3/2556 TAT Tourism Journal

Page 70

To u r i s m @ A E C

ASEAN : การแลกเปลี่ ย นทางวั ฒ นธรรม (Cross-cultural Exchange) สำ�หรับการเกิดขึ้นของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ย่อมถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย ในทัศนะของผู้เขียน มองว่า กระบวนการดังกล่าวจะสามารถขยาย ความร่วมมือ และเกิดการแลกเปลีย่ นเรียนรูซ้ งึ่ กันและกัน โดยจำ�เป็น จะต้องอาศัยกระบวนการการเชื่อมโยงร่วมกัน คือ ASEAN Connectivity ภายใต้การเชื่อมโยงของประชาชนร่วมกัน “People to People Connectivity” ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างการเดินทาง การ ท่องเที่ยว การไปมาหาสู่ระหว่างกันระหว่างประชาชน การเชื่อมโยง

ทางสังคม วัฒนธรรม ถือเป็นหัวใจของการเป็นประชาคมอาเซียน ที่เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริง โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม” ถึงแม้ว่าแต่ละประเทศต่าง ๆ จะมีความ หลากหลาย ทั้งในเรื่องชาติพันธุ์ ภาษา วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ มีลักษณะเหมือนหม้อใบใหญ่ที่อุดมไปด้วยความหลากหลาย ความแตกต่าง มีลักษณะของความเป็นพหุสังคมสูง แต่ภายใต้ความ หลากหลายเหล่านั้น กลับมีต้นรากทางวัฒนธรรม หรือมีทุนทาง วัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน จึงเป็นการง่ายที่จะเชื่อมโยงกันได้มาก ยิ่งขึ้น ผ่านการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมของชาวอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งในขณะนี้มีสถานที่สำ�คัญทางวัฒนธรรมที่ ได้รับการขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลก โดย UNESCO แล้วถึง 21 แห่ง ดังนี้

ไทย

ลาว

• เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร : ขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลกเมื่อ ค.ศ.1991 เมืองโบราณ 700 กว่าปี อดีตราชธานี ที่รุ่งเรืองทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า ศาสนา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และเทคโนโลยีที่มีการสร้างสรรค์ และ สืบทอดมาสูช่ นชาติไทยในปัจจุบนั โดยมีสงิ่ ก่อสร้างทีเ่ ป็นโบราณสถาน ที่บ่งบอกถึงสถาปัตยกรรมไทยมากมาย ซึ่งต่อมากลายเป็น “ศิลปะ แบบสุโขทัย” • แหล่ ง โบราณคดี บ้ า นเชี ย ง : ขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น มรดกโลก เมื่อ ค.ศ.1992 “ได้รับการยอมรับว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัย ประวัติศาสตร์ที่สำ�คัญที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่ทำ�ให้รับรู้ การดำ�รงชีวิตในยุคก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี • นครประวัตศิ าสตร์พระนครศรีอยุธยา : ขึน้ ทะเบียนมรดกโลก ทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ.1991 ถือเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2 ของไทยต่อ จากสุโขทัย อยุธยาถูกทำ�ลายลงโดยกองทัพพม่าในคริสต์ศตวรรษที่ 18 สิง่ ทีย่ งั หลงเหลือให้เห็น คือ พระปรางค์ซงึ่ เป็นสถาปัตยกรรมทีง่ ดงาม

• เมืองหลวงพระบาง : ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ ค.ศ.1995 หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดก โลกด้วยเหตุผล คือ การผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมดั้งเดิม มี วัดวาอารามเก่าแก่มากมาย และสถาปัตยกรรมที่ ได้รับอิทธิพลจาก ยุคอาณานิคม ตัวเมืองตั้งอยู่ริมนํา้ โขงและนํ้าคานซึ่งไหลบรรจบกัน ท่ามกลางธรรมชาติอนั งดงาม และชาวหลวงพระบางมีบคุ ลิกทีย่ มิ้ แย้ม แจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รบั การปกปักรักษาทีด่ ที สี่ ดุ ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ • วัดพูและสิง่ ก่อสร้างใกล้เคียงในแขวงจำ�ปาศักดิ์ : ขึน้ ทะเบียน เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมือ่ ค.ศ. 2001 ภูมทิ ศั น์ทางวัฒนธรรมของ จำ�ปาศักดิแ์ ละวัดพู เป็นภูมทิ ศั น์ท่ีได้รบั การวางผังและรักษาสภาพเดิมไว้ เป็ น อย่ า งดี นานกว่ า 1,000 ปี เป็ น รู ป แบบของศาสนาฮิ น ดู ท่ีมี ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ ทัง้ หมดนีแ้ สดงถึงพัฒนาการ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5-18 ที่มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรเขมร

68 |Tourism Journal


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.