"จับตา" โครงการแม่น้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา-อ่าวแม่กลอง

Page 1

จับตา

โครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา – อ่าวแม่กลอง

เอกสารเผยแพร่ความรู้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

63



เพื่อเรียนรู้ความเคลื่อนไหว เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง มองผลกระทบที่จะเกิดทั้งจังหวัด (ตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียง) และช่วยกันสื่อสารสู่มวลชน ...เพราะนี่คืองานของพวกเราทุกคน…

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

1


2

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


บทน�ำ

“กลัดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดอื่นก็ผิด”

เหตุการณ์มหาอุทกภัย ปี 2554 สร้างความเสียหายทั้งทาง ด้ า นเศรษฐกิ จ ชี วิ ต ทรั พ ย์ สิ น อย่ า งรุ น แรงที่ สุ ด ในรอบ 70 ปี นับแต่มหาอุทกภัยปี 2485 เป็นต้นมา รวมมูลค่าความ เสียหายในครั้งนี้สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท (มีผู้เสียชีวิต 657 ราย สูญหาย 3 คน ประชาชนเดือดร้อน 4,039,459 ครัวเรือน 13,425,869 คน บ้านเรือนเสียหาย 2,329 หลัง เสียหายบาง ส่วน 96,833 หลัง พื้นที่เกษตรเสียหาย 11.2 ล้านไร่ ถนน 13,961 สาย ปศุสัตว์ 13.4 ล้านตัว ฯลฯ) ถือเป็นความเสีย หายจากภัยธรรมชาติเป็นอันดับ 4 ของโลก แม้สาเหตุส่วนหนึ่งของมหาอุทกภัย 2554 จะมาจากธรรมชาติ ซึ่งเกินกว่ามนุษย์จะควบคุมได้ ทั้งปริมาณน�้ำฝนที่มาเร็วและสูงกว่าปกติ (เฉลี่ยประมาณ 35%) การเกิดพายุพัดผ่านประเทศไทย โดยเฉพาะ ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ลูก (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วง ปลายกันยายน -ตุลาคม เกิดพายุซ้อนกันถึง 3 ลูก)

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

3


รวมถึ ง สาเหตุ จ ากการกระท� ำ ของมนุ ษ ย์ ไม่ ว ่ า จะเป็ น การใช้ ประโยชน์ที่ดินและการขยายเปลี่ยนแปลงเมืองอย่างไร้ทิศทาง (การวาง ผั ง เมื อ งคิ ด ในกรอบจั ง หวั ด ส่ ว นผั ง ภาค ผั ง ประเทศ เป็ น เพี ย งผั ง นโยบาย) อีกทั้งผังเมืองทั้งหมดไม่ ได้รับการเอาใจใส่ (โดยทั้งประเทศ ประกาศใช้เพียง 9 จังหวัด เท่านั้น) สิ่งก่อสร้างเป็นปัญหาต่อการ ระบายน�้ำ เช่น ถนน คันคลอง ทางรถไฟ ตอม่อสะพาน ประตูระบายน�้ำ ที่แคบกว่าคลอง และไม่ ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ประตูระบายน�้ำบางแห่ง ไม่สามารถใช้งานได้ พื้นที่ระบายน�้ำ พื้นที่เก็บน�้ำ ตลอดจนทางน�้ำ ถูกรุกล�้ำ ถูกถม เปลี่ยนการใช้ประโยชน์ เกิดเป็นปัญหาสะสมเรื้อรัง ท�ำให้การ ระบายน�้ำไม่สามารถท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ปลายน�้ำ ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินสูงมาก แต่เราไม่อาจละเลยมองข้ามไปได้ว่า สาเหตุส�ำคัญของน�้ำท่วม 2554 คือการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ

4

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


พายุไหหม่าเข้ามาในประเทศไทยในช่วงระหว่างวันที่ 24 - 27 มิถุนายน 2554 แต่เขื่อนสิริกิติ์ เริ่มระบายน�้ำเพิ่มขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 (เนื่องจากปริมาณน�้ำเก็บกักประมาณ 50% ต�่ำกว่า เกณฑ์ ความต้องการใช้น�้ำน้อย จึงระบายน้อย) พอเกิดพายุเข้า จึงมีปริมาณน�้ำเข้าเขื่อนมากอย่างรวดเร็ว จึงต้องเพิ่มการระบาย (ค�ำถาม : เหตุใดกรรมการบริหารเขือ่ นจึงรอให้ถงึ จุดวิกฤติกอ่ น ถึงจะระบายน�้ำ?)

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

5


เขื่อนภูมิพลระบายน�้ำน้อย เนื่องจากเก็บกักน�้ำไว้ประมาณ 45% (ซึ่งต�่ำกว่าเกณฑ์) เนื่องจากมีน�้ำท่วมภาคกลางอยู่แล้ว อีกทั้งการ เกษตรต้องการน�้ำน้อย ดังนั้น หลังจากพายุเข้าในเดือนกันยายน 2554 ติดต่อกัน จึงท�ำให้ปริมาณน�้ำในเขื่อน เพิ่มสูงขึ้นจนอยู่ ใน ระดั บ วิ ก ฤติ หลังจากนั้นจึงเริ่ม ระบายน�้ำเพิ่ มขึ้ น ในปลายเดื อ น กันยายน 2554 และได้ระบายผ่านทางระบายฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2554

6

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


การระบายน�้ำ ทางประตูระบายน�้ำด้านตะวันตก ได้แก่ ประตู ระบายน�ำ้ พลเทพ และประตูระบายน�ำ้ รมธาตุ ช้าเกินไป ประกอบกับ ประตูระบายน�้ำบางโฉมศรีแตก จึงท�ำให้น�้ำหลากสู่พื้นที่ตะวันออก ของแม่น�้ำเจ้าพระยา เขื่อนพระราม 6 ไม่สามารถระบายน�้ำปริมาณมากจากเขื่อนป่าสัก ชลสิทธิ์ ไปทางพื้นที่ลุ่มตะวันออกได้ (ค�ำถาม : เพราะสาเหตุใด?) น�้ำจึงเข้าสู่เมืองอยุธยา และรวมกับ แม่น�้ำเจ้าพระยาอีกครั้ง คลองระพีพัฒน์ ไม่สามารถระบายมาบริเวณพื้นที่ลุ่มตะวันออกได้ (ค�ำถาม : เพราะสาเหตุใด?) ท�ำให้พื้นที่บริเวณนั้นน�้ำท่วมสูง มี ก ารตั้ ง คณะท�ำงานที่ทับซ้อ น และซ�้ำ ซ้ อ น โดยในช่ วงแรกใช้ ระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งคณะท�ำงานและโครงสร้างใหม่ ซึ่งคณะท�ำงานชุดนี้จึงมีแต่หน้าที่ แต่กลับไม่มีอ�ำนาจ ต่อมา เมื่อเหตุการณ์วิกฤติมากขึ้น จึงประกาศใช้ พ.ร.บ. ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ในวันที่ 21 ต.ค. 2554 ซึ่งมีคณะท�ำงาน โครงสร้าง และแผนรับมือในระดับหนึ่งแล้ว แต่ละพื้นที่มีการจัดการ รับมือน�้ำท่วมเอง โดยไม่มีการเชื่อมโยงกัน *** ในปี 2549 ประเทศไทยเกิดความเสียหายจากอุทกภัย 4 แสนล้าน เทียบกับปี 2554 ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นแค่ 35% แต่ความเสียหายมากมายถึง 1.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 300% กล่าวได้ว่ามหาอุทกภัย 2554 เป็นความเสียหายจากการบริหารจัดการมากกว่า ***

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

7


รัฐบาลมีแนวคิดที่จะป้องกันปัญหาในอนาคต โดยใช้เหตุการณ์ มหาอุทกภัยปี 2554 มาเป็นฐานข้อมูลในการคิด ทั้งๆที่มีการวิเคราะห์ว่า ฐานข้อมูลดังกล่าวเป็นฐานที่เกิดจากการบริหารจัดการที่ผิดพลาด จึงไม่ น่าเชื่อถือ เป็นฐานที่ ใหญ่เกินไป ไม่ ใช่ตัวเลขปริมาณน�้ำตามสภาวะ ธรรมชาติ หากแต่เป็นผลมาจากการคาดการณ์และบริหารจัดการที่ ผิดพลาดต่างหากที่ท�ำให้เกิดมวลน�้ำมหาศาลขนาดนั้น ข้อมูลปริมาณน�้ำที่ ไหลผ่าน จ.ก�ำแพงเพชร เมื่อปี 2554 แสดง ให้เห็นว่ า ตั้ ง แต่ 11 – 25 กันยายน มีอัตราการไหลของน�้ ำ ประมาณ 1,000 ลบ.ม./วินาที และตั้งแต่วันที่ 2 – 26 ตุลาคม อัตราการไหลของน�้ำ ประมาณ 1,000 - 3,142 ลบ.ม./วินาที ซึ่งเป็นปีที่ปริมาณน�้ำมาก และอัตราการไหลของน�้ำอยู่ ในระดับสูงเป็นเวลานานแต่หากดูข้อมูลใน ปี 2555 พบว่ า มี อั ต ราการไหลผ่ า นบริ เ วณเดี ย วกั น ในเดื อ นตุ ล าคม ประมาณ 700 ลบ.ม./วินาที (สูงสุดประมาณ 749 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 10 ตุลาคม) จากสถิ ติ ก ารเกิ ด น�้ ำ ท่ ว มพบว่ า ปริ ม าณการไหลสู ง สุ ด ในปี พ.ศ.2538 และ 2549 ไม่ต่างกับปี พ.ศ.2554 มากนัก แต่ปริมาตรหรือ มวลน�้ำกลับแตกต่างกันมาก

“เมื่อฐานคิดผิด ย่อมน�ำไปสู่การวางแผนผิด” จึงเป็นที่มาของโครงการเมกะโปรเจ็คท์ ในการบริหารจัดการน�้ำ ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติและระบบนิเวศอย่าง มหาศาล โดยโครงการประกอบด้วยกลุ่มโครงการ 9 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย โครงการเล็กๆ อีกมากมาย ใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 3.4 แสนล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์มากมาย

8

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


บทที่

“แม่น�้ำที่ดีที่สุด”

จากต้ น น�้ ำ ท่ า มกลางผื น ป่ า ตะวั น ตกที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ ที่ สุ ด ของ ประเทศในจังหวัดตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี ไหลรวมตัวเป็น แควน้อยและแควใหญ่ แล้วบรรจบกันกลายเป็นแม่น�้ำแม่กลอง ผ่านราชบุรี ออกสู่ทะเลอ่าวไทยที่บ้านเรา...สมุทรสงคราม แม่ น�้ ำ แม่ ก ลองเป็ น แม่ น�้ ำ ที่ มี คุ ณ ภาพดี ที่ สุ ด ในบรรดาแม่ น�้ ำ หลัก 5 สาย (บางปะกง เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และ แม่น�้ำเพชรบุรี) หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนนับล้านมาเป็นเวลาช้านาน กล่ า วส� ำหรับเมือ งแม่กลอง ภูมิปัญ ญาอั น ชาญฉลาดในการ สร้างบ้านแปงเมืองของบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมา ด้วยการท�ำ ให้น�้ำแบนแผ่ขยาย หาที่ทางให้น�้ำอยู่ คือมรดกที่ท�ำให้ลูกหลาน คนแม่กลองสามารถด�ำเนินชีวิตและประกอบอาชีพในพื้นที่ซึ่ง ต้องพบเจออิทธิพลน�้ำขึ้นน�้ำลงต่างกันถึง 3 เมตร ทุกวันๆ ละ 2 รอบ ได้ เป็นอย่างดีและสงบสุข

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

9


น�้ำดี ชีวิตดี ลุ่มน�้ำแม่กลองมีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 30,800 ตารางกิ โลเมตร หรือ 18.64 ล้านไร่ ปริมาณน�้ำตามอัตราการไหล 12,000 ลบ.ม./วินาที และเพราะความที่เรามีน�้ำคุณภาพดี ระบบนิเวศยังอุดมสมบูรณ์ แม่น�้ำแม่กลองจึงไม่ ได้เพียงหล่อเลี้ยงชีวิต เป็นแหล่งน�้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค ผลักดันน�้ำเค็มให้กับสมุทรสงครามเท่านั้น แต่ยังได้ เผื่อแผ่ ไปถึงพื้นที่ ใกล้เคียงอื่นๆ ด้วย เป็นแหล่งน�้ำดิบ เพื่อผลิตน�้ำประปาให้แก่พื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลฝั่งตะวันตก ผันน�้ำเพื่อช่วยผลักดันน�้ำเค็มในแม่น�้ำท่าจีน หล่อเลี้ยงลุ่มน�้ำท่าจีน ฝั่งตะวันตก 2 ล้านไร่ เป็ น แหล่ ง ผลิ ต น�้ ำ เพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการของภาค อุตสาหกรรมในจังหวัดราชบุรี และสมุทรสาคร หล่อเลี้ยงการชลประทานในเขตโครงการชลประทานแม่กลองใหญ่

ศักดิศ์ รีของพืน้ ทีป่ ลายน�ำ้ พื้นที่ปลายน�้ำของเรา - ดอนหอยหลอด เป็นสันดอนปากแม่น�้ำ แม่ ก ลองที่ เ กิ ด จากการทั บ ถมตกตะกอนจากแม่ น�้ ำ และตะกอนน�้ ำ ทะเล รวมเป็นเลนปนทราย ที่ชาวบ้านเรียกว่า ทรายขี้เป็ด มีอาณาบริเวณรวม ทั้งบนบกและในทะเลกว่า 5.4 แสนไร่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ ชุ่มน�้ำที่มี ความส� ำ คั ญ ระดับนานาชาติ (Ramsar Site แรมซาร์ ไ ซต์ ) ล�ำดับที่ 1099

10

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


พื้นที่ชุ่มน�้ำมีบทบาทต่อสมดุลของระบบนิเวศอย่างยิ่ง นอกจาก เป็น แหล่ ง กั ก เก็ บ น�้ำฝนและน�้ำท่า เป็นแหล่งทรั พ ยากรที่ มนุ ษ ย์ เข้ า ไป เก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์ ได้ เป็นเส้นทางคมนาคม เป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว หน้าที่ส�ำคัญของพื้นที่ชุมน�้ำยังช่วยปกป้องแผ่นดินจากพายุ น�้ำท่วม และ จุด เชื่ อมต่ อกั บ ทะเลซึ่งต้อ งถูกคลื่นกระแทก ช่ วยลดความรุ น แรงของ กระแสน�้ำขึ้นน�้ำลง ต้นไม้ ในพื้นที่ชุมน�้ำช่วยกรองมลพิษและสิ่งสกปรก ที่มากับน�้ำ ช่วยดักและเก็บกักตะกอนให้เกิดเป็นองค์ประกอบอินทรีย์ ใน ดิน อันเป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ ชุ่มน�้ำในลุ่มน�้ำเค็มเป็นระบบนิเวศที่ ให้ผลผลิตสูงที่สุดกว่าพื้นที่ประเภท ใดบนโลกใบนี้

ย้อนรอยวิกฤติน�้ำเมืองแม่กลอง ในประวัติศาสตร์ระยะสั้นๆ ได้เกิดวิกฤตการณ์น�้ำกับคนแม่กลอง ขึ้นหลายครั้ง ซึ่งมักเป็นผลมาจากการพัฒนา และเป็นบทเรียนที่เจ็บปวด ของเรา อย่างเช่น เมื่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ท�ำให้ต้องกักเก็บน�้ำจืดเข้าอ่างเป็นเวลานาน ช่วงปี 2522-2523 คนท้าย เขื่อนอย่างเราเลยต้องเจอภาวะน�้ำเค็มรุกเข้าพื้นที่ จนพืชผลการเกษตร เสียหาย มะพร้าวยืนต้นตายแทบทั้งเมือง เป็นจุดเปลี่ยนครั้งส�ำคัญที่ ท�ำให้ชาวสวนแม่กลองจ�ำนวนมากต้องเลิกท�ำสวนตลอดไป หรือไม่ก็ต้อง ย้ายถิ่นฐาน ปี 2538 น�้ำท่วมใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย เพราะมี พายุหลายลูกพัดกระหน�่ำ ท�ำให้เกิดฝนตกหนัก โดยเฉพาะบริเวณเหนือ เขื่อนจังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนต้องเร่งระบายน�้ำ ส่งผลให้เกิดน�้ำท่วมหนัก ในจังหวัดราชบุรีและสมุทรสงคราม เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

11


ปี 2554 ถึงแม้แม่กลองจะไม่ ได้ประสบอุทกภัย แต่การเร่ง ระบายน�้ำปริมาณมหาศาลลงสู่ทะเลเพื่อแก้ปัญหาน�้ำท่วมขังในภาคกลาง ท�ำให้น�้ำเน่าเสีย ปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็ว เกิดปรากฏการณ์ “ขี้ปลาวาฬ” หรือ “น�้ำเบียด” ชาวบ้านที่เพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ ได้รับ ความเสียหายอย่างหนักโดยไม่ ได้รับการเหลียวแล ปี 2555 ชาวบ้านชุมชนชายฝั่งทะเลต้องประสบปัญหาน�้ำเสีย ชายฝั่งทะเลอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลสั่งพร่องน�้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน ท�ำให้มีน�้ำ จืดไหลลงสู่อ่าวไทยตอนบนปริมาณมาก อัตราการไหลของแม่น�้ำแม่กลอง 1,270 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ท�ำให้ปลาและสัตว์น�้ำขาดออกซิเจนในการ หายใจ ผู้เลี้ยงกุ้ง หอยแมลงภู่ หอยแครง และปลากระชัง ในพื้นที่ต�ำบล คลองโคนและแหลมใหญ่ ได้ รั บ ผลกระทบอย่ า งรุ น แรง นั บ เป็ น ภั ย ธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 40 ปี จนชาวบ้านต้องรวมตัวกันมาเรียก ร้องการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น

12

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


บทที่

“อนาคตน�้ำ ใครก�ำหนด” ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ด�ำเนินการโดยแต่งตั้ง “คณะกรรมการ ยุ ท ธศาสตร์ เ พื่ อ การฟื ้ น ฟู แ ละสร้ า งอนาคตประเทศไทย (กยอ.)” และได้จัดท�ำแผนแม่บทหรือพิมพ์เขียวเพื่อการฟื้นฟู และสร้ า งอนาคตประเทศไทย ต่อ มานายกรั ฐ มนตรี ไ ด้ อ อก ระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ พ.ศ.2554 จัดตั้ง “คณะ กรรมการยุ ท ธศาสตร์ เ พื่ อ วางระบบการบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรน�้ำ (กยน.)” ให้อ�ำนาจหน้าที่จัดท�ำแผนแม่บทและ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน�้ำอย่างเป็นระบบ ก�ำหนดกรอบ การลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำของประเทศ

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

13


ต่ อมา นายกรัฐ มนตรี ได้อ อกระเบีย บส�ำนั ก นายกรั ฐ มนตรี อี ก ฉบับหนึ่ง ว่าด้วยการบริหารจัดการน�้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ.2555 มี คณะกรรมการนโยบายน�ำ้ และอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) ควบคุมเรือ่ ง นโยบาย คณะกรรมการบริหารจัดการน�ำ้ และอุทกภัย (กบอ.) เป็นระดับ อ�ำนวยการ และส�ำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน�้ำและอุทกภัย แห่งชาติ (สบอช.) เป็นหน่วยงานปฏิบัติการ ก�ำหนดนโยบายกาจัดท�ำ แผนปฏิบัติการบริหารจัดการน�้ำ แนวคิดหลักในการป้องกันน�้ำท่วมของรัฐบาลคือ ก�ำหนดให้เขต เศรษฐกิจ (ตั้งแต่ ใต้จังหวัดอยุธยาลงมา) เป็นพื้นที่ปิดล้อม “ปลอดน�้ำ ท่วม” ในทีส่ ดุ จึงเกิดเป็น “โครงการเพือ่ ออกแบบและก่อสร้างระบบการ บริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ปัญหาอุ ท กภั ย ของประเทศไทย” ซึ่งต่อมาได้มีการจัดท�ำเป็นข้อก�ำหนดและขอบเขต งาน (TOR ที โออาร์) เพื่อเข้าสู่กระบวนการประมูลจากบริษัทเอกชน ในข้อก�ำหนดที โออาร์ดังกล่าวแบ่งขอบเขตงานเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ 1) กลุ ่ ม โครงการ เอ 1 – เอ 6 เป็ น โครงการบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรน�้ำในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา 2) กลุ่มโครงการ บี 1 – บี 4 โครงการในลุ่มน�้ำอื่นๆ 17 ลุ่มน�้ำ รวมมูลค่างบประมาณ โครงการทั้งหมด ประมาณ 3.4 แสนล้านบาท

14

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


อนาคตที่เราไม่มีส่วนร่วม กลุม่ โครงการ เอ 1 – เอ 6 ท�ำในลุม่ น�ำ้ เจ้าพระยา มีตงั้ แต่การท�ำ อ่างเก็บน�้ำ สร้างพื้นที่ปิดล้อม ท�ำแก้มลิง ปรับปรุงล�ำน�้ำ ผันน�้ำข้ า มลุ ่ ม และท� ำ คลั ง ข้ อ มู ล ส่ ว นกลุ ่ ม โครงการ บี 1 – บี 4 เป็ น โครงการ นอกพื้ น ที่ เจ้าพระยา เช่น อีสาน และภาคใต้ แต่ ป ั ญ หาอยู ่ ที่ ว ่ า การก� ำ หนดอนาคตเรื่ อ งน�้ ำ ครั้ ง ใหญ่ ข อง ประเทศชาติ กลับไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จน กระทั่งศาลปกครองพิพากษาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ว่ารัฐบาล ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 57 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสอง “หากมีการด�ำเนินโครงการดังกล่าวจริง ย่อมต้องมีการใช้พื้นที่ จ�ำนวนหนึ่ ง ในการก่อ สร้าง ซึ่งบางส่ว นเป็นพื้ น ที่ ป ่ า ไม้ บางส่ วนเป็ น ที่ดินที่ประชาชนอยู่อาศัยและใช้ประกอบอาชีพ ท�ำให้เข้าลักษณะเป็น โครงการหรื อ กิ จ กรรมที่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ชุ ม ชนอย่ า ง รุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ… “...การที่ข้อก�ำหนดและขอบเขตงาน (ที โออาร์) ดังกล่ า วก� ำ หนด ให้เ ป็ น หน้ า ที่ ของผู้รับจ้างในการศึกษาในด้านต่ า งๆ และจั ด ให้ มีก าร รับฟังความคิดเห็ นของประชาชนนั้น นอกจากการด� ำ เนิ น การดั ง กล่าว ของผู้รับจ้างอาจเบี่ยงเบนหรือไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากผู้รับจ้าง ดังกล่าวเป็นผู้ที่ ได้ท�ำสัญญารับจ้างออกแบบและก่อสร้างกับรัฐไปแล้ว และเป็นปกติวิสัยในทางธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งหลายที่ย่อมค�ำนึงถึง ผลก�ำไรสูงสุดจากการประกอบการเป็นส�ำคัญ จึงย่อมประสงค์และอาจ

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

15


พยายามให้ผลการศึกษาดังกล่าวออกมาในลักษณะที่ ให้มีการก่อสร้าง ต่างๆ ซึ่งกรณีดังกล่าว นอกจากจะท�ำให้เป็นที่ ไม่มั่นใจในความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของผลการด�ำเนินการแล้ว ยังเป็นการด�ำเนินการที่ ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายในการก�ำหนดให้มีการศึกษา และประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน และการจั ด ให้ มี ก ระบวนการรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของประชาชนและผู ้ มี ส่วนได้เสียตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยอีกด้วย...” ศาลปกครองจึ ง มี ค� ำ สั่ ง ให้ ต ้ อ งท� ำ การศึ ก ษาและประเมิ น ผลกระทบต่ อคุ ณ ภาพสิ่งแวดล้อ ม รวมถึงการรับฟั ง ความคิ ด เห็ น ของ ประชาชนและผู ้ มี ส ่ ว นได้ เ สี ย อย่ า งทั่ ว ถึ ง ก่ อ นที่ จ ะด� ำ เนิ น การจ้ า ง ออกแบบและก่อสร้างในแต่ละแผนงาน (โมดูล)

16

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


จับพิรุธที โออาร์ ที โออาร์ ย่อมาจากภาษาอังกฤษ Terms of Reference (TOR) หมายถึงเอกสารที่ก�ำหนดขอบเขตและรายละเอียดของภารกิจที่ผู้จัดท�ำ ที โออาร์ต้องการให้ผู้รับจ้างด�ำเนินการ รวมทั้งความรับผิดชอบอื่นๆ ของ ผู้รับจ้างที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้นด้วย โครงการบริหารจัดการน�้ำ 3.4 แสนล้านนี้มีขั้นตอนที่ต้องท�ำ ก่อนด�ำเนินโครงการ ตั้งแต่การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ศึกษา ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รับฟังความคิดเห็น ก�ำหนดราคา กลาง ประกวดราคา แล้ว จึงจะด�ำเนินการก่ อ สร้ า งได้ แต่ ป รากฏว่ า โครงการนี้มีการสลับขั้นตอนและเปลี่ยนผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้น หลังจาก กบอ. ด�ำเนินการประกวดราคาแล้วเสร็จ ส�ำนักมาตรการป้องกันทุจริต ส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีข้อพิจารณาและเสนอแนะ “เพื่อป้องกันการทุจริตและ ความเสี ยหายของทางราชการ ในการด�ำเนิ นการโครงการระบบ บริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรน�้ ำ อย่ า งยั่ ง ยื น และระบบแก้ ไขปั ญ หา อุทกภัยของประเทศไทย” เมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 ว่า โครงการดัง กล่าว “มีความเสี่ยงที่อาจท�ำให้เกิดปัญหาการทุจริตและความเสีย หายแก่ทางราชการ” โดยสรุปได้ดังนี้

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

17


1.

การคัดเลือกผู้รับจ้าง : เป็นการแข่งขันกันระหว่างบริษัทใหญ่ เพราะ กบอ. จัดท�ำเป็นกลุ่มโครงการ (โมดูล) ที่มีวงเงินว่าจ้างสูงมาก ท�ำให้บริษัทที่จะรับงานได้มีน้อย นอกจากนั้นในการคัดเลือกยังมี เกณฑ์ที่ ไม่ชัดเจนคือ โครงการย่อยในแต่ละกลุ่มโครงการมีความ แตกต่างกันมาก บริษัทที่รับงานอาจไม่มีความถนัดและช�ำนาญการ ในบางโครงการของแต่ละกลุ่มโครงการนั้นๆ

2.

การจ้างเหมาเบ็ดเสร็จ : เป็นการจ้างเหมาแบบ ออกแบบไป – สร้างไป รวมทั้งรวบเอาการศึกษาความเหมาะสม EIA/EHIA เอาไว้ ให้เป็น ภาระของบริ ษั ท ที่ รั บ จ้ า ง โดยมี ก ารเซ็ น สั ญ ญาการออกแบบ ก่อสร้างโครงการกับรัฐไปแล้ว จึงเป็นการสุ่มเสี่ยงหากโครงการไม่ ได้ รั บ การยอมรั บ และผลการศึ ก ษาพบว่ า ไม่ เ หมาะสม หรื อ มี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่รุนแรง อีกทั้งการรวบรัด ทั้ ง หมดในเวลาอั น สั้ น เนื่ อ งจากก� ำ หนดระยะเวลาในการด� ำ เนิ น โครงการในที โออาร์แล้ว อาจท�ำให้งานที่ออกมาไร้ประสิทธิภาพ และเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตขึ้นได้

3.

การประกันราคาไม่เกินวงเงินสูงสุด : ในกระบวนการประกวดราคา ก่อนการศึกษา ออกแบบ และก่อสร้าง ท�ำให้บริษัทที่ประกวดราคา เสนอวงเงิ น เท่ า กับ หรือ ใกล้เ คีย งกับวงเงินสู ง สุ ด ที่ ก� ำ หนดไว้ อ ยู ่ แล้ว เพื่อเป็นการป้องกันตัวเอง ดังนั้น “การประกันราคาไม่เกิน วงเงินสูงสุด” โดยไม่มีรายละเอียดใดๆ ไม่สามารถป้องกันค่าใช้ จ่ายสูงกว่าที่ควรจะเป็นได้เสมอไป นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิด โอกาสให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ แสวงหาประโยชน์ อั น มิ ช อบจาก ผู้รับเหมาได้

18

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


4.

5.

การจ้างเหมาช่วง : เนื่องจากในแต่ละกลุ่มโครงการ ประกอบด้วย โครงการย่อยหลายโครงการ บริษัทผู้รับจ้างหลักอาจไม่สามารถ ด�ำเนินโครงการออกแบบก่อสร้างได้ทั้งหมด จึงจ�ำเป็นต้อง “จ้าง เหมาช่วง” ในหลายขั้นตอนกระบวนการ หากบริษัทรับจ้างหลัก มีปัญหาด้านการเงิน หรือผู้รับเหมาช่วงไม่สามารถด�ำเนินการตาม เวลาและคุ ณ ภาพ จะต้ อ งมี ก ารปรั บ ฟ้ อ งร้ อ ง และเกิ ด การ “ทิ้งงาน” จนสุดท้ายไม่สามารถด�ำเนินโครงการได้ตามเป้าหมายที่ วางไว้ทั้งด้านราคา ระยะเวลา และคุณภาพงาน อีกทั้งอาจเป็น ช่องทางให้เจ้าหน้าทีร่ ฐั ทุจริตได้ (เจ้าหน้าทีร่ ฐั เป็นผูต้ รวจรับมอบงาน) ไม่ปฏิบัติตามระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 เกี่ ย วกั บ หลั ก ความรั บ ผิ ด ชอบของเจ้ า ของโครงการ : โครงการนี้อาศัยอ�ำนาจตามความในข้อ 13 วรรคสี่ แห่ง “ระเบียบ ส� ำ นั ก นายกรั ฐ มนตรี ว ่ า ด้ ว ยการบริ ห ารโครงการและการใช้ จ่ายเงินกู้เพื่อการวางระบบบริษัทจัดการน�้ำและสร้างอนาคต ประเทศ พ.ศ. 2555” ซึ่งออกมาแทน “ระเบียบส�ำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535” และ “ระเบียบส�ำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549” โดยอ้างความรวดเร็ว ต่อมาได้แก้ ไขเพิ่มอ�ำนาจการ บริหารโครงการ 3.4 แสนล้านบาท ให้อยู่ ในมือของ สบอช. เพียง หน่วยเดียว อีกทั้งอ�ำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบริษัท ก็อยู่ภายใต้ประธาน กบอ. (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) เพียงผู้เดียว (เพิ่ ม เติ ม : นอกจากนี้ การอนุมัติ โครงการและการใช้ เงิ น กู ้ ต าม โครงการไม่เป็นไปตามวิธีการงบประมาณตามกฎหมาย อีกทั้งยัง ไม่ เ ป็ น ไปตามหลักเกณฑ์แ ละวิธีปฏิบัติ ในการเปิ ด เผยราคากลาง ของกรมบัญชีกลาง) เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

19


6.

อาจเป็นการขัดกับมาตรการการป้องกันการทุจริตตามที่กฎหมาย ก� ำ หนด : พ.ร.บ. ประกอบรั ฐ ธรรมนู ญ ว่ า ด้ ว ยการป้ อ งกั น และ ปราบปรามทุจริต ฉบับที่ 2 มาตรา 103/7 ระบุว่า “ให้หน่วยงาน ของรัฐด�ำเนินการจัดท�ำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะราคากลางและการค�ำนวณราคา กลางไว้ ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชน สามารถตรวจดูไ ด้” คือ หน่ว ยงานของรัฐ ต้ อ งจั ด ท� ำ ราคากลาง ซึ่งในประเด็นนี้รัฐอ้างว่า “การประกันราคาไม่เกินวงเงินสูงสุด” เป็ น ราคากลางของโครงการ แต่ ป.ป.ช. แถลงภายหลั ง ว่ า ไม่ สามารถน�ำมาใช้แทนราคากลางได้ ในประเด็นเดียวกันนี้ก็ยังอยู่ ระหว่างการตรวจสอบของผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งอาจสุ่มเสี่ยงต่อ การ “ขัดรัฐธรรมนูญ” อีกด้วย

ระหว่างทางเลือกที่ กบอ. จะขุดล�ำน�้ำสายใหม่ กับ ทางเลือกของภาคประชาชนที่อยากให้สะสางล�ำน�้ำ สายเดิม คุณใช้เงินแสนห้าหมื่นล้านไปขุดแม่น�้ำรอ ไว้กลางหาว แล้วก็บอกได้เลยว่าไม่มีน�้ำ จนกว่ า น�้ ำ จะเกิ น ที่ น ครสวรรค์ ในอั ต ราการไหล 3,500 ลบ.ม./วินาที ถึงจะปล่อยน�้ำเข้ามา กับสะสางล�ำน�้ำ ที่ มี อ ยู ่ เ ดี๋ ย วนี้ ได้ ใช้ ป ระโยชน์ เ ดี๋ ย วนี้ นี่ คื อ ความ สมเหตุสมผลในการใช้เงิน สุรจิต ชิรเวทย์ สมาชิกวุฒิสภา จ.สมุทรสงคราม

20

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


บทที่

“จม – ท่วม- ทลาย – แล้ง – แย่งน�้ำ” ในบรรดาเมกะโปรเจ็ ค ท์ ม หากาพย์ เ รื่ อ งน�้ ำ นี้ มี โ ครงการที่ เกี่ยวข้องกับเมืองแม่กลองของเราโดยตรงก็คือ กลุ่มโครงการ เอ 5 ซึ่งเป็นการสร้างทางผันน�้ำขนาดเพื่อป้องกันอุทกภัยใน ลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ขนาด 1,500 ลบ.ม./วินาที งบประมาณทั้งสิ้น 1.53 แสนล้านบาท คิด เป็น 45% ของมู ลค่ า งบประมาณ ทั้งหมด

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

21


กลุ่มโครงการ เอ 5 ประกอบด้วย

1.

2. 3. 4. 5. 22

ฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยาเหนือ ท�ำทางผันน�้ำ (Flood Diversion Channel) ระยะทาง 281 กิโลเมตร อัตราการไหล 1,200 ลบ.ม./วินาที ลงสู่แม่น�้ำแม่กลอง และทะเลอ่าวไทย แล้วเสร็จในเวลา 5 ปี ปรับปรุงขุดลอกแม่น�้ำแม่กลอง ในเขตจังหวัดราชบุรี และ อ� ำ เภอบางคนที จั ง หวั ด สมุ ท รสงคราม ระยะทาง 34 กิโลเมตร อัตราการไหล 1,910 ลบ.ม./วินาที แล้วเสร็จใน เวลา 5 ปี ฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยา ขุดลอกคลองชัยนาทป่ า สั ก พร้ อมส่ว นต่อ ขยายจากแม่น�้ำป่า สั ก ลงสู ่ อ ่ า วไทย ระยะทาง 133 กิโลเมตร อัตราการไหล 300 ลบ.ม./วินาที แล้วเสร็จในเวลา 3 ปี ฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยา ขุดลองคลอง 13 สาย ระยะทาง 388 กิโลเมตร อัตราการไหล 300 ลบ.ม./วินาที แล้วเสร็จในเวลา 3 ปี ปรับปรุงน�้ำท่าจีน ขุดคลองลัด ระยะทาง 6 กิ โลเมตร และ ขุดลอกแม่น�้ำท่าจีน ระยะทาง 22 กิโลเมตร อัตราการไหล 250 – 300 กิโลเมตร แล้วเสร็จในเวลา 3 ปี

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


เอาแม่น�้ำมาเพิ่มอีกหนึ่งเท่าตัว โดยการสร้างทางผันน�้ำ หรือ “แม่น�้ำสายใหม่” เริ่มจากแม่น�้ำปิง บริเวณ อ�ำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดก�ำแพงเพชร ไปบรรจบกับแม่น�้ำ แม่กลองบริเวณเหนือเขื่อนแม่กลอง ต�ำบลท่าล้อ อ�ำเภอท่าม่วง จังหวัด กาญจนบุรี ความกว้างประมาณ 245 เมตร มีถนน 2 ช่องจราจร และ 4 ช่องจราจร ขนาบไปกับแนวแม่น�้ำ ระยะทางประมาณ 281 กิโลเมตร การ ผันน�้ำผ่านแม่น�้ำสายใหม่ซึ่งมีศักยภาพการระบายน�้ำ 1,200 ลบ.ม./วินาที เท่ากับศักยภาพการระบายน�้ำปัจจุบันของแม่น�้ำแม่กลอง เสมือนเป็นการ เพิ่มภาระให้กับแม่น�้ำแม่กลองอีกเท่าตัว แวดวงวิศวกรรมวิพากษ์วิจารณ์ว่าการสร้างแม่น�้ำสายใหม่เพื่อ ผั น น�้ ำ ข้ า มลุ ่ ม น�้ ำ ในโมดู ล เอ 5 อาจน� ำ มาซึ่ ง หายนะครั้ ง ใหม่ ทั้ ง จาก ปัญหาการเวนคืนที่ดิน ปัญหาการรุกตัวของความเค็ม ซึ่งจะเสียหายทั้ง ต่อเรือกสวนไร่นาและระบบท�ำประปา ระบบลุ่มน�้ำเปลี่ยนแปลง ระบบ นิเวศปากน�้ำเสียหาย การเคลื่อนพังของตลิ่ง วิถีชุมชนเปลี่ยน น�ำมาซึ่ง ความขัดแย้งในการแย่งชิงน�้ำ พื้นที่เพาะปลูกในฤดูแล้งลดลง และเกิด ปัญหาการขนส่งทางน�้ำ เป็นต้น

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

23


24

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

25


ค�ำถามคาใจ แม่น�้ำสายใหม่กับชีวิตคนแม่กลอง โครงการบริหารจัดการน�้ำ 3.4 แสนล้านเป็นอภิมหาโครงการที่ เต็มไปด้วยความคลุมเครือ และก่อให้เกิดค�ำถามอย่างมากมาย ทั้งความ เหมาะสมของโครงการ ความคุ้มทุนคุ้มค่า ผลกระทบมหาศาลในวงกว้าง ความเชื่อมโยงของแต่ละโครงการ ความโปร่งใสชอบธรรม แก้ปัญหาน�้ำ ท่วมได้จริงหรือ เพิ่มปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรน�้ำหรือไม่ และการมอง หาทางเลือกอื่นในการบริหารจัดการน�้ำ ฯลฯ ส�ำหรับคนแม่กลอง โครงการท�ำทางผันน�้ำ และขุดลอกท้องน�้ำ แม่กลองยังก่อให้เกิดข้อกังขาในประเด็นใหญ่ๆ อีกมากมาย ปัญหาการเสื่อมพังทลายของตลิ่ง ปัญหาระดับน�้ำที่จะประคองล�ำน�้ำในหน้าแล้ง ปัญหาตะกอนท้องน�้ำที่ขุดจะน�ำไปทิ้งที่ ไหน (โดยโครงการแจ้งว่า จะน�ำตะกอนไปทิ้งใส่ป่าชายเลนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม และ สมุทรสาคร จะเกิดอะไรขึ้น?) ปัญหาน�ำ้ จืดปริมาณมหาศาลอีกเท่าตัว จะเกิดอะไรขึน้ กับสิง่ แวดล้อม ระบบนิเวศปากแม่น�้ำ การเลี้ยงปลากระชัง สวนลิ้นจี่ ส้มโอ นากุ้ง นาเกลือ ระบบนิเวศ ป่าชายเลนปากแม่น�้ำ ดอนหอยหลอด คอกหอยแครง ปักหอย แมลงภู่ ประมงล�ำน�้ำ ประมงพื้นบ้านกับชายฝั่ง จะเป็นอย่างไร? ความเสี่ยงน�้ำท่วม ในหน้าน�้ำหลาก + น�้ำทะเลหนุน คุณภาพน�้ำในแม่น�้ำแม่กลอง ผลกระทบต่อการผลิตน�้ำประปา ความมั่นคงทางอาหาร ความซับซ้อนยุ่งยากในการบริหารจัดการในลุ่มน�้ำแม่กลอง

26

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


เราชาวท่าม่วง รวมทั้งอ�ำเภอเมื อ งกาญจนบุ รี ปัจจุบันเราอยู่กับน�้ำที่พอดีแล้ว จริงๆ ก็เกิน แต่ เราก็ทนอยู่มายี่สิบปี เราปรับตัวได้แล้ว น�้ำของ เรา 1,200 ลบ.ม./วินาที ถ้าเติมอีกเท่าตัว เราก็ ไม่ รู ้ เ หมื อ นกั น ว่ า จะเป็ น ยั ง ไง เรามี แ ต่ ค วาม เดือดร้อน ประโยชน์ ไม่มีเลย ถ้าทางผันน�้ำนี้มา 71 ครอบครัวต้องย้ายซ�้ำสอง ยี่สิบปีที่แล้วโดน เวนคื น แล้ ว จากกรมชลประทาน อี ก 300 ครอบครัวก็ยังไม่เห็นอนาคต ถ้าน�้ำมาก็ต้องย้าย ตัวแทนชาวบ้านจากต�ำบลท่าล้อ ท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

27


28

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


บทที่

“เรามีสิทธิอะไรบ้าง”

คนแม่กลองก็ ไม่ต่างประชาชนชาวไทยทุกคน ที่ย่อมจะมีสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในการได้ รั บ ทราบและเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล หรื อ ข่ า วสารสาธารณะในส่ ว น ที่เกี่ยวข้อง มีสิทธิได้รับค�ำชี้แจง และมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมใน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของเราด้วย

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

29


สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 56 บุคคลย่อมมีสิทธิ ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือ ข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิ จ หรื อราชการส่ว นท้อ งถิ่น เว้นแต่การเปิ ด เผยข้ อ มู ลหรื อ ข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูล ส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล ค�ำชี้แจง และเหตุผล จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่ อ นการอนุ ญ าตหรื อ การด� ำ เนิ น โครงการหรื อ กิ จ กรรมใดที่ อ าจมี ผ ล กระทบต่อคุณภาพสิง่ แวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวติ หรือส่วนได้เสีย ส�ำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิด เห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อน�ำไปประกอบการพิจารณาใน เรื่องดังกล่าว การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคื น อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ การวางผั ง เมื อ ง การก� ำ หนดเขตการใช้ ประโยชน์ ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียส�ำคัญ ของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อย่างทั่วถึงก่อนด�ำเนินการ มาตรา 58 บุคคลย่อมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณา ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจ มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน

30

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


มาตรา 66 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชน ท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมใน การจัดการ การบ�ำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน มาตรา 67 สิท ธิของบุค คลที่จะมีส ่วนร่ วมกั บ รั ฐ และชุ มชนใน การอนุรักษ์ บ�ำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ด�ำรงชีพอยู่ ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง ในสิ่ ง แวดล้ อมที่ จ ะไม่ก่อ ให้เ กิด อันตรายต่อ สุข ภาพอนามั ย สวั สดิ ภ าพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม การด�ำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระท�ำมิ ได้ เว้นแต่จะได้ศึกษา และประเมินผลกระทบ ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มี กระบวนการรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของประชาชนและผู ้ มี ส ่ ว นได้ เ สี ย ก่ อ น รวมทั้งได้ ให้องค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็น ประกอบก่อนมีการด�ำเนินการดังกล่าว สิ ท ธิ ข องชุ ม ชนที่ จ ะฟ้ อ งหน่ ว ยราชการ หน่ ว ยงานของรั ฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

31


มาตรา 85 รั ฐ ต้ อ งด� ำ เนิ น การตามแนวนโยบายด้ า นที่ ดิ น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้ (1) ก�ำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดย ให้ค�ำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน�้ำ วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภาพ และก�ำหนดมาตรฐานการใช้ที่ดิน อย่างยั่ง ยืน โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย (2) กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและด�ำเนินการให้ เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่าง ทั่ ว ถึ ง โดยการปฏิ รู ป ที่ ดิ น หรื อ วิ ธี อื่ น รวมทั้ ง จั ด หาแหล่ ง น�้ ำ เพื่ อ ให้ เกษตรกรมีน�้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร (3) จั ด ให้ มี ก ารวางผั ง เมื อ ง พั ฒ นา และด� ำ เนิ น การตาม ผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อประโยชน์ ในการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (4) จั ด ให้ มี แ ผนการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรน�้ ำ และ ทรัพยากรธรรมชาติอ่ืนอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้ ง ต้ อ งให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการสงวน บ� ำ รุ ง รั ก ษา และใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างสมดุล (5) ส่งเสริม บ�ำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตาม หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดจนควบคุมและก�ำจัดภาวะมลพิษที่มีผล ต่ อ สุ ข ภาพอนามัย สวัสดิภ าพ และคุณ ภาพชีวิตของประชาชน โดย ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีส่วน ร่วมในการก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินงาน

32

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


มาตรา 87 รั ฐ ต้ อ งด� ำ เนิ น การตามแนวนโยบายด้ า นการมี ส่วนร่วมของประชาชนดังต่อไปนี้ (1) ส่งเสริมให้มีประชาชนมีส่วนร่วมในการก�ำหนดนโยบายและ วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น (2) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ตั ด สิ น ใจทางการเมือ ง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสัง คม รวมทั้งการจัดท�ำบริการสาธารณะ (3) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ตรวจสอบการใช้อ�ำนาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือ ตามสาขาอาชีพที่หลากหลายหรือรูปแบบอื่น (4) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมืองและจัด ให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เพื่อช่วยเหลือ การด�ำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการด�ำเนิน การของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบ ให้ สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่ (5) ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนา การเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็ น ประมุข รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ ใช้สิทธิเลือกตั้ง โดย สุจริตและเที่ยงธรรม การมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ ต้องค�ำนึงถึงสัดส่วน ของหญิงและชายที่ ใกล้เคียงกัน

“ตามความในมาตรา 58 และ 67 วรรคสอง ระบุชัดเจนว่าแม้ โครงการยังไม่ก่อผลกระทบเลย แค่ ‘อาจ’ ก่อก็ต้องท�ำการรับฟัง ความคิดเห็น”

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

33


สิ่งที่ “ต้อง” ท�ำก่อนเริ่มโครงการ เพราะโครงการบริหารจัดการน�้ำ 3.4 แสนล้าน เป็นโครงการที่ “อาจก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ชุ ม ชนอย่ า งรุ น แรงทั้ ง ด้ า นคุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ” และเป็น “การวางแผน พัฒนาที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียส�ำคัญของประชาชน” ฉะนั้น จึงไม่ ใช่ โครงการที่นึกอยากจะท�ำก็ท�ำได้ หรือกู้เงินมาแล้วท�ำได้เลย กล่าวส�ำหรับกลุ่มโครงการ เอ 5 เป็นโครงการที่เข้าข่ายต้องท�ำ “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA - อี ไอเอ)” ตาม ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การก�ำหนด ประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดท�ำอี ไอเอ โดยจัด เป็นโครงการประเภท “การผันน�้ำข้ามลุ่มน�้ำหลัก” ทั้งโครงการยังจะมี การขุดลอกแม่น�้ำแม่กลองตั้งแต่จังหวัดราชบุรีถึงอ�ำเภอบางคนที แล้วน�ำ ดินตะกอนไปถมบริ เ วณปากแม่น�้ำแม่กลอง จึงเข้า ข่ า ยต้ อ งท� ำ อี ไอเอ อีกเช่นกั น ในฐานะโครงการที่เ กี่ย วกับ “การถมดิ นในทะเล” และ “การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเล” นอกจากนี้ ความที่ทางผันน�้ำมาออกทะเลที่ดอนหอยหลอด ซึ่งได้ รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน�้ำที่มีความส�ำคัญในระดับนานาชาติ ตาม สนธิสัญญาแรมซาร์ ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 ได้ออกมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน�้ำ โดยเฉพาะข้อ 10 ระบุว่า “ให้มีการ จั ด ท� ำ รายงานวิ เ คราะห์ ผ ลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ ม (อี ไอเอ) ส� ำ หรั บ โครงการพัฒนาใดๆ ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบ นิเวศของพื้นที่ชุ่มน�้ำที่มีความส�ำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ” โดยก� ำ หนดให้ ห น่ ว ยงานรั บ ผิ ด ชอบหลั ก คื อ “หน่ ว ยงานรั ฐ เจ้ า ของ โครงการ” ดังนั้น จึงต้องท�ำอี ไอเอครอบคลุมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ ดอนหอยหลอดเป็นกรณีเฉพาะอีกด้วย

34

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


สรุปได้ว่า โครงการฯ ต้อง “ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน (Environment and Health Impact Assessment : EHIA อี เอชไอเอ)” ตามที่ ศ าล ปกครองมีค�ำพิพากษาไว้เมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน 2556 ซึ่งหัวใจส�ำคัญ คือ จะต้อง “จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู ้ มี ส ่ ว นได้ เ สีย ” โดยในค�ำพิพากษาศาลปกครองดั ง กล่ า วระบุ ไ ว้ อย่างชัดเจนว่าจะต้องด�ำเนินการ “อย่างทั่วถึง” คือ จะต้องรับฟังความ คิ ด เห็ น ประชาชนที่ ได้ รั บ หรื อ อาจจะได้ รั บ ผลกระทบจากโครงการ ทั้งหมดก่อนการด�ำเนินโครงการ ส�ำหรับกลุ่มโครงการ เอ 5 ผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด มี ตั้ ง แต่ ลุ ่ ม แม่ น�้ ำ ปิ ง บริ เ วณต้ น ทางทางผั น น�้ ำ (อ� ำ เภอขาณุ ว รลั ก ษบุ รี ก�ำแพงเพชร) พื้นที่ที่ทางผันน�้ำผ่าน (ก�ำแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี) บริเวณปลายทางทางผันน�้ำ (อ�ำเภอท่าม่วง กาญจนบุ รี ) พื้ น ที่ ที่ แ ม่ น�้ ำ แม่ ก ลองไหลผ่ า น (กาญจนบุ รี ราชบุ รี สมุทรสงคราม) บริเวณที่น�้ำไหลลงสู่ทะเล (สมุทรสงคราม) และบริเวณ ชายฝั ่ ง ที่ จ ะได้ รั บ ผลกระทบ (อ่ า วไทยตอนบน จั ง หวั ด เพชรบุ รี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ) เป็นต้น ล้วน แต่ต้องท�ำ EHIA ให้ครอบคลุมทั้งหมดก่อนด�ำเนินโครงการ

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

35


การรับฟังความคิดเห็น รับฟังอย่างไร ตาม “ระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548” ก�ำหนดไว้ดังนี้ ข้ อ 5 “ก่ อ นเริ่ม” โครงการของรัฐ หน่วยงานของรั ฐ ที่ เป็ น ผู ้ รับผิดชอบโครงการ “ต้อง” จัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลตามข้อ 7 ให้ ประชาชนทราบ และจะรับฟังความคิด เห็นของประชาชนโดยวิ ธี ใ ดวิ ธี หนึ่งหรือหลายวิธีตามข้อ 9 ด้วยก็ ได้ หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการของรัฐที่มีผลกระทบ อย่างรุนแรงต่อประชาชนเป็นส่วนรวม ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนโดยวิธี ใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีตามข้อ 9 ก่อนเริ่มด�ำเนินการ ข้อ 7 ข้อมูลเกีย่ วกับโครงการของรัฐทีห่ น่วยงานของรัฐต้องเผยแพร่ แก่ประชาชน อย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลความจ�ำเป็น และวัตถุประสงค์ของโครงการ (2) สาระส�ำคัญของโครงการ (3) ผู้ด�ำเนินการ (4) สถานที่ที่จะด�ำเนินการ (5) ขั้นตอนและระยะเวลาด�ำเนินการ (6) ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ (7) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยหรือ ประกอบอาชีพอยู่ ในสถานที่ที่จะด�ำเนินโครงการและพื้นที่ ใกล้เคียง และ ประชาชนทั่ ว ไป รวมทั้ ง มาตรการป้ อ งกั น แก้ ไ ข หรื อ เยี ย วยาความ เดือดร้อนหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบดังกล่าว (8) ประมาณการค่าใช้จ่าย ในกรณีท่ีหน่วยงานของรัฐ จะเป็นผู้ด�ำเนินโครงการของรัฐเองให้ระบุที่มาของเงินที่จะน�ำมาใช้จ่าย ในการด�ำเนินโครงการนั้นด้วย

36

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


ให้หน่วยงานของรัฐประกาศข้อมูลที่ต้องเผยแพร่แก่ประชาชน ตามวรรคหนึ่งในระบบเครือข่ายสารสนเทศที่ส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายก รัฐมนตรีจัดให้มีขึ้นตามระเบียบนี้ด้วย ข้อ 8 ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หน่วยงานของรัฐ ต้องมุ่งให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการของรัฐ และ รวบรวมความคิ ดเห็นของประชาชนที่มีต่อ โครงการนั้ น รวมตลอดทั้ ง ความเดือดร้อนหรือความเสียหายทีอ่ าจเกิดขึน้ แก่ประชาชนด้วย หน่วยงาน ของรัฐจะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปพร้อมกับการเผยแพร่ข้อมูล แก่ประชาชนก็ ได้ ข้อ 9 การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามข้อ 8 อาจใช้วิธี การอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) การส�ำรวจความคิดเห็น ซึ่งอาจท�ำโดยวิธีดังต่อไปนี้ (ก) การสัมภาษณ์รายบุคคล (ข) การเปิดให้แสดงความคิดเห็นทางไปรษณีย์ ทาง โทรศัพท์หรือโทรสาร ทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ หรือทางอื่นใด (ค) การเปิดโอกาสให้ประชาชนมารับข้อมูลและแสดง ความคิดเห็นต่อหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบโครงการ (ง) การสนทนากลุ่มย่อย (2) การประชุมปรึกษาหารือ ซึง่ อาจท�ำได้ โดยวิธดี งั ต่อไปนี้ (ก) การประชาพิจารณ์ (ข) การอภิปรายสาธารณะ (ค) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (ง) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (จ) การประชุมระดับตัวแทนของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้เสีย (3) วิธีอื่นที่ส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีก�ำหนด เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

37


ข้อ 10 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนโดยวิธีอื่นนอกจากที่ก�ำหนดไว้ ในข้อ 9 จะท�ำให้การรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชนบรรลุวัตถุประสงค์ตามข้อ 8 หน่วยงานของ รัฐจะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีนั้นก็ ได้ แต่เมื่อด�ำเนินการ แล้วให้แจ้งส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีทราบด้วย ข้อ 11 ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หน่วยงานของรัฐ ต้องประกาศให้ประชาชนทราบถึงวิธีการรับฟังความคิดเห็น ระยะเวลา สถานที่ ตลอดจนรายละเอียดอื่นที่เพียงพอแก่การที่ประชาชนจะเข้าใจ และสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ประกาศตามวรรคหนึ่ ง ให้ ป ิ ด ไว้ โ ดยเปิ ด เผย ณ สถานที่ ป ิ ด ประกาศของหน่วยงานของรัฐและสถานที่ที่จะด�ำเนินโครงการของรัฐนั้น เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนเริ่มด�ำเนินการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน และให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศที่ส�ำนักงานปลัด ส�ำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้มีขึ้นตามระเบียบนี้ด้วย ข้อ 12 เมื่อด�ำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว ให้ หน่วยงานของรัฐจัดท�ำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และ ประกาศให้ประชาชนทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชนให้น�ำความในข้อ 11 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่ การประกาศตามข้อนี้ โดยอนุโลม ข้อ 13 เมื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้วปรากฏว่าการ ด�ำเนินโครงการของรัฐโครงการใดอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน มากกว่าข้อมูลที่เผยแพร่แก่ประชาชนตามข้อ 7 (7) ถ้ายังมีความจ�ำเป็น ต้องด�ำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป หน่วยงานของรัฐต้องก�ำหนดมาตรการ ป้องกันแก้ ไข หรือเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่อาจเกิด

38

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


ขึ้นจากผลกระทบดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสมก่อนเริ่มด�ำเนินการ โครงการของรัฐนั้นและประกาศให้ประชาชนทราบให้น�ำความในข้อ 11 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การประกาศตามข้อนี้ โดยอนุโลม ข้อ 14 ระเบียบนี้ ไม่ ใช้บังคับแก่ (1) โครงการของรัฐที่กฎหมายบัญญัติวิธีการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชน หรือผู้มีส่วนได้เสียไว้เป็นการเฉพาะ (2) โครงการของรัฐที่เริ่มด�ำเนินการไปแล้วก่อนวันที่ ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 15 ให้ส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ก�ำกับดูแล ส่งเสริม สนับสนุนช่วยเหลือ และแนะน�ำหน่วยงานของรัฐในการด�ำเนิน การตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) จัดท�ำและเผยแพร่แนวทางการเผยแพร่ข้อมูลและ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้หน่วยงานของรัฐทราบ โดยจะ จัดให้มีการสัมมนาหรือฝึกอบรมเป็นครั้งคราวด้วยก็ ได้ (2) ศึกษาหรือวิจัยเพื่อประโยชน์ ในการปรับปรุงและ พัฒนาวิธีการให้ข้อมูลและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (3) จัดท�ำและพัฒนาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และระบบ เครื อข่ า ยสารสนเทศเพื่อ ประโยชน์ ในการประกาศ รวบรวม และให้ บริการข้อมูลที่เผยแพร่แก่ประชาชนและข้อมูลเกี่ยวกับการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชนตามระเบียบนี้

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

39


การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องท�ำอย่างไร ตาม “ประกาศกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้อ มเรื่ อ ง ก� ำ หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบี ย บปฏิ บัติ แ ละ แนวทางในการจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส�ำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่าง รุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และ สุขภาพ” มีรายละเอียดในการปฏิบัติตามเอกสารท้ายประกาศ ค ดังนี้ ค. แนวทางการรับฟังความคิดของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ในกระบวนการวิ เคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อ ม ส� ำ หรั บ โครงการหรื อ กิ จ การที่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ชุ ม ชนอย่ า งรุ น แรง ทั้ ง ทางด้ า น คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ค.1 กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ เสี ย ในการก� ำ หนดขอบเขตและแนวทางการประเมิ น ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 1. ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกิจการ จัดเวทีรับฟัง ความคิ ด เห็ น เพื่ อ ก� ำ หนดขอบเขตและแนวทางการประเมิ น ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย และหน่วยงาน ที่ เ กี่ ย วข้ อ งได้ เ ข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มในการน� ำ เสนอประเด็ น ห่ ว งกั ง วลและ แนวทางในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อ มและสุ ข ภาพ และเพื่ อ ให้ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นไปอย่างครบถ้วน 2. การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อก�ำหนดขอบเขตและ แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จะต้องด�ำเนินการ ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

40

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


2.1 ต้องแจ้งล่วงหน้าให้ส�ำนักงานนโยบายและ แผนทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ และสาธารณชนทราบไม่น้อยกว่า 1 เดือน โดยแจ้งให้ สาธารณชนทราบผ่านทางช่องทางการสื่อสารสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 ช่อ งทาง เพื่ อให้ห น่ว ยงานและสาธารณชนที่ สนใจสามารถเตรี ย มตั ว เข้าร่วมได้อย่างทั่วถึง 2.2 ต้องเปิดเผยเอกสารโครงการ โดยระบุถึง ความเป็นมา ความจ�ำเป็น แหล่งเงินทุน กระบวนการ และแนวทางใน การด�ำเนินโครงการ รวมถึงน�ำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจ ส่ ง ผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพและร่ า งข้ อ เสนอการก� ำ หนด ขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องและสาธารณชนพิจารณาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนการ จัดเวทีผ่านทางช่องทางการสื่อสารสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง 2.3 จัดระบบการลงทะเบียนเพื่อให้ประชาชน ผู้มี ส่วนได้เสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความประสงค์ที่จะให้ความเห็น ในการก�ำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ โดยสะดวก 2.4 การจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ต้องจัดช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้น�ำเสนอประเด็นห่วงกังวล ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และน� ำ เสนอแนวทางในการประเมิ น ผลกระทบทางสิ่ ง แวดล้ อ มและ สุขภาพไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเวลาในการจัด เวทีทั้งหมด

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

41


2.5 ภายหลังการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ จะ ต้องเปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยต้องมีช่องทางอย่างน้อย 2 ช่องทาง 3. ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกิจการ หรือผู้ขอ อนุมัติอนุญาตให้ด�ำเนินโครงการหรือกิจการจัดท�ำรายงานสรุปความคิด เห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชน พร้อมทั้งค�ำชี้แจง และน�ำ เสนอขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อการด�ำเนินการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยส่งให้ ส� ำ นั ก งานนโยบายและแผนทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มเพื่ อ ทราบ และส่งให้ส�ำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเพื่อเผยแพร่ แก่สาธารณชนต่อไป ค. 2 กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วน ได้เสียในขั้นตอนการประเมินและจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่ ง แวดล้ อ มส� ำ หรั บ โครงการหรื อ กิ จ การที่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ในขั้นตอนการประเมินและจัดท�ำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่ ง แวดล้ อ มส� ำ หรั บ โครงการหรื อ กิ จ การที่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ให้เจ้าของโครงการหรือผู้จัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผล กระทบสิ่ ง แวดล้ อ มฯ ด� ำ เนิ น การตามแนวทางการมี ส ่ ว นร่ ว มของ ประชาชนและการประเมินผลกระทบทางสังคมในรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มฯ ที่ จั ด ท� ำ โดยส� ำ นั ก งานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่ ง แวดล้ อ มเพื่ อ ให้ เ กิ ด การมี ส ่ ว นร่ ว มและการรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของ

42

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน โดยเจ้าของโครงการหรือผู้ จัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ จะต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 1. ให้ผจู้ ดั ท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อมฯ ท�ำการเปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับโครงการหรือกิจการที่ก�ำลังด�ำเนิน การจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ โดยจะต้องมี ข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับประเภท ขนาด ก�ำลังการผลิต และขนาดพื้นที่ของโครงการหรือกิจการ 1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษในด้านต่าง ๆ ที่จะเกิด ขึ้นจากการด�ำเนินโครงการหรือกิจการ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน�้ำหรือที่ดิน สาธารณะที่จะใช้เป็นสถานที่รองรับน�้ำทิ้งหรือของเสียจากโครงการหรือ กิจการ (ถ้ามี) รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ 1.3 แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุ ขภาพ และมาตรการป้อ งกันและลดผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มและ สุขภาพ (ถ้ามี) 1.4 ระยะเวลาที่ค าดว่ า จะสามารถเริ่ มด� ำ เนิ น โครงการหรือกิจการ 1.5 ชื่อเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานที่มีอ�ำนาจ ในการอนุมัติหรืออนุญาตตามกฎหมาย หมายเลขโทรศัพท์และสถานที่ ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม 1.6 วัน เวลา และสถานที่ที่จะมีการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย 1.7 ป้ า ยแสดงข้ อ มู ล ตาม 1.1 - 1.5 จะต้ อ งมี สถานที่ตั้งและขนาดที่ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าถึงและ อ่านข้อมูลได้ โดยสะดวก เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

43


2. ในการส�ำรวจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู ้ มี ส ่ ว นได้ เ สี ย ให้ ผู ้ จั ด ท� ำ รายงานการวิ เ คราะห์ ผ ลกระทบ สิ่งแวดล้อมฯ แสดงชื่อโครงการหรือกิจการวัตถุประสงค์ เป้าหมายและ ประเด็นที่จะมีการส�ำรวจหรือรับฟังความคิดเห็นของประชาชนฯ ให้ชัดเจน โดยประเด็นที่จะส�ำรวจแต่ละประเด็นจะต้องสอดคล้องกับรายละเอียด ของโครงการหรือกิจการนั้น ๆ ด้วย 3. ในการส�ำรวจและรับฟังความคิดเห็นฯ ควรให้ความ ส�ำคัญกับการเก็บรวบรวมข้อมูลและการศึกษาท�ำความเข้าใจถึงวิถีชีวิต และสภาพแวดล้ อ มของชุ ม ชนในพื้ น ที่ ที่ อ าจได้ รั บ ผลกระทบทางสิ่ ง แวดล้อมและสุขภาพจากการด�ำเนินโครงการหรือกิจการดังกล่าว 4. ในการส� ำ รวจและรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของผู ้ จั ด ท� ำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ อาจท�ำโดยวิธีดังต่อไปนี้ 4.1 การสัมภาษณ์รายบุคคล 4.2 การแสดงความคิ ด เห็ น ทางไปรษณี ย ์ โทรศัพท์ โทรสาร ระบบเครือข่ายสารสนเทศหรือทางอื่น 4.3 การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ เสียมารับข้อมูลและแสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ โครงการ 4.4 การสนทนากลุ่มย่อย 4.5 การประชุมเชิงปฏิบัติการ 4.6 การประชุมระดับตัวแทนของกลุ่มบุคคลที่ เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย 5. เมือ่ ผูจ้ ดั ท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อมฯ ท�ำการส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียแล้ว จะต้อง สรุปผลการส�ำรวจความคิดเห็น ทั้งในด้านบวกและในด้านลบภายใน 15

44

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


วัน นับแต่วันที่ด�ำเนินการส�ำรวจความเห็นเสร็จสิ้น โดยให้แสดงรายงาน ไว้ยังที่ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ส�ำนักงาน สาธารณสุ ข จั ง หวั ด ที่ ว ่ า การอ� ำ เภอ ส� ำ นั ก งานสาธารณสุ ข อ� ำ เภอ ที่ท�ำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก�ำนัน ผู้ ใหญ่บ้าน และสถาน บริการสุขภาพของรัฐในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการหรือกิจการ ในจุดที่ ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงและพบเห็นได้ โดยง่าย ทั้งนี้จะต้อง แสดงรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ในสถานที่ดังกล่าว ข้างต้นไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ค.3 กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วน ได้ เ สี ย ในการทบทวนร่ า งรายงานการวิ เ คราะห์ ผ ลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ ม ส� ำ หรั บ โครงการหรื อ กิ จ การที่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ชุ ม ชนอย่ า ง รุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ 1. ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกิจการ จัดเวที ทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมส�ำหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้าน คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ เพื่อให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบความถูกต้อง และ ความครบถ้วนสมบูรณ์ของร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อมฯ รวมถึงน�ำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ต่อร่างรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ดังกล่าว 2. การจั ด เวที รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ฯ เพื่ อ ทบทวนร่ า ง รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อมฯ จะต้องด�ำเนินการตามขัน้ ตอน 2.1 ต้องแจ้งล่วงหน้าให้ส�ำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และส�ำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติและสาธารณชนรับทราบไม่น้อยกว่า 1 เดือน โดยในส่วน เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

45


ของสาธารณชนให้ผ่านทางช่องทางการสื่อสารสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง 2.2 ต้องเปิดเผยร่างรายงานการวิเคราะห์ผล กระทบสิ่ ง แวดล้ อ มฯ ฉบั บ สมบู ร ณ์ เพื่ อ ให้ ผู ้ มี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งและ สาธารณชนพิจารณาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนการจัดเวทีผ่านทาง ช่องทางการสื่อสารสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง 2.3 การจั ด เวที ก ารทบทวนร่ า งรายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ต้องจัดช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนได้น�ำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อคิด เห็นเพิ่ม เติ ม ต่ อร่ า งรายงานการวิเ คราะห์ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มฯ ดั ง กล่าวไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเวลาในการจัด เวทีทั้งหมด 2.4 ภายหลังการจัดเวทีการทบทวนร่างรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ จะต้องเปิดช่องทางในการรับฟัง ความคิดเห็นอย่างน้อย 2 ช่องทาง อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 15 วัน 3. ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกิจการ จัดท�ำ รายงานสรุ ป ความคิ ด เห็นของประชาชนและผู้มีส ่วนได้ เสี ย พร้ อ มทั้ ง ความเห็นและค�ำชี้แจงของหน่วยงานเจ้าของโครงการ หน่วยงานอนุมัติ หน่วยงานอนุญาต หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมส่งให้ส�ำนักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อทราบ และส่ง ให้ส�ำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชน ต่อไป

46

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


โดยธรรมชาติ ข องล� ำ น�้ ำ ปิ ง ไม่ ไ ด้ มี น�้ ำ มากทุ ก ปี ปั ญ หาของน�้ ำ จึ ง ไม่ ใ ช่ แ ค่ ในหน้ า ฝน เพราะ ปริมาณฝนมาก 50 ปี เกิดครัง้ หนึง่ คลองผันน�ำ้ ที่ จะเปิดซึ่งขนาดใกล้เคียงกับแม่น�้ำเดิม คือจะเป็น สองเท่าเลย เพราะฉะนั้น หน้าแล้งคลองแห้ง แน่นอน เก็บลม อีกประเด็นหนึ่ง ถามว่าถ้าเอา น�้ำออกจากน�้ำปิง แล้วเจ้าพระยาจะเป็นอย่างไร ในการไล่น�้ำเค็มเพื่อให้คนกรุงเทพฯ มีน�้ำประปา ดื่มใช้ นี่ก็เป็นปัญหาอยู่แล้วและปัญหาหนักขึ้น เรื่ อ ยๆ เพราะปริมาณน�้ำเค็มที่ ผ ลั ก ดั น มาจาก ปากอ่าวเข้าคลองประปามีถี่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะ ฉะนั้ น ผมเห็น ว่าเป็น “หายนะ” ของแม่ น�้ ำ เจ้าพระยาด้วย รศ.ดร.สุวัฒนา จิตตลดากร ประธานอนุกรรมการ สาขาวิศวกรรมแหล่งน�้ำ วิศวกรรมสถานแห่งชาติ

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

47


48

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


บทที่

“ชีวิตยังมีทางเลือก”

“ธ ประสงค์ ใด” โครงการจั ด ท� ำ กรอบและประสานการบริ ห ารจั ด การและ พัฒนาทรัพยากรน�้ำในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา เป็นโครงการหนึ่งภาย ใต้ โครงการ ธ ประสงค์ ใด โดยส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระ มหากษัตริย์ ซึ่งมีการศึกษาด้านการบริหารจัดการทรัพยากร น�้ำในลุ่มน�้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 และจัดท�ำ รายงานการติดตามการด�ำเนินการ เสร็จสิ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลาการท�ำงานและติดตามทั้งสิ้น 10 ปี (เป็ น โครงการศึ ก ษาด้ า นการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรน�้ ำ ที่ ต่อเนื่องและยาวนานที่สุดของประเทศไทย)

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

49


โครงการฯ เน้นให้ความส�ำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ ในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา 3 มิติ คือ ขาดแคลนน�้ำ น�้ำท่วม และคุณภาพน�้ำ โดย มีเป้าหมาย และผลการศึกษาในแต่ละมิติดังนี้ 1. การขาดแคลนน�้ำ : ความจุเก็บกักตามเป้าหมายของโครงการ คือ มีปริมาณความจุเพิ่มขึ้น 7,508 ล้าน ลบ.ม. แต่จากการด�ำเนินการ ตั้งแต่ พ.ศ.2543 - ปัจจุบัน สามารถเก็บกักได้เพิ่มขึ้น 1,767 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 31% ของเป้าหมาย ส่วนปริมาณน�้ำผันมาจากนอกลุ่มน�้ำ (มาสู่ ลุ่มน�้ำเจ้าพระยา) ตั้งเป้าหมายไว้ 5,700 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันยังไม่ ได้ ด�ำเนินการ 2. น�้ำท่วม : ก�ำหนดให้ลดปริมาณน�้ำหลากให้ ได้ 1,600 ลบ.ม./ วินาที ปัจจุบันสามารถลดได้ 460 ลบ.ม./วินาที คิดเป็น 29% ของแผน 3. คุณภาพน�ำ้ : มีเป้าหมายให้สามารถบ�ำบัดได้อกี วันละ 16.1 ล้าน ลบ.ม/วัน ปัจจุบันสามารถบ�ำบัดได้วันละ 1.2 ล้าน ลบ.ม./วัน คิดเป็น 8% ของแผน จากการด�ำเนินโครงการ และติดตามการท�ำงานในการบริหาร จัดการน�้ำในลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา ทางโครงการได้ถอดบทเรียน และมีข้อ เสนอแนะที่น่าสนใจว่า ด้านวิชาการ โครงการผันน�้ำต่างๆ ควรทบทวนปัญหาของการเกิดอุทกภัย ซึ่ง เป็นการยากในการผันน�้ำจากลุ่มน�้ำหนึ่งไปอีกลุ่มน�้ำหนึ่ง โครงการแก้มลิง ควรพิจารณาพืน้ ทีเ่ ก็บกักน�ำ้ หลากทีม่ ขี นาดเพียงพอ และต้องใช้พื้นที่ลุ่มตามธรรมชาติทั้งหมด จึงสามารถรองรับน�้ำได้ โครงการผันน�้ำ มีความจ�ำเป็นทั้งทางตะวันออกและตะวันตก เพื่อ

50

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


ดึงน�้ำลงมาเข้าสู่ระบบสูบทางตอนล่าง “ที่มีอยู่แล้ว” (โครงการ ตามแนวคันพระราชด�ำริ และคลองด่านทางตะวันออกของ กทม. และโครงการแก้มลิงมหาชัย-สนามชัย ทางตะวันตกของ กทม.) โดยขยายคลองแนวดิ่ ง และขยายบานประตู ใ ห้ เ ท่ า กั บ ขนาด คลอง (เน้นการใช้ โครงสร้างที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงสุด) การวางแผนด้านการชลประทานแบบก้าวกระโดด (พื้นที่) เป็น การยากที่จะบรรลุผลได้ การจัดการน�้ำเสียควรมีการจัดการตั้งแต่แหล่งก�ำเนิด เช่น ครัว เรือน อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และพื้นที่เกษตรกรรม

ด้านนโยบาย เพิ่มความเข้มข้นของการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ปรับปรุง เกณฑ์การปล่อยน�้ำ การใช้พื้นที่เกษตรรับน�้ำนอง ควบคุมการใช้ ที่ดิน การใช้น�้ำบาดาล พร้อมน�ำมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์มา ใช้ เช่น การอุดหนุน ภาษีน�้ำท่วม การประกันภัย (ใช้การจัดการ ที่มีประสิทธิภาพเป็นหลัก) รวบรวมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน ก�ำหนดบทบาทหน้าที่ และระบุความรับผิดชอบของรัฐ และภาค ประชาชน กระจายอ�ำนาจการบริหารจัดการน�้ำจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่น อย่างชัดเจน (กระจายอ�ำนาจ ความรู้ และความเข้าใจ) นโยบายภาครัฐในการบริหารจัดการน�ำ้ ต้องชัดเจนต่อเนือ่ ง ก�ำหนด เป็นแผนชาติ เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

51


ด้านกฎหมายและงบประมาณ ออกระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ รวมถึงปรับปรุงที่มีอยู่แล้วให้ เหมาะสมกับปัจจุบัน เร่งด�ำเนินงาน กฎหมายที่ยังไม่บังคับใช้ เช่น พ.ร.บ.การบริหาร จัดการทรัพยากรต่างๆ การควบคุมการใช้ที่ดิน “รวมถึงการ เร่งรัดบังคับใช้ผังเมืองที่จัดท�ำขึ้น” ให้ความส�ำคัญกับงบประมาณเพื่อการป้องกัน ด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ และฐานข้อมูล พัฒนาศูนย์ประสานงานเพื่อการบริหารจัดการน�้ำ มีหน่วยงานที่มีการบูรณาการจากทุกหน่วยงาน สร้างระบบสื่อสาร เชื่อมโยง และเผยแพร่ข้อมูลได้ ให้ทันต่อ เหตุการณ์ ท�ำฐานข้อมูลสารสนเทศให้ครบถ้วนทั้งลุ่มน�้ำ ด้านสังคมและการมีส่วนร่วม ปลูกจิตส�ำนึกให้ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ต้องมีก�ำหนดไว้ ใน หลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ให้เป็นวาระแห่งชาติอย่างเร่งด่วน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มากขึ้น ด้านอื่นๆ วางแผนพัฒนาบุคลากรในเรื่องการบริหารจัดการน�้ำทั้งภาครัฐ และเอกชน ส่งเสริมให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เห็นความส�ำคัญของ โครงการด้านทรัพยากรน�้ำ และสามารถน�ำไปใช้ ได้ถูกต้องตาม หลักวิชาการ

52

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


ปัจจัยสู่ความส�ำเร็จ ด�ำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สร้างความเป็นธรรมในการใช้ทรัพยากรสาธารณะ จัดผังเมืองให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ ตามลักษณะของดิน และปัจจัยด้านทรัพยากร ใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การศึกษาของไจก้า องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA ไจก้า) ได้เสนอแนวทาง และโครงการในการบริหารจัดการน�้ำเพื่อป้องกันและบรรเทาความเสีย หายจากอุทกภัยในระดับที่ ใกล้เคียงกับปี พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นอีกทาง เลือกหนึ่ง โดยแผนที่เสนอนั้น ไจก้าระบุว่า โครงการต่างๆ ให้ประสิทธิภาพคล้ายคลึงกับโครงการบริหาร จัดการน�้ำ 3.4 แสนล้านบาท ของรัฐบาล ลดค่าใช้จ่ายลง 70% ใช้เวลาสั้นกว่า และในขณะเดียวกันก็เสนอมาตรการลดพืน้ ทีน่ ำ�้ ท่วม และมาตรการ การปรับตัวส�ำหรับพื้นที่ที่จ�ำเป็นต้องท่วม (ด้วยตระหนักดีว่าไม่ สามารถท�ำให้น�้ำท่วมหายไป 100%)

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

53


ผลการศึกษาที่ส�ำคัญของไจก้า คือ 1. ต้องจัดท�ำแผนที่ โดยละเอียด : เนื่องจากพื้นที่ภาคกลางเป็นที่ ลุ่ม มีความลาดระหว่าง จ.อยุธยา กับ กรุงเทพฯ เพียง 2 เมตร การจัด ท�ำแผนที่ความสูงต�่ำอย่างละเอียดจึงจ�ำเป็นเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการ วางแผนการจั ดการ และจัด ท�ำแผนแม่บท (Master Plan) เพื่ อ การ พัฒ นาพื้ น ที่ แ ละจั ดท� ำโครงการที่คุ้ม ค่ามากที่สุด (โครงการจั ด การน�้ ำ 3.4 แสนล้าน จัดท�ำโครงการทุกส่วนพร้อมๆ ไปกับโครงการจัดท�ำฐาน ข้อมูลอย่างละเอียด สะท้อนให้เห็นว่าแผนแม่บทของ กยน. มิได้ถูกคิดขึ้น จากฐานข้อมูลที่ละเอียดรอบคอบอย่างแท้จริง) 2. มาตรการรั บ มื อ ที่ ให้ ผ ลดี สู ง สุ ด : ไจก้ า ได้ เ สนอโครงการ รั บ มื อ ด้ ว ยโครงสร้ า งและการก่ อ สร้ า งที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเช่ น เดี ย วกั บ โครงการของรัฐบาล แต่ ใช้งบประมาณต�่ำกว่า 70% อีกทั้งใช้เวลาในการ ด�ำเนินการน้อยกว่า ได้แก่ 2.1 การบริหารจัดการเขื่อนที่มีอยู่ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด วางแผนการเก็บกัก การระบายอย่างรอบคอบ ปรับเปลี่ยนเกณฑ์การ บริหารจัดการน�้ำ (Dam Operation Rule Curve) ให้ยืดหยุ่นมากที่สุด 2.2 การก่อสร้างเขื่อนใหม่ เพื่อเพิ่มปริมาณเก็บกักน�้ำ แต่อย่างไรก็ตาม ไจก้าก็ยังไม่สามารถระบุพื้นที่ที่เหมาะสมได้ 2.3 การพัฒนาพื้นที่หน่วงน�้ำ เก็บกักน�้ำ โดยไจก้าพบว่า พื้นที่ริมน�้ำประมาณ 18,000 ตารางกิโลเมตร มีความส�ำคัญในฐานะพื้นที่ หน่วงน�้ำ และเก็บกัก ดังนั้นจึงจ�ำเป็นต้องควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ เหมาะสม ก�ำหนดเป็นพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการบริหารจัดการน�้ำ 2.4 ทางผันน�้ำตะวันออก ตะวันตก ถือเป็นสิ่งจ�ำเป็นใน การลดระดับน�้ำในแม่น�้ำเจ้าพระยา หลักการคือผันน�้ำไปทั้งสองข้างของ

54

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


แม่น�้ำเจ้าพระยาจาก จังหวัดชัยนาท และให้สลายไปบริเวณพื้นที่ท้ายน�้ำ เจ้าพระยา (ไม่มีการผันน�้ำข้ามลุ่มน�้ำตามที่รัฐบาลเสนอ และใช้ทางผัน น�้ำตามธรรมชาติที่มีมาแต่อดีต เช่น ทุ่งด้านตะวันตก แม่น�้ำท่าจีน และ ทุ่งตะวันออก) 2.5 ใช้ถนนวงแหวนรอบนอกเป็นแนวผันน�้ำ (คล้ายกับ แนวคันพระราชด�ำริทางด้านตะวันออก) 2.6 การพัฒนาร่อ งน�้ำ และล� ำ น�้ ำ คื อ เสริ มศั ก ยภาพ ล�ำน�้ำสาขาที่แยกออกมาจากล�ำน�้ำหลัก โดยไจก้าเสนอให้จัดล�ำดับความ ส� ำ คั ญ ของแต่ ล ะล� ำ น�้ ำ แล้ ว สร้ า ง หรื อ บู ร ณะให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพตาม เป้าหมายหน้าที่ 2.7 ทางผันน�้ำเลี่ย งเมือ งอยุธ ยา เป็ น ทางน�้ ำ ที่ ช ่ วยลด ระดับน�้ำในล�ำน�้ำเจ้าพระยาในช่วงที่ผ่านเมืองอยุธยา 2.8 ปลูกป่าที่ต้นน�้ำของลุ่มน�้ำ 2.9 จัดท�ำระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการอุทกภัย เพื่อความแม่นย�ำในการคาดการณ์ และความรวดเร็วในการสื่อสาร 3. พิจารณาผลกระทบต่อพื้นที่เกษตร และชุมชน : ไจก้าเสนอ การพิจารณาพื้นที่เกษตรกรรมในการเก็บกักน�้ำ และน�ำเสนอรูปแบบการ ท�ำเกษตรที่ดีที่สุดในพื้นที่ที่ “จ�ำเป็นต้องท่วม” อีกทั้งเสนอการจัดท�ำแผน โดยใช้ โครงการในระดับชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน (ซึ่งในแผนของรัฐบาลไม่มี การกล่าวถึงการบูรณาการแผนระดับท้องถิ่นเลย)

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

55


จากข้อเสนอของทั้งสองหน่วยงานแสดงให้เห็นว่าในการบริหาร จัดการน�้ำมี “ทางเลือก” ในการด�ำเนินการหลายทางภายใต้เป้าประสงค์ เดียวกัน แต่ โครงการบริหารจัดการน�้ำของรัฐบาลเป็นการตัดทางเลือก ทั้งหมด และคิดโครงการแบบเบ็ดเสร็จ ปราศจากการมีส่วนร่วมจาก ภาคประชาชน ตั้งแต่การทบทวนบทเรียน ถอดประสบการณ์ คิดแผน แม่บท ตลอดจนการตัดสินใจในแต่ละโครงการ ข้อเสนอจากทั้งสองหน่วยงานมุ่งเน้นที่ “วิธีการในการบริหาร จัดการ” มากกว่า “การก่อสร้าง” รวมทั้งเป็นการก�ำหนดขอบเขตการ จัดการไว้ที่ลุ่มน�้ำเจ้าพระยา บูรณาการ “วิธี” กับ “เครื่องมือ” ที่มีอยู่ เดิมให้มีประสิทธิภาพสูงสุดมากกกว่าการก่อสร้างโครงการใหม่ ซึ่งจะ สร้างผลกระทบต่อพื้นที่สร้างโครงการ อีกทั้งสุ่มเสี่ยงต่อการ “ย้าย ปั ญ หา” จากที่ ห นึ่ ง ไปยั ง อี ก ที่ ห นึ่ ง เช่ น โครงการทางผั น น�้ ำ ในกลุ ่ ม โครงการ เอ 5 ที่มุ่งหมายแก้ปัญหาลุ่มน�้ำเจ้าพระยา แต่มาสร้างปัญหา ใหม่ ให้กับลุ่มแม่น�้ำแม่กลอง ไปจนถึงอ่าวไทยตอนบน

56

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


ภาคผนวก ก�ำหนดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การด�ำเนินโครงการใดๆ ของรัฐ โดยเฉพาะ “โครงการที่อาจ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ” และเป็น “การวางแผนพัฒนาที่ อาจมี ผ ลกระทบต่ อ ส่ ว นได้ เ สี ย ส� ำ คั ญ ของประชาชน” รั ฐ จะต้ อ ง “ศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ” และ “จัดให้ มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทั้งให้องค์กรอิสระให้ความ เห็นประกอบการด�ำเนินการ” ตามที่บัญญัติไว้ ในมาตราที่ 57 วรรค สอง และ 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งโครงการบริหารจัดการน�้ำ 3.4 แสนล้านบาทของรัฐบาล ก็เข้า ข่ายโครงการเหล่านี้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับค�ำพิพากษาศาลปกครองเมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

57


ตามก�ำหนดการของ กบอ. จะมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ จ.สมุทรสงคราม ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2556 ผู้ร่วมเวทีอย่างน้อย 1,500 คน มีก�ำหนดการดังนี้ เวลา 8.00 - 9.00 น. 9.00 – 9.15 น. 9.15 – 9.30 น. 9.30 – 10.30 น. 10.30 – 12.00 น. 12.00 – 13.00 น. 13.00 – 15.30 น. 15.30 – 16.30 น.

กิจกรรม/กระบวนการ ลงทะเบียนและรับเอกสารประกอบการประชุม กล่าวต้อนรับ แจ้งก�ำหนดการ อธิบายรายการ เอกสาร และแนะน�ำวิทยากรด�ำเนินรายการ กล่าวรายงานความเป็นมา วัตถุประสงค์ แจ้งกติกาในการแสดงความเห็น น�ำเสนอวีดีทัศน์ข้อมูล และรายละเอียดโครงการ ผู้ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น พักรับประทานอาหาร ผู้ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น รวบรวมข้อคิดเห็น และสรุปการประชุม

กฎหมายส� ำ คั ญ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของ ประชาชนโดยตรงคือ “ระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับ ฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548” ซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติปกติ แต่ โครงการดังกล่าวเข้าข่าย “โครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุข ภาพ” และเป็น “การวางแผนพัฒนาที่อ าจมี ผลกระทบต่ อ ส่วนได้เสียส�ำคัญของประชาชน” คือจะต้องท�ำ EHIA จึงต้องพิจารณา ตามข้อ 14(1) คือ ใช้กฎหมายที่ก�ำหนดไว้เฉพาะ ก็คือ “ประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมเรือ่ ง ก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิ ธี ก ารระเบี ย บปฏิ บั ติ แ ละแนวทางในการจั ด ท� ำ รายงานการ

58

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมส�ำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจ ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ชุ ม ชนอย่ า งรุ น แรงทั้ ง ทางด้ า นคุ ณ ภาพ สิ่ ง แวดล้ อ มทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสุ ข ภาพ” ซึ่ ง มี ร ายละเอี ย ด ก�ำหนดไว้ ในเอกสารท้ายประกาศ ค

เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

59


“เราไม่มีน�้ำท่วม และเรารักษาแม่น�้ำดีที่สุด จนท้ายน�้ำเป็นแรมซาร์ไซต์ ตัวตนของเราบ่งบอกชัดเจนว่า แม่น�้ำแม่กลองส�ำคัญอย่างไร แล้วจะให้คนที่ไม่เข้าใจ มาเปลีย ่ นวิถข ี องแม่นำ�้ นีไ้ ด้อย่างไร”

60

กลุ่มจับตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


เอกสารเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบต่อจังหวัดสมุทรสงครามอันเนื่องมาจาก “โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย”

61


การแก้ปัญหาโดย ส่งกุญแจปากตายอันเดียว ใส่มือนักการเมือง ผู้กุมอ�ำนาจบริหาร เข้าไปในจักรกลอันประณีต สลับซับซ้อนของธรรมชาติ มันเกินขีดความสามารถ และจะท�ำให้เกิดความเสียหาย อย่างประมาณไม่ได้

62

ติดตามความเคลื่อนไหว ข้อมูลรายละเอียด และแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ได้ที่ ่มจับตาโครงการแม่ กลุ่มจัwww.facebook.com/กลุ บตาโครงการแม่น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง น�้ำใหม่ ลุ่มเจ้าพระยา - อ่าวแม่กลอง


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.