อุดมศึกษาของชุมชน ดร.โยธิน บุญเฉลย

Page 1

การจัดการความรู้บนฐานวัฒนธรรมไทใหญ่เพื่อเพิ่มมูลค่า และพัฒนาสู่การเป็นสถาบันไทใหญ่ศึกษา

ดร.โยธิน บุญเฉลย*

เนื้อหาของบทความฉบับนี้ มุ่งเน้นที่จะกล่าวถึงประสบการณ์อันทรงคุณค่าที่ผู้เขียนได้มีโอกาส ทางานเชิงจัดการความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ในพื้นที่ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาเป็นเวลาเกือบ 8 ปี โดยเริ่มดาเนิน การศึกษามาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 ในลักษณะของงานวิจัยและพัฒนา และต่อมาในปีงบประมาณ 2551 จนถึงปัจจุบันก็ได้รับการสนับสนุนจากสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านสานักบริหารงานวิทยาลัย ชุม ชนและจั ง หวัด แม่ ฮ่อ งสอนมาโดยตลอด ผู้ เ ขี ย นจึ ง ขอน าเสนอในประเด็ นเกี่ ยวกั บ ความเป็ น มาและ ความสาคัญของปัญหา กระบวนการทางาน ผลผลิต/ผลลัพท์ที่ได้ ปัจจัยสนับสนุนสาคัญ และข้อเสนอแนะ ตามรายละเอียดในหัวข้อต่อไปนี้

1. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ไทใหญ่ หรือ ไต นั บว่า เป็ น กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่ มหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่น้อยกว่า 2,000 ปี เคยมีพัฒนาการสร้างบ้านแปงเมืองมาจนเป็นอาณาจักร (คณะทางานร่วมระหว่างคณะวิจิตรศิลป์ และสถาบันวิจัยสังคม 2551) ไทใหญ่เป็นชาติพันธุ์ที่มีภาษาพูด ภาษาเขียน และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศต่างๆ เช่น มณฑลยูนนานของจีน รัฐฉานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ รัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย บางพื้นที่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดทางภาคเหนือ ของประเทศไทย คาดว่ามีประชากรไทใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุดในรัฐฉานของสาธารณรั ฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ จานวน 7.5 ล้านคน (Graceffo, 2010) ส่วนไทใหญ่ในประเทศไทยนั้นอาศัยอยู่มากในบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงราย จังหวัด เชียงใหม่ จังหวัดลาปาง และจังหวัดแพร่ สาหรับจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีไทใหญ่อพยพเข้ามาจากรัฐ ฉานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เข้ามาตั้งรกรากไม่ต่ากว่า 200 ปี จาแนกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ย้าย ถิ่นเข้ามาเพื่อบุกเบิกพื้นที่ทามาหากิน กลุ่มที่ตกค้างจากการทาสงครามระหว่างพม่ากับล้านนาและอโยธยา กลุ่มผู้ที่หลบหนีภัยสงครามภายในของพม่าระหว่างกองทัพเมืองนายกั บกองทัพเมืองหมอกใหม่ และกลุ่มผู้ที่ เข้ามาทาไม้กับบริษัททาไม้ของอังกฤษ ปัจจุบันมีไทใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนประมาณร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด ประชากรไทใหญ่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอาเภอเมือง อาเภอขุนยวม อาเภอแม่ลาน้อย อาเภอปางมะผ้า และอาเภอปาย ตามลาดับ (สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2549) จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีชุมชนไทใหญ่ตั้งอยู่ประมาณ 104 ชุมชน และภายในชุมชนไทใหญ่เหล่านี้มี สิ่งที่ทรงคุณค่าหลายประการได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อ การละเล่น พื้นบ้าน อาหาร แหล่งท่องเที่ยว ดนตรี การละเล่นพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ บ้าน เรือน วัด

*

G รองผู้อำนวยกำรวิทยำลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน และหัวหน้ำโครงกำรไทใหญ่ศึกษำ 1


และอื่นๆ สิ่งที่ทรงคุณค่าเหล่านี้จาเป็นต้องมีการอนุรักษ์สืบสานพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่ อไป อย่างไรก็ตามได้มี เหตุการณ์หลายอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการล่มสลายของสิ่งที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ อาทิ เช่น มีการใช้ ภาษาไทใหญ่ของเยาวชนคนหนุ่มสาวมีน้อยลง ผู้คนบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และวิถีแห่งไทใหญ่ การแต่งกายแบบไทใหญ่ลดน้อยลง เยาวชนบางส่วนไม่ชอบที่จะแสดงตนแสดงตนในความ เป็นไทใหญ่ พิธีกรรมและงานประเพณีหลายประการเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กลายเป็นพืธีกรรรมที่มุ่งเน้น ความสะดวกรวดเร็วและผลประโยชน์แอบแฝงทางการเมืองในระดับท้องถิ่น ประกอบกับกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ ไหลบ่ าเข้ามาในสั งคมไทใหญ่อย่ างรวดเร็ ว สิ่ งที่ทรงคุณค่า เริ่มเปลี่ ยนแปลงและสู ญหายไปตามกาลเวลา เนื่องจากการขาดองค์ความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับไทใหญ่ทั้งเชิงลึกและกว้าง พร้อมทั้งขาด องค์กรทางวิชาการเกี่ยวกับไทใหญ่ในพื้นที่ ดังจะเห็นได้จากผลการประชุมของภาคประชาสังคมไทใหญ่ของ จังหวัดแม่ฮ่องสอนเมื่อเดือนธันวาคม 2553 ในตอนหนึ่งที่แสดงความคิดเห็นอย่างสอดคล้องกันว่า การที่ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตไทใหญ่ที่มีอยู่เดิมมีการสูญหายหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนั้น มีสาเหตุจากประชาชน หน่วยราชการ และองค์กรในพื้นที่ขาดองค์ความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับไทใหญ่ ประกอบกับ ขาดองค์กรทางวิชาการที่จะช่วยชี้นาและบริการวิชาการเกี่ยวกับชาติพันธุ์ไทใหญ่ (วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน 2553) สาหรับพันธกิจของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนนั้นกาหนดให้ดาเนินการเกี่ยวกับการสอน การวิจัย การบริ การวิ ช าการ และการท านุ บ ารุ งศิ ล ปวัฒ นธรรม (ส านัก งานคณะกรรมการการอุด มศึ กษา 2551) โดยเฉพาะพันธกิจเกี่ยวกับการบริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการแก่ชุมชนสังคม ร่วมรับรู้ถึง ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชน และสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนสั งคมนั้น เป็นสิ่ง สาคัญที่วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนต้องตระหนัก วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนจึงจัดบริการวิชาการเกี่ยวกับ ไทใหญ่มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยมีกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในแง่ของการ รวบรวม กลั่นกรอง แลกเปลี่ยน และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่มาได้ระยะหนึ่ง แต่ทว่าก็ประสบ ปัญหาสาคัญหลายประการเกี่ยวกับ การขาดความต่อเนื่องในการดาเนิน งาน การชาดประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการ การขาดกาลังคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านไทใหญ่ และการขาดแคลนงบประมาณรวมทั้ง ทรัพยากรที่จาเป็นในการทางาน (วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน 2553) จากสภาพปัญหาข้างต้นจะเห็นว่าเป็น ปัญหาในเชิงการบริหารจัดการทั้งสิ้น ประกอบกับผลการประชุมรับฟังความคิดเห็น ของภาคประชาสังคมเมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2553 ณ ห้องประชุมวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่ องสอนที่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่า จาเป็นที่ ต้องผลักดันให้โครงการไทใหญ่ศึกษาให้มีความชัดเจนมากขึ้น และควรดาเนินการจัดตั้งองค์กรเกี่ยวกับไทใหญ่ ศึกษาขึ้นภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า โดยกาหนดให้มีพันธกิจที่สาคัญเกี่ยวกับไทใหญ่ในแง่ของการจัดการ เรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ รวมทั้งการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่ หากศูนย์ใหญ่ศึกษาที่เกิดขึ้นสามารถดาเนินงานตามพันธกิจข้างต้นได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ จะ ก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ คือ ประการแรก ทาให้เกิดมีหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับ ไทใหญ่ ประการที่สอง ทาให้มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับไทใหญ่ ประการที่สาม ทาให้มีการบริการวิชาการเกี่ยวกับ ไทใหญ่แก่ชุมชน สังคม นักวิชาการ และผู้สนใจ ประการที่สี่ ส่งเสริมให้ สถาบันไทใหญ่ศึกษาและวิทยาลัย ชุมชนแม่ฮ่องสอนมีบทบาทที่โดดเด่นในการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทใหญ่ นอกจากนี้คาดว่าจะส่งผล กระทบเชิงบวกให้วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนกลายเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่นที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เฉพาะเกี่ยวกับไทใหญ่ ส่วนประชาชน ผู้สนใจ และนักวิชาการ จะได้รับประโยชน์ที่รอบด้านและลึกซึ้งมากขึ้น อีกทั้งองค์ความรู้ทางวิชาการด้านไทใหญ่จะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความเป็นสากล สามารถ

2


สนองตอบต่อความต้องการของผู้คนทั้งในและนอกชุมชนได้ ศูนย์ไทใหญ่ศึกษาจะเป็นกลไกทางวิชาการในพื้นที่ จะช่วยทาให้เกิดองค์ความรู้และการพัฒนาชุมชนสังคมของไทใหญ่อย่างยั่งยืน และเป็นแนวทางเพื่อใช้ในการ พัฒนางานทางด้านชาติพันธุ์สาหรับวิทยาลัยชุมชนหรือหน่วยงานอื่นต่อไปในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้ศูนย์ไทใหญ่ ศึกษามีความยั่งยืนสามารถเชื่อมประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่ วนได้อย่างเหมาะสม จึงจาเป็นต้องอาศัย การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ส่วนผลลัพธ์สุดท้ายคาดว่าน่าจะ เกิดขึ้น คือ ไทใหญ่สามารถอนุรักษ์สืบสานและพัฒนาไว้ซึ่งอั ตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมรวมทั้งอาศัยอยู่ ในชุมชนอย่างมีคุณภาพชีวิต และมี ความผาสุกอย่างยั่งยืน ส่วนศูนย์ไทใหญ่ศึกษาจะมีการพัฒนาไปสู่การเป็น สถาบันไทใหญ่ศึกษาในอนาคต การดาเนินงานเกี่ยวกับไทใหญ่เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนจึงต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับทั้งใน แง่ของประวัติศาสตร์ ความเชื่อ ภาษา วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ค่านิยม และอื่น ๆ ประกอบกับศูนย์ ไทใหญ่ศึกษาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับองค์กรทางชาติพันธุ์ แต่มีประเด็นที่ น่าสนใจก็คือ ในประเทศไทยเองยังไม่เคยมีองค์กรมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับองค์กรทางชาติพันธุ์ที่อยู่ในสั งกัด วิทยาลัยชุมชนมาก่อน โดยส่วนใหญ่จะพบว่า องค์กรมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับองค์กรทางชาติ พันธุ์ที่มีมักอยู่ใน สังกัดมหาวิทยาลัย หรือเป็นองค์กรในกากับของรัฐ หรือเป็นองค์กรที่ขึ้นกับชุมชนหรือมูลนิธิใดมูลนิธิหนึ่ง โดยตรง เงื่อนไขสาคัญที่จะช่วยในการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับไทใหญ่ข้างต้นประสบผลสาเร็จตามที่กาหนดไว้ จาเป็นต้องมีการดาเนินการจัดการความรู้ไทใหญ่อย่างมีปะสิทธิภาพ รวมทั้งมีการออกแบบการบริหารจัดการ ศูนย์ไทใหญ่ศึกษาอย่างเหมาะสม โดยมีการกาหนดวัตถุประสงค์การทางานในระยะยาวไว้ 3 ประการคือ 1) เพื่อจัดการองค์ความรู้ไทใหญ่ 2) เพื่อเพิ่มมูลค่าบนฐานวัฒนธรรมไทใหญ่ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการ บริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษาเพื่อพัฒนาสู่การเป็นสถาบันไทใหญ่ศึกษาในอนาคต

กระบวนการทางาน กระบวนการทางานเพื่อการจัดการความรู้บนฐานวัฒนธรรมไทใหญ่เพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนา สู่การเป็นสถาบันไทใหญ่ศึกษานั้น เป็นกระบวนการทางานอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 จนถึงปี 2557 กิจกรรมที่ขับเคลื่อนอยู่บนบนฐานของการวิจัยเชิงปฎิบัติการ และโครงการ สาหรับงบประมาณในการ ดาเนินโครงการ รวมแล้วเป็นจานวนเงิน 11,110,740 บาท โดยได้จากแหล่งงบประมาณ 3 แหล่ง ได้แก่ สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาหรับ กระบวนการทางานและหรือวิธีการศึกษาแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ กระบวนการศึกษาเพื่อการจัดการองค์ ความรู้ไทใหญ่ กระบวนการศึกษาเพื่อเพิม่ มูลค่าบนฐานวัฒนธรรมไทใหญ่ และกระบวนการศึกษารูปแบบและ ดาเนินงานพัฒนาสู่การเป็นสถาบันไทใหญ่ศึกษา 1. กระบวนศึกษาเพื่อการจัดการองค์ความรู้ไทใหญ่ กระบวนการจัดการความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ ถือว่าเป็นการกระบวนการหลักของการขับเคลื่อน งานที่เกี่ยวกับไทใหญ่ศึกษา มีกระบวนการทางานอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งมีกิจกรรมสาคัญดังนี้ 1.1 การบ่งชี้ความรู้ มีการกาหนดประเด็นของการจัดการความรู้ ไว้ 3 ประการคือ เพื่อ จัดการความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านอาชีพ รายได้ โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมประเพณีไท ใหญ่ และเพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไทใหญ่ 1.2 การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการเก็บรวบรวมช้อมูลองค์ความรู้ไทใหญ่โดยใช้ วิธีการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก การศึกษาดูงาน การแปลตารา และการประชุมอย่าง ไม่เป็นทางการ 3


1.3 การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ในการประมวลและกลั่นกรองความารู้ไทใหญ่ใช้ วิธีการต่าง ๆ ประกอบด้วยการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อกลั่นกรององค์ความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ การเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชน และการประชุมเพื่อปริวรรตวัฒนธรรมไทใหญ่ 1.4 การจัดระบบความรู้ มีการจัดหมวดหมู่ข้อมูลเกี่ยวกับไทใหญ่อย่างเป็นระบบในรูปแบบ ของการจัดทาหลักสูตรด้านวัฒนธรรมประเพณี การจัดทาเอกสารวรรณกรรมนิทานฉบับสมบูรณ์ รวมทั้งการ พัฒนาเพื่อจัดทาสื่อและเอกสารประกอบการเรียนการสอน 1.5 การเข้าถึงข้อมูล มีการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับไทใหญ่ที่เก็บรวบรวมไว้ในรูป ของการจัดทาเว็บไซต์ เอกสาร สื่อวีดิทัศน์ รายการวิทยุ เคเบิ้ลทีวี และนิทรรศการ 1.6 การแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ใน รู ป ของกิจ กรรมการจั ดเสวนาแลกเปลี่ ย นความรู้ในระดับชุม ชน ระดั บชาติ และระดับนานาชาติ การจั ด นิทรรศการ การจัดประกวดด้านวัฒนธรรม รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความมือทางด้านภาษาและวัฒนธรรม 1.7 การเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมส่งสริมการนาความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ไปใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาเขตเทศบาลเมืองแมฮ่องสอนเป็นเมืองพิพิธภัณฑ์มีชีวิต การสนับสนุนให้หน่วยงานองค์กรต่าง ๆ นาสื่อที่ ผลิตไปใช้ประโยชน์ และการสนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือสืบสานวัฒนธรรมไทใหญ่ 2. กระบวนการศึกษาเพื่อเพิ่มมูลค่าบนฐานวัฒนธรรมไทใหญ่ มีกิจกรรมหลักหรือโครงการที่ ดาเนินการ ได้แก่ การศึกษาและพัฒนาชุมชนต้นแบบของไทใหญ่ การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอาหารไทใหญ่ การฟื้นฟูจ้าดไตบ้านคาหาน การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาไทใหญ่ในโรงเรียนในโรงเรียนเครือข่าย การแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านของชาวไทใหญ่ (เค๋อก๋าว) และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาบ้านคาหาน 3. กระบวนการศึกษาและการพัฒนาสู่การเป็นสถาบันไทใหญ่ศึกษา ในกระบวนการนี้มี กิจกรรมและโครงการวิจัยที่ ดาเนินการคือ การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ์ศึกษา การ ออกแบบอาคารหอวัฒนธรรมไทใหญ่ การออกแบบภูมิทัศน์ศูนย์ไทใหญ่ศึกษา และการบริหารเครือข่าย

ผลผลิต/ผลลัพท์ จากกระบวนการทางานที่กล่าวมาข้างต้นทาให้ได้ผลลผลิตและผลลัพท์ที่สาคัญหลายประการซึ่ง สามารถจาแนกออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ 1. ผลผลิต/ผลลัพท์ที่ได้จากการจัดการองค์ความรู้ไทใหญ่ มีดังนี้ 1) ฐานข้ อ มู ล แม่ ฮ่ อ งสอนเมื อ งมรดกทางวั ฒ นธรรม ซึ ง เป็ น ฐานข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ สิ่ ง ที่ ทรงคุณค่า ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อ การละเล่น พื้นบ้าน อาหารการกินของไทใหญ่ สถานที่ท่องเที่ยวและอื่น ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลสาคัญที่ เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนนาไปใช้ในการพัฒนาเขตเทศบาลเป็นเมืองพิพิธภัณฑ์มีชีวิต 2) สื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับไทใหญในรูปแบบของ วีดีทัศน์ เอกสาร แผ่นพับ เว็บไซต์ เฟสบุค รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ผ่านเคเบิลท้องถิ่น และนิทรรศการ 3) ตาราไทใหญ่โบราณฉบับแปลภาษาไทยจานวน 30 เรื่อง 4) ตาราลีกโหลง 5) หลักสูตรและการสอนภาษาใหญ่เกิดการเรียนการสอนในโรงเรียนเครือข่าย 10 แห่ง 6) หลักสูตรและจัดฝึกอบรมด้านวัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่ 4


7) ฐานข้อมูลองค์ความรู้ชุมชนไทใหญ่เขตลุ่มน้าแม่สะงี 8) เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมไทใหญ่ในระดับชุมชน ระดับชาติและนานาชาติ 2. ผลผลิต/ผลลัพท์ที่ได้จากการกระบวนการศึกษาแนวทางและเพิ่มมูลค่าบนฐาน วัฒนธรรมไทใหญ่ มีดังนี้ 1) ชุมชมได้รับการพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบของไทใหญ่ 2) วิสาหกิจชุมชนอาหารไทใหญ่ 3) การอนุรักษ์สืบสานคณะจ้าดไตบ้านคาหาน 4) การแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านของชาวไทใหญ่ (เค๋อก๋าว)เพื่อใช้ในการเกษตร 5) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาบ้านคาหาน 3. ผลผลิต/ผลลัพท์ที่ได้จากกระบวนการศึกษาและการพัฒนาสู่การเป็นสถาบันไทใหญ่ศึกษา มีดังนี้ 3.1 รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษาของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน โดยมี สาระสาคัญในประเด็นต่าง ๆ (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1 รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษาของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน 5


3.1.1 ลักษณะสาคัญของศูนย์ไทใหญ่ศึกษา ประกอบด้วยแนวคิดของศูนย์ไทใหญ่ศึกษา และลักษณะทางกายภาพ 1) แนวคิดของศูนย์ไทใหญ่ศึกษำ แนวคิดพื้นฐานการดาเนินงานของศูนย์ไทใหญ่ศึกษา เน้นการดาเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับไทใหญ่ในแง่ของ การค้นหาสร้างองค์ความรู้ การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทใหญ่ และชาติ พั น ธุ์ อื่ น การอนุ รั ก ษ์ แ ละส่ ง เสริ ม วั ฒ นธรรมประเพณี แ ละ ทรัพยากรธรรมชาติ การมีสถานะเป็นหน่วยงานในสังกัดของวิทยาลัยชุมชน แม่ฮ่องสอน การดาเนินงานที่ ส อดคล้ องกับความต้องการของชุมชนไทใหญ่ ยุ ทธศาสตร์ การพั ฒ นาจั งหวั ดแม่ฮ่ องสอน และยุท ธศาสตร์การพัฒ นาของ วิทยาลัยชุมชน การยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วน ความต่อเนื่องของ กิจกรรม การเป็ นศูนย์ การเรี ยนรู้ไทใหญ่ เกี่ ยวกับภาษา วั ฒนธรรม ประเพณี ประวั ติ ศาสตร์ ผั งเมื อง วั ด พระธาตุ วิ ถี ชี วิ ต ความเชื่ อ เศรษฐกิ จ สั งคม ประชากร การเมือง การปกครอง และการประสานงานความร่วมมือเกี่ยวกับ ไทใหญ่ทั้งในและต่างประเทศเพื่อเชื่อมจิตวิญญาณรวมทั้งความเป็นไทใหญ่เข้า ด้วยกัน 2) ลั ก ษณะทำงกำยภำพ ศู น ย์ ไ ทใหญ่ ศึ ก ษาควรมี ลั ก ษณะทางกายภาพที่ ประกอบด้วย อาคารตามแบบสถาปัตยกรรมไทใหญ่ ห้องประชุม พื้นที่สาหรับจัด นิทรรศการหมุนเวียน จุดบริการข้อมูลที่เชื่อมโยงกับชุมชนบุคคลและเครือข่าย ภูมิทั ศน์ ที่ ส ะท้อนให้ เ ห็ น ถึงความเป็ นไทใหญ่ ลานกลางแจ้งส าหรับแสดง กิ จ กรรมทางวั ฒ นธรรมและวิ ถี ชี วิ ต การแสดงเครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ใ น ชีวิตประจาวัน การสาธิตวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงกับชุมชนไทใหญ่ รวมทั้ง สวน พฤกษศาสตร์ภูมิปัญญาไทใหญ่ทมี่ ีการปลูกพืชพันธุ์พื้นบ้านไทใหญ่ และไม้ตาม พุทธชาดก 3.1.2 องค์ ป ระกอบส าคั ญ ของการบริ ห ารจั ด การของศู น ย์ ไ ทใหญ่ ศึ ก ษา องค์ป ระกอบส าคัญของรู ป แบบการบริ ห ารจัดการศู นย์ไ ทใหญ่ ศึ กษาของวิทยาลั ยชุ มชนแม่ฮ่อ งสอนมี 8 ประการ คือ 1) กำรนำองค์กำร มีการกาหนดปรัชญา ปณิธาน ความคาดหวัง วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ และพันธกิจของศูนย์ไทใหญ่ศึกษาไว้โดยเฉพาะพันธกิจเกี่ยวกับ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการส่งเสริมการ อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ส่วนความคาดหวังนั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคาดหวัง ให้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ สาหรับวิสัยทัศน์ของศูนย์ก็เพื่อ มุ่งเน้นการเป็นศูนย์กลางของการศึกษาการวิจัย การบริการวิชาการเกี่ยวกับ ภูมิปัญญาพื้นบ้านไทใหญ่ ศิลปะวัฒนธรรม การส่งเสริมการอาชีพรายได้ การ พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนไทใหญ่ การประสานเชื่อมโยงกับไทใหญ่ในทุกพื้นที่ พร้อมมุ่งเน้นให้ไทใหญ่มีความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ของตนเอง 2) กำรวำงแผน การวางแผนของศูนย์ไทใหญ่ศึกษาต้องยึดหลักความสอดคล้อง กับบริบทที่เกี่ยวข้อง โดยมีการกาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์ไทใหญ่ ศึกษาไว้ 8 ประเด็น คือ การจัดการความรู้ การส่งเสริมและสนับสนุนการ 6


3)

4)

5)

6)

7)

8)

วิจัย การพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน การพัฒนาบริการวิชาการ การส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี การประสานเครือข่าย การ ส่งเสริมรายได้อาชีพ และการพัฒนาระบบและกลไกการบริหาร กำรให้ควำมสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการจัดระบบงานที่เน้นให้มีการ รับฟังความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พัฒนาระบบบริการที่มีคุณภาพทุก ขั้นตอนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอันประกอบด้วยชุมชน เยาวชน นักศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอื่นๆ พร้อมจัดบริการวิชาการที่หลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย กำรจัดกำรควำมรู้ ควรมีการกาหนดประเด็นการจัดการความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ ไว้อย่างชัดเจน โดย การเก็บรวบรวมความรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ การเผยแพร่ ข้อมูล การส่งเสริมการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดทาหลักสูตร และ การจัดการเรียนการสอน กำรบริหำรทรัพยำกรมนุษย์ เป็นกระบวนการกาหนดอัตรากาลังให้สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานประจาปี การกาหนดคุณสมบัติและจานวน บุคลากรไว้อย่างเหมาะสม การวางระบบการทดลองงาน การพัฒนาศักยภาพ บุคลากรระหว่างประจาการ การสร้างแรงจูงใจ การประสานเครือข่าย และ การบริหารแบบมีส่วนร่วม กำรบริหำรจัดกำรทั่วไป การบริหารจัดการทั่วไปของศูนย์ไทใหญ่ศึกษา จาเป็นต้องมีการดาเนินงานในรูปของการจัดตั้ง คณะกรรมการบริหาร การสรร หาที่ปรึกษา/ผู้อานวยการ/ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้เชี่ยวชาญ การกาหนดแนวทางการ ทางานร่วมกับเครือข่าย การกาหนดโครงสร้างการบริหารที่เหมาะสม(ภาพที่ 2) รวมทั้งการแสวงหางบประมาณและทรัพยากร กำรบริหำรงำนวิชำกำรและงำนวิจัย เป็นการดาเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนา หลักสูตรเกี่ยวกับไทใหญ่ การเชื่อมโยงการทางานของศูนย์ไทใหญ่ศึกษากับการ จัดการเรียนการสอนของครู/อาจารย์ การสรรหาอาจารย์ /วิทยากรผู้สอน การ วางระบบเพื่อใช้ประเมินผลงาน การสร้างระบบแรงจูงใจเชิงบวกให้เครือข่าย ทางวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม การประสานงานกับนักวิชาการไท ใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์ การจัดหาทุนอุดหนุนการวิจัย เกี่ยวกับไทใหญ่ รวมทั้งการกาหนดนโยบายทิศทางการวิจัยเกี่ยวกับไทใหญ่ และการวางระบบการวิจัยให้เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย ชุมชนแม่ฮ่องสอน กำรประเมินผล การประเมินผลการดาเนินงานของศูนย์ไทใหญ่ศึกษานั้นมี หลักเกณฑ์สาคัญคือ เน้นการประเมินผลเพื่อการพัฒนา มีการกาหนดตัวชี้วัด และระยะเวลาการประเมินผลไว้อย่างชัดเจนล่วงหน้า รวมทั้งมีขอบเขตของ การประเมิน ผลที่ครอบคลุ มทั้ง 4 มิติ คือ การประเมินประสิ ทธิผ ล การ ประเมินคุณภาพบริการ การประเมินประสิทธิภาพ และการประเมินการเรียนรู้ และพัฒนา

7


ภาพที่ 2 โครงสร้างการบริหารจัดการภายในของศูนย์ไทใหญ่ศึกษาของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน

8


3.2 แผนแม่บทพัฒนาศูนย์ ได้แผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างศูนย์ไทใหญ่ศึกษาอย่าง เหมาะสม

ภาพที่ 3 การออกแบบภูมิทัศน์สถานที่ตั้งศูนย์ไทใหญ่ศึกษา 3.3 แบบแปลนอาคารและการก่อสร้างหอวัฒนธรรมไทใหญ่ ได้แบบแปลนหอวัฒนธรรม ไทใหญ่ที่เหมาะสมสอดและมีความก้าวหน้าในการก่อสร้างอาคารในระดับหนึ่ง

ภาพที่ 4 แบบอาคารหอวัฒนธรรมไทใหญ่ 9


ปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จ ในการดาเนินการจัดการความรู้บนฐานวัฒนธรรมไทใหญ่เพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาสู่การเป็น สถาบันไทใหญ่ศึกษานั้นขึ้นกับปัจจัยสาคัญดังนี้ 1. การประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์เป็นปัจจัยที่จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจความภูมิใจในความเป็นไทใหญ่ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของเครือข่าย และสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ไทใหญ่ศึกษา 2. คุณภาพของบุคลากร การที่ศูนย์จะบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กาหนดไว้ขึ้นกับปัจจัยที่สาคัญคือ การมีบุคลากรที่มี คุณภาพมาร่วมทางาน ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อานวยการศูนย์ เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และเครือข่ายที่มาร่วม จึงจาเป็นต้องมีระบบการสรรหา การพัฒนา และดูแลรักษาบุคลากรอย่างมี ประสิทธิภาพ 3. เครือข่าย การมีเครือข่ายมาร่วมทางานอันประกอบด้วย ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผู้นาชุมชนชุมชน นักวิชาการ สถาบันการศึกษา นักการเมือง กลุ่มทางสังคม ภาคราชการ ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน และ อื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นปัจจัยสนับสนุนสาคัญที่จะช่วยทาให้รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์เกิดผล ในทางปฏิบัติได้ 4. ความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ สาหรับการดาเนินงานของศูนย์ไทใหญ่ศึกษานั้นมีความจาเป็นต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การพัฒนาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน ทั้งนี้จะช่วยให้ศูนย์มีโอกาส ที่จะได้รับการสนับสนุนการดาเนินงานจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน และวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น 5. การเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอน การที่ศูนย์ไทใหญ่ศึกษาจะสามารถดาเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง จาเป็นที่จะต้องได้รับการ สนับสนุนจากอาจารย์ ครู นักเรียน และนักศึกษา จึงต้องมีการดาเนินงานที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการ สอนของวิทยาลัยชุมชน แม่ฮ่องสอน รวมทั้สถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่าย 6. ความร่วมมือทางวิชาการ การได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยในแง่ของการจัดประชุมวิชาการ การ สร้ า งองค์ค วามรู้ ท างวิ ช าการ รวมทั้ ง การพัฒ นาศั ก ยภาพทางวิช าการของศู น ย์ เป็น ปั จจั ย ส าคั ญ ในการ ขับเคลื่อนศูนย์ไทใหญ่ศึกษาจะช่วยให้ศูนย์มีองค์ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับไทใหญ่ที่หลากหลาย พร้อมทั้ง สามารถนาประสบการณ์และผลงานทางวิชาการที่มหาวิทยาลัยผลิตขึ้นมาแปลงสู่การใช้ประโยชน์ในระดับ พื้นที่ 7. การระดมงบประมาณและทรัพยากร การที่จะสามารถดาเนินกิจกรรมของศูนย์ตามที่กาหนดไว้ได้จาเป็นต้องมีงบประมาณและ ทรัพยากรที่เพียงพอ และระบบงบประมาณควรเป็นแบบทุนอุดหนุนการวิจัย และมuงบประมาณปกติที่ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรดาเนินการอีกมาก อีกทั้งเป็นงานที่มีลักษณะ บริการวิชาการแก่สังคม

10


ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการดาเนินงาน จากประสบการณ์การขับเคลื่อนการจัดการความรู้เกี่ยวกับ ไทใหญ่มาในระดับหนึ่ง จึงมีข้อเสนอแนะต่อการดาเนินงานในอนาคตดังนี้ 1) การทางานเชิงวิชาการกับชุมชนไทใหญ่นั้นต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม การมีความยืดหยุ่น และการลดขั้นตอนการทางานตามระบบราชการลง ทั้งนี้เพื่อให้เครือข่ายต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมีโอกาส เข้ามามีส่วนร่วมในการทางานได้ง่าย 2) ควรเน้นการประสานสร้างความร่วมมือจากเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด สถาบันการศึกษา วัด กลุ่มชาติพันธุ์ หน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และอื่น ๆ 3) ควรมีจัดระบบการทางานของศูนย์ไทใหญ่ศึกษาให้เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอน ของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนรวมทั้งสถาบันการศึกษาในเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อจะได้มีนักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์เข้ามาร่ วมจัดการเรี ยนรู้ ค้นคว้าวิจัย และดาเนินกิจกรรม จะช่ว ยทาให้ศูนย์มีกิจกรรมอย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน 5) ควรมีการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนด้านไทใหญ่แก่กลุ่มข้าราชการ และ นักการเมืองท้องถิ่น ที่มาปฏิบัติงานในจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ไทใหญ่ในแง่ของ ประวัติศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วิถีชีวิต ความเชื่อ และอื่นๆ จะช่วยให้บุคคลกลุ่มนี้สามารถประสานและสนับสนุนการอนุรักษ์และพัฒนางานโครงการเกี่ยวกับไทใหญ่ได้ใน อนาคต 6) ควรมีการพัฒนาลักษณะทางกายภาพของศูนย์ไทใหญ่ศึกษา ให้มอี าคารตามแบบ สถาปัตยกรรมไทใหญ่ ห้องประชุม นิทรรศการหมุนเวียน จุดบริการข้อมูลที่เชื่อมโยงกับชุมชนบุคคลและ เครือข่าย ภูมิทัศน์ที่สะท้อนถึงความเป็นไทใหญ่ ลานกิจกรรมกลางแจ้ง การแสดงเครื่ องมือเครื่องใช้ การ สาธิตวิถชี ีวิต รวมทั้งสวนพฤกษศาสตร์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน 7) ควรมีการดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในรูปของโครงการเกี่ยวกับไทใหญ่ในประเด็นของ การจัดการความรู้ การบริการวิชาการ การวิจัย และอื่นๆ 8) ควรมีการวางระบบการสรรหาบุคลากร การพัฒนา และระบบการดูแลรักษาบุคลากร ของศู น ย์ ไ ทใหญ่ ศึ ก ษาที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ ไ ด้ บุ ค ลากรที่ มี คุ ณ ภาพเข้ า มาร่ ว มการท างานอั น ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อานวยการศูนย์ เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และ เครือข่าย รวมทั้งควรมีการปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความก้าวหน้าในสายวิชาชีพโดยให้สามารถใช้ผลงานวิจัย เพื่อชุมชนสังคม รวมทั้งโครงการเกี่ยวกับชุมชนเข้มแข็งเป็นองค์ประกอบสาคัญ 9) ควรมีการจัดประชุมซักซ้อมความเข้าใจกับครูและอาจารย์ผู้สอนให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนและสถานศึกษาในเครือข่ายเข้ากับยุทธศาสตร์ แผน และกิจกรรมของศูนย์ไทใหญ่ศึกษา ตั้ งแต่ขั้นตอนของการจัดทาแผนการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ จะช่วยทาให้เกิดความรู้ใหม่เกี่ยวกับไทใหญ่มากขึ้น อีกทั้งเกิดการบูรณาการใช้ประโยชน์จากความรู้ใหม่ที่เกิด ขึ้นกับการเรียนรู้ของนักศึกษาและครูอาจารย์ผู้สอน 10) ควรมีการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของศูนย์ไว้ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว ทั้งเพื่อจะได้มีกาลังคนที่มีประสิทธิภาพสูงมาร่วมทางาน

11


2. ข้อเสนอแนะในการวิจัย เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับไทใหญ่ในประเด็นดังนี้ 1) การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมไทใหญ่เชื่อมโยงกันเป็นพื้นที่ ในลั กษณะของเขตพื้น ที่ลุ่ มน้ า ทั้งนี้ เพื่อให้ เกิดความร่ว มมือและเครือข่ายในการแก้ไขปัญหา การพัฒ นา ตลอดจนได้ข้อตกลงร่วมกัน 2) การศึกษาภาพอนาคตใน 20 ปี ข้างหน้าของไทใหญ่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งนีเ้ พื่อจะได้กาหนดยุทธศาสตร์รองรับได้อย่างเหมาะสม 3) การเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรและยาพื้นบ้านไทใหญ่ 4) การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตลุ่มน้าของชุมชนไทใหญ่ 5) การสร้างวาระการท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยใช้ฐานวัฒนธรรมไทใหญ่

หนังสืออ้างอิง “กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546” (2546,7 กรกฏาคม) รำชกิจจำนุเบกษำ เล่ม 120 /ตอนที่ 63 ก/หน้า 24 “กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ากว่าปริญญารูปแบบวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2546” (2546,15 ตุลาคม) รำชกิจจำนุเบกษำ เล่ม 120 /ตอนที่ 103 ก/หน้า 8 ดรัคเกอร์, ปีเตอร์ เอฟ และ มาเซียเรียลโล, โจเซฟ เดอะ เดลี่ ดรัคเกอร์ แปลจาก The Daily Drucker 366 Days of Insight and Motivation for Getting the Right Things Done โดย อุดม ไพรเกษตร (2553) กรุงเทพมหานคร สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม โยธิน บุญเฉลยและคณะ (2551) โครงกำรนำร่องกำรพัฒนำฐำนข้อมูลสำหรับกำรสร้ำงเมืองมรดกทำง วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โยธิน บุญเฉลยและคณะ (2551) ยุทธศำสตร์กำรพัฒนำสู่กำรเป็นเมืองพิพิธภัณฑ์มีชีวิตแม่ฮ่องสอน เครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาภารคเหนือตอนบน โยธิน บุญเฉลย (2556) รูปแบบกำรบริหำรจัดกำรศูนย์ไทใหญ่ศึกษำของวิทยำลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน (2553) รำยงำนกำรประชุมคณะกรรมกำรศูนย์ไทใหญ่ศึกษำ ครั้งที่ 2 ปีงบประมำณ 2554 สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2549) ประวัติวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน Drucker, P. F. (1979). Management: Tasks, Responsibility, Practices. London: Pan Books. Graceffo, Antonio (2010). Shan People. Retrieved October 29, 2010, from http://www. hackwriters.com/ShanprojectAG.htm

12


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.