วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ TFMA E-Magazine 144

Page 66

(50) นายทอม วิลแซค รัฐมนตรีเกษตรของ สหรัฐฯ กล่าวในงานแถลงข่าวที่ทำเนียบขาวว่า 78% ของพืน้ ทีเ่ พาะปลูกข้าวโพดของสหรัฐฯ ได้ ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัย แล้ง และ 77% ของพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลือง ที่ ก ำลั ง เติ บ โตก็ ไ ด้ รั บ ผลกระทบเช่ น เดี ย วกั น นอกจากนี้ 38% ของข้าวโพดยังถูกจัดอันดับให้ มีภาวะการเติบโตทีแ่ ย่ถงึ แย่มาก ในขณะที่ 30% ของถั่วเหลืองได้รับการจัดอันดับภาวะเติบโตใน เกรดเดียวกัน นายวิลแซคระบุว่า สถานการณ์ ดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อผลผลิตและราคา ซึง่ อาจนำไปสู่ราคาอาหารขยับสูงขึ้นในปี 2556

พื้นที่ประสบภัยแล้งขยายวงกว้าง นับแต่นั้นมา สหรัฐฯ ก็ได้มีการประกาศ พืน้ ทีป่ ระสบภัยแล้งเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง โดยใน ช่วงปลายเดือนก.ค. หน่วยข้อมูลภัยแล้งของ สหรัฐฯ รายงานว่า พื้นที่กว่า 70% ในรัฐอิลลินอยส์ของสหรัฐฯ กำลังประสบกับภาวะแห้งแล้ง อย่างรุนแรง พร้อมระบุว่า อิลลินอยส์เป็นรัฐที่ ได้รบั ผลกระทบหนักทีส่ ดุ จากภัยแล้งครัง้ นี้ พร้อม ทัง้ เสริมว่า ภัยแล้งในพืน้ ทีต่ อนกลางของสหรัฐฯ กำลังทวีความรุนแรงขึน้ เรือ่ ยๆ โดยไม่มสี ญ ั ญาณ ใดๆ บ่งบอกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ต่อมาในช่วงต้นเดือนส.ค. กระทรวงเกษตร สหรัฐฯ ได้ประกาศรายชื่อเขตพื้นที่ประสบภัย ธรรมชาติเพิ่มอีก 44 เขตใน 12 รัฐ เนื่องจาก เกิดความเสียหายและสูญเสียทรัพย์สินจากภาวะ แล้งและอุณหภูมิที่พุ่งสูง ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น อย่างรุนแรงนี้ กินพื้นที่ตั้งแต่แคลิฟอร์เนียและ ขึน้ เหนือไปยังนิวยอร์ก และได้สร้างความเสียหาย อย่างมากแก่ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งรวมถึง ข้าวโพด ถั่วเหลือง พืชอาหารสัตว์ และทุ่งหญ้า ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 144 พฤษภาคม-มิถุนายน 2555

ปศุสัตว์ นับว่าเป็นภัยคุกคามต่อการเก็บเกี่ยว ผลผลิตทางการเกษตรสำหรับสหรัฐฯ ซึ่งเป็น ประเทศผู้ผลิตธัญพืชและเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 2 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากศูนย์ เฝ้าระวังภัยแล้งของสหรัฐฯ ว่า 66% ของพื้นที่ เพาะปลูกและ 73% ของพืน้ ทีป่ ศุสตั ว์ในประเทศ กำลังอยู่ในภาวะแล้ง และเมื่อกลางเดือนส.ค. กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มพื้นที่ ประสบภัยแล้งเบือ้ งต้นอีก 172 เขต ใน 15 รัฐ เนื่องจากมีความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยแล้ง และอากาศที่ร้อนเกินไป

องค์กรระหว่างประเทศ ร่วมส่งสัญญาณเตือน ในช่วงเดือนก.ย. นี้ หลายองค์กรได้ออกมา ระบุถึงความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตราคาอาหารจาก ภัยแล้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วโลก โดยล่าสุดองค์การสหประชาชาติ (UN) แนะ ประเทศทัว่ โลกจับตาราคาอาหารโลกต่อไป พร้อม หาแนวทางสกัดไม่ให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นมาก จนเกินไป แม้ราคาอาหารโลกยังคงที่ในเดือน ส.ค. แถลงการณ์ของ UN มีขนึ้ ภายหลังองค์การ อาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เปิดเผยดัชนีราคาอหาร (FPI) ประจำเดือนส.ค. ซึ่งระบุว่าราคาอาหารในเดือนส.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก.ค. ในเดือนส.ค. ดัชนี FPI ซึ่งเป็นมาตรวัด การเปลี่ยนแปลงของราคาตระกร้าอาหาร 55 ชนิดทั่วโลก ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ นม น้ำตาล และธัญพืชนัน้ เฉลีย่ อยูท่ ี่ 213 จุด ไม่เปลีย่ นแปลง จากเดือนก.ค. หลังจากที่ดัชนี FPI ในเดือนก.ค. พุ่งขึ้น 6% ซึ่ง FAO ระบุว่า ราคาที่สูงขึ้นส่วน หนึ่งเกิดจากผลผลิตข้าวโพดได้รับความเสียหาย


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.