คู่มือ ร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

Page 1

คู่มือ

ร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

OPEN àÁÅ紾ѹ¸Ø

ÊÒÃà¤ÁÕ

ปุย



คำ�นิยม

หนั ง สือ “คู่มือร้านค้าปัจ จัยการผลิ ต ทางการเกษตร” เป็ นการจั ด ท� ำ ร่ วมกั นของสมาคมการค้ า ด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ๕ สมาคม คือ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย สมาคมการค้า ผูผ้ ลิตปุย๋ ไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมการค้าเมล็ดพันธุไ์ ทย ซึง่ เป็นความ ปรารถนาดีที่ต้องการส่งมอบความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมายเบื้องต้น เพื่อเป็นหลักปฏิบัติในการประกอบ สัมมาชีพให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งการรักษาดูแลสินค้าให้มีคุณภาพก่อนถึงมือเกษตรกรผู้ใช้ปัจจัย การผลิตทางการเกษตร และที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่ง หนังสือฉบับนี้ ยังช่วยแบ่งเบาภาระของภาครัฐในการก�ำกับดูแลคุณภาพ ของปัจจัยการผลิตได้อีกแนวทางหนึ่งด้วย เมื่อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพดีประกอบกับเกษตรกร ใช้ปจั จัยการผลิตทางการเกษตรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคณ ุ ภาพดี สามารถ ส่งออกไปขายยังต่างประเทศเพื่อน�ำเงินตราเข้ามาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้นอีกด้วย ท้ายนี้ ขอให้หนังสือ “คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร” สร้างความรู้และความเข้าใจหลัก ปฏิบัติทางกฎหมายให้แก่ร้านค้าที่จัดจ�ำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร สมดั่งเจตนารมย์ของคณะผู้จัดท�ำ ทุกประการ

(นายอนันต์ สุวรรณรัตน์) อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กรกฎาคม ๒๕๕๘


คำ�นำ�

สมาคมการค้าที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ๕ สมาคม คือ ๑. สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ๒. สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย ๓. สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ๔. สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร ๕. สมาคมอารักขาพืชไทย ได้มีวัตถุประสงค์ร่วมกันจัดท�ำหนังสือ “คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร” ฉบับนี้ เพื่อมอบให้ แก่ร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรทั่วประเทศซึ่งมีอยู่จ�ำนวนมาก ให้มีความรู้และได้รับรู้ข้อกฎหมายและ ข้อปฏิบัติเบื้องต้น ซึ่งมีความส�ำคัญต่อการประกอบสัมมาชีพในการจ�ำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเป็น อย่างมาก คณะผู้จัดท�ำขอขอบคุณหน่วยงานทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ช่วยสนับสนุนข้อมูลในการ จัดท�ำหนังสือ และขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกสมาคมที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ เป็นอย่างดียิ่งมา ณ โอกาสนี้ (นายกองเอกเปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช) นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย

(นางวรารัตน์ วีรยวรางกูร) นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย

(นางสาววนิดา อังศุพันธุ์) นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย

(ดร.วีรวุฒิ กตัญญูกุล) นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร

(นายด�ำรงศักดิ์ เดี่ยววาณิชย์) นายกสมาคมอารักขาพืชไทย


คำ�ขอบคุณ คณะผู้จัดท�ำหนังสือ “คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร” ฉบับนี้ มีความตั้งใจจัดท�ำเพื่อเป็น คูม่ อื ในการแนะน�ำเบือ้ งต้นให้แก่ผปู้ ระกอบธุรกิจจัดจ�ำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร โดยได้รบั ความร่วมมือ เป็นอย่างดียงิ่ จากหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือข้อมูลทางวิชาการด้านกฎหมาย และหลักเกณฑ์ ข้อปฏิบัติในการดูแลปัจจัยการผลิตที่จัดจ�ำหน่าย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายหรือให้มีความเสียหายน้อยที่สุด และเพื่อให้การประกอบสัมมาชีพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ณ โอกาสนี้คณะผู้จัดท�ำขอขอบคุณหน่วยงานและบุคคลต่างๆ โดยมีรายนามดังนี้ ๑. ส�ำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรก�ำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสน ๓. ดร.ดุสิต จิตตนูนท์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ๔. ดร.สุจินต์ จันทรสอาด อุปนายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร และรองประธานกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ๕. นายธเนศ ปิงสุทธิวงศ์ ประธานกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย และคณะกรรมการ ๕ สมาคม ที่ได้ช่วยให้ข้อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นที่มีประโยชน์ ท�ำให้ หนังสือเล่มนี้ส�ำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของคณะผู้จัดท�ำ คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือฉบับนี้จะยังประโยชน์ให้แก่ร้านค้าผู้จัดจ�ำหน่ายปัจจัยการผลิต ทางการเกษตร สามารถด�ำเนินธุรกิจการค้าได้อย่างถูกต้องและถูกกฎหมาย มีความส�ำเร็จและเจริญรุ่งเรืองใน การประกอบสัมมาชีพสืบไป

คณะผู้จัดท�ำ พุทธศักราช ๒๕๕๘



สารบัญ ๑. หน้าที่ผู้ขายปุ๋ยเคมี ๒. หน้าที่ผู้ขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร ๓. หน้าที่ผู้ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม ๔. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ ร้านจ�ำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ๕. การเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ๖. การเก็บรักษาวัตถุอันตราย : สารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืช ๗. การดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ๘. วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด ๙. คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด ๑๐. วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง ๑๑. คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง ๑๒. วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างสารป้องกันและก�ำจัดศัตรูพืช ๑๓. วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ ๑๔. เอกสารประกอบการตรวจร้านค้าของสารวัตรเกษตร

๑ ๗ ๑๑ ๑๕ ๑๙ ๒๗ ๓๓ ๔๗ ๕๕ ๗๕ ๘๑ ๙๕ ๑๐๑ ๑๑๕



หน้าที่ผู้ขายปุ๋ยเคมี

ปุยN-P-K เคมี

1


ผู้ขายปุ๋ยเคมี

ต้องรู้กฎระเบียบปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.๒๕๑๘ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้

๑. การขายปุ๋ยเคมีต้องได้รับใบอนุญาตขายปุ๋ย (ใบอนุญาตมี อายุ ๑ ปี) ตามมาตรา ๑๒ และ ๑๘ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตาม มาตรา ๕๗ ๒. ห้ามขายปุ๋ยนอกสถานที่ที่ก�ำหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่เป็นการขายส่งตรงต่อผู้รับใบอนุญาตขายปุ๋ย ตามมาตรา ๒๐(๑) ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๕๙ ๓. การขายปุ๋ยเคมีต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา ๒๒ ดังนี้ ๓.๑ จัดให้มีป้ายแสดงไว้ในที่เปิดเผยว่าเป็น “สถานที่ขายปุ๋ย” ๓.๒ แยกปุ๋ยห่างจากเครื่องบริโภค ๓.๓ รักษาฉลากที่ภาชนะบรรจุและเอกสารก�ำกับปุ๋ยให้ครบถ้วน ๓.๔ ผู้ที่แบ่งปุ๋ยเคมีเพื่อการขายปลีก ต้องจัดเอกสารก�ำกับปุ๋ยให้ผู้ซื้อ ๓.๕ ถ้าภาชนะบรรจุชำ� รุด ให้เปลีย่ นภาชนะบรรจุและจัดให้มฉี ลากมีขอ้ ความตรงตามฉลากเดิม ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๔,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้ง จ�ำทั้งปรับ ตามมาตรา ๖๐ วรรคสอง ๔. ผู้รับใบอนุญาตต้องขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และเมื่อยื่นค�ำขอแล้วประกอบกิจการ ต่อไปได้จนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ ตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง ผูฝ้ า่ ฝืนต้องระวางโทษปรับวันละไม่เกิน ๔๐๐ บาท ตลอดเวลาทีใ่ บอนุญาตสิน้ อายุ ตามมาตรา ๗๒/๒ และการเปรียบเทียบปรับให้เป็นไปตามระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการเปรียบเทียบปรับ ตามกฎหมายว่าด้วยปุ๋ย พ.ศ.๒๕๕๓ และระเบียบที่เพิ่มเติม ๕. ห้ามขายปุ๋ยเคมีปลอม ตามมาตรา ๓๐(๑) ลักษณะของปุ๋ยเคมีปลอม ตามมาตรา ๓๒ ที่พบเสมอ ดังนี้ - ปุย๋ เคมีทแี่ สดงชือ่ หรือเครือ่ งหมายการค้าของผูผ้ ลิต หรือทีต่ งั้ สถานทีผ่ ลิต ไม่ตรงกับความจริง - ปุ๋ยเคมีที่มีปริมาณธาตุอาหารรับรองธาตุใดธาตุหนึ่งต�่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ หรือระบุไว้ในฉลาก ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุก ๓ ปี ถึง ๑๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ถึง ๔๐๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๓ ถ้ากระท�ำโดยประมาทต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๘,๐๐๐ บาท ถึง ๘๐,๐๐๐ บาท ตาม มาตรา ๖๓ วรรคสอง ๖. ห้ามขายปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน ตามมาตรา ๓๐(๒) ลักษณะของปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน ตามมาตรา ๓๓ ที่พบเสมอคือ ปริมาณธาตุอาหารรับรองธาตุใด ธาตุหนึ่งต�่ำกว่าที่ขึ้นทะเบียนไว้หรือที่ระบุไว้ในฉลาก แต่ไม่ถึงขนาดเป็นปุ๋ยเคมีปลอม ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๓ ปี และปรับตั้งแต่ ๔๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๗ ถ้ากระท�ำโดยประมาทต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔,๐๐๐ บาท ถึง ๔๐,๐๐๐ บาท ตาม มาตรา ๖๗ วรรคสอง

2

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๗. ห้ามขายปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ ตามมาตรา ๓๐(๓) เว้นแต่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การครอบครองและขายปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ ตามมาตรา ๓๑ ลักษณะของปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ คือ ปุ๋ยเคมีที่บรรจุในภาชนะพร้อมขาย เป็นปุ๋ยเคมีที่ล่วงอายุ หรือ ถูกกระทบกระเทือนด้วยปัจจัยใดๆ อันท�ำให้เสื่อมคุณภาพ โดยธาตุอาหารลดน้อยลงหรือเปลี่ยนสภาพไป ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๒ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท ถึง ๘๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตามมาตรา ๖๘ ๘. ห้ามขายปุ๋ยเคมีที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียน ตามมาตรา ๓๐(๕) ให้สังเกตปุ๋ยเคมีที่ได้รับการ ขึ้นทะเบียนแล้วต้องแสดงหมายเลขทะเบียนปุ๋ยเคมีด้านซ้ายของฉลากปุ๋ยว่า “ทะเบียนปุ๋ยเคมีเลขที่ ***/ปี พ.ศ. (กรมวิชาการเกษตร)” ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๓ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท ถึง ๑๒๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๗๒ แต่ถ้ากระท�ำโดยประมาทต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔,๐๐๐ บาท ถึง ๔๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๗๒ วรรคสอง ๙. ห้ามขายปุ๋ยเคมีที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียน ตามมาตรา ๓๐(๖) ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๓ ปี และปรับตั้งแต่ ๔๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๗ ถ้ากระท�ำโดยประมาทต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔,๐๐๐ บาท ถึง ๔๐,๐๐๐ บาท ตาม มาตรา ๖๗ วรรคสอง ๑๐. ห้ามขายปุ๋ยเคมีที่มีสารเป็นพิษเกินกว่าที่รัฐมนตรีประกาศก�ำหนด ตามมาตรา ๓๐(๗) ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๓ ปี และปรับตั้งแต่ ๔๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๗ ถ้ากระท�ำโดยประมาทต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔,๐๐๐ บาท ถึง ๔๐,๐๐๐ บาท ตาม มาตรา ๖๗ วรรคสอง ๑๑. ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกท�ำลายในสาระส�ำคัญ ให้ยื่นค�ำขอใบแทนใบอนุญาตภายใน ๑๕ วัน ตาม มาตรา ๒๔ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๒ ๑๒. ผู้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ขายปุ๋ย ตาม มาตรา ๒๕ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๒ ๑๓. ผู้รับใบอนุญาตประสงค์ที่จะขอย้ายสถานที่ขายปุ๋ยเคมี หรือสถานที่เก็บปุ๋ยเคมี ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันย้าย ตามมาตรา ๒๖ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๕๙ ๑๔. ผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเลิกกิจการ ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน ๑๕ วัน และต้องจ�ำหน่ายปุ๋ยที่เหลือให้หมดภายใน ๖๐ วัน ตามมาตรา ๒๗ และ ๒๘ นับแต่วันเลิกกิจการ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๕๙

หน้าที่ผู้ขายปุ๋ยเคมี

3


๑๕. ผูร้ บั ใบอนุญาตต้องอ�ำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าทีซ่ งึ่ ปฏิบตั ติ ามมาตรา ๔๔ ได้แก่ ๑๕.๑ ตรวจสถานทีป่ ระกอบกิจการในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขนึ้ ถึงพระอาทิตย์ตก หรือเวลาท�ำการ ๑๕.๒ ค้นสถานที่หรือยานพาหนะใดๆ เมื่อมีเหตุสงสัยว่ามีการกระท�ำความผิด เพื่อตรวจค้นปุ๋ย และยึดหรืออายัดปุ๋ย ภาชนะหรือหีบห่อ เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง ๑๕.๓ น�ำปุ๋ยหรือวัตถุที่สงสัยปริมาณพอสมควร ไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๖ เดือน และปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๕๖ ๑๖. ผูร้ บั ใบอนุญาตทีไ่ ม่ปฏิบตั ติ ามพระราชบัญญัตนิ พี้ นักงานเจ้าหน้าทีม่ อี ำ� นาจตามมาตรา ๔๙ และ ๕๒ ดังนี้ ๑๖.๑ สั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยก�ำหนดครั้งละไม่เกิน ๑๒๐ วัน ๑๖.๒ สั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้รอค�ำพิพากษาถึงที่สุดก็ได้ ๑๖.๓ สั่งถอนการพักใช้ใบอนุญาตเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ๑๗. ผู้รับใบอนุญาตที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต จะขอใบอนุญาตใดๆ ไม่ได้จนกว่าจะพ้นก�ำหนด ๒ ปี และให้จ�ำหน่ายปุ๋ยเคมีที่คงเหลืออยู่ให้หมดภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบค�ำสั่ง ถ้าจ�ำหน่ายไม่หมดให้ขาย ทอดตลาด หรือขายโดยวิธีอื่นตามที่อธิบดีเห็นสมควร เงินที่ขายปุ๋ยได้หักค่าใช้จ่ายแล้ว ต้องคืนให้เจ้าของปุ๋ย ตามมาตรา ๕๐ วรรคสอง และมาตรา ๕๔ ๑๘. ผู้รับใบอนุญาตที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องเกี่ยวกับฉลากภาชนะหรือหีบห่อบรรจุปุ๋ยเคมี หรืออื่นๆ ที่พึงปฏิบัติ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ก�ำหนด หากไม่สามารถปฏิบัติตาม ค�ำเตือนให้พนักงานเจ้าหน้าทีด่ ำ� เนินการเกีย่ วกับการกระท�ำความผิดตามพระราชบัญญัตนิ ตี้ อ่ ไป ตามมาตรา ๔๘ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๕๙ ๑๙. การโฆษณาขายปุ๋ยเคมี ตามมาตรา ๔๓ จะต้อง ๑๙.๑ ไม่แสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จหรือเกินความเป็นจริง ๑๙.๒ ไม่ท�ำให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดเป็นปุ๋ยหรือส่วนประกอบของปุ๋ยซึ่งไม่เป็นความจริง ๑๙.๓ ไม่มีการรับรองหรือยกย่องปุ๋ยโดยบุคคลอื่น ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตามมาตรา ๗๒/๑ ๒๐. การขายปุ๋ยเคมีมาตรฐาน ให้สังเกตปุ๋ยเคมีมาตรฐานที่ได้รับแบบแจ้งแล้วต้องแสดงหมายเลขแบบแจ้ง ที่ด้านซ้ายของฉลากปุ๋ยว่า “ใบรับแจ้งเลขที่ ปฐ. ***/ปี พ.ศ. (กรมวิชาการเกษตร)” ๒๑. การขายปุย๋ เคมีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ให้สงั เกตปุย๋ เคมีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ที่ได้รับแบบแจ้งแล้วต้องแสดงหมายเลขแบบแจ้งที่ด้านซ้ายของฉลากปุ๋ยว่า “ใบรับแจ้งเลขที่ รส. ***/ปี พ.ศ. (กรมวิชาการเกษตร)”

4

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร




หน้าที่ผู้ขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร

7


ผู้ขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร

ต้องรูก้ ฎระเบียบปฏิบตั ิ ตามพระราชบัญญัตวิ ตั ถุอนั ตราย พ.ศ.๒๕๓๕ และฉบับทีแ่ ก้ไขเพิม่ เติม ดังนี้

๑. การจ�ำหน่ายวัตถุอนั ตรายทางการเกษตรต้องมีใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึง่ วัตถุอนั ตราย ตามมาตรา ๒๓ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตาม มาตรา ๗๓ ๒. กรณีใบอนุญาตสูญหาย ลบเลือน หรือช�ำรุดในสาระส�ำคัญ ให้ขอใบแทนภายใน ๑๕ วัน นับแต่ที่ทราบ การสูญหาย ลบเลือนหรือช�ำรุดในสาระส�ำคัญ ตามมาตรา ๓๐ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๘๑ ๓. ผู้ขายวัตถุอันตรายทางการเกษตรต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย และเห็นได้ง่าย ตามมาตรา ๓๑ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๘๑ ๔. การซื้อผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตรไว้จ�ำหน่าย ควรมีใบก�ำกับสินค้าเพื่อทราบแหล่งที่มา ของสินค้า ไว้ใช้ในกรณีที่มีการด�ำเนินคดี ๕. ผูไ้ ด้รบั ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึง่ วัตถุอนั ตราย ต้องจัดร้านให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การน�ำเข้า และการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายที่ กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ.๒๕๔๗ ตามมาตรา ๒๐(๑) และ (๒) ดังนี้ ๕.๑ จัดวางวัตถุอันตรายแยกจากสินค้าประเภทอื่น ๕.๒ จัดแยกวัตถุอันตรายที่จ�ำหน่ายตามประเภท และต้องพ้นจากมือเด็ก ๕.๓ วัตถุอันตรายที่วางจ�ำหน่ายต้องอยู่ในภาชนะเดิมของผู้ผลิต ๕.๔ จัดให้มีวัสดุที่มีคุณสมบัติดูดซับของเหลวได้ เช่น ขี้เลื่อย ทราย เป็นต้น ๕.๕ จัดให้มีสบู่ น�้ำ ไว้ให้ผู้สัมผัสวัตถุอันตรายใช้ช�ำระล้าง ๕.๖ จัดให้มีระบบป้องกันก�ำจัดกลิ่น ละออง ไอระเหยส่วนของวัตถุอันตราย ๕.๗ จัดให้มีผู้ควบคุมการขายซึ่งผ่านการอบรมความรู้ด้านวัตถุอันตรายตามหลักสูตรที่ กรมวิชาการเกษตรก�ำหนด ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตามมาตรา ๗๑ ๖. ห้ามจ�ำหน่ายวัตถุอันตรายปลอม ตามมาตรา ๔๕(๑) ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๗ ปี หรือปรับไม่เกิน ๗๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตาม มาตรา ๗๕ ถ้าเป็นการกระท�ำโดยประมาทต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๗๕ วรรคสอง ๗. ห้ามจ�ำหน่ายวัตถุอันตรายผิดมาตรฐาน ตามมาตรา ๔๕(๒) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตามมาตรา ๗๖ ถ้าเป็นการกระท�ำโดยประมาทต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๗๖ วรรคสอง

8

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๘. ห้ามจ�ำหน่ายวัตถุอันตรายเสื่อมคุณภาพ โดยเฉพาะวัตถุอันตรายที่ผลิตมาแล้วเกินกว่า ๒ ปี มีโอกาสที่ จะเป็นวัตถุอันตรายเสื่อมคุณภาพ ตามมาตรา ๔๕(๓) ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตาม มาตรา ๗๗ ถ้าเป็นการกระท�ำโดยประมาทต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๘๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๗๗ วรรคสอง ๙. ห้ามจ�ำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ตามมาตรา ๔๕(๔) ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตามมาตรา ๗๘ ๑๐. ห้ามจ�ำหน่ายวัตถุอันตรายที่ไม่ติดฉลากหรือฉลากไม่ระบุเลขที่ทะเบียน และวัน เดือน ปี ที่ผลิต ตาม มาตรา ๕๐ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตามมาตรา ๘๓ ถ้าเป็นการกระท�ำโดยประมาทต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง ๑๑. ห้ามมิให้ผู้ขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร มีวัตถุอันตรายทางการเกษตรชนิดที่ ๔ ไว้ในครอบครอง ตามมาตรา ๔๓ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตามมาตรา ๗๔ ๑๒. ผู้ประกอบการค้าจะต้องอ�ำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตาม กฎหมาย ตามมาตรา ๕๔ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๘๖

หน้าที่ผู้ขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร

9



หน้าที่ผู้ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม

ันธุ์

พ เมล็ด

11


ผู้ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม

ต้องรู้กฎระเบียบปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.๒๕๑๘ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้

๑. การขายเมล็ดพันธุค์ วบคุมต้องได้รบั ใบอนุญาตขายเมล็ดพันธุค์ วบคุม (ใบอนุญาตให้ใช้ได้จนถึงวันสิน้ ปี ปฏิทินแห่งปีที่ออกใบอนุญาต) ตามมาตรา ๑๔ และ ๑๙ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตาม มาตรา ๕๖ ๒. ผู้รับใบอนุญาตต้องขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และเมื่อยื่นค�ำขอแล้วประกอบกิจการ ต่อไปได้จนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ ตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง ผูฝ้ า่ ฝืนต้องระวางโทษปรับวันละไม่เกิน ๑๐๐ บาท ตลอดเวลาทีใ่ บอนุญาตสิน้ อายุ ตามมาตรา ๕๗ ๓. ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประกอบกิจการในกรณีที่ใบอนุญาตสิ้นอายุแล้วและพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ มีค�ำสั่งไม่ให้ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตาม มาตรา ๕๘ ๔. การขายเมล็ดพันธุ์ควบคุมต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๒๔ ดังนี้ ๔.๑ จัดให้มีป้ายแสดงไว้ในที่เปิดเผยว่าเป็น “สถานที่ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม” ๔.๒ ดูแลฉลากที่ภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ควบคุมให้คงอยู่ครบถ้วนและชัดเจน ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตาม มาตรา ๖๐ ๕. ผู้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายภายในอาคาร ตามมาตรา ๒๕ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๑ ๖. ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกท�ำลายในสาระส�ำคัญ ให้ยนื่ ค�ำขอใบแทนใบอนุญาตภายใน ๑๕ วัน นับแต่วนั ทีท่ ราบ การสูญหาย หรือถูกท�ำลาย ตามมาตรา ๒๖ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๑ ๗. ผู้รับใบอนุญาตประสงค์ที่จะย้ายสถานที่ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุมหรือสถานที่เก็บเมล็ดพันธุ์ควบคุม ให้ยื่นค�ำขอย้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๒๗ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๕๙ ๘. ห้ามขายเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพ ตามมาตรา ๓๖ โดยลักษณะของเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพ คือ - เมล็ดพันธุ์ที่สิ้นอายุการใช้เพาะปลูกหรือใช้ท�ำพันธุ์ตามที่แสดงไว้ในฉลาก - เมล็ดพันธุท์ มี่ คี ณ ุ ภาพต�ำ่ กว่ามาตรฐานทีร่ ฐั มนตรีประกาศก�ำหนด เช่น คุณภาพมาตรฐานความงอก ของข้าวเปลือกไม่ตำ�่ กว่า ๘๐% เมล็ดบริสทุ ธิท์ างกายภาพไม่ตำ�่ กว่า ๙๘% หรือความงอกของ คะน้า กะหล�ำ่ ดอก กะหล�ำ่ ปลี บรอคโคลีไม่ตำ�่ กว่า ๗๐% เมล็ดบริสทุ ธิท์ างกายภาพไม่ตำ�่ กว่า ๙๘% เป็นต้น ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตาม มาตรา ๖๔

12

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๙. ห้ามขายเมล็ดพันธุ์ปลอมปน ตามมาตรา ๓๗ โดยลักษณะของเมล็ดพันธุ์ปลอมปน คือ - เมล็ดพันธุ์หรือวัตถุที่ท�ำเทียมเมล็ดพันธุ์ทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อหรือส�ำคัญผิดว่า เป็นเมล็ดพันธุ์แท้ - เมล็ดพันธุ์ที่แสดงชนิด ชื่อพันธุ์ เครื่องหมายการค้า แหล่งรวบรวมหรือระบุเดือนปีที่รวบรวม หรือ น�ำเข้าซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง - เมล็ดพันธุ์ที่มีเมล็ดพันธุ์อื่น หรือวัตถุอื่นผสมหรือเจือปนอยู่เกินปริมาณที่แจ้งไว้บนฉลากหรือเกิน อัตราส่วนทีร่ ฐั มนตรีประกาศก�ำหนด เช่น เมล็ดข้าววัชพืชทีเ่ ป็นข้าวแดงปนไม่เกินจ�ำนวน ๑๐ เมล็ด หรือเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นปนไม่เกิน ๒๐ เมล็ดของน�้ำหนักเมล็ดพันธุ์ข้าว ๕๐๐ กรัม หรือห้ามมี เมล็ดพันธุ์มะละกอที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมผสมหรือเจือปน เป็นต้น ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตาม มาตรา ๖๕

หน้าที่ผู้ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม

13



หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การเข้าร่วมโครงการร้านจำ�หน่าย ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ

15


๑. การยื่นคำ�ขอเข้าร่วมโครงการร้านจำ�หน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ๑.๑ ยื่นค�ำขอด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ ๑.๒ สถานที่รับ/ยื่น/ส่งค�ำขอ (๑) กลุ่มสารวัตรเกษตร ส�ำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ หรือ (๒) ส่วนควบคุมตามพระราชบัญญัติ หรือศูนย์วิจัยและพัฒนาฯ ส�ำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๑-๘ ๒. คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการร้านจำ�หน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ๒.๑ เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ใบอนุญาตขายปุ๋ย หรือใบอนุญาตขาย เมล็ดพันธุ์ควบคุม ๒.๒ เป็นร้านค้าที่ประกอบธุรกิจปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย ๒.๓ ต้องไม่เป็นผูท้ ม่ี ปี ระวัตถิ กู ด�ำเนินคดีตามพระราชบัญญัตวิ ตั ถุอนั ตราย พ.ศ.๒๕๓๕ และทีแ่ ก้ไขเพิม่ เติม พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.๒๕๑๘ และที่แก้ไข เพิ่มเติม ในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา ๓. เงื่อนไขผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องปฏิบัติดังนี้ ๓.๑ ต้องมีส�ำเนาใบส�ำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ใบส�ำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ย หรือแบบแจ้ง รายละเอียดเมล็ดพันธุ์ควบคุมที่ขออนุญาต (แบบ พพ.) เพื่อสามารถตรวจสอบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ การขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร ๓.๒ จัดท�ำบัญชีทุกครั้งที่มีการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร หรือจัดเก็บเอกสารแสดงแหล่งที่มาของ ผลิตภัณฑ์ที่จ�ำหน่ายซึ่งสามารถตรวจสอบได้ ๓.๓ ต้องมีผู้ควบคุมการขายที่มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) วุฒิการศึกษาปริญญาตรีสาขาทางเกษตร (๒) วุฒิการศึกษาปริญญาตรีสาขาอื่นๆ หรือประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการเกษตร และมีประสบการณ์ทางการขายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรมาไม่น้อยกว่า ๒ ปี (๓) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการขายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรมาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ๓.๔ ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบคุณสมบัติและอื่นๆ ๔. การพิจารณาการเข้าร่วมโครงการฯ ๔.๑ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับค�ำขอตามข้อ ๑ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตามที่ก�ำหนดไว้ในข้อ ๒ และเงื่อนไขที่ก�ำหนดไว้ในข้อ ๓ หากเป็นไปตามข้อก�ำหนดให้เสนอความเห็นต่อคณะ กรรมการด�ำเนินโครงการร้านจ�ำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ เพื่อพิจารณาอนุมัติและเสนอ กรมวิชาการเกษตรต่อไป ๔.๒ หนังสือรับรองร้านจ�ำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ มีอายุ ๓ ปี นับแต่วันที่ออก หนังสือรับรอง ที่มา : กลุ่มสารวัตรเกษตร ส�ำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

16

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ส่วนกลาง ๑. กลุ่มควบคุมปุ๋ย ส�ำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร โทร. (๐๒) ๕๗๙-๕๕๓๖-๗ ๒. กลุ่มควบคุมพันธุ์พืช ส�ำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร โทร. (๐๒) ๕๗๙-๓๖๓๕, (๐๒) ๕๗๙-๗๙๙๑ ๓. กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย ส�ำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร โทร. (๐๒) ๕๗๙-๗๙๘๖, (๐๒) ๕๗๙-๗๙๘๘ ๔. กลุ่มสารวัตรเกษตร ส�ำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร โทร. (๐๒) ๙๔๐-๕๔๓๔ ส่วนภูมิภาค ๑. ส่วนควบคุมตามพระราชบัญญัติ ส�ำนักวิจัยพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (๐๕๓) ๑๑๔-๑๒๑-๒๕ ๒. ส่วนควบคุมตามพระราชบัญญัติ ส�ำนักวิจัยพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๒ จังหวัดพิษณุโลก โทร. (๐๕๕) ๓๑๑-๓๐๕ ๓. ส่วนควบคุมตามพระราชบัญญัติ ส�ำนักวิจัยพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๓ จังหวัดขอนแก่น โทร. (๐๔๓) ๒๐๓-๕๐๐-๑ ๔. ส่วนควบคุมตามพระราชบัญญัติ ส�ำนักวิจัยพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๔ จังหวัดอุบลราชธานี โทร. (๐๔๕) ๒๐๒-๑๙๐ ๕. ส่วนควบคุมตามพระราชบัญญัติ ส�ำนักวิจัยพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๕ จังหวัดชัยนาท โทร. (๐๕๖) ๔๐๕-๐๗๑ ๖. ส่วนควบคุมตามพระราชบัญญัติ ส�ำนักวิจัยพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๖ จังหวัดจันทบุรี โทร. (๐๓๙) ๔๕๘-๗๖๕ ๗. ส่วนควบคุมตามพระราชบัญญัติ ส�ำนักวิจัยพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๗ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. (๐๗๗) ๒๕๙-๔๔๕-๖ ๘. ส่วนควบคุมตามพระราชบัญญัติ ส�ำนักวิจัยพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๘ จังหวัดสงขลา โทร. (๐๗๔) ๔๔๕-๙๐๕-๖

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการร้านจำ�หน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ

17



การเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี

ปุยN-P-K เคมี

19


๑. คำ�นำ� เนือ่ งจากธุรกิจปุย๋ เคมีเป็นธุรกิจทีถ่ กู ควบคุมด้วยกฎหมายอย่างเข้มงวด มีบทลงโทษทีร่ นุ แรง คือ ทัง้ ปรับ ทั้งจ�ำ โทษจ�ำคุกสูงสุดถึง ๑๐ ปี หากได้มีการศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับความผิดที่มีโทษระดับจ�ำคุกแล้วจะ พบว่า การค้าปุ๋ยเคมีเป็นการค้าที่ล่อแหลมต่อการติดคุกเป็นอย่างมาก ความผิดที่อยู่ในระดับรุนแรงมาก คือ การผลิต การน�ำเข้า และการขายปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐานและปุ๋ยเคมี ปลอม ดังนั้นการประกอบธุรกิจขายปุ๋ยเคมีจึงต้องท�ำด้วยความระมัดระวังในทุกขั้นตอน การเคลื่อนย้ายปุ๋ยและการเก็บรักษาปุ๋ย เป็นกิจกรรมหรือเป็นขั้นตอนที่ผู้ค้ารายย่อยจะต้องเกี่ยวข้อง โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ กิจกรรมเช่นว่านี้มีผลต่อการเสื่อมคุณภาพของปุ๋ยอยู่พอสมควร โดยค�ำนิยามของ กฎหมายปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพบางลักษณะอาจเข้าข่ายเป็นปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐานหรือเป็นปุ๋ยเคมีปลอมได้ ข้อเขียนฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ค้าปุ๋ยโดยเฉพาะผู้ค้ารายย่อยมีความเข้าใจคุณสมบัติต่างๆ ที่ ส�ำคัญของปุ๋ยที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมคุณภาพของปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยที่บรรจุกระสอบตามสมควรและได้ เสนอแนะข้อควรปฏิบัติท่ีเหมาะสมในการเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาปุ๋ยเพื่อรักษาคุณภาพไว้ไม่ให้เสื่อม ไปโดยง่าย ๒. ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.๒๕๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐ ได้ให้ค�ำ นิยามปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพไว้อย่างครอบคลุมทั้งเหตุและผลดังนี้ ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่ล่วงอายุหรือถูกกระทบกระเทือนด้วยปัจจัยใดๆ อันท�ำให้ เสื่อมคุณภาพ โดยธาตุอาหารลดน้อยลง หรือเปลี่ยนสภาพไป จากค�ำนิยามของพระราชบัญญัติปุ๋ยฯ การเสื่อมคุณภาพ คือ ๑. ธาตุอาหารลดน้อยลง และ ๒. เปลี่ยนสภาพไป การเปลี่ยนสภาพไป คือ การที่สมบัติทางกายภาพของปุ๋ยเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นคุณภาพของปุ๋ยเคมี (ตามนิยามของกฎหมาย) จึงหมายถึง ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยและคุณสมบัติ ทางกายภาพของปุ๋ย ส่วนสาเหตุของการเสื่อมคุณภาพ คือ ๑. ล่วงอายุ คือ เป็นปุ๋ยที่เก็บไว้นานจนหมดอายุ ไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน หรือ ๒. ถูกกระทบกระเทือนด้วยปัจจัยใดๆ คือ ได้รบั การกระท�ำจากปัจจัยภายนอกต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ เสมอๆ ได้แก่ การกระทบกระแทกโดยแรง การเสียดสีกันเองของเม็ดปุ๋ยหรือเม็ดปุ๋ยกับของแข็งอื่นๆ การถูกกดทับ โดยของหนักมาก หรือการซ้อนทับกันเป็นเวลานานๆ การอยู่ในที่ที่ได้รับแสงแดดโดยตรง หรือการอยู่ในที่ที่มี ความชื้นสูง หรืออยู่ในที่ที่มีความร้อนสูง ฯลฯ ที่กล่าวมาทั้งหมดในข้อนี้เพื่อให้ทราบว่าการเสื่อมคุณภาพคืออะไร มีอะไรเป็นต้นเหตุ ๓. ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ย ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยจะแสดงไว้ (บนฉลากบนภาชนะบรรจุ) โดยสูตร เช่น ปุ๋ยสูตร ๑๓-๑๐-๒๐ ก็

20

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


หมายความว่า ในปุ๋ยนี้มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ๑๓% มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ๑๐% และมีโพแทสเซียม ที่ละลายน�้ำ ๒๐% ถ้าหากปริมาณธาตุอาหารต่างๆ มีไม่ครบตามจ�ำนวนดังกล่าวก็อาจเข้าข่ายเป็นปุ๋ยเคมี ผิดมาตรฐานหรือปุ๋ยเคมีปลอมได้ หากพิจารณาถึงสาเหตุของการที่ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยเคมีไม่ครบตามสูตรน่าจะเนื่องมาจากสาเหตุที่ ส�ำคัญๆ ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้ผลิตใส่ธาตุอาหารไว้น้อย คือ ไม่ครบตามสูตรที่แจ้งไว้จริงๆ ๒. ปุ๋ยมีธาตุอาหารครบตามสูตร แต่การสุ่มตัวอย่างไปตรวจสอบผิดพลาดท�ำให้ได้ตัวอย่างที่ไม่เป็น ตัวแทนที่ถูกต้อง ๓. ปุ๋ยมีธาตุอาหารครบ การสุ่มตัวอย่างถูกต้อง แต่การวิเคราะห์ไม่ถูกต้องหรือมีความคลาดเคลื่อน สูงท�ำให้ได้ค่าน้อยกว่าความเป็นจริง ๔. เกิดจากเหตุการณ์ผดิ ปกตินอกเหนือความคาดหมาย เช่น น�ำ้ ท่วมหรือไฟไหม้โกดังเก็บปุย๋ เป็นต้น จะเห็นได้วา่ สาเหตุของการทีป่ ยุ๋ มีปริมาณธาตุอาหารไม่ครบตามสูตรนัน้ โดยปกติทวั่ ไป (หากไม่เกิดไฟไหม้ หรือน�้ำท่วมกองปุ๋ย) ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาปุ๋ย แม้ว่าปุ๋ยนั้นจะเป็นปุ๋ยเก่าเก็บ มีอายุนานปี หากมีการเก็บรักษาเป็นอย่างดี ปริมาณธาตุอาหารก็ไม่สูญหายไปได้หรือไม่สูญหายจนกลายเป็น ปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐานหรือเป็นปุ๋ยเคมีปลอมได้ อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยเคมีที่ล่วงอายุแม้จะไม่ท�ำให้ปริมาณธาตุอาหารลดลง แต่ท�ำให้คุณสมบัติทางกายภาพ เปลี่ยนแปลงไปได้ ท�ำให้กลายเป็นปุ๋ยเสื่อมคุณภาพได้ สาระส�ำคัญประการหนึ่งในข้อนี้ คือ ปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐานและปุ๋ยเคมีปลอมโดยทั่วๆ ไป น่าจะเกี่ยวข้อง กับขั้นตอนการผลิต (จากโรงงาน) ขั้นตอนการเก็บตัวอย่าง และขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นส�ำคัญ ส่วนที่เข้าใจกัน ว่าเกิดจากการเสื่อมสภาพจากการเก็บรักษานั้นน่าจะเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ๔. คุณสมบัติทางกายภาพของปุ๋ยเคมีที่พึงประสงค์ ปุ๋ยเคมีที่ดีควรมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ส�ำคัญดังนี้ ๑. มีขนาดเม็ดที่สม�่ำเสมอจะท�ำให้ผู้ใช้สามารถหว่านหรือโรยปุ๋ยได้ในจ�ำนวนที่ต้องการอย่าง สม�่ำเสมอทั้งการท�ำงานด้วยคนหรือด้วยเครื่องจักร ๒. ไม่จับตัวเป็นก้อน (Caking) ยากต่อการใช้งาน ๓. ปุ๋ยมีคุณสมบัติที่ไหลลื่น (Free flow) การที่ปุ๋ยมีคุณสมบัติไหลลื่นท�ำให้สะดวกในการใช้และมี ความสม�่ำเสมอในปริมาณปุ๋ยที่ใช้ทั้งโดยคนและโดยเครื่องจักร ๔. ปราศจากฝุ่น (Dust free) ปุ๋ยที่ไม่มีฝุ่นท�ำให้สะดวกในการใช้ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ลด ความสูญเสียปุ๋ยจากการปลิวไปตามลมและไม่เป็นการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม โดยปกติโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีที่ดีมีมาตรฐานจะผลิตปุ๋ยเคมีที่มีปริมาณธาตุอาหารตรงตามสูตรและมี คุณสมบัติทางกายภาพที่ดีตามที่กล่าวแล้ว แต่เนื่องด้วยปัจจัยภายใน คือ ตัวของปุ๋ยเคมีเอง และปัจจัยภายนอก คือ การเก็บรักษาและสภาพของโกดังท�ำให้คุณสมบัติที่ดีดังกล่าวแล้วเปลี่ยนแปลงไปจนมีลักษณะเข้าข่ายเป็น ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพดังนี้ การเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี

21


๑. ปุ๋ยจับตัวเป็นก้อนแข็ง ๒. ปุ๋ยแตกป่นมีฝุ่นมาก ๓. ปุ๋ยชื้นไม่ไหลลื่น ดังนั้นเพื่อให้มีการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บปุ๋ยที่ดีไม่ให้มีการเสื่อมสภาพโดยเร็วจึงจ�ำเป็นต้องรู้จัก สมบัติต่างๆ ที่ส�ำคัญของปุ๋ยแต่ละชนิดตามสมควร ๕. สมบัติทางเคมีและกายภาพที่สำ�คัญของปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ โดยเฉพาะสารประกอบเคมีที่มักน�ำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผสมเป็นปุ๋ยผสมหรือที่มัก เรียกกันว่าแม่ปุ๋ย หรือรวมทั้งน�ำมาใช้เป็นปุ๋ยโดยตรงต่างก็มีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันไป หลายๆ ประการ แต่จะกล่าวถึงเฉพาะลักษณะและสมบัติที่มีผลต่อการท�ำให้ปุ๋ยที่มีคุณสมบัติดีเสื่อมลงจนกลาย เป็นปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ ๑. ขนาดเม็ด (Granule size) โดยทั่วๆ ไปปุ๋ยเคมีจะมีขนาดเม็ดอยู่ระหว่าง ๑–๕ มิลลิเมตร ทั้งขึ้น อยูก่ บั ชนิดของปุย๋ เคมีและกรรมวิธกี ารผลิตของโรงงาน ในการซือ้ ขายโดยทัว่ ไปจึงมักก�ำหนดให้อย่างน้อย ๙๐% โดยน�้ำหนักของปุ๋ยต้องมีขนาดเม็ดอยู่ระหว่าง ๑-๕ หรือ ๑-๔ หรือ ๒-๔ มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง การที่ปุ๋ยมีขนาดเม็ดสม�่ำเสมอกันนอกจากจะมีความสวยงามน่าใช้แล้ว ยังส่งผลต่อความสม�่ำเสมอในการใส่ปุ๋ย ทั้งแรงงานคนและเครื่องจักรด้วย ปุ๋ยที่มีขนาดเม็ดแตกต่างกันจะมีโอกาสที่พื้นผิวของเม็ดปุ๋ยสัมผัสกันมีมากขึ้น จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการจับตัวกันง่ายขึ้น ขนาดของเม็ดปุ๋ยโดยเฉพาะที่น�ำมาใช้เป็นแม่ปุ๋ยเพื่อผสมเป็นปุ๋ย สูตรต่างๆ โดยวิธีคลุกเคล้ากันโดยตรงยิ่งมีความส�ำคัญเป็นอย่างมาก เพราะขนาดเม็ดของแม่ปุ๋ยเป็นปัจจัยที่ ส�ำคัญที่จะก�ำหนดว่าปุ๋ยผสมที่ได้จะมีคุณภาพดีหรือไม่ แม่ปุ๋ยจะเข้ากันได้ดีหรือไม่ หรือจะมีการแยกตัวมาก น้อยเพียงไร ๒. ความสามารถในการดูดความชื้น (Hygroscopicity) ปุ๋ยแต่ละชนิดมีความสามารถในการดูด ความชื้นไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสมบัติต่างๆ ของปุ๋ยนั้นๆ หลายประการ เช่น ส่วนประกอบทางเคมี ความชื้น ภายในเม็ดปุ๋ย โครงสร้างของปุ๋ย พื้นที่ผิวของปุ๋ย ฯลฯ และขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิของอากาศภายในโกดัง และระยะเวลาในการสัมผัสกับความชื้น ฯลฯ โดยปกติปุ๋ยที่ละลายน�้ำได้ดีจะ มีความสามารถในการดูดความชืน้ จากอากาศได้ดี ปุย๋ ทีด่ ดู ความชืน้ จากอากาศได้ดกี จ็ ะมีแนวโน้มทีจ่ ะไม่ไหลลืน่ (Free flow) และจับตัวเป็นก้อนแข็ง (Cake) ได้ง่าย ความสามารถในการดูดความชื้นของปุ๋ยทราบได้จาก ค่าความชื้นสัมพัทธ์วิกฤติ (Critical Relative Humidity – CRH) ของปุ๋ยนั้นๆ ซึ่งก็คือ ค่าที่บอกให้ทราบว่าปุ๋ย นั้นจะเริ่มดูดความชื้นเมื่ออากาศมีความชื้นสัมพัทธ์เท่าไร (กี่ %) ปุ๋ยที่มีค่า CRH ต�่ำ เป็นปุ๋ยที่ชื้นง่ายเพราะ สามารถดูดความชื้นได้ในสภาวะที่อากาศมีความชื้นน้อย ปุ๋ยที่มีค่า CRH สูง เป็นปุ๋ยที่ชื้นยากเพราะอากาศจะ ต้องมีความชื้นมากๆ ปุ๋ยนั้นจึงจะเริ่มดูดความชื้น และเมื่อน�ำปุ๋ยมาผสมกัน ค่า CRH ของปุ๋ยผสมจะมีค่าต�่ำ กว่าเดิมเสมอ ดังแสดงไว้ในภาพที่ ๑

22

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


ภาพที่ ๑. ค่า CRH ของปุ๋ยและปุ๋ยผสมบางชนิด Urea Ammonium Nitrate AN Ammonium Nitrate Limestone CAN Ammonium Sulfate AS Ammonium Chloride Triple Superphosphate TSP Diammonium Phosphate DAP Monoammonium Phosphate MAP Potassium Chloride MOP Potassium Sulfate SOP Sodium Nitrate Nitric Phosphate Nitrate NPK Nitrate NPK Sulfate NPK Urea Ammonium Phosphate UAP Urea Ammonium Phosphate UAP

46-0-0

70

34-0-0

55

25-0-0

55

21-0-0

75

26-0-0

75

0-46-0

>80

18-46-0

70

12-50-0

70

0-0-60

70

0-0-50

75

16-0-0

72

20-20-0

55

20-10-10

55

17-17-17

55

13-13-13

70

28-28-0

50

35-17-0

55

% Relative Humidity

18 45 55

55

55

55

60

50

55

79

65

-

<45

-

<45

<45

-

<45

-

55

45

45

-

55 -

50 55

45

70

-

50 55

50 50

70

55

-

<45 50

50 60

65 65

55

55

55

55

60

55 -

55 <45

<45 50

70 65

55

55

55

60

55

55

67 73

50 <45

55 70

55

45 55

50 55

55 50

55

64

75

50

-

<45 50

50 55

55

68

65

65

<45 50

55 55

52

75

65

55 60

-

70

65

70

70

65

46 -

60

70

65

75

50 55

55

70

65

50 55

60

70

65

55

55

70

55

55

55

70

50

50

50

<45

<45 <45

-

ที่มา: Rutland and Polo, ๑๙๕๑.

ในปัจจุบันนี้โรงงานที่มีมาตรฐานจะมีการเคลือบเม็ดปุ๋ยด้วยสารป้องกันการดูดความชื้นและการจับตัว เป็นก้อนแข็งไว้แล้ว จึงท�ำให้ปัญหาปุ๋ยชื้นและจับตัวเป็นก้อนลดลงมาก อย่างไรก็ดีสารเคลือบเม็ดปุ๋ยก็มีหลาย ชนิดซึ่งมีคุณภาพและราคาแตกต่างกันไป คุณภาพของปุ๋ย (แม้จะเป็นปุ๋ยชนิดเดียวกัน) จึงขึ้นอยู่กับโรงงานผลิต เป็นอย่างมาก ๓. ความชื้นของปุ๋ย ในการผลิตปุ๋ยหลังจากปั้นเม็ดแล้วจะมีการอบเม็ดปุ๋ยด้วยลมร้อน เพื่อท�ำให้ เม็ดปุ๋ยแห้ง ปกติความชื้นของปุ๋ยที่ดีจะต�่ำกว่า ๑% ความชื้นของปุ๋ยเป็นคุณสมบัติที่ส�ำคัญมากประการหนึ่ง ปุ๋ยที่มีความชื้นต�่ำจะเก็บรักษาให้คงสภาพที่ดีได้นาน ๔. ความแกร่งของเม็ด (Granule hardness) คือ ความทนทานของเม็ดปุย๋ ต่อแรงกระแทกโดยไม่แตก มี ๓ ลักษณะคือ ๔.๑ ความทนทานต่อการบีบอัด (Mechanical strength หรือ Crushing strength) เช่น ความทนทานของเม็ดปุ๋ยต่อการเก็บซ้อนกันหลายๆ ชั้น เป็นต้น เม็ดปุ๋ยที่มีความทนทานต่อการบีบอัดต�่ำเม็ด ปุ๋ยก็จะแตกได้ง่าย มีแนวโน้มที่จะชื้นง่าย จับตัวกันเป็นก้อนง่าย มีฝุ่นมาก ฯลฯ ๔.๒ ความทนทานต่อการเสียดสี (Abrasion resistance) คือ ความทนทานเมื่อมีการเสียดสี กันเองของเม็ดปุ๋ยหรือเสียดสีกับผิวแข็งภายนอก เช่น การเสียดสีเมื่อมีการขนถ่ายจากไซโลสู่รถบรรทุก หรือเรือ หรือเมื่อบรรจุลงกระสอบ ฯลฯ เม็ดปุ๋ยที่มีความทนทานต่อการเสียดสีต�่ำก็จะแตกได้ง่าย การเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี

23


๔.๓ ความทนทานต่อการกระทบกระแทกกับผิวแข็ง (Impact resistance) เช่น การที่ปุ๋ยตก จากที่สูงกระทบกับพื้นหรือปุ๋ยถูกแรงเหวี่ยงกระทบผิวโลหะในการหว่านปุ๋ยโดยเครื่องจักร เป็นต้น ความแกร่งของเม็ดปุย๋ นอกจากจะขึน้ อยูก่ บั ชนิดของปุย๋ (องค์ประกอบทางเคมีและส่วนผสมของปุย๋ ) และ วิธกี ารปัน้ เม็ดของโรงงานผลิตแล้ว ยังขึน้ อยูก่ บั การกระทบกระแทกระหว่างการเคลือ่ นย้าย การขนส่ง แรงบีบอัด และระยะเวลาการบีบอัดระหว่างการเก็บรักษาด้วย ๖. การเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษา ตามที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าการเสื่อมคุณภาพของปุ๋ยเคมีมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ หลาย ประการถูกก�ำหนดมาแล้วหรือเป็นลักษณะที่ติดตัวปุ๋ยเคมีมาแล้วตั้งแต่ออกจากโรงงานผลิต เช่น ขนาดเม็ด ความสามารถในการดูดความชื้น ความแกร่งของเม็ดหรือปริมาณฝุ่น ฯลฯ เมื่อปุ๋ยที่บรรจุในกระสอบแล้วมาถึง มือร้านค้าปุ๋ยก็ไม่สามารถจะแก้ไขลักษณะเหล่านั้นให้ดีขึ้นได้ เพียงแต่พยายามรักษาคุณภาพของปุ๋ยที่มีอยู่ไม่ให้ เสื่อมไปหรือคงไว้ให้นานที่สุดซึ่งควรปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้ ๑. การเคลื่อนย้ายปุ๋ยหรือการขนส่งปุ๋ยควรท�ำอย่างระมัดระวังไม่ให้มีการกระชากลากถูกระสอบ ปุย๋ อย่างรุนแรงหรือโยนกระสอบปุย๋ จากทีส่ งู ทัง้ นีก้ เ็ พือ่ ลดการแตกของเม็ดปุย๋ และการฉีกขาดของกระสอบ และ ในระหว่างการขนส่งควรมีการคลุมด้วยวัสดุทกี่ นั น�ำ้ และกันแสงแดดได้เพือ่ ป้องกันการเปียกชืน้ และการเสือ่ มสภาพ ของภาชนะบรรจุ

อยาใชตะขอเกี่ยวกระสอบปุย กระสอบปุยมีน้ำหนักมาก ควรใชแรง ๒ คนยก หรือใชรถลาก ๒. ไม่ควรเก็บปุย๋ ไว้นอกอาคาร หรือในทีท่ ปี่ ยุ๋ สัมผัสกับความชืน้ และแสงแดดโดยตรง เพราะความชืน้ และแสงแดดสามารถท�ำลายคุณภาพของภาชนะบรรจุและท�ำให้คณ ุ ภาพปุย๋ เสือ่ มลงได้

เก็บปุยไวในที่ที่มีอากาศถายเทสะดวกในเวลากลางวัน และปดหนาตางในเวลากลางคืน และเมื่อมีฝนตก

24

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๓. โกดังเก็บปุ๋ยควรอยู่ในที่สูงน�้ำไม่ท่วม มีความสูงโปร่ง มีการระบายอากาศได้ดีเพื่อไม่ให้อุณหภูมิ ภายในสูง พื้นและผนังของโกดังควรจะกันความชื้นได้ดีทั้งจากด้านข้างและความชื้นจากพื้นดิน

โกดังเก็บปุย

โกดังเก็บปุยควรจะสามารถปองกันแสงแดดและฝนได และปลอดภัยจากโจรขโมยดวย ๔. การจัดเรียงกองปุ๋ยควรจัดเรียงบนฐานรอง (Pallet) หรือปูพื้นด้วยวัสดุกันน�้ำและไม่ควรกองสูง เกินไป ปกติการเรียงกองปุ๋ยมักอยู่ระหว่าง ๒๐-๔๐ ชั้นขึ้นอยู่กับชนิดปุ๋ย สภาพของโกดัง สภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ อาจต้องใช้ประสบการณ์มาช่วยในการตัดสินใจด้วย การที่ไม่แนะน�ำให้กองปุ๋ยสูงๆ นั้น นอกจากจะป้องกันแรง กดทับที่สูงเกินไปแล้ว ยังควรค�ำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้วย ควรมีการคลุมกองปุ๋ยด้วยผ้าใบหรือ พลาสติกด้วยเพื่อป้องกันแสง ความชื้น และฝุ่นละออง ท�ำให้ปุ๋ยดูใหม่อยู่เสมอ

แผนไมที่เรียกวา Pallet ดังรูป สามารถปองกันความชื้นจากพื้นขึ้นไปสูกระสอบปุยได

การจัดเรียงกระสอบชั้นลางสุด

การจัดเรียงกระสอบชั้นที่ ๒

ควรวางกระสอบซอนกันเปนรูปกากบาท

การเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี

25


๕. ควรใช้อุปกรณ์ล�ำเลียง (Conveyer) เคลื่อนย้ายปุ๋ยจากยอดกองสูงๆ แทนการผลักให้ตกลงมา กระแทกพื้น เป็นการลดความเสียหายได้มาก เม็ดปุ๋ยไม่แตก กระสอบปุ๋ยทั้งชั้นนอกและชั้นในไม่แตกเสียหาย

กระสอบถาวางเรียงไมดี จะหลนลงมาและแตกได ๖. เมื่อมีปุ๋ยหกเรี่ยราดบนพื้นโกดังควรท�ำความสะอาดทันที หากมีปุ๋ยเปียกชื้นบนพื้นควรใช้วัสดุที่ ดูดซับความชื้นได้ เช่น ทราย หรือขี้เลื่อยโรยทับแล้วกวาดใส่ภาชนะเก็บออกไป ๗. ในโกดังเก็บปุย๋ ควรมีพนื้ ทีว่ า่ งพอสมควร เพือ่ การท�ำงานเปลีย่ นถ่ายกระสอบในกรณีทจี่ ำ� เป็นหรือ การเคลือ่ นย้ายกอง ฯลฯ ๘. ควรใช้หลักการ first in first out มาบริหารจัดการการเก็บรักษาปุย๋ ไม่ควรกองเก็บปุย๋ ไว้เป็นเวลา นานๆ เพราะปุย๋ ชัน้ ล่างๆ ของกองมีแนวโน้มทีจ่ ะจับตัวเป็นก้อนแข็งตามระยะเวลาทีเ่ ก็บและความสูงของกอง ๙. เนือ่ งจากคุณสมบัตติ า่ งๆ ของปุย๋ ถูกก�ำหนดหรือติดตัวมาแล้วจากโรงงานผลิต ร้านค้าปุย๋ จึงควร เลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์ทผี่ ลิตจากโรงงานทีด่ มี มี าตรฐานมาจ�ำหน่าย ตลอดจนท�ำความเข้าใจกับผลิตภัณฑ์นน้ั ๆ อย่างดี โดยขอข้อมูลทีล่ ะเอียดเกีย่ วกับชนิดและคุณสมบัตขิ องปุย๋ ตามทีก่ ล่าวแล้วจากผูข้ าย ๗. เอกสารประกอบการเขียน - พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.๒๕๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐, กลุ่ม ควบคุมปุ๋ย ส�ำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร - Clayton, W. E., ๑๙๙๓. Principles of Warehousing. Document for Fertilizer Marketing Training Program, December ๖-๑๗, ๑๙๙๓, Bangkok, Thailand. IFDC and Department of Agricultural Extension, Thailand. - Fertilizer Industry Federation of Australia, Inc. & CSIRO, ๒๐๐๖. Australian Soil Fertility Manual : Handling and Using Fertilizers. - Good storage and handling practices for nitrogen fertilizers. www.ociagro.com - Rutland, D. and J. Polo, ๑๙๕๑. Fertilizer Dealer Handbook : Products, Storage, and Handling. IFDC Publications, ๒๐๐๕. - United Nations Industrial Development Organization and International Fertilizer Development Center, ๑๙๙๘. Fertilizer Manual. Kluwer Academic Publishers, The Netherlands.

26

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


การเก็บรักษาวัตถุอันตราย: สารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืช

27


คำ�นำ� การเก็บรักษาสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืช ทั้งในระดับโรงงานของบริษัทผู้ผลิตและในระดับร้านค้าปลีก ผู้จ�ำหน่ายสินค้าถึงเกษตรกร มีความส�ำคัญอย่างยิ่งยวดต่อผู้ประกอบการ เพราะสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืช จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุอันตราย ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งจะต้องมีกฎระเบียบ การควบคุม การเก็บรักษา การครอบครอง ตลอดจนการใช้ในการเกษตร ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เป็นประการส�ำคัญ เนือ่ งจากกฎระเบียบเกีย่ วกับสารเคมีปอ้ งกันก�ำจัดศัตรูพชื มีรายละเอียดมากมายหลายด้านดังกล่าวข้างต้น คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรนี้ จึงจะขอกล่าวเพียงเรื่อง การเก็บรักษา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทั้ง ในด้านความปลอดภัยและการจัดเก็บสินค้าอย่างมีมาตรฐานที่จะช่วยรักษาอายุคุณภาพของสารเคมี ส�ำหรับ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกที่จ�ำหน่ายสินค้าสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืช เท่านั้น สถานที่เก็บรักษา มาตรฐานทางด้านวิศวกรรมของอาคารสถานที่เก็บรักษานั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ก�ำหนดและให้ ค�ำแนะน�ำอย่างละเอียดไว้ในประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุ อันตราย พ.ศ.๒๕๕๐ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๑) ซึ่งผู้ประกอบการร้านค้าจะ ต้องปฏิบัติตามอยู่แล้วเมื่อไปยื่นขอใบอนุญาตสร้างอาคารเก็บสินค้าต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม สิง่ ทีอ่ ยากเน้นเกีย่ วกับสถานทีเ่ ก็บรักษา คือ เรือ่ งระบบระบายอากาศ เพราะสถานทีเ่ ก็บรักษาสารเคมี ป้องกันก�ำจัดศัตรูพชื ต้องการสภาพอากาศทีแ่ ห้ง ไม่ชนื้ ภายในอาคารจึงต้องมีระบบระบายอากาศทีด่ ี ซึง่ จะ มีประโยชน์ในด้านการรักษาอายุ (storage shelf-life) ของสารเคมี เพราะความชืน้ จะมีผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพและทางด้านเคมีของสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืชหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ สารเคมีบางชนิดมีคณ ุ สมบัตริ ะเหยง่าย มีกลิน่ ฉุนรุนแรง การระบายอากาศในอาคารอยูต่ ลอดเวลาจะช่วยลด อันตรายทีเ่ ข้าสูร่ า่ งกายทางด้าน การสูดดม (inhalation) ต่อผูท้ เี่ ข้าไปปฏิบตั งิ านในโรงเก็บสารเคมี wind direction

ระบบระบายอากาศที่ดีในโรงเก็บสารเคมี (ภาพจาก CropLife International: Guidelines for the safe warehousing of crop protection products, October ๒๐๐๖)

28

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


การจำ�แนกประเภทสารเคมีในการจัดเก็บ สารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืช สามารถแยกออกตามประเภทการใช้งาน คือ สารป้องกันก�ำจัดวัชพืช สาร ป้องกันก�ำจัดแมลงและไรศัตรูพืช สารป้องกันก�ำจัดโรคพืช สารก�ำจัดหอยและหนูศัตรูพืช ซึ่งสารแต่ละประเภท ควรจัดเก็บแยกออกจากกันให้ชัดเจน รวมทั้งสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืชก็ควรจัดเก็บแยกออกจากปุ๋ยเคมี (Chemical Fertilizers) สารเคมีในรูปของเหลว ควรจัดวางแยกให้ห่างจากสารเคมีที่อยู่ในรูปของแข็ง เช่น สาร เคมีทเี่ ป็นผงละลายน�ำ้ (wettable powder) เพือ่ หลีกเลีย่ งการหกรัว่ ไหลของสารเคมีทเี่ ป็นของเหลวไปปนเปือ้ น หรือหากจัดเก็บเป็นชั้นจะต้องจัดสารเคมีที่เป็นของเหลวอยู่ชั้นล่าง สารเคมีที่เป็นของแข็งอยู่ชั้นบน การปนเปื้อนของสารเคมี (cross-contamination) เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้นในโรงเก็บ รักษา เพราะจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพเมื่อเกษตรกรน�ำไปใช้ หรืออาจถึงขั้นเป็นอันตรายต่อพืชปลูก เช่น สารเคมี ๒,๔-D ซึ่งระเหยง่าย มีโอกาสปนเปื้อนกับสารอื่นๆ ได้ง่าย แม้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นพิษ ต่อพืชปลูกได้ ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะน�ำให้แยกการจัดเก็บสารป้องกันก�ำจัดวัชพืช สารป้องกันก�ำจัดแมลง สาร ป้องกันก�ำจัดโรคพืช ออกจากกันให้ชัดเจน สารเคมีที่ลักษณะเป็นเหยื่อพิษ (poison baits) เช่น สารก�ำจัดหนู ก็ ควรแยกออกจากสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืชอื่นๆ เพราะสารอาหารที่ใช้เป็นเหยื่อล่ออาจดูดซับกลิ่นเข้าไป ท�ำให้เหยื่อพิษขาดประสิทธิภาพในการล่อเหยื่อ การจัดระเบียบการเก็บสินค้า ก่อน-หลัง ตามล�ำดับของวันที่ สินค้าเข้าโรงเก็บสินค้า ก็ยงั เป็นประโยชน์ในการระบายสินค้าแบบทีเ่ รียกว่า เข้าก่อน-ออกก่อน (first in - first out) เพื่อลดปัญหาสารเคมีค้างสต๊อกนานจนเกิดการเสื่อมสภาพของสินค้า

KEEP CLEAN

การจัดจ�ำแนกประเภทของสารเคมีที่ชัดเจน (ภาพจาก CropLife International: Guidelines for the safe warehousing of crop protection products, October ๒๐๐๖)

ข้อเสียและผลกระทบต่อสารเคมีในสภาพการจัดเก็บที่ไม่เหมาะสม การเก็บรักษาสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืชในโรงเก็บให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีความส�ำคัญ อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการร้านค้าที่จ�ำหน่ายสินค้าสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืช เพราะหากสภาวะการเก็บรักษา อยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสม จะมีข้อเสียต่อการประกอบธุรกิจมาก อีกทั้ง ยังมีผลกระทบต่อคุณภาพและอายุการ ใช้งานของสารเคมี ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจสารเคมีเกษตร จึงต้องให้ความส�ำคัญกับมาตรฐานการเก็บรักษา สารเคมีในโรงเก็บเป็นอย่างมาก การเก็บรักษาวัตถุอันตราย: สารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืช

29


อุณหภูมิ อากาศที่ร้อนจะมีผลกระทบต่อสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืชหลายๆ ชนิด ตัวอย่างเช่น สารก�ำจัดแมลง อะซีเฟต (acephate) จะสลายตัวอย่างรวดเร็วทีอ่ ณ ุ หภูมทิ สี่ งู กว่า ๔๐ องศาเซลเซียส สารก�ำจัดแมลงมาลาไธออน (malathion) จะสลายตัวในอุณหภูมิที่สูงกว่า ๕๐ องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่ต�่ำเกินไป (ต�่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส) ก็ทำ� ให้สารเคมีบางชนิดสลายตัวเช่นกัน หรืออาจท�ำให้ภาชนะบรรจุเสียหายได้เมือ่ สารเคมีแข็งตัว แต่ในเขตร้อน ปัญหาเรื่องอุณหภูมิต�่ำคงไม่เกิดขึ้น ค�ำแนะน�ำส�ำหรับควบคุมอุณหภูมิในโรงเก็บโดยทั่วไป จึงอยู่ระหว่าง ๕-๓๗ องศาเซลเซียส สารเคมีบางชนิด เช่น สารก�ำจัดวัชพืช ทู โฟ ดี (๒,๔-D) มีคุณสมบัติเฉพาะตัว คือ ระเหยได้ง่าย โดยเฉพาะในโรงเก็บที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งอาจท�ำให้ไปปนเปื้อนกับสารเคมีอื่นๆ ที่วางไว้ชิดติดกัน นี่คือเหตุผลของ ค�ำแนะน�ำให้จัดวางสารเคมีแต่ละประเภทให้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมี ข้ามชนิดกัน ความชื้น สารเคมีปอ้ งกันก�ำจัดศัตรูพชื บางชนิด จะสลายตัวเมือ่ ถูกอากาศ เรียกว่า ปฏิกริ ยิ าอ๊อกซิเดชัน่ (oxidation) และโดนความชื้น เช่น มาเนบ (maneb) แมนโคเซบ (mancozeb) การเก็บรักษาสารเคมีเหล่านี้ จึงต้องอยู่ใน ภาชนะบรรจุที่ปิดแน่นและไม่โดนความชื้นจากภายนอก นอกจากนี้ ในสภาพที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นและมีความชื้น ก็จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา อ็อกซิเดชั่น ท�ำให้สารเคมีติดไฟได้ง่าย (combustible) การป้องกันความชืน้ ทีจ่ ะขึน้ มาจากพืน้ ดิน จึงไม่ควรวางหีบห่อหรือภาชนะบรรจุสารเคมีลงบนพืน้ โรงเก็บ โดยตรง ควรวางให้สูงจากพื้นดิน เพื่อให้มีช่องระบายอากาศและความชื้น การรับประกันคุณภาพสินค้าภายใต้การจัดเก็บที่มีมาตรฐาน เป็นการยากที่จะก�ำหนดอายุแน่นอนของการใช้งานของสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืช ขึ้นอยู่กับสภาพ การเก็บรักษา แต่โดยทั่วไปบริษัทผู้ผลิตสารเคมีจะแนะน�ำให้ผู้จ�ำหน่ายสินค้าสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืช เก็บสินค้าสารเคมีไว้ไม่เกิน ๒ ปี ดังนั้นมาตรฐานปฏิบัติในทางอุตสาหกรรมสารเคมีเกษตร บริษัทผู้ผลิตเกือบ ทั้งหมด จึงไม่รับประกันคุณภาพสินค้าที่มีอายุการเก็บเกินกว่า ๒ ปีขึ้นไป เพราะภายใต้สภาพโรงเก็บที่มี อุณหภูมิและความชื้นสูง สารเคมีหลายๆ ชนิด จะสูญเสียสภาพทางกายภาพและทางเคมีได้รวดเร็วกว่าที่ควร จะเป็น สารเคมีที่อยู่ในรูปเป็นผงแห้งอาจจะจับตัวเป็นก้อน สารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลวน�้ำมัน (emulsifiable concentrates) จะแยกชั้น ภาชนะบรรจุอาจจะผุกร่อน แตก แยก ฉีกขาด หรือปิดไม่สนิท ซึ่งจะท�ำให้สินค้า เสื่อมคุณภาพได้ในระหว่างการเก็บรักษา กล่าวโดยสรุป อายุการใช้งานและคุณภาพของสารเคมีปอ้ งกันก�ำจัดศัตรูพชื จากวันผลิตจนถึงมือผูใ้ ช้ ปัจจัยส�ำคัญขึ้นอยู่กับ สภาพของโรงเก็บรักษาและมาตรฐานวิธีการเก็บรักษา แนะน�ำให้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูล การเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย ได้จากเอกสาร ต่อไปนี้ • ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๕๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๕ง ๒๒ มกราคม ๒๕๕๑) • คูม่ อื การบริหารและการจัดการสารเคมีอนั ตรายในสถานประกอบการ ส�ำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร • Guidelines for the safe warehousing of crop protection products, CropLife International, October ๒๐๐๖

30

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


เรียบเรียงโดย ดร.สุจินต์ จันทรสอาด อุปนายกสมาคมไทยธุรกิจเกษตร และรองประธานคณะกรรมการฝ่าย วิชาการสมาคมการค้าปุย๋ และธุรกิจการเกษตรไทย เอกสารประกอบการเรียบเรียง ๑. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๕๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๕ง ๒๒ มกราคม ๒๕๕๑) ๒. คูม่ อื การบริหารและการจัดการสารเคมีอนั ตรายในสถานประกอบการ ส�ำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ๓. Warehousing Standard Bulletin, Agrochemical Warehousing Standard Association, January, ๒๐๐๕ ๔. Guidelines for the safe warehousing of crop protection products, CropLife International, October ๒๐๐๖ ๕. Pesticide storage, Wild Blueberry Fact Sheet C.๑.๔.๐, New Brumswick, Canada ๖. Shelf life of pesticides, Pesticide Management Education Program, Cornell University ๗. Guidelines for retail distribution of pesticides with particular reference to storage and handling at point of supply to users in developing countries, FAO ๘. Agricultural pesticide storage, Oklahoma Cooperative Extension Service, Oklahoma State University, EPP-๗๔๕๑ ๙. Best management practices for pesticide and fertilizer storage and handling, Colorado State University, Cooperative Extension Bulletin, August, ๑๙๙๔

การเก็บรักษาวัตถุอันตราย: สารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืช

31



การดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์

33


คำ�นำ� เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี จะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากฝุ่นผงหรือเศษของพืชปะปนมา จะต้องมี เปอร์เซ็นต์ความงอกสูง และเมือ่ น�ำไปปลูกแล้วจะต้องเป็นพันธุท์ ตี่ รงตามทีผ่ ขู้ ายได้ระบุไว้บนซองบรรจุเมล็ดพันธุ์ การได้มาซึง่ พันธุด์ แี ละคุณภาพเมล็ดพันธุท์ ดี่ นี นั้ ขึน้ อยูก่ บั ผูผ้ ลิตเมล็ดพันธุซ์ งึ่ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษทั เมล็ดพันธุท์ ี่ เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้อยู่ แต่เมื่อเมล็ดพันธุ์ได้ส่งต่อมายังร้านค้าจ�ำหน่ายเมล็ดพันธุ์ต่อไปยังผู้ปลูกนั้น ร้านค้า จะต้องดูแลเมล็ดพันธุน์ นั้ อย่างดีตอ่ ไป มิฉะนัน้ แล้วเมล็ดพันธุท์ มี่ คี ณ ุ ภาพดีอยูแ่ ล้วอาจจะเสือ่ มคุณภาพได้เช่นกัน ท�ำให้ผู้ปลูกต้องเสียเงินและเสียแผนการปลูก นอกจากนี้ยังอาจท�ำให้บริษัทผู้ผลิตเสียชื่อไปด้วย อย่างไรก็ตาม เมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดมีอายุการเก็บรักษาต่างกัน ถึงแม้จะรักษาในสภาพเดียวกันก็ตาม ดังนั้นการที่จะเก็บรักษา เมล็ดพันธุ์ให้อยู่ได้นานนั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ผลิตเมล็ดพันธุ์และการดูแลเมล็ดพันธุ์หลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีก่อนการบรรจุ เก็บรักษาและจ�ำหน่ายต่อไป ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ปัจจัยที่ส�ำคัญคือความชื้นของเมล็ดพันธุ์และอุณหภูมิที่เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ โดยเมล็ดพันธุ์ควรมีความชื้น ๖-๘ เปอร์เซ็นต์ เพราะหากความชื้นของเมล็ดสูงเกินไปจะท�ำให้เกิดการระบาด ของเชื้อราและแมลง นอกจากนี้อุณหภูมิที่เหมาะสมส�ำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ควร อยู่ที่ประมาณ ๒๕ องศาเซลเซียส เพราะหากอุณหภูมิสูงเกินไปจะท�ำให้เมล็ดพันธุ์เสื่อมสภาพโดยเร็ว และท�ำให้ เก็บรักษาได้ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กฎหมายก�ำหนด ปัจจัยที่มีผลต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ • คุณภาพเริ่มต้นของเมล็ดพันธุ์ : ลักษณะเมล็ดพันธุ์ดี • ภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ • ปัจจัยที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ • สถานที่เก็บเมล็ดพันธุ์ • วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เพื่อรอการจ�ำหน่าย พันธุ์ดี • เป็นที่ต้องการของตลาด • มีความสม�่ำเสมอในสายพันธุ์ • ทนทานต่อโรคและแมลง • ให้ผลผลิตสูง (อาจจะไม่จ�ำเป็นเสมอไป) เช่น ดอกสวย ดอกใหญ่ในดอกไม้ ผลดกในแตงกวา มะระ แต่ไม่ใช่ในแคนตาลูป เป็นต้น

พันธุ์ดีมาจากการค้นคว้าวิจัยปรับปรุงพันธุ์

34

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


คุณภาพเมล็ดพันธุ์ • มีความบริสุทธิ์ทางพันธุกรรม (ตรงตามพันธุ์) • มีความบริสุทธิ์ทางกายภาพ (สะอาด ปราศจากสิ่งเจือปน) • มีความมีชีวิตสูง (ความงอกดี) • มีความแข็งแรงสูง (งอกได้เร็ว สม�่ำเสมอ ในทุกสภาพแวดล้อม) • ปราศจากโรคและแมลงติดมากับเมล็ด • มีความชื้นในระดับที่เหมาะสมส�ำหรับการเก็บรักษา

พันธุ์ดีปลูกแล้วต้องมีการเจริญเติบโตที่สม�่ำเสมอ

พันธุ์ดีให้ผลผลิตสูง

พันธุ์ดีให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ตลาดต้องการ

พันธุ์ดีให้คุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด

การดูเมล็ดพันธุ์ดีจากสภาพภายนอก • เมล็ดพันธุ์ดี ควรมีสีสดใส สะอาด • เมล็ดเก่า จะมีสีขุ่นมัว คล�้ำ • ไม่ควรมีเศษผง เมล็ดแตกหัก • ปราศจากโรคและแมลงติดมา • ไม่มีรอย รูเจาะของแมลง - พบมากในถั่ว ผักบุ้ง ข้าวโพด

การดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์

35


เมล็ดใหม่สีสดใส

สีของเมล็ดบอกอายุของเมล็ดได้

36

เมล็ดสะอาด

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

เมล็ดสกปรก


เมล็ดที่ถูกแมลงเข้าท�ำลาย

เมล็ดเคลือบสี COATED SEEDS • เมล็ดเคลือบสี มีสีสวยแต่บอกไม่ได้ว่าใหม่/ดีหรือเปล่า • แต่ส่วนใหญ่จะไม่เคลือบเมล็ดคุณภาพต�่ำเพราะไม่คุ้มกับการลงทุน การพิจารณาเมล็ดพันธุ์ดีจากลักษณะภายใน • ความชื้นในเมล็ดต�่ำ • มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง • มีความแข็งแรงสูง

เมล็ดความงอกสูง และความแข็งแรงสูง

เมล็ดพันธุ์ที่ดีต้องมีความงอกสูง

การดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์

37


ความแข็งแรงของเมล็ด (SEED VIGOR) • เป็นสมบัติภายในเมล็ดที่ท�ำให้เมล็ดนั้น - เก็บรักษาได้นาน - ทนทานต่อโรคและแมลง - งอกเร็วและสม�่ำเสมอ - ให้ผลผลิตสูง เมล็ดพันธุ์อ่อนแอ (LOW VIGOR) • พันธุ์ไม่ดี • เมล็ดเก่า เมล็ดลีบ/ไม่เต่ง - หมดอายุ หรือเมล็ดอ่อน • ไม่ทนโรคและแมลง • งอกช้าและไม่สม�่ำเสมอ • เก็บรักษาได้ไม่นาน (ไม่ทนอุณหภูมิและความชื้น)

38

<< เมล็ดแข็งแรงงอกได้เร็ว และสม�่ำเสมอ

<< เมล็ดอ่อน

<< ความงอกสูงแต่ความแข็งแรงต�่ำ

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


บรรจุภัณฑ์สำ�หรับเมล็ดพันธุ์ • ถุงพลาสติกสาน • ถุงพลาสติกหนา • กระป๋องปิดสนิท • ถุง ALUMINUM FOIL • ขวดโหลปิดสนิท

ถุงพลาสติกสานป้องกันน�้ำแต่ไม่ป้องกันความชื้น ถุงพลาสติกหนา < ๒ มม. ป้องกันน�้ำแต่ไม่กันความชื้น

กระป๋องโลหะ กันน�้ำและความชื้นได้

ซองอลูมินั่มฟอยด์ : ป้องกันน�้ำและความชื้นได้

ขวดโหลแก้วถ้าฝาปิดสนิทป้องกันน�้ำและความชื้นได้ ถุงพลาสติกบางหรือถุงซิปไม่สามารถป้องกันความชื้นได้

การดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์

39


ใครรับผิดชอบต่อการรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ? • ตรงตามพันธุ์ ผู้ผลิต - ตรงตามที่ระบุไว้ที่ซอง • สะอาด ผู้ผลิต • ความงอกสูง ผู้ผลิตและผู้ค้า • ความแข็งแรงสูง ผู้ผลิตและผู้ค้า - (งอกเร็วและสม�่ำเสมอ) ระยะเวลาของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ • ระยะสั้น - ๑-๒ ปี (เพื่อการจ�ำหน่าย) • ระยะปานกลาง - ไม่เกิน ๓-๕ ปี (เมล็ดพันธุ์หลัก) • ระยะยาว - ๑๐ ปีขึ้นไป (เชื้อพันธุกรรม) ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการเก็บรักษา • ปัจจัยภายในเมล็ดพันธุ์ - ชนิดพืช - ความแข็งแรง/ความงอกเริ่มต้น - ความชื้นเริ่มต้นในเมล็ด • ปัจจัยสภาพแวดล้อม - ความชื้นในอากาศ (ความชื้นสัมพัทธ์%) - อุณหภูมิอากาศ - สุขอนามัยในโรงเก็บ (ความสะอาด) อายุการเก็บรักษาของพืช • เมล็ดพืชที่มีอายุการเก็บรักษานาน ๑-๒ ปี - ข้าว ข้าวโพด ถั่วเขียว พืชผักบางชนิด • เมล็ดพืชที่มีอายุการเก็บรักษาสั้นกว่า ๑ ปี (มีน�้ำมันอยู่ในเมล็ดมาก) - ถั่วเหลือง - ถั่วลิสง - เมล็ดทานตะวัน - ดอกไม้ต่างๆ - มะระ แตงกวา

40

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


บทบาทความชื้นในเมล็ดต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ความชื้น (%)

> ๔๐

๑๘ - ๒๐

> ๑๒

สภาพที่เกิดขึ้นกับเมล็ด เมล็ดเริ่มงอก เกิดความร้อนสะสม เชื้อราและแมลงท�ำลาย

๘ - ๙

แมลงยังเข้าท�ำลายได้

๕ - ๘

ปลอดภัยในภาชนะปิด

• ความชื้นในเมล็ดยิ่งสูง เมล็ดยิ่งเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น - ความชืน้ ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ๑ % จะลดอายุการเก็บรักษาลง ๑ เท่าตัว ระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์ที่ปลอดภัยต่อการเก็บรักษา พืช

ความชื้นในเมล็ดระดับที่ปลอดภัย

ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวเปลือก ข้าวสาร ถั่วลิสง ถั่วอื่นๆ

๑๓% ๑๓% ๑๒.๕% ๑๔% ๑๓% ๗% ๑๕%

บทบาทความชื้นในอากาศต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ • เมล็ดพันธุ์สามารถรับและถ่ายเทความชื้นกับอากาศได้ตลอดเวลา ชนิดพืช

๔๐

ข้าวโพด เมล็ดขาว ข้าวโพด เมล็ดเหลือง ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวเปลือก (Paddy) ข้าวสาร (Rice) ถั่วลิสง

๙.๓ ๘.๔ ๙.๘ ๑๐.๐ ๙.๒ ๙.๐ ๕.๔

ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (%) ๕๐ ๖๐ ๗๐ ๘๐ ความชื้นสมดุลย์ของเมล็ดพืช (%) ๑๐.๖ ๑๒.๑ ๑๓.๘ ๑๖.๑ ๙.๗ ๑๑.๓ ๑๓.๑ ๑๕.๕ ๑๑.๐ ๑๒.๑ ๑๓.๘ ๑๕.๘ ๑๑.๑ ๑๒.๗ ๑๔.๒ ๑๖.๔ ๑๐.๔ ๑๑.๖ ๑๓.๐ ๑๔.๘ ๑๐.๔ ๑๑.๗ ๑๓.๐ ๑๔.๖ ๖.๘ ๗.๗ ๙.๑ ๑๑.๖

๙๐ ๑๙.๖ ๑๙.๒ ๑๘.๙ ๒๐.๓ ๑๗.๖ ๑๖.๗ ๑๖.๐

การดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์

41


บทบาทของอุณหภูมิต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ • อุณหภูมิสูง เร่งการเสื่อมอายุของเมล็ดพันธุ์ให้เร็วขึ้น - การลดอุณหภูมิลงทุกๆ ๕-๖ องศาเซลเซียส ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอีก ๑ เท่าตัว ความงอกหลังการเก็บรักษานาน ๘ เดือน สภาพการเก็บรักษา อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ (%)

ข้าวโพดหวาน

ถั่วลิสง

เริ่มต้น ๘๒%

เริ่มต้น ๘๓%

๕๐%

๗๙

๗๐

๖๖%

๖๙

๖๐

๘๑%

๕๗

๔๙

๔๔%

๗๐

๕๘

๖๖%

๖๖

๒๙

๗๘%

องศาเซลเซียส

๑๐

๒๗

หลักการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ • เก็บเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีเท่านั้น - มีความชื้นต�่ำ - มีความงอกและความแข็งแรงสูง • เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในสถานที่แห้ง - ความชื้นในเมล็ดที่ลดลงทุกๆ ๑% จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้อีก ๑ เท่าตัว • เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในสถานที่เย็น - อุณหภูมิอากาศที่ลดลงทุกๆ ๕ องศาเซลเซียส ช่วยยืดอายุการเก็บอีก ๑ เท่าตัว สถานที่ที่ควรเก็บเมล็ดพันธุ์ • สถานที่ที่แห้งและเย็น - โรงเก็บแบบปรับอากาศ (ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์) - โรงเก็บแบบธรรมดา (ไม่ปรับอากาศ) - ห้องที่มิดชิด กันน�้ำ และแสงแดดได้ - สถานทีเ่ ป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกับวัสดุอน่ื ๆ เช่น ปุย๋ เคมี ปุย๋ อินทรีย์ สารก�ำจัดศัตรูพชื วัสดุและเครือ่ งมือ การเกษตรอื่นๆ (กระสอบ เครื่องมือการเกษตร ฯลฯ)

42

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในร้านจำ�หน่ายเมล็ดพันธุ์ - การวางเมล็ดพันธุ์ในร้านค้าเพื่อการจ�ำหน่าย - การเก็บเมล็ดพันธุ์ในห้องเก็บเมล็ดพันธุ์ การวางเมล็ดพันธุ์ไว้ในร้านค้าเพื่อการจำ�หน่าย - ไม่วางปะปนกับปุ๋ยและสารเคมี - ไม่วางให้เมล็ดสัมผัสกับพื้นโดยตรง - ไม่วางในสถานที่ที่แสงแดดส่องถึง หรือสัมผัสกับความร้อน - ไม่วางในบริเวณที่ใกล้กับความชื้น (ละอองฝน) การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในห้องเก็บ(ของ)รักษา - ควรเป็นห้องที่ไม่ชื้น อับ - ควรเป็นห้องที่เย็น และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก - เป็นห้องที่สะอาด ปลอดจากแมลงรบกวน - ไม่ปะปนกับปุ๋ยและสารเคมี กระสอบ หรือวัสดุการเกษตรอื่นๆ การวางตำ�แหน่งของเมล็ดในโรงเรือน • ห่างจากก�ำแพงอย่างน้อย ๑ เมตร ทุกๆ ด้าน

1 m.

1 m.

ถูกต้อง

ผิด

การดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์

43


ความสูงของกองเมล็ดพันธุ์ในโรงเก็บ • ห่างจากหลังคาไม่น้อยกว่า ๑.๕ เมตร

1 m.

1 m.

1 m.

การควบคุมความชื้นภายในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ • เมื่ออากาศภายนอกมีความชื้นสูงกว่าภายใน ให้ปิดช่องลมไม่ให้ความชื้นเข้ามา

44

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


• เมือ่ อากาศภายในมีความชืน้ สูงกว่าภายนอก ให้เปิดช่องลมให้เกิดการถ่ายเทความชืน้ ออกไปจากโรงเก็บ

สรุปวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ปลอดภัย • เมล็ดพันธุ์เริ่มต้นต้องเป็นเมล็ดที่แข็งแรง ความงอกสูง • เก็บในที่ที่แห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ต�่ำ - ถุงพลาสติกสาน ถุงพลาสติกบาง < ๒ มม. ถุงกระดาษ • เก็บในที่มีอากาศเย็น ถ้าเป็นห้องควบคุมอุณหภูมิยิ่งดี - กระป๋องโลหะ ซองอลูมินั่มฟอยด์ • เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท ป้องกันอากาศถ่ายเทได้ • เก็บในที่สามารถป้องกันแมลงและหนูได้ • ไม่ควรเก็บเมล็ดพันธุ์ใกล้กับปุ๋ยและยาเคมี • ไม่ควรวางเมล็ดพันธุ์ให้สัมผัสกับพื้นโดยตรง ที่มา : เอกสารประกอบการอบรมร้านค้าสมาชิก สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย วิทยากร : ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ ม.เกษตรศาสตร์ ก�ำแพงแสน

การดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์

45


บริษัท ยิบอินซอยและแย๊คส์ จ�ำกัด 523 ถนนมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ 02-236-5559 ,02-353-8600 # 5203 โทรสาร 02-353-8689


วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

ปุย

47


เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง ถุนายน

หน้า ๗ ราชกิจจานุเบกษา

๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔

ประกาศกรมวิชาการเกษตร

เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการนําปุ๋ยหรือวัตถุที่สงสัยว่าเป็นปุ๋ยในปริมาณพอสมควร ไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญั ติ บางประการเกี่ยวกับการจํากัด สิท ธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการปุ๋ย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการนําปุ๋ย หรื อ วั ต ถุ ที่ ส งสั ย ว่ า เป็ น ปุ๋ ย ในปริ ม าณพอสมควรไปเป็ น ตั ว อย่ า ง เพื่ อ ตรวจสอบหรื อ วิ เ คราะห์ ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ คําสั่ง หรือแนวปฏิบัติอื่นใด ซึ่งมีกําหนดไว้แล้วใน ประกาศนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “ปุ๋ย” หมายถึง ปุ๋ยที่มิใช่เป็นของเหลว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน ปุ๋ย อิน ทรีย์เคมี และปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยชนิดเม็ด อัดเม็ดหรือชนิดผงที่ให้ธาตุอาหารพืชทางดิน “ปุ๋ย ที่เป็นเนื้อเดีย วกัน ” หมายถึง ปุ๋ย เชิงประกอบ หรือปุ๋ย เชิงผสม ที่เป็นเนื้อเดีย วกัน และปั้นเม็ด หรืออัดเม็ด “ปุ๋ยที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน” หมายถึง ปุ๋ยเชิงผสมแบบคลุกเคล้าทั้งชนิดเม็ด (Bulk blending) และชนิดผง “รุ่น” หมายถึง ประเภท ชนิด แบบ (ถ้ามี) และสูตรปุ๋ยเดียวกัน (กรณีปุ๋ยเคมี) ทําโดย กรรมวิธี เ ดี ย วกั น บรรจุ ใ นภาชนะบรรจุ ชนิ ด และขนาดเดี ย วกั น ที่ ทํ า หรื อ ส่ งมอบหรื อ ซื้ อขายใน ระยะเวลาเดียวกัน “หลาว” หมายถึง หลาวโลหะปลอดสนิม ชนิดสองชั้น มีความยาวไม่รวมด้ามถือมากกว่า ๒๕ นิ้ว ความยาวหลาวของชั้นในไม่น้อยกว่า ๒๓ นิ้ว ความกว้างของช่องเปิดของหลาวชั้นในมากกว่า หรือเท่ากับ ๐.๗๕ นิ้ว และมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในมากกว่าหรือเท่ากับ ๐.๘๗๕ นิ้ว

48

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง ถุนายน

หน้า ๘ ราชกิจจานุเบกษา

๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔

“เครื่องแบ่งตัวอย่าง” หมายถึง เครื่องมือที่ใช้แบ่งตัวอย่างปุ๋ย ที่มิใช่เป็นของเหลว (Riffle) ทําด้ว ยโลหะปลอดสนิม ใช้ผสมคลุกเคล้าและแบ่งตัว อย่างปุ๋ย ออกเป็น ๒ ส่ว นเท่า ๆ กัน เมื่อดู ด้านข้างของเครื่องแบ่งตัวอย่างจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูความสูง ๑๗ นิ้ว ด้านบนความกว้างขอบใน ๘.๕ นิ้ว ด้านล่างความกว้าง ๑๗ นิ้ว เมื่อดูด้านหน้าของเครื่องแบ่งตัว อย่างจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้าง ๒๕ นิ้ว ความสูงเอีย ง ๑๗.๕ นิ้ว ขนาดของ Hopper เป็น รูปกรวยสี่เหลี่ย มผืน ผ้า โดยปากกรวยด้านบนความกว้างขอบใน ๘.๕ นิ้ว ความยาว ๒๕ นิ้ว ปากกรวยด้านล่างความกว้าง ๔ นิ้ว ความยาว ๒๐ นิ้ว ประกอบด้วยช่องแบ่งสี่เหลี่ยมเป็นปล่องสั้น ๆ (Chute) จํานวน ๘ ช่อง แต่ละช่องมีความกว้าง ๒.๕ นิ้ว ความลึกในแนวเฉีย งลง ๖ นิ้ว โดยทํามุม ๔๕ องศากับแนวดิ่ง และช่องทางออกของแต่ละช่องจะเรียงสลับซ้ายขวาข้างละ ๔ ช่อง สําหรับถาดรองปุ๋ยจํานวน ๔ ถาด แต่ละถาดมีขนาดปากถาดความกว้างและความยาว ๒๒.๕ นิ้ว ความสูงเอียง ๗ นิ้ว ท้องถาดมีขนาด ความกว้างและความยาว ๒๐ นิ้ว ข้อ ๕ การเก็ บ ตั ว อย่ า งปุ๋ ย บรรจุ ภ าชนะ (Bag) เพื่ อ ทํา การแบ่ ง ตั ว อย่ า งตามข้ อ ๗ ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้ ๕.๑ ในกรณีมีข้อปรากฏแน่ชัดว่าเป็นปุ๋ยรุ่นเดียวกันให้สุ่มเก็บตัวอย่างจากกองปุ๋ย ที่พบ มาทั้งภาชนะบรรจุเพื่อให้เป็นตัวแทนของรุ่น โดยพิจารณาเก็บตัวอย่างจากภาชนะที่ยังไม่ได้เปิด อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่อยู่ในสภาพชํารุด โดยเก็บจากจุดต่าง ๆ ในกองปุ๋ย ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ในตารางที่ ๑ การสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยตามตารางที่ ๑ เมื่อปรากฏว่าจํานวนภาชนะบรรจุปุ๋ย ที่ต้ อ งสุ่ ม เก็ บ มี จํ า นวนตั้ ง แต่ ๖ ภาชนะบรรจุ ขึ้ น ไป ให้ ผู้ เก็ บ ตั ว อย่า งปุ๋ ย ทํ าการลดทอน (Subsampling) จํานวนภาชนะบรรจุลดลงครึ่งหนึ่งของจํานวนภาชนะบรรจุที่สุ่มเก็บมาทั้งหมดด้วยวิธีการ เลือกสุ่ม (Random) โดยดําเนิน การลดทอน (Sub-sampling) ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้จํานวน ภาชนะบรรจุปุ๋ยไม่ต่ํากว่า ๓ ภาชนะบรรจุและไม่มากกว่า ๕ ภาชนะบรรจุ ตารางที่ ๑ จํานวนภาชนะที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของรุ่น จํานวนภาชนะที่พบ จํานวนร้อยละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าหน่วยภาชนะ ๒ ๑๐ น้อยกว่า ๒๑ ๒ ๕ ๒๑ - ๖๐ ๓ ๔ ๖๑ - ๒๐๐ ๘ ๓ ๒๐๑ -๕๐๐ ๑๕ ๒ ๕๐๑ - ๑,๐๐๐ ๒๐ (แต่ไม่มากกว่า ๓๐) ๑ ๑,๐๐๑ - ๑๐,๐๐๐ หมายเหตุ :- การคํานวณภาชนะบรรจุ ถ้ามีเศษให้ปัดเป็นจํานวนเต็ม ถ้าน้ําหนักทั้งหมดของกองปุ๋ยรุ่นที่น้อยกว่า ๑๐๐ กิโลกรัม ให้สุ่มเก็บตัวอย่างมาอย่างน้อย ๗๐๐ กรัม ในกรณีที่ภาชนะบรรจุไม่ถึง ๗๐๐ กรัม ให้สุ่มเก็บตัวอย่างมาจนกระทั่งได้ตัวอย่างไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กรัม (โดยไม่ต้องดําเนินการตามตาราง)

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

49


เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง ถุนายน

หน้า ๙ ราชกิจจานุเบกษา

๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔

๕.๒ ในกรณีไม่มีข้อปรากฏแน่ชัดว่าเป็นปุ๋ยรุ่นเดียวกันให้ทําการสุ่มเก็บตัวอย่างจาก กองปุ๋ยที่พบมาจํานวน ๑ ภาชนะบรรจุ เพื่อทําการแบ่งตัวอย่างตามข้อ ๗ แต่ในกรณีที่ภาชนะบรรจุนั้น ๆ มีขนาดภาชนะบรรจุปริมาณปุ๋ยแต่ละภาชนะบรรจุไม่ถึง ๗๐๐ กรัม ให้สุ่มเก็บตัวอย่างมาจนกระทั่ ง ได้ตัวอย่างไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กรัม ข้อ ๖ การเก็บตัวอย่างปุ๋ยที่เป็นเนื้อเดียวกันแบบเทกอง เพื่อทําการแบ่งตัวอย่างตามข้อ ๗.๒ ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยสุ่มเก็บตัวอย่างรอบ ๆ กองโดยใช้หลาวให้ได้ปริมาณรวมกันไม่น้อยกว่า ๔ กิโลกรัม โดยจัดเก็บเป็นจํานวนครั้งที่เก็บตามที่กําหนดไว้ในตารางที่ ๒ ตารางที่ ๒ จํานวนครั้งในการเก็บตัวอย่างปุ๋ยแบบเทกอง ปริมาณปุ๋ย จํานวนครั้งที่เก็บ น้อยกว่า ๑ ตัน ๔-๕ ๑ - ๒ ตัน ๕-๘ ๒ - ๕ ตัน ๘ - ๑๐ ๕ - ๑๐ ตัน ๑๐ - ๑๕ มากกว่า ๑๐ ตัน ๑๕ - ๒๐ ข้อ ๗ การแบ่งตัว อย่างปุ๋ย ให้ผู้เก็บตัว อย่างปุ๋ย ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังนี้ ๗.๑ การแบ่งตัวอย่างปุ๋ย จากภาชนะบรรจุ สําหรับปุ๋ยที่เป็นเนื้อเดียวกันและปุ๋ย ที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (Bulk Blending) โดยใช้เครื่องแบ่งตัวอย่าง ๗.๑.๑ กรณีจํานวนภาชนะบรรจุปุ๋ยที่สุ่มเก็บตามข้อ ๕.๑ ไม่เกิน ๒ ภาชนะบรรจุ ให้ดําเนินการแต่ละภาชนะบรรจุ ดังนี้ ๑) ให้เปิดปากภาชนะบรรจุปุ๋ย จากนั้น เทปุ๋ยที่บรรจุอยู่ในภาชนะ ลงในถาดรองรับ จนกระทั่งปุ๋ยในภาชนะบรรจุหมดลง แล้วเกลี่ยให้เรียบ ๒) นําปุ๋ยในถาดรองรับตามข้อ ๑) เทผ่านเครื่องแบ่งตัว อย่างปุ๋ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับจํานวน ๒ ถาด จนกระทั่งปุ๋ยในข้อ ๑) หมดลง ให้ดําเนินการตามขั้นตอนนี้ ซ้ําอีกครั้งหนึ่ง จะได้ปุ๋ย ๒ ส่วน ๓) นําปุ๋ยทั้ง ๒ ส่วนในถาดรองรับตามข้อ ๒) เทผ่านเครื่องแบ่ง ตัวอย่างปุ๋ยทีละส่วน โดยเทปุ๋ย ลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลง ด้านล่างแยกออกเป็น ๒ ส่ว น ลงสู่ถาดรองรับจํานวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ย เป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ และส่วนที่ ๒ ให้เทปุ๋ยส่วนที่ ๑ คืนในภาชนะบรรจุ ปุ๋ยส่วนที่ ๒ ให้ทําการเกลี่ยให้เรียบ ๔) นําปุ๋ย ส่ว นที่ ๒ ตามข้อ ๓) ของแต่ละภาชนะบรรจุเทผ่าน เครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลง ด้านล่างแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับจํานวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่ว นที่ ๓ และส่วนที่ ๔ ให้เทปุ๋ยส่วนที่ ๓ คืนในภาชนะบรรจุ ปุ๋ยส่วนที่ ๔ ให้ทําการเกลี่ยให้เรียบ

50

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง ถุนายน

หน้า ๑๐ ราชกิจจานุเบกษา

๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔

๕) นําปุ๋ ย ส่ ว นที่ ๔ ตามข้ อ ๔) เทผ่า นเครื่อ งแบ่งตั ว อย่า งปุ๋ ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่ว น ลงสู่ถาดรองรับจํ านวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ ย ส่ว นที่ ๕ และส่ว นที่ ๖ ให้เ ทปุ๋ย ส่ว นที่ ๕ คืนลงในภาชนะบรรจุ ปุ๋ยส่วนที่ ๖ ให้ทําการเกลี่ยให้เรียบ ๖) ดําเนินการตามขั้น ตอนดัง กล่าวข้างต้ นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ ง ได้ตัวอย่างปุ๋ยส่วนละ ไม่น้อยกว่า ๑ กิโลกรัมจํานวนรวม ๔ ส่วน ทั้งนี้ ให้พิจารณาจากปริมาณปุ๋ย ที่บรรจุในภาชนะ ๗.๑.๒ กรณี จํ า นวนภาชนะบรรจุ ปุ๋ ย ที่ สุ่ ม เก็ บ ตามข้ อ ๕.๑ มากกว่ า ๒ ภาชนะบรรจุ ให้ดําเนินการแต่ละภาชนะบรรจุ ดังนี้ ๑) ให้เปิดปากภาชนะบรรจุปุ๋ย จากนั้น เทปุ๋ยที่บรรจุอยู่ในภาชนะ ลงในถาดรองรับ จนกระทั่งปุ๋ยในภาชนะบรรจุหมดลง แล้วเกลี่ยให้เรียบ ๒) นําปุ๋ยในถาดรองรับตามข้อ ๑) เทผ่านเครื่องแบ่งตัว อย่างปุ๋ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับจํานวน ๒ ถาด จนกระทั่งปุ๋ยในข้อ ๑) หมดลง ให้ดําเนินการตามขั้นตอนนี้ ซ้ําอีกครั้งหนึ่ง จะได้ปุ๋ย ๒ ส่วน ๓) นําปุ๋ยทั้ง ๒ ส่วนในถาดรองรับตามข้อ ๒) เทผ่านเครื่องแบ่ง ตัวอย่างปุ๋ยทีละส่วน โดยเทปุ๋ย ลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลง ด้านล่างแยกออกเป็น ๒ ส่ว น ลงสู่ถาดรองรับจํานวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ย เป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ และส่วนที่ ๒ ให้เทปุ๋ยส่วนที่ ๑ คืนในภาชนะบรรจุปุ๋ย ส่วนที่ ๒ ให้ทําการเกลี่ยให้เรียบ ๔) นําปุ๋ ย ส่ ว นที่ ๒ ตามข้ อ ๓) เทผ่า นเครื่อ งแบ่งตั ว อย่า งปุ๋ ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแยกออกเป็น ๒ ส่ ว น ลงถาดรองรั บ จํา นวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ ย ส่ ว นที่ ๓ และส่ว นที่ ๔ ให้เ ทปุ๋ย ส่ว นที่ ๓ คืนในภาชนะบรรจุ ปุ๋ยส่วนที่ ๔ ให้ทําการเกลี่ยให้เรียบ ๕) นําปุ๋ ย ส่ ว นที่ ๔ ตามข้ อ ๔) เทผ่า นเครื่อ งแบ่งตั ว อย่า งปุ๋ ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่ว น ลงในถาดรองรับจํานวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ย ส่วนที่ ๕ และส่ว นที่ ๖ ให้เทปุ๋ย ส่ว นที่ ๕ คืนลงในภาชนะบรรจุ ปุ๋ยส่วนที่ ๖ ให้ทําการเกลี่ยให้เรียบ ๖) เมื่อดําเนินการตามขั้นตอนข้อ ๑) ถึง ข้อ ๕) ของปุ๋ยแต่ละ ภาชนะบรรจุแล้ว ให้นําปุ๋ยในขั้นตอนที่ ๕) ของแต่ละภาชนะบรรจุ มาเทรวมกันแล้วเทผ่านเครื่องแบ่ง ตัวอย่างเพื่อผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น นําปุ๋ยที่ผสมคลุกเคล้ากันเทผ่านเครื่องแบ่ง ตัวอย่างปุ๋ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแยก ออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับจํานวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ย เป็น ๒ ส่วน โดยส่ว นหนึ่งให้เทคืน ในภาชนะบรรจุ สํ าหรับอีกส่ ว นหนึ่งให้ ทําการแบ่ งตัว อย่างปุ๋ย โดยใช้ เครื่องแบ่ งตัว อย่างไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ตัวอย่างปุ๋ยส่ว นละไม่น้อยกว่า ๑ กิโ ลกรัมจํานวนรวม ๔ ส่ว น ทั้งนี้ ให้พิจารณาจาก ปริมาณปุ๋ยที่บรรจุในภาชนะ

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

51


เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง ถุนายน

หน้า ๑๑ ราชกิจจานุเบกษา

๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔

๗.๒ การแบ่ ง ตั ว อย่ า งปุ๋ ย จากภาชนะบรรจุ โ ดยใช้ ห ลาว สํ า หรั บ ปุ๋ ย ที่ เ ป็ น เนื้อเดียวกันและปริมาณการสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยมากกว่า ๕ ภาชนะบรรจุขึ้นไป ให้ดําเนินการดังนี้ ๗.๒.๑ นํา ภาชนะบรรจุ ปุ๋ ย ที่ สุ่ ม เก็ บ มาตามข้ อ ๕ มาวางลงในแนวราบ โดยใช้ห ลาวชนิด สองชั้น หมุ น ปิด ช่องหลาวก่อ นแทงกระสอบ เมื่ อแทงในแนวทแยงมุม จนสุ ด มุ ม อีกด้านหนึ่งของกระสอบ แล้วหมุนเปิดช่องหลาว ปุ๋ยจะไหลเข้าไปในหลาว หมุนปิดช่องหลาวแล้วจึงดึง หลาวออกจากกระสอบ กรณี ห ลาวยาวไม่ พ อ ให้ แ ทงจากด้ า นข้ าง ด้า นบน ด้ า นล่ า ง ด้ า นหั ว ด้านท้ายของกระสอบเป็นจุด ๆ ไปในปริมาณเท่า ๆ กัน แล้วนําตัวอย่างจากหลาย ๆ จุดมารวมกัน ๗.๒.๒ นําตัวอย่างที่ได้ต ามข้อ ๗.๒.๑ มาผสมให้เข้ากัน แล้ว พูนเป็น รูป กรวย ตบยอดให้ราบลงแล้ว แบ่งกองปุ๋ยออกเป็น ๔ ส่ว น นําส่วนตรงข้ามมารวมกัน อีก พูนเป็นรูป กรวยใหม่ แล้วแบ่งออกเป็น ๔ ส่วนอีก ทําในลักษณะนี้จนกระทั่งได้ตัวอย่างที่เหลือมีน้ําหนักประมาณ ๔ กิโลกรัม แล้วแบ่งตัวอย่างออกเป็น ๔ ส่วน ข้อ ๘ ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยนําตัวอย่างที่ได้ตามข้อ ๗ มาดําเนินการ ดังนี้ ๘.๑ นํา ตั ว อย่ า งที่ ไ ด้ จากการแบ่ งตั ว อย่า งตามข้ อ ๗ บรรจุล งในถุ ง พลาสติ ก ที่ ป้ อ งกั น ความชื้ น เหนี ย วและแข็ ง แรง จากนั้ น ให้ มั ด ปากถุ ง พลาสติ ก ให้ แ น่ น โดยรี ด อากาศ ออกให้มากที่สุด ๘.๒ นําตั ว อย่ างที่ ใส่ ถุงพลาสติกเรีย บร้อ ยแล้ ว ตาม ๗.๑ ใส่ล งในถุง พลาสติ ก อีกชั้นหนึ่ง ๘.๓ ทําการกรอกรายละเอียดของตัวอย่างปุ๋ย ใส่ไว้ในถุงพลาสติกชั้นนอก จากนั้น ปิดปากถุงด้วยแถบกาวทั้งด้านบนและด้านล่าง พร้อมลงลายมือชื่อที่แถบกาวร่วมกัน แล้วเย็บด้วยตาไก่ ข้อ ๙ ให้จัดส่งตัวอย่างตามข้อ ๘.๓ ไปตรวจหรือวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ปุ๋ย ของทางราชการ จํานวน ๑ ส่ว น มอบให้ เจ้าของผู้รับใบอนุญาต ผู้แ ทนหรื อผู้ดําเนิน กิจการ เก็บไว้จํานวน ๑ ส่วน มอบให้หน่ว ยงานที่เกี่ย วข้องจํานวน ๑ ส่ว น (ถ้ามี) ส่ว นที่เหลือเก็บไว้ที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ ไ ม่ ก ระทบกระเทื อ นถึ ง การดํ า เนิ น การใด ๆ ที่ พ นั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ได้ดําเนินการก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

52

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร




คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

ปุย

55


๑. คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด ระเบียบหรือแนวปฏิบัติอื่นใดซึ่งเคยก�ำหนดไว้ในคู่มืออื่นๆ หากขัดแย้งกับคู่มือนี้ให้ใช้คู่มือนี้แทน ๒. คำ�นิยามว่าด้วยเรื่องของปุ๋ย ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการน�ำปุ๋ยหรือวัตถุที่สงสัยว่าเป็นปุ๋ยในปริมาณพอ สมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.๒๕๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐ ได้ก�ำหนดค�ำนิยาม ดังนี้ “ปุ๋ย” หมายถึง ปุ๋ยชนิดไม่เป็นของเหลว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ย อินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยชนิดเม็ด อัดเม็ดหรือชนิดผงที่ให้ธาตุอาหารพืชทางดิน “ปุ๋ยที่เป็นเนื้อเดียวกัน” หมายถึง ปุ๋ยเชิงประกอบ หรือปุ๋ยเชิงผสม ที่เป็นเนื้อเดียวกันและปั้นเม็ด หรืออัดเม็ด “ปุ๋ยที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน” หมายถึง ปุ๋ยเชิงผสมแบบคลุกเคล้าทั้งชนิดเม็ด (Bulk blending) และ ชนิดผง “รุ่น” หมายถึง ประเภท ชนิด แบบ (ถ้ามี) และสูตรปุ๋ยเดียวกัน (กรณีปุ๋ยเคมี) ท�ำโดยกรรมวิธี เดียวกัน บรรจุในภาชนะบรรจุชนิดและขนาดเดียวกัน ที่ท�ำหรือส่งมอบหรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน การพิจารณาว่าเป็นปุ๋ยรุ่นเดียวกันในกรณีที่มีการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบคุณภาพโดยทั่วไปให้ พิจารณาเรียงตามล�ำดับ ดังนี้ (๑) ต้องวางรวมอยู่ในกองเดียวกัน (๒) ต้องมีทะเบียน ขนาด และภาชนะเป็นอย่างเดียวกัน (๓) หากมีเลขที่การผลิต (Lot number) ต้องเป็นเลขเดียวกัน (๔) หากมีวันผลิต ต้องเป็นวันผลิตเดียวกัน (๕) หากมีวันซื้อขายหรือส่งมอบ ต้องเป็นวันเดียวกันโดยพิจารณาจากเอกสารประกอบการ ซื้อขายหรือจากข้อเท็จจริงจากผู้จ�ำหน่ายหรือผู้ผลิตให้มีการบันทึกถ้อยค�ำโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ (๖) ในกรณีปุ๋ยที่ไม่มีฉลากบ่งชี้อยู่ในกองเดียวกัน ถือว่าไม่เป็นรุ่นเดียวกัน “หลาว” หมายถึง หลาวโลหะปลอดสนิม ชนิดสองชัน้ มีความยาวไม่รวมด้ามถือมากกว่า ๒๕ นิว้ ความยาวหลาวของชั้นในไม่น้อยกว่า ๒๓ นิ้ว ความกว้างของช่องเปิดของหลาวชั้นในมากกว่าหรือเท่ากับ ๐.๗๕ นิ้ว และมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในมากกว่าหรือเท่ากับ ๐.๘๗๕ นิ้ว “เครื่องแบ่งตัวอย่าง” หมายถึง เครื่องมือที่ใช้แบ่งตัวอย่างปุ๋ยชนิดไม่เป็นของเหลว (Riffle) ท�ำ ด้วยโลหะปลอดสนิม ใช้คลุกเคล้าและแบ่งตัวอย่างปุ๋ยออกเป็น ๒ ส่วนเท่าๆ กัน เมื่อดูด้านข้างของเครื่องแบ่ง ตัวอย่างจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูความสูง ๑๗ นิ้ว ด้านบนความกว้างขอบใน ๘.๕ นิ้ว ด้านล่างความกว้าง ๑๗ นิ้ว เมื่อดูด้านหน้าของเครื่องแบ่งตัวอย่างจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าความกว้าง ๒๕ นิ้ว ความสูงเอียง ๑๗.๕ นิ้ว ขนาดของ Hopper เป็นรูปกรวยสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยปากกรวยด้านบนความกว้างขอบใน ๘.๕ นิ้ว ความยาว ๒๕ นิ้ว ปากกรวยด้านล่างความกว้าง ๔ นิ้ว ความยาว ๒๐ นิ้ว ประกอบด้วยช่องแบ่งสี่เหลี่ยมเป็นปล่องสั้นๆ (Chute) จ�ำนวน ๘ ช่องแต่ละช่องมีความกว้าง ๒.๕ นิ้ว ความลึกในแนวเฉียงลง ๖ นิ้ว โดยท�ำมุม ๔๕ องศากับ แนวดิ่ง และช่องทางออกของแต่ละช่องจะเรียงสลับซ้ายขวาข้างละ ๔ ช่อง ส�ำหรับถาดรองปุ๋ยจ�ำนวน ๔ ถาด แต่ละถาดมีขนาดปากถาดความกว้างและความยาว ๒๒.๕ นิ้ว ความสูงเอียง ๗ นิ้ว พื้นถาดมีขนาดความกว้าง และความยาว ๒๐ นิ้ว

56

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


อุปกรณ์การแบ่งตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

๓. การเก็บตัวอย่างปุ๋ยบรรจุภาชนะ (Bagged) การเก็บตัวอย่างปุ๋ยบรรจุภาชนะ (Bagged) เพื่อท�ำการแบ่งตัวอย่างตามข้อ ๕ ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ย ด�ำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้ ๓.๑ ในกรณีมีข้อปรากฏแน่ชัดว่าเป็นปุ๋ยรุ่นเดียวกัน ให้เก็บตัวอย่างจากกองปุ๋ยที่พบมาทั้งภาชนะ บรรจุเพื่อให้เป็นตัวแทนของรุ่น โดยพิจารณาเก็บตัวอย่างจากภาชนะที่ยังไม่ได้เปิด อยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่อยู่ ในสภาพช�ำรุด โดยเก็บจากจุดต่างๆ ในกองปุ๋ย ตามหลักเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ในตารางที่ ๑ การสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยตามตารางที่ ๑ เมื่อปรากฏว่าจ�ำนวนภาชนะบรรจุปุ๋ยที่ต้องสุ่มเก็บมี จ�ำนวนตั้งแต่ ๖ ภาชนะบรรจุขึ้นไป ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยท�ำการลดทอน (Sub-sampling) จ�ำนวนภาชนะบรรจุ ลดลงครึง่ หนึง่ ของจ�ำนวนภาชนะบรรจุทสี่ มุ่ เก็บมาทัง้ หมดด้วยวิธกี ารเลือกสุม่ (Random) โดยด�ำเนินการลดทอน (Sub-sampling) ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้จ�ำนวนภาชนะบรรจุปุ๋ยไม่ต�่ำกว่า ๓ ภาชนะบรรจุและไม่มากกว่า ๕ ภาชนะบรรจุ

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

57


ตารางที่ ๑ จ�ำนวนภาชนะที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของรุ่น จ�ำนวนภาชนะที่พบ น้อยกว่า ๒๑ ๒๑-๖๐ ๖๑-๒๐๐ ๒๐๑-๕๐๐ ๕๐๑-๑,๐๐๐ ๑,๐๐๑-๑๐,๐๐๐

จ�ำนวนร้อยละภาชนะบรรจุ ๑๐ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑

ต้องไม่น้อยกว่าหน่วยภาชนะ ๒ ๒ ๓ ๘ ๑๕ ๒๐ (แต่ไม่มากกว่า ๓๐)

หมายเหตุ การค�ำนวณภาชนะบรรจุ ถ้ามีเศษให้ปัดเป็นจ�ำนวนเต็ม

ถ้าน�้ำหนักทั้งหมดของกองปุ๋ยรุ่นที่น้อยกว่า ๑๐๐ กิโลกรัม ให้น�ำตัวอย่างมาอย่างน้อย ๗๐๐ กรัม ในกรณีที่ภาชนะบรรจุไม่ถึง ๗๐๐ กรัม ให้เก็บตัวอย่างมาจนกระทั่งได้ตัวอย่างไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กรัม (โดย ไม่ต้องด�ำเนินการตามตาราง) ๓.๒ ในกรณีไม่มีข้อปรากฏแน่ชัดว่าเป็นปุ๋ยรุ่นเดียวกัน ให้ท�ำการเก็บตัวอย่างจากกองปุ๋ยที่พบมา จ�ำนวน ๑ ภาชนะบรรจุ เพื่อท�ำการแบ่งตัวอย่างตามข้อ ๕ แต่ในกรณีที่ภาชนะบรรจุนั้นๆ มีขนาดภาชนะบรรจุ ปริมาณปุ๋ยแต่ละภาชนะบรรจุไม่ถึง ๗๐๐ กรัม ให้เก็บตัวอย่างมาจนกระทั่งได้ตัวอย่างไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กรัม ๔. การเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดไม่เป็นของเหลวแบบเทกอง การเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดไม่เป็นของเหลวแบบเทกอง เพื่อท�ำการแบ่งตัวอย่างตามข้อ ๕.๒.๒ ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่สุ่มเก็บตัวอย่างรอบๆ กองโดยใช้หลาวให้ได้ปริมาณรวมกันไม่น้อยกว่า ๔ กิโลกรัม โดย จัดเก็บเป็นจ�ำนวนครั้งที่เก็บตามที่ก�ำหนดไว้ในตารางที่ ๒ ตารางที่ ๒ จ�ำนวนครั้งในการเก็บตัวอย่างปุ๋ยแบบเทกอง ปริมาณปุ๋ย น้อยกว่า ๑ ตัน ๑-๒ ตัน ๒-๕ ตัน ๕-๑๐ ตัน มากกว่า ๑๐ ตัน

จ�ำนวนครั้งที่เก็บ ๔ - ๕ ๕ - ๘ ๘ - ๑๐ ๑๐ - ๑๕ ๑๕ - ๒๐

๕. วิธีการแบ่งตัวอย่างปุ๋ย การแบ่งตัวอย่างปุ๋ย ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยด�ำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังนี้ ๕.๑ การแบ่งตัวอย่างปุย๋ จากภาชนะบรรจุ ส�ำหรับปุย๋ ทีเ่ ป็นเนือ้ เดียวกันและปุย๋ ทีไ่ ม่เป็นเนือ้ เดียวกัน (Bulk blending) โดยใช้เครื่องแบ่งตัวอย่าง

58

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


แผนภูมิขั้นตอนการแบ่งตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด (ภาชนะบรรจุ ๕๐ กิโลกรัม) ไม่เกิน ๒ ภาชนะบรรจุ

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

59


๕.๑.๑ กรณีจ�ำนวนภาชนะบรรจุปุ๋ยที่สุ่มเก็บตามข้อ ๓ ไม่เกิน ๒ ภาชนะบรรจุให้ด�ำเนินการ แต่ละภาชนะบรรจุ ดังนี้ ๑) เปิดปากภาชนะบรรจุปุ๋ยทีละภาชนะบรรจุแล้วเทปุ๋ยที่บรรจุอยู่ในภาชนะลงใน ถาดรองรับจนกระทั่งปุ๋ยในภาชนะบรรจุหมดลง แล้วเกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๑-๖)

๒) น�ำปุ๋ยในถาดรองรับตามข้อ ๑ เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ยลงด้านบนอย่าง สม�่ำเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่างจะได้ปุ๋ย ๒ ส่วน ในถาดรองรับ ให้ด�ำเนินการตามขั้นตอนนี้ซ�้ำอีกหนึ่ง ครั้งเพื่อเป็นการคลุกเคล้า จะได้ปุ๋ย ๒ ส่วน แล้วเกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๗-๙)

ปุ๋ยถาดที่ ๑

๘ ปุ๋ยถาดที่ ๒

60

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๓) น�ำปุ๋ยทั้ง ๒ ส่วนในถาดรองรับตามข้อ ๒ เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ยทีละส่วน โดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�ำ่ เสมอตลอดแนวเครือ่ งแบ่งตัวอย่าง ให้ปยุ๋ ไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยเป็น ๒ ส่วน (ภาพที่ ๑๐-๑๒)

๑๑

๑๐

ปุ๋ยถาดที่ ๑

ปุ๋ยถาดที่ ๒

๑๒ ๔) น�ำปุ๋ยทั้ง ๒ ส่วนในถาดรองรับตามข้อ ๓ เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ยทีละส่วน โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม�่ำเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วนลงสู่ถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยเป็น ๒ ส่วน คือส่วนที่ ๑ และส่วนที่ ๒ ปุ๋ยภาชนะบรรจุที่ ๒ ให้ ด�ำเนินการตามข้อ ๑- ๔ ซ�้ำอีกครั้ง (ภาพที่ ๑๓-๑๖)

๑๔

๑๓

ปุ๋ยถาดที่ ๑

ปุ๋ยถาดที่ ๒

๑๕

๑๖ คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

61


๕) น�ำปุ๋ยส่วนที่ ๒ ของภาชนะบรรจุที่ ๑ และ ๒ เทปุ๋ยผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย โดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�ำ่ เสมอตลอดแนวเครือ่ งแบ่งตัวอย่างปุย๋ จะได้ปยุ๋ ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๓ และ ส่วนที่ ๔ จะมีปุ๋ยของภาชนะบรรจุที่ ๑ และ ภาชนะบรรจุที่ ๒ ผสมรวมกันภายในถาดรองรับทั้ง ๒ ถาด (ภาพที่ ๑๗-๒๓)

๑๗

๑๘

เทปุ๋ยส่วนที่ ๑ ของแต่ละภาชนะบรรจุ คืนลงในภาชนะบรรจุและปุ๋ยส่วนที่ ๒ ให้ท�ำการเกลี่ยให้เรียบ ปุ๋ยส่วนที่ ๒ ของภาชนะที่ ๑

ปุ๋ยส่วนที่ ๒ ของภาชนะที่ ๒

๑๙

๒๐

๒๑

๒๒

น�ำปุ๋ยส่วนที่ ๒ ของภาชนะบรรจุที่ ๑ และ ๒ เทปุ๋ยผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย จะได้ปุ๋ย ๒ ส่วนคือ ส่วนที่ ๓ และ ส่วนที่ ๔

๒๓ ภายหลังการแบ่งตัวอย่างปุ๋ยเสร็จสิ้นแล้ว ปุ๋ยส่วนที่ ๓ และ ส่วนที่ ๔ จะมีปุ๋ยของภาชนะบรรจุที่ ๑ และ ภาชนะบรรจุที่ ๒ ผสมรวมกันภายในถาดรองรับทั้ง ๒ ถาด

62

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๖) เทปุ๋ยส่วนที่ ๓ คืนลงในภาชนะบรรจุและน�ำปุ๋ยส่วนที่ ๔ เทผ่านเครื่องแบ่ง ตัวอย่างปุ๋ย โดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�ำ่ เสมอตลอดแนวเครือ่ งแบ่งตัวอย่าง ให้ปยุ๋ ไหลลงด้านล่างแล้วแยกออก เป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๕ และ ส่วนที่ ๖ เทปุ๋ยส่วนที่ ๕ คืนลงในภาชนะ บรรจุและปุ๋ยส่วนที่ ๖ ให้ท�ำการเกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๒๔-๒๗)

๒๔

๒๕

ปุ๋ยส่วนที่ ๓

ปุ๋ยส่วนที่ ๔

๒๖

๒๗

๗) น�ำปุ๋ยส่วนที่ ๖ เทผ่ า นเครื่ อ งแบ่ ง ตั วอย่ า งปุ ๋ ย โดยเทปุ ๋ ย ลงด้ า นบนอย่ าง สม�่ำเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับ จ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๗ และส่วนที่ ๘ ให้เทปุ๋ยส่วนที่ ๗ เทคืนลงในภาชนะบรรจุ และปุ๋ยส่วนที่ ๘ ให้ท�ำการเกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๒๘-๓๐)

๒๘

๒๙

๓๐

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

63


๘) น�ำปุย๋ ส่วนที่ ๘ เทผ่านเครือ่ งแบ่งตัวอย่างปุย๋ โดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�ำ่ เสมอ ตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงในถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๙ และ ส่วนที่ ๑๐ ให้ท�ำการเกลี่ยให้เรียบ ทั้ง ๒ ส่วน (ภาพที่ ๓๑-๓๓)

๓๑

๓๒

๓๓

๙) น�ำปุ๋ยส่วนที่ ๙ เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่าง สม�่ำเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงในถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๑๑ และ ๑๒ น�ำปุ๋ยส่วนที่ ๑๐ เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่าง สม�่ำเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงในถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาดจะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๑๓ และ ๑๔ ส่วนละไม่น้อยกว่า ๑ กิโลกรัม พร้อมน�ำปุ๋ยที่ได้ทั้ง ๔ ส่วนนี้บรรจุลงใน ถุงพลาสติก ส่วนละ ๑ ถุง (ภาพที่ ๓๔-๓๘)

๓๔

๓๕

๓๗

64

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

๓๖

๓๘


แผนภูมิขั้นตอนการแบ่งตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด (ภาชนะบรรจุ ๕๐ กิโลกรัม) มากกว่า ๒ ภาชนะบรรจุ

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

65


๕.๑.๒ กรณีจำ� นวนภาชนะบรรจุปยุ๋ ทีส่ มุ่ เก็บตามข้อ ๓ มากกว่า ๒ ภาชนะบรรจุ ให้ดำ� เนินการ แต่ละภาชนะบรรจุ ดังนี้ (วิธีแบ่งตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ดแบบ ๓ ภาชนะบรรจุ) ๑) เปิดปากภาชนะบรรจุปุ๋ย จากนั้นเทปุ๋ยที่บรรจุอยู่ในภาชนะลงในถาดรองรับ จนกระทั่งปุ๋ยในภาชนะบรรจุหมดลงแล้วเกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๑-๖)

๒) น�ำปุ๋ยในถาดรองรับตามข้อ ๑ เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย โดยเทปุ๋ยลงด้าน บนอย่างสม�่ำเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับ จ�ำนวน ๒ ถาด จนกระทั่งปุ๋ยในข้อ ๑ หมดลง แล้วเกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๗-๙)

ปุ๋ยถาดที่ ๑ ปุ๋ยถาดที่ ๒ ๓) น�ำปุ๋ยทั้ง ๒ ส่วนในถาดรองรับตามข้อ ๒ เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ยทีละส่วน โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม�่ำเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยเป็น ๒ ส่วน (เพื่อเป็นการคลุกเคล้าให้เข้ากัน) แล้วเกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๑๐-๑๒)

๑๐ ปุ๋ยถาดที่ ๑

66

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

๑๑ ปุ๋ยถาดที่ ๒

๑๒


๔) น�ำปุ๋ยทั้ง ๒ ส่วนในถาดรองรับตามข้อ ๓ เทผ่านเครือ่ งแบ่งตัวอย่างปุย๋ ทีละส่วน โดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�ำ่ เสมอ ตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๑ และส่วนที่ ๒ ให้เทปุย๋ ส่วนที่ ๑ คืนลงในภาชนะบรรจุ ปุย๋ ส่วนที่ ๒ ให้ทำ� การเกลีย่ ให้เรียบ (ภาพที่ ๑๓-๑๙)

๑๓

๑๔

๑๕

๑๖

๑๗

๑๘

๑๙

๕) น�ำปุ๋ยส่วนที่ ๒ ในถาดรองรับตามข้อ ๔ เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ยทีละส่วนโดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�่ำเสมอ ตลอดแนวเครือ่ งแบ่งตัวอย่าง ให้ปยุ๋ ไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงในถาดรองรับ จ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๓ และ ส่วนที่ ๔ น�ำส่วนที่ ๓ เทคืนลงในภาชนะบรรจุ และน�ำส่วนที่ ๔ ท�ำการ เกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๒๐-๒๖)

๒๐

๒๑

๒๒

๒๓

๒๔

๒๕

๒๖

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

67


๖) น�ำปุย๋ ส่วนที่ ๔ เทผ่านเครือ่ งแบ่งตัวอย่างปุย๋ โดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�ำ่ เสมอ ตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วนลงในถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๕ และ ส่วนที่ ๖ ให้เทปุ๋ยส่วนที่ ๕ คืนลงในกระสอบ และ ปุ๋ยส่วนที่ ๖ ให้ท�ำการเกลี่ยให้เรียบ (ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยน�ำตัวอย่างปุ๋ยภาชนะบรรจุที่ ๒, ๓ ฯลฯ ด�ำเนินการตามข้อ ๑-๖ จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๖ ของ แต่ละภาชนะบรรจุ) (ภาพที่ ๒๗-๓๒)

๒๑

๒๘

๒๙

๓๐

๓๑

๓๒

๗) น�ำปุย๋ ส่วนที่ ๖ ของแต่ละภาชนะบรรจุมาเทรวมกันแล้วเทผ่านเครือ่ งแบ่งตัวอย่าง เพื่อผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น น�ำปุ๋ยที่ผสมคลุกเคล้ากันเทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย โดยเท ปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม�่ำเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ ถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปยุ๋ ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๗ และส่วนที่ ๘ ให้เทปุย๋ ส่วนที่ ๗ คืนลงในภาชนะบรรจุ ปุย๋ ส่วนที่ ๘ ให้ท�ำการเกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๓๓-๓๘)

68

๓๓

๓๔

๓๕

๓๖

๓๗

๓๘

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๘) น�ำปุย๋ ส่วนที่ ๘ เทผ่านเครือ่ งแบ่งตัวอย่างปุย๋ โดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�ำ่ เสมอ ตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงในถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๙ และ ส่วนที่ ๑๐ ให้เทปุ๋ยส่วนที่ ๙ เทคืนลงในภาชนะบรรจุ และปุ๋ยส่วนที่ ๑๐ ให้ท�ำการ เกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๓๙-๔๒)

๓๙

๔๑

๔๐

ส่วนที่ ๑๐

๔๒

๙) น�ำปุย๋ ส่วนที่ ๑๐ เทผ่านเครือ่ งแบ่งตัวอย่างปุย๋ โดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�ำ่ เสมอ ตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงในถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๑๑ และ ๑๒ ให้ท�ำการเกลี่ยปุ๋ยทั้งสองส่วนให้เรียบ (ภาพที่ ๔๓-๔๕)

๔๓

๔๔

๔๕

๑๐) น�ำปุย๋ ส่วนที่ ๑๑ เทผ่านเครือ่ งแบ่งตัวอย่างปุย๋ โดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�ำ่ เสมอ ตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงในถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๑๓ และ ๑๔ ส่วนละไม่น้อยกว่า ๑ กิโลกรัม และน�ำปุ๋ยส่วนที่ ๑๒ เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย โดยเทปุย๋ ลงด้านบนอย่างสม�ำ่ เสมอตลอดแนวเครือ่ งแบ่งตัวอย่าง ให้ปยุ๋ ไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงในถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาดจะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๑๕ และ ๑๖ ส่วนละไม่น้อยกว่า ๑ กิโลกรัม พร้อมน�ำปุ๋ยที่ได้ทั้ง ๔ ส่วนนี้บรรจุลงในถุงพลาสติก ส่วนละ ๑ ถุง (ภาพที่ ๔๖-๕๑)

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

69


๔๖

๔๗

๔๘

๔๙

๕๐

๕๑

๕.๒ การแบ่งตัวอย่างปุ๋ยจากภาชนะบรรจุโดยใช้หลาว ส�ำหรับปุ๋ยที่เป็นเนื้อเดียวกันและปริมาณ การสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยมากกว่า ๕ ภาชนะบรรจุขึ้นไป ให้ด�ำเนินการ ดังนี้ ๕.๒.๑ น�ำภาชนะบรรจุปุ๋ยที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดเก็บมาตามข้อ ๓ มาวางลงในแนวราบ โดย ใช้หลาวชนิดสองชั้น หมุนปิดช่องหลาวก่อนแทงภาชนะบรรจุ เมื่อแทงในแนวทแยงมุมจนสุดมุมอีกด้านหนึ่ง ของภาชนะบรรจุแล้วหมุนเปิดช่องหลาวปุ๋ยจะไหลเข้าไปในหลาว หมุนปิดช่องหลาวแล้วจึงดึงหลาวออกจาก ภาชนะบรรจุ กรณีหลาวยาวไม่พอ ให้แทงจากด้านข้าง ด้านบน ด้านล่าง ด้านหัว ด้านท้ายของภาชนะบรรจุ เป็นจุดๆ ไปในปริมาณเท่าๆ กันแล้วน�ำตัวอย่างจากหลายๆ จุดมารวมกัน

การแบ่งตัวอย่างปุ๋ยจากภาชนะบรรจุโดยใช้หลาว

๕.๒.๒ น�ำตัวอย่างทีไ่ ด้ตามข้อ ๕.๒.๑ มาผสมให้เข้ากันแล้วพูนเป็นรูปกรวย ตบยอดให้ราบลง แล้วแบ่งกองปุ๋ยออกเป็น ๔ ส่วน น�ำส่วนตรงข้ามมารวมกันอีก พูนเป็นรูปกรวยใหม่แล้วแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน อีกครั้ง ท�ำดังนี้จนกระทั่งได้ตัวอย่างที่เหลือมีน�้ำหนักประมาณ ๔ กิโลกรัม แล้วแบ่งตัวอย่างออกเป็น ๔ ส่วน

70

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


ก น�ำปุ๋ยมาผสมคลุกเคล้ากัน

ข. พูนเป็นรูปกรวย

ค. ตบปลายกรวยให้ราบลง

ง. แบ่งออกเป็น ๔ ส่วนๆ ละเท่ากัน

๖. การผนึกตัวอย่างปุ๋ย การแบ่งตัวอย่างปุ๋ยที่ได้จากการน�ำตัวอย่างจากกระสอบปุ๋ยเพื่อการวิเคราะห์ ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยน�ำ ตัวอย่างปุ๋ยที่ได้ตามข้อ ๕ มาด�ำเนินการดังนี้ ๖.๑ น�ำตัวอย่างทีไ่ ด้จากการแบ่งตัวอย่างตามข้อ ๕ บรรจุลงในถุงพลาสติกทีป่ อ้ งกันความชืน้ เหนียว และแข็งแรง จากนั้นให้มัดปากถุงพลาสติกให้แน่นโดยรีดอากาศออกให้มากที่สุด (ภาพที่ ๑-๒)

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดเม็ด

71


๖.๒ น�ำตัวอย่างที่ใส่ถุงพลาสติกเรียบร้อยแล้วตาม ๖.๑ ใส่ลงในถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่งพร้อมกรอก รายละเอียดของตัวอย่างปุ๋ยตามแบบบันทึกแนบตัวอย่างปุ๋ยเพื่อตรวจสอบคุณภาพ (ภค ๘) ให้ใส่ไว้ในถุง พลาสติกชั้นนอก (ภาพที่ ๓)

๓ ๖.๓ จากนั้นปิดปากถุงด้วยแถบกาวทั้งด้านบนและด้านล่างแล้วเย็บด้วยตาไก่ พร้อมลงลายมือชื่อ ที่แถบกาวร่วมกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ จัดส่งตัวอย่างปุ๋ยไปตรวจวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปุ๋ยของ ทางราชการ จ�ำนวน ๑ ส่วน มอบให้เจ้าของผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้ด�ำเนินกิจการ เก็บไว้จ�ำนวน ๑ ส่วน มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจ�ำนวน ๑ ส่วน (ถ้ามี) ส่วนที่เหลือเก็บไว้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ (ภาพที่ ๔-๗)

๖ ๗

72

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร




วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง

ปุย

75


เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๒๙ ง

หน้า ๑ ราชกิจจานุเบกษา

๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

ประกาศกรมวิชาการเกษตร

เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการนําปุ๋ยหรือวัตถุที่สงสัยว่าเป็นปุ๋ยในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการปุ๋ย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการนําปุ๋ย หรือวัตถุที่สงสัยว่าเป็นปุ๋ยในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ระเบี ย บ ประกาศ ข้ อ บั ง คั บ คํ า สั่ ง หรื อ แนวปฏิ บั ติ อื่ น ใด ซึ่ ง มี กํ า หนดไว้ แ ล้ ว ในประกาศนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “ปุ๋ย” หมายถึง ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ที่ให้ธาตุอาหารพืชทางใบ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเหลวหรือไม่ใช่ปุ๋ยเหลว “รุ่น” หมายถึง ประเภท ชนิด แบบ (ถ้ามี) และสูตรปุ๋ยเดียวกัน (กรณีปุ๋ยเคมี) ทําโดยกรรมวิธีเดียวกัน บรรจุในภาชนะบรรจุชนิดและขนาดเดียวกัน ที่ทําหรือ ส่งมอบหรือ ซื้อขาย ในระยะเวลาเดียวกัน “เครื่องแบ่งตัวอย่าง” หมายถึง เครื่องมือที่ใช้แบ่งตัวอย่างปุ๋ยที่มิใช่เป็นปุ๋ยเหลว (Riffle) ทําด้วยโลหะปลอดสนิม ใช้ผสมคลุกเคล้าและแบ่งตัวอย่างปุ๋ยออกเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อดูด้านข้างของเครื่องแบ่งตัวอย่างจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูความสูง ๑๗ นิ้ว ด้านบนความกว้าง ขอบใน ๘.๕ นิ้ว ด้านล่างความกว้าง ๑๗ นิ้ว เมื่อดูด้านหน้าของเครื่องแบ่งตัวอย่างจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้ า ง ๒๕ นิ้ ว ความสู ง เอี ย ง ๑๗.๕ นิ้ ว ขนาดของ Hopper เป็ น รู ป กรวยสี่ เ หลี่ ย มผื น ผ้ า โดยปากกรวยด้านบนความกว้างขอบใน ๘.๕ นิ้ว ความยาว ๒๕ นิ้ว ปากกรวยด้านล่างความกว้าง ๔ นิ้ว ความยาว ๒๐ นิ้ว ประกอบด้วยช่องแบ่งสี่เหลี่ยมเป็นปล่องสั้น ๆ (Chute) จํานวน ๘ ช่อง แต่ละช่องมีความกว้าง ๒.๕ นิ้ว ความลึกในแนวเฉียงลง ๖ นิ้ว โดยทํามุม ๔๕ องศากับแนวดิ่ง

76

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๒๙ ง

หน้า ๒ ราชกิจจานุเบกษา

๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

และช่องทางออกของแต่ละช่องจะเรียงสลับซ้ายขวาข้างละ ๔ ช่อง สําหรับถาดรองปุ๋ยจํานวน ๔ ถาด แต่ละถาดมีขนาดปากถาดความกว้างและความยาว ๒๒.๕ นิ้ว ความสูงเอียง ๗ นิ้ว ท้องถาดมีขนาด ความกว้างและความยาว ๒๐ นิ้ว ข้อ ๕ การสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยบรรจุภาชนะ (Package) ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยดําเนินการ ดังนี้ ๕.๑ การสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยที่ภาชนะบรรจุ (Package) มีน้ําหนักสุทธิไม่มากกว่า ๑ กิโลกรัม หรือ มีปริมาตรสุทธิไม่มากกว่า ๑ ลิตร แล้วแต่กรณี ให้สุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยมาทั้งหน่วย ภาชนะบรรจุและต้องเป็นภาชนะที่ยังไม่ได้เปิดและไม่ชํารุด ต้องเป็นปุ๋ยรุ่นเดียวกัน โดยสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ย จํานวน ๔ ส่วน แต่ละส่วนมีน้ําหนักสุทธิรวมกันไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กรัม หรือ มีปริมาตรสุทธิรวมกัน ไม่น้อยกว่า ๗๐๐ มิลลิลิตร ๕.๒ การสุ่ ม เก็ บ ตั ว อย่ า งปุ๋ ย ที่ ภ าชนะบรรจุ (Package) มี น้ํ า หนั ก สุ ท ธิ ม ากกว่ า ๑ กิโลกรัมหรือมีปริมาตรสุทธิมากกว่า ๑ ลิตร ให้สุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยมาทั้งหน่วยภาชนะบรรจุและต้องเป็น ภาชนะที่ยังไม่ได้เปิดและไม่ชํารุด ต้องเป็นปุ๋ยรุ่นเดียวกัน โดยมีน้ําหนักสุทธิรวมกันไม่น้อยกว่า ๒.๘ กิโลกรัม หรือปริมาตรสุทธิรวมกันไม่น้อยกว่า ๒.๘ ลิตร เพื่อดําเนินการแบ่งตัวอย่างปุ๋ยออกเป็น ๔ ส่วน แต่ละส่วน มีน้ําหนักสุทธิไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กรัมหรือมีปริมาตรสุทธิไม่น้อยกว่า ๗๐๐ มิลลิลิตร โดยมีวิธีการดังนี้ ๕.๒.๑ กรณีที่ไม่ใช่เป็นปุ๋ยเหลว เก็บโดยใช้เครื่องแบ่งตัวอย่าง (Riffle) ดังนี้ ๑) ให้เปิดปากภาชนะบรรจุปุ๋ย จากนั้นเทปุ๋ยที่บรรจุอยู่ในภาชนะ ลงในถาดรองรับ จนกระทั่งปุ๋ยในภาชนะบรรจุหมดลงแล้วเกลี่ยให้เรียบ ๒) นําปุ๋ยในถาดรองรับตามข้อ ๑) เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่ วน ลงสู่ ถาดรองรับ จํานวน ๒ ถาด จนกระทั่ง ปุ๋ยในข้ อ ๑) หมดลง ให้นํ าปุ๋ ย ทั้ง ๒ ถาด ดําเนินการตามขั้นตอนนี้ซ้ําอีกครั้งหนึ่งจะได้ปุ๋ย ๒ ส่วน ๓) นําปุ๋ยทั้ง ๒ ส่วนในถาดรองรับตามข้อ ๒) เทผ่านเครื่องแบ่ง ตัวอย่างปุ๋ยทีละส่วน โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่าง แล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับจํานวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๑ และส่วนที่ ๒ ให้เทปุ๋ย ส่วนที่ ๑ คืนลงในภาชนะบรรจุในกรณีที่ปุ๋ยในแต่ละส่วนมีน้ําหนักสุทธิไม่น้อยกว่า ๒.๘ กิโลกรัม สําหรับ ปุ๋ยส่วนที่ ๒ ให้ทําการเกลี่ยให้เรียบ ๔) นําปุ๋ยส่วนที่ ๒ ตามข้อ ๓) เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ยทีละส่วน โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม่ําเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับจํานวน ๒ ถาด ให้ทาํ การแบ่งตัวอย่างปุ๋ยโดยใช้เครื่องแบ่งตัวอย่างไปจนกระทั่ง ได้ตัวอย่างปุ๋ย จํานวน ๔ ส่วน แต่ละส่วนไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กรัม

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง

77


เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๒๙ ง

หน้า ๓ ราชกิจจานุเบกษา

๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

๕.๒.๒ กรณีที่เป็นปุ๋ยเหลว ให้นําตัวอย่างปุ๋ยที่ได้ทําการกลิ้งหรือเขย่าถังบรรจุปุ๋ย ไปมาอย่างช้า ๆ แล้วใช้อุปกรณ์ที่ใช้ดูดหรือตวงตัวอย่างปุ๋ยบรรจุลงในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทจํานวน ๔ ส่วน แต่ละส่วนมีปริมาตรไม่น้อยกว่า ๗๐๐ มิลลิลิตร ข้อ ๖ ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยนําตัวอย่างปุ๋ยที่ได้ตามข้อ ๕ มาดําเนินการ ดังนี้ ๖.๑ นําตั ว อย่า งปุ๋ ย ที่ไ ด้ จ ากการแบ่ งตั ว อย่ า งตามข้อ ๕ บรรจุ ล งในถุ ง พลาสติ ก ที่ป้องกันความชื้น เหนียวและแข็งแรง จากนั้นให้มัดปากถุงพลาสติกให้แน่นโดยรีดอากาศออกให้มากที่สุด ๖.๒ นําตัวอย่างที่ใส่ถุงพลาสติกเรียบร้อยแล้วตามข้อ ๖.๑ ใส่ลงในถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ๖.๓ ทําการกรอกรายละเอียดของตัวอย่างปุ๋ย ใส่ไว้ในถุงพลาสติกชั้นนอก จากนั้น ปิดปากถุงด้วยแถบกาวทั้งด้านบนและด้านล่าง พร้อมลงลายมือชื่อที่แถบกาวร่วมกัน แล้วเย็บด้วยตาไก่ ข้อ ๗ ให้จัดส่งตัวอย่างตาม ข้อ ๖.๓ ไปตรวจหรือวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปุ๋ย ของทางราชการ จํานวน ๑ ส่วน มอบให้เจ้าของผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้ดําเนินกิจการ เก็บไว้ จํานวน ๑ ส่วน มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจํานวน ๑ ส่วน (ถ้ามี) ส่วนที่เหลือเก็บไว้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๘ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการดําเนินการใดๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดําเนินการ ก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ดํารงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

78

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร




คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง

ปุย

81


๑. คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง แนวทางการเก็บตัวอย่างปุ๋ยนี้ ด�ำเนินการตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการน�ำปุ๋ย หรือวัตถุที่สงสัยว่าเป็นปุ๋ยในปริมาณพอสมควร ไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ๒. คำ�นิยามว่าด้วยเรื่องของปุ๋ย ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการน�ำปุ๋ยหรือวัตถุที่สงสัยว่าเป็นปุ๋ยในปริมาณพอ สมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๗ ได้ก�ำหนดค�ำนิยาม ดังนี้ “ปุ๋ย” หมายถึง ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ที่ให้ธาตุอาหารพืชทางใบ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเหลว หรือไม่ใช่ปุ๋ยเหลว “รุ่น” หมายถึง ประเภท ชนิด แบบ (ถ้ามี) และสูตรปุ๋ยเดียวกัน (กรณีปุ๋ยเคมี) ท�ำโดยกรรมวิธีเดียวกัน บรรจุในภาชนะบรรจุชนิดและขนาดเดียวกัน ที่ท�ำหรือส่งมอบหรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน “เครื่องแบ่งตัวอย่าง” หมายถึง เครื่องมือที่ใช้แบ่งตัวอย่างปุ๋ยชนิดไม่เป็นของเหลว (Riffle) ท�ำด้วยโลหะ ปลอดสนิม ใช้คลุกเคล้าและแบ่งตัวอย่างปุ๋ยออกเป็น ๒ ส่วนเท่าๆ กัน เมื่อดูด้านข้างของเครื่องแบ่งตัวอย่างจะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ความสูง ๑๗ นิ้ว ด้านบนความกว้างขอบใน ๘.๕ นิ้ว ด้านล่างความกว้าง ๑๗ นิ้ว เมื่อดู ด้านหน้าของเครื่องแบ่งตัวอย่างจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าความกว้าง ๒๕ นิ้ว ความสูงเอียง ๑๗.๕ นิ้ว ขนาดของ Hopper เป็นรูปกรวยสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยปากกรวยด้านบนความกว้างขอบใน ๘.๕ นิ้ว ความยาว ๒๕ นิ้ว ปาก กรวยด้านล่าง ความกว้าง ๔ นิ้ว ความยาว ๒๐ นิ้ว ประกอบด้วยช่องแบ่งสี่เหลี่ยมเป็นปล่องสั้นๆ (Chute) จ�ำนวน ๘ ช่อง แต่ละช่องมีความกว้าง ๒.๕ นิ้ว ความลึกในแนวเฉียงลง ๖ นิ้ว โดยท�ำมุม ๔๕ องศากับแนวดิ่ง และช่องทางออกของแต่ละช่องจะเรียงสลับซ้ายขวาข้างละ ๔ ช่อง ส�ำหรับถาดรองปุ๋ยจ�ำนวน ๔ ถาด แต่ละ ถาดมีขนาดปากถาดความกว้างและความยาว ๒๒.๕ นิ้ว ความสูงเอียง ๗ นิ้ว ท้องถาดมีขนาดความกว้างและ ความยาว ๒๐ นิ้ว

82

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๓. การเก็บตัวอย่างปุ๋ยที่ไม่ใช่ปุ๋ยเหลวที่บรรจุภาชนะ (Package) การเก็บตัวอย่างปุ๋ยที่ไม่ใช่ปุ๋ยเหลวที่บรรจุภาชนะ (Package) ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยด�ำเนินการ ดังนี้ ๓.๑ การสุม่ เก็บตัวอย่างปุย๋ ทีไ่ ม่ใช่ปยุ๋ เหลวทีภ่ าชนะบรรจุ (Package) มีนำ�้ หนักสุทธิไม่มากกว่า ๑ กิโลกรัม ๑) ให้สุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยมาทั้งหน่วยภาชนะบรรจุและต้องเป็นภาชนะที่ยังไม่ได้เปิดและไม่ช�ำรุด ต้องเป็นปุ๋ยรุ่นเดียวกัน โดยสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ย จ�ำนวน ๔ ส่วน แต่ละส่วนมีน�้ำหนักสุทธิไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กรัม (ภาพที่ ๑-๒)

๒) น�ำตัวอย่างปุ๋ยที่ได้จากการสุ่มเก็บตัวอย่างมาทั้งหน่วยภาชนะบรรจุ ตามข้อ ๑) บรรจุลงในถุง พลาสติกที่ป้องกันความชื้น เหนียวและแข็งแรง จากนั้น ให้มัดปากถุงพลาสติกให้แน่นโดยรีดอากาศออกให้มาก ที่สุด (ภาพ ๓-๔)

๓) น�ำตัวอย่างปุย๋ ทีใ่ ส่ถงุ พลาสติกเรียบร้อยแล้ว ตามข้อ ๒) ใส่ลงในถุงพลาสติกอีกชัน้ หนึง่ (ภาพที่ ๕-๖)

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง

83


๔) ท�ำการกรอกรายละเอียดของตัวอย่างปุ๋ย ใส่ไว้ในถุงพลาสติกชั้นนอก จากนั้นปิดปากถุงด้วย แถบกาวทั้งด้านบนและด้านล่าง พร้อมลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้แทน/ผู้ด�ำเนินกิจการที่แถบกาว ร่วมกัน แล้วเย็บด้วยเครื่องเจาะตาไก่ (ภาพที่ ๗-๑๒)

๕) ให้จัดส่งตัวอย่าง ตามข้อ ๔) ไปตรวจหรือวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปุ๋ยของทาง ราชการ จ�ำนวน ๑ ส่วน มอบให้เจ้าของผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้ด�ำเนินกิจการ เก็บไว้จ�ำนวน ๑ ส่วน มอบ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๑ ส่วน (ถ้ามี) ส่วนที่เหลือเก็บไว้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ (ภาพที่ ๑๓-๑๔)

84

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๓.๒ การสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยที่ไม่ใช่ปุ๋ยเหลวที่ภาชนะบรรจุ (Package) มีน�้ำหนักสุทธิมากกว่า ๑ กิโลกรัม ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยด�ำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยมาทั้งหน่วยภาชนะบรรจุ และต้องเป็นภาชนะที่ ยังไม่ได้เปิดและไม่ช�ำรุด ต้องเป็นปุ๋ยรุ่นเดียวกัน โดยมีน�้ำหนักสุทธิรวมกันไม่น้อยกว่า ๒.๘ กิโลกรัม เพื่อด�ำเนิน การแบ่งตัวอย่างปุ๋ย ออกเป็น ๔ ส่วน ส่วนละไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กรัม โดยใช้เครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย (Riffle) โดย มีวิธีการ ดังนี้ ๑) ให้เปิดปากภาชนะบรรจุปุ๋ย จากนั้นเทปุ๋ยที่บรรจุอยู่ในภาชนะลงในถาดรองรับ จ�ำนวน ๒ ถาด จนกระทั่งปุ๋ยในภาชนะบรรจุหมดลง แล้วเกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๑-๕)

๒) น�ำปุ๋ยในถาดรองรับตามข้อ ๑) เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่างสม�่ำเสมอ ตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับ จ�ำนวน ๒ ถาด จนกระทั่งปุ๋ยในข้อ ๑) หมดลง จะได้ปุ๋ย ๒ ส่วน (เพื่อเป็นการคลุกเคล้า) (ภาพที่ ๖-๗)

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง

85


๓) น�ำปุ๋ยทั้ง ๒ ถาดที่ได้ตามข้อ ๒) เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย โดยเทลงด้านบนอย่างสม�่ำเสมอ ตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่าง ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับจ�ำนวน ๒ ถาด จน กระทั่งปุ๋ยในข้อ ๒) หมดลง จะได้ปุ๋ย ๒ ส่วน (ภาพที่ ๘-๙)

๔) น�ำปุ๋ยทั้ง ๒ ส่วนในถาดรองรับตามข้อ ๓) เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ยทีละส่วน โดยเทปุ๋ยลง ด้านบนอย่างสม�่ำเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ ถาดรองรับ จ�ำนวน ๒ ถาด จะได้ปุ๋ยส่วนที่ ๑ และส่วนที่ ๒ ให้เทปุ๋ย ส่วนที่ ๑ คืนลงในภาชนะบรรจุ ส�ำหรับปุ๋ย ส่วนที่ ๒ ให้ท�ำการเกลี่ยให้เรียบ (ภาพที่ ๑๐-๑๑)

๕) น�ำปุ๋ยส่วนที่ ๒ ตามข้อ ๔) เทผ่านเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ยทีละส่วน โดยเทปุ๋ยลงด้านบนอย่าง สม�่ำเสมอตลอดแนวเครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย ให้ปุ๋ยไหลลงด้านล่างแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ลงสู่ถาดรองรับ จ�ำนวน ๒ ถาด ให้ท�ำการแบ่งตัวอย่างปุ๋ยโดยใช้เครื่องแบ่งตัวอย่างไปจนกระทั่งได้ตัวอย่างปุ๋ย จ�ำนวน ๔ ส่วน แต่ละส่วนมีน�้ำหนักสุทธิไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กรัม (ภาพที่ ๑๒-๑๕)

86

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๖) น�ำตัวอย่างปุ๋ยที่ได้จากการแบ่งตัวอย่าง ตามข้อ ๕) บรรจุลงในถุงพลาสติกที่ป้องกันความชื้น เหนียวและแข็งแรง จากนั้นให้มัดปากถุงพลาสติกให้แน่นโดยรีดอากาศออกให้มากที่สุด (ภาพที่ ๑๖-๑๗)

๗) น�ำตัวอย่างปุย๋ ทีใ่ ส่ถงุ พลาสติกเรียบร้อยแล้ว ตามข้อ ๖) ใส่ลงในถุงพลาสติกอีกชัน้ หนึง่ (ภาพที่ ๑๘-๑๙)

๘) ท�ำการกรอกรายละเอียดของตัวอย่างปุ๋ย ใส่ไว้ในถุงพลาสติกชั้นนอก จากนั้นปิดปากถุงด้วย แถบกาวทั้งด้านบนและด้านล่าง พร้อมลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้แทน/ผู้ด�ำเนินกิจการที่แถบกาว ร่วมกัน แล้วเย็บด้วยเครื่องเจาะตาไก่ (ภาพที่ ๒๐-๒๕)

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง

87


๙) ให้จัดส่งตัวอย่าง ตามข้อ ๘) ไปตรวจหรือวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปุ๋ยของทาง ราชการ จ�ำนวน ๑ ส่วน มอบให้เจ้าของผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้ด�ำเนินกิจการ เก็บไว้จ�ำนวน ๑ ส่วน มอบ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจ�ำนวน ๑ ส่วน (ถ้ามี) ส่วนที่เหลือเก็บไว้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ (ภาพที่ ๒๖-๒๘)

๒๖

๒๗

๒๘

88

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


แผนภูมิขั้นตอนการแบ่งตัวอย่างปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารพืชทางใบ (ภาชนะบรรจุ ๒๕ กิโลกรัม)

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง

89


๔. การเก็บตัวอย่างปุ๋ยเหลวที่บรรจุภาชนะ (Package) การเก็บตัวอย่างปุ๋ยเหลวบรรจุภาชนะ (Package) ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยด�ำเนินการ ดังนี้ ๔.๑ การสุม่ เก็บตัวอย่างปุย๋ เหลวทีภ่ าชนะบรรจุ (Package) มีปริมาตรสุทธิไม่มากกว่า ๑ ลิตร ให้สมุ่ เก็บ ตัวอย่างปุย๋ เหลวมาทัง้ หน่วยภาชนะบรรจุและต้องเป็นภาชนะทีย่ งั ไม่ได้เปิดและไม่ชำ� รุด ต้องเป็นปุย๋ รุน่ เดียวกัน โดยสุม่ เก็บตัวอย่างปุย๋ จ�ำนวน ๔ ส่วน แต่ละส่วนมีปริมาตรสุทธิไม่นอ้ ยกว่า ๗๐๐ มิลลิลติ ร (ภาพที่ ๑-๔)

๔.๒ การสุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยเหลวที่ภาชนะบรรจุ (Package) มีปริมาตรสุทธิมากกว่า ๑ ลิตร (กรณีบรรจุ ๕ ลิตร และ ๒๐ ลิตร) ให้ผู้เก็บตัวอย่างปุ๋ยด�ำเนินการ ดังนี้ ๑) ให้สุ่มเก็บตัวอย่างปุ๋ยเหลวมาทั้งหน่วยภาชนะบรรจุและต้องเป็นภาชนะที่ยังไม่ได้เปิดและไม่ ช�ำรุด ต้องเป็นปุ๋ยรุ่นเดียวกัน น�ำตัวอย่างปุ๋ยที่ได้ ท�ำการกลิ้ง เขย่าภาชนะบรรจุ ไปมาอย่างช้าๆ แล้วใช้อุปกรณ์ ส�ำหรับดูดหรือตวงตัวอย่างปุ๋ย ให้มีปริมาตรสุทธิรวมกันไม่น้อยกว่า ๒.๘ ลิตร บรรจุลงในภาชนะที่ฝาปิดสนิท จ�ำนวน ๔ ส่วน แต่ละส่วนมีปริมาตรสุทธิไม่น้อยกว่า ๗๐๐ มิลลิลิตร (ภาพที่ ๕-๑๐)

90

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๒) ด�ำเนินการเขียนสูตรปุ๋ย และชื่อการค้าตามที่ระบุไว้บนฉลากลงบนภาชนะที่บรรจุตัวอย่างปุ๋ย ทั้ง ๔ ส่วน (ภาพที่ ๑๑-๑๖)

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง

91


๓) บรรจุลงในถุงพลาสติกที่ป้องกันความชื้น เหนียวและแข็งแรง จากนั้นให้มัดปากถุงพลาสติกให้ แน่น โดยรีดอากาศออกให้มากที่สุด (ภาพที่ ๑๗)

๔) น�ำตัวอย่างปุ๋ยเหลวที่ใส่ถุงพลาสติกเรียบร้อยแล้ว ใส่ลงในถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง (ภาพที่ ๑๘)

๕) ท�ำการกรอกรายละเอียดของตัวอย่างปุ๋ย ใส่ไว้ในถุงพลาสติกชั้นนอก จากนั้นปิดปากถุงด้วย แถบกาวทั้งด้านบนและด้านล่าง พร้อมลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้แทน/ผู้ด�ำเนินกิจการที่แถบกาว ร่วมกัน แล้วเย็บด้วยเครื่องเจาะตาไก่ (ภาพที่ ๑๙-๒๒)

92

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๒๑

๒๒

๖) ให้จัดส่งตัวอย่างไปตรวจหรือวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปุ๋ยของทางราชการจ�ำนวน ๑ ส่วน มอบให้เจ้าของผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้ด�ำเนินการเก็บไว้จ�ำนวน ๑ ส่วน มอบให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ๑ ส่วน (ถ้ามี) ส่วนที่เหลือเก็บไว้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ (ภาพที่ ๒๓)

๒๓

คู่มือการเก็บตัวอย่างปุ๋ยชนิดน�้ำ เกล็ด ผง

93



วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่าง สารป้องกันและกำ�จัดศัตรูพืช

95


จุดประสงค์ เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของตัวอย่างทั้งหมดและเพียงพอต่อการทดสอบทางเคมีและฟิสิกส์ และ เพื่อให้แน่ใจว่าสารป้องกันและก�ำจัดศัตรูพืชที่จ�ำหน่ายมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์เป็นไปตามข้อก�ำหนด ส่วนประกอบทางเคมีปลอดภัย และสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อควรระวัง สารป้องกันและก�ำจัดศัตรูพืชเป็นสารเคมีที่มีพิษ สามารถท�ำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ถ้ามีการ จัดการทั่วไปที่ไม่ถูกต้อง ผู้สุ่มตัวอย่างควรเรียนรู้และปฏิบัติตามข้อควรระมัดระวังในด้านความปลอดภัยของ สารป้องกันและก�ำจัดศัตรูพชื แต่ละชนิด และควรสวมอุปกรณ์ปอ้ งกันตามค�ำแนะน�ำบนฉลาก ข้อควรระวังทัว่ ๆ ไป มีดังนี้ • ระมัดระวังไม่ให้สารป้องกันและก�ำจัดศัตรูพืชสัมผัส ตา จมูก ปาก และผิวหนัง โดยการสวมเสื้อคลุม ถุงมือ มีอุปกรณ์ป้องกันตาและจมูก และควรระวังไม่ให้สารปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อม • สถานที่สุ่มตัวอย่างควรเป็นสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี • ระมัดระวังอย่าให้หก กระเด็น หรือฟุ้งกระจาย ถ้าภาชนะบรรจุรั่ว ควรระวังส่วนที่หกออกมารอบ ภาชนะ • ก่อนสุ่มตัวอย่างควรเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ช�ำระล้างให้พร้อม ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หก หรือใช้ล้างหลัง จากที่สุ่มตัวอย่างเสร็จแล้ว • ห้ามรับประทานอาหาร สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มระหว่างการสุ่มตัวอย่าง หรือก่อนถอดอุปกรณ์ ป้องกันทุกชนิดออก • ติดฉลากที่ภาชนะบรรจุตัวอย่างให้เรียบร้อยก่อนสุ่มตัวอย่าง และภาชนะบรรจุตัวอย่างต้องไม่มี ตัวอย่างหกเลอะเทอะออกมาข้างนอก • อุปกรณ์ป้องกันที่ใช้แล้ว ต้องมีการก�ำจัดให้ถูกต้องและปลอดภัย การสุ่มตัวอย่างบางครั้งก็มีขีดจ�ำกัดในด้านความปลอดภัยและการเข้าถึงตัวอย่าง ในกรณีที่ในทางปฏิบัติ การสุ่มตัวอย่างท�ำไม่ได้ ให้เขียนหมายเหตุถึงวิธีการเลือกตัวอย่างไว้ในแบบฟอร์มการรายงานด้วย ผู้สุ่มตัวอย่าง ควรได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีในการสุ่มตัวอย่าง เทคนิคการสุ่มตัวอย่างที่ใช้ต้องแน่ใจว่าตัวอย่างที่สุ่มมาเป็น ตัวแทนที่ดีของตัวอย่างทั้งหมด การสุม่ ตัวอย่างสาร Technical grade จะสุม่ ตัวอย่างเพือ่ ทดสอบก่อนกระบวนการผลิต ส�ำหรับ Formulated products จะสุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบหลังจากที่ผลิตแล้วหรือก�ำลังผลิต ในกรณีที่น�ำเข้าอาจสุ่มที่โกดัง หรืออาจ สุ่มจากร้านค้าปลีกก่อนฤดูการผลิต เพื่อว่าเมื่อพบข้อผิดพลาดจะได้แก้ไขทัน ตัวอย่างที่ถูกสุ่มมาจะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ ส�ำหรับห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบ ส่วนที่ ๒ ส�ำหรับ ผู้รับผิดชอบต่อตัวอย่างนั้นหรือผู้จ�ำหน่าย ส่วนที่ ๓ ส�ำหรับองค์กรที่เป็นกลาง

96

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


การเตรียมการเพื่อสุ่มตัวอย่าง เตรียมเครื่องมือและภาชนะที่เหมาะสมและสะอาด ส�ำหรับการเก็บตัวอย่างและบรรจุตัวอย่าง เพื่อป้องกัน การปนเปื้อน สิ่งที่ต้องค�ำนึงถึงก่อนการสุ่มตัวอย่าง คือ ก) เก็บข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้ - ข้อมูลความเป็นพิษและอ่านค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับการจัดการสารชนิดนั้น ๆ - ปริมาณของตัวอย่างที่ต้องการเก็บเพื่อการทดสอบ - ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของสารตัวอย่าง รวมทั้งปริมาณและขนาดหีบห่อบรรจุ ข) สิ่งของที่ต้องเตรียม - อุปกรณ์การสุ่มตัวอย่าง เช่น ไปเปต ลูกยางที่ใช้ดูด กระบวย ขวดใส่ตัวอย่าง ถุงพลาสติก แผ่นพลาสติก เครื่องมือที่ใช้เปิดภาชนะ - ป้ายส�ำหรับติดขวดตัวอย่าง - เทปหรือครั่ง - อุปกรณ์ส�ำหรับความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน ที่ปิดจมูก แว่นตา เป็นต้น การตรวจภาชนะบรรจุ ภาชนะบรรจุสารตัวอย่างต้องอยู่ในสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เมื่อเขย่าภาชนะหรือเปิดฝาออก จะต้องไม่มกี ารรัว่ ซึม ป้ายติดภาชนะต้องไม่เปรอะเปือ้ นเลอะเทอะ และมีขอ้ มูลทีช่ ดั เจนสอดคล้องกับใบทะเบียน การสุ่มตัวอย่างสารออกฤทธิ์ชนิด Technical grade ในกรณีที่สารบรรจุในภาชนะเล็กให้สุ่มตัวอย่างจากหลายๆ ภาชนะ (primary sample) แล้วมารวมกัน เป็น bulk sample ดังนี้ ๐–๕ ๖ – ๑๐๐

packing units packing units

มากกว่า ๑๐๐ packing units

สุ่มทุก unit แล้วน�ำมารวมกันเป็น ๑ bulk sample ทุก ๕ units สุม่ มา ๑ primary sample แล้วน�ำทุก primary samples มารวมกันเป็น ๑ bulk sample ทุก ๒๐ units สุม่ มา ๑ primary sample แล้วน�ำทุก primary samples มารวมกันเป็น ๑ bulk sample

ถ้าสาร Technical grade ขนส่งมาในภาชนะใหญ่ภาชนะเดียว ให้สุ่มมา ๑๕ primary samples จาก ต�ำแหน่งต่างๆ แล้วน�ำมารวมกันเป็น ๑ bulk sample ปริมาณ bulk sample อย่างน้อยควรจะ ๓๐๐ กรัม หลังจากที่เขย่าหรือผสม bulk sample ให้เข้ากันแล้วแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ ส่งให้ห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ ส่วนที่ ๒ ให้กบั supplier ส่วนที่ ๓ ให้ไว้กบั หน่วยงานทีเ่ ป็นกลางเพือ่ น�ำวิเคราะห์ในกรณีทมี่ ขี อ้ โต้แย้ง

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างสารป้องกันและกำ�จัดศัตรูพืช

97


การสุ่มตัวอย่างสารออกฤทธิ์ชนิด Formulations ในกรณีที่ภาชนะบรรจุถึงผู้ใช้แต่ละภาชนะบรรจุสารปริมาณมากพอที่จะสุ่มตัวอย่างแล้วแบ่งออกได้เป็น ๓ ส่วน (ปริมาณ ๖๐๐ มล. หรือมากกว่า ส�ำหรับสูตรส่วนผสมที่เป็นของเหลว และปริมาณ ๑,๘๐๐ กรัม หรือ มากกว่า ส�ำหรับสูตรส่วนผสมที่เป็นของแข็ง) bulk sample อาจได้มาจาก ๑ ภาชนะบรรจุ โดยไม่ต้องสุ่ม primary sample แต่ก่อนเปิดควรจะเขย่าภาชนะบรรจุให้ทั่วก่อน แต่ถ้าสาร Formulations บรรจุมาในภาชนะที่ มีขนาดใหญ่ ก็ควรจะสุ่มตัวอย่างจากต�ำแหน่งบน กลาง และล่างของภาชนะบรรจุ กรณีที่ภาชนะบรรจุถึงผู้ใช้แต่ละภาชนะบรรจุสารปริมาณไม่มากพอที่จะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน (น้อยกว่า ๖๐๐ มล. ส�ำหรับสูตรส่วนผสมที่เป็นของเหลวหรือน้อยกว่า ๑,๘๐๐ กรัม ส�ำหรับสูตรส่วนผสมที่เป็นของแข็ง) สุ่ม primary sample จากหลาย ๆ ภาชนะบรรจุใน ๑ packing unit มารวมกันให้พอที่จะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ถ้าตัวอย่างถูกส่งมาเป็นถังใหญ่หรือ tank จะสุ่ม primary sample ๓ จุด จุดละ ๒๐๐ มล. ส�ำหรับตัวอย่าง ที่เป็นของเหลว และจุดละ ๖๐๐ กรัม ส�ำหรับตัวอย่างที่เป็นของแข็ง โดยสุ่มที่ต�ำแหน่ง บน กลาง และล่าง ของ ถัง แล้วน�ำ primary sample มารวมกัน และผสมให้เข้ากัน จึงแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ในกรณีที่ไม่มั่นใจว่าตัวอย่างใน batch ไม่สม�่ำเสมอ (ข้อมูลที่ผ่านมาไม่มีความสม�่ำเสมอ) การสุ่มตัวอย่าง bulk sample จะสุ่มตามจ�ำนวน packing units ตามตารางที่ ๑ bulk sample ที่สุ่มมาจะไม่น�ำมารวมกัน จะ วิเคราะห์แยก ตารางที่ ๑ จ�ำนวนของ bulk sample ที่ต้องสุ่มมาเพื่อทดสอบ

จ�ำนวนของ packing units ใน batch ๑ – ๑๐ ๑๑ – ๒๐ ๒๑ – ๔๐ > ๔๐

จ�ำนวน packing units ที่จะถูกสุ่มเพื่อเป็น primary / bulk samples ๑ ๒ ๓ ๓ + ๑ จากทุก ๒๐ units ที่เกิน แต่สูงสุดไม่เกิน ๑๕

สูตรส่วนผสมที่เป็นของเหลว (solutions, emulsifiable concentrates, suspension concentrates, emulsions) ก่อนเปิดภาชนะบรรจุเพื่อสุ่มตัวอย่าง คนหรือเขย่าให้ทั่ว โดยการกลิ้งถังหรือใช้อุปกรณ์คนให้ทั่ว และต้อง สังเกตดูว่ามีการแยกชั้นหรือตกตะกอนหรือไม่ สูตรส่วนผสมที่เป็นของแข็ง (dusts, dispersible powder, water dispersible granules, granular formulations) สูตรส่วนผสมทีเ่ ป็นของแข็ง จะไม่คอ่ ยได้รบั ผลกระทบจากสภาพอากาศทีห่ นาวจัด แต่จะได้รบั ผลกระทบ จากสภาพอากาศที่ร้อนและความชื้นสูง ตัวอย่างที่เก็บในสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลกระทบต่อตัวอย่างหรือ ตัวอย่างที่ส่งมาในภาชนะบรรจุที่ไม่ดี ให้ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่สม�่ำเสมอให้เก็บตัวอย่างตามตารางที่ ๑

98

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


การสุ่มตัวอย่างที่เป็นของแข็ง ควรเก็บตัวอย่างตั้งแต่ส่วนบนถึงส่วนล่างของถุง โดยเก็บในแนวเส้นทะแยง มุมของถุง ถ้าภาชนะบรรจุเป็นอย่างอื่นไม่ใช่ถุง ก็เก็บในท�ำนองเดียวกัน bulk sample ที่ได้ น�ำมาแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน โดยน�ำมาใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เขย่าไปมาอย่างน้อย ๑๐ ครั้ง แล้วเทตัวอย่างบนพื้นราบ เกลี่ย ตัวอย่างแบ่งออกเป็น ๖ ส่วน แล้วน�ำส่วนที่ ๑ รวมกับ ๔, ส่วนที่ ๒ รวมกับ ๕ และส่วนที่ ๓ รวมกับ ๖ จะได้ ๓ ส่วน เอกสารอ้างอิง FAO/WHO Joint Meeting on pesticide Specifications. ๒๐๐๒. Manual on Development and Use of FAO and WHO Specifications for Pesticides, First edition, WHO and FAO, Rome ๒๐๐๒.

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างสารป้องกันและกำ�จัดศัตรูพืช

99



วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์

101


วิธีการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ (Seed Sampling) ๑. วัตถุประสงค์ของการสุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ เป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่ส�ำคัญอันดับแรกของการทดสอบและวิเคราะห์ คุณภาพ ซึ่งต้องสุ่มเพื่อให้ได้ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นตัวแทนที่แท้จริงของกอง (bulk) หรือ ล็อต (lot) เมล็ดพันธุ์นั้น ส�ำหรับน�ำไปใช้ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะแสดงถึงคุณภาพหรือความน่าจะ เป็นขององค์ประกอบต่างๆ ทีป่ รากฏอยูใ่ นกองหรือล็อตเมล็ดพันธุน์ นั้ ๆ ไม่วา่ ผลการตรวจสอบจะมีความถูกต้อง แม่นย�ำน่าเชื่อถือเพียงใด ก็จะบ่งบอกถึงคุณภาพของตัวอย่างที่น�ำมาทดสอบเท่านั้น ดังนั้น จึงมีความจ�ำเป็น ที่จะต้องสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ให้เป็นตัวแทนที่แท้จริงของล็อตหรือกองเมล็ดพันธุ์ ๒. หลักเกณฑ์ในการสุ่มตัวอย่าง ๒.๑ ค�ำจ�ำกัดความ ๒.๑.๑ ล็อตเมล็ดพันธุ์ (seed lot) หมายถึง ปริมาณเมล็ดพันธุท์ กี่ ำ� หนดไว้ ซึง่ มีความสม�ำ่ เสมอของ ส่วนประกอบและคุณสมบัตขิ องเมล็ดพันธุภ์ ายในล็อตหรือกองนัน้ ๆ ตามจ�ำนวนทีไ่ ด้ระบุไว้ เมล็ดพันธุท์ บี่ รรจุใน กระสอบหรือกองไว้ ถ้าเป็นเมล็ดพันธุล์ อ็ ตเดียวกัน ควรจะมีความสม�ำ่ เสมอ (homogeneity) ภายในล็อตนัน้ ๒.๑.๒ ชนิดของตัวอย่าง การสุม่ ตัวอย่างเมล็ดพันธุม์ ลี ำ� ดับขัน้ ตอน โดยแบ่งตัวอย่างเป็น ๔ ชนิด คือ ๑. ตัวอย่างขั้นต้น (Primary sample) คือ ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการสุ่มหรือหยิบ เมล็ดพันธุ์แต่ละครั้งในปริมาณหนึ่งที่ได้มาจากแต่ละจุดสุ่มของล็อตเมล็ดพันธุ์ ๒. ตัวอย่างรวม (Composite sample) คือ ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการรวมตัวอย่าง ขั้นต้นทั้งหมดของล็อตเมล็ดพันธุ์ที่สุ่มนั้นเข้าด้วยกัน ๓. ตัวอย่างน�ำส่ง (Submitted sample) คือ ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่น�ำส่งให้ห้องปฏิบัติการ ทดสอบคุณภาพซึง่ มีปริมาณไม่นอ้ ยกว่าทีก่ ำ� หนดไว้ โดยอาจเป็นตัวอย่างรวมทัง้ หมดหรือตัวอย่างย่อย (sub-sample) ซึ่งเป็นตัวอย่างที่น�ำมาแบ่งลดปริมาณลงแล้ว ๔. ตัวอย่างปฏิบัติการ (Working sample) คือ ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ในการทดสอบ คุณภาพ ได้มาจากการแบ่งตัวอย่างน�ำส่งหรือตัวอย่างย่อย จนได้ปริมาณเมล็ดพันธุ์ไม่น้อยกว่าที่ก�ำหนดไว้ ๓. หลักการปฏิบัติในการสุ่มตัวอย่าง ๓.๑ ต้องให้แน่ใจว่าตัวอย่างที่สุ่มมานั้น เป็นตัวแทนที่ดี มีปริมาณและอัตราส่วนที่เหมาะสม และมีการ กระจายตัวอย่างทั่วถึง ๓.๒ เมล็ดพันธุ์ที่ลื่นไหลง่าย (free-flowing seed) เช่น ถั่วเหลือง ที่บรรจุในถุง กระสอบหรือเป็นกอง ควรใช้หลาวสุ่ม โดยควรเลือกขนาดของหลาวที่มีความยาวพอที่จะแทงสุ่มได้ทั่วถึงตลอดกองหรือกระสอบ ๓.๓ เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ลื่นไหล (non-free-flowing seed) เช่น ฝ้าย ถั่วลิสงทั้งฝัก เมล็ดหญ้า มะเขือเทศ พริก ที่ไม่สามารถใช้หลาวสุ่มได้ ให้เปิดปากถุงแล้วสุ่มเก็บตัวอย่างด้วยมือ ให้มีอัตราส่วนเป็นตัวแทนที่ดี ๓.๔ ก่อนที่จะน�ำตัวอย่างขั้นต้นแต่ละตัวอย่างมารวมกันเป็นตัวอย่างรวม ควรต้องพิจารณาเรื่องคุณภาพ ด้านต่างๆ เสียก่อน หากเกิดความไม่สม�่ำเสมอให้หยุดเก็บตัวอย่างทันที และให้จัดการเรื่องคุณภาพของกอง หรือล็อตเมล็ดพันธุ์นั้นๆ เสียใหม่ เช่น การตรวจสอบความสม�่ำเสมอของล็อต

102

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๔. ขั้นตอนการสุ่มตัวอย่าง ๔.๑ เตรียมการสุ่มตัวอย่าง ๔.๑.๑ ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของเมล็ดพันธุ์ที่จะสุ่ม รู้จักชนิดพืช ขนาดเมล็ด ลักษณะผิวเมล็ด การ ลื่นไหลง่ายหรือยากของเมล็ด ลักษณะภาชนะบรรจุ และสถานที่สุ่ม ๔.๑.๒ เตรียมวัสดุอุปกรณ์การสุ่มตัวอย่างที่จ�ำเป็น เช่น หลาว ถาด ภาชนะใส่ตัวอย่าง (ถุงผ้า ถุง กระดาษ ถุงพลาสติก) ยางรัดปากถุง ปากกาเขียนตัวอย่าง เครื่องชั่ง ผ้าพลาสติกปูพื้นส�ำหรับแบ่งตัวอย่าง ไม้บรรทัดยาว ใบน�ำส่งตัวอย่าง เทปกาวปิดผนึกส�ำหรับปิดรูสุ่มที่กระสอบ เป็นต้น ๔.๑.๓ เตรียมเอกสารประกอบการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ใบแจ้งให้เจ้าหน้าที่สุ่มตัวอย่าง ใบขนสินค้า ขาเข้า และส�ำเนาใบก�ำกับสินค้า (invoice) เป็นต้น

ในโรงเก็บ ล็อตเมล็ดพันธุ

ตัวอยางขั้นตน ตัวอยางเพื่อทำซ้ำ

ตัวอยางรวม ตัวอยางนำสง

ในหองปฏิบัติการ

ตัวอยาง ปฏิบัติการ

ตัวอยางตรวจสอบ ความชื้น

ตัวอยางตรวจสอบ ความบริสุทธิ์ เมล็ดพืชอื่น

ตัวอยางตรวจสอบ ความงอก

ตัวอยางนำสง

ตัวอยางตรวจ สวนอื่นๆ เมล็ดพืชอื่น เมล็ดบริสุทธิ์

สิ่งเจือปน

ตัวอยางตรวจสอบ ตัวอยางตรวจสอบ ตัวอยางตรวจสอบ ตัวอยางตรวจสอบ ความมีชวี ติ น้ำหนักของเมล็ด ความเเข็งเเรง สายพันธุ

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์

103


๔.๒ ตรวจสอบกองเมล็ดพันธุ์ ๔.๒.๑ ตรวจสอบคุณภาพของกองเมล็ดพันธุ์ ก่อนท�ำการสุ่มตัวอย่างว่ามีรายละเอียดถูกต้องตามที่ ได้รับแจ้งคือ ชนิดพืช ชื่อพันธุ์ หมายเลขล็อต/หมายเลข batch ชนิด/ขนาดภาชนะบรรจุผนึก ท�ำเครื่องหมาย ป้ายแสดงคุณภาพเหมือนกัน จัดวางไว้อย่างดี มั่นคง เป็นระเบียบ สามารถเข้าสุ่มได้ทั่วถึง ปลอดภัย ไม่อยู่ ระหว่างการรมสารเคมี มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มีอันตรายจากกระแสไฟฟ้าและยานพาหนะ ๔.๒.๒ ตรวจสอบขนาดของล็อตเมล็ดพันธุ์ (size of seed lot) หากล็อตเมล็ดพันธุ์มีขนาดใหญ่ การ สุ่มตัวอย่างให้ได้ตัวแทนที่ดีจะท�ำได้ไม่ทั่วถึง ISTA ได้ก�ำหนดเกณฑ์น�้ำหนักสูงสุดของล็อตเมล็ดพันธุ์ไว้คือ ข้าวโพด น�้ำหนักสูงสุด ๔๐,๐๐๐ กิโลกรัม ถั่วเหลือง,ข้าว น�้ำหนักสูงสุด ๓๐,๐๐๐ กิโลกรัม คะน้า ผักกาดขาว และมะเขือเทศ น�้ำหนักสูงสุด ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม ให้มีน�้ำหนักเกินจากที่ก�ำหนดไม่เกิน ๕% ส�ำหรับล็อตที่มีขนาดใหญ่มากให้แบ่งออกเป็นล็อตย่อย (sub lot) และติดป้ายแสดงเครื่องหมายว่าเป็นเมล็ดที่มาจากล็อตเดียวกัน (รายละเอียดเกณฑ์ขนาดล็อตเมล็ดพันธุ์ ตาม ตารางที่ ๒ ช่องที่ ๓) ๔.๒.๓ ตรวจสอบความสม�่ำเสมอของกองเมล็ดพันธุ์ (homogeneity) โดยเมล็ดพันธุ์ในกองหรือ ล็อตเดียวกันควรมีความสม�่ำเสมอทั้งทางกายภาพ เช่น ชนิดพืช ชื่อพันธุ์ สีเมล็ด ขนาด และรูปร่างเมล็ด รวม ทั้งระดับของสิ่งเจือปน หากมีสภาพใดบ่งชี้ถึงความไม่สม�่ำเสมอภายในล็อต เช่น ชนิด/ขนาดภาชนะบรรจุ เครื่องหมาย การผนึก ที่ต่างกันอาจปฏิเสธการสุ่มได้ ตารางที่ ๑ แสดงชื่อภาษาไทย ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ ชื่อวิทยาศาสตร์ อัตราความงอกและอัตราความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ควบคุมจำ�นวน ๓๒ ชนิด

104

ล�ำดับที่

ชนิด

ชื่อพันธุ์

%ความงอก

%ความบริสุทธิ์

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒

กระเจี๊ยบเขียว Abelmoschus esculentus (L.) Moench กระเทียมใบ Allium porrum L. กะหล�ำ่ ปลี กะหล�ำ่ ดอก คะน้า บรอคโคลี Brassica oleracea L. ข้าวเปลือก Oryza sativa Linn. ข้าวโพด Zea mays Linn. ข้าวโพดหวาน Zea mays L. var.saccharata (Sturtev.) L.H. Bailey ข้าวฟ่าง Sorghum bicolor (L.) Moench แคนตาลูป แตงเทศ เมล่อน Cucumis melo L. แตงกวา แตงร้าน Cucumis sativus L. แตงโม Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum. & Nakai ถั่วฝักยาว Vigna unguiculata (L.) Walp. ถั่วลันเตา Pisum sativum L.

ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์

๗๕ ๗๐ ๗๐ ๘๐ ๗๕ ๖๐ ๗๕ ๗๕ ๗๕ ๗๐ ๗๐ ๗๐

๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๖ ๙๖ ๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๘

๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖

ถั่วเขียว Vigna radiata (L.) R. Wilczek ถั่วเขียวผิวด�ำ Vigna mungo (L.) Hepper ถั่วเหลือง Glycine max (L.) Merr. ทานตะวัน Helianthus annus L.

ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์

๗๕ ๗๕ ๖๕ ๗๕

๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๘

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


ล�ำดับที่ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๒๙ ๓๐ ๓๑ ๓๒

ชนิด บวบเหลี่ยม Luffa acutangula (L.) Roxb. ผักกาดกวางตุ้ง ผักกาดขาว Brassica rapa L. ผักกาดเขียว Brassica juncea (L.) Czern. ผักกาดหอม Lactuca sativa L. ผักกาดหัว Raphanus sativus L. ผักชี Coriandrum sativum L. ผักบุ้งจีน Ipomoea aquatic Forsk. ฝ้าย Gossypium spp. พริก Capsicum spp. ฟักทอง Cucurbita moschata Duchesne ex Poir.; Cucurbita maxima Duchesne ฟัก แฟง Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. มะระจีน มะระขี้นก Momordica charantia L. มะเขือยาว มะเขือม่วง มะเขือเปราะ Solanum melongena L. มะเขือเทศ Lycopersicon esculentum Mill. หอมหัวใหญ่ Allium cepa L. มะละกอ Carica papaya L.

ชื่อพันธุ์

%ความงอก

%ความบริสุทธิ์

ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์

๗๕ ๗๐ ๗๐ ๖๕ ๗๕ ๖๐ ๕๐ ๗๐ ๕๕ ๗๕

๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๖ ๙๘ ๙๔ ๙๘ ๙๗ ๙๘

ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์ ทุกพันธุ์

๗๐ ๗๐ ๗๐ ๖๕ ๗๐ ๗๐

๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๘ ๙๘

ตารางที่ ๒ แสดงน้ำ�หนักสูงสุดของกองเมล็ดพันธุ์ น้ำ�หนักของตัวอย่างนำ�ส่งและน้ำ�หนักของตัวอย่าง เพื่อการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว ธัญพืช พืชไร่ พืชผัก และ ไม้ดอก จำ�นวน ๘๙ ชนิด ลำ�ดับ ที่

ชื่อภาษาไทย ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ

(๑)

กระเจี๊ยบเขียว (Okra)

๒ ๓ ๔ ๕

กระเจี๊ยบแดง (Roselle) กระเทียมใบ (Leek) กะเพรา (Holy basil) กะหล่ำ�ดอก (Cauliflower)

กะหล่ำ�ดาว (Brusseles sprouts)

ชื่อวิทยาศาสตร์

(๒)

Abelmoschus esculentus L. Moench Hisbiscus sabdariffa L. Allium porrum L. Ocimum sanctum L. Brassica oleracea L. var. botrytis L. Brassica oleracea L. var. gemmifera (DC.) Thell

น้ำ�หนัก สูงสุด ของกอง เมล็ดพันธุ์

น้ำ�หนัก ตัวอย่าง เมล็ดพันธุ์ นำ�ส่ง

น้ำ�หนัก น้ำ�หนัก ตัวอย่าง ตัวอย่าง เพื่อการ เพื่อตรวจ ตรวจ เมล็ดพืช สอบ อื่นหรือ เมล็ด วัชพืช (กรัม) (กรัม) (๕) (๖) ๑๔๐ ๑,๐๐๐

(กิโลกรัม) (๓)

(กรัม) (๔)

๒๐,๐๐๐

๑,๐๐๐

๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐

๗๐๐ ๗๐ ๔๐ ๑๐๐

๗๐ ๗ ๔ ๑๐

๗๐๐ ๗๐ ๔๐ ๑๐๐

๑๐,๐๐๐

๑๐๐

๑๐

๑๐๐

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์

105


ลำ�ดับ ที่

น้ำ�หนัก สูงสุด ของกอง เมล็ดพันธุ์

น้ำ�หนัก ตัวอย่าง เมล็ดพันธุ์ นำ�ส่ง

(กิโลกรัม) (๓)

(กรัม) (๔)

๑๐,๐๐๐

๑๐๐

๑๐,๐๐๐

๑๐๐

๑๐

๑๐๐

๓๐,๐๐๐ ๔๐,๐๐๐ ๔๐,๐๐๐

๗๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐

๗๐ ๙๐๐ ๙๐๐

๗๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐

๓๐,๐๐๐

๙๐๐

๙๐

๙๐๐

๓๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๕,๐๐๐

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๒๕ ๓๐ ๗๐ ๕๐๐ ๓๐

๑๒๐ ๑๒๐ ๑๐ ๑ ๓ ๗ ๕๐ ๘

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๑๐ ๓๐ ๗๐ ๕๐๐ ๓๐

๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐

๑๕๐ ๑๕๐

๗๐ ๗๐

-

Citrullus lanatus (Thumb.) Matsum & Nakai Vigna radiata (L.) R. Wilczek

๒๐,๐๐๐

๑,๐๐๐

๒๕๐

๑,๐๐๐

๓๐,๐๐๐

๑,๐๐๐

๑๒๐

๑,๐๐๐

Vigna mungo (L.) Hepper Phaseolus vulgaris L. Vigna sinensis Saviex Vigna unguiculata (L.) Walp. Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC

๒๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐

๗๐๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๔๐๐ ๑,๐๐๐

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐

ชื่อภาษาไทย ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ

ชื่อวิทยาศาสตร์

(๑)

กะหล่ำ�ปม (Kohlrabi)

กะหล่ำ�ปลี (Cabbage)

๙ ข้าวเปลือกเจ้า (Rice) ๑๐ ข้าวโพด (Corn) ๑๑ ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) ๑๒ ข้าวฟ่าง (Sorghum) ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐

ข้าวสาลี (Wheat) ข้าวโอ๊ต (Oat) คะน้า (Chinese kale) คื่นฉ่าย (Celery) แครอท (Carrot) งา (Sesame) ซูก้าร์บีท (Beet) ตั้งโอ๋ (Galand chrysanthemum) ๒๑ แตงกวา (Cucumber) ๒๒ แตงเทศ, แตงไทย (Muskmelon) ๒๓ แตงโม (Watermelon) ๒๔ ถั่วเขียว, ถั่วเขียวผิวมัน (Mungbean) ๒๕ ถั่วเขียวเมล็ดดำ� (Black gram) ๒๖ ถั่วแขก (Garden bean) ๒๗ ถั่วดำ� (Black seeded race) ๒๘ ถั่วฝักยาว (Yard long bean) ๒๙ ถั่วพู (Winged bean)

106

(๒)

Brasslca oleracea L. var. gongyloes L. Brasslca oleracea L. var. capitata L. Oryza sativa L. Zea mays L. Zea mays L. var. rugosa หรือ var. saccharata Sorghum vugare Pers. หรือ Sorghum bicolor (L.) Moench Triticum aestivum L. Avena sativa L. Brassica alboglabra Bailey Apium graveolens L. Daucus carota L. Sesamum indicum L. Beta vulgaris L. Chrysanthemum coronarium L. Cucumis sativus L. Cucumis melo L.

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

น้ำ�หนัก น้ำ�หนัก ตัวอย่าง ตัวอย่าง เพื่อการ เพื่อตรวจ ตรวจ เมล็ดพืช สอบ อื่นหรือ เมล็ด วัชพืช (กรัม) (กรัม) (๕) (๖) ๑๐ ๑๐๐


น้ำ�หนัก สูงสุด ของกอง เมล็ดพันธุ์

น้ำ�หนัก ตัวอย่าง เมล็ดพันธุ์ นำ�ส่ง

(กิโลกรัม) (๓)

(กรัม) (๔)

๓๐ ถั่วคลุมดิน

๒๐,๐๐๐

๓๐๐

๓๑ ๓๒ ๓๓ ๓๔ ๓๕ ๓๖ ๓๗ ๓๘

๓๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๒๕,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐

๙๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๔๐๐ ๔๐๐ ๔๐๐ ๑๐

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐

๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐

๑๕๐ ๑๕๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๗๐ ๑๐๐ ๗๐

๑๕ ๑๕ ๗๐ ๗๐ ๗ ๑๐ ๗

๑๕๐ ๑๕๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๗๐ ๑๐๐ ๗๐

๑๐,๐๐๐

๔๐

๔๐

๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐

๗๐ ๓๐ ๔๐๐ ๑,๐๐๐

๗ ๓ ๔๐ ๑๐๐

๗๐ ๓๐ ๔๐๐ ๑,๐๐๐

๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒๕,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐

๓๐๐ ๗๐ ๑,๐๐๐ ๑๕๐ ๑๕๐

๓๐ ๗ ๓๕๐ ๑๕ ๑๕

๓๐๐ ๗๐ ๑,๐๐๐ ๑๕๐ ๑๕๐

ลำ�ดับ ที่

ชื่อภาษาไทย ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ

(๑)

๓๙ ๔๐ ๔๑ ๔๒ ๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๔๗ ๔๘ ๔๙ ๕๐ ๕๑ ๕๒ ๕๓ ๕๔ ๕๕

ชื่อวิทยาศาสตร์

(๒)

Pueraria phaseoloides (Roxb.) Benth ถั่วลันเตา (Garden pea) Pisum sativum L. ถั่วลิสง (Peanut) Arachis hypogaea L. ถั่วเหลือง (Soybean) Glycine max (L.) Merr. ทานตะวัน (Sunflower) Helianthus annuus L. บวบกลม, บวบหอม (Gourd) Luffa cylindrical Roem. บวบเหลี่ยม (Angled gourd) Luffa acutangula (L.) Roxb. บวบงู (Snake gourd) Trichosanthes anguina บรอคโคลี (Broccoli) Brassica oleracea L. var. italic Plenck. ปอกระเจา (ฝักกลม) (Jute) Corchorus capsularis L. ปอกระเจา (ฝักยาว) (Jute) Corchorus olitorius ปอแก้วคิวบา (Kenaf) Hibiscus cannabinus L. ปอเทือง (Sunnhemp) Crotalaria juncea L. ผักกาดกวางตุ้ง (Edible rape) Brassica chinensis L. ผักกาดก้านขาว (-) Brassica napus L. ผักกาดขาว Brassica pekinensis Rupr. (Chinese cabbage) ผักกาดเขียว ชุนฉ่าย Brassica juncea (L.) Czern (Chinese mustard) ผักกาดแดง (Turnip) Brassica rapa L. ผักกาดหอม (Lettuce) Lactuca sativa L. ผักชี (Coriander) Coriandrum sativum L. ผักบุ้งจีน Ipomoea aquatic Forssk. (Chinese convolvulus) ผักกาดหัว (Chinese cabbage) Raphanus sativus ผักโสภณ (-) Brassica pekinensis Rupr. ฝ้าย (Cotton) Gossypium spp. พริกขี้หนู (Bird chilli) Capsicum frutescens Linn. พริกชี้ฟ้า (Hot pepper) Capsicum annum var. acuminatum Fingerth

น้ำ�หนัก น้ำ�หนัก ตัวอย่าง ตัวอย่าง เพื่อการ เพื่อตรวจ ตรวจ เมล็ดพืช สอบ อื่นหรือ เมล็ด วัชพืช (กรัม) (กรัม) (๕) (๖) ๓๐ ๓๐๐

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์

107


ลำ�ดับ ที่

น้ำ�หนัก สูงสุด ของกอง เมล็ดพันธุ์

น้ำ�หนัก ตัวอย่าง เมล็ดพันธุ์ นำ�ส่ง

(กิโลกรัม) (๓)

(กรัม) (๔)

Capsicum annum var. grossum Sendt. Capsicum annum Linn. Cucurbita moschata Dechesne Cucurbita maxima Dechesne Benincase hispida (Thunb.) (Cogn) Lycopersicon esculentum Mill. Solanum melongena L. Solanum torvum Sur. Solanum melongena L. var. esculentum Momordica charantia L. Nicotiana tabacum L. Ricinus communis L. Linum usitatissimum L. Stylosanthe sspp. Asparagus officinalis L. Allium fistulosum L. Allium cepa var. aggregatum Don. Allium cepa L. Ocimum basilicum L.

๑๐,๐๐๐

๑๕๐

๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐

๑๕๐ ๓๕๐

๑๕ ๑๘๐

๑๕๐ -

๒๐,๐๐๐

๑,๐๐๐

๗๐๐

๑,๐๐๐

๑๐,๐๐๐

๓๕๐

๑๘๐

-

๑๐,๐๐๐

๑๕

-

๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐

๑๕๐ ๑๕๐ ๑๕๐

๑๕ ๑๕ ๑๕

๑๕๐ ๑๕๐ ๑๕๐

๒๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐

๑,๐๐๐ ๒๕ ๑,๐๐๐ ๑๕๐ ๗๐ ๑,๐๐๐ ๕๐ ๕๐

๔๕๐ ๐.๕ ๕๐๐ ๑๕ ๗ ๑๐๐ ๕ ๕

๑,๐๐๐ ๕ ๑,๐๐๐ ๑๕๐ ๗๐ ๑,๐๐๐ ๕๐ ๕๐

๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐

๘๐ ๔๐

๘ ๔

๘๐ ๔๐

Medicago sativa L. Spinacia oleracea L. Tagetes patula L. Impatiens balsamina L. Dianthus caryophyllus L. Cosmos bipinnatus Cav.

๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐

๕๐ ๒๕๐ ๔๐ ๑๐๐ ๒๐ ๘๐

๕ ๒๕ ๑๐ ๒๕ ๕ ๒๐

๕๐ ๒๕๐ -

ชื่อภาษาไทย ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ

ชื่อวิทยาศาสตร์

(๑)

๕๖ พริกยักษ์ (Bell pepper) ๕๗ พริกหยวก (Sweet pepper) ๕๘ ฟักทอง (Pumkin) ๕๙ ฟักทองแฟนซี ๖๐ ฟัก/แฟง (Wax gourd) ๖๑ มะเขือเทศ (Tomato) ๖๒ มะเขือเปราะ (Round) ๖๓ มะเขือพวง (-) ๖๔ มะเขือยาว มะเขือม่วง (Eggplant) ๖๕ มะระ (Bitter gourd) ๖๖ ยาสูบ (Tobacco) ๖๗ ละหุ่ง (Castor bean) ๖๘ ลินิน (Linin) ๖๙ หญ้าสไตโล (Stylo) ๗๐ หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) ๗๑ หอมต้น (Welsh onion) ๗๒ หอมแบ่ง, หอมแดง (Multiplier onion) ๗๓ หอมหัวใหญ่ (Onion) ๗๔ โหระพา, แมงลัก (Sweet basil) ๗๕ อัลฟัลฟ่า (Alfafa) ๗๖ ปวยเหล็ง (Spinach) ๗๗ ดาวเรือง (Marigold) ๗๘ ดอกเทียน (Balsam) ๗๙ ผีเสื้อ (Dianthus) ๘๐ ดาวกระจาย (Cosmos)

108

(๒)

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

น้ำ�หนัก น้ำ�หนัก ตัวอย่าง ตัวอย่าง เพื่อการ เพื่อตรวจ ตรวจ เมล็ดพืช สอบ อื่นหรือ เมล็ด วัชพืช (กรัม) (กรัม) (๕) (๖) ๑๕ ๑๕๐


ลำ�ดับ ที่

ชื่อภาษาไทย ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ

ชื่อวิทยาศาสตร์

(๑)

๘๑ ๘๒ ๘๓ ๘๔ ๘๕ ๘๖ ๘๗

แพงพวย (Vinca) บานชื่น (Zinnia) สร้อยไก่ (Celosia) พิทูเนีย (Petunia) ซัลเลีย (Salvia) เวอร์บีน่า (Verbena) แววมยุรา (Torenia)

๘๘ บานไม่รู้โรย (Gomphrena) ๘๙ ลิ้นมังกร (Snapdragon)

(๒)

Vinca minor L. Zinnia elegans Jacq. Celosia argentea L. Petunia xhybrida exe. vilm Salvia officinalis L. Verbena bonariensis L. Torenia fournieri Linden ex E. Fourn. Gomphrena globosa L. Antirrhinum majus L.

น้ำ�หนัก สูงสุด ของกอง เมล็ดพันธุ์

น้ำ�หนัก ตัวอย่าง เมล็ดพันธุ์ นำ�ส่ง

(กิโลกรัม) (๓)

(กรัม) (๔)

๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐

๒๐ ๘๐ ๑๐ ๕ ๓๐ ๒๐ ๕

๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐

๔๐ ๕

น้ำ�หนัก น้ำ�หนัก ตัวอย่าง ตัวอย่าง เพื่อการ เพื่อตรวจ ตรวจ เมล็ดพืช สอบ อื่นหรือ เมล็ด วัชพืช (กรัม) (กรัม) (๕) (๖) ๕ ๒๐ ๒ ๐.๒ ๒๐ ๖ ๐.๒ ๑๐ ๐.๕

-

๔.๓ การสุ่มตัวอย่าง ตาม ISTA Handbook (๒๐๐๔) ได้ก�ำหนดปริมาณของการสุ่มตัวอย่างไว้ใน ๓ กรณี • กรณีที่ ๑ การสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ในภาชนะบรรจุขนาด ๑๕-๑๐๐ กิโลกรัม ก�ำหนดปริมาณการสุ่มไว้ตามตารางที่ ๑.๑ ภาชนะบรรจุ (container) ตามเกณฑ์ของ ISTA หมายถึง ภาชนะ บรรจุตามสภาพที่จัดจ�ำหน่าย การสุ่มตัวอย่างอาจมีสถานภาพต่างๆ กันไป เช่น ล็อตเมล็ดพันธุ์ขนาด ๒๕ ตัน มีเมล็ดพันธุ์บรรจุอยู่ในถุงขนาด ๒๕ กิโลกรัม เรียงซ้อนกันจ�ำนวน ๕๐ ถุง ต่อ ๑ แคร่ เมล็ดพันธุ์ล็อตนี้จะมี จ�ำนวน ๑,๐๐๐ ถุง หรือ ๒๐ แคร่ ภาชนะบรรจุก็จะหมายถึง ถุง ที่มีขนาดบรรจุ ๒๕ กิโลกรัม เมื่อพิจารณา ตารางที่ ๑.๑ แล้ว จ�ำนวนตัวอย่างขั้นต้นที่ต้องสุ่มอย่างน้อยที่สุดคือ ๓๐ ตัวอย่างขั้นต้น ตารางที่ ๑.๑ จำ�นวนตัวอย่างขั้นต้นต่ำ�สุดในการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ในภาชนะบรรจุขนาด ๑๕-๑๐๐ กิโลกรัม

จ�ำนวนภาชนะในล็อตเมล็ดพันธุ์ (containers in the seed lot) ๑ – ๔ ภาชนะบรรจุ ๕ – ๘ ภาชนะบรรจุ ๙ – ๑๕ ภาชนะบรรจุ ๑๖ – ๓๐ ภาชนะบรรจุ ๓๑ – ๕๙ ภาชนะบรรจุ ๖๐ ภาชนะบรรจุหรือมากกว่า

จ�ำนวนตัวอย่างขั้นต้นต�่ำสุดที่ต้องสุ่ม (number of primary samples) ๓ ตัวอย่างขั้นต้นจากแต่ละภาชนะบรรจุ ๒ ตัวอย่างขั้นต้นจากแต่ละภาชนะบรรจุ ๑ ตัวอย่างขั้นต้นจากแต่ละภาชนะบรรจุ สุ่มทั้งหมด ๑๕ ตัวอย่างขั้นต้นจากเมล็ดพันธุ์ล็อตนั้น สุ่มทั้งหมด ๒๐ ตัวอย่างขั้นต้นจากเมล็ดพันธุ์ล็อตนั้น สุ่มทั้งหมด ๓๐ ตัวอย่างขั้นต้นจากเมล็ดพันธุ์ล็อตนั้น วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์

109


เมื่อมีการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์จากล็อตที่มีจ�ำนวนภาชนะบรรจุไม่เกิน ๑๕ ภาชนะบรรจุ ไม่ค�ำนึงถึงว่า จะมีขนาดหรือปริมาณของเมล็ดพันธุ์เป็นเท่าใด จ�ำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างขั้นต้นในปริมาณเท่าๆ กันจากทุกๆ ภาชนะบรรจุ โดย ISTA ให้เหตุผลของการสุ่มจากทุกภาชนะว่าเป็นเพราะจ�ำนวนภาชนะบรรจุต่อล็อตมีจ�ำนวน น้อย จึงถือว่าเมล็ดพันธุ์ในแต่ละภาชนะบรรจุคือตัวแทนส่วนใหญ่ของล็อต ดังนั้นจึงต้องสุ่มจากทุกภาชนะ หากสุ่มไม่ครบทั้งๆ ที่มีจ�ำนวนภาชนะน้อยอยู่แล้วจะไม่ได้ตัวแทนที่แท้จริงของล็อตนั้นๆ ส�ำหรับเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ในภาชนะขนาดเล็ก เช่น กระป๋อง ซอง หรือห่อที่ใช้ในการขายปลีก ให้ ด�ำเนินการสุ่มดังนี้ - ให้ใช้น�้ำหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม เป็นเกณฑ์ในการสุ่ม โดยรวมภาชนะขนาดเล็กนั้นเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะ มาจาก ๒๐ กล่อง กล่องละ ๕ กิโลกรัม หรือ ๓๓ กล่อง กล่องละ ๓ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กล่อง กล่องละ ๑ กิโลกรัม รวมคิดเป็นหนึ่งภาชนะบรรจุและใช้หลักเกณฑ์ในการสุ่ม • กรณีที่ ๒ การสุม่ ตัวอย่างเมล็ดพันธุใ์ นภาชนะบรรจุขนาดมากกว่า ๑๐๐ กิโลกรัมหรือสุม่ เมล็ดพันธุ์ ขณะปรับปรุงสภาพหรือขณะเมล็ดพันธุ์อยู่ในกระแสการไหลต่อเนื่อง (seed stream) ให้ใช้จ�ำนวนต่อไปนี้ เป็นจ�ำนวนต�่ำสุดที่ต้องสุ่ม ตารางที่ ๑.๒ จ�ำนวนตัวอย่างขั้นต้นที่ต้องสุ่มจากล็อตเมล็ดพันธุ์ขนาดต่างกัน น�้ำหนักมากกว่า ๑๐๐ กิโลกรัม

น�้ำหนักของล็อตเมล็ดพันธุ์

จ�ำนวนตัวอย่างขั้นต้นที่ต้องสุ่ม

(กิโลกรัม)

๑๐๐ – ๕๐๐ ๕๐๑ – ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๑ – ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป

อย่างน้อยที่สุด ๕ ตัวอย่างขั้นต้น ๑ ตัวอย่างขั้นต้นจากทุกๆ ๓๐๐ กิโลกรัมแต่ต้องไม่ต�่ำกว่า ๕ ตัวอย่างขั้นต้น ๑ ตัวอย่างขั้นต้นจากทุกๆ ๕๐๐ กิโลกรัมแต่ต้องไม่ต�่ำกว่า ๑๐ ตัวอย่างขั้นต้น ๑ ตัวอย่างขั้นต้นจากทุกๆ ๗๐๐ กิโลกรัมแต่ต้องไม่ต�่ำกว่า ๔๐ ตัวอย่างขั้นต้น

• กรณีที่ ๓ การสุ่มตัวอย่างจากล็อตเมล็ดพันธุ์ในขนาดภาชนะบรรจุต�่ำกว่า ๑๕ กิโลกรัม ล็อตเมล็ดพันธุ์ที่ประกอบด้วยภาชนะบรรจุขนาดต�่ำกว่า ๑๕ กิโลกรัม ให้รวมน�้ำหนักในภาชนะบรรจุ เข้าด้วยกัน แล้วจัดแบ่งเป็นหน่วยสุ่ม (sampling unit) โดยให้แต่ละหน่วยสุ่มมีน�้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กิโลกรัม และจึงใช้หลักการสุ่มตัวอย่างเช่นเดียวกับกรณีที่ ๑ หรือจะค�ำนวณหน่วยสุ่มได้โดยใช้สูตรดังต่อไปนี้ (ถ้าตัวเลข ที่ค�ำนวณได้เป็นเศษเกินครึ่ง ให้ปัดเป็นจ�ำนวนเต็ม) จ�ำนวนหน่วยสุ่ม = จจำนวนภาชนะบรรจุ x ขนาดของภาชนะบรรจุ ๑๐๐

110

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


๕. เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง ๕.๑ การใช้หลาวสุ่มตัวอย่างชนิดต่างๆ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดพืชและภาชนะบรรจุ (๑) การใช้หลาวแทงกระสอบแบบ Nobbe trier (หลาวท่อ) เหมาะในการเก็บตัวอย่างจากถุงหรือกระสอบ หลาวชนิดนี้มีหลายขนาด รูปร่างเป็นกระบอกทรงกลมปลายแหลม ที่ ปลายสุดมีรเู ปิดรูปไข่ โดยทัว่ ๆ ไปจะมีความยาว ๕๐๐ มิลลิเมตร เป็นส่วน ที่ใช้มือจับ ๑๐๐ มิลลิเมตร ตอนปลายแหลม ๖๐ มิลลิเมตร และส่วนที่ เป็นกระบอก ๓๔๐ มิลลิเมตร ขนาดที่ใช้กับธัญพืช มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ภายในกระบอก ๑๔ มิลลิเมตร วิธใี ช้ให้แทงเข้าไปในกระสอบท�ำมุม ๓๐ องศา จากแนวนอน และให้รูรับเมล็ดคว�่ำลง เมื่อแทงถึงตอนกลางกระสอบแล้ว จึงหมุนรูรับเมล็ดพันธุ์ให้หงาย ขึ้นท�ำมุม ๑๘๐ องศา แล้วค่อยๆ ดึงหลาวออกมาเพื่อให้ได้เมล็ดบริเวณใกล้เคียงจากตอนกลางจนถึงริมกระสอบ เขย่าเบาๆ เพือ่ ให้เมล็ดผ่านลงรูรบั อย่างสม�ำ่ เสมอ แทงให้ทวั่ ทัง้ บริเวณส่วนบน ส่วนกลาง และก้นกระสอบ ส�ำหรับ กระสอบทีว่ างติดอยูก่ บั พืน้ ควรยกขึน้ มาวางบนกระสอบอืน่ ๆ เพือ่ สามารถแทงสุม่ สะดวกขึน้

(๒) การใช้หลาวแทงกระสอบแบบ Sleeve or Strick trier ใช้ได้ทงั้ เมล็ดบรรจุในภาชนะและในยุง้ ฉาง หรือถังเก็บใหญ่ๆ สุ่มได้ทั้งแนวนอนและแนวดิ่ง เป็นหลาวที่มีกระบอกสแตนเลสหรือทองเหลืองสองกระบอก บรรจุอยู่ซ้อนกัน มีช่องเปิดตอนกลางหลาวเป็นช่วงๆ (มีทั้งแบบที่มีผนังกั้นเป็นช่องๆและแบบไม่มีผนังกั้น) เพื่อ ให้เมล็ดไหลเข้ากระบอก ซึ่งขนาดหลาวที่เหมาะสมในการสุ่มเมล็ดที่บรรจุในกระสอบคือ เมล็ดพืชตระกูลถั่วขนาดเล็ก และเมล็ดพืชขนาดเล็กที่ไหลตัวง่าย ได้แก่ เมล็ดผักตระกูลกะหล�่ำ ใช้หลาวยาว ๔๒๐ หรือ ๖๒๐ มิลลิเมตร กระบอกชั้นนอกเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ มิลลิเมตร มีช่องเปิด ๕ ช่อง ถ้าหลาวยาว ๖๒๐ มิลลิเมตร จะมีช่องเปิด ๙ ช่อง

เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวเปลือกเจ้า บวบเหลี่ยม ฟักทอง หรือแตงโม ใช้หลาวยาว ๘๙๐ มิลลิเมตร กระบอกชั้นนอกเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๗.๐ มิลลิเมตร และมีช่องเปิด ๓ ช่อง

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์

111


ส่วนเมล็ดพันธุ์ในยุ้งฉางหรือถังเก็บใหญ่ๆ ใช้หลาวขนาดใหญ่ขึ้น มีความยาวต่างๆ กัน อาจยาวถึง ๘๙๐ มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐ มิลลิเมตร และมีช่องเปิด ๖-๙ ช่อง วิธีการใช้หลาวชนิดนี้ ให้แทงแบบ ทแยงมุมเข้าไปในภาชนะ ส่วนการสุ่มแนวดิ่งควรหมุนช่องเปิดของกระบอกชั้นในให้ถูกปิดเสียก่อน แล้วค่อยๆ แทงลงไปในกองเมล็ด แล้วจึงหมุนให้ช่องเปิดตรงกันหมุนไปมา ๒-๓ ครั้ง หรือเขย่าเบาๆ ให้เมล็ดไหลเข้า กระบอกจนเต็ม จึงหมุนช่องปิด แล้วดึงหลาวออกมาเทเมล็ดออกจากกระบอกใส่ถาด

การใช้หลาวสุ่มที่มีการหมุนปิดเปิดช่องของหลาว ควรระมัดระวังอย่าให้เมล็ดพันธุ์เสียหาย และเมื่อ ดึงหลาวออกจากกระสอบแล้ว ควรใช้ปลายของหลาวเกลี่ยรูเปิดของกระสอบไปมา ๒-๓ ครั้งเพื่อให้เส้นด้าย หรือเส้นใยปอปิดรูกระสอบให้ชิดดังเดิม ส่วนกระสอบพลาสติกสานหรือถุงกระดาษ จะต้องปิดรูด้วยแผ่นเทป ปิดผนึกหรือเทปกาว ๕.๒ การเก็บตัวอย่างโดยใช้มือ เป็นวิธีที่สะดวก ง่าย ใช้กับเมล็ดที่มีผิวหยาบ และไม่สามารถไหลตัวได้ อย่างสะดวก แต่ถ้าลึกเกินกว่า ๔๐ เซนติเมตร ไม่สามารถเก็บเมล็ด จากส่วนล่างได้ อาจต้องเทเมล็ดออกจากกระสอบเพื่อให้เก็บตัวอย่าง ได้ทั่วถึงแล้วจึงเทคืนลงในกระสอบตามเดิม การเก็บตัวอย่างด้วยมือ ไม่ควรให้นวิ้ มือแยกออกจากกันมากเกินไปจนเมล็ดรอดหล่นออกไปได้ ๖. การนำ�ส่งตัวอย่าง ๖.๑ เมื่อได้ตัวอย่างขั้นต้นที่มีความสม�่ำเสมอดีแล้ว ให้น�ำมารวมกันเป็นตัวอย่างรวม ถ้าตัวอย่างรวม มีขนาดเท่ากับตัวอย่างน�ำส่ง ให้น�ำส่งตัวอย่างได้เลย แต่ถ้าไม่สะดวกในการแบ่งตัวอย่างรวม ณ จุดที่สุ่มให้ส่ง ตัวอย่างรวมทั้งหมด ให้ห้องปฏิบัติการด�ำเนินการแบ่งตัวอย่างเอง แต่ถ้าสามารถแบ่งตัวอย่างรวมได้ในสถานที่ สุ่มให้แบ่งตัวอย่างด้วยมือ การแบ่งตัวอย่างด้วยมือให้ปฏิบัติดังนี้ คลุกเคล้าเมล็ดที่ต้องการแบ่งให้เข้ากันดี แล้วเทลงบนพื้นโต๊ะหรือแผ่นกระจกที่มีผิวเรียบหรือเทลง บนพื้นปูด้วยผ้าพลาสติก ใช้ไม้บรรทัดยาวเกลี่ยและตะล่อมเมล็ด ท�ำให้กองเมล็ดสม�่ำเสมอและมีรูปร่างเป็น สี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วใช้ไม้บรรทัดแบ่งลงตรงกลางกองเมล็ดตามขวาง และแยกเมล็ดออกเป็น ๒ ส่วนเท่าๆ กัน จากนั้นแบ่งแต่ละกองออกเป็น ๒ ส่วนเหมือนเดิม จะได้เป็น ๔ กอง แล้วแบ่งทั้ง ๔ กองออกตามยาวเป็น ๘ กอง ย่อย จากนั้นรวบเมล็ดกองย่อยสลับกันตามเส้นทแยงรวมเข้าด้วยกันใหม่ ที่เหลือไม่ใช้ จะเป็นการแบ่งเมล็ด เพื่อลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง ให้น�ำส่วนครึ่งหนึ่งที่ได้มาแบ่งเพื่อลดขนาดลงต่อไปได้อีกดังรูป โดยท�ำซ�้ำอีกจนได้ น�้ำหนักที่ต้องการ

112

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


ภาพที่ ๑ การแบ่งตัวอย่างด้วยมือ

๑ ตวัอยางขั้นตน + ๑ ตวัอยางขั้นตน ๑ ตวัอยางขั้นตน + ๑ ตวัอยางขั้นตน +๑ ตวัอยางขั้นตน รวมทกุตวัอยางขั้นตนและคลุกใหเขากนั

ตวัอยางรวม (Composite Sample)

ตวัอยางรวม (Composite Sample)

ตวัอยางนาํสง (Submitted Sample)

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์

113


๖.๒ ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์น�ำส่งต้องมีป้ายบอกที่มาหรือแสดงข้อความที่เกี่ยวข้องระหว่างตัวอย่างกับล็อต เมล็ดพันธุ์นั้น ควรบรรจุเมล็ดพันธุ์น�ำส่งด้วยภาชนะบรรจุที่เหมาะสม หากต้องทดสอบความชื้นหรือเป็นเมล็ด พันธุ์ล็อตที่ผ่านการอบลดความชื้นแล้ว ควรบรรจุด้วยภาชนะที่เป็นวัสดุป้องกันความชื้นได้ หรือที่ไม่ถ่ายเท ความชื้น ให้ติดฉลากรายละเอียดของตัวอย่างเมล็ดพันธุ์บนถุงกระดาษ ดังนี้ ๖.๒.๑ เลขที่ใบขนสินค้า (ส�ำหรับเมล็ดพันธุ์ที่น�ำเข้า) ๖.๒.๒ วัน/เดือน/ปี ที่น�ำเข้า ๖.๒.๓ ชื่อบริษัทผู้น�ำเข้าเมล็ดพันธุ์ ๖.๒.๔ ชื่อพืช ๖.๒.๕ ชื่อพันธุ์ ๖.๒.๖ หมายเลขล๊อต (lot number) ๖.๒.๗ จ�ำนวนกระสอบหรือกล่อง ๖.๒.๘ ชื่อประเทศต้นทาง ๖.๒.๙ ปริมาณเมล็ดพันธุ์ หรือน�้ำหนักสุทธิ ๖.๒.๑๐ มูลค่าของเมล็ดพันธุ์ ๖.๒.๑๑ เดือน/ปีที่เก็บเกี่ยว (ถ้ามี) ๖.๒.๑๒ ชื่อสถานที่เก็บตัวอย่างหรือชื่อโรงพักสินค้า ๖.๒.๑๓ วัน/เดือน/ปี ที่สุ่มตัวอย่าง ๖.๒.๑๔ ชื่อผู้สุ่มตัวอย่าง ๖.๒.๑๕ ลายมือชื่อผู้สุ่มตัวอย่างร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรและผู้น�ำเข้า (หากเป็นเมล็ดพันธุ์ที่น�ำเข้าจากต่างประเทศ) ๗. การส่งมอบตัวอย่าง ให้สง่ ตัวอย่างเมล็ดพันธุไ์ ปทีห่ อ้ งปฏิบตั กิ ารทันที ต้องน�ำส่งโดยเจ้าหน้าทีผ่ สู้ มุ่ ตัวอย่าง ไม่ควรให้ตวั อย่าง เมล็ดพันธุอ์ ยูใ่ นมือของผูไ้ ม่เกีย่ วข้อง ๘. การเก็บรักษาตัวอย่าง ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่เหลือจากการทดสอบ ต้องเก็บรักษาไว้ในสภาพที่ดี มีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือใน ห้องควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน ๑๕ องศาเซลเซียส เพื่อคืนให้ลูกค้า เพื่อไม่ให้ตัวอย่างเสียหายหรือเสื่อมความงอก

114

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


เอกสารประกอบการตรวจร้านค้า ของสารวัตรเกษตร

เอกสาร

115


ภค. 1 เลมที.่ ..................

เลขที…่ ……………

บันทึกการตรวจสถานที่ประกอบการวัตถุอันตราย ปุย และเมล็ดพันธุค วบคุม สวนราชการ.......................................................................................................................................โทร........................................... ที่ กษ......................................................วันที.่ .................................................เริ่มตรวจเวลา...................................ถึง..............................นาฬิกา 1. ในฐานะพนักงานเจาหนาที่  ตามพระราชบัญญัติวัตถุอนั ตราย พ.ศ.2535 แกไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที2่ ) พ.ศ.2544 และ (ฉบับที3่ ) พ.ศ.2551  ตามพระราชบัญญัติปุย พ.ศ.2518 แกไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติปุย (ฉบับที2่ ) พ.ศ.2550  ตามพระราชบัญญัติพันธุพืช พ.ศ.2518 แกไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติพันธุพืช (ฉบับที2่ ) พ.ศ.2535 และ (ฉบับที3่ ) พ.ศ.2550 ไดแจงความประสงคตอผูด ําเนินกิจการหรือผูแทน นาย / นาง / นางสาว........................................................................................................................ บัตรประชาชนเลขที.่ ....................................................................ออกใหโดย................................................................................................................. วันที่ออกบัตร...............................................................................วันหมดอายุ.........................................................................................ขอทําการตรวจ  สถานที่ผลิต / ผูรวบรวม  รานจําหนาย  วัตถุอันตราย  ปุยเคมี  ปุยชีวภาพ  ปุยอินทรีย  เมล็ดพันธุควบคุม ชื่อ บริษัท / หาง / ราน...............................................................................ซึ่งมี................................................................................เปนผูด ําเนินกิจการ เลขที.่ ................................หมูที่.................ตําบล........................................อําเภอ..............................................จังหวัด.................................................. โทร..................................................................................................โทรสาร............................................................... ................................................... 2. รายการที่ทําการตรวจ/ผลการตรวจและแจงการดําเนินการของพนักงานเจาหนาที่ 2.1 ใบอนุญาตผลิต / ขาย 2.1.1 ใบอนุญาตผลิต/มีไวในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย  มี เลขที.่ ..................................สิ้นอายุ............................................. ไมมี - ผูควบคุมการขายวัตถุอนั ตราย ชื่อนาย/นาง/นางสาว.......................................................วันที่ผานการอบรม.................................... 2.1.2 ใบอนุญาตผลิต/ขายปุย  มี เลขที.่ ..................................สิ้นอายุ............................................. ไมมี 2.1.3 ใบอนุญาตรวบรวม/ขายเมล็ดพันธุควบคุม  มี เลขที.่ ..................................สิ้นอายุ............................................  ไมมี 2.2 การตรวจสอบผลิตภัณฑ  เก็บตัวอยางวัตถุอันตราย จํานวน................รายการ อายัด จํานวน.................รายการ จํานวน.............................ลิตร/กิโลกรัม  เก็บตัวอยางปุย จํานวน................รายการ อายัด จํานวน.................รายการ จํานวน.............................ลิตร/กิโลกรัม  เก็บตัวอยางเมล็ดพันธุควบคุม จํานวน................รายการ อายัด จํานวน.................รายการ จํานวน...........................ลิตร/กิโลกรัม 2.3 การจัดราน................................................................................................................................................................................................................... 2.4 อื่น ๆ............................................................................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................................................................................. ในการปฏิบัติงานครัง้ นี้ พนักงานเจาหนาที่มิไดกระทําใหทรัพยสินของสถานที่นี้สูญหายหรือเสียหายแตประการใด ผูด ําเนินกิจการหรือผูแทน ไดอานขอความทั้งหมดแลวเขาใจตลอด และรับทราบการดําเนินการของพนักงานเจาหนาที่ทุกประการ จึงลงลายมือชื่อไวเปนหลักฐาน

116

ลงชื่อ................................................................ผูด ําเนินกิจการ/ผูแทน (................................................................)

ลงชื่อ................................................................พนักงานเจาหนาที่ (................................................................)

ลงชื่อ................................................................พยาน (................................................................)

ลงชื่อ................................................................พนักงานเจาหนาที่ / ผูบันทึก (................................................................) รหัสราน.....................................

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


ภค 6 ภค. 6

บันทึกการเก็บตัวอยางและอายัดปุยเพื่อตรวจสอบ สวนราชการ...................................................................................................................โทร........................................................... ที่กษ............................................................................วันที่……………………………เวลา...........................ถึง.................................น. พนักงานเจาหนาที่อาศัยอํานาจมาตรา 44 (3) (4)แหงพระราชบัญญัติปุย พ.ศ. 2518 และที่แกไขเพิ่มเติม ไดทําการเก็บตัวอยางและอายัด ปุยเคมี / ปุย อินทรีย / ปุยชีวภาพเพื่อการคา เพื่อตรวจสอบจากสถานที่จําหนาย / ผลิตปุย เคมี ชื่อ บริษัท/หาง/ราน.................................................................................................…………..…..ตั้งอยูเลขที.่ ...................................หมูที่.......................... ถนน..................................................ตําบล................................................... อําเภอ..............………….….......…......จังหวัด.................................................. ซึ่งมี............................................................................................................... เปนผูดําเนินกิจการจํานวน.....................รายการ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ปุยเคมี/ปุยอินทรีย/ ปุย ชีวภาพ สูตร/ปริมาณอินทรียวัตถุรับรอง/ปริมาณจุลินทรียร ับรอง............................................................................ ชื่อการคา...............................................เครื่องหมายการคา ตรา............................................ทะเบียนเลขที.่ ..................................(กรมวิชาการเกษตร) ผูนําเขา...................……..............................สถานที่ทําการเลขที.่ ......................................................................................................................................... ผูผลิต...................…….................................สถานที่ผลิตเลขที.่ ............................................................................................................................................. ผูจัดจําหนาย...............................................สถานที่ทําการเลขที.่ ......................................................................................................................................... ปริมาณที่พบ.....................................................................................................ลิตร/กิโลกรัม เก็บตัวอยาง ภาชนะบรรจุ...................................................................ขนาด..........…....................……..............จํานวน…………….......................…............ อายัด ภาชนะบรรจุ...................................................................ขนาด...........……….................................จํานวน……………......................…........... 2. ปุยเคมี/ปุยอินทรีย/ ปุย ชีวภาพ สูตร/ปริมาณอินทรียวัตถุรับรอง/ปริมาณจุลินทรียร ับรอง............................................................................ ชื่อการคา...............................................เครื่องหมายการคา ตรา............................................ทะเบียนเลขที.่ .....................................(กรมวิชาการเกษตร) ผูนําเขา...................……..............................สถานที่ทําการเลขที.่ ......................................................................................................................................... ผูผลิต...................…….................................สถานที่ผลิตเลขที.่ ............................................................................................................................................. ผูจัดจําหนาย...............................................สถานที่ทําการเลขที.่ ......................................................................................................................................... ปริมาณที่พบ.....................................................................................................ลิตร/กิโลกรัม เก็บตัวอยาง ภาชนะบรรจุ...................................................................ขนาด..........…....................……..............จํานวน…………….......................…............ อายัด ภาชนะบรรจุ...................................................................ขนาด...........……….................................จํานวน…………….......................…............ ขาพเจา...........................................................................................ผูด ําเนินกิจการ/ผูแทน ขอรับรองวาพนักงานเจาหนาที่ฯไดเก็บตัวอยาง และอายัดปุยตามชนิด และจํานวนดังกลาวจริง สวนที่อายัดไวพนักงานเจาหนาที่ฯ ไดมอบให....................................................................เปนผูดูแล หามมิใหเคลื่อนยาย จําหนาย จายแจกหรือทําลายจนกวาจะไดรับคําสั่งเปลีย่ นแปลงจากพนักงานเจาหนาที่ฯ ในการกระทําดังกลาวขางตน พนักงาน เจาหนาที่ฯ มิไดขูเข็ญบังคับหรือกระทําใดๆ ที่ไมสมควรแกหนาที่และมิไดกระทําใหทรัพยสินหรือสิ่งอืน่ ใดเสียหายแตประการใด ทั้งพนักงาน เจาหนาที่ฯ มิไดเรียกรองหรือรับผลประโยชนแตประการใด ขาพเจายินยอมและเขาใจดีแลว จึงไดลงลายมือชื่อไวเปนหลักฐาน (ลงชื่อ)....................................................ผูดําเนินกิจการ/ ผูแทน (...................................................)

(ลงชื่อ)....................................................พนักงานเจาหนาที่ (....................................................) ตําแหนง....................................................

(ลงชื่อ)....................................................พยาน (...................................................)

(ลงชื่อ).....................................................พนักงานเจาหนาที/่ ผูบันทึก (……...............................................) ตําแหนง.................................................... เอกสารประกอบการตรวจร้านค้าของสารวัตรเกษตร

117


ภค 8 เลมที่.......................

เลขที…่ ..................

บันทึกแนบตัวอยางปุยเพื่อตรวจสอบคุณภาพ ตามพระราชบัญญัติปุย พ.ศ. 2518 และที่แกไขเพิ่มเติม ตัวอยางที.่ ................................สวนที่ 1 ปุยเคมี/ปุยอินทรีย/ปุยชีวภาพ สูตร/ปริมาณอินทรียวัตถุรับรอง/ปริมาณจุลินทรียรับรอง................................................................... ชื่อการคา.........................................................................เครื่องหมายการคา ตรา............................................................................... ทะเบียนเลขที่.....................................................................................................................................................(กรมวิชาการเกษตร) ผูนําเขา...................…….................................................................................................................................................................... สถานที่ทําการเลขที่...........................................หมูที่........................ถนน......................................................................................... ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ผูผลิต...................……....................................................................................................................................................................... สถานที่ผลิตเลขที่...............................................หมูท.ี่ .......................ถนน........................................................................................ ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ผูจัดจําหนาย....................................................................................................................................................................................... สถานที่ทําการเลขที่...........................................หมูที่........................ถนน......................................................................................... ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ชื่อและสถานที่เก็บตัวอยาง................................................................................................................................................................. เลขที่.............................................หมูที่........................ถนน.............................................................................................................. ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... เก็บตัวอยางวันที่...........................................เดือน...............................................................พ.ศ. ...................................................... ผูเก็บตัวอยางปุย ไดลงลายมือชื่อไวเปนหลักฐาน (ลงชื่อ)..........................................ผูดําเนินกิจการ/ ผูแทน (..........................................)

(ลงชื่อ)....................................................พนักงานเจาหนาที่ (.....................................................) ตําแหนง.................................................... (ลงชื่อ).....................................................พนักงานเจาหนาที่/ผูบันทึก (……...............................................) ตําแหนง...................................................

หมายเหตุ : ใหใชแนบผนึกกับตัวอยางที่สงวิเคราะห สวนที่ 1 ใหพนักงานเจาหนาที่เก็บไว

118

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


ภค 8 เลมที่.......................

เลขที…่ ..................

บันทึกแนบตัวอยางปุยเพื่อตรวจสอบคุณภาพ ตามพระราชบัญญัติปุย พ.ศ. 2518 และที่แกไขเพิ่มเติม ตัวอยางที.่ ................................สวนที่2 ปุยเคมี/ปุยอินทรีย/ปุยชีวภาพ สูตร/ปริมาณอินทรียวัตถุรับรอง/ปริมาณจุลินทรียรับรอง................................................................... ชื่อการคา.........................................................................เครื่องหมายการคา ตรา............................................................................... ทะเบียนเลขที่.....................................................................................................................................................(กรมวิชาการเกษตร) ผูนําเขา...................…….................................................................................................................................................................... สถานที่ทําการเลขที่...........................................หมูที่........................ถนน......................................................................................... ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ผูผลิต...................……....................................................................................................................................................................... สถานที่ผลิตเลขที่...............................................หมูท.ี่ .......................ถนน........................................................................................ ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ผูจัดจําหนาย....................................................................................................................................................................................... สถานที่ทําการเลขที่...........................................หมูที่........................ถนน......................................................................................... ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ชื่อและสถานที่เก็บตัวอยาง................................................................................................................................................................. เลขที่.............................................หมูที่........................ถนน.............................................................................................................. ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... เก็บตัวอยางวันที่...........................................เดือน...............................................................พ.ศ. ...................................................... ผูเก็บตัวอยางปุย ไดลงลายมือชื่อไวเปนหลักฐาน (ลงชื่อ)..........................................ผูดําเนินกิจการ/ ผูแทน (..........................................)

(ลงชื่อ)....................................................พนักงานเจาหนาที่ (....................................................) ตําแหนง.................................................... (ลงชื่อ).....................................................พนักงานเจาหนาที่/ผูบันทึก (……...............................................) ตําแหนง...................................................

หมายเหตุ : ใหใชแนบผนึกกับตัวอยางที่สงวิเคราะห สวนที่ 2 ใหพนักงานเจาหนาที่เก็บไว

เอกสารประกอบการตรวจร้านค้าของสารวัตรเกษตร

119


ภค 8 เลมที่.......................

เลขที…่ ..................

บันทึกแนบตัวอยางปุยเพื่อตรวจสอบคุณภาพ ตามพระราชบัญญัติปุย พ.ศ. 2518 และที่แกไขเพิ่มเติม ตัวอยางที.่ ................................สวนที่ 3 ปุยเคมี/ปุยอินทรีย/ปุยชีวภาพ สูตร/ปริมาณอินทรียวัตถุรับรอง/ปริมาณจุลินทรียรับรอง................................................................... ชื่อการคา.........................................................................เครื่องหมายการคา ตรา............................................................................... ทะเบียนเลขที่.....................................................................................................................................................(กรมวิชาการเกษตร) ผูนําเขา...................…….................................................................................................................................................................... สถานที่ทําการเลขที่...........................................หมูที่........................ถนน......................................................................................... ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ผูผลิต...................……....................................................................................................................................................................... สถานที่ผลิตเลขที่...............................................หมูท.ี่ .......................ถนน........................................................................................ ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ผูจัดจําหนาย....................................................................................................................................................................................... สถานที่ทําการเลขที่...........................................หมูที่........................ถนน......................................................................................... ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ชื่อและสถานที่เก็บตัวอยาง................................................................................................................................................................. เลขที่.............................................หมูที่........................ถนน.............................................................................................................. ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... เก็บตัวอยางวันที่...........................................เดือน...............................................................พ.ศ. ...................................................... ผูเก็บตัวอยางปุย ไดลงลายมือชื่อไวเปนหลักฐาน (ลงชื่อ)..........................................ผูดําเนินกิจการ/ ผูแทน (..........................................)

(ลงชื่อ)....................................................พนักงานเจาหนาที่ (.....................................................) ตําแหนง.................................................... (ลงชื่อ).....................................................พนักงานเจาหนาที่/ผูบันทึก (……................................................) ตําแหนง...................................................

หมายเหตุ : ใหใชแนบผนึกกับตัวอยางที่สงวิเคราะห สวนที่ 3 ใหพนักงานเจาหนาที่เก็บไว

120

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


ภค 8 เลมที่.......................

เลขที…่ ..................

บันทึกแนบตัวอยางปุยเพื่อตรวจสอบคุณภาพ ตามพระราชบัญญัติปุย พ.ศ. 2518 และที่แกไขเพิ่มเติม ตัวอยางที.่ ................................สวนที่ 4 ปุยเคมี/ปุยอินทรีย/ปุยชีวภาพ สูตร/ปริมาณอินทรียวัตถุรับรอง/ปริมาณจุลินทรียรับรอง................................................................... ชื่อการคา.........................................................................เครื่องหมายการคา ตรา............................................................................... ทะเบียนเลขที่.....................................................................................................................................................(กรมวิชาการเกษตร) ผูนําเขา...................…….................................................................................................................................................................... สถานที่ทําการเลขที่...........................................หมูที่........................ถนน......................................................................................... ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ผูผลิต...................……....................................................................................................................................................................... สถานที่ผลิตเลขที่...............................................หมูท.ี่ .......................ถนน........................................................................................ ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ผูจัดจําหนาย....................................................................................................................................................................................... สถานที่ทําการเลขที่...........................................หมูที่........................ถนน......................................................................................... ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... ชื่อและสถานที่เก็บตัวอยาง................................................................................................................................................................. เลขที่.............................................หมูที่........................ถนน.............................................................................................................. ตําบล...................................................... อําเภอ..............……........................…......จังหวัด............................................................... เก็บตัวอยางวันที่...........................................เดือน...............................................................พ.ศ. ...................................................... ผูเก็บตัวอยางปุย ไดลงลายมือชื่อไวเปนหลักฐาน (ลงชื่อ)..........................................ผูดําเนินกิจการ/ ผูแทน (..........................................)

(ลงชื่อ)....................................................พนักงานเจาหนาที่ (....................................................) ตําแหนง.................................................... (ลงชื่อ).....................................................พนักงานเจาหนาที่/ผูบันทึก (……..............................................) ตําแหนง...................................................

หมายเหตุ : ใหใชแนบผนึกกับตัวอยางที่สงวิเคราะห สวนที่ 4 ใหผูประกอบการเก็บไวเปนหลักฐาน

เอกสารประกอบการตรวจร้านค้าของสารวัตรเกษตร

121


ภค 5 เลขที.่ .........

เลมที.่ ............

บันทึกแนบตัวอยางวัตถุอนั ตรายเพื่อตรวจสอบคุณภาพ ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และที่แกไขเพิ่มเติม ตัวอยางที.่ ................................................ ชื่อการคา..................................................................................................ชื่อสามัญ............................................................................................................. เครื่องหมายการคา.................................................................................................อัตราสวนสารออกฤทธิ.์ ......................................................................... ทะเบียนวัตถุอันตรายเลขที.่ ................................................................................................................................................................................................. ผูนําเขา................................................................................................................................................................................................................................. สถานที่ทําการเลขที.่ .................................................หมูที่............................ถนน................................................................................................................ ตําบล.....................................................................อําเภอ...................................................................จังหวัด...................................................................... ผูผลิต.................................................................................................................................................................................................................................... สถานที่ผลิตเลขที.่ .....................................................หมูที่............................ถนน................................................................................................................ ตําบล.....................................................................อําเภอ...................................................................จังหวัด...................................................................... ผูจัดจําหนาย........................................................................................................................................................................................................................ สถานที่ทําการเลขที.่ .................................................หมูที่............................ถนน................................................................................................................ ตําบล.....................................................................อําเภอ...................................................................จังหวัด...................................................................... ชื่อและสถานที่เก็บตัวอยาง.................................................................................................................................................................................................. เลขที.่ .................................................หมูที่............................ถนน...................................................................................................................................... ตําบล.....................................................................อําเภอ...................................................................จังหวัด...................................................................... เก็บตัวอยางวันที.่ .........................................................เดือน................................................................................พ.ศ......................................................... ผูเก็บตัวอยางวัตถุอันตราย ไดลงลายมือชื่อไวเปนหลักฐาน (ลงชื่อ)..................................................................ผูดําเนินกิจการ/แทน (ลงชื่อ)....................................................................พนักงานเจาหนาที่ (..................................................................)

(.....................................................................) ตําแหนง...................................................................... (ลงชื่อ).................................................................พนักงานเจาหนาที/่ ผูบันทึก (...................................................................) ตําแหนง....................................................................

หมายเหตุ : ใชแนบผนึกกับตัวอยางที่สงวิเคราะห

122

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


ภค 2

เลมที.่ ........

เลขที.่ ................

บันทึกการเก็บตัวอยางและอายัดวัตถุอันตรายเพื่อตรวจสอบ สวนราชการ......................................................................................................................โทร.................................................... ที่ กษ................................................................วันที.่ ...................................เวลา................................ถึง................................น. พนักงานเจาหนาที่อาศัยอํานาจมาตรา 54(2) (3) แหงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และที่แกไขเพิ่มเติม ไดทําการเก็บตัวอยาง และอายัดวัตถุอนั ตราย เพื่อตรวจสอบจากสถานทีผ่ ลิต / จําหนายวัตถุอันตราย ชื่อ บริษัท/หาง/ราน..............................................................................................................................ตัง้ อยูเลขที.่ ...............................หมูท ี่..................... ถนน.........................................................ตําบล.......................................................อําเภอ....................................................จังหวัด.................................. ซึ่งมี............................................................................................................เปนผูดําเนินกิจการ จํานวน............................รายการ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.ชื่อการคา..........................................................................ชื่อสามัญ........................................................ อัตราสวนสารออกฤทธิ.์ ................... ทะเบียนเลขที.่ ........................................................................................วันที่ผลิต............................................................................................................... ผูนําเขา.....................................................................................สถานที่ทําการเลขที.่ ........................................................................................................... ผูผลิต........................................................................................สถานที่ผลิตเลขที.่ ............................................................................................................... ผูจัดจําหนาย.............................................................................สถานที่ทําการเลขที.่ ........................................................................................................... ปริมาณที่พบ......................................................................................................................ลิตร/กิโลกรัม เก็บตัวอยาง ภาชนะบรรจุ...........................................................................ขนาด.................................................................จํานวน................................... อายัด ภาชนะบรรจุ...........................................................................ขนาด.................................................................จํานวน................................... 2.ชื่อการคา..........................................................................ชื่อสามัญ..........................................................อัตราสวนสารออกฤทธิ.์ .................. ทะเบียนเลขที.่ ........................................................................................วันที่ผลิต............................................................................................................... ผูนําเขา.....................................................................................สถานที่ทําการเลขที.่ ........................................................................................................... ผูผลิต........................................................................................สถานที่ผลิตเลขที.่ ............................................................................................................... ผูจัดจําหนาย.............................................................................สถานที่ทําการเลขที.่ ........................................................................................................... ปริมาณที่พบ......................................................................................................................ลิตร/กิโลกรัม เก็บตัวอยาง ภาชนะบรรจุ...........................................................................ขนาด.................................................................จํานวน................................... อายัด ภาชนะบรรจุ...........................................................................ขนาด.................................................................จํานวน................................... ขาพเจา..............................................................................ผูด ําเนินกิจการ/ผูแทน ขอรับรองวาพนักงานเจาหนาที่ฯ ไดเก็บตัวอยางและอายัด วัตถุอันตรายตามชนิด และจํานวนดังกลาวจริง สวนที่อายัดไวพนักงานเจาหนาที่ฯไดมอบให...........................................................................เปนผูดูแล หามมิใหเคลื่อนยาย จําหนาย จายแจกหรือทําลายจนกวาจะไดรับคําสั่งเปลีย่ นแปลงจากพนักงานเจาหนาที่ฯ ในการกระทําดังกลาวขางตน พนักงาน เจาหนาที่ฯ มิไดขูเข็ญบังคับหรือกระทําใดๆ ที่ไมสมควรแกหนาที่ และมิไดกระทําใหทรัพยสิน หรือสิ่งอื่นใดเสียหายแตประการใด ทั้งพนักงาน เจาหนาที่ฯ มิไดเรียกรอง หรือรับผลประโยชนแตประการใด ขาพเจายินยอมและเขาใจดีแลว จึงไดลงลายมือชื่อไวเปนหลักฐาน (ลงชื่อ)...........................................................................ผูดําเนินกิจการ/ผูแทน (ลงชื่อ)........................................................................พนักงานเจาหนาที่ (...........................................................................) (........................................................................) ตําแหนง...................................................................... (ลงชื่อ)...........................................................................พยาน (...........................................................................)

(ลงชื่อ)........................................................................พนักงานเจาหนาที่ (........................................................................) ตําแหนง......................................................................

เอกสารประกอบการตรวจร้านค้าของสารวัตรเกษตร

123


ภค 9

เลมที่.............

เลขที.่ .......................

บันทึกการเก็บตัวอยางและอายัดเมล็ดพันธุควบคุมเพื่อตรวจสอบ สวนราชการ......................................................................................................................โทร.................................................... ที่ กษ..........................................................................วันที.่ ...................................เวลา................................ถึง......................น. พนักงานเจาหนาที่อาศัยอํานาจมาตรา 39(2) (3) แหงพระราชบัญญัติพันธุพืช พ.ศ.2518 และที่แกไขเพิ่มเติม ไดทําการเก็บตัวอยางและ อายัดเมล็ดพันธุควบคุม เพื่อตรวจสอบจากสถานที่จาํ หนาย/รวบรวมเมล็ดพันธุควบคุม ชื่อ บริษัท/หาง/ราน..............................................................................................................................ตัง้ อยูเลขที.่ ...............................หมูท ี่..................... ถนน.........................................................ตําบล.......................................................อําเภอ....................................................จังหวัด.................................. ซึ่งมี............................................................................................................เปนผูดําเนินกิจการ จํานวน............................รายการ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.ชนิดพืช..........................................................................ชื่อพันธุ. .......................................................เลขที่ พ.พ......................./...................... เครื่องหมายการคา ตรา.........................................................................เมล็ดบริสุทธิ์รอยละ...................................อัตราความงอกรอยละ........................ หมวดหมายเลข(Lot NO.)……………………………………..วันทดสอบ....................................................วันสิน้ อายุทําพันธุ. ...................................................... วันที่รวบรวม.........................................แหลงรวบรวม.................................................................ผูรวบรวม......................................................................... สถานที่รวบรวม.................................................................................................................................................................................................................... ปริมาณที่พบ........................................................................................................กรัม/กิโลกรัม/เมล็ดพันธุ เก็บตัวอยาง ภาชนะบรรจุ....................................................................................ขนาด......................................................จํานวน..................................... อายัด ภาชนะบรรจุ....................................................................................ขนาด......................................................จํานวน..................................... 2.ชนิดพืช..........................................................................ชื่อพันธุ. .......................................................เลขที่ พ.พ......................./.................... เครื่องหมายการคา ตรา.........................................................................เมล็ดบริสุทธิ์รอยละ...................................อัตราความงอกรอยละ........................ หมวดหมายเลข(Lot NO.)……………………………………..วันทดสอบ....................................................วันสิน้ อายุทําพันธุ. .................................................... วันที่รวบรวม.........................................แหลงรวบรวม.................................................................ผูรวบรวม......................................................................... สถานที่รวบรวม.................................................................................................................................................................................................................... ปริมาณที่พบ........................................................................................................กรัม/กิโลกรัม/เมล็ดพันธุ เก็บตัวอยาง ภาชนะบรรจุ....................................................................................ขนาด......................................................จํานวน.................................... อายัด ภาชนะบรรจุ....................................................................................ขนาด......................................................จํานวน.................................... ขาพเจา..............................................................................ผูด ําเนินกิจการ/ผูแทน ขอรับรองวาพนักงานเจาหนาที่ฯ ไดเก็บตัวอยางและอายัด เมล็ดพันธุควบคุมตามชนิดและจํานวนดังกลาวจริง สวนที่อายัดไวพนักงานเจาหนาที่ฯไดมอบให....................................................................เปนผูด ูแล หามมิใหเคลื่อนยาย จําหนาย จายแจกหรือทําลายจนกวาจะไดรับคําสั่งเปลีย่ นแปลงจากพนักงานเจาหนาที่ฯ ในการกระทําดังกลาวขางตน พนักงาน เจาหนาที่ฯ มิไดขูเข็ญบังคับหรือกระทําใดๆ ที่ไมสมควรแกหนาที่ และมิไดกระทําใหทรัพยสิน หรือสิ่งอื่นใดเสียหายแตประการใด ทั้งพนักงาน เจาหนาที่ฯ มิไดเรียกรอง หรือรับผลประโยชนแตประการใด ขาพเจายินยอมและเขาใจดีแลว จึงไดลงลายมือชื่อไวเปนหลักฐาน (ลงชื่อ)...........................................................................ผูดําเนินกิจการ/ผูแทน (ลงชื่อ)........................................................................พนักงานเจาหนาที่ (...........................................................................) (........................................................................) ตําแหนง...................................................................... (ลงชื่อ)...........................................................................พยาน (...........................................................................)

124

คู่มือร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

(ลงชื่อ)........................................................................พนักงานเจาหนาที่ (........................................................................) ตําแหนง......................................................................


ภค 11 เลมที่.............

เลขที.่ .........

ตัวอยางเมล็ดพันธุค วบคุมเพื่อตรวจสอบ ตามพระราชบัญญัติพันธุพืช พ.ศ.2518 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติพันธุพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ตัวอยางที.่ ................................................ ชื่อพืช..................................................................................................ชื่อพันธุ. ................................................................................................................... เครื่องหมายการคา ตรา...................................................................................................................................................................................................... เมล็ดพันธุบริสุทธิร์ อยละ..........................................................................................อัตราความงอกรอยละ........................................................................ วันสิ้นอายุทําพันธุ. .......................................................................................วันที่รวบรวม................................................................................................... ผูรวบรวม...................................................................................................................แหลงรวบรวม.................................................................................... สถานที่เก็บตัวอยาง.................................................................................................................................................................................................. เลขที.่ .................................................หมูที่............................ถนน...................................................................................................................................... ตําบล.....................................................................อําเภอ...................................................................จังหวัด...................................................................... เก็บตัวอยางวันที.่ .........................................................เดือน................................................................................พ.ศ......................................................... ผูเก็บตัวอยางเมล็ดพันธควบคุม ไดลงลายมือชื่อไวเปนหลักฐาน (ลงชื่อ)......................................................................พนักงานเจาหนาที่ (......................................................................) (ลงชื่อ)....................................................................พนักงานเจาหนาที่ (......................................................................) (ลงชื่อ)...................................................................พนักงานเจาหนาที่/ผูบันทึก (.....................................................................) (ลงชื่อ)..................................................................ผูดาํ เนินกิจการ/แทน (...................................................................) หมายเหตุ : ใชแนบผนึกกับตัวอยางที่สงวิเคราะห

เอกสารประกอบการตรวจร้านค้าของสารวัตรเกษตร

125




ด้วยความปรารถนาดีจาก สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย สมาคมอารักขาพืชไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย

โทร โทร โทร โทร โทร

๐๒ ๔๔๘ ๗๖๑๖ ๐๒ ๙๕๕ ๑๗๑๐ ๐๒ ๕๖๑ ๕๔๓๑ ๐๒ ๙๐๗ ๐๑๕๔-๕ ๐๒ ๙๔๐ ๕๙๙๐


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.