กฎแห่งกรรมบุญกรรมฐานแก้ไขกรรมได้ดีที่สุด

Page 1


โครงการ “ระดมธรรม สันติสุข”

กฎแหงกรรม

บุญกรรมฐาน แกไขกรรมไดดีที่สุด อานิสงสสวดพระพุทธคุณ โดย... พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ิตธมฺโม)

รวบรวม/เรียบเรียง บรรณาธิการสาระ รูปเลม/จัดอารต พิสูจนอักษร ภาพประกอบเรื่อง

: : : : :

ไพยนต กาสี น.ธ. เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. ศักดิ์สิทธิ์ พันธุสัตย บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง เสาวณีย เที่ยงตรง พิมพขอมูล : ธนวรรณ ขันแข็ง สิทธิเดช ปาลี, มานิตย กองษา, กิตติชัย ขัติวงศ เทิดเกียรติ ปลูกปานยอย, สมควร กองศิลา


หลวงพอ ผูทำตามคำที่นำมาสอน ¾ÃÐà´ª¾ÃÐ¤Ø ³ ¾ÃиÃÃÁÊÔ § ËºØ Ã Ò¨Òà(ËÅǧ¾‹ Í ¨ÃÑÞ € µ¸ÁÚâÁ) ໚¹¾ÃÐÁËÒà¶ÃТͧ¾ÃÐʧ¦ ä·Â·Õèä´ŒÃѺ¤ÇÒÁ à¤ÒþàÅ×èÍÁãʨҡ¾Ø·¸ÈÒʹԡª¹ä·Â·ÑèÇ·Ø¡ÀÒ¤ â´Â´Ùä´Œ¨Ò¡ »ÃÐʺ¡Òó ·Õè¼ÙŒÃǺÃÇÁ à´Ô¹·Ò§ä»¡ÃÒº¹ÁÑÊ¡Ò÷‹Ò¹·ÕèÇÑ´ â´Â੾ÒÐÇѹ·Õè¨Ñ´§Ò¹¤ÅŒÒÂÇѹà¡Ô´ Çѹ·Õè ñõ ÊÔ§ËÒ¤Á¢Í§ ·Ø¡»‚ (ËÅǧ¾‹Íà¡Ô´ ¾.È. òô÷ñ) ¨ÐÁÕ»ÃЪҪ¹¨Ò¡·Ø¡ÊÒ÷ÔÈ ÁÒ¡ÃÒº¹ÁÑÊ¡Òà áÁŒÇѹÍ×è¹æ ¡çÁÕ¼ÙŒÁÒ¢ÍࢌҾºÁÔä´Œ¢Ò´ÊÒ à˵طÕè¾Ø·¸ÈÒʹԡª¹·Ñ駪ÒÇä·ÂáÅÐà·ÈãËŒ¤ÇÒÁàÅ×èÍÁãÊ ¹Í¡¨Ò¡¢ŒÍÇѵû¯ÔºÑµÔÍѹ§´§ÒÁáÅŒÇ ¤ÓÊ͹·Õè໚¹àÍ¡Åѡɳ ੾ÒеÑÇ ¤×Í àÃ×èͧ¡®áË‹§¡ÃÃÁ ÇÔ¸Õà¨ÃÔÞÇÔ»˜ÊʹҡÃÃÁ°Ò¹ µÒÁá¹ÇʵԻ˜¯°Ò¹ ô ËÃ×Í¡ÒÃÊÇ´Á¹µ ÍÒ¹ÔÊ§Ê ÊÇ´¾Ø·¸¤Ø³ ¡ç໚¹ÍÕ¡à˵ؼÅ˹Ö觷Õè·ÓãËŒ¤¹·Ñé§ËÅÒ¹Ѻ¶×Í à¾ÃÒÐËÅǧ¾‹Í Ê͹´ŒÇÂÀÒÉÒ·ÕèࢌÒ㨧‹Ò »¯ÔºÑµÔµÒÁä´Œ¨ÃÔ§ ˹ѧÊ×Í ¡®áË‹§¡ÃÃÁ ºØÞ¡ÃÃÁ°Ò¹á¡Œä¢¡ÃÃÁä´Œ´·Õ ÊÕè ´Ø áÅÐÍÒ¹ÔÊ§Ê ÊÇ´¾Ãоط¸¤Ø³ àÅ‹Á¹Õé ¼ÙŒÃǺÃÇÁä´Œ¹Ó¤ÓÊ͹ ·Õè໚¹àÍ¡Åѡɳ ¾ÔàÈɢͧËÅǧ¾‹Í ÁÒÃÇÁäÇŒã¹àÅ‹Áà´ÕÂǡѹ â´Â¼ÙŒÃǺÃÇÁä´Œ¨Ñ´·ÓËÑÇ¢ŒÍ‹Í «Í‹Í˹ŒÒ ͸ԺÒÂÊÒøÃÃÁ à¾ÔèÁàµÔÁàÊÃÔÁ¤ÇÒÁࢌÒ㨠ãËŒ½†ÒÂÈÔÅ»¡ÃÃÁÇÒ´ÀÒ¾»ÃСͺ à¾×èÍÁͺ¸ÃÃÁÐÊÒÃдÕæ ÁÕÊÕÊѹÊǧÒÁ·Óãˌ͋ҹ§‹Ò ࢌÒ㨧‹Ò ¹Óä»»¯ÔºÑµÔä´Œ¨Ãԧ㹪ÕÇÔµ»ÃШÓÇѹ

น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. รวบรวม/เรียบเรียง ในนามคณาจารย์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


กฎแห งกรรม ขอเจริญพรญาติพี่น้องคุณโยมหญิงโยมชายทั้งหลาย วันนี้ขออภัยล่าช้าไปหน่อย เพราะอาตมาไม่เคยว่าง ไม่เคยพักกิจวัตร ไม่ได้หลับได้นอนเท่าใดนัก ก็ขอฝากคำพูด นี้ไว้ว่า เหมือนปีเราเป่าระบายลมได้ เป่าได้นานหลายเพลง ถ้าคนเป่าปีระบายลมไม่ได้ ไม่รู้จักจะพักจิตอย่างไร ไม่เข้าใจ การเจริญวิปัสสนา ไม่เข้าใจวิธีรู้วาระจิตตนว่ามันเป็นอย่างไร รั บ รองระบายลมไม่ ไ ด้ แ น่ เหนื่ อ ยทั้ ง กาย เหนื่ อ ยทั้ ง ใจ เหนื่อยทั้งงาน เหนื่อยทั้งกิจ ประสบกับปัญหาชีวิตมาก


ปญหาชีวิต มีให้คิดแก้ไขทุกวัน เราออกจากบ้านมา ก็มีปัญหาระหว่างทาง พอมา ถึงที่ทำงานก็มีปัญหา หมดเวลาทำงานกลับบ้านมีปัญหา ระหว่างทางอีก ไปถึงบ้านไปถึงครอบครัวก็มีปัญหาพันพัว อยู่ในใจ มีความหมายอย่างนี้ นี่เป็นเพราะอะไร ? เป็นเพราะเราไม่เข้าใจในเรื่อง วิธีการของชีวิต ชีวิตมันจึงพลาดผิดทุกเวลา จิตมันเหมือน กระแสไฟ เหมือนลิงค่างบ่างชะนี เร็วยิ่งกว่าเครื่องบิน มัน ต้องคิดอ่านอารมณ์อยู่เสมอตลอดรายการ ชีวิตคืออะไรกันแน่ ? เราไม่ทราบเลยพี่น้องทั้งหลาย เราเกิดมาในภพนี้เลือกเกิดไม่ได้ ถ้าเลือกเกิดได้ คงไม่มาอยู่ บ้านนอก ต้องไปเกิดในปราสาทราชวัง ในบ้านมหาเศรษฐี ในบ้านคนที่มีปัญญา นี่มันก็เลือกไม่ได้ แต่เรามีคุณพ่อ คุณแม่ก็มีเพียงคนเดียว จะมีคุณพ่อ คุณแม่อีกก็คงไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนคนอื่นได้ เราจะมีเพื่อน กี่คน มีแฟนกี่คนก็มีได้ จะมีสามีกี่คน มีภรรยากี่คนก็ตามใจ ตามอารมณ์เราได้ แต่จะมีเหตุผลในชีวิต ในข้อคิดของตน หาได้ไม่ มีความหมายอยู่อย่างนี้ ¡ÅØŒÁ¨Ñ§ ÍÐäÃæ ¡çäÁ‹à»š¹ä»µÒÁ¤Ô´

4 กฎแหงกรรม

Çѹ¹Õé´Õ¨Ñ§ÁբͧãËŒà¡çº¢Ò àÂÍÐàÅÂ


ผลงานชีวิต เปนลิขิตกฎแหงกรรม มนุษย์เกิดขึ้นหนึ่งคน สัตว์เดรัจฉานเกิดขึ้นตั้งหนึ่ง ล้านตัว สัตว์เดรัจฉาน หมายความว่า ไม่ใช่มนุษย์ จะเป็น ช้าง ม้า วัว สัตว์ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ เรียก เดรัจฉานทั้งนั้น ทำไมถึงเรียกว่าเดรัจฉาน ก็เพราะว่ามันไม่มีปัญญา เราจึงเรียกเดรัจฉาน แต่เรากลับไปเข้าใจผิด คิดว่า เดรัจฉาน หมายถึง หมูหรือหมา ข้อเท็จจริงนั้นไม่ใช่ เดรัจฉาน แปลว่า ขวาง, ไม่มีปัญญา, ไม่มีสติสัมปชัญญะเหมือนมนุษย์ มนุษย์มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่แล้ว๑ แต่บางรายก็ไม่ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจประจำวันของตนได้ มนุÉย์ จึงได้ผิดแผก ªÒµÔ˹ŒÒãËŒà¡Ô´ÁÒ แตกต่ า งกั น ออกไป àËÁ×͹©Ñ¹¹Ð ในก®แห่งกรรม จาก การกระทำของตนนั้น ก®แห่งกรรม จึงเป็น ผ ล ง า น ชี วิ ต อ ย่ า ง ¶ูกต้องที่สุด

Çѹæ äÁ‹·ÓÍÐäà ¹Õè¹ÐªÕÇÔµ»ÃÐàÊÃÔ° ¢Í§¹ÒÂ

สติ ความระลึกได้ คือ การนึกขึ้นได้ก่อนทำ พูด คิด เพื่อมิให้เกิด ความผิดพลาด สัมปชัญญะ ความรู้ตัว คือ รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาใน ขณะกำลังทำ พูด คิด ว่าผิดหรือถูกอย่างไร โดย... ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๑

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

5


เกิดเปนมนุษยยุคนี้ มีโชคดีสองชั้น ÊÒ¸Ø ¢ÍãËŒºÃÃÅظÃÃÁ ªÒµÔ¹Õé´ŒÇÂà¶Ô´

à¡Ô´ªÒµÔã´ ¢ÍãËŒ¾º ¾Ãоط¸ÈÒÊ¹Ò ·Ø¡ªÒµÔ´ŒÇÂà·ÍÞ

การเกิดเป็นมนุษย์นนั้ ยาก นีแ่ หละท่านทัง้ หลายเอย เราเกิดมาเป็นมนุษย์นับว่าโชคดีแล้ว และโชคดีถึงสองชั้น โชคดีชั้นที่หนึ่ง ได้แก่ เกิดมามีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เป็นสุภาพบุรุษ เป็นสุภาพสตรี มีดีอยู่ในตัว นอกจากนั้นยังมี อาการ ๓๒ ครบ ตาไม่บอด หูก็ไม่หนวก ไม่ง่อยเปลี้ยเสียขา แต่ประการใด ท่านทั้งหลายคิดแล้วก็ควรคิดต่อไปว่า ออ..! เรานี่ ม าเกิ ด เพราะบุ ญ กุ ศ ลแท้ ๆ เราเกิ ด มาอย่ า งนี้ เรามี อาการครบอย่างนี้ มาด้วยบุญและมีคุณสมบัติมา โชคดีชั้นที่สอง ได้แก่ ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา พี่น้องทั้งหลาย เกิดมาทั้งที มีโอกาสพบพระพุทธศาสนาแล้ว อย่ า ให้ เ สี ย ชาติ เ กิ ด เรามาบวชกั น เถิ ด ไม่ ใช่ ม าบวชเป็ น พระ เป็นชีอยู่ที่วัดอย่างเดียว แต่บวชกาย บวชวาจา บวชใจ เข้าในวัตถุธรรม เพราะคำว่า บวช แปลว่า การเว้น ถ้าท่าน บวชอยู่ที่บ้าน ก็เว้นการทำ พูด คิด ในทางชั่วร้าย ทำได้แค่นี้ ก็ไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว 6 กฎแหงกรรม


อะไร ? เปนความต้องการของชีวิต

ดังที่กล่าวแล้วว่า บางคนเกิดมาเลือกเกิดไม่ได้ แต่ เลือกที่จะเป็นได้ ขอท่านทั้งหลายผู้มีปัญญา ผู้เป็นบัณฑิต โปรดมีความคิดสูง บัณฑิต ตัวนี้หมายความว่า มีความคิดสูง มีความคิดลึกซึ้ง มีความละเอียดอ่อนในปัญญาของตน ในที่นี้ บางคนเป็นบัณฑิตกระดาษ รับปริญญามา ไม่เคยนำความรู้เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวติ ประจำวัน ไม่เป็นบัณฑิตในการบริหารงานแต่ประการใด นี่มีความหมาย อยู่มิใช่น้อย อาตมาขอโอกาสญาติโยมหญิงโยมชาย เพื่อให้ข้อคิด เป็นแนวชีวิตต่อไปในโอกาสข้างหน้าว่า àÃÕ¹ÁÒ ô »‚áÅŒÇ ¢Í¾Ñ¡ÊÑ¡»‚¨Ð໚¹äÃ

¤Ô´¼Ô´ ¤Ô´ãËÁ‹ä´Œ¹Ð ºÑ³±Ôµ

คนที่ เ กิ ด มานั้ น ต้องการมีความ เจริ Þ ด้ ว ย กั น ทุกคน ต้องการ มีความรู้ มีหลัก°าน ต้องการให้มีงานทำ ต้องการจะมี คู่ครองเป็นทองแผ่นเดียวกัน ต้องการมีมนุÉยสัมพันธ์ ใน สังคม จะได้อยูร่ ว่ มกันอย่างผาสุก ด้วยความเมตตาธรรม อยู่ ด้ ว ยความสนุ ก รื่ น เริ ง บั น เทิ ง ใจ ไม่ ต้ อ งการอยู่ ด้ ว ย ความแตกแยก นี่คือจุดหมายของมนุษย์อันแสนสุดซึ้ง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

7


จะได้สิ่งที่ต้องการ ก็ด้วยทำกรรมดี แต่บางคนไม่มีความเข้าใจอย่างนี้เลย ขอเจริญพร อย่างนั้น บางคนก็เกิดเป็นมนุษย์เสียเปล่าไม่เข้าท่า แต่ทำ ความเป็นมนุษย์ให้ผิดแผกแตกกันไป นี่แหละพี่น้องทั้งหลาย คนเราเกิดมาเหมือนกัน มีหู มีตา มีปาก มีฟนั อาการครบ ๓๒ ด้วยกันทัง้ นัน้ จะผิดแผก แตกต่างกันไปก็เป็นหญิงชายแยกไป แยกออกไปอีกด้วย กฎแห่งกรรม คือ การกระทำของแต่ละคนไม่เหมือนกันมา แต่ครั้งอดีตชาติ บุญกุศลก็ดลบันดาลให้เกิดมาตามฐานของ บุญวาสนา อาตมาขอกล่าวต่อไปว่า แข่งเรือแข่งแพ มันพอ จะแข่งกันได้ ถ้ามีกำลังก็พอจะจ้ำเอาชนะได้ ยิง่ ซ้อมก็ยงิ่ ชนะ ÊÑ¡Çѹ©Ñ¹¨Ð˹ŒÒµÒ´Õ Ẻà¢Ò ¤§ÂÒ¡¹Ð¾Õè ·Ó¤ÇÒÁ´Õ§‹Ò¡NjÒÁÑ駤ÃѺ

แต่จะไปแข่งบุญแข่งวาสนานั้น มันแสนจะยากมาก มีความลำบากในชีวิตเหลือเกิน จะแข่งกับเขาได้อย่างไร ? บางคนไม่มีบารมีมาแต่ชาติก่อน วาสนาก็ไม่เกิด คนเราจะ ต้องมีบารมีของตนก่อน และการจะมีบุญญาบารมีนั้น ก็อยู่ที่ กฎแห่งกรรม คือ การกระทำของแต่ละท่านของแต่ละชีวิต 8 กฎแหงกรรม


อันตรายชีวิต มีทุกทิศรอบด้าน ¿‡Òª‹Çº͡¢ŒÒ·Õ ·Ó´Õä´Œ´ÕÁÕ·Õèä˹

¤Ô´áºº¹Õé ¶Ö§äÁ‹à¨ÃÔޡѺà¢Ò

แต่คนปัจจุบนั กลับเริม่ สงสัยในเรือ่ งกฎแห่งกรรม และ บางคนก็ไม่ยอมเชื่อเรื่องนี้ ถึงกับมีคนเขียนเป็นคำกลอนว่า คนทำดี ไ ด้ ดี มี ที่ ไ หน คนทำชั่ ว ได้ ดี มี ถ มไป ใครคิ ด เช่ น นี้ ก็ย่อมไม่มีใจที่คิดอ่านสร้างบุญบารมีไว้ให้ชีวิตตน ในกฎแห่งกรรม กล่าวถึงอันตรายที่เกิดแก่สัตว์โลก ๕ อย่าง คือ ๑. กิเลสันตราย อันตรายที่เกิดจากกิเลส ๒. กัมมันตราย อันตรายที่เกิดจากความชั่ว ที่ทำไว้ในปัจจุบัน ๓. วิปากันตราย อันตรายที่เกิดจากวิบาก คือ ผลของกรรมที่ทำในอดีต ๔. ทิฏฐิอนั ตราย อันตรายเกิดจากความเห็นผิด ๕. อริยปู วาทันตราย อันตรายที่เกิดจากการกล่าว จ้ ว งจาบพระอริ ย เจ้ า หรื อ ผู้มีพระคุณ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

9


เชื่อกรรมอยางไร ให้ประเทืองปญญา ÊÒ¸Ø ¢ÍãËŒÅÙ¡ªŒÒ§ ÁÕºŒÒ¹ ö .........

¹ÕèàÍ秡ШÐäÁ‹·ÓÍÐäÃàÅ ËÃ×͹Õè ¡ÃÃÁ¨ÃÔ§æ

พระพุทธศาสนาสอนว่า บุคคลจะได้ดีหรือชั่ว ได้รับ สุขหรือทุกข์ ก็เพราะกรรม หรือการกระทำของตนเองทั้งสิ้น หากเราไม่ดำเนินตามทางที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ แม้จะ สวดมนต์ หรือวิงวอนขอร้องก็ไม่อาจจะช่วยให้เราพบความดี และความสุขได้ ถ้ามนุษย์จะมีความสุขได้ด้วยความภักดี และวิงวอน มนุษย์เราก็คงไม่ต้องทำอะไร ดังนัน้ ท่านจึงสอนว่า ชาวพุทธควรมีศรัทธา ๔ อย่าง คือ ๑. ตถาคตโพธิสทั ธา เชือ่ การตรัสรูข้ องพระพุทธเจ้า คื อ เชื่ อ ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ต รั ส รู้ จ ริ ง เป็ น ผู้ ป ระกอบด้ ว ย พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ ๒. กัมมสัทธา เชื่อเรื่องกรรม คือ เชื่อว่ากรรมมีจริง ๓. วิปากสัทธา เชื่อเรื่องผลของกรรม คือ เชื่อว่า กรรมที่บุคคลทำไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมให้ผลเสมอ ๔. กัมมัสสกตาสัทธา เชือ่ ว่าสัตว์มกี รรมเป็นของตน คือ เชื่อว่าผลที่เราได้รับ เป็นผลแห่งการกระทำของเราเอง ซึ่งอาจจะเป็นกรรมที่ทำในปัจจุบันหรืออดีตชาติ 10 กฎแหงกรรม


นับถือพระพุทธศาสนา

ต้องศึกษากฎแหงกรรมให้เข้าใจ จะเห็นว่าความเชือ่ หรือศรัทธา ๔ อย่าง เป็นความเชือ่ เรื่องกรรม ๓ อย่าง จึงเป็นคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา ผู้เป็นชาวพุทธจึงควรเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม พยายามศึกษา และทำความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ชาวพุทธที่ไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ไม่ใช่ชาวพุทธที่แท้จริง เป็นเพียงชาวพุทธในนาม ศาสนาพุทธมีประโยชน์แก่เขา เพียง ใช้กรอกแบบฟอร์ม เพือ่ ไม่ให้ถกู มองว่าเป็นคนไม่มศี าสนาเท่านัน้ คนที่เชื่อเรื่องกรรม ได้เปรียบกว่าคนที่ไม่เชื่อ เพราะ สามารถทนรับความทุกข์ยากลำบาก ความผิดหวังความ ขมขื่น และเคราะห์ร้ายที่เกิดแก่ตนได้ ถือว่าเป็นกรรมที่ ทำมาแต่อดีต ไม่ตีโพยตีพายว่า โลกนี้ไม่มีความยุติธรรม ตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ทำดีแล้วไม่ได้ดี ª‹Ò§à¶ÍÐ ªÒµÔ¡‹Í¹àÃÒ ¤§à¤ÂዧΌà¢ÒÁÒ

¶Ö§Ë¹ŒÒµÒäÁ‹ËÅ‹Í áµ‹á¿¹àÍ秡çàÅ×Í¡¢ŒÒ

คนที่เชื่อในเรื่องกรรม จะตั้งมั่นในการทำดี จะมีแก่ ใจให้อÀัยผู้อื่น เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ๑ หิริ คือ ความละอายใจในการทำชั่ว โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัว ต่อผลบาป ธรรม ๒ ข้อนี้ มีชื่อว่า โลกปาลธรรม ธรรมที่คุ้มครองโลก ให้ปลอดภัย โดย... ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๑

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

11


กรรม ผู้ใดทำ ผู้นั้นเปนคนรับผล

คนที่ประกอบกรรมทำชั่วทางกาย วาจา ใจ ส่วนใหญ่ เป็นคนไม่เชื่อเรื่องกรรม ไม่เชื่อเรื่องบุญ บาป ไม่เชื่อเรื่อง ตายแล้วเกิด คนพวกนี้ เกิดมาจึงมุ่งแสวงหาทรัพย์สมบัติ และความสุขสบายให้แก่ตัว โดยไม่คำนึงว่าทรัพย์สมบัติหรือ ความสนุกสนานที่ตนได้มาถูกหรือผิด และทำให้คนอื่นได้รับ ความเดือดร้อนหรือไม่ ทั้งนี้เพราะไม่เข้าใจว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน กรรมนั้นเป็นของเราโดยเ©พาะ ½Ò¡·ÓºØÞ เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ÍÂÒ¡ä´Œ ´ŒÇ¹Ðà¸Í ¡ç·ÓàͧÊÔ จะโอนให้ผู้อื่นไม่ ได้ เช่น เราทำกรรมชั่วอย่าง หนึ่ง เราจะต้องรับผลของกรรม ชั่วนั้น จะลบล้างหรือโอนไปให้ ผู้อื่นไม่ได้ แม้ผู้นั้นจะยินดีรับโอน กรรมชั่วของเราก็ตาม กรรมดีก็เช่นเดียวกัน ผู้ใดทำกรรมดี กรรมดีย่อมเป็น ของผูก้ ระทำโดยเฉพาะ จะจ้างหรือวานให้ทำแทนกันหาได้ไม่ เช่น เราจะเอาเงินจ้างผู้อื่นให้ประกอบกรรมดี แล้วขอให้โอน กรรมดีที่ผู้นั้นทำมาให้แก่เราย่อมไม่ได้ หากต้องการกรรมดี เราก็ต้องประกอบกรรมดีเอง เหมือนการรับประทานอาหาร ผู้ใดรับประทานผู้นั้นก็เป็นผู้อิ่ม 12 กฎแหงกรรม


เกิดเปนคนด้วยกัน ทำไมจึงตางกัน

มนุษย์เรามีภาวะความเป็นไปต่างๆ กัน เช่น ดีหรือชั่ว รวยหรือจน เจริญหรือเสื่อม สุขหรือทุกข์ ก็เนื่องมาจาก กรรมของตนเองทั้งสิ้น กรรมใด ที่ทำลงไป ©Ñ¹ÍÂÒ¡ÁÕ äÁ‹ÂÒ¡àÅ ¡ÃÃÁ´ÕÍ‹ҧ ¡ç·Ó¡ÃÃÁ´Õ จะเป็นกรรมดีหรือชั่วก็ตาม à¢ÒºŒÒ§¨Ñ§ Í‹ҧ©Ñ¹ÊÔ ย่อมให้ผลตอบแทนเสมอ ย่อมติดตามผู้ทำ เสมือนเงาติดตามตน หรือเหมือนกับล้อเกวียนที่หมุน ตามรอยเท้าโคไป ©ะนั้น ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ จึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย๑ หาก เราทำกรรมดี ก็ได้รับความสุขความเจริญ กรรมดี จึงเหมือน กับกัลยาณมิตรที่คอยให้ความอุปการะ และส่งเสริมให้เรา ประสบความสุขและความเจริญ ถ้าหากเราทำกรรมชั่ว กรรมชั่วก็คอยล้างผลาญเราให้ ประสบแต่ความทุกข์และความเสื่อม มาจากคำบาลีว่า กมฺมปฏิสรณ แปลว่า มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมเป็นที่อาศัยอย่างไร ? ตัวอย่างง่ายๆ ที่เห็นทันตา เช่น คนทำชั่ว ถูกจับได้ ก็มีคุกตะรางเป็นที่อาศัย ใครทำกรรมดี เช่น มีความขยัน หมั่นเพียร ก็มีบ้านเรือนอยู่อาศัยอย่างสุขสบาย เป็นต้น โดย... ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๑

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

13


ทำ พูด คิด อยางไร ? คนส่วนมากเข้าใจว่า กรรม คือ การกระทำ ความ เข้าใจนี้ไม่ผิด แต่ก็เป็นความคิดที่ยังไม่รัดกุมถูกต้องทั้งหมด เพราะมีการกระทำบางอย่างที่ไม่นับว่าเป็นกรรม กรรมที่แท้ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ คือ ๑. ผู้กระทำมีเจตนา ๒. การกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือบาป ๑. ที่ว่า ผู้ทำมีเจตนา มีหลักการพระพุทธเจ้าตรัส ไว้ ใ นนิ พ เพธิ ก ปริ ย ายสู ต ร ฉั ก กนิ บ าต อั ง คุ ต รนิ ก าย ว่ า เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม เจตนา ได้แก่ ความตั้งใจ ความรับรู้ มี ๓ อย่าง คือ ปุพพเจตนา เจตนาก่อนทำ มุญจนเจตนา เจตนาในเวลาทำ อปราปรเจตนา เจตนาเมื่อได้ทำไปแล้ว การกระทำทีม่ เี จตนาเกิดถึงเป็นกรรม ส่วนการกระทำ ทีไ่ ม่มเี จตนา คือ ใจไม่ได้สงั่ ให้ทำ ไม่จดั เป็นกรรม เช่น คนเจ็บ มีไข้สูง เกิดเพ้อคลั่ง แม้พูดคำหยาบ เอามือหรือเท้าไปถูก ใครก็ไม่เป็นกรรม ในทางวินัยก็ยกเว้นให้พระที่วิกลจริตทำ ผิดวินัยไม่ต้องอาบัติ หนังสือเล่มนี้บรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ โปรดใช้หนังสือเล่มนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าที่สุด เมื่อไม่อ่านแล้ว กรุณาส่งต่อผู้อื่นเพื่อเป็นการเผยแผ่ธรรมและบำเพ็ญทานบารมีแก่ตน

14 กฎแหงกรรม


มีผลให้เกิดเปนกรรม ๒. ที่ว่า การกระทำนั้น ต้องให้ผลเป็นบุญหรือบาป ก็เพื่อแยกการกระทำของพระอรหันต์ ออกจากการกระทำ ของปุถุชน เนื่องจากพระอรหันต์ เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไม่มีความยึดถือในตัวตน การกระทำ เรียกว่า อัพยากฤต ไม่นบั ว่าเป็นกรรมดีหรือกรรมชัว่ บุญและบาปไม่ม ี การกระทำ ของพระอรหันต์จึงไม่เรียกว่า กรรม แต่เรียกว่า กิริยา๑ ส่วนปุ¶ุชน ยังมีความ ยึดมั่น¶ือมั่นในตัวตนอยู่ จะทำอะไรก็ยังยึด¶ือว่า ตนเป็นผู้กระทำ การกระทำของปุ ถุ ช นจึ ง เป็ น กรรม จึ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด วิบากคือผลเสมอ กรรมดีก็ก่อให้เกิดบุญ กรรมชั่วก็ก่อให้ เกิดบาป ในเรื่องนี้มีตัวอย่างในครั้งพุทธกาล คือ พระจักขุบาลท่านตาบอด แต่ ก็ ไ ม่ ท อดทิ้ ง การเดิ น จงกรม แต่ เ นื่ อ งจากมองไม่ เ ห็ น จึ ง ทำให้ เหยียบสัตว์ที่อยู่บนทางเดินตาย ฝ่ายภิกษุรูปอื่นเห็นเข้าก็เอาไปฟ้อง พระพุทธเจ้า แต่พระองค์ตรัสถามว่า พวกเธอเห็นท่านเหยียบสัตว์ ตายกับตาหรือ ไม่เห็น พระเจ้าข้า จึงตรัสต่อไปว่า พวกเธอไม่เห็น ท่านฆ่าสัตว์อย่างไร ท่านก็มองไม่เห็นสัตว์เหมือนกัน พระอรหันต์นั้น ท่านไม่มีเจตนาในการฆ่าสัตว์แม้แต่น้อย โดย... ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๑

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

15


ทางกอกรรม บางคนเข้าใจว่า กรรม หมายถึง สิ่งไม่ดี คู่กับ เวร หรือบาป ที่เรียกว่า เวรกรรม หรือบาปกรรม ตรงกันข้าม กับฝ่ายดี ซึ่งเรียกว่า บุญ ทั้งนี้ เพราะได้ใช้คำว่า กรรม ใน ความหมายไม่ดี เช่น เห็นใครประสบเคราะห์ร้ายถูกลงโทษ ก็พูดว่า เป็นเวรกรรมของเขา หรือเขาต้องรับบาปที่ทำไว้ ที่จริง กรรม เป็นคำกลางๆ จะมุ่งไปทางดีหรือชั่วก็ได้ ถ้าเป็นกรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม ถ้าเป็นกรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม และกรรม อาจจำแนกเป็นได้หลายประเภท หากแบ่งตามทางที่ทำ ก็เป็น ๓ ทาง ได้แก่ ๑) กายกรรม กรรมทางกาย ๒) วจีกรรม กรรมทางวาจา ๓) มโนกรรม กรรมทางใจ ในกรรมบถ ๑๐ แบ่งกรรม ๓ ทางนั้น เป็นฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุสล แต่ละฝ่ายมีรายละเอียดของกรรม ดังนี้

กายกรรม กรรมทางกาย แบ่งเป็นฝ่ายละ ๓ คือ

๑. ฝ่ายอกุศล ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดประเวณี ๒. ฝ่ า ยกุ ศ ล ได้ แ ก่ เว้ น จากการฆ่ า สั ต ว์ เว้ น จาก การลักทรัพย์ เว้นจากการผิดประเวณี

16 กฎแหงกรรม


มีทั้งทางดี ทางชั่ว วจีกรรม กรรมทางวาจา แบ่งเป็นฝ่ายละ ๔ คือ

๑. ฝ่ายอกุศล ได้แก่ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ๒. ฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการ พูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

มโนกรรม กรรมทางใจ แบ่งเป็นฝ่ายละ ๓ คือ

๑. ฝ่ายอกุศล ได้แก่ เพ่งเล็งทรัพย์ผู้อื่น ปองร้าย ผู้อื่น เห็นผิดจากคลองธรรม ๒. ฝ่ายกุศล ได้แก่ ไม่เพ่งเล็งทรัพย์ผู้อื่น ไม่ปองร้าย ผู้อื่น เห็นชอบตามคลองธรรม จะเห็นว่า การคิด ก็เป็นกรรม๑ เช่น คิดลักทรัพย์ คนอื่น แม้ยังไม่ได้ทำก็เป็นกรรมชั่วต้องมีผลตอบแทน ผิดกับ การลงโทษตามกฎหมายอาญา จะลงโทษต่ อ เมื่ อ ผู้ ท ำได้ เตรียมการหรือลงมือทำแล้ว ลำพังความคิดยังไม่มีโทษ การที่กฎหมายไม่เอาโทษการคิดจะทำผิด เพราะ ยากที่จะพิสูจน์ความคิดของคน ทั้งยังไม่มีความเสียหาย เกิดขึ้น แต่กรรม ถือว่าความคิดชั่วก็เป็นความผิด แม้ คนอื่นยังไม่เสียหาย ผู้คิดเองก็เสียหาย การคิดร้ายต่อผู้มีคุณธรรมสูง เป็นอกุศลกรรม ส่งผลทันตาได้ ดัง ในครั้งพุทธกาล นายโสไรยะ เห็นพระมหากัจจายนะ ซึ่งท่านมีผิว ผุดผ่องดังทองคำ ทำให้เกิดอกุศลจิตคิดว่า ถ้าเราได้ภรรยามีผิวพรรณ อย่างพระเถระน่าจะดี พอคิดเพียงเท่านี้ทำให้เขากลายร่างเป็นหญิง ทันที โดย... ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๑

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

17


กรรม ๑๒ ประเภท

ขอบเขตศึกษาการให้ผลของกรรม ในหนังสือวิสุทธิมรรค แต่งโดยพระพุทธโฆสาจารย์ พระเถระชาวอินเดีย ได้แบ่งกรรมไว้ ๑๒ ประเภท โดยท่าน แบ่งเป็น ๓ หมวด ตามประเภทการให้ผลของกรรม คือ กรรมให้ผลตามกาล กรรมให้ผลตามหน้าที่ และกรรม ให้ผลตามความหนักเบา

หมวดกรรมให้ผลตามกาล๑

๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้ ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติตอ่ ๆ ไป ๔. อโหสิกรรม กรรมที่เลิกให้ผล คือ ให้ผลเสร็จไป แล้ว หรือหมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไป

ปัจจุบันที่คนไม่ค่อยกลัวกรรมกัน นั่นเพราะคิดว่ามันพิสูจน์ไม่ได้ ที่ จริงกรรมพิสูจน์ได้ แต่ต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ด้วย เหมือนอย่าง ปลูกพืช เช่น ขิง ข่า ไม่เกินปีได้กินแน่ แต่ถ้าปลูกมะเขือ มะนาว ต้อง รอกินปีหน้า ยิ่งปลูกต้นไม้ใหญ่ มะพร้าว มะม่วง ก็ต้องล่วงเลยเวลา ๕-๖ ปี ถึงจะได้กิน ส่วนคนที่มีเมล็ดพันธุ์ครั้นถึงเวลาควรปลูกก็ ไม่ปลูก หมดเวลาแล้วนำมาปลูกมันก็ไม่งอก กรรมเช่นกันจะให้ดอก ออกผลก็ต้องมีระยะเวลาด้วย โดย... ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๑

18 กฎแหงกรรม


หมวดกรรมให้ผลตามหน้าที๑ ่

๕. ชนกกรรม กรรมที่แต่งมาดีหรือชั่ว ๖. อุปตั ถัมภกกรรม กรรมทีส่ นับสนุน คือ ถ้าชนกกรรม เดิมแต่งดี ส่งให้ดยี งิ่ ขึน้ แต่งให้ชวั่ ก็สง่ ให้ชวั่ ยิง่ ขึน้ ๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้นหรือเบียดเบียนกรรม เดิม เช่น เดิมแต่งมาดี เบียนให้ชั่ว เดิมแต่งมาชั่ว เบียนให้ดี ๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือ พลิกหน้ามือ เป็ น หลั ง มื อ เช่ น กรรมเดิ ม แต่ ง ไว้ ดี เ ลิ ศ กลั บ ที เ ดี ย วเป็ น ขอทาน หรื อ แต่ ง ไว้ เ ลวมาก กลั บ ทีเดียวเป็นมหาเศรษฐีไปเลย

กรรมหมวดนี้ แบ่งหน้าที่การให้ผลแต่ละชนิดโดยตรง ไม่แย่งหน้าที่ กัน แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายค้าน ดังนี้ ชนกกรรม กรรมนำให้เกิด ทำหน้าที่นำปฏิสนธิวิญญาณของ สัตว์ให้ไปเกิดในภพภูมิต่างๆ ตามกรรมที่ทำเมื่อเกิดแล้วก็หมดหน้าที่ อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน ก็รับหน้าที่ต่อ เช่น ชนกกรรม ทำให้เกิดมาดีหนุนให้ดียิ่งขึ้น ถ้าชั่วก็หนุนให้ร้ายหนักขึ้น เป็นต้น กรรม ๒ ข้อนี้ เป็นฝ่ายสนับสนุนกัน อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือ บีบชนกกรรม อุปัตถัมภกกรรม ให้ส่งผลไม่ถนัด เช่น เกิดมาดีมีคนอุปถัมภ์ แต่พอกรรมนี้ฝ่ายชั่วตาม ทันก็บีบไม่ให้ดีกว่านั้น ถ้ากรรมเดิมแต่งมาไม่ด ี แต่พอฝ่ายดีให้ผล ก็ดลให้มีผู้ช่วยเหลือ อุ ป ฆาตกกรรม กรรมตั ด รอน คื อ ตั ด โอกาสการให้ ผ ลของ ชนกกรรม อุปตั ถัมภกกรรม แต่สนับสนุนอุปปีฬกกรรม เช่น กรรมเดิม แต่งให้เกิดมาดี แต่พอกรรมนี้ตามทันมันก็ทำให้พบแต่สิ่งร้าย แต่ถ้า เป็นฝ่ายดีตามทันก็ฆ่ากรรมฝ่ายชั่วที่ให้ผลในขณะนั้น กรรม ๒ ข้อนี้ จึงเป็นฝ่ายค้าน โดย... ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

19


หมวดกรรมให้ผลตามความหนักเบา๑ ๙. ครุกรรม กรรมหนัก ฝ่ายดี เช่น ทำสมาธิจน ได้ฌาน ฝ่ายชั่ว เช่น ทำอนันตริยกรรม มีฆ่ามารดาบิดา เป็นต้น เป็นกรรมที่ให้ผลโดยไม่มีกรรมอื่นมาขวางกั้นได้ ๑๐. พหุลกรรม กรรมทีท่ ำจนชิน เกิดจากการทำบ่อยๆ ทำสั่งสมไปนานเข้าก็พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่ทำครุกรรมมา กรรมนี้ก็จะส่งผลทันที ๑๑. อาสันนกรรม กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย หรือที่เอา จิตใจจดจ่อนึกถึงในเวลาใกล้ตาย ส่งผลให้ไปสู่ที่ดีหรือชั่วได้ เหมือนโคแก่ที่อยู่ปากคอก แม้แรงน้อยเมื่อเปดคอกก็ออก ได้ก่อน ๑๒. กตัตตากรรม กรรมสักแต่ว่า ทำ คื อ เจตนาไม่ ส มบู ร ณ์ อาจจะทำ ด้วยความประมาทรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ แต่ก็ส่งผลดีร้ายให้ได้ ในเมือ่ ไม่มีกรรมอื่นจะให้ผล แล้ว ผู้เรียบเรียงเคยเจอเหตุการณ์ไปยืนเข้าแถวรอรับบริการอย่างหนึ่ง แต่พอใกล้ถึงคิวกลับมีคนอื่นมาแซงได้ทำก่อนก็ได้แต่ทำใจ นั่นมัน เรื่องกติกาสังคมที่อาจเลี่ยงได้ แต่ในกฎแห่งกรรม แต่ละอย่างมีกฎ ตายตัวในการให้ผล ความหนักเบาของกรรมทีท่ ำนัน่ แหละ จะลำดับคิว การให้ผลของกรรมเอาไว้เอง เหมือนเรายืนอยูบ่ นตึก แล้วโยนเศษของ ลงมา อะไรทีม่ นั หนักกว่าก็ตกลงถึงพืน้ ก่อน กรรมเช่นกัน กรรมทีห่ นัก ย่อมให้ผลก่อนเสมอ โดย... ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง ๑

20 กฎแหงกรรม


เหตุอะไรทำให้คิดวา ทำดีไมได้ดี บางคนที่ทำกรรมชั่ว แต่กลับเป็นคนร่ำรวย มีอำนาจ วาสนา มีคนเคารพยกย่อง แต่บางคนทำด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ขยันขันแข็ง กลับยากจนอยู่ด้วยความยากลำบาก บางคนไม่ทำงานอะไร คอยประจบสอพลอรับใช้เจ้านายกลับ ได้ดี ได้เลื่อนเงินเดือนและตำแหน่ง ส่วนบางคนตั้งใจทำงาน แต่ไม่ประจบเจ้านาย กลับไม่ได้ดี จึงทำให้คนคิดว่า กฎแห่งกรรมไม่มีจริง คำสอนที่ว่า “กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ ทำดีได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว” คงจะไม่เป็นความจริงเสียแล้ว การที่ บ างคนเห็ น ว่ า ทำดี ไ ม่ ไ ด้ ดี ทำชั่ ว ไม่ ไ ด้ ชั่ ว เนื่องจากความไม่เข้าใจสองประการ คือ ประการแรก ไม่เข้าใจการให้ผลของกรรม ประการสอง ไม่เข้าใจความหมายของคำว่าได้ดี และได้ชั่ว ª‹Ò§à¢Òà¶ÍÐ µÑé§ã¨·Óä» ÊÑ¡Çѹ¤ÇÒÁ´Õ¡ç»ÃÒ¡¯

¤¹Í‹ҧ¹Õé ¨Ðä»ä´ŒÊÑ¡¡Õè¹éÓ

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

21


กรรมดี-ร้าย มีการให้ผล ๒ ชั้น การให้ผลของกรรมมี ๒ ชั้น คือ การให้ผลในชั้น ธรรมดา และการให้ผลในชั้นศีลธรรม การให้ผลในชั้นธรรมดา เป็นการให้ผลโดยไม่คำนึง ว่า ถูกหลักความชอบธรรมหรือไม่ เช่น นาย ก. โกงเงิน หลวง หรือขโมยทรัพย์มา นาย ก. ก็ได้เงินนั้นมา ถ้าใช้เงิน ซื้อบ้าน ก็จะได้อยู่บ้านนั้น นี่เป็นการให้ผลชั้นธรรมดา แต่การให้ผลกรรม หาหยุดให้ผลแต่เพียงเท่านี้ไม่ ยังให้ผลในชั้นศีลธรรม ถ้าทำดี ต้องได้รับผลดีแน่นอน ทำชั่ว ต้องได้รับผลชั่วอย่างหลีกไม่พ้น กรรมบางอย่างให้ผลชาตินี้ บางอย่างให้ผลชาติหน้า บางอย่างให้ผลในชาติต่อๆ ไป เหมือนการปลูกพืชหรือต้นไม้ ไม่ใช่พอหว่านเมล็ดลงไป พืชหรือต้นไม้จะขึ้นหรือให้ผลทันที บางอย่างให้ผลเร็ว บางอย่างก็ให้ผลช้า การที่คนทำชั่วยังได้ดีมีสุข เพราะกรรมชั่วยังไม่ให้ผล กรรมดีที่เคยทำยังสนับสนุนอยู่ เมื่อใดที่กรรมดีอ่อนกำลังลง กรรมชั่วก็จะมาเข้าตัดรอน ทำให้ผู้นั้นต้องเปลี่ยนสภาพไป อย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น เศรษฐีอาจต้องเป็นยาจก เคยเป็นผู้ยิ่งใหญ่มีอำนาจ ก็อาจถูกฟ้องร้องต้องโทษจำคุก อ่านให้รู้ รู้แล้วลงมือทำ ทำ ทำ ทำ เท่านั้น จึงจะเปนสุข ที่พึ่งของตนที่ดีที่สุด คือ ความดี คิดดี ทำดี พูดดี สิ่งดีๆ จะตามมา พาพ้นทุกข์ สุขทุกขณะ สาธุ สาธุ สาธุ

22 กฎแหงกรรม


เพราะมองแตผลชัน ้ ธรรมดา ทำให้คิดวา ทำดีไมได้ดี คนที่ไม่เชื่อในเรื่องกรรมนั้น มักจะมองผลของกรรม ชั้นธรรมดา เป็นผู้มีสายตามืดมัวมองไม่เห็นการให้ผลของ กรรมชั้นศีลธรรม บุคคลเหล่านี้ มักไม่เชื่อเรื่องตายแล้วเกิด คิดว่าคนเราเกิดมาเพียงชาตินี้ชาติเดียวก็สิ้นสุดลง ¡ÃÃÁµÒÁ·Ñ¹ áÅŒÇÂѧäÁ‹ÃÙŒµÑÇÍÕ¡

äÁ‹µŒÍ§¡ÅÑÇ ¢ÒÂÁÒ ËÅÒ»‚áÅŒÇ ÂѧäÁ‹à¤Â ¶Ù¡¨Ñºä´ŒàÅÂ

คนพวกนี้เมื่อทำความชั่ว และความชั่วยังไม่ ให้ผล ก็คิดว่าตนเป็นคน©ลาด ดู¶ูกพวกที่เชื่อเรื่องกรรม ว่าเป็นคนโง่งมงาย คนพวกนี ้ เหมือนคนกินขนมเจือยาพิษ ตราบใดยาพิษ ยังไม่ให้ผล ก็คดิ ว่าขนมนัน้ เอร็ดอร่อย สมตามพุทธภาษิตทีว่ า่ มธุวา มญฺญตี พาโล ยาว ปาป น ปจฺจติ คนโง่ย่อมจะเห็นบาปว่าเป็นน้ำผึ้ง ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 23


การมุงหวังผลกรรมนั้น การให้ผลของกรรม อาจแบ่งเป็นการให้ผลทางจิตใจ และการให้ผลทางวัตถุ การให้ผลทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ทำโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับคนอื่น ทำไปแล้วก็ได้ผลทันที คือ ทำกรรมดีก็จะ ได้รับความสุข ความปีติ แต่ถ้าทำกรรมชั่วก็จะทำให้จิตใจ เศร้าหมองเป็นทุกข์ การให้ผลทางวัตถุ เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่น จะ ทำให้ได้ดีทีเดียวนั้นมันยากมาก เพราะคนทำดีจะได้ผลดี ทางวัตถุ ต้องประกอบด้วยหลัก ๔ ประการ คือ ๑. คติสมบัติ ทำดีให้ถูกสถานที่ ๒. อุปธิสมบัติ ทำดีให้ถูกตัวบุคคล ๓. กาลสมบัติ ทำดีให้ถูกเวลา ๔. ปโยคสมบัติ ทำดีให้ติดต่อกันไปเรื่อยๆ àÍ Ð...! µÓÃǨ¨ÐÃÙŒ Çѹ¹Õéä´Œ·ÓºØÞáÅŒÇ ÊºÒÂ㨨ѧ

24 กฎแหงกรรม

ÃÖà»Å‹Ò¹ÕèÇ‹ÒàÃÒÁÕÂÒºŒÒ


ผลทางวัตถุ หวังยากได้

แตผลทางจิตใจ หวังได้งายกวา การที่คนทำกรรมดี และหวังผลในทางวัตถุ เช่น หวัง ลาภ ยศ สรรเสริญ แต่ไม่ได้รับผลดีตามต้องการ อาจเพราะ ไม่เข้าหลัก ๔ ประการ ข้างต้น คือ ไปทำความดีกับบุคคลที่ ไม่มีความดี เช่น ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่เจ้านายเรา เป็นคนคอร์รัปชั่น การทำความดีของเราย่อมไม่เป็นที่ชื่นชม ของเจ้านาย การทำความดีกับบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับ เอาเมล็ดพืชทิ้งลงไปบนหินหรือพื้นดินแห้งแล้ง àÎŒÍ! ÍصʋÒË ·Ó´Õ ¹‹Ò¨Ð·Ó¶Ö§·ÕèÊØ´

©ะนั้น การทำความดี ควรหวังผลในทางจิตใจ มากกว่าไปหวังผลทางวัต¶ุ ส่วนผลทางวัต¶ุนั้น ¶ือเป็นเพียงผลพลอยได้

¼ÁÊ‹§à¾Õ§ᤋ¹Õé ¹Ð¤ÃѺ

บางคนอาจจะทำความดีจริง แต่อาจจะทำไม่ถึงดี คือ ทำดีเพียงเล็กน้อยแล้วก็หวังผลแห่งความดีนั้น เมื่อไม่ได้รับ ผลตอบแทนก็หมดกำลังใจ แล้วก็บอกว่าทำดีไม่เห็นได้ดี คนพวกนี้ ก็ เ หมื อ นคนปลู ก พื ช รดน้ ำ พรวนดิ น นิ ด หน่ อ ย ก็หวังที่จะให้พืชออกดอกออกผลในเร็ววัน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

25


ดี-ชั่วอยางไร ? ใจเรารู้ดีที่สุด คำว่า ได้ดี ได้ชั่ว นั้น ในทางโลกและทางธรรม มี ความหมายแตกต่างกัน ทางโลก มองเห็นการได้ดี ได้ชั่ว เป็นเรื่องทางวัตถุ เมื่อกล่าวว่าคนนั้นได้ดี ก็มักหมายถึงว่า ผู้นั้นได้ลาภและยศ เช่น ได้ทรัพย์สมบัติ ได้อำนาจวาสนา ได้หน้าที่การงานดีขึ้น เมื่อไม่ได้สิ่งเหล่านั้น ก็เข้าใจว่าไม่ได้ดี ในทางธรรม การได้ดีหรือได้ชั่ว เป็นเรื่องของจิตใจ การได้ดี คือ การทำให้จิตใจดีขึ้น ทำให้ธาตุแห่งความดีใน ตัวเรามีมากยิ่งขึ้น ทำให้จิตใจสะอาด สว่าง สงบยิ่งขึ้น การ ได้ชั่ว คือ การทำให้จิตใจต่ำลง เลวลง ทำให้จิตใจมืดมัว ยิ่งขึ้น ดังนั้น ในทางธรรม คำว่า ได้ดี จึงหมายถึง ความดี และคำว่า ได้ชั่ว จึงหมายถึง ความชั่ว ¹Õè©Ñ¹â¡§à¢Ò ä´ŒÅÒÀÂÈ´Õ ÁÒ·Ñ駹Ñé¹ áµ‹äÁ‹ãª‹ä´Œ¤ÇÒÁ´Õ หากเราจะพูดว่า ¹Ðà¾×è͹ ทำดี ได้ความดี ทำชัว่ ได้ความชัว่ ก็จะทำให้เข้าใจ ในเรื่องได้ดีและได้ชั่วดีขึ้น เพราะบุคคลทำกรรมอะไรลงไปไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อม จะได้รับผลในทางจิตใจทันที 26 กฎแหงกรรม


กรรมชั่วใหมแก้ได้ ด้วยใช้กรรมดี ท้ายที่สุดนี้ขอฝากข้อคิดแก่ท่านทั้งหลายว่า กรรมนั้น แก้ได้ แต่ต้องเป็นกรรมใหม่ คือ กรรมในปัจจุบันนี้

¢Íâ·É¹Ð äÁ‹à»š¹äà àÍÒãºãËÁ‹¡çä´Œ ·Õè©Ñ¹·Óá¡ŒÇᵡ

การแก้ก็ต้องแก้ด้วยการทำดี ไม่ ใช่เอาความร้ายไปแก้ แก้คนที่เขาร้ายมา ก็อย่าร้ายตอบไป เขาไม่ดีมา เอาความดีไปช่วย

จะแก้คนตระหนี่ ก็ด้วยให้ของที่ต้องใจ เขาเป็นคนพูด เหลวไหล ต้องเอาความจริงใจเข้าไปสนทนา อย่างนี้เป็นต้น เรียกว่า ต้องสร้างความดีให้เขา เอาความดีเข้าไปแก้ไข ให้ กลับร้ายกลายเป็นดี บางคนนี่แก้ปัญหาอย่างนี้ไม่ตก ก็ฝากนักกรรมฐานไว้ จะแก้ปัญหาอะไร ให้แก้ไขทางอายตนะธาตุอินทรีย์เราก่อน เห็นหนอ เห็นด้วยปัญญา อะไรเกะกะอารมณ์ เก็บ คนมีสติ จะเก็บของหมด คำสกปรกเสียงหนอ เสียงเขาด่า เขาว่า อะไรก็ช่างเขา เขาด่าคือเขาว่าตัวเขาเอง ไม่ได้ด่าเรา เรา ไม่เจ็บเหมือนเอามีดมาแทงแต่ประการใด จะไปรับคำด่าเขา มาไว้ในจิตใจเราทำไม ทำให้กลุ้มอกกลุ้มใจ เสียการเสียงาน เสียหน้าที่ไปเปล่า นี่แหละคือวิธีแก้กรรมในปัจจุบัน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

27


ขออโหสิกรรม วิธีลดแรงกรรมในอดีต ท่านสาธุชนโปรดทราบ กรรมครั้งอดีตนี่แก้ไขไม่ได้ ต้องใช้เขาไป แต่ต้องประเมิน คือ ถึงจะต้องใช้ก็ใช้น้อยลง ถ้ารู้ตัวว่ามีกรรมที่ทำเขาไว้ก็ขออโหสิเสีย พอขออโหสิแล้ว กรรมที่จะใช้ก็ได้น้อยลงไป ข้อสำคัญ ต้องไม่มีดอกเบี้ย ดอกเบี้ย นี้คือ การสะสมกรรม ทำให้มีดอกมากขึ้น หนี้กรรมเก่ายังใช้ไม่หมด ยังไปขอยืมหนี้ใหม่ สร้างเวร สร้างกรรมกันทำไม อย่าไปสร้างต่อเลย ท่ า นสาธุ ช นทั้ ง หลายเอ ย จงอโหสิ ก รรมกั น เถิ ด กรรมจะได้ไม่ก่อบังเกิดในอนาคต เราเลิกโกรธกัน เลิกมีทิฐิ ต่อกัน เอาไว้อาศัยกันต่อไปในโอกาสหน้าเถิด จิตใจจะได้ ประเสริฐด้วยกรรมจากการกระทำของตน เป็นการแก้กรรม ปัจจุบันเพื่อไม่ให้ลามไปในอนาคต ที่สุดนี้ อาตมาก็ขออนุโมทนาส่วนกุศลที่ท่านทั้งหลาย ได้มาบำเพ็ญบุญกุศล เจริญวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ตนเอง ขอกุศลที่ญาติโยมได้บำเพ็ญไว้แล้ว จงเป็นพลวปัจจัยเป็น อุปนิสัยตามส่งให้แก่ญาติโยมทั้งหลาย ประสบความสุขสันต์ นิรันดรทุกท่าน จงพยายามปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ให้ผ่านเกาะแก่งคือโอฆสงสาร ให้ถึงฝังฟากคือพระนิพพาน โดยทั่วหน้ากันเทอญ. ขออำนวยพร พระธรรมสิงหบุราจารย

28 กฎแหงกรรม


บุญกรรมฐาน

แก ไขกรรมได ดีที่สุด เจริญพร ท่านอุบาสกอุบาสิกาทุกท่าน วันนี้ ก็เป็นวันธรรมสวนะ วันพระขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่ เวลาผ่านมาอย่างรวดเร็ว วันหนึ่งๆ ผ่านไปถึงวันพระอีกแล้ว ที่ว่าเวลาผ่านไปรวดเร็วนั้น คือ ชีวิต นั่นเอง วันเวลา คร่าชีวิตเราให้หมดไป เมื่อเวลาหมดไป ชีวิตก็หมดค่า เวลา หามีประโยชน์ไม่ เพราะไม่ได้สร้างชีวิตนี้ให้มีประโยชน์ต่อกิจ ประจำวันในหน้าที่การงานที่เรารับผิดชอบแต่ประการใด จุดมุ่งหมายอันนั้น พระพุทธเจ้าสอนเราทั้งหลายว่า ตั้งแต่วันเกิดมากระทั่งวันตาย สอนให้เราช่วยตัวเอง สอนให้ พึ่งตัวเอง ตนแลเป็นที่พึ่งของตน* คนอื่นช่วยเราไม่ได้ เป็น ที่ พึ่ ง ของเราไม่ ไ ด้ แ น่ แนวทางพั ฒ นาจิ ต ให้ เราเดิ น ทาง ไม่พลาดผิดในมรรคา ให้เราสอนตัวเอง แนะแนวทางตัวเอง ให้เจริญ รุ่งเรืองวัฒนาสถาพรต่อไป * ตรงกับภาษาบาลีว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ แยกศัพท์ได้เป็น อตฺตา (ตน), หิ (แล), อตฺตโน (ของตน), นาโถ (เป็นที่พึ่ง) โดย... ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.