วารสารยุติธรรมคู่ขนาน เล่มที่ 4 (ปีที่4 ฉบับที่1)

Page 22

คณะผูจ้ ดั ทำวารสาร “ยุตธิ รรมคูข่ นาน” มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารเป็นล้นพ้นที่ได้ทรงพระราชทาน พระราชานุญาตให้ศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการ ยุติธรรมไทย ดำเนินการจัดพิมพ์วารสาร “ยุติธรรมคู่ขนาน” ในวาระครบรอบปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ ด้วยการเชิญ อักษรพระนามาภิไธยย่อ มวก. ขึ้นพิมพ์บนปกหน้า พร้อมด้วยพระฉายาลักษณ์เพื่อความเป็นสิริมงคลตลอดไป เนื้อหาภายในฉบับนอกจากจะเป็นการเทิดพระเกียรติในช่วงเวลามหามงคลวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคมที่ผ่านมาแล้ว ยังเป็นการร่วมเทิด พระเกียรติต่อพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในโอกาสที่พระองค์ฯ ทรงได้รับการเชิดชูเกียรติ จากองค์การสหประชาชาติให้ได้รับรางวัล “ทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador)” ในการต่อต้านการใช้ ความรุนแรงต่อผู้หญิง อันนำมาซึ่งความปลื้มปิติของพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทั้งนี้เป็นไปดังคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับท่านผู้อ่านและผู้สนใจติดตามกิจกรรมความเคลื่อนไหวต่างๆ ของศูนย์ ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย โดยในฉบับนี้ทางคณะบรรณาธิการ ได้เปิดโอกาสให้ “คนรุ่น ใหม่” หรือผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความในแนวทางที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม สามารถส่งบทความ และเสนอข้อคิดเห็นผลงานศึกษาวิจัยเข้ามาเพื่อให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ทำการพิจารณา ตีพิมพ์บทความ ซึ่งฉบับนี้มีผลงานที่น่าสนใจทั้งในประเด็นอาชญากรรมของผู้มีศักยภาพสูงในสังคม (white collar crime) ดังกรณีของคุณสุณิชา สู่ศิริ ที่นำเสนอผลงานการศึกษาวิจัยว่าด้วย “การบังคับใช้กฏหมาย เดินอากาศของเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางอากาศ” ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจเพราะแม้จะเป็นคนกลุ่มเล็กๆ แต่มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดกฏหมายในส่วนนี้เมื่อประเมินแล้วมีมูลค่านับหลายหมื่นล้าน บาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีกรณีศึกษาว่าด้วย “ล๊อตเตอรี่ : การพนันหรือเสี่ยงโชค เราเป็นผู้กำหนด” โดย ผศ. ดร. จิตรเกษม งามนิล กรรมการบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีมุมมองในการตีความสิ่ง ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านานในชื่อเรียกสามัญว่า “หวย” กระทั่งเปรียบเสมือนเป็นวิถีชีวิตของคนไทย แต่ หากฉุกคิดให้ดีจะพบว่า “ล๊อตเตอรี่” หรือ “หวย” นี้สามารถถูกตีความได้ในนัยที่ต่างกันขึ้นกับมุมมองของผู้ บริโภคและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันอาชญากรรมประเภทที่เรียกกันว่าเป็นเรื่องของพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคมก็ได้รับความสนใจ จากอดีตนิสิตระดับมหาบัณฑิตในสาขาอาชญาวิทยาและการบริหารกระบวนการยุติธรรม ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ พ.ต.ต. เจษฎา ยางนอก ที่ได้นำเสนอข้อเขียนในประเด็นว่าด้วย “ทัศนคติต่อ การแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงในสถานบันเทิงย่าน อาร์.ซี.เอ” ซึ่งแม้ปัจจุบันอาจมีสถานบันเทิงแหล่ง อื่นๆ เติบโตขึ้นมาเป็นคู่แข่งขัน แต่ในช่วงเวลาที่ พ.ต.ต. เจษฎาฯ ดำเนินการศึกษาวิจัยนั้น อาร์.ซี.เอ. เป็น แหล่งรวมสถานบันเทิงของวัยรุ่นนิสิตนักศึกษาซึ่งผู้เขียนมีมุมมองประเด็นทางสังคมวิทยาอาชญากรรม ที่น่าสนใจอย่างมาก ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552

4


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.