Ong Magazine issue 02

Page 1



เอิ้น

อ่อง ฉบับที่ ๒ เราจะพูดเรื่องเมืองกัน เมืองเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แม้เกิดการกระทบจากปัจจัย อันน้อยนิด หากพูดด้วยหลักทฤษฎี The Butterfly Effect คงต้องบอกว่า แค่ผีเสื้อขยับ ปีกก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อเมืองทั้งเมืองได้แล้ว สำหรับเรื่องนี้ ใครที่เคย เล่นเกม The Sims น่าจะช่วยพวกเราคอนเฟิร์มได้ เมืองที่ดี ย่อมส่งผลทำให้ประชากรในเมืองมีคุณภาพ ในทางกลับกัน ถ้าเมืองนั้นได้ผู้บริหารและประชากรที่ดีมีคุณภาพ เมืองนั้นย่อม ออกมาเป็นเมืองทีด่ เี ช่นกัน แม้จะยังบอกไม่ได้วา่ เมืองดีกอ่ นคนถึงดีตาม หรือ คนดีกอ่ น เมืองถึงดีตาม เหมือนปัญหาไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน แต่ทั้งสองปัจจัยนี้ต่างก็ เกื้อหนุนกัน ถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป ระบบการสร้างบ้านแปงเมืองอาจจะออกมา ผิดเพี้ยนได้ เช่นเดียวกับเมืองเชียงใหม่ ไม่ว่าสุดท้ายเมืองเชียงใหม่จะออกมาในสภาพไหน ผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมเป็นคนในเมืองเชียงใหม่เอง แม้เมืองเชียงใหม่จะกลายเป็น เมืองที่อยู่ไม่ได้จริงๆ แต่ต่อให้เราหนีไปอยู่ที่เมืองอื่นเรื่อยๆ สุดท้ายเราก็ยังต้องอยู่ใน โลกใบนี้อยู่ดี และต่อให้โลกนี้กลายเป็นโลกที่อยู่ไม่ได้จนมนุษย์โลกต้องหันไปยึดครอง ดาวของชาวนาวีแบบในหนังเรื่อง Avatar แต่ถ้ามนุษย์ยังไม่มีการจัดสรรเมืองหรือ ทรัพยากรที่ดีพอ สุดท้ายเราก็ต้องย้ายเมืองหนีไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ การแก้ที่ต้นเหตุ คือ ทำเมืองของเราเองให้น่าอยู่ น่าจะเป็นทางเลือก ที่ดีที่สุด ผูจ้ ดั ทำนิตยสาร อ่อง ไม่ได้หวังอะไรมากไปกว่า อยากให้ผอู้ า่ นทราบถึงความสำคัญ ของการจัดระบบเมือง และร่วมกันจัดการ เพื่อช่วยให้เมืองเชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่ น่าอยู่เหมือนในอดีต แน่นอนว่า การเปลี่ยนเมืองทั้งเมืองอาจฟังดูยิ่งใหญ่เกินจริง เหมือนเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ แต่ถ้าเราทำให้ฝันนั้นกลายเป็น ‘ฝันที่เป็นจริง’ ได้ รางวัลที่เราทุกคนจะได้รับคือ เมืองเชียงใหม่ที่น่าอยู่ และสามารถทำให้ชาวเมือง เชียงใหม่ทุกคนมีความสุขได้ เหมือนที่จอห์น เลนน่อน เคยกล่าวถ้อยคำสะเทือนโลกผ่านท่วงทำนองเอาไว้ว่า “You may say I’m a dreamer, but I’m not the only one”

อ่อง คือ นิตยสารใหม่เอี่ยม หัวใจสะอาด สมองคิดอยากให้เชียงใหม่น่าอยู่ยิ่งขึ้น ที่ปรึกษา ณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์, สุพัฒนุช สอนดำริห์, ทรงกลด บางยี่ขัน คณะบรรณาธิการ นันทนัช อรุโณทยานันท์, วิภาวี สกุลพาณิชเจริญ กองบรรณาธิการ บดินทร์ เทพรัตน์, ขจรภพ โตบุญช่วง, วิศรุต บุญมี, ธนพร สรไชยเมธา, พลอยนิตา โชคไพบูลย์, ชลธิชา ขุนทอง, สรณ์ แอบเงิน, นฤมล บุญทา, ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ บรรณาธิการภาพ อุรชา จักรคชาพล ช่างภาพ ณัตติพร ช่วยหนู, อุกฤษฏ์ จียะพันธ์, ยศสุนทร สวัสดี, ชุติมณฑน์ ตั่งธนาพร, ตรีทิพย์ สุขโข บรรณาธิการศิลปกรรม จิรณรงค์ วงษ์สุนทร กราฟิกดีไซเนอร์ วัชรพงศ์ แหล่งหล้า พิสูจน์อักษร วาริณี วรวิทยานนท์ เจ้าของ โครงการปฏิบัติการเชียงใหม่เอี่ยม ๔๔/๓๓ ถนนอัษฎาธร ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๒๐๐ (บริเวณโครงการ JJ Market) โทรศัพท์ ๐๘๖-๔๒๙-๖๖๔๗ ถึง ๙ อีเมล wecando@ourbetterchiangmai.org ongmagazine@hotmail.com เว็บไซต์ www.ourbetterchiangmai.org www.facebook.com/ongmagazine www.twitter.com/ongmagazine


เน


เจียงใหม่เอี่ยม นับจากเริ่มปฏิบัติการเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ จนถึงวันที่ ๙๙ ของปฏิบัติการเชียงใหม่เอี่ยม ได้เกิดกิจกรรมและ การดำเนินการของภาคประชาสังคมและเทศบาลร่วมกับคนเชียงใหม่ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็น รูปธรรมในด้านต่างๆ ดังนี้ ระบบการจัดการขยะ • เกิดกลไกคัดแยกขยะระดับครัวเรือนทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ แห่ง ธนาคารขยะในโรงเรียน ๑๐ แห่ง ลานคัดแยก คนไร้บ้าน ๒ แห่ง จุดรับขยะมีพิษ ๑๕ แห่ง ซึ่งกลไกทั้งหมดมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกอย่างรวดเร็วในเร็ววัน • การลดปริมาณขยะของเทศบาลซึ่งปกติต้องนำไปฝังกลบไกลถึงร้อยกิโลเมตร ได้ทั้งสิ้น ๓๖๓,๔๐๐ กิโลกรัม • การคัดแยกขยะรีไซเคิล โดยมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองและกลุ่มคนไร้บ้าน จำนวนกว่า ๗,๓๙๐ กิโลกรัม และจากธนาคารขยะในโรงเรียน ๑๐ แห่งซึ่งเริ่มดำเนินการได้เพียง ๕ วันอีกกว่า ๓,๐๐๐ กิโลกรัม • การจัดเก็บใบไม้แห้งกว่า ๕๘ ตัน ซึ่งปกติถูกกำจัดด้วยการเผาสร้างปัญหามลพิษให้กับเมือง ได้ถูกนำไปผลิต เป็นปุ๋ยหมักเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ถึง ๒๙,๐๐๐ กิโลกรัม มูลค่ากว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยจะถูกพัฒนาต่อ เป็นศูนย์ผลิตปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้งของเทศบาลในอนาคต การจัดการน้ำเสีย • มีครัวเรือนริมคลองสนใจติดตั้งถังดักไขมันประดิษฐ์ทั้งสิ้นกว่า ๑๐๐ ครัวเรือน • มีการจัดทำต้นแบบพื้นที่การจัดการน้ำเสียแบบมีส่วนร่วมบริเวณคลองแม่ข่าความยาว ๔๐๐ เมตร เทศบาล ได้อนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างบึงประดิษฐ์เพื่อบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติในพื้นที่เดียวกัน การส่งเสริมเกษตรอินทรีย ์ • เกิดการรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างเครือข่ายกลไกตลาดสีเขียวกว่า ๕๕ แห่งให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้และเข้าถึง ได้งา่ ยจากกลไกทีม่ อี ยูเ่ ดิมแล้ว เช่น กาดอินทรีย ์ ร้านค้าและร้านอาหารเพือ่ สุขภาพ โดยตัง้ เป้าจะเชิญชวนให้ได้ ๑๐๐ แห่งภายในเดือนพฤษภาคมนี้ • เกิดการเริ่มต้นสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสีเขียว จากฐานข้อมูลสมาชิกผู้บริโภคสีเขียว ๘๐ คน และมีแผนจะ ขยายให้ได้ถึง ๕๐๐ คนภายในเดือนพฤษภาคมนี้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว • เกิดพื้นที่เป้าหมายกว่า ๓๐ แห่ง หรือกว่า ๑๐,๐๐๐ ไร่ เพื่อรองรับการปลูกต้นไม้จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ ต้น โดยคนเชียงใหม่ในวันที่ ๕ มิถุนายนนี้ • เกิดกลไกเรือนเพาะชำท้องถิ่นในโรงเรียนและชุมชน ๗ แห่ง ซึ่งจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอนาคต • เกิดเครือข่ายสมาชิกเขียว สวย หอม กว่า ๒๐๐ คน ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนภาคประชาสังคมในอนาคต การส่งเสริมทางเส้นทางจักรยาน • เกิดต้นแบบพื้นที่ถนนกึ่งคนเดินเจริญประเทศ เพื่อใช้นำร่องกระบวนการส่งเสริมการสัญจรเบาและการลด มลพิษบริเวณถนนหน้าโรงเรียน มีการจัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้ปกครองและครูใน ๔ โรงเรียนของ ถนนเจริญประเทศกว่า ๑๐,๐๐๐ ชุด ความคิดเห็นดังกล่าวจะได้ถูกนำมาทดลองปฏิบัติในช่วงเปิดเทอมใน เดือนพฤษภาคมนี้ • เกิดเครือข่ายร้านค้าทีช่ ว่ ยให้สว่ นลดกับผูข้ จ่ี กั รยานกว่า ๓๐ ร้าน และเกิดจุดจอดจักรยานเพิม่ เติมอีก ๒๐ แห่ง ทั่วเมืองเชียงใหม่ แม้ว่าช่วงเวลา ๙๙ วันซึ่งเป็นหมุดหมายแรกจะจบลง แต่การช่วยกันทำเชียงใหม่ให้น่าอยู่จะยังคงเดินหน้า ต่อไปเรือ่ ยๆ เครือข่ายทีเ่ กิดจากการโยงใย การทำงานและกิจกรรมทีผ่ า่ นมาในช่วงเวลาดังกล่าวย่อมเป็นบทเรียน สำคัญต่อการสร้างความก้าวหน้าในการพัฒนาเมืองต่อไป ความเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดมาจากมือ ของคนเชียงใหม่เพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แล้วถ้าชาวเชียงใหม่ทุกคนช่วยกัน รับรองว่าเมืองของเราจะกลายเป็น เมืองน่าอยู่ได้อย่างแน่นอน ถ้ารักเชียงใหม่ ได้เวลาช่วยกันสร้างความเปลี่ยนแปลงแล้ว


เรื่อง: วิภาวี สกุลพาณิชเจริญ ภาพ: ชุติมณฑน์ ตั่งธนาพร

ไม้แก่ตัดยาก

ในเมืองเชียงใหม่ของเรามีตน้ ไม้ใหญ่มากมายทีน่ า่ แวะเยีย่ มเยียน นอกจาก ร่มรืน่ ครึม้ เย็นแล้ว แต่ละต้นยังมีประวัตทิ น่ี า่ สนใจ แต่บอ่ ยครัง้ ทีเ่ รากลับมองผ่าน เพราะมันอยู่มานานจนเราคุ้นเคยเลยลืมสนใจ ช่วงนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและ เอกชนต่างหันกลับมาระลึกถึงคุณค่าของไม้ใหญ่ โดยมีกิจกรรมทั้งทำแผนที่ ไม้ใหญ่ในเขตคูเมืองบ้าง หรือจัดประกวดไม้ใหญ่โดยเทศบาลนครเชียงใหม่บา้ ง เพื่อให้ชาวเชียงใหม่ได้รู้จักต้นไม้คู่บ้านคู่เมืองของเรา อย่างต้นจามจุรีขนาด ๗ คนโอบ ด้านหลังสถานกงสุลฝรั่งเศส จะมีคนเชียงใหม่สักกี่คนที่รู้ว่า นี่คือ ต้นจามจุรี (ฉำฉา) อายุกว่า ๑๑๐ ปี และเป็นจามจุรีต้นแรกในประเทศไทย ซึ่งนำเข้ามาจากลาวโดยนายเอช สเลช เจ้ากรมป่าไม้คนแรกของไทย ผ่านมา ถนนเส้นนี้เมื่อไหร่ อย่าลืมแวะไปชมความภาคภูมิใจบนผืนดินบ้านเราด้วย!

ละครหลังเขา

เราคงคุน้ เคยกันดีกบั หน้าทีใ่ ห้ความบันเทิงของ ‘ละครเวที’ แต่องค์กรพัฒนา เอกชนหลายต่อหลายแห่งก็เลือกใช้ละครเวทีเป็น ‘เครื่องมือ’ ในการแก้ปัญหา สังคม รวมถึงกลุ่ม ‘ละครชุมชนกั๊บไฟ’ ที่ดำเนินงานมาเกือบ ๑๕ ปีแล้ว ชาว กั๊บไฟนำละครเร่ของพวกเขาไปเล่นในชุมชน โรงเรียน และเวทีสาธารณะ ทัว่ ประเทศ โดยเน้นเขตพืน้ ทีภ่ าคเหนือตอนบน เพือ่ สะท้อนปัญหาต่างๆ ในชุมชน เช่น ยาเสพติด ความรุนแรงในครอบครัว และการละเมิดสิทธิมนุษยชน พวกเขา เชือ่ มัน่ ว่า ใครๆ ก็สามารถเป็นส่วนหนึง่ ของละครได้ ไม่วา่ จะเป็นคนชนชัน้ ไหนๆ และคนเมืองหรือคนชนบท เมือ่ ได้เข้ามาสัมผัสกับกิจกรรมของชาวกับ๊ ไฟ ผูร้ ว่ ม โครงการจึงได้เรียนรู้ความแตกต่าง เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเกิดความกล้า ทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงตัวเอง เปลีย่ นแปลงสังคมให้นา่ อยูย่ ง่ิ ขึน้ เมือ่ เราช่วยกันกระจาย สิง่ ดีๆ ไปยังผูอ้ น่ื เราก็จะร่วมสร้างชุมชนทีน่ า่ อยูไ่ ปจนถึงโลกทีน่ า่ อยูไ่ ด้ เหมือน ดังสโลแกนของกลุ่มที่ว่า A single flame can light a thousand candles. www.gabfai.com

สังเกตวัดเกต

‘พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม’ ตั้งอยู่ในวัดเกต ย่านชุมชนเก่าแก่ของเมือง เชียงใหม่ ถูกดัดแปลงจากกุฏิมาเป็นที่จัดนิทรรศการและรวบรวมของโบราณ โดยมีคุณลุงแจ๊ค หรือ คุณจรินทร์ เบน เป็นผู้ดูแลอย่างดี และเล่าประวัติศาสตร์ได้สนุกมาก ของที่อยู่ในนี้มีตั้งแต่ตู้เย็นโบราณ หนังสือและแบบเรียน โบราณ พระพุทธรูปเก่า ผ้าโบราณ ธนบัตร กลอง หม้อไห จานชาม ตลอดจน เครื่องมือเครื่องใช้ที่ชาวบ้านใช้ทำไร่ไถนา บางชิ้นเป็นสมบัติของทางวัด บ้างก็ เป็นของในเจ้าคุณจอมมารดา (แพ) พระชายาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงแรกกุฏิแห่งนี้เกือบจะถูกรื้อทิ้งเพราะความ ทรุดโทรม แต่คณะกรรมการชุมชนเห็นว่าน่าจะปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ได้ เนือ่ งจากวัดเกตแห่งนีม้ ขี องเก่าแก่สะสมไว้มากมาย ลุงแจ๊คจึงเป็นหัวเรีย่ วหัวแรง ทำให้เป็นจริง โดยมีคนในชุมชนช่วยกันทำด้วยรักและศรัทธา จนกลายเป็น พิพิธภัณฑ์ชาวบ้านที่แสนจะมีเสน่ห์

เปลี่ยนขี้เหยื้อเป็นเสื้อยืด

วันที่ ๙ พฤษภาคมที่ผ่านมาเป็นวันครบกำหนด ๙๙ วันของปฏิบัติการ เชียงใหม่เอีย่ ม เลยมีการจัดงานสรุปผลกิจกรรมและความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ มีทั้งซุ้มสาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์ ตัวอย่างอิฐ รีไซเคิลจากบ้านดิน และมีการชวนชาวเชียงใหม่ให้นำขยะรีไซเคิล อันประกอบ ด้วยกระดาษ ๒ กิโลกรัม ขวดพลาสติกหรือกระป๋องอะลูมิเนียม ๓ กิโลกรัม ใครขนมาครบ ๕ กิโลกรัมก็รับไปเลย เสื้อยืดเชียงใหม่เอี่ยมสุดสวย ๑ ตัว แม้ว่าวันนั้นอากาศจะร้อนจนเกือบละลาย แต่ชาวเชียงใหม่ก็ยังพร้อมใจกันขน ขี้เหยื้อ (ขยะ) มากันคนละหลายกิโล รวมแล้วงานนั้นงานเดียวได้ขยะรีไซเคิล มาเกือบพันกิโล! สิ่งหนึ่งที่สรุปได้จากงานนี้ก็คือ จริงๆ แล้วการแยกขยะเป็น เรื่องง่ายนิดเดียว ลองตั้งใจแล้วใครๆ ก็ทำได้ http://www.ourbetterchiangmai.org


น้ำใจไหลลงแม่ข่า

สาระ+ภาพ

ขยันปั่นล้อถีบ

สีสรรพันธุ์ไม้

คลองแม่ข่านั้นขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเน่าเสียและกลิ่นเหม็น จนทำให้ เราลืมไปเลยว่าแม่ข่าเป็นสายน้ำประวัติศาสตร์ที่อยู่เคียงคู่เมืองเชียงใหม่ มานาน แม้อาการของแม่ขา่ จะแย่วนั แย่คนื แต่กย็ งั ไม่เกินเยียวยาเมือ่ ปฏิบตั กิ าร เชียงใหม่เอี่ยมทำโครงการสอนประดิษฐ์และติดตั้งถังดักไขมันเพื่อช่วยแยก กรองน้ำมันตัวร้ายทำลายน้ำ ก่อนจะปล่อยน้ำเสียจากครัวเรือนลงสูค่ ลองแม่ขา่ ให้กบั ชาวบ้านทีอ่ าศัยอยูใ่ นชุมชนตลอดแนวคลองแม่ขา่ ผลคือมีชาวบ้านหันมา ติดถังดักไขมันกว่า ๑๐๐ ครัวเรือน แล้วก็ยงั ช่วยกันติดตะแกรงดักขยะในน้ำแม่ขา่ รวมไปถึงทำบึงประดิษฐ์ (การบำบัดน้ำเสียโดยใช้ชน้ั ต้นไม้ทางธรรมชาติ) ในช่วง ระหว่าง ๒๙ พ.ค. ถึง ๕ มิ.ย. นี้ก็จะชวนกันเก็บขยะ ขุดลอกเลน และร่วม ปรับภูมิทัศน์ ถ้าใครอยากเห็นลำน้ำประวัติศาสตร์สายนี้กลับมาสวยใสอีกครั้ง ก็มาร่วมด้วยช่วยกันได้ ส่วนใครที่อยากช่วยปลูกต้นไม้ริมคลองและริมทางเดิน ตามแนวคลองแม่ขา่ ก็มาพบกันได้ทค่ี ลองแม่ขา่ ข้างเด่นชัย ในวันที ่ ๓-๔ มิ.ย. นี ้ โทร. ๐๘-๖๔๒๙-๖๖๔๗ ถึง ๙

เชียงใหม่ทกุ วันนีม้ สี ภาพการจราจรน้องๆ กรุงเทพฯ เข้าไปแล้ว หลายบ้าน บอกว่ารถยนต์คันเดียวไม่พอใช้ ต้องหามอเตอร์ไซค์มาใช้ขี่ไปไหนใกล้ๆ อีกคัน เมื่อรถเยอะปัญหาก็แยะ ‘เครือข่ายจักรยานเชียงใหม่’ ซึ่งประกอบไปด้วย สมาชิกชมรมจักรยานต่างๆ ในเชียงใหม่ เป็นกลุ่มหนึ่งที่ชูแขนเทใจให้กับการ ปั่นล้อถีบ (จักรยาน) แทนการใช้รถที่ปล่อยก๊าซในหลายๆ โอกาส เพราะเชื่อ ว่าการขี่จักรยานจะช่วยให้ได้ออกกำลัง มีสุขภาพที่ดี และยังทำให้มีเพื่อนใหม่ ที่สนใจในการเดินทางแบบง่ายๆ ไม่ต้องเร่งรีบร่วมทางไปด้วยกันให้ปลอดภัย สำหรับผูส้ นใจใช้อยากเข้าร่วมขบวนการหลังอาน สามารถร่วมได้กบั หลายกลุม่ ตามเวลาที่สะดวก เช่น ชมรมหิ่งห้อยจะชวนกันปั่นทุกเช้าเวลา ๐๕.๐๐๐๕.๓๐ น. พบกันได้ที่โรงน้ำแข็งวังสิงห์คำ หรือชมรมจักรยานวันอาทิตย์ ก็จะ พบกันทุกวันอาทิตย์เช้า ๐๗.๐๐ น. ที่ข่วงประตูท่าแพ chiangmaicyclingnetwork@hotmail.com หรือ คุณแก้ว ๐๘-๑๘๘๑-๕๖๒๑

คนที่ชอบเล่าเรื่องผ่านรูปอย่าพลาดการประกวดภาพถ่ายในคอนเซปต์ ‘เชียงใหม่ของฉัน’ ผ่าน ๓ หัวข้อคือ พืน้ ทีส่ เี ขียว เส้นทางสัญจร และอาคารเก่า กติกาง่ายมีอยู่ว่า ใช้กล้องอะไรถ่ายก็ได้ (กล้องมือถือก็ได้) ถ่ายเสร็จจะส่งเป็น ไฟล์หรือเป็นกระดาษก็ได้ แต่ต้องเขียนบรรยายความผูกพันต่อรูปแนบมาด้วย หมดเขตวันที ่ ๑ มิ.ย. นี ้ ภาพของใครชนะเลิศก็รบั เงินรางวัลไปเลย ๑๐,๐๐๐ บาท ส่วนภาพทีด่ แี ต่ยงั ไม่ดที ส่ี ดุ อีก ๙๙ ภาพ ก็รบั ค่าขนมไปเลยภาพละ ๕๐๐ บาท สิ่งที่มีคุณค่ากว่าเงินรางวัลเหล่านี้ก็คือ ภาพทุกใบ (และทุกไฟล์) จะถูกใช้เป็น ฐานข้อมูลสำคัญของเมืองเชียงใหม่ในการทำแผนที่ต้นไม้ใหญ่ และนำไปพิมพ์ เป็นสมุดภาพต่อไป เครือข่ายเชียงใหม่ เขียว สวย หอม: ๐๘-๕๗๑๕-๕๘๘๖, ๐๘-๙๑๖๒-๙๙๔๐

ลองจินตนาการถึงพื้นที่เมืองเชียงใหม่ที่เต็มไปด้วยสี ‘เขียว’ ของต้นไม้ ใบหญ้า ‘สวย’ แบบธรรมชาติสรรค์สร้าง และ ‘หอม’ กลิ่นดอกไม้นานาพันธุ์ มันน่ารื่นรมย์กว่าเมืองเชียงใหม่ที่เต็มไปด้วยฝุ่นควันและมลพิษอย่างในตอนนี้ เป็นไหนๆ บรรยากาศเมืองน่าอยูแ่ บบนีก้ ำลังถูกสร้างด้วยความมุง่ มัน่ และร่วมใจ จากหลายภาคส่วน หลังจากต้นไม้ใน ‘อุทยานหลวงราชพฤกษ์’ ลงรากฝังดิน มาถึง ๔ ปี จนสามารถออกดอกออกผล ให้เมล็ดพันธุ์เล็กๆ ที่พร้อมงอก เป็นต้นใหม่ อุทยานหลวงราชพฤกษ์เลยยินดีจะแบ่งปันลูกหลานพันธุ์ไม้อย่าง ราชพฤกษ์ หางนกยูง กาสะลอง จำปา พะยอม พร้อมวิธปี ลูก ให้พวกเราช่วยกัน กระจายพันธุ์ไปเติบโตทั่วเมืองเชียงใหม่ สร้างเมืองของเราให้เขียวขจี สวย หลากสี และน่าอยู่ตามที่ฝันกันไว้จริงๆ ใครสนใจขอรับฟรีได้ตั้งแต่ ๒๘ พ.ค.- ๑๓ มิ.ย. นี้ ในเวลาทำการ ที่อาคารนิทรรศการถาวร อุทยานหลวงราชพฤกษ์


ศิลป๊ะ

ภาพอดีต อันเลือนรางกับสมุดภาพเล่มเก่า เรื่อง: วิภาวี สกุลพาณิชเจริญ ภาพ: บุญเสริม สาตราภัย, ตรีทิพย์ สุขโข


เมือ่ นึกถึง ‘ภาพถ่าย’ ของเมืองเชียงใหม่สมัยก่อน ชือ่ แรกทีห่ ลายคนนึกถึงคือ คุณลุงบุญเสริม สาตราภัย ถ้าหนึง่ ภาพเท่ากับพันคำ หนังสือรวมภาพถ่ายเชียงใหม่สมัยโบราณของลุงบุญเสริม สาตราภัย คงเปรียบได้กับตำราประวัติศาสตร์ชั้นดีที่บันทึกข้อมูลสำคัญเอาไว้มากมาย ช่างภาพรุ่นเดอะคนนี้เป็นลูกของพระอาจโทรการ (เอื้อน สาตราภัย) นายไปรษณีย์คนแรก ของเชียงใหม่ และนางคำใฝ สาตราภัย เมื่อเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ได้เกิดสงครามโลก เขาจึงย้ายไปช่วยงานพี่เขยที่โรงพยาบาลในจังหวัดเชียงราย ตอนนั้นเขาพักอยู่ที่บ้านของ นายไปรษณีย์ เมื่อมีพัสดุมาถึง เขาจึงมักจะเป็นผู้นำไปส่งให้เสมอ กระทั่งพี่เขยย้ายไป ก็มี นายแพทย์ชาวอเมริกันเข้ามาเป็นผู้อำนวยการแทน และมีพัสดุจากอเมริกาส่งถึงนายแพทย์ผู้นี้ เป็นประจำ ด้วยความสงสัยใคร่ร ู้ พอมีพสั ดุมาถึงคุณลุงบุญเสริมจึงแอบเปิดดู (สมัยนัน้ ซองไม่ได้ ผนึก แค่พับมุมซองปิดไว้) พบว่าข้างในเป็นตำราถ่ายรูป ในเวลานั้นเมืองไทยยังมีกล้องถ่ายรูป น้อยมาก ตำราสอนถ่ายรูปยิ่งไม่ต้องพูดถึง คุณลุงบุญเสริมจึงเหมือนได้ค้นพบขุมทรัพย์ล้ำค่า โดยบังเอิญ โชคดีที่นายแพทย์ฝรั่งท่านนี้ชอบถ่ายรูป จึงสั่งนิตยสารเกี่ยวกับการถ่ายรูปจาก อเมริกามาเป็นประจำ ลุงบุญเสริมในวัยหนุ่มจึงได้ศึกษาวิธีการถ่ายภาพทั้งเทคนิคและมุมกล้อง จากหนังสือ แต่ก็เป็นการศึกษาอย่างงูๆ ปลาๆ เพราะหนังสือในมือเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นคนอื่นซึ่งไม่มีกล้องถ่ายรูปคงไม่คิดอยากศึกษาวิชาการถ่ายรูป แต่ลุงบุญเสริมกลับ ไม่คดิ อย่างนัน้ เขาจดสูตรน้ำยาล้างฟิลม์ และเทคนิคการถ่ายภาพไว้ โดยไม่รวู้ า่ จะได้ใช้มนั เมือ่ ไหร่ จนกระทั่งมีเหตุให้เขาต้องกลับมาช่วยพี่สาวทำธุรกิจขายปุ๋ยที่เชียงใหม่ เขาก็ได้เริ่มหยิบจับ กล้องถ่ายรูป เพราะพี่เขยของเขาเป็นหัวหน้าหน่วยควบคุมโรคมาลาเรียประจำภาคเหนือ เป็น คนที่สนใจการถ่ายรูป และมีกล้องถ่ายรูปไว้ใช้ถ่ายสำหรับทำงานวิจัย ลุงบุญเสริมชื่นชมเทคนิค การถ่ายภาพของพี่เขย และพยายามฝึกฝนเรื่อยมา เขาได้ถือกล้องติดตามพี่เขยไปถ่ายภาพ งานวิจัยตามที่ต่างๆ พอว่างก็นำกล้องออกไปตระเวนถ่ายรูป ถ่ายเสร็จก็เอามาล้างอัดในห้องมืด ซึ่งเขาทำขึ้นเองในร้านขายปุ๋ยของพี่สาว เวลานั้น แม้แต่ในวงการหนังสือพิมพ์ก็ยังไม่มีกล้องถ่ายรูปไว้ใช้ เมื่อเขาได้มีโอกาสรู้จักกับ กลุ่มนักหนังสือพิมพ์ จึงถูกชักชวนให้มาถ่ายภาพเป็นประจำ และมีโอกาสออกไปทำข่าวอยู่ หลายครั้ง ในที่สุดก็ได้กลายเป็นช่างภาพประจำอย่างเต็มตัวที่หนังสือพิมพ์ ‘คนเมือง’ และเขียน บทความลงหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ จนได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทสารคดีของมูลนิธิวิชาการ หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จากงานเขียนเรื่อง ‘ผีตองเหลือง’ ประจำปี ๒๕๐๕ นอกจากนี้ อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของเขาก็คือ การได้ถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีการเสด็จเยือนล้านนาของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งภาพยนตร์นี้หาชมไม่ได้อีกแล้ว แม้จะมีงานหลักเป็นการถ่ายภาพข่าว แต่สิ่งที่เขาโปรดปรานที่สุดคือ การถ่ายภาพทิวทัศน์ เนือ่ งจากยุคนัน้ ฟิลม์ มีราคาสูงมาก ก่อนถ่ายภาพแต่ละครัง้ ต้องคิดแล้วคิดอีก กว่าจะได้ถา่ ยภาพ ทิวทัศน์อย่างทีใ่ จอยากก็ตอ้ งรอให้ฟลิ ม์ เหลือ และในยุคนัน้ การถ่ายรูปส่วนใหญ่เป็นการถ่ายภาพ บุคคล การถ่ายรูปทิวทัศน์จงึ เป็นเรือ่ งแปลกในสายตาคนอืน่ บ่อยครัง้ ทีเ่ ขาถูกหาว่าบ้าทีถ่ า่ ยภาพ ถนนเปล่าๆ หรือปีนป่ายแทงก์นำ้ เพือ่ ให้ได้รปู เมืองมุมสูง ช่างภาพคนนีร้ วู้ า่ ในวันข้างหน้าสถานที่ เหล่านี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เขาจึงอยากบันทึกภาพเก็บไว้ และเก็บรักษาเป็นอย่างดี ด้านหลังรูปทุกใบก็มขี อ้ ความทีเ่ ขียนไว้วา่ ถ่ายทีไ่ หน เมือ่ ไหร่ อีกหลายสิบปีตอ่ มา รูปถ่ายเหล่านี้ ก็กลายเป็นสิ่งที่มีค่ามากต่อเมืองเชียงใหม่ หากตอนนี้เราเดินกลับไปยังสถานที่ในรูปอีกครั้ง ภาพที่เห็นล้วนต่างไป เหลือไว้เพียงแค่เค้าลางของอดีตจางๆ เท่านั้น ปัจจุบันคุณลุงบุญเสริมอาศัยอยู่ในบ้านไม้หลังเล็ก มีสตูดิโอล้างอัดภาพอยู่ภายในตัวบ้าน และมีภาพเก่าแก่ที่เก็บไว้มากมาย บางส่วนก็แบ่งไปเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ แม้จะวางมือจาก การถ่ายภาพไปแล้ว แต่ช่างภาพลายครามคนนี้ก็ยังรับอัดภาพเก่าแก่ที่หายากให้กับคนที่สนใจ และยังนำภาพของตัวเองไปแสดงตามที่ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เมื่อเปิดหนังสือรวมภาพถ่ายของลุงบุญเสริมช้าๆ ทีละหน้า แต่ละภาพได้เล่าเรื่องราว บางอย่างในอดีตให้เราฟัง ต้นไม้ที่ขึ้นเต็มสองฝากถนนนิมมานเหมินท์ หรือทุ่งนาโล่งกว้างที่มอง เห็นดอยสุเทพ แม่น้ำลำธารอันอุดมสมบูรณ์กับบ้านหลังเล็กๆ ที่อยู่ห่างกัน ผู้คนขี่จักรยานมา เล่นน้ำสงกรานต์ ชีวติ เหล่านัน้ เคยเกิดขึน้ จริงทีน่ ่ี พอมองไปรอบตัวตอนนี ้ ตึกรามบ้านช่องสูงใหญ่ หมอกควันยังไม่จางหาย แล้วภาพที่จะปรากฏในสมุดบันทึกอีก ๕๐ ปีข้างหน้ามันจะเป็น อย่างไรกันนะ หรือที่จริงภาพอนาคตมันปรากฏขึ้นรางๆ ในมือของเราอยู่แล้ว บรรยายภาพ ๑. สะพานนวรัตน์ (ขั๋วเหล็ก) พ.ศ. ๒๕๐๗ ก่อนจะรื้อแล้วสร้างใหม่เพื่อขยายให้กว้างขึ้นอย่างที่ เห็นในปัจจุบัน ๒. สี่แยกรินคำ ถนนห้วยแก้ว พ.ศ. ๒๕๑๐ เวลานั้นยังไม่มีถนนนิมมานเหมินท์ ๓. ถนนท่าแพ พ.ศ. ๒๔๙๕ เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ แม่ค้าจากตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไยต้อง มาขายของที่ถนนท่าแพ ๔. งานสงกรานต์เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๙๖ ณ สี่แยกพุทธสถาน อาคารไม้ขวามือเคยเป็นศาล ต่างประเทศ ปัจจุบันถูกรื้อออกสร้างเป็นสวนสาธารณะข้างจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ๕. ขบวนแห่พระเสตังคมณี (พระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระยามังราย) มาประดิษฐานที่ วัดอุปคุตพม่า เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำในวันสงกรานต์ พ.ศ. ๒๔๙๖

๕ ๗


เก๊า

เมือง เชียง ใหม่


เชียงใหม่มีเสน่ห์แบบที่ใครมาพบเห็นก็อดใจไม่รักไม่ได้ หลายคนชอบเชียงใหม่ที่เป็นเมืองเจริญ แต่ยังอยู่ในวงล้อมของเทือกเขาธรรมชาติ หลายเสียงร่ำลือถึงสาวเชียงใหม่ว่า น่ารักแบบซื่อใส มีแบบอย่างเฉพาะตัว แต่ไม่ตกยุค ยังมีอีกหลายความเห็นพูดถึงเสน่ห์ของเชียงใหม่จากความประทับใจเหมือนรักแรกพบ อาการตกหลุมรักมักเกิดกับผู้เดินทางมาเยี่ยมเยือน แล้วอาการรักซึมลึกของชาวเชียงใหม่เกิดจากไหน เชียงใหม่เป็นเมืองเก่า มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเป็นของสะสมผ่านกาลเวลา เรามีพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและไม้หมายเมือง บอกเล่าเรื่องราวทางพื้นที่มายาวนาน กาดต้นพะยอมเคยเป็นป่าพะยอมมาก่อน กาดสันป่าข่อยก็เป็นบ้านเก่าของต้นข่อย เชียงใหม่มีถนนหนทางที่มองตรงไปข้างหน้าแล้วพบภาพทิวดอยที่โอบล้อม บนทางสัญจรมีทั้งรถใหญ่ รถเล็ก รถสี่ล้อ สามล้อ และสองล้อ วิ่งอยู่บนเส้นทางเดียวกัน แม้จะมีน้อยคนนักที่สนใจ แต่จักรยานหรือล้อถีบมีเส้นทางของตัวเองในเมืองเชียงใหม่ สิ่งน้อยๆ เรื่องราวเล็กๆ เหล่านี้ ล้วนประกอบกันขึ้นเป็น ‘เชียงใหม่’ เชียงใหม่เดินทางผ่านกาลเวลามาร่วม ๗๐๐ ปี และเมืองเชียงใหม่ในวันนี้ต่างจากวันวาน เมื่อพื้นที่สีเขียวน้อยลง มือของชาวเชียงใหม่แต่ละคนจะเป็นผู้ปลูกต้นรักต่อบ้านของเราเอง เมื่อบนถนนมีจำนวนรถยนต์มากเกินไป เท้าของเราจะช่วยกันถีบสองล้อเพื่อลดปัญหาควันพิษ เมื่อบ้านเรากำลังเติบโต ชาวเชียงใหม่จะเป็นผู้กำหนดผังเมือง และทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ เหมาะสม ถ้าความรักต่อบ้านเมืองของชาวเชียงใหม่ยังซึมลึกอยู่ในหัวใจไม่เปลี่ยนแปลง ถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมกันลงมือสร้างเมืองเชียงใหม่ที่น่าอยู่ที่สุดในโลก


สายสัมพันธ์ระหว่างคนกับต้นไม้ เรื่อง: ชลธิชาสขุนทอง ภาพ: ตรีทิพย์ สุขโข

ต้นไม้เป็นพืช แต่ไม่ได้มคี ณ ุ ค่าและความหมายกับมนุษย์เราเพียงแค่หน้าทีข่ อง พืช ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และต้นไม้ลึกซึ้งและซับซ้อนกว่ามิติทางกายภาพ แต่หยั่งรากลงลึกไปถึงมิติทางจิตวิญญาณ ดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมมากมายใน เชียงใหม่ที่เชื่อมมนุษย์กับต้นไม้เข้าไว้ด้วยกัน อย่างเช่น

เสื อ ้ เมื อ ง เชียงใหม่เป็นเมืองเก่า มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า ๗๐๐ ปี เมื่อแรกตั้ง

อาณาจักรล้านนา พญามังราย พญางามเมือง และพญาร่วง กษัตริย์สามสหายได้ ร่วมกันออกสำรวจหาชัยภูมใิ นการตัง้ ราชมณเฑียร และได้พบกับศุภนิมติ ทีเ่ ป็นมงคล คือ มีหนูเผือกตัวใหญ่เท่าดุมเกวียนพร้อมด้วยบริวาร ๔ ตัววิง่ ตามกันจากชัยภูมนิ น้ั ไปทางทิศตะวันออก วกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ แล้ววิง่ ลงรูใต้ตน้ นิโครธ หรือต้นไทร เมื่อได้เห็นอัจฉริยะนิมิตดังนั้น สามกษัตริย์จึงนำเครื่องสักการะ อันประกอบด้วย ข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชาต้นไม้นน้ั แล้วล้อมรักษาไว้ ต่อมาต้นนิโครธต้นนัน้ ได้กลายมาเป็นไม้เสื้อเมืองหรือศรีเมือง คอยปกปักรักษาคุ้มครองเชียงใหม่ให้อยู่ สุขร่มเย็นสืบมา

เดเปาะ ในวิถีของชาวปกาเกอญอ ต้นไม้ผูกพันกับพวกเขาตั้งแต่เกิดจนตาย ตาม

ประเพณีของปกาเกอญอ เมื่อมีเด็กแรกเกิด ผู้ทำคลอดหรือแม่หมอจะใช้มีดปาด ผิวไม้ไผ่ในครัวมาตัดสายสะดือของทารก แล้วนำไปเก็บไว้ในกระบอกไม้ไผ่ ถ้าเด็ก เกิดกลางคืนจะนำไปแขวนไว้ที่หน้าเตาไฟก่อน รอจนแสงแรกของวันใหม่มาถึง จึงนำไปผูกติดไว้บนต้นไม้ใหญ่ เช่น มะม่วงป่า ไม้ก่อ หรือไม้อื่นๆ ยกเว้นต้นไทร หากทารกเกิดหลังเช้าตรู่ไปแล้วจะรอจนถึงเช้าตรู่ของอีกวัน ในวันที่นำสายสะดือ ใส่กระบอกไม้ไผ่ไปติดไว้บนต้นไม้ ทุกคนในหมู่บ้านต้องหยุดการทำงานในไร่นา ต้นไม้ที่เก็บสายสะดือของทารกเปรียบดั่งที่เก็บ ‘ขวัญ’ ของทารก จึงห้ามมิให้ใคร ไปตัด ฟัน หรือโค่น ผูใ้ ดฝ่าฟืนต้องถูกปรับเป็นไก่ ๑ ตัว และสุรา ๑ ขวด ต้นไม้ ๑ ต้น เมือ่ ทารกคนนัน้ เติบใหญ่ขน้ึ มา เขาก็ตอ้ งดูแลรักษาต้นไม้ตน้ นัน้ หากมีคน ๑๐๐ คน ก็จะมีต้นไม้ที่ได้รับการดูแลรักษา ๑๐๐ ต้น พิธีกรรมนี้ช่างเป็นภูมิปัญญาที่แยบยล ของการสร้างสมดุลระหว่างคนกับป่าให้อยูร่ ว่ มกันอย่างยัง่ ยืน เหมือนทีช่ าวปกาเกอญอ เชื่อว่า เมื่อคนรักษาป่า ป่าก็จะรักษาคนเช่นกัน

บวชป่ า การบวชป่าเป็นพิธกี รรมทีเ่ พิง่ เกิดมาได้ไม่นาน โดยกลุม่ พระสงฆ์ทางภาคเหนือ

ได้นำความเชื่อทางพุทธศาสนามาเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ป่าไม้ การบวชถือเป็น พิธีศักดิ์สิทธิ์ตามคติทางพุทธศาสนา ป่าที่ผ่านการบวชจึงถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ การบวชป่าเกิดขึ้นครั้งแรกที่ป่าต้นน้ำแม่ใจ จังหวัดพะเยา แล้วจึงพัฒนาแพร่หลาย สู่พื้นที่อื่นๆ เช่น เชียงใหม่ น่าน ในการประกอบพิธีต้องมีเครื่องสังเวยเจ้าป่าเจ้าเขา ประกอบด้วย ข้าวเหนียวสุก ๑ ปั้น กล้วยสุก ๑ ลูก และหมาก ๑ คำ เครื่องบวช มีทั้งผ้าเหลือง ด้ายสายสิญจน์ บาตรน้ำมนต์ และส้มป่อย รวมถึงศาลเพียงตา สำหรับรุกขเทวดาผูเ้ ฝ้าต้นไม้ การทำพิธจี ะเริม่ จากโยงสายสิญจน์ไปตามต้นไม้ตา่ งๆ แล้วเชิญเทวดาอารักษ์ เจ้าป่าเจ้าเขา มาให้รับรู้และบอกผีช่วยกันรักษา หากผู้ใด มาตัดหรือทำลายให้มีอันเป็นไป จากนั้นก็ไหว้พระแม่ธรณี แล้วเชิญพระสงฆ์มา ทำพิธีบวชต้นไม้โดยใช้จีวรห่มและประพรมต้นไม้ด้วยน้ำส้มป่อย การบวชป่ามิใช่ เป็นเพียงการนำผ้าเหลืองห่มต้นไม้เท่านั้น แต่เป็นการสร้างสัญลักษณ์ ความผูกพัน ระหว่างคนกับต้นไม้ เมื่อผู้ใดคิดจะตัดไม้แล้วเห็นผ้าเหลืองก็จะได้หยุดความตั้งใจ นั้นเสีย การนำมิติเชิงจิตวิญญาณมาผูกกับป่าและต้นไม้เป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ดั้งเดิม ของบรรพบุรษุ ทีเ่ ข้าใจในกฎแห่งความสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ การทำให้ มนุษย์เกรงกลัวต่อสิง่ ทีม่ อิ าจพิสจู น์ได้ แม้จะดูเป็นเรือ่ งงมงาย ไร้สาระ ไม่นา่ เชือ่ ถือ สำหรับมนุษย์ในยุคไอพอดครองเมือง แต่ภูมิปัญญาเหล่านี้ได้ช่วยปกปักรักษาให้ หมู่ไม้ได้อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าทางจิตวิญญาณจะ ช่วยสร้างสานให้สังคมอยู่ได้อย่างเป็นสุขและร่มเย็น ๑๐ 10


ไม้หมายเมือง เล่าเรื่องครั้งเก่า เรื่อง: ชลธิชา ขุนทอง ภาพ: ตรีทิพย์ สุขโข

เคยสังเกตไหมว่า ชื่อสถานที่ต่างๆ ในเมืองเชียงใหม่ ทำไมถึงมีชื่อ ของต้นไม้เข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นเป็นเพราะคนโบราณมักตั้งชื่อบ้านนามเมืองหรือสถานที่ต่างๆ ตามบริบททางสิ่งแวดล้อมของย่านนั้นๆ ที่ใดมีพันธุ์ไม้ชนิดไหนมากก็มัก จะนำชื่อพันธุ์ไม้นั้นมาตั้งเป็นชื่อสถานที่แห่งนั้น ชื่อสถานที่เหล่านี้จึง บอกเล่าถึงความผูกพันระหว่างมนุษย์กับต้นไม้ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน และ ยิ่งไปกว่านั้น มันยังเป็นหลักฐานยืนยันว่า ครั้งหนึ่งเมืองเชียงใหม่เคย อุดมไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ชือ่ พันธุไ์ ม้ทอ่ี ยูใ่ นชือ่ ของสถานทีจ่ งึ ทำหน้าทีบ่ นั ทึกความทรงจำและ ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่เอาไว้ด้วย อย่างที่เราเรียกขานกันว่า ‘ไม้หมายเมือง’ หมายถึง ต้นไม้ที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละ ท้องถิ่น ช่วยบอกเล่าอัตลักษณ์ ตัวตน วิถีชีวิต จิตวิญญาณ ของคน ในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งเราอาจหลงลืมไปแล้ว ตัวอย่างของไม้หมายเมืองใน เชียงใหม่มีดังนี้ ทิศเหนือ วัดป่าเป้า มีที่มาจาก ต้นเป้าใหญ่ เป็นไม้พุ่มกึ่งยืนต้นขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองแกมขาว ผลทรงกลมหรือรีมี ๓ พู ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ชุมชนป่าแพ่ง มีที่มาจาก ต้นแพ่ง หรือ สะแกนา ซึ่งพบได้ตาม ป่าละเมาะ ริมลำธารชายป่า ทิศตะวันออก ชุมชนสันป่าข่อย ที่มาจาก ต้นข่อย พบตามพื้นที่ราบและป่าเบญจ- พรรณ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตำบลสันผักหวาน มีที่มาจาก ต้นผักหวานป่า ทิศใต้ วัดต้นปิน (มะตูม) มีที่มาจาก ต้นมะตูม ที่แถวนั้นมีเป็นจำนวนมาก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ สวนบวกหาด เพี้ยนมาจาก ปวกหาด (ชื่อพื้นเมืองของต้นมะหาด) ทิศตะวันตก กาดพะยอม มีที่มาจาก ต้นพะยอม หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า ขยอม ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ในครั้งอดีตพ่ออุ้ยแม่อุ้ยนำ ข้าวของพื้นเมืองที่หาได้มาวางขายบริเวณใต้ต้นพะยอมเหล่านี้จนกลาย มาเป็นชื่อที่เรียกจนติดปากว่า กาดต้นพะยอม ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ชุมชนห้วยแก้ว มีที่มาจาก ต้นแก้ว การร่วมกันอนุรักษ์ไม้หมายเมืองจึงมิใช่เป็นเพียงการรักษาสมดุล ของธรรมชาติ แต่ยังเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของไม้ประจำถิ่นที่แสดงถึง รากเหง้า จิตวิญญาณ ความผูกพัน และวัฒนธรรมอันดีงามของเชียงใหม่ หากไร้ซึ่งรากฐานทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณเสียแล้ว การพัฒนาที่ ก้าวหน้าก็หาได้มีความหมายแต่อย่างใด

๑๑ 11


ต้นไม้ใหญ่ในเชียงใหม่ เรื่อง: สรณ์ แอบเงิน ภาพ: อุกฤษฏ์ จียะพันธ์

เชียงใหม่มตี น้ ไม้ใหญ่อยูม่ ากมาย บางคนมองว่า ต้นไม้เหล่านีค้ อื อุปสรรคทีข่ ดั ขวางการพัฒนา ไม่วา่ จะเป็น การขยายถนน หรือการพัฒนาทีด่ นิ ให้เป็นอาคาร ยิง่ ต้นไม้ใหญ่แค่ไหน ก็ยง่ิ เป็น อุปสรรคใหญ่เท่านัน้ แต่เราอาจลืมมองไปว่า ต้นไม้ใหญ่เหล่านีค้ อื สินทรัพย์ คือมรดกอันมีคา่ ที่ ผ่านการบ่มเพาะของกาลเวลามาอย่างยาวนาน ยังไม่ตอ้ งพูดถึงคุณค่าในเชิงจิตใจ ต้นไม้คอื ตัวบ่งชีถ้ งึ สภาพแวดล้อมทีด่ ซี ง่ึ เอือ้ ต่อการอยูอ่ าศัย ปริมาณต้นไม้ในเมืองจึงมีคา่ เท่ากับระดับคุณภาพชีวติ ของ ประชากร หน้าทีห่ ลักของต้นไม้ในเมืองคือช่วยลดปรากฏการณ์ ‘เกาะความร้อน’ ในเมือง หรือการทีพ่ น้ื ทีใ่ นเขตเมืองร้อนกว่าพืน้ ทีโ่ ดยรอบเนือ่ งจากคอนกรีต ถนน และอาคารดูดความร้อนเข้ามาสะสมไว้มากกว่าสะท้อนกลับ เมืองทีม่ ตี น้ ไม้ใหญ่ เยอะ จึงเย็นและชุม่ ชืน้ กว่าเมืองทีม่ แี ต่ปา่ คอนกรีต นอกจากนี ้ ต้นไม้ยงั ช่วยดูดซับอากาศพิษและฝุน่ ละอองขนาดเล็ก เนือ่ งจาก ทีต่ ง้ั ของเมืองเชียงใหม่มลี กั ษณะเป็นแอ่ง อากาศเสียจึงถ่ายเทได้ไม่สะดวกเหมือน เมืองทีอ่ ยูบ่ นพืน้ ทีเ่ ปิดโล่ง ต้นไม้ใหญ่จงึ เป็นเหมือนเครือ่ งฟอกอากาศทีช่ ว่ ยทำให้ อากาศของเมืองดีขน้ึ อีกทัง้ ยังให้รม่ เงาแก่เมือง สีสนั ของลำต้น ใบไม้ และดอก

1

มักตัดกับสีของคอนกรีตทีด่ แู ข็งกระด้าง ทำให้เมืองดูมชี วี ติ ชีวาและมีทศั นียภาพ ดีขึ้น ช่วยบรรเทาความเครียดของชาวเมืองลงได้ ด้วยความที่เชียงใหม่มีอายุกว่า ๗๑๐ ปี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็น ต้นไม้ใหญ่อายุเกินกว่า ๑๐๐ ปี เมือ่ ผ่านเวลามาเนิน่ นานจึงเต็มไปด้วยเรือ่ งราว ต้นไม้รนุ่ ปูย่ า่ ตายายเหล่านีจ้ งึ มักมีผา้ แพรหลากสีผกู อยูด่ ว้ ยความเคารพ บ้างก็เป็น ทีต่ ง้ั ของศาล เช่น ต้นแหน (สมอพิเภก) ในโรงเรียนยุพราช ต้นสะหลี (โพธิ)์ แถบ ชุมชนชมพูชา้ งม่อย แม้วา่ สิง่ เหล่านีจ้ ะเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับความเชือ่ แต่กแ็ สดงให้เรา เห็นว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ท่ามกลางความเจริญบางกลุ่มยังรักและหวงแหนต้นไม้ ซึง่ ถือเป็นสมบัตลิ ำ้ ค่าของเมืองอยู ่ ถึงอย่างนัน้ ต้นไม้ใหญ่เหล่านีก้ ก็ ำลังลดจำนวนลงเรือ่ ยๆ จนชาวเชียงใหม่ จากหลายภาคส่วนต้องออกมาทำโครงการอนุรกั ษ์ตน้ ไม้ใหญ่ในเขตเทศบาลนคร เชียงใหม่ ไม่วา่ จะเป็นการทำแผนทีต่ น้ ไม้ใหญ่ไปจนถึงการประกวดต้นไม้ใหญ่ใน พืน้ ทีต่ า่ งๆ ชุมชนทีม่ ตี น้ ไม้สงู อายุกห็ นั กลับมาเห็นค่า อยากรักษา และอยากศึกษา ประวัตขิ องต้นไม้แต่ละต้น ว่าในระยะเวลาหลายสิบหลายร้อยปีทผ่ี า่ นมา ต้นไม้ เหล่านี้มีความผูกพันกับชาวชุมชนยังไง และหวังว่าต้นไม้อาวุโสจะอยู่กับชุมชน ของพวกเขาไปอีกหลายสิบหลายร้อยปี


ต้นไม้ในวัด เรื่อง: สรณ์ แอบเงิน ภาพ: ตรีทิพย์ สุขโข

พื้นที่สีเขียวของเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ส่วนใหญ่อยู่ในวัด ในขณะที่ความเจริญรุกคืบเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ ต้นไม้จำนวนไม่น้อย ต้องหลีกทางแบบถอนรากถอนโคนให้กบั การพัฒนา แต่สง่ิ นีไ้ ม่มที างเกิดขึน้ กับต้นไม้ทอ่ี ยูใ่ นเขตวัด ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ วัดเป็นพืน้ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิข์ องเมือง และเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกป้องดูแลต้นไม้เหล่านี้อยู่ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ ภายในวัดจึงไม่ถกู รุกราน ตรงกันข้าม มันได้รบั การดูแลอย่างดี เช่น ต้นโพธิ์ ซึง่ เชือ่ ว่าเป็นทีป่ ระทับของพระพุทธเจ้าก่อนทีจ่ ะตรัสรู ้ นอกจากจะไม่มใี คร กล้าตัดแล้ว ต้นโพธิใ์ นหลายวัดยังมีไม้งา่ มท่อนใหญ่ซง่ึ ชาวล้านนาเรียกว่า ‘ไม้ก้ำ (ค้ำ)’ ค้ำจุนอยู่ เสมือนว่าเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับต้นโพธิ์ โดยนัยของการค้ำต้นโพธิ์คือเพื่อค้ำจุนพระพุทธศาสนา และเป็นการ แสดงออกของชุมชนที่รักและหวงแหนต้นไม้ใหญ่ เห็นได้จากจำนวนของ ไม้ที่ค้ำต้นโพธิ์อายุกว่า ๒๐๐ ปีในวัดหมื่นสาร ต้นไม้ใหญ่หลายชนิดก็ยังให้ความสวยงามกับวัด เช่น ต้นลั่นทม อายุกว่า ๘๐ ปีในวัดเชียงมั่น คนในชุมชนวัดเชียงมั่นเล่าว่า ทุกเย็นจะมี คุณตาแก่ๆ มารดน้ำ พรวนดิน ใส่ปยุ๋ ต้นไม้ตน้ นีอ้ ย่างมีความสุข เป็นไปได้ ว่าคุณตาอาจมีความทรงจำที่ดีกับต้นลั่นทมต้นนี้เลยมาดูแลต้นไม้ทุกวัน ต้นไม้ในวัดจึงไม่ได้เป็นแค่เพียงพื้นที่สีเขียวของชาวเชียงใหม่เท่านั้น แต่ ยังเป็นความทรงจำดีๆ ในอดีตของใครอีกหลายคน ต้นไม้ใหญ่ในวัดแต่ละต้นย่อมมีประวัตศิ าสตร์และเรือ่ งราวของมันเอง ซึง่ เกีย่ วพันกับคนในท้องถิน่ อย่างเหนียวแน่น เพราะว่าต้นไม้เหล่านัน้ อยู่คู่ กับชุมชนมาเป็นเวลาช้านาน บางต้นก็กลายเป็นเอกลักษณ์ของวัดซึ่งเป็น ศูนย์รวมของชุมชนด้วย เช่น ต้นยางนาสูงเด่นในวัดเจดียห์ ลวงทีอ่ ยูเ่ คียงข้าง องค์เจดีย์ เป็นต้นไม้คู่เมืองเชียงใหม่มาเป็นเวลาช้านาน หรือต้นมะขาม ในวัดหมื่นสาร ที่ทำให้ชาวบ้านนึกถึงเรื่องราวครั้งทหารญี่ปุ่นมาตั้งค่าย ในวัดสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถือได้ว่าต้นไม้ในวัดเป็นตัวแทนด้าน จิตวิญญาณของคนในชุมชน เพราะเป็นเหมือนสมุดที่บันทึกเรื่องราวของ ชุมชนเอาไว้ วัดจึงถูกผลักดันให้เป็นพืน้ ทีส่ เี ขียวหลักในเขตเทศบาล นอกเหนือจาก สวนสาธารณะ วัดกว่า ๘๐ แห่งในเขตเทศบาลจึงเปรียบเสมือนปอดของ เมือง และแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ รวมถึงพันธุ์ไม้หากยากเก่าแก่ การเข้าวัดแต่ละครั้งเราจึงได้เรียนรู้ทั้งธรรมะและธรรมชาติ ซึ่งทั้งคู่ก็ คือเรื่องเดียวกันนั่นเอง

1


ต้นไม้ในสวนสาธารณะ เรื่อง: บดินทร์ เทพรัตน์ ภาพ: ตรีทิพย์ สุขโข

ในยามที่เราโหยหาพื้นที่สีเขียวในเมือง ไม่ว่าจะเป็นเมืองไหน ที่แรกที่เรานึกถึงมักจะเป็นสวนสาธารณะ สวนสาธารณะเป็นทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นที่จัด กิจกรรมของคนในเมือง ช่วยปรับสภาพอากาศและทัศนียภาพ ของเมือง รวมถึงเป็นตัวชี้ถึงคุณภาพของเมือง แน่นอนว่า ตัวชี้วัด ในการพิจารณาเมืองน่าอยูไ่ ม่ได้วดั เพียงเมืองนัน้ เจริญแค่ไหน หรือ มีแหล่งช้อปปิง้ เพียงพอหรือเปล่า แต่ยงั ดูวา่ เมืองนัน้ มีสวนสาธารณะ พอไหม มีต้นไม้ในเมืองแค่ไหน ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่มีสวนสาธารณะอยู่หลายแห่ง ไม่ว่า จะเป็นสวนบวกหาด สวนหลวง ร.๙ สวนเจ็ดริน สวนสุขภาพ สวนสาธารณะรถไฟ สวนหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และสวนสาธารณะเล็กๆ อีกมากมาย รวมถึงสวนราชพฤกษ์เฉลิมพระเกียรติ แม้จะไม่ได้เป็นพืน้ ทีส่ าธารณะทัง้ หมด แต่กถ็ อื ว่าเป็นสถานทีท่ ส่ี ร้าง ความร่มรื่นและผ่อนคลายได้ไม่แพ้กัน การสร้างสวนสาธารณะนัน้ ใช้งบประมาณสูง และมีความเสีย่ ง ทีส่ วนนัน้ จะล้มเหลว (ไม่มผี ใู้ ช้ ต้นไม้ตาย บ่อน้ำเน่าเสีย และอืน่ ๆ) อยู่มาก ดังที่พบเห็นกันทั่วประเทศ การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่อง สำคัญมาก เพราะไม่ใช่แค่หยิบต้นไม้มาปลูกแล้วจบ แต่ยังต้อง คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น ประชาชนต้องเข้าถึงง่าย ต้อง สวยงามร่มรืน่ น่าเข้า ปลอดภัย ต้นไม้ทเ่ี ลือกมาปลูกก็ตอ้ งเหมาะสม หลักการคือ ควรเลือกไม้พน้ื เมือง เพราะเหมาะสมกับสภาพอากาศ ภูมิประเทศ ราคาไม่แพง และยังแสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น นั้นๆ ด้วย นอกจากนี้ การออกแบบสวนสาธารณะก็ยังต้องใช้ศิลปะใน การจัดวางต้นไม้หลายพันธุ์ให้อยู่ในที่เดียวกันได้อย่างสวยงาม ต้องใช้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาต้นไม้ ทั้งเรื่องแสงแดด การรดน้ำ การใช้ปุ๋ย สิ่งเหล่านี้ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ หลายสาขาวิชาชีพ ทัง้ นักจัดสวน นักวิชาการด้านต้นไม้ ภูมสิ ถาปนิก บวกกับการสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องเงินทุนและบุคลากร และ การสนับสนุนจากประชาชนในการช่วยผลักดันภาครัฐและช่วย ตรวจสอบอีกแรง ขณะนี้สวนในเชียงใหม่หลายแห่งจะมีปัญหาที่ต้องจัดการ เช่น แสงไฟน้อยเกินไปในเวลากลางคืน หรือทัศนียภาพทีไ่ ม่สวยงาม จนผู้คนไม่นิยมใช้ ซึ่งก็ต้องแก้ไขกันต่อไป และเร็วๆ นี้เราจะได้ เห็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่สร้างบนพื้นที่ของทัณฑสถานหญิง เชียงใหม่เดิม สวนนีจ้ ะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคตคงขึน้ อยูก่ บั การ บริหารจัดการจากภาครัฐและประชาชน ข้อมูล ภาคีคนรักเชียงใหม่ นิตยสาร Compass กุมภาพันธ์ ๒๐๐๙ บทความ Urban Park www.wikipedia.com

1


ต้นไม้ในบ้าน เรื่อง: บดินทร์ เทพรัตน์ ภาพ: ตรีทิพย์ สุขโข

ความสัมพันธ์ขั้นแรกของคนกับต้นไม้ น่าจะเกิดขึ้นที่บ้าน ต้นไม้กับบ้านมีความสัมพันธ์กันมานาน เมื่อก่อนบ้านแทบทุกหลังมี ต้นไม้ใหญ่เติบโตให้รม่ เงาอยูเ่ คียงข้างเสมอ แต่พอวันเวลาเปลีย่ นไป ประชากร เพิ่มขึ้น ที่ดินมีราคาสูงขึ้น ลักษณะบ้านของคนยุคปัจจุบันกลายเป็นตึกแถว หรือบ้านจัดสรรซึ่งมีพื้นที่เล็กลงกว่าเดิม การเจียดเนื้อที่บางส่วนไปใช้ปลูก ต้นไม้จึงดูเหมือนใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่า มีสภุ าษิตจีนบทหนึง่ กล่าวไว้วา่ “เวลาทีด่ ที ส่ี ดุ ของการปลูกต้นไม้คอื เมือ่ ๒๐ ปีก่อน เวลาที่ดีรองลงมาคือเดี๋ยวนี้” แม้จะไม่มีปาฏิหาริย์ให้ย้อนเวลา กลับไปได้ แต่อย่างน้อยเริ่มต้นตอนนี้ก็ถือว่าไม่สายสำหรับการปลูกต้นไม้ สักต้น ประเทศที่ดีต้องเริ่มจากที่บ้านฉันใด ประเทศที่ร่มรื่นก็ต้องเริ่มจากการ ปลูกต้นไม้ที่บ้านฉันนั้น แม้บ้านหรือคอนโดฯ ของบางท่านจะแคบเท่าแมว ดิน้ ตายแต่กใ็ ช่วา่ จะปลูกต้นไม้ไม่ได้ เพราะปัจจุบนั นีก้ ารปลูกต้นไม้หรือทำสวน บนดาดฟ้าอาคารสูงเริม่ เป็นทีน่ ยิ ม จนมีหลายหน่วยงานได้ทำการจัดฝึกอบรม เรื่องนี้กันอย่างมากมาย ต้นไม้ในบ้านมีความสัมพันธ์ต่อตัวบ้านและผู้อยู่อาศัยมากมาย ทั้งให้ ความร่มรื่น เย็นสบาย ช่วยสร้างระบบนิเวศที่ดีต่อบริเวณบ้าน อีกทั้งไม้หอม บางชนิดยังช่วยสร้างกลิ่นหอมในบริเวณบ้านอีกด้วย ถ้าต้นไม้ที่เราปลูกเป็น กลุ่มผลไม้และผักสวนครัว เช่น กล้วย พริก ผักกาด มะละกอ ยังมีประโยชน์ ในการใช้เป็นอาหาร ทั้งประหยัดและปลอดสารพิษ ส่วนพวกไม้ประดับ เช่น เฟื่องฟ้า ดอกเข็ม ยังมีประโยชน์ในแง่ช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับบริเวณ บ้าน ส่วนพืชสมุนไพรบางชนิด สามารถนำมาใช้เป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือยาที่ใช้ปฐมพยาบาล เช่น ว่านหางจระเข้ นำมาใช้ในการบรรเทาอาการ จากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ ต้นไม้ในบ้านยังมีประโยชน์ทางด้านจิตวิญญาณ นั่นคือ ต้นไม้ถูก ตีความหมายโดยผูช้ มในเชิงสัญลักษณ์ในด้านความร่มรืน่ สบายตา แก้เครียด มองแล้วรู้สึกสบายใจ ดังนั้นการมีต้นไม้ในบ้านยังช่วยให้คนในบ้านรู้สึก ผ่อนคลายจากช่วงเวลาที่เครียด ทำงานหนัก หรือเหนื่อยล้าได้ ทางด้านสถาปัตยกรรม ต้นไม้เป็นส่วนประกอบทีส่ ำคัญของหลักภูมสิ ถา- ปัตยกรรม นั่นคือ ในการออกแบบบ้านแต่ละหลัง ถ้ามีพื้นที่พอ ผู้ออกแบบ บ้านมักจะจัดพืน้ ทีบ่ างส่วนไว้เป็นสวนหรือพืน้ ทีส่ ำหรับปลูกต้นไม้ ไม่วา่ จะเป็น สวนหน้าบ้าน เพือ่ ก่อให้เกิดความสวยงามทางทัศนียภาพ เพราะถ้ามีแต่บา้ น ไม่มีต้นไม้ ย่อมส่งผลให้เกิดความรู้สึกแห้งแล้ง ไร้ชีวิตได้ นอกจากนี้ คนไทยยังมีความเชื่อในเรื่องโชคลางมาช้านาน จึงมีการนำ ไม้มงคลมาปลูกในบ้าน การเลือกต้นไม้ อาจจะดูจากฮวงจุ้ย หรือวันเกิดของ เจ้าของบ้านก็ได้ เช่น การปลูกโป๊ยเซียนถือเป็นการเพิ่มโชคลาภ การปลูก มะยมในบ้านทำให้คนนิยม การปลูกมะขามทำให้คนอื่นเกรงขาม เป็นต้น และมีการห้ามปลูกต้นไม้บางชนิดไว้ในบ้าน เพราะถือว่าจะนำโชคร้ายมาให้ เช่น ลั่นทม ระกำ (ซึ่งจะสังเกตว่า การจะดูว่าต้นไหนมาดีหรือมาร้าย เรามัก จะตัดสินจากชื่อ) ถ้าเรามองเผินๆ อาจจะมองว่า เป็นความเชื่อที่หาข้อพิสจู น์ ไม่ได้ แต่ถ้ามองลึกลงไป จะพบว่าความเชื่อบางอย่างแฝงไว้ด้วยเหตุผล เช่น ห้ามปลูกต้นโพธิใ์ นบ้าน เพราะเป็นต้นไม้ประจำวัด ความจริงยังมีอกี สาเหตุหนึง่ คือ ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ใหญ่ รากใหญ่ ปลูกในบ้านอาจส่งผลต่อโครงสร้างของ บ้านได้ เป็นต้น จะเห็นว่าบ้านกับต้นไม้มีความสัมพันธ์อันดีติดต่อกันมานาน ใครที่ เหลียวมองรอบกาย ไม่พบต้นไม้สักต้นในบ้านก็อย่ารอช้า หาไม้ที่เหมาะสม กับตัวเราเองและบ้านของเรามาปลูก เพราะบ้านที่ขาดต้นไม้ไม่ต่างกับคนที่ ขาดความรัก นั่นคือ ยังคงดำเนินต่อไปได้ เพียงแต่ขาดความชุ่มชื้นข้างใน เท่านั้นเอง ข้อมูล นิตยสาร a day ฉบับที่ ๙๐, กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ฮิมิโตะ ณ เกียวโต, จักรวาลในสวนดอกไม้, แพรวสำนักพิมพ์, กันยายน ๒๕๕๒ www.wikipedia.com 1


พื้นที่ (สวน) ส่วนตัว เรื่อง: ขจรภพ โตบุญช่วง, ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ ภาพ: ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ

ใครอยากมีสวน ล้อมวงตรงเข้ามา มีสวนที่ว่าอาจไม่หรู เลือกดูกัน ไม่ใช่สวนที่ไหนไกล ไม่ต้องกลัวจะฝันกัน ขายถูกๆ เท่านั้น ไม่เอาแพงเลย มีเงินมากเงินน้อย ไม่เห็นเป็นไร เราคัดไปให้ จัดไว้ของดีเลย เพียงใครอยากมีสวนใคร ...ไป ไปทำให้สวยเลย อ่านไม่จบอย่าเฉย มาเอาไปใหม่ ไป ไปทำให้เห็นจริง สวนไม่เสร็จอย่าทิ้ง ไว้ตามริมทาง… … ใครอยากเปลี่ยนพื้นที่ส่วนตัวให้เป็นพื้นที่สีเขียว แต่ไม่รู้จะทำยังไง เรามีสวน ในรูปแบบต่างๆ มาให้ดูเป็นตัวอย่าง สามารถนำไปประยุกต์ให้เหมาะกับพื้นที่เล็ก หรือใหญ่ได้ดั่งใจ มาดูกันสิว่า เราจะเติมความสุขสดชื่นและความร่มรื่นให้กับชีวิต ท่ามกลางเมืองอันแสนวุ่นวายได้อย่างไรบ้าง

สวนนอกบ้าน (Outdoor Garden) ก่อนก้าวเข้ารั้วบ้าน มีต้นไม้ยืนยิ้มทักทายหน้าบ้าน ความสุขง่ายๆ ก็มาเยือนแล้ว

16


สวนหน้ า บ้ า น (Front Garden) มุมสวนที่ปะทะสายตาอันดับต่อมาก็คือ สวนหน้าบ้าน ซึ่งเป็น มุมที่สะท้อนความเป็นอยู่ของเจ้าของบ้านได้ดี จึงควรเป็นสวนที่ให้ ความรูส้ กึ สวยงาม เข้ากับตัวบ้าน และไม่ควรรกครึม้ จนบดบังความงาม ของบ้านไปเสียหมด หน้าบ้านจำเป็นต้องแบ่งพื้นที่ใช้งานให้ชัดเจน อาจเป็นทางเดิน โรงรถ กับพื้นที่สวน ปลูกไม้ริมรั้ว โดยใช้ไม้ใบที่มีรูปทรงสวยงาม พร้อมทั้งปลูกไม้พุ่มดอกสีสวยสดและปลูกหญ้า เพิ่มความเคลื่อนไหว ในมุมสวนด้วยน้ำพุหรือโอ่งน้ำล้นก็ได้ เลือกใช้ต้นไม้ช่วยลดทอนความแข็งของตัววัสดุ โดยออกแบบ ระแนงปลูกไม้เลือ้ ย เกิดเส้นทีอ่ อ่ นช้อยของใบไม้และดอกไม้ พืน้ โรยด้วย กรวดทำให้สวนดูสว่างตาและเปิดโล่งไว้เหมาะแก่การปลูกไม้ดอกมากขึน้

สวนแนวแคบข้างบ้าน (Narrow Garden) อย่าปล่อยพืน้ ทีแ่ คบข้างบ้านให้เปล่าประโยชน์ มาสร้างมุมพักผ่อน

ในพื้นที่แคบส่วนตัวกันเถอะ เว้นพืน้ ทีด่ า้ นข้างปลูกไม้พมุ่ สูงและพุม่ เตีย้ เป็นกลุม่ ไปตามทางเดิน ใส่ลูกเล่นในการวางผ่านทางเดินและปูพื้นด้วยกรวด สร้างรั้วที่ไม่ทึบเกินไป เพื่อแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทางเดินและพื้นที่สวน ปลูกไม้ใบหรือไม้พมุ่ เพือ่ ช่วยพรางสายตา ปูพน้ื ด้วยกรวดดูเป็นทางเลือก ทีด่ กี ว่าการปูหญ้า เพราะประหยัดเวลาและค่าใช้จา่ ยในการดูแล ๑๗1


สวนน้ำในรั้วบ้าน (Water Garden) สวนน้ำในบ้านไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นสวนน้ำแบบธรรมชาติ

หรือแบบสำเร็จมาติดตั้งเลย ก็เกิดขึ้นได้ในบ้านของเราทั้งนั้น เลียนแบบภาพสวนน้ำในธรรมชาติด้วยการวางก้อนหินรูปทรง ต่างๆ ตามแนวของลำธาร เลือกปลูกไม้ใบเรียวแซมด้วยไม้ดอกเล็กๆ ให้ความรู้สึกร่มรื่นเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ เสียง ความเคลื่อนไหว และความเย็นของน้ำ ยังทำให้คนในบ้านรูส้ กึ เย็นสบายและผ่อนคลาย ยิ่งขึ้น พื้นที่เล็กๆ ก็มีสวนน้ำได้ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ทำน้ำไหล น้ำเวียน น้ำตกจากผนัง น้ำพุ น้ำล้น ฯลฯ เสริมด้วยพันธุ์ไม้ตามขอบบ่อหรือ ไม้น้ำบางชนิด

สวนริมระเบียง (Terrace Garden) สวนริมระเบียงมักไม่ได้เตรียมไว้สำหรับปลูกต้นไม้ แต่การจัดวาง

ต้นไม้ไม่กี่กระถาง พันธุ์ไม้ไม่กี่ชนิด ก็สามารถสร้างสวนแบบเรียบง่าย และดูแลไม่ยากได้แล้ว เลือกไม้ดอกหรือไม้เลือ้ ยให้หอ้ ยเลือ้ ยไปด้านล่าง ไม่ควรเลือกพันธุ์ไม้ ที่มีขนาดใหญ่ ใบแน่นทึบจนเกินไป เพราะจะบังกระแสลมไม่ใช่พัดผ่าน บริเวณนี้ได้สะดวก

๑๘ 18


สวนหลังบ้าน (Backyard Garden) หากแบ่งสันปันส่วนพื้นที่หลังบ้านจากพื้นที่ครัว พื้นที่ซักล้าง หรือพื้นที่ตากผ้าได้แล้ว

ละก็ แบ่งให้สีเขียวๆ ของต้นไม้ได้กลายเป็นมุมพักผ่อนของเราก็คงไม่เลวทีเดียว ปลูกต้นไม้เป็นกลุ่มช่วยให้สวนดูมีลูกเล่นมากขึ้น วางกระถางบัวเพื่อเพิ่มความสดชื่น และที่ขาดไม่ได้คือ ม้านั่งสักชุด ที่จะชวนให้เราอยากใช้เวลาอยู่ในสวนนานขึ้น ปลูกต้นไม้ตามแนวขอบของพื้นที่เพื่อให้ร่มเงาหรือใช้บดบังสายตาคนภายนอก วันที่ อากาศดีๆ ออกมานัง่ อ่านหนังสือในสวนก็เบิกบานใจได้โดยไม่ตอ้ งไปไหนไกลเกินสวนหลังบ้าน เรา

๑๙19


สวนกระถาง และสวนแขวน (Container Garden & Hanging Garden) ทำเป็แม้นสวนอย่ อยู่ในบ้านที่มีพื้นที่จำกัด สวนกระถางก็เป็นอีกทางเลือกที่ผู้รักต้นไม้จะนำต้นไม้ที่รักมาวางใกล้ตัว างที่ตัวเองฝัน หากจัดแบ่งพืน้ ทีอ่ ย่างเหมาะสมลงตัว การวางกระถางต้นไม้สกั ใบสองใบก็ชว่ ยเพิม่ มุมสีเขียวเล็กๆ ได้ และสามารถปรับเปลี่ยนต้นไม้ให้ดูสดชื่นได้อย่างง่ายดาย สวนแขวนขนาดเล็กน่ารักที่สร้างได้แม้พื้นที่แคบ ไม่กีดขวางทางเดินเท้า แถมยังช่วยลดแรงกระแทก ของน้ำฝน ให้ไหลผ่านไม้กระถางแขวนก่อนตกลงสู่พื้นดิน การจัดสวนไม่วา่ เล็กหรือใหญ่ไม่ได้มกี ฎตายตัว ทัง้ หมดขึน้ อยูก่ บั การผสมผสาน และนำไปใช้ให้เกิดความพึงพอใจรวมถึงประโยชน์ทเ่ี หมาะสม สิง่ ต่างๆ ทีเ่ ลือกใส่สวน แสดงให้เห็นถึงความรัก รสนิยมของเรามีต่อความทรงจำที่ผ่านมา คงจะดีไม่น้อย หากสวนสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นช่องทางชักชวนให้เจ้าของเข้าไปในสวน เพื่อ ลงมือจัดสวนและปลูกต้นไม้ด้วยความสนุกสนานและเพลิดเพลิน ๒๐ 0


ซื้อต้นไม้ในเชียงใหม่ เรื่อง: ขจรภพ โตบุญช่วง, ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ ภาพ: ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ

เมือ่ พูดถึงแหล่งซือ้ ต้นไม้ในเชียงใหม่ คงไม่พน้ ‘กาดคำเทีย่ ง’ ตลาดต้นไม้คำเทีย่ ง หรือกาดคำเทีย่ งมีแทบทุกสิง่ ทีค่ นรักต้นไม้ หรือต้องการจัดสวนตามหา นอกจากจะมีตน้ ไม้ทง้ั ไม้ดอก ไม้ยนื ต้น ไม้ประดับ ไม้น้ำ ไม้ล้มลุก ไม้ผล กล้วยไม้ เฟิร์น แคคตัส มอส และหญ้าแล้ว ยังมีอุปกรณ์จัดสวน เช่น กระถาง ตุ๊กตาดินเผา ปุ๋ย ดิน หิน ทราย เก้าอี้สนาม น้ำพุ รวมไปถึงปลาตู้ และอุปกรณ์ เลี้ยงปลาตู้ต่างๆ อีกด้วย สำหรับคนที่ไม่ได้เข้าถึงการปลูกต้นไม้เสียเท่าไหร่ แต่ชอบ ถ่ายรูป หรือแค่เดินเรื่อยๆ สบายๆ แบบไม่มีผู้คนแออัด ที่นี่ก็เป็น ทีเ่ หมาะอีกทีห่ นึง่ ทีจ่ ะมาเปิดหูเปิดตา ดูพนั ธุไ์ ม้แปลกๆ สวนสวยๆ มีร้านกาแฟให้นั่ง แต่ต้องขอแนะนำว่าจะไปเดินดูหรือเดินซื้อก็พก ร่มหรือหมวกติดตัวไปด้วย เพราะนอกจากในร้านก็ไม่มีที่ร่มๆ ให้ พักแล้ว ร้านที่นี่ให้บรรยากาศเป็นกันเอง คือนอกจากจะช่วยแนะนำ ต้นไม้ได้ ต่อราคาได้ ไปยืนดูไม่ซื้อก็ได้ แล้วยังเปิดปิดไม่เป็นเวลา เท่าไหร่นกั เวลาโดยปกติคอื ตัง้ แต่ ๘ โมงเช้า จนถึงราว ๕ โมงเย็น วันทำการก็แล้วแต่เจ้าของร้าน แต่ส่วนใหญ่ก็เปิดทุกวัน แบบ เจ้าของไม่มาก็ให้ลูกน้องมาเปิด นอกจากนี้ ราคาขายส่วนใหญ่ เป็นราคาที่ตรงมาจากสวนจึงถูก แต่ก็ต้องดูดีๆ อีกเช่นกัน เพราะ บางร้านก็ซื้อมาอีกต่อหนึ่ง ตลาดตัง้ อยูใ่ กล้ๆ กับโลตัส และเจเจมาร์เก็ต ถ้ามาจากตัวเมือง เลีย้ วทีส่ แ่ี ยกรินคำมาทางถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ หลังจากผ่านโรงพยา- บาลลานนา ให้ชิดซ้าย เพื่อกลับรถใต้สะพาน เมื่อกลับรถแล้วก็ ตรงไปเรื่อยๆ ทางเข้าจะอยู่ถัดจากทางออกโลตัสไป จากตรงนั้น เลี้ยวซ้ายที่แยกแรกแล้วไปตามทางเรื่อยๆ ก็จะถึงบริเวณตลาด สามารถจอดรถได้ที่ลานกว้างใหญ่ๆ ที่ติดกับโลตัส หรือเลยไปอีก บริเวณสามแยก จะมีลานจอดรถอยู่

๒๑ 1


คนปลูกต้นไม้

เรื อ่ ง: วิศรุต บุญมี ภาพ: ยศสุ นทร สวัสดี

“ทุกคนมีส่วนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน อย่าปล่อยให้ เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งเลย หากทุกคนร่วมมือกันแล้ว มันจะเป็นกลายพลังอันยิ่งใหญ่เอง” ณปวันชัย กุลฉัตรฐานนท์

หนึ่งพลังที่จะสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เขียว สวย หอม ณปวันชัย กุลฉัตรฐานนท์ เป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์กรภาคประชาชนใน ในใจคน เพือ่ พัฒนาไปสูจ่ ติ อาสา ทีจ่ ะร่วมมือกันสร้างให้เชียงใหม่ เขียว สวย หอม” นาม ‘ภาคีคนฮักเจียงใหม่’ ที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชนหลายภาคส่วน กิจกรรมนี้ได้รับการตอบรับจากชาวเชียงใหม่เป็นอย่างดี จากผลสำรวจภายหลัง ทัง้ ในนามองค์กรและส่วนบุคคล ซึง่ มีความห่วงใยต่อเมืองเชียงใหม่ และต้องการ เสร็จสิน้ กิจกรรม คนส่วนใหญ่ตอ้ งการให้มโี ครงการแบบนีม้ ากขึน้ และมีระยะเวลา แก้ปญ ั หาด้านต่างๆ เพือ่ การมีสว่ นร่วมในการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่หลายๆ ด้าน ยาวนานขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า คนเหล่านี้ได้เห็นถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ รวมทั้งการกำหนดนโยบายสาธารณะ สร้างจิตสำนึก และรณรงค์ให้คนเชียงใหม่ ระหว่างธรรมชาติกับเมืองมากขึ้น รวมไปถึงผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองเชียงใหม่ร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม แม้จะมีความพยายามผลักดันกระแสการอนุรักษ์ธรรมชาติให้มากขึ้น แต่ นอกจากนี ้ เขายังเป็นกำลังสำคัญทีจ่ ะพัฒนาให้เมืองเชียงใหม่สวยงามน่าชม ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคตามความเห็นของคุณณปวันชัยคือ การพัฒนาเมือง ภายใต้เครือข่ายชื่อว่า ‘เชียงใหม่ เขียว สวย หอม’ คุณณปวันชัยเล่าถึงที่มาว่า ซึง่ มีความขัดแย้งกับกระแสการอนุรกั ษ์มากทีส่ ดุ “ความต้องการพัฒนาโครงสร้าง “เขียว สวย หอม เกิดขึ้นจากกระแสภาวะโลกร้อนและจากสภาวะวิกฤตเรื่อง พื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้ต้อง สิ่งแวดล้อมในเมืองเชียงใหม่ รวมไปถึงปัญหาขยะล้นเมือง ทำให้มีคนกลุ่มหนึ่ง เบียดเบียนธรรมชาติ ทำให้ไม้หมายถิ่นที่เป็นสัญลักษณ์และบ่งบอกถึงความ รวมตัวกันขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้” อุดมสมบูรณ์ของเมืองเชียงใหม่ลดน้อยลง เราต้องทำให้ธรรมชาติกบั เมืองอยูร่ ว่ มกัน กิจกรรมทีน่ า่ สนใจจากโครงการคือ กิจกรรมนัง่ รถราง ‘ชมนก ชมไม้ ชมเมือง’ อย่างผสมกลมกลืนให้ได้ รถรางจะออกจากบริเวณหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ไปตามเส้นทางสายต่างๆ “ถ้าโลกนีไ้ ม่มพี น้ื ทีส่ เี ขียวแล้วเราจะเป็นอย่างไร ตอนทีเ่ รายังมีพน้ื ทีส่ เี ขียวอยู่ เพือ่ เยีย่ มชม ‘ไม้หมายเมือง’ ต้นไม้เก่าแก่คบู่ า้ นคูเ่ มืองเชียงใหม่ โดยมีคณ ุ ณปวันชัย ก็ควรรักษาไว้อย่างดีทส่ี ดุ เพือ่ ตัวเราและลูกหลานในวันข้างหน้า อยากให้เยาวชน เป็นวิทยากรผูเ้ ล่าประวัตขิ องต้นไม้แต่ละต้นและประวัตศิ าสตร์ของท้องถิน่ เพือ่ ให้ และชาวเชียงใหม่หันกลับมารักและฟื้นฟูธรรมชาติกันเถอะ ทุกคนมีส่วนในการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนเห็นคุณค่าของพื้นที่สีเขียวและซึมซับวิถีชีวิตที่มีเสน่ห์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน อย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งเลย ของท้องถิ่น หากทุกคนร่วมมือกันแล้ว มันจะกลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่เอง” คุณณปวันชัย “เราพาคนไปรู้จักต้นไม้ รู้จักคุณค่า และประวัติศาสตร์ของต้นไม้ใหญ่ กล่าวทิ้งท้ายอย่างมั่นใจ จุดประสงค์หลักคือปลูกจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้


เรือ่ ง: วิศรุต บุญมี ภาพ: ชุตมิ ณฑน์ ตัง่ ธนาพร

“เชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู ่ คงไม่มใี ครอยากให้สภาพแวดล้อมของ เมืองแย่ไปกว่านี ้ เราควรช่วยกันผลักดันและพัฒนาสภาพแวดล้อม ของเมืองเชียงใหม่ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น” ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย

ผู้ให้ความรู้ด้านพันธุ์ไม้และภูมิทัศน์ เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของเมืองเชียงใหม่ให้น่าอยู่ อาจารย์เยาวนิตย์ ธาราฉาย เป็นอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ‘เชียงใหม่เอี่ยม’ จากการแนะนำของอาจารย์ศิริชัย หงษ์วิทยากร โดยอาจารย์เยาวนิตย์จะมาช่วยให้ความรู้เรื่องพันธุ์ไม้และการปรับปรุงภูมิทัศน์ อาจารย์เคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับโครงการนำร่องเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองเชียงใหม่มาก่อน แต่ งานวิจยั ไม่ได้ถกู พัฒนาและนำไปใช้ในการปฏิบตั จิ ริง เมือ่ ได้ทราบรายละเอียดของโครงการเชียงใหม่เอีย่ ม และทราบว่ามีภาคีภาคประชาชน ซึ่งมีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะพัฒนาเมืองเชียงใหม่ จึงทำให้อาจารย์ ตัดสินใจเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ อาจารย์ทำหน้าทีใ่ ห้ขอ้ มูลทางวิชาการ และแนะนำว่าควรปลูกต้นไม้ชนิดใดทีม่ คี วามเหมาะสม รวมทัง้ สำรวจข้อมูลพื้นฐานของต้นไม้ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ทราบว่านอกจากเมืองเชียงใหม่จะมีต้นไม้ทาง ประวัติศาสตร์แล้ว ยังต้องเพิ่มต้นไม้ชนิดใดบ้างเพื่อให้เกิดความสวยงาม ช่วยลดมลพิษ และเพิ่มร่มเงา ให้กับเมืองได้ เมือ่ ถามถึงสาเหตุทต่ี อ้ งดูและพืน้ ทีส่ เี ขียวแล้ว อาจารย์อธิบายว่า “จากทีเ่ ราเห็นสภาพการเปลีย่ นแปลง ของโลก ทุกคนต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า การพัฒนาด้านต่างๆ โดยเฉพาะในเมืองทำให้ปริมาณ พืน้ ทีส่ เี ขียวลดลง ผูผ้ ลิตออกซิเจนหายไป สมดุลของบรรยากาศก็เปลีย่ น มลพิษเยอะขึน้ สิง่ ทีเ่ ป็นธรรมชาติ ก็ถูกลดทอนลง เพราะต้องนำพื้นที่ไปพัฒนาด้านอุตสาหกรรม พอต้นไม้ลดลง สมดุลก็เปลี่ยนไป” ช่วงเวลาที่ผ่านมาชาวเชียงใหม่อาจยังไม่เห็นถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมมากนัก อาจารย์ จึงอยากฝากไว้ว่า “ที่ผ่านมาเราปล่อยปัญหาเหล่านี้ให้เรื้อรังนานเกินไป ดังนั้นชาวเชียงใหม่ต้องเป็น พลังสำคัญที่จะช่วยผลักดันกระแสการอนุรักษ์ให้มากขึ้น เชียงใหม่เองเป็นเมืองน่าอยู่ คงไม่มีใครอยากให้ สภาพแวดล้อมของเมืองแย่ไปกว่านี้ เราควรมาช่วยกันผลักดันและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของเมืองเชียงใหม่ ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นดีกว่า” yaowanit@mju.ac.th


เรือ่ ง: วิศรุต บุญมี ภาพ: ณัตติพร ช่วยหนู

“เด็กควรได้สัมผัสธรรมชาติบ้าง เพราะปัจจุบันเด็กมักห่างไกลจากธรรมชาติ ทำให้มีความหยาบกระด้าง และไม่สนใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” อาจารย์สวาท จันทร์ทะเล

ผู้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาธรรมชาติปางแฟนเพื่อสร้างสำนึกรักสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน ปางแฟน คือชื่อหมู่บ้านเล็กๆ ในอำเภอแม่แตง ที่ถูกพัฒนาเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติปางแฟน โดยอาจารย์สงวนและอาจารย์สวาท จันทร์ทะเล เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้คงอยู่ตามธรรมชาติ รวมไปถึงใช้เป็นสถานที่ในการจัดค่ายศึกษา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปที่สนใจ เดิมทีอาจารย์ทั้งสองต้องการใช้พื้นที่บริเวณนี้สร้างเป็นสวนพฤกษศาสตร์ของครอบครัวเพื่อเก็บรักษาพันธุ์ไม้ต่างๆ เท่านั้น แต่การที่ อาจารย์สวาทเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนยุพราช ซึ่งมีกิจกรรมหลักคือพานักเรียนไปเข้าค่าย อาจารย์สวาท จึงใช้สวนในพื้นที่ปางแฟนจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รองรับกิจกรรมของชมรม และได้ดำเนินการจัดค่ายมาอย่างต่อเนื่อง “เด็กๆ ควรได้สมั ผัสธรรมชาติบา้ ง ในปัจจุบนั เด็กมักห่างไกลจากธรรมชาติ ทำให้มคี วามหยาบกระด้าง และไม่สนใจทีจ่ ะอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม เราจึงต้องพานักเรียนไปเข้าค่าย เพื่อให้ได้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในธรรมชาติ” เยาวชนที่มาเข้าค่าย จะได้ความสนุกสนานและความประทับใจจากการทำกิจกรรม รวมทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนและ คนในชุมชนด้วย ผู้ที่มาช่วยเหลือในการทำงาน ล้วนมาด้วยจิตอาสาทั้งสิ้น ส่วนใหญ่เป็นเด็กๆ ที่เคยเข้าค่ายไปแล้ว กลับมาให้ความช่วยเหลือกับรุ่นน้อง ทั้งการเป็นวิทยากรและทีมงานจัดกิจกรรม ความใกล้ชิดและสนิทสนมที่เกิดขึ้นก็ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็น ครอบครัวเดียวกัน จนกระทัง่ เกิด ‘กลุม่ เยาวชนอาสาสมัครปางแฟน’ นำไปสูก่ ารพัฒนาตนเอง เป็นแกนนำเยาวชนในเรือ่ งการจัดการสิง่ แวดล้อม ในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของอาจารย์นั้นคือ การขาดงบประมาณในการดำเนินงาน “เราไม่ค่อยมี งบประมาณ เพราะเราทุกคนทำโดยจิตอาสา อาจารย์ตอ้ งใช้เงินทุนของตนเองกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ เพือ่ นำมาใช้ในการพัฒนาสิง่ ก่อสร้างต่างๆ ภายในค่าย แต่กม็ หี น่วยงานหลายๆ แห่งทัง้ ภาครัฐและเอกชนได้ให้การสนับสนุนทัง้ งบประมาณและวัสดุอปุ กรณ์ในการก่อสร้าง ทำให้สามารถ ดำเนินงานได้อย่างราบรื่น” สิ่งหนึ่งที่อาจารย์สวาทอยากฝากกับเยาวชนทุกคนคือ อยากให้เด็กๆ แบ่งเวลาหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวบ้าง “เด็กทุกวันนี้ใช้ชีวิต เร่งรีบ พ่อแม่มักอ้างว่าไม่มีเวลาดูแล ปล่อยให้ลูกเล่นแต่เกมคอมพิวเตอร์ที่มีความรุนแรง ทำให้เด็กมีจิตใจที่หยาบกระด้าง และห่างไกลจาก สิ่งแวดล้อม พ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกหันมาทำกิจกรรมเกี่ยวกับธรรมชาติ พาเด็กๆ ไปเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ และให้เด็กได้ใกล้ชิดกับ สิ่งแวดล้อมบ้าง จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ และมีจิตสำนึกที่รักสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” www.pangfan.org


เรือ่ ง: วิศรุต บุญมี ภาพ: ณัตติพร ช่วยหนู

“แม้ว่าเราจะไม่ได้อยู่ใกล้ป่า แต่เราก็ได้ประโยชน์จากป่า เราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม เรามีส่วนที่ควรรับผิดชอบร่วมกัน” FORRU

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าที่ไม่ต้องการให้งานวิจัยเป็นเพียงแค่กระดาษในตู้ FORRU (Forest Restoration Research Unit) หรือ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยกลุ่มอาจารย์และ นักศึกษาภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีหน้าทีห่ ลักในการทำงานวิจยั เพือ่ ค้นหาวิธฟี น้ื ฟูสภาพป่าอย่างมีประสิทธิภาพ และนำระบบนิเวศป่าดัง้ เดิมของแต่ละพืน้ ทีก่ ลับคืนมา โดยใช้วธิ พี นั ธุไ์ ม้โครงสร้าง ซึง่ เป็นวิธที ป่ี ลูกพันธุไ์ ม้ทอ้ งถิน่ เพียง ๒๐-๓๐ ชนิด แต่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ระบบนิเวศจากการปลูกป่าเพียงครั้งเดียว วิธีนี้พัฒนามาจากรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย มิม-ขวัญข้าว สิงหเสนี หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม FORRU ได้บอกกับเราว่า “ความรู้ที่ศึกษาได้อาจเป็นเพียงแค่เอกสาร เชิงวิชาการชิ้นหนึ่ง ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ หากไม่ได้รับการเผยแพร่ออกไป ทางกลุ่ม FORRU จึงเกิดแนวคิดที่จะขยาย ความรู้นี้ โดยการจัดตั้งหน่วยให้การศึกษา เพื่อให้ความรู้กับภาคส่วนอื่นๆ ทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน และบุคคลทั่วไปที่ สนใจ เพื่อขยายแนวคิดและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์“ ทีผ่ า่ นมา FORRU ได้รว่ มมือกับชาวม้งในหมูบ่ า้ นแม่สาใหม่ฟน้ื ฟูปา่ ไม้แบบไม่ผลัดใบทีเ่ สือ่ มโทรม ซึง่ ส่งผลกระทบต่อชุมชน และความร่วมมือครั้งนั้นก็ประสบความสำเร็จด้วยดี การฟื้นฟูป่าส่งผลให้ชาวบ้านมีแหล่งน้ำสะอาด เพิ่มที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มากขึน้ นอกจากนี ้ FORRU ยังสนใจการฟืน้ ฟูปา่ ไม้แบบผลัดใบอีกด้วย เพราะป่าประเภทนีม้ อี ตั ราการถูกคุกคามเป็นจำนวนมาก โดยมีพื้นที่ต้นแบบอยู่ที่อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า และ FORRU ยังมีเครือข่ายที่จังหวัดอื่นๆ รวมไปถึงความร่วมมือในระดับ นานาชาติทั้งในประเทศจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา การปฏิบัติงานในพื้นที่จริงเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ให้เป็นโครงสร้างป่าไม่ได้ง่ายเหมือนปลูกต้นไม้ทั่วไป แต่เธอกลับคิดว่านั่นคือ ความท้าทาย “นั่นก็ความยากอย่างหนึ่งในการทำงาน บางปัญหาคือความท้าทาย บางปัญหาก็อาจทำให้เราท้อแท้ได้ แต่เรา ไม่ควรท้อนาน FORRU เป็นครอบครัวที่อบอุ่น เรามีอาจารย์คอยให้คำปรึกษา และทีมงานที่จะร่วมแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน” สุดท้ายนี้ เธอได้เชิญชวนให้ชาวเชียงใหม่หันมาสนใจเรื่องป่าและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัว มากกว่าทีค่ ดิ “แม้วา่ เราจะไม่ได้อยูใ่ กล้ปา่ แต่กไ็ ด้ประโยชน์จากป่า เราเป็นส่วนหนึง่ ของสิง่ แวดล้อม เรามีสว่ นทีค่ วรรับผิดชอบ ร่วมกัน อยากให้ทุกคนคิดมากขึ้น หากคนเชียงใหม่ช่วยกันคิดมากขึ้น แล้วคำนึงถึงสิ่งต่างๆ รอบตัวและผลกระทบที่ตัวเองทำ แค่นี้เมืองเชียงใหม่ของเราก็น่าอยู่แล้ว” www.forru.org


เมืองกับจักรยาน เรื่อง: ธนพร สรไชยเมธา ภาพ: ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ

ยุคนี้จักรยานกลายเป็นพาหนะเจ้าเสน่ห์ไปแล้ว ทั้งกระแสรณรงค์ลดการปล่อยคาร์บอนในทุกกิจกรรม และกระแส Slow Life ของการใช้ชีวิตอย่าง เนิบช้า ทำให้จักรยานกลายเป็นคำตอบของหลายปัญหาในเมืองใหญ่ แล้วรู้ไหมว่ายานพาหนะคันแรกของเราในวัยเด็กอย่างจักรยานนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง - การปั่นจักรยานในช่วงเช้าช่วยให้ปอดและหัวใจแข็งแรง โดยไม่ต้องหาเครื่องยาจีนมาบำรุงเพราะ การได้ออกกำลังกายท่ามกลางแสงแดดอบอุ่นอากาศบริสุทธิ์สดชื่นในช่วงเช้าก็เป็นการบริหารปอดและ หัวใจไปพร้อมกัน - สำหรับผูท้ ต่ี อ้ งการผ่อนคลายความเครียด การปัน่ จักรยานคือทางเลือกหนึง่ ทีส่ ามารถลดความเครียด ได้ เพราะขณะปัน่ จักรยานร่างกายจะหลัง่ สารเอ็นโดฟินส์ หรือสารแห่งความสุข ช่วยทำให้รา่ งกายรูส้ กึ สดชืน่ อารมณ์แจ่มใสเบิกบานทั้งวัน - การปั่นจักรยานช่วยให้สาวๆ หรือหนุ่มๆ หุ่นดีขึ้นโดยไม่ต้องเข้าฟิตเนส เพราะจักรยานช่วยให้ กล้ามเนื้อกระชับ โดยเฉพาะบริเวณเอว สะโพก ต้นขา และน่อง - ถ้าเราเข้าร่วมชมรมจักรยาน เวลาชมรมจัดกิจกรรมก็จะปั่นจักรยานเป็นทีม อีกสิ่งที่ได้แน่นอนคือ ได้เพื่อนใหม่ ซึ่งมีหลายวัย หลายอาชีพ เราสามารถแลกเปลี่ยนความสนใจในสิ่งเดียวกัน หรือในเรื่องที่ เพื่อนใหม่เรามีความถนัดได้ - การปัน่ จักรยานช่วยเผาผลาญแคลอรี ลดอัตราการสะสมของไขมันของร่างกายและในผนังหลอดเลือด แต่ผลของความสำเร็จย่อมขึ้นอยู่กับระยะเวลา ความหนักหน่วง ความบ่อย และน้ำหนักตัวของคนปั่นเอง ด้วย - เมื่อถึงที่หมายรับรองว่าจักรยานจะหาที่จอดง่ายและเร็วกว่ารถประเภทอื่น - การใช้จักรยานช่วยให้ไม่อยู่ในกระแส กระแสที่ว่านี้คือ กระแสรถติด เนื่องจากจักรยานมีขนาดเล็ก ผอมเพรียว และว่องไว จึงเหมาะแก่การซอกแซกไปในพื้นที่แคบที่รถคันใหญ่ๆ ไม่สามารถผ่านไปได้ และ ยังไม่ต้องทนหงุดหงิดกับการติดไฟแดง เพราะเราสามารถจูงจักรยานข้ามไปในอีกฟากถนนได้เลย - จักรยานเคลื่อนที่ด้วยแรงถีบ จึงไม่ต้องพึ่งพาพลังงานอย่างน้ำมันหรือไฟฟ้า นั่นทำให้การเคลื่อนที่ ด้วยจักรยานไม่ปล่อยคาร์บอนขึน้ สูช่ น้ั บรรยากาศอันจะนำไปสูภ่ าวะโลกร้อน และไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ มากมายให้ลอยคลุ้งอยู่ในเมือง - ท้ายที่สุด การปั่นจักรยานคู่ใจให้ลมโกรกหน้า แล้วมองดูวิวสองข้างทางที่ผ่านไปอย่างช้าๆ ก็เป็น ความสุขอีกอย่างที่พอจะหาได้จากชีวิตในเมือง


เรื่อง: ธนพร สรไชยเมธา ภาพ: ยศสุนทร สวัสดี

“จักรยานน่าจะเป็นทางออกสำหรับการเดินทางที่ยั่งยืนของเมืองเชียงใหม่” ดร.นิรันดร โพธิกานนท์

สิงห์นักปั่นผู้บุกเบิกเส้นทางจักรยานเมืองเชียงใหม่ จากประสบการณ์การปั่นจักรยาน ๒ ปีเต็มจากหอพักแม่หยวกมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ การใช้ชวี ติ ในช่วงศึกษาต่อทีป่ ระเทศเยอรมนี ซึง่ เป็นผูผ้ ลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก แต่ประชาชนกลับนิยม ใช้จักรยาน ทำให้เมื่อ ดร.นิรันดร โพธิกานนท์ เข้ามาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้เริ่ม รณรงค์ให้ชาวเชียงใหม่หันมาเดินทางในชีวิตประจำวันด้วยการปั่นจักรยานแทนการใช้รถยนต์และ จักรยานยนต์ เพื่อแก้ปัญหาจราจรที่นับวันยิ่งติดขัดขึ้นเรื่อยๆ “ผมเป็นหนี้บุญคุณเมืองเชียงใหม่ เริ่มเห็น เชียงใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ค่อยน่าอยู ่ จึงต้องตอบแทนบุญคุณเชียงใหม่ และคิดว่าจักรยาน เป็นวิธีการที่สามารถช่วยได้” ดร.สิงห์นักปั่นบอกเราแบบนั้น ไม่ใช่แค่ชวนให้ชาวเชียงใหม่ออกมาขีจ่ กั รยานเท่านัน้ แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ช่วงที ่ ดร.นิรนั ดร นัง่ เก้าอี้ เป็นประธานชมรมจักรยานเชียงใหม่ ท่านได้ผลักดันให้ภาครัฐสร้างเส้นทางจักรยานในตัวเมืองเชียงใหม่ แต่ประสบปัญหาหลายอย่างจากกลไกของรัฐที่มีอยู่ อาทิ ตำรวจจราจรที่ไม่มีมาตรการลงโทษรถยนต์ที่ จอดคร่อมเส้นทางจักรยาน ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใช้รถยนต์ยังร้องเรียนเข้ามาว่าเส้นทางจักรยานเป็นอันตราย อาจเกิดอุบัติเหตุต่อผู้ใช้ถนนท่านอื่นได้ เส้นทางจักรยานซึ่งถูกตีเส้นขนานตามกระแสจราจรในตัวเมือง เชียงใหม่หลายแห่งจึงถูกระงับการใช้งาน คนทั่วไปมักคิดว่าการปั่นจักรยานบนท้องถนนที่เต็มไปด้วยรถมากมายที่ขับขี่ด้วยความรวดเร็วนั้น ไม่ปลอดภัย จึงไม่กล้าเข็นจักรยานออกมาขี่บนถนน “ถ้ามีเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัย ผู้คนเปลี่ยนมาใช้ จักรยานในการเดินทางมากขึ้น” ดร.นิรันดรพูดถึงนโยบายที่จะชักชวนให้คนขี่จักรยาน “เส้นทางจักรยาน เป็นเรื่องสำคัญมาก และอีกอย่างที่สำคัญคือ ต้องทำให้คนใช้รถยนต์และมอเตอร์ไซค์ดูแลคนขี่จักรยาน ต้องทำให้เขาเข้าใจว่าการจอดรถในเส้นทางจักรยานผิดกฎหมาย และตำรวจต้องบังคับใช้วนิ ยั จราจรอย่าง เข้มงวด ถ้าไม่มีมาตราเช่นนี้เส้นทางจักรยานก็จะล้มเหลว” แม้วา่ การเรียกร้องให้เกิดเส้นทางจักรยานของ ดร.นิรนั ดรจะไม่ได้รบั การสนับสนุนอย่างเต็มทีจ่ ากภาครัฐ แต่ ดร.นิรันดรก็ยังเป็นต้นแบบในบทบาทพลเมืองเข้มแข็งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ชาวเชียงใหม่หลายคน ลุกขึ้นมาปั่นจักรยานตามกระแสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “การใช้จักรยานเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่คนไทยทุกคนยกย่อง แต่ไม่ค่อยสนองพระราชดำริ จักรยานสามารถเป็นวิธหี นึง่ ทีท่ ำให้คนสนองพระราชดำริได้ในเรือ่ งความพอเพียงเกีย่ วกับการเดินทาง ในชีวิตประจำวัน” ดร.นิรันดรยิ้มอย่างภูมิใจ


เรื่องดีๆ ของการขี่จักรยาน เรื่อง: ธนพร สรไชยเมธา ภาพ: ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ


ปฏิบตั กิ ารเชียงใหม่เอีย่ มมีไอเดียดีๆ ทีอ่ ยากชวนคนออกมาขีจ่ กั รยานมากมาย แต่ในขั้นต้นนี้ขอปล่อยของออกมาก่อน ๓ โครงการ ดังต่อนี ้

ถนนกึ่งคนเดินที่เจริญประเทศ

ปัญหาสำคัญของถนนเจริญประเทศคือการจราจรที่ติดขัดมากในช่วง ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น. ของวันจันทร์ถึงศุกร์ เนื่องจากเป็นที่ตั้ง ของโรงเรียนเอกชนถึง ๕ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสวนเด็ก โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (แผนกประถม) โรงเรียนพระหฤทัยเชียงใหม่ โรงเรียน เรยีนาเชลีวิทยาลัย และโรงเรียนไชยโรจน์วิทยาลัย เมื่อเทียบความกว้างของถนนกับจำนวนนักเรียนของแต่ละโรงเรียนที่มีจำนวน หลายร้อยจนถึงหลายพันคนทำให้ถนนเจริญประเทศที่ไม่กว้างนัก และมีเส้นทางการเดินรถเพียง ๒ เส้นทาง กลายเป็นถนนที่เล็กและ แคบลงถนัดตา อันนำมาสู่ปัญหาการจราจรติดขัด และปัญหามลพิษทางอากาศจากท่อไอเสียของรถยนต์ รถรับส่งประจำทาง และ รถมอเตอร์ไซค์ที่ปล่อยสารพิษออกมามากกว่าปกติในยามที่จอดอยู่นิ่งๆ เป็นเวลานาน การแก้ไขปัญหานี้เริ่มต้นจากการตอบคำถามที่ว่า “ทำอย่างไรให้รถเข้ามาในถนนเจริญประเทศน้อยลง” จากการระดมความเห็น ของหลายฝ่าย ทั้งสมาคมผู้ปกครอง, ตัวแทนชุมชน, ตัวแทนครูจากโรงเรียนในพื้นที่, ตำรวจจราจร และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทางออกหนึ่งที่พบก็คือ การใช้จักรยานแทนรถยนต์ส่วนตัวหรือรถประจำทาง และจัดให้ถนนเจริญประเทศในช่วงเช้าเป็นถนนกึ่งคนเดิน คือกำหนดจุดจอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ปกครองในการใช้เส้นทางลัดจากถนนช้างคลานผ่านพื้นที่อุตสาหกรรมห้องเย็น (ข้าง โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย) และตลาดสหมิตรให้เป็นพื้นที่ในการจอดรถรับ-ส่งนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเหล่านั้นปั่นจักรยานจากจุดจอด ที่มีระยะทางไม่ไกลนักมายังโรงเรียนของตนเอง และส่งเสริมให้นักเรียนที่บ้านใกล้โรงเรียนปั่นจักรยานมาเรียนได้ ทางโรงเรียนจะสร้าง ที่จอดรถจักรยานในการอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กนักเรียนที่ขี่จักรยานมาโรงเรียน นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกแก่นักเรียนระดับอนุบาล และนักเรียนที่ไม่สะดวกในการปั่นจักรยาน ให้ใช้บริการโดยสารรถราง ได้ นักเรียนคนไหนสนใจจะยืดแข้งยืดขาในตอนเช้า และยินดีเสียสละที่นั่งบนรถรางให้เพื่อนๆ น้องๆ ก็สามารถลงเดินจากจุดจอดรถ รับ-ส่งมายังโรงเรียนของตนได้เลย ความใฝ่ฝันของทุกคนที่ไม่ต้องการเห็นการจราจรติดขัดบนถนนเจริญประเทศ เริ่มขยับเข้าใกล้ความจริงขึ้นมาแล้ว

รักสองล้อต้องรอสองโมง

เมือ่ คนส่วนใหญ่ยงั ฝังใจว่าการขีจ่ กั รยานบนถนนนัน้ ไม่ปลอดภัย ปฏิบตั กิ ารเชียงใหม่เอีย่ มเลยอยากเปลีย่ นความคิดของชาวเชียงใหม่ เสียใหม่ ด้วยการจัดกิจกรรม ‘ปั่นล้อถีบชมเมือง’ เพื่อให้คนที่อยากปั่นจักรยานแต่ยังกลัวๆ กล้าๆ ได้ลองออกมาปั่นจักรยานร่วมกัน เป็นหมู่คณะ ความกลัวจะได้กลายเป็นความกล้าและความระมัดระวังในการขี่แทน กิจกรรมการปั่นล้อถีบ (จักรยาน) ไม่ใช่การปั่นไปเรื่อยๆ อย่างไร้จุดหมาย แต่การปั่นทุกครั้งมีธีมประจำ เช่น พาไปชมสถานที่ สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่อย่างโบสถ์และโรงเรียนคริสเตียน บ้านเก่า อาคารสำคัญ หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ และเส้นทาง ริมน้ำปิง โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเรื่องล้านนามาบรรยายให้ความรู้ ถ้าใครสนใจก็ปั่นจักรยานมารวมพลกันที่ลานหน้าอนุสาวรีย์ สามกษัตริย์ แล้วออกปั่นพร้อมกันในเวลา ๐๘.๐๐-๑๑.๐๐ น. ทุกวันอาทิตย์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนพฤษภาคม งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย ถ้าไม่มีจักรยานส่วนตัวก็กดเบอร์ ๐๘-๖๔๒๙-๖๖๔๗ ถึง ๙ เพื่อขอจองจักรยานได้ด้วย งานนี้นอกจากจะรู้สึกดีกับการปั่นจักรยานแล้ว ยังเพลิดเพลินกับการชมเมืองไปพร้อมๆ กับได้รับความรู้เรื่องเมืองเชียงใหม่ของ เราด้วย

ลดการใช้รถก็ลดราคา

นอกจากจะเดินทางซอกซอนในเมืองอย่างรวดเร็ว และไม่ตอ้ งเสียเวลาหาทีจ่ อดแล้ว การขีจ่ กั รยานยังมีอภิสทิ ธิเ์ หนือการใช้รถยนต์ และจักรยานยนต์อกี อย่างคือ ส่วนลดมากมายจากร้านค้าทัว่ เมืองเชียงใหม่ ร้านเหล่านีอ้ ยากร่วมสนับสนุนให้คนหันมาใช้จกั รยานเยอะๆ เลยมอบส่วนลดพิเศษ ๕-๑๐ เปอร์เซ็นต์ (ตามเงื่อนไขของแต่ละร้าน) ให้กับลูกค้าที่ปั่นจักรยานมาซื้อของที่ร้าน ตัวอย่างของร้านใจดี เหล่านีไ้ ด้แก่ ร้านพันพรรณ (ร้านอาหารในวัดสวนดอก), Green o’clock, ร้านเล่า, คุณนายตืน่ สาย, กาแฟไปยาลใหญ่, BOBO IRIE PLACE, Memorize @ Nimman, เย็นตาโฟสะอาด, เฝอเวียงจันทร์, อ้วนโอชา ๒ ข้าวซอยแม่ภาศรี และร้านอื่นๆ อีก รวมแล้วเกือบ ๒๐ ร้าน เมื่อการปั่นจักรยานแทนการใช้รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์เป็นการช่วยลดมลพิษให้กับเมือง การถีบจักรยานจึงเปรียบได้กับลงมือ ทำความดี ที่พ่อค้าแม่ขายต่างๆ พร้อมใจกันสนับสนุน เหลือก็แต่ลูกค้าอย่างเรานี่แหละ ว่าจะร่วมทำดีด้วยกันไหม

๒๙


ถ.มณีนพรัตน์

ถ.ศรีภูมิ

ถ.พระปกเกล้า

ถ.สิงหราช ถ.ราชวิถี ถ.อินทวโรรส ถ.ราชดำเนิน ถ.สามล้าน ซ.1

ถ.ราชมรรคา

ถ.สามล้าน ซ.6

ถ.พระปกเกล้า

เส้นทางจักรยานและถนนเชื่อมโยงระยะที่ ๑ เส้นทางจักรยานยุทธศาสตร์ระยะที่ ๑ เส้นทางจักรยานเสนอโดยตำรวจเชียงใหม่

ถ.ราชเชียงแสน


ถ.วิชยานนท์

ถ.วังสิงห์คำ สะพานนครพิงค์

ถ.ชัยภูมิ ถ.ท้ายวัง ถ.ช้างม่อย

ถ.มูลเมือง

ถ.ท่าแพ ถ.ไปรษณีย์

ถ.คชสาร ถ.เชียงใหม่-ลำพูน ถ.ช้างคลาน

ถ.ศรีดอนชัย

ถ.เจริญประเทศ


ผังเมืองใหม่ของเชียงใหม่ เรือ่ ง: พลอยนิตา โชคไพบูลย์

‘เชียงใหม่ที่มีชีวิต’ คือสิ่งที่นักวางผังเมืองทุกคนคาดหวังอยากให้เป็น ขยายความก็คอื ผังเมืองเชียงใหม่ควรทำให้คนเชียงใหม่ทกุ คนรูส้ กึ รัก หวงแหน ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีมีคุณค่า ปรับความคิดแล้วใส่ใจกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน ลด ละ เลิก ทำร้ายสุขภาพเมือง คนทั่วไปต้องเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลทาง วิชาการต่างๆ ได้โดยง่าย สิ่งที่เล่ามาไม่ใช่เรื่องยากเกินเอื้อม เพราะหลายเมืองของ โลกก็สามารถทำได้ ผังเมืองเชียงใหม่ไม่ใช่เรือ่ งใหม่ แต่เป็นสิง่ ทีถ่ กู ศึกษาวิจยั มานานแล้ว นักผังเมือง ได้ศึกษาความเป็นมาของเมืองในอดีต สภาพปัจจุบันทั้งที่ดีและไม่ดี เทียบกับเมือง ตัวอย่างที่มีการพัฒนาสำเร็จแล้ว จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้วางผังเมืองใหม่ แต่การวางผังเมืองให้กับเมืองที่อยู่มายาวนานอย่างเชียงใหม่ คงไม่เห็นผลทันตา อย่างปัญหาหมอกควันที่ระบายออกจากเชียงใหม่ได้ยากเพราะมีอาคารสูงปิดกั้น จะสัง่ ให้รอ้ื ตึกสูงทิง้ ทัง้ หมดคงทำไม่ได้ แต่การเปลีย่ นแปลงในบางเรือ่ งก็นา่ จะเป็นจริง ได้ในเวลาอันสั้นด้วยการบังคับใช้กฎหมาย จากการสำรวจพบว่า อาคารเก่าที่มีคุณค่าในเขตคูเมืองชั้นในสูญหายไปแล้ว ครึง่ หนึง่ เพราะหลายปีทผ่ี า่ นมาเชียงใหม่ถกู ผลักดันจากหลายภาคส่วนให้พฒ ั นาเป็น เมืองใหม่ เป็นศูนย์กลางของหลายสิ่งหลายอย่าง แต่ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นการพัฒนา เมืองทีผ่ ดิ เพราะคนลืมให้ความสำคัญกับสิง่ ดีๆ ทีม่ อี ยูเ่ ดิม หลงไปกับความทันสมัย มีคำกล่าวว่า “อู้บ่เกี้ยด แต่เขียดต๋าย” คือ การพัฒนาที่คนอยู่เดิมต้องเสียสละ ให้การพัฒนาใหม่ไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง แนวทางแก้ปัญหาต้องเริ่มจากการรีบกำหนด เขตอนุรักษ์ เสนอพื้นที่กันชน ก่อนที่เชียงใหม่จะไม่เหลืออะไรให้จดจำ ๓๒

นอกจากนี ้ นักวิชาการด้านผังเมืองกับปฏิบตั กิ ารเชียงใหม่เอีย่ มยังจัดเวทีเสวนา ร่วมกับชาวเชียงใหม่มาแล้ว ๓ ครั้ง แต่ละครั้งก็มีคนให้ความสนใจมาร่วมวงเสวนา มากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งจากคนในชุมชนแต่ละย่าน นักวิชาการ นักธุรกิจ เยาวชน รวมถึงเทศบาล เริ่มจากเลือกพื้นที่นำร่องเป็นแขวงศรีวิชัยและ พื้นที่ต่อเนื่อง เช่น ถนนนิมมานเหมินท์ เหตุที่เลือกแขวงศรีวิชัยเพราะเป็นย่านที่ มีเสน่ห์ เป็นเมืองเก่าที่มีชีวิต มีทั้งวัดสำคัญ ชุมชนที่เข้มแข็ง สถานศึกษา ละแวก ที่พักมีระดับ ย่านร้านค้าน่ารัก และร้านอาหารชั้นดี แต่ตอนนี้แขวงศรีวิชัยกำลังเจอ ปัญหาหนักคือเรือ่ งการจราจรติดขัด บางส่วนเป็นเขตชุมชนโบราณ มีเส้นทางคับแคบ ทำให้รถสวนกันไปมา สร้างปัญหาให้ชาวบ้าน ละแวกนิมมานเหมินท์กเ็ ช่นกัน มีรถจอดเต็มข้างทาง ช่วงเย็นทีค่ นเลิกงานรถยิง่ ติดมาก ช่วงเทศกาลต่างๆ ผู้อยู่อาศัยในย่านนี้มักจะถูกรบกวนด้วยเสียงดัง และ ไม่สามารถออกบ้านได้ เพราะมีรถจอดขวางประตูบา้ น ฉะนัน้ ในการประชุมครัง้ ที ่ ๓ จึงมีการเคาะประตูบ้านแขวงศรีวิชัย และนักธุรกิจ นักวิชาการ เพื่อชวนมาร่วม เสวนาหาแนวทางเป็นไปได้และข้อตกลงร่วมกัน หนทางจะเป็นอย่างไร จะสำเร็จ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง และทุกฝ่ายต้องยืนหยัด เพราะการจัดการ ผังเมืองต้องเริม่ จัดการตัง้ แต่ผงั บ้านไปยังผังชุมชน จนถึงผังเมือง ทีส่ ำคัญคือ ภาครัฐ จะต้องยอมรับความคิดเห็นของประชาชน และลงมือทำอย่างชัดเจน เชียงใหม่จะได้ เป็นเมืองในฝัน ที่คนในไม่อยากออก คนนอกก็อยากเข้ามา


มือวางผังเมือง เรือ่ ง: ธนพร สรไชยเมธา ภาพ: ชุตมิ ณฑน์ ตัง่ ธนาพร

“เชียงใหม่มีต้นทุนเดิมเยอะ แต่เสียดายการพัฒนาที่ผ่านมากลับ ไปลดคุณค่า ลดความหมายของความเป็นเมืองลง” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรานอม ตันสุขานนท์

นักผังเมืองผู้สร้างกระแสขับเคลื่อนให้เชียงใหม่กลายเป็นเมืองน่าอยู่ ในอดีตเมืองเชียงใหม่เปรียบเสมือนเมืองในฝันที่เชิญชวนให้นักท่องเที่ยว อาคารเก่า ถนนเก่า เพื่อสร้างถนนที่กว้างขึ้น มันเปลี่ยนสภาพเมือง มันก็กลาย เข้ า มาสั ม ผั ส กลิ ่ น อายความเป็ น เมื อ งล้ า นนาที ่ ม ี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว ของ เป็นเมืองใหม่คณ ุ ค่าของความเป็นเมืองประวัตศิ าสตร์กจ็ ะหายไป ดังนัน้ แค่พดู ว่า บ้านเมืองเก่า ผสมผสานความใกล้ชิดธรรมชาติกับเมืองไว้ด้วยกันจนถูกเรียกว่า การขยายถนนจะแก้ปัญหาจราจรได้ แต่จริงๆ แล้วมันทำให้เกิดผลกระทบเยอะ เป็น ‘วนานคร’ หรือ ‘เมืองในป่า’ เมื่อความเจริญเติบโตของทุนนิยมเข้า มาก” ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก เมืองเชียงใหม่จึงได้รับผลกระทบถูกกำหนดให้กลายเป็น การวางผังเมืองรวมที่เกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่กรมโยธาธิการ และผังเมืองของ เมืองศูนย์กลางของภาคเหนือ และกำหนดให้เป็นศูนย์กลางของความเจริญใน ส่วนกลางมีหน้าที่วางผังเมืองทั่วประเทศ การวางผังเมืองในระดับประเทศมักจะ ทุกๆ ด้าน ส่งผลให้เมืองเติบโตแบบไร้ทิศทาง การใช้ที่ดินในเมืองก็ไม่สามารถ ไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้ ควบคุมให้เป็นไปตามกฎระเบียบได้ และปราศจากรถขนส่งสาธารณะที่มีประ- เมืองเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา “ถ้าเราสร้างสภาพแวดล้อมให้คนเมืองรูส้ กึ แย่ สิทธิภาพ ในฐานะที่เป็นชาวเชียงใหม่ และได้ร่ำเรียนวิชาด้านการวางผังเมืองมา แล้วย้ายออกไปอยู่นอกเมืองเรื่อยๆ เมืองจะเป็นเมืองที่ไม่ยั่งยืน ไม่มีสุขภาวะ โดยตรง ผศ.ดร.ปรานอม ตันสุขานนท์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อมาเมืองจะกลายเป็นเมืองร้าง และเต็มไปด้วยผู้คนที่ไม่มีคุณภาพแน่นอน” และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นความเปลี่ยนแปลง อาจารย์ปรานอมให้ความสำคัญกับเมืองทีม่ คี วามหลากหลายว่าเป็นสิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่า ของเมืองทีไ่ ม่มปี ระสิทธิภาพ โดยเฉพาะการขยายถนน ซึง่ อาจารย์มคี วามเห็นว่า และมีชีวิตชีวา “ควรรู้ว่าของเดิมเรามีอะไร มีคุณค่ายังไง จะสามารถเก็บรักษา “เราจะพบว่าคนเชียงใหม่ตอ้ งพึง่ พารถส่วนตัวเป็นจำนวนมาก และมักบ่นว่ารถติด ได้อย่างไร ส่วนของใหม่ที่เข้ามาควรจะมีระบบดูแลอย่างไร ให้มีการเชื่อมโยง ถนนเล็กไป ที่จอดรถไม่พอ จึงต้องการให้ขยายถนน ซึ่งแท้จริงแล้วไม่มีเมืองไหน ระหว่างของใหม่กับของเก่าเพื่อให้เมืองมีความหลากหลายในแง่ชีวิต ความ ในโลกจะแก้ปัญหารถติดด้วยการขยายถนน มันเป็นไปไม่ได้” หลากหลายในเรื่องอายุ อาชีพ และฐานะ” เมืองเชียงใหม่มีผังเมืองที่ถูกปรับมาเป็นเวลากว่า ๒๐ ปีแล้ว แต่ยังมีการ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว เมืองเชียงใหม่ก็ไม่ได้สร้างเสร็จ เติบโตโดยมีปัญหาเก่าที่ไม่ถูกแก้ไขซ้อนทับปัญหาใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้ ภายในวันเดียวเช่นกัน แต่ต้องอาศัยระยะเวลา ความรู้ความเข้าใจในคุณค่าของ ผังเมือง รวมที่มีอายุการใช้งาน ๕ ปีได้หมดอายุลงแล้ว รวมถึงสิทธิ์ในการ เมืองนัน้ ทีค่ วรจะอนุรกั ษ์ และความร่วมมือร่วมใจของเจ้าบ้าน นัน่ คือชาวเชียงใหม่ ประกาศใช้ ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑ ปี ก็ถูกใช้จนหมด เมื่อเกิดผังเมืองรวมฉบับร่าง เอง ซึ่งความมุ่งหวังของอาจารย์ปรานอมในการดำเนินงานที่ผ่านมาจะสำเร็จได้ แผนใหม่ที่มีการเสนอให้มีการขยายถนนในเขตเทศบาล ซึ่งเป็นเขตเมืองเก่า ถ้าชาวเชียงใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดสร้างบ้านที่น่าอยู่ ที่ทุกคนพึงพอใจ ๓๕ สาย จึงทำให้เกิดการเรียกร้องคัดค้านของชาวบ้านทีอ่ ยูอ่ าศัยในย่านเหล่านัน้ ร่วมกัน “คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการวางผังเมืองเป็นเรื่องไกลตัว อย่าคิดว่าเป็น และอาจารย์ปรานอมก็เป็นบุคคลหนึง่ ทีไ่ ม่เห็นด้วยกับการขยายถนนเพือ่ แก้ปญ ั หา หน้าที่ของเทศบาล ของอำเภอ หรือของคนอื่น ถ้าชาวเชียงใหม่มาช่วยกันคิด รถติด “ถ้ามีการขยายถนนเกิดขึน้ จริง บ้านเมืองเก่าก็จะถูกรือ้ ทิง้ การทีร่ อ้ื เมืองเก่า ช่วยกันสร้าง เราเชื่อว่ามันมีพลัง”


เชียงใหม่ในฝัน เรื่อง: พลอยนิตา โชคไพบูลย์

เชียงใหม่เคยเป็นเมืองในฝันของหลายคน สวยงาม สงบ สะอาด คนในอยากอยู่ คนนอกก็อยากเข้ามาชม มาเทีย่ ว แม้กระทัง่ ย้ายถิน่ ฐานมาอยู ่ แต่เผลอนิดเดียว หันกลับมา มองอีกที เชียงใหม่เปลีย่ นไปจากเดิมมาก เมืองโตเร็วเกินไป หลายสิง่ หลายอย่างทีเ่ ข้ามาใหม่ ทำให้เชียงใหม่สวยน้อยลง เมืองมีแต่ปัญหา เช่น ขยะล้นเมือง ควันพิษ บ้านเก่าถูกทำลาย หรือแม้กระทั่งน้ำใจจากคนเชียงใหม่ด้วยกันเอง อย่าทำร้ายเชียงใหม่ให้กลายเป็นเมืองไร้สุข ยิ่งกว่านี้เลย ช่วยกันเติมฝันให้เชียงใหม่น่ารักที่สุดในโลก เริ่มตอนนี้ก็ยังไม่สาย เรามาดูกัน ดีกว่าว่า ๑๐ ฝันของชาวเชียงใหม่ที่หลายๆ คนอยากให้เป็น มีอะไรบ้าง

๓๔


๑. อยากมีระบบขนส่งมวลชนที่ดี เนื่องจากคนในเมืองเยอะขึ้น รถติด อากาศก็เสีย คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ รถส่วนตัวเพราะสะดวก และเร็วกว่าการโดยสารไปกับรถแดง รถเมล์ หรือ แท็กซี ่ เพราะทัง้ แพงและไม่ตรงเวลา ทำให้เชียงใหม่ปว่ ยเรือ้ รัง แต่ปญ ั หาเหล่านี้ สามารถแก้ได้โดยการปรับระบบขนส่งสาธารณะให้เป็นระบบที่คนใช้จริงๆ รถสาธารณะต่างๆ ควรมีมาตรฐานทั้งเรื่องราคา เวลา ความสะอาด และการ บริการที่เอื้อให้คนใช้รถส่วนตัวน้อยลง ถ้าทำได้ตามนี้แล้วรับรองว่าปัญหาเรื่อง รถติด การจอดรถริมทาง รวมถึงหมอกและควันในเมืองจะลดลงด้วย ที่จอดรถ ก็ต้องไม่ไปแย่งพื้นที่เมือง คืออาจจะแทรกตัวอยู่ตามอาคาร หรืออยู่ไกลจาก ตัวเมือง นอกจากนี้ จะต้องปรับบาทวิถีให้สะอาด ปลอดภัย เพื่อให้คนออกมา เดินในเมืองหรือใช้จักรยานมากขึ้น สุขภาพคนดีขึ้น ถือเป็นการเพิ่มชีวิตชีวาให้ เมืองอีกด้วย ๒. เป็นเมืองที่มีชีวิต แต่ละย่านมีเรื่องราวที่ต่างกัน เมื่อประกอบกันแล้วทำให้เมืองเป็นเมือง มีบ้าน ร้านขายของชำ ร้านข้าวหน้าปากซอย ที่คนเลือกจับจ่ายใช้สอยสะดวก เดินออกจากบ้านนิดเดียวก็ถึง แถมยังได้ออกกำลังกายไปในตัว ไม่เหมือน บ้านจัดสรรทีม่ องไปทางไหนก็มแี ต่ทรงสีเ่ หลีย่ มทือ่ ๆ ไร้จติ วิญญาณเหมือนกันหมด จะไปไหน อยากทำอะไรก็ไม่สะดวก กลางวันคนต้องขับรถมาใช้ชีวิตในเมือง มีบ้านแค่ไว้เป็นที่นอน จึงฝันอยากให้ทุกย่านในเชียงใหม่มีผังเมืองที่ดี ให้คนมี บ้านไม่เดือดร้อน ปลอดภัยจากทั้งสิ่งรบกวนและอันตรายต่างๆ ๓. ความหลากหลายของอาคาร เชียงใหม่เดีย๋ วนีถ้ งึ เป็นตอนกลางวันก็มองไม่เห็นดอยสุเทพแล้ว สาเหตุจาก หมอกควันปิดกั้น แถมยังโดนตึกสูงบังมิด ตรงข้ามกับสมัยก่อนที่ไม่ว่าจะอยู่ จุดไหนก็มองเห็นดอยสุเทพสวยเด่นเป็นสง่า มักจะได้ยินพ่ออุ้ยแม่อุ้ยเล่าว่า เมื่อก่อนดอยสุเทพถือเป็นสัญลักษณ์ของเชียงใหม่ แขกไปใครมาก็จะนึกถึง ดอยสุเทพ แถมคนโบราณยังใช้ดอยสุเทพเป็นหลักกำหนดเส้นทางด้วย แต่ ตอนนี้สัญลักษณ์นี้เริ่มถูกทำให้เลือนหายไป แต่ว่ายังไม่สายเกินไปถ้าจะมีการ ปรับผังเมืองใหม่ เริ่มต้นตั้งแต่การกำหนดความสูงของอาคารให้ลดหลั่นกัน กำหนดจุดสายตา (eye point) เพือ่ ช่วยรักษาทัศนียภาพของเมือง ส่วนย่านการค้า โดยเฉพาะตอนกลางคืน สถานบันเทิงต่างๆ ต้องมีการเก็บเสียงที่ดี กำหนด เวลาปิดเพื่อจะได้ไม่ไปรบกวนชาวบ้าน และจะต้องตั้งอยู่ไกลจากสถานศึกษา ถ้าทำได้ตามนี ้ จะทำให้สขุ ภาวะเมืองมีความสมดุล การพาณิชย์และการอยูอ่ าศัย เกื้อหนุนกันและกัน คนที่มีคุณภาพก็ไม่จำเป็นต้องย้ายออกไปอยู่นอกเมือง อีกต่อไป ๔. ย่านที่พักอาศัยกระจายตัวอยู่ทั่วเมือง ปัจจุบนั ย่านการค้า ทีพ่ กั อาศัย และทีท่ ำงานส่วนใหญ่อยูแ่ ยกจากกันสิน้ เชิง ทำให้คนต้องเดินทางโดยรถส่วนตัว รถเลยติดเพราะคนเข้าเมืองเวลาเดียวกัน บางช่วงคนเยอะ บางช่วงก็ไม่มคี น หลายปีทผ่ี า่ นมา เชียงใหม่มสี ภาพแวดล้อม ที่ทำให้คนอยากไปอยู่นอกเมือง เพราะรู้สึกว่าอยู่ในเมืองไม่สบาย สิ่งรบกวน มากมาย ทั้งปัญหาหมอกควัน เสียงรบกวนยามวิกาลจากสถานบันเทิง เมือง ในฝันทีแ่ ท้จริงต้องมีการใช้พน้ื ทีเ่ มืองตลอดเวลา เมืองมีชวี ติ สุดท้ายถ้าไม่มกี าร แก้ปัญหาจะทำให้เมืองร้าง เต็มไปด้วยคนไม่มีคุณภาพ ซึ่งบางปัญหาสามารถ แก้ได้ดว้ ยวินยั ในการปฏิบตั ติ ามกฎหมาย และทีส่ ำคัญคือ คนในเมืองต้องเข้าใจ ความสำคัญของกฎหมายและส่วนรวมด้วย ๕. มีลานสาธารณะที่เพียงพอ การมีพื้นที่สาธารณะหลากขนาดหลายประเภท กระจายตัวอยู่ทั่วเมือง สามารถใช้พักผ่อนหรือทำกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ร่วมกันระหว่างคนในพื้นที่ หรือชุมชนเดียวกัน ที่สำคัญ ทุกคนต้องเห็นคุณค่า และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ร่วมกัน ถือลานสาธารณะเหล่านีเ้ ป็นสมบัตริ ว่ มกัน นอกจากนัน้ เมือ่ คนในเมือง มีความสนิทสนมกลมเกลียวกัน มีจิตใจที่ดี ก็จะช่วยลดปัญหาความรุนแรง ในเมืองด้วย ๖. มีเสน่ห์ต้องตาต้องใจคนต่างถิ่น ใครๆ ก็อยากมาเชียงใหม่ พอถึงหน้าหนาวอยากขึ้นดอย สงกรานต์ก็ อยากมาเล่นน้ำรอบคูเมือง แม้แต่เทศกาลดนตรี หรืองานต่างๆ คนก็แห่มาจัด

ที่เชียงใหม่ เลยทำให้เชียงใหม่ครึกครื้นตลอดเวลา ในข้อนี้จึงไม่น่าเป็นห่วง สักเท่าไหร่ แต่หากเรามานั่งคิดดีๆ ถึงอนาคตว่า เราจะรักษาเสน่ห์ที่มีอยู่ได้ อย่างไร เพื่อให้คนที่อยู่เดิมไม่อยากย้ายไปอยู่ที่อื่น และคนนอกยังอยากเข้ามา เรียน มาเทีย่ ว มาทำงาน หรือย้ายมาอยู ่ แต่คนทีเ่ ข้ามาใหม่กต็ อ้ งไม่นำของใหม่ มาทำลายคุณค่า วัฒนธรรม ของเชียงใหม่ลง ส่วนคนในก็ต้องรู้สึกรักและเห็น คุณค่าของสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ ในระดับเมืองก็ต้องไม่พัฒนาเพื่อคนที่เข้ามาใหม่ เช่น สร้างอาคารใหม่เพิ่มเรื่อยๆ โดยไม่กังวลว่าจะทำให้ผังเมืองเดิมเสียสมดุล นั่นไม่ใช่การพัฒนาในระยะยาว จึงเป็นหน้าที่ที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกัน ๗. พื้นที่สีเขียว ต้นไม้ใหญ่ สวนหลังคา น่าเสียดายที่นับวันต้นไม้ใหญ่ในเมืองที่เหมือนจะใหญ่อย่างเชียงใหม่ เหลือน้อยลงทุกวัน ต้นไม้คู่บ้านคู่เมืองถูกตัดทิ้งอยู่บ่อยๆ เมื่อเห็นว่ากิ่งก้าน ของมันรกเกินไป หรือตัดทิ้งเพราะจะนำพื้นที่ไปสร้างอาคาร ต้นไม้ใหญ่จึง หมดประโยชน์ ทั้งที่จริงแล้ว ต้นไม้ช่วยสร้างบรรยากาศเมืองให้ร่มรื่น น่าอยู่ มีชีวิตชีวา ช่วยขับสารพิษในอากาศ และยังช่วยฟอกสุขภาพทั้งกายและใจของ คนเมืองให้สะอาดด้วย ประโยชน์ต่อไปคือ ถ้ามีต้นไม้ใหญ่เล็กในเมืองมากๆ เมืองก็จะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้คนออกมาเดินเล่น ทำกิจกรรมในพื้นที่ ส่วนกลางมากขึน้ แทนทีจ่ ะเลือกไปพักผ่อนตามทีไ่ กลๆ ส่วนสวนหลังคาก็ชว่ ยกัน ความร้อนในแต่ละบ้าน ทำได้ง่ายๆ แค่ลงมือปลูกต้นไม้เล็กๆ หรือผักสวนครัว นอกจากจะให้บ้านเย็นขึ้นแล้ว ยังประหยัดทั้งเงินและเวลาในการออกไปซื้อผัก แพงๆ ตามซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วคนในบ้านก็ไม่ต้องรับสารพิษจากภายนอกด้วย ๘. มีระบบสัญจรที่เชื่อมต่อสู่ภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ เชียงใหม่ไม่เหมือนเมืองอื่นในโลก เพราะมีสนามบินอยู่ใกล้เมือง เดินทาง ไม่กี่นาทีก็ถึง ดูเหมือนจะเท่แต่ไม่เลย เสียงรบกวนจากเครื่องบินทำร้ายระบบ ประสาทและสมองของคนบ้านใกล้มานานมาก แม้ว่าเค้าความเป็นไปได้จะยัง ริบหรี่สำหรับความฝันข้อนี้ แต่ถ้าในอนาคตมีการเคลื่อนย้ายสนามบินไปอยู่ นอกตัวเมือง แล้วก็ตอ้ งมีการเดินทางจากใจกลางเมืองไปสูส่ นามบิน สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ และพื้นที่ภายนอก ที่สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และต้อง รักษ์โลกโดยการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งทำให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับ เลือก ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากกว่ารถส่วนตัว ๙. มีแปลงเกษตรอินทรีย์อยู่ในเมืองหรือใกล้เมือง ทุกวันนี้คนเมืองส่วนใหญ่บริโภคผักเคลือบยาฆ่าแมลง เพราะมีแหล่ง เพาะปลูกไกลเมือง ต้องใช้ระยะเวลาขนส่งทำให้คณ ุ ค่าอาหารและความสดใหม่ น้อยลง ฉะนั้นการมีแหล่งเพาะปลูกในเมืองหรือใกล้เมืองจะช่วยลดปัญหา เหล่านี้ได้ การมีพื้นที่เพาะปลูกในเมืองช่วยส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อม ผลผลิต หลากหลาย คนในเมืองก็ภูมิใจที่ได้รับวัตถุดิบที่ปลอดภัย ปลูกเอง แถมราคา ไม่แพงเพราะตัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและพ่อค้าคนกลาง พื้นที่สีเขียวและ แหล่งเรียนรู้มากขึ้น สุขภาพคนเมืองก็ดีขึ้น ๑๐. ร้านค้าน่ารักริมทาง ทางเดินเท้าที่ร่มรื่น น่าเดิน คนขายหน้าตาเป็นมิตรประกอบกับร้านค้า หน้าตาน่ารักริมทางกับสินค้าที่สะดุดตา ทำให้คนนิยมเดินเท้ามากขึ้น การเดิน ดูของสวยๆ งามๆ ในสถานที่ดีๆ ช่วยให้ความเครียดที่ติดตัวมาลดลง และการ ที่คนออกมาพบปะกันมากขึ้น ทำให้เมืองน่าอยู่และมีชีวิตมากขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่ สำคัญคือ ร้านค้าเหล่านี้ต้องอยู่ในบริเวณที่คนเข้าถึงสะดวกด้วยการเดินเท้า หรือโดยสารรถสาธารณะ เพราะถ้าอยู่ในพื้นที่ไกลๆ ที่คนเลือกเดินทางด้วย รถส่วนตัว ก็จะนำมาซึ่งปัญหารถติดหรือที่จอดรถต่อไปอีกเรื่อยๆ บอกเล่าความฝันให้ทุกคนฟังจบแล้ว สุดท้ายก็อยู่ที่พวกเราแล้วล่ะว่าจะ ทำฝันเหล่านี้ให้กลายเป็นจริงได้ไหม หรือจะกลายเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ แต่ รับรองได้ว่า เรื่องแบบนี้ ไม่ยากเกินกว่าจะเปลี่ยนมันให้กลายเป็นความจริง แน่นอน

๓๕


เติ๋น


SPIRIT OF THE CITY

อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ กับความคิดที่ว่า เราพัฒนาเมืองได้แต่ต้องไม่ลืมความหมายของเมือง เรื่อง> นันทนัช อรุโณทยานันท์ ภาพ> อุกฤษฏ์ จียะพันธ์

หนังสือชือ่ ‘เดินสูอ่ สิ รภาพ’ ทำให้คนทัว่ ไปรูจ้ กั อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ เรื่องราวการเดินเท้า ๖๖ วันจากเมืองที่อาศัย-เชียงใหม่ กลับไปบ้านเกิดสมุย โดยไม่ใช้เงิน ไม่ติดต่อและขออะไรจากใคร เพราะตั้งใจจะละการ เบียดเบียน ได้สะท้อนความเชื่อและจิตศรัทธาของเขา พร้อมทั้งสร้างความ อิ่มเอมและอัศจรรย์ใจกับการค้นพบความหมายของชีวิตเล็กๆ ที่งดงาม จากอดีตลูกทะเล เติบโตผ่านการหล่อหลอมบวชเรียนภายใต้ร่มโพธิ์ของ พระพุทธศาสนา จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านปรัชญาที่อินเดีย แต่ ท้ายที่สุดก็ได้กลายมาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาบอกว่า เชียงใหม่คือแผ่นดินบนผิวโลกที่เขาอาศัยอยู่มานานที่สุด

เชียงใหม่วันนี้เปลี่ยนไปจากช่วงที่อาจารย์รู้จักแรกๆ มากไหม

เปลี่ยนเร็วมาก ช่วงแรกเราที่เป็นคนต่างถิ่นยังพอเห็นความเปลี่ยนแปลง แต่พออยู่นานเข้า กลายเป็นคนที่อยู่ประจำ มีความผูกพันจนกลายเป็นความ ยึดติด ความเปลี่ยนแปลงนั้นก็มากระทบความผูกพัน เช่น ตอนมาอยู่เชียงใหม่ แรกๆ มีแค่จกั รยานคันเดียว ผมสามารถไปดูหนังตามโรงหนังต่างๆ ในเชียงใหม่ หลังเลิกงานทุกเย็น สมัยนั้นมีโรงหนังเยอะมาก รถก็ไม่ได้มากขนาดนี้ และ มีความสุขทีไ่ ด้ไปดูหนัง ปัจจุบนั โรงหนังเหล่านีไ้ ม่มแี ล้ว ความคิดทีจ่ ะขีจ่ กั รยาน อย่างสมัยนัน้ ก็นอ้ ยลง อย่างซอยวัดอุโมงค์ ผมขีจ่ กั รยานกลับหลังจากดูหนังได้ โดยไม่ต้องมีไฟ ผมจำโค้งเลี้ยวของถนนสุเทพหลัง มช. ได้แม่น ความรู้สึกลึกๆ ทีร่ สู้ กึ ว่าเชียงใหม่เปลีย่ น เพราะเชียงใหม่มอี ะไรใหม่ มันเป็นความรูส้ กึ ไม่คนุ้ ชิน ซึ่งความไม่คุ้นชินนั้นก็เป็นปัญหานิดๆ เมื่อมองจากโครงสร้างทางกายภาพแล้ว เรายังพบความเปลีย่ นแปลง ซึง่ ความเปลีย่ นแปลงนัน้ ลดทอนเสน่หอ์ นั เป็นคุณค่า ของเมืองเชียงใหม่

นอกจากการเปลีย่ นแปลงทางกายภาพแล้ว ทางด้านจิตใจเราเปลีย่ น อย่างไร

ทางด้านจิตใจเปลี่ยนแน่นอน แต่พูดให้เห็นภาพไม่ได้นัก เพราะมันเป็น นามธรรม ซึ่งต้องมีจิตของเราเข้าไปผูกพันด้วย เราจะรู้สึกได้ถึงความหมายที่ ไม่เหมือนเดิม เช่น เมื่อผมมีจักรยาน ผมชอบขี่จักรยานไปตามวัด ชอบไปชม ไปไหว้พระ มันมีความสงบ เราจะพบความหมายอะไรบางสิง่ บางอย่างทีม่ เี สน่ห ์ การที่เป็นเมืองเก่า มีศาสนสถานที่สวยๆ ปัจจุบันความรู้สึกที่จะได้ไปสัมผัสวัด ทีเ่ งียบสงบคลายไป หรือตามริมถนนฟุตปาททีเ่ ราเคยถีบจักรยานไปได้ ปัจจุบนั ก็ไม่มีฟุตปาทแบบนั้น นี่เป็นการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ ซึ่งส่งผล ต่อความรู้สึกของเราในเชิงนามธรรม เช่น ในปัจจุบัน แม้เราจะหลับตาทำเป็น คนใหม่ที่ไม่รู้จักเชียงใหม่มาก่อน เราแบกเป้สักใบเดินในเมืองเชียงใหม่ เรา อาจจะไม่พบรอยยิ้มที่คนท้องถิ่นยิ้มให้เราอย่างในอดีตแล้ว แล้วคนท้องถิ่นใน เมืองเชียงใหม่เองก็ไม่ค่อยมีโอกาสมาสัมผัสคนข้างนอกแล้วเช่นกัน ความรู้สึก ที่ว่าเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองง่ายๆ ช้าๆ มันเปลี่ยนไปแล้ว ในเมืองเชียงใหม่มี ความเร่งรีบ และความเร่งรีบเหล่านี้ ทำให้เราสูญเสียโอกาสที่จะได้ยิ้มให้กัน สูญเสียโอกาสที่จะได้ใส่ใจคนข้างเคียงที่เราผ่าน ซึ่งมันมีผลกระทบกับสภาวธรรมนามธรรมของการมีชีวิตอยู่ในเมืองเชียงใหม่

ปัจจุบันเชียงใหม่มีโครงการขยายเมืองเพื่อนักท่องเที่ยวมากมาย ทัง้ ขยายถนน มีเกสต์เฮาส์ โรงแรม มากมาย เชียงใหม่กำลังเดินทาง และพัฒนาไปในทางที่ถูกไหม เวลาเราพูดถึงคำว่าถูกหรือผิด จะมีคนอีกกลุม่ ทีไ่ ม่เห็นด้วย และเราไม่อยาก ให้ความไม่เห็นด้วยนัน้ นำมาซึง่ ปัญหา นำมาโต้แย้งกัน แต่เราจะพูดในความรูส้ กึ ลึกๆ ของคน ก็คือ เมืองก็เหมือนคน มีอัตลักษณ์ที่ทำให้เชียงใหม่ไม่ใช่เมือง ท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น ความเป็นเมืองที่มีอายุยืนยาวนับ ๗๐๐ กว่าปี ความเป็น เมืองศูนย์กลางของภูมิภาค มีสภาพเมือง แผนผังของเมือง เช่น คูเมืองที่มี ๓๗


น้ำล้อมรอบ และสมมติวา่ ถ้าใครอยากจะสร้างผังเมืองให้มนี ำ้ ล้อมรอบผุดขึน้ มา แต่มันไม่เก่า ไม่สามารถจินตนาการว่า นี่คือกำแพงเมืองในอดีต เหมือนที่ เชียงใหม่เป็นเมืองหลวงของล้านนาในอดีต พอเรารูส้ กึ ได้แค่น ้ี ความเป็นเชียงใหม่ ไม่ได้หมายถึงพื้นที่ทางกายภาพที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น แต่ความเป็นเชียงใหม่ หมายความถึงความเป็นมา ความหมายอะไรบางอย่างที่ถูกสะสมมาเป็นเวลา อันเนิ่นนานที่ไม่ว่าจะมีใครสักคนที่อยากสร้างเมืองให้เหมือนเชียงใหม่ก็ไม่ สามารถทำได้ในเชิงจิตใจ

ทำไมวันหยุดคนในเชียงใหม่ถึงต้องไปอัดกันอยู่ในห้าง เราขาด สถานที่พักผ่อนหย่อนใจประเภทอื่นหรือ

เพื่อตอบสนองความสะดวกสบายทางกายภาพ โดยหลงลืมไปว่า สิง่ ทีจ่ ะผลักดันให้สงั คมมนุษย์อยูไ่ ด้มนั ไม่ใช่แค่สงิ่ ทีจ่ บั ต้องภายนอก มันเป็นมิตทิ างจิตวิญญาณ อาจารย์คดิ อย่างไร ในกรณีทมี่ คี นบอกว่า ศรัทธาของคนในเมืองเชียงใหม่เริ่มหายไป ทำให้การพัฒนาเมือง จึงเกิดแต่ในด้านวัตถุ

เอกลักษณ์หนึ่งของเมืองเชียงใหม่คือมีทั้งความใหม่และความเก่า อาจารย์มองว่าตอนนี้มันอยู่ในจุดที่สมดุลไหม

พื้นที่สาธารณะมีน้อย และในปัจจุบันมันค่อยๆ หายไป เราไม่เก้อเขินเมื่อ ไปเดินในห้าง เพราะทุกคนก็ไปเดิน และเขาก็ต้องการให้เราไปเดิน จึงสร้างสิ่ง ยั่วยุให้เราไปเดิน และมันเป็นอิสระที่จะไปเดิน เพราะเขาเปิดโอกาสให้เราเดิน แต่พื้นที่สาธารณะมีมากกว่านั้น พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ที่ทำให้เรารู้สึก ปลอดโปร่ง มีความสบายใจที่จะได้เคลื่อนย้ายตัวเองอยู่ในพื้นที่นั้นโดยไม่รู้สึก อาจารย์มองปรากฏการณ์การท่องเที่ยวแบบกินข้าวซอยร้านนั้น กดดัน ผมรู้สึกเรื่องนี้ตอนที่ออกเดินปี ๔๘-๔๙ ริมถนนที่มีพื้นที่พอนั่งได้คือ แวะเค้กร้านนี้ ดูหมีแพนด้า ที่เกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยวในเชียงใหม่ ปั๊มน้ำมัน แต่ปั๊มน้ำมันเองก็ยังมีโครงสร้างของพื้นที่ธุรกิจ พื้นที่สาธารณะใน อย่างไร ความรู้สึกของผมมันจึงหดสั้นเหลือน้อย สวนสาธารณะเองก็มีน้อยและบางที่ก็ เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวอยู่แล้ว เราไม่จำเป็นต้องใส่ใจการขาย ถูกจับจองโดยคนบางกลุ่ม เมื่อพื้นที่สาธารณะมีน้อยจึงบีบให้คนไปเดินในห้าง เกินความจำเป็น และให้พยายามรักษาความเป็นเมืองเชียงใหม่ทม่ี คี วามสวยงาม ระบบการจราจรในเชียงใหม่เป็นปัญหาเรื้อรังมาก แต่ก็ยังไม่ค่อย ไว้ สมมติว่าเราเป็นเจ้าของร้านอาหารสักร้านที่มีฝีมือพอที่จะขายอยู่แล้ว แต่ มีใครหันมาใช้จักรยาน อาจารย์คิดว่าเป็นเพราะอะไร ไปมุ่งใช้เวลาประชาสัมพันธ์มากเกิน สุดท้ายก็ต้องทำอาหารแบบลวกๆ ไม่มี นี่คือสิ่งที่เราควรพูด ไม่ใช่พูดเพื่อตำหนิหรือประณาม แต่เป็นการพูดให้ คุณภาพ ผมเข้าใจว่านี่คือเสน่ห์ที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวที่ดีและมีคุณต่อท้องถิ่น เห็นภาพโดยรวมว่า เวลาออกแบบเมือง เมืองเป็นสถานที่ที่จะทำให้คน ด้วยต้องมีความยั่งยืน การท่องเที่ยวมันมีทั้งคุณและโทษ บ้านผมที่เกาะสมุย หลากหลายกลุม่ และสถานะมาอยูร่ ว่ มกันได้อย่างมีความสุข การออกแบบเมือง อาจจะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่นำเงินตราเข้าสู่ประเทศมาก แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ต้องเอื้อให้คนระดับสูง กลาง ต่ำ สามารถมีชีวิตอยู่ในเมืองนั้นได้ รวมทั้งให้ คนท้องถิน่ ทีเ่ ป็นชาวเกาะโดยกำเนิดมีชะตากรรมทีเ่ จ็บปวดมาก ญาติพน่ี อ้ งผม ความสำคัญสำหรับคนบางกลุม่ คนพิการ คนแก่ ไม่ให้ใครรูส้ กึ ถูกกีดกันออกไป จำนวนมากอยู่โดยไม่รู้จะไปไหน ไม่มีความสามารถจะหนีออกจากเกาะไปได้ เราต้องการให้ทุกคนอยู่ในเมืองนี้อย่างมีความสุข จึงมีการสร้างเมือง แต่เพราะ จำเป็นต้องอยู่ และอยู่อย่างลำบาก เพราะทุกครั้งที่คนนึกถึงเกาะสมุย คน คนหลายกลุ่มอยู่ร่วมกันจึงเป็นปัญหาเหมือนกัน คนหนึ่งต้องทำการค้า อีกคน ไม่นึกถึงคนท้องถิ่น คิดถึงธุรกิจท่องเที่ยวบนเกาะสมุยเท่านั้น ถ้าจะจัดการ อยากอยูเ่ งียบๆ เราจะทำอย่างไรให้ยา่ นการค้ากับย่านทีอ่ ยูอ่ าศัยมันมีความหมาย ปัญหา เขาจะแก้แค่เรื่องการท่องเที่ยว ไม่ได้แก้ไขปัญหาวิถีชีวิตของคน แต่ ที่ค่อนข้างจะต้องกำหนดให้ชัดเจน เมืองที่ดีจะถูกออกแบบไว้หมด ย่านการค้า เชียงใหม่ไม่ได้เป็นแบบนั้น เชียงใหม่ยังมีโครงสร้างที่ดี เพราะฉะนั้น พูดถึง ย่านอุตสาหกรรม ย่านการศึกษาควรอยู่ตรงไหน เป็นอย่างไร มิฉะนั้นจะมี การท่องเที่ยวเราไม่ได้รังเกียจ แต่ต้องเข้าใจว่าทำอย่างไรให้การท่องเที่ยวนั้น ปัญหาเต็มไปหมด ผังเมืองจึงเป็นการออกแบบเมือง เหมือนเราออกแบบบ้าน ยั่งยืนและมีผลที่มีคุณค่าต่อประชาชนท้องถิ่นชาวเชียงใหม่ด้วย แต่บ้านเป็นสิทธิ์ของเราว่าจะมีห้องน้ำ ห้องครัว ห้องรับแขก ปัจจุบันที่มีปัญหา ทำไมคนทีม่ าอยูเ่ ชียงใหม่จงึ สามารถเขียนหนังสือหรือทำงานศิลปะ เพราะคนที่มีอำนาจเหนือการกำหนดผังเมืองคือพ่อค้า ถืออำนาจรัฐ ทำให้เกิด ได้มาก พื้นที่การค้า พื้นที่ธุรกิจที่แสวงกำไร เพราะฉะนั้นที่ที่ควรเป็นพื้นที่ดีๆ ริมแม่น้ำ มันมีความลงตัวซึ่งเราไม่สามารถชี้ไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้แน่นอน สภาพ พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ จึงเป็นพื้นที่ธุรกิจ พื้นที่ร้านอาหารไปเสียหมด ผมพูด เมืองที่มีบรรยากาศ อากาศ ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมทุกอย่าง มีแม่น้ำสาย เพียงแค่หลักการว่าสิง่ ทีเ่ รียกว่าผังเมืองจำเป็นสำหรับการทำให้เป็นเมืองทีน่ า่ อยู ่ ใหญ่ จะว่าของประเทศไทยก็ได้ การที่เชียงใหม่มีแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ ผังเมืองที่ออกแบบมาจะต้องคิดถึงคนทุกกลุ่ม และคิดในความหมายที่ทำให้ ไหลผ่านและไหลผ่านในความหมายทีส่ วยสดงดงามด้วย มีภเู ขา มีสภาพแวดล้อม แต่ละกลุม่ สามารถดำเนินชีวติ ไปได้โดยไม่เบียดเบียนกัน เมือ่ พูดถึงถนน ปัจจุบนั ที่มีภูเขาโอบล้อม มีความหนาวเย็น องค์ประกอบเหล่านี้ไม่พอ ยังหมายถึง เวลาเราสร้างถนนหรือทางเท้าเราไม่ได้คิดถึงคนเดินหรือจักรยาน เราคิดแต่ว่า วิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่ในเชียงใหม่ เชียงใหม่เป็นเมืองที่แปลกมาก เปิดกว้างที่จะ จะทำอย่างไรให้รถไปได้อย่างรวดเร็ว ถึงขนาดที่ว่าบนถนนเราไม่จัดให้คนข้าม รับรู้วิทยาการหรือความรู้ใหม่ๆ ผมเข้าใจว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความเปิดพอ ทั้งที่จริงคนเดิน จะต้องมีข้ามไปข้ามมา จุดให้ข้ามหรือเดินก็ไม่มี บีบคั้นให้คน ที่จะให้มีสิ่งซึ่งเป็นความหมายดีๆ ปรากฏขึ้นในชุมชนหรือสังคม ไปซื้อรถ แล้วเราก็มีปัญหามลพิษ รถติด ขยายถนน นี่เป็นปัญหาที่ผมคิดว่า ปัจจุบนั มนุษย์สร้างสิง่ ทีใ่ หญ่โตแต่ไม่ได้มศี รัทธาต่อสิง่ นัน้ แต่สร้าง เราต้องแก้เชิงโครงสร้างผังเมือง

ถ้าเราเอาเชียงใหม่เป็นตัวตั้ง แล้วเราวางเรียงประวัติศาสตร์เชียงใหม่ให้ ผ่านอีกสัก ๕๐๐ ปี มีอายุสัก ๑,๐๐๐ ปี แล้วเหลือร่องรอยซากให้เรามาขุดค้น ว่าในยุค ๕๐๐ ปีแรก เราพอจะเทียบเคียงได้ว่า ซากสิ่งปลูกสร้างที่ค้นพบคือ วัด แต่ว่าหลังจากนี้ไปอีก ๕๐๐ ปี ซากที่เราค้นพบก็จะเป็นห้างสรรพสินค้า เพราะเราสร้างห้างใหญ่โต คำถามคือ แล้วมันต่างอะไรกันระหว่างซากเจดียห์ ลวง กับซากห้างที่ยังเหลือในเมืองเชียงใหม่ เรามีสิ่งที่เป็นวัตถุนี้ไว้เพื่ออะไร ตอบ ได้เลยว่า ซากโบราณสถานที่เป็นเจดีย์นั้นบอกว่าเรามีจิตเคารพในบางอย่างที่ เป็นความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นพลังของความหมายที่ทำให้เรา เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกับซากวัตถุนั้น ส่วนซากของ ๕๐๐ ปีที่เราอยู่ปัจจุบัน คือซากที่ ใช้เป็นสถานที่จับจ่ายใช้สอย ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของสิ่งที่เป็นวัตถุ

แล้วมนุษย์จะอยู่ได้ไหม

มนุษย์มีความสามารถที่จะเรียนรู้ ผมเชื่อ พอไปถึงจุดหนึ่งแล้วจะหันกลับ เมื่อได้เผชิญกับชะตากรรมที่เป็นผลผลิตจากสิ่งที่ตัวเองสร้าง จะกลับมา เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ถ้าพูดถึงวงจรคนคนเดียว ลองสังเกตผู้เฒ่าผู้แก่ ทำไม จึงเปลี่ยนวิถีชีวิต เพราะวิถีชีวิตเดิมก่อให้เกิดปัญหา เช่น เขามีโรค มีภาวะการ บกพร่องทางกายภาพ กลายเป็นความทุกข์ เขาจึงไม่สามารถมีชีวิตอยู่แบบนั้น ได้ บางคนต้องหันกลับมามีชีวิตอย่างง่ายๆ ทานอาหารชีวจิต พอมาถึงวันหนึ่ง เขารูว้ า่ การดำรงชีวติ แบบทีผ่ า่ นมาตอนวัยหนุม่ มันก่อให้เกิดผลทีไ่ ม่พงึ ปรารถนา แน่นอนว่าการทานชีวจิตก็ตาย แต่มันช่วยประคับประคองถนอมเนื้อตัวเราให้ ตายไม่ทรมานนัก แม้ในคนคนเดียวก็มีการเปลี่ยนผ่านเปลี่ยนแปลง โครงสร้าง สังคมก็ย่อมจะมีการเปลี่ยนแปลง ๓๘ 8

เชียงใหม่มีความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่สามารถคิดและทำในสิ่งที่เมืองอื่น ทำไม่ได้ เชียงใหม่สามารถเป็นตัวอย่างระบบขนส่งมวลชนที่ดี ผังเมืองที่ดี ว่าจะเป็นอย่างไร โดยไม่ตอ้ งไปลอกขนส่งมวลชนจากกรุงเทพฯ นัน่ เป็นโครงสร้าง ทีเ่ ราต้องคิด และผมเชือ่ ว่าสภาพเมืองเชียงใหม่สามารถคิดและตอบคำถามนีไ้ ด้ เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ มีร่องรอยของวัฒนธรรมที่ไม่สามารถใช้เงินซื้อ หรือหาได้ มันสำคัญมาก เราไม่ได้ปิดกั้นโอกาสในการพัฒนาเมืองในเชิง การท่องเทีย่ ว แต่เมืองเชียงใหม่มคี วามหมาย เราต้องไม่ทำลายความหมายนัน้ อย่างกรณีโครงสร้างเมือง ทำอย่างไรให้เขตเมืองเก่านี้ต้องมีความหมายในเชิง เมืองเก่า ไม่ว่าการพัฒนาจะเป็นอย่างไร ทำอย่างไรที่จะทำให้ถนนหนทางใน เชียงใหม่ไม่ไปทำลายอาคารสถานที่ ผมจำได้ว่าตอนอยู่ มช. มีการตัดถนน วงแหวนมาสุดที่สี่แยกรินคำ ถนนเส้นนั้นต้องไปเบียดเบียนวัดเจ็ดยอด เจดีย์ บางองค์จะต้องถูกรื้อทิ้ง เราต่อสู้นานพอสมควร ด้วยหวังเพียงแค่ว่า ถนนจะ สร้างก็สร้างเถอะ แต่อย่าถึงกับต้องไปทำลายวัดเพือ่ สร้างถนนเลย ซึง่ ก็ไม่ประสบ ความสำเร็จเท่าไหร่ ต่อรองกันไปมาก็กลายเป็นว่าให้เจดีย์อยู่ในเขตถนน ซึ่ง ในความเป็นจริง เจดีย์ในวัดเจ็ดยอดนี่ถูกสร้างขึ้นมาจากการจำลองพุทธคยา สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ต้องมีสถานที่สำคัญ ๗ แห่ง ปัจจุบันก็ไม่ครบแล้ว น่าเสียดาย นีเ่ ป็นบทเรียนในอดีตทีอ่ าจบอกเราได้วา่ ต่อไปเราไม่ควรทำอย่างนัน้ อีกถ้าต้องขยายเมือง

คนเชียงใหม่ทำให้เชียงใหม่ดีขึ้นได้ยังไงบ้าง

ในปัจจุบันนี้ เราทุกคนต่างมีความรัก ความห่วงใยต่อเชียงใหม่ แต่ที่เป็น ปัญหาเพราะเราไม่สามารถบอกความรูส้ กึ รักนีต้ อ่ กันและกันได้ เราจึงเป็นเหมือน คนแอบรัก แอบห่วง แล้วความรักกับห่วงของเรากลายเป็นเรื่องส่วนตัวเล็กๆ ที่ ไม่มีค่า เรามีสื่อเยอะก็จริง แต่สื่อนั้นไม่ได้เป็นพื้นที่ให้เราได้บอกความรู้สึก ความรัก ความห่วง สื่อชิ้นนี้ทำเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงความรัก ความห่วง


”ถ้าเราแต่ละคนช่วยกัน ถักทอสายใยแห่งความรัก ความผูกพัน ความเป็นห่วง เมืองเชียงใหม่ให้เป็นผืน เดียวกัน สายใยที่ถักทอ เป็นผืนนี้จะมีสมรรถภาพที่ จะปกป้อง คุ้มครอง รักษา เมืองทีส่ วยงามและศักดิส์ ทิ ธิ์ แห่งนี้ให้สถิตดำรงอยู่ไปได้ อีกนาน”

ความผูกพันกับเมืองเชียงใหม่ เกิดเครือข่าย ความสัมพันธ์ อันมีมิติของ ความหมายที่มีเชียงใหม่เป็นตัวตั้ง ถ้าเราแต่ละคนช่วยกันถักทอสายใยแห่ง ความรัก ความผูกพัน ความเป็นห่วงเมืองเชียงใหม่ให้เป็นผืนเดียวกัน สายใย ที่ถักทอเป็นผืนนี้จะมีสมรรถภาพที่จะปกป้อง คุ้มครอง รักษาเมืองที่สวยงาม และศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ให้สถิตดำรงอยู่ไปได้อีกนาน ผมเชื่อว่าที่เชียงใหม่อยู่มาได้ กว่า ๗๐๐ ปีจนมาถึงเราได้ก็ด้วยจิตใจแบบนี้ และจะดำรงต่อไปได้ด้วยจิตใจ แบบนี ้ นีเ่ ป็นความหมายทีย่ ง่ิ ใหญ่ ขอให้เราทุกคนทีเ่ ป็นคนเชียงใหม่ภาคภูมใิ จ ในเมืองทีเ่ ราอยูอ่ าศัย และภาคภูมใิ จในเมืองทีเ่ ราดูแล ในเชิงกายภาพ เราดูแล ความสะอาด ความเป็นระเบียบของเชียงใหม่ ในเชิงจิตใจ เราดูแลความหมาย ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นความหมายที่หมดจดงดงาม ผ้าผืนหนึ่งมาจากด้าย เล็กๆ ที่ดึงแล้วขาดได้ง่าย แต่เมื่อถักทอเป็นผืนแล้วงดงามมั่นคง จิตมนุษย์ก็ เหมือนกัน ถ้าเราบอกว่าเป็นความรู้สึกเล็กๆ แต่ลองถักทอร้อยเรียงเป็นเรื่อง เดียวกันแล้วจะมีปาฏิหาริยเ์ กิดขึน้ ในเชียงใหม่ จากสำนึกของผมทีเ่ ป็นความใฝ่ฝนั เมืองเชียงใหม่จะเป็นปาฏิหาริย์ให้คนไทยได้พูดถึง

๓๙ 9


ปั๊กกะตืน

กิจกรรมสัปดาห์ฟนื้ ชีวติ คลองแม่ขา่

๒๙ พ.ค.

๓๐ พ.ค.

๓๑ พ.ค.

๑ - ๒ มิ.ย.

รณรงค์ชุมชนชาวคลองแม่ข่าให้ร่วมกันติดถังดักไขมัน พร้อมทั้งร่วม ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียในร้านอาหารและโรงงานตัวอย่าง

กิจกรรมเก็บขยะในคลองแม่ข่า โดยความร่วมมือจากทหารและ ทัณฑสถาน

กิจกรรมติดตะแกรงดักขยะในคลองแม่ข่า โดยกลุ่มคนไร้บ้าน

กิจกรรมขุดลอกเลนและลงกรวดบึงประดิษฐ์ โดยกลุ่มอาสาสมัคร สิ่งแวดล้อมอย่างนี้สิถึงจะเป็นเมืองน่าอยู่ของทุกคน!

๓ - ๔ มิ.ย.

กิจกรรมปรับภูมิทัศน์ ปรับรูปดิน ปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างระบบบำบัด น้ำเสียตามธรรมชาติและปั่นจั ก รยานเพิ ่ ม ออกซิ เ จนในน้ ำ โดย นักศึกษามหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป

๕ มิ.ย.

ระดมพลชาวเชียงใหม่ ร่วมใจปลูกต้นไม้เพิม่ พืน้ ทีส่ เี ขียวให้ทว่ั เมืองใน วันสิ่งแวดล้อมโลก แจกกล้าไม้ให้ผู้สนใจมาลงทะเบียนรับไปปลูกได้ ทุกที่ ทั้งสวนสาธารณะ ริมคลอง จนถึงในบ้านตัวเอง ยิ่งปลูกใกล้ตัว ยิ่งดูแลง่ายใกล้มือ ร่วมกันสร้างเมืองเชียงใหม่ที่เขียว สวย และหอม ด้วยมือของชาวเชียงใหม่ทกุ คน

ติ ด ตามและสอบถามข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ได้ ท ี่ ๐๘๖-๔๒๙๖๖๔๗ ถึง ๙

๔๐ 0


1



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.