อนุสารอุดมศึกษา issue 441

Page 1

อุดมศึกษา อนุสาร

LOGO

ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๑ ประจำ�เดือนมีนาคม ๒๕๕๘

เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web


สารบัญ

CONTENT

ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๑ ประจำ�เดือนมีนาคม ๒๕๕๘

เรื่องเล่าอุดมศึกษา สกอ. ระดมความเห็นพัฒนากำ�ลังคนด้านวิทยาศาสตร์ สกอ. เน้นมาตรฐานอุดมศึกษา ผลักดันความเป็นสากล ความร่วมมือกับ ANU ต้อนรับประธาน SEAMEO Council สกอ. เตรียมพร้อมบุคลากร ใช้ระบบควบคุมภายในของ สกอ. สกอ. จัดการความรู้ นโยบาย ‘4S’ สกอ. กระตุ้นผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษากำ�กับดูแลด้านการเงิน

๑๓

เรื่องเล่าอาเซียน พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการประชุมระดับนานาชาติ

เรื่องพิเศษ กกอ. สัญจร ครั้งที่ ๔

๑๗

๒๒

เรื่องแนะนำ�

๑๑ ๑๓ ๑๗

ขอแสดงความยินดี ‘นายขจร จิตสุขุมมงคล’ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่

เหตุการณ์เล่าเรื่อง

๑๘

‘ประทีปถิ่น ประเทืองไทย สร้างคุณค่างานวิจัย ก้าวไกลสู่สากล’

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๒

คณะผู้จัดทำ�

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ�จร ตติยกวี นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายสุภัทร จำ�ปาทอง นายขจร จิตสุขุมมงคล นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๔๓๓ ๒๗๔๒


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

สกอ. ระดมความเห็นพัฒนากำ�ลังคน ด้านวิทยาศาสตร์ ๒ มีนาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมสัมมนา เรือ่ ง การพัฒนาก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ของ ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารที่มีหน้าที่ ก�ำหนดนโยบายและผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิ ในการวิเคราะห์ความส�ำเร็จ อุปสรรค และการแก้ไขการด�ำเนินโครงการ พัฒนาก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมทัง้ ก�ำหนดแนวปฏิบตั ใิ นโครงการ ทุนวิทยาศาสตร์ที่ด�ำเนินการในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้มี ประสิทธิภาพ ไม่ซำ�้ ซ้อนกัน มีความเชือ่ มโยงและสนับสนุนซึง่ กันและกัน ตลอดจนผลักดันให้การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นนโยบาย และยุทธศาสตร์ระดับชาติ ที่รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนทั้งทรัพยากร และก�ำลังคนอย่างต่อเนือ่ งและเพียงพอ ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมเดอะสุโกศล โดยได้รบั เกียรติจากนายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีชว่ ยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา และร่วม เสวนา เรื่อง ‘การพัฒนาก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษา และความต้องการก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ระดับชาติ’ พร้อมนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมุง่ เน้นการปฏิรปู การศึกษา ทั้ ง ระบบ โดยยกระดั บ คุ ณ ภาพการศึ ก ษาและให้ ค วามส�ำคั ญ กั บ การพัฒนาก�ำลังคนอย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ให้การพัฒนาก�ำลังคนระดับกลาง

3

และระดับสูงเป็นไปอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถเสริมสร้าง ความมั่นคงของชาติและศักยภาพในการแข่งขันให้เป็นที่ยอมรับ ในระดับสากล รวมไปถึงการส่งเสริมให้ประชาชนทัว่ ไปได้รบั ความรู้ ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อีกทั้งยัง สนับสนุนผลงานวิจยั และนวัตกรรมทีไ่ ด้รับการเผยแพร่ให้สามารถ น�ำไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ อนุสารอุดมศึกษา


4

“กระทรวงศึกษาธิการเห็นความส�ำคัญของการพัฒนา ศักยภาพการแข่งขันและสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยัง่ ยืน จึงประกาศให้เรื่องดังกล่าวเป็นหนึ่งในเจ็ดนโยบายเฉพาะของ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งต้องด�ำเนินการให้เห็นผลภายในหนึ่งปี โดยมุ่งให้มีแนวทางการพัฒนาหลักสูตร ระบบการจัดการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา รองรับทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยใช้วทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นฐานการพัฒนา รวมถึงการจัดกิจกรรมทีเ่ ป็นการส่งเสริมการวิจยั พัฒนา และการ สร้างนวัตกรรมในสถาบันทางการศึกษา เพือ่ การน�ำไปใช้ประโยชน์ และสร้างมูลค่าสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประเทศ ด้วยการลงทุนของหน่วยงานต่างๆ ในภาครัฐเพื่อพัฒนาก�ำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะช่วยลดความเหลื่อมล�้ำของ ประเทศไทย โดยเฉพาะความเหลือ่ มลำ�้ ของการพัฒนาคุณภาพคน ที่ เ ป็ น รากฐานส�ำคั ญ ที่ จ ะส่ ง ผลกระทบเชื่ อ มโยงไปยั ง ความ เหลือ่ มล�ำ้ ในมิตติ า่ งๆ” รมช.ศธ. กล่าว รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ตระหนักถึงความจ�ำเป็นของการ

อนุสารอุดมศึกษา

ผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระดมความคิ ด เห็ น ร่ ว มกั น จากผู ้ บ ริ ห ารของหน่ ว ยงานที่ เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสรุปผลการด�ำเนินงานในระยะ ที่ ผ ่ า นมา พร้ อ มทั้ ง ก�ำหนดแนวทางการพั ฒ นาก�ำลั ง คนด้ า น วิทยาศาสตร์ระดับชาติ การให้การสนับสนุนงบประมาณและ ทรัพยากรแก่โครงการต่างๆ ทั้งที่ด�ำเนินการอยู่และจะด�ำเนินการ ในอนาคตให้มคี วามชัดเจน พร้อมทัง้ สร้างแนวทางในการเชือ่ มโยง และสนับสนุนซึ่งกันและกันในการจัดท�ำโครงการผลิตก�ำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์ จะท�ำให้สามารถผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง “นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีการน�ำเสนอจุดเด่น ความ ส�ำเร็จ แนวทางความร่วมมือระหว่างโครงการทุนต่างๆ ของหน่วยงาน ต่างๆ การจัดประชุมสัมมนาในวันนี้ จึงถือเป็นการด�ำเนินการเพือ่ สร้างก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ให้กับประเทศ โดยการให้ทุนการ ศึกษาทีค่ �ำนึงถึงการมีสว่ นร่วมของทุกหน่วยงาน ทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง มาร่วมพลังในการขับเคลื่อนและด�ำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม” เลขาธิการ กกอ. กล่าว


สกอ. เน้นมาตรฐานอุดมศึกษา ผลักดันความเป็นสากล

ทิศทางในการดำ�เนินงานด้านต่างประเทศของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา • การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาไทยและการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะสากล ของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรเพือ่ รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนและการด�ำรงอยูภ่ ายหลัง การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน (Post 2015) • การส่งเสริมให้อดุ มศึกษาไทยได้รบั การยอมรับในระดับภูมภิ าคและนานาชาติ • การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศเป้าหมายในการเข้ามาศึกษาของนักศึกษาต่างชาติ • การริเริม่ ความร่วมมือกับประเทศทีม่ ศี กั ยภาพ อาทิ อินเดีย รัสเซีย และตุรกี • การสร้างและสานต่อความร่วมมือ รวมถึงการสร้างบทบาทน�ำในเวทีนานาชาติ อาทิ การด�ำเนินความร่วมมือกับกลุม่ ประเทศลาตินอเมริกา • การประชาสัมพันธ์สถาบันอุดมศึกษาไทยในเวทีระหว่างประเทศ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการประชุมรองอธิการบดีทดี่ แู ลงานด้านต่างประเทศ ของสถาบันอุดมศึกษาไทย ณ ห้องบอลรูม บี-ซี โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท โดยได้รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จดั ให้มกี ารประชุมรองอธิการบดีทดี่ แู ลงานด้านต่างประเทศของสถาบัน อุดมศึกษาไทยเป็นประจ�ำทุกปี เพือ่ เป็นเวทีในการสือ่ สารระหว่างกัน และให้ทราบถึงแนวทางความร่วมมือในกรอบความร่วมมือทัง้ ระดับ ทวิภาคีและพหุภาคีของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รวมทัง้ เปิดโอกาสให้ได้แลกเปลีย่ นข้อมูลความเคลือ่ นไหวในการด�ำเนินงาน ด้านต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนหารือแนวทางความ ร่วมมือเพือ่ ให้เกิดประโยชน์สงู สุดต่อการพัฒนาการอุดมศึกษาไทย “การด�ำเนินงานเพือ่ ไปสูเ่ ป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษา ฝ่ายต่างประเทศของแต่ละสถาบันมีความส�ำคัญยิ่งในการสร้างและ สานต่อเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศอย่างต่อเนือ่ งและเข้มแข็ง เพือ่ ผลักดันให้การอุดมศึกษา

ไทยได้มีบทบาทเป็นที่ยอมรับในเวทีความร่วมมือระดับภูมิภาคและ ระดับโลก” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิ ก าร กกอ. กล่ า วถึ ง ทิ ศ ทางการพั ฒ นาการ อุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ ๒๑ ว่า จะมุง่ เน้นทีค่ ณ ุ ภาพมาตรฐานของ การอุดมศึกษา ซึง่ เป็นกลไกส�ำคัญยิง่ ต่อการพัฒนาอุดมศึกษาให้มคี วาม เป็นสากลมากขึน้ และส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้ความ ส�ำคัญมาโดยตลอด โดยในปี ๒๕๕๘ ได้รว่ มมือกับคณะผูแ้ ทนสหภาพ ยุโรปประจ�ำประเทศไทยและส�ำนักต่างๆ ในส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ได้บรู ณาการในการด�ำเนินโครงการการพัฒนาความเป็นสากล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Internationalisation and Human Resource Development) ภายใต้กรอบ Policy Dialogue Support Facility หรือ PDSF นอกจากนีย้ งั ได้ด�ำเนินโครงการ Measurement of University Internationalisation Performance and Relative Improvement ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุม หารือเพื่อระดมสมองในการพัฒนารูปแบบและเครื่องมือเพื่อติดตาม ความก้าวหน้าในการด�ำเนินงานสูค่ วามเป็นสากลของสถาบันอุดมศึกษา

5

อนุสารอุดมศึกษา


ความร่วมมือกับ

ANU

6

๑๘ มี น าคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ให้ ก ารต้ อ นรั บ Ms. BillieHeadon Manager, Student Recruitment, Scholarships and Alumni และ Ms. Ngan Le, International Student and Scholarship Coordinator จาก Crawford School, the Australian National University ประเทศออสเตรเลีย ณ ห้องประชุมศูนย์ SEAMEO RIHED ชั้น ๕ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในโอกาสเข้าพบและหารือร่วมกัน อนุสารอุดมศึกษา

นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เล่าว่า ผู้แทนจาก Crawford School, the Australian National University ได้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ Crawford School, the Australian National University รวมทั้งหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา และ Crawford School, the Australian National University โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ยินดีที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและ Crawford School, the Australian National University ซึ่งมี ความโดดเด่นในด้าน Public Policy, Economics และ Finance และมีความสนใจที่จะท�ำความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาไทย ในระดับบัณฑิตศึกษา “สกอ. ได้เชิญชวนให้ The Australian National University ส่งนักศึกษามาศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภายใต้ โครงการ New Colombo Plan โดย สกอ. ยินดีที่จะช่วยแนะน�ำ และประสานสถาบันอุดมศึกษาไทยทีม่ ศี กั ยภาพให้” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว


ต้อนรับ

ประธาน SEAMEO Council

๕ มี น าคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นผูแ้ ทนเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริหารศูนย์ภมู ภิ าคของซีมโี อว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา ให้การต้อนรับ H.E. Prof. Dr. Pham Vu Luan รัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงการศึกษาและฝึกอบรมสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะประธานสภา องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO Council President) เพือ่ เยีย่ มชมศูนย์ภมู ภิ าคของซีมโี อทีด่ �ำเนินการ อยู่ในประเทศไทย โดยประธานสภาองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่ง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคณะผูต้ ดิ ตาม ได้เยีย่ มชมศูนย์ภมู ภิ าค ของซีมีโอเพื่อการอุดมศึกษาและการพัฒนา (SEAMEO RIHED) ซึง่ ตัง้ อยู่ ณ ชัน้ ๕ อาคารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวต้อนรับประธานสภาองค์การรัฐมนตรีศกึ ษา แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนางฉันทวิทย์ สุชาตานนท์ ที่ปรึกษาศูนย์ SEAMEO RIHED ได้น�ำเสนอภาพรวมกิจกรรม ความร่วมมือต่างๆ ที่ศูนย์ SEAMEO RIHED ได้ด�ำเนินงาน ในเชิงรุก พร้อมมอบของที่ระลึกให้แก่ H.E. Prof. Dr. Pham Vu Luan และได้ถา่ ยภาพเป็นทีร่ ะลึกร่วมกันระหว่างทัง้ สองฝ่าย

7

อนุสารอุดมศึกษา


สกอ. เตรียมพร้อมบุคลากร ใช้ระบบควบคุมภายในของ สกอ. 8

๓ มี น าคม ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจัดการประชุมสัมมนา เรื่อง การจัดวางระบบ การควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน ของ ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ณ โรงแรมรามาดา เดมา เพื่ อ ให้ ผู ้ เข้ า ร่ ว มประชุ ม สั ม มนาได้ ท ราบหลั ก เกณฑ์ แนวทางวิธีการในการวางระบบการควบคุมภายในการจัดท�ำ รายงานผลการด�ำเนินงาน ตลอดจนหลักเกณฑ์การประเมิน ผลตามมาตรฐานการควบคุมภายในที่คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่ น ดิ น ก�ำหนด โดยได้ รั บ เกี ย รติ จ ากนายสุ ภั ท ร จ�ำปาทอง รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาเป็ น ประธาน ในพิธเี ปิด นายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า การบริหารงานในระบบราชการ มีการ ปรับบทบาทการท�ำงานจากการมุ่งเน้นความส�ำเร็จของผลผลิต (Output) ไปสู่การมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ค�ำนึงถึง ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากผลผลิตที่เกิดขึ้น (Outcome) พร้อมทั้งค�ำนึงถึงความมีประสิทธิภาพของการด�ำเนินงาน ความ คุ้มค่าของต้นทุนที่ใช้ในกระบวนงาน/ขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมถึงเรือ่ งของการควบคุมภายใน โดยถือเป็นเครือ่ งมือส�ำคัญของ การบริหารองค์กรแนวใหม่ที่จะต้องมีการควบคุมการปฏิบัติการ ให้ เ ป็ น ไปโดยมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ล เพื่ อ ให้ มั่ น ใจ

อนุสารอุดมศึกษา

ได้วา่ กระบวนงานหรือขัน้ ตอนการปฏิบตั งิ าน รวมทัง้ วิธกี ารควบคุม การปฏิบตั งิ านทีก่ �ำหนดนัน้ ท�ำให้เพิม่ ประสิทธิภาพในการท�ำงาน ขององค์กร สามารถป้องกันการรั่วไหล การสูญเสีย การทุจริต ตลอดจนรายงานทางการเงินมีความเป็นปัจจุบนั ถูกต้อง โปร่งใส เชื่อถือได้ องค์กรมีการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ตามแนวทางคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วย การก�ำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. ๒๕๔๔ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า ระบบการควบคุมภายใน เป็นเครือ่ งมือส�ำคัญของผูบ้ ริหาร ซึง่ ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ จากบุคลากรทุกคนในองค์กร ดังนัน้ จึงมีความจ�ำเป็นทีต่ อ้ งสร้าง ความรูค้ วามเข้าใจร่วมกัน ในการใช้ระบบการควบคุมภายในให้เกิด ประสิทธิผลสูงสุดเพือ่ บรรลุเป้าหมายสูงสุด “บุคลากรของ สกอ. ต้องเป็นผูท้ มี่ ที ศั นคติทดี่ ตี อ่ การ วางระบบการควบคุมภายใน มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ ในหลักการพื้นฐานของการควบคุมภายในและให้ความส�ำคัญกับ การน�ำการควบคุมภายในไปปฏิบัติ และการมีระบบการควบคุม ภายในที่มีประสิทธิภาพ การจัดประชุมครั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการ และบุคลากรของ สกอ. ได้เรียนรูแ้ ละฝึกปฏิบตั ใิ นการจัดวางระบบ ควบคุมภายใน เพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั ริ าชการของ สกอ. ให้บรรลุ ผลส�ำเร็ จ ตามเป้ าหมายอย่า งมี ประสิท ธิภ าพและประสิทธิผล ต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว


สกอ. จัดการความรู้ นโยบาย ‘4S’ ๑๐ มี น าคม ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจัดโครงการให้ความรู้ เรื่อง ‘นโยบายในการปฏิบัติ งาน ‘4S’ ของเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา’ ประจ�ำ ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร โดยได้รับเกียรติจากนายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดโครงการ นายสุภทั ร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า ปัจจุบนั บริบทของสังคมมีการเปลีย่ นแปลงอย่าง รวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อองค์กรทัง้ โดยทางตรงและทางอ้อม นับเป็น สิ่งท้าทายที่บุคลากรต้องเตรียมตนเองให้พร้อมที่จะรับมือกับสภาพ แวดล้อมใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลาและสถานการณ์ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ บุคลากรต้องมีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะทีเ่ หมาะสม ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อปฏิบัติภารกิจให้บรรลุ เป้าหมายตามยุทธศาสตร์และนโยบายที่ผู้บริหารก�ำหนด ภายใต้ บริบทและความท้าทายทีเ่ กิดจากการเปลีย่ นแปลงในการด�ำเนินงาน ขององค์กร “การสร้ า งมาตรฐานการให้ บ ริ ก ารที่ มี ค วามสะดวก รวดเร็ว ติดตามตรวจสอบได้ การให้บริการด้วยความเต็มใจ ทีม่ งุ่ เน้น ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสิ่งส�ำคัญ ซึ่งการก�ำหนดนโยบายของผู้บริหารสูงสุดเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะชี้น�ำ

ให้บุคลากรปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายที่ก�ำหนดไว้เพื่อความ เจริญก้าวหน้าขององค์กรอย่างสม�่ำเสมอ ต่อเนื่อง และประสบ ความส�ำเร็จ รวมถึงการให้บคุ ลากรมีสว่ นร่วมในการบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากรต่างๆ การใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพและ เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ขอให้ ทุกท่านน�ำนโยบายในการปฏิบตั งิ าน ‘4S’ ไปใช้ในการปฏิบตั งิ าน ในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อพัฒนาส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งคุณภาพต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

9

นโยบายในการปฏิ บั ติ ง าน ‘4S’ ของเลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้แก่ S - Service Mind การมีใจบริการและมีศิลปะ ในการสือ่ สารกับผูอ้ นื่ S - Speed สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและ ก�ำหนดระยะเวลาในการปฏิบตั งิ านได้ S - Smart สามารถปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ และถูกต้อง S - Systematic การท�ำงานอย่างมีระบบ อนุสารอุดมศึกษา


สกอ. กระตุ้นผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา กำ�กับดูแลด้านการเงิน 10

๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาจัดการสัมมนา เรื่อง มาตรการก�ำกับดูแลด้านการเงิน และระบบควบคุมภายในสถาบันอุดมศึกษา ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่ น เพื่ อ ให้ ผู ้ บ ริ ห ารในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาได้ ตระหนักถึงหน้าที่ในการก�ำกับดูแลด้านการเงินและการควบคุม ภายในของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา โดยได้ รั บ เกี ย รติ จ ากนายขจร จิตสุขมุ มงคล ทีป่ รึกษาด้านระบบบริหาร ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานเปิ ด การสั ม มนา นางสาวอรนุ ช ไวนุสทิ ธิ์ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง บรรยายพิเศษ เรือ่ ง กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการเงินการคลังของสถาบัน อุดมศึกษา นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน บรรยายพิเศษ เรื่อง มาตรการก�ำกับดูแลด้านการเงินและระบบ การควบคุมภายในของส�ำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน นอกจากนีม้ กี าร เสวนาและแลกเปลีย่ นความรู้ เรือ่ ง มาตรการก�ำกับดูแลด้านการเงิน และระบบการควบคุมภายในของสถาบันอุดมศึกษา โดยนางสาว มัทนา สานติวตั ร อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ รองศาสตราจารย์ สุทธิมา ช�ำนาญเวช ผูช้ ว่ ยอธิการบดี ปฏิบตั กิ ารร่วมกับรองอธิการบดี ในภาระหน้าทีเ่ กีย่ วกับการคลังและการเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรองศาสตราจารย์สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ รักษาการแทน รองอธิการบดีฝา่ ยบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ด�ำเนินรายการ โดยรองศาสตราจารย์เจษฎ์ โทณวณิก คณบดีคณะนิ ติ ศ าสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อนุสารอุดมศึกษา

นายขจร จิตสุขมุ มงคล ทีป่ รึกษาด้านระบบบริหาร กล่าวว่า จากกรณีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ถูกยักยอกเงิน จ�ำนวน ๑,๔๙๔ ล้านบาท ซึง่ ส่งผลกระทบ ต่อภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาอย่างร้ายแรง ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาในฐานะหน่วยงานกลางด้านการอุดมศึกษา จัดการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกี่ยวกับการก�ำกับดูแลด้านการเงินและการควบคุมภายในของ สถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและ สร้างภาพลักษณ์การปลอดการทุจริตในสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้ง ด�ำเนิ น การเพื่ อ ให้ เ ป็ น ไปตามนโยบายยุ ท ธศาสตร์ ข องรั ฐ บาล ในการพัฒนาที่ยั่งยืนในการส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มี ธรรมาภิบาลและการป้องกันการปราบปรามการทุจริตและประพฤติ มิชอบในภาครัฐ


เรื่องเล่า

อาเซียน

พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

ในการประชุมระดับนานาชาติ

ในปัจจุบันภาษาอังกฤษได้ทวีความส�ำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะจะเป็นภาษากลางที่ใช้สื่อสารระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ เมือ่ มีการรวมกลุม่ ประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาทีใ่ ช้ ในการท�ำงานในประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ ประเทศในกลุ ่ ม ลุ ่ ม แม่ น�้ ำ โขงตอนล่ า ง อันได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย ยังจะมีความ ร่วมมือกันระหว่างองค์กรภาครัฐในโครงการพัฒนาประเทศในด้าน ต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา การเกษตร ด้านสุขภาพ ด้านความมัน่ คงทาง พลังงาน ด้านสิง่ แวดล้อม และด้านการติดต่อสือ่ สาร ถ้าบุคลากรของ ประเทศมีศกั ยภาพทางด้านภาษาอังกฤษในการสือ่ สารและแสวงหา ความรูใ้ นสาขาต่างๆ การเสนอโครงการความร่วมมือและการเจรจา ต่อรองย่อมจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ ประสานประโยชน์และพัฒนาทรัพยากรของประเทศของตนและ ภูมภิ าคกลุม่ ลุม่ แม่นำ�้ โขงโดยรวม

11

ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาในฐานะ หน่วยงานรับผิดชอบหลักในสาขาการศึกษา ภายใต้กรอบความ ร่วมมือข้อริเริ่มลุ่มน�้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative) ได้ ร ่ ว มมื อ กั บ สหรั ฐ อเมริ ก าด�ำเนิ น โครงการอบรมภาษาอั ง กฤษ LMI-English Support : Professional Communication Skills for Leaders โดยความร่วมมือจากสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันแกนหลักในการด�ำเนินโครงการฝึกอบรม ภาษาอั ง กฤษให้ แ ก่ ผู ้ บ ริ ห าร นั ก วิ จั ย ข้ า ราชการระดั บ กลางถึ ง ระดับสูง ของประเทศสมาชิกลุม่ น�ำ้ โขงตอนล่าง ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย เพือ่ พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ในการประชุมระดับนานาชาติและการน�ำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในสาขาเป้าหมาย ๖ สาขา คือ การศึกษา การเกษตรและความมัน่ คง ทางอาหาร สุขภาพ ความมั่นคงด้านพลังงาน ความเชื่อมโยง และ สิง่ แวดล้อมและแหล่งน�ำ้ ซึง่ ได้ด�ำเนินการไปแล้ว ๒ ระยะ อนุสารอุดมศึกษา


ส�ำหรับการด�ำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการประชุมนานาชาติส�ำหรับผู้น�ำ ในประเทศลุ่มแม่น�้ำโขงตอนล่าง ระยะที่ ๓ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันแกนหลักในการด�ำเนินการในสาขาเป้าหมาย ๖ สาขาดังนี้ สาขา วันที่อบรม จ�ำนวนผู้เข้าอบรม การศึกษา ๖ - ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ ๑๖ คน การติดต่อสื่อสารคมนาคมและการศุลกากร ๓ - ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ๕ คน สุขภาพ ๑๕ - ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ ๒๐ คน การเกษตร ๑๖ - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ๑๙ คน พลังงาน ๙ - ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๘ ๗ คน สิ่งแวดล้อม ๒๗ เมษายน - ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ อยูร่ ะหว่างการรับสมัคร

12

โดยผูเ้ ข้าร่วมการอบรมจะได้รบั การอบรมภาษาอังกฤษทีม่ คี วามเป็นเฉพาะทางและมีความเข้มข้นรวมทัง้ หมด ๓๐ ชั่วโมง ในลักษณะ face-to-face และการพัฒนาตนเองของผู้เข้ารับการอบรมผ่านการศึกษาทางไกล รวมถึงการ จ�ำลองสถานการณ์เสมือนจริงอย่างน้อย ๒๐ ชั่วโมงภายหลังการอบรม ซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เข้ารับการ อบรมให้สื่อสารในการประชุมระดับภูมิภาคและนานาชาติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการน�ำเสนอข้อมูลในสาขาความ เชี่ยวชาญของผู้เข้ารับการอบรม นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วม งานประชุมจ�ำลอง (LMI-Forum) กับนักวิชาการ นักวิจยั ผูแ้ ทนจากหน่วยงานภาครัฐของกลุม่ ประเทศลุม่ นำ�้ โขงตอนล่าง เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ บุคลากรของรัฐที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้บริหารระดับกลางและนักวิจัยในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้าน สิ่งแวดล้อม และมีความสามารถภาษาอังกฤษระดับกลางขึ้นไปที่สนใจเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษา อังกฤษในการประชุมระดับนานาชาติดา้ นสิง่ แวดล้อม ซึง่ จะจัดระหว่างวันที่ ๒๗ เมษายน - ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ สามารถ ดูหัวข้อการอบรม ค่าลงทะเบียน และรายละเอียดอื่นๆ ได้ที่เว็บไซต์ http://inter.mua.go.th/ ซึ่งเปิดรับสมัครตั้งแต่ วันนี้จนถึงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่อง

พิเศษ

กกอ. สัญจร ครั้งที่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการ ประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษาสัญจร ณ เครือข่ายอุดมศึกษา ๙ เครือข่าย เพื่อให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาและผู้บริหาร ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีโอกาสพบปะกับ ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ รับฟังปัญหา/ข้อเท็จจริง และ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัย ในการยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทย และหาแนวทางขับเคลื่อน นโยบายของคณะกรรมการการอุดมศึกษาสู่การปฏิบัติให้เห็นผล อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสร้างศักยภาพการท�ำงานของเครือข่าย อุดมศึกษา ส�ำหรับการจัดประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา สัญจร ครัง้ ที่ ๔ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ได้มกี จิ กรรม การเยีย่ มชมแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ี (Best Practices) ของสถาบันอุดมศึกษา ต่างๆ พร้อมทั้งการประชุมเสวนาร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนื อ ตอนบน ซึ่ ง มี ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษา จ�ำนวน ๑๗ แห่ ง ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษารัฐ ๘ แห่ง สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ๖ แห่ง และวิทยาลัยชุมชน ๓ แห่ง และการประชุมคณะกรรมการ การอุดมศึกษาครัง้ ที่ ๓/๒๕๕๘

13

เพื่ อ ให้ ก ารขั บ เคลื่ อ นนโยบายของคณะกรรมการ การอุดมศึกษาไปสูก่ ารปฏิบตั ใิ ห้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนา คุณภาพการอุดมศึกษาของประเทศและสอดรับกับสถานการณ์ปจั จุบนั รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้กล่าวถึงนโยบายคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการ ยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาไทย ๘ ประเด็น ดังนี้

อนุสารอุดมศึกษา


14

(๑) การลงทุนพัฒนาประเทศผ่านสถาบันอุดมศึกษา ใน ๓ โครงการใหญ่ คือ โครงการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ในอุดมศึกษาเพือ่ รองรับการเปลีย่ นแปลงของบริบทโลก งบประมาณ ๔๔,๐๐๐ ล้านบาท โครงการขับเคลือ่ นมหาวิทยาลัยไทยสูม่ หาวิทยาลัย ระดับโลก งบประมาณ ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท และโครงการพัฒนาสถาบัน อุดมศึกษากลุม่ ใหม่ให้ได้มาตรฐานการอุดมศึกษาและการเตรียมความ พร้อมสูก่ ารเป็นประชาคมอาเซียน งบประมาณ ๖๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ทั้งเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา โดยมีจดุ เน้นให้หลักสูตรแต่ละกลุม่ มีลกั ษณะเด่น หรือมีความแตกต่างกัน และเน้นด้านคุณภาพมากกว่าปริมาณ ทีส่ �ำคัญ คือ ผู้ส�ำเร็จการศึกษาแต่ละหลักสูตรต้องได้รับการยอมรับ มีความ เท่าเทียมในปริญญาของหลักสูตร และมีความรูค้ วามสามารถทีก่ �ำหนด ไว้ในหลักสูตรได้จริง (๓) การประกันคุณภาพการศึกษาและการส่งเสริม สถาบันอุดมศึกษาสูค่ วามเป็นเลิศ สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดให้มรี ะบบ การประกันคุณภาพการศึกษา ตัง้ แต่ระดับหลักสูตร คณะ สถาบัน โดยมี อิสระในการเลือกระบบการประกันคุณภาพของตนเองให้สอดคล้อง กับมาตรฐานการศึกษา มาตรฐานการอุดมศึกษา เกณฑ์มาตรฐานอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง และรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก และต้องเป็น ระบบที่สนองต่อเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ และ กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธกี ารประกันคุณภาพ (๔) ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ. .... เป็นเครือ่ งมือในการ ส่งเสริม พัฒนา และยกระดับของประเทศให้กา้ วไปสูค่ วามเป็นเลิศใน ระดับนานาชาติ และทันกับความเปลีย่ นแปลงทางด้านเศรษฐกิจและ สังคมโลก และเป็นเครือ่ งมือก�ำหนดมาตรการในการก�ำกับดูแลสถาบัน อุดมศึกษาที่ยังขาดความเข้มแข็ง ให้สามารถจัดการศึกษาให้เป็นไป ตามมาตรฐานการอุดมศึกษา

อนุสารอุดมศึกษา


(๕) การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการจัดการ ศึกษา ทั้งการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา นอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง สกอ. ได้ขอความ ร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาให้ชะลอการเปิดศูนย์นอกสถานที่ตั้ง ในช่วงที่มีการปรับปรุงกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงฯ หากจะด�ำเนินการต้องมีการกลั่นกรองเหตุผลความจ�ำเป็นจาก สภาสถาบันอุดมศึกษาอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการควบคุม การขยายตัวของศูนย์นอกสถานที่ตั้งอีกทางหนึ่ง การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก ได้ด�ำเนินการน�ำร่องในสาขาวิชาบริหารการศึกษาและสาขา วิชารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการเร่งด่วน และการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนทีเ่ ปลีย่ นประเภทแล้ว ซึง่ ได้ด�ำเนินการไปแล้ว ในระยะที่ ๑ ของกลุ่มสถาบันที่เปลี่ยนประเภทมาแล้วไม่เกิน ๑๐ ปี ส�ำหรับการตรวจเยีย่ มสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทีเ่ ปลีย่ น ประเภทแล้ว ระยะที่ ๒ ของกลุ่มสถาบันฯ ที่เปลี่ยนประเภท มาแล้วเกิน ๒๐ ปีขนึ้ ไป จะติดตามพัฒนาการด้านคุณภาพและ มาตรฐาน โดยใช้แนวทางและวิธีการตรวจเยี่ยมเชิงการพัฒนา เพือ่ หาแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ี (Best Practices) มาประกอบ เพือ่ น�ำไป เผยแพร่ให้สถาบันอุดมศึกษาอื่นได้ทราบและน�ำไปประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับสถาบันของตน

15 (๖) การส่งเสริมเครือข่ายมหาวิทยาลัย ให้มีความเข้มแข็ง และเน้นความร่วมมือและมีระบบการบริหารจัดการทีด่ ี (๗) การพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา เพื่อปรับปรุงระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและ เสมอภาคมากขึน้ พร้อมทัง้ ส่งเสริมให้นกั ศึกษามีสมรรถนะสากลด้านภาษา (๘) การผลิตและพัฒนาครู กกอ. มีนโยบายสนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยรับผิดชอบการพัฒนาครูประจ�ำการและการผลิตครูรุ่นใหม่ ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการรายโรงเรียน และพัฒนาผู้บริหาร การศึกษาให้บริหารงานอย่างมี Accountability ตลอดจนสร้างหลักสูตร และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษ ที่ ๒๑ โดยการผลิตครูต้องเป็นวาระแห่งสถาบัน ที่เป็นหน้าที่ของคณะ วิชาต่างๆ ต้องมาร่วมกันผลิตครู ไม่ใช่หน้าทีข่ องครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพียงคณะเดียว ทัง้ นี้ กระบวนการผลิตครูตอ้ งมีทงั้ Classroom Teacher ทีส่ ามารถสอนได้ทกุ วิชาไม่เกินระดับประถมศึกษา และ Subject Teacher คือ รายวิชาเอกที่สอนในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งผู้ที่จะเป็นครูต้องเรียน รายวิชาเฉพาะก่อนแล้วจึงไปเรียนวิชาครู ซึ่ง กกอ. มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการก�ำหนดทิศทางการผลิตที่ควรลดจ�ำนวนลง แต่เน้นเรื่องคุณภาพ โดยระบบการผลิตครูควรเป็นระบบปิด อนุสารอุดมศึกษา


16

ในขณะที่รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวถึงแนวนโยบายส�ำคัญ ของ สกอ. ประกอบด้วย นโยบายเร่งด่วน เพือ่ ยกระดับประสิทธิภาพ อุดมศึกษา เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และนโยบายส่งเสริมระยะกลาง เพือ่ สนับสนุนและส่งเสริมคุณภาพ สถาบันอุดมศึกษา นโยบายเร่งด่วน (๑) พ.ร.บ. อุดมศึกษา เพือ่ ส่งเสริมและก�ำกับสถาบัน อุดมศึกษา โดยมีการก�ำหนดมาตรฐานอุดมศึกษา มาตรฐาน หลักสูตร การรับรองปริญญา ระบบประกันคุณภาพภายในการ อุดหนุนพิเศษแก่สถาบันอุดมศึกษา ยับยั้งการกระท�ำผิด Good Governance& Elite ของสถาบันอุดมศึกษา (โดยมีระบบคาน อ�ำนาจ) ยุตกิ ารจัดการศึกษาทีไ่ ม่มคี ณ ุ ภาพ ท�ำให้เกิดความเสียหาย แก่ผเู้ รียน คุม้ ครองสิทธินกั ศึกษา และให้การเยียวยา (๒) พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบัน อุ ด มศึ ก ษา เพื่ อ ให้ ร ะบบการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรบุ ค คล ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเป็ น ไปอย่ า งมี ม าตรฐานและมี รู ป แบบที่ เหมาะสม เกิดความเป็นธรรมต่อบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา โดยก�ำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา การบรรจุแต่งตัง้ วินยั และจรรยาบรรณ การด�ำเนินการทางวินยั การ อุทธรณ์รอ้ งทุกข์ และการออกจากงาน การก�ำหนดต�ำแหน่ง สายงาน ค่าตอบแทน และเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (career path) ให้แก่บคุ ลากรในสถาบันอุดมศึกษา การก�ำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา จัดให้มีระบบการดูแลสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของบุคลากร ในสถาบันอุดมศึกษา (กองทุนส�ำรองเลีย้ งชีพ, การประกันสุขภาพ) (๓) โครงการมหาวิทยาลัยวิจยั เพือ่ พัฒนามหาวิทยาลัย ชัน้ น�ำของประเทศ ให้มขี ดี ความสามารถในการแข่งขันและยกระดับ เป็นมหาวิทยาลัยชัน้ น�ำของโลก ตลอดจนเชือ่ มโยงและบูรณาการ งานวิจัยของแต่ละมหาวิทยาลัยในรูปแบบคลัสเตอร์วิจัย ได้แก่ ด้านเกษตรและอาหาร ด้านอุตสาหกรรม ด้านสุขภาพ ด้าน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านพลังงาน และด้านสิง่ แวดล้อม

อนุสารอุดมศึกษา

นโยบายส่งเสริมระยะกลาง เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา ช่วยสร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และ แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และภาคท้องถิ่นชุมชน พร้อมทั้งความเป็นเลิศทาง วิชาการ (๑) ระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานมหาวิทยาลัย (๒) การส่ ง เสริ ม การวิ จั ย โดยสนั บ สนุ น ให้ อ าจารย์ ท�ำผลงานวิจยั สายรับใช้สงั คมและ Applied Research เข้าสูต่ �ำแหน่ง วิชาการ และการวิจยั ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและการบริการสังคม เพือ่ ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ SMEs และการพัฒนาชุมชน (๓) ส่งเสริมคุณภาพบัณฑิต/หลักสูตร รูปแบบ Work Integrated Learning (WIL) (๔) การพัฒนานักวิจัยเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพือ่ เสริมสร้างความเข้มแข็งของประเทศ ในการประชุ ม เสวนาร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยอุ ด มศึ ก ษา ภาคเหนือตอนบน มหาวิทยาเชียงใหม่ในฐานะแม่ข่ายได้น�ำเสนอ ผลการด�ำเนินงานในภาพรวมของเครือข่าย และการก�ำหนดกิจกรรม ในเรื่อง สหกิจศึกษา การวิจัย หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบัน อุดมศึกษา (UBI) และการส่งเสริมและบริการการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีเป้าหมายการขับเคลือ่ นใน ระยะต่อไปในเรือ่ งการพัฒนานักศึกษา การพัฒนาอาจารย์ และการ พัฒนาการเรียนการสอนในลักษณะ Work Integrated Learning (WIL) จากนัน้ สถาบันอุดมศึกษา จ�ำนวน ๑๗ แห่ง ได้น�ำเสนอแนว ปฏิบตั ทิ ดี่ ี (Best Practices) ของสถาบันอุดมศึกษา ในด้านการจัด การเรียนการสอน ด้านการวิจยั และพัฒนา และด้านการบริการวิชาการ ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาและผูบ้ ริหารส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาได้รับทราบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นพร้อมทั้ง ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน การวิจยั และการสร้างความเข้มแข็งให้กบั ชุมชนในพืน้ ทีต่ อ่ ไป


เรื่อง

แนะนำ� ขอแสดงความยินดี

นายขจร จิตสุขุมมงคล

ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่

ค�ำสัง่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ ๑๐๕/๒๕๕๘ ให้ยา้ ย นายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ไปแต่งตัง้ ให้ด�ำรงต�ำแหน่ง ผูช้ ว่ ยเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา สัง่ ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อนุสารอุดมศึกษาฉบับนี้ ขอน�ำประวัตขิ องนายขจร จิตสุขมุ มงคล ผูช้ ว่ ย เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่ มาลงในคอลัมน์เรือ่ งแนะน�ำ ดังนี้

17

นายขจร จิตสุขุมมงคล ผูช้ ว่ ยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

การศึกษา

หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ๒๕๕๔ นิตศิ าสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง นิตศิ าสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง

ประวัติการทำ�งาน ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ - ตุลาคม ๒๕๕๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ - ตุลาคม ๒๕๕๒

ต�ำแหน่งผูช้ ว่ ยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผูอ้ �ำนวยการส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผูอ้ �ำนวยการส�ำนักอ�ำนวยการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะด้านนิตกิ าร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

ประทีปถิ่น ประเทืองไทย

สร้างคุณค่างานวิจัย ก้าวไกลสู่สากล 18

การวิจัยเป็นเครื่องมือที่มีความส�ำคัญยิ่งต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ความสามารถในการวิจัยเป็นตัวบ่งชี้ ที่ส�ำคัญของความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการพัฒนา ประเทศไทยจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องสร้างปัญญาปฏิบตั หิ รือการเรียนรูผ้ า่ นการ ปฏิบตั เิ พือ่ ขับเคลือ่ นสังคมไทยให้ไปสูส่ งั คมอุดมปัญญา (Knowledgebased Society) นอกจากนี้กระบวนการหนึ่งซึ่งส�ำคัญของการวิจัย คือ การน�ำผลงานวิจยั ไปใช้ประโยชน์ หรือการเผยแพร่งานวิจยั สูแ่ วดวง วิชาการ เพือ่ การน�ำผลการวิจยั ไปใช้ในการแก้ปญ ั หาสังคมและต่อยอด การพัฒนางานวิจัยที่สูงขึ้นต่อไป ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยส�ำนักบริหาร โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัย แห่งชาติ ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนทุนวิจัยให้กับมหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ๗๐ แห่ง บนพื้นฐาน ความหลากหลายทางชีวภาพ การพัฒนาครูของครูด้วยโจทย์วิจัย ท้องถิน่ การวิจยั จากฐานภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ สูน่ วัตกรรมด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และการวิจยั ทีส่ อดคล้องกับ ๖ กลุม่ Supra Cluster ของ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย และจัดให้ มีโครงการประชุมวิชาการ ‘การจัดประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการ วิจัยในอุดมศึกษา’ The Higher Education Research Promotion Congress (HERP CONGRESS) ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๕๖

อนุสารอุดมศึกษา

ส�ำหรั บ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา โดยส�ำนั ก บริ ห ารโครงการส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในอุ ด มศึ ก ษาและพั ฒ นามหาวิ ท ยาลั ย วิ จั ย แห่ ง ชาติ ร่ ว มกั บ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และเครือข่ายมหาวิทยาลัย ของรั ฐ ด�ำเนิ น การจั ด ประชุ ม ใหญ่ โ ครงการส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓ (HERP CONGRESS III) ‘ประทีปถิ่น ประเทืองไทย สร้างคุณค่างานวิจัย ก้าวไกลสู่สากล’ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เพื่อก�ำกับ ติดตามความก้าวหน้าผลงานวิจัยของโครงการที่ได้รับ การจัดสรรทุนวิจัยในปีงบประมาณ ๒๕๕๗ การสร้างเครือข่าย การวิจัยแบบบูรณาการ การเผยแพร่ผลงานวิจัยที่สามารถน�ำ ไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ ผลงานวิจัยมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็ น ประโยชน์ ต ่ อ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น รวมทั้ ง ให้ ผู ้ บ ริ ห าร มหาวิ ท ยาลั ย ได้ น�ำเสนอแนวคิ ด และแลกเปลี่ ย นแนวทางการ บริ ห ารจั ด การงานวิ จั ย อย่ า งเป็ น ระบบและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ตลอดจนเป็ น เวที แ ลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ก ารท�ำวิ จั ย ร่ ว มกั น ระหว่ า งนั ก วิ จั ย ที่ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น ทุ น วิ จั ย ภายใต้ โครงการส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในอุ ด มศึ ก ษา ซึ่ ง ได้ รั บ เกี ย รติ จ าก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานในพิธีเปิด


รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาการวิจัยของ สกอ. ทีม่ งุ่ เน้นการพัฒนาก�ำลังคนให้มคี ณ ุ ภาพในระดับสูง เพือ่ เปลีย่ นผ่าน สั ง คมไทยไปสู ่ สั ง คมเศรษฐกิจฐานความรู้ ควบคู่กับ การพั ฒ นา มหาวิทยาลัยไทยไปสู่มาตรฐานระดับสากล ดังที่ สกอ. ได้ส่งเสริม การวิ จั ย ในอุ ด มศึ ก ษามาเป็ น ระยะเวลา ๕ ปี แ ล้ ว เริ่ ม ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นมา เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน การศึกษาและการวิจัย โดยจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ และสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม ด้วยการเพิ่ม ขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งส่งเสริมความ เป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัยไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลาง ทางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน “สกอ. ได้ ก�ำหนดนโยบายการพั ฒ นามหาวิ ท ยาลั ย ด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมสถาบันการศึกษาขั้นสูง ด�ำเนินการ วิจัยและพัฒนา รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาชุมชนบนฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ ทางวิ ช าการโดยเฉพาะในสาขาที่ ป ระเทศไทยมี ศั ก ยภาพสู ง และจ�ำเป็นต่อการพัฒนาประเทศยุคใหม่” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

เลขาธิ ก าร กกอ. กล่ า วถึ ง การด�ำเนิ น งานตลอด ระยะเวลา ๕ ปี ว่าได้มีการพัฒนาการบริหารจัดการงานวิจัยอย่าง ต่อเนื่อง ใน ๓ ประเด็นส�ำคัญ คือ (๑) กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการท�ำวิจัย ท�ำให้เกิด การเพิม่ สมรรถภาพในการผลิตผลงานวิจยั และผลงานวิจยั บางส่วน สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น (๒) การสร้างบุคลากรวิจัยระดับสูงและการพัฒนา อาจารย์ โดยเปิดโอกาสให้นสิ ติ นักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา และ อาจารย์รุ่นใหม่ เข้าร่วมในโครงการ (๓) การสร้างเครือข่ายงานวิจัยและการท�ำงานเป็น กลุ่มวิจัยบูรณาการเกิดขึ้นในกลุ่มมหาวิทยาลัย ๗๐ แห่ง ภายใต้ โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา “หากโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาได้รับ การสนับสนุนงบประมาณวิจัยในระยะที่ ๒ การพัฒนานักวิจัย ของมหาวิทยาลัย ๗๐ แห่งที่ร่วมโครงการ ควรได้รับการยกระดับ โดยการจัดตั้งผู้ประสานงานส่วนกลางและผู้ประสานงานส่วน ภูมิภาค (node) ร่วมกับมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีความเข้มแข็งด้าน การวิจัย เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างเครือข่ายงานวิจัยอย่างเป็น ระบบ รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการวิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของตนเองต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

19

อนุสารอุดมศึกษา


20

เกี่ยวพัน ในการประชุมครั้งนี้ มีนักวิจัยที่ได้รับการ จัดสรรทุนในปีงบประมาณ ๒๕๕๗ จ�ำนวน ๕๖๓ โครงการ ซึ่งส่งบทคัดย่อมาร่วมน�ำเสนอจ�ำนวน ๔๗๐ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๕ จากผลงานวิจัยทั้งหมด คณะกรรมการผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ไ ด้ คั ด เลื อ กผลงานวิ จั ย ที่มีคุณภาพสูง เพื่อเป็นการเชิดชู ยกย่อง และสร้าง แรงจู ง ใจให้ กั บ นั ก วิ จั ย ที่ มี คุ ณ ภาพ คณะผู ้ จั ด การ ประชุมจึงมอบรางวัลให้ผู้ที่มีผลงานวิจัยดีเด่น จ�ำนวน ๑๓ เรื่อง คาดว่าจะมีผลงานวิจัยดีมากแบบบรรยาย ประมาณ ๓๕ เรือ่ ง และผลงานวิจยั ดีมากแบบโปสเตอร์ อีกประมาณ ๓๓ เรื่อง

รายชื่อผู้ที่ได้รับโล่รางวัล ‘ผลงานวิจัยดีเด่น’ อนุสารอุดมศึกษา

กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐ ๒๐ แห่ง ๑. การพัฒนายาเม็ดลอยตัวฟองฟู่เคอร์คูมินอยด์ รศ. ดร.ศรีสกุล สังข์ทองจีน และคณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร

๒. อิทธิพลของสารช่วยยึดสายโซ่พอลิเมอร์ตอ่ การเกิดพอลิแล็กติกแอซิดแบบ สเตอริโอคอมเพล็กซ์ ส�ำหรับใช้เป็นพลาสติกชีวภาพสมรรถนะสูง รศ. ดร.ยอดธง ใบมาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ๓. การพั ฒ นาแบบจ�ำลองเครื อ ข่ า ยทางสั ง คมเพื่ อ เพิ่ ม ผลผลิ ต งานวิ จั ย ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย รศ. ดร.น�้ำทิพย์ วิภาวิน และ ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๔. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยการคัดสรรหัวเชื้อแบบ แช่แข็งตามด้วยการท�ำละลาย รศ. ดร.จันทรพร ผลากรกุล และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ๕. การพัฒนาเด็กซ์ตรินนาโนเจลชนิดตอบสนองต่อพีเอชส�ำหรับน�ำส่งยาต้าน มะเร็งแบบมุ่งเป้า รศ. ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ และ ดร.สมกมล แม้นจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


กลุ่มโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ

21

๑. ความหลากหลายทางชีวภาพของฟองน�้ำน�้ำจืดในลุ่มน�้ำ เพชรบุรีและลุ่มน�้ำชายฝั่งทะเลประจวบคีรีขันธ์ ดร. นิสิต เรืองสว่าง และ อาจารย์เพ็ชร สุธิภรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ๒. หัวเชื้อราอัดเม็ด 2in1 เพื่อการพัฒนาการปลูกข้าวอินทรีย์ สายพันธุ์ กข. ๔๗ แบบนาหว่าน ผศ. ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ และ ผศ. ดร.อัชฌาณัท รัตนเลิศนุสรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

๔. รูปแบบการสร้างอัตลักษณ์ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ท้องถิ่นของชุมชนบ้านตามา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน อาจารย์อุทิศ ทาหอม และคณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ๕. ความหลากหลายของแอกติโนแบคทีเรียที่มีผลต่อการเสื่อม สภาพทางชีววิทยา ของวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดร.สุจิตกัลยา มฤครัฐอินแปลง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

๓. การศึ ก ษาศั ก ยภาพต้ น ลิ ง ลาวในการอนุ รั ก ษ์ แ ละฟื ้ น ฟู ระบบนิเวศ คุณค่าทางโภชนาการ ส�ำหรับประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาชุมชน อาจารย์สวิง ขันทะสา และคณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

๖. การวิเคราะห์ระดับโมเลกุลและสัณฐานวิทยาของแมลงวัน ผลไม้กลุม่ Bactrocera tau ซับซ้อน ในภาคใต้ของประเทศไทย อาจารย์ปัทมา สมศิลป์ และ ดร.ภควดี รักษ์ทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

กลุ่มโครงการบูรณาการวิจัยจากฐานภูมิปัญญา ท้องถิ่นสู่นวัตกรรมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๑. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคีย้ วเสริมโปรตีนจากถัว่ เหลือง หมักโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดร.พรดรัล จุลกัลป์ และ ดร.ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

กลุ่มโครงการพัฒนาครูของครู ด้วยโจทย์วิจัยท้องถิ่น

๑. ก ารฝึ ก ทั ก ษะด้ า นมุ ม มองของนั ก ศึ ก ษาฝึ ก หั ด ครู ส าขา คณิ ต ศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ กาญจนบุ รี เพื่ อพัฒ นา สมรรถนะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อาจารย์ภูชิต ภูช�ำนิ และ อาจารย์กอบกุล ประเสริฐลาภ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ

๖ มีนาคม ๒๕๕๘ - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี มอบหนังสือ ‘โรงเรียนคุณธรรม’ และหนังสือ ‘คุณครูที่รัก’ ให้รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อเผยแพร่ ให้แก่คณาจารย์และนักศึกษาใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งแถลงข่าวร่วมกัน ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน

22

๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ร่วมพิธีแถลงข่าวการท�ำข้อตกลงเกี่ยวกับการ ชดเชยค่าเสียหายระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบังกับธนาคารไทยพาณิชย์ โดยมี ศาสตราจารย์โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และนายวิ ชิ ต สุ ร พงษ์ ชั ย ประธานกรรมการบริ ห าร ธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) ร่วมกันแถลงข่าว ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน

อนุสารอุดมศึกษา


๙ มีนาคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายนีล เอ แฮนเซ็น ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษา เอสโซ่ สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

23

๒ มีนาคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ให้การต้อนรับและหารือข้อราชการ ร่วมกับ Dr.John Hope, Associate Dean International Programmes, Faculty of Education, The University of Auckland ประเทศนิ ว ซี แ ลนด์ เพื่ อ หาแนวทางในการ ท�ำความร่วมมือทางวิชาการระหว่างส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา และ The University of Auckland ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๓

อนุสารอุดมศึกษา


ค่านิยม

๑๒ ประการ

หนึ่งรักชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ สองซื่อสัตย์เสียสละอดทนได้ สามกตัญญูพ่อแม่สุดหัวใจ สี่มุ่งใฝ่เล่าเรียนเพียรวิชา ห้ารักษาวัฒนธรรมประจ�ำชาติ หกไม่ขาดศีลธรรมศาสนา เจ็ดเรียนรู้อธิปไตยของประชา แปดรักษาวินัยกฎหมายไทย เก้าปฏิบัติตามพระราชด�ำรัส สิบไม่ขาดพอเพียงเลี้ยงชีพได้ สิบเอ็ดต้องเข้มแข็งทั้งกายใจ สิบสองไซร้คิดอะไรให้ส่วนรวม

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

LOGO

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.