Social Lab I E-Book

Page 1


เกี่ยวกับผู้เขียน

- วารสารศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) ทุนภูมิพล ม.ธรรมศาสตร์ - วารสารศาสตรมหาบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ - นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและสื่อสารองค์กร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี - ผู้ดาเนินรายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เครือผู้จัดการ


ห้องปฏิบัติการทางสังคม: (Social Lab) ตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อชุมชนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้เขียน : รองศาสตราจารย์ ดร. กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ เลขมาตรฐานสากลประจาหนังสือ : (ISBN) พิมพ์ครั้งแรก : พ.ศ. 2562

พิมพ์ที่

บรรณาธิการ : น.ส.จริณญา ศักดิ์สิริ ศิลปกรรม : น.ส. อุบลลดา นันทกสิกร น.ส. กฤติยาณี ฉัตรพิพัฒนผล และน.ส.รชนก ศิริมา พิสูจน์อักษร : น.ส.เกียรติยา ธรรมวิภัชน์


คำนิยม วิ ช า ETM358 การสื่ อ สารการตลาด เป็ น วิ ช าที่ ส มกั บ ความมุ่ ง หวั ง ในการมี สถาบันการศึกษาของประเทศ นั่นคือ ... มหาวิทยาลัยควรใกล้ชิดประชาชน การศึกษาไม่ควรนา นั ก ศึ ก ษาพาตั ว ออกห่ า งไปจากชุ ม ชน ทั้ ง ชุ ม ชนในพื้ น ที่ เ กิ ด ของนั ก ศึ ก ษา และชุ ม ชนรอบ สถาบันการศึกษา โครงการห้องปฏิบัติการทางสังคม : (Social Lab) เป็นโครงการที่ดี มีคุณภาพ ทาได้จริง อ่านแล้วประทับใจมาก ขอขอบคุณผู้เขียนที่ทาให้ได้อ่าน ได้ความรู้ดี ๆ น่ารัก น่าประทับใจมาก น่าเอาข้อมูลไป เขียนเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊กสนุก ๆ สัก 1 เล่ม เพื่อแนะนาชุมชนน่ารักย่านบางมดต่อไป

นส. จริณญา ศักดิ์ศิริ บรรณาธิการ


คำนำ ห้องปฏิบัติการทางสังคม: (Social Lab) ตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อชุมชนและ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของ รศ.ดร.กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ ผู้มีผลงานการ สอน การวิจัยและพัฒนาสื่อและกิจกรรมที่เน้นการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยเป็น ฐานการเรียนการสอนและการวิจัยมาเป็นระยะเวลาหลายปี ผ่านรายวิชา ETM 358 การสื่อสาร การตลาด โดยโจทย์ในการทางานวิจัยและพัฒนาสื่อและกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนต่าง ๆ ได้แก่ ชุมชนใต้สะพานโซน 1 ชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ ชุมชนหมู่ 3 บางมด และชุมชนคลองเตย โดยผู้เขียนเน้นการนาสื่อและกิจกรรมพิเศษที่พัฒนาขึ้นผ่านโครงการวิจัยและพัฒนาทุกปีที่ทาให้ ความเป็นอยู่ของชาวบ้านรอบๆ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ดีขึ้น ๆ เรื่อย ๆ จนกระทั่งชุมชนใต้สะพานโซน 1 ได้รับรางวัลระดับกรุงเทพมหานคร รวมทั้งนักศึกษาที่ทาโครงการก็ ได้รับรางวัลระดับประเทศเป็นประจา นับได้ว่าห้องปฏิบัติการทางสังคม: (Social Lab) เหล่านี้เป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้ ที่สาคัญ และสามารถตอบสนองการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเป็นการเรียนรู้คู่ประสบการณ์ ทางานพัฒนาสื่อและกิจกรรมผ่านโครงการที่เป็นประโยชน์ ทั้งยังมีแกนด้านคุณธรรม จริยธรรมใน การดาเนิ น โครงการ เนื่ องจากผู้ เขีย นเป็ น อาจารย์ประจ าสั ง กัด ภาควิช าเทคโนโลยี และสื่ อ สาร การศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งมีแนวนโยบายที่เน้นเรื่องการเรียนการ สอนเชิงรุก (Active Learning) ควบคู่กับการทางานวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่ เรื่องราวในหนังสือเล่ม นี้จึงน่าจะเป็นที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ทุกโครงการสามารถนาไปเป็นแนวทางกรณีศึกษาได้ เนื่องจากมี ผลงานวิจัยรองรับอย่างเป็นฐานความรู้ที่สาคัญ โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา ผลงานจากห้องปฏิ บัติการทางสั งคมโครงการบางมดรวมใจฯ และโครงการบางมด 4.0 ฯ ได้รับ คั ด เลื อ กให้ อ อกอากาศในรายการเดิ น หน้ า ประเทศไทยวั ย ที น ตอน น้ อ มน าศาสตร์ พ ระราชา ผสมผสานภูมิปัญญา อนุรักษ์วิถีไทย


ทั้ง นี้ ผู้ เ ขี ย นขอกราบขอบพระคุ ณ บิด า มารดา ครูอุ ปั ช ฌาย์ อ าจารย์ ญาติ ผู้ ใ หญ่ ผู้ มี พระคุณอันประเสริฐ ขอบคุณหน่วยงานได้แก่ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุ ศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลั ยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ าธนบุรีที่ให้ ทุนในการ เผยแพร่หนังสือวิชาการ ขอบคุณชุมชนรอบ ๆ มจธ. หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น หน่วยงานเอกชน ทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนด้วยกาลังกาย กาลังใจและกาลังทรัพย์เพื่อให้เกิดโครงการวิจัย และพั ฒ นาสื่ อ และกิ จ กรรมเพื่ อ ชุ ม ชนตามแนวทางการสื่ อ สารเพื่ อ การพั ฒ นาตลอดมา และ ขอขอบคุณโครงการส่งเสริมหนังสือทางวิชาการ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารการศึกษาที่ สนับสนุนการจัดพิมพ์เผยแพร่ในครั้งนี้

รองศาสตราจารย์ ดร. กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ ผู้เขียน


สำรบัญ หน้ำ บทที่ 1 ห้องปฏิบัติกำรทำงสังคม: (Social Lab) …………………………………………………………………..1 1.1 ความหมาย 1.2 จากนิยามห้องปฏิบัติการทางสังคมสู่การปฏิบัติ บทที่ 2 กำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 .............................................................................................11 2.1 พัฒนาผู้เรียนผ่านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2.2 พัฒนาผู้เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมผ่านเครื่องมือ 9 ขั้นตอน 2.3 ประโยชน์ต่อผู้เรียน บทที่ 3 กำรทำงำนร่วมกับชุมชนและเครื่องมือกำรสร้ำงกำรมีส่วนร่วมกับชุมชน.......................26 3.1 วิธีการทางานร่วมกับชุมชน 3.2 เครื่องมือการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน บทที่ 4 5 กรณีศึกษำที่ตอบโจทย์งำนวิจัยและพัฒนำสื่อเพื่อชุมชนและกำรเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เรื่องรำวจำกชุมชนใต้สะพำนโซน 1....................................................42 4.1 ลักษณะและปัญหาชุมชนในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม 4.2 โครงการที่ดาเนินเพื่อแก้ไขปัญหา บทที่ 5 4 กรณีศึกษำที่ตอบโจทย์งำนวิจัยและพัฒนำสื่อเพื่อชุมชนและกำรเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เรื่องรำวจำกชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์...............................................59 5.1 ลักษณะและปัญหาชุมชนในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม 5.2 โครงการที่ดาเนินเพื่อแก้ไขปัญหา บทที่ 6 1 กรณีศึกษำที่ตอบโจทย์งำนวิจัยและพัฒนำสื่อเพื่อชุมชนและกำรเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เรื่องรำวจำกชุมชนหมู่ 3 บำงมด.......................................................69 6.1 ลักษณะและปัญหาชุมชนในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม 6.2 โครงการที่ดาเนินเพื่อแก้ไขปัญหา บทที่ 7 1 กรณีศึกษำที่ตอบโจทย์งำนวิจัยและพัฒนำสื่อเพื่อชุมชนและกำรเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เรื่องรำวจำกชุมชนคลองเตย...............................................................77 7.1 ลักษณะและปัญหาชุมชนในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม 7.2 โครงการที่ดาเนินเพื่อแก้ไขปัญหา


สำรบัญ (ต่อ) หน้ำ บทที่ 8 กำรทบทวนภำยหลังปฏิบัติงำนและเสียงสะท้อนจำกผู้มีส่วนร่วมใน ห้องปฏิบัติกำรทำงสังคม.................................................................................................86 8.1 ความหมาย คุณลักษณะและการใช้ 8.2 ขั้นตอนการทา AAR 8.3 เสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนร่วมในห้องปฏิบัติการทางสังคม บทส่งท้ำย....................................................................................................................................123 บรรณำนุกรม...............................................................................................................................126 ดัชนีคำศัพท์……….…………………………………………………………………………………………………………..134 ภำคผนวก….…………………………………………………………………………………………………………………..136



บทที่ 1 ห้องปฏิบัติกำรทำงสังคม : (Social Lab)

เกริ่นนำ Thusong Service Center (2000) ได้ให้ความหมายของการสื่อสารพัฒนาการ (Development Communication) ว่า คือ แนวทางในการนาการสื่อสารไปใช้เพื่อพัฒนาชุมชนโดย ใช้ชุดข้อมูล เพื่อให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเป็นไปตามความต้องการของชุมชน ผ่ านการ สื่อสารสู่สาธารณะ นโยบายที่นาไปปฏิบัติได้จริง มีความหมาย และมีความยั่งยืน ทั้งนี้นิเทศศาสตร์ พัฒนาการควรดาเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ เข้าถึงผู้รับสาร สร้างความน่าเชื่อถือ ให้ คาแนะนาปรึกษา ให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมในการวางแผนทั้งออกแบบสาร และข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการ พัฒนาเนื้อหาสารและดาเนินโครงการ ประเมินผลเนื้อหาสารและโครงการ จนกระทั่งถึง ขั้นตอนสุดท้าย นั่นคือ การวางแผนสาหรับดาเนินโครงการต่อไป

ผู้เขียนได้นาแนวคิดด้านสื่อสารพัฒนาการมาใช้ในการพัฒนาชุมชนผ่านการวิจัยและ พัฒ นาสื่ อและกิจ กรรมที่ห ลากหลายรู ป แบบในห้ องปฏิบัติก ารทางสั งคม (Social Lab) ดัง มี รายละเอียดดังต่อไปนี้

หน้า 2 I บทที่ 1 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


1.1

ควำมหมำย

ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเป็นแหล่ ง ประสานการเรียนรู้สาหรับพัฒนานักศึกษา บุคลากร ตลอดจนศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย โดยทางาน ร่วมกับเครือข่าย ที่มีเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาชุมชนร่วมกัน มีการพัฒนาโจทย์ วิชาการเพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมปรับแต่งและประยุกต์ความรู้และเทคโนโลยี ให้เหมาะสมกับ การใช้งานของชุมชน มีการพัฒ นาความเข้าใจปฏิสั มพันธ์ระหว่างสั งคม และชุมชนเชื่อมโยงกับ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมทั้งศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง Zaid Hassan (2014) ได้กล่าวถึง ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ในหนังสือ เรื่อง The Social Labs Revolutions A New Approach to Solving Our Most Complex Challenges ว่า ห้องปฏิบัติการทางสังคม เริ่มก่อตัวมาประมาณ 20 ปีโดยประชากรหลายร้อยคน จากทั่ ว โลกที่ ร่ ว มกั น พั ฒ นาห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารทางสั ง คม ซึ่ ง อาจมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการพั ฒ นาที่ หลากหลายได้แก่ เพื่อกาจัดความยากจน เพื่อการพัฒนาแหล่งน้าอย่างยั่งยืน เพื่อการเปลี่ยนผ่าน ของสื่อ หรือรัฐบาล เพื่อการพัฒนานวัตกรรมทางสังคม และเพื่อประเด็นการพัฒนาทางสังคมอื่นๆ อีกมากมาย จานวนประชากรที่ร่วมกันพัฒนาห้องปฏิบัติการทางสังคมมีจานวนเพิ่มมากขึ้นๆ

โดยบุคคลเหล่านี้ใช้ส่วนประกอบสาคัญของ 3 H ได้แก่ Head หรือ สมองหรือ ความคิด Heart หรือหัวใจ และ Hands หรือการลงมือปฏิบัติการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ทันต่อ การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คม ประชากรเหล่ า นี้ ถื อ ว่ า เป็ น คนสายเลื อ ดใหม่ ที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย ง นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิชาการ พวกเขาไม่ได้เป็นเพียงนักกิจกรรมหรือผู้ประกอบการ แต่พวกเขา เหล่านี้เป็นทุกอย่างที่ได้กล่าวมา พวกเขาสร้างกรณีศึกษาและพัฒนาห้องปฏิบัติการทางสังคมอยู่ทั่ว ทุกมุมโลกที่มีปัญหาอันหนักหน่วงและรอการแก้ไขจากคนเหล่านี้

หน้า 3 I บทที่ 1 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ห้องปฏิบัติกำรทำงสังคม (Social Lab) มีลักษณะสำคัญ 3 ประกำรต่อไปนี้ 1.

มีลักษณะเป็นสังคม (Social) ห้องปฏิบัติการทางสังคมมีจุดเริ่มต้น มาจากความร่วมมือกัน ของบุคคลที่มีความหลากหลาย มาจากภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม ได้แก่ ภาคส่วนรัฐบาล ภาค ส่วนชุมชน และธุรกิจในชุมชน บุคคลเหล่านี้ต้องการคาแนะนาปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญที่รู้จัก ธรรมชาติของปริบททางสังคมนั้นๆ

2.

มีลักษณะกำรทดลอง (Experimental) ห้องปฏิบัติการทางสังคมไม่ได้มีเพียงการทดลอง เพียงครั้งเดียว แต่มีลักษณะการทดลองอย่างต่อเนื่อง และใช้ความพยายามอย่างสูง ต้องการ การร่วมกันแก้ไขปัญหาแบบทีมเวิร์ค เนื่องจากตัวแปรแทรกทางสังคมมีจานวนมากมายยิ่งนัก

3.

มีลักษณะเป็นระบบ (Systematic) การพัฒนาความคิดและริเริ่มทาในห้องปฏิบัติการทาง สังคมอาจเริ่มจากการพัฒนาต้นแบบ ซึ่งต้องอาศัยความคิด และการทางานอย่างเป็นระบบ ใน การค้นหาสาเหตุแห่งปัญหา และแก้ไขปัญหา

ในขณะที่ The NewHoRRizon Project (2018) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทางานร่วมกับ ห้องปฏิบัติการทางสังคมจานวน 19 แห่ง ได้ให้คานิยามของห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ว่ า ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารทางสั ง คมประกอบด้ ว ยการท างานเป็ น ที ม มี ก ระบวนการ มี พื้ น ที่ และมี วัตถุประสงค์ของการพัฒนาที่หลากหลาย ได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคต การพัฒนาภาวะ ผู้น า การพัฒ นาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม การพัฒ นาด้านสิ่ งแวดล้ อม การพัฒนาการขนส่ ง ฯลฯ ประเด็นการพัฒนาเหล่านี้ต้องการการวิเคราะห์ การสังเกตและการทดลองอย่างเป็นกระบวนการ จากห้องปฏิบัติการทางสังคม

หน้า 4 I บทที่ 1 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


มูลนิธิ McConnell (2018) ได้กล่าวถึง ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ว่า ห้องปฏิบัติการทางสังคมนั้นเริ่มต้นจากการนิยามปัญหา จัดการอย่างเป็นระบบ และต้องได้รับความ เข้ า ใจ ร่ ว มใจจากหลายภาคส่ ว นในสั ง คม ต้ อ งสร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว ม และมี บุ ค คลต้ น แบบ องค์ประกอบเหล่านี้จะทาให้ห้องปฏิบัติการทางสังคมมีประสิทธิภาพในการเผชิญกับภาวะท้าทาย ของปัญหาสังคมที่มีความสลับซับซ้อน ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หลายแห่งได้ใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ในการพัฒนาโจทย์สังคม พัฒนาการรวมกลุ่มของชุมชนผ่านกลไกการสนับสนุนงบประมาณ อาจารย์ นักวิชาการ บุคลากรและศิษย์เก่า บูรณาการรวมกลุ่มของชุมชน โดยที่มหาวิทยาลัยต้องมี เข้าใจความต้องการของชุมชนและภูมิปัญญาที่มีอยู่ เกิดการปรับแต่งความรู้เดิมและความรู้สากลให้ เกิดประโยชน์กับชุมชนในหลายพื้นที่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับ วิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise) ส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า สู่การใช้ ความสามารถทางวิชาการตอบโจทย์ของสังคมไทยในภาพรวม โดยจะต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาขึ้น มาอย่างต่อเนื่องเกิดความยั่งยืน ทั้งนี้ พื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ของแต่ละ มหาวิทยาลัยสามารถมีได้หลายพื้นที่ขึ้นอยู่กับข้อมูลและความต้องการของชุมชนเป็นหลัก สาหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ถึงแม้จะเป็นมหาวิทยาลัย ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ได้เน้นการพัฒนาหลักสูตรที่บูรณาการความรู้เชิงวิชาการทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับทักษะทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งทักษะชีวิต โดย ให้ชุมชนและสังคมเป็นห้องเรียนห้องใหญ่แห่งการเรียนรู้และการพัฒนานักศึกษา สร้างรูปแบบการ จัดการเรียนการสอน และกิจกรรมที่สาคัญที่ช่วยสนับสนุนการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี และเป็นผู้ทา ให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง (Social Change Agent) ทั้งนี้เพื่อมุ่งหมายให้มหาวิทยาลัยได้นา ความรู้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เกื้อกูลชุมชนและสังคม ทั้งในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยและพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย

หน้า 5 I บทที่ 1 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


1.2

จำกนิยำมห้องปฏิบัติกำรทำงสังคมสู่กำรปฏิบัติ

ในฐานะที่ผู้เขียนรับผิดชอบรายวิชา ETM 358 การสื่อสารการตลาด ซึ่งสอนนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นมา ได้มีการริเริ่มให้นักศึกษาในรายวิชา เรี ย นรู้ การท างานจริ ง โดยมีโ จทย์ จ ากชุ มชนรอบมหาวิ ทยาลั ย ตามแนวนโยบายการเปิด พื้น ที่ ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) โดยเริ่มจากการสารวจสภาพแวดล้อม และความต้องการ แผนการสื่อสารการตลาดวัดพุทธบูชา เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยใช้สื่อหลักและ สื่อสังคมออนไลน์ ผลการสารวจพื้นที่บริเวณวัดพุทธบูชา ซึ่งอยู่ในชุมชนหมู่ 3 บางมด มีพื้นที่ห่าง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมกล้าธนบุรีประมาณ 10 กิโลเมตรพบว่า ในพื้นที่ห้องปฏิบัติการ ทางสังคมบริเวณดังกล่าว มีร้านอาหารและขนมหวานที่มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมในพื้นที่และมีความ น่าสนใจเหมาะแก่การทาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจานวน 9 ร้าน ได้แก่ • • • • • • • • •

ร้านก๋วยเตี๋ยวแกงอิสลาม ซ.ประชาอุทิศ 69 ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูพี่สา หน้าโลตัสประชาอุทิศ ร้านบ้านไม้ อาหารเพื่อสุขภาพ ซ.พุทธบูชา 24 ร้านเจ๊เปรี้ยวซีฟู้ด ซ.ประชาอุทิศ 91 ร้านบุนนาค อาหารเวียดนาม ซ. พุทธบูชา 24 ร้านก๋วยเตี๋ยวคอช้าง ซ. พุทธบูชา 45 ร้านวุ้นเป็ดธนัน ซ.ประชาอุทิศ 54 ร้านขนมหวานป้าสุภาภรณ์ ซ.พุทธบูชา 36 ร้านน้ามะขามแขก หลังวัดพุทธบูชา

หน้า 6 I บทที่ 1 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นอกจากนี้ผลการสารวจลงพื้นที่ยังพบว่า พื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ดังกล่าว มีแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒ นธรรมเก่าแก่ ทั้งไทยพุทธและไทยมุส ลิม โดยมีวัดเก่าแก่ จานวน 4 วัด ได้แก่ วัดบางมดโสธราราม วัดหลวงพ่อโอภาสี วัดยายร่ม และวัดพุทธบูชา ทั้งยังมี 3 มัสยิด ได้แก่ มัสยิดดารุน น่ าอิม มัสยิ ดอัลอิสตีกอมาห์ และมัสยิด ดารุลเอซาน มีผลงานวิส าหกิจ ชุมชนที่หลากหลายได้แก่ งานหัตถกรรมและสวนเกษตรต่าง ๆ รวมถึงสวนส้มบางมดที่โด่งดังตั้งแต่ ครั้งอดีตด้วย จากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ทาการสารวจวิจัยไว้โดย Kuntida Thamwipat and Nakorn Thamwipat (2013) พร้อมทาแผนพัฒนาสื่อและกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิง เกษตร และได้นาเสนอแก่ตัวแทนชุมชนหลายภาคส่วน หน่วยงานภาครัฐและภาคปกครองในพื้นที่ เมื่อปี พ.ศ. 2554 ในครั้งนั้นได้จุดประกายการเปิดพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) และ การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ครั้งสาคัญให้เกิดขึ้นแก่ผู้สอนและผู้เรียนในรุ่นต่อ ๆ มา ทั้งนี้ในบทต่อไปผู้เขียนจะกล่าวถึงการพัฒนาผู้เรียนผ่านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกในรูปแบบการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจมาก

หน้า 7 I บทที่ 1 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


รำยกำรอ้ำงอิง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี . 2560. “รำยงำนมหำวิทยำลัยกับชุมชนและสังคม”. [Online], Available: http://www2.kmutt.ac.th/thai/abt_history/info_report/KMUTTSocial-Report-2556-2557.pdf. [3 พฤษภาคม 2561]. โกวิทย์ พวงงาม . 2561. “หนึ่งรำชภัฏ หนึ่งพื้นที่ปฏิบัติกำรทำงชุมชน Social Lab” . [Online], Available: http://www.matichon.co.th/news-monitor/news_976485. [2 พฤษภาคม 2561]. Kuntida Thamwipat and Nakorn Thamwipat . 2013. “A Survey of Environment and Demands Along with a Marketing Communications Plan for WatPutthabucha Market to Promote Agricultural Tourism through Main Media and Online Social Network Media”. International Journal of Advanced Computer and Applications,Vol.4 , No.3 , 2013. Zaid Hassan . 2014. “The Social Labs Revolutions A New Approach to Solving Our Most Complex Challenges” . Barrett-Koehler Publishers . The NewHoRRizon Project. 2018. “What is Social Lab”. [Online], Available: http://newwhorizon.eu/social-labs/. [2 September 2018]. McConnell Foundation . 2018. “What are social labs”. [Online], Available: http:// mcConnell foundation .ca/social-labs/. [15 September 2018]. Thusong Service Center . 2000 . “Development Communication - An approach to a democratic public information system” . [Online], Available: http://www.thusong.gov.za/documents/artic_pres/dev_comm.htm. [15 December 2018]. หน้า 8 I บทที่ 1 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 9 I บทที่ 1 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 10 I บทที่ 1 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)



บทที่ 2 กำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในบทที่ 1 ที่ผ่ านมานั้ น ผู้เขีย นได้เชื่อมโยงห้ องปฏิบัติการทางสั งคมจากนิยามสู่ การ ปฏิบัติ ซึ่งได้นาหลักการแนวคิดด้านสื่อสารพัฒนาการ (Development Communication) มาเป็น แกน และนาหลักการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยมีการจุด ประกายการเปิดพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคมผ่านการวิจัยและนาเสนอแผนพัฒนาสื่อและกิจกรรม เพื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ ก ารท่ อ งเที่ ย วเชิ ง เกษตร แก่ ทุ ก ภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ในบทนี้ จ ะกล่ า วถึ ง รายละเอียดของการพัฒนาผู้เรียนผ่านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วย รูปแบบการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม โดยมีเครื่องมือประกอบ 9 ขั้นตอน

2.1

พัฒนำผู้เรียนผ่ำนกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ด้วยกำรจัดกำรเรียนรู้เชิงรุก

The Glossary of Education Reform (2016) ได้กล่าวถึง ทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ ชุดความรู้ ทักษะ ลักษณะนิสัยในการทางานและลักษณะนิสัยส่วนบุคคล ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่ง ที่นักวิชาการ ตลอดจนนายจ้างล้วนลงความเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีความสาคัญสาหรับโลกในยุคปัจจุบัน ไม่ ว่าจะเป็น การคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การวิเคราะห์ การตีความ การสังเคราะห์ ข้อมูล ทักษะการวิจัย การตั้งคาถาม ความคิดสร้างสรรค์ ความกระตือรือร้น การนาตนเอง การ ปรับตัว ทักษะการพูดและการเขียน การพูดและการนาเสนอต่อหน้าสาธารณชน การฟัง ภาวะผู้นา การท างานเป็ น ที ม ความมี จ ริ ย ธรรม หน้ า ที่ พ ลเมื อ ง การเป็ น พลเมื อ งโลก ฯลฯ ดั ง นั้ น สถาบันการศึกษาและครูอาจารย์จึงควรทาความเข้าใจ และสอนให้นักเรียน นักศึกษาสามารถพัฒนา ทักษะเหล่านี้เพื่อเป็นพลเมืองโลกที่ดีต่อไป

หน้า 12 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


Lee Watanabe-Crockett (2016) ได้กล่าวไว้ว่า การเตรียมเด็กให้มีความพร้อมเผชิญ กับโลกภายนอกว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป และไม่ใช่งานที่ง่ายสาหรับครูอาจารย์ในยุคปัจจุบันซึ่งมี การพัฒ นาไปอย่ างรวดเร็ ว มาก การจั ดการศึกษาจึงไม่ค วรเหมื อนกับในอดีต แต่ควรมีลั กษณะ ทันสมัย ซับซ้อน มีพลัง มีการทางานร่วมกันและมีลักษณะเฉพาะเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่อง สาคัญสาหรับนักการศึกษาทุกคนที่ควรมีหน้าที่เตรียมความพร้อมแก่ผู้เรียน เป้าหมายหลักของการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย คือ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็น บุคคลที่มีคุณภาพด้วยกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยถ่ายทอด ความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทาง วิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุน ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การที่จ ะพัฒ นาผู้เ รี ย นให้มีคุณภาพตามวัต ถุป ระสงค์ดั งกล่าว ต้ องอาศัย ผู้ส อนที่มี ทักษะในการจัดการเรี ยนรู้ มีเจตคติต่ อวิ ช าชี พครูที่ดี มีแรงจูงใจใฝ่ สั มฤทธิ์ สู ง โดยเฉพาะในยุ ค ศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะแห่งอนาคตใหม่ที่ครูควรมีทักษะ และคุณลักษณะที่รองรับเข้าถึง เพื่อสร้าง นวัตกรรมบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ ในการพัฒนาผู้เรียนที่เยาวชนในยุคใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน สอดคล้องหลักการจัดการศึกษาตาม มาตรา 22 ที่ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด โดย กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Learning)

หน้า 13 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


โดยวิ สั ย ทัศ น์ การปฏิรู ป การศึ กษาในทศวรรษที่ส อง (พ.ศ. 2552-พ.ศ. 2561) กาหนดให้“คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” โดยมีจุดเน้นการปฏิรูป 3 เรื่อง ได้แก่ 1. พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ 2. โอกาสทางการศึกษา เปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 3. การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม

ได้

โดยคุณภาพของการศึกษาและการเรียนรู้จะต้องบรรลุ 4 คุณภาพ ต่อไปนี้ 1. คุณภาพคนไทยยุคใหม่ 2. คุณภาพครูยุคใหม่ 3. คุณภาพแหล่งเรียนรู้ หรือสถานศึกษายุคใหม่ 4. คุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ทั้งนี้เป้าหมายยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษต่อไป มีดังนี้ 1. คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพ และมาตรฐานระดับสากล 2. คนไทยใฝ่รู้ : สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง รักการอ่านและแสวงหาความรู้ 3. คนไทยใฝ่ดี : มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสานึกและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นประโยชน์ ส่วนรวมมี จิตสาธารณะ มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย 4. คนไทยคิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาได้ : มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการ แก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแข่งขัน หลังจากที่ผู้เขียนได้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนผ่านการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ในระยะแรกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายต้น ๆ จึงทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบโครงงาน (Project Based Learning) ในรายวิชา ทักษะการนาเสนอ สาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยให้นักศึกษาทาโครงงานกิจกรรมส่งเสริมความเป็นครู ในภาคการศึกษาที่ 2/2554 มีการนาสื่อ สังคมออนไลน์มาใช้ในการสื่อสารในชั้นเรีย น โดยสร้างกลุ่ ม เฟซบุ๊ กกลุ่มปิดในรายวิชา ทั้งนี้เพื่อ สามารถสื่อสารระหว่างลูกศิษย์และอาจารย์ได้โดยไม่มีช่องว่าง

หน้า 14 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ทั้งนี้จากผลการวิจัยของ Kuntida Thamwipat and Napassawan Yookong (2012) พบว่า องค์ป ระกอบของการจั ดการเรียนรู้แบบโครงงานบนเครือ ข่ายสั งคมออนไลน์ กรณีศึกษาวิชาทักษะการนาเสนอ มี 10 องค์ประกอบ สามารถแบ่งตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานออกเป็น 3 ขั้นตอน ตามแนวคิดของกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดังนี้

1)

ขั้นก่อนโครงงำน (Pre – Project Stage) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนเครือข่ายสังคม ออนไลน์ที่ดี ควรประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ ก. การแนะนารายวิชา เนื้อหาจากผู้สอน และร่วมกันนาเสนอความคิดเห็นผ่านทางเครือข่าย สังคมออนไลน์ ข.การเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนจะเริ่มดาเนินโครงงาน ค. การวางแผนร่วมกันและฝึกพัฒนาทักษะต่างๆของผู้เรียน ง. การฝึกทักษะการนาเสนอ ตามกลุ่ม และเดี่ยว

2)

ขั้นดำเนินโครงงำน (While / During-Project Stage) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบน เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ดีควรประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ ก. การปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างดาเนินโครงงาน และใช้การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง สม่าเสมอ ข. ดาเนินการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของบุคคล หรือกลุ่มให้พร้อมใช้งาน โดยบุคคลหรือกลุ่ม สื่อสารกันผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ค. การแนะแนวและตกลงกฎกติกา เงื่อนไขต่างๆ โดยผู้เรียนกระทาทุกอย่างด้วยตนเอง

3)

ขั้นหลังโครงงำน (Post-Project Stage) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนเครือข่ายสังคม ออนไลน์ที่ดีควรประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ ก. การประเมินผลจากด้านต่างๆ การจัดระบบเอกสาร และการนาเสนอผลงาน ข. การประเมินผลโดยผู้สอน แสดงข้อเสนอแนะ และการแสดงความยินดีแก่ผู้ทาโครงงาน สาเร็จ ค. การประเมินผลจากหลากหลายช่องทาง

หน้า 15 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลการการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีศึกษาวิชาทักษะ การนาเสนอ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวสามารถเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์จริง แก่ผู้เรียน ทาให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด การแก้ปัญหา การทางานเป็นทีม โดยกิจกรรมดังกล่าวมี ความเหมาะสมสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

หลังจากที่มีผลงานวิจัยรองรับ ผู้เขียนจึงยึดแนวทาง 3 ขั้นตอน 10 องค์ประกอบไปใช้ ในรายวิชาที่เป็นการเรียนการสอนแนว Active Learning อื่น ๆ ในที่นี้ คือ รายวิชา ETM 358 สื่อสารการตลาด ซึ่งเปิดสอนเป็นประจาทุกภาคเรียนที่ 2 (เดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม ของทุกปี การศึกษา)

2.2

พัฒนำผู้เรียนโดยกำรจัดกำรเรียนรู้ : ด้วยกำรบริกำรสังคมผ่ำนเครื่องมือ 9 ขั้นตอน

ประสาท เนืองเฉลิม (2558) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การเรียนรู้โดยการบริการสังคม โดย เสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ว่า มี 3 ขั้นตอน หรือ PAR ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมกำร (P-Preparation) คือ การศึกษาสภาพ ความต้องการของชุมชนและวางแผนจัดทาสื่อและกิจกรรม ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติ (A-Action) คือ การที่ผู้เรียนร่วมกันจัดดาเนินโครงการตามที่วางแผนไว้ในชุมชน ขั้นตอนที่ 3 สะท้อนคิด (R-Reflection) คือ การให้ผู้เรียนนาผลการปฏิบัติโครงการ เพื่อบริการสังคมในชุมชนมาสรุปบทเรียนร่วมกันผ่านการ นาเสนอ ให้ชุมชนสะท้อนผล ผู้เรียนสะท้อนผล และผู้สอนทาหน้าที่เสนอแนะเหล่านี้เป็นรูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในรายวิชา และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสถานศึกษา ผู้เรียนและ ชุมชน

หน้า 16 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ทั้งนี้รายวิชา ETM358 การสื่อสารการตลาด ที่ผู้เขียนรับผิดชอบได้ใช้รูปแบบการเรียนรู้ ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มาเป็นระยะเวลากว่า 6 ปี โดยมี การวิจัยในชั้นเรียนและปรับปรุงรูปแบบมาอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของ นักศึกษา ผ่านการใช้ After Action Review ทุกครั้งที่ปิดโครงการในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัยรัศมีไม่เกิน 10 กิโลเมตร จนกระทั่งรูปแบบการเรียนรู้ ดังกล่าว เป็นที่รู้จักของประชาคมบางมดเป็นอย่างดี โดยทุกโครงการมีโจทย์มาจากความต้องการ ของชุมชนและปฏิบัติงานด้านวิจัยและพัฒนาสื่อ แบ่งการดาเนินการออกเป็น 5 เฟส โดยใช้รูปแบบ ADDIE Model ดังต่อไปนี้ (Kuntida Thamwipat, Pornpapatsorn Princhankol, Sakesun Yampinij & Sopon Meejaleurn , 2018) เฟส

เดือน

รำยละเอียด

วางแผน ลงพื้นที่สัมภาษณ์วิเคราะห์ความต้องการด้าน สื่อและกิจกรรมของชุมชน ร่ างออกแบบสื่ อ และกิจ กรรมตามความต้อ งการของ 2.Design กุมภาพันธ์ ชุมชน ล ง พื้ น ที่ ใ น ชุ ม ช น เ พื่ อ พั ฒ น า สื่ อ แ ล ะ กิ จ ก ร ร ม 3.Development มีนาคม ประชาสัมพันธ์โครงการ มอบสื่อแก่ชุมชนเพื่อการนาไปใช้จริง ส่งเสริมการขาย 4.Implementation มีนาคม ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก จัดกิจกรรมลงพื้นที่ และกิจกรรมเสวนาAfter Action 5.Evaluation เมษายน Review ดาเนินการวัดประเมินผล 1.Analysis

มกราคม

หน้า 17 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


กล่าวโดยสรุปแล้วผลการศึกษาพบว่า มีเครื่องมือ 9 ขั้นตอนที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนโดย การจัดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัย ดังนี้

1)

2) 3) 4)

จัดตั้งบริษัทจาลอง : ECT Agency (Educational Communications and Technologyชื่อย่อภาควิชา)โดยรายละเอียดเชิงปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้ - นักศึกษาทั้งชั้นเรียน แบ่งฝ่ายกันทางานตามความสมัครใจและความสามารถ - นักศึกษาประชุม-โหวตเลือกประธานโครงการ ประธานอนุทางานแต่ละฝ่าย - การประชุมงานมีทุกสัปดาห์ โดยนักศึกษานัดกันแต่ละฝ่าย เพื่อมีความคืบหน้ารายงาน อาจารย์ผู้สอน ถอดบทเรียนการทางานในชุมชนด้อยโอกาส จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง- การส่งต่องานจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อหาแนวทางพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น โจทย์การทาโครงการทุกปีต้องมาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันการศึกษากับเวที ชาวบ้านชุมชนนั้น ๆ ร่วมกับเครื่องมือเก็บข้อมูลอื่นๆ ในชั้นเรียนใช้การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม (Service Learning) ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ สร้าง กระตุ้น อิสระ เอื้อ ดังนี้ ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 สร้ำง

วิธีกำรสอน สร้างบรรยากาศประชาธิปไตยในห้องเรียน แบ่งฝ่ายทางาน โดยได้รับงบประมาณจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงาน เครือข่าย (เน้นธรรมาภิ บาล ความโปร่งใสในการบริหาร จัดการ พร้อมน้อมนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน การบริหารจัดการ)

หน้า 18 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 2 กระตุ้น

ขั้นตอนที่ 3 อิสระ

ขั้นตอนที่ 4 เอื้อ

วิธีกำรสอน กระตุ้น ให้ ผู้เรียนมองเห็ นปัญหาหรือสิ่ งที่ชุมชนต้องการให้ ผู้เรียนเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งจะทาให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการแสดงความคิดเห็น รับผิดชอบในการ จั ด กิ จ กรรมทุ ก ขั้ น ตอน ในการเลื อ กหรื อ ออกแบบสื่ อ / กิจ กรรมที่ เหมาะสม โดยผู้ ส อนถอยตนเองลงมาทาหน้า ที่ เสมือนโค้ช กิจ กรรมที่ ผู้ เ รีย นออกแบบและปฏิ บั ติ ควรเอื้ อ ต่ อ การน า ความรู้ที่เรียนมาให้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนได้ ใช้เฟซบุ๊กกลุ่มปิดในรายวิชา เพื่อสามารถสื่อสารกันได้อย่าง เท่าเทียม

5) 6)

วัด ประเมินผล นาเสนอผลสรุปในเชิงรายงานโครงการโดยใช้หลัก Plan Do Check Act นักศึกษาส่งสรุปผลโครงการเข้าประกวดระดับประเทศเพื่อฝึกฝนตนเอง โดยเลือกผู้แทนไป นาเสนอผลงาน โดยทีมงานทั้งหมดสนับสนุนด้านข้อมูล 7) อาจารย์และนักศึกษาประธานโครงการร่วมกันเขียนรายงานบทความวิจัย และนาเสนอในเวที ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสรุปบทเรียนอย่างเป็นรูปธรรมทุกปี 8) ทางานภายใต้หลักการ win-win situation นั่นคือ นักศึกษา ได้เรียนรู้ : ชุมชน ได้รับ ประโยชน์ 9) ผลจากการทางานที่เป็นเอกลักษณ์ผ่านรูปแบบดังกล่าว ทาให้สื่อมวลชนทั้งสื่อกระแสหลักและ สื่อกระแสรองบนเครือข่ายสังคม ให้ความสนใจนาเสนอข้อมูลโครงการที่เป็นประโยชน์แก่ ชุมชน ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าว ทาให้เกิดโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนรอบ มหาวิทยาลัยเป็นประจาทุกปี ติดต่อกันเป็นระยะเวลากว่า 6 ปีมาแล้ว

หน้า 19 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


2.3 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว ทาให้ผู้เรียนสามารถได้รับการพัฒนาทักษะใน ศตวรรษที่ 21 ภายใต้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อย่างแท้จริง โดยผู้เรียนได้รับทักษะ 3 R 7 C ผ่านการเรียนรู้ในรายวิชาสื่อสารการตลาด ดังบทสัมภาษณ์ น.ส.ณิชา ไพอนนท์ (2560) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ผู้เรียนในรายวิชา ETM 358 ได้ถ่ายทอดออกมาเมื่อปีการศึกษา 2560 โดยย่อ ดังนี้ 2.3.1 ทักษะกำรอ่ำน (Reading) ผู้เรียนได้สมัครใจอยู่ฝ่ายวิชาการของ บริษัท ECT Agency จึง ต้องมีทักษะการอ่านที่ถูกต้อง แม่นยาเพิ่มมากขึน้ 2.3.2 ทักษะกำรเขียน (WRiting) ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการเขียนรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ การเขียนโครงการ การเขียนหนังสือราชการ การเขียนสุนทรพจน์เปิดและปิดงาน 2.3.3 ทักษะกำรค ำนวณ (ARithmetics) ผู้ เรียนต้องคิด วิเ คราะห์ ว างกลยุทธ์เพื่อจัดสรร งบประมาณที่ได้รับไปในการจัดกิจกรรม การทาสารวจประเมินผลโครงการ 2.3.4 ทักษะกำรคิดเชิงวิพำกษ์และแก้ไขปัญหำ (Critical thinking & problem solving) ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาอุปสรรคในการเก็บข้อมูล ประเมินผลโครงการ จึงต้องอาศัยการสังเกต ขบคิด เรียนรู้ และแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าหลายครั้ง

2.3.5 ทักษะควำมคิดเชิงสร้ำงสรรค์และนวัตกรรม (Creativity & innovation) ผู้เรียนได้คิด กิจกรรมพิเศษและร่วมเก็บข้อมูลจัดทาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ซึ่งมีการนาเทคโนโลยี QR Code มาใช้ ในการนาเสนอแหล่งเรียนรู้ให้แปลกแตกต่าง น่าชมและมีความทันสมัย 2.3.6 ทักษะควำมเข้ำ ใจต่ ำงวัฒนธรรม (Cross-cultural understanding) ในชุมชนมี วัฒ นธรรมกลุ่ มที่แตกต่าง มีวิถีช าวสวน มีกลุ่ มคนนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิส ลาม ตลอดจนมี นักศึกษาชาวกัมพูชา ผู้ได้รับทุนพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้มาศึกษาในคณะฯ และได้ร่วมงานในสื่อ ไวรัลวิดีโอ เพื่อประชาสัมพันธ์วิสาหกิจท่องเที่ยวเชิง เกษตร ผู้เรียนจึงได้พัฒนาทักษะนี้อย่างหลากหลายมิติ หน้า 20 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


2.3.7 ทักษะกำรทำงำนเป็นทีมและภำวะผู้นำ (Collaboration, teamwork & leadership) จากการที่ผู้เรี ยนได้แบ่งงานทาตามบรรยากาศประชาธิปไตย มีการโหวตเลื อกประธานโครงการ ประธานอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ทาให้มีการแบ่งงานกันทาอย่างเป็นระบบ เมื่อเจอปัญหาก็ร่วมกัน แก้ไขผ่านฝ่ายประสานงานและประธานอนุกรรมการ

2.3.8 ทักษะด้ำนกำรสื่อสำรและควำมรู้ในกำรสืบค้น (Communications, information & media literacy) ผู้เรียนได้ดาเนินการผลิตสื่อออฟไลน์ สื่อออนไลน์และการจัดกิจกรรมหลากหลาย ประเภทจึงจาเป็นต้องใช้ทักษะนี้ในการถ่ายทอดออกมาอย่างแม่นยา 2.3.9 ทักษะคอมพิวเตอร์และข้อมูลสำรสนเทศดิจิทัล (Computing & ICT literacy) ผู้เรียน ใช้ทักษะดังกล่าวในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ตลอดจนช่วยชุมชนหาข้อมูล เพื่อออกแบบ จัดทาฉลากตราสินค้า สื่อนิทรรศการเคลื่อนที่ สวนส้ม สวนมะพร้าวของวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร

2.3.10 ทักษะอำชีพและกำรเรียนรู้ (Career & learning skills) ผู้เรียนสามารถฝึกความชานาญ และได้รับประสบการณ์ผ่านการทางานจริงในชุมชน ด้วยรูปแบบบริษัทจาลอง โดยเฉพาะด้านการ ออกแบบสื่อ ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ด้ว ยรู ปแบบการจัดการเรี ยนรู้ด้วยการบริการสั งคมในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัยในรัศมีไม่เกิน 10 กิโลเมตร เพื่อให้สะดวกในการเดินทาง และติดต่อประสานงาน ดาเนินการติดตามวัดและประเมินผล ซึ่งทาให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและ ผู้เรียนอย่างมากมาย และเกิดเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในหลายพื้นที่

หน้า 21 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ภำพ น.ส. ณิชำ ไพอนนท์ ผู้ได้รับกำรพัฒนำทักษะกำรเรียนรู้ จากการพัฒ นาผู้เ รี ย นด้ ว ยรู ป แบบการจั ด การเรี ย นรู้ ด้ ว ยการบริ การสังคมในพื้น ที่ ห้องปฏิบัติการทางสังคมในบทนี้ รายละเอียดในบทต่อไปผู้เขียนจะกล่าวถึงวิธีการทางานร่วมกับ ชุมชนรวมทั้งเครื่องมือการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนพร้อมตัวอย่างประกอบด้วย

หน้า 22 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


รำยกำรอ้ำงอิง The Glossary of Education Reform .2016 . “21 st Century Skills”. ”.[Online], Available: http:// edglossarry.org/ 21 st-century -skills /. [16 September 2018].

Lee Watanabe-Crockett .2016. “The Critical 22 st Century Skills Every Student Needs and Why” ..[Online], Available: http:// globaldigitalcitizen.org/ 21 st-century –skills-every-student-needs /. [16 September 2018]. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง . 2559. “หมวดที่ 1 กำรจัดกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”. [Online], Available:http://arit.mcru.ac.th/km56/admin/download/10KM_1.pdf . [4 พฤษภาคม 2561].

Kuntida Thamwipat and Napassawan Yookong . 2012 . “The Analysis of the Components of Project-Based Learning on Social Network A Case Study of Presentation Skill Course” . International Journal of Advanced Computer Science and Applications , Vol.3 No.11 November 2012. ประสาท เนืองเฉลิม . 2558 . “กำรเรียนรู้โดยกำรบริกำรสังคม” .วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ . ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2558 .

Kuntida Thamwipat, Pornpapatsorn Princhankol, Sakesun Yampinij & Sopon Meejaleurn . 2018. “The Development of Media Activities by Undergraduate Students in Order to Promote Agricultural Tourism Community Enterprise According to the Principles of Social Service Learning and Community-Based Leaning” . International Education Studies . Vol.11.No.5.2018 . pp. 38-45. ณิชา ไพอนนท์ . 2560. นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา , สัมภำษณ์ , 25 กุมภาพันธ์ 2560.

หน้า 23 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 24 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 25 I บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)



บทที่ 3 กำรทำงำนร่วมกับชุมชนและเครื่องมือกำรสร้ำงกำรมีส่วนร่วมกับชุมชน ในบทก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้กล่าวถึงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วย รู ป แบบการจั ด การเรี ย นรู้ ด้ ว ยการบริ ก ารสั ง คม ผ่ า นเครื่ อ งมื อ 9 ขั้ น ตอน โดยมี ชุ ม ชนเป็ น ห้องปฏิบัติการทางสังคมที่ส าคัญ สาหรับ ในบทนี้จะกล่ าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทางาน ร่วมกับชุมชน และเครื่องมือการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ซึ่งมีเนื้อหาและตัวอย่างประกอบที่ น่าสนใจมาก

3.1

วิธีกำรทำงำนร่วมกับชุมชน

ในการทางานร่วมกับชุมชนหรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) นั้นบางท่าน อาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องง่าย แต่ที่จริงแล้วอาจเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะเป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถ ทั้งในเรื่องกาลังกาย และกาลังใจในการทางานร่วมกับชุมชน เพื่อให้การปฏิบัติงานแต่ละครั้งประสบ ความสาเร็จตามเป้าหมายที่ผู้ดาเนินโครงการได้ตั้งไว้ สิ่งที่สาคัญของการพัฒนาชุมชน คือ การทางานร่วมกับชุมชน โดยมีการลงพื้นที่ศึกษา ชุมชน และบริบทของชุมชน เพื่อนามาใช้ประสานงาน และปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนในการพัฒนา ชุมชนให้ดียิ่งขึ้น โดยวิธีการปฏิบัติงานที่ใช้ในการทางานร่วมกับชุมชนนั้น สามารถสรุปนั้นๆ ได้ดังนี้ (โครงการกล้าใหม่ ใฝ่รู้ ธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด มหาชน , 2559)

3.1.1. สร้ำงควำมเป็นกันเองกับผู้นำชุมชนและปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ผู้ดาเนินโครงการควรยึดถือเป็นอันดับแรกในการปฏิบัติงาน โดยอาศัยหลักการเข้าถึงชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญที่จะทาให้เราสามารถท่างานร่วมกับประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

หน้า 27 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


3.1.2 แสวงหำผู้นำท้องถิ่นและผู้นำชุมชนเป็นมิตรคู่งำน รวมทั้งใช้องค์กรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้ เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ผู้ดาเนินโครงการควรให้ความเคารพ และให้เกียรติผู้นา โดยการอ่อนน้อมถ่อมตน รู้ กาลเทศะในการปฏิบัติงาน เพราะผู้นาเปรียบเสมือนบุคคลสาคัญ และเป็นแหล่งข้อมูลในพื้นที่ที่จะ นาเราในการพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสาเร็จ 3.1.3 โครงกำรและกิจกรรมพัฒนำชุมชนควรดำเนินไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบ รวบรัด ทั้งนี้ผู้ดาเนินโครงการควรใช้กิจกรรมนาพาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน เพื่อให้เกิด การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน โดยการใช้แรงจูงใจ กิจกรรมโครงการนั้น ต้องมาจากความ ต้องการทีแ่ ท้จริงของประชาชนในชุมชนนั้นๆ 3.1.4 แสดงออกถึงควำมตั้งใจและมีควำมจริงใจที่จะทำงำนในชุมชนร่วมกับผู้นำ ชุมชนและชำวบ้ำน ทั้งนีค้ วามจริงใจที่ผู้ดาเนินโครงการแสดงออกมานั้น จะทาให้ประชาชนตลอดจนผู้นาชุมชน ให้ความไว้วางใจผู้ดาเนินโครงการ และมีความคุ้นเคยที่จะทางานร่วมกันได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ในการทางานกับชุมชนบางพื้นที่ บางแห่ง อาจมีความจาเป็นต้องใช้วิธีการอื่นเพื่อ เป็นประเด็นเสริมเพิ่มเติม เนื่องจากสภาพแวดล้อมวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เช่น บางครั้งต้องใช้การ ประนีประนอม เพื่อลดความขัดแย้งกันของกลุ่มคนในชุมชน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมใน การพัฒ นาชุมชน เพราะฉะนั้ น นอกเหนื อจากวิธีการข้างต้นแล้ ว นั้น ยังมีเงื่อนไขหรือปัจจัยแห่ ง ความสาเร็จอื่นๆ อีกที่จะต้องศึกษาเป็นข้อมูลในการทางานในพื้นที่ ได้แก่ สภาพแวดล้อมของชุมชน ภาวะความขัดแย้งที่มีอยู่ในชุมชน วิถีชีวิตของคนในชุมชน ประสบการณ์ในอดีตของชุมชน ตลอดจน บทเรียนจากการทางานในพื้นที่ ซึ่งควรมีการส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น

หน้า 28 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หมายเหตุ: ผู้นาชุมชนเป็นบุคคลสาคัญ ที่เปรียบเสมือนครูผู้ที่จะสอนให้เราได้เรียนรู้วิถี ชีวิตของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี และยังช่วยให้เราทางานประสบผลสาเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้การ ทางานร่วมกับผู้นาชุมชน เราต้องใส่ใจในรายละเอียดต่างๆของผู้นาชุมชน ทั้งในเรื่องการทางาน และ บางครั้งก็มีความจาเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลประวัติ ส่วนตัว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานใน พื้นทีน่ ั้น ๆ สาหรับการทางานของผู้เขียนในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นมา มีจ านวน 4 ชุมชน ได้ยึดหลักการเคารพและนับถือผู้ นาชุมชนดุจญาติใน ครอบครัว จึงขอแนะนาผู้นาทั้ง 4 ท่าน ดังนี้ ก.

นายเฉลิมศักดิ์ ลีวังษี ประธานชุมชนใต้สะพานโซน 1 อายุประมาณ 50 กว่าปี มีอาชีพขาย ของเก่าและรับจ้างทางานก่อสร้าง ผู้เขียนเรียกว่า พี่อุ๊ เป็นผู้มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีความเป็น ผู้นาสูง กล้าได้กล้าเสีย

ข.

นายสมัคร ผจงกิจการ ประธานชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ ข้าราชการบานาญ ผู้อุทิศชีวิตหลัง เกษียณทางานเพื่อประโยชน์ของชุมชน ผู้เขียนเรียกว่า คุณน้าสมัคร เป็นผู้มีอุปนิสัยสุขุม รอบคอบ ใจดี มีความเป็นผู้นาสูง

ค.

นายเสงี่ยม นาคสุทธิ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบางมด ข้าราชการ บานาญและนักจัดรายการวิทยุชุมชนหลายรายการ ผู้เขียนเรียกว่า ลุงเหงี่ยม เป็นผู้มี ความสามารถด้านการพูดสูงยิ่ง มีทักษะการจับประเด็นการพูด การฟังที่แม่นยา ทางานเก่ง

ง.

คุณครูณัชตา ธรรมธนาคม คุณครูประจาโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจคลองเตย เจ้าของรางวัลครู คุณากร อายุประมาณ 50 กว่าปี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมนาฏศิลป์ ผู้อุทิศตนเพื่อศิลปะ การฟ้อนราของนักเรียน มีความเป็นครูและความเป็นแม่สูง เก็บรายละเอียดต่างๆได้ดีมาก

จะเห็นได้ว่าผู้นาชุมชนแต่ละท่านมีลักษณะทางประชากรศาสตร์ อุปนิสัยใจคอ ลักษณะ การทางานแต่ละท่านมีความแตกต่างกันออกไป จึงควรอาศัยความคุ้นเคยส่วนตัวและต้องทาตนเป็น ตัวเชื่อมประสาน (Liaison) เพื่อส่งต่องานกับนักศึกษาผู้ดาเนินงานในรุ่นต่อรุ่น หน้า 29 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


3.2 เครื่องมือกำรสร้ำงกำรมีส่วนร่วมกับชุมชน ลาดับแรกในการลงพื้นที่ทาความรู้จักกับชุมชน ผู้ดาเนินโครงการควรทาการเก็บข้อมูล ชุมชน โดยทั่วไปในเชิงวิชาการนิยมใช้แบบสารวจเก็บข้อมูลและนาไปวิเคราะห์ ซึ่งอาจให้ชาวบ้านมี คาตอบเพียงอย่างเดียว ซึ่งคาตอบที่ได้รับอาจผิวเผิน มีแต่ตัวเลข วิธีการดังกล่าวมีความสะดวก ใช้ เวลาสารวจไม่นาน แต่ผลที่ออกมาส่วนใหญ่จะได้ข้อมูลหรือโครงการที่ซาวบ้านในชุมชนไม่ยอมรับ ไม่ร่วมมือ ไม่ตรงกับปัญหาชุมชน เพราะชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมคิดด้วย แต่อาจเป็นความคิดของ นักวิชาการ อาจารย์หรือนักศึกษา ดังนั้นการใช้เครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วม จะช่วยทาให้ชุมชนรู้สึกเป็นพระเอกในการให้ข้อมูล และ วิเคราะห์ตนเองเน้นการแลกเปลี่ยน เท่าเทียม คนในชุมชนได้ร่วมวิเคราะห์ จะทาให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ดังนั้นหลักการทางานกับชุมชนแบบมีส่วนร่วมต้องให้ความสาคัญกับความรู้ที่เกิดจากการทางานจริง โดยชุมชน เน้นระดมพลังในชุมชน สนับสนุนให้ชาวบ้านแก้ปัญหา และเชื่อมั่นว่าชาวบ้านมีศักยภาพ สาหรับรายละเอียดของเครื่องมือการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน มีดังต่อไปนี้ 3.2.1 เส้นแห่งประวัติศำสตร์ (Timeline) เส้นแห่งประวัติศาสตร์ (Timeline) เป็นเครื่องมือในการทาความเข้าใจในสถานการณ์ เหตุ ก ารณ์ แ ละประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ส าคั ญ ของชุ ม ชน และสร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว ม เป็ น การเรี ย งล าดั บ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่อดีตถึงปั จจุ บัน ช่วยแสดงช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์สาคัญ แสดงความ เป็นมาของชุมชน และเชื่อมโยงความสาคัญของเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงใช้ศึกษา ประวัติศาสตร์ชุมชนว่า ในแต่ละช่วงเวลาเกิดเหตุการณ์สาคัญอะไรขึ้นในชุมชน เหตุการณ์นั้นๆ มี ผลกระทบต่อชุมชนอย่างไร และส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างไร วิธีการหาข้อมูลอาจทาโดยชักชวนผู้อาวุโส เด็ก และผู้ใหญ่ในชุมชนที่มีความแตกต่าง ทางอายุ ประสบการณ์ มาเล่าเรื่องราว เพราะแต่ละคนอยู่ในช่วงเวลา ช่วงประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน แล้วมีการจดบันทึก และเรียบเรียงออกมาตามช่วงเวลา มีการวาดภาพประกอบ เขียนเหตุการณ์ สาคัญ และผลกระทบในแต่ละช่วงเวลา

หน้า 30 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ประโยชน์ของเส้นแห่งประวัติศาสตร์ หรือ Timeline คือ ทาให้ผู้ดาเนินโครงการสามารถ ทราบที่มาหรือปัญหาของชุมชน มองเห็นพัฒนาการของแต่ละชุมชน ที่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน แต่ละช่วงเวลา มองเห็นวิถีชุมชนพร้อมทั้งวิธีการแก้ไขในแต่ละช่วงเวลา เป็นกระบวนการที่ทาให้เกิด การมีส่วนร่วมกับชุมชน มองเห็นผลกระทบ และการปรับตัวของชาวบ้าน ทาให้ผู้ดาเนินโครงการได้ วิเคราะห์ข้อมูล และนามาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

(โครงกำรกล้ำใหม่ ใฝ่รู้ ธนำคำรไทยพำณิชย์ จำกัด มหำชน , 2559) เทคนิคในการทาเส้นแห่งประวัติศาสตร์หรือ Timeline คือ ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ ระดมความคิดเห็นร่วมกัน ผ่านช่วงเวลาร่วมสมัยในช่วงนั้น ๆ โดยไล่ตามปีที่เกิดเหตุการณ์จุดเน้น สาคัญคือ ก.

ข.

เส้นแห่งประวัติศาสตร์หรือ Timeline เป็นเครื่องมือที่สร้างการเรียนรู้ จึงต้องสร้าง กระบวนการวิเคราะห์ องค์ประกอบของคาถาม ต้องถามถึงการเกิดเหตุการณ์สาคัญ ผลกระทบที่เกิดขึ้น และการ ปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลง

หน้า 31 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ค.

องค์ประกอบของผู้ให้ข้อมูล จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และช่วงเวลาที่ เหมาะสม หากต้องการทราบช่วงเวลาเพิ่มขึ้น จะต้องชวนชาวบ้านผู้เข้าร่วมเพิ่มเติม และ ค้นหาข้อมูลเพิ่มขึ้น

ง.

หากจาช่วงเวลาไม่ไค้ จะต้องนับย้อนเวลาไปจากปัจจุบัน ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์

จ.

ควรทาเป็นเส้นเพื่อแบ่งช่วงเวลาที่ชัดเจน และสามารถเชื่อมโยงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้ในหลายช่วงเวลา และหลายเหตุการณ์

ฉ.

การช่วยกันทาเส้นแห่งประวัติศาสตร์หรือ Timeline ในคนหลายช่วงอายุ จะสามารถช่วย เติมเต็มข้อมูลซึ่งกันและกัน และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ในการจัดระบบข้อมูลร่วมกันใน แต่ละช่วงเวลาได้ดี

3.2.2

แผนที่รอบในหรือรอบนอก แผนที่รอบนอก เป็นการแสดงแผนที่ทางกายภาพของหมู่บ้านหรือชุมชนในภาพรวม เพื่อ แสดงอาณาเขต ทรัพยากร ป่าไม้ ลาคลอง ส่วนแผนที่รอบในจะทาเฉพาะจุดที่ผู้ดาเนินโครงการสนใจ ในบางส่วน และผู้ดาเนินโครงการควรทาโดยการพาคนในชุมชนมาร่วมกันทา การจะนาแผนที่รอบในหรือรอบนอกไปใช้งานในการลงพื้นที่ชุมชนนั้น เป็นการปรับใช้ใน การจัดการทรัพยากรในพื้นที่ และสร้างการพูดคุยสื่อสารกัน ในช่วงแรกที่ผู้ดาเนินโครงการอาจจะยัง ไม่คุ้นเคยกับชาวบ้านมากนัก เมื่อร่วมกันลงมือทาแผนที่ไปแล้ว ชาวบ้านจะเกิดความภาคภูมิใจในสิ่ง ที่ตนเองได้ทา จึงลงลึกรายละเอียดได้ ทั้งนี้ผู้ดาเนินโครงการควรแบ่งบทบาทของแต่ละบุคคล ให้มี ส่วนร่วมในการเล่าเรื่อง การวาดรูปและการลงรายละเอียด ประโยชน์ จ ากการใช้ แผนที่ รอบในหรื อรอบนอก คือ เพื่ อทราบถึงสถานที่ ตงั ้ พื น้ ที่ ทางาน แสดงภาพรวมของชุมชน โดยองค์ประกอบของความสมบูรณ์ของแผนที่ ขึ ้นอยู่กั บความ หลากหลายของกลุ่มผู้เข้ าร่วม เช่น ปราชญ์ชาวบ้ าน ภูมิปัญญาท้ องถิ่น รวมทังความสามารถใน ้ การสร้ างความคุ้นเคย สร้ างความเป็ นมิตรของผู้ดาเนินโครงการเองด้ วย

หน้า 32 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ภำพแสดงแผนที่รอบใน (โครงกำรกล้ำใหม่ ใฝ่รู้ ธนำคำรไทยพำณิชย์ จำกัด มหำชน , 2559)

ภำพแสดงแผนที่รอบนอก (โครงกำรกล้ำใหม่ ใฝ่รู้ ธนำคำรไทยพำณิชย์ จำกัด มหำชน , 2559) เทคนิคการทาแผนที่รอบในหรือรอบนอก คือ ผู้ดาเนินโครงการต้องมีการวางแผนก่อนว่า เราต้องการอะไร หากมีแผนก่อนจะช่วยให้ทาได้เร็วขึ้น ควรมีกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็กและผู้ใหญ่มาร่วม แลกเปลี่ยน โดยอาจให้เด็กวาดรูปและผู้ใหญ่เล่าเรื่อง

หน้า 33 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


วิธีการคือ ให้ฟัง และชวนชาวบ้านคุยก่อน โดยอาจเริ่มด้วยเรื่องส่วนตัวและเรื่องทั่วๆไป จากตัว ของเขาก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้ช าวบ้านสนุกกับการเล่ าเรื่องของตัว เอง คลายกังวล และความ ประหม่า จากนั้นจึงเริ่มหาจุดวาดแผนที่ เริ่มต้นด้วยเรื่องที่เขารู้ เช่น ที่ตั้งของบ้าน แม่น้า หรือถนน ในชุมชน กาหนดทิศ กาหนดจุดหลัก ชวนคุยเรื่องอาชีพ การทามาหากิน สภาพหมู่บ้าน เพื่อให้ได้ ข้อมูล ชวนพูดคุยพร้อมกับ ให้ช่วยวาดแผนที่ ใช้เทคนิคการตั้งคาถาม และโยงมายังรายละเอียดที่ เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นๆ 3.2.3

ปฏิทินกำรผลิต ปฏิทินการผลิตเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน และช่วยให้ ทราบถึ งฤดู กาลผลิ ตของชุม ชนและรายละเอี ยดชนิด ของพืช ที่ป ลู กในแต่ล ะเดื อน (หรือ อาจจะ ปรับเปลี่ยนเป็นปฏิทินวัฒนธรรมของชุมชน ที่มีการกาหนดช่วงเวลาของประเพณีและวัฒนธรรมของ คนในชุมชนรายเดือนก็ได้) เพื่อผู้ดาเนินโครงการจะได้ทราบว่าชุมชนทาอะไร จะได้เข้าไปทางานกับ ชุมชนได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ปฏิทินการผลิตมี 2 แบบ ได้แก่ ปฏิทินแบบตารางกับปฏิทินวงกลม ให้ใช้การวาดภาพประกอบด้วยเพื่อทาให้อ่านและเข้าใจง่ายและชุมชนเองก็จะรู้สึกว่าเป็นข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ ทาให้ทราบความเคลื่อนไหวของชุมชนตนเอง สามารถนาไปใช้ต่อได้ ก.

ปฏิทินวงกลม ประกอบด้วย วงในเป็น 12 เดือนในรอบปี อาจจะปรับเปลี่ยนตามภาษาหรือ แต่ละชนเผ่า วงที่ 2 เป็นผลผลิตจากอาชีพที่ทากันในชุมชน และวงนอกสุดเป็นขั้นตอนการ ทาอาชีพต่างๆ ซึ่งต้องมีการสื่อสาร เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาก่อนที่จะลงมือทา

(โครงกำรกล้ำใหม่ ใฝ่รู้ ธนำคำรไทยพำณิชย์ จำกัด มหำชน , 2559)

หน้า 34 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ข.

ปฏิทินแบบตารางแสดงผลผลิต มุ่งเน้นเรื่องผลผลิตในชุมชน แบ่งออกเป็นการใช้ประโยชน์ ช่วงเวลา และปริมาณของผลผลิต สามารถสอบถามแล้วทาได้เลย

ภำพแสดงปฏิทินแสดงผลผลิต (โครงกำรกล้ำใหม่ ใฝ่รู้ ธนำคำรไทยพำณิชย์ จำกัด มหำชน , 2559) ทั้งนีห้ ัวใจสาคัญของการใช้เครื่องมือนี้ คือ ใช้เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย นั่น คือ ชุมชนที่เกี่ยวข้องในการดาเนินโครงการ และควรเน้นถึงการเก็บข้อมูลที่เป็นฐานชีวิตความ เป็นอยู่จริง มีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย เป็นต้น ปฏิทินจะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนเกี่ยวกับ สภาพชีวิตความเป็นอยู่จริงของชาวบ้าน โดยเป้าหมายการใช้ปฏิทิน ก็คือ สามารถมองเห็นภาพวิถี การผลิตการเป็นอยู่ของชุมชนและเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนเป้าหมายนั่นเอง

หน้า 35 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


(โครงกำรกล้ำใหม่ ใฝ่รู้ ธนำคำรไทยพำณิชย์ จำกัด มหำชน , 2559)

หน้า 36 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


3.2.4

เวทีชำวบ้ำน นอกจากเครื่องมือทั้ง 3 ประเภทที่ได้กล่าวมาแล้ว ในที่นี้ขอแนะนาเครื่องมืออีก 1 ชิ้น นั่น คือ เวทีชาวบ้าน เนื่องจากบางชุมชนที่มีการจัดระบบระเบียบค่อนข้างดีแล้ว มักจะมีการประชุมที่มี วาระแน่นอน ซึ่งผู้ดาเนินโครงการอาจขอเข้าไปมีส่วนร่วมกับเวทีชาวบ้าน โดยผ่านผู้นาชุมชนเป็นผู้ แนะนาให้ทาความรู้จักกับชาวบ้านจากนั้นจึงค่อยถามประเด็นปัญหา ความต้องการ มีผู้จดประเด็น หลักไว้ไม่ให้หลุดโฟกัส แล้วจึงร่วมกันหาข้อสรุปและวิธีการแก้ไข ในลาดับต่อไป ผู้ ด าเนิ น โครงการควรจั ด ท าแผนการปฏิ บั ติ ง านที่เ ป็ น รู ป ธรรมมาเบื้ อ งต้ น และขอ ความเห็นร่วมจากชาวบ้านในชุมชน ช่วยกันมองความเป็นไปได้ และสามารถใช้เครื่องมือหลายชิ้น ร่วมกันได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเห็นร่วม อันจะนามาซึ่งความร่วมมือและความสาเร็จของโครงการใน ที่สุด

ภำพแสดงกำรประชุมผ่ำนเวทีชำวบ้ำน (โครงกำรบำงมดรวมใจ (น้อมนำศำสตร์พระรำชำ) ส่งเสริมวิสำหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไทย ปั่น ชม ช้อป ชิม , 2560)

หน้า 37 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ภำพแสดงกำรทำแผนที่รอบนอก (โครงกำรบำงมดรวมใจ (น้อมนำศำสตร์พระรำชำ) ส่งเสริมวิสำหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไทย ปั่น ชม ช้อป ชิม , 2560)

หลังจากได้เรียนรู้เรื่องวิธีการทางานและเครื่องมือการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในบท นี้แล้ว ในบทต่อไปผู้เขียนจะกล่าวถึง 5 กรณีศึกษาที่ตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อชุมชนและ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในห้องปฏิบัติการทางสังคมแห่งแรก ที่ชุมชนใต้สะพานโซน 1

หน้า 38 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


รำยกำรอ้ำงอิง โครงการกล้าใหม่ ใฝ่รู้ ธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด มหาชน . 2559. “กำรทำงำนร่วมกับชุมชน”. เอกสารประกอบการบรรยาย พ.ศ. 2559.

โครงการบางมดรวมใจ (น้อมนาศาสตร์พระราชา) ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทย ปั่น ชม ช้อป ชิม . 2560. “ปั่นครั้งที่ 3”. [Online], Available: https://www.facebook.com/collaborate.bangmod/. [3 พฤษภาคม 2561].

หน้า 39 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 40 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 41 I บทที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)



บทที่ 4 5 กรณีศึกษำที่ตอบโจทย์งำนวิจัยและพัฒนำสือ่ เพื่อชุมชนและ กำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรื่องรำวจำกชุมชนใต้สะพำนโซน 1 ในบทที่ผ่านมาผู้เขียนได้แนะนาวิธีการทางานและเครื่องมือการสร้างการมีส่วนร่วมกับ ชุมชนไปแล้ว ในบทที่ 4 นี้จะเป็นรายละเอียดในห้องปฏิบัติการทางสังคมแห่งที่ 1 นั่นคือ ชุมชนใต้ สะพานโซน 1 ซึ่งมีผลการดาเนินโครงการจานวน 5 กรณีศึกษาที่ตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาสื่อ เพื่อชุมชนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

4.1 ลักษณะและปัญหำชุมชนในพื้นที่หอ้ งปฏิบัตกิ ำรทำงสังคม : ชุมชนใต้สะพำนโซน 1 ซ.ประชำอุทิศ 76 ลักษณะชุมชน : เกิดจากการรวมตัวของคนเร่ร่อน ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณใต้สะพาน ใต้ทางด่วน เมื่อปี พ.ศ.2536 กรุงเทพมหานครร่วมกับการเคหะแห่งชาติ เข้ามาจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้กลุ่มคน ดังกล่าว จนกระทั่งลงตัวที่ที่อยู่ในโซน 1-3 ได้แก่ ใต้สะพานประชาอุทิศ 76 เขตทุ่งครุ ใต้สะพาน พูนทรัพย์ เขตสายไหม และใต้สะพานอ่อนนุช โดยกลุ่มคนเหล่านี้ที่มาอยู่ใต้ส ะพานโซน 1 ซอย ประชาอุทิศ 76 มีจานวนประมาณ 700 กว่าครอบครัว โดย 70 % มีอาชีพเก็บของเก่าขาย

ปัญหำของชุมชน : เรื่องความยากจน เป็นคนจนในเมืองหลวง ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ลาบาก มีเด็ก และเยาวชนจานวนกว่า 200 คน ด้อยการศึกษา หย่อนการอบรม และคนในชุมชนมีปัญหายาเสพติด

ในการดาเนินโครงการในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ควรนาประเด็น ปัญหาและร่วมกันคิดโครงการที่ใช้สื่อและกิจกรรม ดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาในเวทีชาวบ้านของ ชุมชน โดยมีคณะผู้ดาเนินโครงการเข้าไปร่วมรับฟัง และชี้แจงก่อนดาเนินโครงการทุกโครงการ ทั้งนี้ ควรคานึงถึงศักยภาพ ความสามารถของผู้เรียนมาเป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณาจัดทาโครงการ ด้วย

หน้า 43 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


4.2

โครงกำรที่ดำเนินเพื่อแก้ไขปัญหำ : กรณีศึกษำเพื่อแก้ไขปัญหำควำมยำกจน เยำวชนหย่อนกำรอบรม

4.2.1 กรณีศึกษำโครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดอำชีพซำเล้ง (พ.ศ.2555) ชุมชนใต้สะพำน โซน 1 ซ.ประชำอุทิศ 76 ขั้นตอนและเครื่องมือในการทางานร่วมกับชุมชน ตลอดภาคการศึกษาที่ 2/2554 (ม.ค.-พ.ค. 2555 ) 1) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในเวทีชาวบ้าน โดยมีประธานชุมชนเป็นแกนนาร่วม จัดทาแผนที่ชุมชน ลาดับประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกัน คือ ปัญหาความยากจน และ เยาวชนหย่อนการอบรม 2) พิจารณาศักยภาพ ความสามารถของนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการ พบว่ามีความรู้ ความสามารถด้านครูช่างอุตสาหกรรม 3) เขียนโครงการนาเสนอเพื่อหาแหล่งทุนภายในและภายนอกสถาบัน 4) ประสานความร่วมมือจากภายในมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานเอกชน 5) ออกแบบและพัฒนาสื่อและกิจกรรมเพื่อสอนคนในชุมชน ก. สอนวิชาชีพซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซ่อมรถซาเล้งแก่ผู้ชายในชุมชน ข. สอนวิธีคัดแยกขยะพิษแก่ผู้หญิงในชุมชน ค. สอนศิลปะ (เพื่อฝึกสมาธิ) มารยาทสังคมแก่เด็กและเยาวชนในชุมชน 6) ร่วมกันปรับภูมิทัศน์อาคารดุจดาว (ศูนย์เด็กเล็ก) ซึ่งเป็นสถานที่จัดกิจกรรมร่วมกันของ โครงการ 7) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสื่อและกิจกรรมเพื่อสอนคนชุมชน ก. เกิดนายช่างประจาชุมชน 11 นาย ทาให้สามารถซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองและนาไปขาย ในตลาดมือสอง ทาให้ได้ราคาดี เพิ่มมากขึ้น ข. ผู้หญิงในชุมชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะ ค. เด็กในชุมชนเริ่มมีความนุ่มนวล รู้จักมารยาทสังคม ง. นักศึกษาผู้ดาเนินโครงการได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ โครงการ กล้าใหม่ ใฝ่รู้

หน้า 44 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลการถอดบทเรียนผ่านงานวิจัยของ Kuntida Thamwipat and Thanakarn Kumpai (2013) พบว่า โครงการนี้สามารถต่อยอดอาชีพให้กับคนในชุมชน และเป็นจุดเริ่มต้นของ การสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชนใต้สะพานโซน 1 สามารถทาให้คนในชุมชนพึ่งพาตนเองใน แบบเศรษฐกิจพอเพียงได้

ภำพแสดงคลิปวีดิทัศน์โครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดอำชีพซำเล้ง

หน้า 45 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


4.2.2 กรณีศึกษำโครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดวัฒนธรรมชุมชน (พ.ศ.2556) ชุมชนใต้ สะพำนโซน 1 ซ.ประชำอุทิศ 76 ขั้นตอนและเครื่องมือในการทางานร่วมกับชุมชน ตลอดภาคการศึกษาที่ 2/2555 (ม.ค.-พ.ค. 2556) 1) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในเวทีชาวบ้าน โดยมีประธานชุมชนเป็นแกนนาร่วม จัดทาเส้นแห่งประวัติศาสตร์ ลาดับประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกัน คือ ปัญหามีผู้มา เยี่ยมชมชุมชนจานวนมากและเยาวชนหย่อนการอบรม 2) พิจารณาศักยภาพความสามารถของนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการ พบว่า มีความรู้ ความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมการฟ้อนรา ศิลปะการวาดรูป และศิลปะการออกแบบ กราฟิก 3) เขียนโครงการนาเสนอเพื่อหาแหล่งทุนภายใน และภายนอกสถาบัน 4) ประสานความร่วมมือจากภายในมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานเอกชน 5) ออกแบบและพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ก. สอนศิลปวัฒนธรรมการฟ้อนราแก่เด็ก และเยาวชนในชุมชน ข. สร้างแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติชุมชน ณ บริเวณชั้น 1 อาคารดุจดาว(ศูนย์เด็กเล็ก) ซึง่ เป็นสถานที่จัดกิจกรรมร่วมกันของโครงการ ค. สร้างแหล่งเรียนรู้ลักษณะห้องสมุดสาหรับเด็ก และเยาวชน ณ บริเวณชั้น 2 อาคาร ดุจดาว (ศูนย์เด็กเล็ก) 6) พิธีเปิดแหล่งเรียนรู้ ห้องสมุดและโชว์การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากเด็กและเยาวชนในชุมชน 7) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อสอนคนชุมชน ก. มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติชุมชน และห้องสมุด ณ บริเวณชั้น 1 และชั้น 2 อาคาร ดุจดาว (ศูนย์เด็กเล็ก) ข. เด็กและเยาวชนได้รับความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมการฟ้อนรา

หน้า 46 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลการถอดบทเรียนผ่านงานวิจัยของ Pornpapatsorn Princhankol, Kuntida Thamwipat, Paveena Thambunharn and Wuttipong Phansatarn (2013) พบว่า โครงการ นี้ ส ามารถท าให้ ชุ ม ชนมี แ หล่ ง เรี ย นรู้ ที่ เ ก็ บ ประวั ติ ชุ ม ชน จากเครื่ อ งมื อ การจั ด ท าเส้ น แห่ ง ประวัติศาสตร์ ในคุณภาพระดับดีและยังเพิ่มพื้นที่ห้องสมุดแก่เด็กและเยาวชนในชุมชนด้วย

ภำพแสดงคลิปวีดิทัศน์โครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดวัฒนธรรมชุมชน

หน้า 47 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


4.2.3 กรณี ศึ ก ษำโครงกำรครู ช่ ำ งปล่ อ ยของ สอนน้ อ งสร้ ำ งหุ่ น ยนต์ คุ ณ ธรรมจำกขยะ (พ.ศ.2557) ชุมชนใต้สะพำนโซน 1 ซ.ประชำอุทิศ 76 ขั้นตอนและเครื่องมือในการทางานร่วมกับชุมชน ตลอดภาคการศึกษาที่ 2/2556 (ม.ค.-พ.ค. 2557) 1) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในเวทีชาวบ้าน โดยมีประธานชุมชนเป็นแกนนาร่วม ลาดับประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกัน คือ ปัญหาเยาวชนหย่อนการอบรม ขาดของ เล่น หันไปหาการพนัน ได้แก่ จับฉลากหวยใต้ดิน น้าเต้าปูปลา 2) พิจารณาศักยภาพความสามารถของนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการ พบว่า มีความรู้ ความสามารถด้านการออกแบบและประดิษฐ์หุ่นยนต์ 3) เขียนโครงการนาเสนอเพื่อหาแหล่งทุนภายใน และภายนอกสถาบัน 4) ประสานความร่วมมือจากภายในมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานเอกชน 5) ออกแบบและพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ก สอนการออกแบบและประดิษฐ์หุ่นยนต์จากวัสดุเหลือใช้แก่เด็ก และเยาวชนใน ชุมชน ข. เพิ่มแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสาหรับเด็กและเยาวชน ณ บริเวณชั้น 2 อาคารดุจดาว (ศูนย์เด็กเล็ก) 6) พิธีเปิดแหล่งเรียนรู้และโชว์การแสดงหุ่นยนต์จากเด็ก และเยาวชนในชุมชน 7) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อสอนคนชุมชน ก. มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ณ บริเวณชั้น 2 อาคารดุจดาว (ศูนย์เด็กเล็ก) ข. เด็กและเยาวชนได้รับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ค. นักศึกษาผู้ดาเนินโครงการได้รับรางวัลยอดเยี่ยมด้านการศึกษาระดับประเทศ เวที กระทิงแดง ยูโปรเจกต์

หน้า 48 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลการศึกษาผ่านงานวิจัยของ Kuntida Thamwipat , Pornpapatsorn Princhankol , Thanakarn Khumphai and Vitsanu Sudsangket (2014) พบว่า โครงการนี้ สามารถทาให้ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพระดับดี เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาหรับเด็ก และเยาวชนในชุ ม ชน ทั้ ง ยั ง พบว่ า เด็ ก และเยาวชนที่ ร่ ว มโครงการ มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นด้วย

ภำพแสดงคลิปวีดิทัศน์โครงกำรครูช่ำงปล่อยของ สอนน้องสร้ำงหุ่นยนต์คุณธรรมจำกขยะ

หน้า 49 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


4.2.4 กรณี ศึ ก ษำโครงกำรครู ช่ ำ งจั บ กล้อ ง สอนน้อ งสร้ ำ งหนั ง สั้น ส่ง เสริ มค่ ำ นิย ม 12 ประกำร (พ.ศ.2558) ชุมชนใต้สะพำนโซน 1 ซ.ประชำอุทิศ 76 ขั้นตอนและเครื่องมือในการทางานร่วมกับชุมชน ตลอดภาคการศึกษาที่ 2/2557 (ม.ค.-พ.ค. 2558) 1) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในเวทีชาวบ้าน โดยมีประธานชุมชนเป็นแกนนาร่วม ลาดับประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกัน คือ ปัญหาเยาวชนหย่อนการอบรม หย่อนเรื่อง คุณธรรม 2) พิจารณาศักยภาพความสามารถของนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการ พบว่า มีความรู้ ความสามารถด้านการเขียนบท ถ่ายทาภาพยนตร์สั้น มีเครือข่ายโรงภาพยนตร์ เครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ 3) เขียนโครงการนาเสนอเพื่อหาแหล่งทุนภายใน และภายนอกสถาบัน 4) ประสานความร่วมมือจากภายในมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานเอกชน 5) ออกแบบและพัฒนาสื่อและกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ก. สอนการแสดงเบื้องต้น มุมกล้อง การใช้กล้องเบื้องต้นแก่เด็ก และเยาวชนในชุมชน ข. ถ่ายทาและตัดต่อภาพยนตร์สั้น 2 เรื่องร่วมกับเด็กและเยาวชนในชุมชน โดย - เรื่องที่ 1 เป็นภาพยนตร์สั้นแนวสารคดี เกี่ยวกับชุมชนใต้สะพานโซน 1 - เรื่องที่ 2 เป็นภาพยนตร์สั้นแนวรักโรแมนติคคอมมาดี้ สอดแทรกค่านิยม 12 ประการ 6) จัดฉายภาพยนตร์สั้น 2 เรื่อง ในโรงหนังเครือเมเจอร์ โดยนาเด็ก เยาวชน และคนในชุมชน ไปชมร่วมกันขายตั๋วชมภาพยนตร์ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 7) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อสอนคนชุมชน ก. ได้สื่อภาพยนตร์สั้น 2 เรื่อง ที่ร่วมผลิตกับเด็กและเยาวชนในชุมชน ข. เด็กและเยาวชนได้รับความรู้ด้านการแสดง มุมกล้อง การใช้กล้องเบื้องต้นและ ค่านิยม 12 ประการ ค. รายได้จากการขายตั๋วชมภาพยนตร์มอบแก่ชุมชน เพื่อดูแลแหล่งเรียนรู้ประจา ชุมชน ง. นักศึกษาผู้ดาเนินโครงการได้รับโล่รางวัลยอดเยี่ยมระดับประเทศ โครงการ MeThai

หน้า 50 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลการศึกษาผ่านงานวิจัยโดย Kuntida Thamwipat and Kirimag Boonrom (2015) พบว่า สื่อภาพยนตร์สั้นจากโครงการนี้มีคุณภาพระดับดี และสามารถทาให้เด็กและเยาวชน ที่ร่วมโครงการมีความพึงพอใจในสื่อระดับมาก

ภำพแสดงคลิปวีดิทัศน์โครงกำรครูช่ำงจับกล้อง สอนน้องสร้ำงหนังสั้นส่งเสริมค่ำนิยม 12 ประกำร

หน้า 51 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


4.2.5 กรณีศึกษำโครงกำรครูช่ำงสร้ำงปฏิทินชุมชน ส่งเสริมค่ำนิยม 12 ประกำร (พ.ศ.2559) ชุมชนใต้สะพำนโซน 1 ซ.ประชำอุทิศ 76 ขั้นตอนและเครื่องมือในการทางานร่วมกับชุมชน ตลอดภาคการศึกษาที่ 2/2558 (ม.ค.-พ.ค. 2559) 1) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในเวทีชาวบ้าน โดยมีประธานชุมชนเป็นแกนนาร่วม ลาดับประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกัน คือ ปัญหาเยาวชนหย่อนการอบรม หย่อนเรื่อง คุณธรรม 2) พิจารณาศักยภาพความสามารถของนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการ พบว่า มีความรู้ ความสามารถด้านการถ่ายภาพนิ่ง การออกแบบกราฟิก และมีเครือข่ายโรงพิมพ์ 3) เขียนโครงการนาเสนอเพื่อหาแหล่งทุนภายใน และภายนอกสถาบัน 4) ประสานความร่วมมือจากภายในมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานเอกชน 5) ออกแบบและพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ก. สอนการโพสท่า การใช้กล้องถ่ายภาพนิ่งเบื้องต้นแก่เด็กและเยาวชนในชุมชน ข. ถ่ายทาออกแบบปฏิทิน 12 เดือนร่วมกับเด็ก และเยาวชนในชุมชน โดยสอดแทรก ค่านิยม 12 ประการ 6) จัดพิมพ์ปฏิทิน และขายภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ส่งมอบปฏิทินและรายได้ให้ ประธานชุมชน 7) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อสอนคนชุมชน ก. ได้สื่อปฏิทินที่ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการ ที่ร่วมผลิตกับเด็กและเยาวชนในชุมชน ข. เด็กและเยาวชนได้รับความรู้เรื่องการโพสท่า การใช้กล้องถ่ายภาพนิ่งเบื้องต้น และ ค่านิยม 12 ประการ ค. รายได้จากการขายปฏิทินส่งเสริมค่านิยม 12 ประการ มอบแก่ชุมชนเพื่อเป็นกองทุน สาหรับผู้ต้องการบาบัดฟื้นฟูจากการติดยาเสพติด ง. ผู้สอนและนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการได้รับรางวัล Best Paper Award จากการ ประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ณ ประเทศศรีลังกา

หน้า 52 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลการศึกษาผ่านงานวิจัยของ Kuntida Thamwipat , Pornpapatsorn Princhankol and Natchanin Kaewket (2017) พบว่า สื่อปฏิทินส่งเสริมค่านิยม 12 ประการจากโครงการนี้มี คุณภาพระดับดี และสามารถทาให้เด็กและเยาวชนที่ร่วมโครงการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง ค่านิยม 12 ประการเพิ่มมากขึ้น และมีความพึงพอใจในโครงการนี้ในระดับมากที่สุดด้วย

ภาพแสดงคลิปวีดิทัศน์โครงการครูช่างสร้างปฏิทินชุมชน ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการ

หน้า 53 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลการดาเนินงาน : ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2559 ติดต่อกันเป็นส่วนสาคัญที่ช่วยลดปัญหา ยาเสพติดในชุมชนใต้สะพานโซน 1 ทาให้ชุมชนได้รับการคัดเลือกให้เป็นชุมชนตัวอย่าง ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับกรุงเทพมหานคร

ภาพแสดงรางวัลที่ชุมชนใต้สะพานโซน 1 ได้รับ หลังจากได้กล่าวถึงเนื้อหา พร้อมคลิปวีดิทัศน์ของ 5 กรณีศึกษาจากห้องปฏิบัติการทาง สังคม ที่ชุมชนใต้สะพานโซน 1 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทางสังคมลาดับที่ 1 แล้ว ในบทต่อไปผู้เขียน จะกล่าวถึง 4 กรณีศึกษาที่ตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อชุมชนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในห้องปฏิบัติการทางสังคมลาดับที่ 2 ที่ชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์

หน้า 54 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


รำยกำรอ้ำงอิง Kuntida Thamwipat and Thanakarn Kumpai . 2013 . “ Workshop Session Recordings on Green Volunteering Activities of Students in a Disadvantaged Area According to the Good-Hearted Vocation Teacher to Support Itinerant Junk Buyers ”. International Journal of Advanced Computer and Applications,Vol.4 , Issue 8 , August 2013 . Pornpapatsorn Princhankol, Kuntida Thamwipat, Paveena Thambunharn and Wuttipong Phansatarn. 2013 . “The Development of Learning Resource for the Saleng Community under the Bridge of Zone 1 Entitled How to Repair Electrical Appliances”. International Journal of Advanced Computer and Applications,Vol.4 , Issue 11, November 2013 . Kuntida Thamwipat , Pornpapatsorn Princhankol , Thanakarn Khumphai and Vitsanu Sudsangket . 2014 . “ Activity Based Learning Kits for Children in a Disadvantaged Community According to the Project “ Vocational Teachers Teach Children to Create Virtuous Robots from Garbage ”. International Journal of Advanced Computer and Applications,Vol.5 , Issue 8 , September 2014 . Kuntida Thamwipat and Kirimag Boonrom. 2015 . “Development of the Student Documentary Short Film on Disadvantaged People in the Community under the Bridge Zone 1 in Bangkok Entitled UTOPIA”. International Teacher Education Conference(ITEC 2015). September 2-4, 2015 , Saint Petersburg, Russia . Kuntida Thamwipat , Pornpapatsorn Princhankol and Natchanin Kaewket. 2017. “Developing a Lesson Based on the ‘Service-Learning’ Principle through the Project to Create a Community Calendar to Promote 12 Values”. 03 rd International Conference on Education and Distance Learning 2017 . Galle Face Hotel,Colombo,Srilanka . 28 th April 2017. หน้า 55 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


รำยกำรอ้ำงอิง โครงกำรครู ช่ ำ งหั ว ใจหล่ อ ต่ อ ยอดอำชี พ ซำเล้ ง . 2013. [Online], https://www.youtube.com/watch?v=ECPgWAIC7Bs. /. [3 มกราคม 2562].

Available:

โครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดวัฒนธรรมชุมชน. 2013. [Online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=0dX-PEJmtac. [3 มกราคม 2562]. โครงกำรครูช่ำงปล่อยของ สอนน้องสร้ำงหุ่นยนต์คุณธรรมจำกขยะ. 2013. [Online], Available: https://youtu.be/MsS11LvJnsc . [3 มกราคม 2562]. โครงกำรครูช่ำงจับกล้อง สอนน้องสร้ำงหนังสั้นส่งเสริมค่ำนิยม 12 ประกำร. 2015. [Online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=PENduaw-hgk. [3 มกราคม 2562]. โครงกำรครูช่ำงสร้ำงปฏิทินชุมชน ส่งเสริมค่ำนิยม 12 ประกำร . 2016. [Online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=n0KYsB3ex7U . [3 มกราคม 2562].

หน้า 56 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 57 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 58 I บทที่ 4 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)



บทที่ 5 4 กรณีศึกษำที่ตอบโจทย์งำนวิจัยและพัฒนำสือ่ เพื่อชุมชนและ กำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรื่องรำวจำกชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ ในบทที่ผ่านมาได้กล่าวถึงผลการดาเนินโครงการและงานวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อชุมชน และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จากชุมชนใต้สะพานโซน 1 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทางสังคมลาดับที่ 1 ในหนังสือเล่มนี้ มาถึงในบทที่ 5 นี้ จะกล่าวถึงห้องปฏิบัติการทางสังคมลาดับที่ 2 นั่นคือ ชุมชน หลังสวนธนบุรีรมย์ ซึ่งมีความน่าสนใจไม่แพ้ห้องปฏิบัติการแรก

5.1 ลักษณะและปัญหำชุมชนในพื้นที่หอ้ งปฏิบัตกิ ำรทำงสังคม : ชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ ลักษณะชุมชน : ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ข้างสวนธนบุรีรมย์ ชุมชนที่อยู่ติดรั้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ทางบริเวณด้านหลัง มีประชากรประมาณ 1,045 คน มีผู้สูงอายุประมาณ ร้อยละ 25 ของประชากร มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ มีกิจกรรมในชมรมทุกสุดสัปดาห์ ทั้งนี้ชุมชน ดังกล่าวมีความเข้มแข็ง สามารถรวมตัวกันทากิจกรรมบาเพ็ญประโยชน์ในชุมชนทุกเดือน ปัญหำของชุมชน : : ไม่มีถนนตัดผ่าน มีเพียงทางเดินคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) เท่านั้น ผู้สูงอายุใน ชุม ชนมีค วามเงี ย บเหงา โดยเฉพาะช่ ว งกลางวั น ที่ ลู ก หลานไปทางาน ทั้ ง ที่ห ลายท่ า นมีค วามรู้ ความสามารถระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นอย่างดี เช่น ภูมิปัญญาด้านกะลามะพร้าวไทย ภูมิปัญญา ด้านว่าวจุฬาไทย ภูมิปัญญาด้านสมุนไพร ได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นหลายรางวัลด้านจิตอาสาพัฒนา ชุมชน ตลอดจนมีประวิติชุมชนอันยาวนาน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับทราบ เนื่องจากขาดความรู้และ สื่อในการประชาสัมพันธ์ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งนี้ก่อนที่ผู้เขียนจะดาเนินโครงการในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ลาดับที่ 2 นี้ จะนาประเด็นปัญหาและร่วมกันคิดโครงการที่ใช้สื่อและกิจกรรมดาเนินงาน เพื่อแก้ไข ปัญหาในเวทีชาวบ้านของชุมชน ซึ่งในชุมชนนี้ใช้เวทีกิจกรรมสวดมนต์สุดสัปดาห์ โดยชมรมผู้สูงอายุ โดยคณะผู้ดาเนินโครงการจะเข้าไปร่วมรับฟังและชี้แจงก่อนดาเนินโครงการทุกโครงการ โดยจะ คานึงถึงศักยภาพ ความสามารถของผู้เรียนเป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณาจัดทาโครงการด้วย

หน้า 60 I บทที่ 5 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


5.2

โครงกำรที่ดำเนินเพื่อแก้ไขปัญหำ : 3 กรณีศึกษำพัฒนำแหล่งเรียนรู้ 3 แหล่งในชุมชนเพื่อให้ชุมชนและภูมิปัญญำท้องถิ่น มีสื่อนิทรรศกำรและสื่ออื่นๆเพื่อประชำสัมพันธ์

5.2.1 กรณีศึกษำโครงกำรสร้ำงแหล่งเรียนรู้ประจำชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ “เรื่องประวัติ 7 ทศวรรษชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์”(คุณลุงสมัคร ผจงกิจกำร-ประธำนชุมชน) 5.2.2 กรณีศึกษำโครงกำรสร้ำงแหล่งเรียนรู้ประจำชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ “เรื่องสมุนไพร ไทยพร้อมปลูก สวนสมุนไพรประจำชุมชน และป้ำยแนะนำสรรพคุณภำยใต้กำรแนะนำ ของภูมิปัญญำท้องถิ่นด้ำนสมุนไพรไทย (คุณลุงวิโรจน์ ค้ำจุล-ภูมิปัญญำท้องถิ่น) 5.2.3 กรณีศึกษำโครงกำรสร้ำงแหล่งเรียนรู้ประจำชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ “เรื่องภูมปิ ัญญำ กะลำมะพร้ำวไทย พร้อมสื่อประชำสัมพันธ์แนะนำปรำชญ์ชำวบ้ำนที่เป็นภูมิปัญญำ ท้องถิ่น(คุณปู่จำนง เครือภู่-ภูมิปัญญำท้องถิ่น)

หน้า 61 I บทที่ 5 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ขั้นตอนและเครื่องมือในการทางานร่วมกับชุมชน ตลอดภาคการศึกษาที่ 2/2557 (ม.ค.-พ.ค. 2558) 1) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในเวทีชาวบ้าน ใช้เวทีกิจกรรมสวดมนต์สุดสัปดาห์ โดย ชมรมผู้สูงอายุ และมีประธานชุมชนเป็นแกนนาร่วม ลาดับประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข ร่วมกัน คือ ปัญหาขาดความรู้ และสื่อในการประชาสัมพันธ์ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) พิจารณาศักยภาพ ความสามารถของนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการ พบว่า มีความรู้ ความสามารถด้านการสืบค้นข้อมูล การสัมภาษณ์ การออกแบบกราฟิก และการออกแบบ นิทรรศการ 3) เขียนโครงการนาเสนอเพื่อหาแหล่งทุนภายใน และภายนอกสถาบัน 4) ประสานความร่วมมือจากภายในมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานเอกชน 5) ออกแบบ และพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ก. สารวจ สัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญประจาชุมชน บันทึก ข. ออกแบบ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสื่อประชาสัมพันธ์ร่วมกับชุมชน 6) พิธีเปิดแหล่งเรียนรู้ประจาชุมชน 3 จุด เชิญผู้บริหารระดับกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัย สื่อมวลชนและชุมชน 7) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ก. ได้แหล่งเรียนรู้ และสื่อประชาสัมพันธ์ที่ร่วมออกแบบ และพัฒนาร่วมกับผู้ให้ ข้อมูลสาคัญในชุมชน ข. กิจกรรมพิธีเปิดได้มีสื่อมวลชนให้ความสนใจมาหลายสานัก ทาให้ชุมชนเป็นที่รู้จัก ในระดับท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น มีนักศึกษา มจธ.ไปทาโครงงานในชุมชนผ่านรายวิชา ศึกษาทั่วไป(General Education)เพิ่มมากขึ้น ค. ผู้สูงอายุในชุมชนได้พบปะคณะนักศึกษา คณะศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ระดับกทม. เพิ่มมากขึ้น ทาให้แก้ปัญหาเรื่องความเงียบเหงาลงไปได้ ง. นักศึกษาผู้ดาเนินโครงการได้รับรางวัลจิตอาสาดีเด่น จากเวทีประกันคุณภาพ การศึกษา

หน้า 62 I บทที่ 5 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลการศึกษาผ่านงานวิจัยของ Atiwat Patsarathorn and Kuntida Thamwipat (2016) งานวิจัยของณัฐ ชยา ชัยสัมพันธ์กุล และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์ (2559) แงละงานวิจัยของ กัญญาวัฒน์ สุขวราห์ และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์ (2559) พบว่า แหล่งเรียนรู้ 3 แหล่งในชุมชน จาก โครงการเหล่านี้นี้มีคุณภาพระดับดี และคนในชุมชนสามารถมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องราว สาคัญเกี่ยวกับชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ที่ตนอยู่อาศัยที่เพิ่มมากขึ้น และมีความพึงพอใจในโครงการ นี้ในระดับมาก – มากที่สุดด้วย

ภาพแสดงคลิปวีดิทัศน์โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์

หน้า 63 I บทที่ 5 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


5.2.4 กรณีศึกษำโครงกำรสร้ำงแหล่งเรียนรู้ประจำชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ “เรื่องภูมิปัญญำ ว่ำวจุฬำไทย พร้อมสื่อประชำสัมพันธ์แนะนำปรำชญ์ชำวบ้ำนที่เป็นภูมิปัญญำท้องถิ่น (คุณลุง เกษม แจ้งหิรัญ-ภูมิปัญญำท้องถิ่น) ขั้นตอนและเครื่องมือในการทางานร่วมกับชุมชน ตลอดภาคการศึกษาที่ 2/2558 (ม.ค.-พ.ค.2559) 1) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในเวทีชาวบ้าน ใช้เวทีกิจกรรมสวดมนต์สุดสัปดาห์ โดย ชมรมผู้สูงอายุ และมีประธานชุมชนเป็นแกนนาร่วม ลาดับประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข ร่วมกัน คือ ยังมีภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องว่าวจุฬาอีก 1 เรื่อง ที่ยังไม่ได้นามาออกแบบ และ พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ประจาชุมชน 2) พิจารณาศักยภาพความสามารถของนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการ พบว่า มีความรู้ ความสามารถด้านการสืบค้นข้อมูล การสัมภาษณ์ การออกแบบกราฟิก และการออกแบบ นิทรรศการ 3) เขียนโครงการนาเสนอเพื่อหาแหล่งทุนภายใน และภายนอกสถาบัน 4) ประสานความร่วมมือจากภายในมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานเอกชน 5) ออกแบบ และพัฒนาสื่อและกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ก. สารวจ สัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญประจาชุมชน บันทึก ข. ออกแบบ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสื่อประชาสัมพันธ์ร่วมกับชุมชน 6) พิธีเปิดแหล่งเรียนรู้ประจาชุมชน เชิญผู้บริหารระดับกทม. มหาวิทยาลัย สื่อมวลชนและ ชุมชน 7) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ก. ได้แหล่งเรียนรู้ และสื่อประชาสัมพันธ์ที่ร่วมออกแบบ และพัฒนากับผู้ให้ข้อมูล สาคัญในชุมชน ข. กิจกรรมพิธีเปิดได้มีสื่อมวลชนให้ความสนใจมาหลายสานัก ทาให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านว่าวจุฬาและชุมชนเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ค. ภูมปิ ัญญาท้องถิ่นด้านว่าวจุฬามีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีงานวิทยากรหลายเวที ง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายท่านในชุมชนนี้ได้รับเกียรติจากสานักงานเขตทุ่งครุ รับเชิญ ให้ไปออกร้านและบรรยายเชิงสาธิตในงานทุ่งครุเกษตรแฟร์

หน้า 64 I บทที่ 5 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลการศึ ก ษาผ่ า นงานวิ จั ย ของ Kansombat Mateeboonviriyakul , Pornpapatsorn Princhankol, and Kuntida Thamwipat (2016) พบว่า แหล่งเรียนรู้เรื่อง ภูมิปัญญาว่าวจุฬาไทยจากโครงการนี้มีคุณภาพระดับดี และคนในชุมชนสามารถมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาว่าวจุฬาเพิ่มมากขึ้น และมีความพึงพอใจในโครงการนี้ในระดับมาก นอกจากนี้ ยังพบว่านักศึกษาผู้ดาเนินโครงการมีความพึงพอใจในระดับมาก จากการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เนื่องจากสามารถนาวิชาความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาสื่อมาใช้ให้เกิด ประโยชน์แก่ชุมชนได้ในเชิงประจักษ์

ภาพแสดงคลิปวีดิทัศน์โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาว่าวจุฬาไทย

หน้า 65 I บทที่ 5 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


รำยกำรอ้ำงอิง Atiwat Patsarathorn and Kuntida Thamwipat. 2016. “ The Development of Historical Learning Resources in the Community in the Topic of 7 Decades Lung Suan Thonburirom Community ”. The 5 th International Conference on Learning Innovation in Science and Technology (ICLIST 2016) . January 27-29 , 2016, Pattaya . ณัฐชยา ชัยสัมพันธ์กุล และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์ . 2559. “ กำรพัฒนำแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริม ควำมรู้ ด้ ำ นสุขภำพสำหรั บผู้สูงอำยุใ นชุมชนหลังสวนธนบุรีร มย์ เรื่ อง สวนสมุน ไพร ” .การ ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . เมือง พัทยา จ.ชลบุรี วันที่ 27-29 มกราคม 2559 .

กัญญาวัฒน์ สุขวราห์ และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์ . 2559. “ กำรพัฒนำแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภูมิ ปัญญำท้องถิ่นชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ เรื่อง ผลงำนจำกกะลำมะพร้ำว ”.การประชุมวิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 1 ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . เมืองพัทยา จ.ชลบุรี วันที่ 27-29 มกราคม 2559 . Kansombat Mateeboonviriyakul , Pornpapatsorn Princhankol, and Kuntida Thamwipat . 2016 . “ The Development of Learning Resources “Chula Kite Local Wisdom” of Suan Thonburirom Community through Social Service Learning Approach by Students from Faculty of Industrial Education and Technology,KMUTT. ”. The 42 nd Congress on Science and Technology (STT42). Centara Grand at Central Ladprao Bangkok ,Thailand . November 30-December 2 , 2016. โครงกำรพัฒ นำแหล่ งเรี ยนรู้ ใ นชุ มชนหลั งสวนธนบุรี ร มย์ . 2015. [Online],Available: .https://www.youtube.com/watch?v=uH4pSXtxywo . [3 มกราคม 2562]. โครงกำรพัฒนำแหล่งเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญำว่ำวจุฬำไทย . 2015. [Online],Available: https://www.youtube.com/watch?v=8YqDI76p43w. [3 มกราคม 2562]. หน้า 66 I บทที่ 5 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 67 I บทที่ 5 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 68 I บทที่ 5 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)



บทที่ 6 1 กรณีศึกษำที่ตอบโจทย์งำนวิจัยและพัฒนำสือ่ เพื่อชุมชนและ กำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรื่องรำวจำกชุมชนหมู่ 3 บำงมด จากบทที่ 4 และบทที่ 5 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แนะนาห้องปฏิบัติการทางสังคมไปแล้ว 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนใต้สะพานโซน 1 และชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ สาหรับในบทนี้จะกล่าวถึง ห้องปฏิบัติการทางสังคมลาดับที่ 3 คือ ชุมชนหมู่ 3 บางมด ซึ่งมีรายละเอียดที่มีความหลากหลาย และน่าติดตามมาก

6.1 ลักษณะและปัญหำชุมชนในพื้นที่หอ้ งปฏิบัตกิ ำรทำงสังคม : ชุมชนหมู่ 3 บำงมด ลักษณะชุมชน : ชุมชนอยู่ใกล้วัดพุทธบูชาและยังมีสภาพความเป็นเรือกสวน มีการสัญจรทางน้า ผ่านวัด มัสยิดและศาลเจ้า แม้ว่าความเจริญทั้งถนน และหมู่บ้านจัดสรรได้รุกเข้าไปในพื้นที่มากแล้วก็ ตาม แต่ก็ยังมีพื้นที่ทาการเกษตร เช่น สวนมะพร้าวน้าหอม สวนมะนาว และสวนส้มบางมดแหล่ง สุดท้าย ผนวกกับเมื่อประมาณปี พ.ศ.2560 ได้มีภาคเอกชนได้เชิญชวนชาวบ้าน เกษตรกรในชุมชน มาขายสินค้าในตลาดคลองบางมด จึงทาให้ย่านดังกล่าว มีความเป็นวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไทยแบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น ปัญหำของชุมชน : : ขาดการสื่อสารประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทาให้ยังไม่เป็นที่รู้จัก แพร่หลายในวงกว้างเนื่องจากยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ทั้งที่ในพื้นที่มีเส้นทางการปั่นจักรยานระยะทาง 3 กม.ที่มีวิวสวยที่สุดในกทม. สวนเกษตรต้นแบบ และตลาดชุมชน มีการตั้งกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยว เชิงเกษตร แต่ขาดความรู้และการสนับสนุนด้านสื่อประชาสัมพันธ์จากภาครัฐและภาคเอกชน

หน้า 70 I บทที่ 6 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


6.2

โครงกำรที่ดำเนินเพื่อแก้ไขปัญหำ

6.2.1 กรณีศึกษำโครงกำรบำงมดรวมใจ (น้อมนำศำสตร์พระรำชำ) ส่งเสริมวิสำหกิจท่องเที่ยว เชิงเกษตรไทย “ปั่น ชม ช้อป ชิม” ขั้นตอนและเครื่องมือในการทางานร่วมกับชุมชน ตลอดภาคการศึกษาที่ 2/2559 (ม.ค.-พ.ค. 2560) 1) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในเวทีชาวบ้าน ใช้เวทีกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยมีประธานชุมชน ประธานกลุ่มฯ เป็นแกนนาร่วม เนื่องจากชุมชนนี้มีพื้นที่บริเวณ กว้างขวาง จึงต้องใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลชุมชน 2 อย่างได้แก่ แผนที่และปฏิทินการผลิต ลาดับประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกัน คือ ขาดการสื่อสารประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว เชิงเกษตร ทั้งที่ในชุมชนมีของดีต่างๆ มากมาย โดยชูประเด็นเรื่องการปั่นจักรยานผ่านพื้นที่ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชาวบ้านเป็นประเด็นหลัก 2) พิจารณาศักยภาพ ความสามารถของนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการ พบว่า มีความรู้ ความสามารถด้านการผลิตสื่อออนไลน์ การฝึกอบรม การจัดกิจกรรมพิเศษ การออกแบบ กราฟิก และการออกแบบนิทรรศการ 3) เขียนโครงการนาเสนอเพื่อหาแหล่งทุนภายใน และภายนอกสถาบัน 4) ประสานความร่วมมือจากภายในมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานเอกชน 5) ออกแบบและพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ก. สารวจ สัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญประจาชุมชน บันทึก ข. ออกแบบและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับชุมชน ค. อบรมนักเรียนโรงเรียนวัดพุทธบูชาเพื่อเป็นยุวมัคคุเทศก์ประจาชุมชน กลุ่ม วิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร ง. จัดกิจกรรมปั่น ชม ช้อป ชิม เดือนละ 1 ครั้ง รวม 3 เดือน เพื่อให้นักปั่นจักรยาน ในพื้นที่ได้รู้จัก 6) พิธีเปิดแหล่งเรียนรู้ประจาชุมชน ในการปั่นครั้งที่ 2 ได้เชิญผู้บริหารระดับกทม. มหาวิทยาลัย สื่อมวลชนและชุมชน รวมทั้งนิมนต์ผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นประธานในพิธีเปิด ณ ทีท่ าการกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ ในบริเวณท่าน้า วัดพุทธบูชา

หน้า 71 I บทที่ 6 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


7)

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ก. ได้แหล่งเรียนรู้ และสื่อประชาสัมพันธ์ที่ร่วมออกแบบและพัฒนากับผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ในชุมชน ข. มียุวมัคคุเทศก์ ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน และวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร จานวน 20 คน ค. กิจกรรมพิธีเปิดได้มีสื่อมวลชนให้ความสนใจมาหลายสานัก ทาให้กลุ่มวิสาหกิจ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเส้นทางจักรยานของชุมชนเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ง. กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น จากการที่ตัวแทน ชุมชนได้รับเชิญไปออกรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งผ่าน การประสานงานจากโครงการนี้ จ. โครงการนี้ได้จุดประกายการท่องเที่ยวเชิงเกษตรร่วมกับกลุ่ม NGO ในนาม 3 C โปรเจคจัดเทศกาลท่องเที่ยวเชิงเกษตร ช่วงงานเทศกาลประจาปีของวัดพุทธบูชามา เป็นระยะเวลา 2 ปี ฉ. นักศึกษาผู้ดาเนินโครงการได้รับรางวัลชมเชยระดับประเทศ เวทีประกวดนวัตกรรม ประชาธิปไตย

ผลการศึกษาผ่านงานวิจัยของ ปภัสสร ดวงฤทธิ์, พรปภัสสร ปริญชาญกล และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์ (2561) งานวิจัยของกนกทรัพย์ หลงประดิษฐ์ , กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และพรปภัสสร ปริญชาญกล (2561) และงานวิจัยของ Kuntida Thamwipat, Pornpapatsorn Princhankol, Sakesun Yampinij & Sopon Meejaleurn (2018) พบว่า คนในชุมชนมีความต้องการแหล่ง เรียนรู้เรื่องกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร และชุดนิทรรศการเรื่องต้นแบบสวนส้มบางมด

และเมื่อโครงการนี้ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้น พบว่ามีผลประเมินคุณภาพระดับดี และ คนในชุมชนมีการรับรู้เพิ่มมากขึ้น ยุวมัคคุเทศก์ได้รับการอบรมทาให้มีความรู้เกี่ยวกับชุมชนเพิ่มมาก ขึ้น และมีความพึงพอใจในโครงการนี้ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์เพิ่มเติมยังพบว่า ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นอัตลักษณ์ชุมชนและสวนส้มบางมดเป็นอย่างมาก

หน้า 72 I บทที่ 6 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ภาพแสดงคลิปวีดิทัศน์โครงการบางมดรวมใจ (น้อมนาศาสตร์พระราชา)ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทย ปั่น ชม ช้อป ชิม หลังจากได้พบกับ 1 กรณีศึกษาจากห้องปฏิบัติการทางสังคมที่ชุมชนหมู่ 3 บางมดแล้ว ใน บทต่อไปผู้เขียนจะกล่าวถึง 1 กรณีศึกษาที่ตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อชุมชนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ในห้องปฏิบัติการทางสังคมลาดับที่ 4 ซึ่งเป็นลาดับสุดท้ายในหนังสือเล่มนี้ ที่ชุมชน คลองเตย

หน้า 73 I บทที่ 6 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


รำยกำรอ้ำงอิง กล้ าใหม่ . ..ใฝ่ รู้ ปี ที่ 11. 2560 . “ถอดบทเรี ยน 20 ทีมเยำวชน สร้ ำ งสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคม โครงงำนกล้ำใหม่ สร้ำงสรรค์ชุมชน”. ธนาคารไทยพาณิชย์จากัด มหาชน .พฤษภาคม 2560 .

ปภัสสร ดวงฤทธิ์ พรปภัสสร ปริญชาญกล และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์ . 2561. “ กำรพัฒนำชุด นิทรรศกำรโดยใช้สื่อประสมเรื่องต้นแบบสวนส้มบำงมดเพื่อกำรสื่อสำรประชำสัมพันธ์ร่วมกับ กำรฝึ ก อบรมแบบสำธิ ต เชิ ง ปฎิ บั ติ ก ลุ่ ม มั ค คุ เ ทศก์ น้ อ ย โรงเรี ย นวั ด พุ ท ธบู ช ำ เขตทุ่ ง ครุ กรุ ง เทพมหำนคร”. การประชุ ม วิ ช าการระดั บ ชาติ ค รั้ ง ที่ 2 ด้ า นนวั ต กรรมการเรี ย นรู้ ท าง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . โรงแรมโนโวเทล หัวหิน ชะอา . 21-24 มีนาคม 2561 . กนกทรัพย์ หลงประดิษฐ์ กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และพรปภัสสร ปริญชาญกล . 2561. “กำรพัฒนำ แหล่งเรียนรู้ในชุมชนหมู่ 3 บำงมดเรื่อง กำรส่งเสริมวิสำหกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรผ่ำนกำรเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐำนของนักศึกษำระดับปริญญำบัณฑิต มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ำ ธนบุรี”. 2561. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี . โรงแรมโนโวเทล หัวหิน ชะอา . 21-24 มีนาคม 2561 . Kuntida Thamwipat, Pornpapatsorn Princhankol, Sakesun Yampinij & Sopon Meejaleurn . 2018.“The Development of Media Activities by Undergraduate Students in Order to Promote Agricultural Tourism Community Enterprise According to the Principles of Social Service Learning and Community-Based Leaning” . International Education Studies . Vol.11.No.5.2018 . โครงกำรบำงมดรวมใจ (น้อมนำศำสตร์พระรำชำ)ส่งเสริมวิสำหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทย ปั่น ชม ช้อป ชิม . 2017. [Online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=KGFN ZET7KHs. [3 มกราคม 2562].

หน้า 74 I บทที่ 6 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 75 I บทที่ 6 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 76 I บทที่ 6 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)



บทที่ 7 1 กรณีศึกษำที่ตอบโจทย์งำนวิจัยและพัฒนำสือ่ เพื่อชุมชนและ กำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรื่องรำวจำกชุมชนคลองเตย ในบทที่ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงกรณีศึกษาในห้องปฏิบัติการทางสังคมไปแล้วใน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนใต้สะพานโซน 1 ชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ และชุมชนหมู่ 3 บางมด สาหรับในบทที่ 7 นี้ จะกล่าวถึงกรณีศึกษาที่ตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อชุมชนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในชุมชนคลองเตย ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างมาก

7.1 ลักษณะและปัญหำชุมชนในพื้นที่หอ้ งปฏิบัตกิ ำรทำงสังคม : ชุมชนคลองเตย ลักษณะชุมชน : ชุมชนอยู่ในใจกลางเมืองหลวง แต่มีปัญหาความยากจนและยาเสพติด บางคน เรียกชุมชนนี้ว่า สลัมคลองเตย สาหรับโรงเรียนเป้าหมาย คือโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจคลองเตย เป็น โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีจุดแข็ง คือ มีคุณครูนาฏศิลป์รางวัลคุณากร ซึ่งเป็นรางวัลระดับประเทศ โดยคุณครูได้ตั้งชมรมนาฏศิลป์เพื่อสอนนักเรียน สืบทอดศิลปวัฒนธรรม ไทย และช่วยกล่อมเกลาจิตใจ วินัย รวมทั้งสอนเรื่องการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วย ปัญหำของชุมชน : : ขาดการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผลงานชมรมนาฏศิลป์ โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ คลองเตย และผลงานของคุณครูนาฏศิลป์รางวัลคุณากร ซึ่งคุณครูต้องการให้นักเรียนมีรายได้เสริม จากความสามารถด้านฟ้อนราของนักเรียนในชมรม ทั้งนี้เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองซึ่งส่วนใหญ่ เป็นคนหาเช้ากินค่า

หน้า 78 I บทที่ 7 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


7.2

โครงกำรที่ดำเนินเพื่อแก้ไขปัญหำ

7.2.1 กรณีศึกษำโครงกำรบำงมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นำวิสำหกิจชุมชน ความพิเศษของโครงการนี้ คือ การนาสื่อเทคโนโลยียุค 4.0 มาออกแบบ และพัฒนาเพื่อ สื่อสารประชาสัมพันธ์สินค้า 12 ชนิด จาก 4 ชุมชน ภายใต้ปฏิทิน 12 เดือน ซึ่งนาเสนอสินค้าเด่น 12 ชนิดดังต่อไปนี้ • ชุมชนใต้สะพานโซน 1 มีสินค้าเด่น 3 ชนิด ได้แก่ ของเก่า สมุดทามือ กลองยาวเถิดเทิง • ชุมขนหลังสวนธนบุรีรมย์ มีสินค้าเด่น 2 ชนิด ได้แก่ ว่าวจุฬา ผลิตภัณฑ์จากกะลา • ชุมชนหมู่ 3 บางมด มีสินค้าเด่น 6 ชนิด ได้แก่ สวนส้มบางมด สวนมะเฟือง มะเดื่อฝรั่ง ผัดไทย ปล่อยปลา และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (แชมพู น้ายาล้างจาน สบู่จากสมุนไพร) • ชุมชนคลองเตย มีสินค้าเด่น 1 ชนิด ได้แก่ การแสดงจากชมรมนาฏศิลป์ ขั้นตอนและเครื่องมือในการทางานร่วมกับชุมชน ตลอดภาคการศึกษาที่ 2/2560 (ม.ค.-พ.ค. 2561) 1) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในเวทีชาวบ้าน 4 ชุมชน ใช้เวทีชาวบ้านมีประธานชุมชน ประธานกลุ่มฯ เป็นแกนนาร่วม เนื่องจากโครงการบางมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นาวิสาหกิจ ชุมชน มีความพิเศษ คือ ทาใน 4 ชุมชน จึงต้องใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลชุมชนหลัก คือ แผนที่ และปฏิทินการผลิต ลาดับประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกัน คือ ขาดการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์สินค้าที่เป็นของดีประจาชุมชน และต้องการให้สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการดาเนินงานด้วย 2) พิจารณาศักยภาพความสามารถของนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการ พบว่า มีความรู้ ความสามารถด้านการผลิตสื่อออนไลน์ การจัดกิจกรรมพิเศษ การออกแบบกราฟิก มีเครือข่ายโรงพิมพ์ 3) เขียนโครงการนาเสนอเพื่อหาแหล่งทุนภายใน และภายนอกสถาบัน 4) ประสานความร่วมมือจากภายในมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานเอกชน

หน้า 79 I บทที่ 7 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


5)

6)

7)

ออกแบบและพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ก. สารวจ สัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญประจาชุมชน บันทึก ข. ออกแบบ และพัฒนาสื่อปฎิทินที่มี QR Code สื่อออนไลน์อื่น ๆ เช่นแฟนเพจเฟซบุ๊ก ของชุมชน สื่ออื่นๆ ที่ชุมชนต้องการ สื่อมิวสิควิดีโอ (MV) ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับชุมชน ค. จัดกิจกรรมเปิดตัวปฏิทิน และสื่อมิวสิควิดีโอ (MV) ง. ดาเนินการขายปฎิทิน จ. ลงพื้นที่สอนชุมชนให้ใช้สื่อเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าของวิสาหกิจชุมชน โดยสอดแทรกค่านิยม 12 ประการในการสอนด้วย พิธีปิดโครงการเสวนาร่วมกับตัวแทนชุมชน มอบรายได้จากการขายปฏิทินแก่ 4 ชุมชนเพื่อ เป็นทุนสาหรับดาเนินงานส่งเสริมการขายสินค้าของวิสาหกิจชุมชนต่อไป และส่งมอบ สื่อประชาสัมพันธ์สินค้า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสื่อ และกิจกรรมเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ก. ได้สื่อประชาสัมพันธ์ที่ร่วมออกแบบ และพัฒนากับผู้ให้ข้อมูลสาคัญในชุมชน ข. สามารถสอดแทรกการสอนเรื่องคุณธรรม ค่านิยม 12 ประการแก่ชุมชน ผ่านสื่อ มิวสิควิดีโอ (MV)ได้ ค. กิจกรรมเปิดตัวปฏิทิน และสื่อมิวสิควิดีโอ (MV) ผ่านแฟนเพจของโครงการ มี สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจเป็นจานวนมาก เนื่องจากทางผู้ดาเนิน โครงการใช้กลยุทธ์การสื่อสารสมัยใหม่เน้นสื่อออนไลน์ ที่ราคาประหยัด และคนทั่วไป สัมผัสได้ง่าย ง. ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น จ. นักศึกษาผู้ดาเนินโครงการได้รับการคัดเลือกให้เข้ารอบสุดท้าย เวทีประกวดนวัตกรรม ประชาธิปไตย

หน้า 80 I บทที่ 7 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลการศึกษาผ่านงานวิจัยโดย Kuntida Thamwipat , Pornpapatsorn Princhankol and Naphat Deeyen (2019) พบว่า คนในชุมชนมีความต้องการให้ร่วมกันสื่อสาร ประชาสัมพันธ์สินค้าจานวน 12 ชนิด โดยใช้สื่อประสมและกิจกรรมที่ร่วมกันออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยสื่อและกิจกรรมดังกล่าวมีคุณภาพในระดับดี คนในชุมชนมีความพึงพอใจต่อสื่อและกิจกรรมใน ระดับมากที่สุด ทั้งนี้พบว่านักศึกษาผู้ดาเนินโครงการมีผลการประเมินตนเองในระดับดีมาก และมี ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานระดับมากที่สุด

ภาพแสดงคลิปวีดิทัศน์โครงการบางมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นาวิสาหกิจชุมชน หน้า 81 I บทที่ 7 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ภาพแสดงคลิปวีดิทัศน์โครงการบางมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นาวิสาหกิจชุมชน 2561 การจัดเสวนาผลตอบรับจากชุมชนต่อโครงการบางมด 4.0 หลังจากได้พบกับกรณีศึกษาจากห้องปฏิบัติการทางสังคมทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ชุมชนใต้ สะพานโซน 1 ชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ ชุมชนหมู่ 3 บางมดและชุมชนคลองเตยแล้ว ในบทต่อไป จะเป็น รายละเอีย ดเกี่ย วกับการทบทวนภายหลั งปฏิบัติงานและเสียงสะท้อนจากผู้ มีส่ วนร่ว มใน ห้องปฏิบัติการทางสังคมซึ่งมีความสาคัญเป็นอย่างมาก

หน้า 82 I บทที่ 7 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


รำยกำรอ้ำงอิง โครงการบางมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นาวิสาหกิจชุมชน. 2561. “ กำรจัดเสวนำผลตอบรับจำก ชุมชนต่อโครงกำรบำงมด 4.0 ”. [Online], Available: https://www.facebook.com/ Bangmod4.0/. [8 พฤษภาคม 2561]. Kuntida Thamwipat , Pornpapatsorn Princhankol and Naphat Deeyen . 2019. “The Development of Multimedia and Activities to Promote Products Made by State Enterprise Communities in the Bangmod Project 4.0 through Community-Based Learning”. Journal of Research in Education Sciences. Vol.12 .No.4 .2019 . โครงกำรบำงมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นำวิสำหกิจชุมชน . 2018 . [Online],Available: https://www.youtube.com/watch?v=8PGCn-GMZ8Y. [3 มกราคม 2562].

หน้า 83 I บทที่ 7 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 84 I บทที่ 7 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 85 I บทที่ 7 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)



บทที่ 8 กำรทบทวนภำยหลังปฏิบัตงิ ำนและ เสียงสะท้อนจำกผู้มีส่วนร่วมในกำรปฏิบัตกิ ำรทำงสังคม หลังจากได้พบกับรายละเอียดของห้องปฏิบัติการทางสังคมทั้ง 4 แห่งใน 4 ชุมชนที่ กล่าวไปแล้วในบทที่ 4 - บทที่ 7 แล้ว ในบทนี้จะกล่าวถึงอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสาคัญอย่างมากใน การดาเนินโครงการเพื่อการพัฒนาชุมชน นั่นคือ การทบทวนภายหลังปฏิบัติงานและการฟังเสียง สะท้อนจากผู้มีส่วนร่วมต่าง ๆ ในหลายภาคส่วน

8.2

ควำมหมำย คุณลักษณะและกำรใช้

การทบทวนหลังการทางานหรือหลังปฏิบัติหรือหลังกิจกรรม (After Action Review หรือ AAR) เป็นการทบทวนหรือเป็นกระบวนการเพื่อวิเคราะห์ว่าเกิดเหตุอะไร สาเหตุของการเกิด และจะสามารถดาเนินการให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร โดยเอาบทเรียนจากความสาเร็จ และความล้มเหลว ของการทางานที่ผ่านมา เพื่อนามาซึ่งการพัฒนาหรือการปรับปรุงการทางาน การทา AAR เป็น รูปแบบของกลุ่มทางานที่สะท้อน ความมีส่วนร่วมในการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น อะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สาเหตุของการเกิด และสิ่งที่ได้เรียนรู้คืออะไร (NSTDA , 2014) การทา AAR เริ่มใช้เป็นครั้งแรกโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา เพื่อสะท้อนถึงการทางาน โดยการจาแนกถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งที่ต้องปรับปรุง กำรทำ AAR มักจะใช้ 4 คำถำม คือ สิ่งที่คาดว่าจะได้จากการทางาน คืออะไร สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร สิ่งที่แตกต่างและทาไมจึงแตกต่าง สิ่งที่ต้องแก้ไข คืออะไร และจะปรับปรุงได้อย่างไร

หน้า 87 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


คุณลักษณะของ AAR 1. เปิดใจและซื่อสัตย์ในการพูดคุย 2. ทุกคนในทีมมีส่วนร่วม 3. เน้นผลลัพธ์ของกิจกรรมของงาน 4. การอธิบายวิธีเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องถึงสิ่งที่ต้องทา 5. การพัฒนาของการแสดงออกทางความคิดเห็นเพื่อให้ผ่านพ้นอุปสรรค ใครควรจะใช้ AAR เครื่องมือนี้มีความเหมาะสมกับทุกทีมที่ต้องการเรียนรู้จากการทางาน แต่ละโครงงาน ควรใส่ใจและเข้าร่วมในกิจกรรม AAR และทุกเสียงในทีมมีความหมายและความสาคัญ เมื่อใดที่ควรใช้ AAR เป็นเครื่องมือ เครื่องมือนี้สามารถแนะนาทีมงานในการชี้นา AAR อย่างสั้นๆ หลังจากโครงการหรือ โครงงานเสร็จสิ้นแล้ว หรืออาจจะใช้ระหว่างการดาเนินการก็ได้ เพื่อให้ทีมงานได้รับประโยชน์ ควรใช้เวลำใดและต้องใช้ทรัพยำกรใดบ้ำง AAR อย่างเป็นทางการจะชี้แนะด้วย "คุณอานวย" หรือ ถ้าเป็น AAR ที่ไม่เป็น ทางการสามารถนาโดยสมาชิกในทีมงานของโครงการ การทบทวนอย่างเป็นทางการอาจใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง แต่ถ้าไม่เป็นทางการอาจจะใช้เวลาเท่าที่ทีมงานจัดสรรได้ การสนทนาอาจสั้น ประมาณ 15 นาที อาจจะชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของงานและกลยุทธ์ที่จะทาให้ประสบผลสาเร็จ

หน้า 88 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


8.2

ขั้นตอนกำรทำ AAR

การทบทวนภายหลังปฏิบัติงานมี 7 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

8.2.1 ควรทำ AAR ทันที หลังจำกจบงำนนั้นๆ หรือเร็วที่สุดที่จัดหำเวลำได้ เพรำะยังจำได้ดี กำรเรียนรู้จะได้ถูกนำมำปรับใช้ได้อย่ำงเหมำะสม 8.2.2 สร้ำงบรรยำกำศที่เป็นกันเองในกำรทำ AAR ต้องมีกำรเปิดใจและยอมรับที่จะเรียนรู้ ทุก คนควรมีส่วนร่วมในบรรยำกำศที่อิสระ ไม่มีควำมเป็นเจ้ำนำย หรือลูกน้อง AAR เป็น กำรเรียนรู้จำกเหตุกำรณ์มำกกว่ำกำรวิจำรณ์ 8.2.3 มี "คุณอำนวย" เป็นผู้คอยกระตุ้น ตั้งคำถำมให้ทุกคนได้แสดงควำมคิดเห็น ข้อเสนอแนะ 8.2.4 ถำมตัวเองว่ำ สิ่งที่ควรจะได้รับคืออะไร 8.2.5 ถำมตัวเองว่ำสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร หมำยถึง ทีมงำนต้องเข้ำใจและเห็นด้วยควำมจริงที่ เกิดขึ้น พึงระลึกไว้ว่ำ จุดประสงค์ ก็คือ กำรแยกแยะปัญหำไม่ใช่กำรกล่ำวหำ หรือ กล่ำวโทษ 8.2.6 เปรียบเทียบควำมแตกต่ำงระหว่ำงแผนงำนกับควำมจริง กำรเรียนรู้ควำมจริงเริ่มต้นด้วย ทีมเปรียบเทียบแผนงำนกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และตัดสินว่ำ ทำไมจึงเกิดควำมแตกต่ำง และได้เรียนรู้อะไร จำแนกให้เห็นและอภิปรำยถึงควำมสำเร็จ และสิ่งที่ขำดหำยไป ใส่ใน แผนงำนเพื่อดำเนินกำรให้ถึงควำมสำเร็จและพัฒนำปรับปรุงในสิ่งที่ขำดหำยไป 8.2.7 บันทึกประเด็นสำคัญ กำรบันทึกประเด็นสำคัญหลังจำกที่ได้มีกำรชี้ให้เห็นอย่ำงชัดเจนใน กำรทำ AAR แล้ว ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับสิ่งที่คำดว่ำจะเกิดขึ้น เป็นกำร แลกเปลี่ยนกำรเรียนรู้ผ่ำนประสบกำรณ์ภำยในทีมงำนด้วยกัน และเพื่อเป็นพื้นฐำน สำหรับกำรเรียนรู้ที่กว้ำงขวำงมำกขึ้นกว่ำเดิมในองค์กร

หน้า 89 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


8.3

เสียงสะท้อนจำกผู้มีส่วนร่วมในห้องปฏิบัตกิ ำรทำงสังคม

ในการดาเนินโครงการที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาหลายปี ได้มีเสียงสะท้อนจากกลุ่มผู้นา ชุมชนและนักศึกษาผู้ดาเนินโครงการในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) เสียงต่าง ๆ เหล่านี้ได้สะท้อนแง่มุมที่หลากหลายภายหลังการทางานในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ดังต่อไปนี้ 8.3. เสียงสะท้อนจำกชุมชน นำยเฉลิมศักดิ์ ลีวังษี ประธำนชุมชนใต้สะพำนโซน 1

“ การมีกิจกรรมโครงการเหล่านี้เข้าไป ทาให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่ม มีกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมไม่ว่าจะเป็นของเก่า สร้างอาชีพใหม่ สมุดทามือ กลองยาวเถิดเทิง พอทางอาจารย์กุลธิดามา พี่ๆนักศึกษา มจธ.มา เด็กๆ ในชุมชนของผมก็เกิดความกระตือรือร้น มีภาพพจน์ที่ดีสาหรับเด็กให้ เด็กได้เห็น ได้ยึดเป็นแบบอย่าง ผมเห็นด้วยกับโครงการต่างๆที่ทา และขอให้มี โปรเจกต์งานใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกปี ”

หน้า 90 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นำยสมัคร ผจงกิจกำร ประธำนชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์

“ ผลตอบรับจากการที่นักศึกษา อาจารย์ได้เข้าไปทากิจกรรมดีๆ ในชุมชนก็เป็นที่ถูกใจ ชาวบ้าน เพราะเป็นสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ สิ่งที่ทางนักศึกษา อาจารย์ทาไว้ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในชุมชนก็ยังอยู่ เรารักษาอย่างดี และสิ่งที่พวกท่านทั้งหลายได้ทาก็ประจักษ์ กระจายออกไปทั้ง ชุ ม ชนเราและชุ ม ชนรอบข้ า งด้ ว ย นั บ เป็ น สิ่ ง ที่ เ ราภาคภู มิ ใ จที่ ท างมหาวิ ท ยาลั ย ได้ เ ล็ ง เห็ น ถึ ง ความสาคัญของชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ ”

หน้า 91 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


คุณครูณัชตำ ธรรมธนำคม คุณครูที่ปรึกษำชมรมนำฏศิลปะ โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจคลองเตย ชุมชนคลองเตย

“ ผลตอบรับจากโครงการ ก็คือ เราตื่นเต้นมาก เพราะสมัยนี้จะหาใครมาทาอะไรให้ เราฟรีๆ มันเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างต้องจ่ายหมด แต่นี้ทาง มจธ.ทางอาจารย์ ทางนักศึกษามาทาให้เรา ฟรีๆ มันมาจากใจนะ พวกเรารับรู้ได้ สิ่งที่ท่านอาจารย์ฝึกนักศึกษา ณ ปัจจุบันนี้ มันหาค่าไม่ได้ เรา ขอขอบคุณทุกท่านด้วยใจ ”

หน้า 92 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


8.3.2 เสียงสะท้อนจำกสื่อมวลชน น.ส.เกียรติยำ ธรรมวิภัชน์ ตำแหน่งงำนปัจจุบัน : ผู้สื่อข่าวอาวุโส กองบรรณาธิการข่าวราชสานัก สานักข่าวไทย บมจ. อสมท รางวัลพระราชทานเทพทอง ประจาปี พ.ศ. 2546

“ ในฐานะสื่อมวลชนเห็นว่าสังคมไทยปัจจุบันมักอยู่อาศัยกันแบบครอบครัวเดี่ยว และ มักมีลูกเพียง 1 คน พ่อแม่ต้องทางานทั้งคู่ ไม่มีเวลาเลี้ยงดูอบรมลูก และด้วยปัญหาเศรษฐกิจ ฝื ดเคือง ท าให้ เด็กๆในหลายครอบครั ว ไม่ รู้ จั กการแบ่ งปัน เอื้อ เฟื้อ การจั ดทาโครงการในพื้น ที่ ห้องปฏิบัติการทางสังคมหรือ Social Lab จึงเป็นโครงการที่ดีมากๆ สามารถตอบโจทย์ให้เด็กๆ เหล่านี้ รู้จักการแบ่งปัน เอื้ออาทร รู้จักการให้และการรับ และได้ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางที่ สร้างสรรค์ อีกทั้งยังช่วยการอนุรักษ์อาชีพดั้งเดิมของไทย อาหารไทย วัฒนธรรมไทย ฯลฯ ไม่ให้สูญ หายไป ฟันเฟืองเล็กๆ เหล่านี้ จะมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศชาติของเราต่อไปในอนาคต”

หน้า 93 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นำยวิภำคย์ พูนพันธุ์ ตำแหน่งงำนปัจจุบัน : ผู้สื่อข่าว สังกัด กองบรรณาธิการมติชน บริษัท มติชน จากัด มหาชน

“ สิ่งที่ได้เห็นในฐานะของสื่อมวลชนต่อการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม โดยใช้ชุมชน เป็นฐาน คือ ได้เห็นอาจารย์เป็นผู้นา พานักศึกษาไปทาโครงการที่ดี โดยได้รับความร่วมมือกันของ หลายๆฝ่ายในการลงพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) โครงการต่างๆเหล่านี้ช่วยในการ พัฒ นาและช่วยเหลื อชุมชน โดยร่ว มกันแก้ไขปัญหาที่มีในชุมชนให้ทุเลาเบาบางลง รวมถึงการ นาเสนอจุดเด่นของชุมชน อาทิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อต่อยอดในการสร้างรายได้ให้เข้ามาถึงชุมชน และคิดเห็นว่าเป็นการบริการวิชาการด้านการออกแบบและพัฒนาสื่อเพื่อชุมชนอย่างต่อเนื่องโดย เสมอมา ”

หน้า 94 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


8.3.3 เสียงสะท้อนจำกนักศึกษำ นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดอำชีพซำเล้ง นำยธนำคำร คุ้มภัย นักศึกษำรำงวัลพระรำชทำน ปี พ.ศ. 2556 ต ำแหน่ ง งำนปั จ จุ บั น -สั ง กั ด : ครู วิ ท ยาลั ย การอาชี พ กาญจนาภิ เ ษกหนองจอก ส านั ก งาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา

“ ในวันนั้น ผมได้ทางานพัฒนาชุมชนในห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ของ เรายุคแรกๆ ในชุมชนใต้สะพานโซน 1 ด้วยลักษณะความร่วมมือของเพื่อนๆ จากภาควิชาต่างๆ ซึ่ง มีความเก่งที่หลากหลาย ความเชี่ยวชาญเฉพาะ รวมทั้งความสามารถของทุกคนที่มี เราสามารถตอบ โจทย์การพัฒนาชุมชน เพราะเป็นความต้องการของชุมชน บนความเชี่ยวชาญของพวกเรา ทั้งนี้ทุก ครั้งที่ทางานก็จะเหมือนกับการฝึกฝนพัฒนาตนเองของเราด้วยความหลากหลายของชุมชนเมือง และความแตกต่างของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น จึงทาให้ได้ข้อคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนที่จาเป็นต้อง ศึกษาความต้องการของชุมชนโดยแท้จริงๆ เราร่วมกันศึกษาหาต้นตอของปัญหาในชุมชน ร่วมกับคน ในชุมชน ทั้งนี้ทาให้ตนเองได้ฝึกฝนพัฒนาในทักษะด้านการวิเคราะห์ การพัฒนาที่ต้องอยู่บนฐานของ ความยั่งยืน เหล่านี้คือ สิ่งที่ผมได้รับจากห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ครับ ”

หน้า 95 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดอำชีพซำเล้ง น.ส. เกศริน ถั่วทอง ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : พนักงานขาย บริษัท สองแรงแข็งขัน จากัด

“ บรรยากาศการทางานลงพื้นที่ชุมชนสมัยเรียน เป็นบรรยากาศของการให้ เป็น ความตั้งใจของทีมที่ต้องการลงพื้นที่ชุมชนที่เป็นห้ องปฏิบัติการทางสั งคม (Social Lab) ของ มหาวิทยาลัยเรา เพื่อการพัฒนาเน้นเด็กและเยาวชน ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน สิ่งที่ได้จากการ เรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นับเป็นการเปิดประสบการณ์นอกห้องเรียน ที่สอน การเรียนรู้ชุมชน เริ่มด้วยการสังเกต การพูดคุย ซึมซับความเป็นอยู่ในชุมชน ทุกๆ อย่างเป็นเรื่องใหม่ ที่สอนให้เราเรียนรู้ คิด วางแผน และแก้ไขปัญหา และทุกๆ เรื่องราวในห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) คือ การเรียนรู้ที่สร้างประสบการณ์ที่ดีและต่อยอดการทางานในโลกแห่งความจริงได้ เป็นอย่างดีค่ะ ”

หน้า 96 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดวัฒนธรรมชุมชน นำยวุฒพิ งษ์ แผนสท้ำน ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : Out of Home Media Supervisor บริษัท ท็อปกัน จำกัด

“ ในช่วงสมัยเรียนได้มีโอกาสทางานกับห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ยุค แรกๆ คือ ชุมชนใต้สะพานโซน 1 เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้คนในชุมชน ในช่วง นั้นสนุกมากครับ เราได้นาเอาความรู้จากห้องเรียน ออกไปปฏิบัติจริงให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน ถื อ เป็ น การเรี ย นรู้ จ ากปั ญ หาของชุ ม ชนและน าความรู้ ที่ มี มาบู ร ณาการเพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาต่ า งๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้เราได้รู้จักทาเพื่อผู้อื่น สร้างประโยชน์แก่สังคม คิดดี ทาดี ได้ทางานร่วมกันกับเพื่อนๆ ที่เรารัก ทาแค่ไหนก็ไม่เบื่ออยากเจอกัน อยากไปชุมชน อยาก ลงห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ทุก ๆ วัน และยังเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่าง นักศึกษากับชุมชน จนคนในชุมชนรู้สึกว่าเราเหมือนลูกเหมือนหลาน มาจนถึงวันนี้แม้จะผ่านมา หลายปีแล้ว ผมและชาวชุมชนก็ยังรู้สึกผูกพันกันเหมือนเป็นญาติกันไปแล้วครับ

หน้า 97 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


สิ่งที่ผมได้รับจากการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานผ่านห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) มีหลายอย่าง ได้แก่ 1.

2.

3. 4.

5.

ทักษะการปรับตัวเข้ากับสังคม ทาให้รู้จักพูดคุย เข้าใจ และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหม่ๆ ให้ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการทางาน เพราะเมื่อเราต้องพบเจอผู้คนมากมาย การปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อมย่อมเป็นสิ่งสาคัญที่ทาให้งานราบรื่น มีจิตสาธารณะ ทาเพื่อผู้อื่น การทางานกับชุมชน ต้องใช้เวลานอกเหนือจากช่วงเวลาเรียน เพราะฉะนั้นเราต้องเสียสละวันหยุด เพื่อเข้าชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชนตามเป้าหมายที่ได้ ตั้งใจไว้ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม การทางานเป็นทีม เรามีทีม มีหลายฝ่าย ที่ต้องทางานร่วมกัน ทาให้ได้เรียนรู้และฝึกฝนใน เรื่องนี้ด้วย ทักษะการนาเสนอ หลายครั้งที่ต้องนาเสนอคืบหน้าโครงการต่อหน้าสาธารณชน ทาให้ตัวเองได้ใช้เวทีเหล่านี้ในการฝึกฝนทักษะการนาเสนอให้ได้ดี และสามารถต่อยอดใน อาชีพได้ด้วย ได้เรียนรู้ว่า การได้นาความรู้ในห้องเรียนออกมาใช้ประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นได้นั้น เป็นความ ภาคภูมิใจอย่างสูงสุด ”

หน้า 98 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดวัฒนธรรมชุมชน น.ส.จุฑำมำศ เพิ่มพูนเจริญยศ ตำแหน่งงำนปัจ จุบัน -สังกัด : ครูผู้ ช่ว ย โรงเรียนอนุบาลไทรโยค สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

“ ในตอนนั้นต้องบอกตรงๆ ว่า ไม่เคยมีประสบการณ์การทางานร่วมกับชุมชนมา ก่อนเลย แต่ต้องขอขอบพระคุณ อ.กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ ที่ได้ให้คาแนะนาและคาปรึกษาที่ดีเสมอมา เป็นที่ปรึกษาของพวกเราในทุกๆ โครงการ ให้โอกาสได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ สอนให้เรารู้จักกระบวนการ ทางาน และการทางานเป็นทีม นอกจากการทางานกับนักศึกษา ก็ยังได้มีโอกาสทางานร่วมกับชุมชน ได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างจากการทางานครั้งนั้น เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดีมากๆ ค่ะ ตอนนั้นมี ความสุขและสนุกมากเลยค่ะ ที่สาคัญทาให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ในการใช้ชีวิตที่หลากหลาย ยิ่งขึ้น การได้นาความรู้ที่ได้รับจากในห้องเรียนไปสู่การปฏิบัติจริง เรียนรู้และแก้ไขปัญหาจากสภาพ สังคมตามบริบทของชุมชนหรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) นั้นๆ ทาให้ได้แลกเปลี่ยน เรี ย นรู้ กั บ ชาวบ้ า นและการท าประโยชน์ เ พื่ อ ส่ ว นรวมมากกว่ า การนึ ก ถึ ง แต่ ป ระโยชน์ ส่ ว นตน แม้ ก ระทั่ ง ตอนนี้ ดิ ฉั น ท างานแล้ ว ก็ ส ามารถน าประสบการณ์ แ ละความรู้ ต่ า งๆ ในตอนนั้ น มา ประยุกต์ใช้ในการทางานและในชีวิตประจาวันเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ”

หน้า 99 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรครูช่ำงปล่อยของ สอนน้องสร้ำงหุ่นยนต์คุณธรรมจำกขยะ นำยวิษณุ นิตยธรรมกุล ตำแหน่งงำนปัจจุ บัน -สังกัด : นักศึกษาปริ ญญาเอก คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลั ย เทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

“ผมและเพื่อน ๆ ชาว ETC 21 ได้มีโอกาสสืบสานงานต่อจากรุ่นพี่ “ครูช่างหัวใจหล่อ ต่อยอดอาชีพซาเล้ง” ในการเรียนรู้จากการบริการสังคมกับชุมชนใกล้เคียงของมหาวิทยาลัย โดยการ นาความรู้และจุดแข็งในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชนของเรา ไปใช้ในเสริมต่อในด้าน การศึกษา เพื่อเดินหน้าไปของชุมชนในนามของโครงการ “ครูช่าง สอนน้องทาหุ่นยนต์คุณธรรมจาก กระดาษ” ด้วยการร่วมกันคิด ร่วมกันทาและร่วมกันแก้ปัญหา ผมได้สัมผัสและได้เรียนรู้ครบทั้ง 4 มิติ คือ การเรียนเพื่อรู้ (Learning to know) การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง (Learning to do) การ เรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน และการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Learning to Live Together) การ เรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be) และรู้จักและเข้าใจกันและกัน การนาความรู้ทางสื่อไปพัฒนา ชุมชนผ่านห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ครับ ”

หน้า 100 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรครูช่ำงปล่อยของ สอนน้องสร้ำงหุ่นยนต์คุณธรรมจำกขยะ นำยกิติพัฒน์ พิมพ์เกษมโสภณ ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : พิธีกรสังกัดไนน์เอนเตอร์เทน

“ ตอนลงพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ตอนเรียนปริญญาตรี นับเป็น อีกหนึ่ งประสบการณ์ที่ดีมาก ๆ เหมือนเราลงไปช่วยพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น หลังจากครั้งแรก แน่นอนว่ามันมีครั้งที่สอง สาม และสี่ ตามมาทุกๆ ครั้งที่ไปถึง เราจะเห็นแววตา ของน้องๆ ที่รอพวกเรา มาสอนอะไรหลายๆอย่าง จนเกิดเป็นความผูกพันระหว่างเราเหล่านักศึกษา แล้วก็คนในชุมชนครับ สิ่งที่ผมได้รับ คือ การได้ให้โอกาส ส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชน พอเขาทามัน ได้จริง เราก็ดีใจ ตื่นเต้นไปกับพวกเขาด้วยครับ ”

หน้า 101 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรครูช่ำงจับกล้อง สอนน้องสร้ำงหนังสั้นส่งเสริมค่ำนิยม 12 ประกำร น.ส. ปภัสสร ดวงฤทธิ์ ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : นักบริการการศึกษา สังกัด กลุ่มงานนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ มจธ.

“ บรรยากาศทางานเมื่อลงชุมชนรอบมจธ. หรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) มีความสนุกสนาน อบอุ่น เป็นกันเองได้รับการต้อนรับที่ดีจากคนในชุมชน ทาให้ได้รับทักษะ การทางานร่วมกับผู้อื่น การประสานงาน การทางานจริงที่นอกจากการเรียนในห้องเรียน ”

หน้า 102 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรครูช่ำงสร้ำงปฏิทินชุมชน ส่งเสริมค่ำนิยม 12 ประกำร น.ส. พิมพ์มำดำ โกจิรำพันธ์ ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : Creative บริษัท Ak91 Group

“ การลงชุมชนหรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) เป็นวิชาที่นักศึกษาภายใน รุ่นชอบมาก เพราะสนุกสนานได้ลงชุมชนจริง ได้ปฏิบัติ อีกทั้งยังได้ช่วยเหลือชุมชนจริงๆ ได้ทางาน เป็นทีม ซึ่งมีน้อยวิชามากที่จะได้ทางานกลุ่มใหญ่ขนาดนี้ สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ด้วยการบริการ สังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน คือ การพัฒนาทักษะของตนเองในด้านที่ชอบ เพราะการเรียนนี้จะให้แบ่ง ฝ่ายตามที่ถนัดและลงมือทาจริงๆ เมื่อได้ทาจริงเราจึงได้ฝึกฝน ลองผิดลองถูกเพื่อนาไปใช้ในอนาคต การทางาน และได้สานสัมพันธ์กับชุมชน ทาให้รู้ว่าการแบ่งปันเป็นสิ่งที่ดี”

หน้า 103 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรครูช่ำงสร้ำงปฏิทินชุมชน ส่งเสริมค่ำนิยม 12 ประกำร น.ส. ดุษยำ สุขวรำภิรมย์ ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : Digital Specialist บริษัท trends digital agency

“ บรรยากาศตอนลงชุมชนหรือ ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) สนุกดีค่ะ ได้ เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ ที่คนอื่นอาจไม่ค่อยได้พบเจอในสังคมไทย ได้ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างแท้จริง สิ่งที่ได้รับ คือ ประสบการณ์การทางานในพื้นที่จริง ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ของเรา ได้ช่วยเหลือคนในชุมชนและทาให้นักศึกษาได้รู้จักการแบ่งปัน ”

หน้า 104 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรสร้ำงแหล่งเรียนรู้ 3 แหล่งประจำชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ น.ส. กัญญำวัฒน์ สุขวรำห์ ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : ผู้จัดการดูเเลหอพักสิริพร เพลส

“ จากการลงพื้นที่ชุมชนสวนธนบุรีรมย์ ทางนักศึกษารู้สึกได้ถึงความอบอุ่นและความ สามัคคีของคนในชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุจะไม่เงียบเหงาอยู่บ้าน เพราะมีกิจกรรมให้ทาพร้อมทั้งได้มีการ พบปะพูดคุยกันทาให้ชุมชนเข้มเเข็งขึ้น ตอนนักศึกษาได้เข้าไปร่วมทากิจกรรมก็รู้สึกอบอุ่น เราได้รับ ความเอ็ น ดู เ หมื อ นลู ก หลาน สิ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ จากการเรี ย นรู้ คื อ การที่ นั ก ศึ ก ษาลงชุ ม ชนหรื อ ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) แล้ว เห็นถึงความคิดสังสรรค์ที่ทางผู้สูงอายุบางท่าน นาเอา ของที่มีอยู่ในชุมชนมาพัฒนาต่อยอดทาเป็นอาชีพ และเปิดชุมชนเป็น เเหล่งเรียนรู้เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้รู้จักและสามารถต่อยอดทาเป็นอาชีพต่อไปได้ ”

หน้า 105 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรสร้ำงแหล่งเรียนรู้ 3 แหล่งประจำชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ น.ส. กนกทรัพย์ หลงประดิษฐ์ ตำแหน่งงำนปัจจุบัน - สังกัด : พนักงานสื่อสารการตลาด บริษัท ซัสโก้ จากัด (มหาชน)

“ บรรยากาศการทางานลงพื้นที่ชุมชนหรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) สมัย เรียน ได้จากการทาโปรเจกต์เกี่ยวกับชุมชน จึงทาให้ได้มีโอกาสลงไปคลุกคลีเกี่ยวกับชุมชนและคนใน ชุมชนมากขึ้น ได้รู้เรื่องราวความเป็นมาต่าง ๆ ของชุมชนรวมถึงแหล่งทรัพยากรสาคัญในชุมชนว่ามี อะไรบ้าง สนุกไปกับการลงชุมชน เพราะในการทาโปรเจกต์ จะต้องมีการลงพื้นที่หลายครั้ง ต้อง สัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รู้เรื่องราว ความเป็นมาของชุมชน ที่สามารถให้ความรู้แก่เราได้ ใครจะ ไปรู้ว่าชุมชนเล็ก ๆ ชุมชนหนึ่งมีสิ่งที่ชวนให้ติดตาม และชวนให้ค้นหาแสวงหาความรู้ได้อย่างไม่ สิ้นสุด คนในชุมชนมีความเป็นกันเองกับนักศึกษาเสมือนญาติผู้ใหญ่ค่ะ ”

หน้า 106 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนหรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) เป็นฐาน เปรียบเสมือนการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่เรียนนอกตารา นักศึกษาสามารถค้นหา ความรู้ได้อย่างไม่มีขีดจากัดและไม่ปิดกั้นการศึกษา งานวิจัยเกี่ยวกับชุมชนทาให้ได้รับความรู้ต่างๆ มาก ๆ และสามารถทราบได้ว่าชุมชนต้องการอะไรที่นักศึกษาสามารถเข้าไปช่วยแก้ปัญหา โดยใช้ ความรู้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียนมาแก้ไขปัญหาที่ชาวบ้านต้องการ รวมถึงได้รับความรู้ เกี่ยวกับชุมชน และรู้สึกภูมิใจที่เราสามารถนาข้อมูลความรู้ในชุมชนมาประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจ หรือนักศึกษาคนอื่น ๆ สามารถได้รับความรู้ที่เราถ่ายทอดออกไปจากการเรียนรู้นอกห้องเรียนโดย การใช้ชุมชนเป็นฐานปัญหา เพราะก่อนการลงพื้นที่ทุกครั้งจะต้องมีการค้นคว้าสืบข้อมูลทุกครั้งในสิ่ง ที่ต้อ งการ เราจะถามจากชาวบ้ านเพื่อ น าความรู้ ที่ไ ด้ส อบถามจากชาวบ้ านมาวางแผนในการ แก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด ”

หน้า 107 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรสร้ำงแหล่งเรียนรู้ 3 แหล่งประจำชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ นำยธนกฤต ใจเพ็ชร์ ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : Recruiter-HRM บริษัท Freewill Solutions

“ บรรยากาศการลงชุมชนสมัยเรียน เป็นบรรยากาศที่อบอุ่นที่ได้ทางานร่วมกับเพื่อน ทั้งใน และต่างภาควิชา ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น และช่วยกันทาให้เกิดสิ่งนั้นๆ ตามแผนที่ ร่วมกันวางไว้ได้สาเร็จ จากการลงชุมชนหรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ทาให้เราได้ เรียนรู้ และฝึกในการเป็นผู้ให้ และมีจิตสาธารณะ สิ่งนี้สาคัญที่สุด เพราะพอมาทางานจริง ทาให้ เรามีใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ตลอดเวลาและพร้อมสาหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ค่อนข้างง่ายมากขึ้น มากกว่าคนที่ไม่ได้รับการฝึกไป ”

หน้า 108 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรสร้ำงแหล่งเรียนรู้ประจำชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ “เรื่องภูมิปัญญำ ว่ำวจุฬำ” นำยกำญจน์สมบัติ เมธีบุญวิริยะกุล ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : นักบริการการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ.

“ สมัยตอนเรียน ได้มีโอกาสลงพื้นที่ชุนชนรอบๆ มหาวิทยาลัยหลายครั้ง ในชุมชนหลัง สวนธนบุรีรมย์เพื่อออกแบบ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงเอกลักษณ์ความ สวยงาม และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทาว่าวจุฬาไทย ได้เห็นบรรยากาศอบอุ่น ที่คนในชุมชน ให้การช่วยเหลือในการทากิจกรรมต่างๆ ความหวงแหนอนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย อาหารการกินที่หาได้ตามสวนที่ปลูกไว้กินเองตามบ้านเรือน และยังได้ไปลง พื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ณ ชุมชนใต้สะพานโซน 1 (ทุ่งครุ) เพื่อทากิจกรรม นันทนาการกับเด็กเล็ก สอนน้องเรื่องเพศศึกษากับเด็กโต มีเลี้ยงอาหารว่าง และมอบสิ่งของเครื่องใช้ ต่างๆ ให้กับเด็กในชุมชน สร้างความอบอุ่นแก่คนในชุมชน ได้เห็นถึงแววตาของความอิ่มอกอิ่มใจของ ผู้คนในชุมชน ที่หน่วยงานรอบข้างควรให้ความสนใจ

หน้า 109 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


จะเห็นได้ว่าการลงพื้นที่ชุมชนหรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) รอบๆ มหาวิทยาลัย สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และยังเป็นการสร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนรอบข้างอีกด้วย การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดย ใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นการเรียนการสอนแบบเชิงรุก รูปแบบ Active Learning ทาให้เราได้ลงมือ ปฏิบัติงานจริง ได้ประสบการณ์ตรงจากชุมชน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น เสริมสร้างความ มีจิตอาสา รวมถึงประยุกต์ใช้ทฤษฎี และเห็นถึงคุณค่าในสิ่งที่ได้เรียนไปได้อย่างเป็นรูปธรรม ”

หน้า 110 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรบำงมดรวมใจ (น้อมนำศำสตร์พระรำชำ) ส่งเสริมวิสำหกิจท่องเที่ยว เชิงเกษตรไทย “ปั่น ชม ช้อป ชิม” นำยธนพล ชุมเสนำ ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : นักศึกษาจบใหม่ – เทคโนโลยีบัณฑิต มจธ.

“ สาหรับบรรยากาศการลงชุมชนหรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) รู้สึก สนุกมากๆ เลยครับ เพราะคุณลุง คุณป้าในชุมชนมีความเป็นกันเองมาก ๆ เอ็นดูเราเหมือนลูกหลาน ในครอบครัว ให้ความร่วมมือ รวมถึงการให้ข้อมูลเป็นอย่างดี ทาให้เวลาทางานไม่ติดขัด แถมยัง ราบรื่น และยังผ่านไปได้ด้วยดีครับ เราได้ทางานร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน และบุคคลในหน่วยงาน อื่นๆ ทุกคนร่วมมือกัน พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือชุมชน ทาให้เรามีกาลังที่อยากจะเข้าไปทามาก ยิ่งขึ้นในทุกๆ ครั้งที่ลงพื้นที่

หน้า 111 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ก็คือการได้เข้าถึง ปัญหาที่แท้จริง โดยเราได้เข้าไปเจอกับเวทีชาวบ้าน ได้เข้าไปคุย ได้รู้ถึงสิ่งที่ชาวบ้านต้องการจริงๆ จะทาให้สิ่งที่เราทาสามารถสร้างประโยชน์ได้สูงสุดให้แก่คนในชุมชน และเราได้เจอกับโจทย์จริง ๆ ที่ เกิดขึ้น เหล่ านี้ เป็น สิ่งที่ห้ องเรี ยนธรรมดาไม่ส ามารถสอนเราได้เลย ในห้ องปฏิบัติการทางสั งคม (Social Lab) เราไม่ทราบเลยว่าจะต้องพบเจออะไร ทุกอย่างเกิดขึ้นจริง เราจะต้องใช้สถานการณ์ที่ เกิดขึ้นมาแก้ปัญหาให้ได้ เรายังได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้ความรู้ที่เราเรียนมาปรับใช้ให้เข้ากับโจทย์ที่ เราเจอ และสิ่งสุดท้ายเลยที่เราได้รับ คือความรักและความเอ็นดูจากคุณลุง คุณป้าในชุมชน ทุกครั้ง ที่เรากลับไป เราจะได้รอยยิ้มกลับมาทุกๆ ครั้ง ผมรู้สึกมีความสุขมากๆ ”

หน้า 112 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรบำงมดรวมใจ (น้อมนำศำสตร์พระรำชำ) ส่งเสริมวิสำหกิจท่องเที่ยว เชิงเกษตรไทย “ปั่น ชม ช้อป ชิม” น.ส. ปนัดดำ เสำะแสวง ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : Digital PR Specialist บริษัท Columbus Agency

“ ย้อนกลับไปช่วงที่กาลังเรียนอยู่ระดับปริญญาตรี เรามีการทางานร่วมกับชุมชนใน ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารทางสั ง คม (Social Lab) ถื อ ว่ า เป็ น ประสบการณ์ ที่ มี ค่ า มากๆ ส าหรั บ ชี วิ ต มหาวิทยาลัยเลยค่ะ ช่วงนั้นคือได้เข้าไปทากิจกรรมร่วมกับชาวบ้านในชุมชนหมู่ 3 บางมด ในตอน แรกก็ค่อนข้างรู้สึกกังวล ว่าเราจะสามารถเข้าไปช่วยหรือไปทางานกับคุณลุง คุณป้า คุณน้า คุณอา เขาได้จริงๆหรือเปล่า เพราะว่าถือเป็นครั้งแรก แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสจริงๆ บรรยากาศการทางานคือ อบอุ่นมากๆ คุณลุง คุณป้า ทั้งหลายท่านมีความน่ารักเป็นกันเอง พร้อมให้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับชุมชน อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นประวัติของชุมชน การทาการเกษตร ทาขนม เป็นต้น

หน้า 113 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


พวกเราได้รับการต้อนรับอย่างดีทุกๆครั้งที่พวกเราเข้าไป และไม่ว่าพวกเราจะเดินผ่าน บ้านไหน ก็จะมีรอยยิ้มจากชาวบ้านในชุมชนตลอด ทาให้จากที่รู้สึกกังวล กลายเป็นว่าเราอยาก ทางานกับชุมชน อยากไปห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ด้วยใจจริงๆ อยากช่วยให้สิ่งที่คุณ ลุง คุณป้า หวังไว้เป็นจริงให้ได้ พอเห็นรอยยิ้มที่ได้รับกลับมา ทั้งระหว่างทางานและตอนที่งาน สาเร็จ ก็ทาให้รู้สึกดีใจ และหายเหนื่อยเลยค่ะ สิ่งที่ได้รับอย่างแรก คือ การที่ได้นาความรู้จาก ห้องเรียนออกไปใช้กับชุมชนจริงๆ เจอปัญหา และอุปสรรคจริงๆ แบบเรียลไทม์ ทาให้ได้พัฒนา ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างมาก รวมทั้งการที่ต้องทางานกับผู้ใหญ่ และคนหมู่มาก ก็ ทาให้ได้พัฒนาทักษะด้านการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี นอกจากนี้ก็ยังได้พัฒนาทักษะทั้ง ฮาร์ดสกิล และ ซอฟต์สกิลต่างๆ ไปพร้อมๆกัน แต่สิ่งที่สาคัญมากๆ ก็คือ การที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลต่างๆ ลักษณะการทางาน รวมถึงประสบการณ์ จากคุณลุง คุณป้าในชุมชน ซึ่งเป็นคนรุ่นเก่า การที่เราได้รับประสบการณ์ผ่าน การแปลกเปลี่ยนความคิดต่างๆ กับคนรุ่นเก่า ทาให้ทีมงานยิ่งมีความกระตือรือร้นในการทางาน ความเต็มที่กับการข้อมูลหรือความทุ่มเทกับการทาสื่อและจัดกิจกรรม ทั้งหมดนี้คือการทางานด้วยใจ จริงๆ ร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจ ที่พวกเรานาไปเป็นตัวอย่างในการทางาน อื่นๆ ต่อไปในอนาคตข้างหน้าได้เป็นอย่างดีค่ะ ”

หน้า 114 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรบำงมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นำวิสำหกิจชุมชน นำยณภัทร ดีเย็น ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : นักศึกษาฝึกงานแผนกสื่อสารองค์กร บริษัท อสมท. จากัด มหาชน

“ บรรยากาศการทางานลงพื้นที่ชุมชนหรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) สมัยเรียนวิชา ETM 358 ทาให้ได้ลงมือทากิจกรรมกับเพื่อน ๆ อาจารย์ และชุมชน เป็นบรรยากาศ ที่ทุกคนร่วมมือกันทางานให้สาเร็จลุล่วง เห็นถึงความตั้งใจของทุกคน ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นที่ไม่ได้ เห็นในห้องเรียนปกติ นับเป็นประสบการณ์ที่สอนให้เราเติบโต และรู้จักการทางานจริงๆ สิ่งเหล่านี้ทาให้ได้พัฒนาทักษะในทุกๆ ด้าน ทั้งการวางแผน การทางานเป็นทีม การแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้า ทาให้เราคิดรอบด้านมากขึ้น ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น มากกว่าการเรียนที่มุ่งแผ่นกระดาษ เพียงอย่างเดียว ”

หน้า 115 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


นักศึกษำผู้ดำเนินโครงกำรบำงมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นำวิสำหกิจชุมชน นำยณรงค์เดช เสำวดี ตำแหน่งงำนปัจจุบัน-สังกัด : นักศึกษาฝึกงานแผนก Creative บริษัท The Leo Burnett Group Thailand

“ บรรยากาศในการลงพื้ น ที่ชุ มชนหรื อห้ อ งปฏิ บัติก ารทางสั งคม (Social Lab) ความรู้สึกของการลงพื้นที่ชุมชน เปรียบเสมือนการเปิดโลก หรือการเพิ่มความรู้ให้แก่ตัวเอง จากปกติ ที่เราเรียนรู้ในห้องเรียนธรรมดา หรือเรารับฟังในสิ่งที่เป็นทฤษฎี ซึ่งอาจจะทาให้เราไม่สามารถ มองเห็นภาพที่แท้จริง หรือเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนนั้นๆ ได้อย่างลึกซึ้ง แต่เมื่อเราได้ลง พื้นที่ชุมชนหรือห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) จริงๆ เปรียบเสมือนการที่เราได้ทาการเก็บ ข้อมูลจากผู้ที่ให้ข้อมูลที่แท้จริง โดยการลงพื้นที่นั้นจะทาให้เราเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นๆ รวมไปถึงมองเห็นภาพปัญหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาวิธีใช้นิเทศศาสตร์ พัฒนาการ เพื่อจะช่วยคนในชุมชนได้ตรงจุด และสามารถปฏิบัติกิจกรรมเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ ของโครงการที่เรารับผิดชอบอย่างเต็มที่

หน้า 116 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


สิ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ จากการเรี ย นรู้ ด้ ว ยการบริ ก ารสั ง คม โดยใช้ ชุ ม ชนเป็ น ฐานหรื อ ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) นั้น เป็นเหมือนการให้นักศึกษากล้า ที่จะออกจากห้องเรียน เพื่อไปพบกับโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ทาให้ตัวนักศึกษาพบกับความเป็นจริง มากยิ่งขึ้น เพราะอาจารย์ได้ให้นักศึกษาเข้าไปลงพื้นที่ในชุมชนไปพร้อมๆ กัน เพื่อไปพบปัญหาที่ แท้จริง ที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนนั้นๆ เป็นสถานการณ์ที่ในห้องเรียนธรรมดา ไม่สามารถจะหยิบยกมา ทาให้นักศึกษาเข้าใจได้ เป็นการฝึ กการทางานร่วมกันของหลายภาคส่ว น ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา ภายในรุ่ นกัน เอง นักศึกษากับอาจารย์ รวมไปถึงการประสานงาน และการทางานร่ว มกันของ นักศึกษากับผู้นาชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ฝึกการจัดการ การวางแผน การวางระบบ และ โครงสร้างการทางาน เพื่อให้ทุกคน และทุกฝ่ายทางานภายใต้การควบคุมดูแลและได้รับคาแนะนา จากอาจารย์ ซึ่งท่านจะทาหน้ าที่เหมือน โค้ช ฝึกนักกีฬาลงสนามแข่งขัน ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อ วัตถุประสงค์ของโครงการ และสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาหรือ สร้างฐานที่ดี เพื่อให้ชุมชนสามารถยืนขึ้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการเรียนการสอนรูปแบบนี้ ถือว่าเป็นการ เรียนที่ทาให้ตัวนักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรง และยังช่วยฝึกทักษะกระบวนการทางานด้านสื่อ และกิจกรรมพิเศษแก่นักศึกษาอีกด้วย ”

หน้า 117 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกเน้นการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานหรือ พื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) นี้เอง ภายหลังจากการดาเนินโครงการบางมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นาวิสาหกิจชุมชน ผู้เขียนได้ให้นักศึกษาประเมินผลการทางานด้วยตนเองพบว่า ระดับความ Active ของนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

ผลสรุประดับกำรทำงำนของนักศึกษำที่มีต่อกำรเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐำน ผลกำรประเมิน

ก่อนเรียน

หลังเรียน

ควำมหมำย

ผลกำรประเมินกำรทำงำนของนักศึกษำด้วยตนเอง (ระดับควำมActive)

37.73%

83.72%

ดีมำก

หน้า 118 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


รำยกำรอ้ำงอิง NSTDA . 2014 . “กำรทบทวนหลังกำรทำงำนหรือหลังปฏิบัติหรือหลังกิจกรรม After Action Review”. [Online], Available: https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/144-kmknowledge/3282-after-action-review/. [7 พฤษภาคม 2561]. โครงการบางมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นาวิสาหกิจชุมชน. 2561. “ กำรจัดเสวนำผลตอบรับจำก ชุมชนต่อโครงกำรบำงมด 4.0 ”. [Online], Available: https://www.facebook.com/ Bangmod4.0/. [8 พฤษภาคม 2561].

หน้า 119 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 120 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


หน้า 121 I บทที่ 8 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)



บทส่งท้ำย บันทึกประวัติศำสตร์เกี่ยวกับสวนส้มบำงมด

“ส้มบางมดอร่อยมาก และให้อนุรักษ์ส้มบางมดไว้” พระรำชดำรัสของพระบำทสมเด็จพระปรมินทรมหำภูมิพลอดุลยเดช บรมนำถบพิตร

หน้า 123 I บทส่งท้าย ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 : ปัญหาเรื่องน้ามีปัญหาไหม นายธีระ นครอินทร์ ตอบว่า : มีน้าเน่าเสียจากโรงงานและหมู่บ้านแถวภาษีเจริญไหลเข้าสู่คลอง สนามชัยเข้ามาสู่คลองบางมดแถววัดไทร มาถึงคลองบางแคนะ ทาให้น้าในคลองบางมดเป็นกรดด่าง ทาให้ต้นส้มเสียหาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 : ดินมีปัญหาไหม นายธีระ นครอินทร์ ตอบว่า : ไม่มีปัญหาเพราะดินอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ และดินมีความเค็ม พอประมาณ ทาให้ส้มเขียวหวานมีรสอร่อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 : กิง่ พันธุ์ส้มเขียวหวานเอามาจากไหน นายธีระ นครอินทร์ ตอบว่า : เอามาจากคลองบางกอกน้อย เป็นกิ่งตอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 : วิธีการปลูกท้าอย่างไร นายธีระ นครอินทร์ ตอบว่า : เริ่มต้นยกร่อง คือให้ควายไถเป็นรูปร่องก่อน และให้คนฝังดินยกโขด และรูปร่อง หลังร่องกว้างประมาณ 3 วา ส่วนท้องร่องกว้างประมาณ 1 เมตร หรือประมาณ 2 ศอก ส่วนการปลูกส้มเขียวหวานจะมี ระยะห่างกันประมาณ 5 ศอกต่อหนึ่งต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 : ใช้ปุ๋ยเท่าไหร่ นายธีระ นครอินทร์ ตอบว่า : ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ๋ยคอก และสารเคมีธรรมดาตามภูมิปัญญา ชาวบ้าน เพราะไม่มีนักวิชาการแนะนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 : ส้มเขียวหวานกี่ปีจึงจะมีดอกออกผล นายธีระ นครอินทร์ ตอบว่า : ประมาณ 3 ปี จึงเอาไว้ลูก

หน้า 124 I บทส่งท้าย ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 : การท้าส้มเขียวหวานมีลูกท้าอย่างไร นายธีระ นครอินทร์ ตอบว่า : มีการงดให้น้าหรือกักน้าให้แห้ง ให้ส้มเหี่ยวเฉาประมาณ 1 เดือน จึงรดน้า ส้มก็จะแตกดอกและใบ และส้มจะให้การเจริญเติบโตต่อ การเก็บเกี่ยวจะให้ระยะประมาณ 11-12 เดือน จึงจะเก็บเกี่ยวได้ และมีรสอร่อยมาก ให้ปำกคำโดย นายธีระ นครอินทร์ (สมาชิกสหกรณ์สวนส้มบางมด) บ้านเลขที่ 35/2 หมู่ 2 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ เรียบเรียงโดย นายอาพล ขวัญบัว (ประธานกลุ่มเกษตรสวนส้มบางมด) บ้านเลขที่ 56/2 หมู่ 6 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ โทร.02-873-8731

หน้า 125 I บทส่งท้าย ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


บรรณำนุกรม ภำษำไทย โกวิทย์ พวงงาม . 2561. “หนึ่งรำชภัฏ หนึ่งพื้นที่ปฏิบัติกำรทำงชุมชน Social Lab” . [Online], Available: http://www.matichon.co.th/news-monitor/news_976485. [2 พฤษภาคม 2561]. กนกทรัพย์ หลงประดิษฐ์ กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และพรปภัสสร ปริญชาญกล . 2561. “กำรพัฒนำ แหล่ งเรี ยนรู้ ใ นชุมชนหมู่ 3 บำงมดเรื่ อง กำรส่งเสริ มวิสำหกิจท่องเที่ยวเชิง เกษตรผ่ำนกำรเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐำนของนักศึกษำระดับปริญญำบัณฑิต มหำวิ ท ยำลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ ำ ธนบุ รี ” . 2561. การประชุ ม วิ ช าการ ระดั บชาติครั้ งที่ 2 ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . โรงแรมโนโวเทล หัวหิน ชะอา . 21-24 มีนาคม 2561 . หน้า .724-737. กล้ำใหม่...ใฝ่รู้ปีที่ 11. 2560 . “ถอดบทเรียน 20 ทีมเยำวชน สร้ำงสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคม โครงงำนกล้ำ ใหม่ สร้ำ งสรรค์ชุมชน”. ธนำคำรไทยพำณิชย์จำกัด มหำชน . พฤษภำคม 2560 . กัญญาวัฒน์ สุขวราห์ และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์ . 2559. “ กำรพัฒนำแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภูมิ ปัญญำท้องถิ่นชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์ เรื่อง ผลงำนจำกกะลำมะพร้ำว ”.การ ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี. เมืองพัทยา จ.ชลบุรี วันที่ 27-29 มกราคม 2559 . โครงกำรกล้ำใหม่ ใฝ่รู้ ธนำคำรไทยพำณิชย์ จำกัด มหำชน . 2559. “ กำรทำงำนร่วมกับ ชุมชน”. เอกสำรประกอบกำรบรรยำย พ.ศ. 2559. โครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดอำชีพซำเล้ง . 2013. [Online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=ECPgWAIC7Bs. /. [3 มกราคม 2562].

หน้า 126 I บรรณานุกรม ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


บรรณำนุกรม (ต่อ) ภำษำไทย โครงกำรครูช่ำงหัวใจหล่อ ต่อยอดวัฒนธรรมชุมชน. 2013 . [Online],Available: https://www.youtube.com/watch?v=0dX-PEJmtac. [3 มกราคม 2562]. โครงกำรครูช่ำงปล่อยของ สอนน้องสร้ำงหุ่นยนต์คุณธรรมจำกขยะ.2013. [Online],Available: https://youtu.be/MsS11LvJnsc . [3 มกราคม 2562]. โครงกำรครูช่ำงจับกล้อง สอนน้องสร้ำงหนังสั้นส่งเสริมค่ำนิยม 12 ประกำร .2015. [Online],Available:https://www.youtube.com/watch?v=PENduaw-hgk . [3 มกราคม 2562].

โครงกำรครูช่ำงสร้ำงปฏิทินชุมชน ส่งเสริมค่ำนิยม 12 ประกำร .2016. [Online],Available: https://www.youtube.com/watch?v=n0KYsB3ex7U . [3 มกราคม 2562]. โครงกำรพัฒนำแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์. 2015. [Online],Available: https://www.youtube.com/watch?v=uH4pSXtxywo . [3 มกราคม 2562]. โครงกำรพัฒนำแหล่งเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญำว่ำวจุฬำไทย . 2015. [Online],Available: https://www.youtube.com/watch?v=8YqDI76p43w. [3 มกราคม 2562]. โครงกำรบำงมดรวมใจ (น้อมนำศำสตร์พระรำชำ)ส่งเสริมวิสำหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทย ปั่ น ชม ช้ อ ป ชิ ม . 2560.“ปั่ น ครั้ ง ที่ 3”. [Online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=KGFNZET7KHs. [3พฤษภาคม 2561]. โครงกำรบำงมดรวมใจ (น้อมนำศำสตร์พระรำชำ)ส่งเสริมวิสำหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทย ปั่น ชม ช้อป ชิม . 2017. [Online],Available: https://www.youtube.com/watch?v=KGFNZET7KHs. [3 มกราคม 2562].

หน้า 127 I บรรณานุกรม ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


บรรณำนุกรม (ต่อ) ภำษำไทย โครงกำรบำงมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นำวิสำหกิจชุมชน . 2561. “ กำรจัดเสวนำผลตอบรับ จำกชุ ม ชนต่ อ โครงกำรบำงมด 4.0 ”. [Online], Available: https://www.facebook.com/Bangmod4.0/. [8 พฤษภาคม 2561]. โครงกำรบำงมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นำวิสำหกิจชุมชน . 2018 . [Online],Available: https://www.youtube.com/watch?v=8PGCn-GMZ8Y. [3 มกราคม 2562]. ณิชา ไพอนนท์ . 2560 .นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา , สัมภำษณ์ , 25 กุมภาพันธ์ 2560.

ณัฐชยา ชัยสัมพันธ์กุล และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์ . 2559. “ กำรพัฒนำแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริม ควำมรู้ด้ ำ นสุขภำพสำหรั บผู้สู งอำยุใ นชุมชนหลั งสวนธนบุ รี ร มย์ เรื่ อง สวน สมุนไพร ” .การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. เมืองพัทยา จ.ชลบุรี วันที่ 27-29 มกราคม 2559. ปภัสสร ดวงฤทธิ์ พรปภัสสร ปริญชาญกล และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์ . 2561. “ กำรพัฒนำชุด นิ ท รรศกำรโดยใช้ สื่ อ ประสมเรื่ อ งต้ น แบบสวนส้ ม บำงมดเพื่ อ กำรสื่ อ สำร ประชำสัมพัน ธ์ร่วมกับกำรฝึกอบรมแบบสำธิ ต เชิงปฏิบัติก ลุ่มมัคคุเ ทศก์น้อย โรงเรี ย นวั ด พุ ท ธบู ช ำ เขตทุ่ ง ครุ กรุ ง เทพมหำนคร”. การประชุ ม วิ ช าการ ระดั บชาติครั้ งที่ 2 ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . โรงแรมโนโวเทล หัวหิน ชะอา . 21-24 มีนาคม 2561 . ประสาท เนืองเฉลิม . 2558. “กำรเรียนรู้โดยกำรบริกำรสังคม” .วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ . ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2558 .

หน้า 128 I บรรณานุกรม ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


บรรณำนุกรม (ต่อ) ภำษำไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี . 2560. “รำยงำนมหำวิทยำลัยกับชุมชนและสังคม”. [Online], Available : http://www2.kmutt.ac.th/thai/abt_history/info _report/KMUTT-Social-Report-2556-2557.pdf [3 พฤษภาคม 2561]. มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง. 2559. “หมวดที่ 1 กำรจัดกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”. [Online], Available: http://arit.mcru.ac.th/km56/admin/ download/10KM_1.pdf. [4 พฤษภาคม 2561]. รำยกำรเดินหน้ำประเทศไทยวัยทีน ตอน น้อมนำศำสตร์พระรำชำ ผสมผสำนภูมิปัญญำ อนุรักษ์ วิถีไทย. 2018 [Online],Available: https://www.youtube.com/watch?v=RJJad8U8k-M&feature=youtu.be& fbclid=IwAR0MdUgh1_TnINe2BFNB0p6WRXIGWaEfMJxVhuiSn OVDMmK23xU6KxYn9EU. [3 มกราคม 2562]. ภำษำอังกฤษ Atiwat Patsarathorn and Kuntida Thamwipat . 2016 . “ The Development of Historical Learning Resources in the Community in the Topic of 7 Decades Lung Suan Thonburirom Community ”. The 5 th International Conference on Learning Innovation in Science and Technology (ICLIST 2016) . January 27-29 , 2016, Pattaya.

หน้า 129 I บรรณานุกรม ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


บรรณำนุกรม (ต่อ) ภำษำอังกฤษ Kansombat Mateeboonviriyakul , Pornpapatsorn Princhankol, and Kuntida Thamwipat . 2016.” The Development of Learning Resources “Chula Kite Local Wisdom” of Suan Thonburirom Community through Social Service Learning Approach by Students from Faculty of Industrial Education and Technology,KMUTT. ” The 42nd Congress on Science and Technology (STT42). Centara Grand at Central Ladprao Bangkok ,Thailand . November 30December 2 , 2016. Kuntida Thamwipat and Kirimag Boonrom. 2015. “Development of the Student Documentary Short Film on Disadvantaged People in the Community under the Bridge Zone 1 in Bangkok Entitled UTOPIA”. International Teacher Education Conference(ITEC 2015). September 2-4, 2015 , Saint Petersburg, Russia. Kuntida Thamwipat and Nakorn Thamwipat . 2013. “A Survey of Environment and Demands Along with a Marketing Communications Plan for WatPutthabucha Market to Promote Agricultural Tourism through Main Media and Online Social Network Media”. International Journal of Advanced Computer and Applications,Vol.4 , No.3 , 2013. Kuntida Thamwipat , Pornpapatsorn Princhankol and Naphat Deeyen . 2019. “The Development of Multimedia and Activities to Promote Products Made by State Enterprise Communities in the Bangmod Project 4.0 through Community-Based Learning”. Journal of Research in Education Sciences. Vol.12 .No.4 .2019 .

หน้า 130 I บรรณานุกรม ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


บรรณำนุกรม (ต่อ) ภำษำอังกฤษ Kuntida Thamwipat and Napassawan Yookong . 2012. “The Analysis of the Components of Project-Based Learning on Social Network A Case Study of Presentation Skill Course” . International Journal of Advanced Computer Science and Applications , Vol.3 No.11 November 2012 . Kuntida Thamwipat , Pornpapatsorn Princhankol and Natchanin Kaewket . 2017. “Developing a Lesson Based on the ‘Service-Learning’ Principle through the Project to Create a Community Calendar to Promote 12 Values”. 03 rd International Conference on Education and Distance Learning 2017 . Galle Face Hotel,Colombo,Srilanka . 28 th April 2017. Kuntida Thamwipat, Pornpapatsorn Princhankol, Sakesun Yampinij & Sopon Meejaleurn . 2018. “The Development of Media Activities by Undergraduate Students in Order to Promote Agricultural Tourism Community Enterprise According to the Principles of Social Service Learning and Community-Based Leaning” . International Education Studies . Vol.11.No.5. 2018 . Kuntida Thamwipat , Pornpapatsorn Princhankol , Thanakarn Khumphai and Vitsanu Sudsangket . 2014. “ Activity Based Learning Kits for Children in a Disadvantaged Community According to the Project “ Vocational Teachers Teach Children to Create Virtuous Robots from Garbage ”. International Journal of Advanced Computer and Applications,Vol.5 , Issue 8 , September 2014 .

หน้า 131 I บรรณานุกรม ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


บรรณำนุกรม (ต่อ) ภำษำอังกฤษ Kuntida Thamwipat and Thanakarn Kumpai . 2013 . “ Workshop Session Recordings on Green Volunteering Activities of Students in a Disadvantaged Area According to the Good-Hearted Vocation Teacher to Support Itinerant Junk Buyers ”. International Journal of Advanced Computer and Applications,Vol.4 , Issue 8 , August 2013. Lee Watanabe-Crockett .2016. “The Critical 22 st Century Skills Every Student Needs and Why” ..[Online], Available: http:// globaldigitalcitizen.org/ 21 st-century –skills-every-student-needs /. [16 September 2018].

McConnell Foundation . 2018 . “What are social labs” .[Online], Available: http:// mcConnell foundation .ca/social-labs/. [15 September 2018]. Pornpapatsorn Princhankol, Kuntida Thamwipat, Paveena Thambunharn and Wuttipong Phansatarn. 2013. “The Development of Learning Resource for the Saleng Community under the Bridge of Zone 1 Entitled How to Repair Electrical Appliances”. International Journal of Advanced Computer and Applications,Vol.4 , Issue 11, November 2013 . The Glossary of Education Reform . 2016 . “21 st Century Skills”. ”.[Online], Available: http:// edglossarry.org/ 21 st-century -skills /. [16 September 2018]. The NewHoRRizon Project. 2018 . “What is Social Lab”.[Online], Available: http://newwhorizon.eu/social-labs/. [2 September 2018].

หน้า 132 I บรรณานุกรม ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


บรรณำนุกรม (ต่อ) ภำษำอังกฤษ Thusong Service Center . 2000 . “Development Communication - An approach to a democratic public information system” .[Online], Available: http://www.thusong.gov.za/documents/artic_pres /dev_comm.htm. [15 December 2018]. Zaid Hassan . 2014. “The Social Labs Revolutions A New Approach to Solving Our Most Complex Challenges” . Barrett-Koehler Publishers .

หน้า 133 I บรรณานุกรม ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ดัชนีคำศัพท์ ก การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน,14,15,16 การทบทวนหลังปฏิบัติงาน,87 การฟังเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนร่วม,87 การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน,16

ค เครือข่ายสังคมออนไลน์,14,15 เครื่องมือการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน,30 โครงการครูช่างจับกล้อง สอนน้องสร้างหนังสั้นส่งเสริมค่านิยม 12 ประการ,50,51 โครงการครูช่างปล่อยของ สอนน้องสร้างหุ่นยนต์คุณธรรมจากขยะ,48,49 โครงการครูช่างสร้างปฏิทินชุมชน ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการ,52,53 โครงการครูช่างหัวใจหล่อ ต่อยอดวัฒนธรรมชุมชน,46,47 โครงการครูช่างหัวใจหล่อ ต่อยอดอาชีพซาเล้ง,44,45 โครงการบางมด 4.0 เกื้อหนุนคุณธรรม นาวิสาหกิจชุมชน,79,80,81,82 โครงการบางมดรวมใจ (น้อมนาศาสตร์พระราชา) ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไทย ปั่น ชม ช้อป ชิม,71,72,73 โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์,61,62,63 โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เรื่อง ภูมิปัญญาว่าวจุฬาไทย,64,65

ช ชุมชนคลองเตย,78 ชุมชนตัวอย่าง,54 ชุมชนใต้สะพานโซน 1,43,55 ชุมชนหมู่ 3 บางมด,70 ชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์,60

ท ทักษะในศตวรรษที่ 21,12,20

น น้อมนาศาสตร์พระราชา ผสมผสานภูมิปัญญา อนุรักษ์วิถีไทย,136 หน้า 134 I ดัชนีคาศัพท์ ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ดัชนีคำศัพท์ (ต่อ) บ บันทึกประวัติศาสตร์,123

ป ปฏิทินการผลิต,34,35

ผ แผนที่รอบนอก,32,33,38 แผนที่รอบใน,32,33

ร รายการเดินหน้าประเทศไทย,136

ว วิธีการทางานร่วมกับชุมชน,27 เวทีชาวบ้าน,37

ส สวนส้มบางมด,123 เส้นทางประวัติศาสตร์,30

ห ห้องปฏิบัติการทางสังคม,2

หน้า 135 I ดัชนีคาศัพท์ ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ภำคผนวก

ภาพแสดงรายการเดินหน้าประเทศไทยวัยทีน ตอน น้อมนาศาสตร์พระราชา ผสมผสาน ภูมิปัญญา อนุรักษ์วิถีไทย ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2561 หน้า 136 I ภาคผนวก ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


ผลประเมินจากผู้เรียนภายหลังจากการดาเนินโครงการบางมดรวมใจฯ พบว่า การเรียนการสอนที่เน้นการบริการสังคมโดยใช้ชุมชน (Social Lab) เป็นฐานสามารถ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียน คิดเป็น ร้อยละ 89.05 สูงที่สุดในมจธ. (ข้อมูลโดยสานักกิจการนักศึกษา มจธ. ปีการศึกษา 2559)

หน้า 137 I ภาคผนวก ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


Poster Presentation @FIET Show & Share Final Projects 2019




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.