วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ TFMA E-Magazine 149

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี. เอ็น. พี. อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.

บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการบริหาร

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ประจำปี 2556-2557 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด นายโดม มีกุล นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายวีรชัย รัตนบานชื่น นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

นายกสมาคม อุปนายก คนที่ 1 อุปนายก คนที่ 2 เหรัญญิก เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

มาตรฐานสินค้า ความยั่งยืน ความมั่นคง ความปลอดภัยของ ชีวติ และสิง่ แวดล้อม ต้องมีความเข้มงวดและระมัดระวัง อย่างยิง่ เพราะ การค้าระหว่างประเทศ ดูจะเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องใส่ใจอย่างมาก อาจจะถูกหยิบยกมาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้าระหว่างประเทศ จากประเทศที่เรียกว่าประเทศที่เจริญแล้ว เอาเปรียบประเทศที่กำลัง พัฒนา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมพร้อมศึกษาและให้ ความรู้เตรียมเข้าสู่เวทีแห่งการแข่งขัน เพื่อความยั่งยืน และต้องให้เวลาอย่างมีขอบเขตที่ชัดเจน มีจุดเริ่มต้นและระยะเวลาผ่อนผัน การเริ่มใช้อย่างจริงจัง ดังเช่นที่ กรมประมงเริ่มตระหนัก และชักชวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในวงจรการค้าการประมงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและการ ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยการเริ่มให้ความรู้และจัดระเบียบการออกเอกสารเพื่อ ยืนยันที่มาที่ไปของการทำการประมงอย่างยั่งยืน ดังนั้น เมื่อระฆังแห่งการเริ่มต้นดังขึ้นแล้ว ผู้เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมและศึกษาระเบียบการออกเอกสารกำกับการทำประมงที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่า ระยะเวลาเริ่ ม ต้ น อาจจะสะดุ ด บ้ า งแต่ ก็ นั บ ว่ า การเริ่ ม ต้ น ดี ก็ จ ะนำไปสู่ ค วามสำเร็ จ ได้ จึ ง ขอ เอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จและไปสูจ่ ดุ มุง่ หมายทีด่ เี พือ่ ให้การค้าสินค้าเกีย่ วข้องกับการประมง เจริญก้าวหน้าและมีความยั่งยืนรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลต่อไป การจัดการเรื่องเขตโซนนิ่ง ทั้งพืชและปศุสัตว์ เป็นเรื่องที่ดำเนินการมายาวนาน ด้วย ข้อสมมติฐานที่ใช้อ้างอิงต่อเนื่องด้วยความยากลำบาก และด้วยความที่ไม่ต่อเนื่องของนโยบาย และความไม่เข้มงวดกับระเบียบปฏิบัติทั้งโดยจิตสำนึกและกฎหมาย ทำให้ผลการดำเนินงาน ที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งหากการเริ่มต้นใหม่ โดยมีการศึกษาที่ดีพร้อมแล้ว ด้วยความ ร่วมมือหลายฝ่ายและนโยบายที่ชัดเจน และผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีความมั่นใจจะทำให้การจัดการ กำหนดเขตโซนนิ่งทำได้อย่างแน่นอน การจัดการเรื่องการเลี้ยงกุ้งเพื่อให้รอดพ้นจากโรคที่ซ้ำเติมอยู่ในขณะนี้ ต้องดิ้นรนหาทาง แก้ไขโดยเร็วและผูร้ จู้ ะต้องช่วยหาทางทำให้เรือ่ งนีก้ ระจ่างให้เร็วทีส่ ดุ เพราะเวลาได้ลว่ งเลยมานาน จนตลาดสินค้ากุ้งเริ่มขาดแคลน การลงเลี้ยงในบางพื้นที่ก็มีความกังวลว่าจะรอดหรือไม่ ดังนั้นใครจะได้ทีมที่ปรึกษาที่ดีและปีนี้ราคาจะดีเพราะปริมาณมีน้อย จะเป็นแรงจูงใจให้มี การเลี้ยงเพิ่มขึ้น แต่อยู่ที่ว่า ใครจะทำได้สำเร็จ นั่นก็คือ รวย......รวย......รวย บก.


วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ วัตถุประสงค์

Contents

1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

Thailand Focus โซนนิ่ง พื้นที่เกษตร ภารกิจเข็นครกขึ้นภูเขา ประเด็นเชื่อมโยง Zoning คุมเข้มค้ามนุษย์ หวั่นกระทบส่งออกไปสหรัฐฯ

Vol.

149 มีนาคม เมษายน 2556

Around the World 5 7 12

Food Feed Fuel เกษตรฯ-พาณิชย์ ตั้งกองทุนปศุสัตว์ กรมประมงคิ้กอ๊อฟโปรแกรมทำประมงถูกกฎหมายฯ (Non-IUU)* "ซีพีเอฟ กัลกัตตา" โบจานา-คามารา-คัดยา สรุปผลการสัมมนา 7th Asia Grain Transportation Conference "Gaining the Competitive Edge in Agribusiness" รายงานการสำรวจปลาป่น ครั้งที่ 2/2556

ปีที่ 30

ธุรกิจเกษตรและเกษตรแปรรูป... โอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในกัมพูชา ลุยค้าเสรี สหรัฐฯ-ยุโรป ฟื้นศก.-สุมหัวสกัดพญามังกร

71 74

Statistics 14 16 20 22 27

ข้อมูลนำเข้ากุ้ง 2 ตลาดใหญ่ ส่งออกกุ้งไทย 3 เดือนแรก ปี 2556 สถานการณ์การผลิตและการส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์

77 78 78

Thank You ขอบคุณ

80

Market Movement สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรเดือนกุมภาพันธ์ และแนวโน้มเดือนมีนาคม 2556 พยากรณ์สินค้าเกษตร ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2556 ทำอย่างไรการเลี้ยงกุ้งจึงจะยั่งยืน ไทยยังครองแชมป์ทูน่าโลก

50 61 64 68

 ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย  ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร  รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก

ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร  นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์  บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ  กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข  นายณัฐพล มีวิเศษณ์  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 www.thaifeedmill.com  พิมพ์ที่ : ธัญวรรณการพิมพ์ 800/138 หมู่บ้านริเวอร์ปาร์ค ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร. 0-2536-5311, 0-2990-1568 โทรสาร 0-2990-1568




Thailand Focus

โซนนิ่งพื้นที่เกษตร

ภารกิจเข็นครกขึ้นภูเขา

รัฐบาลกำลังจะออกแบบโมเดลในการบริหารจัดการสินค้าเกษตรใหม่ ภายใต้โครงการ จัดทำโซนนิ่งพื้นที่การเกษตร โดยคาดหวังว่าจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาภาคเกษตรอย่างเบ็ดเสร็จ ท่ามกลางความหลากหลายของภาคเกษตรไทยที่ซับซ้อนในทุกมิติ ที่ผ่านมา รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เริ่มโครงการด้วยการจัดทำฐานข้อมูล พื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจ และออกประกาศพื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืช 6 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปาล์มน้ำมัน และจากนี้จะต้อง นำข้อมูลไปเชื่อมโยงกับข้อมูลด้านการตลาดของกระทรวงพาณิชย์ และการจัดระบบโลจิสติกส์ โดยกระทรวงคมนาคมจะตามเข้ามา ซึ่งต้องติดตามดูว่ารัฐบาลจะสานต่อให้เกิดเป็นจริงได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการและเกษตรกร ซึ่งล้วนเห็นด้วยกับการจัดทำโซนนิ่ง ต่างมี ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ จารึก สิงหปรีชา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้อำนวยการ ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า เป็นนโยบายที่ดีหากว่ารัฐบาลทำได้จริง เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีการทำมาแล้ว แต่ไม่สำเร็จ เพราะกระทรวงเกษตรฯ ทำโดยลำพัง ที่สำคัญคือเรื่องตลาดที่รัฐบาลต้องวางให้ชัดเจนว่าแต่ละปีตลาดต้องการสินค้าเกษตรอะไร ปริมาณเท่าไหร่ แบ่งเป็นการบริโภคในประเทศ และการส่งออกในสัดส่วนเท่าไหร่ จะเชื่อมโยง เกษตรกรกับภาคเอกชนอย่างไรเพื่อให้เป็นคู่ผลิต คู่ค้าระหว่างกันโดยรัฐบาลทำหน้าที่พี่เลี้ยง นอกจากนี้ มาตรการจูงใจต้องชัดเจน การดูแลช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่โซนนิ่งกับพื้นที่ นอกโซนนิง่ ต้องแตกต่างกัน โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือเมือ่ ราคาสินค้าตกต่ำ หรือเกิดภัยพิบตั ขิ นึ้ ที่ต้องไม่เหมือนกัน เสรี เด่นวรลักษณ์ นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลัง เห็นด้วยกับนโยบายโซนนิง่ พืน้ ทีเ่ กษตร แต่ประเด็นสำคัญคือ รัฐบาลจะมีรปู แบบการทำงานอย่างไรทีจ่ ะทำให้การโซนนิง่ ทำได้จริงและเกิด ผลสูงสุด เพราะฉะนัน้ โครงการนีต้ อ้ งมีแผนปฏิบตั ทิ ชี่ ดั เจนและทำได้จริง ซึง่ จะทำให้ธรุ กิจ และการ วางแผนการตลาดของเอกชนทำได้สะดวกขึ้น ลดต้นทุนการขนส่งจากไร่สู่โรงงาน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

5


อุปสรรคสำคัญอีกประการคือ การที่เกษตรกรไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ซึ่งสมาคมฯ ได้ พยายามทำเรื่องนี้มาเกือบ 20 ปี แต่ไม่สำเร็จ เพราะเมื่อราคาสินค้าแกว่ง เกษตรกรก็จะไม่ขาย ให้กับโรงงานตามข้อตกลงเดิม ลือชา อุน่ ยวง นายกสมาคมชาวสวนปาล์ม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า หากรัฐบาลทำได้จริง จะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเกษตรกร เพราะจะทำให้ผลผลิตได้คุณภาพตามที่ต้องการและลดการ สูญเสียต้นทุนค่าขนส่ง แต่การทำโซนนิ่ง รัฐบาลต้องมีมาตรการดูแลเกษตรกรในเขตส่งเสริมที่ แตกต่างจากเกษตรกรนอกเขตด้วย โดยเสนอให้รฐั บาลใช้ประเทศมาเลเซียเป็นต้นแบบ เพราะมีการ โซนนิง่ พืน้ ทีป่ ลูกปาล์มทีช่ ดั เจน โดยรัฐบาลมาเลเซียจะกำหนดว่า หากเอกชนจะตัง้ โรงงานแปรรูป ขนาดกำลังการผลิต 45 ตันต่อชั่วโมง จะต้องมีพื้นที่สวนปาล์มประมาณ 4 หมื่นไร่ และให้รับซื้อ ปาล์มในพื้นที่เท่านั้น ต่างจากประเทศไทยที่ตั้งโรงงานโดยไม่ดูปริมาณผลผลิตในพื้นที่ ทำให้หลายโรงงานใกล้จะ ปิดตัวเพราะไม่มีวัตถุดิบเต็มศักยภาพการผลิต เช่น จ.สุราษฎร์ธานี มีถึง 18 โรงงาน หรือใน บางกรณีที่ผลผลิตขาดตลาด กลับทำให้ต้องแย่งกันซื้อผลปาล์ม โรงงานบางแห่งในจังหวัดอื่น ยอมซื้อแพงแถมบวกเงินค่าขนส่งให้ด้วย แต่ในประเทศมาเลเซียจะไม่ยอมให้เกิดเช่นนั้น เพราะ เห็นว่าเป็นการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพียงเพื่อไปซื้อสินค้าเกษตรที่ราคาเท่าเดิม เป็นต้น

6

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


Thailand Focus

ประเด็นเชื่อมโยง Zoning 1. มติคณะรัฐมนตรีเชื่อมโยง zoning วันที่ มติคณะรัฐมนตรี 20 มี.ค. 55 มอบกระทรวงฯ ศึกษาสินค้าเกษตรเป็นรายสินค้า นำความต้องการซื้อสินค้ามากำหนดส่งเสริม การปลูกพืชชนิดต่างๆ รวมทั้งการจับคู่สินค้าเกษตรกับโรงงานอุตสาหกรรม 2 เม.ย. 55 มอบกระทรวงฯ ร่างแผนแม่บทป้องกัน และแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตร เตรียมเข้าสู่ AEC 1 พ.ค. 55 มอบกระทรวงฯ ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพ และคุณค่าสินค้าเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร 20 พ.ค. 55 นายกรัฐมนตรีเสนอการแก้ไขปัญหาพืชเกษตรราคาตกต่ำ ดังนี้ 1. ปลูกพืชผลไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ มีคุณภาพดี มีต้นกำเนิดและเพาะปลูกได้ดีในแต่ละพื้นที่ 2. กำหนดพื้นที่ (Zoning) สำหรับปลูกพืชดังกล่าวให้เหมาะสม และประยุกต์กับสินค้าเกษตร อื่นๆ ต่อไป 3. มอบกระทรวงฯ ศึกษาแนวทางการคำนวณราคาต้นทุน และจำหน่ายสินค้าให้เป็นระบบ เหมาะสม และเป็นธรรม จากต้นทางถึงปลายทางสู่ผู้บริโภค (เนื่องจากต้นทางถูก ปลายทาง แพง)

2. หลักการ แนวทาง และการบริหารเขตเกษตรเศรษฐกิจ ตามมติคณะกรรมการ นโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรฯ 1. ด้านหลักการ การ Zoning แบ่งเป็น 3 เรื่อง 1) Zoning เพื่อการส่งเสริม 2) Zoning เพื่อป้องกันไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และการควบคุมโรค 3) Zoning เพื่อ matching demand/supply 2. ด้านแนวทาง เพื่อกำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับสินค้าเกษตร 2.1 Zoning เพื่อการส่งเสริม คือ การกำหนดพื้นที่ผลิตให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต ลดต้นทุน ลดความเสี่ยง และได้สินค้ามีคุณภาพ หน่วยงานรับผิดชอบ กรมการข้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กลุ่มจังหวัด 2.2 Zoning เพื่อการป้องกัน ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความเชื่อมั่น ในมาตรฐานสินค้า คือ การกำหนดพื้นที่เหมาะสมทั้งกายภาพ และทางเศรษฐกิจ เป็นเขต ป้องกันโรคระบาดเข้มงวด หรือสร้างระบบการบริหารจัดการให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐาน

หน่วยงานรับผิดชอบ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กลุ่มจังหวัด ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

7


2.3 Zoning เพือ่ การ Matching Demand and Supply เชือ่ มโยงการผลิต-การแปรรูป คือ การกำหนดโรงงานแปรรูป และเครือข่ายเกษตรกร รวมทั้งพันธะสัญญาระหว่างผู้ผลิตและ โรงงาน

หน่วยงานรับผิดชอบ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กลุ่มจังหวัด

3. ด้านการบริหารจัดการ ให้มกี ารตัง้ คณะทำงานเพือ่ รับผิดชอบแต่ละโครงการ/สินค้า

โดยมีผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน (รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบาย และแผนพัฒนาการเกษตร และสหกรณ์ ครั้งที่ 3/2555 วันที่ 24 สิงหาคม 2555)

3. อนุกรรมการบริหารการผลิตรายกลุ่มสินค้า 11 คณะ อนุกรรมการ 1. กลุ่มสินค้าข้าว 2. กลุ่มอ้อย สับปะรด พืชไร่ 3. กลุ่มมันสำปะหลัง ปาล์ม 4. กลุ่มประมง 5. กลุ่มปศุสัตว์ 6. กลุ่มยางพารา 7. กลุ่มผลไม้ 8. กลุ่มลำใย 9. กลุ่มกล้วยไม้ ไม้ดอก 10. กลุ่มพืชหัว 11. กลุ่มพืชผัก

เจ้าภาพหลัก กรมการข้าว กรมส่งเสริมฯ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร

4. หน้าที่อนุกรรมการฯ หน้าที่อนุกรรมการ 1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อม แนวโน้ม ดุลยภาพสินค้าเกษตร คำนึงถึงดุลยภาพการผลิต แปรรูป การตลาดของกลุม่ สินค้า และกำหนดกลยุทธ์ดำเนินการรับรอง เพือ่ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์ของกลุ่มสินค้าเกษตรแต่ละชนิด รวมถึงการศึกษาความต้องการซื้อสินค้าและ นำมากำหนดนโยบายส่งเสริมการผลิตและระบายวัตถุดิบทางการเกษตรกรณีสินค้าล้นตลาด รวมทั้งรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ เกี่ยวกับกลุ่มสินค้านั้น 2. จัดทำยุทธศาสตร์การลงทุนในสินค้าเกษตรหลักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และ/ หรือ มีมูลค่าส่งออกสูง อาทิ ข้าว อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ลำไย กล้วยไม้ กุ้ง

8

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556




ไก่ สุกร โคนม ฯลฯ ให้มีข้อมูลชัดเจนในประเด็นต่างๆ ได้แก่ จำนวนพื้นที่ผลิต จำนวนเกษตรกร พื้นที่ที่มีการผลิตมาก มูลค่า การเพิ่ม หรือลดปริมาณการผลิต การเพิ่มการใช้ในประเทศ โดยพิจารณาตลอดห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และ logistic 3. จัดทำรายละเอียดโครงการ มาตรการดำเนินงาน ขับเคลื่อนเขตเกษตรเศรษฐกิจ เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรของกลุ่มจังหวัด เพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการเขตเกษตร เศรษฐกิจภายใต้คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการ นโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ต่อไป 4. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์และ คณะอนุกรรมการเขตเกษตรเศรษฐกิจภายใต้คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร และสหกรณ์มอบหมาย 5. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการเขตเกษตรเศรษฐกิจภายใต้คณะกรรมการ นโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการ เกษตรและสหกรณ์ทราบเป็นระยะ 6. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานได้ตามที่เห็นสมควร

5.รายชื่ออนุกรรมการบริหารการผลิตกลุ่มสินค้าปศุสัตว์ อนุกรรมการ 1. ประธาน 2. รองฯ 3. อนุกรรมการ 4. อนุกรรมการ 5. อนุกรรมการ 6. อนุกรรมการ 7. อนุกรรมการ 8. อนุกรรมการ 9. อนุกรรมการ 10. อนุกรรมการ 11. อนุกรรมการ 12. อนุกรรมการ 13. เลขานุการ 14. ผู้ช่วยเลขาฯ 1 15. ผู้ช่วยเลขาฯ 2 16. ผู้ช่วยเลขาฯ 3

ชื่อ นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล นายนิรันดร เอื้องตระกูลสุข นางนันทิยา อุ่นประเสริฐ

ตำแหน่ง/หน่วยงาน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กลุ่มภารกิจด้านการผลิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำกับดูแลกรมปศุสัตว์ รองผู้อำนวยการ มกอช. รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายสุชาติ จริยเลิศศักดิ์ รอง ผอ. อสค. นายสมชาติ สร้อยทอง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ดร. กนก คติการ ที่ปรึกษา รมว. กระทรวงฯ น.สพ. บุญเพ็ง สันติวัฒนธรรม นายกสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก นางอรวรรณ แก้วประกายแสงกุล รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นพ. อนันต์ ศิริมงคลเกษม นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย นายวีระพงษ์ ปัญจวัฒนกุล นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ นายสุรชัย ศิริมัย ประธานชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมและแปรรูปผลิตภัณฑ์นม นายอภัย สิทธิสังข์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายเชาวฤทธิ์ บุญมาฑิต ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ดร. ธำรงศักดิ์ พลบำรุง ผู้แทนกรมปศุสัตว์ นางสาวพูนศรี ทัดจำนงค์ ผู้แทน สศก. ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

9


6. คณะกรรมการกำหนดเขตเศรษฐกิจเกษตรเพื่อการลงทุนด้านปศุสัตว์ 6.1 คำสั่งกรมปศุสัตว์ที่ 57/2556 ลงวันที่ 17 มกราคม 2556 แต่งตั้งคณะกรรมการ กำหนดเขตเศรษฐกิจเกษตรเพื่อการลงทุนด้านปศุสัตว์ รอธ. อภัย สุทธิสังข์ ผอ. สอส. ผอ. สำนัก/กอง เลขาฯ กรรมการยุทธศาสตร์รายชนิดสัตว์ ดร. ธำรงศักดิ์ พลบำรุง

ประธาน รองประธาน กรรมการ กรรมการ เลขานุการ

6.2 หน้าที่คณะกรรมการกำหนดเขตเศรษฐกิจเกษตรเพื่อการลงทุนด้านปศุสัตว์ 1. กำหนดเขตพื้นที่การผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่มีความเหมาะสมทั้งทางกายภาพ และทาง เศรษฐกิจ ที่จะเป็นเขตควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มงวด หรือเป็นเขตการผลิตที่สามารถสร้าง ระบบบริหารจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน 2. วิเคราะห์ปญ ั หา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนารายชนิดสัตว์ พร้อมจัดทำรายละเอียด โครงการ/กิจกรรม และมาตรการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการกำหนดเขตการผลิตสินค้า เกษตรมาตรฐานด้านปศุสัตว์ เสนออธิบดีกรมปศุสัตว์ บรรจุในแผนปฏิบัติราชการกรมปศุสัตว์ 3. ติดตาม เร่งรัด หน่วยงานในกรมปศุสตว์ทเี่ กีย่ วข้อง ให้มกี ารดำเนินงานตามโครงการ กำหนดเขตการผลิตสินค้าเกษตรมาตรฐานด้านปศุสัตว์ 4. มีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการด้านต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น 5. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

7. กรมปศุสัตว์มอบหมายผู้บริหารรับผิดชอบรายชนิดสัตว์ 7.1 กรมปศุสัตว์มอบหมายผู้บริหารรับผิดชอบรายชนิดสัตว์ ดังนี้ ชนิดสัตว์ 1. โคนม

2. โคเนื้อ

10

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

ผู้บริหาร/รับผิดชอบ รอธ. อยุทธ์ หรินทรานนท์ นายสินชัย เรืองไพบูลย์ นางจุรีรัตน์ แสนโภชน์ รอธ. ธนิตย์ เอนกวิทย์ นายสว่าง อังกุโร ดร. ธำรงศักดิ์ พลบำรุง


ชนิดสัตว์ 3. สุกร

4. ไก่เนื้อ

5. ไก่ไข่

6. กระบือ

7. แพะ แกะ

ผู้บริหาร/รับผิดชอบ รอธ. อภัย สุทธิสังข์ นายประวัติ รัตนภุมมะ นายชุมพล บุญรอด รอธ. วิมลพร ธิติศักดิ์ นายเอกภพ ทองสวัสดิวงศ์ นางสาวบุญยัง สรวงท่าไม้ รอธ. วิมลพร ธิติศักดิ์ นายเอกภพ ทองสวัสดิวงศ์ นางวิภาวรรณ ปาณะพล รอธ. ธนิตย์ เอนกวิทย์ นายกิตติ กุบแก้ว ดร. ธำรงศักดิ์ พลบำรุง รอธ. ธนิตย์ เอนกวิทย์ นายประยูร ครองยุติ นายณัฐชัย วรสุทธิ์

8. ภารกิจที่กระทรวงฯ มอบหมาย (รองฯ นิวัติ) 8.1 ศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์การผลิตสัตว์ และรายงานรายไตรมาส ประเด็นการวิเคราะห์ รายงานสถานการณ์การผลิตสัตว์รายชนิด 5 ชนิด ในประเด็น 1. จำนวนสัตว์ 2. พื้นที่ผลิต (จำนวนสัตว์แยกตามพื้นที่) 3. จำนวนเกษตรกร 4. ผลผลิตสัตว์ (ชนิด ปริมาณ มูลค่า) 5. คุณภาพผลผลิต 6. สภาวะราคา 7. ต้นทุนการผลิต 8. รายได้เกษตรกร 9. ความต้องการบริโภคในประเทศ 10. ความต้องการเพื่อการส่งออก 11. ข้อควรระวัง/ข้อเสนอแนะ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

11


Thailand Focus

คุมเข้มค้ามนุษย์

หวั่นกระทบส่งออกไปสหรัฐฯ รัฐบาล-เอกชน คุมเข้มค้ามนุษย์ หวั่น กระทบส่งออกไทยไปสหรัฐฯ ความกั ง วลของอุ ต สาหกรรมประมง ของไทย โดยเฉพาะกุ้งและผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก ไปสหรัฐฯ ภายหลังกระทรวงการต่างประเทศ ของสหรัฐฯ จัดให้ประเทศไทยอยู่ในสถานะเฝ้า ระวัง (Tier 2 Watch List) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน จากรายงานการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับ สถานการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อภาพ ลักษณ์ของประเทศ และสินค้าประมงของไทย เป็นอย่างมาก หากประเทศไทยถูกลดระดับลง เป็น Tier 3 ซึง่ เป็นระดับทีบ่ ง่ บอกว่าประเทศไทย ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำด้านแรงงาน และสิทธิมนุษยชน ส่งผลให้สหรัฐระงับความ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และอาจระงับการ นำเข้าสินค้าของไทยในที่สุด กรมการค้ า ต่ า งประเทศในฐานะเป็ น หน่วยงานกำกับดูแลเรื่องอุปสรรคทางการค้า ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง ใกล้ชดิ เพือ่ แก้ไขปัญหาดังกล่าว จากการดำเนิน การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของ ไทย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการจับกุม คดี ก ารค้ า มนุ ษ ย์ โดยเฉพาะการกระทำผิ ด ด้านแรงงาน ตั้งแต่ปี 2552-2555 เฉลี่ยปีละ ประมาณ 20,000 ราย ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

12

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

"จังหวัดสมุทรสาคร" ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้ง โรงงานอุ ต สาหกรรมแปรรู ป สิ น ค้ า ประมงที่ สำคัญของไทย พบว่าในจังหวัดมีแรงงานต่างชาติจากประเทศเพือ่ นบ้านประมาณ 400,000 ราย จำนวนนี้มีแรงงานประมาณ 340,000 ราย ต่อปีที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ เพื่อขึ้น ทะเบียนให้ถกู ต้องตามกฎหมาย โดยกว่า 90% เป็นแรงงานสัญชาติพม่า ที่เหลือเป็นลาว และ กัมพูชา และสมาชิกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง ไทย ที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้ากุ้งที่โรงงาน ตัง้ อยูใ่ นจังหวัดสมุทรสาครมีจำนวนกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนโรงงานทัง้ หมดในจังหวัดสมุทรสาคร ดังนัน้ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้ พยายามสร้างความตระหนักให้แก่สมาชิก โดย เพิ่มการตรวจสอบด้านบริหารจัดการที่ดีด้าน แรงงานเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจการ ใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ รวมถึ ง การปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายแรงงานไทย อย่างเคร่งครัด เพือ่ ไม่ให้การส่งออกกุง้ ไทยเผชิญ กับภาวะวิกฤตทั้งเรื่องความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ทตี่ ดิ ลบในสายตาลูกค้าทีอ่ าจส่งผลไปถึง การเลิกสั่งซื้อสินค้ากุ้งจากประเทศไทย ถึงแม้ สินค้ากุ้งไทยจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพ มาตรฐานสินค้าที่ดีและมีความสม่ำเสมอเมื่อ เทียบกับคู่แข่งขันก็ตาม


"การดำเนินคดีกบั ผูเ้ สียหายและผูต้ อ้ งหา จากการกระทำความผิดด้านการค้ามนุษย์ มี แนวโน้ ม ลดลง เพราะผู้ เ สี ย หายไม่ ใ ห้ ค วาม ร่วมมือในฐานะพยาน และไม่ยอมให้ขอ้ เท็จจริง ตลอดจนกล่าวโทษผู้กระทำผิด แม้ว่าผู้เสียหาย จะอยู่ในปัจจัยแวดล้อมและพฤติการณ์เข้าข่าย ของการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและสตรี ที่ คาดว่าจะเป็นผูเ้ สียหาย มักไม่ให้ขอ้ มูลทีแ่ ท้จริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน แต่กลับให้ ข้อมูลในทางตรงกันข้าม เพื่อปกป้องช่วยเหลือ บุคคลในครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงเป็นข้อ จำกัดในการคุ้มครองผู้เสียหาย รวมไปถึงการ พิสูจน์และยืนยันความผิดในขั้นตอนต่างๆ ของ กระบวนการยุติธรรม" ดังนัน้ ในคดีการค้ามนุษย์ หากผูเ้ สียหาย ไม่ให้ความร่วมมือ จะไม่มหี ลักฐานยืนยันความ ผิดได้ แตกต่างจากความผิดคดีอาชญากรรม ทั่วไป ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ ความช่วยเหลือและให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงกับผู้ที่ เกี่ยวข้อง ตลอดจนแรงงาน เพื่อให้ทุกคนมี ส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และให้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์กบั เจ้าหน้าที่ นอกจากนีท้ งั้ หน่วยงาน ภาครั ฐ และภาคเอกชนที่ เ กี่ ย วข้ อ งยั ง ได้ ใ ช้ มาตรการเข้ ม งวดในการช่ ว ยป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ มี ปัญหาเรื่องการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมี การดำเนินการเชิงรุกมากขึ้น อาทิ การจัด สถานศึกษาเพื่อให้ลูกหลานแรงงานต่างด้าว ได้เข้าเรียนในระบบที่กำหนด และมีศูนย์รับ แจ้งเหตุและระบบรับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับ เด็ก จากการทำงานในรูปแบบที่เลวร้าย ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ให้ความร่วมมือ กับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation: ILO) เพื่อ แก้ไขปัญหาการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย และ ใช้แนวทางปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) สำหรับใช้บนเรือ ประมงไทย ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง สถานประกอบการ แปรรูปกุง้ สัตว์นำ้ หรือล้ง และโรงงานแปรรูปกุง้ อาหารทะเล (ห้องเย็น) มีการติดตั้งระบบการ ติ ด ตามเรื อ ประมง (Vessel Monitoring System: VMS) การจัดทำแนวทางปฏิบัติการ ใช้แรงงานที่ดี (GLP) การจัดทำรายการงาน อันตรายสำหรับแรงงานเด็กในอุตสาหกรรมกุง้ อาหารทะเล จัดตัง้ ศูนย์ประสานแรงงานประมง รวมไปถึ ง การจั ด ทำจรรยาบรรณสำหรั บ ผู้ ประกอบการเรือประมงไทย (Code of Conduct) อีกด้วย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีความ พยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ การ ใช้ แ รงงานเด็ ก และแรงงานบั ง คั บ ซึ่ ง เป็ น อาชญากรรมข้ามชาติให้หมดไปจากประเทศ ไทยมาตลอด ไม่วา่ จะเป็นการเพิม่ ประสิทธิภาพ และความเข้มงวดของการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการพั ฒ นากระบวนการจั ด หางาน นอกระบบ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยต่อต้าน การค้ามนุษย์และมีความจริงใจในการยุติการ ค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กและแรงงานที่ผิด กฎหมาย เนือ่ งจากปัญหาดังกล่าวมีความสำคัญ และก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเรื่องความเชื่อมั่น และภาพลั ก ษณ์ ท างด้ า นลบในสายตานานา ประเทศ ซึ่งอาจส่งผลไปถึงการเลิกสั่งซื้อสินค้า กุ้งจากประเทศไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

13


Food Feed Fuel

เกษตรฯ-พาณิชย์

ตั้งกองทุนปศุสัตว์

สั่งศึกษาตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรภาคปศุสัตว์ ดึงรายได้ ภาษีนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งกากถั่วเหลือง ข้าวโพด ปลาป่น หวังช่วยลดภาระงบแทรกแซงของรัฐบาลช่วงราคาตกต่ำ ขจัดครหา บิดเบือนกลไกตลาดระยะยาว กรมปศุสัตว์รับหน้าเสื่อศึกษาข้อดีข้อเสีย ขณะที่ผู้ผลิตอาหารชี้แนวคิดดี แต่เชื่อการลดภาษีนำเข้า เป็น 0% ช่วยภาพรวมได้มากกว่า นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เปิ ด เผยว่ า รั ฐ บาลมี แ นวคิ ด ที่ จ ะนำภาษี น ำเข้ า วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่จัดเก็บได้ในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง ข้าวโพด หรือ ปลาป่น มาจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรภาคปศุสัตว์ในระยะยาว โดยไม่ต้องพึ่งโครงการ แทรกแซงของรั ฐ บาล ที่ อ าจบิ ด เบื อ นกลไกราคาตลาดและส่ ง ผลกระทบต่ อ ผู้ บ ริ โ ภค ล่ า สุ ด ได้ ม อบหมายให้ ก รมปศุ สั ต ว์ ท ำการศึ ก ษาข้ อ ดี - ข้ อ เสี ย และความเป็ น ไปได้ แ ล้ ว เบื้ อ งต้ น กระทรวงฯ ได้มีการหารือกับกรมการค้าภายในของกระทรวงพาณิชย์แล้ว ซึ่งกรมการค้าภายใน ก็เห็นด้วย เพราะเห็นว่าที่ผ่านมา เงินภาษีที่เก็บได้จากการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ไม่ได้นำมา ช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง ทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระงบประมาณในการแทรกแซงตลาด ในช่วงที่ผลผลิตราคาตกต่ำในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก คาดจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ "ในแต่ละปีที่ผ่านมาสินค้าปศุสัตว์ไม่ว่าจะเป็นสุกร ไก่เนื้อ หรือไก่ไข่ จะมีปัญหาด้านราคา ซึ่งรัฐบาลก็จะมีมาตรการการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าโดยการแทรกแซงตลาด ซึ่งมี 2 กรณี คือ กรณีสินค้าราคาตกต่ำ โดยการเพิ่มความ ต้องการของผูบ้ ริโภค ลดปริมาณสินค้าในตลาด และลดปริมาณการผลิต ส่วนกรณีสนิ ค้าราคาแพง โดยการควบคุมราคาขายปลีก และขอความร่วมมือผู้ผลิตในการตรึงราคาสินค้า" ขณะที่การแทรกแซงตลาดเพื่อแก้ไขด้านราคาสินค้าในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะดำเนิน ผ่านคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) โดยใช้เงินจากกองทุนรวม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการแทรกแซงตลาดโดยจัดสรรเงินกู้ ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

14

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


ปลอดดอกเบี้ยให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ อาทิ โครงการเก็บสต๊อกเนื้อสุกร เนื้อไก่ และไข่ไก่ เข้าห้องเย็นช่วงราคาตกต่ำ โครงการขยาย ตลาด เพื่อรักษาระดับราคา โดยการรับซื้อ สินค้าที่ราคาตกต่ำมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดย ตรง การปลดแม่ไก่ไข่กอ่ นกำหนด และสนับสนุน การส่งออก เป็นต้น ใช้งบประมาณแต่ละปี ไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท ด้ า นนายพรศิ ล ป์ พั ช ริ น ทร์ ต นะกุ ล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า การตั้ ง กองทุ น เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เกษตรกรเป็ น แนวคิดที่ดี แต่ผู้ผลิตอาหารสัตว์อยากให้ลด ภาษีนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ทุกประเภทเป็น 0% มากกว่า เพราะเห็นว่าจะเป็นการช่วยเหลือ เกษตรกรผู้ เ ลี้ ย งสั ต ว์ ไ ด้ ดี ที่ สุ ด โดยจะทำให้ วั ต ถุ ดิ บ และราคาอาหารสั ต ว์ ถู ก ลง ทำให้ เกษตรมี ต้ น ทุ น ที่ ต่ ำ ลง ที่ ผ่ า นมาสมาคมได้ พยายามเรียกร้องรัฐบาลผ่านกระทรวงพาณิชย์ ให้ลดภาษีนำเข้าวัตถุดบิ อาหารสัตว์ลงเป็น 0% มาโดยตลอด แต่รฐั บาลอ้างจะกระทบเกษตรกร ผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ในประเทศ ขณะที่สมาคม ผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว ค้านลดภาษี นำเข้ากากถัว่ เหลือง อ้างจะกระทบต่อระบบการ

ผลิตของโรงสกัด เนื่องจากรายได้ของโรงสกัด นั้น 60% มาจากการจำหน่ายกากถั่วเหลือง ขณะที่นายกวีวุฒิ เนื่องจำนงค์ นายก สมาคมส่งเสริมผูใ้ ช้วตั ถุดบิ อาหารสัตว์ กล่าวว่า ได้ทำหนังสือเลขที่ ส.ส.อ.003/2556 ลงวันที่ 16 มกราคม 2556 ถึงนายยุคล ลิม้ แหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอให้ทบทวนลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบ อาหารสัตว์อื่นๆ เหลือ 2% ให้เป็นนโยบาย เร่งด่วน 15 ชนิด อาทิ กากเมล็ดทานตะวัน ปั จ จุ บั น อั ต ราอากรภาษี น ำเข้ า 9% กาก คาโนลา กากเรปซีด ปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้า 5% รำข้าวสาลี ปัจจุบันอัตราภาษี 5% กาก ถั่วลิสง ปัจจุบันอัตราภาษี 9% และกากปาล์ม ปัจจุบันอัตราภาษี 9% เป็นต้น สาเหตุ ที่ เ สนอแนะให้ มี ก ารลดภาษี นั้ น เพราะเห็นว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆ เหล่านี้ สามารถใช้ทดแทนแหล่งโปรตีนที่ไม่มีการผลิต ในประเทศไทย หรื อ ผลิ ต ได้ ไ ม่ เ พี ย งพอต่ อ ความต้องการในบางช่วง ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อ ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรในประเทศ และ ช่วยลดภาระต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

15


Food Feed Fuel

กรมประมงคิ้กออฟ โปรแกรมทำประมงถูกกฎหมายฯ (Non-IUU)* เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2556 ณ ห้อง ประชุมพะยูน กรมประมง 5 หน่วยงานหลัก ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปลาเบญจพรรณ หรือ ปลาเป็ดเพื่อเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร สัตว์ ได้แก่ กรมประมง กรมปศุสตั ว์ สมาคม ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่น ไทย และสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้จัดแถลงข่าวในเรื่องการจัดทำระบบการ รับรองการใช้ปลาเป็ดสำหรับการผลิตอาหาร สัตว์นำ้ เพือ่ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออันดี ระหว่างภาครัฐและเอกชนในการที่จะช่วยกัน พัฒนา ส่งเสริม และผลักดันให้มีการรับรอง การใช้ปลาเป็ดที่ได้จากการทำประมงที่รับ

ที่มา: ข่าวกุ้ง ปีที่ 25 ฉบับที่ 297 เดือนเมษายน 2556

16

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

ผิดชอบ เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหาร สัตว์นำ้ เพือ่ สร้างความเชือ่ มัน่ ทางการค้ากับ ประเทศต่างๆ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ทดี่ ี ของสินค้าประมงไทย นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้ดำเนินการเพื่อสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีของผลผลิตสัตว์น้ำ ทั้งที่ได้จาก การจับจากธรรมชาติ และจากการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ โดยการสร้างระบบในการรับรองผล ผลิตสัตว์น้ำว่า ได้มาโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ สำหรับการประมงทะเล กรม ประมงได้พัฒนาระบบการรับรองแหล่งที่มา ของสัตว์น้ำ และวิธีการทำประมงเพื่อรับรอง สั ต ว์ น้ ำ สำหรั บ ใช้ เ ป็ น อาหารมาแล้ ว ตั้ ง แต่ ปี 2553 โดยให้ชาวประมงบันทึกข้อมูลในสมุด ปู ม เรื อ เพื่ อ ให้ ท างการตรวจสอบรั บ รอง ระบบการรับรองนี้ช่วยสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีแก่ผลผลิตประมงของไทย และลด อุ ป สรรคทางการค้ า ซึ่ ง ได้ ใ ห้ ค วาม สำคั ญ กั บ เรื่ อ งสิ่ ง แวดล้ อ ม อย่างมาก




อย่ า งไรก็ ต าม ขณะนี้ ภ าพลั ก ษณ์ ข อง ผลผลิตจากการเพาะเลีย้ งสัตว์นำ้ โดยเฉพาะกุง้ ก็ถกู นำไปเชือ่ มโยงกับการประมงทะเล เนือ่ งจาก อาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งมีส่วนผสมของปลาป่นที่ทำ มาจากปลาเป็ดจากการประมงไทย หากปลาเป็ด เหล่านี้ได้มาจากการทำประมงที่ไม่เป็นไปตาม แผนปฏิบตั กิ ารระหว่างประเทศ ว่าด้วยการขจัด การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไร้การควบคุม และรายงาน (Illegal, Unreported, Unregulate Fishing: IUU*) ก็จะถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็น ในการกีดกันทางการค้า ดังนั้น กรมประมง ได้รว่ มมือกับ 4 หน่วยงานข้างต้นในการพัฒนา ระบบการรับรองให้ครอบคลุมถึงการได้มา และ วิ ธี ก ารทำประมงสำหรั บ ปลาเป็ ด ที่ น ำมาทำ เป็นอาหารสัตว์ดว้ ย ซึง่ ใบรับรองนีจ้ ะถูกใช้เป็น หลักฐานตลอดสายการผลิต เพื่อให้ได้มาซึ่ง อาหารสัตว์น้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้าง ความมั่นใจกับผู้บริโภคกุ้งไทย และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของการเพาะเลี้ยงกุ้งไทยด้วย อธิบดีกรมประมงยังกล่าวอีกว่า นอกจาก มาตรการจัดทำระบบรับรองฯ ดังกล่าวแล้ว กรมประมงยั ง มี ม าตรการอื่ น ๆ ในการที่ จ ะ

อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรสั ต ว์ น้ ำ ฝั่ ง อ่ า วไทย และ อันดามัน อาทิ  การปิดอ่าวไทยตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคม และปิดอ่าวฝั่ง อันดามัน ตัง้ แต่วนั ที่ 1 เมษายน-30 มิถนุ ายน ของทุกปี ซึง่ เป็นช่วงทีป่ ลากำลังวางไข่  การ วางปะการังเทียม ซึง่ ได้ดำเนินการไปแล้ว 472 แห่ง เพือ่ ฟืน้ ฟูทรัพยากรสัตว์นำ้ และเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน  การขยาย เขตอนุรักษ์ทรัพยากรประมงจากที่กฎหมาย กำหนดไว้อยูท่ ี่ 3,000 เมตร ตลอดแนวชายฝัง่ ออกไปเป็น 5,400 เมตร  การขยายตาอวน จากขนาดปกติที่ชาวประมงใช้อยู่ 2.5 เซนติเมตร และ  การบังคับใช้กฎหมายอย่าง เข้มงวดกับผู้ฝ่าฝืนจับสัตว์น้ำในช่วงฤดูกาลปิด อ่ า ว “เหล่ า นี้ เ ป็ น เพี ย งมาตรการที่ ท างกรม ประมงได้ดำเนินการควบคูก่ บั ความร่วมมือจาก หน่วยงานต่างๆ ที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องของ ทรัพยากรประมงทั้งระบบ เพราะฉะนั้นมั่นใจ ได้ว่า สิ่งที่เราได้ดำเนินการไปนี้คงจะส่งผล ถึงภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องของการประมงของ ประเทศไทย และส่งผลถึงภาพลักษณ์ที่ดีของ สินค้าประมงไทย ซึง่ ยอดส่งออกปีหนึง่ ไม่ตำ่ กว่า ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

17


จากซ้าย: นายกมลศักดิ์ เลิศไพบูลย์ เลขาธิการ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย, นายสงวนศักดิ์ อัครวรินทร์ชัย นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย, นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง, สพ.ญ.ดร. วิมลพร ธิติศักดิ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์, นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ในงานแถลงข่าวการจัดทำระบบรับรอง การใช้ปลาเป็ดฯ ณ กรมประมง

2 แสนกว่าล้านบาท ... ผูบ้ ริโภคในต่างประเทศ จะเกิดความมัน่ ใจว่า สัตว์นำ้ ทีเ่ ขาบริโภคมาจาก การทำประมงที่เราร่วมรับผิดชอบกันทุกภาค ส่วน” อธิบดีกรมประมงกล่าว ด้ า น สพ.ญ.ดร. วิ ม ลพร ธิ ติ ศั ก ดิ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า ในฐานะที่ดูแล โรงงานปลาป่น ระบบการรับรองฯ ถือเป็น อีกหนึ่งกระบวนการที่จะช่วยพัฒนามาตรฐาน การผลิตปลาป่น อีกทั้ง การบูรณาการร่วมกัน ในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะได้มาช่วยกันส่งเสริมให้ผลผลิตปลาป่นของ ประเทศไทยมีความสมบูรณ์มากขึ้น ด้ า นนายพรศิ ล ป์ พั ช ริ น ทร์ ต นะกุ ล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า อาหารสัตว์ซงึ่ เป็นปัจจัยหลักของการเพาะเลีย้ ง สั ต ว์ น้ ำ ของไทยกำลั ง เป็ น ที่ จั บ ตามองของ หลายๆ ประเทศ ถึงที่มาของวัตถุดิบที่นำเข้าสู่ กระบวนการผลิต โดยขณะนี้มีแนวโน้มว่าจะมี การกำหนดมาตรการต่างๆ ออกมาบังคับใช้ ซึง่ แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต ผลผลิตสัตว์นำ้ อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ ดังนัน้ การ ปรับตัวเพือ่ รับมือกับสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ จึงเป็นเรือ่ งที่

18

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

ต้องเร่งดำเนินการอย่างยิ่ง สำหรับแนวโน้ม การใช้ปลาป่นเพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์น้ำ โดย เฉพาะกุ้ง ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ที่ ปริมาณผลผลิตกุ้งไทยเพิ่มขึ้น แต่อัตราการ ใช้ปลาป่นกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังแสดงใน ตารางที่ 1 สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ การผลิตสินค้ากุ้งของไทยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ด้ า นนายสงวนศั ก ดิ์ อั ค รวริ น ทร์ ชั ย นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย กล่าวว่า การ ผลิ ต ปลาป่ น ของไทยในปั จ จุ บั น ร้ อ ยละ 60 เป็นเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป อาหารทะเล และอีกร้อยละ 40 ได้จากการ จั บ จากธรรมชาติ ซึ่ ง ทั้ ง สองส่ ว นสามารถ ตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งวัตถุดิบได้ และ สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยยินดีให้ความร่วมมือ ในการดำเนินการอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้ มาตรฐานกระบวนการผลิตของไทยพัฒนาไป อีกระดับหนึ่ง ด้านนายกมลศักดิ์ เลิศไพบูลย์ เลขาธิการ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ชาวประมงทุ ก คนต้ อ งการที่ จ ะอยู่ ใ นระบบที่


ถูกต้อง และให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน อย่างเต็มที่ เพราะจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวประมงไทยต้องปรับตัว แต่เนื่องจาก จำนวนชาวประมงที่มีอยู่มากและมีความหลาก หลายก็อาจต้องใช้เวลาเพื่อสร้างความเข้าใจให้ กับทุกคน อธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับแผนการดำเนินงานต่อไป ทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องจะมีการจัดสัมมนาในพื้นที่รอบอ่าว ไทย จำนวน 6 จุด เพือ่ ชีแ้ จงทำความเข้าใจกับ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยตั้งเป้าไว้ว่า จะนำระบบ การรับรองวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารสัตว์น้ำ มาใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 นี้ นั บ เป็ น อี ก หนึ่ ง ความพยายามร่ ว มกั น ระหว่างภาครัฐและเอกชนไทย เพื่อยกระดับ มาตรฐานการผลิ ต อาหารสั ต ว์ น้ ำ แสดงให้ ประเทศคูค่ า้ เห็นว่า การผลิตอาหารสัตว์นำ้ ของ

ไทยดำเนินการด้วยวิธีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อันจะก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้าประมง และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่สำคัญจะช่วยลด อุ ป สรรคทางการค้ า โดยเฉพาะสิ น ค้ า กุ้ ง ไทย ซึ่งกำลังถูกสื่อต่างชาติหยิบยกเอาเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นประเด็นกีดกัน/ปฏิเสธไม่ยอมรับ สินค้ากุ้งจากไทยอยู่ในเวลานี้

ตารางที่ 1 การส่งออกกุ้งไทย และการใช้ปลาป่น ปี 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 ปลาป่น การผลิต 450 425 379 342 309 299 337 392 ส่งออก 1 1 1 25 5 9 6 19 นำเข้า 171 161 64 12 89 101 92 18 ใช้ภายในสุทธิ 520 585 442 329 393 391 423 391 ส่งออกกุ้ง 237 231 212 248 241 250 256 215 หมายเหตุ:

หน่วย: พันตัน

2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 392 11 5 385 237

424 19 10 415 241

415 26 4 393 283

372 69 4 307 311

355 328 337 333 49 8 9 55 4 1 2 1 310 321 330 279 357 359 399 428

IUU ตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรปให้ความหมายของการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (Illegal Unreported and Unregulated Fishing หรือ IUU Fishing) ไว้คือ Illegal Fishing เป็นกรณีทำการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศต่างๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบ และกฎหมายที่กำหนดขึ้น หรือฝ่าฝืนพันธกรณีระหว่างประเทศด้านการ ประมง รวมทั้งพันธกรณีตามความตกลงร่วมมือทางประมงในภูมิภาคด้วย, Unreported Fishing เป็นกรณีทำการประมง แล้วไม่ได้รายงาน หรือรายงานอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ต่อหน่วยงานที่ดูแลการประมง แห่งชาติ หรือองค์กรบริหารจัดการการประมงในภูมิภาคแล้วแต่กรณี, Unregulated Fishing เป็นกรณีทำการประมงในเขต พื้นที่ต่างๆ โดยเรือไม่ปรากฏสัญชาติ หรือเรือที่ไม่ได้ติดธงของประเทศ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรการที่กำหนดขึ้น รวมถึงการ ทำประมงในบริเวณสงวนที่มีการกำหนดมาตรการอนุรักษ์ไว้ (ที่มา: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) *Non-IUU มีความหมายตรงข้าม IUU ซึ่งหมายถึงการทำประมงแบบถูกกฎหมายฯ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

19


Food Feed Fuel

'ซีพีเอฟ กัลกัตตา' โบจานา-คามารา-คัดยา เมื่ อ จะพู ด ถึ ง ธุ ร กิ จ ไทยที่ เ ข้ า ไปประสบ ความสำเร็จในประเทศอินเดีย ก็คงต้องซูฮก เครื อ บริ ษั ท ซี พี ฯ ที่ ม องการณ์ ไ กลเข้ า ไปบุ ก ตลาดอาหารในแดนภารตะตัง้ แต่ปี 2540 เริม่ ด้ ว ยธุ ร กิ จ อาหารสั ต ว์ น้ ำ และเพาะเลี้ ย งกุ้ ง ที่ เมืองเจนไน จนทุกวันนี้ขยายไปตั้งโรงงานผลิต อาหารสัตว์บก เพาะฟักลูกไก่ และทำ contract farming เลี้ยงไก่เนื้อ ในอีก 6 รัฐทั่วอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นกรณาฏะ อานธรประเทศ มหาราษฎระ ปัญจาบ อุตระประเทศ และเบงกอล ตะวันตก สำหรับในภาคตะวันออกของอินเดียนั้น บริษัทซีพีเอฟฯ ไปตั้งรกรากอยู่ที่เมืองกัลกัตตา เมืองหลวงของรัฐ โดย "ซีพเี อฟ กัลกัตตา" เริม่ เข้าไปตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม 2555 ครอบคลุม รัฐเบงกอลตะวันตก พิหาร โอริสสา ฌาร์ขัณฑ์ สิกขิม และเจ็ดสาวน้อย (ซึง่ หมายถึง 7 รัฐทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ประกอบ ด้วย รัฐอัสสัม มิโซรัม มณีปุระ นากาแลนด์ อรุณาจัลประเทศ เมฆาลัย และตรีปุระ) เหตุที่ซีพีเอฟเลือกภูมิภาคนี้ เพราะเล็ง เห็นถึงศักยภาพการบริโภคเนื้อสัตว์ เนื่องจาก คนเบงกาลีรับประทานเนื้อสัตว์กันสูงถึง 85% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ทำให้สัดส่วน ในการบริโภคไก่และไข่ มีโอกาสเติบโตสูงกว่า ในภาคอื่ น ๆ ของอิ น เดี ย ที่ มี ช าวมั ง สวิ รั ติ อยู่หนาแน่น เช่น รัฐทางตะวันตกและทางใต้ ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

20

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

ปัจจุบันธุรกิจอาหารสัตว์บกของซีพีเอฟ กั ล กั ต ตา ยึ ด หลั ก การทำธุ ร กิ จ เช่ น เดี ย วกั บ บริษทั แม่ คือ Feed-Farm-Food หรือโบจานาคามารา-คัดยา ในภาษาเบงกาลีซึ่งเป็นภาษาที่ ใช้ในเมืองกัลกัตตานัน่ เอง โดยแบ่งโมเดลธุรกิจ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ Integration, Feed mill และ Breeder 1) Integration คือธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งด้านการผลิต การตลาดของไก่เนื้อ และ ไข่ไก่ 2) Feed mill คือการทำโรงงานอาหาร สัตว์ และ 3) Breeder คื อ การเลี้ ย งพ่ อ พั น ธุ์ แ ม่ พันธุ์ไก่เนื้อเพื่อผลิตลูกไก่ที่มีคุณภาพ เริม่ จากการทำโรงงานอาหารสัตว์ (Feed Mill) ที่ Bhanduwan District และซื้อที่ดิน ที่ Birbhum เพื่อทำฟาร์มพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่ (Breeder) ปัจจุบันธุรกิจอาหารสัตว์ก็กำลังไป ด้วยดี ด้านไก่เนื้อก็ได้รับการตอบรับที่ดีมาก จากลูกค้า เนื่องจากเป็นไก่เนื้อที่มีคุณภาพเป็น ที่ต้องการของตลาด ด้านไข่ไก่คุณภาพ ซีพีเอฟก็กำลังจะเริ่ม โครงการผลิตในปีนี้ด้วย เคล็ดลับความสำเร็จ อยู่ที่การนำรูปแบบธุรกิจที่ดีและประสบความ สำเร็จของประเทศไทยมาเป็นต้นแบบ และมี ทีมงานซีพีเอฟคนไทยเราเข้ามารับหน้าที่เป็น โค้ชให้กับชาวอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำ


ให้ ผู้ เ ลี้ ย งชาวอิ น เดี ย ปฏิ บั ติ ต ามวิ ธี ก ารแบบ ซีพีเอฟ หรือการทำ contract farming กับ เกษตรกรในพื้นที่ แม้ บ ริ ษั ท ต่ า งชาติ ส่ ว นใหญ่ จ ะขยาด การเข้าไปดำเนินธุรกิจในอินเดียเพราะปัญหา ด้านแรงงาน ทัง้ การประท้วง ทะเลาะวิวาทของ สหภาพแรงงานที่แข็งแกร่ง เช่น การประท้วง โรงงานก่อสร้างรถยนต์ Suzuki Maruti ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเสี ย หายอย่ า งมากถึ ง ขั้ น เผา โรงงาน แต่สำหรับ ซีพีเอฟ กัลกัตตา ไม่เป็นห่วง ปัญหานี้ เนื่องจากมีการประกาศใช้นโยบาย "3 Benefits" เช่นเดียวกับบริษัทแม่ นั่นคือ Country Benefit, Company Benefit และ Employee Benefit ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ประโยชน์ พนักงานอินเดียแฮปปีก้ นั ถ้วนหน้า บริษัทก็เดินหน้าไปได้ด้วยดี รัฐบาลอินเดียก็ได้ ประโยชน์จากการลงทุน สำหรับแผนงานในอนาคต ซีพีเอฟ กัลกัตตา ตัง้ เป้ายอดขายไว้ภายใน 5 ปี ทีป่ ระมาณ 8,000 ล้านรูปี (หรือกว่า 4,200 ล้านบาท) ข้ อ ได้ เ ปรี ย บที่ ส ำคั ญ ที่ ท ำให้ ซี พี เ อฟ กัลกัตตามัน่ ใจก็คอื คุณภาพของสินค้ามาตรฐาน ซีพีเอฟ ที่เข้มงวดตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ

ที่มีคุณภาพ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถ ตรวจสอบย้อนกลับได้ ซีพีเอฟมั่นใจ ลูกค้า หรือเกษตรกรที่ใช้สินค้าของซีพีเอฟจะมีต้นทุน การผลิตต่ำกว่าคู่แข่ง แผนธุ ร กิ จ ที่ ส ำคั ญ อี ก อย่ า งหนึ่ ง ของ ซี พี เ อฟ กั ล กั ตตา คื อการรุ ก ตลาดเนื้ อ สุ กร เพื่อผลิตเนื้อสุกรที่สะอาดและมีคุณภาพ ซึ่ง จะทำให้ ซี พี เ อฟเป็ น ธุ ร กิ จ รายแรกในอิ น เดี ย ที่จะเป็นผู้เลี้ยงสุกรเพื่อจำหน่าย แม้โครงการนีจ้ ะท้าทายกับความเชือ่ ด้าน การบริ โ ภคเนื้ อ สุ ก รของชาวอิ น เดี ย ที่ เ ชื่ อ ว่ า สุกรเป็นสัตว์ที่สกปรก แต่ซีพีเอฟพร้อมที่จะ สร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภคเห็นว่า ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสุกรมีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย ที่มีกระบวนการผลิตจากฟาร์มที่ทันสมัย จึง มั่นใจว่าจะเปิดตลาดเนื้อสุกรในอินเดียได้อย่าง แน่นอน เห็นความพยายามกับการดำเนินธุรกิจ อย่างเข้าใจในสภาพตลาดและแรงงานท้องถิ่น ของบริษัท ซีพีเอฟ กัลกัตตา แล้ว ทีม thaiindia.net ก็ชื่นใจ และอยากเห็นเอกชนไทย หันมาให้ความสำคัญกับตลาดอินเดีย หวังว่า อี ก หน่ อ ยเราคงได้ ยิ น วลี ภ าษาท้ อ งถิ่ น อย่ า ง โบจานา-คามารา-คัดยา กันมากขึ้นอีก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

21


Food Feed Fuel สรุปผลการสัมมนา 7 th Asia Grain Transportation Conference

“Gaining the Competitive Edge in Agribusiness” ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรม The Westin Resort Nusa Dua, Bali อินโดนีเซีย ผู้จัดงาน ได้แก่ (1) US Soybean Export Council (2) US Grains Council (3) USDA

1. สถานการณ์การเพาะปลูกถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวสาลีของโลก ถั่วเหลือง • การผลิ ต พื ช น้ ำ มั น ของโลกในปี 2013/2014 คาดว่ า จะอยู่ ที่ 491.34 ล้ า นตั น มากกว่าปี 2012 ที่อยู่ที่ 469.43 ล้านตัน โดยในปี 2013/2014 การผลิตในจีนจะลดลง และการผลิตในสหรัฐฯ อาร์เจนติน่า บราซิล อินเดีย จะเพิ่มขึ้น • ปี 2013 นี้ ผลผลิตถั่วเหลืองของโลกจะดีกว่าปีก่อนที่สหรัฐฯ เจอปัญหาภัยแล้ง โดย คาดการณ์ที่ 269 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 239 ล้านตันในปีก่อน โดยภูมิภาคที่มีความต้องการ กากถั่วเหลืองมากที่สุดได้แก่ เอเชีย 43% ซึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองถึง 5.7 ล้านตัน และกากถัว่ เหลือง 11.5 ล้านตันในปี 2011/2012 และคาดว่าจะยังคงนำเข้าในระดับทีส่ งู ต่อเนื่องคือ เมล็ดถั่วเหลือง 5.9 ล้านตัน และกากถั่วเหลือง 11.4 ล้านตันในปี 2012/2013

ที่มา: สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

22

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


• ความต้องการบริโภคโปรตีนในจีนเติบโตมาก เห็นได้จากการบริโภคกากถั่วเหลือง กาก เรฟซีด กากเมล็ดทานตะวัน โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองที่ต้องการเพิ่มขึ้นจาก 47.4 ล้านตัน ในปี 2011/2012 เป็น 50.8 ล้านตัน ในปี 2012/2013 • พื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรในสหรัฐอเมริกาจะขึ้นอยู่กับราคาถั่วเหลือง และข้าวโพด ความเสี่ยงการปลูกเทียบข้าวโพด ความต้องการกากถั่วเหลืองของภาคปศุสัตว์ รวมทั้งสภาวะ การเพาะปลูกของโซนอเมริกาใต้ด้วย โดยพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง (เทียบ 1 ตัน) ลดลงกว่า 35% ตัง้ แต่ปี 1980 นอกจากนี้ ความต้องการของถัว่ เหลือง ข้าวโพด ข้าวสาลี เพิม่ ขึน้ กว่า 145% 76% และ 21% ตามลำดับ ทำให้ 95% ของเกษตรกรในสหรัฐฯ ได้เข้าสู่โปรแกรม Sustain ของ USDA ที่มีชื่อว่า “USDA Conservation Program” เพื่อลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และ มุ่งสู่เป้าหมายที่ตรงตามความต้องการโลก

ข้าวโพด • ปี 2012 เป็นปีแรกที่สหรัฐฯ ส่งออกถั่วเหลืองน้อยกว่าข้าวโพด และบราซิลส่งออก ข้าวโพดมากกว่าสหรัฐฯ นอกจากนี้ เป็นปีที่การผลิตเอทานอลลดลงครั้งแรกเมื่อเทียบกับปีก่อน • ปี 2012/2013 สหรัฐฯ ผลิตข้าวโพดได้ 10,780 ล้านบุชเชล ลดลงจากปี 2011/ 2012 ซึง่ อยูท่ รี่ ะดับ 12,360 ล้านบุชเชล ขณะทีก่ ารส่งออกข้าวโพดในปี 2012/2013 น้อยกว่า ครึ่งของระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา และต่ำสุดในรอบ 41 ปี คือ 825 ล้านบุชเชล ขณะที่ในปี 2011/2012 อยูท่ รี่ ะดับ 1,543 ล้านบุชเชล ส่วนสินค้าข้าวโพดคงเหลือในปี 2012/2013 อยูใ่ น ระดับที่ตึงตัวมากคือ 632 ล้านบุชเชลเท่านั้น หรือคิดเป็นอัตราส่วนสินค้าคงเหลือเทียบการใช้ อยูท่ รี่ ะดับเพียง 5.6% เมือ่ เทียบกับปีกอ่ นที่ 7.9% ทัง้ นี้ ในปี 2013/2014 คาดการณ์วา่ ผลผลิต ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

23


ข้าวโพดจะอยู่ที่ระดับ 14,641 ล้านบุชเชล เป็นการกลับตัวอย่างรุนแรงจากสภาพอากาศที่เอื้อ อำนวย โดยการส่งออกของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นได้เป็น 1,500 ล้านบุชเชล ส่วนสินค้าคงเหลือ จะพลิกตัวกลับมาที่ระดับ 2,287 ล้านบุชเชล ทำให้อัตราส่วนสินค้าคงเหลือเทียบการใช้ จะอยู่ที่ ระดับ 17.6%

ข้าวสาลี • ปี 2012/2013 ผลผลิตข้าวสาลีของโลกอยูท่ ี่ 655 ล้านตัน ลดลงจากปี 2011/2012 ที่ 697 ล้านตัน เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสินค้าคงเหลือและการใช้ โดยเฉพาะการใช้ข้าวสาลี เกรดอาหารสัตว์ ซึง่ ลดลง 11 ล้านตัน หรือคิดเป็น 8% เมือ่ เทียบกับปีกอ่ น และคาดการณ์วา่ ในปี 2013/2014 ผลผลิตและการใช้ของโลกจะสูงสุด โดยยูเครน และรัสเซียมีผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 40% • ในปี 2012/2013 ประเทศที่มียอดส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2011/2012 ได้แก่ อินเดีย 6 ล้านตัน สหภาพยุโรป 4 ล้านตัน ยูเครน 2 ล้านตัน แคนาดา 1 ล้านตัน ส่วนประเทศที่มียอด ส่งออกลดลง ได้แก่ รัสเซีย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย คาซัคสถาน สหรัฐฯ ทัง้ นี้ ประเทศในแถบทะเลดำ และสหรัฐฯ ครองสัดส่วนตลาดส่งออก 20% เท่ากัน และอินเดียประมาณ 5% อย่างไรก็ดี คาดการณ์ว่าในปี 2013/2014 อินเดียจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านตัน • 6 ปีที่ผ่านมา อินเดียมีผลผลิตข้าวสาลีเพิ่มขึ้นตลอด แต่คาดการณ์ปีนี้จะลงเป็นปีแรก ส่วนสหรัฐฯ ประเมินว่าจะมีผลผลิตที่ 62 ล้านตัน ในปี 2012/2013 เพิม่ ขึน้ จาก 54 ล้านตันในปี 2011/2012 ส่วนการส่งออกในปี 2012/13 ตกต่ำสุดในรอบ 3 ปี คือ 28 ล้านตัน ลดลง จาก 29 ล้านตันในปี 2011/2012 และ 35 ล้านตันในปี 2010/2011 แต่การใช้ในการผลิต อาหารสัตว์เพิ่มขึ้นถึง 130%

24

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556




TOP 5 US Wheat Markets in Southeast Asia

• ประเทศคูค่ า้ รายใหญ่ของสหรัฐฯ โดยเฉลีย่ 5 ปีทผี่ า่ นมา 5 ใน 10 ลำดับแรกอยูใ่ นทวีป เอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น (1) ฟิลิปปินส์ (4) เกาหลี (6) ไต้หวัน (8) อินโดนีเซีย (10) ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่ในลำดับที่ 6 • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการใช้ข้าวสาลีสำหรับอาหารสัตว์ประมาณ 3.5 ล้านตันในปี 2011/2012 และ 2.5 ล้านตันในปี 2012/2013 โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ส่วนการใช้ในอาหารอยูท่ ปี่ ระมาณ 6-7 ล้านตัน ทัง้ นี้ ทุกประเทศมีการนำเข้าทัง้ หมด 16 ล้านตันในปี 2011/2012 และคาดว่าจะมีปริมาณนำเข้า 11 ล้านตันในปี 2012/2013 โดยนำเข้าจากออสเตรเลีย 6 ล้านตัน สหรัฐฯ 3 ล้านตัน แคนาดา 1 ล้านตัน ที่เหลือเป็นของ อินเดีย และประเทศอื่นๆ • ในปี 2012/2013 ประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการ นำเข้าข้าวสาลีรวมกันประมาณ 3.15 ล้านตัน ได้แก่ ฟิลิปปินส์ 59% ไทย 18% อินโดนีเซีย 14% เวียดนาม 4% มาเลเซีย 3% ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในปี 2020/2021 จะนำเข้าข้าวสาลี จากทุกประเทศรวมกันกว่า 15.1 ล้านตัน โดยเป็นของสหรัฐฯ 5 ล้านกว่าตัน

2. Procurement Strategies-Case Study on Co-loading, Combination Cargoes, and Buying Groups แต่ก่อนนั้น โรงงานอาหารสัตว์ขนาดกลาง มีความต้องการในการใช้กากถั่วเหลืองในระดับ 3,000-6,000 ตัน และมักจะถูกละเลยจากผู้ขาย ทำให้ซื้อของได้ยาก และได้ราคาไม่ดี จึงต้อง หาวิธีที่ยั่งยืนต่อโรงงานทุกๆ ราย ต่อมามีการรวมกลุ่มซื้อวัตถุดิบร่วมกัน ทำให้เกิดการประหยัด ค่าใช้จ่าย แบ่งปันประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากบริษัทใหญ่ โดยการรวมกลุ่ม ครั้งแรกเกิดขึ้นด้วยปริมาณ 23,000 ตัน และขณะนี้ ในบางเดือนสมาคมฯ มีการนำเข้าถึง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

25


เดือนละ 2 ลำเรือ ขนาด Panamax ซึ่งทำให้เกิดความแน่นอนและมั่นคงของวัตถุดิบในระยะ ข้างหน้า สามารถวางแผนในการผลิตได้ลว่ งหน้า และยังได้สนิ ค้าทีร่ าคาถูกด้วย Economy of Scale นอกจากนี้ยังได้รับข้อมูลข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผู้ขายนำเสนอมาตลอด แสดงให้เห็นถึง การมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าปริมาณปีละกว่า 1 ล้านตัน 5 ปีก่อน ไทยนำเข้ากากถั่วเหลือง 1.9 ล้านตัน โดย 4 กลุ่ม ได้แก่ 2 รายใหญ่ 60% เทรดเดอร์ 14-17% สมาคมฯ 7% อื่นๆ 20% ปีที่แล้ว มีการนำเข้า 2.2 ล้านตัน แบ่งเป็น 2 รายใหญ่ 40% สมาคมฯ 36% เทรดเดอร์ 17% อื่นๆ 6% ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องจาก โรงงานอาหารสัตว์ และอยู่ในกลุ่มอื่นๆ หันมาร่วมกับสมาคมฯ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ในการจัดตั้งกลุ่ม ผู้นำจะต้องมีความเสียสละ และแต่ละบริษัทสมาชิกสามารถ ออกเสียงในการตัดสินใจได้ 1 เสียง ไม่ว่าจะมีปริมาณนำเข้ามากน้อยเพียงไร โดยในตอนแรกนั้น มีปัญหาอยู่บ้าง เช่น รายละเอียดในสัญญาซื้อขาย ความยากลำบากในการหาฉันทามติ ซึ่ง บางรายเห็นว่าถูกแล้ว บางรายเห็นว่าแพงไป ทั้งนี้ ไทยมีพอร์ตหลักเพียงพอร์ตเดียวคือ เกาะสีชัง ถ้ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมก็ต้องแบกรับภาระดังกล่าวเองในแต่ละบริษัทสมาชิก เช่น การขนส่งจาก เกาะสีชังเข้าสู่โรงงาน เมือ่ 2 ปีกอ่ น สมาคมฯ เพิง่ เริม่ จัดตัง้ กลุม่ ร่วมกันซือ้ ข้าวสาลี ปีทแี่ ล้วเพิง่ เริม่ ซือ้ rapeseed ปีนี้จะเริ่มซื้อเมล็ดถั่วเหลือง อนึ่ง การร่วมกลุ่มซื้อต้องมีกฎเกณฑ์ชัดเจน หากรายใดไม่ปฏิบัติ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ อาจมีผลต่อการเข้าร่วมในคราวต่อไป รวมทั้งราคา premium ที่แต่ละบริษัท คาดการณ์ไว้ ควรนำเสนอผ่านบอร์ดบริหารล่วงหน้าเป็นช่วงราคา (range) เพื่อความสะดวก ในการตัดสินใจ

26

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


Food Feed Fuel

รายงานการสำรวจปลาป่น ครั้งที่ 2/2556 โดย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย วันที่ 22-26 เมษายน 2556

รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ 1. นางสุดารัตน์ ศรีมานะเจริญ 2. น.ส.สุพัตรา แตงเอี่ยม 3. น.ส.ญาณี มีจ่าย 4. น.ส.สิรินทร์ วงศ์กิจรุ่งเรือง 5. น.ส.ชาริณี สมบูรณ์ 6. น.ส.จุฬารัตน์ บัวเหลือง 7. น.ส.อังศุมาลี แก้วดิเรก 8. นายกอบชัย พรดุษฎีกุล 9. นายณัฐพล มีวิเศษณ์

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

จากความร่วมมือระหว่างสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ที่ได้ให้ความร่วมมือในการประสานกับสมาชิกของสมาคม ทำให้เกิดกิจกรรมการสำรวจผลผลิต ปลาป่น ครั้งที่ 2/2556 (ฝั่งอันดามัน) ระหว่างวันที่ 22-26 เมษายน 2556 ณ จังหวัดภูเก็ต พังงา และระนอง โดยในการเดินทางสำรวจครั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยได้หารือร่วมกับผู้บริหารของ โรงงานปลาป่นในประเด็นทีเ่ กีย่ วกับสถานการณ์การผลิตปลาป่น ปริมาณและแนวโน้มของวัตถุดบิ ปลาป่น รวมถึงประเด็นทางด้านราคา การบริหารจัดการ และปัจจัยการเติบโตในอนาคตของ อุตสาหกรรมปลาป่น ซึ่งปลาป่นถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการผลิตอาหารสัตว์บก และ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

27


สัตว์นำ้ ทีส่ มาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทยมองว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง จึงทำให้ความต้องการใน วัตถุดิบมีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย นอกเหนือจากประเด็นดังกล่าวข้างต้น สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยซึ่งได้มีความร่วมมือ กับกรมประมง สมาคมประมง สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ในการออกแบบฟอร์มการรับรอง ปลาป่นใหม่ในอนาคต เพื่อการสร้างความยั่งยืนด้านการประมง โดยคณะสำรวจได้นำประเด็น ดังกล่าวสอบถามเกี่ยวกับภาคการปฏิบัติจริงในการกรอกแบบฟอร์ม ซึ่งส่วนใหญ่โรงงานที่ได้รับ การรับรองคุณภาพทั้ง GMP และ HACCP สามารถดำเนินการได้ และจะเข้าร่วมการสัมมนา ที่จะมีการจัดขึ้นตามกำหนดการในภาคใต้ เพื่อเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในเวทีการสัมมนาต่อไป

บริษัท อุตสาหกรรมปลาป่นภูเก็ต จ.ภูเก็ต

ผู้ประสานงาน : คุณสุนทร (ผู้ช่วยผู้จัดการโรงงาน) 076-211-784

ภาพรวมของโรงงาน

- เปิดดำเนินการตัง้ แต่ปี 2540 โดยอุตสาหกรรมหลักเป็นการผลิตปลาป่นเพือ่ จำหน่ายทัง้ ใน และส่งออกต่างประเทศ

- โรงงานใช้ระบบการผลิตแบบ Steam Dried 2 ไลน์การผลิต แต่ละไลน์มีจำนวนหม้อต้ม อบ นึ่ง กวน และกระบวนการต่างๆจำนวน 12 หม้อ โดยมีกำลังการผลิตที่ 60 ตัน ปลาแห้ง/วัน และมีระบบ Hot Oil 2 ไลน์การผลิต แต่ได้หยุดการผลิตอย่างถาวร สามารถเดินเครื่องจักรได้ตลอด 24 ชั่วโมง 2 กะ ขึ้นอยู่กับปริมาณปลาสดที่เข้ามายัง โรงงานแต่ละวัน - โรงงานได้ผ่านการรับรองคุณภาพจาก GMP และ HACCP แล้วตั้งแต่ปี 2546

28

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


ผลผลิตจากโรงงาน

- เกือบทั้ง 100% เป็นปลาป่นเบอร์ 1 ความชื้นประมาณ 4-6% มีค่าโปรตีนระหว่าง 50-60% แต่ทางโรงงานไม่ทราบข้อมูลจำเพาะของคุณภาพปลาป่นอาทิ ความสด ค่าเกลือ ไขมัน เป็นต้น เนื่องจากได้ส่งแล็บนอกในการวิเคราะห์ซึ่งผลวิเคราะห์จะถูกส่งไปยัง ฝ่ายขาย และการตลาด

- อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ส่งไปยังโรงงานอาหารสัตว์มีการ Complain บ้างในเรื่องของค่า โปรตีนที่ต่ำไม่ผ่านตามกำหนดการรับซื้อ

- กระบวนการผลิตจะแยกประเภทของปลาหยาบๆ ก่อนเข้าสายการผลิต เพื่อคัดแยกเกรด ของโปรตีนในการผสมในภายหลัง

ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

- วัตถุดิบทั้งหมดมาจากฝั่งอันดามันทั้งที่เป็นอวนดำและอวนลากของแพปลาตัวเอง และ อวนลากจากลูกค้าประมาณ 20% จึงทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งซื้อวัตถุดิบ

- ปลาส่วนใหญ่ที่เข้ามายังโรงงานเป็นปลาเบญจพรรณ แต่มีปลาสลิดเยอะที่มาจากอวน ลาก - ราคารับซื้ออวนดำอยู่ที่ 8 บาทกว่า และอวนลากจะอยู่ระหว่าง 7-8 บาท

ปัญหาและอุปสรรค

- ช่วงทีม่ กี ารผลิตมากเป็นช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน โดยในช่วงหน้ามรสุม (หน้าลม) จะมีวัตถุดิบน้อยไม่พอต่อการเดินเครื่องจักรในบางวัน

- ปี 2556 นี้มีปริมาณปลาเท่าๆ กับปี 2555 แต่เมื่อเทียบกับ 5 ปีย้อนหลังจำนวนปลา ที่จับได้ลดลงกว่าครึ่ง ทำให้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับความยั่งยืนในสมาคมผู้ผลิตปลาป่น ที่มีการประชุมประจำปี

- ในส่วนของแบบฟอร์มใหม่ทกี่ รมประมงร่วมกับสมาคมต่างๆ ได้แจ้งมาให้ดเู บือ้ งต้น สามารถ กรอกเอกสารได้ตามที่ขอไว้ แต่อาจจะติดปัญหาเรื่องการให้ไต๋เรือกรอกข้อมูล เนื่องจาก ส่วนใหญ่จะไม่สามารถเขียนหนังสือได้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

29


บริษัท สินไพบูลย์ชัยปลาป่น จำกัด

ผู้ประสานงาน : คุณธีรวุฒิ (ผู้จัดการฝ่ายการผลิต) 081-891-5046 คุณดนัย (ฝ่ายขาย) 081-691-6026

ภาพรวมของโรงงาน

- โรงงานเปิดดำเนินการปี 2537 ใช้เครื่องจักรการผลิตระบบ Steam Dried จำนวน 2 ไลน์การผลิต (10 หม้อ) มีกำลังการผลิตประมาณ 30,000–50,000 กิโลกรัม ปลาสด/วัน อัตราการแปรสภาพ 4 : 1 - โรงงานได้รบั งบประมาณจากสมาคมผูผ้ ลิตปลาป่นไทยในการปรับปรุงคุณภาพของโรงงาน เพื่อเข้าสู่การรับรองคุณภาพจาก GMP และ HACCP - มีพนักงานจำนวน 40 คน เป็นคนไทย 4 คนและพม่า 36 คน

ผลผลิตจากโรงงาน

- ปลาป่นเกรดกุ้งประมาณ 20% มีค่าโปรตีน 65–67% ความชื้น 8–9.4% เป็นผลผลิต จากเรืออวนลาก โดยมีเรืออวนดำเข้ามาเสริมค่าโปรตีน - ปลาป่นเบอร์ 1 ประมาณ 80% มีค่าโปรตีน 63% ความชื้น 8-9.4% ซึ่งเป็นผลผลิต จากเรืออวนลาก - โดยเฉลีย่ จะมีผลผลิตปลาป่นออกจากโรงงานประมาณ 2 คันรถต่อวัน (15-16 ตัน/ วัน)

ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

30

- แหล่งวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากฝั่งอันดามัน เช่น ทับละมุ ภูเก็ต เป็นต้น ได้ปลาประเภท ปลาแป้น ปลาทูเล็ก ปลาสลิด - มีแพเรือของตัวเอง โดยจะมีเรืออวนลากจำนวน 12 คู่ ใช้เวลา 10 วันในการกลับเข้าแพ และ มีเรือลูกค้านอกมาส่งเป็นเรืออวนดำ - ราคาอวนลาก (สลิดเล็ก) 5 บาท ปลาแป้นปลาทู 7.50 บาท สลิดใหญ่ (อวนดำ) 8 บาท

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


ปัญหาและอุปสรรค

- 7 เดือนระหว่าง พ.ย.-พ.ค. จะมีปลาที่เป็นวัตถุดิบมาก แต่หลังจากช่วงนี้จะเข้าสู่มรสุม - ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นโรงงานอาหารสัตว์ในประเทศ - แนวโน้มวัตถุดบิ ในอนาคตอาจจะลดลงอีกกว่า 40% จึงต้องมีการหาปลานอกน่านน้ำไทย มากขึ้น - จากปลาป่นมีความชืน้ สูงระดับ 8% ขึน้ ไป ทางผูส้ ำรวจได้เสนอให้หาวิธลี ดความชืน้ ลง เพือ่ ให้โปรตีนเพิม่ ขึน้ แต่จะได้รายได้เพิม่ ขึน้ แต่นำ้ หนักก็จะหายไปบางส่วน ซึง่ ถ้ามีความชืน้ สูง จะเสี่ยงต่อการเก็บรักษาและการจัดเก็บในอนาคตได้ จึงขอให้ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต - สำหรับแบบฟอร์มใหม่ โรงงานยังไม่ได้เข้าสูร่ ะบบ GMP จึงยังไม่เคยมีการเก็บข้อมูลเกีย่ วกับ แหล่งที่มาของวัตถุดิบเลย ซึ่งหากได้รับ GMP แล้วคงจะมีความคล่องตัวและเก็บข้อมูล อย่างเป็นระบบมากขึ้น

บริษัท เซ้าเทิร์นมารีนเอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด จ.ภูเก็ต ผู้ประสานงาน : คุณวิลาสินี 076-216-592/213-318

ภาพรวมของโรงงาน - โรงงานมีกำลังการผลิตสูงสุดที่ 120,000 กิโลกรัมปลาสด/วัน โดยเป็นเครื่องจักร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

31


ประเภทระบบไอร้อน (steam dried) 1 สายการผลิต หม้อต้มใหญ่ 1 ลูก และมีหม้ออบ นึง่ โม่ กวนเย็น อีก 5 ลูกเล็ก ทัง้ นี้ ปริมาณปลาสดขัน้ ต่ำทีจ่ ะสามารถเดินเครือ่ งจักรการผลิต ได้คือ 5,000 กิโลกรัม - โรงงานได้ผ่านการรับรองคุณภาพจาก GMP และ HACCP แล้ว - มีคนงานทั้งหมด 20 คน ส่วนใหญ่เป็นพม่า ยกเว้นหัวหน้ากะกับผู้ช่วยเป็นคนไทย

ผลผลิตจากโรงงาน

- ปลาป่นเกรดกุง้ ประมาณ 5-10% และปลาป่นเบอร์ 1 อีกประมาณ 90-95% โดยเกรดกุง้ จะมีโปรตีนมากกว่า 65% ความสดไม่เกิน 100 ส่วนเบอร์ 1 จะมีโปรตีนระหว่าง 60-65% และมีค่าความสดไม่เกิน 130 ในส่วนของความชื้นทั้ง 2 เกรดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ 6-8% - อัตราการแปรสภาพจากปลาสดเป็นปลาป่น (4 : 1) ใช้สารกันความหืน (BHT) ตามคำสัง่ ของลูกค้า โดยปกติจะใช้อัตราส่วน 1 กก./1 ตัน

ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

- ได้ปลาสดจากแพของตัวเอง ซึง่ มีเรืออวนลาก 8 คู่ ลำละประมาณ 7-8 หมืน่ กิโลกรัมต่อครัง้ ประกอบกับเรืออวนดำจากลูกค้าขาประจำที่มาจาก จ.ระนอง - นอกจากนั้นจะมีบางส่วนที่นำเศษเหลือจากซูริมิมาใช้เป็นวัตถุดิบ แต่ไม่มากนัก

ปัญหาและอุปสรรค

- ช่วงที่มีวัตถุดิบเยอะอยู่ระหว่างปลายปี-ก่อนสงกรานต์ ซึ่งสามารถผลิตปลาป่น และมี รถบรรทุกออกไปส่งลูกค้าได้วันละ 1 คัน และช่วงที่มีผลผลิตน้อยจะมีการผลิต 2 วัน เดินเครือ่ งจักรครัง้ นึง โดยหากมีปลาทีไ่ ด้มาไม่พอต่อการเดินเครือ่ ง จะดองน้ำแข็งไว้กอ่ น เพื่อรอวัตถุดิบเพิ่ม

- ตัง้ แต่ตน้ ปี 2556 เป็นต้นมา พบว่า วัตถุดบิ ทีไ่ ด้รบั มาเมือ่ ผลิตเป็นปลาป่นแล้วมีคา่ TVB-N ค่อนข้างสูงที่ระดับ 150-160 ทั้งๆ ที่ปลาที่มาส่งโรงงานเป็นชนิดเดิม ตั้งข้อสังเกตว่า เรือประมงอาจจะลดต้นทุนเรื่องน้ำแข็ง ทำให้ค่าความสดของปลาไม่ดี - ราคารับซื้อปลาเป็ดปลาไก่ 7.50 บาท

32

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556




หจก. โชคอุดมพัฒนาปลาป่น จ.พังงา

ผู้ประสานงาน : คุณอาทิตย์ (เจ้าของ) คุณสรวัฒน์ (ผู้จัดการโรงงาน)

ภาพรวมของโรงงาน

- โรงงานเปิดมา 17 ปี โดยได้เข้าสู่ระบบคุณภาพ GMP และ HACCP ตั้งแต่ปี 2551 มีคนงานจำนวน 25 คน รวมทั้งในโรงงานและคนงานหน้าแพ

- เครือ่ งจักรการผลิตเป็นระบบไอน้ำ 1 ไลน์การผลิต โดยมีหม้อต้ม 1 ลูก อบ 1 ลูก กวนเย็น 2 ลูก และอบแห้ง 1 ลูก กำลังการผลิตเต็มประสิทธิภาพ 120,000 กิโลกรัมปลาสด แต่เฉลี่ยปัจจุบันประมาณ 7-8 หมื่นกิโลกรัมต่อวัน

ผลผลิตจากโรงงาน

- ปลาป่นเบอร์ 2 ประมาณ 60% และมีเบอร์ 1 กับเกรดกุ้งประมาณ 40% ของผลผลิต ทั้งหมด โดยค่าโปรตีน ความชื้น และความสดจะส่งตรวจที่ Lab นอก ทำให้ฝ่ายโรงงาน ไม่ทราบรายละเอียด - อัตราการแปรสภาพ 3.7 : 1 โดยผลผลิตทั้งหมดจะส่งไปที่มหาชัยที่เดียว

ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต - อวนดำ 70% ราคา 8-9 บาทโดยได้จากแพโรงงาน ทับละมุ ภูเก็ต กระบี่ น้ำเดิม

- อวนลากประมาณ 30% ราคา 7 บาท จากขนอม (ขนขึ้นรถตู้แช่) และระนอง แต่ เนื่องจากเรือใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ในการกลับเข้าท่า ทำให้ปลายังคงความสดไว้ได้ และโปรตีนไม่ต่ำอยู่ระดับ 58-60 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

33


ปัญหาและอุปสรรค - ใช้รถในการขนส่งวัตถุดิบวันละ 5 คัน เพื่อรักษาความสดจากปลาอ่าวไทย

- ปริมาณวัตถุดิบเพิ่มจาก 3 ปีก่อนที่เฉลี่ยประมาณ 5 หมื่นกิโลกรัมต่อวัน ทั้งนี้ เป็น เพราะการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับวัตถุดิบจากเดิมที่รับจากแพฝั่งอันดามันอย่างเดียว มาเป็นการกระจายรับทั้งอันดามันและอ่าวไทย

บจก. โชควัลลภา จ.พังงา

ผู้ประสานงาน : คุณวัลลภา (เจ้าของ), คุณปณิตา (ประสาน)

ภาพรวมของโรงงาน - โรงงานมีเครื่องจักรในการผลิต 2 ไลน์การผลิต ระบบไอน้ำ Steam Dried แบบหม้อต้ม ลูกใหญ่ 1 ลูก โดยมีกำลังการผลิตสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 300,000 กก.ปลาสด/วัน ปัจจุบันเฉลี่ย 50,000 กิโลกกรัมปลาสดต่อวัน โดยมีอัตราส่วนประมาณ 4 : 1 - โรงงานจะรับผลิตแต่ปลาสดๆ ที่มีคุณภาพ ไม่ส่งกลิ่นรบกวน หรือทำลายสภาพแวดล้อม โดยจะเน้นปลาสดจากฝั่งอันดามัน ผลผลิตจากโรงงาน - ปลาป่นเบอร์กงุ้ โดยมีคา่ โปรตีนมากกว่า 68% ความชืน้ ไม่เกิน 6% และความสด 70-80 - ปลาป่นเบอร์ 1โดยมีค่าโปรตีนมากกว่า 63-68% ความชื้นไม่เกิน 6% และความสด ไม่เกิน 100 - ผลผลิตมากช่วงปลายปี (พ.ย.-เม.ย.)

34

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต - อวนดำมีราคา 8 บาท แต่ได้ปลาที่มีคุณภาพสูง ส่วนอวนลากจะได้วัตถุดิบจาก จ.สตูล ราคาประมาณ 5-6 บาท ปลาที่ได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอวนที่เข้ามาส่ง แต่พบมากเป็น ปลาทูเล็ก จิ๊งจั๊งบ้างเล็กน้อย ปลาข้างเหลือง หลังเขียว เป็นต้น

ปัญหาและอุปสรรค

- สถานการณ์วตั ถุดบิ ลดลงเรือ่ ยๆ ปลาเป็ดปลาไก่หายาก มีราคาสูง บ่อยครัง้ ทีต่ อ้ งซือ้ ปลา เหยื่อมาทำปลาป่นทำให้ราคาต้นทุนสูง - ลูกค้าหลักๆ จะเน้นตลาดในประเทศที่เป็นโรงงานอาหารสัตว์น้ำ

- มีการกระจายความเสี่ยงจากวัตถุดิบลดลง โดยได้เปิดโรงงานน้ำมันปาล์ม โดยมีกำลัง การผลิต 1,200 ตัน และกำลังศึกษาในการผลิตกากปาล์มเพื่อส่งโรงงานอาหารสัตว์ ในอนาคต

บริษัท เอส.อี.เอ. ปลาป่น จำกัด จ.พังงา

ผู้ประสานงาน : คุณอึ่ง (ผู้จัดการโรงงาน) คุณตา (ผู้จัดการฝ่ายขาย) 081 570 7440

ภาพรวมของโรงงาน

- โรงงานมีเครื่องจักรระบบไอร้อน (steam dried) จำนวน 8 หม้อ 1 ไลน์การผลิต มีกำลังการผลิตสูงสุดประมาณ 60,000 กิโลกรัมปลาสด/วัน แต่มปี ริมาณปลาสดไม่มากนัก โดยช่วงเดือนต.ค.-พ.ค. จะสามารถผลิตเบอร์ 1 และ 2 ได้ เนื่องจากมีอวนดำ และอวน ลากคู่มาส่งวัตถุดิบ แต่นอกจากเวลาดังกล่าวจะเป็นปลาป่นเบอร์ 2 และ 3 มีเฉพาะ อวนลากเดี่ยวเท่านั้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

35


- โรงงานไม่มีการทำระบบคุณภาพทั้ง HACCP และ GMP ทำให้มีสภาพทรุดโทรม และ ไม่มีการแบ่งโซนการผลิตและการบรรจุ - โดยปกติฝ่ายการผลิตจะผลิตปลาป่น และส่งออกไปที่โกดังเพื่อรอการผสมจากคำสั่งของ ลูกค้า โดยจะมีสำนักงานที่จังหวัดนครปฐมที่เป็นตัวแทนขายแยกออกไป ซึ่งเห็นได้ชัดว่า กระบวนการด้านการผลิต แยกการบริหารอย่างชัดเจนกับด้านการขาย ผลผลิตจากโรงงาน - ปลาป่นตั้งแต่เบอร์ 3 ถึงเบอร์ 1 ตามประเภทของอวนที่ขายวัตถุดิบในแต่ละช่วงเวลา มีค่าโปรตีนเฉลี่ย 64-65% (เบอร์ 1) หรือสามารถผสมได้ตามความต้องการของลูกค้า - มีการเก็บ Stock ประมาณ 1,500 กระสอบ (กระสอบละ 60 กก.) แต่ระยะเวลาไม่นาน ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต - รับปลาอวนลากเดีย่ ว ลากคู่ อวนดำจากแพตัวเอง (SEA) ลูกค้าข้างนอกจากทับละมุ กระบี่ และพังงา - ราคารับซื้ออวนดำ 8 บาท ลากคู่ 7.80 บาท และลากเดี่ยว 6.40 บาท ปัญหาและอุปสรรค - โรงงานเก่าทรุดโทรมไม่ได้มีการซ่อมแซม ซึ่งเปิดมากว่า 30 ปีแล้ว - คนงานมีจำนวนลดลงเรือ่ ยๆ จากเดิมประมาณ 30 คน เหลือปัจจุบนั 10 คน เป็นชาวพม่า ส่วนใหญ่

บริษัท เทพพามาปลาป่น จำกัด

ผู้ประสานงาน : คุณบรรจง (ผู้จัดการโรงงาน) 081-915-3836

36

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


ภาพรวมของโรงงาน

- โรงงานมีเครื่องจักรระบบไอร้อน (steam dried) 2 ไลน์การผลิต โดยทั้ง 2 ไลน์ สามารถประยุกต์ให้การผลิตเป็นลักษณะหม้อเดียว หรือแบบต่อเนื่องหลายหม้อได้ตาม สถานการณ์ของปริมาณวัตถุดบิ ในแต่ละครัง้ ทีไ่ ด้รบั มา โดยกำลังการผลิตสูงสุด 100,000 กิโลกรัมปลาสด โดยแยกไลน์การผลิตเป็น 2 ชุด เพือ่ ให้วตั ถุดบิ ชนิดทีด่ ี และไม่ดแี ยกจากกัน ทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและผสมในภายหลัง

- โรงงานได้รบั GMP และ HACCP มานานแล้ว มีเรือประมงเป็นพันธมิตรประมาณ 10 ลำ ทั้งน่านน้ำไทย และนอกน่านน้ำไทย

- ได้รบั คัดเลือกจากจังหวัดระนองในการเป็นผูน้ ำด้าน CSR กับชุมชน โดยมีระบบบำบัดน้ำเสีย 5 บ่อ ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการล้างปลาสดก่อนเข้าไลน์การผลิต

- บริษทั เป็นเครือเดียวกับ SKS ซึง่ เป็นบริษทั ทีท่ ำธุรกิจการส่งออกปลาป่นไปยังประเทศจีน ไต้หวัน

ผลผลิตจากโรงงาน

- ปลาป่นเบอร์กงุ้ โปรตีน 68-69% ค่าความชืน้ 6.5-7.0% และค่าความสด 70-90/110120 - ปลาป่นเบอร์ 1 ได้จากอวนล้อมและลากคู่ โปรตีน 61-62% ค่าความสดไม่เกิน 130 - ปลาป่นเบอร์ 3 ได้จากปลาที่มาจากพม่า เนื่องจากน้ำแข็งไม่พอในการรักษาความเย็น ทำให้ค่าความสดอยู่ที่ 180-260

ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

- วัตถุดบิ ทีใ่ ช้ผลิตจะเน้นปลาตู้ (ปลาจากอวนดำ แยกลงกระบะเล็กๆ เข้าตูเ้ พือ่ รักษาความเย็น) โดยจะมีราคาสูงกว่าทั่วๆ ไป เนื่องจากเป็นปลาดีราคาอยู่ที่ 13 บาท (เท่าปลาเหยื่อ) โดยมากเป็นปลาทูแขก แม็คคาเรล เป็นต้น โดยเป็นปลาที่นำไปใช้ผลิตเป็นปลากระป๋อง - ในส่วนของอวนลากคู่ 9.50 บาท และลากเดี่ยว 5-6 บาท ก็รับมาผลิตบ้าง

- ปลาที่ได้มาจากทั้งจ.ระนอง ประจวบฯ ขนอม ทับละมุ คุระบุรี และตะกั่วป่า โดยประเภท ปลามีทั้ง ปลาแป้น หลังเขียว ทูแขก และสลิด

ปัญหาและอุปสรรค

- แบบฟอร์มการรับรองที่มาของวัตถุดิบที่มาทำเป็นปลาป่นแบบใหม่ ทางโรงงานสามารถ ดำเนินการให้ได้ เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลสถิติทุกครั้งในการรับวัตถุดิบมาจากแต่ละ สถานที่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

37


บริษัท สยามชัยโภคภัณฑ์ จำกัด จ.ระนอง

ผู้ประสานงาน : คุณกาญจนา (ผู้จัดการ) คุณจ๋า (การตลาด) 091-412-8099

ภาพรวมของโรงงาน - มีเครื่องจักรในการผลิตระบบไอร้อน (steam dried) จำนวน 2 ไลน์การผลิต แบ่งเป็น หม้อ 8 ลูก 1 ไลน์ และหม้อ 3 ลูก 1 ไลน์ และอยู่ระหว่างการปรับปรุงจาก Hot Oil เป็นระบบไอร้อนอีก 1 ไลน์ โดยสามารถผลิตปลาสดได้ 150 ตัน/วัน ซึ่งมีอัตราการ แปรสภาพ 3.8-4.0 : 1 ขึ้นอยู่กับประเภทของปลา - เป็นโรงงานปลาป่นทีด่ ำเนินการอยูใ่ นเครือของ Siamchai International Food Co.,Ltd. ภายใต้แบรนด์ SIFCO, ANDAMAN QUEEN, SIFCO QUEEN, PRIVATE BRAND โดยจะมีลักษณะการทำงานแบบครบวงจร ซึ่งมีธุรกิจเนื้อปลา อาหารสำเร็จรูป อาหาร แช่แข็ง ปลาป่น เป็นต้น และอยู่ระหว่างการพัฒนาด้านการสกัดน้ำมันจากหัวปลาทูน่า เพื่อเป็นอีกหนึ่งสินค้าในอนาคตต่อไป - โรงงานมีรถบรรทุกในการขนส่งวัตถุดิบเอง เพื่อการควบคุมความเย็น ความสด แต่ใช้ รถบรรทุกจากบริษัทรับขนส่งในการขนส่งปลาป่นไปยังปลายทาง ผลผลิตจากโรงงาน - ปลาป่นเกรดกุ้ง 50% ของผลผลิตทั้งหมดเป็นหลักค่าโปรตีน 65% ขึ้นไป และความสด ไม่เกิน 100 - ปลาป่นเบอร์ 1 อีกประมาณ 50% โดยหากโปรตีนต่ำกว่า 60% และค่าความสดสูงกว่า 120 ก็จะถูกปรับเป็นเบอร์ 2 จากลูกค้า แต่มีไม่เยอะ ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต - มีเรือและแพเองทำให้มีปริมาณปลาสดเข้าคงที่ ไม่ลงจากเดิม โดยส่วนใหญ่เป็นปลาทู สลิด แป้น

38

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


- ได้รบั หัวปลาจาก byproduct ซึง่ จะแยกไลน์ในการผลิตกับวัตถุดบิ ปลาสด โปรตีนประมาณ 50-52% TVNB ไม่เกิน 120 ไขมัน 12% แต่มีปริมาณไม่เยอะ ใช้เป็นส่วนผสมในการ ทำเบอร์ต่ำกว่าเกรดกุ้ง - ปลาเหยื่อจากลูกค้า ราคาประมาณ 13 บาท แต่คุณภาพที่ได้รับก็สูงตามไปด้วย

ปัญหาและอุปสรรค - โรงงานปลาป่นในจังหวัดระนอง มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มโรงงานงานปลาป่น เพื่อรักษา ระบบสิ่งแวดล้อมที่ดีแก่ชุมชน - อดีตเคยขายวัตถุดิบให้แก่โรงงานอื่นในกรณีที่มีวัตถุดิบไม่พอต่อการเดินเครื่องจักร แต่ได้ ยกเลิกระบบดังกล่าวแล้ว โดยใช้วิธีการดองน้ำแข็งสำหรับรอวัตถุดิบเพิ่มเติม - มี complain จากลูกค้าบ้างในเรื่องของความชื้น แต่ไม่เกิน 10% และ เป็นส่วนน้อย ซึ่ง อาจจะเกิดจากการขนส่ง หรือปัจจัยด้านอื่นๆ - การเก็บผลผลิตปลาป่นในโกดังของโรงงานสามารถเก็บได้ 1,500 กระสอบ แต่โดยปกติ จะไม่เก็บไว้นาน มีคำสั่งซื้อจากลูกค้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของโรงงานอาหารสัตว์ และ Broker

บริษัท สหประมงปลาป่นระนอง จำกัด จ.ระนอง ผู้ประสานงาน : คุณต๋อม จรรยา (ผู้จัดการโรงงาน)

ภาพรวมของโรงงาน - เครือเดียวกันกับโรงงานปลาป่นกันตัง อ.หลังสวน จ.ชุมพร - 2 ไลน์การผลิต แบ่งเป็นกำลังการผลิต 3 ตันกับ 6 ตัน (10 หม้อ) และเริม่ เดินเครือ่ งได้ เมื่อมีวัตถุดิบ 6 พันกิโลกรัม ซึ่งกำลังการผลิตสูงสุด 100,000 กิโลกรัมปลาสด ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

39


- มีคนงานทั้งหมด 28 คน แบ่งเป็นไทย 7 คน และพม่า 21 คน ทำงานเป็น 2 กะ เนือ่ งจากปริมาณวัตถุดบิ ในการผลิตลดลง จึงลดจำนวนการทำงานจาก 3 กะเหลือ 2 กะ

ผลผลิตจากโรงงาน

- ปลาป่นเกรดกุ้ง และเบอร์ 1 รวมกันประมาณ 80% ของผลผลิตทั้งหมด โดยเกรดกุ้ง มีค่าโปรตีนระหว่าง 66-69% ความสดไม่เกิน 100 ส่วนเบอร์ 1 มีค่าโปรตีน 62-65% และค่าความสดระหว่าง 120-130

- อีก 20% จะเป็นปลาป่นเบอร์ 3 ซึง่ ยังคงมีคา่ โปรตีน 60-62% แต่มคี า่ ความสดทีส่ งู กว่า 200 - ผลผลิตต่อเดือนประมาณ 10-20 คันรถบรรทุก ตามช่วงเวลาของวัตถุดิบ

ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

- แหล่งวัตถุดบิ จะมาจาก 4 ส่วน ได้แก่ รับซือ้ จากแพปลา Frozen เรือประมงโดยตรง และ จากล๊ง (แม่ค้าที่ชำแหละส่วนหัวออก)

- การนำวัตถุดิบเข้าเครื่องจักรจะไม่แยกประเภทของปลา หรือปลาจากอวนลากแต่ละ ประเภท แต่จะแยกเรื่องความสดของปลาในการเข้าไลน์การผลิตก่อนหลัง

ปัญหาและอุปสรรค

40

- ราคารับซื้อวัตถุดิบแพงขึ้น และต้องแย่งซื้อจากปลาเหยื่อ หรือปลากระป๋อง เช่น อวนดำ หรือปลามีคุณภาพราคาสูงกว่า 10 บาท ส่วนอวนลากจะอยู่ประมาณ 7-8 บาท

- ในอดีตเคยถูกร้องเรียนเรื่องกลิ่น สภาพแวดล้อมบ่อย เนื่องจากตั้งโรงงานมานาน แต่ หลังจากนัน้ ได้มกี ารพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต และการบำบัดมาโดยตลอด รวมทัง้ การไม่ใช้วัตถุดิบปลาเน่ามาผลิตที่มีแอมโมเนียสูง เสียทั้งสุขภาพกายและจิตของแรงงาน จึงช่วยลดและบรรเทาไปได้

- ผู้ส่งออกสินค้าปศุสัตว์ควรมองหาประเทศผู้ส่งออกรายอื่นบ้าง จะได้ไม่ต้องมีการพึ่งพิง การนำเข้าของประเทศหลักๆ เช่น EU และจะได้ไม่ต้องดำเนินการทุกอย่างตามที่ผู้ซื้อ ร้องขอมา แต่ควรเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ แทน

- ในส่วนของแบบฟอร์มใหม่สามารถทำได้ตามที่ต้องการ อาจมีติดปัญหาการกรอกข้อมูล ของแพปลา แต่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ ซึ่งจะเสนอในที่ประชุมของ กรมประมงในเดือนพ.ค. อาทิ การเปิดให้เรือเถื่อนขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง การควบคุม ตาอวนอย่างเข้มงวด รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ การจัดตำรวจน้ำมาควบคุมและบังคับใช้ กฎหมาย การแก้ไขระบบการจดทะเบียนเรือของกรมประมง เป็นต้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556



Explore your opportunities. Evonik opens a world of nutrition services and products – with new possibilities for more efficient, sustainable and profitable feed and animal production. You know what really counts.

Find out more by scanning this code with the QR-reader of your mobile-camera.

www.evonik.com/feed-additives feed-additives@evonik.com

Evonik (Thailand) LTD 25th Fl, Exchange Tower, Unit 2503 388 Sukhumvit Rd, Klongtoey Bangkok 10110

12-01-510 AZ EYO -Explore your opportunities- Reisfelder A4 englisch.indd 1

20.12.12 14:09


หจก. ระนองผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ จ.ระนอง

ผู้ประสานงาน : คุณนิรันดร์ (เจ้าของ) 081-535-3763

ภาพรวมของโรงงาน

- เป็นโรงงานขนาดเล็กถึงกลาง เปิดได้ไม่นาน และอยู่ระหว่างการทำ GMP เน้นการผลิต เชิงคุณภาพตามคำสั่งซื้อของลูกค้า

- ใช้ระบบการบรรจุถุงใส่ปลาป่น 2 ชั้น เพื่อรักษาความชื้น คงสภาพของคุณสมบัติต่างๆ ได้ดีกว่ากระสอบเคลือบ โดยไม่คิดต้นทุนเพิ่มไปในราคาขาย

- โรงงานมีเครือ่ งจักรระบบไอน้ำ 2 ไลน์ โดยใช้จริง 1 ไลน์ และสำรองฉุกเฉินอีก 1 ไลน์ โดย สามารถผลิตได้สูงสุดที่ 100 ตันปลาสดต่อวัน ซึ่งระบบการผลิตจะเป็นการ ต้ม-อบ-ตี (2 ครั้ง)

ผลผลิตจากโรงงาน

- ปลาป่นเบอร์ 1-3 ตามคำสัง่ ของลูกค้า ความชืน้ น้อยกว่า 3 แต่ไม่ไหม้ ความสดอยูร่ ะหว่าง 90-200 ตามเกรดของปลาป่น มีการสุ่มตรวจทุกขั้นตอน ทุก 1 ชั่วโมงในการดู ความชื้น - โดยปกติทำส่งโรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม และ Broker

ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

- รับซื้อปลาอวนลากเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากปลาอวนดำจะเป็นปลาชนิดใหญ่ ไขมันใน กระดูกเยอะ ทำให้เดินเครื่องผลิตยาก แต่จะใช้ในการเพิ่มค่าโปรตีนตามเบอร์ 1 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

41


ปัญหาและอุปสรรค

- พม่าปิดอ่าว ห้ามทำประมงอวนลากทุกโซนเนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำหายไปกว่า 70% ทำให้เหลือแต่อวนดำที่ทำประมงได้ จึงมีผลกระทบต่อวัตถุดิบพอสมควร

- อดีตใช้เครื่องจักรแบบ Hot Oil ซึ่งใช้ความร้อนสูง 110 องศาเซลเซียส สามารถฆ่าเชื้อ ได้ดี แต่มีปัญหาเรื่องการควบคุมไม่ให้ไหม้ จึงเปลี่ยนมาเป็นระบบไอน้ำแทน

- การใช้กระสอบ 2 ชัน้ ทำให้เก็บรักษาได้นานประมาณ 6-7 เดือน ซึง่ จากทีเ่ คยตรวจสอบ พบว่าโปรตีนตกไม่เกิน 0.5% และความชื้นเพิ่มไม่เกิน 1%

บริษัท อันดามันการประมง จำกัด จ.ระนอง ผู้ประสานงาน : คุณเอ๋ (ผู้จัดการ)

ภาพรวมของโรงงาน

42

- เป็นโรงงานขนาดใหญ่ แต่ไม่เข้าระบบคุณภาพ GMP และมีที่ตั้งติดกับท่าเรือ แพปลา ซึ่งเป็นของตัวเอง มีเรือกว่า 30 คู่

- ระบบการผลิตเป็นเครือ่ งจักรประเภท Steam Dried 1 ไลน์ และ Hot Oil 1 ไลน์ แต่ไม่เปิด ใช้งานมานาน ทัง้ นี้ กระบวนการจะนานทีห่ ม้ออบ ประมาณ 3 ชัว่ โมง และ Process อืน่ ๆ (ต้ม-อบ-กวนเย็น-แยกกากปู-ร่อน-ตี-กวน) อีก 1 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นเครื่องจักรรุ่นเก่า ทำให้ใช้เวลานานในกระบวนการผลิต

- กำลังการผลิตสูงสุดที่ 80,000 กิโลกรัมปลาสดต่อวัน เฉลี่ยผลิตอยู่ประมาณ 20,000 กิโลกรัม อัตราการแปรสภาพ 4 : 1 ทำให้ได้ปลาป่นเฉลี่ย 5 ตันต่อวัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


ผลผลิตจากโรงงาน - ปลาป่นเบอร์กุ้ง 90% ค่าโปรตีน 63% ความสด 90-120 เกลือน้อยกว่า 3% และ ความชื้นระหว่าง 6-8% - ปลาป่นเบอร์ 1 ประมาณ 10% จากทีต่ กเกรดเบอร์กงุ้ ในเรือ่ งโปรตีน 60% และความสด 120-130 ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

- รับปลาสดจากธุรกิจเรือตัวเองที่มีกว่า 30 คู่ และเครือข่ายลูกค้าจากอันดามัน ที่เป็นเรือ อวนดำ และเรือคลอกจากพม่า โดยราคารับซือ้ ของอวนลาก 7-7.20 บาท อวนดำ 10 บาท และเรือคลอก 9 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม และปัญหาอุปสรรค

- เครื่องจักรมีอายุยาวนาน ทำให้กระบวนการผลิตค่อนข้างช้า แต่คุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง รวมถึง โอกาสที่มีแพปลาอยู่ติดโรงงานมีวัตถุดิบผลิตตลอด และพอดีกับกำลังการผลิต จึงไม่กระทบมากนัก - โรงงานไม่เน้นใส่สารเคมีใดๆ ในปลาป่น รวมถึงสารกันหืน จึงไม่สง่ สินค้าให้ CP แต่สง่ ให้ โรงงานอื่นๆ ที่ไม่ต้องการสารกันหืน และ Broker - ปริมาณปลาโดยภาพรวมของจังหวัด และภาคใต้ลดลงทุกปี

บริษัท กรุงเทพมหกิจ จำกัด จ.ระนอง

ผู้ประสานงาน : คุณสงวนศักดิ์ (นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย) 0-7782-1712-3 คุณต่อ, คุณบี (ซื้อขาย) คุณออย (ประสานงาน)

ภาพรวมของโรงงาน - เป็นโรงงานขนาดใหญ่เข้าสู่ระบบคุณภาพ GMP และ HACCP แล้ว ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

43


- ระบบการผลิตเป็นเครื่องจักรประเภท Steam Dried 1 ไลน์ และ Hot Oil 1 ไลน์ โดยจะมีการสลับเดินเครื่องทั้ง 2 ไลน์การผลิต แต่จะแยกผลผลิตให้เห็นว่าจากระบบการ ผลิตแบบใด กำลังการผลิตสูงสุดที่ 100,000 กิโลกรัมปลาสดต่อวัน อัตราการแปรสภาพ 4:1

- ลักษณะการผลิต จะเน้นการผลิตอวนดำก่อนเมือ่ มีไลน์การผลิตไหนว่าง เนือ่ งจากต้องการ คุณภาพของโปรตีนและความสดของอวนดำ จากนั้นค่อยผลิตอวนลาก

- คุณสงวนศักดิ์ เริม่ เข้ามาบริหารกิจการเมือ่ ปี 2553 โดยมีการปรับปรุง บริหารจัดการใหม่ จนทำให้สนิ ค้าของโรงงานกลายเป็นทีต่ อ้ งการของโรงงานอาหารสัตว์ และ Broker รวมทัง้ ได้มีการส่งออกเองด้วย

ผลผลิตจากโรงงาน - ปลาป่นเบอร์กุ้ง และเบอร์ 1โปรตีน 65-67% ความสดต่ำกว่า 100 - ปลาป่นเบอร์ 2-3 โปรตีน 62-63% ความสดระหว่าง 120-130 - เดือน ต.ค.-เม.ย. จะมีวัตถุดิบมาก ทำให้ได้ผลผลิตมาก แต่ช่วงที่เหลือจะได้ผลผลิตน้อย จากหน้ามรสุมฝั่งอันดามัน - ผลผลิตสามารถเก็บ Stock ได้เยอะ แต่โดยปกติไม่เกิน 7 วัน เนื่องจากคำสั่งซื้อจาก ลูกค้ามีเข้ามาเยอะ ไม่สามารถเก็บ Stock ไว้ได้ ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

- รับปลาสดจากลูกค้าทั้งหมด แต่เป็นลักษณะของพันธมิตรที่มีการซื้อขายมานาน ทำให้ โรงงานมีของตลอดเวลา ซึ่งจากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า ขณะที่โรงงานอื่นๆ ไม่ค่อยมี วัตถุดิบเข้า แต่ที่กรุงเทพมหกิจกลับมีวัตถุดิบรอการเดินเครื่องมากที่สุด

หจก. ปลาทองอุตสาหกรรม จ.ระนอง

ผู้ประสานงาน : คุณกฤษณะ (เจ้าของ) 077-811-612/ 0896458714

44

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


ภาพรวมของโรงงาน

- เป็นโรงงานปลาป่นโรงงานแรกที่ตั้งในจังหวัดระนอง มากกว่า 40 ปี โดยโครงสร้างไม้ เสริมความแข็งแรงด้วยปูน ซึ่งมีที่ตั้งบริเวณปากอ่าว มีแพปลา เรือ เป็นธุรกิจของ โรงงาน

- ระบบการผลิตแบ่งเป็น 3 ไลน์ ประกอบด้วย ระบบไอน้ำ (Steam Dried) ทั้ง 3 ไลน์ ซึ่งกำลังการผลิตแบบ 100 ตัน 2 ไลน์ และ 60 ตัน 1 ไลน์ (เป็นเครื่องจักรเก่า ไม่ได้เปิดใช้งาน) โดยกำลังการผลิตสูงสูดต่อวันอยู่ที่ 200,000 กิโลกรัมปลาสด - จำนวนคนงาน 40 คน แบ่งการทำงานเป็น 3 กะ โดยหัวหน้าคุมงานเป็นชาวไทย

ผลผลิตจากโรงงาน

- ปลาป่นเบอร์กุ้ง 5% ค่าโปรตีน 67% ความสดไม่เกิน 100 และความชื้นประมาณ 6% กว่าๆ - ปลาป่นเบอร์ 1 ประมาณ 95% โปรตีน 60-66% ความสดระหว่าง 90-120 - กระบวนการผลิตทั้งระบบใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงจากปลาสดเป็นปลาแห้ง

ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

- รับปลาสดจากธุรกิจเรือตัวเอง ลูกค้าที่มาขายหน้าท่า ซึ่งมีราคา 7.10 บาท แต่อวนดำ มักจะไปขายเป็นปลาเหยื่อซึ่งมีราคาสูงกว่าที่ราคา 10-12 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม และปัญหาอุปสรรค

- เครื่องจักรมีอายุยาวนาน ทำให้กระบวนการผลิตค่อนข้างช้า แต่คุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง รวมถึงโอกาสที่มีแพปลาอยู่ติดโรงงานมีวัตถุดิบผลิตตลอด และพอดีกับกำลังการผลิต จึงไม่กระทบมากนัก

- โรงงานไม่เน้นใส่สารเคมีใดๆ ในปลาป่น รวมถึงสารกันหืน จึงไม่สง่ สินค้าให้ CP แต่สง่ ให้ โรงงานอื่นๆ ที่ไม่ต้องการสารกันหืน และ Broker - ปริมาณปลาโดยภาพรวมของจังหวัด และภาคใต้ลดลงทุกปี สรุปโดย: ณัฐพล มีวิเศษณ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2556

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

45


เกร็ดความรู้เกี่ยวกับปลาป่น และข้อสังเกตุที่พบจากการสำรวจ ปลาเป็ด ปลาป่นสำหรับอาหารสัตว์ในเวทีการค้าเสรี "ปลาเป็ด" คือปลาตัวเล็ก (Trash fish) และเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตปลาป่น (Fish Meal) โดยการนำปลาป่นไปผสมกับส่วน ประกอบอื่นๆ เช่น รำ ปลายข้าว กากถั่ว ฯลฯ เป็นต้น เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์ต่อไป โดยเฉพาะ อาหารไก่ สุกร และกุ้ง ปลาป่นจัดได้ว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารสัตว์ เนื่องจากมีกรด อะมิโนที่จำเป็นทุกชนิด และยังมีสารยูจีเอฟ (Unidentifled Growth Factor: UGF) ซึ่งสามารถ เร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ได้ ผู้ผลิตปลาป่นในประเทศไทยมีศักยภาพด้านการผลิตปลาป่นที่มี คุณภาพดี จึงทำให้นอกจากจะผลิตเพือ่ ขายภายในประเทศแล้วยังสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ ด้วย ในปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายที่จัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ โดย มีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกลุ่มให้เหลือน้อยที่สุด หรือให้เป็นร้อยละ 0 การทำเขต การค้าเสรีนี้ ก่อให้เกิดการได้เปรียบเชิงการค้า การแบ่งงาน การผลิตสินค้าและการกระตุ้น ให้เกิดการขยายตลาดที่กว้างขึ้น หลังจากการก่อตั้งเขตการค้าเสรี ผู้ประกอบการธุรกิจประมง และผู้ผลิตอาหารสัตว์จะได้รับผลกระทบบ้างเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาต่อไป

สิ่งที่ต้องศึกษาและพิจารณาในการพัฒนาอุตสาหกรรมการประมงในประเทศ ปัจจัยภายในที่มีผลกระทบ 1. ขาดแคลนวัตถุดิบ ปลาเป็ด ถูกจับโดยชาวประมงซึ่งโดยปกติเรือประมงจะจับปลาใหญ่ แต่จะมีปลาตัวเล็ก (ปลาเป็ด) ติดมาด้วยประมาณร้อยละ 40-60 ของจำนวนปลาทั้งหมดที่จับได้ แต่เดิมนั้นชาวประมงถือว่าปลาเป็ดเป็นเพียงผลพลอยได้จากการจับปลาใหญ่ ต่อมาปลาเป็ดมี ราคาสูงขึ้นจนเป็นที่มาของรายได้สำคัญของชาวประมง ปัจจุบันชาวประมงจับปลาเป็ดมาป้อน โรงงานผลิตปลาป่นมากขึน้ อีกทัง้ โรงงานผูผ้ ลิตปลาป่นยังมีเรือประมงเป็นของตนเอง เพือ่ ออกจับ ปลาเป็ดมาเป็นวัตถุดิบภายในโรงงาน ทำให้ปริมาณปลาเป็ดที่จับได้ลดลงอย่างรวดเร็ว 2. วัตถุดิบมีราคาสูง เนื่องจากปลาเป็ดมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็วในท้องทะเลไทย ทำให้ ผู้ประกอบการธุรกิจประมงจำเป็นต้องสั่งซื้อปลาจากต่างประเทศ และทำการประมงนอกน่านน้ำ ประเทศไทย ซึ่งมีผลให้ปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตปลาป่นมีราคาสูงขึ้น 3. ต้นทุนการผลิตสูง ต้นทุนการผลิตปลาป่นขึ้นอยู่กับราคาปลาเป็ดเป็นสำคัญ กล่าวคือ ประมาณร้อยละ 80 ของต้นทุนรวมจะเป็นต้นทุนค่าปลาเป็ด ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 เป็นค่าต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าแรงงาน ค่าขนส่ง เป็นต้น ดังนั้นตัวแปรที่สำคัญก็คือวัตถุดิบ ปลาเป็ด มีราคาไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงเกือบตลอดทั้งปี ในช่วงที่จับปลาได้น้อยราคาปลาเป็ดก็จะ สูงขึ้น และในช่วงที่จับปลาได้มาก ราคาปลาเป็ดก็จะต่ำลง

46

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


4. คุณภาพของวัตถุดิบ ปลาป่นที่ประเทศไทยผลิตได้จะมีโปรตีนอยู่ระหว่างร้อยละ 52-60 และมีอยู่บ้างที่พบว่ามีโปรตีนสูงกว่าร้อยละ 60 ซึ่งจะพบเป็นส่วนน้อย แต่ในทางกลับกันพบว่า มีปลาป่นที่มีโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 52 เป็นจำนวนมาก โดยมักเป็นปลาป่นที่ผลิตจากหัวปลา ไส้ปลา ก้างปลา จากโรงงานปลากระป๋อง หรือโรงงานปลาแช่แข็ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุดิบ ที่มีโปรตีนต่ำ หรืออาจไม่ได้ใช้ปลาสำหรับผลิตปลาป่นโดยตรง ซึ่งทำให้ปลาป่นที่ได้ที่มีโปรตีน ประมาณร้อยละ 48-50 ทั้งนี้ระดับของโปรตีนขึ้นอยู่กับชนิดของปลาที่นำมาทำปลาป่น แหล่งที่มาของวัตถุดิบในปัจจุบัน • เรือประมงทั่วไป (ทั้งที่ขึ้นอาชญาบัตร และไม่ได้มีอาชญาบัตร) • เรือประมงของผู้ผลิตปลาป่น • เศษเนื้อปลาแปรรูปทำซูริมิ • เศษเนื้อปลาจากโรงงานปลากระป๋อง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปลาป่น ชนิดของวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิตปลาป่นมี 3 ชนิด คือ

• ปลาเป็ด เป็นปลาเบญจพรรณ ที่จับได้โดยเรือประมงด้วยเครื่องมือประเภทอวนลาก ปลาเป็ดเป็นปลาที่มีคุณภาพดี สามารถนำไปผลิตเป็นปลาป่นคุณภาพดี เหมาะสำหรับ การเลี้ยง ไก่ กุ้ง และสุกร • ปลาหลังเขียว เป็นปลาผิวน้ำ สามารถนำไปผลิตปลาป่นที่มีคุณภาพดีได้ • เศษปลา จากโรงงานปลากระป๋อง และการแปรรูปทำซูริมิ

ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบ การแข่งขันของประเทศผู้ส่งออกอื่นๆ เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกอื่น เช่น เปรู และชิลี มีเทคโนโลยีการผลิตปลาป่นที่มีศักยภาพสูง อีกทั้งเนื่องจากน่านน้ำของเปรูและชิลีเป็นน่านน้ำที่มี กระแสน้ำอุ่นมาบรรจบกับกระแสน้ำเย็น จึงทำให้มีปริมาณแร่ธาตุอาหารสูงมากทำให้ปลาป่น ที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง มาตรการกี ด กั น ทางการค้ า สิ น ค้ า ของแต่ ล ะ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอัตราภาษี คุณภาพของ สินค้า ขบวนการผลิตและอื่นๆ เพื่อกีดกัน มิให้ผู้ส่งออกสามารถนำสินค้าเข้าไปจำหน่าย ได้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

47


แนวทางการแก้ไขต่อปัจจัยที่มีผลกระทบ ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลและหน่วยงานเอกชนต่างๆ เพื่อความร่วมมือในการรักษาระบบ นิเวศทางทะเล โดยการไม่จับปลาในฤดูการขยายพันธุ์เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณปลา การสร้าง แนวปะการังเทียมเพื่อเป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเล การทำเช่นนี้ จะทำให้การทำประมงในประเทศไทย เป็นการทำประมงแบบยั่งยืนเพื่อเป็นการเพิ่มแหล่งวัตถุดิบ และการลดการพึ่งพิงแหล่งวัตถุดิบจากต่างประเทศ หาแหล่งวัตถุดบิ จากต่างประเทศ โดยอาจสัง่ ซือ้ จากประเทศเพือ่ นบ้านใกล้เคียงเพือ่ เป็นการ ลดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ แต่อาจมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น สร้างเขตการค้าเสรี ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดปัญหาการกีดกันทางการค้าในเรื่องอัตราภาษีและ โควตา (Quota) การส่งออกไปยังประเทศต่างๆ แต่ประเทศเหล่านั้น อาจใช้มาตรการด้านอื่น มาต่อต้านเพื่อสร้างข้อกีดกันแทนมาตรฐานด้านภาษี และการเงิน เขตการค้าเสรีมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับสินค้าปลาเป็ด ปลาป่น เขตการค้าเสรี (FTA) คือ การทำความตกลงที่จะลดภาษี และลดมาตรการกีดกันทางค้า ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร รวมไปถึงการค้าภาคบริการด้วย ผลดีของการเปิดการค้าเสรีคือ สามารถส่งออกได้ง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังจะเป็นการ ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และเมื่อมีประเทศใดประเทศหนึ่งจัดทำเขตการค้าเสรีแล้ว ก็จำเป็นจะต้องลดภาษีลงมา นั่นหมายความว่า อุตสาหกรรมที่รัฐบาลเคยปกป้องและให้ความ ช่วยเหลือ จำเป็นต้องปรับตัวให้แข็งแกร่งขึ้นเพื่อให้สามารถเข้าแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดต่าง ประเทศ

48

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556



Sunny-Side

Up A golden outlook.

Kemin is ushering in a new dawning in carotenoid advancement with Quantum GLO™. Quantum GLO is a new generation of carotenoids that offers better bioavailability and gives the desired yolk color score that you want at a lower cost. This means using less Quantum GLO while still getting the beautiful sunny-side up yolks you expect. Made from molecules harvested from marigolds and paprika, Quantum GLO is the natural, more efficient way to create golden results.

Quantum GLO™: A sunny forecast for profits. www.kemin.com

© Kemin Industries, Inc and its group of companies 2013. All rights reserved. ® TM Trademarks of Kemin Industries, Inc., U.S.A.

13-QuantumGLO_FP_HP_V07F.indd 1

1/8/13 9:15 AM


ปัจจุบันประเทศไทยเป็นทั้งผู้นำเข้าและส่งออกปลาป่น ซึ่งประเทศที่ไทยนำเข้าปลาป่นคือ เปรู เดนมาร์ก ชิลี มาเลเซีย พม่า เป็นต้น สำหรับประเทศที่ไทยได้ส่งออกคือ ไต้หวัน เวียดนาม อินเดีย เบลเยี่ยม อินโดนีเซีย ลาว เป็นต้น ขณะนี้ประเทศไทยได้เจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรี เสร็จสิ้นไปแล้ว 6 ประเทศคือ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และฟิลิปปินส์ ซึ่งอัตราภาษีนำเข้าคือร้อยละ 5 ประเทศทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีความต้องการนำเข้า ปลาป่นสูง ดังนั้น ประเทศเหล่านี้คือกลุ่มประเทศที่ผู้ประกอบการผลิตปลาป่น จำเป็นต้องเข้าไป ศึกษาตลาดเพื่อสร้าง และขยายฐานการตลาดให้กว้างออกไป และต้องพิจารณาว่าสิ่งใดที่ทำให้ สินค้าปลาป่นของคุณยังไม่ทัดเทียมกับคู่แข่ง ซึ่งจริงๆ แล้วผู้ประกอบการผลิตปลาป่นของไทย มีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตปลาป่นให้ได้คุณภาพดีเทียบเท่ากับต่างประเทศ แต่ปัญหาที่ประเทศ ไทยประสบคือ การขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากปริมาณปลาในประเทศลดลง ทำให้ต้องผลิต ปลาป่นจากเศษปลาและนำวัตถุดิบอื่นๆ เข้าไปผสม เช่น ปูป่น โปรตีนจากถั่ว โปรตีนข้าวโพด ขนไก่ ฯลฯ เป็นต้น จึงทำให้คุณภาพของปลาป่นลดลง อีกทั้งยังจำเป็นต้องนำเข้าปลาจาก ต่างประเทศ และการจับปลานอกน่านน้ำประเทศไทย ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เมื่อ ต้นทุนสูง ราคาปลาป่นจากประเทศไทยก็ย่อมสูงขึ้น ทำให้ศักยภาพในการแข่งด้านราคากับ คู่แข่งในตลาดต่างประเทศของผู้ผลิตปลาป่นไทยลดลง ราคาปลาป่นที่สูงขึ้น ยังส่งผลกระทบ ต่อผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ และผู้ประกอบการผู้เลี้ยงสัตว์อีกด้วย ทั้งหมดนี้คือผลกระทบ อย่างต่อเนื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น การเปิดตลาดการค้าเสรีจึงเป็นหนทางหนึ่งจะช่วยแก้ไขให้ต้นทุนการผลิตอาหาร สัตว์ต่ำลง และช่วยเปิดตลาดให้กับผู้ผลิตปลาป่นในการทำตลาดต่างประเทศมากขึ้น อีกประการ หนึ่งที่สำคัญคือ รัฐบาลยังมีนโยบายที่จะฟื้นฟูท้องทะเลไทยให้เป็นแหล่งเป็นอาหารที่สมบูรณ์ ของสัตว์นำ้ และเป็นแหล่งวัตถุดบิ ทีถ่ าวร เพือ่ รับต่อความต้องการในภาคอุตสาหกรรมการประมง ภายในประเทศ และเพียงพอต่อภาคการผลิตเพื่อการส่งออกอีกด้วย

ข้อมูล : สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรียบเรียงและสรุปโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

49


Market Movement

สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรเดือนกุมภาพันธ์ และแนวโน้มเดือนมีนาคม 2556 1. ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบัน ข้าวนาปี ผลผลิตออกสูต่ ลาดน้อย ส่วนข้าวนาปรัง เกษตรกรในบางพืน้ ทีเ่ ริม่ เก็บเกีย่ วผลผลิต ออกสู่ตลาด ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ว่าตลาดส่งออกจะชะลอตัว เนื่องจากรัฐจะรับจำนำ ต่อเนื่องจากข้าวนาปี ยางพารา ใกล้เข้าช่วงต้นยางผลัดใบ ผลผลิตมีน้อย แม้ว่าการส่งออกจะกระเตื้องขึ้น แต่ ยังไม่มากนัก ราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก มันสำปะหลัง อยู่ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่การส่งออกชะลอตัวในช่วงเทศกาล ตรุษจีนซึง่ เป็นช่วงวันหยุดยาวของสาธารณรัฐประชาชนจีน แนวโน้มราคาจะเคลือ่ นไหวไม่มากนัก ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ผลผลิตออกสูต่ ลาดน้อยราคาอยูใ่ นเกณฑ์ดี คาดว่าจะมีการนำเข้าจาก สปป. ลาว และกัมพูชา ตามระบบ contract farming ปาล์มน้ำมัน แนวโน้มราคาจะปรับตัวดีขึ้นผลจากการแทรกแซงตลาดของภาครัฐ และ ปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะมีน้อยลง ถัว่ เหลือง (ฤดูแล้ง) คาดว่าผลผลิตจะเริม่ ออกสูต่ ลาดได้ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ แนวโน้ม ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี มะพร้าว ผลผลิตมีน้อยลง แนวโน้มราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก เมล็ดกาแฟ อยู่ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ผู้ค้าแข่งกันรับซื้อ ราคาเคลื่อนไหว อยู่ในเกณฑ์ดี ปลาป่น ปริมาณวัตถุดบิ มีนอ้ ยเนือ่ งจากเข้าสูช่ ว่ งปิดอ่าวไทยฝัง่ ตะวันตก (15 ก.พ.-15 พ.ค. 56) คาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น สุกร ความต้องการใช้ในระบบจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังเทศกาลตรุษจีน ภาวะการค้า มีแนวโน้มชะลอตัวและราคาจะอ่อนตัวลง ที่มา: สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กุมภาพันธ์ 2556

50

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


ไก่เนื้อ ปริมาณจะมีมากขึ้นผลจากการขยายการเลี้ยง (จาก 25 ล้านตัว/สัปดาห์ในปีก่อน เป็น 26 ล้านตัวในปีนี้) ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง ไข่ไก่ ผลผลิตมีเพียงพอกับความต้องการ ราคามีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี กุ้งขาวแวนนาไม ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นแต่ปริมาณยังไม่มากนัก ราคาอ่อนตัวลง แต่ ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส้มเขียวหวาน ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยตามฤดูกาล แต่ความต้องการใช้ในช่วงเทศกาล ตรุษจีนมีมาก ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี สับปะรด ผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ มะนาว ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงตามฤดูกาล แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี หอมแดง ผลผลิตจากภาคเหนือเริ่มออกสู่ตลาด แนวโน้มราคายังอยู่ในเกณฑ์ดี หอมหัวใหญ่ ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น แนวโน้มราคาอ่อนตัวลง กระเทียม เกษตรกรจะเริ่มนำผลผลิตที่เก็บเกี่ยวและแขวนไว้ให้แห้งระดับหนึ่งออกจำหน่าย ในช่วงปลายเดือน ราคามีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี พริกใหญ่สด ผลผลิตออกสู่ตลาดมากและต่อเนื่อง ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง เกลือทะเล สภาพอากาศยังมีผลต่อการทำนาเกลือ คาดว่าเกษตรกรจะทยอยนำผลผลิต ฤดูใหม่ออกสู่ตลาด แนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ดี

2. ภาวะการณ์ผลผลิตสินค้าเกษตรของโลก กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) ได้ประเมินสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ ของโลกในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ไว้ ดังนี้ 2.1 พืชน้ำมัน คาดว่าในฤดูการผลิตปี 2555/56 จะมีผลผลิตพืชน้ำมัน (ไม่รวมน้ำมันปาล์ม) ประมาณ 466.87 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา (441.39 ล้านตัน) ประมาณ 25.48 ล้านตัน (+5.77%) สำหรับ พืชน้ำมันที่คาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ถั่วเหลือง ผลผลิต 269.50 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 30.77 ล้านตัน (+12.89%) ถั่วลิสง ผลผลิต 37.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.86 ล้านตัน (+5.26%) เมล็ดในปาล์ม ผลผลิต 14.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.84 ล้านตัน (+6.31%) เนื้อมะพร้าวแห้ง ผลผลิต 5.66 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.12 ล้านตัน (+2.17%) ส่วนพืชน้ำมัน ทีค่ าดว่าผลผลิตจะลดลง ได้แก่ เรปซีด ผลผลิต 59.30 ล้านตัน ลดลง 2.26 ล้านตัน (-3.67%) เมล็ดฝ้าย ผลผลิต 44.70 ล้านตัน ลดลง 1.93 ล้านตัน (-4.13%) เมล็ดทานตะวัน ผลผลิต 36.37 ล้านตัน ลดลง 3.93 ล้านตัน (-9.75%) สำหรับ น้ำมันปาล์ม คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 53.33 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2.63 ล้านตัน (+5.19%) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

51


2.2 ธัญพืช ในปี 2555/56 USDA คาดว่าผลผลิตธัญพืชจะมีประมาณ 1,777.78 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 72.16 ล้านตัน (-3.90%) โดยสถานการณ์รายพืชสรุปได้ ดังนี้ 2.2.1 ข้าวสาลี มีผลผลิตประมาณ 653.614 ล้านตัน น้อยกว่าปี 2554/55 (696.637 ล้านตัน) 43.023 ล้านตัน (-6.18%) ผลจากสภาพความแปรปรวนของอากาศใน ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ โดยเฉพาะประเทศที่เคยอยู่ในสหภาพรัสเซียเดิม (FSU-12) เช่น รัสเซีย คาซัสสถาน ยูเครน ผลผลิตลดลงประมาณ 37.994 ล้านตัน (-37.51%) ส่วนออสเตรเลีย ลดลง 7.92 ล้านตัน (-26.48%) ประเทศสมาชิก EU ลดลง 5.50 ล้านตัน (-4.01%) เป็นต้น 2.2.2 ธัญพืชเมล็ดหยาบ คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 1,124.169 ล้านตัน น้อยกว่า ปีที่ผ่านมา (1,153.301 ล้านตัน) ประมาณ 29.132 ล้านตัน (-2.53%) โดยธัญพืชที่คาดว่า จะมีปริมาณลดลง ได้แก่ ข้าวโพดฯ ผลผลิต 854.376 ล้านตัน ลดลง 28.096 ล้านตัน (-3.18%) ข้าวบาเลย์ ผลผลิต 130.199 ล้านตัน ลดลง 4.033 ล้านตัน (-3.00%) ข้าวโอ๊ต ผลผลิต 20.732 ล้านตัน ลดลง 1.863 ล้านตัน (-8.25%) ส่วนธัญพืชที่คาดว่าจะมีปริมาณ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวฟ่าง ผลผลิต 59.261 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.227 ล้านตัน (+9.67%) ข้าวไรน์ ผลผลิต 13.872 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.663 ล้านตัน (+13.62%) 2.3 ข้าวสาร USDA คาดว่าผลผลิตปี 2555/56 มีประมาณ 465.808 ล้านตัน ซึ่ง ใกล้เคียงกับ ปี 2554/55 (465.027 ล้านตัน) ขณะที่ความต้องการบริโภคข้าวของโลกมี ประมาณ 469.315 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา (458.254 ล้านตัน) ประมาณ 11.061 ล้านตัน (+2.41%) และมากกว่าผลผลิตประมาณ 3.507 ล้านตัน (+0.75%) ส่งผลให้สต๊อก ปลายปี 2555/56 ลดลงมาอยู่ในระดับ 101.949 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ผ่านมา 3.507 ล้านตัน (-3.33%) ส่วนการค้าข้าวในตลาดโลก ใน ปี 2555/56 USDA คาดว่าจะมีประมาณ 37.130 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ผ่านมา (39.027 ล้านตัน) ประมาณ 1.897 ล้านตัน สำหรับปริมาณการ ส่งออกของไทยคาดว่าจะอยู่ในระดับ 8.0 ล้านตัน อินเดียประมาณ 7.5 ล้านตัน และเวียดนาม ประมาณ 7.4 ล้านตัน ตามลำดับ สำหรับราคาส่งออกข้าวไทยเมือ่ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 (สมาคมผูส้ ง่ ออกข้าวไทย) ราคาข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 ใหม่ (f.o.b.) ตันละ 1,197 เหรียญสรอ. ข้าวขาว 100% ชั้น 2 (f.o.b.) ตันละ 616 เหรียญสรอ. และข้าวนึ่ง 100% (f.o.b.) ตันละ 603 เหรียญสรอ. ส่วนข้าวสหรัฐฯ (เมล็ดยาว #4/5) ตันละ 640 เหรียญสรอ. ข้าวขาว 5% เวียดนาม ตันละ 400 เหรียญสรอ. อินเดีย ตันละ 440 เหรียญสรอ. ปากีสถาน ตันละ 420 เหรียญสรอ. ส่วนข้าวนึ่งอินเดีย และปากีสถาน ตันละ 430 และ 450 เหรียญสรอ. ตามลำดับ

52

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


3. แนวโน้มสถานการณ์เดือนมีนาคม 2556 ข้าวนาปี ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยและคาดว่าจะสิ้นสุดฤดูกาลในช่วงปลายเดือน ขณะที่ ข้าวนาปรัง จะทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรการ รับจำนำที่จะดำเนินการต่อเนื่อง ยางพารา อยู่ในช่วงต้นยางผลัดใบ ผลผลิตจะมีน้อยลง แนวโน้มราคาจะปรับตัวดีขึ้น มันสำปะหลัง อยู่ในช่วงผลผลิตออกมาก แนวโน้มราคาขยับตัวสูงขึ้นตามราคารับจำนำ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ปาล์มน้ำมัน แนวโน้มราคาจะปรับตัวสูงขึ้นตามผลผลิตที่จะมีปริมาณน้อยลงตามฤดูกาล ประกอบกับราคาตลาดโลกที่มีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น ถั่วเหลือง (ฤดูแล้ง) ผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี มะพร้าว ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก และอาจมีการนำเข้าหาก ราคาปรับตัวสูงมากขึ้น เมล็ดกาแฟ จะสิ้นสุดฤดูการผลิตในเดือนนี้ ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ปลาป่น แนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบที่มีน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปิดอ่าว สุกร สภาพอากาศร้อนทำให้สุกรโตช้าและจะออกสู่ตลาดน้อยลง ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูง จากเดือนก่อน ไก่เนื้อ ภาวะการผลิตปกติ การค้าคล่องตัว แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ไข่ไก่ ปริมาณมีมากเพียงพอกับความต้องการ แนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ดี กุง้ ขาวแวนนาไม ผลผลิตจะออกสูต่ ลาดมากขึน้ แนวโน้มราคาอ่อนตัวลงแต่ยงั อยูใ่ นเกณฑ์ดี ส้มเขียวหวาน ผลผลิตตามฤดูกาลจะออกสู่ตลาดหมดในเดือนนี้ ราคาเคลื่อนไหวอยู่ใน เกณฑ์ดี สับปะรด ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมาก คาดว่าราคาจะอยู่ในระดับต่าต่อเนื่องจากเดือน ก.พ. มะนาว เป็นช่วงผลผลิตนอกฤดูออกสู่ตลาด ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น หอมแดง ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการยังมีอย่างต่อเนื่อง ราคาจะอ่อนตัว ลงซึ่งต้องติดตามสถานการ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจมีปัญหาด้านราคา หอมหัวใหญ่ เป็นช่วงผลผลิตออกมาก แนวโน้มราคาอ่อนตัวลง กระเทียม ผลผลิตออกสูต่ ลาดมากขึน้ คาดว่าความต้องการจะมีมากเนือ่ งจากสต๊อกฤดูกอ่ น มีน้อย แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

53


พริ ก ใหญ่ ส ด ผลผลิ ต ออกสู่ ต ลาดมาก ราคาจะ อ่อนตัวลง เกลือทะเล ผลผลิตฤดูใหม่ทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น แนวโน้ม ราคาอ่อนตัวลง

แนวโน้มสถานการณ์รายกลุ่มสินค้า 3.1 กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ (1) ข้าว กระทรวงเกษตรฯ ประมาณการผลผลิตข้าวนาปี ปี 2555/56 (ณ ธ.ค.55) มีประมาณ 27.008 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา 1.076 ล้านตัน (+4.15%) โดยในช่วงเดือน มีนาคมจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.111 ล้านตัน และคาดว่าจะสิ้นสุดฤดูกาลในเดือนนี้ ปัจจุบันราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ยังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรการรับจำนำของ รัฐบาล ส่วนข้าวนาปรัง ปี 2556 กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 9.167 ล้านตัน น้อยกว่าปี 2555 (12.043 ล้านตัน) ประมาณ 2.876 ล้านตัน (-23.88%) เนื่องจากสภาพ อากาศมีความแห้งแล้งมาก ปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอที่จะทำนาปรังในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ผลผลิต นาปรังจะเริ่มออกสู่ตลาดได้ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป โดยผลผลิตในเดือนมีนาคม จะมีประมาณ 1.262 ล้านตัน และเดือนเมษายน 2.641 ล้านตัน ตามลำดับ ภาวะการค้า ราคาซื้อขายข้าวเปลือกในตลาดสำคัญ (ณ 22 ก.พ. 56) เป็นดังนี้ ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 10,000-11,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000-17,150 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 13,200-14,000 บาท ส่วน การค้าข้าวสาร ราคาซื้อขาย

54

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


เป็นดังนี้ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 กระสอบละ 1,640-1,650 บาท ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 กระสอบละ 3,290-3,300 บาท ข้าวเหนียว 10% เมล็ดยาว กระสอบละ 2,490-2,500 บาท และข้าวนึ่ง 100% กระสอบละ 1,620-1,630 บาท การส่งออก ในปี 2556 ไทยตัง้ เป้าการส่งออกไว้ที่ 8.5 ล้านตัน ปัจจุบนั (1 ม.ค.21 ก.พ.56) ส่งออกไปแล้ว 0.912 ล้านตัน มากกว่าช่วงเดียวกันของปีทผี่ า่ นมา (0.059 ล้านตัน) ร้อยละ 6.90 ผลการรับจำนำข้าวนาปี ปี 2555/56 ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 รับจำนำ ได้แล้ว 10,747,954 ตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกเจ้า 6,359,215 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิ 3,250,606 ตัน ข้าวเปลือกหอมจังหวัด 478,045 ตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 24,533 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว 635,554 ตัน (2) มันสำปะหลัง กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ผลผลิต ปี 2555/56 (ณ ธ.ค. 55) มีประมาณ 27.547 ล้านตัน มากกว่า ปี 2554/55 (25.932 ล้านตัน) ประมาณ 0.946 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.56 ขณะนี้อยู่ในช่วงผลผลิตออกมาก โดยในเดือนมีนาคมจะมีผลผลิตออกสู่ ตลาดประมาณ 4.067 ล้านตัน เดือนเมษายน 2.144 ล้านตัน และเดือนพฤษภาคม 0.871 ล้านตัน ตามลำดับ แนวโน้มการส่งออกยังชะลอตัว ปัจจุบนั ราคาหัวมันสดทีเ่ กษตรกรขายได้ เชือ้ แป้ง 25% จ.นครราชสีมา (22 ก.พ. 56) เฉลี่ย กก. ละ 1.95-2.25 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในเดือน ที่ผ่านมา (2.18 บาท/กก.) กก.ละ 0.08 บาท คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก เนื่องจากรัฐ ได้เปิดรับจำนำผลผลิตจากเกษตรกร โดยปรับราคารับซื้อเพิ่มเป็นขั้นบันได จากราคาเริ่มต้น เดือนธันวาคม 2555 มันสำปะหลังเชื้อแป้ง 25% กก.ละ 2.60 บาท ปรับเพิ่มเดือนละ 0.05 บาท โดยราคารับจำนำเดือนมีนาคม อยูท่ ี่ กก. ละ 2.75 บาท ระยะเวลารับจำนำ 1 ธันวาคม 2555 ถึง 31 มีนาคม 2556 ปริมาณเป้าหมาย 10 ล้านตัน ผลการรับจำนำ (ณ 8 ก.พ. 56) เปิดจุดรับจำนำแล้ว 625 จุด เป็นลานมัน 575 จุด โรงแป้ง 50 จุด ผลผลิตที่รับจำนำได้ 3,994,366 ตัน แยกเป็นลานมัน 2,477,506 ตัน และโรงแป้ง 1,516,860 ตัน (3) ไก่เนื้อ กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าในปี 2556 จะมีผลผลิตประมาณ 1,104.051 ล้านตัว หรือคิดเป็นซากบริโภคประมาณ 1.513 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.53 จะใช้บริโภคภายในประเทศประมาณ 0.9-1.0 ล้านตัน และส่งออกประมาณ 0.4-0.5 ล้านตัน คาดว่าการส่งออกในปี 2556 ยังอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปซึ่งเป็น ตลาดหลัก แต่เนื้อไก่เป็นอาหารโปรตีนที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและมีราคาต่ำเมื่อเทียบกับ โปรตีนอื่น ในขณะที่การผลิตยังประสบปัญหาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่คาดว่ายังเคลื่อนไหว อยู่ในเกณฑ์สูง และขาดแคลนแรงงานในโรงงานแปรรูป ปัจจุบัน (22 ก.พ. 56) ราคาไก่มีชีวิต ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

55


หน้าโรงฆ่า ราคา กก. ละ 36-38 บาท อ่อนตัวลงจากเดือนที่ผ่านมาเฉลี่ย กก. ละ 5.18 บาท ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงเนื่องจากจะมีชิ้นส่วนที่ส่งออกไม่ได้ระบายจำหน่าย สำหรับการส่งออก ในปี 2555 ไทยส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ได้รวม (เบื้องต้น) 538,104 ตัน มูลค่า 67,848 ล้านบาท (4) กุง้ ขาวแวนนาไม กรมประมงคาดว่าผลผลิตกุง้ ใน ปี 2556 จะมีประมาณ 0.500 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา (0.473 ล้านตัน) ร้อยละ 5.71 ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้เพื่อการส่งออก แนวโน้มการส่งออกในปี 2556 ยังต้องเผชิญกับปัญหาข้อกีดกันทางการค้าของประเทศคู่ค้า โดย เฉพาะสหรัฐอเมริกาที่จะเปิดไต่สวนการอุดหนุน (CVD) สินค้ากุ้งแช่แข็งจากไทย และรวมถึง ประเทศอื่นๆ อีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และเอกวาดอร์ นอกจากนี้ การส่งออกยังจะต้องประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของโลกที่ยังคงมีอยู่ รวมทั้ง การแข่งขันราคาจากประเทศคู่แข่งที่อยู่ในระดับต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกจะอยู่ใน ระดับใกล้เคียงกับปี 2555 คือ ประมาณ 0.37-0.40 ล้านตัน ปัจจุบัน (22 ก.พ. 56) ราคา ซื้อขายกุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลางสมุทรสาคร (ขนาด 60 ตัว/กก.) เคลื่อนไหวอยู่ที่ กก. ละ 160 บาท ต่ำกว่าเดือนที่ผ่านมาเฉลี่ย กก. ละ 7 บาท แนวโน้มผลผลิตคาดว่าจะยังมีไม่มากนัก เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง ราคายังเคลื่อนไหว อยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับการส่งออกปี 2555 (เบื้องต้น) ปริมาณ 0.349 ล้านตัน มูลค่า 95,372 ล้านบาท 3.2 กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ (1) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูการผลิต ปี 2555/56 (ณ ธ.ค. 55) มีประมาณ 4.870 ล้านตัน น้อยกว่าปี 2554/55 (4.921 ล้านตัน) เล็กน้อย ขณะที่ความต้องการใช้คาดว่าจะมี ประมาณ 4.6-4.7 ล้านตัน ปัจจุบันเป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตน้อย ในฤดูการผลิตนี้เกษตรกร สามารถขายข้าวโพดฯ ได้ราคาค่อนข้างดีเมือ่ เทียบกับปีทผี่ า่ นมา เนือ่ งจากการเพาะปลูกข้าวโพดฯ ของโลกได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งทำให้ผลผลิตลดลงมาก ปัจจุบัน (22 ก.พ. 56) ราคาซื้อขายในแหล่งผลิต จ.เพชรบูรณ์ เฉลี่ย กก. ละ 9.50-9.67 บาท ต่ำกว่าเดือน ที่ผ่านมาเฉลี่ย (9.62 บาท) กก. ละ 0.04 บาท แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาบางส่วนเพื่อให้เพียงพอใช้จนกว่า ข้าวโพดฯ ฤดูใหม่จะออกสู่ตลาด (2) ปาล์มน้ำมัน USDA คาดการณ์การผลิตน้ำมันปาล์มของโลกใน ปี 2555/56 มี ประมาณ 53.327 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา (50.699 ล้านตัน) ร้อยละ 5.18 โดย อินโดนีเซียผลิตได้มากทีส่ ดุ ประมาณ 28.0 ล้านตัน มาเลเซีย 18.5 ล้านตัน และไทย 1.7 ล้านตัน ในขณะทีก่ ระทรวงเกษตรฯ คาดว่าใน ปี 2556 (ณ ธ.ค. 55) ไทยจะเก็บเกีย่ วผลปาล์มได้ประมาณ

56

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556




12.015 ล้านตัน มากกว่าปี 2555 (11.327 ล้านตัน) ร้อยละ 6.08 คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ ประมาณ 2 ล้านตัน มากกว่าที่ USDA คาดไว้ประมาณ 0.3 ล้านตัน สำหรับความต้องการใช้ คาดว่าจะอยู่ในระดับ 1.9-2.0 ล้านตัน แบ่งเป็นน้ำมันบริโภค 1.0 ล้านตัน ผลิตไบโอดีเซล 0.60.7 ล้านตัน ส่งออกประมาณ 0.3 ล้านตัน และคาดว่าจะมีสต๊อกสำรองในประเทศอีกประมาณ 0.4-0.5 ล้านตัน แนวโน้มภาวะการผลิตการค้ายังค่อนข้างผันผวนโดยเฉพาะปริมาณผลปาล์ม ที่ออกสู่ตลาดและการระบายสต๊อกน้ำมันปาล์มที่ อคส. แทรกแซงรับซื้อไว้ ปัจจุบันราคาผลปาล์ม ที่เกษตรกรขายได้ (น้ำมัน 17% ณ 22 ก.พ. 56) เฉลี่ย กก. ละ 4.15 บาท สูงกว่าราคาเฉลี่ย ของเดือนที่ผ่านมา (4.05 บาท) เฉลี่ย กก. ละ 0.10 บาท อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนมีนาคม เป็นต้นไป รัฐบาลมาเลเซียประกาศจะเก็บอากรส่งออกน้ำมันปาล์มดิบร้อยละ 4.5 ซึง่ ก่อนหน้านัน้ ได้ยกเลิกไปชั่วคราวเพื่อระบายสต๊อกออกจากประเทศ แนวโน้มราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลก ปรับตัวสูงขึ้นตามระยะเวลาส่งมอบตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป (3) มะพร้าว คาดว่าผลผลิตใน ปี 2556 จะมีประมาณ 1.065 ล้านตัน ใกล้เคียงกับ ปี 2555 (1.057 ล้านตัน) แนวโน้มภาวะการค้าทัง้ ในประเทศและการส่งออกยังชะลอตัวต่อเนือ่ ง จากปีที่ผ่านมา แต่ผลจากการที่รัฐเข้าไปช่วยเหลือชดเชยส่วนต่างราคาให้เกษตรกรในช่วงที่ ผ่านมา ประกอบกับเข้าสูช่ ว่ งมะพร้าวให้ผลผลิตลดลง ทำให้ราคาภายในประเทศปรับตัวสูงขึน้ จาก ช่วงครึ่งหลังของ ปี 2555 ปัจจุบัน (สัปดาห์ที่ 3) ของเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ราคาที่เกษตรกร ขายได้มะพร้าวผลแก่ (ผลใหญ่) เฉลี่ยผลละ 4.90 บาท สูงกว่าราคาเฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมาเฉลี่ย ผลละ 0.27 บาท (4) สุกรมีชีวิต กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ปริมาณสุกรขุน ปี 2556 มีประมาณ 13.072 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2555 (12.828 ล้านตัว) ร้อยละ 1.90 และมากกว่าความ ต้องการภายในประเทศที่คาดว่าจะมีประมาณ 12.42 ล้านตัว ผลผลิตส่วนเกินต้องระบายส่งออก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

57


ไปประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเพื่อรักษาระดับราคาภายในประเทศ ในขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงจะยัง อยู่ในเกณฑ์สูงโดยเฉพาะวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพดฯ มันสำปะหลัง ที่มีราคาอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างไรก็ตาม ผลจากสภาพอากาศที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อนมีผลทำให้สุกรโตช้า ซึ่งจะมีผลช่วยให้สุกรในระบบมีปริมาณสอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น ในขณะที่ภาวะการค้า จะชะลอตัวลงหลังช่วงเทศกาลตรุษจีนและเข้าสู่ช่วงปิดภาคเรียน ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงใน ระยะต่อไป สำหรับราคาสุกรมีชวี ติ ทีเ่ กษตรกรขายได้ ณ 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ภาคกลาง) กก. ละ 65-66 บาท สูงกว่าเดือนที่ผ่านมาเฉลี่ย กก. ละ 3.41 บาท (5) ไข่ไก่ กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าในปี 2556 จะมีผลผลิตไข่ไก่ในระบบประมาณ 11,421 ล้านฟอง สูงกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.41 และมากกว่าความต้องการบริโภคในประเทศ ที่คาดว่าจะมีประมาณ 11,186 ล้านฟอง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเพิ่มการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ ไก่ไข่ในช่วงปลายปี 2553 เพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณไข่ที่ลดลงจากการเกิดโรคระบาด และสภาพ อากาศที่แปรปรวน มีผลทำให้ปริมาณไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงปลาย ปี 2554 มีมากเกิน ความต้องการ จนต้องใช้มาตรการปลดแม่ไก่ไข่ยนื กรงออกบางส่วน รณรงค์เพิม่ การบริโภค รวมทัง้ การปรับลดการผลิตแม่ไก่ไข่ลงซึ่งส่วนนี้คาดว่าจะเห็นผลในช่วงปลายปี 2556 ต่อปี 2557 ปัจจุบันผลผลิตส่วนเกินในระบบมีปริมาณลดลงทั้งผลจากการปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรงก่อนกำหนด และการระบายผลผลิตส่วนเกินออกนอกระบบ สำหรับราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม (ณ 22 ก.พ. 56) ฟองละ 2.80 บาท สูงกว่าราคาเฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา เฉลี่ยฟองละ 0.11 บาท แนวโน้มราคา จะอ่อนตัวลงตามความต้องการที่จะมีน้อยลงในช่วงโรงเรียนปิดภาคเรียน (มี.ค.-พ.ค.) (6) เมล็ดกาแฟ ผลผลิตของไทยในปี 2555/56 (ณ ธ.ค. 55) มีประมาณ 38,140 ตัน น้อยกว่าปีทผี่ า่ นมา (41,461 ตัน) ร้อยละ 8.01 และน้อยกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ ที่คาดว่าจะมีประมาณ 70,000 ตัน ซึ่งจะต้องมีการนำเข้าเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้อีก ประมาณหนึ่งเท่าของผลผลิต ปัจจุบันเกษตรกรนำผลผลิตออกจำหน่ายเกือบหมดแล้ว ราคา เมล็ดกาแฟโรบัสต้าทีเ่ กษตรกรขายได้ในพืน้ ที่ (สัปดาห์ที่ 3 เดือน ก.พ. 56) เฉลีย่ กก. ละ 70.53 บาท ขณะที่โรงงานประกาศรับซื้อที่ กก. ละ 62.50-63.50 บาท ส่วนราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาด ลอนดอนเฉลีย่ ตันละ 2,054.33 เหรียญสรอ. (61.64 บาท/กก.) ส่วนราคาส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2556 ตันละ 2,079 เหรียญสรอ. (7) พืชผักและผลไม้ สับปะรด กระทรวงเกษตรฯ ประมาณผลผลิตปี 2556 มีประมาณ 2.312 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ผ่านมา (2.406 ล้านตัน) ร้อยละ 3.92 โดยผลผลิตจะออกมาก 2 ช่วง โดยช่วงที่ 1 เดือนมีนาคม-มิถุนายน ประมาณร้อยละ 44 หรือประมาณ 1 ล้านตัน และช่วงที่ 2 เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2556 ประมาณร้อยละ 21 หรือประมาณ 0.488 ล้านตัน สำหรับ ในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม ศกนี้ จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.205,

58

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


0.294 และ 0.308 ล้านตัน ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดใน ปี 2556 คาดว่าจะยังชะลอตัวต่อเนื่องจาก ปี 2555 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยดีนัก สำหรับราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ในสัปดาห์ที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ เฉลี่ย กก.ละ 3.38 สูงกว่า ราคาเฉลี่ยของเดือนที่ผ่านมา (2.96 บาท/กก.) เฉลี่ยผลละ 0.42 บาท มะนาว ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงตามฤดูกาล ราคาที่เกษตรกรขายในแหล่งผลิต สำคัญ (จ.เพชรบุรี-ขนาดคละกลางถึงคละใหญ่) เฉลี่ยผลละ 1.50-4.50 บาท ราคามีแนวโน้ม ปรับตัวสูงขึ้นอีกตามฤดูกาลที่เข้าสู่ช่วงนอกฤดู หอมแดง ผลผลิตปี 2555/56 คาดว่าจะมีประมาณ 227,930 ตัน ใกล้เคียง กับปีที่ผ่านมา (228,221 ตัน) โดยในเดือนมีนาคมจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 59,649 ตัน และเดือนเมษายน 18,850 ตัน ตามลำดับ ราคาหอมแดงแห้งใหญ่มัดจุก (สัปดาห์ที่ 3) กก. ละ 16-18 บาท ส่วนหอมปึ๋งราคา กก. ละ 11-13 บาท กระเทียม ผลผลิตฤดูใหม่จะมีประมาณ 86,025 ตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา (85,354 ตัน) ปัจจุบันเกษตรกรเก็บผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นโดยจำหน่ายในรูปกระเทียมสด เพื่อทำกระเทียมดอง ราคากระเทียมสดที่เกษตรกรขายได้กก.ละ 12-14 บาท สำหรับกระเทียม แห้ง เริ่มมีออกสู่ตลาดบ้างแล้วแต่ปริมาณไม่มากนัก หอมหัวใหญ่ ผลผลิตฤดูใหม่จะมีประมาณ 53,200 ตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา (54,300 ตัน) ปัจจุบนั อยูใ่ นช่วงผลผลิตออกมาก โดยเดือนมีนาคมจะออกมากทีส่ ดุ ประมาณ 25,320 ตัน ราคาที่เกษตรกรขายได้ปัจจุบัน หอมหัวใหญ่ เบอร์ 0-1 กก. ละ 8 บาท ราคามีแนวโน้ม อ่อนตัวลงอีกผลจากปริมาณที่จะออกมากขึ้น ประกอบกับปีนี้ผลผลิตจาก อ.ฝาง ที่จะออกสู่ตลาด มากในระยะต่อไปมีคุณภาพไม่ดีนัก เนื่องจากพบปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนในช่วงลงหัว 3.3 กลุ่มสินค้าที่ต้องนำเข้า สถานการณ์สินค้าที่สำคัญมีดังนี้ (1) ถั่ ว เหลื อ ง USDA ปรั บ ประมาณการผลผลิ ต ถั่ ว เหลื อ งโลกฤดู ใ หม่ สู ง ขึ้ น เป็ น 269.499 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา 30.774 ล้านตัน (+12.89%) ขณะที่ความต้องการใช้ คาดว่ามีประมาณ 232.063 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.272 ล้านตัน (+2.32%) ส่วนการผลิตของไทย ในปี 2555/56 มีประมาณ 0.105 ล้านตัน น้อยกว่าปีทผี่ า่ นมา ร้อยละ 3.10 แบ่งเป็นถัว่ เหลือง ฤดูฝน 0.019 ล้านตัน และถั่วเหลืองฤดูแล้ง 0.087 ล้านตัน ผลผลิตโดยรวมยังมีไม่เพียงพอกับ ความต้องการใช้ในประเทศ ต้องนำเข้าทุกปี ปีละไม่ต่ำกว่า 1.8-2.0 ล้านตัน ปัจจุบันถั่วฤดูแล้ง เริม่ มีออกสูต่ ลาดบ้างแล้วแต่ปริมาณไม่มาก โดยในช่วงเดือนมีนาคม จะมีผลผลิตออกสูต่ ลาดประมาณ 33,581 ตัน และเดือนเมษายน ประมาณ 35,965 ตัน ราคามีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยราคาเมล็ดถัว่ เหลืองขายส่งตลาด กทม. เกรดสกัดน้ำมัน (22 ก.พ. 56) กก. ละ 18.50-18.80 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

59


บาท ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา (19.65 บาท/กก.) กก. ละ 1.00 บาท แนวโน้มราคา เคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี (2) กากถั่วเหลือง ผลผลิตกากถั่วเหลืองโลก ปี 2555/56 USDA คาดว่าจะมี ปริมาณ 183.119 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา (179.357 ล้านตัน) 3.762 ล้านตัน เมื่อรวม กับสต๊อกปลายปียกมาจำนวน 10.05 ล้านตัน จะมีผลผลิตกากถั่วเหลืองรวม 193.169 ล้านตัน ในขณะทีค่ วามต้องการใช้มปี ระมาณ 181.858 ล้านตัน สำหรับกากถัว่ ฯ ทีไ่ ทยผลิตได้ใน ปี 2556 มีประมาณ 1.163 ล้านตัน แบ่งเป็นกากถั่วฯ ที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองที่ปลูกในประเทศ 0.013 ล้านตัน และผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า 1.150 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการใช้คาดว่ามี ประมาณ 3.663 ล้านตัน จะต้องนำเข้าให้พอใช้อกี ประมาณ 2.5 ล้านตัน ปัจจุบนั (22 ก.พ. 56) ราคาขายส่งกากถั่วฯ ที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศและกากถั่วฯ ที่ผลิตจากเมล็ดนำเข้ายังทรงตัว เท่าเดือนที่ผ่านมาที่ กก. ละ 20.20-20.25 และ 17.45-17.70 บาท ตามลำดับ (3) ปลาป่น ผลผลิตในปี 2556 คาดว่าจะมีประมาณ 0.50 ล้านตัน ใกล้เคียง ปี 2555 (0.493 ล้านตัน) แต่มากกว่าปริมาณความต้องการใช้ในประเทศที่คาดว่าจะมีประมาณ 0.466 ล้านตัน ร้อยละ 7.30 อย่างไรก็ตาม ผลจากสภาพอากาศแปรปรวนและเป็นช่วงปิดอ่าวไทย มีผลทำให้ปริมาณปลาเป็ดทีเ่ ข้าโรงงานปลาป่นมีนอ้ ย ปัจจุบนั (22 ก.พ. 56) ราคาปลาป่นโปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร์ 2 เฉลี่ย กก. ละ 28.80 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา กก. ละ 1.80 บาท

4. มาตรการแก้ไขปัญหา/การช่วยเหลือผ่านกองทุนรวมเพือ่ ช่วยเหลือเกษตรกร (ณ 23 ม.ค. 56) ในปีงบประมาณ 2556 คชก. ได้อนุมัติเงินกองทุนรวมฯ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือสินค้า เกษตรด้านการตลาดไปแล้วเป็นจำนวนเงิน 3,026,808,608 บาท จำแนกเป็น 1. โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร วงเงิน 61.80 ล้านบาท 2. โครงการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ปี 2555 วงเงิน 132,412,680 บาท 3. การแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มและราคาผลปาล์มตกต่ำ ปี 2555-2556 วงเงิน 2,792.596 ล้านบาท 4. โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกร ปี 2538 วงเงิน 40 ล้านบาท (ชดเชย ภาระขาดทุนจากการดำเนินการตามโครงการ วงเงินรวม 213,987,800 บาท แบ่งการชดเชย เป็นรายปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556-2560 โดย ปีที่ 1-ปีที่ 4 ปีละ 40 ล้านบาท และปีที่ 5 จำนวน 53,987,800 บาท)

60

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


Market Movement

พยากรณ์สินค้าเกษตร ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2556

สัญลักษณ์

ปกติ

มีปัญหาราคาสูง

มีปัญหาราคาต่ำ

ช่วงพยากรณ์ การพยากรณ์ในช่วง 3 เดือน มี.ค.56 เม.ย.56 พ.ค.56 กลุ่มสินค้าผลิตเพื่อส่งออก ข้าวนาปี ผลผลิตข้าวเปลือกปี 2555/56 ออกสู่ตลาด น้อยลงตามฤดูกาล ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากภาครัฐยังดำเนินมาตรการรับจำนำ ข้าวเปลือกเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น ข้าวนาปรัง ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2556 (ข้าวเปลือก ปี 55/56 รอบ 2) เริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ราคา มีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากภาครัฐยัง ดำเนินมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกอย่าง ต่อเนื่องเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น มันสำปะหลัง อยู่ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่คาดว่า ผลผลิตจะไม่มากเท่าที่คาดการณ์ไว้ ราคาหัวมันสด เชื้อแป้ง 25% เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ยางพารา ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง เนื่องจากเข้าสู่ช่วงยาง ผลัดใบ แนวโน้มราคาคาดว่าจะเคลื่อนไหวไม่มาก นัก แม้ว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจะอยู่ในเกณฑ์สูง ผู้ค้าชะลอการรับซื้อเพื่อรอดูสถานการณ์การระบาย สต๊อกยางที่ภาครัฐได้รับซื้อไว้ เนื่องจากระยะเวลา แทรกแซงการรับซื้อได้สิ้นสุดแล้ว ไก่เนื้อ ภาวะการผลิต การตลาดปกติ ราคามีแนวโน้ม เคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี กุ้ง (ขาว แนวโน้มราคากุ้งจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง เนื่อง แวนนาไม) จากยังมีปัญหาในระบบการเพาะเลี้ยง สินค้า

สับปะรด

ผลผลิตจะออกมากในช่วง มี.ค.-มิ.ย. 56 ขณะที่ ยังมีปัญหาในการส่งออก คาดว่าราคาจะ เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ

หมายเหตุ ช่วงออกสู่ตลาด ต.ค.-เม.ย.

ก.พ.-ต.ค.

พ.ย.55-มี.ค.56 ช่วงออกมาก ม.ค.-ธ.ค.

เม.ย.-พ.ค. มิ.ย.-พ.ย. (ช่วงออกมาก 60%) ม.ค.-ธ.ค. 

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

61




ช่วงพยากรณ์ การพยากรณ์ในช่วง 3 เดือน มี.ค.56 เม.ย.56 พ.ค.56 กลุ่มสินค้าผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ข้าวโพด เป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตมีน้อย ไม่เพียงพอกับ เลี้ยงสัตว์ ความต้องการ คาดว่าต้องมีการนำเข้าจาก ประเทศเพื่อนบ้านจำนวนหนึ่ง (ในช่วงวันที่ 1 มี.ค.-31 ก.ค. 56 ผู้ประกอบการทั่วไปสามารถ นำเข้าได้ในอัตราภาษี 0%) กาแฟ ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ ราคาอยู่ในระดับที่เกษตรกรพอใจ ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคามีแนวโน้ม อ่อนตัวลง ขณะที่ภาครัฐยังดำเนินการมาตรการ แทรกแซงรับซื้อเก็บสต๊อกเพื่อให้ราคาที่เกษตรกร ขายได้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ มะพร้าวผล ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการใน การบริโภคและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำกะทิมีอย่าง ต่อเนื่อง ราคามีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี หอมแดง ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่อินโดนีเซียเปิด ให้นำเข้าได้แล้ว คาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น กระเทียม ผลผลิตกระเทียมแห้งออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ ตลาดมีความต้องการต่อเนื่อง เนื่องจากสต๊อก กระเทียมในมือผู้ประกอบการมีน้อย แนวโน้มราคา เคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี หอมหัวใหญ่ คาดว่าเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จสิ้นใน เดือน เม.ย. 56 นี้ แต่ผลผลิตบางส่วน คุณภาพ ไม่ค่อยดี แนวโน้มราคาอ่อนตัวลง มะนาว ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยตามฤดูกาล ราคา เคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์สูง พริกใหญ่สด ผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ในช่วง มี.ค.-พ.ค. ราคามีแนวโน้มปรับตัวลดลง สุกร ภาวะการค้าชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ กำลัง ซื้อ ผู้บริโภค และการบริโภคลดลงในกลุ่มเด็ก นักเรียนซึ่งปิดภาคเรียน ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง ไข่ไก่ ผลผลิตฤดูใหม่จะเริ่มออกสู่ตลาดในช่วงเดือน มี.ค. ราคามีแนวโน้มปรับตัวลดลง แต่ยังเคลื่อนไหว อยู่ในเกณฑ์ดี สินค้า

62

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

หมายเหตุ ช่วงออกสู่ตลาด ก.ค.-มี.ค. (ออกมาก ส.ค.-พ.ย.)

พ.ย.-มี.ค. ม.ค.-ธ.ค. 55 ออกมาก พ.ค.-ก.ย. (47%) ม.ค.-ธ.ค.

ม.ค.-เม.ย. (ออกสูต่ ลาดมาก) ม.ค.-เม.ย.

ธ.ค.-มี.ค.

มิ.ย.-ก.ย. (ช่วงออกมาก) ม.ค.-พ.ค. ม.ค.-ธ.ค.

ม.ค.-ธ.ค. 




สินค้า

ช่วงพยากรณ์ มี.ค.56 เม.ย.56 พ.ค.56

เกลือทะเล กลุ่มสินค้าที่ต้องนำเข้า ถั่วเหลือง - ฤดูแล้ง ปลาป่น

การพยากรณ์ในช่วง 3 เดือน ผลผลิตฤดูกาลใหม่ทยอยออกสู่ตลาดในช่วงเดือน มี.ค. ระดับราคาจะทรงตัว หรือปรับลดลงเล็กน้อย

หมายเหตุ ช่วงออกสู่ตลาด ม.ค.-ธ.ค.

ถั่วเหลืองฤดูแล้งออกสู่ตลาดช่วงเดือน มี.ค. 56 ก.พ.-พ.ค. 56 ปริมาณผลผลิตมีไม่มาก ราคาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณวัตถุดิบ (ปลาเป็ด) ออกสู่ตลาดน้อย เนื่อง ม.ค.-ธ.ค. จากเป็นช่วงปิดอ่าวไทยด้านตะวันตก (15 ก.พ.-15 พ.ค.) และฝั่งทะเลอันดามัน (1 เม.ย.-30 มิ.ย. 56) ราคาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

63


Market Movement

ทำอย่างไร การเลี้ยงกุ้งจึงจะยั่งยืน การเลีย้ งกุง้ ประสบความสำเร็จอย่างสม่ำเสมอ และยั่งยืน ดังนี้

มร.โรบินส์ แมคอินทอช ผู้เชี่ยวชาญด้านกุ้งขาวฯ ได้รับเชิญบรรยายในงานวันกุ้งไทย ครั้งที่ 23 ณ โรงแรมวังใต้ จ.สุราษฎร์ธานี

ในการสัมมนาทางวิชาการ “งานวัน กุง้ ไทยครัง้ ที่ 23” ของชมรมผูเ้ ลีย้ งกุง้ จังหวัด สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมานั้น มร.โรบินส์ แมคอินทอช ผู้เชี่ยวชาญด้านกุ้งขาวระดับโลกของเครือ เจริญโภคภัณฑ์ ได้เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้ยงั่ ยืน จากประสบการณ์หลากหลายกว่า 25 ปี” มุมมองและข้อคิดเห็นต่างๆ น่ า จะเป็ น ประโยชน์ ต่ อ เกษตรกรผู้ เ ลี้ ย งกุ้ ง โดยเฉพาะในสภาวะปั จ จุ บั น ที่ ก ารเลี้ ย งกุ้ ง กำลังประสบปัญหาการตายของกุ้งจากโรค อีเอ็มเอส จึงประมวลสรุปเนื้อหามานำเสนอ แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งนำไปพิจารณาปรับใช้ ตามความเหมาะสมของแต่ละฟาร์ม เพื่อให้ ที่มา: ข่าวกุ้ง ปีที่ 25 ฉบับที่ 297 เดือนเมษายน 2556

64

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

เมื่อพูดถึงความยั่งยืน อาจมีหลากหลาย แนวคิ ด ที่ จ ะใช้ บ่ ง ถึ ง ความยั่ ง ยื น แต่ ส ำหรั บ มร.โรบินส์ แล้ว สิ่งที่จะบอกว่ายั่งยืนหรือไม่คือ ความสามารถในการเพิ่มผลผลิต ถ้าสามารถ เพิ่ ม ผลผลิ ต ได้ อ ย่ า งสม่ ำ เสมอ และต่ อ เนื่ อ ง ยาวนานก็ถอื ว่ามีความยัง่ ยืน แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นๆ ลงๆ ก็ถือว่า ยังไม่ยงั่ ยืน โดยพืน้ ฐานทีส่ ำคัญของความยัง่ ยืน ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งนั้นประกอบด้วย การมีสายพันธุ์กุ้งที่ดี และการดูแลรักษาสภาพ แวดล้อมอย่างเหมาะสม

สายพันธุ์กุ้ง เป็นทีท่ ราบกันเป็นอย่างดีวา่ การพัฒนา สายพันธุก์ งุ้ นัน้ ต้องใช้ระยะเวลานานนับ 10 ปี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรื อ ซี พี เ อฟ จึ ง ตั ด สิ น ใจนำพั น ธุ์ กุ้ ง ขาวจาก หลากหลายแหล่งมาทำการปรับปรุง พัฒนา สายพันธุ์ตั้งแต่ปี 2545 เพื่อที่จะไม่ต้องพึ่งพา สายพันธุ์กุ้งจากต่างประเทศ ซึ่งคุณสมบัติและ ลักษณะต่างๆ ของสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นการ เจริญเติบโต หรือความแข็งแรงทนทานต่อโรค




นั้น สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม โดย สายพันธุ์ที่ดีจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิต สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง เนื่องจาก ระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นลง (จากการที่กุ้งโต เร็วขึ้น) อัตราแลกเนื้อ (FCR) ที่ลดลง รวมทั้ง อัตรารอดที่สูงขึ้น แต่การที่จะทำให้ลูกพันธุ์ สามารถแสดงคุณสมบัตทิ โี่ ดดเด่นของสายพันธุ์ ได้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ นั้ น จะต้ อ งอาศั ย องค์ ป ระกอบ ต่างๆ ที่ครบถ้วนเพียงพอด้วย ไม่ว่าจะเป็น ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ การกำจัดพาหะ รวมทั้ ง การจั ด การสภาพแวดล้ อ มในบ่ อ ที่ เหมาะสม ปั จ จุ บั น ซี พี เ อฟมี ศู น ย์ พั ฒ นาสายพั น ธุ์ อยู่ 4 ศูนย์ โดยมีโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา สายพันธุ์ 2 โปรแกรมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน และ แยกจากกันโดยเด็ดขาด เพื่อลดความเสี่ยง ถ้า มีโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งไม่ประสบความ สำเร็จในการคัดเลือกพ่อแม่พนั ธุเ์ พือ่ นำมาใช้ใน การผลิตนั้น จะให้ความสำคัญกับคุณลักษณะ ของสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยพ่อแม่พันธุ์ที่มีการนำมาใช้ ในการผลิตลูกพันธุ์กุ้งนั้น ทุกตัวจะสามารถ ตรวจสอบย้อนกลับไปได้ว่ามาจากพ่อแม่พันธุ์ ตั้งต้นตัวไหน ทำให้มั่นใจได้ว่าลูกพันธุ์กุ้งของ ซีพเี อฟจะไม่มปี ญ ั หาเลือดชิด ซึง่ ในทางวิชาการ นั้น ค่าที่ใช้ประเมินการเกิดเลือดชิดจะต้องมี ค่าเกินกว่าร้อยละ 6 จึงถือว่าเกิดปัญหาเลือดชิด แต่ในส่วนของสายพันธุ์ซีพีเอฟนั้นมีค่าสูงสุด ไม่เกินร้อยละ 3 ซึง่ ยังอยูห่ า่ งจากเกณฑ์ของการ เกิดเลือดชิดอยูม่ าก แต่ในกรณีทมี่ กี ารนำลูกกุง้ ของซีพเี อฟจากในบ่อดินไปเป็นพ่อแม่พนั ธุน์ นั้ จะ เพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหาเลือดชิดซึ่งอาจสูง

ถึงร้อยละ 25 นอกจากนี้การที่มี 2 โปรแกรม ที่แตกต่างและแยกจากกัน ทำให้สามารถลด ค่ า ของการเกิ ด เลื อ ดชิ ด ให้ เ ป็ น ศู น ย์ ไ ด้ โดย การเอาพ่อแม่พันธุ์จาก 2 โปรแกรมที่แตกต่าง กันนี้ มาผสมกันจากจำนวนครอบครัวที่มีอยู่ ในปัจจุบนั นี้ ทำให้สามารถใช้ไปได้อกี อย่างน้อย 20 ปี โดยไม่มีปัญหาเลือดชิด ในการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของ กุง้ นัน้ ในระยะแรกๆ ของการคัดเลือกสายพันธุ์ จะทำการทดสอบในเรสเวย์ (Raceway) ซึง่ เป็น ระบบปิดที่สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้แทบ ทั้งหมด แต่ในปัจจุบันนี้จะใช้การทดสอบในบ่อ เปิดเพื่อให้เหมือนกับระบบการเลี้ยงจริงมาก ที่สุด นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มความเครียดต่างๆ ให้กับกุ้งที่ทดสอบ โดยเลี้ยงกุ้งในอัตราความ หนาแน่นทีส่ งู ขึน้ ให้มรี ะดับออกซิเจนในน้ำไม่สงู รวมทัง้ สภาพพืน้ บ่อทีไ่ ม่ดนี กั เพือ่ ทำให้สามารถ คัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลดีที่สุดกับสภาพการ เลี้ยงในบ่อเลี้ยงจริงๆ ในการคัดเลือกพ่อแม่พนั ธุก์ งุ้ เพือ่ นำมาใช้ ในการผลิตลูกพันธุ์กุ้งนั้น ไม่ได้พิจารณาเฉพาะ อัตราการเจริญเติบโตของกุ้งเพียงอย่างเดียว แต่จะคัดเลือกโดยใช้ผลรวมของอัตราการเจริญ เติบโตและอัตรารอด หรือความแข็งแรงของกุง้ โดยความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเจริญเติบโต และความแข็งแรงของกุ้งนั้น มักมีการกล่าวกัน ว่า กุง้ ทีโ่ ตเร็วจะต้องอ่อนแอ แต่ในความเป็นจริง แล้ว อัตราการเจริญเติบโตและความแข็งแรง หรือความต้านทานโรคนัน้ สามารถพัฒนาแยก กันได้ ดังจะเห็นได้จากในระยะแรกของการเลีย้ ง กุ้งขาวที่มักประสบปัญหาการตายของกุ้งจาก โรคทอร่า โดยในขณะนั้นเชื่อกันว่า สายพันธุ์ที่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

65


ทนต่อเชือ้ ไวรัสชนิดนีจ้ ะต้องโตช้ากว่ากุง้ ปกติ แต่ ก็มขี อ้ พิสจู น์ทแี่ น่ชดั แล้วว่าไม่ได้เป็นเช่นนัน้ โดย ปัจจุบันซีพีเอฟมีสายพันธุ์กุ้งที่ทนต่อโรคทอร่า และในขณะเดียวกันก็มีอัตราการเจริญเติบโตที่ สูงมากด้วยเช่นกัน ในการทดสอบความทนทานของกุ้ ง ต่อเชื้อต่างๆ นั้น ซีพีเอฟมีศูนย์ทดสอบที่ได้ มาตรฐานสากล ซึ่งตั้งขึ้นในปี 2548 โดยใช้ เชื้อไวรัสทอร่า และเชื้อแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอ ในการทดสอบ และจะคัดเลือกเอาเฉพาะครอบครัวที่มีอัตรารอดสูงเท่านั้นมาใช้ในการผลิต ลูกพันธุ์กุ้ง จากการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบนั ทำให้สามารถเลือกครอบครัว ที่โตเร็ว และทนทานต่อโรคไปพร้อมๆ กันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลังๆ นี้ จะให้ความ สำคัญกับความต้านทานโรค และการเจริญ เติบโตที่ดีในสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงจริง มากขึ้น ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่ต้องกังวลว่าสาย พันธุ์ซีพีเอฟจะให้ผลดีเฉพาะในระบบที่มีสภาพ แวดล้อมทีด่ เี ท่านัน้ โดยจะให้ผลทีด่ เี ช่นเดียวกัน เมื่อนำไปเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่เป็นบ่อเลี้ยง จริง

สภาพแวดล้อม ประเทศจี น เป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ ป ระสบ ปั ญ หาการตายของกุ้ ง จากโรคอี เ อ็ ม เอสเป็ น

66

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

อย่างมากในช่วง 3 ปีทผี่ า่ นมา จากข้อมูลพบว่า อุณหภูมิของอากาศในฤดูหนาวที่เกาะไห่หนาน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีนจะเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปี ซึ่ ง อาจมี ผ ลทำให้ ร ะบบนิ เ วศในทะเลมี ก าร เปลี่ยนแปลงไป ในช่วงที่เกิดปัญหาการตาย ของกุง้ จากโรคอีเอ็มเอสนัน้ เกษตรกรจะสังเกต พบว่า แมงกะพรุนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทะเล ที่มีการนำน้ำมาใช้ในการเลี้ยงกุ้ง ซึ่งการเพิ่ม จำนวนของแมงกะพรุนจะเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งถึง การเกิดสภาวะยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication) หรือสภาวะที่แหล่งน้ำมีการสะสมธาตุอาหาร ทำให้ เ กิ ด การเพิ่ ม ของแพลงก์ ต อนพื ช และ พืชน้ำบางชนิดในปริมาณที่มากเกินไป โดยพบ ว่ามีของเสียที่ถูกปล่อยทิ้งลงทะเลจากโรงงาน ทีอ่ ยูใ่ นบริเวณนัน้ ซึง่ มีสงิ่ ทีส่ นับสนุนคือ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีประชากรย้ายมาอาศัยอยู่ใน แถบชายฝั่งมากขึ้น ดังนั้นทะเลจีนใต้จึงต้อง รับมลภาวะทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และ มลภาวะที่เกิดจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมาก ขึ้นด้วย การเพิ่ ม ความหลากหลายทางชี ว ภาพ ก็เป็นแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจ โดยมักพบว่า การ เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งเพียง อย่างเดียวจะไม่ยั่งยืน เนื่องจากมักจะเกิดโรค หรือมีตวั เบียนมารบกวน ทำให้กระทบต่อผลผลิต ถึงแม้ว่าจะมีการป้องกันที่ดีแล้วก็ตาม ทำให้ เกษตรกรมี ค วามจำเป็ น ต้ อ งใช้ ส ารเคมี ช นิ ด


ต่างๆ เช่น ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าแมลงในการ ช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิต ตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นแนวทางที่ เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน โดยสรุปแล้ว ความยั่งยืนจะแปรผันตาม ระบบการจัดการทั้งในระดับบ่อเลี้ยงและฟาร์ม และความหลากหลายทางชีวภาพของบ่อ ในขณะ เดียวกัน จะแปรผกผันกับอัตราความหนาแน่น ของการลงลูกกุง้ ดังนัน้ ฟาร์มทีม่ กี ารจัดการทีด่ ี เตรียมบ่อเลีย้ งให้มคี วามหลากหลายทางชีวภาพ สูง ลงกุ้งตามศักยภาพของบ่อ ไม่หนาแน่น เกิ น ไป และไม่ อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ ที่ มี ฟ าร์ ม อยู่ อ ย่ า ง หนาแน่นมาก ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ อย่างยั่งยืนมากขึ้น

โรคอีเอ็มเอส ในความเห็นของ มร.โรบินส์ นั้น โรคนี้ เหมือนตะกร้าที่รวมเชื้อต่างๆ หลากหลายชนิด เอาไว้ โรคนีเ้ ริม่ พบในประเทศจีนตัง้ แต่ปี 2552 หลังจากนั้นได้แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย และประเทศไทย ใน ช่วงแรกนั้นเชื่อว่าปัญหานี้น่าจะเกิดจากสภาพ พื้นบ่อที่ไม่ดี แต่ต่อมาพบว่าบ่อที่พื้นบ่อยังอยู่ ในสภาพที่ดีมากก็เกิดปัญหานี้เช่นกัน จึงทำให้ คิดว่าไม่นา่ จะเกิดจากสภาพพืน้ บ่อ ดังนัน้ สาเหตุ ของโรคนีเ้ ชือ่ ว่าไม่นา่ จะเกิดจากการจัดการ โดย สาเหตุทอี่ าจเป็นไปได้ เช่น สารพิษ ซึง่ ดร.โดนัลด์ ไลท์เนอร์ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านโรคกุง้ พบว่า ลักษณะ การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่ตับกุ้งป่วย

มีลักษณะคล้ายกับในกรณีที่ได้รับสารพิษบาง ชนิด โดยสารพิษจะเข้าไปทำให้กุ้งอ่อนแอ และ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้กุ้ง ตาย อีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนว่าอาจจะเกิด จากสารพิษคือ โรคนี้จะเกิดในกุ้งเล็กมากกว่า กุ้งใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะของสารพิษที่จะมีความ รุนแรงลดน้อยลงตามน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับฤดูกาลนั้น จะพบว่าฤดูร้อนจะเกิดโรค มากกว่าปกติทั้งในจีน เวียดนาม และมาเลเซีย และสิง่ ทีพ่ บเหมือนกันอีกอย่างหนึง่ คือ ลักษณะ ของท่อตับทีผ่ ดิ รูปเมือ่ ดูโดยกล้องจุลทรรศน์ ซึง่ พบลักษณะนี้ในกุ้งป่วยจากทุกประเทศ แต่ยัง ไม่ทราบว่าความผิดปกติดงั กล่าวมีความสัมพันธ์ กับการเกิดโรคอย่างไร จากข้อมูลต่างๆ ในขณะนี้ ทำให้เชือ่ ว่า ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ มาจากน้ำทีใ่ ช้เลีย้ ง กุง้ โดยพบว่า ฟาร์มทีใ่ ช้นำ้ บาดาลจะลดปัญหา การเกิดโรคได้ นอกจากนี้ จะต้องมีสารก่อโรค (Agent) ซึ่งยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุหลัก ร่วมกับปัจจัยเสริมต่างๆ ที่เอื้อทำให้เกิดโรคนี้ โดยถ้าไม่มสี ารก่อโรค ไม่วา่ กุง้ จะอยูใ่ นสภาวะใด ก็ จ ะไม่ เ กิ ด โรคนี้ ในขณะเดี ย วกั น ถ้ า มี ส าร ก่ อ โรคอยู่ แต่ มี ก ารจั ด การบ่ อ ที่ เ หมาะสมก็ สามารถลดโอกาสการเกิดโรคลงได้ ดังนั้นการ ลดความเสี่ยงในเบื้องต้นอาจทำได้โดยการลง ลูกกุ้งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำความสะอาดและฆ่า เชื้อที่พื้นบ่อและในน้ำก่อนใช้ หรือใช้น้ำบาดาล รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพโดย การเลีย้ งปลาร่วมด้วย ซึง่ สิง่ ต่างๆ เหล่านีท้ ำให้ สามารถลดปัญหาลงได้ระดับหนึ่ง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

67


Market Movement

ไทยยังครองแชมป์

ทูน่าโลก

ในกลุ่มสินค้าประมงที่ไทยครองแชมป์ ผู้ผลิตและส่งออกอันดับหนึ่งของโลก นอกจาก สิ น ค้ า กุ้ ง แล้ ว ทู น่ า กระป๋ อ งถื อ เป็ น อี ก หนึ่ ง โปรดักส์แชมเปี้ยนของไทยที่ครองเบอร์หนึ่ง ของโลกมาเป็นเวลายาวนาน ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ อนาคตอุตสาหกรรมทูน่าของไทยนับจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร จะมีปัญหาอุปสรรคที่ทำให้ตกบัลลังก์หรือไม่ "ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์" อุปนายกและประธาน กลุ่ ม ผู้ ผ ลิ ต ปลาทู น่ า สมาคมผู้ ผ ลิ ต อาหาร สำเร็จรูป เพื่อฉายภาพปัจจุบัน และอนาคต ของอุตสาหกรรมทูน่าที่ทำรายได้เข้าประเทศ ปีละเกือบ 1 แสนล้านบาท  ส่งออกปริมาณลด-มูลค่าพุ่ง

ปัจจุบัน สินค้าปลาทูน่ากระป๋อง และ ผลิตภัณฑ์ของไทย สามารถผลิตและส่งออก ไปยังกว่า 200 ประเทศทัว่ โลก ซึง่ ถือเป็นสินค้า ที่ มี ฐ านตลาดใหญ่ สุ ด และครอบคลุ ม ตลาด ทัว่ โลกมากทีส่ ดุ ของไทย สืบเนือ่ งจากเป็นสินค้า อาหารจำเป็น ยิ่งในยามวิกฤติเศรษฐกิจโลก ยิ่ ง ขายดี สำหรั บ ในปี 2555 ที่ ผ่ า นมา ไทยส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง และอาหารสัตว์ ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

68

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

เลี้ยงที่ทำจากทูน่าปริมาณรวม 6.30 แสนตัน แยกเป็นปลาทูนา่ กระป๋องปริมาณ 5.59 แสนตัน และอาหารสัตว์เลี้ยงที่ทำจากปลาทูน่า 7.05 หมืน่ ตัน เทียบกับปี 2554 ขยายตัว -3% และ 2% ตามลำดับ ส่ ว นแง่ มู ล ค่ า การส่ ง ออกทั้ ง สองผลิ ต ภัณฑ์ มีมูลค่าการส่งออกรวม 8.84 หมื่นล้าน บาท แยกเป็นผลิตภัณฑ์ปลาทูนา่ กระป๋อง 8.25 หมื่นล้านบาท และอาหารสัตว์เลี้ยงที่ทำจาก ทูนา่ อีก 6.86 พันล้านบาท ขยายตัวเพิม่ ขึน้ จาก ปี 2554 ในอัตรา 19 และ 23% ตามลำดับ ซึง่ มูลค่าส่งออกทีข่ ยายตัวสูงเป็นผลจากวัตถุดบิ ปลาทูน่าราคาแพง ทำให้ต้องผลิตสินค้าที่มี มูลค่าเพิม่ สูง โดยเพิม่ ส่วนผสมต่างๆ เพือ่ ใช้ปลา น้อยลง "ถ้าดูในแง่มูลค่าแล้วก็น่าพอใจ แม้แง่ ปริ ม าณส่ ง ออกจะลดลง เนื่ อ งจากวั ต ถุ ดิ บ ปลาทูน่าที่จับได้มีน้อย และมีราคาแพง โดย ปีที่แล้วราคาวัตถุดิบปลาทูน่าเฉลี่ยที่ 1,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และสูงสุดที่ 2,370


ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 2,100 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ต่อตัน ซึง่ เป็นไปตามดีมานด์-ซัพพลาย ที่แต่ละปีการจับทูน่าโลกจำกัดไว้ที่ 4 ล้านตัน ซึ่งในปีนี้ราคาปลาทูน่าเฉลี่ยทั้งปีคาดไม่น่าต่ำ กว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน"  โตต่อเนื่อง

200 ตลาดลดเสี่ยง

สำหรั บ ในปี 2556 ได้ ตั้ ง เป้ า หมาย การส่ ง ออกผลิ ต ภั ณ ฑ์ ทู น่ า แง่ มู ล ค่ า ขยายตั ว 5-10% ส่วนด้านปริมาณส่งออกทูน่ากระป๋อง คาดจะส่งออกได้ประมาณ 5.6-5.8 แสนตัน และอาหารสัตว์เลี้ยงที่ทำจากทูน่าน่าจะอยู่ที่ ประมาณ 7 หมื่นตัน โดยตลาดหลักคือสหรัฐอเมริ ก า (ทู น่ า ไทยมี ส่ ว นแบ่ ง ตลาดสหรั ฐ ฯ มากกว่า 50%) ถือมีความอิ่มตัวระดับหนึ่ง แต่คงเพิ่มขึ้น หรือลดลงไม่มาก ส่วนตลาดยุโรป (ส่วนแบ่งตลาด 10%) แม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจแต่การบริโภคก็ไม่ได้ ลดลง ตลาดญี่ปุ่น และออสเตรเลีย (ไทยมี ส่วนแบ่งทั้งสองตลาดมากกว่า 80%) ยังรักษา ระดับได้ดี ตลาดตะวันออกกลาง และแอฟริกา ซึ่งเป็นตลาดศักยภาพสูง ภาษีนำเข้าต่ำ 0.5% จะยังขยายตัวได้ดี รวมถึงตลาดหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟกิ น่าจะยังไปได้ดี ขณะตลาด เมอร์โคซูร์ หรือกลุม่ ลาตินอเมริกา (ประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา) การนำเข้าอาจชะลอตัวลงจากที่กลุ่ม นี้ได้ มีการปรับเพิ่มภาษีนำเข้าทูน่าประป๋อง จาก 16 เป็น 35% หลังมีปัญหาขาดดุลการ ชำระเงิน

"แม้บางตลาดจะมีปัญหา แต่จากฐาน การตลาดทู น่ า กระป๋ อ งของไทยที่ มี ม ากกว่ า 200 ประเทศทั่วโลก ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบ มาก ถ้ามีปัญหาประเทศหนึ่งก็ยังอยู่ได้ เรา ไม่กลัวขายไม่ได้ แต่ขายแล้วต้องได้กำไร ซึ่ง ในส่วนตลาดยุโรปที่มีปัญหาเศรษฐกิจ และเรา ต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึง 24% แต่ก็ยังแข่งขัน ได้ หากการเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-สหภาพยุโรป สามารถสรุปผลและมีผล บังคับใช้ใน 2 ปีนับจากนี้ จะช่วยเพิ่มความ สามารถในการแข่งได้อกี มาก เพราะภาษีจะเป็น 0% โอกาสที่เราจะนำเข้าปลาทูน่าเพื่อผลิต ส่งออกกลับไปที่ 8 แสนตันก็มีความเป็นไปได้ สูง"  คู่แข่งยังห่างชั้นหลายขุม

ในเวทีโลก ณ วันนี้ ประเทศสเปน ถือ เป็นผู้ผลิตและส่งออกอันดับ 2 รองจากไทย ในแง่ผลิตปีหนึ่งประมาณ 3 แสนกว่าตัน เน้น การทำตลาดยุโรปสัดส่วนกว่า 80% ดังนั้นจึง แข่งขันกับไทยเฉพาะตลาดยุโรปเท่านั้น ไม่ได้ แข่งกับเราในตลาดอืน่ อันดับ 3 เป็นเอกวาดอร์ เน้นส่งออกยุโรปกับอเมริกากลางเท่านัน้ อันดับ 4 เป็นฟิลิปปินส์ แต่ผลผลิตยังห่างจากไทย มาก เทียบแล้วคิดเป็นสัดส่วนเพียง 20% ที่ ไทยผลิต ไม่น่าห่วงในการแข่งขัน  ทูน่าไทยในมือ10

กลุ่มบริษัท

ขณะที่ภาพรวมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปลาทูนา่ ของไทย ปัจจุบนั มีผปู้ ระกอบการ ประมาณ 10 กลุ่มบริษัท โดย 5 อันดับแรก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

69


ประกอบด้วยกลุ่มไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นโปรดักส์ (ทียูเอฟ) กลุ่มซีแวลู กลุ่มโชติวัฒน์ฯ กลุ่มคิงส์ฟิชเชอร์ และกลุ่มพัทยาฟู้ด ในจำนวนนี้ กลุ่มไทยยูเนี่ยน และซีแวลู มีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็น 2 ใน 3 ของอุตสาหกรรมในภาพรวม "จุดเด่นของบริษัทผู้ผลิตและส่งออกทูน่า ของไทยคือ มีความร่วมมือกัน ไม่ขายตัดราคา หรือดัมพ์ราคากันเองเสมือนหนึง่ เป็นบริษทั เดียว คือ เป็นบริษัทประเทศไทย ที่ผ่านมาสมาคม เป็นตัวกลางช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรค ทำให้ทุก บริษัทได้ประโยชน์ เท่าที่ทราบปีที่แล้ว ทุกบริษัท มีกำไร ยังมั่นใจว่าในอีก 5 ปี 10 ปี ข้างหน้า อุตสาหกรรมทูน่าไทยของไทยจะยังเป็นเบอร์หนึ่ง ของโลก ทั้งในเรื่องการผลิต เรื่องการตลาด รวมถึง การจัดหาวัตถุดิบ" ทั้งนี้ไทยไม่มีความจำเป็นต้องไปลงทุนตั้งฐานผลิตทูน่าในต่างประเทศ แต่อาจจะไปซื้อ กิจการเพื่อให้ได้แบรนด์สินค้ามากกว่า เพราะอย่างไรไทยยังถือเป็นโปรดักชั่นเบสท์ หรือฐาน ผลิตที่ดีที่สุด เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบทั้งจากแหล่งมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งคิดเป็น 70% ของแหล่งวัตถุดิบทูน่าโลก และในแง่ภูมิศาสตร์ที่ตั้งไทยสามารถส่งออกไปได้ ทั่วโลก  อุปสรรคใช่ว่าไม่มี

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมทูน่าของไทยใช่จะโรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะยังมีปัญหา อุปสรรค ทั้งถูกกีดกันจากประเทศคู่ค้าจากมาตรการทางด้านภาษี และไม่ใช่ภาษี (เอ็นทีบี) แต่ อีกแง่มุมหนึ่งถือเป็นโอกาส หากไทยสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบคู่ค้าได้ ซึ่งขณะนี้อุปสรรค สำคั ญ นอกจากยั ง มี ปั ญ หาวั ต ถุ ดิ บ ขาดแคลนและราคาสู ง แล้ ว ยั ง มี ปั ญ หาที่ ต้ อ งปฏิ บั ติ ต าม ระเบียบ IUU Fishing ของสหภาพยุโรป ปัญหาวิธีการตรวจสอบสินค้าทูน่ากระป๋องของสหภาพ ยุโรป ปัญหาการปฏิบัติตามระเบียบความปลอดภัยอาหาร HACCP version ใหม่ของ USFDA ซึ่งทุกปัญหาที่กล่าวมาทางสมาคมได้ร่วมมือกับกรมประมงในการแก้ไข และได้เริ่มคลี่คลายไป ในทางที่ดี

70

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


Around the World

ธุรกิจเกษตรและเกษตรแปรรูป...

โอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในกัมพูชา

กัมพูชามีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะแก่การเพาะปลูกพืช เศรษฐกิจหลากหลายชนิด แต่ยังขาดผู้ประกอบการที่มีทักษะและความพร้อมในการผลิตและ แปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งออก รัฐบาลกัมพูชาจึงส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนใน ธุรกิจเกษตรและเกษตรแปรรูป เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ และสร้าง มูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรของกัมพูชา ขณะที่ผู้ประกอบการไทยมีความชำนาญในการแปรรูป สินค้าเกษตรเป็นอย่างดี จึงนับเป็นโอกาสในการเข้าไปลงทุนธุรกิจดังกล่าวในกัมพูชา  ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนธุรกิจเกษตรและเกษตรแปรรูปในกัมพูชา

• มีพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร กัมพูชามีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์และพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นทีร่ าบลุม่ จึงเหมาะแก่การทำการเกษตร สามารถเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจได้หลายชนิด โดยเฉพาะ ข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกราวร้อยละ 65 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้ง ประเทศ รวมทั้งพืชเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว งา มันสำปะหลัง และยางพารา เป็นต้น • ขาดแคลนผูป้ ระกอบการทีม่ ที กั ษะและความพร้อมในการผลิตสินค้าเพือ่ ส่งออก ส่งผล ให้ผลผลิตทางการเกษตรยังไม่ได้มาตรฐานและคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ อีกทั้ง เกษตรกร กัมพูชาส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่ทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ซึ่งเน้นการเพาะปลูกเพื่อ บริโภคเป็นหลัก และยังขาดความรูแ้ ละเทคโนโลยีในการเพาะปลูกพืชในเชิงพาณิชย์ รวมทัง้ ขาดแคลน เงินทุนในการซือ้ ปัจจัยการผลิต อาทิ เมล็ดพันธุ์ และปุย๋ เป็นต้น ซึง่ ผูป้ ระกอบการไทยสามารถเข้าไป เติมเต็มในส่วนเหล่านี้ได้ • รัฐบาลกัมพูชาสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจเกษตรและเกษตรแปรรูป เพื่อก่อให้เกิด การจ้างงานและสร้างรายได้แก่เกษตรกร ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 80 ของประชากรทั้งประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะธุรกิจเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ รัฐบาลให้ สิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษีสำหรับการนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อ ส่งออก รวมทั้งอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนในธุรกิจเกษตรและเกษตรแปรรูปได้ 100% ในกิจการส่วนใหญ่ ยกเว้นบางสาขา อาทิ การเพาะปลูกพืชพื้นเมือง เช่น สมุนไพร และยา ซึ่งสงวนไว้สำหรับเกษตรกรชาวกัมพูชา เป็นต้น ที่มา: ส่วนวิจัยธุรกิจ 2 ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2556 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

71


 โอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ

• ธุรกิจโรงสีข้าว โรงสีข้าวในกัมพูชาส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ เนือ่ งจากผูป้ ระกอบการกัมพูชามีขอ้ จำกัดด้านเงินทุน และยังใช้เครือ่ งจักรกลทีม่ เี ทคโนโลยีไม่ทนั สมัย ทำให้โรงสีข้าวรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาได้เพียงบางส่วน นอกจากนี้ โรงสีข้าวส่วนใหญ่ยังไม่ สามารถควบคุมคุณภาพของข้าวที่สีแล้วได้ ทำให้ข้าวเปลือกที่ผลิตได้ส่วนหนึ่งต้องส่งออกไป เวียดนาม และไทย เพื่อผ่านกระบวนการสีข้าวอีกต่อหนึ่ง ส่งผลให้การสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ ต่ำกว่าทีค่ วรจะเป็น รัฐบาลจึงสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจโรงสีขา้ ว ทัง้ นี้ ปัจจุบนั มีนกั ลงทุนจากไทย เวียดนาม และจีนเข้าไปตัง้ โรงสีขา้ วในจังหวัดพระตะบอง ซึง่ เป็นแหล่งปลูกข้าว ที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาจนได้รับการขนานนามว่า Rice Bowl of Cambodia และจังหวัด บันเตียเมียนจัย ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญอีกแห่งหนึ่ง • ธุรกิจสวนยางและโรงงานแปรรูปยางธรรมชาติขั้นต้น ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุน ต่างชาติเข้าไปปลูกยางพาราในกัมพูชาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2554 มูลค่าการลงทุนปลูก ยางพาราในกัมพูชาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 255 จากปี 2553 มาอยู่ที่ 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากราคายางที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับรัฐบาลสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจดังกล่าว ส่งผลให้ปจั จุบนั มีพนื้ ทีป่ ลูกยางพาราในกัมพูชา 1.33 ล้านไร่ จากพืน้ ทีท่ เี่ หมาะกับการปลูกยางพารา ทัง้ หมดราว 1.88 ล้านไร่ ซึง่ สะท้อนให้เห็นว่ากัมพูชายังมีศกั ยภาพในการขยายพืน้ ทีป่ ลูกยางพารา ได้อีก ทั้งนี้ ปัจจุบันมีนักลงทุนจากไทย เวียดนาม จีน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ เข้าไปลงทุนปลูก ยางพารา และตั้งโรงงานแปรรูปยางในหลายจังหวัดทางฝั่งตะวันออกของประเทศ ซึ่งเป็นแหล่ง ปลูกยางพาราสำคัญ อาทิ กัมปงจาม กำปงธม และมณฑลคีรี เป็นต้น • ธุรกิจเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรอินทรียเ์ ป็นสินค้าทีม่ มี ลู ค่าเพิม่ สูงและกำลังเป็นทีน่ ยิ ม ในตลาดญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา รัฐบาลจึงส่งเสริมการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์เพื่อส่งออก เนื่องจากกัมพูชามีศักยภาพสูงในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์จากความพร้อมของสภาพดินและ น้ำทีย่ งั ปลอดจากมลพิษ โดยรัฐบาลมีนโยบายมุง่ สูก่ ารเป็น “ฟาร์มปลอดสารพิษแห่งเอเชีย (Green Farm of Asia)” ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้มีการผลิตที่หลากหลายขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและการท่องเที่ยวเป็นหลัก ทั้งนี้ ธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของกัมพูชายังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์ส่งออกสำคัญ มีเพียงข้าว และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ขณะที่การปลูกผักและผลไม้อินทรีย์อื่นๆ ยังน้อย จึงนับเป็น โอกาสของผูป้ ระกอบการไทยในการเข้าไปลงทุนและให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดทักษะความรู้ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกรท้องถิ่น เพื่อบุกเบิกธุรกิจดังกล่าวในกัมพูชา

72

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556


• การส่งออกเครื่องจักรและอุปกรณ์การเกษตร อาทิ รถไถ รถเก็บเกี่ยว รถตัดหญ้า เครื่องสูบน้ำ เครื่องปั๊มน้ำ เครื่องสีข้าว และเครื่องอบ ทั้งนี้ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตร ที่เหมาะกับตลาดกัมพูชาควรมีเทคโนโลยีไม่ซับซ้อน ใช้งานสะดวก สามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย และ ราคาไม่สูงนัก เนื่องจากเกษตรกรกัมพูชาส่วนใหญ่ยังขาดทักษะและมีข้อจำกัดด้านเงินทุน

Disclaimer: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อ วัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ ไม่ว่าโดยทางใด ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

73


Around the World

ลุยค้าเสรี สหรัฐฯ-ยุโรป

ฟื้นศก.-สุมหัวสกัดพญามังกร โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์

ภายหลังจากที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่ ง สหรั ฐ ฯ ให้ ก ารรั บ รองว่ า จะเร่ ง ผลักดันการเจรจาการค้าเสรี (เอฟทีเอ) สหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป (อียู) ในระหว่างการแถลง นโยบายต่อรัฐสภาเมื่อต้นเดือน ก.พ. บวกกับ การที่ โฮเซ มานูเอล บารอสโซ ประธาน กรรมาธิการยุโรป ได้ออกมาขานรับข้อเสนอ ดังกล่าวในไม่กี่อึดใจ ประเด็นดังกล่าวได้กลาย เป็นประเด็นร้อนที่ได้รับการโจษจันกันทั่วโลก ทันที

มาตรฐานสินค้า และความปลอดภัยที่ต่างกัน ก็ทำให้ตน้ ทุนการผลิตสินค้าทีจ่ ะนำไปขายยังอีก ฝ่ายหนึง่ ต้องเพิม่ สูงขึน้ โดยไม่จำเป็น และก็เป็น ส่วนหนึง่ ทีท่ ำให้ศกั ยภาพในการแข่งขันในตลาด โลกของทั้งสหรัฐฯ และยุโรปลดลง

การเจรจาข้อตกลงเอฟทีเอดังกล่าว ทั้ง สหรัฐฯ และอียูก็ได้ประกาศแล้วว่าทั้งสองฝ่าย จะเริ่มต้นขึ้นภายในเดือน มิ.ย.นี้ หลังจากการ เจรจาที่ผ่านมากว่า 15 ปีไม่มีความคืบหน้าไป เท่าที่ควร

จากการประเมินคาดว่า เอฟทีเอสองฝั่ง แอตแลนติกจะช่วยทำให้จีดีพีของทั้งสองฝ่าย รวมกันแล้วเพิ่มขึ้นมากถึง 1% ต่อปี ซึ่งนั่น ถือว่าเป็นอัตราส่วนการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นมาก ในสายตาของ สหรัฐฯ และยุโรป ในปัจจุบันที่ การขยายตัวทำได้อย่างกระท่อนกระแท่น

เหตุแรกที่เป็นตัวผลักดันให้ทั้งสองฝ่าย ต้องการหันมาเจรจากันอย่างจริงจังอีกครั้ง อย่างไม่ต้องประหลาดใจก็คือการที่ ทั้งสหรัฐฯ และยุโรป กำลังโหยหากลไกขับเคลื่อนทาง เศรษฐกิจตัวใหม่ เพื่อมาช่วยกอบกู้ปัญหา เศรษฐกิจ และการว่างงานที่สูงอยู่ในขณะนี้ เพราะต้องยอมรับว่า แม้ว่าทั้งสหรัฐฯ และยุโรป จะมีอตั ราภาษีทางการค้าระหว่างกัน ในระดับต่ำอยู่แล้ว แต่ว่ามาตรการกีดกันทาง การค้าที่ไม่ใช่ภาษียังมีอยู่มาก อาทิ ข้อกำหนด

74

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

ดังนั้น การขจัดอุปสรรค และรวบรวม ข้อกำหนดต่างๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวม ถึงช่วยให้การเข้าถึงตลาดง่ายขึ้นก็จะเอื้อให้ 2 เขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกสามารถเพิ่ม ปริมาณการค้าระหว่างกันได้มากขึ้น

สาเหตุประการถัดมา เกิดจากการที่ทั้ง สหรัฐฯ และยุโรป เริ่มหันมาตระหนักแล้วว่า ความร่วมมือทางการค้าที่แนบแน่นกันของทั้ง สองฝ่าย คือสิ่งจำเป็นต่อความอยู่รอดของการ คงสถานะบทบาทนำทางเศรษฐกิจการค้า และ การเมืองของโลกเอาไว้ให้อยู่ในมือต่อไป ท่าม กลางการลุกขึ้นมาท้าทายของประเทศกำลัง พัฒนา


เพราะนั บ ตั้ ง แต่ เ กิ ด วิ ก ฤตเศรษฐกิ จ ใน สหรัฐฯ ปี 2008 และตามมาด้วยวิกฤตหนีย้ โุ รป บทบาทนำของทั้ ง สองมหาอำนาจโลกก็ ดู จ ะ ถูกลดทอนความสำคัญไปไม่น้อย ในขณะเดียว กั น ก็ เ ป็ น จั ง หวะเดี ย วกั น กั บ การที่ ป ระเทศ เศรษฐกิจเกิดใหม่กำลังฉายแววออกมาอย่าง โดดเด่น โดยเฉพาะจีน ที่ได้ก้าวขึ้นมาเป็น คู่ค้าหลักอันดับหนึ่งของหลายประเทศ และ เมื่อปีที่แล้วก็ยังสามารถได้แซงหน้า สหรัฐฯ ขึน้ มาเป็นประเทศทีท่ ำการค้ามากทีส่ ดุ ในโลก โดยมีปริมาณการนำเข้าและส่งออกรวมกัน อยูท่ ี่ 3.87 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนสหรัฐฯ อยู่ที่ 3.82 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะเดี ย วกั น จี น ก็ เ พิ่ ม บทบาทใน เศรษฐกิจโลก ด้วยการส่งเสริมการใช้สกุลเงิน หยวนในการทำการค้ากับต่างประเทศโดยตรง กับหลายประเทศทั่วโลกมากขึ้น ไล่ตั้งแต่ใน เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และละตินอเมริกา ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เงิน หยวนเริ่ ม เป็ น ที่ ย อมรั บ ในตลาดการเงิ น โลก มากขึ้น นอกจากนัน้ ล่าสุด จีนก็ได้ประกาศว่าจะ เข้าร่วมการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีในภูมภิ าค เอเชียตะวันออก ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ระหว่างภูมิภาค (อาร์เซ็ป) หรือที่เคยรู้จักกัน ในนามของอาเซียน +6 ทีเ่ ป็นการรวมเอาสมาชิก ภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ พร้อมด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งหากสำเร็จได้ตาม เป้าในปี 2015 ข้อตกลงอาร์เซ็ปก็จะส่งเสริม บทบาทของจีนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้กร้าว แกร่งมากขึ้นไปอีก

ดังนั้น ทั้งสหรัฐฯ และยุโรป จึงไม่มีทาง เลือกนอกจาก จะต้องช่วงชิงจังหวะด้วยการเร่ง สถาปนาการค้าเสรีรูปแบบใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะ หวังนำไปสู่การเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน และ บรรทัดฐานระบบการค้าเสรียุคใหม่โดยเร็ว ซึ่ง หากทำได้ก็เท่ากับว่าเป็นการบีบให้ทั่วโลกต้อง มาทำตาม และเคารพกติ ก าที่ ช าติ ต ะวั น ตก เป็นผู้กำหนดเอาไว้ต่อไป ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของสหรัฐฯ นั้น ข้อ ตกลงเอฟทีเอกับอียูถือว่าเป็นการต่อยอดยุทธศาสตร์ในการต่อกรกับจีนทางเศรษฐกิจทีส่ ำคัญ เพราะว่าในขณะนี้ สหรัฐฯ กำลังผลักดันการ เจรจากรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ซึ่งเป็น ข้อตกลงเอฟทีเอแบบพหุภาคีกับ 11 ประเทศ ในย่านเอเชียแปซิฟิกอีกกรอบหนึ่งอยู่ ฉะนั้น ถ้าหากสหรัฐฯ สามารถบรรลุ ผลการเจรจาได้ทั้ง 2 กรอบ ก็จะช่วยทำให้ สหรัฐฯ สามารถรักษาบทบาทนำแบบผูกขาด ทางเศรษฐกิจโลกเอาไว้ในกำมือ และจะเป็นการ จำกัดพร้อมกับปิดประตูล้อมจีนทางเศรษฐกิจ ได้อย่างหนาแน่นขึ้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

75


ขณะที่อียูเองก็มองว่า การบรรลุผลการ เจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐฯ ดังกล่าวถือว่ามีความ สำคัญมากเช่นกัน เพราะต้องยอมรับว่าปัจจุบนั สหรัฐฯ เริม่ หันเหความสำคัญไปสูเ่ อเชียมากขึน้ อย่างชัดเจน ดั ง นั้ น เพื่ อ เป็ น การดึ ง สหรั ฐ ฯ ไม่ ใ ห้ หมางเมินและหันหลังให้กับยุโรปไปมากกว่านี้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเปรียบเหมือนเป็นอาวุธเด็ด ชิ้นเดียวที่อียูมีอยู่ในการดึงสหรัฐฯ เอาไว้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแผนการจัดตั้งข้อ ตกลงเอฟทีเอของ 2 มหาอำนาจยักษ์ใหญ่ แห่ ง สองฟากมหาสมุ ท รแอตแลนติ ก จะมี เป้าหมาย และผลประโยชน์ที่สอดคล้องกัน แต่กใ็ ช่วา่ ทุกอย่างจะราบรืน่ และสามารถผลักดันให้เดินไปข้างหน้าโดยง่าย เพราะว่ายังมี อุปสรรคสำคัญอย่างประเด็นด้านสินค้าภาค การเกษตร ทีเ่ ปรียบเหมือนหนามคอยทิม่ แทง และฉุดรั้งการเจรจาตลอดเวลาที่ผ่านมา ทัง้ นี้ สาเหตุทปี่ ญ ั หาสินค้าภาคการเกษตร เป็นอุปสรรคสำคัญในการบั่นทอนการเจรจา เอฟทีเอของสหรัฐฯ และยุโรป ก็เนือ่ งมาจากว่า การที่ ทั้ ง สองฝ่ า ยมี ม าตรฐานสิ น ค้ า เกษตรที่ แตกต่ า งมากจนเกิ น ไป โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ข้อห้ามในสินค้าที่มีการตัดแต่งดัดแปลงทาง พันธุกรรม (จีเอ็มโอ) และเนื้อสัตว์ที่เกิดจาก การอัดฮอร์โมนเร่งเข้าไป ในขณะทีส่ นิ ค้าเกษตร สหรัฐฯ ส่วนใหญ่ล้วนแต่มาจากจีเอ็มโอ และ สารเร่งฮอร์โมนเนื้อสัตว์ นอกจากนัน้ แล้ว ประเด็นด้านการอุดหนุน และปกป้องอุตสาหกรรมการเกษตร ผ่านการ จัดสรรงบประมาณส่วนกลางของอียู ก็ถือเป็น

76

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

อุ ป สรรคสำคั ญ ในการทำให้ ก ารเจรจาอาจ สะดุดลงได้ เพราะรัฐมนตรีด้านการเกษตร แห่งอียเู พิง่ ออกมากล่าวเมือ่ ไม่นานมานีว้ า่ การ อุดหนุนราคา และมาตรการการปกป้องภาค การเกษตรควรได้รับการยกเว้นจากผลกระทบ ที่จะเกิดจากข้อตกลงเอฟทีเอกับสหรัฐฯ ส่วนสหรัฐฯ เองก็ใช่ว่าจะเปิดตลาดการ ค้ากับอียูได้โดยง่าย เนื่องจากปัจจุบัน สหรัฐฯ กำลังเผชิญแรงกดดันจากภาคธุรกิจภายในที่ เรียกร้องให้รัฐบาลหันมาใช้มาตรการปกป้อง ตลาดภายในมากขึ้น หลังจากที่ต้องเผชิญกับ สินค้าราคาถูกของจีนไหลเข้าท่วมตลาดในช่วง หลายสิบปีที่ผ่านมา ขณะที่อุปสรรคประการต่อมาก็คือ ด้วย ความที่สินค้าและบริการระหว่าง 2 ฝ่ายที่ดู จะมีความเหมือนกันมากเกินไป ก็อาจทำให้ ความร่วมมือทีเ่ กิดขึน้ ทางการค้าระหว่างเอกชน 2 ฝ่ายไม่ได้เพิม่ ขึน้ อย่างทีค่ ดิ ไว้ ซ้ำร้ายอาจเป็น การแย่งลูกค้ากันเอง ไม่เพียงเท่านัน้ ด้วยปรัชญาการทำธุรกิจ ทีต่ า่ งกัน โดยสหรัฐฯ จะมุง่ เน้นไปทีก่ ารปกป้อง สิทธิของผู้บริโภคและลูกค้า ขณะที่ยุโรปจะเน้น ไปทีก่ ารให้ความสำคัญกับการมุง่ ยกระดับความ สามารถของผู้ประกอบการ ก็อาจทำให้กลาย เป็นจุดบอดในการฉุดรั้งให้การเจรจาเอฟทีเอ ที่วาดหวังไว้สวยหรูอาจทลายลงได้ในพริบตา ฉะนั้นจึงต้องจับตาว่า เอฟทีเอ ฉบับนี้ จะไปได้ไกลแค่ไหน เพราะถ้าหากสำเร็จขึ้นมา โฉมหน้าและทิศทางการค้าทั่วโลกจะตกอยู่ใต้ อิทธิพลของโลกตะวันตกอย่างแน่นอน


Statistics

ข้อมูลนำเข้ากุ้ง 2 ตลาดใหญ่ ตารางที่ 1 การนำเข้ากุ้งแช่แข็งของญี่ปุ่น (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556) หน่วย: ตัน ม.ค.-ก.พ. ม.ค.-ก.พ. % ประเทศ 55 56 แตกต่าง อินโดนีเซีย 4,668 4,375 -6.28 ไทย 4,994 4,250 -14.90 เวียดนาม 4,163 3,816 -8.34 อินเดีย 3,700 3,390 -8.38 จีน 2,489 2,021 -18.80 มาเลเซีย 1,135 919 -19.03 รัสเซีย 1,172 809 -30.97 พม่า 985 796 -19.19 กรีนแลนด์ 429 752 75.29 บังคลาเทศ 481 548 13.93 อื่นๆ 4,398 4,984 13.32 รวม 28,614 26,660 -6.83 ที่มา: Ryuken

ตารางที่ 2 การนำเข้ากุ้งของสหรัฐอเมริกา (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556) หน่วย: ตัน ม.ค.-ก.พ. ม.ค.-ก.พ. % ประเทศ 55 56 แตกต่าง ไทย 22,210 17,427 -21.22 อินเดีย 7,235 12,038 66.39 อินโดนีเซีย 12,918 11,562 -10.50 เอกวาดอร์ 12,550 11,053 -11.93 เวียดนาม 6,422 5,745 -10.62 จีน 5,894 5,489 -6.87 เม็กซิโก 5,473 3,955 -27.74 กายานา 2,067 1,499 -27.48 เปรู 1,445 1,312 -9.20 อื่นๆ 4,771 3,687 -22.72 รวม 86,091 77,588 -9.88 ที่มา: NMFS ที่มา: ข่าวกุ้ง ปีที่ 25 ฉบับที่ 297 เดือนเมษายน 2556 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

77


Statistics

ส่งออกกุ้งไทย 3 เดือนแรก ปี 2556 ตารางที่ 1 การส่งออกกุ้งของไทยเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 ประเทศ/กลุ่มประเทศ เอเชีย - จีน - ญี่ปุ่น - อื่นๆ สหรัฐอเมริกา อียู ออสเตรเลีย อื่นๆ รวม

ม.ค.-มี.ค. ปริมาณ 25,016 813 17,312 6,891 25,249 10,995 2,142 5,875 69,277

55 มูลค่า 7,217 156 5,509 1,552 7,370 3,193 623 1,733 20,136

หน่วย: ปริมาณ-ตัน, มูลค่า-ล้านบาท ม.ค.-มี.ค. 56 % แตกต่าง ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 23,792 6,591 -4.89 -8.67 444 136 -45.39 -12.82 16,958 5,099 -2.04 -7.44 6,390 1,356 -7.27 -12.63 19,051 5,340 -24.55 -27.54 8,019 2,340 -27.07 -26.71 1,782 501 -16.81 -19.58 4,544 1,263 -22.66 -27.12 57,168 16,035 -17.45 -20.37

ที่มา: กรมศุลกากร ที่มา: ข่าวกุ้ง ปีที่ 25 ฉบับที่ 297 เดือนเมษายน 2556

สถานการณ์การผลิตและการส่งออก สินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2556  สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

1. จำนวนลูกกุ้ง PL จาก FMD มกราคม-เมษายน 2556 เดือน ม.ค. 56 ก.พ. 56 มี.ค. 56 เม.ย. 56 รวม ประมาณการ พ.ค. 56

กุ้งกุลาดำ

กุ้งขาว

109,609,000 5,208,044,077 105,705,000 2,930,571,992 149,475,004 3,299,391,910 59,180,800 4,507,325,783 423,969,804 15,945,333,762 122,000,000 4,548,000,000

รวม (รายเดือน) 5,317,653,077 3,036,276,992 3,448,866,914 4,566,506,583 16,369,303,566 4,670,000,000

ที่มา: ข้อมูล FMD กรมประมง รวบรวมโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

78

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

(หน่วย: ตัว)

สัดส่วน กุ้งกุลาดำ 2.06 3.48 4.33 1.30 2.59

: : : : : :

สัดส่วน กุ้งขาว 97.94 96.52 95.67 98.70 97.41


2. สถานการณ์ด้านการผลิต ปี 2556 เดือน กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว รวม (รายเดือน) สัดส่วนกุ้งกุลาดำ ม.ค. 56 1,503.24 27,418.49 28,921.73 5.20 ก.พ. 56 766.59 16,388.95 17,155.54 4.47 มี.ค. 56 575.19 19,506.76 20,081.95 2.86 เม.ย. 56 665.66 13,005.81 13,671.47 4.87 รวม 3,510.68 76,320.01 79,830.69 4.40

หน่วย: ตัน

: : : : : :

สัดส่วนกุ้งขาว 94.80 95.53 97.14 95.13 95.60

ที่มา: ข้อมูล MD Online+MD Center กรมประมง รวบรวมโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

3. สถานการณ์ด้านการส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ เดือนมกราคม-เมษายน 2556 เดือน ม.ค. 56 ก.พ. 56 มี.ค. 56 เม.ย. 56 รวม

ปริมาณ (ตัน) 22,313.16 18,421.67 18,547.87 15,342.14 74,624.85

มูลค่า (ล้านบาท)

ปริมาณ

% เปลี่ยนแปลง

6,007.85 -16.82 4,963.70 -17.44 5,242.20 0.69 4,338.13 -17.28 20,551.88 -19.29 (จาก ม.ค.-เม.ย. 55)

มูลค่า

-18.23 -17.38 5.61 -17.25 -20.77 (จาก ม.ค.-เม.ย. 55)

ที่มา: ข้อมูลนำเข้า-ส่งออก กรมศุลกากร รวบรวมโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

4. สถานการณ์ด้านราคากุ้ง ปี 2555-2556 เดือน ม.ค. 55 ก.พ. 55 มี.ค. 55 เม.ย. 55 พ.ค. 55 มิ.ย. 55 ก.ค. 55 ส.ค. 55 ก.ย. 55 ต.ค. 55 พ.ย. 55 ธ.ค. 55 ม.ค. 56 ก.พ. 56 มี.ค. 56 เม.ย. 56

40 170.71 169.40 162.96 146.75 137.88 132.50 132.50 153.60 159.40 161.67 160.00 160.00 179.17 175.00 194.42 212.14

50 160.71 159.40 150.93 131.75 126.54 125.38 125.00 148.60 154.40 156.68 155.00 155.00 174.17 170.00 189.42 207.14

ขนาด (ตัว/กก.) 60 70 148.81 139.76 148.00 137.00 137.22 129.44 119.50 114.75 117.96 112.81 120.38 115.00 120.00 115.00 143.00 134.40 149.00 141.40 146.13 138.54 146.73 134.62 146.19 133.81 166.46 157.50 161.19 153.57 184.42 174.81 202.14 188.81

(บาท/กิโลกรัม)

80 125.95 131.40 121.30 104.10 107.96 106.85 107.50 124.40 126.40 119.58 118.08 119.05 145.21 144.52 162.69 172.38

90 120.48 128.80 112.04 95.40 101.77 101.92 101.73 110.00 111.40 108.33 107.31 108.57 135.21 136.90 162.12 157.62

100 117.62 124.60 106.67 91.50 98.08 98.46 96.35 100.00 103.40 100.00 97.50 100.95 126.88 127.38 140.77 140.71

ที่มา: ส่วนเศรษฐกิจการประมง รวบรวมโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 149 มีนาคม-เมษายน 2556

79


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ(ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อปฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โกรเบสท์ คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท ทีเอที เอ็นเนอร์ยี่แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท เอวอร์นิค (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ตงชาง เครื่องชั่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด

โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร.

0-2833-8000 0-2680-4580 0-2473-8000 0-2247-7000 0-2814-3480 0-2632-7232 0-2680-4500 0-2194-5678-96 0-2681-1329 0-2279-7534 0-2910-9728-29 0-2938-1406-8 0-3488-6140-46 0-2784-7900 0-2757-4792-5 0-2575-5777-86 0-2193-8288-90 0-2640-8013




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.