อุดมศึกษาของชุมชน วิทยาลัยชุมชนตราด

Page 1

การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีตัวอย่างพื้นที่ตาบลเนินทราย และบ้านแหลมงอบ โดยวิทยาลัยชุมชนตราด การท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการท่องเที่ยวที่คานึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และ วัฒนธรรม กาหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชน และชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิในการจัดการดูแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน

รูปแบบการให้บริการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ๑.ที่พักแบบท้องถิ่น เรียบง่าย สะอาด ปลอดภัย มีอัธยาศัยไมตรี รวมถึงกิจกรรมในวิถีชีวิต ชุมชนท้องถิ่น สร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ตรง ๒.กิจกรรมท่องเที่ยว อยู่บนฐานวัฒนธรรมและทรัพยากรของชุมชน บนความภาคภูมิใจที่ คน ท้องถิ่นต้องการนาเสนอและแบ่งปันให้กับผู้มาเยือน นักท่องเที่ยวสามารถได้รับประสบการณ์ตรงในวิถี ชีวิตที่แท้จริงของชุมชน ๓.มัคคุเทศก์ท้องถิ่น เป็นชาวบ้านในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการนาเสนอวิถีชุมชนด้วยตนเอง หลักการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ๑.ชุมชนเป็นเจ้าของ ๒.ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการกาหนดทิศทางและตัดสินใจ ๓.ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง ๔.ยกระดับคุณภาพชีวิต ๕.มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม ๖.คงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ๗.ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม ๘.เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ๙.เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น ๑๐.มีการกระจายรายได้สู่สาธารณประโยชน์ของชุมชน

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมชุมชน ๑.คัดเลือกพื้นที่ โดยการศึกษาศักยภาพของชุมชน ศึกษาศักยภาพด้านการตลาด เช่น การเข้าถึ ง หรืออยู่ในเส้นทางท่องเที่ยว นโยบายรัฐหรือหน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุน และมีแหล่งทุนหรือหน่วยงาน ท างานอย่ า งต่ อ เนื่ อ งในพื้ น ที่ หลั ง จากนั้ น ศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ร่ ว มกั บ ชุ ม ชน โดยพิ จ ารณาถึ ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ / วั ฒ นธรรม/ภู มิ ปั ญ ญา/แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว/กิ จ กรรมท่ อ งเที่ ย ว/ความสามาร ถ/ ประสบการณ์ของคนในชุมชน ๒.ค้นหาของดีชุมชน ๓.กาหนดวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์


๔.การบริหารจัดการองค์กร ๕.การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว ๖.การให้บริการการท่องเที่ยว ๗.การกาหนดกลุ่มเป้าหมาย ตลาดที่เหมาะสม ๘.การตั้งราคา และการกระจายผลประโยชน์ ๙.การทาท่องเที่ยวนาร่องเป็นการทดสอบความพร้อมของชุมชน ๑๐.การติดตามและประเมินผล

การดาเนินงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของวิทยาลัยชุมชน กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๖) กาหนดให้วิทยาลัยชุมชน เป็นหนึ่งในสี่กลุ่มสถาบันอุดมศึกษา มีพันธกิจและบทบาทในการพัฒนาสังคมที่มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน ดูแลแรงงานที่ออกจากภาคเกษตร การเรียนรัรู้ตลอดชีวิต และการเติม เต็ ม ศั กยภาพบุ ค คล มี ป รั ช ญาวิ ท ยาลั ย ชุ มชนคื อ ๑) รองรั บ หลั ก พื้ น ฐานของการสร้า งคนให้ ชุ ม ชน ๒) จัดหลักสูตรตามความต้องการของชุมชน ๓) ทาโจทย์จริงจากชุมชน ๔) รักษาคนมีประสบการณ์และ ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตน และ ๕) ใช้และระดมทรัพยากรที่มีในพื้นที่ รวมทั้งบริหารรวมโดย ชุมชนกลไกการดาเนินงานวิทยาลัยชุมชน ปรกอบด้วย (๑) จัดหลักสูตรอนุปริญญาและการฝึกอาชีพ (๒) สร้ า งก าลั ง คนคุ ณ ภาพและจ านวนเพี ย งพอต่ อ ภารกิ จ ชุ ม ขน รองรั บ การกระจายอ านาจและความ รับผิดชอบสู่ท้องถิ่น (๓) ร่วมกับมหาวิทยาลัย อาชีวศึกษา ภาคการผลิตจริง และหน่วยงานด้านการ พัฒนาแรงงานเพื่อปรับแรงงานที่ออกจากภาคเกษตร เพื่อเตรียมเข้าสู่ภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม ในพื้นทีบ่ ริการของวิทยาลัยชุมชน รวมทั้งยกความรู้ สมรรถนะ ทักษะ ของผู้ทางานในภาคการผลิตจริง เพื่อเพิ่มผลิตภาพ รองรับการเปลี่ยนงานและเปลี่ยนอาชีพของพื้นที่บริการ ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบสนองปรัชญาและหลักการดาเนินงานวิทยาลัยชุมชนไปสู่เป้าหมายสูงสุด ของแผนอุ ดมศึก ษาระยะยาว ส านั กบริห ารงานวิ ทยาลั ยชุ มชนจึ งได้จั ดสรรงบประมาณในลั ก ษณะ โครงการเชิงพัฒนา (Project based) หรือเชิงพื้นที่ (Area-based) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความ เข้มแข็งชุมชน โดยให้วิทยาลัยชุมชนในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลไกหลักในการดาเนินงาน โดยใน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้จัดสรรงบประมาณ ภายใต้ ๒ โครงการหลัก คือ โครงการจัดการความรู้เพื่อ สร้ างมูล ค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสั งคมโดยใช้ทุนทางวัฒ นธรรม และโครงการเรียนรู้เกษตรอิ นทรีย์ ส่วนปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ และ ๒๕๕๖ ได้จัดสรรงบประมาณภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน โดยมีโครงการการจัดการความรู้การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นหนึ่งใน กิจกรรมหลักภายใต้โครงการนี้

การดาเนินงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของวิทยาลัยชุมชนตราด การดาเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนของวิทยาลัยชุมชนตราด สามารถแบ่งการดาเนินงานได้ ๓ ระยะ คือ ระยะแรก จุดเริ่มต้นของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของวิทยาลัยชุมชนตราด เกิดขึ้น จากการที่วิทยาลัย ชุมชนตราดได้จัดการเสวนาเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาท้องถิ่น ด้านสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ ยวเชิงนิเวศ


ตาบลเนินทราย อาเภอเมือง จังหวัดตราด” ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ณ วิทยาลัยชุมชนตราด โดย ผู้เข้าร่วมการเสวนาประกอบด้วย นายกเทศมนตรีเทศบาลตาบลท่าพริก เนินทราย นายกองค์การ บริหารส่วนตาบลเนินทราย กานันตาบลเนินทราย ผู้ ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตาบล เนินทราย จากการเสวนาทาให้วิทยาลัย ฯ ได้ทราบจุดเด่นของหมู่บ้านทั้ง ๙ หมู่บ้าน ในตาบลเนินทราย ดังนี้ หมู่ที่ ๑ มีจุดเด่นที่สามารถนามาเป็นจุดขายของหมู่บ้านได้คือ ศาลเจ้าแม่เนี๊ยว ซึ่ง เป็ น ที่ เ คารพนั บ ถื อ ของชาวบ้ า น มี ต้ น ยางใหญ่ อายุ นั บ ร้ อ ยปี และที่ ส าคั ญ มี ค ลองเนิ น ทราย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของหิ่งห้อย และหอย หมู่ที่ ๒ มีจุดเด่นที่สามารถนามาเป็นจุดขายของหมู่บ้านได้ คือ ชุมชนคนไทยเกาะ กง สะพานท่าแพ การเย็บจาก หอโดด แม่น้าตราด เรือหางยาว และที่พักที่เป็นธรรมชาติ หมู่ที่ ๓ มีจุดเด่นที่สามารถนามาเป็นจุดขายของหมู่บ้านได้ คือ ความสะอาด และ หน้าบ้านแต่ละหลังของหมู่บ้านนี้มีความสวยงาม มีการทาขนมจีน ขนมไทย และมีวัดที่มีพระพุทธรูปที่ สวยงาม หมู่ที่ ๔ มีจุดเด่นที่สามารถนามาเป็นจุดขายของหมู่บ้านได้ คือ คลองหนองไทร หมู่ที่ ๕ มีจุดเด่นที่สามารถนามาเป็นจุดขายของหมู่บ้านได้ คือ มีภูมิปัญญา ด้านแพทย์แผนไทย หมู่ที่ ๖ มีจุดเด่นที่สามารถนามาเป็นจุดขายของหมู่บ้านได้ คือ วัดวิเวกวนาราม สวนผลไม้ (ต้นมังคุด ๑๐๐ ปี ) และมีภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย หมู่ที่ ๗ มีจุดเด่นที่สามารถนามาเป็นจุดขายของหมู่บ้านได้ คือ ผลไม้ และการปลูก ผักสวนครัว หมู่ที่ ๘ มีจุดเด่นที่สามารถนามาเป็นจุดขายของหมู่บ้านได้ คือ แม่น้าตราด หมู่ที่ ๙ มีจุดเด่นที่สามารถนามาเป็นจุดขายของหมู่บ้านได้ คือ ป่าไม้ชาวบ้าน และจากการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ที่ ผู้ น าชุ ม ชนได้ น าเสนอมา ที่ ป ระชุ ม ได้ ร่ ว มกั น ก าหนดแนวทาง การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตาบลเนินทราย โดยการ “เน้นการท่องเที่ยวในสวน” และ “จัดทาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตาบลเนินทราย” ดังนั้ นวิทยาลั ย ชุมชนตราดจึ ง ได้เริ่ม ดาเนินงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ฐานราก ประจ าปี การงบประมาณ ๒๕๕๓ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก ซึ่งการดาเนินงานใน ระยะแรกนีว้ ิทยาลัยฯ ดาเนินการดังนี้ ๑.คณะผู้วิจัยร่วมกับผู้แทนชุมชนๆละ ๒๐ คน ประเมินการจัดศักยภาพการท่องเที่ยว เชิงนิเวศของชุมชนด้วยแบบประเมินศักยภาพที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ๒.คัดเลือกผู้แทนชุมชนๆละ ๑๐ คน เพื่อให้ผู้แทนชุมชนดาเนินการวิเคราะห์ชุมชนของ ตนเองโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis พร้อมทั้งหาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในแต่ละชุมชน ๓.คัดเลือกผู้แทนชุมชนๆละ ๕ คน เพื่อทาหน้าที่สารวจเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน ของตนเองร่วมกับคณะผู้วิจัย


๔.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในตาบลเนินทราย อาเภอเมือง จังหวัดตราด ๕.ทดลองท่องเที่ยวตามเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในตาบลเนินทราย อาเภอเมือง ตราด จังหวัดตราด ๖.จัดทารายงานการวิจัย ผลการดาเนินงาน ผลการดาเนินงานในระยะแรกได้เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตาบลเนินทราย ระยะที่ 2 ระยะการพัฒนา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ วิทยาลัยชุมชนตราดได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสานักบริหารงานวิทยาลัยชุมชนภายใต้ โครงการจัดการความรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม ในส่วนของ การท่องเที่ยวโดยชุมชนถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักที่อยู่ภายใต้โครงการนี้ ซึ่งในปีงบประมาณนี้วิทยาลัย ได้ดาเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตาบลเนินทราย อาเภอเมือง จังหวัดตราด โดยการพัฒนา และส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพการทางานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้กับตัวแทนของชุมชน ซึ่งมีการ ดาเนินงานดังนี้ ๑.รวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ๒.จัดทาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ๓.นาตัวแทนชุมชนศึกษาดูงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ณ จังหวัดสตูล ผลการดาเนินงาน ๑.การรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม โดยทีมงานของ วิทยาลัยชุมชนตราด ได้ภูมิปัญญาที่มีในตาบลเนินทรายทั้งสิ้น ๓ เรื่อง คือ การอนุรักษ์ป่าในบ้าน แนวคิด การอนุรักษ์ป่า และการทาไม้กฤษณา และได้รายชื่อปราชญ์ท้องถิ่นตาบลเนินทราย จานวน ๑๗ คน ๒.หลักสูตรฝึกอบรมความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในปีงบประมาณนี้มีทั้งสิ้น ๓ หลักสูตร คือ (๑) หลักสูตรฝึกอบรมการอนุรักษ์ป่าชายเลน (๒) หลักสูตรฝึกอบรมมัคคุเทศก์ และ (๓) หลักสูตรฝึกอบรมอาหารท้องถิ่นเมืองตราด ๓. การศึกษาดูงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ณ จังหวัดสตูล ทาให้ชุมชนได้เห็น กระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปแบบกลุ่มนาเที่ยว/การจัดการท่องเที่ยว ในบ้าน/การประสานกับกลุ่มบริษัททัวร์/กลุ่มท่องเที่ยวแบบศึกษาดูงาน/กลุ่มท่องเที่ยวเกษตร นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้รูปแบบการจัดทาโฮมสเตย์ การบริ หารจัดการและการต้อนรับนักท่องเที่ยว ตลอดจนได้รับ ความรู้เรื่องการจัดทาโปรแกรมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ วิทยาลัยชุมนตราดได้ดาเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ภายใต้โครงการ จัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ภายใต้กิจกรรมหลัก : การจัดการความรู้เพื่อการจัดการ ท่อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนและการสื บ สานวั ฒ นธรรม โดยพื้ น ที่ ใ นการดาเนิ น งานยั ง คงเป็ น พื้ น ที่ ใ นต าบล เนิ น ทรายเช่ น เดิ ม ซึ่ งในปี ง บประมาณนี้ วิท ยาลั ย ได้ ดาเนิน งานภายใต้ค วามร่ ว มมือกั บสถาบัน การ


ท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism Institute : CBT-I) ซึ่งการดาเนินการในส่วนนี้มี หลักสูตรการฝึกอบรมเกิดขึ้น ๕ หลักสูตร คือ ๑.หลักสูตรฝึกอบรมการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชน ๒.หลักสูตรฝึกอบรมการผลิตถ่านและออกแบบบรรจุภัณฑ์ ๓.หลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยว ๔.หลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว ๕.หลักสูตรการสื่อความหมายท้องถิ่น ในระยะที่สองนี้ ถือได้ว่าการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เป็นการดาเนินงานของวิทยาลัยชุมชน ตราด ประสบความส าเร็ จ เป็ น อย่ า งมาก โดยได้ รั บ เชิ ญ ให้ อ อกรายการ “บ่ า ยนี้ มี ค าตอบ” ณ สถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ โมเดิร์นไนท์ทีวี ในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๕ ร่วมกับวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน ระยะที่ 3 ต่อยอดองค์ความรู้ ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ วิทยาลัยชุมชนตราดได้ดาเนินงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน ๒ พื้นที่ คือ ๑.พื้นที่ตาบลเนินทราย อาเภอเมือง จังหวัดตราด การดาเนินการในส่วนนี้เป็นการดาเนินงานในพื้นที่เดิม แต่มีการพัฒนาศักยภาพ ของชุมชนให้สามารถจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้อย่างครบวงจรมากขึ้นโดยในปีงบประมาณนี้ วิทยาลัย ได้ดาเนินการจัดการอบรมเรื่อง “มาตรฐานโฮมสเตย์” ให้กับชมรมเที่ยวท้องถิ่นเนินทราย โดยในพื้นที่นี้ ได้มี การตั้ งเป้ า หมายร่ ว มกั น ว่ าจะพั ฒ นาโฮมสเตย์ ให้ ไ ด้ม าตรฐาน เพื่ อรองรับ การมาท่ องเที่ ยวของ นักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่ต้องการดื่มด่ากับธรรมชาติ นอกนี้ยังมีมีการวางแผนประชาสัมพันธ์เส้นทางการ ท่องเที่ยวเนินทรายให้เป็นที่รู้กับคนทั่วไป โดยการอยู่ระหว่างการดาเนินการจัดทาแผ่นพับประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวของชมรมไปยังหน่วยงานราชการท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒.พื้นที่บ้านแหลมมะขาม หมู่ที่ ๓ ตาบลแหลมงอบ อาเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด วิทยาลัยชุมชนตราดโดย ดร.กรรณิกา สุภาภา ผู้อานวยการวิทยาลัยชุมชนตราด มี แนวคิดในการที่จะขยายพื้นที่ในการดาเนินโครงการการจัดการความรู้ “การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน” ด้วยเชื่อมั่นในศักยภาพของคนในพื้นที่ และเสน่ห์ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมของทรัพยากรในจังหวัดตราด การ ท่องเที่ยวบ้านแหลมมะขามจึงเกิดขึ้นในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ภายใต้แนวคิด “บ้านแหลมมะขามงามล้า วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ตามรอยเสด็จฯ มหาราชา “พระพุทธเจ้าหลวง”” การดาเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ นี้ วิทยาลัยได้ดาเนินการภายใต้กรอบการทางาน ของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศตาบลเนินทราย โดยเริ่มจากการประเมินศักยภาพของชุมชน การฝึกอบรม เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตลอดจนการเก็บรวบรวมวัฒนธรรม ชุมชน ที่ประกอบด้วย วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม เพื่อใช้ประกอบในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน มี การดาเนินงานดังนี้ ๑.ประเมินศักยภาพชุมชน วิทยาลัยชุมชนตราดร่วมกับสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้ร่วมกันประเมินศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งก็พบว่าชุมชนแหลมมะขามมีศักยภาพที่


จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ โดยจากการสารวจข้อมูลของคณะทางานของวิทยาลัยชุมชนตราด ได้ ทราบแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญของบ้านแหลมมะขาม ดังนี้ ๑. ศูน ย์เ รี ยนรู้ ร. ๕ เป็นแหล่ งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ช าติไทยที่ส าคัญ จาก ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ ๕ ๒.กลองยาวคณะเสถียรเถิดเทิง เป็นคณะกลองยาวที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน และน่าค้นหาถึงเสน่ห์แห่งเสียงกลองยาวนั้น ๓.หุ่นกระดาน งานสร้างสรรค์จากภูมิปัญญา ที่ยากจะสรรหาคากล่าวชม ต่ อ ความคิ ด ที่ แ หลมคม ของการถ่ า ยทอดเรื่ อ งราวความเป็ น “คน” ผ่ า นแผ่ น ไม้ ที่ เ ป็ น มากกว่ า สิ่งประดิษฐ์ เพราะนั่นคือ “จิตวิญญาณ” และ “ชีวิต” ของผู้สรรค์สร้าง ๔.วัดแหลมมะขาม ถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวของชาวพุทธในหมู่ บ้าน แต่ภายในวัด มี “โต๊ะวลีย์” ซึ่งเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวมุสลิม ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องเล่าที่น่าอัศจรรย์ของความ สมานฉันท์แห่งศรัทธา ๕.ล่องเรือชมป่าโกงกาง ๖. ปูกินโต๊ะ เกิดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ โดยเป็นการที่มีปูเป็นจานวน มากออกมาหากิน นอกจากนั้นยังมีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม ที่ยังคงมีให้เห็นในชุมชน เช่น การทาบุญส่ง เรือ วิถีประมงพื้นบ้าน เป็นต้น ๒.การฝึกอบรม วิทยาลัยได้ร่วมกับ CBT-I และผู้ทรงคุณวุฒิในการอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ๑.หลักสูตรการเก็บข้อมูลวัฒนธรรมชุมชน ๒. หลักสูตรการออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยว ๓. การตั้งราคาและการกระจายผลประโยชน์ ๔. การอบรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่น


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.