ไฟฟ้าสาร ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 มี.ค.-เม.ย.56

Page 1

ปที่ 20 ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน 2556

นิตยสารเทคโนโลยีที่มีวิศวกรไฟฟาอานมากที่สุดในประเทศ

ELECTRICAL ENGINEERING MAGAZINE Wide Spectrum Technical Magazine for Electrical Engineers การวิเคราะหสาเหตุการชำรุด ชุดทดสอบวัฏจักรความรอน ของสายเคเบิลใยแกวนำแสง สำหรับสายเคเบิลใตดิน (กรณีศึกษาในพื้นที่การไฟฟา สัมภาษณพิเศษ การประเมินศักยภาพ เขตเพชรบุรี) อำนวย ทองสถิตย พลังงานลมในพื้นที่ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน ระบบความปลอดภัย นอกชายฝงทะเลอาวไทย และอนุรักษพลังงาน กับโทรศัพทมือถือ ของ PEA

www.eit.or.th


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน 2556 E-mail : eemag@eit.or.th, eit@eit.or.th

ส า ร บั ญ

14

สัมภาษณ์พิเศษ

14

อ�ำนวย ทองสถิตย์ “พลังงานทดแทน ความท้าทายพลังงานไทย”

มาตรฐานและความปลอดภัย

17

40

24

ขยายความมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าส�ำหรับประเทศไทย พ.ศ.2545 บทที่ 5 (ตอนที่ 2) : นายลือชัย ทองนิล หลักปฏิบัติด้านการตรวจสอบ และการทดสอบการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย (ตอนที่ 7) : นายมงคล วิสุทธิใจ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ไฟฟ้าก�ำลังและอิเล็กทรอนิกส์กำ� ลัง

45 54

31 36

ไฟฟ้าสื่อสารและคอมพิวเตอร์

40 45

ระบบความปลอดภัยกับโทรศัพท์มือถือ : นายไกรวีร์ ลิ้มชัยกิจ การวิเคราะห์สาเหตุการช�ำรุดของสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง (กรณีศึกษาในพื้นที่การไฟฟ้า เขตเพชรบุรี) : นายวิษณุ เหลืองอร่าม และนายธีวุฒ ิ ศรีสุวรรณ

เทคโนโลยีและนวัตกรรม

49 54 66

82

การป้องกันการลัดวงจรลงดินในระบบไฟฟ้า : นายวิทยา ธีระสาสน์ การเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า โดยใช้สายตัวน�ำไฟฟ้าชนิด High Temperature, Low Sag Conductors : นายกิตติกร มณีสว่าง

การตรวจจับควันด้วยกล้องวงจรปิด : ธีรศักดิ์ ศรีสุวรรณ์ และ มิติ รุจานุรักษ์ ชุดทดสอบวัฏจักรความร้อนส�ำหรับสายเคเบิลใต้ดิน Heat Cycles Test Set for Underground Cable : ดร.อรรถ พยอมหอม ข้อคิดและกลยุทธ์การจัดประชุมวิชาการให้ประสบผลส�ำเร็จ : รศ.ดร.ส�ำรวย สังข์สะอาด

พลังงาน

73 82

Maximum Demand กับความเข้าใจที่ถูกต้อง : นายธวัชชัย ชยาวนิช การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในพื้นที่นอกชายฝั่งทะเล ตอนที่ 2.1 การประเมินศักยภาพ พลังงานลมในพื้นที่นอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยของ PEA : นายศุภกร แสงศรีธร

ปกิณกะ

86 91 93 95

The Host : น.ส.ปนิฏา ยงยุทธ ศัพท์วิศวกรรมน่ารู้ Threshold : นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล Innovation News “ไบโอมีเทนอัด” ความหวังพลังงานทดแทนส�ำหรับรถยนต์ : น.ส.วิไลภรณ์ ชัชวาลย์ ข่าวประชาสัมพันธ์

ความคิดเห็นและบทความต่าง ๆ ในนิตยสารไฟฟ้าสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผูเ้ ขียน ไม่มสี ว่ นผูกพันกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร สวัสดีทุกท่านครับ เวลาช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วเช่นเดิมครับ นี่วันสงกรานต์หรือ วันขึ้นปีใหม่ของไทยก็ก�ำลังจะมาถึงกันอีกแล้วนะครับ ในโอกาสนี้ทางกองบรรณาธิการ นิตยสารไฟฟ้าสารจึงขออ�ำนวยพรให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ การงาน สุขภาพแข็งแรง มีความสุข สดชื่น และสมหวังในสิ่งปรารถนาที่ดีทุกสิ่งไปครับ หลาย ๆ ท่านคงจะเดินทางกลับบ้านหรือไปท่องเทีย่ ว อย่าลืมเรือ่ งความปลอดภัยเป็นทีต่ งั้ นะครับ ทั้งเรื่องการขับรถและการดื่มสิ่งมึนเมาทั้งหลาย โดยควรขับรถด้วยความมีสติ ให้อภัยซึง่ กันและกัน และมีนำ�้ ใจต่อกันนะครับ จากทีผ่ มได้ตดิ ตามข่าวสารในช่วงทีผ่ า่ นมา พบว่า คนไทยเราเดี๋ยวนี้หลายคนเป็นคนอารมณ์ร้อน ไม่มีสติ สุดท้ายก็ท�ำเรื่องเล็ก ให้เป็นเรื่องใหญ่ เกิดเหตุที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นหลายครั้ง ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้มีช่วงเวลาที่ดี ๆ ในช่วงสงกรานต์ ที่จะถึงนี้นะครับ ผมเพิง่ กล่าวถึงช่วงสงกรานต์ไป สิง่ ทีอ่ ดคิดถึงไม่ได้ตามมาคือ เรือ่ งอากาศร้อน แน่นอนครับปัญหาทีม่ าคูก่ นั คือปริมาณ การใช้ไฟฟ้าจะสูงมากในช่วงนี้ มีหลักการประมาณอย่างง่ายครับว่าหากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 1 องศา จะท�ำให้ปริมาณการใช้ไฟ เพิ่มขึ้นประมาณ 5% ทุกท่านคงทราบข่าวที่ทางพม่าจะงดจ่ายก๊าซให้แก่ประเทศไทยแล้วนะครับ นี่ยิ่งท�ำให้เกิดวิกฤตปัญหา พลังงานระดับชาติเลยครับ เพราะปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น แต่กำ� ลังการผลิตมีปัญหาเพราะมีเชื้อเพลิงไม่เพียงพอ เนื่องจากประเทศไทยเราพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติประมาณ 70% จึงท�ำให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และทัง้ 3 การไฟฟ้ารวมทัง้ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องต้องมาร่วมกันหาทางป้องกันการเกิดปัญหาไฟฟ้าดับบางส่วน หรือทีเ่ ขาเรียกว่า “Brown out” จึงได้มีการรณรงค์กันทุกภาคส่วนให้ช่วยกันลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงในช่วงดังกล่าว ปัจจุบันหลังจากได้หารือ แก้ปัญหากันแล้วก็ได้มีการประกาศตัวเลขก�ำลังไฟฟ้าส�ำรองเพิ่มเติมแล้วว่า ได้เพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้ไม่กี่ร้อยเมกะวัตต์ ได้เพิม่ เป็นหนึง่ พันกว่าเมกะวัตต์แล้ว ซึง่ ก็ทำ� ให้โอกาสทีจ่ ะเกิด Brown out นัน้ น้อยลงไป หลายท่านก็อาจไม่เข้าใจว่าไฟฟ้าส�ำรอง คืออะไร ผมขออธิบายง่าย ๆ คือ การผลิตไฟฟ้าเราไม่สามารถบอกได้ว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้ามีมากน้อยเพียงใด จึงต้องมีกำ� ลัง ไฟฟ้าส�ำรองไว้เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น หากมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมก็จะสามารถผลิตเพิ่มให้ได้ทันที หรือหาก โรงไฟฟ้าโรงใดเกิดมีปัญหาไม่สามารถจ่ายไฟได้ก็จะต้องใช้กำ� ลังไฟฟ้าส�ำรองนี้จ่ายทดแทน โดยปกติจะก�ำหนดให้มีก�ำลังไฟฟ้า ส�ำรองประมาณ 10–15% ของปริมาณโหลดสูงสุด อย่างไรก็ดี แม้ไม่เกิดปัญหานีพ้ วกเราทุกคนคงต้องมีสว่ นร่วมในการลดการใช้ พลังงานทีไ่ ม่จำ� เป็น ทัง้ เพือ่ ลดค่าใช้จา่ ย ลดโอกาสการเกิดไฟดับ และทีส่ ำ� คัญลดการใช้ทรัพยากรทีม่ อี ยูอ่ ย่างจ�ำกัด เพือ่ ให้ลกู หลาน ของเราได้มีใช้อีกต่อไปในอนาคตนาน ๆ รวมทั้งยังเป็นการลดการปล่อยมลพิษจากการใช้พลังงานเพื่อช่วยปกป้องโลกของเรา ทางอ้อมอีกด้วย นอกจากนีป้ ระเทศของเราควรต้องมีแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง เพื่อให้เรามีทางเลือกลดการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งผมขอให้ทุกท่านได้ติดตามอ่านรายละเอียดได้จาก บทสัมภาษณ์พิเศษของท่านอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานต่อไปครับ นิตยสารไฟฟ้าสารฉบับนีไ้ ด้รบั เกียรติจาก นายอ�ำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน ให้เกียรติสัมภาษณ์ในหัวข้อเรื่อง “พลังงานทดแทน ความท้าทายพลังงานไทย” ซึ่งท่านได้กล่าวถึงหลายประเด็นด้านพลังงาน ทดแทนทีน่ า่ สนใจ คือ การทีป่ ระเทศไทยของเราตัง้ เป้าเป็น “แบตเตอรีข่ องเอเชีย” การเตรียมความพร้อมสูก่ ารเป็นเอทานอลฮับ รวมทัง้ การเตรียมความพร้อมพลังงานให้แก่ภาคอุตสาหกรรม และทีส่ ำ� คัญคือการตัง้ เป้าและผลักดันการใช้พลังงานทดแทนให้ได้ 25% ใน 10 ปี นอกจากนี้ยังมีบทความวิชาการหลายบทความที่น่าสนใจ ข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของ วสท.และหน่วยงาน ต่าง ๆ ให้ทุก ๆ ท่านได้ติดตามเช่นเดิม อนึง่ หากท่านผูอ้ า่ นท่านใดมีขอ้ แนะน�ำ หรือติชมใด ๆ แก่กองบรรณาธิการ ท่านสามารถมีสว่ นร่วมกับเราได้โดยส่งเข้ามา ทางไปรษณีย์ หรือที่ Email: eemag@eit.or.th นอกจากนี้ท่านสามารถ Download หรืออ่านนิตยสารไฟฟ้าสารในรูปแบบของ E-Magazine ทีเ่ ป็นแบบ 4 สีท่ งั้ เล่มได้ที่ http://www.eit.or.th/ee-mag และสุดท้ายผมขอขอบคุณผูส้ นับสนุนนิตยสาร “ไฟฟ้าสาร” ทุกท่านที่ช่วยให้เรายังคงสามารถท�ำนิตยสารวิชาการให้ความรู้และข่าวสารแก่ท่านผู้อ่านทุกท่านในช่วงที่ผ่านมา และหวังเป็น อย่างยิ่งว่าจะให้การสนับสนุนตลอดไปครับ สวัสดีครับ ดร.ประดิษฐ์ เฟื่องฟู

ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


เจ้าของ : สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 487 รามค�ำแหง 39 (ซอยวัดเทพลีลา) ถนนรามค�ำแหง แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0 2319 2410-13 โทรสาร 0 2319 2710-11 http://www.eit.or.th e-mail : eit@eit.or.th

คณะกรรมการที่ปรึกษา

ฯพณฯ พลอากาศเอก ก�ำธน สินธวานนท์ ศ.ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ศ.อรุณ ชัยเสรี รศ.ดร.ณรงค์ อยู่ถนอม รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ดร.การุญ จันทรางศุ นายเรืองศักดิ์ วัชรพงศ์ พล.ท.ราเมศร์ ดารามาศ นายอ�ำนวย กาญจโนภาศ

จันทร์เจนจบ, อาจารย์สุพัฒน์ เพ็งมาก, นายประสิทธ์ เหมวราพรชัย, นายไชยวุธ ชีวะสุทโธ, นายปราการ กาญจนวตี, นายพงษ์ศักดิ์ หาญบุญญานนท์, รศ.ศุลี บรรจงจิตร, รศ.ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช, นายเกียรติ อัชรพงศ์, นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์, นายเชิดศักดิ์ วิทูราภรณ์, ดร.ธงชัย มีนวล, นายโสภณ สิกขโกศล, นายทวีป อัศวแสงทอง, นายชาญณรงค์ สอนดิษฐ์, นายธนะศักดิ์ ไชยเวช

ประธานกรรมการ นายลือชัย ทองนิล

รองประธานกรรมการ นายสุกิจ เกียรติบุญศรี นายบุญมาก สมิทธิลีลา

คณะกรรมการอ�ำนวยการ วสท.

นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายไกร ตั้งสง่า รศ.ดร.หรรษา วัฒนานุกิจ ศ.ดร.ต่อกุล กาญจนาลัย นายธเนศ วีระศิริ นายทศพร ศรีเอี่ยม นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์ นายธีรธร ธาราไชย รศ.ดร.วันชัย เทพรักษ์ รศ.ดร.วิชัย กิจวัทวรเวทย์ นายชัชวาลย์ คุณค�้ำชู รศ.ดร.อมร พิมานมาศ ผศ.ดร.วรรณสิริ พันธ์อุไร ดร.ชวลิต ทิสยากร รศ.ดร.พิชัย ปมาณิกบุตร นายชูลิต วัชรสินธุ ์ รศ.ดร.ทวีป ชัยสมภพ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ นายประสิทธิ์ เหมวราพรชัย นางอัญชลี ชวนิชย์ ดร.ประวีณ ชมปรีดา รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายลือชัย ทองนิล นายจักรพันธ์ ภวังคะรัตน์ รศ.ด�ำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย รศ.ดร.ขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์ นายเยี่ยม จันทรประสิทธิ์ ผศ.ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์ ผศ.ดร.ก่อเกียรติ บุญชูกุศล นายกุมโชค ใบแย้ม รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง รศ.วิชัย ฤกษ์ภูริทัต รศ.ดร.สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ ผศ.ดร.สงวน วงษ์ชวลิตกุล รศ.ดร.จรัญ บุญกาญจน์

นายก อุปนายกคนที่ 1 อุปนายกคนที่ 2 อุปนายกคนที่ 3 เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ โฆษก สาราณียกร ประธานกรรมการสิทธิและจรรยาบรรณ ประธานกรรมการโครงการ ประธานสมาชิกสัมพันธ์ ปฏิคม ประธานกรรมการต่างประเทศ ประธานกรรมการสวัสดิการ กรรมการกลาง 1 กรรมการกลาง 2 ประธานวิศวกรอาวุโส ประธานวิศวกรหญิง ประธานยุววิศวกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา ประธานสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ประธานสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ประธานสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ประธานสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ โลหการ และปิโตรเลียม ประธานสาขาวิศวกรรมเคมี ประธานสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ประธานสาขาวิศวกรรมยานยนต์ ประธานสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประธานสาขาภาคเหนือ 1 ประธานสาขาภาคเหนือ 2 ประธานสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ประธานสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ประธานสาขาภาคใต้

กรรมการ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

รายนามคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท. 2554-2556 ที่ปรึกษา

นายอาทร สินสวัสดิ์, ดร.ประศาสน์ จันทราทิพย์, นายเกษม กุหลาบแก้ว, ผศ.ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์, นายโสภณ ศิลาพันธ์, นายภูเธียร พงษ์พิทยาภา, นายอุทิศ

ผศ.ถาวร อมตกิตติ ์ ดร.เจน ศรีวัฒนะธรรมา นายสมศักดิ์ วัฒนศรีมงคล นายพงศ์ศักดิ์ ธรรมบวร นายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ นายสุธี ปิ่นไพสิฐ ดร.ประดิษฐ์ เฟื่องฟู นายกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว นายสุจิ คอประเสริฐศักดิ์ นายภาณุวัฒน์ วงศาโรจน์ นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล น.ส.นพดา ธีรอัจฉริยกุล

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

คณะท�ำงานกองบรรณาธิการนิตยสารไฟฟ้าสาร คณะที่ปรึกษา

นายลือชัย ทองนิล, นายปราการ กาญจนวตี, ผศ.ดร.วชิระ จงบุรี, นายยงยุทธ รัตนโอภาส, นายสนธยา อัศวชาญชัยสกุล, นายศุภกิจ บุญศิริ , นายวิชยั จามาติกลุ

บรรณาธิการ

ดร.ประดิษฐ์ เฟื่องฟู

กองบรรณาธิการ

ผศ.ถาวร อมตกิตติ์, นายมงคล วิสุทธิใจ, นายชาญณรงค์ สอนดิษฐ์, นายวิวัฒน์ อมรนิมิตร, นายสุเมธ อักษรกิตติ์, ดร.ธงชัย มีนวล, ผศ.ดร.ปฐมทัศน์ จิระเดชะ, ดร.อัศวิน ราชกรม, นายบุญถิ่น เอมย่านยาว, นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล, นายกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว, อาจารย์ธวัชชัย ชยาวนิช, นายมนัส อรุณวัฒนาพร, นายประดิษฐ์พงษ์ สุขสิริถาวรกุล, นายจรูญ อุทัยวนิชวัฒนา, น.ส.เทพกัญญา ขัติแสง, น.ส.นพดา ธีรอัจฉริยกุล

ฝ่ายโฆษณา

สุพจน์ แสงวิมล, กฤษณะ หลักทรัพย์, วีณา รักดีศิริสัมพันธ์

จัดท�ำโดย

บริษัท ไดเร็คชั่น แพลน จ�ำกัด

539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 22 A ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2247 2330, 0 2247 2339, 0 2642 5243, 0 2642 5241 (ฝ่ายโฆษณา ต่อ 112-113) โทรสาร 0 2247 2363 www.DIRECTIONPLAN.org E-mail : DIRECTIONPLAN@hotmail.com


Interview สัมภาษณ์พิเศษ

อ�ำนวย ทองสถิตย์ “พลังงานทดแทน ความท้าทายพลังงานไทย” ในยุคทีพ่ ลังงานกลายเป็นของหายากและมีราคาแพง ประกอบกับสถานการณ์ทปี่ ระเทศไทยก�ำลังประสบปัญหา ด้านพลังงานในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านความมั่นคงและ ความเพียงพอของการจัดหาพลังงานนัน้ “พลังงานทดแทน” ถูกมองว่าเป็นอัศวินขีม่ า้ ขาวเข้ามาช่วยคลีค่ ลายสถานการณ์ พลังงานที่ก�ำลังตึงตัว นิตยสารไฟฟ้าสารฉบับนี้ขอน�ำ คุณผูอ้ า่ นไปติดตามทัศนะและแนวนโยบายการด�ำเนินงาน ด้านพลังงานทดแทนและการอนุรกั ษ์พลังงานทีส่ ำ� คัญของ ประเทศ จาก นายอ�ำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่งเป็นผู้ที่ ได้ชื่อว่ามีส่วนส�ำคัญต่อการผลักดันนโยบายด้านพลังงาน ทดแทนไปสู่แนวทางปฏิบัติ

“เรื่องพลังงานทดแทนชัดเจนว่าเราเป็นผู้น�ำด้าน การพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเชือ้ เพลิง ชีวภาพ มีหลายประเทศที่เริ่มท�ำตามอย่างประเทศไทย ไม่ ว ่ า จะเป็ น ประเทศเวี ย ดนามหรื อ ประเทศฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ที่ตั้งเป้าหมายการใช้แก๊สโซฮอล์ให้มากยิ่งขึ้น” อธิบดี พพ.ยกตัวอย่าง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ไทยตั้งเป้าเป็น “แบตเตอรี่ของเอเชีย”

การเข้ า สู ่ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น หรื อ AEC เป็ น สิ่ ง ที่ ทุ ก ประเทศในอาเซี ย นให้ ค วามส� ำ คั ญ นายอ�ำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรกั ษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า เรือ่ งของ AEC ถือเป็น วาระแห่งชาติที่รัฐบาลให้ความส�ำคัญมาก ซึ่งในประเด็น ด้านพลังงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะท�ำงานร่วมกันใน การเตรียมความพร้อมเพือ่ เข้าสู่ AEC โดยจะท�ำงานร่วมกัน เป็น Energy Connectivity หรือการเชื่อมโยงระบบ พลังงานในกลุม่ อาเซียนเข้าไว้ดว้ ยกัน เนือ่ งจากในอาเซียน มีทรัพยากรมากมายที่สามารถพัฒนาพลังงานร่วมกันได้ ทั้งไฟฟ้าพลังน�้ำ ถ่านหิน เป็นต้น โดยประเทศไทยมี เป้าหมายจะเป็น “แบตเตอรี่ของเอเชีย” ที่ไม่ใช่ในฐานะ ผู้ซื้อพลังงาน แต่ประเทศไทยก�ำลังจะพัฒนาตนเองไปสู่ การเป็นศูนย์กลางการซือ้ ขายไฟฟ้าในกลุม่ ประเทศอาเซียน

14

พร้อมสู่การเป็นเอทานอลฮับ

เมื่ อ กลั บ มาพิ จ ารณาพลั ง งานทดแทนจะพบว่ า ประเทศไทยมีวตั ถุดบิ ทีส่ ามารถน�ำมาผลิตเชือ้ เพลิงชีวภาพ ได้ค่อนข้างมาก อธิบดี พพ.บอกว่า วัตถุดิบที่มีศักยภาพ คือน�้ำตาลและมันส�ำปะหลัง น�ำมาผลิตเอทานอลเพื่อใช้ เป็นเชือ้ เพลิงส�ำหรับรถยนต์ได้ ซึง่ ขณะนีป้ ระเทศไทยผลิต เอทานอลได้ 5 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่ปริมาณการใช้ใน ประเทศอยู่ที่ 2 ล้านลิตรต่อวัน จึงมีเอทานอลส่วนเกินที่ สามารถส่งออกได้ จุดนีเ้ องท�ำให้ประเทศไทยมีความพร้อม ในการเป็นศูนย์กลางการซือ้ ขายเอทานอลในภูมภิ าค หรือ Ethanol Hub ได้


เ ต รี ย ม ค ว า ม พ ร ้ อ ม พ ลั ง ง า น ภ า ค ตัง้ เป้าใช้พลังงานทดแทนให้ได้ 25% ใน 10 ปี อุตสาหกรรม เพือ่ ให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทน

การเข้าสู่ AEC การเตรียมความพร้อมที่ส�ำคัญอีก ภาคส่วนหนึง่ คือ ภาคอุตสาหกรรมทีต่ อ้ งแข่งขันเรือ่ งราคา ในส่วนนี้เอง อธิบดี พพ.บอกว่า ทาง พพ.มีจุดมุ่งหมาย ที่จะเข้าไปช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดย พพ.ได้เข้าไปให้การสนับสนุนทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือ SME โรงงานขนาดกลาง โรงงานขนาดใหญ่ ผ่าน ทางหลายโครงการเพื่อให้รองรับกับทุกภาคส่วน และยัง ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาปรับปรุงอุปกรณ์ ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เมื่อผู้ประกอบการมี การใช้พลังงานทีป่ ระหยัด มีประสิทธิภาพสูง รายจ่ายด้าน พลังงานจะลดลง ท�ำให้ผลิตสินค้าที่สามารถแข่งขันกับ ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ “ขณะเดี ย วกั น พพ.ก็ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน ซึ่ง พพ.ได้มีการปรับปรุงกฎหมาย ทั้ ง กฎกระทรวงและพระราชกฤษฎีก าต่าง ๆ เพื่อให้ ทันสมัยและเอือ้ ประโยชน์ตอ่ การอนุรกั ษ์พลังงานให้เข้มข้น ยิ่งขึ้น” อธิบดี พพ.กล่าว นอกจากนั้ น พพ.ยั ง ได้ เ ตรี ย มการด� ำ เนิ น งาน เกี่ยวกับสมาร์ทกริด (Smart Grid) หรือโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ โดยท�ำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน หากท�ำได้ ส�ำเร็จจะท�ำให้การส่งเสริมการประหยัดพลังงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะท�ำให้รู้ว่าช่วงไหนมีการใช้ พลั ง งานมาก จะได้ ว างแผนการใช้ พ ลั ง งานได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ ซึ่งการท�ำงานเรื่องสมาร์ทกริดจะมีคณะ อนุกรรมการ 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ดูแลเรื่องแผนแม่บท และ นโยบายในการพัฒนาและส่งเสริมโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ และคณะอนุกรรมการชุดที่ 2 จะเข้ามาดูแลการจัดท�ำแผน รองรับที่สอดคล้องกับแผนแม่บทที่วางเอาไว้ ซึ่งขณะนี้อยู่ ระหว่างด�ำเนินการ ถือเป็นจุดเริม่ ต้นทีด่ ี พพ.ให้ความสนใจ เรื่องนี้ค่อนข้างมาก เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อ การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ให้เป็นหนึ่งในพลังงานหลักของประเทศ ทดแทนเชื้อเพลิง ฟอสซิ ล และการน� ำ เข้ า น�้ ำ มั น ได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น ในอนาคต กระทรวงพลั ง งานได้ ก� ำ หนดยุ ท ธศาสตร์ ใ นการจั ด ท� ำ Roadmap เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนและ พลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564) ซึ่งอธิบดี พพ.กล่าวว่า แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและ พลังงานทางเลือกนี้มีความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ตัวเลข 25% ถือเป็นตัวเลขที่มากพอสมควร การจะไปถึง เป้ า หมายได้ ต ้ อ งให้ ค วามส� ำ คั ญ ทั้ ง ในส่ ว นของไฟฟ้ า พลั ง งานความร้ อ น และพลั ง งานชี ว ภาพ โดยจะให้ ความส�ำคัญกับพลังงานชีวภาพมากที่สุด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ส� ำ หรั บ มาตรการรองรั บ ด้ า นเชื้ อ เพลิ ง ชี ว ภาพ กระทรวงพลังงานพยายามส่งเสริมการใช้เอทานอลให้ มากขึ้น โดยมีมาตรการลด เลิก การใช้น�้ำมันเบนซิน 91 ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้น�้ำมันเบนซินที่ไม่ผสมเอทานอล ประมาณ 8 ล้านลิตรต่อวัน เมือ่ ยกเลิกเบนซิน 91 ไปแล้ว ในเดือนมกราคม 2556 ตัวเลขการใช้นำ�้ มันเบนซินจาก 8 ล้านลิตรต่อวัน ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านลิตร ต่อวันเท่านัน้ ซึง่ ประชาชนจะใช้นำ�้ มันเบนซิน 95 ปริมาณ เบนซิน 6 ล้านลิตร ที่หายไปจึงมาอยู่ที่นำ�้ มันแก๊สโซฮอล์ ตัวเลขการใช้เอทานอลก็จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 1.4 ล้านลิตร ต่อวัน มาเป็น 2 ล้านลิตรต่อวัน และปลายปีนคี้ าดว่าจะมาก ถึง 3 ล้านลิตรต่อวัน ซึง่ ในอนาคตจะต้องมีแผนเร่งรัดเพือ่ ให้มีการใช้เอทานอลเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่ของภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รถที่ใช้นำ�้ มัน E20 E85 เป็นต้น มีนาคม - เมษายน 2556

15


“แต่เท่านี้ยังไม่พอ เพราะเราตั้งเป้าหมายไว้ที่ 40 ล้านลิตรต่อวัน จึงต้องมองไปที่การใช้น�้ำมันสังเคราะห์ อย่างอื่นด้วย เช่น การพัฒนา BTL : Biomass to Liquid คือการแปรรูปชีวมวลให้เป็นน�ำ้ มัน การผลิตน�ำ้ มันไบโอเจ็ต ส�ำหรับใช้กบั เครือ่ งบิน นอกจากนัน้ ยังมีการพัฒนาไบโอแก๊ส จากพืชพลังงานทดแทนที่เรียกว่าหญ้าเนเปียร์ เป้าหมาย 10,000 เมกะวัตต์ เป็นโครงการที่จะบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง 9 กระทรวง เพราะหญ้าเนเปียร์มีศักยภาพน�ำมา หมักเพื่อผลิตไบโอแก๊สส�ำหรับน�ำไปใช้ในรถยนต์ได้ โดย ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Compressed Biomethane Gas หรือ CBG สามารถใช้กับรถยนต์แทนก๊าซ NGV ในเขตพื้นที่ห่างไกลแนวท่อส่งก๊าซได้ โดย พพ.จะส่งเสริม การผลิตก๊าซ CBG จากหญ้าเนเปียร์อย่างจริงจัง วันหนึ่ง หญ้าเนเปียร์จะเป็นเทคโนโลยีของคนไทย เป็นนวัตกรรม ที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้” อธิบดี พพ.กล่าว

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

โอกาสใหม่สง่ เสริมการใช้นำ�้ มันพืชสังเคราะห์

นอกจากเอทานอลแล้ ว รั ฐ บาลยั ง ส่ ง เสริ ม เรื่ อ ง ไบโอดีเซลด้วย ซึ่งเป็นโอกาสเหมาะที่จะส่งเสริมให้มี การใช้นำ�้ มันพืชสังเคราะห์มาทดแทนมากยิง่ ขึน้ โดยตัวแรก ทีร่ ฐั บาลสนับสนุน คือ BHD ย่อมาจาก Bio-Hydrogenated Diesel คือการน�ำน�ำ้ มันพืชมาผ่านกระบวนการ Hydrogenation เพื่อให้ได้น�้ำมันที่เรียกว่า BHD ที่มีโครงสร้างเช่นเดียวกับ น�ำ้ มันดีเซลแต่มคี ณ ุ ภาพสูงกว่า ช่วยให้เครือ่ งยนต์สตาร์ต ติดง่าย เผาไหม้สมบูรณ์กว่า และน�ำไปผสมกับน�ำ้ มันดีเซล ได้มากกว่า 5% แต่ขณะนีค้ า่ ยรถยนต์ยอมให้ผสมได้เพียง 5% แม้ในทางทฤษฎีจะผสมได้ถึง 10% จึงอยู่ระหว่าง การเจรจากับค่ายรถยนต์ให้ผสมได้ที่ 7% หากท�ำได้จะ ท�ำให้เพิม่ การใช้ไบโอดีเซลได้ถงึ 9 ล้านลิตรต่อวัน ซึง่ คาดว่า ภายในปี 2560 จะสามารถตัง้ โรงกลัน่ น�ำ้ มัน BHD ได้ 1 โรง ก�ำลังการผลิต 1 ล้านลิตรต่อวัน ท�ำให้ประเทศไทยมีการใช้ น�้ำมันปาล์มหรือน�้ำมันพืชสังเคราะห์มาผสมน�้ำมันดีเซล มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้ น แล้ ว รั ฐ บาลยั ง มี แ นวโน้ ม ยกเลิ ก รถโดยสารที่ใช้เชื้อเพลิง NGV แล้วหันมาใช้รถโดยสาร ที่ใช้เชื้อเพลิง ED95 แทน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงแบบใหม่ มีส่วนผสมของเอทานอลร้อยละ 95 ที่เหลือร้อยละ 5 เป็นสารปรุงแต่ง เท่ากับเป็นรถทีใ่ ช้เอทานอลเกือบ 100% แต่เครื่องยนต์ต้องออกแบบมาโดยเฉพาะจึงจะสามารถ ใช้ ไ ด้ ขณะนี้ อ ยู ่ ร ะหว่ า งการเจรจากั บ ประเทศผู ้ ผ ลิ ต การปรับเปลีย่ นรถโดยสารจากรถ NGV มาใช้ ED95 นีถ้ อื เป็น การน�ำร่องรถยนต์ประเภทนี้ในประเทศไทย

16

แนวทางการส่ ง เสริ ม พลั ง งานทดแทนข้ า งต้ น อธิบดี พพ.เชื่อมั่นว่าจะเป็นส่วนส�ำคัญที่ช่วยลดการพึ่งพา ก๊าซธรรมชาติเพื่อการผลิตพลังงานที่มากถึง 70% ลงมา ให้เหลือ 45% ได้ด้วยการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนที่ มีศักยภาพแทน ซึ่งแนวทางเหล่านี้ต้องด�ำเนินการควบคู่ ไปกับการให้ความรู้แก่ประชาชน เพราะสถานการณ์ พลังงานของประเทศไทยก�ำลังอยู่ในภาวะยากล�ำบาก “สิง่ ทีอ่ ยากฝากคือ การพัฒนาพลังงานทดแทนโดย การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนั้นต้องขอความร่วมมือ จากทุกภาคส่วน ถ้าทุกคนให้ความสนใจและเข้าใจแล้ว สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ตัวเราเองในการลดรายจ่ายและ เพิ่มรายได้ ส่วนในมิติของประเทศจะช่วยลดการพึ่งพา พลังงานจากภายนอก สร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคง ด้านการพัฒนาพลังงานของประเทศ ซึ่งทุกคนต้องรู้และ ให้ความส�ำคัญ ไม่ควรรอให้ภาครัฐดูแลให้เพียงอย่างเดียว” อธิบดี พพ.กล่าวทิ้งท้าย


Standard & Safety มาตรฐานและความปลอดภัย นายลือชัย ทองนิล อีเมล : luachai@yahoo.com

ขยายความมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าส�ำหรับ ประเทศไทย พ.ศ. 2545 บทที่ 5 (ตอนที่ 2) บทความทั้ ง หมดนี้ เ ป็ น ความเห็ น ของผู ้ เ ขี ย น ในฐานะที่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการในการจัดท�ำ มาตรฐานการติ ด ตั้ ง ทางไฟฟ้ า ฯ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ความเห็ น ร่วมกันของคณะอนุกรรมการฯ การน�ำไปใช้อ้างอิงจะต้อง ท�ำด้วยความระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนหวังว่าจะ เป็นความเห็นที่มีประโยชน์ และเพื่อความประหยัดพื้นที่ จึงไม่ได้ยกเนื้อความของมาตรฐานฯ มาลงไว้ในบทความ ทั้ ง หมดแต่ จ ะยกมาเฉพาะบางส่ ว นที่ ต ้ อ งการอธิ บ าย เพิม่ เติมเท่านัน้ และทีส่ �ำคัญคือการใช้มาตรฐานจึงจ�ำเป็น ต้องอ่านและท�ำความเข้าใจทั้งเล่ม จะยกเพียงส่วนใด ส่วนหนึ่งไปใช้อ้างอิงอาจไม่ถูกต้อง ส่วนที่เป็นค�ำอธิบาย จะใช้เป็นอักษรตัวเอียงบนพื้นสีเทา

ข้อ 5.2.2 รัศมีการดัดโค้งของสายไฟฟ้า ข้อ 5.2.2.1 สายไฟชนิดไม่มีปลอกคั่นหรือไม่มี เปลือกตะกั่ว ต้องมีรัศมีการดัดโค้งไม่น้อยกว่า 8 เท่าของ เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก ข้อ 5.2.2.2 สายไฟชนิดมีปลอกคั่นหรือมีเปลือก ตะกั่วหุ้ม ต้องมีรัศมีการดัดโค้งไม่น้อยกว่า 12 เท่าของ เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก การโค้งงอสายจะท�ำให้ฉนวนของสายด้านนอกของ เส้นโค้งเกิดแรงดึงอย่างสูง ถ้ารัศมีการดัดโค้งน้อยสาย ก็จะเกิดแรงดึงมากขึ้น เป็นผลให้ฉนวน เปลือก หรือชิลด์ ช�ำรุดได้ จึงไม่ควรดัดโค้งสายให้มีรัศมีน้อยมากเกินไป ซึง่ ต้องสอดคล้องกับทีก่ �ำหนดในข้อ 5.2.2 ส�ำหรับการเดิน สายในท่อร้อยสายโลหะ ท่อโค้งหรือเครื่องมือดัดท่อที่ เป็นมาตรฐานนั้นถือว่าใช้ได้ มีข้อสังเกตคือสายที่มีปลอก ตะกั่วหุ้มซึ่งเป็นสายที่ออกแบบใช้งานในบางสถานที่นั้น รัศมีดัดโค้งจะมากกว่าสายไฟฟ้าทั่วไป

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ข้อ 5.2.3 การติดตั้งใต้ดิน สายใต้ดินต้องฝังดินลึกไม่น้อยกว่า 0.90 เมตร ในทุกกรณี ถ้าเป็นสายฝังดินโดยตรงต้องมีแผ่นคอนกรีต หนาไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร ปิดทับอีกชั้นหนึ่งเหนือ สายเคเบิลระหว่าง 0.30 ถึง 0.45 เมตร แผ่นคอนกรีต ต้องกว้างพอที่จะปิดคลุมออกไปจากแนวสายทั้งสองข้าง อย่างน้อยข้างละ 0.15 เมตร ข้อ 5.2 ข้อก�ำหนดการเดินสายส�ำหรับระบบแรงสูง 5.2.4 อนุญาตให้ใช้ตัวน�ำอะลูมิเนียมในระบบสาย ส� ำ หรั บ ข้ อ ก� ำ หนดการเดิ น สายในระบบแรงสู ง (แรงดันเกิน 1,000 โวลต์) เป็นข้อก�ำหนดเพิ่มเติมจาก อากาศที่ติดตั้งภายนอกอาคาร ข้อก�ำหนดของแรงต�่ำ ในการน�ำข้อก�ำหนดไปใช้จะต้อง พิจารณาด้วยว่ามีข้อก�ำหนดแรงต�่ำอะไรบ้างที่สามารถ น�ำมาประยุกต์ใช้งานได้ด้วย มีนาคม - เมษายน 2556

17


เมื่อมีน�้ำหนักกดลงบนพื้นดิน น�้ำหนักจะถ่ายลง ใต้พื้นและกระจายไปด้านข้าง จะท�ำให้น�้ำหนักตรงจุดที่ กระท�ำลดลงประมาณ 1/3 เท่า ที่ความลึก 0.30 เมตร ดังนั้นที่ความลึก 0.90 เมตร น�้ำหนักภายนอกที่กระท�ำ จะลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ หมายความว่าสายไฟฟ้าหรือ ท่อร้อยสายทีฝ่ งั ลึกจากผิวดิน 0.90 เมตร จะไม่รบั น�ำ้ หนัก ทีก่ ระท�ำจากภายนอก เช่น น�ำ้ หนักรถยนต์ทวี่ งิ่ อยูด่ า้ นบน เป็นการป้องกันความเสียหายของสายหรือท่อร้อยสายจาก น�้ำหนักที่กระท�ำจากภายนอก กรณีฝังดินโดยตรงที่ก�ำหนดให้มีแผ่นคอนกรีต ปิดทับด้านบนก็เพื่อป้องกันความเสียหายของสายไฟฟ้า จากการขุดเจาะพื้นดิน มีขอ้ แนะน�ำว่า การเดินสายฝังดินควรมีเครือ่ งหมาย เช่น แผ่นพลาสติกพิมพ์ข้อความ “อันตรายมีสายไฟฟ้า แรงสูงอยู่ข้างล่าง” หรือข้อความอื่นที่มีความหมายเตือน ถึงอันตรายในลักษณะเดียวกันนีด้ ว้ ย ถึงแม้จะไม่มกี ำ� หนด ในมาตรฐานฯ ก็ตาม โดยปกติ การเดิ น สายไฟฟ้ า แรงต�่ ำ จะใช้ สายทองแดง การใช้สายอะลูมเิ นียมอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะ ส่วนทีเ่ ป็นหมายเหตุ 2 ในข้อ 2.1.1.2 เท่านัน้ แต่การเดินสาย แรงสูงภายนอกอาคารทีเ่ ป็นระบบสายอากาศ มาตรฐานฯ อนุญาตให้ใช้สายอะลูมิเนียมได้ เนื่องจากสายทองแดงมี ข้อจ�ำกัดเรื่องน�ำ้ หนักมาก

การเดินสายเปิด เป็นวิธีเดินสายแบบหนึ่งที่ไม่มี จุดประสงค์ให้ใช้เดินภายในอาคารเนื่องจากไม่สามารถ ป้องกันทางกลได้ จึงอนุญาตให้ใช้ในงานได้ในบางสถานที่ เท่านั้น เช่น งานอุตสาหกรรมเนื่องจากโดยปกติจะมี ช่างคอยดูแล และในงานเกษตรกรรมที่อาจมีข้อจ�ำกัด เรื่ อ งการเดิ น สายเนื่ อ งจากเป็ น พื้ น ที่ ข นาดใหญ่ แ ละ มักเป็นพืน้ ทีโ่ ล่ง และส�ำหรับงานแสดงสินค้านัน้ มักจะเป็น การเดินสายชั่วคราวที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนการเดินสาย บ่อยตามลักษณะและสภาพของการแสดงสินค้า ความสู ง ของสายไฟฟ้ า เหนื อ อาคารส� ำ หรั บ สิง่ ก่อสร้างหรือพืน้ ทีท่ วั่ ไป เป็นไปตามตารางที่ 1-5 เพือ่ ลด อันตรายจากการสัมผัสและความเสียหายจากยานพาหนะ เกี่ ย วสายขาด ส� ำ หรั บ สายไฟฟ้ า ที่ ยึ ด เกาะกั บ ผนั ง หรื อ ก� ำ แพงไม่ มี ย านพาหนะหรื อ บุ ค คลลอดผ่ า นได้ ความสูงจึงลดลงได้ให้อยู่ในระดับที่เอื้อมมือไม่ถึงเท่านั้น

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ข้อ 5.3.2.3 การเดินสายในสถานที่ชื้น เปียก หรือ มีไอที่ท�ำให้เกิดการผุกร่อน ต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิด ความเสียหายแก่สายไฟฟ้า ข้อ 5.3.2.4 สายทีใ่ ช้ตอ้ งเป็นสายหุม้ ฉนวน ยกเว้น สายที่จ่ายไฟฟ้าให้ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้บนราง สายที่จ่ายไฟฟ้าให้ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้บนราง โดยปกติจะใช้เป็นบัสบาร์ทองแดงหรืออะลูมเิ นียมเปลือย ยาวตลอดทางทีป่ น้ั จัน่ เคลือ่ นทีไ่ ปได้ ติดตัง้ บนฉนวนไฟฟ้า ข้อ 5.3 การเดินสายเปิดหรือเดินลอย (Open Wiring) การติ ด ตั้ ง ต้ อ งมี ก ารป้ อ งกั น การสั ม ผั ส ส่ ว นที่ มี ไ ฟฟ้ า ปกติ ก ารติ ด ตั้ ง บนที่ สู ง พ้ น จากการเอื้ อ มมื อ ถึ ง ถื อ เป็ น บนวัสดุฉนวน วิธีหนึ่งในการป้องกันการสัมผัส ข้อ 5.3.2 ส�ำหรับระบบแรงต�่ำ ข้อ 5.3.2.1 อนุญาตให้ใช้การเดินสายเปิดบน ข้อ 5.3.3 ส�ำหรับระบบแรงสูง วัสดุฉนวนภายในอาคารได้เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม ข้อ 5.3.3.1 การติดตัง้ ต้องเข้าถึงได้เฉพาะผูม้ หี น้าที่ งานเกษตรกรรม และงานแสดงสินค้าเท่านั้น ข้อ 5.3.2.2 ต้องมีการป้องกันความเสียหายทาง เกี่ยวข้องเท่านั้น ข้อ 5.3.3.2 ในกรณีทตี่ ดิ ตัง้ สายยึดโยง (Guy Wire) กายภาพตามที่ก�ำหนดในข้อ 5.1.3 และสายที่ยึดเกาะ ไปกับผนังหรือก�ำแพงต้องอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2.50 จะต้องติดตั้งลูกถ้วยสายยึดโยง (Guy Strain Insulator) เมตร ในสายยึดโยง ลูกถ้วยสายยึดโยงนี้ต้องอยู่สูงจากพื้นไม่ ในข้อ 5.1 และข้อ 5.2 เป็นข้อก�ำหนดทั่วไปใน น้อยกว่า 2.40 เมตร และต้องมีคุณสมบัติทั้งทางกลและ การเดินสายไฟฟ้า ซึง่ ในการออกแบบและเดินสายจะต้อง ทางไฟฟ้าเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน (มอก. 280พิจารณาประกอบด้วย โดยต้องน�ำข้อที่สามารถประยุกต์ 2529) ใช้งานได้มาใช้ แต่ส�ำหรับข้อ 5.3 จนถึงข้อ 5.15 เป็น ข้อก�ำหนดเฉพาะส�ำหรับแต่ละวิธกี ารเดินสาย ในการใช้งาน จะต้องใช้ทั้ง 2 ส่วนร่วมกัน

18


ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปตัวอย่างการติดตั้งสายยึดโยง

จุดที่ต้องมีการติดตั้งชุดยึดโยงคือจุดที่มีแรงกระท�ำที่เสาไฟฟ้าไม่สมดุล ซึ่งท�ำให้เสาไฟฟ้าต้องรับโมเมนต์ดัด ถ้าไม่ติดตั้งชุดยึดโยงอาจท�ำให้เสาไฟฟ้าเอน หัก หรือล้มได้ โดยทั่วไปคือจุดสิ้นสุดการเดินสายหรือเสาต้นสุดท้าย (Deadend) รวมทั้งจุดที่มีการต่อแยกสาย และจุดที่เดินสายเลี้ยวหรือหักมุม เป็นต้น การติดตัง้ ลูกถ้วยสายยึดโยงทีค่ วามสูงไม่นอ้ ยกว่า 2.40 เมตร มีจดุ ประสงค์เพือ่ ป้องกันอันตรายจากการสัมผัส ไฟฟ้า เนื่องจากสายยึดโยงอาจมีไฟฟ้าได้จากอุบัติเหตุ เช่น มีงูหรือกิ่งไม้มาสัมผัสระหว่างส่วนที่มีไฟฟ้ากับสายยึดโยง หรือไฟฟ้าอาจขาดมาสัมผัสได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนที่อยู่ใกล้พื้นดินที่บุคคลอาจสัมผัสได้มีไฟฟ้า จึงต้องติดตั้งลูกถ้วย สายยึดโยงซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าคั่นไว้ ซึ่งระยะความสูง 2.40 เมตร ถือเป็นระยะที่โดยปกติบุคคลเอื้อมมือไปไม่ถึง ข้อ 5.3.3.3 การเดินสายต้องเป็นไปตามที่กำ� หนด ในข้อ 5.3.2.3 และข้อ 5.3.2.6 ด้วย ข้อ 5.3.3.4 ลวดผูกสายต้องมีขนาดเหมาะสมกับ สภาพการใช้งาน แต่ต้องไม่เล็กกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ลวดผูกสายจะต้องเป็นชนิดที่ไม่ท�ำให้เกิดการผุกร่อน เนื่องจากโลหะต่างชนิดกัน ลวดพันสายในระบบแรงสูงไม่ก�ำหนดให้ต้องหุ้ม ฉนวนเนื่องจากมีปัญหาในทางปฏิบัติที่ไม่สามารถท�ำได้ และในการท� ำ งานกั บ สายแรงสู ง จะต้ อ งดั บ ไฟท� ำ งาน หรือถ้าท�ำงานขณะที่มีไฟก็จะต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสม

สายไฟฟ้ า ชนิ ด หุ ้ ม ฉนวนสองชั้ น ไม่ เ ต็ ม พิ กั ด ในการใช้งานที่ติดตั้งบนสเปซเซอร์ (Spacer) ซึ่งเป็น ฉนวนไฟฟ้า การผูกสายให้ติดกับตัวสเปซเซอร์จะใช้ อุปกรณ์ผกู สายทีใ่ ช้กบั งานนีโ้ ดยเฉพาะมีลกั ษณะเป็นยาง เรียกว่า Snap tie ห้ามใช้สายอะลูมเิ นียมผูก เนือ่ งจากจะมี ปัญหาเรื่องการเกิด Corona ท�ำให้ฉนวนของสายช�ำรุด

ข้อ 5.3.3.5 ระยะห่างของการติดตั้งต้องเป็นไป ตามที่กำ� หนดในตารางที่ 1-4 และ 1-5 ด้วยแล้วแต่กรณี การติดตั้งสายแรงสูงต้องให้ความส�ำคัญกับระยะ ห่างเนื่อ งจากมีอันตรายมากกว่าแรงต�่ ำ ระยะห่ างจะ สัมพันธ์กับชนิดของสายไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า ดังนั้นใน กรณีที่มีพื้นที่จ�ำกัดไม่สามารถรักษาระยะห่างให้ได้ตามที่ ก�ำหนดในมาตรฐานฯ อาจแก้ไขด้วยการเปลี่ยนชนิดของ สายไฟฟ้าหรืออาจเปลี่ยนวิธีการติดตั้งก็ได้

มีนาคม - เมษายน 2556

19


ข้อ 5.4 การเดินสายในท่อโลหะหนา (Rigid Metal Conduit) ท่อโลหะหนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit) และท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing) ข้อ 5.4.1 การใช้งาน ท่อโลหะดังกล่าวสามารถใช้กับงานเดินสายทั่วไป ทั้งในสถานที่แห้ง ชื้น และเปียก นอกจากจะได้ระบุไว้ เฉพาะเรื่องนั้น ๆ โดยต้องติดตั้งให้เหมาะสมกับสภาพ ใช้งาน ในมาตรฐานการติดตั้งฯ มักจะพบค�ำว่า นอกจาก จะระบุ ไ ว้ เ ฉพาะในเรื่ อ งนั้ น ๆ ซึ่ ง หมายความว่ า ในการประยุกต์ใช้งานจะต้องดูเรือ่ งอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องด้วย เช่น

เมื่อใช้งานในบริเวณอันตรายก็จะต้องดูข้อก�ำหนดในเรื่อง บริเวณอันตรายประกอบด้วย จะดูเพียงที่ก�ำหนดในข้อนี้ และน�ำไปประยุกต์ใช้ในทุกกรณีอาจไม่ได้ ข้อ 5.4.2 ข้อก�ำหนดการติดตั้ง ข้อ 5.4.2.1 ในสถานที่เปียก ท่อโลหะและส่วน ประกอบที่ใช้ยึดท่อโลหะ เช่น สลักเกลียว (Bolt) สแตรป (Strap) สกรู (Screw) ฯลฯ ต้องเป็นชนิดที่ทนต่อ การผุกร่อน ข้ อ 5.4.2.2 ปลายท่ อ ที่ ถู ก ตั ด ออกต้ อ งลบคม เพื่อป้องกันไม่ให้บาดฉนวนของสาย การท�ำเกลียวท่อ ต้องใช้เครื่องท�ำเกลียวชนิดปลายเรียว

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

การท�ำเกลียวท่อร้อยสายไฟฟ้าจะต่างจากเกลียวของท่อน�้ำ เนื่องจากต้องการความต่อเนื่องทางไฟฟ้าที่ดีและ สามารถป้องกันน�้ำเข้าได้ในระดับหนึ่ง เกลียวชนิดปลายเรียวตามที่ก�ำหนดในมาตรฐานฯ นี้มีจุดประสงค์ให้เมื่อหมุน ข้อต่อเข้าไปจะแน่นและมีความต้านทานต�่ำ และป้องกันน�้ำที่ไม่มีแรงดันได้ในระดับหนึ่ง ห้ามใช้วิธีพันด้วยวัสดุที่ใช้ กับการต่อท่อน�้ำหรือทาสีเพื่อป้องกันน�้ำเข้า เพราะวัสดุดังกล่าวเป็นฉนวนไฟฟ้าท�ำให้ความต่อเนื่องทางไฟฟ้าขาดไป ซึ่งเป็นอันตราย

ตัวอย่างข้อต่อเกลียวชนิดปลายเรียว

ข้อ 5.4.2.3 ข้อต่อ (Coupling) และข้อต่อยึด (Connector) ชนิดไม่มเี กลียวต้องต่อให้แน่น เมือ่ ฝังในอิฐก่อ หรือคอนกรีตต้องใช้ชนิดฝังในคอนกรีต (Concretetight) เมื่อติดตั้งในสถานที่เปียกต้องใช้ชนิดกันฝน (Raintight)

ตัวอย่างรูปตัวต่อสายชนิดไม่มีเกลียว (ฝังในคอนกรีต) และการจับยึดท่อ

20


ข้อ 5.4.2.4 การต่อสาย ให้ต่อได้เฉพาะในกล่อง ต่อสายหรือกล่องจุดต่อไฟฟ้าทีส่ ามารถเปิดออกได้สะดวก ปริมาตรของสายและฉนวนรวมทั้งหัวต่อสายเมื่อรวมกัน แล้วต้องไม่เกินร้อยละ 75 ของปริมาตรภายในกล่อง ต่อสายหรือกล่องจุดต่อไฟฟ้า จุดประสงค์ของข้อนี้ไม่ต้องการให้ท�ำการต่อสาย ไฟฟ้าในท่อร้อยสาย เนื่องจากการต่อสายในท่อร้อยสาย จะมีปญ ั หาเรือ่ งจุดต่ออาจช�ำรุด หลวม หรือหลุดเนือ่ งจาก การลากสาย ถ้าฉนวนที่พันจุดต่อสายหลุดจะเป็นเหตุให้ ตัวน�ำสัมผัสกับท่อร้อยสายเกิดไฟรัว่ และถ้าเป็นการสัมผัส แล้วหลุดจะสามารถตรวจสอบหาจุดรั่วได้ยาก และถ้า ระบบการต่อลงดินไม่ดีพอก็จะเป็นอันตรายต่อบุคคลที่ สัมผัสท่อร้อยสายได้

การต่อสายจึงต้องต่อในกล่องต่อสาย กล่องต่อ สายที่ใช้ต้องเป็นกล่องส�ำหรับงานไฟฟ้าตามข้อ 5.16 โดยกล่องต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะวางสายได้สะดวกและ ระบายอากาศได้ดี ข้อ 5.4.2.5 การติดตั้งท่อร้อยสายเข้ากับกล่องต่อ สายหรือเครื่องประกอบการเดินท่อต้องจัดให้มีบุชชิงเพื่อ ป้องกันไม่ให้ฉนวนหุ้มสายช�ำรุด ยกเว้น กล่องต่อสาย และเครื่องประกอบการเดินท่อที่ได้ออกแบบเพื่อป้องกัน การช�ำรุดของฉนวนไว้แล้ว ข้อ 5.4.2.6 ห้ามท�ำเกลียวกับท่อโลหะบาง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปตัวอย่างการใช้บุชชิงเมื่อเดินท่อเข้ากล่องต่อสาย

การท�ำเกลียวส�ำหรับท่อโลหะบางจะท�ำให้ความแข็งแรงของท่อลดลง และอาจหักได้เนื่องจากการติดตั้งและ ใช้งาน การต่อท่อโลหะบางในที่ซึ่งต้องการความแข็งแรงของจุดต่อท�ำได้โดยใช้ข้อต่อชนิดขันอัดแน่น เช่น ข้อต่อชนิด ฝังในคอนกรีต ข้อ 5.4.2.7 มุมดัดโค้งระหว่างจุดดึงสายรวมกัน แล้วต้องไม่เกิน 360 องศา การเดินท่อที่มีมุมดัดโค้งมากเกิน 360 องศา จะลากสายไม่ได้ แม้เมื่อท�ำการติดตั้งจะพยายามร้อยจน ได้โดยการใส่ท่อทีละท่อนก็ตาม แต่เมื่อต้องการเปลี่ยน สายใหม่จะไม่สามารถดึงสายออกได้และร้อยเข้าใหม่ไม่ได้ ข้อ 5.4.3 ห้ามใช้ท่อโลหะบางฝังดินโดยตรงหรือ ใช้ในระบบไฟฟ้าแรงสูง หรือที่ซึ่งอาจเกิดความเสียหาย หลังการติดตั้ง ข้ อ 5.4.4 ห้ า มใช้ ท ่ อ โลหะขนาดเล็ ก กว่ า 15 มิลลิเมตร ข้อ 5.4.5 จ�ำนวนสายสูงสุดต้องเป็นไปตามตาราง ที่ 5-3

ข้อ 5.4.6 การติดตัง้ ใต้ดนิ ต้องเป็นไปตามทีก่ �ำหนด ในข้อ 5.1.4 ข้อ 5.4.7 ท่อที่ขนาดใหญ่กว่า 15 มิลลิเมตร หาก ร้อยสายชนิดไม่มีปลอกตะกั่ว รัศมีดัดโค้งด้านในของท่อ ต้องไม่นอ้ ยกว่า 6 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ ถ้าเป็นสายไฟฟ้าชนิดมีปลอกตะกัว่ รัศมีดดั โค้งด้านในต้อง ไม่น้อยกว่า 10 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ ส�ำหรับ ท่อขนาด 15 มิลลิเมตร หากร้อยสายชนิดไม่มปี ลอกตะกัว่ รัศมีดัดโค้งด้านในของท่อต้องไม่น้อยกว่า 8 เท่าของ เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ และถ้าเป็นสายไฟฟ้าชนิดมี ปลอกตะกัว่ รัศมีดดั โค้งด้านในต้องไม่นอ้ ยกว่า 12 เท่าของ เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ การดัดโค้งต้องไม่ทำ� ให้ทอ่ ช�ำรุด ข้ อ 5.4.8 ต้ อ งติ ด ตั้ ง ระบบท่ อ ให้ เ สร็ จ ก่ อ น จึงท�ำการเดินสายไฟฟ้า มีนาคม - เมษายน 2556

21


การก� ำ หนดให้ เ ดิ น ระบบท่ อ เสร็ จ ก่ อ นจึ ง ท� ำ การลากสายเป็ น วิ ธี ห นึ่ ง ที่ จ ะทดสอบระบบท่ อ ด้ ว ยว่ า จะสามารถลากสายเข้าและออกได้ มีประโยชน์ส�ำหรับ การซ่อมแซมในวันหน้าหากต้องมีการดึงสายออกเพื่อ เปลี่ยนสายใหม่

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าบทที่ 4 เรื่องการต่อ ลงดินก�ำหนดให้ท่อร้อยสายต้องต่อลงดิน แต่ห้ามใช้ ท่อร้อยสายเป็นสายดินหรือตัวน�ำต่อลงดิน ท่อร้อยสายจึง ต้องมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าโดยตลอดจนถึงแผงสวิตช์ และต่อฝากเข้ากับแผงสวิตช์ หรือถ้าต่อแยกมาจากช่อง เดินสายอื่นก็จะต้องต่อฝากเข้าช่องเดินสายนั้นด้วย

ข้อ 5.4.9 การเดินสายด้วยท่อโลหะไปยังบริภัณฑ์ ไฟฟ้า ควรเดินด้วยท่อโลหะโดยตลอดและช่วงต่อสายเข้า ข้อ 5.4.11 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้า ให้ใช้ บริภณ ั ฑ์ไฟฟ้าควรเดินด้วยท่อโลหะอ่อน หรือใช้วธิ กี ารอืน่ ค่ากระแสตามตารางที่ 5-11, 5-13 และ 5-14 ตามที่เหมาะสม ข้อ 5.4.12 ท่อร้อยสายต้องยึดกับที่ให้มั่นคงด้วย ข้อ 5.4.10 ห้ามใช้ท่อโลหะเป็นตัวน�ำส�ำหรับต่อ อุปกรณ์จบั ยึดทีเ่ หมาะสม โดยมีระยะห่างระหว่างจุดจับยึด ลงดิน ไม่เกิน 3.0 เมตร และห่างจากกล่องต่อสายหรืออุปกรณ์ ต่าง ๆ ไม่เกิน 0.9 เมตร

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปการจัดยึดท่อร้อยสายตามข้อ 5.4.12

ข้อ 5.5 การเดินสายในท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit) ท่อโลหะอ่อน เป็นท่อที่ออกแบบให้ใช้งานในบางสถานที่เท่านั้น เช่น ในที่ที่ต้องการการอ่อนตัวได้ดี เดินเข้า เครื่องจักรและบริภัณฑ์ไฟฟ้า โดยเฉพาะบริภัณฑ์ที่มีการสั่นสะเทือนหรือเคลื่อนไหวขณะใช้งาน การใช้งานท่อโลหะ อ่อนต้องใช้อปุ กรณ์ประกอบส�ำหรับท่อแบบนีโ้ ดยเฉพาะ ห้ามใช้ทอ่ โลหะอ่อนเพือ่ การเดินสายทัว่ ไปหรือใช้แทนท่อโลหะ

ตัวอย่างการใช้โลหะอ่อนผิดวัตถุประสงค์

ข้อ ข้อ ข้อ ข้อ

22

5.5.1 ลักษณะการใช้งานต้องเป็นไปตามข้อก�ำหนดทุกข้อดังนี้ 5.5.1.1 ในสถานที่แห้ง 5.5.1.2 ในที่เข้าถึงได้และเพื่อป้องกันสายจากความเสียหายทางกายภาพ หรือเพื่อการเดินซ่อนสาย 5.5.1.3 ให้ใช้สำ� หรับเดินเข้าบริภัณฑ์ไฟฟ้าหรือกล่องต่อสายและความยาวไม่เกิน 2 เมตร


ตัวอย่างการใช้ท่อโลหะอ่อนเดินจากกล่องต่อสายเข้าบริภัณฑ์ไฟฟ้า

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตัวอย่างการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง

ข้อ 5.5.2 ห้ามใช้ท่อโลหะอ่อนในกรณีดังต่อไปนี้ ข้อ 5.5.2.1 ในปล่องลิฟต์หรือปล่องขนของ ข้อ 5.5.2.2 ในห้องแบตเตอรี่ ข้อ 5.5.2.3 ในบริเวณอันตราย นอกจากจะระบุ ไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ 5.5.2.4 ฝังในดินหรือฝังในคอนกรีต ท่อโลหะอ่อนเป็นท่อเหล็กชุบสังกะสี การใช้งาน ในห้ อ งแบตเตอรี่ ซึ่ ง มี ไ อกรดหรื อ ไอด่ า งจะท� ำ ให้ อ ายุ การใช้งานของท่อลดลงมาก ไอกรดหรือด่างจะกัดท่อจน เป็นสนิมและผุกร่อนในทีส่ ดุ ดังนัน้ ในข้อ 5.5.2.2. จึงห้าม ใช้งาน ส�ำหรับในบริเวณอันตรายนั้นอาจสามารถใช้งาน ได้เฉพาะบางพื้นที่ที่ระบุไว้ในเรื่องบริเวณอันตรายเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วถือว่าห้ามใช้

การเดินสายตามที่ก�ำหนดในมาตรฐานการติดตั้ง ทางไฟฟ้าฯ มีหลายวิธี ในแต่ละสถานที่อาจมีวิธีการเดิน สายได้หลายวิธีปนกันไป ในการเลือกใช้จะพิจารณาจาก

ความเหมาะสมของสถานที่ การลงทุน ความสวยงาม รวมทัง้ พิจารณาระดับความคงทนและความปลอดภัยประกอบ ด้วย อย่าลืมว่าการติดตั้งตามมาตรฐานฯ นั้น เป็นเพียง ขั้ น ต�่ ำ สุ ด ที่ ใ ห้ ค วามปลอดภั ย อยู ่ ใ นเกณฑ์ ที่ ย อมรั บ ได้ เท่านั้น การติดตั้งที่มีความปลอดภัยสูงกว่ามาตรฐานฯ สามารถท�ำได้และเป็นสิ่งที่ควรท�ำอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในบางสถานที่จะมีข้อจ�ำกัดส�ำหรับบางวิธีการเดินสายที่ ไม่อนุญาตให้ทำ� ได้ เนือ่ งจากในบทนีเ้ ป็นข้อก�ำหนดส�ำหรับ การเดินสายทัว่ ไปและส�ำหรับแต่ละวิธกี ารเดินสายเท่านัน้ ในการประยุกต์ใช้งานจึงต้องดูในส่วนอื่นประกอบด้วย ประวัติผู้เขียน

นายลือชัย ทองนิล • ผู้อ�ำนวยการไฟฟ้าเขตมีนบุรี การไฟฟ้านครหลวง • ประธานสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท. • กรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 5

มีนาคม - เมษายน 2556

23


Standard & Safety มาตรฐานและความปลอดภัย นายมงคล วิสุทธิใจ

หลักปฏิบัติด้านการตรวจสอบ และการทดสอบ การติดตั้งระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย (ตอนที่ 7) ปัญหาการป้องกันอัคคีภัยอาคารประการหนึ่ง คือปัญหางานระบบวิศวกรรมความปลอดภัยจากอัคคีภัย โดยเฉพาะงานระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยที่มักพบว่าระบบไม่ท�ำงานในบางส่วน หรือทั้งระบบ หรือท�ำงานตรวจจับ อัคคีภัยในระยะเริ่มต้นช้าจนไม่สามารถเตือนภัยได้ทัน ทั้งนี้เพราะปัญหาการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน และที่สำ� คัญคือ ระบบขาดการบ�ำรุงรักษาตามมาตรฐานก�ำหนด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

การตรวจรับงานติดตั้ง และเริ่มต้นใช้งาน ขั้นตอนการตรวจรับงานติดตั้ง ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย ก่อนการตรวจรับงานติดตัง้ ผูต้ ดิ ตัง้ ระบบจะต้องจัด

อุปกรณ์ บริภณ ั ฑ์ และระบบสัญญาณเตือนอัคคีภยั เมื่อท�ำการติดตั้งแล้วเสร็จทั้งที่ติดตั้งใหม่หรือเฉพาะส่วน ที่ ติ ด ตั้ ง เพิ่ ม เติ ม ก่ อ นท� ำ การเชื่ อ มต่ อ เข้ า กั บ ระบบที่ ติดตั้งใช้งานอยู่เดิม จะต้องท�ำการตรวจสอบการติดตั้ง และทดสอบการท� ำ งานของอุ ป กรณ์ แ ละบริ ภั ณ ฑ์ ต าม ประมวลหลั ก ปฏิ บั ติ วิ ช าชี พ ด้ า นการตรวจสอบ และ การทดสอบระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยของสภาวิศวกร ตลอดจนมาตรฐานอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น มาตรฐานการติดตัง้ ไฟฟ้ า ส� ำ หรั บ ประเทศไทย (วสท.) ฯลฯ ซึ่ ง ระบบที่ ได้รับการรับรองแล้วว่าได้ผ่านการตรวจรับงานติดตั้งตาม ประมวลหลักปฏิบตั ฯิ แล้วเท่านัน้ จึงจะสามารถเปิดใช้งานได้ และอาคารที่ ก ่ อ สร้ า งใหม่ หรื อ อาคารที่ เ ปลี่ ย นแปลง การใช้งาน หากอยูใ่ นประเภททีก่ ำ� หนดตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารให้ต้องติดตั้งระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย อาคารนั้น ๆ จะสามารถเปิดใช้อาคารได้หลังจากเปิด ใช้งานระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยทั้งหมดแล้วเท่านั้น

24

เตรียมงานตามขั้นตอนปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1. จัดเตรียมเอกสารที่ประกอบไปด้วย 1.1 แบบแปลนแสดงการติดตั้งจริง 1.2 เอกสารบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงผิดไป จากระบบที่ได้ออกแบบไว้แต่แรก และ เอกสารบันทึกการติดตั้งในที่ซ่อน พร้อม ผังวงจรและภาพประกอบ 1.3 เอกสารคู่มือการใช้งานระบบ ที่จัดท�ำขึ้น ใช้เฉพาะกับระบบที่ติดตั้งนี้ 1.4 แบบบันทึกการตรวจสอบการติดตั้งระบบ 1.5 แบบบันทึกการทดสอบการติดตั้งระบบ


2. จัดการตรวจสอบและทดสอบหลังการติดตัง้ ดังนี้ 2.1 เตรี ย มพร้ อ มส� ำ หรั บ การตรวจสอบและ ทดสอบระบบเพื่อการตรวจรับงาน ก. วิศวกรไฟฟ้าผู้ท�ำการตรวจสอบและ ทดสอบระบบ จะต้ อ งเป็ น ผู ้ ที่ มี คุณสมบัติตามข้อก�ำหนดในประมวล หลักปฏิบตั วิ ชิ าชีพฯ ต้องมีประสบการณ์ ตรวจสอบอาคารมาแล้วไม่นอ้ ยกว่า 3 ปี และต้องรับผิดชอบต่อการตรวจสอบ และทดสอบนั้น ๆ

2.2 การตรวจสอบและการทดสอบ ก. ท�ำการตรวจสอบส�ำหรับการตรวจรับ งานติดตัง้ และการตรวจสอบโดยทัว่ ไป ส�ำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ บริภัณฑ์ และระบบตามข้อก�ำหนดของประมวล หลักปฏิบตั ฯิ ทีก่ ล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ข. หากมีการตรวจสอบใดที่ซ�้ำกัน ให้ท�ำ การตรวจสอบนั้นเพียงครั้งเดียว ค. ปฏิบตั กิ ารทดสอบส�ำหรับการตรวจรับ งานติดตั้ง และทดสอบการท�ำงานโดย ทั่วไปส�ำหรับอุปกรณ์ บริภัณฑ์ และ ระบบตามข้อก�ำหนดของประมวลหลัก ปฏิบัติฯ ที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ง. หากมีการทดสอบใดที่ซ�้ำ กั น ให้ ท�ำ การทดสอบนั้นเพียงครั้งเดียว เว้นแต่ การทดสอบนัน้ ก�ำหนดขัน้ ตอนให้ตอ้ งท�ำซ�ำ้ จ. จัดท�ำรายงานและบันทึกผลการตรวจสอบ การติดตั้ง ฉ. จั ด ท� ำ รายงานและบั น ทึ ก ผลการ ทดสอบการท�ำงาน

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ข. ตรวจความพร้ อ มของระบบหลั ง การติดตั้งแล้วเสร็จดังนี้ (1) ตรวจความสะอาด ความเรียบร้อย ั ฑ์ ของงานติดตัง้ อุปกรณ์ และบริภณ ทุกชุดที่ต�ำแหน่งติดตั้ง (2) ต้องไม่มีการท�ำงานอื่นใดเพิ่มเติม ในพืน้ ทีต่ ดิ ตัง้ อีก อันอาจท�ำให้เกิด ผลกระทบต่ อ การท� ำ งานของ อุปกรณ์และระบบขึ้นได้ (3) ต้องมีบันทึกชี้แจงหากมีปัญหาใน การติ ด ตั้ ง หรื อ ต้ อ งมี ก ารปรั บ แก้ไขลักษณะรูปแบบ หรือชนิด ของอุ ป กรณ์ แ ละบริ ภั ณ ฑ์ หรื อ ปรั บ ย้ า ยต� ำ แหน่ ง ติ ด ตั้ ง โดย รายละเอียดการแก้ปัญหานั้น ๆ ต้องได้รบั การเห็นชอบและลงนาม ก� ำ กั บ โดยวิ ศ วกรที่ ป รึ ก ษาของ โครงการนั้น ค. ตรวจสอบระบบเมือ่ การตกแต่งภายใน พื้นที่ป้องกันแล้วเสร็จ

มีนาคม - เมษายน 2556

25


การตรวจสอบส�ำหรับการตรวจรับงานติดตัง้

ปฏิบตั กิ ารตรวจสอบส�ำหรับตรวจรับงานติดตัง้ ตาม ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ตรวจสอบคุ ณ ภาพงานติ ด ตั้ ง สายจ่ า ยก� ำ ลั ง ไฟฟ้าสายสัญญาณทุกประเภทที่ใช้ในระบบ ทัง้ แบบโลหะและแบบอโลหะ ตลอดจนท่อร้อยสาย และวัสดุประกอบการติดตั้ง เช่น กล่องต่อสาย กล่องดึงสาย ขั้วต่อสายและขั้วปลายสาย ฯลฯ ต้ อ งได้ ม าตรฐานการติ ด ตั้ ง ทางไฟฟ้ า และ มาตรฐานระบบสั ญ ญาณเตื อ นอั ค คี ภั ย ของ ประเทศไทยดังนี้ 1.1 สายไฟฟ้าทุกประเภทที่ใช้ในระบบและที่ เกี่ยวข้อง ต้องเดินแยกต่างหากจากวงจร ไฟฟ้าของระบบอื่น ๆ 1.2 สายไฟฟ้ า ส� ำ หรั บ วงจรโซนตรวจจั บ เริ่ ม สัญญาณ และสายไฟฟ้าส�ำหรับวงจรโซน แจ้งสัญญาณในระบบธรรมดา (Hard wire) ต้องไม่ตอ่ สายไปยังอุปกรณ์ในวงจรโซนนัน้ ๆ ในลักษณะต่อพ่วง (T-tap) 1.3 สายไฟฟ้าส�ำหรับวงจรโซนต่าง ๆ ต้องมี ขนาดไม่เล็กกว่า 1.5 ตารางมิลลิเมตร 1.4 สายไฟฟ้าส�ำหรับวงจรโซนแจ้งสัญญาณ และสายควบคุ ม ระบบร่ ว มท� ำ งานให้ ความปลอดภัยต้องเป็นสายเคเบิลชนิดทนไฟ 1.5 ตรวจสอบระยะทางเดินสาย ต้องไม่ยาว เกินกว่าที่ผู้ผลิตก�ำหนดดังนี้ ก. สายวงจรระบบทีส่ ามารถระบุตำ� แหน่งได้ ข. สายสั ญ ญาณสื่ อ สารผ่ า นระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.6 ตรวจสอบคุณภาพการต่อสายสัญญาณที่จุด ต่อสายต่าง ๆ ก. การต่อสายสัญ ญาณต้องต่อสายเข้า กั บ ขัว้ ต่อสายโดยใช้ขวั้ ต่อสาย หรือตัวต่อสาย ชนิดบีบย�้ำ ข. การต่อสายนอกแผงควบคุมระบบแจ้งเหตุ เพลิงไหม้ ต้องต่อในกล่องต่อสายเท่านั้น และต้องมีเครื่องหมายแสดงที่กล่องเป็น ตัวอักษรข้อความขนาดความสูงไม่นอ้ ยกว่า 10 มิลลิเมตร ว่า “ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้” หรือทาสีด้วยสีเหลืองหรือสีส้ม

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

26

ค. การต่อสายสัญ ญาณชนิด ใยแก้วน�ำแสง (Fiber optic) ต้องต่อภายในกล่องต่อสาย ด้ ว ยขั้ ว ต่ อ สายเฉพาะ และตรวจสอบ คุ ณ ภาพการต่ อ สายตามหลั ก ปฏิ บั ติ ที่ เกี่ยวข้อง ง. กล่องต่อสายและขั้วต่อสายส�ำหรับเคเบิล ชนิดทนไฟ ต้องเป็นชนิดทนไฟในพิกัด เดียวกัน 1.7 สายสัญญาณชนิดสายชีลด์ (Shielded coaxial cable) ต้องเป็นสายแกนทองแดงที่หุ้มด้วย ชิลด์ทองแดงถักไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 95 และต้อง เป็นสายเส้นเดียวกันเดินต่อเนื่องตลอดจาก กล้องโทรทัศน์ถึงแผงควบคุม 1.8 วั ด ค่ า ความต้ า นทานฉนวนสายสั ญ ญาณที่ ติดตั้งแล้วเสร็จเทียบกับดิน ด้วยเมกะโอห์ม มิเตอร์ ต้องไม่ตำ�่ กว่า 0.5 MOhm หรือค่าที่ ผู้ผลิตก�ำหนด


2. ตรวจสอบคุณภาพงานติดตั้ง ท่อร้อยสาย และ ทางเดินสายสัญญาณ 2.1 ท่อร้อยสายและกล่องต่อสาย (Connection box) หรือกล่องดึงสาย (Pull box) ทีต่ ดิ ตัง้ ในพื้นที่มีฝุ่นหรือความชื้นสูง ต้องป้องกัน รอยต่อด้วยสารผนึก (Sealant) 2.2 ต้องเชือ่ มท่อด้วยกล่องต่อสายหรือกล่องดึง สายส�ำหรับการเดินท่อร้อยสายดังนี้ ก. ทุ ก ระยะไม่ เ กิ น 45 เมตร ของ การเดินท่อในแนวตรง ข. ทุ ก ระยะไม่ เ กิ น 30 เมตร ที่ มี การดัดท่อ 1 ครั้ง ค. ทุ ก ระยะไม่ เ กิ น 20 เมตร ที่ มี การดัดท่อ 2 ครั้ง ง. ทุ ก ระยะไม่ เ กิ น 12 เมตร ที่ มี การดัดท่อ 3 ครั้ง 2.3 การต่อท่อเข้ากับกล่องต่อสายหรือกล่อง ดึงสายต้องต่อด้วยชุดต่อท่อทั้งภายในและ ภายนอกกล่องต่อสาย 2.4 การเดินท่อหรือทางเดินสายหลายเส้นแบบ แขวนร่วมทางกัน ต้องใช้ชดุ ยึดท่อหรือทาง เดินสายแยกชุดกัน หรือยึดกับหลักร่วมกัน 2.5 การเดินท่อหรือทางเดินสายแบบห้อยแขวน ในแนวระดับ ต้องใช้กา้ นแขวนทุก ๆ ระยะ ห่างไม่เกิน 1.50 เมตร และต้องเสริมก้าน แขวนที่ต�ำแหน่งดังต่อไปนี้ ก. ต�ำแหน่งจุดต่อทางเดินสายไฟ ข. ต�ำแหน่งห่างจากกล่องต่อสายไม่เกิน 20 เซนติเมตร ค. ต�ำแหน่งจุดหักเลี้ยวทางเดินสาย 2.6 ก้านแขวนต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เล็กกว่า 6 มิลลิเมตร

2.7 การเดินท่อผ่านแนวรอยต่อคอนกรีตหรือ รอยต่ อ ระหว่ า งอาคารต้ อ งเชื่ อ มต่ อ ท่ อ ระหว่างกันด้วยท่อโลหะอ่อน 2.8 กล่องดึงสายสัญญาณวงจรโซนต่าง ๆ ที่ ยึดติดอยู่กับอุปกรณ์ ต้องต่อเข้ากับกล่อง แยกสายที่อยู่ในแนวท่อร้อยสายด้วยท่อ โลหะอ่อน 2.9 ต้ อ งปรากฏเครื่ อ งหมายลั ก ษณะแถบสี ถาวร สีเหลืองหรือสีส้ม ขนาดกว้างไม่ น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร แสดงถึงการใช้งาน เฉพาะกับระบบสัญญาณเตือนอัคคีภยั ดังนี้ ก. ที่ ฉ นวนหุ ้ ม ปลายสายและทุ ก ๆ ระยะห่างกันไม่เกิน 2.0 เมตร ของ สายไฟฟ้ า ทุ ก ประเภทที่ ใ ช้ ใ นระบบ ทั้งแบบโลหะและแบบอโลหะ เว้นแต่ ฉนวนหุ ้ ม สายดั ง กล่ า วเป็ น สี เ หลื อ ง หรือสีส้มอยู่แล้ว ข. ที่ปลายทางและทุก ๆ ระยะห่างกัน ไม่เกิน 4.00 เมตร ของท่อร้อยสาย ทางเดิ น สายและกล่ อ งต่ อ สายหรื อ กล่องดึงสาย ค. ที่ บ ริ เ วณรู สุ ่ ม ตั ว อย่ า งอากาศบน ท่ อ ดู ด อากาศระบบสุ ่ ม ตั ว อย่ า ง อากาศหลายจุด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 3. ตรวจสอบคุณภาพงานติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ อัตโนมัติดังนี้ 3.1 อุปกรณ์ตรวจจับชนิดจุดติดตัง้ ทีฝ่ า้ เพดาน ต้องติดตั้งที่ผิวพื้นในแนวระดับ และหาก ต้องติดตัง้ เข้ากับเพดานเอียง สามารถติดตัง้ อุปกรณ์ตรวจจับในแนวเอียงได้ไม่เกิน 45 องศา 3.2 ฐานส�ำหรับยึดอุปกรณ์ตรวจจับ (Detector mounting base) ต้องติดตั้งอย่างมั่นคง แข็งแรง แนบสนิทอยู่กับผิวพื้นที่ติดตั้งนั้น ต่อเนื่องไปถึงกล่องพักสาย

มีนาคม - เมษายน 2556

27


1. ติดอุปกรณ์เข้ากับกล่องพักสายบนเพดานคอนกรีต สายสัญญาณร้อยผ่านท่อที่ต่อกับกล่องพักสาย

อุปกรณ์ตรวจจับติดตั้งใกล้หัวจ่ายลมเกินไป

3.5 ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับในลักษณะที่ หันด้านที่มีหลอดไฟสัญญาณไปยังทางเข้า พื้นที่ที่สามารถมองเห็นการท�ำงานได้ง่าย 3.6 ต้ อ งถอดวั ส ดุ ที่ ใ ช้ ป ิ ด ครอบหรื อ ห่ อ หุ ้ ม อุ ป กรณ์ ต รวจจั บ เพื่ อ ป้ อ งกั น ฝุ ่ น และ ความชื้ น ในขณะติ ด ตั้ ง อุ ป กรณ์ นั้ น ออก ทั้งหมด ให้อุปกรณ์ตรวจจับอยู่ในลักษณะ พร้อมใช้งานเมื่อเปิดระบบให้ท�ำงานหลัง ปฏิบัติการตรวจรับงานติดตั้งแล้วเสร็จ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 2. มัดอุปกรณ์เข้ากับโครงหลังคา สายสัญญาณไม่ได้ร้อยผ่านท่อร้อยสาย

การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่ได้มาตรฐานและที่ผิดมาตรฐาน

3.3 ฐานส� ำ หรั บ ยึ ด อุ ป กรณ์ ต รวจจั บ ที่ มี ขั้ ว ต่ อ สายอยู ่ ด ้ ว ยต้ อ งต่ อ สายเข้ า กั บ ขั้ ว ต่อสายนั้น โดยต้องเผื่อความยาวสายจาก ช่องสายเข้าที่ฐานอุปกรณ์ถึงขั้วต่อสายที่ ฐานอุปกรณ์ตรวจจับอีกไม่น้อยกว่า 15 เซนติ เ มตร และต้ อ งท� ำ เครื่ อ งหมายที่ ปลายสาย 3.4 สายสั ญ ญาณวงจรโซนตรวจจั บ ทั้ ง หมด ในระบบทีต่ อ่ เข้ากับขัว้ ของอุปกรณ์ตรวจจับ ต้ อ งใช้ สี ต ามข้ อ ก� ำ หนดของมาตรฐาน หากไม่มีก� ำหนดไว้ต ้องใช้สายสีแดงต่อ เข้ า กั บ ขั้ ว บวกของอุ ป กรณ์ และสาย สีน�้ำเงินต่อเข้ากับขั้วลบของอุปกรณ์

1. ติดอุปกรณ์ในหลุมฝ้า ท�ำให้เกิดอุปสรรคขัดขวาง การท�ำงานตรวจจับให้ช้าลง

2. วางอุปกรณ์ในช่องตะแกรงฝ้า ไม่มีความมั่นคง แข็งแรง และท�ำให้เกิดการขัดขวางการท�ำงานตรวจจับให้ช้าลง การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับในลักษณะที่ถูกปิดกั้นการท�ำงาน

28


4. ตรวจสอบคุณภาพงานติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ ชนิ ด กล้ อ งโทรทั ศ น์ และอุ ป กรณ์ ต รวจจั บ เปลวเพลิงดังนี้ 4.1 อุ ป กรณ์ ต ้ อ งติ ด ตั้ ง อย่ า งมั่ น คงแข็ ง แรง เข้ากับผนังหรือเพดานทีไ่ ม่เคลือ่ นไหวหรือ สัน่ สะเทือนได้ และต้องเสริมความแข็งแรง ในการติดตั้งหากติดตั้งเข้ากับแผ่นฝ้า 4.2 ต้ อ งจ่ า ยก� ำ ลั ง ไฟฟ้ า กระแสตรงให้ แ ก่ อุปกรณ์หรือกล้องโทรทัศน์โดยตรงจากแผง ควบคุมหรือแผงจ่ายก�ำลังไฟเสริมเฉพาะ กั บ ระบบสั ญ ญาณเตื อ นอั ค คี ภั ย ที่ มี การตรวจคุ ม การจ่ า ยไฟ และสามารถ ปรับเปลีย่ นใช้ไฟจากแบตเตอรีส่ ำ� รองไฟได้ ทันทีในระยะเวลาไม่เกินกว่าที่มาตรฐาน ก�ำหนด เมื่อแหล่งจ่ายไฟหลักดับ 4.3 กล้องที่ติดตั้งบนแท่นที่ควบคุมการปรับ หมุน ก้ม เงย (Pan and tilt) และดึงภาพ (Zoom) จากระยะไกลได้ ต้องสามารถ ปรับตั้งล่วงหน้าให้กลับคืนมาหยุดอยู่ใน ต� ำ แหน่ ง และมุ ม มองที่ ใ ช้ ต รวจจั บ นั้ น (Preset-position) เป็นต�ำแหน่งปกติได้ ก่อนการใช้งานเป็นอุปกรณ์ตรวจจับ 4.4 ต้องถอดวัสดุทใี่ ช้ปดิ ครอบหรือห่อหุม้ เลนส์ เพื่อป้องกันฝุ่นและความชื้นในขณะติดตั้ง อุ ป กรณ์ นั้ น ออกทั้ ง หมด ให้ ก ล้ อ งหรื อ อุปกรณ์นั้นอยู่ในลักษณะพร้อมใช้งานเมื่อ เปิดระบบให้ท�ำงานหลังปฏิบัติการตรวจ รับงานติดตั้งแล้วเสร็จ 5. ตรวจสอบคุณภาพงานติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเหตุ ด้วยมือดังนี้ 5.1 อุ ป กรณ์ ต ้ อ งติ ด ตั้ ง อย่ า งมั่ น คงแข็ ง แรง เข้ากับผนังหรือเพดานทีไ่ ม่เคลือ่ นไหวหรือ สัน่ สะเทือนได้ และต้องเสริมความแข็งแรง ในการติดตั้งหากติดตั้งเข้ากับแผ่นฝ้า 5.2 อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือต้องติดตั้งกับผนัง ด้วยความมัน่ คงแข็งแรงในแนวดิง่ ในระดับ สูงจากพื้นระหว่าง 1.20 ถึง 1.30 เมตร วัดจากระดับแป้นสวิตช์ลงไปถึงพื้น

5.3 อุ ป กรณ์ แ จ้ ง เหตุ ด ้ ว ยมื อ ต้ อ งติ ด ตั้ ง วั ส ดุ ประกอบการใช้งานครบถ้วน เช่น แผ่น กระจก (หรื อ วั ส ดุ ที่ มี คุ ณ สมบั ติ เ ที ย ม กระจก) หรื อ แท่ ง แก้ ว (หรื อ วั ส ดุ ที่ มี คุณสมบัติเทียมแท่งแก้ว) ฯลฯ 5.4 ต้ อ งต่ อ สายเข้ า กั บ ขั้ ว ต่ อ สายที่ อุ ป กรณ์ แจ้งเหตุ โดยเผือ่ ความยาวสายจากช่องสายเข้า ทีก่ ล่องต่อสายถึงขัว้ ต่อสายทีอ่ ปุ กรณ์สวิตช์ อีกไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ก. สายสัญญาณวงจรโซนตรวจจับทัง้ หมด ในระบบที่ ต ่ อ เข้ า กั บ ขั้ ว ของอุ ป กรณ์ แจ้งเหตุ ต้องใช้สีตามข้อก�ำหนดของ มาตรฐาน หากไม่มีก�ำหนดไว้ต้องใช้ สายสีแดงต่อเข้ากับขัว้ บวกของอุปกรณ์ และสายสีน�้ำเงินต่อเข้ากับขั้วลบของ อุปกรณ์ ข. หากวัสดุตามรายละเอียดข้างต้นเป็น วัสดุสนิ้ เปลือง ต้องมีสำ� รองเพือ่ น�ำมาใช้ เปลีย่ นทดแทนได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ของจ�ำนวนอุปกรณ์ทใี่ ช้ทงั้ หมดในระบบ ค. หากต้องการป้องกันการใช้อปุ กรณ์แจ้ง เหตุด้วยมือโดยไม่มีเหตุอันควรด้วย ฝาครอบหรื อ เรื อ นหุ ้ ม วั ส ดุ ที่ ท� ำ ฝาครอบหรือเรือนหุ้มป้องกันนั้นต้อง เป็ น ชนิ ด โปร่ ง ใส สามารถมองเห็ น สวิตช์แจ้งเหตุที่อยู่ภายในได้ สามารถ เปิ ด ออกให้ เ ข้ า ถึ ง สวิ ต ช์ โ ดยง่ า ย และต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งาน และการบ� ำ รุ ง รั ก ษาอุ ป กรณ์ ส วิ ต ช์ แจ้งเหตุนั้น

ร า ส า ้ ฟ ไฟ มีนาคม - เมษายน 2556

29


อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือในฝาครอบหรือเรือนหุ้มโปร่งใส ที่เปิดใช้งานง่าย

6. ตรวจสอบคุณภาพงานติดตัง้ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ ดังนี้ 6.1 สายสัญญาณวงจรโซนแจ้งสัญญาณทัง้ หมด ในระบบที่ต ่อเข้ากับ ขั้ว ของอุป กรณ์แจ้ง สั ญ ญาณต้ อ งใช้ สี ต ามข้ อ ก� ำ หนดของ มาตรฐาน หากไม่มีก�ำหนดไว้ต้องใช้สาย สีแดงต่อเข้ากับขั้วบวกของอุปกรณ์ และ สายสีดำ� ต่อเข้ากับขั้วลบของอุปกรณ์ 6.2 การติดตั้งอุปกรณ์แจ้งสัญญาณที่ประกอบ ด้ ว ยอุ ป กรณ์ เ สี ย งแจ้ ง สั ญ ญาณ และ อุ ป กรณ์ แ สงแจ้ ง สั ญ ญาณที่ แ ยกชุ ด กั น ต้องติดตั้งให้อยู่ในแนวเดียวกัน 6.3 ต้องเผื่อความยาวสายที่กล่องต่อสายถึง ขั้ ว ต่ อ สายที่ อุ ป กรณ์ อี ก ไม่ น ้ อ ยกว่ า 10 เซนติเมตร 6.4 อุ ป กรณ์แ จ้งสัญญาณต้องติดตั้งกับผนัง ด้วยความมัน่ คงแข็งแรงในแนวดิง่ ในระดับ สูงจากพื้นไม่เกิน 2.40 เมตร โดยต้อง ติดตั้งต�่ำลงมาจากฝ้า เพดาน ไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร 6.5 ในพืน้ ทีส่ าธารณะหากค่าความดังของเสียง สั ญ ญาณที่ วั ด ได้ จ ากการตรวจสอบใน ข้างต้นมากกว่า 110 dBA ต้องเปลี่ยนใช้ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณด้วยแสงแทน

1. ติดอุปกรณ์ในระดับที่สูงจากพื้นตามมาตรฐาน และติดต�ำ่ ลงมาจากระดับฝ้าตามมาตรฐาน

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

30

2. ติดอุปกรณ์เลยฝ้าขึ้นไป เป็นการขัดขวางการท�ำงานท�ำให้ มองเห็นแสงไม่ชัดเจนและได้ยินเสียงสัญญาณเบาลง การติดตั้งอุปกรณ์แจ้งสัญญาณที่ได้มาตรฐาน และที่ผิดมาตรฐาน

(โปรดติดตามต่อฉบับหน้า)

หมายเหตุ ดูข้อก�ำหนดที่สมบูรณ์ทั้งหมดในประมวลหลักปฏิบัติ วิชาชีพฯ ของสภาวิศวกร พ.ศ. 2553 ดูตัวอย่างแบบรายงานและแบบบันทึกการทดสอบ ทั้ ง หมดได้ ใ นประมวลหลั ก ปฏิ บั ติ วิ ช าชี พ ฯ ของสภาวิ ศ วกร พ.ศ. 2553 เอกสารอ้างอิง : ประมวลหลักปฏิบัติวิชาชีพ ด้านการตรวจสอบ และการทดสอบการติดตัง้ ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภยั สภาวิศวกร พ.ศ. 2553 ประวัติผู้เขียน

นายมงคล วิสุทธิใจ • ประธานกรรมการ ร่างมาตรฐาน ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ วสท. • ประธานกรรมการร่างประมวลหลัก ปฏิบัติวิชาชีพ ด้านการตรวจสอบ และ การทดสอบระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย สภาวิศวกร • ประธานผูเ้ ชีย่ วชาญตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภยั อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ


Power Engineering & Power Electronics ไฟฟ้าก�ำลังและอิเล็กทรอนิกส์กำ� ลัง นายวิทยา ธีระสาสน์ Quality Control Department / ASEFA Co., Ltd.

การป้องกันการลัดวงจรลงดินในระบบไฟฟ้า นานนับหลายสิบปีทผี่ า่ นมาตราบถึงปัจจุบนั และอนาคต ยังจะมีผตู้ ดิ ตัง้ และใช้งานเซอร์กติ เบรกเกอร์แบบ 3 ขัว้ กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีราคาทีถ่ กู กว่าแบบ 4 ขัว้ ทัง้ ในการลงทุนครัง้ แรกและการเก็บสินค้าคงคลัง โดยอาศัยหลักการ พืน้ ฐานในการติดตัง้ อุปกรณ์ปอ้ งกันการลัดวงจรลงดินส�ำหรับสวิตช์บอร์ดไฟฟ้าแรงต�ำ่ อย่างถูกวิธดี ว้ ยกันทัง้ 3 รูปแบบ ส�ำหรับการต่อลงดินอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ เพื่อให้การป้องกันการลัดวงจรลงดินท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อระบบไฟฟ้าและผู้ปฏิบัติงาน

ร า ส า ้ ฟ ไฟ การลัดวงจรลงดินนัน้ สามารถทีจ่ ะปรากฏขึน้ ได้ใน ระบบไฟฟ้า ทัง้ นีอ้ าจจะมีสาเหตุอนั เนือ่ งมาจากฉนวนทีใ่ ช้ เกิดความเสือ่ มสภาพขึน้ หรืออาจจะเกิดจากการขันนอต หรื อ สกรู ไ ปถู ก กั บ ฉนวนจนท� ำ ให้ เ กิ ด อั น ตรายขึ้ น ได้ สาเหตุ ข องการลั ด วงจรลงดิ น นั้ น อาจมี ไ ด้ ห ลายกรณี แต่ในทุก ๆ กรณีทเี่ กิดขึน้ นัน้ ย่อมทีจ่ ะส่งผลกระทบท�ำให้ เกิดความเสียหายขึ้นกับฉนวน ดังนั้นจึงมีความจ�ำเป็น ที่จะต้องจัดให้มีการป้องกัน ซึ่งการป้องกันการลัดวงจร ลงดินจะมีการป้องกันอยู่ 2 กรณี คือ 1. การป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับบุคคล 2. การป้องกันอันตรายที่เกิดกับระบบไฟฟ้า

การป้องกันอันตรายที่มีผลกระทบต่อระบบ ไฟฟ้าอันเนื่องมาจากการลัดวงจรลงดิน

ตามข้อก�ำหนดในมาตรฐานของ NEC Section 230 – 95 ที่ได้กล่าวถึงการป้องกันการลัดวงจรลงดิน ของบริภณ ั ฑ์ไฟฟ้าโดยข้อก�ำหนดได้กล่าวถึงในระบบไฟฟ้า ก�ำลังแบบ 3 เฟส 4 สาย ที่สายนิวทรัลต่อลงดินโดยตรง และแรงดันไฟฟ้าระหว่างไลน์ – ไลน์ ที่มีค่าตั้งแต่ 380 โวลต์ แต่ไม่เกิน 600 โวลต์ จะต้องก�ำหนดให้มกี ารป้องกัน กระแสไฟฟ้าเกินอันเนือ่ งมาจากการเกิดการลัดวงจรลงดิน ถ้าอุปกรณ์ป้องกันหรือเครื่องปลดวงจรที่ Main Circuit Breaker มีขนาดพิกัดกระแสไฟฟ้าที่เฟรมตั้งแต่ 1000 A ขึน้ ไป (ตามกฎของการไฟฟ้าฯ แต่ในความปลอดภัยก็ขอให้ ใช้ แ บบการป้ อ งกั น การลงดิ น แบบประสานงานกั น หรือ Earth Leakage Coordination) มีนาคม - เมษายน 2556

31


โดยการปรับตั้งอุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจรลงดิน จะต้องท�ำให้อุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจรปลดวงจรก่อน ที่จะเกิดการลัดวงจรลงดิน การปรับตั้งค่ากระแสไฟฟ้า ของการป้องกันการลัดวงจรลงดินจะต้องปรับตั้งได้ไม่เกิน 1200 A และจะต้องสามารถปรับตั้งค่าการหน่วงเวลา สูงสุดได้ไม่เกิน 1 วินาที ส�ำหรับกระแสลัดวงจรลงดิน ตั้งแต่ 3000 A ขึ้นไป จากข้อก�ำหนดดังกล่าวจึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้อง ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจรลงดิน ซึ่งต�ำแหน่งใน การติดตั้ง ได้แก่ สายป้อนหรือสายเมน และการติดตั้ง อุปกรณ์ปอ้ งกันการลัดวงจรลงดินของบริภณ ั ฑ์ไฟฟ้า แต่จะ ไม่รวมถึงการป้องกันอันตรายที่เกิดกับบุคคล ทั้งนี้เพราะ การปรับตั้งส�ำหรับกระแสกราวด์ฟอลต์ของรีเลย์ป้องกัน จะมีค่าสูงสุดที่ 1200 A นั่นเอง วงจรก�ำลังของ Ground Fault Protection : GFP ประกอบด้วย 1. แรงดันไฟฟ้า GFP จะถูกออกแบบไว้ให้ใช้กับ ระบบไฟฟ้าก�ำลังที่น้อยกว่าหรือจะมีค่าที่เท่ากับ 600 โวลต์ แต่อาจจะใช้ได้กับระบบไฟฟ้าที่มี แรงดันไฟฟ้าทีม่ คี า่ มากกว่าแรงดันไฟฟ้าในระดับ ดังกล่าวนีก้ ไ็ ด้ ถ้าฉนวนมีความสามารถทีจ่ ะทนได้

และระยะห่างของ GFP กับระบบไฟฟ้ามีคา่ ระยะ ห่างที่ถูกต้อง 2. ความถีไ่ ฟฟ้า ซึง่ โดยทัว่ ไปจะขึน้ อยูก่ บั ระบบไฟฟ้า และผู้ผลิตเป็นหลัก 3. พิกัดกระแสไฟฟ้า ในการออกแบบระบบ GFP นัน้ ตัวอุปกรณ์ GFP จะต้องมีความสามารถทีจ่ ะ ทนต่อกระแสฟอลต์ท่ีไหลผ่านได้อย่างต่อเนื่อง โดยกระแสฟอลต์ทไ่ี หลผ่านจะมีคา่ กระแสสูงสุด ถึงค่าสูงสุดของค่าปรับตั้งพิคอัพ (Pick up) บนรีเลย์ และนอกจากนี้จะไม่สามารถน�ำ GFP ไปใช้งานในระบบไฟฟ้าก�ำลังที่เป็นแบบกระแส ไฟฟ้าที่ไหลไม่สมดุลได้ ทั้งนี้อันเนื่องมาจาก กระแสไฟฟ้าทีไ่ หลไม่สมดุลนีอ้ าจจะมีคา่ กระแส ไฟฟ้ า ที่ เ กิ น กว่ า ค่ า สู ง สุ ด ของพิ กั ด กระแส และเมือ่ กระแสดังกล่าวไหลผ่านภายในอุปกรณ์ ตรวจสอบแล้ว GFP ก็อาจจะไม่สั่งให้เซอร์กิต เบรกเกอร์เปิดวงจรไฟฟ้าออกได้ 4. ต�ำแหน่งการติดตัง้ GFP จะมีลกั ษณะการติดตัง้ โดยสามารถแบ่ ง ได้ อ อกเป็ น 3 ลั ก ษณะ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 1 รูปแบบการป้องกันการลัดวงจรลงดิน

แบบเรซิดวล (Residual Connected) ซึ่งจะมีความนิยมใช้กันอย่างมากในระบบไฟฟ้า โดยทีก่ ระแสลัดวงจรลงดินจะถูกตรวจสอบโดยหม้อแปลง กระแสทีต่ อ่ อยูก่ บั แต่ละเฟส ระบบการป้องกันแบบนีถ้ า้ ใช้ ในเซอร์กติ เบรกเกอร์แรงต�่ำจะพบว่าจะมีหม้อแปลงไฟฟ้า อยู่ 3 ชุด ซึ่งจะติดตั้งอยู่ภายในตัวเซอร์กิตเบรกเกอร์ และจะมีอุปกรณ์โซลิดสเตดรีเลย์ (Solid State Trip หรือ Electronic Trip ควบคุมการท�ำงานโดย Microprocessor) ประกอบอยู่ภายในตัวเซอร์กิตเบรกเกอร์

32

โดยพื้นฐานการต่อวงจรแสดงได้ในรูปที่ 2 รีเลย์ ในแต่ละเฟสจะถูกต่อวงจรเข้ากับหม้อแปลงกระแส และ ในรูปที่ 2 นี้จะเป็นลักษณะของระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 4 สาย ซึง่ จะไม่มกี ระแสไฟฟ้าไหลในรีเลย์กระแสเกินภายใต้ สภาวะเงื่อนไขปกติ ทั้งนี้เพราะในสภาวะดังกล่าวที่เกิด การลัดวงจรลงดิน กระแสไฟฟ้าทีไ่ หลลงดินจะถูกตรวจสอบ โดยหม้อแปลงกระแส ในเฟสที่เกิดความผิดปกติภายใน ระบบไฟฟ้าซึง่ จะท�ำให้ผลลัพธ์รวมของหม้อแปลงกระแสทัง้ 3 ชุดมีคา่ กระแสทีไ่ ม่เท่ากับศูนย์แอมป์ ดังนัน้ รีเลย์ปอ้ งกัน


กระแสเกิ น ก็ จ ะท� ำ งาน ซึ่ ง รี เ ลย์ ก ระแสเกิ น ที่ ใ ช้ จ ะไม่ สามารถท�ำงานได้ไวมากนัก ทั้งนี้เพราะว่าอันเนื่องมาจาก การอิ่ ม ตั ว ของแกนเหล็ ก ที่ เ กิ ด ขึ้ น ที่ ห ม้ อ แปลงกระแส ทั้ง 3 ตัวไม่เท่ากันนั่นเอง ระบบป้ อ งกั น การลั ด วงจรลงดิ น ที่ เ ลื อ กใช้ แ บบ Residual System นั้นจะมี CT Ground Fault Protection ติดตัง้ เพิม่ เติมอยูท่ บี่ สั บาร์นวิ ทรัลเพือ่ ท�ำหน้าทีใ่ นการตรวจ วัดค่ากระแสไฟฟ้าทีห่ ลงเหลือ หรือตกค้างจากผลรวมของ กระแสไฟฟ้าทีไ่ หลในแต่ละเฟสทีน่ วิ ทรัลบัสบาร์ และจะน�ำ มาประเมินผลเปรียบเทียบกับค่าปรับตั้ง (Pickup Value) ซึง่ ถ้า CT Ground Fault ตรวจวัดค่ากระแสทีน่ วิ ทรัลบัสบาร์ โดยมีค่าเกินกว่าค่ากระแสปรับตั้ง และเกินระยะของ การหน่วงเวลา อุปกรณ์โซลิทสเตทรีเลย์ก็จะส่งสัญญาณ สั่งให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ปลดวงจร แต่ถ้ารีเลย์ที่ใช้ต้องการให้มีความไวต่อการท�ำงาน จะต้องใช้อุปกรณ์ตามลักษณะของแกนสมดุล (Core Balance)

หลักการท�ำงาน : - ผลรวมของกระแสไฟฟ้าทัง้ 3 เฟสจาก CT จะรวมกัน ทางเวกเตอร์ เมื่อก�ำหนดให้ผลรวมของกระแสไฟฟ้าทั้ง 3 เฟส คือ IP = I1 + I2 + I3 - น�ำกระแสไฟฟ้าผลรวม IP มาเปรียบเทียบกับ กระแสไฟฟ้าที่วัดได้จาก Neutral CT (IN) - ถ้า IN ~= IP แสดงว่าระบบไฟฟ้าปกติไม่มกี ระแส ไฟฟ้ารั่วไหล - ถ้า IN ≠ IP แสดงว่าเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหลขึ้น (Ground Fault) คือ Ig - ถ้า Ig > Setting แสดงว่าเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ขึ้น (Ground Fault) มากพอ, เซอร์กิตเบรกเกอร์จะปลด วงจร (Open Circuit) ตามเวลาที่ปรับตั้ง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 2 แสดงการติดตั้ง GFP ที่เป็นแบบ Residual Sensing

แบบแกนสมดุล (Core Balance/Zero Sequence) หลักการท�ำงานจะพิจารณาได้จากรูปที่ 3 ภายใต้ สภาวะปกติซงึ่ อาจจะเป็นสภาวะสมดุล และแบบไม่สมดุล หรือระบบไฟฟ้าใช้งานเพียงเฟสเดียว หรือการลัดวงจร ลงดินที่ไม่เกี่ยวข้องกับกราวด์ กระแสไฟฟ้าที่ปรากฏขึ้น ภายในวงจรดังกล่าวจะไหลผ่านหม้อแปลงกระแส และจะ ท�ำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กไหลขึ้นในแกนหรือคอร์ (Core) ของหม้อแปลงกระแส แต่ในสภาวะปกติเช่นนี้ เส้นแรง แม่เหล็กจะมีคา่ เป็นศูนย์และจะไม่มกี ระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ไปยังกราวด์รีเลย์ แต่ถ้าในสภาวะที่เกิดปรากฏการณ์ของ กระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดินขึ้นภายในระบบไฟฟ้า กระแส ลัดวงจรลงดินดังกล่าวจะไหลผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ลงดิน ปรากฏการณ์เช่นนี้หม้อแปลงกระแสจะสามารถตรวจจับ และรับรู้ถึงกระแสในส่วนนี้ได้ และเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิด ขึ้นในหม้อแปลงกระแสจะเกิดขึ้นโดยจะเป็นสัดส่วนกับ กระแสลัดวงจรลงดินและเป็นสัดส่วนกับกระแสทีไ่ หลผ่าน วงจรรีเลย์ปอ้ งกัน จึงส่งผลท�ำให้รเี ลย์ทำ� งาน รีเลย์ทใี่ ช้งาน ร่วมกับคอร์จะสามารถท�ำให้การท�ำงานในการสัง่ ปลดวงจร มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะสั่งให้ท�ำงานในขณะที่เกิด กระแสไฟฟ้าเป็นมิลลิแอมป์ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามรีเลย์ อาจจะท�ำงานผิดพลาดได้นอกเหนือจากสภาวะปกติแต่เป็น ช่วงกรณีของกระแสพุ่งเข้า (Inrush Current) ก็ได้ ซึ่งจะ ไม่เกี่ยวข้องกับ Ground เลย

มีนาคม - เมษายน 2556

33


ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 3 แสดงการตรวจสอบกระแสลัดวงจรลงดินแบบ Zero Sequence

หลักการท�ำงาน : - ติดตั้ง CT Ground Fault คล้องสายเฟสทั้ง 3 เฟส รวมทั้งนิวทรัล - ถ้าระบบไฟฟ้าปกติ กระแสไฟฟ้ารวมทั้งหมดจะ หักล้างกันทั้งหมด - เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหลขึ้น (Ground Fault) ในระบบไฟฟ้ า แสดงว่ า เกิ ด กระแสไฟฟ้ า รั่ ว ไหลขึ้ น (Ground Fault) คือ Ig - ถ้า Ig > Setting แสดงว่าเกิดกระแสไฟฟ้ารัว่ ไหลขึน้ (Ground Fault) มากพอ, เซอร์กิตเบรกเกอร์จะปลดวงจร (Open Circuit) ตามเวลาที่ปรับตั้ง

34

แบบกราวด์รีเทิร์น (Source Ground Retune) พิจารณาจากรูปที่ 4 กระแสไฟฟ้าทีล่ ดั วงจรลงดินที่ ไหลย้อนกลับเข้ามาสูร่ ะบบไฟฟ้าผ่านทางหม้อแปลงไฟฟ้า ซึง่ กระแสฟอลต์ดงั กล่าวจะถูกตรวจสอบได้โดยหม้อแปลง กระแสซึง่ จะถูกติดตัง้ ทีบ่ สั บาร์กราวด์ทเี่ ชือ่ มต่ออยูร่ ะหว่าง บัสบาร์นิวทรัลและบัสบาร์กราวด์ในวงจรสายป้อนที่ท�ำ การติดตั้ง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่ลัดวงจรลงดินมีกระแส ไหลผ่านหม้อแปลงกระแส และเมื่อ CT Ground Fault มองเห็นกระแสฟอลต์ที่มีขนาดของกระแสที่เกินกว่าค่า กระแสปรับตั้ง และเกินระยะของการหน่วงเวลา อุปกรณ์ โซลิทสเตทรีเลย์ก็จะส่งสัญญาณสั่งให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ ปลดวงจร แต่วิธีการต่อวงจรในลักษณะแบบนี้จะไม่มี ความเหมาะสมกับระบบที่มีกราวด์รีเทิร์นหลายชุด


หลักการท�ำงาน : - สายกราวด์ (PE) จะต้องต่อเข้ากับสายนิวทรัล (N) - ติดตั้ง CT Ground Fault ณ จุดต่อเชื่อมระหว่าง สายกราวด์ (PE) และสายนิวทรัล (N) - เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหลขึ้น (Ground Fault) กระแส Ig จะไหลเข้าไปยังจุดต่อนิวทรัล - ถ้า Ig > Setting แสดงว่าเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ขึ้น (Ground Fault) มากพอ, เซอร์กิตเบรกเกอร์จะปลด วงจร (Open Circuit) ตามเวลาที่ปรับตั้ง โดยมาตรฐาน วสท.2001 ก�ำหนดให้แผงบริภัณฑ์ ประธานรวมแรงต�่ำที่มีขนาดกระแส 1000 A ขึ้นไป ในระบบที่สายนิวทรัลของระบบวาย (Wye) ต่อลงดิน โดยตรงต้องมีการติดตัง้ เครือ่ งป้องกันกระแสรัว่ ลงดินของ บริภณ ั ฑ์ ในการต่อลงดินทัง้ 3 รูปแบบนัน้ จะใช้หลักการใน การท�ำงานเดียวกันคือการตรวจจับกระแส Ground Fault โดยใช้กฎของ Kirchhoff คือ ΣI = 0 A ซึ่งจะขึ้นอยู่ ความเหมาะสมในการใช้งาน การต่อลงดินทีม่ คี วามสมบูรณ์ อย่างถูกต้องนั้นจะท�ำให้เกิดประสิทธิภาพในการท�ำงาน รูปที่ 4 แสดงการตรวจสอบกระแสลัดวงจรลงดิน ของอุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจรลงดิน เกิดประสิทธิภาพ แบบกราวด์รีเทิร์น สูงสุดและเกิดความปลอดภัยในการใช้งานจากการสัมผัส วิธีกราวด์รีเทิร์น (Ground Return Method) GFP แรงดันไฟฟ้า และท�ำให้ความต่างศักย์ด้านแรงดันไฟฟ้า จะถูกติดตั้งให้ตรวจจับกระแสลัดวงจรลงดินทั้งหมดที่ มีจดุ อ้างอิงเดียวกันรวมทัง้ จะมีผลต่อคุณภาพไฟฟ้าอีกด้วย ไหลผ่านมายังขั้วดิน (Grounding Electrode Conductor) วิธกี ารนีส้ ามารถใช้ได้เฉพาะส�ำหรับเครือ่ งปลดวงจรตัวเมน ประวัติผู้เขียน ของระบบประธาน (Service Derived) หรือระบบไฟฟ้าที่ นายวิทยา ธีระสาสน์ จบการศึกษาครุศาสตร์อตุ สาหกรรม ติดตั้งแยก (Separately Derived) บัณฑิต จากคณะครุศาสตร์อตุ สาหกรรม ถ้ามีการเพิ่มจุดต่อลงกราวด์ภายในระบบไฟฟ้า และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี เดียวกันจะส่งผลกระทบท�ำให้เกิดสัญญาณรบกวนขึ้นใน พระจอมเกล้าธนบุรี ใน พ.ศ. 2546 การสั่ง Trip Circuit Breaker อันเนื่องมาจากมีกระแส (เกียรตินยิ มอันดับ 2) และจบปริญญาโท แยกไหลได้หลายทิศทาง ที่ ค ณะครุ ศ าสตร์ อุ ต สาหกรรมและ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ เทคโนโลยี มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ธนบุ รี สนใจทางด้าน Power Quality and Harmonics System ขอขอบพระคุ ณ ทาง บริ ษั ท อาซี ฟ า จ� ำ กั ด ที่ ใ ห้ การสนับสนุนอย่างดี

มีนาคม - เมษายน 2556

35


Power Engineering & Power Electronics ไฟฟ้าก�ำลังและอิเล็กทรอนิกส์ก�ำลัง นายกิตติกร มณีสว่าง กองวิจัย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า โดยใช้สายตัวน�ำไฟฟ้าชนิด High Temperature, Low Sag Conductors บทน�ำ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีผล เปลี่ยนโครงสร้างหลักของระบบไฟฟ้า เพื่อให้การลงทุน ท�ำให้หน่วยงานที่ดูแลเรื่องความมั่นคงในการจ่ายพลังงาน มีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังจะได้กล่าวโดย ไฟฟ้า จ�ำเป็นต้องพิจารณาเพิ่มเติมสถานีไฟฟ้าระบบ สังเขปในบทความต่อไปนี้ สายส่งและสายจ�ำหน่ายไปยังผู้ใช้ที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ ต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ และมีคุณภาพตามมาตรฐาน เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภ าพในการส่งจ่าย พลังงานไฟฟ้า การบริการ ในพื้นที่ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงาน ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง จ�ำเป็นต้องพิจารณาหาแนวทางการ เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้สัมพันธ์ กับความต้องการของผู้ใช้ไฟ ซึ่งมีอยู่หลายวิธีดังต่อไปนี้ 1) เปลี่ ย นชนิ ด ของสายตั ว น� ำ ไฟฟ้ า เป็ น ชนิ ด High Temperature, Low Sag (HTLS) Conductors โดยใช้อะลูมิเนียมชนิดทนความร้อนสูงที่ผ่านการอบอ่อน (Annealing) มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อน (Coefficient of Thermal Expansion, CTE) ต�่ำและ สามารถรองรับแรงดึงได้สูงขึ้น จึงสามารถออกแบบให้ใช้ งานกับระบบไฟฟ้าที่มีระยะห่างของช่วงเสายาว ๆ ได้ 2) เพิม่ จ�ำนวนสายตัวน�ำไฟฟ้าในแต่ละเฟส ซึง่ วิธนี ี้ รูปที่ 1 ตัวอย่างระบบสายส่งและสายจ�ำหน่าย โครงสร้างของระบบไฟฟ้าเดิม เช่น เสาไฟฟ้าและคอน จะต้องสามารถรองรับความเค้นใหม่ที่เกิดจากการเพิ่ม แต่ด้วยข้อจ�ำกัดของที่ดินที่ใช้ในการสร้างสถานี สายตัวน�ำไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ นี้ได้ ไฟฟ้าทีม่ กั มีราคาสูง ท�ำให้ตน้ ทุนทางด้านการจ่ายพลังงาน 3) สร้างระบบสายส่งหรือสายจ�ำหน่ายใหม่ ซึง่ วิธนี ี้ ไฟฟ้ามีค่าสูงตามไปด้วย ประกอบกับข้อจ�ำกัดในเรื่องของ มักมีข้อจ�ำกัดในเรื่องของพื้นที่ Right of way หรือ โครงสร้างระบบสายส่งและสายจ�ำหน่ายที่ไม่สามารถเพิ่ม การขออนุญาตก่อสร้างระบบไฟฟ้าไปยังพื้นที่ต่าง ๆ วงจรในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ตามที่ต้องการ เนื่องจาก 4) เปลี่ย นระบบการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าจาก ต้องค�ำนึงถึงระยะห่างความปลอดภัย โดยเฉพาะระบบ กระแสสลับ (AC) เป็นกระแสตรง (HVDC) ซึ่งวิธีนี้มี สายส่งและสายจ�ำหน่ายที่อยู่ในเขตชุมชนหรือแนวถนน ค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากต้องมี Converter ติดตั้งอยู่ทั้ง 2 ทางออกของปัญหาเหล่านีจ้ ำ� เป็นต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านของปลายสายส่งเพื่อใช้แปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็น เข้าช่วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเพิ่มความสามารถในการส่ง กระแสตรง และจากกระแสตรงกลับไปเป็นกระแสสลับ จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่สายตัวน�ำไฟฟ้าโดยไม่จำ� เป็นต้อง และผลจากอิทธิพลของกระแสตรงท�ำให้ต้องออกแบบ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

36


ระบบป้องกันการกัดกร่อนเพิ่มเติม โดยเฉพาะอุปกรณ์ อุณหภูมสิ งู ขึน้ กว่าเดิม โดยมีระยะหย่อนทีต่ �่ำกว่าเมือ่ เทียบ ประกอบที่เป็นโลหะและต้องรับแรงดึงสูง ๆ แต่ระบบ กับสายตัวน�ำไฟฟ้าแบบเดิมที่ขนาดพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน HVDC ก็มีจุดเด่นในเรื่องของความน่าเชื่อถือของระบบ สายตัวน�ำ ไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติจัด อยู่ใ นกลุ ่ มของ ไฟฟ้าและมีค่าความสูญเสีย (Line Losses) ในสายตัวน�ำ HTLS Conductors ประกอบไปด้วย ไฟฟ้าที่ต�่ำ 1) Aluminium Conductor Steel Supported (ACSS และ ACSS/TW) เป็นตัวน�ำไฟฟ้าชนิดแกนเหล็ก สายตัวน�ำไฟฟ้าชนิด High Temperature, เคลือบสังกะสีและตีเกลียวล้อมรอบด้วยลวดอะลูมิเนียม Low Sag (HTLS) Conductors ที่ ผ ่ า นกระบวนการอบอ่ อ นเพื่ อ ปรั บ ปรุ ง คุ ณ สมบั ติ สายตัวน�ำไฟฟ้าแบบเปลือยในระบบสายส่งและ ความเหนียว (Ductility) ซึ่งจะช่วยให้สามารถต้านทาน สายจ� ำ หน่ า ยแบบเหนื อ ดิ น ส่ ว นใหญ่ มั ก ผลิ ต จากลวด การเสียรูปร่างแบบถาวรจากความเค้นทางกลที่มากระท�ำ อะลูมิเนียมตีเกลียว (All Aluminium Conductor : AAC) ได้สูงมากขึ้นหลายเท่า นอกจากนั้นยังช่วยลดค่าโมดูลัส ลวดอะลูมเิ นียมเจือตีเกลียว (Aluminium Alloy Stranded ความยืดหยุ่น (Modulus of Elasticity) ของสายตัวน�ำ Conductors : AA) ลวดอะลูมิเนียมตีเกลียวแกนเหล็ก ไฟฟ้าเพื่อให้สามารถดัดโค้งได้ง่าย สายตัวน�ำไฟฟ้าชนิดนี้ (Aluminium Conductor Steel Reinforced : ACSR) และ มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องของระยะหย่อนที่น้อยกว่าสายตัว ลวดเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีตีเกลียว (Galvanize Steel น�ำไฟฟ้าชนิด HTLS แบบอื่น ๆ เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิ Wire Strand : St) ซึง่ ในการน�ำสายตัวน�ำไฟฟ้าแต่ละชนิด สูง ๆ เนือ่ งจากมีสมั ประสิทธิก์ ารขยายตัวทางความร้อนทีต่ ำ�่ ไปใช้งานจะต้องพิจารณาระยะห่างของช่วงเสาให้สัมพันธ์ โดยสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนือ่ งทีอ่ ณ ุ หภูมสิ งู อยูใ่ นช่วง 0 0 กับพิกัดความต้านแรงดึง (Rated tensile strength) 200 C ถึง 250 C ที่ ก� ำ หนด อั ต ราการยื ด -หดและระยะหย่ อ น (Sag) ACSS ทีอ่ ณ ุ หภูมกิ ารใช้งานสูง ๆ ของสายตัวน�ำไฟฟ้า เนือ่ งจากมีผล ต่อระยะห่างความปลอดภัย นอกจากนั้นยังต้องค�ำนึงถึง อัตราการกัดกร่อน (Corrosion rate) ซึง่ มีผลต่อการรับแรง ทางกลทัง้ จากความเร็วลม น�ำ้ หนักของสายตัวน�ำไฟฟ้าและ ACSS/TW อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ สายตัวน�ำไฟฟ้าแบบเปลือยทีใ่ ช้งานกันโดยทัว่ ไปนัน้ จะรองรับอุณหภูมิการใช้งานอยู่ที่ 90 0C ซึ่งหากใช้งาน รูปที่ 2 ตัวอย่างสายตัวน�ำไฟฟ้า ACSS และ ACSS/TW ที่อุณหภูมิสูงกว่านี้อย่างต่อเนื่องจะท�ำให้สายตัวน�ำไฟฟ้า 2) Zirconium alloy Aluminium Conductor มี ร ะยะหย่ อ นเกิ น กว่ า ค่ า มาตรฐานจนเสี ย สภาพและ ไม่สามารถรับแรงทางกลได้เช่นเดิม อันเป็นผลมาจาก Invar steel Reinforced (ZTACIR) เป็นตัวน�ำไฟฟ้า ปรากฏการณ์ Anneal effect ซึง่ จะเริม่ ทีอ่ ณ ุ หภูมปิ ระมาณ ชนิดแกนเหล็กผสมนิกเกิล 36% หรือ Invar alloy 100 0C เป็นต้นไป และด้วยความไม่แน่นอนของทิศทางและ เพื่อให้มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนที่ต�่ำและ ความเร็วลมหรือแม้กระทั่งอุณหภูมิแวดล้อม (Ambient รับแรงดึงทางกลได้ดี โดยจะถูกตีเกลียวล้อมรอบด้วย temperature) ในขณะใช้งาน ท�ำให้ในการใช้งานจริงมัก ลวดอะลูมิเนียมชนิดที่ทนความร้อนสูง (High thermal ก�ำหนดให้ใช้งานสายตัวน�ำไฟฟ้าได้ไม่เกิน 80% ของพิกดั resistance aluminium alloy : TA1) ซึง่ จะช่วยให้สามารถ 0 กระแสไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่าอุณหภูมิใช้งานจะอยู่ต�่ำกว่า น�ำไปใช้งานได้อย่างต่อเนื่องที่อุณหภูมิสูงถึง 150 C และ 90 0C ซึง่ ปัญหานีไ้ ด้กลายเป็นข้อจ�ำกัดในการจ่ายพลังงาน หากน�ำลวดอะลูมิเนียมตีเกลียวไปผสมด้วย Zirconium ไฟฟ้าไปยังโหลดของผูใ้ ช้ไฟ และเพือ่ เป็นการแก้ไขข้อจ�ำกัด (Zirconium-alluminium alloy : ZTA1) จะสามารถใช้งาน 0 ดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาสายตัวน�ำไฟฟ้าชนิดใหม่ที่ ต่อเนื่องได้ถึงอุณหภูมิ 210 C เรียกว่า “High Temperature, Low Sag (HTLS) Conductors” ขึ้ น มา เพื่อให้สามารถใช้งานที่พิกัดกระแสไฟฟ้าและ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ มีนาคม - เมษายน 2556

37


รูปที่ 3 ตัวอย่างสายตัวน�ำไฟฟ้า ZTACIR

5) Composite Reinforced Aluminium Conductor (CRAC) เป็นตัวน�ำไฟฟ้าอะลูมิเนียมผ่านการอบอ่อน แล้วตีเกลียวรอบแกนทีท่ ำ� มาจากเส้นใยแก้ว (Fiberglass) เสริมแรง สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องที่อุณหภูมิสูงถึง 150 0C

3) Gap Type heat resistance Aluminium Conductor Steel Reinforced (GTACSR) เป็นตัวน�ำไฟฟ้า ทีม่ กี ารอัดจาระบี (Grease) ชนิดทนความร้อนสูงไว้ในช่อง ว่างระหว่างแกนและลวดอะลูมิเนียมตีเกลียว เพื่อช่วยให้ ลวดอะลูมเิ นียมตีเกลียวสามารถขยับตัวได้อย่างอิสระจาก รูปที่ 6 ตัวอย่างสายตัวน�ำไฟฟ้า CRAC แกนในขณะใช้งานทีอ่ ณ ุ หภูมสิ งู ๆ และให้แกนท�ำหน้าทีร่ บั ความเค้นทั้งหมดของสายตัวน�ำไฟฟ้าไว้ โดยสามารถน�ำ 6) Aluminium Conductor Composite Carbon Fiber ไปใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 150 0C แต่ถ้าเป็นชนิด Gap Type super heat resistant Aluminium alloy Conductor Reinforced (ACCFR) เป็นตัวน�ำไฟฟ้าอะลูมิเนียมผ่าน Steel Reinforced (GZTACSR) จะสามารถน�ำไปใช้งานที่ การอบอ่อน แล้วตีเกลียวรอบแกนที่ท�ำมาจากเส้นใย คาร์บอน (Carbon Fiber) และหุม้ ด้วยใยแก้ว (Fiberglass) อุณหภูมิสูงมากกว่า 150 0C ได้ เพื่อให้มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต�่ำ โดย เส้นใยแก้วจะท�ำหน้าทีป่ อ้ งกันเส้นใยคาร์บอนจากการใช้งาน ทีอ่ ณ ุ หภูมสิ งู ๆ ซึง่ จะท�ำให้รบั แรงดึงได้สงู ขึน้ โดยสามารถ ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องที่อุณหภูมิสูงถึง 210 0C

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 4 ตัวอย่างสายตัวน�ำไฟฟ้า GTACSR

4) Aluminium Conductor Composite Reinforced (ACCR) เป็นตัวน�ำไฟฟ้าชนิดทีใ่ ช้ลวดอะลูมเิ นียมผสมกับ รูปที่ 7 ตัวอย่างสายตัวน�ำไฟฟ้า ACCFR Zirconium (Zirconium-alluminium alloy) ส�ำหรับตีเกลียว ขึ้นรูปเพื่อให้สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูง ๆ ได้ดี โดยใช้ สายตัวน�ำไฟฟ้าชนิด HTLS มีราคาสูงกว่าสายตัวน�ำ แกนเป็นเส้นใยเซรามิก (Ceramic Fiber) ส�ำหรับรับแรงดึง ไฟฟ้าแบบเดิม (ACSR) ประมาณ 1.5-10 เท่า เนื่องจาก ทางกลและช่วยให้สมั ประสิทธิก์ ารขยายตัวทางความร้อนต�ำ่ ใช้วัสดุและเทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต โดยพบว่าสายตัว สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องที่อุณหภูมิสูงถึง 210 0C น�ำไฟฟ้าแบบ GZTACSR มีราคาสูงกว่า ACSR ประมาณ 2 เท่า สายตัวน�ำไฟฟ้าแบบ ACCFR มีราคาสูงกว่า ACSR ประมาณ 7-8 เท่า และสายตัวน�ำไฟฟ้าแบบ ACCR มีราคา สูงกว่า ACSR ประมาณ 9-10 เท่า นอกจากนั้นสายตัวน�ำ ไฟฟ้าชนิด HTLS บางแบบยังต้องใช้เทคนิคและเครื่องมือ เฉพาะในการติดตั้งท�ำให้ใช้เวลาในการติดตั้งนานและมี ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูงกว่าสายตัวน�ำไฟฟ้าแบบเดิม อย่างไรก็ตามหากพิจารณาประสิทธิภาพในการส่งจ่าย รูปที่ 5 ตัวอย่างสายตัวน�ำไฟฟ้า ACCR พลังงานไฟฟ้าเปรียบเทียบกับสายตัวน�ำไฟฟ้าแบบเดิม

38


(ACSR) แล้ว พบว่าสายตัวน�ำไฟฟ้าชนิด HTLS สามารถ ข้อสรุป หากพิ จ ารณาเทคนิ ค การเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพใน เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้สูงกว่า การส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า ภายใต้ข้อจ�ำกัดในเรื่องของ สายตัวน�ำไฟฟ้าแบบเดิมดังตารางที่ 1 พื้นที่ Right of way และระยะห่างความปลอดภัยแล้ว ตารางที่ 1 แสดงประสิทธิภาพในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า การเปลีย่ นไปใช้สายตัวน�ำไฟฟ้าชนิด HTLS จะมีความคุม้ ค่า ของสายตัวน�ำไฟฟ้าชนิด HTLS เมื่อเทียบกับแบบ ACSR มากกว่าวิธีการอื่น ๆ เนื่องจากสามารถใช้สายตัวน�ำไฟฟ้า ชนิด HTLS ที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดเท่ากันกับสายตัวน�ำ สายตัวน�ำไฟฟ้าชนิด % ประสิทธิภาพในการส่งจ่าย ไฟฟ้ า แบบเดิ ม ติ ด ตั้ ง ใช้ ง านบนโครงสร้ า งและอุ ป กรณ์ HTLS พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากเดิม ประกอบแบบเดิ ม ได้ โ ดยไม่ ต ้ อ งมี ก ารดั ด แปลงแก้ ไ ข ACSS, GZTACSR 130-245 มากนัก แต่สามารถส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้มากขึน้ กว่าเดิม ZTACIR 175-200 ตั้งแต่ 1.3-3.0 เท่า โดยที่ยังคงรักษาระยะหย่อนให้อยู่ใน ACCR 180-300 เกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวทาง ACCFR 180-260 ความร้อนที่ตำ�่ ที่อุณหภูมิการใช้งานสูง ๆ และยังเป็นทาง หากใช้วิธี HVDC จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพใน เลือกที่ดีในการน�ำไปใช้ส�ำหรับการก่อสร้างระบบสายส่ง การส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ 141%-175% ของระบบไฟฟ้า และสายจ� ำ หน่ายใหม่ เนื่องจากสายตัวน� ำ ไฟฟ้ า ชนิ ด เดิม และถึงแม้วา่ HVDC จะใช้สายตัวน�ำไฟฟ้าเพียง 2 เส้น HTLS มีศักยภาพในการรับแรงดึงทางกลได้ดี จึงสามารถ ในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า แต่ในทางเทคนิคแล้วจ�ำเป็น ออกแบบให้ระยะห่างของช่วงเสามีระยะห่างเพิ่มขึ้นได้ ต้องสร้าง Converter ทั้งสองด้านของปลายสายส่งและ ซึง่ จะช่วยให้ใช้จำ� นวนเสาไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า จ�ำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการ น้อยลง จับยึดสายตัวน�ำไฟฟ้าโดยใช้ลกู ถ้วยฉนวนไฟฟ้าติดตัง้ เป็น แบบ V ซึ่งต้องใช้ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เอกสารอ้างอิง [1] Makan Anvari, Farzad Razavi, Ali Akbar Nazari “Electrical จึงท�ำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 12.5 เท่า เมื่อเทียบ and Economic Study of Apply the ACSS Conductor in TREC กับระบบไฟฟ้าแบบเดิม Sub-transmission Network”, 2013

ร า ส า ้ ฟ ไฟ [2] Dr.Hendri Geldenhuys & Mr. Rossouw Theron “HTLS and HVDC solutions for overhead lines uprating” [3] D.M.Larruskain, I. Zamora, O. Abarrategui, A Iraolagoitia “Power transmission capacity upgrade of overhead lines” ประวัติผู้เขียน

รูปที่ 8 ระบบส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าแบบ HVDC

นายกิตติกร มณีสว่าง ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบัน ท� ำ งานในต� ำ แหน่ ง หั ว หน้ า แผนกวิ จั ย อุปกรณ์ไฟฟ้า กองวิจัย ฝ่ายวิจัยและ พัฒนาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค ส�ำนักงานใหญ่

รูปที่ 9 เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการส่งจ่ายพลังงาน ไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายในแต่ละเทคนิค มีนาคม - เมษายน 2556

39


Communication Engineering & Computer ไฟฟ้าสื่อสารและคอมพิวเตอร์ นายไกรวีร์ ลิ้มชัยกิจ อีเมล : kkhemm@yahoo.com

ระบบความปลอดภัยกับโทรศัพท์มือถือ บทน�ำ

ในปัจจุบนั โทรศัพท์มอื ถือแทบจะกลายเป็นอุปกรณ์ ประจ�ำตัวของทุก ๆ คน โทรศัพท์มอื ถือก่อให้เกิดความสะดวก ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ประจ� ำ วั น อย่ า งมาก ประกอบกั บ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น โทรศัพท์มือถือจึงไม่ใช่แค่ เพียงโทรศัพท์แต่ได้กลายเป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาไป แต่ความสะดวกมักจะมีเรื่องที่สวนทางกับความปลอดภัย หากผูใ้ ช้งานไม่ได้ตระหนักถึงเรือ่ งความปลอดภัยมากพอก็ อาจตกเป็นเหยือ่ และเกิดความสูญเสียได้มากกว่าทีค่ าดคิด ด้วยเหตุผลนีผ้ ใู้ ช้จงึ ควรจะเข้าใจว่าอันตรายทีอ่ าจเกิดขึน้ มี สาเหตุหรือช่องทางใดได้บ้าง

ความเป็นมา

เนือ่ งจากโทรศัพท์มอื ถือมีความสะดวกในการพกพา เป็นอย่างมาก ผูใ้ ช้งานโทรศัพท์มอื ถือจ�ำนวนมากมีแนวโน้ม ในการน�ำอุปกรณ์เหล่านี้ไปใช้ในการเก็บข้อมูล ทั้งส่วน ที่เป็นข้อมูลพื้นฐาน อาทิ อีเมล แอดเดรส หรือเบอร์ โทรศัพท์ รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ในการท�ำงาน นอกจากนั้น แนวโน้มในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการซื้อสินค้าและ บริการก็เพิม่ มากขึน้ เช่นเดียวกัน จึงกลายเป็นช่องทางใหม่ ส�ำหรับผู้ไม่หวังดีในการแสวงหาผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้น เช่นกัน รูปที่ 1 แสดงปริมาณการจ�ำหน่ายสมาร์ตโฟนที่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 1 ปริมาณการจ�ำหน่ายคอมพิวเตอร์ประเภทต่าง ๆ และแนวโน้มในอนาคต

40


แม้ ว ่ า ปั จ จุ บั น จะไม่ พ บคดี ที่ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ก็มีคดีที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านอื่น ๆ ซึ่งประเมิน มู ล ค่ า ไม่ ไ ด้อยู่บ ้างเช่นกัน ดังเช่นเหตุการณ์ที่โ ด่งดัง และท�ำให้เกิดกระแสตื่นตัวมากขึ้นในระยะไม่นานมานี้ น่าจะเป็นเรื่องการด�ำเนินคดีกับ หนังสือพิมพ์ ”News of the World” รวมถึงหนังสือพิมพ์อื่น ๆ ในเครือ “News International” ของประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้การ Hack โทรศัพท์ทั้งระบบมีสายและไร้สายเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว ของเป้ า หมายมาท� ำ รายงานข่ า วหลายต่ อ หลายครั้ ง ซึ่งบางครั้งส่งผลกระทบด้านจิตใจแก่ญาติของผู้เสียหาย และบางครั้งร้ายแรงถึงขั้นเป็นการขัดขวางกระบวนการ และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต การสืบสวนน�ำไปสู่การจับกุม ผู้เกี่ยวข้อง การชดใช้ค่าเสียหายจ�ำนวนหลายล้านปอนด์ และการต้องปิดตัวลงของหนังสือพิมพ์ News of the World ซึ่งตีพิมพ์มาถึง 168 ปี โดยทัว่ ไปแล้วเป้าหมายหลักทีผ่ ไู้ ม่หวังดีตอ้ งการ คือ 1. ข้ อ มู ล ซึ่ ง ไม่ จ� ำ เป็ น ว่ า จะต้ อ งเป็ น ข้ อ มู ล ที่ มี ความส�ำคัญอย่างเช่น หมายเลขบัตรเครดิตหรือข้อมูล ส่วนตัวเท่านัน้ แต่ขอ้ มูลทีด่ อู าจจะไม่นา่ สนใจ เช่น บันทึก การใช้งาน ฯลฯ ก็อาจเป็นเป้าหมายได้ด้วยเช่นกัน 2. อัตลักษณ์บุคคล โทรศัพท์มือถืออาจมีส่วนของ อุปกรณ์หรือข้อมูลที่บรรจุอยู่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับตัว เจ้าของและถูกใช้ในการพิสูจน์ตัวตน จึงเป็นเป้าหมาย ให้ ค นร้ า ยต้ อ งการที่ จ ะขโมยอั ต ลั ก ษณ์ เ หล่ า นี้ เ พื่ อ ใช้ กระท�ำการอื่น ๆ ต่อไป 3. จ�ำกัดการใช้ หรือก่อกวนท�ำให้ไม่สามารถใช้งานได้

ช่องทางการโจมตีบนโทรศัพท์

แม้ ว ่ า ความพยายามในการโจมตี ร ะบบรั ก ษา ความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือจะส�ำเร็จหรือไม่นั้น จะขึน้ กับองค์ประกอบหลายอย่าง แต่แนวทางในการโจมตี นั้นสามารถจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ การโจมตีผ่านด้านช่องทางการสื่อสาร - การโจมตีบนเครือข่าย GSM เป้าหมายของ การโจมตีนี้ คือ พยายามแกะรหัสทีใ่ ช้ ซึง่ หากท�ำได้สำ� เร็จ จะสามารถดักข้อมูลทั้งหมดที่มีการสื่อสารกับโทรศัพท์ เครื่องนั้นได้ แต่เดิมนั้นการเข้ารหัสในระบบ GSM นั้น จะใช้การเข้ารหัส A5 ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น A5/1 และ A5/2 แต่ในปี 2008 บทความของ Timo Gendrullis เรื่อง “A Real-World Attack Breaking A5/1 within Hours” ได้แสดงให้เห็นการแกะรหัสนัน้ สามารถท�ำได้สำ� เร็จในเวลา ไม่กี่ชั่วโมง ปัจจุบันการเข้ารหัสจึงถูกแทนที่ด้วย A5/3 และ A5/4 ซึ่งมีขั้นตอนการเข้ารหัสที่รัดกุมกว่า และยัง ไม่มีหลักฐานว่าสามารถแกะรหัสได้โดยง่าย ความเสี่ยง ของการโจมตีบนเครือข่าย GSM จึงคงอยู่เฉพาะผู้ที่ใช้ สมาร์ตโฟนรุ่นเก่าเท่านั้น - การโจมตี บ น Wi-Fi เป็ น ที่ นิ ย มอย่ า งมาก เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่มักจะชอบการใช้งาน แบบไร้สายมากขึ้นเรื่อย ๆ การโจมตีบน Wi-Fi นั้น ไม่จ�ำกัดเฉพาะผู้ใช้สมาร์ตโฟนเท่านั้น แต่อาจเป็นใคร ก็ได้ที่มีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย WLAN แม้ว่าระบบ รักษาความปลอดภัยของ WLAN จะขึ้นกับโปรโตคอล ที่ใช้เป็นส�ำคัญ แต่ส�ำหรับเครือข่ายที่ใช้ร่วมกับโทรศัพท์ มือถือบางครั้งมักจะยอมให้มีการก�ำหนดคีย์ (Key) สั้น ๆ และประกอบด้วยเฉพาะตัวเลขเท่านั้น ซึ่งเป็นจุดอ่อน ส�ำคัญท�ำให้โอกาสประสบความส�ำเร็จในการแกะรหัส นั้นสูงขึ้นมาก เป้าหมายของการโจมตีบน Wi-Fi นั้น เหมือนการโจมตีบนเครือข่าย GSM แต่จุดที่แตกต่างกัน คือ การโจมตีบน Wi-Fi นั้นจะไม่กระทบเฉพาะโทรศัพท์ เพียงเครื่องเดียว แต่จะส่งผลกระทบกับทุกเครื่อง ๆ ที่ท�ำ การเชื่อมต่ออยู่ และการโจมตีบน Wi-Fi ยังมีอีกวิธีที่ มักนิยมใช้ คือ โร็ค แอคเซส พอยน์ท (Rogue AP) ใช้ การสร้างเครือข่ายปลอมที่มีการตั้งพารามิเตอร์ให้เหมือน เครือข่ายจริง ส�ำหรับสมาร์ตโฟนโดยทั่วไปมักจะไม่มี การยืนยันการเชือ่ มต่อซ�ำ้ แต่มกั จะใช้การเชือ่ มต่ออัตโนมัติ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ มีนาคม - เมษายน 2556

41


เมื่ อ อยู ่ ใ นระยะสั ญ ญาณของเครื อ ข่ า ยที่ เ คยเชื่ อ มต่ อ ซึ่ ง การที่ มี เ ครื อ ข่ า ยที่ มี ชื่ อ เดี ย วกั น อาจท� ำ ให้ โ ทรศั พ ท์ สับสนและท�ำการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายปลอมได้ ท�ำให้ การสื่อสารทั้งหมดถูกดักจับได้ - การโจมตีบนบลูทูธ (Bluetooth) เป็นหัวข้อด้าน ความปลอดภัยทีม่ กั จะมีปญ ั หาแตกต่างกันไปตามโทรศัพท์ แต่ละรุ่น ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การพยายามน�ำอุปกรณ์ไป เชื่อมต่อโดยไม่ต้องมีการยืนยัน และการส่งไวรัสไปตาม การส่งข้อมูลผ่านบลูทูธ อย่างไรก็ตาม ระยะของสัญญาณ บลูทูธนั้นสั้นมากจึงเป็นช่องทางที่คนร้ายมักไม่นิยมใช้นัก การโจมตีต่อช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ - ช่องโหว่ของ Web Browser เนื่องจาก Web Browser เป็น Application หลักที่มักจะมีในสมาร์ตโฟน ทุ ก รุ ่ น และเป็ น ประตู ห ลั ก ในการรั บ -ส่ ง ข้ อ มู ล กั บ อินเทอร์เน็ต ประกอบการเปิดโอกาสให้สามารถที่จะ ติดตั้งส่วนเสริม หรือปลั๊กอิน (Plug-in) เพิ่มได้ Web Browser จึงเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ในการใช้โจมตีระบบ ของโทรศัพท์มอื ถือ โดยมากแล้วการโจมตีตอ่ ช่องโหว่ของ Web Browser จะเป็นการรบกวนการจัดการหน่วยความจ�ำ ที่ Web Browser ต้องใช้ อาจท�ำให้ Web Browser ไม่สามารถใช้งานต่อได้ หรือถ้าในกรณีรุนแรงอาจส่ง ผลกระทบที่ท�ำให้ระบบของโทรศัพท์ทั้งเครื่องไม่สามารถ ใช้งานได้ การโจมตีประเภทนี้จะประสบความส�ำเร็จได้จะ เริ่มจากการใช้ Web Browser เข้าไปยัง Website ที่มี ฝังโค้ดทีม่ อี นั ตรายไว้ และโค้ดเหล่านัน้ ก็เป็นตัวทีท่ ำ� ให้เกิด ผลร้ายกับโทรศัพท์โดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว - ช่องโหว่ของระบบปฏิบตั กิ าร ซึง่ เป็นปัญหาทีม่ าจาก การออกแบบของผู้ผลิต และคาดเดาผลกระทบได้ยาก ขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของช่องโหว่ที่พบ อาจเป็นไป ได้ทงั้ ท�ำให้ประสิทธิภาพลดลงหรือรุนแรงถึงขึน้ สร้างความ เสียหายให้แก่ระบบของโทรศัพท์ทั้งเครื่อง ในทางทฤษฎี แล้วระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์มือถือที่มีการบันทึกไว้ ใน ROM ควรจะมีความปลอดภัยที่ดีกว่า อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีการบันทึกบน Hard Drive เนื่องจากการบันทึกไว้บน ROM จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ยากกว่า แต่ปัจจุบัน ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป ตัวอย่างที่ชัดเจนของการ โจมตีผ่านช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ คือ ช่องโหว่ของ Symbian OS ของ Nokia ซึง่ ในอดีตมีปญ ั หาและถูกกล่าวถึง อยู่บ่อยครั้ง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

42

นอกจากการโจมตีทงั้ 2 ประเภทแล้วยังมีสงิ่ ทีม่ กั จะ มีส่วนร่วมกับการโจมตีทั้ง 2 ประเภทนี้ในทางใดทางหนึ่ง เสมอ คือ Malicious Software (Malware) เช่นเดียวกับ ที่มีบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในขณะที่ระบบป้องกันไวรัส ส�ำหรับโทรศัพท์นั้นยังมีค�ำถามและต้องการการทดสอบ ประสิทธิภาพและความสามารถอีกมาก มัลแวร์ (Malware) คือ คอมพิวเตอร์โปรแกรม ที่ถูกออกแบบมาให้สร้างความเสียหายต่อระบบตามที่ได้ ถูกสร้างขึ้นมา สามารถแบ่งย่อย ๆ ออกได้เป็น • โทรจัน (Trojan) โปรแกรมที่เปิดช่องทางให้ บุคคลอื่น ๆ สามารถเชื่อมต่อเข้ามาได้ตามต้องการ • เวิร์ม (Worm) โปรแกรมที่จะท�ำส�ำเนาตัวเอง ออกไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในระบบเครือข่าย • ไวรัส (Virus) โปรแกรมที่พยายามแพร่กระจาย ตัวเองออกไปยังเครือ่ งคอมพิวเตอร์อนื่ โดยใช้การฝังตัวเอง ไปกับโปรแกรมอื่น อย่างไรก็ดี จ�ำนวนมัลแวร์ที่มีบนสมาร์ตโฟนยัง มีจ�ำนวนน้อย และไม่หลากหลายเมื่อเทียบกับมัลแวร์ ที่ มี บ นคอมพิ ว เตอร์ อี ก ทั้ ง จากการส� ำ รวจมั ล แวร์ บ น สมาร์ตโฟนทีม่ ใี นปัจจุบนั ส่วนใหญ่ไม่มผี ลในทางลบมากนัก ยกเว้นในส่วนของความสามารถในการแพร่กระจายตัวเอง สมาร์ตโฟนจึงมักจะถูกใช้เป็นช่องทางในการแพร่กระจาย มั ล แวร์ ไ ปยั ง ระบบคอมพิ ว เตอร์ ม ากกว่ า เช่ น ใน ระหว่างการท�ำส�ำเนาข้อมูลระหว่างเมมโมรีการ์ดของ โทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์ หรือในระหว่างการซิงโครไนซ์ (Synchronization) โทรศัพท์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ


แนวทางการป้องกัน

ระบบความปลอดภัยใน OS โทรศัพท์มือถือมีแนวความคิดพื้นฐานส�ำหรับ OS ที่เรียกว่า Sandbox จากการที่โทรศัพท์มีแอปพลิเคชัน หลาย ๆ อย่างที่จะต้องท�ำงานพร้อม ๆ กัน จึงจะต้อง มีการออกแบบให้มีความปลอดภัยทั้งกับตัวเอง ข้อมูลใน ระบบและผู้ใช้ และจะต้องท�ำให้ช่องโหว่ที่อาจจะท�ำให้ เกิ ด อั น ตรายให้ เ ล็ ก ที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะเป็ น ไปได้ Sandbox ถู ก น� ำ มาใช้ เ พื่ อ แบ่ ง แต่ ล ะ Process ออกจากกั น และป้องกันการติดต่อระหว่าง Process ที่จะก่อให้เกิด ความเสียหายระหว่างกันและกัน ซึง่ ในการน�ำแนวความคิด นีไ้ ปใช้สำ� หรับแต่ละระบบปฏิบตั กิ ารนัน้ ก็มคี วามแตกต่างกัน เช่น ส�ำหรับ iOS จะพยายามจ�ำกัดการเข้าถึง API หรือคือ การจ�ำกัดให้แต่ละ Application สามารถเข้าทรัพยากรของ เครื่องได้อย่างจ�ำกัด ส�ำหรับ Android จะใช้การสืบทอด เหมือนที่ใช้บนระบบ Linux อาจจะมีกระบวนบางอย่างที่ น่าสนใจ ดังนี้ - Rootkit detector การบุกรุกจาก Rootkit เป็น สิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง จึงจ�ำเป็นจะต้องตรวจสอบให้ดีที่สุด การมี โ ปรแกรมที่ เ ป็ น อั น ตรายประเภทนี้ อ ยู ่ อ าจท�ำ ให้ สูญเสียระบบป้องกันของเครื่องในบางส่วนหรือทั้งหมดได้ เช่น หากมีบางโปรแกรมที่มีสิทธิเป็น Administrator ก็จะสามารถกระท�ำการใด ๆ ต่อระบบได้ทั้งหมด โดยที่ ไม่สามารถป้องกันได้ ในระบบอย่าง iOS จะป้องกันสิ่งนี้ โดยใช้กระบวนที่เรียกว่า Chain of Trust คือ โปรแกรม ทีจ่ ะสามารถติดตัง้ บนเครือ่ งได้จะต้องได้รบั การตรวจสอบ และรับรองจาก Apple ก่อน และจะสามารถ Download โปรแกรมได้ผ่านทาง AppStore เท่านั้น

- Process isolation แยกแต่ละ Process ออก จากกัน Process แต่ละอันจะมี Sandbox ของตัวเองและ จะไม่สามารถใช้งานได้เกินทีก่ ำ� หนดไว้ รวมทัง้ ไม่สามารถ เข้าไปรบกวน Process อื่น ๆ ได้ - File permissions Process ไม่สามารถเข้าไป แก้ไขไฟล์ได้อย่างอิสระ แต่จะแก้ไขได้ตามสิทธิที่มีเท่านั้น รวมไม่สามารถแก้สิทธิเองได้ด้วย - Memory protection เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ทวั่ ไป ที่ต้องมีการป้องกันไม่ให้มีการเขียนลงในหน่วยความจ�ำ เกินกว่าทีไ่ ด้กำ� หนดไว้ ซึง่ อาจจะเป็นการสร้างความเสียหาย ต่อ Process อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม แม้วา่ การออกแบบระบบโทรศัพท์จะ มีดแี ละมีประสิทธิภาพมากเพียงใดก็ตาม ก็มกี ระบวนการ บางอย่างทีส่ ามารถละเมิดระบบทัง้ หมดนัน้ ได้ กระบวนการ นั้นเรียกรวม ๆ กันว่า “เจลเบรก (Jailbreak)” (ส�ำหรับ Android อาจจะเรียกว่า Android Rooting) เจลเบรก คือ การปลดล็อกการจ�ำกัดการใช้งานบน โทรศัพท์มือถือ ท�ำให้ผู้ใช้มีสถานะเทียบเท่า Root และ สามารถกระท�ำการใด ๆ ได้ทุกอย่างบนโทรศัพท์ เช่น การลงโปรแกรมด้วยตัวเอง หรือข้ามขัน้ ตอนการตรวจสอบ ต่าง ๆ ซึง่ เป็นอีกหนึง่ ปัจจัยทีท่ ำ� ให้ Hacker หรือ Malware สามารถข้ามขั้นตอนความปลอดภัยและกระท�ำการที่เป็น ภัยได้ง่ายมากขึ้น สัดส่วนการใช้งานสมาร์ตโฟนแยกตาม OS เป็น ตามรูปที่ 2

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 2 ปริมาณยอดขายแยกตาม OS ประเภทต่าง ๆ มีนาคม - เมษายน 2556

43


การใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย การเพิ่มการใช้ซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ จะเป็ น การยกระดั บ การรั ก ษาความปลอดภั ย ให้ แ ก่ สมาร์ตโฟน เช่น Antivirus หรือ Firewall หรือซอฟต์แวร์ ยืนยันตัวบุคคลด้วย Biometric (เช่น สแกนนิ้วหรือ ม่านตา) จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น ซอฟต์แวร์เหล่านี้ส�ำหรับโทรศัพท์มือถือที่มี ในปัจจุบันมีทั้งที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและฟรี และมีผู้สนใจที่ จะพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ผู้พัฒนาระบบ Antivirus ที่มีอยู่ในตลาดเดิมก็ได้หันมาให้ความสนใจในการพัฒนา ระบบบนโทรศัพท์กันแทบทั้งสิ้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าหาก ความนิยมในการใช้งานจะเป็นไปในทิศทางนี้ต่อไป ระบบ Antivirus ส�ำหรับโทรศัพท์มือถือจะกลายเป็นสิ่งที่จ�ำเป็น จะต้องมีอย่างแน่นอน

บทสรุป

โดยทีจ่ ริงแล้วความปลอดภัยนัน้ ขึน้ กับองค์ประกอบ หลายอย่าง ซึ่งแม้แต่ระบบที่มีการป้องกันอย่างเต็มที่ ก็ ไ ม่ ส ามารถที่ จ ะรั บ ประกั น ได้ ว ่ า จะสามารถรั ก ษา ความปลอดภัยได้เต็ม 100% นักการตลาดบางคนอ้างว่า การที่มัลแวร์บน iOS มีน้อยกว่ามัลแวร์บน Android เพราะ iOS มี ค วามปลอดภั ย มากกว่ า นั้ น ก็ ไ ม่ เ ป็ น ความจริ ง ปั จ จั ย หลั ก ที่ แ ท้ จ ริ ง คื อ การที่ Android มีจำ� นวนผูใ้ ช้งานทีม่ ากกว่าทีท่ ำ� ให้คนร้ายเห็นถึงโอกาสใน การแสวงหาผลประโยชน์ที่สูงกว่า ตราบใดที่ยังมีโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์ ก็จะมีผคู้ ดิ ค้นเทคนิคใหม่ ๆ ขึน้ มาเรือ่ ย ๆ เช่น University of Pennsylvania ซึง่ มีแล็บในด้านนีโ้ ดยเฉพาะ ก็มผี ลงาน วิจัยที่เกี่ยวข้องกับช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัย บนโทรศั พ ท์ อ อกมาเป็ น ระยะ สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ จ ะสร้ า ง การตรวจสอบและป้องกันโดยตัวผู้ใช้ ความปลอดภัยให้อยูใ่ นระดับทีน่ า่ พอใจ คือ การรูต้ ระหนัก ตั ว ผู ้ ใ ช้ เ องก็ มี ส ่ ว นส� ำ คั ญ ในการเพิ่ ม ระดั บ ถึ ง ภั ย ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น และพฤติ ก รรมการใช้ ง านที่ ตั้ ง อยู ่ ความปลอดภัยให้แก่ระบบ โดยการให้ความส�ำคัญกับ บนความไม่ประมาท พฤติกรรมในการใช้งานและตรวจสอบ เช่น • ตรวจสอบทรัพยากรบนเครื่องอย่างสม�่ำเสมอ เอกสารอ้างอิง บ่อยครั้งที่อุปกรณ์ที่มีปัญหาจะแสดงอาการผ่านการใช้ 1. www.KPCB.com ทรั พ ยากรที่ ผิ ด ปกติ แบตเตอรี่ ที่ ห มดเร็ ว ขึ้ น หรื อ 2. en.wikipedia.org/wiki/Mobile_security 3. en.wikipedia.org/wiki/Mobile_operating_system การใช้งานหน่วยความจ�ำหรือปริมาณการรับ-ส่งข้อมูลทีส่ งู ผิดปกติ • ต ร ว จ ต ร า ก า ร ใ ช ้ ง า น เ ค รื อ ข ่ า ย เ พิ่ ม ประวัติผู้เขียน นายไกรวีร์ ลิ้มชัยกิจ ความปลอดภั ย โดยการเข้ า รหั ส ข้ อ มู ล ที่ ต ้ อ งการจะส่ ง การศึ ก ษา : วศ.บ. (วิ ศ วกรรม หรือเก็บ ตรวจสอบความถูกต้องของเครือข่ายที่เชื่อมต่อ คอมพิ ว เตอร์ ) สถาบั น เทคโนโลยี แม้แต่การแจ้งผู้ให้บริการตรวจสอบเมื่อพบสิ่งที่น่าจะเป็น พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อันตราย ปัจจุบัน : วิศวกร 6 บริษัท แคท เทเลคอม จ�ำกัด • ตรวจสอบการแจ้ ง จากผู ้ ผ ลิ ต อย่ า งสม�่ ำ เสมอ รายละเอียด Patch ทีท่ างผูพ้ ฒ ั นาได้ทำ� การแก้ไข เปลีย่ นค่า Default Setting ที่มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ • ใช้งานอย่างระมัดระวัง อย่าเชื่อทุกอย่างโดย ไม่ได้ตรวจสอบ อย่าให้สิทธิในการใช้งานให้แก่บุคคลอื่น

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

44


Communication Engineering & Computer ไฟฟ้าสื่อสารและคอมพิวเตอร์ นายวิษณุ เหลืองอร่าม และนายธีวุฒิ ศรีสุวรรณ

การวิเคราะห์สาเหตุการช�ำรุดของสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง (กรณีศึกษาในพื้นที่การไฟฟ้าเขตเพชรบุรี) บทน�ำ

สายเคเบิ ล ใยแก้ ว น� ำ แสง ในพื้ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบของการไฟฟ้ า ส่วนภูมิภาค (PEA) เขตเพชรบุรีนั้น มีด้วยกัน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด ราชบุร,ี จังหวัดสมุทรสงคราม, จังหวัด เพชรบุ รี , จั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ , จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 1,544 กิโลเมตร (เนือ่ งจากผูเ้ ขียนปฏิบตั งิ าน อยูท่ กี่ ารไฟฟ้าเขตเพชรบุรจี งึ ขอกล่าว ถึ ง เฉพาะในพื้ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบ) โดย ในองค์กรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เองนั้นมีการใช้ระบบงานต่าง ๆ ผ่าน ช่องทางสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง เช่น ระบบเครือข่าย (NETWORK), ระบบ โทรศั พ ท์ , ระบบควบคุ ม การจ่ า ย ไฟฟ้าอัตโนมัติ (SCADA), ระบบ IP Multimedia Subsystem ฯลฯ ในกรณีทเี่ กิดการช�ำรุดของสายเคเบิล ใยแก้วน�ำแสงจะมีผลให้ระบบต่าง ๆ ข้างต้นไม่สามารถใช้งานได้ ท�ำให้เกิด ผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบ ส่ ง จ่ า ยไฟฟ้ า นอกจากการใช้ ง าน ภายในองค์ ก รเองแล้ ว การไฟฟ้ า ส่วนภูมิภาคยังจัดสรรให้หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเช่าใช้งาน สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง โดยทาง PEA ได้ท�ำข้อตกลงกับหน่วยงานภายนอก ที่ เ ช่ า ใช้ ง านกรณี ส ายเคเบิ ล ใยแก้ ว น�ำแสงช�ำรุดว่า ต้องซ่อมแซมให้ใช้ งานได้ภายในเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง

หากเกิน 4 ชัว่ โมง หน่วยงานภายนอกสามารถเรียกร้องเงินค่าปรับจากการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคได้ บทความนี้น�ำเสนอการวิเคราะห์สาเหตุการช�ำรุดของสายเคเบิลใยแก้ว น�ำแสงในพื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้าเขตเพชรบุรี โดยกล่าวถึงชนิดของ สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง มาตรฐานการติดตั้ง สาเหตุการช�ำรุด และสรุป แนวทางการป้องกันการช�ำรุดของสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง เพื่อให้ระบบงาน ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรมีเสถียรภาพและความมั่นคง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ชนิ ด ของสายเคเบิ ล ใยแก้ ว น� ำ แสงที่ ใ ช้ ง านในการไฟฟ้ า ส่วนภูมิภาคเขตเพชรบุรี 1. สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงชนิด ADSS

รูปที่ 1 สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงชนิด ADSS

ADSS cable : ย่อมาจากค�ำว่า All Dielectric Self Supporting cable เป็นเคเบิลฯ ที่ไม่มีโลหะหรือว่าตัวน�ำทางไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นสาย ที่ใช้ในการติดตั้งส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่การไฟฟ้าเขตเพชรบุรี 2. สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงชนิด Figure 8

รูปที่ 2 สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงชนิด Figure 8 มีนาคม - เมษายน 2556

45


Figure 8 cable เป็นเคเบิลฯ ทีม่ รี ปู ร่างคล้ายเลข 8 เนือ่ งจากประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนทีห่ นึง่ เป็นเส้นลวดเหล็ก อีกส่วนหนึ่งเป็นเส้นแก้วน�ำแสงที่หุ้มด้วย Wrapping Tape โดยทั้ง 2 ส่วนจะถูกหุ้มและเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดย Polyethylene Sheath

มาตรฐานการติดตั้งเคเบิลใยแก้วน�ำแสง ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค Medium Voltage Line 22 KV > 1.3 เมตร Figure-8 Cable Low Voltage Line 220 V

~ 0.4 เมตร

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ~ 8 เมตร จากระดับพื้นดิน

รูปที่ 3 ระยะติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงของ PEA

การติ ด ตั้ ง สายเคเบิ ล ใยแก้ ว น� ำ แสงจะติ ด ตั้ ง บนเสาในระบบ จ�ำหน่ายสูงจากระดับพื้น 8 เมตร อยู่เหนือแนวสายส่งไฟฟ้า 220 V และอยู่ใต้แนวสายส่งไฟฟ้า 22 KV มากกว่า 1.3 เมตร ในการก่อสร้าง ครั้งแรกมีการติดตั้งสายเคเบิลใยแก้ว น�ำแสงยาว 4,000 เมตร โดยใน แนวติ ด ตั้ งทางตรงก� ำ หนดให้ติดตั้ง สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงกับอุปกรณ์ Suspension Clamp ส่วนในทางโค้ง หรื อ มุ ม ก� ำ หนดให้ติดตั้งสายเคเบิล ใยแก้วน�ำแสงกับอุปกรณ์ Preformed และได้ก�ำหนดให้ Loop สายเคเบิล ใยแก้ ว น� ำ แสง 40 เมตร ที่ ร ะยะ 2,000 เมตร การต่อสายก�ำหนดให้ตอ่

46

สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงโดยวิธี Fusion Splice ในอุปกรณ์ Splice Enclosure Dome ซึ่งติดตั้งในระบบจ�ำหน่าย และการติดตั้งในอาคารให้ติดตั้งสายเคเบิล ใยแก้วน�ำแสงในอุปกรณ์ ODF (Optical Fiber Distribution Frame) เพื่อรองรับการใช้งาน

สาเหตุและสถิตกิ ารช�ำรุดของสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงในพืน้ ที่ การไฟฟ้าเขตเพชรบุรี

การติดตั้งเคเบิลใยแก้วน�ำแสงของ PEA นั้นจะติดตั้งในระบบจ�ำหน่าย 22 KV หรือ 115 KV ของ PEA เอง ซึ่งในบางพื้นที่จะอยู่ใกล้กับถนนหรือ ในบางพื้นที่จะอยู่ในแนวป่าเขาที่มีต้นไม้หนาแน่น และจากการตรวจสอบสถิติ การช�ำรุดของสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554–สิงหาคม 2555 รวมระยะเวลา 20 เดือนที่ผ่านมา พบว่า สาเหตุการช�ำรุดของ สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง (ข้อมูลจากโครงการจ้างซ่อมแซมสายเคเบิลใยแก้ว น�ำแสง www.utel.co.th/pea) ในพื้นที่การไฟฟ้าเขตเพชรบุรีนั้นจะมีอยู่ ด้วยกัน 4 สาเหตุหลัก ซึ่งจะสามารถสรุปสถิติ จ�ำนวนครั้งของการช�ำรุดใน แต่ละสาเหตุ และจุดที่เกิดการช�ำรุดบ่อยในแต่ละพื้นที่ ได้ดังนี้


1. สาเหตุจากสัตว์กัดแทะ เกิดเหตุการณ์ช�ำรุดขึ้น จ�ำนวน 90 ครั้ง โดยแบ่งจ�ำนวนเหตุการณ์ในแต่ละจังหวัด ดังนี้ 1.1 พื้นที่จังหวัดราชบุรี จ�ำนวน 9 ครั้ง 1.2 พื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม จ�ำนวน 7 ครั้ง 1.3 พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จ�ำนวน 5 ครั้ง 1.4 พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จ�ำนวน 21 ครั้ง 1.5 พื้นที่จังหวัดชุมพร จ�ำนวน 26 ครั้ง 1.6 พื้นที่จังหวัดระนอง จ�ำนวน 22 ครั้ง 2. อุบตั เิ หตุรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า เกิดเหตุการณ์ชำ� รุดขึน้ จ�ำนวน 10 ครัง้ 2.1 พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จ�ำนวน 4 ครั้ง 2.2 พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จ�ำนวน 3 ครั้ง 2.3 พื้นที่จังหวัดชุมพร จ�ำนวน 2 ครั้ง 2.4 พื้นที่จังหวัดระนอง จ�ำนวน 1 ครั้ง 3. ความประมาทจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ในระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้า 3.1 เกิดเหตุการณ์ช�ำรุดขึ้น จ�ำนวน 23 ครั้ง 3.2 พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จ�ำนวน 5 ครั้ง 3.3 พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จ�ำนวน 7 ครั้ง 3.4 พื้นที่จังหวัดชุมพร จ�ำนวน 6 ครั้ง 3.5 พื้นที่จังหวัดระนอง จ�ำนวน 5 ครั้ง 4. ภัยธรรมชาติ (ลมพายุ, ไฟป่า) เกิดเหตุการณ์ช�ำรุดขึ้น จ�ำนวน 16 ครั้ง 4.1 พื้นที่จังหวัดราชบุรี จ�ำนวน 2 ครั้ง 4.2 พื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม จ�ำนวน 2 ครั้ง 4.3 พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จ�ำนวน 2 ครั้ง 4.4 พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จ�ำนวน 1 ครั้ง 4.5 พื้นที่จังหวัดชุมพร จ�ำนวน 6 ครั้ง 4.6 พื้นที่จังหวัดระนอง จ�ำนวน 3 ครั้ง

มากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง ซึ่ง ทั้ง 3 จังหวัดนี้มีลักษณะพื้นที่เป็น แนวป่าเขา มีต้นไม้หนาแน่น และมี การท�ำไร่มะพร้าว ท�ำให้มีกระรอก ชุกชุม จากสาเหตุนี้ทางทีมงานของ การไฟฟ้ า เขตเพชรบุ รี ไ ด้ วิ เ คราะห์ แนวทางแก้ ไ ขปั ญ หาออกเป็ น 2 แนวทาง คือ (ก) การเปลี่ยนชนิดของสาย เคเบิลใยแก้วน�ำแสงให้เป็นแบบชนิด Figure 8 และ (ข) การตัดต้นไม้ตลอดแนว สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงให้ระยะห่าง ระหว่างต้นไม้กับสายเกิน 1 เมตร จากการวิเคราะห์ความเป็นไป ได้ของแนวทางแก้ไขโดยการเปลี่ยน ชนิ ด ของสายเคเบิ ล ใยแก้ ว น� ำ แสง จะพบว่า มีการลงทุนที่สูงมากและ เป็ น การแก้ ไ ขที่ ป ลายเหตุ อี ก ทั้ ง มาตรฐานการพาดสายเคเบิลใยแก้ว น�ำแสงของ PEA จะอยู่ใกล้ระบบ จ�ำหน่ายไฟฟ้า 22 KV ซึ่งสายชนิด Figure 8 จะมีโลหะเป็นส่วนประกอบ ท� ำ ให้ มี ค วามเสี่ ย งต่ อ อั น ตรายใน การปฏิ บั ติ ง าน จึ ง ท� ำ การแก้ ไ ขใน แนวทางที่ (ข) คือการตัดต้นไม้ให้พน้ จากแนวสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง โดย จะท�ำการตัดต้นไม้ทกุ พืน้ ทีไ่ ตรมาสละ 1 ครั้ง และในส่วนของพื้นที่คาบเกี่ยว กั บ ไร่ ส วนของชาวบ้ า นก็ จ ะได้ มี ก า ร ท� ำ ห นั ง สื อ ข อ อ นุ ญ า ต เ พื่ อ ด�ำเนินการตัดต้นไม้ให้พ้นจากแนว สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง 2. การช� ำ รุ ด จากสาเหตุ อุบัติเหตุรถยนต์ชนเสาไฟฟ้าเกิดขึ้น จ�ำนวน 10 ครั้ง จากทั้งหมด 139 ครั้ง คิดเป็น 7.2 เปอร์เซ็นต์ของ จ�ำนวนการช�ำรุดทัง้ หมด ในการช�ำรุด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ การวิเคราะห์และแนวทางแก้ไข

จากสาเหตุและสถิติการช�ำรุดของสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงในหัวข้อ ก่อนหน้านี้จะเห็นจากสถิติได้ว่า สาเหตุการเกิดช�ำรุดในกรณีของสัตว์กัดแทะ นั้นมีความถี่การช�ำรุดมากที่สุดในทั้ง 4 หัวข้อ จากข้อมูลการช�ำรุดตั้งแต่เดือน มกราคม 2554–สิงหาคม 2555 รวมระยะเวลา 20 เดือน สามารถน�ำข้อมูล มาใช้วิเคราะห์ในแต่ละสาเหตุและหาแนวทางแก้ไขได้ดังนี้ 1. การช�ำรุดจากสาเหตุของสัตว์กัดแทะ เกิดขึ้นจ�ำนวน 90 ครั้ง จาก ทั้งหมด 139 ครั้ง คิดเป็น 65 เปอร์เซ็นต์ของจ�ำนวนการช�ำรุดทั้งหมด ซึ่งเป็น สาเหตุของการช�ำรุดที่มากที่สุดในทุกเหตุการณ์ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยได้ 4.5 ครั้ง/เดือน และจะเห็นได้ว่าพื้นที่ของจังหวัดที่เกิดเหตุการณ์จากสัตว์กัดแทะ

มีนาคม - เมษายน 2556

47


ของสาเหตุจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ นี้เกิดจากความประมาทและความไม่ ระมัดระวังในการขับขีย่ านพาหนะของ ผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป ซึ่งการแก้ไขใน สาเหตุนสี้ ามารถท�ำได้เพียงการติดตัง้ ไฟสัญญาณ (สีเหลืองกะพริบ) ตาม ทางโค้ ง หรื อ ในพื้ น ที่ ที่ เ สาไฟฟ้ า อยู ่ ใกล้กับถนน (1-3 เมตร) เพื่อเตือน ผู้ขับขี่ยานพาหนะให้มีสติในการใช้ ยานพาหนะ 3. การช� ำ รุ ด จากสาเหตุ ค ว า ม ป ร ะ ม า ท จ า ก บุ ค ค ล ห รื อ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องในการปฏิบตั งิ าน ในระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้า เกิดขึน้ จ�ำนวน 23 ครัง้ จากทัง้ หมด 139 ครัง้ คิดเป็น 16.5 เปอร์เซ็นต์ของการช�ำรุดทัง้ หมด โดยการช� ำ รุ ด จากสาเหตุ นี้ เ กิ ด จาก ความประมาทหรื อ ความรู ้ เ ท่ า ไม่ ถึ ง การณ์ ข องผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านในระบบ จ�ำหน่ายไฟฟ้า อาทิ การขึ้นเหยียบ สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงเพื่อพาดสาย ไฟฟ้ า หรื อ ความไม่ ร ะมั ด ระวั ง ใน การตัดต้นไม้ทำ� ให้ถกู สายเคเบิลใยแก้ว น�ำแสงช�ำรุด การช� ำ รุ ด ชนิ ด นี้ ท างที ม งาน ของการไฟฟ้ า เขตเพชรบุ รี ไ ด้ ว าง แนวทางการแก้ไขไว้ 2 แนวทาง คือ (ก) จั ด การฝึ ก อบรมวิ ธี การปฏิบัติงานกับสายเคเบิลใยแก้ว น�ำแสงให้แก่ผู้เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงาน ในระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้า และ (ข) การออกกฎเกณฑ์เรียก ค่ า ปรั บ จากผู ้ ที่ ท� ำ ความเสี ย หาย กับเคเบิลใยแก้วน�ำแสง เพื่อให้ผู้ที่ ปฏิบัติงานในระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้ามี ความระมัดระวังในการปฏิบตั งิ านและ ลดความเสียหายจากการช�ำรุดของ สายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง

4. การช�ำรุดจากสาเหตุภัยธรรมชาติ เกิดขึ้นจ�ำนวน 16 ครั้ง จาก ทั้งหมด 139 ครั้ง คิดเป็น 11.5 เปอร์เซ็นต์ของการช�ำรุดทั้งหมด การช�ำรุด ที่เกิดจากสาเหตุภัยธรรมชาติ เช่น ลมพายุ, ไฟป่า, สึนามิ หรือแผ่นดินไหว ฯลฯ ทัง้ หลายเหล่านีเ้ ป็นเหตุการณ์ทไี่ ม่สามารถคาดการณ์และป้องกันได้ ท�ำได้ เพียงเตรียมพร้อมรับมือในการแก้ไขให้เคเบิลใยแก้วน�ำแสงที่ช�ำรุดกลับคืนสู่ สภาพเดิมให้เร็วที่สุด

บทสรุป

การช�ำรุดของสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงนัน้ มีสาเหตุหลักจากสัตว์กดั แทะ, อุบัติเหตุทางรถยนต์, ความประมาทจากการปฏิบัติงาน และภัยธรรมชาติ การวิเคราะห์สาเหตุของการช�ำรุดของสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงจากข้อมูลทีเ่ ก็บ ในระยะเวลา 20 เดือน สามารถน�ำมาเป็นแนวทางในการป้องกันเพือ่ ลดจ�ำนวน ครั้งของการเสียหายได้ ทั้งนี้เพื่อให้การใช้งานระบบเคเบิลใยแก้วน�ำแสงของ ทั้งหน่วยงานภายในของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเอง หรือหน่วยงานภายนอกที่ เช่าใช้งานสามารถใช้งานสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

48

เอกสารอ้างอิง 1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, กองออกแบบและบริการ. มาตรฐานการติดตั้งสายเคเบิล ใยแก้วน�ำแสงในระบบจ�ำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. ผู้กำ� หนดมาตรฐาน. 2. ข้อมูลการช�ำรุดของสายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง เขต กฟต.1. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2555, จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ส�ำนักงานเขตเพชรบุรี เว็บไซต์: http://www.utel. co.th/pea ประวัติผู้เขียน

ประวัติผู้เขียน

นายวิษณุ เหลืองอร่าม การศึกษา : ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะ วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ปัจจุบัน : ท�ำงานในต�ำแหน่ง วิศวกร ระดับ 6 แผนกระบบ สื่อสาร กองควบคุมและบ�ำรุงรักษา ฝ่ายปฏิบัติการเครือข่าย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 ภาคใต้ จังหวัดเพชรบุรี อีเมล : oanpeas1@hotmail.com

นายธีวุฒิ ศรีสุวรรณ การศึ ก ษา : ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี จ าก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปัจจุบัน : ท�ำงานในต�ำแหน่ง วิศวกร ระดับ 6 แผนกระบบ สื่อสาร กองควบคุมและบ�ำรุงรักษา ฝ่ายปฏิบัติการเครือข่าย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 ภาคใต้ จังหวัดเพชรบุรี


Technology & Innovation เทคโนโลยีและนวัตกรรม ธีรศักดิ์ ศรีสุวรรณ์ และ มิติ รุจานุรักษ์

การตรวจจับควันด้วยกล้องวงจรปิด บทน�ำ

ในไฟฟ้าสารเมือ่ เดือน พ.ย.-ธ.ค. ที่ผ่านมา เราได้น�ำเสนอการประยุกต์ วิทัศน์คอมพิวเตอร์กับกล้องวงจรปิด เพื่อตรวจจับไฟไปแล้ว ในคราวนี้ก็ จะน�ำเสนอกระบวนการที่เกี่ยวเนื่อง คือการตรวจจับควันไฟผ่านทางกล้อง วงจรปิด กล่าวคือ หากกรณีที่จุดเกิด ไฟอยู ่ น อกเหนื อ มุ ม มองของกล้ อ ง วงจรปิดจะไม่สามารถตรวจจับเปลวไฟ ได้ ซึง่ ในกรณีดงั กล่าวสามารถบอกว่า เกิดเพลิงไหม้ได้จากควัน การใช้ ค อมพิ ว เตอร์ ต รวจหา ควันได้โดยอัตโนมัติ อาศัยหลักการ ของการประมวลผลภาพ การประมวล ผลภาพพิจารณาแต่ละจุดในภาพเป็น ค่าดิจทิ ลั ผสมกัน ค่าดิจทิ ลั พืน้ ฐานทีใ่ ช้ คือ สีแดง สีเขียว และสีนำ�้ เงิน ด้วยค่าสี เหล่านี้จะสามารถด�ำเนินการต่าง ๆ ได้ เช่ น แยกพื้นที่ที่มีสีคล้ายคลึง กั บ ควั น แล้ ว ตรวจสอบพื้ น ผิ ว และ การเปลีย่ นแปลงรูปร่าง การตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของควันจะ ต่างจากไฟ คือขณะที่ไฟตรวจสอบ การกะพริบ ส�ำหรับควันจะตรวจสอบ พื้นผิวและการเคลื่อนที่แทน

ขั้นตอนวิธี

การตรวจจับควันเริ่มจากตัดค่าสีควัน พิจารณาพื้นผิว และพิจารณา การเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ทั้งนี้เทคนิคเหล่านี้แตกต่างไปจากการตรวจจับ เปลวไฟ เพราะควันมีกระจายตัว/การเคลื่อนตัวต่างจากเปลวไฟ ซึ่งขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายอย่าง เช่น ทิศทางการไหลของลม และสีของควันก็ไม่คงทีข่ นึ้ อยูก่ บั ชนิดของเชื้อเพลิงว่าเป็นชนิดแบบไหน ถ้าเชื้อเพลิงมีส่วนผสมของยาง, น�้ำมัน หรือพลาสติกก็จะมีควันค่อนข้างเป็นสีด�ำ และถ้าเชื้อเพลิงเป็นพวกไม้หรือ เศษกระดาษก็จะมีสีค่อนข้างเป็นสีเทา ฯลฯ ในการตัดค่าสีควันทางคณะได้ทำ� การทดสอบ 2 แบบหลัก 3 แบบย่อย 2 แบบหลักคือแบบใช้ภาพพื้นหลังประกอบและไม่ใช้พื้นหลัง ส่วนแบบย่อยที่ เพิ่มมาอีกหนึ่งคือใช้เทรสโฮลด์ที่ต่างกันกรณีใช้ภาพพื้นหลัง ในกรณีใช้ภาพพืน้ หลัง การตัดค่าสีเป็นการหาช่วงทีเ่ หมาะสมในการหา ข้อมูลสีที่มีลักษณะคล้ายควันระหว่างภาพปัจจุบันและภาพพื้นหลัง ซึ่งสีของ ควันจะขึ้นกับชนิดของเชื้อเพลิงหรืออุณหภูมิของควันในขณะนั้น ๆ ถ้าสีของ ควันเป็นสีขาวเบลอ (White-bluish) จะขึ้นกับเชื้อเพลิงที่เป็นกระดาษหรือไม้ หรืออุณหภูมิของควันในขณะนั้นค่อนข้างต�่ำ แต่ถ้าสีของควันมีลักษณะเป็น สีเทาเข้ม (Black-grayish) จะขึน้ กับเชือ้ เพลิงทีเ่ ป็นน�ำ้ มัน หรืออุณหภูมขิ องควัน มีคา่ สูง โดยค่าความถูกต้องจะขึน้ กับโมเดลสีทเี่ ลือกใช้และการก�ำหนดช่วงของ ข้อมูลสีทเี่ หมาะสม ซึง่ โมเดลสีทมี่ คี า่ ความถูกต้องสูงคือ แบบย่อยทีห่ นึง่ โมเดล สี HSL และแบบย่อยที่สองโมเดลสี YCrCb

ร า ส า ้ ฟ ไฟ (1)

(2) ส่วนแบบหลักที่สอง ซึ่งไม่ใช้ภาพพื้นหลังในการน�ำมาเกี่ยวข้องกับ การประมวลผล แต่จะใช้หลักการของการแบ่งช่วงค่าสีโดยก�ำหนดค่าเทรสโฮลด์ เป็นส�ำคัญในการก�ำหนดระยะของการเกิดควัน โดยก�ำหนดค่าเทรสโฮลด์จากกฎ Chrominance detection ท�ำได้โดยการพิจารณาค่าจุดพิกเซลจุดต่อจุด โดยมี ขั้นตอนตามกระบวนการดังนี้

มีนาคม - เมษายน 2556

49


กระบวนการคือน�ำภาพมาแบ่ง เป็นบล็อกขนาด 16 X 16 พิกเซล แล้ว น�ำแต่ละบล็อกมาท�ำการเปรียบเทียบ ในกฎ Chrominance detection เพื่อ ตรวจสอบหาบล็อกที่สงสัยว่ามีควัน โดยจะมี ก ารก� ำ หนดช่ ว งสี ข องควั น จาก White-bluish ถึง White หรือ เมื่ อ อุ ณ หภู มิ ข องควั น ต�่ ำ ลงจะมี สี ของควั น ในช่ ว งสี ด� ำ อมเทาถึ ง สี ด� ำ โดยการก�ำหนดค่าเทรสโฮลด์ของควัน ออกเป็ น 3 ข้ อ โดยต้ อ งตั ด สิ น ประกอบกัน ข้อที่หนึ่ง ดูว่าแต่ละ พิ ก เซลมี ค วามเป็ น สี เ ทามากขนาด ไหน ซึง่ พิจารณาจากค่าสูงสุดระหว่าง RGB ลบกับค่าต�่ำสุดระหว่าง RGB (สีเทามีคา่ RGB ใกล้เคียงกัน) ข้อทีส่ อง ดูว่าความสว่างของพิกเซลอยู่ในช่วงที่ ก�ำหนดหรือไม่ และข้อที่สาม ในบาง กรณีสีของควันอาจเป็นสี White-blue ดั ง นั้ น จึ ง น� ำ ค่ า ของสี น�้ ำ เงิ น (B) ในบล็อกมาเป็นส่วนประกอบที่ส�ำคัญ ในการตัดสินด้วย คือจะต้องให้มีค่า มากกว่าสีอื่นในบล็อกโดยเขียนกฎ Chrominance detection เป็น C min = min (R, G, B) C max = max (R, G, B) I = (R, G, B)/3 Rule 1 : |C max – C min | < T1 Rule 2 : T2 < I < T3 Rule 3 : C max = B AND |C max – C min |< T4 If (Rule 1 AND Rule 2) OR (Rule 3 AND Rule 2) Smoke pixel

ในกฎข้างต้นนี้ Rule 1 : หมายถึง ลักษณะของ Grayish Color ของควัน และ Rule 2 : หมายถึง การก�ำหนดช่วงการอิ่มตัวของ Intensity variation และ Rule 3 : หมายถึง การก�ำหนดให้ Smoke pixel เป็น White-bluish และ T4 อาจต้องก�ำหนดให้มากกว่าค่า T1 โดยก�ำหนดค่าเทรสโฮลด์ T1 = 50, T2 = 120, T3 = 240, T4 = 58 แล้วท�ำการทดลองตามกระบวนการนีท้ ลี ะบล็อก พิกเซลต่อพิกเซลแล้วดูบล็อกภาพที่กฎ Chrominance detection ตรวจเจอ ถ้ามีมากกว่า 50% ของบล็อก ให้ถือว่าบล็อกภาพนั้นมีพื้นที่ที่สงสัยว่ามีควัน อยูภ่ ายในบล็อก บล็อกภาพไหนทีต่ รวจเจอน้อยไม่ถงึ 50% ของบล็อก ก็ถอื ว่า บล็อกภาพนัน้ ไม่มคี วัน จะท�ำการกระโดดข้ามไปยังบล็อกถัดไปท�ำการตรวจหา ตามกระบวนการนี้ทุก ๆ บล็อกภายในภาพ บล็อกภาพที่กฎ Chrominance detection ตรวจเจอตามที่ก�ำหนดเงื่อนไขก็จะเอาไปประมวลผลในขั้นตอน ถัดไป ดังแสดงในรูปที่ 1

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

50

รูปที่ 1 ผลการใช้ Chrominance detection แสดงเป็นสีเหลือง ส่วนบล็อกที่มี จ�ำนวนจุดสีเหลืองมากกว่าร้อยละ 50 แสดงเป็นสีแดง

ขั้นต่อไปคือการวิเคราะห์พื้นผิว การวิเคราะห์พื้นผิวนี้จะอาศัยฟีเจอร์ สองตัวที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน คือ Homogeneity ของ Gray Level Co-occurrence Matrices (GLCM) ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นเนื้อเดียวกัน ของแต่ละบล็อกภาพของพื้นผิว และบล็อกภาพของพลังงานของเวฟเล็ตที่ เล็กลงครึ่งหนึ่งจากการประมวลผลจากในส่วนแรกซึ่งบ่งชี้ถึงจ�ำนวนของขอบ ขนาดเล็กในภาพ ขอกล่าวถึงตัวแรกก่อน GLCM จะมีวิธีการหาขึ้นอยู่กับทิศทางดังรูป ต่อไปนี้ กล่าวคร่าว ๆ คือหาใน 4 ทิศทางของดังรูปด้านล่าง โดยขั้นแรก ท�ำได้โดยการน�ำภาพ RGB ที่ผ่านขั้นตอนแรกเข้ามาแล้วแปลงเป็นภาพ Gray scale แล้วท�ำการควอนไตซ์ค่าระดับสีเทาให้อยู่ในช่วงที่กำ� หนดเพื่อ Matrices ของ GLCM ที่หามามีความละเอียดของลวดลายที่เล็กลง คือในที่นี้จะท�ำ การควอนไตซ์จาก 0-255 ลงมาในเป็น 0-15 จะท�ำให้ได้ลวดลายของภาพ มีแค่ 16 ลวดลายแล้วสามารถท�ำให้ GLCM ลดขนาดลงเป็น 16 X 16 เพื่อ ให้ง่ายต่อการค�ำนวณ แล้วน�ำค่า GLCM มาหาค่าในทิศทางทั้ง 4 ทิศทาง คือ 0 องศา, 45 องศา, 90 องศา และ 135 องศา โดยการแบ่งช่วงสี 16 ระดับ สีเทา จาก 0–15 แสดงดังกระบวนการนี้


กระบวนการจะกระท�ำเฉพาะบล็อกที่ผ่านเงื่อนไข Chrominance detection ในปริมาณ 50% ของบล็อกตาม ขั้นตอนแรก โดยหนึ่งบล็อกจะมี 4 ค่าของแต่ละทิศทาง จากการค�ำนวณของสมการ Homogeneity ฟีเจอร์พื้นผิวแบบที่สองคือพลังงานของเวฟเล็ต เป็นการน�ำภาพต้นฉบับมาผ่านตัวกรอง High pass filter และ Low pass filter แล้ว Down sampling ลง 2 เท่า ในแนวของ Column จากนั้นก็เอาภาพที่ได้จากส่วนของ High pass filter มาผ่านตัวกรองในชั้นที่สองคือ High pass filter และ Low pass filter เหมือนเดิมแล้วท�ำการ Down sampling ลง 2 เท่าในแนวของ Row อีกครั้ง ก็จะได้เอาต์พุตออกมาสองรูปคือ รูป HH และรูป HL จากนัน้ ก็ทำ� ซ�ำ้ กับเอาต์พตุ ทีไ่ ด้จาก Low pass filter ในส่วน แรกมาผ่านตัวกรองในชั้นที่สองคือ High pass filter และ รูปที่ 2 สี่ทิศทางของ GLCM Low pass filter เหมือนเดิมแล้วท�ำการ Down sampling ลง 2 เท่าในแนวของ Row อีกครั้ง ก็จะได้เอาต์พุตอีกสอง จากนั้นก็น�ำเอาค่าของ GLCM ทั้ง 4 ทิศทาง คือ รูปออกมาคือ รูป LH และรูป LL โดยกระบวนการคร่าว ๆ 0 องศา, 45 องศา, 90 องศา และ 135 องศา มาหา ของเวฟเล็ตแสดงดังรูป ค่าความเป็นเนื้อเดียวกันของภาพ หรือ Homogeneity โดยสมการนี้ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าใช้แยกภาพ Smoke และ Non-Smoke ได้ดีที่สุด ช่วงความสว่าง 0–15 è 0 ช่วงความสว่าง 16–31 è 1 ช่วงความสว่าง 32–47 è 2 ... ช่วงความสว่าง 240–256 è 15 Note : การแบ่งช่วงสีสามารถท�ำได้มากกว่า 16 ระดับ ตามความละเอียดของลวดลาย

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

(3)

กระบวนการค�ำนวณค่าความเป็นเนื้อเดียวกันของ สมการ Homogeneity

รูปที่ 4 การแปลเวฟเล็ตสองมิติ

การหาขอบด้วยวิธีเวฟเล็ต ก็คือจะเป็นการแยก องค์ประกอบทางความถีอ่ อกเป็นองค์ประกอบทางความถีต่ ำ�่ (Approximation) และองค์ประกอบทางความถีส่ งู (Detail) ซึง่ องค์ประกอบทางความถีส่ งู ของภาพจะแสดงถึงขอบของ วัตถุในภาพนั่นเอง

รูปที่ 3 หน้าต่างการหาค่าความเป็นเนื้อเดียวกันของ บล็อกภาพ 16 x 16 พิกเซล รูปที่ 5 ขอบจากการแปลงเวฟเล็ตในระดับ 1 มีนาคม - เมษายน 2556

51


จากนั้นเมื่อต้องการหาค่าพลังงานของภาพที่ท�ำ การแปลงภาพผ่านเวฟเล็ตแล้วก็จะได้องค์ประกอบทาง ความถี่สูงออกมา 3 ภาพ จากนั้นน�ำทั้ง 3 ภาพทางด้าน ความถี่สูง HH, HL, LH มาค�ำนวณหาพลังงานของ เวฟเล็ตโดยการน�ำภาพ HH, HL, LH มาแบ่งเป็นบล็อกขนาด 8 X 8 พิกเซล โดยเล็กลงครึ่งหนึ่งจากกระบวนการแรก เพราะในทฤษฎีของเวฟเล็ต ภาพทีผ่ า่ นกระบวนการเข้ามา จะมีขนาดลดลงครึง่ หนึง่ ทัง้ นีจ้ ะท�ำการหาค่าเฉพาะบล็อก ที่สงสัยว่ามีควันตามกฎ Chrominance detection โดยหา ค่าพลังงานของแต่ละบล็อกภาพในทั้ง 3 ภาพ HH, HL, LH มาสอนปัญญาประดิษฐ์รวมกับค่าอื่นในกระบวนการ ก่อนหน้า ฟีเจอร์สุดท้ายคือการดูการเคลื่อนที่ของกลุ่มจุด สีเทาในภาพว่าเคลื่อนไปในทิศใด โดยได้ท�ำการทดลอง และวิจัยจากการน�ำภาพของระหว่างสองเฟรมต่อเนื่องมา ท�ำการลบกันที่เวลา t และ t - ∆t แล้วหาความแตกต่าง ที่เกิดขึ้นหลังจากการก�ำหนดค่าเทรสโฮลด์ Td ก็จะได้ ส่วนที่มีการเคลื่อนไหวของภาพที่ต้องการออกมา (จะหา การเคลือ่ นทีเ่ ฉพาะส่วนทีม่ กี ารเคลือ่ นไหวนี)้ โดยเทรสโฮลด์ เป็นไปตามสมการด้านล่างนี้

จากนั้ น น� ำ พิ ก เซลมาเปรี ย บเที ย บกั น เพื่ อ หา การเคลือ่ นทีไ่ ปในแต่ละบล็อกภาพจาก 8 ทิศทาง โดยดูวา่ พิกเซลใดในทิศทางต่าง ๆ ตามภาพในอดีตมีความแตกต่าง กับพิกเซลตามภาพปัจจุบันน้อยที่สุด (Minimum error) ทั้งสองพิกเซลนี้จะถูกพิจารณาเป็นพิกเซลเดียวกัน และ เมื่ อ พิ จ ารณาถึ ง ทิ ศ ของการเคลื่ อ นไหวจริ ง กั บ ทิ ศ ของ Minimum error จะมีทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน ท�ำให้ต้อง ท�ำการ Mod ทิศทางของ Minimum error ไปอีก 4 ทิศทาง ดังสมการ

(5)

เมื่อท�ำตามกระบวนการด้านบนก็จะได้ลูกศรที่จะ แสดงถึงทิศทางของหัวลูกศรที่จะหันไปหาทิศทางจริงของ ทิศทางการเคลือ่ นทีข่ องภาพสองเฟรมต่อเนือ่ งเสมอ แสดง ถึงการเคลื่อนที่ของพิกเซล ดังรูปถัดไป

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

(4)

โดยที่ Td เป็นค่าเทรสโฮลด์ที่ตั้งไว้เพื่อพิจารณา จะดู Pixel ความแตกต่างของขนาดของภาพ d(x, y, t) ที่มากกว่าค่า Td ซึ่งให้มีค่าเป็น “1” ให้พิจารณาว่าเป็น วัตถุที่มีการเคลื่อนที่ในภาพ ทิ ศ ทางการเคลื่ อ นไหวได้ มี ก ารก� ำ หนดเป็ น 8 ทิศทางโดยการใช้โค้ดเป็นตัวเลข 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 แล้วท�ำการค้นหาพิกเซลในแนว 0, 45, 90, 135, 180, 235, 270, 315 องศา ดังรูปด้านล่างนี้

รูปที่ 7 ผลของการเคลื่อนที่ของแต่ละบล็อก แสดงเป็นหัวลูกศรของภาพควัน

รูปที่ 8 ผลของการเคลื่อนที่ของแต่ละบล็อก แสดงเป็นหัวลูกศรของภาพคน

รูปที่ 6 ทิศทางการเคลื่อนที่ที่เป็นไปได้

52

ผลจากการทีไ่ ด้ศกึ ษาและวิจยั มาในบทความหลาย ๆ บทความทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ ก็ได้รถู้ งึ การเคลือ่ นทีท่ แี่ ตกต่าง กันของภาพควันว่าทิศทางของการเคลื่อนที่จะมีทิศทาง


ที่ค่อนข้างจ�ำกัด คือจะเคลื่อนที่ในทิศทาง 45, 90, 135 สรุป ในการตั ด ค่ า สี ค วั น พบว่ า มี ห ลายวิ ธี ทั้ ง วิ ธี ตั ด องศา เป็นส่วนใหญ่ ทีนี้จะเห็นได้ว่าหัวลูกศรมีหลายทิศ หลายศรแล้วจะท�ำอย่างไร ค�ำตอบคือใช้สมการ UMR ค่ า สี ใ นภาพปั จ จุ บั น เลย และวิ ธี ตั ด ค่ า สี เ ที ย บกั บ ภาพ ก่อนหน้า ในงานวิจยั นีไ้ ด้ทำ� การทดลองหลายแบบ แต่ไม่ได้ บ่งบอกทิศทางโดยรวมของทั้งภาพ ท�ำการเปรียบเทียบผลการตัดค่าสีควันแต่ละวิธีเทียบกัน (6) สาเหตุคือ การสร้าง Ground truth ของควันนั้นยากกว่า ไฟเนื่องจากลักษณะที่กระจายตัว เมื่อไม่มี Ground truth เมือ่ UMR เป็นอัตราส่วนระหว่างผลรวมของจ�ำนวน เราย่อมไม่สามารถเปรียบเทียบความถูกต้องของแต่ละวิธี ของบล็อกภาพทีม่ หี วั ลูกศรทีม่ ที ศิ ทาง 45, 90, 135 องศา ได้ ดังนัน้ ในส่วนของควันเราควรจะสนใจอภิปรายตัวฟีเจอร์ มากกว่าฟีเจอร์ทใี่ ช้ตรวจจับควันมีสามตัวคือ Homogeneity และผลรวมของบล็อกภาพที่มีหัวลูกศรทั้งหมด ของ GLCM, พลังงานของเวฟเล็ต และทิศทางการเคลือ่ นที่ โดยสองตัวแรกถือว่าเป็นฟีเจอร์ Local เนื่องจากสามารถ ผลการทดลอง หลังจากได้ส่วนที่ต้องสงสัยว่าเป็นควันแล้วต่อมาก็ หาได้ในแต่ละส่วนของภาพ ขณะทีต่ วั สุดท้ายถือเป็นฟีเจอร์ จะท�ำการสกัดฟีเจอร์ที่สามารถบ่งชี้ได้ดีกว่าสี ตัวแรกคือ Global เพราะเป็นการบอกว่ากลุม่ สีควันในภาพนัน้ เคลือ่ น Homogeneity ก่อนจะหา Homogeneity ก็จะท�ำการหา ไปในทิศใด จากการเปรี ย บเที ย บแยกฟี เ จอร์ ทั้ ง สามพบว่ า GLCM ของแต่ละทิศทางมาเปรียบเทียบกันทั้ง 4 ทิศทาง แล้วเอามาใช้ในสมการ Homogeneity ดังแสดงในรูป Homogeneity ของ GLCM ใช้ในการแยกควันกับวัตถุสี คล้ายควันได้ดที สี่ ดุ ทัง้ นีต้ อ้ งกล่าวด้วยว่า GLCM สามารถ ด้านล่าง ใช้หาค่าอื่นได้ด้วยนอกจาก Homogeneity แต่เราเลือกใช้ Homogeneity เนือ่ งจากค�ำแนะน�ำของผลงานวิจยั ชิน้ หนึง่ จากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งเมื่อทดสอบ แล้วก็พบว่าเป็นฟีเจอร์ที่ดีจริง ในขณะที่พลังงานของ เวฟเล็ตและทิศทางการเคลื่อนที่นั้นค่อนข้างคลุมเครือ กล่าวคือ เช่น พลังงานของเวฟเล็ตอาจเท่ากันระหว่างภาพ ควันกับภาพวัตถุใด ๆ ได้ง่าย หรือทิศทางการเคลื่อนที่ก็ รูปที่ 9 กราฟแสดงผลการทดลองการหาค่าของ GLCM อาจเท่ากันระหว่างภาพควันและภาพทีม่ วี ตั ถุใด ๆ เคลือ่ นที่ ในแนว 0 องศา ขึ้นด้านบนของภาพก็เป็นได้ ส่วนการรวมฟีเจอร์ทั้งสามของควันด้วยปัญญา ขัน้ สุดท้ายการวิเคราะห์อตั ราส่วนการเคลือ่ นทีด่ ว้ ย ประดิษฐ์นั้นเป็นงานในอนาคต ซึ่งประเด็นที่จะพยายาม สมการ UMR ของทิศทางหัวลูกศร ตอบโจทย์คือ ใช้ Homogeneity ของ GLCM ควบคู่ กับฟีเจอร์อะไรดีระหว่างพลังงานของเวฟเล็ตกับทิศทาง การเคลื่ อ นที่ หรื อ อาจใช้ ทุ ก ตั ว เลยก็ เ ป็ น ได้ รวมทั้ ง การตรวจจับควันนั้นได้ความถูกต้องร้อยละเท่าใด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 10 แสดงค่าอัตราส่วน UMR ของควันสองแบบ และวัตถุอื่นสองแบบ มีนาคม - เมษายน 2556

53


Technology & Innovation เทคโนโลยีและนวัตกรรม ดร.อรรถ พยอมหอม งานโครงข่ายอัจฉริยะ กองวิศวกรรมไฟฟ้า ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง อีเมล : attp@mea.or.th

ชุดทดสอบวัฏจักรความร้อนส�ำหรับสายเคเบิลใต้ดิน Heat Cycles Test Set for Underground Cable

บทคัดย่อ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

งานวิจัยนี้ได้ท�ำการออกแบบ และสร้างชุดทดสอบวัฏจักรความร้อน เพือ่ ใช้ในการทดสอบสายเคเบิลไฟฟ้า แรงดันสูง [1] โดยชุดทดสอบนี้ท�ำ หน้ า ที่ จ ่ า ยกระแสไฟฟ้ า ให้ แ ก่ ส าย เคเบิลในลักษณะเป็นวัฏจักร (Cycle) ซึ่งแต่ละวัฏจักรถูกแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงจ่ายกระแส (Cycle On) โดยตามมาตรฐานก�ำหนดว่าต้องให้ ความร้อนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และ ช่วงหยุดจ่ายกระแส (Cycle Off) เพือ่ ให้เย็นลงตามธรรมชาติอย่างน้อย 16 ชั่วโมง จนกระทั่งอุณหภูมิตัวน�ำ มีค่า +10 ํC ของอุณหภูมิบรรยากาศ ที่ทดสอบขณะนั้น และบันทึกกระแส ของตัวน�ำที่ช่วงระยะเวลา 2 ชั่วโมง ณ อุณหภูมิคงที่ตามมาตรฐานชนิด ของฉนวน (IEC 60840-2004) ในช่วงจ่ายกระแส

54

ส�ำหรับชุดทดสอบนีป้ ระกอบด้วย ชุดจ่ายกระแสจ�ำนวน 2 ชุด สามารถ แยกท�ำการทดสอบได้อย่างอิสระ และสามารถใช้โปรแกรมเมเบิลลอจิก คอนโทรลพัฒนาโปรแกรมส�ำหรับใช้ในการควบคุมการท�ำงานของชุดทดสอบ โดยโปรแกรมให้ชุดจ่ายกระแสไฟฟ้าทั้ง 2 ชุดท�ำงานร่วมกันได้ ผู้ทดสอบ สามารถตั้งค่าจ�ำนวนวัฏจักรในการทดสอบ และยังสามารถตั้งค่ากระแสและ อุณหภูมิในช่วงจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุน เนื่องจากชุดทดสอบจากต่างประเทศ มีราคาสูง และชุดทดสอบยังมีตัวช่วยบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัลในการบันทึกค่า อุณหภูมิ และค่ากระแสไฟฟ้าขณะที่ท�ำการทดสอบเมื่อท�ำการสอบเทียบแล้ว พบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ –1.45% ถึง 1.62% ซึ่งถือว่ายอมรับได้

1. บทน�ำ

ชุดทดสอบวัฏจักรความร้อน (Heat Cycles Test Set) เป็นเครื่องมือ ทดสอบทีใ่ ช้ในการประเมินคุณภาพของสายเคเบิล (Cable) ซึง่ ในมาตรฐานได้มี การก�ำหนดให้ทดสอบเพือ่ ตรวจดูสภาพอุปกรณ์ทถี่ กู ทดสอบว่ามีความผิดปกติ หรือไม่ เมือ่ เกิดการเปลีย่ นแปลงอุณหภูมใิ นลักษณะทีเ่ ป็นวัฏจักร การทดสอบ วัฏจักรความร้อนท�ำโดยการป้อนกระแสให้แก่สายเคเบิลที่ต้องการทดสอบ มีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อครบเวลาที่ก�ำหนดจึงหยุดป้อนกระแสเพื่อให้ตัวอย่างที่ ถูกทดสอบค่อย ๆ เย็นลง ตามเวลาที่กำ� หนด และท�ำซ�้ำอีกเป็นวัฏจักรจนครบ จ�ำนวนวัฏจักรที่ก�ำหนดในมาตรฐาน จากนั้นท�ำการประเมินสภาพตัวอย่าง ที่ท�ำการทดสอบว่าผ่านมาตรฐานหรือไม่ เพื่ อ ให้ ผ ลการทดสอบมี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด สอดคล้องกับมาตรฐานจึงพัฒนาชุดทดสอบวัฏจักรความร้อนขึ้น โดยก�ำหนด ให้ชุดทดสอบมีคุณลักษณะและความสามารถดังนี้ 1. สามารถท�ำการทดสอบวัฏจักรความร้อนของสายเคเบิลได้ โดยมี ตัวควบคุมกระแสเพื่อรักษาอุณหภูมิแบบอัตโนมัติจำ� นวน 2 ชุด


2. มีตวั บันทึกข้อมูลแบบดิจทิ ลั มีช่องสัญญาณส�ำหรับสามารถวัดค่า อุณหภูมิและตัวตรวจวัด (Sensor) ต่ า ง ๆ จ� ำ นวน 6 ช่ อ งสั ญ ญาณ (สามารถขยายเพิ่มได้ถึง 12 ช่อง สัญญาณ) สามารถติดต่อผ่าน RS232, RS485 และมี เ อาต์ พุ ต แบบดิ จิ ทั ล (Digital Output) ส�ำหรับ Alarm 2-12 ช่อง จอภาพ LCD ขนาด 5.5” สามารถเก็บข้อมูลลง Flash Memory Card 3. มี ตั ว ตรวจวั ด อุ ณ หภู มิ (Temperature Sensor) จ�ำนวน 6 ชุด 4. ก�ำหนดจ�ำนวนวัฏจักรและ ระยะเวลาในการทดสอบได้ 5. สามารถก� ำ หนดให้ มี การท�ำงานแบบป้อนกลับ โดยเลือก วิ ธี ก ารควบคุ ม ให้ ก ระแสคงที่ ห รื อ อุณหภูมคิ งที่ โดยใช้ระบบการควบคุม แบบป้อนกลับ (Feedback Control) 6 . ส า ม า ร ถ เ ลื อ ก โ ห ม ด การท�ำงานได้ 2 แบบ คือควบคุมด้วยมือ (Manual Control) และควบคุมโดย คอมพิวเตอร์ (Computer Control) งานวิ จั ย ฉบั บ นี้ จึ ง ได้ พั ฒ นา ชุดทดสอบวัฏจักรความร้อนส�ำหรับ สายเคเบิลเพื่อให้ได้ผลการทดสอบ ที่ มี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ ได้ และยั ง เป็ น การลดต้นทุนเนือ่ งจากการน�ำเข้าจาก ต่างประเทศมีราคาสูง

(2004) ซึ่งจะเป็นการทดสอบส�ำหรับสายเคเบิลที่มีพิกัดแรงดันมากกว่า 30 kV ถึง 150 kV : ซึ่งจะใช้กับสายเคเบิล 69 และ 115 kV ที่มีการใช้งาน ใน กฟน. การทดสอบวัฏจักรความร้อนเป็นส่วนหนึง่ ของการทดสอบสายเคเบิล ส�ำหรับการทดสอบตามมาตรฐานดังกล่าวมีการก�ำหนดรายละเอียดดังนี้ IEC 60502-2 (2005) ตามมาตรฐานต้องให้ความร้อนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง กับสายเคเบิลโดยอุณหภูมิตัวน�ำต้องคงตัวภายในขีดจ�ำกัดอุณหภูมิ อย่างน้อย 2 ชั่วโมงของแต่ละคาบความร้อน (Cycle On) จนกระทั่งอุณหภูมิ ตัวน�ำมีค่าคงที่เหนืออุณหภูมิตัวน�ำ 5 ํC ถึง 10 ํC จากค่าอุณหภูมิสูงสุด ในการใช้งานปกติ (Normal Operation) จากนัน้ หยุดจ่ายกระแสไฟฟ้า (Cycle Off) เพื่อให้เย็นลงแบบธรรมชาติอย่างน้อย 3 ชั่วโมง จนกระทั่งอุณหภูมิ ตั ว น� ำ มี ค ่ า อยู ่ ภ ายใน 10 ํ C ของอุ ณ หภู มิ บ รรยากาศที่ ท ดสอบขณะนั้ น และบันทึกกระแสของตัวน�ำที่ช่วงระยะเวลา 2 ชั่วโมงสุดท้ายของแต่ละคาบ ความร้อน ตามมาตรฐานการทดสอบนี้ควรจะท�ำการทดสอบถึง 20 วัฏจักร จากนั้นก็ท�ำการทดสอบแรงดันเพื่อดูความคงทนของฉนวน โดยทดสอบด้วย แรงดันที่มีขนาดเป็น 2 เท่าของแรงดันพิกัดระหว่างตัวน�ำกับสายดินที่ความถี่ ก�ำลัง (U0) ส�ำหรับ IEC 60840 (2004) ตามมาตรฐานต้องให้ความร้อนอย่าง น้อย 8 ชั่วโมง กับสายเคเบิลโดยอุณหภูมิตัวน�ำต้องคงตัวภายในขีดจ�ำกัด อุณหภูมิอย่างน้อย 2 ชั่วโมงของแต่ละคาบความร้อน (Cycle On) จนกระทั่ง อุณหภูมิตัวน�ำมีค่าคงที่เหนืออุณหภูมิตัวน�ำ 5 ํC ถึง 10 ํC จากค่าอุณหภูมิ สูงสุดในการใช้งานปกติ (Normal Operation) จากนั้นหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้า (Cycle Off) เพื่อให้เย็นลงแบบธรรมชาติอย่างน้อย 16 ชั่วโมง จนกระทั่ง อุณหภูมติ วั น�ำมีคา่ อยูภ่ ายใน 10 Cํ ของอุณหภูมบิ รรยากาศทีท่ ดสอบขณะนัน้ และบันทึกค่ากระแสของตัวน�ำทีช่ ว่ งระยะเวลา 2 ชัว่ โมงสุดท้ายของแต่ละคาบ ความร้อน ตามมาตรฐานการทดสอบนี้ควรจะท�ำการทดสอบถึง 20 วัฏจักร จากนั้นก็ทำ� การทดสอบแรงดันเพื่อดูความคงทนของฉนวนตามตารางที่ 1 การทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60840 (2004) มีวัตถุประสงค์ที่ จ�ำเป็นส�ำหรับการทดสอบคือ การที่อุณหภูมิตัวน�ำของสายเคเบิลเพิ่มขึ้น 5 ํC ถึง 10 ํC จากค่าอุณหภูมิสูงสุดในการใช้งานปกติ (Normal Operation) แต่ในขณะที่สายเคเบิลถูกจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ความถี่กำ� ลัง หรือภายใต้เงื่อนไข แรงดันอิมพัลส์ (Impulse) ซึง่ เป็นไปไม่ได้ทเี่ ข้าไปวัดอุณหภูมขิ องตัวน�ำโดยตรง นอกจากนี้ควรรักษาระดับ (Maintained) อุณหภูมิของตัวน�ำให้อยู่ในช่วง จ�ำกัดคือ 5 ํC แม้ว่าอุณหภูมิบรรยากาศเปลี่ยนแปลงในช่วงที่มากกว่านี้ก็ตาม ถึงแม้ในตอนแรกการสอบเทียบ (Calibration) ภายใต้การทดสอบหรือใช้วิธี การค�ำนวณอาจจะเพียงพอในช่วงเริ่มต้นของการทดสอบ แต่การแปรเปลี่ยน อุณหภูมิของบรรยากาศทั้งหมดในช่วงเวลาที่ท�ำการทดสอบ อาจท�ำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของตัวน�ำออกนอกช่วงได้

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 2. มาตรฐานการทดสอบสาย เคเบิล [2], [3]

มาตรฐานการทดสอบที่ ใ ช้ อ้างอิงในงานวิจัยนี้มีอยู่ 2 มาตรฐาน คือ 1) IEC 60502-2 (2005) ซึ่งจะ เป็นการทดสอบส�ำหรับสายเคเบิลทีม่ ี พิกดั แรงดัน 1 kV ถึง 30 kV : โดยจะ ใช้กบั สายเคเบิล 12/20 kV ทีม่ กี ารใช้ งานใน กฟน. และ 2) IEC 60840

มีนาคม - เมษายน 2556

55


1 แรงดัน พิกัด U

2 3 41) 51) แรงดันสูงสุด ค่า U0 แรงดัน การทดสอบ ส�ำหรับ ส�ำหรับ ทดสอบของ พาเชียน อุปกรณ์ ก�ำหนดแรง 2.5U0 ดิสชาร์จ Um ดันทดสอบ 1.5U0 U0

61) การวัด Tan0 U0

71) 81) 9 ทดสอบแรงดัน ทดสอบแรงดัน ทดสอบแรง วัฏจักร ไลฟ์นิ่งอิมพัลส์ ดันภายหลัง ความร้อน การติดตั้ง 2U0

kV kV kV kV kV kV kV 45-47 52 26 65 39 26 52 60-69 72.5 36 90 54 36 72 110-115 123 64 160 96 64 128 132-138 145 76 190 114 76 152 150-161 170 87 218 131 87 174 1) ถ้าจ�ำเป็น แรงดันทดสอบนี้ควรถูกปรับสภาวะตามหัวข้อค่าการทดสอบแรงดัน IEC (60840, 2004)

kV 250 325 550 650 750

kV 52 72 128 132 150

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

เมื่อ U0 คือ U คื อ Um คือ

แรงดันพิกัดระหว่างตัวน�ำกับสายดินที่ ความถี่กำ� ลัง (kV) แรงดันพิกัดระหว่างตัว น� ำกับ ตัวน�ำ ที่ ความถี่กำ� ลัง (kV) แรงดันสูงสุดของระบบทีอ่ ปุ กรณ์สามารถ ทนได้ (kV)

ดั ง นั้ น วิ ธี ก ารที่ ค วรถู ก น� ำ มาใช้ ใ นที่ นี้ คื อ การวั ด อุณหภูมติ วั น�ำแล้วแสดงผลทางจอภาพ และท�ำการควบคุม อุณหภูมิทั้งหมดตลอดช่วงเวลาของการทดสอบ 2.1 การสอบเทียบอุณหภูมิของลูปทดสอบหลัก วัตถุประสงค์ของการสอบเทียบ คือ การตัดสินใจทีจ่ ะ วัดอุณหภูมิของตัวน�ำโดยท�ำการวัดโดยตรง ในขณะที่จ่าย กระแสภายในช่วงอุณหภูมิที่ก�ำหนดของความต้องการใน การทดสอบ ดังนัน้ ต้องท�ำให้สายเคเบิลอ้างอิง (Reference Cable) เหมือนกันกับสายเคเบิลลูปทดสอบหลัก (Main Test Loop หรือ Cable Under Test) 2.1.1 การติดตัง้ ของสายเคเบิลและเทอร์โมคัปเปิล การสอบเที ย บควรใช้ ส ายเคเบิ ล ที่ มี ค วามยาว อย่างน้อย 5 เมตร สายเคเบิลความยาวขนาดนี้ที่ถูก ทดสอบควรถ่ายเทความร้อนไปจนถึงปลายสายเคเบิล โดยไม่ส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิภายในระยะ 2 เมตร จากจุดกึ่งกลางของสายเคเบิลมากกว่า 1 ํC ที่กึ่งกลาง ของสายเคเบิลอ้างอิง (Reference Cable) นั้นควรมี เทอร์โมคัปเปิล 2 ชุด ท�ำการวัดโดยชุดแรกวัดอุณหภูมิ ของตัวน�ำ (TC1C) โดยตรง และชุดที่สองวัดอุณหภูมิที่

56

ผิวนอก สายเคเบิล (TC1S) ส่วนเทอร์โมคัปเปิลอีกสองตัว คือ TC2C และ TC3C ควรถูกติดตั้งกับตัวน� ำของสาย เคเบิลอ้างอิงแสดงดังรูปที่ 1 ตัวแรกห่างจากกึ่งกลาง 0.5 เมตร และตั ว ที่ ส องห่ า งจากกึ่ ง กลาง 1 เมตร เทอร์ โ มคั ป เปิ ล ควรสั ม ผั ส แนบกั บ ตั ว น� ำ โดยวิ ธี ท างกล (Mechnanic) เพราะอาจเกิดการเคลื่อนเนื่องจากการสั่น (Vibration) ของสายเคเบิลระหว่างการให้ความร้อน ค�ำแนะน�ำส�ำหรับการวัดโดยใช้เทอร์โมคัปเปิลแสดงดัง รูปที่ 2 ส� ำ หรั บ ลู ป การทดสอบหลั ก ถ้ า ในความเป็ น จริ ง ประกอบด้วยความยาวของสายเคเบิลหลายขนาดที่ถูก ติดตั้งครบลูปขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งความยาวเหล่านี้ คือ สาเหตุที่มีผลต่อความร้อนในการสอบเทียบควรปฏิบัติ ตามข้อก�ำหนดการทดสอบจริง การวัดควรวัดบนความยาว สายเคเบิลส่วนที่ร้อนที่สุด (ปกติที่ความยาวกึ่งกลาง) Terminations

Current inducing Transformers

Cable under Reference

Measuring Transformers TC3c TC2c TC1c TC1s

TCs

.

m . 0.5

0.5 m

รูปที่ 1 รูปแบบการติดตั้งการทดสอบส�ำหรับลูปอ้างอิง และลูปทดสอบหลัก


2.1.2 วิธีการสอบเทียบ การสอบเทียบ ควรท�ำในบริเวณทีเ่ หมาะสมไม่มลี ม Thermocouple ที่อุณหภูมิ (20+5) ํC ควรบันทึกอุณหภูมิที่วัดของตัวน�ำ, Flexible thermal insulating Cable oversheath compound เปลือกนอก (Oversheath) และอุณหภูมิบรรยากาศ Metallic sheath ณ เวลาเดียวกันควรให้ความร้อนสายเคเบิลจนกระทั่ง อุณหภูมิตัวน�ำของสายเคเบิลมีค่าคง ซึ่งตรวจวัดได้จาก Insulator เทอร์โมคัปเปิล TC1C, TC2C และ TC3C แสดงดังรูปที่ 2 โดยอุณหภูมิการทดสอบตัวน�ำจะมากกว่า 5 ํC ถึง 10 ํC ของสายเคเบิลในสภาวะจ่ายโหลดปกติ ตามตารางที่ 2 อุณหภูมิเข้าใกล้ค่าคงที่ ควรบันทึกค่าดังต่อไปนี้ Semi-conducting screen Conductor 1. อุณหภูมิตัวน�ำ : ค่าเฉลี่ยที่ต�ำแหน่ง 1 2 และ 3 2. อุณหภูมิเปลือกนอกที่ตำ� แหน่งที่ 1 รูปที่ 2 แสดงรูปแบบการติดตั้งการทดสอบส�ำหรับลูปอ้างอิง 3. อุณหภูมิบรรยากาศ และลูปทดสอบหลัก 4. กระแสที่ท�ำให้เกิดความร้อน

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตารางที่ 2 ส่วนประกอบของฉนวนส�ำหรับสายเคเบิล

อุณหภูมิของตัวน�ำสูงสุด ( ํC) ลัดวงจร ส่วนประกอบของฉนวน สภาวะใช้งานปกติ (ช่วงเวลามากสุด 5 นาที) Low density thermoplastic polyethylene (PE) 70 1301) High density thermoplastic polyethylene (HDPE) 80 1601) Cross-linked polyethylene (XLPE) 90 250 Ethylene-propylene rubber (EPR) 90 250 High modulus or hard grade ethylene-polyethylene rubber (HEPR) 90 250 1) ส�ำหรับ PE และ HDPE อุณหภูมิของการลัดวงจรเพิ่มถึง 20 ํC ซึ่งมากเกินไปกว่าที่ยอมรับได้ และเลเยอร์ของสารกึ่งตัวน�ำ ที่หุ้มตัวน�ำและฉนวนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ผลิตและผู้ซื้อ

2. วิ ธี ก ารติ ด ตั้ ง ดั ง กล่ า วนี้ ส ่ ง ผลกระทบให้ เ กิ ด 2.2 การท�ำความร้อนส�ำหรับการทดสอบ 2.2.1 วิธีที่ 1 การทดสอบโดยใช้สายเคเบิลลูป ความร้อนจากการเหนี่ยวน�ำตลอดการทดสอบ กระแสที่ท�ำให้เกิดความร้อนของทั้งสองลูปควร อ้างอิง วิ ธี นี้ ส ายเคเบิ ล ของลู ป อ้ า งอิ ง ต้ อ งมี คุ ณ ลั ก ษณะ ถูกปรับจนกระทั่งอุณหภูมิของตัวน�ำรักษาระดับคงที่ตาม เหมือนสายเคเบิลทีน่ ำ� มาใช้ทดสอบ โดยต้องถูกท�ำให้รอ้ น ข้อก�ำหนด โดยเทอร์โมคัปเปิล (TCS) ควรสัมผัสด้านบน ด้วยกระแสที่เป็นค่าเดียวกับกระแสของลูปทดสอบหลัก หรือด้านล่างเปลือกผิวนอกของลูปทดสอบหลัก ณ จุดที่ การติดตั้งสายเคเบิลและเทอร์โมคัปเปิลทั้งสองลูปแสดง ร้อนทีส่ ดุ โดยปกติเป็นจุดกึง่ กลางของสายเคเบิลเหมือนวิธี ของ TC1C ที่สัมผัสด้านบนของจุดที่ร้อนที่สุดของลูปอ้างอิง ดังรูปที่ 2 การเตรียมการทดสอบควรปฏิบัติดังนี้ อุณหภูมิถูกวัดด้วย TC1C บนตัวน�ำของลูปอ้างอิง 1. สายเคเบิลลูปอ้างอิงต้องมีกระแสเหมือนกับ ซึง่ อาจพิจารณาเหมือนกับว่าเป็นตัวแทนของตัวน�ำของลูป กระแสลูปทดสอบหลักตลอดเวลา ทดสอบที่ถูกจ่ายไฟ มีนาคม - เมษายน 2556

57


เทอร์โมคัปเปิลทั้งหมดควรถูกต่อเข้ากับอุปกรณ์ บันทึกทีส่ ามารถแสดงผลทางจอภาพได้ กระแสทีท่ ำ� ให้เกิด ความร้อนของแต่ละลูปควรถูกบันทึกเพื่อพิสูจน์ว่าค่าของ กระแสทั้งสองลูปนั้นเหมือนกันตลอดช่วงท�ำการทดสอบ โดยความแตกต่างระหว่างกระแสที่ท�ำให้เกิดความร้อน นั้นต้องไม่เกิน 1% สายเคเบิ ล ของลูป อ้างอิงอาจต่ออนุก รมกับสาย เคเบิลทดสอบถ้าอุณหภูมิถูกวัดด้วยไฟเบอร์ลิงก์หรือสิ่งที่ เทียบเท่า 2.2.2 วิธีที่ 2 การค�ำนวณอุณหภูมิตัวน�ำที่ใช้ ทดสอบและการวัดของอุณหภูมิผิวนอก 2.2.2.1 การสอบเทียบอุณหภูมิตัวน�ำของสาย เคเบิลที่ทดสอบ จุ ด ประสงค์ ข องการสอบเที ย บเป็ น การค� ำ นวณ อุณหภูมิตัวน�ำ ด้วยวิธีการวัดตรงโดยอุณหภูมิอยู่ภายใน ช่ ว งที่ ต ้ อ งการทดสอบ การติ ด ตั้ ง ของสายเคเบิ ล และ เทอร์โมคัปเปิลส�ำหรับการสอบเทียบควรเป็นไปตามหัวข้อ 2.1 การสอบเทียบอุณหภูมิของลูปการทดสอบหลัก และ ในการสอบเทียบควรปฏิบัติให้สอดคล้องกับหัวข้อ 2.1.2 ส�ำหรับลูปสายเคเบิลอ้างอิง 2.2.2.2 การวั ด อุ ณ หภู มิ ภ ายนอกส� ำ หรั บ การ ทดสอบ

ระหว่ า งการสอบเที ย บและการทดสอบของลู ป ทดสอบหลัก อุณหภูมติ วั น�ำของสายเคเบิลของลูปทดสอบ หลักควรถูกค�ำนวณให้สอดคล้องกับ IEC 60287 หรือ IEC 60853-2 บนพื้นฐานการวัดอุณหภูมิภายนอกของ เปลือกผิวนอก (TCS) การวัดควรติดตั้งเทอร์โมคัปเปิล ที่จุดที่ร้อนที่สุดโดยแนบผิวหน้าภายนอกและปฏิบัติเช่นนี้ กับลูปสายเคเบิลอ้างอิง กระแสที่ท�ำให้เกิดความร้อนควรปรับค่าอุณหภูมิ ตัวน�ำตามค่าที่ถูกค�ำนวณตามความต้องการบนพื้นฐาน การวัดอุณหภูมิภายนอกของเปลือกผิวนอก

3. การออกแบบชุดทดสอบวัฏจักรความร้อน

3.1 ค่าพิกัดกระแสที่ใช้ทดสอบ ก�ำหนดค่าพิกัดกระแสที่ใช้ทดสอบสายเคเบิลไว้ มากสุดที่ 3,000 แอมป์ 3.2 ค่าอิมพีแดนช์ของสายเคเบิล ค่ า ความต้ า นทานของสายเคเบิ ล ขนาดต่ า ง ๆ ที่แรงดัน 12/20 kV, 69 kV และ 115 kV โพลีเอทธีลีน (XLPE) มีหน่วยเป็นโอห์ม/กิโลเมตร ซึ่งให้ค่ามาเป็น ความต้ า นทานไฟฟ้ า กระแสตรงที่ อุ ณ หภู มิ 20 ํ C ตามตารางที่ 3 และตารางที่ 4

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตารางที่ 3 สายเคเบิลตัวน�ำทองแดงฉนวน XLPE ระดับแรงดัน 12/20 kV

พื้นที่หน้าตัดระบุของตัวน�ำ (ตร.มม) เส้นผ่านศูนย์กลางของตัวน�ำ (มม.) ความหนาของฉนวน (มม.) พิสัยของเส้นผ่านศูนย์กลางวัดถึงผิวนอกฉนวน (มม.) พิสัยของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (มม.) ความต้านทานกระแสตรงสูงสุดของตัวน�ำวัดที่ 20 ํC โอห์ม/กม.

120 12.95±1% 5.5 25.0-27.4 31.0-35.0 0.153

240 18.47±1% 5.5 30.5-33.5 39.0-42.2 0.0754

400 23.39±1% 5.5 35.4-38.9 44.5-48.0 0.0470

ตารางที่ 4 สายเคเบิลตัวน�ำทองแดงฉนวน XLPE ระดับแรงดัน 69 kV และ115 kV

แรงดันพิกัดระบุ (กิโลโวลต์) พื้นที่หน้าตัดระบุของตัวน�ำไฟฟ้า (ตร.มม.) เส้นผ่านศูนย์กลางของตัวน�ำ (มม.) ความหนาของฉนวน (มม.) พิสัยเส้นผ่านศูนย์กลางวัดถึงผิวนอกฉนวน (มม.) ความหนาเฉลี่ยของเทปอะลูมิเนียมกันน�ำ้ ตามแนวรัศมี, ขั้นต�ำ่ (มม.) ความหนาของเปลือกอโลหะ (ไม่รวมครีบ) (มม.) พิสัยของเส้นผ่านศูนย์กลางวัดถึงท้องครีบ (Rib Bottom) ของเปลือกนอก (มม.) ความต้านทานกระแสตรงสูงสุดของตัวน�ำที่ 20 ํC (โอห์ม/กม.)

58

69 800 34 11 59-62 0.19 3.5 76-81 0.0221

115 800 34 16 69-72 0.19 3.5 86-91 0.0221


ท�ำการค�ำนวณหาค่าความเหนี่ยวน�ำ จากนั้นค�ำนวณหาค่ารีแอกแตนช์และส�ำหรับค่าความเหนี่ยวน�ำของ สายเคเบิลนัน้ ในการทดสอบได้ทำ� การติดตัง้ สายเคเบิลให้มลี กั ษณะเป็นลูปวงกลม (Circular Loop) และท�ำการค�ำนวณ หาค่าของอิมพีแดนซ์ของสาย 12/20 kV ขนาดพื้นที่หน้าตัด 400 ตารางมิลลิเมตร และอิมพีแดนซ์ของสาย 69 kV ขนาดพื้นที่หน้าตัด 800 ตารางมิลลิเมตร โดยมีผลการค�ำนวณดังตารางที่ 5 และตารางที่ 6 ตารางที่ 5 อิมพีแดนช์สายเคเบิลขนาด 400 ตร.มม. แรงดัน 12/20 kV [4]

ความยาวสาย (เมตร) 8 10 15 17 18

ความต้านทาน (โอห์ม) 0.0004954 0.0006192 0.0009288 0.0010527 0.0011146

ความเหนี่ยวน�ำ (เฮนรี่) 0.000002430 0.000003179 0.000005156 0.000005979 0.000006397

รีแอกแตนช์ (โอห์ม) 0.00076339 0.00099887 0.00161994 0.00187848 0.00200956

อิมพีแดนช์ (โอห์ม) 0.0009100296 0.0011752254 0.0018673240 0.0021533222 0.0022979610

พิกัดหม้อแปลงปรับค่า ได้ (kVA) 8.19 10.58 16.81 19.38 20.68

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตารางที่ 6 อิมพีแดนช์สายเคเบิลขนาด 800 ตร.มม. แรงดัน 69 kV [4]

ความยาวสาย (เมตร) 8 10 15 19 20

ความต้านทาน (โอห์ม) 0.0002597 0.0003246 0.0004870 0.0006168 0.0006493

ความเหนี่ยวน�ำ (เฮนรี่) 0.000002239 0.000002941 0.000004799 0.000006365 0.000006765

รีแอกแตนช์ (โอห์ม) 0.00070354 0.00092405 0.00150772 0.00199961 0.00212537

อิมพีแดนช์ (โอห์ม) 0.0007499495 0.0009794258 0.0015844146 0.0020925870 0.0022223370

พิกัดหม้อแปลงปรับค่า ได้ (kVA) 6.75 8.82 14.26 18.83 20.00

3.3 พิ กั ด หม้ อ แปลงปรั บ ค่ า ได้ (Variable เหนี่ยวน�ำกระแสสูงเท่ากับ 9 นิ้ว หรือ 228.6 มิลลิเมตร Transformer) เพื่อให้มีขนาดใหญ่พอให้สายเคเบิลที่ทดสอบซึ่งมีเส้น จากการพิ จ ารณาค่ า ที่ ค� ำ นวณเพื่ อ หาพิ กั ด ผ่านศูนย์กลาง 80-90 มิลลิเมตร คล้องผ่านได้ดังรูปที่ 3 หม้อแปลงปรับค่าได้ (Variable Transformer) จากตาราง ที่ 5 และตารางที่ 6 พบว่ามีค่ามากสุด 20.68 kVA และ เนือ่ งจากการจัดท�ำชุดทดสอบในครัง้ นีเ้ ป็นการน�ำอุปกรณ์ เดิมที่มีอยู่แล้ว คือหม้อแปลงปรับค่าได้ซึ่งมีพิกัด 21 kVA มาใช้งานเพื่อเป็นการลดต้นทุน 3.4 พิกดั หม้อแปลงเหนีย่ วน�ำกระแสสูง (Induce Transformer) เลือกใช้หม้อแปลงเหนีย่ วน�ำกระแสสูงพิกดั 20 kVA สัดส่วนจ�ำนวนรอบ 33/1 วัสดุที่ใช้ คือ Grain OREINTED CORE และความเข้มของสนามแม่เหล็ก (B) มีค่า 1.5 รูปที่ 3 ภาพด้านหน้าและภาพตัดขวางของหม้อแปลง เทสลา และก�ำหนดให้เส้นผ่านศูนย์กลางของหม้อแปลง เหนี่ยวน�ำกระแสสูง

มีนาคม - เมษายน 2556

59


3.5 การเลือกตัวตรวจวัดกระแสสูง (หม้อแปลง ทดกระแส) เนื่องจากต้องท�ำการวัดกระแสสูงถึง 3,000 แอมป์ จึงเลือกใช้หม้อแปลงทดกระแสทีม่ คี า่ อัตราส่วนจ�ำนวนรอบ เท่ากับ 3,000/5 มี Burden เท่ากับ 30 VA และก�ำหนด ให้เส้นผ่านศูนย์กลางของหม้อแปลงทดกระแสมีคา่ เท่ากับ 7 x (7/8) นิ้ว หรือประมาณ 200 มิลลิเมตร วัสดุที่ใช้ คือ Silicon Steel Core M4 และ B มีค่า 0.111 เทสลา 3.6 การเลือกเทอร์โมคัปเปิล เลือกใช้เทอร์โมคัปเปิลแบบ K เนื่องจากกลายเป็น แบบมาตรฐานที่นิยมกัน สามารถใช้กับสภาวะงานที่เป็น Oxidizing หรือ Inert และทนอุณหภูมิได้ถึง 1260 ํC (2300 ํF) และที่อุณหภูมิต�่ำถึง -250 ํC (-420 ํF) ในสภาพงานที่ต้องรับการแผ่รังสีโดยแบบ K สามารถ ใช้งานได้ดี 3.7 การเลือกทรานสดิวเซอร์ (Transducer) ชุ ด ทดสอบวั ฏ จั ก รความร้ อ นนี้ ส ามารถตรวจวั ด อุณหภูมแิ ละกระแสของสายเคเบิลทีน่ ำ� มาทดสอบ จึงต้อง ใช้ตวั ตรวจจับและส่งสัญญาณ (Sensor and Transmitters) จากการวัดค่าของกระบวนการที่ก�ำลังท�ำงานอยู่มายัง ตัวควบคุม เพื่อท�ำหน้าที่น�ำสัญญาณอนาล็อกที่ได้จาก ทรานสดิวเซอร์ปอ้ นให้กบั อินพุตแบบอนาล็อกของพีแอลซี และเอาต์พุตของพีแอลซี ให้สัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน กระแส 4-20 มิลลิแอมป์ เพื่อน�ำสัญญาณดังกล่าวแปลง เป็นข้อมูลดิจิทัลส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลาง โดยมีข้อ ก�ำหนดของทรานสดิวเซอร์ดังนี้ 3.7.1 การเลือก Current Transducer เนื่องจาก Current Transducer สามารถรับอินพุต 0-5 แอมป์ จากหม้อแปลงทดกระแสทีม่ อี ตั ราส่วน 3000/5 จึงเลือกใช้ Current Transducer โดยมีการก�ำหนดดังนี้ Input 0-5 Aac, Output 4-20 mA, Max. Load 600 ohm Linearity + 0.5% of span, Power Supply 10 Vac., 220 Vac, Operating Temperature 0-50 ํC, Construction Plug-In, Wiring Screw Terminals on Base Socket, Mounting Wall or DIN Rail, Dimension W50XH70XD130 mm. 3.7.2 การเลือก Thermocouple Transmitter เนือ่ งจาก Thermocouple Transmitter สามารถรับ อินพุต 0-200 ํC จากเทอร์โมคัปเปิล Type K จึงเลือกใช้ Thermocouple Transmitter โดยก�ำหนดดังนี้ Thermocouple

Input Rangeable within Type K 0-200 Cํ Cold Junction Compensation 0- 50 ํC, Linearity < 0.2% of Span, Output 4-20 mA 0-20 mA (max. 1000 ohm load), Power supply 220 Vac., Mounting Wall or DIN rail, Dimension W50xH70xD130 mm. 3.8 การเลื อ กใช้ โ ปรแกรมส� ำ หรั บ ควบคุ ม การท�ำงาน โปรแกรม GMWIN เป็นโปรแกรมที่ PLC ใช้ใน การควบคุ ม การท� ำ งานของชุ ด ทดสอบ และเลื อ กใช้ โปรแกรม GP-PRO/PBIII เป็นโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์ แบบหน้าสัมผัสใช้ในการติดต่อกับ PLC เพื่อควบคุม การท�ำงานของชุดทดสอบดังรูปที่ 4 และรูปที่ 5

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

60

รูปที่ 4 แสดงการเขียนแลดเดอร์ไดอะแกรม และค�ำสั่งพื้นฐาน

รูปที่ 5 โปรแกรมเพื่อใช้แสดงผลที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แบบหน้าสัมผัส


4. การจัดสร้างและวงจรควบคุมการท�ำงานชุดทดสอบ

จากการออกแบบดังที่กล่าวมาสามารถน�ำมาแสดงเป็นไดอะแกรมการท�ำงานของชุดทดสอบได้ดังรูปที่ 6

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 6 ไดอะแกรมการท�ำงานของวงจรชุดทดสอบ

5. การพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ทดสอบของชุดทดสอบ

ส�ำหรับการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ทดสอบการท�ำงานของชุดทดสอบวัฏจักรความร้อนนั้นประกอบด้วย 3 โหมด คือ 1) โหมดการทดสอบวัฏจักรความร้อน 2) โหมดการทดสอบแบบกระแสคงที่ 3) โหมดการทดสอบแบบอุณหภูมิ คงที่ ดังแสดงในรูปที่ 7, รูปที่ 8 และรูปที่ 9

รูปที่ 7 ขั้นตอนการท�ำงานของ Heat Cycle Mode

รูปที่ 8 ขั้นตอนการท�ำงานของ Constance Current Mode มีนาคม - เมษายน 2556

61


ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 9 ขั้นตอนการท�ำงานของ Constance Temperature Mode

6. ค่าใช้จา่ ยในการสร้างชุดทดสอบ

งบประมาณในการสร้างชุดทดสอบวัฏจักรความร้อนครัง้ นีไ้ ด้รบั ความอนุเคราะห์จากบริษทั สายไฟฟ้ามีคา่ ใช้จา่ ย รวมทั้งสิ้นประมาณ 660,000 บาท ซึ่งถือว่าใช้งบประมาณน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาของเครื่องที่นำ� เข้าจาก ต่างประเทศ ตารางที่ 7 งบประมาณในการสร้างชุดทดสอบ

ล�ำดับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

62

รายการ หม้อแปลงแบบปรับค่าได้ 21 kVA 0-250 V หม้อแปลงทดกระแส และมาตรวัดต่าง ตัวบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล และ Signal Conditioner คอมพิวเตอร์หน้าจอแบบสัมผัส วงจรควบคุมและระบบป้อนกลับ ตู้ควบคุมชุดควบคุมกระแสอัตโนมัติ และวงจรป้องกัน ค่าวัสดุและอุปกรณ์ประกอบ หม้อแปลงเหนี่ยวน�ำกระแสสูง ตัวตรวจวัดกระแสสูง โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรล รวม

จ�ำนวน 2 1 1 1 1 1 1 2 2 1

จ�ำนวนเงิน (บาท) 240,000 40,000 80,000 40,000 20,000 40,000 30,000 80,000 50,000 40,000 660,000


7. ชุดทดสอบ

8. ผลการทดสอบ

เมื่อศึกษาความเป็นไปได้แล้วจึงท�ำการออกแบบ การทดสอบครัง้ นีเ้ ป็นการทดสอบการท�ำงานของชุด และจัดสร้างชุดทดสอบวัฏจักรความร้อนดังรูปที่ 10 และ ทดสอบว่า สามารถท�ำงานได้ตามค่าที่ต้องการให้ทดสอบ รูปที่ 11 ได้หรือไม่ โดยแบ่งตามโหมดการทดสอบดังนี้ 8.1. โหมดการทดสอบวัฏจักรความร้อน สายเคเบิลที่ใช้ในการทดสอบโหมดการทดสอบ วั ฏ จั ก รความร้ อ นนี้ เ ป็ น สายเคเบิ ล ใต้ ดิ น ที่ มี ใ ช้ ง านใน กฟน. คือ สายชนิด 12/20 kV-PE 1x400 ตร.มม. และ 69 kV–CE 1x800 ตร.มม. ได้ทำ� การทดสอบโดยป้อน ค่าอินพุตให้โปรแกรมดังนี้ ตารางที่ 8 การตั้งค่าการทดสอบโหมดการทดสอบ วัฏจักรความร้อน

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 10 ชุดทดสอบวัฏจักรความร้อนที่ประกอบเสร็จแล้ว

รูปที่ 11 การติดตั้งชุดทดสอบวัฏจักรความร้อน เพื่อทดสอบสายเคเบิล

Item Setting Total Test Cycles (Cycles) Temp Set Point ( ํC) Time On Duration (Hr) Time Off Duration (Hr) Max Test Current (A)

12/20 (kV) 69 (kV) 20 20 90 ํC 90 Cํ 8 8 4 16 1,200 1,800

ส�ำหรับการทดสอบจะแสดงผลเพียงจ�ำนวน 1 Cycle เท่านั้น เนื่องจากแต่ละ Cycle จะมีลักษณะใกล้เคียง กันดังแสดงในรูปที่ 12 และรูปที่ 13 ซึ่งจากการทดสอบ พบว่าเครื่องสามารถท�ำงานได้ตามที่ตั้งค่าไว้

รูปที่ 12 โหมดการทดสอบวัฏจักรความร้อนสายเคเบิล 12/24 kV

มีนาคม - เมษายน 2556

63


รูปที่ 13 โหมดการทดสอบวัฏจักรความร้อนสายเคเบิล 69 kV

รูปที่ 14 โหมดการทดสอบแบบกระแสคงที่สายเคเบิล 12/24 kV

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

8.2 โหมดการทดสอบแบบกระแสคงที่ 8.3 โหมดการทดสอบแบบอุณหภูมิคงที่ ใช้ ส ายเคเบิ ล ชนิ ด เดี ย วกั บ ที่ ท ดสอบในโหมด ใช้สายเคเบิลชนิดเดียวกับที่ทดสอบในโหมดการ การทดสอบวัฏจักรความร้อน และท�ำการทดสอบโดย ทดสอบวัฏจักรความร้อน และท�ำการทดสอบโดยป้อนค่า ป้อนค่าอินพุตให้โปรแกรมดังนี้ อินพุตให้โปรแกรมดังนี้ ตารางที่ 9 การตั้งค่าการทดสอบโหมดการทดสอบ แบบกระแสคงที่ Item Setting Current Set Point Reference Loop (A) Current Set Point Main Test Loop (A) Time Duration (hr:mins)

12/20 (kV) 1,000 1,500 00:12

ตารางที่ 10 การตั้งค่าการทดสอบโหมดการทดสอบ แบบอุณหภูมิคงที่

Item Setting Temperature Set Point Loop 1 ( ํC) Test Duration (hr:mins) Max Test Current (A)

12/20 (kV) 62 1:13 2,000

ช่วงเวลาที่ตั้งไว้ทดสอบคือ 12 นาทีแต่แสดงผล เพียง 1 นาที 36 วินาที (76 วินาที) ซึ่งผลการทดสอบ พบว่ากระแสในสายเคเบิลทั้ง 2 ลูป มีค่าเท่ากับที่ตั้งไว้ ดังนั้นชุดทดสอบจึงสามารถท�ำงานได้ตามที่ตั้งค่าไว้

รูปที่ 15 โหมดการทดสอบแบบอุณหภูมิคงที่สายเคเบิล 12/24 kV

64


9. สรุป

ชุดทดสอบวัฏจักรความร้อนถูกออกแบบไว้ และ สร้ า งส� ำ หรั บ ใช้ ใ นการทดสอบสายเคเบิ ล เพื่ อ ประเมิ น คุณภาพเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในลักษณะ ที่เป็นวัฏจักร เมื่ อ ท� ำ การสอบเที ย บโดยท� ำ การวั ด ค่ า เที ย บกั บ เครื่องมือวัดมาตรฐานทางไฟฟ้าแบบดิจิทัล ผลปรากฏว่า มี ค ่ า ความคลาดเคลื่ อ นอยู ่ ใ นช่ ว งประมาณ –1.45% ถึง 1.62% ซึ่งถือว่ามีค่าน้อยมาก โดยความผิดพลาด เกิดจากการวัดซึ่งส่งผลต่อการสอบเทียบหรือการวัดใด ๆ โดยทัว่ ไปเกิดจากความผิดพลาดระบบ (Systematic Error) และอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือจากตัวเครื่องมือวัดเอง และเกิดจากความผิดพลาดตกค้าง (Random Error) ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ ส�ำหรับโหมดการทดสอบของชุดทดสอบแบ่งเป็น 3 โหมด คือ 1. โหมดการทดสอบวัฏจักรความร้อนสามารถ ทดสอบได้ตามมาตรฐานการทดสอบ IEC 60840-2004 เมื่อพิจารณาลักษณะของกราฟและการท�ำงานของเครื่อง แล้ว สามารถควบคุมไม่ให้ค่าของกระแสและอุณหภูมิ เกินค่าอินพุตที่ป้อนไว้โดยมีค่าความแตกต่างของกระแส ลูปอ้างอิง และลูปทดสอบหลักเมื่อเทียบกับลูปอ้างอิงอยู่ ระหว่าง –0.40% ถึง 1.38% 2. โหมดการทดสอบแบบกระแสคงที่สามารถป้อน ค่ากระแสสูงสุดที่ต้องการทดสอบของแต่ละลูปได้เป็น อิสระจากกัน โดยค่ากระแสไม่จำ� เป็นต้องเท่ากัน แต่ช่วง เวลาทีท่ ำ� การทดสอบเท่ากันซึง่ ชุดทดสอบสามารถทดสอบ ได้ตามค่าที่ต้องการทดสอบ 3. โหมดการทดสอบแบบอุณหภูมิคงที่สามารถ ทดสอบและควบคุ ม อุ ณ หภู มิ แ ละกระแสได้ ต ามค่ า ที่ ต้องการทดสอบ

เอกสารอ้างอิง [1] Malik, N.H., et al. “Electrical Insulation in Power Systems.”, Marcel Dekker, Inc., New York, 1997, 394 p [2] IEC 60840, “Power Cables with Extruded Insulation and their Accessories for Rated Voltages above 30 kV (Um = 36 kV) up to 150 kV (Um = 170 kV) Test Methods and Requirements.”, 2004. [3] IEC 60502-2, “ Power Cables with Extruded Insulation and their Accessories for Rated Voltages from 1 kV (Um = 1.2 kV) up to 30 kV (Um = 36 kV).”, 2005. [4] Anders, G. J., “Rating of Electric Power Cables.”, IEEE, Inc., New York, 1997, 428 p. กิตติกรรมประกาศ ขอกราบขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติยุทธ กวีญาณ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีใ่ ห้ ค�ำปรึกษาอย่างดี ขอขอบพระคุณ คุณชัยรัตน์ แซ่เนีย้ ว และคุณฐิตพิ งศ์ สมัครพงศ์ การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค ทีส่ นับสนุนข้อมูลและให้ใช้สถานที่ ส�ำหรับการท�ำงานวิจัย และขอขอบพระคุณ บริษัทผู้ผลิตสายไฟ และผู้เกี่ยวข้องไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ประวัติผู้เขียน

ดร.อรรถ พยอมหอม ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปัจจุบันเป็นวิศวกรไฟฟ้า ระดับ 8 สังกัด งานโครงข่ า ยอั จ ฉริ ย ะ กองวิ ศ วกรรม ไฟฟ้า ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า การไฟฟ้า นครหลวง และเป็นอนุกรรมการและเลขานุการในวิศวกรรม สถานแห่งประเทศไทย (วสท.) มีความสนใจงานวิจัยด้าน การวางแผนระบบไฟฟ้าก�ำลัง, โครงข่ายอัจฉริยะ, การออกแบบ ระบบกราวด์กริดในสถานีไฟฟ้า, การประเมินสมรรถนะระบบ ป้องกันฟ้าผ่า และมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ ท�ำงาน

มีนาคม - เมษายน 2556

65


Technology & Innovation เทคโนโลยีและนวัตกรรม รศ.ดร.ส�ำรวย สังข์สะอาด เมธีวิจัยอาวุโส สกว.

ข้อคิดและกลยุทธ์ การจัดประชุมวิชาการ ให้ประสบผลส�ำเร็จ บทคัดย่อ

การจั ด ประชุ ม วิ ช าการเป็ น วิ ธี ก ารถ่ า ยทอด เทคโนโลยี ห รื อ น� ำ เสนอผลงานการศึ ก ษาวิ จั ย แก่ ค น จ�ำนวนมากในเวลาเดียวกัน และให้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ข้ อ คิ ด เห็ น กั น การจั ด ประชุ ม วิ ช าการที่ มุ ่ ง หวั ง บรรลุ ผลส�ำเร็จดีนั้น ผู้จัดประชุมควรมีความรู้ดีและกว้างขวาง ในสาขานั้น มีประสบการณ์ในการจัดประชุมฯ อยู่บ้าง บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ข้อคิดส�ำหรับมือใหม่ที่ยังไม่มี ประสบการณ์ ให้เข้าใจถึงกลยุทธ์การจัดประชุมวิชาการ ให้ ป ระสบผลส� ำ เร็ จ และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ กล่ า วถึ ง การวางแผนการจัดการอย่างมีระบบ เกี่ยวกับการเลือก หัวข้อเรื่องประชุม ผู้บรรยาย การเลือกสถานที่ประชุม ก�ำหนดวันประชุม เพื่อให้ผู้จัดและผู้เข้าร่วมประชุมได้รับ ประโยชน์สูงสุดตามเป้าหมาย

ระดับชาติ และประสบการณ์ที่ได้จากการจัดระดับชาตินี้ ช่วยให้สามารถพัฒนาไปสู่การจัดประชุมวิชาการร่วมกับ ต่างประเทศ คือ การประชุมวิชาการนานาชาติได้ ในกรณี ที่ ผู ้ คิ ด จะจั ด ประชุ ม วิ ช าการ แต่ ไ ม่ มี ประสบการณ์หรือพื้นฐานการจัดประชุมวิชาการ ก็อาจ จะประสบปัญหาบางประการ มีผลท�ำให้การจัดประชุม วิชาการไม่ราบรื่นหรือไม่ประสบผลส�ำเร็จตามเป้าหมาย ได้ ฉะนั้ น เพื่ อ เป็ น ข้ อ คิ ด และแนวทางแก่ ผู ้ จั ด ประชุ ม มือใหม่ว่าจะวางแผนและด�ำเนินการอย่างไร จึงจะท�ำให้ การจัดประชุมวิชาการประสบผลส�ำเร็จ โดยน�ำเสนอข้อมูล จากประสบการณ์การจัดประชุมวิชาการมาแล้วหลายระดับ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

1. บทน�ำ

การจั ด ประชุ ม หรื อ บรรยายวิ ช าการ เป็ น วิ ธี การถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่คนจ�ำนวนมากในเวลาเดียวกัน ภายในเวลาที่ก�ำหนด เพื่อน�ำเสนอผลงานการศึกษาวิจัย แลกเปลี่ ย นข้ อ คิ ด เห็ น กั น การจั ด ประชุ ม วิ ช าการมี หลายระดั บ เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการจั ด ประชุ ม เป็ น กลุ ่ ม ของ ผู้เข้าประชุมภายในมหาวิทยาลัยหรือคณะ อันดับต่อมา เป็นการจัดประชุมขยายกว้างออกสู่นอกมหาวิทยาลัย อาจเป็นหน่วยงานหรือองค์กรอื่น เช่น วิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย (วสท.) หรือสมาคมสถาบันวิศวกรและ อิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าก�ำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CEPT) การจัดประชุมวิชาการที่มีวงกว้างขึ้นดังกล่าวเรียกว่าเป็น

66

2. ระดับการประชุมวิชาการ

โดยทั่วไปการจัดประชุมวิชาการ อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ 1) การจัดประชุมวิชาการระดับสถาบัน 2) การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ 3) การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ การจัดประชุมวิชาการแต่ละระดับจะมีกลุ่มและ ขนาดจ�ำนวนผู้เข้าร่วมประชุมที่แตกต่างกัน

2.1 การจัดประชุมวิชาการระดับสถาบัน กรณีระดับสถาบันเป็นการจัดประชุมเพื่อน�ำเสนอ ผลงานการศึกษาวิจัย หรือจัดบรรยายทางวิชาการเป็น กลุ่มย่อยภายในคณะหรือมหาวิทยาลัย ผู้เข้าประชุมอาจ เป็นนิสติ นักศึกษา ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญา เอก ครูอาจารย์ นักวิจัย หรืออาจมีบุคคลภายนอกที่สนใจ เรื่องนั้นอยู่บ้าง ผู้นำ� เสนอผลงานอาจเป็นนิสิต นักศึกษา


นักวิจัยในคณะ หรือเป็นการบรรยายโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางจากสถาบั น การศึ ก ษาภายในประเทศหรื อ จากต่างประเทศ ดังรูปที่ 1 หรือจากภาคอุตสาหกรรม เฉพาะทางที่ มี ก ารผลิ ต ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี ชื่ อ เสี ย ง โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก เพื่ อ ให้ เ กิ ด การถ่ า ยทอดเทคโนโลยี

โดยตรงแก่นิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดก�ำลัง ใจและแนวความคิดในการศึกษาท�ำวิจัยต่อไป เรือ่ งการบรรยายพิเศษนีส้ ามารถจัดให้เกิดประโยชน์ ได้มากและกว้างขวาง ด้วยเทคนิคและกลยุทธ์การด�ำเนินการ ซึง่ อาจใช้เป็นจุดเริม่ ต้นของโครงการศึกษาวิจยั และพัฒนาได้

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 1 ภาพถ่ายการจัดบรรยายวิชาการระดับสถาบัน ที่ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.2 การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติอาจจะด�ำเนินการ ให้ประสบผลส�ำเร็จได้ง่ายขึ้น ถ้าผู้จัดเป็นกรรมการ หรือ ประธานกรรมการ หรือผู้อ�ำนวยการของสถาบันหรือ องค์กรที่มีหน้าที่ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยตรง ซึ่งมี การจัดบรรยายทางวิชาการหรือจัดประชุมวิชาการประจ�ำ ทุ ก ปี เช่ น วิ ศ วกรรมสถานแห่ ง ประเทศไทยใน พระบรมราชูป ถัมภ์ (วสท.) - ศูนย์เชี่ย วชาญพิเศษ เฉพาะด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าก�ำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CEPT) สมาคมสถาบันวิศวกร และอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผูจ้ ดั เป็นนักวิชาการทีม่ คี วามรู้ ความสามารถและเชี่ยวชาญในสาขานั้น เป็นที่รู้จักและ ยอมรั บ ในสั ง คมวิ ช าการอย่ า งกว้ า งขวาง และควรจะ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การจัดบรรยายในสังคมวิชาการ อย่างน้อยก็ระดับสถาบัน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ มาจากการไฟฟ้าต่าง ๆ ได้แก่ EGAT, MEA, PEA จากภาค อุตสาหกรรมทุกระดับ และมีนิสิต นักศึกษา อาจารย์จาก

สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่สนใจรวมถึงชาวต่างประเทศ โดยผู้บรรยายรับเชิญจากสถาบันหรือหน่วยงานที่กล่าว แล้วในการประชุมวิชาการระดับสถาบัน จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเคยเป็นกรรมการ หรือ ประธานอนุกรรมการของสถาบัน หรือองค์กรที่มีหน้าที่ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยจัดบรรยายหรือจัดประชุม วิชาการทุกปี หรือทุก 2 ปี ได้แก่ กรรมการอ�ำนวยการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท. 2525-2529) ผู้อ�ำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านเทคโนโลยี ไฟฟ้าก�ำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CEPT-2539-2544) ประธานอนุกรรมการสถาบันวิศวกร ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section-Chairman of Educational Activity Committee 1979-1994 และ Chairman of IEEE Thailand Section 1995-1998 และ Chairman of Power & Energy Society-PES IEEE Thailand Section 1999-2003) ดังตัวอย่างการจัดบรรยายวิชาการของศูนย์เชี่ยวชาญฯ (CEPT) ในรูปที่ 2

มีนาคม - เมษายน 2556

67


รูปที่ 2 ภาพถ่ายการจัดประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง Electrical Power Engineering in 2000 โดยศูนย์เชี่ยวชาญฯ 24-26 Nov. 1999 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.3 การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จากประสบการณ์การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ จะช่วยให้ด�ำเนินการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ได้ ง ่ า ยขึ้ น อย่ า งไรก็ ดี เ พื่ อ เป็ น ข้ อ คิ ด ส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ จ ะจั ด ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ซึง่ มีความยุง่ ยากมากกว่า การจัดประชุมวิชาการระดับชาติเพราะจะต้องเกีย่ วข้องกับ ชาวต่างชาติ ทีจ่ ะเป็นผูน้ ำ� เสนอบทความจากหลายประเทศ ต้องจัดท�ำแผ่นพับโบรชัวร์ (ภาษาอังกฤษ) ทีม่ รี ายละเอียด ต่าง ๆ ของการประชุมวิชาการ ประกอบด้วย หัวข้อเรื่อง ของการประชุมวิชาการ ก�ำหนดวันการประชุมวิชาการ รายชื่อคณะกรรมการประชุมวิชาการ ทั้งของท้องถิ่นและ นานาชาติ สถานที่จัดการประชุมวิชาการ การลงทะเบียน พยายามให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การเข้าร่วมประชุม เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้มาร่วมประชุม และเสนอ บทความ ระบุรายละเอียดรูปแบบของบทความทีจ่ ะรวบรวม มาท�ำเป็นเอกสารการประชุมวิชาการ (Proceedings) แจกในวันเริ่มการประชุมวิชาการ การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติจ�ำเป็นอย่าง ยิ่งที่ผู้จัดควรจะต้องรู้จักเป็นอย่างดีกับคณะกรรมการ นานาชาติ ซึ่ ง เป็ น ตั ว แทนของประเทศสมาชิ ก โดย การเข้าร่วมประชุมและเสนอบทความในทีป่ ระชุมวิชาการ ทุกครั้งที่ประเทศสมาชิกเป็นผู้จัดประชุม ผู้เป็นประธาน จัดงานประชุมจะเป็นผู้ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นชาวต่างชาติ ในวันเปิดประชุม ถือเป็นความอบอุ่นและหน้าตาของ ประเทศ

ผลของการจัดประชุมวิชาการระดับชาติของผูเ้ ขียน เป็นที่รู้จักของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน จึงได้รับเชิญใน ฐานะตัวแทนของประเทศไทยให้เป็น Steering Committee of ACED (Asian Conference on Electrical Discharge) ประกอบด้วย ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ ประเทศไทยเข้าร่วมกลุ่มเป็นประเทศที่ 5 ใน ค.ศ. 1994 เริ่มต้นด้วยการไปร่วมประชุมและเสนอบทความที่เมือง ซีอาน ประเทศจีน ซึง่ มีการประชุมวิชาการต่อเนือ่ งกันทุกปี ที่ประชุม ACED มีมติให้จัดประชุมวิชาการครั้งต่อไป ทีป่ ระเทศไทย ทีจ่ ริงในขณะนัน้ ก็มผี เู้ สนอตัวขอจัดประชุม ACED ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย คือ Dr. K.T. Sirait, Bandung Institute of Technology Indonesia แต่ คณะกรรมการ ACED ยืนยันให้ผเู้ ขียนเป็นผูจ้ ดั ทีก่ รุงเทพฯ ผู้เขียนต้องรับเป็นผู้จัดประชุม แต่ขอจัดประชุมอีก 2 ปี ข้ า งหน้ า คื อ ค.ศ. 1996 ที่ โ รงแรมสยามอิ น เตอร์ คอนติเนนตัล 15-17 ตุลาคม ดังรูปที่ 3 [1] ถือเป็น ประสบการณ์การเป็นประธานจัดประชุมวิชาการระดับ นานาชาติ ต่อจากนั้น ACED จะจัดการประชุมทุก ๆ 2 ปีครั้ง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

68


3.2 คณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการ การจั ด ประชุ ม วิ ช าการให้ บ รรลุ ผ ลส� ำ เร็ จ ผู ้ จั ด ประชุม คือ ประธานต้องมีวสิ ยั ทัศน์ มองเห็นภาพรวมของ การประชุมทั้งหมด มีประสบการณ์ในด้านการจัดประชุม วิชาการ ต้องมีความรู้ดียิ่งในสาขาวิชาที่จัดประชุม และ ต้องมีการวางแผนจัดทีมงานให้พร้อมทุกด้าน มีคณะ ที่ปรึกษา คณะผู้บริหาร ฝ่ายการเงิน มีคณะกรรมการ จัดโปรแกรมด้านเทคนิค มีคณะจัดท�ำเอกสาร มีฝ่าย ต้อนรับ และรับลงทะเบียนมากพอ รูปที่ 3 ภาพถ่ายส่วนหนึ่งของผู้เข้าร่วมประชุมนานาชาติ ACED-1996 จัดโดย IEEE-Thailand Section, CEPT ที่โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

3.3 ผู้บรรยายหรือน�ำเสนอผลงานในที่ประชุม เมื่อเลือกหัวข้อเรื่องการประชุมแล้ว คณะผู้จัดก็ ต้องมองหาผู้บรรยายหรือเสนอผลงานวิจัย โดยท�ำการ ประกาศเชิญชวนผูท้ สี่ นใจ โดยเฉพาะนักวิจยั ในเรือ่ งนัน้ ๆ มาเสนอผลงาน อาจเป็นผู้บรรยายที่อยู่ในสถาบันของ ผู้จัดประชุมเอง หรือเชิญจากสถาบันอื่นมาเป็นผู้บรรยาย ในวงวิชาการจะทราบกันดีว่า เรื่องอะไร มีใครที่ไหนที่มี ความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเพื่อ ให้การประชุมวิชาการมีสีสัน มีคุณค่ายิ่งขึ้น จึงควรเชิญ ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นจากต่างประเทศมาเป็นผู้บรรยาย รับเชิญด้วย อาจจะรูจ้ กั กันเป็นการส่วนตัวจากทีเ่ คยศึกษา อยู่ในต่างประเทศ หรือจากการไปเข้าร่วมประชุมวิชาการ (Conference, Symposiums) ที่ต่างประเทศ หรืออาศัย การสอบถามผ่านบริษัท หรือตัวแทนในประเทศ ให้ช่วย ติดต่อกับสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป หรือญี่ปุ่น ฯลฯ มาเป็นผู้บรรยายรับเชิญ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 3. การวางแผนการจัดประชุมวิชาการ

การจัดประชุมวิชาการจะต้องมีการวางแผนจัดการ ประชุม เพื่อให้การประชุมวิชาการนั้นประสบผลส�ำเร็จ มีข้อคิดและแนวทางปฏิบัติในการวางแผนเรื่องต่าง ๆ คือ 1) หัวข้อเรื่องของการประชุมวิชาการ 2) คณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการ 3) ผู้บรรยายหรือน�ำเสนอบทความในที่ประชุม วิชาการ 4) สถานที่จัดการประชุมวิชาการ 5) ก�ำหนดวันการประชุมวิชาการ 6) การลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 7) พิธีเปิดการประชุมวิชาการ

3.1 หัวข้อเรื่องการประชุมวิชาการ การเลือกหัวข้อเรื่องการประชุมระดับสถาบันหรือ ระดับชาติที่มิได้ก�ำหนดไว้เป็นเรื่องเฉพาะทาง จ�ำเป็นต้อง เลือกหัวข้อเรื่องการประชุมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ในช่วงนัน้ ว่า อะไรเป็นเรือ่ งทีอ่ ยูใ่ นความสนใจของผูเ้ ข้าร่วม ประชุม เช่น เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ โครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ ผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อสิ่งมีชีวิต EMC-เทคโนโลยี ฯลฯ การเลือกหัวข้อเรื่องการประชุม ที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความสนใจเพื่ อ ให้ มี ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม จ� ำ นวนมาก อั น เป็ น เป้ า หมายหลั ก ประการหนึ่ ง ของ แผนการจัดการประชุมวิชาการ และได้รับการถ่ายทอด เทคโนโลยีตรงตามความต้องการซึง่ จะเกิดประโยชน์สงู สุด

3.4 สถานที่จัดการประชุมวิชาการ การเลือกสถานที่จัดการประชุมวิชาการขึ้นอยู่กับ ระดับการจัดการประชุม ถ้าเป็นระดับสถาบันก็มกั จัดอยูใ่ น คณะหรือมหาวิทยาลัยซึ่งมีห้องประชุมอยู่แล้ว โดยเลือก ขนาดห้องให้เหมาะสมกับจ�ำนวนผูเ้ ข้าร่วมประชุม บางครัง้ ก็ ค าดการณ์ ผิ ด ที่ คิ ด ว่ า จะมี ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม จ� ำ นวน ไม่มาก แต่กลับมีผู้เข้าร่วมประชุมจนล้นห้อง จึงต้องย้าย ห้องประชุมไปยังห้องประชุมที่ใหญ่กว่าอย่างกะทันหัน ฉะนั้นผู้จัดพึงระลึกถึงปัญหานี้ไว้ด้วย เพื่อจะได้แก้ปัญหา ได้ทันท่วงที

มีนาคม - เมษายน 2556

69


การประชุมวิชาการระดับชาติมกั จัดในมหาวิทยาลัย เพราะมีสถานทีป่ ระชุมขนาดใหญ่พร้อม และมีบรรยากาศ เป็นวิชาการด้วย กรณีจัดประชุมระดับนานาชาติส่วนใหญ่จะจัดที่ โรงแรม เพราะมีความสะดวกหลายประการ มีอปุ กรณ์และ ปัจจัยในการประชุมวิชาการพร้อม ด้านอาหารก็สะดวก ผูเ้ ข้าร่วมประชุมชาวต่างชาติจะสะดวกในเรือ่ งทีพ่ กั ไม่ตอ้ ง เดินทาง แต่ก็เคยพบปัญหาผู้ประชุมชาวต่างชาติกำ� หนด ค่าที่พักราคาถูก ไม่สามารถพักในโรงแรมที่จัดประชุมได้ ต้องไปหาโรงแรมทีพ่ กั ราคาถูกเตรียมไว้ให้ และต้องจัดรถ รับ-ส่งบริการให้ด้วย อย่างไรก็ดีควรเลือกสถานที่ประชุม เป็นสถานที่ที่รู้จักกันดี และมีความสะดวกในการเดินทาง

ฉะนั้นการลงทะเบีย นควรมีการเก็บเงินค่าลงทะเบี ย น โดยคิ ด ค่ า อาหารกลางวั น และเครื่ อ งดื่ ม รวมอยู ่ ด ้ ว ย ครั้งหนึ่งการจัดประชุมบรรยายวิชาการ มีการเก็บค่า ลงทะเบียนเป็นค่าเอกสารเท่านั้น ไม่มีการจัดอาหาร กลางวันให้ ปรากฏว่าถูกวิจารณ์มาก เพราะไม่สะดวก ไม่คุ้นเคยกับสถานที่ ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอให้เก็บค่า อาหารรวมอยู่ในค่าลงทะเบียน เพราะสามารถน�ำใบเสร็จ ไปเบิกจ่ายจากหน่วยงานที่สังกัดได้ 3.7 พิธีเปิดการประชุม ก่ อ นเริ่ ม การประชุ ม วิ ช าการอย่ า งเป็ น ทางการ จะต้องมีพิธีเปิดการประชุม โดยทั่วไปผู้จัดประชุมจะเชิญ ผู้ที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักในวงการมาเป็นประธาน กล่าวเปิด ซึ่งอาจจะระบุชื่อประธานดังกล่าวในเอกสาร การจัดประชุมได้ นอกจากจะมาเป็นประธานกล่าวเปิด แล้วก็อาจเรียนเชิญ (โดยแจ้งให้ทราบก่อนล่วงหน้า) ให้ปาฐกถาพิเศษ (Keynote address) ด้วย โดยพิจารณา เลือกบุคคลที่จะเป็นแรงดึงดูดหรือจูงใจให้มีผู้มาเข้าร่วม ประชุมได้ อาจเป็นผู้มีต�ำแหน่งส�ำคัญหรือต�ำแหน่งสูง ในองค์ ก รรั ฐ วิ ส าหกิ จ ในสถาบั น หรื อ มหาวิ ท ยาลั ย หรือมีชื่อเสียงอยู่ในวงการวิชาการนั้น ๆ ดังตัวอย่างภาพ ในรูปที่ 4

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

3.5 วัน เวลา ก�ำหนดการประชุมวิชาการ การก� ำ หนดวั น ประชุ ม ถื อ ว่ า เป็ น เรื่ อ งส� ำ คั ญ ประการหนึง่ ต้องค�ำนึงถึงผูท้ จี่ ะมาร่วมประชุมไม่มปี ญ ั หา เพื่อให้คนจ�ำนวนมากมาร่วมประชุมได้ หลีกเลี่ยงมิให้ตรง กับวันจัดประชุมวิชาการของสถาบันอืน่ ทัง้ ในประเทศและ ต่างประเทศ กรณีของต่างประเทศจะเป็นข้อดี ถ้าสามารถ จัดให้วันประชุมเหลื่อมก่อน หรือหลังวันประชุมวิชาการ ของประเทศใกล้เคียง หรือเส้นเดินทางผ่านประเทศไทย เพื่อให้สามารถเชิญผู้ประชุมเหล่านั้นมาแวะร่วมประชุม ที่ประเทศไทยได้สะดวก หรือเชิญเป็นผู้บรรยายรับเชิญ ได้ก็ยิ่งดี อนึง่ ควรหลีกเลีย่ งวันประชุมวิชาการมิให้ตรงกับวัน หยุด โดยเฉพาะวันหยุดติดต่อกันหลายวัน มีคนจ�ำนวนไม่ น้อยถือว่าวันหยุดยาวเหล่านี้เป็นวันครอบครัวที่จะพบกัน หรือท�ำกิจกรรมร่วมกันได้ เพราะการจัดประชุมวิชาการ วันราชการสามารถลามาร่วมประชุมได้ เคยได้รบั ค�ำท้วงติง จากผู้เข้าร่วมประชุมฯ การจัดประชุมวันหยุดท�ำให้เขา พลาดโอกาสท� ำ กิ จ กรรมกั บ ครอบครั ว ต้ อ งเลื อ กมา ประชุมฯ เพราะอยากได้ความรู้จากการเข้าร่วมประชุม

รูปที่ 4 ภาพพิธกี ล่าวเปิดสัมมนาเรือ่ ง วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง 3.6 การลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม สมควรอย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งมี ก ารลงทะเบี ย น และอีเอ็มซี เพื่อน�ำเสนอผลงานวิจัย ในโครงการ เมธีวิจัย โดยเฉพาะควรมีการก�ำหนดลงทะเบียนล่วงหน้า เพื่อจะ อาวุโส สกว. กล่าวเปิดโดย ศ.นพ.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย CEPT ได้ทราบจ�ำนวนผู้เข้าร่วมประชุมที่แน่นอน และทราบว่า ร่วมกับ สกว. วันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 มาจากไหน ช่วยให้สามารถจัดเตรียมเอกสารการประชุม ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Proceedings) และการเตรี ย มอาหารไว้ ใ ห้ เ พี ย งพอ การจัดท�ำจัดเตรียมสิง่ เหล่านีย้ อ่ มมีคา่ ใช้จา่ ยหลายประการ

70


4. กิจกรรมเสริมการประชุมวิชาการ

การจั ด ประชุ ม วิ ช าการมั ก จะมี กิ จ กรรมเสริ ม เพิ่มเติม ที่ท�ำให้การจัดประชุมวิชาการมีความสมบูรณ์ และประทับใจที่จดจ�ำได้ โดยทั่วไปจะจัดกิจกรรมเสริม เพิ่มเติมด้วยการจัดนิทรรศการวิชาการ และการพาชม สถานที่ด้านเทคนิค (Technical Tour) 4.1 การจัดนิทรรศการวิชาการ โดยที่ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้มีความตั้งใจเข้ามา รับความรูห้ รือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ผูจ้ ดั ประชุมควรสนองตอบ ให้เขาเหล่านัน้ ได้รบั ความรูม้ ากทีส่ ดุ ในโอกาสทีม่ าเข้าร่วม ประชุม การแสดงนิทรรศการเป็นวิธีทางหนึ่งที่จะเสริม ในเรื่ อ งการถ่ า ยทอดเทคโนโลยี หรื อ น� ำ เสนอผลงาน การศึกษาวิจัย และช่วยสร้างบรรยากาศให้มีความคึกคัก มากยิ่งขึ้น ซึ่งการแสดงนิทรรศการอาจเป็นในรูปของ โพสเตอร์ ร่วมกับของจริงทีเ่ ป็นนวัตกรรมทีพ่ ฒ ั นาประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นมาได้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เติมเต็ม จากที่ได้ยินได้ฟังจากการบรรยาย หรือน�ำเสนอในห้อง ประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมมีโอกาสชมผลงานนิทรรศการ ในเวลาก่อนถึงเวลาบรรยายหรือช่วงเวลาพัก ดังรูปที่ 5

4.2 การพาชมสถานที่ด้านเทคนิค โดยปกติการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ผู้จัดประชุมจะพาไปชมสถานที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือด้านเทคนิคพิเศษ เมื่อครั้งผู้เขีย นไปร่ วมประชุ ม ACED ครั้งแรกที่ประเทศจีน ใน ค.ศ. 1994 ผู้จัดประชุม พาไปชมสุ ส านฉิ น ซี ฮ ่ อ งเต้ ซึ่ ง เป็ น สถานที่ ส� ำ คั ญ ทาง ประวัติศาสตร์ของประเทศจีน เมื่ อ ครั้ ง ผู ้ เ ขี ย นเป็ น ประธานจั ด ประชุ ม วิ ช าการ นานาชาติ ACED-1996 ได้จดั พาไปชมห้องปฏิบตั กิ ารไฟฟ้า แรงสูงแห่งแรกของประเทศไทย ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [3] ขณะนั้นผู้เขียนเป็นหัวหน้า หน่วยปฏิบัติการวิจัยไฟฟ้าแรงสูง ต้องการให้ผู้เข้าร่วม ประชุม ACED จากต่างแดนได้ชมอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง ทีท่ นั สมัยในห้องปฏิบตั กิ ารฯ ทีม่ ไี ว้เพือ่ การศึกษาและวิจยั โดยเฉพาะต้องการให้ชมอุปกรณ์ชุดประกอบสร้างแรงสูง แบบคิท (High Voltage Construction Kit) 100-200 kV [4] ที่ผู้เขียนและผู้ร่วมงานได้พัฒนาประดิษฐ์คิดค้น ขึ้ น มาเองทั้ ง หมด เพื่ อ ใช้ ใ นการศึ ก ษาภาคปฏิ บั ติ ก าร ทดลองวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูงของนิสิต ดังรูปที่ 6

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 5 การแสดงนิทรรศการในงานประชุมวิชาการ เป็นโพสเตอร์พร้อมค�ำบรรยาย และชิ้นงานนวัตกรรม

รูปที่ 6 ภาพนิสิตศึกษาภาคปฏิบัติการทดลองวิศวกรรม ไฟฟ้าแรงสูงในห้องปฏิบัติการฯ (H.V. Lab.)

มีนาคม - เมษายน 2556

71


ผลของการพาผู้เข้าร่วมประชุม ACED ชมห้อง ปฏิบตั กิ ารไฟฟ้าแรงสูง พบว่าผูเ้ ข้าชมจากประเทศจีนและ ประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจเป็นพิเศษ เมื่อครั้งไปร่วมประชุม ACED - 2000 ที่ประเทศ ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ก็จัดให้มี Technical Tour พาชม SF6 - Substation (GIS) แบบกลางแจ้งทีใ่ หญ่มาก และพาไปชมโรงไฟฟ้าทันสมัยแบบ Fuel-Cell ต่อมา ACED - 2002 ประเทศเกาหลีผู้จัดประชุม ได้จัด Technical Tour พาไปชมระบบส่งจ่ายก�ำลังไฟฟ้า แรงสูงระบบ 765 kV เป็นระบบไฟฟ้ายุคใหม่ระดับ Ultra High Voltage ซึ่งการไฟฟ้าของประเทศเกาหลีท�ำการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบไฟฟ้าเป็นเวลา 15 ปี แล้ว จึงท�ำการออกแบบสร้างขึ้นเองได้ทั้งหมด เป็นที่ประทับใจ ที่สามารถท�ำเองได้

และช่วยให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่รับฟังบรรยายมาจากห้อง ประชุมดีขึ้น 7) การพาชมสถานที่ด้านเทคนิค ถือเป็นสิ่งส�ำคัญ (Highlight) ของการจัดประชุมวิชาการ ที่ผู้จัดมีผลงาน ด้านเทคโนโลยีไว้ให้ชม ท�ำให้เรื่องของประชุมวิชาการ มีความสมบูรณ์ขึ้น

เอกสารอ้างอิง [1] ACED – 96 The 8 th Asian Conference on Electrical Discharge October 15-17, 1996 Siam Inter – Continental Hotel, Bangkok, Thailand Organized by IEEE – Thailand Section and Chulalongkorn University. [2] CEPT Seminar on Electrical Power Engineering in 2000, 24–26 November 1999, Faculty of Engineering Chulalongkorn University. [3] ส�ำรวย สังข์สะอาด “ห้องปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูงที่ข้าพเจ้า รักและผูกพัน” หนังสือฉลอง 84 ปี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 6. บทสรุป คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2540 หน้า บทความนี้เขียนจากประสบการณ์ที่เคยจัดประชุม 5.38–5.45 [4] ส�ำรวย สังข์สะอาด “ห้องปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูงส�ำหรับ วิชาการหลายรูปแบบ เพือ่ เป็นข้อคิดเชิงกลยุทธ์แก่ผคู้ ดิ จะ สถาบั น การศึ ก ษา” นิ ต ยสารไฟฟ้ า สาร วิ ศ วกรรมสถานแห่ ง จัดประชุมวิชาการมือใหม่ สรุปได้คือ ประเทศไทย ฉบับที่ 1 มีนาคม–เมษายน 2554 หน้า 25–32

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

1) การจัดประชุมวิชาการ อาจอยู่ในรูปการจัด บรรยายหรือการจัดสัมมนา ซึง่ เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือน�ำเสนอเผยแพร่ผลงานวิจัยแก่คนหมู่มากได้ในเวลา เดียวกัน 2) การจัดประชุมวิชาการ อาจแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับสถาบัน ระดับชาติ และระดับนานาชาติ 3) การจัดประชุมวิชาการทีม่ งุ่ หวังบรรลุผลส�ำเร็จดี ผู้จัดประชุมต้องมีความรู้อย่างดีและกว้างขวางในเรื่องนั้น หรือสาขานั้น 4) กรณีการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ผู ้ จั ด ต้ อ งมี ป ระสบการณ์ ใ นการจั ด ประชุ ม วิ ช าการ ระดับชาติมาบ้างแล้ว และเป็นข้อดีหากเป็นที่รู้จักของ ชาวต่างชาติทมี่ าร่วมประชุม โดยเฉพาะอย่างยิง่ เป็นทีร่ จู้ กั ดี ของผูแ้ ทนของประเทศสมาชิก โดยเข้าร่วมประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติสม�่ำเสมอ 5) การจัดประชุมวิชาการให้มีประสิทธิภาพ ต้องมี การวางแผนการจัดการอย่างมีระบบ เกี่ยวกับการเลือก หัวข้อเรื่องประชุม ผู้บรรยาย สถานที่ประชุม ก�ำหนดวัน ประชุมที่สะดวกแก่ทุกฝ่าย 6) การจัดนิทรรศการในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับการประชุม วิชาการ จะช่วยเสริมให้งานประชุมวิชาการคึกคักมีชวี ติ ชีวา

72

ประวัติผู้เขียน

รศ.ดร.ส�ำรวย สังข์สะอาด • ขา้ ราชการบ�ำนาญ โดยรับราชการที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (2504–2539) • 2 5 3 9 – 2 5 4 3 ผู ้ อ� ำ น ว ย ก า ร ศู น ย ์ เ ชี่ ย ว ช า ญ พิ เ ศ ษ เ ฉ พ า ะ ด้านเทคโนโลยีไ ฟฟ้าก� ำลัง คณะ วิ ศ วกรรมศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • 2 534 นั ก วิ จั ย ดี เ ด่ น แห่ ง ชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ • 2536 วิศวกรดีเด่น สมาคมนิสติ เก่า วิ ศ วกรรมศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • 2 537 บุ ค ลากรดี เ ด่ น ประเภท ความสามารถทางวิชาการ ของคณะ วิ ศ ว ก ร ร ม ศ า ส ต ร ์ แ ล ะ ข อ ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • 2 539 เมธี วิ จั ย อาวุ โ ส สกว. ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย • 2006 (ปี 2549) PES Chapter Outstanding Engineer Award by Power Engineering Society, IEEE


Energy พลังงาน นายธวัชชัย ชยาวนิช ห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Maximum Demand กับความเข้าใจที่ถูกต้อง ในกิ จ กรรมอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งาน และลดต้นทุนค่าไฟฟ้านัน้ เรือ่ งของค่า ความต้องการพลังไฟฟ้า (นิยมเรียก กันว่าค่าดีมานด์) หรือ Maximum Demand ดูเป็นเรือ่ งทีไ่ ด้รบั ความสนใจ มากเรื่องหนึ่งทีเดียว เพราะในบาง สถานประกอบการมีค่าใช้จ่ายเฉพาะ ค่าดีมานด์นี้เดือนละหลายล้านบาท และในสถานประกอบการกลุ่ม SME อาจมีค่าดีมานด์คิดเป็นสัดส่วนที่มาก เมื่อเทียบกับค่าไฟฟ้าทั้งเดือน ค�ำว่า ดีมานด์นี้หากจะอธิบายให้ครบถ้วน แล้ว อาจอธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ได้ว่า ดีมานด์หมายถึงก�ำลังไฟฟ้าที่

สถานประกอบการใช้ตามพฤติกรรมจริง โดยถูกน�ำมาค�ำนวณหาค่าเฉลีย่ ทุก ๆ 15 นาที ปกติจะพูดกันในหน่วยเป็นกิโลวัตต์ (kW) นั่นหมายถึงใน 1 ชั่วโมง จะมีดีมานด์อยู่ 4 ค่า 1 วัน จะมี 96 ค่า 1 เดือน (30 วัน) จะมีดีมานด์ถึง 2,880 ค่า โดยค่าความต้องการพลังไฟฟ้าหรือ Maximum Demand มีนิยาม ว่าเป็นกิโลวัตต์เฉลีย่ ใน 15 นาทีทสี่ งู สุดในรอบเดือนนัน้ จึงหมายถึง ค่าดีมานด์ ที่สูงที่สุดในรอบเดือนนั้น ๆ นั่นเอง ส�ำหรับโครงสร้างไฟฟ้าอัตรา TOD หรือ TOU ให้พิจารณาจากช่วงเวลาที่การไฟฟ้าก�ำหนดว่า ช่วงเวลาใดเป็นช่วงเวลา ที่มีการคิดค่าดีมานด์ ซึ่งมีรายละเอียดที่ต่างกันดังรูปที่ 1 ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ ถูกก�ำหนดว่า Off Peak จะไม่คดิ ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า นัน่ หมายถึงจะใช้ ก�ำลังไฟฟ้าสูงแค่ไหนก็ไม่ถกู เรียกเก็บค่าดีมานด์จากการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลานี้ ดังจะสังเกตได้จากตัวอย่างรายละเอียดในรูปที่ 2 ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ของการไฟฟ้านครหลวง (ค่าไฟฟ้าอัตราเดียวกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ต่างกันเพียงระดับแรงดันจ�ำหน่ายที่การไฟฟ้านครหลวงใช้ 12-24 กิโลโวลต์ แต่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ 22-33 กิโลโวลต์)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ โครงสร้างค่าไฟฟ้าอัตราตามช่วงเวลาของวัน (Time of Day Tariff : TOD Tariff) ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าจะคิดเฉพาะในช่วง On Peak และ Partial Peak โดยมีรายละเอียดของช่วงเวลา คือ On Peak : เวลา 18.30-21.30 น. ของทุกวัน Partial Peak : เวลา 08.00-18.30 น. ของทุกวัน คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่เกินจากช่วง On Peak Off Peak : เวลา 21.30-08.00 น. ของทุกวัน ไม่คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า โครงสร้างค่าไฟฟ้าอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff) ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าจะคิดเฉพาะในช่วง On Peak โดยมีรายละเอียดของช่วงเวลา คือ On Peak : เวลา 09.00-22.00 น. วันจันทร์-วันศุกร์ Off Peak : เวลา 22.00-09.00 น. วันจันทร์–วันศุกร์ รวมวันเสาร์-วันอาทิตย์ทั้งวัน + วันแรงงานแห่งชาติ + วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย) รูปที่ 1 การก�ำหนดช่วงเวลาตามโครงสร้างค่าไฟฟ้าอัตรา TOD และ TOU มีนาคม - เมษายน 2556

73


รูปที่ 2 อัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ของการไฟฟ้านครหลวง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

• ลั ก ษณะการใช้ ไ ฟฟ้ า ที่ พึ ง ประสงค์ ค วรเป็ น อย่ า งไร ? (ค่าไฟฟ้าจึงจะถูกลง)

ในการพิจารณาเรื่องค่าดีมานด์นั้น มีมุมมองที่น่าพิจารณา 2 ประเด็น ใหญ่ ๆ คือ 1. จากรูปที่ 2 ในช่วง Off Peak ไม่เสียค่าดีมานด์เลย และค่าพลังงาน ไฟฟ้าราคาถูกลงเยอะ จึงควรเน้นใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลานี้ 2. เนื่องจากในการใช้ไฟฟ้า หากเกิดค่าดีมานด์ที่สูงในช่วงเวลาใดเวลา หนึ่งแล้ว แต่ในช่วงเวลาอื่น ๆ ดีมานด์กลับมีค่าน้อย ถือว่าไม่คุ้มที่จะเสีย ค่าดีมานด์สูง ๆ หากสามารถกระจายการใช้ไฟฟ้าให้ค่อนข้างสม�่ำเสมอแล้ว เกิดค่าดีมานด์ใกล้เคียงกันเกือบตลอดเวลา ถือว่าเสียค่าดีมานด์คุ้ม ดังกรณี เปรียบเทียบในรูปที่ 3 ที่แสดงให้พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ท�ำให้ กรณีในรูป ก. ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยมีค่าค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับกรณีในรูป ข. เพราะต้องจ่ายค่าดีมานด์มากนัน่ เอง ส�ำหรับรูปที่ 4 แสดงให้เห็นพฤติกรรม การใช้ไฟฟ้าเป็นรายสัปดาห์ของสถานประกอบการ 3 แห่ง ที่แตกต่างกัน โดยสถานประกอบการที่มีค่าดีมานด์สูงในช่วง On Peak และมีค่าดีมานด์ตำ�่ ในช่วง Off Peak จะมีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยค่อนข้างสูง

74

ดังนัน้ หากสถานประกอบการมี การใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนือ่ งตลอดทัง้ วัน ลักษณะการใช้ไฟฟ้าทีพ่ งึ ประสงค์กค็ อื พยายามบริ ห ารให้ มี ก ารใช้ ไ ฟฟ้ า ที่ ค่อนข้างสม�ำ่ เสมอหรือเน้นไปใช้ไฟฟ้า ในช่วง Off Peak ให้มากนั่นเอง อนึ่ง กราฟการใช้ไฟฟ้าในรูปที่ 3 และรูปที่ 4 เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของ การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าคทีไ่ ด้รบั การติดตัง้ เครื่ อ งวั ด หน่ ว ยระบบ AMR แล้ ว สามารถเรียกดูผา่ นระบบอินเทอร์เน็ต ได้ ฟ รี โดยเป็ น ข้ อ มู ล เดี ย วกั บ ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าคน�ำมาคิดค่าไฟฟ้า ทั้ ง นี้ ระบบจะมี ก ารรั บ ข้ อ มู ล จาก เครื่องวัดหน่วยหน้าสถานที่ใช้ไฟฟ้า ทุก ๆ 15 นาที (เป็นระบบไร้สาย) โดยมีการจัดเก็บข้อมูลทัง้ หน่วยไฟฟ้า ทีใ่ ช้และก�ำลังไฟฟ้าในแต่ละขณะเวลา


ร า ส า ้ ฟ ไฟ ก. เกิดดีมานด์สูงในบางช่วงเวลา ขณะที่ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ดีมานด์มีค่าต�่ำกว่ามาก

ข. เกิดดีมานด์สูงค่อนข้างสม�่ำเสมอตลอดทั้งวัน

รูปที่ 3 พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกัน 2 กรณี

มีนาคม - เมษายน 2556

75


ก. ท�ำงานวันละ 1 กะ หยุดวันอาทิตย์ ค่าดีมานด์สูงในช่วง On Peak

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ข. ท�ำงานทั้งวัน วันเสาร์-วันอาทิตย์ใช้ไฟฟ้าลดลงบ้าง ค่าดีมานด์สูงเกือบทั้งสัปดาห์ มีการใช้ไฟฟ้าพุ่งสูงในบางเวลา

ค. มีการใช้ไฟฟ้าระดับหนึ่งเป็นค่าฐาน มีการใช้ไฟฟ้าพุ่งสูงในบางเวลา ค่าดีมานด์สูงในช่วง On Peak รูปที่ 4 พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเป็นรายสัปดาห์ 3 กรณีที่แตกต่างกัน

76


• เปิดอุปกรณ์แล้วกระแสพุ่งสูงจะท�ำให้ดีมานด์สูงหรือไม่ ? ผู ้ ป ฏิ บั ติ ก ารบางท่ า นอาจมี ค วามเข้ า ใจที่ คลาดเคลื่อนว่า เมื่อเปิดหรือสตาร์ตอุปกรณ์แล้วกระแส พุ่งสูงจะท�ำให้ดีมานด์สูงด้วย ท�ำให้มีการวางแผนการใช้ ไฟฟ้าว่าเมื่อเปิดอุปกรณ์กลุ่มแรกหรือตัวแรกแล้ว ให้รอ ไปอีก 15 นาที จึงค่อยเปิดอุปกรณ์กลุ่มที่ 2 หรือตัวที่ 2 และให้รออีก 15 นาที เพื่อเปิดอุปกรณ์กลุ่มถัดไปหรือ ตัวถัดไป เพื่อหลีกเลี่ยงการกระชากไฟสูง ๆ ในช่วงเวลา เดียวกัน การที่ให้รอ 15 นาที ก็เพื่อให้การเกิดดีมานด์ สูงกระจาย ๆ กันไปในคนละช่วงเวลานั่นเอง (ไม่ให้เกิด ดีมานด์สูงในช่วงเวลาที่เปิดพร้อมกัน) ซึ่งแนวคิดนี้ถูก น�ำไปใช้แพร่หลายมาก ซึ่งมีหลายกรณีที่สามารถพิสูจน์ ได้วา่ แนวคิดดังกล่าวไม่ถกู ต้อง ผลการตรวจวัดไม่ได้แสดง ให้เห็นว่าเป็นอย่างที่เข้าใจเลย เพราะค่าดีมานด์คิดจาก ค่าเฉลี่ยของก�ำลังไฟฟ้าทุก ๆ 15 นาที หรือทุก ๆ 900 วินาที การพุ่งสูงของกระแสไฟฟ้าเพียงชั่วขณะอาจไม่ได้ ส่งผลกระทบอย่างมีนัยส�ำคัญต่อค่าดีมานด์เลย จึงควร ท�ำการตรวจวัดกระแสไฟฟ้าประกอบการตัง้ ข้อสังเกต เช่น • ถ้ากระแสพุ่งสูงตั้งแต่เริ่มท�ำงาน และยังคงอยู่ ในระดับที่สูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดีมานด์ในช่วงเวลานี้ ก็น่าจะสูงด้วย

• ถ้ากระแสพุง่ สูงตอนเริม่ ท�ำงาน และลดลงในเวลา อันสั้น ก็ไม่น่าจะสร้างผลกระทบต่อดีมานด์ ทัง้ นี้ การวัดก�ำลังไฟฟ้าอย่างต่อเนือ่ งจะเป็นการหา ค�ำตอบได้ดที สี่ ดุ เพราะจะช่วยไขข้อสงสัยได้อย่างกระจ่างชัด ดังกรณีก�ำลังไฟฟ้าในรูปที่ 5 ที่บันทึกตั้งแต่เริ่มเปิดหลอด เมทัลฮาไลด์จนกระทั่งสว่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันหลอดชนิดนี้ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อต้องเปิดไฟพร้อมกันเป็น จ�ำนวนมากก็สร้างความวิตกให้แก่สถานประกอบการว่าจะ ท�ำให้ดีมานด์ในช่วงเวลานั้นสูงมากหรือไม่ จากกราฟจะเห็นว่า กราฟพุ่งสูงเพียงไม่กี่วินาที เท่ า นั้ น แล้ ว ลดลงมา จากนั้ น ก� ำ ลั ง ไฟฟ้ า เพิ่ ม มากขึ้ น พร้อมกับความสว่างของหลอดทีม่ ากขึน้ นัน่ หมายความว่า เมื่อเปิดอุปกรณ์ชนิดนี้แล้ว จังหวะที่กระแสพุ่งสูงไม่ได้ ท�ำให้เกิดดีมานด์สูงแต่อย่างใด เพราะดีมานด์แต่ละช่วง เวลาต้องเฉลี่ยจากกราฟทุก ๆ 900 วินาที หากดีมานด์ จะสูง ก็น่าจะสูงจากการใช้งาน (เมื่อหลอดสว่างเต็มที่ ก็ใช้ไฟเต็มที่) ไม่ใช่จากการเปิดหลอดแต่อย่างใด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 5 ก�ำลังไฟฟ้าเมื่อเปิดหลอดเมทัลฮาไลด์ขนาด 250 W

พิจารณารูปที่ 6 ซึง่ ได้มาจากการบันทึกก�ำลังไฟฟ้า ของมอเตอร์เหนีย่ วขนาด 37 kW ในโรงงานแห่งหนึง่ ตัง้ แต่ เริม่ สตาร์ตจนกระทัง่ กระบวนการผลิตด�ำเนินต่อเนือ่ งไปจะ พบว่า ในช่วงเริ่มสตาร์ตก�ำลังไฟฟ้าจะพุ่งสูงเพียงชั่วขณะ เท่านัน้ (เพราะมอเตอร์หมุนตัวเปล่า ยังไม่มภี าระทางกล) และเมือ่ รอไปราว 90 วินาที มอเตอร์จงึ มีการใช้กำ� ลังไฟฟ้า มากขึ้น เนื่องจากวัสดุถูกล�ำเลียงมาถึงเครื่องจักรพอดี

มอเตอร์จงึ ต้องออกแรงท�ำงาน ในกรณีนจี้ งั หวะทีก่ ระแสพุง่ สูง ตอนสตาร์ตมอเตอร์ไม่ได้ท�ำให้เกิดดีมานด์สูงแต่อย่างใด เพราะดีมานด์แต่ละช่วงเวลาต้องเฉลี่ยจากกราฟทุก ๆ 900 วินาที ดังนัน้ หากดีมานด์จะสูง ก็นา่ จะสูงจากการใช้ งานมอเตอร์ (มอเตอร์ออกแรงท�ำงาน) เสียมากกว่า อนึ่ง พฤติกรรมการสตาร์ตมอเตอร์ของแต่ละโรงงานจะแตกต่าง กันไปตามลักษณะของเครื่องจักรและกระบวนการผลิต มีนาคม - เมษายน 2556

77


รูปที่ 6 ก�ำลังไฟฟ้าเมื่อสตาร์ตมอเตอร์เหนี่ยวขนาด 37 kW (กรณีการใช้งานลักษณะหนึ่ง)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

โรงงานขนาดเล็กแห่งหนึ่ง เมื่อเปิด (สตาร์ต) เครื่ อ งจั ก รในตอนเช้ า แล้ ว จะไม่ ป ิ ด เครื่ อ งจั ก รตอน พักกลางวัน 1 ชั่วโมง เพราะกลัวว่าเมื่อกลับมาท�ำงานใน ช่วงบ่ายจะต้องเปิดเครือ่ งจักรใหม่กจ็ ะกระชากไฟอีกครัง้ กลัวว่าดีมานด์จะสูง จึงเปิดเครือ่ งจักรทิง้ ไว้ตอนพักกลางวัน ทุ ก วั น วั น ละ 1 ชั่ ว โมง ซึ่ ง ความเข้ า ใจเช่ น นี้ ดู จ ะ คลาดเคลือ่ นไปมาก เพราะได้รบั ฟังค�ำแนะน�ำทีบ่ อกต่อ ๆ กันมาหากจะพิจารณาให้ดีก็อาจจะตั้งข้อสังเกตได้ว่าเมื่อ ท�ำการเปิดเครื่องจักรในวันที่ 1 ของเดือน และสมมุติว่า การเปิดเครื่องจักรนี้ท�ำให้เกิดดีมานด์สูงค่าหนึ่ง หากจะ ท�ำการเปิดเครื่องจักรในวันอื่น ๆ และในช่วงเวลาอื่น ๆ ของเดือนเดียวกันนี้ ค่าดีมานด์ก็ไม่น่าจะสูงไปกว่าการ เปิดเครื่องจักรในวันที่ 1 ของเดือน เพราะเปิดอุปกรณ์ เดิม และท�ำงานเหมือนเดิม ! ดังนัน้ หากจะปิดเครือ่ งจักร

ตอนพักกลางวัน แล้วเปิดใหม่อกี ครัง้ ในตอนบ่าย การเปิด ใหม่นกี้ ไ็ ม่ควรสร้างดีมานด์ทสี่ งู ไปกว่าตอนเช้าด้วยเช่นกัน ในทางกลับกัน การเปิดเครื่องจักรทิ้งไว้ในช่วงพักกลางวัน จะท�ำให้เกิดการสูญเสียพลังงาน (เสียค่าไฟฟ้า) โดย เปล่าประโยชน์อีกด้วย เมื่อได้ทดสอบการเปิดเครื่องจักร ว่ามีผลต่อค่าดีมานด์หรือไม่ อย่างไร โดยท�ำการบันทึก ก�ำลังไฟฟ้าขณะเปิดเครื่องจักรของโรงงานแห่งนี้ จะได้ ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าดังรูปที่ 7 ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงเริ่มต้น ท�ำงานนั้นก�ำลังไฟฟ้าจะพุ่งสูงเพียงชั่วขณะเท่านั้น แล้ว ก�ำลังไฟฟ้าก็ลดลงมา จากนั้นก�ำลังไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้น เมือ่ กระบวนการผลิตเริม่ ท�ำงานเต็มที่ ดังนัน้ หากดีมานด์ จะมีค่าสูง ก็น่าจะสูงจากการใช้งาน ไม่ใช่จากการเปิด เครื่องจักรแต่อย่างใด

รูปที่ 7 ก�ำลังไฟฟ้าเมื่อสตาร์ตเครื่องจักรกระบวนการหนึ่ง

78


• เปิดเครื่องท�ำน�้ำเย็น (Water Chiller) ก่อนช่วง ON Peak ดีหรือไม่ ? ในอาคารปรับอากาศขนาดใหญ่ การใช้ไฟฟ้าของ ระบบปรับอากาศถือเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดของการใช้ ไฟฟ้าทั้งอาคาร และเครื่องท�ำน�ำ้ เย็น (Water Chiller) ก็มี พิ กั ด ก� ำ ลั ง ไฟฟ้ า ค่ อ นข้ า งสู ง หากในช่ ว งเปิ ด ระบบ เครื่องท�ำน�ำ้ เย็นกระชากไฟสูงหรือใช้ไฟสูงเป็นเวลานานก็ น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนยั ส�ำคัญต่อค่าดีมานด์ของอาคาร ดังนัน้ ในด้านการจัดการพลังงานหรือการบริหารค่าไฟฟ้า จึงมักจะหลีกเลี่ยงการเปิดใช้งานระบบในช่วง On Peak พิจารณาช่วงเวลา On Peak ของอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ในรูปที่ 8 ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เวลา 9.00–22.00 น. ของวันจันทร์ถงึ วันศุกร์ (13 ชัว่ โมงต่อวัน) โดยในช่วงเวลา นีผ้ ใู้ ช้ไฟฟ้าต้องเสียค่าพลังงานไฟฟ้าในอัตราทีแ่ พงกว่าช่วง Off Peak และต้องเสียค่าดีมานด์อีกด้วย และเนื่องจาก ช่วง On Peak ครอบคลุม 13 ชั่วโมงต่อวัน ยากที่จะ หลบเลีย่ งได้ จึงเกิดแนวคิดในลักษณะทีว่ า่ หากท�ำการเปิด ระบบปรับอากาศก่อน 9.00 น. เป็นเวลานาน ๆ น่าจะ ช่วยให้อุณหภูมิในอาคารเย็นทันการเปิดใช้งานพื้นที่ และ เมื่อเข้าสู่ช่วงเวลา On Peak การใช้ไฟฟ้าน่าจะลดลงแล้ว (ดีมานด์จะลดลงก่อน 9.00 น.) กรณีเช่นนี้การตรวจวัด จะให้ค�ำตอบที่ชัดเจนสุด เพราะเครื่องท�ำน�้ำเย็นมีหลาย แบบ หลายประเภท สภาพเก่าใหม่แตกต่างกันไปในแต่ละ อาคารจึงไม่สามารถสรุปเป็นกฎเกณฑ์ดว้ ยข้อมูลตรวจวัด เพียงจ�ำนวนหนึ่ง ในการตรวจวัดการใช้ไฟฟ้าของเครื่องท�ำน�้ำเย็น ขนาด 500 ตันความเย็น ที่มีพิกัดก�ำลังไฟฟ้า 328 kW

เพื่ อ ประกอบการวางแผนการจั ด การพลั ง งานของห้ า ง สรรพสินค้าขนาดใหญ่แห่งหนึง่ โดยเริม่ เปิดตอน 8.38 น. มีกราฟก�ำลังไฟฟ้าดังรูปที่ 9 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเครื่องท� ำ น�้ำเย็นของห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ไม่ได้มีพฤติกรรมใช้ไฟ มากตอนเริ่มเดินเครื่องอย่างมีนัยส�ำคัญเลย และเป็นที่ น่าสังเกตด้วยว่าเครื่องท�ำน�้ำเย็นเครื่องนี้ใช้ไฟเต็มที่เมื่อ เวลาผ่านไปราว 6 นาที นั่นหมายความว่า ไม่อาจกล่าว ได้วา่ การเปิดเครือ่ งท�ำน�ำ้ เย็นนีจ้ ะท�ำให้เกิดดีมานด์สงู อย่าง ที่มักจะเข้าใจกัน เมื่อตรวจสอบกับข้อมูลการใช้ไฟฟ้า จากระบบ AMR ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะได้ข้อมูล เปรียบเทียบดังรูปที่ 10 ซึ่งจะเห็นว่า ในรูป ก. ดีมานด์ใน ช่วง 8.45–9.00 น. สูงขึ้นจากการเปิดใช้งานเครื่องท�ำน�้ำ เย็นและระบบต่าง ๆ ในห้าง ทั้งนี้ ดีมานด์ในช่วงเวลานี้ยัง ไม่ใช่ดีมานด์ที่สูงที่สุดของห้างนี้ เพราะดีมานด์ในช่วงเลย เวลา 12.00 น. ไปแล้ว เป็นช่วงที่สูงที่สุดในรอบวัน ในรูป ข. แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าดีมานด์สงู สุดในรอบสัปดาห์ ไม่ได้เกิดจากการเปิดใช้เครื่องท�ำน�้ำเย็นในช่วงเช้าเลย ดังนัน้ การได้ตรวจวัดการใช้ไฟฟ้าของเครือ่ งท�ำน�ำ้ เย็น ของแต่ละอาคาร และการใช้ไฟฟ้ารวมทัง้ อาคาร จะช่วยให้ เข้าใจพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าและการเกิดดีมานด์ที่ชัดเจน มากขึ้น สามารถลดการใช้พลังงานจากการเปิดเครื่องท�ำ น�ำ้ เย็นก่อนเวลาใช้งานจริงลงได้อกี ด้วย ส�ำหรับอาคารทีม่ ี การเปิดใช้งานเครื่องท�ำน�้ำเย็นอย่างต่อเนื่อง มีตัวอย่าง ข้อมูลจากการตรวจวัดดังรูปที่ 11 ซึ่งจะพบว่ามีการใช้ ไฟฟ้ามากในช่วงกลางวัน และจะลดลงในช่วงเข้าสู่วันใหม่

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 8 ช่วงเวลา On Peak ของอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU

รูปที่ 9 การใช้ไฟฟ้าของเครื่องท�ำน�้ำเย็นรุ่นหนึ่ง

มีนาคม - เมษายน 2556

79


ร า ส า ้ ฟ ไฟ ก. ข้อมูลขณะเปิดเครื่องท�ำน�ำ้ เย็น

ข. ข้อมูลการใช้ไฟฟ้ารวมทั้งหมดเป็นรายสัปดาห์ รูปที่ 10 ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจากระบบ AMR

รูปที่ 11 การใช้ไฟฟ้าของเครื่องท�ำน�้ำเย็นที่ท�ำงานแบบต่อเนื่อง

80


อีกกรณีศกึ ษาหนึง่ คือ การเปิดใช้งานระบบแช่แข็ง ของโรงงานอุ ต สาหกรรมด้ า นอาหารแห่ ง หนึ่ ง ซึ่ ง มี การวางแผนการเปิดใช้งานระบบห่างกันเครือ่ งละ 15 นาที ท� ำ ให้ ต ้ อ งมี ก ารท� ำ งานล่ ว งเวลาในช่ ว งเย็ น ของทุ ก วั น เนื่ อ งจากการเปิดระบบที่ไม่พร้อมกัน ท� ำให้การผลิต เสร็จไม่ทันในช่วงเวลาท�ำงานปกติ เมื่อได้ท�ำการตรวจวัด การใช้ไฟฟ้าจะได้ข้อมูลดังรูปที่ 12 ซึ่งจะพบว่าขณะเปิด ใช้งานการใช้ไฟฟ้าจะพุ่งสูงเป็นระยะเวลาชั่วครู่เท่านั้น หรือช่วงที่เปิดใช้งานไม่ได้ท�ำให้ดีมานด์มีค่าสูงแต่อย่างใด หากดีมานด์จะสูงก็สงู เพราะระบบใช้ไฟฟ้าท�ำงานตามปกติ เสียมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจากระบบ AMR ก็จะได้ข้อมูลที่สอดคล้องกัน

จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้น�ำเสนอในบทความนี้เป็น ข้อมูลจากการตรวจวัดจริง ซึ่งจะท�ำให้เห็นว่าความเข้าใจ บางประการเกี่ยวกับการเกิดดีมานด์สูงสุดอาจไม่ตรงกับ สิ่งที่ได้รับการบอกต่อ ๆ กันมาก็ได้ อาจจะมีบางกรณีที่ ตรงกับสิ่งที่ได้ยินมา และอาจจะมีบางกรณีที่ไม่สอดคล้อง กับสิ่งที่ได้ยินมา การหาค�ำตอบที่ดีที่สุดคือการตรวจวัด การใช้ไฟฟ้า เพราะจะท�ำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ปัญหา หนึ่งของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน คือ การมีเครื่องมือ ไม่เพียงพอ ท�ำให้ขาดข้อมูลประกอบการวางแผนบริหาร จัดการการใช้พลังงาน จึงจ�ำเป็นต้องอาศัยการสังเกตและ ตรวจวัดทางอ้อมเข้าช่วย เช่น สังเกตพฤติกรรมของกระแส ไฟฟ้าเมื่อเริ่มเปิดใช้งาน และหาโอกาสสอบทานข้อมูลกับ ผู้มีประสบการณ์โดยตรง เพราะข้อมูลบางอย่างอาจจะหา ได้ยากในเอกสารหรือต�ำราทั่วไป สวัสดี

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ก. การใช้ไฟฟ้าขณะเปิดใช้ระบบแช่แข็ง (วัดรวมกับโหลดอื่น ๆ ที่ตู้ควบคุมเดียวกัน)

ข. ข้อมูลการใช้ไฟฟ้ารวมจากระบบ AMR รูปที่ 12 การใช้ไฟฟ้าของระบบแช่แข็งในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง กิตติกรรมประกาศ ในการเขียนบทความนี้ ผู้เขียนต้องใช้ข้อมูลจากการตรวจวัดจริงหลายกรณีมาประกอบการอธิบาย จึงใคร่ขอขอบพระคุณ กลุ่มวิจัย เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (EnConLab) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ได้ช่วยสนับสนุนข้อมูลบางส่วน เพื่อให้เกิด ความชัดเจนในการน�ำเสนอกรณีตัวอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านโดยตรง มีนาคม - เมษายน 2556

81


Energy พลังงาน นายศุภกร แสงศรีธร กองพัฒนาระบบไฟฟ้า ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อีมล : supakorn.sae@pea.co.th

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในพื้นที่นอกชายฝั่งทะเล ตอนที่ 2.1 การประเมินศักยภาพพลังงานลม ในพื้นที่นอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยของ PEA

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

1. บทน�ำ

เมื่ อ ฉบั บ ที่ แ ล้ ว ได้ ก ล่ า วถึ ง ตัวอย่างการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน ลมในพื้ น ที่ น อกชายฝั ่ ง ทะเลของ ประเทศเดนมาร์ ก ไปแล้ ว ซึ่ ง เป็ น ประเทศตัวอย่างที่ดีในการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานลมในพื้นที่นอกชายฝั่ง ทะเล เหตุ ผ ลส� ำ คั ญ ในการพั ฒ นา พลั ง งานลมนอกชายฝั ่ ง ทะเลของ ประเทศเดนมาร์กคือ การไม่ยอมรับ การผลิ ต ไฟฟ้ า จากฟาร์ ม กั ง หั น ลม บนแผ่นดินใหญ่ นอกจากนี้ศักยภาพ พลังงานลมในพื้นที่นอกชายฝั่งทะเล ของประเทศเดนมาร์กมีความเร็วลม ที่สูงมากเหมาะสมส�ำหรับการติดตั้ง ฟาร์มกังหันลม ซึง่ จากผลการเก็บและ วิเคราะห์ข้อมูลพบว่าความสามารถ ในการผลิตไฟฟ้าของฟาร์มกังหันลม (Capacity Factor : CF) มีค่าสูงถึง 45% ส� ำ หรั บ ในฉบั บ นี้ จ ะกล่ า วถึ ง การศึกษาประเมินศักยภาพพลังงาน ลมในพื้นที่นอกชายฝั่งทะเลบริเวณ อ่าวไทย ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ก� ำ ลั ง ด� ำ เนิ น การศึ ก ษาอยู ่ โดยจะกล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป

82

2. ความจ�ำเป็นในการประเมินศักยภาพพลังงานลมนอก ชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทย

ในการจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผใู้ ช้ไฟบนเกาะจะมีตน้ ทุนทีส่ งู กว่าการจ่ายไฟบน แผ่นดินใหญ่ อีกทัง้ พืน้ ทีบ่ นเกาะมีจำ� กัด ราคาทีด่ นิ บนเกาะมีราคาแพง รวมทัง้ ความต้องการพลังงานไฟฟ้าบนเกาะบางช่วงเวลาสูงกว่าความสามารถจ่ายไฟ ของ PEA ดังนั้นการพิจารณาน�ำพลังงานสะอาดมาช่วยเสริมพลังงานไฟฟ้า จากแผ่นดินใหญ่จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ความเร็วลมนอกชายฝั่งทะเลจะมีศักยภาพสูงกว่าความเร็วลมบน แผ่นดินใหญ่ เนื่องจากอิทธิพลของสภาพภูมิประเทศที่ไม่เหมือนกันโดยบน แผ่นดินใหญ่จะมีความขรุขระสูงกว่า ความเร็วลมจึงมีความสม�ำ่ เสมอน้อยกว่า ดังนั้นพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันลมก็จะมีความผันผวนตามไปด้วย อย่างไรก็ตามการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งทะเลจะมีต้นทุนที่ สูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานลมบนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าใน การศึกษาศักยภาพแหล่งพลังงานลม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การติดตั้งกังหันลมในทะเล และการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าบนแผ่นดินใหญ่ ในการศึกษาศักยภาพพลังงานลมนอกชายฝั่งทะเล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ ถูกต้องเชื่อถือได้จะต้องมีการตั้งเสาวัดลมที่ระดับความสูงเดียวกับความสูง ส่วนกลางส่วนหมุนของกังหันลมทีค่ าดว่าจะติดตัง้ โดยส่วนใหญ่จะอยูป่ ระมาณ 80-100 เมตร และส�ำหรับการประเมินศักยภาพพลังงานลมต้องเก็บข้อมูลเป็น ระยะเวลาไม่นอ้ ยกว่า 1 ปี ซึง่ ในการติดตัง้ เครือ่ งวัดพลังงานลมดังกล่าวจะต้อง ใช้งบประมาณจ�ำนวนมาก และต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานแหล่งทรัพยากรลม จากแผนที่ลมที่มีความน่าเชื่อถือสูงเพื่อการติดตั้งเสาวัดลม โดยในการจัดท�ำ แผนที่ศักยภาพพลังงานลมที่มีความน่าเชื่อถือก่อนที่จะมีการติดตั้งเสาวัดลม จริง จ�ำเป็นที่จะต้องใช้ระบบเทคโนโลยีภูมิศาสตร์สารสนเทศ และแบบจ�ำลอง ทางคณิตศาสตร์ของบรรยากาศขั้นสูงในระดับเมโซสเกล/จุลภาค ส�ำหรับ การวิเคราะห์แหล่งทรัพยากรลม นอกจากนี้จะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้


ในการติดตั้งเสาวัดลม โดยจะต้องศึกษาถึงระดับความลึก แหล่งท่องเทีย่ ว เขตอุทยานแห่งชาติ แหล่งหญ้าทะเล พืน้ ที่ ของน�ำ้ ทะเลและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย แหล่งส�ำรวจปิโตรเลียม แนวเคเบิลใต้น�้ำของการสื่อสาร แห่งประเทศไทย แนวสายไฟแรงสูงและสายไฟแรงสูง ใต้นำ�้ แนวเส้นทางเดินพายุ เป็นต้น ซึง่ สามารถยกตัวอย่าง 3. แนวทางการด�ำเนินการศึกษา ให้เห็นได้ดังรูปที่ 2-5 3.1 พื้นที่ศึกษา พื้ น ที่ ใ นการศึ ก ษาจะพิ จ ารณาพื้ น ที่ ที่ มี ค วามลึ ก ของน�ำ้ ไม่เกิน 50 เมตร เนื่องจากข้อจ�ำกัดการลงทุนและ เทคโนโลยีการติดตั้งกังหันลมในทะเล โดยขอบเขตของ พืน้ ทีศ่ กึ ษาประกอบด้วยพืน้ ทีน่ อกชายฝัง่ ทะเลของจังหวัด สุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช มีขอบเขตอยู่ ระหว่างพื้นที่ที่ห่างจากฝั่งระยะทาง 20 กิโลเมตรขึ้นไป จนถึงพื้นที่ที่มีระดับความลึกของน�้ำไม่เกิน 50 เมตร ซึ่งแสดงขอบเขตของพื้นที่ศึกษาได้ดังรูปที่ 1

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 2 พื้นที่ประมงชายฝั่งระยะ 5 กิโลเมตร

รูปที่ 1 ขอบเขตการศึกษา

ในการใช้ ป ระโยชน์ พื้ น ที่ ท างทะเลเพื่ อ พั ฒ นา โรงไฟฟ้าฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งทะเลจะเกี่ยวข้องกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันบริเวณ พื้ น ที่ ที่ ด� ำ เนิ น การศึ ก ษา ดั ง นั้ น จะต้ อ งพิ จ ารณาถึ ง ส่วนประกอบต่าง ๆ ได้แก่ การท�ำประมงชายฝั่ง เส้นทาง การเดิ น เรื อ โดยสาร ท่ า เที ย บเรื อ แนวปะการั ง สนามบินและเขตกันชนการขึน้ -ลงอากาศยาน แนวสันทราย

รูปที่ 3 เส้นทางเดินเรือโดยสาร

มีนาคม - เมษายน 2556

83


3.2 เกณฑ์การพิจารณาการติดตั้งโรงไฟฟ้าฟาร์ม กังหันลม หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการพัฒนาโครงการ โรงไฟฟ้าฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งทะเล แบ่งออกเป็น 5 ด้านด้วยกัน ดังนี้ 1. ทรัพยากรลม (Wind Resource) และปัจจัยทาง อุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ 2. การใช้ประโยชน์พนื้ ทีท่ างทะเล (Offshore Area Usage) 3. เทคโนโลยีกังหันลมผลิตไฟฟ้านอกชายฝั่งทะเล (Offshore Wind Turbine Technology) 4. ก�ำลังการผลิตติดตั้ง (Installed Capacity) 5. ต้นทุนโครงการ (Project Cost)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 4 แนวปะการัง

รูปที่ 5 พื้นที่แหล่งส�ำรวจปิโตรเลียม

84

3.2.1 ทรัพยากรลม (Wind Resource) และ ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ ทรัพยากรลมเป็นปัจจัยที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่ง ส� ำ หรั บ การพั ฒ นาโครงการโรงไฟฟ้ า ฟาร์ ม กั ง หั น ลม เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าฟาร์มกังหันลมเป็นโครงการ ขนาดใหญ่ที่อาศัยเงินลงทุนจ�ำนวนมาก และผลตอบแทน ของโครงการเกิ ด จากการจ� ำ หน่ า ยไฟฟ้ า ที่ ผ ลิ ต ได้ จ าก พลังงานลมนอกชายฝัง่ ทะเล ซึง่ การทีเ่ ทคโนโลยีกงั หันลม นอกชายฝั่งทะเลจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปริมาณมาก หรือน้อย จะขึน้ อยูก่ บั ศักยภาพของพลังงานลมนอกชายฝัง่ ทะเลเป็นหลัก แหล่งลมดีจะหมายถึงแหล่งลมที่มีสมบัติ ดังต่อไปนี้ • มีอัตราเร็วลมเฉลี่ยตลอดทั้งปีสูง (มากกว่า Cut-In Speed แต่น้อยกว่า Cut-Out Speed) • ลมมีความต่อเนื่อง (Low Intermittent) • ลมมีความปั่นป่วนต�่ำ (Low Turbulence Intensity) • มีช่วงลมสงบต�ำ่ (Low Calm) โดยมี ป ั จ จั ย ทางด้ า นเทคโนโลยี กั ง หั น ลมผลิ ต ไฟฟ้านอกชายฝั่งทะเลเป็นปัจจัยเสริม และปัจจัยทาง อุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านบวก เช่น อุณหภูมิของอากาศ โดยอุณหภูมิของอากาศจะสัมพันธ์ กับความหนาแน่นของลมที่พัดผ่านกังหันลม โดยอากาศ ที่มีอุณหภูมิต�่ำกว่าจะมีความหนาแน่นสูงกว่าและจะส่ง


ผลให้มีความหนาแน่นก�ำลังลม (Wind Power Density) ที่ระดับอัตราเร็วลมเท่ากันสูงกว่าด้วย ส่วนปัจจัยทางด้าน ลบ เช่น ความถี่หรือโอกาสในการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท�ำงานหรืออาจ จะสร้างความเสียหายให้แก่กังหันลมผลิตไฟฟ้าได้ 3.2.2 การใช้ประโยชน์พนื้ ทีท่ างทะเล (Offshore Area Usage) โครงการโรงไฟฟ้าฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งทะเล จะเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล ซึ่งมีผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) จ�ำนวนมากเนื่องจากเป็น พื้นที่เปิด ส�ำหรับตามโครงการโรงไฟฟ้าฟาร์มกังหันลม นอกชายฝั่งทะเลจะอาศัยการวิเคราะห์เชิงพื้นที่โดยอาศัย ข้อมูลภูมสิ ารสนเทศ (Geo-Informatics) ร่วมกับโปรแกรม การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง Arc GIS 10.1 เพื่อท�ำการคัดกรองพื้นที่ต้องห้ามต่าง ๆ ทะเลที่มีก�ำลังการผลิตติดตั้งแตกต่างกันก็จะมีต้นทุนต่อ ออกไปทั้งหมดรวมทั้งแนวกันชน (Buffer) ต่าง ๆ ด้วย เมกะวัตต์ตา่ งกันด้วย โดยรูปแบบของโรงไฟฟ้าฟาร์มกังหัน ลมนอกชายฝั่งทะเลอาจจะจ�ำแนกได้ตามรูปแบบของผู้ 3.2.3 เทคโนโลยีกังหันลมผลิตไฟฟ้านอกชายฝั่ง ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (Very Small Power Producer; ทะเล (Offshore Wind Turbine Technology) VSPP) ซึ่งมีกำ� ลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 MW ส�ำหรับ เทคโนโลยีกังหันลมผลิตไฟฟ้านอกชายฝั่งทะเล ระบบแรงดันไฟฟ้า 33 kV และมีก�ำลังการผลิตติดตั้ง เป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีม่ คี วามส�ำคัญในการเปลีย่ นรูปพลังงาน ไม่เกิน 8 MW ส�ำหรับระบบแรงดันไฟฟ้า 22 kV ลมให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคั ด เลื อ กเทคโนโลยี กั ง หั น ลมผลิ ต ไฟฟ้ า ส� ำ หรั บ 3.2.5 ต้นทุนโครงการ (Project Cost) โครงการฯ จึงมีความส�ำคัญเช่นเดียวกัน โดยมีพารามิเตอร์ ต้ น ทุ น ของโครงการเป็ น ปั จ จั ย ที่ ส� ำ คั ญ ซึ่ ง จะส่ ง ที่มีควรพิจารณาดังนี้ ผลกระทบต่อความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการ • มี Cut-In Speed ต�่ำ โรงไฟฟ้าฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งทะเล โดยต้นทุนต่อ • มี Rated Speed ต�่ำ เมกะวัตต์ของโครงการจะสัมพันธ์กับก�ำลังการผลิตติดตั้ง • มี Cut-Out Speed สูง ด้วย ซึง่ โครงการโรงไฟฟ้าฟาร์มกังหันลมนอกชายฝัง่ ทะเล • มี Availability สูง ที่มีกำ� ลังการผลิตติดตั้งสูงกว่า ก็มีโอกาสที่จะมีต้นทุนต่อ ซึ่งพารามิเตอร์ดังกล่าวมักจะสัมพันธ์กับเส้นโค้ง เมกะวัตต์ต�่ำกว่าด้วย ก�ำลัง (Power Curve) ของกังหันลมแต่ละรุ่นของแต่ละ ที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น เป็ น การกล่ า วถึ ง รายละเอี ย ด ผู้ผลิตนั่นเอง ส่วนต้นของการศึกษาฯ ส�ำหรับในฉบับต่อไปจะกล่าวถึง รายละเอียดในส่วนอื่น ๆ ต่อไป 3.2.4 ก�ำลังการผลิตติดตัง้ (Installed Capacity) ก� ำ ลั ง การผลิ ต ติ ด ตั้ ง ของกั ง หั น ลมนอกจากจะ เอกสารอ้างอิง ผศ. ดร.จอมภพ แววศักดิ,์ มหาวิทยาลัยทักษิณ “การประเมิน สัมพันธ์กับระดับแรงดันและรูปแบบของการเชื่อมต่อของ ศักยภาพของพลังงานลมนอกชายฝั่งทะเลและความเป็นไปได้ กังหันลมผลิตไฟฟ้า (Tiring) รวมทัง้ รูปแบบของการเชือ่ มต่อ เบื้องต้นของโรงไฟฟ้าฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งทะเล” 2556. กับระบบสายส่ง (Grid Connection) แล้ว ยังมีความสัมพันธ์ กับต้นทุนของโครงการต่อเมกะวัตต์ (Cost/MW) ซึ่ง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ มีนาคม - เมษายน 2556

85


Variety ปกิณกะ น.ส.ปนิฏา ยงยุทธ

สวัสดีวันปีใหม่ไทยค่ะผู้อ่านไฟฟ้าสารทุกท่าน เรื่องราวท้ายเล่มไฟฟ้าสารฉบับนี้เป็นฉบับต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมักมาร่วมประเพณีกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถวถนนข้าวสารหรือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น เราชาวไทยในฐานะเจ้าบ้านก็ควรให้การต้อนรับเป็นอย่างดีด้วย และเมื่อกล่าวถึงค�ำว่า “เจ้าบ้าน” หรือ “The Host” แล้ว ผู้เขียนจึงขอเสนอเรื่องของ Host ในทางวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ค่ะ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

1. Host คืออะไร

ในพจนานุกรมศัพท์วิศวกรรม ไฟฟ้า ฉบับ วสท. หน้า 407 ระบุดังนี้ host computer คอมพิวเตอร์หลัก [data comm.] “คอมพิ ว เตอร์ ที่ ติ ด ตั้ ง ไว้ ใ น เครือข่าย และให้บริการหลัก ๆ เช่น การค� ำ นวณ การเข้ า ถึ ง ฐานข้ อ มู ล หรือโปรแกรมพิเศษหรือภาษาส�ำหรับ โปรแกรม” ส่ ว นค� ำ อธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม จาก แหล่งอื่น ๆ เช่น ในเว็บของ http:// www.webopedia.com ได้อธิบาย เป็นภาษาอังกฤษ โดยมีใจความเป็น ภาษาไทยว่า • คือระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ เข้ า ถึ ง ได้ โ ดยใช้ ร ะบบเครื อ ข่ า ย โดยทั่วไปอาจหมายถึงเมื่อเครื่อง คอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อ

• •

กันโดยใช้โมเด็มหรือสายโทรศัพท์ โดยระบบคอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลไว้ เรียกว่า โฮสต์ และเครือ่ งคอมพิวเตอร์อกี เครือ่ งทีผ่ ใู้ ช้งานใช้งานผ่าน เรียกว่า Remote Terminal คือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายแบบ TCP/IP1 โดยรวมไปถึง อินเทอร์เน็ต ดังรูปที่ 1 โดยที่แต่ละโฮสต์นั้นจะมีเลข IP Address2 ที่ไม่ ซ�ำ้ กัน คือการบริการระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้บริการทางคอมพิวเตอร์ เช่น หลายบริษัทมีการใช้ไฟล์ โปรแกรม แอปพลิเคชัน ผ่านทางเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยที่เว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจ�ำเป็นที่จะต้องมีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบ เชื่อมต่อเพื่อการใช้งาน แต่หากกล่าวถึง โฮสต์ (Host) โดยทัว่ ไปมักหมายถึงโฮสติง้ (Hosting) หรือเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือ การเช่าพื้นที่การบริการพื้นที่บน อินเทอร์เน็ต (IHS : Internet Hosting Service) ซึ่งเป็นบริการที่ท�ำงาน บนอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์3 ที่อนุญาตให้องค์กรหรือนิติบุคคลใช้งานเนื้อที่บน อินเทอร์เน็ต ซึง่ มีบริการในระดับต่าง ๆ และรูปแบบให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ กันไป เช่น บริการพื้นที่สำ� หรับเว็บไซต์ (Web Hosting), บริการพื้นที่ส�ำหรับ อีเมล (E-mail Hosting) ฯลฯ โดยผู้ให้บริการเช่าพื้นที่ส�ำหรับการบริการพื้นที่ ทางอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า HSP (Hosting Service Provider)

TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นระบบโปรโตคอลในการสื่อสารพื้นฐานของระบบอินเทอร์เน็ต IP Address (Internet Protocol Address) คือ หมายเลขประจ�ำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP 3 เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเครื่องบริการ หรือเครื่องแม่ข่าย คือ เครื่องหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งท�ำงานให้บริการในระบบเครือข่ายแก่ลูกข่าย (ซึ่งให้บริการ ผูใ้ ช้อกี ทีหนึง่ ) เครือ่ งคอมพิวเตอร์ทที่ ำ� หน้าทีเ่ ป็นเซิรฟ์ เวอร์นคี้ วรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผใู้ ช้ได้เป็นจ�ำนวนมาก ภายในเซิรฟ์ เวอร์ ให้บริการได้ด้วยโปรแกรมบริการ ซึ่งท�ำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการอีกชั้นหนึ่ง 1

2

86


ระบบเองทัง้ หมด โดยวางเครือ่ งของตนทีส่ ว่ นกลางเชือ่ มต่อ ระบบอินเทอร์เน็ต

รูปที่ 1 เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

รูปที่ 2 ตัวอย่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์

2. ประเภทของการบริการพืน้ ทีบ่ นอินเทอร์เน็ต 3. เว็บโฮสติ้ง

การบริ ก ารพื้ น ที่ บ นอิ น เทอร์ เ น็ ต สามารถแบ่ ง ประเภทโดยดูจากการใช้เซิร์ฟเวอร์ได้ดังนี้ 2.1 บริการเซิร์ฟเวอร์ให้เช่า บริการเซิร์ฟเวอร์ให้เช่า (Dedicated Hosting Service) หรือบริการการจัดการและจัดหาเซิร์ฟเวอร์ ดังรูปที่ 2 เป็นบริการที่ลูกค้าเป็นเจ้าของเครื่องและ สามารถจัดการทรัพยากรเครื่องได้เอง การจัดการบน เครื่องเซิร์ฟเวอร์ยังสามารถรวมไปถึงบริการตรวจตรา เซิร์ฟเวอร์ว่าท�ำงานอยู่ตลอดเวลาอย่างเต็มประสิทธิภาพ, บริการส�ำรองข้อมูล, บริการปรับปรุงความปลอดภัย และ อื่น ๆ ตามแต่ระดับการให้บริการ 2.2 บริการเซิร์ฟเวอร์เสมือนส่วนตัว บริการเซิร์ฟเวอร์เสมือนส่วนตัว (Virtual Private Server หรือ VPS) เป็นเทคโนโลยีที่ให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ หนึ่งเครื่องจ�ำลองการท�ำงานเสมือนเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หลาย ๆ เครื่องภายในเครื่องเดียว ท�ำให้เป็นเอกเทศ และ เป็นเสมือนเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวของผู้ใช้บริการ 2.3 บริการวางเซิร์ฟเวอร์ ณ ส่วนกลาง บริการวางเซิร์ฟเวอร์ ณ ส่วนกลาง (Co-Location Server) หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า โคโล เป็น บริการการเชือ่ มต่ออินเทอร์เน็ตซึง่ ผูใ้ ช้บริการจะเป็นผูด้ แู ล

เว็บโฮสติ้ง ก็คือประเภทหนึ่งของการให้บริการ พืน้ ทีบ่ นอินเทอร์เน็ต ทีใ่ ห้ผใู้ ช้งานหรือหน่วยงานมีเว็บไซต์4 ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บ5 วิธีการที่จะ เข้าถึงเว็บไซต์ได้นั้นจะต้องผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ให้ บริการอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า ISP6 ตัวอย่างของ ISP ในประเทศไทย เช่น True Internet, CAT Telecom, TOT ฯลฯ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 4. เว็บไซต์

เว็บไซต์จะประกอบไปด้วยเว็บเพจหลาย ๆ หน้า โดยทัว่ ไปเว็บเพจส่วนใหญ่จะอยูใ่ นรูปของเอกสาร HTML7 หรือ XHTML8 มีลิงก์ส�ำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้า อื่น ๆ และบางเว็บเพจอาจมีการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ทเี่ ป็นทีน่ ยิ ม เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์ พลอเรอร์, กูเกิล โครม, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, ซาฟารี ฯลฯ การเข้ า ใช้ ง านเว็ บ ไซต์ บ นอิ น เทอร์ เ น็ ต สามารถ ท�ำได้โดยพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เช่น www.google.com เมือ่ มีบคุ คลทีพ่ มิ พ์ชอื่ เว็บไซต์ดงั กล่าว ชือ่ นัน้ จะถูกส่งตามเส้นทางจากเครือ่ งคอมพิวเตอร์หนึง่ ไป ยังอีกเครื่องผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปเรื่อย ๆ ไปหา

เว็บไซต์ (Website) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดท�ำขึ้นเพื่อน�ำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัด เก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ 5 เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการก�ำหนด URL ค�ำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสน กับค�ำว่า อินเทอร์เน็ต โดยแท้ที่จริงแล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต 6 ISP (Internet service provider) คือ บริษทั ทีใ่ ห้ลกู ค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยผูใ้ ห้บริการจะเชือ่ มโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโนยีรบั -ส่งข้อมูลทีเ่ หมาะสมใน การส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น ไดอัล, ดีเอสแอล, เคเบิลโมเด็ม, ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด 7 HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปัจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ด จะแสดงโครงสร้างของข้อมูล 8 XHTML (Extensible Hyper Text Markup Language) เป็นภาษามาร์กอัปที่มีลักษณะการใช้งานเหมือน HTML แต่จะมีความเข้มงวดในเรื่องโครงสร้างภาษา โดยมีวากยสัมพันธ์สอดคล้องกับ XML 4

มีนาคม - เมษายน 2556

87


ระบบการตัง้ ชือ่ โดเมน จนกระทัง่ ไปพบ โดเมนขั้นที่ 3 (Third Level Domain) รูปแบบโดเมนล�ำดับอื่น ๆ เครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เว็บไซต์นั้นได้ หมายถึง รูปแบบโดเมนล�ำดับขัน้ ที่ 3, ขัน้ ที่ 4 ต่อไป ซึง่ เจ้าของโดเมนประเภท ฝากเว็บไซต์ไว้ (Web Server) นั้น ๆ สามารถที่จะสร้างชื่อโดเมนล�ำดับที่สาม ล�ำดับที่สี่ ย่อยลงไปได้อีก ยกตัวอย่างเช่น hosting.netregis.com ฯลฯ 5. โดเมน 5.2 ระบบการตั้งชื่อโดเมน 5.1 ระดับขั้นของโดเมน ระบบการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name System หรือ DNS) เป็น โดเมนขั้นสูงสุด (Top Level ระบบทีใ่ ช้เก็บข้อมูลของชือ่ โดเมน (โดเมนเนม) ซึง่ ใช้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Domain) เป็นรูปแบบที่ยังสามารถ โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งส�ำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมน แบ่งได้อีก 2 แบบย่อย คือ รูปแบบ นั้น ๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ ค�ำว่า DNS สามารถแทนความหมายได้ โดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล (General ทั้ง Domain Name Service (บริการชื่อโดเมน) และ Domain Name Server Internet DNS Top Level Domains (เครื่องบริการชื่อโดเมน) อีกด้วย : gTLDs) เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้ ประโยชน์ทสี่ ำ� คัญของ DNS คือ ช่วยแปลง IP Address ซึง่ เป็นชุดตัวเลข กัน โดยเฉพาะในอเมริกา เช่น .com, ทีจ่ ดจ�ำได้ยากมาเป็นชือ่ ทีส่ ามารถจดจ�ำได้งา่ ยแทน เช่น 173.194.38.174 เป็น .net, .gov ฯลฯ และรูปแบบโดเมนขัน้ google.com ฯลฯ สูงสุดแต่ละประเทศ (Country Code 5.3 ชื่อโดเมน ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (Domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุ Top Level Domains : ccTLDs) เป็ น รู ป แบบที่ ใ ช้ บ ่ ง บอกถึ ง ประเทศ ลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อไปค้นหาในระบบ DNS เพื่อระบุถึง IP Address ของ เจ้าของโดเมนหรือบอกทีต่ งั้ ของโดเมน ชื่อนั้น ๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้แก่ผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน มักใช้กบั ประเทศอืน่ ๆ ยกเว้นอเมริกา บางครั้งเราอาจจะใช้ URL9 แทนก็ได้ เช่น .th ส�ำหรับประเทศไทย หรือ โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจ�ำ .jp ส�ำหรับประเทศญี่ปุ่น หรือ .cn เนื่องจาก IP Address นั้นจดจ�ำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลง IP Address ผูใ้ ช้ไม่จำ� เป็นต้องรับรูห้ รือจดจ�ำ IP Address ใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนม ส�ำหรับประเทศจีน ฯลฯ โดเมนขั้นที่ 2 (Second Level เดิมได้ต่อไป โดยในปัจจุบันมีการจดชื่อโดเมนเนมกว่า 144 ล้านโดเมนเนม10 Domain) เป็นรูปแบบของชื่อโดเมนที่ 1 IP Address สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม ต่อจากโดเมนขั้นสูงสุด (Top Level และหลาย ๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ IP Address เดียวกันได้ ตัวอย่างต่อไปนี้ Domain) ซึง่ โดเมนขัน้ ที่ 2 นีห้ มายถึง แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง URL, โดเมนเนม, ซับโดเมน และ IP Address ชื่ อ ของโดเมนในลั ก ษณะสากล URL : http://www.google.com/ gTLDs หรื อ ประเภทของโดเมน Domain Name : google.com ในแต่ละประเทศ ccTLDs ก็ได้ เช่น Sub domain : mail.google.com yahoo.com, google.com, .or.jp, IP Address : 173.194.38.174 .com.sg ฯลฯ 5.4 การจดทะเบียนชื่อโดเมน การจดชื่อโดเมนในปัจจุบันมีนามสกุลให้เลือกใช้มากมาย โดยสกุล โดเมนสากลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันมีอยู่ 5 ประเภทด้วยกันดัง ตารางที่ 1

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

URL (Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ส�ำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของ ทรัพยากรที่ต้องการ ในภาษาพูดทั่วไป ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือที่อยู่อินเทอร์เน็ตก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บ เบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์ 10 อ้างอิงจาก http://www.whois.sc/internet-statistics/ ณ วันที่ 10 มีนาคม 2556 9

88


ตารางที่ 1 สกุลโดเมนสากลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน สกุล .com (Commercial) .net (Network) .org (Organization) .biz (Business) .info (Information)

ควบคุมโดย Verisign Global Registry Services Verisign Global Registry Services Public Interest Registry NeuLevel Afilias Limited

ส�ำหรับสกุลโดเมนในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ ดูแลการจดชื่อโดเมนส�ำหรับประเทศไทยซึ่งมี Top-Level Domain Name เป็น .th นัน้ เรียกว่า THNIC11 ได้กำ� หนด Second-Level Domain Name ออกเป็น 7 ประเภท ดังตารางที่ 2

• • • • •

เกี่ ย วข้ อ งกั บ พระมหากษั ต ริ ย ์ พระราชวงศ์ และ พระบรมวงศานุวงศ์ ต้ อ งไม่ เ ป็ น คํ า ที่ ก ระทบต่ อ ความละเอี ย ดอ่ อ นทาง ด้านศาสนาและความเชื่อ ต้ อ งไม่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ความเสื่ อ มเสี ย ชื่ อ เสี ย งแก่ ผู ้ ห นึ่ ง ผู้ใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด รวมไปถึ ง การใช้ คําล้อเลียน เสียดสี ประชดประชัน หรือก่อให้เกิด ความขัดแย้ง เกลียดชัง ต้ อ งไม่ เ ป็ น ชื่ อ ประเทศ จั ง หวั ด เมื อ ง รวมถึ ง สถานที่อันเป็นสาธารณะต่าง ๆ ต้ อ งไม่ ป ระกอบด้ ว ยคํา หยาบหรื อ คํ า ที่ ผิ ด ต่ อ หลั ก ศี ล ธรรมอั น ดี ง ามของไทย รวมถึ ง คํ า ที่ มิ ไ ด้ เ ป็ น คํ า หยาบโดยตั ว เอง แต่ เ กิ ด จากกระบวนการ บางอย่าง เช่น การผวนคํา ฯลฯ ชื่ อ โดเมนภายใต้ .ไทย จะต้ อ งมี จํ า นวนตั้ ง แต่ 2 ตัวอักษรขึ้นไป

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตารางที่ 2 Second-Level Domain Name ในประเทศไทย สกุล .net.th .co.th .ac.th .go.th .mi.th .in.th

ส�ำหรับ หน่วยงานของไทยที่ให้บริการเครือข่าย องค์กรของไทยที่ไม่แสวงหาก�ำไร ส�ำหรับสถาบันการศึกษาของไทย ส�ำหรับหน่วยงานราชการของไทย ส�ำหรับหน่วยงานทางทหารของไทย ส�ำหรับองค์กรหรือบุคคลทั่วไปของไทย

5.5 หลักการตั้งชื่อโดเมน หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อโดเมนมีดังนี้ • ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัว อักษร • สามารถใช้ ตั ว อั ก ษรภาษาอั ง กฤษผสมกั บ ตั ว เลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้ • ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้ • ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) น�ำหน้าชื่อ domain • ห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน หากเป็นการตัง้ ชือ่ โดเมนเนมโดยใช้สกุลโดเมนเนม ในประเทศไทยจะมีหลักเพิ่มขึ้นอีกดังนี้ • ต้ อ งไม่ เ ป็ น คํ า ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ พระมหากษั ต ริ ย ์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุ ว งศ์ และสถานที่ ที่ 11

6. ปัจจัยในการเลือกโฮสต์

ก่อนทีจ่ ะเลือกโฮสต์ควรจะพิจารณาเว็บไซต์กอ่ นว่า เว็บไซต์นั้นเป็นแบบใดเพื่อที่จะสามารถเลือกโฮสต์ได้ตรง ตามความต้องการกับเว็บไซต์นนั้ ๆ โดยปัจจัยในการเลือก โฮสต์มีดังนี้ 6.1 สถานที่ตั้ง ตรวจสอบว่ากลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามายังเว็บไซต์ ของคุณเป็นใคร หากกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคนที่อยู่ ภายในประเทศ ควรเลือกโฮสต์ทอี่ ยูภ่ ายในประเทศ เพราะ ว่าสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้รวดเร็วกว่า แต่หากกลุ่ม เป้าหมายเป็นผู้ใช้งานต่างประเทศ ควรจะเลือกโฮสต์ที่ อยู่ต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วแล้ว เมื่อเกิดการขัดข้อง สายสัญญาณระหว่างประเทศไทย กลับขาด ก็จะไม่มผี ลต่อการเข้าถึงของผูใ้ ช้งานต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก 6.2 ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมพื้นฐาน โดยทัว่ ไปโฮสต์จะมีระบบปฏิบตั กิ ารให้เลือก 2 แบบ คือ ระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งเหมาะส�ำหรับเว็บไซต์ ที่พัฒนามาจากภาษา ASP, ASP.NET เป็นต้น และฐาน ข้อมูลเป็น Microsoft SQL Server อีกระบบปฏิบัติการ

THNIC (Thailand Network Information Center) เว็บไซต์ของหน่วยงาน คือ http://www.thnic.net

มีนาคม - เมษายน 2556

89


คือระบบปฏิบัติการ Linux ซึ่งเหมาะส�ำหรับเว็บไซต์ที่ พัฒนามาจากภาษา PHP, JSP เป็นต้น และฐานข้อมูล เป็น MySQL 6.3 ขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณเป็น Dynamic Website ก็ควรประมาณการขนาดพื้นที่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน 6.4 ประสิทธิภาพของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ตรวจสอบรายละเอียดของเซิร์ฟเวอร์ เช่น CPU, Ram, Hard Disk ฯลฯ เพราะจะมี ส ่ ว นส� ำ คั ญ ใน การท�ำงานและการให้บริการอย่างมาก ซึง่ หากเลือกเครือ่ ง ทีค่ ณ ุ สมบัตติ ำ�่ อาจจะมีราคาถูกกว่าเครือ่ งทีม่ คี ณ ุ สมบัตสิ งู แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการให้บริการก็จะลดลงด้วย 6.5 จ�ำนวนลูกค้าต่อเครื่องที่ให้บริการ พิจารณาจ�ำนวนลูกค้าต่อเครื่องที่ให้บริการเพื่อจะ สามารถรองรับการใช้งานของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 6.6 ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล หากโฮสต์ ข องคุ ณ เลื อ กบริ ก ารของ ISP ที่ มี การเชื่อมท่อต่อกับอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่แล้ว จะช่วย ท�ำให้การรับ-ส่งข้อมูลจากเว็บไซต์ไปยังผูใ้ ช้งานได้เร็วยิง่ ขึน้ 6.7 อัตราการหยุดท�ำงาน (Downtime) โฮสต์ที่ดีควรมีอัตราหยุดท�ำงานที่ต�่ำเพื่อให้เข้าถึง เว็บไซต์ได้อยูต่ ลอดเวลา โดยโฮสต์ทวั่ ไปจะระบุเปอร์เซ็นต์ การท�ำงานดังตารางที่ 3

6.8 ระบบการส�ำรองข้อมูล ระบบการส�ำรองข้อมูลถือได้ว่าเป็นส่วนที่ส�ำคัญ มาก แต่ผู้ใช้บริการมักละเลยอยู่เสมอ ในกรณีที่เกิด ความผิดพลาดอาจท�ำให้เกิดการสูญหายของข้อมูลได้ ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารโฮสต์ ที่ ดี ค วรมี ร ะบบส� ำ รองข้ อ มู ล อย่ า ง สม�่ ำ เสมอ เพื่ อ ให้ ส ามารถเรี ย กใช้ ข ้ อ มู ล ย้ อ นหลั ง ได้ โดยให้เกิดการสูญหายของข้อมูลน้อยที่สุด 6.9 อัตราค่าบริการ อั ต ราค่ า บริ ก ารมั ก ขึ้ น อยู ่ กั บ ประสิ ท ธิ ภ าพของ เซิรฟ์ เวอร์ ปัจจุบนั การแข่งขันธุรกิจทางด้านการให้บริการ โฮสต์นั้นค่อนข้างสูง ควรพิจารณาตามความเหมาะสม รวมถึงตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตารางที่ 3 เปอร์เซ็นต์การท�ำงานของโฮสต์

เปอร์เซ็นต์ การท�ำงาน 90% 95% 97% 98% 99% 99.5% 99.8% 99.9% 99.95% 99.99%

90

ต่อปี 36.5 วัน 18.25 วัน 10.96 วัน 7.30 วัน 3.65 วัน 1.83 วัน 17.52 ชม. 8.76 ชม. 4.38 ชม. 52.56 นาที

การหยุดท�ำงาน ต่อเดือน ต่อสัปดาห์ 72 ชม. 16.8 ชม. 36 ชม. 8.4 ชม. 21.6 ชม. 5.04 ชม. 14.4 ชม. 3.36 ชม. 7.20 ชม. 1.68 ชม. 3.60 ชม. 50.4 นาที 86.23 นาที 20.16 นาที 43.2 นาที 10.1 นาที 21.56 นาที 5.04 นาที 4.32 นาที 1.01 นาที

เอกสารอ้างอิง 1. ศัพท์วิศวกรรมไฟฟ้า ฉบับ วสท. 2. iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com 3. http://www.webopedia.com/TERM/H/host.html เกี่ยวกับผู้เขียน

น.ส.ปนิฏา ยงยุทธ ผูช้ ว่ ยนักวิจยั และวิศวกรคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิจัยระบบประมวล ผลภาษาธรรมชาติ แ ละเทคโนโลยี สารสนเทศอัจฉริยะ ภาควิชาวิศวกรรม คอมพิ ว เตอร์ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • วศ.บ. (ซอฟต์แวร์และความรู้) • วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)

เก็บตกจากชื่อตอน “The Host” เดอะ โฮสต์ เป็นภาพยนตร์ แนว Sci-Fi, Thriller มีกำ� หนดเข้าฉาย ในวันที่ 29 มีนาคม 2013 (และจะ ฉายในประเทศไทยราวเดือนเมษายน) หนั ง เล่ า เรื่ อ งราวของโลกอนาคต เมื่อ “Soul” จากต่างดาวเข้าบุกโลก เพื่อยึดครองร่างกายและควบคุมความคิดจิตใจของมนุษย์ มีเพียง Melanie เท่านั้นที่ถูกควบคุมได้แค่เพียงร่างกาย แต่ไม่อาจครอบง�ำความคิดของเธอได้ ท�ำให้ Soul ที่สิง อยู่ในตัว Melanie ได้สัมผัสกับจิตวิญญาณที่ไม่ยอมแพ้ ของเธอ


Engineering Vocabulary ศัพท์วิศวกรรมน่ารู้ นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Threshold ก่อนถึงวันหยุดยาว ๆ ตั้งแต่วันที่ 12-16 เมษายน ในช่ ว งเทศกาลสงกรานต์ ที่ จ ะถึ ง นี้ ก็ อ ยากขอให้ ท ่ า น ผูอ้ า่ นมีความสุขกับการท�ำงานทางวิศวกรรมฯ และพักผ่อน ให้เต็มที่เพื่อกลับมาสานต่อภารกิจสร้างสรรค์สังคมกัน และคนเมืองกรุงก็คงได้ผู้ว่าราชการท่านใหม่แล้ว แต่ ส�ำหรับพวกเราชาววิศวกรก็ใกล้ช่วงเวลาในการเลือกตั้ง กรรมการของ วสท.และประธานสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งน่าจะมีขึ้นในช่วงกลางปีนี้ โดยชุดปัจจุบันก็จะหมด วาระในสิ้นปีนี้ ก่อนอื่นก็ขอประชาสัมพันธ์ให้ช่วยกันบอก ต่อเพื่อน ๆ แวดวงวิศวกรรมฯ ทั้งวิศวกร ช่างเทคนิค เป็นต้น ให้มาเป็นสมาชิกของ วสท.กันเยอะ ๆ เพื่อจะได้ มีสิทธิมีเสียงเลือกบุคคลที่จะมาสานงานด้านวิศวกรรมฯ ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญส�ำหรับการเข้าใกล้สู่สมาพันธ์อาเซียนใน เวลาอันใกล้มากแล้ว ในส่วนของผู้ที่มีจิตอาสาก็อยากให้ มาช่วยสมัครกัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการท�ำงานที่เป็น ประโยชน์ต่อประชาคม ไม่ว่าผู้ที่สมัครจะ แพ้ หรือ ชนะ ผมก็ขอสรรเสริญทุกท่านและหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่าน ที่ มี จิ ต อาสาจะมาช่ ว ยกั น ท� ำ งานอย่ า งเต็ ม ที่ เ พื่ อ พี่ น ้ อ ง ชาววิศวกรไทยกัน ส� ำ หรั บ ค� ำ ศั พ ท์ ใ นครั้ ง นี้ ข อน� ำ เสนอค� ำ ว่ า “threshold” ทางวิศวกรรมไฟฟ้าเรา ทุกท่านก็คงเคยได้ยนิ ได้เห็น ได้ใช้ ค�ำว่า threshold กันมาไม่น้อย โดยก่อนที่ ผู้เขียนจะมาปฏิบัติภารกิจนี้สัก 10 นาที ก็ได้มีโอกาส ศึ ก ษาเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ การติ ด ตั้ ง ทางไฟฟ้ า ส� ำ หรั บ ใน สถานพยาบาล ที่ระบบ Isolation Transformer มี การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตถะประโยชน์มากกว่า เรื่องการตรวจสอบสภาพความเป็นฉนวนของระบบไฟฟ้า ความสามารถในการป้องกันเรื่องกระแสเกิน คือ เรื่อง การแสดงและควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ ระดับ ความดันของออกซิเจน ไนโตรเจน การตั้งเวลา รวมถึง

สามารถบอกระดับของเครื่องไฟฟ้าส�ำรองฉุกเฉินที่เหลือ อยู่เพื่อใช้ผ่าตัดในช่วงไฟฟ้าปกติขาดหายไปว่า จะใช้ได้ อีกนานเท่าไหร่ด้วย เป็นต้น โดยใช้ Thresholds ก็คือ การก�ำหนดตัวตั้งต้น แบ่งระดับ เพื่อให้แสดงและควบคุม ระดับต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของตัวแปรต่าง ๆ ในบริเวณ สถานพยาบาล เช่น อุณหภูมิ ระดับความดันต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ผ่านจอแบบ Touch Screen เป็นจอที่สามารถแสดงค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้าและส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจ�ำเป็น เพื่อใช้ส�ำหรับสถานพยาบาล เช่น ในห้องผ่าตัด ห้อง ICU ห้อง CCU ฯลฯ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ มีนาคม - เมษายน 2556

91


ดั ง นั้ น ส� ำ หรั บ ค� ำ ศั พ ท์ ใ นครั้ ง นี้ ข อน� ำ เสนอค� ำ ว่ า threshold “threshold” ที่มีความหมายในหลากหลายการใช้งาน ดังต่อไปนี้ threshold threshold ขีดเริม่ เปลีย่ น, ขีดแบ่ง [คอมพิวเตอร์ threshold 19 มิ.ย. 2544] threshold threshold ระดับกั้น, ขีดกักกั้น, ขีดเริ่มเปลี่ยน [แพทยศาสตร์ 6 ส.ค. 2544]

ขีดเริ่มเปลี่ยน, ขีดแบ่ง [เทคโนโลยี สารสนเทศ 11 มี.ค. 2545] [N] ธรณีประตู, Syn. Doorsill [N] ทางเข้า, Syn. Entrance [N] จุดเริ่มต้น, See also: จุดเริ่ม ของประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่ ๆ, Syn. starting point

Easy Easy Think Part. +++++ Don’t worry to practice and speak English.

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

“Just say it and repeat several times.”

The below several samples are for your practicing. “Threshold” มาตรฐาน IEC 60364-7-710 เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน IEC 60364-7-710 standards is a standard part of การติดตั้งทางไฟฟ้า ส�ำหรับบริเวณสถานพยาบาล the electrical installation for the hospital location. Operating Theatre Solution : Isolation Panel เป็น ความต้ อ งการที่ มี ศั ก ยภาพส� ำ หรั บ คุ ณ หมอ ไว้ ส� ำ หรั บ ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วสู่ผู้ป่วยหนักในห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้น ผู้ป่วยหนัก (ICU) ห้องผู้ป่วยโรคหัวใจ CCU และบริเวณ สถานพยาบาลอื่น ๆ

เอกสารและข้อมูลอ้างอิง 1. Google แปลภาษา 2. LONGDO Dict. 3. ASEFA‘s Presentation for Isolation Panel : Operating Threatre

92

Operating Theatre Solution : Isolation Panel is the potential demand for doctor to prevent electrical current leakage into intensive care in the operating room, Intensive Care Unit (CCU), Coronary Care Unit (CCU) and the other medical location

ประวัติผู้เขียน

นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล • คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอตุ สาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี • เลขาฯ และกรรมการสาขาวิศวกรรม ไฟฟ้า วสท.

มีนาคม - เมษายน 2556


Innovation News ข่าวนวัตกรรม น.ส.วิไลภรณ์ ชัชวาลย์

“ไบโอมีเทนอัด”

ความหวังพลังงานทดแทนส�ำหรับรถยนต์ การคิดค้นหาเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นเพื่อทดแทน เชือ้ เพลิงจากฟอสซิลอย่างน�ำ้ มันและก๊าซธรรมชาติ ถือเป็น สิง่ ส�ำคัญทีห่ ลาย ๆ ประเทศก�ำลังพยายามท�ำกันอย่างหนัก เพื่อให้ได้พลังงานทดแทนที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะใน ภาคคมนาคมขนส่งซึง่ ยังพึง่ พาน�ำ้ มันและก๊าซธรรมชาติใน ปริมาณมาก และนับวันเชื้อเพลิงเหล่านี้ก็มีปริมาณน้อย ลงไปทุกที หากสามารถหาเชื้อเพลิงชนิดอื่นมาใช้ทดแทน ได้จะช่วยลดการพึง่ พาและน�ำเข้าเชือ้ เพลิงจากต่างประเทศ ส�ำหรับประเทศไทยมีความพยายามพัฒนาพลังงาน ทดแทนมาเป็นล�ำดับ มีพลังงานทดแทนหลายประเภท ทีม่ ศี กั ยภาพสามารถพัฒนามาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ ซึง่ เมือ่ เร็ว ๆ นี้ ส�ำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และบริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ฟาร์ม จ�ำกัด ประสบผลส� ำ เร็ จ ในการวิ จั ย เพื่ อ น� ำ “ก๊ า ซชี ว ภาพ” มาใช้เป็นเชื้อเพลิงส�ำหรับรถยนต์จนกลายเป็นพลังงาน ทางเลือกที่ผลิตขึ้นได้ในประเทศจากการหมักย่อยสาร อินทรียใ์ นสภาวะไร้อากาศ ซึง่ มีองค์ประกอบหลักเป็นก๊าซ มีเทนเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ และเมือ่ ผ่านการปรับปรุง คุณภาพเพือ่ ท�ำให้กา๊ ซชีวภาพบริสทุ ธิแ์ ล้วสามารถน�ำมาใช้ ทดแทนก๊าซธรรมชาติได้ ความส�ำเร็จครั้งนี้ท�ำให้มีความหวังที่จะน�ำมาใช้ ทดแทนก๊าซธรรมชาติในพืน้ ทีท่ อี่ ยูห่ า่ งไกลแนวท่อก๊าซได้ ช่วยลดต้นทุนการขนส่งก๊าซ และลดปัญหาก๊าซขาดแคลน ในบางช่วงเวลาได้

ก๊าซชีวภาพทีผ่ ลิตได้ในพืน้ ทีห่ า่ งไกลจากแนวท่อส่ง ก๊าซธรรมชาติจะถูกปรับปรุงคุณภาพให้ใกล้เคียงกับก๊าซ NGV เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกให้แก่ประชาชน เรียก ก๊าซชีวภาพนีว้ า่ “Compressed Bio-methane Gas หรือ CBG” นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการด�ำเนินการให้แก่ ผูป้ ระกอบการสถานีบริการ NGV แล้ว ยังเป็นการกระตุน้ ให้ภาคเอกชนสนใจลงทุนสถานีบริการ NGV ในพื้นที่ ห่างไกลแนวท่อก๊าซธรรมชาติมากขึ้น อันจะส่งผลให้เกิด การสนับสนุนนโยบายด้านพลังงานทดแทนได้อกี ทางหนึง่

ร า ส า ้ ฟ ไฟ กว่าจะมาเป็นก๊าซ CBG

ระบบผลิ ต ก๊ า ซไบโอมี เ ทนอั ด ส� ำ หรั บ ยานยนต์ ประกอบไปด้วย ระบบผลิตไบโอมีเทนด้วยวิธีดูดซึมด้วย น�้ำ หรือวิธีวอเตอร์ สครับบิง (Water Scrubbing) ระบบ เพิ่มแรงดันและระบบเติมเข้ารถยนต์ โดยระบบผลิต ก๊าซ CBG ส�ำหรับเครื่องยนต์เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อนมาก ผลิตได้ทุกที่ที่มีระบบก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานที่ไม่มีวัน หมด สามารถผลิตได้เรื่อย ๆ เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ หาแหล่งก�ำเนิดได้ง่าย ใช้ต้นทุนไม่สูงเหมือนการขุดเจาะ ก๊าซธรรมชาติ หากภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง จะช่ ว ยลดปั ญ หาพลั ง งานราคาสู ง จากการน� ำ เข้ า และ การขาดแคลนพลังงานได้ มีนาคม - เมษายน 2556

93


ก๊าซ CBG เติมรถยนต์วิ่งฉิว

จากการวิจัยก๊าซ CBG ที่ผลิตได้มีก�ำลังการผลิต 20 ลูกบาศก์เมตรก๊าซชีวภาพต่อชั่วโมง เทียบเท่ากับ การผลิตก๊าซ NGV/CNG จ�ำนวน 16 ถังต่อวัน และเมื่อ ท� ำ การทดสอบระบบการผลิ ต ก๊ า ซชี ว ภาพที่ ไ ด้ จ ากมู ล โคนม ได้ก๊าซไบโอมีเทน 85% น�ำมาเพิ่มแรงดันโดยใช้ คอมเพรสเซอร์เติมเข้าไปในถังบรรจุก๊าซกับรถกระบะที่ ใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาด 2,400 ซีซี 4 สูบ 16 วาล์ว 128 แรงม้า และใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิง พบว่าใน การขับขี่เมื่อเปลี่ยนระบบจากการใช้น�้ำมันเบนซินเป็น ก๊าซไบโอมีเทน ระบบการท�ำงานของรถยนต์ยังท�ำงาน ได้ดี ไม่มกี ารสะดุด ขณะเร่งความเร็วเครือ่ งยนต์เดินเรียบ และยังน�ำไปใช้ทดแทนกระแสไฟฟ้าภายในฟาร์มได้อีก เท่ากับช่วยลดรายจ่ายด้านพลังงานลงไปได้มาก ซึง่ สนพ. และสถาบันวิจยั และพัฒนาพลังงานนครพิงค์จะได้ตอ่ ยอด การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ประสบผลส�ำเร็จแล้วเพื่อ น�ำไปสู่การใช้เชิงพาณิชย์ในอนาคต การน�ำก๊าซชีวภาพมาปรับปรุงคุณภาพและผลิต เป็นก๊าซ CBG ให้ใกล้เคียงกับก๊าซ NGV เพื่อใช้เป็น เชื้อเพลิงทางเลือกให้แก่ประชาชน ผลดีนอกจากจะเป็น การแก้ปัญหาการขาดแคลนก๊าซ NGV ในพื้นที่ห่างไกล แนวท่อก๊าซธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิด การใช้ พ ลั ง งานสะอาด ลดมลพิ ษ และการปลดปล่ อ ย ก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย ในอนาคตหากมีการน�ำระบบผลิตก๊าซชีวภาพนี้ ไปใช้ในระดับชุมชน นอกจากจะเป็นการสร้างความมัน่ คง ด้านพลังงานในชุมชนแล้ว ยังก่อให้เกิดการจ้างงานใน ท้องถิ่น สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่ง

ก๊าซไบโอมีเทนอัด คืออะไร

ก๊ า ซไบโอมี เ ทนอั ด หรื อ Compressed Biomethane Gas หรือ ก๊าซซีบีจี (CBG) คือ ก๊าซที่ เกิดจากการน�ำก๊าซชีวภาพมาปรับปรุงคุณภาพโดยการลด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และความชื้นออกจนมีปริมาณก๊าซมีเทน (CH4) เพิ่มขึ้น โดยมีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซธรรมชาติส�ำหรับ ยานยนต์อย่างก๊าซ NGV หรือก๊าซ CNG โดยน�ำก๊าซมีเทน ที่ได้มาอัดลงถังบรรจุที่แรงดัน 200 บาร์ เพื่อน�ำไปใช้เป็น เชื้อเพลิงส�ำหรับยานยนต์ต่อไป

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ปัจจุบนั ประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้วอย่างประเทศเยอรมนี สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชเพือ่ ให้ได้ก๊าซมีเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยมีแหล่งผลิตพร้อม ใช้งานแล้วกว่า 6,800 แห่งทัว่ ประเทศ สามารถน�ำมาผลิต ไฟฟ้าได้ 1,600 เมกะวัตต์

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม 1. ส�ำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน 2. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ก๊ า ซไบโอมี เ ทนอั ด จึ ง เป็ น พลั ง งานทางเลื อ กที่ กระทรวงพลังงาน น่ า จั บ ตาส� ำ หรั บ ประเทศไทย เพราะนอกจากจะช่ ว ย 3. สถาบันวิจยั และพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ลดการน�ำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้มหาศาลแล้ว ยั ง เป็ น การส่ ง เสริ ม การใช้ พ ลั ง งานทดแทนภายใน ประเทศได้อย่างยั่งยืน เหมาะอย่างยิ่งส�ำหรับน�ำมาใช้ใน สถานการณ์ปจั จุบนั และเป็นอีกทางเลือกหนึง่ ทีม่ ศี กั ยภาพ ส�ำหรับน�ำมาใช้กับรถยนต์ในอนาคต

94


Variety ปกิณกะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ PEA ร่วมมือ AMATA พัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) เมือ่ วันที่ 18 มกราคม 2556 การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค (Provincial Electricity Authority หรือ PEA) และบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) โดยนายโชคจุน สุคันธาพฤกษ์ รองผู้ว่าการ PEA และนายวัฒนา สุภรณ์ไพบูลย์ กรรมการบริษัทและประธาน เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) “Cooperation on the Smart Grid Infrastructure” เพือ่ ลดภาวะโลก ร้อนจากอุตสาหกรรมยานยนต์ และพัฒนาเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ PEA หารือความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้ากับกระทรวงพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรม เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 นายน�ำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการ PEA นายอภิรักษ์ เหลืองธุวปราณีต รองผู้ว่าการประจ�ำส�ำนัก ผู้ว่าการ PEA รักษาการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด (PEA ENCOM บริษัทในเครือ กฟภ.) และ นายชาญชัย บัณฑิตเสาวภาคย์ รองผู้ว่าการปฏิบัติการเครือข่าย PEA ร่วมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้ากับ Dr. Myint Kyu รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมเมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และ Ms. Aye Aye Min ผูว้ า่ การพลังงานไฟฟ้าด้านวิศวกรรม มลรัฐมัณฑะเลย์และคณะเข้าพบ ณ ส�ำนักงานใหญ่ PEA

กฟน.ลงนามให้ มจธ.บริหารโครงการ MEA Energy Saving Building

นายอาทร สินสวัสดิ์ ผูว้ า่ การการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) แลกสัญญา ผูช้ ว่ ยรองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ทิพากร รองอธิการบดีฝา่ ยพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อบริหารโครงการ ส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร หรือ MEA Energy Saving Building ซึ่งเป็นโครงการค้นหาสุดยอดอาคารประหยัดพลังงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ น�ำร่องปีแรก ด้วยการประกวดอาคารประเภทโรงพยาบาลและไฮเปอร์มาร์เก็ต งานจัดขึ้น ณ ห้องพินนาเคิล 1-3 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีนาคม - เมษายน 2556

95


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


รับจ�ำนวนจ�ำกัด PDU/CPD 6 หน่วย

การสัมมนาเรื่อง

เตรียมพร้อมรับสายไฟฟ้า ตาม มอก.ใหม่ และ มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าที่ปรับปรุงใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2556 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา (ห้อง GH 201-202) จัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับ สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย (Temca) หลักการและเหตุผล

ร า ส า ้ ฟ ไฟ เนือ่ งจากมาตรฐานการติดตัง้ ทางไฟฟ้าส�ำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การปรับปรุงเพือ่ ให้ สอดคล้องกับมาตรฐานสายไฟฟ้าใหม่ ตาม มอก.11-2553 ซึ่งอ้างตามมาตรฐาน IEC การเปลี่ยนแปลงที่สำ� คัญคือข้อก�ำหนดการใช้งาน การเดินสาย และขนาดกระแสของสายไฟฟ้า อีกทั้งเพิ่มข้อก�ำหนดการติดตั้งส�ำหรับสถานที่เฉพาะและบทอื่น ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบกับ การออกแบบ การติดตั้ง และการตรวจสอบ เมื่อมาตรฐานฯ ดังกล่าวประกาศใช้ ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องทราบรายละเอียดเพื่อให้สามารถ ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้รว่ มกับสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครือ่ งกลไทย จัดสัมมนา ขึน้ เพือ่ เผยแพร่มาตรฐานฯ ดังกล่าว โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้ผทู้ เี่ กีย่ วข้องมีความรูแ้ ละความเข้าใจตรงกัน ซึง่ จะสามารถประยุกต์ใช้งาน ได้อย่างถูกต้อง

คณะวิทยากร

นายลือชัย ทองนิล • ผศ.ประสิ • นายกิตติพทงษ์ธิ์ พิวีทรยพัะโพธิฒน์​์ป ระสิทธิ์ • นายสุธี ปิ่นไพสิฐ • รศ.ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช • นายกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว •

การไฟฟ้านครหลวง / ประธานคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท., / กรรมการสภาวิศวกร อาจารย์พิเศษภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าก�ำลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร การไฟฟ้านครหลวง กรมโยธาธิการและผังเมือง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ค่าลงทะเบียน

ประเภทสมาชิก จ่ายภายในวันที่ 2 เมษายน 2556 จ่ายหลังวันที่ 2 เมษายน 2556 สมาชิก วสท./Temca/ราชการ/รัฐวิสาหกิจ/นิสิต นักศึกษา 700 บาท/คน 1,000 บาท/คน บุคคลทั่วไป 1,000 บาท/คน 1,500 บาท/คน พิเศษส�ำหรับวิศวกร วิศวกรที่ยังไม่เป็นสมาชิก วสท. สามารถสมัครและรับสิทธิลงทะเบียนในอัตราสมาชิกตามประเภททันที วสท.ขอสงวนสิทธิ์ส�ำหรับผู้ที่ชำ� ระเงินก่อนเท่านั้น หากกรณีที่นั่งเต็ม

• •

สนใจติดต่อได้ที่ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

487 ซอยรามค�ำแหง 39 ถ.รามค�ำแหง แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 02 319 2410-3, 02 319 2708-9, 02 184 4600-9 ต่อ 520, 521, 522 โทรสาร 02 319 2710-1 Homepage : www.eit.or.th ผู้ให้การสนับสนุน


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ใบสั่งจองโฆษณา (Advertising Contract) นิตยสารไฟฟ้าสาร (Electrical Engineering Magazine) กรุณาส่งใบสั่งจองทางโทรสาร 0 2247 2363

ข้อมูลผู้ลงโฆษณา (Client Information)

วันที่.............................................. บริษัท / หน่วยงาน / องค์กร ผู้ลงโฆษณา (Name of Advertiser) :........................................................................................... ที่อยู่ (Address) :........................................................................................................................................................................ ....................................................................................................................................................................................... โทรศัพท์/Tel :............................................................................โทรสาร/Fax :............................................................................ ชื่อผู้ติดต่อ/Contact Person :............................................................อีเมล/E-mail :.................................................................... ฉบับที่ต้องการลงโฆษณา (Order)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ฉบับเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน 56 ฉบับเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม 56

ฉบับเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม 56 ฉบับเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 57

อัตราค่าโฆษณา (Order) (กรุณาท�ำเครื่องหมาย

ในช่อง

ต�ำแหน่ง (Position)

ปกหน้าด้านใน (Inside Front Cover)

ปกหลัง (Back Cover) ปกหลังด้านใน (Inside Back Cover) ตรงข้ามสารบัญ (Before Editor - lift Page) ตรงข้ามบทบรรณาธิการ (Opposite Editor Page) ในเล่ม 4 สี เต็มหน้า (4 Color Page) ในเล่ม 4 สี 1/2 หน้า (4 Color 1/2 Page) ในเล่ม 4 สี 1/3 หน้าแนวตั้ง (4 Color 1/3 Page) ในเล่ม ขาว-ด�ำ เต็มหน้า (1 Color Page) ในเล่ม ขาว-ด�ำ สี 1/2 หน้า (1 Color 1/2 Page ) ในเล่ม ขาว-ด�ำ สี 1/3 หน้า (1 Color 1/3 Page ) ในเล่ม ขาว-ด�ำ สี 1/4 หน้า (1 Color 1/4 Page )

ฉบับเดือนกันยายน–ตุลาคม 56 ฉบับเดือนมีนาคม-เมษายน 57

มีความประสงค์สั่งจองโฆษณา “นิตยสารไฟฟ้าสาร”) อัตราค่าโฆษณา (Rates)

55,000 บาท 60,000 บาท 50,000 บาท 48,000 บาท 47,000 บาท 45,000 บาท 23,000 บาท 16,500 บาท 23,000 บาท 12,000 บาท 7,700 บาท 7,000 บาท

(Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht)

รวมเงินทั้งสิ้น (Total).......................................................บาท (......................................................................................)

ผู้สั่งจองโฆษณา (Client)......................................................... ผู้ขายโฆษณา (Advertising Sales)..........................................

ต�ำแหน่ง (Position).......................................................... วันที่ (Date)............./......................../.............

วันที่ (Date)............./......................../.............

หมายเหตุ - อัตราค่าโฆษณานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม - เงื่อนไขการช�ำระเงิน 15 วัน นับจากวันวางบิล ทางบริษัทฯ จะเรียกเก็บเป็นรายฉบับ - โปรดติดต่อ คุณสุพจน์ แสงวิมล ประชาสัมพันธ์ นิตยสารไฟฟ้าสาร ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โทรศัพท์ 0 2642 5241-3 ต่อ 110, 133 โทรสาร 0 2247 2363 E-mail : EE.mag01@gmail.com เจ้าของ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) 487 รามค�ำแหง 39 (ซอยวัดเทพลีลา) วังทองหลาง กทม. 10310 ผู้จัดท�ำ : บริษัท ไดเร็คชั่น แพลน จ�ำกัด 539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 22A ถ.ศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400


ใบสมัครสมาชิก/ใบสั่งซื้อนิตยสาร

นิตยสารไฟฟ้าสาร (Electrical Engineering Magazine) วันที่................................... ชื่อ-นามสกุล.................................................................................................................................................................... บริษัท/หน่วยงาน ............................................................................................................................................................ เลขที่......................................................อาคาร.......................................................ซอย................................................. ถนน.......................................................ต�ำบล/แขวง.......................................................................................................

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

อ�ำเภอ/เขต..............................................จังหวัด......................................................รหัสไปรษณีย์...................................

โทรศัพท์..................................................โทรสาร....................................................E-mail:.............................................

ที่อยู่ (ส�ำหรับจัดส่งนิตยสาร กรณีที่แตกต่างจากข้างต้น).................................................................................................

....................................................................................................................................................................................... กรุณาท�ำเครื่องหมาย ในช่อง มีความประสงค์สมัครสมาชิกนิตยสาร “ไฟฟ้าสาร” มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิกนิตยสารไฟฟ้าสาร ในประเภท : 1. บุคคลทั่วไป ครึ่งปี 3 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 1 เล่ม ราคา 220 บาท 1 ปี 6 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 1 เล่ม ราคา 440 บาท 2. นิติบุคคล ครึ่งปี 3 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 3 เล่ม ราคา 660 บาท 1 ปี 6 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 3 เล่ม ราคา 1,320 บาท แถมฟรี หนังสือเทคโนโลยีสะอาด จ�ำนวน 3 เล่ม มูลค่า 320 บาท 3. นิติบุคคลขนาดใหญ่ ครึ่งปี 3 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 5 เล่ม ราคา 1,100 บาท 1 ปี 6 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 3 เล่ม ราคา 2,200 บาท แถมฟรี หนังสือเทคโนโลยีสะอาด จ�ำนวน 3 เล่ม มูลค่า 320 บาท และเสื้อ PREclub 1 ตัว มูลค่า 550 บาท ต้องการนิตยสารตั้งแต่ฉบับที่/เดือน................................................ถึงฉบับที่/เดือน...................................................... ช�ำระเงินโดย เช็คธนาคาร...............................................สาขา...........................................เลขทีเ่ ช็ค................................................ โอนเงินเข้าบัญชีประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “บริษัท ไดเร็คชั่น แพลน จ�ำกัด” ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนรางน�ำ้ เลขที่บัญชี 052-2-56109-6 หมายเหตุ

• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินและใบสมัครสมาชิกมาที่ โทรสาร 0 2247 2363 โดยระบุเป็นค่าสมาชิก “นิตยสารไฟฟ้าสาร” เจ้าของ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) 487 รามค�ำแหง 39 (ซอยวัดเทพลีลา) วังทองหลาง กทม. 10310 ผู้จัดท�ำ : บริษัท ไดเร็คชั่น แพลน จ�ำกัด 539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 22A ถ.ศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.