พระผู้เจริญพร้อม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

Page 52

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ ๙ ตลอดถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวชเกือบทุกพระองค์ ก็ผนวช แล้วประทับที่วัดแห่งนี้ สำหรับผู้ครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในฐานะที่ทรง เป็นพระอุปัชฌาย์ งานสำคัญงานหนึ่ง คือ ต้องทำหน้าที่อบรมสั่งสอน พระนวกะ (พระใหม่) ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบกันมาของวัดหลวงแห่งนี้ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่และทรง เป็นเจ้าอาวาส เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเอาพระทัยใส่ ในการเป็น พระอุปัชฌาย์ แม้มีงานหลายด้านเพิ่มขึ้นมากมายเพียงไร พระองค์ก็ทรงไม่เคยขาดสอน ถึงวันนั้นจะมีคนมาเข้าเฝ้าจำนวนมาก อย่างเช่นวันฉลองวันประสูติก็ตาม เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงสอนพระลูกศิษย์ทุกรูปด้วยความเมตตา แต่ก็ เคร่งครัดในการเรียนการสอน รวมทั้งเข้มงวดความประพฤติปฏิบัติของ พระสงฆ์ ให้ปฏิบัติตนถูกต้องตามพระธรรมวินัย ในช่วงเข้าพรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะเสด็จลงที่ห้องกรรมฐาน ตึก สว ธรรมนิเวศ ตอนบ่ายโมงเป็นกิจวัตร วันละประมาณหนึ่งชั่วโมง เพื่อสั่งสอนอบรมให้พระใหม่มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมคำสอนของ พระพุทธศาสนาในด้านปฏิบัติ คือแนะนำและฝึกหัดให้รู้จักปฏิบัติสมาธิ กรรมฐานเพื่อรักษาและขัดเกลาจิตใจจากกิเลส วิ ธี ก ารสอนของพระองค์ เ ริ่ ม จากการปู พื้ น ฐานความรู้ ใ ห้ มั่ น คง 100 พระผู้เจริญพร้อม

Buddha-Chapter 4.indd 100-101

อย่างเช่น พระพุทธเจ้าคือใคร พระพุทธศาสนาคืออะไร ทรงสอนให้เห็น ว่าธรรมะอยู่รอบตัวเสมอ สอนให้เห็นสัจธรรม ความไม่เที่ยงของชีวิต อี ก เรื่ อ งที่ ท รงเน้ น ให้ เ ห็ น ตั้ ง แต่ แ รกเลยคื อ “เรื่ อ งการบวชให้ ไ ด้ ดี ” เนื่องด้วยการบวชนี้เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดคุณอนันต์และโทษมหันต์ได้ หาก ไม่มคี วามรู้ในข้อปฏิบัติอย่างชัดเจน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ รับสั่งถึงเรื่องนี้ว่า “...ความดีในการบวชพึงเห็นได้ง่ายๆ ก็คือเป็นโอกาส คือช่องทางให้ ได้บำเพ็ญกุศลอย่างสูงเพื่อบรรลุถึงความบริสุทธิ์ ความสุข ความสงบ อย่างประณีต เมื่อยังไม่ได้บวชไม่มีโอกาส คือ ไม่มีช่องทางที่ประพฤติ บุญกุศลเช่นนั้นได้... “…การบวชตามพระบรมศาสดาถือว่าเป็นการเข้ามาสู่พุทธจักรแห่ง ความบริสุทธิ์ และความสงบ เพราะพระธรรมวินัยนี้เป็นเครื่องห้าม ป้องกัน บาปอกุศลทั้งปวง เป็นไปเพื่อบุญกุศลทั้งปวง ตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงชั้นสูงสุด... “...แต่พึงทราบว่าเฉพาะการเข้ามาบวชก็เพียงเป็นแค่โอกาสเท่านั้น ถ้ า ผู้ บ วชนี้ ไ ม่ ใ ช้ โ อกาสนี้ เ พื่ อ ประพฤติ ป ฏิ บั ติ ใ ห้ ดี ต ามพระธรรมวิ นั ย

ก็กลายเป็นได้รับโทษ ทำการบวชที่ดีให้กลายเป็นไม่ดี พระพุทธเจ้าตรัสว่า บาปภิกษุผู้ประกอบบวชไม่ดีนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกทำลาย มีโทษอัน วิญญูชนติเตียน ย่อมประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก... “...การบวชดีนี้แม้ชั่วคราวก็เป็นบุญ เป็นนิสสัย อุปนิสสัยในทางดี เป็นอนุสสรณียที่ประทับอยู่ ในใจ เป็นเครื่องนำความสุขบริสุทธิ์ ความ สงบร่มเย็นมาให้เราเป็นเนืองๆ ทุกเวลาที่ระลึกได้...” ด้วยการบวชเป็นบุญกุศลที่สูงเช่นนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงทรงย้ำเตือน อบรมพระใหม่และพระเก่าให้ตั้งใจเรียนรู้ในธรรมแห่งพระพุทธองค์ พระผู้เจริญพร้อม 101

11/6/09 10:34:39 AM


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.