแตกแยก และโรงเรียนมีงบประมาณ ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนทางด้านการศึกษาตลอดจน ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนที่จำเป็น นอกจากนี้อาคาร เรียนยังทรุดโทรมเนื่องจากโรงเรียนขาดงบประมาณ ซ่อมแซม สภาพแวดล้อมของโรงเรียนเต็มไปด้วยขยะ และลำคลองหลังโรงเรียนเต็มไปด้วยวัชพืชผักตบชวา เสี ่ ย งต่ อ การเกิ ด น้ ำ เน่ า เสี ย ที ่ อ าจส่ ง ผลต่ อ สุ ข ภาพ ของคนในชุ ม ชนที ม รากแก้ ว จุ ฬ าฯ จึ ง เสนอแนวทาง การแก้ปญ ั หาของโรงเรียนวัดศรีวสิ ารวาจาด้วยกลยุทธ์ 4C Clean - Craft - Commodity - Center of Knowledge คือ

“Clean” สร้างนิสยั รักสะอาด โดยปลุกจิตสำนึกให้ นักเรียนเห็นคุณค่าของการรักษาความสะอาดและอนุรกั ษ์ สิ ่ ง แวดล้ อ มภายในโรงเรี ยนผ่ านกิ จ กรรม Clean-up Day ที ่ ท ี ม รากแก้ ว จุ ฬ าฯ ประสานงานจั ด ขึ ้ น เพื ่ อ เชื่อมโยงให้ผู้อำนวยการ ครู และนักเรียนมีส่วนร่วมกัน ทำความสะอาดโรงเรียน ปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียน ให้สวยงามสะอาดตา เล่นเกมส์สนุกสนานและมีสาระ เพื่อสอนให้นักเรียนรู้จักการคัดแยกขยะ “Craft” เสริมทักษะสร้างผลิตภัณฑ์ ทีมรากแก้ว จุฬาฯ สอนให้นักเรียนเรียนรู้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ โดยการนำวัสดุเหลือใช้ภายใน โรงเรียนมาสร้างคุณค่า ได้แก่ นำผักตบชวาซึ่งแต่เดิม เป็นเพียงวัชพืชไร้คา่ และก่อให้เกิดน้ำเน่าเสียในลำคลอง หลังโรงเรียน มาใช้ประโยชน์ในการเพาะเห็ดฟาง ทีม รากแก้ วจุ ฬ าฯ ได้ น ำเทคโนโลยี การเพาะเห็ ด ฟางใน


15

กลุ่มสังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง

ให้กบั ครู ผูป้ กครอง และตลาดบริเวณใกล้เคียง ในขัน้ แรก ที ม วางแผนกิ จ กรรมการเพาะเห็ ด ในตะกร้ า สำหรั บ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 60 คน โดย ให้นักเรียนแต่ละคนเพาะเห็ดคนละ 1 ตะกร้า รวม 60 ตะกร้า เห็ด 1 ตะกร้าจะให้ผลผลิต 1 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย และให้ผลผลิตอย่างน้อย 2 ครั้งภายใน 1 เดือน ต้นทุน คือเชือ้ เห็ดราคาประมาณ 10-15 บาทต่อก้อน ราคาขาย เห็ดฟางในตลาดปัจจุบนั อยูท่ ่ี 90 บาทต่อกิโลกรัม ดังนัน้ หากโรงเรียนนำเห็ดฟางไปขายทัง้ หมดเท่ากับว่าโรงเรียน จะมี ร ายได้ 10,800 บาทต่ อ เดื อ น ซึ ่ ง สามารถนำไป จัดซื้ออาหารกลางวันสำหรับนักเรียน 540 จาน ใน 1 สัปดาห์ หรือซื้อสมุดโน้ต 1,080 เล่ม นอกจากนี้ ทีม รากแก้วจุฬาฯ จะช่วยโรงเรียนวางแผนการบริหารจัดการ สินค้า แนะนำช่องทางการตลาดออนไลน์ ออกแบบโลโก้ และพั ฒ นารู ป แบบบรรจุ ภ ั ณ ฑ์ ส ำหรั บ เห็ ด ฟางและ ผลิ ตภั ณฑ์ อ ื ่ น ๆ โดยใช้ วั ส ดุ ธรรมชาติ ท ี ่ ส วยงามและ ดึงดูดความสนใจของตลาด โรงเรียนจะเป็นผูด้ แู ลรายได้ “Commodity” สร้างรายได้ด้วยผลิตภัณฑ์ ทีม จากผลิตภัณฑ์และนำไปแบ่งปันให้นักเรียนในโครงการ รากแก้วจุฬาฯ จะสร้างรายได้ให้นักเรียนและโรงเรียน ในรู ป ของขนม อาหาร อุ ป กรณ์ การเรี ยน หรื อ นำไป โดยนำเห็ดที่เพาะจากตะกร้าผักตบชวาไปจัดจำหน่าย สมทบทุนการพัฒนาด้านการสอน

ตะกร้าที่ค้นพบโดย อ.สำเนาว์ ฤทธิ์นุช จากวิทยาลัย เกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท มาถ่ายทอดให้นักเรียน โดยนำผักตบชวามาทำเป็นตะกร้าและใช้เป็นส่วนผสม วัสดุสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ขั้นตอนการเพาะ เห็ดฟางเริ่มจากการนำฟางข้าว ผักตบชวา และเชื้อเห็ด ใส่ในตะกร้าผักตบชวาเป็นชั้น ๆ 3 ชั้น ตามลำดับ และ คลุมด้วยฟางชั้นบนสุด จากนั้นนำตะกร้าเพาะเห็ดไปใส่ ไว้ในกระโจมที่คลุมด้วยพลาสติกใส ควบคุมอุณหภูมิ ประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส ประมาณ 7-8 วั น ก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ การเพาะเห็ดวิธีนี้ไม่ต้อง ใช้พื้นที่มาก ทำได้ง่าย นักเรียนระดับชั้นประถมสามารถ ทำได้ ลงทุนต่ำ ได้ผลผลิตรวดเร็ว เห็ดฟางยังเป็นพืช เศรษฐกิจที่เป็นที่ต้องการของตลาดด้วย ทีมยังได้รับคำ แนะนำจากอาจารย์ ปราโมทย์ ไทยทัตกุล ศูนย์รวม สวนเห็ดบ้านอรัญญิก ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนา การเพาะเห็ดด้วยส่วนผสมและวัสดุอื่นๆ ด้วย


ตะกร้าเพาะฝัน Mushrooms for much more จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

16

ที่มีจำนวนมากในลำคลองหลังโรงเรียน ช่วยปรับปรุง ทัศนียภาพให้ดขี น้ึ และลดการเกิดน้ำเน่าเสีย ยังนับเป็น การกำจัดขยะทีม่ ปี ระสิทธิภาพและไม่สน้ิ เปลืองค่าใช้จา่ ย แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือโครงการนี้ได้ปลูกฝังให้นักเรียน ใช้ชีวิตบนพื้นฐานของหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยสอน ให้ น ั ก เรี ย นนำวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ ม าแปรรู ป ให้ เ กิ ด คุ ณ ค่ า ทางเศรษฐกิจ สอนให้นักเรียนรู้คุณค่าของการทำงาน หาเงินมาด้วยน้ำพักน้ำแรง และคุณค่าของการทำประโยชน์ เพื่อส่วนรวมหรือโรงเรียน นักเรียนจะสามารถนำความรู้ นอกจากผลลัพธ์ทเ่ี กิดขึน้ ทางด้านเศรษฐกิจ การนำ ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับ ผักตบชวามาใช้ประโยชน์ยงั ช่วยกำจัดปริมาณผักตบชวา ครอบครัวได้ในอนาคต

“Center of Knowledge” สร้างศูนย์การเรียนรู้ ต้นแบบการเพาะเห็ดฟาง ทีมรากแก้วจุฬาฯ มีเป้าหมาย ทีจ่ ะพัฒนาให้เกิดระบบการบริหารจัดการการเพาะเห็ดฟาง ในตะกร้าของโรงเรียนวัดศรีวิสารวาจาที่ครอบคลุมทั้ง การบริหารการผลิต การจัดการสินค้า การจัดการตลาด การบริหารการเงิน และการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยมุ ่ ง เน้ น ให้ น ั ก เรี ย นในโรงเรี ย นเข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว ม ในทุกกิจกรรม กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการ เพาะเห็ดฟางในตะกร้าประจำชุมชนบ้านหนองนางแช่

แผนการดำเนินงานในป พ.ศ. 2557 ทีมมีแผนการดำเนินงานในระยะยาวที่จะขยายโครงการไปยังอีกหลายโรงเรียนที่มีนักเรียนฐานะยากจนใน ละแวกใกล้เคียง ได้แก่ โรงเรียนวัดหุบรัก โรงเรียนวัดหว้าเอน และอื่นๆ เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนที่เปรียบเสมือน รากแก้วในชุมชนเหล่านั้นเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรงของสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน


17

กลุม่ สังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการ

บูรณาการงานวิจัย

และนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัย สูการใชประโยชนอยางยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สกลนคร

ในหลวงทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนจังหวัดสกลนครเพื่อแกปญหาเรื่องความยากจน แกพสกนิกรครั้งแรกในป พ.ศ. 2524 ประชากรสวนใหญในจังหวัดสกลนครประกอบ อาชีพเกษตรกรรม ปลูกขาว ปลูกพืชผักตามฤดูกาล และเลี้ยงปลาเปนอาชีพเสริม จังหวัดสกลนครประสบปญหาดินขาดความอุดมสมบูรณเนื่องจากสภาพดินเค็มและ การใชสารเคมีในการเกษตร


บูรณาการงานวิจยั และนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัย สูก่ ารใช้ประโยชน์อย่างยัง่ ยืน ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สกลนคร

18

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพน้ื ทีป่ ระสบปญหาดินเค็ม 1 ใน 3 ของภาค สงผลใหผลผลิตทางการเกษตรต่ำ ตนทุนการเกษตรสูง ยิง่ ไปกวานัน้ สภาพอากาศทีแ่ หงแลงทำใหเกิดผลกระทบตออาชีพเลีย้ งปลา ของเกษตรกรทีต่ อ งใชนำ้ ในปริมาณมาก

นำงานวิ จ ั ย และนวั ต กรรมเรื ่ อ ง “ปลาเข็ ง ยั ก ษ์ จ าก นวัตกรรมสู่เชิงพานิชย์ (ปลาหมอไทยเพศเมีย)” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โฆษิต ศรีรภูธร และคณะได้ คิดค้นนวัตกรรมเพาะพันธุ์ปลาหมอไทยเพศเมียโดย การคัดพันธุ์โดยใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน และนำฮอร์โมน เอสโตรเจนผสมอาหาร ว่าเป็นวิธแี ปลงเพศปลาหมอไทย ที่เหมาะสม เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ ปลาที่ได้จะเลี้ยงง่าย โตเร็ว มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเลี้ยง ได้จำนวนหนาแน่นมากกว่าปกติ ใช้ปริมาณน้ำในการ เลี้ยงน้อยกว่าปลาชนิดอื่นถึง 3 เท่าโดยไม่ต้องเปลี่ยน น้ำเลี้ยงบ่อย นอกจากนี้ผลการวิจัยระบุว่าน้ำจากการ เลีย้ งปลาหมอไทยฯ อุดมไปด้วยธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซี่ยม ในปริมาณสูงกว่าน้ำเลี้ยงปลาทั่วไป หาก ที มรากแก้ วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ปล่อยน้ำนี้ลงสู่นาข้าวหรือพื้นดิน สามารถช่วยเพิ่ม อี ส าน วิ ท ยาเขตสกลนคร ประกอบด้ ว ยนั ก ศึ ก ษา แร่ธาตุในดิน ตลอดจนช่วยเจือจางความเค็มในดิน และ และคณาจารย์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ จึงได้ร่วมกัน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ประสบปัญหา ดินเค็ม 1 ใน 3 ของภาค หรือประมาณ 17.8 ล้านไร่ ปัญหา ดังกล่าวส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรต่ำ ต้นทุนการ เกษตรสูง ยิ่งไปกว่านั้นสภาพอากาศที่แห้งแล้งทำให้ เกิดผลกระทบต่ออาชีพเลี้ยงปลาของเกษตรกรที่ต้อง ใช้น้ำในปริมาณมาก รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรอยู่ที่ ประมาณ 200 บาทต่อวัน หนีส้ นิ เฉลีย่ อยูท่ ่ี 50,000 บาท ต่อครัวเรือน ชุมชนละทิ้งถิ่นฐานเพื่อเข้าไปทำงานใน เมืองใหญ่ เหลือเด็กและคนชราอยู่ในชุมชน ขาดการ ดูแลเอาใจใส่ ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมต่างๆ ตามมา หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมจะทำให้ปัญหา ทวีความรุนแรงมากขึ้น


19

กลุม่ สังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง

ทีมรากแก้วฯจึงได้นำองค์ความรู้และวิธีเพาะพันธุ์ ปลาหมอไทยแปลงเพศนี้มาเผยแพร่เพื่อแก้ปัญหาให้แก่ เกษตรกรในจังหวัดสกลนครอย่างบูรณาการ โดยร่วมมือ กับสำนักงานประมงจังหวัดสกลนคร และธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสกลนครคัดเลือกตัวแทน เกษตรกรที่มีหนี้สินจากการเกษตรจำนวน 60 คนจาก 18 อำเภอในจังหวัดสกลนคร เพื่อเข้าร่วมอบรมส่งเสริม ความรูใ้ นการเพาะพันธุ์ การเลีย้ งและดูแลปลาหมอไทยฯ และแนะนำให้เกษตรกรนำน้ำจากการเลีย้ งปลาหมอไทยฯ มาใช้ในการปลูกข้าวและพืชอื่นๆ เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี จากเดิมได้ 60-100% นอกจากเป็นการรักษาสิง่ แวดล้อม ในทางตรงด้วยวิธีธรรมชาติแล้ว ยังสามารถลดต้นทุน ในการปลู ก ข้ า วและพื ช อื ่ น ๆ และเกษตรกรสามารถ ประกอบเป็นอาชีพเสริมเพิม่ รายได้ ช่วยยกระดับคุณภาพ ชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น

อนึ่ง ข้อมูลทางวิชาการระบุว่าเนื้อปลาหมอไทย ให้โปรตีนมากกว่าเนือ้ ไก่และเนือ้ หมูเกือบเท่าตัว มีไขมัน ต่ำกว่า 30 เท่า กรดไขมันที่ได้จากเนื้อปลาเป็นกรด ไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ถึง 2 เท่าของกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นสาเหตุของโรคหลอด เลือดหัวใจตีบตัน สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย มี แคลเซียมและฟอสฟอรัสมากกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น เนื้อ ปลาหมอไทยสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย ชนิด เช่น ย่าง ต้มยำ ฉูฉ่ ่ี ทอด รวมทัง้ ปลาหมอแดดเดียว จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โดยราคาปลาหมอไทย ขยับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นทีมรากแก้วฯจึงได้ให้ความรู้ แก่เกษตรกรเรื่องการแปรรูปผลผลิตจากปลาหมอฯเพื่อ เพิ่มมูลค่าของปลาหมอไทยฯ

ผลสำเร็จของการดำเนินการของทีมรากแก้วตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปี พ.ศ. 2556 ทำให้จำนวนเกษตรกร ที่เลี้ยงปลาหมอไทยฯ เพิ่มขึ้น และเกษตรกรมีรายได้ นอกจากนี้ทีมรากแก้วยังเข้าไปร่วมเรียนรู้วิธีเลี้ยง เพิ่มขึ้นประมาณ 7,500 บาทต่อเดือน นอกจากนี้น้ำ ปลาที่ถูกวิธีกับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การ จากการเลี้ยงปลาหมอไทยฯ ยังช่วยบำรุงคุณภาพดิน อบรมการเพาะพันธุ์ลูกปลา การเลี้ยงและการดูแลที่ ทำให้ เ กษตรกรลดต้ น ทุ น การใช้ ส ารเคมี ใ นทำนาลง ถูกต้อง จนถึงการจัดจำหน่าย และได้นำเครื่องมือวัด จากเดิม 4,500 บาทต่อไร่ เหลือ 3,500 บาทต่อไร่ ผล คุณภาพน้ำมาแนะนำให้เกษตรกรใช้วัดระดับออกซิเจน ประโยชน์รวมที่เกษตรกรแต่ละรายได้รับเพิ่มขึ้นเท่ากับ ในน้ำ ความเป็นกรดด่าง เพื่อที่จะสามารถควบคุมดูแล 100,000 บาท ต่อปี ทำให้เกษตรกรในโครงการมีคณ ุ ภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น คุณภาพน้ำได้ด้วยตนเอง


บูรณาการงานวิจยั และนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัย สูก่ ารใช้ประโยชน์อย่างยัง่ ยืน ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สกลนคร

แผนการดำเนินงานในป พ.ศ. 2557 ทีมรากแก้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร มีแผนที่จะดำเนินการขยายผล การดำเนินงานในปี พ.ศ. 2557 ดังนี้ 1. คัดเลือกเกษตรกรเพิ่มจำนวน 60 คนจาก18 อำเภอในจังหวัดสกลนคร เพื่อส่งเสริมให้เลี้ยงปลาหมอ ไทยฯ เป็นอาชีพ 2. ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาหมอไทยฯออกจำหน่าย เพือ่ สร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั ปลาหมอไทยฯ โดยนำมาแปรรูปเป็นปลาหมอแดดเดียว ปลาหมอแห้ง และน้ำพริกปลาหมอย่าง อีกทั้งมีแผนจะจัดตั้งกลุ่ม แปรรูปปลาหมอขึ้น 3. ดำเนินการเพาะพันธุ์ลูกปลาหมอไทยจำนวน 3, 500, 000 ตัว เพื่อมอบให้เกษตรกรใน “โครงการ ยกระดับรายได้ของเกษตรกร” ตามนโยบายของทางจังหวัดสกลนคร เพื่อนำไปประกอบอาชีพต่อไป อนึ่ง ทีมฯได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการจากสำนักงานผู้ว่าจังหวัดสกลนครมาบางส่วน แล้วแต่ยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินโครงการตามแผนงาน และจำเป็นต้องใช้งบประมาณอีก 300,000 บาท เพื่อส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลาหมอไทยฯให้แก่เกษตรกรทั้งหมดในจังหวัดสกลนครที่สนใจและผ่านการ คัดเลือกจากสำนักงานประมงจังหวัดสกลนคร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสกลนคร โครงการนี ้ ค งเป็ น หนึ ่ ง ในอี ก หลายโครงการที ่ จ ะช่ ว ยแบ่ ง เบาภาระงานที ่ แ สนเหน็ ด เหนื ่ อ ยของ พระองค์ท่าน ให้พสกนิกรในจังหวัดสกลนครได้พอมีพอกินอย่างพอเพียง สามารถยกระดับดัชนีแห่งความสุข ของประเทศไทยให้สูงขึ้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วนดั่งพระราชดำรัส “...ความสามัคคี ปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้อง สองประการนี้ คือ คุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคง มาตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน...” (พระราชดำรัส พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2532)

20


21

กลุม่ สังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการ

พลังงานน้ำผลิตไฟฟา

สวางทั่วทิศ พัฒนาคุณภาพชีวิตสูชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

โครงการ “พลังงานน้ำผลิตไฟฟา สวางทั่วทิศ พัฒนาคุณภาพชีวิตสูชุมชน” เปน โครงการที่ทีมรากแกว มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำงานวิจัยการผลิตไฟฟาดวย พลังงานน้ำไปชวยหมูบานลาคอซูแก อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ที่ใชชีวิตอยู ทามกลางความมืดมานานกวา 30 ป ใหสามารถผลิตไฟฟาใชไดเอง


พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้า สว่างทัว่ ทิศ พัฒนาคุณภาพชีวติ สูช่ มุ ชน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

22

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักทำสวนยาง

ชาวบานตองใชไฟฉายคาดศีรษะเพือ่ ใหแสงสวาง เมือ่ ออกไปกรีดยางและสองกบตอนกลางคืน สวนเด็กๆ ตอง ทำการบาน อานหนังสือโดยใชตะเกียงแกส ชาวบานประกอบพิธกี รรมทางศาสนาทามกลางความมืด

หมูบ่ า้ นลาคอซูแกเป็นหมูบ่ า้ นทีต่ ง้ั อยูบ่ นทีล่ าดเชิงเขา ห่างจากตัวเมืองจังหวัดยะลา 30 กิโลเมตร มีประชากร 50 ครัวเรือน หรือประมาณ 300 คน อาชีพหลักทำสวน ยางพาราและสวนผลไม้ นับถือศาสนาอิสลาม ชาวบ้าน มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 75,000 บาทต่อปี อยู่ในกลุ่ม ฐานะค่อนข้างยากจนเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยรายได้ ของคนในภาคใต้ หมู่บ้านลาคอซูแกเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในจังหวัดยะลาที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากปัญหาการ คมนาคมที่ลำบาก เส้นทางเข้าหมู่บ้านเป็นทางลูกรังขึ้น เขาระยะทางกว่ า 10 กิโลเมตรทำให้เ จ้าหน้าที ่ รั ฐ ไม่ สามารถเข้ามาติดตั้งเสาไฟฟ้าได้ การดำเนินชีวิตของ ชุมชนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ชาวบ้านต้องใช้ ไฟฉายคาดศีรษะเพื่อให้แสงสว่างเมื่อออกไปกรีดยาง และส่องกบตอนกลางคืน ส่วนเด็กๆ ต้องทำการบ้าน อ่านหนังสือโดยใช้ตะเกียงแก๊ส ชาวบ้านประกอบพิธกี รรม ทางศาสนาท่ามกลางความมืด


23

กลุม่ สังคม เกษตร และเศรษฐกิจพอเพียง

ในปี พ.ศ. 2555 จากการสำรวจพืน้ ทีห่ มูบ่ า้ น นักศึกษา และคณาจารย์พบว่าหมู่บ้านลาคอซูแกมีศักยภาพใน การผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ เนื่องจากตั้งอยู่บนเขาสูง มี น้ำไหลเพียงพอที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ นักศึกษาและ คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ภาควิชาฟิสิกส์ จึงได้ร่วม กันวิจยั และสร้างเครือ่ งผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำต้นแบบขึน้ โดยดัดแปลงมอเตอร์เครื่องซักผ้าเก่า มาทำเป็นมอเตอร์ ติดใบพัด และต่อท่อน้ำจากแม่น้ำเข้าเครื่อง แรงดันจาก น้ำที่ไหลมาจากที่สูงจะไหลผ่านใบพัดของมอเตอร์ทำ ให้ใบพัดหมุน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,000 วัตต์ เพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้าได้ใน 1 ครัวเรือน มีต้นทุนการ ผลิตเครื่องละ 15,000 บาท ในการดำเนินงานระยะแรก ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิรากแก้วและมหาวิทยาลัย ราชภัฎยะลา สามารถติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงาน น้ำได้จำนวน 3 เครื่อง

อย่างไรก็ตามชาวบ้านหมูบ่ า้ นลาคอซูแกส่วนใหญ่ยงั ไม่ได้รบั ประโยชน์จากเครือ่ งผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำต้นแบบ ทีมรากแก้วจึงร่วมกันออกแบบและสร้างเครื่องผลิต ไฟฟ้าพลังงานน้ำระบบสถานีชาร์จไฟฟ้า (Charging Station) จำนวน 5 เครื่องให้กับชุมชน เพื่อให้ชาวบ้าน สามารถนำแบตเตอรี่และถ่านชาร์จมาเสียบเพื่อสำรอง

ไฟฟ้ากลับไปใช้ในครัวเรือนได้ นอกจากนี้ ทีมรากแก้ว ได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการระบบฯ ถ่ายทอด ความรู้ในการติดตั้งเครื่อง การใช้งาน การซ่อมบำรุง เครื่อง และความรู้เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เพื่อ ให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการและดูเลรักษาเครื่องฯ ได้ด้วยตนเอง


พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้า สว่างทัว่ ทิศ พัฒนาคุณภาพชีวติ สูช่ มุ ชน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ผลลัพธ์จากการดำเนินงานของทีมรากแก้วทำให้ ชาวบ้านลาคอซูแกมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี น้ึ จากการมีไฟฟ้าใช้ สามารถลดค่าใช้จา่ ยด้านพลังงานของหมูบ่ า้ น จากการลด การซือ้ น้ำมันก๊าซเพือ่ นำมาจุดตะเกียง และการเปลีย่ นมา ใช้ถ่านชาร์จสำหรับส่องไฟกรีดยางพารา ซึ่งมีศักยภาพ ในการส่ อ งสว่ า งได้ น านกว่ า ถ่ า นปกติ จึ ง ทำให้ ก าร ประกอบอาชีพกรีดยางเป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่น มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้คนในชุมชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูล

24

ข่าวสารจากโทรทัศน์หรือวิทยุ สามารถประกอบพิธกี รรม ทางศาสนาภายใต้แสงจากหลอดไฟได้เป็นอย่างดี เด็กๆ สามารถอ่านหนังสือและทำการบ้านได้สะดวกยิง่ ขึน้ และ เมื่อมีไฟฟ้า คนในชุมชนก็มีเวลาทำกิจกรรมพบปะกัน ในยามค่ ำ คื น มากขึ ้ น ความสามั ค คี ความรั ก ความ อบอุ่นจึงเกิดขึ้น ในด้านสิ่งแวดล้อมนั้น คนในชุมชนยัง ได้เรียนรูท้ จ่ี ะอนุรกั ษ์แหล่งน้ำและป่าไม้ซง่ึ เป็นทรัพยากร สำคัญที่ทำให้ชาวบ้านบ้านลาคอซูแกมีไฟฟ้าใช้

แผนการดำเนินงานในป พ.ศ. 2557 1

เพิ ่ มประสิทธิภ าพเครื่องผลิต ไฟฟ้าพลั ง งานน้ ำ โดยวิ จ ั ยและพั ฒ นาให้ ส ามารถผลิ ตไฟฟ้ า ให้ ส ู ง กว่ า 1,000 วัต ต์ เพื่อทำให้ค นในชุม ชนสามารถนำแบตเตอรี ่ ม าชาร์ จ ไฟได้ เ พิ ่ ม ขึ ้ น

2

วิ จั ย เพื ่ อหาวิธีนำแบตเตอรี่เ ก่ามาใช้ ใ หม่ เพื ่ อ ลดต้ น ทุ น ในการซื ้ อ แบตเตอรี ่ ใ ห้ กั บ ชุ ม ชน

3

ขยายผลการดำเนิ น งานสู ่ ห มู ่ บ ้ า นที ่ ไ ม่ ม ี ไ ฟฟ้ า ใช้ ใ น 3 จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ รวมถึ ง หมู ่ บ ้ า น ที ่ มี ไ ฟฟ้ าใช้แต่สนใจพัฒนาการผลิต ไฟฟ้ าจากพลั ง งานน้ ำเพื ่ อ ลดรายจ่ าย โดยนำโมเดลเครื ่ อ ง ผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำต้นแบบ สถานีชาร์จไฟฟ้า และการบริหารจัดการระบบที่ดีไปประยุกต์ใช้ ทั ้ ง นี ้ จะเริ่มดำเนินงานก่อนในหมู่บ ้านโล๊ ะจั ง กระ อำเภอตะโหมด จั ง หวั ดพั ท ลุ ง

เพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงการในปี พ.ศ. 2557 ทีมรากแก้วจะต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงาน เป็ น จำนวน 300,000 บาท


25

กลุม่ อนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม และพลังงานทดแทน

โครงการ

สรางฝาย สรางน้ำ สรางปา สรางสิ่งมีคา คืนสูสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา ลำปาง

โครงการ “สรางฝาย สรางน้ำ สรางปา สรางสิ่งมีคา คืนสูสังคม” เปนโครงการที่ทีม รากแกว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา ลำปาง รวมมือกับภาคี ในการสราง ฝายชะลอน้ำและการปลูกปา เพือ่ สรางความชุม ชืน้ คืนความอุดมสมบูรณ ใหกบั ปามอน พระยาแช ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และแกไขปญหาหมอกควันที่เกิดขึ้น ในจังหวัดลำปาง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาปาของคนในชุมชน มานานกวา 5 ป

สถานการณ์การเกิดภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติในจังหวัด ลำปางที่น่าเป็นห่วงได้แก่ ปัญหาหมอกควันและไฟไหม้ ป่า อันมีสาเหตุมาจากการการเผาป่าของคนในชุมชน ใกล้เคียง เพื่อการล่าสัตว์ การหาของป่านำไปยังชีพและ จำหน่าย การเผาพื้นที่เพื่อเตรียมทำการเกษตร เช่น ไร่ อ ้ อ ย ไร่ ข ้ า วโพด และตอซั ง ในนาข้ า ว รวมถึ ง การ ครอบครองพื ้ น ที ่ ป ่ า เพื ่ อ ใช้ ท ำประโยชน์ อ ื ่ น ๆ ในช่ ว ง ฤดูหนาวของทุกปี ในเขตอำเภอเมืองลำปางจะเต็มไป

ด้วยหมอกควัน ในช่วงที่มีหมอกควันอย่างหนาแน่นของ บางปี ระยะห่างไม่ถึง 100 เมตร จะไม่สามารถมองเห็น วั ต ถุ ท ี ่ ป รากฏอยู ่ ข ้ า งหน้ า ได้ ปั ญ หาเหล่ า นี ้ ไ ด้ ส ่ ง ผล กระทบต่ อ คุ ณภาพชี วิ ต เศรษฐกิ จ สิ ่ ง แวดล้ อ ม และ สุขภาพของคนในจังหวัดลำปางมาเป็นระยะเวลายาวนาน จนทำให้ในปี พ.ศ. 2550 จังหวัดลำปางมีสถิติผู้ป่วย โรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเพราะ ฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย


สร้างฝาย สร้างน้ำ สร้างป่า สร้างสิง่ มีคา่ คืนสูส่ งั คม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

จุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟ ไหม้ป่า ภาคประชาชนได้เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 โดยการนำของอาจารย์เสกสรรค์ แดงใส ประธานชมรม We love the King We love Thailand นครลำปาง ได้รว่ มกับคณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง เดินทางเข้าไปปลูก ต้นไม้และหญ้าแฝก รวมถึงสร้างฝายตามแนวพระราชดำริ ในป่าม่อนพระยาแช่ มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ เปรียบ เสมือนปอดของเมืองลำปาง ตัง้ อยูห่ า่ งจากตัวเมืองลำปาง ประมาณ 10 กิ โ ลเมตร มี 5 หมู ่ บ ้ า นรายรอบป่ า มี ประชากรกว่า 4,000 คน และเป็นพื้นที่สำคัญที่มีการ ลักลอบเผาป่าจนทำให้เกิดหมอกควันแผ่ปกคลุมชุมชน โดยรอบและแผ่ขยายไปถึงตัวเมืองลำปาง การทำกิจกรรม ปลูกต้นไม้และสร้างฝายได้เกิดขึ้นทุก ๆ สัปดาห์ แม้จะ ไม่ได้รบั การสนับสนุนทางงบประมาณจากหน่วยงานใด ๆ จนเมือ่ สิน้ ปี พ.ศ.2553 ทีมสามารถสร้างฝายได้เป็นจำนวน ทั้งสิ้น 40 ตัว ขณะเดียวกัน ปัญหาใหม่ที่พบในขณะที่ กำลังสร้างฝายชะลอน้ำคือไฟไหม้ป่า ทำให้ต้องทำงาน ดับไฟไหม้ป่ากันอย่างจริงจัง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

26

ปัญหาหมอกควันและไฟไหม้ป่าได้อย่างมีประสิทธิผล จึงได้เพิ่มปฏิบัติการสร้างแนวกันไฟป่าและจัดตั้งทีมดับ ไฟป่า ในปีตอ่ มา ทีมอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ได้เริ่มรณรงค์ให้คน ในชุมชนรักป่าโดยได้เชิญชวนให้ชมุ ชนใกล้เคียง สร้างฝาย ชะลอน้ำในพืน้ ทีป่ า่ ของหมูบ่ า้ น (ได้แก่ บ้านต้นต้อง บ้าน ไร่ศิลาทอง บ้านทรายใต้ และบ้านใหม่พัฒนา) โดยเป็น การสร้างฝายแบบจิตอาสาและดำเนินการเกือบทุกสัปดาห์

ในขณะเดียวกัน มีการสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงาน ต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานของกรมป่าไม้ กรมอุทยานฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) องค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ องค์กรสือ่ สารมวลชน ทัง้ สถานีวทิ ยุ และโทรทัศน์ และเครือข่ายภาคประชาชน ภาคธุรกิจ เช่น กลุ่ม V-Fire เป็นต้น มีการประชาสัมพันธ์ผ่านการ จัดรายการวิทยุทุกวัน (ในปี 2553-2554) ทั้งในจังหวัด ลำปาง และต่างจังหวัด และสือ่ สังคมออนไลน์ เท่ากับว่า ภารกิจของทีมจึงครอบคลุมงานทัง้ หมด 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) การปลูกป่า สร้างฝาย และซ่อมบำรุงฝาย (Protection) 2) การควบคุมและป้องกันไฟป่า (Prevention) อย่างไรก็ตาม หลังจากดำเนินงานไปได้ระยะเวลาหนึง่ 3) การสร้างเครือข่าย สร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์ พบว่า การปลูกป่าและสร้างฝายไม่เพียงพอที่จะแก้ไข โครงการ (Raise awareness)


27

กลุม่ อนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม และพลังงานทดแทน

ผลลัพธจากการดำเนินงาน ทำใหคนในชุมชนใกลเคียง และในเมืองลำปาง ไดเรียนรูวาหากไมมีปา ชุมชนจะ ไมสามารถอยูไดอยางมีความสุข

ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน ทำให้คนในชุมชนใกล้เคียง และในเมืองลำปาง ได้เรียนรู้ว่าหากไม่มีป่า ชุมชนจะ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข จึงตระหนักถึงความ สำคัญในการดูแลป่า ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับทีมรากแก้ว หมุนเวียนเข้าไปดูแลรักษาป่า และสร้างฝายชะลอน้ำ ในพืน้ ทีป่ า่ ม่อนพระยาแช่ตลอดทัง้ ปี เกิดสำนึกของชุมชน ในการอนุรกั ษ์และหวงแหนผืนป่าซึง่ เป็นแหล่งต้นน้ำและ ความอุดมสมบูรณ์ของชุมชนโดยรอบ ถึงสิน้ ปี พ.ศ. 2554 มีฝายจำนวน 100 ตัวในเขตป่าม่อนพระยาแช่ แล้วเพิม่ เป็น จำนวน 200 ตัวในปี พ.ศ. 2555 และในสิ้นปี พ.ศ. 2556 มีฝายทั้งหมดกว่า 600 ตัว ผลจากความทุ่มเทของทีม

รากแก้ว และเครือข่าย รวมถึงชุมชนในการสร้างฝาย และดับไฟป่าอย่างต่อเนื่องนั้น ในอดีตอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ซึ่งมีต้นน้ำมาจากป่าม่อนพระยาแช่ที่อยู่สูงขึ้นไป ในฤดู แล้งจะไม่มีน้ำมากนัก แต่ในปัจจุบัน มีปริมาณน้ำมาก กว่าทุกปี รวมถึงแหล่งน้ำอื่น ๆ ใกล้เคียงโครงการ เช่น อ่างเก็บน้ำศูนย์ราชการแห่งที่ 3 และอ่างเก็บน้ำของเอกชน ด้วย มีสภาพอากาศที่เย็นสบายกว่าในเมืองลำปาง คน ในชุมชนทั้งใกล้และไกล ได้รับผลประโยชน์จากการหา ของป่าที่มีให้เก็บกินตลอดทั้งปี เช่น เห็ด ผักป่า ไก่ป่า ผึ้ง นกต่างๆ กระต่ายป่า เป็นต้น และสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างชัดเจน คือ หมอกควันที่เกิดจากการเผาป่าลด


สร้างฝาย สร้างน้ำ สร้างป่า สร้างสิง่ มีคา่ คืนสูส่ งั คม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

28

ปริมาณลงเป็นจำนวนมาก ทำให้สขุ ภาพของคนในชุมชน และเมืองลำปางดีขึ้น ในด้านของนักศึกษาทีมรากแก้ว เองนัน้ ยังได้เรียนรูถ้ งึ การปฏิบตั งิ านจริงร่วมกับเครือข่าย และชุมชน เป็นการปลูกฝังสำนึกรักชุมชน ห้องเรียนที่ อาจเคยเป็ น แค่ เ พี ย งห้ อ งเรี ย นสี ่ เ หลี ่ ย ม ปั จ จุ บ ั น ได้ เปลี่ยนแปลงไปเป็นห้องเรียนธรรมชาติโดยสมบูรณ์ ซึ่ง ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายเดียวกันคือ การ พัฒนาคุณภาพคนตามแนวพระราชดำริเพื่ออยู่ร่วมกับ ป่าอย่างเกื้อกูลกัน

แผนการดำเนินงานในป พ.ศ. 2557 ทีมรากแก้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง วางแผนจะพัฒนารูปแบบการดำเนินงานไป สู ่ ศ ู น ย์ ศ ึ ก ษาการพั ฒ นาม่ อ นพระยาแช่ ต ามแนวพระราชดำริ ซึ ่ ง จะอยู ่ ใ นการดู แ ลและสนั บ สนุ น จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง มีแผนการดำเนินงานประกอบไปด้วย 1

งานด้านการปลูกป่า สร้างฝาย และซ่อมบำรุงฝาย (Protection) : สร้างฝายเพิ่มขึ้น มีเป้าหมายในปี 2557 ที่ 600 ตัว (ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 600 ตัว) โดยจะเน้นสร้างฝายตั้งแต่ยอดดอยจนถึงลำห้วยหลัก ทุกลำห้วยในเขตป่าม่อนพระยาแช่ โดยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง กว่า 2,000 คน เป็นทีมหลักที่จะหมุนเวียนเข้ามาดำเนินการตลอดทั้งปี ด้วยความตั้งใจที่จะพลิกฟื้น ผืนป่าให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ปัญหาการเผาป่า และปัญหาหมอกควันในเขตอำเภอ เมืองลำปางลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ

2

งานด้านการควบคุมและป้องกันไฟป่า (Prevention) : มีการวางระบบการบริหารจัดการในการทำแนว กันไฟป่า การลาดตระเวน การเฝ้าระวัง รวมถึงการดับไฟป่า โดยจัดตัง้ กองทุนเพือ่ การควบคุมและป้องกัน ไฟป่าในเขตป่าม่อนพระยาแช่ รวมถึงการติดตั้งระบบการสื่อสาร การเตือนภัย เมื่อเกิดไฟไหม้ป่าด้วย

3

งานด้านการสร้างเครือข่าย สร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์โครงการ (Raise awareness) : มีโครงการ จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาม่อนพระยาแช่ ตามแนวพระราชดำริ” เพื่อใช้เป็นศูนย์การศึกษา และ เผยแพร่แนวทางการอนุรักษ์ป่า เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนกับป่าอย่างยั่งยืน โดยมีผืนป่าม่อนพระยาแช่ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ เพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงการในปี พ.ศ. 2557 ทีมรากแก้วจะต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงาน เป็นจำนวน 600,000 บาท


29

กลุม่ อนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม และพลังงานทดแทน

โครงการ

ศูนยการเรียนรู

ดานการจัดการขยะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โครงการศูนยการเรียนรูดานการจัดการขยะ เปนหนึ่งในการบริการวิชาการแกสังคม ภายใตนโยบาย 1 หลักสูตร 1 ชุมชนของหลักสูตรการจัดการสิ่งแวดลอมและทรัพยากร คณะสิง่ แวดลอมและทรัพยากรศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยนิสติ เขาไปเรียนรู และเสริมศักยภาพดานการจัดการขยะใหคนในชุมชนบานสองเหนือ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เพื่อลดปริมาณขยะและใชประโยชนจากขยะในแงการ จัดการสิ่งแวดลอมของชุมชน


ศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการขยะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

30

ปริมาณขยะในชุมชนจำนวนมากกวา 64 กิโลกรัม ตอครัวเรือนตอเดือน สงมลพิษตอสภาพแวดลอมและสุขภาพ ของคนในชุมชน เมือ่ ป พ.ศ. 2546 ปริมาณขยะในชุมชนมีมาก รถเก็บขยะไมเพียงพอ สามารถเก็บขยะในหมูบาน ไดเพียงสัปดาหละ 1 ครั้ง

ชุมชนบ้านส่องเหนือ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัด มหาสารคาม เป็นชุมชนทีอ่ ยูไ่ ม่ไกลจากตัวเมือง มีประชากร จำนวน 470 ครัวเรือน/คน ประมาณ 2,000 คน ในชุมชน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทำนาข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ชุมชนนี้ประสบปัญหาด้านการจัดการขยะ เนือ่ งจากมีปริมาณขยะในชุมชนจำนวนมากกว่า 64 กิโลกรัม ต่อครัวเรือนต่อเดือน ส่งมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและ สุขภาพของคนในชุมชน เมือ่ ปี 2546 ปริมาณขยะในชุมชน มีมาก รถเก็บขยะไม่เพียงพอ สามารถเก็บขยะในหมูบ่ า้ น ได้เพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ในชุมชนนำขยะที่รีไซเคิลได้มาแลกกับไข่ ทำให้ปริมาณ ขยะในชุมชนลดลงส่วนหนึ่ง แต่ชุมชนก็ยังไม่มีความรู้ เรื่องการจัดการขยะให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน เช่น การ จัดการขยะอินทรีย์และขยะย่อยสลายยาก

ในปี พ.ศ. 2555 นิ ส ิ ต คณะสิ ่ ง แวดล้ อ ม และ ทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เข้าไป สำรวจชุมชนดังกล่าว พบว่าชุมชนบ้านส่องเหนือมีจดุ เด่น ในเรื่องของการรวมกลุ่มกันในชุมชนและมีกระบวนการ จัดการชีวิตภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ ค่อนข้างเข้มแข็ง เช่น การปลู ก ผั ก ปลอดสารพิ ษ การ จั ด การขยะ เป็ น ต้ น แต่ในอนาคตชุมชนมีแนวโน้มทีจ่ ะ ชาวบ้านจึงรวมกลุม่ กันทำเรือ่ งการจัดการขยะ โดย ขยายตัว อาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็น ผู้นำชุมชนและเทศบาลร่วมกันจัดตั้งธนาคารขยะให้คน ต้องมีระบบการจัดการชุมชนที่ดีไว้รองรับ


31

กลุม่ อนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม และพลังงานทดแทน

นิ ส ิ ต คณะสิ ่ ง แวดล้ อ มและทรั พ ยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วมระหว่างนิสิต คนในชุมชน และผู้นำชาวบ้าน ด้วยแนวทางปฏิบัติ “ร่วมเรียนรู้จุดเด่นและเติมเต็มสิ่งที่ ขาดของชุมชน” ของการบริการวิชาการ 1 หลักสูตร 1 ชุมชน โดยนิสติ เข้าไปจัดกระบวนการเรียนรูร้ ว่ มกับชุมชน ในเรือ่ ง การจัดการขยะ 5 ประเด็น คือ การคัดแยกขยะ ธนาคารขยะ ปุย๋ หมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ ปุย๋ อินทรียจ์ ากไส้เดือนดิน

และการจัดทำก๊าซชีวภาพ นิสติ จะแบ่งหน้าทีก่ นั ในแต่ละ ชั้นปี เพื่อจัดเตรียมข้อมูล จัดทำเอกสารเผยแพร่ จัด เตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ “สาธิต” หรือจัดกิจกรรมเชิง ปฏิบัติการเพื่อเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้าน รวมถึงการลง พื้นที่เพื่อหารือร่วมกับชุมชนเกี่ยวกับกระบวนการที่จะ จัดขึ้นร่วมกัน โดยมีอาจารย์ในหลักสูตรทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษา คอยกำกับ และให้คำแนะนำ และขยายฐาน การเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อสู่ครัวเรือนตัวอย่าง 7 ครัวเรือน


ศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการขยะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

32

ขยะในชุมชนเฉลีย่ 45 กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อเดือน และ 1. ทางเศรษฐกิจ คือ ได้พลังงานทางก๊าซชีวภาพ ลดปัญหาขยะและกลิ่นของมูลสัตว์ที่ส่งผลต่อสุขภาพ เป็นพลังงานทดแทน น้ำหมักชีวภาพ และปุย๋ จากมูลไส้เดือน ของประชาชน ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ส่ง เพื่อช่วยชุมชนลดรายจ่ายในครัวเรือน และรายจ่ายด้าน เสริมความสามัคคีในชุมชน เนื่องจากประชาชนมาร่วม พลังงาน และได้ปุ๋ยเป็นผลพลอยได้จากการหมักก๊าซ กลุ่มอบรมทำให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันละกัน ชีวภาพจากมูลฝอยและขยะชุมชน 350 บาทต่อครัว 3. ทางสิง่ แวดล้อม คือ ลดปัญหามลพิษทางด้าน เรือนต่อเดือน ลดรายจ่ายของหน่วยงานที่ต้องใช้งบ ขยะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการจัดการสิง่ แวดล้อมและก่อ ประมาณในการเก็บขยะอินทรีย์และ กำจัดขยะอินทรีย์ ให้เกิดมลพิษ ซึง่ เป็นการช่วยลดปัญหามลภาวะสิง่ แวดล้อม สามารถนำขยะรีไซเคิลมาขายสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน ในด้านขยะและได้ผลพลอยได้เป็นพลังงานและปุ๋ย ซึ่ง จากการดำเนินการผลลัพท์ที่ได้ คือ

2. ทางสังคม คือ สามารถลดปริมาณการกำจัด นำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน

แผนการดำเนินงานในป พ.ศ. 2557 ทีมรากแก้วมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีเป้าหมาย คือ พัฒนาชุมชนบ้านส่องเหนือให้เป็นชุมชนต้นแบบ ในการ "จัดการขยะ" อย่างเป็นระบบเพื่อขยายผลไปยังชุมชนรอบข้างอย่างจริงจังและต่อเนื่อง


หองเรียนที่แทจริง ไมใชแคหองสี่เหลี่ยม


ขอบคุณผูสนับสนุน


มูลนิธิรากแกว 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ช้ัน 48 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2677-2975 โทรสาร 0-2677-2222 อีเมล์ contact@rakkaew.org


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.