วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ TFMA E-Magazine 147

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 1. บมจ. กรุงไทยอาหารสัตว์ 2. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด 3. บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด 4. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด 5. บมจ. ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ ไพรส์ 6. บมจ. ลีพ ัฒนาผลิตภัณฑ์ 7. บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด 8. บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด 9. บมจ. อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย 10. บมจ. เบทาโกร 11. บริษัท ซี.เอ็น.พี. อาหารสัตว์ จำกัด 12. บมจ. กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร 13. บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด 14. บริษัท ลีพ ัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด 15. บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อีสาน 16. บริษัท ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 17. บริษัท โกรเบสท์คอร์ โพเรชั่น จำกัด 18. บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 19. บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร 20. บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด 21. บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด 22. บริษัท ราชบุรีอาหาร จำกัด 23. บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด 24. บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด 25. บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด 26. บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด 27. บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด 28. บริษัท เหรียญทองฟีด (1992) จำกัด

29. บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด 30. บริษัท บี.พี. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 31. บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด 32. บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด 33. บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด 34. บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด 35. บริษัท ซันฟีด จำกัด 36. บริษัท ยูนโี กร อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 37. บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด 38. บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด 39. บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด 40. บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด 41. บมจ. บางกอกแร้นซ์ 42. บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด 43. บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด 44. บมจ. กรุงเทพโปรดิ๊วส 45. บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด 46. บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด 47. บริษัท ไทยยูเนี่ยนฟีดมิลล์ จำกัด 48. บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด 49. บริษัท บุญพิศาล จำกัด 50. บริษัท เฮกซ่า แคลไซเนชั่น จำกัด 51. บริษัท บีทจี ี ฟีดมิลล์ จำกัด 52. บริษัท หนองบัวฟีดมิลล์ จำกัด 53. บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด 54. บริษัท โกล์ด คอยน์ สเปเชียลลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด 55. บริษัท แม่ทา วี.พี. ฟีดมิลล์ จำกัด 56. บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการ

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ประจำปี 2554-2555 1. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล 2. นายนพพร วายุโชติ 3. นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ 4. นายไพศาล เครือวงศ์วานิช 5. นางเบญจพร สังหิตกุล 6. นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ 7. นายประกิต เพียรศิริภิญโญ 8. นายโดม มีกุล 9. นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล 10. นายสถิตย์ บำรุงชีพ 11. นายวีรชัย รัตนบานชื่น 12. นางภัทนีย เล็กศรีสมพงษ์ 13. นายวิทิต ภูธนทรัพย์ 14. นายอุทัย ตันติพิมลพันธ์ 15. นายสุนทร ตันทนะเทวินทร์ 16. นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ 17. นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง 18. นายวิชัย คณาธนะวนิช ย์ 19. นายวิศิษฐ คณาธนะวนิช ย์ 20. นายสุจิน ศิริมงคลเกษม 21. นายวราวุฒิ วัฒนธารา 22. นายเชฎฐพล ดุษฎีโหนด 23. นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

นายกสมาคม อุปนายก คนที่ 1 อุปนายก คนที่ 2 อุปนายก คนที่ 3 เหรัญญิกสมาคม เลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท ราชบุรีอาหาร จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคเหนือ เกษตรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพ ัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท บี พี ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพ ัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

จากการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของไทย โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในปี 2556 เทียบกับปี 2555 จะขยายตัวอยู่ในช่วง ร้อยละ 3.5 - 4.5 โดย สาขาพืช คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.0 - 5.0 สาขาปศุสัตว์ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.8 - 2.8 สาขาประมง คาดว่าจะหดตัวลงเล็กน้อย อยู่ในช่วง ร้อยละ (-0.2) - (-0.8) สาขาบริการทางการเกษตร คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วง ร้อยละ 2.5 - 3.5 สาขาป่าไม้ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 - 1.5 ด้วยเหตุที่ภาคเกษตร ยังต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นสำคัญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกัน เพราะไม่ใช่แต่เหตุการณ์ภัยธรรมชาติจะเกิดขึ้นแต่เฉพาะประเทศไทย เท่านั้น แต่เกิดขึ้นได้ทั่ว ทุกภูมิภาคทั่วโลก และจะกระทบถึงกันแน่นอน จึงต้องช่วยกันวางแผนในภาพรวมให้ทุกฝ่ายที่ต้อง พึ่งพากัน อยู่ได้ด้วยดี บก.


วารสารธุ ร กิ จ อาหารสั ต ว์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ปีที่ 29

Vol.

147

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

สารบัญ

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555 และแนวโน้ม ปี 2556 การใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ ปี 2555/56 บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ ภัยแล้งในสหรัฐอเมริกา: หรือจะเป็นโอกาสของข้าวโพดไทย ส่งออกกุ้งไทยปี 2555 หดตัว... มรสุมที่ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ปี 2555 จุดเปลี่ยนตลาดกุ้งไทยในสหรัฐอเมริกา รายงานสถานการณ์สินค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ ในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555 ความสำคัญของกรดอะมิโนอาร์จินีน ในแม่สุกรอุ้มท้อง ภาคสถิติ ขอบคุณ

5 28 34

____________________________________________________________

__________________

______________

43

__________________________________

51 54

____________________________________________

_______________

____________________________________________

58

65 71 80

____________________________________________________________________

______________________________________________________________________________________________

ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร นายนพพร วายุโชติ นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์ นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม นายอดิเรก ศรีประทักษ์ นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข นายณัฐพล มีวิเศษณ์ นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 www.thaifeedmill.com พิมพ์ที่ : ธัญวรรณการพิมพ์ 800/138 หมู่บ้านริเวอร์ปาร์ค ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร. 0-2536-5311, 0-2990-1568 โทรสาร 0-2990-1568




(5)

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555

และแนวโน้ม ปี 2556

1. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ 1.1 เศรษฐกิจโลก ในเดือนตุลาคม 2555 กองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ได้ ป ระเมิ น สถานการณ์ ข องเศรษฐกิ จ โลกในปี 2555 ว่ามีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ ยั ง คงมี ค วามอ่ อ นแออย่ า งมาก โดยการ ขยายตั ว ทางเศรษฐกิ จ ของประเทศที่ พั ฒ นา แล้วอยูใ่ นระดับต่ำ ส่วนเศรษฐกิจในกลุม่ ประเทศ เศรษฐกิจเกิดใหม่มีแนวโน้มชะลอตัวลง คาดว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2555 จะเติบโต อยู่ที่ร้อยละ 3.3 เมื่อพิจารณาเป็นรายประเทศ คาดว่าในปี 2555 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะ ขยายตัวร้อยละ 2.2 ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้มีการ ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้ง ที่ 3 (Quantitative Easing 3: QE3) ใน ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยธนาคารกลาง สหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะเข้าซื้อ หลั ก ทรั พ ย์ ที่ ไ ด้ รั บ การค้ ำ ประกั น จากสั ญ ญา จำนอง (Mortgage-Backed Securities: MBS) ในวงเงิน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ เดือน จนกระทัง่ อัตราการว่างงานปรับตัวลดลง และสถานการณ์ ท างเศรษฐกิ จ โดยรวมดี ขึ้ น อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของการต่ออายุ

มาตรการด้านการคลังของสหรัฐฯ อาจก่อให้ เกิดปัญหาทีเ่ รียกว่า หน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) ในช่วงปลายปีนี้ เนือ่ งจากมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะมาตรการลด หย่อนภาษีหลายมาตรการจะหมดอายุลงภายใน ปี 2555 และรัฐบาลยังไม่มีการออกมาตรการ ใหม่ๆ ออกมารองรับ นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ จะเริ่มบังคับใช้มาตรการปรับลดงบประมาณ ภาครัฐ เพื่อลดรายจ่ายทางด้านการคลังในวันที่ 2 มกราคม 2556 นี้ ซึ่งผลจากการสิ้นสุด มาตรการลดหย่อนภาษีต่างๆ และการบังคับใช้ มาตรการปรับลดงบประมาณรายจ่ายของภาค รัฐ ในช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังมีความ เปราะบางสูง อาจทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ หยุดชะงัก หรือหดตัวลงอย่างมาก ส่งผลต่อ เนื่องให้อัตราการจ้างงานในสหรัฐฯ ลดลงและ อาจกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจโลกได้อีก ขณะที่ เศรษฐกิจสหภาพยุโรปหดตัวร้อยละ 0.2 จาก วิกฤติหนี้สาธารณะและปัญหาภาคการคลังใน ภูมิภาค โดยแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ของกลุม่ ยูโรโซนยังไม่คอ่ ยมีความชัดเจน สำหรับ จี น ซึ่ ง เป็ น มหาอำนาจทางเศรษฐกิ จ ในเอเชี ย ก็ต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวจากการ ส่งออกทีล่ ดลง เนือ่ งจากตลาดส่งออกหลักของจีน คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ประสบ

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(6) ปัญหาเศรษฐกิจ คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวได้ร้อยละ 7.8 ในส่วนของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 2.2 เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ซบเซา ประกอบกับ การส่งออกซึ่งแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลง สำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน 5 (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม) เศรษฐกิจขยายตัวได้ค่อนข้างดีร้อยละ 5.4 คาดว่าในปี 2556 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.6 โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโต ใกล้เคียงกับปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 ขณะที่เศรษฐกิจสหภาพยุโรปปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ขยายตัว ร้อยละ 0.5 สำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนยังอยู่ในระดับสูงร้อยละ 8.2 ส่วนญี่ปุ่น เมื่อโครงการฟื้นฟูประเทศสิ้นสุดลง เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 1.2 และ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน 5 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8

ที่มา : www.IMF.org

ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศต่างๆ ประเทศ เศรษฐกิจโลก สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น อาเซียน 5*

2554 3.8 1.8 1.6 9.2 -0.8 4.5

ที่มา: World Economic Outlook, October 2012, IMF หมายเหตุ: * อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

2555 3.3 2.2 -0.2 7.8 2.2 5.4

หน่วย: ร้อยละ

2556 3.6 2.1 0.5 8.2 1.2 5.8


(7)

1.2 เศรษฐกิจการเกษตรโลก การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศของโลก ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติที่มีความแปรปรวนและ ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อการผลิตทางการเกษตรของแต่ละประเทศ ทำให้ ร าคาสิ น ค้ า เกษตรและอาหารของโลก ปรั บ ตั ว สู ง ขึ้ น สำหรั บ ในปี 2555 สหรั ฐ อเมริ ก าประสบภั ย แล้ ง รุ น แรงที่ สุ ด ในรอบ 50 ปี ครอบคลุ ม พื้ น ที่ ท างการเกษตรเป็ น วงกว้าง ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรในสหรัฐฯ ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะข้าวโพด และ ถั่วเหลือง ส่งผลให้ราคาธัญพืชของโลกในเดือน กรกฎาคม 2555 เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ สภาพอากาศที่ เ ลวร้ า ยในรั ส เซี ย ซึ่งเป็นแหล่งปลูกธัญพืชที่สำคัญของโลก เป็น ส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ราคาธัญพืชโลกปรับตัว สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคม 2555 ราคาธั ญ พื ช และอาหารโลกมี แ นวโน้ ม ลดลง แต่ ก็ ยั ง ทรงตั ว อยู่ ใ นระดั บ สู ง เมื่ อ เที ย บกั บ ปี ที่ ผ่านมา ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาอาหาร โลก อาจเป็นสาเหตุให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นใน ระยะต่อไป โดยธนาคารโลกเตือนว่า แม้ปริมาณ พืชอาหารทั่วโลกในปีนี้จะอยู่ในระดับที่เพียงพอ ต่อประชากรโลก และไม่เกิดวิกฤติด้านอาหาร เช่นเดียวกับปี 2551 แต่ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญที่เริ่มชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของ ปีนี้ และอาจต่อเนื่องไปจนถึงปี 2556 จะทำ ให้ พื ช ผลทางการเกษตรทั่ ว โลกได้ รั บ ความ เสียหาย และผลักดันให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น จนกระทบกับความเป็นอยู่ของประชากรจำนวน มาก โดยภูมิภาคที่คาดว่าอาจได้รับผลกระทบ จากปรากฏการณ์ ดั ง กล่ า วค่ อ นข้ า งมาก คื อ ออสเตรเลีย ที่ต้องเผชิญกับภัยแล้งรุนแรง และ ทวีปอเมริกาใต้ที่อาจต้องประสบภาวะน้ำท่วม รุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา

World Bank Food Price Index

Source: World Bank DECPG. Note: The Food Price Index weighs export prices of a variety of food commodities around the world in nominal U.S. dollar prices, 2005 = 100 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(8)

1.3 ราคาน้ำมันดิบดูไบ การคงเพดานการผลิตน้ำมันในองค์การ (Organization of the Petroleum Exporting Countries: OPEC) อยู่ที่ประมาณ 30.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2555 ขณะที่เศรษฐกิจโลกมี สัญญาณในเชิงลบ รวมถึงปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่สำคัญใน ภูมิภาคแอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกในปี 2555 ค่อนข้าง ผันผวน โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 อยู่ที่ 109.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ บาร์เรล เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ 105.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ราคาน้ำมันดิบดูไบ

ที่มา: World Bank

1.4 อัตราแลกเปลี่ยน 1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เฉลี่ยเดือนมกราคม-พฤศจิกายน อยู่ที่ 31.1 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 30.4 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ หรืออ่อนค่าลงร้อยละ 2.3 2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อยูโร เฉลี่ยเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ 39.9 บาท/ยูโร มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 42.5 บาท/ยูโร หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อพิจารณาค่าเงินบาทเป็นรายเดือนในปี 2555 พบว่า มีความผันผวนไปในทั้ง 2 ทิศทาง คือ แข็งค่าขึ้น และอ่อนค่าลง เนื่องจากความไม่แน่นอนของปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศเข้าออกรวดเร็วขึ้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555




(9)

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

2. ภาพรวมเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโดยรวมของไทยในปี 2555 ขยายตัวได้ค่อนข้างดี จากภาคการผลิตที่ปรับ ตัวเข้าสูภ่ าวะปกติได้อย่างรวดเร็วภายหลังปัญหา น้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 โดยเฉพาะการ ผลิ ต ภาคอุ ต สาหกรรมที่ ป รั บ ตั ว ดี ขึ้ น จากการ เพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตควบคู่ไปกับการ ลงทุนในเครื่องจักรเพื่อทดแทนส่วนที่เสียหาย ทำให้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ในระดับ สูง ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนก็มีการเติบโต อย่างต่อเนื่อง สำหรับภาครัฐได้มีการใช้จ่ายใน โครงการต่ า งๆ รวมทั้ ง การใช้ น โยบายและ มาตรการกระตุ้ น เศรษฐกิ จ ทั้ ง ระยะสั้ น และ ระยะยาว อาทิ การปรับขึน้ เงินเดือนข้าราชการ และแผนการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น สำหรั บ ภาคการส่ ง ออกของไทยได้ รั บ ผลกระทบจากการชะลอตัวเศรษฐกิจโลก และ วิกฤติหนีใ้ นยุโรป ทำให้มลู ค่าการส่งออกต่ำกว่า เป้าหมายที่คาดการณ์ไว้เดิมค่อนข้างมาก โดย

ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 มูลค่า การส่ ง ออกสิ น ค้ า ทั้ ง หมดของไทย เท่ า กั บ 5,943,966.2 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกัน ของปี ที่ ผ่ า นมา ซึ่ ง มี มู ล ค่ า 5,744,689.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ3.5 และเมื่อ พิจารณาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับฤดูกาล ในช่ ว งเดื อ นมกราคม-ตุ ล าคม 2555 อยู่ ที่ ร้อยละ 175.3 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 181.8 หรือลดลงร้อยละ 3.5 โดยเป็นการลดลงของกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสำคัญ ส่ ว นอั ต ราเงิ น เฟ้ อ ทั่ ว ไปเฉลี่ ย ในเดื อ น มกราคม-พฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีทผี่ า่ นมาซึง่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.8 และยังต่ำกว่าช่วงคาดการณ์เงินเฟ้อของ กระทรวงพาณิชย์ ที่มีการปรับเป็นร้อยละ 3.03.4 เนื่องจากมาตรการตรึงราคาสินค้า และ ตรึงราคาน้ำมันดีเซลของรัฐบาล ทำให้แรงกดดัน เงินเฟ้อน้อยลง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(10) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับฤดูกาล

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปรายเดือน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(11) ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐบาลและหน่วยงานวิจัยต่างๆ ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศในปี 2555 และ 2556 ดังนี้ ตารางที่ 2 อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หน่วยงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

อัตราการขยายตัวของ GDP (ร้อยละ) ปี 2555 ปี 2556 5.5 4.5-5.5 5.5 4.7-5.7 5.7 4.1-5.1 5.0 4.5-5.5 5.3 4.1-5.1 5.4 4.0-5.0

หมายเหตุ: ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2555

3. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจการเกษตรของไทย 3.1 เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว และเนื้อที่ ให้ผลพืชที่สำคัญ ในปี 2555 เนื้อที่เพาะปลูก

เนื้อที่เก็บเกี่ยว และเนื้อที่ให้ผลพืชสำคัญที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าว นาปรัง มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพารา และปาล์มน้ำมัน สำหรับปี 2556 คาดว่าพื้นที่ เพาะปลูกพืชส่วนใหญ่ยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากแรงจูงใจทางด้านราคาที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี และความต้องการสินค้าเกษตรของตลาดต่างประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น ตารางที่ 3 เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว และเนื้อที่ให้ผลพืชที่สำคัญ (Outlook) สินค้า ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง** อ้อยโรงงาน (รวมพันธุ์)** ยางพารา*** ปาล์มน้ำมัน***

2554

2555

61.07 16.10 7.10 8.16 12.77 3.75

61.71 17.10 7.91 8.31 13.81 3.98

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 1.05 6.19 11.49 1.82 8.16 6.28

2556* 62.47 17.12 7.90 8.39 14.60 4.11

หน่วย: ล้านไร่

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 1.22 0.10 -0.08 1.03 5.77 3.15

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หมายเหตุ: *ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนพฤศจิกายน 2555 ** เนื้อที่เก็บเกี่ยว *** เนื้อที่ให้ผล ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(12)

3.2 สภาพลมฟ้าอากาศ (กรมอุตุนิยมวิทยา) การประเมินผลกระทบของลมฟ้าอากาศที่มีต่อพืชในประเทศไทย จัดทำเป็นรายเดือน ในช่วงเพาะปลูก ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน โดยพิจารณาจากค่า Generalized Monsoon Index (GMI) ซึ่งเป็นค่าดัชนีความแห้งแล้งทางด้านการเกษตร ที่แสดงถึงผลกระทบที่ เกิดแก่พืชที่กำลังเจริญเติบโต อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการขาดแคลนความชื้น ดังนั้นการวิเคราะห์ ค่า GMI จึงทำให้สามารถทราบสภาวะโดยทั่วไปของพืชใช้น้ำฝนที่ปลูกในฤดูมรสุม โดย GMI จะมี ค่าขึ้นอยู่กับปริมาณฝนรายเดือนในระหว่างช่วงฤดูมรสุมนั้นๆ เนื่องจากในช่วงประมาณกลางเดือน พฤษภาคมถึ ง กลางเดื อ นตุ ล าคม ถื อ ว่ า เป็ น ช่ ว งที่ ป ระเทศไทยอยู่ ภ ายใต้ อิ ท ธิ พ ลของลมมรสุ ม ตะวันตกเฉียงใต้และเป็นช่วงฤดูเพาะปลูกของพืชโดยทั่วไป ฉะนั้นค่า GMI ที่ใช้ในที่นี้จึงเป็นค่า GMI ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โดยพิจารณาจากปริมาณฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน การวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดสภาวะฝนโดยใช้ Generalized Monsoon Index ระหว่างเดือน มิถุนายน-กันยายน 2555 พบบริเวณที่แล้งจัด (GMI มีค่าระหว่าง 0-20) ในบางพื้นที่ทางตอนบน ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้แก่ จังหวัด เชียงราย น่าน สุโขทัย (ศรีสำโรง) หนองคาย อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี นครราชสีมา (โชคชัย) จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอเมือง หัวหิน และหนองพลับ) ชุมพร (อำเภอเมือง และสวี) สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) นครศรีธรรมราช สงขลา (หาดใหญ่) พัทลุง และ ปัตตานี ส่วนพื้นที่อื่นๆ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ (GMI มีค่าระหว่าง 41-60) และความชื้นสูง กว่าปกติ (GMI มีค่าระหว่าง 61-90) สำหรับบริเวณที่มีความชื้นสูงเกินความต้องการ (GMI มีค่า ระหว่าง 91-100) ได้แก่ จังหวัดตาก (อุ้มผาง) และลพบุรี (บัวชุม)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(13)

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา

3.3 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ศูนย์ประมวล 64.8 ของความจุอ่างฯ ในภาคเหนือ ลดลงจาก

วิเคราะห์สถานการณ์นำ้ กรมชลประทาน ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555)

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และ ขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาตรนํ้าในอ่างฯ ทั้งหมดรวม 50,760 ล้านลูกบาศก์เมตร คิด เป็นร้อยละ 72.4 ของความจุอ่างฯ ขนาดใหญ่ และขนาดกลางทัง้ หมด ลดลงจากปี 2554 ทีม่ ี ปริมาตร 64,320 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ ลดลงร้อยละ 21.1 ปริมาตรนํา้ ทีส่ ามารถใช้การ ได้ 27,261 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 38.9 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด และสามารถ รับน้ำได้อีก 19,391 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อพิจารณาถึงปริมาตรน้ำในอ่าง เก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลางทั้งประเทศ โดยแยกเป็นรายภาค มีรายละเอียดดังนี้ ภาคเหนือ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ รวม 16,022 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ

ปี 2554 ที่มีปริมาตร 24,509 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือลดลงร้อยละ 34.6 ปริมาตรน้ำ ใช้ ก ารได้ 9,283 ล้ า นลู ก บาศก์ เ มตร และ สามารถรับน้ำได้อีก 8,693 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยอ่างฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ภูมิพล มีปริมาตรน้ำ 8,438 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 62.7) สิรกิ ติ ิ์ มีปริมาตรน้ำ 6,331 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 66.6) และแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาตรน้ำ 713 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 75.9) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาตรน้ำ ในอ่างฯ รวม 3,851 ล้านลูกบาศก์เมตร คิด เป็นร้อยละ 46.3 ของความจุอ่างฯ ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงจากปี 2554 ที่มี ปริมาตร 7,943 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือลดลง ร้อยละ 51.5 ปริมาตรน้ำใช้การได้ 2,197 ล้ า นลู ก บาศก์ เ มตร และสามารถรั บ น้ ำ ได้ อี ก 4,472 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยอ่างฯ ที่สำคัญ ได้แก่ อุบลรัตน์ มีปริมาตรน้ำ 1,027 ล้าน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(14) ลู ก บาศก์ เ มตร (ร้ อ ยละ 42.2) สิ ริ น ธร มี ปริมาตรน้ำ 1,471 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 74.8) และลำปาว มีปริมาตรน้ำ 333 ล้าน ลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 16.8) ภาคกลาง ปริมาตรน้ำในอ่างฯ รวม 984 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 72.4 ของความจุ อ่ างฯ ในภาคกลาง ลดลงจากปี 2554 ที่มีปริมาตร 1,319 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือลดลงร้อยละ 25.4 ปริมาตรน้ำใช้การได้ 933 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถรับน้ำได้อกี 376 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยอ่างฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาตรน้ำ 742 ล้าน ลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 77.3) ภาคตะวันตก ปริมาตรน้ำในอ่างฯ รวม 23,332 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 87.7 ของความจุอ่างฯ ในภาคตะวันตก ลดลง จากปี 2554 ที่ มี ป ริ ม าตร 23,393 ล้ า น ลูกบาศก์เมตร หรือลดลงร้อยละ 0.3 ปริมาตร น้ำใช้การได้ 10,055 ล้านลูกบาศก์เมตร และ สามารถรับน้ำได้อีก 3,273 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยอ่ า งฯ ที่ ส ำคั ญ ได้ แ ก่ ศรี น คริ น ทร์ มี ปริมาตรน้ำ 15,759 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 88.8) วชิราลงกรณ มีปริมาตรน้ำ 7,573 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 85.5) ภาคตะวันออก ปริมาตรน้ำในอ่างฯ รวม 1,072 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 91.4 ของความจุ อ่ า งฯ ในภาคตะวั น ออก ลดลงจากปี 2554 ที่มีปริมาตร 1,113 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือลดลงร้อยละ 3.7 ปริมาตร น้ำใช้การได้ 991 ล้านลูกบาศก์เมตร และ สามารถรับน้ำได้อกี 101 ล้านลูกบาศก์เมตร โดย อ่างฯ ที่สำคัญ ได้แก่ คลองสียัด มีปริมาตรน้ำ 402 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 95.7) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

ภาคใต้ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ รวม 5,499 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 67.5 ของความจุ อ่างฯ ในภาคใต้ ลดลงจากปี 2554 ที่มีปริมาตร 6,043 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ ลดลงร้อยละ 9.0 ปริมาตรน้ำใช้การได้ 3,802 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถรับน้ำได้อีก 2,651 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยอ่างฯ ที่สำคัญ ได้แก่ รัชชประภา มีปริมาตรน้ำ 4,181 ล้าน ลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 74.1) บางลางมีปริมาตร น้ำ 599 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 41.2) และแก่งกระจาน มีปริมาตรน้ำ 543 ล้าน ลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 76.5)

4. นโยบายและมาตรการด้าน การเกษตรของรัฐบาล ที่สำคัญ ปี 2555 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนิน งานตามนโยบายสำคัญๆ ของรัฐบาลทีส่ อดคล้อง กับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ทั้งเรื่องเร่งด่วน และนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร เพื่อพัฒนาภาคการเกษตร โดยมุ่งเน้นให้ความ สำคัญในการพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกร การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อสามารถ แข่งขันและเป็นฐานความมั่นคงทางอาหารและ พลังงานของประเทศ สรุปได้ดังนี้

4.1 นโยบายเร่งด่วน 1) ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารบริ ห ารจั ด การน้ ำ อย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำใน ระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถ ป้องกันปัญหาอุทกภัย และภัยแล้งได้ รวมทั้ง สนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบ


(15) ชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟืน้ ฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัด สร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยาย เขตการจั ด รู ป ที่ ดิ น เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการ ใช้ น้ ำ และการผลิ ต ส่ ง เสริ ม การใช้ น้ ำ ให้ เ กิ ด ประโยชน์สูงสุด และเหมาะสมกับชนิดพืช และ จั ด หาแหล่ ง น้ ำ ในระดั บ ไร่ น าและชุ ม ชนอย่ า ง ทั่วถึง 2) จั ด ทำแผนขั บ เคลื่ อ นนโยบาย และ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาจั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557 เพื่อให้การพัฒนา เป็นไปอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับศักยภาพของ พื้ น ที่ ได้ แ ก่ โครงการฟื้ น ฟู พื้ น ที่ น าร้ า งเพื่ อ ปลูกข้าว โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวปลอด สารพิษและข้าวอินทรีย์ โครงการเพิ่มศักยภาพ เครื อ ข่ า ยกลุ่ ม อาชี พ การเกษตรของสถาบั น เกษตร โครงการจัดตั้งตลาดน้ำยางสดระดับ ท้องถิ่น รวมไปถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ เทคโนโลยี ศักยภาพแรงงาน ทั้งต้นน้ำ และปลายน้ำ 3) สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเตรียมความพร้อม ของภาคเกษตรกรรมในการเข้ า สู่ ป ระชาคม อาเซียน 2558 (Asean Economic Community: AEC) ในหลากหลายด้าน อาทิ สร้าง มาตรฐานและการตรวจสอบสินค้าเกษตร การ ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารผลิ ต สิ น ค้ า เกษตรมี มู ล ค่ า สู ง การสนับสนุนการวิจยั และพัฒนาด้านการเกษตร และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประเทศ สมาชิก ตลอดทั้งการจัดการศัตรูพืชและโรค ระบาด รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนในประเทศ เพื่อนบ้าน

4) การยกระดับราคาสินค้าเกษตรและ ให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพือ่ ให้เกษตรกร ของประเทศมีความอยู่ดีกินดี สามารถพึ่งพา ตนเองได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น และมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี หลุดพ้นจากความยากจน มีรายได้เพิม่ ขึน้ ได้แก่ การส่ ง เสริ ม ความเข้ ม แข็ ง ของบุ ค ลากรภาค เกษตรอย่ า งยั่ ง ยื น โดยการจั ด ทำทะเบี ย น เกษตรกรให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง การจัดทำ บัตรเครดิตเกษตรกรเพื่อใช้เก็บข้อมูลส่วนบุคคล และข้ อ มู ล ทางด้ า นการเกษตรของเกษตรกร ทำให้ภาครัฐสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการ กำหนดนโยบาย แผนงาน การจัดการด้านการ ผลิต การส่งเสริมสนับสนุนการใช้ปจั จัยการผลิต การตลาดและราคาสินค้าเกษตร รวมทัง้ โครงการ รับจำนำสินค้าเกษตร เพื่อให้ความช่วยเหลือ เกษตรกรกรณีราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และเป็น การยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร โดยได้ขึ้น ทะเบียนเกษตรกรผูป้ ลูกพืชเศรษฐกิจเพือ่ ประกอบ การดำเนินงานโครงการรับจำนำพืชเศรษฐกิจ จำนวน ๓ ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง 5) การเยียวยาความเสียหายของพืชผล จากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร จากเหตุการณ์ อุทกภัยอย่างรุนแรงในปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิด ความเสียหายทางผลผลิตทางการเกษตรและ รายได้ รวมทัง้ เร่งรัดการปฏิบตั งิ านของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือถึงตัวเกษตรกรด้วยความ รวดเร็วและเป็นธรรม

4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร สนับสนุนการเพิม่ มูลค่าให้แก่สนิ ค้าเกษตร โดยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม และเทคโนโลยี ชี ว ภาพควบคู่ ไ ปกั บ ภู มิ ปั ญ ญา ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(16) ท้องถิ่นและกระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยให้ความสำคัญใน การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และนำ ผลผลิตเกษตรไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง การผลิตสินค้า เกษตรที่ มี ศั ก ยภาพทางการตลาดสู ง และมี โอกาสเพิ่มมูลค่า เช่น ยางพารา ปศุสัตว์ การ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นต้น การส่งเสริม การแปรรูปสินค้าเกษตรตามระบบมาตรฐาน ความปลอดภัยอาหาร โดยพัฒนาระบบการ ตรวจสอบคุ ณ ภาพมาตรฐานสิ น ค้ า เกษตรทั้ ง การนำเข้าและส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐาน โลก รวมทัง้ ส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรแบบ ยั่งยืนตามแนวทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และ สภาพแวดล้อม

ด้านพืช 1) การวิ จั ย และพั ฒ นาสายพั น ธุ์ การ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคแมลงและศัตรูพืช สอดคล้องกับ สถานการณ์ ก ารเปลี่ ย นแปลงของภู มิ อ ากาศ เพื่ อ เกษตรกรสามารถนำผลการวิ จั ย ไปใช้ ใ ห้ เหมาะสมกั บ สภาพพื้ น ที่ รวมทั้ ง จั ด ให้ มี ก าร ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการผลิ ต พื ช ต่ า งๆ ได้ แ ก่ ด้ า นการผลิ ต ด้านหลังการเก็บเกีย่ ว และแปรรูปเพิม่ มูลค่าด้าน ความปลอดภั ย ด้ า นอาหารและเครื่ อ งจั ก รกล การเกษตร 2) กำหนดขอบเขตพืน้ ทีเ่ ฉพาะ หรือสร้าง โซนนิ่ง (Zoning) แหล่งผลิตให้เป็นรูปธรรม มากขึ้ น พร้อ มเร่ ง ปรั บ ปรุ ง และพั ฒนาระบบ บริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อปรับ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

โครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับการตลาด เพิม่ ศักยภาพและมูลค่าสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน และเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมการเกษตร และ พลั ง งาน รวมทั้ ง เป็ น ฐานการผลิ ต ทางการ เกษตรในระยะยาวให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ และ ผู้สนใจเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม เช่น โครงการ นิคมการเกษตร โครงการพัฒนาข้าวหอมมะลิ มาตรฐานในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นต้น 3) พั ฒ นาพื ช พลั ง งานทดแทน โดย ร่ ว มมื อ กั บ กระทรวงพลั ง งาน และกระทรวง อุตสาหกรรม จัดทำโครงการบูรณาการเขต เกษตรเศรษฐกิจเพื่ออาหารพลังงาน และอุตสาหกรรมในมันสำปะหลัง นำร่องในพืน้ ทีจ่ งั หวัด นครราชสีมา มีการสร้างกระบวนการถ่ายทอด เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง โดยผู้มีส่วน เกี่ยวข้องตั้งแต่ เกษตรกรผู้ปลูก โรงงานรับซื้อ และแปรรูปผลผลิต โรงงานเอทานอล ตลอด จนนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ในสังกัด กระทรวงเกษตรฯ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีทาง วิชาการทีส่ ามารถต่อยอดไปสูก่ ารปฏิบตั ไิ ด้อย่าง มีประสิทธิภาพ 4) การยกระดั บ ผลผลิ ต ด้ า นพื ช ให้ มี คุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ โดยตรวจสอบและรับรองแหล่งผลิตพืชในระบบ เกษตรดีทเี่ หมาะสม (Good Agricultural Practice: GAP)

ด้านปศุสัตว์ การพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง พั น ธุ์ สั ต ว์ และพื ช อาหารสัตว์ที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร รวมทั้ง การเพิ่มศักยภาพกระบวน การผลิตด้านปศุสัตว์ ให้ได้มาตรฐานปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพียงพอกับความต้องการ




(17)

ด้านประมง การพัฒนาสินค้าประมงให้มีคุณภาพและ ปลอดภัยตัง้ แต่ตน้ น้ำถึงปลายน้ำ มีการตรวจสอบ รับรองคุณภาพสินค้าประมง โดยยกระดับมาตรฐานฟาร์มเพาะเลีย้ งเพือ่ การส่งออก และส่งเสริม เกษตรกรผู้เลี้ยงเข้าสู่ฟาร์มมาตรฐาน

รวมทัง้ พัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงาน ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ ต่างๆ กลุ่มวิสาหกิจ และสหกรณ์ทุกระดับ

5. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ การเกษตร

ด้านเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

5.1 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร และดัชนีราคาที่ ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่ง เกษตรกรขายได้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรใน

ชาติ เป็นกลไกสำคัญของเกษตรกรในการสือ่ สาร กับรัฐบาล รวมทั้งจัดให้มีอาสาสมัครเกษตร หมูบ่ า้ น (อกม.) เพือ่ ประสานเชือ่ มโยงการปฏิบตั ิ งานของอาสาสมัครเกษตรสาขาต่างๆ ให้เกิดการ บูรณาการในการพัฒนาการเกษตรตามภารกิจ ในหมูบ่ า้ นให้มปี ระสิทธิภาพสูงสุด สร้างเกษตรกร รุน่ ใหม่โดยอบรมหลักสูตรทีเ่ กีย่ วกับการ เกษตร โดยเชือ่ มโยงวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี

ช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 เฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 110.0 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 103.1 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ มีทศิ ทางทีล่ ดลงค่อนข้างมาก อยูท่ รี่ อ้ ยละ 153.0 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 171.6 หรือลดลงร้อยละ 10.9

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (ปีฐาน = 2548)

ดัชนีราคาที่เกษตรกรขายได้ (ปีฐาน = 2548)

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

5.2 ดั ช นี ผ ลผลิ ต หมวดพื ช ผลและดั ช นี ร าคาหมวดพื ช ผลที่ เ กษตรกรขายได้ ดั ช นี ผ ลผลิ ต

หมวดพืชผล ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 105.1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 98.9 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดพืชผลที่เกษตรกร ขายได้ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 170.1 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีทผี่ า่ นมา ซึง่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 191.9 หรือลดลง ร้อยละ 11.3 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(18) ดัชนีหมวดพืชผล

ดัชนีราคาหมวดพืชผลที่เกษตรกรขายได้

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

5.3 ดั ช นี ผ ลผลิ ต หมวดปศุ สั ต ว์ แ ละดั ช นี ร าคาหมวดปศุ สั ต ว์ ที่ เ กษตรกรขายได้ ดั ช นี ผ ลผลิ ต

หมวดปศุสัตว์ ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 116.0 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 109.0 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดปศุสัตว์ที่เกษตรกร ขายได้ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 113.9 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีทผี่ า่ นมา ซึง่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 127.7 หรือลดลง ร้อยละ 10.9 ดัชนีผลผลิตหมวดปศุสัตว์

ดัชนีราคาหมวดปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

5.4 การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 อยู่ที่ 724,056.8 ล้านบาท ลดลงค่อนข้างมากเมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึง่ อยูท่ ี่ 1,158,166.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 37.5 เนื่องจากปัญหาการชะลอตัวเศรษฐกิจโลก ทำให้กำลังซื้อใน ประเทศคู่ค้าที่สำคัญลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป มูลค่า การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 อยู่ที่ 69,466.8 ล้านบาท และ 70,367.4 ล้านบาท ตามลำดับ หรือลดลงร้อยละ 46.4 และ 45.1 ตามลำดับ สำหรับ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(19) สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงอย่างมาก ได้แก่ ยางพารา ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว ต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ขณะที่มูลค่าการส่งออกข้าวลดลงจากราคาส่งออกที่สูงกว่า ประเทศคู่แข่งขัน ทำให้คู่ค้าสำคัญหันไปนำเข้าข้าวจากคู่แข่งขันทดแทน ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยไปยังตลาดที่สำคัญ ประเทศ โลก อาเซียน (9 ประเทศ) จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร และอาหาร (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง สินค้าส่งออกที่สำคัญ (ร้อยละ) 2554 2555 (ม.ค.-ต.ค.) (ม.ค.-ต.ค.) 1,158,166.30 724,056.79 -37.48 ยางธรรมชาติ ข้าวและผลิตภัณฑ์ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ ปลาและผลิตภัณฑ์ กุ้งและผลิตภัณฑ์ ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ 222,920.15 157,806.92 -29.21 น้ำตาล และผลิตภัณฑ์ ยางธรรมชาติ เครื่องดื่ม ข้าวและผลิตภัณฑ์ ผลไม้และผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ 177,048.88 133,439.09 -24.63 ยางธรรมชาติ มันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ ผลไม้และผลิตภัณฑ์ ข้าวและผลิตภัณฑ์ 165,395.79 99,781.95 -39.67 ไก่และผลิตภัณฑ์ ยางธรรมชาติ กุ้งและผลิตภัณฑ์ ปลาและผลิตภัณฑ์ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ ผักและผลิตภัณฑ์ 128,099.77 70,367.41 -45.07 ไก่และผลิตภัณฑ์ ยางธรรมชาติ กุ้งและผลิตภัณฑ์ ปลาและผลิตภัณฑ์ ผลไม้และผลิตภัณฑ์ ข้าวและผลิตภัณฑ์ 129,545.37 69,466.75 -46.38 กุ้งและผลิตภัณฑ์ ปลาและผลิตภัณฑ์ ยางธรรมชาติ ผลไม้และผลิตภัณฑ์ ข้าวและผลิตภัณฑ์

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร หมายเหตุ: สินค้าเกษตรและอาหาร หมายถึง สินค้าในพิกัดศุลกากร ตอนที่ 1-24 รวมยางธรรมชาติในพิกัดศุลกากร ตอนที่ 40.01

6. ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555 เศรษฐกิจการเกษตรในปี 2555 ขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตรโดยทั่วไปกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายหลังสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ในช่วงปลายปี 2554 ประกอบกับสภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวย มีการพบการระบาดของแมลง ศัตรูพืช โรคระบาดในพืชและปศุสัตว์ในบางพื้นที่ แต่สามารถควบคุมได้ดี โดยสาขาการผลิต ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาพืช ปศุสัตว์ บริการทางการเกษตร และป่าไม้ ส่วนสาขาประมง หดตัวลง เนื่องจากปัญหาโรคระบาดในกุ้งเพาะเลี้ยงและการขาดแคลนลูกกุ้ง ทำให้ผลผลิตกุ้ง ลดลง รวมถึงความแปรปรวนของสภาพอากาศในแหล่งผลิตสัตว์น้ำจืดที่สำคัญ ทำให้สัตว์น้ำ เติบโตช้า ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(20)

สาขาพืช ในปี 2555 สาขาพืชขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่ อ เที ย บกั บ ปี 2554 แม้ ว่ า ในช่ ว งปี นี้ จ ะมี สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรทั้งภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และอุทกภัยเกิดขึ้นในบางพื้นที่ของ ประเทศ แต่ไม่ได้สร้างความเสียหายกับภาค เกษตรมากนัก ผลผลิตพืชสำคัญทีเ่ พิม่ ขึน้ ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์ม น้ำมัน รวมถึงผลไม้ เป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพืช การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชไม่รุนแรง อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ประกอบกับการขยาย พื้ น ที่ ป ลู ก พื ช หลายชนิ ด เพิ่ ม ขึ้ น ในช่ ว งระยะ หลายปีทผี่ า่ นมาจากการส่งเสริมของภาครัฐ และ แรงจูงใจทางด้านราคา รวมทัง้ การดูแลเอาใจใส่ ที่ ดี ข องเกษตรกร ทำให้ ผ ลผลิ ต พื ช ส่ ว นใหญ่ เพิ่มขึ้น • ผลผลิตข้าวโดยรวมเพิ่มขึ้น เนื่องจาก การขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะใน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ประกอบกับ แรงจูงใจทางด้านราคาจากโครงการรับจำนำ ข้าวเปลือกของรัฐบาล รวมทั้งการระบาดของ โรค และแมลงศัตรูพืชมีเพียงเล็กน้อย • มั น สำปะหลั ง พบการระบาดของ เพลี้ยแป้งในบางพื้นที่ แต่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ อย่างใกล้ชดิ ทำให้สามารถควบคุมการระบาดได้ เป็นอย่างดี ประกอบกับฝนตกกระจายดี ส่งผล ให้ต้นมันเจริญเติบโตดี ผลผลิตมันสำปะหลัง จึงเพิ่มขึ้น • ยางพารา การขยายพื้ น ที่ ป ลู ก ยาง จากโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ในพื้นที่ภาค ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตั้งแต่ปี 2546-2547 รวมทัง้ ในช่วงปลายปีนี้ ฝนตกชุก น้ อ ยกว่ า ปี ที่ ผ่ า นมา ทำให้ เ กษตรกรมี เ นื้ อ ที่ กรีดยางและจำนวนวันกรีดยางเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ ผลผลิตยางพาราสูงขึ้น • ปาล์มน้ำมัน มีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจาก การขยายพื้นที่ปลูกแทนที่ไม้ผล นาร้าง หรือ นาลุ่มในช่วงหลายปีที่ผ่านมา • ไม้ผล เช่น ลำไย ทุเรียน มังคุด และ เงาะ ให้ ผ ลผลิ ต เพิ่ ม ขึ้ น จากสภาพอากาศที่ เอือ้ อำนวย ประกอบกับการดูแลบำรุงรักษาของ เกษตรกร ทำให้ผลไม้ติดดอกออกผลดี ผลผลิต ต่อไร่จึงสูงกว่าในปีที่ผ่านมา ส่ ว นผลผลิ ต พื ช ที่ ล ดลง ได้ แ ก่ อ้ อ ย โรงงาน สับปะรดโรงงาน ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ และ ถั่วเหลือง โดยอ้อยโรงงาน ได้รับผลกระทบจาก ปัญหาภัยแล้งในช่วงทีอ่ อ้ ยกำลังเจริญเติบโต และ ฝนตกในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวอ้อย สำหรับผลผลิต สับปะรดโรงงานลดลงจากราคาที่ตกต่ำในช่วง ปลายปี 2554 ทำให้เกษตรกรขาดเงินทุนในการ ดูแลรักษาต้นสับปะรด ผลผลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ลดลง เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืช ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น มันสำปะหลัง และ อ้อยโรงงาน ประกอบกับเนือ้ ทีเ่ พาะปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ที่ปลูกแซมในสวนยางพาราลดลง ส่วน ผลผลิตถัว่ เหลืองลดลง เป็นผลจากการขาดแคลน เมล็ดพันธุ์ดีและต้นทุนในการผลิตสูง ด้านราคาพืชที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว อ้อย โรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง โดย ราคาข้ า วสู ง ขึ้ น ตามมาตรการยกระดั บ ราคา ภายในประเทศ สำหรับราคาอ้อยโรงงานเพิม่ ขึน้ เนื่องจากความต้องการและราคาในตลาดโลก


(21) ปรับตัวสูงขึ้น เพราะพื้นที่ปลูกอ้อยที่สำคัญของ โลกประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ส่วนข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ราคาเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น สำหรั บ พื ช ที่ มี ร าคาลดลง ได้ แ ก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง สับปะรด และผลไม้ โดยราคายางพาราลดลงจากการทีผ่ ลผลิตออกสู่ ตลาดมาก และความต้องการในตลาดโลกลดลง ขณะที่ ร าคาปาล์ ม น้ ำ มั น เป็ น ไปตามภาวะ เศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ราคามันสำปะหลังลดลง จากการที่โครงการรับจำนำสามารถเปิดจุดรับ จำนำได้น้อย ทำให้เกษตรกรต้องจำหน่ายมัน สำปะหลังนอกโครงการ ซึง่ ผูป้ ระกอบการรับซือ้ มันสำปะหลังสดในราคาที่ต่ำ ราคาสับปะรด ลดลง เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ประสบปัญหา เศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณความต้องการสินค้า ลดลง ส่วนผลไม้ส่วนใหญ่ ราคาลดลงจากการ ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก ด้านการส่งออก สินค้าที่มีปริมาณและ มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลังและ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น้ ำ ตาลและผลิ ต ภั ณ ฑ์ และผลไม้ และผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของ ตลาดต่างประเทศทีย่ ังคงมีต่อเนือ่ ง สำหรับข้าว น้ำมันปาล์ม และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณ และมู ล ค่ า การส่ ง ออกลดลงเมื่ อ เที ย บกั บ ปี ที่ ผ่านมา โดยความต้องการข้าวจากต่างประเทศ ลดลง เนื่องจากผู้นำเข้าหันไปนำเข้าข้าวจาก เวียดนาม และอินเดียที่มีราคาถูกกว่า ขณะที่ ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกต่ำกว่าราคาใน ประเทศ ทำให้ผู้ส่งออกชะลอการส่งออกน้ำมัน ปาล์ม ส่วนสับปะรดกระป๋องลดลงจากเศรษฐกิจ โลกที่ซบเซา ส่วนยางพารา มีปริมาณส่งออก

เพิ่มขึ้น แต่มูลค่าส่งออกลดลง เนื่องจากราคา ส่งออกลดลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

สาขาปศุสัตว์ สาขาปศุสตั ว์ ในปี 2555 มีการขยายตัว ร้ อ ยละ 3.2 เมื่ อ เที ย บกั บ ปี ที่ ผ่ า นมา โดย สถานการณ์ปศุสัตว์ทั้งไก่เนื้อ ไข่ไก่ สุกร และ น้ำนมดิบ มีภาวะการผลิตที่ดีขึ้นจากปี 2554 กล่าวคือ การผลิตไก่เนื้อมีการขยายการเลี้ยง เพิ่ ม ขึ้ น ตามความต้ อ งการบริ โ ภคเนื้ อ ไก่ จ าก ตลาดต่างประเทศที่มีความเชื่อมั่นในมาตรฐาน สินค้าของไทย ประกอบกับสหภาพยุโรปยกเลิก การห้ า มนำเข้ า เนื้ อ ไก่ ส ดจากไทยตั้ ง แต่ เ ดื อ น กรกฎาคม 2555 ทำให้การส่งออกเนื้อไก่และ ผลิตภัณฑ์ของไทยโดยรวมเพิ่มขึ้น ด้านปริมาณ ผลผลิ ต ไข่ ไ ก่ เ พิ่ ม ขึ้ น จากการขยายการผลิ ต ภายหลั ง การนำเข้ า พั น ธุ์ ไ ก่ ไ ข่ อ ย่ า งเสรี เ มื่ อ ปี 2553 ประกอบกับเกษตรกรมีการบริหารจัดการ ฟาร์มที่ดีและมีการดูแลเอาใจใส่มากขึ้น ส่งผล ให้แม่ไก่สามารถให้ไข่ได้ดี และมีผลผลิตออกสู่ ตลาดจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง สำหรับการ ผลิตสุกรเพิ่มขึ้น เนื่องจากในปีที่ผ่านมาราคา สุกรอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้มีการขยายการผลิต ประกอบกั บ ปั จ จั ย เสี่ ย งด้ า นโรคทางระบบ สื บ พั น ธุ์ แ ละระบบทางเดิ น หายใจ (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome: PRRS) ลดลง รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวน น้ อ ยลง ทำให้ สุ ก รสามารถเจริ ญ เติ บ โตได้ ดี ขณะที่การผลิตน้ำนมดิบมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจำนวนแม่โคนมที่ให้น้ำนมได้เพิ่มขึ้น และปริมาณน้ำนมเฉลี่ยของแม่โคนมสูงขึ้น สำหรั บ สถานการณ์ ด้ า นราคาสิ น ค้ า ปศุสัตว์ส่วนใหญ่มีราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(22) ผ่านมา โดยราคาไก่เนื้อ ไข่ไก่ และสุกร มี การปรับตัวลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ เพิ่ ม ขึ้ น จากสถานการณ์ ด้ า นการผลิ ต ที่ เ ข้ า สู่ ภาวะปกติและมีการขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ใน ขณะที่ ร าคาน้ ำ นมดิ บ ที่ เ กษตรกรขายได้ โ ดย เฉลี่ยสูงขึ้น เนื่องจากน้ำนมดิบมีคุณภาพดีขึ้น

สาขาประมง สาขาประมงในปี 2555 ลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปี 2554 โดยกุ้งทะเลที่ได้จาก การเพาะเลี้ยงในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2555 ลดลงร้อยละ 24.1 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคากุ้งไม่ จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต เป็นผลมาจาก ยอดการสั่ ง ซื้ อ จากตลาดหลั ก ในต่ า งประเทศ คือ สหรัฐอเมริกาลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจ ภายในประเทศ ประกอบกับในช่วงกลางปี 2555 ผู้ผลิตลูกกุ้งชะลอการผลิตเพื่อควบคุมผลผลิต ไม่ให้ล้นตลาด ทำให้เกิดปัญหาลูกกุ้งขาดแคลน ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร อีกทัง้ พืน้ ทีเ่ ลีย้ งในบางพืน้ ที่ เช่น ภาคตะวันออก ประสบ ปัญหาโรคกุง้ ตายก่อนวัยอันควร (Early Mortality Syndrome: EMS) ทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหาย สำหรับการทำประมงทะเลในช่วง 9 เดือนแรกของ ปี 2555 ปรับตัวเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 13.3 เมือ่ เทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปริมาณสัตว์น้ำ ที่ขึ้นท่าเทียบเรือของภาคใต้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตประมงน้ำจืดที่สำคัญ คือ ปลานิล มีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากแหล่งผลิต ปลานิลทีส่ ำคัญประสบปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้ปลานิลเจริญเติบโตช้า ต้องใช้ระยะ เวลาในการเลี้ยงยาวนานขึ้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

ด้านราคากุง้ ขาวแวนนาไม ขนาด 70 ตัว ต่อกิโลกรัม ที่เกษตรกรจำหน่ายได้ในช่วงเดือน มกราคม-ตุลาคม 2555 ลดลงร้อยละ 3.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 เนื่องจาก การส่งออกที่ลดลง โดยเฉพาะความต้องการใน สหรัฐอเมริกาที่ยังไม่กระเตื้องขึ้น แม้ว่าในช่วง ต้นปี 2555 ราคากุง้ ทีเ่ กษตรกรขายได้คอ่ นข้าง ตกต่ ำ แต่ ใ นช่ ว งปลายปี ร าคากุ้ ง เริ่ ม ปรั บ ตั ว สูงขึ้นในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนิน งานตามโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาว แวนนาไมโดยระบบเครือข่ายแบบกลุ่ม (Shrimp Cluster) ของรั ฐ บาลเพื่ อ ชดเชยราคาให้ แ ก่ เกษตรกรที่เข้าโครงการ สำหรับการส่งออกสินค้าประมงของไทย ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 มูลค่า การส่งออกสินค้าประมงที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลา และผลิตภัณฑ์ ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ ส่วนมูลค่า การส่งออกกุง้ และผลิตภัณฑ์ลดลง เป็นผลมาจาก คำสัง่ ซือ้ ในตลาดผูน้ ำเข้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ลดลงเป็นสำคัญ

สาขาบริการทางการเกษตร สาขาบริการทางการเกษตรในปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เนื่องจากการขยายพื้นที่ ปลูกพืชที่สำคัญ และมีการใช้เครื่องจักรทาง การเกษตรทดแทนการขาดแคลนแรงงานมาก ขึ้น อาทิ การปลูกข้าวและอ้อยโรงงาน โดย เฉพาะข้าวที่เกษตรกรมีการขยายพื้นที่เพาะปลูก เพิม่ ขึน้ ภายหลังจากอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ทำให้มีการใช้บริการเตรียมดินเพิ่มขึ้น ส่งผล ต่อเนื่องให้มีการใช้บริการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่ม ขึ้นตามไปด้วย


(23)

สาขาป่าไม้ ในปี 2555 สาขาป่าไม้ มีการขยายตัว เพิม่ ขึน้ จากปี 2554 ประมาณร้อยละ 1.4 โดย มี ปั จ จั ย สนั บ สนุ น หลั ก มาจากปริ ม าณไม้ ย าง พาราท่อนทีเ่ พิม่ สูงขึน้ จากนโยบายของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ที่ ส่ ง เสริ ม ให้ เ กษตรกรตั ด โค่นต้นยางในพืน้ ทีส่ วนยางพาราเก่าอายุ 30 ปี จำนวน 500,000 ไร่ ในระหว่างปี 25552556 เพื่อปลูกทดแทนใหม่ด้วยยางพันธุ์ดีและ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคายางในประเทศ สำหรั บ ปริ ม าณผลผลิ ต และมู ล ค่ า การส่ ง ออก น้ำผึ้ง รวมทั้งการส่งออกครั่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากปีที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันมูลค่าการส่งออก ครั่งเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับมูลค่าการส่งออกไม้ซุง ซึ่งมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด ส่วนปริมาณ ผลผลิตถ่านไม้ลดลงตามความต้องการใช้ภายใน ประเทศ

7. แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2556 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2556 จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-4.5 ภายใต้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรไม่เปลี่ยน แปลงมากนัก อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี 2555 เริ่มมีสัญญาณภัยแล้งในหลายพื้นที่ของประเทศ และมีแนวโน้มว่าจะเกิดภัยแล้งที่ค่อนข้างรุนแรง ในประเทศไทยในช่วงปี 2556 ซึง่ จะส่งผลกระทบ อย่างมากต่อภาคเกษตร รวมถึงสถานการณ์ เศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลีย่ น และราคาน้ำมัน ที่ยังมีความผันผวน อาจส่งผลกระทบต่อการส่ง ออกสินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตรในประเทศ และต้นทุนการผลิต ซึ่งจำเป็นต้องมีการติดตาม และประเมินสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ

สาขาพืช สาขาพืช มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ ในช่ ว งร้ อ ยละ 4.0-5.0 หากสภาพอากาศ เอื้ออำนวย โดยพืชที่สำคัญหลายชนิดมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากการดูแล เอาใจใส่ของเกษตรกรและการควบคุมการแพร่ ระบาดของศัตรูพืชที่ดี สำหรับผลผลิตยางพารา และปาล์มน้ำมัน คาดว่าจะเพิม่ ขึน้ ตามเนือ้ ทีใ่ ห้ผล ที่เพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูกในช่วงหลายปี ทีผ่ า่ น นอกจากนี้ ไม้ผล เช่น ลำไย ทุเรียน มังคุด เงาะ และส้มเขียวหวาน มีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น เช่นกัน ด้านราคาทีเ่ กษตรกรขายได้ ราคาผลผลิต พื ช ส่ ว นใหญ่ มี แ นวโน้ ม ใกล้ เ คี ย งกั บ ปี 2555 ส่วนการส่งออกขึ้นอยู่กับทิศทางของเศรษฐกิจ โลก นอกจากนี้ สภาพภูมอิ ากาศทัว่ โลกทีม่ คี วาม แปรปรวนอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ธัญพืชที่สำคัญ ทำให้ราคาธัญพืชและอาหาร ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้

สาขาปศุสัตว์ สาขาปศุสตั ว์ปี 2556 คาดว่าจะขยายตัว อยู่ในช่วงร้อยละ 1.8-2.8 เนื่องจากเกษตรกร มีการขยายการผลิต การบริหารจัดการการ เลี้ยงที่ดี การปรับปรุงมาตรฐานฟาร์ม รวมถึง กระบวนการควบคุ ม และเฝ้ า ระวั ง โรคระบาด อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การผลิตในสาขาปศุสัตว์ ยั ง คงมี ค วามเสี่ ย งจากปั ญ หาสภาพอากาศ แปรปรวน ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และต้นทุน การผลิตที่สูงขึ้น ในขณะที่ความต้องการบริโภค ทัง้ ตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศยังคงมี แนวโน้มเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง โดยความต้องการ ของผู้บริโภคในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ ไม่มากนัก สำหรับตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(24) ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดหลักของ เนือ้ ไก่ยงั มีแนวโน้มการนำเข้าเพิม่ ขึน้ ประกอบกับ ฟิลิปปินส์ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าสัตว์ปีก และผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากไทยเมื่ อ เดื อ นสิ ง หาคม 2555 ส่งผลให้การส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ ของไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี สำหรับราคา ปศุสัตว์โดยเฉลี่ยในปี 2556 คาดว่าจะปรับตัว เพิ่มขึ้นทั้งไก่เนื้อและสุกร จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และความต้องการที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้ ง ตลาดในประเทศและต่ า งประเทศ ขณะที่ ราคาไข่ไก่และน้ำนมดิบมีแนวโน้มทรงตัว โดย ยังมีความเสี่ยงจากคุณภาพผลผลิตซึ่งเป็นปัจจัย ที่สำคัญต่อราคาน้ำนมดิบของเกษตรกร และ เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่มกี ารปรับแผนการผลิตโดย การปลดแม่ไก่ยืนกรงเร็วขึ้นและปรับลดปริมาณ การผลิ ต เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการ นอกจากนี้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้นยังเป็นปัจจัยที่อาจทำให้ราคาสินค้า ปศุสัตว์ในปี 2556 ปรับตัวสูงขึ้น

สาขาประมง การผลิตสาขาประมงในปี 2556 มีแนวโน้ม ขยายตัวอยูใ่ นช่วงร้อยละ (-0.2)-0.8 เนือ่ งจาก การผลิตประมงน้ำจืดและประมงทะเลยังอยู่ใน ภาวะทรงตัว โดยปริมาณผลผลิตประมงน้ำจืด ขึ้นอยู่กับการวางแผนการผลิตและสภาพภูมิอากาศ ในส่วนของประมงทะเลขึ้นอยู่กับสภาพ ภูมอิ ากาศและราคาน้ำมันซึง่ เป็นต้นทุนการผลิต ที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องโรค ระบาดที่ เ กษตรกรต้ อ งเฝ้ า ระวั ง อย่ า งใกล้ ชิ ด ทั้งนี้ หากสภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวน ก็จะทำให้ผลผลิตลดลง สำหรับสถานการณ์ดา้ นราคา คาดว่าราคา ที่เกษตรกรขายได้อาจปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ยังมีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลผลิตมีคุณภาพที่ดี ตรงตามความต้องการของตลาด ด้านการค้า คาดว่าจะยังคงขยายตัวตาม ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าประเทศผู้นำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จะประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ สำหรับตลาดภายในประเทศมีแนวโน้มขยายตัว เพิ่มขึ้นเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของคน เมืองเริม่ เปลีย่ นโดยหันมาบริโภคกุง้ แช่แข็งพร้อม ปรุงแทน

สาขาบริการทางการเกษตร คาดว่าสาขาบริการทางการเกษตรในปี 2556 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5-3.5 เนื่องจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืช ที่สำคัญหลายชนิดเพิ่มขึ้นจากแรงจูงใจทางด้าน ราคา อาทิ ข้าว และอ้อยโรงงาน ประกอบกับ การขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร ทำให้มี การใช้ เ ครื่ อ งจั ก รทดแทนมากขึ้ น ส่ ง ผลให้ มี กิจกรรมการให้บริการเตรียมดิน และการเก็บ เกี่ยวผลผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

สาขาป่าไม้ สาขาป่าไม้ ในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัว เพิม่ ขึน้ จากปี 2555 เล็กน้อย ประมาณร้อยละ 0.5-1.5 จากนโยบายการตั ด โค่ น พื้ น ที่ ส วน ยางพาราเก่าอายุ 30 ปี จำนวน 500,000 ไร่ ระหว่างปี 2555-2556 ที่สำนักงานกองทุน สงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ยังคงเหลือ พื้ น ที่ เ ป้ า หมายอี ก ประมาณ 260,000 ไร่ รวมถึงมูลค่าผลผลิตและส่งออก น้ำผึ้ง ครั่ง และยางไม้ธรรมชาติที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย




(25) เมื่อเทียบกับปี 2555 เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพภูมอิ ากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปด้วยเช่นกัน ส่วนการผลิตถ่านไม้และไม้ฟนื มีแนวโน้มลดลงต่อเนือ่ ง จากปริมาณความต้องการใช้ที่ลดลง ตารางที่ 5 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร สาขา ภาคเกษตร พืช ปศุสัตว์ ประมง บริการทางการเกษตร ป่าไม้

2555 4.0 5.5 3.2 -2.7 2.9 1.4

หน่วย: ร้อยละ

2556 3.5-4.5 4.0-5.0 1.8-2.8 -0.2-0.8 2.5-3.5 0.5-1.5

ที่มา: ประมาณการโดยสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ตารางที่ 6 ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ (ปีปฏิทิน) สินค้า

ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน (รวมพันธุ์) สับปะรดโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด เงาะ ส้มเขียวหวาน ไก่เนื้อ (ล้านตัว) สุกรมีชีวิต (ล้านตัว) ไข่ไก่ (ล้านฟอง) น้ำนมดิบ กุ้งเพาะเลี้ยง* (พันตัน) สัตว์น้ำที่ขึ้นท่าเทียบเรือของภาคใต้** (พันตัน)

2554 23.98 10.26 24.15 107.68 2.59 4.79 0.14 3.35 10.78 0.772 0.509 0.15 0.31 0.21 994.32 11.89 10,024.43 0.98 364.26 202.26

หน่วย: ล้านตัน

2555*** 26.13 11.33 26.71 102.34 2.43 4.72 0.11 3.63 11.33 0.818 0.511 0.18 0.32 0.19 1,055.93 12.82 11,022.55 1.06 276.52 229.15

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 8.96 10.39 10.61 -4.96 -6.22 -1.48 -21.53 8.25 5.10 5.92 0.46 20.09 5.47 -13.87 6.20 7.86 9.96 8.05 -24.09 13.29

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร *คณะทำงานเฝ้าระวังติดตามข้อมูลทางเศรษฐกิจรายสินค้าด้านการประมง กรมประมง **ท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ หมายเหตุ: ***ข้อมูลพยากรณ์พืชและปศุสัตว์ ณ เดือนพฤศจิกายน 2555 ข้อมูลสินค้าประมง ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(26) ตารางที่ 7 ราคาที่เกษตรกรขายได้ของสินค้าเกษตรที่สำคัญ สินค้า ข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% (บาท/ตัน) ข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% (บาท/ตัน) ข้าวนาปีหอมมะลิ (บาท/ตัน) หัวมันสำปะหลังสดคละ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14% ถั่วเหลืองชนิดคละ ยางแผ่นดิบ ชั้น 3 ผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลายมีน้ำหนัก >15 กก. ลำไยเกรด A ทุเรียนหมอนทองคละ มังคุดคละ เงาะโรงเรียนคละ ส้มเขียวหวานคละ ไก่รุ่นพันธุ์เนื้อ สุกร น้ำหนัก 100 กก. ขึ้นไป ไข่ไก่สดคละ (บาท/ร้อยฟอง) น้ำนมดิบ กุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 70 ตัว/กก. ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

หน่วย: บาท/กก.

2554 ทั้งปี 10,121 8,447 14,961 2.53 938 4.92 7.61 15.30 124.16 5.34 24.33 27.76 25.01 16.80 28.75 46.81 65.54 301 16.39 128.83

ม.ค.-พ.ย. 10,049 8,447 14,941 2.55 941 5.08 7.58 15.30 129.04 5.37 24.44 27.76 25.01 16.80 29.59 47.01 65.84 301 16.33 128.64

2555 การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) ม.ค.-พ.ย. 10,126 0.76 10,172 20.41 15,355 2.77 2.05 -19.51 960 2.01 3.30 -34.91 9.37 23.57 15.69 2.58 88.27 -31.59 5.02 -6.52 24.10 -1.41 31.10 12.04 17.04 -31.86 13.37 -20.44 31.13 5.18 41.89 -10.88 56.86 -13.65 257 -14.68 16.60 1.61 125.91 -2.12


(27) ตารางที่ 8 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ สินค้า ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์* ยางธรรมชาติ น้ำมันปาล์ม น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ สับปะรดบรรจุภาชนะที่อากาศ ผ่านเข้าออกไม่ได้ น้ำสับปะรด ลำไย ทุเรียน เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ (พันตัน) เนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง (พันตัน) เนื้อไก่แปรรูป (พันตัน) เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ (พันตัน) สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง (พันตัน) ผลิตภัณฑ์สุกร (พันตัน) ปลาและผลิตภัณฑ์ (พันตัน) ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ (พันตัน) กุ้งและผลิตภัณฑ์ (พันตัน) กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (พันตัน) กุ้งปรุงแต่ง (พันตัน) นมและผลิตภัณฑ์** (พันตัน)

ปริมาณ (ล้านตัน) มูลค่า (ล้านบาท) ม.ค.-ต.ค. การเปลี่ยนแปลง ม.ค.-ต.ค. การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) (ร้อยละ) 2554 2555 2554 2555 9.55 5.60 -41.41 169,264.38 118,334.77 -30.09 0.25 0.11 -57.63 2,340.84 1,016.43 -56.58 4.75 6.12 28.98 47,985.10 55,584.86 15.84 2.455 2.463 0.31 326,141.46 227,569.96 -30.22 0.38 0.35 -7.82 12,924.34 12,267.99 -5.08 6.18 7.35 18.96 99,437.79 117,511.05 18.18 0.51 0.47 -7.88 16,286.01 13,693.04 -15.92 0.122 0.42 0.27 385.41 39.06 346.35 9.46 1.87 7.59 973.72 57.48 325.70 165.94 159.76 44.17

0.120 0.47 0.33 446.59 75.35 371.24 11.34 1.31 10.03 973.31 59.31 285.62 148.82 136.81 28.56

-2.00 11.78 20.90 15.88 92.93 7.19 19.91 -29.91 32.21 -0.04 3.18 -12.30 -10.32 -14.37 -35.34

5,851.55 12,269.02 5.21 49,741.17 2,414.91 47,326.26 1,864.95 99.15 1,765.80 91,505.24 11,234.20 90,673.40 42,696.34 47,977.05 2,564.70

4,725.36 16,996.48 6.44 56,396.29 4,792.62 51,603.67 2,233.55 84.06 2,149.49 108,827.74 12,204.20 79,206.54 37,694.48 41,512.06 1,809.54

-19.25 38.53 23.52 13.38 98.46 9.04 19.76 -15.21 21.73 18.93 8.63 -12.65 -11.71 -13.48 -29.44

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร หมายเหตุ: *ได้แก่ มันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมัน กากมันสำปะหลัง สาคู **ได้แก่ นมผงขาดมันเนย นมและครีมผง หางนม (เวย์)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(28)

การใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ ปี 2555/56 สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ตามข้อมูลของ FAO ปัจจุบนั พืน้ ทีเ่ พาะปลูก มันสำปะหลังของโลกมีประมาณ 117 ล้านไร่ โดย ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ ประมาณ 75 ล้านไร่ รองลงมาคือ ทวีปเอเชีย 25 ล้านไร่ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และจีน และทวีปอเมริกาใต้ 17 ล้านไร่ หลายปีที่ผ่านมา ผลผลิตมันสำปะหลังของโลก ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละมากกว่า 2% ต่อปี เนื่ อ งจากประเทศผู้ ผ ลิ ต หลายแห่ ง ขยายการ ผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา ซึง่ มันสำปะหลังยังคง เป็นพืชอาหารหลักที่สำคัญต่อความมั่นคงด้าน อาหาร และการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ใน อุตสาหกรรมต่อเนื่องในทวีปเอเชีย เช่น แอลกอฮอล์ และเอทานอล เพื่อใช้ผลิตพลังงาน ทดแทนโดยประเทศจีน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปลูกมัน สำปะหลั ง และมี ก ารส่ ง ออกรายใหญ่ ข องโลก โดยมีพื้นที่ในการปลูกทั้งประเทศราว 7-7.5 ล้านไร่ ผลผลิตประมาณ 25-28 ล้านตัน และมี แนวโน้ ม เพิ่ ม สู ง ขึ้ น เรื่ อ ยๆ โดยเฉลี่ ย ผลผลิ ต หั ว มั น สำปะหลั ง สดประมาณ 45-50% จะ แปรรูปเป็นมันเส้นและมันอัดเม็ด ทีเ่ หลือแปรรูป เป็ น แป้ ง มั น การใช้ มั น สำปะหลั ง ในประเทศ มี ป ริ ม าณประมาณ 22-25% ของผลผลิ ต ทัง้ หมด ส่วนมากใช้เป็นส่วนประกอบอาหารสัตว์ และใช้แป้งมันเพือ่ การบริโภค ใช้ในอุตสาหกรรม กระดาษ และอาหารต่างๆ มันสำปะหลังเป็น สินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออก 70-75 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิต โดยไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุด ของโลก มีสัดส่วนการตลาด 90% โดยเฉพาะ จีนที่มีความต้องการวัตถุดิบประเภทนี้จากไทย


(29)

ที่มา: FAO/GAEZ, land suitability maps for rain fed cropping

ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ มันสำปะหลัง สามารถใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ มากมาย อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร ยา สิ่งทอ กระดาษ แอลกอฮอร์ รวมถึง อาหารสัตว์ทอี่ ยูใ่ น รูปของมันเส้นและมันอัดเม็ด

พื้นที่เพาะปลูกในและการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง การสำรวจภาวะการผลิ ต และการค้ า มั น สำปะหลั ง ฤดู ก าลผลิ ต ปี 2555/2556 สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการค้ามันสำปะหลัง ทั้ง 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมมันสำปะหลัง ไทย สมาคมโรงงานผลิ ต ภั ณ ฑ์ มั น สำปะหลั ง ไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ และสมาคมแป้ ง มั น สำปะหลังไทย ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการสนับสนุน ของมู ล นิ ธิ ส ถาบั น พั ฒ นามั น สำปะหลั ง แห่ ง ประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดโครงการการสำรวจ ภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูกาล ผลิต 2555/2556 ซึ่งคณะสำรวจประกอบ ด้ ว ยผู้ แ ทนจากหน่ ว ยงานข้ า งต้ น พร้ อ มด้ ว ย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จากการสรุป โดยพื้นที่การ เก็บเกี่ยวลดลงเล็กน้อยจากปี 2554/2555

ประมาณ -0.08% คิดเป็น 7,905,056 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3.485 ตันต่อไร่ ทำให้มีผลผลิต รวม 27,547,242 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 3.56% ภาวะด้านราคาและการค้ามันสำปะหลัง ตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ จากที่ ทราบกันดีแล้วว่าฤดูการผลิตปี 2554/2555 ที่ ผ่านมาผูป้ ระกอบการค้ามันสำปะหลังประสบกับ ปัญหาการผลิตอย่างหนัก โดยในช่วงไตรมาสที่ 4 (เดือน ต.ค.-ธ.ค.) ประเทศไทยเกิดอุทกภัย รุนแรง ทำให้ท่าเรือที่ส่งออกมันเส้นที่บางไทร และนครหลวง ไม่สามารถส่งสินค้าไปยังต่าง ประเทศได้ ซึ่งท่าเรือหลักในการส่งมันเส้นคือ บางปะกง และชลบุรี ส่งรวมกันระหว่างเดือน ต.ค. และ พ.ย. ได้เพียง 4 แสนตันเท่านั้น ใน ส่วนของโครงการรับจำนำมันสำปะหลังจำนวน 10 ล้านตัน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคา มันสำปะหลังทัง้ ในส่วนของหัวมันสด และมันเส้น ไต่ระดับสูงขึ้นที่ 3.50 บาท/กก. และ 7.60 บาท/กก.

วัตถุดิบอาหารสัตว์กับการเปลื่ยนแปลงของโลก อุ ต สาหกรรมอาหารสั ต ว์ ข องไทยดู จ ะ ลำบากมากขึน้ เรือ่ ยๆ ซึง่ จะเห็นได้จากในปีนี้ และ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(30) รวมถึงปีหน้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญ ไม่ว่า จะเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง และ ปลาป่ น มี แ นวโน้ ม ที่ สู ง ขึ้ น ทุ ก ชนิ ด จากทั้ ง ปริ ม าณผลผลิ ต ที่ ล ดลงอย่ า งมากจากสภาพ ภู มิ อ ากาศที่ เ ปลี่ ย นแปลงไป การเกิ ด ภั ย แล้ ง อุทกภัยต่างๆ ทำให้ผลผลิตทีเ่ กิดขึน้ จากประเทศ ผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็นอเมริกา จีน รัสเซียไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับปริมาณความ ต้องการใช้ที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทัว่ โลกมีความต้องการปรับพฤติกรรมการ ใช้พืชทดแทนพลังงานมากขึ้น ในขณะที่ราคา ปศุสัตว์ยังคงถูกควบคุมโดยหน่วยงานภาครัฐ ของไทย ซึ่งหมายความถึงการถูกบีบทั้งด้าน ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และกำหนดราคาขายให้ ต่ำมากทีส่ ดุ ทำให้วงการอาหารสัตว์ยำ่ แย่ตามที่ ได้กล่าวมาข้างต้น ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้อง หันมาพิจารณาการขยายพืน้ ทีเ่ พาะปลูกพืชทีเ่ ป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ ในประเทศเพื่อนบ้านให้เพิ่ม มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศกัมพูชา ลาว และ พม่า ซึ่งไม่เพียงแต่เราจะสามารถลดการนำเข้า วัตถุดบิ จากแดนไกล ยังส่งผลดีตอ่ ประเทศเพือ่ น บ้านที่ยังคงต้องการการลงทุน การสร้างงาน การเพิ่มพูนเทคโนโลยีการผลิตจากต่างประเทศ โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศที่พร้อมในด้าน การสร้างองค์ความรู้ และเทคโนโลยีการเกษตร มากทีส่ ดุ จึงเป็นโอกาสอันดีในการร่วมมือพัฒนา ไปด้วยกันให้ดีขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการ และคุณภาพของมันเส้น หรือมันอัดเม็ด มันเส้น หรือมันอัดเม็ด จัดเป็นวัตถุดิบ ประเภทแป้ง เช่นเดียวกับข้าวโพด และปลายข้าว เพียงแต่มันเส้น หรือมันอัดเม็ดมีโปรตีนต่ำกว่า ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

โดยมันเส้น หรือมันอัดเม็ดคุณภาพดีจะมีโปรตีน ประมาณ 2% เมือ่ เทียบกับข้าวโพดแล้วมีโปรตีน อยู่ที่ 8% ดังนั้น การแก้ปัญหาโปรตีนต่ำใน มันเส้น หรือมันอัดเม็ดสามารถทำได้งา่ ยโดยการ เพิม่ วัตถุดบิ อาหารโปรตีนสูง เช่น กากถัว่ เหลือง หรือปลาป่นในสูตรอาหารให้สูงขึ้นก็จะช่วยให้ มันเส้น หรือมันอัดเม็ดมีคุณค่าทางโภชนาการ ใกล้เคียงกับข้าวโพด หรือปลายข้าว และสามารถ ทดแทนข้าวโพด หรือปลายข้าวในสูตรอาหาร เลี้ยงสัตว์ได้ ซึ่งจะทำให้มันเส้นรวมกับกากถั่วเหลื อ ง หรื อ ปลาป่ น จะทำให้ มี โ ปรตี น อยู่ ที่ ประมาณ 7.5% การแปรรูปมันสำปะหลังให้อยู่ในรูปของ มันเส้น หรือมันอัดเม็ดที่มีคุณภาพ หรือที่เรียก ว่ามันเส้นสะอาดยังคงเป็นที่ต้องการของวงการ อาหารสั ต ว์ นอกจากเป็ น การเพิ่ ม มู ล ค่ า ของ มันสำปะหลังในการส่งออกแล้ว ยังเป็นไปตาม มาตรฐานการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ไทย ตามระบบ GMP และ HACCP ของสหภาพยุโรป ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญของทุกฝ่ายทั้งเกษตรกรที่ จะได้รบั ในราคาพรีเมีย่ ม โรงงานอาหารสัตว์กไ็ ด้ ใช้มันเส้นที่มีคุณภาพไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ ผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์ก็ยังได้รับอาหารสัตว์ ที่คุณภาพดีเช่นกัน จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาในข้างต้นจะเห็น ได้ว่า ปริมาณการใช้มันสำปะหลังของไทยมี แนวโน้มสูงขึ้น จากปัจจัยต่างๆ ทั้งที่เป็นตัว ส่งเสริมให้มีการปลูกมากขึ้น อย่างโครงการ แทรกแซงราคามันสำปะหลังของรัฐบาล ทำให้ ผลผลิตเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความต้องการ ใช้ มั น สำปะหลั ง ในไทยที่ ยั ง สามารถพั ฒ นา ศักยภาพในเชิงคุณภาพและปริมาณได้อีกมาก


(31)

แหล่งที่มา: สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ปี 2555

ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง อุตสาหกรรมด้ า นพลั ง งาน และอุ ต สาหกรรม อาหารสั ต ว์ ทั้ ง ในและต่ า งประเทศ ที่ ใ ห้ ก าร ยอมรับเป็นอย่างดีมาโดยตลอด โดยเห็นได้จาก แนวโน้ ม การใช้ ใ นประเทศและการส่ ง ออกที่ เติบโตเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

แนวโน้มการใช้มันสำปะหลัง ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ สืบเนื่องจากราคาธัญพืชทั้วโลกที่มีการ ปรับตัวสูงขึน้ จากสภาวะภัยแล้งในหลายประเทศ ผูผ้ ลิตรายใหญ่ ทำให้ผเู้ ลีย้ งสัตว์และผูผ้ ลิตอาหาร สัตวจำเป็นต้องพึ่งพาวัตถุดิบที่มีความได้เปรียบ ทางด้านราคาและมีคุณค่าทางอาหาร โดยจาก ผลงานวิจยั ของภาครัฐและเอกชนได้มกี ารยืนยัน ในระดับที่น่าพอใจว่า มันสำปะหลังสามารถนำ มาทดแทนวัตถุดิบหลักอื่นได้ อีกทั้ง ยังมีความ ได้เปรียบในด้านต้นทุนทางอาหาร ส่งผลให้หลาย บริษัทมีการใช้มันสำปะหลังในสูตรอาหารสัตว์ ของสัตว์หลายชนิดเพิ่มมากขึ้น

ในส่วนของอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร สัตว์ ประเทศไทยมีกำลังการผลิตมันสำปะหลัง ให้อยู่ในรูปของมันเส้นและมันอัดเม็ดประมาณ 4.5-6 ล้านตัน ซึ่งปริมาณการใช้มันเส้นเป็น วัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ มีแนวโน้มใน ทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉลี่ย ประมาณ 4.4% นับตั้งแต่ปี 2541-2554 โดย ในปี 2555 ความต้องการใช้มันเส้นอยู่ที่ 1.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.2 ล้านตันในปี 2554 ประมาณ 2.5% แม้ว่าประเทศไทย และสภาวะ เศรษฐกิจของโลกจะประสบปัญหาต่างๆ ทีผ่ า่ นมา อาทิ วิ ก ฤตไข้ ห วั ด นก, Hamburger Crisis หรือมหาอุทกภัย แต่ปริมาณความต้องการใช้ มันเส้น หรือมันอัดเม็ดเป็นวัตถุดิบในการผลิต อาหารสัตว์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง แนวโน้มของปริมาณปศุสัตว์ในประเทศไทยยังมี แนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากศักยภาพ ในการเลีย้ งเพือ่ การบริโภคและการส่งออก ทำให้ มันสำปะหลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการใช้ ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในอนาคต ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(32)

แหล่งที่มา: สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ปี 2555

แหล่งที่มา: สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ปี 2555

ในแง่ของภาวะราคาวัตถุดิบปี 2555 ที่มีราคาสูงในไทย อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืช ตระกูลข้าว จะเห็นได้วา่ สัดส่วนของการใช้มนั สำปะหลังเข้ามาทดแทนมีปริมาณเพิม่ สูงขึน้ ซึง่ สะท้อน ให้เห็นถึงความต้องการในภาพรวมของการใช้มันสำปะหลังในภาคอาหารสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น และ คาดการณ์ว่าในอนาคตสัดส่วนการปรับสูตรอาหารเพื่อใช้สำหรับสัตว์ก็คงจะมีแนวโน้มสูงขึ้นตาม ไปด้วยเช่นกัน โดยในปี 2555 อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์มกี ารใช้มนั สำปะหลัง 8% เทียบกับ ถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง 24% ผลิตภัณฑ์ข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 52% ปลาป่น 4% และ อื่นๆ อีก 12% ปัจจุบันมันสำปะหลังเส้น/อัดเม็ดถูกใช้เป็นอาหารสุกร โคเนื้อ และโคนม อย่างกว้างขวาง รวมทั้งการใช้เป็นวัตถุดิบอาหารเลี้ยงไก่เนื้อเพื่อส่งออก โดยมีปริมาณการใช้ในสุกรขุน 767,000 ตัน ไก่เนื้อ 229,858 ตัน สุกรพันธุ์ 83,700 ตัน ปลา 94,571 ตัน และโคนม 57,488 ตัน ทั้งนี้หากประเทศไทยใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์อย่างเต็มที่ จะมีความต้องการใช้มันสำปะหลัง ประมาณปีละ 3-4 ล้านตัน ประกอบกับนโยบายส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงจาก ฟอสซิลมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อผลิตพลังงานทดแทนมีทิศทางสูงขึ้นอีก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555




ปลาป่น %ที่ใช้ ปริมาณ(ตัน) 3 137,915 3 115,050 5 41,850 0 20 126,095 420,910

กากถั่วเหลือง %ที่ใช้ ปริมาณ(ตัน) 30 1,379,149 20 767,000 20 167,400 5 28,744 30 189,143 3,080,436

ข้าวโพด %ที่ใช้ ปริมาณ(ตัน) 50 2,298,582 20 767,000 0 15 86,231 15 94,571 3,246,387

ที่มา: สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หมายเหตุ: ข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวเลขเฉพาะอาหารสัตว์ที่มีส่วนประกอบจากมันสำปะหลังในการผลิต

ประชากรสัตว์ (ล้านตัว) ไก่เนื้อ 1,160.90 หมูขุน 13 หมูพันธุ์ 0.9 โคนม (ตัว) 350,000 ปลา (ตัน) 374,850 รวม

ปริมาณวัตถุดิบแต่ละชนิดที่มีมันสำปะหลังในการผลิตอาหารสัตว์ ปี 2555 ปลายข้าว %ที่ใช้ ปริมาณ(ตัน) 5 191,750 25 209,250 401,000

รำสด %ที่ใช้ ปริมาณ(ตัน) 7 321,801 10 383,500 10 83,700 789,001

มันสำปะหลัง %ที่ใช้ ปริมาณ(ตัน) 5 229,858 20 767,000 10 83,700 10 57,488 15 94,571 1,232,617

(33)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(34)

บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ โดย ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

1. ข้าว ราคาข้าวเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2555 ราคาข้าวทีเ่ กษตรกรขายได้ ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคา 10,292บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 3.4 ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ราคา 12,804 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.1 สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,748 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.4 ราคาข้าวส่งออก (F.O.B.) ข้าวขาว 5% ราคา 577 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.2 ข้าวเหนียวขาว 10% ราคา 793 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 และข้าวหอมมะลิราคา 1,146 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8

สถานการณ์ข้าว ราคาข้าวเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2555 ลดลง เนื่องจากผลผลิตข้าวภายในประเทศเพิ่มขึ้น จากการทีฝ่ นตกชุกในพืน้ ทีภ่ าคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ทำให้เกษตรกรต้องเร่งเก็บเกีย่ ว เพือ่ หนีนำ้ ส่งผลให้มขี า้ วออกสูต่ ลาดในช่วงเดือนตุลาคมมากขึน้ ขณะเดียวกันข้าวมีความชืน้ สูง ทำให้ ราคาอ่อนตัวลง ยกเว้นข้าวหอมมะลิทยี่ งั เป็นทีต่ อ้ งการของตลาด นอกจากนี้ ยังมีปจั จัยด้านอุปสงค์ ได้แก่ การชะลอลงของคำสัง่ ซือ้ จากต่างประเทศ เนือ่ งจากสภาพอากาศทีเ่ อือ้ อำนวยต่อการเพาะปลูก ข้าวในประเทศผู้ผลิตและนำเข้าอย่างอินโดนีเซีย จึงทำให้อินโดนีเซียไม่นำเข้าข้าวเพิ่มในช่วงที่เหลือ ของปีนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(35) ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เห็นชอบตามมติ กขช. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 อนุมัติกรอบชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ งบประมาณในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ระยะเวลารับจำนำวันที่ 1 ตุลาคม 2555-15 กันยายน 2556 โดยราคาและปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกนาปีไม่จำกัด จำนวน แต่ตอ้ งเป็นข้าวเปลือกทีเ่ กษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 สำหรับราคารับจำนำ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 20,000 บาท ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 18,000 บาท ข้าวเปลือก ปทุมธานีและข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 16,000 บาท โดยราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรา กรัมละ 200 บาท

คาดการณ์ราคาในเดือนพฤศจิกายน 2555 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และราคา ข้าวเปลือกเหนียว เมล็ดยาวจะเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งคาดว่าจะได้รับผลจากการเริ่มโครงการรับจำนำ ข้าวปีการผลิต 2555/56

2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เดือนตุลาคม 2555 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ 8.80 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.07 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่งออก (F.O.B.) เท่ากับ 9.95 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 12.33 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(36)

สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คณะกรรมการนโยบายข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ มีมติเมือ่ วันที่ 8 สิงหาคม 2555 เห็นชอบมาตรการ รับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2555/56 เดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2555 ในพื้นที่ 40 จังหวัด กรณีหากราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 9.00 บาท โดยตั้งเป้าหมาย 1 ล้านตันเมล็ด เพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกร สำหรับสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ของไทยปี 2555/56 (ผลพยากรณ์ ณ เดือนกันยายน 2555) มีผลผลิต 4.69 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.88 จากปี 2554/55 โดยในเดือน ตุลาคม 2555 คาดว่าจะมีผลผลิต 0.85 ล้านตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 26.09 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประกอบกับในช่วงเดือนนี้ฝนตกชุกทั่วทุกภาค ทำให้ผลผลิต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความชื้นสูง ส่งผลให้คุณภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง ทำให้ราคาที่เกษตรกร ขายได้ลดลงตามคุณภาพความชื้น

คาดการณ์ราคาในเดือนพฤศจิกายน 2555 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้ จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น จากการที่ ผู้ประกอบการรายใหญ่เร่งผลิตไก่เนื้อเพื่อส่งสินค้าไปยังหลายประเทศทั่วโลกในช่วงเทศกาลปลายปี

3. อ้อยโรงงาน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์คเดือนตุลาคม 2555 ราคาเฉลีย่ ของน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์ค (ส่งมอบเดือนมีนาคม 2556) เท่ากับ 13.26 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.6

สถานการณ์อ้อยและน้ำตาลทราย เนื่องจากปริมาณน้ำตาลทรายโลกส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นจากหลายประเทศผู้ผลิตสาคัญ อาทิ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(37) สหรัฐฯ ออสเตรเลีย จีน ปากีสถาน และบราซิล ทีม่ ผี ลผลิตน้ำตาลเพิม่ ขึน้ ต่อเนือ่ งมาตัง้ แต่กลางเดือน กรกฎาคม 2555 เป็นต้นมา ประกอบกับแรงขายของนักเก็งกำไรและกลุม่ กองทุนต่างๆ เป็นปัจจัยที่ ส่งผลต่อให้ราคาน้ำตาลทรายโลกปรับตัวลดลง ทัง้ นี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้คาดการณ์ผลผลิต/ความต้องการบริโภคน้ำตาลทราย ของสหรัฐฯ ในปี 2555/2556 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ต.ค. 55) มีผลผลิตประมาณ 13.468 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากปีการผลิตก่อน ขณะที่ความต้องการบริโภคน้ำตาลทรายโลกมีประมาณ 11.91 ล้านตัน ทำให้มีอุปทานส่วนเกินอยู่ที่ 1.558 ล้านตัน สำหรับบราซิล คาดว่าผลผลิตอ้อย ทางภาคกลาง และใต้ของบราซิลในปี 2555/2556 (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2555) จะมีผลผลิต 574 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 12.5 จากปีการผลิตก่อน นอกจากนี้ ฟิลปิ ปินส์มแี นวโน้ม จะพิจารณาให้ส่งออกน้ำตาลทรายตามโควตาสหรัฐฯ เร็วขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบ น้ำตาลทรายส่วนเกินในตลาดที่อาจมีผลต่อราคาในประเทศ

คาดการณ์ราคาในเดือนพฤศจิกายน 2555 ศู น ย์ วิ จั ย ธ.ก.ส. คาดว่ า ราคาเฉลี่ ย ของน้ ำ ตาลทรายในตลาดโลกจะลดลงตามผลผลิ ต น้ำตาลทรายโลกส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ อีกทั้งจีนและรัสเซียมีแนวโน้มจะลดการนำเข้า น้ำตาลทรายจากตลาดโลกอีกด้วย

4. ยางพารา

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคายางพารา เดือนตุลาคม 2555 ราคาเฉลี่ยของยางพาราที่เกษตรกรขายได้ เท่ากับ 84.91 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 14.97 หลังจากลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี 2555 เป็นต้นมา สอดคล้องกับทิศทาง ราคาเฉลี่ยของยางแผ่นดิบที่ประมูล ณ ตลาดหาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 88.97 บาท/กก. คิดเป็น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(38) ร้อยละ 9.50 และราคายางแผ่นรมควัน ชั้น 3 F.O.B. กรุงเทพฯ 100.64 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนร้อยละ 9.42 เช่นกัน

สถานการณ์ยางพารา สถานการณ์ยางมีทิศทางแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจาก 1) ปัจจัยการค้าของสหรัฐฯ ฟื้นตัวดีขึ้น 2) สภาพเศรษฐกิจยุโรปค่อนข้างคงที่ 3) ประเทศจีนเริ่มมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และ 4) การที่ ไทยงดการส่งออกยางและเก็บไว้ในสต็อก ทำให้เข้าสู่ตลาดในระดับที่ถดถอยลง ตลอดจนโครงการ รักษาเสถียรภาพราคายาง 15,000 ล้านบาท ส่งผลต่อราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น โดย อสย. คาดการณ์ ราคายางแผ่นดิบปลายปีจะขยับขึ้นเป็นต่ำกว่า 100 บาท/กก. เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวล เกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ประกอบกับตัวเลขเงินเฟ้อของจีนชะลอตัวลงจากเดือนกันยายน ทำให้ รัฐบาลจีนสามารถใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ ส่งผลให้ผู้ซื้อยางในประเทศกลับเข้าสู่ ตลาด และแข่งขันซื้อมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงทำให้นักลงทุน ระมัดระวังในการซื้อขาย ทำให้ระยะนี้ราคายังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด รัฐบาลได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยการอนุมัติงบประมาณเป็นวงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ อสย. รับซื้อยางผ่านสถาบันเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ทั้งนี้ เมื่อ พรบ. การยางฯ ผ่านการพิจารณา จะทำให้เกิดการยางแห่งประเทศไทย และจะมีการนำเงินเซสส์ ซึ่งเป็นเงินค่าธรรมเนียมจากการส่งออกยางเพื่อดำเนินการรักษาเสถียรภาพราคายางโดยไม่ต้องใช้ งบประมาณจากภาครัฐต่อไป

คาดการณ์ราคาในเดือนพฤศจิกายน 2555 ศูนย์วจิ ยั ธ.ก.ส. คาดว่าราคายางพาราทีเ่ กษตรกรขายได้จะเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย เนือ่ งจากภาวะฝน ตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยาง ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ราคาจึงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น

5. มันสำปะหลัง

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(39)

ราคามันสำปะหลัง เดือนตุลาคม 2555 ราคาหัวมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ 2.06 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 7.62 ราคามันเส้นส่งออก (F.O.B.) 7.10 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.89

สถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2556 คาดว่ามีพนื้ ทีเ่ ก็บเกีย่ ว 7.91 ล้านไร่ และผลผลิต 27.55 ล้านตัน คาดว่าเดือนตุลาคม 2555 ผลผลิตจะออกสู่ตลาด 1.44 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 5.21 ของผลผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ ประมาณ 5.19 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 18.85 ของผลผลิตทั้งหมด คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2555 มีมติเห็นชอบให้ดำเนิน โครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2555/2556 ขณะนี้รอการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ ของคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีประเด็นเรียกร้องจากกลุ่มเกษตรกร ให้ปรับเพิ่มราคารับจำนำมันสำปะหลัง จากเหตุผลที่ว่าราคารับซื้อของโรงงานปัจจุบันอยู่ที่ 2.80 บาท/กก. และก่อนหน้านี้ ในโครงการ รับจำนำปี 2554/2555 (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2555) มีการรับจำนำหัวมันสดที่ปริมาณแป้ง 25% ที่กิโลกรัมละ 2.75 บาท และปรับเพิ่มขึ้นเดือนละ 0.05 บาท จนถึงเดือนพฤษภาคม 2555 แต่โครงการรับจำนำมันสำปะหลัง ปี 2555/2556 รับจำนำหัวมันสด เริม่ ต้นทีร่ าคา 2.50 บาท/กก. และปรับเพิ่มขึ้น 5 สตางค์ทุกเดือน สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2556 ที่ราคา 2.75 บาท/กก. อีกทั้ง มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการลักลอบนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศกัมพูชาอย่างผิดกฎหมาย อาจ กระทบต่อกลไกราคามันสำปะหลังภายในประเทศ

คาดการณ์ราคาในเดือนพฤศจิกายน 2555 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากความ ต้องการแป้งมันสำปะหลังและมันเส้นมีอย่างต่อเนื่อง และผลทางอ้อมจากโครงการรับจำนำมัน สำปะหลัง ปี 2555/2556

6. ปาล์มน้ำมัน ราคาปาล์มน้ำมัน เดือนตุลาคม 2555 ราคาเฉลีย่ ของปาล์มน้ำมันทีเ่ กษตรกรขายได้ เท่ากับ 3.46 บาท/กก. ลดลงจากเดือนกันยายน ร้อยละ 24.12 ราคาขายส่งเฉลี่ยของปาล์มน้ำมัน ณ ตลาดกรุงเทพฯ เท่ากับ 4.5 บาท/กก. ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 6.25 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(40)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและกรมการค้าภายใน

สถานการณ์ปาล์มน้ำมัน ราคาเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ในเดือนตุลาคม 2555 มีแนวโน้มลดลง เนื่อง จากความต้องการใช้น้ำมันปาล์มของโลกลดลงจากภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัว ในขณะที่ ผลผลิตปาล์มน้ำมันของไทยในเดือนตุลาคมได้ออกสู่ตลาดมากขึ้น จากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย ในช่วงทีผ่ า่ นมา และในเดือนตุลาคม 2555 มาเลเซียมีสต๊อกเพิม่ ขึน้ เป็น 3 ล้านตัน โดยเมือ่ วันที่ 12 ตุลาคม 2555 มีมติให้ปรับลดอัตราภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบรายเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 จึงสะท้อนถึงความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตลาดโลก จากเดิมที่กำหนดอัตราภาษี ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ในอัตราคงที่ ร้อยละ 23 และร้อยละ 0 สำหรับ อัตราภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบใหม่ เพื่อกระตุ้นการส่งออกระบายสต๊อกที่มีปริมาณมากและเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอินโดนีเซียทีไ่ ด้ปรับลดภาษีสง่ ออกน้ำมันปาล์มดิบลงก่อนหน้านี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้จึงมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน

คาดการณ์ราคาในเดือนพฤศจิกายน 2555 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้ในเดือนพฤศจิกายน 2555 จะลดลง เนือ่ งจากมาเลเซียและไทยมีผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิม่ ขึน้ แต่ความต้องการผลผลิตในตลาดกลับน้อยลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555




(41)

7. ไก่เนื้อ

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคาไก่เนื้อเดือนตุลาคม 2555 ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 38.13 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.10 ราคาขายส่งไก่เนื้อมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ย 31.00 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 11.43

สถานการณ์ ไก่เนื้อ การส่งออกในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2555 มีปริมาณการส่งออก 352,036 ตัน ขยายตัวที่ร้อยละ 17.34 ตลาดหลักในการส่งออกไก่ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และฮ่องกง เนือ่ งจากผูป้ ระกอบการทุกประเทศได้ปรับราคาไก่เนือ้ เพือ่ การส่งออกมากขึน้ ทัง้ บราซิล และสหรัฐอเมริกา สาเหตุจากทุกประเทศประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงจากราคาธัญพืชมีราคาแพง ส่งผลให้ประเทศผู้นำเข้าทั้งสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง และแอฟริกา หันมา สัง่ ซือ้ ไก่เนือ้ จากไทยมากขึน้ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีหลายประเทศทัว่ โลกจะมีปริมาณ การบริโภคไก่เนื้อเพิ่มขึ้นในเทศกาลคริสมาสต์ และปีใหม่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยเร่งผลิตไก่เนื้อ เพื่อจัดส่งสินค้าให้ทันกับช่วงเทศกาลปลายปี ทำให้ผลผลิตในเดือนตุลาคมออกสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับในเดือนนี้ ทั่วทุกภาคยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่อง และเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้กำลังซื้อ และความต้องการบริโภคไก่เนื้ออ่อนตัวลง ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อลดลงจากเดือนก่อน

คาดการณ์ราคาไก่เนื้อในเดือนพฤศจิกายน 2555 ศูนย์วจิ ยั ธ.ก.ส. คาดว่าราคาไก่เนือ้ ทีเ่ กษตรกรขายได้จะปรับตัวลดลง เนือ่ งจากไก่เนือ้ ทีอ่ อกสู่ ตลาดมีปริมาณและน้ำหนักไก่เพิ่มขึ้น จากการเร่งผลิตไก่เนื้อของผู้ประกอบการรายใหญ่ ในขณะที่ ความต้องการบริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(42)

8. กุ้งข้าวแวนนาไม

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคากุ้งขาวแวนนาไม เดือนตุลาคม 2555 ราคากุง้ ขาวแวนนาไมทีเ่ กษตรกรขายได้ 150.44 บาท/กก. เพิม่ ขึน้ จากเดือนก่อนร้อยละ 1.51 ราคาขายส่งกุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร 147.33 บาท/กก. ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 1.23

สถานการณ์กุ้งขาวแวนนาไม ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีปริมาณผลผลิตกุ้งออกมามากกว่าปกติ ราคากุ้งขาว ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับความเดือดร้อน จนภาครัฐได้อนุมัติให้ดำเนิน โครงการเพื่อแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำ โดยดำเนินโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไม ปี 2555 รอบที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน- 4 ตุลาคม 2555 ปัจจุบันราคากุ้งขาวเพิ่มสูงขึ้น จนกลับสูภ่ าวะปกติแล้ว กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ คาดว่า การส่งออกกุง้ สดแช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูปในปี 2555 จะมีมูลค่า 3,256.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8 คิดเป็นปริมาณ 361,226 ตัน หรือลดลงร้อยละ 5 โดยในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2555 ส่งออกไปทัว่ โลกแล้ว ปริมาณ 210,498 ตัน ลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุ มาจากผู้นำเข้าชะลอการสั่งซื้อจากไทย เพราะราคาสินค้าของไทยสูงกว่าคู่แข่ง อาทิ อินโดนีเซีย ซึ่งสามารถผลิตกุ้งออกสู่ตลาดมากขึ้นจากที่เคยประสบปัญหาโรค IMNV ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และอินเดีย ซึ่งหันมาเลี้ยงกุ้งขาวมากขึ้น ส่งผลให้ราคากุ้งในตลาดโลกปรับตัวลดลง

คาดการณ์ราคาในเดือนพฤศจิกายน 2555 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาด มีอย่างต่อเนื่อง และผลผลิตของคู่แข่งสำคัญในตลาดน้อยลง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(43)

ภัยแล้งในสหรัฐอเมริกา: หรือจะเป็นโอกาสของข้าวโพดไทย

โดย ดร. ฤทัยชนก จริงจิตร  นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ

สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ ผู้ผลิต และผูส้ ง่ ออกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์รายใหญ่ทสี่ ดุ ของ โลก กำลังประสบกับภาวะแห้งแล้งที่สุดในรอบ 25 ปี เนื่องมาจากอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ สภาวะ แห้งแล้งรุนแรงดังกล่าวครอบคลุมพืน้ ทีถ่ งึ 55% ของประเทศ โดยเขตตอนกลางซึ่งเป็นแหล่ง เกษตรกรรมสำคัญอยู่ในสภาวะแล้งจัดจนถึง ปานกลาง ซึ่ ง ส่ ง ผลต่ อ ภาคการเกษตรของ สหรัฐฯ ทั้งในด้านการเพาะปลูก และปศุสัตว์ พืชผลทางการเกษตรเป็นจำนวนมากจึงได้รับ ความเสียหาย รวมทั้งถั่วเหลือง และที่สำคัญ คื อ ข้ า วโพดซึ่ ง นั บ เป็ น ส่ ว นประกอบหลั ก ของ อาหารประเภทต่างๆ ที่ชาวสหรัฐฯ ใช้บริโภค เป็นประจำทุกวัน

แผนภาพ 1 พื้นที่ซึ่งประสบภัยแล้ง

พื้นที่สีแดง พื้นที่สีเหลือง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์ตลาดข้าวโพด ราคาน้ำมันเชือ้ เพลิงทีส่ งู ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ทำให้สหรัฐฯ เริ่มมีการนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไป ผลิตเอทานอลเพือ่ ใช้เป็นพลังงานทดแทน ส่งผล ให้ความต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขยายตัว และ มีแนวโน้มกระทบต่อความมัน่ คงด้านอาหารสัตว์ ประเภทไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร และวัว ทว่า ในระยะยาว ปริมาณการใช้ข้าวโพด และกากถั่วเหลืองในการผลิตอาหารสัตว์จะมี แนวโน้มลดลง เนื่องจากส่วนหนึ่งจะถูกทดแทน ด้วยอุปทานของกากข้าวโพดหมักที่เป็นผลผลิต

*พื้นที่สีแดงคือบริเวณที่ประสบภัยแล้ง และสีเหลืองคือเขตติดต่อที่ได้รับผลกระทบ ที่มา: USDA (2012)

ร่วม (Co-Product) จากกระบวนการผลิตเอทานอล ดังนั้นในอนาคต การใช้ข้าวโพดจะมี สัดส่วนที่ลดลง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายพลังงาน ของสหรัฐฯ ทีก่ ำหนดให้มกี ารใช้วตั ถุดบิ ทดแทน มากขึ้นในระยะยาว เพื่อป้องกันผลกระทบต่อ ความมั่นคงด้านอาหารจากการผลิตพลังงาน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(44) ทดแทน และในอนาคตการใช้ขา้ วโพดในอุตสาหกรรมเอทานอลจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตัวแปรหลักที่มีอิทธิพลต่อราคาข้าวโพด คือ ปริมาณสต็อกในปัจจุบนั และการคาดการณ์ ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ (Yield) โดยหากตลาดมี ความกังวลในตัวเลขดังกล่าว จะส่งผลให้ราคา สูงขึน้ อีกปัจจัยทีม่ คี วามสำคัญคือสินค้าทดแทน (Substitute Good) โดยเฉพาะข้าวสาลี ซึ่งหาก มีปริมาณน้อยลงและราคาสูง จะทำให้มีการใช้ ข้าวโพดในการผลิตอาหารสัตว์มากขึ้น รวมทั้ง ภาวะเก็ บ เกี่ ย วข้ า วโพดในจี น อิ น เดี ย และ รัสเซีย ซึง่ มีผลต่อการนำเข้าของทัง้ สามประเทศ ที่มีปริมาณความต้องการมาก และมีอิทธิพล ต่ อ ระดั บ ราคา ส่ ว นตั ว แปรด้ า นอื่ น ๆ ได้ แ ก่ สภาวะอากาศและปริมาณน้ำฝน แนวโน้มการ ผลิ ต ข้ า วโพดของอาร์ เ จนติ น าในฐานะเป็ น ประเทศผู้ผลิตหลักประเทศหนึ่งนอกจากสหรัฐฯ รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนด อุปสงค์ในระยะยาว

ผลกระทบ ผลกระทบต่อระดับราคา สภาวะแห้งแล้งที่สร้างความเสียหายต่อ การเพาะปลูกข้าวโพดในพื้นที่หลายมลรัฐของ สหรัฐฯ ได้ส่งผลให้ราคาข้าวโพดหน้าฟาร์มสูง ขึ้น และได้ส่งผลต่อเนื่องไปถึงการเพิ่มขึ้นของ ราคาถั่วเหลืองและสินค้าอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่ง ในห่วงโซ่อุปทานของอาหารสัตว์ ในระยะสั้น สถานการณ์ดังกล่าวกระตุ้นให้เกษตรกรเร่งนำ สัตว์ไปขายเพื่อหลีกเลี่ยงการแบกรับภาระราคา อาหารสัตว์ที่แพง จึงอาจทำให้อุปทานเนื้อสัตว์ ในตลาดเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การลดลงของราคา เนื้อสัตว์ ทว่า ในระยะยาว ราคาเนื้อสัตว์จะมี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

แนวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น จากอุ ป ทานที่ ต่ ำ ลงเนื่ อ งจาก อาหารสัตว์มีราคาสูง ทำให้เกษตรกรขาดแรง จูงใจในการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งอาจทำให้ราคาอาหาร เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ผลกระทบต่อผู้บริโภค สถานการณ์ราคาข้าวโพดที่สูงขึ้นมีแนว โน้มส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าปลีกซึ่งผู้บริโภค จะต้องรับภาระ โดยเริม่ จากราคาเนือ้ วัว เนือ้ หมู เนือ้ ไก่ และผลิตภัณฑ์นม ส่วนราคาสินค้าแปรรูป อาจใช้เวลาประมาณเกือบหนึ่งปีจึงจะได้รับผล กระทบ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ จึงคาดการณ์ ว่าเงินเฟ้อสินค้าอาหารในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 2.53.5% และอาหารอาจมี ร าคาสู ง ขึ้ น ไปจนถึ ง ไตรมาสแรกของปีหน้า รวมทั้งได้คาดการณ์ว่า ราคาอาหารจะเพิม่ สูงขึน้ 3-4% ในปี 2556 โดย เฉพาะราคาเนือ้ วัวอาจปรับตัวสูงสุด โดยจะพุง่ ขึน้ ราว 4-5% ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น 3.5-4.5% ไก่และไข่ 3-4% เนื้อหมู 2.5-3.5% ปลาและอาหารทะเล 4-5% โดยราคาเนื้อไก่ มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นเป็นอันดับแรก เนื่องจาก เติบโตเร็วที่สุด แผนภาพ 2 การเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร ในปี 2556

ที่มา: USDA (2012)


(45) ทั้ ง นี้ สิ น ค้ า โภคภั ณ ฑ์ อาทิ เนื้ อ สั ต ว์ ไก่และไข่ นับเป็นเพียงส่วนหนึง่ ของราคาขายปลีก สินค้าอาหารที่มีสัดส่วนเพียง 14% อีก 86% เป็นต้นทุนด้านอื่นๆ อาทิ การแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การค้าปลีก การบริการ พลังงาน การขนส่ง การเงิน ที่ผ่านมาพบว่าการเพิ่มขึ้น 50% ของราคาข้าวโพดหน้าฟาร์ม ส่งผลให้ ราคาขายปลีกอาหาร (Consumer Price Index: CPI) เพิ่มขึ้น 0.5-1% ดังนั้น ถึงแม้ราคาสินค้า โภคภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ราคาขายปลีก อาหารจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 14% ในระยะ 20 ปี ทีผ่ า่ นมา อัตราเงินเฟ้อในส่วนอาหารของสหรัฐฯ อยู่ในช่วงระหว่าง 2.5–3% แต่สภาวการณ์ที่ เกิดขึ้นอาจส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็น 3–4% จากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น แผนภาพ 3 ราคาอาหาร

ที่มา: USDA (2012)

ผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม การผลิต ถึงแม้วา่ สถานการณ์จะเอือ้ อำนวยต่อการ เพาะปลูกในช่วงต้นฤดู ภาวะแห้งแล้งที่เกิดขึ้น

ภายหลังได้ส่งผลกระทบทำให้มีการพยากรณ์ว่า การผลิตข้าวโพดจะลดลงถึง 27% และถัว่ เหลือง จะลดลง 16% ในเดือน ส.ค. เทียบกับเดือน พ.ค. ซึ่งสะท้อนถึงการลดลงของผลผลิตต่อพื้นที่และ สัดส่วนของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ นอกจากนั้นการผลิตที่น้อยกว่าการคาดการณ์ ยั ง สะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง สภาวะผลผลิ ต ที่ มี คุณภาพลดลง โดยข้าวโพดมีคณ ุ ภาพต่ำลง 35% จากช่วงต้นปี ในการประเมินครั้งแรกช่วงเดือน พ.ค. มากกว่า 75% ของข้าวโพดอยู่ในเกณฑ์ดี ถึงดีเยีย่ ม และมีเพียง 3% ทีอ่ ยูใ่ นระดับคุณภาพ ต่ำถึงต่ำมาก แต่ในเดือน ส.ค. ข้าวโพดที่อยู่ ในเกณฑ์ดีถึงดีเยี่ยมลดลงเหลือเพียงแค่ 23% ส่วนครึ่งหนึ่งอยู่ในระดับคุณภาพต่ำถึงต่ำมาก สำหรับถั่วเหลือง สภาวะผลผลิตมีคุณภาพด้อย ลง 25% จากการประเมินครั้งแรกในช่วงเดือน มิ.ย. การผลิ ต ข้ า วโพดและถั่ ว เหลื อ งมี ค วาม สำคัญมากต่อระดับอุปทาน และสถานการณ์ ราคาสินค้าในปี 2012/13 เนือ่ งจากอุปทานและ สต็อกในช่วงปลายปี 2011/12 มีปริมาณที่ ค่อนข้างต่ำ ในเมื่อปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทำให้ ไม่สามารถที่จะเพิ่มระดับสต็อกในปี 2012/13 ได้ จึงมีความจำเป็นต้องตัดทอนปริมาณการ ใช้ให้น้อยลงเพื่อทำให้อุปสงค์มีความสมดุลกับ อุปทาน แต่ความสมดุลดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้น ราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองจึงเพิ่มสูงขึ้นอย่าง รวดเร็วในช่วงฤดูร้อนของปีนี้จนถึงปีหน้า ผลผลิตข้าวโพดในปีการเก็บเกีย่ วนีค้ าดว่า จะน้อยลง กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ ว่าปริมาณผลผลิตโดยเฉลี่ยจะมีระดับที่ลดต่ำลง มาก อยู่ที่ 123.4 บูเชลต่อเอเคอร์ ซึ่งเป็น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(46) อัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1995 ในทิศทาง เดียวกัน พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองจำนวนมาก ก็ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปริมาณผลผลิตที่ คาดการณ์ไว้สำหรับปีนี้จึงตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ ปี 2003 และส่งผลให้ราคาถั่วเหลืองเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2012/13 อยู่ที่ $15-$17 ต่อบูเชล นอกจากนัน้ ยังกระทบต่อสินค้าทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง อาทิ น้ ำ มั น ถั่ ว เหลื อ งราคาจะเพิ่ ม ขึ้ น จาก 51.75 เซ็นต์ต่อปอนด์ เป็น 53-57 เซ็นต์ต่อปอนด์ กากถั่วเหลืองจะเพิ่มจาก $390 เป็น $460$490 ต่อตัน ปศุสัตว์ สืบเนือ่ งจากภัยแล้งทีท่ ำให้ขา้ วโพดมีราคา สูงขึ้น ภาคปศุสัตว์ได้รับผลกระทบทางอ้อมจาก การที่ราคาอาหารสัตว์ได้ขยับตัวขึ้น ซึ่งส่งผล ต่อต้นทุนการผลิต และความร้อนยังส่งผลกระทบ โดยตรงจากการก่ อ ให้ เ กิ ด ภาวะความเครี ย ด ซึ่ ง สร้ า งความเสี ย หายต่ อ การขยายพั น ธุ์ ข อง วัว หมู และไก่ รวมถึงการผลิตนม ในเดือน ส.ค. พื้นที่เลี้ยงวัวถึง 72% ได้รับผลกระทบจาก ภัยแล้งปานกลางถึงรุนแรง จากการที่ปริมาณ หญ้าสำหรับให้สัตว์บริโภคมีน้อยลง เกษตรกร จึงมีความจำเป็นต้องให้อาหารสัตว์เร็วขึ้น และ ต้องเร่งนำเนื้อสัตว์ออกขายเป็นจำนวนมาก ซึ่ง จะทำให้อุปสงค์เนื้อวัวในตลาดมีเพิ่มขึ้น ส่งผล ให้ราคาลดต่ำลงในระยะ 6-9 เดือนต่อจากนี้ ทว่าผลในระยะยาวจะเป็นไปในทิศทางตรงกัน ข้าม กล่าวคือ เนื้อวัวจะมีปริมาณลดลง และมี ราคาสูงขึ้นในปี 2013 สำหรับผู้เลี้ยงไก่ ราคา อาหารสัตว์ที่ขยับขึ้นส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุน การผลิตสูง ซึ่งจะทำให้การผลิตมีอัตราที่ลดลง ในปี 2013 ในทิศทางเดียวกัน ผู้เลี้ยงสุกรก็ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

ประสบปัญหาจากการผลิตข้าวโพดที่ลดลงในปี 2012-13 และราคาที่สูงขึ้น ทำให้สต็อกสุกร ในปีนลี้ ดลง และต่อเนือ่ งไปจนถึงปีหน้า ทางด้าน การผลิตนม อุณหภูมิที่สูงขึ้นนับเป็นอุปสรรค ต่อการผลิตในช่วงฤดูรอ้ นปีนี้ นอกจากนัน้ ผูเ้ ลีย้ ง วัวนมยังได้รบั ปัญหาจากการทีอ่ าหารสัตว์มรี าคา แพงขึ้น จึงคาดการณ์ได้ว่าผลผลิตนมจะลดลง และจะทำให้ราคาเพิ่มขึ้นในปี 2013 สัตว์น้ำ สถานการณ์ภยั แล้งทีส่ ง่ ผลต่อภาคปศุสตั ว์ ยังได้ก่อปัญหาลุกลามไปยังอุตสาหกรรมการ ผลิตอาหารสัตว์นำ้ โดยเฉพาะในด้านผลผลิต ซึง่ ลดต่ำลงตั้งแต่ปี 2554 ทั้งในมิติของปริมาณ อุปทาน ซึ่งมีไม่เพียงพอต่อความต้องการนำเข้า ทีเ่ กิดจากการขยายภาคการผลิตในหลายประเทศ อาทิ จีน และในมิตขิ องคุณภาพสินค้าซึง่ ได้ตกต่ำ ลง โดยเฉพาะผลผลิตถัว่ เหลืองในสหรัฐฯ มีเพียง 34% ทีไ่ ด้รบั การประเมินจัดชัน้ คุณภาพผลผลิตดี และดีเยี่ยม หรือลดต่ำลง 30% จากปีที่แล้ว การขาดความสมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน ส่งผลให้ราคาขยับสูงขึน้ จากสถานการณ์ขณะนี้ ราคากากถัว่ เหลืองมีการคาดการณ์ไว้วา่ จะสูงถึง $335-$365 (10,500-11,500 บาท) ต่อตัน และจะส่งผลกระทบด้านราคาวัตถุดบิ ในอุตสาหกรรมอาหารสั ต ว์ น้ ำ อย่ า งชั ด เจนในไตรมาส สุดท้ายของปี 2555 เนือ่ งจากในปัจจุบนั การผลิต อาหารสัตว์นำ้ ใช้สว่ นผสมจากถัว่ เหลืองประมาณ 10-50% ขึ้นอยู่กับชนิดของปลา อุตสาหกรรม อาหารสัตว์ของโลกจึงมีแนวโน้มต้องหันไปพึง่ พา ถั่วเหลืองของบราซิล ซึ่งคาดว่าอาจสูงถึง 65.5 ล้านตันในปีนี้ เพื่อทดแทนปริมาณผลผลิตที่ได้ รับความเสียหายจากภัยแล้งในสหรัฐฯ


(47)

สถานการณ์ ในประเทศไทย มิติด้านการผลิต สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ระบุ ว่า ในปี 2555 เนือ้ ทีเ่ พาะปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ของไทย รวมทั้งประเทศมี 7.03 ล้านไร่ ซึ่ง ลดลงจากปีที่แล้ว 0.22 ล้านไร่ หรือร้อยละ 3 ปริ ม าณผลผลิ ต มี ทั้ ง สิ้ น 4.61 ล้ า นตั น ซึ่งลดลงจากปีที่แล้ว 71,846 ตัน หรือร้อยละ 1.53 โดยมีอัตราผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 656 กก. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10 กก. หรือร้อยละ 1.55 สาเหตุที่ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเนื่องจาก ในปี นี้ ฤ ดู ฝ นมาถึ ง เร็ ว และพื้ น ที่ เ พาะปลู ก ส่วนใหญ่ได้รับปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญ เติบโตของพืช ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่ประสบ ปัญหาน้ำท่วมในช่วงเดือน ก.ค. ถึงเดือน ส.ค. อาทิ ในจั ง หวั ด กำแพงเพชร สุ โ ขทั ย เลย หนองบัวลำภู และอุดรธานี เป็นต้น ส่วนเนื้อที่ เพาะปลู ก ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ล ดลงจากการที่ เกษตรกรเปลี่ยนแปลงพื้นที่ไปปลูกพืชพลังงาน และพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น อาทิ ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย ซึง่ ได้รบั ผลตอบแทนสูงกว่า อาทิ บริ เ วณจั ง หวั ด กำแพงเพชร สุ โ ขทั ย พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี และสระแก้ว นอกจากนั้น เกษตรกรที่ เ คยปลู ก ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ แ ซม ในสวนยางพาราในภาคเหนือ ไม่สามารถปลูก แซมได้อีก เพราะต้นยางพาราโตขึ้นจนไม่มีพื้นที่ ว่างมากพอ จึงทำให้การผลิตอาหารสัตว์ของ ไทยต้ อ งใช้ ข้ า วสาลี แ ละมั น สำปะหลั ง ทดแทน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบางส่วน

มิติด้านการตลาด อุ ป สงค์ สิ น ค้ า ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ภ ายใน ประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของ อุตสาหกรรมการเลีย้ งสัตว์ ทว่า โรงงานอาหาร สั ต ว์ บ างส่ ว นเริ่ ม หั น มาใช้ ข้ า วสาลี และมั น สำปะหลังในสูตรอาหารสัตว์ ในด้านของอุปทาน เหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี 2554 ได้สร้างความ เสียหายให้กับผลผลิต จึงทำให้อุปทานภายใน ประเทศลดต่ำลง ส่วนในด้านราคา เนื่องจาก ความต้องการใช้ของโลกในปี 2012/13 มีมาก กว่าการผลิตซึ่งลดลง จึงคาดได้ว่าราคาจะยัง คงอยู่ในระดับสูง ตาราง 1 การผลิต การบริโภค สต็อก การนำเข้า และการส่งออกข้าวโพดของโลก World Total Production Domestic Consumption Ending Stocks TY Imports TY Exports

Marketing Year 2010/11 2011/12 2012/13 830.8 876.7 841.1 850.1

859.3

854.3

127.6 90.9 91.9

139.6 98 100.3

124 88.6 90.9

ที่มา: USDA (2012) หน่วย: 1,000 เมตริกตัน

ด้ า นการค้ า ระหว่ า งประเทศ ในภาพ รวม ไทยมี ก ารส่ ง ออกข้ า วโพดในอั ต ราที่ สู ง กว่ า การนำเข้ า จากต่ า งประเทศหลายเท่ า ตั ว การส่งออกข้าวโพดของไทยไปยังตลาดต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้ นอย่างชัด เจนในช่ว งระยะ เวลาประมาณ 10 ปี ที่ ผ่ า นมา ส่ ว นการ นำเข้า ในอดีตเคยมีอัตราที่สูงมาก ทว่าได้ลด ต่ำลงตั้งแต่ปี 2001 แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(48) ครัง้ ในช่วงระยะเวลาประมาณ 10 ปี โดยเฉพาะ การนำเข้าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมามีอัตราสูงขึ้น อย่างเด่นชัด การนำเข้ า ข้ า วโพดของไทยส่ ว นใหญ่ มาจากประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจาก สมาชิกอาเซียน ประเทศที่ไทยนำเข้าข้าวโพด มากที่สุดคือ ลาว ซึ่งปริมาณการนำเข้ามีสูง มากกว่าประเทศอื่นๆ อย่างชัดเจน ส่วนแหล่ง นำเข้ า อื่ น ๆ ของไทยได้ แ ก่ กั ม พู ช า อิ น เดี ย และเวียดนาม ซึ่งการนำเข้าพุ่งสูงขึ้นมากใน ปีนี้ จนกลายเป็นแหล่งนำเข้าข้าวโพดอันดับ สองของไทย ส่ ว นประเทศนอกทวี ป เอเชี ย ที่ ไทยนำเข้าข้าวโพด ได้แก่ สหรัฐฯ แอฟริกาใต้ และอาร์เจนติน่า

2555 (ตาราง 2) โดยเฉพาะจากอินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย รวมทัง้ การนำเข้าจากสหรัฐฯ ก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนการนำเข้า ข้าวโพดจากประเทศลาว ซึ่งเป็นแหล่งนำเข้า อันดับหนึ่งของไทยมีการขยายตัวลดลงในปีนี้ แผนภาพ 5 การส่งออก

แผนภาพ 6 การนำเข้า

แผนภาพ 4 มูลค่าการนำเข้า/ส่งออก

ที่มา: World Trade Atlas (2012) หน่วย: ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่มา: World Trade Atlas (2012) หน่วย: ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

ในปีนตี้ งั้ แต่เดือน ม.ค. ถึง ก.ค. การนำเข้า ข้ า วโพดของไทยมี อั ต ราการขยายตั ว มากขึ้ น ซึ่งเป็นผลมาจากมหาอุทกภัยในปี 2554 ที่ได้ สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตบางส่วน จึง ทำให้อุปทานภายในประเทศลดต่ำลง และทำ ให้ไทยต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นในปี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

สำหรับการส่งออกข้าวโพดของไทย ตลาด ที่ ส ำคั ญ อยู่ ใ นอาเซี ย น ซึ่ ง ได้ แ ก่ เวี ย ดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยเฉพาะ การส่งออกไปเวียดนาม มีอตั ราทีส่ งู มากในระยะ 2-3 ปี ที่ ผ่ า นมา ส่ ว นในปี นี้ จนถึ ง ปั จ จุ บั น การส่งออกไปฟิลิปปินส์มีอัตราสูงที่สุด ตาม มาด้วยเวียดนาม ปากีสถาน และจีนซึง่ การส่งออก ในปีนี้มีการขยายตัวมาก




(49) ตาราง 2 การส่งออก/นำเข้าข้าวโพดของไทย No 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

Country --World-Philippines Vietnam Pakistan China Indonesia Myanmar Laos Cambodia Sri Lanka Malaysia

การส่งออก % Share % Change 2010 2011 2012 -12/11100 100 100 -30.79 22.02 0.7 39.84 3,833.36 53.69 40.71 19.96 -66.07 1.37 4.76 12.04 75.04 1.18 0.01 9.04 43,771.2 1.45 14.04 3.77 -81.43 1.16 3.38 3.34 -31.67 0.85 2.06 2.9 -2.52 0.49 1.93 2.81 1.08 0.24 0.38 2.08 281.67 16.36 25.09 1.28 -96.46

การนำเข้า % Share % Change No Country 2010 2011 2012 -12/110 --World-100 100 100 4.19 1 Laos 67.69 69.76 63.31 -5.44 2 Vietnam 0.27 2.08 15.91 697.41 3 Cambodia 6.98 14.86 5.95 -58.29 4 United States 2.73 3.55 4.09 19.87 5 India 9.93 0.84 3.95 393.34 6 Indonesia 1.92 0 3.57 0 7 South Africa 2.65 1.88 1.88 4.3 8 Argentina 0.72 0.94 1.26 39.71 9 Taiwan 0 0 0.05 0 10 Brazil 1.12 0 0.01 1,280.25 ที่มา: World Trade Atlas (2012) หน่วย: ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับประเทศไทย จากการวิเคราะห์พบว่า การผลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์เป็นกระบวนการต้นน้ำ เนือ่ งจากอาหารสัตว์ ส่วนใหญ่ใช้ขา้ วโพดเป็นวัตถุดบิ ในขณะทีอ่ ตุ สาหกรรมอาหารสัตว์เป็นส่วนกลางน้ำในห่วงโซ่อปุ ทาน ดังนั้นการที่ระดับอุปทานลดต่ำลงจากภัยแล้งในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ ผู้ผลิต และผู้ส่งออก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รายใหญ่ที่สุดของโลก ประกอบกับการที่ไทยเผชิญกับอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ทำให้อุปทานภายในประเทศลดต่ำลง ไทยจึงอาจพิจารณาการใช้ข้าวสาลีและมันสำปะหลังเพื่อ ทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มากขึ้นในห่วงโซ่การผลิตอาหารสัตว์ เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านต้นทุน การผลิตเนื้อสัตว์และนม ซึ่งจะเป็นวิธีการป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบในด้านราคาสินค้า มากนัก อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาในรายละเอียดพบว่าการนำเข้าข้าวโพดของไทยส่วนใหญ่ มาจากประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจากสมาชิกอาเซียน ดังนัน้ ไทยจึงไม่ได้รบั ผลกระทบทีร่ นุ แรง จากภัยแล้งในสหรัฐฯ นอกจากนั้น ตลาดที่สำคัญของไทยก็อยู่ในอาเซียน ดังนั้นนโยบายที่ไทย ควรดำเนินการคือ สร้างความเชือ่ มโยงระหว่างผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียในอาเซียนให้รว่ มมือกัน โดยเฉพาะ ในการเพิ่ ม ความเข้ ม แข็ ง ของห่ ว งโซ่ อุ ป ทานข้ า วโพดในกลุ่ ม อาเซี ย น เพื่ อ การเข้ า สู่ ป ระชาคม เศรษฐกิจอาเซียน และการรักษาระดับอุปทานข้าวโพดอย่างยั่งยืนเพื่อสนับสนุนความมั่นคงทาง อาหาร อาทิ การวิจัยและพัฒนา ที่สำคัญคือ ด้านการพัฒนาสายพันธุ์ที่ทนต่อสภาวะอากาศที่ เปลี่ยนแปลง การสร้างคลังสำรองอาเซียน และความตกลงร่วมกันในการรักษาสมดุลระหว่างการ ผลิตพืชอาหารและพลังงาน เป็นต้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(50) ผลการวิเคราะห์ปริมาณการส่งออกข้าวโพดของไทยยังชี้ให้เห็นว่าวิกฤติภัยแล้งในสหรัฐฯ อาจถือได้ว่าเป็นโอกาสของไทย เนื่องจากในปีนี้การส่งออกข้าวโพดจากไทยไปจีนมีอัตราการ ขยายตัวสูงมาก แสดงให้เห็นว่าจีนซึ่งเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่ภาคการผลิตกำลังขยายตัวอาจ เปลี่ยนจากการนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐฯ มาเป็นการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากไทย จีนซึ่งมีการผลิต ข้าวโพดทีเ่ พียงพอกับความต้องการภายในประเทศมาโดยตลอด ในฐานะทีเ่ ป็นแหล่งผลิตธัญญาหาร ขนาดใหญ่ เริ่มนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในระยะกว่า 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553 ตลาดจีนจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโอกาสที่สำคัญของไทย ดังนั้นจึงควรมีการออกแบบนโยบายเพื่อ ส่งเสริมการค้า อาทิ การดำเนินการขยายตลาด เพื่อรักษาระดับการส่งออกไปจีนไว้ให้ได้ต่อไป ในอนาคต

บรรณานุกรม U.S. Department of Agriculture: USDA (2012) World Trade Atlas (2012)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(51)

ส่งออกกุ้งไทยปี 2555 หดตัว...

มรสุมที่ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

สถานการณ์สำคัญ ข่าวการส่งออกกุ้งที่ไม่ค่อยปรากฏในหน้าสื่อตลอดปีที่ผ่านมา ไม่ได้บ่งชี้ว่าสถานการณ์ของ อุตสาหกรรมนี้ของไทยเป็นปกติ เพราะจริงๆ แล้วการส่งออกกุ้งของไทยในปี 2555 หดตัวลงอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ทั้งปริมาณและมูลค่าส่งออก โดยเฉพาะช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ซึ่งปกติ จะเป็นช่วงที่คู่ค้าสั่งซื้อกุ้งจำนวนมากเพื่อสต็อกไว้ใช้ในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ แต่มูลค่า ส่งออกกุง้ ของไทยเดือนกันยายน 2555 ลดลงถึงร้อยละ 26 (y-o-y) ทำให้มลู ค่าส่งออกกุง้ โดยรวม ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 ลดลงร้อยละ 13.6 (y-o-y)

ข้อคิดเห็นจากฝ่ายวิจัยธุรกิจ ฝ่ายวิจัยธุรกิจประเมินว่า แม้การเกิดโรคระบาดในกุ้งจะทำให้ผลผลิตกุ้งของไทยในปี 2555 ลดลงร้อยละ 10-20 จากปี 2554 แต่มูลค่าส่งออกกุ้งไทยที่หดตัวลงในปี 2555 เกิดจากปัจจัย ภายนอกประเทศเป็นหลัก คือ มูลค่าส่งออกกุ้ง* รายเดือนของไทย ปี 2554-2555

หมายเหตุ: *รวมกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแห้ง กุ้งต้ม กุ้งกระป๋อง และกุ้งแปรรูป ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(52) ราคาส่งออกกุ้งเฉลี่ย** รายเดือนของไทย ปี 2554-2555

หมายเหตุ: *รวมกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแห้ง กุ้งต้ม กุ้งกระป๋อง และกุ้งแปรรูป **คำนวณจากมูลค่าส่งออกหารด้วยปริมาณส่งออก ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

อินเดียหันมาเพาะเลี้ยงกุ้งขาวมากขึ้น ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจาก ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาและขาดแคลนห้องเย็น ทำให้เมื่อได้ผลผลิต อินเดียต้องรีบ ขายทันที ผู้นำเข้าจึงหันไปซื้อกุ้งจากอินเดียซึ่งต่อรองราคาได้มากกว่ากุ้งไทย  ผลผลิตกุ้งในหลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากโรคระบาด อาทิ เอกวาดอร์ เม็กซิโก  วิกฤตเศรษฐกิจใน EU ยังไม่คลี่คลาย ทำให้การนำเข้ากุ้งของ EU ลดลง หลายประเทศ ที่เคยส่งออกกุ้งไป EU เป็นหลักจึงหันมาส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยแทน ทำให้สดั ส่วนการส่งออกกุง้ ไทยไปตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ ลดลงมาก จากปกติอยูท่ รี่ ะดับเกือบร้อยละ 50 เหลือเพียงร้อยละ 37 ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 เนื่องจากสหรัฐฯ หันไปนำเข้ากุ้งราคา ถูกจากอินเดีย เม็กซิโก และเอกวาดอร์เพิ่มขึ้น  เวียดนามใช้กลยุทธ์นำเข้าวัตถุดิบกุ้งจากไทยและนำไปแปรรูปส่งออกมากขึ้น ส่วนหนึ่ง เนื่องจากผู้ส่งออกไทยไม่มีคำสั่งซื้อและขาดแคลนห้องเย็นสำหรับเก็บกุ้ง เมื่อกุ้งออกมาพร้อมกันใน เดือนเมษายน จึงหันมาขายให้แก่เวียดนามทีก่ ำลังขาดแคลนวัตถุดบิ กุง้ สำหรับแปรรูป เพราะประสบ ปัญหาโรคระบาด ทั้งนี้ เวียดนามใช้จุดแข็งจากค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าไทย จึงสามารถนำเข้ากุ้ง จากไทยไปแกะ หรือแปรรูปและส่งออกได้ในราคาถูกกว่ากุ้งแช่แข็งและกุ้งแปรรูปไทย 

ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ราคาส่งออกกุง้ ไทยหดตัวต่อเนือ่ งตัง้ แต่เดือนเมษายน 2555 ซึง่ เป็น ช่วงที่ผลผลิตกุ้งของไทยออกมามากขณะที่ยังไม่มีคำสั่งซื้อเข้ามา หลังจากนั้นผลผลิตกุ้งขาวของ อินเดียก็ออกมาอีกมาก จนผู้ส่งออกต้องแย่งกันตัดราคาขาย ทำให้ราคาแกว่งตัวอยู่ในระดับต่ำอยู่ หลายเดือน สถานการณ์ดังกล่าวยิ่งตอกย้ำให้มูลค่าส่งออกตกต่ำลงแม้ว่าราคาจะปรับขึ้นอีกครั้งใน เดือนกันยายนซึ่งเป็นเดือนที่ผู้นำเข้าเริ่มสั่งสินค้าไปจำหน่ายในช่วงปีใหม่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(53) ปริมาณนำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ปี 2554-2555 ประเทศ ไทย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม จีน มาเลเซีย เม็กซิโก อื่นๆ รวม

ม.ค.-ส.ค. 54 112,495 50,139 47,739 26,184 26,635 24,575 14,276 10,236 32,215 344,494

ม.ค.-ส.ค.55 85,758 58,785 48,913 32,898 24,849 21,980 14,120 13,722 32,821 333,847

หน่วย: ตัน

%∆ -23.8 17.2 2.5 25.6 -6.7 -10.6 -1.1 34.1 1.9 -3.1

ที่มา: NMFS

ดังนัน้ จึงคาดว่ามูลค่าส่งออกกุง้ ของไทยในปี 2555 จะลดลงไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 10 ขณะที่ แนวโน้มส่งออกในอีก 1-2 ปีขา้ งหน้าจะต้องจับตามองประเด็นการแข่งขันจากอินเดีย รวมทัง้ ปัจจัย ด้านตลาด ทั้งการตัดสิทธิ GSP ของ EU และมาตรการทางการค้า ซึ่งล่าสุดสหรัฐฯ ประกาศ ห้ามหน่วยราชการซื้อกุ้งไทย ด้วยเหตุผลว่าใช้แรงงานผิดกฎหมาย หมายเหตุ: EU มีแนวโน้มตัดสิทธิ GSP ที่ให้แก่กุ้งของไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง จากไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 12 และกุ้งแปรรูปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 20 ขณะที่คู่แข่งของไทย ทัง้ อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย ยังได้รบั สิทธิพเิ ศษดังกล่าวอยู่ ทำให้กงุ้ ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ทั้งนี้ หากไทยไม่บรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับ EU ก่อนที่จะถูกตัดสิทธิ GSP ก็อาจทำให้คู่ค้าเริ่มลด หรือหยุด นำเข้ากุ้งจากไทยตั้งแต่ปัจจุบัน เพราะเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถทำตลาดได้ในระยะยาว

Disclaimer: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจ เกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(54)

ปี 2555 จุดเปลี่ยนตลาดกุ้งไทย ในสหรัฐอเมริกา

ถนอมจิตร สิริภคพร  ส่วนเศรษฐกิจภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้  กันยายน 2555

เป็นที่ทราบกันดีว่าตลาดส่งออกกุ้งของ ไทยอยูใ่ น 3 ตลาดหลักคือ สหรัฐอเมริกา ญีป่ นุ่ และสหภาพยุโรป โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตลาด ที่มีสัดส่วนที่สูงสุดมาตลอด แต่ก็เริ่มมีสัญญาณ ให้เห็นถึงการสูญเสียส่วนแบ่งตลาดกุ้งของไทย ตัง้ แต่กลางปี 2554 เป็นต้นมา เนือ่ งจากสหรัฐ อเมริกามีการนำเข้ากุ้งจากไทยลดลง ทั้งๆ ที่มี การนำเข้ากุ้งโดยรวมเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากใน ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการนำเข้ากุ้ง ของสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 แต่กลับ นำเข้ากุง้ จากไทยลดลงถึงร้อยละ 22.0 ส่งผลให้ ไทยมีสว่ นแบ่งตลาดลดลงจากร้อยละ 32.2 ในปี 2554 มาอยู่ที่ร้อยละ 25.0 ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นการสูญเสียส่วนแบ่ง ตลาดให้ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และเอกวาดอร์ ที่มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย สำคัญ เนื่องจากการแข่งขันมีมากขึ้นทั้งจาก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและราคาขายที่ต่ำกว่า ไทย จึงทำให้เราต้องหันกลับมาทำความรู้จกั กับ ประเทศคู่แข่งดังกล่าวมากขึ้น อินเดีย ถึงแม้ปริมาณการนำเข้ากุ้งของ สหรัฐอเมริการะหว่างไทยกับอินเดียยังมีชว่ งห่าง อยู่มาก แต่ก็ถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่ต้องจับตา มอง เนือ่ งจากทีผ่ า่ นมาอินเดียเป็นประเทศทีเ่ ลีย้ ง กุง้ กุลาดำขนาดใหญ่เป็นหลัก ต่อมารัฐบาลอินเดีย ได้อนุญาตให้เกษตรกรที่มีใบอนุญาตสามารถ เพาะเลี้ยงกุ้งขาวได้ ทำให้มีการปรับเปลี่ยนจาก การเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาเลี้ยงกุ้งขาวกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อได้เปรียบในด้านพื้นที่เพาะ เลีย้ งทีม่ ากกว่าไทย ค่าแรงทีต่ ำ่ กว่า และประชากร ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ทำให้ง่ายต่อการ ติดต่อสื่อสาร การหาข้อมูล และปฏิสัมพันธ์กับ ลูกค้าชาวต่างชาติและผู้ร่วมทุน


(55) ปริมาณการนำเข้ากุ้ง (ทุกประเภท) ของสหรัฐอเมริกา แหล่งผลิตกุ้ง

2552

2553

2554

ไทย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย จีน เวียดนาม อินเดีย เม็กซิโก มาเลเซีย อื่นๆ รวม

189,769 201,767 184,968 61,595 64,906 73,678 69,329 61,093 70,334 44,077 47,797 42,727 42,181 48,136 45,162 19,761 30,156 48,105 41,317 23,358 30,719 18,421 24,346 29,269 65,661 57,037 50,144 552,111 558,596 575,106

หน่วย: ตัน

ม.ค.-มิ.ย. % เพิ่ม/ลด % ส่วนแบ่งตลาด 2554 2555 2552 2553 2554 ม.ค.-มิ.ย.55 76,615 59,754 -22.0 34.4 36.1 32.2 25.0 34,923 44,065 26.2 11.1 11.6 12.8 18.4 35,244 37,404 6.1 12.6 10.9 12.2 15.7 15,982 16,099 0.7 8.0 8.6 7.4 6.7 16,833 16,612 -1.3 7.6 8.6 7.9 7.0 14,956 20,364 36.2 3.6 5.4 8.4 8.5 6,717 10,976 63.4 7.5 4.2 5.3 4.6 9,234 10,860 17.6 3.3 4.4 5.1 4.5 20,930 23,065 10.2 11.9 10.2 8.7 9.6 231,434 239,199 3.4 100.0 100.0 100.0 100.0

ที่มา : National Marine Fisheries Service of United States

เมื่อหันมามองส่วนแบ่งตลาดอินเดียใน สหรัฐอเมริกา จะเห็นได้วา่ นับตัง้ แต่ครึง่ หลังของ ปี 2553 ผลผลิตกุง้ ขาวอินเดียสามารถเข้ามามี ส่วนแบ่งตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก ส่วนแบ่งตลาดอันดับ 7 ใน ปี 2552 มาครอง ส่วนแบ่งตลาดอันดับ 4 ในปีนี้ ทั้งนี้สืบเนื่อง จากในปี 2553 อินเดียสามารถหาตลาดและ กำหนดลูท่ างการค้าได้จงึ หันมาเลีย้ งกุง้ ขาวอย่าง จริงจัง ทำให้ผลผลิตขยับเพิม่ ขึน้ เป็น 122,000 ตัน1 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 และขยายการ ผลิตต่อเนื่องในปี 2554 เป็น 180,000 ตัน หรือเพิม่ ขึน้ ถึงร้อยละ 47.5 ประกอบกับราคากุง้ ของอินเดียต่ำ จึงทำให้มสี ว่ นแบ่งตลาดสูงขึน้ เป็น ร้อยละ 8.4 ในปี 2554 สำหรับปี 2555 อินเดีย มีการตั้งเป้าการผลิตไว้ที่ 250,000 ตัน

1 2

จากการที่ผลผลิตกุ้งขาวขนาดใหญ่และ ราคาต่ำของอินเดีย ได้เข้ามามีอิทธิพลในตลาด กุ้งสหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้ผลิตแถบเอเชีย อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย ต่างได้รับผล กระทบจากราคาที่ต้องปรับลดลงเพื่อแข่งขันกับ กุ้งอินเดีย โดยเฉพาะในช่วงกลางปีที่ผลผลิตกุ้ง อินเดียออกสู่ตลาดมาก อินโดนีเซีย เป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย มีพนื้ ทีเ่ พาะเลีย้ งในปัจจุบนั 1.2 ล้านไร่ จากพืน้ ที่ ที่เหมาะกับการเลี้ยงกุ้งประมาณกว่า 2 ล้านไร่ โดยกระจายอยู่ตามเกาะต่างๆ ได้แก่ เกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะบาหลี เกาะบอร์เนียว เกาะ สุลาเวสี เกาะลอมบอก และเกาะซุมบาวา โดย เป็นการเลี้ยงกุ้งขาวร้อยละ 90 จุดแข็งของ อินโดนีเซีย คือ มีศักยภาพเชิงพื้นที่ และมีฟาร์ม ขนาดใหญ่ที่เป็นธุรกิจครบวงจร2

สรพัศ ปณกร ”รู้เขาสักนิดเตรียมพิชิตเสรีอาเซียน” ในงานวันกุ้งไทย ครั้งที่ 22 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2555. หน้า 79-98 สมาคมกุ้งไทย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(56) ข้อมูลประเทศไทยและผู้ผลิตคู่แข่งในตลาดสหรัฐอเมริกา ปี 2555 ข้อมูล/ประเทศ ไทย พื้นที่ (ตร.กม.) 514,000 พื้นที่เลี้ยงกุ้ง (ไร่) 325,000 ผลผลิตกุ้ง 510,000 ปี 2554 (ตัน) ราคากุ้ง สูงกว่าอินเดีย1 จุดแข็ง - มีความรู้ความชำนาญ การเลี้ยงสูง - โรงงานแปรรูป มีศักยภาพผลิต - ความร่วมมือภาครัฐ และเอกชนดี จุดอ่อน - พื้นที่เลี้ยงกุ้งมีจำกัด - โรงงานแปรรูปขาดแคลน แรงงาน - ถูกเก็บ AD2 ร้อยละ 1.38

อินเดีย 3,287,263 1,000,000

อินโดนีเซีย 1,919,440 1,200,000

เอกวาดอร์ 283,560 n.a.

180,000

150,000

131,000

ถูกกว่าไทย - พื้นที่เลี้ยงกุ้งมาก - ค่าแรงต่ำกว่าไทย - ประชากรใช้ ภาษาอังกฤษได้ดี

n.a. - พื้นที่เลี้ยงกุ้งมาก - ค่าแรงต่ำกว่าไทย - ไม่ถูกเก็บ AD

- โรงงานแปรรูปไม่เพียงพอ - การขนส่งไม่สะดวก, ขาดไฟฟ้า - ใช้ยาปฏิชีวนะและมีเชื้อ แบคทีเรียในแหล่งน้ำ - ถูกเก็บ AD ร้อยละ 2.51

- ปัญหาโรคไวรัส - การเลี้ยงและการ กล้ามเนื้อขุ่น (IMNV) จัดการฟาร์มส่วนใหญ่ - การขนส่งไม่สะดวก ยังเป็นแบบดั้งเดิม จากพื้นที่เป็นเกาะห่างไกล ไม่พฒั นา

n.a. - การขนส่งใกล้กว่า - ค่าแรงต่ำกว่าไทย - ไม่ถูกเก็บ AD

ที่มา: - กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - สมาคมกุ้งไทย 1 ราคากุ้งขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม: ของไทย ราคา 4.61 ดอลลาร์ สรอ., อินเดีย ราคา 3.16 ดอลลาร์ สรอ. 2 AD ย่อมาจาก Anti Dumping หมายถึง อัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ในทีน่ ี้เป็นอัตราที่สหรัฐอเมริกาเรียกเก็บจากสินค้ากุ้ง แช่แข็ง

ด้านผลผลิต ในปี 2549 อินโดนีเซียเคย มีผลผลิตกุ้งสูงสุดถึงประมาณ 260,000 ตัน2 แต่หลังจากประสบปัญหาเรื่องโรคระบาด ทำให้ ผลผลิตอินโดนีเซียปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดย ในปี 2553 มีผลผลิตเพียง 140,000 ตัน อย่างไรก็ตาม ในปี 2554 อินโดนีเซียเริม่ ฟืน้ ตัว ทำให้มีผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 150,000 ตัน และเพิม่ ขึน้ ต่อเนือ่ งในปีนี้ ปัจจุบนั ส่วนแบ่งตลาด ของอินโดนีเซียในสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับ 3 รองจากไทย และเอกวาดอร์ โดยมีสดั ส่วนเพิม่ ขึน้ 2

สมาคมกุ้งไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

จากร้อยละ 12.2 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 15.7 ในช่วงครึ่งแรกปี 2555 เอกวาดอร์ เป็นประเทศที่มีชายฝั่งทะเล ยาว 2,237 กิโลเมตร โดยมีการเลีย้ งกุง้ มาก่อน ไทย และเลีย้ งกุง้ ขาวเป็นหลัก การเลีย้ งส่วนใหญ่ เป็นแบบดั้งเดิม มีบ่อเลี้ยงกุ้งขนาดใหญ่เฉลี่ย ประมาณ 30-60 ไร่ จึงยากต่อการดูแล ทำให้ ได้ผลผลิตต่ำ ขณะทีบ่ อ่ เลีย้ งแบบพัฒนามีไม่มาก นัก โดยปัจจุบันเอกวาดอร์ถือเป็นประเทศที่มี ผลผลิตกุง้ มากทีส่ ดุ ในบรรดาประเทศกลุม่ ลาติน




(57)

อเมริกา และยังเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่งของไทยใน ตลาดสหรัฐอเมริกา โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ใน อันดับ 2 รองจากไทย ทั้งนี้ หลังจากเกิดวิกฤต เศรษฐกิจในยุโรป เอกวาดอร์ได้เปลีย่ นมาส่งออก ไปยั ง สหรั ฐ อเมริ ก าเพิ่ ม มากขึ้ น สะท้ อ นจาก ตั ว เลขการนำเข้ า กุ้ ง ของเอกวาดอร์ ใ นตลาด สหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2554 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบนั กระทั่งในช่วงครึ่งแรกปี 2555 เอกวาดอร์ มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดที่ร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.8 ในปี 2554 ที่ผ่านมา จากกราฟแนวโน้มการนำเข้ากุ้งของ 3 ตลาดหลักข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีเพียง ตลาดสหรัฐอเมริกาทีย่ งั มีการบริโภคกุง้ เพิม่ ขึน้ ขณะที่ตลาดหลักอื่นโดยเฉพาะสหภาพยุโรป กำลังซื้อลดน้อยลง เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากวิกฤตหนีส้ าธารณะทีย่ ดื้ เยือ้ ทำให้ประเทศ ผูผ้ ลิตต่างมุง่ ไปเสนอขายในตลาดสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้สหรัฐอเมริกามีอานาจต่อรองราคากับ

กุง้ ไทยเพิม่ ขึน้ จึงมองว่านับจากนีต้ ลาดกุง้ ไทย จะเริม่ เข้าสูจ่ ดุ เปลีย่ น ทำให้โอกาสทีต่ ลาดกุง้ จะ เปลี่ยนจากตลาดผู้ผลิต เป็นตลาดผู้ซื้อได้ใน อนาคตอันใกล้ และกุง้ ไทยอาจต้องสูญเสียส่วน แบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป ดังนั้น ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ผู้ส่งออก และผู้เลี้ยงกุ้งไทยต้องแบ่งปันความรู้ ร่วมมือ กัน และเร่งปรับตัวโดยเน้น 1) บริหารการ ผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และมีต้นทุนต่อ หน่วยต่ำสุดเพื่อให้แข่งขันได้ 2) สร้างจุดเด่น ของผลิตภัณฑ์ที่คู่แข่งตามได้ยาก หรือต้องใช้ เวลา รวมทัง้ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้หลาก หลาย ตอบสนองตามทิศทางของตลาดเป็น สำคัญ 3) ภาครัฐควรเข้ามาดูแลช่วยเหลือเรือ่ ง ต้นทุนเกษตรกรที่สูงขึ้น อาทิ อาหารกุ้ง และ ค่าไฟฟ้า โดยผ่านทางกลไกภาษี และประการ สุดท้าย 4) การมองหาตลาดใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อ ชดเชย หรือลดการพึ่งพาสหรัฐอเมริกาที่ยังมี ความเปราะบางในการฟืน้ ตัวจากความอ่อนแอ ของเศรษฐกิจโลก

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(58)

รายงานสถานการณ์สินค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ ในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555 เกวลิน หนูฤทธิ์  ส่วนเศรษฐกิจการประมง

1. สถานการณ์การผลิต 1.1 สถานการณ์การผลิตในประเทศ ผลผลิตปลานิลเบื้องต้นปี พ.ศ. 2554 คาดว่ามีจำนวน 139,263 ตัน ลดลง -22.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ผลผลิตปีนี้ลดลง เนื่องจากช่วงปีที่ผ่านมาเกิดมหาอุทกภัยหลายพื้นที่ มีนำ้ ท่วมใหญ่กระทบถึง 62 จังหวัด สร้างความเสียหายแก่ฟาร์มปลานิลเป็นจำนวนมาก สำหรับในปี พ.ศ. 2555 คาดว่าจะมีผลผลิตปลานิลจำนวน 179,849 ตัน เพิม่ ขึน้ +29.1% เมือ่ เทียบกับปี พ.ศ. 2554 (ศูนย์สารสนเทศ, กรมประมง) เนื่องจากราคาปลานิลมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้นั้น มีราคาสูง ทำให้เกษตรกรเลือกที่จะขาย ปลานิลภายในประเทศที่ไม่ต้องการใช้ใบกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD) และพบว่าในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555 ผลผลิตปลานิลที่ส่งออก ซึ่งจำเป็นต้องใช้ใบกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD) นั้น มีปริมาณ 204.3 ตัน ลดลง -75.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ภาพที่ 1) ซึ่ง สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่าผลผลิตปลานิลส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 จำหน่ายภายในประเทศ ภาพที่ 1 ผลผลิตปลานิลจากระบบการออกใบกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(59)

1.2 สถานการณ์การผลิตนอกประเทศ ผลผลิตปลานิลของโลกปี พ.ศ. 2554 คาดว่าคงจะไม่แตกต่างไปจากปีทผี่ า่ นมามากนัก ซึง่ ในปี พ.ศ. 2553 ประมาณการเบื้องต้นอยู่ที่ 3.7 ล้านตัน โดยมีประเทศจีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก จำนวน 1.1-1.2 ล้านตัน คิดเป็น 30-32% ของผลผลิตปลานิลโลก ผลผลิตปลานิลของโลก ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศในเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา (รวมถึงบราซิล) ผลผลิตปลานิลของประเทศจีนลดลงในช่วงต้นปี พ.ศ. 2554 มีอัตราการตายค่อนข้างสูง อันเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นมากในช่วงดังกล่าว (Globefish Highlights April 2012)

2. สถานการณ์ทางด้านราคา 2.1 ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ในภาคกลาง ในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555 ปลานิลขนาดเล็ก อยู่ที่ระดับ 23.17 บาท/กก. ปลานิลขนาดกลาง 36.84 บาท/กก. และปลานิลขนาดใหญ่ 46.20 บาท/กก. ปลานิลทุกขนาดมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-7% โดยเฉพาะขนาดกลางเพิ่มมากที่สุด 7% และปลานิลขนาดเล็กเพิ่มน้อยที่สุด 3% หรือเพิ่มขึ้น 1.0-2.5 บาท/กก. (ตารางที่ )

2.2 ราคาขายส่ง ราคาขายส่ง ณ ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี ในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555 ปลานิลขนาดเล็ก อยู่ที่ระดับ 34.36 บาท/กก. ปลานิลขนาดกลาง 42.69 บาท/กก. และปลานิลขนาดใหญ่ 51.06 บาท/กก. ปลานิลทุกขนาดมีการปรับตัวลดลง 5-12% โดยเฉพาะขนาดใหญ่ลดลงมากที่สุด 12% รองลงมาเป็นขนาดกลาง 10% และขนาดเล็กลดลงน้อยที่สุด 5% หรือลดลง 2-7 บาท/กก. (ตารางที่ )

2.3 ราคาขายปลีก ราคาขายปลีก ณ ตลาดกรุงเทพมหานคร ในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555 ปลานิลขนาดกลาง อยู่ที่ระดับ 51.71 บาท/กก. และปลานิลขนาดใหญ่ 63.99 บาท/กก. ปลานิลทุกขนาดมีการปรับ ตัวเพิ่มขึ้น 1-6% โดยเฉพาะขนาดใหญ่มากที่สุด 6% ตามมาด้วยปลานิลขนาดกลางเพิ่ม 1% หรือเพิ่มขึ้น 1-4 บาท/กก. (ตารางที่ )

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(60) ตารางที่ 1 ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ ภาคกลาง ปี พ.ศ. 2550-2555 (ไตรมาสแรก)

หน่วย: บาท/กก.

ขนาดปลา ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่

2550

2551

19.37 28.04 39.34

20.51 29.30 38.48

2552 21.20 32.33 45.31

2553 19.65 32.02 44.70

%Δ ปี 55 2554 2555 2554 เทียบกับปี 54 ไตรมาสแรก ไตรมาสแรก (ไตรมาสแรก) 22.71 22.25 23.17 +4.14% 36.01 34.46 36.84 +6.91% 45.66 44.70 46.20 +3.36%

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ตารางที่ 2 ราคาเฉลี่ยขายส่ง ณ ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี ปี พ.ศ. 2550-2555 (ไตรมาสแรก)

หน่วย: บาท/กก.

ขนาดปลา ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่

2550

2551

23.67 30.39 35.99

27.10 35.15 42.54

2552 31.16 40.33 49.01

2553 31.72 41.24 50.58

%Δ ปี 55 2554 2555 2554 เทียบกับปี 54 ไตรมาสแรก ไตรมาสแรก (ไตรมาสแรก) 35.16 36.06 34.36 -4.72% 46.81 47.50 42.69 -10.13% 58.43 57.91 51.06 -11.83%

ที่มา: www.talaadthai.com

ตารางที่ 3 ราคาเฉลี่ยขายปลีก ณ ตลาดกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2550-2555 (ไตรมาสแรก)

หน่วย: บาท/กก.

ขนาดปลา ขนาดกลาง ขนาดใหญ่

2550

2551

33.22 44.48

38.90 48.66

2552 43.83 55.56

2553 47.08 57.55

%Δ ปี 55 2554 2555 2554 เทียบกับปี 54 ไตรมาสแรก ไตรมาสแรก (ไตรมาสแรก) 51.38 51.01 51.71 +1.38% 61.58 61.33 63.99 +6.07%

ที่มา: http://www.price.moc.go.th หมายเหตุ: ขนาดใหญ่ 1-2 ตัว/กก., ขนาดกลาง 3-4 ตัว/กก., ขนาดเล็ก 5 ตัวขึ้นไป/กก.

3. สถานการณ์การค้า 3.1 สถานการณ์การค้าในประเทศ 3.1.1 การส่งออก ปริมาณการส่งออกปลานิล และผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555 มีจำนวน 1,124.3 ตัน คิดเป็นมูลค่า 43.6 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลง -53.8%, -71.0% ตามลำดับ เมือ่ เทียบกับปีทผี่ า่ นมา ตลาดส่งออกหลักของไทย คือ กลุม่ ประเทศตะวันออกกลาง 77% สหรัฐอเมริกา 7% กลุ่มประเทศอาเซียน 5% กลุ่มประเทศยุโรป 5% กลุ่มประเทศแอฟริกา 4% และอื่นๆ 2% (ภาพที่ 2) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(61) ภาพที่ 2 แสดงสัดส่วนปริมาณการส่งออกปลานิลของไทยในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555

รูปแบบผลิตภัณฑ์ปลานิลที่ไทยส่งออกมากที่สุด คือ ปลานิลทั้งตัวแช่แข็ง จำนวน 977.0 ตัน มูลค่า 33.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนปริมาณและมูลค่า 86.9% และ 75.9% ของ ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปลานิลทัง้ หมด รองลงมาคือ เนือ้ ปลานิลแบบฟิลเล่ ปริมาณ 126.6 ตัน มูลค่า 9.8 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนปริมาณและมูลค่า 11.2% และ 22.4% และปลาสดแช่เย็น จำนวน 12.4 ตัน มูลค่า 0.3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนปริมาณและมูลค่า 1.1% และ 0.8% และรูปแบบ อื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนปริมาณและมูลค่า 0.8% และ 0.9% ตามลำดับ (ตารางที่ ) ตารางที่ 4 รูปแบบปลานิลและผลิตภัณฑ์ที่ประเทศไทยส่งออก ในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555 ลำดับที่ 1 2 3 4 5 6

รูปแบบผลิตภัณฑ์ปลานิล ปลานิลทั้งตัวแช่แข็ง เนื้อปลานิลแบบฟิลเล่ ปลาสดแช่เย็น ปลานิลมีชีวิต เนื้อปลาสดแช่เย็น ปลานิลแห้ง รวม

ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) ร้อยละ (ปริมาณ) ร้อยละ (มูลค่า) 977.0 33.1 86.9 75.9 126.6 9.8 11.2 22.4 12.4 0.3 1.1 0.8 5.1 0.2 0.5 0.4 3.0 0.1 0.3 0.3 0.2 0.1 0.0 0.2 1,124.3 43.6 100.0 100.0

ที่มา : กองประมงต่างประเทศ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(62) 3.1.2 การนำเข้า

ปริมาณการนำเข้าปลานิลและผลิตภัณฑ์รวมของประเทศไทยในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555 จำนวน 34.062 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.084 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลง -19.7%, -73.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหลัก สำหรับรูปแบบปลานิลและผลิตภัณฑ์ที่ไทยนำเข้ามากที่สุด คือ ปลานิลทั้งตัวแช่แข็ง จำนวน 34.060 ตัน มูลค่า 2.082 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนปริมาณและมูลค่า 99.99% และ 99.93% ของปริมาณและมูลค่านำเข้าทั้งหมด และปลานิลแห้ง จำนวน 0.002 ตัน มูลค่า 0.002 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนปริมาณและมูลค่า 0.01% และ 0.07% (ตารางที่ ) ตารางที่ 5 รูปแบบปลานิลและผลิตภัณฑ์ที่ไทยนำเข้า ในไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2555 ลำดับที่ รูปแบบผลิตภัณฑ์ปลานิล 1 ปลานิลทั้งตัวแช่แข็ง 2 ปลานิลแห้ง รวม

ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) ร้อยละ (ปริมาณ) ร้อยละ (มูลค่า) 34.060 2.082 99.99 99.93 0.002 0.002 0.01 0.07 34.062 2.084 100.00 100.00

ที่มา : กองประมงต่างประเทศ

3.2 สถานการณ์การค้านอกประเทศ 3.2.1 สถานการณ์การค้าปลานิลของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าปลานิลรายใหญ่ของโลก ปัจจุบันปลานิลกลายเป็นสัตว์น้ำที่ นิ ย มบริ โ ภคมากเป็ น อั น ดั บ ที่ 4 ของชาวอเมริ กั น ในไตรมาสแรกปี พ.ศ. 2555 สหรั ฐ ฯ มีการนำเข้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ จำนวน 56.4 พันตัน มูลค่า 244.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิม่ ขึน้ +9.9%, +4.2% ตามลำดับ เมือ่ เทียบกับปีทผี่ า่ นมา โดยมีรปู แบบผลิตภัณฑ์ นำเข้าดังนี้ 1) Tilapia Fillet Frozen จำนวน 40.5 พันตัน (คิดเป็นสัดส่วน 72%) มูลค่า 185.7 ล้าน US$ 2) Tilapia Frozen จำนวน 10.0 พันตัน (คิดเป็นสัดส่วน 18%) มูลค่า 19.7 ล้าน US$ 3) Tilapia Fillet Fresh จำนวน 2.6 พันตัน (5%) มูลค่า 17.7 ล้าน US$ 4) Tilapia Meat Fresh จำนวน 2.6 พันตัน (4%) มูลค่า 18.7 ล้าน US$ 5) Others จำนวน 0.7 พันตัน (1%) มูลค่า 3.1 ล้าน US$ (www.st.nmfs.noaa.gov) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(63) 3.2.2 สถานการณ์การค้าปลานิลของจีน จีนส่งออกปลานิลและผลิตภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2554 จำนวน 329,000 ตัน มูลค่า 1,107.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น +2.2% , +10.2% ตามลำดับ เมื่อเทียบ กับปีที่ผ่านมา โดยมีการส่งออกในรูปแบบ 1) ปลานิลทั้งตัวแช่แข็ง จำนวน 107.6 พันตัน (คิดเป็น สัดส่วน 33%) เพิ่มขึ้น +42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา 2) รูปแบบอื่นๆ จำนวน 221.4 พันตัน (คิดเป็นสัดส่วน 67%) ลดลง -16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา เช่น เนื้อปลานิล ฟิลเล่แช่แข็งมีการส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า -15% และ -3.6% ตามลำดับ แต่จีนกลับ ส่งออกในรูปแบบปลาทั้งตัวแช่แข็งไปยังกลุ่มประเทศแอฟริกาเพิ่มขึ้น ในราคา 1.88 USD/kg ตลาดส่งออกหลักปลานิลทั้งตัวแช่แข็งของจีน ได้แก่ ประเทศสหรัฐฯ คิดเป็น 26% และประเทศ เม็กซิโก 35% สัดส่วนการส่งออกเนื้อปลานิลฟิลเล่แช่แข็งของจีนในปี พ.ศ. 2553 มีสัดส่วนมาก ที่สุดถึง 58% แต่ในปี พ.ศ. 2554 พบว่ามีสัดส่วนการส่งออกลดลงเหลือ 48% และผลกระทบจาก ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคาเนื้อปลานิลฟิลเล่แช่แข็งเพิ่มขึ้นจาก 3.70 USD/kg ในปี 2553 เป็น 4.20 USD/kg ในปี 2554 (Globefish Highlights April 2012) 3.2.3 สถานการณ์การค้าปลานิลของไต้หวัน ผู้บริโภคชาวไต้หวันได้ลดการซื้อเนื้อสัตว์หลายชนิดในห้างสรรพสินค้าลง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เป็ด และไก่ แต่กลับพบว่าผู้บริโภคซื้ออาหารทะเลและปลานิลเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว ประเทศไต้หวันมีการส่งออกปลานิล จำนวน 38,000 ตัน/ปี โดยมีตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐฯ ซาอุดิอาระเบีย เกาหลี และแคนนาดา สำหรับปลานิลที่เลี้ยงในพื้นที่น้ำกร่อยของไต้หวันจะส่งออก ไปยังตลาดซาซิมิของญี่ปุ่น ที่รู้จักในนาม “izumidae” โดยมีราคานำเข้าอยู่ที่ 9-9.5 USD/kg (Globefish Highlights April 2012) 3.2.4 สถานการณ์การค้าปลานิลของกลุ่มสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปนำเข้าปลานิลในปี พ.ศ. 2554 จำนวน 20,698 ตัน เพิ่มขึ้น +1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ผลผลิตส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศจีนเป็นหลัก แต่มี แนวโน้มลดลง และกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น ประเทศเวียดนาม เพิ่มขึ้น +160% ประเทศไต้หวันเพิ่มขึ้น +13.4% ประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น +9% (Globefish Highlights April 2012) ผลผลิตปลานิลของโลกเพิ่มขึ้น จากการขยายกำลังการผลิตจากประเทศผู้ผลิต ถึงแม้ ผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐฯ จะลดปริมาณการนำเข้าก็ตาม แต่สำหรับในปี พ.ศ. 2555 เศรษฐกิจโลกน่าจะฟื้นตัว ประกอบกับตลาดปลานิลของกลุ่มประเทศยุโรปก็เป็นที่สนใจของกลุ่ม ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(64)

ผู้ผลิตในกลุ่มประเทศอาเซียน และประเทศจีนก็หันมาให้ความสำคัญตลาดใหม่ในกลุ่มแอฟริกา โดย เฉพาะปลานิลทั้งตัวแช่แข็ง และลดการส่งออกเนื้อปลานิลฟิลเล่แช่แข็งไปยังสหรัฐฯ ลง (Globefish Highlights April 2012)

4. ปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรประมงไทย 1. สภาพภูมิอากาศที่มีความแปรปรวนในช่วงต้นปี พ.ศ. 2555 ส่งผลให้อัตราการเจริญ เติบโตของปลานิลช้าลง อ่อนแอและป่วยเป็นโรค เนื่องจากปลากินอาหารน้อยลง ทำให้ต้องใช้ ระยะเวลาในการเลี้ยงยาวนานขึ้น ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กลง ช่วงระยะนี้เกษตรกรควรปล่อยลูกพันธุ์เบาบางลงกว่าเดิมในการเลี้ยงปลานิลทั้งในบ่อดิน และกระชัง หรืออาจจะใช้เครื่องตีน้ำในการเพิ่มออกซิเจนแก่น้ำอีกทางหนึ่ง 2. ปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนค่าอาหาร ซึ่งจัดเป็นต้นทุนการเลี้ยงมากที่สุด 70-80% ของต้นทุนทั้งหมด ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในขณะที่จำหน่ายได้ในราคาเดิม 3. เกษตรกรจำหน่ายปลานิลได้ในปริมาณลดลง นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2544 ที่เกิดมหาอุทกภัยหลายพื้นที่ในประเทศ 4. ปลาน้ำจืดจากแหล่งธรรมชาติในช่วงฤดูฝนเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาดมากขึ้น ส่งผลต่อ ราคาปลานิลที่จำหน่ายในประเทศไทยลดลงด้วย 5. จากสภาวะปลาล้นตลาดขณะนี้ ผู้รวบรวมสัตว์น้ำจากเกษตรกรได้มีการเปลี่ยนวิธีการ รับซือ้ สัตว์นำ้ จากแบบคัดขนาด ให้ราคาตามขนาดของปลา เป็นแบบเหมาซือ้ ทุกขนาด ให้ราคาเดียว ส่งผลให้เกษตรกรได้รับผลกำไรลดลง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555




(65)

ความสำคัญของกรดอะมิโนอาร์จินีนในแม่สุกรอุ้มท้อง มนตรี ปัญญาทอง1

บทคัดย่อ อาร์จินีน (Arginine; Arg) เป็นกรดอะมิโนที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อร่างกาย จาก การศึกษาพบว่าการเสริมกรดอะมิโนแอล-อาร์จินีน ให้แก่แม่สุกรสาวในช่วงอุ้มท้อง ช่วยทำให้ จำนวนลูกสุกรแรกคลอดมีชีวิตเพิ่มขึ้น น้ำหนักครอกสูงขึ้น และจากการศึกษากรดอะมิโนที่เป็น องค์ประกอบในร่างกายของตัวอ่อนสุกรในท้องตลอดระยะเวลาการตั้งท้องพบว่า กรดอะมิโน อาร์จินีนเป็นกรดอะมิโนที่มีปริมาณมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าสุกรสาวตั้งท้องมีการนำกรด อะมิโนอาร์จินีนไปใช้ประโยชน์มากกว่าสุกรสาวที่ไม่ตั้งท้อง แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการ เลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ควรจะมีองค์ประกอบของกรดอะมิโนชนิดนี้อยู่สูง หรืออาจมีการ เสริมอาร์จินีนให้แก่แม่สุกรในช่วงอุ้มท้อง โดยเฉพาะในสุกรสาว

คำสำคัญ: สุกร, สุกรสาว, อาร์จินีน, ระบบสืบพันธุ์ Key words: Swine, Gilt, Arginine, Reproductive system ปริมาณการผลิตสุกรขึ้นอยู่กับอัตราการคลอด หรือจำนวนลูกสุกรต่อปี ดังนั้นการจัดการ แม่พันธุ์ในช่วงอุ้มท้องที่ถูกต้องจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันสายพันธุ์สุกรได้ถูก พัฒนาปรับปรุงให้สุกรสามารถให้ลูกต่อครอกได้จำนวนมากไม่ต่ำกว่า 11-12 ตัว/แม่/ครอก อย่างไรก็ตาม ปัญหาตายแรกคลอด ลูกคลอดออกมาไม่สม่ำเสมอ หรือแม้กระทั่งการแท้งในระยะ ท้ายของการอุ้มท้อง ล้วนมีผลมาจากการจัดการที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการจัดการด้านอาหารที่ ไม่สามารถจัดการได้ตรงตามสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นไป หรือที่เรียกว่า “อาหารที่กินไม่สามารถทำให้ สัตว์แสดงศักยภาพของสายพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นมาได้” ดังนั้นความเข้าใจในการจัดการด้านอาหาร ในแม่สุกรอุ้มท้องจะทำให้ความเสียหายในช่วงอุ้มท้อง และช่วงหลังคลอดลดลงไป ทำให้ผู้เลี้ยงสุกร สามารถทำกำไรได้มากกว่าเดิม แม่สุกรอุ้มท้องจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และพิถีพิถัน

สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา Email: eak608@hotmail.com

1

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(66) ในการเลือกวัตถุดิบมาใช้เป็นอาหาร เพราะในช่วงอุ้มท้องแม่สุกรต้องแบกรับภาระในการดูแลตัวเอง ให้แข็งแรงตลอดระยะเวลาการอุ้มท้อง และภาระในการรักษาสภาวะในการอุ้มท้อง เพื่อให้ลูกสุกร ที่อยู่ในท้องสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ตลอดระยะเวลาการอุ้มท้องโดยเฉลี่ย 114 วัน ที่ แม่สุกรต้องการรักษาสภาพการตั้งครรภ์ให้เป็นไปอย่างปกติและมีประสิทธิภาพ รูปที่ 1 โครงสร้างของกรดอะมิโน แอล-อาร์จินีน (L-Arginine) และอนุพนั ธุ์ต่างๆ (Kelly et al., 2000)

จากการศึกษาพบว่า นอกจากอาหารที่มีโภชนะครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ในอาหารสำหรับ แม่สุกรอาจต้องมีการเสริมกรดอะมิโนอาร์จินีน (Arginine; Arg) มากกว่าปกติ ทั้งนี้เนื่องจากการ เจริญเติบโตของตัวอ่อนในท้องจำเป็นต้องได้รบั ไนโตรเจน เพือ่ นำมาสังเคราะห์เป็นโปรตีนทีใ่ ช้ในการ เจริญเติบโต และอาร์จินีนถือว่าเป็นแหล่งของไนโตรเจนที่สำคัญ เพราะในโครงสร้างของอาร์จินีน มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยูส่ งู เมือ่ เทียบกับกรดอะมิโนชนิดอืน่ ๆ และยังพบว่าอาร์จนิ นี เป็นกรด อะมิโนที่พบมากที่สุดในตัวอ่อนของสุกรในท้อง ตลอดระยะของการอุ้มท้อง (Wu et al., 1999) อาร์จินีนมีส่วนช่วยในการพัฒนาโครงสร้างของลูกสุกรในท้อง โดยจะเปลี่ยนไปเป็นคอลลาเจน (collagen) ซึ่งถือเป็นโครงสร้างของกล้ามเนื้อ และชั้นผิวหนัง (Michael and John, 2002) และจากงานวิจัยยังพบว่าการเสริมแอล-อาร์จินีนลงในอาหารแม่สุกรระยะอุ้มท้อง ส่งผลให้จำนวน ลูกสุกรมีชีวิตแรกคลอดเพิ่มขึ้น และน้ำหนักครอกสูงขึ้นอีกด้วย (Ronaldo et al., 2007) นอกจากนี้ยังพบว่า หลังจากทำการป้อนอาร์จินีนให้กับแม่สุกรสาวที่ตั้งท้องและแม่สุกรสาวที่ไม่ ตั้งท้อง พบว่าปริมาณอาร์จินีนในซีรั่มของแม่สุกรสาวที่ตั้งท้องต่ำกว่าแม่สุกรสาวที่ไม่ตั้งท้อง ตลอดระยะเวลา 5 ชัว่ โมงหลังการป้อน เนือ่ งจากแม่สกุ รสาวทีต่ งั้ ท้องมีการนำอาร์จนิ นี ไปใช้ในเซลล์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(67) ร่างกายมากกว่าแม่สกุ รสาวปกติ (Wu et al., 2007) โดยในแม่สกุ รอุม้ ท้องอาร์จนิ นี จะเปลีย่ นแปลง ไปเป็นไนตริกออกไซด์ (NO) ซึ่งจะช่วยให้การไหลเวียนของกระแสเลือดเข้าสู่รกดีขึ้น ส่งผลให้สาร อาหารถูกส่งไปเลี้ยงลูกสุกรในท้องได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ลูกสุกรแข็งแรง และเจริญเติบโตได้อย่าง สม่ำเสมอ โดยทั่วไปสุกรอุ้มท้องมีความต้องการอาร์จินีนอยู่ที่ 0.5-1.3 กรัมต่อตัวต่อวันโดยเฉพาะ สุกรสาวท้องแรกที่ต้องการอาร์จินีนมากเป็นพิเศษ (NRC, 1998) ดังนั้นการพิจารณาเลือกใช้ วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีปริมาณของอาร์จินีนอยู่สูง หรือการเสริมอาร์จินีนในช่วงที่สุกรอุ้มท้องจึงมี ความสำคัญ รูปที่ 2 การสร้างคอลลาเจน (collagen) จากอาร์จินีน (Michael and John, 2002)

รูปที่ 3 กราฟแสดงปริมาณกรดอะมิโนชนิดต่างๆ ในตัวอ่อนสุกรในช่วงของการ ตั้งท้อง (Wu et al., 1999)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(68) รูปที่ 4 กราฟแสดงปริมาณอาร์จินีนในซีรั่ม หลังจากทำการป้อนอาร์จินีนให้กิน ในชั่วโมงต่างๆ โดยเปรียบเทียบระหว่างแม่สุกรสาวที่ไม่ตั้งท้องกับ แม่สุกรสาวที่ตั้งท้อง (Wu et al., 2007)

ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของระบบสืบพันธุ์ในแม่สุกรสาวที่ได้รับการเสริม L-arginine 1% ในช่วง ของการตั้งท้อง Parameters Total piglets born per litter, n Total piglets born alive per litter, n Birth weight of all piglets born, kg Birth weight of all piglet born alive, kg Litter birth weight of all piglets born, kg Litter birth weight of all piglet born alive, kg Piglets born dead per litter, n *Different from the control group, p<0.05 ที่มา : Ronaldo et al. (2007)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

Treatment Control L-Arginine 11.27 11.94 9.37 11.40* 1.39 1.43 1.41 1.46 15.54 16.85 13.19 16.38* 1.86 0.66*

SEM 0.96 0.56 0.04 0.04 1.31 0.74 0.147


(69) ตารางที่ 2 ปริมาณกรดอะมิโนที่สำคัญในวัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิดที่ได้จากพืช Amino acid Arginine Histidine Isoleucine Leucine Lysine Methionine Phenylalanine Threonine Tryptophan Valine

Alfalfa 0.76 0.37 0.68 1.21 0.74 0.25 0.84 0.70 0.24 0.86

Corn meal Cassava Gram/100 g 0.37 0.18 0.23 0.08 0.28 0.11 0.99 0.19 0.26 0.12 0.17 0.04 0.39 0.15 0.29 0.11 0.06 0.04 0.39 0.14

Soybean meal 3.23 1.17 1.99 3.42 2.83 0.61 2.18 1.73 0.61 2.06

ที่มา : NRC (1998)

ตารางที่ 3. ปริมาณกรดอะมิโนอาร์จินีนในวัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิดที่ได้จากสัตว์ Feed ingredients Fish meal Meat meal Dried skim milk Yeast

Arginine (%) 4.04 1.14 1.24 2.48

ที่มา : NRC (1998)

วัตถุดิบอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ที่ใช้ประกอบสูตรอาหารในสุกร จะเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ได้ จากพืช โดยเฉพาะการใช้สูตรอาหารที่เรียกว่า Corn-Soy diet ซึ่งประกอบไปด้วยข้าวโพดและ กากถั่วเหลืองเป็นหลัก ทำให้มักพบปัญหาเรื่องของการใช้ประโยชน์ได้ของโปรตีน เนื่องจากโปรตีน ในพืชมักจะอยู่ในรูปที่ย่อยได้ยาก มีขนาดโมเลกุลใหญ่ ทำให้ต้องเติมโปรตีนจากสัตว์เช่น ปลาป่น รวมทั้งกรดอะมิโนที่จำเป็นลงไปด้วยเสมอเช่น ไลซีน เมทไธโอนิน และทรีโอนีน ซึ่งในกรณีของ อาร์จินีนนั้น ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการเติมลงในสูตรอาหาร ในอาหารที่มีการใช้ปลาป่น (fish meal) น่าจะช่วยเสริมปริมาณอาร์จินีนให้กับสุกรแม่อุ้มท้องได้ เนื่องจากปลาป่นมีปริมาณอาร์จินีนอยู่สูง (4.04%) ส่วนวัตถุดิบจากสัตว์อื่นๆ เช่น ยีสต์ หางนม และเนื้อป่นก็ถือเป็นแหล่งสำคัญของ กรดอะมิโนชนิดนี้เช่นกัน (NRC, 1998) การเสริมอาร์จินีนในสุกรอุ้มท้อง อาจจะเป็นผลดีสำหรับแม่สุกรสาว หรือแม่สุกรท้องที่ 2 เนื่องจากแม่สุกรในช่วงนี้ยังมีการเจริญเติบโตของร่างกายที่ยังไม่เต็มที่ น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยยัง ไม่ถึงจุดที่เหมาะสม (ต่ำกว่า 200 กก.) ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มที่โดยเฉพาะ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


(70) ระบบสืบพันธุ์ที่ยังไม่พร้อมกับการรับภาระในการอุ้มท้องลูกสุกรจำนวนหลายๆ ตัว ซึ่งมักจะเป็น ปัญหาของฟาร์มที่จะพบการสูญเสียในแม่สุกรสาวค่อนข้างสูง ทั้งนี้หากฟาร์มต้องการลดปัญหานี้ และคำนวณต้นทุนของการเสริมกรดอะมิโนชนิดนี้แล้วคุ้มทุนก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการให้ลูกสุกรขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกหลายปัจจัยโดยเฉพาะการดูแลเอาใจใส่อย่าง ถูกวิธี และการปฏิบัติต่อแม่สุกรอุ้มท้องอย่างถูกต้องและเข้าใจตลอดระยะเวลาการอุ้มท้อง ซึ่งจะ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการให้ลูกสุกรแสดงออกมาอย่างเต็มที่ และคุ้มค่ากับการรอคอย

เอกสารอ้างอิง Kelly, M. M. D., S. S. Lakhman and K. M. K Boje. (2000). Blood – brain barrier transport studies of organic guanidine cations using an in situ brain perfusion technique. Brain research, 876: 141-147. Michael D. D. and John M. D. (2002). Arginine and Immune Function. CAB International 2002. Nutrition and Immune Function. Eds P.C. Calder, Field and H.S. Gill. P. 93-108. National Research Council (NRC). (1998). Nutrient requirements of swine. 10th Revised ed. National Academy of Science. Washington D.C. Ronaldo D. M., G. Wu, F. W. Bazer, J. C. Park, I. Shinzato and S. W. Kim. (2007). Dietary L-Arginine Supplementation Enhances the Reproductive Performance of Gilts. The Journal of Nutrition. 137: 652-656. Wu G., F. W. Bazer, T. A. Cudd, W. S. Jobgen, S. W. Kim, A. Lassala et al. (2007). Pharmacokinetics and Safety of Arginine Supplementation in Animals. The Journal of Nutrition. 137: 1673-1680. Wu G., T. L. Ott, D. A. Knabe and F. W. Bazer. (1999). Amino acid Composition of the Fetal Pig. The Journal of Nutrition. 129: 1031-1038.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


7.50 8.27 7.33 8.10 9.46 10.14

ม.ค.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ม.ค.

7.64 8.51 7.97 8.70 8.99 9.43

21.64 26.10 29.61 33.40 25.00 27.64

ม.ค.

ราคารำสด

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาปลาป่น

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

7.59 9.54 7.43 9.21 10.18 9.20

ก.พ.

23.40 27.04 26.84 34.20 28.91 28.81

ก.พ.

8.06 8.55 7.42 8.37 9.57 10.19

ก.พ.

ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์

7.33 9.82 7.19 9.47 9.97 8.62

มี.ค.

22.47 29.27 25.69 35.28 37.98 32.21

มี.ค.

8.06 9.14 7.60 8.92 10.01 10.35

มี.ค.

5.75 9.24 6.22 9.34 9.70 8.72

เม.ย.

24.11 29.60 29.08 36.53 31.77 33.24

เม.ย.

7.80 9.43 7.57 9.24 10.65 10.51

เม.ย.

5.44 8.20 4.87 9.41 8.34 8.09

พ.ค.

23.99 29.36 33.50 31.53 32.09 30.26

พ.ค.

7.40 9.25 7.05 9.31 10.49 10.24

พ.ค.

6.16 8.56 5.18 9.98 8.20 7.76

มิ.ย.

21.86 30.79 34.19 28.31 31.29 29.38

มิ.ย.

7.39 9.58 7.45 9.64 9.68 10.76

มิ.ย.

6.78 9.84 6.01 9.93 9.50 8.22

ก.ค.

23.18 33.65 34.58 28.92 32.32 31.53

ก.ค.

7.29 10.99 6.26 9.38 9.18 10.86

ก.ค.

7.28 8.97 6.28 9.76 9.49 10.55

ส.ค.

23.25 35.66 36.04 30.82 32.58 37.70

ส.ค.

7.18 10.03 6.21 9.01 9.04 11.66

ส.ค.

6.86 7.17 5.91 10.04 9.58 10.88

ก.ย.

23.95 34.19 34.58 29.78 31.42 35.06

ก.ย.

7.89 8.93 6.10 9.22 9.08 10.57

ก.ย.

6.91 5.97 7.14 9.30 9.51 10.80

ต.ค.

23.91 30.93 33.29 27.78 28.86 30.95

ต.ค.

8.42 7.89 6.30 9.24 9.45 10.14

ต.ค.

7.40 7.50 7.03 8.99 10.97 11.15

พ.ย.

24.08 25.11 29.96 25.28 28.46 32.83

พ.ย.

8.16 7.84 7.14 9.19 9.82 10.49

พ.ย.

7.78 7.42 8.20 8.66 9.25 10.81

ธ.ค.

25.62 26.03 31.80 25.57 27.50 33.80

ธ.ค.

8.23 6.94 7.83 9.13 9.92 10.25

ธ.ค. 7.18 6.94 6.10 8.10 9.04 10.14

ต่ำสุด

8.42 10.99 7.83 9.64 10.65 11.66

สูงสุด

21.64 25.11 25.69 25.28 25.00 27.64

ต่ำสุด

25.62 35.66 36.04 36.53 37.98 37.70

สูงสุด

5.44 5.97 4.87 8.66 8.20 7.76

ต่ำสุด

7.78 9.84 8.20 10.04 10.97 11.15

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

6.91 8.40 6.62 9.40 9.47 9.52

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

23.45 29.81 31.60 30.62 30.68 31.95

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

7.78 8.90 7.02 9.06 9.70 10.51

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(71)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


10.29 15.87 14.25 15.30 13.10 13.95

ม.ค.

10.68 15.92 13.99 15.07 14.32 13.85

ก.พ.

10.86 16.27 13.26 15.75 15.21 12.88

มี.ค.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

10.82 17.24 14.67 15.75 13.88 14.12

ม.ค.

11.07 17.10 15.70 15.11 14.15 15.13

ก.พ.

11.28 17.16 15.68 14.86 13.46 15.75

มี.ค. 11.21 16.90 16.07 14.80 12.80 16.06

เม.ย.

10.95 16.58 13.88 15.75 15.29 12.73

เม.ย.

11.11 17.13 17.19 14.09 12.59 16.23

พ.ค.

10.94 16.09 14.14 14.91 15.47 13.31

พ.ค.

2552 2553 2554 2555

เดือน

17.06 15.28 14.99

ม.ค.

16.29 15.47 16.01

ก.พ.

16.74 16.10 14.75 16.75

มี.ค. 17.09 16.45 14.20 17.01

เม.ย. 18.14 15.28 14.20 17.20

พ.ค.

ราคากากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก (Dehulled)

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองเมล็ดนำเข้า

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองต่างประเทศ

18.90 14.44 14.20 17.73

มิ.ย.

11.26 18.70 17.93 13.43 11.60 16.98

มิ.ย.

11.13 16.56 14.10 14.24 14.61 12.79

มิ.ย.

17.86 14.26 14.88 20.02

ก.ค.

11.73 20.26 16.91 13.25 13.50 19.00

ก.ค.

11.35 16.15 14.03 12.76 14.50 14.23

ก.ค.

17.86 15.05 15.50 22.65

ส.ค.

11.90 19.58 16.86 14.05 14.33 21.80

ส.ค.

11.43 15.99 15.64 12.17 14.33 15.21

ส.ค.

17.89 15.02 15.45 22.69

ก.ย.

13.05 18.33 16.94 14.02 14.45 21.80

ก.ย.

12.51 17.67 15.82 12.10 14.27 17.17

ก.ย.

17.46 15.35 15.47 22.34

ต.ค.

15.09 16.65 16.43 14.35 14.32 21.09

ต.ค.

12.94 18.42 16.27 11.98 14.27 17.41

ต.ค.

17.66 15.64 15.57 21.48

พ.ย.

15.97 14.56 16.58 14.64 14.39 20.28

พ.ย.

13.21 17.76 16.81 12.10 14.59 18.85

พ.ย.

18.08 14.98 14.34 20.08

ธ.ค.

16.23 12.62 17.00 13.62 13.44 18.88

ธ.ค.

14.30 16.05 16.02 12.14 14.31 20.06

ธ.ค. 10.29 15.87 13.26 11.98 13.10 12.73

ต่ำสุด

14.30 18.42 16.81 15.75 15.47 20.06

สูงสุด

10.82 12.62 14.67 13.25 11.60 14.12

ต่ำสุด

16.23 20.26 17.93 15.75 14.45 21.80

สูงสุด

16.74 14.26 14.20 14.99

ต่ำสุด

18.90 17.06 15.57 22.69

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.77 15.49 14.94 19.08

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

12.56 17.19 16.50 14.33 13.58 18.09

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

11.72 16.61 14.85 13.69 14.52 15.20

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(72)




7.08 6.79 7.21 7.94 7.79 8.09

ม.ค.

8.04 11.27 9.87 13.41 11.33 16.31

ม.ค.

8.37 13.05 10.06 12.92 11.92 15.74

ก.พ.

6.88 7.52 6.83 8.05 7.99 7.45

ก.พ.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

4.02 5.64 4.03 5.54 7.86 7.53

ม.ค.

4.07 5.78 3.95 5.43 8.14 7.13

ก.พ.

ราคามันสำปะหลังเส้น

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาปลายข้าว

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคากากรำสกัดน้ำมัน

4.07 5.83 4.08 5.83 8.46 6.59

มี.ค.

8.52 15.07 10.01 12.15 11.63 15.78

มี.ค.

6.58 7.77 6.41 7.96 7.38 6.49

มี.ค.

4.14 5.91 4.21 6.24 8.70 7.00

เม.ย.

8.52 20.66 9.95 10.24 11.39 15.94

เม.ย.

5.12 7.36 5.59 7.76 6.92 6.42

เม.ย.

4.19 5.90 4.04 6.51 8.62 7.29

พ.ค.

8.32 20.01 9.59 9.53 11.29 16.33

พ.ค.

4.76 6.47 4.91 7.26 6.33 6.21

พ.ค.

4.40 5.80 4.25 6.81 8.00 7.25

มิ.ย.

8.19 16.93 9.80 9.60 11.65 16.44

มิ.ย.

4.85 6.07 4.83 7.19 6.41 5.82

มิ.ย.

4.78 6.01 4.37 6.93 7.81 7.13

ก.ค.

8.25 15.57 9.64 9.88 12.42 16.27

ก.ค.

4.94 6.99 4.74 7.37 7.80 6.14

ก.ค.

4.89 5.95 4.41 7.00 7.54 7.39

ส.ค.

8.40 13.55 9.41 10.36 12.86 15.86

ส.ค.

5.61 6.50 4.74 7.58 8.07 8.43

ส.ค.

5.33 5.63 4.62 7.23 7.44 7.67

ก.ย.

8.67 11.80 9.26 11.50 13.68 15.67

ก.ย.

5.48 5.69 4.58 8.30 8.24 8.67

ก.ย.

5.85 4.79 4.72 7.30 7.34 7.65

ต.ค.

9.37 10.12 8.94 11.58 14.48 15.46

ต.ค.

5.81 5.84 5.30 8.14 8.32 8.81

ต.ค.

5.17 4.60 5.03 7.34 7.67 7.48

พ.ย.

9.70 9.43 9.97 11.61 15.66 15.45

พ.ย.

6.14 7.19 6.06 8.09 9.56 9.31

พ.ย.

5.42 4.06 5.41 7.76 7.80 7.25

ธ.ค.

10.61 8.88 12.60 11.36 16.12 15.30

ธ.ค.

6.29 7.04 7.51 7.89 8.05 9.23

ธ.ค. 4.76 5.69 4.58 7.19 6.33 5.82

ต่ำสุด

7.08 7.77 7.51 8.30 9.56 9.31

สูงสุด

8.04 8.88 8.94 9.53 11.29 15.30

ต่ำสุด

10.61 20.66 12.60 13.41 16.12 16.44

สูงสุด

4.02 4.06 3.95 5.43 7.34 6.59

ต่ำสุด

5.85 6.01 5.41 7.76 8.70 7.67

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

4.69 5.49 4.43 6.66 7.95 7.28

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

8.75 13.86 9.93 11.18 12.87 15.88

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.80 6.77 5.73 7.79 7.74 7.59

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(73)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


29.00 29.29 30.51 29.30 30.04 28.00

ม.ค.

29.00 29.78 30.90 29.30 29.80 28.00

ก.พ.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

47.00 40.39 40.03 57.93 57.70 49.83

ม.ค.

51.84 40.58 39.54 66.06 63.33 48.89

ก.พ.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

38.17 43.58 53.34 41.67 40.38 50.60

ม.ค.

38.17 49.52 52.23 41.70 45.23 50.60

ก.พ.

ราคาน้ำมันปลา FO

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาปลาป่นนำเข้า

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาตับปลาหมึก SLP

38.17 54.52 50.56 41.89 45.95 50.60

มี.ค.

52.04 40.56 42.16 68.52 63.45 47.99

มี.ค.

29.00 30.14 31.19 29.30 29.80 28.00

มี.ค.

38.17 58.50 50.56 41.89 46.01 51.55

เม.ย.

51.99 39.36 43.54 68.06 55.21 48.12

เม.ย.

29.00 31.55 31.19 29.30 29.80 25.00

เม.ย.

38.53 59.83 44.80 41.89 46.01 54.45

พ.ค.

55.30 39.52 44.23 67.90 51.97 55.35

พ.ค.

29.00 30.40 30.16 29.30 29.80 26.89

พ.ค.

38.57 60.47 43.50 41.42 46.01 55.11

มิ.ย.

55.69 42.55 44.08 68.28 51.97 59.24

มิ.ย.

28.53 30.84 30.68 29.30 29.80 28.58

มิ.ย.

38.52 61.13 41.38 40.91 47.72 53.54

ก.ค.

48.69 44.51 44.44 67.46 50.29 61.16

ก.ค.

28.30 31.76 30.74 29.46 29.52 33.70

ก.ค.

38.52 61.67 40.94 40.31 49.85 52.28

ส.ค.

41.65 44.53 44.59 65.40 48.17 63.33

ส.ค.

27.80 32.00 30.77 29.70 29.25 30.80

ส.ค.

38.52 58.42 39.40 40.21 50.01 55.85

ก.ย.

42.67 46.14 45.59 60.86 43.92 56.80

ก.ย.

27.80 31.30 30.90 29.56 29.25 35.04

ก.ย.

38.52 55.47 38.55 40.15 50.36 55.98

ต.ค.

40.98 45.15 50.07 57.26 45.13 54.22

ต.ค.

27.80 31.17 31.02 29.34 29.25 36.13

ต.ค.

38.52 53.70 40.07 40.27 50.60 55.71

พ.ย.

38.25 40.43 53.30 56.45 48.26 68.37

พ.ย.

27.80 31.11 30.32 30.04 28.00 36.13

พ.ย.

39.47 51.35 39.21 40.38 50.60 55.08

ธ.ค.

38.83 39.45 53.30 56.45 48.61 74.33

ธ.ค.

36.95 30.82 30.32 30.04 28.00 36.13

ธ.ค. 27.80 29.29 30.16 29.30 28.00 25.00

ต่ำสุด

36.95 32.00 31.19 30.04 30.04 36.13

สูงสุด

38.25 39.36 39.54 56.45 43.92 47.99

ต่ำสุด

55.69 46.14 53.30 68.52 63.45 74.33

สูงสุด

38.17 43.58 38.55 40.15 40.38 50.60

ต่ำสุด

39.47 61.67 53.34 41.89 50.60 55.98

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

38.49 55.68 44.55 41.06 47.39 53.45

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

47.08 41.93 45.41 63.39 52.33 57.30

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

29.17 30.85 30.73 29.50 29.36 31.03

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(74)


48.05 65.23 47.25 62.75 55.00 48.00

ม.ค.

6.45 6.69 6.32 7.02 8.12 7.73

ม.ค.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

13.52 22.22 19.63 16.69 19.28 18.73

ม.ค.

13.52 22.58 18.94 16.79 20.04 18.51

ก.พ.

6.51 7.13 6.29 7.25 8.20 7.45

ก.พ.

48.05 66.00 48.21 63.09 53.33 48.00

ก.พ.

WHEAT FLOUR

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

WHEAT BRAN

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

WHEAT GLUTEN

13.52 23.70 18.61 16.60 20.50 17.89

มี.ค.

6.44 7.43 6.29 7.59 7.76 6.67

มี.ค.

48.05 66.00 48.21 63.09 53.33 48.00

มี.ค.

13.52 24.59 17.32 16.30 20.50 17.80

เม.ย.

5.52 7.73 5.99 7.55 7.52 6.41

เม.ย.

48.05 66.00 58.39 63.09 53.33 46.50

เม.ย.

13.54 25.46 16.89 15.72 20.45 17.50

พ.ค.

4.86 7.00 5.26 7.16 6.94 6.23

พ.ค.

45.20 66.00 62.03 64.71 53.33 46.50

พ.ค.

14.01 25.48 17.00 15.72 19.94 17.20

มิ.ย.

4.64 6.19 4.85 6.90 6.61 5.86

มิ.ย.

62.55 66.00 63.26 64.78 53.33 48.54

มิ.ย.

14.23 24.56 17.00 15.05 19.82 17.15

ก.ค.

4.65 6.79 4.84 6.87 7.44 5.93

ก.ค.

66.56 66.00 60.89 64.78 49.28 51.00

ก.ค.

14.21 23.34 16.82 15.44 19.50 17.73

ส.ค.

4.85 6.87 4.79 7.21 7.77 7.93

ส.ค.

62.00 60.79 59.34 64.78 48.75 50.05

ส.ค.

16.19 22.39 16.67 18.55 19.26 17.38

ก.ย.

5.31 6.50 4.76 8.08 7.98 8.79

ก.ย.

62.00 51.71 61.70 64.78 48.75 48.13

ก.ย.

19.91 21.69 16.53 19.28 18.97 17.58

ต.ค.

5.58 5.78 5.00 7.92 8.06 9.24

ต.ค.

62.81 50.22 61.70 64.78 48.75 47.50

ต.ค.

22.02 21.16 16.34 19.10 18.97 17.98

พ.ย.

5.87 5.93 5.44 7.88 8.43 8.80

พ.ย.

62.00 50.22 61.95 55.92 48.75 47.50

พ.ย.

22.21 20.09 16.17 19.10 18.97 18.02

ธ.ค.

6.29 6.21 6.44 7.80 8.17 9.10

ธ.ค.

63.22 46.43 61.95 55.00 48.23 47.50

ธ.ค. 45.20 46.43 47.25 55.00 48.23 46.50

ต่ำสุด

66.56 66.00 63.26 64.78 55.00 51.00

สูงสุด

4.64 5.78 4.76 6.87 6.61 5.86

ต่ำสุด

6.51 7.73 6.44 8.08 8.43 9.24

สูงสุด

13.52 20.09 16.17 15.05 18.97 17.15

ต่ำสุด

22.21 25.48 19.63 19.28 20.50 18.73

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

15.87 23.11 17.33 17.03 19.68 17.79

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.58 6.69 5.52 7.44 7.75 7.51

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

56.54 60.05 57.91 62.63 51.18 48.10

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(75)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


17.28 17.44 19.41 23.24 25.86 28.01

ม.ค.

17.30 17.81 20.88 25.19 25.62 27.73

ก.พ.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

73.00 77.50 69.89 85.00 90.50 86.67

ม.ค.

73.00 77.50 68.75 85.00 96.67 93.67

ก.พ.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

46.50 47.00 66.70 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ม.ค.

46.50 47.00 68.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ก.พ.

ราคาน้ำมันปลาหมึก SO

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาปลาหมึกป่น SLM

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาเปลือกกุ้ง

46.50 48.46 68.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

มี.ค.

73.00 77.50 68.75 85.00 96.67 98.33

มี.ค.

16.76 18.50 21.51 25.56 27.40 27.45

มี.ค.

46.50 50.00 68.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

เม.ย.

73.00 77.50 70.11 85.00 96.67 98.33

เม.ย.

16.72 19.23 22.19 25.90 27.64 31.30

เม.ย.

47.50 52.29 58.70 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

พ.ค.

73.55 78.07 80.22 85.00 96.20 98.33

พ.ค.

17.42 19.22 23.83 26.81 28.99 31.30

พ.ค.

47.50 55.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

มิ.ย.

75.00 78.75 86.63 89.44 92.50 98.33

มิ.ย.

18.05 19.36 24.46 26.74 29.18 30.44

มิ.ย.

47.50 60.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ก.ค.

75.00 73.99 87.50 90.50 98.10 96.67

ก.ค.

17.86 20.34 24.62 27.03 29.40 26.85

ก.ค.

47.00 70.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ส.ค.

78.75 78.00 87.50 90.50 98.33 98.33

ส.ค.

17.37 23.48 24.69 26.89 29.40 29.16

ส.ค.

46.66 70.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ก.ย.

77.55 81.25 88.25 90.50 93.40 120.00

ก.ย.

16.89 24.29 25.34 26.69 29.12 27.24

ก.ย.

47.00 68.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ต.ค.

77.50 78.94 88.25 90.50 86.67 120.00

ต.ค.

16.80 23.91 24.94 26.65 28.66 26.58

ต.ค.

47.00 68.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

พ.ย.

77.50 66.70 85.00 90.50 86.67 120.00

พ.ย.

16.87 21.47 21.32 26.29 28.66 26.72

พ.ย.

47.00 68.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ธ.ค.

77.50 60.52 85.00 90.50 86.67 120.00

ธ.ค.

16.88 19.01 21.23 26.00 28.23 26.74

ธ.ค. 16.72 17.44 19.41 23.24 25.62 26.58

ต่ำสุด

18.05 24.29 25.34 27.03 29.40 31.30

สูงสุด

73.00 60.52 68.75 85.00 86.67 86.67

ต่ำสุด

78.75 81.25 88.25 90.50 98.33 120.00

สูงสุด

46.50 47.00 52.00 0.00 0.00 0.00

ต่ำสุด

47.50 70.00 68.00 0.00 0.00 0.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

46.93 58.65 57.78 #DIV/0! #DIV/0! #DIV/0!

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

75.36 75.52 80.49 88.12 93.25 104.06

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.18 20.34 22.87 26.08 28.18 28.29

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(76)


14.20 8.77 18.00 22.50 26.00 10.00

ม.ค.

108.50 107.27 118.00 135.75 144.50 110.50

ม.ค.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

179.00 176.00 190.00 205.00 264.00 213.00

ม.ค.

ราคาไข่ไก่คละ

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

183.00 213.00 190.00 251.00 270.00 254.00

ก.พ.

111.44 110.94 115.50 140.75 144.50 110.50

ก.พ.

16.88 12.90 18.00 24.50 26.00 10.00

ก.พ.

ราคาไก่รุ่น-ไก่สาว

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาลูกไก่ไข่

181.00 248.00 207.00 241.00 284.00 260.00

มี.ค.

112.75 128.44 115.12 141.62 146.72 106.67

มี.ค.

18.00 20.90 20.23 24.85 26.74 8.68

มี.ค.

174.00 241.00 240.00 241.00 304.00 227.00

เม.ย.

112.75 133.15 137.09 139.50 150.50 93.50

เม.ย.

18.00 22.00 27.36 24.00 28.00 7.00

เม.ย.

197.00 245.00 237.00 255.00 300.00 254.00

พ.ค.

117.70 137.50 143.70 146.50 150.50 97.67

พ.ค.

19.52 22.00 27.96 27.00 28.00 8.67

พ.ค.

200.00 224.00 238.00 276.00 282.00 268.00

มิ.ย.

119.00 133.50 142.50 152.38 150.50 103.50

มิ.ย.

20.00 20.32 27.00 29.15 28.00 11.00

มิ.ย.

205.00 210.00 244.00 278.00 282.00 229.00

ก.ค.

119.00 127.50 142.50 147.96 150.50 98.33

ก.ค.

20.00 16.00 27.00 27.38 28.00 7.50

ก.ค.

212.00 226.00 260.00 270.00 300.00 246.00

ส.ค.

119.00 127.50 149.90 144.50 150.50 93.50

ส.ค.

20.00 16.00 28.56 26.00 28.00 6.00

ส.ค.

215.00 237.00 241.00 272.00 300.00 240.00

ก.ย.

119.50 129.12 149.27 144.50 150.50 99.50

ก.ย.

20.00 17.62 28.62 26.00 28.00 8.40

ก.ย.

195.00 208.00 216.00 253.00 300.00 235.00

ต.ค.

119.50 129.54 142.38 144.50 150.50 105.50

ต.ค.

20.00 18.47 15.15 26.00 26.00 11.00

ต.ค.

196.00 214.00 233.00 253.00 313.00 236.00

พ.ย.

119.50 124.30 142.10 144.50 150.50 108.77

พ.ย.

20.00 17.57 25.04 26.00 26.00 11.88

พ.ย.

174.00 222.00 236.00 253.00 258.00 240.00

ธ.ค.

114.54 125.50 143.85 144.50 139.57 110.50

ธ.ค.

16.00 19.54 25.74 26.00 21.83 13.00

ธ.ค. 14.20 8.77 15.15 22.50 21.83 6.00

ต่ำสุด

20.00 22.00 28.62 29.15 28.00 13.00

สูงสุด

108.50 107.27 115.12 135.75 139.57 93.50

ต่ำสุด

119.50 137.50 149.90 152.38 150.50 110.50

สูงสุด

174.00 176.00 190.00 205.00 258.00 213.00

ต่ำสุด

215.00 248.00 260.00 278.00 313.00 268.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

192.58 222.00 227.67 254.00 288.08 241.83

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/100 ฟอง

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

116.10 126.19 136.83 143.91 148.27 103.20

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

18.55 17.67 24.06 25.78 26.71 9.43

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

(77)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


8.18 13.50 7.25 18.00 17.50 14.50

ม.ค.

6.00 12.92 8.98 18.50 18.37 12.94

ก.พ.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555

23.87 35.63 31.58 44.33 45.24 36.20

ม.ค.

22.95 37.18 32.88 45.00 47.28 34.70

ก.พ.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

29.70 45.19 52.28 58.25 51.00 54.47

ม.ค.

29.81 53.12 55.34 60.19 58.86 49.63

ก.พ.

ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์ม

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาลูกไก่เนื้อ

35.79 58.32 56.82 60.41 61.50 48.85

มี.ค.

29.15 39.52 30.28 40.96 48.30 27.53

มี.ค.

7.65 15.50 4.50 18.50 20.50 6.18

มี.ค.

37.31 57.07 59.60 60.41 67.11 59.63

เม.ย.

30.44 40.78 31.18 42.09 52.10 33.13

เม.ย.

8.83 16.50 5.23 18.50 21.32 6.31

เม.ย.

37.17 53.72 60.00 60.50 70.00 62.50

พ.ค.

31.00 41.02 36.45 44.28 54.60 39.33

พ.ค.

9.89 15.58 13.89 20.07 22.50 11.33

พ.ค.

39.26 52.68 58.00 60.50 70.00 55.15

มิ.ย.

32.43 36.06 37.92 42.46 50.25 38.22

มิ.ย.

11.65 9.06 14.50 19.35 20.96 12.50

มิ.ย.

43.00 50.72 55.30 61.93 72.88 54.95

ก.ค.

35.11 37.46 38.00 37.47 43.60 35.20

ก.ค.

14.02 11.35 14.50 16.10 17.34 12.50

ก.ค.

45.66 53.74 55.00 59.37 80.40 54.31

ส.ค.

35.16 42.62 38.00 36.07 42.20 35.53

ส.ค.

14.50 16.34 14.50 12.58 15.73 12.50

ส.ค.

41.88 51.79 54.02 56.83 70.77 54.13

ก.ย.

36.00 37.54 40.68 37.63 41.74 33.58

ก.ย.

14.50 13.81 15.19 14.14 16.50 12.02

ก.ย.

38.40 51.52 52.18 51.52 55.50 47.65

ต.ค.

33.63 30.36 41.62 36.02 38.58 31.37

ต.ค.

14.50 7.66 16.50 14.50 14.58 6.96

ต.ค.

43.04 51.21 55.44 51.38 52.87 54.31

พ.ย.

34.96 31.00 40.00 37.33 37.67 40.73

พ.ย.

14.50 8.94 16.50 14.50 14.50 10.42

พ.ย.

42.95 51.13 57.25 51.45 61.08 52.33

ธ.ค.

36.85 30.84 41.00 41.93 36.90 40.75

ธ.ค.

14.50 8.25 16.50 15.50 14.50 14.07

ธ.ค. 6.00 7.66 4.50 12.58 14.50 6.18

ต่ำสุด

14.50 16.50 16.50 20.07 22.50 14.50

สูงสุด

22.95 30.36 30.28 36.02 36.90 27.53

ต่ำสุด

36.85 42.62 41.62 45.00 54.60 40.75

สูงสุด

29.70 45.19 52.18 51.38 51.00 47.65

ต่ำสุด

45.66 58.32 60.00 61.93 80.40 62.50

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

38.66 52.52 55.94 57.73 64.33 53.99

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

31.80 36.67 36.63 40.46 44.87 35.52

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

11.56 12.45 12.34 16.69 17.86 11.02

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

(78)


816.00 1,238.46 1,475.00 1,875.00 1,637.50 1,734.80

ม.ค.

800.00 1,750.00 1,600.00 1,900.00 1,930.43 1,552.00

ก.พ.

888.46 1,800.00 1,607.69 1,900.00 2,000.00 1,312.00

มี.ค.

13.00 15.00 18.00

ม.ค.

13.00 15.00 18.00

ก.พ.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

46.00 45.77 58.00 58.00 58.00 60.00

ม.ค.

45.50 49.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ก.พ.

มี.ค.

45.50 50.88 58.00 58.00 58.00 60.00

13.00 16.78 18.00

มี.ค.

ราคาเป็ดเชอร์รี่หน้าฟาร์ม

2553 2554 2555

เดือน

ราคาลูกเป็ดไข่ ซี พี โกลด์เด้น

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาลูกสุกรขุน

46.00 56.17 58.00 58.00 58.00 60.00

เม.ย.

13.00 18.00 18.00

เม.ย.

833.35 1,673.91 1,804.55 1,900.00 2,000.00 1,452.38

เม.ย.

46.39 57.92 58.00 58.00 58.00 60.00

พ.ค.

13.00 18.00 18.00

พ.ค.

700.00 1,316.67 1,847.83 1,900.00 2,000.00 1,666.67

พ.ค.

47.00 58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

มิ.ย.

13.00 18.00 18.00

มิ.ย.

907.69 1,296.00 1,661.54 1,900.00 2,000.00 1,500.00

มิ.ย.

47.00 58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ก.ค.

13.00 18.00 18.00

ก.ค.

1,180.00 1,053.85 1,500.00 1,900.00 2,000.00 1,500.00

ก.ค.

47.00 59.36 58.00 58.00 58.00 60.00

ส.ค.

13.00 18.00 18.00

ส.ค.

1,300.00 1,284.00 1,596.00 1,844.00 2,400.00 1,500.00

ส.ค.

47.00 60.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ก.ย.

13.84 18.00 18.00

ก.ย.

1,150.00 1,223.08 1,600.00 1,720.00 2,161.54 1,476.00

ก.ย.

46.77 60.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ต.ค.

15.00 18.00 18.00

ต.ค.

1,061.50 1,346.15 1,600.00 1,600.00 1,896.15 1,200.00

ต.ค.

45.00 58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

พ.ย.

15.00 18.00 18.00

พ.ย.

1,250.00 1,400.00 1,752.00 1,600.00 1,746.00 1,376.92

พ.ย.

45.00 58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ธ.ค.

15.00 18.00 18.00

ธ.ค.

1,004.35 1,400.00 1,800.00 1,600.00 1,965.22 1,256.52

ธ.ค. 700.00 1,053.85 1,475.00 1,600.00 1,637.50 1,200.00

ต่ำสุด

1,300.00 1,800.00 1,847.83 1,900.00 2,400.00 1,734.80

สูงสุด

13.00 15.00 18.00

ต่ำสุด

15.00 18.00 18.00

สูงสุด

45.00 45.77 58.00 58.00 58.00 60.00

ต่ำสุด

47.00 60.00 58.00 58.00 58.00 60.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

46.18 55.93 58.00 58.00 58.00 60.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

13.57 17.40 18.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

990.95 1,398.51 1,653.72 1,803.25 1,978.07 1,460.61

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

(79)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 147 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22.

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพ ัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด บริษัท ลีโก้ อินสตรูเมนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โกรเบสท์ คอร์ โพเรชั่น จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท บี เอ เอส เอฟ จำกัด บริษัท แอนิมัล ซัพพลีเมนท์ แอนด์ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด บริษัท ทีเอที เอ็นเนอร์ยี่แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอวอร์นิค (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอ็น ซี ซี เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด บริษัท ที ซี ยูเนียน อโกรเทค จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2247-7000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-2819-8790-7 โทร. 0-2886-4350 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2279-7534 โทร. 0-3488-6140-46 โทร. 0-2204-9455 โทร. 0-2937-4888 โทร. 0-2910-9728-29 โทร. 0-2938-1406-8 โทร. 0-2784-7900 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2203-4245 โทร. 0-2476-0674-82




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.