Petromat today15

Page 1

015 วารสาร PETROMAT Today ปี ท่ี 4 ฉบับที่ 15

U&I Collaboration

$

- U&I Collaboration Research - U&I Collaboration ในมุมมองของภาคอุตสาหกรรม - วิจัย มหาวิทยาลัย อุตสาหกรรม เป็นไปได้


INTRODUCTION

คือ การทำห�ให้นึป่ งระเทศไทยหลุ ในเป้ า หมายของการพั ฒ นาประเทศ ดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง

PETROMAT’s Editor Corner

คณะที่ปรึกษา รศ. ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร รศ. ดร.ศิริพร จงผาติวุฒิ บรรณาธิการ แก้วใจ ค�ำวิลัยศักดิ์ ผู ้ช่วยบรรณาธิการ ฤทธิเดช แววนุกูล

U&I Collaboration

แก้วใจ ค�ำวิลัยศักดิ์

kaewjai.k@chula.ac.th

กองบรรณาธิการ ก�ำกับศิลป์ ชญานิศค์ ศิริวงศ์นภา กมลชนก ชื่ นวิเศษ พรพิมล ชุ่ มแจ่ม ธีรยา เชาว์ขุนทด ภัสร์ชาพร สีเขียว กุลนาถ ศรีสุข อรนันท์ คงเครือพันธุ ์

รั ฐ บาลจึ ง ให้ ค วามสำ � คั ญ ต่ อ การวิ จั ย การพั ฒ นาต่ อ ยอด และการใช้ น วั ต กรรมในการพั ฒ นาสิ น ค้ า และบริ ก าร ซึ่งการพัฒนานวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำ � เป็ น ต้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ ทั้ ง จากภาครั ฐ และเอกชน รัฐบาลมีนโยบายและโครงการสนับสนุนต่าง ๆ เช่น โครงการ RDI Tax 300% โครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จ ากมหาวิ ท ยาลั ย และสถาบั น วิ จั ย จาก ภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในภาคเอกชน (Talent Mobility) โครงการคู ป องนวั ต กรรม เป็ น ต้ น รายละเอียดท่านผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในคอลัมน์ “U&I Collaboration กุญแจสู่ความยั่งยืนของประเทศ” PETROMAT ได้ดำ�เนินการเพื่อตอบสนองนโยบาย รั ฐ บาลโดยมี ก ารทำ � งานแบบ One-Stop Service มี ค วามร่ ว มมื อ กั บ ภาคอุ ต สาหกรรม ได้ แ ก่ การทำ � วิ จั ย ร่ ว มกั น การจั ด ประชุ ม สั ม มนา/เสวนา เป็ น ที่ ป รึ ก ษา และช่วยแก้ไขโจทย์ปัญหาให้กับภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึง่ ท่านผูอ้ า่ นสามารถติดตามได้จากคอลัมน์“Get to Know” และ “PETROMAT Research” วารสารฉบับนี้ได้รับเกียรติจาก คุณอธิคม เติบศิริ ประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห ารและกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) ซึ่งท่านได้ม าเล่ า ถึ ง ประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับ U&I Collaboration นอกจากนี้ PETROMAT ยั ง ได้ รั บ เกี ย รติ จ าก ดร.สั น ติ กุลประทีปัญญา Director, Southeast Asia Research & Development จาก UOP, A Honeywell Company ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเล่าถึงประสบการณ์การทำ�งาน ในการพั ฒ นางานวิ จั ย โดยความร่ ว มมื อ ระหว่ า งภาครั ฐ และภาคอุตสาหกรรม ให้ท่านผู้อ่านทราบด้วยค่ะ

จัดท�ำโดย

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ซ.จุ ฬาฯ 12 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุ งเทพฯ 10330 โทร : 0-2218-4141-2 โทรสาร : 0-2611-7619 Email: info@petromat.org WWW.PETROMAT.ORG



INTRODUCTION เรื่องโดย... ฤทธิเดช แววนุกูล

U&I Collaboration กุญแจสู่ความยั่งยืนของประเทศ

จะพั ฒนาสัไม่กวที่าจะผ่มีเวทีานมากี ่ปีประเทศไทยยังคงเป็นประเทศกำ�ลังพัฒนา หลายท่านคงคิดเหมือนผมว่าเมื่อไหร่ประเทศของเรา เสวนาหลายแห่ง สื่อหลายสำ�นักที่วิเคราะห์ถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไข เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินคำ�ว่า

“กับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)” ซึ่งผู้เชี่ยวชาญต่างลงความเห็นว่าเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้ประเทศไทย พัฒนาต่อไปไม่ได้ เจ้ากับดักที่ว่านี้คืออะไร และเราจะหลุดจากกับดักนี้ได้อย่างไร ใน PETROMAT Today ปีที่ 3 ฉบับที่ 10 ได้ ล งบทสั ม ภาษณ์ ดร.วิ ไ ลพร เจตนจั น ทร์ ผู้ อำ � นวยการสำ � นั ก งานเทคโนโลยี บริ ษั ท ปู น ซิ เ มนต์ ไ ทย จำ � กั ด (มหาชน) ซึ่งท่านได้ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยไว้ดังนี้ครับ “ประเทศไทยมี 3 Step โดย Step แรก เป็นการ Import ของเข้ามาขาย เป็นยุคทองของ Sales พอ Step ที่ 2 ซื้อ Know-how มาตั้งโรงงาน เป็นยุคของ Production แต่ Step ต่อไปทำ�แบบนัน้ ไม่ได้แล้ว เพราะความสามารถในการแข่งขันมันไม่มี วันหนีง่ ก็มคี นทีผ่ ลิตของได้ถกู กว่าเรา ขายของได้ถูกกว่าเรา เพราะฉะนั้น เราต้องทำ�การวิจัยและพัฒนา (Research and Development; R&D) ต้องสร้างบุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โจทย์วจิ ยั มันตอบโจทย์ Needs ของประเทศ ซึง่ ก็คอื Needs ของภาคผลิตและภาคบริการนัน่ เอง คิดง่าย ๆ ทุกวันนี้เรา Import เข้ามาทุกอย่าง ถ้าเรายังทำ�อะไรเองไม่ได้ อนาคตลำ�บากแน่ เราต้องมุ่งเน้นทำ� R&D ให้ได้”

R&D 2552

2554

2556

0.25% 0.37% 0.47%

57,000 130,000

70:30 2559

1%

ส�ำหรับผมมองว่าการทีจ่ ะน�ำพาให้ประเทศพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ได้นั้น เป็นเรื่องของเราทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน ปัจจุบันทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างให้ความส�ำคัญในการลงทุนด้าน R&D มาก ในงาน CEO Innovation Forum 2015 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนด้าน R&D ของประเทศไทยไว้ดังรูปภาพ [1] ทางภาครัฐคาดหวังว่าการลงทุนด้าน R&D ในปี พ.ศ. 2564 จะเพิ่ม ขึน้ เป็น 2% ของ GDP และในปี พ.ศ. 2569 จะบรรลุเป้าหมายทีป่ ระเทศไทย จะออกจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง [2] ทั้ ง นี้ ภาครั ฐ มี ม าตรการจู ง ใจเพื่ อ ให้ เ กิ ด การลงทุ น วิ จั ย มากขึ้ น เช่น การหักลดหย่อนภาษีเมื่อเอกชนลงมือวิจัย เรียกว่า RDI Tax 300% ซึง่ ครม. เห็นชอบไปเมือ่ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 นอกจากนีก้ ารแข่งขัน ทางธุรกิจในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการแข่งขันด้านราคาไปเป็นการแข่งขัน ด้วยนวัตกรรม โดยการจะได้มาซึ่งนวัตกรรมนั้น จ�ำเป็นต้องมีความพร้อม ด้ า น R&D แต่ ภ าคเอกชนกลั บ มี ป ั ญ หาด้ า นการขาดแคลนนั ก วิ จั ย ซึ่งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยสามารถเติมเต็มได้ แต่นโยบายการบริหาร ของราชการไม่ได้เอื้อต่อการให้นักวิจัยไปช่วยงานวิจัยในภาคอุตสาหกรรม 4 U&I Collaboration

2556 2559

รัฐบาลโดย สวทน. กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จึงได้มโี ครงการ “Talent Mobility” ขึน้ โดยจะเปิดโอกาสให้นักวิจัยภาครัฐสามารถท�ำงาน วิ จั ย ร่ ว มกั บ ภาคเอกชนโดยถื อ เป็ น การปฏิ บั ติ ราชการ ถือเป็นการชดใช้ทุน และสามารถน�ำ ผลงานมาขอต�ำแหน่งวิชาการได้ โดย ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินค�ำว่า “งานวิจัย ขึ้ น หิ้ ง ” PETROMAT ได้ เ ข้ า พบตั ว แทนภาค อุตสาหกรรมจ�ำนวนมาก เพื่อที่จะหาสูตร/วิธีการ/ รูปแบบการท�ำงานที่จะท�ำให้เกิดการวิจัยร่วมกัน ระหว่ า งภาคการศึ ก ษาและภาคอุ ต สาหกรรม (University & Industry Collaboration) และสามารถน�ำงานวิจัย “จากหิ้งสู่ห้าง” ให้ได้ PETROMAT พบว่ า ภาคอุ ต สาหกรรมมี ค วาม ต้องการให้นักวิจัยเข้าไปร่วมมืออย่างมาก แต่ติดที่ ไม่ทราบว่าจะต้องติดต่อผูเ้ ชีย่ วชาญท่านไหน จะท�ำ R&D เองก็ต้องลงทุนเครื่องมือที่มีราคาสูง ต้องจ้าง นักวิจัยซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะมีความเชี่ยวชาญตรงกับ ปั ญ หาหรื อ ไม่ ส�ำหรั บ นั ก วิ จั ย หรื อ อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยมีปัญหาเรื่องภาระงานสอนท�ำให้ ไม่มเี วลานัดคุยกับทางภาคอุตสาหกรรม มีความกังวล เรือ่ งสัญญา ข้อกฎหมาย การเผยแพร่ผลงาน เป็นต้น


[2]

(2569)

1%

2%

ดังนัน้ PETROMAT ได้เพิม่ บทบาทในการประสานงานระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมด้วยการท�ำงานแบบ One-Stop Service ท�ำให้ปจั จุบนั มีโครงการวิจยั ร่วมระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมมากขึน้ เรือ่ ย ๆ และถือเป็นพันธกิจหลักทีจ่ ะผลักดันให้เกิด U&I Collaboration และเกิดการสร้างนวัตกรรมอันจะเป็นกุญแจทีน่ �ำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศทีม่ รี ายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วสักที อ้างอิง 1. วารสาร PETROMAT Today ปีที่ 3 ฉบับที่ 10 2. ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนสูเ่ ป้าหมายการลงทุนวิจยั และพัฒนาร้อยละ 1 ของ GDP, พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์, CEO Innovation Forum 2015, 2 มีนาคม 2558, ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ผู้ได้รับรางวัล

PTIT Awards (Petroleum Institute of Thailand Awards)

Awards

ประจ�ำปี 2558-2559 ดังต่อไปนี้

1. ศาสตราจารย์ ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์ (CU-CT) ได้รับรางวัลประเภท PTIT Fellow 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ จิตการค้า (CU-PPC) ได้รับรางวัลประเภท PTIT Scholar

PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับ

ศาสตราจารย์ ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย (CU-PPC) PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับ ที่ได้รับรางวัล PTT NSTDA Chair Professor ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพล อนันตวรสกุล (KU-ChE) ประจ�ำปี 2558 ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง ที่ได้รับรางวัล PST Rising Star 2015 “พอลิเมอร์สีเขียวที่ยั่งยืน บนความท้าทาย โดยสมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไทย ของประเทศไทยที่อุดมด้วยทรัพยากรหมุนเวียน” 5


NEWS

EVENTS

อินเตอร์พลาสไทยแลนด์ 2015

PETROMAT ร่วมเป็นประธานในพิธเี ปิด ร่วมกับ บริษทั Reed Tradex จ�ำกัด สมาคมพลาสติก TBIA สถาบันไทย-เยอรมัน บริษทั อิมโก้ ฟูด๊ แพ็ค จ�ำกัด สมาคมไทยคอมโพสิต MTEC เปิดงาน “อินเตอร์พลาสไทยแลนด์ 2015” ณ ไบเทค บางนา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฏาคม 2558 และในวันศุกร์ ที่ 10 กรกฎาคม 2558 เวลา 13.30 - 16.30 น. PETROMAT ร่วมด้วยสถาบันพลาสติก สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย และบริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จ�ำกัด จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “รุกตลาดเออีซี สร้างไทยเป็นฮับบรรจุภัณฑ์ภูมิภาค” ณ ห้อง GH 201 ชั้น 2 ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

PETROMAT เจราจาความร่วมมือด้านวิจัย

หน่วยงานคอมโพสิต บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จํากัด จ.ระยอง เมื่อวันพุธที่ 3 มิถุนายน 2558

การประชุมการศึกษาระบบและกลไกการศึกษา อาชีวศึกษาในกลุ่มอาชีพปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 และวันอังคารที่ 28 กรกฎาคม 2558

6 U&I Collaboration

EVONIK (SEA) Pte Ltd. Singapore เมื่อวันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2558

PETROMAT ร่วมพิธีท�ำบุญเลี้ยงพระเนื่องในโอกาส ครบรอบ 56 ปี ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2558


PETROMAT เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวปฏิบัติในการบริหาร โปรแกรมวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศ” จัดโดย สบว. และศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 11 ศูนย์ฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2558

ประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบและการศึกษา กลไกอาชีวศึกษาอย่างยั่งยืน ในกลุ่มอาชีพปิโตรเลียม และปิโตรเคมี” เมื่อวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2558

พีทีที โกลบอล เคมิคอล น�ำบริษัทพันธมิตรทางธุรกิจลงพื้นที่ส�ำรวจศักยภาพการลงทุน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก

คุณสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดตาก ให้การต้อนรับ คุณสุพฒ ั นพงษ์ พันธ์มเี ชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ คุณอัฒฑวุฒิ หิรญ ั บูรณะ ประธานเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ าร กลุม่ ธุรกิจปิโตรเคมีขนั้ ปลาย ผู้บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จ�ำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จ�ำกัด พร้อมบรรยาย แนะน�ำเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก ในโอกาสที่ บริษทั ฯ น�ำบริษทั พันธมิตรทางธุรกิจกว่า 40 บริษทั ลงพืน้ ทีส่ �ำรวจ ศักยภาพเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก ตามโครงการสนับสนุนการลงทุนเเละจัดตั้งคลัสเตอร์ของกลุ่มอุตสาหกรรม พลาสติก รวมถึงอุตสาหกรรมอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ มุง่ เพิม่ ขีดความสามารถด้านการเเข่งขันทางการค้า ให้กบั อุตสาหกรรม พลาสติกของประเทศไทย ในโอกาสนี้ คณะฯ ได้ เ ข้ า เยี่ ย มชมเขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษเมี ย วดี ในสาธารณรั ฐ แห่ ง สหภาพเมี ย นมา โดยได้การต้อนรับจาก นายหล่วย กั่วอู ผู้ว่าเมืองเมียวดี และนางตินตินเมี๊ยะ ประธานหอการค้าเมียวดี และฟัง การบรรยายแนะน�ำเกีย่ วกับเขตเมียวดี พร้อมกันนีไ้ ด้ลงพืน้ ที่ เยีย่ มชม สวนอุตสาหกรรมในเครือสหพัฒน์ฯ และโครงการ นิคมอุตสาหกรรม ในเครือมิตรผล


COVER STORY

U&I Collaboration

ในมุมมองของภาคอุตสาหกรรม โ

รงกลั่นไทยออยล์ หรือ บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) นั บ เป็ น ผู ้ น�ำด้ า นธุ ร กิ จ โรงกลั่ น น�้ ำ มั น ของประเทศไทย ด้วยก�ำลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ มีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทั้งด้าน ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี นำ�้ มันหล่อลืน่ พืน้ ฐาน สารท�ำละลาย และเคมีภัณฑ์ ไฟฟ้า รวมทั้งมีธุรกิจการขนส่งทางเรือ และการผลิตเอทานอล ที่ตอบสนองนโยบายของภาครัฐ ด้านพลังงานทดแทน แต่ที่ส�ำคัญไปกว่านั้น ไทยออยล์ ยังให้ความส�ำคัญกับงานวิจยั และพัฒนา โดยมีความร่วมมือ ในการท�ำวิ จั ย กั บ มหาวิ ท ยาลั ย มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดย Cover Story ฉบับนี้ PETROMAT ได้รับเกียรติจาก คุณอธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) ในการ ให้สัมภาษณ์ ซึ่งท่านให้ประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับ U&I Collaboration ดังนี้ครับ

คุณอธิคม เติบศิริ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน)

PETROMAT: ก่อนอื่นอยากให้คุณอธิคมช่วยเล่าประสบการณ์การท�ำงานให้พวกเราฟังด้วยครับ คุณอธิคม: ผมไม่ได้อยู่ใน Field ด้าน Operation หรือ Engineer อาจจะมีมุมมองที่ต่างออกไป ผมอยู่ในฝั่งผู้ใช้เทคโนโลยี

มากกว่าผู้ผลิตเทคโนโลยี ผมท�ำงานที่บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จ�ำกัด (มหาชน) (PTTAR) ก่อนที่จะรวมเป็นบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จ�ำกัด (มหาชน) (PTTGC) อยู่ทางฝั่งปิโตรเคมีมากกว่าทางโรงกลั่น และได้มีโอกาสไปท�ำงานที่บริษัท ไออาร์พีซี จ�ำกัด (มหาชน) (IRPC) ซึ่งจะเน้นหนักทางปิโตรเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีปิโตรเคมีหลากหลาย ทั้งสายแอโรแมติกส์ และสายโอเลฟินส์ และได้สัมผัสกับผู้บริโภคค่อนข้างมาก พนักงานขายแต่ละคนก็อยู่กับผู้ขึ้นรูปพลาสติกหน้างานเลย เพราะฉะนั้น เลยมีมุมมองสะท้อนจากผู้ใช้ค่อนข้างมาก อุตสาหกรรมรายย่อยหรือ SMEs เขามีโจทย์ทางด้านธุรกิจค่อนข้างเยอะ ซึ่งเทคโนโลยี หรือการวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสิง่ ทีส่ �ำคัญ เราอยูต่ น้ ทางเราไม่คอ่ ยรูห้ รอกครับ เพราะเราท�ำผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็น Standardized Commodity ไม่ค่อย Differentiate เท่าไหร่ แต่พอปลายทางจะเริ่ม Differentiate มากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเราอยู่ต้นทางแล้วไม่ได้ยิน เสียงสะท้อนจากปลายทาง เราจะไม่สามารถพัฒนาได้ตรงเป้าหมายนัก ทีนี้ตอนอยู่ IRPC ก็มีการพัฒนาเรื่อง Green ABS 8 U&I Collaboration


เนือ่ งจาก ABS ใช้ยางสังเคราะห์ในการท�ำ เราก็มแี นวความคิดว่า สมัยก่อนที่ระยองมีการปลูกยางเยอะมาก ท�ำอย่างไรจะน�ำ วัตถุดบิ ธรรมชาติมาใช้ได้ เพือ่ สิง่ แวดล้อม ลดคาร์บอนฟุตพรินท์ และยั ง ส่ ง เสริ ม ให้ กั บ เกษตรกรด้ ว ย ก็ เ ริ่ ม โครงการวิ จั ย และพัฒนาว่ายางธรรมชาติเอาไปท�ำอะไรได้บ้าง ประกอบกับ ความต้องการผลิตภัณฑ์เพือ่ สิง่ แวดล้อมจากประเทศทีเ่ จริญแล้ว เช่น ยุโรป อเมริกา หรือญี่ปุ่นก็ตาม เพราะฉะนั้น จะตอบโจทย์ 2 อย่างเลย คือต้นทางเรือ่ งทีจ่ ะช่วยเกษตรกรรม และปลายทาง ที่ ต ้ อ งการวั ต ถุ ดิ บ ที่ เ ป็ น ธรรมชาติ ม ากขึ้ น ในที่ สุ ด ก็ ไ ด้ จ ด สิทธิบัตรเรื่องนี้ แต่ที่จริงเรื่องยางธรรมชาติไม่ใช่เฉพาะ ABS ยั ง มี อ ย่ า งอื่ น ด้ ว ย เรื่ อ ง Asphalt ตอนนี้ ภ าครั ฐ บาล ก็ พู ด มากขึ้ น นะครั บ ที่ จ ะเอายางธรรมชาติ ม าใช้ แ ทนยาง ที่มาจากไฮโดรคาร์บอน นี่ก็เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ IRPC ท�ำอยู่ มั น ก็ คื อ Linked ของความต้ อ งการปลายทางกั บ ต้ น ทาง เพียงแต่เรามองไปข้างหน้าอีก 1 – 2 สเต็ป ช่วยลดโลกร้อน สนองตอบเมกะเทรนด์ พอโจทย์มันชัด โจทย์มันคม งานวิจัย ก็ตามมาได้ แต่ขอ้ เสียอันหนึง่ ก็คอื ราคายังสูงอยู่ พอดีเศรษฐกิจ ยุโรปไม่ดี ก�ำลังซื้อก็จะแผ่ว เราก็เก็บเทคโนโลยีไว้รอเวลา ที่จะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง นี่ก็เป็นประสบการณ์ตอนอยู่ IRPC สิ่งที่สำ�คัญคือ

เราต้องมีโจทย์ที่ถูกต้อง

ภาคเอกชนแบบพวกเราก็คงเป็นเสียงสะท้อน ว่าจริง ๆ แล้ว ผู้บริโภคต้องการอะไร การตั้งโจทย์ถูกมันก็สำ�เร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว

PETROMAT: ส�ำหรับไทยออยล์มีนโยบายด้าน R&D

อย่างไรบ้างครับ คุณอธิคม: ผมว่าก็เหมือนเดิมนะ มันไม่ใช่เป็นนโยบาย เฉพาะไทยออยล์ แต่ เ ป็ น ของทั้ ง กลุ ่ ม ปตท. มากกว่ า เราหากินกับ Asset Base คือเป็น Resource Extraction ขึ้ น มาจากใต้ ดิ น จากนั้นก็แปรสภาพ ลงทุนสร้างโรงกลั่น โรงงานปิโตรเคมี เรามองว่าประเทศทีเ่ จริญแล้วเค้าพัฒนาเรือ่ ง Knowledge Based Economy มากกว่า ซึ่งแนวคิดนี้มาจาก ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร CEO ปตท. ท่านให้ความส�ำคัญ เรื่ อ งเทคโนโลยี ม าก ตั้ ง แต่ ท ่ า นรั บ ต�ำแหน่ ง ก็ ผ ลั ก ดั น เรื่อง TAGNOC (Technologically Advanced and Green National Oil Company) ซึ่งในกลุ่มก็เห็นด้วย เพราะว่า มันเป็นเทรนด์ของอนาคตจริง ๆ เราจะก้าวข้าม Threshold ของการพัฒนาประเทศไปได้ มันต้องไปทีเ่ ทคโนโลยี อันนีก้ เ็ ป็น จุดเริม่ แต่ละบริษทั ก็มคี วามพร้อมไม่เหมือนกัน อย่างทีผ่ มเรียน บริ ษั ท ไหนที่ ใ กล้ ผู ้ บ ริ โ ภคก็ จ ะเห็ น ความส�ำคั ญ เรื่ อ งนี้ และเขาก็ท�ำล่วงหน้า บริษทั ไหนทีไ่ กลผูบ้ ริโภคก็อาจจะเริม่ เรือ่ ง นีช้ า้ หน่อย เช่น ไทยออยล์ เป็นต้น เพราะ ไทยออยล์เราอยูต่ น้ น�ำ้

ผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็น Commodity คือกลัน่ น�ำ้ มัน พอกลัน่ น�ำ้ มันเสร็จ Differentiation ของผลิตภัณฑ์กม็ ไี ม่มาก ท�ำตามสเปกทุกอย่างเลย เพราะฉะนัน้ การวิจยั และพัฒนาของไทยออยล์ไม่ได้เป็นการวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ผ่านมา จะเป็นการพัฒนากระบวนการผลิตเสียส่วนใหญ่ ไม่วา่ จะเป็น การลดต้ น ทุ น การผลิ ต ก็ ดี หรื อ จะเป็ น การเพิ่ ม Yield ของผลผลิตก็ดี ก็ยังอยู่ภายใต้กรอบของผลิตภัณฑ์เหมือนเดิม บวกกับการที่ว่าผลิตภัณฑ์ของไทยออยล์ถึงแม้จะหลากหลาย แต่ยังไม่ออกไปนอกกรอบผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสผู้บริโภคจริง ๆ หรือสะท้อนความต้องการของผู้บริโภคจริง ๆ พัฒนาการ R&D ของไทยออยล์ทดี่ ขี นึ้ เป็นล�ำดับ จะมุง่ เน้นเรือ่ งกระบวนการผลิต มากกว่า ผมคิดว่าต่อไปไทยออยล์จะไปเพิม่ น�ำ้ หนักทีจ่ ะท�ำเกีย่ วกับ ผลิตภัณฑ์มากขึ้น หรือต่อยอดไปผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการ ของตลาดที่ประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีหรือยังไม่มีผู้ผลิต ซึ่งปัจจุบันเรามีโครงการท�ำ LAB (Linear Alkyl Benzene) เป็นสารลดแรงตึงผิว เมืองไทยไม่มีคนผลิต ต้องน�ำเข้าอยู่ เทคโนโลยี นี้ เ ราก็ ก�ำลั ง ท�ำแต่ ยั ง อยู ่ ใ นวงค่ อ นข้ า งจ�ำกั ด เราต้องใช้วิธีร่วมทุน จากนั้นเราก็ต่อยอดศึกษาจากตรงนั้นไป จะค่อย ๆ เป็นไปตามล�ำดับ ไม่ได้รวดเร็วเหมือนบริษัทอื่น ที่เขาอยู่ใกล้ผู้บริโภค

PETROMAT: ได้มองอะไรที่เป็น Disruptive Technology

ไว้บ้างไหมครับ คุณอธิคม: ตอนนี้จริง ๆ ตามที่ผมเรียน ต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีโรงกลั่นมัน Mature มาก แทบจะ Buy on Shelf ได้เลย อยูท่ ชี่ ว่ งไหนเศรษฐกิจมันขับเคลือ่ นไปทางไหนมากกว่า อาจจะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ บ้าง ที่เกิดขึ้นมาเป็น Disruptive อย่างการ Convert น�้ำมันหนักที่มีราคาต�่ำให้เป็นน�้ำมันใส เมือ่ ก่อนนีส้ ว่ นต่างของราคานำ�้ มันส�ำเร็จรูปกับนำ�้ มันหนักยังน้อย มันก็เลยไม่เกิดสักที แต่เทคโนโลยีถามว่ามีไหม ก็มี พอถึงเวลา ที่ ส ่ ว นต่ า งตรงนี้ ม ากขึ้ น ก็ ท�ำให้ คุ ้ ม ทางเชิ ง เศรษฐกิ จ แต่ส ่ว นใหญ่แ ทบจะ On Shelf ซึ่งแตกต่างกับปิ โ ตรเคมี ที่เทรนมันเปลี่ยนไปตามความต้องการผู้บริโภค ในภาพรวม ของโรงกลั่นผมว่า Disruptive มันไม่ค่อยมี

9


COVER STORY

PETROMAT: อย่างตอนนีร้ าคาน�ำ้ มันตกลงมาค่อนข้างเยอะ

ไม่ทราบว่ามีผลต่อนโยบายของบริษัทหรือเปล่าครับ คุณอธิคม: ในแง่ของงบประมาณก็ตอ้ งมีการปรับตามสภาวะ แต่ว่าทิศทางคงไม่เปลี่ยน เพียงแต่ว่าเราจะขยับทรัพยากร ไปทางไหนมากกว่ า กั น ที่ ผ ่ า นมาไทยออยล์ เ น้ น ไปเรื่ อ ง การพั ฒ นากระบวนการผลิ ต จากนี้ ต ่ อ ไปคงจะต้ อ งแบ่ ง เริ่มขยับมาที่ New Product Innovation มากขึ้น

PETROMAT: คล้าย ๆ Hedge Fund หรือเปล่าครับ คุณอธิคม: จะคล้าย Venture Capital ที่จริงก็คือ Private

Venture Capital นั่นแหละ ทางกลุ่ม ปตท. เอง หลายบริษัท ก็ไปลง Venture Capital ต่างประเทศ แต่จริง ๆ ในกลุ่มเอง มีเทคโนโลยีเยอะแยะเลย ที่บางบริษัทมีทรัพยากรหรือไอเดีย ก้าวไปแล้วบ้าง แต่วา่ งบสนับสนุนอาจจะน้อย ยังไปด�ำเนินการ ต่อไม่ได้ แต่วา่ บริษทั อืน่ มีความสนใจเทคโนโลยีนี้ ก็เอาเงินมาลง ซึ่ ง ไอเดี ย ตรงนี้ ถ ้ า ท�ำได้ ก็ ข ยายไปนอกกลุ ่ ม ก็ ไ ด้ แต่ ต อนนี้ ยังตั้งไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายรองรับเรื่องมาตรการด้านภาษี ซึ่งภาครัฐอาจจะต้องมาช่วย

PETROMAT: ค�ำถามสุดท้ายนะครับ ภาคเอกชนอยากจะ

PETROMAT: ผมเห็นว่ามีการท�ำเรื่องความร่วมมือระหว่าง

ไทยออยล์กับมหาวิทยาลัยมาระดับหนึ่ง ตอนนี้ก็เป็นนโยบาย ภาครั ฐ ที่ อ ยากให้ ม หาวิ ท ยาลั ย กั บ อุ ต สาหกรรมท�ำงาน ร่วมกันใกล้ชดิ มากขึน้ ทางคุณอธิคมมองว่าไทยออยล์จะขยับตรงนี้ ต่อยังไงครับ ทราบมาว่าไทยออยล์มีความร่วมมือหลายที่ เช่น วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี หรือ สวทช. คุณ อธิ คม: ผมคิดว่ากรอบเดิมที่ท�ำอยู่ก็ค่อนข้างไปได้ดี แต่ทสี่ �ำคัญคือเราต้องมีโจทย์ทถี่ กู ต้อง ภาคเอกชนแบบพวกเรา ก็คงเป็นเสียงสะท้อนว่าจริง ๆ แล้ว ผู้บริโภคต้องการอะไร การตั้ ง โจทย์ ถู ก มั น ก็ ส�ำเร็ จ ไปครึ่ ง หนึ่ ง แล้ ว ที่ ผ ่ า นมาสิ่ ง ที่ เป็นปัญหาปกติของการท�ำ R&D ไม่ใช่ตอบไม่ตรงค�ำถาม แต่เป็นถามไม่ตรงกับค�ำตอบ ความหมายก็คอื การตอบไม่ตรงค�ำถาม เราอาจจะมีค�ำถามหรือมีโจทย์ที่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ค้นคว้ามา อาจจะยังตอบไม่ได้ แต่ว่าในทางกลับกัน ถามไม่ตรงค�ำตอบ เหมือนเรามีงานวิจัยอยู่เยอะแยะเลย แต่ไม่ตรงค�ำถามคือ ไม่ตรงกับสิ่งที่ตลาดต้องการ ซึ่งตรงนี้ภาคเอกชนช่วยได้เยอะ ในกลุม่ ปตท. เองก็ก�ำลังเริม่ เรือ่ งเทคโนโลยีฟนั ด์ทจี่ ะสนับสนุน การลงทุนเพื่อท�ำเทคโนโลยี หรือว่า R&D ซึ่งในภาคเอกชน ยังไม่มีแบบนี้ ในภาครัฐมีอยู่แล้วโดยการบริหารจัดการเป็น ของ สวทช. โดยเริ่ ม ต้ น จะเป็ น ภายในกลุ ่ ม ปตท. ก่ อ น มีกลุ่มเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับ Renewable ส�ำรวจและผลิต เป็นต้น แล้วแต่ละคนที่จะสนับสนุนก็จะมีเมนูให้เลือกว่าเงิน จะไปลงทีไ่ หน แต่วา่ จะเลือกลงเป็นเทคโนโลยีเลยไม่ได้นะครับ ต้ อ งเลื อ กเป็ น กลุ ่ ม เทคโนโลยี แ ต่ ว ่ า ทิ ศ ทางคงไม่ เ ปลี่ ย น เพี ย งแต่ ว ่ า เราจะขยั บ ทรั พ ยากรไปทางไหนมากกว่ า กั น ที่ผ่านมาไทยออยล์เน้นไปเรื่องการพัฒนากระบวนการผลิต จากนี้ ต ่ อ ไปคงจะต้ อ งแบ่ ง เริ่ ม ขยั บ มาที่ New Product Innovation มากขึ้น 10 U&I Collaboration

ให้ภาคการศึกษามีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์อย่างไรบ้าง เพื่อให้ความร่วมมือดีขึ้น คุณอธิคม: ผมว่าการที่ท�ำงานร่วมกับภาคเอกชนนี่ถูกต้อง แต่ที่เรียนไปแล้วว่าคนที่ลงทุนหรือคิดด้าน R&D ของเอกชน ส่วนใหญ่ตอ้ งเป็นบริษทั ทีใ่ หญ่และมีทรัพยากรมาก ส่วนบริษทั รายย่ อ ยพวก SMEs ซึ่ ง เขาใกล้ ชิ ด ผู ้ บ ริ โ ภคและมี โ จทย์ กลั บ ไม่ ส ามารถที่ จ ะเข้ า มาได้ ท�ำอย่ า งไรภาคการศึ ก ษา ถึ ง จะเข้ า ถึ ง ผู ้ ป ระกอบการรายย่ อ ยได้ ตรงนี้ จ ะดี ม าก เพราะรายใหญ่ ที่ รู ้ โ จทย์ จ ากรายย่ อ ยก็ ดี แต่ ถ ้ า รายใหญ่ ที่ยังไม่รู้โจทย์จากรายย่อยก็จะวนอยู่ตรงนี้แหละ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเทคโนโลยีท่ีตอบสนองความต้องการของเมกะเทรนด์ ไม่ ว ่ า จะเรื่ อ งโลกร้ อ น Urbanization, Aging Society หรือเรื่องการลดขยะในสังคมเมือง ผมว่าเป็นอะไรที่ส�ำคัญมาก

สุดท้ายนี้ PETROMAT ขอขอบคุณ คุณอธิคม เติบศิริ เป็นอย่างสูง ที่ได้สละเวลาอันมีค่ามาให้มุมมอง จากประสบการณ์ทางธุรกิจ การหาโจทย์วิจัยที่ตรงกับความต้องการ ของผู้บริโภค ซึ่งมีประโยชน์ต่อการทำ� U&I Collaboration และพ้นจากปัญหา “ถามไม่ตรงกับคำ�ตอบ” สักที



INTERVIEW

วิจัย มหาวิทยาลัย

อุตสาหกรรม เป็นไปได้ ก

ารวิ จั ย และพั ฒ นาเป็ น สิ่ ง ที่ ช ่ ว ยขั บ เคลื่ อ น เทคโนโลยีให้ก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น แต่จะส�ำเร็จได้นั้น จ�ำเป็ น ต้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ จากทุ ก ฝ่ า ยทั้ ง ภาครั ฐ และภาคเอกชน เพื่อร่วมกันศึกษาถึงปัญหาและแนวทาง แก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป PETROMAT Today ฉบับนี้ ได้รับเกียรติ จาก ดร.สันติ กุลประทีปัญญา Director, Southeast Asia Research & Development จาก UOP, A Honeywell Company, USA ซึ่ ง ท่ า นจะมา เล่ า ประสบการณ์ ที่ เ คยร่ ว มงานในการพั ฒ นางานวิ จั ย กั บ ทั้ ง บริ ษั ท เอกชนและสถาบั น การศึ ก ษามากมาย เพื่อเป็นแนวทางและให้ข้อคิดแก่ผู้ท�ำวิจัยทุกคนในการ พัฒนางานวิจัยให้ก้าวสู่ความร่วมมือระดับอุตสาหกรรม

ดร.สันติ กุลประทีปัญญา

Director, Southeast Asia Research & Development UOP, A Honeywell Company, USA

PETROMAT: ในมุมมองของอาจารย์ งานด้านวิจยั และพัฒนา (R&D) ส�ำหรับประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง ดร.สันติ: การท�ำงานวิจยั ของเมืองไทยทัง้ ภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ยังอยูใ่ นขัน้ ทีเ่ รียกว่า วิจยั (Research) ยังไม่ถงึ ขัน้

พัฒนา (Development) ผมอยากให้ทุกคนคิดถึงค�ำถามว่า จุดประสงค์ของการวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือในอุตสาหกรรม คืออะไร และเพื่ออะไร อาจารย์ในมหาวิทยาลัยบางกลุ่มจะอยู่แต่กับวิชาการตลอดเวลา ท�ำหน้าที่สอนหนังสือนักเรียน แต่ควรค�ำนึงถึง อีกหน้าที่หนึ่งคือ ต้องสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง สิ่งที่เห็นได้คือ การตีพิมพ์ผลงานวิชาการ (Publication) ซึ่งเป็นหัวใจของการวิจัย ถ้าไม่ท�ำวิจยั ความรูต้ า่ ง ๆ ก็จะลดน้อยลงไป ต้องรูจ้ กั อ่านผลงานวิจยั ใหม่ ๆ เพือ่ พัฒนาความรูแ้ ละรูท้ นั เทคโนโลยีทพี่ ฒ ั นาตลอดเวลา และสอนให้นกั เรียนรูจ้ กั การท�ำวิจยั รูจ้ กั คิดวิเคราะห์ปญ ั หาและหาวิธแี ก้ปญ ั หาทีเ่ กิดขึน้ ส�ำหรับการท�ำวิจยั ในอุตสาหกรรมเพือ่ ทีจ่ ะ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สร้างชื่อเสียงให้กับบริษัท ปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น สร้างความรู้ให้กับนักวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้า และเชื่อมโยงกับนักวิทยาศาสตร์ที่อื่น ๆ เพื่อท�ำความรู้จักและแลกเปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน อ่านต่อหน้าถัดไป... 12 U&I Collaboration



INTERVIEW

PETROMAT: อยากให้อาจารย์ช่วยแนะน�ำถึงแนวทาง

ในการสร้างความร่วมมือในการท�ำวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัย และภาคอุตสาหกรรม ดร.สั น ติ : เราต้ อ งรู ้ ถึ ง ความต้ อ งการของมหาวิ ท ยาลั ย และภาคอุ ต สาหกรรมก่ อ นจึ ง จะท�ำให้ เ กิ ด ความร่ ว มมื อ ระหว่างกันได้ สิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องการจากภาคอุตสาหกรรม คือ (1) งบประมาณสนับสนุนการวิจัย (2) มีจุดประสงค์ในการ ท�ำวิจยั ทีช่ ดั เจน (3) ได้รบั ความร่วมมือและสนับสนุนเทคโนโลยี (4) มี ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ เครื่ อ งมื อ /อุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ ส�ำหรั บ การ ขยายขนาดงานวิจัยสู่ระดับอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวทาง ในการพัฒนางานวิจัยให้สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในระดับ อุ ต สาหกรรมได้ และ (5) มี ก ารท�ำสั ญ ญาตกลงร่ ว มกั น อย่างชัดเจนในการจดลิขสิทธิ์ของงานวิจัยและเพื่อตีพิมพ์/ เผยแพร่งานวิจัย ส�ำหรับสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมใช้ในการเลือกอาจารย์ มาร่วมวิจัยจากประสบการณ์ของผม คือ (1) ความน่าเชื่อถือ ของอาจารย์ (2) มี ผ ลงานวิ จั ย และความเชี่ ย วชาญตรง กับงานวิจัยที่ต้องการศึกษา (3) นักวิจัยสามารถเชื่อมโยง ระหว่างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่ธุรกิจได้ (4) สามารถคิดค้น นวัตกรรมใหม่ทมี่ มี ลู ค่า และ (5) สามารถร่วมมือท�ำงานเป็นทีมได้

ดร.สันติ กุลประทีปัญญา ร่วมบรรยายในงาน PETROMAT Seminar ประจำ�ปี 2558

PETROMAT: สิ่งที่จะท�ำให้นักวิจัยประสบความส�ำเร็จ

ในการท�ำวิ จั ย และผลิ ต ผลงานวิ จั ย เป็ น ที่ ต ้ อ งการ ของอุตสาหกรรม คืออะไร ดร.สันติ: สิง่ ทีจ่ ะท�ำให้โครงการวิจยั ประสบความส�ำเร็จได้นนั้ ต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ซึ่งขอยกตัวอย่าง ดังนี้ (1) Project selection คือ การเลือกหัวข้องานวิจัย สิง่ นีเ้ ป็นหัวใจของการท�ำวิจยั การลงมือท�ำงานวิจยั ไม่ใช่เป็นสิง่ ทีย่ าก แต่จะท�ำอะไรนั้นเป็นสิ่งที่ยากกว่า เพราะการเลือกโครงการ ทีเ่ หมาะสมเป็นสิง่ ส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้ได้ผลประโยชน์และมีชอื่ เสียง ตามมา จึงต้องมีการศึกษาข้อมูลด้านความต้องการของลูกค้า และท้องตลาด เช่น อุตสาหกรรมหรือสังคมต้องการอะไร ใช้เทคโนโลยีอะไร มีคนใช้เทคโนโลยีนี้แล้วหรือยัง ถ้าพบว่า เทคโนโลยีนนั้ ไม่มใี นเมืองไทย เราจะท�ำอย่างไร ท�ำวิจยั ต่อไปไหม และเมื่อท�ำส�ำเร็จได้แล้วจะสามารถขยายขนาดไปสู่ระดับใหญ่ ขึ้ น ได้ ไ หม มี ข ้ อ มู ล เพี ย งพอหรื อ ไม่ สิ่ ง เหล่ า นี้ จ ะเป็ น สิ่ ง ที่ ต้องศึกษาก่อนที่เราจะเลือกพัฒนางานวิจัยขึ้นมาสักชิ้นหนึ่ง เพื่อน�ำไปสู่การตั้งจุดประสงค์การวิจัยที่ชัดเจน (2) Think out of the box คือ การคิดนอกกรอบ ในกรณีนี้ ผมต้องการจะชีใ้ ห้เห็นว่า นักวิจยั หรือนักวิทยาศาสตร์ ต้องเก่งทุกคนอยู่แล้ว แต่การที่เราเก่งทางวิชาการไม่จ�ำเป็นว่า ในทางปฏิบัติจะปฏิบัติได้ดีเหมือนกันทุกคน บางคนอาจคิด แก้ปญ ั หาได้แตกฉานภายในวันเดียว บางคนอาจใช้เวลาหลายวัน หรื อ คิ ด ไม่ อ อกเลยก็ ไ ด้ การคิ ด นอกกรอบนี้ จ ะเป็ น วิ ธี ก าร ทีจ่ ะท�ำอย่างไรถึงจะท�ำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ ยกตัวอย่างเช่น การน�ำเทคโนโลยี 2 อย่างมาเชื่อมต่อกัน หรือน�ำมาต่อยอด เพื่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

ถ้าเราทำ�ใจไม่ได้ ว่าเราจะหยุดที่ไหนสักแห่ง

ไม่พอใจสิ่งที่ตนมีอยู่ ชีวิตของเรา จะไม่มีความสุข

ดร.สันติ กุลประทีปัญญา บรรยายพิเศษ แก่นักศึกษาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ

14 U&I Collaboration


(3) Teamwork คื อ การท�ำงานร่ ว มกั น เป็ น ที ม ในอุตสาหกรรมเราจะท�ำงานร่วมกันเป็นทีม บางโครงการเรา ต้องการความเชี่ยวชาญจากนักวิจัยหลาย ๆ ท่าน เราก็จะมี ประชุมทุกเดือนเพือ่ สร้างการท�ำงานร่วมกันเป็นทีม และเมือ่ ได้ ผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ว เราต้องให้เครดิตกับทีมของเราทุกคน (4) Select the right partner คือ การเลือกคน ให้ เ หมาะสม เป็ น การเลื อ กอาจารย์ ห รื อ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญ ที่จะมาท�ำงานวิจัยร่วมกันให้มีความสามารถเหมาะสมตรงกับ งานที่เราจะศึกษา และต้องสามารถร่วมกันท�ำงานเป็นทีมได้

เราควรสนุกและรักงานที่ทำ�

เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำ�งาน

ซึ่งจะทำ�ให้ได้ผลงานที่ดี

ถ้าได้ทำ�โครงการวิจัยร่วมกับผู้อื่น ให้คิดว่าเราทำ�โครงการวิจัยเพื่อตัวเราเอง

จะทำ�ให้เรามีความสุข กับงานที่ทำ� PETROMAT: อยากให้อาจารย์ฝากแง่คิดถึงนักวิจัยทุกคน

ดร.สันติ กุลประทีปัญญา ร่วมงาน PTT Group/UOP R&D Technology Workshop in Bangkok

PETROMAT: ส�ำหรับ PETROMAT อาจารย์มีข้อแนะน�ำ

หรือแนวทางในการด�ำเนินการอย่างไรบ้าง ดร.สันติ: ในความเห็นของผม PETROMAT มีศักยภาพ ที่จะเป็นศูนย์ความเป็นเลิศได้ มีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ หลายท่าน ผมจึงขอแนะน�ำให้นักวิจัยช่วยกันศึกษาถึงทิศทาง ของเมืองไทยว่าจะเดินหน้าไปทางไหน สิง่ ไหนทีเ่ มืองไทยต้องการ จากนัน้ ร่วมกันคิดโครงการวิจยั ทีส่ อดคล้องขึน้ มาทีใ่ ช้ประโยชน์ จากความสามารถของเราได้และร่วมมือกันท�ำงานเป็นทีม รวมถึงพยายามหาความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมเพือ่ ให้เกิด โครงการวิ จั ย ขึ้ น เป็ น รู ป ธรรม และสามารถท�ำประโยชน์ ให้กับประเทศได้

เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้สามารถพัฒนางานวิจัยต่อไปค่ะ ดร.สันติ: นักวิจยั ควรสนุกและรักงานทีท่ �ำเพือ่ ให้เกิดแรงจูงใจ ในการท�ำงาน ซึ่งจะท�ำให้ได้ผลงานที่ดี ถ้าได้ท�ำโครงการวิจัย ร่วมกับผูอ้ นื่ ให้คดิ ว่าเราท�ำโครงการวิจยั เพือ่ ตัวเราเองจะท�ำให้ เรามี ค วามสุ ข กั บ งานที่ ท�ำ นอกจากนี้ ค วรพอใจในรายได้ ที่เป็นอยู่ ควรออกก�ำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และสิ่งส�ำคัญ อีกอย่าง คือ ถ้าชีวิตครอบครัวมีความสุขจะมีส่วนช่วยให้ ประสิทธิภาพในการท�ำงานดีขึ้น PETROMAT ขอขอบคุณ

ดร.สันติ กุลประทีปัญญา

ที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ บอกเล่าประสบการณ์ และแง่คิดดี ๆ ให้กับพวกเรา ทำ�ให้หลาย ๆ คนเกิดแรงจูงใจ ในการพัฒนางานวิจัย ให้ก้าวสู่ระดับอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้นค่ะ

ดร.สันติ กุลประทีปัญญา ถ่ายรูปร่วมกับ นักวิจัยจาก Thai Oil, PTTGC และ PTTRTI ที่ UOP Seelig School, Riversides Plant, IL, USA

15


RESEARCH เรื่องโดย... ภัสร์ชาพร สีเขียว

University & Industry Collaboration ที่มีค วามเป็การวินไปได้จัยและพั ฒนาในมหาวิทยาลัยเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากความรู้ทางทฤษฎี การท�ำวิจัย และบทความทางวิชาการต่าง ๆ แต่หลายครั้งเมื่อน�ำไปใช้งานในระดับ

อุตสาหกรรม มักประสบปัญหาในการน�ำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตจริง เช่น ปัญหาในเรือ่ งการลงทุนเครือ่ งจักรใหม่ทมี่ รี าคา สูง ต้นทุนการผลิตสูง กระบวนการผลิตทีแ่ ตกต่างไปจากเดิมมาก เป็นต้น ปัญหาเหล่านีท้ �ำให้ในปัจจุบนั เกิดความร่วมมือกันระหว่าง ภาคการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมทีจ่ ะพัฒนางานวิจยั ให้น�ำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ PETROMAT ให้ความส�ำคัญและผลักดัน ให้เกิดงานวิจยั ร่วมระหว่างภาคการผลิตและมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนือ่ ง โดยจะเห็นได้จากจ�ำนวนโครงการทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างก้าวกระโดด ใน 2 ปีที่ผ่านมา ใน PETROMAT Today ฉบับนี้จะขอน�ำเสนอตัวอย่างงานวิจัยที่ได้พัฒนาร่วมกับอุตสาหกรรม ดังนี้

Petro Gas Saudi

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2558 *

ปี 2557

1 โครงการ 3 โครงการ 5 โครงการ 14 โครงการ

* ถึงเดือนสิงหาคม 2558

การพัฒนาวัสดุที่มีสภาพเปล่งรังสีสูงส�ำหรับใช้งานที่อุณหภูมิสูง โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จ�ำกัด ให้ศึกษาลักษณะสมบัติและพัฒนาสารเคลือบผิวที่มีสมบัติการเปล่งรังสีความร้อน (Emissivity) ทีอ่ ณ ุ หภูมสิ งู ตัง้ แต่ 1,000-1,500 องศาเซลเซียส โดยพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีของสารเคลือบผิว และบทบาทของสารประกอบออกไซต์ทมี่ ผี ลต่อการเปล่งรังสีความร้อนของสารเคลือบผิว ผสมกับ ตัวกลางทีป่ ระกอบด้วยสารละลายกรดฟอสเฟอริก แล้วเคลือบลงบนผิววัสดุฉนวนความร้อนทนไฟ ด้วยการจุ่มเคลือบ แล้วตรวจวัดค่าสภาพการเปล่งรังสีความร้อนของสารเคลือบผิวด้วย เครือ่ งไพโรมิเตอร์ และติดตัง้ ชุดของเทอร์โมคัปเปิล เพือ่ ใช้ในการตรวจวัดอุณหภูมิ ณ ต�ำแหน่งต่าง ๆ ภายในเตาและพื้นผิวของชิ้นงาน ผลจากการบันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพการเปล่งรังสี ความร้อนและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิด้วยเครื่องบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ พบว่าสารประกอบ ออกไซด์ข้างต้นมีการเปล่งรังสีความร้อนที่สูง และก�ำลังจะพัฒนาเป็นสูตรเคลือบต่อไป

แนวคิดและทฤษฎีการเคลือบผิวเพื่อเพิ่มการเปล่งรังสีความร้อน

16 U&I Collaboration

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร วาสนาเพียรพงศ์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-MS)

ชุดอุปกรณ์และเตาเผาส�ำหรับการทดสอบ


การพัฒนาน�้ำมันชีวภาพจากกระบวนการไมโครอิมัลชันจากน�้ำมันปาล์ม ส�ำหรับการใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม ปัจจุบนั การพัฒนาน�ำ้ มันเชือ้ เพลิงชีวภาพในอุตสาหกรรมได้รบั ความสนใจอย่างต่อเนือ่ ง การผสมน�้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง ด้ ว ยกระบวนการไมโครอิ มั ล ชั น (Microemulsion Fuel) เป็นหนึง่ ในเทคโนโลยีทไี่ ด้รบั ความสนใจอย่างกว้างขวาง เนือ่ งจากเป็นกระบวนการทีไ่ ม่ซบั ซ้อน และใช้พลังงานตำ�่ และสามารถน�ำน�ำ้ มันพืชหรือน�ำ้ มันพืชเสือ่ มสภาพมาเป็นวัตถุดบิ ได้โดยตรง การศึกษาวิจยั นีเ้ ป็นการพัฒนาส่วนผสมของนำ�้ มันชีวภาพจากกระบวนการไมโครอิมลั ซิฟเิ คชัน จากน�้ำมันปาล์ม ดีเซล และแอลกอฮอล์ โดยใช้สารลดแรงตึงผิวและสารลดแรงตึงผิวร่วม ในการท�ำให้เชื้อเพลิงเหลวอยู่ในสภาพรีเวิรส์ไมเซลไมโครอิมัลชัน (Reverse Micelle Microemulsion) ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาร่วมกับอุตสาหกรรมถึงผลของชนิดสารลดแรงตึงผิว และสารลดแรงตึงผิวร่วม สัดส่วนต่าง ๆ ของเชื้อเพลิงผสม เพื่อให้ได้น�้ำมันชีวภาพที่มีความใส และเป็นเนื้อเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถน�ำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการก�ำหนด ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้น�้ำมันเชื้อเพลิงอย่างเป็นรูปธรรม

อาจารย์ ดร.อัมพิรา เจริญแสง

วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-PPC)

Reverse Micelle Microemulsion แผนภาพการละลายของผสมที่สภาวะไมโครอิมัลชัน ระหว่างน�้ำมันปาล์ม น�้ำมันดีเซล เมทานอล ร่วมกับสารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ

Petro Gas Saudi

การพัฒนาโปรแกรมจ�ำลองรูปแบบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของของไหลภายในท่อขนส่งน�้ำมันดิบ การขนส่งนำ�้ มันดิบผ่านท่อเป็นกระบวนการทีพ่ บเห็นได้ทวั่ ไปในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม น�้ำมันดิบส่วนใหญ่มีความหนืดสูง อีกทั้งโดยปกติแล้วอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายนอกท่อ มั ก จะต�่ ำ กว่ า อุ ณ หภู มิ ข องน�้ ำ มั น ดิ บ ภายในท่ อ น�้ ำ มั น ดิ บ จึ ง เกิ ด การสู ญ เสี ย ความร้ อ น อุณหภูมิจะลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะทางและเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะท�ำให้ท่ออุดตันได้ ดังนัน้ การขนส่งนำ�้ มันดิบผ่านท่อจะไม่สามารถด�ำเนินการต่อได้ เพือ่ ป้องกันหรือลดความรุนแรง จากการสูญเสียประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น จึงท�ำการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการไหลภายในท่อขนส่งนำ�้ มันดิบทีม่ คี วามซับซ้อน และท�ำนายการเกิดไขในระบบท่อ โดยน�ำความรู้ทางพลศาสตร์ของไหลเชิงค�ำนวณมาใช้ในการแก้ปัญหาการไหล ผลที่ได้พบว่า โปรแกรมจ�ำลองมีความน่าเชื่อถือ โดยท�ำการเปรียบเทียบความถูกต้องกับการทดลองจริง และโปรแกรมส�ำเร็จรูป โปรแกรมที่ได้สามารถใช้ท�ำนายพฤติกรรมการไหลของน�้ำมันดิบ รวมถึงการเกิดไขภายในระบบท่อได้อย่างแม่นย�ำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ

ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-CT)

โปรแกรมจ�ำลองรูปแบบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของของไหลภายในท่อขนส่งน�้ำมันดิบ

รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ที่ได้จากโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น

17


Look Around

“PETROMAT Link:

Gateway งานเสวนา The to Innovations”

วันอังคารที่ 21 เมษายน 2558 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา

เรื่องโดย... อรนันท์ คงเครือพันธุ์

P

ETROMAT ร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จัดงาน PETROMAT & PPC Symposium ขึน้ เป็นประจ�ำทุกปี ซึ่งในปีนี้เป็นปีที่ 6 แล้ว PETROMAT ได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ “PETROMAT Link: The Gateway to Innovations” เพื่ อ เป็ น การแลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น และข้ อ เสนอแนะ ในการท�ำงานวิ จั ย ร่ ว มกั น ระหว่ า ง PETROMAT กั บ ภาคอุตสาหกรรม โดย PETROMAT ได้รับเกียรติจากหลาย ๆ หน่วยงานมาเข้าร่วมเสวนาและเสนอความคิดเห็น อาทิ สกอ., iTAP, SCG Chemicals, PTTGC, บางจาก, มหาชัยพลาสติก เป็นต้น โดย PETROMAT Today ฉบับนี้ขอน�ำเสนอประเด็นส�ำคัญ บางส่วนในงานมาเสนอท่านผู้อ่านดังนี้ ผมได้ รู ้ จั ก กั บ PETROMAT มาไม่ เ กิ น 3 ปี เริ่ ม จากมี โ อกาสเข้ า มาคุ ย กั น แล้ ว รู ้ สึ ก ว่ า ไม่ มี Academic Wall เกิดขึ้น อีกทั้งหน่วยงานมีผู้เชี่ยวชาญ หลายท่านร่วมงานวิจัยใน PETROMAT ด้วย ดังนั้น จึ ง ตั ด สิ น ใจเริ่ ม ท�ำสั ญ ญากรอบใหญ่ ขึ้ น ระหว่ า ง SCG Chemicals กับ PETROMAT เมื่อทางบริษัท มีโจทย์งานวิจัยหรือปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถเข้ามาพบ PETROMAT ได้ ทั น ที หลั ง จากนั้ น PETROMAT ก็ด�ำเนินงานต่อไปจนส�ำเร็จ ซึ่งเรียกว่าเป็น One-Stop Service ได้ เ ลย นอกจากนี้ ผมยั ง มี ข ้ อ เสนอแนะ ให้ ท าง PETROMAT รั ก ษาระดั บ Technical Excellence ไว้ โดยต้ อ งพยายามหาจุ ด หลั ก และรวบรวมเทคโนโลยีงานวิจัยที่เชี่ยวชาญของนักวิจัย ใน PETROMAT เพื่อให้ทางภาคอุตสาหกรรมได้เห็น ศักยภาพมากขึ้น

สกอ. นอกจากสนับสนุนทุนให้แก่ PETROMAT เพื่ อ ให้ เ กิ ด ผลงานวิ จั ย แล้ ว ยั ง พั ฒ นาบุ ค ลากร โดยใช้ทักษะเชิงวิชาการและการตีพิมพ์ด้วย ปัจจุบัน ได้ เ ริ่ ม ส่ ง เสริ ม งานวิ จั ย เชิ ง พาณิ ช ย์ เ พื่ อ ตอบสนอง ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ SMEs มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ระดับชุมชนเพิ่มขึ้นด้วย

ดร.จารุรินทร์ ภู่ระย้า

ผู้อ�ำนวยการกลุ่มส่งเสริมสนับสนุน และเผยแพร่งานวิจัยจาก สกอ.

ปัจจุบัน PETROMAT มีโครงการวิจัยร่วมกับ เอกชนแล้วหลายโครงการ และมีอีกหลายโครงการ ที่อยู่ระหว่างด�ำเนินการเจรจาและเข้ามาเพื่อปรึกษา และรับฟังข้อเสนอแนะจากนักวิจยั ทีเ่ ชีย่ วชาญแล้วน�ำไป แก้ไข/ปรับปรุงพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งทาง PETROMAT มีความพร้อมและยินดีทจี่ ะเป็นส่วนหนึง่ ในการแก้ปญ ั หา ของภาคอุตสาหกรรมเพือ่ การพัฒนาประเทศอย่างยัง่ ยืน

ดร.บุตรา บุญเลี้ยง

Technology Intelligence Manager จาก SCG Chemicals 18 U&I Collaboration

รศ. ดร.ศิริพร จงผาติวุฒิ

รองผู้อ�ำนวยการ PETROMAT และนักวิจัย จากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ



Get to Know เรื่องโดย... ภัสร์ชาพร สีเขียว

PETROMAT in U&I การพัฒนางานวิจยั ให้กา้ วหน้าได้นนั้ จะต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผูศ้ กึ ษาวิจยั กับผูท้ นี่ �ำงานวิจยั ไปใช้ประโยชน์ได้จริง ส�ำหรับศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ หรือ PETROMAT ของเรามีบทบาทในการช่วยประสานงานวิจัย และช่วยคัดสรรผู้เชี่ยวชาญให้ตรงกับงานวิจัยเพื่อให้เกิดความราบรื่นในการด�ำเนินงานวิจัยร่วมกัน PETROMAT มีทีมวิจัยที่มี ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านปิโตรเคมีและวัสดุจาก 4 มหาวิทยาลัย และมีความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

วิทยาลัยปิโตรเลียม และปิโตรเคมี ภาควิชาเคมีเทคนิค ภาควิชาวัสดุศาสตร์ และภาควิชาเคมี

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาเคมี เชิงฟิสิกส์

สาขาวิชาวิศวกรรม พอลิเมอร์

งานวิจัยด้าน

เป็ น ความร่ ว มมื อ ด้ า นการท�ำวิ จั ย กับนักวิจัยในสถาบันร่วมของศูนย์ฯ ในโครงการวิจัยต่าง ๆ เช่น

การใช้ประโยชน์จาก

การผลิต

ของเสียในโรงงานผลิต ไบโอดีเซล

การดักจับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์

20 U&I Collaboration

หน่วยงานรัฐอื่น ๆ

ภาครัฐ

ภาคเอกชน พลังงานชีวมวล และการขนส่ง น�้ำมันดิบภายในท่อ

ภาควิชาวิทยาการ และวิศวกรรมวัสดุ

มีความร่วมมือในการ

ไฮโดรเจนจากน�้ำเสีย การสกัด

สารแอโรแมติกส์ วัสดุดูดซับทางเคมี และการพัฒนาวัสดุต่าง ๆ

จัดงานเสวนาในงาน InterPlas Thailand (ปี พ.ศ. 2554 – 2558)

การปรับปรุงคุณภาพน�้ำเสียจาก

การผลิตไบโอแก๊ส


Everyday PETROMAT

Biosciences Institute (EBI) ที่มา: - http://cenm.ag/collab - http://energybiosciencesinstitute.org

Energy Biosciences Institute (EBI) เป็นสถาบันวิจัย ที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น มาจากความร่ ว มมื อ ระหว่ า งภาคการศึ ก ษา ได้ แ ก่ University of California at Berkeley, Lawrence Berkeley National Laboratory, และ University of Illinois at Urbana -Champaign (UIUC) และ ภาคอุตสาหกรรม คือบริษทั นำ�้ มัน BP เพือ่ ศึกษา งานวิจัยร่วมกันในด้าน Cellulosic Fuels เป็นการสกัด Cellulose ในหญ้า เศษไม้ ฟางข้าว ซังข้าวโพดและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร โดยผ่านกระบวนการจนได้นำ�้ ตาลและน�ำไปหมักให้ได้ เอทานอลเพือ่ น�ำไป เป็นเชื้อเพลิงหรือน�ำไปผสมเป็นน�้ำมันแก๊สโซฮอล์ต่อไป EBI ยังมี งานวิจัยที่ร่วมกันในด้าน Petroleum Microbiology โดยศึกษาด้าน Microorganisms ของนำ�้ มันปิโตรเลียมเพือ่ น�ำไปปรับปรุงกระบวนการ กลั่นน�้ำมันต่อไป นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยศึกษาด้าน Biolubricants และผลิตภัณฑ์พลอยได้อนื่ ๆ ทาง Bio-Based อีกด้วย โดยมีการลงทุน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นระยะเวลา 10 ปี ส�ำหรับประเด็นส�ำคัญ ในการตกลงความร่วมมือคือเรือ่ งทรัพย์สนิ ทางปัญญา (IP) ควรมีขอ้ ตกลง ให้ชัดเจนเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย โดยโครงการดังกล่าว ได้ตั้งค่า IP ไว้ 100,000 เหรียญสหรัฐ ในการต่อใบอนุญาตต่อปี

TOP-PPC

R&D Collaboration Unit ที่มา: - http://research.chula.ac.th/web/cu_online/2552/vol_39_2.htm - http://ryt9.com/s/prg/1614076 - https://youtube.com/watch?v=f0HYC8m5DBM

วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ท�ำข้อตกลงร่วมมือ ในการท�ำงานวิจัยกับ บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) โดยมีการจัดตั้งห้องปฏิ บั ติ ก าร TOP-PPC Collaboration Unit ขึ้นเพื่อเป็นหน่วยวิจัยและพัฒนาร่วมโดยมีเจ้าหน้าที่ของ บริษทั ฯ มาท�ำงานอยูใ่ นพืน้ ทีข่ องวิทยาลัยฯ ท�ำให้สามารถผลักดันโครงการวิจยั ต่าง ๆ ภายใต้ความ ร่ ว มมื อ ให้ ส�ำเร็ จ ลุ ล ่ ว งไปด้ ว ยดี ห ลายโครงการ รวมทั้ ง ได้ ข ยายผลไปสู ่ ก ารใช้ ง านจริ ง ในโรงกลัน่ อาทิ โครงการเกีย่ วกับการประหยัดพลังงานในหอกลัน่ โครงการทดสอบตัวเร่งปฏิกริ ยิ า ส�ำหรับกระบวนการผลิตน�้ำมันดีเซลที่สามารถขยายผลไปสู่ห้องทดสอบมาตรฐานในอนาคตด้วย 21


GAMES

GAMES

เป็น เช็คของขวั PETROMAT Today ฉบับนี้ยังมีของรางวัลพิเศษ ญมูลค่า 500 บาท และ แก้ว 15 ปี PETROMAT จ�ำนวน 5 รางวัล เพียงส่งค�ำตอบทางอีเมล ไปรษณี​ีย์หรือเฟสบุค ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ทางทีมงานจะท�ำการจับรางวัลและประกาศรายชื่อผู้โชคดีทางวารสารฉบับต่อไป

สถาบันร่วมภายใต้ “PETROMAT” ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยใดบ้าง 1. ............................ 2. ............................ 3. ............................ 4. ............................

ประกาศรายชื่ิอผู้โชคดี ได้รับรางวัลเช็คของขวัญมูลค่า 500 บาท ผศ. ดร.วรดา หล่อยืนยง

4 U&I Collaboration

ได้รับรางวัลแก้ว 15 ปี PETROMAT 1. คุณอริสา อุตมะ 2. K.Ratakorn Buaboocha 3. K.Komsan Laokamon 4. K.A Supachai 5. คุณรัชนีกร โหรชัยยะ

“รีบ มีสิทธิ์ลุ้นรับส่งค�ำตอบ รางวัลทุกท่า

น”

info@petromat.org

petromat


Food Corner by PETROMAT

“ย.ยักษ์” จะรั บประทานเมนู บ่ อยครั้งอทีะไร่ถึงเวลามื ้ อ อาหารแล้ ว หลาย ๆ ท่ า นคิ ด ไม่ อ อกว่ า PETROMAT ขอแนะน�ำทางเลือกหนึ่งที่อาจจะ

เรื่องโดย... ธีรยา เชาว์ขุนทด

ร้านอาหารตามสัง่ แนวใหม่ “ไซส์มนุษย์” หรือ “ไซส์ยักษ์” คุณเลือกสั่งได้ตามใจ

ตอบโจทย์ปัญหาท่านได้ ร้าน “ย.ยักษ์” เป็นร้านอาหารตามสั่งแนวใหม่ “ไซส์มนุษย์” หรือ “ไซส์ยกั ษ์” ตามสโลแกนแนวโบราณว่า “สามัคคีเติมพลัง” คุณเลือกสัง่ ได้ตามใจ อีกทัง้ วิธกี ารสัง่ ของร้านนีไ้ ม่ธรรมดา สามารถเลือกอาหาร ในแบบตามใจเราและเลือกได้เยอะกว่าร้านอาหารตามสัง่ ทัว่ ไป คิดเมนูไม่ออก เปิด www.eatyoryuk.com/random แล้วเลือกไซส์ ใช้ได้ทั้งในมือถือ และในคอมพิวเตอร์ สามารถเลือกออกมาเป็นเมนูทไี่ ม่ซำ�้ กันได้ 4 ล้านกว่าแบบ

ยักษ์อินเตอร์ สเต็กหมูจานใหญ่ ยักษ์ไทย กระเพราหมูและหมูสบั ไซส์ยกั ษ์ (349 บาท) เพิม่ เครือ่ งเคียง ไซส์ยกั ษ์ (199 บาท) เพิม่ ไข่ดาวยักษ์ โค้กยักษ์ (49 บาท) จ�้ำบ๊ะน�้ำแดง (79 บาท) สปาเก็ ต ตี้ ซ อสขี้ เ มา (+10 บาท) (+50 บาท) ไอศกรีมยักษ์ (99 บาท) ท็อปปิ้งด้วยไข่ดาว (+10 บาท)

มาม่ า ซอสสุ กี้ สปาเก็ตตี้ย�ำพริกเผาเบคอนไซส์ ไซส์มนุษย์ (69 บาท) มนุ ษ ย์ (69 บาท) เพิ่ ม หอยลาย เ พิ่ ม ห มึ ก แ ล ะ กุ ้ ง (+10 บาท) (+20 บาท)

เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่ 10.30 - 22.00 น. ซอยจุฬา 50 (ในยูเซ็นเตอร์) ถ.พระราม 4 ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร https://www.facebook.com/eatyoryuk 0850277760

พิเศษ !!!

ส�ำหรับผู้อ่านคอลัมน์ Food Corner by PETROMAT 5 ท่านแรก ที่ไปรับประทานอาหารที่ร้าน “ย.ยักษ์” จะได้รับโปรโมชั่นพิเศษจากทางร้าน

โซดาไฟกับการทำ�ความสะอาด โซดาไฟ หรือ Caustic soda ชื่อเคมีคือ Sodium hydroxide สูตรเคมีคือ NaOH เป็นของแข็งสีขาว มีทั้งแบบที่เป็น เกล็ด เป็นผงและเป็นเม็ดครึ่งวงกลม มีฤทธ์เป็นด่าง ดูดความชื้นได้ดี ละลายน�้ำได้ดี

โซดาไฟ ที่ใช้โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของแข็ง หรือถูกเตรียมเป็นสารละลายที่ความเข้มข้น 50% โซดาไฟจะถูกใช้ ในอุ ต สาหกรรมสบู ่ อุ ต สาหกรรมกระดาษโดยใช้ เ ป็ น สารฟอกขาวเยื่ อ กระดาษ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ซั ก ฟอก เคมี ภั ณ ฑ์ ท�ำความสะอาด อุตสาหกรรมเส้นใยและสิ่งทอในขั้นตอนการปรับสภาพเส้นใย การบ�ำบัดน�้ำเสียโดยปรับสภาพน�้ำ ที่มีฤทธิ์เป็นกรดให้เป็นกลางและใช้ตกตะกอนโลหะหนัก

โซดาไฟกับการทำ�ความสะอาด โซดาไฟถูกใช้อย่างแพร่หลายในการท�ำความสะอาดท่อทีอ่ ดุ ตันด้วยไขมัน

โดยน�ำโซดาไฟมาละลายน�ำ้ แล้วเทราดลงไปในท่อ ไขมันจะถูกไฮโดรไลซ์ดว้ ยด่าง (เช่น โซดาไฟ) เกิดเป็นเกลือของกรดไขมัน หรือสบู่ ซึ่งสบู่ที่เกิดขึ้นสามารถละลายน�้ำได้ เรียกว่าปฏิกิริยา Saponification ซึ่งในอุตสาหกรรมการท�ำความสะอาด จะใช้ โซดาไฟ ในการท�ำความสะอาดอุปกรณ์ที่ปนเปื้อน oil, grease เช่นกัน บริษัท วาเลนซ์ จ�ำกัด ด�ำเนินธุรกิจให้บริการด้าน Industrial cleaning ทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส�ำหรับอุตสาหกรรมหนักทั่วไป เช่น อุตสาหกรรมโรงกลัน่ น�ำ้ มัน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมเหล็ก ด้วยกระบวนการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ เทคโนโลยีทมี่ คี ณ ุ ภาพ มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

23


U&I Collaboration


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.