นี่ไงภาวะผู้นำ คัมภีร์นักบริหาร ตำนานนักปกครองผู้นำ

Page 1


โดย

พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ แห่ง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร)


นี่ไง ภาวะผู้นำ�

คัมภีร์นักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง

โดย : พระราชวิจิตรปฏิภาณ ISBN : 978-616-268-070-0 พิมพ์ครั้งที่ ๑ : กันยายน ๒๕๕๕ บรรณาธิการบริหาร : ไพยนต์ กาสี ปก/รูปเล่ม : สุกัญญา ศรีสงคราม ภาพประกอบ : เทิดเกียรติ ปลูกปานย้อย พิสูจน์อักษร : มานิตย์ กองษา

ราคา 90 บาท ศิลปกรรมรูปเล่มโดย ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด สำ�นักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ ๑๐๕/๙๕-๙๖ ซอยประชาอุทิศ ๔๕ ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐ ลิขสิทธิ์ และจัดพิมพ์โดย

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

๑๐๕/๙๕-๙๖ ซอยประชาอุทิศ ๔๕ ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐ โทรศัพท์. ๐๒-๘๗๒-๗๖๖๗ จัดจำ�หน่ายโดย

สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๑๐๕/๗๕ ซอยประชาอุทิศ ๔๕ ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐ โทรศัพท์ ๐๒-๘๗๒-๙๑๙๑, ๐๒-๘๗๒-๘๑๘๑, ๐๒-๘๗๒-๗๒๒๗, ๐๒-๘๗๒-๙๘๙๘, ๐๒-๒๒๑-๑๐๕๐, ๐๒-๒๒๑-๔๔๔๖ พิมพ์ที่ โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง ๒๒๓ ถนนบำ�รุงเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐


คํ า นํ า สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ เป็นสำ�นักพิมพ์หนังสือ พระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ อยู่คู่กับคณะสงฆ์ไทยตลอดมา พิมพ์ทั้งหนังสือ วิชาการ ทัศนวิจารณ์ โดยพระมหาเถระในยุคก่อนเก่ามอบความไว้วางใจ ตกทอดจิตวิญญาณมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน กล่าวว่าในวงการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ไม่ มี พ ระเณรรู ป ใดไม่ รู้ จั ก สำ � นั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ แม้ตัวอาตมาเองก็เช่นเดียวกัน นอกจากรู้จักสำ�นักพิมพ์นี้แล้ว ยังมีความผูกพันกับผู้บริหารในยุค ปัจจุบัน จนสามารถเรียกใช้ ตักเตือน แนะนำ� บังคับ แต่ไม่ถึงกับบัญชา ทั้งยังมอบหมายให้พิมพ์หนังสือหลายสิบเล่ม โดยที่มีข้อตกลงว่า “ถ้าคนซื้อ เขาอยากได้แต่มเี งินไม่พอ ก็ขอให้ขายเท่าทีเ่ ขาพอมีเงิน” เราจึงคบหาสมาคม กันได้จนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้ ทางสำ�นักพิมพ์อยากพิมพ์นังสือเกี่ยวกับภาวะ ผู้ นำ � คุ ณ วิ สุ ท ธิ์ จงพิ พั ฒ น์ ยิ่ ง จึ ง มอบหมายให้ อาจารย์ ไ พยนต์ กาสี ไปพบเพื่อนำ�เสนอแนวคิดงานหนังสือที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม ศาสนา ประเทศชาติ เมื่อได้รับโจทย์นี้ อาตมาก็นึกว่าจะเขียนอย่างไร พอดีนึกได้ว่ามี โยมผู้หญิงท่านหนึ่งเก็บข้อเขียนของอาตมาที่เขียนบทความคำ�สอนอาตมา ในหนังสือพิมพ์และเก็บหนังสือเกือบทุกเล่มของอาตมา จึงได้ขอให้โยม ท่านนีซ้ งึ่ เป็นอดีตครูได้ชว่ ยรวบรวมบทความทีเ่ กีย่ วกับภาวะผูน้ �ำ ในทุกกรณี โดยขอให้ทำ�ต้นฉบับเรียงลำ�ดับความสำ�คัญให้ด้วย แล้วก็เป็นผลสำ�เร็จดัง ปรากฎในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งต้องขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง อาตมาโชคดี ที่ เ มื่ อ ตอนเป็ น เด็ ก วั ด ตั้ ง แต่ อ ายุ ๕ ขวบได้ อ ยู่ กั บ เจ้าอาวาส ได้สัมผัสกับพระทุกรูปแบบ นับตั้งแต่นักปราชญ์ หมอดู หมอผี


ขีค้ กุ เจ้าชู้ นักมวย นักร้อง นักเทศน์ ขีย้ า มือปืน นักเลง เสือ สิงห์ กระทิง แรด รวมทั้งนักวิชาการ พอมาอยู่วัดสุทัศนเทพวรารามก็ได้เป็นรองประธาน สามเณร เป็นประธานสามเณร พอบวชพระได้ปีเดียวก็มาดำ�รงตำ�แหน่ง เลขานุการรองเจ้าคณะภาค ๔ เป็นเลขานุการเจ้าคณะภาค ๔ เป็นเลขานุการเจ้าอาวาส ฯลฯ ประสบการณ์จากเด็กจวบจนโตขึ้น ส่งผลให้สามารถ สืบทอดกิจการพระพุทธศาสนาได้ลุล่วงตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำ�เร็จ จนสามารถเผยอหน้าในจอโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ในขณะที่ดำ�รงตำ�แหน่งต่างๆ ก็พยายามค้นคว้า “ภาวะผู้นำ�” ของ บุคคลหลากหลายอาชีพ เพื่อนำ�มาปรับใช้กับหน้าที่การงานของตัวเอง ผิดบ้าง ถูกบ้าง จนในที่สุดก็มาค้นพบ “ภาวะผู้นำ�ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” โดยตั้งประเด็นเดียวคือ “ภาวะผู้น�ำ ของพระพุทธเจ้า” แล้วก็ พบความจริงว่าพระองค์มีภาวะผู้นำ�ที่สุดของโลก จึงเริ่มบรรยายและเขียน บทความออกมาหลายสิบหน้า ให้สอดคล้องกับองค์กรและบรรยากาศของ บ้านเมือง หนังสือเล่มนี้ เป็นผลเกิดจากการอ่านพระไตรปิฎกในประเด็นเดียว คือ “ภาวะผู้นำ�ของพระพุทธเจ้า” โดยผนวกกับสภาพการณ์ในชีวิตและ งานที่ผ่านมา ซึ่งท่านผู้อ่านต้องทำ�ใจ อาจจะหมั่นไส้ อาจจะไม่สบอารมณ์ อาจจะอยากอ้วกแตก อาจจะอยากโยนหนังสือทิ้ง อย่างไรก็แล้วแต่ นี่คือตัวตนของอาตมาที่แท้จริง ซึ่งท่านจะได้สัมผัส ในหนังสือเล่มนี้

(พระราชวิจิตรปฏิภาณ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร


ส า ร บั ญ ๙ ๑๗ ๓๒ ๓๔ ๓๖ ๓๘ ๔๐ ๔๓ ๔๕ ๕๑ ๕๓ ๕๕ ๕๙ ๖๑ ๖๒ ๖๓ ๖๔

สุดยอดผู้เสียสละ l แด่ผู้นำ� l ผู้นำ� l ภาวะผู้นำ� l นักปกครอง l อำ�นาจ l ความกล้าหาญ l ผู้แนะ ผู้นำ� l ๗ ระวัง ๑๑ ตั้งมั่น l แด่...ผู้นำ� l คุณธรรมของนักบริหาร l นักมวย กับ นักการเมือง l มาฆบูชา – สภาพระอรหันต์ l สภาพระอรหันต์ – ขยันประชุม l สภาพระอรหันต์ – ทุ่มเทให้กับงาน l สภาพระอรหันต์ - ไม่หลงสังขาร ไม่สะสมบริขาร l สภาพระอรหันต์ – สอบทานจิต l


๖๕ ๖๖ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๒ ๗๔ ๗๘ ๘๐ ๘๔ ๘๙ ๙๓ ๙๗ ๑๐๑ ๑๐๔ ๑๐๖ ๑๑๐ ๑๑๔ ๑๒๒ ๑๒๔

สภาพระอรหันต์ – ไม่ปากร้าย l สภาพระอรหันต์ – ไม่ทำ�ลายอมิตร l สภาพระอรหันต์ – ยึดมั่นในพุทธจริยาและพุทธภาษิต l สภาพระอรหันต์ - ใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ต่อชาวโลก l มนุษย์อัปลักษณ์ l โกงกิน l สันดานที่ต้องแก้ไข นิสัยที่ควรปลูกฝัง l จุดพลาดของนักการเมือง l บ้าอำ�นาจ l ล้างบาง ล้างบาป l การแต่งตั้งที่วิปริต ทำ�ให้เศรษฐกิจตกต่ำ� l หายนะเพราะอาย...ยอมตายเพราะกลัวขายขี้หน้า l วันหนึ่งข้างหน้า ถ้าคิดย้อนหลัง จะอุทานว่า.... “เราทำ�ไปได้อย่างไร ?” l ป-า-ก l โอมมหาเสน่ห์ l วันก่อน กับ วันนี้ l ผู้น้อยเสียใจเพราะผู้ใหญ่ลำ�เอียง l ผู้นำ� กับ จริยธรรม l คุณสมบัติผู้นำ�ที่ดี รัฐมนตรีที่มีความสามารถ l โอมเพี้ยง l


๑๒๕ ๑๒๙ ๑๓๓ ๑๓๗ ๑๔๐ ๑๔๓ ๑๔๗ ๑๕๕ ๑๖๖ ๑๗๕ ๑๘๐

คาถานักบริหาร คาถานักการเมือง l แบบสำ�รวจคุณธรรมนักการเมือง l นักการเมืองที่ดีต้องมีคุณธรรมอย่างไร l สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับแนวคิดบริหารด้านจักรพรรดินิยม l สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ท�ำ ลายจักรพรรดินิยมสู่ธรรมนิยม l ธรรมาภิบาล ในการบริหารยศ – ศักดิ์ l ธรรมาภิบาลตามแนวพระพุทธศาสนา “สิงคาลกสูตร” (ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี) l ทำ�อย่างไรให้เข้าถึง l แด่...ข้าราชการพลเรือน l ภาษิตระบอบประชาธิปไตย สำ�หรับประชาสัมพันธ์และประจานผู้ทุจริต l คนไม่มีแผ่นดินจะเดิน คนเพลิดเพลินในมนุษย์และเทวโลก l



L

D E

A

E R

สุดยอดผู้เสียสละ

(มหากปิกุณฑชาดก) สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสสอน...“ภาวะผู้นำ�”...

และ...“คุณธรรมของผู้น�ำ ” ทั้งนี้ เพื่อผู้ประสงค์จะสร้างภาวะผู้นำ�จะได้ ยึดเป็นแม่แบบ ทำ�ตามแม่บท ให้ปรากฏในตัวเอง... ภาวะผู้นำ�และคุณธรรมของผู้นำ�นั้น มิใช่ศึกษาและเรียนรู้ได้ จากมนุษย์เท่านั้น แม้แต่สัตว์พระองค์สอนว่าสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ ถึ ง บางครั้ ง สั ต ว์ จ ะพู ด ไม่ ไ ด้ แต่ ก็ แ สดงภาวะผู้ นำ � ได้ พระองค์ จึ ง ตรั สเล่ า เรื่ องราวของพระองค์ เรียกว่าชาดก ใน “มหากปิช าดก” (มะหากะปิชาดก) คือ เรื่องราวของพญาวานร ดังนี้... ในอดีตกาลนานมาแล้ว ครั้งนั้นพระราชาแห่งราชวงศ์พรหมทัต เสวยสมบัติในกรุงพาราณสี คราครั้งนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสวยพระชาติเกิดเป็นพญาวานรมีบริวารจำ�นวนมาก พญาวานรนี้มี กำ�ลังมากเท่ากับช้างห้าเชือก มีความแคล่วคล่อง อาศัยอยูใ่ นป่าหิมพานต์ ซึ่งมีต้นมะม่วงมีผลใหญ่ หอมหวานขึ้นอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ พญาวานรได้สั่งสอนลูกน้องว่า... “พวกท่านจงคอยดูต้นมะม่วงที่ กิ่งยื่นไปในแม่น้ำ� อย่าให้มีลูกมะม่วงหลงตา ถ้าหากมะม่วงตกในแม่น้ำ� จะมีภัยมาสู่ฝูงวานรอย่างแน่นอน”.... และแล้วก็พลาดจนได้ เมือ่ มะม่วงผลหนึง่ หลงตา สุกแล้วร่วงลงไป ในแม่นำ�้ อันไหลอย่างรวดเร็ว บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 9


...“ตายละวะเรา”… วานรตัวที่เห็นอุทาน แล้วรีบกลับไปบอก พญาวานร ชาวประมงกลุ่มหนึ่งดักอวนเพื่อจับปลาอยู่ใต้กระแสน้ำ� เมื่อถึง เวลากู้อวนก็พบว่ามะม่วงผลนั้นติดอวน “โอ ! มะม่วงอะไรผลใหญ่ขนาดนี้ สีดุจดั่งทองคำ�น่ากินจังเลย”... ชาวประมงผู้หนึ่งกล่าวขึ้นด้วยความตื่นเต้น “ข้าว่าพวกเราอย่ากินเลย ของพิเศษอย่างนี้ ควรนำ�ไปถวาย พระราชาเถิด เราจะได้รับปูนบำ�เหน็จความดีความชอบ อีกหน่อยก็ คงมี ม ะม่ ว งลอยมาติ ด อวนอี ก อย่ า งแน่ น อน” เพื่ อ นของเขาแสดง ความคิดเห็น ในที่สุดจึงตกลงใจนำ�มะม่วงผลนี้ถวายพระราชา “ไหนลองเล่าให้ฟงั ซิวา่ พวกเจ้าไปได้มะม่วงผลนีม้ าแต่ไหน ซึง่ เรา ไม่เคยเห็นมาก่อน มะม่วงอะไรกันหนอ ผลถึงใหญ่ สีสวยดั่งทองคำ� มีกลิ่นหอมน่ากิน” พระราชาตรัส ชาวประมงจึงได้กราบทูลถึงสถานที่ที่พวกเขาพบมะม่วงผลนี้ให้ พระราชาทรงทราบทุกประการ พระราชาตรัสชื่นชมแล้วพระราชทาน รางวัลแก่พวกชาวประมง เมือ่ พวกชาวประมงกราบบังคมทูลลากลับไปแล้ว พระราชารับสัง่ ให้ตามพวกพรานป่าผู้เชี่ยวชาญ รับสั่งถามถึงมะม่วงว่ามีพิษอย่างใด หรือไม่ เมื่อพรานป่ากราบบังคมทูลว่าน่าจะเป็นผลมะม่วงที่ลอยมาจาก เชิงป่าหิมพานต์ พระราชาจึงทรงใช้กฤชประจำ�พระองค์ฝานผลมะม่วง แจกให้พระชายา และพระสนมลองชิม ทันทีที่สัมผัสรสมะม่วงก็เกิด รสหอมอร่อยซ่านเป็นที่ติดอกติดใจ 10

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


“โอ..! ไฉนมะม่วงผลนี้จึงอร่อยวิเศษสุดเห็นปานนี้เล่า เราไม่เคย สัมผัสรสมาก่อนเลย”...พระราชาอุทาน ครัน้ เมือ่ ติดใจในรสมะม่วง พระราชาสัง่ ให้เกณฑ์พรานป่าผูช้ �ำ นาญ ทาง รับสั่งให้จัดหาเรือพร้อมอาวุธและธนู แล้วพระองค์จึงประทับเรือ พายสวนกระแสนำ�้ สู่ป่าหิมพานต์อันเป็นที่ตั้งแห่งป่ามะม่วงทันที “เฮ้ . ..พวกเราดู ข้ า งหน้ า นั่ น มี ก องเรื อ จำ � นวนมากแล่ น สวน กระแสนำ้�ตรงมายังป่ามะม่วงของเราแล้ว เห็นมีมนุษย์เต็มลำ�เรือเลย” วานรตัวหนึ่งอยู่บนยอดไม้ตะโกนบอกวานรที่อยู่บนพื้นดิน “สงสัยเสียแล้ว ท่านพญาวานรได้พูดไว้ว่าอย่าให้มะม่วงตกน้ำ� ภัยใหญ่จะมาถึงเรา ชะรอยว่าพวกมนุษย์คงเก็บได้แล้วประสงค์จะรูแ้ หล่ง จึงพากันมา คำ�พูดของพญาวานรไม่ผดิ เอาเสียเลย” วานรอีกตัวหนึง่ รำ�พัน จากนั้น วานรจึงพากันส่งข่าวแก่กันและกัน เกิดความโกลาหล ขึ้นแล้วในป่ามะม่วง ซึ่งแต่ก่อนแต่ไรมา วานรอยู่ด้วยกันอย่างผาสุก พระราชาเสด็จถึงแล้ว รีบสั่งจัดตั้งกองเรือ แล้วกระจายกำ�ลัง ออกรายล้อมป่ามะม่วงซึ่งเป็นที่อยู่ของฝูงวานร รับสั่งให้เตรียมอาวุธ และธนู ลูกศร เพื่อฆ่าวานรให้หมดสิ้น ทั้งนี้พระองค์จะได้ยึดสวนป่า มะม่วงอันแสนโอชะ สำ�หรับพระองค์แล้วประทับในที่ที่ทหารจัดให้ เสวยพระกระยาหาร และผลมะม่วงด้วยความสุขพระราชหฤทัย ...“คืนนี้ กองทหารค่อยโอบล้อมทุกด้าน ไล่วานรให้จนมุมที่ฝั่ง แม่นำ้� แล้วยิงฆ่าทุกตัวอย่าให้เหลือ”... หัวหน้าทหารเรือสั่งการทหาร และนายธนูอย่างเฉียบขาด “อย่าลืมนะ ฆ่าลิงทุกตัวอย่าให้เหลือ ป่ามะม่วงจะได้เป็นของ พระราชาของเรา” นายทหารคนเดิมยำ�้ หน้าที่ “อ้อ ! รอเวลาเที่ยงคืน พระจันทร์ตรงศีรษะก็จะดีมาก” บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 11


ฝูงวานรทั้งหลายตกอยู่ในความประหวั่นพรั่นพรึง ถูกวงล้อมของ ทหารและพรานขมังธนูโอบล้อมตั้งค่าย วานรทุกตัวมิรู้ว่าชะตาชีวิตของ ตนเองจะเป็นอย่างไร ขณะนั้นหัวหน้าวานรอีกกลุ่มหนึ่ง แต่เดิมมีความริษยาวานร พระโพธิสัตว์ แต่บัดนี้ไม่รู้จะแก้สถานการณ์อย่างไร จึงเข้าไปหาวานร พระโพธิสัตว์แล้วพูดว่า... พี่ท่านผู้หาญกล้า คราวนี้เห็นชีวิน ทหาร พรานธนู เตรียมยิงลิงพวกข้า น้องนี้จนปัญญา พี่ข้าปัญญาไว

ท่านพญาพานรินทร์ จะสิ้นแท้แน่นักหนา ล้อมเราอยู่รอบพนา และพวกท่านให้บรรลัย ที่จะหาทางแก้ไข ช่วยเราให้พ้นภัยเถิด

พญาวานรได้รบั การขอร้องจากหัวหน้าวานรขีอ้ จิ ฉา จึงรำ�พึงออก มาว่า.... โธ่เอ๋ย...ฝูงวานร หากข้าไม่ปรานี เราจะกระโดดข้าม เถาวัลย์พันรอบกาย สะพานขนวานร ขืนกลัวมัวชักช้า 12

ต้องม้วยมรณ์กันครานี้ คงเห็นทีจะต้องตาย ซึ่งแม่น้ำ�กระแสสาย ผูกต้นไม้โดดกลับมา พ้นลูกศรทุกทิศา องค์ราชาฆ่าพวกเรา

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


พญาวานรได้ตัดสินใจทำ�ตามที่คิด ใช้ขาหลังเหยียบยอดมะม่วง ต้นที่ใกล้แม่นำ�้ กระโดดข้ามแม่น้ำ�อันกว้างใหญ่ หาเถาวัลย์มาผูกต่อกัน แล้วผูกกับกอไผ่ ปลายเถาวัลย์ข้างหนึ่งผูกรอบเอว กะประมาณว่ายาว พอกับความกว้างของแม่นำ�้ เถาวัลย์ที่ผูกเอวจะได้คลี่คลายออกผูกยอด มะม่วง ครั้นเสร็จแล้ว เหยียบยอดกอไผ่ โผนตัวเข้าหายอดมะม่วงทันที แต่การคำ�นวณผิดนิดเดียว เถาวัลย์ยาวไม่พอ แต่พอมือพญาวานร จับถึงมะม่วง ก็สิ้นสุดความยาวของเถาวัลย์ พญาวานรจึงบอกให้วานร ทั้งหมดเหยียบหลังของตนแล้วรีบข้ามไป วานรแต่ละตัวทำ�ความเคารพ พญาวานร แล้วเหยียบหลังวิง่ ข้ามแม่น�้ำ อย่างเกรงใจแต่รอ้ นรน เมือ่ วานร ทั้งหลายข้ามฝั่งแล้ว วานรขี้อิจฉารออยู่เป็นตัวสุดท้าย เห็นเป็นโอกาสที่ จะฆ่าพญาวานร เพื่อตนเองจะได้เป็นหัวหน้าฝูงวานรทั้งปวง และด้วย รู้นิสัยความเสียสละของพญาวานรว่าถึงอย่างไรก็ไม่มีวันปล่อยเถาวัลย์ เป็นแน่ จึงสบถออกมาว่า... ชะช้า...ไอ้หน้าโง่ เป็นทีของกูละ กระทืบไอ้ดักดาน มึงตายวายชีวี มึงอยู่กูไม่ใหญ่ ไอ้นุงถิงลิงหน้าโง่

ทำ�อวดโก้เสียสละ ขอชนะมึงสักที ให้ถึงคลานกลายเป็นผี บารมีกูใหญ่โต มึงตายไปกูได้โก้ ตายคาโซ่ห่วงเถาวัลย์

เมื่อสบถดังนี้แล้ว วานรขี้อิจฉาเหยียบยอดต้นมะม่วง แล้วทิ้งตัว ลงบนร่างของพญาวานรในส่วนแห่งกลางสันหลัง เมือ่ ถูกวานรผูม้ รี า่ งใหญ่ กระโดดเหยี ย บกระแทกกลางสั น หลั ง กระดู ก หลั ง ของพญาวานร บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 13


เคลื่อนออก เกิดทุกขเวทนาอย่างยิ่ง วานรขี้อิจฉาเดินขย่มนำ้�หนักตัว เพิ่มความเจ็บปวดทุกข์ทรมานแก่พญาวานรพระโพธิสัตว์เป็นอย่างยิ่ง แต่ด้วยใจตั้งมั่นจึงกอดปลายกิ่งมะม่วงอย่างมั่นคง เพราะเกรงว่าวานร ตัวสุดท้ายจะไปไม่ถงึ ฝัง่ แม่น�ำ้ ร่างของพญาวานรสัน่ เทาด้วยความเจ็บปวด สุดชีวิต เหตุการณ์ตั้งแต่ต้นมิได้คลาดไปจากสายพระเนตรของพระราชา และบรรดาขุนทหารพรานธนูทั้งหลาย ทุกคนเฝ้ามองความเสียสละของ พญาวานรด้วยความอัศจรรย์ใจ “โอ..! เป็นไปได้อย่างไรที่วานรตัวนี้กระทำ�ได้เช่นนี้ เสียสละได้ เช่นนี้” พระราชาทรงอุทานออกมาดัง ๆ ขุนทหารพรานธนูมคี วามอัศจรรย์ใจ มิได้ตา่ งไปจากพระราชาของ พวกเขาเลย วานรขี้อิจฉาผ่านพ้นแม่น้ำ�ไปเพราะอาศัยเหยียบร่างของ พญาวานร แต่ภาพของแสงจันทร์สะท้อนแม่น�ำ้ เบือ้ งล่าง ร่างของพญาวานร มีเถาวัลย์ผูกเอว มือจับกิ่งมะม่วง ช่างเป็นภาพทั้งประทับใจและสลดใจ “อะไรกัน ! แม้แต่สัตว์ก็มีทั้งที่เสียสละ และขี้อิจฉาด้วยหรือนี่” พระราชาทรงเปล่งอุทานออกมาดัง ๆ ครั้ น รุ่ งเช้ า พระราชารับสั่ง ให้นำ� เรือไปเทียบตรงกับร่างของ พญาวานร ผูกแคร่แล้วรับเอาร่างของพญาวานรลงมา พระองค์จึงทรง ทราบว่าพญาวานรมีร่างกายบอบชำ้� ไม่สามารถขยับเขยื้อนได้เลย ทรงเสียพระทัยยิง่ อีกทัง้ เกิดความรักในพญาวานรดัง่ บิดามารดารักบุตร ทรงรับสั่งให้นำ�น้ำ�มาพรมร่างกาย แล้วให้นำ�ร่างของพญาวานรขึ้นเรือ พระที่นั่งของพระองค์เพื่อเดินทางกลับพระนคร บรรดาขุนทหารพรานธนู ต่างพากันเร่งเก็บผลมะม่วงอันมีรสโอชา บรรทุกลงในเรือ ครั้นเสร็จแล้ว ขบวนเรือของพระราชาจึงเคลื่อนออก 14

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


จากป่ามะม่วงมาตามแม่น้ำ�จนถึงพระนครโดยสวัสดิภาพ พระราชา ทรงรับสั่งให้นำ�ร่างพญาวานรเข้าในวังจัดห้องรักษาพยาบาล ทรงเสีย พระทัยทีพ่ ระองค์เป็นต้นเหตุ ทรงเฝ้าดูแลพญาวานรอย่างใกล้ชดิ รับสัง่ ถามว่า เพราะเหตุใด ทอดกายเป็น ให้วานร ข้ามพ้นฝั่ง ท่านไม่กลัว ท่านไม่กลัว ท่านไม่กลัว ท่านวานร

ท่านจึง สะพาน เอาเปรียบ ธารา ร่างกาย ร่างปัก ตัวอิจฉา ท่านทำ�ไป

ถึงสละ อย่างหาญกล้า เหยียบกายา สถาพร ทำ�ลายหัก ด้วยลูกศร มาราญรอน ทำ�ไมกัน

พญาวานรได้ตอบปุจฉาของพระราชาว่า... ข้าฯ ขอทูล ข้าฯ นี้คือ เมื่อผู้ใต้ จะเพิกเฉย เกรงลูกศร แทบทุกทิศ ลิงทุกตัว หากไม่ม ี

องค์ราชา หัวหน้า ปกครอง อยู่ไย กำ�ซาบ ประดังมา กลัวตาย ใครช่วย

บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

อย่างพาซื่อ วานรใหญ่ ต้องผองภัย ไม่เข้าที อาบยาพิษ จึงพาหนี วายชีวี คงม้วยมรณ์

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 15


มีลิงที่ ถ้ากลัวเกรง ทิ้งลูกน้อง โลกจะค่อน

ริษยา ความวิบัติ ให้ตาย นินทา

ข้าฯ รู้ชัด แล้วผัดผ่อน ตัวหายจร หน้าตัวเมีย

แล้วจึงถวายโอวาทแด่พระราชาว่า... ผู้นำ�จงจำ�มั่น ผูกจิตมิตรไมตรี รักษาศีลและสัตย์ ชีวิตจะปลิดปลง อย่าหลงพะวงกาม ระวังหัวและหู ระวังโอฐยามโกรธจัด ขันติธรรมคำ�้ อารมณ์ คนดีจงส่งเสริม ทศพิธราชธรรม

ต้องขยันในหน้าที่ และพึงมีความซื่อตรง ทรัพย์สมบัติอย่าลุ่มหลง อย่าระย่อต่อศัตรู เรื่องเลวทรามน่าอดสู พวกโฉดเขลาชอบเป่าลม อย่าพลั้งตรัสจงหัดข่ม อย่าเบือนบิดผิดหลักธรรม คนเหิมเกริมข่มให้หนำ� เป็นเครื่องค้ำ�ผู้นำ�เอย

จบโอวาทแล้วพญาวานรก็สิ้นใจ พระราชาโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง ดุจดั่งว่าพระองค์ได้สูญเสียพระราชโอรสสุดที่รักของพระองค์ โปรดให้ จัดงานศพกลางพระนคร ครั้นถึงเวลารับสั่งให้ฌาปนกิจศพแบบสุมไฟ มิให้กระดูกแหลกป่น เสร็จแล้วโปรดให้สร้างสถูปกลางพระนคร จัดงาน เฉลิมฉลอง ๗ วัน ในทุก ๆ วัน ทรงตรัสเล่าถึงวิธีการอันเป็นภาวะผู้นำ� ของพญาวานรและขนานนามเมืองหลวงนั้นว่า “พาราณสี” 16

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


L

D E

A

E R

แด่...ผู้นำ�

ขอความเจริญในพระสัทธรรม จงบังเกิดมีแก่ประชาชนชาวไทย

ทุกท่าน เราพูดถึงภาวะผูน้ �ำ หรือนักบริหารกัน และเราก็มวี ชิ าการทีเ่ กีย่ วกับ นักบริหารหรือภาวะผู้นำ�ที่สอนกัน สอนกันแบบระยะสั้นก็มี สอนกัน แบบระยะยาวก็มี มีการอบรมบ่มความรู้ซึ่งกันและกันในทุกองค์กร ถ้า จะถามว่า... l ในภาวะผู้นำ�นั้นจะต้องมีคุณธรรมอะไรบ้าง ? l อะไรเป็นจุดเปราะบาง ? l อะไรเป็นสิ่งที่พึงสังวรระวัง ? l อะไรเป็นสิ่งที่พึงมีพึงเป็น ? บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 17


สิ่งเหล่านี้จะต้องศึกษา ต้องกำ�หนดจดจำ�ว่าภาวะผู้นำ� ผู้นำ�หรือ นักบริหาร ในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง จนถึงในระดับชาติ และระดับโลก นั้น จะมีอยู่ ๓ ช่วงด้วยกัน คือ... l ช่วงเริ่ม l ช่วงรุ่ง l ช่วงร่วง ซึ่งตรงกับกายภาพของมนุษย์หรือชีวิตของมนุษย์และสัตว์ ดั่งที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า... อุปปาทะ ฐีติ ภังคะ อุปปาทะ คือ เกิดขึ้น ฐีต ิ คือ ดำ�รงอยู่ ภังคะ คือ เสื่อม หรือ ดับไป ภาวะผู้ นำ � ก็ เช่ น เดี ย วกั น มี ๓ ช่ ว ง เพี ย งแต่ ว่ า ช่ ว งไหนจะ รวดเร็ว - จะยืนยง - จะยาวนานกว่ากันและกัน ผู้นำ�บางคนระยะ เริม่ แรงเพราะมีการเตรียมตัวดี แต่ไม่รกั ษาความรุง่ เรืองเอาไว้ได้ เพราะมี จุดบกพร่อง มีจุดเปราะบาง จึงสู่ภาวะที่ ๓ คือ ร่วงโรย เราจึงเห็น ประเภทที่รวยไม่ทนแต่จนถาวร ประเภท รวยไม่ทนแต่จนถาวร คือ ระยะเริ่มดีมาก แต่ระยะ ที่ รุ่ ง เรื อ งแล้ ว ขาดการบริ ห ารที่ จั ด เจนและอย่ า งระมั ด ระวั ง ครั้ น ร่วงโรยแล้วจึงเป็นประเภทจนถาวร คือ จนเงิน, จนศักดิ์, จนคนรัก และ ก็ ไ ม่ ส ามารถกลั บ ฟื้ น คื น มาได้ เข้ า ประเภทที่ ว่ า เวลาดี ค นก็ มาช่วย เวลาป่วยคนมักไม่มาเยี่ยม นี่ก็คือสิ่งที่จะต้องพึงระลึกถึง เสมอ 18

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


คราวนีก้ ารบ่มเพาะภาวะผูน้ �ำ นัน้ จะมีการบ่มเพาะอย่างไร จะต้อง เริ่มจากคุณธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียก่อน อย่างน้อย ก็ ๔ ประการ ถ้าจะเรียงคุณธรรมอันเป็น แกนกลางของทศบารมีธรรม ๑๐ ประการ คือ... l ทาน = การเสียสละ l ศีล = การรักษากฎเกณฑ์ไม่ก้าวล่วงต่อผู้อื่น l เนกขัมมะ = ออกบวช l ปัญญา = การแสวงหาความรู้ - ปัญญา l วิริยะ = ความเพียรอย่างยาวนาน l ขันติ = อดทน l สัจจะ = จริง l อธิษฐาน = ตั้งใจมั่น l เมตตา = มีความปรารถนาดี l อุเบกขา = ปลงใจยอมรับในกฎกรรมดี - ชั่ว นี่คือ...ทศบารมีธรรม... แต่ในทศบารมีธรรมนี้ แกนของทศบารมี นั้น มีอยู่ ๔ ข้อ คือ .... l วิริยะ l ขันติ l สัจจะ l อธิษฐาน นับจากเปลือกนอกและการกระทำ� ได้แก่ วิริยะ - ความเพียร ขันติ - อดทน บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 19


สัจจะ - จริง อธิษฐาน - ตั้งใจมั่น แต่ถ้านับจากแก่นในออกมา ก็คือ .... l อธิษฐานธรรม l สัจจธรรม l ขันติธรรม l วิริยธรรม นี่เป็นองค์ธรรมสำ�หรับผู้นำ�หรือผู้บริหารจะต้องระลึกเสมอ การเป็นผู้นำ�ขององค์กรนั้น ๆ จนถึงประเทศชาตินั้น มีอธิษฐานธรรมเพื่ออะไร ? พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระอธิษฐานธรรมว่า ....

ตั้งใจจะอุปถมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขันธสีมา รักษาประชาชนและมนตรี

นี่เป็น...อธิษฐานธรรมซึ่งออกมาเป็นปฏิญาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้มีพระปฐมบรมราชโองการว่า ...เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม... พระอธิษฐานธรรมข้อนีเ้ กิดภายในพระทัย และ ได้เปล่งเป็นปฏิญาณ เรียกว่าเป็น สัจจอธิษฐาน สู่ สัจจปฏิญาณ 20

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


เพราะฉะนั้นเมื่ออธิษฐานธรรมเป็นเช่นนี้ การกระทำ�ก็ต้องเป็น สัจจธรรม คือ จริงแท้แน่นอน ประดุจเช้าพระอาทิตย์ขนึ้ เย็นพระอาทิตย์ ตก พระอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่คงเส้นคงวา บุคคลผู้มีอธิษฐานธรรมที่ ประกอบสัจธรรมนั้น จะต้องประดุจพระอาทิตย์ ต้องมี ขันติธรรม คือ ความอดทน ไม่หวั่นไหวประดุจดังแผ่นดิน ต้องมี วิริยะ คือ เพียรประดุจพญาราชสีห์ออกหาเหยื่อ ธรรมะ ๔ ประการนี้ เป็นองค์ธรรมสำ�หรับผู้นำ� ผู้นำ�คนใดเริ่มต้น ความเป็นผู้นำ�โดยปราศจากองค์ธรรม ๔ ประการนี้ ถือว่าเป็น ผู้นำ�ที่ ไส้ใจล้มเหลว คนที่รักษาศีล คนรักษาศีลรู้จักแต่องค์ศีลแต่ไม่รู้จักคำ�ว่า... l หิริ - ละอายความชั่ว l โอตตัปปะ - ความกลัวผลของบาป เมื่อปราศจากแก่นหรือไส้ของศีล ศีลก็จะดำ�รงอยู่ไม่ได้ เพราะ หิริ โอตตัปปะ ความละอายชั่ว กลัวบาป นั้น เป็นตาวิเศษภายใน ซึ่งจะ สามารถทำ�ให้องค์ศีลนั้นอยู่ได้ครบ ไม่ว่าทั้งต่อหน้าและลับหลัง ผูท้ ปี่ ระพฤติปฏิบตั ธิ รรมเพือ่ ชีวติ หากไม่รจู้ กั คำ�ว่า อัปปมาทธรรม ผู้นั้นจะไม่สามารถรักษาธรรมะได้เลย ผู้ที่จะปฏิบัติถึงพระนิพพาน หากไม่รู้จักคำ�ว่า ไตรลักษณ์ คือ หลักของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา - ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ใช่ของเรา การเข้าถึงพระนิพพานจะไม่เกิดขึ้นเลย ข้อนี้ฉันใด บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะเข้าสู่ภาวะผู้นำ� และเป็นผู้นำ� ได้ ยื น ยงคงที่ เป็ น ผู้ นำ � ที่ โ ลกจะจารึ ก เป็ น ตำ � รา นานจะกลายเป็ น ตำ�นานนั้น ผู้นำ�คนนั้นจะต้องมี องค์คุณ เรียกว่า คุณธรรม ๔ ประการ เมื่อมี ๔ ประการแล้ว ผู้นำ�จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง ? บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 21


ผู้นำ�จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้ ... l ฟังมาก ๆ l คิดใคร่ครวญมาก ๆ l ปากช้าๆ l กล้าอย่างสมเหตุสมผล l หาคนร่วมงานที่ดี l มีที่ปรึกษารอบด้าน l มีพ่อบ้านแม่บ้านใจกว้างขวาง l รู้จักปล่อยวางบางกรณี

ฟังมาก ๆ คือ นอกจากหาความรู้ในการฟังมาก ๆ ดูมาก ๆ แล้ว

ก็เปิดใจฟังประชาวิจารณ์มาก ๆ คิดใคร่ครวญมาก ๆ ทำ�อะไรสักนิดหนึง่ คิดใคร่ครวญหลาย ๆ รอบ โดยรอบคอบ รอบด้าน รอบจัด ปากช้า ๆ คิดได้เท่าไรจะกรองออกมาสู่ปากแต่ละคำ�นั้นสำ�คัญ ท่านทั้งหลายจะต้องคิดว่าข้าวแต่ละคำ�ที่เราใส่ปากนั้น เรายังใคร่ครวญ ถ้วนถี่ ถ้ากินไม่ดี รับประทานโดยไม่พิจารณา แล้วเอาพิษเข้าตัว พิษก็ จะเข้าไปอยู่ในร่างกายของเรา กำ�จัดออกได้ยาก คำ�พูดก็เช่นเดียวกัน ถ้าออกจากปากแต่ละคำ�แล้วถ้าเป็นพิษแล้วแก้ไขยาก เพราะกระจาย ไปทั่วประเทศ กล้าอย่างสมเหตุสมผล จะกล้าอะไรอย่ากล้าแบบบ้าบิ่น ต้องมี เหตุมีผล ต้องสมเหตุสมผล กล้าจนกร้าวมักจะบิ่น หาคนร่วมงานที่ดี จะหาคนร่วมงานที่ดี ต้องเอาศีลเข้าไปวัด คนๆ นัน้ ก่อน เมือ่ เอาศีลเข้าไปวัดแล้ว ก็เอา ความขยัน อดทน ประหยัด ซื่อสัตย์ พัฒนาฝีมือ เข้าไปเป็นองค์ประกอบ 22

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


และเมื่อจะดูคนแล้ว จะต้องดูคน ๗ ประการ... ๑. อุฏฐานะวะโต .... ขยันไหม ? ๒. สติมะโต .... มีสติไหม ? ๓. สุจิกัมมัสสะ .... สะอาดไหม ? ๔. นิสัมมะการิโน... เขาใคร่ครวญถ้วนถี่ไหม ? ๕. สัญญตัสสะ คือ สัญญโต... เขามีความอ่อนน้อมถ่อมตนไหม ? ๖. ธัมมะชีวโิ น... เขาครองชีวติ โดยธรรม คุณธรรม หรือเปล่า ? ๗. อัปปะมัตตัสสะ... เขาเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิตหรือเปล่า ? ผู้ร่วมงานที่ดี ๗ ประการนี้จึงมีความสำ�คัญ มีที่ปรึกษารอบด้าน ผู้นำ�ที่ดีนั้นจะต้องมีที่ปรึกษา เรียกว่า เป็น หัวคิดในหลาย ๆ เรื่อง ในหลาย ๆ กรณี มีพ่อบ้านแม่บ้านที่ใจกว้างขวาง ถ้าผู้นำ�ที่เป็นผู้หญิงจะต้องมี พ่อบ้านที่ใจกว้างขวาง ถ้าผู้นำ�ที่เป็นผู้ชายต้องมีแม่บ้านที่ใจกว้างขวาง ยอมเสียสละ เหมือนพระนางมัทรีเสียสละให้กับพระเวสสันดร ได้ทำ� ทานบารมี ได้สร้างบารมี รู้จักปล่อยวางในบางกรณี ผู้นำ�ที่ดีนั้นจะเก็บความคิดทุกเรื่อง มาให้เปลืองสมองไม่ได้ สมองของผู้นำ�ก็จะกลายเป็นที่เก็บขยะความคิด อันเป็นพิษเป็นภัย เพราะฉะนั้น องค์ประกอบของผู้นำ�ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักนั้น ก็เป็นดังนี้ คราวนีห้ นั มาดูวา่ ผูน้ �ำ บางคน ทำ�ไมจุดเริม่ ต้นดี จุดรุง่ เรืองไม่ยาวไกล สู่จุดร่วงโรยที่เร็วพลัน ก็เพราะว่าเขามีจุดเปราะบาง เรียกว่า จุดเปราะ ของผู้น�ำ บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 23


จุดเปราะของผู้น� ำ คืออะไร ? l ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น l ยืนยันแต่ความคิดเห็นของตน l ไม่อดทนต่อคำ�วิจารณ์ l เดือดดาลเมื่อมีผู้ทักท้วง l ชอบล้วงลูกงานผู้อื่นมาทำ� l ใช้ค�ำ หยาบคำ�โต l อวดโก้ด้วยวัตถุเครื่องบริโภค l อยู่ในโลกของความหลอกลวง ไม่ฟังความคิดเห็นผู้อื่น นี่เขาเรียกว่า ผู้น�ำ ที่หลงตัว ยืนยันหรือหยิบยื่นเอาเฉพาะความคิดเห็นของตน ก็คือว่า ของ ฉันถูก ต้องเป็นอย่างนี้ ไม่อดทนต่อคำ�วิจารณ์ ใครทักท้วง ใครวิจารณ์ กลับโกรธเคือง เดือดดาลเมื่อมีผู้ทักท้วง เห็นคนทักท้วงกลายเป็นศัตรู ชอบล้วงลูกงานผู้อื่นมาทำ� เก่งจนกระทั่งไปดึงงานเล็ก ๆ มาทำ� โดยคิดว่าคนอื่นไม่มีความสามารถ เขาเรียก...ไม่หัดวางมือ วางใจ ด้วย การวางงาน... ใช้ค�ำ หยาบคำ�โต เป็นผูน้ �ำ ทีช่ อบใช้ค�ำ หยาบคาย ดุ - ด่า - ว่ากล่าว และชอบใช้คำ�หยาบนั้นข่มขู่ผู้อื่น อวดโก้ด้วยวัตถุเครื่องบริโภค แสดงฐานะของผู้นำ�ว่าร่ำ�รวย รถยนต์ นาฬิกา เครื่องใช้ไม้สอย บ้านช่องใหญ่โต การใช้เงินเป็นปึกๆ อยู่ในโลกของความหลอกลวง คือ คิดว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นสิง่ อันพึงถาวร โลกแห่งความหลอกลวงนี้ ไม่ใช่โลกธรรม ไม่ถอื ว่า 24

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


ผู้นำ�คนนั้นมีโลกทัศน์ แต่อยู่อย่างหลงโลก เพราะวัตถุเครื่องสิ่งของนั้น ล่อลวงตน เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า... เอถะ ปัสสถิมัง โลกัง จิตตัง ราชะระถูปะมัง ยัตถะ พาลา วิสีทันติ นัตถิ สังโค วิชานะตัง สูทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ ที่คนโง่เขลา หมกอยู่ แต่ผู้รู้หา (เกี่ยว) ข้องอยู่ไม่ ผู้ นำ � ที่ มี ลั ก ษณะดั ง กล่ า วแล้ ว จึ ง พบจุ ด เปราะบางและหั ก เห หักโครมลงไป นี่คือสิ่งที่ท่านทั้งหลายซึ่งประสงค์จะศึกษาภาวะผู้นำ� จะต้องระมัดระวัง คราวนี้เมื่อเป็นผู้นำ�แล้ว ผู้นำ�ที่กำ�ลังรุ่งเรืองนั้นควรจะต้องสังวร ระวังอะไรบ้าง ? ผู้น�ำ ที่กำ�ลังเจริญรุ่งเรืองด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จะต้องสังวร ระวัง ดังต่อไปนี้... จะต้องระวังผู้ช่วย ที่ปรึกษา และองครักษ์ จะกลายเป็นสุนัข เลียเท้า ปัจจุบันนี้ ผู้นำ�ในทุกองค์กรจะมีผู้ช่วย ที่ปรึกษา มีองครักษ์ มากมาย แต่ที่ปรึกษาก็ไม่ได้ให้ความคิดเห็นอะไร และบางทีแต่งตั้ง ที่ปรึกษาก็ไม่น่าที่จะเป็นตำ�แหน่งนั้น บางคนตำ�แหน่งน่าจะเป็นผู้ช่วย แต่กลายเป็นที่ปรึกษา บางคนตำ�แหน่งน่าจะเป็นที่ปรึกษาแต่กลาย เป็นผู้ช่วย บางคนชอบเป็นองครักษ์ สิ่งเหล่านี้ผู้นำ�บางคนไม่ได้คิด แต่ พฤติกรรมที่แต่งตั้งไปแล้ว ผู้ช่วย ที่ปรึกษาหรือองครักษ์นั้นมีพฤติกรรม เหมือนสุนขั เลียเท้า เราจึงเห็นบรรดาผูน้ �ำ ในประเทศของเราในทุกระดับ บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 25


จะต้องมีคนที่ประจบสอพลอ คือประเภทที่ คลุก - เคลีย - เลียเท้า เข้าหา กลายเป็นว่ามี พวกต้อย กับ พวกจุ้น คุณต้อยก็เลยทำ�วุ่น คุณจุ้นก็เลยทำ�ยุ่ง ตรงนี้ก็คือสิ่งที่ผู้นำ�พึงสังวรระวังว่าคนเหล่านั้นมีคุณสมบัติจริง ๆ หรือเปล่า ? ท่านตัง้ ถูกต้องหรือเปล่า? และพฤติกรรมของเขาทีแ่ สดงออก ทัง้ ต่อหน้าเรา บางทีตอ่ หน้าเราจุน้ ๆ ไปเพือ่ เรา แต่ลบั หลังนัน้ ไปจุน้ จ้าน กับคนอืน่ ต่อหน้าเราเป็นต้อย ลับหลังทำ�ตัวใหญ่โต ประเภท ตัวเท่าเสา เงาเท่าฝาผนัง ดังนั้น ผู้นำ�ที่ไม่สังวรระวังตรงนี้ บริวาร ที่ปรึกษา ผู้ช่วย องครักษ์นั้น จะกลายเป็นลิ่วล้อซึ่งสร้างความเดือดร้อนสารพัดสารเพ ไปหมด

จงระวังคนข้างเคียง จะกลายเป็นหอกข้างแคร่ ผู้นำ�บางคน

ไม่เลือกคบคน ไม่เลือกไว้วางใจคน ไม่เลือกแต่งตั้งคน คนข้างเคียงก็เลย กลายเป็นหอกข้างแคร่ เอาความลับของผูน้ �ำ หรือเอาความดีงาม เอาแผน พัฒนาและความล้มเหลว ไปโยนให้ศัตรู

ระวังเพือ่ นใกล้ชดิ จะกลายเป็นปัจจามิตรใกล้ตวั ผูน้ �ำ บางคน มี

เพือ่ นร่วมน�ำ้ สาบานร่วมกันมา เคียงบ่าเคียงไหล่กนั มา ต่อมาเมือ่ ได้ดแี ล้ว กลับลืมตัว ทิ้งเพื่อนใกล้ชิดให้ตกตำ่� หรือกลัวจะทัดหน้าเทียมตาเมื่อมี ผูน้ ยิ มชมชืน่ จึงทำ�เพือ่ นใกล้ชดิ นัน้ ให้เป็นปัจจามิตรใกล้ตวั และผลทีส่ ดุ ก็กลายเป็นผู้นำ�ที่ระแวงเพื่อน มีจำ�นวนไม่น้อยที่ฆ่าเพื่อนปรากฏให้เห็น ในประวัติศาสตร์โลกมาแล้ว ระวังคนใกล้ชดิ จะกลายเป็นอสรพิษทีฉ่ กกัด ผูน้ �ำ บางคนไว้วางใจ คน โดยไม่รู้ถึงหัวนอนปลายเท้าที่มาที่มีของคนนั้น เอามาเลี้ยงเอาไว้ 26

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


ผลทีส่ ดุ กลายเป็นชาวนาเลีย้ งงูเห่า เป็นอสรพิษทีฉ่ กกัด เพราะพวกนีเ้ ป็น คนไม่มีคำ�ว่า “พอ” ระวังขนตา จะกลายเป็นศาสตรา ที่ว่าเป็นหูเป็นตาแทนเรา เที่ยวป้องกันลูกตาเรา เป็นลูกตาแทนเรานั้น บางทีขนตาที่หัก ๆ นั้นจะ กลายเป็นศาสตราที่แทงตา ผงที่เข้าตาไม่เจ็บแสบเท่าขนตาที่มีความ แหลมคมที่มันแทงตาเราทุกวัน

ระวังหัวคิด ถ้ามากด้วยโลภจิต จะกลายเป็นหัวคด ผู้นำ�ที่

ไม่สามารถกำ�จัดโลภจิตได้ เมือ่ ได้เสวยอำ�นาจแล้ว หัวคิดดี ๆ นัน้ จะกลับ เป็นหัวคด เพราะโลภจิตจะบ่มเพาะความโลภจนกลายเป็นทุจริต และ นี่คือความหายนะของผู้นำ� เราจึงเห็นผู้นำ�หลายประเทศในโลก ตั้งแต่ ระบบกษัตริย์ในประเทศฝรั่งเศสหรือทุกประเทศในโลก รวมทั้งที่ต่อมา เปลีย่ นเป็นระบอบประชาธิปไตย ผูน้ �ำ ทีไ่ ม่เคยหยุดรวยแต่ยงั อยาก ได้คบื เอาศอก ได้ศอกเอาวา ได้วาเอาโยชน์ คิดว่าประเทศชาตินั้น ๆ เป็นของ ตนเอง หัวคิดดี ๆ จึงกลายเป็นหัวคด และสร้างบริวารลิว่ ล้อทีป่ จั จุบนั เขา เรียก...เทค โอเวอร์ (take over)… ธุรกิจในระดับประเทศและในระดับ โลก ผลที่สุดก็เอาเงินไปฝังไว้ในบัญชีต่าง ๆ เพื่อว่าเกิดเรื่องแล้วจะหลบ อย่างนี้ถือว่าโลภจิตเป็นตัวอันตราย จะต้องสำ�รวจเสมอ

ระวังเมียที่แสนดี จะกลายเป็นแมวที่แสนดื้อ ผู้นำ�ผู้ชายบางคน

ไม่สนใจระบบครอบครัว ไปหลงระเริงกับเพือ่ นฝูง กับลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ระเริงกับผู้หญิงข้างนอก จนทำ�ให้เมียที่แสนดีเกิดความชอกช้ำ� กลายเป็นแมวที่แสนดื้อ แล้วก็มีการทะเลาะกัน มีการเปิดเผยข้อมูล ผลที่สุดเมียบางคนก็กินยานอนหลับ กินยาตาย ฆ่าตัวตาย และที่สำ�คัญ ที่สุดก็คือว่าถ้าผู้นำ�คนนั้นเป็นคนไม่สุจริตต่อสังคมและประเทศชาติ บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 27


เมื่อเมียไม่ศรัทธาแล้วว่ากล่าวอะไรกันก็ไม่ได้ เมียจึงเอาความลับมา ล้างแค้น ผูน้ �ำ ผูห้ ญิงต้องระวังว่า อย่าให้ลกู ชัว่ ผัวไปมีเมียน้อย ผูห้ ญิง บางคนจะสู่ภาวะผู้นำ�ทางสังคม ประเทศชาติ ไม่สนใจเรื่องลูกเรื่องสามี ลูกก็ชั่ว ผัวก็กลายเป็นไปมีเมียน้อย ผลที่สุด บ้านช่องถึงภาวะบ้านแตก สาแหรกขาด ผู้นำ�ผู้ชายจะต้องระวังว่า ลูกจะเสีย เมียจะซ่า ผู้นำ�ผู้ชาย บางคนไม่สนใจลูก ปรากฏว่าลูกเสีย เมียล่ะ ? เมียออกหน้าออกตา ทำ�เป็นซ่าในสังคม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็กลายเป็นจุดเปราะของผู้นำ� ที่นำ�วิบัติและนำ�วิบากกรรมมาสู่ผู้น�ำ คนนั้น ข้อเตือนใจเหล่านี้ ผู้นำ�ทั้งหลายจะต้องระลึกตรึกตรองเสมอว่า อะไรกันแน่ที่ท�ำ ให้ผู้นำ�ทั้งหลายประสบความย่อยยับ คราวนี้ การเป็ น ผู้ นำ � นั้ น จะเป็ น ผู้ นำ � ที่ ถ าวรจะเป็ น อย่ า งไร อาตมภาพว่าดูอย่างพระประธานในโบสถ์ในวิหารแล้วกัน พระประธาน ที่ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ห รื อ ศาลเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ จะต้องมีคุณสมบัติ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ พระประธานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิใ์ นโบสถ์ในวิหารต่างๆ นัน้ จะมีคณ ุ สมบัติ ที่ถาวร คุณสมบัติของผู้นำ�ที่ถาวรที่จะเป็นประธานได้ยืนนานเป็นร้อย เป็นพันปีนั้น โบราณท่านถอดเอามาจากองค์คุณของพระพุทธเจ้า งาน ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำ�ที่ถาวร เป็นมนุษย์ซึ่งแสดง ภาวะผู้นำ�ที่ประเสริฐ แม้ถอดมาเป็นพระพุทธปฏิมาแล้ว คนที่ตาดีก็ยัง อ่านได้ในความหมายนั้น ผู้นำ�ชั้นเลิศนั้นจึงต้องเอาอย่างพระประธาน คืออะไร ? 28

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


คือ...

สิ้นกิเลส l เกศแหลม l ตาดู l หูยาน l นั่งนาน l ไม่ขานตอบ l ยิ้มปลอบประโลมใจ l ตัดสินให้ด้วยความยุติธรรม l

สิ้นกิเลส สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทำ�งานให้กับโลก

นั้น ทรงสิ้นกิเลสก่อนแล้วจึงทำ�งาน พระพุทธเจ้าไม่สนใจต่อเครื่องเซ่น บวงสรวง เครื่องล่อต่าง ๆ แม้แต่ความเป็นจักรพรรดิ หรือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ดังนั้นใครประสงค์ภาวะเป็นผู้นำ� ต้องตัดกิเลส ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ให้มันหมด

เกศแหลม พระพุ ท ธเจ้ า ทรงประกอบด้ ว ยพระปั ญ ญาธิ คุ ณ

จึงเกศแหลม ผู้นำ�จะต้องหัวแหลม ซึ่งจะต้องหาวิชา ปัญญา ปฏิภาณ ประสบการณ์มาก ๆ เสริมความรู้

วิชา - ปัญญา - ปฏิภาณ - ประสบการณ์ -

ทำ�ให้ฉลาดรอบรู้ เฉลียวรอบคอบ แฉลบรอดภัย ผ่านงานที่มากมาย

บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 29


ตาดู เราไปไหว้พระพุทธเจ้าครั้งใดๆ ตาท่านไม่เคยกระพริบ

เป็นเครื่องหมายว่าพระพุทธเจ้านั้นทรงสอดส่องดูชาวโลกทั้งหมด ผู้นำ� ก็เหมือนกัน จะต้องดูแลบริวารและงานของตัวเอง อย่าให้คลาดสายตา อย่ากระพริบตา ไม่เช่นนั้นแล้วงานจะบกพร่องและคนจะโกง จะต้อง ตรวจสอบดูเสมอ

หูยาน เขาสร้างพระพุทธรูปหูยาน มิได้หมายความว่าอายุยืน

แต่หมายความว่ามี...วิจารณญาณ และ อาสวักขยญาณ... วิ จ ารณญาณ คื อ ฟั ง อะไรแล้ ว ใคร่ ค รวญ ไม่ หู เ บา หู ห นึ่ ง ตะแคงขวา ติดดิน คือหูขวา หูซ้ายฟังอากาศ พระพุทธเจ้าจึงนอน ตะแคง ฟังทั้งดินและอากาศ ผู้นำ�ที่ดีนั้นควรมีวิจารณญาณ ฟังล่าง ฟังบน อาสวักขยญาณ คือ อย่ามีอคติ อคติ แปลว่า ไปไม่รอด

นั่งนาน พระประธานนั่งตรงไหนนาน ไม่เคยย้ายที่ ไม่เคยเบื่อที่

ผูน้ �ำ ทีด่ นี นั้ อย่าวิง่ โยกย้าย จงมีความยินดีในตำ�แหน่งงานของตน จนกว่า จะมีคนยกย่อง ไม่ใช่ตัวเองวิ่งโยกย้าย

ไม่ ข านตอบ ใครไปพูดอะไรดีไม่ดี ไม่ขานตอบ ผู้นำ�ที่ดีนั้น

จะต้องไม่ค่อยพูดอะไร และบางกรณีไม่พูดได้ดีที่สุด

ยิ้มปลอบประโลมใจ ใครสุข พระประธานดีใจด้วย อนุโมทนา

ใครทุกข์ก็ปลอบใจ ยิ้มปลอบใจ ผู้นำ�ที่ดียิ้มดีใจยามเขาประสบความ สำ�เร็จ จะต้องให้ก�ำ ลังใจเขายามประสบความล้มเหลว จะต้องเป็นเพือ่ น ประชาชนและบริวารยามทุกข์ยาก ไม่ใช่เป็นผู้น�ำ ที่หลบอยู่โดยที่คนเขา ไม่เคยเจอหน้า 30

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


ตัดสินให้ด้วยความยุติธรรม แม้เมื่อเกิดปัญหาการทะเลาะ

และความไม่เข้าใจขึ้นในบริวาร จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม โดย กฎกรรมก่อนแล้วจึงตามมาด้วยกฎเกณฑ์ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ คือ สิ่งที่อาตมภาพขอฝากเป็นวิชาภาวะผู้นำ�ใน ทุกระดับ มิได้ประสงค์จะเจาะจงเฉพาะใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ประสงค์ จะว่ากระแนะกระแหนใครคนใดคนหนึ่ง เมื่อผู้ใดฟังหรืออ่านแล้วรู้สึก เจ็บ เจ็บร้อน เจ็บปวด ก็แสดงว่ายังรักษาได้ แต่อย่าเจ็บแค้นแทนคนนั้น คนนี้ จะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย อยากจะฝากผู้นำ�ในการบริหารประเทศว่า ผู้บริหารประเทศนั้น จะต้องมีความตัง้ ใจบริหารประเทศชาติ อย่าให้ประชาชนตกเป็นทาส อบายมุข ยาเสพติด และการพนัน เด็ดขาด ไม่เช่นนัน้ แล้วประเทศชาติ ของเราจะไปไม่รอด และจะไปไม่รงุ่ จึงขอฝากเป็นข้อคิดสะกิดเตือนใจ เอาไว้ ระตะนัตตะยานุภาเวนะ ขออำ�นาจพระปกป้องน้องพี่ ทุกข์โศกโรคภัยอย่าได้ราวี ให้ทุกท่านมีอายุยืนนาน ยึดมั่นหลักธรรมองค์สัมพุทธา ทาน ศีล ภาวนา ยึดเป็นแก่นสาร ให้ทกุ ท่านได้ยลมรรคผลนิพพาน ลาโยมทุกท่าน เอวังก็มดี ว้ ยประการฉะนี้ ขออำ�นวยพร • ปาฐกถาธรรมทางสถานีวทิ ยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย โดย พระราชวิจติ รปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ) วัดสุทัศนเทพวราราม วันอาทิตย์ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 31


L

D E

A

E R

ผู้นำ�

ทุกคนอยากเป็นผู้นำ� “ผู้นำ�” มีความจำ�เป็น สัตว์ก็มีผู้นำ� เขา

เรียก “จ่าฝูง” ช้างก็เรียกว่า “จ่าโขลง” ต้องมีผู้นำ� ผู้น�ำ อาจจะเกิดจาก การต่อสู้ เกิดจากอะไรก็แล้วแต่ มีหลายอย่าง แต่อย่าให้เกิดการต่อสู้ ด้วยกำ�ลังแล้วเป็นผู้นำ� เราไม่ใช่สัตว์เดรัจฉาน และในการเป็นผู้นำ�มี ความจำ�เป็นที่จะต้องมีพื้นฐานของการเป็นผู้นำ�สัก ๗ อย่าง ซึ่งประมวล จากการบริหารพระศาสนาของพระพุทธเจ้า l มีความรู้กว้างขวาง l ไว้วางใจ l ให้โอกาส l ปราศจากอคติ l มีความดำ�ริก้าวหน้า l เกิดปัญหาแก้ไข l ป้องกันภัยผู้ทำ�งาน ๗ ประการนี้ เป็น “หลักการของผู้นำ�”

มี ค วามรู้ ก ว้ า งขวาง อย่าหยุด ผู้นำ�นั้นไม่ใช่อยู่สูงแล้วไม่มี

ความรู้ ก็เป็นได้แค่นก เทีย่ วบินข่มขูผ่ อู้ นื่ เทีย่ วบินข้ามหัวคนอื่น สูงแล้ว 32

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


ไม่มคี วามรูเ้ ป็นได้แค่นก เขาเรียกว่า ไม่มวี สิ ยั ทัศน์ทชี่ ดั เจน ไม่มวี สิ ยั ทัศน์ ทีจ่ ดั เจน และ ไม่มวี สิ ยั ทัศน์ในวิสยั ธรรม ผูน้ �ำ ต้องหาความรูเ้ พิม่ พูนเสมอ ที่เรียกว่า “ยุคแห่งสารสนเทศ” หรือ “ยุค ไอที (IT)” ไว้ วางใจ ต้องหัดไว้วางใจคน คนที่ควรจะไว้วางใจนั้น ต้องดู ๕ อย่าง “ขยัน, อดทน, ประหยัด, ซื่อสัตย์, กตัญญู” ให้โอกาส ต้องให้โอกาสคนในการพิสูจน์ความสามารถ และสร้าง โอกาสไว้ให้คนรุ่นหลัง ปราศจากอคติ อย่าลำ�เอียง ท่านทั้งหลายคงทราบอยู่แล้วว่า ความลำ�เอียงนั้น เราล่ม ไม่ใช่เขาล่ม การลำ�เอียงนั้น แปลว่า เราล่มแล้ว มีความดำ�ริก้าวหน้า ต้องมีความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ อย่ายำ�่ อยูก่ บั ที่ ขอให้ถอื หลักว่า “อนุรกั ษ์ พัฒนา” ซึง่ เป็นหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “อนุรักษ์ พัฒนา” คือ “ความดำ�ริก้าวหน้า” เกิดปัญหาแก้ไข อย่าดองปัญหา ยาดองดีเป็นของดี แต่ ดองปัญหา ไม่ดี ดองแล้วมัน “อากูล” คือ คั่งค้าง ดองแล้ว “ปฏิกูล” คือ “เน่าเสีย” ป้องกันภัยผูท้ �ำ งาน ต้องเป็น “ผูบ้ ริหารแม่ไก่” คือ “ต้องป้องกัน ภัยลูกน้องด้วย เวลามีเหยี่ยวเฉี่ยวโฉบ ต้องโอบปีกป้อง กาง ๒ ปีก ออกคุม พาลูกทั้งกลุ่มเข้าเล้า” ๗ ประการนี้ เป็นอุปนิสัยหรือคุณธรรมของผู้นำ� ต้องถามตัวเอง ว่า เราเป็นผู้นำ�ไหม ? เป็นผู้นำ�ที่มีคุณธรรม ๗ ประการไหม ? ถ้ามี แสดงว่าเป็น “ผู้นำ�ที่ดี” • บทความจากหนังสือ “คติธรรมนำ�ชีวิต เล่ม ๑” โดย พระพิพิธธรรมสุนทร (พระราชวิจิตรปฏิภาณ [เจ้าคุณพิพิธ] ) วัดสุทัศนเทพวราราม บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 33


L

D E

A

E R

ภาวะผู้นำ�

โลกทั้งโลกกำ�ลังต้องการผู้นำ� ในภาวะผู้นำ�นั้น ต้องมีภาวะถึง

๓ ประการ ผู้นำ� นี้ ในทางบ้านเราเรียกว่า หัวหน้าคน หรือ ผู้นำ�คน และเรา ก็มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า “Leader” แปลว่า ผู้นำ� ภาวะของผู้น�ำ นั้น จะต้องมีภาวะอย่างไรบ้าง ? ภาวะของผู้นำ� จะต้อง... - เป็นหัวหน้าคน - เป็นหัวคิดของคน - เป็นหัวใจให้แก่คน หรือกุมหัวใจคนไว้ นี่คือ “ภาวะผู้นำ�ที่สมบูรณ์แบบ” การเป็นผู้นำ�โดยความเป็นหัวหน้าคนนั้น ต้องเป็นคนกล้า และ กล้าอย่างภาคภูมิ ความเป็นคนกล้านี่แหละ เรียกว่า “กล้านำ�หน้า” เหมือนเช่นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นผู้นำ� มีภาวะเป็นผู้นำ� คือ กล้าตัดสินพระทัยทีจ่ ะประกาศอิสรภาพ อย่างนีเ้ ขาเรียกว่า “มีภาวะผูน้ �ำ อยู่ในตัวเอง” คนที่อยากจะเป็นผู้นำ�ก็ต้องมีจิตใจที่กล้าขนาดนี้ ประการที่สอง ต้องเป็นหัวคิดให้แก่คน คือหมายความว่า “ต้อง คิดแทนคนได้ทงั้ หมด” และคิดนิดเดียวต้องลัดระยะทางแห่งความสำ�เร็จ ให้ได้ ดังนั้นการที่เป็นหัวคิดของคนนั้น ต้องคิดอย่างรอบคอบ และ ต้องคิดอย่างรอบจัด คือ ต้องมีกลเม็ดเด็ดพราย ต้องมีชน้ั เชิง คิดทือ่ ๆ ไม่ได้ 34

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


คนที่มีความกล้าโดยความเป็นหัวหน้าคน แต่ขาดความคิด ไม่มี หัวคิดนั้น ก็เป็นพวกหัวหมู่ทะลวงฟัน คือนำ�หน้าเลย หรือเป็นพลทหาร แนวหน้า หรือกลายเป็นเบีย้ เป็นเม็ดในกระดานหมากรุก ซึง่ เป็นเกมของ การต่อสู้ในทุกชนิด ดั ง นั้ น คนที่ เ ป็ น หั ว คิ ด ของคนนั้ น จะต้ อ งสั่ ง สมอบรมความรู้ ความเข้าใจ เรียกว่า “วิสัยทัศน์” และเมื่อคิดแล้ว คิดอย่างเดียวไม่ได้ เดี๋ ย วเป็ น เผด็ จ การ ต้ อ งรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของคนอื่ น เรี ย กว่ า “มีประชาพิจารณ์” และประมวลความคิดความเห็น และก็คดิ แก้ปญ ั หา ให้ได้ และคิดพัฒนาให้ได้ “แก้ปัญหา-พัฒนา” นั่นคือหลักการของ หัวหน้าและเป็นหัวคิดให้คน และที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด ก็ คื อ ว่ า ต้ อ งเป็ น หั ว ใจคนให้ ไ ด้ คื อ ต้ อ ง เป็นศูนย์รวมจิตใจ และการเป็นหัวใจคนนั้น ภาวะผู้นำ�ที่สำ�คัญที่สุด ก็คือว่า ต้องมั่นคงอยู่ในศีลธรรม เพราะคนจะยอมรับความเป็นผู้นำ � ของคนได้นนั้ นอกจากความเป็นหัวหน้าในด้านความกล้า ความเสียสละ ความเก่งฉกาจแล้ว นอกจากยอมรับในความคิดที่ลำ้�เลิศประเสริฐแล้ว เขายังต้องการศูนย์รวมแห่งจิตใจ คือเป็นหัวใจคนอีกด้วย ผู้นำ�คนใดที่เก่งสองอย่าง แต่ปราศจากศีลธรรม อย่าว่าแต่นำ� ระดับชาติเลย แม้นำ�ในระดับครอบครัวก็ไม่ประสบความสำ�เร็จแล้ว เพราะเหตุว่าคนเรานั้น เมื่อจะวางใจด้วยการยอมรับนับถือใคร เคารพ นับถือใคร เชิดชูบชู าใครนัน้ เขาต้องเชือ่ มัน่ ในศีลธรรมของผูน้ น้ั ซึง่ เป็นผูน้ �ำ รวม ๓ ภาวะผู้นำ� ทั้งการเป็นหัวหน้าด้วยความกล้า เสียสละ การเป็นหัวคิดด้วยความรู้ และการเป็นหัวใจด้วยศีลธรรมนี้ คือ ภาวะ ผู้นำ�ที่แท้จริง • บทความจากหนังสือ “คติธรรมนำ�ชีวิต เล่ม ๗” โดย พระพิพิธธรรมสุนทร (พระราชวิจิตรปฏิภาณ [เจ้าคุณพิพิธ] ) วัดสุทัศนเทพวราราม บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 35


L

D E

A

E R

นักปกครอง

นักปกครองที่ดีและผู้ประสบความสำ�เร็จ มีหลักอยู่ว่า

ไม่เอาใจห่างผู้ใต้ปกครอง คือ ต้องเอาใจใส่ผู้ใต้ปกครอง ผู้ใต้ปกครองต้องไม่หยิ่งผยองว่าตนเองมีความสามารถ การทำ�งานร่วมกันต้องไม่คลาดจากคลองธรรม นักธุรกิจคนหนึ่ง ได้ประกอบธุรกิจการค้าขายจนเจริญรุ่งเรือง เวลากลางคืนได้อาศัยสุนัขตัวโปรดเฝ้าบ้าน เห่ากัดขโมยโจร เมื่อฐานะ รำ�่ รวยขึ้น สุนัขตัวนี้ก็ท�ำ หน้าที่เฝ้าบ้านทำ�งานหนักตลอดทั้งคืน แต่เมื่อ ฐานะเริ่มดีขึ้น นักธุรกิจผู้นี้หรือพ่อค้าผู้นี้เริ่มไม่มีเวลาจะสนใจสุนัข ตัวนี้ ปล่อยให้อดมื้อกินมื้อ อดสองมื้ออิ่มมื้อเดียว ต่อมาได้ซื้อแพะ ตัวหนึง่ มาเลีย้ งไว้เป็นเพือ่ นลูก แพะตัวนีเ้ อาอกเอาใจเจ้านาย เจ้านายก็ซอื้ ของกินมาฝาก ซื้อแตงโมมาฝาก ซื้อกล้วยมาฝาก ซื้อผักมาฝาก เจ้านาย กับลูกน้องกับลูกหลานหลงแพะ แพะตัวนี้ก็ออกรับหน้าเพราะได้กิน ตลอด จนสร้างความน้อยใจให้สุนัขซึ่งอดหลับอดนอนเฝ้าสมบัติของ 36

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


พ่อค้าผู้นี้ สุนัขตัวนี้เห็นแพะเจริญรุ่งเรืองก็เกิดความน้อยใจ น้อยใจ ทั้งเจ้านายและน้อยใจทั้งสัตว์ด้วยกัน เก็บความน้อยใจหวังจะแก้แค้น วันหนึง่ โจรมาปล้นบ้านสุนขั จึงไม่เห่า ในคืนวันนัน้ แพะเห็นโจรจึง เข้ามาถามสุนขั มาบอกสุนขั ว่า “เห่าสิเพือ่ น” สุนขั ตัวนีเ้ ก็บความน้อยใจ เอาไว้และบอกกับแพะว่า “เห่าทำ�ไม ยิ่งเห่าก็ยิ่งผอม เห่าแล้วเขารวย เรายิ่งผอมลง เห่าทำ�ไม” แพะอดรนทนไม่ได้เลยร้องขึ้นด้วยเสียงอันดัง หวังจะให้เจ้านายตื่นเพื่อมาไล่โจร ไล่ขโมย ร้องถึงสองครั้งสามครั้ง จนเจ้านายรำ�คาญ รู้สึกว่า เอ๊ะ ! ให้กินอิ่มแล้วยังต้องมาร้องรบกวน ก่อความรำ�คาญให้ลกู ตืน่ ด้วยอารมณ์ทโี่ มโห จึงถือไม้คอ้ นลงมาตีหวั แพะ จนตาย สุนัขมองแพะด้วยความกระหยิ่มใจ เจ้าของบ้านขึ้นบ้านไปแล้ว โจรเข้าปล้นสมบัติจนหมดสิ้น เช้าวันรุ่งขึ้น เจ้าของบ้านเจอสุนัขแล้วก็ไล่ตีออกจากบ้านไป สุนัขตัวนี้นึกว่าไปอยู่บ้านอื่นก็ได้ แต่ทันทีที่ไปบ้านนั้นบ้านนี้เขาก็ไล่ว่า “เป็นสุนัขบ้านนั้น ยังไม่เฝ้าบ้านให้ได้ เราจะเลี้ยงไปทำ�ไม” ผลที่สุด สุนัขตัวนั้นก็หายไป ท่านทั้งหลายอ่านเรื่องนี้แล้ว ต้องคิดตามหลักที่อาตมภาพได้ จุดประเด็นเอาไว้ว่า

ต้องเอาใจใส่ผู้ใต้ปกครอง ต้องไม่หยิ่งผยอง ต้องไม่คลาดจากคลองธรรม

• บทความจากหนังสือ “คติธรรมนำ�ชีวติ เล่ม ๘” โดย พระพิพธิ ธรรมสุนทร (พระราชวิจติ รปฏิภาณ [เจ้าคุณพิพธิ ] ) วัดสุทศั นเทพวราราม บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 37


L

D E

A

E R

อำ�นาจ

ทุกคนอยากเป็นผู้นำ�ของสังคมทั้งนั้น อยากให้เขายอมรับใน

บทบาทหน้าที่ของตน การเป็นผู้นำ�สังคม ทั้งในระดับล่างถึงระดับสูง จึงมีการขวนขวายตะเกียกตะกาย และบางครั้งที่ได้ตำ�แหน่งหน้าที่มา ไม่ใช่ด้วยความสามารถ การเป็นผู้นำ�ที่ปราศจาก วิชา ปัญญา ปฏิภาณ ประสบการณ์ ปณิธาน ปฏิญาณ นั้น ถือว่าเป็นผู้นำ�ที่ใช้ไม่ได้ เป็นไปเพื่อตัวเองบ้าง เป็นไปเพื่อเมีย เป็นไปเพื่อลูก เป็นไปเพื่อป้องกันการทุจริตของตนบ้าง การเป็นผู้นำ�เช่นนี้รังแต่จะเกิดความหายนะ การได้สถานะของผู้นำ� หรือผู้แทนชุมชนมา ก็เป็นไปเพียงเพื่อความหายนะเท่านั้น บางคน ได้มาจากปืน อำ�นาจปืน อำ�นาจนักเลง อำ�นาจเงิน อำ�นาจการซื้อ 38

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


การจัดตั้ง การจัดจ้าง อำ�นาจเช่นนี้ไม่ใช่อ�ำ นาจที่บริสุทธิ์ มีแต่จะก่อให้ เกิดความหายนะ สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ได้ฟังมนต์จากพระฤาษี เป็นมนต์สะกดจิตใจ ของสัตว์ทั้งหลาย มันจำ �มนต์นั้นมาก็มาร่ายมนต์สะกดพญาราชสีห์ ช้าง และสัตว์ป่าอื่น ๆ มากมาย เวลาจะไปไหนมันก็นั่งแคร่ให้ช้าง สองตัวแบกแคร่ สุนัขจิ้งจอกตัวนี้ ด้วยความที่ใช้มนต์สะกดราชสีห์ ในป่านั้นหมด ก็สั่งให้ราชสีห์ที่ตนสะกดมานั้น เปล่งเสียงร้องเพื่อให้ สั ต ว์ ป่ า ทั้ ง หลายแตกตื่ น เพื่ อ จะให้ หู แ ตกตาย แต่ พ อทั น ที ที่ ร าชสี ห์ ร้องคำ�รามขึ้นลั่นป่าเท่านั้น ช้างก็ตกใจพากันวิ่งแตกออกไปคนละข้าง สองข้ า ง เมื่ อ ช้ า งวิ่ ง ออกไปคนละทางสองทางด้ ว ยความตระหนก ตกใจ สุ นั ข จิ้ ง จอกก็ ร่ ว งตกลงมาจากแคร่ ช้ า งป่ า ทั้ ง หลายซึ่ ง ต้ อ ง มนต์สะกดนั้นซึ่งตามมาข้างหลัง ก็เหยียบสุนัขจิ้งจอกจนเละตายไป ในที่นั้น เรื่องนี้เป็นตัวอย่าง สำ�หรับบุคคลที่จะก้าวมาเป็นผู้น�ำ ในสังคมว่า อำ�นาจที่สะกดประชาชนเป็นอำ�นาจที่ใช้ไม่ได้ และแม้เมื่อมีการประชัน ระหว่างผู้นำ�มาจนถึงระดับชาติ ก็จะพากันเสียหายล้มหายตายจาก พาชื่อเสียงวงศ์ตระกูลมาเสียกันนักต่อนักแล้ว เพราะฉะนั้น จะเป็น ผู้นำ�ใครก็ตาม จงเป็นผู้นำ�ด้วย วิชา ปัญญา ปฏิภาณ ประสบการณ์ ปณิธาน ปฏิญาณ เถิด จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งตัวเองและ ประเทศชาติ • บทความจากหนังสือ “คติธรรมนำ�ชีวติ เล่ม ๘” โดย พระพิพธิ ธรรมสุนทร (พระราชวิจติ รปฏิภาณ [เจ้าคุณพิพธิ ] ) วัดสุทศั นเทพวราราม บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 39


L

D E

A

E R

ความกล้าหาญ

คนที่ไม่รุ่งเรือง และ เมืองที่ไม่มีความเจริญ เป็นคนและเมือง

ที่ตกอยู่ใน ภยาคติ คือ จิตที่ประกอบด้วยความกลัว อันเป็นความ ล่มจมเป็นความหายนะ ที่เรียกว่า “เกิดและอยู่บนความหวาดและ ความขลาด” ความหวาด และ ความขลาด เกิดขึ้นแก่ผู้ใด เกิดขึ้นแก่คนใน บ้านเมืองใด คนผู้นั้น บ้านเมืองนั้นดำ�เนินไปสู่ความล่มจม ที่เรียกว่า “อคติ” แปลว่า “ไปไม่ได้” คือ ไม่สามารถไปสู่ความเจริญได้ การเมืองบ้านเราและคนบ้านเรา ณ ขณะนี้ กำ�ลังตกอยูใ่ นภยาคติ มีความหวาด.... 40

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


หวาดกลัว l หวาดหวั่น l หวาดระแวง หวาดกลั ว เพราะมีคนทำ�ให้เรากลัว ด้วยการข่มเหง ข่มขี่ ข่มขืน และมีการฆ่าฟันกันเป็นผักเป็นปลา ที่เรียกว่าเป็น ยุคมิคสัญญี กลียุค

l

หวาดหวั่ น คือ หวั่นว่าภัยจะเกิดขึ้นข้างหน้า จะคิดตั้งใจทำ�

ความดี จะคิดตั้งตนให้บริสุทธิ์ ก็เกิดความหวาดหวั่น หวาดระแวง ความไม่ซอื่ สัตย์เกิดขึน้ แล้วสังคมก็อยูไ่ ม่ได้ นอกจาก นั้นแล้ว มีแต่คนขลาด คือมีแต่คน.... l ขลาดกลัว l ขลาดเขลา

ขลาดกลัว คือ ใจหมดความมั่นใจในความสุจริต ในความดี และ ในการปกครองประเทศชาติไปแล้ว ขลาดเขลา ขลาดจนโง่เขลาแล้ว คิดอะไรไม่เป็นแล้ว ต้องรอให้ เขาคิดให้เรา ทุกท่านซึ่งเป็นคนไทย เราจะมีความหาญกล้าในตัวเองที่จะทำ� สิ่งที่ถูกต้องไหม ถ้าเราไม่หาญกล้าที่จะทำ�ตัวเองให้ถูกต้อง ตัวเราอยู่ ไม่ได้ บ้านเมืองก็อยู่ไม่ได้ ผู้ที่เป็นนักปกครองมีความกล้าหาญที่จะ ทำ�สิ่งให้ถูกต้องเกิดขึ้นในบ้านเมืองไหม ? ถ้ามีก็รีบทำ�เสีย เพื่อทำ�ให้ เมืองไทยของเรานีเ้ ป็นเมืองทีม่ คี วามมัน่ ใจ คือ คนมีความมัน่ ใจในตัวเอง และมั่นใจในผู้ปกครองคือนักบริหารประเทศชาติ บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 41


เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายได้กำ �จัดภยาคติส่วนตัวและ ความกลั ว ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในบ้ า นเมื อ งนี้ ถ้ า วั น นี้ สมเด็ จ พระพุ ฒ าจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านอยู่ในบ้านเมืองของเรา ท่านอาจจะถือขี้ไต้หรือ คบไฟเข้าไปสู่กลุ่มบ้านกลุ่มเมืองในเวลากลางวัน แล้วท่านคงจะบอกว่า “บ้านเมืองมันมืดมิดเหลือเกิน” ขอให้ท่านทั้งหลายจงใช้ ไฟปัญญา และ ความกล้าหาญ กระทำ� ในสิ่งที่ถูกต้อง แม้มันจะตาย คนกล้าตายครั้งเดียว ตัวตายแต่ชื่อยังอยู่ คนทั้งหลายที่อยู่ข้างหลังเขาจะบูชา ลองดูอนุสาวรีย์ แม้แต่ผู้หญิง อย่างคุณหญิงโม ท้าวเทพกษัตรีย์ ท้าวศรีสุนทร หรือ พระศรีสุริโยทัย ท่านเป็นผู้หญิงแท้ ๆ ท่านยังมีความกล้าที่จะทำ�ให้บ้านเมืองของท่าน อยู่ได้ ถ้าผู้ชายทำ�ไม่ได้แล้ว อายวีรสตรี

• บทความจากหนังสือ “คติธรรมนำ�ชีวติ เล่ม ๑๐” โดย พระพิพธิ ธรรมสุนทร (พระราชวิจติ รปฏิภาณ [เจ้าคุณพิพธิ ]) วัดสุทศั นเทพวราราม

42

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


L

D E

A

E R

ผู้แนะ ผู้นำ�

คนเราทุกคน ณ ขณะนี้ อยากเป็น “ผู้น�ำ ” ทั้งนั้น แต่ท�ำ ไป

ทำ�มาแล้ว มอง ๆ ไปก็มีบางคนเป็นแค่ “ผู้แนะ” คือ แนะให้ทำ�แต่นำ� ไม่เป็น นี่เขาเรียกขานอยู่อย่างหนึ่ง คือ “เก่งแต่ปาก” บางคนก็ทำ�เป็น มีผลงาน แต่พูดไม่เป็น และเชิญชวนชักชวน หรือถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นต่อ ๆ ไปไม่ได้ ถ้าเป็นพระอรหันต์เรียกว่าเป็น ปัจเจกพุทธเจ้า คือไม่สามารถจะเอาความรู้นั้นไปถ่ายทอดหรือชี้ชวน เชิ ญ ชวนให้ เขาทำ � ตามได้ แต่ ท างที่ จ ริ ง แล้ ว จะต้ อ งมี ค วามสมบู ร ณ์ ทั้งสองฝ่าย เรื่องผู้ที่รู้นั้นมีเยอะแยะแล้ว เรียก “ผู้แนะ” ในโลกนี้ ทั้งแนะแนว ต้องอย่างนี้ แต่เจ้าตัว

มีผู้แนะ แนะแหน ต้องอย่างนั้น น่าขำ�

เยอะแยะแล้ว แหมเวียนหัว ชี้กันนัว ทำ�ไม่เป็น

อย่างนี้แนะไปแล้วเขาก็ไม่เชื่อ เขาบอก “มันทำ�ไม่เป็น” ต้อง สำ�รวจตัวเองนะ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นพวก จุ้นจ้าน จัดจ้าน บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 43


ส่วน “ผู้นำ�” ล่ะ...

ส่วนผู้น�ำ ผลงานมาก พวกเก่งทำ� พวกพูดเป็น

ทำ�ไป พวกพ้อง ทั้งผอง ผลงาน

แต่ไร้ปาก มองไม่เห็น ต้องลำ�เค็ญ บานตะไท

ผลที่สุดคนทำ�เก่ง ไม่เรียนการพูด ไม่เรียนการแนะแนว เขาเรียก ...ขาดวิ ช าครู . .. ก็ หั น มาน้ อ ยใจว่ า เราทำ � ดี เราทำ � เก่ ง ทำ � ไมคน ไม่เห็นความดีของเรา มันขาดอะไร จุดรวมอยู่ตรงไหน ? ต้องเป็นทั้ง ผู้แนะ ผู้น�ำ คือ หากผู้แนะ ผู้นำ�ช่วย ในหนึ่งคน คือทำ�ให้

ลงมือทำ� เอ่ยอ้า หนึ่งคำ� เป็นหนึ่ง

นำ�เขาด้วย ปากปราศรัย หนึ่งทำ�ไป จึงพอดี

ต้องเอามารวมกันหรือต้องมีในทุกคน...ทั้งแนะ ทั้งนำ�...และเมื่อ เป็นอย่างนี้แล้ว ท่านผู้นั้นจะได้กลายเป็นแม่แบบ ส่วนวิชาหรือแนะเป็น แม่บท และเมื่อคนทั้งหลายเอาไปทำ�แล้ว ปรากฏเป็นตัวเขาเอง นั่นคือ ความสำ�เร็จ เพราะฉะนั้น การที่ท่านทั้งหลายจะเป็นผู้นำ � และการที่ท่าน ทั้งหลายจะเชื่อใครนั้น จะต้องพิจารณาถึง ๒ ประการดังกล่าวมาแล้ว นี่คือ... ความสำ�เร็จในส่วนตัวและสังคม. • บทความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก : วันพฤหัสบดีท่ี ๒ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๔๘

44

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


L

D E

A

E R

๗ ระวัง, ๑๑ ตั้งมั่น

นับตัง้ แต่วนั ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙ ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั

ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ผู้พิพากษา ๒ คณะ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ จนมาถึงการแก้ปัญหาอันเป็นทางตันของบ้านเมือง ให้มีทางออก คำ�ว่า “ศาล” หรือ “ผู้พิพากษา” จึงอยู่ในการพูดคุย เรียกขานบนสื่อทุกแขนง การทีศ่ าลได้รบั ความไว้วางใจจากมหาชนนัน้ ก็เพราะท่านผูพ้ พิ ากษา ต้องมีคุณธรรมในระดับสูง เพราะการปฏิบัติหน้าที่มิใช่เหมือนงานอื่น ทั่วไป แต่ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยแห่งพระมหากษัตริย์ ที่นั่งของ ผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีและตัดสินคดีคือ “บัลลังก์” แต่การ จะเป็นผู้พิพากษาได้นั้นยากลำ�บากในการครองตนครองงาน ซึ่งบางที คนส่วนใหญ่ไม่รู้ แล้วทำ�อย่างไรเราจะรู้ รู้อย่างไรจะเป็นประโยชน์ ต่องานของเราในเชิงบริหารเล่า ? บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 45


ได้รับนิมนต์ไปบรรยายให้ท่านผู้พิพากษาเป็นประจำ� เช่นเมื่อวัน ที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม ได้ด�ำ เนินการจัดอบรมผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเคยปฏิบัติ หน้าทีแ่ ล้วมีการอบรมเพิม่ เติมเสริมความรู้ หัวข้อทีไ่ ด้รบั นิมนต์คอื “หลัก ศาสนาและจริยธรรมกับงานตุลาการ” จึงได้กำ�หนดหัวข้อบรรยายว่า “๗ ระวัง, ๑๑ ตั้งมั่น” เพื่อให้เป็นประโยชน์ในวงกว้าง จึงขอนำ�หัวข้อ มาถ่ายทอดอันจะเป็นประโยชน์ในการบริหารงานอื่น ๆ ผูท้ จี่ ะเป็นนักบริหารทีด่ ไี ด้ ต้องระวัง ๗ อย่าง คือ “ยุ ยอ ลวง ล่อ ขอ ขู่ ข่ม” ซึ่งขอฝากเป็นหลักคิดโดยจะไม่อธิบาย เป็นเรื่องจดจำ�และ นำ�ไปคิดขยายความกันเอง

ยุ

ตามถ้อยคำ�ที่มันคิด มันยุส่งให้หลงรำ� บ้างหัวร่อจนงอขำ� จนครกแหลกแตกคามือ จงยับยั้งลูกยุยื้อ ลูกยุหนีลูกพี่อาน

ยอ

ยอจนลอยจากพื้นดิน นายได้ยินก็เปรมปรีดิ์ มันเยินยกจนเกินที่ แล้วเผ่นหนีจากนายไป ระวังลูกยอเข้าไว้ น้ำ�ตาไหลใครปลอบเรา

46

ลูกยุยุให้รำ� รำ�ถูกหรือรำ�ผิด คนดูบ้างด่าทอ ยุให้ไปทิ่มตำ� เป็นนายหมายระวัง พลาดพลั้งนั่งครางฮือ ลูกยอสอพลอพลอย ยอยกกระดกลิ้น มันยอจนกระดก พลาดโครมก็โจมตี เป็นนายหมายฝังปลูก หากชอบต้องบอบใจ

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


ลวง

หนทางคด ลวดลายคด ไม้เลื้อยคด คดจากหิน แต่ใจคน ไม่งามงด สารพัด ใครมอบความ

ล่อ

รถระวัง งามวิลาส เรายังได้ คดจากสัตว์ คดเคี้ยว ดังกล่าวมา เหลี่ยมร้าย ไว้วางใจ

ไม่พลั้งพลาด เพราะศาสตร์ศิลป์ อาศัยกิน สมบัติงาม สุดเลี้ยวลด น่าครั่นขาม ลวดลายทราม บรรลัยเอย

อย่าให้ใครเขารูว้ า่ เราขาด อย่าให้ใครรูว้ า่ เรามีความขัดข้อง และอย่าให้ใครรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นของที่เราต้องประสงค์หรือ เราหลงอยากได้

ถ้าเราขาด เขาจะจู่ รับของเขา เขาจะพาน ของเราชอบ เราก็ปลื้ม เขาจัดซื้อ ภายหลังถูก

ขัดสน มาให้ เอาไว้ มาขอ เขาจัดหา หัวใจ ส่ง-สั่ง ต่อรอง

คนเขารู้ ถึงในบ้าน ไม่ทันนาน มาต่อรอง เอามาให้ ในข้าวของ ดั่งเราปอง จะหมองใจ

จงตัดความ ตัดความชอบ สองอย่างนี้ จะไม่ถูก

จำ�เป็นออก ทุกคราว จงเห็น สาวไส้

อย่าบอกกล่าว เมื่อเขาให้ ว่าเป็นภัย ในวันหน้า

บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 47


ขอ ขู่ ข่ม

ขอให้เราทำ�ทุจริต ขอให้ปกปิดความชั่ว ขอให้ตัวรอดพ้น ขอให้ทำ�คนอื่นหายนะ ขู่ว่าจะจ้องทำ�ร้าย ขู่ว่าจะทำ�ลายสินทรัพย์ ขู่ว่าจะดับคนที่เกี่ยวข้อง ขู่ว่าลูกเมียพี่น้องจะถูกรังควาน ข่มว่าเขาคือผู้มีอิทธิพล ข่มว่าตนรู้จักและสนิทกับผู้ใหญ่ ข่มว่าจะไล่จากพื้นที่ ข่มว่าจะบดขยี้ยศตำ�แหน่ง

สิบเอ็ดตั้งมั่น ๑. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรู้ มีความสามารถ มีความเฉลียวฉลาด เป็นนักปราชญ์ทางภาษา

48

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


๒. มีใจเป็นธรรม ปราศจากอคติ เอียงเพราะรักก็โฉด เอียงเพราะโกรธก็ชั่ว เอียงเพราะหลงก็มั่ว เอียงเพราะกลัวก็หม่นไหม้ ๓. ไม่มีข้อตำ�หนิเลวร้าย ไม่หลงกามารมณ์ (ราคะ) ไม่หลงนิยมความร่ำ�รวยสินทรัพย์ (ตัณหา) ไม่รับสินบน (โลภะ) ไม่เป็นคนหลงตัว ไม่เมามัวยศตำ�แหน่ง ไม่กลั่นแกล้งจำ�เลย ไม่ท�ำ ความคุ้นเคยคนชั่ว ไม่หลงตัวหลงโลก ๔. รักษาร่างกายไม่ให้วิปริต อาหาร อากาศ อาวาส ออกกำ�ลังกาย ระบบขับถ่ายดี มีแพทย์ประจำ�ตัว บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 49


๕. รักษาจิตไม่ให้วิปลาส อย่าเครียดจนเบียดความสุข อย่าทุกข์จนเบียดปัญญา อย่ากลัวจนบ้า อย่ากล้าจนบิ่น ๖. ฉลาดในภาษา อ่านสำ�นวนนิยาย อ่านสำ�นวนกฎหมาย อ่านออกเสียงในการอ่านคำ�พิพากษา

๗. หมั่นสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ

๘. หมั่นวิจารณ์คดีดังในสังคม

๙. หมั่นระดมความคิด

๑๐. มีเวลาทบทวนความถูก-ผิด

๑๑. เก่งในการปกปิดความลับ

• บทความลงพิมพ์ใน “หนังสือพิมพ์สยามรัฐ รายวัน” : วันศุกร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

50

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


L

D E

A

E R

แด่...ผู้นำ�

การเป็นผู้นำ� “แบบผู้ก่อตั้ง” กับ “ผู้นำ�ที่นั่งเสวยตำ�แหน่ง”

ย่อมมีความแตกต่างกัน แบบก่อตั้งเป็นผู้นำ�แบบปู คือ ขุดรูอยู่เองได้ แบบนั่งเสวยตำ�แหน่ง อาจเป็นแบบงู คือ อาศัยรูที่ปูหรือหนูขุดไล่หรือ กินเจ้าของเดิมแล้วยึดครอง ผู้นำ�แบบที่สองนี้เป็นแบบนักฉวยโอกาส นักพิฆาตเข่นฆ่า การเป็นผู้นำ�ที่ดีมีความมั่นคงดำ�รงในหลักธรรมนั้น มีสิ่งที่จะพึง ปฏิบัติ ระแวด ระวัง ๓ ช่วงด้วยกัน คือ ๑. คุณสมบัติและคุณธรรมของผู้นำ� คือ ฟังมาก ๆ  คิดใคร่ครวญมาก ๆ ปากช้า ๆ  กล้าอย่างสมเหตุผล หาคนร่วมงานที่ดี  มีที่ปรึกษารอบด้าน มีพ่อบ้าน-แม่บ้านใจกว้างขวาง  รู้จักปล่อยวางบางกรณี บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 51


๒. ผู้นำ�ควรปิดหรือกำ�จัดจุดเปราะบาง คือ ไม่ฟังความคิดเห็นผู้อื่น  ยืนยันแต่ความคิดของตน ไม่อดทนต่อคำ�วิจารณ์  เดือดดาลเมื่อถูกทักท้วง ชอบล้วงลูกงานคนอื่นมาทำ�  ใช้คำ�หยาบคำ�โต ชอบอวดโก้ด้วยของบริโภค  อยู่ในโลกของการหลงตัว ๓. ผู้นำ�ควรระแวดระวัง ดังนี้ ระวังผู้ช่วย, ที่ปรึกษา, องครักษ์ ระวังเพื่อนที่ใกล้ชิด ระวังคนข้างเคียง ระวังขนตา ระวังเมีย - ผัวที่แสนดี ระวังลูกจะเสีย ระวังลูกชั่ว

จะเป็นสุนัขเลียเท้า จะเป็นปัจจามิตรที่ใกล้ตัว จะเป็นหอกข้างแคร่ จะกลายเป็นศัสตรา จะเป็นแมวที่แสนดื้อ เมียจะซ่า ผัวไปมีเมียน้อย

นี่คือหลักการบริหาร ตัว ครอบครัว องค์กร เขต ประเทศชาติ จงจำ�ไว้เป็นข้อเตือนจิต เขียนติดไว้เป็นข้อเตือนใจ จะเป็นผู้นำ�มีแต่ ขาขึ้น หยัดยืนอยู่บนขาตัวเอง.

• บทความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก : วันศุกร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

52

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


L

D E

A

E R

คุณธรรม ของนักบริหาร

ในสภาวะการณ์ของรัฐบาลหลังการอภิปรายงบประมาณประจำ�ปี

๒๕๔๗ เกิดปัญหา ๓ ประการ คือ งบกระจุก หนี้กระจาย อภิปราย ด่ากันเอง ท่านนายกฯ ต้องออกมาเป็นท้าวมาลีวราช สงบศึกด้วยคำ�พูด คำ�เดียวว่า “เรื่องขี้หมา” สื่อเลยเรียกงบประมาณปี ๒๕๔๗ ว่า...งบประมาณขี้หมา...ก็เลย กลายเป็นว่า เงินทองที่งบกระจุกในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งเป็นงบขี้หมา ซึ่งความเป็นจริงไม่ใช่เช่นนั้น แต่คงจะเห็นว่าการทะเลาะกันของ ส.ส. ภายในพรรคนัน้ เอาเรือ่ งขีห้ มูราขีห้ มาแห้งมาทะเลาะกัน โดนท่านนายกฯ ด่าเข้าก็เลยเงียบ ๆ กันไป แต่การเงียบที่เกิดขึ้นนี้น่าจะเป็น ไฟสุมขอน รอปะทุในวันใดวันหนึ่ง อันที่จริงเรื่องจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าคนที่เข้ามาบริหารประเทศชาติ ทุกคนมีคุณธรรมประจำ�ใจ ท่องให้แม่น ปฏิบัติให้มั่น ดังนี้ บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 53


ขมา ชาคริยุฏฺานํ สํวิภาโค ทยิกฺขณา นายกสฺส คุณา เอเต อิจฉฺ ิตพฺเพ สตํ คุณา

บุคคลที่เข้ามาอาสาเป็นผู้นำ� ผู้บริหารทุกแขนงงาน จนถึงบริหาร ประเทศชาติ ต้องท่องคาถาผู้น�ำ นี้ให้ได้แล้วจะไม่เกิดปัญหา ขมะ คือ อดทน คือ ต้องอดทน ต่อคำ�ขอ คำ�ขู่ คำ�ขาน คำ�วิจารณ์ และการด่าทอ ขะมะ คำ�นี้ ตัดการอ่านผสมสระออกก็คือการทน ขม แล้วก็ ข่ม ใจไม่วู่ว่าม ชาคริยะ คือ รู้เท่าทัน คือ ทันเหลี่ยมคนที่โชนโชก ก้าวทันโลก ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ต้องมีวิชา ปัญญา ปฏิภาณ ประสบการณ์ เข้าตำ�รา... สิบรู้ไม่สู้หนึ่งเคย สิบเขยไม่สู้หนึ่งพ่อตา... อุฏฐานะ คือ ขยัน ได้แก่...ตั้งใจให้นอนฝัน ขยันให้ขาเขย่ง เก่งให้ คนขยาด ฉลาดให้คนแขยง... สั ง วิ ภ าคะ คื อ จั ด สรรอย่ า งฉลาด คื อ รู้ จั ก แบ่ ง ปั น ให้ เหมาะสม อย่าทำ�อย่างโทณพราหมณ์ แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ แล้วนำ� พระเขี้ยวแก้วซ่อนไว้ในมวยผมของตน ทยา คือ มีใจปรารถนาดี ต้องมีความปรารถนาดีต่อประชาชน อย่างเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งพวก ไม่แบ่งภาค อิกขณา คือ มีวิจารณญาณ งบประมาณคือการแบ่งปันและ สรรหากำ�ไรกลับคืนสู่รัฐ เพื่อพัฒนาประเทศสืบไป ถ้าทำ�ได้อย่างนี้คงไม่มีใครทะเลาะ การดำ�เนินการใด ๆ หากผิด พลาดแล้วไม่มีใครด่าว่า แต่...อย่าทำ�โง่ตาใส...ก็แล้วกัน • บทความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก : วันศุกร์ที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

54

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


L

D E

A

E R นักมวย กับ นักการเมือง

เมื่ อ ตอนเป็นเด็กวัดอยู่บ้านนอก ต่อมาก็บวชเป็นสามเณร

เนื่ อ งจากเป็ น เด็ ก หั ว อ่ อ น บรรดาพระเก่ า พระหนุ่ ม ก็ มั ก จะ เรียกใช้ ทำ�ถูกใจก็ได้ขนมบ้าง สตังค์บ้าง ทำ�ไม่ถูกใจก็โดนเขกหัวกบาล บ้ า ง ถู ก เฆี่ ย นบ้ า ง ก็ เ ป็ น สติ ปั ญ ญาและเป็ น ประสบการณ์ กั บ ทั้ ง เป็นภูมิต้านทานทางอารมณ์ที่ได้มาเป็นประโยชน์ในปัจจุบันนี้ นี่แหละ เด็กวัด ในบรรดาผู้ที่เข้ามาบวชพระก็มีบุคคลทุกประเภท เรียกว่าเป็น ศู น ย์ ร วมของ “หุ บ เขาคนโฉด” และ “ด่ า นสิ บ แปดพระอรหั น ต์ ” การบวชซึ่งก็ถือกันสมัยเดิมว่าต้องบวชกันหนึ่งพรรษาเป็นอย่างน้อย การอยู่ของเด็กวัดและพระภิกษุสามเณรจึงต้องมีความเกี่ยวข้องต้อง แวะกันเป็นเวลายาวนาน รวมแล้วพระสมัยอาตมาเป็นเด็กวัดก็มีทั้ง บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 55


“นักเลง นักรัก นักรู้ นักสู้ นักบู๊ นักมวย คนเฮงซวย ขี้คุก” เด็กวัดที่ หัวอ่อนก็ย่อมจะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ความเป็นของ พระ ยิ่งรูปใดเป็นนักมวย ท่านก็สอนมวยให้ เด็กวัดและพระเณรก็เลย เป็นมวย วางมวยกันบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา ๆ เมื่อพูดถึงนักมวยในครั้งนั้นก็มีนักมวยค่ายดัง ๆ หลายคนไปบวช เช่น ค่ายศรีโสธร ค่ายนวมทอง คราวนี้ก็ต้องอาศัยเตะต้นกล้วยบ้าง เอาฟางข้าวมามัดแทนกระสอบทรายบ้าง หน้าแข้งก็เลยมีแต่แผลเป็น เต็มไปหมด ครั้นย้ายเข้าอยู่วัดสุทัศนเทพวราราม ก็มีเด็กวัดเป็นนักมวย หลายคน ค่ายมวยก็อยู่ไม่ไกลจากวัดเท่าไร ว่าง ๆ ก็ได้เดินไปดูเขา ซ้อมบ้าง พูดคุยกับนักมวยและครูมวยด้วยความสนใจ นิสัยชอบดูมวย ก็ติดตัวมา พระเณรสมัยก่อนไม่มีอะไรดูก็อาศัยดูมวยกัน อย่าไปว่าท่าน “ท่านเครียด ก็ปล่อยให้ทา่ นคลาย” บ้าง พอโต ๆ กันแล้วก็คอ่ ยดีขนึ้ เอง อย่าไปเร่งให้ท่านดี “เร่งผลไม้ให้สุก เร่งลูกให้ดี เร่งพระเณรชีให้เป็น พระอรหันต์” เอาดีไม่ได้ ในฐานะที่ชอบเรื่องมวยจึงอยากวิเคราะห์ให้ท่านผู้อ่านได้เห็น วิธีการสร้างมวยให้เป็นแชมป์ ทั้งครูมวยและนักมวยจะต้องมีวิธีปฏิบัติ อย่างน้อย ๘ ข้อ ๑. ฝึกร่างกายให้แข็งแรงและอดทน ๒. ฝึกฝนการกลั้นลมปราณ ๓. ฝึกการหลบหลีกให้แคล่วคล่อง ๔. ฝึกปิดป้องจุดอ่อนให้เหนียวแน่น ๕. ฝึกทำ�คะแนนด้วยการโจมจู่ ๖. เปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้ออกอาวุธ 56

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


๗. วิเคราะห์กลยุทธ์แล้วแก้ไข ๘. มีไม้ตายในการเผด็จศึก นักมวยประเภทเดินหน้าฆ่ามัน บ้ากำ�ลัง คลั่งเสียงเชียร์ มักจะ ั ญา เสียแชมป์และบอบช�ำ้ เลิกอาชีพแล้วก็มกั จะเป็นโรคเมาหมัด สติปญ เลอะเลือน ยามแก่ตัวเข้าก็พิกลพิการ เป็นที่น่าเวทนา ดังที่ปรากฏให้ เห็นอยู่มากมาย นักการเมืองที่ปรารถนาความสำ�เร็จครองใจประชาชน สามารถ ได้รับการเลือกตั้ง เป็นผู้นำ�ในการจัดตั้งรัฐบาล เป็นนายกรัฐมนตรี หรือ เป็นรัฐมนตรีในตำ�แหน่งต่าง ๆ แบบยาวนาน ต้องมีการฝึกแบบนักมวย ๙ ขั้นตอน คือ ๑. ฝึกร่างกายให้แข็งแรงและทนต่อการงาน เพราะนักการเมือง ต้องออกเยี่ยมและบริการประชาชนรวมทั้งประชุมและเดินทาง ต้องฝึก กิน นอน ออกกำ�ลังกาย ตรวจโรคภายในสม่ำ�เสมอ ๒. ฝึกจิตใจให้ตา้ นทานต่ออารมณ์ ต้องทนต่อเสียงชืน่ ชม นินทา ด่าทอ “ไม้สูงไม้ใหญ่ต้องต้านลมบน คนใหญ่คนสูงกว่าคน ต้องทน ต่อการวิจารณ์” ๓. รู้จักหลบหลีกสังคมและคำ�ถาม งานสังคมบางอย่างไม่ควร ไปก็อย่าไป คำ�ถามของนักข่าวไม่ควรตอบก็อย่าตอบ “ตั้งโฆษกเพื่อเป็น ปาก ไม่ใช่ปล่อยให้โฆษกอมสาก แล้วผู้นำ�ตอบด้วยปากตนเอง” ไม่เคย เห็นผูน้ �ำ รัฐบาลประเทศใหญ่ให้สมั ภาษณ์นกั ข่าวเหมือนผูน้ �ำ ไทย แล้วจะ ตั้งโฆษกไว้อมสากทำ�ไม ๔. จำ�กัดความโลภโมห์โทสัน ผู้นำ�ที่เป็นนักการเมืองต้องกำ�จัด ความโลภ คือ อย่าฉวยโอกาส, โมห์ คือ ความหลงอำ�นาจ, โทสัน คือ การโจมตีและพิฆาตฝ่ายตรงข้าม บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 57


๕. ทำ�งานทันใจทันสถานการณ์ ทำ�งานให้ทันใจคน ติดตาม สถานการณ์โลกให้ทัน ๖. เปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านตรวจสอบ ผู้นำ�รัฐบาลที่ฉลาดและ ไม่ฉ้อฉล ย่อมเห็นประโยชน์ของฝ่ายค้านในการตรวจสอบรัฐมนตรีที่ ทำ�งานไม่ก้าวหน้า และตรวจสอบปัญหาโกงกิน คือ ยืมมือฝ่ายตรงข้าม มากำ�ราบปราบปรามฝ่ายของตน ๗. โต้ตอบเฉพาะข้อเท็จ อะไรเป็นความเท็จของฝ่ายค้านค่อย โต้ตอบ ถ้าจริงให้แก้ไข ๘. เผด็จศึกด้วยผลงาน การเผด็จศึกฝ่ายค้านต้องเอาผลงานมา แสดงเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ ๙. ระวังบริวารเป็นพิษ ผู้นำ�ที่ดีต้องระวังบริวารที่ชื่อ “ไอ้ต้อย ไอ้จุ้น” เพราะ ไอ้ต้อย ทำ�วุ่น, ไอ้จุ้น ทำ�ยุ่ง ลองท่องจำ�เฉพาะตัวหนาดำ�ให้ขึ้นใจ รับรองว่ารัฐบาลไหน ๆ ก็ พิชิตใจประชาชน.

• บทความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก : วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗

58

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


L A

D

มาฆบูชา-สภาพระอรหันต์

งานสร้างสรรค์สภาอันทรงเกียรติ

วันมาฆบูชา พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เดินทางไปเฝ้าสมเด็จพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ณ เวฬุวัน จึงเป็นจุดกำ�เนิด สภาพระอรหันต์ครั้งแรก และ ครัง้ ที่ ๒ คือการทำ�สังคายนา หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๓ เดือน แต่จะขอกล่าวเฉพาะวันมาฆบูชา ว่าเป็นสภาพระอรหันต์ คือ การดำ�รงชีวิต ดำ�รงตน การทำ�งานแบบ พระอรหันต์ ไว้ ดังนี้ พระอรหันต์ - ขยันประชุม พระอรหันต์ - ทุ่มเทกับงาน พระอรหันต์ - ไม่หลงสังขาร และ ไม่สะสมบริขาร พระอรหันต์ - สอบทานจิต พระอรหันต์ - ไม่ปากร้าย บริษัทสำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง

เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 59


พระอรหันต์ พระอรหันต์ พระอรหันต์

- ไม่ท�ำ ลายอมิตร - มั่นในพุทธกิจและพุทธภาษิต - ใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ต่อชาวโลก

พระอรหันต์ สมาชิกสภา

ประชุมในป่า ประชุมในห้องปรับอากาศ (แอร์)

- อย่าขี้เกียจประชุม - ใช้เงินภาษีให้คุ้มค่า - ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์

ให้สมกับคำ�ว่า...ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ...

60

นี่ไง...ภาวะผู้นำ� คัมภีรน ์ ักบริหาร ตำ�นานนักปกครอง


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.