บทความ ความฝันกับมุมมองเชิงพื้นที่ นราธร สายเส็ง ม มหิดล

Page 1

Created by free version of ClearScanner


Created by free version of ClearScanner


Created by free version of ClearScanner


Created by free version of ClearScanner


ความฝันกับมุมมองเชิงพื้นที่ Dream and Spatial Perspective นราธร สายเส็ง (Naratorn Saiseng)1 บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและย้อนกลับมาตั้งคําถามพื้นที่ฐานที่สุดเกี่ยวกับ ความฝัน โดยประยุกต์แนวคิดทางภูมิศาสตร์ในฐานะศาสตร์เชิงพื้นที่เพื่อมาใช้ในการวิเคราะห์และทําความเข้าใจต่อ ความฝันอย่างถี่ถ้วนและลึกซึ้งขึ้น ทั้งนี้จะเห็นว่าเรามองความฝันเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป แต่ จริงๆ แล้วความฝันเกิดขึ้นจากพื้นที่ของความเป็นประจําวันที่ถูกประกอบสร้างขึ้นจากองค์ประกอบภายใน พื้นที่ ในลักษณะของความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ อันได้แก่ พื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่ทางความคิด และพื้นที่ทางสังคม พื้นที่ของความเป็นประจําวันเป็นมูลฐานของการสร้างพื้นที่ของความฝัน เงื่อนไขของการเดินทางไปสู่พื้นที่ของ ความฝันอยู่ภายใต้กรอบโครงสร้างที่สังคมผลิตและให้ความหมายต่อพื้นที่เหล่านั้น ดังนั้นพื้นที่ของความฝันจึง เป็นการฉายภาพวิธีคิด ความคาดหวัง หรือความต้องการอะไรบางอย่างของคนในสังคมในช่วงเวลานั้น และ เป็นภาพสะท้อนปฏิบัติการทางพื้นที่รูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการควบคุม จัดการ หรือครอบงําความคิดของคนใน พื้นที่ คําสําคัญ: ความฝัน, พื้นที่ของความฝัน, มุมมองเชิงพื้นที่ ABSTRACT This paper aims to revisit and reconsider the most basic question about dream, employing concepts in geography, which is a spatial science, to examine and understand dreams more thoroughly and in depth. Dreams are ordinary occurrences in our life. However, they are constructed from the space of routineness, which is in turn constructed from the internal elements of the space itself within the relation of physical space, mental space, and social space. The space of routineness is the basis of the space of dream. The conditions leading to the space of dream are under the structure produced by the society, and which gives meanings to the space itself. Therefore, the space of dream is demonstrative of ways of thinking, expectation or something about people in the society, and is also reflective of some spatial operations controlling, managing or dominating the thoughts of the people in that area. KEYWORDS: dream, space of dream, spatial perspective 1 อาจารย์ประจําสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Lecturer, Social Studies Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Bansomdejchaopraya Rajabhat University


บทนํา ความฝัน เป็นสิ่งที่ทุกคนมี อาจเล็กบ้างใหญ่บ้างก็แล้วแต่มโนทัศน์ทางความคิดของแต่ละบุคคล ความฝันนั้นสําคัญไฉน เหตุใดทุกคนจึงมีความฝัน ความฝันเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และความฝันเป็นจริงบ้าง หรือไม่? หลายคนคงอาจเคยฝันไปไกลแต่พอโตขึ้นมาเรื่อยๆ ความฝันเหล่านั้นอาจหดหายไปตามกาลเวลา มี บ้างหรือไม่ที่ความจริงกับความฝันมาพบกัน และหากเราไม่มีความฝันมันสะท้อนภาพอะไร? จากข้อคําถามบน อรรถบทที่แสนธรรมดา หากมองข้อคําถามเหล่านี้อย่างผิวเผินคงไม่ใช่สาระสําคัญอะไร เพราะทุกคนมีสิทธิ์คิด มีสิทธิ์ฝันกันอยู่แล้ว ซึ่งนั่นคงเป็นการตอบแบบกําปั้นทุบดินจนเกินไป แต่หากพินิจพิเคราะห์ต่อข้อคําถาม ข้างต้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน สิ่งที่เราเรียกว่า ความฝัน จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ขึ้นอยู่กับคนใดคนหนึ่ง แต่มีความ พิเศษ และสําคัญซึ่งสามารถสะท้อนวิธีคิด แง่มุมที่น่าสนใจของสังคม ประเทศ รวมไปถึงโลกได้เลยทีเดียว บทความชิ้นนี้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทบทวนความคิดบนความเป็นประจําวันต่อ ความฝัน โดยนํา กรอบแนวคิดด้านภูมิศาสตร์ผนวกกับมิติเชิงพื้นที่ เข้ามาเป็นแผนที่ในการวิเคราะห์และหาคําตอบ ซึ่งจะขอ นําเสนอเนื้อหาสาระออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ ส่วนแรกจะกล่าวถึง กรอบคิดทางภูมิศาสตร์กับมิติเชิงพื้นที่ที่ขยับ ขยายมุมมองที่กว้างกว่าในอดีตซึ่งสามารถนํามาเป็นฐานคิดเพื่อใช้วิเคราะห์ความฝันได้ และส่วนต่อมาจะ พยายามอธิบาย วิเคราะห์ เชื่อมโยง ความฝัน ผ่านกรอบคิดเชิงพื้นที่ อย่างไรก็ดีผู้เขียนหวังว่าจะเปิดฉากของ การประยุกต์เอาศาสตร์เชิงพื้นที่เข้ามาเป็นกุญแจสําคัญเพื่อนําทางไปสู่คําตอบอีกแง่มุมหนึ่งได้ ภูมิศาสตร์กับมิติเชิงพืน้ ที่ในทัศนะใหม่ ภูมิศาสตร์ (geography) มีที่มาจากคําว่า “ภูมิ” ซึ่งหมายถึง พื้นดิน/พื้นโลก (ge/geo: earth) กั บ คํ า ว่ า “ศาสตร์ ” หมายถึ ง วิ ช าความรู้ (graphe/grafein: description) เมื่ อ พิ จ ารณาจากรากศั พ ท์ “ภู มิ ศ าสตร์ ” จึ ง หมายถึ ง วิ ช าความรู้ ที่ เ กี่ ย วกั บ พื้ น ดิ น หรื อ พื้ น โลก (description of the earth) (HoltJenson, 2009) ภูมิศาสตร์สามารถแบ่งแยกตามเนื้อหาสาระได้ 3 กลุ่มหลักได้แก่ 1) ภูมิศาสตร์กายภาพ (physical geography) 2) ภูมิศาสตร์มนุษย์ (human geography) และ 3) ภูมิศาสตร์เทคนิค (geographic techniques) ในกลุ่มแรก ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นการศึกษาและทําความเข้าใจองค์ประกอบของโลกที่มี ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้แก่ ธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศภาค และชีวภาค การศึกษาภูมิศาสตร์กายภาพ ตั้ ง อยู่ บ นปรั ช ญาปฏิ ฐ านนิ ย ม (positivism) เป็ น การศึ ก ษาข้ อ มู ล ในเชิ ง ประจั ก ษ์ บ นกระบวนทั ศ น์ ท าง วิทยาศาสตร์ และในกลุ่มที่สอง ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นการศึกษาที่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ สิ่งแวดล้อม มุ่งศึกษากระบวนการและผลจากกระบวนการทางพื้นที่ที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง แทนที่จะยึด ปัจจัยทางธรรมชาติเป็นศูนย์กลางดังภูมิศาสตร์กายภาพ (นโรตม์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, 2558: 267) และ กลุ่มที่สาม ภูมิศาสตร์เทคนิค เป็นการศึกษาถึงเทคนิควิธีการได้มาซึ่งข้อมูล การจัดเก็บ จัดการเรียกใช้และ นําเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ อันเป็นกลุ่มที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบันและเป็นเครื่องมือสําคัญของนัก ภูมิศาสตร์ เช่น การจัดทําแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ การรับรู้ระยะไกล (remote sensing) ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ (geographic information system) ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นผิวโลก (global positioning system) งานภาคสนาม (field work) และเทคนิคของการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น จะเห็นว่าภูมิศาสตร์มีความ หลากหลาย มีเทคนิควิธีการที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และได้นําวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์หา คําตอบอย่างแพร่หลายเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 นี้ จนกระทั่งครอบงําวิธีคิด/ความคิดของนักภูมิศาสตร์จํานวน มาก เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 วิธีการทางวิทยาศาสตร์กับการศึกษาทางภูมิศาสตร์จึงเข้าขั้นวิกฤติและเกิด ความคลางแคลงใจต่อผลการศึกษาที่ได้ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งไม่สามารถตอบโจทย์การศึกษาได้อย่างทั่วถึงและ ครอบคลุมถึงวิธีคิดของมนุษย์ เนื่องจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์เท่านั้น (ฉัตรชัย


พงศ์ประยูร, 2549: 45-60) ดังนั้นนักภูมิศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งจึงพยายามนําวิธีการแบบอื่นที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ อย่าง มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เข้ามาเป็นวิธีการในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ ดังนั้นความสนใจที่หันมาให้ ความสําคัญที่ตัวมนุษย์มากขึ้นจึงเกิดเป็นกระแสที่เรียกว่า การหักเหทางวัฒนธรรมในภูมิศาสตร์มนุษย์ ทิศทาง ของการศึกษาทางภูมิศาสตร์จึงถูกขยับขยายปริมณฑลออกไปจนแทบไม่สามารถกําหนดขอบเขตได้ และใน ฐานะภูมิศาสตร์ที่ถูกขนานนามว่าเป็น “ศาสตร์เชิงพื้นที่ (spatial science)” จึงไม่ใช่การศึกษาพื้นที่ในทัศนะ เดิมอีกต่อไป ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ให้ความสําคัญกับพื้นที่อย่างมาก มิติเชิงพื้นที่จึงถูกนํามาพิจารณาทุก รูปแบบที่เกิดขึ้น เกิดการหยิบฉวยแนวคิดข้ามสายมาประยุกต์เพื่อหาคําตอบในแง่มุมเชิงพื้นที่ที่ต่างออกไป นัก ภูมิศาสตร์สายอนุรักษ์นิยมจํานวนหนึ่งให้เหตุผลว่าสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นทําให้เกิดวิกฤตเอกลักษณ์และสูญเสีย ตัวตนของวิชาไป อย่างไรก็ดีผู้เขียนมองว่าไม่ใช่สิ่งที่ผิดแปลกอะไรของการแทนที่กระบวนทัศน์ใหม่ แต่กลับ เป็นการดีที่สามารถขยับขยายมุมมองที่กว้างขึ้น/เจาะลึกลงไปได้อย่างน่าสนใจ เมื่อกล่าวถึงภูมิศาสตร์ว่าเป็น ศาสตร์ทางพื้นที่ จึงขอเริ่มเกี่ยวกับพื้นที่ว่า พื้นที่ที่คนทั่วไปมอง/นึกถึง มักอยู่ในลักษณะที่เป็นเพียงสนาม/ ปริมณฑลที่ถูกกระทําให้เกิดความเปลี่ยนแปลง แต่จริงๆ แล้วพื้นที่มีความหมายที่กว้างกว่าการรับรู้ในเชิง รูปธรรมที่สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ หากแต่ยังมีพื้นที่ในเชิงนามธรรมซ้อนทับพื้นที่เชิงรูปธรรมอีกต่อ หนึ่ง พื้นที่จึงไม่ใช่มุมมองในรูปแบบของฉากของการกระทําเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นผู้กระทําที่อํานวยผลให้ เกิดความเปลี่ยนแปลงต่ออีกสิ่งหนึ่งด้วย พื้นที่เป็นประดิษฐกรรมทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่ใช้บันทึกความทรงจํา ของคน สังคม หรือของโลก เราปฏิเสธไม่ได้ว่ากรอบคิดทางพื้นที่ได้ถูกเชื่อมเข้ากับมนุษย์อย่างแนบแน่นแทบ แยกกันไม่ออก การวิเคราะห์ อธิบาย ในบทความนี้ได้ประยุกต์แนวคิดของ Lefebvre (1991) ที่ศึกษาถึงการ ผลิตสร้างความหมายของพื้นที่ (production of space) มาเป็นตัวบทในการทําความเข้าใจ ในการผลิตสร้าง ความหมายของพื้นที่นั้น สามารถแบ่งพื้นที่ได้เป็น 3 ระดับ คือ พื้นที่ทางกายภาพ (physical space) พื้นที่ทาง ความคิด (mental space) และพื้ นที่ ทางสั งคม (social space) พื้ นที่ทางกายภาพ หมายถึง พื้นที่ ในเชิ ง รูปธรรมที่สามารถสังเกต มองเห็น สัมผัสได้ถึงการมีอยู่ ส่วนพื้นที่ทางความคิด หมายถึง พื้นที่ที่ถูกสร้างขึ้นมา จากการนึกคิดภายใต้ภูมิหลัง ประสบการณ์ หรือการรับรู้ตามแต่ละบุคคล พื้นที่ทางความคิดอาจหมายถึงพื้นที่ เชิงนามธรรมที่กําหนดการแสดงออกบนพื้นที่ทางกายภาพด้วยหรืออาจหมายถึงพันธะความรู้สึกกับพื้นที่ด้วย และพื้นที่ทางสังคม หมายถึง พื้นที่ที่ถูกประกอบสร้างขึ้นมาจากพื้นที่ทางกายภาพและพื้นที่ทางความคิด อันมี ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ตัวตน ความหมาย ประสบการณ์ร่วมกัน หรืออาจหมายรวมถึง ปฏิบัติการ การใช้สัญลักษณ์ที่มีความหมายครอบพื้นที่ทุกส่วนของสังคม ซึ่งพื้นที่ใน 3 ระดับที่กล่าวมานี้ ได้ ประกอบสร้างความหมายขึ้นมา หรืออาจกําลังช่วงชิงพื้นที่ของกันและกันเพื่อแสดงออกตามแต่ละบริบท การผลิตสร้างความหมายของพื้นที่ของ Lefebvre นั้นได้ให้ความหมายพื้นที่ที่กว้างขวางกว่าสิ่งที่ ปรากฏ อีกทั้งพื้นที่ยังเป็นปริมณฑลของการต่อสู้ช่วงชิงของอํานาจ ดังนั้นพื้นที่ถูกผลิต (produce) และผลิตซ้ํา (reproduce) ให้เป็นพื้นที่ทางสังคมแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อํานาจ และชนชั้น ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญในการครอบครองพื้นที่ หรือหยิบฉวยพื้นที่เหล่านั้นมาใช้เป็นเครื่องมือในการ ควบคุม/จัดการความคิดของคนภายใต้ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ทั้งนี้พื้นที่ทางสังคมสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1) ปฏิบัติการทางพื้นที่ (spatial practice) เป็นรูปแบบหนึ่งของปฏิบัติการทางสังคมที่วางอยู่บนการใช้พื้น ที่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในพื้นที่หรือจะไม่เกิดขึ้น บนพื้นฐานของการรับรู้ (perceived space) และการปรากฏใน พื้นที่ทางกายภาพ 2) ภาพตัวแทนของพื้นที่ (representations of space) เป็นพื้นที่ที่อยู่ในการนึกคิด/รู้สึก (conceived space) สัมพันธ์กับการใช้ความรู้เพื่อเข้าไปจัดการควบคุมพื้นที่ตามมโนทัศน์ และ 3) พื้นที่ของ ความเป็นตัวแทน (representational space) หมายถึง สัญลักษณ์ รหัส หรืออะไรบางอย่างที่สังคมได้ผลิต


สร้างให้ความหมายให้กับพื้นที่ เป็นพื้นที่ของการใช้ชีวิตของคนในพื้นที่ (inhabitants) /ผู้ใช้ (users) ที่ผสาน กันระหว่างกายภาพและจิตใจ (combination of mental and physical) พื้นที่ของความเป็นตัวแทนนี้ยัง สามารถมีการเปลี่ยนแปลง เลื่อนไหล และถูกช่วงชิงได้อยู่ตลอดเวลา (Lefebvre, 1991: 38-46) มิติเชิงพืน้ ที่ของความเป็นประจําวันและความฝัน ในช่วงชีวิตหนึ่งเราได้ใช้พื้นที่หรือเดินทางไปยังพื้นที่ใดบ้าง และพื้นที่ใดมีความถี่ในการใช้งานมาก ที่สุด หากพิจารณาในประเด็นคําถามข้างต้น เป็นที่แน่ชัดว่าคนส่วนใหญ่คงนึกถึงพื้นที่ที่มีความคุ้นเคย คุ้นชิน ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้พื้นที่เหล่านั้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นมาเป็นระยะเวลานาน จนเกิดความ ผูกพันกับพื้นที่เหล่านั้น ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวหมายถึง พื้นที่ของความเป็นประจําวัน ที่เราใช้ชีวิตอยู่นั่นเอง หรือบาง คนได้ให้ความสําคัญกับพื้นที่ที่ตนเองเข้าไปผูกพันและใช้ชีวิตจนสามารถให้ความหมายที่ลึกซึ้งกับพื้นที่และ เรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า “บ้าน” เสียด้วยซ้ํา ในบริบทนี้คําว่าบ้านจึงเป็นความหมายในเชิงนามธรรมที่แสดง อารมณ์ความรู้สึกซ้อนพื้นที่ทางกายภาพหรืออาจอยู่ในลักษณะพื้นที่ของความเป็นตัวแทน พื้นที่ของความเป็น ประจําวันถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนําไปสู่/เดินทางไปในพื้นที่อื่นๆ พื้นที่ของความเป็นประจําวันได้หล่อหลอม บ่มเพาะ สั่งสมประสบการณ์ เต็มไปด้วยความทรงจําและความรู้สึกทั้งในแง่ตัวพื้นที่เองและตัวคนที่อยู่ภายใน พื้นที่นั้นด้วย พื้นที่ของความเป็นประจําวันอาจกล่าวได้ว่าเป็นพื้นที่ของการมีอยู่ในขณะนั้น หากเราตั้ ง คํ า ถามและให้ ค นๆ หนึ่ ง นึ ก ถึ ง พื้ น ที่ ใ ดก็ ไ ด้ ขึ้ น มา ในแง่ ห นึ่ ง พื้ น ที่ ข องความเป็ น ประจําวันอาจไม่ใช่พื้นที่แรกๆ ที่คนส่วนใหญ่เลือกหรือให้ความสนใจมากนัก ความสําคัญของพื้นที่อื่นๆ ได้ ดึงดูดความสนใจมากกว่าพื้นที่ของความเป็นชีวิตประจําวันที่ใช้ชีวิตอยู่ ความคุ้นชิน คุ้นเคย และการเข้าไปเป็น ส่วนหนึ่งในพื้นที่ของความเป็นประจําวันนั้นได้แสดงให้เห็นถึงการที่คนใน (insider) มองพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ อย่างธรรมดา เงื่อนไขของการมีอยู่ นําไปสู่การต่อยอดทางความคิด และสร้างมโนทัศน์จินตนาการภายใต้ ประสบการณ์เดิม ฉะนั้นพื้นที่อื่นๆ จึงเป็นสิ่งอื่นที่พื้นที่ของความเป็นประจําวันไม่มี อีกทั้งยังมองพื้นที่อื่นๆ ใน ฐานะพื้นที่ที่พิเศษกว่าอีกด้วย เมื่อพิจารณาในมุมนี้ การพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ โดยส่วนใหญ่คนในพื้นที่มัก มองไม่เห็นถึงความสําคัญหรือศักยภาพในพื้นที่ของตนเพราะพื้นที่ทางกายภาพได้ผูกติดกับพื้นที่ความความคิด อันอยู่ภายใต้พื้นที่ทางสังคมที่มีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกันอย่างแนบแน่น แต่กลับเป็นคนนอก (outsider) ที่ มองเห็น คนนอกมักเห็นพื้นที่ของความเป็นประจําวันของคนในอยู่ในฐานะพิเศษ และคนในมักมองเห็นพื้นที่ อื่นๆ ของคนนอกอยู่ในลักษณะพิเศษเช่นกัน ความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าว เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ เชิงพื้นที่ที่พ่องถ่ายกลับไปกลับมาในฐานะคนในและคนนอกอยู่ตลอดเวลา และในอีกแง่หนึ่ง พื้นที่ของความ เป็นประจําวัน ตั้งอยู่บนอารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมาตามแต่ละปัจเจกบุคคล พื้นที่แห่งนี้จึงสามารถนําเสนอความทรงจําในฐานะพื้นที่ของความเป็นตัวแทนได้ เราอาจนึกถึงพื้นที่แห่งนี้ใน ฐานะแหล่งบ่มเพาะความสุข การถูกฟูมฟักจากครอบครัว ความอบอุ่น แต่ในอีกด้านหนึ่งอาจเป็นพื้นที่ของ ความรุนแรง แบ่งแยก กดขี่ กักขัง การรับรู้ต่อพื้นที่ของแต่ละบุคคลจึงนําไปสู่ความรู้สึกและสร้างภาพจํา/ความ ทรงจําแตกต่างกัน ในกรณีหลังหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเราอาจอยู่ภายใต้พื้นที่ของความเป็นประจําวันที่กักขัง อิ สรภาพ/จินตนาการทางความคิ ด ภายใต้ปฏิบัติการทางพื้ นที่ แ บบหนึ่ ง แต่ก็ไม่สามารถกักขั งพื้น ที่ ท าง ความคิดอันต่อต้านกับอํานาจภายในหรือภาพแทนที่ปกคลุมอยู่ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่ามกลางสถานการณ์ใน ขอบเขตของเวลานําพาความคิดเราไปสู่พื้นที่อื่นๆ อยู่ตลอดเวลา การที่ไม่สามารถนําพาสิ่งที่ตนเองคิดและ พึงกระทําได้ในช่วงเวลานั้น พื้นที่ทางความคิดจึงหนีออก/กระโจนข้ามกรอบที่ถูกคุมขังด้วยอํานาจ และสร้าง พื้นที่ในอุดมคติขึ้นมาเปรียบเทียบกับพื้นที่ใต้บงการของความเป็นประจําวันบนพื้นที่ทางสังคม


จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้เขียนให้ความสําคัญกับ พื้นที่อื่นๆ ที่พื้นที่ของความเป็นประจําวันไม่มี พื้นที่ในอุดมคติจึงก่อรูปและถูกฉายออกมาทุกช่วงขณะเพื่อเป็นการนิยามชีวิตของเรา ณ ขณะนั้น พื้นที่ในอุดม คติอาจเรียกได้ ว่าเป็น พื้นที่ของความฝัน พื้นที่ในอุดมคติในบริบทนี้ ยังเป็นพื้นที่เชิงเปรียบเทียบด้วย ซึ่ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรก หมายถึง พื้นที่ของความฝันที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความ เป็นไปได้ ไม่สามารถไขว่คว้า หรือเป็นจริงได้ในหนึ่งชั่วชีวิต และลักษณะที่สอง หมายถึง พื้นที่ของความฝัน ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ (possibility) ผู้เขียนขอหยิบยกพื้นที่ในอุดมคติเชิงเปรียบเทียบ ใน ลักษณะที่สองมาอธิบายขยายความ และนําฐานคิดนี้ไปอธิบายปรากฏการณ์อื่นในส่วนต่อไปด้วย พื้นที่ของ ความฝันบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ถูกประกอบสร้างขึ้นมาจากเงื่อนไขทางสังคมบนความสัมพันธ์เชิง อํานาจ พื้นที่ของความฝันจึงตั้งอยู่บนฐานพื้นที่ของความเป็นประจําวัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการขยับขยาย ปริมณฑลของความคิดโดยอาศัยจุดอ้างอิง/พื้นที่อ้างอิง ในทางภูมิศาสตร์เราให้ความหมายของตําแหน่ง จุด หรื อ พื้ น ที่ เพื่ อ ใช้ ใ นการอ้ า งอิ ง ว่ า benchmark พื้ น ที่ อ้ า งอิ ง นี้ ยั ง สามารถขยั บ สั บ เปลี่ ย น เลื่ อ นไหล หรื อ เปรียบเทียบเพื่อเป็นเป้าหมายในการเดินทางไปถึงได้ด้วย (Cambridge Dictionary, 2017) อย่างไรก็ดี พื้นที่ ของความฝัน เป็นพื้นที่ในนิยามหรือวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมา เป็นการให้ความหมายที่สังคมหยิบยื่นให้ เพื่อให้ พื้นที่ของความฝันเสมือนพื้นที่ที่ถูกหมายปองจากคนโดยส่วนใหญ่ ซึ่งคนส่วนน้อยเข้าถึงและมีอํานาจปกครอง เป็นเจ้าเข้าเจ้าของอยู่ กรอบความคิด/ชุดความรู้นี้ สามารถเรียกว่า representation หรือหมายถึงการสร้าง ภาพตัวแทนนั่นเอง (ชยา วรรธนะภูติ, 2557: 43-44) ในอดีตของมนุษยชาติเวลาที่เรากล่าวถึงความฝัน มัก ปรากฏออกมาในลักษณะแรกคือเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถจะไปถึงได้ อยู่แน่นิ่ง เหนือความสามารถ เป็นพื้นที่ที่ถูก ให้คุณค่า ให้ความหมายใหม่อยู่ตลอดเวลา และไม่มีความเท่าเทียมกันกับพื้นที่ที่เป็นอยู่ ถามว่าพื้นที่ของความ ฝันใครคือคนนิยามหรือให้ความหมาย ทําไมเราจึงรู้สึกเช่นนั้น ณ เวลานั้น ในแง่นี้การพัฒนาเทคโนโลยีที่ รุดหน้าและสร้างสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในอดีต ได้เปิดปริมณฑลทางความคิดให้ขยับขยายกว้างขวางขึ้น ในช่วงเวลา ที่ผ่านมาจนกระทั่งมาถึงในปัจจุบัน กรอบความคิด/ชุดความรู้ มีอยู่อย่างหลากหลาย ถูกผลิตซ้ําเพื่อสร้าง ความหมาย หรือถูกตีความและให้ความหมายในบริบทใหม่ การสร้างภาพตัวแทนของพื้นที่ของความฝัน ไม่ได้ ถู ก ครอบและจํ า กั ด ความคิ ด ให้ แ น่ นิ่ ง หรื อ อยู่ สู ง ลิ่ ว จนไม่ ส ามารถไขว่ ค ว้ า ได้ ดั ง แต่ ก่ อ น แต่ สั ง คมได้ ส วม ความหมายอีกชุดหนึ่งเพื่ออ้างสิทธิ์ในการเข้าถึงครอบครองพื้นที่ของความฝันเหล่านี้ โดยปรากฏออกมาผ่าน ความพยายามสร้างพื้นที่ทางกายภาพให้เหมือนกับพื้นที่ในฝัน อาจมีความหรูหราของสินค้า มูลค่า ของหายาก ปรากฏอยู่ ซึ่งตัวอย่างนี้จะดํารงอยู่ได้และมีความหมายก็ต่อเมื่ออยู่ในระบบทุนนิยมที่ให้คุณค่ากับทุนกับ ทรัพยากรที่ครอบครอง หรือเกี่ยวข้องกับความยากลําบากในการได้มา ซึ่งโดยทั่วไปไม่มีนั่นเอง มากไปกว่านั้น พื้นที่ของความฝันอาจถูกผลิตสร้างโดยชุดความคิดอีกชุดหนึ่งที่มองพื้นที่ของความฝันเป็นเหมือนเป้าหมายใน การทะยานก้าวไปข้างหน้าโดยอ้างวาทกรรมการพัฒนา ที่จะนําความก้าวหน้ามาสู่สิ่งที่ยังไปไม่ถึง ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับความฝัน หากเปรียบความฝันเหมือนกับพื้นที่หนึ่งๆ พื้นที่นั้นคงเป็นพื้นที่ในอุดมคติที่อยู่ในความตั้งใจ หมายปองเพื่อเข้าไปสู่พื้นที่นั้น หรือเพื่อครอบครองพื้นที่นั้นเป็นแน่ ความฝันถูกพูดถึงกันอย่างเปิดเผย บางคน ประกาศความฝันของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ บางคนก็เก็บความฝันไว้กับตนเอง ทุกคนมีความฝันและจัดการความ ฝันของตนเองในลักษณะเฉพาะตัว ถึงแม้จะเป็นเรื่องของแต่ละปัจเจกบุคคล แต่ความฝันไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ ความฝันถูกประกอบสร้างขึ้นมาจากปัจจัยภายนอกในที่นี้ก็คือ พื้นที่ของความเป็นประจําวันที่เราอยู่นั่นเอง (อยู่ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของพื้นที่ทางภายภาพ พื้นที่ทางความคิด และพื้นที่ทางสังคม) และในพื้นที่ ของความเป็นประจําวัน มีองค์ประกอบย่อยอยู่ภายในซึ่งมีบทบาทหน้าที่ทํางานประสานกันอย่างแนบแน่น


และส่งผลต่อสมองที่พิเศษของมนุษย์ที่มีระบบการรับรู้ เรียนรู้ที่เป็นเลิศ มนุษย์/คนเรา ไม่ได้มีความฝันมา ตั้งแต่เกิด องค์ประกอบย่อยในพื้นที่ของความเป็นประจําวันต่างหากที่ทํางานประสานกัน โดยค่อยๆ เกิดการ รับรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น เป็นที่น่าสนใจว่า ความฝันที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก พื้นที่ของ ความฝันดูกว้างใหญ่ไพศาล แต่เคยสังเกตหรือไม่ว่า ความฝันในวัยเด็กเทียบกับเพื่อนๆ ทําไมถึงเหมือนๆ กัน เรากําลังเลียนแบบ หรือคัดลอกความฝันมาจากใคร หรือมีอะไรที่ทําให้เราฝันแบบนั้น ดังข้อมูลผลสํารวจอาชีพ ในฝันเด็กไทยครั้งที่ 8 ประจําปี 2560 (Adecco Group Thailand, 2560) จากการสอบถามเด็กไทยอายุ 7-14 ปี พบว่า อันดับหนึ่งคืออาชีพครู รองลงมาคือแพทย์ ทหาร นักกีฬา และตํารวจตามลําดับ ในปี 2560 มี ความเปลี่ยนแปลงจากปี 2559 ตรงที่ว่าอาชีพครูสามารถขึ้นมาครองอันดับหนึ่งของอาชีพในฝันแทนอาชีพ แพทย์ จะเห็นว่าในตอนเด็กมีเพียงไม่กี่อาชีพที่เรารู้จัก สิ่งที่ทําให้เราคิดเราฝันมักอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางสังคม ความนิยมชมชอบส่วนบุคคล การบอกกล่าวของคนรอบข้าง พ่อแม่ผู้ปกครอง บุคคลสําคัญที่เชิดหน้าชูตาใน สังคม หรือผ่านการเรียนรู้ในระบบที่มีตําราเรียนเขียนให้ความสําคัญกับอาชีพบางอาชีพอย่างแยบยล ความ มั่นคงทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความมั่นคงทางจิตใจ (เกียรติยศ ศักดิ์ศรี) ก็เป็นส่วนสําคัญที่ประกอบสร้างขึ้นใน พื้นที่ทางความคิด ในบริบทของสังคมไทยผู้เขียนมองว่าเราได้ผลิตสร้างพื้นที่ของความฝันร่วมกัน แต่พื้นที่ของความ ฝันกลับไม่หลากหลายเปิดกว้างอย่างที่ควรจะเป็น ภาพสะท้อนอาชีพในฝันดูจะคับแคบและปิดกั้นจินตนาการ เราแทบไม่รู้เลยว่าโตขึ้นมาเราจะเป็นอะไรได้อีกนอกเสียจากอาชีพเหล่านี้ อีกทั้งอาชีพในการรับรู้ของเรา ยัง สะท้อนลักษณะที่ไม่เท่าเทียมและนําเสนอความดีกว่าด้อยกว่าอยู่ด้วย หากเราละเรื่องนี้ทิ้งไป และพิจารณา อาชีพในฝันเพียงอย่างเดียว คําถามคือว่า ความฝันในตอนเด็ก กับสิ่งที่เป็นในตอนโต ได้เดินทางควบคู่กัน หรือ สามารถดําเนินไปถึงพื้นที่ของความฝันหรือไม่? เพราะเมื่อเราเติบโตขึ้น พื้นที่ของความฝัน ดูจะแคบและ ห่างไกลลงไปเรื่อยๆ โดยมีเงื่อนไขที่ยากต่อการไปถึงขัดขวางจํานวนมาก หากเปรียบอาชีพในฝันเหมือนกับ พื้นที่ที่คนส่วนใหญ่อยากเดินทางไปถึง พื้นที่ของความฝันที่รองรับความฝันเดียวกันจะดึงดูดให้คนเดินทางไป เป็นจํานวนมาก แต่ด้วยจํานวนของผู้คนที่โหยหาพื้นที่นี้จึงเกิดการแก่งแย่งช่วงชิงพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การ เดินทางไปยังพื้นที่ของความฝันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการไปถึง เปรียบเหมือนกับการแข่งรถที่มีจุดเริ่มต้นและ เส้นชัย เมื่อปล่อยรถออกจากจุดเริ่มต้น รถแข่งทุกคันมุ่งหมายไปถึงเส้นชัยให้รวดเร็วที่สุดเพื่อจะเป็นผู้ชนะ ด้วยคู่แข่งจํานวนมาก เราจึงให้ความสําคัญกับผู้แข่งอันดับต้นๆ อย่างอันดับที่ 1, 2 และ 3 ที่ชนะและสามารถ ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน แต่อันดับอื่นๆ ที่ต่ํากว่านี้เราแทบไม่ได้กล่าวถึงและให้ความสําคัญ พื้นที่ของความ ฝัน จึงมิได้สวยหรูและเดินทางไปอย่างง่ายดาย แต่ต้องผ่านการแข่งขัน คัดกรอง เพื่อให้ได้คนที่ผ่านมาตรฐาน ไปอยู่ในพื้นที่เหล่านั้นได้ พื้นที่ของความฝันนั้นจะดึงดูดให้คนเดินทางไปมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้น เราขาดอะไร โหยหาอะไร สังคมต้องการอะไร และหากวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ พื้นที่ของความฝัน อันอยู่ภายใต้โครงสร้าง/พื้นที่ทางสังคมที่ใหญ่กว่าครอบคลุมอยู่ จึงเป็นปฏิบัติการทางพื้นที่รูปแบบหนึ่งที่เป็น ตัวกําหนด/บงการว่า พื้นที่ของความฝันใครมีสิทธิ์หรือไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไป อันเป็นความรับรู้ที่ครอบอยู่ ดังนั้น ปฏิบัติการทางพื้นที่แบบนี้จึงเลือกสรรเฉพาะคนที่เหมาะสม/รับรู้ ได้ว่าตนเองจะเดินทางไปยังพื้นที่ของความ ฝันได้อย่างไรและเหมาะสมหรือไม่ ในแง่นี้หมายความว่า พื้นที่ของความฝัน อยู่ในฐานะของผู้ปฏิบัติการทาง พื้นที่ ที่คัดกรองจํานวนคนที่มีความฝันเดียวกันมาอยู่ร่วมกันเปรียบกับผู้ที่สามารถเข้าร่วมแข่งขัน และเมื่อเข้า มาอยู่ในเส้นทางที่จะเดินทางไปถึงพื้นที่ของความฝันแล้ว การรับรู้จะเปลี่ยนเป็นความรู้สึกอันสัมพันธ์กับการใช้ ความรู้ผนวกกับต้นทุนชีวิตในการเข้าถึงเส้นชัย/พื้นที่ของความฝันได้สําเร็จ พื้นที่ของความฝันไม่ได้ตั้งอยู่บน ความเท่าเทียมกันที่ทุกๆ คนสามารถเดินทางไปถึงได้ หากมีเส้นชัยเดียวกันคือพื้นที่ของความฝัน แต่ใช้รถที่มี สมรรถนะที่ต่างกันจึงทําให้แต่ละคนไปถึงพื้นที่ของความฝันในเวลาที่ต่างกัน (มีจุดเริ่มต้นที่ต่างกันแต่มีเส้นชัย


เดียวกัน) หากแต่เรื่องของความฝันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสุขและความพึงพอใจ การเดินทางไปถึงพื้นที่ของ ความฝันได้อย่างรวดเร็วจึงเป็นเหมือนกับการเติมเต็มสิ่งที่พื้นที่ของความเป็นประจําวันขาดหายไป ประหนึ่ง การหาจิ๊กซอร์ที่สูญหายได้สําเร็จ และหากความฝันไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ตั้งบนพื้นฐานของความ อยู่รอดของชีวิต การเดินทางไปยังพื้นที่ของความฝันจึงอาจไม่ต้องพิจารณาปัจจัยทางด้านเวลา เพราะทุกคน ต่างมีต้นทุนก็คือรถในแบบของตนเอง และค่อยๆ เดินทางไปเร็วบ้างช้าบ้าง เส้นชัย/พื้นที่ของความฝันนั้น ต่างหากที่เป็นสาระสําคัญของการไปถึง ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ อาจเป็นการมองที่เข้าใจโลก ยอมรับถึงความ แตกต่างหลากหลาย หรือยอมรับความไม่เท่าเทียมกันที่เกิดขึ้นไปด้วย หากแต่บริบทของโลกและสังคมไทยใน ปัจจุบัน ไม่สามารถรีรอหรือเดินทางไปอย่างเนิบๆ ตามศักยภาพที่ติดตัวมาแต่เริ่มต้นได้อีกต่อไป สิ่งที่กําลัง เกิดขึ้นคือ การแข่งขันช่วงชิง การขยับข้ามพื้นที่ การกําหนดตําแหน่งแห่งที่/จุดยืนในสังคม ฉะนั้นความสําเร็จ ที่ยิ่งใหญ่คือ การค้นพบหรือหาเส้นทางในการไปถึงพื้นที่ของความฝันให้ได้เร็วที่สุด ยิ่งสามารถค้นหา ค้นพบ ได้ เร็วเพียงใด เมื่อนั้นจะทําให้เราสามารถยืนอยู่ในสังคม ในโลกได้อย่างสมบูรณ์ และนี่อาจเป็นอนาคตที่เรา คาดหวังหรืออาจเป็นความฝันของเราแทบทุกคน ส่วนวิธีการของการไปถึงพื้นที่ของความฝันอาจเกิดจากการ เข้าอู่ ปรับแต่งรถ ให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น การใช้ GPS หาเส้นทางที่ใกล้ที่สุด/เหมาะสมกับเราที่สุด นี่คือสิ่งที่ สามารถกระทําการได้ ในอนาคตเราไม่รู้หรอกว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง พื้นที่ของความฝันจึงเปรียบเสมือนพื้นที่ ที่รอการค้นพบ สํารวจ อยู่ตลอดเวลา ผู้ที่สามารถเดินทางไปถึงพื้นที่เหล่านี้จึงเหมือนกับผู้ที่ทรงอิทธิพลและ เปิดปริมณฑลใหม่ที่ได้สร้างเส้นทาง ร่องรอย ให้ผู้ที่อยู่ข้างหลังติดตาม แต่ถึงแม้จะเดินทางในเส้นทางเดียวกันผู้ ที่เดินทางติดตามมาในเส้นทางเดียวกันอาจพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคจนไปไม่ถึงพื้นที่ของความฝันก็เป็นได้ ดังนั้นมาถึงจุดนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ความฝัน เป็นเรื่องของแต่ละปัจเจกบุคคล เพราะเราถูก ประกอบสร้างจากโครงสร้าง บุคคลรอบข้าง สังคม เป้าหมายของรัฐ ตลอดจนปัจจัยภายนอกอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เหมือนกับการเข้าไปในร้านอาหารเราอาจไม่ได้หิว แต่เรารับรู้ว่าเมื่อเข้าไปต้องสั่งอาหารอาจด้วยมารยาท ทางสังคม/สิ่งที่ปฏิบัติตามกันมา หรือบางทีเราอาจมีความต้องการที่จะกินมันขึ้นมาทั้งๆ ที่เราไม่ได้รู้สึกอยาก ในก่อนหน้านี้ หรือไม่ก็ เหมือนกับการถูกลากเข้าไปชมหนังในโรงภาพยนตร์ เราอาจไม่ได้ตั้งใจที่จะไปดู แต่เรา ถูกพื้นที่ครอบงําให้เราต้องกระทําการที่ฝืนกับตนเอง พื้นที่จึงส่งข้อมูลเข้ามาผ่านภาพและเสียง เราอาจจะหลบ เลี่ยงไม่สนใจและต่อต้านข้อมูลเหล่านั้นได้ แต่ภายใต้สภาพการณ์ดังกล่าวเป็นที่แน่ชัดว่าเราถูกทําให้ต้องรับรู้ ภายใต้สภาวะของความจํายอม ซึ่งนี่เป็นวิธีการเดียวกันหรือใกล้เคียงกับพื้นที่ของความเป็นประจําวันที่กระทํา ต่อตัวเราอย่างเป็นกิจวัตร และในแง่นี้ การดําเนินชีวิตการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ การทดลองทําสิ่งใหม่ๆ การ ทําสิ่งที่ขัดกับความปรารถนาภายในตัวเราเป็นสิ่งที่ประกอบให้เกิดเป็นประสบการณ์ ทําให้เราได้รับข้อมูลที่ หลากหลาย นั่นหมายความว่า การที่เราเติบโตขึ้นความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กายภาพ พื้นที่ทางความคิด และ พื้นที่ทางสังคมปรับตัวและทํางานประสานกันอย่างแนบแน่นจนเราติดอยู่ในกรอบของความเคยชินหรือตกอยู่ ในพื้นที่ของกิจวัตร พันธะต่อพื้นที่เหล่านี้อาจไม่ใช่จุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่พื้นที่อื่น/พื้นที่ของความฝัน แต่อาจอยู่ในฐานะที่ดูดกลืนความคิด และตกอยู่ใต้การครอบงําในพื้นที่ การสร้างพื้นที่ทางสังคมที่เอื้อให้คนใน พื้นที่ของความเป็นประจําวันทํางานอย่างมีบทบาทหน้าที่สัมพันธ์ผสานกันอย่างลงตัว อาจเป็นเรื่องที่น่ากลัวก็ เป็นได้ ความคิดที่อยู่ภายใต้พื้นที่แล้วไม่ได้เกิดการนึกคิดเป็นสิ่งที่อํานาจหรือโครงสร้างทางสังคมทําหน้าที่ได้ อย่างสมบูรณ์ พื้นที่จึงเป็นตัวกําหนดคนในพื้นที่ให้คิดตามสิ่งที่สังคมอยากให้คิด พื้นที่ เวลา และความฝัน พื้นที่ถูกผลิตสร้างความหมายขึ้นต่างๆ นานา วัฒนธรรมว่าด้วยการมองพื้นที่แปรเปลี่ยนไปตาม บริบทของเวลา หากนําเอาพื้นที่กับความฝันมาวิเคราะห์บนเงื่อนไขของเวลาแล้ว เวลาถูกสร้างและคํานวณ


ขึ้นมาตามหลักดาราศาสตร์ (astronomical time) ซึ่งเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ของเทหวัตถุที่วางตําแหน่ง และเคลื่อนไปอย่างเป็นระบบ โดยโลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปพร้อมๆ กัน ทําให้เกิด กลางวันกลางคืนและฤดูกาล หากคํานวณคาบการหมุนรอบตัวเองของโลกมีค่าประมาณอยู่ที่ 24 ชั่วโมงหรือ 1 วั น เราเรี ยกเวลาแบบนี้ ว่า เวลาตามนาฬิกา (clock time) และคาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิ ต ย์ มี ค่าประมาณอยู่ที่ 365 วัน หรือ 1 ปี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับฤดูกาลที่แตกต่างกันตามพื้นที่แต่ละซีกโลก เรา เรียกเวลาแบบนี้ว่า เวลาตามปฏิทิน (calendar time) เวลาแบบนี้ได้กําหนดว่าจะประกอบกิจกรรม/ทําอะไร ในช่วงเวลาใด อีกทั้งเวลายังสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่การทํางานของร่างกายด้วยเราเรียกเวลานี้ว่า เวลาตาม หลักชีววิทยา (biological time) เป็นเวลาเพื่อรักษาสมดุลในการดํารงชีพ ระบบของสิ่งมีชีวิตที่ทํางานสอด ประสานกลมกลืนกับเวลาตามหลักดาราศาสตร์ เวลาเป็นมิติที่ไม่สามารถจับต้องได้แต่สามารถรับรู้ได้ เวลาจึง เป็นปัจจัยในการกําหนดความสามารถ (limiting factor) ของมนุษย์ (มนัส สุวรรณ, 2554: 344-347 ) หาก พิจารณาธรรมชาติของเวลาภายใต้ระบบดังกล่าว ในลักษณะสําคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ เวลาเป็นสิ่งที่บ่งบอก แบ่งแยก สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต การดําเนินไปของปัจจุบัน และปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และในอีก ลักษณะหนึ่งเมื่อเราให้ความสําคัญกับเวลา ที่นํามิติเชิงนามธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้แต่รับรู้ได้มาเป็น เงื่อนไขของการดําเนินชีวิตแล้ว เวลาจึงอยู่ในลักษณะของสิ่งที่ต้องสูญเสียเพื่อแลกกับการประกอบกิจกรรม/ อะไรบางอย่างที่เหมาะสมในช่วงเวลานั้น ฉะนั้นเวลาจึงมีมูลค่าและมีต้นทุนที่ยิ่งใหญ่ (The Momentum, 2560: ออนไลน์) ในนัยนี้เวลาเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดในการกําหนดความฝัน หากเรามองความฝันในลักษณะพื้นที่ ของความฝัน บริบทของสังคมที่ยอมรับและให้ความสําคัญกับเวลาเป็นใหญ่จงึ เป็นประเด็นที่ต้องนํามาพิจารณา ร่วมด้วย ก่อนหน้านี้ได้กล่าวไปว่า หากไม่นํามิติของเวลามาพิจารณาถ้าทุกคนมีพื้นที่ของความฝันที่จะต้อง ดําเนินไปให้ถึง ช้าบ้างเร็วบ้างแต่ขอให้ไปถึงเส้นชัยนั้นเพื่อความสมบูรณ์ของชีวิตหรือเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ขาด หายไป แต่เมื่อเวลาเข้ามามีบทบาท การเดินทางไปถึงพื้นที่ของความฝันจึงเป็นพื้นที่ของความฝันซ้อนกันอีกต่อ หนึ่ง หมายความว่ามันมีเงื่อนไข/ความยากมากขึ้นกับการเดินทางไปถึง พื้นที่ของความฝันจึงไม่ได้อยู่ ใ น ลักษณะที่แน่นิ่ง รอการไปถึงหรือถูกค้นพบ แต่ได้ขยับเลื่อนออกไปในขณะที่เรากําลังเดินทางอยู่ในเส้นทางด้วย ซึ่งถือเป็นการจัดการเชิงพื้นที่รูปแบบหนึ่ง คือเมื่อพื้นที่ใดมีความหนาแน่นหรือเข้มข้นมาก พื้นที่ในลักษณะ เช่นเดียวกันจะเริ่มกระจายออก หรือไม่ก็พื้นที่เดิมนั้นสามารถรับได้เฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้น ยกตัวอย่างให้ เห็นภาพ จากที่เราเคยมีจุดเริ่มต้นเดียวกันหรือต่างกัน แต่มีเส้นชัยเดียวกัน (พื้นที่ของความฝัน) กลับกลายเป็น ว่า เราอาจจะมีจุดเริ่มต้นเดียวกันหรือต่างกัน แต่มีเส้นชัยหรือพื้นที่ของความฝันที่ขยับห่างออกไปด้วย หากทุก คนมีอัตราเร่งเท่ากันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะถึงพื้นที่ของความฝันที่เป็นเส้นชัยนี้ได้ การพยายามเร่งความเร็วจึงเป็น การลดระยะทางระหว่างพื้นที่ของความเป็นประจําวัน (จุดที่เราอยู่) ให้เข้าใกล้พื้นที่ของความฝันมากขึ้น และ ถ้ามีปัญหาทําให้ต้องหยุดหรือลดอัตราเร่งลง ระยะทางระหว่างพื้นที่ของความเป็นประจําวันจึงห่างไกลกับ พื้นที่ของความฝันไปเรื่อยๆ เนื่องจากทุกอย่างได้เคลื่อนที่ไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นจึงมีคนจํานวนมากที่ตกขบวน ของความฝัน และนี่เป็นเหตุผลที่ว่าทําไมความฝันตอนเด็กกับสิ่งที่เป็นในตอนโตจึงไม่ได้ดําเนินไปด้วยกัน มีคนจํานวนไม่น้อยที่เดินทางไปถึงพื้นที่ของความฝันได้สําเร็จ แต่ก็มีคนจํานวนไม่น้อยเช่นกัน เดินทางไปไม่ถึง เราอาจไม่สามารถกล่าวโทษปัจจัยภายนอกที่ทําให้เราไปสู่พื้นที่ของความฝันไม่สําเร็จเพียง อย่างเดียวไม่ได้ การตรวจสอบกระบวนการหรือหน่วยขับเคลื่อนภายในพื้นที่เป็นเรื่องสําคัญไม่แพ้กัน เวลาเป็น ต้นทุนที่ทุกคนมีเท่ากันแต่เราให้ค่าเวลากับสิ่งต่างๆ ไม่เท่ากัน เนื่องด้วยคนเราแต่ละคนมีเวลาเชิงการรับรู้ (perceptual time) ที่ แ ตกต่ า งกั น ตามภู มิ ห ลั ง /สิ่ ง ที่ ป ระกอบสร้ า งเราขึ้ น มาภายใต้ พื้ น ที่ ข องความเป็ น ประจําวัน เมื่อมนุษย์ทุกคนมีเวลาเท่ากันคือ 24 ชั่วโมงใน 1 วัน นี่จึงเป็นสาระสําคัญ การจัดการกับเวลาจึง


เป็นปัจจัยหลักที่สามารถนําพาเราไปสู่พื้นที่ของความฝันได้แตกต่างกัน ในการดํารงชีวิตเราใช้เวลาไปกับ วัตถุประสงค์ 3 อย่าง คือ 1) เพื่อความต้องการทางชีวภาพของร่างกาย 2) เพื่อกิจกรรม/งานภายใต้ภาระทาง สังคม และ 3) เพื่อความสุขและความพึงพอใจส่วนบุคคล แน่นอนว่าแต่ละคนจัดลําดับความสําคัญของเวลา เพื่อวัตถุประสงค์ทั้ง 3 อย่างนี้แตกต่างกัน แต่ทั้ง 3 วัตถุประสงค์นี้ล้วนเกิดบนพื้นที่ของความเป็นประจําวันที่ ทํางานแบ่งแยก สอดประสานกันอย่างน่าสนใจ พื้นที่ของความฝันถูกกําหนดได้ด้วยเวลา เรามักใช้เวลามาเป็น ข้ออ้างสําหรับการเดินทางไปถึง หรืออาจถูกแทรกแซงจากข้อมูลปัจจัยภายนอก ทําให้ไขว้เขวเบนออกนอก เส้นทาง อีกทั้งเรามักเชยชมกับความฝันอันใกล้ที่ฉาบฉวย หรือเข้าสวมรอยพื้นที่ของความฝันของผู้อื่น ซึ่งเป็น การหลอกตนเองว่าได้เดินทางไปถึงพื้นที่ของความฝันแล้วโดยพยายามเลียนแบบและสร้างพื้นที่ของความเป็น ประจําวันให้เป็นพื้นที่ของความฝันให้แนบเนียนที่สุด ดังนั้นเวลาในบริบทนี้จึงอยู่ในฐานะเครื่องพิสูจน์ของการ ไปถึงพื้นที่ของความฝัน และเป็นทั้งข้ออ้างสําหรับการไปไม่ถึงด้วยเช่นกัน การที่เรากล่าวอ้างว่าไม่มีเวลา หมายความว่า เรากําลังดําเนินกิจกรรมเพื่ออะไรบางอย่างที่คิดว่าสําคัญกว่า ณ ขณะนั้น เมื่อคนๆ หนึ่งมีเวลา เชิงการรับรู้ที่ต่างกัน อาจมองการใช้เวลาของคนอื่นๆ ต่อเรื่องที่เขาคนนั้นทําว่าไม่เหมาะสมได้ เช่น อาจมี คําพูดว่า ทําไมต้องเสียเวลากับเรื่องเหล่านี้... ทําไม่ไม่เอาเวลาไปทําอย่างอื่น... เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นความ แตกต่างท่ามกลางความหลากหลายที่ทุกคนมีอภิสิทธิ์ในตัวเองที่จะใช้เวลาอย่างไรก็ได้ ซึ่งถ้าเอาการใช้เวลา ของตนเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นและตัดสินคนอื่นด้วยค่านิยมมวลชน ก็ไม่ต่างกับการชี้ชวนให้คนหนึ่งเดินตาม ความฝันของเราแต่ที่จริงแล้วเอาก็มีความฝันของเขา อย่างไรก็ตามส่วนมากแล้วเราทุกคนสามารถหาเวลาเพื่อ ความพึงพอใจส่วนบุคคล/สิ่งที่ชอบได้อยู่เสมอ ฉะนั้นหากสามารถจัดการเวลาที่ทุกคนมีต้นทุนเท่ากันและให้ เวลากับสิ่งที่พึงปรารถนาในอนาคตอย่างแน่วแน่ พื้นที่ของความฝันจึงไม่ใช่พื้นที่ของความฝันอีกต่อไป แต่เป็น พื้นที่ของความจริง ทบ-ทวน “ความฝัน” ภาพสะท้อนสังคมไทย หากพิจารณาถึงสภาพการณ์เกี่ยวกับความฝันของสังคมไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันผ่านความหมาย ของ “ความฝัน” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2545) พบว่า หมายถึง การเห็นเป็นเรื่องราวเมื่อ หลับ, การนึกเห็นในขณะที่ตื่นอยู่ซึ่งไม่อาจเป็นจริงได้ แต่เมื่อพิจารณาคําในภาษาอังกฤษตาม Cambridge Dictionary (2017 : online) ความฝันตรงกับคําว่า “dream” ในความหมายแรก หมายถึง ลําดับของการนึก คิ ด เป็ น ภาพ หรื อ อารมณ์ ใ นขณะที่ ห ลั บ (sleep) และอี ก ความหมายหนึ่ ง หมายถึ ง ความต้ อ งการไปถึ ง เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อย่างแรงกล้า (hope) ซึ่งเมื่อพิจารณาแบบตรงไปตรงมาของความหมาย ทําให้เห็น วิธีคิดและกระบวนการคิดต่อความฝันของคนไทยที่ดูสยบยอมต่อโครงสร้างทางสังคมจนเชื่องเชื่อ การเชื่อว่า ความฝันเป็นเรื่องของสิ่งที่อยู่ในภวังค์ เพ้อฝัน และยากต่อการไปถึง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกต่อการทําความเข้าใจ ในความฝันในสังคมไทย แต่สิ่งนี้ได้แสดงถึงการครอบงําคนในพื้นที่ให้ไม่สามารถกระทําการที่แตกต่างจากสิ่งที่ สังคมต้องการได้ (เพ่งเล็ง/ตราหน้า) เหมือนกับการขีดกรอบเขตแดน/ล้อมรั้วเพื่อจํากัดพื้นที่ทางความคิด พื้นที่ ของความฝันจึงอยู่นอกขอบเขตพื้นที่ของความเป็นประจําวัน ที่ไม่มีคนใดกล้าก้าวข้ามออกไปนอกพื้นที่ เพราะ กําแพงที่กั้นสูงจนคนที่พยายามปีนขึ้นไปพลัดตกลงมาจนพิการ หรืออาจเป็นไปได้ว่าคนที่พยายามปีนขึ้นไปแต่ กลับมีคนด้านล่างคอยฉุดดึงลงมาและไม่สามารถก้าวข้ามผ่านพื้นที่นี้ไปได้ เมื่อมีคนจํานวนน้อยที่ก้าวข้ามไปสู่ พื้นที่ของความฝันสําเร็จ ทําให้มโนทัศน์ความฝันของคนไทยยังเป็นพื้นที่ของความฝันและไปไม่ถึง เมื่อใดที่ สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองและผลิตสร้างความหมายโดยเปลี่ยนจากฝันในตอนหลับมาเป็นฝันในตอนตื่น จะ ทําให้เกิดความหวังนําไปสู่การดําเนินชีวิตอย่างมีจุดหมาย มีทิศทาง ดีกว่าการปล่อยไปอย่างสะเปะสะปะ


สิ่งที่เป็นกังวลในประเด็นเกี่ยวกับความฝัน คือ เราไม่มีวิธีการจัดการความฝันอย่างเป็นระบบ คนทุกคนล้วนมีความฝันมีพื้นที่ของความฝันในแบบฉบับของตนเอง แต่กลับมีเส้นทางหลักเพียงไม่กี่เส้นทางใน การเดินทางไปถึง ภาพตัวแทนของความฝันถูกนําเสนอและผลิตซ้ําผ่านค่านิยมหลักบนพื้นที่ทางสังคม อีกทั้ง ผลผลิตจากการผลิตสร้างพื้นที่ทางสังคมได้จํากัดกรอบความคิดผ่านระบบที่ผูกติดกับโครงสร้างทางสังคม แบบเดิมๆ อํานาจถูกยึดโยงกับคนเพียงบางกลุ่มที่กําหนดให้คนส่วนใหญ่ปฏิบัติตาม ในแง่นี้ถือว่าไม่เท่าเทียม กันในการเข้าถึงพื้นที่ และควรมีกระบวนเข้าไปมีส่วนร่วมกับการจัดการเชิงพื้นที่ด้วย สิ่งที่สังคมควรผลิตสร้าง ความหมายให้กับพื้นที่ คือการทําให้พื้นที่ของความฝันเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระและเท่าเทียม ซึ่งเป็นด้านแรกที่พึงกระทําก่อน (ค่านิยมที่ให้ความสําคัญกับทางเลือกที่หลากหลาย) อีกทั้งการผลิตสร้าง ความหมายเชิงพื้นที่ต้องผ่านการถกเถียงและเปิ ดพื้นที่เพื่อทลายกําแพงที่กั้นระหว่างพื้นที่ข องความเป็ น ประจําวันกับความฝันให้เข้าใกล้กันมากที่สุด ต้องมีเส้นทาง/ทางเลือกเพิ่มขึ้นในการไปถึงพื้นที่ของความฝัน ของแต่ละบุคคล และทุกคนที่ฝันก็มีสิทธิ์เลือกเส้นทางเดินของตนเองด้วย ไม่ใช่เกิดจากอํานาจเชิงโครงสร้างที่ ครอบงําอยู่ผ่านปฏิบัติการเชิงพื้นที่ที่แยบยลดังที่กล่าวไปส่วนต้น ความอิสระเสรีทางความคิดควรเกิดขึ้น มิใช่ ความคิดแบบสุดโต่งหรือความคิดที่โดดเดี่ยวด้วยตัวเราเอง แต่โครงสร้างของพื้นที่ทางสังคมต้องเปิดช่องและให้ คุณค่าของความฝันในบริบทที่เสมอภาคกันด้วย เมื่อมองความฝันอยู่บนฐานคิดเชิงพื้นที่ที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนความเสมอภาคและการเข้าถึงที่ไม่เท่า เทียมกัน เราจึงใช้ความฝันของเราอันเป็นผลผลิตของสังคมส่วนใหญ่ มาตัดสินความฝันของคนอื่นๆ อีกกลุ่ม หนึ่ง ทําไมเราต้องเรียนเหมือนคนอื่นๆ ทําไมภาพอาชีพในฝันมีเพียงภาพจําเพียงไม่กี่อาชีพ คนแต่ละคนล้วน แตกต่างกัน? เราสังเกตง่ายๆ อย่างเป้าประสงค์ของการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัย แน่นอนว่า นักศึกษาที่เข้ามาเรียนต้องมีความฝันและเลือกเรียนตามสิ่งที่ตนเองชอบหรืออยากจะเป็น (บนบริบทของสิ่งที่ ขาดหายและต้องการการเติมเต็ม/เป็นการสร้างโอกาสต่อการไปถึงพื้นที่ของความฝันที่รวดเร็ว) เพราะพื้นที่ใน มหาวิทยาลัยถือเป็นพื้นที่สุดท้ายในการอยู่ในกรอบ/ระบบ ที่ผลิตสร้างให้เราเป็นหรือไปถึงพื้นที่ของความฝันได้ อย่างเป็ นเหตุ เป็ น ผล (มีความเป็นไปได้) แต่สิ่งนี้กลับไม่ใ ช่ความจริงอีกต่อไปท่ามกลางบริบทในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งคือ ผู้เขียนในฐานะอาจารย์ผู้สอนระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ รู้ แน่ชัดอยู่แล้วว่าการเลือกสาขาวิชา/คณะที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่นิสิตนักศึกษาตัดสินใจและ ศึกษาข้อมูลมาเป็นอย่างดีแล้ว และนิสิตนักศึกษาต่างรู้ว่าเมื่อสําเร็จการศึกษาต้องเป็นครูสอนสังคมศึกษา แต่ เมื่ อ ถามนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาในสาขาในเรื่ อ งอาชี พ ในฝั น วั ย เด็ ก กั บ การเลื อ กเรี ย นในสาขาวิ ช าสั ง คมศึ ก ษามี ความสัมพันธ์กันหรือไม่ ส่วนใหญ่ตอบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน ตอนเด็กฝันอย่างหนึ่งโตขึ้นมากลับเลือกอีก อย่างหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นนิสิตนักศึกษาจํานวนมากไม่ได้มีความฝันอยากมาเรียนในสาขาวิชาสังคมศึกษาแต่เป็น ความผิดหวังจากสาขาอื่นๆ คําถามคือทําไมยังเลือกมาเรียนทั้งๆ ที่ไม่ได้อยู่ในความตั้งใจ? ทั้งนี้พบว่า นิสิต นักศึกษาขอให้มีที่เรียนต่อก่อนเพื่อที่จะได้เหมือนกับเพื่อนคนอื่นๆ ลดความแปลกแยก ไม่ต้องให้เกิดการ เปรี ย บเที ย บ และไม่ ต้ อ งได้ รั บ ความกดดั น จากบุ ค คลรอบข้า งหรือ สั ง คมที่ ห นั ก หน่ ว งด้ ว ย (ผู้ เ ขี ย นคิ ด ว่า ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเหมือนๆ กันในภาพปัจจุบันของสังคมไทย) ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องใน ระยะเวลาที่ผ่านมา พอกพูนสะสมเป็นกับดักที่ฉุดรั้งการพัฒนาสังคมประเทศชาติในอนาคตได้เลยทีเดียว หลาย คนอาจปฏิเสธว่านี่คงไม่ใช่ปัญหาที่ใหญ่โตอะไรขนาดนั้น เพราะเอาตัวเองเป็นที่ตั้งในการให้ความชอบธรรมต่อ การอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในฐานะผลผลิตแห่งโครงสร้างดังกล่าว แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเราสามารถ จัดการกับความฝันและนําพาคนที่มีฝันเหล่านั้นเดินทางไปให้ถึงสิ่งที่พวกเขาพึงปรารถนา การปรับเปลี่ยน โครงสร้างและผลิตชุดความหมายใหม่ให้กับสังคม โดยเฉพาะค่านิยมของความเสมอภาคทางความคิดบนพื้นที่ ทางสังคม


ผู้เขียนเชื่อว่าไม่มีใครไม่มีมีความฝัน มีแต่เพียงไม่กล้าฝันเพราะกลัวผิดหวัง หรืออาจยังไม่กล้า บอกความฝัน/ประกาศให้คนรอบข้างรับรู้ หรืออาจอยู่ในกระบวนการตามหาฝันหรือไปถึงฝันก็เป็นได้ ระหว่าง ที่เราแต่ละคนเดินตามหาพื้นที่ของความฝันของตนเอง ความเคยชินบนพื้นที่ของชีวิตประจําวันเป็นสิ่งที่น่ากลัว ปรากฏออกมาในสิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า “วัฒนธรรมอะไรก็ได้” หากลองสังเกตตนเองดูว่าเราทําสิ่งเดิมๆ ซ้ําๆ หรือไม่ ทั้งๆ ที่สามารถเลือกได้แต่กลับไม่เลือก หรือบางครั้งที่ ระยะเวลาเป็นตัวกําหนดและส่งผลต่อการ ตัดสินใจในสิ่งที่คุ้นเคย คุณกําลังเป็นแบบนี้อยู่หรือไม่? การตอบว่าอะไรก็ได้... ในบริบทที่เราต้องตัดสินใจหรือ เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเราเอง แต่ดันผลักภาระสิ่งนั้นให้คนอื่นหรือสิ่งอื่นเป็นคนตัดสินใจ สิ่งนี้จึงเป็นปัญหา การยึดติดกับโครงสร้างเชิงพื้นที่ ระบบกลไกของรัฐ ค่านิยมร่วมในสังคม ตลอดจนกรอบบรรทัดฐานทางสังคม ฯลฯ จึงเป็นบ่วงของการเดินทางไปสู่พื้นที่ของความฝัน หรืออาจเรียกว่า กับดักความฝัน วัฒนธรรมอะไรก็ได้จึง สะท้อนคําตอบถึงการคัดลอกความฝัน การไม่กล้าฝัน รวมไปถึงไม่รู้ว่าตนเองอยากเป็นอะไร อยากทําอะไร เพียงติดอยู่ในพื้นที่ของความเป็นประจําวันที่ดํารงอยู่ด้วยฐานคิดของคนรุ่นก่อน และไม่กล้าถกเถียงสู่วิธีการ ใหม่ๆ นับจากนี้จึงเป็นเวลาสําคัญที่หน่วยประกอบในพื้นที่ต้องร่วมกันผลิตสร้างความหมายใหม่ให้กับพื้นที่ และสร้างพื้นที่ของความฝันให้อยู่ในลักษณะพื้นที่ของความเป็นตัวแทนความสําเร็จที่ทุกคนสามารถไปถึงได้ บทสรุป การทําความเข้าใจความฝันผ่านมุมมองเชิงพื้นที่ เป็นการเปลี่ยนแว่นขยายของการมองใหม่แทนที่ จะมองด้วยวิธีการเดิมๆ ผู้เขียนมองว่า ความฝันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ และไม่ใช่เรื่องของปัจเจกบุคคลที่แต่ละคนจะ สามารถคิดฝันได้อย่างอิสระเสรี แต่อยู่ภายใต้การครอบงําเชิงพื้นที่ และยังเป็นปฏิบัติการเชิงพื้นที่ในการ จัดการกับการดําเนินไปข้างหน้าของชีวิตท่ามกลางสังคมที่โหยหาสิ่งที่ขาดหายหรือเป็นเป้าหมายของสังคม พื้นที่ที่กล่าวถึงในงานนี้จึงอยู่ในลักษณะของคํากริยามากกว่าคํานาม ลักษณะของการผลิตสร้างพื้นที่ทางสังคม อันได้แก่ปฏิบัติการทางพื้นที่ ภาพตัวแทนของพื้นที่ และพื้นที่ของความเป็นตัวแทน จึงเป็นวิธีการที่แยบยลใน การปกครองจัดการกับองค์ประกอบภายในพื้นที่อย่างมีระบบให้เชื่องเชื่อ ทําตาม หรือกระด้างกระเดื่องก็ได้ การที่เราคิด เราฝัน หรือสร้างพื้นที่ของความฝันขึ้นมาจึงเป็นผลจากการกระทําที่พื้นที่มีต่อองค์ประกอบภายใน ดังนั้นความฝันจึงเป็นเรื่องใหญ่มากที่สะท้อนภาพความเข้มแข็งหรืออ่อนแอของสังคม สามารถคาดการณ์ได้ เลยว่าในอนาคตพื้นที่ของความเป็นประจําวันที่เราอาศัยอยู่จะเป็นอย่างไร จากพื้นที่ของความฝัน อันอยู่ใน ลักษณะที่ไม่ใช่พื้นที่ของความฝันในขณะที่หลับ แต่เป็นพื้นที่ของความฝันที่อยู่บนความเป็นไปได้และสามารถ เดินทางไปถึง เราไม่รู้หรอกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เราไม่แน่ใจหรอกว่าสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นในอนาคตจากการ ดําเนินชีวิตตามช่วงระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นจะดีกว่าขณะที่เราอยู่หรือไม่ แต่ชุดความหมายที่สังคมผลิตสร้างให้กับ พื้นที่ของความฝันในขณะนี้ไม่ได้อยู่บนความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน มีการขีดกรอบ/สร้างเส้นแบ่ง ผ่าน ค่านิยมหลัก จึงทําให้เราผลิตซ้ําความฝันแบบเดียวกันและไม่ได้เกิดความฝันใหม่ๆ สิ่งนี้ไม่ใช่หรือที่เป็นหายนะ ของการดํารงอยู่ ทัศนะที่ผู้เขียนเสนอเป็นเพียงทัศนะส่วนตัวที่มองความฝันในสภาพการณ์ปัจจุบันบนบริบท ของสังคมไทยและยกตัวอย่างเป็นวัยเรียน นิสิตนักศึกษา เพราะเห็นว่าเป็นมันสมองของอนาคตเสียส่วนใหญ่ และคิดว่ายังมีมุมมองอื่นที่หลากหลายและไม่ได้กล่าวถึง ผู้อ่านอาจเห็นพ้องต้องกันหรือเห็นต่างก็ได้ แต่หวัง เป็นอย่างยิ่งว่าหากอ่านบทความมาถึงจุดนี้ คงทําให้คุณคิดและหันกลับมาฝันกันอีกครั้งหนึ่ง ฝันใกล้ๆ แล้วไป ให้ถึงยังดีกว่าฝันไกลๆ แต่ไปไม่ถึง เชื่อมั่นว่าเมื่อองค์ประกอบของหน่วยพื้นที่ย่อยขับเคลื่อนทํางานได้ตาม เป้าหมายแล้ว องคาพยพของสังคมไทยตลอดจนโลกก็จะขับเคลื่อนไป และนี่เองก็เป็นพื้นที่ของความฝันของ ผู้เขียนที่จะต้องเดินทางไปให้ถึง


เอกสารอ้างอิง ภาษาไทย ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. (2549). แนวความคิดใหม่ทางภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้. ชยา วรรธนะภูติ. (2557). ทฤษฎีและระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพสําหรับนักภูมิศาสตร์ที่มองโลก แบบหอยทาก. ใน งานวิจัยทางภูมิศาสตร์ (RESEARCH IN GEOGRAPHY), (42-55). เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค. นโรตม์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2558). ภูมิศาสตร์มนุษย์: เหลียวหลังและมองไปข้างหน้า. ใน ทิศทางอนาคตภูมิศาสตร์ไทย (Thai Geography Moves Forward), (277-284 ). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2545. (2560). ฝัน. สืบค้น 26 มีนาคม 2560, จาก http://www.royin.go.th/dictionary. มนัส สุวรรณ. (2554). กาล และ เทศะกับพฤติกรรมเชิงพื้นที่ของมนุษย์. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(3), 343-360. __________. (2558). พรมแดนความรู้วิชาภูมิศาสตร์. ใน ทิศทางอนาคตภูมิศาสตร์ไทย (Thai Geography Moves Forward), (251-264 ). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนา คุณภาพวิชาการ (พว.). สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2547). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. Adecco. (2560). อาชีพในฝันเด็กไทย ปี 2560 สืบค้น 26 มีนาคม 2560, จาก https://adecco.co.th/th/knowledge-center/detail/adecco-thailand-childrensurvey-2017 The Momentum. (2560). ‘อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไม่ทันคิด’ คุยเรื่องการบริหารเวลากับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สืบค้น 27 มีนาคม 2560, จาก http://themomentum.co/ momentum-interview-chadchart-sittipunt. ภาษาต่างประเทศ Cambridge Dictionary. (2017). Benchmark. Retrieved March 23, 2017, from http://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/benchmark. _________. (2017). Dream. Retrieved March 23, 2017, from http://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/dream. Enescu, C. I., Montangero, J., & Hurni, L. (2015). Toward Dream Cartography: Mapping Dream Space and Content. Cartographica, 50(4), 224-237. doi:10.3138/cart.50.4.3137. Giddens, A. (1990). The Consequences of Modernity. California: Stanford University Press. Gold, R G. (1980). An Introduction to Behavioral Geography. New York: Oxford University Press. Holt-Jensen, A. (2009). Geography: History and Concepts. London: SAGE Publication.


Ingold, T. (2011). Being Alive: Essays on Movement, Knowledge and Description. New York: Routledge. Lefebvre, H. (1991). The Production of Space. Malden: Blackwell. Marie, F. (2015). Dreams : Mirrors of Your Soul. [N.p.]: Turning Stone Press. Paunksnis, S. (2015). Dreams of Other Space: Heterotopian Emplacements of the Global. At The Interface / Probing The Boundaries, 89, 343-372. doi:10.1163/9789004304055_015. Siegel, A. B. (2015). Dream Wisdom : Uncovering Life's Answers in Your Dreams. Berkeley, Calif: Celestial Arts. Tai-An, L. (2011). A Study on the Spatial Structure of Dreams in Bernard Malamud’s “Man in the Drawer”. doi:10.5539/ass.v7n7p42 Vogt, C. (2005). Destination Benchmarking: Concepts, Practices and Operations. Journal of Leisure Research, (1), 128.


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.