วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ TFMA E-Magazine 142

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 1. บมจ. กรุงไทยอาหารสัตว์ 2. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด 3. บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด 4. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด 5. บมจ. ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ ไพรส์ 6. บมจ. ลีพ ัฒนาผลิตภัณฑ์ 7. บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด 8. บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด 9. บมจ. อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย 10. บมจ. เบทาโกร 11. บริษัท ซี.เอ็น.พี. อาหารสัตว์ จำกัด 12. บมจ. กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร 13. บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด 14. บริษัท ลีพ ัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด 15. บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อีสาน 16. บริษัท ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 17. บริษัท โกรเบสท์คอร์ โพเรชั่น จำกัด 18. บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 19. บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร 20. บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด 21. บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด 22. บริษัท ราชบุรีอาหาร จำกัด 23. บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด 24. บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด 25. บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด 26. บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด 27. บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด 28. บริษัท เหรียญทองฟีด (1992) จำกัด

29. บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด 30. บริษัท บี.พี. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 31. บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด 32. บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด 33. บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด 34. บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด 35. บริษัท ซันฟีด จำกัด 36. บริษัท ยูนโี กร อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 37. บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด 38. บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด 39. บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด 40. บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด 41. บมจ. บางกอกแร้นซ์ 42. บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด 43. บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด 44. บมจ. กรุงเทพโปรดิ๊วส 45. บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด 46. บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด 47. บริษัท ไทยยูเนี่ยนฟีดมิลล์ จำกัด 48. บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด 49. บริษัท บุญพิศาล จำกัด 50. บริษัท เฮกซ่า แคลไซเนชั่น จำกัด 51. บริษัท บีทจี ี ฟีดมิลล์ จำกัด 52. บริษัท หนองบัวฟีดมิลล์ จำกัด 53. บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด 54. บริษัท โกล์ด คอยน์ สเปเชียลลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด 55. บริษัท แม่ทา วี.พี. ฟีดมิลล์ จำกัด 56. บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการ

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ประจำปี 2554-2555 1. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล 2. นายนพพร วายุโชติ 3. นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ 4. นายไพศาล เครือวงศ์วานิช 5. นางเบญจพร สังหิตกุล 6. นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ 7. นายประกิต เพียรศิริภิญโญ 8. นายโดม มีกุล 9. นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล 10. นายสถิตย์ บำรุงชีพ 11. นายวีรชัย รัตนบานชื่น 12. นางภัทนีย เล็กศรีสมพงษ์ 13. นายวิทิต ภูธนทรัพย์ 14. นายอุทัย ตันติพิมลพันธ์ 15. นายสุนทร ตันทนะเทวินทร์ 16. นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ 17. นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง 18. นายวิชัย คณาธนะวนิช ย์ 19. นายวิศิษฐ คณาธนะวนิช ย์ 20. นายสุจิน ศิริมงคลเกษม 21. นายวราวุฒิ วัฒนธารา 22. นายเชฎฐพล ดุษฎีโหนด 23. นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

นายกสมาคม อุปนายก คนที่ 1 อุปนายก คนที่ 2 อุปนายก คนที่ 3 เหรัญญิกสมาคม เลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท ราชบุรีอาหาร จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคเหนือ เกษตรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพ ัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท บี พี ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพ ัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


ยังไม่อยากคิดเลยเถิด ไปไกลกว่าปัจจุบนั เพราะแค่นี้ ก็สุดช้ำ สำหรับภาคปศุสัตว์ ที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่ สูงมาก และขาดทุนจากผลผลิตที่เลี้ยงออกมามากเกิน ความต้องการในปัจจุบันแล้ว ทั้ง เนื้อไก่ ไข่ไก่ หมู ที่มี ปริมาณมากจากการขยายตัวอย่างไร้ทิศทาง บนนโยบาย เสรีแบบเปิดๆ ปิดๆ

บรรณาธิการ

แถลง

การเปิ ด ตลาดการค้ า ในภู มิ ภ าคอาเซี ย นที่ ใ กล้ เ ข้ า มา และเป็ น เรื่ อ งที่ ทุ ก ฝ่ า ยตั้ ง รั บ มานาน หลายหน่ ว ยงานรั บ รู้ แ ล้ ว บางหน่ ว ยงานยั ง ไม่ ตื่ น ตั ว บางหน่วยงานตื่นตูม บางหน่วยงานบอกชิวๆ แล้วคุณ เตรียมพร้อมแค่ไหน สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ที่ทุกคนทั่วโลกต้องเตรียมรับ และต้ อ งป้ อ งกั น อย่ า งเต็ ม ที่ และต้ อ งระมั ด ระวั ง การใช้ น โยบายเศรษฐกิ จ พอเพียง และการติดตามอย่างใกล้ชิดในการวางแผนการผลิตทั้ง พืช และสัตว์ ในความดู แ ลของตั ว เอง ให้ ป ริ ม าณที่ เ หมาะสมเพี ย งพอ ไม่ ท ำให้ เ กิ น ความ ต้องการมากมาย นั่นคือ จะทำให้ภาพรวมของระบบพอดี พอประมาณ และ ราคาจะปรับตัวอยู่ในสมดุลย์ แล้วทุกคนจะมีความสุข มากกว่า ที่ทุกคนจะ มุ่งขยายจนเกินตัว แล้วสุดท้ายก็จะเสียหายทั้งระบบ วัฏจักรของการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดมีวงจรที่ต่างกัน มีรอบที่ต่างกัน และ เนื้อสัตว์เพื่อการบริโภคมีการทดแทนกันได้ จึงทำให้มีการเชื่อมโยงปริมาณ ผลผลิตมีมากเกินไป ดังนั้น ต้องวางแผนให้ดีที่สุด แล้วคุณจะรอดพ้นจาก วิกฤติผลผลิตล้นตลาด ขอเอาใจช่วยให้ผู้เลี้ยงสัตว์ ผ่านพ้นวิกฤติต้นทุนจากวัตถุดิบราคาสูงขึ้น และให้การกู้คืนวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ทรุดตัว ทำให้ ความต้องการบริโภคกลับคืน มาโดยเร็ว และการขายผลผลิตเนือ้ สัตว์ได้ราคาทีด่ ขี นึ้ และกลับมาตัง้ ต้นเลีย้ งและ ดูแลสัตว์ต่อไป เพื่อความพร้อมการก้าวสู่การเปิดตลาดอาเซียนที่ยิ่งใหญ่ต่อไป บก.


วารสารธุ ร กิ จ อาหารสั ต ว์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ปีที่ 29

Vol.

142

มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

สารบัญ

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2555 และแนวโน้มปี 2555 ................................................................ 5 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทราบแนวทาง การยกระดับเศรษฐกิจไทย ภายใต้ AEC ................. 14 ปีนี้ภาคเกษตรยังลุ้นระทึก ........................................................... 18 ไทยพร้อมแค่ไหนเปิดเออีซี ........................................................ 20 สารพัดปัญหารุมชาวนาไทย ................................................... 23 วาระแห่งชาติเศรษฐกิจไทยใน AEC .................................. 25 ห้องเย็นดีเดย์ซื้อกุ้งขาวปลาย มิ.ย. นี้ .............................. 28 TVO ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ...................................................... 30 โครงการรักษาเสถียรภาพ ราคากุ้งขาวแวนนาไมฯ ปี 2555 ................................ 32 พันธมิตรการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโลก (จีเอเอ) ยันสินค้ากุ้งปลอดภัยไร้สารตกค้าง ........................... 35 การใช้ชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์สูงสุด .......................................................... 36 อุตสาหกรรมกุ้งไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ............................... 41 ข้อมูลนำเข้ากุ้ง 2 ตลาดใหญ่ .................................................. 45 ส่งออกกุ้งไทย 4 เดือนแรก ปี 55 ........................................ 46 สถานการณ์การผลิตและการค้าสินค้าปลาป่น ......... 47 ผลการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตร .................................... 56 ภาคสถิติ ..................................................................................................... 71 ขอบคุณ ..................................................................................................... 80

ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร นายนพพร วายุโชติ นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์ นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม นายอดิเรก ศรีประทักษ์ นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข นายณัฐพล มีวิเศษณ์ นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 www.thaifeedmill.com พิมพ์ที่ : ธัญวรรณการพิมพ์ 800/138 หมู่บ้านริเวอร์ปาร์ค ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร. 0-2536-5311, 0-2990-1568 โทรสาร 0-2990-1568




(5)

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2555

และแนวโน้มปี 2555 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เศรษฐกิจโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ได้คาดการณ์ เศรษฐกิจโลกปี 2555 ณ เดือนมกราคม 2555 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 ชะลอตัวลงจากที่ คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนกันยายน 2554 ว่า จะขยายตัวร้อยละ 4.0 ทั้งนี้เศรษฐกิจของกลุ่ม ประเทศตลาดใหม่ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย อาทิ ประเทศจีน และอินเดีย ยังคงเป็นแรง ขับเคลือ่ นทีส่ ำคัญ โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในปี 2555 ของจีน และอินเดียชะลอลงจาก ปี 2554 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 8.2 และ 7.0 ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกได้รับผลกระทบจากความ อ่ อ นแอของเศรษฐกิ จ โลก สำหรั บ เศรษฐกิ จ ของสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มการฟื้นตัวดีขึ้น ขยายตัวร้อยละ 1.8 แม้ว่าตลาดการเงินทั่วโลก เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นบ้าง แต่เศรษฐกิจโลกก็ยังมี ความอ่อนไหวจากภาคการเงินและปัญหาหนี้ สาธารณะในยูโรโซน ทำให้เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป หดตัวร้อยละ 0.1 หากวิกฤติหนี้ใน สหภาพยุโรปยังคงยืดเยื้อต่อไป ประกอบกับ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ใน ระดับสูง อาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะ

ที่มา: World Economic Outlook, January 2012, IMF

ถดถอยอีกครั้ง ส่วนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น ยังมีความกังวลจากความไม่แน่นอนของ เศรษฐกิจโลก เนื่องจากต้องพึ่งพิงการส่งออก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึง ค่ า เงิ น เยนที่ แ ข็ ง ค่ า ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ทำให้ ขยายตัวร้อยละ 1.7

อัตราแลกเปลี่ยน 1) เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้ม อ่ อ นค่ า ลง โดยอั ต ราแลกเปลี่ ย นเฉลี่ ย เดื อ น มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 อยูท่ ี่ 31.15 บาท/ ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 30.65 บาท/ ดอลลาร์สหรัฐฯ หรืออ่อนค่าลงร้อยละ 1.6 เนื่องจากสถานการณ์ด้านตลาดแรงงานของ สหรั ฐ อเมริ ก ามี แ นวโน้ ม ดี ขึ้ น โดยอั ต ราการ ว่างงานค่อยๆ ปรับตัวลดลง แม้ว่าภาคอสังหาริ ม ทรั พ ย์ จ ะยั ง อยู่ ใ นภาวะซบเซา นอกจากนี้

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(6)

ที่มา: International Monetary Fund:, IMF

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารกลางของสหรัฐ ยังไม่ส่งสัญญาณการ ใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินรอบ 3 (QE 3) ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 2) เงินบาทต่อยูโร มีทิศทางแข็งค่าขึ้น โดยอั ต ราแลกเปลี่ ย นเฉลี่ ย เดื อ นมกราคม– กุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ 40.67 บาท/ยูโร แข็ง ค่าขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึง่ อยูท่ ี่ 41.40 บาท/ยูโร หรือแข็งค่าขึน้ ร้อยละ 1.8 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการแก้ปัญหา หนี้สาธารณะของกรีซ และความเปราะบางของ เศรษฐกิจสหภาพยุโรป ราคาน้ ำ มั น ดิ บ ดู ไ บ มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น โดยราคาเฉลีย่ เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 อยูท่ ี่ 112.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ 96.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 17.5 เนื่องจากความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้นตามการ ขยายตัวของประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะจีน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

และอินเดียรวมถึงกลุ่มประเทศในละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง ประกอบกับสถานการณ์ ความไม่แน่นอนในตะวันออกกลาง อาทิ ความ ตึงเครียดด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน ทำให้อปุ ทาน ของน้ำมันในตลาดโลกตึงตัว ส่งผลให้ราคาน้ำมัน ปรับตัวสูงขึ้น

ภาพรวมเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 1 ปี 2555 มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากผลกระทบอุทกภัย ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2554 คลี่คลายลง โดย ภาคเอกชนมี ก ารจั บ จ่ า ยใช้ ส อยเพื่ อ ซ่ อ มแซม ที่อยู่อาศัย การลงทุนเพื่อทดแทนส่วนที่เสียหาย รวมถึ งการป้ องกัน อุทกภัย ที่อาจจะเกิด ขึ้ นใน อนาคตของหน่วยธุรกิจ ตลอดจนการใช้นโยบาย กระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล ส่งผลให้ เศรษฐกิจในภาพรวมเริม่ มีสญ ั ญาณฟืน้ ตัว สำหรับ การส่งออกมีทิศทางหดตัวลงตามการชะลอตัว ของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 สูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.0 เนื่ อ งจากราคาสิ น ค้ า ในหมวดอาหารสดและ หมวดพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไร ก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจ


(7) ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีก เช่น ราคาน้ำมัน ในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น การขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กระทบต่อ ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นด้วย

ภาพรวมเศรษฐกิจการเกษตร เมือ่ พิจารณาดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเ ดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 เฉลีย่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 108.86 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 108.91 หรือลดลงร้อยละ 0.1 ขณะที่ ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ มีทิศทางลดลงเช่นเดียวกัน อยู่ที่ร้อยละ 156.93 ลดลง จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 182.74 หรือลดลงร้อยละ 14.1 ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 1 ปี 2555 หดตัวลงประมาณร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็น ผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหาอุทกภัยครั้งรุนแรงในช่วงปี 2554 ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรและ ผลผลิตสินค้าเกษตรได้รบั ความเสียหาย โดยเฉพาะผลผลิตข้าวนาปี ประกอบกับเกษตรกรผูป้ ลูกข้าว ต้องเลื่อนการทำนาปรังออกไป ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงค่อนข้างมาก สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตลดลงจากการปรับเปลี่ยนไปปลูกชนิดอื่นทดแทน ส่วนผลผลิตมันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ถั่วเหลือง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามแรงจูงใจทางด้านราคาในช่วงปี ที่ผ่านมาราคาพืชหลายชนิดอยู่ในเกณฑ์ดี อาทิ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ส่วนราคา มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีแนวโน้มลดลง สำหรับสาขาปศุสัตว์ ผลผลิต ปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ ขณะที่ผลผลิตสุกรลดลงจากโรคทางระบบ สื บ พั น ธุ์ แ ละระบบทางเดิ น หายใจ แต่ ก ารใช้ ม าตรการควบคุ ม โรคที่ เ ข้ ม งวดและการวางแผน การผลิ ต ที่ ดี ขึ้ น ทำให้ ภ าพรวมสาขาปศุ สั ต ว์ ยั ง ขยายตั ว ได้ ส่ ว นสาขาประมงขยายตั ว เพิ่ ม ขึ้ น เนื่องจากแหล่งผลิตสำคัญในภาคใต้เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งเพาะเลี้ยงออกสู่ ตลาดมากขึ้น

ไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ภาคเกษตรหดตัวลงร้อยละ 1.5

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(8)

สาขาพืช อัตราการเจริญเติบโตของสาขาพืช ใน ไตรมาส 1 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 3.0 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจาก ผลผลิ ต ข้ า วนาปี บ างส่ ว นได้ รั บ ความเสี ย หาย จากปั ญ หาอุ ท กภั ย ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในช่ ว งปี 2554 ประกอบกั บ เกษตรกรผู้ ป ลู ก ข้ า วที่ ป ระสบภั ย น้ำท่วมได้เลื่อนการเพาะปลูกข้าวนาปรังออกไป ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงค่อนข้างมาก อย่างไร ก็ตาม คาดว่าผลผลิตข้าวนาปรังจะทยอยออกสู่ ตลาดมากขึ้นในช่วงไตรมาส 2 สำหรับข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตลดลงเช่นกัน เพราะเป็น ช่ ว งปลายฤดู เ ก็ บ เกี่ ย ว และเกษตรกรหั น ไป ปลู ก พื ช ชนิ ด อื่ น ที่ ดู แ ลรั ก ษาง่ า ยและให้ ผ ล ตอบแทนดีกว่า ส่วนมันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ถั่วเหลือง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ผลผลิต มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลจากราคาที่มีแนวโน้ม เคลือ่ นไหวอยูใ่ นเกณฑ์ดใี นช่วงปีทผี่ า่ นมา จูงใจให้ เกษตรกรขยายการผลิต ด้านราคาสินค้าเกษตร หลายชนิ ด มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น อาทิ ข้ า วนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ และอ้อยโรงงาน ยกเว้นหัวมันสำปะหลังสดคละ ยางพาราดิบชัน้ 3 และผลปาล์มน้ำมัน ที่ราคาหดตัวลงตามความ ต้องการของตลาดโลกที่ชะลอลง ส่งผลต่อเนื่อง มายังราคาภายในประเทศให้อ่อนตัวลง

สาขาปศุสัตว์ การผลิตสาขาปศุสตั ว์ในไตรมาส 1 ของปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วง เวลาเดียวกันของปี 2554 เนื่องจากไก่เนื้อมี ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น เป็นผลจาก ฟาร์มเลี้ยงบางส่วนในภาคกลาง และภาคเหนือ ตอนล่างเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ผู้ประกอบการ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

สามารถระบายสต็อกเนื้อไก่ที่ต้องเก็บไว้ในช่วง น้ำท่วมออกสูต่ ลาดได้มากขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง รวม ถึงความต้องการบริโภคเนื้อไก่ในประเทศเพิ่ม ขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีน และการ เกิดโรคไข้หวัดนกของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ ความต้องการเนือ้ ไก่จากไทยเพิม่ ขึน้ ด้วย สำหรับ ปริมาณการผลิตไข่ไก่เพิ่มขึ้น เนื่องจากแม่ไก่ไข่ ยืนกรงรุ่นใหม่ให้ผลผลิตมากขึ้นเมื่อเทียบกับ ก่อนการเปิดเสรีการนำเข้าพ่อแม่พนั ธุไ์ ก่ไข่ ขณะที่ การผลิตน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากการปรับ เพิม่ ขึน้ ของราคาน้ำนมดิบ ส่วนผลผลิตสุกรลดลง จากสภาพอากาศทีแ่ ปรปรวน และโรคทางระบบ สืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ ประกอบกับ พื้นที่เลี้ยงสุกรบางพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัยใน ช่วงปีที่ผ่านมา สำหรับด้านราคาสินค้าปศุสัตว์ สุกรและน้ำนมดิบ มีราคาสูงขึ้น โดยราคาสุกร เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจาก ความต้องการบริโภคเพิม่ มากขึน้ ขณะทีป่ ริมาณ สุกรที่ออกสู่ตลาดลดลง ส่วนราคาไก่เนื้อและ ไข่ไก่แม้จะมีทิศทางลดลง แต่ก็ไม่มากนักเมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ประกอบกับ นโยบายรณรงค์ ก ารบริ โ ภคไข่ ไ ก่ ข องรั ฐ บาล และความพยายามในการขยายการส่งออก ทั้ง ไก่เนือ้ และไข่ไก่เพิม่ ขึน้ ทำให้สามารถรักษาระดับ ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ความเข้มงวดของการใช้มาตรการควบคุมโรค เร่งฉีดวัคซีน ปรับวิธีการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ ไวรัส การแนะนำในการป้องกันการระบาดของ โรค รวมถึงความช่วยเหลือในการฟื้นฟูและดูแล ฟาร์ ม แก่ เ กษตรกรผู้ เ ลี้ ย งปศุ สั ต ว์ ข องภาครั ฐ ส่งผลให้สถานการณ์การผลิตปศุสัตว์ขยายตัว เพิ่มขึ้น




(9)

สาขาประมง

สาขาป่าไม้

ภาวะการผลิตสาขาประมงในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2555 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 เป็นผล มาจากสถานการณ์การผลิตในแหล่งผลิตสำคัญ ในภาคใต้เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับราคา ผลผลิ ต กุ้ ง เพาะเลี้ ย งที่ อ ยู่ ใ นเกณฑ์ ดี ต่ อ เนื่ อ ง จากช่วงปลายปี 2554 จูงใจให้เกษตรกรขยาย การผลิ ต และดู แ ลรั ก ษาดี ขึ้ น ทำให้ ผ ลผลิ ต ประมงทะเลที่สำคัญคือ กุ้งทะเลที่ได้จากการ เพาะเลี้ ย งมี ป ริ ม าณผลผลิ ต เพิ่ ม ขึ้ น จากช่ ว ง เดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 13.6 ส่วน ผลผลิตด้านประมงน้ำจืดที่สำคัญ คือ ปลานิล ปริมาณผลผลิตจากระบบการออกใบกำกับการ จำหน่ายสัตว์น้ำ (MD) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับราคากุ้งขาวแวนนาไมปรับตัวสูง ขึ้น โดยเป็นผลมาจากผลผลิตกุ้งของโลกลดลง เพราะประเทศผู้ ผ ลิ ต ที่ ส ำคั ญ ได้ แ ก่ จี น เวียดนาม และอินโดนีเซีย ประสบปัญหาภัย ธรรมชาติและโรคระบาด ทำให้ความต้องการ เพื่อการส่งออกยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ประกอบ กับเกษตรกรมีการวางแผนการผลิตที่ดีขึ้น เพื่อ หลีกเลีย่ งปัญหาราคากุง้ ขาวตกต่ำ ทำให้ราคากุง้ มีแนวโน้มดีขึ้น

ในไตรมาส 1 ปี 2555 สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไม้ที่ทำออกจากป่าปลูกเพื่อ ป้ อ นอุ ต สาหกรรมไม้ แ ปรรู ป และใช้ ใ นการ ก่อสร้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการใช้เป็นส่วน ประกอบของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย รวมทั้ง ไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ยูคาลิปตัส มีการ ปลูกเพิ่มขึ้น

สาขาบริการทางการเกษตร สาขาบริการทางการเกษตร ในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.1 เป็นผลจากกิจกรรม การให้ บ ริ ก ารเตรี ย มดิ น ในการเพาะปลู ก ข้ า ว นาปรัง รวมถึงการขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อย โรงงานในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีการใช้บริการ เก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อยมากขึ้น

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555 เศรษฐกิจการเกษตรปี 2555 คาดว่า จะขยายตั ว อยู่ ใ นช่ ว งร้ อ ยละ 4.0-5.0 เมื่ อ เทียบกับปี 2554 แม้ว่าในช่วงไตรมาสแรก ของปี 2555 ภาคเกษตรจะยังคงหดตัวจาก ผลกระทบน้ำท่วมในปี 2554 แต่คาดว่าจะ สามารถปรั บ ตั ว ได้ ดี ขึ้ น ตามลำดั บ อย่ า งไร ก็ ต าม การผลิ ต ภาคเกษตรยั ง ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ปัจจัยเสีย่ งหลายประการ เช่น โรคระบาด ภัยแล้ง และปั ญ หาอุ ท กภั ย ทั้ ง นี้ ระบบการบริ ห าร จัดการน้ำของรัฐบาลที่ดีขึ้น จะช่วยบรรเทาผล กระทบที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอก ก็มีความผันผวนมากขึ้น อาทิ ราคาน้ำมันที่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูงจะส่งผลกระทบต่อ ต้นทุนการผลิต การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ยังมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะ ในสหภาพยุโรป อาจทำให้การส่งออกสินค้า เกษตรของไทยชะลอตัวลง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(10)

สาขาพืช ในช่วงต้นปี 2555 แม้ว่าการผลิตข้าว ยังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอยู่บ้าง รวมทั้ง หลายพื้ น ที่ ข องภาคเหนื อ และภาคตะวั น ออก เฉียงเหนือ ประสบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้ง แต่การผลิตในสาขาพืชไม่ได้รับผลกระทบมาก นั ก เนื่ อ งจากภาวะแห้ ง แล้ ง อยู่ ใ นระดั บ ที่ ไ ม่ รุนแรงและเกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่นาน คาดว่า ในปี 2555 มูลค่าการผลิตสาขาพืชจะเพิ่มขึ้น โดยผลผลิตพืชหลัก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ถั่ ว เหลื อ ง ยางพารา และปาล์ ม น้ ำ มั น มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และปั ญ หาการแพร่ ร ะบาดของศั ต รู พื ช ลดลง สำหรับด้านราคา คาดว่าราคาพืชส่วนใหญ่จะ ยังอยูใ่ นเกณฑ์ดี นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาล ในการรับจำนำพืชสำคัญบางชนิด เช่น ข้าว และ มั น สำปะหลั ง จะส่ ง ผลให้ ร าคาพื ช ดั ง กล่ า ว ปรับตัวสูงขึ้น ในภาพรวมคาดว่ามูลค่าการผลิต ในสาขาพืชเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วงร้อยละ 4.9-5.9

สาขาปศุสัตว์ การผลิตสาขาปศุสัตว์ปี 2555 คาดว่า จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.5-2.5 เนื่องจาก สถานการณ์การผลิตสินค้าปศุสัตว์ต่างๆ เริ่ม กลับสู่ภาวะปกติ เกษตรกรสามารถฟื้นฟูและ ปรับระบบการเลี้ยงได้ดีขึ้น รวมทั้งการให้คำ แนะนำจากภาครัฐในการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานฟาร์ม กระบวนการควบคุมและเฝ้าระวัง โรคระบาดอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง นอกจากนี้ ความ ต้ อ งการบริ โ ภคทั้ ง ตลาดในประเทศและต่ า ง ประเทศยั ง คงมี อ ยู่ ม ากและมี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาด ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

หลัก นอกจากนี้ประเทศไทยจะได้รับการชดเชย โควตาส่งออกสัตว์ปีกไปยัง EU เพิ่มขึ้น จาก การปรับเปลีย่ นระบบโควตา ระบบภาษีของ EU ในเดื อ นมี น าคม 2555 และมี แ นวโน้ ม การ ประกาศยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าไก่สดแช่ เย็นแช่แข็งของไทยไป EU ในสิ้นเดือนมิถุนายน 2555 สำหรับราคาปศุสตั ว์โดยเฉลีย่ ในปี 2555 คาดว่ า จะปรั บ ตั ว เพิ่ ม ขึ้ น จากราคาปั จ จั ย การ ผลิตที่เพิ่มขึ้น การรักษาระดับผลผลิตที่ออกสู่ ตลาดและการพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้น

สาขาประมง การผลิตสาขาประมงปี 2555 มีแนวโน้ม ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2554 อยู่ในช่วงร้อยละ 0.5–1.5 เนื่องจากราคาผลผลิตอยูในเกณฑ์ดี จู ง ใจให้ เ กษตรกรเพิ่ ม การดู แ ลและมี ก ารวาง แผนการผลิตที่ดี เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตามความต้องการของตลาด อีกทั้งหากสภาพ อากาศไม่แปรปรวนเหมือนปีที่ผ่านมา คาดว่า ผลผลิตประมงทะเลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับ ประมงน้ำจืดหากสถานการณ์เป็นปกติ คาดว่า ผลผลิตสัตว์น้ำจืดในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นตาม การสนับสนุนส่งเสริมของกรมประมง สำหรั บ ด้ า นการค้ า คาดว่ า จะยั ง คง ขยายตั ว ตามความต้ อ งการของตลาดทั้ ง ใน และต่างประเทศที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ตลาดต่ า งประเทศที่ มี ค วามต้ อ งการบริ โ ภค เพิ่มขึ้น อาทิ ญี่ปุ่น เป็นตลาดของผลิตภัณฑ์ แปรรูปเพิ่มมูลค่า จีนเป็นตลาดใหม่ มีแนวโน้ม การบริโภคเพิ่มขึ้น รวมทั้งเกาหลีใต้ที่คาดว่า จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าภาพ จัดงานเวิลด์เอกซ์โปในช่วงกลางปี 2555 ขณะที่


(11) สหรัฐอเมริกาและยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลัก แม้ จะประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ปัจจุบัน ราคากุ้ ง อยู่ ใ นระดั บ ที่ ผู้ บ ริ โ ภครั บ ได้ ความ ต้ อ งการจึ ง มี อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งเช่ น กั น สำหรั บ ตลาดภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผล มาจากราคาเนื้อหมูและเนื้อไก่ที่ขยับสูงขึ้นมา ใกล้เคียงกับราคากุ้ง ส่งผลให้ตลาดในประเทศ ขยายตั ว เพิ่ ม ขึ้ น ประกอบกั บ พฤติ ก รรมการ บริโภคของคนเมืองเริ่มเปลี่ยนไป จากที่เคยซื้อ กุ้งจากตลาดสดมาแกะเปลือก เปลี่ยนมาซื้อกุ้ง แช่ แ ข็ ง พร้ อ มปรุ ง แทน ซึ่ ง ไม่ ต่ า งจากสหรั ฐ อเมริกา หรือญี่ปุ่น

สาขาบริการทางการเกษตร คาดว่าสาขาบริการทางการเกษตรในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวอยูใ่ นช่วงร้อยละ 1.42.4 เนือ่ งจากเกษตรกรขยายพืน้ ทีเ่ พาะปลูกข้าว มากขึ้น ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลาย รวมถึงพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้มี การใช้บริการทางการเกษตรในการไถพรวนดิน การยกร่อง และการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้นด้วย

สาขาป่าไม้ การผลิตสาขาป่าไม้ปี 2555 คาดว่าจะ ขยายตัวอยูใ่ นช่วงร้อยละ 1.3-2.3 เนือ่ งจากการ ปลูกไม้เศรษฐกิจที่สำคัญเพิ่มขึ้น รวมถึงการ ขยายตัวอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ เฟอร์นิเจอร์ และการก่อสร้าง เพื่อการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยและ สถานประกอบการภายหลังวิกฤติน้ำท่วม ส่งผล ให้มีการทำไม้ออกจากป่าปลูกเพิ่มขึ้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(12) ตารางที่  อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร หน่วย : ร้อยละ

สาขา

ทั้งปี 4.0-5.0 4.9-5.9 1.5-2.5 0.5-1.5 1.4-2.4 1.3-2.3

ภาคเกษตร สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร สาขาป่าไม้

2555

ไตรมาส 1 -1.5 -3.0 0.5 1.9 2.1 1.2

ที่มา: ประมาณการโดยสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตารางที่  ผลผลิตของสินค้าเกษตรที่สำคัญ ปี 2554-2555

สินค้า ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน (รวมพันธุ์) ถั่วเหลือง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไก่เนื้อ (ล้านตัว) สุกรมีชีวิต (ล้านตัว) ไข่ไก่ (ล้านฟอง) น้ำนมดิบ

ทั้งปี

2554 2555* 21.23 24.21 10.14 11.26 4.98 4.75 23.63 25.18 107.84 107.50 0.151 0.152 3.35 3.63 10.78 11.62 1,018.74 1,033.86 11.89 12.15 9,852.67 11,014.76 0.92 0.94

การเปลี่ยนแปลง ไตรมาส 1 การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 2554 2555* (ร้อยละ) 14.05 2.05 1.21 -40.77 11.04 2.14 1.87 -12.77 -4.77 0.46 0.26 -44.27 6.55 12.66 13.43 6.07 -0.31 65.78 69.71 5.97 0.90 0.04 0.06 43.13 8.25 0.81 0.84 4.26 7.82 1.70 2.87 69.37 1.48 242.97 247.92 2.04 2.16 3.08 3.07 -0.17 11.79 2,385.33 2,706.33 13.46 1.79 0.230 0.234 1.87

หมายเหตุ: *ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนมีนาคม 2555 ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

หน่วย : ล้านตัน


(13) ตารางที่  ราคาที่เกษตรกรขายได้ของสินค้าเกษตรที่สำคัญ

สินค้า ข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% (บาท/ตัน) ข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% (บาท/ตัน) ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ (บาท/ตัน) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14% หัวมันสำปะหลังสดคละ อ้อยโรงงาน ถั่วเหลืองชนิดคละ ยางแผ่นดิบชั้น 3 ผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลายมีน้ำหนัก >15 กก. ไก่รุ่นพันธุ์เนื้อ สุกร น้ำหนัก 100 กก. ขึ้นไป ไข่ไก่สดคละ (บาท/ร้อยฟอง) น้ำนมดิบ กุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 70 ตัว/กก.

2554 2555 ทั้งปี ม.ค.-ก.พ. ม.ค.-ก.พ. 10,121 8,664 9,642 8,447 9,031 9,645 14,961 12,484 15,178 7.61 8.23 8.62 2.53 2.87 2.11 938 926 953 15.30 15.46 14.85 124.16 157.64 99.74 5.34 7.80 5.22 46.81 45.38 44.29 65.54 57.11 58.55 301 280 265 16.39 15.52 16.74 129 129 132

หน่วย: บาท/กก.

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 11.29 6.80 21.58 4.74 -26.48 2.92 -3.95 -36.73 -33.08 -2.40 2.52 -5.36 7.86 2.33

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(14)

การประชุมเชิงปฏิบัติการ

เพื่อทราบแนวทางการยกระดับเศรษฐกิจไทย ภายใต้ AEC 5 มิถุนายน 2555 กลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหารไทย

กลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหารไทย SWOT Analysis Strengths

· มาตรฐานการผลิต ได้รับการยอมรับในระดับสากล · ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ · ความหลากหลายของวัตถุดิบ · แรงงานที่มีฝีมือ · มีฐานการตลาดและภาพลักษณ์ที่ดีในตลาดส่งออก Weaknesses

· ผู้ประกอบการ SMEs ขาดการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่ การผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ · การขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานไร้ทักษะ · ความเพียงพอของโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูง เช่น การวิจัย และพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ห้องปฏิบัติการ ฯลฯ · การจัดการทรัพยากร โดยเฉพาะที่ดินเพื่อการเกษตรและ ระบบชลประทาน · การเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ค่อนข้างจำกัด · ขาดการสร้างแบรนด์ การส่งออกส่วนใหญ่เป็นแบบเทกอง และรับจ้างผลิต · นโยบายภาครัฐขาดความต่อเนื่อง และการบูรณาการ

Opportunities

· กระแสบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม · การขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ สร้างโอกาสให้กับ สินค้าอาหารแปรรูป · การผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะ กลุ่ม เช่น กลุ่มคนสูงอายุ อาหารเฉพาะโรค เป็นต้น · โอกาสในการขยายร้านอาหารไทยในต่างประเทศ Threats

· สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง · การแย่งพื้นที่การผลิตพืชอาหารของพืชพลังงานทดแทน · ประเทศคู่ค้าหันมาเข้มงวดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี โดยเฉพาะ มาตรการด้านสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม · การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งตลาดในประเทศ และตลาด ส่งออก

Source: Thailand Competitiveness Conference 2011

ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนา: วาระแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 11 มิ.ย. 55 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(15)

Current Status: *(i.e. Market share globally/regionally) ไทยส่งออกอาหารเป็นอันดับ 8 ของโลก  การจ้างงานในอุตสาหกรรมประมาณ 1.4 ล้านคน มีโรงงานแปรรูป 10,159 โรงงาน  มูลค่าการส่งออกในปี 2554 15,820 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.9 YoY  การส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าการผลิต 

Trend: *(i.e. growth vs global/regional growth) ครัวไทย ครัวอาหารปลอดภัยของโลก  ปรับรูปแบบการส่งออกในรูปของสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่ม มีนวัตกรรม และสร้างแบรนด์ ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก  ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้  AEC สร้างโอกาสในการลงทุนและขยายตลาดในประเทศอาเซียน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่ง วัตถุดิบและแรงงาน 

Key Issues  Safety ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารและกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน  Security ความมั่นคงด้านวัตถุดิบและด้านอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ  Standardization ความสอดคล้องของกฎระเบียบ และกระบวนการผลิตภายในประเทศ

กับมาตรฐานข้อบังคับสากล  Sustainability ความยั่งยืนของกระบวนการผลิตต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

Safety

· สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค โดยมีผู้รับผิดชอบในการให้ความรู้ ดังนี้ วัตถุดิบ: ผู้ผลิตอาหาร SME: ผูผ้ ลิตรายใหญ่/ภาครัฐ ผูบ้ ริโภค: Retailer (Modern Trade) ผูบ้ ริโภค และให้หอการค้าไทย สถาบันอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็น ผู้ผลักดัน · สร้างระบบการตรวจสอบมาตรฐาน (Traceability) ไปจนถึง source of origin · ขาดฐานข้อมูล และหน่วยงานที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ · ต้องการให้หน่วยงานรัฐ certified สัญลักษณ์มาตรฐาน (Certified Body) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(16)

Security

· กลไกการบริหารจัดการปริมาณและชนิดของวัตถุดิบที่ออกสู่ตลาดให้มองทุกองค์ประกอบ ในการผลิ ต ไปจนถึ ง ผู้ บ ริ โ ภค เกี่ ย วพั น ทุ ก ส่ ว น มองเป็ น ภาพรวม (ชุ ม ชน/ผู้ ผ ลิ ต / ผู้ประกอบการ) · ลดต้นทุนการผลิตวัตถุดิบ โดยใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด · ส่งเสริมความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ (สารเคมี) ให้ถูกต้อง เหมาะสม ตรงตาม มาตรฐานสากลเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ · สร้างระบบ Zoning ทั้งการผลิตและระบบ Logistic และ Contract Farming Business Contingency Plan/Logistic Management · พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในการสร้างตลาดและมุ่งสู่ Brand ของตนเอง · Packaging/Pack size ที่สอดคล้องกับแบรนด์และวิถีชีวิตของผู้บริโภค · ทำความเข้ า ใจกั บ ผู้ ผ ลิ ต วั ต ถุ ดิ บ ถึ ง วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการใช้ สิ น ค้ า เพื่ อ ผลิ ต ให้ ต รงความ ต้องการตลาด · การกระจายความเสี่ยงของภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ ที่แตกต่าง · ฐานข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อมโยง สามารถสืบค้นได้ง่าย จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

Standardization

· ส่งเสริมให้ผู้ผลิตวัตถุดิบ มีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต · พัฒนาผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานสากล · พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ (โดยเฉพาะ SMEs) ให้พร้อมต่อการรวมกลุ่ม AEC · เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเชิงรุกกฎระเบียบและมาตรฐานของภาคเกษตรในภูมิภาค ASEAN ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล · ร่วมเจรจาต่อรองเกี่ยวกับกฎระเบียบและข้อสัญญาที่เป็นอุปสรรค หรือข้อกีดกันทางการค้า ที่ไม่เป็นธรรมและไร้เหตุผล (เอาเปรียบ) · พัฒนาระบบติดตามและเผยแพร่ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ และมาตรฐาน สากลต่างๆ · พัฒนางานวิจัยในการรองรับมาตรฐานต่างๆ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555




(17)

Sustainability

· เผยแพร่ข้อมูลและให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เช่น Carbon Credit · ส่งเสริมผู้ประกอบการให้พัฒนากระบวนการที่เน้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำถึง ปลายน้ำ · ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีระบบจัดการและฟื้นฟูทรัพยากร เพื่อนำมาใช้ใหม่ เช่น การ บำบัดน้ำเสียจากโรงงานเพื่อนำมาใช้ใหม่ · ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมกับองค์กรที่มีบทบาทในการกำหนด/ตรวจสอบมาตรฐาน ระดับโลก · กำหนดแนวทางส่ ง เสริ ม ผู้ ป ระกอบการให้ ด ำเนิ น งานโดยคำนึ ง ถึ ง คุ ณ ภาพชี วิ ต ของผู้ เกี่ยวข้อง เช่น แรงงาน ผู้บริโภค ชุมชน · อุตสาหกรรมอาหารและเกษตร ควรกำหนด CG เพื่อเป็นเครื่องควบคุมแนวปฏิบัติในการ ดำเนินธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง · แรงงานภาคเกษตรและอาหารลดลงเรือ่ ยๆ ควรมีความชัดเจน หรือมาตรฐานทีม่ าดูแลเรือ่ งนี้ (ใช้เรื่อง mechanize แก้ไขได้) · การใช้พลังงานหมุนเวียน (Bio-mass) อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ทดแทนพลังงาน อื่นที่กำลังจะหมดไป · การบริหารการผลิตให้สมดุล (ดุลยภาพการผลิต) · ความตระหนักในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของอาหารและสินค้าเกษตรเพื่อคุณภาพชีวิต ของผู้บริโภค เช่น การทำฉลากผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องเป็นจริง (เหมือนฉลากยา) และเพิ่ม Organic product

AEC  SMEs ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(18)

ปีนี้ภาคเกษตรยังลุ้นระทึก ปี 2555 นี้ ยังถือได้ว่าเป็นปีทองอีกปี หนึ่ ง ของภาคการเกษตร โดยเฉพาะสิ น ค้ า เกษตรหลักๆ ที่รัฐบาลมีการเข้าไปช่วยอุดหนุน ราคา เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด และ ยางพารา ที่ช่วยดันให้ราคาสินค้าเกษตรกลุ่มนี้ ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนเฉลี่ย 10-15% แต่ เกษตรกรก็ยังวางใจไม่ได้ โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศโลกที่ค่อนข้างแปรปรวน ซึ่งจะส่งผล กระทบต่ อ ปริ ม าณผลผลิ ต ทางการเกษตรทั้ ง ทางตรงและทางอ้อม ที่ขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณ บ้างแล้ว ดังนั้นจึงต้องเร่งปรับตัวตั้งรับให้ทัน พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธาน คณะกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาพรวมสินค้าเกษตรปี 2555 นี้ ยังดีอยู่ เรียกได้วา่ ยังเป็นปีทอง (นิดๆ) ของสินค้า เกษตรอยู่ เพราะทั้งในด้านปริมาณผลผลิตปีนี้ ก็ยังทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน แม้ว่า ในช่ ว งปลายปี ถึ ง ต้ น ปี ที่ ผ่ า นมาจะเกิ ด ปั ญ หา อุทกภัย แต่กไ็ ม่ได้ทำลายผลผลิตทางการเกษตร มากนัก ขณะที่ด้านราคาสินค้าเกษตรปีนี้ถือว่า โดดเด่นมาก เฉลีย่ มีราคาสูงกว่าปีกอ่ น 10-15% ทีเดียวเพราะส่วนหนึ่งมาจากนโยบายรับจำนำ ราคาสิ น ค้ า เกษตรของรั ฐ บาลที่ ช่ ว ยดั น ราคา สินค้าเกษตร ทั้งข้าวข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพาราสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาข้าวที่ราคา กระโดดขึ้นมาสูงจากปีก่อนเกือบ 50% ที่มา: นสพ. โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

ทั้งนี้ จากการเดินนโยบายรับจำนำราคา สินค้าเกษตรในราคาสูง นอกจากต้องการช่วย เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรแล้ว ยังส่งอานิสงส์ ให้กับภาคการส่งออกด้วย ซึ่งคาดว่ามูลค่าการ ส่งออกสินค้าอาหารในปีนี้จะเพิ่มจากช่วงเดียว กันของปีก่อนประมาณ 5-8% สำหรับปัจจัยบวกในช่วงครึ่งปีหลังของ ภาคการเกษตรปี นี้ ยั ง พอมี อ ยู่ บ้ า งให้ ใ จชื้ น ได้ แ ก่ ราคาน้ ำ มั น ที่ มี แ นวโน้ ม ปรั บ ตั ว ลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ก็ ล้วนเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งสิ้น แต่ ปั จ จั ย เสี่ ย งต่ อ ภาคการเกษตรก็ ยั ง มี อ ยู่ นั่นก็คือ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย จนคาดเดาสถานการณ์ล่วงหน้าได้ยาก และ เสถียรภาพทางการเมือง ซึง่ ล้วนเป็นความท้าทาย ของภาคการเกษตร นอกจากนี้ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ก็เป็นแรงกดดัน อั น ใหม่ ที่ เ กษตรกรไทยจะต้ อ งเจอ เพราะถึ ง เวลานั้นจะเกิดการเคลื่อนย้ายการค้าการลงทุน และแรงงานระหว่างกันในภูมิภาคได้อย่างเสรี หากเกษตรกรไทยไม่เร่งปรับตัวในระยะยาวอีก 5 ปีข้างหน้า รับรองว่าภาคการเกษตรของไทย เจองานหนักแน่นอน เพราะเท่ากับว่าคู่แข่งของ เกษตรกรไทยจะมีมากขึ้นตามตลาดที่เปิดกว้าง มากขึ้น


(19) อย่างไรก็ตาม ผลกระทบในระยะสั้นที่ ภาคเกษตรไทยจะต้องเจอในช่วงต้นปี 2556 ที่ จะถึงนี้คือ เรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ที่ไม่เพียงแต่ภาคอุตสาหกรรมเท่า นั้นที่ได้รับผลกระทบ เพราะการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการทำนา ทำไร่ ทำสวนยางพารา ก็ล้วนแต่ต้องจ้างแรงงานทั้งนั้น และที่สำคัญ แรงงานกว่ า ครึ่ ง ที่ อ ยู่ ใ นภาคการเกษตรเป็ น แรงงานต่างชาติ ขณะเดียวกัน อองซานซูจี ผู้นำพรรค ฝ่ายค้านของพม่า ที่ประกาศหลังไปพบปะกับ แรงงานชาวพม่า ที่ อ.มหาชัย จ.สมุทรสาคร และ เยี่ยมผู้อพยพชาวพม่า ที่ อ.แม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก ว่าจะนำแรงงานพม่าที่อยู่ในไทยกลับสู่ ประเทศพม่าภายในอีก 3-4 ปีข้างหน้า ซึ่งหาก เป็นเช่นนั้นจริง ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาค การเกษตรของไทยคงต้องเจอวิกฤตการขาด แคลนแรงงานอย่างหนักแน่นอน "ยอมรับว่าแรงงานทีอ่ ยูใ่ นภาคการเกษตร ของไทยเวลานี้มีไม่น้อย และเชื่อว่าที่ซูจีพูดว่าจะ ดึงแรงงานกลับเป็นเรื่องจริงแน่นอน ตอนนี้ก็ เท่ากับว่าเราฝึกงานให้กับแรงงานพวกนี้ เพื่อ นำความรูก้ ลับไปพัฒนาประเทศตัวเอง" พรศิลป์ กล่าว พรศิลป์ กล่าวว่า ตอนนี้ภาครัฐควรเข้า ไปสำรวจจำนวนแรงงานต่างด้าวที่มีอยู่ในภาค การเกษตรของไทยว่ามีกี่คน และเมื่อถึงต้นปี 2556 ที่ค่าจ้างขั้นต่ำต้องปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งแรงงาน กลุ่มนี้ก็จะได้รับอานิสงส์ไปด้วยนั้น จะทำให้ ต้ น ทุ น การผลิ ต ของภาคการเกษตรเพิ่ ม ขึ้ น

เท่าไหร่ และกระทบอย่างไรบ้าง เพื่อนำข้อมูล ที่ได้มาวางแผน เพื่อปรับโครงสร้างการผลิต ภาคเกษตรกรรมใหม่รองรับล่วงหน้า ด้าน ชาญชัย รักษ์ธนานนท์ นายกสมาคม โรงสีข้าวไทย กล่าวว่า คำประกาศดังกล่าว ของอองซานซู จี สร้ า งความกั ง วลในฐานะผู้ ประกอบการพอสมควร เพราะทุกวันนี้อุตสาหกรรมโรงสี ใ ช้ แ รงงานต่ า งด้ า วเป็ น ส่ ว นใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นจากพม่ากัมพูชา โดยเฉพาะโรงสี ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น แรงงานไทยจะเข้าสูอ่ ตุ สาหกรรมอืน่ หมด เพราะ การทำงานในโรงสีเป็นงานหนัก ฉะนั้น การปรับตัวรับมือกับเหตุการณ์ที่ จะเกิดขึ้นข้างหน้าตามคำประกาศของอองซาน ซูจี ก็คอื การนำเครือ่ งจักรเข้ามาช่วย หากมีการ ใช้เครื่องจักรมากขึ้นงานก็เบาลง แรงงานไทยก็ คงจะเข้าสูอ่ ตุ สาหกรรมโรงสีมากขึน้ แต่ยงั เชือ่ ว่า ค่าจ้างแรงงานในไทยทีส่ งู กว่ายังเป็นจุดดึงดูดให้ แรงงานพม่าอยู่ในไทยต่อไป เหมือนกับแรงงาน ไทยที่ไปทำงานในประเทศที่ให้ค่าจ้างสูงกว่า จะเห็ น ได้ ว่ า แนวโน้ ม อุ ต สาหกรรมการ เกษตรของไทยจะเน้นใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเพื่อทดแทนการใช้แรงงาน รวมทั้งการผลิตสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อ หนีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน หรือหากปรับ ตัวไม่ได้ ทางออกเดียวคือ ต้องย้ายฐานการผลิต ไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนต่ำกว่า ซึ่งจะ ทำให้ ลั กษณะอุ ต สาหกรรมไทยมี ลั ก ษณะเป็ น การนำเข้ากึง่ สำเร็จรูปแล้วส่งออกแทนเพือ่ รักษา แรงงานในประเทศไว้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(20)

ไทยพร้อมแค่ไหนเปิดเออีซี พรศิ ล ป์ พั ช ริ น ทร์ ต นะกุ ล รองประธานกรรมการหอการค้ า ไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นหนึง่ ในวิทยากรงานสัมมนา "อนาคตประเทศไทย ในพลวัตเอเชียแปซิฟิก" วันที่ 19 มิ.ย. ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ "ผมกล้าพูดได้เลยว่าคนไทย 98% รูไ้ ม่จริง เรือ่ งเออีซี แต่ถามว่า เคยได้ยินชื่อเออีซีไหม ส่วนใหญ่ตอบว่าเคยได้ยินบ้าง แล้วเหตุ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคนที่ออกมาพูดก็มีน้อยคนที่รู้จริง ข้อมูลที่ ออกมาจึงมีแค่ว่า เออีซีจะเปิดปี 2558 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า" พรศิ ล ป์ พั ช ริ น ทร์ ต นะกุ ล รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวพร้อมเตือนว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องรู้ให้กระจ่างเรื่องการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เพราะถ้ารู้ช้าไปมากกว่านี้ ประเทศไทยจะตกที่นั่งลำบาก วิธีที่จะทำให้เกิดการรู้จริง อย่างแรกต้องเลือกคนที่รู้จริงมาให้ข้อมูล หรือใครที่รู้ไม่จริงแต่มี ภาระต้องให้ข้อมูลกับสังคม ด้วยหน้าที่บังคับควรไปทำการบ้านก่อน เพราะทุกวันนี้คนรู้ไม่จริงออก มาพูดมากไป ทำให้สังคมสับสน หลายครั้งก็ก่อให้เกิดประเด็นขัดแย้ง เนื่องจากไปเชื่อมโยงว่าเป็นเรื่องของการเสียประโยชน์ ทั้งที่ในความเป็นจริงเวทีการค้าระหว่างประเทศ ไม่เฉพาะแค่เวทีเออีซี ทุกเวทีล้วนเป็นเรื่องของ การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นสำคัญ นั่นหมายความว่าเราก็ได้ประโยชน์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคู่ค้า คัดคนให้ข้อมูลได้แล้วก็ต้อง กำหนดกลุ่มธุรกิจเป้าหมายที่วิเคราะห์แล้วว่ามีศักยภาพในการ แข่งขัน โดยเวทีเออีซีมีทั้งการเปิดเสรีทางการค้าและภาคบริการ ในแง่ของการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารของไทยแต่ละปีส่งออกได้มาก จัดได้ว่า มีศักยภาพในการผลิตและการตลาด การให้ข้อมูลต้องทำให้ครบวงจรธุรกิจ คือ ไล่ตั้งแต่เกษตรกร ในฐานะผู้ผลิตวัตถุดิบ โรงงานแปรรูป ผู้ค้า ไปจนถึงผู้ส่งออก ที่มา: นสพ. โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(21)

ข้อมูลหลักที่ต้องรู้ คือ 1. ภาษี เขาเก็บ กันอย่างไร ไม่ใช่ทุกสินค้าเก็บภาษี 0% หมด แต่ละรายการมีรายละเอียดปลีกย่อย 2. เรื่อง ถิ่ น กำเนิ ด สิ น ค้ า ต้ อ งผลิ ต ในเมื อ งไทยสั ด ส่ ว น เท่ า ไรในสิ น ค้ า นั้ น ๆ ถึ ง จะเข้ า เกณฑ์ ไ ด้ ภ าษี อัตราพิเศษ 3. มาตรฐานสินค้าแต่ละประเภท มีอะไรบ้าง และ 4. ระเบียบนำเข้า ข้อนี้หนัก ไปทางเรื่ อ งจุ ก จิ ก ด้ า นเอกสารใบขออนุ ญ าต พิธีการต่างๆ นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่ต้องควรระวัง และต้องศึกษาไว้ด้วย ขณะที่ ภ าคบริ ก ารไทยเราเด่ น ในธุ ร กิ จ ท่ อ งเที่ ย ว ซึ่ ง สามารถเชื่ อ มโยงไปถึ ง ธุ ร กิ จ การบิน สุขภาพ สปา ระบบขนส่งสาธารณะ ขนส่งเอกชน เป็นต้น กลุ่ ม นี้ ค วรต้ อ งรู้ 2 เรื่ อ งหลั ก คื อ 1. ข้อตกลงระหว่างประเทศ กำหนดให้ลงทุนได้ กี่มากน้อย และ 2. สามารถเคลื่อนย้ายคนใน สาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องได้เท่าไร ที่ ว่ า มาทั้ ง สองกลุ่ ม นี้ จั ด ว่ า เป็ น กลุ่ ม นำ ร่องก่อน ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มอื่นๆ ไม่ต้อง สนใจ เพราะการค้าเสรีเวลานี้มีผลต่อทุกกลุ่ม ยกตัวอย่าง ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเพื่อขาย

ในประเทศ ต่อไปจะมีสนิ ค้าจากประเทศเพือ่ นบ้าน เข้ามาเป็นทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น ทั้งกระเป๋า เสื้อผ้า ของกิน ของใช้สารพัด หากไม่เตรียม รับให้ดีก็มีโอกาสถูกตีตลาดได้ง่าย อย่าคิดแต่ว่า สินค้าไทยคุณภาพเหนือกว่า ทุกวันนีส้ นิ ค้าจากเวียดนามพัฒนาคุณภาพ ไปมาก แถมได้เปรียบตั้งราคาถูกว่าสินค้าไทย พรศิลป์ กล่าวอีกว่า หลายคนไปเข้าใจผิดว่า คงมีแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือบรรดาผู้ ส่งออกเท่านั้นที่พร้อมลุยเออีซี ในความเป็นจริงรายใหญ่ก็อาศัยการเก็บ ข้อมูลไปเรือ่ ยๆ แล้วก็ปรับตัวตามสถานการณ์ ไม่ ใช่มีเงินอย่างเดียวแล้วจะเข้าใจเรื่องได้ทั้งหมด ดังนั้น ใครพร้อมหรือไม่พร้อมขึ้นอยู่กับ ความใส่ใจวิ่งเข้าหาข้อมูลมากกว่า ยิ่งได้ข้อมูล มากก็จะเอื้อต่อการปรับตัวได้เร็ว เราไม่จำเป็น ว่าต้องตั้งหน้าตั้งตาแข่งอย่างเดียว การเปิดเสรี สามารถช่วยให้เรามีเครือข่ายทางธุรกิจเพิ่มขึ้น มี พั น ธมิ ต รเข้ า มาเสริ ม จุ ด แข็ ง ให้ ไ ด้ ลำพั ง ผู้ ประกอบการรายใหญ่ทกุ วันนีก้ ด็ น้ิ รนหาเครือข่าย จากรายย่อยเช่นกัน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(22)

"ถ้าเราอยูใ่ นกลุม่ ทีต่ อ้ งออกไปทำการค้าออกไปลงทุน ก็ตอ้ งคิดว่า ทำไงให้ออกไปแล้วชนะ ส่วนกลุ่มที่ไม่ออกไปก็ต้องหาที่มั่น ต้องคิดว่าทำไงให้เขาเข้ามาแล้วแพ้เราแน่ นั่นแหละ เราถึง จะรอด" ในส่วนของผลกระทบที่จะมีต่อภาคประชาชน พรศิลป์มองว่า หลังเปิดเสรี คุณภาพชีวิต ของประชาชนจะดี ขึ้ น เพราะมี ท างเลื อ กในการอุ ป โภคบริ โ ภคหลากหลาย จากการแข่ ง ขั น ที่มีมากขึ้น ทั้งในเรื่องของราคาคุณภาพและนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งในตัวสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นผล ที่เห็นได้ชัดมากที่สุด ฉะนั้น ในช่วงเวลาที่เหลือนับจากนี้ไปก่อนเข้าสู่พันธกิจเออีซีปี 2558 พรศิลป์ ทิ้งท้ายว่า ถ้าทุกคนพร้อมใจกันเร่งเครื่องสถานะการแข่งขันของไทยในเวทีนี้ไม่มีรั้งท้ายแน่นอน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


รุมชาวนาไทย

(23)

สารพัดปัญหา

เมื่ อ ถามชาวนาไทยถึ ง การเปิ ด เขต การค้าเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ส่วนใหญ่ตอบแค่ว่า เคยได้ยิน แต่ไม่รู้ถึงข้อมูลที่แท้จริงว่า เวทีที่ว่า จะเป็นโอกาส หรือวิกฤตสำหรับพวกเขากันแน่ กรมการข้ า ว ภายใต้ สั ง กั ด กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดเสวนา "ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนและการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมอิ ากาศ: วิกฤตหรือโอกาสของข้าวไทย" ขึน้ มา โดยมีตัวแทนตัวแทนทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการมาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น เริม่ จาก ยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวง พาณิชย์ กล่าวว่า การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ถือเป็นโอกาสทองที่จะสร้างฐานใน ด้านการผลิตในอนาคตให้กบั เกษตรกรไทย แต่ก็ อยูท่ วี่ า่ เกษตรกรไทยจะปรับตัวและหยิบโอกาสนี้ มาใช้ได้อย่างไร อย่ า งไรก็ ดี โดยส่ ว นตั ว ห่ ว งเรื่ อ งการ ตลาดมากกว่าการผลิต เพราะไม่เชือ่ ว่า เมือ่ เปิด เออีซแี ล้วจะทำให้ไทยเสียแชมป์สง่ ออกข้าวสูงสุด ในอาเซียนไป ตรงกันข้ามกลับจะทำให้ตลาด กว้างมากขึน้ ไม่ใช่การแข่งขันกันเอง แต่เป็นการ บูรณาการความร่วมมือแบบพันธมิตร เสริมสร้าง ความแข็งแกร่งให้แก่กันและกัน

ในอนาคตเมื่อมีการจัดตั้งสมาพันธ์โรงสี ข้าวและผู้ค้าข้าวอาเซียนร่วมกัน จะช่วยอุดช่อง โหว่ทคี่ นไทยเป็นห่วงเรือ่ งการสวมสิทธิโครงการ จำนำข้าวได้ เพราะจะมีการช่วยตรวจสอบซึง่ กัน และกัน ตลอดจนเป็นหูเป็นตาเรือ่ งการปลอมปน คุณภาพข้าวเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ด้าน พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รอง ประธานกรรมการหอการค้ า ไทยและสภา หอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แรงกดดัน ที่ เ กษตรกรไทยจะต้ อ งเจอและต้ อ งทำความ เข้ า ใจเมื่ อ มี ก ารเปิ ด เสรี เ ออี ซี ใ นปี 2558 มี 3 เรือ่ งหลักคือ 1. เรือ่ งภาษี เพราะเมือ่ พิจารณา ให้ดีจะเห็นว่าภาษีไม่ได้ลดลงเหลือ 0% ทันที ตามทีเ่ ข้าใจกัน แต่นนั่ เป็นเพียงเป้าหมายทีต่ งั้ ไว้ เท่านั้น ซึ่งจะชะล่าใจไปไม่ได้ และต้องติดตาม อย่างใกล้ชดิ เพราะยังมีการคงเงือ่ นไขการนำเข้า สินค้าบางประการไว้ 2. ถิ่นกำเนิดสินค้า ที่จะเป็นช่องให้เกิด การฉ้ อ โกงกั น มากขึ้ น เพราะตรวจสอบยาก บอกได้เลยว่า การค้าชายแดนที่ปัจจุบันมีมูลค่า 1 แสนล้านบาทต่อปีนนั้ ก็ไม่ใช่การค้าเสรีภายใต้ เออีซี หากประเทศเพื่อนบ้านนำเรื่องถิ่นกำเนิด มาใช้กจ็ ะลำบากแน่นอน และ 3. เรือ่ งมาตรฐาน สินค้า ที่ถือว่าเป็นอีกมาตรการกีดกันทางการ ค้าที่ไม่ใช่ภาษี (เอ็นทีบี)

ที่มา: นสพ. โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(24) ขณะเดี ย วกั น สภาพภู มิ อ ากาศโลกที่ เปลี่ยนแปลงไปนั้น ก็ถือเป็นความท้าทายใหม่ ที่เกษตรกรไทยจะต้องเจอ เป็นเรื่องที่กรมการ ข้าวจะต้องเร่งวางยุทธศาสตร์ใหม่หมด ว่าต่อไป จะทำอย่างไรให้การปลูกข้าวของไทยใช้น้ำน้อย ที่สุด มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน ปริมาณต่ำที่สุด นอกจากนี้ยังรวมถึงระบบโลจิสติกส์ด้วย เพราะหากทำไม่ได้ก็จะโดนเรียก เก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น ในอนาคตก็มี แนวโน้มว่าค่าระหว่างเรือ (เฟด) ขนส่งสินค้า จะแพงขึ้นด้วย นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัย เพือ่ การพัฒนาประเทศไทย (ทีดอี าร์ไอ) กล่าวว่า จากการวิ จั ย มี ก ารทำนายว่ า ในอนาคตสภาพ ภูมิอากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ อุณหภูมิสูงขึ้น แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อ ผลผลิตและคุณภาพของสินค้าทางการเกษตร โดยตรง เพราะอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้การเกิด การสั่งสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผล ต่อการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งจะทำให้การ เติบโตของพืชผิดเพี้ยนไป อย่ า งไรก็ ต าม มองว่ า ชาวนาไทยเสี ย เปรียบประเทศเพื่อนบ้าน เพราะพื้นที่เพาะปลูก ทีอ่ ยูใ่ นเขตชลประทานมีนอ้ ย ทำให้มปี ญ ั หาเรือ่ ง น้ำใช้ในการเพาะปลูกและนโยบายจากภาครัฐ ในด้านการบริหารจัดการน้ำที่ยังไม่มี และไม่ดี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

เพียงพอ เนือ่ งจากมีการนำงบประมาณทีม่ ไี ปทุม่ กับการรับจำนำราคาสินค้าเกษตรมากกว่าการ วิจัยและพัฒนา จะเห็นได้ว่า งบประมาณที่ได้รับในการ วิจัยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการ ผลิตผลผลิตทางการเกษตรของไทยนั้นอยู่ใน ระดับต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้รับงบประมาณวิจัยเพียงปีละ 200 ล้าน บาท หรือคิดเป็น 2% จากมูลค่าการส่งออก สินค้าเกษตรทั้งหมดที่ระดับ 2 แสนล้านบาท ขณะนี้โอกาสเกิดขึ้นแล้วที่จะปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรใหม่ เพราะยังมีเวลาอีก 2-3 ปี ทีจ่ ะเตรียมตัวรับมือกับปัญหาภัยแล้งทีจ่ ะเกิดขึน้ อย่างรุนแรง ในการเข้าไปจัดการระบบน้ำและ จัดสรรสิทธิในการใช้น้ำระหว่างภาคเกษตรและ ภาคอุตสาหกรรม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแย่งน้ำ กันเหมือนที่ผ่านมา กระนั้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ สำเร็จ แต่รฐั บาลก็จำเป็นทีจ่ ะต้องทำและผลักดัน ให้เกิดขึ้น เพราะถ้าหากรัฐปล่อยให้เกษตรกร อยู่ กั น เองตามยถากรรม พอถึ ง เวลาก็ ห างบ ประมาณมาจ่ายชดเชยให้ก็คงไม่ได้ เพราะหาก เป็นเช่นนั้นจริงเกษตรกรไทยก็คงต้องเจอภาระ หนักทีจ่ ะต้องถีบตัวเองให้แข็งแรงพอทีจ่ ะแข่งขัน กับตลาดอาเซียนที่กว้างขึ้นนี้ให้ได้

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555




(25)

วาระแห่งชาติเศรษฐกิจไทยใน AEC กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วม กับหอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคม ธนาคารไทย จั ด สั ม มนา "วาระแห่ ง ชาติ เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ในประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน" ขึ้นในวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมี นางสาวยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยจัดแบ่งการสัมมนาออกเป็น 3 ห้องเพื่อระดมความคิดจากทุกภาคส่วน จัดทำ เป็น "สมุดปกขาว" เสนอต่อรัฐบาลในโอกาส ต่อไป

แบงก์ห่วงบริการข้ามพรมแดน นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้าง อนาคตของประเทศ (กยอ.) กล่าวว่า ไม่เป็นห่วง ว่าประเทศไทยจะปรับตัวรับ AEC ไม่ได้ เพราะ ขณะนี้ไทยได้ก้าวล้ำหน้าประเทศอื่นแล้ว ไทยมี การปรับตัวเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปมานาน แล้ว ดังนัน้ การเปิด AEC ใน 3 ปีจะไม่เห็นภาพ ความเปลีย่ นแปลงทีร่ นุ แรง แต่หลังจากนัน้ ในอีก 10-15 ปีขา้ งหน้า เชือ่ ว่าการลงทุนจะเป็นหัวใจ หลักของการ ขับเคลือ่ นเศรษฐกิจในอาเซียน แต่ ไทยถื อ ว่ า เป็ น ประเทศที่ มี ค วามพร้ อ มในด้ า น เม็ดเงินออมเพราะมีการเก็บทุนสำรองอย่างใน ช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นควรใช้โอกาสในการเปิด AEC ในการเชื่อมต่อการลงทุนไปยังอาเซียน

"เรามีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นบริษัทข้าม ชาติในอาเซียนได้ แต่ถา้ หากไม่ลงทุนค่าเงินบาท จะแข็งค่าขึน้ อีกทัง้ การรวมกลุม่ AEC ยังจะช่วย เพิ่มความเข้มแข็งในการเจรจาทางการค้ากับ ประเทศนอกกลุ่ม เช่น อเมริกา ยุโรป และจีน เพราะจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าหารือแบบ ทวิภาคี" นายธวั ช ชั ย ยงกิ ต ติ กุ ล เลขาธิ ก าร สมาคมธนาคารไทยกล่าวว่า ภาคการธนาคาร มีความเสี่ยงสูง เพราะหากดำเนินนโยบายการ ลงทุนผิดพลาดย่อมเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ ขณะที่การเปิดเสรีทางการเงินจำเป็นต้องคัด เลือกคุณภาพของสถาบัน การเงินที่จะไปเปิด สาขาในต่างประเทศ รวมถึงผลิตภัณฑ์ การ เงินใหม่ที่เข้ามา สิ่งที่น่าห่วงคือ ไทยยังขาด การวางมาตรการ ดูแลการบริการข้ามพรมแดน แบบอื่น เพราะคุ้นเคยเพียงการให้บริการที่จะ ต้ อ งเข้ า มาเปิ ด สาขาในประเทศผู้ รั บ บริ ก าร เท่านั้น แต่ขณะนี้การให้บริการข้ามพรมแดน รูปแบบอื่นเกิดมีความนิยมมากขึ้น

มองหาพันธมิตรธุรกิจ ต่อจากนั้นในช่วงบ่ายได้มีการอภิปราย แบบจัดห้องคู่ขนานเป็น 3 ห้องคือ ห้องที่ 1 อุตสาหกรรมไทย ความท้าทายในตลาดอาเซียน ห้องที่ 2 ธุรกิจบริการไทย เตรียมความพร้อม เพื่ อ เติ บ โต และห้ อ งที่ 3 ธุ ร กิ จ เกษตรและ

ที่มา: นสพ. ประชาชาติธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 14-วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(26) อาหารไทย รากฐานแห่งการเติบโตในอาเซียน มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานสมาคม อุตสาหกรรมสิ่งทอไทย กล่าวถึงการปรับตัว กับความสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยว่า การตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อตลาด (speed to market) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด วงการสิ่งทอ และแฟชั่นโลก ขณะนี้ได้เปลี่ยนจากการผลิต สินค้าตามฤดูกาลทั้ง 4 ตาม ประเทศตะวันตก มาเป็นการออกคอลเล็กชัน่ ทีถ่ มี่ ากขึน้ แบรนด์ดงั อย่าง ZARA มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในทุกๆ 2 สัปดาห์ ส่วนทิศทางในการเดินหน้าร่วมกัน ในอาเซี ย น ไทยและอิ น โดนี เ ซี ย สามารถเล่ น บทบาทเป็นผูผ้ ลิตต้นน้ำและ ส่งไปตัดเย็บในกลุม่ ประเทศ CLMV ได้ นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธาน บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ทิศทางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ต้องปรับ ตัวรองรับการผลิตสินค้าทีม่ มี ลู ค่าเพิม่ เนือ่ งจาก ผลกระทบการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทย ทั้งนี้ จุดแข็งของไทยในอุตสาหกรรมนี้คือ ไทยยังคง เป็นฐานการผลิตที่เหนียวแน่น และยังคงมีแรงงานที่มีทักษะสูง ในแง่การปรับตัวภาคธุรกิจ สู่ AEC ต้องอาศัยการปรับตัวของบุคลากรใน ประเทศและเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพ ของตนโดยไม่จำเป็นต้องรอรัฐบาลเพียงอย่าง เดียว ส่วน นายพงศ์กานต์ หงสกุล ผู้จัดการ ส่ ว นอาวุ โ ส-การตลาด บริ ษั ท ทาทา สตี ล (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า ไทย และชาติใน อาเซียนควรมองหาโอกาสในการร่วมมือทาง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

ธุ ร กิ จ นำจุ ด ดี - ด้ อ ยมาใช้ เ พื่ อ พั ฒ นาภู มิ ภ าค ร่วมกัน รวมทั้งมองถึงโอกาส ของการรวมตัว เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ ทางเศรษฐกิจ

บริการต้องเตรียมบุคลากรให้พร้อม ม.ล.หทั ย ชนก กฤดากร กรรมการ บริหาร Accor กรุ๊ป และ Pacific Asia Travel Association (PATA) กล่าวว่า ในธุรกิจท่องเทีย่ ว การเตรียมพร้อมจะเกี่ยวข้องกับสายการบินโรงแรมธุรกิจท่องเที่ยว ต้องรู้ว่าเรามีอะไรใน บ้านของเรา เรื่องบุคลากร จะต้องคำนึงถึง ภาษา ทัศนคติ และบุคลิกภาพ ต้องพัฒนาคน สู้ กั บ แรงงานในตลาด AEC ให้ ไ ด้ ขณะที่ นายภาณุมาศ ศรีศุข ประธานคณะกรรมการ พั ฒ นาระบบโลจิ ส ติ ก ส์ สภาหอการค้ า แห่ ง ประเทศไทยมองว่ า แม้ ไ ทยจะมี ค วามพร้ อ ม ในการเป็นฮับของ AEC แต่กฎระเบียบเกี่ยวกับ ธุรกิจโลจิสติกส์ยงั ไม่แข็งแรงและไม่มกี ารร่วมมือ กันระหว่างภาครัฐกับเอกชน ส่วนการทำธุรกิจ โลจิ ส ติ ก ส์ ใ นต่ า งชาติ จ ะต้ อ งมี ค วามสั ม พั น ธ์ ระหว่างประเทศ ทีด่ แี ละมีฐานการส่ง หรือบริษทั อยู่ที่ประเทศนั้นๆ จึงจะเกิดผลที่ดี นายณกรณ์ กรณ์หริ ญ ั กรรมการผูจ้ ดั การ และประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วุฒิศักดิ์ คลินกิ เวชกรรม จำกัด กล่าวว่า ในธุรกิจสุขภาพ และความงาม ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม การ จะไปทำที่ ต่ า งประเทศนั้ น เราต้ อ งรู้ เ ขารู้ เ รา เรามีอะไรและเขาต้องการอะไร การศึกษาและ วางแผนก่อนไปลงทุนเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเปิด AEC หรือไม่ก็ตาม


(27) นายกฯ เปิดงาน AEC: วาระแห่งชาติ-นางสาว ยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงาน "วาระแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ในประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน" ด้วยการให้คำมั่นสัญญาว่า รัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนทุกภาคส่วนในการ ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558

ลดภาษี ไม่ ใช่คำตอบสุดท้าย นายพรศิ ล ป์ พั ช ริ น ทร์ ต นะกุ ล รอง ประธานกรรมการหอการค้ า ไทย กล่ า วถึ ง จุดอ่อนของไทยตอนนี้ก็คือ การรับรู้เรื่อง AEC ในระดับที่แตกต่างกันของผู้ประกอบการและ การขาดการวางยุทธศาสตร์ จึงมุ่งเน้นเฉพาะ การลดภาษีเป็น 0% แต่การลดภาษีไม่ใช่จุด สุ ด ท้ า ยเพราะยั ง มี อุ ป สรรคด้ า นอื่ น ที่ อ าจจะ ทำให้ไม่สามารถเปิดตลาดได้ เช่น การวางกฎ ระเบียบ หรือมาตรฐานสินค้าอาเซียนในแต่ละ ประเทศเป็นอย่างไร ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องย้อนกลับมาดู ระบบภายในประเทศ ควรมีการสำรวจการผลิต สิ น ค้ า เกษตรที่ มี ทั้ ง หมด จั ด ทำแผนการใช้ ประโยชน์ จ ากพื้ น ที่ ที่ มี อ ยู่ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ พื ช เกษตรในแต่ละชนิดว่าควรมีผลผลิตเท่าไร จะ จั ด สรรทรั พ ยากรที่ มี อ ยู่ อ ย่ า งไร และราคา ผลผลิตควรเป็นเท่าไร เพื่อภาคอุตสาหกรรม จะได้กำหนดแผนงานล่วงหน้าได้ และจัดสรร การใช้เงินอุดหนุนไม่ให้เกินกรอบ WTO ที่ได้ กำหนดไว้ นายธรรมศักดิ์ จิตติมาพร กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท กรีนสปอต จำกัดกล่าวว่า ไทยยังต้องระวังจุดอ่อน 2 ด้านคือ การรวม

เป็นตลาดเดียวมีประชากร 600 ล้านคน ไม่ใช่ ปั จ จั ย บวกของการขยายตลาดไปยั ง อาเซี ย น เสมอไป แต่จำเป็นต้องมีการศึกษาพฤติกรรม ของผู้ บ ริ โ ภคในแต่ ล ะตลาดอย่ า งรอบคอบ กับจุดอ่อนที่ 2 การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นหลังจาก การเปิ ด เสรี อ าจจะมี น มถั่ ว เหลื อ งจากต่ า ง ประเทศ ซึ่งมีมากกว่า 40 แบรนด์ทะลักเข้ามา กระทบภายในที่เดิมแข่งขันกันเพียง 3 แบรนด์ และที่ ส ำคั ญ รั ฐ บาลยั ง มี ก ารกำหนดราคา ควบคุมที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ รายเล็กจนทำให้แข่งขันกับสินค้า นำเข้าไม่ได้ ขณะที่ นายเพชร พะเนียงเวทย์ ผู้ช่วย ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ 2 บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การขยายตลาดใน กลุม่ อาเซียนหลังลดภาษียงั ต้องเผชิญการแข่งขัน ที่ รุ น แรงกั บ สิ น ค้ า เจ้ า ตลาดในแต่ ล ะประเทศ จึ ง ต้ อ งมี ก ารศึ ก ษาข้ อ มู ล การทำตลาดอย่ า ง รอบคอบ โดยเฉพาะการกำหนดมาตรฐานใน แต่ ล ะประเทศที่ อ าจเป็ น ข้ อ จำกั ด ทางการค้ า ยกตัวอย่างเช่น สินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีการ แข่งขันสูงในสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ มี สินค้าเจ้าตลาดเพียงบรูไน และลาวทีย่ งั มีโอกาส จะเข้าไปทำตลาดได้ ซึ่งทุกบริษัทต่างก็มุ่งหน้า เข้าไปเช่นกัน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(28)

ห้องเย็นดีเดย์ซื้อกุ้งขาวปลายมิ.ย.นี้

'ผณิศวร' จี้ผู้เลี้ยงรวมกลุ่มตั้งกองทุนแก้ราคาตก โครงการแทรกแซงรับซื้อกุ้งขาวเข้าห้องเย็น โดย คชก. อุดหนุน กก.ละ 20 บาท คาดรับซือ้ ได้ปลายเดือน มิ.ย. นี้ รองอธิบดีกรมประมง เผย ต้องมีใบกำกับการขนย้ายลูกกุง้ จากฟาร์มอนุบาลมาฟาร์มเลีย้ งประกอบการ ขายให้หอ้ งเย็นด้วย ด้านนายกสมาคมแช่เยือกแข็งไทยชีต้ อ้ งตัง้ กองทุนเพือ่ แก้ปัญหาระยะยาว และห้องเย็นต้องไม่ขาดแคลน ผณิศวร ชำนาญเวช

นายเชิ ด ศั ก ดิ์ วงษ์ ก มลชุ ณ ห์ รองอธิ บ ดี ก รมประมง เปิ ด เผยว่ า หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติวงเงินจ่ายขาด 537 ล้านบาท เพื่อชดเชยราคากุ้งขาวแวนนาไมให้ กลุม่ เกษตรกรผูเ้ พาะเลีย้ งกุง้ ชมรมและสหกรณ์ผเู้ พาะเลีย้ งกุง้ กก. ละ 20 บาท สำหรับกุง้ ขนาด 40-80 ตัว/กก. ขณะนีก้ รมประมง จังหวัดทีม่ กี ารเลีย้ งกุง้ ขาว ห้ อ งเย็ น และเกษตรกรกำลั ง ดำเนิ น การจั ด ตั้ ง คณะกรรมการกลางเพื่ อ ขั บ เคลื่อนโครงการนี้ ส่วนในต่างจังหวัดให้ประมงจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่ง เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนฟาร์ม มาตรฐาน ฟาร์มที่ได้มาตรฐาน GAP จึงคาดว่าห้องเย็นที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะรับซื้อ กุ้งขาวจากเกษตรกรได้ประมาณปลายเดือนนี้เป็นต้นไป ทางคณะกรรมการกลางจะมี ป ระกาศแจ้ ง ให้ เ กษตรกรผู้ เ พาะเลี้ ย ง มาแจ้งปริมาณการขายกับห้องเย็นในพื้นที่ก่อน สิ่งสำคัญที่เกษตรกรจะขาย กุ้งขาวให้ห้องเย็นได้ ต้องมีใบ FMD หรือใบกำกับการขนย้ายลูกกุ้งจาก ฟาร์มอนุบาลลูกกุ้งมาที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงของตนเองมาแสดงด้วย ซึ่งเอกสาร ดังกล่าวจะมีการระบุปริมาณลูกกุ้งว่า เกษตรกรลงเลี้ยงไปเท่าใดมายืนยัน ให้ได้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตาม มูลค่ากุ้งที่เกษตรกรจะขาย ต้องไม่เกินรายละ 2 ล้านบาท ทางด้าน ดร. ผณิศวร ชำนาญเวช นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า การทีร่ ฐั บาลยืน่ มือมาแทรกแซงราคากุง้ นัน้ เป็นเพียงมาตรการชัว่ คราว ถ้าจะให้เกิดเป็นผลดีระยะยาว รัฐบาลควรช่วยให้ต้นทุนการเลี้ยงกุ้งต่ำลง ทาง สมาคมต้องมีห้องเย็นที่เพียงพอ ส่วนผู้เลี้ยงกุ้งต้องมีกองทุนช่วยเหลือ

ที่มา: นสพ. ประชาชาติธุรกิจ วันจันทร์ที่ 18-วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(29) ทางสมาคมเห็นว่าทางออกที่ดีต้องมีการก่อตั้งกองทุนในแต่ละชมรม แต่ละกลุ่มอาจจะเก็บ เงิน 1% ของรายได้จากการขายกุ้งเข้ากองทุน โดยแต่ละชมรมมีเส้นมาตรฐานรายได้ที่ขีดไว้ หากขายได้ราคาต่ำกว่าที่กำหนด ให้กองทุนช่วย แต่หากขายได้เกินกว่าเส้นกำหนดให้เก็บเงิน เข้ากองทุน ถ้าทำอย่างนี้จะเห็นภาพว่ากลุ่มไหนเลี้ยงเก่ง-ไม่เก่ง และให้สนับสนุนกลุ่มที่เลี้ยงเก่ง ส่วนคนที่เลี้ยงไม่เก่ง ทำแล้วต้นทุนสูง ขายแล้วขาดทุนให้เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นแทน ปัญหาของกุ้งขณะนี้คือ ยังไม่มีออร์เดอร์จากลูกค้า และห้องเย็นไม่เพียงพอ ในปีนี้จะยังไม่มี การซื้อกุ้งเก็บ แต่จะใช้ระบบกองทุนดังที่กล่าวมาแล้ว ความคืบหน้าล่าสุดมีการประชุมและตีเส้น ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยกองทุนนี้จะเป็นกองทุนทดลอง หากทำแล้วได้ผลดีจะมีการขยายผลในปีต่อไป ให้แต่ละชมรมแต่ละกลุ่มนำไปทำกันเอง นายสุวัฒนชัย วิเศษเจริญ ผู้จัดการชมรมกุ้งสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ราคากุ้งขาวแวนนาไม ช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้เริ่มทรงตัว ระดับราคาขนาด 60 ตัว/กก. อยู่ที่ กก. ละ 120 บาท และ ขนาด 70 ตั ว /กก. อยู่ ที่ กก. ละ 115 บาท เนื่ อ งจากกุ้ ง ขาวออกสู่ ต ลาดมากช่ ว งเดื อ น เมษายน-พฤษภาคม ที่ผ่านมา และจะออกสู่ตลาดมากอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ และช่วงนี้เกษตรกร เริ่มพักบ่อเลี้ยงกุ้งกันมากขึ้น เนื่องจากราคาไม่ดี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(30)

TVO ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ได้ฤกษ์เปิดตัวผูบ้ ริหารของบริษทั น้ำมัน พื ช ไทย จำกั ด (มหาชน) หรื อ TVO ต่ อ สาธารณะอีกครั้งหนึ่ง หลังจากปี 2554 ที่ ผ่ า นพ้ น ไป TVO เจอภั ย ธรรมชาติ เ ล่ น งาน ตั้ ง แต่ ต้ น ปี จ นถึ ง ท้ า ยปี โดยช่ ว งต้ น ปี น้ ำ มั น ปาล์มขาดแคลนหนักจากภัยแล้งถล่มสวนปาล์ม ในภาคใต้ การผสมเกสรตามธรรมชาติมีปัญหา จึ ง เกิ ด การขาดแคลน ทำให้ น้ ำ มั น ถั่ ว เหลื อ ง ได้รับอานิสงส์เต็มๆ มีสินค้าเท่าไรก็ไม่พอขาย แต่ช่วงท้ายปี เกิดภาวะน้ำท่วมหนัก การนำเข้า เมล็ดถั่วเหลืองที่ต้องขนถ่ายจากเรือใหญ่ลงเรือ ลำเลี ย งเพื่ อ เข้ า เที ย บท่ า เรื อ ของโรงงานสกั ด น้ ำ มั น ถั่ ว เหลื อ งริ ม แม่ น้ ำ นครชั ย ศรี (ท่ า จี น ) มี ปั ญ หาเนื่ อ งจากน้ ำ ขึ้ น สู ง เรื อ ลำเลี ย งติ ด คอสะพาน จึงต้องเลี่ยงไปขนส่งทางรถบรรทุก ที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นแทน ทัง้ นี้ นายวิบลู ย์ โลหะชุนสิริ ผูอ้ ำนวยการ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ TVO กล่าวว่า บริษัท อยู่ในธุรกิจสกัดถั่วเหลืองมานานถึง 40 ปี และ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยเมือ่ 20 ปีทแี่ ล้ว ปัจจุบนั มีโรงงานทัง้ หมด 4 โรงตัง้ อยูใ่ กล้เคียงกันที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีกำลังการสกัดน้ำมันถั่วเหลือง และอื่นๆ วันละ 6,000 ตัน ใหญ่ที่สุดในเอเชีย (ไม่รวมจีน)

ถั่ ว เหลื อ งที่ น ำมาสกั ด คิ ด เป็ น ต้ น ทุ น สู ง 85-90% เมื่อนำถั่วเหลืองไปสกัดจะได้น้ำมัน ถั่วเหลือง 18% และกากถั่วเหลือง 70-77% กากถั่ ว เหลื อ งของบริ ษั ท มี โ ปรตี น สู ง กว่ า กาก ถั่วเหลืองทั่วไปประมาณ 2-3% เพราะเป็นการ สกัดด้วยเครื่องจักรคุณภาพสูง และสกัดในไทย ตลาดภายในจึงมีความต้องการมาก โดยกลุ่ม ปศุสัตว์ครบวงจร อาทิ ซีพี เบทาโกร จะนำไป ผสมกากถั่วเหลืองที่นำเข้า อีกส่วนหนึ่งจะขาย ให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงหมูที่ใหญ่ที่สุดของไทยในแถบ นครปฐม และราชบุรี นอกจากนี้ บริษัทยังได้เปรียบคู่แข่งใน ธุรกิจเดียวกันคือ สามารถสัง่ นำเข้าถัว่ เหลืองมา สกัดได้ครัง้ ละ 1 ลำเรือใหญ่ ทำให้ลดต้นทุนได้มาก เมื่อเรือมาจอดที่เกาะสีชังก็สามารถขนถ่ายลง เรือลำเลียงมาเทียบท่าหน้าโรงงานของบริษัท ที่นครชัยศรีได้เลย อีกทั้งเมื่อสกัดเป็นน้ำมัน ถัว่ เหลืองและกากถัว่ เหลืองก็อยูใ่ กล้ผบู้ ริโภคและ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ "ปี 2554 ที่ผ่านมารายได้ของบริษัท มาจากกากถั่วเหลืองถึง 65% น้ำมันถั่วเหลือง 15% ทีเ่ หลือมาจากการสกัดน้ำมันจากเมล็ดพืช ชนิดอืน่ ๆ ขายเพือ่ สนองผูบ้ ริโภคทีต่ อ้ งการน้ำมัน พืชชนิดอื่นนอกจากถั่วเหลือง รวมทั้งหมดแล้ว มีรายได้รวม 2.35 หมื่นล้านบาท" นายวิบูลย์ กล่าวและเสริมว่า

ที่มา: นสพ. ประชาชาติธุรกิจ วันจันทร์ที่ 18-วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(31) ช่องทางการจำหน่ายน้ำมันถัว่ เหลืองของ บริษัท จะขายให้กลุ่มอุตสาหกรรมประมาณ 60% เช่น อุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องของ ไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลุ่มสีทาบ้าน และอีก 40% ขายให้ผู้บริโภค ซึ่งบริษัท เอซีนีลเส็น สำรวจและวิจัย ออกมาบอกว่า น้ำมันถั่วเหลือง ตราองุ่นที่มีส่วนแบ่งตลาด 45% ในปี 2550 ล่าสุดปี 2554 มีส่วนแบ่งถึง 68% ตลาดกากถั่วเหลืองในประเทศ บริษัท เป็นผู้เล่นรายใหญ่คิดเป็นปริมาณ 1 ใน 3 ของ ตลาดรวม อี ก 2 ใน 3 จะเป็ น กลุ่ ม ธุ ร กิ จ ปศุ สั ต ว์ ค รบวงจรที่ น ำเข้ า กากถั่ ว เหลื อ งจาก ต่างประเทศมาผลิตอาหารสัตว์ เช่น กลุ่มซีพี เบทาโกร ฯลฯ ขณะที่ นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม รอง กรรมการผู้จัดการ TVO กล่าวว่า คีย์ซักเซส ของบริษัทคือ ทำเลที่ตั้งโรงงาน ขนาดกำลัง การผลิตที่ใหญ่ สามารถสั่งซื้อถั่วเหลืองจาก อเมริกาใต้ หรือสหรัฐอเมริกาได้ทุก 20 วัน เทียบกับรายเล็กที่ต้องใช้เวลา 2-3 เดือนจึงจะ ซื้อได้ 1 ลำเรือแล้วทำให้แผนบริหารการผลิต การขายทำได้ง่ายกว่า เพราะต้องไม่ลืมว่า เมื่อ ขนถั่วเหลืองขึ้นเรือที่อเมริกาใต้มาไทย 30 วัน บวกกั บ การผลิ ต และสต๊ อ กเพื่ อ ขายจะใช้ เ วลา ประมาณ 45-60 วัน จึงมีความเสีย่ งเรือ่ งความ ผันผวนของราคา ฉะนัน้ นอกจากทีมงานบริหารความเสีย่ ง ที่มีประสบการณ์นานแล้ว ยังต้องมีเครื่องมือ ป้องกันความเสีย่ งช่วย โดยเฉพาะเรือ่ งเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องสามารถ เลือกซื้อได้หลายทางเพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกเหนือจากการมีทีมงานคอยตรวจสอบการ ซื้อขายในตลาดล่วงหน้าชิคาโกตลอดเวลา

ปีนี้การขายกากถั่วเหลืองโตขึ้นมาก จาก การที่สหภาพยุโรป (อียู) ไฟเขียวให้ไทยส่งไก่สด แช่แข็งเข้ามาได้ 6 หมื่นตัน ทำให้อุตสาหกรรม อาหารสัตว์โต และบริษัทลดสต๊อกในการขาย จาก 40-50 วัน เหลือประมาณ 20 วัน คาดว่า รายได้บริษัทจะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5% จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 2.35 หมื่นล้านบาท และกำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นจาก 3% ในปีที่ผ่านมา เป็น 4-5% ในขณะที่ crush margin หรือสเปรด กากถัว่ เหลือง-น้ำมันถัว่ เหลือง เทียบจากเมล็ด ถั่วเหลืองของบริษัทดีขึ้นตลอด เช่นเดียวกับที่ crush margin โดยเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น ตันละ 25 เหรียญสหรัฐฯ แล้ว เทียบกับปีที่ ผ่านมา 15-16 เหรียญสหรัฐฯ เท่านัน้ เพราะ มีการคาดการณ์กนั ว่าผลผลิตถัว่ เหลืองทัว่ โลก ปีนี้จะลดลงประมาณ 20 ล้านตัน นายสุเมธ กล่าว ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(32)

โครงการรักษาเสถียรภาพ

ราคากุ้งขาวแวนนาไมฯ ปี 2555 จากการพยายามติดตามความคืบหน้า มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง แก้ไข วิกฤติปัญหาราคากุ้งตกต่ำของภาครัฐ ล่าสุด มีรายงานข่าวปรากฎออกมาในสื่อ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือ เกษตรกร (คชก.) ซึง่ มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน การประชุมฯ มีมติเห็นชอบกรอบการทำงาน และอนุมัติ “โครงการรักษาเสถียรภาพราคา กุ้งขาวแวนนาไม โดยระบบตลาดเครือข่าย แบบกลุ่ม (Shrimp Cluster) ปี 2555” โดย อนุมัติงบประมาณ 562 ล้านบาท เพื่อเข้า แทรกแซงราคากุง้ ขาวแวนนาไมจำนวน 3 หมืน่ ตัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน วิธีแทรกแซงคือ รัฐบาลจะรับชดเชยส่วนต่างราคา ซึ่งกำหนด ราคากุ้งที่ขนาด 60 ตัวต่อ 1 กิโลกรัมอยู่ที่ 145 บาท ห้องเย็นรับซื้อราคา 125 บาท และรัฐฯ จะชดเชยส่วนต่าง 20 บาท พร้อม มอบหมายให้กรมประมงเชิญประชุมภาคส่วน ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ รับฟังการชีแ้ จงหลักเกณฑ์และ ขั้นตอนสำหรับการปฏิบัติงานตามโครงการฯ ซึง่ ได้รวบรวมรายละเอียดโครงการฯ เบือ้ งต้น ก่อนที่จะมีประกาศอย่างเป็นทางการมานำ เสนอทุกท่านทราบดังนี้ ที่มา: ข่าวกุ้ง ปีที่ 24 ฉบับที่ 286 พฤษภาคม 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

โครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาว แวนนาไม โดยระบบตลาดเครือข่ายแบบกลุ่ม (Shrimp Cluster) เป็นโครงการนำร่องในการ รวมกลุ่ม Cluster และการทำคอนแทร็กฟาร์มิ่ง (Contract Farming) และเป็นโครงการต้นแบบ ที่ จ ะสร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ กั บ อุ ต สาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์คือ เป็นโครงการระยะสั้น เพื่อยกระดับราคา เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ กับระบบกลุ่ม และส่งเสริมการซื้อขายล่วงหน้า เพื่อการวางแผน และการทำตลาดร่วมกัน

รายละเอียดของโครงการฯ  รั ฐ บาลจะเข้ า แทรกแซงราคากุ้ ง ขาว

แวนนาไม ปริมาณ 30,000 ตัน แบ่งเป็น 3 เดือน เดือนละ 10,000 ตัน  ราคากุ้ ง ขาวแวนนาไมที่ ห้ อ งเย็ น

รั บ ซื้ อ และส่ ว นต่ า งราคาที่ รั ฐ ฯ จะชดเชย แสดงในตารางที่ 1  ผู้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการฯ

ประกอบด้ ว ย สหกรณ์/สมาคม/ชมรม/กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยง โดยเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็น สมาชิ ก ขององค์ ก รดั ง กล่ า ว หรื อ ในกรณี ที่ ไม่มอี งค์กร กรมประมงจะดำเนินการจัดตัง้ กลุม่ ชั่วคราวในพื้นที่ หลังจากนั้นตัวแทนจะมีการ รวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่พร้อมจะขายกุ้งใน




(33) ตารางที่  ราคากุ้งขาวแวนนาไมที่ห้องเย็นรับซื้อ และส่วนต่างที่รัฐฯ ชดเชย

ขนาด (ตัว/กก.) 40 50 60 70 80 90 100

ราคาห้องเย็น รับซื้อ (บาท/กก.) 145 135 125 115 105 100 100

แต่ละเดือนแจ้งให้กรมประมงทราบ เพื่อกรม ประมงจะได้จัดสรรโควต้าตามสัดส่วนการผลิต ในแต่ละพื้นที่ต่อไป  สมาคมอาหารแช่ เ ยื อ กแข็ ง ไทยรวบ รวมรายชือ่ ห้องเย็นแปรรูปทีจ่ ะเข้าร่วมโครงการ ให้แก่กรมประมง พร้อมแจ้งปริมาณรับซือ้ ขนาด กุ้งที่ต้องการ และข้อมูลอื่นๆ เช่น ที่ตั้ง ระยะ เวลาการจ่ายเงิน วิธีการซื้อ/ขาย เพื่อเป็นข้อมูล ให้กรมประมงนำไปแจ้งต่อเกษตรกรเพือ่ ประกอบ การพิจารณา เกษตรกรที่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ต้องมีคุณสมบัติคือ เป็นฟาร์มที่ได้รับการขึ้น ทะเบียนอย่างถูกต้อง และได้รบั การรับรองฟาร์ม หรืออยู่ระหว่างการขอต่ออายุการรับรองฟาร์ม เป็นลูกค้า หรือเปิดบัญชีไว้กับธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีกุ้งเป็น ของตนเอง และมีกรรมสิทธิ์ในกุ้งนั้น เกษตรกร ที่มีฟาร์มในหลายพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ พื้นที่เดียวเท่านั้น และเกษตรกรต้องสมัครเข้า ร่วมโครงการในเดือนที่ต้องการขาย กุง้ ทีเ่ ข้าร่วมโครงการฯ ต้องได้คณ ุ ภาพ มาตรฐานทั้งทางกายภาพ และปลอดจากสาร ตกค้างตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพกุ้ง ในโครงการจำนำกุ้ง

ราคาเป้าหมาย (บาท/กก.) 165 155 145 135 125 110 110

ส่วนต่างราคา ที่รัฐชดเชย (บาท/กก.) 20 20 20 20 20 10 10

การทำสัญญาซื้อขาย

กลุ่มเกษตรกร จะเป็นผู้ทำสัญญาซื้อ-ขายกับห้องเย็นแปรรูป และนำกุ้งไปขายให้กับห้องเย็นแปรรูปเอง โดย จะมีเจ้าหน้าที่จากกรมประมงเป็นพยานในการ ทำสัญญาฯ กรมประมงจะแต่งตัง้ คณะอนุกรรมการ

บริ ห ารโครงการฯ และคณะกรรมการระดั บ จังหวัด เพื่อกำกับดูแลโครงการฯ เมือ่ ดำเนินการขายกุง้ เสร็จแล้ว

ห้องเย็น จะจ่ายเงินให้กับเกษตรกรตามราคาที่ประกาศ รับซื้อ หลังจากนั้นคณะกรรมการระดับจังหวัด จัดทำบัญชีรายชื่อ ตรวจสอบ และสั่งจ่ายเงิน ชดเชยผ่าน ธกส. โดยน้ำหนักกุ้งที่ขายจะคิด น้ำหนักที่ชั่งได้ ณ จุดรับซื้อ นอกจากนี้ ล่าสุดเท่าทีท่ ราบเบือ้ งต้น จะมี การรั บ สมั ค รเกษตรกรผู้ เ ลี้ ย งกุ้ ง ที่ จ ะเข้ า ร่ ว ม โครงการฯ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 30 พฤษภาคม-4 มิถุนายน 2555 ครั้งที่ 2 วันที่ 25-29 มิถุนายน 2555 และครั้งที่ 3 วันที่ 19-25 กรกฎาคม 2555 โดยกำหนดวันรับซือ้ ขายกุ้งจะเป็นวันที่ 12 มิถุนายน-31 สิงหาคม 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(34)

เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะเห็นว่ามาตรการของ ภาครัฐที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยง กุ้ ง ในครั้ ง นี้ สอดคล้ อ งกั บ ท่ า ที ข องสมาคม อาหารแช่เยือกแข็งไทยที่ได้ประกาศไว้ ตั้งแต่ วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมาว่า 1) สมาชิกสมาคมฯ พร้อมที่จะเจรจาและร่วมมือ กับชมรมและสหกรณ์ที่มีกุ้งพร้อมที่จะขายและ ราคาเป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย โดยรัฐฯ จะต้อง เข้ า มารั บ ส่ ว นต่ า งของราคาตามที่ ต กลง 2) สมาคมฯ ต้องการให้กรมประมงเป็นแกนกลาง ในการกำหนดเงื่อนไขและข้อตกลง และกำหนด คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการฯ 3) สหกรณ์และชมรมจะต้องหาแนวทางในการจัดตั้ง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

กองทุ น ของแต่ ล ะสหกรณ์ แ ละชมรม เพื่ อ นำ มาใช้ในกรณีทเี่ กิดปัญหาฯ ซึง่ เรือ้ รังมาโดยตลอด และ 4) ในระยะยาว ทั้งผู้ส่งออกและเกษตรกร จะต้องหาข้อยุติในเรื่องราคา เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดปัญหาเหมือนเช่นที่ผ่านมาทุกปี อีกหนึ่งความพยายามของภาครัฐที่ต้อง การช่วยเหลือเกษตรกรผูเ้ ลีย้ งกุง้ แก้ปญ ั หาราคา กุ้งตกต่ำ หวังว่ามาตรการช่วยเหลือดังกล่าว จะทรงประสิทธิภาพ สามารถดึงราคากุ้งขาว กลั บ เข้ า สู่ ภ าวะปกติ ไ ด้ โ ดยเร็ ว สำหรั บ รายละเอียดประกาศอย่างเป็นทางการจะติดตาม มานำเสนอให้ทุกท่านทราบในโอกาสต่อไป


(35)

พันธมิตรการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโลก (จีเอเอ)

ยันสินค้ากุ้งปลอดภัยไร้สารตกค้าง พันธมิตรการเพาะเลีย้ งสัตว์นำ้ โลก (GAA) ตอบโต้สำนักข่าวเอบีซี กรณีนำเสนอข่าวเตือน ผู้บริโภคสหรัฐฯ ว่า กุ้งนำเข้าจากต่างประเทศ ที่ ช าวอเมริ กั น บริ โ ภคส่ ว นใหญ่ ถู ก เลี้ ย งในบ่ อ อย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลทำให้เกิดปัญหาเรื่อง โรคต่างๆ ตามมามากมาย จนเป็นสาเหตุทำให้ เกษตรกรจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี ปริมาณมากในการเลี้ยงกุ้งนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ จีเอเอ (GAA) ได้ออกมา ยืนยันให้ข้อมูล/หักล้างว่า กุ้งที่บริโภคทั้งหมด จับจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองความปลอดภัย ทางอาหาร ส่วนเรื่องการป้องกันโรค อุตสาหกรรมกุ้งได้ดำเนินการโดยเลือกใช้พ่อแม่พันธุ์ ที่ ป ลอดโรคและทนต่ อ โรคมาเพาะพั น ธุ์ ลู ก กุ้ ง มีการเตรียมบ่อและบำบัดน้ำก่อนเลี้ยง รวมถึง มี ก ารนำเทคโนโลยี ชี ว ภาพมาใช้ ใ นการเลี้ ย ง เพื่ อ ยั บ ยั้ ง การเกิ ด โรคกุ้ ง เป็ น อย่ า งดี ดั ง นั้ น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ยาปฏิชีวนะและสารเคมีต้องห้ามในการเลี้ยง แต่หากตรวจพบว่ามีการใช้ยาฯ ผู้เลี้ยงกุ้งจะมี ความผิดตามกฎระเบียบ และสินค้ากุ้งเหล่านั้น ยังจะถูกปฏิเสธจากผู้นำเข้าด้วย

นอกจากนี้ ก่อนนำเข้าสินค้าอาหารทะเล ทางองค์การอาหารและยา (อย.) สหรัฐฯ ยังมี การตรวจสอบหายาปฏิชีวนะและสารเคมีต้อง ห้ามในสินค้าจากประเทศผู้ส่งออก (เช่น อินเดีย ไทย เวียดนาม ฯลฯ) อย่างเข้มงวด สม่ำเสมอ ที่สำคัญยังมีการเรียกร้องจากผู้นำเข้าอาหาร ทะเลในสหรัฐฯ ให้สินค้าอาหารทะเลต้องผ่าน การรับรองการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ดี ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องการดำเนินธุรกิจ ทีต่ อ้ งมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิง่ แวดล้อม ใส่ใจกับความปลอดภัยของสินค้าอาหาร และ ต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (ที่มา: สรุป เนื้อหาบางส่วนจาก FIS, 22 พ.ค. 2555)

จากรายงานข่ า วข้ า งต้ น จะเห็ น ได้ ว่ า หลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริโภคกำลังจับตา/ให้ ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องอาหารปลอดภัย (Food Safety) โดยเฉพาะเรือ่ งยาปฏิชวี นะตกค้าง ดังนั้นทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมกุ้งไทยจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา ดูแลไม่ให้ มี ก ารใช้ ย าปฏิ ชี ว นะและสารเคมี อั น ตรายใน กระบวนการผลิตกุง้ โดยเด็ดขาด ให้สมกับทีไ่ ด้รบั ความไว้วางใจจากผูบ้ ริโภคทัว่ โลก และเชือ่ มัน่ ว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งตั้งใจและช่วยกันผลิตกุ้งให้มี คุณภาพสูงยิง่ ขึน้ และมีความปลอดภัยทางอาหาร กันอยู่แล้ว

ที่มา: ข่าวกุ้ง ปีที่ 24 ฉบับที่ 286 พฤษภาคม 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(36)

การใช้ชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์สูงสุด ในการเลีย้ งกุง้ ให้ประสบความสำเร็จนัน้ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น มีการ เตรียมบ่อทีด่ ี มีการป้องกันโรคอย่างครบถ้วน ใช้ลูกกุ้งสายพันธุ์ที่ดีและปลอดจากโรค ใช้ อาหารที่ดี มีคุณภาพสูง รวมทั้งมีการจัดการ คุณภาพน้ำในระหว่างการเลีย้ งทีด่ ี ซึง่ คุณภาพ น้ำทีด่ จี ะทำให้กงุ้ ไม่เครียด มีสขุ ภาพดี แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคสูงขึ้น รวมทั้งทำให้ กุ้งมีการเจริญเติบโตที่ดีและมีอัตรารอดสูง โดยเฉพาะในปัจจุบนั ทีส่ ภาพภูมอิ ากาศมีความ แปรปรวนสูง ทำให้อุณหภูมิของน้ำในบ่อและ ความเข้มของแสงเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะไป รบกวนความสมดุลของระบบนิเวศในบ่อเลี้ยง ทำให้เกษตรกรจัดการด้านการเลีย้ งได้ยากขึน้ เช่น การให้อาหาร การควบคุมสีนำ้ รวมทัง้ การ ควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้น เกษตรกรจะต้องหมั่นตรวจวัดคุณภาพน้ำเป็น ประจำอย่ า งสม่ ำ เสมอและจะต้ อ งรั ก ษาค่ า คุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตลอด ระยะเวลาการเลีย้ ง ซึง่ หากค่าคุณภาพน้ำตัวใด ไม่อยู่ในช่วงที่เหมาะสม จะต้องรีบดำเนินการ แก้ไขในทันที ซึ่งค่าคุณภาพน้ำที่สำคัญและมี ผลต่อการเลี้ยงกุ้งได้แก่

ที่มา: ข่าวกุ้ง ปีที่ 24 ฉบับที่ 286 พฤษภาคม 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

1. พีเอช เป็นค่าทีบ่ อกถึงความเป็นกรดด่างของน้ำในบ่อเลีย้ งกุง้ ซึง่ ค่าพีเอชทีเ่ หมาะสม สำหรับเลี้ยงกุ้งควรมีค่าอยู่ในช่วง 7.3-8.5 และ ค่าที่แตกต่างกันในรอบวันนั้นไม่ควรเกิน 0.5 ถ้าค่าพีเอชต่ำอาจจะมีการเติมวัสดุปูนเพื่อเพิ่ม ค่ า พี เ อช ลดความหนาแน่ น ของแพลงก์ ต อน หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำ มีการดูดตะกอนเลนอย่าง สม่ำเสมอเพือ่ ลดการสะสมของสารอินทรีย์ หาก พีเอชของน้ำมีคา่ สูงจะต้องมีการเติมกากน้ำตาล โดยลงติดต่อกันอย่างน้อย 3-4 วัน รวมทั้งถ้าสี น้ำเข้มจะต้องลดความหนาแน่นของแพลงก์ตอน โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เป็นต้น 2. ออกซิ เ จนละลายน้ ำ (Dissolved Oxygen, D.O.) นับว่าเป็นปัจจัยทางคุณภาพน้ำ ที่สำคัญที่สุด เนื่องจากผลกระทบโดยตรงต่อตัว กุ้ง และระบบนิเวศในบ่อเลี้ยง โดยกุ้งจะต้องใช้ ออกซิเจนในกระบวนการเผาผลาญอาหารใน ร่างกายเพื่อให้ได้พลังงานออกมาใช้ในกิจกรรม ต่างๆ ของการดำรงชีวิต เช่น การลอกคราบ การเจริญเติบโต และการขับถ่ายของเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ จุลินทรีย์ยังจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน ในกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์ต่างๆ ในบ่อ โดยค่าที่เหมาะสมและเพียงพอต่อกุ้งคือจะต้อง


(37) ไม่ตำ่ กว่า 5 พีพเี อ็ม ในตอนเช้า ซึง่ หากปริมาณ ออกซิเจนละลายน้ำในบ่อไม่เพียงพอนัน้ สามารถ แก้ไขได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น อย่าให้ อาหารเหลือมากจนเกินไป มีการดูดตะกอนเลน มีการเติม หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำหากน้ำในบ่อเลี้ยง มีสีเข้มจนเกินไป รวมทั้งมีการเพิ่มและบริหาร เครือ่ งให้อากาศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ เมื่ อ กุ้ ง ที่ เ ลี้ ย งมี ข นาดใหญ่ ขึ้ น และมี ก ารเลี้ ย ง อย่างหนาแน่น เป็นต้น 3. อัลคาไลนิตี้ ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ คือ ควบคุมพีเอชของน้ำไม่ให้แกว่งในแต่ละรอบ วัน เป็นแหล่งสำรองของคาร์บอนไดออกไซด์ ในการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช โดย ค่าอัลคาไลนิตที้ เี่ หมาะสมสำหรับการเลีย้ งกุง้ คือ ไม่ควรต่ำกว่า 100 พีพีเอ็ม ซึ่งหากอัลคาไลนิตี้ ในน้ำมีค่าต่ำก็สามารถแก้ไขได้โดยการเติมวัสดุ ปูน เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต หรือโซเดียม ไบคาร์บอเนต เป็นต้น 4. แอมโมเนี ย เกิ ด ขึ้ น เนื่ อ งจากการ ขับถ่ายของกุ้ง และจากกระบวนการย่อยสลาย สารประกอบไนโตรเจนโดยจุลนิ ทรีย์ ซึง่ ถ้ามีการ สะสมของแอมโมเนียในน้ำมากจนเกินไป จะทำ ให้กุ้งขับถ่ายแอมโมเนียออกจากตัวได้น้อยลง ทำให้เกิดการสะสมอยูใ่ นเลือดและเนือ้ เยือ่ ทำให้ ค่าพีเอชของเลือดสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อการทำงาน ของเอนไซม์ตา่ งๆ แอมโมเนียจะไปทำลายเหงือก และทำให้ ข นส่ ง ออกซิ เ จนได้ ล ดลง ทำให้ กุ้ ง อ่อนแอ ติดโรคต่างๆ ได้ง่าย และทำให้กุ้งตาย ในทีส่ ดุ ซึง่ ค่าทีเ่ หมาะสมของปริมาณแอมโมเนีย ในน้ำโดยทัว่ ไปกำหนดไว้วา่ ไม่ควรเกิน 1 พีพเี อ็ม ในรูปของแอมโมเนียรวม (Total Ammonia Nitrogen, TAN) ถ้าแอมโมเนียในบ่อเลี้ยงมีการ

สะสมมากจนเกินไป สามารถจัดการแก้ไขได้ หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น อย่าให้ อาหารเหลือมากจนเกินไป มีการดูดตะกอนเลน อย่างสม่ำเสมอ เติมหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อลด ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนลง หรือกุ้งที่ เลี้ยงหนาแน่นมากเกินไปจะต้องจับกุ้งออกขาย บางส่วนเพื่อลดความหนาแน่นลง เป็นต้น 5. ไนไตรท์ เกิดขึน้ เนือ่ งจากกระบวนการ ไนตริ ฟิ เ คชั่ น (Nitrification) โดยแบคที เ รี ย เปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นไนไตรท์และขบวนการ ดีไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) ซึ่งเกิดจาก แบคทีเรียเปลี่ยนไนเตรทให้กลับมาเป็นไนไตรท์ ผลของไนไตรท์จะทำให้ความสามารถในการ ขนส่งออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ของกุ้งลดลง ทำให้กุ้ง ขาดออกซิเจน อ่อนแอและตายในที่สุด โดย ทั่วไปค่าไนไตรท์ที่เหมาะสมกำหนดไว้กว้างๆ ว่า ไม่ควรเกิน 1 พีพีเอ็ม แต่อย่างไรก็ตาม ระดับ ความเป็นพิษของไนไตรท์จะถูกยับยั้งโดยคลอไรด์ในน้ำ ดังนั้นการเลี้ยงกุ้งที่ความเค็มสูงซึ่งก็ จะมีปริมาณคลอไรด์ในน้ำสูงด้วย ส่งผลทำให้ ความเป็นพิษของไนไตรท์ต่อกุ้งลดน้อยลง ใน ขณะที่การเลี้ยงกุ้งที่ความเค็มต่ำจะมีปริมาณ คลอไรด์ในน้ำอยู่น้อย ทำให้ความเป็นพิษของ ไนไตรท์ต่อกุ้งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีการจัดการเมื่อ ปริมาณไนไตรท์ในบ่อเลี้ยงสูงนั้นสามารถแก้ไข ได้ตามวิธีการลดปริมาณแอมโมเนีย 6. แร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และโปแตสเซียม เป็นต้น กุ้งต้องใช้ แร่ธาตุเหล่านีใ้ นกระบวนการต่างๆ เช่น การสร้าง เปลือก ควบคุมระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นองค์ประกอบในการทำงานของเอนไซม์ตา่ งๆ และทำหน้าที่รักษาสมดุลเกลือแร่ต่างๆ ระหว่าง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(38) ร่างกายกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งในพื้นที่การ เลี้ยงกุ้งความเค็มต่ำ เกษตรกรอาจจะประสบ ปัญหาแร่ธาตุในน้ำที่ไม่เพียงพอได้ ซึ่งจะส่งผล ทำให้กุ้งมีการเจริญเติบโตและอัตรารอดที่ต่ำ อ่ อ นแอ และติ ด โรคต่ า งๆ ได้ ง่ า ย ซึ่ ง ค่ า ที่ เหมาะสมของแร่ธาตุต่างๆ ในน้ำที่ความเค็ม น้อยกว่า 15 พีพที ี คือ แคลเซียม 250 พีพเี อ็ม แมกนีเซียม 400 พีพีเอ็ม และโปแตสเซียม 150 พีพีเอ็ม แต่ถ้าในน้ำที่เลี้ยงมีความเค็ม มากกว่า 15 พีพีที ปริมาณแร่ธาตุที่เหมาะสม คือ แคลเซียม 300 พีพีเอ็ม แมกนีเซียม 600 พีพีเอ็ม และโปแตสเซียม 200 พีพีเอ็ม ซึ่ง เกษตรกรสามารถเพิ่ ม แคลเซี ย มในน้ ำ ได้ โ ดย ใช้ปูนแคลเซียมซัลเฟต (ปูนยิปซั่ม) หรือแคลเซียมคลอไรด์ เพิ่มแมกนีเซียมในน้ำได้โดยใช้ แมกนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) หรือแมกนีเซียมคลอไรด์ และเพิ่มโปแตสเซียมในน้ำได้โดยใช้ โปแตสเซียมคลอไรด์ ในปัจจุบันการตรวจติดตามคุณภาพน้ำ ในบ่อเลี้ยงทำได้โดยการใช้ชุดตรวจวัดคุณภาพ น้ำอย่างง่ายทีเ่ รียกว่า เทสท์ คิท (Test Kit) โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้พฒ ั นาชุดตรวจวัดคุณภาพ น้ำที่มีคุณภาพสูงและครอบคลุมค่าคุณภาพน้ำ ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงกุ้งทั้งหมด ประกอบด้วย ชุดตรวจวัดพีเอช (pH Test Kit) ชุดตรวจวัด อัลคาไลนิตี้ (AQUA BASE) ชุดตรวจวัดออกซิเจน ละลายน้ำ (AQUA D.O.) ชุดตรวจวัดแอมโมเนีย (AQUA AM) ชุดตรวจวัดไนไตรท์ (AQUA NITE) ชุดตรวจวัดความกระด้าง (AQUA MAG) ชุด ตรวจวัดแคลเซียมและแมกนีเซียม (AQUA CALMAG) ชุดตรวจวัดโปแตสเซียม (AQUA POTASSIUM) และชุดตรวจวัดคลอรีนตกค้างในน้ำ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

(Chlorine Test Kit) อย่างไรก็ตาม แม้ว่า วิธีการใช้ชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำนี้จะทำได้ง่าย โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถตรวจได้เองที่ บ่อเลี้ยง แต่ผู้ใช้จะต้องทราบถึงขั้นตอน และ ข้อควรระวังในการใช้ เพื่อทำให้การตรวจวัด ค่าทางคุณภาพน้ำทำได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้องด้วย โดยชุด ตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างง่ายสามารถแบ่งออก อย่างกว้างๆ ตามหลักการวิเคราะห์ได้ 2 แบบ คื อ ชุ ด ตรวจวั ด ที่ ใ ช้ ห ลั ก การไตเตรท และชุ ด ตรวจวัดที่ใช้หลักการเทียบสี ซึ่งหลักการและ ข้อควรระวังในการใช้ชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำใน แต่ละแบบสามารถสรุปได้ดังนี้

ชุดตรวจวัดที่ ใช้หลักการไตเตรท (Titrimetric Method) ชุดตรวจวัดนี้จะอาศัยหลักการที่ว่าเมื่อ หยดสารเคมีลงไปในน้ำตัวอย่างแล้ว สารเคมีจะ ไปทำปฏิกริ ยิ ากับสารทีเ่ ราต้องการตรวจวัด โดย ถ้าในน้ำตัวอย่างมีความเข้มข้นของสารที่ต้อง การตรวจวัดอยูม่ าก ก็จะต้องใช้จำนวนหยดหรือ ปริมาตรของสารเคมีที่จะไปทำปฏิกิริยามากขึ้น ตามไปด้วย โดยจำนวนหยด หรือปริมาตรของ สารเคมี ที่ ท ำปฏิ กิ ริ ย าพอดี กั บ สารที่ ต้ อ งการ ตรวจวัดในน้ำจะเรียกว่า จุดยุติ (End Point) โดยจะดู ไ ด้ จ ากการเปลี่ ย นสี ข องอิ น ดิ เ คเตอร์ เมื่อนำจำนวนหยด หรือปริมาตรของสารเคมี ไปคำนวณค่าก็จะสามารถทราบความเข้มข้น ของสารที่ต้องการตรวจวัดในตัวอย่างน้ำได้ ชุด ตรวจวั ด ที่ ใ ช้ ห ลั ก การนี้ ได้ แ ก่ ชุ ด ตรวจวั ด อัลคาไลนิตี้ ชุดตรวจวัดความกระด้าง ชุดตรวจ วัดออกซิเจนละลายน้ำ ชุดตรวจวัดแคลเซียม และแมกนีเซียม และชุดตรวจวัดโปแตสเซียม


(39) ซึ่งเทคนิคและข้อควรระวังในการใช้ชุดตรวจวัด มีดังนี้

ชุดตรวจวัดที่ ใช้หลักการเทียบสี (Colorimetric Method)

· การเติมน้ำตัวอย่างลงไปในหลอดทดสอบต้องให้ถึงขีดปริมาตรที่ต้องการโดยดูที่ขีด ล่างของใต้ทอ้ งน้ำ หรือถ้าใช้ไซริงค์ดดู น้ำตัวอย่าง ลงในหลอดทดสอบจะต้องไม่มฟี องอากาศเกิดขึน้ ในไซริงค์ เพราะจะทำให้ปริมาตรของน้ำตัวอย่าง ผิดพลาดไป

ชุดตรวจวัดนี้จะอาศัยหลักการที่ว่าเมื่อ เติมสารเคมีลงไปในน้ำตัวอย่างแล้ว สารเคมีจะ ไปทำปฏิกิริยากับสารที่เราต้องการตรวจวัดที่มี อยูใ่ นน้ำตัวอย่าง ทำให้นำ้ ตัวอย่างมีสเี กิดขึน้ ซึง่ สีที่เกิดขึ้นจะเข้มขึ้นตามปริมาณสารที่ต้องการ ตรวจวัดที่มีในน้ำตัวอย่าง เมื่อนำสีที่เกิดขึ้นไป วางเทียบกับแผ่นเทียบสีแล้วอ่านค่า ก็จะทำให้ ทราบค่าความเข้มข้นของสารที่มีอยู่ในตัวอย่าง น้ำ ชุดตรวจวัดที่ใช้หลักการนี้ ได้แก่ ชุดตรวจ วัดแอมโมเนีย ชุดตรวจวัดไนไตรท์ ชุดตรวจวัด คลอรีนตกค้างในน้ำ รวมถึงชุดตรวจวัดค่าพีเอช ด้วย ซึ่งเทคนิคและข้อควรระวังในการใช้ชุด ตรวจวัดนี้ มีดังนี้ · การเติมน้ำตัวอย่างลงไปในหลอดทดสอบต้องให้ถึงขีดปริมาตรที่ต้องการโดยดูที่ขีด ล่างของใต้ทอ้ งน้ำ หรือถ้าใช้ไซริงค์ดดู น้ำตัวอย่าง ลงในหลอดทดสอบจะต้องไม่มฟี องอากาศเกิดขึน้ ในไซริงค์ เพราะจะทำให้ปริมาตรของน้ำตัวอย่าง ผิดพลาด

· ในการหยดน้ำยาเคมีลงไปในน้ำตัวอย่าง เพื่อให้ทำปฏิกิริยากับสารที่เราต้องการตรวจวัด นั้น ขวดหยดสารจะต้องตั้งให้ตรงอยู่ในแนวดิ่ง และหยดน้ำยาจะต้องไม่มีฟองอากาศเนื่องจาก จะทำให้ได้ปริมาตรน้ำยาต่อหยดน้อยกว่าความ เป็นจริง ซึ่งทำให้ต้องใช้จำนวนหยดของน้ำยา ในการทำปฏิกิริยาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ค่าการ ตรวจวัดที่ได้มากกว่าความเป็นจริงได้ · ในการให้สารเคมีทำปฏิกิริยากับสารที่ เราต้องการตรวจวัดในน้ำตัวอย่างนั้น จะต้อง ค่อยๆ หยดน้ำยาเคมีลงไปในน้ำตัวอย่างทีละ หยดพร้อมทั้งเขย่าน้ำตัวอย่าง เพื่อให้สารเคมี ทำปฏิกิริยากับสารที่เราต้องการตรวจวัดในน้ำ ตัวอย่างได้อย่างสมบูรณ์ จนกระทัง่ ถึงจุดยุติ ซึง่ จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ อย่า หยดน้ำยาเคมีลงในน้ำตัวอย่างทีละหลายๆ หยด แล้วเขย่า เพราะจะทำให้อาจเลยจุดยุติได้ นอก จากนีอ้ ย่าหยดน้ำยาเร็วเกินไป เพราะจะทำให้ได้ ขนาดหยดที่เล็กกว่าปกติและบางครั้งอาจจะนับ จำนวนหยดของน้ำยาได้ไม่ทนั ทำให้การตรวจวัด ผิดพลาดไปได้

· หลังจากการหยดน้ำยาเคมีตา่ งๆ ลงไปใน น้ำตัวอย่าง และตัง้ ทิง้ ไว้เพือ่ ให้เกิดสีแล้ว จะต้อง อ่านค่าของสีที่เกิดขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนด อย่าอ่านก่อนเวลาเพราะจะทำให้ได้ค่าน้อยกว่า ความเป็นจริง หรืออย่าอ่านหลังจากเลยเวลาที่ กำหนดไปแล้ว เพราะสีที่เกิดขึ้นจะเข้มขึ้นตาม เวลา ทำให้ค่าที่อ่านได้ผิดพลาดไปจากค่าจริง · การอ่านค่าเทียบกับแผ่นเทียบสีจะต้อง มองสีของน้ำตัวอย่างที่เกิดขึ้นตามวิธีการใช้ที่ ระบุไว้ในฉลาก เช่น มองสีที่เกิดขึ้นโดยดูจาก ด้านบนของหลอดทดสอบ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(40) · เมื่อสารที่ต้องการตรวจวัด เช่น แอมโมเนีย หรือไนไตรท์ในน้ำตัวอย่างมีความเข้มข้น มากเกินกว่าที่จะตรวจวัดได้ จะพบว่าหลังจาก หยดน้ำยาเคมีลงไปในน้ำตัวอย่างแล้ว สีที่เกิด ขึ้ น จะเข้ ม มากจนอ่ า นได้ ค่ า ที่ ม ากสุ ด ของค่ า บนแผ่นเทียบสี หรือบางครั้งจะพบว่าสีที่เกิดขึ้น ช่วงแรกจะเข้มมาก แต่เมื่อตั้งทิ้งไว้ สีจะค่อยๆ จางลง ถ้าผู้ตรวจไม่สังเกตให้ดีก็จะอ่านค่าได้ เป็นศูนย์ ซึ่งหมายถึงไม่พบสารที่ตรวจวัด ทั้งที่ ความจริงแล้วมีสารอยู่ในน้ำตัวอย่างในปริมาณ ที่มากเกินไป ดังนั้น ถ้าหากเกิดกรณีดังกล่าวนี้ ผู้ตรวจวัดจะต้องทำการเจือจางน้ำตัวอย่าง โดย การนำน้ำตัวอย่างมาผสมกับน้ำกลัน่ หรือน้ำดืม่ ที่สะอาด แล้วนำมาหยดน้ำยาเคมีแล้วจึงนำไป อ่านค่าเทียบกับแผ่นเทียบสี โดยการเจือจางจะ ต้องเริ่มจากจำนวนเท่าน้อยๆ ก่อน เช่น 2 เท่า ถ้าอ่านค่าไม่ได้จึงค่อยเพิ่มเป็น 5 เท่า หรือ 10 เท่าไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถอ่านค่าได้ โดย ค่าที่ดีที่สุดหลังจากการเจือจางควรเป็นค่าที่อยู่ กลางๆ ของแผ่ น เที ย บสี เ มื่ อ อ่ า นค่ า จากแผ่ น เทียบสีแล้วจะต้องคูณจำนวนเท่าของการเจือจาง ด้วยจึงจะได้ค่าที่แท้จริงของสารที่ต้องการตรวจ วัดในน้ำตัวอย่าง สำหรับวิธีการเก็บรักษาชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างถูกต้องนั้นก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ สำคัญ โดยควรเก็บไว้ในที่ร่ม ไม่โดนแสงแดด และควรอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หลังจาก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

การใช้งาน ควรปิดฝาขวดชุดตรวจวัดให้เรียบร้อย และเก็บไว้ในกล่องชุดตรวจวัด นอกจากนี้ชุด ตรวจวั ด ที่ ห มดอายุ ไ ม่ ค วรนำมาใช้ เ พราะว่ า สารเคมีอาจจะเสื่อมคุณภาพไปแล้ว เมื่อนำมา ตรวจวัดคุณภาพน้ำจะทำให้ผลตรวจวัดที่ได้ไม่ ถูกต้อง ในการจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงให้มี ประสิทธิภาพ นอกจากจะต้องมีการตรวจติดตาม และแก้ไขคุณภาพน้ำเป็นประจำแล้ว ยังต้อง คำนึงถึงแนวต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้การจัดการ คุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้นร่วมด้วย โดยควรปล่อยกุ้งลงเลี้ยงใน ความหนาแน่นที่เหมาะสมกับฤดูกาลและสภาพ ความพร้ อ มของแต่ ล ะฟาร์ ม ซึ่ ง การเลี้ ย งกุ้ ง ในความหนาแน่นที่เหมาะสมตลอดเวลาทำได้ ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับการ ใช้จลุ นิ ทรียต์ ามโปรแกรมโปรไบโอติกของซีพเี อฟ ซึง่ ได้ออกแบบให้สอดคล้องกับระบบนิเวศภายใน บ่อเลี้ยงกุ้งในแต่ละช่วงเวลาของการเลี้ยง โดย จุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ใน บ่อเลีย้ งทัง้ ในน้ำและพืน้ บ่อ ช่วยลดปัญหาน้ำหนืด จากสารอินทรีย์สะสมและแพลงก์ตอนบลูม ช่วย ควบคุ ม พี เ อชในน้ ำ ไม่ ใ ห้ แ กว่ ง ดั ง นั้ น การใช้ โปรแกรมโปรไบโอติกจะทำให้การจัดการสภาพ แวดล้อมในบ่อเลี้ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีโอกาสประสบความ สำเร็จในการเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น




(41)

อุตสาหกรรมกุ้งไทย ใส่ ใจสิ่งแวดล้อม การที่ไทยประกาศนโยบายนำประเทศ เข้าสู่การเป็นครัวของโลก “Kitchen of the World” ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินความเป็น จริง เนือ่ งจากไทยเป็นผูผ้ ลิตและส่งออกสินค้า เกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก ซึ่งผลผลิต ทางการเกษตรมี มู ล ค่ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวม ภายในประเทศมากกว่า 600,000 ล้านบาท ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายใน ประเทศ และส่วนที่เหลือส่งออกไปยังทั่วโลก โดยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1,200,000 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของ มูลค่าการส่งออกของประเทศ ทั้งนี้มีสินค้า ส่ ง ออกที่ เ ป็ น Champion Product และ อยู่ในลำดับ Top Ten ของโลกหลายรายการ เช่น ยางพารา ข้าว กุง้ ปลา ปลาทูนา่ สับปะรด และจากสถิติมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ทั้งหมด พบว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำ คิดเป็นร้อยละ 26 หรือประมาณ 200,000

ล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะสินค้ากุง้ และผลิตภัณฑ์ (Shrimp & Shrimp Products) ที่มีมูลค่า การส่งออกประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปี และเป็นสินค้าทีป่ ระเทศไทยครองการเป็นผูน้ ำ ในการส่งออกมาตั้งแต่ปี 2534 จึงถือได้ว่า สินค้ากุ้งมีความสำคัญต่อประเทศไทยทั้งใน ด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะนอกเหนือจาก เม็ดเงินจำนวนมหาศาลทีน่ ำกลับเข้ามาพัฒนา ประเทศแล้ว ยังมีผู้เกี่ยวข้องตลอดสายการ ผลิตรวมมากกว่า 1 ล้านคน ซึง่ หากนับจนถึง ปัจจุบัน อุตสาหกรรมกุ้งไทยสร้างรายได้ให้ แก่ ป ระเทศทั้ ง จากในรู ป ของสิ น ค้ า กุ้ ง และ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้อง รวมมูลค่ามากกว่า 2,000,000 ล้านบาท โดย มีมูลค่าการส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์อยู่ ในช่วง 75,000-100,000 ล้านบาทต่อปี ซึง่ เกือบทั้งหมดเกิดจากการเพิ่มมูลค่าทรัพยากร ภายในประเทศ (Local Content) เป็นหลัก

ที่มา: ข่าวกุ้ง ปีที่ 24 ฉบับที่ 286 พฤษภาคม 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(42)

นับตั้งแต่ปี 2529 ที่การเลี้ยงในระบบ พัฒนาเริ่มแรกซึ่งเป็นระบบการเลี้ยงแบบเปิด ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ปัญหาโรคระบาด ปัญหาการเสื่อมโทรมของ สิ่งแวดล้อม ทำให้การเลี้ยงระบบพัฒนาแบบ เปิดมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพ ในปัจจุบัน และเหมาะสมกับการจัดการปัญหา ต่ า งๆ ได้ โ ดยพั ฒ นาระบบการเลี้ ย งแบบปิ ด ทั้งในแบบปิดชั่วคราวและปิดแบบถาวร ระบบ การเลี้ยงแบบปิดน้ำหมุนเวียน โดยมีการบำบัด ในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมในบ่อ เลี้ยงและสภาพแวดล้อมภายนอกมีความสะอาด และมีความสมดุลต่อกัน โดยทุกระบบมุ่งเน้น ที่จะทำให้การเลี้ยงกุ้งของประเทศไทยเป็นไป อย่างยั่งยืน (Sustainable Shrimp Culture) รวมทัง้ มุง่ เน้นทีจ่ ะให้ประเทศไทยครองความเป็น หนึง่ ในด้านการผลิตกุง้ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ ส่งเป็นสินค้า ออกไปยังตลาดโลกต่อไป ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

นอกจากนี้ เกษตรกรผู้ เ ลี้ ย งกุ้ ง ทะเลมี ความเข้ า ใจเพิ่ ม ขึ้ น เกี่ ย วกั บ การเลี้ ย งกุ้ ง แบบ ยั่งยืน จากข้อมูลตามหลักวิชาการพบว่า การ เลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาในป่าชายเลนเป็นการเพิ่ม ต้นทุนการผลิต และไม่เหมาะสมต่อการเจริญ เติบโตของกุ้งทะเล ทั้งนี้เพราะในเขตป่าชายเลน มีลักษณะดินเป็นกรด (Acid sulfate Soil) ซึ่ง ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกุง้ หากเลีย้ ง ในบริเวณดังกล่าวจำเป็นต้องปรับคุณภาพดิน และน้ำเป็นอย่างมาก อันจะส่งผลต่อต้นทุนการ ผลิตที่สูงขึ้นด้วย อีกทั้งในบริเวณดังกล่าวยังมี รากไม้ ตอไม้ ส่งผลให้บ่อไม่สามารถเก็บกักน้ำ ได้ เนื่องจากบ่อรั่ว ป่าชายเลนยังเป็น Buffer Zone และแหล่งเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อน ช่วยดูดซับ สารอินทรีย์จากการเลี้ยงกุ้งได้อีกด้วย ดังนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่ตระหนักถึงความ สำคัญดังกล่าว จึงมีกจิ กรรมปลูกป่าชายเลนเพือ่ การอนุรักษ์มาอย่างต่อเนื่อง


(43) อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดา้ นการตลาด สิ น คาเกษตรและอาหารของโลกในปั จ จุ บั น มี การแข่งขันกันอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นในด้าน ต้นทุนการผลิต การผลิตสินค้าให้สอดคล้อง กับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ผู้นำเข้า รวมถึงกระแสการตื่นตัวในเรื่องความ ปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ทำให้มี การตรวจสอบสินค้าตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงตัว สินค้าที่จะจำหน่ายสู่มือผู้บริโภค (From Farm to Table) ซึ่งมีการนำข้อปลีกย่อยในกระบวน การตรวจสอบดังกล่าวมาเป็นข้อต่อรองในการ สั่งซื้อสินค้า ดังนั้นปัญหาหลักของอุตสาหกรรม กุ้งไทยในปัจจุบันเกิดจากการกีดกันทางการค้า ที่ ห ยิ บ ยกข้ อ กำหนดในเรื่ อ งอาหารปลอดภั ย ขึ้นมาถือเป็นข้อปฏิบัติ โดยมีการกำหนดมาตรฐานของผู้ รั บ ซื้ อ (Importer Standard) ที่ นอกเหนือจากข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าของ ภาครัฐ (National Standard) ส่งผลให้เกษตรกร ผูผ้ ลิตต้องรับภาระค่าใช้จา่ ยมากขึน้ ในการปฏิบตั ิ เพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานดังกล่าว การดำเนินการด้านการรับรองมาตรฐาน สินค้ากุ้งแบบครบวงจรตลอดสายการผลิต จาก ฟาร์มสู่ผู้บริโภคนั้น ประเทศไทยเริ่มนำแนวคิด ในการทำประมงแบบมีจรรยาบรรณ หรือมีความ รับผิดชอบ (Code of Conduct for Responsible Fisheries) ซึ่งเป็นแนวทางที่กำหนดโดย FAO และการจัดการด้านสุขอนามัยที่ดีในการ ผลิตสินค้า (Food Manufacturing Sanitation) ซึ่งกำหนดไว้ในข้อระเบียบของ Codex โดยใน ส่ ว นของประเทศไทย กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ โดยกรมประมงได้ เ ริ่ ม กระบวนการ จัดทำมาตรฐานเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลมา

ตั้งแต่ปี 2539 โดยเริ่มรับรองมาตรฐานฟาร์ม เพาะเลีย้ งกุง้ ทะเลในปี 2545 และมีการประกาศ ใช้มาตรฐานในการรับรองดังกล่าวในปี 2546 และดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่จาก กระแสของความต้องการของผู้บริโภคและผู้ซื้อ ในตลาดโลกที่มีความตระหนักเกี่ยวกับอาหาร ปลอดภั ย และอาหารที่ ม าจากกระบวนการ ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดจากการ กดขี่ แ รงงาน จึ ง ทำให้ ก ระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกัน ปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวให้มีความสอดคล้อง กับหลักสากล และความต้องการของผู้บริโภค ในสถานการณ์ปจั จุบนั รวมถึงต้องมีกระบวนการ รับรองที่มีความโปร่งใส เป็นไปตามหลักสากล ปฏิบัติ โดยมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐาน สิ น ค้ า เกษตรและอาหารแห่ ง ชาติ ในฐานะ หน่ ว ยรั บ รองระบบงานด้ า นมาตรฐานสิ น ค้ า เกษตรและอาหารของประเทศ (Accreditation Body) ให้กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับ ฟาร์มเลีย้ งกุง้ ทะเล (GAP) เป็นมาตรฐานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัตมิ าตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 การปรับปรุงมาตรฐาน GAP ดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศรับรอง ให้มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีด้านการเพาะเลี้ยง สัตว์นำ้ สำหรับฟาร์มเลีย้ งกุง้ ทะเล เป็นมาตรฐาน สินค้าเกษตรของประเทศ (มกษ. 7401-2552) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 และได้ประกาศ ในพระราชกิจจานุเบกษา เมือ่ วันที่ 28 ธันวาคม 2552 โดยกำหนดให้มาตรฐาน GAP เป็น มาตรฐานทั่วไป เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(44) มาตรฐาน ซึ่ง GAP (มกษ. 7401-2551) กำหนดเกณฑ์ ก ารปฏิ บั ติ ที่ ดี ส ำหรั บ การเลี้ ย ง กุ้งทะเลทุกขั้นตอนในระดับฟาร์ม รวมถึงการ เก็บเกี่ยวและการดูแลหลังการเก็บเกี่ยวก่อนการ ขนส่ ง ออกจากฟาร์ ม เพื่ อ ให้ ไ ด้ กุ้ ง ทะเลที่ มี คุณภาพดี ปลอดภัยต่อการบริโภค มีระบบการ เลี้ยงที่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ ตลอดจนมีความ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ทั้งนี้มาตรฐานดังกล่าวยึดหลักการ สากลที่ครอบคลุมด้านต่างๆ 5 มิติ คือ มิติที่ 1 ผลผลิตมีความปลอดภัยต่อผู้ บริโภค (Food Safety) การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ต้ อ งมุ่ ง ผลิ ต ผลที่ มี คุ ณ ภาพ ถู ก สุ ข อนามั ย ปลอดสารปนเปื้อน และมีความปลอดภัยต่อ ผู้บริโภค โดยเฉพาะต้องไม่ใช้ยาและสารเคมีที่ เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค มิติที่ 2 ความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม (Environmental Integrity) การเพาะเลี้ ย ง กุ้ ง ทะเลจะต้ อ งมุ่ ง สู่ ก ารประกอบการที่ ยั่ ง ยื น และไม่กอ่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม โดยคำนึงถึง การจัดการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่สร้าง มลพิษต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ และส่งผลกระทบ ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

มิตทิ ี่ 3 ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้ง ทะเลต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและ ชุมชนในท้องถิ่น โดยการก่อสร้างและประกอบ การจะต้องไม่ไปขัดขวางการประกอบอาชีพการ ดำรงชีวิต และวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน ท้องถิ่น รวมทั้งต้องให้ความร่วมมือแก่ชุมชน ตามความเหมาะสม มิติที่ 4 สุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี ของสัตว์เลี้ยง (Animal Health and Welfare) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องคำนึงถึงการเลี้ยงดู สัตว์น้ำภายใต้สวัสดิภาพสัตว์ที่ดี สัตว์ที่เลี้ยง จะต้องมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และไม่ก่อ ความเจ็บปวดทรมาน หรือทารุณกรรมต่อสัตว์ มิตทิ ี่ 5 การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องมีระบบ หรือ กระบวนการที่สามารถสอบทาน หรือติดตาม ว่าอาหาร อาหารสัตว์ หรือสัตว์เพื่อการบริโภค หรือสารที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของอาหาร ในทุก ขั้นตอนการผลิต การแปรรูป และการกระจาย ผลผลิต โดยระบุได้ว่าสินค้าที่ได้รับนั้นมาจาก ใคร (Supplier) และจะส่งต่อให้ใคร (Customer) โดยอยู่บนหลักการ “One Step Back-One Step Forward” (ที่มา: วารสารการประมง เรื่อง

“อุตสาหกรรมกุ้งไทยฯ” โดยสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยง กุ้งทะเล กรมประมง)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(45)

ข้อมูลนำเข้ากุ้ง 2 ตลาดใหญ่ ตารางที่  การนำเข้ากุ้งแช่แข็งของญี่ปุ่น (มกราคม-มีนาคม 2555) หน่วย: ตัน

ประเทศ

ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย จีน มาเลเซีย รัสเซีย พม่า แคนาดา กรีนแลนด์ อื่นๆ รวม

ม.ค.-มี.ค. 54 8,515 7,930 6,754 4,367 3,310 2,255 1,838 1,405 1,129 666 4,886 43,055

ม.ค.-มี.ค. 55 7,699 7,328 6,007 5,680 3,332 1,822 1,677 1,316 1,309 718 5,533 42,421

% แตกต่าง -9.58 -7.59 -11.06 30.07 0.66 -19.20 -8.76 -6.33 15.94 7.81 13.24 -1.47

ที่มา: Ryuken ตารางที่  การนำเข้ากุ้งของสหรัฐอเมริกา (มกราคม-มีนาคม 2555) หน่วย: ตัน

ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย เอกวาดอร์ อินเดีย เวียดนาม เม็กซิโก จีน มาเลเซีย กายานา เปรู อื่นๆ รวม

ม.ค.-มี.ค. 54 38,840 16,679 15,149 7,253 7,724 4,245 7,968 5,883 2,022 2,557 6,392 114,712

ม.ค.-มี.ค. 55 30,316 19,370 19,200 10,309 8,481 8,168 7,323 6,391 3,140 2,120 6,535 121,353

% แตกต่าง -21.95 16.13 26.74 42.13 9.80 92.41 -8.09 8.64 55.29 -17.09 2.24 5.79

ที่มา: NMFS

ที่มา: ข่าวกุ้ง ปีที่ 24 ฉบับที่ 286 พฤษภาคม 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(46)

ส่งออกกุ้งไทย 4 เดือนแรก ปี 55 ตารางการส่งออกกุ้งของไทย เดือนมกราคม-เมษายน 2555

ประเทศ/ กลุ่มประเทศ เอเชีย - จีน - ญี่ปุ่น - อื่นๆ สหรัฐอเมริกา อียู ออสเตรเลีย อื่นๆ รวม

ม.ค.-เม.ย. 54 ปริมาณ มูลค่า 31,164 8,308 1,269 200 23,540 6,766 6,355 1,342 44,315 11,981 16,792 4,168 2,188 564 9,074 2,364 103,533 27,385

ที่มา: กรมศุลกากร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

ม.ค.-เม.ย. 55 ปริมาณ มูลค่า 33,921 9,563 1,010 189 22,827 7,211 10,084 2,163 33,291 9,624 15,212 4,294 2,794 814 7,644 2,219 92,862 26,514

หน่วย: ปริมาณ-ตัน, มูลค่า: ล้านบาท

% แตกต่าง ปริมาณ มูลค่า 8.85 15.11 -20.41 -5.50 -3.03 6.58 58.68 61.18 -24.88 -19.67 -9.41 3.02 27.70 44.33 -15.76 -6.13 -10.31 -3.18


(47)

สถานการณ์การผลิตและการค้าสินค้าปลาป่น 1. สถานการณ์การผลิต 1.1) การผลิต การผลิตปลาป่นของโลกเทียบกับประเทศไทย ปี 2550-2555

ปี

2550

ผลผลิตของโลก ผลผลิตในประเทศ คิดเป็นร้อยละ

5.070 0.523 10.32

2551 5.240 0.426 8.13

2552 5.100 0.443 8.69

2553 4.310 0.505 11.72

หน่วย: ล้านตัน

2555 % เปลี่ยนแปลง (ประมาณการ) ปี 54/55 4.620 4.930 6.71 0.480 0.485 1.04 10.39 9.84

2554

ที่มา: สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ในปี 2554 ผลผลิตปลาป่นในประเทศมีปริมาณ 0.480 ล้านตัน ลดลงจากปี 2553 ที่ผลิตได้ปริมาณ 0.505 ล้านตัน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 4.95 โดยในปี 2555 คาดว่าจะมี ปริมาณใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

1.2) วัตถุดิบ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่ใช้ปลาเป็ด แหล่งวัตถุดิบที่ได้มาจากโรงงานปลากระป๋อง ร้อยละ 35 โรงงานซูรมิ ิ ร้อยละ 20 ปลาเป็ดเรือประมง ร้อยละ 18 ปลาหลังเขียวและอืน่ ๆ ร้อยละ 15 โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำและครัวเรือน ร้อยละ 10 และประมงนอกน่านน้ำ ร้อยละ 2

1.3) ภาคการผลิต ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมปลาป่นได้มีการพัฒนาอย่างมาก ในปี 2553 มีโรงงานผลิต ปลาป่นทั่วประเทศ จำนวน 96 โรงงาน ขณะนี้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP จำนวน 48 โรงงาน และโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน HACCP จำนวน 24 โรงงาน

1.4) แหล่งผลิต แหล่งผลิตทีส่ ำคัญ ได้แก่ สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา ปัตตานี ระนอง ชุมพร ภูเก็ต ชลบุรี สมุทรปราการ ระยอง และตราด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(48)

1.5) การใช้ภายในประเทศ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โดยทั่วไปอาหารสัตว์จะมีปลาป่น เป็นสัดส่วนร้อยละ 7-10 แต่ในอาหารสัตว์บางชนิดจำเป็นต้องใช้ปลาป่นเป็นสัดส่วนผสมถึง ร้อยละ 35 เนื่องจากต้องการเร่งการเจริญเติบโต ที่ผ่านมามีปริมาณใกล้เคียงกับการผลิต คือ อยู่ระหว่างปริมาณ 0.40-0.45 ล้านตัน ความต้องการใช้ปลาป่น ปี 2550-2555

ปี ความต้องการใช้

2550 0.521

2551 0.422

2552 0.438

2553 0.485

2554 0.481

หน่วย: ล้านตัน

2555 (ประมาณการ) 0.398

ที่มา: สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

1.6) ราคา ราคาปลาป่ น ภายในประเทศขึ้ น อยู่ กั บ ราคาปลาป่ น ของตลาดโลก หากปี ใ ดปลาป่ น ใน ตลาดโลกมีราคาสูง ผู้ผลิตอาหารสัตว์จะซื้อปลาป่นในประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ราคาปลาป่นใน ประเทศสูงขึ้น และมีผลต่อเนื่องทำให้ปลาเป็ดซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตมีราคาสูงขึ้นด้วย ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2554 2. ราคา (บาท/กก.) 2.1 ปลาเป็ด - ดี (สด) - รอง (ไม่สด) 2.2 ปลาป่น กทม. เกรดกุ้ง โปรตีน 60% ขึ้นไป กลิ่นเบอร์ 1 โปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร์ 1 กลิ่นเบอร์ 2 กลิ่นเบอร์ 3 2.3 ปลาป่นต่างประเทศ โปรตีน 60% - บาท/กก. - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน

ปี 2555 ม.ค.55 ก.พ.55

6.30 5.49

6.62 5.73

7.13 5.69

7.02 5.58

6.40 5.19

6.56 5.30

31.30 30.74 30.74 28.87 28.28

32.12 31.72 31.02 30.72 30.07

31.09 31.72 30.69 29.69 27.89

31.13 30.73 30.03 29.73 26.78

28.08 27.68 26.98 26.68 25.23

29.30 28.90 28.20 27.90 26.90

28.58 32.63 43.87 36.64 31.32 31.59 942.16 1,076.58 1,526.26 1,295.89 1,070.00 1,108.81

ที่มา: สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555




(49)

2. การค้า 2.1) การส่งออกปลาป่นของประเทศไทย ในปี 2553 ประเทศไทยส่งออกปลาป่น (HS: 23012000001, 23012000002, 23012000003, 23012000004, และ 23012000090) ปริมาณ 110,806 ตัน มูลค่า 4,398 ล้านบาท ในปี 2554 มีปริมาณ 73,559 ตัน มูลค่า 2,618 ล้านบาท ลดลงคิดเป็นร้อยละ -33.61 และ -40.47 ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน และจีน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปลาป่น ปี 2550-2554

ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (พันบาท)

2550 93,872 2,770,125

2551 24,564 630,164

2552 2553 2554 26,866 110,806 73,559 774,656 4,398,946 2,618,835

% ∆ 2554/2553 -33.61 -40.47

ที่มา: กรมศุลกากร

2.2) มาตรการการส่งออก ปลาป่นเป็นสินค้าทีก่ ำหนดมาตรฐานในการส่งออก โดยต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานสินค้า ประกอบการตรวจพิธศี ลุ กากร ส่งออกทางด่านศุลกากรทีก่ ำหนด และไม่เสียภาษีสง่ ออก ในปี 2554 มีผู้จดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าออกซึ่งสินค้ามาตรฐานปลาป่นจำนวน 23 ราย ออกใบอนุญาตให้ เป็นบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าปลาป่น 3 ราย ผู้ตรวจสอบฯ 112 ราย

2.3) การนำเข้า ผลผลิ ต ปลาป่ น คุ ณ ภาพดี ใ นประเทศไม่ เ พี ย งพอกั บ ความต้ อ งการ จึ ง ต้ อ งนำเข้ า จาก ต่างประเทศในปี 2554 การนำเข้ามีปริมาณ 15,524 ตัน มูลค่า 436 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 คิดเป็นร้อยละ 18.29 และ 21.69 ตามลำดับ แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ พม่า เปรู และ เวียดนาม ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปลาป่น ปี 2550-2554

ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (พันบาท)

2550 13,321 160,637

2551 12,968 286,833

2552 16,755 401,879

2553 13,125 358,543

2554 15,525 436,304

% ∆ 2554/2553 18.29 21.69

ที่มา: กรมศุลกากร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(50)

2.4) มาตรการการนำเข้า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบาย อาหารเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) เป็นประธาน และอธิบดีกรมการค้าภายใน (นางวัชรี วิมุกตายน) เป็นกรรมการและ เลขานุการ ให้กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าปลาป่นจากเดิมคราวละ 1 ปี เป็นคราวละ 3 ปี (2555-2557) ตามกรอบข้อผูกพันและกฎหมายของกรมศุลกากร ดังนี้ · การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการนำเข้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-ออสเตรเลีย อาเซียน-จีน (ยกเว้นพม่า) อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาการนำเข้าร้อยละ 0 · การนำเข้าตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ช่วง 1 มกราคม-มีนาคม 2555 อากรนำเข้าร้อยละ 1.67 และ 1 เมษายน 2555-31 ธันวาคม 2557 อากรนำเข้าร้อยละ 0 · การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKFTA) อากรนำเข้าร้อยละ 10 · การนำเข้าทัว่ ไป ปลาป่นโปรตีน 60% ขึน้ ไป อากรและอากรพิเศษร้อยละ 15 โปรตีนต่ำกว่า 60% อากรร้อยละ 6 ทั้งนี้ การนำเข้าปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไปไม่จำกัดปริมาณการนำเข้า ส่วนโปรตีนต่ำกว่า 60% เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(51)

มติคณะรัฐมนตรี

สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำวันที่ 08 พฤศจิกายน 2554

เศรษฐกิจ 9. เรื่อง นโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2555-2557 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดบิ อาหารสัตว์ ปี 25552557 ตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ดังนี้ 1. กากถั่วเหลือง กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลือง ตามพิกัดอัตรา ศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน ฉบับปี 2007 ในประเภทย่อย 2304.00.00 (กากน้ำมัน (ออยล์เค้ก) และกากแข็งอื่นๆ ที่ได้จากการสกัดน้ำมันถั่วเหลือง จะบดหรือทำเป็นเพลเลตหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่ แป้งถั่วเหลืองพร่องไขมันที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์บริโภค) จากคราวละ 1 ปี เป็นคราวละ 3 ปี (2555-2557) โดยมีมาตรการเช่นเดียวกับปี 2554 เนื่องจากเป็นนโยบายที่เหมาะสม สามารถ ประสานประโยชน์ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างสมดุลเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยปรับเปลี่ยนเฉพาะอัตรา อากรนำเข้าในโควตาของกากถั่วเหลืองภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKFTA) ให้เป็นไปตามข้อผูกพัน ดังนี้ 1.1 การนำเข้าภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) 1) ในโควตา กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 2 และผู้มีสิทธินำเข้าทั้งสิ้น 8 สมาคม (สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ และสมาคมผู้เลี้ยง สุกรแห่งชาติ) และมีเงื่อนไขผู้มีสิทธินำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองใน ประเทศของโรงงานสกัดน้ำมันพืชทั้งหมดในราคาไม่ต่ำกว่าที่กำหนด โดยมอบหมายให้กรมการค้า ภายในพิจารณาให้สอดคล้องกับราคารับซื้อขั้นต่ำเมล็ดถั่วเหลืองเกรดสกัดน้ำมัน แล้วนำเสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายอาหารให้ความเห็นชอบ และต้องทำสัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ทั้งนี้ หากมีผู้ยื่นขอมีสิทธินำเข้ารายใหม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานกรรมการ นโยบายอาหาร ซึ่งต้องมั่นใจว่า ผู้นำเข้ารายใหม่จะให้ความร่วมมือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด 2) การนำเข้านอกโควตา กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 119 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(52) 1.2 อากรนำเข้าร้อยละ 0 1.3 การนำเข้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-ออสเตรเลีย ตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) อากรนำเข้าในโควตาร้อยละ 0 1.4 การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AJFTA) ปี 2555 อากรนำเข้าในโควตาร้อยละ 4.44 ปี 2556 ร้อยละ 3.33 ปี 2557 ร้อยละ 2.22 1.5 การนำเข้าทัว่ ไป อากรนำเข้าร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตันละ 2,519 บาท ทั้งนี้ การนำเข้าตาม 1.1-1.5 ให้นำเข้าได้โดยไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า 2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าระยะเวลา 1 ปี ต่อไปชั่วคราว เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับมาตรการนำเข้าภายใต้กรอบ AFTA ให้มีความเหมาะสม สามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรของไทย และลดข้อโต้แย้งของประเทศ เพื่อนบ้าน ภายในเดือนมีนาคม 2555 โดยมาตรการนำเข้า ปี 2555 มีดังนี้ 2.1 การนำเข้าภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) 1) อากรนำเข้าในโควตาร้อยละ 20 ปริมาณโควตา 54,700 ตัน โดยให้ อคส. เป็นผู้นำเข้า 2) อากรนำเข้านอกโควตาร้อยละ 73 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท 2.2 การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) อากรนำเข้าร้อยละ 0 ผู้นำเข้า ทั่วไปกำหนดเวลานำเข้าระหว่าง 1 มีนาคม-31 กรกฎาคม 2555 และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด มาตรฐาน และควบคุมการนำเข้าตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 สำหรับ อคส. ให้นำเข้าได้โดยไม่จำกัดเวลานำเข้า 2.3 การนำเข้าภายใต้โครงการลงทุนเกษตรแบบมีสญ ั ญากับประเทศเพือ่ นบ้าน (Contract Farming) ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) อากรนำเข้าร้อยละ 0 กำหนดเวลานำเข้าระหว่าง 1 มีนาคม-31 กรกฎาคม 2555 ผู้นำเข้า ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานและควบคุมการนำเข้าตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพ อาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 2.4 การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-นิวซีแลนด์ อากรนำเข้าในโควตา ร้อยละ 0 ตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) อากรนำเข้าในโควตาร้อยละ 0 2.5 การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ออสเตรเลีย อากรนำเข้าในโควตา ร้อยละ 10.67 ปริมาณโควตา 7,696.84 ตัน โดยให้ อคส. เป็นผู้นำเข้านอกโควตาร้อยละ 65.70 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(53) 2.6 การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) อากรนำเข้าในโควตา ช่วง 1 มกราคม-31 มีนาคม 2555 ร้อยละ 12.70 และช่วง 1 เมษายน-31 ธันวาคม 2555 ร้อยละ 10.90 2.7 การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKFTA) อากรนำเข้า ในโควตาร้อยละ 8.89 2.8 การนำเข้าทั่วไป อากรนำเข้า กก. ละ 2.75 บาท และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 1,000 บาท ทั้งนี้ การนำเข้าตามข้อ 2.1-2.8 นอกเหนือจากปริมาณในโควตาให้นำเข้าได้โดยไม่จำกัด ปริมาณและช่วงเวลานำเข้า 3. ปลาป่น กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าปลาป่นทุกชนิดโปรตีน จากคราวละ 1 ปี เป็นคราวละ 3 ปี (ปี 2555-2557) ตามกรอบข้อผูกพันและกฎหมายของกรมศุลกากร ดังนี้ 3.1 ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการนำเข้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-ออสเตรเลีย อาเซียน-จีน (เว้นพม่า) อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อากรนำเข้าร้อยละ 0 3.2 การนำเข้าตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ช่วง 1 มกราคมมีนาคม 2555 อากรนำเข้าร้อยละ 1.67 และ 1 เมษายน 2555-31 ธันวาคม 2557 ร้อยละ 0 3.3 การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKFTA) อากรนำเข้า ร้อยละ 10 3.4 การนำเข้าทั่วไป ปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไป อากรร้อยละ 15 โปรตีนต่ำกว่า 60% อากรร้อยละ 6 ทัง้ นี้ การนำเข้าปลาป่นโปรตีน 60% ขึน้ ไป ไม่จำกัดปริมาณนำเข้า ส่วนโปรตีนต่ำกว่า 60% เป็นสินค้าต้องขออนุญาตนำเข้า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


ปี 2553 ปริมาณ มูลค่า

ปี 2554 ปริมาณ มูลค่า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

-

6,400.00 2,930.83 432.00 5,588.00 1,653.65

237.26 5,795.00 94.94 3,161.34 4.61 42.00 214.55 49.36 3,008.87

90.92 2,000.00 61.11 295.00 0.29 91.00 52.20 -

52.38 7.70 2.35 -

10.93 7.54 89.11 107.58

ปี 2555 (ม.ค.-เม.ย.) ปริมาณ มูลค่า

8,888.50 347.95 2,124.15 81.52 344.77 5,597.21 198.53 519.70 15.20 439.20 13.40 238.82 14,168.40 581.27 2,240.00 88.00 1.15 31,825.16 1,239.01 2,823.60

ปี 2554 (ม.ค.-เม.ย.) ปริมาณ มูลค่า

170.25 3,000.00 94.75 2,061.34 0.51 22.00 93.27 1,751.39

265.52 40,913.72 1,755.30 9,283.50 363.22 106.75 200.00 9.22 111.62 6,462.09 243.06 3,239.99 122.15 19.65 5,336.66 203.18 8,288.40 314.49 5.69 300.00 10.64 519.70 15.20 34.41 898.60 30.46 1,038.00 32.59 37.05 26,447.61 1,166.01 26,761.09 1,078.34 - 1,810.34 61.43 120.41 - 530.45 17.92 0.38 42.00 0.37 88.00 1.15 701.48 82,411.03 3,479.67 49,749.14 1,945.06

ปี 2552 ปริมาณ มูลค่า

ชั้น 1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 8,045.00 ญี่ปุ่น 3,702.00 ไต้หวัน 3,950.10 อินโดนีเซีย 500.18 บังคลาเทศ 200.00 ฟิลิปปินส์ 1,078.40 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 1,063.80 มาเลเซีย อินเดีย 3,475.30 ศรีลังกา 42.00 รวมชั้น 1 22,056.78 ชั้น 2 สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน ศรีลังกา ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย -

ประเทศ

สถิติการส่งออกสินค้ามาตรฐานปลาป่น ตามใบรับรองมาตรฐานสินค้า

-33.33 -85.69 -

-83.77 -45.62 -84.19 -91.13



-42.40 -87.39 -

-86.59 -43.72 -84.67 -91.32

% เปลี่ยนแปลง (55/54) ปริมาณ มูลค่า

(54)


680.00 680.00 22,736.78

- 1,300.00 49.26 - 2,444.25 82.17 40.00 1.38 100.00 3.33 104.79 2.55 275.00 9.85 19.64 440.00 14.18 19.64 4,704.04 162.72 721.12 105,000.68 4,272.28

1,040.11 33.67 400.11 13.08 2,779.00 96.22 818.50 26.04 1,040.00 - 498.50 112.00 1.35 204.59 3.43 236.50 8.19 64.50 2.38 43.00 760.00 25.52 260.00 9.54 140.00 2,200.07 72.95 1,000.07 32.42 300.00 7,332.27 241.31 2,543.18 83.46 2,021.50 69,088.61 2,545.14 41,203.07 1,527.00 7,231.10

27.05 10.94 1.25 4.56 8.27 52.07 222.08

27.06 -33.33 -46.15 -70.00 -20.51 -82.45

3.88 -47.72 -52.23 -74.49 -37.61 -85.46

ปี 2552 ปี 2553 ปี 2554 ปี 2554 (ม.ค.-เม.ย.) ปี 2555 (ม.ค.-เม.ย.) % เปลี่ยนแปลง (55/54) ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 400.00 11.61 481.13 17.56 - 17,885.61 629.89 12,007.21 358.77 6,834.73 204.52 2,386.00 62.43 -65.09 -69.48

ที่มา: สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้า ส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ

รวมชั้น 2 ชั้น 3 สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ฮ่องกง สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย รวมชั้น 3 รวมทั้งสิ้น

แอฟริกาใต้ มาเลเซีย

ประเทศ



(55)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(56)

ผลการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตร ข้าวนาปี

ปี 2555 (ปีเพาะปลูก 2555/56) เนือ้ ทีเ่ พาะปลูก รวมทัง้ ประเทศ 61.715 ล้านไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 0.640 ล้านไร่ หรือร้อยละ 1.05 ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 25.882 ล้าน ตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 2.886 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 12.55 ผลผลิตต่อไร่ ทั้งประเทศ 419 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 42 กิโลกรัม หรือร้อยละ 11.14

สถานการณ์การผลิต เนื้อที่เพาะปลูก เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว โดยเฉพาะภาคเหนือตอน ล่าง และภาคกลาง ซึ่งปีที่แล้วแหล่งผลิตลุ่ม เจ้าพระยา ไม่สามารถปลูกข้าวนาปีรอบ 2 ได้ เนือ่ งจากประสบอุทกภัยในช่วงปลายปี ประกอบ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

กั บ ราคาข้ า วที่ เ กษตรกรขายได้ อ ยู่ ใ นเกณฑ์ ดี และภาครัฐมีนโยบายรับจำนำข้าว ทำให้ราคา ข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงจูงใจให้เกษตรกรปลูก ข้าวเพิ่มขึ้น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาตใต้ เนื้อที่เพาะปลูกข้าวลดลง เนื่องจาก ในบางพื้นที่เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อย โรงงานและปาล์มน้ำมัน และจากปีที่แล้วหลาย แหล่งผลิตประสบอุทกภัยทั้งในช่วงกลางปีและ ปลายปี ทำให้ผลผลิตเสียหาย แต่สำหรับปีนี้ จากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ไม่มีโรค แมลงระบาด ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

ข้าวนาปรัง ปี 2555

เนือ้ ทีเ่ พาะปลูก รวมทัง้ ประเทศ 16.915 ล้านไร่ เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้ว 0.812 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 5.04




(57) ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 11.247 ล้าน ตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 1.106. ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 10.90 ผลผลิตต่อไร่ ทั้งประเทศ 665 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 35 กิโลกรัม หรือร้อยละ 5.56

สถานการณ์การผลิต เนื้อที่เพาะปลูก เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่าง เก็บน้ำที่สำคัญและน้ำตามธรรมชาติมีเพียงพอ ต่อการเพาะปลูก และชาวนาบางส่วนปลูกชดเชย ข้าวนาปีที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย โดย เฉพาะจังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยาสามารถปลูก ข้ า วนาปรั ง ภายหลั ง น้ ำ ลดได้ ม ากกว่ า เดิ ม ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นจาก ปีที่ผ่านมา จึงจูงใจให้เกษตรกรปลูกมากขึ้น สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจาก สภาพอากาศเอื้ออำนวย มีปริมาณน้ำเพียงพอ ทำให้ข้าวเจริญเติบโตดี และข้าวในปีนี้ขายได้ ราคาดีกว่าปีที่แล้วทำให้เกษตรกรมีการดูแล ใส่ ปุย๋ เพิม่ ประกอบกับภาครัฐมีการสนับสนุนปัจจัย การผลิต ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ และปุ๋ยให้เกษตรกร เพื่อการฟื้นฟูเยียวยาภายหลังน้ำลด ทำให้ภาพ รวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น

สำหรับสถานการณ์การเกิดเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาลระบาดในพื้นที่บริเวณภาคกลางพบว่า จังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี และอ่างทอง มีพื้นที่ระบาดแต่ไม่ได้รับ ความเสียหายเนื่องจากข้าวอยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 60 วัน และเกษตรกรส่วนหนึ่งหันมาปลูกข้าว พันธุ์ที่ทนเพลี้ยเช่น กข.41และ กข.47 ส่วนใน พื้นที่บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก และ ปราจีนบุรี มีพื้นที่ระบาดแต่ไม่มากนักผลผลิต ได้รับผลกระทบเล็กน้อย สถานการณ์ตลาดและราคา จากการ คาดการณ์ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ณ เดือน พฤษภาคม 2555 ผลผลิตข้าวโลก ปี 2555/56 มีปริมาณ 466.449 ล้านตันข้าวสาร (695.6 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิม่ ขึน้ จาก 463.310 ล้าน ตันข้าวสาร (690.7 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2554/55 ร้อยละ 0.68 การใช้ในประเทศมี ประมาณ 465.725 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้น จากปี 2554/55 ร้อยละ 1.72 การส่งออก/ นำเข้า มีประมาณ 35.230 ล้านตันข้าวสาร เพิม่ ขึน้ จากปี 2554/55 ร้อยละ 2.92 ส่งผลให้ สต๊อกปลายปีคงเหลือ มีปริมาณ 104.878 ล้ า นตั น ข้ า วสาร เพิ่ ม ขึ้ น จากปี 2554/55 ร้อยละ 0.70 นอกจากนี้อินดียซึ่งเป็นคู่แข่ง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(58) ที่สำคัญของไทย คาดว่าจะส่งออกข้าวขาวที่ ไม่ ใ ช่ บ าสมาติ เพิ่ ม อี ก ประมาณ 2 ล้ า นตั น ภายในเดือนมิถุนายน 2555 เพิ่มเตรียมพื้นที่ คลังเก็บสินค้าไว้สำหรับธัญพืชในฤดูการผลิต ใหม่ หลังจากที่อนุญาตให้มีการส่งออกที่ไม่ใช่ ข้ า วบั ส มาติ เ มื่ อ ช่ ว งเดื อ นตุ ล าคม 2554มีนาคม 2555 จำนวน 2.5 ล้านตันข้าวสาร สำหรับประเทศไทย คาดว่าแนวโน้มราคา ข้าวในประเทศ ปี 2555 จะปรับตัวสูงขึ้นจาก ปี 2554 เนื่องจากผลของโครงการรับจำนำที่ กำหนดราคารับจำนำสูงนำตลาด ซึ่งจะมีผล กระทบต่อการแข่งขันของไทยในการส่งออกข้าว ไปยั ง ตลาดโลกลดลง เนื่ อ งจากราคาข้ า วใน ประเทศจะดึงให้ราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นตาม ไปด้วย

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ปี 2555 (ปีเพาะปลูก 2555/56) เนื้อที่เพาะปลูก รวมทั้งประเทศ 7.195 ล้านไร่ ลดลง จากปีที่แล้ว 60,610 ไร่ หรือ ร้อยละ 0.84 ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 4.813 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 31,440 ตัน หรือร้อยละ 0.66 ผลผลิตต่อไร่ ทั้งประเทศ 669 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 10 กิโลกรัม หรือร้อยละ 1.52 สถานการณ์การผลิต เนื้อที่เพาะปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง จากการลดของเนื้อที่ เพาะปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ รุน่ 1 ซึง่ เกษตรกรปรับ เปลี่ยนไป ปลูกมันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

ที่มีความเสี่ยงจากภัยแล้งน้อยกว่า และให้ผล ตอบแทนดีกว่า ประกอบกับในภาคเหนือเกษตรกร ทีเ่ คยปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์แซมในสวนยางพารา ปัจจุบนั ต้นยางพาราเจริญเติบโตไม่สามารถปลูก แซมได้อกี เช่นในจังหวัดตาก กำแพงเพชร น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก อุทัยธานี และเพชรบูรณ์ ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น หากปี 2555 สภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวย น้ำฝนเพียงพอ ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตเพิ่มขึ้น สถานการณ์ตลาดและราคา ผลผลิต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย คาดว่ามีเพียงพอกับ ความต้องการใช้ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นตาม การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการเลีย้ งสัตว์ ขณะที่ผู้ผลิต อาหารสัตว์ของไทยมีการใช้ข้าว สาลีทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บางส่วนในสูตร อาหารสัตว์ ประกอบกับความต้องการใช้ขา้ วโพด


(59) เลีย้ งสัตว์ของโลกเพิม่ ขึน้ น้อยกว่าปริมาณผลผลิต ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นคาดว่าราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จะอ่อนตัวลดลงเล็กน้อย

ถั่วเหลือง

ปี 2555 (ปีเพาะปลูก 2555/56) เนือ้ ทีเ่ พาะปลูก รวมทัง้ ประเทศ 564,750 ไร่ ลดลง จากปีที่แล้ว 3,720 ไร่ หรือร้อยละ 0.65

ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และ ยางพารา ผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจาก ปีที่แล้วถั่วเหลืองบางพื้นที่มีเชื้อราระบาด ทำ ให้ได้ผลผลิตไม่เต็มที่ สำหรับถั่วเหลือง รุ่น 2 คาดว่ า เกษตรกรจะปรั บ เปลี่ ย นเนื้ อ ที่ ไ ปปลู ก ข้าวนาปรังมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากข้าว ราคาดี ผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้นหากสภาพ อากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก

ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 151,880 ตัน เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 540 ตัน หรือร้อยละ 0.36 ผลผลิตต่อไร่ ทั้งประเทศ 269 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 3 กิโลกรัม หรือร้อยละ 1.13 สถานการณ์ ต ลาดและราคา สภาพ ภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญต่อปริมาณ และคุณภาพผลผลิต สำหรับถัว่ เหลืองฤดูแล้งปีเพาะปลูก 2554/55 ส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ราคาจึงปรับสูงขึน้ เล็กน้อยเมือ่ เทียบกับช่วงเดียว กันของปีที่ผ่านมา

มันสำปะหลัง สถานการณ์การผลิต เนื้อที่เพาะปลูก ถั่วเหลืองโดยรวมลดลงจากปีที่แล้ว เนื่องจาก ในการปลู ก ถั่ ว เหลื อ งใช้ ต้ น ทุ น การผลิ ต สู ง ทั้ ง เมล็ดพันธุ์ และแรงงานเก็บเกี่ยว เกษตรกรจึง ปรั บ เปลี่ ย นเนื้ อ ที่ ไ ปปลู ก พื ช ชนิ ด อื่ น ที่ ใ ห้ ผ ล ตอบแทนดีกว่า โดยถั่วเหลือง รุ่น 1 เกษตรกร บางส่วนปรับเปลี่ยนเนื้อที่ไปปลูก อ้อยโรงงาน

ปี 2556 (ปีเพาะปลูก 2555/56) เนื้อที่เก็บเกี่ยว รวมทั้งประเทศ 7.179 ล้านไร่ ลดลง จากปีที่แล้ว 0.063 ล้านไร่ หรือร้อยละ 0.88 ผลผลิ ต รวมทั้ ง ประเทศ 25.226 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 0.378 ล้านตัน หรือร้อยละ 1.52 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(60)

ผลผลิ ต ต่ อ ไร่ ทั้ ง ประเทศ 3,514 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 83 กิโลกรัม หรือร้อยละ 2.42 สถานการณ์ ก ารผลิ ต เนื้ อ ที่ เ ก็ บ เกี่ ย ว ลดลง เนื่องจากราคาเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังสด คละที่เกษตรกรขายได้ปีเพาะปลูก 2554/55 (ตุลาคม 2554-พฤษภาคม 2555) กิโลกรัมละ 2.09 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 2.68 บาท ในปีเพาะปลูก 2553/54 ร้อยละ 21.87 ทำให้ เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อยโรงงานที่ให้ ผลตอบแทนดี ก ว่ า ในจั ง หวั ด นครสวรรค์ กำแพงเพชร หนองบัวลำภู อุดรธานี มุกดาหาร สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ปราจีนบุรี และกาญจนบุรี สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมี ฝนตกกระจายทำให้ตน้ มันสำปะหลังเจริญเติบโต ดี และในปีนี้การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งลด ลง ไม่รุนแรงเหมือนปี ที่ผ่านมา ประกอบกับ เกษตรกรมีการดูแลโดยการใส่ปุ๋ย และฉีดยา กำจัดวัชพืช ส่งผลให้ผลผลิตในภาพรวมเพิ่มขึ้น สถานการณ์ตลาดและราคา ปี 2556 คาดว่าราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้ จะ ใกล้เคียงกับปี 2555 อย่างไรก็ตาม หากผล ผลิ ต มั น สำปะหลั ง ของเพื่ อ นบ้ า น โดยเฉพาะ กัมพูชา เวียดนาม และลาว ขยายตัวเพิ่มขึ้น จะ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

ส่งผลทางลบต่อราคามันสำปะหลังที่เกษตรกร ขายได้ของไทย ในด้านการส่งออก ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังโดยเฉพาะมันเส้นของเวียดนาม ซึง่ เป็ น คู่ แ ข่ ง ที่ ส ำคั ญ มี คุ ณ ภาพตรงกั บ ความ ต้องการของจีน ส่งผลให้จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าหลัก ของไทยจะนำเข้าจากเวียดนามก่อน เช่นเดียวกับ ปี 2555 ส่งผลให้การส่งออกมันเส้นไทยชะลอ ตัวตั้งแต่ต้นฤดูเก็บเกี่ยว

ปาล์มน้ำมัน ปี 2555

เนื้ อ ที่ ใ ห้ ผ ล รวมทั้ ง ประเทศ 3.983 ล้านไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 0.235 ล้านไร่ หรือร้อยละ 6.28 ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 11.619 ล้าน ตัน เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 0.843 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 7.82 ผลผลิ ต ต่ อ ไร่ ทั้ ง ประเทศ 2,918 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 42 กิโลกรัม หรือร้อยละ 1.46 สถานการณ์การผลิต ปริมาณผลผลิต ปาล์มน้ำมัน ปี 2555 เพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ ให้ผล และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น โดยเนื้อที่ให้ผล


(61) สถานการณ์ ต ลาดและราคา ในช่ ว ง เดือนมกราคม-เมษายน 2555 ไทยมีการส่งออก น้ำมันปาล์มดิบประมาณ 113,018 ตัน มูลค่า 3,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 89.02 และ 50.93 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ ำ มั น ปาล์ ม ดิ บ ในตลาดโลกอยู่ ใ น ระดับสูงจึงจูงใจให้ผู้ประกอบการส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับราคาผลปาล์มทีเ่ กษตรกรขายได้ ปี 2555 คาดว่ า จะอยู่ ใ นเกณฑ์ ดี และใกล้ เ คี ย งกั บ ปี ที่ ผ่านมา ตามราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลก

ไก่เนื้อ

ปี 2555

เพิ่มขึ้นจากปาล์มน้ำมันที่ปลูกแทนในที่นาร้าง หรือทีน่ าลุม่ และสวนยางพารา รวมถึงสวนไม้ผล เช่น ทุเรียน เงาะ กาแฟ และส้ม ในปี 2552 เริ่มให้ผลผลิต ส่วนผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่อง จากราคาผลปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้อยู่ ในเกณฑ์ดีและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยราคาผล ปาล์มน้ำมันทัง้ ทะลายน้ำหนักมากกว่า 15 กิโลกรัม ที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา เดือนมกราคม 2555 กิโลกรัมละ 4.89 บาท เพิม่ เป็นกิโลกรัม ละ 5.73 บาทในเดือนเมษายน 2555 จึงจูงใจ เกษตรกรให้การดูแลดี ประกอบกับในปี 2554 ต่อเนื่องถึงปี 2555 ฝนมาเร็วและตกสม่ำเสมอ เกษตรกรสามารถใส่ ปุ๋ ย บำรุ ง ได้ ม ากขึ้ น ต้ น ปาล์มสมบูรณ์จึงออกจั่นตัวเมียมาก และทะลาย ใหญ่ขึ้น

จำนวนไก่เนือ้ ณ วันที่ 1 มกราคม รวม ทั้งประเทศ 141.818 ล้านตัว เพิ่มขึ้น จาก ปีที่แล้ว 4.172 ล้านตัว หรือร้อยละ 3.03 ปริ ม าณการผลิ ต ปี 2555 รวมทั้ ง ประเทศ 1,012.545 ล้านตัว เพิ่มขึ้น จากปี ที่แล้ว 18.226 ล้านตัว หรือร้อยละ 1.83 สถานการณ์การผลิต ปริมาณการผลิต ไก่เนือ้ ปี 2555 คาดว่าเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากเกษตรกรมีการพัฒนามาตรฐานการเลี้ยง และการจัด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(62) การสร้างความเชือ่ มัน่ ในคุณภาพการผลิตเนือ้ ไก่ ของไทยแล้ว ยังจะทำให้เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ส่งออกเนื้อไก่ไทยไปยังตลาดโลกและส่งผลให้ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อของไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วย

ไข่ไก่

ปี 2555 การฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และมีระบบการผลิต ที่ปลอดภัย ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการ บริโภคผลิตภัณฑ์เนือ้ ไก่ ประกอบกับราคาเนือ้ ไก่ มีราคาถูกกว่าราคาเนื้อสัตว์ชนิดอื่นโดยเปรียบ เทียบ ส่งผลให้ปริมาณความต้องการบริโภค เนื้อไก่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออก ส่งผลให้ในภาพรวมของปี 2555 การผลิตไก่เนื้อยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ต ลาดและราคา ในปี 2555 ราคาไก่ เ นื้ อ มี ชี วิ ต ที่ เ กษตรกรขายได้ ในไตรมาสที่ 2 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.23 บาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 2.58 และ ลดลงจาก ไตรมาสเดี ย วกั น ของปี ที่ ผ่ า นมา ร้อยละ 15.03 เนือ่ งจากปริมาณไก่เนือ้ ยังคงออก สูต่ ลาดมาก ประกอบกับมีอาหารชนิดอืน่ ทดแทน เช่นเนื้อหมูและเนื้อปลาที่มีราคาลดลง ส่งผลให้ ความต้องการบริโภคยังคงอ่อนตัวลง สำหรับด้านต่างประเทศ EU ได้มีมติ ยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่สดจากประเทศไทย หลัง จากที่เคยระงับการส่งออกจากประเทศไทยด้วย โรคไข้หวัดนกตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2547 ซึ่ ง จะส่ ง ผลให้ ไ ทยสามารถส่ ง ออกไก่ ส ดไป จำหน่ายยังสหภาพยุโรปได้อีกครั้ง ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ซึง่ นอกจากจะเป็น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

จำนวนไก่ไข่ ณ วันที่ 1 มกราคม รวม ทั้งประเทศ 41.489 ล้านตัว เพิ่มขึ้น จากปี ที่แล้ว 1.039 ล้านตัว หรือร้อยละ 2.57 ปริมาณการผลิตไข่ไก่ รวมทั้งประเทศ 11,022 ล้านฟอง เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 998 ล้านฟอง หรือร้อยละ 9.96 อัตราการให้ไข่ รวมทัง้ ประเทศ 292 ฟอง ต่อตัวต่อปี เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 3 ฟองต่อตัว ต่อปี หรือร้อยละ 1.04 สถานการณ์ ก ารผลิ ต ปริ ม าณการ ผลิ ต ไข่ ไ ก่ คาดว่ า เพิ่ ม ขึ้ น จากปี ที่ แ ล้ ว เนื่ อ ง จากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่เร่งพัฒนาการเลี้ยง ตั้งแต่คุณภาพสายพันธุ์ โรงเรือนปรับอากาศ ตลอดจนการจัดการต่างๆ ภายในฟาร์มให้ดีขึ้น


(63) ทำให้ ป ระสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต สู ง ขึ้ น ส่ ง ผลให้ ปริมาณไข่ไก่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ตั้งแต่กลางปี 2553 ซึ่งรัฐบาลเปิดให้นำเข้าพ่อ-แม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) โดยเสรี และภาคเอกชนมีการนำเข้ามา ตั้งแต่ปลายปี 2553 ทำให้จำนวนพ่อแม่พันธุ์ และแม่ไก่ไข่ที่ให้ไข่ในระบบมีมากขึ้น ส่งผลให้ ปริมาณการผลิตไข่ไก่เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตดังกล่าวยังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากภาวะตลาดที่ไม่แน่นอนและราคาที่ไม่ จูงใจ ภาคเอกชนจึงยังนำเข้าพ่อ-แม่พนั ธุไ์ ม่ครบ ตามแผนที่เคยกำหนดไว้ สถานการณ์ตลาดและราคา ราคาไข่ไก่ ที่เกษตรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศปรับตัวลดลง จากปีที่แล้ว รวมทั้งแม่ไก่ไข่รุ่นใหม่เริ่มให้ผล ผลิต โดยไตรมาสแรกราคาอยู่ที่ฟองละ 2.65 บาท และไตรมาสทีส่ อง (เม.ย.-พ.ค.) อยูท่ ฟี่ องละ 2.54 บาท เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ทำให้ไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดส่วนใหญ่เป็นไข่ขนาด เล็ ก ไม่ เ ป็ น ที่ นิ ย มของผู้ บ ริ โ ภค แต่ ค าดว่ า ปลายไตรมาส 2 ราคาไข่ไก่จะปรับตัวสูงขึ้น

สุกร

ปี 2555 จำนวนสุกร ณ วันที่ 1 มกราคม รวม ทั้งประเทศ 7.906 ล้านตัว เพิ่มขึ้น จากปี ที่แล้ว 0.120 ล้านตัว หรือร้อยละ 1.55 ปริ ม าณการผลิ ต รวมทั้ ง ประเทศ 12.146 ล้านตัว เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 0.257 ล้านตัว หรือร้อยละ 2.16

สถานการณ์การผลิต ปริมาณการผลิต คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากในปีที่แล้วราคาสุกร พันธุ์ลูกผสมมีชีวิตน้ำหนัก 100 กก. ขึ้นไป ที่ เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.54 บาท จึงจูงใจให้ฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ขยาย การเลี้ยงเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าเกษตรกรรายย่อยที่ ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเลิกเลี้ยงไปบางส่วน ก็ตาม ประกอบกับเกษตรกรสามารถควบคุมการ ระบาดของโรคทางระบบสืบพันธุ์และระบบทาง เดินหายใจ (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome: PRRS) ได้เป็นอย่างดี จึงไม่สง่ ผลกระทบกับปริมาณการผลิตสุกรในปีนี้ สำหรับจำนวนสุกร ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 เพิ่ ม ขึ้ น จากสุ ก รที่ อ ยู่ ร ะหว่ า งการเลี้ ย งในช่ ว ง ปลายปี 2554 ยังเหลืออยูม่ ากเพราะการบริโภค ของประชาชนในช่วงอุทกภัยลดลง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(64)

สถานการณ์ตลาดและราคา ปี 2555 คาดว่ า ปริ ม าณการบริ โ ภคเนื้ อ สุ ก รจะเพิ่ ม ขึ้ น เนื่องจากราคาสุกรลดลงเมื่อเทียบกับปี 2554 อย่างไรก็ตาม การทีส่ นิ ค้าต่างๆ มีการปรับราคา สูงขึน้ ตามต้นทุนการผลิต ทีเ่ พิม่ ขึน้ จากการปรับ ค่าแรงขั้นต่ำและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น จะ ทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงและส่งผลให้ ปริมาณการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก ราคาสุกรทีเ่ กษตรกรขายได้เฉลีย่ ปี 2555 คาดว่าจะลดลงเมือ่ เทียบกับปี 2554 ทัง้ นีร้ าคา สุกรได้ลดลงตั้งแต่ต้นปี 2555 เพราะมีปริมาณ สุกรเพิม่ ขึน้ ขณะทีค่ วามต้องการบริโภคค่อนข้าง ทรงตัว ทำให้มีปริมาณสุกรส่วนเกินเหลือสะสม เพิม่ ขึน้ ส่งผลให้เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งสุกรประสบการ ขาดทุน กลุม่ ผูเ้ ลีย้ งสุกรจึงขอให้ภาครัฐช่วยเหลือ โดยการกระตุ้นให้มีการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น และเก็บสต๊อกเนือ้ สุกรเข้าห้องเย็นเพือ่ ลดปริมาณ สุกร ราคาสุกรเริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มสูงขึ้น ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2555 และในเดือน เมษายนราคาสุกรปรับตัวสูงขึน้ เนือ่ งจากปริมาณ สุกรส่วนเกินลดลงเพราะมีการจัดจำหน่ายเนื้อ สุกรราคาถูกเพือ่ กระตุน้ การบริโภค ทำให้สามารถ ลดปริมาณสุกรส่วนเกินได้ส่วนหนึ่ง และมีการ ส่งออกสุกรมีชีวิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

ระบายผลผลิต ประกอบกับสภาพอากาศร้อน ทำ ให้สุกรเจริญเติบโตช้าลง แต่ในเดือนพฤษภาคม 2555 ราคาสุกรทรงตัวและเริม่ ลดลงตัง้ แต่ชว่ ง กลางเดือน เนือ่ งจากความต้องการบริโภคลดลง เพราะมีฝนตกบ่อยในหลายพืน้ ที่ ประกอบกับอยู่ ในช่วงใกล้เปิดเทอมทำให้การใช้จ่ายด้านการ บริโภคลดลงขณะที่มีปริมาณสุกรออกสู่ตลาด เพิ่มขึ้น และคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังราคาสุกร จะลดลง เนื่องจากจะมีปริมาณสุกรออกสู่ตลาด เพิ่มขึ้น เพราะในช่วงปลายปีเป็นช่วงที่ผลผลิต ออกสู่ตลาดมาก

โคเนื้อ

ปี 2555 จำนวนโคเนือ้ ณ วันที่ 1 มกราคม รวม ทั้งประเทศ 5.393 ล้านตัว ลดลง จากปีที่แล้ว 498,122 ตัว หรือร้อยละ 8.46 ปริมาณการผลิต รวมทัง้ ประเทศ 1.063 ล้านตัว ลดลง จากปีที่แล้ว 24,142 ตัว หรือ ร้อยละ 2.22 สถานการณ์การผลิต จำนวนโคเนื้อ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 ลดลงจากปีทแี่ ล้ว เนือ่ ง จากจำนวนแม่โคลดลงจากการส่งออกโคเนื้อไป




(65) และยังมีบางส่วนที่หันไปเลี้ยงแพะเนื้อ ส่งผลให้ พื้นที่ในการเลี้ยงโคเนื้อลดลง และคาดว่าในช่วง ครึ่งปีหลังภาวะตลาดโคเนื้อยังคงไม่คึกคักเท่าที่ ควรราคาจะสูงขึน้ เล็กน้อย เนือ่ งจากปริมาณการ ผลิตยังคงไม่เพิ่มขึ้น

น้ำนมดิบ ประเทศเพือ่ นบ้าน เช่น ลาว เขมร และเวียดนาม ตั้งแต่ปี 2553 อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนโคเนื้อในประเทศจึง ต้องบริโภคโคเนื้อเพศเมียและโคที่ยังโตไม่เต็มที่ เพิม่ ขึน้ การขยายพันธุจ์ งึ ทำได้นอ้ ยมาก สำหรับ ปริมาณการผลิตยังคงลดลงเช่นกัน เนื่องจาก เกษตรกรบางส่วนเลิกเลี้ยงโค และเปลี่ยนพื้นที่ เลีย้ งโคเนือ้ ไปปลูกพืชเศรษฐกิจทีใ่ ห้ผลตอบแทน ได้รวดเร็วกว่าการเลี้ยงโคเนื้อ ประกอบกับเมื่อ โคเข้าไปกิน หรือเข้าไปเหยียบย่ำพืชดังกล่าว ทำให้พืชได้รับความเสียหาย เจ้าของโคต้องเสีย ค่าปรับ และมีปัญหากับเกษตรกรผู้ปลูกพืช ส่ง ผลให้ไม่สามารถขยายการเลี้ยงโคเนื้อได้ ถึงแม้ ว่าราคาโคเนื้อจะปรับตัวสูงขึ้นแต่ยังไม่จูงใจให้ เกษตรกรกลับมาเลี้ยงโคเนื้อ สถานการณ์ตลาดและราคา โคมีชีวิต ที่เกษตรกรขายได้ไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ราคา เฉลีย่ กิโลกรัมละ 56.57 บาท สูงขึน้ จากไตรมาส ทีผ่ า่ นมา ร้อยละ 1.40 และสูงขึน้ จากช่วงเดียวกัน ของปีทผี่ า่ นมา ร้อยละ 18.25 เนือ่ งจากปริมาณ การผลิตลดลงจากการที่เกษตรกรบางส่วนเลิก เลี้ยงโคเนื้อ และหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า และเร็วกว่า เช่น มัน สำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

ปี 2555

จำนวนโคนม ณ วันที่ 1 มกราคม รวม ทั้งประเทศ 573,963 ตัว เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 18,477 ตัว หรือร้อยละ 3.33 ปริ ม าณการผลิ ต น้ ำ นมดิ บ รวมทั้ ง ประเทศ 1,009,980 ตัน เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 25,020 ตัน หรือร้อยละ 2.54 อัตราการให้น้ำนมดิบ เฉลี่ยทั้งประเทศ 11.93 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้ว 0.10 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน หรือร้อยละ 0.85 สถานการณ์การผลิต เนื่องจากต้นทุน การผลิตมีแนวโน้มสูงขึน้ เรือ่ ยๆ โดยเฉพาะต้นทุน ค่าอาหาร ทำให้เกษตรกรรายย่อยที่มีประสิทธิภาพการผลิตไม่ดี ผลิตน้ำนมดิบปริมาณน้อย มี ร ายได้ ไ ม่ เ พี ย งพอกั บ รายจ่ า ยเมื่ อ เที ย บกั บ ต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้ประสบปัญหาขาดทุน จึง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(66) เลิกเลี้ยง หรือขายโคนมให้เกษตรกรที่มีการ บริ ห ารจั ด การที่ ดี มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในการผลิ ต ดีกว่า ในขณะที่ราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบ ซึ่ง กำหนดโดยคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์ นม (Milk Board) ที่กิโลกรัมละ 18 บาท ยัง สูงพอทีจ่ ะจูงใจให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญ ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น ส่งผลให้อตั ราการผสมติดของแม่โคสูงขึน้ อัตรา การให้นมเฉลี่ยของแม่โคสูงขึ้น จึงทำให้ผลผลิตน้ำนมดิบในประเทศสูงขึ้นและจำนวนแม่โครีดนม เพิ่มขึ้นตามไปด้วย สถานการณ์ตลาดและราคา ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งเป็นผล ต่อเนื่องจากการที่โรงงานแปรรูปนมถูกน้ำท่วมนั้น คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk Board) ได้เสนอคณะรัฐมนตรี ขออนุมตั งิ บกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพือ่ กรณีฉกุ เฉิน หรือจำเป็น ปีงบประมาณ 2555 วงเงินไม่เกิน 73 ล้านบาท เพื่อให้ อ.ส.ค. จัดซื้อผลิตภัณฑ์นมยูเอชที และ นมพาสเจอร์ไรส์จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบไม่มีที่จำหน่าย รวม ประมาณ 2,000 ตัน ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 คาดว่าเมื่อโรงเรียนกลับมาเปิด ภาคเรียน สถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนราคากลางน้ำนมดิบยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีราคาหน้าโรงงานกิโลกรัมละ 18.00 บาท จนกว่าจะมีมติเปลี่ยนแปลงจากคณะรัฐมนตรี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


2553/54 ข้าวนาปี 64,574,071 ข้าวนาปรัง 16,102,293 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 7,480,933 ถั่วเหลือง 577,191 มันสำปะหลัง 7,096,173

ชื่อพืช

เนื้อที่เพาะปลูก (ไร่) ปีเพาะปลูก ผลผลิต (ตัน) ปีเพาะปลูก ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) ปีเพาะปลูก ปริมาณ ร้อยละ ปริมาณ ร้อยละ มาณ ร้อยละ 2554/55 2555/56 ปริ เพิ่ม-ลด เพิม่ -ลด 2553/54 2554/55 2555/56 เพิ่ม-ลด เพิม่ -ลด 2553/54 2554/55 2555/56 เพิ่ม-ลด เพิ่ม-ลด 61,074,780 61,714,660 639,880 1.05 25,442,184 22,995,839 25,881,710 2,885,871 12.55 394 377 419 42 11.14 16,914,620 - 812,327 5.04 10,141,451 11,247,020 - 1,105,569 10.90 630 665 35 5.56 7,255,950 7,195,340 -60,610 -0.84 4,860,746 4,781,970 4,813,410 31,440 0.66 650 659 669 10 1.52 568,470 564,750 -3,720 -0.65 152,047 151,340 151,880 540 0.36 263 266 269 3 1.13 7,242,298 7,178,800 -63,498 -0.88 21,912,416 24,847,806 25,225,950 378,144 1.52 3,088 3,431 3,514 83 2.42

ปาล์มน้ำมัน

1

ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร โคเนื้อ โคนม

ชื่อปศุสัตว์

131,331,732 39,424,265 7,623,730 6,497,996 525,019

ปี 2553

จำนวน ณ วันที่ 1 มกราคม (ตัว) ปี 2554 ปี 2555 ปริมาณ เพิ่ม-ลด 137,646,821 141,818,460 4,171,639 40,449,726 41,488,920 1,039,194 7,785,525 7,905,980 120,455 5,890,701 5,392,579 -498,122 555,486 573,963 18,477

หมายเหตุ: · ไก่เนื้อ ไก่ไข่ จำนวนตัว ณ วันที่ 1 มกราคม เป็นข้อมูลผลการสำรวจ · โคเนื้อ โคนม จำนวนตัว ณ วันที่ 1 มกราคม เป็นข้อมูลผลการสำรวจเบื้องต้น · ปริมาณการผลิตในรอบปีของโคนม คือ น้ำนมดิบ หน่วย: ตัน

1 2 3 4 5

ลำดับที่

· สุกร จำนวนตัว ณ วันที่ 1 มกราคม เป็นข้อมูลพยากรณ์ · ปริมาณการผลิตในรอบปีของไก่ไข่ คือ ไข่ไก่ หน่วย: ฟอง

ปริมาณการผลิตในรอบปี (ตัว) ร้อยละ ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ปริมาณ เพิ่ม-ลด เพิ่ม-ลด 3.03 970,943,058 994,319,478 1,012,544,990 18,225,512 2.57 9,786,854,575 10,024,434,690 11,022,545,170 998,110,480 1.55 12,099,175 11,889,845 12,146,460 256,615 -8.46 1,130,406 1,087,227 1,063,080 -24,147 3.33 911,391 984,960 1,009,980 25,020

ร้อยละ เพิ่ม-ลด 1.83 9.96 2.16 -2.22 2.54

เนื้อที่ให้ผล (ไร่) ผลผลิต (ตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) ปริมาณ ร้อยละ ปริมาณ ร้อยละ มาณ ร้อยละ ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ปริ เพิ่ม-ลด เพิม่ -ลด ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 เพิ่ม-ลด เพิม่ -ลด ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 เพิ่ม-ลด เพิม่ -ลด 3,552,329 3,747,163 3,982,623 235,460 6.28 8,223,169 10,776,848 11,619,360 842,512 7.82 2,315 2,876 2,918 42 1.46

ตารางผลพยากรณ์ปริมาณการผลิตปศุสัตว์ ปี 2555

ชื่อพืช

ลำดับ ที่

ผลพยากรณ์การผลิตพืชไร่ ไม้ยืนต้นที่สำคัญ ปี 2555

หมายเหตุ: มันสำปะหลัง ปีเพาะปลูก 2555/56 (ปี 2556) หมายถึง เนื้อที่เก็บเกี่ยว/ให้ผล ระหว่าง 1 ตุลาคม 2555-30 กันยายน 2556

1 2 3 4 5

ลำดับ ที่

ผลพยากรณ์การผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ปีเพาะปลูก 2555/56

(67)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(68) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์: ผลพยากรณ์การผลิต ปี 2555 (ปีเพาะปลูก 2555/56) รายจังหวัด

ประเทศ/ภาค/จังหวัด รวมทั้งประเทศ รุ่น 1 รุ่น 2 ภาคเหนือ รุ่น 1 รุ่น 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รุ่น 1 รุ่น 2 ภาคกลาง รุ่น 1 เชียงราย รุ่น 1 รุ่น 2 พะเยา รุ่น 1 รุ่น 2 ลำปาง รุ่น 1 รุ่น 2 ลำพูน รุ่น 1 เชียงใหม่ รุ่น 1 รุ่น 2 แม่ฮ่องสอน รุ่น 1 ตาก รุ่น 1 รุ่น 2 กำแพงเพชร รุ่น 1 รุ่น 2 สุโขทัย รุ่น 1 รุ่น 2 แพร่ รุ่น 1 รุ่น 2

เนื้อที่เพาะปลูก (ไร่) 2554 2555 7,255,950 7,195,340 7,095,010 7,027,590 160,940 167,750 4,505,780 4,490,830 4,360,340 4,339,490 145,440 151,340 1,888,220 1,843,520 1,872,720 1,827,110 15,500 16,410 861,950 860,990 861,950 860,990 457,160 460,090 444,950 447,630 12,210 12,460 227,710 227,960 221,880 222,080 5,830 5,880 83,280 83,310 79,670 79,480 3,610 3,830 101,940 102,880 101,940 102,880 140,100 140,130 135,960 135,810 4,140 4,320 8,960 8,640 8,960 8,640 641,610 638,980 626,710 623,300 14,900 15,680 115,820 116,480 82,470 81,760 33,350 34,720 88,180 87,400 87,570 86,710 610 690 226,830 225,840 221,050 219,920 5,780 5,920

% -0.84 -0.95 4.23 -0.33 -0.48 4.06 -2.37 -2.44 5.87 -0.11 -0.11 0.64 0.60 2.05 0.11 0.09 0.86 0.04 -0.24 6.09 0.92 0.92 0.02 -0.11 4.35 -3.57 -3.57 -0.41 -0.54 5.23 0.57 -0.86 4.11 -0.88 -0.98 13.11 -0.44 -0.51 2.42

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

ผลผลิต (ตัน) 2554 2555 4,781,970 4,813,410 4,669,640 4,695,410 112,330 118,000 3,019,780 3,045,360 2,917,220 2,937,810 102,560 107,550 1,186,240 1,185,320 1,176,470 1,174,870 9,770 10,450 575,950 582,730 575,950 582,730 316,570 323,650 307,910 314,680 8,660 8,970 144,640 146,610 140,450 142,350 4,190 4,260 57,730 58,110 55,130 55,320 2,600 2,790 69,320 70,270 69,320 70,270 92,460 92,940 89,460 89,770 3,000 3,170 4,560 4,430 4,560 4,430 441,260 442,660 430,550 431,320 10,710 11,340 80,020 80,970 56,410 56,250 23,610 24,720 53,750 56,150 53,330 55,670 420 480 138,570 143,060 134,850 139,210 3,720 3,850

ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) % 2554 2555 % 0.66 659 669 1.52 0.55 658 668 1.52 5.05 698 703 0.72 0.85 670 678 1.19 0.71 669 677 1.20 4.87 705 711 0.85 -0.08 628 643 2.39 -0.14 628 643 2.39 6.96 630 637 1.11 1.18 668 677 1.35 1.18 668 677 1.35 2.24 692 703 1.59 2.20 692 703 1.59 3.58 709 720 1.55 1.36 635 643 1.26 1.35 633 641 1.26 1.67 719 724 0.70 0.66 693 698 0.72 0.34 692 696 0.58 7.31 720 728 1.11 1.37 680 683 0.44 1.37 680 683 0.44 0.52 660 663 0.45 0.35 658 661 0.46 5.67 725 734 1.24 -2.85 509 513 0.79 -2.85 509 513 0.79 0.32 688 693 0.73 0.18 687 692 0.73 5.88 719 723 0.56 1.19 691 695 0.58 -0.28 684 688 0.58 4.70 708 712 0.56 4.47 610 642 5.25 4.39 609 642 5.42 14.29 689 696 1.02 3.24 611 633 3.60 3.23 610 633 3.77 3.49 644 650 0.93


(69) ประเทศ/ภาค/จังหวัด น่าน รุ่น 1 รุ่น 2 อุตรดิตถ์ รุ่น 1 พิษณุโลก รุ่น 1 รุ่น 2 พิจิตร รุ่น 1 รุ่น 2 นครสวรรค์ รุ่น 1 รุ่น 2 อุทัยธานี รุ่น 1 รุ่น 2 เพชรบูรณ์ รุ่น 1 รุ่น 2 เลย รุ่น 1 รุ่น 2 หนองบัวลำภู รุ่น 1 รุ่น 2 อุดรธานี รุ่น 1 หนองคาย รุ่น 1 อุบลราชธานี รุ่น 1 ศรีสะเกษ รุ่น 1 บุรีรัมย์ รุ่น 1 ขอนแก่น รุ่น 1 รุ่น 2 ชัยภูมิ รุ่น 1

เนื้อที่เพาะปลูก (ไร่) 2554 2555 601,950 599,290 584,600 581,220 17,350 18,070 104,920 103,760 104,920 103,760 244,090 243,670 223,200 221,820 20,890 21,850 37,720 37,560 35,970 35,640 1,750 1,920 282,050 284,580 275,850 278,260 6,200 6,320 159,950 159,250 155,840 155,070 4,110 4,180 983,510 971,010 968,800 955,510 14,710 15,500 813,890 807,540 800,950 793,890 12,940 13,650 50,670 50,940 48,920 49,090 1,750 1,850 11,690 10,850 11,690 10,850 1,630 1,710 1,630 1,710 1,600 1,630 1,600 1,630 21,410 22,260 21,410 22,260 670 610 670 610 4,880 5,900 4,070 4,990 810 910 114,030 106,210 114,030 106,210

% -0.44 -0.58 4.15 -1.11 -1.11 -0.17 -0.62 4.60 -0.42 -0.92 9.71 0.90 0.87 1.94 -0.44 -0.49 1.70 -1.27 -1.37 5.37 -0.78 -0.88 5.49 0.53 0.35 5.71 -7.19 -7.19 4.91 4.91 1.88 1.88 3.97 3.97 -8.96 -8.96 20.90 22.60 12.35 -6.86 -6.86

ผลผลิต (ตัน) 2554 2555 388,250 387,900 376,490 375,470 11,760 12,430 68,090 67,960 68,090 67,960 167,030 169,080 152,220 153,500 14,810 15,580 26,070 26,080 24,820 24,700 1,250 1,380 195,330 198,420 190,960 193,940 4,370 4,480 108,760 109,520 105,820 106,530 2,940 2,990 667,370 667,550 656,850 656,440 10,520 11,110 525,390 541,440 517,190 532,700 8,200 8,740 30,970 31,830 29,890 30,680 1,080 1,150 6,130 5,840 6,130 5,840 900 940 900 940 1,110 1,140 1,110 1,140 14,880 15,540 14,880 15,540 410 380 410 380 2,890 3,540 2,400 2,980 490 560 67,280 63,090 67,280 63,090

% -0.09 -0.27 5.70 -0.19 -0.19 1.23 0.84 5.20 0.04 -0.48 10.40 1.58 1.56 2.52 0.70 0.67 1.70 0.03 -0.06 5.61 3.05 3.00 6.59 2.78 2.64 6.48 -4.73 -4.73 4.44 4.44 2.70 2.70 4.44 4.44 -7.32 -7.32 22.49 24.17 14.29 -6.23 -6.23

ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) 2554 2555 % 645 647 0.31 644 646 0.31 678 688 1.47 649 655 0.92 649 655 0.92 684 694 1.46 682 692 1.47 709 713 0.56 691 694 0.43 690 693 0.43 714 719 0.70 693 697 0.58 692 697 0.72 705 709 0.57 680 688 1.18 679 687 1.18 715 715 0.00 679 687 1.18 678 687 1.33 715 717 0.28 646 670 3.72 646 671 3.87 634 640 0.95 611 625 2.29 611 625 2.29 617 622 0.81 524 538 2.67 524 538 2.67 552 550 -0.36 552 550 -0.36 694 699 0.72 694 699 0.72 695 698 0.43 695 698 0.43 612 623 1.80 612 623 1.80 592 600 1.35 590 597 1.19 605 615 1.65 590 594 0.68 590 594 0.68

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


(70) ประเทศ/ภาค/จังหวัด นครราชสีมา รุ่น 1 สระบุรี รุ่น 1 ลพบุรี รุ่น 1 ชัยนาท รุ่น 1 สุพรรณบุรี รุ่น 1 ปราจีนบุรี รุ่น 1 ฉะเชิงเทรา รุ่น 1 สระแก้ว รุ่น 1 จันทบุรี รุ่น 1 ชลบุรี รุ่น 1 กาญจนบุรี รุ่น 1 ราชบุรี รุ่น 1 เพชรบุรี รุ่น 1 ประจวบคีรีขันธ์ รุ่น 1

เนื้อที่เพาะปลูก (ไร่) 2554 2555 867,750 835,870 867,750 835,870 181,530 183,610 181,530 183,610 294,290 296,770 294,290 296,770 4,340 4,390 4,340 4,390 55,850 55,970 55,850 55,970 7,770 6,900 7,770 6,900 6,770 6,800 6,770 6,800 157,360 153,470 157,360 153,470 31,910 30,420 31,910 30,420 1,200 1,350 1,200 1,350 96,920 97,890 96,920 97,890 13,830 14,340 13,830 14,340 7,570 6,870 7,570 6,870 2,610 2,210 2,610 2,210

% -3.67 -3.67 1.15 1.15 0.84 0.84 1.15 1.15 0.21 0.21 -11.20 -11.20 0.44 0.44 -2.47 -2.47 -4.67 -4.67 12.50 12.50 1.00 1.00 3.69 3.69 -9.25 -9.25 -15.33 -15.33

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

ผลผลิต (ตัน) 2554 2555 536,280 521,580 536,280 521,580 127,250 131,100 127,250 131,100 183,930 187,260 183,930 187,260 2,670 2,720 2,670 2,720 39,600 39,790 39,600 39,790 5,260 4,710 5,260 4,710 4,510 4,540 4,510 4,540 111,260 109,120 111,260 109,120 19,880 19,100 19,880 19,100 740 840 740 840 66,780 69,700 66,780 69,700 8,330 8,700 8,330 8,700 4,220 3,860 4,220 3,860 1,520 1,290 1,520 1,290

% -2.74 -2.74 3.03 3.03 1.81 1.81 1.87 1.87 0.48 0.48 -10.46 -10.46 0.67 0.67 -1.92 -1.92 -3.92 -3.92 13.51 13.51 4.37 4.37 4.44 4.44 -8.53 -8.53 -15.13 -15.13

ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) 2554 2555 % 618 624 0.97 618 624 0.97 701 714 1.85 701 714 1.85 625 631 0.96 625 631 0.96 615 620 0.81 615 620 0.81 709 711 0.28 709 711 0.28 677 683 0.89 677 683 0.89 666 668 0.30 666 668 0.30 707 711 0.57 707 711 0.57 623 628 0.80 623 628 0.80 617 622 0.81 617 622 0.81 689 712 3.34 689 712 3.34 602 607 0.83 602 607 0.83 557 562 0.90 557 562 0.90 582 584 0.34 582 584 0.34


2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคารำสด

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

7.64 8.51 7.97 8.70 8.99 9.43

ม.ค.

ม.ค.

21.64 26.10 29.61 33.40 25.00 27.64

7.50 8.27 7.33 8.10 9.46 10.14

ม.ค.

ราคาปลาป่น

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

7.59 9.54 7.43 9.21 10.18 9.20

ก.พ.

23.40 27.04 26.84 34.20 28.91 28.81

ก.พ.

8.06 8.55 7.42 8.37 9.57 10.19

ก.พ.

ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์

7.33 9.82 7.19 9.47 9.97 8.62

มี.ค.

22.47 29.27 25.69 35.28 37.98 32.21

มี.ค.

8.06 9.14 7.60 8.92 10.01 10.35

มี.ค.

5.75 9.24 6.22 9.34 9.70 8.72

เม.ย.

24.11 29.60 29.08 36.53 31.77 33.24

เม.ย.

7.80 9.43 7.57 9.24 10.65 10.51

เม.ย.

5.44 8.20 4.87 9.41 8.34 8.09

พ.ค.

23.99 29.36 33.50 31.53 32.09 30.26

พ.ค.

7.40 9.25 7.05 9.31 10.49 10.24

พ.ค.

6.16 8.56 5.18 9.98 8.20 7.76

มิ.ย.

21.86 30.79 34.19 28.31 31.29 29.38

มิ.ย.

7.39 9.58 7.45 9.64 9.68 10.76

มิ.ย.

6.78 9.84 6.01 9.93 9.50

ก.ค.

23.18 33.65 34.58 28.92 32.32

ก.ค.

7.29 10.99 6.26 9.38 9.18

ก.ค.

7.28 8.97 6.28 9.76 9.49

ส.ค.

23.25 35.66 36.04 30.82 32.58

ส.ค.

7.18 10.03 6.21 9.01 9.04

ส.ค.

6.86 7.17 5.91 10.04 9.58

ก.ย.

23.95 34.19 34.58 29.78 31.42

ก.ย.

7.89 8.93 6.10 9.22 9.08

ก.ย.

6.91 5.97 7.14 9.30 9.51

ต.ค.

23.91 30.93 33.29 27.78 28.86

ต.ค.

8.42 7.89 6.30 9.24 9.45

ต.ค.

7.40 7.50 7.03 8.99 10.97

พ.ย.

24.08 25.11 29.96 25.28 28.46

พ.ย.

8.16 7.84 7.14 9.19 9.82

พ.ย.

7.78 7.42 8.20 8.66 9.25

ธ.ค.

25.62 26.03 31.80 25.57 27.50

ธ.ค.

8.23 6.94 7.83 9.13 9.92

ธ.ค. 7.18 6.94 6.10 8.10 9.04 10.14

ต่ำสุด

8.42 10.99 7.83 9.64 10.65 10.76

สูงสุด

21.64 25.11 25.69 25.28 25.00 27.64

ต่ำสุด

25.62 35.66 36.04 36.53 37.98 33.24

สูงสุด

5.44 5.97 4.87 8.66 8.20 7.76

ต่ำสุด

7.78 9.84 8.20 10.04 10.97 9.43

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

6.91 8.40 6.62 9.40 9.47 8.64

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

23.45 29.81 31.60 30.62 30.68 30.26

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

7.78 8.90 7.02 9.06 9.70 10.37

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(71)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


10.29 15.87 14.25 15.30 13.10 13.95

ม.ค.

10.68 15.92 13.99 15.07 14.32 13.85

ก.พ.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

10.82 17.24 14.67 15.75 13.88 14.12

ม.ค.

11.07 17.10 15.70 15.11 14.15 15.13

ก.พ.

10.86 16.27 13.26 15.75 15.21 12.88

11.28 17.16 15.68 14.86 13.46 15.75

มี.ค.

มี.ค.

11.21 16.90 16.07 14.80 12.80 16.06

เม.ย.

10.95 16.58 13.88 15.75 15.29 12.73

เม.ย.

2552 2553 2554 2555

เดือน

17.06 15.28 14.99

ม.ค.

16.29 15.47 16.01

ก.พ.

16.74 16.10 14.75 16.75

มี.ค. 17.09 16.45 14.20 17.01

เม.ย.

ราคากากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก (Dehulled)

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองเมล็ดนำเข้า

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองต่างประเทศ

18.14 15.28 14.20 17.20

พ.ค.

11.11 17.13 17.19 14.09 12.59 16.23

พ.ค.

10.94 16.09 14.14 14.91 15.47 13.31

พ.ค.

18.90 14.44 14.20 17.73

มิ.ย.

11.26 18.70 17.93 13.43 11.60 16.98

มิ.ย.

11.13 16.56 14.10 14.24 14.61 12.79

มิ.ย.

17.86 14.26 14.88

ก.ค.

11.73 20.26 16.91 13.25 13.50

ก.ค.

11.35 16.15 14.03 12.76 14.50

ก.ค.

17.86 15.05 15.50

ส.ค.

11.90 19.58 16.86 14.05 14.33

ส.ค.

11.43 15.99 15.64 12.17 14.33

ส.ค.

17.89 15.02 15.45

ก.ย.

13.05 18.33 16.94 14.02 14.45

ก.ย.

12.51 17.67 15.82 12.10 14.27

ก.ย.

17.46 15.35 15.47

ต.ค.

15.09 16.65 16.43 14.35 14.32

ต.ค.

12.94 18.42 16.27 11.98 14.27

ต.ค.

17.66 15.64 15.57

พ.ย.

15.97 14.56 16.58 14.64 14.39

พ.ย.

13.21 17.76 16.81 12.10 14.59

พ.ย.

18.08 14.98 14.34

ธ.ค.

16.23 12.62 17.00 13.62 13.44

ธ.ค.

14.30 16.05 16.02 12.14 14.31

ธ.ค. 10.29 15.87 13.26 11.98 13.10 12.73

ต่ำสุด

14.30 18.42 16.81 15.75 15.47 13.95

สูงสุด

10.82 12.62 14.67 13.25 11.60 14.12

ต่ำสุด

16.23 20.26 17.93 15.75 14.45 16.98

สูงสุด

16.74 14.26 14.20 14.99

ต่ำสุด

18.90 17.06 15.57 17.73

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.77 15.49 14.94 16.61

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

12.56 17.19 16.50 14.33 13.58 15.71

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

11.72 16.61 14.85 13.69 14.52 13.25

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(72)


7.08 6.79 7.21 7.94 7.79 8.09

ม.ค.

8.04 11.27 9.87 13.41 11.33 16.31

ม.ค.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

4.02 5.64 4.03 5.54 7.86 7.53

ม.ค.

6.88 7.52 6.83 8.05 7.99 7.45

ก.พ.

4.07 5.78 3.95 5.43 8.14 7.13

8.37 13.05 10.06 12.92 11.92 15.74

ก.พ.

ก.พ.

ราคามันสำปะหลังเส้น

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาปลายข้าว

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคากากรำสกัดน้ำมัน

4.07 5.83 4.08 5.83 8.46 6.59

มี.ค.

8.52 15.07 10.01 12.15 11.63 15.78

มี.ค.

6.58 7.77 6.41 7.96 7.38 6.49

มี.ค.

4.14 5.91 4.21 6.24 8.70 7.00

เม.ย.

8.52 20.66 9.95 10.24 11.39 15.94

เม.ย.

5.12 7.36 5.59 7.76 6.92 6.42

เม.ย.

4.19 5.90 4.04 6.51 8.62 7.29

พ.ค.

8.32 20.01 9.59 9.53 11.29 16.33

พ.ค.

4.76 6.47 4.91 7.26 6.33 6.21

พ.ค.

4.40 5.80 4.25 6.81 8.00 7.25

มิ.ย.

8.19 16.93 9.80 9.60 11.65 16.44

มิ.ย.

4.85 6.07 4.83 7.19 6.41 5.82

มิ.ย.

4.78 6.01 4.37 6.93 7.81

ก.ค.

8.25 15.57 9.64 9.88 12.42

ก.ค.

4.94 6.99 4.74 7.37 7.80

ก.ค.

4.89 5.95 4.41 7.00 7.54

ส.ค.

8.40 13.55 9.41 10.36 12.86

ส.ค.

5.61 6.50 4.74 7.58 8.07

ส.ค.

5.33 5.63 4.62 7.23 7.44

ก.ย.

8.67 11.80 9.26 11.50 13.68

ก.ย.

5.48 5.69 4.58 8.30 8.24

ก.ย.

5.85 4.79 4.72 7.30 7.34

ต.ค.

9.37 10.12 8.94 11.58 14.48

ต.ค.

5.81 5.84 5.30 8.14 8.32

ต.ค.

5.17 4.60 5.03 7.34 7.67

พ.ย.

9.70 9.43 9.97 11.61 15.66

พ.ย.

6.14 7.19 6.06 8.09 9.56

พ.ย.

5.42 4.06 5.41 7.76 7.80

ธ.ค.

10.61 8.88 12.60 11.36 16.12

ธ.ค.

6.29 7.04 7.51 7.89 8.05

ธ.ค. 4.76 5.69 4.58 7.19 6.33 5.82

ต่ำสุด

7.08 7.77 7.51 8.30 9.56 8.09

สูงสุด

8.04 8.88 8.94 9.53 11.29 15.74

ต่ำสุด

10.61 20.66 12.60 13.41 16.12 16.44

สูงสุด

4.02 4.06 3.95 5.43 7.34 6.59

ต่ำสุด

5.85 6.01 5.41 7.76 8.70 7.53

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

4.69 5.49 4.43 6.66 7.95 7.13

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

8.75 13.86 9.93 11.18 12.87 16.09

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.80 6.77 5.73 7.79 7.74 6.75

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(73)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


29.00 29.29 30.51 29.30 30.04 28.00

ม.ค.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

47.00 40.39 40.03 57.93 57.70 49.83

ม.ค.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

38.17 43.58 53.34 41.67 40.38 50.60

ม.ค.

ราคาน้ำมันปลา FO

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาปลาป่นนำเข้า

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

38.17 49.52 52.23 41.70 45.23 50.60

ก.พ.

51.84 40.58 39.54 66.06 63.33 48.89

ก.พ.

29.00 29.78 30.90 29.30 29.80 28.00

ก.พ.

ราคาตับปลาหมึก SLP

38.17 54.52 50.56 41.89 45.95 50.60

มี.ค.

52.04 40.56 42.16 68.52 63.45 47.99

มี.ค.

29.00 30.14 31.19 29.30 29.80 28.00

มี.ค.

38.17 58.50 50.56 41.89 46.01 51.55

เม.ย.

51.99 39.36 43.54 68.06 55.21 48.12

เม.ย.

29.00 31.55 31.19 29.30 29.80 25.00

เม.ย.

38.53 59.83 44.80 41.89 46.01 54.45

พ.ค.

55.30 39.52 44.23 67.90 51.97 55.35

พ.ค.

29.00 30.40 30.16 29.30 29.80 26.89

พ.ค.

38.57 60.47 43.50 41.42 46.01 55.11

มิ.ย.

55.69 42.55 44.08 68.28 51.97 59.24

มิ.ย.

28.53 30.84 30.68 29.30 29.80 28.58

มิ.ย.

38.52 61.13 41.38 40.91 47.72

ก.ค.

48.69 44.51 44.44 67.46 50.29

ก.ค.

28.30 31.76 30.74 29.46 29.52

ก.ค.

38.52 61.67 40.94 40.31 49.85

ส.ค.

41.65 44.53 44.59 65.40 48.17

ส.ค.

27.80 32.00 30.77 29.70 29.25

ส.ค.

38.52 58.42 39.40 40.21 50.01

ก.ย.

42.67 46.14 45.59 60.86 43.92

ก.ย.

27.80 31.30 30.90 29.56 29.25

ก.ย.

38.52 55.47 38.55 40.15 50.36

ต.ค.

40.98 45.15 50.07 57.26 45.13

ต.ค.

27.80 31.17 31.02 29.34 29.25

ต.ค.

38.52 53.70 40.07 40.27 50.60

พ.ย.

38.25 40.43 53.30 56.45 48.26

พ.ย.

27.80 31.11 30.32 30.04 28.00

พ.ย.

39.47 51.35 39.21 40.38 50.60

ธ.ค.

38.83 39.45 53.30 56.45 48.61

ธ.ค.

36.95 30.82 30.32 30.04 28.00

ธ.ค. 27.80 29.29 30.16 29.30 28.00 25.00

ต่ำสุด

36.95 32.00 31.19 30.04 30.04 28.58

สูงสุด

38.25 39.36 39.54 56.45 43.92 47.99

ต่ำสุด

55.69 46.14 53.30 68.52 63.45 59.24

สูงสุด

38.17 43.58 38.55 40.15 40.38 50.60

ต่ำสุด

39.47 61.67 53.34 41.89 50.60 55.11

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

38.49 55.68 44.55 41.06 47.39 52.15

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

47.08 41.93 45.41 63.39 52.33 51.57

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

29.17 30.85 30.73 29.50 29.36 27.41

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(74)


48.05 65.23 47.25 62.75 55.00 48.00

ม.ค.

6.45 6.69 6.32 7.02 8.12 7.73

ม.ค.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

13.52 22.22 19.63 16.69 19.28 18.73

ม.ค.

WHEAT FLOUR

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

WHEAT BRAN

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

WHEAT GLUTEN

13.52 22.58 18.94 16.79 20.04 18.51

ก.พ.

6.51 7.13 6.29 7.25 8.20 7.45

ก.พ.

48.05 66.00 48.21 63.09 53.33 48.00

ก.พ.

13.52 23.70 18.61 16.60 20.50 17.89

มี.ค.

6.44 7.43 6.29 7.59 7.76 6.67

มี.ค.

48.05 66.00 48.21 63.09 53.33 48.00

มี.ค.

13.52 24.59 17.32 16.30 20.50 17.80

เม.ย.

5.52 7.73 5.99 7.55 7.52 6.41

เม.ย.

48.05 66.00 58.39 63.09 53.33 46.50

เม.ย.

13.54 25.46 16.89 15.72 20.45 17.50

พ.ค.

4.86 7.00 5.26 7.16 6.94 6.23

พ.ค.

45.20 66.00 62.03 64.71 53.33 46.50

พ.ค.

14.01 25.48 17.00 15.72 19.94 17.20

มิ.ย.

4.64 6.19 4.85 6.90 6.61 5.86

มิ.ย.

62.55 66.00 63.26 64.78 53.33 48.54

มิ.ย.

14.23 24.56 17.00 15.05 19.82

ก.ค.

4.65 6.79 4.84 6.87 7.44

ก.ค.

66.56 66.00 60.89 64.78 49.28

ก.ค.

14.21 23.34 16.82 15.44 19.50

ส.ค.

4.85 6.87 4.79 7.21 7.77

ส.ค.

62.00 60.79 59.34 64.78 48.75

ส.ค.

16.19 22.39 16.67 18.55 19.26

ก.ย.

5.31 6.50 4.76 8.08 7.98

ก.ย.

62.00 51.71 61.70 64.78 48.75

ก.ย.

19.91 21.69 16.53 19.28 18.97

ต.ค.

5.58 5.78 5.00 7.92 8.06

ต.ค.

62.81 50.22 61.70 64.78 48.75

ต.ค.

22.02 21.16 16.34 19.10 18.97

พ.ย.

5.87 5.93 5.44 7.88 8.43

พ.ย.

62.00 50.22 61.95 55.92 48.75

พ.ย.

22.21 20.09 16.17 19.10 18.97

ธ.ค.

6.29 6.21 6.44 7.80 8.17

ธ.ค.

63.22 46.43 61.95 55.00 48.23

ธ.ค. 45.20 46.43 47.25 55.00 48.23 46.50

ต่ำสุด

66.56 66.00 63.26 64.78 55.00 48.54

สูงสุด

4.64 5.78 4.76 6.87 6.61 5.86

ต่ำสุด

6.51 7.73 6.44 8.08 8.43 7.73

สูงสุด

13.52 20.09 16.17 15.05 18.97 17.20

ต่ำสุด

22.21 25.48 19.63 19.28 20.50 18.73

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

15.87 23.11 17.33 17.03 19.68 17.94

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.58 6.69 5.52 7.44 7.75 6.72

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

56.54 60.05 57.91 62.63 51.18 47.59

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(75)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


17.28 17.44 19.41 23.24 25.86 28.01

ม.ค.

17.30 17.81 20.88 25.19 25.62 27.73

ก.พ.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

73.00 77.50 69.89 85.00 90.50 86.67

ม.ค.

73.00 77.50 68.75 85.00 96.67 93.67

ก.พ.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

46.50 47.00 66.70 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ม.ค.

46.50 47.00 68.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ก.พ.

ราคาน้ำมันปลาหมึก SO

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาปลาหมึกป่น SLM

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาเปลือกกุ้ง

46.50 48.46 68.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

มี.ค.

73.00 77.50 68.75 85.00 96.67 98.33

มี.ค.

16.76 18.50 21.51 25.56 27.40 27.45

มี.ค.

46.50 50.00 68.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

เม.ย.

73.00 77.50 70.11 85.00 96.67 98.33

เม.ย.

16.72 19.23 22.19 25.90 27.64 31.30

เม.ย.

47.50 52.29 58.70 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

พ.ค.

73.55 78.07 80.22 85.00 96.20 98.33

พ.ค.

17.42 19.22 23.83 26.81 28.99 31.30

พ.ค.

47.50 55.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

มิ.ย.

75.00 78.75 86.63 89.44 92.50 98.33

มิ.ย.

18.05 19.36 24.46 26.74 29.18 30.44

มิ.ย.

47.50 60.00 52.00 ไม่มี ไม่มี

ก.ค.

75.00 73.99 87.50 90.50 98.10

ก.ค.

17.86 20.34 24.62 27.03 29.40

ก.ค.

47.00 70.00 52.00 ไม่มี ไม่มี

ส.ค.

78.75 78.00 87.50 90.50 98.33

ส.ค.

17.37 23.48 24.69 26.89 29.40

ส.ค.

46.66 70.00 52.00 ไม่มี ไม่มี

ก.ย.

77.55 81.25 88.25 90.50 93.40

ก.ย.

16.89 24.29 25.34 26.69 29.12

ก.ย.

47.00 68.00 52.00 ไม่มี ไม่มี

ต.ค.

77.50 78.94 88.25 90.50 86.67

ต.ค.

16.80 23.91 24.94 26.65 28.66

ต.ค.

47.00 68.00 52.00 ไม่มี ไม่มี

พ.ย.

77.50 66.70 85.00 90.50 86.67

พ.ย.

16.87 21.47 21.32 26.29 28.66

พ.ย.

47.00 68.00 52.00 ไม่มี ไม่มี

ธ.ค.

77.50 60.52 85.00 90.50 86.67

ธ.ค.

16.88 19.01 21.23 26.00 28.23

ธ.ค. 16.72 17.44 19.41 23.24 25.62 27.45

ต่ำสุด

18.05 24.29 25.34 27.03 29.40 31.30

สูงสุด

73.00 60.52 68.75 85.00 86.67 86.67

ต่ำสุด

78.75 81.25 88.25 90.50 98.33 98.33

สูงสุด

46.50 47.00 52.00 0.00 0.00 0.00

ต่ำสุด

47.50 70.00 68.00 0.00 0.00 0.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

46.93 58.65 57.78 #DIV/0! #DIV/0! #DIV/0!

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

75.36 75.52 80.49 88.12 93.25 95.61

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.18 20.34 22.87 26.08 28.18 29.37

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

(76)


14.20 8.77 18.00 22.50 26.00 10.00

ม.ค.

108.50 107.27 118.00 135.75 144.50 110.50

ม.ค.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

179.00 176.00 190.00 205.00 264.00 213.00

ม.ค.

ราคาไข่ ไก่คละ

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาไก่รุ่น-ไก่สาว

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาลูกไก่ ไข่

183.00 213.00 190.00 251.00 270.00 254.00

ก.พ.

111.44 110.94 115.50 140.75 144.50 110.50

ก.พ.

16.88 12.90 18.00 24.50 26.00 10.00

ก.พ.

181.00 248.00 207.00 241.00 284.00 260.00

มี.ค.

112.75 128.44 115.12 141.62 146.72 106.67

มี.ค.

18.00 20.90 20.23 24.85 26.74 8.68

มี.ค.

174.00 241.00 240.00 241.00 304.00 227.00

เม.ย.

112.75 133.15 137.09 139.50 150.50 93.50

เม.ย.

18.00 22.00 27.36 24.00 28.00 7.00

เม.ย.

197.00 245.00 237.00 255.00 300.00 254.00

พ.ค.

117.70 137.50 143.70 146.50 150.50 97.67

พ.ค.

19.52 22.00 27.96 27.00 28.00 8.67

พ.ค.

200.00 224.00 238.00 276.00 282.00 268.00

มิ.ย.

119.00 133.50 142.50 152.38 150.50 103.50

มิ.ย.

20.00 20.32 27.00 29.15 28.00 11.00

มิ.ย.

205.00 210.00 244.00 278.00 282.00

ก.ค.

119.00 127.50 142.50 147.96 150.50

ก.ค.

20.00 16.00 27.00 27.38 28.00

ก.ค.

212.00 226.00 260.00 270.00 300.00

ส.ค.

119.00 127.50 149.90 144.50 150.50

ส.ค.

20.00 16.00 28.56 26.00 28.00

ส.ค.

215.00 237.00 241.00 272.00 300.00

ก.ย.

119.50 129.12 149.27 144.50 150.50

ก.ย.

20.00 17.62 28.62 26.00 28.00

ก.ย.

195.00 208.00 216.00 253.00 300.00

ต.ค.

119.50 129.54 142.38 144.50 150.50

ต.ค.

20.00 18.47 15.15 26.00 26.00

ต.ค.

196.00 214.00 233.00 253.00 313.00

พ.ย.

119.50 124.30 142.10 144.50 150.50

พ.ย.

20.00 17.57 25.04 26.00 26.00

พ.ย.

174.00 222.00 236.00 253.00 258.00

ธ.ค.

114.54 125.50 143.85 144.50 139.57

ธ.ค.

16.00 19.54 25.74 26.00 21.83

ธ.ค. 14.20 8.77 15.15 22.50 21.83 7.00

ต่ำสุด

20.00 22.00 28.62 29.15 28.00 11.00

สูงสุด

108.50 107.27 115.12 135.75 139.57 93.50

ต่ำสุด

119.50 137.50 149.90 152.38 150.50 110.50

สูงสุด

174.00 176.00 190.00 205.00 258.00 213.00

ต่ำสุด

215.00 248.00 260.00 278.00 313.00 268.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

192.58 222.00 227.67 254.00 288.08 246.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/100 ฟอง

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

116.10 126.19 136.83 143.91 148.27 103.72

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

18.55 17.67 24.06 25.78 26.71 9.23

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

(77)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


8.18 13.50 7.25 18.00 17.50 14.50

ม.ค.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

23.87 35.63 31.58 44.33 45.24 36.20

ม.ค.

22.95 37.18 32.88 45.00 47.28 34.70

ก.พ.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

29.70 45.19 52.28 58.25 51.00 54.47

ม.ค.

29.81 53.12 55.34 60.19 58.86 49.63

ก.พ.

ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์ม

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

6.00 12.92 8.98 18.50 18.37 12.94

ก.พ.

ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาลูกไก่เนื้อ

35.79 58.32 56.82 60.41 61.50 48.85

มี.ค.

29.15 39.52 30.28 40.96 48.30 27.53

มี.ค.

7.65 15.50 4.50 18.50 20.50 6.18

มี.ค.

37.31 57.07 59.60 60.41 67.11 59.63

เม.ย.

30.44 40.78 31.18 42.09 52.10 33.13

เม.ย.

8.83 16.50 5.23 18.50 21.32 6.31

เม.ย.

37.17 53.72 60.00 60.50 70.00 62.50

พ.ค.

31.00 41.02 36.45 44.28 54.60 39.33

พ.ค.

9.89 15.58 13.89 20.07 22.50 11.33

พ.ค.

39.26 52.68 58.00 60.50 70.00 55.15

มิ.ย.

32.43 36.06 37.92 42.46 50.25 38.22

มิ.ย.

11.65 9.06 14.50 19.35 20.96 12.50

มิ.ย.

43.00 50.72 55.30 61.93 72.88

ก.ค.

35.11 37.46 38.00 37.47 43.60

ก.ค.

14.02 11.35 14.50 16.10 17.34

ก.ค.

45.66 53.74 55.00 59.37 80.40

ส.ค.

35.16 42.62 38.00 36.07 42.20

ส.ค.

14.50 16.34 14.50 12.58 15.73

ส.ค.

41.88 51.79 54.02 56.83 70.77

ก.ย.

36.00 37.54 40.68 37.63 41.74

ก.ย.

14.50 13.81 15.19 14.14 16.50

ก.ย.

38.40 51.52 52.18 51.52 55.50

ต.ค.

33.63 30.36 41.62 36.02 38.58

ต.ค.

14.50 7.66 16.50 14.50 14.58

ต.ค.

43.04 51.21 55.44 51.38 52.87

พ.ย.

34.96 31.00 40.00 37.33 37.67

พ.ย.

14.50 8.94 16.50 14.50 14.50

พ.ย.

42.95 51.13 57.25 51.45 61.08

ธ.ค.

36.85 30.84 41.00 41.93 36.90

ธ.ค.

14.50 8.25 16.50 15.50 14.50

ธ.ค. 6.00 7.66 4.50 12.58 14.50 6.18

ต่ำสุด

14.50 16.50 16.50 20.07 22.50 14.50

สูงสุด

22.95 30.36 30.28 36.02 36.90 27.53

ต่ำสุด

36.85 42.62 41.62 45.00 54.60 39.33

สูงสุด

29.70 45.19 52.18 51.38 51.00 48.85

ต่ำสุด

45.66 58.32 60.00 61.93 80.40 62.50

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

38.66 52.52 55.94 57.73 64.33 55.04

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

31.80 36.67 36.63 40.46 44.87 34.85

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

11.56 12.45 12.34 16.69 17.86 10.63

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

(78)


816.00 1,238.46 1,475.00 1,875.00 1,637.50 1,734.80

ม.ค.

800.00 1,750.00 1,600.00 1,900.00 1,930.43 1,552.00

ก.พ.

13.00 15.00 18.00

ม.ค.

13.00 15.00 18.00

ก.พ.

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

46.00 45.77 58.00 58.00 58.00 60.00

ม.ค.

45.50 49.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ก.พ.

ราคาเป็ดเชอร์รี่หน้าฟาร์ม

2553 2554 2555

เดือน

45.50 50.88 58.00 58.00 58.00 60.00

มี.ค.

13.00 16.78 18.00

มี.ค.

มี.ค.

888.46 1,800.00 1,607.69 1,900.00 2,000.00 1,312.00

ราคาลูกเป็ดไข่ ซี พี โกลด์เด้น

2550 2551 2552 2553 2554 2555

เดือน

ราคาลูกสุกรขุน

46.00 56.17 58.00 58.00 58.00 60.00

เม.ย.

13.00 18.00 18.00

เม.ย.

833.35 1,673.91 1,804.55 1,900.00 2,000.00 1,452.38

เม.ย.

46.39 57.92 58.00 58.00 58.00 60.00

พ.ค.

13.00 18.00 18.00

พ.ค.

700.00 1,316.67 1,847.83 1,900.00 2,000.00 1,666.67

พ.ค.

47.00 58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

มิ.ย.

13.00 18.00 18.00

มิ.ย.

907.69 1,296.00 1,661.54 1,900.00 2,000.00 1,500.00

มิ.ย.

47.00 58.00 58.00 58.00 58.00

ก.ค.

13.00 18.00

ก.ค.

1,180.00 1,053.85 1,500.00 1,900.00 2,000.00

ก.ค.

47.00 59.36 58.00 58.00 58.00

ส.ค.

13.00 18.00

ส.ค.

1,300.00 1,284.00 1,596.00 1,844.00 2,400.00

ส.ค.

47.00 60.00 58.00 58.00 58.00

ก.ย.

13.84 18.00

ก.ย.

1,150.00 1,223.08 1,600.00 1,720.00 2,161.54

ก.ย.

46.77 60.00 58.00 58.00 58.00

ต.ค.

15.00 18.00

ต.ค.

1,061.50 1,346.15 1,600.00 1,600.00 1,896.15

ต.ค.

45.00 58.00 58.00 58.00 58.00

พ.ย.

15.00 18.00

พ.ย.

1,250.00 1,400.00 1,752.00 1,600.00 1,746.00

พ.ย.

45.00 58.00 58.00 58.00 58.00

ธ.ค.

15.00 18.00

ธ.ค.

1,004.35 1,400.00 1,800.00 1,600.00 1,965.22

ธ.ค. 700.00 1,053.85 1,475.00 1,600.00 1,637.50 1,312.00

ต่ำสุด

1,300.00 1,800.00 1,847.83 1,900.00 2,400.00 1,734.80

สูงสุด

13.00 15.00 18.00

ต่ำสุด

15.00 18.00 18.00

สูงสุด

45.00 45.77 58.00 58.00 58.00 60.00

ต่ำสุด

47.00 60.00 58.00 58.00 58.00 60.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

46.18 55.93 58.00 58.00 58.00 60.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

13.57 17.40 18.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

990.95 1,398.51 1,653.72 1,803.25 1,978.07 1,536.31

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

(79)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 29 เล่มที่ 142 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20.

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพ ัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด บริษัท ลีโก้ อินสตรูเมนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โกรเบสท์ คอร์ โพเรชั่น จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท บี เอ เอส เอฟ จำกัด บริษัท แอนิมัล ซัพพลีเมนท์ แอนด์ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด บริษัท ทีเอที เอ็นเนอร์ยี่แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอวอร์นิค (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2247-7000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-2819-8790-7 โทร. 0-2886-4350 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2279-7534 โทร. 0-3488-6140-46 โทร. 0-2204-9455 โทร. 0-2937-4888 โทร. 0-2910-9728-29 โทร. 0-2938-1406-8 โทร. 0-2784-7900 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2193-8288-90




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.