TFMA Volume 138

Page 1


รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 1. บมจ. กรุงไทยอาหารสัตว์ 2. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด 3. บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด 4. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด 5. บมจ. ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ 6. บมจ. ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ 7. บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด 8. บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด 9. บมจ. อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย 10. บมจ. เบทาโกร 11. บริษัท ซี.เอ็น.พี. อาหารสัตว์ จำกัด 12. บมจ. กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร 13. บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด 14. บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด 15. บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อีสาน 16. บริษัท ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 17. บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด 18. บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 19. บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร 20. บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด 21. บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด 22. บริษัท ราชบุรีอาหาร จำกัด 23. บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด 24. บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด 25. บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด 26. บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด 27. บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด 28. บริษัท เหรียญทองฟีด (1992) จำกัด

29. บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด 30. บริษัท บี.พี. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 31. บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด 32. บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด 33. บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด 34. บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด 35. บริษัท ซันฟีด จำกัด 36. บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 37. บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด 38. บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด 39. บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด 40. บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด 41. บมจ. บางกอกแร้นซ์ 42. บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด 43. บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด 44. บมจ. กรุงเทพโปรดิ๊วส 45. บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด 46. บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด 47. บริษัท ไทยยูเนี่ยนฟีดมิลล์ จำกัด 48. บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด 49. บริษัท บุญพิศาล จำกัด 50. บริษัท เฮกซ่า แคลไซเนชั่น จำกัด 51. บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด 52. บริษัท หนองบัวฟีดมิลล์ จำกัด 53. บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด 54. บริษัท โกล์ด คอยน์ สเปเชียลลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด 55. บริษัท แม่ทา วี.พี. ฟีดมิลล์ จำกัด 56. บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการ

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ประจำปี 2554-2555 1. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล 2. นายนพพร วายุโชติ 3. นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ 4. นายไพศาล เครือวงศ์วานิช 5. นางเบญจพร สังหิตกุล 6. นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ 7. นายประกิต เพียรศิริภิญโญ 8. นายโดม มีกุล 9. นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล 10. นายสถิตย์ บำรุงชีพ 11. นายวีรชัย รัตนบานชื่น 12. นางภัทนีย เล็กศรีสมพงษ์ 13. นายวิทิต ภูธนทรัพย์ 14. นายอุทัย ตันติพิมลพันธ์ 15. นายสุนทร ตันทนะเทวินทร์ 16. นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ 17. นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง 18. นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ 19. นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ 20. นายสุจิน ศิริมงคลเกษม 21. นายวราวุฒิ วัฒนธารา 22. นายเชฎฐพล ดุษฎีโหนด 23. นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

นายกสมาคม อุปนายก คนที่ 1 อุปนายก คนที่ 2 อุปนายก คนที่ 3 เหรัญญิกสมาคม เลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท ราชบุรีอาหาร จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคเหนือ เกษตรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท บี พี ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการแถลง เตรียมตัว ต้อนรับ แผนฯ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ต้องมองโลกในแง่ดีๆ เข้าไว้ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีการใช้แผนต่างๆ มาร่วม 10 แผน (รวม 50 ปี) แล้ว ประเทศไทย ก็พัฒนาขึ้นมาตั้งเยอะแยะ ใครว่ายังไม่พัฒนา ก็ปล่อยเขาไป เพราะเขาอาจจะ ยังไม่รู้ตัวหรอกว่า ที่เขากำลังวิจารณ์แผนอยู่นั้น นั่นแหล่ะ คือ การพัฒนาแล้ว ถึงได้มีสิทธิ กล้ามาวิจารณ์ได้รุนแรงขนาดนี้ คนคิดแผน คนปฏิบัติตามแผน คนคิดซ้อนแผน ต่างคนต่างคิด เพราะความอิสระทาง ความคิดในการพัฒนาทุกอย่าง ทำได้ และ บางคนอาจจะทำได้ดี ซึ่งบางครั้ง การทำตามแผน ทุกอย่าง และทำเหมือนกันหมด ทุกขั้นตอน บางครั้งก็สำเร็จได้ด้วยดี แต่ไม่รวย ไม่สุข ไม่สนุก ไม่ตื่นเต้น จึงเป็นที่มาของการที่จะไม่มีใครกล้าที่จะชี้นำเกษตรกรได้ว่า เดินทางไหนดี เพราะถ้า เกษตรกรเดินตามทั้งหมด แล้วปรากฏว่า ได้ผลผลิตดีมาก แต่ทำให้ราคาไม่ดี ก็ถูกต่อว่าอีก แต่ถ้าทำแล้วผลผลิตไม่ดี ก็ถูกต่อว่า ดังนั้น จึงเป็นที่มาแห่งประโยคที่ว่า ตัวใครตัวมัน ตัดสินใจ กันเอง จะรวยขึ้น หรือจนลง แต่สุดท้าย ยังไงก็ต้องมีคนนำอยู่ดี นั่นคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ที่จะเป็นแผนแม่บท เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเครื่องนำทาง แล้วปรับใช้ให้เหมาะสมแก่ สภาวะและเหตุการณ์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีแผนสำคัญอีกแผนหนึ่ง ที่ทุกหน่วยความคิดในจิตใต้สำนึก จะมุ่งมั่นและหาทางที่จะปฏิบัติตามอย่างจริงจัง บนเงื่อนไขที่ ทำได้ และเริ่มต้นทำ คือ การทำตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเมื่อเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ได้เริ่ม ลงมือปฏิบัติแล้ว ก็เห็นผลและทำตามกันบนเงื่อนไขเดียวกันคือ พอเพียงแห่งตน เมื่อตัวเอง พอเพียงแล้ว นั่นคือ จะเริ่มมีของเหลือ เมื่อเหลือมากขึ้น ย่อมเป็นที่มาแห่งรายได้ที่เหลือเก็บ แล้วความสุขก็จะตามมา นั่นเอง ดังนั้น แผนฯ ใด หรือจะสู้แผนฯ แห่งความพอเพียง บก.


ปีที่ 28

Vol.

138

พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

สารบัญ (ร่าง) แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙) ทิศทางของแผนพัฒนาการเกษตร  รายละเอียดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ  และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) กระบวนการขับเคลื่อนสู่แผนการปฏิบัติ 

11-32 33-43

Agricultural Markets Situation Report June 2011

46-67

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

68-69

ภาคสถิติ

70-78

ใบสมัคร

79

ขอบคุณ

80

5-10

ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย  • ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร • รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล • กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร นายนพพร วายุโชติ นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์ นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก ศรีประทักษ์ นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ • บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ  • กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง • สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 www.thaifeedmill.com • พิมพ์ที่ : ธัญวรรณการพิมพ์ 800/138 หมู่บ้านริเวอร์ปาร์ค ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร. 0-2536-5311, 0-2990-1568 โทรสาร 0-2990-1568


(ร่าง)

แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙) ทิศทางของแผนพัฒนาการเกษตร  การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้ให้ความสำคัญกับการ เสริ ม สร้ า งให้ ทุ ก ภาคส่ ว นทั้ ง ภาครั ฐ เอกชน สถาบั น การเงิ น สถาบั น การศึ ก ษา สถาบั น เกษตรกรและเกษตรกรมีส่วนร่วมในขบวนการ จั ด ทำแผนอย่ า งเป็ น ขั้ น ตอน โดยเริ่ ม ตั้ ง แต่ การระดมความคิ ด เห็ น จากผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ ง ทั่วประเทศในรูปแบบ การออกแบบสอบถาม การสัมมนารับฟังความคิดเห็น ตลอดจนการ แบ่งกลุ่มย่อยเจาะลึกเฉพาะประเด็น (Focus Group) ทีม่ กี ารดำเนินงานควบคูไ่ ปกับการจัดทำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ทั้งนี้ เมื่อประมวลความคิดเห็นดังกล่าว แล้ ว พบว่ า ทิ ศ ทางการพั ฒ นาการเกษตรใน ระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ยังคงยึดหลักคนเป็น ศูนย์กลางของการพัฒนาตามแนวปรัชญาของ เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ดั ง นั้ น แผนพั ฒ นาจะได้

มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และผลักดันการประยุกต์ใช้ปรัชญาดังกล่าว ดัง เช่นการพัฒนาที่ผ่านมา นอกจากนั้น จากการ ที่สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแส โลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ภาคเกษตรในระยะยาวและทวี ค วามรุ น แรง มากขึ้น ทิศทางที่นำไปสู่การเติบโตของภาค เกษตร ควรให้ เ กษตรกรมี ค วามเป็ น อยู่ ที่ ดี ทั้งเกษตรกรรายย่อย และเกษตรกรเชิงพาณิชย์ ผลิตสินค้าเกษตรอย่างเพียงพอ มีความหลากหลายและมี คุ ณ ภาพตามความต้ อ งการของ ผู้ บ ริ โ ภคทั้ ง ภายในประเทศและต่ า งประเทศ รวมทั้งประชาชนต้องสามารถเข้าถึงอาหารได้ อย่างทัว่ ถึง เพือ่ ให้ประเทศไทยยังคงครองความ สามารถในการค้าสินค้าเกษตรและอาหารใน ระดั บ ต้ น ๆ ของโลกไว้ และมี ส่ ว นช่ ว ยเสริ ม สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ต่อไป

ที่มา : เอกสารประกอบการสัมมนา เชิงปฏิบัติการเรื่อง แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนฯ 11 (พ.ศ. 2555-2559) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 25 สิงหาคม 2554 โรงแรมปรินซ์พาเลซ

5

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


ประเด็นสำคัญของการพัฒนาการเกษตร ในระยะ 5 ปีขา้ งหน้า ทีค่ รอบคลุมการดำเนินงาน ทุกด้านของภาคเกษตร เพือ่ เป็นกรอบแนวคิดใน การจั ด ทำยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) เป็นดังนี้ 1. กรอบแนวคิด กรอบแนวคิดเบื้องต้นเพื่อประกอบการ จัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) พิจารณาจากความสำคัญของ ภาคเกษตร ภาพรวมด้ า นต่ า งๆ จำนวน 9 ประเด็น ได้แก่ 1.1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน การเกษตร เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตรด้านการใช้ประโยชน์จากดินให้เหมาะสม การจัดการน้ำให้เพียงพอ การพัฒนาที่ดินนอก เขตชลประทาน และการจัดการด้านโลจิสติกส์ 1.2 การเสริ ม สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ เกษตรกร เพื่ อ พั ฒ นาหรื อ เสริ ม สร้ า งความ เข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ส่งเสริมการรวมกลุม่ สถาบันเกษตรกร ตลอดจน การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ 1.3 ส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนว ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เพื่ อ สร้ า งความ มัน่ คงในการประกอบอาชีพให้เกษตรกรในระดับ ครัวเรือนให้พึ่งพาตนเอง 1.4 ส่งเสริมการทำการเกษตรในรูปแบบ ของการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาค เกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

6

1.5 ความมั่ น คงด้ า นอาหาร และ พลังงาน โดยให้การศึกษาและส่งเสริมความรู้ เรือ่ งอาหาร (Food Education) ตลอดกระบวน การผลิต (Supply Chain) ได้แก่ การทำให้ อาหารมีคุณภาพ (Food Quality) เป็นอาหาร ที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค (Food Safety) รวมทั้งพอเพียงสำหรับเลี้ยงประชากร (Food Security) 1.6 เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในภาคเกษตร การทำการเกษตรควรขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ (Efficiency-driven Economy) และ นวัตกรรม (Innovation-driven Economy) โดย การนำภูมิปัญญาผนวกกับวัฒนธรรมที่ดีงาม ในท้ อ งถิ่ น และเทคโนโลยี มาสร้ า งมู ล ค่ า ให้ สินค้าเกษตรมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกัน ในแต่ละท้องถิ่น 1.7 เศรษฐกิจการเกษตรสีเขียว (Green and Cool Agricultural Economy) หรือการ ทำเกษตรที่ ไ ม่ ท ำลายสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยการ ดำเนินนโยบายและกำหนดวิธีปฏิบัติให้สามารถ ใช้ทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน 1.8 ความร่วมมือและข้อตกลงระหว่าง ประเทศ โดยติดตามกระแสการเปลี่ยนแปลง ของโลก เพื่อการปรับตัวและกำหนดมาตรการ รองรั บ ให้ ภ าคธุ ร กิ จ และภาคเกษตรภายใน ประเทศมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ 1.9 การพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตร เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถรองรับการ เปลี่ ย นแปลงตามสถานการณ์ เ ศรษฐกิ จ และ สั ง คมโลกาภิ วั ฒ น์ โดยการพั ฒ นาบุ ค ลากร ด้านการเกษตร ปรับปรุงกระบวนการทำงานของ หน่ ว ยงานและบุ ค ลากรกระทรวงเกษตรและ


สหกรณ์ ให้มีการบูรณาการมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง การปรับโครงสร้างหน่วยงานในสังกัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับ สถานการณ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

การเกษตรอย่างพอเพียง มีประสิทธิภาพยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. วิสัยทัศน์และพันธกิจการพัฒนาการ เกษตร

3. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

2.1 วิสัยทัศน์ ในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร ระยะ 5 ปี ได้นำกรอบการพัฒนาทัง้ 9 ประเด็น ข้างต้น รวมทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร นโยบายการเกษตรและการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม (SWOT) ทัง้ ปัจจัยเสีย่ ง ภูมคิ มุ้ กัน นำมาพิจารณาประมวลประกอบการวางแผน อย่างรอบคอบเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ และ พันธกิจ ดังนี้ “เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชน มีความมั่นคงด้านอาหาร เป็นฐานสร้างรายได้ ให้แผ่นดิน” 2.2 พันธกิจ 1) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ส่งเสริมให้มกี ารผลิตสินค้าเกษตร และอาหารที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความ มั่นคงด้านอาหารและพลังงานอย่างเหมาะสม และยั่งยืน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสอดคล้อง กับความต้องการของตลาด และมีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ 3) ส่งเสริมให้มกี ารจัดสรรทรัพยากร การผลิตทางการเกษตร และโครงสร้างพื้นฐาน

4) ส่งเสริมให้มกี ารวิจยั พัฒนา และ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เหมาะสม 3.1 วัตถุประสงค์ 1) เพือ่ ให้เกษตรกรมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี มีอาชีพที่มั่นคง รายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ และมีความภูมิใจในอาชีพ 2) เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต สิ น ค้ า เกษตรและอาหารให้ มี ทั้ ง คุ ณ ภาพและ ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงการ สร้างมูลค่าเพิ่มการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจัดสรรการผลิตที่เหมาะสมระหว่าง อาหาร ผลิตภัณฑ์ และพลังงานทดแทน 3) เพื่ อ ให้ มี ก ารบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล และยั่งยืน 3.2 เป้าหมาย 1) ความผาสุกของเกษตรกรเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 80 ในปี 2559 2) เศรษฐกิจภาคเกษตรเติบโตเฉลี่ย ร้อยละ 3.0 ต่อปี 3) ทรั พ ยากรการเกษตรมี ค วาม เหมาะสมต่อการผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น 3.3 ตัวชี้วัด 1 ) ดั ช นี ชี้ วั ด ค ว า ม ผ า สุ ก ข อ ง เกษตรกร 2) อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาเกษตร

7

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


3) พืน้ ทีก่ ารเกษตรได้รบั การบริหาร จัดการ 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตร การพัฒนาการเกษตรให้ความสำคัญต่อ การพัฒนาเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ก้าว ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาการผลิต สิ น ค้ า เกษตรให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและมี ค วาม หลากหลาย ให้ ป ระชาชนมี ค วามมั่ น คงด้ า น อาหารและมีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการ ด้านอาหารและพลังงาน ร่วมสร้างเศรษฐกิจ ของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและ มั่ น คง เตรี ย มพร้ อ มรองรั บ สถานการณ์ ก าร เปลีย่ นแปลงทัง้ ในและนอกประเทศทีป่ รับเปลีย่ น อย่างรวดเร็ว เพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาทรัพยากรการเกษตรให้มีการ ใช้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรและมี การใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม จึง ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรที่ สำคัญในช่วงระยะเวลา 5 ปี ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีความสามารถพึ่ง พาตนเองได้ มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับความเสี่ยง ด้านการผลิต การตลาด และมีการกระจาย รายได้ที่ทั่วถึง มีความสามารถในการผลิตและ การตลาด ก้าวสู่ผู้จัดการฟาร์มที่เป็นมืออาชีพ (Smart Farmer) รวมทั้งสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ ทดแทนรุ่ น เดิ ม ตลอดจนส่ ง เสริ ม ให้ อ งค์ ก ร เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรมีการดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยการ ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

8

สร้างความมัน่ คงในการประกอบอาชีพ และรายได้ให้แก่เกษตร ในการพัฒนาระบบการ ประกันความเสี่ยงการเกษตรให้เหมาะสมกับ สินค้าเกษตรและสถานการณ์ทเี่ กิดจากภัยธรรมชาติ ผลักดันให้มีระบบสวัสดิการให้ครอบคลุม อย่างทั่วถึง และพัฒนาระบบการคุ้มครองที่ดิน ให้เกษตรกรรายย่อยมีที่ดินเป็นของตนเองหรือ มีสิทธิทำกินในที่ดิน  สร้ า งองค์ ค วามรู้ ใ ห้ กั บ เกษตรกรใน ด้านบัญชีต้นทุนอาชีพ และด้านวิทยาศาสตร์ เข้าสู่ Smart Farmer รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ผสมผสานภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ตลอด จนสร้างฐานข้อมูลชุมชนด้านการเกษตร นำ ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาการเกษตร เพิม่ ความสามารถ และช่องทาง การรับรู้ข่าวสารอย่างทั่วถึง  สร้างขีดความสามารถให้กบั เกษตรกร และชุมชน ในการรับมือกับความเสี่ยงจากภัย ธรรมชาติ ด้วยการประชาสัมพันธ์ให้ชมุ ชนรูแ้ ละ เข้าใจผลกระทบของโลกร้อน ถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีในการปรับตัว และสร้างขีดความ สามารถให้กบั เกษตรกรและชุมชน ในการรับมือ กับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ  สร้างความมัน่ คงปลอดภัย ด้านอาหาร ในครัวเรือนเกษตรในด้านการผลิตอาหารเพียง พอปลอดภัย สนับสนุนให้มีการปลูกผักสวนครัว ปลอดสารพิษเพือ่ บริโภคในครัวเรือน (City Farm) และส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืน  ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรุน่ ใหม่ ให้เข้าสู่ภาคเกษตร โดยการร่วมมือกับสถาบัน การศึกษา การปรับปรุงระบบการเรียนการสอน ให้เป็นหลักสูตรทีส่ อดคล้องกับสภาพปัญหา และ 


ความต้องการแต่ละท้องถิ่น และให้ชุมชนเป็น แหล่งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร เกษตรกรและสถาบั น เกษตรกร รวมทั้ ง สภา เกษตรกรแห่งชาติ และพัฒนาระบบการรวม กลุ่มทั้งในรูปแบบของสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มส่งเสริมอาชีพต่างๆ 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถ ในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตรและความ มั่นคงด้านอาหาร เพื่อสร้างฐานการผลิตภาค เกษตรให้เข้มแข็ง ทำให้เกิดความมัน่ คงในอาชีพ และรายได้ให้กบั เกษตรกร พัฒนาคุณภาพสินค้า เกษตรและอาหารให้ มี ค วามสามารถในการ แข่งขัน ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหารและ มีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการด้านอาหาร และพลังงาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีและนำผลงาน วิจยั พัฒนาด้านการเกษตรไปใช้ประโยชน์มากขึน้ โดยการ  พัฒนาการผลิตและการสร้างมูลค่า เพิ่ม เน้นลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพ ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภาคเกษตร ส่งเสริมการทำการเกษตรแบบกลุม่ การผลิตหรือ เครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) สร้างมูลค่าเพิ่มให้ กับสินค้าเกษตร และเพิม่ ประสิทธิภาพการบริหาร โลจิสติกส์  ส่งเสริมการผลิตทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม (Green Product) ด้วยการส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีสะอาด การเกษตรสีเขียว การปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดี (GAP : Good Agricultural Practices) การทำเกษตรอินทรีย์ ลดการเผา ตอซัง ลดมลพิษจากแหล่งผลิตภาคการเกษตร

ศึกษาการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้าง ความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับ จากการซื้อขายคาร์บอนเครดิต  เสริมสร้างการผลิตสินค้าเกษตรทีเ่ ป็น พืชอาหารและพลังงานให้เกิดความมั่นคง รวม ทั้ง สนับสนุนเพื่อจัดสรรผลผลิตพืชอาหารและ พลังงานให้เพียงพอต่อการบริโภคและทดแทน พลังงาน  สนับสนุนการพัฒนาระบบตลาดสินค้า เกษตร ด้วยการพัฒนาทักษะ องค์ความรูแ้ ละการ ใช้ประโยชน์จากตลาดกลาง ตลาดสินค้าเกษตร ล่วงหน้า รวมทั้งสนับสนุนการสร้างเครือข่าย การผลิตการตลาด  สร้ า งความเชื่ อ มโยงกั บ เศรษฐกิ จ ภูมิภาคและระหว่างประเทศ มุ่งเน้นการสร้าง ความร่วมมือทางเหลี่ยมเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อ เพิ่ ม ช่ อ งทางการจำหน่ า ยและกระจายรายได้ โดยเฉพาะจากกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมทั้ ง การเตรี ย มการรองรั บ การลงทุ น ด้ า น เกษตรกรรมข้ามชาติ เพื่อให้มีการลงทุนด้าน เกษตรกรรมอย่างรับผิดชอบ (RAI : Responsible Agricultural Investment)  ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยด้านการ เกษตร สนับสนุนงานวิจยั พันธุพ์ ชื สัตว์ สัตว์นำ้ จุลินทรีย์ รวมทั้งพืชพลังงานทดแทน โดยให้มี การบูรณาการงานวิจัยระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจยั ตลอดจนการ พัฒนางานวิจัยตามความต้องการใช้ประโยชน์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการ เกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน เพื่ อ สร้ า งและพั ฒ นาการใช้ ท รั พ ยากรการ เกษตร และโครงสร้างพืน้ ฐานการเกษตรอย่างมี

9

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


ประสิทธิภาพ ฟื้นฟูทรัพยากรการเกษตรให้มี ความเหมาะสมต่อการผลิตทางการเกษตรอย่าง ยั่งยืน และเตรียมความพร้อมในการรองรับและ ปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภู มิ อ ากาศ รวมทั้ ง สนั บ สนุ น ให้ ชุ ม ชน ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยการ  ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาทรั พ ยากรการ เกษตรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรอย่างมี ประสิทธิภาพและยัง่ ยืน ด้วยการเร่งรัดการฟืน้ ฟู และปรับปรุงคุณภาพดินที่เสื่อมโทรม วางระบบ การใช้ที่ดินตามศักยภาพของที่ดิน และจัดหา ทีด่ นิ เอกชนมาพัฒนาและจัดสรรให้กบั เกษตรกร ไร้ที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินน้อย  ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ ทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสมและยัง่ ยืน โดย การสร้างความเข้าใจในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารเคมีอย่างเหมาะสม และถูกต้อง กำกับดูแลการใช้สารเคมีบริเวณ พื้นที่สูงและพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ตลอดจนควบคุม การโฆษณาและส่งเสริมการขายสารเคมีการ เกษตรทุกชนิด  สนับสนุนและผลักดันให้เกษตรกรมี ส่ ว นร่ ว มในการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรการ เกษตร โดยการให้เกษตรกรและท้องถิ่นเข้ามามี ส่ ว นร่ ว มในการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรการ เกษตรในท้องถิ่นตนเองให้มากขึ้น ทั้งด้านการ บำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟูและการใช้ ประโยชน์อย่างยั่งยืนและสมดุล

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

10

วางระบบการป้องกัน และบรรเทา ปัญหาภัยแล้ง พัฒนาเทคโนโลยีในการปฏิบตั กิ าร ฝนหลวง ทั้งบุคลากรและเครื่องมือ 

เตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วย การจัดทำแผนป้องกันและระบบเฝ้าระวังเตือน ภัย เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากอันตรายและ ความเสียหายที่จะเกิดกับเกษตรกร การติดตาม ข่าวสาร และสร้างแก้มลิงเพิ่มเติมเพื่อลดหรือ ชะลออัตราการไหลของน้ำหลาก 

พั ฒ นากฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งศึกษา แนวทางรองรับและเตรียมความพร้อม เพื่อให้มี การดำเนินการตาม กฎ ระเบียบทีก่ ำลังจะเกิดขึน้ เช่น ร่างพระราชบัญญัตมิ าตรการการคลัง เพือ่ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... ที่ให้ความสำคัญกับการ จั ด การสิ่ ง แวดล้ อ ม ได้ แ ก่ ภาษี สิ่ ง แวดล้ อ ม (ภาษีมลพิษ ภาษีเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและ การทำการเกษตรที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม) 


รายละเอียดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตร  ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์ที่ 1

พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร 1. สถานการณ์ การวิ เ คราะห์ ส ภาวะแวดล้ อ ม ผลการ พัฒนาการเกษตรที่ผ่านมา และสถานการณ์ ที่สำคัญในปัจจุบันที่มีผลต่อภาคเกษตร พบว่า สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สาขาเกษตรมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด เนื่อง จากภาคเศรษฐกิจอื่นโดยเฉพาะอุตสาหกรรม การส่งออก การบริการและการท่องเที่ยวเติบโต อย่างรวดเร็ว แต่ภาคการเกษตรมีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะ เกษตรกรรมเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก นอก จากนี้ยังเป็นฐานพลังเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะ เป็ น แหล่ ง รายได้ ที่ แ ท้ จ ริ ง ของประเทศ และ ความมั่นคงด้านอาหาร รวมทั้งยังเป็นวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาติสืบมานาน การพัฒนา สังคมของเกษตรกรให้เป็นสังคมที่ยั่งยืนจึงถือ เป็นหัวใจของการพัฒนาภาคเกษตร การพัฒนาที่ผ่านมาในช่วงแผนการพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ถึง ฉบับที่ 10 ประเทศไทยมี พื้นที่ชลประทานเพียงประมาณร้อยละ 22.30 ของพื้นที่การเกษตรของไทย (131.59 ล้านไร่) ส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนมากของประเทศ เป็นพื้นที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งการเจริญเติบโตทาง

เศรษฐกิจ ได้ทำให้มีการใช้พื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อ การเกษตร (เขตชลประทาน) ในภาคอุตสาหกรรม และบริการเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้การถือครอง ที่ดินทางการเกษตรของเกษตรกรเฉลี่ยลดลง เหลือครัวเรือนละ 22.44 ไร่ การกระจายการ ถือครองที่ดินกระจุกตัวอยู่ในมือเจ้าของที่ดิน ไม่กี่ราย โดยเกษตรกรมากกว่าครึ่งที่ถือครอง ทีด่ นิ ต่ำกว่า 20 ไร่ตอ่ ครัวเรือน และมีเกษตรกร ทีไ่ ม่มที ดี่ นิ เป็นของตนเองประมาณร้อยละ 27.44 ซึง่ เป็นปัญหาทีส่ ำคัญเรือ้ รังมาเป็นเวลานาน รวม ทั้งการบริหารจัดการน้ำที่ไม่เหมาะสม และการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลถึงการผลิต รายได้และการกระจายรายได้ของเกษตรกร การเจริญเติบโตในสาขาเกษตรเพิม่ มากขึน้ เป็นผลมาจากรายได้เงินสดสุทธิของครัวเรือน ก่อนการชำระหนี้และทรัพย์สินของครัวเรือน เกษตรเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 3.82 และ 4.42 ตามลำดับ รวมทัง้ ดัชนีชวี้ ดั ความผาสุกของเกษตรกรเพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 76.11 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นร้อยละ 77.91 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 รวมทั้งเมื่อจำแนกครัวเรือนเกษตรตามรายได้ ออกเป็น 5 กลุ่ม พบว่าสัดส่วนรายได้ของกลุ่ม ทีม่ รี ายได้มากทีส่ ดุ ต่อกลุม่ ทีม่ รี ายได้นอ้ ยทีส่ ดุ มี ความต่างกันลดลง จากร้อยละ 19.39 ในช่วง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นร้อยละ 18.02 ในช่วง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 อย่างไรก็ตาม พบว่า

11

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


ครัวเรือนเกษตรกรยังมีหนีส้ นิ เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 4.99 และอยูใ่ ต้เส้นความยากจน (Poverty line) ลดลง จาก 2.31 ล้านครัวเรือน เป็น 1.75 ล้าน ครัวเรือน นอกจากนี้ สัดส่วนประชากรในภาคเกษตร มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 57.71 ในช่วงแผน พัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นร้อยละ 39.14 ในช่วงแผน พัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึง่ คนกลุม่ นีเ้ ป็นกลุม่ ทีภ่ าครัฐ ต้องให้การดูแลอย่างต่อเนือ่ ง เพราะนอกจากจะ เป็นผู้ผลิตอาหารและสร้างรายได้ให้กับประเทศ แล้ว ยังมีฐานะความเป็นอยูด่ อ้ ยกว่าคนกลุม่ อาชีพ อืน่ ๆ ในสังคม รวมทัง้ ครัวเรือนเกษตรกรยังก้าว เข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ โดยสัดส่วนสมาชิกใน ครัวเรือนทีม่ อี ายุมากกว่า 65 ปี มีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 5.20 เป็นร้อยละ 9.80 และผู้ที่อยู่ ในวัยทำงาน (อายุ 15-65 ปี) มีสดั ส่วนลดลงจาก ร้อยละ 73.90 เป็นร้อยละ 68.60 เนื่องจาก คนกลุ่ ม นี้ บ างส่ ว นไม่ ไ ด้ ท ำการเกษตรตลอด ฤดูการผลิต รายได้ไม่เพียงพอกับการครองชีพ ต้องเข้าสู่เมืองหลวง หรือโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อหารายได้เสริม ขณะที่สัดส่วนผู้ที่อายุไม่ถึง เกณฑ์ทำงาน (น้อยกว่า 15 ปี) เพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 20.90 เป็นร้อยละ 21.60 แต่เมื่อก้าวสู่วัย ทำงานส่วนใหญ่จะไม่กลับมาทำอาชีพทางการ เกษตร ทำให้โครงสร้างการผลิตที่ใช้แรงงาน ในครัวเรือนเปลี่ยนไปเป็นการใช้องค์ความรู้และ เทคโนโลยีมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการ ขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรมาอย่ า ง ต่อเนื่อง เช่น มีการสร้างและพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร ปลุกจิตสำนึกให้มที ศั นคติทดี่ ตี อ่ อาชีพ เกษตรกรรม สร้างแรงจูงใจในการจัดสรรที่ดิน ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

12

ทำกิ น และการสนั บ สนุ น เงิ น ทุ น พร้ อ มทั้ ง สนับสนุนการพัฒนายุวเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่แบบมืออาชีพ แต่จากการประเมิน ศักยภาพกลุ่มยุวเกษตรกร พบว่ายังมีกลุ่มยุวเกษตรกรจำนวนมากทีอ่ ยูใ่ นเกณฑ์ตอ้ งปรับปรุง นอกจากนี้ มีการส่งเสริมการถ่ายทอดกระบวน การเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน รวมทัง้ ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ผสมผสาน กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรกรนำมาประยุกต์ ใช้นอ้ ยจึงมีความเสีย่ งต่อการประกอบอาชีพ และ การสร้างความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน สถาบันเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร มีสว่ นสำคัญในการสร้างความมัน่ คงด้านอาหาร และความเข้มแข็งให้กับครัวเรือนเกษตรกร และ ยังทำให้เกิดความร่วมมือ การช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน เพื่อก้าวไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน การค้าขายปัจจัยการผลิต และ ผลผลิตร่วมกัน รวมทั้งเป็นแหล่งออมเงิน และ สินเชือ่ ให้กบั ครัวเรือนเกษตรกรด้วย โดยสหกรณ์ กลุม่ เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เป็นสถาบันทีม่ ี บทบาททางการเกษตรมาก และมีแนวโน้มของ จำนวนสมาชิก ทุนดำเนินงาน และปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้น ซึ่งการประเมินผลพบว่า สหกรณ์และ วิสาหกิจชุมชนมากกว่าครึ่งมีการดำเนินงานได้ มาตรฐาน สำหรับการรวมกลุ่มรูปแบบอื่นๆ มี ทั้งกลุ่มที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และไม่ได้ จดทะเบียน ในระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา มีการ ขยายตั ว เพิ่ ม ขึ้ น มาก แต่ ยั ง ไม่ มี ก ารประเมิ น มาตรฐานของกลุ่มดังกล่าว และที่ผ่านมาแม้ว่า สถาบันและองค์กรเกษตรกรจะมีบทบาทในการ พัฒนาการเกษตรยังครอบคลุมไม่ทั่วถึง


จากสถานการณ์ขา้ งต้น ปัญหาหลักทีย่ งั คง เกิดขึน้ กับเกษตรกรไทย คือ ปัญหาความยากจน การกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ทำให้คุณภาพ ชีวติ ของเกษตรกรไม่ดเี ท่าทีค่ วร ส่งผลกระทบถึง ปัญหาอืน่ ๆ ตามมามากมาย เช่น ไม่มที ดี่ นิ ทำกิน ขาดเงินทุนปรับปรุงการผลิต เพราะดินขาด ความอุ ด มสมบู ร ณ์ การบริ ห ารจั ด การน้ ำ ไม่ เหมาะสม ทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการ ผลิต ผลผลิตต่อไร่จงึ ต่ำ ประกอบกับไม่มคี วามรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการฟาร์มที่ดีพอ ส่งผล กระทบต่อผลผลิต รายได้ และการมีหนี้สินสูง การรวมกลุม่ ในรูปแบบต่างๆ ยังไม่มคี วามเข้มแข็ง เพียงพอ จึงทำให้ขาดอำนาจต่อรองในด้านการ ซือ้ ปัจจัยการผลิตราคาถูกร่วมกัน ขาดเครือข่าย ในการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค รวมทั้งการขาย สินค้าเกษตรให้ได้ราคาที่เป็นธรรม การพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบั บ ที่ 11 ภาคการเกษตรยั ง คงยึ ด คนเป็ น ศู น ย์ ก ลางของการพั ฒ นาตามแนวปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียง เน้นการพัฒนาเกษตรกรให้มี ความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งมีแนว ทางการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม เนื่ อ งจากยั ง มี ค วามไม่ เ ท่ า เที ย มกั น ทางด้ า น โอกาสและรายได้ จึงแบ่งการพัฒนาเกษตรกร ออกเป็น 3 กลุม่ โดยเน้นแนวทางการดำเนินงาน แก่เกษตรกรแต่ละกลุ่ม ดังนี้ กลุ่ ม ที่ 1 เกษตรกรที่ มี ร ายได้ ต่ ำ กว่ า มาตรฐานการครองชีพ (ต่ำกว่าเส้นความยากจน) ที่ผลิตเพื่อการยังชีพ เน้นการจัดหาที่ดินทำกิน สร้างความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ สร้าง โอกาสให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุน และการแก้ไข ปัญหาหนี้สิน

กลุ่มที่ 2 เกษตรกรที่มีรายได้ตามมาตรฐานการครองชีพ หรือสูงกว่ามาตรฐาน หรือ เกษตรเชิงพาณิชย์ เน้นการสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขัน การถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้าง องค์ความรูแ้ ละพัฒนา ทักษะการผลิต การตลาด และสามารถเข้าถึงแหล่งทุน กลุม่ ที่ 3 เกษตรกรทีท่ ำการเกษตรพาณิชย์ เน้นการเข้าถึงข้อมูลและอำนวยความสะดวก ทั้งด้านการผลิตและการตลาด การเสริ ม สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ กั บ เกษตรกร เน้นกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ อย่างเป็นระบบ ให้สามารถแก้ไขปัญหาพึ่งพา ตนเองได้ เพื่อให้การพัฒนาภาคเกษตรมีความ เหมาะสมและยั่งยืน ทั้งการผลิตเพื่อการส่งออก และการผลิตเพือ่ ความมัน่ คงด้านอาหารของครัว เรือน ตลอดจนเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่ อ ให้ เ กษตรกรมี ค วามสามารถ พึ่งพาตนเองได้ มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับความเสี่ยง ด้านการผลิต การตลาด และมีการกระจาย รายได้ที่ทั่วถึง 2.2 เพื่ อ ให้ เ กษตรกรเป็ น ผู้ มี ค วาม สามารถในการผลิตและการตลาด ก้าวสูผ่ จู้ ดั การ ฟาร์มที่เป็นมืออาชีพ (Smart Farmer) รวมทั้ง สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ทดแทนรุ่นเดิม เพื่อทำ การเกษตรที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ 2.3 เพือ่ ส่งเสริมให้องค์กรเกษตรกร และ สถาบั น เกษตรกรให้ มี ก ารดำเนิ น งานอย่ า งมี ประสิทธิภาพและยั่งยืน

13

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


3. เป้าหมาย 3.1 สัดส่วนรายได้เงินสดสุทธิทางการ เกษตรต่อรายได้เงินสดสุทธิของครัวเรือนเกษตร เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ในปี 2559 และ สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินของครัวเรือนเกษตร ลดลง 3.2 รายได้ของเกษตรกรระหว่างกลุ่มมี รายได้น้อยที่สุด และกลุ่มมีรายได้มากที่สุด มี ความต่างกันลดลงเหลือ 15 เท่า ในปี 2559 3.3 เกษตรกรทำเกษตรกรรมยั่งยืนเพิ่ม ขึ้น 3.4 ผู้ มี ก ารศึ ก ษาสู ง เข้ า สู่ ภ าคเกษตร มากขึ้น 3.5 องค์ ก รเกษตรกร หรื อ สถาบั น เกษตรกร มีการดำเนินงานทีม่ มี าตรฐานเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 4 และมีปริมาณธุรกิจเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 14 ในปี 2559 รวมถึงเครือข่ายมีการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง 4. ตัวชี้วัด 4.1 สัดส่วนรายได้เงินสดสุทธิทางการ เกษตรต่อรายได้เงินสดสุทธิของครัวเรือนเกษตร และสั ด ส่ ว นหนี้ สิ น ต่ อ ทรั พ ย์ สิ น ของครั ว เรื อ น เกษตร 4.2 สั ด ส่ ว นรายได้ ข องเกษตรกลุ่ ม ที่ มี รายได้น้อยที่สุดและมากที่สุด 4.3 จำนวนเกษตรกรและพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 4.4 จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการศึกษา อบรมที่เข้าสู่ภาคเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

14

4.5 จำนวนองค์กรเกษตรกร หรือสถาบัน เกษตรกรที่มีมาตรฐาน และร้อยละของปริมาณ ธุรกิจ และจำนวนเครือข่าย 5. แนวทางการพัฒนา 5.1 สร้างความมั่นคงในการประกอบ อาชีพ และรายได้ให้แก่เกษตร ด้วยการ 5.1.1 ส่งเสริมและพัฒนาระบบการ ประกันความเสี่ยงการเกษตรให้เหมาะสมกับ สิ น ค้ า เกษตร และสถานการณ์ ที่ เ กิ ด จากภั ย ธรรมชาติ การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศและ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันและ ลดความเสียหายในการผลิตสินค้าเกษตร เป็น การสร้างหลักประกันทีม่ นั่ คงในอาชีพและรายได้ ของครัวเรือนเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและ ยั่งยืน โดย 1) บริหารจัดการศัตรูพชื และ การเขตกรรมอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเสี่ยงให้ กับเกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร โดยการให้ความรูต้ ามหลักวิชาการทัง้ การใช้ปยุ๋ อินทรีย์ และอนินทรีย์ การใช้สารเคมี ชีวะวิธี ที่ถูกต้อง 2) สร้ า งเสถี ย รภาพรายได้ ให้กับเกษตรกร โดยการประกันความเสี่ยงด้าน ราคาและผลผลิตสินค้าเกษตรให้กับครัวเรือน เกษตรกรอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง 3) ประกันภัยพืชผลทางการ เกษตรให้สามารถคุ้มครองความเสี่ยงด้านการ ผลิ ต ทางการเกษตร ที่ มี ผ ลกระทบจากภั ย ธรรมชาติ โดยใช้วิทยาศาสตร์ช่วยในการพิสูจน์ ความเสียหาย


4) สนับสนุนการแก้ไขปัญหา หนี้ สิ น ของเกษตรกร รวมทั้ ง สนั บ สนุ น กลุ่ ม เกษตรกร สถาบันเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ต่ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีต้นทุนการ ผลิตที่ลดลง และลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอก ระบบ 5.1.2 จัดทำทะเบียนเกษตรกรและ เร่งสำรวจรายได้ที่แน่นอนของเกษตรกร เพื่อ ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ กั บ เกษตรกรเป็ น ไปอย่ า ง เหมาะสม 5.1.3 ผลักดันให้มีการพัฒนาระบบ สวัสดิการให้ครอบคลุมแรงงานด้านการเกษตร ซึง่ เป็นแรงงานนอกระบบ ให้มกี ารประกันสังคม ครอบคลุ ม อย่ า งทั่ ว ถึ ง สอดคล้ อ งกั บ ความ ต้องการและความจำเป็นของเกษตรกร เช่น กองทุนสวัสดิการชาวนา 5.1.4 พัฒนาระบบการคุม้ ครองทีด่ นิ ให้เกษตรกรรายย่อยมีทดี่ นิ เป็นของตนเอง หรือ มีสิทธิทำกินในที่ดิน รวมถึงการคุ้มครองพื้นที่ ที่มีศักยภาพทางการเกษตร 5.2 สร้างองค์ความรูใ้ ห้กบั เกษตรกร เพือ่ เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและการตลาด โดยส่งเสริมอาชีพและสร้างความเข้มแข็ง เน้น กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรูอ้ ย่างเป็นระบบ ให้สามารถแก้ไขปัญหาพึ่งพาตนเองได้ เพื่อก้าว ไปสูผ่ จู้ ดั การฟาร์มแบบมืออาชีพ (Smart Farmer) โดย 5.2.1 ถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือใช้หลัก พอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน พึ่งพา

ตนเองได้ในการดำเนินชีวิต และการประกอบ อาชีพผ่านศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์ ปราชญ์ และเครื อ ข่ า ย รวมทั้ ง หน่ ว ยงานที่ เกี่ยวข้อง 5.2.2 เพิ่มพูนความรู้และเทคโนโลยี สมัยใหม่ให้แก่ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้สามารถ ประยุกต์ภูมิปัญญาที่มีอยู่ให้เหมาะสมและทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางการ เกษตร 5.2.3 ถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านหน่วยงาน ของรัฐ และเอกชน ให้กบั เกษตรกร รวมทัง้ พัฒนา และเสริ ม สร้ า งองค์ ค วามรู้ ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมทางการเกษตรที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.2.4 เสริมสร้างภูมปิ ญ ั ญาทางบัญชี แก่เกษตรกรไทย สู่บัญชีต้นทุนอาชีพ สำหรับ เกษตรกรทุกระดับ ตัง้ แต่ระดับครอบครัว ระดับ ชุมชน ให้ได้รับโอกาสเรียนรู้การจัดทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือน โดยใช้หลักการทำบัญชีตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รูร้ ายได้ รายจ่าย หนี้สิน รู้จักพึ่งพาตนเอง และทิศทางอนาคต อันจะส่งผลให้สามารถวางแผนการประกอบอาชีพ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากเกษตรกร จะได้รับความรู้ในการจัดทำบัญชีรู้รายได้ราย จ่าย รู้จักควบคุมการใช้จ่ายเงินแล้ว ยังทำให้ เกษตรกรมีวินัยทางการเงิน รู้จักการออมเงิน รวมทัง้ เกษตรกรจะต้องรูจ้ กั วิธกี ารลดต้นทุนการ ผลิต เช่น การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ ไว้ใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพือ่ หลุด พ้นจากความยากจนและมีอนาคตที่ดี

15

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


5.2.5 ส่ ง เสริ ม พั ฒ นาความรู้ ข อง เกษตรกรให้เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ โดยควร เป็นรูปแบบที่ทำให้เกษตรกรสนใจที่จะค้นคว้า ทดลอง หรือนำไปประยุกต์ต่อยอดใช้ประโยชน์ ได้จริง ผลักดันให้เกษตรกรโดยเฉลี่ยมีความรู้ พื้นฐานสูงขึ้น ร่วมมือกับเอกชนช่วยพัฒนาให้ เกษตรกรหั ว ก้ า วหน้ า ได้ มี โ อกาสศึ ก ษาดู ง าน เทคโนโลยีการเกษตร การผลิตและการตลาด สินค้าเกษตรทั้งในและต่างประเทศ 5.2.6 สร้างฐานข้อมูลกับชุมชนด้าน การเกษตร เพื่อสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่าง ชุมชน โดย 1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มี การสร้างฐานความรู้และประสบการณ์ของผู้ สูงอายุ ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผูม้ คี วามรูภ้ มู ปิ ญ ั ญา ท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตร ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่นั้นๆ 2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มี การสร้างฐานความรู้การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ร่วมกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่สร้างความ เข้มแข็งแก่สังคมเกษตร 3) เพิ่มความสามารถ และ ช่องทางในการรับรูข้ า่ วสารให้กบั เกษตรกรอย่าง ทั่วถึง รวมทั้งพัฒนาสื่อทางการเกษตรในวง กว้าง โดยมีศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร (AEOC) เพื่อเตือนภัยทางการเกษตร ถ่ายทอด เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรผ่านตู้ บริการข้อมูล (Kiosk) ในแบบระบบหน้าจอสัมผัส สูม่ อื เกษตรกรและประชาชนทีส่ นใจ พร้อมระบบ สนทนากับผู้เชี่ยวชาญในแบบ Web Camera

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

16

5.3 สร้างขีดความสามารถให้กบั เกษตรกรและชุมชนในการรับมือกับความเสีย่ งจากภัย ธรรมชาติ โดย 5.3.1 ประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ เ กษตรกร และชุมชนรู้ เข้าใจถึงผลกระทบ ความเสีย่ งทีเ่ กิด จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในระยะยาว และตระหนักถึงผลที่จะตามมา 5.3.2 ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีในการปรับตัว และสามารถรับมือกับการ เปลี่ ย นแปลงสภาพอากาศให้ กั บ เกษตรกรใน ชุ ม ชนให้ ส ามารถเลื อ กแนวทางการผลิ ต ที่ เหมาะสม กระบวนการผลิตให้มีการจัดการที่ดี ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย ต้นทุนต่ำ ซึ่งจะสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขัน และลดข้อกีดกันทางการค้าของต่างประเทศใน มาตรการด้านสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช รวม ทั้งมาตรการด้านการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 5.3.3 ส่งเสริมให้มีการนำของเหลือ ใช้ในครัวเรือนหรือในชุมชน เช่น มูลสัตว์ ขยะ ฟาง แกลบ เศษไม้มาใช้เป็นพลังงานก๊าซชีวภาพ เพือ่ ลดค่าใช้จา่ ยในการผลิตค่าใช้จา่ ยในครัวเรือน ลดมลภาวะ หากเหลือใช้สามารถขายพลังงาน ความร้อนและไฟฟ้าเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน และท้องถิ่น 5.4 สร้ า งความมั่ น คง ปลอดภั ย ด้ า น อาหารในครัวเรือนเกษตรกร เพื่อเป็นหนทาง ไปสูก่ ารพึง่ พาตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งนอกจากจะเป็น การลดความเสี่ยงด้านการผลิต การตลาด ยัง ช่วยให้เกิดความมั่นคงและปลอดภัยด้านอาหาร ในครัวเรือนด้วย โดย


5.4.1 ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการ เกษตรกรรมยัง่ ยืน อาทิ การเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ และ เกษตรธรรมชาติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง โดยสนับสนุนให้เกษตรกรบริหารจัดการ ฟาร์มอย่างเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม และ ผลิตอาหารปลอดภัยใช้บริโภคได้ในครัวเรือน และเป็นที่ยอมรับของตลาด โดยเน้นให้สามารถ ใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสมให้ผลผลิตสูง ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ ทำให้สภาพเศรษฐกิจ และนิเวศวิทยาทางการเกษตรเกิดความยั่งยืน โดยดำเนินการให้สอดคล้องและเอื้ออำนวยซึ่ง กันและกัน 5.4.2 ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ มี การจั ด การและเผยแพร่ อ งค์ ค วามรู้ แ ละการ พัฒนาด้านอาหารศึกษาทุกรูปแบบอย่างต่อเนือ่ ง และทั่วถึง โดยบูรณาการการดำเนินงานของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริม การบริโภคที่เหมาะสมต่อสุขภาพ และคุณภาพ ชีวิตของบุคคลและชุมชนด้วยการรณรงค์ให้ผู้ที่ เกีย่ วข้องได้ตระหนัก และมีจติ สำนึกร่วมกันผลิต อาหารให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ ให้ผู้บริโภค มีความรู้ ความเข้าใจในการตัดสินใจและเลือกซือ้ อาหารที่สะอาด ถูกหลักอนามัย เพื่อลดอัตรา การเกิดโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคอาหารที่ ไม่ถกู ต้อง ส่วนเกษตรกรและผูป้ ระกอบการได้รบั ข้อมูล ข่าวสารที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการผลิต อาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย 5.4.3 สนับสนุนให้ประชาชนทั่วไป ทำสวนผักคนเมือง (City farm) ด้วยการส่งเสริม และสนับสนุนการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ สำหรับกลุ่มครัวเรือนหรือชุมชนที่มีความสนใจ

เพือ่ ช่วยให้คนเมืองสามารถพึง่ ตนเองด้านอาหาร ได้มากขึ้น และเกิดความมั่นคงทางอาหารของ ครัวเรือน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยแก้ปัญหาความ ยากจน ลดโลกร้อน และเสริมสร้างสุขภาพให้ แข็งแรงสมบูรณ์ทงั้ กายใจได้อย่างดี ทีส่ ำคัญการ ปลูกผักยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยสานสัมพันธ์อันดี ให้เกิดขึ้นในสังคมเมืองได้อีกด้วย โดย 1) เสริมสร้างการเรียนรู้และ สนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาความรู้ เ รื่ อ งการ เกษตร การแลกเปลีย่ นเรียนรูข้ องชุมชนในเมือง และชานเมือง รณรงค์เผยแพร่แนวคิดอย่างเป็น รูปธรรมสู่สาธารณะ 2) สร้ า งความสั ม พั น ธ์ อั น ดี ระหว่างกันของกลุ่มคนในเมืองและเพิ่มพื้นที่สี เขียวในเขตเมืองก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อคน เมืองมากขึ้น 5.5 ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรุ่น ใหม่ให้เข้าสู่ภาคเกษตร เพื่อปลูกฝังและสร้าง แรงจูงใจให้เยาวชนรัก ภูมใิ จในอาชีพเกษตรกรรม และเป็นการขับเคลื่อนภาคการเกษตรในอนาคต โดย 5.5.1 ร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ในแต่ละพื้นที่อย่างจริงจัง ปรับปรุงระบบการ เรียนการสอนให้เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับ สภาพปัญหาและความต้องการแต่ละท้องถิน่ เพือ่ นำไปสู่ ก ารสร้ า งองค์ ค วามรู้ แ ละบุ ค ลากรที่ มี ความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ในท้องถิ่น เพื่อให้มีความสามารถในการตัดสิน ใจเลือกประกอบอาชีพเกษตรกรรมบนฐานของ ความรูแ้ ละข้อมูลเป็นหลัก รวมทัง้ การให้ทนุ การ ฝึกงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทุนการ ศึกษาทั้งระยะสั้น และระยะยาว

17

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


5.5.2 จัดหาทีด่ นิ ทำกิน สร้างโอกาส ให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการผลิต เพื่อให้ สามารถเข้าสู่อาชีพเกษตรได้อย่างมั่นคงและ ยั่งยืน 5.5.3 บริหารและจัดการองค์ความรู้ โดยชุ ม ชนเพื่ อ เผยแพร่ ข้ อ มู ล ข่ า วสารความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเกษตรกร และ เพิ่มช่องทางการสื่อสารให้สังคมทั่วไปได้รับรู้ เข้ า ใจสภาพปั ญ หาและข้ อ มู ล ด้ า นการเกษตร ของประเทศอย่างถูกต้อง 5.6 สนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร 5.6.1 สนับสนุนการดำเนินงานของ สภาเกษตรกร ในการกำหนดนโยบายทีเ่ ชือ่ มโยง กับแผนพัฒนาด้านการเกษตรสู่สภาเกษตรกรที่ เอื้ออำนวยต่อการผลิต การตลาด ให้สามารถ นำไปจัดทำแผนปฏิบตั กิ ารในระดับชุมชน เพือ่ ให้ เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม 5.6.2 สนั บ สนุ น การรวมกลุ่ ม ใน ระบบสหกรณ์ วิสาหกิจ หรือวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรรูปแบบต่างๆ มีส่วนร่วมและการ บูรณาการทำงานของทุกภาคส่วน เพือ่ สร้างความ มั่นคงด้านอาหารและพลังงานทั้งในระดับครัว เรือน ชุมชน และระดับประเทศอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับกลไกการบริหารจัด การภาครัฐและองค์กรเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 5.6.3 ส่งเสริมและพัฒนาระบบการ รวมกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน เพือ่ ให้มขี ดี ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ การ บริหารจัดการ และเป็นที่พึ่งของสมาชิก โดย ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

18

1) พัฒนาการสร้างเครือข่าย ให้มีการเชื่อมโยงกันตั้งแต่การเป็นผู้รวบรวม ผลผลิต การขนส่ง จนถึงเป็นผู้จำหน่ายผลผลิต ทางการเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็ง สร้าง อำนาจการต่อรอง และลดความเสี่ยงด้านราคา ผลผลิต ได้แก่ การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าง สถาบันเกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรกันเอง การเชื่อมโยงระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมถึงการเชือ่ ม โยงในภูมภิ าคและระหว่างภูมภิ าคจนถึงผูส้ ง่ ออก สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กบั สถาบันเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรตั้งแต่ระดับชนบทถึง ระดับประเทศ และต่างประเทศ 2) สนับสนุนการรวมกลุม่ ให้มี ศักยภาพ เพือ่ พัฒนาความสามารถในการดำเนิน กิจการ และเข้าสู่ระบบมาตรฐาน ให้มีความ เข้มแข็งและมีความสามารถในการดำเนินงาน โดยการประเมินมาตรฐานการดำเนินงานของ กลุ่มเกษตรกรต่างๆ ทุกระดับ และในกลุ่มที่มี ความเข้มแข็งมาก ส่งเสริมให้สามารถต่อยอดเป็น ผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมเกษตร และเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรเองโดยตรง กลุ่ม ที่เข้มแข็งปานกลาง ควรได้รับการพัฒนาให้มี ศักยภาพเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มที่ไม่เข้มแข็ง และไม่ สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ควรจะยุบ เลิก กิจการ 3) ผลักดันให้สถาบันเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และกลุ่มอาชีพต่างๆ มี การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย และจัดทำให้เป็น ปัจจุบัน เพื่อให้การดำเนินงานโปร่งใส และ ตรวจสอบได้ รวมทัง้ สร้างเครือ่ งมือในตรวจสอบ การดำเนินงาน


4) ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ให้เกษตรกรเข้าใจในปรัชญาของการรวมกลุ่ม ของระบบสหกรณ์/วิสาหกิจชุมชน ในเรื่องสิทธิ หน้ า ที่ ก ารเข้ า ร่ ว มเป็ น สมาชิ ก เพื่ อ เป็ น กำลั ง สำคัญคอยสอดส่องดูแลรักษาผลประโยชน์ของ สมาชิก 5.6.4 สนั บ สนุ น และพั ฒ นาองค์ ความรู้ใหม่ๆ แก่ผู้บริหารสถาบันเกษตรกรและ องค์กรเกษตรกร รวมถึงผู้นำวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้มีความรู้ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบ อาชีพการเกษตร รวมทั้งถ่ายทอดไปยังสมาชิก หรือเกษตรกรรุ่นใหม่ได้

ยุทธศาสตร์ที่ 2

พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และ ความมั่นคงอาหาร 1. สถานการณ์ ประเทศไทยมี ส ภาพทางภู มิ ศ าสตร์ ที่ เหมาะสมกั บ การผลิ ต ทางการเกษตรมี ค วาม หลากหลายทางชีวภาพ มีการใช้ภูมิปัญญาแบบ ผสมผสานและสอดคล้ อ งกั บ ภู มิ สั ง คมแต่ ล ะ ท้องถิน่ โดยมีพนื้ ทีท่ ำการเกษตร 131.59 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 41.03 ของพืน้ ทีท่ งั้ ประเทศ สามารถผลิตสินค้าเกษตรทั้งพืช ปศุสัตว์ และ ประมง เพี ย งพอกั บ ความต้ อ งการใช้ ภ ายใน ประเทศและส่งออก สร้างรายได้ให้กับประเทศ มาตลอด โดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นจาก 0.48 ล้านล้านบาท ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (ปี 2540) เป็น

1.09 ล้านล้านบาท ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (ปี 2553) ซึง่ สินค้าเกษตรและอาหารส่งออก ที่สำคัญ อาทิ ยางพารา ข้าว กุ้ง อ้อย ผลไม้ มันสำปะหลัง ไก่เนือ้ เป็นต้น นอกจากนี้ ผลผลิต สินค้าเกษตรยังใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญเพื่อการ แปรรูปในอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศไทยเป็น ประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ ของโลก แม้ว่าการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ของไทยจะมี ป ริ ม าณเพี ย งพอสำหรั บ บริ โ ภค ภายในประเทศ เป็นวัตถุดบิ สำหรับอุตสาหกรรม แปรรูปสินค้าเกษตรและการส่งออก แต่ยังมี ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง เนือ่ งจากสภาพปัญหาดินเสือ่ มโทรม ปริมาณน้ำ ไม่เพียงพอกับความต้องการ การใช้ปจั จัยการผลิต ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม เกษตรกรขาดความรู้ ความเข้าใจการใช้ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี ทีถ่ กู ต้อง ประกอบกับการเปลีย่ นแปลงของสภาพ ภูมิอากาศที่เป็นผลให้เกิดความแปรปรวนของ ปริมาณน้ำฝน ระดับอุณหภูมิที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การเปลีย่ นแปลงของฤดูกาลทีไ่ ม่แน่นอน รวมทัง้ ภัยธรรมชาติที่คาดการณ์ได้ยาก ส่งผลกระทบ โดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตร ในขณะเดียว กันประเทศไทยกำลังเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุ ซึง่ รวม ทั้งประชากรที่อยู่ในภาคเกษตรด้วย โดยพบว่า สั ด ส่ ว นประชากรวั ย แรงงานที่ เ ป็ น สมาชิ ก ใน ครัวเรือนเกษตรลดลง จากร้อยละ 73.90 ในช่วง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นร้อยละ 68.60 ใน ช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และสัดส่วนของ ประชากรผูส้ งู อายุเพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 5.20 เป็น ร้อยละ 9.80 ในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้ความ เข้ ม แข็ ง ของภาคเกษตรไทยมี แ นวโน้ ม ลดลง ประกอบกับคนหนุ่มสาวไม่สนใจทำการเกษตร

19

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


และมีการย้ายจากภาคเกษตรไปสู่ภาคการผลิต อืน่ ทีใ่ ห้ผลตอบแทนสูงกว่า ทำให้ภาคเกษตรต้อง เผชิญกับความเสี่ยงด้านแรงงานมากขึ้น นอก จากนั้น ยังมีการพึ่งพาต่างประเทศทั้งปัจจัย การผลิ ต และตลาดส่ ง ออก เช่ น เทคโนโลยี ปุ๋ยเคมี และสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นปัจจัยการ ผลิตที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต และต้องเผชิญ ความเสี่ยงกับความผันผวนด้านราคา ขณะที่ ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารทัง้ ภายใน ประเทศและของโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ ว ส่ ง ผลต่ อ การผลิ ต สิ น ค้ า เกษตรและ อาหารเพือ่ รองรับความต้องการ และความมัน่ คง อาหารในอนาคต นอกจากนี้ ความต้องการใช้ พลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้นตามการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิ จ ส่ ง ผลให้ สู ญ เสี ย เงิ น ตราต่ า ง ประเทศ จากการนำเข้าเชื้อเพลิงและพลังงาน ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศในโลก รวมทัง้ ประเทศ ไทยมีนโยบายพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงาน ทดแทนจากพืชมากขึน้ ทำให้มคี วามต้องการพืช พลังงานทดแทนมากขึ้น เช่น มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน และมีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการใช้ประโยชน์ผลผลิตการเกษตร จาก การปลูกเพื่อเป็นพืชอาหารมาเป็นพืชพลังงาน มากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต อาหาร รวมทั้งความมั่นคงอาหารของประเทศ และการส่งออก การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลาย ศูนย์กลางรวมทั้งภูมิภาคเอเชีย มีการเชื่อมโยง ของประเทศในภูมิภาคต่างๆ มีมากขึ้น และมี การร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ประเทศไทย คงต้องปรับบทบาทรองรับการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ด้านการขยายความร่วมมือ การคมนาคมขนส่ง ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

20

การพัฒนาแลกเปลีย่ นความรู้ ทัง้ ด้านทรัพยากร มนุษย์ เทคโนโลยีและสารสนเทศกับกลุม่ ประเทศ ต่ า งๆ และต้ อ งปรั บ ตั ว โดยเฉพาะการเข้ า สู่ ประชาคมอาเซียน ซึ่งไทยได้รับการยอมรับใน การเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการค้าในภูมิภาค และอาจเพิม่ การใช้สทิ ธิประโยชน์จากความตกลง ทางการค้าเสรีให้มากขึน้ เพือ่ เสริมสร้างความได้ เปรียบจากศักยภาพที่ตั้ง เพื่อสร้างความมั่นคง ด้านอาหารและพลังงาน โดยพัฒนาศักยภาพผู้ ประกอบการให้สามารถเชือ่ มโยงการค้าและการ ลงทุน สามารถประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อประโยชน์ต่อ การประกอบธุรกิจการค้า เพือ่ รองรับการเปิดเสรี ทางการค้ามากขึ้น จากสถานการณ์ดงั กล่าวข้างต้น แสดงให้ เห็นว่ามีการนำสินค้าเกษตรไปเป็นวัตถุดบิ ในการ ผลิตและใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายมากขึ้น รวมทัง้ มีโอกาสจากการเพิม่ ปริมาณผลผลิต เพือ่ รองรับความต้องการทั้งภายในประเทศและของ โลก แต่ประสิทธิภาพการผลิตของไทยยังต่ำ มี สินค้าเกษตรบางชนิดการผลิตไม่ได้มาตรฐาน ขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร ตลอดจนได้รับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น การพัฒนาการเกษตรในอนาคตจึงต้อง สร้างภูมคิ มุ้ กันภาคเกษตรให้เข้มแข็ง และกำหนด แนวทางการสร้างความสมดุลสำหรับการผลิต สินค้าเกษตร ทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร ให้เป็นรูปธรรม 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพือ่ สร้างฐานการผลิตภาคเกษตรให้


เข้มแข็ง เป็นฐานการผลิตของภาคการผลิตอื่นๆ ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ และรายได้ให้กับ เกษตรกร 2.2 เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรและ อาหารให้มีความสามารถในการแข่งขัน 2.3 เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงด้าน อาหาร และมีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการ ด้านอาหารและพลังงาน โดยให้ความสำคัญกับ ความต้องการด้านอาหารเป็นลำดับแรก 2.4 เพื่อส่งเสริมให้มีและนำผลงานวิจัย พัฒนาด้านการเกษตรไปใช้ประโยชน์มากขึ้น 3. เป้าหมาย 3.1 เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต สิ น ค้ า เกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน และเพียงพอต่อ ความต้องการ 3.2 มูลค่าสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น 3.3 เพิ่มสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการวิจัยและ พัฒนาด้านการเกษตร และมีการนำผลงานไปใช้ ประโยชน์มากขึ้น 4. ตัวชี้วัด 4.1 ผลผลิตรวม และต้นทุนการผลิตต่อ หน่วยของสินค้าเกษตร 4.2 จำนวนฟาร์ม/โรงงาน ที่ได้รับการ รับรองคุณภาพมาตรฐาน 4.3 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ สาขาเกษตรและแปรรูปเกษตร 4.4 สั ด ส่ ว นค่ า ใช้ จ่ า ยเพื่ อ การวิ จั ย และ พัฒนาด้านการเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมใน

ประเทศสาขาเกษตร และจำนวนผลงานวิจัยที่มี การนำไปใช้ประโยชน์ 5. แนวทางการพัฒนา 5.1 การพัฒนาการผลิต และการสร้าง มูลค่าเพิ่ม เพื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพการผลิ ต ในเชิ ง พาณิชย์และอุตสาหกรรม รองรับการบริโภค ภายในประเทศ และการแข่งขันจากการเปิดตลาด เสรี สิ น ค้ า เกษตรที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ทั้ ง ในปั จ จุ บั น และ อนาคต โดย 5.1.1 พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน สินค้าเกษตร โดยส่งเสริมและพัฒนากระบวน การผลิตให้มีประสิทธิภาพทุกขั้นตอนด้วยการ 1) ผลั ก ดั น การดำเนิ น งาน ยุทธศาสตร์รายสินค้าไปสู่การปฏิบัติ โดยใช้ เทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมผสมผสานกั บ ภู มิ ปัญญาท้องถิน่ รวมทัง้ ปัจจัยต่างๆ เพือ่ การผลิตที่ เหมาะสม และตามความสามารถของเกษตรกร 2) ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาการ เพาะเลีย้ งสัตว์นำ้ เศรษฐกิจ และเสริมสร้างความ สามารถในการปรับตัวของผูป้ ระกอบการประมง ในทุกระดับ ให้พร้อมต่อการเปลีย่ นแปลงสภาวะ โลกร้อน กฎ ระเบียบ ข้อกำหนดต่างๆ ทัง้ ภายใน และระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการป้องกันและ ยั บ ยั้ ง และขจั ด การทำประมงที่ ผิ ด กฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing : Illegal Unreported and Unregulated Fishing) ให้สามารถทำประมงอย่างมีความ รับผิดชอบเพื่อรักษาสมดุลของการผลิตและการ ใช้ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน

21

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


3) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าปศุสัตว์ รวมถึงสัตว์เลี้ยง ให้ สามารถแข่งขันได้สอดคล้องตามความต้องการ และกลไกตลาด เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ เกษตรกรในเรื่องเงินทุน อาหารสัตว์ พันธุ์สัตว์ ความรู้และเทคโนโลยีการจัดการฟาร์มและการ เลี้ยงสัตว์ เพื่อให้มีความสามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาระบบการ ตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ และ กระบวนการผลิ ต ให้ มี คุ ณ ภาพปลอดภั ย ต่ อ ผู้ บริโภค ดำเนินการควบคุมป้องกันและบำบัดโรค สั ต ว์ ใ ห้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และสนั บ สนุ น อำนวย ความสะดวกในการดำเนินการขยายตลาดสินค้า ปศุสัตว์ทั้งภายในประเทศและส่งออก รวมทั้ง ส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ตามแนวเกษตรกรรมยั่งยืน 4) บริหารจัดการระบบการ พัฒนาพันธุแ์ ละการผลิตพันธุใ์ ห้มคี ณ ุ ภาพมาตรฐานตามทีก่ ฎหมายกำหนด รวมทัง้ การจำหน่าย พันธุ์ให้แก่เกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม 5) พั ฒ นาการใช้ น วั ต กรรม และเทคโนโลยีการผลิต รวมถึงเครื่องจักรกล การเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพของฟาร์มและ การผลิตในพื้นที่ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อลดการสูญเสีย โดยดำเนินงานผ่านสถาบัน เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร 6) กำหนดมาตรฐานความ ปลอดภั ย และการตรวจรั บ รองคุ ณ ภาพสิ น ค้ า สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจเพือ่ ให้เกษตรกรผลิต สินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐานทีก่ ำหนด อาทิ การปฏิบตั ทิ างการเกษตรทีด่ ี (GAP: Good Agricultural Practices) และการใช้หลักเกณฑ์ ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

22

วิธีการที่ดี ในการผลิตอาหาร (GMP: Good Manufacturing Practices) รวมทัง้ การผลิตสินค้า เกษตรอิ น ทรี ย์ ต ามมาตรฐานเกษตรอิ น ทรี ย์ โดยการถ่ า ยทอดความรู้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ มาตรฐาน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ รั บ รอง เพื่ อ ขยายการผลิ ต สิ น ค้ า เกษตรและ อาหารทีม่ คี ณ ุ ภาพมาตรฐาน ปลอดภัย และสร้าง ความเชื่ อ มั่ น ให้ แ ก่ ผู้ บ ริ โ ภค รวมทั้ ง สามารถ ตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) 7) สนั บ สนุ น การผลิ ต ตาม ศักยภาพของพืน้ ที่ โดยคงไว้ซงึ่ ความหลากหลาย ของพันธุ์พืชและสัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศ 8) พัฒนาระบบสารสนเทศ เตือนภัยด้านการเกษตร เพื่อแจ้งให้เกษตรกร เตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ และลดความ เสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น 5.1.2 ส่งเสริมการทำการเกษตรแบบ กลุ่มการผลิตหรือเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาค เกษตร ด้วยการ 1) สนับสนุนการรวมกลุ่มที่ เข้มแข็งของผูป้ ระกอบการและผูเ้ กีย่ วข้องกับวงจร การดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม ให้มีการร่วมมือ เกื้อหนุนและเสริมกิจการซึ่งกันและกัน และผลัก ดันให้มผี ปู้ ระสานงานคลัสเตอร์ (CDA : Cluster Development Agent) เพื่อเป็นกลไกสำคัญที่จะ ประสานเชื่ อ มโยงกลไกทุ ก กลุ่ ม ที่ เ กี่ ย วข้ อ งใน คลัสเตอร์เข้าด้วยกัน 2) พัฒนาการเชื่อมโยงด้าน การผลิต การแปรรูป และการตลาด ตัง้ แต่ตน้ น้ำ ถึงปลายน้ำ สนับสนุนและส่งเสริมกลุม่ สินค้าทีม่ ี


ศักยภาพสูง เพือ่ เพิม่ มูลค่าให้กบั สินค้าและสร้าง โอกาสทางการตลาด ยกระดับสินค้าให้มคี ณ ุ ภาพ และมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล 3) ส่งเสริมการทำเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ระหว่างสถาบัน เกษตรกร หรือองค์กรเกษตรกรกับผูป้ ระกอบการ รวมทั้ ง ใช้ เ ครื อ ข่ า ยเป็ น กลไกเชื่ อ มโยงให้ เ กิ ด ความสำเร็จ 5.1.3 สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เกษตร โดย 1) ผลักดันและสร้างโอกาส ให้เกิดแนวความคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในภาค เกษตร โดยสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาให้ เกิดการสร้างนวัตกรรมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเครื่องจักร เครื่องมือทางการเกษตร เทคโนโลยีชวี ภาพและฐานความรูท้ างชีวภาพ เพือ่ เพิม่ มูลค่าสินค้าเกษตรและประสานกับภาคธุรกิจ ในการส่งเสริมและขยายตลาด รวมทั้งลดความ สูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 2) สร้างตราสินค้า และตรา สัญลักษณ์ เพื่อให้สินค้าเกษตรมีความเป็นเอกลักษณ์ มีมาตรฐานความปลอดภัยตามหลักวิชา การ เพือ่ เป็นทางเลือกสำหรับผูบ้ ริโภคในประเทศ และผลักดันไปสู่ตลาดต่างประเทศ 3) ส่งเสริมแหล่งผลิตสินค้า เกษตรให้ เ ป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง เกษตรแบบ ครบวงจรเพือ่ สร้างรายได้เสริมจากการจำหน่าย สินค้าเกษตร สินค้าแปรรูป สินค้าหัตถกรรม และการให้บริการต่างๆ โดยเน้นการนำภูมปิ ญ ั ญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบชนบท รวมทั้งเอกลักษณ์ท้องถิ่นเป็นแหล่งสร้างความ

รู้ด้านการเกษตร และจุดขายที่ผูกโยงประวัติศาสตร์ 5.1.4 การพั ฒ นาโลจิ ส ติ ก ส์ ข อง สินค้าเกษตร ด้วยการ 1) ศึกษาต้นทุนระบบโลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตร เพื่อ วางแผนบริหารจัดการการขนส่งสินค้าเกษตร อย่างมีประสิทธิภาพ 2) สนับสนุนการพัฒนา และ เพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของภาคเกษตร อาทิ ตั้งแต่ระบบลำเลียง ในระดับไร่นา การใช้ประโยชน์จากไซโล ฉาง ลานตาก ระบบรวบรวม กระจายสินค้า ทีเ่ ชือ่ มโยง ตลอดห่วงโซ่อปุ ทาน (Supply Chain Optimization) สามารถตรวจสอบการเคลื่อนย้ายของ สินค้า เพื่อลดความสูญเสียและต้นทุนจากการ เน่าเสียของสินค้า ที่มีสาเหตุจากกระบวนการ เก็บรักษาและระบบขนส่งสินค้าทีไ่ ม่ได้มาตรฐาน โดยพัฒนาระบบขนส่งที่มีการควบคุมอุณหภูมิ (Cool Chain) ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) และสนับสนุนให้ผผู้ ลิตหรือสมาคมธุรกิจ เฉพาะด้านเข้ามามีบทบาทในการจัดระบบการ บริหารโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตรร่วมกับภาค รัฐ 3) พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ ข้อมูลข่าวสาร (Communication Flow) ด้าน การตลาดและความต้ อ งการผลผลิ ต ทางการ เกษตร มีการไหลลื่นและกระจายไปสู่เกษตรกร ผู้ผลิตอย่างทั่วถึงและทันต่อสถานการณ์ เพื่อให้ เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร ในการวางแผนการผลิตให้สมั พันธ์กบั ฤดูกาลและ ความต้องการของผู้บริโภค (Demand Driven)

23

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


4) ส่งเสริมการทำงานแบบ บูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ พัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคเกษตรกรรมของไทย

5.3 เสริมสร้างการผลิตสินค้าเกษตรที่ เป็นพืชอาหารและพลังงานให้เกิดความมั่นคง ด้วยการ

5.2 ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อม (Green Product) ด้วยการ

5.3.1 ส่ ง เสริ ม การผลิ ต พื ช อาหาร และพืชพลังงานทดแทนให้มคี วามเหมาะสม โดยมี การกำหนดเป้าหมายร่วมกันระหว่างภาคเกษตร อุตสาหกรรม และพลังงาน โดยให้ความสำคัญ กับด้านอาหารเป็นอันดับแรก

5.2.1 กำหนดมาตรการจู ง ใจเพื่ อ สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสะอาด โดยการ ดำเนิ น งานด้ า นเศรษฐกิ จ การเกษตรสี เ ขี ย ว (Green and Cool Agricultural Economy) อาทิ ส่งเสริมกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่ดีและ เหมาะสม (GAP) และส่งเสริมการทำเกษตร อิ น ทรี ย์ ลดการเผาตอซั ง เพื่ อ ลดมลพิ ษ จาก แหล่ ง ผลิ ต ภาคการเกษตร เป็ น ต้ น รวมทั้ ง ผลักดันให้ภาคเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร นำวัสดุเหลือใช้ในฟาร์มและโรงงาน กลับมาผลิต พลังงานทดแทนใช้ในฟาร์ม และโรงงาน เพือ่ ลด ต้นทุนการผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อม หากเหลือ ใช้สามารถนำไปขายโรงงานผลิตไฟฟ้า เพือ่ สร้าง รายได้ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ 5.2.2 สำรวจ ศึ ก ษา และนำผล การศึกษาเรื่องการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึง่ จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เพือ่ เตรียมการปรับ ทิศทางการผลิตของภาคเกษตร 5.2.3 ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความ รู้ ข้อมูลตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต และการ รวมตัวกันในระดับภูมิภาค ในการเตรียมมาตรการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจและประโยชน์ที่ จะได้รับจากคาร์บอนเครดิตในอนาคต

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

24

5.3.2 สนับสนุนให้ดำเนินมาตรการ เพือ่ จัดสรรผลผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภค และ ทดแทนพลั ง งาน ด้ ว ยการผลิ ต สิ น ค้ า เกษตร อาหารอย่างเพียงพอ ประชากรสามารถเข้าถึง อาหาร มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม และรักษาเสถียรภาพการผลิตอย่างยั่งยืนภายใต้ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด 5.4 สนั บ สนุ น การพั ฒ นาระบบตลาด สินค้าเกษตร ด้วยการ 5.4.1 สนับสนุนการใช้ตลาดกลาง สินค้าเกษตรระดับภูมิภาค และระดับประเทศใน การกระจายสินค้าหรือการส่งออก รวมทั้งส่ง เสริมระบบตลาดกลางในระดับพื้นที่หรือชุมชน โดยสถาบันเกษตรกร หรือองค์กรเกษตรกรเป็น ผู้รวบรวมผลผลิตและกระจายไปยังตลาดระดับ ต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพ ของระบบตลาดสินค้าเกษตร และช่วยสร้างความ เข้มแข็งให้กับอาชีพเกษตรกร 5.4.2 สนับสนุนการสร้างเครือข่าย การผลิต การตลาด และการบริโภคที่เกื้อกูลกัน โดยการให้หน่วยงานภาครัฐ สถาบันเกษตรกร และองค์กรเกษตรกร มีบทบาทในการบริหาร จัดการสินค้าเกษตรและมีสว่ นร่วมในการจัดการ


ด้านการตลาดกับภาคเอกชน เพื่อให้มีช่องทาง การตลาดในการจำหน่ายสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรตามฤดูกาลที่มีช่วงเวลา ที่ผลผลิตออกมาก 5.4.3 พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ ด้านการตลาดสินค้าเกษตรและใช้ประโยชน์จาก ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้แก่เกษตรกร เพื่อ สร้างโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าเกษตร 5.5 สร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ ภูมิภาคและระหว่างประเทศ ด้วยการ 5.5.1 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง ประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือทางเหลี่ยม เศรษฐกิจต่างๆ ในภูมภิ าคอาเซียน กลุม่ ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC: ASEAN Economic Community) และกลุ่มอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการผลิต การตลาด การวิจัยพัฒนาสินค้า เกษตรที่เป็นที่ต้องการของตลาด และบริหาร จัดการทรัพยากรที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบ จากสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ทั้งใน ระดับพหุภาคีและทวิภาคี 5.5.2 ศึกษาแนวทางรองรับการเปิด เสรีการค้าจากกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และอาเซียนบวกสาม โดยติดตามและวิเคราะห์ ความเคลือ่ นไหวของสถานการณ์การค้า การผลิต ในภูมิภาคอาเซียน และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ของแต่ละสินค้า หรือประโยชน์ที่ประเทศไทยจะ ได้รบั จากการรวมเป็นตลาดเดียว และมีฐานการ ผลิตร่วมกัน การเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน การ พัฒนาทีเ่ ท่าเทียมกัน และการเชือ่ มโยงกับตลาด โลก รวมทัง้ การกำหนดมาตรการจูงใจเพือ่ การค้า

และการลงทุนให้กบั นานาประเทศ โดยเฉพาะการ เตรียมการรองรับการลงทุนด้านเกษตรกรรม ข้ามชาติ เพื่อให้มีการลงทุนด้านเกษตรกรรม อย่างรับผิดชอบ (RAI: Responsible Agricultural Investment) 5.5.3 ศึกษาข้อมูล กฎระเบียบต่างๆ ของประเทศคูค่ า้ ทีจ่ ะมีผลกระทบต่อการค้าสินค้า เกษตร เพือ่ นำไปปรับปรุงระบบการผลิตให้สอด คล้องกับกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า และลด อุปสรรค หรือข้อกีดกันทางการค้าทั้งมาตรการ ด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี ได้แก่ มาตรการด้าน แรงงาน มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการ ด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS: Sanitary and Phytosanitary Measures) มาตรการช่วย เหลือเกษตรกรผู้ผลิตที่ไม่ขัดต่อกฎระเบียบทาง การค้าโลก มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และ การอุดหนุน และกฎแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น สำหรับภายในประเทศมีการศึกษากฎระเบียบเพือ่ การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี การค้าสินค้าเกษตร โดยใช้เงินจากกองทุน ปรับ โครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถการแข่งขันของประเทศ 5.5.4 สนั บ สนุ น การจั ด กิ จ กรรม แสดงสิ น ค้ า และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท างการเกษตรใน ต่างประเทศ เพือ่ เพิม่ ช่องทางในการจำหน่ายและ การกระจายรายได้ 5.6 ส่งเสริมและพัฒนางานวิจยั ด้านการ เกษตร เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ด้านการเกษตรของประเทศ ด้วยการ 5.6.1 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ สัตว์น้ำ และจุลินทรีย์ ที่

25

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


สามารถรองรับการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชพลังงานทดแทน ทีเ่ หมาะสมกับประเทศและให้ผลตอบแทนสูง อาทิ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และพืชพลังงาน ทดแทนชนิดอื่นในอนาคตที่ไม่ได้ใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตอาหาร เช่น สาหร่าย เป็นต้น รวมทัง้ การสร้างนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่สินค้าเกษตร และอาหาร เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพา ตนเองด้ า นอาหารและพลั ง งานในอนาคตได้ อย่างยั่งยืน 5.6.2 การวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดการสูญเสียผลผลิต ในกระบวนการปลูก การเก็บเกี่ยว การขนส่ง ตลอดจนการเก็บรักษาในยุง้ ฉาง รวมทัง้ การวิจยั นวัตกรรมเครื่องจักร เครื่องมือเพื่อใช้ในการ แปรรูปขัน้ ต้นในฟาร์ม และการผลิตระหว่างการ ขนส่ง เช่น เครื่องหีบปาล์มในแปลงเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีการเพาะฟักลูกไก่ระหว่างการ ขนส่ง เพือ่ สร้างมูลค่าเพิม่ ให้แก่เกษตรกร และลด การสูญเสียของผลผลิต 5.6.3 สร้ า งความร่ ว มมื อ ระหว่ า ง ภาครัฐ เอกชน ผูป้ ระกอบการ สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย เพื่อร่วมกำหนดแนวทางการ วิจยั อย่างเป็นระบบในรูปแบบบูรณาการ ซึง่ จะทำ ให้ทิศทางการวิจัยภาคการเกษตรของประเทศ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการสร้าง เครือข่ายด้านการวิจัย และนวัตกรรม เพื่อการ ต่อยอดและใช้ประโยชน์องค์ความรู้ เทคโนโลยี จากการวิจัย และการประดิษฐ์คิดค้น ในเชิง พาณิชย์ โดยเน้นการมีสว่ นร่วมของเกษตรกรใน กระบวนการวิจัยและพัฒนา ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

26

5.6.4 สนับสนุนและส่งเสริมการนำ ผลงานวิจยั และผลงานประดิษฐ์คดิ ค้น ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาขยายผลสู่การพัฒนา ภาคเกษตรควบคู่กับการพัฒนาระบบวิจัย และ นวัตกรรมให้สนองความต้องการของภาคการ ผลิต รวมทั้งผลักดันผลงานวิจัยด้านการเกษตร ไปดำเนินการต่ออย่างเป็นรูปธรรม 5.6.5 สนับสนุนให้มีการพัฒนางาน วิจยั พันธุพ์ ชื รวมถึงพืชพลังงานทดแทน งานวิจยั พันธุ์สัตว์ พันธุ์สัตว์น้ำและจุลินทรีย์ โดยการ ดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs: Genetically Modified Organisms) ทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับ ห้องปฏิบัติการ ระดับโรงเรือน และระดับแปลง ทดลองที่ควบคุมได้ โดยต้องผ่านระบบ และ กระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ในทุกขั้นตอนและทุกชนิดของ พืช สัตว์ สัตว์น้ำ และจุลินทรีย์ที่วิจัยและพัฒนา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต และขี ด ความ สามารถการแข่งขัน รวมถึงให้สังคมมีทางเลือก ในการผลิตและการบริโภคสินค้าเกษตรที่มีการ ดัดแปลงพันธุกรรม ทั้งนี้ ต้องมีการสร้างความ รู้ความเข้าใจที่ถูกต้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงบน พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 5.6.6 สนับสนุนการศึกษาวิจยั ความ ต้องการของผู้บริโภคสำหรับสินค้าเกษตร เพื่อ ให้ทราบความต้องการของตลาดที่มีต่อสินค้า เกษตรในแง่มุมต่างๆ เช่น ด้านการผลิตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ด้านสินค้า เกษตรอินทรีย์ การบรรจุภัณฑ์ การติดฉลาก โภชนาการแสดงข้อมูลเพื่อการตัดสินใจสำหรับ การผู้บริโภค เป็นต้น


5.6.7 สร้างแรงจูงใจให้เยาวชนได้ เข้าใจและเห็นประโยชน์ของการวิจัย และการ ประดิษฐ์คดิ ค้นเพือ่ สร้างสรรค์ผลงานในเชิงนวัตกรรม และพัฒนาสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างเป็นรูปธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 3

พัฒนาทรัพยากรการเกษตร อย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน 1. สถานการณ์ ทรั พ ยากรและโครงสร้ า งพื้ น ฐานการ เกษตรมีความสำคัญต่อการพัฒนาภาคเกษตร เนื่องจากเป็นปัจจัยการผลิตพื้นฐานในการทำ การเกษตร โดยเฉพาะด้ า นทรั พ ยากรที่ ดิ น ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรประมง และความหลาก หลายทางชีวภาพ จากการพัฒนาที่ผ่านมา มี การนำทรัพยากรการเกษตรไปใช้ประโยชน์เกิน กว่าอัตราการเกิดทดแทน หรือการฟื้นตัวตาม ธรรมชาติ ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ลดลงอย่าง รวดเร็ว ตลอดจนปัญหาของการใช้ที่ดินที่ไม่ เหมาะสม การใช้สารเคมีทางการเกษตร การขาด แคลนน้ำ แหล่งทำการประมงถูกทำลาย และการ สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึง่ เกิดจาก กิจกรรมของมนุษย์ ทัง้ การนำมาใช้ในการพัฒนา ประเทศ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การขยายตัว ของประชากร การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทำให้ ปัจจุบันทรัพยากรการเกษตรอยู่ในสภาพที่เสื่อม โทรม การพัฒนาประเทศระยะต่อไปจึงมีขอ้ จำกัด และต้นทุนสูง ความสามารถในการแข่งขันลดลง อย่างไรก็ตาม ทุกภาคส่วนก็ได้ตระหนักและให้

ความร่วมมือที่จะแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องมา ตลอด เพื่อป้องกันและลดปัญหาที่อาจเกิดจาก ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ ทรัพยากรที่ดิน เป็นทรัพยากรพื้นฐานที่ สร้างปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มากมาย ปัจจุบันทรัพยากรดินเกิดปัญหาความ เสื่อมโทรมทั้งจากธรรมชาติและจากการใช้ที่ดิน ที่ไม่เหมาะสม เช่น การชะล้างพังทลายของดิน ดินขาดอินทรีย์วัตถุ เป็นต้น สาเหตุความเสื่อม โทรมของดินเพื่อการเกษตร เนื่องจากมีการนำ ที่ดินไปใช้ประโยชน์อย่างไม่มีประสิทธิภาพ การ ปลูกพืชที่ไม่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดิน หรือ ปลูกพืชที่จะทำให้คุณภาพของดินเสื่อมลงอย่าง รวดเร็ว และปัญหาทีเ่ กิดจากสภาพของทรัพยากร ดินเอง เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทราย และ ดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรด เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรยั ง มี ก ารใช้ ส ารเคมี อ ย่ า งไม่ ถู ก ต้ อ ง และเหมาะสม เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการฟื้นฟู และปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงผลพวงจากการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้มีการ นำที่ดินที่เหมาะสมกับการเกษตรไปใช้เพื่อกิจกรรมอื่นๆ โดยพบว่ามีการบริหารจัดการที่ดิน ยังไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความ มั่นคงทางอาหารของประเทศและความเป็นอยู่ ของเกษตรกร ทรั พ ยากรน้ ำ ประเทศไทยประสบกั บ สถานการณ์น้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทุกภาคของประเทศมีปัญหาการใช้น้ำเพื่อการ เกษตร คือ บางพื้นที่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ต้องการให้มีการขยายระบบชลประทานเพิ่มขึ้น แม่น้ำสายสำคัญๆ ของประเทศมีน้ำไหลตาม ธรรมชาติน้อยและน้ำท่วมในฤดูฝน บางพื้นที่

27

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


ต้องการการป้องกันภัยเนือ่ งจากน้ำท่วมทีร่ นุ แรง ขึ้นทุกปี สาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การ บุ ก รุ ก ทำลายพื้ น ที่ บ ริ เ วณต้ น น้ ำ ลำธาร การ บริหารจัดการน้ำไม่มปี ระสิทธิภาพ เป็นต้น รวม ถึงในบางพื้นที่มีพื้นที่ปลูกพืชที่มีความต้องการ น้ำมากในช่วงฤดูแล้ง ตลอดจนการเกิดปัญหา น้ ำ เน่ า เสี ย ในแม่ น้ ำ และแหล่ ง น้ ำ ขนาดใหญ่ ดังนั้น การพัฒนาแหล่งน้ำและพื้นที่ชลประทาน จึงมีความสำคัญมากต่อการผลิตของภาคเกษตร ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชลประทานจำนวน 29.34 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 22.30 ของพืน้ ที่ การเกษตรของประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 48.90 ของศักยภาพของการพัฒนาพื้นที่ชลประทาน ทั้งหมด (60 ล้านไร่) ยังคงมีพื้นที่ที่มีศักยภาพ ที่ควรได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานได้ อีก 30.66 ล้านไร่ โดยในปี 2553 มีแหล่ง เก็บกักน้ำ ทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีความจุทงั้ สิน้ ประมาณ 75,812 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ที่ผ่านมาได้มีการ พัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ นอกเขตชลประทานที่ มี ส่ ว นช่ ว ยให้ เ กษตรกร มีแหล่งน้ำไว้ใช้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าประเทศ ไทยยังคงมีภาวการณ์ขาดแคลนน้ำเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทรัพยากรประมง มีความสำคัญต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศ เป็นแหล่งผลิตอาหาร โปรตีนสำหรับประชาชน และเป็นแหล่งทีม่ าของ รายได้ การจ้างแรงงานและอุตสาหกรรมต่อ เนื่องอื่นๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งประเทศไทยเป็น ประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา การประมง มีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกสูง เป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยในช่วงปี 25412550 ผลผลิตสัตว์นำ้ ของไทยมีปริมาณระหว่าง ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

28

3.2-4.1 ล้านตัน อันเนื่องมาจากความสามารถ ในการพัฒนาเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพ สูง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเครื่องมือประมง ดั ง กล่ า วมี สู ง เกิ น กว่ า ศั ก ยภาพการผลิ ต ของ ทรัพยากรประมงตามธรรมชาติ อีกทัง้ ยังประสบ ปัญหาการทำลายทรัพยากรประมงที่เกิดจาก การทิ้ ง สารปนเปื้ อ นลงสู่ ท ะเล ทั้ ง จากแหล่ ง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และชุมชน รวมทั้ง เกิดปัญหาความขัดแย้งในการทำประมงตามมา ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งทรัพยากร ประมงและผลผลิตสัตว์น้ำลดลง การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ในปัจจุบันยังพบว่ามีการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มี อยู่ เ ดิ ม ไม่ ทั่ ว ถึ ง และไม่ เ ต็ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ ทั้ ง ทรัพยากรดิน น้ำ และประมง รวมถึงยังขาด กลไกการเชือ่ มโยงระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชน และเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาในระยะ ต่อไป จึงควรพัฒนาทรัพยากรการเกษตรให้มี ประสิทธิภาพ สมดุล และยั่งยืน 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อสร้างและพัฒนาการใช้ทรัพยากรการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร อย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรการเกษตรให้มี ความเหมาะสมต่ อ การผลิ ต ทางการเกษตร อย่างยัง่ ยืน และเตรียมความพร้อมในการรองรับ และปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ 2.3 เพือ่ สนับสนุนให้ชมุ ชนท้องถิน่ เข้ามา มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรการ เกษตรและสิ่งแวดล้อม


3. เป้าหมาย 3.1 ขยายพื้นที่ชลประทานไม่น้อยกว่าปี ละ 2 แสนไร่ 3.2 ที่ดินได้รับการบริหารจัดการไม่น้อย กว่าปีละ 2.15 ล้านไร่ 3.3 พื้นที่ทำการประมง และแหล่งอาศัย สัตว์น้ำ ได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่าปีละ 8.8 ล้านไร่ และ 60 แห่ง 3.4 องค์กรเกษตรกรมีส่วนร่วมในการ บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรเพิ่มขึ้น 4. ตัวชี้วัด 4.1 จำนวนพื้นที่ชลประทาน 4.2 จำนวนทีด่ นิ ทีไ่ ด้รบั การบริหารจัดการ 4.3 พืน้ ทีท่ ำการประมงทีไ่ ด้รบั การบริหาร จัดการ 4.4 จำนวนแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ 4.5 จำนวนองค์กรเกษตรกรทีม่ สี ว่ นร่วม ในการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร 5. แนวทางการพัฒนา 5.1 ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรการ เกษตร และโครงสร้างพืน้ ฐานการเกษตรอย่างมี ประสิทธิภาพและยั่งยืน เพื่อช่วยรักษาฐานการ ผลิ ต สิ นค้ า เกษตรและอาหารให้ค งความอุ ดม สมบูรณ์ เกิดความสมดุลและยัง่ ยืน รวมถึง เพือ่ อำนวยความสะดวกให้สามารถรองรับต่อการ เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตและการตลาด ให้ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดย 5.1.1 ปรับปรุงการบริหารจัดการ ที่ดินและการกระจายการถือครองที่ดิน ให้เกิด ความเป็นธรรมและคุ้มครองความมั่นคงและ

ฐานการดำรงชีวิตของเกษตรกรยากจน ด้วย การ 1) เร่งรัดการฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพดินทีเ่ สือ่ มโทรม โดยใช้ทงั้ วิธกี ล และ วิธีธรรมชาติ จากการใช้ระบบพืชในพื้นที่ที่เป็น ปัญหาต่อการนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น พื้นที่ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินขาดอินทรีย์ เป็นต้น และพืน้ ทีท่ เี่ ตรียมการสำหรับการจัดสรร ให้กบั เกษตรกร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทนั ที รวมถึงให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง สำหรับการนำพื้นที่ลาดชันที่ไม่เหมาะสมไปใช้ ทำการเกษตร เพื่อป้องกันและลดปัญหาการ ชะล้างพังทลายของหน้าดิน 2) วางระบบการใช้ที่ดินตาม ศักยภาพของที่ดิน 3) จัดหาทีด่ นิ เอกชนมาพัฒนา และจัดสรรให้กับเกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน หรือมี ทีด่ นิ น้อย มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ รวม ทั้งจัดตั้งธนาคารที่ดินเพื่อรวบรวมและนำที่ดิน ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์มาจัดสรรให้กับเกษตรกร รายย่อยมากขึ้น สนับสนุนการดำเนินการให้ได้ สิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐแก่เกษตรกรและ ชุมชน รวมถึงรักษาและคุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตร และสนับสนุนให้เกษตรกร รายย่อยมีที่ดินเป็นของตนเองหรือมีสิทธิทำกิน ในที่ดิน 5.1.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันภาคการเกษตร ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำ เพิม่ ปริมาณเก็บกักน้ำและขยายพืน้ ทีช่ ลประทาน ให้ครอบคลุมพืน้ ทีท่ มี่ ศี กั ยภาพ เพิม่ ประสิทธิภาพ ของกลไกบริหารจัดการน้ำให้สูงขึ้น เสริมสร้าง

29

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


การมีสว่ นร่วมของเกษตกรและชุมชนในกระบวน การพัฒนาแหล่งน้ำ และบริหารจัดการน้ำทุก ระดับอย่างบูรณาการ รวมทัง้ สนับสนุนให้มกี าร พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นา ทีส่ ามารถเก็บ น้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคได้อย่างพอ เพียง เพื่อสร้างความมั่นคงและปัจจัยพื้นฐาน ในการผลิตของเกษตรกรและชุมชน ตลอดจน ผลักดันให้เกิดการดำเนินงานแบบบูรณาการ เชือ่ มโยงกับทุกหน่วยงานทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องในการ บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ 5.1.3 เร่งรัดการศึกษาความเหมาะสมในการจัดสรรน้ำจากแหล่งน้ำภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ไปสูแ่ หล่งน้ำภายในประเทศ ทีม่ ปี ญ ั หาขาดแคลนน้ำซ้ำซาก โดยพิจารณาความ เป็นไปได้ของภาพรวมทั้งระบบและไม่กระทบต่อ ส่วนรวมทัง้ ในประเทศและระหว่างประเทศ รวม ถึงผลักดันให้เกิดการดำเนินการต่อไป 5.1.4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการทรัพยากรประมง เพื่อรองรับการผลิตที่ ยั่งยืนและเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันกับต่าง ประเทศ โดย 1) เร่งรัดและผลักดันให้มกี าร บังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง 2) เตรียมพร้อมรองรับความ ตกลงระหว่างประเทศและผลกระทบทีอ่ าจจะเกิด ขึน้ จากการออกกฎระเบียบต่างๆ ของประเทศคูค่ า้ ทั้งการตรวจรับรองทางวิทยาศาสตร์ และการ ให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการ รายงานและไร้การควบคุม 3) พั ฒ นา และฟื้ น ฟู แ หล่ ง ทรัพยากรประมงที่เสื่อมโทรม เพื่อเสริมสร้าง ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

30

ความสามารถในการปรั บ ตั ว ของทรั พ ยากร ประมง โดยมุ่งเน้นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยน แปลงสภาพภู มิ อ ากาศ และพื้ น ที่ ที่ ไ ด้ รั บ ผล กระทบรุนแรงจากภัยธรรมชาติ รวมทั้งส่งเสริม และสนับสนุนการทำปะการังเทียม เพือ่ เพิม่ แหล่ง ที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์น้ำ 4) ส่งเสริมและสนับสนุนการ ทำประมงทะเลลึก ร่วมกับผู้ประกอบการภาค เอกชนทีม่ ศี กั ยภาพในการดำเนินการ โดยให้ความ รู้ และสนับสนุนการลงทุนบางส่วน ตลอดจนการ ประสานเจรจากับผู้เกี่ยวข้องและร่วมจัดทำข้อ ตกลงกับประเทศที่มีแหล่งประมงที่อุดมสมบูรณ์ 5) จั ด ระบบการเพาะเลี้ ย ง สัตว์น้ำชายฝั่ง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดให้ เหมาะสมในอัตราที่สมดุลและเพียงพอกับการ ทดแทนความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง 6) ศึกษา วิจัย และพัฒนา การเพาะเลีย้ งสายพันธุส์ ตั ว์นำ้ ทีห่ ายาก หรือใกล้ สูญพันธุ์ เพื่อคงความหลากหลายทางชีวภาพ ของประเทศไทย 5.1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาค เอกชนมาเข้ามีส่วนร่วมในการลงทุนด้านโครง สร้างพืน้ ฐานทางการเกษตรเพิม่ ขึน้ ตลอดจนใช้ ประโยชน์จากโครงสร้างพืน้ ฐานทีม่ อี ยูแ่ ล้วให้เต็ม ประสิทธิภาพ อาทิ การปรับปรุงและขยายระบบ ชลประทาน (คูส่งน้ำและคูระบายน้ำ) 5.1.6 บูรณาการหน่วยงานที่รับผิด ชอบด้านการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การเกษตร โดยให้มกี ารบริหารจัดการอย่างเป็น ระบบทั้ ง พื้ น ที่ การประสานงาน ระยะเวลา ดำเนินกิจกรรม ตลอดจนงบประมาณ รวมถึง สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม


5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกร ใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสมและยัง่ ยืน โดย 5.2.1 ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ เกษตรกรใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสม 5.2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วย งานที่เกี่ยวข้องเข้าไปเผยแพร่องค์ความรู้ และ เสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมถึงให้คำ ปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมี ท างการเกษตร ที่ ถู ก ต้ อ ง และ เหมาะสมในแต่ละสินค้าเกษตรให้กับเกษตรกร ทุกพื้นที่ เพื่อไม่ก่อให้เกิดสารเคมีตกค้างในดิน และน้ำ รวมทัง้ สนับสนุนการผลิตปุย๋ หมัก ปุย๋ น้ำ ชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด 5.2.3 เร่งรัด และผลักดันการกำกับ ดูแลและควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตร อย่างจริงจัง ในการทำการเกษตรบริเวณพืน้ ทีส่ งู และพืน้ ทีต่ น้ น้ำลำธาร ควบคูก่ บั การนำมาตรการ อนุรักษ์ดิน และน้ำมาใช้เพื่อป้องกันและลดการ ชะล้างพังทลายของดิน 5.2.4 พัฒนาและยกระดับระบบการ กำกับดูแลเรื่องการขายสารเคมีการเกษตร ให้มี การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพรัดกุม รวมถึง พัฒนาหลักเกณฑ์เพือ่ เป็นข้อบังคับทางกฎหมาย ในการควบคุมการโฆษณาและการส่งเสริมการ ขายสารเคมีการเกษตรทุกชนิด ตั้งแต่ต้นทาง จนถึงปลายทาง (ระบบร้านค้า ตัวแทนจำหน่าย พนักงานขาย ช่องทางการจำหน่าย และวิธีการ จำหน่าย) 5.3 สนับสนุนและผลักดันให้เกษตรกร มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรการ เกษตร โดย

5.3.1 สร้างแรงจูงใจให้กบั เกษตรกร หรือชุมชนท้องถิน่ ผูม้ บี ทบาทในการปกป้องดูแล ทรัพยากรทางการเกษตร โดยให้ได้รบั ค่าชดเชย หรือค่าตอบแทนซึง่ อาจอยูใ่ นรูปของตัวเงิน หรือ สิ่งตอบแทนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การลดหย่อน ภาษีหรือค่าธรรมเนียมการถือครองที่ดิน การ ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี เป็นต้น 5.3.2 สนั บ สนุ น และผลั ก ดั น ให้ เกษตรกรมีโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรการเกษตร เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากการแย่ง สิทธิการใช้ทรัพยากร โดยการให้เกษตรกรเข้ามา มีสว่ นร่วมบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรใน ท้องถิน่ ตนเองให้มากขึน้ ทัง้ ด้านการบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์อย่าง ยั่งยืนและสมดุล 5.4 เตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่ อ ป้องกันและลดปัญหาความรุนแรงของการเกิด ภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ เป็นการลดความเสีย่ งจาก อันตรายและความเสียหายที่จะเกิดกับเกษตรกร ด้วยการเชือ่ มโยงข้อมูล ประสานงาน และบูรณาการงานกับผูท้ เี่ กีย่ วข้องทุกภาคส่วน นำข้อมูลไป ใช้ตดั สินใจดำเนินการได้ทนั ท่วงที ให้ครอบคลุม ตั้งแต่ระยะการเตรียมการป้องกัน และลดผล กระทบ ระยะการเตรียมพร้อมรับภัย ระยะการ จัดการในภาวะฉุกเฉิน และระยะการจัดการหลัง เกิดภัย โดยจัดทำแผนป้องกันภัยพิบตั ิ ระบบการ เฝ้าระวังเตือนภัย การติดตามข่าวสาร เพื่อเป็น การกระจายข่าวผ่านสื่อต่างๆ และแจ้งเตือนภัย ให้กับเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเป็น ระยะๆ รวมทัง้ เตรียมความพร้อมโดยการขุดลอก คูคลอง ทางระบายน้ำทีต่ นื้ เขิน ก่อสร้างแก้มลิง

31

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


เพิ่มเติม เพื่อลดหรือชะลออัตราการไหลของน้ำ หลาก ก่อสร้าง ซ่อมแซมปรับปรุงบำรุงรักษา อาคารชลประทาน เพื่อการป้องกันและระบาย น้ำทัง้ พืน้ ทีก่ ารเกษตร และพืน้ ทีช่ มุ ชนเมือง รวม ถึงประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและทั่วถึงให้กับ เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง 5.5 วางระบบการป้องกันและบรรเทา ปัญหาภัยแล้ง เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการบริหาร จัดการน้ำในชั้นบรรยากาศให้เกิดฝนในปริมาณ และการกระจายที่เหมาะสม ในการพัฒนาการ เกษตร และการบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดย 5.5.1 สนับสนุนการปฏิบัติการฝน หลวง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม และเขื่อน รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ ตลอดจนประชาชนผูใ้ ช้นำ้ ทัว่ ไป และพืน้ ทีป่ ระสบ ปัญหาภัยแล้ง 5.5.2 ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การ วิ จั ย และพั ฒ นาเทคโนโลยี ฝ นหลวง และการ ดั ด แปรสภาพอากาศอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพการปฏิบัติการให้สามารถรองรับ ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสภาวะ ฝน ให้ทันต่อสถานการณ์อย่างเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพ 5.5.3 สนับสนุนการจัดหาเครือ่ งมือ วัสดุ และอุปกรณ์ ในการปฏิบัติการฝนหลวงที่ ทั น สมั ย และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เพื่ อ ก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติการจริงแต่ละครั้ง 5.5.4 สนั บ สนุ น การพั ฒ นาองค์ ความรูแ้ ละการแลกเปลีย่ นเรียนรูใ้ นสาขาวิทยาศาสตร์บรรยากาศและการดัดแปรสภาพอากาศ ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

32

ทางด้านอุตนุ ยิ มวิทยา เคมี ฟิสกิ ส์ คณิตศาสตร์ สถิติ และด้านการบิน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้บุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการฝนหลวงมีความรู้ ความสามารถอย่างเชี่ยวชาญ 5.6 พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ โดย 5.6.1 พั ฒ นาปรั บ ปรุ ง กฎหมาย เฉพาะให้มีความเหมาะสมและเป็นปัจจุบัน รวม ทัง้ การบังคับใช้กฎหมาย ให้มคี วามเป็นธรรมและ ทัว่ ถึง อาทิ กฎหมายในด้านการคุม้ ครองพันธุพ์ ชื และสมุนไพร ด้านการประมง ด้านการจัดการ และปฏิรูปที่ดินทางการเกษตร เป็นต้น 5.6.2 ศึ ก ษาแนวทางรองรั บ และ เตรียมความพร้อม เพื่อให้มีการดำเนินการตาม กฎ ระเบียบที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น ร่างพระราชบัญญัติมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ...... ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภาษีสงิ่ แวดล้อม (ภาษีมลพิษ ภาษีเพือ่ การ อนุรักษ์ทรัพยากรและการทำการเกษตรที่ส่งผล ต่อสิง่ แวดล้อม) ภาษีผลิตภัณฑ์หรือค่าธรรมเนียม ผลิตภัณฑ์ และค่าธรรมเนียมการจัดการมลพิษ การวางหลักประกันความเสีย่ ง หรือความเสียหาย ต่อสิง่ แวดล้อม การกำหนดสิทธิการปล่อยมลพิษ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ที่จะกำหนดเพดานอัตรา ภาษีและค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บไว้ ซึง่ หน่วย งานทีเ่ กีย่ วข้องจะต้องไปดำเนินการร่างกฎหมาย รอง และพิจารณากำหนดอัตราการจัดเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมตามประเภทของ ธุรกิจต่อไป


กระบวนการขับเคลื่อนสู่แผนการปฏิบัติ  การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรมีกรอบ แนวคิดในการกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาการ เกษตร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 25552559) ยังคงยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อเสริม สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร ทั้งการผลิต เพือ่ การส่งออก การพัฒนาภาคเกษตรอย่างสมดุล และยั่งยืน เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหาร และเป็น ฐานสร้างรายได้ให้แผ่นดิน โดยมีการติดตาม สถานการณ์ทางการเกษตรด้านต่างๆ ทั้งแนว นโยบาย มาตรการ แผนงานสำคัญระดับประเทศ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม และทรัพยากร ทางการเกษตร การประเมินศักยภาพของภาค เกษตร การทบทวนผลการพัฒนาการเกษตร ใน ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ทีผ่ า่ นมาจนถึงปัจจุบนั แนวนโยบายพืน้ ฐานแห่ง รัฐ กฎระเบียบต่างๆ นโยบายพัฒนาการเกษตร รวมถึ ง กำหนดยุ ท ธศาสตร์ ที่ ค รอบคลุ ม การ ดำเนินงานโดยรวมของภาคเกษตร จำนวน 3 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพ ชีวติ เกษตรกร 2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความ สามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความมั่นคงอาหาร และ 3) ยุทธศาสตร์ ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล และยั่งยืน ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์พัฒนา การเกษตรดังกล่าวมีความสอดคล้องและเป็นไป ในทิศทางเดียวกันกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11

แผนพัฒนาการเกษตรจะเป็นที่ยอมรับ และก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศได้ควรเกิดจาก การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่ได้ให้ข้อคิดเห็น และแสดงความต้องการของชุมชนและองค์กร ทีเ่ กีย่ วข้อง รวมถึงความสำเร็จของการขับเคลือ่ น แผนสู่การปฏิบัติจะขึ้นอยู่กับความชัดเจนของ แผนทั้งยุทธศาสตร์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ การรับรู้ พร้อมทัง้ เข้าใจในวัตถุประสงค์ของแผน ตระหนักถึงภารกิจ และความรับผิดชอบที่พึงมี ต่อการนำแผนไปสูก่ ารปฏิบตั ิ โดยมีแนวทางการ ดำเนินงานดังนี้ 1. ขั้นตอนการขับเคลื่อนแผนพัฒนา การเกษตรสู่การปฏิบัติ ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตร สูก่ ารปฏิบตั จิ ะมีหลายระดับ ตัง้ แต่แผนของหน่วย งานภาครัฐในส่วนกลาง แล้วกระจายไปในระดับ พื้นที่อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่ทิศทาง วัตถุ ประสงค์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนา การเกษตร และตัวชีว้ ดั ความสำเร็จลงสูแ่ ผนระดับ ต่างๆ จากส่วนกลาง สูร่ ะดับกลุม่ จังหวัด/จังหวัด และสู่ระดับพื้นที่/ท้องถิ่น ดังนี้ 1.1 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมผลักดัน แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติ โดยการสร้ า งความเข้ า ใจใน วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และบทบาท ที่ยึดแนว พระราชดำรัส “เข้าใจ–เข้าถึง–พัฒนา” กับทุก ภาคีที่มีส่วนร่วมนำแผนไปปฏิบัติ ซึ่งต้องเข้าใจ สถานการณ์และการเปลีย่ นแปลง เข้าใจประชาชน

33

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


แต่ละพืน้ ที่ และเข้าถึงความต้องการของประชาชน นำไปสู่การส่งเสริมให้ประชาชนพัฒนาตนเอง และมีสว่ นร่วมพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ โดยการ 1) จัดทำกรอบแนวทางการผลักดัน การแปลงแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11 เผยแพร่ให้ทกุ ภาคส่วนรับรู้ เกิดความ ร่วมมือในการนำแผนไปปฏิบตั อิ ย่างจริงจัง รวม ทั้งจัดทำเอกสารรวบรวมวิธีการขับเคลื่อนแผน และกิจกรรมการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ หรือ กรณี ตั ว อย่ า งที่ ป ระสบความสำเร็ จ โดยการ ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและทุกภาคส่วน เผยแพร่นำไปปรับใช้ตามความเหมาะสม 2) จั ด ทำแผนปฏิ บั ติ ก ารเผยแพร่ และสื่อสารการพัฒนาให้เป็นเครื่องมือในการ ส่งเสริมการพัฒนาแบบบูรณาการ โดยใช้หลัก การตลาดในการสร้างความตระหนักและยอมรับ แผนพัฒนาฯ 3) ผลักดันให้ภาคการเมืองยอมรับ และมีนโยบายให้นำแผนพัฒนาการเกษตร ใน ช่ ว งแผนฯ ฉบั บ ที่ 11 ไปใช้ ใ นการพั ฒ นา ประเทศ 4) จัดเวทีและกระบวนการทีเ่ น้นการ ปฏิบัติการร่วมกัน โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ ทั้ ง ด้ า นสาระการพั ฒ นา ความแตกต่ า งของ สภาพแวดล้ อ มของแต่ ล ะพื้ น ที่ ความเข้ า ใจ ซึง่ กันและกัน ในกลุม่ ผูเ้ กีย่ วข้อง และการทำงาน แบบเครือข่าย เป็นวิธีการผลักดันการพัฒนา ในแต่ละระดับและพื้นที่ เปิดโอกาสให้ประชาชน แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ นำเสนอ ข้อมูลข่าวสาร สภาพปัญหา และความต้องการ ของชุมชน ข้อจำกัด ศักยภาพของพื้นที่และผู้ เกี่ยวข้อง เกิดการประสานประโยชน์การพัฒนา ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

34

1.2 สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผน พัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 แผนพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11 นโยบายรัฐบาล แผนการ บริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น และแผนระดั บ อื่ น ๆ โดยมีทิศทางการพัฒนาที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคมเพือ่ การพัฒนาคุณภาพชีวติ เกษตรกร ด้านเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถ ในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตรและความ มัน่ คงด้านอาหาร และด้านสิง่ แวดล้อมเพือ่ การ พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย มีคน และชุมชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบน พื้นฐานการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุก ฝ่ายในการเชือ่ มโยงเป้าหมายหลักของแผนพัฒนา การเกษตร ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11 ไปสูเ่ ป้าหมาย และวิธปี ฏิบตั ขิ องแผนแต่ละระดับ รวมถึงกำหนด ความรับผิดชอบต่อการบรรลุเป้าหมายหลัก และ ใช้แผนพัฒนาระดับภาค แผนพัฒนาระดับจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด เป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อน แผนพัฒนาการเกษตรลงสู่พื้นที่ โดยคำนึงถึง ศั ก ยภาพของพื้ น ที่ และความต้ อ งการของ ประชาชน ดังนี้ 1) การบูรณาการในระดับนโยบาย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน โดยมีสาระสำคัญบนพื้นฐาน หลักการที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11 และนโยบายของรัฐบาล ที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา กำหนดเป้าหมายและตัว ชี้ วั ด ให้ ส อดคล้ อ งกั น ทั้ ง ประเด็ น ยุ ท ธศาสตร์ การพัฒนา เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน พร้อมทัง้ ประมาณการงบประมาณ และทรัพยากร


ต่างๆ ทีจ่ ะต้องใช้ ระยะเวลาดำเนินการ และการ ติดตามประเมินผล เพือ่ ให้กระทรวง/กรม ใช้เป็น กรอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และ แผนปฏิบัติราชการประจำปี เป็นการเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11 กับภารกิจหลักของหน่วยงานต่างๆ อย่างบูรณาการที่มีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานร่วมดำเนินการในแต่ละประเด็น ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจน 2) การจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรร งบประมาณแบบมีส่วนร่วม โดย • การจัดทำกรอบงบประมาณ ภาพรวมของการพัฒนาการเกษตรของประเทศ สำนักงบประมาณร่วมกับหน่วยงานกลาง จัด ทำยุ ท ธศาสตร์ ก ารจั ด สรรงบประมาณระยะ ปานกลาง 5 ปี การจัดสรรงบประมาณประจำปี และแนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการที่เป็น ระบบครบวงจร ทั้ ง การวางแผนดำเนิ น การ ติดตามประเมินผล และนำมาปรับปรุงแผนต่างๆ โดยยึ ด แผนพั ฒ นาการเกษตร ในช่ ว งแผนฯ ฉบับที่ 11 เป็นกรอบหลัก จัดทำเครื่องมือ อาทิ รายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนา ประเทศทั้งในระดับภาพรวม ระดับพื้นที่ และ แผนงานโครงการที่ ส ำคั ญ เพื่ อ แสดงความ ก้าวหน้าของแผนงาน/โครงการพัฒนา และ ประเด็นที่ต้องเร่งรัดดำเนินงานต่อไป สำหรับ เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุมตั งิ บประมาณ ทั้งในขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรี และการ อภิปรายของคณะกรรมาธิการก่อนนำเสนอที่ ประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติอนุมัติต่อไป • การจัดสรรงบประมาณลงพืน้ ที่ สำนั ก งบประมาณและหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ยึดกรอบแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนฯ

ฉบับที่ 11 เป็นกรอบการพิจารณาจัดสรรงบ ประมาณสนั บ สนุ น แผนพั ฒ นาจั ง หวั ด /กลุ่ ม จังหวัด และท้องถิน่ พร้อมทัง้ สร้างกระบวนการ ทีท่ ำให้ทกุ กระทรวง จังหวัด และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างแผน พั ฒ นาการเกษตรกั บ ระบบงบประมาณของ ประเทศ ทั้งการจัดสรรงบประมาณแบบราย กระทรวง กลุ่มภารกิจ และการจัดสรรตามมิติ พื้ น ที่ รวมทั้ ง กำหนดแนวทางการจั ด สรรงบ ประมาณให้แต่ละกระทรวงและพื้นที่สามารถ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ ได้อย่าง ครอบคลุมและคล่องตัว ในการจัดทำคำของบ ประมาณ การจั ด สรรงบประมาณ และการ บริหารงบประมาณระดับพื้นที่ ควรกำหนดให้มี ผู้ แ ทนภาคี ก ารพั ฒ นาทั้ ง ภาคเอกชน และ ประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสมเข้าร่วมในกลไก และกระบวนการงบประมาณตั้งแต่การบริหาร จัดการและการติดตามประเมินผลการใช้จ่าย งบประมาณ เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณสอด คล้องกับกิจกรรมการพัฒนาที่ตอบสนองความ ต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างจริงจัง 3) การแปลงแผนไปสู่ ก ารปฏิ บั ติ โดย

• การจัดทำแผนโดยกระบวนการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยยึด “คนเป็น ศูนย์กลางการพัฒนา และการบูรณาการงาน/ หน่วยงาน” บูรณาการในระดับนโยบาย การ จัดทำยุทธศาสตร์ และการจัดสรรงบประมาณ และให้ครอบคลุมการพัฒนารายกลุม่ สินค้า (Sector) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ซึ่งไปสู่การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติในเชิงยุทธศาสตร์พฒ ั นาสินค้า (Commodity–Based) และ เชิงยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ (Area–Based)

35

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


การเปลี่ยนแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติในเชิงยุทธศาสตร์พัฒนาสินค้า (Commodity-Based) และเชิงยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ (Area-Based) ยุทธศาสตร์พัฒนาสินค้า

1

ยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่

พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร

2

พัฒนาขีดความสามารถในการผลิตฯ

3

พัฒนาทรัพยากรการเกษตร

• การแปลงแผนพั ฒ นาการ เกษตร ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11 สู่แผนปฏิบัติ ราชการ 4 ปี และแผนปฏิบตั ริ าชการประจำปีของ กระทรวงและกรม โดยนำแผนงานการพัฒนา ประเด็นสำคัญในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 จากทัง้ 3 ยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการจัดทำยุทธศาสตร์ กระทรวง ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนการ บริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น สำหรั บ เสนอของบ ประมาณสนับสนุน ในระยะเวลา 4 ปี และแปลงสู่ แผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยพิจารณาความ สอดคล้องของยุทธศาสตร์พัฒนาสินค้า (Commodity–Based) และยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ (Area–Based) ตลอดจนให้ความสำคัญกับการ นำผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน • การบูรณาการในระดับพื้นที่ สร้างเวทีสาธารณะสำหรับทุกภาคส่วนเข้าร่วม ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

36

- สร้างรายได้กับเกษตรกร - องค์ความรู้ทางการเกษตร - สนับสนุนสถาบันเกษตรกร - สร้างฐานข้อมูลชุมชน - พัฒนาการผลิตและสร้าง มูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร - จัดสรรพืชอาหารและพลังงาน - พัฒนาระบบตลาด - พัฒนาแหล่งน้ำ ดิน ประมง - กำกับดูแลการใช้สารเคมี - เกษตรกรมีบทบาทปกป้อง ดูแลทรัพยากร

ได้อย่างเท่าเทียมกันเป็นการเชื่อมโยงแผนใน แต่ละระดับอย่างบูรณาการ ใช้แผนพัฒนาภาค ที่แปลงจากแผนพัฒนา ฉบับที่ 11 ลงสู่ระดับ พื้นที่ เป็นกรอบในการจัดทำแผนจังหวัด/กลุ่ม จังหวัด และเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงในลักษณะ บนลงล่างทั้งวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด และยุทธศาสตร์ ของแผนพัฒนาภาค นำไปสูก่ ารกำหนดแผนงาน/โครงการทีเ่ ป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน มีความชัดเจน เป็นเหตุเป็นผล และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ ขณะเดียวกันแผนจังหวัด/กลุ่มจังหวัด จะต้องบูรณาการในลักษณะล่างขึ้นบน โดยนำ แผนท้ อ งถิ่ น /ชุ ม ชน มาบู ร ณาการไว้ ใ นแผน จังหวัด/กลุ่มจังหวัดด้วย โดยองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ และชุมชนจัดทำแผนพัฒนาท้องถิน่ / ชุ ม ชนที่ น ำข้ อ มู ล ของชุ ม ชนมาสะท้ อ นปั ญ หา ด้านต่างๆ แล้วประมวลเป็นความต้องการเพื่อ


จัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับปัญหาต่างๆ ที่ เกิดขึน้ ผ่านกระบวนการมีสว่ นร่วมของประชาชน ในพื้นที่ • การบู ร ณาการแผนภาครั ฐ ร่วมกับภาคเอกชน ภาคเอกชนนำแผนพัฒนา การเกษตร ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11 ไปประกอบ การจั ด ทำยุ ท ธศาสตร์ ข องภาคเอกชน ที่ ใ ห้ ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนภายใต้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศทีจ่ ะทำให้เศรษฐกิจ ทั้งในภาพรวมและระดับพื้นที่ก้าวหน้า เป็น การผลักดันให้การพัฒนาประเทศมีการพัฒนาไป ในแนวทางเดียวกัน 1.3 การติดตามประเมินผลแผนพัฒนา การเกษตร ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11 1) ให้ ค วามสำคั ญ กั บ การติ ด ตาม ความก้าวหน้า การประเมินผลสำเร็จ และผล กระทบของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตาม ประเด็นการพัฒนายุทธศาสตร์ และผลการพัฒนา ในภาพรวม ในปีแรกของแผนจะติดตามความ ก้ า วหน้ า ของกระบวนการผลั ก ดั น แผนสู่ ก าร ปฏิบตั เิ ป็นกระบวนการทีต่ อ่ เนือ่ งจากแผนพัฒนา การเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 พร้อม ทั้งพัฒนาตัวชี้วัดที่สะท้อนผลการพัฒนาอย่าง ชัดเจน ปีที่ 2 ติดตามความก้าวหน้าการดำเนิน งานตามประเด็ น การพั ฒ นาที่ มี ล ำดั บ ความ สำคัญสูง ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะติดตามความ ก้าวหน้าพร้อมทั้งประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และ ผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการดำเนิ น การตาม ประเด็นการพัฒนาและในภาพรวมของแผน และ จัดทำรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นรายปี เพือ่ มีมติให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการต่อไป

2) กลไกการติดตามประเมินผลแผน พัฒนาการเกษตรฯ ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11 • การติ ด ตามประเมิ น ผลการ บริหารจัดการแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วง แผนฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติในภาพรวม โดย คณะกรรมการนโยบายและแผนพั ฒ นาการ เกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่กำหนดแนวทาง การติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการแผน พัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11 สูก่ าร ปฏิบัติ ประสานการติดตามประเมินผลกับคณะ กรรมการระดับชาติชุดต่างๆ ดำเนินการการ ติดตามประเมินผลกระทบการพัฒนาในภาพรวม และรายงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกสิ้นปี • การติ ด ตามประเมิ น ผลการ พัฒนาระดับพืน้ ที่ ดำเนินการโดยคณะกรรมการ นโยบายบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบ บูรณาการ (ก.น.จ.) คณะกรรมการกำกับการปฏิบตั ิ ราชการในภูมิภาค (กกภ.) และปรับระบบการ ตรวจราชการ ให้เป็นเครื่องมือในการกำกับและ ติดตามประเมินผลการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดตั้งกลไกกลางที่ ประกอบด้ ว ย ผู้ ต รวจราชการของกระทรวง ต่างๆ มีอำนาจในการตรวจสอบ ตั้งแต่ความ ถู ก ต้ อ งของแผน การมี ส่ ว นร่ ว มของผู้ มี ส่ ว น เกีย่ วข้อง และการใช้งบประมาณทีใ่ ห้เป็นไปตาม เป้าหมาย • เสริมสร้างกลไกการตรวจสอบ ของภาคประชาชนให้เข้มแข็ง พัฒนาศักยภาพ ให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็น เครื่องมือตรวจสอบโครงการต่างๆ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และสามารถจัดทำข้อมูลทีน่ ำมาใช้

37

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


ประกอบการตรวจสอบได้อย่างถูกต้องชัดเจน โดยคณะกรรมการในแต่ละระดับ ทั้งในส่วนกลาง ระดับภูมิภาค และระดับพื้นที่/ท้องถิ่น ซึ่งมีองค์ประกอบของคณะกรรมการคลอบคลุมทุกภาคส่วน ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตรสู่การปฏิบัติข้างต้นเป็นไปตามกรอบแนวคิดการ แปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ (Conceptual Framework) ดังนี้ กรอบแนวคิดการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ (Conceptual Framework)

ส่วนกลาง

ส่วนภูมิภาค

ส่วนท้องถิ่น

ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนา การเกษตร 3 ยุทธศาสตร์ ทั้งด้านการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

- แผนฯ ฉบับที่๑๑ - นโยบายรัฐบาล - แผนกระทรวง/กรม

- ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/ จังหวัด - ยุทธศาสตร์หน่วยงาน

ยึดแนวพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”

กลไกการขับเคลื่อน และติดตามผล

- คณะกรรมการนโยบายฯ - คณะกรรมการระดับชาติชุดต่างๆ

- คณะกรรมการนโยบายบริหาร งานในภูมิภาค/กลุ่มจังหวัด/ จังหวัด

ยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน บูรณาการงาน/งบประมาณ คนเป็นศูนย์กลาง

- แผนพัฒนาท้องถิ่น อบต./อบจ. - แผนชุมชน/หมู่บ้าน

ให้ความสำคัญกับการพัฒนา รายกลุ่มสินค้า (Sector) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

ติดตามประเมินผล

ทิศทางการพัฒนาและแปลงแผน สู่การปฏิบัติ

การสร้างความเข้าใจ และเชื่อมโยงแผน

- สภาเกษตรกร - คณะกรรมการหมู่บ้าน - อาสาสมัครเกษตร

2. แนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติการตามแผน 2.1 หน่วยงานสามารถเชื่อมโยง เป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สู่แผนพัฒนาการเกษตร และยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งเชื่อมโยงนโยบายรัฐบาล สู่แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ทั้งในระดับกระทรวง กรม จังหวัด และกลุ่มจังหวัด 2.2 กำหนดเจ้าภาพ (Owner) ทั้งหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักหรือเจ้าภาพร่วมครบถ้วน ทุกตัวชี้วัด ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

38


2.3 สร้างความเข้าใจในการดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์ มาตรการหลัก มาตรการย่อย และโครงการเร่งด่วนอย่างทั่วถึง 2.4 ดำเนินการขับเคลือ่ นการปฏิบตั ริ าชการประจำปีอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 2.5 พัฒนาระบบกำกับติดตามการดำเนิน งานที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ 2.6 สรุปและรายงานผลการปฏิบัติราชการประจำปีให้เสร็จทันเวลาที่กำหนด 3. บทบาทของหน่วยงาน ทุกภาคส่วนมีบทบาทและมีส่วนร่วมเป็น ส่วนหนึง่ ในการผลักดันให้แผนพัฒนาการเกษตร เกิดสัมฤทธิผ์ ล รวมทัง้ เป็นผูร้ ว่ มได้รบั ผลกระทบ หรือผลประโยชน์หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย จากการ พัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพและคุณภาพ ของแผนพัฒนาการเกษตรด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อให้ผลของการพัฒนามุ่งสู่การพัฒนาอย่างมี ประสิทธิภาพและยั่งยืน การมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วนตลอดกระบวนการพัฒนาควบคู่ไปกับ การสร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบในหน้าที่ การ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับทุกภาคส่วน และการ สร้างกลไกให้เอือ้ ต่อการใช้และรับประโยชน์อย่าง เป็นธรรมทั่วถึง รวมทั้งร่วมรับผิดชอบต่อผล กระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของตน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะนำการพัฒนาไปสู่ความ สำเร็จ ดังนั้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรดำเนิน การ ดังนี้ 3.1 พั ฒ นาบุ ค ลากรด้ า นเกษตร และ สหกรณ์ 1) พัฒนาบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้องในการ บริหารจัดการด้านการเกษตรและสหกรณ์ ให้

เป็นมืออาชีพ ปฏิบตั งิ านเต็มศักยภาพ พร้อมรับ การเปลี่ ย นแปลง ติ ด ตามสถานการณ์ ค วาม เคลือ่ นไหวทีเ่ กิดขึน้ เพือ่ ให้สามารถรูเ้ ท่าทันและ ปรับตัวได้ทันท่วงที มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยคิดแตกต่างจากผู้อื่น สร้างเครือข่ายและ พันธมิตรทัง้ ภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ โดยการ • พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องใน การบริหารจัดการด้านการเกษตรและสหกรณ์ ให้มคี วามรูค้ วามสามารถทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ หน้า ที่ความรับผิดชอบของตน เพื่อให้การปฏิบัติงาน เป็นไปด้วยความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เช่น การตรวจรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร การวิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพือ่ เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร เป็นต้น โดยการ ส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรม การเรียนรู้ การเพิ่มทักษะ ความรู้ด้านวิชาการเกษตร และ การเสริมทักษะภาษาต่างประเทศให้แก่บุคลากร รวมทั้งสนับสนุนการให้ทุนการศึกษาระดับอุดม ศึ ก ษาในสาขาที่ มี ค วามจำเป็ น และขาดแคลน ตลอดจนการให้ทนุ หลังปริญญาเอก (Post Doctoral Training) และทุนผูช้ ว่ ย นักวิจยั (Research Assistantship) เพื่อต่อยอดงานวิจัย • พัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรภาครัฐทางการเกษตร โดยเฉพาะบุคลากร ที่ ใ กล้ ชิ ด เกษตรกร ให้ มี ค วามรู้ ภ าพรวมและ วิ สั ย ทั ศ น์ ใ นด้ า นการบริ ห ารจั ด การด้ า นการ เกษตรและสหกรณ์ การบริหารการเปลีย่ นแปลง และการจัดการความเสี่ยง เพื่อให้สามารถเป็นผู้ ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในพืน้ ทีไ่ ด้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมต่อสภาวะด้านธุรกิจ สังคมและ สภาพแวดล้อม ในยุคโลกาภิวฒ ั น์ทเี่ ป็นประโยชน์ แก่ผู้ประกอบการและเกษตรกรในพื้นที่

39

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


• การเตรียมแผนสร้างบุคลากร ทดแทน (Succession Plan) เพื่อรองรับอัตรา กำลังทีจ่ ะเกษียณอายุ โดยจัดให้มกี ารเรียนรูแ้ ละ พัฒนาทีม่ งุ่ เน้นการเรียนรูจ้ ากประสบการณ์จริง และกรณีศกึ ษาการจัดทำคูม่ อื ทำงาน เพือ่ สามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน 2) ปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และสร้างวินัย แก่บุคลากรภาครัฐที่ เกีย่ วข้องในการบริหารจัดการด้านการเกษตรและ สหกรณ์ โดยการ • ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และสร้างวินัยแก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการด้าน การเกษตรและสหกรณ์ • มุง่ เน้นการสร้างกิจกรรมในการ สร้างภาพลักษณ์อันดีให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการด้านการเกษตรและสหกรณ์ ในสายตาประชาชนให้เกิดความเชื่อมั่นต่อการ ปฏิบัติงาน 3.2 พั ฒ นากระบวนการทำงานของ หน่ ว ยงานด้ า นเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้ ง สร้างระบบ ธรรมาภิบาลให้เป็นที่ยอมรับของ ทุกภาคส่วน เพื่อให้หน่วยงานมีการวางแผน ในการพัฒนาหน่วยงาน ระบบและกระบวนการ ทำงาน และกรอบอัตรากำลังทีเ่ หมาะสมกับการ ขับเคลื่อนในปัจจุบัน และเตรียมความพร้อม สำหรับอนาคต โดยการ 1) เร่งรัดการปรับปรุงรูปแบบโครง สร้างหน่วยงานที่ซ้ำซ้อนให้เกิดความชัดเจน 2) วิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะงบประมาณ บูรณาการโครงการสำคัญต่างๆ ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

40

3) ศึ ก ษารู ป แบบการเพิ่ ม บทบาท ภาคเอกชนในโครงการลงทุนภาครัฐ (Public Private Partnership: PPPs) ทีเ่ หมาะสมในภาค การเกษตร เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เอกชน เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ ในกิจการด้านการ พัฒนาการเกษตรต่างๆ ของรัฐ เช่น โครงสร้าง พืน้ ฐาน (Infrastructure) การตรวจรับรองคุณภาพ สินค้าเกษตร และการให้บริการสาธารณะ เพื่อ ลดภาระการลงทุนของภาครัฐ เพิม่ ประสิทธิภาพ การลงทุน การบริหารจัดการ รวมทั้งเป็นการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีระหว่างกัน 4) ผลักดันให้มหี น่วยงานเชิงรุกทีจ่ ะ ส่งเสริม รองรับ และเตรียมความพร้อมด้าน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านพลังงานทดแทน ด้าน ความตกลงระหว่างประเทศโดยเฉพาะประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เพื่อให้มีแผนงานหรือแนวทาง ปฏิบัติงานที่ชัดเจนทันต่อการดำเนินการตาม กฎระเบียบที่กำลังจะเกิดขึ้น ให้สามารถแข่งขัน ได้เมื่อมีการเปิดเสรี และต้องกระตุ้นให้ทุกภาค ส่วนที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัว เตรียมตัวรับมือให้ กับผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ เสนอแนะลู่ทางการ ใช้ประโยชน์ให้กับผู้ที่จะได้ประโยชน์ 5) ปรับบทบาทหน่วยงานให้เป็นผู้ สนับสนุนการพัฒนาด้านการเกษตร และสหกรณ์ โดยมีการกำหนดให้มกี ลไกตรวจสอบการดำเนิน งานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในระดับพื้นที่ 6) สร้ า งและพั ฒ นาระบบควบคุ ม ภายในของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหาร จัดการด้านการเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นไปตาม เกณฑ์มาตรฐาน


3.3 พัฒนากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับด้าน การเกษตรและสหกรณ์ให้เหมาะสม โดยการ 1) พั ฒ นากฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ด้านการเกษตรและสหกรณ์ ทัง้ ในด้านสวัสดิการ ของเกษตรกร สินค้าเกษตร สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ทางการเกษตร ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ ภาวะเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการคุ้ม ครองให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ สอดคล้อง • กฎระเบียบและกฎกติกาใหม่ๆ ในการจัดการเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อการผลิต ภาคเกษตรของไทย เพือ่ ให้มกี ฎหมายทีเ่ ป็นสากล โปร่งใส เป็นธรรม เอื้อต่อการสร้างวัฒนธรรม ที่เป็นเครือข่ายที่เห็นประโยชน์ร่วมกัน นำไปสู่ การยกระดับความสามารถในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจภาคการเกษตรของประเทศ • พัฒนาปรับปรุงระบบกฎหมาย เฉพาะ ให้มคี วามเหมาะสมและเป็นปัจจุบนั รวม ทัง้ การบังคับใช้กฎหมายให้มคี วามเป็นธรรมและ ทั่วถึง อาทิ กฎหมายด้านการคุ้มครองพันธุ์พืช และสมุนไพร ด้านการประมง ด้านการจัดการ และปฏิรปู ทีด่ นิ ทางการเกษตร ด้านการขอรับการ สนับสนุนเงินกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร และ ผูย้ ากจน รวมถึงกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เป็นต้น • ศึ ก ษาแนวทางรองรั บ และ เตรียมความพร้อม เพื่อให้มีการดำเนินการตาม กฎ ระเบียบที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น ร่างพระราชบัญญัติมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อม

ได้แก่ ภาษีสิ่งแวดล้อม (ภาษีมลพิษ ภาษีเพื่อ การอนุรักษ์ทรัพยากร และการทำการเกษตรที่ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม) ภาษีผลิตภัณฑ์ หรือค่า ธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ และค่าธรรมเนียมการ จัดการมลพิษ การวางหลักประกันความเสีย่ ง หรือ ความเสียหายต่อสิง่ แวดล้อม การกำหนดสิทธิการ ปล่อยมลพิษ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่จะกำหนด เพดานอัตราภาษีและค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บ ไว้ ซึง่ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องจะต้องดำเนินการร่าง กฎหมายรองและพิ จ ารณากำหนดอั ต ราการ จัดเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมตาม ประเภทของธุรกิจต่อไป 3.4 พัฒนาปรับปรุงรูปแบบโครงสร้าง และการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องในการบริหารจัดการด้านการเกษตรและ สหกรณ์ รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมจาก ทุกภาคส่วน โดยการ 1) ผลักดันการบูรณาการโครงการ ต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหาร จัดการด้านการเกษตรและสหกรณ์ ประกอบการ เชือ่ มโยงแผนงาน/โครงการการพัฒนาการเกษตร และสหกรณ์สแู่ ผนจังหวัด และกลุม่ จังหวัดในพืน้ ที่ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนิน งานแผนงาน/โครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) สนับสนุนการดำเนินงานพัฒนา การเกษตรร่วมกับสถาบันการศึกษา หรือสถาบัน การวิจัยเฉพาะทาง เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ ความรู้และเทคโนโลยีระหว่างกัน อาทิ การวิจัย ในด้านพัฒนา เครือ่ งมือเครือ่ งจักร ด้านนวัตกรรม เกษตรอินทรีย์ ด้านนาโนเทคโนโลยีการเกษตร 3) สนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจด้าน การตรวจรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรบางชนิด

41

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


และ/หรื อ การรั บ รองคุ ณ ภาพฟาร์ ม สู่ อ งค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.)/ชุมชน/ภาคเอกชน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมให้เป็น ไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้องค์กรดังกล่าว เข้ามามีบทบาทขยายการบริหารจัดการให้รวด เร็ว กว้างขวาง และมีมาตรฐานมากขึ้น โดย บูรณาการงานพัฒนาในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามความต้องการ ของพื้นที่ 4) วางระบบการบริหารจัดการด้าน การเกษตรและสหกรณ์สำหรับพื้นที่เฉพาะ เพื่อ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ เช่น จังหวัด ชายแดนภาคใต้ การบริหารกลุ่มจังหวัดที่ติดกับ ชายแดนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ 3.5 พัฒนาระบบบริหารจัดการงานข้อมูล ภาคการเกษตรและสหกรณ์ โดยการ

และถู ก ต้ อ งเพื่ อ สามารถนำข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วไป วางแผนการผลิตทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) พั ฒ นาระบบข้ อ มู ล สารสนเทศ การเกษตรและสหกรณ์ให้มมี าตรฐานสากล โดย การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบข้อมูล สารสนเทศการเกษตรและสหกรณ์กับองค์การ นานาชาติ ที่มีฐานข้อมูลสารสนเทศดังกล่าว และประชาคมโลกให้การยอมรับ อาทิ World Trade Organization (WTO) และ Food and Agriculture Organization (FAO) เป็นต้น เพือ่ เป็นรากฐานในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็น ศู น ย์ ก ลางข้ อ มู ล สารสนเทศการเกษตรและ สหกรณ์ในระดับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ต่อไป

1) พั ฒ นาระบบข้ อ มู ล สารสนเทศ การเกษตรและสหกรณ์ที่เชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศการเกษตรแต่ละสาขา ได้แก่ พืช ปศุสตั ว์ ประมง และบริการทางการเกษตร รวมทัง้ ข้อมูล ด้านผลการวิจัยพันธุ์ ระบบตลาดสินค้าเกษตร ข้อมูลด้านปัจจัยการผลิต เช่น การใช้ประโยชน์ ที่ดิน ทรัพยากรดิน และทรัพยากรน้ำ โดยให้ เกิดความคล่องตัวสูงด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ ส ามารถให้ ก ารปฏิ บั ติ ง านต่ า งๆ ที่ เกี่ยวข้องสำเร็จอย่างทันการณ์ ถูกต้อง แม่นยำ

4) พัฒนาศูนย์วิเคราะห์และติดตาม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจการเกษตร โดยมีการ พัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลและประสานงานกัน ระหว่างหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ ภาครัฐ และภาค เอกชน พร้อมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็น ที่ยอมรับในวงการวิชาการมาทำหน้าที่ในการ วิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในส่วน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้มีอำนาจใช้ในการ ตัดสินใจดำเนินการได้อย่างทันท่วงที รวมถึง สามารถกระจายข่าวผ่านสือ่ เพือ่ นำเสนอผลการ วิ เ คราะห์ การเตื อ นภั ย รายวั น รายสั ป ดาห์ หรือสรุปผลงานรายเดือน

2) สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศการเกษตรและสหกรณ์ที่อำนวยความ สะดวกให้กับผู้ใช้ประโยชน์ อาทิ หน่วยงานภาค รัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา โดยเฉพาะ เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้รวดเร็ว

ทั้งนี้ ความสำคัญของบทบาทหน่วยงาน ในการพั ฒ นาบุ ค ลากร กระบวนการทำงาน ตลอดจนโครงสร้างการดำเนินงานให้เกิดสัมฤทธิ์ ผลแล้ว ควรมีการสร้างกลไกในระดับต่างๆ ให้ เชื่อมโยงประสานงานอย่างเป็นระบบ ดังนี้

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

42


1) หน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง สร้างความ รู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ ให้กบั กลุม่ เป้าหมายทีเ่ กีย่ วข้องทุกภาคส่วนได้รบั รู้และเกิดการยอมรับ โดยนำไปผสมผสานและ สอดแทรกไว้ในแผนปฏิบตั กิ ารต่างๆ ผ่านรูปแบบ การประชุม สัมมนา หรือการประชาสัมพันธ์เป็น ระยะๆ อย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ เป็นการขับเคลือ่ นเชิง ความคิดให้ทุกภาคส่วนเข้าใจวัตถุประสงค์และ เนื้อหาสาระของแผนยุทธศาสตร์ และสามารถ กำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งสู่จุดหมาย เดียวกัน 2) หน่วยงานภาครัฐส่วนภูมภิ าค ทำความ เข้าใจและผลักดันแผนยุทธศาสตร์จากหน่วยงาน ภาครัฐส่วนกลางมาถ่ายทอดและแปลงแผนสู่ ระดับจังหวัด/กลุม่ จังหวัด พืน้ ที่ ให้ประสบความ

สำเร็จมุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน โดยการผสมผสาน และสอดแทรกในแผนปฏิบัติราชการ 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และร่วม ผลักดันให้นำแผนพัฒนาการเกษตรไปปฏิบัติ นอกจากนัน้ เพือ่ ให้การบริหารจัดการเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีกลไกขับเคลื่อนให้ เกิดการดำเนินงานอย่างจริงจัง และสามารถ เชื่อมโยงบทบาทภารกิจให้มีการขับเคลื่อน และ รับทราบปัญหาพร้อมทั้งแก้ปัญหาได้ ไม่ส่งผล กระทบต่อภาพรวม โดยมีคณะกรรมการขับเคลือ่ น อย่างเป็นรูปธรรม ที่สามารถบูรณาการในทุก ระดับตลอดจนขับเคลื่อนได้ทั้งในภาครัฐ และ เอกชน

43

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ร่วมกับ American Soybean Association  ได้เชิญ  Miss Sue Goll

ผู้ชำนาญการด้านที่ปรึกษาการเกษตรและนักวิเคราะห์การตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร มาบรรยาย และให้ความรู้ภาพรวมตลาดสินค้าเกษตรสำคัญในตลาดโลก ทั้งข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านปศุสัตว์ ตลอดจน เทคนิคการเข้าสู่ตลาดการซื้อขายล่วงหน้า ใน Chicago Board of Trade (CBOT) เมื่อวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2554

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

44


45

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


Agricultural Markets Situation Report June 2011 Prepared & Presented by Sue Goll   630-416-6433   sbgoll@wowway.com

The information within is derived from various sources and believed to be reliable, but is not guaranteed by Sue Goll. This information is intended for purposes of information and education only. Nothing herein should be considered as a trading recommendation of Sue Goll. An attorney should be consulted concerning legal restrictions applicable to your business that might preclude or limit your use of any futures and options on futures markets described in this material.

Sue Goll, Agricultural Consultant

Copyright©2011 by Sue Goll Materials herein are the property of Sue Goll and not to be reproduced without the written permission of Sue Goll. 630-416-6433

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

46


47

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

48

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


49

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

50

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


51

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

52

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


53

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

54

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


55

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

56

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


57

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

58

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


59

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

60

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


61

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

62

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


63

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

64

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


65

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

66

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


67

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant

Sue Goll, Agricultural Consultant


เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๙๕ ง

ราชกิจจานุเบกษา

๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิดหรือลักษณะของอาหารสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐาน ของอาหารสัตว์ ตามชื่อ ประเภท ชนิด หรืออายุของสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐาน ของภาชนะบรรจุ และการใช้ภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔ -------------------------------โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขกำหนดควบคุมมาตรฐานอาหารสัตว์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกำหนด ให้โปรตีนข้าวโพด หรือกลูเทนข้าวโพด (Corn gluten meal) และกากดีดีจีเอส (DDGs: Distillers Dried Grains) เป็นอาหารสัตว์ประเภทวัตถุดิบเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๖ (๑) (๒) (๗) และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. ๒๕๒๕ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิดหรือลักษณะของอาหารสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารสัตว์ ตามชื่อ ประเภท ชนิดหรืออายุ ของสัตว์ คุณภาพ หรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุ และการใช้ภาชนะบรรจุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิดหรือลักษณะของ อาหารสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารสัตว์ ตามชือ่ ประเภท ชนิดหรืออายุของสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐาน ของภาชนะบรรจุ และการใช้ภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๒ ให้เพิม่ ความต่อไปนี้ เป็นข้อ ๑/๑ แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรือ่ ง กำหนดชือ่ ประเภท ชนิดหรือลักษณะของอาหารสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารสัตว์ ตามชื่อ ประเภท ชนิดหรืออายุของสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุ และการใช้ภาชนะบรรจุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๕ “ข้อ ๑/๑ ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นี้ “กากเรปซีด (Rapeseed meal) หรือกากคาโนลา (Canola meal)” หมายความว่า ส่วนที่เหลือจากการนำ เมล็ดเรปซีด หรือเมล็ดคาโนลา ไปผ่านกระบวนการแยกน้ำมันออกทางวิธีกล หรือการสกัดน้ำมันออกโดย สารเคมีที่มีคุณสมบัติละลายน้ำมัน “กากเมล็ดทานตะวัน (Sunflower seed meal)” หมายความว่า ส่วนที่เหลือจากการนำเมล็ดทานตะวัน ทัง้ เมล็ด หรือกะเทาะเปลือกออกบางส่วนหรือทัง้ หมด แล้วนำไปผ่านกระบวนการทำให้แตก หรือบดและแยกน้ำมัน ออกทางวิธีกล หรือการสกัดน้ำมันออกโดยสารเคมีที่มีคุณสมบัติละลายน้ำมัน “โปรตีนข้าวโพด หรือกลูเทนข้าวโพด (Corn gluten meal)” หมายความว่า ส่วนที่เหลือจากอุตสาหกรรม แป้งข้าวโพด หรือน้ำเชื่อมข้าวโพด โดยแยกเปลือกนอก แป้งและคัพภะ (germ) ของเมล็ดข้าวโพดออกแล้วนำไป ผ่านกระบวนการทำให้แห้ง “กากดีดีจีเอส (DDGs : Distillers Dried Grains)” หมายความว่า ส่วนที่เหลือจากการผลิตเอทิล แอลกอฮอล์ โดยการหมักเมล็ดธัญพืชชนิดอืน่ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวไรน์ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี หรือข้าวชนิดอืน่ เป็นต้น โดยการกลั่นแยกเอาเอทิลแอลกอฮอล์ออกไปแล้วนำกากที่เหลือไปทำให้แห้ง” ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

68


ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็น (ด) และ (ต) ของข้อ ๓ (๑) แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรือ่ ง กำหนดชือ่ ประเภท ชนิดหรือลักษณะของอาหารสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารสัตว์ ตามชือ่ ประเภท ชนิดหรืออายุของสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุและการใช้ภาชนะบรรจุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะของอาหารสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารสัตว์ ตามชื่อ ประเภท ชนิดหรืออายุของสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุ และการใช้ภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ “(ด) โปรตีนข้าวโพด หรือกลูเทนข้าวโพด (Corn gluten meal) (ต) กากดีดีจีเอส (DDGs: Distillers Dried Grains)” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็น (ด) และ (ต) ของข้อ ๔ แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิดหรือลักษณะของอาหารสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารสัตว์ ตามชื่อ ประเภท ชนิดหรืออายุของสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุและการใช้ภาชนะบรรจุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะของอาหารสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารสัตว์ ตามชื่อ ประเภท ชนิดหรืออายุของสัตว์ คุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุ และการใช้ภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ “(ด) โปรตีนข้าวโพด หรือกลูเทนข้าวโพด โปรตีน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๕ กาก ไม่มากกว่าร้อยละ ๔ ความชื้น ไม่มากกว่าร้อยละ ๑๒ (ต) กากดีดีจีเอส โปรตีน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๖ กาก ไม่มากกว่าร้อยละ ๑๒ ความชื้น ไม่มากกว่าร้อยละ ๑๒.๕” ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

69

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

70

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคารำสด 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

6.34 7.64 8.51 7.97 8.70 8.99

ม.ค.

23.43 21.64 26.10 29.61 33.40 25.00

ม.ค.

5.35 7.50 8.27 7.33 8.10 9.46

ม.ค.

ราคาปลาป่น 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

5.60 7.59 9.54 7.43 9.21 10.18

ก.พ.

25.05 23.40 27.04 26.84 34.20 28.91

ก.พ.

5.40 8.06 8.55 7.42 8.37 9.57

ก.พ.

ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์ 

5.42 7.33 9.82 7.19 9.47 9.97

มี.ค.

27.76 22.47 29.27 25.69 35.28 37.98

มี.ค.

5.54 8.06 9.14 7.60 8.92 10.01

มี.ค.

5.74 5.75 9.24 6.22 9.34 9.70

เม.ย.

28.17 24.11 29.60 29.08 36.53 31.77

เม.ย.

6.27 7.80 9.43 7.57 9.24 10.65

เม.ย.

5.66 5.44 8.20 4.87 9.41 8.34

พ.ค.

30.79 23.99 29.36 33.50 31.53 32.09

พ.ค.

6.50 7.40 9.25 7.05 9.31 10.49

พ.ค.

5.48 6.16 8.56 5.18 9.98 8.20

มิ.ย.

29.58 21.86 30.79 34.19 28.31 31.29

มิ.ย.

6.51 7.39 9.58 7.45 9.64 9.68

มิ.ย.

5.68 6.78 9.84 6.01 9.93 9.50

ก.ค.

31.23 23.18 33.65 34.58 28.92 32.32

ก.ค.

6.48 7.29 10.99 6.26 9.38 9.18

ก.ค.

5.94 7.28 8.97 6.28 9.76 9.49

ส.ค.

31.18 23.25 35.66 36.04 30.82 32.58

ส.ค.

5.95 7.18 10.03 6.21 9.01 9.04

ส.ค.

5.90 6.86 7.17 5.91 10.04

ก.ย.

27.39 23.95 34.19 34.58 29.78

ก.ย.

6.00 7.89 8.93 6.10 9.22

ก.ย.

5.96 6.91 5.97 7.14 9.30

ต.ค.

25.10 23.91 30.93 33.29 27.78

ต.ค.

6.49 8.42 7.89 6.30 9.24

ต.ค.

6.29 7.40 7.50 7.03 8.99

พ.ย.

22.59 24.08 25.11 29.96 25.28

พ.ย.

6.57 8.16 7.84 7.14 9.19

พ.ย.

6.73 7.78 7.42 8.20 8.66

ธ.ค.

21.92 25.62 26.03 31.80 25.57

ธ.ค.

7.11 8.23 6.94 7.83 9.13

ธ.ค. 5.35 7.18 6.94 6.10 8.10 9.04

ต่ำสุด

7.11 8.42 10.99 7.83 9.64 10.65

สูงสุด

21.92 21.64 25.11 25.69 25.28 25.00

ต่ำสุด

31.23 25.62 35.66 36.04 36.53 37.98

สูงสุด

5.42 5.44 5.97 4.87 8.66 8.20

ต่ำสุด

6.73 7.78 9.84 8.20 10.04 10.18

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.90 6.91 8.40 6.62 9.40 9.30

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

27.02 23.45 29.81 31.60 30.62 31.49

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

6.18 7.78 8.90 7.02 9.06 9.76

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


71

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

11.20 10.29 15.87 14.25 15.30 13.10

ม.ค.

10.77 10.68 15.92 13.99 15.07 14.32

ก.พ.

10.94 10.82 17.24 14.67 15.75 13.88

ม.ค.

10.56 11.07 17.10 15.70 15.11 14.15

ก.พ.

10.79 11.28 17.16 15.68 14.86 13.46

มี.ค.

10.62 10.86 16.27 13.26 15.75 15.21

มี.ค.

2552 2553 2554

เดือน

17.06 15.28

ม.ค.

16.29 15.47

ก.พ.

16.74 16.10 14.75

มี.ค.

ราคากากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก (Dehulled) 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองเมล็ดนำเข้า 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองต่างประเทศ 

17.09 16.45 14.20

เม.ย.

11.17 11.21 16.90 16.07 14.80 12.80

เม.ย.

10.65 10.95 16.58 13.88 15.75 15.29

เม.ย.

18.14 15.28 14.20

พ.ค.

10.63 11.11 17.13 17.19 14.09 12.59

พ.ค.

10.63 10.94 16.09 14.14 14.91 15.47

พ.ค.

18.90 14.44 14.20

มิ.ย.

10.42 11.26 18.70 17.93 13.43 11.60

มิ.ย.

10.37 11.13 16.56 14.10 14.24 14.61

มิ.ย.

17.86 14.26 14.88

ก.ค.

10.47 11.73 20.26 16.91 13.25 13.50

ก.ค.

10.20 11.35 16.15 14.03 12.76 14.50

ก.ค.

17.86 15.05 15.50

ส.ค.

10.06 11.90 19.58 16.86 14.05 14.33

ส.ค.

10.27 11.43 15.99 15.64 12.17 14.33

ส.ค.

17.89 15.02

ก.ย.

10.21 13.05 18.33 16.94 14.02

ก.ย.

10.39 12.51 17.67 15.82 12.10

ก.ย.

17.46 15.35

ต.ค.

10.42 15.09 16.65 16.43 14.35

ต.ค.

10.49 12.94 18.42 16.27 11.98

ต.ค.

17.66 15.64

พ.ย.

10.59 15.97 14.56 16.58 14.64

พ.ย.

10.42 13.21 17.76 16.81 12.10

พ.ย.

18.08 14.98

ธ.ค.

10.57 16.23 12.62 17.00 13.62

ธ.ค.

10.32 14.30 16.05 16.02 12.14

ธ.ค. 10.20 10.29 15.87 13.26 11.98 13.10

ต่ำสุด

11.20 14.30 18.42 16.81 15.75 15.47

สูงสุด

10.06 10.82 12.62 14.67 13.25 11.60

ต่ำสุด

11.17 16.23 20.26 17.93 15.75 14.33

สูงสุด

16.74 14.26 14.20

ต่ำสุด

18.90 17.06 15.50

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.77 15.49 14.81

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

10.57 12.56 17.19 16.50 14.33 13.29

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

10.53 11.72 16.61 14.85 13.69 14.60

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

72

5.93 7.08 6.79 7.21 7.94 7.79

ม.ค.

7.98 8.04 11.27 9.87 13.41 11.33

ม.ค.

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

4.18 4.02 5.64 4.03 5.54 7.86

ม.ค.

ราคามันสำปะหลังเส้น 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคาปลายข้าว 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคากากรำสกัดน้ำมัน 

4.14 4.07 5.78 3.95 5.43 8.14

ก.พ.

7.94 8.37 13.05 10.06 12.92 11.92

ก.พ.

5.45 6.88 7.52 6.83 8.05 7.99

ก.พ.

4.15 4.07 5.83 4.08 5.83 8.46

มี.ค.

7.91 8.52 15.07 10.01 12.15 11.63

มี.ค.

5.15 6.58 7.77 6.41 7.96 7.38

มี.ค.

4.13 4.14 5.91 4.21 6.24 8.70

เม.ย.

7.91 8.52 20.66 9.95 10.24 11.39

เม.ย.

5.13 5.12 7.36 5.59 7.76 6.92

เม.ย.

4.05 4.19 5.90 4.04 6.51 8.62

พ.ค.

7.81 8.32 20.01 9.59 9.53 11.29

พ.ค.

5.11 4.76 6.47 4.91 7.26 6.33

พ.ค.

4.13 4.40 5.80 4.25 6.81 8.00

มิ.ย.

7.78 8.19 16.93 9.80 9.60 11.65

มิ.ย.

4.85 4.85 6.07 4.83 7.19 6.41

มิ.ย.

4.24 4.78 6.01 4.37 6.93 7.81

ก.ค.

7.79 8.25 15.57 9.64 9.88 12.42

ก.ค.

4.87 4.94 6.99 4.74 7.37 7.80

ก.ค.

4.21 4.89 5.95 4.41 7.00 7.54

ส.ค.

7.76 8.40 13.55 9.41 10.36 12.86

ส.ค.

4.81 5.61 6.50 4.74 7.58 8.07

ส.ค.

4.13 5.33 5.63 4.62 7.23

ก.ย.

7.88 8.67 11.80 9.26 11.50

ก.ย.

4.82 5.48 5.69 4.58 8.30

ก.ย.

4.10 5.85 4.79 4.72 7.30

ต.ค.

7.89 9.37 10.12 8.94 11.58

ต.ค.

5.10 5.81 5.84 5.30 8.14

ต.ค.

4.11 5.17 4.60 5.03 7.34

พ.ย.

7.65 9.70 9.43 9.97 11.61

พ.ย.

5.51 6.14 7.19 6.06 8.09

พ.ย.

4.08 5.42 4.06 5.41 7.76

ธ.ค.

7.74 10.61 8.88 12.60 11.36

ธ.ค.

6.37 6.29 7.04 7.51 7.89

ธ.ค. 4.81 4.76 5.69 4.58 7.19 6.33

ต่ำสุด

6.37 7.08 7.77 7.51 8.30 8.07

สูงสุด

7.65 8.04 8.88 8.94 9.53 11.29

ต่ำสุด

7.98 10.61 20.66 12.60 13.41 12.86

สูงสุด

4.05 4.02 4.06 3.95 5.43 7.54

ต่ำสุด

4.24 5.85 6.01 5.41 7.76 8.70

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

4.14 4.69 5.49 4.43 6.66 8.14

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

7.84 8.75 13.86 9.93 11.18 11.81

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.26 5.80 6.77 5.73 7.79 7.34

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


73

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

37.95 29.00 29.29 30.51 29.30 30.04

ม.ค.

35.96 47.00 40.39 40.03 57.93 57.70

ม.ค.

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

41.41 38.17 43.58 53.34 41.67 40.38

ม.ค.

ราคาน้ำมันปลา FO 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคาปลาป่นนำเข้า 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคาตับปลาหมึก SLP 

41.41 38.17 49.52 52.23 41.70 45.23

ก.พ.

39.22 51.84 40.58 39.54 66.06 63.33

ก.พ.

37.95 29.00 29.78 30.90 29.30 29.80

ก.พ.

40.27 38.17 54.52 50.56 41.89 45.95

มี.ค.

41.07 52.04 40.56 42.16 68.52 63.45

มี.ค.

37.95 29.00 30.14 31.19 29.30 29.80

มี.ค.

40.27 38.17 58.50 50.56 41.89 46.01

เม.ย.

42.84 51.99 39.36 43.54 68.06 55.21

เม.ย.

37.95 29.00 31.55 31.19 29.30 29.80

เม.ย.

40.27 38.53 59.83 44.80 41.89 46.01

พ.ค.

43.82 55.30 39.52 44.23 67.90 51.97

พ.ค.

37.38 29.00 30.40 30.16 29.30 29.80

พ.ค.

40.27 38.57 60.47 43.50 41.42 46.01

มิ.ย.

57.76 55.69 42.55 44.08 68.28 51.97

มิ.ย.

36.25 28.53 30.84 30.68 29.30 29.80

มิ.ย.

40.66 38.52 61.13 41.38 40.91 47.72

ก.ค.

63.05 48.69 44.51 44.44 67.46 50.29

ก.ค.

31.50 28.30 31.76 30.74 29.46 29.52

ก.ค.

40.37 38.52 61.67 40.94 40.31 49.85

ส.ค.

56.40 41.65 44.53 44.59 65.40 48.17

ส.ค.

32.07 27.80 32.00 30.77 29.70 29.25

ส.ค.

40.18 38.52 58.42 39.40 40.21

ก.ย.

53.69 42.67 46.14 45.59 60.86

ก.ย.

32.00 27.80 31.30 30.90 29.56

ก.ย.

40.18 38.52 55.47 38.55 40.15

ต.ค.

50.61 40.98 45.15 50.07 57.26

ต.ค.

32.00 27.80 31.17 31.02 29.34

ต.ค.

39.71 38.52 53.70 40.07 40.27

พ.ย.

48.77 38.25 40.43 53.30 56.45

พ.ย.

30.59 27.80 31.11 30.32 30.04

พ.ย.

39.63 39.47 51.35 39.21 40.38

ธ.ค.

47.84 38.83 39.45 53.30 56.45

ธ.ค.

30.33 36.95 30.82 30.32 30.04

ธ.ค. 30.33 27.80 29.29 30.16 29.30 29.25

ต่ำสุด

37.95 36.95 32.00 31.19 30.04 30.04

สูงสุด

35.96 38.25 39.36 39.54 56.45 48.17

ต่ำสุด

63.05 55.69 46.14 53.30 68.52 63.45

สูงสุด

39.63 38.17 43.58 38.55 40.15 40.38

ต่ำสุด

41.41 39.47 61.67 53.34 41.89 49.85

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

40.39 38.49 55.68 44.55 41.06 45.90

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

48.42 47.08 41.93 45.41 63.39 55.26

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

34.49 29.17 30.85 30.73 29.50 29.73

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

74

ม.ค.

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

12.66 13.52 22.22 19.63 16.69 19.28

ม.ค.

WHEAT FLOUR 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

5.04 6.45 6.69 6.32 7.02 8.12

45.35 48.05 65.23 47.25 62.75 55.00

ม.ค.

WHEAT BRAN 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

WHEAT GLUTEN 

12.66 13.52 22.58 18.94 16.79 20.04

ก.พ.

5.05 6.51 7.13 6.29 7.25 8.20

ก.พ.

45.35 48.05 66.00 48.21 63.09 53.33

ก.พ.

12.67 13.52 23.70 18.61 16.60 20.50

มี.ค.

5.07 6.44 7.43 6.29 7.59 7.76

มี.ค.

45.35 48.05 66.00 48.21 63.09 53.33

มี.ค.

12.67 13.52 24.59 17.32 16.30 20.50

เม.ย.

5.08 5.52 7.73 5.99 7.55 7.52

เม.ย.

45.35 48.05 66.00 58.39 63.09 53.33

เม.ย.

12.73 13.54 25.46 16.89 15.72 20.45

พ.ค.

5.07 4.86 7.00 5.26 7.16 6.94

พ.ค.

45.39 45.20 66.00 62.03 64.71 53.33

พ.ค.

12.82 14.01 25.48 17.00 15.72 19.94

มิ.ย.

4.93 4.64 6.19 4.85 6.90 6.61

มิ.ย.

45.47 62.55 66.00 63.26 64.78 53.33

มิ.ย.

13.37 14.23 24.56 17.00 15.05 19.82

ก.ค.

4.74 4.65 6.79 4.84 6.87 7.44

ก.ค.

45.11 66.56 66.00 60.89 64.78 49.28

ก.ค.

13.42 14.21 23.34 16.82 15.44 19.50

ส.ค.

4.68 4.85 6.87 4.79 7.21 7.77

ส.ค.

46.87 62.00 60.79 59.34 64.78 48.75

ส.ค.

13.36 16.19 22.39 16.67 18.55

ก.ย.

4.70 5.31 6.50 4.76 8.08

ก.ย.

48.05 62.00 51.71 61.70 64.78

ก.ย.

13.54 19.91 21.69 16.53 19.28

ต.ค.

4.85 5.58 5.78 5.00 7.92

ต.ค.

48.05 62.81 50.22 61.70 64.78

ต.ค.

13.52 22.02 21.16 16.34 19.10

พ.ย.

5.15 5.87 5.93 5.44 7.88

พ.ย.

48.05 62.00 50.22 61.95 55.92

พ.ย.

13.52 22.21 20.09 16.17 19.10

ธ.ค.

5.75 6.29 6.21 6.44 7.80

ธ.ค.

48.05 63.22 46.43 61.95 55.00

ธ.ค. 45.11 45.20 46.43 47.25 55.00 48.75

ต่ำสุด

48.05 66.56 66.00 63.26 64.78 55.00

สูงสุด

4.68 4.64 5.78 4.76 6.87 6.61

ต่ำสุด

5.75 6.51 7.73 6.44 8.08 8.20

สูงสุด

12.66 13.52 20.09 16.17 15.05 19.28

ต่ำสุด

13.54 22.21 25.48 19.63 19.28 20.50

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

13.08 15.87 23.11 17.33 17.03 20.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.01 5.58 6.69 5.52 7.44 7.55

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

46.37 56.54 60.05 57.91 62.63 52.46

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


75

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

16.75 17.28 17.44 19.41 23.24 25.86

ม.ค.

60.00 73.00 77.50 69.89 85.00 90.50

ม.ค.

60.00 73.00 77.50 68.75 85.00 96.67

ก.พ.

16.72 17.30 17.81 20.88 25.19 25.62

ก.พ.

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

40.25 46.50 47.00 66.70 ไม่มี ไม่มี

ม.ค.

40.25 46.50 47.00 68.00 ไม่มี ไม่มี

ก.พ.

ราคาน้ำมันปลาหมึก SO 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคาปลาหมึกป่น SLM 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคาเปลือกกุ้ง 

43.13 46.50 48.46 68.00 ไม่มี ไม่มี

มี.ค.

65.67 73.00 77.50 68.75 85.00 96.67

มี.ค.

16.65 16.76 18.50 21.51 25.56 27.40

มี.ค.

43.13 46.50 50.00 68.00 ไม่มี ไม่มี

เม.ย.

65.67 73.00 77.50 70.11 85.00 96.67

เม.ย.

16.76 16.72 19.23 22.19 25.90 27.64

เม.ย.

43.13 47.50 52.29 58.70 ไม่มี ไม่มี

พ.ค.

75.01 73.55 78.07 80.22 85.00 96.20

พ.ค.

16.97 17.42 19.22 23.83 26.81 28.99

พ.ค.

43.13 47.50 55.00 52.00 ไม่มี ไม่มี

มิ.ย.

78.33 75.00 78.75 86.63 89.44 92.50

มิ.ย.

18.58 18.05 19.36 24.46 26.74 29.18

มิ.ย.

46.50 47.50 60.00 52.00 ไม่มี ไม่มี

ก.ค.

71.83 75.00 73.99 87.50 90.50 98.10

ก.ค.

18.72 17.86 20.34 24.62 27.03 29.40

ก.ค.

46.50 47.00 70.00 52.00 ไม่มี ไม่มี

ส.ค.

76.25 78.75 78.00 87.50 90.50 98.33

ส.ค.

19.13 17.37 23.48 24.69 26.89 29.40

ส.ค.

46.50 46.66 70.00 52.00 ไม่มี

ก.ย.

77.21 77.55 81.25 88.25 90.50

ก.ย.

19.29 16.89 24.29 25.34 26.69

ก.ย.

46.50 47.00 68.00 52.00 ไม่มี

ต.ค.

75.55 77.50 78.94 88.25 90.50

ต.ค.

19.20 16.80 23.91 24.94 26.65

ต.ค.

46.50 47.00 68.00 52.00 ไม่มี

พ.ย.

75.00 77.50 66.70 85.00 90.50

พ.ย.

18.43 16.87 21.47 21.32 26.29

พ.ย.

46.50 47.00 68.00 52.00 ไม่มี

ธ.ค.

75.00 77.50 60.52 85.00 90.50

ธ.ค.

17.97 16.88 19.01 21.23 26.00

ธ.ค. 16.65 16.72 17.44 19.41 23.24 25.62

ต่ำสุด

19.29 18.05 24.29 25.34 27.03 29.40

สูงสุด

60.00 73.00 60.52 68.75 85.00 90.50

ต่ำสุด

78.33 78.75 81.25 88.25 90.50 98.33

สูงสุด

40.25 46.50 47.00 52.00 0.00 0.00

ต่ำสุด

46.50 47.50 70.00 68.00 0.00 0.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

44.33 46.93 58.65 57.78 #DIV/0! #DIV/0!

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

71.29 75.36 75.52 80.49 88.12 95.71

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.93 17.18 20.34 22.87 26.08 27.94

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

76

14.83 14.20 8.77 18.00 22.50 26.00

ม.ค.

119.75 108.50 107.27 118.00 135.75 144.50

ม.ค.

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ม.ค.

161.00 179.00 176.00 190.00 205.00 264.00

ราคาไข่ไก่คละ 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคาไก่รุ่น-ไก่สาว 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคาลูกไก่ไข่ 

ก.พ.

150.00 183.00 213.00 190.00 251.00 270.00

117.00 111.44 110.94 115.50 140.75 144.50

ก.พ.

13.00 16.88 12.90 18.00 24.50 26.00

ก.พ.

มี.ค.

174.00 181.00 248.00 207.00 241.00 284.00

117.00 112.75 128.44 115.12 141.62 146.72

มี.ค.

13.81 18.00 20.90 20.23 24.85 26.74

มี.ค.

เม.ย.

171.00 174.00 241.00 240.00 241.00 304.00

117.00 112.75 133.15 137.09 139.50 150.50

เม.ย.

16.91 18.00 22.00 27.36 24.00 28.00

เม.ย.

พ.ค.

178.00 197.00 245.00 237.00 255.00 300.00

117.00 117.70 137.50 143.70 146.50 150.50

พ.ค.

17.00 19.52 22.00 27.96 27.00 28.00

พ.ค.

มิ.ย.

183.00 200.00 224.00 238.00 276.00 282.00

117.00 119.00 133.50 142.50 152.38 150.50

มิ.ย.

17.00 20.00 20.32 27.00 29.15 28.00

มิ.ย.

ก.ค.

170.00 205.00 210.00 244.00 278.00 282.00

112.19 119.00 127.50 142.50 147.96 150.50

ก.ค.

14.81 20.00 16.00 27.00 27.38 28.00

ก.ค.

ส.ค.

172.00 212.00 226.00 260.00 270.00 300.00

112.00 119.00 127.50 149.90 144.50 150.50

ส.ค.

14.80 20.00 16.00 28.56 26.00 28.00

ส.ค.

ก.ย.

160.00 215.00 237.00 241.00 272.00

109.00 119.50 129.12 149.27 144.50

ก.ย.

12.00 20.00 17.62 28.62 26.00

ก.ย.

ต.ค.

160.00 195.00 208.00 216.00 253.00

109.00 119.50 129.54 142.38 144.50

ต.ค.

12.00 20.00 18.47 15.15 26.00

ต.ค.

พ.ย.

185.00 196.00 214.00 233.00 253.00

112.83 119.50 124.30 142.10 144.50

พ.ย.

14.54 20.00 17.57 25.04 26.00

พ.ย.

ธ.ค.

172.00 174.00 222.00 236.00 253.00

106.48 114.54 125.50 143.85 144.50

ธ.ค.

13.58 16.00 19.54 25.74 26.00

ธ.ค. 12.00 14.20 8.77 15.15 22.50 26.00

ต่ำสุด

17.00 20.00 22.00 28.62 29.15 28.00

สูงสุด

106.48 108.50 107.27 115.12 135.75 144.50

ต่ำสุด

119.75 119.50 137.50 149.90 152.38 150.50

สูงสุด

ต่ำสุด

150.00 174.00 176.00 190.00 205.00 264.00

สูงสุด

185.00 215.00 248.00 260.00 278.00 304.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

เฉลี่ย

169.67 192.58 222.00 227.67 254.00 285.75

หน่วย : บาท/100 ฟอง

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

113.85 116.10 126.19 136.83 143.91 148.53

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

14.52 18.55 17.67 24.06 25.78 27.34

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


77

ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

13.50 8.18 13.50 7.25 18.00 17.50

ม.ค.

34.62 23.87 35.63 31.58 44.33 45.24

ม.ค.

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

51.75 29.70 45.19 52.28 58.25 51.00

ม.ค.

ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์ม 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคาลูกไก่เนื้อ 

48.19 29.81 53.12 55.34 60.19 58.86

ก.พ.

28.90 22.95 37.18 32.88 45.00 47.28

ก.พ.

12.07 6.00 12.92 8.98 18.50 18.37

ก.พ.

47.63 35.79 58.32 56.82 60.41 61.50

มี.ค.

26.27 29.15 39.52 30.28 40.96 48.30

มี.ค.

6.98 7.65 15.50 4.50 18.50 20.50

มี.ค.

48.90 37.31 57.07 59.60 60.41 67.11

เม.ย.

31.44 30.44 40.78 31.18 42.09 52.10

เม.ย.

9.41 8.83 16.50 5.23 18.50 21.32

เม.ย.

48.92 37.17 53.72 60.00 60.50 70.00

พ.ค.

31.13 31.00 41.02 36.45 44.28 54.60

พ.ค.

9.25 9.89 15.58 13.89 20.07 22.50

พ.ค.

47.08 39.26 52.68 58.00 60.50 70.00

มิ.ย.

23.87 32.43 36.06 37.92 42.46 50.25

มิ.ย.

5.08 11.65 9.06 14.50 19.35 20.96

มิ.ย.

46.04 43.00 50.72 55.30 61.93 72.88

ก.ค.

25.57 35.11 37.46 38.00 37.47 43.60

ก.ค.

5.04 14.02 11.35 14.50 16.10 17.34

ก.ค.

45.40 45.66 53.74 55.00 59.37 80.40

ส.ค.

23.54 35.16 42.62 38.00 36.07 42.20

ส.ค.

4.90 14.50 16.34 14.50 12.58 15.73

ส.ค.

42.91 41.88 51.79 54.02 56.83

ก.ย.

26.68 36.00 37.54 40.68 37.63

ก.ย.

8.66 14.50 13.81 15.19 14.14

ก.ย.

42.91 38.40 51.52 52.18 51.52

ต.ค.

26.68 33.63 30.36 41.62 36.02

ต.ค.

8.66 14.50 7.66 16.50 14.50

ต.ค.

41.52 43.04 51.21 55.44 51.38

พ.ย.

30.13 34.96 31.00 40.00 37.33

พ.ย.

11.73 14.50 8.94 16.50 14.50

พ.ย.

37.52 42.95 51.13 57.25 51.45

ธ.ค.

30.34 36.85 30.84 41.00 41.93

ธ.ค.

10.17 14.50 8.25 16.50 15.50

ธ.ค. 4.90 6.00 7.66 4.50 12.58 15.73

ต่ำสุด

13.50 14.50 16.50 16.50 20.07 22.50

สูงสุด

23.54 22.95 30.36 30.28 36.02 42.20

ต่ำสุด

34.62 36.85 42.62 41.62 45.00 54.60

สูงสุด

37.52 29.70 45.19 52.18 51.38 51.00

ต่ำสุด

51.75 45.66 58.32 60.00 61.93 80.40

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

45.73 38.66 52.52 55.94 57.73 66.47

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

28.26 31.80 36.67 36.63 40.46 47.95

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

8.79 11.56 12.45 12.34 16.69 19.28

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


ธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 138 พฤษภาคม-มิถุนายน 2554

78

1,500.00 816.00 1,238.46 1,475.00 1,875.00 1,637.50

ม.ค.

1,500.00 800.00 1,750.00 1,600.00 1,900.00 1,930.43

ก.พ.

13.00 15.00

ม.ค.

13.00 15.00

ก.พ.

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

50.00 46.00 45.77 58.00 58.00 58.00

ม.ค.

50.00 45.50 49.00 58.00 58.00 58.00

ก.พ.

ราคาเป็ดเชอร์รี่หน้าฟาร์ม 

2553 2554

เดือน

ราคาลูกเป็ดไข่ ซี พี โกลด์เด้น 

2549 2550 2551 2552 2553 2554

เดือน

ราคาลูกสุกรขุน 

50.85 45.50 50.88 58.00 58.00 58.00

มี.ค.

13.00 16.78

มี.ค.

1,500.00 888.46 1,800.00 1,607.69 1,900.00 2,000.00

มี.ค.

51.00 46.00 56.17 58.00 58.00 58.00

เม.ย.

13.00 18.00

เม.ย.

1,440.91 833.35 1,673.91 1,804.55 1,900.00 2,000.00

เม.ย.

51.00 46.39 57.92 58.00 58.00 58.00

พ.ค.

13.00 18.00

พ.ค.

1,400.00 700.00 1,316.67 1,847.83 1,900.00 2,000.00

พ.ค.

51.00 47.00 58.00 58.00 58.00 58.00

มิ.ย.

13.00 18.00

มิ.ย.

1,338.46 907.69 1,296.00 1,661.54 1,900.00 2,000.00

มิ.ย.

51.00 47.00 58.00 58.00 58.00 58.00

ก.ค.

13.00 18.00

ก.ค.

1,103.85 1,180.00 1,053.85 1,500.00 1,900.00 2,000.00

ก.ค.

51.00 47.00 59.36 58.00 58.00 58.00

ส.ค.

13.00 18.00

ส.ค.

1,100.00 1,300.00 1,284.00 1,596.00 1,844.00 2,400.00

ส.ค.

49.00 47.00 60.00 58.00 58.00

ก.ย.

13.84

ก.ย.

1,100.00 1,150.00 1,223.08 1,600.00 1,720.00

ก.ย.

49.00 46.77 60.00 58.00 58.00

ต.ค.

15.00

ต.ค.

1,100.00 1,061.50 1,346.15 1,600.00 1,600.00

ต.ค.

48.23 45.00 58.00 58.00 58.00

พ.ย.

15.00

พ.ย.

1,410.26 1,250.00 1,400.00 1,752.00 1,600.00

พ.ย.

47.16 45.00 58.00 58.00 58.00

ธ.ค.

15.00

ธ.ค.

1,024.00 1,004.35 1,400.00 1,800.00 1,600.00

ธ.ค. 1,024.00 700.00 1,053.85 1,475.00 1,600.00 1,637.50

ต่ำสุด

1,500.00 1,300.00 1,800.00 1,847.83 1,900.00 2,400.00

สูงสุด

13.00 15.00

ต่ำสุด

15.00 18.00

สูงสุด

47.16 45.00 45.77 58.00 58.00 58.00

ต่ำสุด

51.00 47.00 60.00 58.00 58.00 58.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

49.94 46.18 55.93 58.00 58.00 58.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

13.57 17.10

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

1,293.12 990.95 1,398.51 1,653.72 1,803.25 1,995.99

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


ใบสมัครสมาชิกวารสาร

ธุรกิจอาหารสัตว์

ของสมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย

ชื่อ_________________________________________________สมาชิกเลขที่_____________________ ที่ทำงาน____________________________________________________________________________ ___________________________________________________________________________________ โทรศัพท์____________________________________________________________________________ ที่อยู่ปัจจุบันเลขที่______________________________________________________หมู่ที่__________ ตรอก/ซอย ________________________________ถนน_____________________________________ แขวง_______________เขต_______________จังหวัด___________________รหัสไปรษณีย์_________ สมัครเป็นสมาชิกวารสาร ธุรกิจอาหารสัตว์ ราย 2 เดือน จำนวน 6 เล่ม ตั้งแต่เล่มที่_________________ถึงเล่มที่_________________ พร้อมนี้ได้ส่งค่าสมาชิก และค่าไปรษณีย์ภัณฑ์จำนวนเงิน 300 บาท มาด้วยแล้ว ลงชื่อ _______________________________ ผู้สมัคร

ีย์

ือเช็คไปรษณ

10120 . ท ก า ว า น ป.ท. ยาน รกิติ ร ส่งธนาณัติห

สั่งจ่าย กันทราก ชั้น 17 า ช ี ร ป ณ ุ ค 0 ในนาม เวอร์ ห้อง 17 ว า ท ี ซ ี ซ ย ท ไ เทพฯ 10120 ง ุ ร 889 อาคาร ก ร ท า ส 265 ้ ยานนาวา . 0-2675-6 ถนนสาทรใต ร า ส ร ท โ 4 5-6263 โทร. 0-267


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน

และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19.

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บี. พี. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด บริษัท ลีโก้ อินสตรูเมนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โกรเบสท์ คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท ตงชางเครื่องชั่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท บี เอ เอส เอฟ จำกัด บริษัท เวทโปรดักส์กรุ๊ป จำกัด บริษัท ทีเอที เอ็นเนอร์ยี่ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ที. ซี. ยูเนียน อโกรเทค จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2247-7000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2599-1047-65 โทร. 0-2819-8790-7 โทร. 0-2886-4350 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2279-7534 โทร. 0-3488-6140-46 โทร. 0-2757-4792-5 โทร. 0-2204-9455 โทร. 0-2937-4888 โทร. 0-2831-7299 โทร. 0-2938-1406-8 โทร. 0-2476-0674-82


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.