สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล

Page 1


นำเสนอสาระ : สุภาพ หอมจิตร ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง พิสูจนอักษร : อรัญ มีพันธ

บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุสัตย บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง รูปเลม/จัดอารต : ทศพร ธรรมกุล


ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ สุภาพ หอมจิตร. สวดมนต์อานิสงส์ครอบจักรวาล-- กรุงเทพฯ : เลียงเชียง, ๒๕๕๔. ๒๗๒ หน้า ๑. พุทธศาสนา -- บทสวดมนต์. ๒. นาม. ๓. การรักษาโรค. I. ชือเรือง. ๒๙๔.๓๑๓ ISBN 978-616-7047-82-9 ลิขสิทธิ . ผลิต จำหน่ายปลีก-ส่ง

0-2872-9898  0-2221-1050 สาขา ราษฎร์บรู ณะ-ท่งุ ครุ

สาขา สำราญราษฎร์

๑๐๕/๗๕ ถนนประชาอุทศิ ซอย ๔๕ เขตท่งุ ครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐ โทร. ๐-๒๘๗๒-๙๘๙๘, ๐-๒๘๗๒-๕๙๗๕-๙ แฟกซ์. ๐-๒๔๒๗-๙๕๘๖ WWW.LC2U.COM พิมพ์ที โรงพิมพ์เลียงเชียง ๒๒๓ ถนนบำรุงเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๒๑-๑๐๕๐, ๐-๒๒๒๑-๔๔๔๖, ๐-๒๒๒๓-๘๙๗๙


พุทธศาสนสุภาษิตว่า “ทุกสิ่งสำคัญที่ใจ ใจประเสริฐที่สุดและสำเร็จได้ ด้วยใจ” พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพื่อให้เห็นความสำคัญของจิตใจ หากจิตใจที่มีพลัง ย่อมทำชีวิตให้มั่นคงในทุกๆ ด้าน การเสริมสร้างพลังทางใจจึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นหน้าที่ที่ชาวพุทธควร ปฏิบัติเป็นประจำ และวิธีการที่จะพัฒนาจิตใจให้มีพลังที่ดีที่สุดนั้น คือการสวด พระพุทธมนต์บูชาคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ การสวดมนต์นั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และเป็น การทบทวนบทสวดมนต์ต่างๆ แล้วพิจารณาความหมายของบทสวดแต่ละบท เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญาทางธรรม นำมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้ดำรง คงมั่นอยู่ในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ดีตลอดไป การสละเวลาสวดมนต์ก็เพื่อให้การดำเนินชีวิตราบรื่น มั่นคง มีความ สงบสุขภายใน เปี่ยมล้นด้วยพลังใจอันยิ่งใหญ่ สามารถในอันที่จะสร้างสรรค์ สิ่งที่ดีงามแก่ตนเองและสังคม ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่หาค่ามิได้ ดังนั้น จึงขอให้ท่านผู้มุ่งหวังความสุขความเจริญแก่ตนเองและเพื่อนร่วมโลก จงขวนขวายเพิ่มพลังจิตใจโดยใช้พลังศรัทธา มอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า ด้วยการสวดมนต์และเจริญภาวนา อัญเชิญพระบารมีธรรมให้มาสถิตอยู่ในทุก อณู แ ห่ ง ชี วิ ต เป็ น เกราะเพชรคุ้ ม ครองป้ อ งกั น รั ก ษาชี วิ ต ปิ ด ช่ อ งทางแห่ ง อันตรายทั้งมวลที่อาจเข้ามาแผ้วผานได้ การสวดมนต์เป็นการทำบุญด้วยใจ ไม่ต้องลงทุนเป็นเงินทอง แต่ได้สุข เป็นกำไรมหาศาล เพราะการสวดมนต์ทำให้จิตใจสงบ เกิดสติปัญญา บทสวดมนต์ แต่ละบทเป็นของบริสุทธิ์ ทรงคุณค่า มีพลังวิเศษ และมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว จงสวดมนต์ด้วยความเชื่อมั่น ด้วยจิตอันสงบเถิดแล้วท่านจะรู้ว่าการสวดมนต์ มีผลดีอย่างไร


ผู้ที่หมั่นสวดมนต์ภาวนาทุกค่ำเช้าแล้ว คุณงามความดีทุกอย่างย่อมเกิดขึ้น ดังมีคำกล่าวว่า สิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่มารไม่กล้ำกราย พระเดช พระคุณ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้กล่าวไว้ว่า “สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน” โดยให้ หมายความว่า การสวดมนต์ประจำวันนั้น หากมีเวลาควรสวดทั้งตอนเช้าและ เย็น คือ สวดมนต์ตอนเช้า หรือก่อนออกไปทำงาน และสวดมนต์ก่อนนอน โดยจะเลือกสวดบทใดก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม จะทำให้การดำเนินชีวิต ประจำวันมีพลังความเชื่อมั่นในการดำเนินกิจการต่างๆ เมื่อมีพลังจิตตานุภาพ ที่เปี่ยมล้นแล้ว ก็สามารถที่จะแผ่ไปสู่คนรอบข้าง ผู้คนในสังคม และประเทศชาติ ตลอดถึงมวลมนุษยชาติในโลกไม่มีที่สิ้นสุด หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด ๗ ส่วน คือ ๑. สวดมนต์ สร้างบารมี ๒. วิธีบูชาพระให้ถูกโฉลก ๓. เสริมโชคชะตาบารมีด้วยคาถาดี ๑๐๘ ๔. มรดกคติธรรมคำสอนให้ทำดี ๕. พิธีกรรมน่ารู้ทางพระพุทธศาสนา ๖. ดูดวงชะตากับโหราศาสตร์ไทย และ ๗. รักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยสมุนไพร มีเล่มเดียวใช้ได้ทั้งครอบครัว เหมาะกับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และใช้ได้ทุกโอกาส ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่สำคัญมีหนังสือเล่มนี้เสมือนมีตู้ธรรมสามัญประจำบ้าน เลยทีเดียว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จักนำพาให้ท่านพบกับความสุขด้วยการ ฝึกใจให้เกิดศรัทธาและอุตสาหะวิริยะพากเพียรภาวนาสวดมนต์ เพื่อเพิ่มพลังใจ ในการสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมให้ดีงามตลอดไป ด้วยกตัญญูกตเวทิตาธรรม น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, ร.บ. รวบรวมและเรียบเรียง ในนามสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


ÊÒúÑÞ ñ ÊÇ´Á¹µ์สร้างบารมี

สวดมนต์คืออะไร คุณค่า จุดมุ่งหมายและวิธีปฏิบัติ จุดมุ่งหมายของการสวดมนต์ สวดมนต์เพิ่มความขลังด้วยพลังทั้ง ๕ อานิสงส์ของการสวดมนต์ เคล็ดลับวิธีการสวดมนต์ให้ได้ผลดี วิธีไหว้พระสวดมนต์ที่ถูกต้อง ประโยชน์ของการทำวัตรสวดมนต์ ตอนไหนควรไหว้พระสวดมนต์ ข้อควรรู้เกี่ยวกับพิธีการไหว้พระสวดมนต์ พระรัตนตรัยใช้อะไรเป็นเครื่องบูชา ทำความเข้าใจการสวดมนต์ทำวัตร ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น บทสวดมนต์ประจำวัน บทสวดมนต์พิเศษประจำวัน ข้อควรรู้ก่อนการสวดพระปริตรฯ ประเภทของพระปริตร ประวัติความเป็นมาและอานิสงส์ของการสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก พระคาถาอาการวัตตสูตร พระคาถาอิติปิโสรัตนมาลา พระคาถาธารณปริตร บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร บทสวดคาถามหาสันติงหลวง (ย่อ) บทสวดมหาสมัยสูตร (ย่อ)

๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๘ ๑๙ ๒๑ ๒๒ ๒๕ ๒๖ ๒๘ ๓๐ ๓๔ ๔๑ ๔๔ ๔๖ ๔๘ ๔๙ ๖๖ ๗๓ ๘๓ ๙๒ ๙๓ ๙๕ ๑๐๐ ๑๐๒


บทสวดคิริมานนทสูตร (ย่อ) บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) บทชัยปริตร (มหากาฯ) บทพระพุทธคุณ (อิติปิโสเท่าอายุ + ๑) บทมงคลจักรวาลใหญ่ บทมงคลจักรวาลน้อย บทเมตตานิสังสสุตตปาฐะ บทนัตถิ เมฯ บทยังกิญจิฯ บทสักกัตวาฯ บทขัตตะยักข์ฯ บทสัพพมงคลคาถา บทเทวตาอุยโยชนคาถา บทสวดบารมี ๓๐ ทัศ คำไหว้พระจุฬามณีเจดีย์ คำไหว้พระเจ้าสิบชาติ คาถาโพธิบาท (ป้องกันภัย ๑๐ ทิศ) คาถามงคลจักรวาลแปดทิศ บทนมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ บทปลงสังขาร ทำสมาธิภาวนา การแผ่เมตตา

๑๐๓ ๑๐๔ ๑๐๗ ๑๐๘ ๑๐๘ ๑๐๙ ๑๑๐ ๑๑๑ ๑๑๑ ๑๑๑ ๑๑๒ ๑๑๒ ๑๑๓ ๑๑๓ ๑๑๔ ๑๑๔ ๑๑๕ ๑๑๖ ๑๑๖ ๑๑๗ ๑๒๑ ๑๒๒

๒ วิธีบูชาพระให้ถูกโฉลก

บทบูชาพระประจำวันเกิด พระบูชาประจำเดือนเกิด พระบูชาประจำปีเกิด พระธาตุประจำปีเกิด พระเครื่อง พระบูชาประจำปีเกิด

๑๓๒ ๑๓๘ ๑๔๔ ๑๕๒ ๑๕๗


๓ เสริมโชคชะตาราศีด้วยคาถาดี ๑๐๘

คาถาต่อชะตา (อายุ) คาถาบูชาชะตาดวงประจำวันเกิดทั้ง ๗ วัน คาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุทั่วจักรวาล คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ คาถาอัญเชิญพระบรมธาตุ คาถาบูชาพระแก้วมรกต คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์ คาถาบูชาพระพุทธชินราช คาถาบูชาพระพุทธโสธร คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ คาถาบูชาหลวงพ่อบ้านแหลม คาถาบูชาหลวงพ่อเพชร คาถาบูชาหลวงพ่อโต คาถาบูชาหลวงพ่อพระใส คาถาบูชาหลวงพ่อวัดไร่ขิง คาถาบูชาหลวงพ่อทอง คาถาบูชาหลวงพ่อโต คาถาบูชาพระศรีอริยเมตไตรย คาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์ คาถาบูชาพระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์ คาถาตาข่ายเพชรพระพุทธเจ้า คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า คาถาบูชาพระสารีบุตร คาถาบูชาพระมหาโมคคัลลาน์ คาถาดับไฟนรก คาถาบูชาพระสีวลี

๑๖๐ ๑๖๑ ๑๖๒ ๑๖๒ ๑๖๒ ๑๖๓ ๑๖๓ ๑๖๓ ๑๖๔ ๑๖๔ ๑๖๕ ๑๖๕ ๑๖๖ ๑๖๖ ๑๖๗ ๑๖๗ ๑๖๗ ๑๖๘ ๑๖๘ ๑๖๘ ๑๖๙ ๑๖๙ ๑๖๙ ๑๗๐ ๑๗๐ ๑๗๐ ๑๗๐


คาถามหาลาภ (พระสีวลี) คาถาหัวใจพระฉิมพลีใหญ่ คาถาบูชาพระสังกัจจายน์ คาถาบูชาพระองคุลิมาล คาถาบูชาพระอุปคุต คาถาบูชาพระอิศวร (พระศิวะ) คาถาบูชาพระพรหม คาถาบูชาพระพิฆเณศวร คาถาบูชาพระนารายณ์ คาถาบูชาท้าวเวสสุวัณ คาถาบูชาพระขันธกุมาร คาถาบูชาพระแม่อุมาเทวี คาถาบูชาพระลักษมี คาถาบูชาพระแม่ธรณี คาถาบูชาพระแม่โพสพ คาถาบูชานางกวัก คาถาบูชาแม่พระธรณี แม่พระคงคา พระพาย พระเพลิง คาถาบูชาพระฤๅษี คาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช คาถาบูชาองค์พ่อจตุคามรามเทพ คาถาบูชาพระสมเด็จ คาถาอาราธนาพระสมเด็จ คาถาสมเด็จโต คาถาสืบสร้างทางสวรรค์นิพพาน คาถาหลวงปู่ทวด คาถาหลวงปู่ศุข คาถาหลวงพ่อโอภาสี คาถาหลวงพ่อสด คาถาหลวงพ่อปาน

๑๗๑ ๑๗๑ ๑๗๑ ๑๗๒ ๑๗๒ ๑๗๓ ๑๗๓ ๑๗๓ ๑๗๔ ๑๗๔ ๑๗๔ ๑๗๕ ๑๗๕ ๑๗๕ ๑๗๕ ๑๗๖ ๑๗๖ ๑๗๖ ๑๗๖ ๑๗๗ ๑๗๗ ๑๗๘ ๑๗๘ ๑๗๙ ๑๗๙ ๑๗๙ ๑๘๐ ๑๘๐ ๑๘๐


คาถามหาอำนาจ คาถาเงินล้าน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) คาถาพุทธวิทยาคม คาถาพญาไก่เถื่อน คาถาหลวงพ่อเกษม เขมโก คาถาหลวงปู่เผือก คาถาเจ้าคุณนรรัตน์ฯ คาถาบูชาหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ คาถาเรียกเงิน (หลวงพ่อเงิน) คาถาหลวงปู่ทอง อายนะ คาถาบูชาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ คาถาหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ คาถาหลวงพ่ออุตตมะ คาถาหลวงพ่อแช่ม คาถาหลวงปู่ขาว อนาลโย คาถาหลวงปู่แหวน สุจิณโณ คาถาหลวงพ่อปาน อัคคปัญโญ คาถาพ่อท่านลี ธัมมธโร คาถาพ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ คาถาความจำดี คาถาใช้ภาวนาเวลาขับรถ คาถาบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คาถาบูชาสมเด็จพระปิยมหาราช (ร. ๕) คาถาบูชากรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย) คาถาบูชาพระแม่กวนอิม คาถาป้องกันตัว คาถาป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ คาถากำแพงแก้วเจ็ดชั้น คาถาหัวใจเกราะเพชร

๑๘๐ ๑๘๑ ๑๘๑ ๑๘๒ ๑๘๒ ๑๘๒ ๑๘๓ ๑๘๓ ๑๘๓ ๑๘๔ ๑๘๔ ๑๘๔ ๑๘๕ ๑๘๕ ๑๘๕ ๑๘๕ ๑๘๖ ๑๘๖ ๑๘๖ ๑๘๖ ๑๘๗ ๑๘๗ ๑๘๗ ๑๘๘ ๑๘๘ ๑๘๙ ๑๘๙ ๑๘๙ ๑๘๙


คาถาป้องกันภัยทั่วพิภพ คาถาปลุกเสกของขลัง คาถาหัวใจกาสลัก คาถาหัวใจหนุมาน คาถาประสานบาตร คาถาเสกสีผึ้งทาริมฝีปาก คาถามหาเมตตา คาถาเมตตามหานิยม คาถาปราบมาร (หัวใจพาหุง) คาถาหัวใจพระพุทธ คาถาฝันดี คาถาผูกจิต คาถาผูกใจ คาถาสะกดจิต (นะจังงัง) คาถาหัวใจพระเจ้าสิบชาติ คาถานิพพานจักรี (ขอพร) คาถาหัวใจเศรษฐี คาถามหาพิทักษ์ คาถาหัวใจราชสีห์ คาถา ๑๐๘ พุทธคุณ คาถาหัวใจพระรัตนตรัย คาถาพระเจ้าเปิดโลก คาถานิมิตฝันดี คาถาผูกมัดปีศาจ คาถาคัดเลือด คาถาเป่าตาต้อตาแดง คาถาหัวใจสุนัข คาถาบูชาทรัพย์

๑๙๐ ๑๙๐ ๑๙๐ ๑๙๐ ๑๙๐ ๑๙๑ ๑๙๑ ๑๙๑ ๑๙๑ ๑๙๑ ๑๙๒ ๑๙๒ ๑๙๒ ๑๙๒ ๑๙๒ ๑๙๒ ๑๙๓ ๑๙๓ ๑๙๓ ๑๙๓ ๑๙๓ ๑๙๔ ๑๙๔ ๑๙๔ ๑๙๔ ๑๙๕ ๑๙๕ ๑๙๕


คาถาทำน้ำมนต์ขายของดี คาถามหาลาภ คาถาบูชาหมอชีวกโกมารภัจจ์ คาถาเสกธูปบูชาพระ คาถาบูชาขอลาภ ๗ วัน คาถาบูชาประทีป คาถาพญาปลาตะเพียนทอง คาถาสาลิกาลิ้นทอง คาถาเมตตาจิต คาถาบูชาขอลาภพระเศรษฐีนวโกฏิ

๔ มรดกคติธรรมคำสอนเตือนใจให้ทำดี

คติธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์

๕ พิธีกรรมน่ารู้ทางพระพุทธศาสนา

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พิธีการทำบุญในพระพุทธศาสนา ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับศาสนพิธี

๖ ดูดวงชะตากับโหราศาสตร์ไทย

ตำราทำนายโชคชะตา ๑๒ ราศี วันดี ดิถีงาม ยามมงคล ตำราตั้งชื่อมงคล ยามอุบากอง

๗ รักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยสมุนไพร

สมุนไพรรู้ไว้ใช้ได้ประโยชน์ ตำราแพทย์แผนไทย

๑๙๕ ๑๙๕ ๑๙๖ ๑๙๖ ๑๙๗ ๑๙๘ ๑๙๘ ๑๙๘ ๑๙๙ ๑๙๙ ๒๐๐ ๒๑๖ ๒๑๙ ๒๒๕ ๒๓๒ ๒๓๔ ๒๔๑ ๒๔๖ ๒๔๘ ๒๕๓


การสวดมนต์ภาวนานำมาซึ่งศีล สติ สมาธิ ปัญญา บารมี ความสุข ความสงบแห่งจิตใจ ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง ความปราศจากทุกข์ โศก โรค ภัย และนำให้ถึงความสุขอันสูงสุดคือพระนิพพาน สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


สวดมนต์คืออะไร คุ³ค่า จุดมุ่งหมายáละวิธี»¯ิบัติ ๑ การสวดมนต์ก็ดี การฟังพระสวดมนต์ก็ดี ก่อนอื่นเราควรจะทราบว่า สวดมนต์อะไร ของใคร เพื่ออะไร ด้วยว่าเมื่อทราบชัดแล้วจะเป็นงานที่เราทำด้วย ความรู้ ความเข้าใจ ไม่ใช่ทำโดยไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือทำตามเขาทำกัน เพราะการทำ อะไรได้ความรู้ เป็นความสบายใจ รู้สึกเป็นสุขในขณะทำ และเมื่อทำแล้ว ก็เบิกบานแช่มชื่น

สวด นั้น ได้แก่ กิริยาที่ตั้งใจกล่าวมนต์ด้วยจิตเป็นกุศล มีเสียงดังพอประมาณ ไม่ใช่เสก เพราะเสกไม่ต้องใช้เสียง และต่างจากบ่นซึ่งเป็นการกล่าวซ้ำๆ เพื่อให้จำได้ เช่น การท่องบ่น หรือเช่นผู้ใหญ่บ่นว่าแก่ผู้น้อย แท้ก็คือเตือนหรือกล่าวย้ำให้จดจำ

อนึ่ง มนต์ที่สวดแต่ละบทหรือแต่ละอักษรนั้น ล้วนเป็นวิทยาคุณของ ท่านผู้ทรงคุณควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ครูอาจารย์ เป็นต้น ดังนั้น มนต์จึงมี มากอย่าง เรียกว่า เวท บ้าง คาถา บ้าง อาคม บ้าง แต่ละอย่างๆ ก็เป็นมนต์ทั้งสิ้น หากแต่ แ ยกลั ก ษณะและอาการที่ ท ำเรี ย กต่ า งกั น ไป เช่ น ร่ า ยเวท เสกคาถา ภาวนาอาคม มนต์ที่เรานิยมสวดกันนั้นส่วนมากเป็นมนต์ของพระพุทธเจ้าหรือ สาวกของพระพุทธเจ้า จึงนิยมเรียกว่า พระพุทธมนต์ ๑ จากหนังสือ พลังพุทธมนต์เพื่อคนรุ่นใหม่ : พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี

ราชบัณฑิต) : เลี่ยงเชียง.

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

13


จุดมุ่งหมายของการสวดมนต์ การสวดมนต์เป็นสิ่งที่ชาวพุทธมุ่งมั่นปฏิบัติเป็นประจำ แต่ก็มีน้อยคน เท่านั้นที่จะรู้ถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการสวดมนต์ เพราะการสวดมนต์ไม่ใช่ การอ้อนวอนหรือบวงสรวง เพื่อให้เกิดผลตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้สวด อยากจะได้ แต่มีจุดมุ่งหมายดังนี้คือ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙.

เป็นการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เป็นการช่วยให้เกิดสมาธิ สร้างพลังทางจิต เป็นการช่วยให้เกิดความมีวินัยในตัวเอง เป็นการทบทวนความจำในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นการสร้างสิริมงคลและคุณงามความดีไห้เกิดแก่ตนเอง เป็นการรักษาประเพณีและแบบแผนที่ดีงามของสังคม เป็นการยึดเหนี่ยวจิตใจให้เกิดความมีเมตตาสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการดำเนินตามรอยของท่านผู้เป็นพระอริยะ (ผู้ประเสริฐ) เป็นการขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยคุ้มครองรักษาให้ ปลอดภัย ๑๐. เป็นการทำชีวิตให้มีสาระและชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ นอกจากนี้ การสวดมนต์ยังทำให้เกิดความมีสติ ใจเย็น รอบคอบในการ ทำกิจต่างๆ และที่สำคัญการสวดมนต์เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีต่างๆ ดังคำที่ว่า สิริ โภคานมาสโย สิริเป็นที่มาของโภคะ คือ หากเราสวดมนต์เป็นประจำแล้ว นึกคิดแต่สิ่งที่ดี พูดแต่คำที่ดี และกระทำในสิ่งที่ดีงามแล้วทุกสิ่งก็จะดีตามมาเอง

14

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


สวดมนต์เพิèมความขลังด้วยพลังทัéง õ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มนต์มีการไม่สวดเป็นมลทิน” แสดงให้เห็นว่า การสวดมนต์เป็นการทำความดีอย่างหนึ่ง และเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยตัวเราเอง หัวใจของการสวดมนต์เพื่อให้เกิดพลานุภาพนั้นมี ๕ ประการ เรียกว่า พละ (กำลัง) ได้แก่ ๑. มีศรัทธา คือ มีความเชื่อมั่นในอานุภาพของพระรัตนตรัย เชื่อมั่นใน อานุภาพของบทสวด เชื่อมั่นในอานุภาพแห่งความดี และเชื่อมั่นว่าการสวดมนต์ เป็นการทำความดี อานุภาพของความดีนั้นจักคุ้มครองรักษาให้ปลอดภัย ทำให้ ชีวิตเป็นสุขและคิดให้เป็นสุขได้ ๒. มีวิริยะ คือ มีความเพียรพยายามตั้งใจทำ ไม่ทำด้วยความเกียจคร้าน แต่ทำด้วยมุ่งหวังความสุขเป็นที่ตั้ง พึงจำไว้เสมอว่า ความดีไม่มีขาย คิดอยากได้ ต้องทำเอง ๓. มีสติ คือ ในขณะที่สวดต้องมีสติ รักษากาย วาจา ใจให้จดจ่ออยู่กับ บทสวด ไม่ปล่อยใจเหม่อลอยคิดไปเรื่องอื่น คนที่ปากสวดมนต์แต่ใจกลับลอยไป ที่อื่น การสวดมนต์ก็เปล่าประโยชน์ ๔. มีสมาธิ คือ ในขณะสวดต้องรักษาจิตใจให้ตั้งมั่นแน่วแน่อยู่กับการ สวดเท่านั้น ถ้าสามารถรักษาสติให้จดจ่ออยู่กับบทสวดนานเท่าใด ก็จะมีสมาธิ มากขึ้นเท่านั้น เมื่อมีสมาธิมากขึ้น ก็ย่อมทำให้พระพุทธมนต์มีพลานุภาพมากยิ่งขึ้น ๕. มีปัญญา คือ ต้องสวดมนต์ด้วยความเข้าใจ ในขณะที่สวดนั้นต้อง พยายามนึ ก ถึ ง ความหมายของบทสวดนั้ น ด้ ว ย เมื่ อ มี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจที่ ประกอบด้วยเหตุผลแล้ว ก็จะเป็นแรงหนุนให้เกิดศรัทธามากขึ้น เมื่อศรัทธามากขึ้น ก็ทำให้มีวิริยะมากยิ่งขึ้น เมื่อมีวิริยะมากขึ้นแล้ว ก็ย่อมทำให้มีสติมากขึ้น เมื่อสติ มากขึ้นก็เกื้อหนุนให้สมาธิมีพลังแก่กล้ายิ่งขึ้น เมื่อสมาธิแก่กล้าขึ้นปัญญาก็เกิด ตามมา เมื่อเป็นเช่นนี้พลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในพระพุทธมนต์ก็จะซึมซาบ เข้าสู่จิตใจ ก่อให้เกิดพลานุภาพคุ้มครองรักษาให้ปลอดภัยด้วยประการทั้งปวง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

15


อานิสงส์ของการสวดมนต์ ๑ ดังนี้

การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจริงแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์คือผลความดี

๑. ทำให้มีสุขภาพดี การสวดมนต์ด้วยการออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ทำงาน เลือดลมเดินสะดวก ร่างกายก็สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ๒. คลายความเครียด ในขณะสวดมนต์จิตจะจดจ่อกับบทสวด สมองจะ ปลอดโปร่ง ไม่คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย ๓. เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระไตรรัตน์ บทสวดมนต์แต่ละบทเป็นการ ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เมื่อสวดมนต์ไปก็เท่ากับว่าได้เพิ่มพูนศรัทธาความเชื่อ เลื่อมใสในพระรัตนตรัยให้มั่นคงยิ่งขึ้น ๔. ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะที่สวดมนต์ต้องใช้ความอดทนอย่างสูง เพื่อเอาชนะความปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งอารมณ์ฝ่ายต่ำที่จะเข้ามา กระทบจิตใจทำให้เกิดความเกียจคร้าน ดังนั้น ยิ่งสวดบ่อยๆ ความอดทนก็จะเพิ่ม มากยิ่งขึ้น ๕. จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะที่สวดมนต์จิตจะจดจ่ออยู่กับบทสวด ไม่วอกแวกวุ่นวายไปในที่อื่น จึงมีความสงบเกิดสมาธิมั่นคง สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส งดงาม แม้เพียงระยะเวลาน้อยนิด ก็เป็นบุญกุศลประมาณค่าไม่ได้ ๖. เพิ่มพูนบุญบารมี ขณะที่สวดมนต์จิตใจจะสะอาด ปราศจากกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น จึงเป็นบ่อเกิดแห่งบุญบารมี เมื่อสั่งสม มากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่ต้องการได้ ๗. จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาเป็นการมอบความรักความ ปรารถนาดีให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว เป็นอุบายกำจัด ความโกรธให้เบาบางลงไป พบแต่ความสุขสงบ ๑ จากหนังสือ พุทธฤทธิ์พิชิตภัย : เลี่ยงเชียง

16

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


๘. เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การสวดมนต์เป็นการทำความดีทั้งทางกายคือ การสละเวลามาทำ ทางวาจาคือการกล่าวคำสวดที่ถูกต้อง และทางใจคือการ ตั้งใจทำด้วยความมั่นคง ย่อมเกิดสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ ๙. เทวดาคุ้มครองรักษา ผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำย่อมเป็นที่รักของ เทวดา จะทำอะไรก็ตามหรือแม้แต่จะเดินทางไปที่ไหนๆ ก็ปลอดภัยจากอันตราย ประสบความสำเร็จเหมือนมีเทวดาให้พร ๑๐. สติมาปัญญาเกิด การสวดมนต์เป็นการสั่งสมคุณความดี ทำให้มีสติ และมีจิตสำนึกที่ดีในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะถ้าสวดพร้อมกับคำแปลก็จะเกิด สติปัญญานำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ๑๑. มีผิวพรรณผ่องใสจิตใจชื่นบาน การสวดมนต์ด้วยการเปล่งเสียง เป็นการกระตุ้นเซลล์ผิวหนัง จะทำให้มีผิวพรรณผ่องใสใจเป็นสุข เพราะขณะที่ สวดมนต์จิตจะตั้งมั่นในบุญกุศล ไม่คิดไปในเรื่องอื่นที่ทำให้ใจเศร้าหมอง ๑๒. พิชิตใจผู้คนให้รักใคร่ การสวดมนต์เป็นประจำจะทำให้ศัตรูกลาย เป็นมิตร ผู้ที่เป็นมิตรอยู่แล้วก็รักใคร่กลมเกลียวกันมากยิ่งขึ้น แม้คนที่เคยเป็น ศัตรูคู่อาฆาตกันก็จะหันกลับมาคืนดีในที่สุด ๑๓. ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตราย การสวดมนต์เป็นประจำ จะทำให้รอดพ้นจากภัยอันตราย ในยามโชคร้ายประสบเคราะห์กรรมอันจะมีมา ถึงตัว เพราะจะทำให้มีสติอยู่ตลอดเวลา ๑๔. สะเดาะกรรมทำให้ดวงดี การสวดมนต์เป็นการแก้เคราะห์สะเดาะ กรรม ขจัดปัดเป่าเสนียดจัญไร ท่านกล่าวไว้ว่าชีวิตของคนเราจะดีหรือชั่วนั้นก็อยู่ ที่การกระทำ ทำดีก็มีความสุข ทำชั่วก็กลั้วทุกข์ร้อนรนใจ การสวดมนต์จะช่วยให้ สิ่งที่ร้ายกลายเป็นดี ๑๕. ครอบครัวเป็นสุขสดใส การสวดมนต์เป็นการสร้างความสุข และ เกิดความสามัคคีในครอบครัว หากครอบครัวใดที่พ่อบ้านแม่เรือนสวดมนต์และ สอนลูกหลานให้สวดมนต์เป็นประจำ จะมีความสงบสุข ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง ส่งผลให้สังคมมีความสงบสุข สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

17


เคล็ดลับวิธีการสวดมนต์ให้ได้¼ลดี ๑) การสวดมนต์นั้นสามารถสวดได้ทุกที่ ทุกโอกาส ทุกเวลา และทุก อิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นเวลายืน เดิน นั่ง นอน ยกเว้นเวลากิน ขอแต่เพียงมีใจตั้งมั่น ตั้งใจทำจริงเท่านั้น ๒) ก่อนสวดมนต์ให้หลับตาลง สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วผ่อนลมหายใจ ออกช้าๆ ร่างกายผ่อนคลาย จิตใจปล่อยวางทุกอย่าง จดจ่ออยู่กับบทสวดมนต์อย่าง แนบแน่น ๓) ขณะที่สวดมนต์ควรสวดด้วยเสียงดังพอประมาณ จะช่วยให้มีสติ มั่นคง ช่วยขยายปอดทำให้เลือดลมเดินสะดวก ทำงานได้ดี เป็นการดูแลรักษา สุขภาพอีกทางหนึ่งด้วย ๔) ขณะที่สวดมนต์นั้น ไม่ต้องรีบสวดเพื่อให้จบๆ ไป ควรสวดด้วย ความมีสติ กำหนดจังหวะให้ดี น้อมนำข้อธรรมมานึกคิดพิจารณาประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน เพื่อความสุขและความเจริญรุ่งเรือง ๕) ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับบทสวดมนต์ที่เป็นภาษาบาลี อาจจะสวดผิดบ้าง ถูกบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะไม่ได้มีเจตนาที่จะสวดให้ผิด เพียงแต่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ สวดไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดความชำนาญขึ้น ๖) บทสวดมนต์ที่มีคำแปลจะสวดด้วยก็ได้ หรือหากมีเวลาไม่มากพอ สวดเฉพาะคำบาลีก็ได้ แต่การสวดพร้อมกับคำแปลมีประโยชน์คือจะได้รู้ความ หมายของบทสวดนั้นๆ ไปด้วย ๗) การสวดมนต์จะเลือกสวดเฉพาะบทที่อยากสวด หรือบทที่สวดง่ายๆ ก็ได้ และเมื่อสวดมนต์เสร็จแล้วควรทำสมาธิสักเล็กน้อยเพื่อให้จิตสงบยิ่งขึ้น แล้วแผ่เมตตาให้ตนเองและสรรพสัตว์ ตลอดทั้งเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เรา ได้เคยเบียดเบียนทำร้ายทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ ให้ได้รับผลบุญกุศล อยู่เย็นเป็นสุข และอโหสิกรรมให้แก่เรา 18

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


วิธีไหว้พระสวดมนต์ทีèถูกต้อง การสวดมนต์ไหว้พระนั้น เป็นประเพณีที่นิยมปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล สืบเนื่องมาจากการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าของพระสงฆ์สาวก ซึ่งจะเข้าเฝ้าวันละ ๒ ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ตราบจนพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วพุทธบริษัท ก็ยังถือเป็นธรรมเนียมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ดังที่ พระเดชพระคุณ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ได้ให้ความหมายและความมุ่งหมายของการสวดมนต์ ไว้ว่า๑ “การสวดมนต์ คือ การสวดสาธยายบทพระพุทธมนต์ต่างๆ ที่เป็นพระสูตร ก็มี เป็นพระปริตรก็มี เป็นคาถานิยมที่กำหนดขึ้นเพื่อให้นำมาสวดประกอบในการ สวดมนต์เป็นประจำก็มี การสวดมนต์นี้นิยมสวดต่อท้ายทำวัตร จะสวดมากหรือ น้อยและสวดบทไหนบ้างก็แล้วแต่วัดนั้นๆ จะกำหนดกันขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียก รวมกันไปว่า ‘ทำวัตรสวดมนต์’ ในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ พระภิกษุสงฆ์จักพากันเข้าเฝา พระพุทธเจ้าในตอนหัวค่ำของทุกๆ วันเป็นนิจ ในโอกาสนั้นนอกจากจะได้พบ พระพุทธเจ้าแล้วยังได้ฟังโอวาทฟังอนุสาสนี และรับรู้ระเบียบวินัยที่ทรงบัญญัติ ขึ้นใหม่ด้วย การเข้าเฝาพระพุทธเจ้านี้ถือว่าเป็นกิจวัตรประจำวันของพระภิกษุ แม้ อุบาสกอุบาสิกาก็เข้าเฝาแบบนี้เหมือนกันแต่เป็นเวลาบ่ายถึงเย็น พระพุทธองค์ ก็ทรงถือว่าการให้พระภิกษุสามเณร ทายกทายิกาเข้าเฝาในเวลานั้นๆ เป็นกิจวัตร ประจำวันจึงไม่เสด็จไปไหนในเวลานั้น ต่อมาเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว เกิดมีประเพณีสร้างพระพุทธรูป ขึ้ น เป็ น เครื่ อ งหมายเคารพสั ก การะแทนพระพุ ท ธเจ้ า และประดิ ษ ฐานไว้ ณ ๑ จากหนังสือ ไขข้อข้องใจ : เลี่ยงเชียง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

19


สถานที่สำคัญๆ ของวัด เช่น ในพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นต้น สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจัดเป็นเอกเทศ โอ่โถง และสะอาดสวยงาม เพราะถือกันว่าเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า ชาวพุทธจึงนิยมเข้าไปยังสถานที่นั้นๆ โดยปฏิบัติเหมือนว่าได้เข้าเฝาองค์ พระพุทธเจ้าทุกเช้าเย็น และพากันสวดบทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ซึ่งเรียกว่า ทำวัตร และสวดพระสูตรพระปริตรต่างๆ ซึ่งเป็นพระพุทธพจน์เป็นพระโอวาท เรียกว่า สวดมนต์ เท่ากับได้ฟังพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทุกเช้าเย็น การกระทำ เช่นนี้นิยมแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นระเบียบพิธีขึ้นจนทุกวันนี้ การทำวัตรสวดมนต์ นอกจากมุ่งหมายเพื่อให้ชาวพุทธได้เข้าเฝาองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนเมื่อครั้งพุทธกาลแล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ให้ผู้ปฏิบัติได้บำเพ็ญพระกัมมัฏฐาน อันเป็นอุบายให้จิตเป็นสมาธิ มีความสงบ ไม่ฟุงซ่านวุ่นวายในขณะนั้น แม้จะชั่วระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมง ก็จะมีผลทำให้จิตใจได้พักผ่อนจากอารมณ์ภายนอก ทำให้เกิดความเยือกเย็น สุขุมขึ้น เหมือนเครื่องยนต์ที่ถูกใช้งานหนักมาแล้วได้ถูกพักบ้างแม้ไม่นานก็ตาม ก็ทำให้เครื่องยนต์นั้นเย็นลง มีกำลังดีขึ้น ฉะนั้น นอกจากนั้ น การทำวั ต รสวดมนต์ ยั ง เป็ น โอกาสให้ พ ระภิ ก ษุ ส ามเณร ได้ ส วดพิ จ ารณาปั จ จั ย ได้ ส วดอนุ โ มทนาทานของทายก ได้ ส วดแผ่ ส่ ว นกุ ศ ล หรือกรวดน้ำให้ผู้อื่นด้วยจิตบริสุทธิ์อีกด้วย...” การสวดมนต์จะสำเร็จผลแก่ผู้สวดหรือไม่นั้น ท่านกล่าวว่าขึ้นอยู่กับ เหตุ ๓ อย่าง คือ ๑) ถูกแรงกรรมปิดกั้น คือถูกกรรมเก่าขัดขวาง ๒) ถูกกิเลสปิดกั้น คือขณะสวดจิตของผู้สวดมีกิเลสเข้ามาปะปนทำให้ จิตไม่สงบ ๓) มีจิตไม่เชื่อในพระปริตร คือไม่เชื่อในอานุภาพของบทสวดมนต์ พระนาคเสน มิลินทปัญหา

20

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


»ระโยชน์ของการทำวัตรสวดมนต์ การทำวัตรสวดมนต์เป็นอุบายทำความดีซึ่งเป็นบุญอย่างหนึ่งที่เมื่อทำ จนติดเป็นนิสัยแล้ว ย่อมได้รับประโยชน์หลายประการ คือ ๑. ได้รับความสดชื่นสบายใจ ทำให้เกิดพุทธานุสสติ (ระลึกถึงคุณของ พระพุทธเจ้า) ธัมมานุสสติ (ระลึกถึงคุณของพระธรรม) สังฆานุสสติ (ระลึกถึงคุณ ของพระสงฆ์) เหมือนได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าต่อพระพักตร์ทุกวัน ๒. ได้บำเพ็ญกัมมัฏฐาน เพื่ออบรมจิตใจให้สงบเป็นสมาธิ มีความแน่วแน่ สงบเย็น ไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้จิตมีอำนาจมีพลัง สามารถควบคุมอารมณ์ ข่มกิเลสและ ควบคุมตัวเองได้ดี ๓. ได้เปลื้องมลทิน อันเกิดจากการบริโภคปัจจัยของทายก (ผู้ถวาย) โดย มิได้พิจารณาในวันนั้น (สำหรับพระภิกษุ) เท่ากับได้เปลื้องหนี้ให้กับตัวเอง จัดเป็น ผลทางพระวินัย ๔. ได้มีโอกาสแผ่ส่วนบุญกุศลให้แก่ผู้อื่น จัดว่าได้ทำบุญข้อว่าปัตติทานมัย คือการทำบุญด้วยการให้ส่วนบุญ ๕. ได้รับความนับถือและยกย่องจากพระภิกษุสามเณรด้วยกัน และ ทายกทายิกาทั่วไป จัดว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ไม่ละเว้นหน้าที่ที่จะต้องทำ รักษาระเบียบประเพณีไว้ได้ เป็นการสร้างแบบอย่างที่ดีไว้แก่อนุชนรุ่นหลัง ๖. ทำให้เป็นผู้อาจหาญในหมู่คณะ ไม่ติดขัดเก้อเขินในเวลาทำพิธี เพราะ เป็นผู้คล่องแคล่วในมนต์ต่างๆ การสวดมนต์ ชื่ อ ว่ า ได้ ด ำรงรั ก ษาไว้ ซึ่ ง พระธรรมคำสั่ ง สอนของ พระพุทธเจ้า ในรูปแบบภาษาที่พระองค์ใช้ประกาศศาสนา จึงเท่ากับเป็นการ ต่ออายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงยืนยาวต่อไป และก่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งใน ธรรมและศรัทธาแนบแน่นในพระรัตนตรัยมากยิ่งขึ้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

21


ตอนไหนควรไหว้พระสวดมนต์ การสวดมนต์เป็นการสร้างพลังจิตอันบริสุทธิ์ นอกจากจะทำให้เกิดสติ ปัญญาในการดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีงามแล้ว ยังเป็นการบำเพ็ญกรรมฐานอันจะ ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิไม่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย แม้ว่าจะชั่วระยะเวลาเพียงเล็กน้อยก็ตาม ย่อมจะทำให้จิตใจได้คลายจากอารมณ์ภายนอก มีความสงบเยือกเย็น มากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้จิตใจปลอดโปร่งโล่งสบายคลายเครียด ควรเสียสละเวลา สร้างสุขทางใจ ด้วยการสวดมนต์อย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง คือ ๑. สวดมนต์ตอนเช้า หลังจากตื่นนอนและทำภารกิจส่วนตัวเสร็จแล้ว หากมีเวลาไม่มากนัก ให้สวดดังนี้ บทบูชาพระรัตนตรัย บทกราบพระรัตนตรัย บทนมัสการพระพุทธเจ้า บทขอขมาพระรัตนตรัย บทไตรสรณคมน์ บทสรรเสริญ คุณพระรัตนตรัย เสร็จแล้วนั่งสมาธิสักเล็กน้อย แล้วแผ่เมตตาให้แก่ตนเองและ สรรพสั ต ว์ หากพอมี เวลาให้ ส วดบททำวั ต รเช้ า บทพาหุ ง มหากา พระคาถา ชินบัญชร ฯลฯ เสร็จแล้วนั่งสมาธิแผ่เมตตาตามลำดับ แล้วกราบพระ ๓ ครั้งเป็น เสร็จพิธี ๒. สวดมนต์ก่อนนอน หลังจากที่ได้ปฏิบัติภารกิจต่างๆ มาทั้งวันแล้ว ก่อนที่จะเข้านอนหลับพักผ่อน ควรจะทำใจให้สงบด้วยการสวดมนต์ก่อนนอน พระเดชพระคุณ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) กล่าวถึงความมุ่งหมาย และวิธีปฏิบัติไว้ว่า “การสวดมนต์ ก่ อ นนอน เป็ น การปฏิ บั ติ ต นตามหลั ก การทำบุ ญ ใน พระพุทธศาสนาข้อสุดท้ายใน ๓ ข้อ คือ ภาวนา เป็นการควบคุมจิตใจให้เป็น สมาธิ สงบนิ่ง ไม่ฟุงซ่านไปตามอารมณ์ภายนอก เมื่อทำได้บ่อยๆ จะทำให้ใจเย็น อารมณ์เย็น บังเกิดความแจ่มใสเบิกบาน มีสติปัญญาเห็นแจ้งในการคิดแก้ปัญหา ในชีวิต เท่ากับเป็นการผักผ่อนจิตใจที่ดิ้นรนกวัดแกว่งคิดโน่นคิดนี่มาตลอดทั้งวัน เพื่อให้จิตมีพลังมีอำนาจเพิ่มขึ้น และการสวดมนต์ก่อนนอนนั้นเป็นการเพิ่มพูน บุญบารมีให้แก่ตัวเองด้วยทางหนึ่ง นี่เป็นผลโดยตรงที่ผู้ปฏิบัติควรได้รับ 22

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


ผลโดยอ้ อ ม คือ ถ้าหากผู้ใหญ่ พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กได้สวดมนต์ ก่อนนอนเป็นประจำ ก็เท่ากับเป็นการชี้นำเด็กให้เห็นตัวอย่างที่ดีเป็นประจำ เมื่อ เด็กเห็นบ่อยเข้าก็ชักจูงให้เด็กทำตามได้โดยง่าย หรือเด็กอาจขอทำเองโดยสมัครใจ ไม่ต้องชวน เพราะเด็กนั้นมีนิสัยชอบทำตามอย่างอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าผู้ใหญ่จะทำอย่าง แบบไหนให้เด็กเห็นเท่านั้น จึงเท่ากับได้ฝกหัดเด็กลูกหลานให้เข้าถึงพระโดยอ้อม แบบหนึ่ง หากเด็กได้ทำจนกลายเป็นนิสัยแล้ว จะเป็นเด็กที่ว่าง่ายสอนง่าย อ่อนน้อม ถ่อมตน รู้จักสัมมาคารวะ รู้จักกราบไหว้ เป็นที่เบาใจของผู้ปกครองด้วยประการ ทั้งปวง เช่นนี้เป็นเพราะผู้ใหญ่ทำให้เด็กดูนั่นเอง ซึ่งดีกว่าจะบอกให้เด็กทำไปตาม ลำพัง ส่วนผู้บอกนั้นกลับนั่งดูเฉยๆ เช่นนี้เด็กอาจจะทำเพียงต่อหน้าผู้ใหญ่เท่านั้น เพราะถูกบังคับอยู่ แต่ไม่ติดเป็นนิสัย เมื่อลับหลังหรือไม่บอกก็ไม่ทำไม่สนใจต่อไป” ...การสวดมนต์ก่อให้เกิดประโยชน์ ๒ อย่าง คือ ๑) ประโยชน์แก่จิตตน คือเสียงในการสวดมนต์จะกลบเสียงภายนอกไม่ให้ เข้ามารบกวนจิต ก็จะทำให้เกิดความสงบอยู่กับบทสวดนั้นๆ ทำให้เกิดสมาธิ และปัญญาเข้ามาในจิตใจของผู้สวด ๒) ประโยชน์แก่จิตอื่น คือผู้ใดได้ยินสียงสวดมนต์จะพลอยให้เกิดความรู้ เกิดปัญญา มีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลโดยการให้ทานทางเสียง เหล่าพรหมเทพ ที่ชอบฟังเสียงการสวดมนต์มีอยู่เป็นจำนวนมากก็จะมาชุมนุมฟัง เมื่อเหล่าพรหมเทพเข้ามาล้อม รอบตัวของผู้สวดอยู่เช่นนั้น ภัยอันตรายต่างๆ ก็ไม่สามารถกล้ำกรายผู้สวดมนต์ได้ ตลอดจน อาณาบริเวณบ้านของผู้ที่สวดมนต์ ย่อมมีเกราะแห่งพรหมเทพและเทวดาทั้งหลายคุ้มครองภัย อันตรายได้อย่างดีเยี่ยม... การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เมื่อจิต มี ที่ พึ่ ง คื อ พระรั ต นตรั ย ความกลั ว ก็ ดี ความสะดุ้ ง กลั ว ก็ ดี ความขนพองสยองเกล้ า ก็ ดี ภัยอันตรายใดๆ ก็ดี จะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์นั่นแล... สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

23


วิธีปฏิบัติการสวดมนต์ก่อนนอน ถ้าที่บ้านมีหิ้งพระหรือมีที่บูชาพระต่างหากให้แต่งตัวให้เรียบร้อย จุดธูป เทียนก่อน (ถ้าไม่มีไม่ต้องจุดก็ได้) กล่าวคำบูชาพระแล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ถ้าไม่มีที่บูชาพระโดยเฉพาะก็ให้สวดบนเตียงหรือบนที่นอน โดยกราบที่ หมอน ๓ ครั้ง เมื่อกราบเสร็จแล้วให้นั่งพับเพียบประนมมือไว้ที่อกแล้วตั้งใจสวดมนต์ ต่อไป โดยสวดไปตามลำดับดังนี้ ๑) บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า (หน้า ๔๑) ๒) บทไตรสรณคมน์ (หน้า ๔๒) ๓) บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย (หน้า ๔๓) ๔) บทสวดอื่นๆ (หน้า ๔๔) ๕) บทแผ่เมตตา (หน้า ๑๒๖) ๖) บทอุทิศบุญกุศล (หน้า ๑๒๗) ๗) บทกรวดน้ำ (หน้า ๑๓๐)

การกราบ เป็นการแสดงความเคารพต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถืออย่าง สูงสุด การกราบพระมีวิธีปฏิบัติพิเศษต่างหาก เรียกว่า เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า การตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ ๕ คือการกราบโดยให้อวัยวะ ๕ ส่วนจรด กับพื้น คือเข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และหน้าผาก การกราบแบบนี้ผู้ชายให้ นั่งคุกเข่า เรียกว่า ท่าพรหมหรือท่าเทพบุตร ผู้หญิงให้นั่งคุกเข่าราบ คือนั่งทับฝ่าเท้าทั้งสอง เรียกว่า ท่าเทพธิดา ประนมมือไว้ที่หน้าอกแล้วยกมือขึ้นไหว้โดยให้หัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้ว แล้วหมอบลงทอดฝ่ามือไว้บนพื้น ให้ฝ่ามือทั้งสองห่างกันเล็กน้อย วางหน้าผากลงจรดพื้น ระหว่างฝ่ามือ เมื่อหน้าผากถึงพื้นแล้วเงยหน้าขึ้น ตั้งตัวตรงแล้วเริ่มต้นกราบใหม่ ครั้งที่สอง ครั้งที่สามก็เหมือนกัน

24

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


ข้อควรรู้เกีèยวกับพิธีการไหว้พระสวดมนต์ ก่อนสวดมนต์ไหว้พระ ให้ตระเตรียมเครื่องบูชาพระรัตนตรัยให้พร้อม คำว่า บูชา หมายถึง การแสดงความเคารพเทิดทูน, การยกย่องนับถือในบุคคลที่ ควรเคารพยกย่อง หรือการสักการบูชาปูชนียวัตถุและปูชนียสถานที่ควรบูชา มี ๒ อย่าง คือ ๑. อามิสบูชา แปลว่า การบูชาด้วยอามิส หมายถึงการนำวัตถุสิ่งของ ต่างๆ ไปบูชาสิ่งที่ควรบูชาหรือมอบให้แก่บุคคลที่เราเคารพนับถือ เช่น ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น อันเป็นสิ่งของที่จำเป็นในการดำรง ชีวิต รวมไปถึงการปรนนิบัติรับใช้ด้วยวัตถุสิ่งของหรือด้วยแรงกายของตน การบูชาด้วยสิ่งของนี้ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ได้แก่ การถวายปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) และเภสัช (ยารักษาโรค) รวมทั้งการถวายเครื่องบูชาอย่างอื่นมีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ๒. ปฏิปัตติบูชา แปลว่า บูชาด้วยการปฏิบัติตาม หมายถึงการบูชาด้วย การปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านด้วยความเคารพ ไม่อวดดื้อถือรั้นว่าตนแน่ หมายถึงการตั้งอกตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยสมควรแก่เพศ ภาวะที่ตนเป็นอยู่ จะเป็นพระหรือฆราวาสชาวบ้านทั่วไปก็สามารถปฏิบัติได้ เท่าเทียมกัน การบูชาด้วยการปฏิบัตินั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นสิ่งที่ชาวพุทธ ควร ปฏิบัติ ดังพระพุทธพจน์ในมหาปรินิพพานสูตรว่า “ดูกรอานนท์ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า สักการะ เคารพนับถือ บูชาพระตถาคตด้วยการบูชาอย่างยิ่ง”

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

25


พระรัตนตรัยใช้อะไรเ»šนเครืèองบูชา การบูชาพระรัตนตรัยที่ทำได้ง่ายคือการบูชาด้วย ธูป เทียน ดอกไม้ เป็นต้นรวมเรียกว่า เครื่องบูชา เครื่องบูชาพระที่นิยมกันทั่วไปนั้นประกอบด้วย ๑) กระถางธูปสำหรับปักธูป ๓ ดอก ๒) เชิงเทียนสำหรับปักเทียน ๒ เล่ม และ ๓) แจกันใส่ดอกไม้ ธูป ๓ ดอก ใช้บูชาพระพุทธเจ้า ธูปสำหรับบูชาพระพุทธเจ้า นิยมใช้ ๓ ดอก เพื่อบูชาพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ ๑) พระปัญญาคุณ พระองค์ทรงมีพระสติปัญญาเฉียบแหลม ยากที่จะ หาใครเหมือน ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เอง เราจึงใช้ธูป ดอกที่ ๑ บูชาพระปัญญาของพระองค์ ๒) พระบริสุทธิคุณ พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งปวง มีพระทัย บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้ใจเศร้าหมอง เราจึงใช้ธูปดอกที่ ๒ บูชาความ บริสุทธิ์ของพระองค์ ๓) พระมหากรุณาคุณ พระองค์ประกอบด้วยพระมหากรุณาคุณต่อ สัตว์โลกทุกหมู่เหล่า โดยไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง เราจึงใช้ธูปดอกที่ ๓ บูชาพระมหา กรุณาคุณของพระองค์ ในอีกความหมายหนึ่ง ธูป ๓ ดอกใช้บูชาพระพุทธเจ้า ๓ ประเภท คือ ๑) พระอดีตพุทธะ ได้แก่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ๒) พระอนาคตพุทธะ ได้แก่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคต ๓) พระปัจจุบันพุทธะ ได้แก่ พระพุทธเจ้า ทั้งหลายในปัจจุบัน เทียน ๒ เล่ม บูชาพระธรรม เทียนสำหรับบูชาพระธรรม ที่นิยมใช้ ๒ เล่มมีความมุ่งหมายว่าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ๑) พระวินัย ส่วนที่เป็นระเบียบคำสั่งสำหรับฝึกหัดกาย วาจา ให้เป็นระเบียบ ๒) พระธรรม ส่วนที่เป็นคำสอนสำหรับอบรมใจสำหรับประพฤติเพื่อ ความดีงาม 26

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


ดอกไม้น้อมนำบูชาพระสงฆ์ ดอกไม้ใช้สำหรับบูชาพระสงฆ์ โดยมีความ หมายว่าดอกไม้ซึ่งมีต่างสีต่างพันธุ์ หากนำมาจัดไว้เป็นหมวดหมู่ในแจกันเดียวกัน ย่อมเป็นระเบียบงดงามน่าดูน่าชมฉันใด พระสงฆ์ผู้มาจากต่างชั้นต่างวรรณะและ ต่างมารยาทจิตใจ แต่มาอยู่รวมกันโดยมีพระวินัยเป็นเครื่องควบคุม มีแบบแผน ระเบียบสำหรับปฏิบัติเหมือนกัน ย่อมเป็นระเบียบสวยงามน่าเคารพกราบไหว้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น การจัดเครื่องบูชาพระจึงต้องจัดให้ดีที่สุดโดยมีหลักเกณฑ์ ว่า ธูปจะต้องเป็นธูปหอมอย่างดี มีขนาดใหญ่พอที่เมื่อจุดแล้วจะอยู่ได้จนตลอด พิธี ไม่หมดหรือดับเสียกลางคัน เทียนก็เป็นชนิดดี จุดติดง่าย ไม่ดับง่าย เล่มใหญ่ ใส้ใหญ่ พอที่จะติดอยู่ได้จนตลอดพิธี ดอกไม้ต้องประกอบด้วยลักษณะที่ดี ๓ อย่าง คือ มีสีสวย มีกลิ่นหอม และกำลังสดอยู่ อนึ่ง ก่อนที่จะไหว้พระควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด แต่งกายให้ เรียบร้อย ถ้าใส่ชุดขาวได้ก็จะเป็นการดียิ่ง เมื่อเตรียมตัวเสร็จแล้วก็เข้าไปนั่งใน ห้องพระให้เรียบร้อย แล้วพนมมือขึ้นตั้งใจกราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้ง แล้วจุดเทียน ๒ เล่ม โดยจุดเล่มซ้ายมือก่อนจึงจุดเล่มด้านขวามือ จากนั้นจุดธูป ๓ ดอก กราบ ลงอีก ๓ ครั้ง แล้วตั้งใจสวดมนต์ไหว้พระไปตามลำดับ

เวลาที่เราจะไหว้พระหรือบวงสรวงขอพรต่างๆ มักจะจุดธูปบูชาหรือ ไหว้ ดังนั้นต้องใช้ให้ถูกจึงเกิดผลดี ดังนี้ - จุดไหว้ศพ หรือดวงวิญญาณทั่วไป ใช้ธูป ๑ ดอก - จุดไหว้เจ้าที่เจ้าทาง ใช้ธูป ๒ ดอก - จุดไหว้พระบูชาพระรัตนตรัย ใช้ธูป ๓ ดอก - จุดบูชาพระภูมิในทิศทั้ง ๕ ใช้ธูป ๕ ดอก หรือ ๗ ดอก - จุดบูชาเทพเจ้าทางศาสนาฮินดู ใช้ธูป ๘ ดอก - จุดบูชาเทพารักษ์ ใช้ธูป ๙ ดอก - จุดบูชาเจ้าแม่กวนอิม ใช้ธูป ๑๒ ดอก - จุดบูชาเทพชั้นครูในพิธีที่มีการอัญเชิญเทวดา ใช้ธูป ๑๖ ดอก - จุดไหว้เทพ ๑๐ ทิศ ใช้ธูป ๑๙ ดอก - จุดชุมนุมเทวดาทั้ง ๔ ทิศ ใช้ธูป ๓๒ ดอก - จุดบูชาเทวดาทั่วทั้งจักรวาล ใช้ธูป ๑๐๘ ดอก สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

27


ทำความเข้าใจ การสวดมนต์ทำวัตร ๑

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

“เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เราควรจะทำความเข้าใจที่ดีสำหรับคำว่า ‘ทำวัตร’ ไม่ให้เป็นเรื่องการอ้อนวอนบวงสรวง ไม่แต่งตั้งพระพุทธองค์ให้เป็น ผู้รับการอ้อนวอนบวงสรวงโดยไม่รู้สึกตัว การทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น หรือการสวดมนต์เช้าเย็นนั้น ไม่ได้ทำเป็น การอ้อนวอนบวงสรวง แต่เป็นไปในลักษณะที่ดีกว่าประเสริฐกว่า และให้เป็นอยู่ ในรูปของไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ทีนี้เรามาดูการทำวัตรของเรา ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นนี้ เราต้องสำรวมระวัง บังคับตัว บังคับใจ อย่างนี้ก็เป็นศีลสิกขา การที่เรามีจิตใจจดจ่ออยู่ในวัตถุที่เราทำวัตร คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ก็แน่นอนว่าเป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ เช่นนี้เป็นสมาธิสิกขา หรือจิตตสิกขา ความรู้สึกตัว ในลักษณะของสัมปชัญญะ ซึมซาบอยู่ในคุณของพระพุทธองค์เป็นต้น ว่าเป็นอย่างไร ในบทว่า “พุทฺธวารหนฺตวรตาทิคุณาภิยุตฺโต” แสดงลักษณะที่ต้องรู้ต้องเข้าใจให้ซึมซาบแจ่มแจ้งนี้เป็นปัญญาสิกขา” ๑ จากหนังสือ เข้าวัดสวดมนต์ทำวัตรแปล : เลี่ยงเชียง

28

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


áนะนำวิธีอ่าน (เฉพาะในเล่มนีé) คำในภาษาบาลีนั้น มีคำหลายคำที่มีวิธีอ่านเฉพาะ คือ ออกเสียงกึ่ง มาตรา เช่น คำว่า ส๎วากขาโต เวลาอ่านออกเสียง จะไม่อ่าน สะ-หวาก-ขา-โต คำว่า สะ-หวาก สะ จะออกเสียง อะ สั้นและเร็วกึ่งมาตรา ควบกับพยางค์หลัง เป็น สะหวาก คำที่อ่านออกเสียงกึ่งมาตราในหนังสือเล่มนี้ ใช้เครื่องหมายยมการ ( ) ใต้พยัญชนะที่ออกเสียงกึ่งมาตรา ซึ่งมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ๑. เครื่องหมายพินทุใต้พยัญชนะต้น ให้ออกเสียง อะ ควบกับคำพยางค์ หลังกึ่งมาตรา เช่น ส๎วากขาโต สะพ๎ยัญชะนัง ค๎รีเมขะลัง ต๎วัง เท๎ว เต๎ววะ

อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า

สะหวาก-ขา-โต สะ-พะยัน-ชะ-นัง คะรี-เม-ขะ-ลัง ตะวัง ทะเว ตะเว-วะ

(ออกเสียง สะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง พะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง คะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง ทะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา)

๒. เครื่องหมายพินทุใต้พยัญชนะตาม คือเป็นตัวสะกด ให้อ่านเป็นตัว สะกดของพยัญชนะตัวหน้า พร้อมออกเสียง อะ กึ่งมาตราควบกับพยางค์หลัง ด้วย เช่น กัต๎วา กัล๎ยาณัง คันต๎วา ตัส๎มา

อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า

กัด-ตะวา กัน-ละยา-ณัง คัน-ตะวา ตัด-สะหมา

(ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง ละ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง สะ กึ่งมาตรา)

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

29


ทำวัตรเช้า บทบูชาและบทกราบพระพุทธเจ้า โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามิ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ) ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ 30

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


บทพุทธาภิถุติ (ชมเชยพระพุทธเจ้า)

โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ฯ โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัล๎ยาณัง มัชเฌกัล๎ยาณัง ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง สาต๎ถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสสิ ฯ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ ฯ (กราบลง ๑ หน)

บทธัมมาภิถุติ (ชมเชยพระธรรม)

โย โส ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ฯ ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ ฯ (กราบลง ๑ หน)

บทสังฆาภิถุติ (ชมเชยพระสงฆ์)

โย โส สุ ป ะฏิ ปั น โน ภะคะวะโต สาวะกะสั ง โฆ อุ ชุ ป ะฏิ ปั น โน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย๑ อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ฯ ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ ฯ

(กราบลง ๑ หน)

๑ ในพระไตรปิฎกเป็น อญฺชลิกรณีโย แต่ในบทสวดสังฆคุณใช้เป็น อญฺชลีกรณีโย. สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

31


จากนั้นนั่งพับเพียบลงแล้วสวดรตนัตตยัปปณามคาถา (คาถานอบน้อม พระรัตนตรัย) และสังเวคปริกิตตนปาฐะ (บทสวดชวนให้เกิดความสังเวช) ดังนี้

รตนัตตยัปปณามคาถา

(คาถานอบน้อมพระรัตนตรัย)

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา ฯ

32

หนังสือเล่มนี้บรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ โปรดใช้หนังสือเล่มนี้ให้เกิดประโยชน์สุขสูงสุด คุ้มค่าที่สุด ทั้งแก่ตน คนรอบข้าง กว้างไกล เมื่อไม่อ่านแล้ว กรุณาส่งต่อผู้อื่นเพื่อเป็นการ เผยแผ่ธรรม และบำเพ็ญธรรมทานบารมีแก่ตน สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


สังเวคปริกิตตนปาฐะ

(บทสวดชวนให้เกิดความสังเวช)

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามิ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา เสยยะถีทัง รูปูปาทานักขันโธ เวทะนู ป าทานั ก ขั น โธ สั ญ ญู ป าทานั ก ขั น โธ สั ง ขารู ป าทานั ก ขั น โธ วิญญาณูปาทานักขันโธ เยสัง ปะริญญายะ ธะระมาโน โส ภะคะวา เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา อะนิจจา สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจัง รูปัง อะนัตตา เวทะนา อะนัตตา สัญญา อะนัตตา สังขารา อะนัตตา วิญญาณัง อะนัตตา สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ เต มะยัง (หญิงว่า ตา มะยัง) โอติ ณ ณาม๎ ห ะ ชาติ ย า ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริ เ ทเวหิ ทุ ก เขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ *จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา ธัมมัญจะ สังฆัญจะ ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ สา สา โน ปะฏิปัตติ อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ ฯ * วรรคนี้ถ้าเป็นพระภิกษุ-สามเณรให้สวดว่า จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา ตัส๎มิง ภะคะวะติ พ๎รัห๎มะจะริยัง จะรามะ ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา ตัง โน พ๎รัห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ ฯ สามเณรสวดให้เว้นคำว่า “ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

33


ทำวัตรเย็น บทบูชาและบทกราบพระพุทธเจ้า โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามิ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ) ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ 34

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


บทพุทธานุสสติ

(ระลึกถึงพระพุทธเจ้า)

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

บทพุทธาภิคีติ

(สรรเสริญพระพุทธเจ้า)

พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง ฯ พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสี)* วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง วันทันโตหัง (ตีหัง)* จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ)* ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ * คำในวงเล็บสำหรับหญิงว่า สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

35


(หมอบลงกราบว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ ฯ

บทธัมมานุสสติ

(ระลึกถึงพระธรรม)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.

บทธัมมาภิคีติ

(สรรเสริญพระธรรม)

ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง. ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสี)* วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง วันทันโตหัง (ตีหัง)* จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง * คำในวงเล็บสำหรับหญิงว่า

36

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ)* ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ (หมอบลงกราบว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม ฯ

บทสังฆานุสสติ

(ระลึกถึงพระสงฆ์)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

บทสังฆาภิคีติ

(สรรเสริญพระสงฆ์)

สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง ฯ

* คำในวงเล็บสำหรับหญิงว่า สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

37


สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง ตะติยานุสสะติฏฐานัง สังฆัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสี)* วะ สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ วันทันโตหัง (ตีหัง)* จะริสสามิ นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ)* สัพเพปิ อันตะรายา เม

สะระณัง เขมะมุตตะมัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง สังโฆ เม สามิกิสสะโร วิธาตา จะ หิตัสสะ เม สะรีรัญชีวิตัญจิทัง สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ

(หมอบลงกราบว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ ฯ

การสวดมนต์เป็นอุบายทำจิตใจให้สงบ เยือกเย็น มั่นคงและเป็นวิธีที่เข้าถึง พระรัตนตรัยพร้อมกัน ๓ ทาง คือ ทางกาย ด้วยการกราบไหว้บูชาสักการะ ทางวาจา ด้วยการสวดสรรเสริญ เจริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และ ทางใจ ด้วยการน้อมนำพระรัตนตรัยมาไว้ในใจ * คำในวงเล็บสำหรับหญิงว่า

38

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


บทชุมนุมเทวดา

(ขอเชิญเทวดามาฟังและอนุโมทนาบุญ)

สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัต๎ราคัจฉันตุ เทวะตา สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกคะทัง สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ ผะริต๎วานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ ขอเชิ ญ ท่ า นผู้ เจริ ญ ทั้ ง หลาย จงมี เ มตตาแผ่ เ มตตาจิ ต ไปว่ า ขอ อานุภาพพระปริตรจงคุ้มครองรักษาพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน พร้อมทั้งสิริราชสมบัติอีกทั้งพระประยูรญาติและเสนาอำมาตย์ ขอเชิญท่านผู้ เจริญทั้งหลายจงมีเมตตาแผ่เมตตาจิต อย่ามีจิตฟุ้งซ่าน สวดพระปริตรกันเถิด ขอเชิญเทวดาทั้งหลายในรอบจักรวาล จงมาประชุมกันในที่นี้ ขอเชิญ ฟังพระสัทธรรมของพระมุนีเจ้าผู้ทรงชี้ทางสวรรค์และนิพพานเถิด ขอเชิญ เทวดา ทั้งหลายผู้สิงสถิต ณ สวรรค์ชั้นกามภพ ชั้นรูปภพ อีกทั้งเทวดาผู้สิงอยู่ บนยอดเขา ที่หุบผา ที่วิมาน บนอากาศ และภุมมเทวดาทั้งหลายผู้สิงสถิตใน ทวีป แว่นแคว้น หมู่บ้าน ต้นไม้ ป่ารกชัฏ บ้านเรือน และไร่นา ทั้งบรรดายักษ์ คนธรรพ์ และนาค ผู้สาธุชนซึ่งสิงสถิตอยู่ในน้ำ บนบก ที่ลุ่ม ที่ดอน ที่ใกล้เคียง จงมาชุมนุมกันฟังพระดำรัสแห่งพระมุนีเจ้าผู้ประเสริฐ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บัดนี้เป็นเวลาฟังธรรม ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บัดนี้เป็นเวลาฟังธรรม ท่านผู้ เจริญทั้งหลาย บัดนี้เป็นเวลาฟังธรรม ฯ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

39


คำอธิษฐานขอขมากรรม ข้าแต่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ข้าพเจ้าขอน้อมอัญเชิญ เทพยดาเจ้าทั้งหลายโปรดได้เสด็จมาฟังการสวดมนต์ของข้าพเจ้า ขอให้มา อนุโมทนาและประสิทธิ์ประสาทพรให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ ข้าพเจ้าขอขมากรรมใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำผิดพลาดด้วยกาย วาจา และใจก็ดี ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาจวบจนในวันนี้ ทั้งที่ตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ทั้งที่ ข้าพเจ้าระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ทั้งที่ข้าพเจ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี และรู้เท่า ถึงการณ์ก็ดี ขอทุกๆ พระองค์จงโปรดเมตตาอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เทอญ ข้าพเจ้าขอถวายพระพร ขอทุกๆ พระองค์จงมีพระพลานามัยเกษม สำราญ จงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน จงทรงมีพระญาณบารมีสูงยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย เทอญ ขอพระองค์ได้โปรดประทานพรให้ข้าพเจ้าและครอบครัว พ้นจากสัพพทุกข์ สัพพโศก สัพพโรค สัพพภัย สัพพเคราะห์ เสนียดจัญไร คนพาล ศัตรูหมู่มาร จงพ้นไปจากตัวของข้าพเจ้าและครอบครัว ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัวประสบพบแต่สิ่งดีๆ คนดีๆ สิ่งที่เป็นสิริ มงคลขอให้เข้ามาในชีวิต มีสติปัญญาดี มีร่างกายและสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ได้ตาทิพย์ หูทิพย์และเจโตปริยญาณ พร้อมทั้งเกิดดวงตาเห็นธรรม ได้สำเร็จ มรรค ผล นิพพาน เทอญ ฯ พระรัตนตรัย เป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของเราชาวพุทธ คือ พระพุทธ ผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง พระธรรม คือ สิ่งที่รักษาผู้ประพฤติปฏิบัติ มิให้ตกไปในที่ชั่ว และพระสงฆ์ คือ ผู้ออกบวชแล้วศึกษาคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าและประกาศธรรมนั้น ดังนั้น เวลาเราสวดบทพระพุทธคุณ พระ ธรรมคุณ พระสังฆคุณ ก็เป็นการสวดเพื่อสรรเสริญในคุณความดีของพระรัตนตรัย และ น้อมนำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตต่อไป

40

สวดมนต์ อานิสงส์ครอบจักรวาล


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.