Energy Crisis:Is Nuclear the Solution?

Page 26

26

กันยายน - ธันวาคม 2554

September - December 2011

ส่วนแหล่งไฟฟ้าอีกแหล่ง คือ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดล�ำปาง มีก�ำลังการผลิต 2,400 MW ที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง แต่ โรงไฟฟ้าแม่เมาะเปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ถึงตอนนี้เกือบ 30 ปี ใช้ ถ่านหินไปปีละกว่า 16 ล้านตัน อีกไม่กี่สิบปีก็คงหมด นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินนั้นยังก่อมลภาวะตลอดมา รวมทั้งการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นปัญหาร่วมของโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงาน ความร้อน ไม่ว่าจะน�้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ล้วนแต่ปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศทั้งสิ้น ผ.ศ.ปรีชากล่าวว่าถ้าประเทศไทยมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ราคา พลังงานไฟฟ้าของไทยจะไม่สูงเกินไปจนเป็นภาระกับคนส่วนใหญ่ การผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีเสถียรภาพ มีความมั่นคงและมีความ ปลอดภัย “โรงไฟฟ้าในนิวเคลียร์ของไทยจะเดินหน้าได้หรือไม่ขึ้นอยู่ กับนโยบายของรัฐบาล ถามว่าประเทศไทยมีความพร้อมในการมี

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมามีการศึกษาเตรียม ความพร้ อ มในเบื้ อ งต้ น ไว้ แ ล้ ว โดยโรงไฟฟ้ า ที่ ไ ทยจะสร้ า ง เป็นเทคโนโลยีรนุ่ ใหม่ซงึ่ มีความปลอดภัยสูงกว่ารุน่ เก่าทีก่ ำ� ลังมีปญ ั หา ในญี่ปุ่น และต้องมั่นใจว่าคนไทยท�ำได้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกแห่งใน โลกอยูภ่ ายใต้มาตรฐานเดียวกันคือ มาตรฐานโลกทีก่ ำ� หนดโดย IAEA: ไม่ใช่มาตรฐานของประเทศใดประเทศหนึ่ง “การศึกษาเตรียมความพร้อมที่ด�ำเนินการมาแล้ว 3 ปีก็ชะงัก ท�ำอะไรต่อไม่ได้ การที่ไอเออีเอไม่รับรองรายงานข้อมูลความพร้อม การก่อสร้าง 19 ข้อ ที่ไทยส่งไป เป็นเพราะรัฐบาลไม่อนุมัติให้เริ่ม ก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ปัญหาอยู่ที่การอนุมัติโครงการเท่านั้น รัฐบาลควรจะก�ำหนดให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นนโยบายของชาติ ไม่ใช่เป็นแค่แผนพัฒนาพลังงาน เมื่อระดับนโยบายไม่ชัด ขั้นตอน ต่อไป เช่น กฎหมายควบคุมต่างๆ การเลือกเทคโนโลยี การเลือกพืน้ ที่ การพัฒนาบุคลากรรองรับจึงไม่เกิดขึ้น” ผ.ศ.ปรีชา กล่าว

ข้อสังเกตและข้อแนะน�ำของ IAEA ต่อโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย ระหว่างการมาเยือนประเทศไทยของคณะผู้เชี่ยวชาญของ IAEA ระหว่างวันที่ 13-18 ธ.ค. 2553 เพื่อประเมินความพร้อมใน ระยะแรกของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในช่วงของการ ศึกษา 3 ปีแรก โดยได้ตั้งข้อสังเกตดังนี้ 1. ไม่มีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการใดๆ ที่แสดงให้เห็นถึง ความตั้งใจของรัฐบาลในการด�ำเนินการด้านพลังงานนิวเคลียร์ อย่างปลอดภัย มั่นคงและสันติ (ไม่แพร่กระจาย) ในระยะยาว 2. ไม่ มี แ ผนอย่ า งเป็ น ทางการในการตรากฎหมายด้ า น นิวเคลียร์ให้บรรลุผล 3. องค์ประกอบที่จ�ำเป็นในการร่วมเป็นภาคีต่อเครื่องมือ ทางกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับการบรรจุในการ ด�ำเนินการตรากฎหมายของประเทศ และรัฐบาลยังไม่มีแผนใน การจัดการประเด็นนี้ นอกจากนัน้ ประเทศไทยไม่ได้แสดงเจตจ�ำนง ในการเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ 4. ไม่มีหลักฐานยืนยันเจตจ�ำนงในการแต่งตั้งผู้น�ำที่ผ่านการ อบรมและมีประสบการณ์ที่เหมาะสมเพื่อน�ำการจัดการด้านความ ปลอดภัย 5. ไม่มีหลักฐานที่แสดงความเข้าใจต่อเรื่องความรับผิดชอบ ขั้นสุดท้ายของผู้ด�ำเนินการโรงไฟฟ้าต่อเรื่องความปลอดภัย 6. ยังไม่มีรายละเอียดเพียงพอในเรื่องการพัฒนาทรัพยากร บุคคลของส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติส�ำหรับขั้นตอนการด�ำเนิน งานขั้นที่ 1 ทั้งนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญ IAEA ให้ข้อแนะน�ำโดยสรุป 8 ข้อ ได้แก่ 1.หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่าง มัน่ คง ปลอดภัย และอย่างสันติในระยะยาว ควรระบุไว้ในกฎหมาย ฉบับแก้ไข หรือในเอกสารราชการอื่นๆ ที่เหมาะสม 2. ประเทศไทยควรมีความชัดเจนว่า การแต่งตัง้ ผูบ้ งั คับบัญชา จะพิจารณาบุคคลทีผ่ า่ นการอบรมและมีประสบการณ์ทเี่ หมาะสม ส�ำหรับที่จะเป็นผู้น�ำและส�ำหรับการจัดการด้านความปลอดภัย 3. ประเทศไทยควรสร้างความเข้าใจให้ดมี ากขึน้ เกีย่ วกับความ รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของเจ้าของ/ผู้เดินเครื่องโรงไฟฟ้า 4. ในการตัดสินใจเริ่มโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

VA.indd 26

ประเทศไทยควรออกแถลงการณ์ยอมรับเข้าร่วม Global Nuclear Safety Regime และแสดงความชัดเจนที่จะเข้าร่วมเป็นภาคีใน สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสนธิสัญญา ต่อไปนี้ – อนุสัญญาความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ – อนุสญ ั ญาร่วมว่าด้วยความปลอดภัยในการจัดการเชือ้ เพลิง ใช้แล้วและกากกัมมันตรังสี – อนุสัญญาการป้องกันวัสดุนิวเคลียร์ – อนุสญ ั ญาเวียนนาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งส�ำหรับความ เสียหายอันเกิดจากนิวเคลียร์ 5. ควรจัดท�ำแผนเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการ ของหน่วยงานก�ำกับดูแลและหน่วยงานที่มีความส�ำคัญอื่นๆ ใน อนาคต เช่น หน่วยงานสนับสนุนด้านเทคนิค เป็นต้น 6. ประเทศไทยควรจัดท�ำแผนที่จะออกกฎหมายนิวเคลียร์ที่ ครอบคลุมทั้งหมดและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสอดคล้อง กับมาตรฐานของ IAEA และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่ง กฎหมายเหล่ า นี้ ค วรจั ด ตั้ ง โครงสร้ า งและขอบข่ า ยงานของ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ จัดตัง้ หน่วยงานก�ำกับดูแลทีเ่ ป็นอิสระ มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน นอกจากนี้ กฎหมายจะต้อง ครอบคลุมประเด็นส�ำคัญอื่นๆ ด้วย เช่น ความปลอดภัยนิวเคลียร์ การรักษาความปลอดภัย การพิทกั ษ์วสั ดุนวิ เคลียร์ และการชดเชย ความเสียหายจากนิวเคลียร์ 7. ประเทศไทยควรมีพื้นที่ตรวจนับวัสดุนิวเคลียร์ (Material Balance Area) ส�ำหรับสถานที่ภายนอก (Locations Outside Facilities) และวัสดุนวิ เคลียร์ทงั้ หมดทีจ่ ะต้องผ่านขัน้ ตอนของการ พิทักษ์วัสดุนิวเคลียร์ ควรได้รับการตรวจนับอย่างถูกต้องที่ MBA และรายงานไปยัง IAEA 8. ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ควรจัดท�ำแผนพัฒนา บุคลากรที่ครอบคลุมทั้งหมดอย่างเร่งด่วน และจะต้องสอดคล้อง กับแผนงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศด้วย ที่มา: เอกสารการชี้แจงเรื่องการประเมินตนเองเบื้องต้นต่อ IAEA โดย นายชวลิต พิชาลัย รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพัฒนา โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554

1/27/12 11:32 AM


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.