นิสิตนักศึกษา ปีที่ 51 (พ.ศ.2561) ฉบับที่ 2

Page 1

หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ภาควิชาวารสารสนเทศ

ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หน้า

หน้า

ในวั น ที่ ก ารใช้ ร ถรั บ จ้ า งและขนส่ ง สาธารณะ ต้องพึง ่ ทัง ้ ดวง ทัง ้ โชคชะตา คนกรุงเทพฯ ควรท�ำอย่างไร

ร่ ว มออกเดิ น ทางยามดึ ก ไปกั บ พนั ก งานขั บ รถเก็ บ ขยะ เยี่ ย มชม ประติมากรรมฝีมือมนุษย์

4

10

TWITTER

@nisitjournal

WEBSITE

nisitjournal.press

พื้นที่ความคิด

หน้า

8

POLICE

FACEBOOK n isitjournal

เมื่ อ โรงหนั ง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น แค่ โ รงหนั ง ต า ม ไ ป ดู บ ท บ า ท ข อ ง โ ร ง ห นั ง สแตนด์อะโลนเก่าแก่ที่เก็บความลับ ของคนกลุ่มหนึ่งเอาไว้

VOTE O E

กทม. เผย แผนพัฒนาเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียวทะลุเป้า แต่ขยะ-จราจรยังไม่คืบ

เรื่อง : ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า ภาพ : กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์, เอม มฤคทัต

ส�ำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร ( ส ย ป . ) เ ผ ย ผ ล ก า ร ป ฏิ บั ติ ต า ม แ ผ น พั ฒ น า กรุงเทพมหานครจากวิสัยทัศน์ของประชาชนระยะ 20 ปี ที่เริ่มใช้ในปี 2556 พบพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่า ใน 10 ปี ปริมาณขยะเฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.34 ส่วน การจราจรยังแก้ไขไม่ได้เพราะปริมาณรถยนต์เพิม ่ ขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 60

สถิตดิ า้ นทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมกรุงเทพมหานคร ปี 2550-2559 พบว่า เมื่อปี 2550 กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็น สวนสาธารณะจ�ำนวน 2,920 แห่ง และในปี 2559 จ�ำนวนสวน สาธารณะเพิ่มเป็น 7,515 แห่ง ส่งผลให้ปริมาณพื้นที่สีเขียวเพิ่ม ขึ้นเติบโตจาก 18.79 ตารางกิโลเมตร (11,745 ไร่) เป็น 34.99 ตารางกิโลเมตร (21,870 ไร่) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 107.47 ในปี 2561 พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ คิดเป็นร้อยละ 2.23 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยขนาดของสวนสาธารณะมีตั้งแต่เล็กกว่า 2 ไร่ ไปจนถึงใหญ่กว่า 500 ไร่ สวนทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ คือสวน ป่าชายเลน เชิงอนุรักษ์ชายทะเลบางขุนเทียน ขนาด 807 ไร่ อย่ า งไรก็ ต าม ในด้ า นจราจรขนส่ ง พบว่ า ปริ ม าณรถ บนท้ อ งถนนยั ง คงเพิ่ ม ขึ้ น โดยในปี 2550 กรุ ง เทพฯ มี ร ถ จดทะเบียนสะสม หรือปริมาณรถทัง้ หมดทีม่ กี ารจดทะเบียนอย่าง ถูกต้อง 5.72 ล้านคัน แต่ในปี 2559 ที่จ�ำนวนประชากรลดลงจาก

ผอ.กองยุทธศาสตร์ สยป.เสริมว่าผลลัพธ์นี้สอดคล้องกับ ปี 2550 ร้อยละ 0.53 แต่กลับมีรถจดทะเบียนสะสมเพิ่มขึ้นเป็น นโยบายมหานครสีเขียว สะดวกสบาย ของแผนงานซึง่ มุง่ เน้นการ 9.18 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.49 จากปี 2550 ปรับภูมิทัศน์ น�ำสายไฟลงดิน เพิ่มพื้นที่สีเขียว และการจราจร ขณะทีป่ ริมาณขยะรายหัวก็เพิม่ ขึน้ สถิตดิ า้ นทรัพยากรธรรมชาติ ขนส่งของกทม. โดยประชาชนต้องการให้กรุงเทพฯ เป็นเมือง และสิง่ แวดล้อมกรุงเทพมหานครปี 2550-2559 ระบุวา่ ในปี 2550 สวยงาม มีพื้นที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และเดินทางได้อย่างสะดวก กรุงเทพฯ มีประชากร 5.71 ล้านคน แต่ละคนสร้างขยะเฉลี่ย 1.53 สบาย กิโลกรัมในหนึ่งวัน แต่ในปี 2559 กรุงเทพฯ มีจ�ำนวนประชากร ส�ำหรับจ�ำนวนรถจดทะเบียนสะสมที่เพิ่มขึ้นนั้น สุภาภรณ์ ลดลงเหลือ 5.68 ล้านคน แต่ปริมาณขยะเฉลี่ยต่อคนขยะเพิ่มขึ้น กล่ า วว่ า ตามแผนพั ฒ นาฯ พื้ น ที่ ชั้ น ในจะมี ค วามหนาแน่ น เป็น 1.78 กิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 16.34 ส่วนพื้นที่รอบนอกต้องไม่หนาแน่น ทว่าในทางปฏิบัติพบว่า พื้นที่ สุภาภรณ์ ธีระจันทร์ ผู้อ�ำนวยการกองยุทธศาสตร์บริหาร ชานเมืองบางแห่ง อาทิ บริเวณทีจ่ ะเข้าสู่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี จัดการ ส�ำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (สยป.) ซึ่งศึกษาและ มีความหนาแน่นสูงมาก วิจัย เพื่อก�ำหนดนโยบายและจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์การบริหาร “มันไม่สอดรับกัน เพราะตามระบบขนส่งมวลชนของประเทศ จัดการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า การด�ำเนินงานพัฒนากรุงเทพฯ ที ่ พ ั ฒ นาแล้ว ชุมชนไปไหน ขนส่งมวลชนต้องตามไป แต่ของเรา ตั้งแต่ 2549 จนถึงระยะที่ 1 ตามแผน “มหานครแห่งเอเชีย” (2556-2560) ซึ่งเป็นแผนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่าการเพิ่มพื้นที่ ตามไปไม่ทัน คนไปตรงนู้นก็ต้องซื้อรถ รถสาธารณะไม่มี ถามว่า ถ้ามีบ้านตรงนั้น มีรถ ต่อให้มีสายสีม่วงสายอะไร คนจะไม่ขับรถ สีเขียวบรรลุตามเป้าประสงค์ของตัวชี้วัด ไหม ก็ไม่ เพราะมันสบาย” ผอ.กองยุทธศาสตร์ฯ กล่าว “มีสวนสาธารณะใหม่ๆ เกิดขึน้ เยอะ อาจเป็นเพราะว่าเทรนด์ ทั้งนี้ สถิติการใช้บริการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าบีทีเอส ปี 2550 คนสนใจสุขภาพขึน้ เยอะ ก็จะมาออกก�ำลังกายในสวนเยอะ พืน้ ที่ สีเขียวจะเห็นเป็นรูปธรรมที่สุด” สุภาภรณ์กล่าว และอธิบายว่า พบว่ามีจ�ำนวนผู้ใช้ต่อปี 132 ล้านคน เฉลี่ย 3.6 แสนคนต่อวัน ประชาชนต้ อ งการให้ มี พื้ น ที่ สี เ ขี ย วเพิ่ ม ขึ้ น เพื่ อ ใช้ ห ย่ อ นใจ ส่ ว นสถิ ติ ล ่ า สุ ด เมื่ อ ปี 2559 พบจ� ำ นวนผู ้ ใ ช้ ต ่ อ ปี เ พิ่ ม ขึ้ น เป็ น ออกก�ำลังกาย และท�ำกิจกรรมต่างๆ การปฏิบตั จิ งึ เน้นเพิม่ จ�ำนวน 248 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 87.88 หรือเฉลี่ยราว 6.8 แสนคนต่อวัน สวนสาธารณะ อ่านต่อหน้า 2


2 | ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561

ส่วนปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นนั้น ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยจัดท�ำแผนวิสัยทัศน์ของประชาชน เพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ซึ่งเป็นผู้จัดเวที แสดงความคิดเห็นและรวบรวมความต้องการของคนกรุงเทพฯ กล่าวว่า ในเวทีแสดงความคิดเห็น ประชาชนเห็นว่ากทม. ไม่มแี ผนจัดการขยะทีจ่ ริงจัง จึงไม่อยากร่วมมือกันลดหรือแยก ขยะ “เขาบอกเขาอยากเห็น เขาบอกเขาจะร่วมมือเลยถ้าเกิด ท�ำอย่างจริงจัง” หัวหน้าโครงการฯ กล่าว ชีแ้ ผนไม่สำ� เร็จเพราะระบบข้าราชการและสภาวะการ เมืองกทม. น.ส.สุภาภรณ์ระบุวา่ ปัจจุบนั การท�ำงานของระบบราชการ มีลักษณะตัวใครตัวมัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สื่อสารกัน ท� ำ เพี ย งหน้ า ที่ ข องตั ว เองและนโยบายที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย ส่งผลให้การด�ำเนินงานตามแผนไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ ควร “เหมือนทางจักรยาน ก็ทำ� ตามนโยบาย แต่ออ่ นเรือ่ งข้อมูล ผลที่ออกมาก็คือคนไม่ได้ใช้จริง” ผอ.กองยุทธศาสตร์กล่าว สุภาภรณ์เสริมว่า อีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการด�ำเนินแผน พัฒนาฯ คือสภาวะทางการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ โดยแผน “มหานครแห่งเอเชีย” เกิดขึ้นเมื่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เมื่อมาถึงสมัยของผู้ว่าฯ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แม้ยังไม่มีแผนงานใหม่ แต่การด�ำเนินงานก็ไม่ได้ เป็นไปตามแผนเดิมทั้งหมด “แผนไม่ได้เป็นของผู้ว่าฯ สุขุมพันธ์ เป็นของประชาชน นโยบายที่คนอื่นเข้ามาท�ำก็จะยึดอันนี้ แต่วิธีการจะบิดไปตาม จุดเน้น ว่า ณ เวลานั้นเขาเน้นอะไร” สุภาภรณ์กล่าว

NEWS

อาทิ ความหนาแน่นของการจราจร ปริมาณขยะ มลพิษในน�้ำ มลพิษในอากาศ โดยมุ่งเน้นการท�ำงานเป็นทีมมากขึ้น สยป. จะเป็นแกนน�ำในการผลักดันแผนพัฒนากรุงเทพฯ ไปสู่การ ปฏิบัติมากขึ้น ตอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองมากขึ้น และ สามารถตอบสนองประชาชนได้ ไม่ตวั ใครตัวมันอย่างทีผ่ า่ นมา

ภาพการจราจรบริเวณแยกราชประสงค์

สุภาภรณ์กล่าวว่า “การแก้ปัญหาเมืองท�ำคนเดียวไม่ได้ ทุกหน่วยงานของกรุงเทพฯ ต้องเห็นร่วมกัน เพือ่ ตอบโจทย์เมือง แก้ปัญหาให้ประชาชน ท�ำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ไม่ใช่หน้าที่ ของใครคนใดคนหนึง่ ก่อนท�ำแผนจะต้องมีการประชุม ตัง้ คณะ ด�ำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นด้านๆ ให้ชัดเจน”

มหานครแห่งเอเชีย คืออะไร

“การน�ำวิสัยทัศน์ของประชาชนมาปฏิบัติให้เกิดผลรูปธรรม สามารถน�ำพากรุงเทพมหานครให้เจริญเติบโตท่ามกลาง การเปลีย่ นแปลงสูป่ ระชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และท่ามกลางกระแสการเปลีย่ นแปลงของบริบทแวดล้อมในด้านต่างๆ” “แผนมหานครแห่งเอเชีย” รวบรวมความต้องการของประชาชนจากเวทีแสดงความคิดเห็นใน 6 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพกลาง กรุงเทพเหนือ กรุงเทพใต้ กรุงเทพตะวันออก กรุงธนฯ เหนือ และกรุงธนฯ ใต้

ทั้ ง นี้ นโยบายของ พล.ต.อ.อั ศ วิ น ขวั ญ เมื อ ง ผู ้ ว ่ า ราชการกทม.คนปัจจุบนั คือ “5 นโยบายทันใจ Now” ประกอบด้วย “สะอาด สะดวก ปลอดภัย คุณภาพชีวติ ดี และมีวถิ พี อเพียง”

แต่ละพื้นที่เชิญประชาชนทุกกลุ่มเข้าร่วมแสดงความเห็น อาทิ วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แม่ค้าหาบเร่ พนักงานออฟฟิศ เจ้าของ ร้านค้า เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ รวมแต่ละเวทีมผี เู้ ข้าร่วมประมาณ 200-300 คน จากนัน้ ผูจ้ ดั ฉายวีดที ศั น์ให้ดปู ญ ั หาของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน เช่น จ�ำนวนประชากรมาก น�้ำเน่าเสีย ขยะล้นเมือง เศรษฐกิจ การจราจร แล้วถามประชาชนว่า “กรุงเทพฯ ที่เขาอยาก เห็นเป็นอย่างไร”

ผอ.กองยุทธศาสตร์ฯ ยืนยันว่าในแผนงานระยะที่สอง (2561-2565) สยป.จะผลักดันการพัฒนาด้านที่ไม่ถึงตัวชี้วัด

ที่มา: ผลลัพธ์และแนวทางปฏิบัติของแผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี, โครงการศึกษาวิจัยจัดท�ำแผนวิสัยทัศน์ของประชาชนเพื่อการ พัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี

แรงงานข้ามชาติในเมืองเผยที่พักแออัด ค่าแรงไม่พอค่าครองชีพ แรงงานข้ า มชาติ ใ นเมื อ งเผยค่ า ครองชี พ สู ง ต้ อ งอยู ่ ร วมกั น อย่ า งแออั ด ในห้ อ งพั ก ขนาดเท่ า ตู้คอนเทนเนอร์ นักสิทธิแรงงานข้ามชาติชี้ไทยยัง ขาดกลไกให้แรงงานข้ามชาติในธุรกิจขนาดเล็กเข้า ถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตยังต�่ำกว่า มาตรฐาน

มาเตนเอเล่าว่าที่พักของเธอเป็นตึกแถวอายุหลายสิบปีที่ ถูกปรับเป็นห้องพักให้เช่าส�ำหรับแรงงานชาวมอญกว่าสิบชีวิต ตัวอาคารมีสามชั้นและห้องพักห้าห้อง แต่ละห้องมีคนพักอยู่ 3-4 คน ทั้งตึกมีห้องน�้ำอยู่ชั้นล่างเพียงห้องเดียว แต่ละห้องมี พืน้ ทีส่ ำ� หรับปรุงอาหารและทีน่ อนอยูร่ วมกัน มีเพียงพัดลม ไม่มี เครื่องปรับอากาศ

“ที่อยู่ดีๆ ค่าเช่าจะแพงมาก เราสู้ไม่ไหว เดือนหนึ่งคนละ ตัง้ 4,000 อยูท่ นี่ คี่ นละพันกว่าบาท ถ้า 4,000 ค่าแรงก็หมดแล้ว ต้องอยู่รวมกันเยอะๆ มันถึงคุ้ม” มาเตนเอ พนักงานท�ำความ สะอาดหญิงชาวมอญ วัย 45 ปีกล่าวถึงสาเหตุที่เธอเลือกเช่า ห้องพักในปัจจุบัน

ห้ อ งพั ก ของมาเตนเออยู ่ ชั้ น ล่ า งสุ ด ของตึ ก ขนาดห้ อ ง ประมาณ 48 ตารางเมตร ไม่มีหน้าต่าง ด้านหนึ่งของห้องเป็น ประตูบานพับเหล็กซึ่งเดิมเป็นทางเข้าอาคารแต่บัดนี้ถูกปิดไว้ มีผ้าใบขึงที่ประตูเสมือนเป็นผนังชั่วคราวและกันน�้ำฝนที่สาด เข้ามาทางซี่ประตู แต่เมื่อฝนตกหนัก น�้ำจะสาดเข้ามาจนข้าว ของโดนฝนอยู ่ ดี ในห้ อ งพั ก ยั ง ไม่ มี ล านโล่ ง ส� ำ หรั บ ตากผ้ า เธอจึงต้องขึงลวดเป็นราวตากผ้าไว้ในห้อง นอกจากสภาพความเป็นอยูท่ ตี่ อ้ งแก้ปญ ั หาเฉพาะหน้ากัน เป็นประจ�ำแล้ว พนักงานท�ำความสะอาดชาวมอญยังต้อง วางแผนเรื่องอาหารการกินด้วย มาเตนเอกล่าวว่าแรงงานข้าม ชาติมกั ไม่ซอื้ อาหารส�ำเร็จรูปเพราะราคาแพงเกินกว่ารายได้วนั ละ 320 บาทของเธอ ดังนั้นทุกวันหยุดสุดสัปดาห์เธอจะไปซื้อ อาหารสดทีต่ ลาดคลองเตยใน และท�ำกับข้าวน�ำไปกินทีท่ ำ� งานแทน “ซื้อกินเงินไม่เหลือเลย แพงมาก ถุงละห้าสิบบาท กินก็ไม่ พอสองคน ถ้าเป็นผักบุง้ ก็กโิ ลกรัมละแค่สบิ ห้าบาท จะให้เรามา ซื้อราดข้าวสามสิบบาทก็ไม่พอกิน” มาเตนเอกล่าวว่า

ห้องพักของมาเตนเอและครอบครัว

นายอดิ ศ ร เกิ ด มงคล ผู ้ จั ดการเครื อ ข่ า ยองค์ ก รด้ า น ประชากรข้ า มชาติ ที่ เ คลื่ อ นไหวเรื่ อ งการเข้ า ถึ ง สิ ท ธิ แ ละ คุณภาพชีวติ ทีด่ ขี องแรงงานข้ามชาติ กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติ

เรื่อง-ภาพ : ปุณยภา ประสานเหลืองวิไล

ในเมืองทีเ่ ป็นลูกจ้างในธุรกิจขนาดย่อมย เช่น แม่บา้ น พนักงาน ขายของในร้านขนาดเล็กจะไม่ได้รับสวัสดิการเหมือนแรงงาน ข้ามชาติที่ทำ� งานในโรงงาน อาทิ ที่พัก ค่าเดินทาง และจ�ำนวน ห้องน�้ำที่เพียงพอในที่ท�ำงาน อดิศรชี้ว่ากฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติมอี ยู่ ก็จริง แต่ไม่มีกลไกในการตรวจสอบว่าแรงงานข้ามชาติเข้าถึงการ คุม้ ครองหรือไม่ จึงเกิดปัญหาสองประการ คือ หนึง่ แรงงานข้าม ชาติไม่รู้ว่าตนมีสิทธิอะไรบ้าง และแรงงานรู้ว่าตัวเองมีสิทธิ แต่ไม่สามารถฟ้องร้องได้เมื่อไม่ได้รับสิทธิ ผู้จัดการเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติกล่าวว่า สาเหตุทแี่ รงงานข้ามชาติเข้าไม่ถงึ กระบวนการการฟ้องร้อง เป็น เพราะกลไกการร้องเรียน การยืน่ ค�ำร้อง ระบบแจ้ง หรือสายด่วน ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับคนต่างชาติ แม้มีการแปล หลายภาษา แต่ก็เป็นภาษาที่แรงงานไม่เข้าใจ อีกทั้งข่าวสาร เรื่ อ งสิ ท ธิ แ รงงานข้ า มชาติ ก็ ยั ง ไม่ ค รอบคลุ ม และขาดการ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากศักยภาพองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับขนาดพื้นที่ยังจ�ำกัดอยู่ การผลักดันให้แรงงานข้ามชาติได้สิทธิแรงงานจะส่งผลให้ แรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติเป็นที่ต้องการเท่ากัน อดิศร กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนพยายามจ้างแรงงานต่างชาติ เพราะ ค่าแรงถูกกว่า ดังนั้นถ้าตลาดแรงงานทั้งสองฝั่งเท่าเทียมกัน ความต้องการจ้างแรงงานไทยกับแรงงานข้ามชาติจะไม่ตา่ งกันมาก ส่งผลให้ตลาดแรงงานไม่ถกู ดึงไปทางใดทางหนึง่ หากประเทศไทย ยังไม่สามารถท�ำระบบการขึ้นทะเบียนแรงงานให้ถูกต้องตาม กฎหมายได้ ดี พ อ แรงงานจะเข้ า ระบบยากขึ้ น แรงงานผิ ด กฎหมายจะมากขึ้น ส่งผลให้การก�ำกับดูแลเกิดขึ้นไม่ได้


ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561 | 3

SHOWCASE

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ภาควิชาสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา : พรรษาสิริ กุหลาบ บรรณาธิการเนื้อหา : ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า, โมเลกุล จงวิไล กองบรรณาธิการ : กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์, กาญจนาภรณ์ มีข�ำ, ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า, ปพิชญา ถนัดศีลธรรม, ปุณยภา ประสานเหลืองวิไล, พรไพลิน เชือ้ พูล, โมเลกุล จงวิไล, วรัญชนา สงค์ประชา, อรอริสา ทรัพย์สมปอง, เอม มฤคทัต บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ : เอม มฤคทัต บรรณาธิการสร้างสรรค์สื่อออนไลน์ : ปพิชญา ถนัดศีลธรรม,วรัญชนา สงค์ประชา บรรณาธิการผูพ้ มิ พ์โฆษณา : ผศ.ดร.ณรงค์ ข�ำวิจติ ร ที่อยู่ : 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร : 0-2218-2140 Facebook : www.facebook.com/nisitjournal Twitter : @nisitjournal Website : http://nisitjpurnal.press

เมื่อปี 2549 กรุงเทพมหานครภายใต้การบริหารของอภิ รั ก ษ์ โกษะโยธิน มีสโลแกน “ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว” ซึ่งเป็นแผนงานที่ตั้งเป้า พัฒนากรุงเทพฯ ในด้านต่างๆ แต่เมือ่ กรุงเทพฯ ถูกบริษทั เอกชนฟ้องร้อง เรื่องการไม่จ่ายค่าจ้างติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ “กรุงเทพฯ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว” ในช่วงปี 2554 -2551 รวมค่าเสียหายกว่า 12 ล้าน บาท แผนงานดังกล่าว จึงถูกยุบไป ทิง้ สโลแกนติดหูตดิ ตาไว้ตามสถาน ทีต่ า่ งๆ ทั่วเมือง ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา ผู้บริหารกรุงเทพฯ จึงน�ำ “แผนพัฒนา กรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี หรือแผน “มหานครแห่งเอเชีย” มาใช้แทน ผ่านมาสี่ปี ผู้อ�ำนวยการกองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ ส�ำนัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล (สยป.) กล่าวว่า ในช่วงแรกของการด�ำเนิน งาน ปรากฏว่าบางแผนงานยังไม่ประสบความส�ำเร็จ เนื่องจากหน่วย งาน ที่เกี่ยวข้องท�ำงานโดยไม่ประสานงานกัน ในระยะที่สองของแผน สยป. จึงมุ่งผลักดันให้แต่ละหน่วยงานท�ำงานเป็นทีมยิ่งขึ้น กองบรรณาธิการ “นิสิตนักศึกษา” เห็นว่า ผู้บริหารส่วนงานต่างๆ ของกรุงเทพฯ ควรหันมาพิจารณาแนวทางการท�ำงานร่วมกัน ไม่เพียง แค่วิธีการท�ำงานเท่านั้น แต่กรุงเทพฯ ควรให้ความส�ำคัญกับอีกหนึ่ง ภาคส่วนซึง่ มีบทบาทส�ำคัญในแผนพัฒนากรุงเทพฯ เช่นเดียวกัน นัน่ คือ “ภาคประชาชน” แผน “มหานครแห่งเอเชีย” มีทมี่ าจากการส�ำรวจวิสยั ทัศน์ของประชาชนตามที่ ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา หัวหน้าโครงการ ศึ ก ษาวิ จั ย จั ด ท� ำ แผนวิ สั ย ทั ศ น์ ข องประชาชนเพื่ อ การพั ฒ นา กรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระบุ ทว่า ทัง้ ทีเ่ ป็นเรือ่ งส�ำคัญและเกีย่ วเนือ่ ง

บทบรรณาธิการ

กับวิถีชีวิตของประชาชนโดยตรง อาทิ ปริมาณขยะที่คนกรุงเพทฯ ผลิต ต่อวัน หรือปริมาณรถยนต์บนท้องถนน แต่ชาวกรุงเทพฯ กลับแทบ ไม่ทราบแผนและเป้าหมายในการด�ำเนินงาน ส่วนหนึง่ เพราะแทบไม่พบ การประชาสัมพันธ์ของแผนพัฒนานี้ ถึงขนาดสโลแกน “กรุงเทพชีวติ ดีๆ ที่ลงตัว” ซึ่งมาจากแผนพัฒนาชุดเก่าตั้งแต่ 12 ปีที่แล้ว ยังเป็นวลีที่คุ้น หูมากกว่า “มหานครแห่งเอเชีย” ซึ่งเป็นแผนพัฒนาชุดปัจจุบันเสียอีก กรุงเทพฯ จึงควรใส่ใจกับการให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องแผนพัฒนา กรุงเทพฯ แก่ภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่องทางที่ประชาชนจะมี ส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองหลวงในด้านต่างๆ เนื่องจากหากได้แรง สนับสนุนจากการมีส่วนรวมของประชาชน แผนพัฒนาที่ภาครัฐตั้งไว้ก็ ประสบความส�ำเร็จได้ ตัวอย่างหนึง่ ของการมีสว่ นร่วมของภาคประชาชน จนแผนงานบรรลุผลคือ “โครงการสวยในซอย” ที่ กทม. ส่งเสริมให้ชมุ ชน ต่างๆ ร่วมกับ ภาครัฐปรับภูมิทัศน์ในซอยให้สวยงาม ด้วยการเพิ่มพื้นที่ สวน ลดขยะ ปรับปรุงทางเท้าและเพิ่มพื้นที่ส่องสว่างเพื่อให้ชุมชน ปลอดภัยจากอาชญากรรมและอุบัติเหตุ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผูว้ า่ ราชการกรุงเทพฯ ได้มอบรางวัลให้กบั 50 ชุมชนทีป่ ระเมินแล้วว่าสะอาด เรียบร้อย สวยงาม และปลอดภัยมากขึน้ ไม่เพียงภาครัฐเท่านั้นที่ต้องรับบทส�ำคัญในการประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ประชาชนเองก็สามารถค้นคว้าและพยายามท�ำความเข้าใจ แผนพัฒนาเหล่านี้ด้วยตนเองได้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือภาครัฐในอีก ทาง...เพราะตัวชีว้ ดั ต่างๆ จะบรรลุได้อย่างไร หากมาจากปากประชาชน แต่มีไม่กี่คนที่รับรู้

ประชา·สังคม·ออนไลน์

ความหวังในวันที่กรุงเทพฯ ไร้ประชาธิปไตย ปี 2515 ประกาศคณะปฏิวัติซึ่งน�ำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร ก�ำหนดให้เรียกเมืองหลวง ของประเทศไทยว่า “กรุงเทพมหานคร” โดยให้มี “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” ที่คณะรัฐมนตรี แต่งตัง้ เป็นผูร้ บั ผิดชอบการบริหาร ต่อมาพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ก�ำหนดให้ประชาชนเลือกตั้งผู้ว่าฯ และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ซึ่งมีวาระ 4 ปี การเลือกตัง้ ผูว้ า่ ฯ ครัง้ แรกจึงมีขนึ้ เมือ่ วันที่ 10 สิงหาคม 2518 แม้หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 การเลือกตัง้ ผูว้ า่ ฯ กทม. จะชะงักไป แต่หลังจากการเลือกตัง้ ผูว้ า่ ฯ ครัง้ ที่ 2 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 เป็นต้นมา ชาวกรุงเทพฯ ก็ได้เลือกผู้ว่าฯ อย่างต่อเนื่องอีก 9 ครั้ง ในระยะเวลา 31 ปี จนวันที่ 18 ตุลาคม 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกค�ำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 64/2559 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะนัน้ คือ ม.ร.ว. สุขมุ พันธุ์ บริพตั ร พ้นจากต�ำแหน่ง และให้ พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ด�ำรง ต�ำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือคสช.มีค�ำสั่งเปลี่ยนแปลง ไม่เพียงผู้ว่าฯ กทม. เท่านั้น ก่อนหน้านี้เมื่อวาระของสก. ชุดที่ 8 หมดลงในปี 2557 แทนที่ จะมีการเลือกตั้งตามกระบวนการปกติ คสช. กลับออกประกาศฉบับที่ 86/2557 ให้งดการเลือก ตั้งสก. ไปก่อน และจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสรรหาสก. ทั้งหมด 30 คน เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 สมาชิกสก.ชุดใหม่กเ็ ข้ารับต�ำแหน่ง และด�ำรงต�ำแหน่งมาถึงปัจจุบนั ซึง่ เกินวาระ 4 ปี ตาม ปกติไปแล้ว แม้จะไม่ได้เลือกตัง้ ผูว้ า่ ฯ และสก. มาเป็นตัวแทนในการบริหารกทม. แต่ปญ ั หาของกรุงเทพฯ ก็ยังไม่หมด ประชาชนในเมืองหลวงของไทยแลนด์ 4.0 จึงพยายามปลีกตัวจากสังคมจริงที่พวก เขาถูกปิดกัน้ มาระบายความเห็นในพืน้ ทีส่ อื่ สังคมออนไลน์ อย่างกลุม่ เฟซบุก๊ และทวิตเตอร์ โดย ใช้แฮชแท็กเช่น #กรุงเทพชีวิตดีๆที่ลงตัว #กรุงเทพแบบที่ควรจะเป็น และ #ที่นี่กรุงเทพ อย่างไรก็ดี ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่จะเป็นการบ่น ก่นด่า และ เสียดสีถากถาง ซึ่งนอกจากจะไม่ท�ำให้แก้ปัญหาได้แล้ว อาจส่งผลต่อภาวะการมีส่วนร่วมทาง สังคมการเมือง เพราะเท่ากับการผลิตซ�้ำ “วัฒนธรรมของความไร้อ�ำนาจ” โดยไม่รู้ตัว เดวิด แมทธิวส์ อธิบายในหนังสือ การเมืองภาคพลเมือง (2542) ว่า วัฒนธรรมของความไร้ อ�ำนาจ คือการที่ประชาชนผิดหวังที่ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองได้ ในที่สุดจึงร่วม เสียดสี เยาะเย้ย ต�ำหนิอะไรก็ได้ที่ท�ำให้เผชิญชะตากรรมเหล่านั้น จนกระทั่งหยุดเชื่อในตัวเอง และเริ่มมองหาผู้น�ำที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดได้ การเมืองจึงถูกมองเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เกินไปส�ำหรับปัจเจกบุคคลที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง หากการบ่นในโซเชียลไม่ช่วยแก้ปัญหา ซ�้ำยังท�ำให้เรายิ่งท้อแท้ ดังนั้นเราควรหยุดใช้สื่อ

เรื่อง-ภาพ : อรอริสา ทรัพย์สมปอง

สังคมออนไลน์ในการมีสว่ นร่วมกับบ้านเมืองของเราไปเลยหรือ ค�ำตอบอาจไม่เป็นเช่นนัน้ เพราะ หากเราไม่เพียงบ่นด้วยกัน แต่มองเห็นปัญหาร่วมกันแล้วรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหานั้นอย่าง จริงจัง ติดอาวุธด้วยความรู้ และออกแบบวิธีการด�ำเนินงานอย่างเหมาะสม เราอาจสร้างความ เปลี่ยนแปลงได้บ้าง ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนของข้อความข้างต้น คือกลุ่มเมล์เดย์ (Mayday) ซึ่งก่อตั้งในปี 2559 โดย วริทธิ์ธรณ์ สุขสบาย กราฟิกดีไซน์เนอร์ผู้เห็นความส�ำคัญของรถโดยสารประจ�ำทาง เขารวมตัว กับกลุ่มคนที่สนใจการพัฒนาเมืองและขนส่งสาธารณะเหมือนกัน เริ่มจากการจัดเวิร์กช็อปเล็ก ๆ เพื่อชวนคนมาสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับรถเมล์ จนได้ข้อสรุปและพัฒนาป้ายรถเมล์แบบใหม่ซึ่ง ระบุเส้นทางรถเมล์แต่ละสาย และเดินหน้าจริงจังด้วยการน�ำป้ายดังกล่าวเสนอให้ส�ำนักจราจร และขนส่งกรุงเทพฯ จนได้เริ่มใช้งานที่แยกคอกวัวและหน้ากองสลากฯ จากนั้นจึงมีการประสาน งานร่วมกับกลุ่มอื่นเพื่อระดมทรัพยากรทั้งเงินทุน คน และความรู้ด้านการออกแบบ จนได้ป้าย รถเมล์แบบใหม่อีก 118 ป้ายทั่วมหานคร กลุ่มเมล์เดย์ท�ำให้เราพอมีหวังว่าอย่างน้อยพื้นที่ออนไลน์ยังเป็นที่ที่เราจะรวมตัวกับคนที่ ประสบปัญหาคล้ายๆ กัน เพื่อระดมข้อมูล ระดมก�ำลัง และน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ แต่อย่าเพิ่งคิดว่าการรวมกลุ่มของประชาชนจะเป็นเครื่องมือวิเศษที่ช่วยแก้ไขปัญหาอะไร ก็ได้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ท�ำให้ไม่ประสบผลส�ำเร็จ เช่น ขาดกลยุทธ์ที่ดี ขาดก�ำลังคน เงินทุน และที่ส�ำคัญคือการไม่เปิดโอกาสจากภาครัฐ คนกรุงยังต้องเผชิญกับปัญหาเดิมๆ เช่น ขนส่งสาธารณะไม่ปลอดภัยและขาดประสิทธิภาพ ทางเท้าไม่ได้มาตรฐาน หรือการด�ำเนินงานของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่ยังไม่ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนจากหลากหลายภาคส่วน เพราะการบริหาร จัดการโดยรัฐที่ประชาชนอย่างเราๆ ไม่มีสิทธิ์มีเสียงไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เลือกตั้งก็ไม่ได้ ส่งเสียงไปภาครัฐก็นงิ่ เฉย ซ�ำ้ ร้ายบรรยากาศการเมืองในปัจจุบนั ทีไ่ ม่เอือ้ ให้เกิดการรวมกลุม่ ของ ประชาชน ยังท�ำให้ไม่สามารถรวมตัวเพื่อส่งเสียงที่ดังพอไปถึงภาครัฐและพลเมืองคนอื่นๆ ได้ การจะแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จคือรัฐต้องเปิดประตูให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ให้ ได้เลือกคนทีจ่ ะมาบริหารบ้านเมืองอย่างทีเ่ คยได้รบั และสร้างบรรยากาศการเมืองทีเ่ ปิดกว้างพอ ให้รวมกลุ่มกัน เพื่อให้เสียงของประชาชนผู้ใช้ชีวิตในมหานครแห่งนี้ได้มีบทบาทในการก�ำหนด ชีวติ ของพวกเราเองเสียที อย่างทีเ่ ดวิด แมทธิวส์บอกไว้วา่ “กิจการบ้านเมืองทีด่ ไี ม่ได้หมายเพียง การมีการปกครองที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่มันหมายรวมถึงการปกครองที่เป็นของเราอย่าง แท้จริง และมันจะยังไม่ใช่ของเราจนกว่าเรานั่นเองจะกลับมาสู่ระบบการเมือง”


4 | ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561

SOCIAL ISSUE

ขนส่ง กทม.

เลิกใช้ก็ไม่ได้…ให้ใช้ต่อไปก็ต้องใจถึง เรื่อง-ภาพ : โมเลกุล จงวิไล

ภัยจากรถ มีหน้าที่รับค�ำร้องขอค่าเสียหาย เบื้องต้นและจ่ายค่าสินไหมทดแทนตาม พรบ.) หรือโทร 1791” นักวิชาการ กฏหมายอาญา กล่าว

ปฏิ เ สธได้ ย ากว่ า การเดิ น ทางใน เมื อ งใหญ่ อ ย่ า งกรุ ง เทพมหานคร มักเต็มไปด้วยเรื่องวุ่นวายให้ได้เอาขา ก่ า ยหน้ า ผากอยู ่ เ สมอ รถติ ด คื อ วงเวียนชีวิตที่ดูไม่มีทางหลุดพ้น พอๆ กับการหาที่จอดรถซึ่งขับวนแทบตาย ก็ยังหาไม่เจอ การใช้ยานพาหนะส่วน ตั ว จึ ง อาจไม่ ต อบโจทย์ ส� ำ หรั บ ใคร หลายๆ คน

เงินเยียวยาผู้ประสบเหตุนี้มาจากกองทุน ซึ่งผู้ประสบเหตุสามารถเบิกได้คนละไม่เกิน 50,000 บาท ในกรณีบาดเจ็บ และไม่เกิน 200,000 บาท ในกรณีที่ถึงแก่ความตายหรือ พิการ ซึ่งนับว่าพอเป็นข่าวดีให้อุ่นใจได้บ้าง (แม้จะไม่มีใครอยากเจอเหตุที่ท�ำให้ต้องเบิก เงินก้อนนี้ก็ตาม) แต่ข่าวร้ายก็คือ พรบ.ที่ว่านี้ ไม่ได้ครอบคลุมขนส่งสาธารณะชนิดอื่นด้วย

ณ จุดนี้ ขนส่งสาธารณะและรับจ้างจึงเป็น ทางเลื อ กให้ ป ระชาชนได้ ใ ช้ บ ริ ก าร พร้ อ ม ความหวังที่จะพาทุกคนไปถึงจุดหมายอย่าง ราบรืน่ อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงอาจไม่มงุ้ มิง้ อย่างภาพฝัน เพราะระบบขนส่งสาธารณะ ยั ง บกพร่ อ งอยู ่ ม าก โดยเฉพาะด้ า น “ความปลอดภัย” การเดินทางออกจากบ้าน แต่ละวันกลายเป็นบททดสอบบุญเก่า เมื่อ อุบัติเหตุเกี่ยวกับขนส่งสาธารณะมีให้เห็นจน ชิ น ตา แต่ ด ้ ว ยความจ� ำ เป็ น (และจ� ำ ใจ) ชาวกรุงจึงต้องแบกรับความเสีย่ งนีไ้ ว้แม้จะไม่ เต็มใจก็ตาม

งั้ น ถ้ า ตกรางบี ที เ อสเพราะไม่ มี ที่ กั้ น ชานชาลา หรือจมคลองแสนแสบเพราะแย่ง ชูชีพไม่ทันล่ะจะท�ำอย่างไร

Everyday Life = Everyday Luck? สุชานาถ โจภัทรกุล นิสิตลูกค้าประจ�ำ ของบริ ก ารขนส่ ง รั บ จ้ า ง เล่ า ถึ ง เหตุ ก ารณ์ สุ ด ระทึ ก ในวั น ที่ เ ธอเรี ย กใช้ ม อเตอร์ ไ ซค์ รับจ้างตามปกติเพื่อเดินทางจากโรงพยาบาล จุฬาฯ ไปแยกสะพานเหลือง ซึ่งมีระยะทาง เพียง 2 กิโลเมตร “ระหว่างทาง ตรงหน้าเป็นสี่ แยกไฟแดง พี่วินเลยเลี้ยวซ้ายกะจะกลับรถ เพือ่ ขับตรงไปทางเดิม แต่ประเด็นคือมันไม่ใช่ ที่ให้กลับรถไง ลักไก่อะพูดง่ายๆ และจังหวะที่ เลี้ ย วกลั บ คื อ รถยนต์ คั น หลั ง วิ่ ง มาพอดี คง เบรกไม่ทันก็เลยชนท้ายจนเสียหลักล้มลงไป ทั้งคู่” สุชานาถกล่าว โชคยังดีที่ทั้งคู่ไม่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจึง ตั ด สิ น ใจออกเดิ น ทางต่ อ แต่ ค วามสยอง ยังไม่จบลงง่ายๆ เมื่อมีรถยนต์ปริศนาวิ่งมา ตามหลั ง “มี ร ถขั บ ตามมา บี บ แตรดั ง มาก พอพี่ วิ น จอดก็ มี ค นลงมาหาเรื่ อ ง เหมื อ น จังหวะทีโ่ ดนชนท้าย รถเรามันเด้งไปขูดรถเขา เจ้าของรถเลยโกรธมาก โวยวายหาว่าเราจะหนี แบบคลัง่ เลยล่ะ ตอนนัน้ กลัวมากอยากออกมา เพราะเราไม่ใช่คนผิด แต่ก็ต้องยืนอยู่ด้วย” นิสิตหญิงเสริม แท็กซี่ก็เป็นอีกบริการดีๆ ที่ผู้คนพูดถึง กันหนาหู วั ช รี ย า ยอดประทุ ม นักศึกษา ปริญญาโท กล่าวถึงค�ำ่ คืนทีเ่ ธอเกือบไปไม่รอด ถึงเยาวราช หลังจากโบกเรียกแท็กซี่บริเวณ ป้ า ยรถเมล์ ห น้ า คณะวิ ท ยาศาสตร์ จุ ฬ าฯ “ตอนนั้ น กลางคื น แล้ ว ประมาณสามสี่ ทุ ่ ม และรถเมล์คือรอน้านนาน ป้ายตรงนั้นก็มืด มากจ้า ไม่มีคนเลย พี่เลยตัดสินใจโบกแท็กซี่ และก็ ก วั ก สี ช มพู ม าได้ คั น หนึ่ ง ” เมื่ อ เจรจา ตกลงจุดหมายได้เธอก็เข้าไปนัง่ ในรถตามปกติ

ก่อนจะเริ่มสัมผัสได้ถึงอะไรบางอย่าง “คือรถ มันกระตุกเหมือนเขาขับไม่นงิ่ พีส่ งั เกตมือของ เขามั น ดุ ๊ ก ดิ๊ ก ตลอดเวลา และอยู ่ ๆ ก็ ห ยิ บ โทรศัพท์ขนึ้ มาคุย หยิบเกมมาเล่น เป็นอย่างนี้ ตลอดทาง พอถึงหัวล�ำโพงก็ฝ่าไฟแดงเลย ขับเหวี่ยงแรงมากขนาดพี่เอนไปอีกฝั่งหนึ่ง” วัชรียากล่าว แม้ ใ ครหลายคนจะพยายามหลี ก เลี่ ย ง สถานการณ์ แ บบข้ า งต้ น โดยเปลี่ ย นมาใช้ ขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น แต่เรื่องสยองก็ยัง คงตามหลอนผู้บริโภคราวกับไม่มีทางหนีพ้น เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มติชน ออนไลน์รายงานว่าผูใ้ ช้เฟซบุก๊ ชือ่ Sassanee Smile’bsm Virachat โพสต์ ภ าพพร้ อ ม บรรยายเหตุการณ์ขณะต่อแถวขึ้นเรือด่วน คลองแสนแสบ ณ ท่ า ประตู น�้ ำ ว่ า ขณะที่ ผู้หญิงซึ่งยืนต่อหลังเธอก�ำลังจะก้าวเท้าขึ้น เรือ เรือก็ได้แล่นออกไปก่อน ท�ำให้ผู้หญิงคน นั้นพลัดตกลงไปในคลอง ผู้ใช้เฟซบุ๊กเขียนต่อว่า “เจ้าหน้าที่ดูไม่ ตกใจเลย แบบเฉยมากทุกคน มีคนกระโดดลง ไปช่วย (ไม่ใช่เจ้าหน้าที่) ในขณะที่เจ้าหน้าที่ ใส่ชูชีพโยนโฟม โยนห่วงลงมา และพูดเสียง ดังว่า อ่ะนี่ครับ นี่แหละครับ บทเรียนนะครับ” ก่อนโพสต์จะจบลงด้วยยอดแชร์หลักหมื่น และคอมเมนต์ก่นด่าถล่มทลาย ล่ า สุ ด เมื่ อ วั น ที่ 18 กั น ยายน มติ ช น ออนไลน์รายงานเหตุทผี่ โู้ ดยสารหญิงรายหนึง่

เป็ น ลมบนชานชาลาสถานี บี ที เ อสหมอชิ ต ในจั ง หวะที่ ร ถจอดสนิ ท ท� ำ ให้ ร ่ า งเธอล้ ม กระแทกตัวรถ โชคดีทเี่ จ้าหน้าทีช่ ว่ ยเหลือได้ทนั ทางรอดอยู่ไหน ถามใครได้บ้าง? อาจารย์ณัฏฐพร รอดเจริญ อาจารย์ สอนวิ ช ากฎหมายอาญาและผู ้ ช ่ ว ยคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะวิธที างกฎหมายทีผ่ โู้ ดยสารสามารถท�ำได้ เพือ่ ลดความเสีย่ งทีอ่ าจมาหาแบบไม่ทนั ตัง้ ตัว โดยยกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใช้ยานพาหนะรับจ้างขนส่ง คนโดยสาร ซึ่งมีลักษณะการขับขี่ที่น่าจะเป็น อันตรายแก่บคุ คลในยานพาหนะ ผูน้ นั้ มีความผิด “ดูแค่สภาพว่าน่าจะเป็นอันตราย เช่น ขับขี่หวาดเสียว หรือรถที่ผู้โดยสารห้อยกัน แน่นอยู่เต็มคัน แต่ก็ยังขับต่อ โดยยังไม่ต้อง ถึงขัน้ เกิดอุบตั เิ หตุจริง เท่านีก้ เ็ ข้าข่ายความผิด สามารถฟ้องร้องได้แล้ว” อาจารย์เสริม แต่อีกค�ำถามคาใจ...คือถ้ามัน ตูม!! ไป แล้วล่ะ จะท�ำอย่างไร “ในทางรถยนต์ ร วมถึ ง มอเตอร์ ไ ซค์ ผู ้ ประสบเหตุ ส ามารถใช้ สิ ท ธิ์ ต ามพระราช บัญญัตคิ มุ้ ครองผูป้ ระสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้ โดยมีขนั้ ตอนคือเตรียมใบแจ้งความ พร้อม กับเอกสารการรักษา ไม่ว่าจะเป็นใบรับรอง แพทย์หรือค่ารักษาพยาบาล จากนัน้ ก็ยนื่ เรือ่ ง ไปที่ บริษทั กลางคุม้ ครอง ผูป้ ระสบภัยจากรถ จ�ำกัด (จัดตั้งขึ้นตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบ

“ต้องใช้กฎหมายทางแพ่งเข้ามาช่วย ส่วน ที่ว่าด้วยเรื่องของการละเมิด หรือในทางแพ่ง หมายถึง การกระท�ำด้วยความจงใจหรือความ ประมาท ซึง่ ท�ำให้เกิดผลกระทบต่อผูอ้ นื่ ไม่วา่ เรื่องสิทธิในชีวิต ร่างกาย สุขอนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอื่นใดที่กฎหมายให้การรับรอง และ เป็นเหตุให้ผู้นั้นได้รับความเสียหาย บุคคล ที่ท�ำละเมิดจะต้องมีค่าสินไหมทดแทน ชดใช้ เยี ย วยาให้ ผู ้ เ สี ย หายกลั บ มาเหมื อ นเดิ ม มากที่สุด” อาจารย์ณัฏพรกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งโล่งใจ เพราะการ ฟ้องร้องกรณีละเมิด จะต้องมีหลักฐานพยาน ที่รัดกุม ผู้เสียหายต้องอธิบายให้ได้ว่า ผู้ขับขี่ ละเมิดจริงหรือไม่ การกระท�ำนั้นส่งผลเสีย อย่างไร คิดเป็นค่าเสียหายได้เท่าไร เพียงเท่านี้ ก็อยากกลอกตามองบนแล้ว เพราะไม่ใช่ว่า ขณะก�ำลังตกจากเรือ ผู้ประสบเหตุจะมีเวลา ถ่ายภาพมาตรวัดความเร็ว นี่ยังไม่นับรวม เวลาที่เสียไปกับการด�ำเนินคดี ขึ้นโรงขึ้นศาล ซึ่งเห็นได้ชัดว่านี่ไม่ใช่กระบวนการที่รวดเร็ว และได้ผลแน่นอน “หลักฐานทีม่ จี ะต้องชีช้ ดั เช่น ถ้ากล่าวหา ว่ า ผู ้ ขั บ ขี่ ป ระมาท ก็ ต ้ อ งพิ สู จ น์ ใ ห้ ไ ด้ ว ่ า ประมาทอย่างไร ซึง่ ก็กลายเป็นภาระใหญ่หลวง ของผูป้ ระสบเหตุทตี่ อ้ งหาหลักฐาน ท�ำให้จดุ นี้ ยั ง คงเป็ น ช่ อ งโหว่ ท างกฎหมาย” อาจารย์ ณั ฏ ฐพรแสดงความเห็ น ก่ อ นจะทิ้ ง ท้ า ยว่ า “ท�ำประกันเอาไว้ ดีที่สุด” ชีวิตคนกรุงรายล้อมไปด้วยความเสี่ยง มากมาย โดยเฉพาะบนขนส่ ง สาธารณะ ที่ อ ะไรก็ เ กิ ด ขึ้ น ได้ แม้ ก ารเปลี่ ย นขนส่ ง สาธารณะให้ปลอดภัยไร้กังวลคงต้องใช้เวลา ประมาณหนึ่ ง (หรื อ ประมาณชาติ ห นึ่ ง ก็ไม่อาจทราบ) แต่สิ่งที่ผู้โดยสารท�ำได้ตั้งแต่ ตอนนี้ คือการตระหนักถึงสิทธิความปลอดภัย และการชดเชยค่ า เสี ย หายที่ ต นพึ ง ได้ รั บ เพราะการเลิกใช้ขนส่งสาธารณะคงท�ำได้ยาก ผู้โดยสารจึงต้องใจถึงและมีความรู้มากพอ


ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561 | 5

SOCIAL ISSUE

MINESWEEPER

เมื่อไหร่ทางเท้าไทยจะไม่ใช่การเล่นเกมเหยียบกับระเบิด

เรื่อง-ภาพ : กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์

Minesweeper เกมยอดฮิตในคอมพิวเตอร์วินโดวส์ที่ผู้เล่นต้อง กดเลือกช่องว่างในตารางโดยหลีกเลี่ยงการกดโดน ปุ ่ ม ระเบิ ด ค่ อ ยๆ เลื อ นหายไปจากสั ง คมในช่ ว ง ยุค 2000 เป็นต้นมา จนกลายเป็นเพียงเกมออฟไลน์ ที่ใช้เล่นฆ่าเวลาขณะต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต (หรือ คนอาจจะเลือกเล่นเกมไดโนเสาร์กระโดดข้ามต้นไม้ บนหน้า Google Chrome แทนเสียมากกว่า) ทั้งที่ ในความเป็นจริงแล้วเกมนี้ไม่ได้หายไปไหนเลย

เพราะมันอยู่ในชีวิตประจ�ำวันของเรานี่ล่ะ! หน้าจอ Minesweeper ขนาดยักษ์ที่กินพื้นที่ 22.55 ตร.กม คิดเป็นร้อยละ 1.44 ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีชอื่ เรียกสวยงามว่า “ทางเท้า” เครือ่ งมือสร้างจินตนาการ ให้เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริงโดยใช้วัสดุปูทางเท้า บังระเบิดที่อยู่ด้านล่าง มากกว่าแค่คลิกโดนระเบิดแล้วจบเกม ประชาชนที่ เหยี ย บพลาดโดนกระเบื้ อ งที่ ช� ำ รุ ด แล้ ว ได้ รั บ บาดเจ็ บ มี อ ยู ่ นั บ ไม่ ถ ้ ว น เช่ น กรณี ข องนิ สิ ต จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัยที่เดินตกหลุมลึกบนทางเท้าบริเวณถนน อังรีดูนังต์จนได้รับบาดเจ็บ หรือทางเท้าที่ช�ำรุดจนท�ำให้ผู้ ใช้ทางเท้าต้องลงมาเดินบนไหล่ถนนที่เสี่ยงอันตรายจาก การจราจรแทน ละมัย นาคทองรูป แม่ค้าอายุ 72 ปีเล่าให้ฟังว่าเคย ข้ อ เท้ า พลิ ก จากการเดิ น บนทางเท้ า ที่ ช� ำ รุ ด จนท� ำ ให้ ไม่สามารถไปท�ำงานได้ ต้องรักษาตัวเป็นเวลานานกว่า จะหายเป็นปกติ ส่วน ธัญชนก แสงวัฒนชัย นักศึกษา วัย 21 ปีบอกว่าเคยเดินสะดุดพื้นที่ไม่ราบเรียบจนได้รับ บาดเจ็ บ อยู ่ บ ่ อ ยๆ และท� ำ ให้ เ ครื่ อ งแบบสกปรกจาก การที่น�้ำใต้กระเบื้องกระเด็นใส่

ธิติ ทรงเจริญกิจ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานก่อสร้าง และบูรณะ ส�ำนักโยธา กรุงเทพมหานคร กล่าวว่านอก จากสาเหตุทางกายภาพแล้ว การที่ประชาชนใช้ทางเท้า ผิดวิธกี เ็ ป็นอีกหนึง่ สาเหตุทที่ ำ� ให้ทางเท้าช�ำรุดก่อนเวลา อันควร “บ้านเรายังมีการปล่อยให้ค้าขายได้บนทางเท้า ร้ า นอาหารกลายเป็ น แหล่ ง เทน�้ ำ ทิ้ ง เศษขยะลงบน ทางเท้าจนเป็นเรื่องปกติ ท�ำให้คราบน�้ำต่างๆ ซึมเข้าไป ลงในดิน สะสมนานเข้า กลายเป็นปัญหาทรุดตัวตามมา นอกจากนั้ น ยั ง มี พ วกชอบขั บ และจอดจั ก รยานยนต์ บนทางเท้าที่มีผลให้ทรุดโทรมเร็วกว่าปกติ” ผอ.ส� ำ นั ก งานก่ อ สร้ า งและบู ร ณะยั ง กล่ า วอี ก ว่ า โดยปกติแล้วทางเท้าที่มีลักษณะเป็นอิฐตัวหนอนหรือ กระเบื้ อ งปู น ซี เ มนต์ มี อ ายุ ก ารใช้ ง านถึ ง 10 ปี แต่ พ ฤติ ก รรมของประชาชนท� ำ ให้ ท างเท้ า เกิ ด ความ เสียหายอย่างรวดเร็ว แม้ว่าปัจจุบันกรุงเทพมหานคร ได้ปรับเปลี่ยนวัสดุจากอิฐตัวหนอนเป็นกระเบื้องซีเมนต์ สี่ เ หลี่ ย มแล้ ว แต่ เ มื่ อ ประชาชนใช้ ง านอย่ า งผิ ด วั ต ถุ ป ระสงค์ ก็ ไ ม่ ส ามารถทนต่ อ อาการทรุ ด และ เสื่อมโทรมได้อยู่ดี อาจารย์อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) และผู้จัดการ โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ได้เสนอวิธแี ก้ไขปัญหา การช� ำ รุ ด ของทางเท้ า ไว้ 2 วิ ธี คื อ การเอาจริ ง เอาจั ง ของรั ฐ ในการออกแบบผั ง เมื อ ง การบู ร ณะซ่ อ มแซม รวมไปถึงการใช้กฎหมายควบคุม และอีกวิธคี อื การสร้าง ความรับผิดชอบให้กับคนในสังคม “รัฐต้องเชื่อก่อนว่าทางเท้าเป็นสิ่งที่เ ป็น Public หมายความว่าเป็นสาธารณะ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องลงทุนงบประมาณลงมา แล้วความซับซ้อนของ ทางเท้าก็คือมีหลายหน่วยงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง

ในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าจะมีการ ปรับปรุงก็ต้องรื้อสร้างใหม่ คือไม่ได้ถูกบูรณาการในการ จัดการทางเท้าอย่างเบ็ดเสร็จ” อาจารย์อดิศักดิ์ยังกล่าว เพิม่ เติมว่านอกจากเป็นปัญหาทางกายภาพทีห่ ลายภาคส่วน ควรตกลงร่วมกันแล้วยังเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างอีกด้วย คือการสร้างถนนไม่ได้ออกแบบให้ถนนมีทางเท้า พืน้ ทีท่ ี่ เหลือจากการท�ำถนนต่างหากที่เป็นทางเท้า นอกจากการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐแล้ว อาจารย์อดิศักดิ์ยังเสนอว่าการสร้างการตระหนักรู้และ ความรับผิดชอบของคนในสังคมก็เป็นเรือ่ งทีส่ ำ� คัญเช่นกัน เพราะการที่ประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ทางเท้าผิดๆ ทั้งการขับขี่มอเตอร์ไซค์หรือตั้งร้านอาหารและเทน�้ำเสีย ลงบนทางเท้า นอกจากจะท�ำให้ทางเท้าเสือ่ มสภาพก่อน เวลาอั น ควรแล้ ว ยั ง ส่ ง ผลต่ อ กรอบความคิ ด และ พฤติกรรมการใช้ทางเท้าในระยะยาว “ตอนนี้ ค นยั ง ไม่ รู ้ ว ่ า สิ ท ธิ์ ที่ จ ะใช้ ท างเท้ า มั น มี อ ยู ่ ความจริงมันต้องคิดกว้างและหลากหลาย ไม่ใช่สุดโต่ง แบบทางเท้าต้องเอาไว้เดิน ไม่ได้คิดอย่างบูรณาการ อย่ า งรอบคอบรอบด้ า น มั น อาจจะเป็ น อะไรก็ ไ ด้ ” อาจารย์อดิศักดิ์ยังเล่าให้ฟังอีกว่าหากมีการจัดการที่ดี และประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ทางเท้าที่น่ารักก็จะ สามารถท�ำให้พื้นที่ทางเท้าบางส่วนเป็นที่วางอุปกรณ์ ประกอบถนน (Street Furniture) จ�ำพวกม้านั่ง ต้นไม้ หรือแม้แต่ปรับให้เป็นสถานที่ท�ำกิจกรรมร่วมกันได้เลย ทีเดียว ตัวอย่างเช่นในต่างประเทศทีม่ กี ารจัดการทางเท้า และมีกฎหมายที่รัดกุมอย่างสิงคโปร์และญี่ปุ่น ถึงเวลา Mind Sweep - ปัดกวาดจิตใจคนในสังคม ให้ มี พ ฤติ ก รรมการใช้ ท างเท้ า อย่ า งถู ก วิ ธี เพื่ อ น� ำ ไป สู่ทางเท้าที่ไม่มีหลุมระเบิดและ Log Out จากเกมหลบ ระเบิดนี้ได้เสียที

ตัวอย่างเมืองทางเท้าสวย และอุปกรณ์ประกอบถนน (Street Furniture) ที่น่าสนใจในต่างประเทศ หากบ้านเรามีการแก้ไขปัญหาทางเท้าช�ำรุดอย่างยั่งยืนแล้ว การจะมีอุปกรณ์ประกอบถนนน่ารักๆ อย่างม้านั่งหรือกระถางต้นไม้คงเป็นเรื่องไม่ยากและช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะแก่การ เดินด้วย ตัวอย่างเช่นเก้าอี้รูปทรงต่างๆ ตามท้องถนนในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งนอกจากจะเป็นที่พักผ่อนของผู้คนที่สัญจรไปมาแล้ว ยังเป็นเวทีแสดงความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบหรือแม้แต่ นักเรียนนักศึกษาในประเทศ เช่นการน�ำท่อนไม้จากสนามกีฬาเก่ามาดัดแปลงเป็นม้านั่ง ในสาธารณรัฐเกาหลีใต้ พื้นที่ทางเท้าส่วนหนึ่งในฮงแด ศูนย์รวมของเหล่าวัยรุ่นตั้งแต่มัธยมไปจนถึงมหาวิทยาลัย ถูกจัดเป็นพื้นที่แสดงความสามารถชื่อว่า 홍대 걷고싶은 거리 (ฮงแด ค็อดโก ชิพพึนกอรี) ซึ่งมีความหมายว่า “ถนนที่คุณอยากจะเดิน” โดยในวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีการแสดงรูปแบบต่างๆ ทั้งการแสดงของวงดนตรี เต้นคัฟเว่อร์ ไปจนถึงการแสดงมายากล หรือการพัฒนาพื้นที่เล็กๆ บนทางเท้าให้เป็นแท่นชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือพลังงานแสงอาทิตย์ที่เรียกว่า Street Charge ในเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยังมีการน�ำท่อนไม้ มาตกแต่งเป็นตูห้ นังสือกลางเมืองเพือ่ ส่งเสริมกิจกรรม Book Crossing หรือการส่งต่อหนังสือทีอ่ า่ นจบแล้วให้คนอืน่ เรียกได้วา่ นอกจากจะตกแต่งอย่างสวยงามแล้วยังเป็นประโยชน์ตอ่ ประชาชน ที่เดินไปมาด้วย


6 | ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561

GENDER

LGBT MARKETING

เมื่อโฆษณาไม่ได้เป็นแค่การตลาด แต่คือความเข้าใจ เรื่อง : ปพิชญา ถนัดศีลธรรม, เอม มฤคทัต ในวันที่สังคมโลกเปิดกว้าง สื่อที่น�ำเสนอเนื้อหา เกี่ยวกับ “LGBT” อาจกลายเป็นสิ่งคุ้นเคยของคนใน สั ง คม ไม่ เ พี ย งแต่ ค วามหลากหลายทางเพศที่ ถู ก น�ำเสนอออกมา แต่รป ู แบบของสือ ่ ทีห ่ ยิบเอาเรือ ่ งราว ของกลุ ่ ม LGBT มาด� ำ เนิ น เรื่ อ งก็ เ ริ่ ม หลากหลาย มากขึ้นด้วยเช่นกัน

ผลการส�ำรวจของเว็บไซต์ LGBT-Capital.com พบว่า ในทวีปเอเชียมีกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ อยู่ถึง 270 ล้ า นคน เป็ น ประชากรไทยสี่ ล ้ า นคน ซึ่ ง สู ง เป็ น อั น ดั บ ที่ สี่ ของทวี ป อี ก ทั้ ง ยั ง มี แ นวโน้ ม จะเพิ่ ม ขึ้ น ในอนาคต จึ ง ไม่ น่าแปลกใจหากผูม้ คี วามหลากหลายทางเพศจะถูกมองว่าเป็น อี ก หนึ่ ง ก� ำ ลั ง ซื้ อ ส� ำ คั ญ และเป้ า หมายหลั ก ในการผลิ ต สื่ อ โฆษณา โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เริ่มมี LGBT ในฐานะ พรีเซ็นเตอร์ของผลิตภัณฑ์เสริมความงามหลายยี่ห้อ ไปจนถึง รถมอเตอร์ไซค์ และอาหารการกิน นอกจากการใช้ ผู ้ มี ค วามหลากหลายทางเพศเป็ น พรีเซนเตอร์สินค้าแล้ว สื่อโฆษณาเหล่านี้ยังน�ำเสนอเนื้อหาที่ มุ่งสร้างความเข้าใจและการยอมรับชาว LGBT จากคนใน สังคม เพื่อให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ยอมรับความหลากหลาย แต่เนื้อหาที่ถูกน�ำเสนอสามารถท�ำให้ผู้พบเห็นเข้าใจถึงความ หลากหลายทางเพศได้จริงหรือ “การท�ำสือ่ ทีเ่ หมาะสม คือการไม่สร้างภาพจ�ำทีเ่ ป็นผลร้าย ให้กับใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเราก็ต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจตรง นีเ้ วลาน�ำเสนองาน” ธัญญ์วาริน สุขะพิสษิ ฐ์ ผูก้ ำ� กับภาพยนตร์ และผูก้ ำ� กับโฆษณาชุด ความในใจของปอย ตรีชฎาของแชมพู ยีห่ อ้ หนึง่ เกริน่ ถึงหลักการผลิตสือ่ โฆษณาทีด่ ี ธัญญ์วารินมองว่า สังคมในปัจจุบนั มีแนวโน้มทีจ่ ะท�ำความเข้าใจเรือ่ งความหลาก หลายทางเพศเพิ่มขึ้น และการจับกลุ่มลูกค้าที่มีความหลาก หลายทางเพศของแบรนด์ต่างๆ ก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ทุกขั้นตอน การผลิต จ�ำเป็นต้องอาศัยการศึกษาข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่า โฆษณาที่ถูกน�ำเสนอออกไปจะไม่เป็นการผลิตซ�้ำภาพจ�ำที่ ไม่ดี “ตอนเราท�ำโฆษณา เราเลยไม่ได้เลือกแค่กะเทยที่สวย แต่ เ ราเลื อ กคนผิ ว คล�้ ำ คนที่ มี อ าชี พ หลากหลาย ไม่ ไ ด้ ถูกรังเกียจจากสังคมไปเสียหมด เพราะโฆษณาของเราอยาก จับกลุ่มเป้าหมายคือกะเทยผมยาว แต่เราก็อยากให้คนที่มา เห็นเข้าใจด้วยว่ามนุษย์เราไม่ได้มีแบบเดียว ต่อให้เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ทุกคนไม่ได้เหมือนกันอยู่แล้ว หน้าตาก็แตกต่าง รสนิยมก็แตกต่าง เพราะฉะนั้นเรามาสร้าง ความเคารพในตัวผู้คนเหล่านั้นแทนดีกว่า” ธัญญ์วารินกล่าว เช่นเดียวกับ เริงพิพัฒน์ โรจนศิริ นักวางแผนการตลาด บริษัท Nowism Digital Media Agency ที่มองว่าในปัจจุบัน แม้โฆษณาหลายชิ้นจะเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย แต่สื่อออนไลน์ ก็ขยายขอบเขตการเข้าถึงโฆษณาให้ไม่จ�ำกัดอยู่เพียงกลุ่มคน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นการค�ำนึงถึงภาพที่จะน�ำเสนอจึงเป็น สิง่ ส�ำคัญ โดยเฉพาะในกรณีกลุม่ ผูม้ คี วามหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมก�ำลังพยายามท�ำความเข้าใจ เพราะใน ฐานะคนท� ำ สื่ อ ต้ อ งตระหนั ก ไว้ ว ่ า สื่ อ ที่ เ ผยแพร่ อ อกไปมี อิทธิพลต่อสังคมเสมอ อย่างไรก็ตาม การสร้างความเข้าใจในเรื่องความหลาก หลายทางเพศผ่านสือ่ โฆษณาอาจไม่ใช่เรือ่ งง่ายนัก ธัญญ์วาริน

ให้ความเห็นเพิ่มเติมในฐานะผู้ก�ำกับภาพยนตร์ว่า ในอดีต วงการภาพยนตร์มกั น�ำเสนอภาพของ LGBT ในฐานะตัวตลก แต่เมื่อเวลาผ่านไป สังคมกลับเห็นสื่อกระแสหลักที่ฉายภาพ ของ LGBT ที่หลากหลายมากขึ้น นี่อาจไม่ต่างจากความ เปลี่ยนแปลงในวงการโฆษณาที่เริ่มเปิดกว้างให้กับความ แตกต่างทางสังคม และเมื่อผู้สร้างเริ่มเกิดความเข้าใจ ใน เวลาต่อมาผู้ชมก็จะค่อยๆ ซึมซับถึงอัตลักษณ์ที่หลากหลาย เหล่านี้ได้เช่นกัน “เขาอาจจะไม่เชือ่ หรือเปิดใจในวันนี้ แต่แน่นอนว่าเขาจะ ได้เห็นภาพใหม่ๆ ที่เราค่อยๆ สร้างในสังคม แล้ววันหนึ่งภาพ เหล่านี้จะเปลี่ยนความคิดของผู้คนได้เอง เพราะโดยพื้นฐาน สังคมเราไม่ได้ถูกสอนมาให้ท�ำความเข้าใจกับเรื่องพวกนี้ ดัง นั้นเราคิดว่าในอนาคตอีกสักสิบหรือยี่สิบปี สิ่งเหล่านี้จะ กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมได้” ธัญญ์วารินอธิบายเพิ่มเติม เช่นเดียวกับความคิดเห็นของผู้มีความหลากหลายทาง เพศอย่าง สิรีธร เลาหเจริญสมบัติ นักศึกษา ที่กล่าวว่าตน เริ่มเห็นโฆษณาเกี่ยวกับกลุ่ม LGBT เพิ่มขึ้น และคิดว่าสื่อ โฆษณาเหล่านั้นไม่เพียงจะท�ำให้ผู้ชมได้เริ่มรู้จักกับกลุ่ม LGBT เท่านั้น แต่ยังช่วยท�ำให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศ จ�ำนวนมากกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนออกสู่สังคม เพราะค�ำพูด จากโฆษณาที่มักเสริมสร้างความมั่นใจให้กับพวกเขา ด้าน ศุ ภ วิ ช สุ ว รรณศรี นักศึกษา ยังคงมองว่าการ ท�ำการตลาดที่อิงกระแส LGBT ในปัจจุบันเป็นเรื่องผิวเผิน เพราะสือ่ โฆษณามักสร้างภาพจ�ำด้วยการใช้ชายแต่งหญิง ซึง่ ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางเพศจริงๆ แต่ใน ขณะเดียวกันตนก็รสู้ กึ ดีทสี่ งั คมไทยเริม่ เปิดกว้างและยอมรับ ความแตกต่างนี้ได้มากขึ้น “มองในฐานะนักเรียนโฆษณา เราว่าเขาไม่ได้เข้าใจคน กลุ่มนี้ทั้งหมด เพราะถึงเขาจะท�ำการบ้านมาดีขนาดไหน มัน ก็ คื อ การตลาดอย่ า งหนึ่ ง อยู ่ ดี แล้ ว เราก็ ไ ม่ ไ ด้ รู ้ ว ่ า คนท� ำ โฆษณาเป็น LGBT หรือเปล่า แต่ในต่างประเทศ เรามองว่า เขาท�ำการบ้านและสามารถสื่อเรื่องเหล่านี้ออกมาได้ดีมาก” ศุภวิชกล่าว โดยแสดงความคิดเห็นเพิม่ เติมว่าสือ่ โฆษณาของ ต่างประเทศมีความหลากหลายในวิธีการน�ำเสนอมากกว่า ทั้งการใช้กลุ่มคนหลายรูปแบบ หรือมีพล็อตเรื่องที่แตกต่าง กันออกไป ดังนั้นแม้อาจเป็นการตลาด แต่เมื่อตนดูแล้วกลับ รับรู้และเข้าใจกลุ่ม LGBT มากกว่าสื่อโฆษณาของไทย ขณะที่สหรัฐ รอดผล นักศึกษา คิดว่าการตลาดที่ใช้ ภาพของชายแต่งหญิงอาจเป็นภาพจ�ำที่ง่ายที่สุดส�ำหรับ การน�ำเสนอเรื่อง LGBT ออกสู่สังคมวงกว้าง ดังนั้นภาพ ดังกล่าวอาจเป็นจุดเริ่มต้นสู่การน�ำเสนอภาพของ LGBT รูปแบบอื่นๆ ในอนาคต ทว่าสหรัฐกลับชี้ว่าตนไม่ได้มีความ รู้สึกร่วมกับสื่อโฆษณาเหล่านี้มากนักเพราะภาพที่เห็นเป็น เรือ่ งไกลตัวและไม่ใช่เรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ บ่อยในชีวติ ประจ�ำวัน หรือ แม้แต่กับกลุ่มเพื่อน LGBT ด้วยกันเอง “เราอยากเห็นงานทีค่ นจะไม่มองว่านีเ่ ป็น LGBT แต่สงิ่ ที่ น� ำ เสนอคื อ การท� ำ ให้ ผู ้ พ บเห็ น เข้ า ใจว่ า เราก็ เ ป็ น มนุ ษ ย์ เหมือนกัน เราไม่ได้อยากให้มีการตลาดที่พูดว่า Stand for LGBT แต่เราอยากให้เขามองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้ หรือให้ภาพของพวกเราที่สดใส ไม่ใช่ต้องเจอเรื่องล�ำบาก ตลอดเวลา” สหรัฐสรุป

“ค�ำว่า LGBT คือการแบ่งแยกคน เราอยากเห็ น โฆษณาที่ ทุ ก คนเป็ น มนุษย์ ถ้าเราไม่จ�ำกัดคน เราจะไม่มี การจัดคนใส่ในประเภท LGBT จะไม่มี หนังเกย์ มีแต่หนังมนุษย์ที่เราจะรัก ใครชอบใครก็ได้” ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ผู้กำ�กับ

“สื่อชอบน�ำเสนอภาพของ LGBT ที่ไม่ค่อย ประสบความส�ำเร็จ ความจริงเรือ ่ งเหล่านีใ้ ครเล่า ก็ ไ ด้ เราว่ า การใช้ LGBT ควรใช้ ใ นบริ บ ทที่ สามารถสร้างความเข้าใจถึงความแตกต่างได้ มากกว่า“ ชนากานต์ ไชยสิทธางกูร นักศึกษา

“LGBT ถูกใช้เป็นตัวแทนของความตลกมาก จนเกินไป หรือในบางครัง ้ ก็ถก ู สร้างคาแรคเตอร์ ให้โดดเด่นกว่าคนปกติ ท�ำให้ในบางครั้งเราก็คิด ว่ามันขนาดนั้นเลยเหรอ“ จอนปรอท วงษ์เทศ นักศึกษา

“โดยรวมเราคิดว่าสื่อจะถือว่าน�ำเสนอภาพที่ โอเคเมื​ื่อเขาน�ำเสนอด้วยจุดประสงค์ที่ดี” รุ่งอรุณ อมรรัตน์ชัย วิศวกรเคมี


ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561 | 7

QUALITY OF LIFE

ปวดท้องเมนส์ตอนทำ�งาน ความทรมานที่ต้องการความเข้าใจ

เรื่อง : ปุณยภา ประสานเหลืองวิไล ภาพ : กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์

“ช่ ว งบ่ า ยวั น หนึ่ ง เราปวดท้ อ ง เมนส์หนักมาก ไม่ไหวแล้ว ประคบน�้ำ ร้ อ นก็ แ ล้ ว กิ น ยาก็ แ ล้ ว แต่ มั น ไม่ ไ ด้ นอนพั ก เราก็ ท� ำ งานไม่ ไ หว บอกพี่ หั ว หน้ า ขอกลั บ ก่ อ น แล้ ว เราก็ ต ้ อ ง เรียกแท็กซี่ ขนาดแค่จะไปบีทีเอส เรา ยังไม่ไหว ต้องนั่งแท็กซี่กลับคอนโด”

กนกวรรณ เชาวน์ เ จริ ญ พนั ก งาน บริษัทด้านการตลาดสื่อดิจิทัลวัย 23 ปี เล่าว่า ตนเริ่มปวดท้องประจ�ำเดือนอย่างรุนแรงหลัง จากจบมหาวิทยาลัย กนกวรรณบอกว่าช่วง วันแรกของการมีประจ�ำเดือนเธอจะปวดท้อง ตลอดเวลา ร่างกายรู้สึกชาและรู้สึกไม่อยาก ขยับตัว เวลานั่งก็ต้องเอนตัวให้ราบมากที่สุด กัญญาพัชญ์ เบ็ญจพิธจักษุ ข้าราชการ อายุ 30 ปี เล่าว่าเธอปวดท้องน้อยอย่างหนัก ทุกครั้งที่มีประจ�ำเดือน หลายครั้งปวดมาก จนเธอไม่ ส ามารถท� ำ อะไรในวั น นั้ น ได้ เ ลย ท� ำ ได้ แ ค่ น อนคว�่ ำ ตลอดเวลา เธอจึ ง รู ้ สึ ก กั ง วลใจและกลั ว ว่ า ตนจะเป็ น โรคร้ า ยแรง แต่เมื่อเธอไปตรวจร่างกายก็ไม่พบว่ามีอะไร ผิดปกติ พญ.พธู ตัณฑ์ไพโรจน์ อาจารย์คณะ แพทยศาสตร์ แผนกสูตินารีเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิ ท ยาลั ย ได้ อ ธิ บ ายว่ า การปวดท้ อ ง ประจ�ำเดือนมีลักษณะใกล้เคียงอาการปวด ท้องเสีย คือท้องจะบีบเกร็งทั้งวันตลอดการมี ประจ�ำเดือน และระดับความปวดท้องก็ยาก ที่ จ ะกะเกณฑ์ ว ่ า ใครปวดมากหรื อ น้ อ ย เพราะความปวดเป็นความรู้สึกส่วนตัวของ คนคนนั้น ไม่มีเครื่องมือวัดได้ ความรู้สึกปวด ขึ้นอยู่กับระดับการรับรู้ความเจ็บของแต่ละ คนหรือ pain ratio ที่ไม่เท่ากัน การเป็นประจ�ำเดือนในวันทั่วไปก็สร้าง ความล�ำบากให้กับผู้หญิงอยู่แล้ว แต่ในวันที่ ต้ อ งท� ำ งาน การเป็ น ประจ� ำ เดื อ นยิ่ ง เป็ น อุปสรรค กนกวรรณเล่าว่าหลายครั้งเธอเป็น ประจ�ำเดือนวันแรกตรงกับวันท�ำงาน เธอเคย ต้องกลับบ้านกลางคันเพราะปวดท้องมาก จนทนไม่ไหวและประสิทธิภาพในการท�ำงาน ของเธอก็ลดลงอย่างมาก “เราท�ำงานใช้ความคิด เราต้องพึง่ ไอเดีย เป็ น ส� ำ คั ญ พอปวดท้ อ ง ไอเดี ย มั น ก็ ไ ม่ ม า เขียนงานก็ไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก บางทีก็ไม่ อยากคิดเลย” กนกวรรณกล่าว กนกวรรณเสริ ม ว่ า ในระหว่ า งวั น เธอลองพยายามจะรั บ ประทานยาเพื่ อ บรรเทาอาการปวดท้องประจ�ำเดือน แต่ไม่มี เวลาพักเพราะต้องท�ำงานต่อเนื่อง อาการจึง ไม่ดขี นึ้ และท�ำงานไม่ได้อยูด่ ี ส่วนกัญญาพัชญ์ ระบุวา่ เธอไม่รบั ประทานยาแก้ปวดท้องประจ�ำเดือน เพราะท�ำให้เธอใจสั่น ดังนั้น ถ้าเธอต้องมา ท�ำงานในวันที่มีประจ� ำ เดื อน เธอก็ ต ้ องทน แม้จะรู้สึกทรมานก็ตาม “ถ้าปวดท้องตรงกับวันท�ำงานก็จะฝืนมา

แต่ก็มานั่งโอดโอย อย่างตอนท�ำงานเราจะ ไม่มีสมาธิตลอดวัน บางทีเราไม่ไหว มันก็ต้อง ฟุบนะ เราก็นั่งไม่สะดวก ต้องมานั่งหลังคด หลังงอ เก้าอี้เอนได้ก็จริงแต่มันปวดท้อง เลย ต้องคอยงอตัวตลอด” กัญญาพัชญ์บรรยาย ภาพการท�ำงานในวันที่เป็นประจ�ำเดือน ขณะเดี ย วกั น บางครั้ ง การปวดท้ อ ง ประจ� ำ เดื อนอาจเป็ นสั ญ ญาณเตื อ นถึ งโรค ร ้ า ย ท ร ง ศ รี โ พ ธิ ส วั ส ดิ์ พ นั ก ง า น มหาวิทยาลัยอายุ 56 ปี เล่าว่าในช่วงอายุ 20 เธอปวดท้องประจ�ำเดือนอย่างหนัก เมื่อไป พบแพทย์จึงพบว่าเธอเป็นช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือมีถุงน�้ำในรังไข่ที่เกิด จากเซลล์ เ ยื่ อ บุ ม ดลู ก เจริ ญ ผิ ด ที่ เมื่ อ เป็ น ประจ�ำเดือนจะมีเลือดสะสมและตกค้างก่อ ตัวเป็นซีสต์ ท�ำให้เธอปวดท้องหนักจนท�ำงาน ไม่ได้และต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา ส�ำหรับการรักษาอาการปวดท้องประจ�ำ เดือนนั้น พญ.พธูกล่าวว่าถ้าปวดท้องมากก็ ควรมาพบแพทย์ เพราะอาการปวดมีหลาย สาเหตุ ถ้าพบว่าเป็นโรคร้ายจะได้เข้ารักษา ตั้งแต่เนิ่นๆ หรือตรวจแล้วไม่ได้เป็นโรคร้าย แรงก็ อ าจจะแนะน� ำ ให้ ท านยา เพื่ อ ให้ ไ ม่ มี อาการปวดและไม่กระทบต่อการด�ำเนินชีวิต นอกจากผลกระทบต่ อ ร่ า งกายแล้ ว อาการปวดประจ�ำเดือนยังมีผลต่อสุขภาพจิต ด้วย กนกวรรณเล่าว่าบางเดือนเธอจะรู้สึก อ่อนไหวเป็นพิเศษ อยากร้องไห้ มีอาการซึม

ยิ่งปวดท้องหนักขึ้น ไม่สามารถท�ำงานได้เต็ม ที่ แต่ พ วกเธอก็ ไ ม่ ไ ด้ ข อลาหยุ ด ทุ ก เดื อ น เพราะเกรงใจเพื่ อ นร่ ว มงานและไม่ อ ยาก ให้การท�ำงานหยุดชะงัก

ก็ปวดเยอะจริงๆ เพียงแต่ขึ้นอยู่กับว่าความ ซื่อสัตย์ของแต่ละคน ว่าจะปวดนิดเดียวแล้ว ลารึเปล่า แต่จากคนเคยปวดนะ สนับสนุน เลยว่า มันควรจะมี”

ปั จ จุ บั น ประเทศไทยยั ง ไม่ มี ก ฎหมาย รับรองการลาป่วยเนือ่ งจากปวดท้องประจ�ำเดือน ขณะที่ บ างประเทศอย่ า งเช่ น จี น เกาหลี ญี่ปุ่น มีกฎหมายรับรองแล้ว หากวันหนึ่งไทย มี ก ฎหมายให้ สิ ท ธิ นี้ แ ก่ แ รงงานผู ้ ห ญิ ง บ้ า ง

กนกวรรณเป็นอีกคนที่เห็นด้วยกับการ มีสิทธิลาปวดท้องประจ�ำเดือน “มีเผื่อไว้มันก็ ดี คือไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่ปวดเมนส์ทุกเดือน แต่ก็เหมือนผู้ชายที่มีสิทธิลาบวช เขาก็มีไว้ ทั้งที่บางคนก็ไม่ได้บวช เราก็ขอมีบ้างได้ไหม ที่ไม่ใช่วันลาป่วยหรืออะไร”

“เราท� ำ งานใช้ ค วามคิ ด เราต้ อ งพึ่ ง ไอเดี ย เป็ น ส� ำ คั ญ พอเราปวดท้อง ไอเดียมันก็ไม่มา งานเขี ย นก็ ไ ม่ ไ ด้ คิ ด อะไรไม่ อ อก บางที ก็ ไม่อยากคิดเลย”

กนกวรรณ เชาวน์เจริญ

ซึ่งหลายครั้งอาการเหล่านี้ก็เป็นอุปสรรคใน การท�ำงาน “บางทีมันกระทบกับงาน เพราะงานเรา ต้องเขียน ถ้าอารมณ์เศร้าอยู่ อยากร้องไห้ แต่ ต ้ อ งเขี ย นงานที่ ร ่ า เริ ง สดใส เวลาเขี ย น แล้วไม่ค่อยมาเท่าไร” กนกวรรณกล่าว ส่ ว นกั ญ ญาพั ช ญ์ ก็ มี ส ภาพอารมณ์ ที่ เ ป ลี่ ย น ไ ป ใ น ช ่ ว ง เ ป ็ น ป ร ะ จ� ำ เ ดื อ น เธอหงุดหงิดเพราะไม่สบายเนือ้ สบายตัว และ บางครั้งก็เกิดความเครียดด้วย กัญญาพัชญ์ เล่าว่าความแปรปรวนของอารมณ์ขณะเป็น ประจ� ำ เดื อนมี ผ ลต่ อ การปฏิ สั มพั นธ์ กับ คน รอบข้างและเพือ่ นร่วมงานด้วย “สองวันแรกนะ โอโห โลกทั้งใบอยู่ที่ฉัน อย่ามายุ่งกับฉันนะ ฉันไม่โอเค” กัญญาพัชญ์บอก กนกวรรณและกัญญาพัชญ์เห็นตรงกัน ว่า ถ้าเลือกได้ก็อยากจะหยุดพักในวันที่ปวด ท้องประจ�ำเดือน เพราะการฝืนมาท�ำงานจะ

กั ญ ญาพั ช ญ์ ม องว่ า ก็ เ ป็ น เรื่ อ งที่ ดี ที่ ผู ้ มี อาการปวดท้องรุนแรงจะได้พักผ่อน แต่ก็ กั ง วลใจว่ า บางคนมี ป ระจ� ำ เดื อ นมากกว่ า หนึ่งครั้งต่อเดือน การลาป่วยด้วยสาเหตุนี้ก็ อาจกระทบกับการท�ำงาน “ผู้หญิงบางคนที่ไม่ได้ปวดมากอาจจะ รู้สึกว่าฉันก็เป็นนะ แต่ฉันไม่เห็นปวดเท่าเธอ เลย ท�ำไมเธอต้องลา แต่อยากให้เข้าใจว่า สรีระของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจ ปวดถึ ง ขั้ น ที่ ท� ำ อะไรไม่ ไ ด้ แ ล้ ว ให้ เ ขาพั ก น่าจะดีกว่าให้เขามานั่งฝืนท�ำ บางทีเราไม่รู้ ว่ามันเป็นอะไรมากกว่านั้นไหม อย่างน้อยให้ เขาพั ก ก่ อ น ไม่ ดี ขึ้ น ก็ ไ ปหาหมอ เพื่ อ ให้ สามารถกลับมาท�ำงานได้ปกติ น่าจะดีกว่า” กัญญาพัชญ์กล่าว ทรงศรีก็เห็นว่าถ้าสามารถลาปวดท้อง ประจ�ำเดือนได้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ห่วงว่าบาง คนอาจฉวยโอกาสลาทั้งที่ไม่ได้ป่วยจริง “ถ้า ให้สิทธิลาประจ�ำเดือนได้ก็ดี ผู้หญิงบางคน

กนกวรรณเล่าต่ออีกว่า “ไม่ถึงขั้นอยาก เรียก ร ้ อ งให้ ค นอื่ น เข้ า ใจว่ า เราปวดยั ง ไง หรอก แค่อยากให้เข้าใจว่ามันมีอยู่จริงก็พอ ไม่ใช่ว่าฉันปวดท้องเหมือนปวดท้องหิวข้าว มันไม่ใช่ ใครจะอยากลางานกลางคัน ไม่ต้อง รู ้ ห รอกว่ า ฉั น ปวดขนาดไหน รู ้ แ ค่ ฉั น ปวด จริงๆ ไม่ได้สร้างเรื่อง แค่นั้นก็พอแล้ว” คุ ้ ม เกล้ า ส่ ง สมบู ร ณ์ ทนายความ จากศูนย์ทนายความเพือ่ สิทธิมนุษยชน อธิบาย ว่า สิทธิลาป่วยกับสิทธิลาปวดประจ�ำเดือน แตกต่างกัน เพราะสิทธิลาป่วยเป็นสิทธิตาม สถานะการเป็นแรงงานดังนั้นไม่ว่าชายหรือ หญิ ง จะมี สิ ท ธิ เ ท่ า กั น แต่ ล าป่ ว ยเนื่ อ งจาก ปวดประจ� ำ เดื อ นเป็ น สิ ท ธิ ที่ แ ยกออกมา เนื่องจากความแตกต่างทางสรีระของผู้หญิง สามารถเทียบเคียงได้กับสิทธิลาบวชและลา เกณฑ์ทหารซึ่งเป็นสิทธิทางสังคมของความ เป็นเพศชายในสังคมไทย ทนายคุ้มเกล้ามองว่าพนักงานหญิงควร มี สิ ท ธิ ล าปวดประจ� ำ เดื อ น เนื่ อ งจากเป็ น เงื่อนไขทางสุขภาพที่ต้องประสบทุกเดือน ซึ่ง ส่ ง ผลกระทบต่ อ การท� ำ งานทั้ ง ในด้ า น ร่างกายและจิตใจ หากมีกฎหมายที่ให้สิทธิ ลาป่วยเนื่องจากปวดประจ�ำเดือนได้ แรงงาน หญิงก็จะได้การคุ้มครองด้านสุขภาพเฉพาะ ของสตรี และกฎหมายนี้จะเป็นตัวชี้วัดหนึ่ง ถึงความเสมอภาคทางสุขภาพของแรงงานหญิง


บที กษา 8 8 | ฉบั | ฉบั บ่ที2่ 2ปีก ปีารศึ การศึ กษา2561 2561

MAIN COURSE

ทริปยามดึก ... เที่ยวชมประติมากรรมน้ำ�มือมนุษย์ 21.30 น. คือเวลาที่พวกเราเดินทางมาถึงลาน จอดรถขยะเขตบางรั ก ซึ่ ง อยู ่ บ ริ เ วณใต้ ท างด่ ว น ในซอยเจริญกรุง 39 ความมืดมิดปกคลุมทั่วพื้นที่ มีเพียงแสงไฟสลัวๆ จากโคมไฟของพี่ๆ พนักงาน ขับรถขยะเท่า นั้นที่ ท�ำ ให้ ม องเห็ น รถเก็ บ ขยะสี เ ขี ยว หลายขนาดนั บ สิ บ คั น จอดเรี ย งรายรอเวลาออก ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีไม่รู้จบ

สุรศักดิ์ ศักดิ์ทีปกร หรือ พี่ไข่ พนักงานขับรถเก็บขยะ วัย 35 ปียนื โบกมือรอต้อนรับพวกเราด้วยใบหน้ายิม้ แย้ม พร้อม ประโยคเด็ดว่า “คืนนี้พี่จะพาน้องไปดูเส้นทางของขยะตั้งแต่ ต้นจนจบเลย” พ วกเราสงสั ย ว่ า ท� ำ ไมเขาถึ ง เลื อ กท� ำ อาชี พ นี้ พี่ ไ ข่ ย้ิ ม แล้วเล่าว่า เขาไม่ได้มีฐานะทางบ้านเพียบพร้อม หลังเรียนจบ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ก็ต้องเลิกเรียนมาท�ำอาชีพเมสเซนเจอร์ จนเมือ่ 3 ปีกอ่ น พ่อของพีไ่ ข่ปว่ ยเป็นโรคเบาหวานและไม่มใี คร ดูแล พี่ไข่จึงออกจากงานเดิมแล้วมาเริ่มต้นอาชีพพนักงานขับ รถขยะแทน เพราะมี ส วั ส ดิ ก ารค่ า รั ก ษาพยาบาลบุ ค คล ในครอบครัวที่สามารถเบิกจ่ายได้ และมีเวลาให้พี่ไข่กลับไป ดูแลพ่อของเขาได้ พี่ไข่ภูมิใจอย่างยิ่งกับอาชีพของเขา แม้เพื่อนและคนรอบ ข้างต่างเหยียดหยามอาชีพนี้ “บางคนก็ถามพี่ไข่ว่า ‘ไม่มีงาน อื่นท�ำแล้วหรือ จึงมาเก็บขยะกิน’ แต่พี่ไม่เคยคิดว่าอาชีพ พนักงานขับรถขยะผิด หรือไม่ดี มันเป็นงานสุจริตที่ช่วยให้พี่มี ชีวิตที่ดี ดูแลพ่อพี่ได้” พี่ไข่บอก

รถประจ�ำต�ำแหน่งที่พี่ไข่ใช้ออกปฏิบัติหน้าที่เก็บขยะ ทุกวันต่อเนื่องมาสามปีเต็มนั้นเป็นรถเก็บขยะขนาดสองตัน เส้นทางวิ่งเก็บขยะประจ�ำคือบริเวณซอยสีลม 22 ซึ่งเป็นที่ตั้ง ของแหล่งค้าขายอย่างสีลมวิลเลจและตลาดประชุม และย่าน ที่พักอาศัย เช่น ซอยประชุม ก่อนการเดินทาง เราตั้งค�ำถามว่า “ต้องใช้รถขยะขนาด สองตั น เลยหรื อ ส� ำ หรั บ การเก็ บ ขยะเพี ย งแค่ ส ามซอย” พนักงานขับรถอารมณ์ดีบอกเพียงว่า “วันนี้พี่จะพาน้องไป พิสูจน์ปริมาณขยะกับตาตัวเอง” ตั้ ง แต่ ย ่ า งเท้ า เข้ า สู ่ ล านจอดรถ พวกเราไม่ รู ้ สึ ก ถึ ง กลิ่นเหม็นของขยะเลยแม้แต่น้อย และเมื่อนาฬิกาบอกเวลา 22.00 น. ที่เราต้องกระโดดขึ้นรถขยะเพื่อออกปฏิบัติการ เราพบว่าตัวรถสะอาดสะอ้าน ซ�้ำยังมีกลิ่นหอมของดอกไม้ จากพวงมาลัยหน้ารถ ผิดไปจากภาพจ�ำเดิมๆ ยามเราเจอ รถขยะขับผ่านที่ต้องกลั้นหายใจทุกครั้ง พี่ ไ ข่ ส ตาร์ ท รถเพื่ อ ไปพบพนั ก งานเก็ บ ขยะสองคนที่ นัดหมายกันไว้ที่หน้างาน โดยคนขับและคนเก็บต่างรู้กันดีว่า จะไปเจอที่ไหนเวลาใด จุดหมายแรกคือ ศูนย์การค้าสีลม วิลเลจ เมื่อเรามาถึงซอยสีลม 22/1 ก็มีถุงด�ำจ�ำนวนมากกว่า สิบถุงที่พนักงานเก็บขยะขนมากองรอไว้อยู่แล้ว หลังจากพนักงานเก็บขยะ ลูกทีมของพี่ไข่สองคน ได้แก่ พี่สมบัติ บังศรี และ พี่ชัยวัฒน์ คงปลอด โยนบรรดาถุงด�ำ ใส่พื้นที่เก็บขยะท้ายรถ สิ่งที่ตามมาคือเสียงดังเอี๊ยดอ๊าดจาก เครื่องบีบอัดที่ต้องบีบขยะให้เป็นชิ้นเล็กที่สุดเท่าที่จะท�ำได้

เวลาเริม่ งานของพีไ่ ข่คอื 22.00 น. และสิน้ สุดราว 01.00 น. ของอีกวัน หลังจากนั้นพี่ไข่จะขับรถกลับบ้านเพื่อดูแลพ่อ บาง ครั้งก็ไปช่วยครอบครัวขายของในตอนเช้า เขาพูดด้วยความ ภูมิใจว่าเขาไม่คิดจะเปลี่ยนอาชีพ เพราะนี่คืองานที่ลงตัวที่สุด ส�ำหรับเขาแล้ว สิ่งเดียวที่ท�ำให้พี่ไข่ไม่พอใจคือปริมาณขยะที่ มากเกินกว่าที่ควรจะเป็นในแต่ละวัน

พี่ไข่เล่าว่า ในพื้นที่รับผิดชอบของเขา ส่วนมากจะพบ ขยะย่อยสลายได้ ทั้งเศษผักเศษอาหารจากตลาดและร้าน อาหาร ท�ำให้ไม่จ�ำเป็นต้องแยกขยะ ต่างจากบางเส้นทางซึ่ง จ�ำเป็นต้องแยกขยะ เพราะมีวัสดุต่างๆ ปะปน ไม่ว่าจะเป็น พลาสติก แก้ว ไม้ ซึ่งไม่สามารถบีบอัดได้เท่าที่ควรและอาจ เป็นอันตรายต่อพนักงานเก็บขยะด้วย

ขณะรอเวลาเริ่มงาน พวกเราอาศัยจังหวะนี้ถามพี่ไข่ว่า พนักงานเก็บขยะต้องท�ำอะไรบ้างก่อนจะไปเห็นของจริง

หนึ่งชั่วโมงให้หลัง ภารกิจเก็บขยะทั้งสามซอยก็เสร็จสิ้น พนักงานเก็บขยะพากันแยกย้ายกลับบ้าน แต่หน้าที่ของพี่ไข่ ยังไม่จบ เพราะต้องพารถเก็บขยะขนาดบรรจุสองตันที่เก็บ ขยะมาจนเต็มคันนี้ไปยังสถานีขนถ่ายมูลฝอยหนองแขม ที่ อยู่ย่านพุทธมณฑลสาย 3

พี่ไข่อธิบายว่ารถเก็บขยะของกรุงเทพฯ มีหลายรูปแบบ หลายขนาด แต่ทเี่ ขตบางรักใช้อยู่ 2 ขนาด คือ รถเก็บขยะขนาด บรรจุ สองตัน จ�ำนวนเจ็ดคัน และขนาดบรรจุห้าตัน จ�ำนวน 25 คัน โดยขนาดของรถหมายถึงปริมาณขยะที่รถสามารถเก็บได้ รถคันเล็กจะเข้าไปเก็บขยะตามตรอกซอกซอยต่างๆ ทีม่ ขี ยะไม่ กี่ประเภท ส่วนมากเป็นขยะสด ขณะที่รถคันใหญ่มักไปตาม สถานที่ที่มีผู้อยู่อาศัยและสัญจรจ�ำนวนมาก อาทิ โรงแรม โรงพยาบาล เส้นทางริมถนนใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยขยะหลาย ประเภท ทั้งขยะสด ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย

เมื่อมาถึงสถานีฯ ราวเที่ยงคืน สิ่งแรกที่ต้องท�ำคือน�ำ รถขยะไปถ่ายน�้ำเสียที่เกิดจากการบีบอัดขยะ ก่อนน�ำรถไป ชั่ ง น�้ ำ หนั ก เพื่ อ เที ย บว่ า ขาเข้ า และขาออกน�้ ำ หนั ก รถต่ า ง กันเท่าไหร่ น�้ำหนักที่ชั่งได้ในขาเข้าคือ 8.08 ตัน เมื่อพ้นด่านชั่ง ภาพที่ปรากฏตรงหน้าเราไม่ใช่กองขยะ

แต่เป็น “ภูเขาขยะ” 4-5 ลูกที่ทับถมไปมาจนสูงราวกับตึกสาม ชั้น...นี่คือประติมากรรมที่ทุกคนร่วมกันสร้าง “น้องดูสิ แล้วแบบนี้เมื่อไหร่ขยะจะหมดไป” พี่ไข่เอ่ยด้วย น�้ำเสียงเรียบๆ เมื่อรถขยะอีกคันก�ำลังเทขยะทิ้ง “ มั น ไม่ มี ท างหมดได้ ง ่ า ยๆ แน่ ” คื อ ความคิ ด แรกของ พวกเรา จะหมดได้อย่างไรในเมื่อขยะเพิ่มขึ้นตามพฤติกรรม การบริโภคของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจากส�ำนักสิ่ง แวดล้อม กทม.ระบุว่า ช่วงปี 2549-2559 ปริมาณขยะเฉลี่ยต่อ วันเพิ่มจาก 8,402.75 ตัน เป็น 10,130.24 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อย ละ 20.56 ในช่วง 10 ปี พไี่ ข่ขบั รถขึน้ ไปเทขยะทีช่ นั้ บนของลานขยะ พวกเราพบว่า ภายในตัวอาคารมีนำ�้ เสียจากขยะเจิง่ นอง พีไ่ ข่บอกว่าหากแต่ง ตัวไม่รัดกุม เช่น ใส่รองเท้าแตะ กางเกงขาสั้น หรือไม่ใส่ผ้า ปิดปาก แล้วลงจากรถ เชือ้ โรคจะเข้าสูร่ า่ งกายผ่านผิวหนัง ซอก เล็บเท้า และการหายใจได้ เมือ่ เปิดกระจกรถ กลิน่ เหม็นเน่าจาก เศษอาหาร กลิ่ น อั บ จากตั ว อาคารที่ ไ ม่ มี ที่ ร ะบายอากาศ และกลิ่นเหม็นเปรี้ยวจากน�้ำขยะที่ชัดที่สุด พากันรุมเตะจมูก ชนิดทีว่ า่ กลัน้ หายใจอย่างไรก็ยงั สกัดกัน้ กลิน่ แรง ๆ เหล่านีไ้ ม่ได้ เราเห็นพนักงานแยกขยะราว 40 คน ก�ำลังแยกขยะเพือ่ น�ำ ไปขายต่อ ส่วนมากไร้ซงึ่ หน้ากากป้องกันเชือ้ โรค หรือเสือ้ ผ้าขา แขนยาวทีด่ รู ดั กุม มีเพียงรองเท้าบูต๊ ทีก่ นั น�ำ้ เสียจากขยะเท่านัน้ พี่ไข่อธิบายว่าคนงานเหล่านี้ เป็นเหมือนปราการสุดท้ายของ การคัดแยกขยะ ก่อนที่ขยะจะถูกส่งไปผังกลบที่ อ.ก�ำแพงแสน จ.นครปฐม หลังเสร็จสิ้นภารกิจถ่ายขยะ ก็มาถึงช่วงเวลาแห่งการ พิสูจน์น�้ำหนักขยะจากสามซอยที่เราได้ไปเก็บในคืนนี้ พี่ไข่ น�ำรถขยะไปยังด่านชัง่ น�ำ้ หนักเพือ่ ดูวา่ ปริมาณขยะทีห่ ายไปนัน้ มีน�้ำหนักเท่าใด ... 2.3 ตัน ... นนั่ คือน�ำ้ หนักของขยะในค�ำ่ คืนนี้ เป็นตัวเลขทีน่ า่ ตกใจเมือ่ เทียบกับเส้นทางเก็บขยะเพียง 400 เมตรของพีไ่ ข่ แม้รถคันหนึง่ จะขนขยะได้ 2 ตัน แต่ควรแล้วหรือทีม่ นั จะต้องบรรทุกขยะทีน่ ำ�้ หนักพอๆ กับช้างหนึ่งจนเต็มหรือล้นทุกครั้ง กรุงเทพฯ มี 50 เขต แต่ละเขตมีรถเก็บขยะราว 30 คัน หากแต่ละคันมีปริมาณขยะทีเ่ กินตัว ... ภาพทีป่ รากฏในหัวพวก เราก็มีแต่ภูเขาขยะอันไร้ที่สิ้นสุดเท่านั้น พีไ่ ข่พดู ว่า“ขยะก็เหมือนงานประติมากรรมทีม่ นุษย์รว่ มกัน สร้าง ไม่ใช่สิ่งที่เยอะอย่างไม่มีที่มาที่ไป ไม่ใช่สิ่งที่เหม็นอย่าง ไม่มีสาเหตุ” ... เพราะมันมาจากน�้ำมือของเราเอง


ฉบั บ่ที2่ 1ปีก ปีารศึ การศึ กษา2561 2561| | 9 9 ฉบั บที กษา

MAIN COURSE

เรื่อง : กาญจนาภรณ์ มีขำ�, ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า ภาพ : กาญจนาภรณ์ มีขำ�

23.30 น.

21.30 น.

รถขยะกะกลางคืนที่จอดอยู่ใต้ทางด่วน เตรียมออกปฏิบัติการ

1.00 น.

พี่ ๆ พนั ก งานเก็ บ ขยะ จั ด การกั บ ขยะในพื้ น ที่ ข องตลาดประชุ ม เริ่มตั้งแต่การน�ำขยะใส่ในพื้นที่บรรจุขยะหลังรถ ต่อด้วยการล้างถัง ขยะ และปิดท้ายด้วยการท�ำความสะอาดพืน้ ทีเ่ ก็บถังขยะของตลาด

1.30 น.

สินค้าของรถขยะจะถูกน�ำมาจ�ำหน่ายทีร่ า้ นรับซือ้ ขยะ ก่อนทีจ่ ะเดินทาง ไปยังสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยหนองแขม

1.40 น.

รถขยะได้เข้าสู่สถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย ก่อนที่จะได้ไปสู่ขั้นตอน การเทขยะนัน้ ต้องผ่านการเทนน�ำ้ เสียทิง้ จากรถ การล้างรถขยะ หรือ ถ้ารถขยะใดมีปัญหาก็มีสถานที่รองรับการซ่อมบ�ำรุงอยู่

ก่อนที่รถขยะจะไปสู่ขั้นตอนการเทขยะนั้น รถขยะต้องผ่านด่านชั่ง เพือ่ ชัง่ น�ำ้ หนักของตัวรถรวมขยะก่อนเทขยะและชัง่ อีกทีหลังทิง้ ขยะ แล้วเพื่อหาน�้ำหนักของขยะที่แท้จริง


10 | ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561

COMMUNITY

โรงภาพยนตร์สแตนด์อะโลน:

ฉากแห่งบั้นปลายชีวิต ความลับ และความปรารถนา เรื่อง-ภาพ : อรอริสา ทรัพย์สมปอง

“บางคนที่มาที่นี่ เขากล้าเปิดเผยแค่ในนี้ อยู่ข้างนอกเขาก็เป็นผู้ชาย” พอลล่า (นามแฝง) ผู้ใช้บริการโรงภาพยนตร์

ในหลื บ เร้ น ใต้ แ สงไฟนี อ อนจาก ป ้ า ย ร ้ า น ท อ ง แ ล ะ ภั ต ต า ค า ร จี น ริมถนนย่านชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน กลางกรุ ง ห้ อ งแถวขนาดหนึ่ ง คู ห า หลังหนึ่งเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ สแตนด์อะโลนเพียงแห่งเดียวที่ยังคง เปิดฉายหนังอยู่ในย่านนี้

มองดูภายนอก โรงภาพยนตร์ดังกล่าว คล้ า ยต้ อ งการหลบซ่ อ นตั ว เองจากสายตา ผู ้ ค น ป้ า ยชื่ อ เหล็ ก ดั ด หลุ ด แหว่ ง และมี กาฝากพั น รก แผ่ น สั ง กะสี ซึ่ ง ควรเป็ น พื้ น ที่ แสดงโปสเตอร์หนังที่ก�ำลังเข้าฉายถูกแทนที่ ด้ ว ยรอยสนิ ม ขึ้ น เขรอะ มี เ พี ย งป้ า ยผ้ า ด้ า นล่ า งเขี ย นว่ า “ฉายวั น นี้ ” ตามด้ ว ยชื่ อ ภาษาไทยของภาพยนตร์ฝรัง่ แนวแอ็คชัน่ เกรดบี อีกสองชื่อที่สื่อสารว่าโรงภาพยนตร์ยังเปิด ให้บริการอยู่ ค�ำว่า “ควบ” ในป้ายผ้า หมายความว่า โรงภาพยนตร์แห่งนี้มีระบบการขายตั๋วแบบ “โรงหนั ง ควบ” คื อ เมื่ อ ลู ก ค้ า ซื้ อ ตั๋ ว ราคา 60 บาท ก็สามารถเข้าไปดูหนังได้ไม่จ�ำกัด เวลา หนังที่ฉายก็จะมี สองเรื่ อง ฉายวนไป ตลอดเวลาท�ำการ 11.30 - 21.00 น. ศั ก ด า สิ ริ รั ต น ป ั ญ ญ า ผู ้ จั ด การ โรงภาพยนตร์เล่าว่า โรงภาพยนตร์แห่งนี้เคย เป็นโรงงิ้วชื่อดังมาก่อน จนกระทั่งปี 2518 จึง เปลี่ยนกิจการมาเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นสอง ที่ก�ำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น “ตั้งแต่ซีดี วิดีโอมา คนดูก็เริ่มน้อยลงไป เรื่อยๆ จนทุกวันนี้อยู่กับขาประจ�ำ มาก็เห็น หน้ากันทุกวัน ก็ยังมาดูกันทุกวันถ้าไม่เป็น อะไรไปเสียก่อน ส่วนมากก็เป็นผู้ชาย อายุ 40-70 ปี 80 ปี ก็ ยั ง มี เ ลย” ลุ ง ศั ก ดาบอก ก่อนโน้มตัวมากระซิบว่า “ส่วนมากที่มาน่ะ เป็นเกย์” ลุ ง ศั ก ดาเล่ า ว่ า ในช่ ว ง 10 ปี ที่ ผ ่ า นมา ลู ก ค้ า ประจ� ำ ส่ ว นใหญ่ ข องโรงหนั ง จะเป็ น ผู้สูงอายุที่มีรสนิยมทางเพศแบบชายรักชาย

และผูท้ ชี่ นื่ ชอบเกย์ผสู้ งู อายุ ซึง่ ใช้โรงภาพยนตร์ เป็นสถานที่ในการพบปะ พูดคุย สังสรรค์กัน เป็นประจ�ำ “เรี ย กว่ า พอลล่ า ก็ ไ ด้ น ะ” ลู ก ค้ า ขา ประจ�ำอายุ 52 ปีที่ลุงศักดาแนะน�ำให้ฉันรู้จัก บอก พอลล่ า แต่ ง กายด้ ว ยเสื้ อ โปโลกั บ กางเกงขาสั้ น สวมแว่ น ตา ผมสี ด อกเลา ปกคลุมศีรษะอยู่เบาบางคล้ายชายวัยกลาง คนทั่ ว ไป แต่ ท ่ า นั่ ง เรี ย บร้ อ ยกั บ รอยยิ้ ม อั น อ่อนหวานท�ำให้เธอดูพเิ ศษจากชายวัยเดียวกัน พอลล่าอธิบายว่าเธอมาที่นี่เป็นประจ�ำ กว่า 10 ปีแล้ว หลังทราบว่าโรงภาพยนตร์ แห่ ง นี้ เ ป็ น ที่ ซึ่ ง ชายรั ก ชายอายุ ม ากจะมา พบปะกั น ด้ ว ยลั ก ษณะท่ า ทางและการใช้ สายตา ท�ำให้เธอแยกแยะคนกลุ่มนี้ออกจาก คนที่มาดูหนังได้ จากนั้นหากดูภายนอกแล้ว ถูกใจก็จะเข้าไปท�ำความรู้จักมากขึ้น “ชอบมาทีน่ เี่ พราะมันปลอดภัย หมายความ ว่า จะไม่มีใครมาท�ำร้ายเรา แต่ถ้าเรื่องโรคภัย ไข้เจ็บนี่เราก็ไม่รู้นะ เราก็ต้องป้องกันตัวเอง” พอลล่าบอก “ส่วนตัวเราเป็นคนเปิดเผย ถ้า ใครถามก็บอกว่าเราเป็นเกย์ แต่กับบางคน ที่มาที่นี่ เขากล้าเปิดเผยแค่ในนี้ อยู่ข้างนอก เขาก็เป็นผู้ชาย” ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง อาจารย์ ประจ� ำ คณะสั ง คมวิ ทยาและมานุ ษ ยวิ ทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่าในอดีต เกย์และกะเทยยังไม่ได้รับการยอมรับจาก สังคม การพบปะกันในที่สาธารณะอาจท�ำให้ เกิดความอับอาย หรือเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม การนัดพบจึงต้องกระท�ำในพื้นที่ปิดหรือพื้นที่ ส่ ว นตั ว และพื้ น ที่ ส าธารณะกึ่ ง ปิ ด เช่ น โรงภาพยนตร์ชั้นสอง สวนสาธารณะที่มีมุม ลับตาคน ซาวน่า และสถานบันเทิงต่างๆ บาง ครั้งพื้นที่สาธารณะกึ่งปิดเหล่านี้ก็ยังช่วยเพิ่ม ความตืน่ เต้นเร้าใจในการท�ำกิจกรรมทางเพศด้วย อาจารย์ ติ ณ ณภพจ์ ชี้ ว ่ า อี ก ปั จ จั ย ที่ อธิบายปรากฏการณ์การพบปะของเกย์สูง

อายุ ที่ โ รงภาพยนตร์ แ ห่ ง นี้ คื อ วั ฒ นธรรม อายุนิยม (ageism) หมายถึงการมีอคติและ เลื อ กปฏิ บั ติ กั บ คนบางกลุ ่ ม เพราะอายุ เป็ น เหตุ ซึ่ ง วั ฒ นธรรมดั ง กล่ า วฝั ง รากใน สังคมของไทยมาช้านาน โดยปรากฏในกลุ่ม เกย์ซึ่งมีค่านิยมชอบชายอายุน้อย ยังหนุ่ม แน่ น รู ป ร่ า งหน้ า ตาหล่ อ เหลา จึ ง มี ผู ้ ที่ มี รสนิยมชอบคนสูงอายุอยู่ไม่มากนัก ทางออก ของเกย์สูงอายุจึงมักหนีไม่พ้นการซื้อบริการ ทางเพศ หรือมิเช่นนั้นก็มองหาคู่นอนในกลุ่ม อายุ เ ดี ย วกั น เพราะมี เ งื่ อ นไขและความ ต้องการคล้ายกัน อาจารย์ ติ ณ ณภพจ์ เ ห็ น ว่ า ท่ า มกลาง การเรียกร้องให้ลดทอนอคติทางเพศ (sexism) ซึ่งหมายถึงการเลือกปฏิบัติต่อคนอย่าง ไม่เท่าเทียมเพราะเพศเป็นเหตุ และการเรียก ร้องให้ยอมรับความหลากหลายทางเพศ การ พูดถึงการเหยียดอายุยังไม่มากพอ “ในสื่อ เราแทบจะไม่เห็นพื้นที่ของเกย์ สูงอายุเลย เวลาเราพูดถึงการยอมรับความ หลากหลายทางเพศ เรามักจะตัดขาดไปเลย ว่าอายุไม่เกี่ยว เราขอโฟกัสผู้มีความหลาก หลายทางเพศใดๆ ซึ่งจริงๆ แล้วในหัวพวก คุณมันก็ไปไม่พ้นคนชนชั้นกลางที่เป็นวัยรุ่น วั ย นั ก ศึ ก ษา หรื อ วั ย ท� ำ งานเท่ า นั้ น หรอก” อาจารย์ติณณภพจ์กล่าว ในการท�ำความเข้าใจพืน้ ทีข่ องเกย์สงู อายุ ดนั ย ลิ น จงรั ต น์ ผู้อ�ำนวยการสมาคมฟ้า สีรุ้งแห่งประเทศไทย อธิบายว่า เกย์ในสังคม ไทยปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 รุ่น คือ รุ่นอายุ 60 ปี ขึ้ น ไปซึ่ ง เติ บ โตและใช้ ชี วิ ต ในยุ ค ที่ สั ง คม ไทยยังไม่ยอมรับเกย์หรือกะเทย ต้องปกปิด ตัวตนหรือมิเช่นนัน้ ก็ตอ้ งต่อสูเ้ พือ่ การยอมรับ ถัดมาคือรุ่นอายุ 30 - 60 ปี ซึ่งเติบโตมาใน สั ง คมที่ เ ริ่ ม ยอมรั บ เกย์ ก ะเทยได้ บ ้ า ง และ รุ ่ น ใหม่ คื อ อายุ ต�่ ำ กว่ า 30 ปี เป็ น เกย์ ที่ สามารถแสดงออกได้อย่างเปิดเผย ดนั ย กล่ า วว่ า “เกย์ ทุ ก รุ ่ น ก็ ต ้ อ งเรี ย นรู ้ ซึ่งกันและกัน อย่างเกย์รุ่นใหม่ๆ เขาเติบโต

มาโดยเปิดเผยได้ เขาก็อาจจะไม่เข้าใจว่า ท�ำไมคุณปู่คุณตาต้องปิดบังขนาดนั้น การที่ จะเข้าใจกันได้เกย์รุ่นใหม่ก็ต้องเข้าใจว่าคุณ ปู่คุณตาต้องผ่านการต่อสู้อะไรมาบ้าง ใน ขณะเดียวกันคุณตาก็อาจเรียนรู้ผ่านเด็กรุ่น ใหม่วา่ สังคมตอนนีม้ นั เปลีย่ นไปแล้วอย่างไรบ้าง” ดนัยเห็นว่าบรรยากาศการยอมรับความ หลากหลายทางเพศในไทยในปัจจุบันถือว่า ดี ขึ้ น แต่ ก็ ยั ง มี บ างส่ ว นที่ เ ป็ น ปั ญ หา โดย เฉพาะเรื่ อ งภาพในสื่ อ สาธารณะของผู ้ มี ความหลากหลายทางเพศ “สังคมไทยอนุญาตให้มีภาพเกย์กะเทย ในสื่อ แต่จะต้องเป็นเกย์เยาว์วัย กล้ามแน่น เท่านัน้ นะ ซึง่ ในทางหนึง่ มันเป็น Propaganda (โฆษณาชวนเชื่อ) เหมือนกัน เพราะในความ เป็นจริงเกย์ไม่ได้มีแบบนั้นแบบเดียว การน�ำ เสนอแต่ภาพเกย์แบบนั้นมันท�ำให้เกย์กลุ่ม อื่นถูกเหวี่ยงออกไปจากการรับรู้ของผู้คน” ดนัยชี้แจง เมือ่ ไม่ถกู รับรู้ ท�ำให้ยากต่อการถูกยอมรับ เกย์ สู ง อายุ จึ ง ยั ง คงอยู ่ ช ายขอบของสั ง คม ห่างไกลจากโอกาสในการชี้แจงให้สาธารณะ เข้าใจความคิดความรู้สึก และ การลบล้าง ภาพจ�ำที่ท�ำให้สังคมเกลียดกลัวอันตกค้าง มาจากอดีต ด้วยเหตุนั้นเกย์สูงอายุจึงต้อง ปิดบังและหลบซ่อนต่อไป ส�ำหรับคู่รักทั่วไป การไปออกเดทที่โรง หนังคงจะเป็นประสบการณ์อันแสนอบอุ่น โรแมนติก แต่กับหลายชีวิตที่โรงภาพยนตร์ แห่ ง นี้ อั ต ลั ก ษณ์ ท างเพศวิ ถี อายุ และ ประสบการณ์ชีวิต ท�ำให้การแสวงหาความ รั ก หรื อ การหาใครสั ก คนที่ จ ะพู ด คุ ย เข้ า อก เข้าใจกันในยามบั้นปลายชีวิต ต้องแฝงซ่อน ไว้ด้วยความกลัวต่อการถูกท�ำร้ายและการ ถูกสังคมผลักไส ทั้งๆ ที่ความรักไม่สมควรมาคู่กับความ หวาดกลัว ไม่ว่ากับเพศใด หรืออายุเท่าไร ก็ตามมิใช่หรือ


CONSUMER

ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561 | 11

กระแสนิ กระแสนิยยมดนตรี มดนตรีสสด ด กั กับ บราคาบั ราคาบัต ตรคอนเสิ รคอนเสิรร์ต ์ต ที ที่ส่สูงูงจนเอื จนเอื้อ้อมไม่ มไม่ถ ถึงึง!? !? เรื่อง : กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์ ภาพ : ฐิติวรรณ แสงเพชรสุวรรณ์

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ยุคนิยม ดนตรี ส ด การเพิ่ ม ขึ้ น ของเทศกาลดนตรี ห รื อ คอนเสิ ร ์ ต ทั้ ง จากศิ ล ปิ น ไทยและต่ า งประเทศย่ อ ม ส่งผลกับการบริโภคของชาวไทยตามไปด้วย

GOT7 ศิ ล ปิ น เกาหลี ที่ ก� ำ ลั ง มาแรงจากค่ า ย JYP จั ด คอนเสิร์ตครั้งแรกในไทยช่วงปี 2559 ก่อนจะขยับไปสู่การทัวร์ สีภ่ าคในปี 2560 และเพิม่ รอบการแสดงเป็นสามรอบใน GOT7 2018 WORLD TOUR “EYES ON YOU” IN BANGKOK เมือ่ กลางปี 2561 หรือพาเหรดการจัดการแสดงในประเทศไทย เป็นครัง้ แรกของศิลปินชือ่ ดังอย่าง Britney Spears, Oh Wonder, Ariana Grande, Ed Sheeran และอื่นๆ อีกมากมาย และแน่นอนว่าเรื่องของราคาบัตรคอนเสิร์ตก็เป็นอีกหนึ่ง ประเด็นที่ร้อนแรงท่ามกลางสงคราม sold out ในปี 2551 วงบิ๊กแบง บอยแบนด์ยอดนิยมจากประเทศ เกาหลีใต้ได้จัดคอนเสิร์ต BIGBANG GLOBAL WARNING TOUR LIVE IN BANGKOK 2008 ขึ้น โดยราคาเริ่มต้นที่ 500 บาท และสูงสุด 2,000 บาท 7 ปีต่อมา บิ๊กแบงกลับมาจัด คอนเสิ ร ์ ต BIGBANG 2015 WORLD TOUR [MADE] ในประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งราคาเริ่มต้นของคอนเสิร์ตนี้อยู่ที่ 1,500 บาท และราคาสูงสุดถึง 8,500 บาท หรืออย่างคอนเสิรต์ Sam Smith : The Thrill Of It All Tour ในปี 2561 บัตรคอนเสิรต์ ราคาตั้งแต่ 2,000-6,000 บาท แต่เมื่อซื้อบัตรพร้อมสิทธิพิเศษ จะมีราคา 9,000 บาท ขณะที่คอนเสิร์ต Madonna Rebel Heart Tour ของราชินีเพลงป็อปอย่างมาดอนน่าเมื่อปี 2559 มีราคาเริ่มต้น 2,000 บาท แพงที่สุด 16,000 บาท หรือหาก เลือกซื้อบัตรพร้อมสิทธิพิเศษจะมีราคาสูงถึง 30,000 บาทเลย ทีเดียว ธนัชญา วีรวุฒไิ กร ผูต้ ดิ ตามวงการบันเทิงเกาหลีมากกว่า สิบปี เห็นว่า “คนอยากไปมากก็ต้องหาเงินมาซื้อบัตรอยู่ดี” เช่นเดียวกับ แสงระวี (สงวนนามสกุล) ทีบ่ อกว่าหากเป็นศิลปิน ทีช่ อบก็คงยอมจ่าย ต่อให้ไม่ชอบใจผูจ้ ดั ก็ตอ้ งสนับสนุนศิลปิน ไว้กอ่ น แต่กค็ วรสนับสนุนตามก�ำลังและไม่ทำ� ให้ตวั เองเดือดร้อน ผศ.ดร.อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ อาจารย์ประจ�ำคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่าราคาบัตร คอนเสิร์ตที่เพิ่มขึ้นถูกก�ำหนดจากสองอย่างในตลาด คือด้านผู้ ซื้อซึ่งเรียกว่าอุปสงค์ กับด้านผู้ผลิตซึ่งเรียกว่าอุปทาน “อย่างคิมฮยอนจุง เมื่อก่อนอาจารย์ไปดู ตอนที่ดังสุดๆ สมัยอยู่วง SS501 หลังเล่น F4 บัตรตั้ง 5,000 บาท จนผ่านไป สิ บ ปี เ พิ่ ง มาแฟนมี ต ติ้ ง ราคาต�่ ำ สุ ด เหลื อ 3,000 หรื อ 2,500 บาท คือความนิยมมันน้อยลง ตอนนัน้ ถูกสุดก็คอื 5,000 บาท แถวใกล้ๆ นี่ 7,000 บาท ก็คือต้องมีเหงื่อฮยอนจุงกระเด็นใส่ (หัวเราะ)” ผศ.ดร.อรุณียกตัวอย่าง นอกจากนี้ ผศ.ดร.อรุณียังบอกว่าทางเศรษฐศาสตร์ กรณี ที่แฟนคลับบางคนก็ซื้อบัตรโดยไม่สนใจราคาเพราะชื่นชอบ ศิลปินมาก เรียกว่าเส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นต�่ำ นั่นคือต่อให้ ผู้ผลิตจะตั้งราคาสินค้าที่จุดใดก็จะมีผู้บริโภคเสมอ คือขายได้ และขายหมด! “Genie Fest 19 ปี กว่ า จะร็ อกเท่ า วั น นี้ ” คอนเสิ ร ์ ต ที่ รวบรวมวงร็อกจากค่าย Genie Records เมือ่ ต้นปี 2561 ทีผ่ า่ นมา สามารถขายบัตร 60,000 ใบหมดภายในเวลาเพียง 15 นาที หรืองาน Mangosteen Music Festival ช่วงกลางปี 2561 ที่น�ำ

คอนเสิร์ต WANNA ONE WORLD TOUR [ONE: THE WORLD] in BANGKOK จัดขึ้นวันที่ 4-5 สิงหาคม 2561 ณ อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี โดยมีผู้เข้าชมรวมกว่า 30,000 คน

“เราทำ�อะไรไม่ได้เลย เพราะกลไกการตลาดทำ�งาน แต่มันก็ลดตาม ธรรมชาติของมันเองถ้าเขาแผ่วลงแล้วหรือไม่ได้ดังเหมือนเดิม” ผศ.ดร.อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ อาจารย์ประจำ�คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วงดนตรียอดนิยมอย่าง Honne จัดการแสดงร่วมกับศิลปิน ไทยอย่าง The Toys และวง Mean ซึ่งขายบัตรหมดเกลี้ยง ในเวลาไม่ถงึ สิบนาทีจนต้องมีการประกาศเพิม่ รอบในวันต่อมา การเกิดปรากฏการณ์ sold out นี่เองที่น�ำไปสู่การหาเงิน รูปแบบใหม่ นั่นคือการขายบัตรต่อในราคาที่สูงกว่าต้นทุน โดยมีลูกค้า คือกลุ่มแฟนคลับจ�ำนวนไม่น้อยที่ซื้อบัตรจาก ผู้จัดโดยตรงไม่ทันจึงต้องจ�ำยอมซื้อบัตรอัปที่โพสต์ขายทาง สื่อออนไลน์อย่างทวิตเตอร์หรือแฟนเพจเฟซบุ๊ก นอกจากนี้ ยังมีเว็บไซต์เพือ่ การซือ้ ขายบัตรโดยเฉพาะ เช่น StubHub.co.th แหล่งรวบรวมบัตรคอนเสิรต์ ทัง้ ในไทยและต่างประเทศทีผ่ ซู้ อื้ สามารถติดต่อกับเจ้าของบัตรโดยตรง ไม่เพียงแต่ความหลากหลายของช่องทางการซื้อบัตรต่อ ในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง แต่ยังเกิดธุรกิจที่เรียกว่า “รับจ้างกดบัตร” คือการรับกดบัตรให้กับลูกค้าที่ไม่มั่นใจว่า ตนเองจะสามารถซื้อได้ทัน โดยอาจต้องมีการจ่ายเงินค่ากด เพิ่มเติมจากราคาบัตรปกติ ภิ ญ ญดา ธนบุ ล วั ฒ น์ พนั ก งานบริ ษั ท อายุ 22 ปี หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ซื้อบัตรเพิ่มราคาและเคยใช้บริการ รับจ้างกดบัตรเล่าให้ฟงั ว่า “เวลาไปคอนเสิรต์ เราก็ไม่คอ่ ยเจอ คนซื้อบัตรเองนะ คนก็ซื้อต่อกันทั้งนั้น เรากดบัตรเองไม่ได้ แล้วมันก็ไม่มีทางเลือกเลยจ้างร้านกดเลย สมมติว่าค่าบัตร 6,500 บาท เราก็เสียค่ากดเพิ่มแค่ 500 บาท ซึ่งมันจะคุ้มกว่า การซื้อบัตรอัปอยู่แล้ว คนเหมาร้านอินเทอร์เน็ตเพื่อกดบัตร เยอะมาก”

แล้ ว ผู ้ บ ริ โ ภคจะท� ำ อย่ า งไรกั บ สถานการณ์ ที่ บั ต ร คอนเสิร์ตราคาสูงได้บ้าง? ในทางเศรษฐศาสตร์ ผศ.ดร.อรุ ณี บ อกว่ า “พู ด แบบ ใจร้ายก็คอื เราท�ำอะไรไม่ได้เลย เพราะกลไกการตลาดท�ำงาน แต่มันก็ลดโดยกลไกตามธรรมชาติของมันเองถ้าเขาแผ่วลง แล้วหรือไม่ได้ดังเหมือนเดิม อันนี้ก็คืออุปสงค์เริ่มลดแล้ว คนไม่ค่อยติดตาม บัตรก็จะราคาถูกลง” ขณะที่ผู้บริโภคอย่างภิญญดามองว่าไม่มีมาตรการที่จะ ควบคุมอุปสงค์อุปทานในตลาดได้ เพราะคนอยากไปก็คือ คนอยากไป “เรารู้สึกว่ามันไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ มันอาจจะมี มาตรการที่ท�ำให้ขายได้ยากขึ้นมากกว่า ซึ่งอาจจะท�ำให้ คนโกงน้อยลง แต่ไม่มีทางที่จะท�ำให้การซื้อบัตรมาขายต่อ แบบเอาก�ำไรหมดไป” ท่ามกลางยุคสมัยที่คอนเสิร์ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ความสุขในชีวิต การที่ราคาบัตรยังเพิ่มสูงขึ้นนอกจากจะ ส่งผลต่อการตัดสินใจและการบริหารจัดการเงินของผูบ้ ริโภค แล้ว ยังเอื้อให้เกิดการทุจริตในรูปแบบต่างๆ เช่น การขายต่อ ในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง หรือการขายต่อโดยที่ไม่ได้มี บัตรคอนเสิร์ตอยู่จริง “ผูบ้ ริโภคต้องระวังตัวให้มากขึน้ ถ้าซือ้ บัตรต่อจากคนอืน่ เราก็จะตรวจดูก่อนว่าบัตรของแท้ หรือของปลอม โอนเงิน ผ่านเลขบัญชี ตอนนี้ซื้อของก็ต้องเช็คเยอะหน่อย แบบขอดู บัตรประชาชนด้วยนะคะ (หัวเราะ)” ภิญญดากล่าวทิ้งท้าย


12 | ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561

SCALA

รักษาไว้ซึ่งคุณค่า

ARTS & CULTURE

หรือพัฒนาตามเมืองที่เติบโต

เรื่อง : ปพิชญา ถนัดศีลธรรม, เอม มฤคทัต ภาพ : กาญจนาภรณ์ มีขำ�

“อยากชวนเธอไปดู ห นั ง ด้ ว ยกั น ไปด้ ว ยกั น ดีไหม.. อยากชวนเธอไปดูหนังด้วยกัน ไปด้วยกัน หรือเปล่า..”

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในยุคเท่านั้น แต่เป็นตัวแทนของ ความเป็ น โรงหนั ง สกาลาที่ ป รากฏออกมาผ่ า นงาน สถาปัตยกรรม ท�ำให้ผู้คนจดจ�ำและประทับใจ” วสุ เสริม

ด้วยท�ำนองเพลงติดหูที่ฟังแล้วสามารถร้องตามได้ง่ายๆ ท�ำให้บทเพลง สกาลา ของวงดนตรีอลั เทอร์เนทีฟยุคแรกๆ ของ ไทยอย่าง โมเดิร์นด็อก ยังคงกรอซ�้ำไปมาในห้วงค�ำนึงของ ใครหลายคน หรืออาจถูกลืมเลือนไปตามยุคสมัยของแนวเพลง คงไม่ ต ่ า งจาก โรงภาพยนตร์ ส กาลา ที่ ตั้ ง ตระหง่ า น กลางสยามสแควร์มาเกือบ 50 ปี ส�ำหรับคนจ�ำนวนไม่น้อย โรงหนั ง แห่ ง นี้ อ าจเป็ น ฉากหลั ง ความทรงจ� ำ ที่ ย ากจะลื ม ขณะที่บางคนอาจลืมไปแล้วว่ามีโรงภาพยนตร์แห่งนี้อยู่

ส่ ว นคุ ณ ค่ า ด้ า นโบราณคดี นั้ น ผู ้ เ ชี่ ย วชาญจากกรม ศิลปากรชี้แจงว่า ไม่จ�ำเป็นต้องเกี่ยวกับความเก่าแก่ แต่ค�ำว่า โบราณคดี คือคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ สกาล่าจึงมีคุณค่า ในด้านนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่กิจกรรมที่ผู้คนใช้ชมภาพยนตร์ ตั้งแต่ปี 2512 จนถึงปัจจุบัน

หลังจากโรงภาพยนตร์ลิโด้ มัลติเพล็กซ์ ปิดตัวลงและ คื น พื้ น ที่ ใ ห้ ส� ำ นั ก งานทรั พ ย์ สิ น จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย เมือ่ ปลายเดือนพฤษภาคมทีผ่ า่ นมา เกิดค�ำถามมากมายเกีย่ วกับ อนาคตของสกาล่า ที่ได้รับการต่อสัญญาไปจนถึงปี 2563 แม้ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือเดียวกับ ลิโด้ มัลติเพล็กซ์ แต่ ส กาลามี ค วามโดดเด่ น ด้ ว ยสถาปั ต ยกรรมโถงที่ โ อ่ อ ่ า แบบอาร์ตเดโค ที่เน้นการใช้เส้นโค้งและเส้นตรงที่เรียบง่าย รวมถึงโคมไฟระย้าขนาดใหญ่บริเวณบันไดทางขึ้น กลายเป็น สัญลักษณ์ให้ผู้คนจดจ�ำ วสุ โปษยะนันทน์ สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ โบราณสถาน ส�ำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร อธิบายว่า ก่อนการอนุรักษ์อาคารต่างๆ ต้องมีการประเมินคุณค่าของ อาคาร ตามกฏหมายพระราชบัญญัติโบราณสถาน ศิลปะวัตถุ และพิพธิ ภัณสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิม่ เติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ระบุคุณค่าทางวัฒนธรรมในการเป็นโบราณสถาน ไว้สามด้าน คือคุณค่าทางศิลปะ ประวัตศิ าสตร์ และ โบราณคดี ในกรณี โ รงภาพยนตร์ ส กาลา วสุ ให้ ค วามเห็ น ว่ า หากวิเคราะห์คุณค่าด้านต่างๆ แล้ว โรงหนังแห่งนี้อาจไม่มี คุณค่าด้านประวัติศาสตร์มากนัก แม้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของ ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย แต่ไม่ได้มีความโดดเด่น ในฐานะสถานทีส่ ำ� คัญทางประวัตศิ าสตร์ คุณค่าทีโ่ ดดเด่นของ สกาล่าจึงอยู่ที่คุณค่าทางศิลปะ เห็นได้ชัดจากโถงทางเข้าที่ แปลกตาจากตึกรอบด้าน ด้วยสถาปัตยกรรมสมัยใหม่สไตล์ เขตร้อน (Modern Tropical Architecture) “ความโดดเด่นในการออกแบบของสกาลา ทั้งโถงทางเข้า ที่โอ่อ่า ฝ้าเพดานที่มีความวิจิตร ไม่ได้เป็นเพียงตัวแทนของ

แม้ว่าจะมีคุณค่าทางศิลปะและโบราณคดี ผู้เชี่ยวชาญยัง เสนอว่ า การใช้ พื้ น ที่ ต ้ อ งค� ำ นึ ง ถึ ง มู ล ค่ า ทางเศรษฐกิ จ ด้ ว ย “ถ้าคุณค่าอยูท่ คี่ วามงาม ก็ตอ้ งดูวา่ ส่วนไหนเป็นทีส่ ดุ ของสกาลา คงเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บทุกส่วนไว้ให้สอดคล้องกับการใช้สอย “กิจกรรมที่มันมีคุณค่าต่อเมือง อาจ ไม่จ�ำเป็นต้องสืบทอดผ่านสถาปัตยกรรม หากคิ ด ดี ๆ เราอาจสามารถถอด DNA ของสกาลาขึ้ น ไปอยู ่ บ นตึ ก รู ป แบบอื่ น ๆ ก็ได้” ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ รองผู้อ�ำนวยการศูนย์ออกแบบ และพัฒนาเมือง

ในปัจจุบนั และการวางแผนในอนาคต อาจปรับโรงหนังให้ ทันสมัย เพื่อให้อยู่ได้ เพราะทิ้งไว้เฉยๆ คงไม่คุ้มทุน” วสุ ขยาย ความถึงแนวทางการอนุรักษ์สกาลาในความคิดของตน เช่นเดียวกับ ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ รองผูอ้ ำ� นวยการ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ผู้เชี่ยวชาญด้านการ ผังเมือง ที่ให้ความเห็นว่าเมืองจ�ำเป็นต้องเปลี่ยน ตลอดเวลา หากไม่เปลีย่ นเมืองก็จะหยุดนิง่ และไม่พฒ ั นา ยิง่ โรงภาพยนตร์ สกาลาอยูใ่ นบริเวณทีร่ อบข้างเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจ พื้ น ที่ ข องโรงภาพยนตร์ ก็ ส มควรต้ อ งได้ รั บ การพั ฒ นา เมื่อสยามสแควร์เป็นพื้นที่ที่ก�ำลังเติบโตและมีมูลค่าสูงขึ้น เรือ่ ยๆ จึงไม่แปลกทีจ่ ะมีการเปรียบเทียบคุณค่าทางวัฒนธรรม และมู ล ค่ า ทางเศรษฐกิ จ ของโรงภาพยนตร์ บ นท� ำ เลทอง ใจกลางเมืองที่ขาดทุนอย่างต่อเนื่องกว่า 7 ล้านบาท รองผอ. ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ใช้หลักการเศรษฐศาสตร์เมือง อธิบายว่า สามารถประเมินคุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคมของ

โรงภาพยนตร์สกาล่าออกมาเป็นตัวเลขได้ โดยพิจารณาจาก มูลค่าที่สังคมจะได้ประโยชน์ถ้าเก็บสถานที่นี้ไว้ และน�ำมา เปรียบเทียบกับมูลค่าทางธุรกิจ หากจะมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ ในอนาคต “เพียงแต่ว่ามันอยู่ในสมการการเปรียบเทียบของ จุฬาฯ หรือเปล่า” ดร.พรสรรให้ ค วามเห็ น เกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาพื้ น ที่ ข อง ส�ำนักงานทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า ท่ามกลาง กระแสสั ง คมที่ ยั ง ตั้ ง ค� ำ ถามเกี่ ย วกั บ แผนการพั ฒ นาพื้ น ที่ สกาลา ผู ้ บ ริ ห ารสามารถน� ำ การเรี ย นรู ้ น อกห้ อ งเรี ย นมา ประกอบการพิจารณาแนวทางพัฒนาพื้นที่ เช่น ปรับเป็นพื้นที่ การเรียนรูเ้ กีย่ วกับภาพยนตร์ หรือใช้กจิ กรรมอืน่ ๆ แม้จะอยูบ่ น ฐานความคิ ด ของพื้ น ที่ ธุ ร กิ จ แต่ สั ง คมจะเข้ า ใจการ เปลี่ยนแปลงพื้นที่ในรูปแบบนี้ รวมถึงควรก�ำหนดเป็นเงื่อนไข ให้เอกชนทีเ่ ข้ามาลงทุน ปฏิบตั ทิ งั้ ด้านจุดประสงค์ของโครงการ และการเก็บรักษาสถาปัตยกรรม สิรนิ ดา มธุรสสุคนธ์ มหาบัณฑิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของวิทยานิพนธ์เรื่อง ทางเลือก การอนุรักษ์โถงโรงภาพยนตร์สกาล่า (2560) กล่าวถึงแนวทาง การอนุรักษ์โรงภาพยนตร์เก่าแก่แห่งนี้ว่า การเก็บรักษาอาคาร ไว้เพียงบางส่วนแล้วบูรณะส่วนอื่นๆ ให้แข็งแรง หรือการสร้าง ใหม่ในรูปแบบเดิมเป็นไปได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นสถาปัตยกรรม รูปแบบสมัยใหม่ (Modern Architecture) ซึง่ เน้นความเรียบง่าย อีกทัง้ ยังมีเทคโนโลยีทชี่ ว่ ยให้การรือ้ ถอนและสร้างใหม่ ไม่ยงุ่ ยาก เหมือนเดิม “ยอมรับว่างานสถาปัตยกรรมที่ดีก็ดึงดูดให้คนเข้ามาใช้ งานสถานที่นั้นๆ แต่ก็ต้องมีการพัฒนา ถ้าไม่มีการปรับปรุง แล้วยังเป็นโรงหนังที่คนเข้ามาน้อยลงเรือ่ ยๆ มันก็จะตาย เพราะ สถาปัตยกรรมที่ไม่มีคนเข้าไปใช้ ก็ ไม่ต่างอะไรจากตึกร้าง” สิรนิ ดากล่าว “ไปด้วยกันหรือเปล่า ไปดูกันหรือเปล่า ให้ใจสุขส�ำราญ... ดั่งใจเราต้องการ...” เช่นเดียวกับเนื้อเพลงท่อนสุดท้ายของบทเพลง “สกาลา” แม้ ใ นวั น นี้ อ นาคตของโรงภาพยนตร์ ส กาลายั ง คลุ ม เครื อ แต่หากสังคมเข้าใจถึงการเปลีย่ นแปลงของเมือง ควบคูก่ บั การ ที่น�ำคุณค่าในมิติต่างๆ ของสถานที่มาพิจารณาแนวทางการ พัฒนาโรงหนังแห่งนี้ในวันข้างหน้า อาจท�ำให้เกิดพื้นที่ซึ่งตอบ ความต้องการของทุกฝ่ายอย่างลงตัวก็เป็นได้


ARTS & CULTURE

ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561 | 13

เสียงเพลงแห่งความหวัง ทางเท้าทั้งสองฝั่งถนนพหลโยธิน ย่านจตุจักร ถูกจัดเป็น แหล่งจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยว แม้ว่าสถานที่แห่งนี้จะ แน่นขนัดไปด้วยร้านค้าและผู้ที่สัญจรไปมา แต่ยังคงเว้นว่าง พื้นที่ตรงกลางให้เยาวชนหลายกลุ่มได้ออกมาแสดงความ สามารถผ่านเสียงเพลง หลายครั้งที่เสียงเพลงเหล่านี้ดึงดูด ความสนใจจากผู้สัญจรไปมา แต่สุดท้ายก็มักจะถูกเมินเฉย เมื่อผู้ชมเดินจากไป ในหลายๆ ประเทศ เช่น อังกฤษ เยอรมนี อิตาลี หน่วยงาน รัฐจัดพื้นที่สาธารณะเพื่อให้คนมาแสดงความสามารถทาง ดนตรีโดยเฉพาะ ศิลปินระดับโลกทีม่ ชี อื่ เสียง เช่น Justin Bieber, Ed Sheeran ก็ มี จุ ด เริ่ ม ต้ น จากการแสดงดนตรี ใ นพื้ น ที่ สาธารณะเช่นนี้ นี่อาจเป็นโอกาสให้พวกเขาก้าวไปสู่การเป็น ศิลปินหรือนักดนตรีมืออาชีพได้ เอื้อการย์ ชีโวนรินทร์ นิสิตปี 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผูเ้ คยเล่นดนตรีเปิดหมวกทีต่ ลาดนัด จตุจักร เล่าประสบการณ์ว่า “เวลาไปเล่นจะรู้สึกระแวงเหมือน ท�ำอะไรผิด เพราะการเล่นดนตรีเปิดหมวกในบ้านเราเป็นเรื่อง คลุ ม เครื อ คนยั ง เข้ า ใจไม่ ต รงกั น เลยว่ า สรุ ป มั น ถู ก หรื อ ผิ ด กฎหมาย เพราะ บางทีก่ เ็ ล่นได้บางทีก่ เ็ ล่นไม่ได้ มันควรมีกรอบ ที่ชัดเจนว่าเราสามารถท�ำอะไรได้บ้าง” พร้อมเสริมว่า ตนไม่ได้ ต้ อ งการเล่ น เพื่ อ หาเงิ น เลี้ ย งชี พ แต่ อ ยากให้ ค นเห็ น ความ สามารถจริงๆ หากประเทศเรามีพื้นที่เฉพาะให้เยาวชนมา แลกเปลี่ยนความชอบทางด้านดนตรีกันน่าจะดี นพรัตน์ สละกูล อายุ 22 ปี เล่าถึงปัญหาที่พบเจอว่า ตนเคยไปแสดงดนตรีเปิดหมวกบริเวณตลาดสตาร์ ไนท์บาร์ซา่ จังหวัดระยอง แต่เจ้าหน้าทีร่ ปภ.กลับใช้ถอ้ ยค�ำหยาบคายและ น�ำ้ เสียงตะคอกไล่ออกจากพืน้ ที่ พร้อมทัง้ ห้ามไม่ให้เขากลับมา ท�ำการแสดงบริเวณนัน้ อีก เขาไม่เข้าใจว่าในเมือ่ ได้ขออนุญาต แล้วและไม่ได้ท�ำผิดกฎหมาย แต่ท�ำไมจึงโดนกีดกันไม่ให้ แสดงความสามารถในบริเวณนี้ ด้าน งามจิ ต แต้ สุ ว รรณ ผู้อ�ำนวยการศูนย์คุ้มครอง คนไร้ที่พึ่ง กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “สังคมเราไม่ได้ปิดกั้น

หากเยาวชนจะออกมาแสดงความสามารถ เพราะปัจจุบัน มีพรบ. คุ้มครองผู้แสดงความสามารถแยกออกจาก พรบ. ขอทานแล้ว ผู้ที่ออกมาแสดงความสามารถไม่ใช่ขอทาน จึง ไม่ผิดกฎหมาย เพียงแต่เยาวชนต้องเข้าใจตัวกฎหมายอื่นๆ ที่ควบคุมอยู่และท�ำให้ถูกต้องตามนั้นด้วย” ผอ. งามจิต ขยายความว่าหากเยาวชน หรือใครก็ตามที่ จะแสดงในพื้นที่สาธารณะ ต้องมาจดทะเบียนเป็นผู้แสดง ความสามารถกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ทีก่ ระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพราะบัตรผู้ แสดงความสามารถ จะช่วยยืนยันได้ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มี ความสามารถจริง มีเจตนาทีจ่ ะแสดงความสามารถ ไม่ใช่เรีย่ ไรเงิน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ รายงานสถิตกิ ารท�ำบัตร ประจ�ำตัวผู้แสดงความสามารถประจ�ำปีงบประมาณ 2560 ว่ามีจ�ำนวน 2,274 ราย และปีงบประมาณ 2561 มีจ�ำนวน 1,297 ราย รวมตั้งแต่มีการด�ำเนินการให้ท�ำบัตรประจ�ำตัว ผู ้ แ สดงความสามารถมี ผู ้ ที่ ท� ำ บั ต รฯ ไปแล้ ว 3,571 ราย (เฉพาะในกรุงเทพฯ) ซึ่งในจ�ำนวนนี้เป็นเยาวชน 1,456 คน ผอ.ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมองว่าจ�ำนวนดังกล่าวยังคง น้อยเมื่อเทียบกับจ�ำนวนคนที่มาจดทะเบียนทั้งหมด กรม พั ฒ นาสั ง คมและสวั ส ดิ ก าร จึ ง ก� ำ ลั ง หาแนวทางผลั ก ดั น เยาวชนให้มาจดทะเบียนมากขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันในการ การแสดงความสามารถอย่างถูกกฎหมาย ด้าน เทอดศักดิ์ ศิริเจน โปรดิวเซอร์ค่ายเพลง Smallroom เสนอถึงแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านดนตรี ของเยาวชนได้อย่างเต็มที่ว่า “การเล่นดนตรีเปิดหมวกบางที ไม่ใช่การเปิดโอกาสให้เยาวชนร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะคนที่ มาชมไม่ใช่คนที่สนใจด้านดนตรีจริงๆ ดังนั้นการจัดกิจกรรม เช่น การประกวดวงดนตรี เทศกาลงานดนตรีประจ�ำปี หรือ การเปิดพื้นที่สาธารณะให้กับการแสดงดนตรีโดยเฉพาะจะ ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนมัน่ ใจทีจ่ ะออกมาแสดงความสามารถ ด้านดนตรีมากขึ้น ผมในฐานะคนท�ำดนตรีก็อยากจะเห็น น้องๆ รุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่”

นักเรียนเล่นดนตรีบริเวณสวนจตุจักร

เรื่อง-ภาพ : พรไพลิน เชื้อพูล

ส่วน ดร.ณั ฐ พงศ์ พั น ธุ ์ น ้ อ ย อาจารย์ภาควิชาการ วางแผนภาคและเมื อ ง คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงปัญหาของพืน้ ทีส่ าธารณะใน ไทยว่ า “ประเทศไทยยั ง ขาดพื้ น ที่ ที่ เ อื้ อ อ� ำ นวยต่ อ การท� ำ กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การจัดงานศิลปะ งานแสดง งาน ดนตรี เป็นต้น พื้นที่ที่มีไม่ได้เอื้อต่อการท�ำกิจกรรมขนาดนั้น ทัง้ ข้อจ�ำกัดของพืน้ ทีท่ ขี่ าดความปลอดภัย คับแคบและไม่เข้า กับวิถชี วี ติ ของคนเมือง หากจะให้เพิม่ พืน้ ทีส่ ำ� หรับจัดกิจกรรม ทางดนตรีหรืออะไรก็ตามขึ้นมา ก็ต้องเกิดความร่วมมือจาก ทุกฝ่ายทั้งเอกชนและภาครัฐ”

ดร.ณั ฐ พงศ์ พั น ธุ ์ น ้ อ ยได้ ใ ห้ นิ ย ามไว้ ว ่ า “พื้ น ที่ สร้างสรรค์” หรือ “Creative Space” เป็นพื้นที่ที่ผู้คน สามารถแสดงความคิดเห็นผ่านสือ่ ต่างๆ จนเกิดการแลก เปลีย่ นและเป็นแรงบันดาลใจสูก่ ารสร้างสรรค์สงิ่ อืน่ ต่อไป ดังนั้น พื้นที่สร้างสรรค์จึงไม่จ�ำเป็นต้องเป็นพื้นที่ที่ถูก สร้างขึน้ มาโดยเฉพาะ แต่อาจเป็นพืน้ ทีส่ าธารณะทีผ่ คู้ น สามารถมาแลกเปลี่ ย นความคิ ด เล่ น ดนตรี หรื อ แสดงออกทางความคิดของตนเองได้ ก่อนจะเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ที่เหมาะสม พื้นที่ เหล่านั้นควรประกอบไปด้วยสามหลักใหญ่ได้แก้ความ ปลอดภัย ความสะดวกสะบายและสุนทรีย์ซึ่งเป็นปัจจัย ที่พื้นที่สาธารณะส่วนใหญ่ของไทยยังขาดอยู่ เช่น การมี ทางเท้ า ขนาดกว้ า ง มี ร ้ า นรวงข้ า งทางที่ ท� ำ ให้ รู ้ สึ ก ปลอดภัยแม้จะต้องเดินคนเดียวในตอนกลางคืน


LIFE STYLE

14 | ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561

สีสีปประจำ ระจำ��วัวันนกักับบการแต่ การแต่งงกาย กาย สร้ สร้าางความมั งความมั่น่นใจในวั ใจในวันนทีที่ไ่ไม่ม่มมีอีอะไรแน่ ะไรแน่นนอน อน

เรื่อง-ภาพ : วรัญชนา สงค์ประชา

ในโลกที่เราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ ชีวิต ประจ� ำ วั น ของใครหลายคนจึ ง เกิ ด เรื่ อ งที่ ค าดเดา ไม่ ไ ด้ อ ยู ่ เ สมอ ส� ำ หรั บ บางคน การแต่ ง กายตาม สี ม งคลประจ� ำ วั น จึ ง เป็ น ทางเลื อ กหนึ่ ง ที่ ช ่ ว ยให้ มี ความมั่นใจในการใช้ชีวิตและเชื่อมั่นว่าจะเกิดสิ่งดีๆ ขึ้นในแต่ละวัน แทนที่จะคอยกังวลว่าจะเกิดเรื่องไม่ดี

“ทุกวันนี้เปิดร้านก็พยายามเลือกสีที่น�ำโชค เราสังเกตมา หลายทีแล้วว่าถ้าวันไหนใส่สีน�ำโชคลูกค้าก็จะเยอะ” รุจิยาทร โชคสิรวิ รรณ นักเขียนและเจ้าของร้านอาหาร อายุ 27 ปี ผูแ้ ต่งกาย ตามสีมงคลประจ�ำวันกล่าว รุ จิ ย าทรเริ่ ม แต่ ง กายตามสี ม งคลประจ� ำ วั น เนื่ อ งจาก เพือ่ นร่วมงานส่วนใหญ่แนะน�ำ เมือ่ รูส้ กึ ว่าแต่งแล้วเกิดเรือ่ งดีๆ ตามที่ต้องการจริง เธอจึงแต่งตัวเช่นนั้นทุกวัน นอกจากนี้ยัง หลีกเลี่ยงการแต่งกายตามสีกาลกิณีในแต่ละวัน เนื่องจาก พบว่าเกิดเหตุการณ์ไม่ดีในวันที่ใส่สีกาลกิณี รุจิยาทรยังบอกว่าเธอได้ข้อมูลสีมงคลประจ�ำวันมาจาก แอปพลิเคชันไลน์ดูดวง (LINE ดูดวง) ผู้ใช้สามารถดูสีมงคล ประจ�ำวันได้โดยกดที่ตัวเลือก “สีน�ำโชควันนี้” ซึ่งจะแสดง สีมงคลและสีกาลกิณีในวันนั้นๆ ตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงเสาร์ และ แบ่งมงคลออกเป็นสามด้านคือ เสริมอ�ำนาจ เสริมโชคลาภเงิน ทอง คนอุปถัมภ์ช่วยเหลือ นอกจากนี้เธอยังค้นหาตารางสี มงคลประจ�ำวันจากแหล่งอืน่ ๆ ทางอินเทอร์เน็ต แล้วเลือกแต่งกาย ด้วยสีมงคลตามด้านที่ตนต้องการ ส่ ว น ธนิ ต า ชลพิ ทั ก ษ์ พ งษ์ อายุ 21 ปี นั ก ศึ ก ษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เล่าถึงจุดเริ่มต้นการ แต่งกายตามสีมงคลประจ�ำวันว่า มีวันหนึ่งที่ไม่ว่าจะท�ำอะไร ก็ไม่ดี ทั้งน�ำเสนองานและเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ตนจึงลองแต่งกาย ตามสี ม งคลในวั น ที่ ต ้ อ งไปน� ำ เสนองาน โดยอ้ า งอิ ง ตาราง สี ป ระจ� ำ วั น จากแหล่ ง ออนไลน์ ต ่ า งๆ เช่ น ไลน์ ดู ด วง และ เว็บไซต์ a ดวง เป็นต้น “คราวนี้ไปพรีเซนต์งานก็เลยดูว่าวันนี้ควรใส่สีอะไร แล้ว พอใส่สีนั้นก็รู้สึกว่ามันเพิ่มความมั่นใจของเรา” ธนิตากล่าว

ผู้คนก�ำลังเลือกซื้อเสื้อผ้าหลากหลายสีสัน บริเวณสยามสแควร์ซอย 5 เทวดาสัปตเคราะห์ทงั้ เจ็ดองค์นเี้ ป็นเทวดาประจ�ำแต่ละวันในสัปดาห์ และยังเสริมว่าแม้วันใดแต่งกายสีมงคลแล้วไม่เกิดเรื่อง ดีๆ อย่างน้อยก็สบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดเรื่องไม่ดี ผ่านมากว่า 200 ปี แม้ปัจจุบันความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จ ะก้ า วหน้ า เพี ย งใด ความเชื่ อ เรื่ อ งการ ก่อนจะมาเป็นตารางสีประจ�ำวันทีค่ น้ หาได้งา่ ยแค่ปลาย แต่ ง กายตามสี ม งคลประจ� ำ วั น ก็ ยั ง คงอยู ่ ใ นสั ง คมไทย นิ้วคลิก นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่าความเชื่อ ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาจิตวิทยา เรื่องการแต่งกายตามสีประจ�ำวันอยู่ในสังคมไทยมากว่า สังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ถึงสาเหตุที่ 200 ปีแล้ว ความเชื่อดังกล่าวยังคงอยู่ว่า คนมักจะมองหาหลักฐานที่ ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม อาจารย์ประจ�ำหน่วยบริหาร สนับสนุนความเชื่อของตนตามทฤษฎี “อคติยืนยันความเชื่อ วิชาอารยธรรม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Confirmation Bias)” เมือ่ เชือ่ เรือ่ งการแต่งกายตามสีประจ�ำวัน กล่าวว่าความเชื่อเรื่องการแต่งกายตามสีประจ�ำวันปรากฏ แล้ว จึงมองหาหลักฐานทีส่ นับสนุนว่าความเชือ่ ดังกล่าวเป็นจริง เป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดั ง ใน “มันมีอกี ตัง้ หลายวัน เป็นร้อยวันทีเ่ ราแต่งตัวตามสีมงคล สวั ส ดิ รั ก ษาค� ำ กลอนที่ ค าดว่ า สุ น ทรภู ่ แ ต่ ง ขึ้ น ในช่ ว ง แต่ ว ่าเราไม่ได้โชคดี เราก็ลืมมันไป หรือมีอีกหลายวันที่เรา ปี 2364-2367 เพื่อถวายพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอาภรณ์ ไม่ ไ ด้ แต่งตัวตามสีมงคล แต่เราก็โชคดี มันไม่ได้เป็นไปตาม พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บท ความคาดหวังของเรา เรามักจะจ�ำไม่คอ่ ยได้” ดร.ทิพย์นภาอธิบาย กวีกล่าวถึงสีเครื่องแต่งกายที่เป็นมงคลส�ำหรับการออกรบ ตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ ด้าน ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชา จิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสริม “มันมีอีกตั้งหลายวัน เป็นร้อยวันที่ ว่าการที่ความเชื่อเรื่องการแต่งกายตามสีประจ�ำวันยังคงอยู่ เราแต่งตัวตามสีมงคล แต่ว่าเราไม่ได้ ในสั ง คมไทย สามารถอธิ บ ายได้ ด ้ ว ยปรากฏการณ์ “ความคาดหวังสร้างความจริง (Self Fulfilling Prophecy)” โชคดี เราก็ลืมมันไป หรือมีอีกหลายวัน กล่าวคือ เมื่อเราคาดหวังว่าเหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้น เรามักจะ ที่เราไม่ได้แต่งตัวตามสีมงคล แต่เราก็ มีพฤติกรรมที่สนับสนุนให้เกิดเหตุการณ์นั้นโดยไม่รู้ตัว และ โ ช ค ดี มั น ไ ม ่ ไ ด ้ เ ป ็ น ไ ป ต า ม ค ว า ม เข้าใจว่าสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ตามความคาดหวังมีสาเหตุมาจากปัจจัย คาดหวังของเรา เรามักจะจ�ำไม่คอ ่ ยได้” อื่น เช่นเดียวกับการแต่งกายตามสีมงคลแล้วเชื่อว่าจะเกิด เรื่องที่ดี ผู้สวมใส่จึงมีความมั่นใจในการใช้ชีวิต ส่งผลให้ท�ำ ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา สิง่ ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนท�ำให้เชือ่ ว่าแต่งกายตาม อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม สีมงคลแล้วเกิดเรื่องมงคลจริง เมื่อเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มากกว่าหนึ่งครั้ง ก็ยิ่งเป็นการตอกย�้ำความเชื่อของผู้สวมใส่ หนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ยังระบุว่าความเชื่อเรื่อง ความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับสังคมในแต่ละยุคสมัยย่อม สีประจ�ำวันในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีที่มาจากความเชื่อ หายไปตามกาลเวลา ตราบใดที่การแต่งกายตามสีมงคล เรื่องเทวดานพเคราะห์เก้าองค์ โดยเจ็ดองค์มีสีประจ�ำกาย ประจ� ำ วั น ยั ง ท� ำ ให้ ผู ้ ส วมใส่ เ กิ ด ความมั่ น ใจและสบายใจ ได้ แ ก่ พระอาทิ ต ย์ ก ายสี แ ดง พระจั น ทร์ ก ายสี ข าวนวล ในการใช้ชีวิต ความเชื่อนี้ก็มีแนวโน้มที่จะคงอยู่ต่อไป เพราะ พระอังคารกายสีทองแดง พระพุธกายสีเขียว พระพฤหัสกาย ในโลกที่ไม่มีอะไรมาการันตีว่าเราจะใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ สีสม้ พระศุกร์กายสีฟา้ และพระเสาร์กายสีดำ� คล�ำ้ จึงเชือ่ กันว่า ไร้กงั วล อะไรก็ตามทีข่ นึ้ ชือ่ ว่าเป็นสิรมิ งคล ไม่วา่ ใครก็คงไม่ปฏิเสธ


ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2561 | 15

TRAVEL

ย้อนเวลา เรียนรู้ที่มาชีวิตชาวกรุง

ณ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เรื่อง : โมเลกุล จงวิไล, วรัญชนา สงค์ประชา ภาพ : กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์

หากกล่ า วถึ ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ใ นกรุ ง เทพมหานคร เมื อ งหลวงอายุ ก ว่ า 200 ปี อาจท� ำ ให้ เ รานึ ก ถึ ง พิพิธภัณฑ์ชื่อดังหลายแห่ง แต่น้อยคนนักจะทราบ ว่าลึกเข้าไปในซอยเล็กๆ ณ ชุมชนบางรัก เป็นที่ตั้ง ของ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” แม้จะไม่ได้กว้าง ขวางหรือเพียบพร้อมด้วยแสงสีตระการตา แต่กลับ เต็มเปี่ยมด้วยเรื่องเล่ามากมายที่เฝ้ารอให้ผู้ชมแวะ เวียนมาสัมผัสบรรยากาศอันเป็นเอกลักษณ์ซึ่งไม่ สามารถหาได้จากพิพิธภัณฑ์อื่น

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ประกอบด้วยบ้านทั้งหมดสี่หลัง เปิดให้ ผูส้ นใจเข้าชมได้lามหลัง แต่ละหลังเต็มไปด้วยข้าวของเครือ่ งใช้ ที่ ส ะท้ อ นวิ ถี ชี วิ ต ชาวกรุ ง ฐานะปานกลางในสมั ย ก่ อ น สงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างปี 2480-2500 ข้าวของที่จัด แสดงผ่านการใช้งานจริงแต่ยังอยู่ในสภาพดีราวกับเจ้าของ บ้านตั้งใจเก็บไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม ศศิ เพชรรัตน์ หรือคุณป้าศศิ เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร ประจ�ำพิพธิ ภัณฑ์ชาวบางกอก เล่าถึงทีม่ าของพิพธิ ภัณฑ์ชาว บางกอกว่าสร้างขึ้นเมื่อปี 2480 เดิมเป็นบ้านของรศ.วราพร สุรวดี อดีตอาจารย์ประจ�ำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ที่ได้รับมรดกมา จาก สอาง สุรวดี ผู้เป็นมารดา ต่อมาในปี 2533 รศ.วราพร คิดจะปรับปรุงบ้านหลังนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ของชาวบางกอกในอดีต จึงเก็บรวบรวมข้าวของ เครื่องใช้ให้เป็นระเบียบ และเปิดให้คนภายนอกเข้าชมโดย เป็นวิทยากรพาชมด้วยตนเองในปี 2534 แต่ด้วยค่าใช้จ่าย ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ทั้ ง การดู แ ลบ้ า น ค่ า จ้ า งพนั ก งาน รวมถึ ง ค่ า สาธารณู ป โภค รศ.วราพรจึ ง ตั ด สิ น ใจมอบบ้ า นหลั ง นี้ ใ ห้ ส�ำนักงานเขตบางรักดูแลต่ออย่างเป็นทางการในปี 2547 “ด้านหน้าบ้านจะเห็นเป็นบ่อน�้ำซึ่งจริงๆ คือที่จอดเรือ ในอดีตคนสมัยก่อนนิยมสร้างบ้านริมน�้ำ บริเวณนี้เป็นคลอง เรียกว่าตรอกสะพานยาว ซึ่งเป็นคลองขนาดเล็กที่ขุดต่อมา จากแม่น�้ำเจ้าพระยาอีกที ท�ำให้การเดินทางหลักคือเรือไม่ก็ จักรยาน ส่วนสนามหญ้าหน้าบ้านเคยเป็นหลุมหลบภัยมา ก่อน เพราะบ้านหลังนี้สร้างตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้ง ที่สอง” คุณป้าศศิบรรยายถึงบรรยากาศรอบตัวบ้านให้ฟัง เมือ่ เดินเข้ามาภายในพิพธิ ภัณฑ์ จะพบกับอาคารหลังแรก ซึ่งเป็นบ้านที่ครอบครัวของรศ.วราพรอยู่อาศัย บ้านไม้สีอ่อน สองชั้นหลังนี้ประกอบไปด้วยชั้นล่าง 3 ห้อง ได้แก่ ห้องรับ ประทานอาหาร ห้องคุณยายเล็กซึ่งเป็นน้องสาวของคุณยาย ของรศ.วราพร และห้องรับแขก สิ่ ง ที่ ดึ ง ดู ด สายตาที่ สุ ด ในห้ อ งรั บ แขกคื อ เปี ย โนไม้ สีน�้ำตาลจากเดนมาร์กที่อาจารย์วราพรซื้อให้คุณแม่เพื่อ ทดแทนหลั ง เดิ ม ที่ เ สี ย หายในช่ ว งสงครามโลกครั้ ง ที่ 2 เนือ่ งจากคุณแม่ของอาจารย์มกั จะเล่นเปียโนให้ลกู ๆ ได้รอ้ งเพลง ร่วมกัน แม้ตัวคีย์บอร์ดที่ท�ำจากงาช้างจะซีดจางไปตาม กาลเวลา แต่ก็ไม่ได้ท�ำให้ภาพความทรงจ�ำอันแสนอบอุ่น ของครอบครัวสุรวดีเลือนลางลงแม้แต่น้อย แม้สิ่งของบางอย่างจะใช้งานไม่ได้แล้ว อย่างเครื่องเล่น แผ่นเสียงหรือเครื่องอัดผ้า แต่สิ่งที่ท�ำให้ข้าวของแต่ละชิ้น มีชีวิตคือเรื่องราวที่รศ.วราพรตั้งใจเล่าให้ผู้มาชมพิพิธภัณฑ์ ได้ รั บ รู ้ ผ ่ า นป้ า ยขนาดเล็ ก ที่ ตั้ ง อยู ่ บ นสิ่ ง ของเหล่ า นั้ น ซึ่ ง

สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบางกอกในสมัยก่อน “ตั้งหน้าบ้านเพื่อวางสิ่งของประเภทร่ม หมวก ไม้เท้า มีกระจกส่องดูความเรียบร้อยอีกครั้ง คุณแม่อนุญาตให้ลูกๆ ใช้เก็บของเล่นไว้ชั้นล่าง” ข้อความในป้ายที่รศ.วราพรบันทึก ไว้ บอกเล่าประวัติ ของโต๊ะเครื่องแป้งที่ตั้งอยู่บริเวณประตู หน้าบ้าน คุณสอางแต่งงานครั้งแรกกับ นพ.ฟรานซิส คริสเตียน แพทย์ชาวอินเดียใต้ ซึง่ จบ การศึกษาจากประเทศอังกฤษ ต่อ มาหลังจากสามีคนแรกเสียชีวติ คุณสอางก็ได้แต่งงานอีกครัง้ กับ นายบุญภูมิ สุรวดี บิดาของอาจารย์วราพร ของใช้ใน บ้านจึงมีทงั้ ของไทยและของทีน่ ำ� เข้าจากต่างประเทศโดยคุณ หมอฟรานซิส เช่น เครื่องเคลือบจากเมืองจีนสมัยราชวงศ์ชิง จานชามจากอังกฤษ โต๊ะรับประทานอาหารจากยุโรป เป็นต้น อาคารหลั ง แรกยั ง มี ชั้ น บนซึ่ ง ประกอบไปด้ ว ย ห้ อ ง บรรพบุรษุ ห้องนอนคุณยายใหญ่ ซึง่ เป็นคุณยายแท้ๆ ของอา จารย์วราพร ห้องนอนพี่สาวของรศ.วราพร โถงกลางที่คุณพ่อ และคุณแม่ของอาจารย์วราพรมักจะใช้เป็นทีพ่ กั ผ่อนเนือ่ งจาก เป็นบริเวณทีร่ บั ลมได้มากกว่าห้องอืน่ ๆ และห้องนอนใหญ่ของ คุณพ่อและคุณแม่รศ.วราพร โต๊ะเครื่องแป้งกระจกสามบานในห้องนอนใหญ่สร้าง ความตื่นตาตื่นใจจนต้องอุทานว่าเลิศ กระจกยาวสามบาน กางออกได้ ท�ำให้ผู้ส่องมองเห็นตัวเองทั้งด้านซ้าย ขวา และ ด้านหน้าขนาดเต็มตัว ทั้งยังมีเก้าอี้และลิ้นชักเก็บของในตัว “คุณหมอให้เป็นของขวัญวันแต่งงานคุณแม่ คุณแม่รัก เครือ่ งเรือนชิน้ นีม้ ากทีส่ ดุ ถ้าลูกๆ แต่งตัวไปงานใหญ่ๆ คุณแม่ จะบังคับให้มาตรวจความเรียบร้อยกับกระจกโต๊ะเครือ่ งแป้งนี”้ อาจารย์วราพรบันทึกถึงของใช้ชิ้นนี้ไว้บนป้ายขนาดเล็ก เมื่อเดินผ่านบ้านหลังแรกเข้าไปด้านหลัง จะพบอาคาร ไม้สองชั้นซึ่งถอดแบบมาจากบ้านหลังเดิมของครอบครัวที่ ทุง่ มหาเมฆ โดยคุณสอางหวังสร้างให้เป็นคลินกิ ของคุณหมอ ฟรานซิส แต่คุณหมอได้เสียชีวิตลงเสียก่อน เมื่ออาจารย์ วราพรได้รับมรดกจึงขายที่ดินบริเวณทุ่งมหาเมฆเพื่อน�ำมา เป็ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยภายในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ และสร้ า งอาคารหลั ง นี้ ให้ใกล้เคียงบ้านหลังเดิมแต่มีขนาดเล็กกว่า โดยน�ำข้าวของ เครื่องใช้ อุปการณ์การแพทย์ ต�ำรา และประกาศนียบัตรของ คุณหมอมาจัดแสดงที่นี่ ส่วนอาคารจัดแสดงหลังที่สามนั้น เดิมอาจารย์วราพร เปิดให้เป็นห้องเช่าส�ำหรับคนในชุมชน กระทั่งเมื่อเริ่มท�ำ พิพิธภัณฑ์ จึงปรับปรุงอาคารโดยทุบก�ำแพงแต่ละชั้นให้เป็น พื้ น ที่ เ ปิ ด โล่ ง และน� ำ ข้ า วของเครื่ อ งใช้ ที่ ไ ม่ พ อจั ด แสดง ในอาคารสองหลังแรกมาไว้ที่ชั้นล่างของอาคารหลังนี้ อาทิ เครื่องใช้ในเรือนครัว รวมไปถึงข้าวของที่คนในชุมชนสมัย ก่อนร่วมน�ำมาบริจาคหลังทราบว่าอาจารย์ต้องการเปลี่ยน บ้านเป็นพิพิธภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นข้าวของเครื่องใช้ที่ในชีวิต ประจ�ำวันของคนสมัยก่อนซึ่งนิยมอยู่กับบ้าน เช่น อุปกรณ์ ในห้องครัว เครื่องใช้ในงานเกษตรกรรม งานทอผ้า งานช่าง เป็นต้น “อยากให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์ เรียนรู้รากเหง้าว่าคนสมัยก่อนเขาอยู่กันอย่างไร บ้านหลังนี้ อาจารย์ยกให้คนไทยแล้ว อยากให้คิดว่าบ้านหลังนี้คือบ้าน ของพวกเราทุกคน” คุณป้าศศิกล่าว

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

273 ซอยเจริญกรุง 43 แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ เวลาท�ำการ อังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-16.00 น. เข้าชมฟรี

(จากบนลงล่าง) 1.ป้ายด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก 2.ห้องรับแขกที่ครอบครัวสุรวดีใช้เล่นเปียโนและร้องเพลงร่วมกัน 3.ตู้เก็บกระเป๋าของคุณแม่อาจารย์วราพรและกระเป๋าเก็บอุปกรณ์ การแพทย์ของคุณหมอฟรานซิส


16 16 || ฉบั ฉบับบทีที่ ่ 22 ปีปีกการศึ ารศึกกษา ษา 2561 2561

VOX POP

เจอแบบนี้... จะมาอีกดีไหมนะ

เรื่อง-ภาพ : พรไพลิน เชื้อพูล

ส�ำนักงานสถิตแิ ห่งชาติรายงานจ�ำนวนชาวต่างชาติทเี่ ข้ามาท่องเทีย่ วในกรุงเทพฯ เมือ่ ปี 2559 ว่ามี 32,412,610 คน และปี 2560 จ�ำนวน 23,545,093 คน ภายในระยะเวลา 1 ปี จ�ำนวนนักท่องเทีย่ วชาวต่างชาติทเี่ ข้ามาเทีย่ วในกรุงเทพฯ ลดลงกว่า 9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27.35 “นิสิตนักศึกษา” สอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติถึงประสบการณ์และปัญหาที่พบเจอ ในกรุงเทพฯ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ท�ำให้เสน่ห์ของเมืองกรุงลดลง

Angela Angela

Bancho & Karidad “อากาศที่ ก รุ ง เทพฯ เต็ ม ไปด้ ว ย ฝุ่นควัน ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพเลย พวกเรา รู้สึกเหมือนจะป่วยตลอดเวลา ”

Angela นักท่องเที่ยวชาวสเปน มองว่า ปัญหา การจราจรเป็ น ผลมาจากการไม่ จั ด ระเบี ย บรถรา บนท้องถนนให้ดี นอกจากนี้ คนยังไม่ค่อยเคารพกฎ จราจร ท�ำให้การเดินทางบนท้องถนนอันตรายมาก เมื่อถามถึงแนวทางแก้ไข Angela ตอบว่า “ฉันไม่รู้ จริงๆ ว่าปัญหานี้จะแก้ได้อย่างไร เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองใหญ่ คนอาศัยอยู่มาก การปรับเปลี่ยนอะไร คงท�ำได้ยาก”

Bancho นักท่องเทีย่ วชาวออสเตรีย และ Caridad นักท่องเที่ยวชาวคิวบา บอกว่าไม่คุ้นชินกับสภาพ อากาศที่ ก รุ ง เทพฯ เนื่ อ งจากฝุ ่ น ควั น เต็ ม ไปหมด สภาพอากาศก็ ค ่ อ นข้ า งแปรปรวน เป็ น อุ ป สรรค ต่อการท่องเที่ยว พร้อมเสนอว่าควรดูแลเรื่องการ ลดมลพิ ษ ทางอากาศเป็ นอย่ า งแรก เพราะส� ำ คั ญ ต่อการด�ำรงชีวิตของผู้คน

Ayalet Ayalet

“มลพิ ษ ทางอากาศในกรุ ง เทพฯ แย่ซะจนท�ำให้ฉันไม่อยากมากรุงเทพฯ อีกเลย”

“การจราจรในกรุงเทพฯ ไม่ค่อยเป็น ระเบี ย บ รถขั บ กั น อั น ตรายมาก ท�ำให้ เวลาเดินทางต้องระมัดระวังเป็นสองเท่า”

Mamiko Mamiko & & Satoshi Satoshi

Ayalet นักท่องเที่ยวชาวอิสราเอล เล่าว่า เธอมา ประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3 แล้ว เหตุผลที่ชอบมาเที่ยว ประเทศไทย เพราะ สถานที่ท่องเที่ยวสวยงามและ ผู้คนอัธยาศัยดี แต่ในช่วงปีหลังๆ พบว่าปริมาณฝุ่น ควันจากท่อไอเสียและสารพิษในอากาศมีแต่เพิ่มขึ้น ท�ำให้เธอหายใจไม่ค่อยสะดวก และคิดว่าจะไม่มา ประเทศไทยอีกแล้ว

“การข้ า มถนนเป็ น สิ่ ง ที่ ย ากที่ สุ ด ส�ำหรั บ พวกเรา รถในกรุ ง เทพฯ เยอะ และขับเร็วมาก มันอันตรายมาก”

Mamiko และ Satoshi นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น บอกว่า การคมนาคมในกรุงเทพฯ ไม่สะดวกเท่าทีค่ วร ระบบขนส่ ง สาธารณะก็ ไ ม่ เ อื้ อ อ� ำ นวยต่ อ การ ท่ อ งเที่ ย ว ท� ำ ให้ ก ารเดิ น ทางไปที่ ต ่ า งๆ ค่ อ นข้ า ง ล�ำบาก ปัญหาที่กระทบกับการท่องเที่ยวมากที่สุดคือ การข้ามถนนที่ยากและอันตรายเพราะมีรถจ�ำนวน มากและขับเร็ว

Timmy Timmy

Laura Laura & & Kiris Kiris Lin Lin Cheng Cheng Hui Hui && Wang Wang Wen Wen Yi Yi

“ สิ่ ง ที่ แ ย ่ ส�ำ ห รั บ นั ก ท ่ อ ง เ ที่ ย ว อย่างเรา คือ การโดนโก่งราคา แค่เขา เห็นเราเป็นชาวต่างชาติ เขาก็บอกราคา ที่สูงกว่า ซึ่งมันไม่ยุติธรรมเลย”

Laura และ Kiris นักท่องเที่ยวชาวฟินแลนด์ พูด อย่างหมดหวังว่า การที่พวกเธอเป็นนักท่องเที่ยวชาว ต่างชาติ ท�ำให้พ่อค้าแม่ค้าหลอกล่อให้ซื้อสินค้าด้วย ราคาทีไ่ ม่ยตุ ธิ รรม พวกเธอรูส้ กึ แย่มากกับการกระท�ำนี้ และมองว่าการกระท�ำแบบนีไ้ ม่เพียงแค่จะท�ำให้ภาพ ลักษณ์ประเทศไทยเสีย แต่ยังเป็นการเลือกปฏิบัติต่อ คนอย่างไม่เท่าเทียม สมควรมีกฎหมายมารองรับและ ลงโทษอย่างจริงจัง

“ค่าเดินทางในกรุงเทพฯ แพงมาก ครั้งหนึ่งผมถามราคาจากคนท้องถิ่น จึงได้รู้ว่าเราโดนเรียกเก็บแพงกว่า”

Lin Cheng Hui และ Wang Wen Yi นักท่องเทีย่ ว ชาวจีนเล่าว่า ถูกคนขับรถตุ๊กตุ๊กเรียกเก็บค่าโดยสาร ในราคาเหมาจ่าย เพราะเห็นตนเป็นนักท่องเที่ยว ทั้ง สองบอกว่ารู้สึกแย่มากเมื่อมารู้ทีหลังว่าไม่มีราคานี้ อยู่ในอัตราค่าโดยสารทั่วไป

“ผมว่ า ผมค่ อ นข้ า งรู ้ เ ส้ น ทางใน กรุงเทพฯ ดี เพราะผมมาหลายครั้งแล้ว แต่ 2-3 วันทีผ ่ มอยูม ่ านีไ้ ม่เคยมีวน ั ไหนที่ ผมใช้เวลาเดินทางต�่ำกว่า 1 ชั่วโมงเลย การจราจรในกรุงเทพฯ แย่มาก”

Timmy นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลีย กล่าวว่า ปั ญ หาจราจรติ ด ขั ด ในกรุ ง เทพฯ เพิ่ ม มากขึ้ น เมื่อเทียบกับช่วงปีก่อนที่ตนมาเที่ยว เขามากรุงเทพฯ บ่อยเพราะท�ำธุรกิจที่นี่ แต่จะหงุดหงิดทุกครั้งที่ต้อง ติดอยูบ่ นถนนนานๆ เพราะท�ำให้เสียเวลาการเดินทาง และเปลืองค่าใช้จ่าย Timmy ยังมองว่าระบบขนส่งมวลชนสาธารณะก็ ไม่ได้ช่วยแบ่งเบาปัญหาการจราจรติดขัดเท่าที่ควร เพราะมีปัญหาขัดข้องบ่อยครั้ง


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.