ชวนถก ชาติและชาติพันธุ์ // นิติ ภวัครพันธุ์

Page 1


ชวนถก

ชาติและชาติพันธุ นิติ ภวัครพันธุ์

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

1


ชวนถก ชาติและชาติพันธุ นิติ ภวัครพันธุ

ISBN 978-974-315-904-6 พิมพครั้งแรก กุมภาพันธ 2558

ในเครือบริษัทสำ�นักพิมพสยามปริทัศน จำ�กัด 113 ถนนเฟองนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 เจาของ: บริษัทสำ�นักพิมพสยามปริทัศน จำ�กัด ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์: สุลักษณ ศิวรักษ คณะกรรมการบริหาร: สัจจา รัตนโฉมศรี, อนันต วิริยะพินิจ,  วินัย ชาติอนันต, ทิชากร ชาติอนันต, อาสา นาถไตรภพ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ: ชานน จงประสพมงคล บรรณาธิการประจำ�ฉบับ: อนรรฆ พิทักษธานิน แบบปก: นํ้าสม สุภานันท รูปเลม: นริศรา สายสงวนสัตย พิสูจนอักษร: วิราวรรณ นฤปิติ ประชาสัมพันธ: มนตรี คงเนียม

• ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแหงชาติ นิติ ภวัครพันธุ. ชวนถก ชาติและชาติพันธุ.-- กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน, 2558. 304 หนา.-- (ศยามปญญา). 1. ชาติพันธุ. I. ชื่อเรื่อง. 305.8 ISBN 978-974-315-904-6 จัดจำ�หนาย: สายสงศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จำ�กัด โทรศัพท 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 www.kledthai.com ราคา 240 บาท


ตำ�ราสังคมศาสตร์ เคล็ดไทย-สสมส. หนั ง สื อ ในชุ ด นี้ ตี พิ ม พ ภ ายใต ค วามร ว มมื อ ระหว า งสำ � นั ก พิมพศยาม บริษัทเคล็ดไทย จำ�กัด และสมาคมนักสังคมวิทยา และนักมานุษยวิทยาสยาม [สสมส. (SASA)] โดยมีเปาหมาย เพื่อผลิตหนังสือที่สามารถใชเปนตำ�ราดานสังคมศาสตรได ทั้งนี้ เนื่องจากสำ�นักพิมพศยาม บริษัทเคล็ดไทย จำ�กัด และ สสมส. เห็นวาในขณะที่การเรียนการสอนดานสังคมศาสตรในบานเรา ไดขยายตัวมากขึ้น แตหนังสือตำ�ราที่เปนภาษาไทยในดานนี้ยัง มีจำ�นวนนอย และบางครั้งเนื้อหาสาระก็กระจัดกระจาย หรือ อาจไมตรงกับสาขาวิชานั้นๆ นัก จุดประสงคของหนังสือชุดนี้ นอกจากตองการผลิต หนังสือตำ�ราภาษาไทยดานสังคมศาสตร ซึ่งจะมีประโยชนตอ นิสิตนักศึกษาที่ศึกษารํ่าเรียนในสาขาวิชานี้และบุคคลทั่วไป ที่ตองการหาความรูแลว ยังมุงหวังที่จะสรางบรรยากาศทาง วิชาการ สงเสริมใหเกิดวิวาทะ โดยเฉพาะดานทฤษฎีและ

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

3


แนวคิดใหมๆ ที่อภิปรายกันในวงวิชาการตางประเทศ และ สงเสริมใหนกั วิชาการไทย โดยเฉพาะคนรุน ใหม ผลิตผลงานดาน ตำ�รา ทั้งที่เปนตำ�ราพื้นฐานและตำ�ราแนวทฤษฎีใหมๆ หรือ ประเด็นที่เปนวิวาทะรวมสมัยดานสังคมศาสตร หนังสือในชุด “ตำ�ราสังคมศาสตรเคล็ดไทย-สสมส.” จึง มีกระบวนการผลิตตามมาตรฐานทางวิชาการที่มีการพิจารณา และตรวจสอบ กลาวคือหนังสือในชุดนี้เขียนโดยอาจารย มหาวิทยาลัย นักวิชาการ และผูท ีม่ คี วามรูค วามเชีย่ วชาญในดาน สังคมศาสตรในสาขาวิชาตางๆ และผานกระบวนการตรวจสอบ ทางวิชาการจากผูทรงคุณวุฒิอานพิจารณาตนฉบับ (reader) ที่มีความรูในสาขาวิชาเหลานี้ มีการปรับปรุงแกไขตนฉบับ (revision) ตามความเห็นและคำ�แนะนำ�ของผูทรงคุณวุฒิฯ จึง เหมาะสมที่จะใชเปนตำ�ราในการเรียนการสอนดานสังคมศาสตรในระดับมหาวิทยาลัย

4

นิติ ภวัครพันธุ


เกี่ยวกับหนังสือ หนังสือเลมที่ทานกำ�ลังอานอยูในขณะนี้เปนฉบับปฐมฤกษของ “ตำ�ราสังคมศาสตรเคล็ดไทย-สสมส.” จึงนับเปนโอกาสอันดี ในการเปดตัวหนังสือชุดนี้ดวย ชวนถก ชาติและชาติพันธุ ซึ่งแตงโดย นิติ ภวัครพันธุ เปนงานเขียนเกี่ยวกับแนวคิดและวิวาทะเรื่อง “ชาติพันธุ” (ethnicity) ในแวดวงมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยใช กรณีศึกษาในสังคมหลายแหงเปนตัวอยางในการอภิปราย นอกจากนี้ยังกลาวถึงความสัมพันธชาติพันธุในเอเชียตะวันออก เฉียงใตในอดีต โดยพาดพิงถึงกรณีตางๆ ทั้งในบริเวณภาคพื้น ทวีปและภาคพื้นสมุทรของภูมิภาคนี้อีกดวย จุดเดนของหนังสือเลมนี้ ตามความเห็นของผูทรง คุณวุฒิอานพิจารณาตนฉบับ (reader) ซึ่งระบุวา มีลักษณะ พิเศษอยางนอย 4 ประการดวยกัน

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

5


1. เปนตำ�ราที่รวบรวมทั้งแนวคิดและขอถกเถียง ที่เปน พื้นฐานและทันสมัย ตำ�รานี้ไดแนะนำ�ใหผูอานรูจัก กับขอถกเถียงดั้งเดิมของการศึกษาดานนี้ ไลมาจน กระทัง่ แนวคิดรวมสมัยตางๆ ผูอ า นจะไดรบั การแนะนำ� ใหรูจักกับนักคิดนักวิชาการดานชาติพันธุศึกษาที่ สำ�คัญๆ อยางไมตกหลน นับไดวาใชเปนตำ�ราสำ�หรับ ผูเริ่มตนศึกษาดานนี้ไดเปนอยางดี 2. อยางไรก็ดี ตำ�รานี้เลือกที่จะชี้ใหเห็นความเลื่อนไหล ความสัมพันธเชิงอำ�นาจ ลักษณะเชิงการเมือง และ ความยอกยอนไมเปนสารัตถะแนชัดตายตัวของความ เปนชาติพันธุ ซึ่งนับวาเปนแนวคิดที่กาวหนาสำ�หรับ การศึกษาดานนี้ในปจจุบัน 3. หนังสือนี้เปนตำ�ราที่เสนอตัวอยางดานชาติพันธุศึกษา ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต โดยเชื่อมโยง และเปรียบเทียบกับตัวอยางจากที่อื่นๆ ทั่วโลก โดย เฉพาะอยางยิง่ มีจดุ เดนทีก่ ารรวบรวมและทดลองสราง ขอถกเถียงดานชาติพันธุศึกษาจากกลุมชาติพันธุใหญ 2 กลุมคือ มลายู และไท/ไต 4. หนังสือนี้เปนตำ�ราที่นาติดตาม ทั้งๆ ที่มีการเรียบเรียง มีการอางอิงอยางรัดกุมในฐานะงานเขียนทางวิชาการ แตอาจารยนิติก็เขียนเลาเรื่องราวอยางสนุกสนาน ชวนใหติดตาม ในแงนี้จึงสามารถใชไดทั้งเปนตำ�รา ในวิชาเรียน เปนตำ�ราอางอิงทางวิชาการ และเปน หนังสืออานสำ�หรับบุคคลทั่วไปที่ตองการศึกษาดานนี้

6

นิติ ภวัครพันธุ


ตำ�ราสังคมศาสตรเคล็ดไทย-สสมส. จึงรูสึกยินดีเปน อยางยิ่ง ที่หนังสือเลมนี้จะเปนประโยชนตอผูอานที่สนใจในเรื่อง ชาติพันธุ และหวังวาจะมีคุณูปการตอการอภิปรายและถกเถียง ในวงการสังคมศาสตรไทยอีกดวย สำ�นักพิมพ์ศยาม

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

7



เกี่ยวกับหนังสือ

5

บทนำ�: ในความแตกต่าง

13

บทที่ 1: ที่มาและความหมาย

27

บทที่ 2: แนวคิดและวิวาทะชาติพันธุ์

49

บทที่ 3: วิวาทะเรื่องชาติ ชาตินิยม และชาติพันธุ์นิยม 95 บทที่ 4: ชาติพันธุ์สัมพันธ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 135 บทที่ 5: สองวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

189

บทที่ 6: ชาติพันธุ์ท่ามกลางการเคลื่อนไหว

225

บทที่ 7: ปัจฉิมกถา

259

บรรณานุกรม

274

กิตติกรรมประกาศ

295

ประวัติผู้เขียน

297

ด ัชนี

298



แด่ Peter J. Wilson และ Gohan Wijeyewardene ครูผู้มีเมตตาและปัญญาอันเฉียบแหลม

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

11



บทนำ�

ในความแตกต่าง เรื่องที่ผมจะอภิปรายในหนังสือเลมนี้คือแนวคิดและขอ ถกเถียงบางประการเกี่ยวกับ “ชาติพันธุ” (ethnicity) ซึ่งเปน เรื่องที่มีความซับซอนอยางยิ่งและบางครั้งก็ยากที่จะหาคำ� อธิบายไดอยางแจมชัด ทัง้ ๆ ทีเ่ ปนเรือ่ งทีเ่ ราพบเห็นกันอยูท กุ วัน โดยเฉพาะในมหานครเยี่ยงกรุงเทพฯ ที่พลุกพลานไปดวยผูคน หลากชาติหลายภาษา ไมวาจะเปนแบ็กแพ็กเกอรชาวตะวันตก นักทองเที่ยวชาวฮองกงที่มาไหวศาลพระพรหม ครอบครัวของ นักธุรกิจชาวญีป่ นุ แถวสุขมุ วิท คนเชือ้ สายอินเดีย เจาของกิจการ เชื้อสายจีน หรือลูกจางคนงานชาวพมา ฯลฯ ซึ่งอาจเดินเบียด เสียดกันบนถนน ตอรองราคาสินคา ซื้อขายอาหาร ใชบริการ รถโดยสารรับจาง และปฏิสัมพันธอื่นๆ ทวาความเคยชิน ความ รวดเร็ว และความจอแจของชีวิตประจำ�วันของมหานครแหงนี้ ไมสนับสนุนใหผูคนสวนใหญสนใจซึ่งกันและกัน ไมกระตุนให เรา “ไดยนิ ” นานาภาษาทีใ่ ชสนทนากัน ไมชวนใหเรา “เห็น” ความ

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

13


แตกตางที่อาจซอนไวในความคลายคลึง ไมเปดโอกาสใหเกิด คำ�ถามเกี่ยวกับชีวิตและตัวตนของคนเหลานี้ ดวยความเคยชิน เราจึงไมรูสึกวาชีวิตถูกลอมรอบดวยความแตกตาง

ประสบการณชีวิต แต ค วามหลากหลายเหล า นี้ ไ ม ใ ช ข องใหม สำ � หรั บ ชี วิ ต ใน มหานคร ชีวิตในวัยเด็กของผมที่เติบโตในชุมชน “ผูอพยพ” ทีม่ ที ัง้ คนจีน คนเชือ้ สายอินเดียทัง้ นับถือศาสนาฮินดูและอิสลาม เพื่อนบานมุสลิมที่บรรพบุรุษอพยพมาจากประเทศปากีสถาน เพื่อนมุสลิมในโรงเรียนมัธยมซึ่งถูกตั้งฉายาวา “มุสลิมหมูเขี่ย” เนื่องจากกินเกือบทุกอยาง โดยไมสนใจวาอาหารจานนั้นมีเนื้อ หมูปะปน ประกอบ หรือทำ�ตามหลักศาสนาหรือไม รวมไปถึง เพื่ อ นสมั ย เรี ย นมหาวิ ท ยาลั ย บางคนที่ เ ล า ว า ตนมี เ ชื้ อ สาย โปรตุเกส หรือมอญ บางคนพูดภาษาเขมร บางคนมีเชื้อสายจีน แตทีบ่ า นพูดภาษาอีสาน ฯลฯ ประสบการณวยั เด็กทีผ่ มแวดลอม ดวยความหลากหลายที่ “เรา” คุนเคย จึงมิไดใสใจวาแปลก หรือไม ที่รานขายพริกแกงเครื่องเทศเปนของคนมุสลิม สวน คนไทยพุทธขายขนมหวาน รานขายยาเปนของคนจีน รานขาย เนื้อวัวเปนของคนมุสลิม หรือคนอินเดียขายอาหารมุสลิม สวน คนซิกขมักจะขายผา ชาวบานในยานนี้ซื้อขายสินคาของกัน และกัน อยูและทำ�มาหากินรวมกันจนรูจักมักคุนกัน หลายคนมี ลูกหลานที่เลนดวยกันหรือเรียนโรงเรียนเดียวกัน คนเฒาคนแก หลายคนเปนที่นับถือทั้งๆ ที่มิใชญาติพี่นองกัน เด็กอยางผมจึง

14

นิติ ภวัครพันธุ


ไมสงสัยวาใครเปนคนจีนหรือไทย เปนคนพุทธ มุสลิม หรือคริสต หรือทำ�ไมจึงมีมสั ยิดอยูห ลังตลาดสด มีสสุ านคนจีนทีเ่ ปนคริสตศาสนิกชน หรือคนจีนนิยมไปทำ�บุญที่วัดไทย หรือทำ�ไมจึงมีคน ขายอาหารมุสลิมในโรงเรียนมัธยมที่ผมเรียน ทั้งๆ ที่นักเรียน สวนใหญเปนคนพุทธ ฯลฯ ประสบการณเหลานี้ลวนเปนความ คุนเคยที่ผมเคยเห็นอยูทุกวัน ไมใชเรื่องแปลกที่นำ�ไปสูการตั้ง คำ�ถามใดๆ ความสงสั ย ของผมถู ก กระตุ  น ขึ้ น เมื่ อ ผมเริ่ ม เรี ย น ศาสตรที่เรียกวา “มานุษยวิทยา” ในระดับปริญญาตรี เมื่อความ แตกตางของผูคนในที่ตางๆ เปนหัวขอสำ�คัญของการเรียนรูและ การหาคำ�อธิบาย เมื่อคนถูกพิจารณาวาตองอยูรวมกันเปนหมู เปนกลุม ซึ่งนิยามวา “สังคม” และสามารถดำ�รงชีวิตอยูไดดวย สิ่งที่นิยามกันวา “วัฒนธรรม” แลวความแตกตางของผูคน ทั้งหลายก็ถูกจัดหมวดหมูใหอยูในกรอบของวัฒนธรรม ซึ่ง เราคิดวามีอยางหลากหลายและมหาศาล แตก็มีหัวขออื่นๆ ที่ นักเรียนหนาใหมอยางผมตองศึกษา หนึง่ ในนัน้ คือเรือ่ งชาติพนั ธุ ซึ่งผมไมไดสนใจมากมายนักจนกระทั่งผมเริ่มทำ�วิจัยในเมือง การคาแหงหนึ่งทางภาคเหนือ ไมไกลนักจากพรมแดนไทย-พมา ในชวงกลางทศวรรษ 25301 ชาวเมืองสวนใหญที่นั่นเปนคนไทย ใหญ แตพวกเขาเรียกตนเองวา “ไต” และคนที่พูดภาษาเหนือ

ผมกลับไปทีเ่ มืองนีอ้ กี หลายครัง้ เพือ่ ศึกษาเกีย่ วกับการเปลีย่ นแปลงของเมืองนี้ ซึง่ ไดตพี มิ พเ์ ปนหนังสือชือ่ เรือ่ งเลา เมืองไต ดู นิติ ภวัครพันธุ, เรือ่ งเลา เมืองไต (เชียงใหม: ศูนยอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2558). 1

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

15


หรือ “กำ�เมือง”2 เมืองเล็กๆ แหงนี้มีอะไรหลายอยางที่นาสนใจ คำ�ถามหนึ่งของผมเกิดขึ้นจากหนุมใหญรางสันทัดชาวกะเหรี่ยง ผูมีความคลองแคลวในภาษากะเหรี่ยง กำ�เมือง และไทยกลาง และมีความสามารถหลายดาน รอบรูสารพัด อีกทั้งยังเปน คนกวางขวางและมีอารมณขันที่สรางความเบิกบานใหแกทุกคน ที่พบปะ ครั้งหนึ่งผมถามเขาวานับถือศาสนาอะไร หนุมใหญ หัวเราะแลวบอกผมวาถาวันไหนเปนวันพระ เขาก็นับถือศาสนา พุทธ ไปทำ�บุญที่วัดหรือรับของแจก (ถาบังเอิญมีพระสงฆหรือ คนจากกรุงเทพฯ หรือที่อื่นเดินทางมาทำ�บุญและแจกอาหาร/ ของใชแกชาวบาน) ถาวันไหนมีงานที่โบสถคริสตเขาจะไปชวย งานที่โบสถ รวมสวดมนตกับชาวคริสต บางครั้งเมื่อเขาขึ้นดอย กลับไปเยี่ยมหมูบานของเขาหากบังเอิญมีการเซนไหวผีใน หมูบาน เขาจะเขารวมงานไหวผีดวย เพื่อนชาวพุทธของเขาใน ตลาดบอกผมวาหนุมใหญชาวกะเหรี่ยงเปนพุทธศาสนิกชน แต บางคนแยงวาเขาเปนชาวคริสตเพราะเคยเห็นเขาไปชวยงานที่ โบสถ ในขณะที่ชายกะเหรี่ยงไมเคยยืนยันกับผมวาเขานับถือ ศาสนาใดหรือมีความเชื่ออะไรแน หรือเขาเปนคนในวัฒนธรรม ใด (ทวาไมมีใครปฏิเสธวาชายอารมณดีผูนี้มิใชคนกะเหรี่ยง ซึ่ง ก็ไมชว ยใหผมหายสงสัยหรือหายสับสน เพราะคำ�ถามทีม่ ตี ามมา

ออกเสียงตามภาษาของคนทองถิ่นภาคเหนือซึ่งเรียกตนเองวา “กนเมือง” แต ในภาษาไทยกลางคือ “คนเมือง” เมื่อพาดพิงถึงผูคนกลุมนี้ และ “คำ�เมือง” เมื่อกลาวถึงภาษาของพวกเขา 2

16

นิติ ภวัครพันธุ


คือ ใครคือคนกะเหรี่ยง? จะรูไดอยางไร? มีอะไรเปนเครื่อง ชี้วัด?) อีกกรณีหนึ่งเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ปลายทศวรรษ 2530 ผมอาศัยอยูในบานในซอยสะพาน 99 ซึ่งไมไกลจากตลาด เตาปูนนัก ชาวบานในซอยนี้สวนใหญอาศัยอยูมานานหลายชั่ว อายุคน จะเรียกวาเปนชุมชนที่ผูคนรูจักมักคุนกันมาตั้งแตเกิด ก็คงได สุดซอยดานในมีศาลเจาเล็กๆ ตั้งอยู ถาเลี้ยวซายจะเจอ ศาลเจาจี้กง ซึ่งเปนที่นับถือของชาวบานในยานนี้จรดเตาปูน บางซอน บางซื่อ เรื่องที่ทำ�ใหผมฉงนคือคนที่อยูในซอยนี้จำ�นวน มากยอมรับวาตนมีเชื้อสายจีน แตจะบอกไดอยางไรวาที่แท พวกเขาคือใคร (ตามคำ�นิยามในวิชามานุษยวิทยา) คำ�ถามนี้ เกี่ยวของกับหญิงสูงอายุ 2 คน คนหนึ่งเปนแมของแมคาขาย อาหารตามสัง่ ปาคนนี้ – ซึง่ เสียชีวติ ไปแลว – ชวยลูกสาวตักขาว ใสจาน เสิรฟอาหาร เก็บจานเปลา และงานจิปาถะอื่นๆ ชวง มื้อเที่ยงซึ่งมีลูกคาแนนราน ปานุงผาถุงทุกวัน พูดภาษาไทย ชัดเจนแตบอยครั้งก็สนทนากับคนรูจักบางคนดวยภาษาจีน แตจิ๋ว อีกคนเปนแมของแมคาขายผักที่ตั้งอยูขางรานขายของชำ� ปาคนนี้เหมือนปาคนแรกที่ชวยลูกสาวทำ�งานสารพัด แตแกใส กางเกงทรงจีนขากวางสีด�ำ บางครัง้ ก็ใสเสือ้ คอกระเชา แตไมเคย นุงผาถุง และผมไมเคยไดยินแกพูดภาษาจีนเลย ถามสั้นๆ วา ปาสองคนนี้เปนคนจีนหรือไม? ถาใช ทำ�ไมจึงมีความแตกตาง ระหวางคนทั้งสอง? ถาไมใช คนไหนเปนคนจีน? คนไหนเปน คนไทย? และจะใชอะไรเปนหลักการหรือมาตรฐานในการจัด ประเภทคุณปาทั้งสอง?

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

17


นี่เปนกรณีเล็กๆ อีกหนึ่งกรณีที่ทำ�ใหนักเรียนมานุษยวิทยาอยางผมตองปวดเศียรเวียนเกลา ไมแนใจวาคำ�ตอบคือ อะไร?!

ประสบการณตางที่ตางกลุม แตประสบการณในสังคมไทย ซึ่งมีคนตางภาษาตางธรรมเนียม ปฏิบัติ ดำ�เนินชีวิตอยูปะปนกัน อาจมิไดผิดแผกจากชีวิตใน สังคมอื่นๆ มากนัก ในบทนำ�ของหนังสือดานชาติพันธุของ คริสเตียน คารเนอร (Christian Karner) แหงมหาวิทยาลัย น็อตติงแฮม กลาวถึงความคิดในการเขียนหนังสือเลมนี้วา เริ่ม ขึ้นจากขอความที่ตัวเขาเองจดไวในกระดาษเช็ดปากแผนหนึ่ง วา ระหวางที่เขากำ�ลังนั่งรับประทานอาหาร ซึ่งรูจักกันอยาง กวางขวางวาเป็นร้านอาหารอิตาเลียนในภัตตาคารแหงหนึ่งใน นครมิวนิค โดยมีบริกรหนุมผูโอบออมเชื้อสายตุรกีคอยให บริการ บริกรผูนี้พูดภาษาตุรกีเมื่อตองสนทนากับลูกคาประจำ� กลุมหนึ่ง แลวก็เปลี่ยนเปนภาษาเยอรมันสำ�เนียงบาวาเรียน ในขณะที่ดนตรีสวนใหญที่ทางรานเปดใหลูกคาฟงเปนเพลงฮิต ยอดนิยมภาษาอังกฤษ คารเนอรระบุวาเขาเปนคนออสเตรียแต อาศัยอยูในประเทศอังกฤษ กำ�ลังสนทนากับบริกรเชื้อสายตุรกีเยอรมันดวยภาษาถิ่นเยอรมัน ซึ่งเปนภาษาที่คารเนอรเองพูดได แตก็เปนภาษาที่ผูคนในบริเวณภาคใตของประเทศเยอรมันยังใช กันอยู เขาจึงตั้งคำ�ถามวา ชาติพันธุเปนเรื่องที่อยูรอบตัวเราและ ในตัวเขาเอง? หากกลาวเชนนั้นแลวอาจทำ�ใหเราละเลยเรื่อง

18

นิติ ภวัครพันธุ


อื่นๆ ที่มีความสำ�คัญเทากัน (หรืออาจมากกวา) เชน เรื่องการ เปนพลเมือง (citizenship) และชนชั้น (class) เรือ่ งการบริโภคนิยม (consumerism) และอัตลักษณหลังสมัยใหม (postmodern identities) ฯลฯ3 คารเนอรพยายามชี้ใหเราเห็นถึงปฏิสัมพันธที่ซับซอน และมีพลวัตในสังคมที่หลากหลายดวยชนชาติพันธุตางกลุม ซึ่ง สังเกตไดจากการดำ�รงชีวิตประจำ�วัน และในกรณีของเขาคือ ประเทศเยอรมัน ทวาในความเปนจริงลักษณะที่เขากลาวถึงนี้ ดูจะมีอยูทั่วโลก รวมทั้งในบานเราและประเทศใกลเคียง มีงาน วิจัยและการศึกษามากมายที่ระบุวาดินแดนในแถบนี้มีความ แตกตางทางวัฒนธรรม แตนั่นก็มิไดหมายความวาผูคนตาง กลุมวัฒนธรรมจะไมเขาใจกัน ไมคบคาสมาคมกัน หรืออยูรวม กันไมได หรือแมแตหลงรักแตงงานกันไมได ตรงกันขาม มี ตัวอยางมหาศาลที่แสดงวาชนตางกลุมชาติพันธุอยูรวมกัน นานนับศตวรรษ ยาวนานจนทำ�ใหการแตงงานขามกลุม ชาติพนั ธุ และการพูดไดสองภาษา (bilingual) หรือมากกวานัน้ ในครอบครัว หรือชุมชนเดียวกันเปนเรื่องสามัญ ตางคนตางรูธรรมเนียม ปฏิบตั ขิ องกันและกัน รูว า อะไรทำ�ไดอะไรทำ�ไมได เพราะสมาชิก ของชุมชนเดียวกันมีความรู ความเขาอกเขาใจ และทักษะในการ อยูรวมกันทามกลางความแตกตางได

Christian Karner, Ethnicity and Everyday Life (London and New York: Routledge, 2007), p. 1. 3

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

19


ประเด็นถกเถียง แนนอนผูคนสวนใหญรับรูและ/หรือตระหนักถึงความแตกตาง ระหวางตนเองกับคนอื่น แมวาจะอยูในชุมชนเดียวกัน หรือ ตางชุมชนที่ตั้งอยูใกลชิดกันมานานหลายชั่วอายุคนก็ตาม สิ่งที่ นาสนใจคือผูคนเหลานี้แบงแยกความแตกตางระหวางตนและ คนอื่นอยางไร พวกเขามีกระบวนการอะไรในการจำ�แนกหรือจัด ประเภทของคน ซึ่งรวมถึงตนเองดวย พวกเขาเรียนรูไดอยางไร ในการอยูปะปนรวมกับคนอื่น มีปจจัยหรือเงื่อนไขอะไรที่ชวย สนับสนุน ทักษะและความสามารถเหลานี้มาจากไหน และ ประเด็นอื่นๆ ที่นาสนใจอีกมากมายที่นักมานุษยวิทยาตองการ คำ�ตอบหรือคำ�อธิบาย จึงเสนอแนวคิดหรือมโนทัศน (concept) และสมมติฐาน (hypothesis) ขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อชวยในการ พัฒนาคำ�อธิบายทีม่ คี ณ ุ สมบัตเิ ชิงภววิสยั (objective) ทีส่ ามารถ ใชวิเคราะหความซับซอนของชีวิตและพฤติกรรมของผูคนตาง ภาษาหลากธรรมเนียมได และนี่เปนเหตุผลประการแรกที่ทำ�ให ผมเห็นวามีความจำ�เปนอยางยิ่งในการผลิตงานเขียนชิ้นนี้ ซึ่งจะ กลาวถึงแนวคิดและวิวาทะ (debate) เรื่องชาติพันธุ ใน พ.ศ. 2541 ผมเขียนบทความชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับการ อภิปรายเรือ่ งชาติพนั ธุใ นวงการมานุษยวิทยา โดยเนนทีข่ อ เสนอ และสมมติฐานเรื่องชาติพันธุของนักมานุษยวิทยาตะวันตก และ พัฒนาการของการถกเถียงในเรือ่ งนีซ้ ึง่ เริม่ ขึน้ ในทศวรรษ 19604  ดู นิติ ภวัครพันธุ, “บางครัง้ เปนคนไทย บางครัง้ ไมใช”: อัตลักษณแหงตัวตน ที่ผันแปรได,” รัฐศาสตรสาร ปที่ 20 ฉบับที่ 3 (2541), หนา 215-251. 4

20

นิติ ภวัครพันธุ


ตั้งแตนั้นมาผมก็คนควาเรื่องชาติพันธุอยางจริงจัง เพราะคิดวา ชาติพันธุเปนประเด็นสำ�คัญที่มีความซับซอน ละเอียดออน และ ผันแปรไปตามกาลเวลา จึงจำ�เปนตองเขาใจประเด็นรวมสมัย ตางๆ ที่เขามาสัมพันธกับวิวาทะเรื่องชาติพันธุเชนกัน ดังนั้นการอภิปรายในงานเขียนชิ้นนี้จึงมิไดเนนเพียง แนวคิดและวิวาทะเรื่องชาติพันธุที่ปรากฏในงานเขียนดาน มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ทั้งที่เปนภาษาไทยและอังกฤษ เทานั้น หากยังพาดพิงถึงประเด็นอื่นๆ ที่ผมคิดวาสัมพันธกับ เรื่องชาติพันธุ เชน • แนวคิดเรื่องเชื้อชาติ (race) ชาติ (nation) ชาตินิยม (nationalism) ชาติพันธุนิยม (ethnonationalism) • ความสัมพันธชาติพันธุในเอเชียตะวันออกเฉียงใตใน อดีต โดยพาดพิงถึงกรณีตางๆ ซึ่งแสดงใหเห็นปฏิสัมพันธอันซับซอนระหวางชนตางชาติพันธุกลุมตางๆ ในบริเวณภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทรของภูมิภาคนี้ • วัฒนธรรมไตและมลายู อันเปนวัฒนธรรมของผูคน จำ�นวนมหาศาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต • อัตลักษณ (identity) และการตอสูเรียกรองสิทธิของ ชนพื้นเมือง เชน กรณีของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือและนิวซีแลนด ที่ใชอัตลักษณและวัฒนธรรมของ พวกตนในการตอสูเพื่อสิทธิทางการเมือง ซึ่งนอกจาก มีนัยของการเปนชนพื้นเมืองแลว ยังสะทอนถึงพลวัต และความผันแปรของอัตลักษณของพวกเขาที่สวนหนึ่ง เปนผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม-วัฒนธรรม

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

21


ในความเห็นของผม ประเด็นขางตนเหลานี้ทำ�ใหงาน เขียนชิ้นนี้มีมุมมองและความสนใจในบางประเด็นแตกตาง ไปจากบทความ หนังสือ และ/หรือตำ�ราภาษาไทยที่นาสนใจ และมีความสำ�คัญในเรื่องชาติพันธุจำ�นวนหนึ่ง เชน ผลงานของ สุเทพ สุนทรเภสัช5 ยศ สันตสมบัติ6 ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ7 วีระ สมบูรณ8 เปนตน

สุเทพ สุนทรเภสัช, ชาติพันธุสัมพันธ: แนวคิดพื้นฐานทางมานุษยวิทยาใน การศึกษาอัตลักษณ กลุมชาติพันธุ ประชาชาติ และการจัดองคกรความสัม พันธทางชาติพันธุ (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548); สุเทพ สุนทรเภสัช, ทฤษฎีชาติพันธุสัมพันธุ: รวมบทความทางทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ เชื้อชาติ กลุมชาติพันธุ การจัดองคกรความสัมพันธทางชาติพันธุ และรัฐประชาชาติ (เชียงใหม: ศูนยศึกษาชาติพันธุและการพัฒนา คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2555). ซึ่งเปนการแปลงานเขียนในภาษาอังกฤษเปนไทย 6  ยศ สันตสมบัติ, อำ�นาจ พื้นที่ และอัตลักษณทางชาติพันธุ: การเมือง วัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย (กรุงเทพฯ: ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร, 2551). ซึ่งเปนการสำ�รวจและสรุปงานเขียนเรื่องชาติพันธุที่ดีมากเลมหนึ่ง 7  ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ, “ทบทวนแนวทางการศึกษาชาติพันธุขามยุคสมัย กับการศึกษาในสังคมไทย,” ใน วาดวยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ (หนังสือ รวมบทความจากการประชุมประจำ�ปทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 2 เรื่อง ชาติและ ชาติพันธุ วิถีชีวิตและความหลากหลายทางชาติพันธุในโลกปจจุบัน, เอกสาร วิชาการลำ�ดับที่ 36) (กรุงเทพฯ: ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร, 2547), หนา 1-125. 8  วีระ สมบูรณ, รัฐ-ชาติ ชาติพันธุ ขอสังเกตบางประการวาดวยความเปนชาติ ความเปนรัฐ และปญหาชาติพันธุ (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพสมมุติ, 2553). 5

22

นิติ ภวัครพันธุ


เนื้อหาของหนังสือ เนื้อหาที่จะอภิปรายตอไปแบงออกเปน 7 บท มีรายละเอียด ดังนี้ • บทที่ 1 “ที่มาและความหมาย” จะกลาวถึงที่มาและ ความหมายของคำ�วา “ชาติพันธุ” (ethnicity) ในโลก วิชาการภาษาอังกฤษและพัฒนาการของศัพทคำ�นี้ ซึ่ง สงผลใหความหมายในปจจุบันของคำ�นี้ไมเหมือนเดิม และลั ก ษณะบางประการของสั ง คมเอเชี ย ที่ ทำ � ให แนวคิดเรื่องชาติพันธุกลายเปนที่สนใจ • บทที่ 2 “แนวคิดและวิวาทะชาติพันธุ” อภิปรายเรื่อง แนวคิดหรือสมมติฐาน ขอโตแยง และวิวาทะเรื่อง ชาติพันธุ ยกกรณีชนชาติพันธุบางกลุมในประเทศไทย เปนตัวอยางในการอภิปราย • บทที่ 3 “วิวาทะเรื่องชาติ ชาตินิยม และชาติพันธุนิยม” ซึ่งจะเนนที่แนวคิดและวิวาทะเรื่องชาติ (nation) และ ชาตินิยม (nationalism) ความสัมพันธระหวางชาติ ชาตินิยม และชาติพันธุ โดยจะพาดพิงถึงนักคิดคน สำ�คัญบางคนทีม่ อี ทิ ธิพลทางความคิดในประเด็นเหลานี้ • บทที่ 4 “ชาติพันธุสัมพันธในเอเชียตะวันออกเฉียงใต” กลาวถึงชาติพันธุสัมพันธหรือความสัมพันธระหวางชน ตางกลุมชาติพันธุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ในอดีต โดยมีกลุมชาติพันธุทั้งในบริเวณภาคพื้นทวีป และภาคพื้นสมุทรของภูมิภาคนี้เปนตัวอยาง เพื่อให

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

23


ผูอานไดเห็นมุมมองเชิงประวัติศาสตรของเรื่องนี้ และ เขาใจเกี่ยวกับพัฒนาการของปฏิสัมพันธของชนตาง กลุมชาติพันธุในดินแดนนี้ดวย • บทที่ 5 “สองวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต” ประเด็นหลักในบทนี้คือวัฒนธรรมที่สำ�คัญสองวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต อันไดแก วัฒนธรรม ไตและวัฒนธรรมมลายู โดยจะกลาวถึงลักษณะของ วัฒนธรรมทั้งสอง การปฏิบัติของวัฒนธรรมทั้งสอง ตลอดจนปฏิสัมพันธระหวางคนสองกลุมนี้ ซึ่งนำ�ไป สูการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหวางทั้งสอง • บทที่ 6 “ชาติพันธุทามกลางการเคลื่อนไหว” เริ่มดวย การอภิปรายเรือ่ งการเมืองอัตลักษณ (identity politics) ซึ่งในแงหนึ่งไดนำ�ไปสูการโตแยงและแนวคิดเรื่อง อัตลักษณ (identity) และสมมติฐานที่วาอัตลักษณมี ลักษณะลื่นไหลและผันแปรไปตามเงื่อนไขตางๆ โดย เฉพาะอยางยิ่งในโลกปจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงเกิด ขึ้นอยางกวางขวาง นอกจากนี้จะกลาวถึงกรณีของชน พื้ น เมื อ งในบางประเทศที่ ใ ช อั ต ลั ก ษณ แ ละจารี ต ประเพณีของตนในการตอสูเพื่อสิทธิทางการเมือง • ปจฉิมกถา จะกลาวถึงประเด็นที่มิไดถกเถียง/อภิปราย ในงานเขียนชิ้นนี้ ซึ่งผมคิดวานาสนใจแตไมอาจนำ�มา อภิปรายหรือถกเถียงในงานเขียนชิ้นนี้ไดเนื่องจาก ขอจำ�กัดบางประการ

24

นิติ ภวัครพันธุ


จุดมุงหมายของการอภิปรายหัวขอทั้งหลายขางตน เพื่อ ใหผูอานไดเขาใจถึงที่มาของแนวคิดเรื่องชาติพันธุ พัฒนาการ ของการถกเถียงในเรื่องนี้ ซึ่งในดานหนึ่งสงผลใหเกิดแนวคิด และสมมติ ฐ านอี ก มากมายที่ ไ ม เ พี ย งแต เ กี่ ย วข อ งกั บ เรื่ อ ง ชาติพันธุเทานั้น หากยังมีประเด็นเรื่องชาติ ชาตินิยม และ ชาติพันธุนิยมเขามาอีกดวย และเพื่อใหผูอานเกิดความเขาใจ ยิ่งขึ้น นอกจากผมจะกลาวถึงความสัมพันธชาติพันธุระหวาง กลุมชนตางๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตในอดีต เพื่อ ใหเห็นมุมมองทางประวัติศาสตรในเรื่องชาติพันธุสัมพันธ ยังจะ อภิปรายถึงวัฒนธรรมไตและวัฒนธรรมมลายู อันเปนวัฒนธรรม ที่สำ�คัญสองวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ เพื่อใหเขาใจถึงปฏิสัมพันธ อันซับซอนระหวางผูคนทั้งสองวัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยน/ ผสมผสานระหวางสองวัฒนธรรมนี้ ในตอนทายจะจบดวยการ อภิปรายเรื่องการเมืองอัตลักษณและการตอสูเรียกรองเพื่อ สิทธิทางการเมือง เพื่อใหเห็นวา บอยครั้งและในหลายสังคม ชาติพันธุมีความสัมพันธที่ลึกซึ้งกับเรื่องสิทธิและการตอสูเพื่อ สิทธิของกลุมชาติพันธุ

ชวนถก ชาติและชาติพันธุ

25


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.