วารสารยุติธรรมคู่ขนาน เล่มที่ 8 (ปีที่7 ฉบับที่1)

Page 104

ดังนั้นสภาพอุปสรรค และปัญหาในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข ของโครงการ บ้านกึ่งวิถีจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการอภิปรายดังกล่าวนั้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลการศึกษาวิจัย ของกลุ่มสงเคราะห์ผู้กระทำผิด สำนักพัฒนาการคุมประพฤติ กรมคุมประพฤติ (2549) ในการสรุปผล โครงการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง การพัฒนาและขยายระบบบ้านกึ่งวิถี6 โดยกรมคุมประพฤติได้นำรูป แบบบ้านกึ่งวิถีซึ่งเป็นรูปแบบผสมของการช่วยเหลือและการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดด้วยการจัดที่พัก อาศัยชั่วคราวให้ผู้กระทำผิดได้เข้าพักอาศัยเพื่อปรับสภาพสภาพชีวิตก่อนที่จะกลับเข้าสู่ชุมชน สังคม ด้วยการพัฒนาด้านจิตใจ การฝึกอบรมความรู้และอาชีพในด้านต่างๆโดยในปีงบประมาณ 2548 ได้ ดำเนินโครงการนำร่อง 2 แห่ง คือ บ้านร่มเย็น จังหวัดนครสวรรค์ และศูนย์พัฒนาคุรภาพชีวิต จังหวัด อำนาจเจริญ ต่อมาในปีงบประมาณ 2549 ได้ดำเนินการพัฒนาและขยายโครงการบ้านกึ่งวิถีเพิ่มขึ้นอีก ในจังหวัดมหาสารคาม อำเภอเมืองและอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัด พัทลุง ซึ่งในบ้านกึ่งวิถีแต่ละแห่งล้วนมีอุปสรรคปัญหาแตกต่างกันไป ดังนี ้ (1) งบประมาณในการดำเนินงาน (2) ไม่มีผู้เข้าพักในบ้านกึ่งวิถี หรือมีแต่ไม่ต่อเนื่อง (3) ขาดบุคลากร หรือเจ้าหน้าที่ดูแลประจำบ้านกึ่งวิถ ี (4) ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบบการณ์ในการดำเนินงานและ

ปัญหาการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้เข้าพักในบ้านกึ่งวิถ ี (5) ความไม่ต่อเนื่องงในการทำงานของเจ้าหน้าที ่ (6) ขาดการประชาสัมพันธ์ (7) ขาดการประสานงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง (8) ความไว้วางใจของชาวบ้านที่มีต่อผู้เข้าพักในบ้านกึ่งวิถี (9) สถานที่พักมีไม่เพียงพอ และขาดทัศนียภาพ แนวทางการแก้ไข มีดังนี ้ (1) ขอรับบริจาค หรือขอรับการช่วยเหลือจากวัด หรือขอรับการสนับสนุนจาก มูลนิธิต่างๆ (2) จัดตั้งกองทุนบ้านกึ่งวิถี (3) กำหนดค่าใช้จ่ายในการเบิกจ่ายให้ชัดเจน โดยกำหนดเป็นรายหัวต่อคนต่อวัน หรือต่อเดือนหรือโอนเงินงบประมาณไปให้สำนักงานคุมประพฤติในการบริหาร จัดการตามความเหมาะสม

ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2555

76


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.