social research

Page 1

วารสารวิจัยสังคม

* การเเก การเเกปญ ปญหาด หาดานที านที่อยู่ออยูาศั อาศัยของชุ ยของชุมชนบุ มชนบุกรุกกรุพืกพื้นที้น่ ใทีนเขตเมื ่ ในเขตเมืององ11 โดยการมี โดยการมีสวสนร วนรวม: วม:กรณี กรณีศึกศษาชุ ึกษาชุมชนคลองลำนุ มชนคลองลำนุน นกรุกรุงเทพมหานคร งเทพมหานคร

* การวิ การวิเคราะห เคราะหศักศยภาพของพื ักยภาพของพื้นที้น่เทีพื่เพื่อรองรั ่อรองรับการขยายตั บการขยายตัวดวาดนาน66 ที่อทียู่ออยูาศั ย ของชุ ม ชน: กรณี ศ ก ึ ษา เขตเทศบาลตำบลโคกมะกอก อาศัยของชุมชน: กรณีศึกษา เขตเทศบาลตำบลโคกมะกอก อำเภอเมื อำเภอเมืองปราจี องปราจีนบุนรบุี รจัี งจัหวั งหวัดปราจี ดปราจีนบุนรบุี รี * วาทกรรมช วาทกรรมชองว องวางการจั างการจัดการเหมื ดการเหมืองเเร องเเร: : มุมมุมองที มมองที่แตกต ่แตกตางกั างกับผลกระทบการพั บผลกระทบการพัฒฒนาที นาที่ไม่ไยมั่งยยืั่งนยืน * Water WaterResources ResourcesManagement: Management:Hydrologic HydrologicEvaluation Evaluationand and Effect of Climate Change on the Atsamart Watershed, Effect of Climate Change on the Atsamart Watershed, Northeastern NortheasternRegion, Region,Thailand Thailand

ปที่ 34 ฉบับที่ 1 2554

* การพั การพัฒฒนาการศั นาการศักยภาพท กยภาพทองเที องเที่ยวจั ่ยวจังหวั งหวัดเพชรบุ ดเพชรบุรีอรยีอายงยั างยั่งยื่งนยืน22 ผผานการประยุ ก ต ใ ช ร ะบบสารสนเทศภู ม ศ ิ าสตร านการประยุกต ใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตร

* พลัพลังงานนิ งงานนิวเคลี วเคลียรย:ร:ทางเลื ทางเลือกที อกที่เเสนเเพง ่เเสนเเพง

ISSN 0857-9180

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย อาคารวิศิษฐ ประจวบเหมาะ ชั้น 5 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทรศัพท : 0 2218 7396 โทรสาร : 0 2255 2353 Email : cusri@chula.ac.th

วารสารวิจัยสังคม

Journal of Social Research Institute ปที่ 34 ฉบับที่ 1 2554


วารสารวิจยั สั งคม

Journal of Social Research

ฉบับ

ปี ที่ 34 ฉบับที่ 1 2554

บรรณาธิการ ดร.ศยามล เจริ ญรัตน์

ผู้เขียน ชมพูนชุ พบสุข เสาวณีย์ พ่วงทอง วัลลภ พรมบาง นฤมล อรุโณทัย และคณะ Prayuth Graiprab, Kobkiat Pongput and Nipon Thangtham


วารสารวิจยั สังคม Journal of Social Research ISSN 0857-9180 สถาบันวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ชัน้ 5 ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330 Chulalongkorn University Social Research Institute Thanon Phayathai, Bangkok 10330 Thailand Tel. 0-2218-7385 , 0-2218-7396, 0-2218-7401 Fax 0-2215-5523, 0-2255-2353 E-mail: cusri@chula.ac.th, sripub06@yahoo.com http://www.cusri.chula.ac.th วารสารวิจยั สังคม เป็ นวารสารวิจยั รายปี มีวตั ถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจยั ของ สถาบัน วิทยานิพนธ์ งานวิจยั หรื อบทความที่เกี่ยวข้ องกับสาขาวิชาด้ านสังคมศาสตร์ และรายงานข่าวจากสถาบันฯ ทังนี ้ ้เพื่อเป็ นการเผยแพร่ความรู้แก่คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา หรื อผู้ทมี่ ีความสนใจเกี่ยวกับการวิจยั ท่านที่สนใจวารสารวิจยั สังคม ติดต่อสัง่ ซื ้อได้ ที่ ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ศาลาพระเกี ้ยว โทร. 02-818700 – 3 โทรสาร 02-2554441 สยามสแควร์ โทร. 02- 2189888 โทรสาร 02-2559455 มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก โทร.055-5260165 – 5 โทรสาร 055-260165 มทส (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี ) นครราชสีมา โทร. 044-216131 ราคาเล่มละ 100 บาท


บทบรรณาธิการ ความยัง่ ยืน (Sustainable) เป็ นคําที่ติดหู และถูกใช้ มากขึ ้นเรื่ อยๆ นับตั้งแต่การประชุม Earth Summit ที่นครริ โอ เดอ จาเนโร ในปี ค.ศ.1992 (พ.ศ. 2535) อันเนื่องจากผลของการพัฒนาที่ขาดสมดุลในอดีต อาจจะกล่าว ได้ ว่าที่ผ่านมากระบวนการพัฒนาโดยเฉพาะในช่วงสองถึงสามทศวรรษก่อน หน้ านี ้ เป็ นกระบวนการที่ม่งุ เน้ นความเจริ ญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าการ คํ า นึ ง ถึ ง สภาพแวดล้ อ ม และการพัฒ นาด้ า นสัง คม ตัว ชี ว้ ัด หนึ่ ง ที่ บ่ง ชี ถ้ ึ ง สภาพการพัฒนาเช่นนี ้คือ วิธีการวัดอัตราการพัฒนาของแต่ละประเทศจาก ตัว เลขผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมของประเทศ (GDP) หรื อ รายได้ต่ อ หั ว ของ ประชากร (Per-capita Income) ที่ม่งุ วัดรายได้ ของประชากรและรายได้ ของ ประเทศ รวมไปถึงการวัดความอยู่ดีมีสขุ (well being) ที่ม่งุ เน้ นไปที่สขุ ภาวะ ทางกาย เช่ น อั ต ราการรอดชี พ ของทารก หรื อ ดัช นี ก ารพัฒ นามนุ ษ ย์ (Human Development Index: HDI)1 ที่แม้ ว่าจะมองดูให้ ความสําคัญต่อ มนุษย์มากขึ ้นแต่ก็ยงั เป็ นดัชนีที่ม่งุ การวัดและการเปรี ยบเทียบความยากจน การรู้หนังสือ การศึกษา อายุขยั การคลอดบุตร และปั จจัยอื่นๆ ของประเทศ ต่างๆ ทัว่ โลก ที่เน้ นใน 3 ด้ าน คือ 1) การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสขุ ภาพดี จาก อายุขัย 2) ความรู้ ซึ่งจากการรู้ หนังสือและอัตราส่วนการเข้ าเรี ยน และ 3) การวัดมาตรฐานคุณภาพชีวิตจาก ผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ต่อหัวและความเท่าเทียมกันของอํานาจ ซื ้อ (purchasing power parity - PPP) เป็ นต้ น นอกจากนี ้ ดัชนีระดับโลก 1

Human Development Report 2010. http://hdr.undp.org/en/reports/global/hdr2010/


ของสหประชาชาติยงั มีการวัดความยากจนของแต่ละประเทศด้ วยดัชนีความ ยากจนมนุษย์ (Human Poverty Index) เช่นกัน แต่ดชั นีเหล่านั ้นมักมุ่งเน้ น ไปที่ ตั ว เลขที่ พิ สู จ น์ ถึ ง รายได้ รายจ่ า ย และสุ ข ภาพมากกว่ า การให้ ความสําคัญต่อสภาวะแวดล้ อมและคุณค่าด้ านสังคมวัฒนธรรม การมุ่งเน้ นการพัฒนาที่มีตวั ชี ้วัดที่คล้ ายคลึงกันไปทัว่ โลกเช่นนี ้ ได้ ขับเคลื่อนให้ รูปแบบการก้ าวเดินของระบบโลกให้ สงั คมเป็ นโลกเสรี ทนุ นิยม มากขึน้ ความสัมพันธ์ ทางสังคมเสื่อ มถอยลงทํ า ให้ ผ้ ูคนโดดเดี่ ยวมากขึน้ ร่วมกับการก้ าวสูส่ งั คมสูว่ ยั มากขึ ้นตามโครงสร้ างประชากรจากอดีต และการ เปลี่ยนสภาพแวดล้ อมโลกให้ เสื่อมโทรมจากการใช้ ทรั พยากรที่พล่าผลาญ เกินกําลังและไร้ การรับผิดชอบมากขึ ้น ปรากฏการณ์ ต่างๆ ทัว่ โลกที่เกิดขึน้ กําลังยืนยันถึงผลกระทบของการพัฒนาที่ผา่ นมา เช่น ภาวะโลกร้ อน (Global Warming) หรื อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็ นต้ น แม้ กระทั้งปรากฏการณ์ ภัยพิบตั ิต่างๆ ทัว่ โลก2 รวมถึงอุทกภัยใน ภูมิภาคต่างๆ ทัว่ โลกและในประเทศไทย โดยเฉพาะเหตุการณ์ อุทกภัยและ ภัยแล้ งในปี พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ ้นได้ ชี ้ให้ เห็นว่าโลก กําลังเปลี่ยนแปลงภายใต้ การพัฒนาสุดโต่งตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ที่เริ่ มมีการ ปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม อย่ า งไรก็ ต าม กระบวนทั ศ น์ ข องการพั ฒ นากํ า ลั ง พยายาม เปลี่ยนแปลงจากการมุ่งเน้ นการพัฒนาเฉพาะด้ านเศรษฐกิจเพียงด้ านเดียว ไปสู่การสร้ างสมดุลที่เหมาะสมของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้ อม ซึ่งเป็ น 2

World Commission on Environment and Development (WCED). (1987). Our Common Future. Oxford and New York: Oxford University Press.


แนวทางหนึ่งที่ถกู หยิบยกขึ ้นมากล่าวถึงในเวทีโลก และกําลังขยายตัวออกไป เรื่ อยๆ แนวคิดการพัฒนาใหม่ๆ นี ้ ได้ นําไปสู่วิธีคิดถึงวิธีการวัดโลกด้ วยดัชนี รู ปแบบใหม่เช่นกัน ตัวชี ว้ ัดลักษณะใหม่ที่ไม่มุ่งตอบสนองแต่เพียงด้ าน เศรษฐกิจ เริ่ มปรากฏและได้ รับการกล่าวถึงอย่างกว้ างขวาง เช่น การชีว้ ัด ความสุข (GHP)3 เป็ นต้ น แนวคิ ด เรื่ อ งความยั่ง ยื น ถูก นํ า มาประยุก ต์ ใ ช้ ม ากมายในองค์ ก ร พัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ (International Non Organizational) องค์กร ระหว่างประเทศ และในประเทศไทย เพื่อความหวังที่จะสามารถสร้ างรูปแบบ การพัฒนาแบบใหม่ที่เหมาะสมและยังประโยชน์สงู สุดแก่มนุษย์ และโลก ทั้ง ในปั จจุบันและอนาคต มุม มองด้ า นการสร้ างสมดุลเพื่ อ อนาคตนี ถ้ ูก หยิ บ ยกขึ น้ มาพู ด กั น มากขึ น้ ในประเทศไทยถึ ง การพัฒ นาที่ จ ะทํ า ให้สัง คมมี ความสุข แม้ ในสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้ วยการปฏิรูปประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553 ได้ มีมติเห็นชอบเรื่ อง “ร่ วมฝ่ าวิกฤตความไม่เป็ นธรรม นําสังคม สู่สขุ ภาวะ”4 ที่ม่งุ มองว่า ประเทศไทยควรมี สังคมดี เศรษฐกิจดี ทรัพยากรที่ สมบูรณ์ และมีสขุ ภาวะ มากกว่าการมุ่งการพัฒนาไปเฉพาะด้ านเศรษฐกิจ บทความทั้ง 5 บทความ กับอี ก 1 ปริ ทัศน์ หนังสือ ในวารสารนี ไ้ ด้ นําเสนอถึงการสร้างและดํารงความยัง่ ยืนในประเด็นต่างๆ ผ่านการจัดการ กระบวนการ วิธีการและ เครื่ องมือ ในรู ปแบบต่างๆ ในบริ บทที่แตกต่างกัน จนอาจกล่ า วได้ ว่ า แนวคิ ด เรื่ อ งความยั่ง ยื น เกิ ด ขึ น้ ในประเทศไทยและ 3

Ura, K. and Galay, K., edt. Gross National Happiness and Development. 2547. The Centre for Bhutan Studies 4 สมัชชาสุขภาพปี 2553. 2553. ร่ วมฝ่ าวิกฤตความไม่เป็ นธรรม นําสังคมสูส่ ขุ ภาวะ (เอกสาร หลัก) วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553.


สามารถประยุกต์เข้ าไปในหลายสาขาวิชา ไม่เฉพาะในด้ านเศรษฐศาสตร์ หรื อ สัง คมศาสตร์ เ ท่ า นัน้ แต่ ยัง ก้ า วล่ ว งเข้ า สู่ส าขาวิ ช าอื่ น ๆ รวมถึ ง ด้ า น วิทยาศาสตร์ ในลักษณะของสหสาขาวิชา(Tran-disciplinary) ตามรู ปแบบ และแนวคิดของความยัง่ ยืนที่ไม่ม่งุ มองเพียงด้ านใดด้ านหนึง่ เท่านั้น บทความแรกเรื่ อง “การแก้ ปัญหาด้ านทีอ่ ยู่อาศัยของชุมชนบุก รุ กพื้นที่ในเขตเมืองโดยการมีส่วนร่ วม: กรณีศึกษาชุมชนคลองลํานุ่น กรุ งเทพมหานคร” ของ นางสาวชมพูนุท พบสุข บทความชิ ้นนี ้ได้ ให้ ภาพ ของการแก้ ปัญหาความขัดแย้ งในด้ านการบุกรุ กโดยนํากระบวนการมีส่วน ร่ วมเข้ ามาเป็ นกระบวนการแก้ ปัญหาเพื่อให้ เกิดการคลีคลายปั ญหาอย่าง ยัง่ ยืน เพราะสามารถแก้ ปัญหาที่เรื อ้ รังมานานระหว่างประชาชนผู้อยู่อาศัย และเจ้ าหน้ าที่ของรั ฐได้ ตรงจุด มีการให้ ความสําคัญต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ต่างๆ และให้ มมุ มองการพัฒนาที่ชี ้ถึงปั จจัยที่มีผลต่อการแก้ ไขปั ญหาการบุก รุ ก อีกทั้งยังให้ ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจต่อการนําไปประยุกต์ใช้ สําหรั บพื ้นที่ อื่นๆ บทความอีก 2 เรื่ องเป็ นบทความที่ใช้ เครื่ องมือทางระบบสารสนเทศ ทางภู มิ ศ าสตร์ (GIS) และกระบวนการในการแก้ ปั ญหาให้ เกิ ด ความ เหมาะสม ซึ่ ง นํ า ไปสู่ ค วามยั่ ง ยื น ของพื น้ ที่ และชุ ม ชน คื อ เรื่ อ ง “การ พั ฒ นาการศั ก ยภาพท่ อ งเที่ย วจั ง หวั ด เพชรบุ รี อ ย่ า งยั่ ง ยื น ผ่ า นการ ประยุ ก ต์ ใ ช้ ร ะบบสารสนเทศภู มิ ศ าสตร์ ” ของ เสาวณี ย์ พ่ว งทอง ได้ นํ า เสนอเครื่ องมื อ ทางระบบสารสนเทศทางภู มิ ศ าสตร์ หรื อ GIS (Geographic Information System) ที่ใช้ เพื่อการจัดการท่องเที่ยวอย่าง ยัง่ ยืนในจังหวัดเพชรบุรี ว่าการที่ชมุ ชนจะสามารถมีวิถีชีวิตที่ยงั่ ยืนได้ ภายใต้ ความเปลี่ยนแปลงคือ การสร้ างความมัน่ คงทางเศรษฐกิจประการแรก ผ่าน


การหารายได้ ผ่านการท่องเที่ยวในพื ้นที่ที่เพิ่มมากขึ ้น เหมาะสมมากขึ ้นและ เป็ นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวมากขึ ้น โดยการวิเคราะห์ศกั ยภาพของแหล่ง ท่องเที่ยวแต่ละแห่งด้ วยการใช้ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ในการ นํ าเสนอความเหมาะสมต่า งๆ รวมถึงความเหมาะสมทางวัฒนธรรมและ สังคม และศักยภาพของสิ่งแวดล้ อมทางธรรมชาติในการรองรับนักท่องเที่ยว เพื่ อ สร้ างเส้ น ทางการท่ อ งเที่ ย วใหม่ ที่ เ หมาะสม ซึ่ ง จะนํ า ไปสู่ก ารดึง ดูด นักท่องเที่ยวให้ นํารายได้ เข้ าสู่ชุมชน และผลสุดท้ ายคือชุมชนมีความยัง่ ยืน ทางเศรษฐกิจ ไม่ทําลายสภาพแวดล้ อมทางการท่องเที่ยวและสร้างสังคมที่ สามารถอยู่รอดได้ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่หมายรวมถึงความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ การรักษาสภาพแวดล้ อมทางธรรมชาติ และสร้ างสังคม-ชุมชน ที่ดีของตนเอง เช่นเดียวกับงานทางระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) อีก ชิ ้นของ นาวาอากาศเอกวัลลภ พรมบาง เรื่ อง “การวิเคราะห์ ศักยภาพของ พื้นที่เพื่อรองรั บการขยายตัวด้ านที่อยู่อาศั ยของชุ มชน: กรณี ศึกษา เขตเทศบาลตํ า บลโคกมะกอก อํ า เภอเมื อ งปราจี น บุ รี จั ง หวั ด ปราจีนบุรี” ที่มีการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการขยายตัวของการใช้ ที่ดินในพื ้นที่ศกึ ษา เพื่อนําไปสู่กระบวนการจัดการรองรับการขยายตัวด้ านที่ อยู่อาศัยที่ยงั่ ยืนต่อไป บทความชิ ้นนี ้ ได้ ชี ้ให้ เห็นว่าลักษณะการใช้ ที่ดินและ รู ปแบบการกระจายตัวของการตั้งถิ่ นฐานจะมี ผลต่อการขยายตัวของที่อยู่ อาศัยและจะกลายเป็ นปั ญหาในอนาคตหากไม่มีการวางแผนเตรี ยมการที่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพแวดล้ อม ปั ญหาสังคม และปั ญหาอื่นๆ ดังนั้นจึงต้ องมี การวิ เ คราะห์ เ พื่ อ สร้ างศัก ยภาพพื น้ ที่ ที่ มี ค วามเหมาะสมที่ จ ะรองรั บ การ ขยายตัวของที่อยูอ่ าศัยได้ ในรูปแบบต่างๆ


บทความต่อมาเป็ นบทความที่ใช้ วิธีการศึกษาจากการรวบรวมข้ อมูล จากการทบทวนวรรณกรรมเรื่ องเหมื อ งแร่ กับ การการจัดการที่ ยั่ง ยื นเรื่ อ ง “วาทกรรมช่ องว่ างการจัดการเหมืองแร่: มุ มมองที่แตกต่ างกับ ผลกระทบการพั ฒนาที่ไม่ ยั่งยื น” ของ นฤมล อรุ โณทัย และคณะ ที่ ไ ด้ ชี ใ้ ห้ เ ห็ น ประเด็น เรื่ อ งเหมื อ งแร่ ใ นรู ป แบบของกระบวนการ สภาพปั ญ หา ผลกระทบที่เกิดขึ ้นกับชุมชนโดยรอบในประเทศไทย รวมถึงยังให้ ข้อมูลการ จัดการเหมืองในต่างประเทศ ซึ่งได้ ชีป้ ระเด็นผลกระทบจากการพัฒนาเชิง โครงสร้ างยังคงสร้ างปั ญหาให้ กบั ชุมชนและคนโดยรอบโดยเฉพาะในประเทศ ไทย แม้ ว่ า ข้ อ พิ สูจ น์ ห รื อ หลัก ฐานต่า งๆ ยัง ไม่ ป รากฏชัด เจนในเชิ ง ความ เชื่อมโยงที่เป็ นรู ปธรรม แต่บทความนี ้กลับชี ้ให้ เห็นถึงความเกี่ยวโยงที่สําคัญ ของปั ญ หาเหมื อ งแร่ ที่ ส่ง ผลต่อ ชุม ชนโดยรอบ นอกจากนี บ้ ทความได้ ใ ห้ ช่องทางถึงผลและการแก้ ปัญหาในเชิงนโยบายภาพรวม ซึ่งสะท้ อนให้ เห็นว่า การจัดการเหมืองในประเทศไทยยังคงเป็ นผลพวงของปั ญหาที่เกิดจากการ พัฒนาในหลายทศวรรษที่ผา่ นมา บทความสุดท้ ายเป็ นบทความภาษาอังกฤษของ ประยุทธ์ ไกรปราบ เรื่ อง “Water Resources Management: Hydrologic Evaluation and Effect of Climate Change on the Atsamart Watershed, Northeastern Region, Thailand” บทความให้ รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการนํ ้าที่ลมุ่ นํ ้า อาจสามารถ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันเนื่องมาจากผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้ วิธีการสร้ างแบบจําลองอุทกวิทยาของ การประเมินดินและนํ ้า(Soil and Water Assessment Tool -SWAT) พบว่า ุ หภูมิสงู ขึ ้นอีกเกือบร้ อยละ ในอนาคตช่วง ค.ศ. 2010 ถึง ค.ศ. 2050 จะมีอณ 1 แต่มีนํ ้าท่าและนํ ้าฝนเพิ่มขึ ้น แต่ปริ มาณนํ ้าที่เพิ่มนี ้ก็ยงั ไม่เพียงพอต่อความ


ต้ องการในอนาคตสําหรั บพืน้ ที่ลุ่มอาจสามารถ อย่างไรก็ ตามการทดลอง แบบจํ าลองนี เ้ พื่อให้ เกิ ดความยั่งยืนในอนาคตต่อสถานการณ์ ที่เกิ ดขึน้ ใน ปั จจุบัน ในแง่ของการใช้ นํา้ ในด้ านต่างๆ และการคาดการณ์ สําหรับการใช้ และผลกระทบที่ อาจจะเกิ ดขึน้ ในอนาคตเพื่อเตรี ยมการรั บมื อให้ สามารถ จัดการนํ ้าให้ พอเพียงและยัง่ ยืน หนังสือชวนอ่านเรื่ อง “พลังงานนิวเคลียร์ : ทางเลือกที่แสนแพง” เป็ นหนังสือเล่มบางๆที่ ชี ้ให้ เราเห็นถึงผลกระทบจากการพัฒนาในการสร้ าง พลังงานใหม่ที่สามารถตอบสนองต่อความต้ องการของมนุษย์ด้วยวิธีการที่ ยุ่งยากและเสี่ยงภัย หนังสือให้ มมุ มองในการมองพลังงานนิวเคลียร์ ที่มีวาท กรรมเดิมว่ามี ราคาถูกนัน้ แท้ จริ งแล้ วอาจจะไม่เป็ นอย่างที่คิด นอกจากนี ้ ยังให้ ภาพของโอกาสเสี่ยงที่เราอาจจะได้ รับจากการใช้ พลังงานนิวเคลียร์ จาก ประสบการณ์ ของประเทศผู้เคยใช้ และมี การตั้ง คําถามให้ ขบคิดต่อไปว่า พลังงานนิวเคลียร์ เป็ นพลังงานที่จะสร้ างความยัง่ ยืนได้ จริ งหรื อไม่สําหรับโลก และมนุษย์ บทความทัง้ 5 และบทปริ ทศั น์ หนังสือชวนอ่าน ได้ ให้ คําตอบตรงกัน ประการหนึ่งว่า รูปแบบการพัฒนามีความจําเป็ นที่จะต้ องมองไปถึงอนาคตที่ เหมาะสมผ่านการแก้ ไขปั ญหาเดิม และพยายามป้องกันสิ่งไม่พึงประสงค์ที่ จะเกิดขึ ้น และมุ่งมองถึงความสัมพันธ์ ระหว่างระบบเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้ อม ประกอบกันไปในการสร้ างการแก้ ไขและป้องกัน โดยไม่สามารถ มุ่งเน้ นพัฒนาเพียงด้ านเดียวได้ อีกต่อไปให้ เกิดนัยยะของ “ความยั่งยืน” ใน การพัฒ นาในระดับ ต่า งๆ ไม่ เ ฉพาะพื น้ ที่ ใ นประเทศไทย ระดับ ชาติ หรื อ กระทัง่ ระดับโลก ศยามล เจริญรั ตน์



วารสารวิจยั สั งคม

Journal of Social Research ปี ที่ 34 ฉบับที่ 1 2554

Vol. 34 No.1 2011

สารบัญ หน้ า

บทบรรณาธิการ การแก้ ปัญหาด้ านที่อยูอ่ าศัยของชุมชนบุกรุกพื ้นที่ในเขตเมือง โดยการมีสว่ นร่วม: กรณีศกึ ษาชุมชนคลองลํานุ่น กรุงเทพมหานคร นางสาวชมพูนทุ พบสุข

1

การพัฒนาการศักยภาพท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีอย่างยัง่ ยืน ผ่านการประยุกต์ใช้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เสาวณี ย์ พ่วงทอง

28

การวิเคราะห์ศกั ยภาพของพื ้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวด้ าน ที่อยูอ่ าศัยของชุมชน: กรณีศกึ ษา เขตเทศบาลตําบลโคกมะกอก อําเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี นาวาอากาศเอกวัลลภ พรมบาง

60


วาทกรรมช่องว่างการจัดการเหมืองแร่: มุมมองที่แตกต่างกับผลกระทบการพัฒนาที่ไม่ยงั่ ยืน อ.ดร.นฤมล อรุโณทัย และคณะ

82

Water Resources Management: Hydrologic Evaluation and Effect of Climate Change on the Atsamart Watershed, Northeastern Region, Thailand Prayuth Graiprab, Kobkiat Pongput and Nipon Thangtham

134

แนะนําหนังสือ “เรื่ องพลังงานนิวเคลียร์ : ทางเลือกที่แสนแพง” บรรณาธิ การ

174


การแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ของชุมชนบุกรุกพื้นที่ในเขต เมืองโดยการมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนคลองลานุ่น กรุงเทพมหานคร1 SOLUTIONS TO HOUSING PROBLEMS FOR THE URBAN SQUATTERS BY PUBLIC PARTICIPATION: A CASE STUDY OF KLONG LUM NOON COMMUNITY, BANGKOK

นางสาวชมพูนุท พบสุข2

1

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนบุกรุกพื้นที่ ในเขตเมืองโดยการมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาชุมชนคลองลานุ่น กรุงเทพมหานคร ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต (ผม.) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

2

บทคัดย่ อ การแก้ ปั ญ หาด้ า นที่ อ ยู่ อ าศั ย ของชุ ม ชนบุ ก รุ ก พื้ น ที่ ใ นเขตเมื อ งโดยการมี ส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนคลองลานุ่น กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนบุกรุกในเมือง 2) ศึกษากระบวนการแก้ไขปัญหาด้าน ที่อยู่อาศัยของชุมชนคลองลานุ่นโดยการมีส่วนร่วม 3) วิเคราะห์ปัจจัยของความสาเร็จ ในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนคลองลานุ่นโดยการมีส่วนร่ว ม 4) ประยุกต์ ความสาเร็จ และสรุปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนบุกรุก ในเมืองที่มีปัจจัยเหมือนชุมชนคลองลานุ่น จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า กระบวนการ แก้ไขปั ญ หาด้ านที่อ ยู่ อ าศัย ของชุ มชนคลองลานุ่น เกิดขึ้ นเพราะชาวบ้านในชุมชน ตระหนักถึงปัญหาการเป็นผู้บุกรุก และมีกระบวนการร่วมกันตั้งแต่การต่อสู้เพื่อการมี ที่ดินที่ถูกต้อ งตามกฎหมาย เช่น การเกิดกระบวนการภาคประชาชนในการขอความ ช่วยเหลือจากรัฐ การเจรจาต่อรองกับเจ้าของที่ดิน การตั้งกลุ่มออมทรัพย์ จนถึงการ พัฒนาที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น ชุมชนคลองลานุ่นจะมีกิจกรรมที่ทาร่วมกั นอย่างต่อเนื่อง เพื่อ สร้างความสามัคคีในชุมชน


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

3

Abstract This research has proposed to study as follow objectives: 1) studied housing problems for urban squatters, 2) studied the solution to housing problems of Klong lum noon community by public participation, 3) accomplished factor analysis of solution to housing problems of Klong lum noon community by public participation, 4) accomplished adaption guideline for the solution to housing problems for urban squatters that similar charecteristic of Klong lum noon community. The result of study can be summarized as a solution to housing problems of Klong lum noon community process has been occurred by following situations; people in community awared on their squatters area for living and public participation which strated for gaining formal land such as making a group of people to gain helping from public sector, negotiated with landlord, cooperative group setting, and housing improvement. Otherwise, the activities in Klong lum noon community have been continued to be creates a unity.


4

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

Keywords: Urban squatters , Public participation บทนา แนวทางการพั ฒ นาของประเทศไทยที่ ผ่ า นมา มุ่ ง เน้ น ความ เจริ ญ ก้ าวหน้ าทางเศรษฐกิ จ เป็ น หลั ก ส่ ง ผลให้ ก ระบวนการพั ฒ นาเมือ ง เป็นไปอย่างรวดเร็ว (Rapid urban growth) โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่มี ลักษณะเป็น “เอกนคร” เป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศในด้านต่างๆ เศรษฐกิจมีการขยายตัว ทาให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นเป็นปัจจัยดึงดูด (Pull Factors) ให้ผู้ คนจากชนบทอพยพย้ ายถิ่น เข้ ามาในเมืองมากขึ้น เพื่อเป็ น แรงงานในภาคอุตสาหกรรม เพราะในชนบทมีปัจจัยผลักดัน (Push Factors) จากความไม่แน่นอนทางรายได้ในการประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรม จึงมี การอพยพเข้าสู่กรุงเทพมหานคร แต่ผู้มีรายได้น้อยเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึง ที่ดินที่มีราคาสูงเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยในเมืองได้ ทาให้เกิดชุมชนบุกรุกเข้ าไป อยู่ในที่ดินที่ถูกทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่า ไม่ว่าจะเป็นที่ดินของรัฐ และที่ดินของ เอกชนที่ทิ้งว่างไว้ เมื่อชุมชนบุกรุกอยู่กันอย่างหนาแน่นมากขึ้น ก็กลายเป็น ชุ ม ชนแออั ด และแหล่ ง เสื่ อ มโทรมในที่ สุ ด ไม่ มี ก ารเข้ า ถึ ง ระบบ สาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ ถูกปิดกั้นโอกาสและสิทธิการรับบริการ ด้านต่างๆจากรัฐ นอกจากนี้อาจจะก่อเกิดเป็นปัญหาสังคมภายในชุมชน เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาอาชญากรรม และปัญหา ยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบในระดับเมือง ในปี พ.ศ. 2547 ชุมชนบุก รุกได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีจานวน 1,440 ชุมชน คิดเป็นจานวนครัวเรือน 310,000 ครัวเรือน คิดเป็นจานวน ประชากรประมาณ 1,500,000 คน หรือ ร้อ ยละ 25 ของประชากรใน


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

5

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สุวัฒน์ คงแป้น, 2547: 19-20) และการ แก้ ไ ขปั ญ หาชุ มชนบุ ก รุ ก ของหน่ วยงานรั ฐ ที่ ผ่ านมามีก ารปรั บ ปรุ งการใช้ ประโยชน์ ที่ดิน ในรู ป แบบการรื้ อล้างชุ มชน (Slum Clearance and Demolition) การสร้างแฟลต หรือการจัดหาที่อยู่อาศัยโดยเบ็ดเสร็จ แต่ก็ยัง ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา เน้น การมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ใช้ศักยภาพของตน สร้างกระบวนการพัฒ นาเพื่อแก้ไ ขปั ญหา เช่น การแก้ไขปัญ หาด้านที่อยู่ อาศัยโดยชุมชนที่เป็นเจ้ าของปัญหา ให้ชุมชนมีส่วนสาคัญในการร่วมคิด ร่วมทา ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ โดยยึดความต้องการและปัญหาของคน ในชุมชนเป็นหลัก เพื่อนาไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน จากกรณีศึกษาชุมชนคลองลานุ่น ชุมชนนี้ถือว่าเป็นชุ มชนหนึ่งที่ ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเมือง ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานจากต่างจังหวัด เข้ามาสู่ในเมือง เพื่อหารายได้ในการดารงชีวิต และเลี้ยงครอบครัว ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2526 พื้นที่โดยรอบก่อนที่ชุมชนคลองลานุ่นได้เข้ามาอาศัยอยู่ นั้ น ยั ง มี ส ภาพเป็ น ผื น นาว่ า งเปล่ า มี ล าคลองที่ ใ สสะอาด จนกระทั่ ง ปี พุทธศักราช 2540 เริ่มมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ มีการตัดถนนรามอินทรา มี การก่อสร้างห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ โครงการทางด่วนถนนวงแหวน รอบนอก (บางนา-บางปะอิน ) และทางด่วนมอเตอร์เวย์ (กรุงเทพ-ชลบุรี ) เจ้าของที่ดินจึงได้เข้ามาประกาศให้ชุมชนย้ายออกจากพื้นที่ในทันที ชุมชน คลองลานุ่นจึงเป็นชุมชนบุกรุกในที่ดินกรรมสิทธิ์ของเอกชนตั้งแต่ นั้นมา ปี พุทธศักราช 2541 ชุมชนได้เข้าร่วมกับเครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม คูคลอง และจัดตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเจรจาขอซื้อที่ดินจากเอกชน รวมทั้ง


6

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ก่อตั้งสหกรณ์เคหสถานคลองลานุ่นพัฒนา จากัด และจดทะเบียนเป็นนิติ บุคคลอย่างถูกต้ องตามกฎหมาย นอกจากนี้ ชุ มชนคลองลานุ่ นได้รั บการ พิจารณาให้เป็นชุมชนนาร่อง 1 ใน 10 โครงการบ้านมั่นคง และได้รับการ อนุมัติสินเชื่อเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งชุมชนคลองลานุ่นต้องมีการบริหาร จัดการที่ดีภายในชุมชน เพื่อให้กระบวนการทางานบรรลุตามวัตถุประสงค์ใน การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในทุกขั้นตอน เพื่อความสาเร็จในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแตกต่างจากการให้ความช่วยเหลือ ของภาครัฐในการจัดหาที่อยู่อาศัยที่ผ่านมา วัตถุประสงค์ ของงานวิจัย 1) เพื่อศึกษาปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนบุกรุกพื้นที่ในเขตเมือง 2) เพื่อศึกษากระบวนการแก้ ไ ขปั ญ หาด้านที่ อยู่ อาศัย ของชุมชน คลองลานุ่นโดยการมีส่วนร่วม 3) วิ เ คราะห์ ปั จ จั ย ของความส าเร็ จ ในการแก้ ไ ขปั ญ หาด้า นที่ อ ยู่ อาศัยของชุมชนคลองลานุ่นโดยการมีส่วนร่วม ระเบียบวิธีวิจัย วิธีดาเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แต่มีข้อมูลเชิงปริมาณประกอบการวิจัย โดยมีขั้นตอนในการศึกษา คือ 1) การกาหนดปัญหาในการวิจัย เป็นการศึกษากระบวนการแก้ไข ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนบุกรุกพื้นที่ในเขตเมืองโดยการมีส่วนร่วม เพราะการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยที่ผ่านมาจะเน้นการรื้อล้างชุมชนบุกรุ ก (Slum Clearance) โดยไม่คานึงถึงสิทธิความเป็นมนุษย์ของผู้ที่อยู่อาศัย


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

7

2) การคัดเลือกกรณีศึกษา เพราะชุมชนคลองลานุ่นมีการแก้ไข ปั ญ หาด้ า นที่ อ ยู่ อ าศัย โดยชุ มชนเอง โดยวิ ธี ก ารประสานประโยชน์ ที่ ดิ น (Land Sharing) ชุมชนเองได้ขอซื้อที่ดิน และมีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเอง อย่ างชัดเจน และมีการพัฒ นาที่อยู่อาศัย โดยหน่ วยงานรั ฐเป็น เพี ย ง ผู้สนับสนุน 3) กาหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4) ศึ ก ษาทบทวนวรรณกรรมที่ เกี่ ย วข้ องกั บ งานวิ จั ย เพื่ อก าหนด กรอบแนวคิด และตัวแปรในการศึกษา คือ ตัวแปรด้านการตั้งถิ่นฐาน ด้าน กายภาพ เศรษฐกิจ สังคมของชุมชน ได้แก่ การรับรู้ประวัติความเป็นมา และ การตั้งถิ่นฐานของชุมชนคลองลานุ่น การอพยพย้ายถิ่นของชาวบ้านในชุมชน คลองลานุ่น สภาพเศรษฐกิจในชุมชน ได้แก่ อาชีพ รายได้ รายจ่าย เงินออม หนี้ สิ น สภาพสั ง คมของชุ มชน ได้แ ก่ การศึก ษา การรวมกลุ่ ม และความ สัมพันธ์ภายในชุมชน ผู้นา หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ หรือมีความสัมพันธ์ กับชาวบ้านในชุมชน สภาพที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภคของชุมชน เช่น ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และการจัดการด้านวัสดุอุปกรณ์ และตัวแปรที่เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ได้แก่ แนวคิด เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน การจัดการด้านการเงิน ของชาวบ้าน และการมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ของชุมชน 5) เข้าศึกษาชุมชนในเบื้องต้น และแนะนาตัวกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหา เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน สร้างความคุ้นเคย กั บ ชาวบ้ า น และผู้ มีส่ ว นเกี่ ย วข้ อง เพื่ อ น าข้ อมูล เบื้ อ งต้น ที่ ไ ด้ มาก าหนด ขอบเขต และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย


8

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

6) สร้างเครื่องมือการวิจัย การสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต แบบมีส่วนร่ วม (Participant Observation) การสั มภาษณ์แ บบเจาะลึ ก รายบุคคล (Individual In-depth Interviews) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) 7) เข้าชุมชน และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การสัมภาษณ์แบบ เจาะลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มตัวอย่างเจาะลึกรายบุคคล สัมภาษณ์ ชาวบ้านจานวน 49 ครัวเรือน แกนนาอาวุโส แกนนาชาวบ้านที่มีส่วนช่วย กระตุ้ นให้ช าวบ้านในชุมชนคลองลานุ่ น ตระหนัก ถึงปั ญหาด้านที่ดินและ ที่อยู่อาศัย เป็นผู้มีส่วนผลักดันอย่างมากในทุกกระบวนการแก้ไขปัญหาด้าน ที่อยู่ อาศัยให้ป ระสบความสาเร็ จ รวมไปถึงหน่วยงานภายนอกที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับชุมชนในกระบวนการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย 8) เข้าร่วมประชุมการแก้ไขปัญหาของชุมชน 9) วิ เ คราะห์ ก ระบวนการเปลี่ ย นแปลง และปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน กระบวนการแก้ไขปัญหา 10) วิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย โดยใช้วิธีการวัดแบบ ลิเคิทสเกล (Likert Scale) (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2534: 107) และนาข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS/PC (Statistical Package For the Social Science) เพื่อนาผลการวิเคราะห์ที่ได้มาแปลผล เพื่อนาเสนอในเชิงพรรณนา ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า ร้ อ ยละ (Percentage) ค่ า เฉลี่ ย มั ช ฌิ ม เลขคณิ ต (Mean) ค่ า เบี่ ย งเบน มาตรฐาน S.D. (Standard Deviation) การวัดระดับการมีส่วนร่วมในการ แก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย การวัดความรู้สึกของชาวบ้านชุมชนคลองลานุ่น กับที่อยู่อาศัยเดิม (บริเวณริมคลอง) และความพึงพอใจของชาวบ้านชุมชน


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

9

คลองลานุ่นกับที่อยู่อาศัยใหม่ (ปัจจุบัน) โดยใช้หลัก Mid-Point: UpperLower 11) สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่กาหนด พืน้ ที่การศึกษาและการเปลี่ยนแปลงการใช้ พนื ้ ที่ ชุมชนคลองลานุ่น เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตทิศเหนือจรดถนนวงแหวนรอบนอก (บางนา-บางปะอิน) ทิศตะวันออกจรดถนนรามอินทรา ทิศใต้จรดที่ดินเอกชน และทิศตะวันตก จรดทางด่วนมอเตอร์เวย์บางนา-ชลบุรี ดังแสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 สภาพพืน้ ที โ่ ดยรอบชุมชนคลองลานุ่น (จากการสารวจ, 2549)


10

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ชุมชนคลองลานุ่นมีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จาก การศึกษาการใช้ที่ดินสามารถกาหนดช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงออกได้ 4 ช่วงปี ซึ่งมีผลการศึกษาสรุปดังนี้ ช่วงที่ 1 (พ.ศ. 2512-2525) ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เพราะ เป็นพื้นที่ลุ่มเหมาะสมแก่การปลูกข้าว ประชาชนที่มีภูมิลาเนาอยู่บริเวณนี้จะ ประกอบอาชีพทานา ช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2526-2539) เริ่มมีประชาชนจากต่างจังหวัดเข้ามาอยู่ อาศั ย มากขึ้ น เพราะเข้ า มาหางานท าในกรุ ง เทพมหานคร เป็ น แรงงาน สนับสนุนภาคบริการในเมืองสภาพชุมชนคลองลานุ่ น มีความหนาแน่นของ อาคารมาก มีลักษณะเป็นชุมชนแออัด ดังแสดงในภาพที่ 2 ช่วงที่ 3 (พ.ศ. 2540-2548) เริ่มมีการก่อสร้างโครงข่ายคมนาคม หลายเส้นทาง เช่น ถนนรามอินทรา โครงข่ายคมนาคมถนนวงแหวนรอบนอก (บางนา-บางปะอิน) ทางด่วนมอเตอร์เวย์ (กรุงเทพ-ชลบุรี) ห้างสรรพสินค้า แฟชั่นไอส์แลนด์ มีโครงการหมู่บ้านจัดสรรสร้างขึ้นจานวนมาก ช่วงที่ 4 (พ.ศ. 2549) มีก ารก่ อสร้างถนนทางด่วนรัช ดาภิ เษกรามอิ น ทรา สภาพพื้ น ที่ โ ดยรอบได้ รั บ การพั ฒ นาอย่ า งรวดเร็ ว มี อ าคาร พาณิชยกรรม พักอาศัยตั้งถิ่นฐานหนาแน่นบริเวณริมถนนรามอินทราจานวน มาก ชุมชนคลองลานุ่นถูกเจ้าของที่ดินไล่รื้อเพื่อขอที่ดินคืน


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

11

ภาพที่ 2 สภาพทัว่ ไปของชุมชนลานุ่นในช่วงปี พ.ศ. 2526–2539 (พอช., 2548) ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2512-2525

ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2540-2548

ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2526-2539

ช่วงที่ 4 พ.ศ. 2549

ภาพที่ 3 การเปลี ย่ นแปลงการใช้พืน้ ที ข่ องชุมชนลานุ่น ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2512-2549 (จากการสารวจ, 2549)


12

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ผลการวิจัย กระบวนการแก้ ไ ขปั ญ หาด้า นที่ อ ยู่ อาศั ย ของชุ ม ชนคลองล านุ่ น สามารถสรุปออกเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 1 กระบวนการแก้ไขปัญหาเพื่อ “ที ่ดิน” ที่ถูกต้องตามกฎหมายของ ชุมชนคลองลานุ่น 1) การทาหนังสือยื่นข้อเสนอ - ให้สานักงานเขตคันนายาวยกเลิกคาสั่ง หยุด หรือยับยั้งการจับกุม คุมขัง ดาเนินคดีกับชาวบ้านชุมชนคลองลานุ่น - ให้สานักงานเขตคันนายาวมีการวัดแนวคลองลานุ่นให้ชัดเจน 2) การขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ - ชาวบ้านรวมตัวกันที่ทาเนียบรัฐบาล - ชุมชนคลองลานุ่น มีข้อเสนอ 3 ข้อ คือ 1. หยุดพักการไล่รื้อ หยุดการจับกุมชุมชนที่มีปัญหาการถูก ไล่รื้อทั่วประเทศไทย 2. ให้ ส านั ก งานเขตคัน นายาว และกรมที่ ดิน วั ดที่ ดิน ให้ ชัดเจน 3. ประกันตัวชาวบ้านชุมชนคลองลานุ่น ผลการเจรจาจะ ไม่มีการจับกุมชาวบ้านชุมชนคลองลานุ่นอีก 14 คน 3) การเจรจาต่อรอง เจ้ า ของที่ ดิ น ยื่ น เงื่ อนไขขายตารางวาละ 3,000 บาท จากราคา ประเมิน 15,000 บาท และตกลงซื้ อขายใน 7 วั น แต่ช าวบ้านขอให้มีการ ยืดเวลาออก เพื่อระดมเงินออม โดยก่อตั้ง “กลุ่มออมทรัพย์ ลานุ่นพัฒนา” ขึ้น เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2543


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

13

4) การจัดตั้งสหกรณ์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 ได้ดาเนินการจดทะเบียนสหกรณ์ เคหสถานคลองลานุ่นพัฒนา จากัด และได้ขอใช้สินเชื่อของสถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน (พอช.) จานวน 2,916,000 บาท (สองล้านเก้าแสนหนึ่งหมื่นหก พั น บาทถ้ วน) เพื่ อดาเนิ น การซื้ อที่ ดิ น เป็ น เจ้ าของที่ ดิน อย่ างถู ก ต้องตาม กฎหมาย ในวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ดังแสดงในภาพที่ 4 ก่ อน ชุมชนถูกไล่รื้อ

หลัง ชุมชนขอซื้อที่ดิน

ภาพที่ 4 ตาแหน่งและเปรี ยบเที ยบก่อน-หลังการจัดซื ้อที ด่ ิ น (จากการสารวจ, 2549) 2 ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการแก้ปัญหา และการได้กรรมสิทธิ์ ที่ดินที่ถูกต้องตามกฎหมายของชุมชนคลองลานุ่น ประกอบด้วย ปัจจัยต่างๆ


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

14

ได้แก่ ชุมชน ทุน เจ้าของที่ดิน และองค์กรภายนอก ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ดัง แผนภูมิที่ 1

ชุมชน

- ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

่​่ด่น ชน่์ท

มีการตัดสินใจร่วมกับชาวบ้าน

่์

สา น ป

่พย

ระโ ย

ร มท ออ

ทุน

ก าร ประ

เจ ร จา ต ่อ

- ผู้นำสามารถเป็นตัวแทนให้กับชุมชนได้

ก าร

รอง ซ่้อข ายท ่​่ด

่น

และหาทางเลือกในการแก้ปญ ั หาร่วมกัน

เจ้าของที่ดิน

- การออมทรัพย์ของสหกรณ์ชุมชน

ชุมชนที่มที ่ ีดนิ ที่ถกู ต้องตามกฎหมาย

- กู้- ยืมสินเชื่อจากหน่วยงานภายนอก

ยเห ช่ว

ส่น เช่​่อ ใน ก

ง าน

าร ซ ่้อท ่​่ด

่น

าน ะส ปร ล่อ

องค์ก รภายนอก - หน่วยงานภาครัฐ - หน่วยงานเอกชน - สถาบันการเงิน

แผนภูมิท่ี 1 แสดงปั จจัยการแก้ไขปั ญหาเพือ่ ที ด่ ิ นที ถ่ ูกต้องตามกฎหมาย ของชุมชนคลองลานุ่น 3 กระบวนการดาเนินงานการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชนคลอง ลานุ่น


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

15

เมื่อชุมชนคลองลานุ่นได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 10 โครงการนาร่อง บ้านมั่นคง โดยได้รับงบประมาณในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในชุมชน สามารถกู้ยืมสินเชื่อเพื่อการซื้อที่ดิน และการพัฒนาที่อยู่อาศัย จากสถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชน โดยดาเนินการผ่านสหกรณ์เคหสถานคลองลานุ่นพัฒนา ที่ผ่านมาชุมชนคลองลานุ่นได้มีการดาเนินการอย่างเป็นลาดับขั้นตอน ดังนี้ 1) ประชุมร่วมกัน เพื่อชี้แจง ทาความเข้าใจให้ตรงกัน พร้อมทั้งการพูดคุยแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นถึงแนวทางในการดาเนินโครงการ เพื่อให้ทุกคนมีความคิดเห็น ไปในแนวทางเดียวกัน 2) การศึกษาดูงาน ศึกษาดูงานที่ชุมชนอื่นๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด เพื่อให้เห็นภาพการทางานที่ชัดเจนมากขึ้น และทาให้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยน ความรู้ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยกับชุมชนอื่น 3) ร่วมมือกันสารวจข้อมูลชุมชน ชุมชนคลองล านุ่ น ได้ช่ วยกั นส ารวจจานวนครอบครั ว ประชากร อาชีพ รายได้ รายจ่าย หนี้สิน ตลอดจนความต้องการของชุมชนในด้า นต่างๆ เช่น แบบบ้านที่ต้องการ และอยากให้ชุมชนของตนเองเป็นอย่างไร 4) การกาหนดคุณสมบัติ การกาหนดคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งชาวบ้าน ชุมชนคลองลานุ่นได้ร่วมกันกาหนดขึ้นเอง โดยผู้ที่จะได้รับการพิจารณาสิทธิ ให้เข้าร่วมโครงการนั้น จะต้องเป็นคนจนที่อาศัยอยู่ในชุมชนคลองลานุ่น และ เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน ส่งค่างวดที่ดิน


16

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

และค่างวดการปลูกสร้างบ้านอย่างสม่าเสมอ มีความเสียสละ เพื่อส่วนรวม และสร้างบ้านตามแบบที่ได้ออกแบบร่วมกันไว้ 5) ร่วมกันออกแบบบ้าน และวางผังชุมชนใหม่ ชาวบ้านชุมชนคลองลานุ่นทุกคน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางผัง ชุมชนและการออกแบบบ้าน ร่วมกับสถาปนิกชุ มชน ส่วนผังชุมชน มีการ ออกแบบแบ่งเป็นพื้นที่ 53 ล็อคให้เป็นพื้นที่สาหรับปลูกบ้านจานวน 49 ล็อค และอีก 4 ล็อค เป็นพื้นที่ส่วนกลาง 6) การร่วมมือกันในการถอดแบบบ้าน และวัสดุก่อสร้าง ชาวชุมชนและสถาปนิกชุมชนได้ร่วมกันถอดแบบบ้าน และวัสดุ ก่อสร้างของบ้านแต่ละหลัง ว่าจะต้องใช้วัสดุอะไรบ้าง และมีการประเมิน ราคาค่าใช้จ่ายออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาเรื่องเกินงบประมาณที่ได้รับ 7) การเสนอของบพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในชุมชนตามโครงการ บ้านมั่นคง 8) การสร้างระบบสาธารณูปโภค ชาวบ้านชุมชนคลองลานุ่นมีส่วนร่วมในเรียนรู้ร่วมกัน และชุมชน ช่วยกันลงแรง แบ่งงานเป็นทีมต่างๆ คือ ทีมถมดิน ทีมสะพาน ทีมถนน ทีม ท่อระบายน้า ทีมไฟฟ้า ทีมประปา 9) การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยเสนอขอใช้สินเชื่อในการสร้างบ้าน ชุมชนคลองลานุ่นได้ทาเรื่องเสนอขอสินเชื่อ เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย งวดที่ 1จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เพื่อดาเนินการปลูกสร้าง บ้ า นส าหรั บ ชาวบ้ า นในชุ ม ชนคลองล านุ่ น จ านวน 49 ราย เป็ น เงิ น 4,849,000 บาท อัตราดอกเบี้ ยร้อยละ 1 มีระยะผ่อนชาระคืน 15 ปี โดย


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

17

สหกรณ์เคหสถานคลองลานุ่นพัฒนา จากัด ซึ่งทาสัญญาในนามตัวแทนชาว ชุมชนคลองลานุ่น 10) การแบ่งทีมทางานในชุมชน แบ่งการทางานออกเป็นทีม ทีมละ 3-5 คน เพื่อช่วยกันดูแล และ ประสานงานในการสร้างบ้านของชุมชนคลองลานุ่น คือ ทีมจัดซื้อ ทีม การเงิน-การบัญชี ทีมตรวจสอบ ทีมควบคุมการก่อสร้าง ทีมตรวจรับงาน 11) การสร้างบ้าน ชาวบ้ า นชุ ม ชนคลองล านุ่ น ได้ มี ก ารท าพิ ธี ล งเสาเอก เพื่ อ การ ก่อสร้างบ้านมั่นคงของชุมชน เมื่อเดือน มีนาคม 2547 สรุ ปผลการวิจัย 1 เปรียบเทียบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนคลองลานุ่นจาก ชุมชนบุกรุกเป็นชุมชนที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1


ลักษณะที่อยู่อาศัย สภาพพื้นที่และ สิ่งแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภค พื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ

สถานภาพชุมชน

รายละเอียด ชุมชนบุกรุก/ ชุมชนยังไม่ได้รับการยอมรับ เกิดปัญหาการถูกไล่รื้อ ชุมชนอยู่ในสภาพแออัด น้าท่วมขังตลอด ไม่มีระบบสาธารณูปโภค ที่ได้มาตรฐาน ชาวบ้านหางานทานอกชุมชน ค่าใช้จ่ายค่าน้า ค่าไฟมีราคาสูง ยัง ไม่มีการออมเงินอย่างจริงจังในชุมชน

ปี พ.ศ. 2526-2544

ชุมชนถูกต้องตามกฎหมาย/ ชุมชนที่ได้รบั การยอมรับ ที่อยู่อาศัยมั่นคง มีการถมที่ดิน มีการจัดสรรพื้นที่อย่างเป็นระเบียบ ปลูกต้นไม้ตามแนวบ้าน มีถนน มีระบบไฟฟ้า-น้าประปาในชุมชน มีบ่อบาบัด ท่อระบายน้า และศูนย์ชุมชน เป็นต้น มีการจ้างงานในชุมชน เมื่อมีการสร้างบ้าน ชาวบ้าน รู้จักระบบเก็บออมเงิน และมีการทาบัญชีรายรับรายจ่าย ทาให้ชาวบ้านใช้จ่ายกันอย่างประหยัดขึ้น

ปี พ.ศ. 2545-2549

ตารางที่ 1 เปรี ยบเที ยบการเป็ นชุมชนบุกรุก และการเป็ นชุมชนที ถ่ ูกต้องตามกฎหมายของชุมชนคลองลานุน่

18 วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554


ชุมชนต่างคนต่างทามาหากิน เพื่อหาเลี้ยงตนเอง และครอบครัว

ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

ความรู้ด้านการก่อสร้าง

ปี พ.ศ. 2526-2544

ด้านสังคม

รายละเอียด

ชุมชนมีความรักสามัคคี ทางานร่วมกัน เมื่อมีปัญหา ร่วมคิด ร่วมทา มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เปิดใจ ไว้ใจกัน อยู่กันแบบพีน่ ้อง ชาวชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการสร้างบ้าน ทาให้ ชาวชุมชนเกิดความรู้ในการก่อสร้างบ้าน และการ สร้างระบบสาธารณูปโภค มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ก่อสร้าง เช่น การสอบราคา จัดซื้อวัสดุ เข้าใจ ประเภทวัสดุ รู้จักร้านค้า เข้าใจวิธีการตรวจสอบ บริหารจัดการได้

ปี พ.ศ. 2545-2549

Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011 19


20

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

จากตารางที่ 1 อธิบายการเปรียบเทียบการเป็นชุมชนบุกรุก และการ เป็นชุมชนที่ถูกต้องตามกฎหมายของชุมชนคลองลานุ่น คือ ในปี พ.ศ. 25262544 ชุมชนมีสถานภาพเป็นชุมชนบุกรุกไม่ได้รับการยอมรับ ลักษณะที่อยู่ อาศัยมีปัญหาการถูกไล่รื้อ สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ชุมชนอยู่ในสภาพ แออัดน้าท่วมขัง ตลอด ระบบสาธารณู ปโภคพื้ นฐานไม่ได้มาตรฐาน ด้าน เศรษฐกิจชาวบ้านหางานทานอกชุมชน ค่าใช่จ่ายค่าน้า ค่าไฟมีราคาสูง ยัง ไม่มีการออมเงินอย่างจริงจังในชุมชน ด้านสังคมชุมชนต่างคนต่างทามาหา กิน เพื่อหาเลี้ยงตนเอง และครอบครัว ความรู้ด้านการก่อสร้าง ชาวบ้านไม่มี ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้าน แต่ในปี พ.ศ. 2545-2549 ชุมชนมีสถานภาพ เป็นชุมชนถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับการยอมรับ ลักษณะที่อยู่อาศัย มั่นคง สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อมมีการถมที่ดิน มีการจัดสรรพื้นที่อย่างเป็น ระเบียบ ปลูกต้นไม้ตามแนวบ้าน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานมีถนน ระบบ ไฟฟ้า-น้าประปาในชุมชน มีบ่อบาบัด ท่อระบายน้า และศูนย์ชุมชน ด้าน เศรษฐกิจมีการจ้างงานในชุมชน เมื่อมีการสร้างบ้าน ชาวบ้านรู้จักระบบเก็บ ออมเงิน และมีการทาบัญชีรายรับ -รายจ่าย ทาให้ชาวบ้านใช้จ่ายกันอย่าง ประหยัดขึ้น ด้านสังคมชุมชนมีความรักสามัคคี เมื่อมีปัญหาร่วมคิด ร่วมทา มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เปิดใจ ไว้ใจกัน อยู่กันแบบพี่น้อง ความรู้ด้าน การก่อสร้าง ชาวชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการสร้างบ้าน ทาให้ชาวชุมชน เกิดความรู้ในการก่อสร้างบ้าน และการสร้างระบบสาธารณูปโภค มีความ เชี่ยวชาญในเรื่องก่อสร้าง เช่น การสอบราคา จัดซื้อวัสดุ เข้าใจประเภทวัสดุ รู้จักร้านค้า เข้าใจวิธีการตรวจสอบ บริหารจัดการได้ เป็นต้น


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

21

2 สรุปการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดาเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่ อาศัย 2.1 บทบาทของชาวชุมชนคลองลานุ่น 1) ชุมชนตระหนักถึงปัญหาที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นจากการถูก ไล่รื้อ 2) ชุมชนร่วมประชุม และวางแผนในการแก้ไขปัญหา 3) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) ร่ ว มประชุ ม แสดงความคิ ด เห็ น ในการซื้ อ ที่ ดิ น และ กาหนดข้อตกลงร่วมกัน เพื่อการเจรจาต่อรองกับเจ้าของที่ดิน 5) ร่วมพิจารณาขนาดแปลงที่ดิน 6) ร่วมวางผังชุมชน และแปลนบ้าน 7) ร่วมพิจารณาแบบบ้าน 8) ร่วมกันกาหนดสาธารณูปโภคในชุมชน 9) ร่วมจัดการด้านการเงิน 10) ร่วมเป็นสมาชิกสมาชิกสหกรณ์เคหสถานคลองลานุ่น พัฒนา จากัด 11) ร่ วมเรี ย นรู้ ที่ จ ะแก้ ไ ขปั ญ หาจากชุ ม ชนที่ มีปั ญ หา คล้ายคลึงกัน 2.2 บทบาทของคณะกรรมการชุมชน ชุมชนคลองลานุ่น เป็นชุมชนที่ไม่มีผู้นาชุมชน ซึ่งแตกต่างจากชุมชน อื่นๆ แต่จะบริหารจัดการชุมชนโดยคณะกรรมการสหกรณ์เคหสถานชุมชน คลองลานุ่นพัฒนา จากัด จานวน 8-9 คน โดยคัดเลือกจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในชุมชน เพื่อบริหารจัดการสหกรณ์ ให้เป็นไปตามแผนงานที่


22

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

วางไว้ เป็นผู้น าตามธรรมชาติ บทบาทการดาเนินงานในชุ มชน เพื่อแก้ไ ข ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย เช่น การเรียก และการจัดประชุมชาวบ้านทุกเดือน การกระจายข่าวสารต่างๆ ที่สาคัญ และเกี่ยวข้องกับชาวบ้าน การบริหารด้าน การเงินในชุมชน การเป็นตัวแทนให้กับชุมชน การเป็นผู้นาในการทากิจกรรม ต่างๆ และคอยช่วยเหลือ เมื่อชาวบ้านมีปัญหา ชาวบ้านชุมชนคลองลานุ่นจะ มีการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน อย่างเท่าเทียมกัน 2.3 หน่วยงาน องค์กรอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ชุมชนคลองล านุ่นมีห น่วยงาน องค์กรที่ มีส่วนเกี่ยวข้ องในการให้ ความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ เครือข่ายพัฒนาชุมชน และสิ่ ง แวดล้ อ มคู ค ลอง สถาบั น พั ฒ นาองค์ ก รเอกชน (พอช.) สถาบั น พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มูลนิธิชุมชนไท ชุมชนบ่อนไก่ ชุมชนคลองเตย ชุมชนเจริญชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร และสานักงานเขตคันนายาว 3 สรุปขั้นตอนการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย จากการศึก ษาสามารถสรุ ปขั้ น ตอนในการแก้ ไ ขปั ญ หาด้านที่ อยู่ อาศัยของชุมชนคลองลานุ่น ดังแสดงในแผนภูมิที่ 2


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

23

แผนภูมิท่ี 2 สรุปการแก้ไขปั ญหาจากการเป็ นชุมชนบุกรุกมาสู่การเป็ นชุมชน ที ถ่ ูกต้องตามกฎหมายของชุมชนคลองลานุ่น


24

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

4 ปัจจัยของความสาเร็จในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชน คลองลานุ่น ปัจ จั ย ความส าเร็ จ ในการแก้ ปั ญ หาและการได้ก รรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิน ที่ ถูกต้องตามกฎหมายของชุมชนคลองลานุ่นขึ้นอยู่กับการเข้ามามีส่วนร่วมใน การแก้ ปั ญ หาของสมาชิ ก ชุ ม ชน และผู้ น าชุ ม ชนอย่ า งต่ อ เนื่ อ งในการ แก้ ปัญ หา การเจรจาต่อรองในการซื้ อขายที่ดิน โดยระดมทุ นจากสมาชิ ก ชุมชนจัดตั้งสหกรณ์เคหสถานคลองลานุ่นพัฒนาจากัด เพื่อขอสินเชื่อในการ ซื้อที่ดินจากองค์กรภายนอกที่ให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน จนชุมชนมีที่ดิน ที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ ดังแสดงในแผนภูมิที่ 3


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

25

ชุมชน

- ตระหนักถึงปัญหา - เรียนรู้ทักษะในการแก้ไขปัญหา - มีการออมทรัพย์ในชุมชน - มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอน - มีการบริหารจัดการที่ดีภายในชุมชน เช่น ด้านการเงิน การบริหารชุมชน

ผูน้ า - กระตุ้นชาวบ้านให้ตระหนักถึงปัญหา - ร่วมประชุมชาวบ้านเมื่อมีปัญหา - เป็นตัวแทนชาวบ้าน - เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชาวบ้าน

ความสาเร็จในการ แก้ ไขปัญหาด้าน ท่อยูอาศยของ ชุมชนคลองลานุน

ทุน - สหกรณ์เคหสถานคลองลำนุ่นพัฒนา - โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย (พอช.)

องค์ก รภายนอก (ภาครัฐ/ภาคเอกชน/สถาบันการเงิน) - แลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับชุมชนในการ แก้ไขปัญหาด้านที่อยูอ่ าศัย - ช่วยแนะนำในเรื่องต่างๆ แต่ให้ชุมชน เป็นผูว้ างแผน และตัดสินใจ - มีทุนกู้ ยืม เพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย

แผนภูมิท่ี 3 ปั จจัยของความสาเร็ จในการแก้ไขปั ญหาที อ่ ยู่อาศัย ของชุมชนคลองลานุ่น การศึกษาการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนบุกรุกพื้นที่ใน เขตเมือง กรณีศึกษา ชุมชนคลองลานุ่น กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเพื่อ หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด และชุมชนบุกรุกที่อยู่ควบคู่กับ


26

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

สั ง คมไทย และควบคู่ กั บ การพั ฒ นาเมื อ ง โดยให้ ชุ ม ชนมี ก ารปรั บ ปรุ ง สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น จากชุมชนแออัด ชุมชนบุกรุกเป็นชุมชนปกติ และอยู่ ร่วมกับเมืองได้ แต่ชุมชนแออัด ชุมชนบุกรุกจะถูกพัฒนา โดยชุมชนมีส่วน ร่วมในทุกกระบวนการในการแก้ไขปัญหา เพื่อความต้องการที่แท้จริงของ ชุ มชน เพื่ อการเปลี่ ย นสถานภาพจากชุ มชนที่ ไ ม่ถู ก ยอมรั บ ทางกฎหมาย (Informal) มาเป็นชุมชนที่ได้รับการยอมรับ (Formal) มีสิทธิที่จะอยู่อาศัยใน เมือง และแสดงถึงการพัฒนาเมืองจากระดับรากหญ้าอย่างแท้จริง


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

เอกสารอ้ างอิง สุชาติ ประสิทธิ์รฐั สินธุ์. (2534) ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์. สุวัฒน์ คงแป้น. (2547) วิถีไทย วิถีทางสู่ชุมชนพึ่งตนเอง. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร : สานักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ.

27


การพัฒนาการศักยภาพ ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี อย่างยั่งยืน ผ่านการ ประยุกต์ใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ เสาวณีย์ พ่ วงทอง1

1

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อ การศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวางแผน และการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

29

บทคัดย่ อ การวิ จั ยครั้ งนี้ มี วัต ถุป ระสงค์ห ลั ก คื อ (1) เพื่ อ ทราบศัก ยภาพของแหล่ ง ท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี (2) เพื่อจัดลาดับศักยภาพของแหล่งท่อ งเที่ยวในจังหวัด เพชรบุรี (3) เพื่อเปรียบเทียบลาดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวกับเส้นทางท่องเที่ยวของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ (4) เพื่อเสนอแผนการพัฒนาและเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ ตามลาดับศักยภาพแหล่งท่อ งเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี วิธีการดาเนินการวิจัยครั้งนี้ ใช้ เทคนิคด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยการสร้างฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวใน จังหวัดเพชรบุรี และวิเคราะห์จัดลาดับศักยภาพของแหล่ง ท่อ งเที่ยวตามศักยภาพสูง กลาง และต่ า โดยใช้ ตัว แปรหลัก 6 ตั วแปร (14 ตั วแปรย่ อ ย) ได้ แก่ ด้า นการเข้ าถึ ง (3 ตัวแปรย่อย) ด้านสิ่งอานวยความสะดวก (5 ตัวแปรย่อย) ด้านความสาคัญของแหล่ง ท่อ งเที่ ยว (3 ตัว แปรย่ อ ย) ด้ านช่ ว งเวลาที่ ท่ อ งเที่ ย วได้ ด้ านการรวมกลุ่ ม ของแหล่ ง ท่องเที่ยว และด้านความปลอดภัย ทั้งนี้ ดาเนินการปรับค่าคะแนนทางสถิติด้วยวิธีการ ถ่วงน้าหนัก (Weighting) ของแต่ละตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า แหล่งท่อ งเที่ยวใน จังหวัดเพชรบุรีสามารถจัดลาดับตามศักยภาพได้ ดังนี้ (1) แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ สูง มีจานวน 24 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเขตเมือ ง และมีปัจจัยสนับสนุนด้านการ ท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์ (2) แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพปานกลาง มีจานวน 20 แห่ง และ (3) แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพต่า มีจานวน 11 แห่ง และพบว่าตามเส้นทางการ ท่อ งเที่ยวของการท่อ งเที่ยวแห่งประเทศไทย เส้นทางที่ 1 (ระยะเวลา 1 วัน) แหล่ง ท่อ งเที่ ย วมี ลาดั บ ศั ก ยภาพสู ง ทั้ ง สิ้ น และประเภทของแหล่ งท่ อ งเที่ ย วส่ว นใหญ่ เ ป็ น ประเภทประวัติ ศาสตร์ ส่ว นเส้ นทางที่ 2 (ระยะเวลา 2 วั น 1 คื น) และเส้นทางที่ 3 (ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน) แหล่งท่องเที่ยวมีลาดับศักยภาพทั้งสูง กลาง และต่า ซึ่งประเภท ของแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นประเภทธรรมชาติ


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

30

Abstract This research had 4 main objectives : (1) To know the potential of tourism sites in Phetchaburi Province (2) To sequence of potential of tourism sites in Phetchaburi Province (3) To compare potential level of tourism sites with Tourism Authority of Thailand’s routes and (4) To develop plans for tourism and create new routes in Phetchaburi Province. Method in this research used GIS (Geographic Information System) for design database and analysis sequence of tourism sites in Phetchaburi Province with 6 variables (14 variables) by weighting of variables. The mains variables was accessibility (3 sub variables), facilities (5 sub variables), significance of tourism sites (3 sub variables), season, aggregation of tourism site and security. Result of the research that tourism sites in Phetchaburi Province had (1) High potential tourism sites was 24 sites that located in urban area because they had more support factors (2) Medium potential tourism sites was 20 sites and (3) Low potential tourism sites was 11 sites. And this research find the first Tourism Authority of Thailand’s route was in high potential (1 day) : there were history tourism sites, the second Tourism Authority of Thailand’s route (2 days 1 night) and the third (3 days 2 nights) were in 3 levels : there were natural tourism sites.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

31

คาสาคัญ: การจัดการท่องเที่ยว ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ศักยภาพ การท่ อ งเที่ ย ว เส้ น ทางท่ อ งเที่ ย วที่ เหมาะสม จั งหวั ด เพชรบุ รี การพั ฒ นา ศักยภาพอย่างยั่งยืน บทนา ปั จ จุ บั น อุต สาหกรรมการท่ องเที่ ย วมีค วามส าคัญ ต่อ การพั ฒ นา เศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากรายได้จากอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวนับว่ามีมูลค่าเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศเมื่อเทียบกับรายได้ อุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ โดยประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีพัฒนาการ ด้ า นการท่ อ งเที่ ย วที่ ร วดเร็ ว เมื่ อ เปรี ย บเที ย บจากจ านวนนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 2.4 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2528 เป็น 3.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2530 เพิ่มขึ้นเป็น 6.95 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2538 ซี่งยังเพิ่มเป็น 7.2 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2539 (มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และคณะ, 2540: (1-6)-(1-18)) และเพิ่มเป็น 10.80 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2545 (การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2547) ในปี พ.ศ. 2547 เพิ่มเป็น 11.74 ล้านคน และจากรายงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2549) แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขสถิติดังกล่าวเพิ่มเป็น 13.38 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2548 คิดเป็น 5.6 เท่า เมื่อเทียบกับในปี พ.ศ. 2528 จากจานวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศนั้น ส่งผลต่อการสร้างรายได้ของประเทศ ตัวเลขสถิติแสดงรายได้พบว่า ร้อยละ 14 ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดของประเทศอยู่ในภาคการท่องเที่ยว และบริการ รายได้ของการท่องเที่ยวของไทยเพิ่มขึ้นจาก 78,859 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2531 เป็น 220,754 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นการกระโดด ของสัดส่วนที่เพิ่มเกือบสามเท่าตัวภายใน 9 ปี (วรรณา วงษ์วานิช, 2546: 14-


32

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

15) ในส่วนของมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว พบว่าในปี พ.ศ. 2545 อุตสาหกรรมโรงแรมในประเทศไทย มีการจ้างงานโดยตรงกว่า 154,000 คน และจากรายงานการศึกษาของมิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และคณะในปี พ.ศ. 2545 พบว่าอุตสาหกรรมโรงแรมของไทยสามารถสร้างรายได้ปีละไม่ต่ากว่า 170,000 ล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มประมาณ 89,000 ล้านบาท โดยแรงงาน หนึ่งคนสร้างมูลค่าเพิ่มได้ 579,457 บาท และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มต่อห้อง ได้ 373,575 บาท เสียภาษีทางอ้อมทั้งสิ้น 10,113 บาท ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่ง ของมูลค่าเพิ่มเป็นค่าจ้าง (44,599 ล้านบาท) คิดเป็นมูลค่าเพิ่มที่เก็บไว้ใน ประเทศร้ อ ยละ 97 ของมู ล ค่ า เพิ่ ม ทั้ ง หมด เป็ น มู ล ค่ า เพิ่ ม ที่ ต กอยู่ กั บ ชาวต่างชาติจานวน 2,356 ล้านบาท (มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และคณะ, 2546: 5-6) โดยเกือบครึ่งเป็นนักท่องเที่ยวภายในภูมิภาคเอเชีย ร้อยละ 46.10 นักท่องเที่ยวจาก 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นพฤติกรรม การเดินทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาคเดียวกันโดยองค์การการค้าโลก ถือว่า เป็นแนวโน้มปกติของพฤติกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลก หลังจากที่มีการปฏิรูปการปกครอง นโยบายการท่องเที่ยวของ รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันต้องการเน้นดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพและเพิ่มรายได้ แทนการเพิ่มจานวนนักท่องเที่ยว ดังนั้น แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ภายในสี่ปีข้างหน้านี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งเป้าหมายทารายได้ จากนักท่องเที่ยวเป็นเงิน 1.1 ล้านล้านบาท โดยมีเป้าหมายให้นักท่องเที่ยว ต่างชาติใช้จ่ายต่อครั้งเพิ่มขึ้นปีละ ร้อยละ 4 ในปี 2010 (การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย. 2551: http://thai.cri.cn) และเพื่อให้การท่องเที่ยวมีการพัฒนา และสามารถทัดเทียมในตลาดโลกได้ จึงมีความจาเป็นต้องมีพัฒนาระบบ


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

33

ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวที่ทันสมัย ครบถ้วน สาหรับนักท่องเที่ยวและ เพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามศักยภาพอย่างเหมาะสม จั ง หวั ด เพชรบุ รี ไ ด้ รั บ การจั ด ล าดั บ ให้ เ ป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ศั ก ยภาพ ทางการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากมีระยะทางใกล้กรุงเทพมหานคร มีเส้นทาง คมนาคมที่ ส ะดวก มีความอุดมสมบู ร ณ์ และเป็ น ศูน ย์ ร วมเกษตรกรรมที่ สาคัญ ประกอบกับเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวหลากหลาย ทั้ง ด้ า นธรรมชาติ ประวั ติ ศ าสตร์ วั ฒ นธรรม ประเพณี ดั ง นั้ น ในแต่ ล ะปี มี นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจานวนมาก แต่มักกระจุกตัวอยู่ตาม ชายหาดและที่ ท่ องเที่ย วหลั ก ๆ เช่ น ชายหาดชะอา อุท ยานแห่ งชาติแ ก่ ง กระจาน และบริเวณสถานที่สาคัญทางประวัติศาสตร์ ส่วนแหล่งท่องเที่ยว อื่ น ๆ ยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ ความสนใจ จากปั จ จั ย ต่ า งๆ เช่ น ด้ า นคมนาคม การ ประชาสั ม พั น ธ์ และทั ก ษะของบุ ค ลากรด้ านการท่ อ งเที่ ย ว ดั งนั้ น แม้ ว่ า จั ง หวั ด เพชรบุ รี มี แ นวโน้ ม ด้า นการท่ องเที่ ย วเพิ่ มสู ง ขึ้ น ก็ ต าม แต่ จั งหวั ด เพชรบุรียังขาดระบบที่ทั นสมัยและถูกต้องครบถ้วน จึงควรมีการปรับปรุ ง ข้อมูลและวางแผนการพัฒนาระบบข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงจัดลาดับ ศัก ยภาพของแหล่ งท่ องเที่ ยวแต่ล ะแห่ งในจั งหวั ดเพื่ อน ามาวางแผนการ จัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวและการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนา แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วอย่ า งเหมาะสมและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ อั น จะส่ ง ผลให้ ก าร ท่องเที่ ย วในจั งหวั ดเพชรบุ รี มีความโดดเด่น เป็ น จุ ดขายที่ส าคัญ ทางการ ท่องเที่ยว ดังนั้น การวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวจาเป็นต้องใช้ข้อมูล เป็นจานวนมากและต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย ครบถ้วน ทั้งนี้ เพื่อให้


34

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

สามารถนาไปใช้ในการการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ สูงสุด จึงจาเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็วในการเรียกใช้ และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็น ระบบคอมพิ ว เตอร์ ที่ มี คุ ณ สมบั ติ ใ นการจั ด เก็ บ ประมวลผล แก้ ไ ข เปลี่ยนแปลง แสดงผลข้อสนเทศของสิ่งที่มีพิกัดตาแหน่งบนผิวโลก รวมทั้ง สามารถแสดงข้อสนเทศด้านการท่องเที่ยวที่มีความสะดวกรวดเร็วในการ สืบค้นข้อมูลทางหน้าจอภาพได้ จึงเหมาะสมที่จะนามาใช้ในการวางแผน พัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวมีความเป็นระบบ ถูกต้อง ชัดเจน สามารถเปรียบเทียบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะพื้นที่ได้ อย่ า งถู ก ต้ อ ง รวมทั้ ง สามารถแก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง ข้ อ มู ล ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว มี ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังลดปัญหาการทางานซ้าซ้อนได้เป็นอย่างดี การใช้ ร ะบบสารสนเทศภู มิ ศ าสตร์ เ พื่ อ ศึ ก ษาศั ก ยภาพแหล่ ง ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลลักษณะประจา ข้อมูลที่ ใช้ในการจัดลาดับศักยภาพ ทาการศึกษาและวิเคราะห์ร่วมกันโดยการวิจัย ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดาเนินการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วนาเข้าข้อ มูลเชิงพื้นที่ โดยการดิจิไทซ์ (Digitize) ซึ่งเป็นการแปลงข้อมูลแผนที่หรือข้อมูลภาพให้อยู่ ในลั ก ษณะของตั ว เลข (Digital) ส่ ว นข้ อ มู ล ลั ก ษณะประจ า น าเข้ า โดย โปรแกรมไมโครซอร์ฟเอ็กเซล (Microsoft Excel) ทาการตรวจสอบข้อมูลและ นาเสนอข้อมูล โดยแผนที่แสดงแหล่งท่ องเที่ ยวแยกตามประเภทของการ ท่ อ งเที่ ย ว แบ่ ง เป็ น 3 ประเภท ได้ แ ก่ 1) แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ 2) แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และ 3) แหล่งท่องเที่ยว ประเพณีและกิจกรรม


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

35

การจัดลาดับศักยภาพแหล่ งท่ องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี การศึ ก ษาศั ก ยภาพของแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วในจั ง หวั ด เพชรบุ รี ต าม ตัวแปรที่กาหนดไว้ทั้งหมด 14 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) ตั ว แปรด้ า นการเข้ า ถึ ง พิ จ ารณาจากการเดิ น ทางจากถนน เพชรเกษมเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว โดยมีข้อพิจารณา 3 ลักษณะ ซึ่งเป็นตัวแปร ย่อยได้แก่ ลักษณะของผิวถนน พาหนะ และการบริการโดยสารสาธารณะ 2) ตั ว แปรด้ า นสิ่ ง อ านวยความสะดวก พิ จ ารณาจากสุ ข า ที่ พั ก ร้านอาหาร และสถานบันเทิง ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและศูนย์กลางเมือง หลัก และ 3) ตั ว แปรด้ า นความส าคั ญ ของแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว พิ จ ารณาจาก ความสาคัญทางประวัติศาสตร์ ความมีชื่อเสียง และลัก ษณะเด่นของแหล่ง ท่องเที่ยว เมื่อนามาคานวณค่าศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้ค่าคะแนน มาตรฐานจากตัวแปรทั้งหมด ได้ค่าศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่ง และน ามาจั ด กลุ่ ม ความส าคั ญ ตามค่ า ของคะแนนทั้ ง หมด จะสามารถ แบ่ งกลุ่มค่ าความส าคัญ ตามศัก ยภาพออกเป็ น 3 กลุ่ ม คือ 1) กลุ่มที่ มี ศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง 2) กลุ่มที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวปาน กลาง และ 3) กลุ่มที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวต่า ดังนี้ 1. กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสู ง มีค่าคะแนนรวมระหว่าง 368.41 ถึง 273.83 จานวน 24 แห่ง คือ งานพระนครคีรี อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครคี รี เทศกาลกิ น หอย พระรามราชนิ เ วศน์ อุ ท ยานสิ่ ง แวดล้ อ ม นานาชาติสิรินธร วัดใหญ่สุวรรณาราม วัดเขาบันไดอิฐ วัดมหาธาตุวรวิหาร วัดพระพุทธไสยาสน์ ประเพณีแข่งเรือยาว หาดเจ้าสาราญ ศูนย์วัฒนธรรม


36

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ไทยทรงดา ถ้าเขาหลวง ศูนย์ขยายพันธ์สัตว์ห้วยทราย อุทยานแห่งชาติแก่ง กระจาน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน หาดปึกเตียน วัดเพชรพลี วัดกาแพง แลง วนอุทยานชะอา การแข่งขันวัวเทียมเกวียน เขื่อนแก่งกระจาน โครงการ พระราชดาริ หุบกะพง วัดเขาตะเครา 2. แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพปานกลาง มีค่าคะแนนรวมระหว่าง 249.89 ถึง 200.20 จานวน 20 แห่ง คือ พระธาตุจอมเพชร โครงการตาม พระราชประสงค์ ด อนขุ น ห้ ว ย ศู น ย์ ศึ ก ษาป่ า ชายเลนค่ า ยพระรามหก วนอุทยานเขานางพันธุรัตน์ ถ้าเขาย้อย วัดกุฎเขาย้อย สวนสมเด็จพระศรี นครินทร์ ศูนย์อภิบาลสัตว์ป่าเขาลูกช้าง วัดสมุทรโคดม ศูนย์ขยายพันธ์สัตว์ ห้วยทราย ประเพณีวิ่งวัวลานสวนตาลบ้านลาด หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร ถ้ารงค์ น้าพุร้อน อุทยานศาสนาโพธิสัตว์กวนอิม หาดแหลมเหลว เกาะท่าไทร หาดแหลมหลวง แค้มป์บ้านกร่าง โครงการตามพระราชดาริชั่งหัวมัน และ ศูนย์ศึกษาป่าชายเลนบางตะบูน แหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มศักยภาพปานกลาง ส่วนใหญ่ เป็นท่ องเที่ยวทางธรรมชาติ ซึ่ งส่วนใหญ่มีความสวยงาม และมี ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี แต่ เนื่ องจากปั จ จั ย ในการเข้ า ถึ ง สิ่ งอ านวยความสะดวกยั ง ไม่มีค วามพร้ อ ม นอกจากนี้ระยะทางค่อนข้างห่างไกลจากตัวเมือง 3. กลุ่มแหล่ งท่ องเที่ ย วที่ มีศักยภาพต่า มีค่าคะแนนรวมระหว่ าง 193.10 ถึง 52.34 จานวน 11 แห่ง คือ น้าตกแม่สะเรียง น้าตกปราณบุรี ถ้ าหั ว ช้ า ง ถ้ าปะการั ง น้ าตกทอทิ พ ย์ เกาะโสมพั น ปี พะเนิ น ทุ่ ง แค้ ม ป์ เขาพะเนิ น ทุ่ ง ถ้ าค้า งคาวนาขวาง แหลมบั ก เบี้ ย และถ้ าเขาตอหม้ อ ซึ่ ง ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในเขตอาเภอแก่งกระจาน มีเพียงแห่งเดียวที่อยู่ใน อาเภอบ้านแหลมคือ แหลมผักเบี้ย


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

37

เมื่อน าแหล่งท่ องเที่ยวทั้ง 3 กลุ่มมาจัดกลุ่มความสาคัญตามค่า คะแนนทั้งหมด โดยแบ่งกลุ่มค่าความสาคัญตามศักยภาพออกเป็น 3 กลุ่ม ข้างต้นนั้น สามารถจาแนกค่าคะแนนของแต่ละแห่งได้ดังนี้ 1. กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง จานวน 24 แห่ง ดังตาราง 1 นั้น พบว่า แหล่งท่องเที่ยวกลุ่มศักยภาพสูงนี้ มีสิ่งอานวยความสะดวกพร้อม ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึงสะดวก มีบริการด้านที่พัก ร้านอาหาร ศูนย์บริการ นักท่องเที่ยว และสุขาที่ทันสมัย มีความสาคัญทางประวัติศาสตร์ มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันทั่วไป สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี มีการรวมกลุ่มของแหล่ง ท่ อ งเที่ ย วที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วสามารถเดิน ทางท่ องเที่ ย วได้ ภ ายในเวลาจ ากั ด รวมทั้งมีความปลอดภัยสูง ตาราง 1 แหล่งท่องเที ย่ วที ม่ ี ศกั ยภาพสูง ลาดับ แหล่ งท่ องเที่ยว ที่ 1 งานพระนครคีรี 2 อุทยานประวัตศิ าสตร์ พระนครคีรี 3 เทศกาลกินหอย 4 พระรามราชนิเวศน์ 5 อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร 6 วัดใหญ่สุวรรณาราม 7 วัดเขาบันไดอิฐ 8 วัดมหาธาตุวรวิหาร

กิจกรรม ประวัติศาสตร์

เมือง เมือง

ค่ า ศักยภาพ 368.41 363.44

กิจกรรม ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ

ชะอา เมือง ชะอา

320.83 316.39 314.27

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์

เมือง เมือง เมือง

313.41 313.13 311.91

ประเภท

อาเภอ


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

38

ลาดับ ที่ 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24

แหล่ งท่ องเที่ยว วัดพระพุทธไสยาสน์ ประเพณีแข่งเรือยาว หาดเจ้าสาราญ ศูนย์วฒ ั นธรรมไทย ทรงดา ถ้าเขาหลวง หาดชะอา อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน พระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน หาดปึกเตียน วัดเพชรพลี วัดกาแพงแลง วนอุทยานชะอา การแข่งขัน วัวเทียมเกวียน เขื่อนแก่งกระจาน โครงการพระราชดาริ หุบกะพง วัดเขาตะเครา

ประเภท

อาเภอ

ค่ า ศักยภาพ 311.91 309.31 299.30 299.30

ประวัติศาสตร์ กิจกรรม ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์

เมือง เมือง เมือง เขาย้อย

ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ

เมือง 296.74 ชะอา 295.98 แก่งกระจาน 295.10

ประวัติศาสตร์

ชะอา

294.40

ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ กิจกรรม

ท่ายาง เมือง เมือง ชะอา ชะอา

293.10 286.77 286.77 285.37 281.41

ธรรมชาติ ธรรมชาติ

แก่งกระจาน 281.41 ชะอา 275.52

ประวัติศาสตร์

บ้านแหลม

273.83


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

39

2. แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพปานกลาง จานวน 20 แห่ง ดังตาราง ที่ 2 พบว่า แหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มศักยภาพปานกลางส่วนใหญ่เป็นท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ มี ค วามสวยงามและมี ท รั พ ยากรธรรมชาติ ที่ สมบูรณ์จึงเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากปั จจัยในการ เข้ า ถึ ง สิ่ ง อ านวยความสะดวกยั ง ไม่ มี ค วามพร้ อ ม นอกจากนี้ ร ะยะทาง ค่ อนข้ างห่ างไกลจากตัวเมืองและเส้ น ทางการเข้ าถึ งบางแห่ ง จึ งท าให้ มี นั ก ท่ อ งเที่ ย วค่ อ นข้ า งน้ อ ย ฉะนั้ น จึ ง สมควรได้ รั บ การพิ จ ารณาส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วด้ า นสิ่ ง อ านวยความสะดวก ที่ อ าจจะท าให้ แ หล่ ง ท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีความสาคัญและมีศักยภาพสูงขึ้นได้ในอนาคต ตาราง 2 แหล่งท่องเที ย่ วที ม่ ี ศกั ยภาพปานกลาง ลาดับ แหล่ งท่ องเที่ยว ที่ 1 โครงการตามพระราช ประสงค์ดอนขุนห้วย 2 ศูนย์ศึกษาป่าชายเลน ค่ายพระรามหก 3 อุทยานเขานางพันธุรัตน์ 4 ถ้าเขาย้อย 5 วัดกุฎเขาย้อย 6 สวนสมเด็จ พระศรีนครินทร์ 7 ศูนย์อภิบาลสัตว์ปา่ เขาลูกช้าง

ธรรมชาติ

ชะอา

ค่ า ศักยภาพ 248.70

ธรรมชาติ

ชะอา

247.18

ธรรมชาติ ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ

ชะอา เขาย้อย เขาย้อย ชะอา

246.01 242.08 242.07 236.96

ธรรมชาติ

ท่ายาง

236.62

ประเภท

อาเภอ


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

40

ลาดับ แหล่ งท่ องเที่ยว ที่ 8 วัดสมุทรโคดม 9 ศูนย์ขยายพันธ์สัตว์ ห้วยทราย 10 ประเพณีวิ่งวัวลาน 11 สวนตาลบ้านลาด 12 หมู่บ้านท่องเที่ยว เชิงเกษตรถ้ารงค์ 13 น้าพุร้อน 14 15 16 17 18 19 20

อุทยานศาสนา โพธิสัตว์กวนอิม หาดแหลมเหลว เกาะท่าไทร หาดแหลมหลวง แค้มป์บา้ นกร่าง โครงการตาม พระราชดาริชั่งหัวมัน ศูนย์ศึกษาป่าชายเลน บางตะบูน

ประวัติศาสตร์ บ้านแหลม ธรรมชาติ ชะอา

ค่ า ศักยภาพ 236.55 235.57

กิจกรรม ธรรมชาติ ธรรมชาติ

ชะอา บ้านลาด บ้านลาด

234.48 233.08 232.74

ธรรมชาติ

232.26

ธรรมชาติ

หนองหญ้า ปล้อง แก่งกระจาน

ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ

บ้านแหลม ชะอา บ้านแหลม แก่งกระจาน ท่ายาง

231.07 223.93 221.32 218.85 217.08

ธรรมชาติ

บ้านแหลม

200.20

ประเภท

อาเภอ

231.96

3. กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพต่า จานวน 11 แห่ง ดังตาราง 3 นั้น ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในเขตอาเภอแก่งกระจาน มีเพียงแห่งเดียวที่อยู่


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

41

ในอาเภอบ้านแหลมคือ แหลมผักเบี้ย แหล่งท่องเที่ยวกลุ่มนี้อยู่ห่างไกลจาก ตัวเมือง เส้นทางการเข้าถึงยากลาบาก บางแห่งไม่มีถนนลาดยาง บางแห่ง ต้องเดินเท้าเข้าไป ไม่มีที่พัก ร้านอาหาร ศูนย์บริการนักท่อ งเที่ยว และห้อง สุ ข า ด้ า นช่ ว งเวลาที่ ท่ อ งเที่ ย วได้ นั้ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วกลุ่ ม นี้ จ ากั ด เวลา ท่องเที่ยว ไม่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี อีกทั้งแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งอยู่ ห่างไกล ไม่รวมกลุ่มกัน ต้องใช้เวลาในการเข้าถึงมาก ด้านความปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีความปลอดภัยน้อย เพราะต้องเสี่ยงกับอันตรายจาก สัตว์ป่าและภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า แสดงดังตาราง ตาราง 3 แหล่งท่องเที ย่ วที ม่ ี ศกั ยภาพต่า ลาดับ ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11

แหล่ งท่ องเที่ยว น้าตกแม่สะเรียง น้าตกปราณบุรี ถ้าหัวช้าง ถ้าปะการัง น้าตกทอทิพย์ เกาะโสมพันปี พะเนินทุ่งแค้มป์ เขาพะเนินทุ่ง ถ้าค้างคาวนาขวาง แหลมบักเบีย้ ถ้าเขาตอหม้อ

ประเภท ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ

อาเภอ แก่งกระจาน แก่งกระจาน แก่งกระจาน แก่งกระจาน แก่งกระจาน แก่งกระจาน แก่งกระจาน แก่งกระจาน ชะอา บ้านแหลม ท่ายาง

ค่ าศักยภาพ 52.34 52.34 52.34 52.34 83.66 89.89 130.55 142.745 177.52 183.34 193.10


42

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ข้ อมูล คะแนนแหล่ งท่ องเที่ ย วทั้ ง 3 กลุ่ มที่ ไ ด้จ ากการเรี ย งล าดับ ข้างต้นนั้น เมื่อนามาเปรียบเทียบแล้วจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแหล่ง ทองเที่ยว รวมไปถึงเส้นทางของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรีที่มีการ สร้างไว้ ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงความเหมาะสมของเส้นทางท่องเที่ยวเดิมได้จากการ เปรียบเทียบในหัวข้อต่อไป การเปรี ยบเทียบลาดับศักยภาพแหล่ งท่ องเที่ยวกับเส้ นทางท่ องเที่ยว ของการท่ องเที่ยวแห่ งประเทศไทย เมื่อนาเส้นทางของแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม และมีการจัด เส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรีของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาเปรียบเทียบกับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งที่ได้จากการศึกษา พบว่ามีความเหมาะสมที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1 เส้ นทางการท่ องเที่ ย วจั งหวั ดเพชรบุ รี ของการท่ องเที่ย วแห่ ง ประเทศไทย เส้นทางการท่องเที่ยวเส้นทางที่ 1 มีการท่องเที่ยวในแหล่ง ท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติและประวัติศาสตร์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับลาดับ ศักยภาพพบว่า อยู่ในระดับศักยภาพสูงทั้งหมด แสดงให้เห็นในตาราง 4 ทั้งนี้ เส้นทางท่องเที่ยว 1 วัน ทั้ง 11 แห่ง เริ่มที่ ถ้าเขาย้อย หมู่บ้านไทยทรงดา พระนครคี รี พระราชนิ เ วศน์ มฤคทายวั น หาดชะอ า วั ด มหาธาตุ วรวิ ห าร วัดใหญ่สุวรรณาราม วัดกาแพงแลง พระรามราชนิเวศน์ ถ้าเขาหลวง และ วัดเขาบันไดอิฐ แล้วจึงเดินทางกลับ


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

43

ตาราง 4 เปรี ยบเที ยบแหล่งท่องเที ย่ วของการท่องเที ย่ วแห่งประเทศไทย กับศักยภาพแหล่งท่องเที ย่ วเส้นทางที ่ 1 ระยะเวลา 1 วัน ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11

แหล่ งท่ องเที่ยว

ประเภท

ถ้าเขาย้อย หมู่บ้านไทยทรงดา พระนครคีรี พระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน หาดชะอา วัดมหาธาตุวรวิหาร วัดใหญ่สุวรรณาราม วัดกาแพงแลง พระรามราชนิเวศน์ ถ้าเขาหลวง วัดเขาบันไดอิฐ

ธรรมชาติ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์

ศักยภาพ สูง กลาง (242.08) (299.30) (368.41) (294.40)

ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์

(295.98) (311.91) (313.41) (286.77) (316.39) (296.74) (313.13)

ต่า

ที่มา: พัฒนาจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2 เส้ นทางการท่ องเที่ ย วจั งหวั ดเพชรบุ รี ของการท่ องเที่ย วแห่ ง ประเทศไทย เส้นทางที่ 2 ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน มีการท่องเที่ยว ในแหล่ง ท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์และธรรมชาติ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับลาดับ ศั ก ยภาพของแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว พบว่ า อยู่ ใ นระดั บ ศั ก ยภาพสู ง ศั ก ยภาพ ปานกลาง และศักยภาพต่า แสดงดังตาราง 5


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

44

ตาราง 5 เปรี ยบเที ยบแหล่งท่องเที ย่ วของการท่องเที ย่ วแห่งประเทศไทยกับ ศักยภาพแหล่งท่องเที ย่ ว เส้นทางที ่ 2 ระยะเวลา 2 วัน 1 คื น ที่

แหล่ งท่ องเที่ยว

ประเภท

1

อุทยานศาสนา พระโพธิสัตว์กวนอิม เขื่อนแก่งกระจาน ล่องเรือยางใต้ เขื่อนแก่งกระจาน ชมทะเลหมอก พะเนินทุ่ง น้าตกทอทิพย์ น้าพุร้อน หนองหญ้าปล้อง

ประวัติศาสตร์

2 3 4 5 6

ธรรมชาติ ธรรมชาติ

สูง

ศักยภาพ กลาง (231.96)

ต่า

(281.41) (281.41)

ธรรมชาติ

(142.75)

ธรรมชาติ ธรรมชาติ

(83.66) (232.26)

ที่มา: พัฒนาจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เส้ น ทางการท่ อ งเที่ ย วเริ่ ม จาก อุ ท ยานศาสนาโพธิ สั ต ว์ ก วนอิ ม เขื่อนแก่งกระจาน ล่องเรือยางใต้เขื่อนแก่งกระจาน พักค้างแรมที่เขื่อนแก่ง กระจาน แล้วเดินทางขึ้นเขาพะเนินทุ่งเวลาเช้ามืด ต่อจากนั้นเดินเท้าไปยัง น้าตกทอทิพย์ แล้วเดินทางกลับลงจากเขาพะเนินทุ่ง เพื่อเดินทางกลับไปอาบ น้าพุร้อนที่หนองหญ้าปล้อง แหล่ งท่ องเที่ ย วในเส้ น ทางที่ 2 ที่ ก ารท่ องเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทย นาเสนอ มีแหล่งท่องเที่ยวทุกลาดับศักยภาพ ทั้งกลุ่มศักยภาพสูง ศักยภาพ ปานกลาง และกลุ่มศักยภาพต่า โดยเริ่มที่อุทยานศาสนาโพธิสัตว์กวนอิมซึ่ง


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

45

อยู่บนเส้นทางค่อนข้างไกล ใช้เวลาเดินทางมาก บนเส้นทางไม่มีสิ่งอานวย ความสะดวกและเส้ น ทางบางช่ ว งทางช ารุ ด แล้ วเดิน ทางต่อ ไปยั ง เขื่ อ น แก่งกระจานซึ่งอยู่ห่างจากจุดแรกประมาณ 40 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวต้อง พักค้างที่เขื่อนแก่งกระจาน แล้วจึงเดินทางขึ้ นเขาพะเนินทุ่งในเวลาเช้ามืด เพื่อให้ทันชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้น หลังจากนั้นจึงเดินเท้าต่อไปยัง น้าตกทอทิพย์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง โดยไม่มีสิ่งอานวยความ สะดวกใดๆ นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอาหารไปเอง จากนั้นเดินทางกลับลงมา เพื่อเดินทางต่อไปยังน้าพุร้อ นหนองหญ้าปล้อง ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางอีก ประมาณ 1 ชั่วโมง จึงเดินทางกลับ 3 เส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีของการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย เส้นทางที่ 3 ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน มีการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว ประเภทธรรมชาติและประวัติศาสตร์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับลาดับศักยภาพ พบว่ า อยู่ ใ นกลุ่ ม ศั ก ยภาพสู ง ศั ก ยภาพปานกลาง และศั ก ยภาพต่ า ตามลาดับ แสดงดังตาราง 6 ทั้งนี้ เส้นทางท่องเที่ยวเริ่มจาก แหลมผักเบี้ย หาดเจ้าสาราญ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พักค้า งแรมที่อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน เช้ามืดเดิน ทางขึ้ นเขาพะเนินทุ่ง แล้วเดินทางต่อไปยังน้าตก ทอทิพย์ พักค้างแรมที่พะเนินทุ่งแค้มป์ จากนั้นเดินทางไปชมทะเลหมอกที่จุด ชมวิ ว กม.31 เดิน ทางกลั บ ลงมายั ง อุท ยานศาสนาโพธิ สั ตว์ ก วนอิ ม และ เดินทางต่อไปยังน้าพุร้อนหนองหญ้าปล้อง และเดินทางกลับ


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

46

ตาราง 6 เปรี ยบเที ยบแหล่งท่องเที ย่ วของการท่องเที ย่ วแห่งประเทศไทยกับ ศักยภาพแหล่งท่องเที ย่ วเส้นทางที ่ 3 ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ที่ 1 2 3

แหล่ งท่ องเที่ยว

ศึกษาแหลมผักเบี้ย หาดเจ้าสาราญ อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน 4 พักที่อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน 1 คืน 5 พะเนินทุ่งแค้มป์ 6 น้าตกทอทิพย์ 7 พักแรมที่พะเนินทุ่ง แค้มป์ 1 คืน 8 ชมทะเลหมอก ที่จุดชมวิว กม.ที่ 31 9 เจ้าแม่กวนอิม ปางพันเนตรพันกร 10 อาบน้าร้อน ที่พุน้า ร้อนหนองหญ้าปล้อง

ประเภท

สูง

ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ

(295.10)

ธรรมชาติ

(295.10)

ศักยภาพ กลาง

ต่า (183.34)

(299.30)

ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ

(130.55) (83.66) (130.55)

ธรรมชาติ

(130.55)

ประวัติศาสตร์

(231.96)

ธรรมชาติ

ที่มา: พัฒนาจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

(232.26)


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

47

เส้นทางการท่องเที่ยวเดิมทั้ง 3 เส้นทางข้างต้นแสดงให้เห็นว่า มีการ ผสมแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงกลางและต่าที่แตกต่างกัน โดยเส้นทาง แรกมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงทั้งหมด จึงมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับ ความนิ ย มจากนั ก ท่ องเที่ ย ว ซึ่ งจะต่า งจากเส้ น ทางที่ 2 และ 3 ที่ มีแ หล่ ง ท่องเที่ ย วที่มีศั ก ยภาพต่าประกอบอยู่ ด้วย จึ งไม่ไ ด้รับ ความนิ ยมมากเท่ า เส้นทางที่ 1 ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและนาไปสู่การจัดการและ พั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วในจั ง หวั ดเพชรบุ รี ที่ เ หมาะสมและสามารถดึง ดู ด นักท่องเที่ยวได้มากขึ้น จึงควรมีการปรับปรุงเส้นทางการท่องเที่ยวจากข้อมูล ที่ได้ศึกษา ดังหัวข้อต่อไป การวางแผนพัฒนาแหล่ งท่ องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีท่ ีมีความเหมาะสม เพื่อการจัดการที่ความยั่งยืนจากข้ อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพชรบุ รี เ ป็ น จั ง หวั ด ที่ มี ศั ก ยภาพในการพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วสู ง เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ประกอบกับ ที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ไกลกันนัก สามารถจัดเป็นกลุ่มเพื่อการส่งเสริม การท่องเที่ยวได้ ทาให้เพชรบุรีมีโอกาสในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวสูง การพัฒนาการท่องเที่ยวของเพชรบุรีอาจทาได้โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยว วัด การท่องเที่ยววัง การท่องเที่ยวเชิ งนิเวศและสวนเกษตร การท่องเที่ยว เฉพาะกิจกรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเป็นกลุ่ม เป็นต้น อย่างไรก็ ตาม อุปสรรคที่สาคัญยิ่งของการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรี คือ ขาดการประชาสัมพันธ์และทาการตลาดอย่างเป็นระบบ ศูนย์บริการข้อมูล ด้านการท่องเที่ยวตั้งอยู่ในจุดที่ไม่สามารถให้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้อย่าง ทั่วถึง ขาดระบบสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว ขาดแคลนสาธารณูปโภค


48

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ขั้นพื้นฐานสาหรับการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบันก็ได้รับการพัฒนา ไม่ถูกทิศทาง รวมทั้งปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้านอ่าวไทยซึ่งเป็นพื้นที่ของ แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่เป็นจุดเด่นของจังหวัด จากการศึก ษาศัก ยภาพแหล่ ง ท่ องเที่ ย วในจั งหวัดเพชรบุ รี พ บว่ า แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง จานวน 24 แห่ง ศักยภาพปานกลาง 21 แห่ง และศักยภาพต่า 11 แห่ง ข้างต้น ถึงแม้ว่าแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงจะ มีอยู่จานวนมากก็ ตาม แต่แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้จาเป็นต้องพัฒนาเพื่อให้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงอย่างยั่งยืนต่อไป ส่วนแหล่งท่องเที่ยวที่มี ศักยภาพปานกลางและศักยภาพต่า ควรได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพสูงขึ้น เป็นลาดับเพื่อให้สามารถสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวให้เกิดเป็นการ จั ด การท่ อ งเที่ ย วที่ เ หมาะสมและยั่ ง ยื น ของจั ง หวั ด ซึ่ ง การพั ฒ นาแหล่ ง ท่องเที่ยวควรพิจารณาการพัฒนาเชิงรุกด้านต่างๆ ดังนี้ 1. การจัดการการท่องเที่ยวให้มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมน้อยที่สุด และก่อให้เกิดมูลค่าสูง ต้องมีการลงทุนในการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมา ประวัติศาสตร์ ตานาน และวัฒนธรรมของตนเอง เพื่อตอบสนองกับความ ต้องการ (และมูลค่า) ท่องเที่ยว ในระดับที่สูงกว่า ซึ่งไม่ได้ต้องการเพียงความ บันเทิง (Entertainment) แต่ต้องการสาระบันเทิง (Infotainment) ดังนั้น การ ลงทุนในด้านการท่องเที่ยวก็เหมือนกับการลงทุนด้าน IT คือต้องมีการลงทุน ทั้ง Hardware และ Human Ware 2. การกระจายอานาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 จะทาให้มีการเปลี่ยนแปลงการวางแผนและการบริหาร จัดการแหล่งท่องเที่ยวจากหน่วยงานของรัฐส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่นมาก ขึ้น เพื่อให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

49

ในฐานะ “เจ้าของ” ที่นาไปสู่การพัฒนาที่ความยั่งยืน ซึ่งมีความสอดคล้องกับ ข้อต่อไป 3. การบริหารจัดการท่องเที่ยวในชุมชนกาลังเป็นที่สนใจมากขึ้น ซึ่ง อาจมีทั้งผลดีและผลเสีย โดยเฉพาะด้านการกระจายรายได้ ดังนั้น การ เตรียมความพร้อมชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนจึงเป็นเงื่อนไขที่สาคัญ ในการจั ด การบริ ห ารการท่ อ งเที่ ย วท้ อ งถิ่ น ให้ ร าบรื่ น และเป็ น ธรรม คุณลักษณะเมืองน่าเที่ยวในบริบทของเพชรบุรี โดยพิจารณาประเด็นหลัก ของการสนับสนุนให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเฉพาะด้านต่อไปนี้ คือ 3.1 การสนั บ สนุ นให้ เป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ด้านประวั ติศาสตร์ และ ภูมิปัญญางานด้านศิลปะ โดยมุ่งให้เพชรบุรีเป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ ด้านการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในอดีต และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้งานด้าน ศิลปกรรมเมืองเพชรที่มีเอกลักษณ์แบบสกุลช่าง ที่เรียกว่าสกุลช่างเพชรบุ รี ซึ่งเป็นช่างฝีมือระดับเดียวกับช่างในสมัยอยุธยามากว่า 400 ปี 3.2 การสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม วิถีชีวิต และธรรมชาติศึกษา มุ่งให้เกิดการพัฒนาแม่น้าเพชรบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยว ตามนโยบายริเริ่มของเทศบาลเมืองเพชรบุรี ซึ่งตลอดแนวลาน้าเพชรบุรีตั้งแต่ ต้นน้าถึงปากอ่าวบางตะบูนมีหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและโบราณสถาน มากมายที่บอกให้รู้ถึงประวัติความเป็นมาอันยาวนานนับพันปี เป็นหลักฐาน ที่ยังทรงคุณค่าอีกทั้งวิถีชีวิตและธรรมชาติริมสองฝั่งแม่น้าที่มีการตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือนและยังคงมีวิถี ชีวิตที่ผูกพันอยู่กับแม่น้าเพชรบุรีตลอดมา นับเป็น ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพยิ่ง


50

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

3.3. การสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงกิจกรรมทางพุทธ ศาสนา มุ่ง ให้ กิ จ กรรมทางพุ ท ธศาสนาต่ างๆ ที่ จั ดขึ้ น เป็ น ประจ าในเมือ ง เพชรบุรีขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วมในกิจกรรมไปสู่กลุ่มนักท่องเที่ยว 3.4. การสนับสนุนให้เป็นครัวคุณภาพ มุ่งให้เพชรบุรีเป็นแหล่งรวม ความอร่อยของอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพชรบุรี มุ่งให้ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้ น ถิ่ น เมื องเพชรเป็ น จุ ด ขายทางการท่ องเที่ ย ว ทั้ ง ประเภทซื้ อ หา รับประทานเองและซื้อเป็นของฝาก อย่ า งไรก็ ต าม จากหลั ก การข้ า งต้ น และข้ อ มู ล จากการศึ ก ษา สามารถพัฒนาเพื่อการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพ พื้ น ที่ ไ ด้ โดยพิ จ ารณาจากกลุ่ มแหล่ งท่ องเที่ ย วข้ า งต้น เป็ น เกณฑ์ ร่ วมกั บ ข้อจากัดต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกแก่นักท่องเที่ยวได้ ดังนี้ เส้ นทางที่ 1 เส้นทางการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม ระยะเวลา 1 วัน โดยไม่ พั ก ค้ า ง เริ่ ม ต้ น ตั้ ง แต่ วั ด กุ ฏิ เ ขาย้ อ ย ศู น ย์ วั ฒ นธรรมไทยทรงด า อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี วัดมหาธาตุวรวิหาร วัดพระพุทธไสยาสน์ วัดใหญ่สุวรรณาราม วัดเพชรพลี ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มีเวลาจากัดสามารถใช้ เส้นทางท่องเที่ยวเส้นนี้ได้อย่างคุ้มค่า เพราะแหล่งท่องเที่ยวที่นาเสนอนี้อยู่ บนเส้นทางเดียวกัน มีสิ่งอานวยความสะดวกครบ มีร้านอาหาร ห้องสุขาที่ ทันสมัย มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว การเข้าถึงสะดวกมีบริการรถสาธารณะที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วสามารถเลื อ กใช้ บ ริ ก ารได้ ต ามความพึ ง พอใจ แสดงดั ง ภาพประกอบ 1


ภาพประกอบ 1 เส้นทางท่องเที ย่ วใหม่เส้นที ่ 1 A = วัดกุฏิเขาย้อย, B = ศูนย์ วฒ ั นธรรมไทยทรงดา, C =พระนครคีรี, D =วัดมหาธาตุ, E = วัดพระพุทธไสยาสน์ , F = วัดใหญ่สวุ รรณาราม, G = วัดเพชรพลี

Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011 51


52

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

เส้ นทางที่ 2 ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวแบบ ผสมผสานระหว่างการท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ เริ่มต้นที่ อุท ยานประวั ติศ าสตร์ พระนครคีรี พระรามราชนิ เวศน์ สวนตาลบ้ านลาด เขื่อนแก่งกระจาน ไหว้พระที่เกาะโสมพันปี ค้างคืนที่แค้มป์บ้านกร่าง วันที่ 2 เดินทางขึ้นเขาพะเนินทุ่ง ชมทะเลหมอกที่เขาพะเนินทุ่ง แล้วเดินทางกลับลง มาตามเส้ น ทางแก่ ง กระจานหนองหญ้ า ปล้ อ ง เพื่ อ ไหว้ เ จ้ า แม่ ก วนอิ ม ที่ อุทยานศาสนาโพธิสั ตว์ กวนอิม จากนั้น แวะซื้ อของฝากระหว่ างทาง แล้ ว เดิ น ทางกลั บ ส าหรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ มี เ วลามากสามารถพั ก ค้ า งแรมได้ สามารถเลื อ กเส้ น ทางที่ 2 นี้ เพราะเป็ น เส้ น ทางท่ อ งเที่ ย วที่ มี ทั้ ง การชม ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่นาเสนอในเส้นทางนี้ แม้ว่า บางแห่งจะมีสิ่งอานวยความสะดวกไม่มากและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ ละแห่งมีความดึงดูดใจสูง แสดงดังภาพประกอบ 2


ภาพประกอบ 2 เส้นทางท่องเที ย่ วใหม่เส้นทางที ่ 2 A = พระนครคีรี, B = พระรามราชนิ เวศน์, C = สวนตาลบ้านลาด, D = เขื อ่ นแก่งกระจาน, E = เกาะโสมพันปี , F = แค้มป์ บ้านกร่ าง, G = เขาพะเนิ นทุ่ง, H = อุทยานสศาสนาโพธิ สตั ว์กวนอิ ม

Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011 53


54

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

เส้ นทางที่ 3 เส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติแนวชายฝั่ง เริ่มต้น บนทางสายคลองโคน-ชะอา แหลมผักเบี้ย หาดเจ้าสาราญ หาดปึกเตีย น วนอุทยานเขานางพันธุรัต พักค้างคืนที่หาดชะอา วันที่ 2 ชมตลาดเช้าชะอา พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร โครงการ ชั่งหัวมัน โครงการตามพระราชดาริหุบกะพง หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร หนองชุมแสง เดินทางกลับ เส้นทางการท่องเที่ยวเส้นทางที่ 3 ที่นาเสนอ เป็น เส้ น ทางที่ เน้ น แหล่ ง ท่ องเที่ ย วทางธรรมชาติที่ มีเสน่ ห์ ข องจั งหวั ดเพชรบุ รี เพราะแนวชายฝั่ ง ของจั ง หวั ด เพชรบุ รี มี ค วามหลากหลายของสภาพ ภู มิ ป ระเทศ อี ก ทั้ งยั ง อยู่ บ นเส้ น ทางเดี ย วกั น นอกจากนี้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วยั ง สามารถไปยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่กาลังเป็นที่นิยม เพื่อเลือกซื้อสินค้า เกษตรทั้งจากโครงการในพระราชดาริและเกษตรกรรายย่อยอื่นๆ ในบริเวณ เดียวกัน


ภาพประกอบ 3 เส้นทางท่องเที ย่ วใหม่เส้นทางที ่ 3 A = แหลมผักเบี ย้ , B = หาดเจ้าสาราญ, C = หาดปึ กเตียน, D = เขานางพันธุรัต, E = หาดชะอา, F = พระราชนิ เวศมฤคทายวัน, G = อุทยานสิ่ งแวดล้อม, H = โครงการชัง่ หัวมัน, I = หุบกะพง, J = หนองชุมแสง

Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011 55


56

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

สรุ ป เส้นทางการท่องเที่ยวทั้ง 3 เส้นทางที่สร้างขึ้นตามข้อมูลสารสนเทศ ภูมิศาสตร์นี้ สร้างตามความเหมาะสมที่ได้จากผลการศึกษา ซึ่งสร้างขึ้นโดย ให้มีความหลากหลายในด้านศักยภาพและความเหมาะสมที่สามารถดึงดูด นักท่องเที่ยวได้ โดยเลือกแหล่งท่องเที่ยวจากแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง และแหล่งท่องเที่ยวที่มีศัก ยภาพที่สามารถพัฒ นาให้ กลายเป็นแหล่งท่อง เที่ยงที่มีศักยภาพสูงต่อไปได้ในอนาคต รวมถึงอยู่ในเส้นทางที่เหมาะสมต่อ การท่องเที่ยวเป็นลาดับ ตามตัวแปรทั้ง 3 กลุ่มที่กาหนดไว้ คือ ด้านการเข้าถึง ด้ า นสิ่ ง อ านวยความสะดวก และด้ า นความส าคั ญ ของแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว รวมทั้งหมด 14 ตัวแปร ดังนั้น เส้นทางท่องเที่ยวทั้ง 3 เส้นทางนี้ จึงเหมาะสม ในการพั ฒ นาและให้ ก ารสนั บ สนุ น ให้ เกิ ดเป็ น เส้ น ทางท่ องเที่ ย วใหม่ข อง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้กลายเป็นการจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมอย่าง ยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจรายได้ของประชาชน เกิดความความเหมาะสมในเชิง สั ง คมวั ฒ นธรรมของชุ ม ชน รวมทั้ ง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น การสร้ า งผลกระทบต่ อ สิ่งแวดล้อมที่รุนแรงจากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ดังนั้นการพัฒนาการศักยภาพท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีอย่างยั่งยืน ด้วยการประยุกต์ใช้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographic Information System) จึงเป็นเสมือนเครื่องมือที่สามารถนามาช่วยให้การ พัฒนาการท่องเที่ยวสามารถเกิดได้อย่างเป็นรูปธรรมและยังประโยชน์ให้แก่ ประชาชนและประเทศต่อไป ทั้งนี้รูปแบบการแสวงหาข้อมูลด้านศักยภาพ แหล่ ง ท่องเที่ ยวที่ ผ่ านระบบข้อมูล สารสนเทศภู มิศาสตร์ นี้ สามารถน าไป


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

57

ประยุกต์ใช้กับแหล่ งท่องเที่ยวอื่น เพื่อเป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิด ความเหมาะสมและยั่งยืนให้แก่พื้นที่ต่อไปในอนาคตได้ในที่สุด เช่นกัน


58

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

เอกสารอ้ างอิง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2547) รายงานการท่ องเที่ยว ปี 2546. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2549) รายงานการท่ องเที่ยว ปี 2548. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ประยงค์ เรืองดา. (2546) การพัฒนาอุตสาหกรรมท่ องเที่ยวในจังหวัด เพชรบุรี.กรุงเทพฯ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. ถ่ายเอกสาร มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. (2536) โครงการศึกษา ทบทวนแผนแม่ บท ในการพัฒนาการท่ องเที่ยวของ ประเทศ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2537) สมุดปกขาวทีดีอาร์ ไอ. “การส่งเสริม การท่องเที่ยว: เราได้อะไร?เสียอะไร?”. ฉบับที่ 2 มกราคม 2537. มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด, ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, เกียรติ จิวะกุล, พรเพ็ญ วิจักษ์ประเสริฐ, อดิศร์ อิศรางกุล ณ อยุธยา, พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์, จิราภรณ์ แผลงประพันธ์, ทพวัลย์ แก้วมีศรี, จุฬารัตน์ ศิริสุขปี ระดิษฐ์, อาริยา บุญ-หลง, ปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ, เรวดี จรุงรัตนาพงศ์, อุกฤษฎ์ อุปราสิทธิ์, สมเกียรติ เรืองจันทร์, พิศสม มีถม และอาเนล บี ราล่า. 2540. โครงการศึกษาเพื่อจัดทาแผนแม่ บทพัฒนาการ ท่ องเที่ยวของประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่ง ประเทศไทย.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

59

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2544) โครงการศึกษาเพื่อจัดทา แผนปฏิบัตกิ ารพัฒนา อุตสาหกรรมท่ องเที่ยวแห่ งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ งชาติ ฉบับที่ 9 (25452549). กรุงเทพมหานคร:


การวิเคราะห์ศักยภาพ ของพื้นที่เพื่อรองรับการ ขยายตัวด้านที่อยู่อาศัย ของชุมชน: กรณีศึกษา เขตเทศบาล ตาบลโคกมะกอก อาเภอเมือง ปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี Land Use Potential Analysis for Urban Residential Expantion.: A case study of Khokmakok Tumbal Municipality, Prachinburi Province.

นาวาอากาศเอกวัลลภ พรมบาง


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

61

บทคัดย่ อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะพัฒนาการชุมชน บทบาท ความสาคัญ ของและแนวโน้มการใช้ประโยชน์ที่ดิน วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และ เสนอแนวทางการรองรับการขยายตัวด้านที่อยู่อ าศัยของชุมชน เพื่อ เป็นแนวทางการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ ลักษณะการขยายตัวทางด้านการใช้ประโยชน์ ที่ดินทางด้านที่อยู่อาศัยจะกระจายไปตามแนวเส้นทางคมนาคม ซึ่งพื้นที่มีลักษณะเด่น ทางด้านกายภาพ และการคาดการณ์ปริมาณความต้องการด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งทาให้การ คาดการณ์ปริมาณความต้องการทางด้านที่อยู่อาศัยจากการคาดการณ์ตามอัตราการ เติบโตของประชากรในพื้นที่ในช่วง 5-20 ปี (พ.ศ. 2552-2572) ทาให้คาดการณ์ได้ว่ามี ปริมาณความต้องการเพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้มีความจาเป็นจะต้องทาการวิเคราะห์หา ศักยภาพของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการรองรับการขยายตัวทางด้านที่อยู่อาศัยใน อนาคต โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ PSA (Potential Surface Analysis) และเทคนิค GIS (Geography Information System) ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ศึกษามีพื้นที่ที่มี ความเหมาะสมต่อการเลือกตาแหน่งที่ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย 3 อันดับได้แก่ 1) พื้นที่ที่มี ความเหมาะสมมากที่สุดมีขนาดพื้นที่ 5.60 ตร.กม. 2) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีขนาดพื้นที่ 10.48 ตร.กม. 3) พื้นที่ ที่มี ความเหมาะสมน้ อ ยที่ สุด มีข นาดพื้นที่ 5.19 ตร.กม. ทั้งนี้ในการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย ซึ่งควร เป็น การรองรับการขยายตัว ทางด้านที่อ ยู่ อ าศั ย แบบบ้า นเดี่ยว มีข นาดพื้นที่ 50-100 ตารางวาต่ อ ครั วเรือ น เพื่ อ ลดอัต ราความหนาแน่ นของครัว เรื อ นต่อ ขนาดพื้ นที่ และ สามารถประยุกต์ใช้แนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาศักยภาพของ พื้นที่ทางด้านต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับการขยายตัวของเมืองทางด้านต่างๆ ได้


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

62

Abstract The objectives of the research were to study the community development, significance and land use trends and to analyze the potentials of land use of Khok Makok Tambon Municipality. It was also to propose guidelines for residential land use expansion in order to manage natural resources in sustainable manners. The research outcome reveals that residential urban expansion has developed along main roadways. The study area has strong physical characteristics with residential demands projection. The projection for the residential demands was based on the projections of the area’s population growth. From 2009 to 2015 or within 5-20 years, it was projected that the residential demands would increase substantially thus lead to the needs to analyze the land use potentials of the area that suitable to support the future residential expansions. The techniques employed in the study were Potential Surface Analysis (PSA) and Geographic Information System (GIS). The finding was that the area land study contained three categories of lands suitable for residential settlements: a) the most suitable area, 5.60 sq.km., b) the average suitable area, 10.48 sq.km., and c) the least suitable area, 5.19 sq.km. The study proposed that the land use development of the land suitable for residential settlement should be based on the expansions of the Single Family Residential Plot with 50-100 sq. yard per household in order to reduce the crowdedness or the density of household per unit area. This study concept could also be applied to other land use potential analysis in preparation for further urban expansions.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

63

คาสาคัญ: ศักยภาพของพื้นที่ การขยายตัวด้านที่อยู่อาศัย ชุมชน บทนา มนุษย์มีวิวัฒนาการในการเลือกที่ตั้งถิ่นฐานเพื่อการอยู่อาศัยและ การดารงชีวิตมาตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมนุษย์ได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม และจากปัญหาการเพิ่มขึ้นของ จานวนประชากร ทาให้มีความต้องการที่อยู่อาศัยและแหล่งทรัพยากรก็มี ปริมาณเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย สาหรับประเทศไทย ในการพัฒนาประเทศตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ซึ่งมี หลั ก การในการมุ่ ง สร้ า งความเชื่ อ มโยงทิ ศ ทางการพั ฒ นาเชิ ง พื้ น ที่ ใ ห้ สอดคล้องกั บทิศทางการพัฒ นาประเทศตามแนวนโยบายพื้น ฐานแห่งรั ฐ และแผนพั ฒ นาด้านต่างๆ เพื่ อสร้ างโอกาสในการพั ฒนาภาคต่างๆ ของ ประเทศให้สอดรับกับบริบท ศักยภาพ และภูมิสังคมของพื้นที่ ซึ่งประเทศไทย อยู่ ใ นช่ ว งการปรั บ ตั ว เข้ า สู่ สั ง คมเมื อ งอย่ า งรวดเร็ ว ส่ ง ผลให้ มี ค วาม จ าเป็ น ต้ องมีก ารพั ฒ นาโครงสร้ างพื้ น ฐานทางเศรษฐกิ จ สั งคม และการ เชื่อมโยงการพัฒนาเมืองและชนบทให้เกื้อกูลกัน ทั้งนี้พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี มีทิ ศทางการพั ฒ นาพื้ น ที่ เชื่ อมโยงทางเศรษฐกิ จตามแนวตะวั น ออกและ ตะวันตก (East west Economic corridor) โดยวางแผนการปรับปรุงขนาด ของเมือง ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ บริการทางสังคม และป้องกัน การขยายตัวของพื้นที่ชุมชนและอุตสาหกรรม ไม่ให้บุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมที่ อุดมสมบูรณ์ ซึ่งทางจังหวัดได้กาหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาให้เป็นเมือง น่าอยู่ โดยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สะอาดสวยงาม เป็นระเบียบ ปลอดภัย มีผัง เมืองและสิ่งแวดล้อมที่ดี ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้ มแข็ง ใฝ่รู้ มี


64

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

สุข ภาวะ ภายใต้ ก ารบริห ารจั ดการบ้ านเมืองที่ ดี จึ งส่ งผลให้ พื้ น ที่ จั งหวั ด ปราจีนมีอัตราการเติบโตของประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 10 ปี (พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2551) มีอัตราการเติบโตของประชากรเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 3.76 ส่ วนอัตราการเติบ โตของครั วเรื อ นในพื้ น ที่ มีอัตราการเติบ โตเฉลี่ ย ร้อยละ 3.971 อีกทั้งความหนาแน่นของประชากรมักจะกระจุกตัวในอาเภอ เมื อ งปราจี น บุ รี อ าเภอประจั น ตคาม เนื่ อ งด้ ว ยเป็ น แหล่ ง ที่ ตั้ ง ของ อุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งในส่วนอาเภอเมืองส่วนใหญ่จะมีประชากรหนาแน่น บริเวณเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี จะมีการใช้พื้นที่สาหรับกิจกรรม พื้นที่ ทางด้ านการค้าขายและพาณิ ชกรรม การขนส่ง จึ งส่งผลให้พื้ นที่เทศบาล เมืองปราจีนบุรี เริ่มมีความหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเกินขีดความสามารถ ในการรับได้ของพื้นที่ในการพัฒนาพื้นที่ให้สอดรับกับแผนการพัฒนาให้เป็น เมืองน่าอยู่ตามหลักยุทธศาสตร์การพัฒนา จึงต้องจัดหาพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อ รองรับการขยายตัวทางด้านที่อยู่อาศัยของเมือง ซึ่งพื้นที่เขตเทศบาลตาบล โคกมะกอกมีความเหมาะสมต่อการนามาพิจารณาเป็นพื้นที่ทางเลือก โดยมี ลักษณะภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ทั้งจากลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ระบบ โครงสร้ า งพื้ น ฐาน ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องทรั พ ยากรในพื้ น ที่ และ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งงานที่อยู่ใกล้เคียง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตาแหน่งที่ตั้งถิ่นฐานมีความจาเป็นต้องวิเคราะห์หาศักยภาพของ พื้นที่ เพื่อทาการเลือกตาแหน่งที่ตั้งถิ่นฐานที่ มีความเหมาะสมมากที่สุดเพื่อ เตรียมความพร้อมของพื้นที่ในการรองรับการขยายตัวด้านที่อยู่อาศัยที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืนต่อไป 1

ที่มา:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, 2552


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

65

วัตถุประสงค์ ของงานวิจัย 1. เพื่อศึกษาลักษณะพัฒนาการชุมชนจากอดีตสู่ปัจจุบัน บทบาท ความส าคั ญของพื้น ที่ ในองค์ป ระกอบด้านกายภาพ สภาพแวดล้ อม การ เปลี่ยนแปลงและแนวโน้มการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2. เพื่ อ วิ เ คราะห์ ศั ก ยภาพของพื้ น ที่ ชุ ม ชนในเขตเทศบาลต าบล โคกมะกอก อาเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สาหรับใช้เป็นพื้นที่อยู่ อาศัย 3. เพื่ อเสนอแนวทางการรองรั บ การขยายตัวด้านที่ อยู่ อาศัย ของ ชุมชนเทศบาลตาบลโคกมะกอก อาเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ให้ สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระเบียบวิธีวิจัย จากการก าหนดวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการวิ จั ย รวมทั้ ง การทบทวน แนวความคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถนามากาหนดกรอบ แนวคิด ขั้นตอนและวิธีการดาเนินการวิจัยได้ดังนี้ (แสดงดังภาพที่ 1)


66

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิ ดในการวิ จยั


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

67

ตัวแปรที่ใช้ ในการวิจัย ตัวแปรอิสระ (Independent variable) จากการทบทวนดังกล่าว ทาให้ทราบว่า การเลือกที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีปัจจัยที่เป็นตัวแปรสาคัญที่ จาเป็นต้องนามาพิจารณาเพื่อทางด้านการรองรับการขยายตัวทางด้านที่อยู่ อาศัยของชุมชน ได้แก่ 1) กลุ่มปัจจัยทางด้านลักษณะภูมิศาสตร์ 2) กลุ่ ม ปั จ จั ย ทางด้ า นกายภาพและระบบโครงสร้ า ง พื้นฐานของพื้นที่ศึกษา 3) กลุ่มปัจจัยทางด้านสาธารณูปการของพื้นที่ศึกษา 4) กลุ่มปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม 5) กลุ่มปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจของพื้นที่ศึกษา ตัวแปรตาม (Dependent variable) ได้แก่ ศักยภาพของพื้นที่ที่มี ความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน ที่พัก อาศัย ในเขตพื้นที่เทศบาลตาบล โคกมะกอก อาเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี อุปกรณ์ และเครื่ องมือที่ใช้ ในการศึกษา เครื่ องมือประเภทข้ อมูล ได้แก่ 1) ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ เครื่องมือ ประเภท แผนที่แสดงขอบเขต แผนที่แสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์ แผนที่ แสดงต าแหน่ ง ที่ ตั้ ง ปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ องในการศึก ษา 2) ข้ อมู ล เชิ งบรรยาย 3) แบบสอบถามความคิดเห็น ใช้ในการวิเคราะห์หาค่าน้าหนักของปัจจัยที่ เกี่ยวข้อง


68

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

เครื่ องมือประเภทฮาร์ ตแวร์ ได้แก่ 1) Input Device คือ Scanner และเครื่องบอกตาแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ (Global Positioning System: GPS) 2) Output Device คือ Color Monitor และ Printer เครื่ องมือประเภทซอฟต์ แวร์ ได้แก่ 1) Operation System คือใช้ ระบบ Microsoft Windows 2008 2) ซอฟต์แวร์ระบบสารสนเทศทาง ภูมิศาสตร์ที่ใช้ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล คือ Arcview GIS 9 การเก็บรวบรวมข้ อมูล การวิจัยครั้งนี้ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลใน 2 ส่วน ได้แก่ การสารวจข้ อมูลภาคสนาม (Field Survey) ทาการเก็บข้อมูล ตาแหน่งที่ตั้งของอาคาร ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ศึกษา โดยใช้ เครื่องบอกตาแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์(Global Positioning System: GPS) โดย ในระยะเวลาจัดเก็บ 3 เดือน (ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2552) การสารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้ ค่านา้ หนักความสาคัญ ของปั จจั ยที่เ กี่ ย วข้ องในการเลื อกตั ง้ ถิ่นฐานที่อยู่ อาศั ย โดยก าหนด รูปแบบในการกาหนดกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการศึกษา ดังนี้ ประชากรในการศึ กษา การวิเคราะห์ห าศักยภาพของพื้ นที่ ด้วยเทคนิ ค PSA จะต้องกาหนดค่าน้าหนักความสาคัญของปัจจัย (Weighting) ในปัจจัย ที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 กลุ่มปัจจัย โดยได้กาหนดกลุ่มประชากรที่ทาการศึกษาแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทผู้ ทรงคุ ณ วุ ฒิ ใ นวงการวิ ช าชี พ ผั ง เมื อ ง ทางด้ าน การศึกษา จะเป็นกลุ่มนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยของรัฐใน


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

69

เขตกรุ ง เทพมหานคร ที่ เ ปิ ด หลั ก สู ต รการเรี ย นการสอนทางด้ า นการวาง ผังเมือง จานวน 5 คน ประเภทนั กวิชาการฝ่ ายปฏิบัติการ เป็นการศึกษาความคิดเห็น ในกลุ่มนักวิชาการที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโยธาธิการ และผังเมือง การเคหะแห่งชาติ จานวน 5 คน กลุ่มตัวอย่ างและการเก็บรวบรวมข้ อมูลของกลุ่มตัวอย่ าง โดยเลือกใช้ วิ ธี ก ารเลื อ กกลุ่ ม ตั ว อย่ า งจากเทคนิ ค การวิ จั ย แบบเดลฟาย (Delphi Technique) เพื่อให้ได้ข้อมูลในการกาหนดค่าคะแนนความสาคัญของปัจจัย ที่เหมาะสมต่อการพิจารณาเลือกตาแหน่งที่ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ ศึกษา จากการระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ โดยทาการรวบรวมในช่วง เดือน (ระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2552) การวิเคราะห์ ข้อมูล ( Research Methodology) มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ การวิเคราะห์ หาปริมาณความต้ องการที่อยู่อาศัย โดยจะทาการ วิเคราะห์ จ ากการคาดการณ์ประชากรที่อาศัย อยู่จ ริงตามทะเบีย นราษฎร์ และการคาดการณ์จากประชากรแฝง ในเขตพื้นที่อาเภอเมืองปราจีนบุรี และ อาเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี (พื้นที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ศึกษา) ในช่วง 20 ปี (พ.ศ. 2553-2572) โดยใช้สูตรคานวณรูปแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องมาใช้คานวณ และนาคาดการณ์ปริมาณความต้องการใช้พื้นที่เพื่อ รองรั บการขยายตัวทางด้านที่อยู่อาศัยโดยเปรียบเทีย บกับ มาตรฐานทาง ผังเมือง ดังตารางที่ 1


70

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

การคาดการณ์ การเติบโตของประชากรและครั วเรื อนที่มีอยู่ จริ ง ตามทะเบี ย นราษฎร์ โดยใช้ แ บบจ าลองทางคณิ ต ศาสตร์ รู ป แบบ เรขาคณิต (Geometric)2 ดังนี้

P1 = P0 (1+r) t P1 = การเติบโตประชากร P0 = จานวนประชากรฐาน r = อัตราการเปลี่ยนแปลงประชากร t = จานวนปีที่จะพยากรณ์ การคาดการณ์ จานวนประชากรแฝง โดยใช้ แ บบจ าลองทาง คณิตศาสตร์3 ดังนี้

Pn = abx Pn = จานวนประชากรแฝง a = 33 %ของประชากรคาดการณ์ b = 1 + Growth rate x = ดัชนีของเวลา

2

ที่มา: โครงการศึกษาตัวแบบมาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อวางผังเมืองรวม, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 อ้างใน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. โครงการจัดทาแผนผังพัฒนา เขตกรุงเทพมหานคร: เขตยานาวา


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

71

การวิ เ คราะห์ ค วามต้ อ งการพื น้ ที่ ส าหรั บ ที่ อ ยู่ อ าศั ย เมื่ อ ได้ ปริมาณคาดการณ์ในช่วง 20 ปี (พ.ศ. 2553-2572) นามาเปรียบเทียบกับ เกณฑ์มาตรฐานทางผังเมือง ดังตารางที่ 1 และจะต้องทาการสารองพื้นที่เพื่อ จัดสรรพื้นที่เพื่อจัดบริการสาธารณะ โดยคิดเป็นพื้นที่ ร้อยละ 25 สาหรับพื้นที่ อยู่ อาศั ย หนาแน่ น น้ อย ส่วนร้ อยละ 20 ส าหรั บที่ พื้ น ที่ อยู่ อาศัย หนาแน่ น ปานกลาง และพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ตารางที่ 1 แสดงมาตรฐานการใช้ประโยชน์ทีด่ ิ นเพือ่ ที อ่ ยู่อาศัย สาหรับเมื องขนาดกลางและเมื องขนาดเล็ก4 การใช้ ประโยชน์ ท่ ดี นิ เพื่อที่อยู่อาศัยประเภท ที่อยู่อาศัยหนาแน่ นน้ อย ที่อยู่อาศัยหนาแน่ น ปานกลาง ที่อยู่อาศัยหนาแน่ นมาก

4

รูปแบบอาคาร บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว ตึกแถว อาคารชุดสูง 2-3 ชั้น ตึกแถว อาคารพาณิชย์ อาคารชุดสูง 3-4 ชั้น ศูนย์การค้า สานักงาน

สานักพัฒนามาตรฐาน, เกณฑ์และมาตรฐานผังเมืองรวม, 2549

พืน้ ที่ (ตาราง วา)

ความ หนาแน่ น (คน/ไร่ )

50-100 35-50 18-24

1-12 1-12 13-24 13-24 25-42

18-24 180-400 800-2,000 120-240


72

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

การวิเคราะห์ หาศั กยภาพของพืน้ ที่ จะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ PSA (Potential Siave Analysis) และเทคนิค GIS (Geography Information System) โดยมีขั้นตอนในการแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การ กาหนดขนาดพืน้ ที่ 2) การคัดเลื อกปั จจัย 3) การกาหนดค่ านา้ หนั ก ความสาคัญของปั จจัยและค่ าระดับคะแนนความเหมาะสมของแต่ ละ ปั จจั ย เชิ ง พื น้ ที่ 4) การค านวณค่ า คะแนนของแต่ ล ะปั จจั ย โดยใน ขั้นตอนนี้จะทาการคานวณค่าคะแนนจากผลคูณระหว่างค่าน้าหนักและค่า คะแนนตามเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาของแต่ละปัจจัย ด้วยโปรแกรม Arc GIS 9.2 5) การแสดงค่ าคะแนนลงบนแผนที่ เมื่อได้ค่าน้าหนักจากขั้นตอนที่ 4 จะ นาค่าที่ได้มาลงบนแผนที่ในแต่ละปัจจัย เพื่อแสดงถึงขนาดและทิศทางใน แต่ละชั้นข้อมูล 6) การวิเคราะห์ หาศักยภาพเชิงพืน้ ที่ โดยใช้เทคนิคการ ซ้อนทับชั้นข้อมูล (Overlay) ของเทคนิคการวิเคราะห์ GIS (Geography Information System) เพื่ อทราบถึ งศัก ยภาพของพื้ น ที่ ในเชิ งขนาดและ ทิศทางลงบนแผนที่ จะได้ผลของการวิเคราะห์ออกมาทั้งในรูปของแผนที่และ ข้อมูลเชิงบรรยาย ผลการศึกษา จากการกระบวนการวิ เ คราะห์ เ พื่ อ หาศั ก ยภาพของพื้ น ที่ ในการ รองรั บ การขยายตั วด้ า นที่ อ ยู่ อ าศั ย ของพื้ น ที่ ศึก ษา ซึ่ ง สามารถแสดงผล การศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ผลปริ มาณคาดการณ์ ความต้ องการทางด้ านการใช้ พืน้ ที่ เพื่ อ รองรั บ การขยายตั ว ด้ า นที่ อยู่ อ าศั ย ในอนาคต ช่ ว ง 20 ปี (พ.ศ. 2552-2572) (แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 2)


ประชากร (คน)

226,959.58 250,383.58 276,553.82

305,835.92 338,649.36

ปี (พ.ศ.)

2552 2557 2562

2567 2572 3.68 4.08

5,873,775.00 7,350,462.00

11,747,550.00 14,700,924.00

5,994,532.00 7,501,578.00 9,387,500.00

(100ตร.วา)

5,873.78 7,350.46

2,997.27 3,750.79 4,693.75

พืน้ ที่ สารอง 20% (ไร่ )

รวมพืน้ ที่ ทัง้ หมด(ไร่ )

35,242.65 44,102.77

17,983.60 22,504.73 28,162.50

117,475.50 147,009.24

การคาดการณ์ ความต้ องการใช้ พนื ้ ที่ ครัวเรือน ความ (50 ตร.วา) (หลังคา หนาแน่ น เรือน) ของ ประชากร (คน/ไร่ ) 59,945.32 2.73 2,997,266.00 75,015.78 3.01 3,750,789.00 93,875.00 3.33 4,693,750.00

ตารางที 2 แสดงปริ มาณคาดการณ์ ความต้องการใช้พืน้ ที ่ เพือ่ การรองรับการขยายตัวทางด้านที อ่ ยู่อาศัยในช่วง 5-20 ปี (พ.ศ. 2552-2572)

Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011 73


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

74

ผลการวิเคราะห์ ศักยภาพของพืน้ ที่ท่ มี ีความเหมาะสมใน การรองรั บการขยายตัวทางด้ านที่อยู่อาศั ย จากการวิเคราะห์ทางด้าน ความคิ ด เห็ น ต่ อการให้ ค่ าน้ าหนั ก (weighting) ความส าคั ญ ของปั จ จั ย ที่ เกี่ยวข้องของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อนามาเป็นตัวกาหนดความสาคัญของปัจจัย ต่อค่าคะแนนความเหมาะสมเชิงพื้นที่ทั้ง 5 กลุ่มปัจจัย เมื่อทาการวิเคราะห์ หาศักยภาพของพื้นที่ด้วยเทคนิคการซ้อนทับของปัจจัย (Overlay Technical) ทาให้ ทราบขนาดของพื้น ที่ที่ มี ศักยภาพความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่ นฐาน เท่ากับ 21,238,037.03 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมต่อการ ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยมากที่สุด 3 อันดับ (แสดงดังตารางที่ 3 และภาพที่ 2) ตารางที่ 3 แสดงช่วงระดับคะแนนความเหมาะสม จากการวิ เคราะห์ หาศักยภาพของพืน้ ที ่ ระดับการวิเคราะห์ ความเหมาะสม มีความเหมาะสมต่ อ การตัง้ ถิ่นฐานที่อยู่ อาศัยในอันดับที่ 1

ช่ วงคะแนน ค่ าความ ความหมาย เหมาะสม 165.06 พื้นที่ที่มีศักยภาพทีเ่ หมาะสมต่อการ 208.30 เลือกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในระดับ มาก เพื่อเตรียมความพร้อมในการ รองรับการขยายตัวทางด้านที่อยู่ อาศัยของพื้นที่ศึกษา


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

ระดับการวิเคราะห์ ความเหมาะสม มีความเหมาะสมต่ อ การตัง้ ถิ่นฐานที่อยู่ อาศัยในอันดับที่ 2

มีความเหมาะสมต่ อ การตัง้ ถิ่นฐานที่อยู่ อาศัยในอันดับที่ 3

ช่ วงคะแนน ค่ าความ ความหมาย เหมาะสม 142.91 – พื้นที่ที่มีศักยภาพทีเ่ หมาะสมต่อการ 165.05 เลือกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในระดับ ปานกลาง เพื่อเตรียมความพร้อมใน การรองรับการขยายตัวทางด้านที่อยู่ อาศัยของพื้นที่ศึกษา 97.70 พื้นที่ที่มีศักยภาพทีเ่ หมาะสมต่อการ 142.90 เลือกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในระดับ น้อย เพื่อเตรียมความพร้อมในการ รองรับการขยายตัวทางด้านที่อยู่ อาศัยของพื้นที่ศึกษา

75


76

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ภาพที่ 2 แสดงแนวเขตพืน้ ที ท่ ีม่ ี ความเหมาะสม ต่อการนามาพิ จารณาเลื อกตาแหน่งที ต่ งั้ ถิ่ นฐานที อ่ ยู่อาศัย ทัง้ 3 อันดับ


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

77

สรุ ปผลการศึกษา

จากการศึก ษาในครั้ งนี้ ทาให้ ทราบได้ว่าพื้ นที่ เขตเทศบาลตาบล โคกมะกอก อาเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมต่อ การพิจารณาเลือกตาแหน่งที่ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในการรองรับการขยายตัว ทางด้านที่อยู่อาศัยในอนาคต ในอันดับมากที่สุดมีขนาดพื้นที่เท่ากับ 5.60 ตร.กม. แสดงดังภาพที่ 3 มีความเหมาะสมปานกลางมีขนาดพื้นที่เท่ากับ 10.45 ตร.กม. และมีความเหมาะสมในระดับน้อยที่สุด (ไม่เหมาะสมต่อการ พิจารณาในช่วงคาดการณ์ ) มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 5.19 ตร.กม. ซึ่งสามารถ รองรับการขยายตัวทางด้านที่อยู่อาศัยในลักษณะบ้านเดี่ยวที่ใช้ขนาดพื้นที่ 50-100 ตารางวาต่อครัวเรือน และพื้นที่สารองเพื่อการสาธารณะในช่วงการ คาดการณ์ 20 ปี (พ.ศ. 2553-2572) ได้ ดังแผนภูมิภาพที่ 4


78

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ภาพที่ 3 แผนที แ่ สดงแปลงพืน้ ที ท่ ี ม่ ี ศกั ยภาพเหมาะสม ต่อการเลื อกตาแหน่งที ต่ งั้ ถิ่ นฐานที อ่ ยู่อาศัยเพือ่ รองรับการขยายตัว ทางด้านที อ่ ยู่อาศัยของพืน้ ที ศ่ ึกษาในอนาคต


44.57% 36.01 35.62%

45.06

56.39

28.46% 22.75%

70.56

% สัดส่วนของขนาดพื้นที่ที่เหมาะสม/ ขนาดพื้นที่คาดการณ์

ความต้องการพื้นที่จากการคาดการณ์ (ตร.กม.)

แผนภูมิท่ี 4 แสดงสัดส่วนของพืน้ ที ท่ ี ม่ ี ศกั ยภาพเหมาะสมต่อการตัง้ ถิ่ นฐานที อ่ ยู่อาศัยของพืน้ ที ศ่ ึกษา ต่อพืน้ ที ค่ าดการณ์ เพือ่ รองรับการขยายตัวทางด้านที อ่ ยู่อาศัยในอนาคต 5-20 ปี

0

10

20

30

40

50

60

70

80

Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011 79


80

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ข้ อเสนอแนะ

สาหรับการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานที่อยู่ อาศัย ควรเป็นที่อยู่อาศัยแบบบ้านเดี่ยว มีขนาดพื้นที่ 50-100 ตารางวาต่อ ครัวเรือน เพื่อลดอัตราความหนาแน่นของครัวเรือนต่อขนาดพื้นที่ สามารถประยุกต์ใช้แนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ ในการวิเคราะห์หา ศักยภาพของพื้นที่ทางด้านต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับการขยายตัว ของเมืองทางด้ านต่างๆ ได้ ซึ่ งเพิ่ มเติมปัจ จั ยอื่น ๆ ที่ เห็ น ว่าเกี่ย วข้อง เช่ น ปั จ จั ย ทางด้ า นราคาที่ ดิ น ปั จ จั ย ทางด้ า นสั ง คม เป็ น ต้ น เพื่ อ ให้ เ กิ ด การ วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น หน่วยงานท้องถิ่นสามารถนาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ในแต่ละ ชั้ น ข้ อมูล ไปประยุ ก ต์ใช้ เพื่ อการบริ ห ารงานด้านต่างๆ ของพื้ น ที่ เพื่ อให้ มี แนวทางในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับลักษณะบริบท ของพื้นที่ เป็นต้น


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

81

เอกสารอ้ างอิง กรมโยธาธิการและผังเมือง. กระทรวงมหาดไทย. โครงการจัดทาฐานข้ อมูล และวิเคราะห์ เพื่อการวางผังอนุภาคกลุ่มจังหวัด สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และ สระแก้ ว. กฎกระทรวง ฉบับที่ 411 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 พรภัทร อธิวิทวัส และสุวดี ทองสุกปลั่ง . การวิเคราะห์ ปัจจัยทางกายภาพ ที่มีอทิ ธิพลต่ อศักยภาพทางพืน้ ที่เพื่อรองรั บการตัง้ ถิ่นฐาน และการพัฒนาความเป็ นเมืองในจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม สมุทรสงครามเพชรบุรี และอาเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้ วิธี Potential Surface Analysis (PSA). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Feilden,B.M.and Jokilehto,J. (1998) Management Guidelines for World Cultural Heritage Sites Second Edition. Rome:Printed in Italy by OGRARO


วาทกรรมช่องว่าง การจัดการเหมืองแร่: มุมมองที่แตกต่างกับผลกระทบ การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน1 อ.ดร.นฤมล อรุ โณทัย และคณะ2

1

เป็นโครงการทบทวนความรู้ที่เกี่ยวกับชุมชนและผลกระทบจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ได้รับทุนสนับสนุนจากแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2553 2 ผู้ร่วมงานประกอบด้วย นฤมล อรุโณทัย สุริชัย หวันแก้ว สุดธิดา วงศ์สถาพรรัตน์ ศยามล เจริญรัตน์ ภาสนันท์ อัศวรักษ์ ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย อุษา โคตรศรีเพชร กิ่งแก้ว บัวเพชร รัศมี เอกศิริ พลาเดช ณ ป้อมเพชร ชณิกา สุพัฒนะกรกิจ กุณฑี สว่างวงศ์ธรรม และสโรชา แสงสัจจา


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

83

บทคัดย่ อ ที่ผ่านมามีบทเรียนซ้าแล้วซ้าเล่าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ส่งผลกระทบ ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มและชุ ม ชน กรณี เ หล่ า นี้ ไ ม่ ส ามารถแก้ ไ ขด้ ว ยการพึ่ ง พิ ง หน่ ว ยงานใด หน่วยงานหนึ่ง หรือผู้เชี่ยวชาญกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การจัดการเหมืองแร่ที่ยั่งยืนมิได้หมายถึง การจัดการเชิงเทคนิคภายในธุรกิจเหมืองรายใดรายหนึ่งเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงการ ปรับเปลี่ยนเชิงนโยบายการพัฒนา การปรับปรุงโครงสร้างต่างๆ และการแก้ไข เยีย วยา ชดเชย ช่วยเหลือกรณีผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังและต่อเนื่องด้วย งานชิ้นนี้เป็นการทบทวนความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากเหมืองแร่ต่อชุมชน ซึ่ง ทาให้พบช่องว่างของความรู้และแนวทางการปฏิบัติ เช่น ระบบเฝ้าระวังสุขภาพซึ่งเป็นไป ในเชิงรับทาให้ไม่ทันต่อเหตุการณ์ การขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผลกระทบทาง สุขภาพจากการปนเปื้อนทั้งโดยธรรมชาติและที่เป็นมลพิษทางอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การ วิเคราะห์เชิงกฎหมายเพื่อแก้ไขความไม่เพียงพอของมาตรการต่างๆ มาตรการตรวจสอบ การเปิดเผยข้อ มูลและความโปร่งใสในการให้สัมปทาน การให้ใบอนุญ าต การจัดเก็บ รายได้ การวิเคราะห์นโยบายเพื่อสนับสนุนการคาดการณ์และการเตรียมการเพื่อรองรับ ความเสี่ยงใหม่ๆ ในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากการผสมผสานกันของหลายปัจจัย เพราะ การทาเหมือ งแร่นับเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ที่ดินที่อ าจจะส่งผลให้เกิดความ เสี่ยงต่อภัยพิบัติได้ง่ายขึ้น หรือทาให้ภัยพิบัติที่เกิดตามธรรมชาตินั้นรุนแรงขึ้น “การจัดการเหมืองแร่ อย่ างยั่งยืน” ไม่ได้ผูกติดอยู่กับศาสตร์ทางวิศวกรรม เท่านั้น สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็เป็นส่วนสาคัญในกระบวนการวิเคราะห์วิพากษ์ ฐานคิดหรือมุมมองเกี่ยวกับเหมืองแร่และผลกระทบต่อชุมชน บ่อยครั้งที่มุมมองเหล่านี้ถูก ลดทอนเป็นแค่ความขัดแย้งของคู่ตรงข้าม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหา เพราะ หนทางตีบตันเมื่อเหลือ คู่ต่อ สู้ที่ยืนอยู่คนละมุม นอกจากนั้น ปัญ หาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ สามารถจะแก้ด้วย “เทคโนโลยี” และ “ธรรมาภิบาล” แต่ยังต้องพิจารณาถึงมิติของการ บริหารการเมืองท้องถิ่น การสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วม การสื่อสาร ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างความเข้าใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความสัมพันธ์เชิงอานาจ


84

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

การให้คุณค่าและความหมาย ความสาคัญ และอ านาจของความรู้ที่จะขับเคลื่อนผู้รับ ผลกระทบให้ได้ร่วมผลิตสร้างความรู้และหลักฐานที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิทยาศาสตร์ กับผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาวิชา เพื่อสร้างความร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาค ส่วนต่างๆ อันจะนาไปสู่เป้าหมายการจัดการเหมืองแร่อย่างยั่งยืนที่เป็นองค์รวมและไม่ใช่ เป็นแค่ความรู้เชิงเทคนิคเท่านั้น


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

85

Abstract There have been lessons about the impact of mining industries on the environment and local communities, yet these cases cannot be resolved by one single agency or exclusive group of experts. Sustainable mining does not only mean technical and technological management within a mining operation, but also includes rethinking development policy, improving socio-political structure for genuine sustainable development, rehabilitating and taking responsibility of affected communities and environment. This paper reviews information on the impact of mining industry on local communities and discovers some gaps in the knowledge and actual sustainable operation like passive health surveillance system which deters precaution, prevention and immediate response to health problems; very small number of medical staff specialized in diagnosis from natural and mining contamination; analysis of inadequacy of legal measures in protecting the environment and communities from mining impact and in assuring transparency in concession and revenue; policy analysis to support projection and preparation for future risks stemming from cumulative effect of various factors. ‚Sustainable mining‛ does not depend on engineering knowledge alone. Social Science and Humanities are also essential in the analysis of mining impact on communities. These different views are often reduced to polarized opposition that obstructs acceptable solutions. In addition, existing problems cannot be solved by “technology” and “good governance”. There are other crucial dimensions to sustainable mining like strengthening local participation, developing effective communication and information sharing, building mutual trust, making local administration transparent, redefining and revaluating knowledge and power relations among groups, and enabling


86

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

affected communities or people to co-produce knowledge and scientifically accepted evidences with multidisciplinary experts. This will facilitate participatory learning process and cooperation and will eventually lead to the goal of holistic sustainable mining.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

87

ความสาคัญ แม้ว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่จะทาให้ประเทศไทยมีความมั่นคงและ มั่งคั่งทางเศรษฐกิจจากการนาทรัพยากรวัตถุดิบมาใช้ในอุตสาหกรรมการ ผลิต และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งต้องใช้วัตถุดิบจากแร่ แต่จากมุมมองของสุขภาวะชุมชนท้องถิ่น ปรากฏว่ามีบทเรียนซ้าแล้วซ้าเล่าที่ ผลกระทบด้ านลบนั้ นตกอยู่ กับ ชุมชน อาทิเช่น กรณีส ารหนู ป นเปื้อนจาก เหมืองดีบุกที่อาเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สารแคดเมียมจาก เหมืองสังกะสี อาเภอแม่สอด จังหวัดตาก สารตะกั่วจากเหมืองที่บ้าน คลิตี้ อาเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี หลายกรณีที่ กล่า วถึงข้างต้นนี้ เกิดขึ้ นมานานแล้ ว แต่อย่างไรก็ ดี การรับรู้ในสาธารณะก็ยังไม่มากเท่าที่ควร การแก้ไขปัญหาก็ค่อนข้างล่าช้า ทั้งปัญหาสุขภาพ และปัญหาการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม บ่อยครั้งที่อุตสาหกรรม เหมื อ งแร่ ไ ด้ ส่ ง ผลกระทบต่ อ พื้ น ที่ ท ากิ น และที่ อ ยู่ อ าศั ย ของพี่ น้ อ งกลุ่ ม ชาติพันธุ์ที่ไร้อานาจในการต่อรองและดูเหมือนไม่มีตัวตนในสังคมไทย ในกรณีของบ้านคลิตี้ล่าง แม้ว่าจะมีชาวบ้านกะเหรี่ยงที่ชนะการ ฟ้องร้องในศาลอุทธรณ์เพื่อการชดเชยค่าเสียหาย และชนะการฟ้องร้องใน ศาลปกครองกลาง เพื่อให้ กรมควบคุมมลพิษเข้ามารับผิดชอบ แต่กระนั้น ปั ญ หาก็ ยั ง ไม่ ส ามารถแก้ ไ ขได้ อาการเจ็ บ ป่ ว ยนั้ น หลากหลายจนเกิ ด ข้อถกเถียงว่าด้วยการวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ส่วนรูปแบบ การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมนั้นก็ยังเป็นหัวข้อที่ถกเถียงไม่สิ้น สุดในเชิงวิชาการด้วย เช่ น กั น สิ่ ง นี้ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า การแก้ ปั ญ หาจากความเสี่ ย งในรู ป แบบนี้ ไม่อาจจะทาได้โดยสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ปัญหานี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การศึ ก ษาทางผลกระทบด้ านสุ ข ภาวะ ด้า นสั งคม ด้ านการวิ นิ จ ฉั ย ทาง


88

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

การแพทย์ ด้านสิ่งแวดล้อม และยังเชื่อมโยงไปยังการจัดทานโยบายสุขภาวะ และมาตรการทางกฎหมายอีกด้วย กรณีเช่นนี้จึงไม่สามารถแก้ไขด้วยการ พึ่งพิงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือผู้เชี่ยวชาญกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่าที่ผ่านมา การหาคาตอบให้กับปัญหาผลกระทบต่อสุขภาวะจาก การปนเปื้อนมีข้อจากัดและความไม่แน่นอนสูง ซึ่งปัจจัยในการสร้างคาตอบ ที่กระจ่างชัดยิ่งขึ้นมาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ 1) การขั บ เคลื่ อ นผู้ รั บ เคราะห์ ใ ห้ ไ ด้ ร่ ว มผลิ ต สร้ า งความรู้ แ ละ หลั ก ฐานทางวิ ท ยาศาสตร์ กั บ ผู้ เ ชี่ ย วชาญหลายสาขาวิ ช า เพื่ อ เข้ า ถึ ง กระบวนการยุติธรรมและสื่อสารกับสาธารณะ 2) การสื่ อ สารเสี ย งแห่ ง การทนทุ ก ข์ ไ ด้ ก ลายเป็ น ประสบการณ์ ร่วมกันในสังคม จนเกิดกระแสกดดัน พร้อมทั้งเร่งการพัฒนาความร่วมมือ และการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างองค์กรในภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะ เป็นส่วนสาคัญในการแก้ไขปัญหาต่อไป จากประสบการณ์ ก ารขั บ เคลื่ อ นเพื่ อ ความเป็ น ธรรมและการ พัฒนาสุขภาวะชุมชนในต่างประเทศ ปัจจัยทั้ งสองอย่ างนี้ จะเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่จากผู้เชี่ยวชาญแต่เพียงด้านเดียว และไม่ได้จากัดว่าความรู้เป็นเรื่อง ทางภววิสัยเท่านั้น แต่ต้องเป็นกระบวนการทางสังคมที่ให้ผู้ทนทุกข์ได้ผลิต สร้างความรู้และความรู้สึกได้ด้วยตนเอง โครงการนี้จะเป็นแกนกลางในการ สื่อสารสาขาวิชาที่แตกต่างกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความ เป็นธรรม อีกทั้งยังมุ่งวิเคราะห์และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็น ระบบ โดยเปรี ย บเที ย บกั บ ประสบการณ์ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาทั้ ง ในและ ต่างประเทศ อันจะนาไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันโดยใช้ฐานความรู้ในเชิง สหสาขาวิชา


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

89

นอกจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาแล้ว ภาควิชาการต้อง ตั้งคาถามเพื่ อทาความเข้าใจและสร้างความชัดเจนถึงแนวทางการพัฒนา อุต สาหกรรมเหมื อ งแร่ ใ นอนาคต แม้ จ ะมี ก ารระบุ ว่ า “การใช้ ป ระโยชน์ ทรัพยากรแหล่งแร่จะต้องสอดคล้องกับดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่ง แวดล้อมเพื่ อประโยชน์ท างด้านเศรษฐกิ จและสั งคมของท้ องถิ่ น และ จะต้ อ งค านึ ง ถึ ง การมีส่ ว นร่ วมขององค์ก รปกครองส่ วนท้ องถิ่ น ในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ” แต่ กรณีต่างๆ ในท้องถิ่นที่เกิดขึ้นและเป็นข่าวขึ้นนั้น แสดงให้เห็นว่าหลักการนี้ ยังไม่ได้นาไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง เนื่องจากการทบทวนความรู้เบื้องต้น ในด้านผลกระทบจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ต่อสุขภาวะชุมชนท้องถิ่นยังมี จากัด รายงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานทบทวนความรู้ของผลกระทบจาก อุตสาหกรรมเหมืองแร่ต่อสุขภาวะชุมชนในประเทศไทย การทบทวนองค์ ความรู้ เรื่ องเหมืองแร่ กับผลกระทบต่ อชุมชน การศึกษาวิจัยเรื่องเหมืองแร่กับผลกระทบต่อชุมชนนั้นมีในรูปแบบ ของงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ และบทความ ดังที่ปรากฏในบรรณานุกรมและ บรรณนิทัศน์ในส่วนของภาคผนวก งานส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับผลกระทบของ เหมืองแร่นั้น เน้นที่ด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ เช่น ฝุ่นละออง การปนเปื้อนใน น้า การใช้ระเบิด และผลกระทบต่อทัศนียภาพ รองลงมาเป็นงานที่ศึกษา ถึงผลกระทบด้านสุขภาพ ได้แก่ โรคต่างๆ หรือสภาวะการเจ็บป่วยที่มาจาก มลพิษของเหมือง การเกิดอุบัติเหตุและการได้รับบาดเจ็บจากการทาเหมือง การทาเหมืองแร่มักจะทาให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมี ผลถึงสุขภาพด้วย เพราะตามปกติธรรมชาติของสายแร่นั้นมักจะมีแร่หลาย


90

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ชนิดเกิดขึ้นควบคู่กันอยู่ แต่หากแหล่งนั้นไม่ถูกรบกวน ก็จะไม่ก่อผลกระทบ เมื่อไปทากิจกรรมขุดหรือทาเหมือง ก็เท่ากับว่าเราไปรบกวนแหล่งนี้ “เพื่อน แร่” ทั้งหลายที่เป็นอันตรายก็จะกลายเป็นผลพลอยได้ เช่น สายแร่ทองคา และดีบุกมักจะมีสารหนูต้นเหตุของโรคมะเร็ง สายแร่สังกะสีมีสารแคดเมียม ต้นเหตุของโรคอิไต-อิไต หรือแม้แต่ถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงก็มีผลกระทบต่อ ระบบทางเดิ น หายใจ เพราะเมื่ อ ถ่ า นหิ น ถู ก เผาก็ จ ะปล่ อ ยก๊ า ซก ามะถั น ออกมา เมื่อไปสัมผัสกับน้าจะรวมตัวกลายเป็นกรดซัลฟูริกหรือฝนกรดที่มี ผลกระทบในการกัดกร่อน3 การน าแร่ ม าผลิ ต วั ต ถุ ดิ บ ส าหรั บ พลั ง งานและวั ส ดุ ต่ า งๆนั้ น จาเป็นต้องผ่านกระบวนการแต่งแร่ (Mineral Processing) ซึ่งจะมีทั้งการ แต่งแร่ด้วยกระบวนการทางกายภาพ (Physical Processing) และการแต่ง แร่ด้วยกระบวนการทางเคมี (Chemical Processing) ซึ่งจะต้องมีสารเคมี เข้ามาเกี่ยวข้องและอาจมีการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม หากขาดการจัดการ อย่ างเหมาะสม ตัวอย่ างเช่ น อุตสาหกรรมทองคา ส่วนใหญ่ มีการใช้ ส าร ไซยาไนด์ หากจัดการไม่ดีก็อาจส่งผลกระทบรุนแรง ผลกระทบจากการท าเหมืองแร่ต่อสุ ขภาพและสัง คมได้รับ ความ สนใจและปรากฏให้เห็นเด่นชัดเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว จากกรณีการรั่วไหล ของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากเหมืองแม่เมาะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยสภาพ ภู มิป ระเทศของอาเภอแม่เมาะมีภู เขาล้ อมรอบสามทิ ศและมัก เกิ ดภาวะ 3

สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ จากเวทีเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการ ทาเหมืองแร่ในประเทศไทย รายงาน โดยโสธิดา นุราช ในข่าวสิ่งแวดล้อม ทิศทางอนาคต "เหมืองแร่ไทย" ควรเดินหน้าอย่างไร จาก http://www.greenworld.or.th/greenworld/population/1169 สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2554


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

91

อุ ณ หภู มิ ผ กผั น ท าให้ ม ลพิ ษ ที่ เ กิ ด จากการเผาไหม้ ถ่ า นหิ น และควั น พิ ษ ตลอดจนเสียงดังที่เกิดจากการระเบิดภูเขาไม่สามารถถ่ายเทไปที่อื่นได้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 เกิ ด เหตุ ก ารณ์ ฝ นกรดซึ่ ง เป็ น น้ าฝนที่ ผ สมสารซั ล เฟอร์ ไ ด ออกไซด์ ส่วนในวันที่ฝนไม่ตกก็จะมีฝุ่นละอองผสมสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตกลงมาสู่ชุมชน นอกจากนี้ยังมีฝุ่นจากการทาเหมืองทุกกระบวนการ ทาให้ ชาวบ้านเกิดอาการหายใจไม่ออก คันตามตัว เป็นผดผื่น และแพ้ เคืองตา เจ็บ คอ ชาวบ้านจึงเกิดการรวมตัวกันของผู้ได้รับผลกระทบในนามของ เครือข่าย สิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ กรณี ถั ด มาคื อ กรณี ส ารหนู จ ากการท าเหมื อ งแร่ ดี บุ ก ที่ อ าเภอ ร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูเขาร่องนา-สรวงจันทร์บริเวณนี้เป็นทาง พาดผ่ านของสายแร่ ดีบุ ก จึ งเกิ ดการบุ ก เบิ ก ท าเหมืองโดยกิ จ การของ ชาวตะวันตก ต่อมาก็เป็นของชาวมาเลเซียและของไทยในที่สุด หลังจากที่ บริษัทเอกชนได้ประทานบัตรในการทาเหมืองแล้ว ชาวบ้านทั่วๆ ไปต่างก็ขุด และร่อนแร่กันทั่วบริเวณ โดยไม่มีใครคาดคิดว่ากากขี้แร่ ซึ่งถูกทิ้งให้กระจาย อยู่ทั่วไปจะทาให้เกิดพิษสารหนูในพื้นดินและชะล้างลงในแหล่งน้า หรือ แม้แต่ซึมไปในชั้นดินและเข้าสู่น้าบาดาล แม้เหมืองดีบุกจะปิดตัวอย่างเป็น ทางการมานานแล้ว แต่จานวนชาวบ้านที่เจ็บป่วยกลับมีมากขึ้น จากการ สะสมสารพิษมาอย่างยาวนานโดยไม่รู้ตัวนั่ นเอง โรคที่น่ากลัวสาหรับการ สะสมสารหนูในร่างกายคือโรคมะเร็ง ในราวปี พ.ศ. 2540 กรมทรัพยากรธรณี เข้ าไปจั ด เก็ บ กากขี้ แ ร่ แ ละท าหลุ มฝั งกลบ แต่จ ากผลการศึก ษาของกรม ควบคุมมลพิษและกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมยังพบสารหนูปนเปื้อนอยู่ ในระดับสูงและชาวบ้านมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ระดับการขยายตัวของ สารหนูก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


92

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ในช่ วงเวลา 5-10 ปีที่ ผ่ านมามีการร้องเรีย นกรณี ผ ลกระทบจาก เหมือง โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีรายงานผลการตรวจสอบ ของคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้าและแร่อยู่หลายกรณี (ในรายงาน ปี พ.ศ. 2549 และ 2550) เช่น  การปนเปื้ อ นของสารแคดเมี ย มในล าน้ าแม่ ต าว และพื้ น ที่ เกษตรกรรมในพื้ น ที่ บ างส่ ว นของต าบลแม่ ต าว ต าบลแม่ กุ และต าบล พระธาตุผาแดง อาเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากการประกอบกิจการเหมือง แร่สังกะสีขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือบริษัทผาแดง อินดัสทรี จากัด (มหาชน) และบริษัทตากไมนิ่ง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน พื้นดิน แหล่งน้า และพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวที่มีการปนเปื้อนทาให้ ราคาตกต่า นอกจากนี้ประชาชนยังไม่กล้าบริโภคน้าจากลาน้าแม่ตาวทาให้ ต้องซื้อน้าดื่ม  กรณี ผ ลกระทบจากโรงโม่ หิ น พี . วี . ศิ ล าทิ พ ย์ จ ากั ด ที่ ต าบล แม่ ล าน้ อ ย อ าเภอแม่ ล าน้ อ ย จั ง หวั ด แม่ ฮ่ อ งสอน โดยการระเบิ ด และ ย่อยหิน ก่อให้ เกิดแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรง มีฝุ่นละอองกระทบต่อระบบ ทางเดิ น หายใจ สถิ ติ ผู้ ป่ ว ยสู ง ขึ้ น ฝุ่ น ยั ง ส่ ง ผลต่ อ แหล่ ง น้ าประปาท าให้ ชาวบ้านไม่มีน้าใช้ และคาดว่าการระเบิดหินทาให้ทิศทางการไหลของน้า ใต้ดินเปลี่ยนแปลงด้วย ถนนของหมู่บ้านได้รับความเสียหายจากการขนส่ง หิน และมีปัญหาเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาเป็นแรงงานและอาศัยใน พื้นที่  กรณี ก ารระเบิ ดหิ น เพื่ อการผลิ ตปู น ซี เมนต์ข อง บริ ษัท ที พี ไ อ โพลี น จากั ด (มหาชน) ในตาบลทั บกวาง อาเภอแก่ งคอย จัง หวัดสระบุ รี


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

93

ก่อให้เกิดเสียงรบกวน ฝุ่นละออง แรงสั่นสะเทือน และอันตรายจากก้อนหิน หล่นทับบ้านเรือน ฝุ่นยังทาให้พืชสวนผลไม้ของเกษตรกรมีผลผลิตน้อยลง  กรณีเหมืองหินและโรงโม่หินของโรงโม่หินศิลาสมบูรณ์ทรัพย์ใน พื้ น ที่ เขาคั น หอก ต าบลบางพรุ อาเภอท่ า ม่ว ง จั ง หวั ด กาญจนบุ รี ท าให้ ชาวบ้านป่วยด้วยโรคผิวหนัง โรคทางเดินหายใจ เช่น หืด หอบ และการแพ้ ฝุ่นละออง รวมทั้งมีเสียงดังจากการระเบิดหิน แรงสั่นละเทือนจากการระเบิด หินทาให้บ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างของราษฎรได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ โรงโม่หินยังทาลายถ้าต่างๆ ทาให้ลิงที่เคยอาศัยในถ้าลงมาหากินในชุมชน และทาลายไร่นาและพืชผลของชาวบ้าน  กรณีการระเบิดและย่อยหินบริเวณเทือกเขาแรด อาเภอเมือง กาญจนบุ รี จั ง หวั ด กาญจนบุ รี ซึ่ ง เดิ ม ได้ มี ก ารอนุ ญ าตให้ ท าเหมื อ งแร่ โดโลไมท์ ต่อมาได้มีการเพิ่มชนิ ดแร่ โดยมีการระเบิด และย่อยหิ นปู นเพื่ อ อุตสาหกรรมเพิ่มอีก  กรณีการทาเหมืองแร่ยิป ซั่ มในพื้นที่ ตาบลพรุ พี อาเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทาให้ลาน้าสาธารณะเสื่อมโทรม พืชผลการเกษตรนั้นก็ มีฝุ่นละอองเกาะจับ ทาให้ผลผลิตไม่ได้ตามต้องการ จากความขัดแย้งและ การประท้วงของชาวบ้านทาให้มีชาวบ้านถูกยิงเสียชีวิต  กรณีขุมเหมืองขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากการทาเหมืองดีบุกในพื้นที่ ตาบลร่ อนพิ บู ล ย์ อาเภอร่ อนพิ บู ล ย์ จั งหวั ดนครศรี ธ รรมราช ซึ่ งทางกรม อนามั ย เคยท าการส ารวจ พบว่ า มี ส ารหนู ใ นปริ ม าณที่ เ ป็ น อั น ตรายต่ อ สิ่งมีชีวิตปนเปื้อนอยู่เป็นจานวนมาก ซึ่งชาวบ้านยังคงต้องใช้น้าจากบ่อดีบุก เหล่ า นี้ เ นื่ องจากระบบน้ าประปาภู เ ขาไม่เ พี ย งพอต่อ ความต้ องการของ ประชาชน


94

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

จากกรณี ที่ ไ ด้ มี ก ารตรวจสอบ คณะกรรมการสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนมี ข้อเสนอต่างๆ เช่น ในส่ วนของบริษัทธุรกิจก็เสนอให้บางรายหยุดประกอบ กิจการชั่วคราวจนกว่าจะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมได้ ให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายใน การตรวจและรักษาประชาชนและชดใช้ค่าเสียหายต่อประชาชนในพื้นที่ ฯลฯ ในส่ ว นของภาคราชการก็ ให้ มีบ ทบาทและความรั บ ผิ ดชอบ เช่ น กรม อุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่พัฒนามาตรการลงโทษบุคคลและธุรกิจที่ ประกอบการที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ ชุ ม ชน กรมควบคุ ม มลพิ ษ ด าเนิ น การ ตรวจสอบการประกอบการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สานักนโยบายและแผน สิ่ ง แวดล้ อ มและทรั พ ยากรธรรมชาติ ป ระกาศพื้ น ที่ เ ป็ น เขตคุ้ ม ครอง สิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทยดูแลและคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนให้ปลอดจากอิทธิพล ฯลฯ และในส่ วนของชุมชน เองก็ให้มีบทบาทหรือตั้งคณะกรรมการชุมชนเฝ้าระวังตรวจสอบและแก้ไข ผลกระทบต่างๆ เป็นต้น การสรุ ป บทเรี ย นของคณะกรรมการสิ ท ธิมนุ ษยชนแห่งชาติ (ชุ ด แรก) ได้กล่าวถึงข้อเสนอในภาพรวมและแนวทางการดาเนินงานของเหมือง แร่ (ยกเว้ นเหมืองหิน อุตสาหกรรม) ซึ่ งครอบคลุมประเด็น เรื่ องการจั ดท า รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและกระบวนการรับฟังความคิดเห็น การให้ องค์ก รปกครองส่วนท้ องถิ่ น เข้ามาตรวจสอบผลกระทบจากการประกอบ กิจการ การระบุความรับผิดชอบในการฟื้นฟูและปรับปรุงพื้นที่เหมืองแร่และ การวางเงินประกัน การกาหนดค่าภาคหลวงแร่ให้เหมาะสมและคุ้มค่า และ การตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ภายหลังการประกอบกิจการเหมืองแร่ (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2552)


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

95

การตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทาให้เห็น ว่าชุมชนได้รับผลกระทบ แต่มาตรการและความพยายามของส่วนต่างๆ นั้น เน้นที่การแก้หรือบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ โดยบริษัทธุรกิจและ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง แต่ก็มักจะพบว่าปัญหาจากเหมืองแร่และโครงการ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นไม่ใช่จะแก้ไขได้ง่ายๆ และชุมชนก็มักจะต้องเป็น ฝ่ายที่อยู่ร่วมกับผลกระทบนั้นๆ ระหว่างรอการดาเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา บทเรียนและประสบการณ์ในระดับชุมชนที่เกิดการสื่อสาร ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนกันระหว่างชุมชนต่อชุมชนนั้นได้ทาให้เกิดกระแสการต่อต้าน อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในหลายพื้นที่ อาทิ ประชาชนในพื้นที่บริเวณอุดรธานี เคลื่ อ นไหวคั ด ค้ า นการเตรี ย มสร้ า งเหมือ งก่ อนเปิ ดด าเนิ น การเหมื องแร่ โปแตชเสียอีก อาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีภาพติดลบมาโดย ตลอด และกระแสคัดค้านต่อต้านเหล่านี้ไม่ใช่การไม่ยอมรับให้เหมืองแร่เข้า มาดาเนินการอยู่บริเวณชุมชนหรือใกล้เคียงชุมชนเพียงอย่างเดียว แต่ยัง สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตความไม่ไว้วางใจ การขาดความเชื่อมั่นในโครงการ พัฒนาที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และความไม่เชื่อมั่นใน การบริหารจัดการในด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่ไว้ใจในความโปร่งใสของการ จั ด การ การเปิ ด เผยข้ อ มู ล กระบวนการแก้ ไ ขปั ญ หา และกระบวนการ ยุติธรรมที่สะท้อนให้เห็นในกรณีที่ผ่านมา ด้วยสาเหตุหลักดังกล่าว ส่งผลให้ เกิ ด กระแสการต่ อ ต้ า นรุ น แรงยิ่ ง ขึ้ น เรื่ อ ยๆ และท าให้ เ กิ ด การไม่ ไ ว้ ใ จ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรายใด เมื่อกล่าวถึงอุตสาหกรรมเหมืองแร่แล้ว ก็ มักจะเป็นภาพลบไปหมด นั บ ตั้ ง แต่ ก รณี แ ม่ เ มาะเป็ น ต้ น มา ก็ มี ก ารบั น ทึ ก ประสบการณ์ ผลกระทบจากเหมืองแร่ของชุมชนหลายแห่ง รวมทั้งวิเคราะห์ถึงต้นตอของ


96

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ปั ญ หาและมี ข้ อ เสนอแนะในระดั บ ต่ า งๆ ในช่ ว งที่ ผ่ า นมา สถานการณ์ ผลกระทบที่มีการติดตามและรายงานอย่างใกล้ชิดคือ สถานการณ์จังหวัด เลย ศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้าน สุขภาพ สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้ให้ความสาคัญกับเรื่อง ผลกระทบจากเหมื อ งต่ อ ชุ ม ชนเป็ น พิ เ ศษ เนื่ อ งจากสาร เคมี ที่ ใ ช้ ใ น อุตสาหกรรมเป็นภัยคุกคามที่สาคัญสาหรับสุขภาพ สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้ร่วมกับมูลนิธินโยบาย สุ ข ภาวะและชุ ม ชนอาสาสมั ค รจั ด พิ ม พ์ เ อกสารที่ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ระดั บ คุณภาพชีวิตที่ลดลง ผู้คนเจ็บป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง ศั ก ยภาพแห่ ง การเป็ น เมื อ งท่ อ งเที่ ย วลดลงอย่ า งมากภายหลั ง จากที่ มี กิจกรรมจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากนั้น ภาคีดังกล่าวยังได้พัฒนา แนวทางการประเมิ น ผลกระทบทางสุ ข ภาพในระดับ ชุ มชน (Community Health Impact Assessment หรือ CHIA) ซึ่งช่วยให้ชุมชนมีเครื่องมือง่ายๆ ที่จะบันทึกและติดตามสถานการณ์ผลกระทบได้โดยไม่ต้องรอคอยพึ่งพา หน่วยงานภายนอกอย่างเดียว


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

97

ช่ องโหว่ ของความรู้ ข้ อมูล และระบบรองรั บสุ ขภาวะของชุมชนบริ เวณ เหมืองแร่ การรับ รู้เรื่องราวผลกระทบจากเหมืองแร่ ต่อชุมชนทาให้เกิดการ ตระหนักว่าความรู้และระบบในการรองรับสุขภาวะชุมชนในกรณีดังกล่าวมี จากัดและมีช่องโหว่อยู่มาก เช่น ในด้านสาธารณสุขนั้น ระบบเฝ้าระวังด้าน สุขภาพที่มีอยู่เป็นแบบเชิงรับ (passive surveillance) ทาให้ได้ข้อมูลที่ล่าช้า ไม่ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งจริงๆ แล้วระบบเช่นนี้เหมาะกับการเฝ้าระวังโรคติดต่อ หรือโรคที่ไมซับซ้อน แต่สาหรับโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมนั้นต้องให้แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัย (ชัชวาลย์ จันทรวิจิตร 2552) นอกจากนั้น การเฝ้าระวัง โรคหรื อ อาการเจ็ บ ป่ ว ยนั บ ได้ ว่ า เป็ น เหตุ ก ารณ์ “ปลายน้ า” ซึ่ ง มั ก จะใช้ เวลานานหลายปี ในกรณีของมลพิษสะสมและมลพิษบางอย่างก็ไม่สามารถ จะตรวจวัดได้อย่างชัดเจน แม้ ว่ า จะเป็ น กรณี ที่ ไ ม่ ไ ด้ เ กี่ ย วกั บ เหมื อ งแร่ แต่ ผ ลกระทบต่ อ สุขภาวะชุมชนจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก็เป็นบทเรียนที่สาคัญใน หลายประเด็ น การขาดการเฝ้ า ระวั ง ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพประชาชนที่ เกี่ยวเนื่องกับมลพิษอย่างเป็นระบบ ทาให้ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติ และ "เตือนภัย" ด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนได้ทันท่วงที แม้ว่าพนักงานแต่ ละโรงงานจะได้รับการตรวจสุขภาพประจาปี แต่เมื่อไม่มีการรวบรวมสรุป ข้อมูลในภาพรวม ก็ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่ากิจการหรืออุตสาหกรรมใน ลั ก ษณะใดที่ มีผ ลต่อสุ ข ภาพพนั ก งานและอาจจะมีผ ลต่อชุ ม ชนโดยรอบ นอกจากนั้น การเฝ้าระวังสุขภาพต้องอาศัยห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่มี ศักยภาพสูงและระบบฐานข้อมูลที่รองรับข้อมูลสุขภาพจานวนมาก (ฉันทนา ผดุงทศ 2547) การคาดการณ์ผลกระทบทางสุขภาพจึงยังมีข้อจากัดอยู่มาก


98

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

และแพทย์ ที่เชี่ย วชาญทางอาชีวเวชศาสตร์ที่ จะติดตามสถานการณ์ ด้าน โรคภัยและอาการเจ็บป่วยในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่องก็มีจานวนน้อย กรณีของเหมืองโปแตช พบว่าขาดข้อมูลพื้นฐานภาวะสุขภาพของ ประชาชนในพื้นที่ ขอบเขตที่จะได้รับผลกระทบทางสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงต่างๆ มาตรการลดผลกระทบทางสุขภาพ ตลอดจนการติดตามตรวจสอบและการ รับมือกับปัญหาสุขภาพที่จะเกิดกับประชาชนจากโครงการ นอกจากนั้นใน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ขอบเขตและพื้นที่โครงการไม่ชัดเจน เช่น ไม่ระบุผลกระทบจากไอเกลื อที่อาจมีผ ลต่อพื้ นที่ใกล้เคีย ง ไม่มีมาตรการ ป้ อ งกั น การฟุ้ ง กระจายของหางแร่ แ ละการปนเปื้ อ นในแหล่ ง น้ า ไม่ มี การศึกษาการทรุดของดิน ขาดการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะผลกระทบของโครงการต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ สั งคมของพื้ น ที่ เช่ น วิ ถี ชี วิต การเปลี่ ย นแปลงอาชี พ (สั น ติภ าพ ศิ ริ วัฒ น ไพบูลย์ 2546 สมพร เพ็งค่าและคณะ 2549) ในส่วนของสุขภาพที่ระบุไว้ก็ เป็นส่วนของแรงงานไม่ครอบคลุมประชาชนในพื้นที่ การกาหนดปัจจัยสี่ยงที่ อาจกระทบต่อสุ ข ภาพก็ ไ ม่ครอบคลุ ม ทุ กด้าน ไม่มีการก าหนดกลไกหรื อ องค์กรที่ดูแลด้านการลดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน และขาดการมี ส่ วนร่ วมของสาธารณะในการประเมิน ผลกระทบ (ปั ตพงษ์ เกษสมบู ร ณ์ เดชรัต สุขกาเนิด และนุศราพร เกษสมบูรณ์ 2546) การพัฒนาเครื่ องมื อประเมินผลกระทบด้ านสุ ขภาพเป็นความ พยายามหนึ่งที่จะเติมเต็มช่องโหว่เหล่านี้ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ หรือ HIA ถือเป็นเครื่องมือทางสังคมเพื่อการเรียนรู้และประเมินผลกระทบทั้ง ก่อน ระหว่าง และหลั งการดาเนินการโครงการหรือนโยบาย ซึ่งในการทา HIA แบ่งเป็น 4 ช่องทาง คือ 1. โครงการรุนแรงทั้งด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

99

ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ 2. ใช้เป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม ทางสังคมในการกาหนดนโยบายที่เอื้อต่อสุขภาพ 3. ประชาชนสามารถร้อง ให้มีการทา HIA เมื่อเห็นว่านโยบายหรือโครงการมีผลกระทบต่อสุขภาพ 4. เป็นส่วนริเริ่มให้ชุมชนเรียนรู้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางสุขภาพ (ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ เดชรัต สุขกาเนิด และ นุศราพร เกษสมบูรณ์ 2546) ความสาคัญ ของการประเมิน ผลกระทบไม่ใช่เพีย งให้ไ ด้ร ายงาน ฉบับหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคการเมือง โดยการ “ชวนกันคิ ด ชวน กันคุย ชวนกันค้น ร่ วมกันสรุป สนับสนุนให้เกิ ดการตัดสิ นใจที ่เป็ นธรรม และ ติ ดตามผลที ่เกิ ดขึ้ นจากการตัดสิ นใจ” นอกจากการเปิดโอกาสให้เกิดการมี ส่วนร่วมในการตรวจสอบแล้ว ยังจะต้องเน้นเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประเด็นในระดับนโยบาย เช่น การ ทบทวนนโยบายของจังหวัดและประเทศ การพัฒนาฐานข้อมูล สิ่งแวดล้อม การวางผังเมือง และกาหนดขอบเขตพื้นที่แนวกันชนระหว่างเหมืองและพื้นที่ ชุมชน ช่องโหว่ของความรู้โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการอีกประการหนึ่ง คือ การที่ชาวบ้ านอยู่อาศัยหรื อทามาหากินในพืน้ ที่เสี่ยงต่ อการปนเปื ้ อน โดยธรรมชาติ อ ยู่ แ ล้ ว และบางครั้ ง มี ก ารเร่ ง การปนเปื้ อ นหรื อ ท าให้ ก าร ปนเปื้ อ นขยายตั ว ออกไปอี ก โลหะหนั ก ที่ ป ะปนอยู่ อ าจแทรกซึ ม ไปใน ธรรมชาติ ส่ งผลต่อดิน และแหล่ งน้ าบริ เวณใกล้ เคีย ง ดังนั้ น ก่ อนที่ จ ะท า เหมือง ควรทาการสารวจพื้นที่ก่อน หากมีสารปนเปื้อนอยู่ก่ อนแล้ว ก็ไม่ควร ไปรบกวน ทั้ ง นี้เนื่ องจากกิ จ กรรมการท าเหมืองอาจไปเร่งการปนเปื้ อนสู่ สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการมักจะอ้างว่ามีตะกั่วอยู่ในดิน ในน้า


100

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

อยู่แล้ว สาเหตุไม่ได้มาจากเหมืองแร่อย่างเดียว หากจาเป็นต้องทาเหมือง จริงๆ ก็ควรมีการตรวจวัดสารปนเปื้อนในดินและน้า ตั้งแต่ก่อนทาเหมือง ระหว่างทาเหมือง และหลังทาเหมืองอย่างสม่าเสมอ ในกรณีของเขาพนมพาในอาเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ชาวบ้าน ขุดหาแร่ทองคาในพื้นที่เอกชนที่อยู่ใกล้เคียงเหมืองแร่ ทาให้เกิดผลกระทบ คือ 1. การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ ที่ดินถูกขุดจนกลายเป็ นแอ่งขนาดใหญ่ ทา ให้เสี่ยงต่อการถล่มทับผู้ที่ขุดแร่ และกองดินที่เกิดจากการคัดเลือกแร่ทับถม หน้าดินเดิมจนสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ 2. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจาก สังคมเกษตรเป็นการขุดแร่ทองคาและทางานรับจ้าง 3. ปัญหาด้านสุขภาพ เกิดจากสารปรอทที่ใช้ในกระบวนการแยกแร่ ซึ่งประชาชนไม่ตระหนักถึง อันตรายและไม่มีการป้องกัน ทาให้เกิดการเจ็บป่วย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง หอบ นอกจากนี้ยังเกิดโรคอื่นๆ ที่เกิดจากการทางาน เช่น โรคผิวหนังจากการ แช่ น้ านาน และโรคจากการทางานอย่ างหั ก โหมโดยไม่พั กผ่ อนและดูแ ล สุขภาพอย่างไม่ถูกต้อง เช่น เมื่อเจ็บป่วยไม่ไปพบแพทย์แต่ซื้อยากินเอง หรือ ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มบารุงกาลัง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองจานวนมาก พาบุตรหลานไปที่เหมือง ซึ่ งอาจส่ง ผลกระทบต่ อสุข ภาพของเด็ก อีกด้วย (อาวีระ ภัคมาตร์ และคณะ 2553)


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

101

การวิเคราะห์ และวิพากษ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้ องกับเหมืองแร่ และชุมชน จากการทบทวนเอกสาร พบว่ า มี ง านหลายชิ้ น ที่ วิ เ คราะห์ ถึ ง ช่องโหว่ข องกฎหมายที่ เกี่ ยวข้องกั บเหมืองแร่แ ละชุมชน ตั้งแต่มาตรการ สาหรับการไม่ปฏิบัติตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA นั้นค่อนข้างหละหลวม ไม่ชัดเจน ซึ่งอาจทาให้ผู้ประกอบการบางราย อาศัยช่องว่างเป็นข้ออ้างไม่ปฏิบัติตาม เช่น อ้างว่ายังเหลือเวลากว่ากาหนด อายุประทานบัตรจะหมด หรือบ่อเหมืองที่ทิ้งร้างนั้นเป็นเพียงการหยุดขุ ด ชั่วคราวเท่านั้น เป็นต้น (โสธิดา นุราช 2553) สิ่ ง ที่ มั ก จะเป็ น ปั ญ หาที่ ต่อ เนื่ อ งคือ บ่ อ เหมือ งร้ า งและการฟื้ น ฟู เหมือง ซึ่งตามกฎหมายแร่กาหนดให้ถมกลบเพื่อกลับสภาพเดิมให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม มักจะมีปัจจัยหลายประการที่ทาให้ฟื้นฟูไม่ประสบความสาเร็จ ในทางปฏิบัติของเสียจากเหมือง ผลกระทบของเสีย และการปนเปื้อนอาจจะ สร้างความเสียหายในหลายด้าน แต่ความรับผิดของผู้ประกอบการก็มีเพียง แค่จ่ายค่าปรับ ซึ่งอาจไม่เพียงพอและไม่สามารถเยียวยาความเสียหายได้ อย่ างครอบคลุ ม หรื อไม่ ส ามารถบ าบั ดสภาพที่ เ สี ย หายได้ นอกจากนั้ น เจตนาของกฎหมายให้ไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันในภายหลัง (โสธิดา นุราช 2553) จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อเลิกทาเหมืองแร่แล้ว ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่จะไม่ทาการฟื้นฟูพื้นที่ เนื่องจากกฎหมายที่ควบคุมไม่เหมาะสม ขาดความชัดเจน และการบังคับใช้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มีงานอีกชิ้น หนึ่งซึ่งผู้วิจัยได้เสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายโดยให้ผู้ถือประทานบัตรต้อง จัดทาแผนฟื้นฟูพื้นที่เหมืองแร่รวมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดาเนินการ (ธวัชชัย เทพรัตน์ 2540) งานอีกชิ้นหนึ่งได้ทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับเหมือง แร่ และเสนอให้มีการปรับปรุงข้อบัญญัติกฎหมายโดยให้มีการผนวกแผนผัง


102

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

โครงการทาเหมืองและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเข้าไปในแผนแม่บท โครงการทาเหมืองและการจัดการสิ่งแวดล้อม จัดทาแผนฟื้นฟูและจัดการ สิ่งแวดล้อมเป็นระยะๆ เพื่อความชัดเจนในทางปฏิบัติ ยกเลิก อานาจของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่อนุญาตให้ปล่อยน้าขุ่นข้นและมูลดิน ทรายลงแหล่ ง น้ าสาธารณะได้ ก าหนดให้ ผู้ ถื อ ประทานบั ต รที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนต้องรับผิดชอบค่าเสียหายโดยมีการทา สั ญ ญาวางเงิ น ประกั น ก าหนดภาระการพิ สู จ น์ ค วามเสี ย หายที่ เ กิ ด ขึ้ น กาหนดโทษทางอาญาผู้ฝ่าฝืนระเบียบหรือคาสั่งในการควบคุมมลพิษ กรม ทรัพยากรธรณีกาหนดมาตรการและควบคุมดูแลผู้ขอประทานบัตรเหมืองแร่ อย่างจริงจัง ควรมีการยกเว้นหรือลดภาษีเครื่องมือที่ใช้ในการกาจัดมลพิษใน เหมืองแร่ และควรให้ประชาชนหรือชุมชนที่อยู่ในพื้นที่มีส่วนร่ว มในการรับ ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นในโครงการเหมืองแร่ในพื้นที่ (สมชาย อัศวลิขิตเพชร 2542) งานอีกชิ้นหนึ่งได้วิเคราะห์ถึงความขัดกันของกฎหมาย โดยเฉพาะ ในกรณีเหมืองแร่ใต้ดิน ซึ่งในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 88/3 ระบุว่า ‘การทาเหมื องใต้ ดินของที่ดินใดที่มิใช่ ที่ว่าง หากอยู่ในระดั บ ความลึกจากผิวดินไม่ เกินหนึ่งร้ อยเมตร ผู้ย่ืนคาขอประทานบัตรต้ อง แสดงหลักฐานต่ อพนั กงานเจ้ าหน้ าที่ว่าผู้ขอจะมีสิทธิทาเหมืองในเขต ทีด่ นิ นั้นได้ ’ คือสามารถทาเหมืองใต้ดินได้หากเหมืองนั้นมีความลึกกว่า 100 เมตรจากผิวดิน การอนุญาตให้ทาเหมืองใต้ดินแบบนี้ ถ้ากลับมามองในมุม ของสิทธินั้นดูเหมือนว่าจะขัดกับสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1335 ที่ ร ะบุ ว่ า ‘ภายในบั ง คั บ แห่ งบทบั ญ ญั ติ ใ นประมวล กฎหมายนี้ ห รื อกฎหมายอื่ น ท่ า นว่ า แดนกรรมสิ ทธิ์ ที่ ดิ น นั้ น กิ น ทั้ ง เหนือพื้นดินและใต้ พ้นื ดินด้ วย’ (โสธิดา นุราช 2553)


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

103

นอกจากนั้ น ยั ง มี ข้ อ เสนอให้ ด าเนิ น การตามมาตราต่ า งๆ ใน รั ฐ ธรรมนู ญ และการปรั บ ปรุ ง พระราชบั ญ ญั ติ แ ร่ ห รื อ กฎหมายอื่ น ซึ่ ง ครอบคลุมไปถึงการปรับปรุงกระบวนการขออาชญาบัตร การจัดตั้งกองทุน ประกันความเสี่ยง พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานในการดาเนินการ ฯลฯ การวิเคราะห์ นโยบายที่เกี่ยวกับเหมืองแร่ และชุมชนและการคาดการณ์ ความเสี่ยงในอนาคต ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เริ่มมีงานวิจัยจานวนมากขึ้นเกี่ยวกับกลไก ด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเหมืองแร่และผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและชุมชน สาหรับเรื่องค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นผลตอบแทนในแง่ ของเงินตราที่รัฐได้จากเหมืองแร่นั้น ในแง่ของการปฏิบัติ รัฐบาลเริ่มมีการ จัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) เพื่อนาไปใช้ ประโยชน์โดยตรงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 มีข้อสังเกตว่ าเหมืองในทุ กพื้นที่จะต้องเสียค่าภาคหลวงให้แก่รั ฐ ส่วนกลางและส่วนท้องที่เท่านั้น ส่วนประชาชนเจ้าของที่ดินได้เพียงแค่ค่า ที่ดินและค่ารื้อถอนเท่านั้น ทั้งที่แร่ก็เป็น “ส่ วนควบในที่ดิน” เป็นดอกผลที่ ได้จากที่ดิน ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 ‘ส่ วนควบของทรั พย์ หมายความว่ า ส่ วนซึ่งโดยสภาพแห่ งทรั พย์ หรื อ จารี ตประเพณี แห่ งท้ องถิ่นเป็ นสาระสาคัญในความเป็ นอยู่ของทรั พย์ นั้ น และไม่ อาจแยกออกจากกันได้ นอกจากจะทาลาย ทาให้ บุบสลาย หรื อ ท าให้ ท รั พ ย์ นั้ น เปลี่ ย นแปลงรู ป ทรงหรื อ สภาพไป’ จึ ง มี ก าร สนับสนุนให้ทบทวนเรื่องการสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ให้ค่าภาคหลวงที่องค์ก ร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ได้ รั บ เพื่ อ น าไปพั ฒ นาใน “ท้ องที่ การทาเหมื อ ง” เพราะพื้นที่เหล่านี้ได้รับการกระทบกระเทือนเสี ยหาย ต้องได้รับการเยียวยา


104

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

รักษา เมื่อเหลือจากส่วนนี้เท่าไหร่ก็เห็นสมควรที่จ ะนาไปเฉลี่ยแจกจ่ายใน พื้นที่อื่นๆ ต่อไป (โสธิดา นุราช 2553) เกี่ยวเนื่องกับการทาสัมปทาน ข้อตกลง การจัดเก็บค่าภาคหลวงนั้น ประเด็นสาคัญที่ยังขาดหายไปคือ การตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลและความ โปร่งใสในการให้สัมปทาน การให้ใบอนุญาต การจัดเก็บรายได้ (revenue transparency หรือ RT) ในปัจจุบันมีสถาบัน Revenue Watch Institute ซึ่ง เป็นองค์กรไม่แสวงกาไรที่ มีพันธกิ จในการส่งเสริมการจัดการน้ามัน ก๊าซ และแร่ เพื่ อประโยชน์ สาธารณะ สถาบัน นี้ ไ ด้ส ร้างตั วชี้วั ดเกี่ ย วกั บ ความ โปร่ งใสและการเปิ ดเผยข้ อมูล ของรั ฐ บาลในอุตสาหกรรมเหล่ านั้ น และ พัฒนาเป็น Revenue Watch Index หรือ RWI สถาบันนี้ได้จัดทา RWI ใน 41 ประเทศในปี พ.ศ. 2553 (ซึ่งยังไม่รวมประเทศไทย) และผลการศึกษาได้ แบ่งกลุ่มประเทศเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ 1) กลุ่มที่มี RT อย่างรอบด้าน (คือมี การเปิดเผยข้อมูลรอบด้าน ซึ่งมักจะมีการนาสัญญาแบ่งปันผลผลิต สัญญา สัมปทานลงเว็บไซต์ของหน่วยงาน) 2) กลุ่มที่มี RT บางส่วน (เปิดเผยข้อมูล บ้าง) และ 3) กลุ่มที่มี RT อยู่น้อย (เปิดเผยข้อมูลน้อย และไม่รอบด้าน เช่น มีแค่ปริมาณการผลิต ปริมาณสารอง ฯลฯ)4 หากประเทศไทยมีการศึกษา เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวก็จะทาให้การตรวจสอบโดยการมีส่วน ร่ ว มของประชาชนเป็ น ไปได้ ง่ า ยขึ้ น ซึ่ ง ก็ จ ะเป็ น ผลดี กั บ บริ ษั ท เองด้ ว ย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความไม่ไว้วางใจกันสูง

4

“Revenue Watch Index” ในอุตสาหกรรมน้ามัน ก๊าซ และเหมืองแร่ โดยภูรี สิรสุนทร ในโพสต์ทูเดย์ ศุกร์ ที่ 5 พฤศจิกายน 2553


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

105

สาหรับเอกสารที่วิเคราะห์นโยบายเกี่ยวกับเหมืองแร่และชุมชนนั้น พบว่ามีเป็นจานวนน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของ ฝ่ายต่างๆ ในกระบวนการกาหนดและตัดสินใจ เช่ น ในกรณีของการแก้ไข ปัญหาสารพิษตะกั่วในพื้นที่คลิตี้ล่าง จังหวัดกาญจนบุรี ผลการศึกษาพบว่า การตัดสินใจนโยบายในกระบวนการแก้ไขปัญหาส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับกระแส การเมืองและการต่อรองอานาจของฝ่ายต่างๆ ภายในจังหวะเวลานั้น กลไก การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะก็ยังไม่เข้มแข็ง การตัดสินใจ นโยบายจึงมีลักษณะกลับไปกลับมามิได้มุ่งเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง และเมื่อมีการตัดสินใจนโยบายแล้ว ปรากฏว่านโยบายดังกล่าวกลับไม่ได้รับ การนาไปปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นสาเหตุสาคัญอีกสาเหตุหนึ่งที่ทาให้ ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข (เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์ 2007) การวิเคราะห์ประเด็นผลกระทบของเหมืองแร่ต่อชุมชนท้องถิ่นนั้นคง จะมองแยกส่วนในแต่ละธุรกิจเหมือง ในแต่ละพื้นที่ไม่ได้ เพราะว่านโยบาย การพั ฒ นานั้ น เป็ น ภาพใหญ่ ใ นระดั บ ประเทศ ระดั บ ภู มิภ าค และระดั บ นานาชาติ อันที่จริงแล้ว ในแง่ของนโยบายภาพรวมเกี่ยวกับทรัพยากร ได้มี หลายองค์กรที่นาเสนอหลักการที่สาคัญๆ โดยอ้างอิงจากรัฐธรรมนูญ 2550 เช่น ในมาตราที่ 85 “รัฐต้องดาเนิ นการตามแนวนโยบายด้านที ่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้อม ดังต่อไปนี ้ (๑) กาหนดหลักเกณฑ์ การใช้ที่ดินให้ครอบคลุม


106

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ทัว่ ประเทศ โดยให้คานึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทัง้ ผื น ดิ น ผื น น้ า วิ ถี ชี วิต ของชุมชนท้องถิ่ น และการดู แ ลรั ก ษาทรั พ ยากร ธรรมชาติ อย่างมี ประสิ ทธิ ภาพ และกาหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยัง่ ยื น โดยต้องให้ประชาชนในพืน้ ที ท่ ี ไ่ ด้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์ ก ารใช้ที่ดินนัน้ มี ส่วนร่ วมในการตัดสิ นใจด้วย...” หลักการที่สาคัญนี้จะนามาสู่การปฏิบัติได้โดยกระบวนการประเมิน สิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ Strategic Environmental Assessment (SEA) ซึ่งเป็นการประเมินทางเลือกที่หลากหลายในการพัฒนา โดยวิเคราะห์ ข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกอย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้วค่อยมาผสมผสาน จนได้ทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากที่สุด ซึ่งใน การทา SEA นั้นหมายถึงว่าจะต้องนานโยบายพัฒนาทั้งหมดของทุกกรมทุก กระทรวงทุกท้องถิ่น มาวิเคราะห์ร่วมกันโดยที่หลายภาคส่วนมีส่วนร่วมใน การวิเคราะห์และระบุขอบเขตของผลกระทบ ทั้งในแง่ของประเด็นและในแง่ ของพื้นที่ หลังจากนั้นจึงค่อยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วน เสียนาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดมาพัฒนาเป็นโครงการ ในขอบเขตที่แคบลงมากว่ านโยบายการพัฒนาระดับ ชาติ กรณี มลพิ ษ จากอุ ต สาหกรรมที่ ม าบตาพุ ด ได้ ท าให้ เ กิ ดการตื่ น ตั ว ในเรื่ อ งการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ และจากการ ประชุมเครือข่ายสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ร่วมกับสานักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีข้อเสนอแนะ5 เช่น 5

จากเวทีรับฟังความคิดเห็น “ร่างรายงานข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก” วันที่ 8 เมษายน 2554 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ จัดโดยสานักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย สานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (www.nrct.or.th)


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

107

1) รั ฐ ต้ อ งทบทวนประกาศกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม เรื่องกาหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสาหรับโครงการหรือ กิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน 2) กระบวนการจัดทาประกาศ ควรให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ตามมาตรา 67 วรรคสอง ทาหน้าที่กาหนด เพราะมีความเป็น กลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดกัน 3) รัฐต้องปรับปรุงระบบ กลไก กระบวนการทา EIA / HIA และ กระบวนการในการติดตามตรวจสอบ กาหนดมาตรการลงโทษสาหรั บ อุตสาหกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข รวมทั้งการชดเชยและเยียวยา นอกจากข้อเสนอเชิงนโยบายเหล่านี้แล้ว สิ่งจาเป็นอย่างยิ่งยวดที่ ขาดหายไปคือ นโยบายเพื่อสนับสนุนการคาดการณ์ และการเตรี ยมการ เพื่อรองรั บความเสี่ยงในอนาคต ซึ่งควรจะมีการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ เชิงอนาคตในประเด็นของความเสี่ยงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานกัน ของหลายปัจจัย และความเสี่ยงเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความ ปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของชุมชนรวมทั้งสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นด้ว ย เช่น ปัจจัยเรื่องฝนและความชื้น ลักษณะทางธรณีวิทยาที่เป็นภูเขา หน้าผา หินเนื้อแน่นที่เกิดการผุกร่อน ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโดยฝีมือมนุษย์ (เช่นการทาเหมืองแร่ การ ขยายพื้นที่ยางพาราและสวนผลไม้) อาจทาให้เกิดพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่ม ดังที่ปรากฏในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช เมื่อปลาย เดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน 2554 ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและ ทรัพย์สินอย่างกว้างขวาง


108

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

เหตุการณ์น้าป่าไหลหลาก น้าท่วมพื้นที่ และดิน หินถล่มในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น มีผู้ให้ความเห็น ว่ามาจาก การให้ สั ม ปทานแร่ กั บ บริ ษั ท เอกชนเพื่ อ ท าแร่ แ บไรต์ แ ละเฟลสปาร์ ซึ่ ง นอกจากจะทาให้เกิดภัยด้านกายภาพแล้ว หลังจากที่มีการวิเคราะห์ดังกล่าว จึงมีข้อเสนอให้ยกเลิกหรือยุติการต่อสัญญาสั มปทานเหมืองแร่ในพื้นที่ ส่วน หน่วยงานรัฐก็ให้ข้อมูลว่าไม่มีเหมืองถล่มสร้างความเสียหายต่อพื้นที่แม้ว่า เหมื อ งขั้ น บั น ไดตามไหล่ เ ขาจะมี ก ารชะล้ า งหน้ า ดิ น และหิ น เพราะว่ า ส่วนประกอบของเหมืองคือ แกรนิตซึ่งมีความแข็ง และเหมืองเฟลสปาร์ไม่ ต้องใช้น้าเป็นองค์ประกอบ แต่ถ้าประชาชนต้องการพิ สูจน์ว่าเหมืองถล่ ม หรือไม่ สามารถประสานมายัง กพร.เพื่อตรวจสอบพื้นที่ได้6 อย่างไรก็ตาม การทาเหมืองแร่นับเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ ใช้ ที่ ดิน ที่ อาจจะส่ ง ผลให้ เกิ ดความเสี่ ย งต่อภั ย พิ บั ติไ ด้ ง่ายขึ้ น หรื อท าให้ ภัยพิ บัติที่เกิ ดตามธรรมชาตินั้น รุนแรงขึ้น จะเห็ นได้ว่าหลั งจากอุบัติภัย ที่ สุราษฎร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช กรมทรัพยากรธรณีได้เตรียมหารือ กับสานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกรม อุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและการเหมื อ งแร่ เพื่ อ ก าหนดปั จ จั ย ด้ า นการ เปลี่ยนแปลงภูมิประเทศไว้ในเกณฑ์ของรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมด้วย

6

ข้อมูล “เปิดสัมปทานเหมืองแร่ใต้ ต้นตอ “ดิน-หิน” ถล่ม..?” จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 5 เมษายน 2554 หน้า 2 สัมภาษณ์อธิบดีและหัวหน้าฝ่ายของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ (กพร.)


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

109

การวิ เ คราะห์ วิ พ ากษ์ ฐานคิ ด หรื อ มุ ม มองเกี่ ย วกั บ เหมื อ งแร่ และ ผลกระทบต่ อชุมชน จากกรณีตัวอย่างที่กล่าวถึงในการทบทวนเอกสารครั้งนี้ จะเห็นได้ ว่ามุมมองเรื่องเหมืองแร่และผลกระทบต่อชุมชนนั้นมีหลากหลาย หน่วยงาน รัฐ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข ก็มี มุ ม มองที่ แ ตกต่ า งกั น นั ก วิ ช าการสาขาต่ า งๆ ที่ ล งไปท าวิ จั ย ก็ มั ก จะมี สมมุติฐานและมุมมองที่แตกต่างกัน ชาวบ้านเองก็มีทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบซึ่ง คั ด ค้ า นเหมื อ ง และมี ทั้ ง ผู้ ที่ ห าประโยชน์ ต่ า งๆ ซึ่ ง อาจจะคั ด ค้ า นหรื อ สนับสนุนเหมือง บ่อยครั้งที่มุมมองเหล่านี้ถูกลดทอนเป็นแค่ความขัดแย้ง ของคู่ตรงข้าม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหา เพราะหนทางตีบตันเมื่อ เหลือคู่ต่อสู้ที่ยืนอยู่คนละมุม เอกสารที่วิเคราะห์ฐานคิดเกี่ยวกับเหมืองแร่และผลกระทบต่อชุมชน มี จ านวนน้ อ ยมาก ทั้ ง ๆ ที่ ก ารวิ เ คราะห์ เ ชิ ง ปรั ช ญา อ านาจของความรู้ ความสาคัญของการตีค่าความหมาย เป็นสิ่งที่จะทาให้เข้าใจปรากฏการณ์ เกี่ยวกับเหมืองแร่และผลกระทบต่อชุมชนได้ลึกซึ้งขึ้น และค้นหาแนวทางใน การจัดการปัญหาได้อย่างแจ่มชัดยิ่งขึ้น เช่น การที่ชาวบ้านอ้างว่าอาการ ป่วยเกิดจากผลกระทบจากเหมืองแร่ตะกั่วที่ปนเปื้อนในลาห้วย คลิตี้ และ การที่ แ พทย์ ผู้ เชี่ ย วชาญเป็ น ผู้ วินิ จ ฉั ย อาการต่างๆ ว่ าเกิ ดจากสารตะกั่ ว หรือไม่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างให้ความหมายและตีความเกี่ยวกับอาการของโรค แตกต่างกัน และนาไปสู่การรับรู้และองค์ความรู้ที่ขัดแย้งกัน ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้และความเป็นจริงเชิงระบาดวิทยานั้นได้รับการสถาปนาจนกระทั่ง จากัดวงอยู่ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ในขณะที่ประสบการณ์และความทุกข์ยาก ของชาวกะเหรี่ยงแปรสภาพเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย ไร้อานาจในการต่อรอง


110

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

(Lertsatienchai, Pakorn (ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย ) 2006, Sitthikriengkrai, Malee (มาลี สิทธิเกรียงไกร) 2007) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยหลาย ประการที่เป็นต้นเหตุของปัญหาการละเมิดสิทธิของประชาชน โดยเฉพาะ สิท ธิ ชุ มชนและสิ ท ธิ ในการจั ดการทรั พ ยากรธรรมชาติ ในท้ องถิ่ น หนึ่ งใน ปัจจัยนั้นคือ ฐานคิดของรั ฐ เช่น “ที่ดินเป็นสินค้า” (ในกรณีธุรกิจเหมืองแร่ อาจเรียกได้ว่า “สินแร่ในดินเป็นสินค้า”) และฐานคิดว่า “สิทธิชุมชนในการ จั ดการฐานทรั พ ยากรขั ด ขวางการพั ฒ นา” ฐานคิดเช่ น นี้ ท าให้ เกิ ดความ ขัดแย้ งในการใช้ พื้ น ที่ นอกจากนั้ น ยั ง มีปั ญหาที่ เกิดจากกลไกการแก้ ไ ข ปัญหาของรัฐ และการใช้อานาจหรือการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐในการ แก้ ไขปัญ หาความขั ดแย้ ง ซึ่งก็มักจะมาจากฐานคิดอานาจนิ ยมในระบบ ราชการ หรือฐานคิดที่มีการแบ่งส่วนงานจนกระทั่งแข็งตึงตายตัว จนกระทั่ง “เหมื อนข้าราชการไม่ได้ทาหน้าที ่ของมนุษย์ แต่ทาหน้าที ข่ องราชการ7” คณะอนุกรรมการปฏิรูปฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับการทาเหมืองแร่นั้น เริ่ม ด้วยการตั้งคาถามเกี่ยวกับ 3 ฐานคิดหลักๆ คือ 1) ทรัพยากรแร่ธาตุเป็น ของรัฐ 2) แร่ธาตุเป็นทรัพยากรที่จะต้องเร่งนามาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3) รัฐมีหน่วยงานที่จะดูแลปัญหาที่เกิดจากผลกระทบในด้านต่างๆ แล้ว และ ปัญหาเหล่านี้ป้องกันแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยีหรือวิธีการจัดการ สาหรับการ 7

สัมภาษณ์ศศิน เฉลิมลาภ มูลนิธิสบื นาคะเสถียร พุธที่ 11 พฤศจิกายน 2009 (สืบค้นจาก www.seub.or.th เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554) “ผมเคยเจอเจ้าหน้าทีจ่ ากกรมทรัพยากรธรณี คนหนึ่งทีม่ ี ข้อมูลอยู่ในมื อว่าตรงไหนมี สารพิษ มาก กลาง น้อย จะเอามาพูดกับ ชาวบ้านหรื อเอามาเสนอแนะก็ไม่ได้ เพราะว่าไม่ใช่หน้าทีค่ วามรับผิ ดชอบโดยตรงของกรมเขา ดังนัน้ ถ้าเกิ ดให้ลูกน้องประกาศออกไปก็เป็ นการทาเกิ นหน้าที ่ คือทุกคนยึดติ ดกับหน้าที ่ มันเหมื อนข้าราชการไม่ได้ทาหน้าทีข่ องมนุษย์ นะ แต่ทาหน้าทีข่ องราชการหน้าที ข่ องลูกน้อง อย่างเดียว ดังนัน้ มันเป็ นกรรมของประชาชน”


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

111

แก้ ไ ขปั ญ หาความขั ด แย้ ง กรณี โ ปแตช คณะอนุ ก รรมการปฏิ รู ป ฯ มี ข้ อ เสนอแนะเพื่ อ การสร้ า งความเป็ น ธรรมในการจั ด การทรั พ ยากรแร่ (มกราคม 2554) โดยเน้นที่ การปรั บเปลี่ ยนฐานคิด โดย 1) ให้ยึดหลั ก ความเป็ น เจ้ า ของทรั พ ยากรแร่ ร่ ว มกั น ระหว่ า งรั ฐ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น และ สาธารณะ 2) ให้นาเอาต้นทุนทางธรรมชาติเข้ามาร่วมในการประเมินความ เหมาะสมและความคุ้มค่าในการทาเหมืองแร่ทุกชนิด และ 3) การพิจารณา ทางเลื อกในการจั ด การทรั พ ยากรแร่ และแนวทางการจั ดเก็ บ รายได้ ใ ห้ เหมาะสมกั บ ประโยชน์ ที่ ป ระเทศ ชุ ม ชน และสาธารณะจะได้ รั บ (คณะกรรมการปฏิรูป 2554) งานวิจัยที่จะสืบสาวเพื่อตั้งคาถามถึงฐานคิดและพยายามที่จะถอด รื้อฐานคิ ดเหล่านี้ยั งมีอยู่น้ อยมาก และจริ งๆ แล้ ว เป็น ช่องโหว่ที่ วิช าการ มนุษยศาสตร์สาขาปรัชญา หรือสังคมศาสตร์เช่นสังคมวิทยา สามารถจะเข้า มาเติ ม เต็ ม ได้ เ ป็ น อย่ า งดี ที่ ผ่ า นมามั ก จะมี ก ารอ้ า งอิ ง ถึ ง ประเด็ น นี้ อ ยู่ บ่อยครั้ง อาทิ  รั ฐ มุ่งเน้ น ความเติบ โตและผลก าไรด้านเศรษฐกิ จ เป็ น ส าคัญ จนกระทั่งมองข้ามคุณค่า ความสัมพันธ์ และจิตวิญญาณความเป็นชุมชน การมีเหมืองแร่ ท าให้ ส ภาพเศรษฐกิจ เปลี่ ย นไป ต่อไปนี้ คนในชุ มชนต้อง หากินและใช้ชีวิตประจาวันโดยการหาซื้อ มิใช่หาตามแหล่งธรรมชาติต่อไป  เรามักจะยึดติดกับวิธีคิดว่าทรัพยากรเป็นของรัฐ แท้จริงควรยึด หลักทรัพยากรร่วม การคิดแบบทรัพยากรร่วมนั้นสังคมต้องมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจ ได้ประโยชน์และรับผิดชอบร่วมกัน รับความเสี่ยงร่วมกัน  เหมืองทาลายความสัมพันธ์ในชุมชน ทาให้เกิดความขัดแย้งใน พื้นที่ มีการแบ่งแยกกันเป็นกลุ่มที่เห็นว่าเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อสังคม


112

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

และชุมชน กับกลุ่มที่สนับสนุนเหมืองแร่เพราะเป็นแหล่งงานซึ่งสะท้อนผ่าน ภาพของผู้ชูป้าย “ชุมชนไม่เอาเหมือง” กับ ผู้ชูป้าย “เหมืองเป็นบ้านของเรา”  “จากมุมมองต่อสภาพ “แหล่งน้า” ที่ต่างกันระหว่างชาวบ้านและ เจ้าของโครงการ กลายเป็นชนวนเหตุสาคัญต่อปัญหาการปนเปื้อนโลหะหนัก ในแหล่งน้า ภายหลังจากมีเหมืองทองเกิดขึ้น”8  “การมี เ หมื อ งท าให้ คุ ณ ค่ า ความเป็ น มนุ ษ ย์ แ ละคุ ณ ค่ า ทาง ทรัพยากรเปลี่ยนไป คุณค่าทางประวัติศาสตร์ก็สูญหาย เช่น ในพื้นที่เหมือง ถ่านหินแม่เมาะ มีการขุดเจอซากดึกดาบรรพ์ของหอยขมน้าจืดแหล่งใหญ่ หลายสิบไร่ แต่ก็ไม่สามารถที่จะหยุดยั้งการขุดนาถ่านหินมาใช้ต่อได้ จาก พื้ น ที่ โ ซน C (culture) แหล่ ง วั ฒ นธรรมแหล่ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ก็ ส ามารถ เปลี่ยนไปเป็นโซน E (economic) แหล่งเศรษฐกิจได้อย่างง่ายดาย อีกทั้ง กรณีพื้นที่ลุ่มน้า 1A สามารถกลายเป็นพื้นที่ลุ่มน้า 1B ได้” 9 คากล่ าวที่ ย กขึ้ น มาข้ างต้น แสดงให้ เห็ น ถึ งฐานคิดหรื อมุมมองที่ แตกต่างกัน และแสดงว่ามีการให้คุณค่ากับสิ่งหนึ่ งเหนือกว่าอีกสิ่งหนึ่ง มี การสร้างและยอมรั บความสัมพัน ธ์เชิ งอานาจที่ แตกต่ างกั น ปกติพื้ น ที่ “เสี่ยงภัย” (เสี่ยงต่อโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ) มักจะเป็น บริเวณของผู้คนชายขอบและผู้ที่ไร้อานาจ ปรากฏการณ์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็น “environmental racism”

8 9

จาก “เปลี่ยนไปเลย” จัดพิมพ์โดยสานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (2553) หน้า 18 สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ จากเวทีเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทาเหมืองแร่ ในประเทศไทย รายงาน โดยโสธิดา นุราช ในข่าวสิ่งแวดล้อม ทิศทางอนาคต "เหมืองแร่ไทย" ควรเดินหน้าอย่างไร จาก http://www.greenworld.or.th/greenworld/population/1169 สืบค้น เมื่อ 5 มกราคม 2554


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

113

หากมองแบบนักคิ ดเรื่ องความเป็น ธรรมหรื อมองแบบ Rawlsian หรือ Distributive justice แล้ว การทาเหมืองแร่นั้นไม่เป็นธรรมต่อชุมชน โดยรอบ เพราะส่ ง ผลกระทบต่ า งๆ และน าสิ่ ง ที่ ไ ม่ ต้อ งการออกสู่ ชุ ม ชน (Externalities) ผลเสียและผลกระทบต่างๆ ที่ชุมชนต้องแบกรับเหล่านี้ถือว่า ไม่ต้องนับเข้ามาเป็นต้นทุน ที่ผ่านมา ฐานคิดหลักของผู้มีอานาจเน้นที่การ มองเหมืองแร่แบบ “อรรถประโยชน์นิยม” หรือ Utilitarianism เช่น “เหมืองแร่ เพื่อการพัฒนาของชาติ” เป็นการมองประโยชน์โดยรวมและมองข้ามผู้คนที่ ทุกข์ร้อน โดยฐานคิดเช่นนี้เป็นการสร้างความไม่เป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ส่วนฐานคิดแบบ “trade off” นั้น มักจะไม่พิจารณาว่าใครได้ใครเสีย ชดเชย ได้หรือไม่ จะเห็นได้ว่ามีฐานคิดที่หลากหลาย ซึ่งหากวิเคราะห์แล้ว ความไม่ เข้าใจกันและความขัดแย้งต่างๆ ก็ล้วนมาจากฐานคิดที่ต่างกันนี่เอง เสียงเรี ยกร้ องจากผู้ได้ รับผลกระทบจากการทาเหมืองแร่ ในประเทศ ไทย ในขณะที่ ความต้องการวั ตถุ ดิบ สิ น แร่ เ พิ่ มมากขึ้ น จากการเจริ ญ เติบโตทางด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมการบริโภค ธุรกิจเหมืองแร่ก็ขยาย ออกไปมากขึ้น รวมทั้งกระจายตัวไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่นป่าเขา และที่เป็นพื้ นที่ชุมชนตั้งถิ่นฐานมาก่อน ในปัจจุบัน ชุมชนที่เคย ได้รับผลกระทบจากธุรกิจเหมืองแร่ได้ถ่ายทอดบทเรียนและประสบการณ์ไป ยังชุมชนอื่นๆ ทาให้เกิดการตื่นตัวเรื่องสิทธิชุมชนมากขึ้น การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในปั จจุ บั นมีความเข้มแข็งขึ้น มาก เนื่ องจากชาวบ้านมีก ารสร้ าง เครือข่ายระหว่ างพื้ น ที่ต่างๆ และแลกเปลี่ย นประสบการณ์ กันในฐานะ “เครื อข่ ายประชาชนผู้ ได้ รับผลกระทบจากการทาเหมืองแร่ ประเทศ ไทย‛


114

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา เสียงเรียกร้องจากผู้ได้รับผลกระทบ จากธุรกิจเหมืองแร่ได้รับความสนใจมากขึ้น และมีการจัดเวที รวมทั้งออก แถลงการณ์หลายครั้ง รวมทั้งร่วมร่างข้อเสนอในนามของคณะกรรมการ ปฏิรูป (โปรดดูเอกสารแนบ “ข้อเสนอเพื ่อการสร้ างความเป็ นธรรมในการ จัดการทรัพยากรแร่ และการแก้ไขปั ญหาความขัดแย้งกรณี เหมื องแร่ โปแตช อีสาน” โดยคณะกรรมการปฏิ รูป 17 มกราคม 2554 ในภาคผนวก) ในวั น ที่ 5 กั น ยายน 2553 เครื อ ข่ า ยได้ จั ด สั ม มนาและออก แถลงการณ์ ณ โรงแรมเทพนคร จังหวัดพิษณุโลก โดยมีการสรุปบทเรียน และนาเสนอปัญหาของผู้ได้รับผลกระทบจากการทาเหมืองแร่ 15 พื้นที่และ ได้ ปิ ด ท้ า ยว่ า ภาครั ฐ คาดหวั ง ถึ ง ผลประโยชน์ ท างเศรษฐกิ จ จากการท า อุ ต สาหกรรมเหมื อ งแร่ แ ต่ เ พี ย งด้ า นเดี ย ว โดยละเลยผลกระทบต่ อ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ สังคม และสุขภาพในหลายมิติ การสัมมนาครั้งนี้ได้เสนอข้อสรุปดังนี้10 1. ประชาชนใน 15 พื้นที่ของการสารวจและทาเหมืองแร่ชนิด ต่าง ๆ ได้รวมตัวกันก่อเกิดเป็น “เครื อข่ ายประชาชนผู้ ได้ รับผลกระทบ จากการทาเหมืองแร่ ประเทศไทย” ทาหน้าที่ในการหนุ นเสริมเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อต่อสู้คัดค้านการทาเหมืองแร่ อย่างถึงที่สุด ด้วยหัวใจที่มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว 2. คั ดค้ า นร่ างพระราชบั ญ ญั ติ ว่า ด้ว ยแร่ เพราะเป็ น กฎหมายที่ ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และละเมิดสิทธิประชาชน โดย นิย ามว่ า “แร่ เป็ นของรั ฐ ” ไม่มีเนื้ อหาในเรื่ องการขยายสิ ท ธิ ในด้านการ 10

จากแถลงการณ์เครือข่ายประชาชนผูไ้ ด้รับผลกระทบจากการทาเหมืองแร่ ประเทศไทย” จาก http://www.reform.or.th/news/53 สืบค้นวันที่ 5 มกราคม 2554


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

115

กระจายอานาจให้แก่ชุมชนท้องถิ่น และไม่มีการเพิ่มขั้นตอนการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ ตามบทบัญญัติใหม่ของรัฐธรรมนูญ 3. คั ด ค้ า นร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ก ารชุ ม นุ ม สาธารณะ ที่ ม องเห็ น ประชาชนที่ออกมาต่อต้านคัดค้ านโครงการพัฒนาต่าง ๆ ว่าเป็น “ศัตรู ของ รั ฐ” รวมทั้งการให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้กาลังและอาวุธเข้าสลาย ปราบปราม จับขัง ตั้งข้อหาประชาชนหากออกมาคัดค้านต่อต้านโครงการพัฒนาต่างๆ 4. คั ด ค้ านมติคณะกรรมการสิ่ งแวดล้ อมแห่ งชาติ และประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อมในเรื่องการกาหนด ประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติ สาหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ที่กาหนดประเภทโครงการรุนแรงเอาไว้เพียง 11 ประเภท เท่านั้น เนื่องจากมติและประกาศดังกล่าวไม่เป็นไปตาม 18 ประเภทโครงการรุนแรงที่ คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ส่งเรื่องให้กับนายกรัฐมนตรี ต่อมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2554 เครือข่ายชุมชน 18 แห่ง ที่ได้รับผลกระทบเหมืองแร่จัด แถลงข่าวข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูป ทรัพยากรแร่ภาคประชาชนต่อรัฐบาล ณ สานักงานกลางนักเรียนคริสเตียน เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาและผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากการสารวจ และทาเหมืองแร่ในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย โดยข้อเสนอ ได้แก่11

11

‚18 เครือข่ายชุมชน ร้อง รบ.แก้นโยบายแร่-เร่งเยียวยาชาวบ้านแม่เมาะ” โดย รตินันท์ เหล่าอารักษ์พิบูล 15 กุมภาพันธ์ 2554 จาก http://community.isranews.org/resource-the-environment/1101-18-.html สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2554


116

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

1. ให้ รัฐแก้ ไขนโยบายบริ หารจัดการแร่ ใหม่ โดยเร่ งด่ วน ยึด หลักความเป็นเจ้าของทรัพยากรร่วมกันระหว่างรัฐ -ชุมชนท้องถิ่น-สาธารณะ ทั้งนี้ให้ประชาชนเป็นคณะกรรมการร่วมด้วย 2. ก าหนดการท าเหมื อ งแร่ ทุ ก ชนิ ด เป็ นโครงการที่ ส่ งผล กระทบต่ อสิ่งแวดล้ อมและสุขภาพอย่ างรุ นแรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง 3. รั ฐ ต้ อ งชดเชยผลกระทบจากโครงการเหมื อ งแร่ ที่ มี ต่ อ สิ่งแวดล้ อมและวิถีชุมชน 4. กรณี เหมื องแร่ และโรงไฟฟ้าถ่ านหินแม่ เมาะ จ.ลาปาง ขอให้ เร่ งรั ดดาเนินการตามมติคณะรั ฐมนตรี 15 ม.ค. 2551 ในการฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ 5. ยกเลิกการสูบนา้ เกลือใต้ ดนิ ในภาคอีสานอย่างเด็ดขาด และ ให้มีการเร่งรัดการฟื้นฟู 6. รั ฐต้ องเปิ ดเผยข้ อมูลการให้ สัมปทานสารวจและทาเหมือง แร่ ทุกชนิด รวมถึงรายชื่อผู้ได้รับสัมปทาน 7. ให้ มี ก ารประเมิ นผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ขภาพเชิ ง ยุทธศาสตร์ แร่ 8. ทายุทธศาสตร์ แร่ แห่ งชาติ ที่มีมิติเชื่อมโยงด้านนิเวศ สังคม สุขภาพ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางทุกระดับ 9. เพิ่มบทลงโทษผู้ท่ ีละเมิดกฎหมายแร่ กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รุนแรง 10. ให้ หน่ วยสืบสวนคดีพิเศษสืบสวนกรณีผู้ประกอบการเหมือง แร่และผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นข่มขู่คุกคามชาวบ้านที่คัดค้านการทาเหมืองแร่


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

117

ในขณะที่ มี ก ารผลั ก ดั น ข้ อ เสนอในด้ า นนโยบายต่ า งๆ เหล่ า นี้ ความเดือดร้อนและความขัดแย้งในหลายพื้นที่ก็ดาเนินต่อไป หากไม่มี “ผู้ ประสาน” ให้ เ กิ ด การสื่ อ สารพู ด คุ ย กั น และแบ่ ง ปั น ข้ อ มู ล ข่ า วสารอย่ า ง เปิดเผยและโปร่งใสแล้ว กระแสการคัดค้านก็จะรุนแรงยิ่งขึ้นและทาให้เกิด ขั้วตรงข้ามที่สร้างความขัดแย้งสูงขึ้น เช่น  การคั ด ค้ า นเหมื อ งแร่ โ ปแตชของกลุ่ ม อนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม อุดรธานีมีมากขึ้น จนกระทั่งธุรกิจเหมืองไม่สามารถจะเข้าปักหมุดขอบเขต เหมืองแร่ ไ ด้ การต่อต้านเหมืองแร่ โ ปแตชที่ อุ ดรธานี จึ งไม่ไ ด้ ห ยุ ด อยู่ แ ค่ ขอบเขตจังหวัดอุดรธานี แต่ได้เกิดแรงเคลื่อนไหวด้านการกาหนดนโยบาย สาธารณะในการทาเหมืองแร่โปแตชในประเทศไทย  ในกรณีของการจัดเวที Public Scoping โดยบริษัทผาแดง-ภูเทพ ในจังหวัดเลย ซึ่งเครือข่ายอนุรักษ์ภูหินเหล็กไฟไม่เห็นด้วยกับการจัดเวทีรับ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของประชาชนต่อ การก าหนดขอบเขตและแนวทางการ ประเมินผลในวันที่ 7 เมษายน 2554 และมีจดหมายไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เลย คัดค้านการเปิดเวทีดังกล่าวเพราะถือว่าเป็นการสร้างความชอบธรรมให้ บริษัทและให้มีการศึกษาความคุ้มค่าของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าภูหิน เหล็กไฟก่อนที่จะเปิดสัมปทานเหมืองแร่ สิ่งที่สาคัญอีกประการหนึ่งคือ เมื่อชุมชนหันมาใส่ใจในปัญหาที่ตน กาลังเผชิญอยู่ นอกจากจะเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้าง ความเข้มแข็งให้กับชุมชนในแง่การรักษาสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพ และสัง คมของท้ องถิ่ น แล้ ว ยังเป็ นโอกาสในการสร้างเครื อข่ ายเรี ยนรู้ กั บ ชุมชนอื่น และควรจะมีการสนับสนุนให้มีงานวิจัยท้องถิ่น เป็นการเปิดโอกาส และช่ องทางให้ ค นในชุ ม ชนน าเสนอสถานการณ์ แ ละประสบการณ์ ข อง


118

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ตนเองผ่านการตั้งโจทย์ ค้นคว้าหาข้อมูลความรู้ต่างๆ และร่วมมือกั นแก้ไข ปัญหาผ่านงานวิจัยท้องถิ่น โดยเครือข่ายชุมชนมีดังนี้ 1) พื้นที่สารวจและทาเหมืองแร่ลุ่มน้าแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 2) พื้นที่สารวจและทาเหมืองแร่ลุ่มน้าแม่สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ 3) พื้นที่โครงการเหมืองแร่ถ่านหินแอ่งงาว อ.งาว จ.ลาปาง 4) พื้ นที่ โ ครงการเหมืองแร่ และโรงไฟฟ้าถ่ านหิ นลิ กไนต์แ ม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลาปาง 5) พื้นที่ทาเหมืองแร่สังกะสี อ.แม่สอด จ.ตาก 6) พื้นที่สารวจและทาเหมืองแร่ทองคา 3 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก 7) พื้นที่ทาเหมืองแร่ทองคา อ.วังสะพุง จ.เลย 8) พื้นที่สารวจแร่ทองแดง อ.เมือง จ.เลย 9) พื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี 10) พื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.มหาสารคาม 11) พื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.ขอนแก่น 12) พื้นที่สูบน้าเกลือใต้ดินและเหมืองแร่เกลือหิน จ.นครราชสีมา 13) พื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.สกลนคร 14) พื้นที่ขออนุญาตดูดทรายแม่น้าตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 15) พื้นที่ทาเหมืองหินเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา 16) พื้นที่ลาเลียงถ่านหินและลานกองแร่จากพม่า จ.เชียงราย 17) พื้นที่โครงการเหมืองแร่เหล็กแม่ถอด อ.เถิน จ.ลาปาง 18) โครงการสารวจแร่พลวง อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

119

มองมุมเหมือง หากมองในแง่ของผู้ประกอบการเหมืองแร่ ธุรกิจเหมืองแร่เป็นส่วน หนึ่งในการเพิ่มรายได้ของประเทศ สินแร่เป็นวัตถุดิบพื้นฐานสาหรับพลังงาน และวั ส ดุ เ กื อ บทุ ก ชนิ ด ที่ จ าเป็ น ต่ อ การด ารงชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ ดั ง นั้ น อุตสาหกรรมเหมืองแร่จึงมีความสาคัญต่อมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ธุรกิจ เหมืองแร่ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมจะมองถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม เหมืองแร่ที่ส่งผลกระทบน้อยที่สุด แนวคิดเรื่อง “เหมืองแร่ที่ยั่งยืน” มีมากว่า 20 ปีแล้ว แต่บางคนก็ เห็นว่าไม่ควรจะใช้คาว่า “ยั่งยืน” กับเหมืองแร่ ในสายตาของผู้ประกอบการ เหมืองแร่นั้น “ยั่งยืน” อาจจะหมายถึงการทาธุรกิจให้ยั่งยืน ได้ประโยชน์ไป อย่างนานๆ ไม่ผลาญหรือทาลายล้างทรัพยากร ทั้งทรัพยากรแร่ พลังงาน น้า ดิ น รวมทั้ ง ไม่ ส่ ง ผลร้ า ยต่ อ คนและสิ่ ง แวดล้ อ ม ฯลฯ ที่ ผ่ า นมามี ค วาม พยายามพั ฒ นาแนวทางเพื่ อ การท าเหมื อ งแร่ อ ย่ า งยั่ ง ยื น (Sustainable Mining Practices) แต่ที่ สาคัญ คือจะน าทฤษฎี ลงไปสู่ การปฏิบัติได้จริ ง หรือไม่ และจะมีกลไกใดที่จะบังคับใช้หรือสนับสนุนให้เกิดการดาเนินงาน จริง ธนาคารโลกเองก็พบว่าการส่งเสริมการทาเหมืองแร่นั้นทาให้เกิด การพั ฒ นาโครงสร้ างพื้ น ฐาน การจ้ างงาน การบริ ก ารพั ฒ นาทั ก ษะและ เทคโนโลยี แต่ปัญหาที่หนักหน่วงคือ เรื่องธรรมาภิบาล เพราะมักจะมีกรณี ขัด แย้ ง กั น มีก ารคอรั ป ชั่ น ตัวอย่ างเช่ น กรณีข องเพชรเลื อดและสงคราม น้ามัน กรณีเช่นนี้เรียกขานกันว่า “resource curse” หรือ “the curses of resource” ซึ่งแปลได้ว่า “คาสาบแช่งของทรัพยากร” หรือ “paradox of


120

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

plenty”12 คือแทนที่ประเทศหรือพื้นที่ที่มีทรัพยากรใต้ดินที่มีค่ามากจะพัฒนา ไปได้อย่างรวดเร็ว มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากความมั่งคั่งของทรัพยากร แต่กลับกลายเป็นว่าประเทศนั้นหรือพื้นที่นั้น กลั บยากจนทุก ข์เข็ ญ เพราะสาเหตุที่ หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็ นการพึ่งพา ทรัพยากรใต้ดินจนกระทั่งละเลยการพัฒนาเศรษฐกิจสาขาอื่นๆ การพัฒนา ด้านการศึกษาหรือการสร้างศักยภาพให้ทรัพยากรมนุษย์ ความล้มเหลวใน การจั ด การอย่ างยั่ งยื น และการดาเนิ น งานอย่ างโปร่ ง ใส ผลกระทบด้ า น สิ่งแวดล้ อมและสุ ขภาพจากอุตสาหกรรม การละเมิดสิ ทธิ มนุ ษยชน การ หลั่งไหลเข้ามาของผู้คนต่างถิ่น ฯลฯ การทาเหมืองแร่จึงมีภาพที่ลบมาก และมักจะทาให้เกิดกระแสการ ต่อต้านรุนแรง ดังนั้น ต้องมีการออกแบบและการจัดการที่ดี มีการวางแผน ป้องกันผลกระทบต่างๆ จากการทาเหมือง การวางแผนการฟื้นฟู และทา ตัวอย่างดีๆ ให้เกิดขึ้นจริง โดยไม่ได้มุ่งแต่การสร้างภาพหรือนาเสนอภาพ บวกเพี ย งอย่ า งเดี ย ว เช่ น การประเมิ น ผลกระทบทางด้ า นสุ ข ภาพก็ จาเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลพื้นฐาน baseline study เพื่อที่จะได้เปรียบเทียบ และติดตามการเปลี่ยนแปลง ส่วนการติดตามด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมก็ เป็นเรื่องที่สาคัญ หลายๆ เรื่องไม่ได้เป็นเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็น เรื่องการจัดการ ดังนั้น ผู้ประกอบการ บริษัทที่ปรึกษา ฯลฯ ต้องสร้างเรื่อง ความโปร่งใสให้เป็นที่ประจักษ์ ควรมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มข้นต่อบริษัทที่ ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่สนับสนุนบริษัทที่มีประวัติไม่ดี อีกทั้ง จะต้องมีการนากรณีศึกษาที่มีอยู่ไปสู่การป้องกันและติดตามล่วงหน้า มิใช่ 12

โปรดดู Terry Lynn Karl, The Paradox of Plenty: Oil Booms and Petro-States. Berkeley: University of California Press, 1997.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

121

รอคอยตามแก้ปัญหาเมื่อเกิดผลกระทบ นอกจากนั้น เมื่อเกิดผลกระทบและ ความทุกข์ยากจากอุตสาหกรรมเหมืองขึ้นแล้ว ก็ต้องมีความพยายามอย่าง จริงจังและต่อเนื่องที่จะบาบัดเยียวยา ในขณะเดีย วกั บ ที่ มีก ารผลั ก ดั น แนวคิด “การท าเหมืองแร่ อย่ า ง ยั่งยืน ” ก็เกิดความพยายามระดับนานาชาติที่จะสร้างมาตรฐานใหม่และ กลไกใหม่เพื่อติดตามความโปร่งใสของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และสร้างการ มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบจากหลากหลายภาคส่วน เพราะเท่าที่ผ่าน มา ผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมเหล่านี้มักจะถ่ายเทไปสู่ผู้ที่มีอานาจและมี สถานะทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่เหนือกว่า นอกจากจะทาให้เกิด ความเหลื่อมล้าของการแบ่งปันรายได้ และผลประโยชน์แล้ว ยังทาให้เกิด ความขัดแย้ง ความไม่ไว้วางใจกัน รวมทั้งความยากแค้นและทุกข์ร้อนของ ผู้ ค นในชุ ม ชนดั งที่ ก ล่ าว ตั วอย่ า งของความพยายามนี้ คื อ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง รัฐบาลในหลายประเทศ บริษัทธุรกิจ และประชาสังคม

EITI เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2002 โดยการประกาศของ Tony Blair อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษในการประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Summit for Sustainable Development) ที่เมือง Johannesburg ความพยายามเหล่ า นี้ อาจจะท าให้ เกิ ดการสร้ า งมาตรฐานใหม่ใ นระดั บ นานาชาติ โดยเฉพาะสาหรับประเทศที่มีประวัติของการละเมิดสิทธิมนุษยชน


122

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

อย่างรุนแรงอันเนื่องจากการทาอุตสาหกรรมเมือง ขุดเจาะน้ามัน ก๊าซ และ ทรัพยากรใต้ดินอื่นๆ เพื่อให้มีการจัดสรรผลประโยชน์ให้ทั่วถึงและเป็นธรรม มากขึ้ น มี ก ารจั ด การที่ โ ปร่ ง ใสยิ่ ง ขึ้ น มี ก ระบวนการมี ส่ ว นร่ ว มและการ ติดตามจากหลายภาคส่วน ซึ่งความพยายามนี้มีบางส่วนคล้ายกับแนวทาง ของสถาบัน Revenue Watch ที่ได้กล่าวถึงแล้วข้างต้น การรณรงค์เรื่องความโปร่งใสและการต่อต้านคอรัปชั่นนั้นเริ่มเป็น กระแสสาคัญในระดับนานาชาติ และทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ บ้าง อาทิ สหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายความโปร่งใสด้านการเงินที่เกี่ยวกับน้ามัน และเหมืองแร่ (Oil and Mining Financial Transparency Law) ในปี ค.ศ. 2010 และจะบังคับให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงินตราและผลประโยชน์ที่ บริษัทจ่ายให้รัฐบาล13 ในแง่นี้ นโยบายดังกล่าวได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับ การรายงานด้านการเงินที่โปร่งใสตรวจสอบได้มากขึ้น และทาให้ประชาชน ติดตามการนารายได้นี้มาเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น14 ประเด็นสาคัญก็คือความพยายาม EITI นี้เริ่มขึ้นโดยมุ่งเน้นที่การ ติดตามอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ามันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่เมื่อนามา ประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วย ก็พบว่าประเด็นเรื่องความโปร่งใส อาจจะสาคัญมากในการติดตามการดาเนินงานของอุตสาหกรรมขุดเจาะ น้ามัน แต่สาหรับเหมืองแร่นั้น ประเด็นหลักที่สาคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ เรื่อง ของการพัฒนาที่ยั่งยืน กรมอุตสาหกรรมพื้ น ฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ของไทยก็ มี ความพยายามที่จะพัฒนาหลักเกณท์ในการพิจารณาให้รางวัล “เหมืองแร่สี 13 14

บริษัทที่จดทะเบียนกับ US Securities and Exchange Commission (SEC) ข้อมูลจาก http://www.earthrights.org/campaigns/energy-security-throughtransparency-provision-estt สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2554


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

123

เขียว”15 แก่ผู้ประกอบการต่างๆ ที่ดาเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเปิ ดโอกาสให้ ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมมากที่ สุด โดยมีตัวชี้ วัดหรื อ เกณฑ์ที่พยายามออกแบบให้ครอบคลุมและรอบด้าน เช่น มีการดูแลความ ปลอดภัยและสุ ขภาพอนามัยของคนงานและชุมชนผู้อยู่ อาศัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ เผยแพร่ ข้ อ มูล ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การท าเหมื องให้ ส าธารณชน รับทราบ พร้อมรับการตรวจสอบจากบุคคลภายนอก มีการปรับปรุง แก้ไข และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสียหายให้อยู่ในสภาพดีโดยเร็ว มีระบบตรวจสอบ สุขภาพอนามัยของชุมชนที่อาศัยข้างเคียง มีการฟื้นฟูพื้นที่ควบคู่ไปกับการ ทาเหมือง มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทางานทั่วไป ใช้แร่ อย่างคุ้มค่า ถูกต้องตามมูลค่าแร่ ศึกษาหาวิธีนาของเสียจากกระบวนการ ผลิตมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า16 ฯลฯ บทส่ งท้ าย ประเด็ น ผลกระทบของเหมืองแร่ ต่อชุ มชนมีค วามส าคัญ มากใน ประเทศไทย เพราะในบริบ ทของไทยนั้น การท าเหมืองเกี่ย วข้ องกับ พื้น ที่ ชุมชนหรือพื้นที่ฐานทรัพยากรธรรมชาติที่ชุมชนพึ่งพาโดยตรง ซึ่งต่างกับ ประเทศที่มีหลายอาณาบริเวณที่เวิ้งว้างกว้างใหญ่ และว่างเปล่า ไม่มีชุมชน เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ประเทศแคนาดาและประเทศออสเตรเลีย ในขณะที่มี 15

คาว่า “เหมืองแร่สีเขียว” (green mining) และ “เหมืองแร่ที่ยั่งยืน” (sustainable mining) ก็ยัง เป็นคาที่หลายฝ่ายยังไม่ยอมรับ โปรดดู “Is Green Mining Possible?” ใน “http://www.buyenvironmental.co.za/index.php/Raw-Materials/-Is-Green-Mining-Possible.html 16 “หลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัลเหมืองแร่สีเขียว” กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม จาก http://greenmining.dpim.go.th/nal/natitle.php?tid=000001259294935 สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2554


124

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ความตื่ น ตั ว ในระดั บ นานาชาติ เ รื่ อ งการพิ จ ารณาผลกระทบจากเหมื อ ง ประเทศไทยก็มีความตื่นตัวในภาคประชาสังคมที่ทางานด้านสิ่งแวดล้อม มี การติ ด ตามสถานการณ์ ผ ลกระทบจากเหมื องแร่ แ ละการจั ดท าวารสาร “สัมปทาน”17 (เริ่มในปี พ.ศ. 2553) ส่วนความพยายามจากภาครัฐนั้น กรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้เน้นประเด็นเรื่องเหมืองแร่ กับผลกระทบต่อ ชุมชนในวารสาร “เส้นทางสีเขียว” (ฉบับต้นปี พ.ศ. 2554) ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่ายังมีช่องว่างของความรู้ความเข้าใจอีกมาก ในเรื่องผลกระทบจากเหมืองแร่ต่อชุมชน ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่สามารถจะ แก้ด้วย “เทคโนโลยี” และ “ธรรมาภิบาล” เท่านั้น ไม่ใช่เพียงแต่เป็นเรื่องการ จัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสวัสดิภาพ-สวัสดิการสาหรับชุมชนหรือสังคม เท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาถึงมิติของการบริหารการเมืองท้องถิ่น การสร้าง ความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วม การสื่อสาร ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างความเข้าใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความสัมพันธ์เชิงอานาจ การให้ คุ ณ ค่ า และความหมาย ความส าคั ญ และอ านาจของความรู้ ฯลฯ นอกจากนั้ น ยั ง ต้ อ งมี มิ ติ เ ชิ ง อนาคตด้ ว ย ดั ง ที่ ก ล่ า วแล้ ว ว่ า ควรจะมี ก าร คาดการณ์และการเตรียมการเพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น จากการผสมผสานกั น ของหลายปั จ จั ย และความเสี่ ย งเหล่ า นี้ จ ะส่ ง ผล กระทบอย่างรุนแรงต่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของชุมชนรวมทั้ ง สิ่งแวดล้อม ประเด็นและมิติที่กล่าวถึงข้างต้นไม่สามารถจะหาคาตอบสาเร็จรูป ได้ ด้ ว ยวิ ช าการสาขาใดสาขาหนึ่ ง เท่ า นั้ น ภาควิ ช าการที่ เ กี่ ย วข้ อ งมี หลากหลายสาขา ทั้ ง วิ ศ วกรรมเหมื อ งแร่ สาธารณสุ ข วิ ท ยาศาสตร์ 17

โปรดดู http://www.greenworld.or.th/sites/default/files/sumpratarnV2.pdf


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

125

สิ่งแวดล้อม แพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ธรณีวิทยา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ การ บริหารจัดการ ฯลฯ การมุ่งสู่มหาวิทยาลัยวิจัยและความเป็นเลิศด้านวิชาการ ควรจะตอบรับกับความท้าทายของงานวิจัยแบบข้ามสาขาวิชาในประเด็น เช่นนี้ด้วย การมองทบทวนสถานการณ์ ผลกระทบที่ผ่านมา แนวทางแก้ไข ทิศทางนโยบาย การค้นหา รวบรวม วิเคราะห์ วิพากษ์ องค์ความรู้ที่มีอยู่ล้วน มีความสาคัญในแง่วิชาการ นอกจากภาควิช าการแล้ว ยั งต้องอาศัยภาคราชการ ภาคชุ มชน ภาคการเมื อ ง ภาคธุ ร กิ จ เอกชน รวมทั้ ง องค์ ก รเอกชนที่ ไ ม่ แ สวงก าไร อีกส่วนที่สาคัญมากคือ ภาคผู้บริโภคที่อาจจะมองว่าอยู่ไกลกว่าที่จะดึงเข้า มาร่วมในขณะนี้ แต่ปัญหาเหล่านี้กลับไม่ได้ไกลตัวผู้บริโภคอย่างที่คิด การ คุ้มครองผู้บริ โภคเป็น เรื่องสาคัญและเร่งด่วนในขณะนี้ แต่ก ารกระตุ้นให้ ผู้บ ริ โ ภคได้ เรีย นรู้ แ ละตระหนั ก ถึ งรูป แบบและผลกระทบของการบริ โ ภค (consumption) จากสิ่งที่ผลิต (production) ออกมานั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยง กับ ปั ญ หาที่เราพู ดมาทั้ งหมด เพราะการที่ เรามีวัตถุ สิ่ งของเครื่องอุป โภค บริโภคและโครงสร้างพื้นฐานสาหรับชีวิตประจาวันที่สะดวกสบายและซื้อหา มาในราคาที่ ถู ก นั้ น ส่ ว นหนึ่ ง มาจากกิ จ การอุ ต สาหกรรมที่ มั ก จะส่ ง ผล กระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มและชุ ม ชนเช่ น เหมื อ งแร่ อี ก ภาคหนึ่ ง ที่ มั ก จะถู ก มองข้ามไปคือ ภาคแรงงานที่ทางานในเหมืองแร่ กรณีของประเทศชิลีและ นิวซีแลนด์ในปีที่ผ่านมาคงจะสะท้อนให้เห็นแล้วว่าแรงงานเหมืองนั้นเผชิญ กับความเสี่ยงในหลายด้าน สาหรับภาคประชาชนส่วนที่จะต้องอยู่อาศัยคู่กับเหมืองแร่นั้น ก็ยัง มีช่องว่างของความรู้อีกมากมาย มีคาถามที่ยังไม่ได้รับคาตอบ (และอาจจะ ไม่ง่ายที่จะได้คาตอบ) เช่น พื้นที่ชุมชนใดบ้างที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักหรือ


126

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

สารพิษตามธรรมชาติที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ ผลกระทบจะเป็นไป ในรูปแบบใด มีมาตรการเชิงป้องกันอย่างไร เมื่อมีเหมืองแร่แล้วจะต้องเฝ้า ระวังอะไรอย่างไร จะมีการปนเปื้อนหรือความเสี่ยงรูปแบบใดบ้าง แล้วจะ ป้องกันตัวเองและครอบครัวอย่างไร อีกประเด็นที่มีความสาคัญมากคือ ภาคประชาชนหรือชาวบ้านที่ ได้รั บ ผลกระทบจากเหมืองแร่ เริ่ มไม่แ น่ ใจในข้ อมูล และประเด็น ต่างๆ ที่ หน่วยงานต่างๆ หรือแม้แต่นักวิชาการพูดถึง แต่ด้วยความสัมพันธ์เชิงอานาจ ที่ไม่เท่ากันและอานาจของความรู้แต่ละชุดที่ไม่เท่ากัน ชาวบ้านไม่สามารถ จะโต้แย้งอย่างมีน้าหนักและเหตุผลให้ฝ่ายอื่นยอมรับได้ ในการสัมมนาที่ โครงการนี้จัดขึ้น ตัวแทนชาวบ้านจากพื้นที่เหมืองแร่ทองคากล่าวถึงการที่ นักวิชาการมาจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเสนอ ปัญหา แต่ชาวบ้ านยังกังวลว่าเวทีดังกล่าวเป็นการเปิดทางให้มีการสร้าง ความชอบธรรมให้ผู้ประกอบการ มีข้อเสนอว่านักวิชาการไม่ควรรับจ้างจากบริษัท เช่นเดียวกับกรณี ของการจัดทารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในประเทศที่พัฒนา แล้ วเช่ น สหรั ฐ อเมริ ก า หน่ ว ยงานที่ เป็ น อิ ส ระซึ่ ง มีศัก ดิ์ศรี ไม่ถู ก บี บ จาก ผลประโยชน์และอานาจจะเป็นผู้จัดการ ประสาน จัดให้มีการศึกษาวิจัย ซึ่ง จะลดข้ อ กั ง ขาเรื่ อ งอคติ แ ละความเป็ น กลาง ในกรณี ข องความขั ด แย้ ง ระหว่างบริษัทขนาดใหญ่กับชาวบ้านกลุ่มเล็กๆ นั้น อานาจและพลังต่อรอง ของบริษัทมักจะมีเหนือกว่าของชาวบ้านอยู่แล้ว มินามาตะเป็นกรณีตัวอย่าง ที่มผี ู้วิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เชิงอานาจนี้18 18

“The Minamata Disaster and the True Cost of Japanese Modernization” โดย Andrew Jenks ใน Perils of Progress: Environmental Disasters in the 20th Century (2011)


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

127

ในท้ายที่สุด บทความนี้ได้ทบทวนเอกสารและสถานการณ์เกี่ยวกับ ผลกระทบของอุ ต สาหกรรมเหมื อ งแร่ ต่ อ สุ ข ภาวะชุ ม ชนในประเทศไทย รวมทั้งได้สรุปประเด็นให้มีการขบคิด หาแนวทางในการสร้างความรู้ เพื่อทา ความเข้าใจและค้นหาแนวทางในการขั บเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็น ระบบ ช่องว่างของความรู้หรือโจทย์วิจัยในเบื้องต้นน่าจะมีดังต่อไปนี้  พัฒนาการของ “ปัญหาเหมืองแร่และผลกระทบต่อชุมชน” การ วิ เ คราะห์ บ ทเรี ย นจากกรณี ศึ ก ษาและปั ญ หาที่ ผ่ า นๆ มา การเยี ย วยา ผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ การปนเปื้อนเข้าสู่ สิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่ อาหาร การฟื้นฟูชุมชนที่ได้รับผลกระทบ  การปฏิรูประบบการประเมินผลกระทบ (เช่น ทาการวิจัยเพื่อให้ ได้ข้อเสนอเพื่อปฏิรูประบบฯ เช่น ให้มีกองทุนกลางที่ให้นักวิชาการทางาน โดยอิสระ ไม่ต้องรับงานมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)  นโยบายเหมืองแร่กับการพัฒนา การพัฒนาโดยดูศักยภาพพื้นที่ ให้รอบด้าน มองภาพรวม เน้นอนาคตที่ยั่งยืน ไม่ยึดติดกับการมองแร่เป็น องค์ประกอบเดียว เช่น กรณีเมืองเลย มีศักยภาพเป็นแหล่งเกษตรเมืองหนาว มีเรื่องการท่องเที่ยว ฯลฯ  การเปรียบเทียบนโยบายพัฒนาเหมืองแร่ของประเทศต่างๆ และ เรียนรู้ช่องโหว่ จุดบอดของกฎหมายและนโยบาย จากบทเรียนของพื้นที่ที่มี ปัญหา เช่น มินามาตะ รวมทั้งพยายามที่จะเชื่อมโยงกับกลุ่มที่ได้รับความ ทุกข์ร้อนที่อื่น  การวิจัยที่เปิดเผยให้เห็นถึงปมด้านผลประโยชน์และการเมือง ความรั บ ผิ ด ชอบของธุ ร กิจ บริ ษัท มหาชน การที่ผู้ ป ระกอบการใช้ ผ ลงาน วิชาการเป็นตราประทับและสร้างความชอบธรรม


128

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

 การวิ จั ย ทางการแพทย์ สาธารณสุ ข และมานุ ษ ยวิ ท ยา การแพทย์เกี่ยวกับผู้คนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

129

เอกสารอ้ างอิง เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์, การวิเคราะห์กระบวนการนโยบายสาธารณะ ในการแก้ไขปัญหามลพิษจากกิจกรรมเหมืองแร่: กรณีศึกษา การปนเปื้อนของสารตะกั่ว บริเวณหมู่บ้านคลิตี้ล่าง จังหวัดกาญจนบุรี Environment and Natural Resources Journal. Vol.5, No.2, Dec 2007. คณะกรรมการปฏิรูป, ข้ อเสนอเพื่อการสร้ างความเป็ นธรรม ในการจัดการทรั พยากรแร่ และการแก้ ไขปั ญหาความขัดแย้ ง กรณีเหมืองแร่ โปแตชอีสาน, วันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2554 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2549) รายงานผลการ ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนประจาปี 2549: สิทธิ ชุมชน รายงานผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการสิทธิ ในทรัพยากรน้าและแร่ที่ 28/2549, 64/2549, 66/2549, 102/2549, 104/2549, 105/2549 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2550) รายงานผลการ ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนประจาปี 2550: สิทธิชุมชน รายงานผลการตรวจสอบที่ 5/2550, 137/2550, 338/2550 เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทา เหมืองแร่ ประเทศไทย. แถลงการณ์ . วันที่ 5 กันยายน 2553 ณ โรงแรมเทพนคร จ.พิษณุโลก จีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์. (2547) การรั บมือกับปั ญหาการเปลี่ยนแปลง ด้ านสิ่งแวดล้ อมที่มีผลต่ อสุขภาพในมิติหญิง-ชาย : ศึกษากรณีหมู่บ้านกะเหรี่ ยงคลิตลี ้ ่ างจังหวัดกาญจนบุรี.


130

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ฉันทนา ผดุงทศ, แดนสนธยา, อาชีวเวชศาสตร์ปริทัศน์: หมอชาวบ้ าน, ฉบับที่ 237, กันยายน 2547 ฉันทนา ผดุงทศ, โปแตช...เจ้าเอย, หมอชาวบ้ าน, ฉบับที่ 238, ตุลาคม 2547 ชัชวาลย์ จันทรวิจิตร. (2546) การทบทวนสถานการณ์ ผลกระทบ ทางสุขภาพจากการทาเหมืองถ่ านหิน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ชัชวาลย์ จันทรวิจิตรและคณะ. ปัจจัยเสี่ยงและขนาดของความเสี่ยง ต่อสุขภาพของชาวบ้านในตาบลร่อนพิบลู ย์ จากการรับสัมผัส สารหนู. การส่ งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้ อม, ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มี.ค. 2543. ชัชวาลย์ จันทรวิจิตร. (2552) ระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ ของประชาชนที่อาศัยในพืน้ ที่บริเวณโรงไฟฟ้าแม่ เมาะ จังหวัดลาปาง. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ธวัชชัย เทพรัตน์. (2540) มาตรการทางกฎหมายในการฟื ้ นฟูพนื ้ ที่ทา เหมืองแร่ . วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธัญญาภรณ์ สุรภักดี. (2553) เปลี่ยนไป “เลย”: ชะตากรรมของ เมืองเลยภายหลังจากการเข้ ามาของเหมื องทองคานนทบุรี: สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ธาดา อุดมธาดา. (2546) ภาวะสุขภาพของประชาชนที่อพยพ


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

131

จากการขยายเหมืองลิกไนต์ อาเภอแม่ เมาะ จังหวัดลาปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ เดชรัต สุขกาเนิด และนุศราพร เกษสมบูรณ์. (2546) ความจาเป็ นและแนวทางในการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพกรณีโครงการเหมืองแร่ โพแทชจังหวัดอุดรธานี. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ผลกระทบทาง สุขภาพโครงการเหมืองแร่โพแทช: แนวทางประยุกต์ใช้ในสังคมไทย ระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2546 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี.เวที สช.เจาะประเด็น “เหมืองแร่ทองคา: ความมั่นคงหรือ ทุกข์ภาวะ”. บันทึกการเสวนา. วันที่ 1 มีนาคม 2554 ณ ชัน้ 2 อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สมชาย อัศวลิขิตเพชร. (2542) กฎหมายเพื่อป้องกันและลดผลกระทบ สิ่งแวดล้ อมจากการทาเหมือง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมพร เพ็งค่า และคณะ. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณี โครงการเหมืองแร่ โพแทช จังหวัดอุดรธานี, (รายงานวิจัย), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สมพร เพ็งค่า. ผลกระทบทางสุขภาพ : ประเด็นปั ญหาและแนวทาง การประเมิน กรณีโครงการเหมืองแร่ โพแทชจังหวัดอุดรธานี . เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ผลกระทบทาง สุขภาพโครงการเหมืองแร่โพแทช: แนวทางประยุกต์ใช้ในสังคมไทย


132

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

ระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2546 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี. สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์. (2546) เหมืองแร่ โพแทชอุดรธานี ความ เป็ นมา ความเคลื่อนไหว และประเด็นปั ญหา. เอกสาร ประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัตกิ ารเรื่อง ผลกระทบทางสุขภาพ โครงการเหมืองแร่โพแทช: โสธิดา นุราช. บทลงโทษของกฎหมายแร่. สัมปทาน (วารสาร อิเล็คโทรนิค) ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ก.ค.-ก.ย. 2553 หน้า 2-25. โสธิดา นุราช. สิทธิในที่ดิน สิทธิในแร่ บทลงโทษของกฎหมายแร่. สัมปทาน. (วารสารอิเล็คโทรนิค). ปีที่ 1ฉบับที่ 2 ต.ค.-ธ.ค. 2553. สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. 2554. คนกับเหมือง: อนาคตเมืองเลย, นนทบุรี: สานักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. อาวีระ ภัคมาตร์ และคณะ. (2553) รายงานการศึกษาโครงการ การกาหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพจากการแยก ล้ าง คัดเลือกแร่ ทองคา จากเขาพนมพา อาเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจติ ร. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข. Lertsatienchai, Pakorn. (2006) Shaping Certain Etiology of Lead Poisoning Symptoms: Klity Creek as a Contaminated Place. Lund University/Linköping University Master’s Programme in Science, Technology and Society.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

133

Sitthikriengkrai, Malee. (2007) Suffering, Healing, And The Contestation of Power And Knowledge: A Case of Lead Contamination In Klity Lang Village, Kanchanaburi Province. Faculty Of Social Science And Humanities, Mahidol University.


Water Resources Management: Hydrologic Evaluation and Effect of Climate Change on the Atsamart Watershed, Northeastern Region, Thailand Prayuth Graiprab1, Kobkiat Pongput2 and Nipon Thangtham3

1

Senior Civil Engineer, Department of Water Resources, Samsen Nai, Phayathai, Bangkok 10400, Thailand, pg895@hotmail.com & Corresponding author: pg895@hotmail.com 2 Associate Professor, Department of Water Resources Engineering, Kasetsart University, Bangkhen, Bangkok 10900, Thailand, kobkiat.p@ku.ac.th 3 Professor, Faculty of Environment and Resource Studies, Kasetsart University, Bangkhen, Bangkok 10900, Thailand, ffornpt@ku.ac.th


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

135

Abstract The aim of this research is to apply the hydrological model Soil and Water Assessment Tool (SWAT) for evaluating the sustainability of water resources management in the 723 km2 Atsamart watershed, located in the Mae Nam Chi basin in Northeast Thailand. In this study, the watershed was divided into 3 main subregions with a total of 11 subwatersheds using a Digital Elevation Model (DEM; scaled map 1:10,000). Land use, soil type, and watershed meteorological-hydrological data were used to create the Hydrological Response Units (HRUs). The SWAT model was found applicable Atsamart watershed, and was further found to be able to analyze runoff characteristics in subwatersheds. This research found that during the years 2010 to 2050, once the region temperature has risen to the average of 0.8째C and rainfall has increased for another 4%, average runoff yield will be increased 3-5%, when compared with the overall runoff yield in the watershed area. However, the rising trend of the runoff yield is considered minimal when compared with the expected double demand of water supply in the Atsamart watershed at that time.


136

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

Keywords: SWAT, Hydrological Model, Climate change, Hydrological Evaluation, WRM Introduction Ongoing environmental changes currently brought about by either natural or anthropogenic influences, have been significantly impact on natural resources and societal living conditions. This is especially true of the latter, due to various forms of human activities ranging from forest encroachment, misuse of land, and exploitation of resources without proper conservation measures and good management plan causing land to become vulnerable owing to the lack of vegetation to cover the soil. This results in erosion and landslides in the rainy season and drought in dry seasons, depriving the land of water for consumption, agriculture, industry and other activities which adversely affects quality of life of people. At present, humans are living amid increasingly aggravating water crises affecting various aspects of people’s life such as health, sanitation, environment, urban community, food production, industry and energy. In addition, utilization of and accessibility to clean water has become the most critical issue in the aspect of natural resources the world is currently facing. According to the Global Environment Outlook Section of United Nations Environmental Program (UNEP, 2007), the water shortage that is threatening the world points to the


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

137

urgency of the matter which corresponds with the concern raised by World Wide Fund for Nature (WWF) that fresh water, though necessary for human health, agriculture, industry and natural ecological system, is in severe shortage in various parts of the world (The National Water Resource Board, 2004). The Atsamart District in Roi-et Province of Thailand faced with such problems and thus was chosen by the Thai cabinet in 2006 to be a role-model district to investigate social and poverty problems in an integrative manner. A plan was drafted to solve the problem, with basic infrastructure in water resources being one of those at the top of the list that needs to be urgently tackled. One option for investigating the water resource issues in the Atsamart watershed is the use of water quality models, such as the Soil and Water Assessment Tool (Arnold and Forhrer, 2005; Gassman et al., 2007), which can be applied to investigate both baseline water balance characteristics as well as forecasted future climate change impacts on water resources. Applications of such models are particularly useful when interfaced with climate projections generated by Global Circulation Models (GCMS) and/or Regional Climate Models (RCMs). Global temperature and other climatic indicators can be forecasted with GCMs, which are mathematical models based on physical laws that simulate heat exchange among the main


138

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

components of the Earth’s climatic systems (Gregory et al., 2001). The models are complicated, work on a large spatial scale and require submodels of extensive information of the Earth’s climate. Downscaling the output to a smaller region may not capture enough information to perform impact studies. Thus, RCMs have been developed to construct climatic change scenarios for smaller regions, which are more appropriate for impact studies. Several wellaccepted RCMs have been developed including those reported in e.g., Fu et al., (2005) and Hadley Centre (2002). Applications of SWAT have expanded worldwide over the past decade across a wide variety of watershed scales and conditions (Gassman et al., 2007). These include applications required by various government agencies, especially in the U.S. and the European Union, who require assessments of the impacts of different scenarios such as land use change and climate change. Gassman et al. (2007) describes several climate change impact studies that were performed for U.S. watershed and river basin systems, which focused on approaches that relied on downscaling of climate change projections generated by GCMs or GCMs coupled with RCMs. In this study, SWAT was interfaced with the Providing REgional Climates for Impacts Studies (PRECIS) RCM, which is based on the Hadley Centre's regional climate modeling system and was developed in order to help generate high-resolution climate


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

139

change information for as many regions of the world as possible (Hadley Centre, 2002). The key objective of this research was to study and understand the climate change pattern effecting water yield in the watershed. Results from this study will be applied as Integrated Quantity and Quality Model (IQQM) input data in order to further calculate water demand for each activity of water uses in Atsamart Watershed, such as agricultural, consumption and water balance in the ecosystem with the purpose to plan for effective future water resources development and rehabilitation, especially those identified during drought season. The latter subject, however, is not addressed in this study. Study Area The Atsamart watershed is a small subwatershed of Mae Nam Chi basin, which is located in the Northeast part of Thailand. Atsamart watershed partly covers three subwatersheds (subwatersheds 9, 12 and 50) of the larger Mae Nam Chi basin, which consists of 64 subwatersheds, divided by the modelling team of Mekong River Commission (Figure 1). Atsamart watershed is in the southwest of Roi-et Province on the highway Roi-et-Panom Prai, 34 kilometres from Roi-et, Thailand. While the larger Mae Nam Chi basin


140

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

covers 49,477 km2, the Atsamart watershed covers an area of 732 km2 and consists of three major subregions: the Huai Yang Cher, Huai Sai Kai and Namchi subregion (Figure 2). However, since the objective of the study is mainly focused on estimating the water yields of the two subregions, Huai Yang Cher and Huai Sai Kai by testing SWAT using parameters for larger Mae Nam Chi basin SWAT model as further described in the Methodology section in order to deal with the problem of drought and flood while water use in Namchi subregion, on the right side of Chi River does not have such problem, thus, SWAT was not applied with Namchi subregion. The Atsamart watershed is 115-150 meter above mean sea level. Central of the watershed is a rolling terrain, slopes to Mae Nam Chi River. The northern part is a plain with scattered hills while the eastern part is an undulating plain. The southern part is alluvium suitable for rice and crop farming and livestock. The significant variable of weather statistics used in this study were accumulated from weather stations in Roi-et province. These variables namely temperature, relative humidity, wind speed, pan evaporation and rainfall, contained annual average at 27 0c, 71%, 5 km/h, 1,659 mm. and 1,356 mm., respectively. The major land use in Atsamart watershed consists of agriculture, forest, urban, water


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

141

and other areas in the proportion of 79.85%, 7.14%, 4.33%, 1.22% and 6.31%, respectively. There are 10 soil types in Atsamat watershed based on Land Development Department (LDD). In this study, the soil types were classified into three classes, namely ACg (Clay and Silt), Ach(Clay) and ARa(Loamy) with the percents of coverage areas relative to the watershed area about 52.36%, 23.90% and 13.76% respectively.


Atsamart Watershed

25 Main Basin of Thailand

Figure 1. Location of study area

E.2

Mae Nam Chi Basin

4

142 วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554


2

1

Legend

Figure 2. Study area and watershed delineation

Huai Yang Cher subregion Huai Sai Kai subregion Namchi subregion

Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011 143


144

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

Methodology Description of SWAT The SWAT model was developed by the U.S. Department of Agriculture (USDA) Agriculture Research Service (ARS) and represents a continuation of roughly 30 years of modeling efforts (Williams et al., 2008). SWAT is an operational or conceptual model that operates on a daily time step that can be used to predict the impact of management on water, sediment and agricultural chemical yields in large ungauged basins (Anold and Fohrer, 2005; Gassman et al., 2007). SWAT is categorized as a Distributed Hydrologic Model (DHM). Following the DHM approach, a watershed is divided into subwatersheds in SWAT, which are then usually further subdivided into hydrological response units (HRUs) which represent a percentage of the watershed area. The HRUs are characterized by homogeneous soil, land use, and topographic data. Flow and pollutant output from each HRU are summed at the subwatershed level. Each subbasin is then related in the simulated hydrological process, based on the DHM approach which considers a watershed as non-uniform. This is the pattern of model having the simulation closest to real hydrological process in which flow and pollutants are routed between subwatersheds to the watershed outlet.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

145

Weather data required for setting up SWAT includes climatic components of rainfall, maximum and minimum temperature, relative humidity, solar radiation and wind speed (Neitsch et al., 2001). A command structure is used for routing runoff and chemicals through a watershed similar to the structure included for routing flows through streams and reservoirs. Using the routing command language, the model can simulate a basin subdivided into grid cells or subwatersheds. Additional commands have been developed to allow measured and point source data to be input to the model and routed with simulated flows (Arnold and Fohrer, 2005). Description of PRECIS RCM The PRECIS Regional Climate Model is an atmospheric and land surface model of limited area and high resolution. Dynamical flow, the atmospheric sulphur cycle, clouds and precipitation, radiative processes, the land surface and the deep soil are all described in the model. Boundary conditions are required at the limits of the model's domain to provide the meteorological forcing for the RCM. The PRECIS modeling system is capable of simulating the entire globe on a relatively inexpensive, fast PC to provide regional climate information for impacts studies. It is a flexible, easy-to-use and computationally inexpensive RCM designed to provide detailed


146

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

climate scenarios (Jones et al., 2004). The PRECIS modeling system is freely available to developing-countries research groups with the intention that climate change scenarios can be developed at national centres of expertise (Hadley Centre, 2002) Data Sources and Data Collection The Atsamart watershed partly overlaps some areas of subwatersheds 9, 12 and 50 of Mae Nam Chi basin. Thus some of the parameters derived from the existing SWAT modelling of the larger Mae Nam Chi basin, conducted by the modelling team of Mekong River Commission, and applied to the Atsamart SWAT model. This was done by using the calibrated parameters from subwatershed 50 for Huai Yang Cher subregion and the calibrated parameters from subwatershed 9 for Huai Sai Kai subregion. The Atsamart SWAT watershed model was constructed using time series and spatial data. Time series data consists of weather and stream flow data. Weather data were collected from Thai Meteorological Department, Roi-et Province. These data consists of relative humidity, sunshine duration (solar radiation), temperature, and wind speed, which were collected from year 1985 to 2004.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

147

Rainfall data were collected from Thai Meteorological Department. Nine rainfall stations (Figure 3) were selected to use for this study. The daily rainfall data ranges from year 1985 to 2004. The average rainfall from nine stations varies from 764.70 – 2,460.00 mm/year. The average rainfall is 1,354.70 mm./year. Heavy rainfall generally occurs due to tropical depression storms originated in the South Pacific or the South China Sea during the period from June to October. Stream flow data was previously used for SWAT model calibration for the larger Chi River Basin. It was collected from the E2 station of the Royal Irrigation Department. The Station is located on Chi River in Muang District, Yasothon Province. The period of daily data recorded at the station varied from 1952-2003. Maximum annual runoff was about 14,914.6 million cubic meters, while minimum annual runoff was about 3,057.4 million cubic meters. Moreover, average annual runoff was about 7,330.5 million cubic meters. Spatial data consists of Digital Elevation Model (DEM), a 30x30 m (1:10,000 scale) which is a digital representation of ground surface topography or terrain. It was collected from the Land Development Department. The maximum of elevation was about 167 m.MSL., while the minimum of elevation was about 115 m.MSL. The mean of elevation was about 136 m.MSL. In addition, soil


148

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

classification map and land use data, 1:50,000 scale were obtained from the Land Development Department.


Figure 3. Location of nine rainfall stations

Atsamart Stream watershed Weather Station Rainfall Station

Legend

Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011 149


150

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

SWAT Model Setup For the study of water use in Huai Yang Cher and Huai Sai Kai subregions of Atsamart watershed, which were created by automatic delineation SWAT, runoff yields of each subregion are required and can be calculated with SWAT. Huai Yang Cher subregion, 204.60 sq. km., consists of three subwatersheds which are YH1, YH2 and YH3. Huai Sai Kai subregion, 437.77 sq. km. consists of five subwatersheds, which are SK1, SK2, SK3, SK4 and SK5. Calibration from previous study For model calibration method, the comparison is made between flow rates from simulation and those measured at the measuring stations at the location of study. Since the study area is of small watershed without any measuring station, the model studied is thus compared with the simulation of Mae Nam chi basin which was previously studied by using the same SWAT2003 by the Office of Secretary General of Mekong River in 2005 by using range of data (from subwatersheds 9,12 and 50) already studied during 1985-1999 as representatives of various parameters, as shown in table 1, to be used for Atsamart watershed study. The Atsamart watershed was also be a part of the simulation model previously studied.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

151

Model calibration at station E2 in Yasothon Province located close to the river mouth at the outlet of Atsamart watershed produces percentage volume ratio of 100.23 and coefficient of efficiency of 0.62 which are used to plot flow rates during each period to compare the values obtained from simulation and those from observation as shown in Figure 4. Table 1. SWAT Parameters of Atsamart watershed Variable name PDDY C Ach SOL_Z ESCO

Definition

Swat Landuse Class Hydrologic soil group Soilclass Soil depth data Soil evaporation compensation factor ALPHA_BF Baseflow alpha factor (days)

0.1 to 1.0

Parameter used PDDY C Ach 2,000 0.97

0.1 to 1.0

0.1

Range


152

Variable Definition name GW_REVAP Groundwater “revap” coefficient CN2 Initial SCS runoff curve number to moisture condition II RICE Plant Code

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

Range 0.02 to 0.20 30 to 100

-

Parameter used 0.1091 81

RICE

However, there was a study of Hydrologic Evaluation of the Lower Mekong River Basin with the Soil and Water Assessment Tool Model by Rossi et al., 2009, which mentioned the calculating of total water yield of Mae Nam Chi up to Yasothon at station E2, the same station of Atsamart Watershed by using parameters as shown in Table 2, 3 and Table 4.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

153

Table 2 Calibrated values of adjusted parameter for discharge calibration of the SWAT2003 model for the Lower Mekong River Basin for all eight simulated areas Parameter ESCO

Definition

Soil evaporation compensation factor FFCB Initial soil water storage expressed as a Fraction of field capacity water content Surlag Surface runoff lag coefficient(days) CN2 Initial SCS runoff curve number to moisture condition II Source : Rossi et al., 2009

0.1 to 1.0

Calibrated Value 0.950-0.997

0 to 1.0

0.990-0.995

0 to 4.0

0.263-4.00

30 to 100

44-83

Range


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

154

Table 3 Chi up to Yasothon water balance (mm month-1) Average Precipitation

Precipitation Range

91.0 8.0-266.3 Source : Rossi et al., 2009

Average Surface Runoff 10.6

Total Water Yield 16.5

PET ET 117 76.2

Table 4 Calibration and validation result for Mae Nam Chi at Yasothon (709 Tributary Gauge) Catchment Calibrated Monthly Daily area Period NSE NSE (km2) 43100 1985-1992 0.89 0.79 Source : Rossi et al., 2009

Validation Period

Monthly NSE

Daily NSE

1993-1999

0.74

0.70

To compare total water yield, the above parameters were adjusted to be used for Atsamart watershed study in order to estimate total water yield. The result shown the total water yield was in the range of 17.8-18.2 mm month-1 ,which was only 7.8%-9.34% differ from the result gained from the previous study by the Office of Secretary General of Mekong River that could be for the reason that some unshown parameters used from Rossi’s study were not the


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

155

same. Nevertheless, this small difference in percentage of water yield estimations studied by MRCs and Rossi et al. 2009, is regarded having slightly impact toward the overall water management in Atsamart watershed.


Mae Nam Chi at Yasothon (E.2)

Observed

Simulated

Source : Modified from MRC 2004 Figure 4. SWAT Calibration result modified from previous study

-500.0

0.0 1985 1986 1987 1988 1989 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999

500.0

1000.0

1500.0

2000.0

2500.0

156 วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

157

Results Baseline Scenarios The result of the study of runoff yield with SWAT2003 model in the area of Huai Yang Cher subregion and Huai Sai Kai subregion by using data from the statistics of 20 years during 1985-2004 can be summarized as follows: Huai Yang Cher subregion is divided into three subwatersheds. Most of the runoff yield is produced during May to November every year. The average annual runoff yield is 115.78 million cu. m. with average annual runoff yield for each area having lowest variation at 0.0167-0.0185 cu.m/sec/sq. km. and total average value of 0.0173 cu.m/sec/sq. km. Huai Sai Kai subregion is divided into five subwatersheds. Most runoff yield is produced during May to November every year. The average annual runoff yield is 214.58 million cu.m. with average annual runoff yield for each area having lowest variation at 0.01380.0166 cu.m/sec/sq. km. and total average value of 0.0259 cu.m/sec/sq. km.


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

158

Table 5. Average Annual Runoff of Atsamart watershed Area (sq.km.) YH1 Upper Huai Yang Cher 34.2 YH2 Middle Huai Yang Cher 141.2 YH3 Lower Huai Yang Cher 29.4 Total 204.8 Total Average -

Average Annual Runoff (MCM) (cu.m/sec/sq.km.) 17.90 0.0167 82.46 0.0185 15.42 0.0167 115.78 0.0173

SK1 SK2 SK3 SK4 SK5

35.54 51.77 66.98 44.10 16.19 214.58 -

Code

Subwatershed name

Upper Huai Sai Kai Huai Sang Khea Middle Huai Sai Kai Huai Keaw Lower Huai Sai Kai Total Total Average

81.4 107.2 132.5 84.5 32.3 437.9 -

0.0138 0.0153 0.0160 0.0166 0.0159 0.0259

Climate Change Scenarios For data input of the case of climatic change, the baseline parameters are used, whereas weather data consists of data of rainfall, temperature, solar radiation, wind speed, relative humidity and evaporation during 2000-2050 obtained from PRECIS (Southeast Asia START Regional Center, 2007) program which is used to predict


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

159

climatic change in Thailand and downscaled to the case of Atsamart watershed. The SWAT result of Climate change scenarios impact using weather data during 2010-2050 from PRECIS Forecast model shown that average temperature and precipitation change for Atsamart watershed were increased 2.97% and 3.99% respectively. Details are shown in Figure 5, 6 and Table 6 This caused an increase of 5.03% and 3.77% of water yield in Huai Yang Cher and Huai Sai Kai Subregion. Details are shown in Figure 7, 8 and Table 7. In addition, average monthly flow in Huai Yang Cher and Huai Sai Kai Subregion were increased of 2.59% to 4.93% and 1.59% to 4.12% respectively. Details are shown in Table 8, 9 and Figure 9, 10.


Temp (c.)

PCP (mm.)

89 19

91 19

93 19

95 19

97 19

Baseline Scenarios

99 19

01 20

03 20

05 20

07 20

09 20

11 20

13 20

15 20

17 20

19 20

21 20

23 20

25 20

27 20

29 20

31 20

33 20

35 20

37 20

39 20

41 20

43 20

Climate Change Scenarios

45 20

47 20

Climate Change Scenarios

49 20

Figure 6 Tendency of Precipitation Average for Atsamart watershed PRECIS Model

85 987 989 991 993 995 997 999 001 003 005 007 009 011 013 015 017 019 021 023 025 027 029 031 033 035 037 039 041 043 045 047 049 19 1 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2

0

500

1,000

1,500

2,000

Baseline Scenarios

Figure 5. Tendency of Temperature Average for Atsamart Watershed by PRECIS Model

87 19

2,500

85 19

23

24

25

26

27

28

29

30

160 วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

161

Table 6. Summary of Temperature and Precipitation Change for Atsamart watershed Avg. Period 1885-2004 2010-2025 2026-2041 2041-2050 2010-2050

Avg. Temp. Change % Avg. PCP Change % (Celsius) (Celsius) Change (mm.) (mm.) Change 26.82 1,237.68 27.24 0.43 1.59 1,217.08 -20.59 -1.66 27.68 0.86 3.21 1,279.98 42.31 3.42 28.16 1.34 4.99 1,424.28 186.60 15.08 27.61 0.80 2.97 1,287.11 49.43 3.99


WYLD (cms.)

WYLD (cms.)

85 19

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

85 19

0

1,000

2,000

3,000

4,000

5,000

6,000

87 19

87 19

89 19

89 19

95 19

97 19

99 19

91 19

01 20

03 20

05 20

07 20

09 20

11 20

13 20

15 20

17 20

19 20

21 20

23 20

25 20

27 20

29 20

31 20

33 20

35 20

37 20

39 20

Climate Change Scenarios

95 19

97 19

99 19

01 20

03 20

05 20

07 20

09 20

11 20

13 20

15 20

17 20

19 20

21 20

23 20

25 20

27 20

29 20

31 20

33 20

35 20

37 20

39 20

41 20

41 20

Figure 8. Average Runoff Yield Change for Huai Yang Cher Subregion

93 19

Climate Change Scenarios

WYLD for Yang Cher Basin by SWAT

Figure 7. Average Runoff Yield Change for Huai Sai Kai Subregion

93 19

Baseline Scenarios

91 19

Baseline Scenarios

WYLD for Sai Kai Basin by SWAT

43 20

43 20

45 20

45 20

47 20

47 20

49 20

49 20

162 วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

163

Table 7. Runoff Yield Change for Huai Yang Cher and Huai Sai Kai Subregion by SWAT Avg. Period 1885-2004 2010-2025 2026-2041 2041-2050 2010-2050

Huai Yang Cher Subregion Huai Sai Kai Subregion Avg. Temp. Change % Avg. PCP Change % (Celsius) (Celsius) Change (mm.) (mm.) Change 1,339.76 2,483.29 1,375.97 36.21 2.70 2,515.06 31.77 1.28 1,381.49 41.73 3.11 2,519.83 36.54 1.47 1,508.45 168.69 12.59 2,788.61 305.32 12.30 1,407.20 67.44 5.03 2,576.97 93.68 3.77


วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

164

Table 8. Average Monthly Flow Change for Huai Yang Cher Subregion by SWAT Month JAN FEB MAR APR MAY JUN JUL AUG SEP OCT NOV DEC Average. Change (+/-) Change (%)

Year Year Year Year Year 1985-04 2010-25 2026-41 2042-50 2010-50 1.4 1.7 1.8 2.0 1.8 1.9 1.9 1.8 1.8 1.8 1.9 1.6 1.6 1.7 1.6 2.2 1.6 1.7 1.9 1.7 3.4 3.8 3.1 3.8 3.5 6.1 4.5 5.5 5.4 5.1 4.9 5.8 6.4 6.9 6.3 7.6 6.9 6.9 7.5 7.1 7.0 7.4 7.0 7.8 7.3 4.2 4.9 4.5 5.3 4.9 1.9 3.0 2.9 3.2 3.0 1.6 2.2 2.0 2.2 2.1 3.7 3.8 3.8 4.1 3.8 +/0.1 0.1 0.5 0.2 +/- (%) 2.59 3.03 12.46 4.93


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

165

Table 9. Average Monthly Flow Change for Huai Sai Kai Subregion by SWAT Month JAN FEB MAR APR MAY JUN JUL AUG SEP OCT NOV DEC Average. Change (+/-) Change (%)

Year Year Year Year Year 1985-04 2010-25 2026-41 2042-50 2010-50 2.7 2.9 3.0 3.4 3.0 2.9 3.1 3.1 3.9 3.3 3.1 2.8 2.9 3.4 3.0 3.6 2.8 3.4 3.5 3.2 6.7 7.9 6.7 7.7 7.4 10.7 9.0 11.2 10.9 10.3 8.7 10.7 12.1 14.3 12.0 18.2 13.7 13.3 14.4 13.7 11.5 14.3 12.6 14.7 13.7 6.8 7.7 6.8 7.6 7.4 3.5 4.2 4.1 4.4 4.2 2.8 3.3 3.2 3.2 3.3 6.8 6.9 6.9 7.6 7.0 0.1 0.1 0.9 0.3 1.59 1.83 12.69 4.12


Average monthly flow (m3 /s)

0

1

2

3

4

5

6

7

8

9

FEB 1985-2004

MAR

APR

2010-2025

MAY

JUN

AUG 2026-2041

JUL

OCT 2042-2050

SEP

DEC 2010-2050

NOV

Figure 9. Average Monthly Flow Change for Huai Yang Cher Subregion

JAN

Average Monthly Flow Change for Yang Cher Subregion

166 วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554


Average monthly flow (m3 /s)

0

2

4

6

8

10

12

14

16

18

20

JAN

MAR

MAY

2010-2025

APR

JUL 2026-2041

JUN

SEP 2042-2050

AUG

OCT

DEC 2010-2050

NOV

Figure 10. Average Monthly Flow Change for Huai Sai Kai Subregion

1985-2004

FEB

Average Monthly Flow Change for Sai Kai Subregion

Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011 167


168

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

Discussion and Conclusions This study applied SWAT, which could determine spatial and physical relations of rainfall and runoff to evaluate impacts of climate change on runoff and to study feasibilities and accuracy of such model before applying to the study as stated in objectives and criterion. The data set-up and analysis together with the existing DSF system are integrated in accordance with conditions of targeted areas in order to evaluate parameters appropriately. With past climatic data, the previous use of SWAT has limited capacities by only gauging the rainfall in percentage or temperature changes in degree Celsius and could possibly generate inaccurate result on series of data for forecasting rainfall and temperature in the long run. The research applied future climate change data of 20102050 derived from applying the Providing Regional Climates for Impact Studies (PRECIS) to use with a climate model to simulate climate change projection in the next 40 years. This is considered a new model technique applying SWAT to study climate condition. The climatic data taken from the PRECIS model include the average of rainfall, wind speed, solar radiation were from the year 2010-2050, excluding relative humidity. The result shows the reasonable increasing trend of temperature and is in correspond with the study of Chinvanno et al., 2009, which forecasted future climate change in


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

169

Northeastern part of Thailand, particularly the area nearby the Mae Kong River by using PRECIS and ECHAM4 models. According to the estimation of runoff in the area of Atsamart watershed, the average current runoff is about 368.46 MCM/year or 0.0194 cu.m/sec/sq.km. In the year 2050 when the region temperature is expected to rise at the average of 0.8 째C and rainfall to increase for another 4%, the runoff at Atsamart is estimated to increase for about 3-5%, which has no significance on land use and management practices and is considered minimal when compared with the future water demand, approximately twofold of the average current runoff, such as water uses for agriculture and consumption and water balance in ecosystem. Although the application of SWAT model to geographical information data, enables simulation to observe changes when variables are changed in the computer, those who make use of the model need to be aware that some input data can be directly measured, whereas others can only be obtained through mathematical method and thus might contain errors. The study of relation, in terms of rainfall and runoff is significant and must be conducted at an initial stage of water resources engineering. The study includes hydrological analysis in order to generate runoff yield to analyze study feasibilities of water resources engineering such as water resources development


170

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

feasibility, watershed and water balance, flood prevention, as well as dam or reservoir design. Those studies require to having most accurate runoff yield which could be appropriately applied to the real condition as project develops. The parameters used in Mae Nam Chi watershed SWAT model developed by the Mekong River Commission Secretariats (MRCs) together with the study of Rossi et al., 2009 could be applied with the DSF system of lower Kong River watershed, which covers Mae Nam Chi watershed positively to calculate runoff yield from precipitation and analyze physical relations of Atsamart watershed, the only 1.5 % area of Mae Nam Chi watershed. To calculate reasonable output, parameters and existing database are adjusted in order to import logical data which corresponds with actual runoff. However, water measuring stations need to be set up, especially at the river outlet of Atsamart watershed in the future to ensure the accuracy of the result of the runoff forecast or the monitoring of changes in water quality such as sediment deposition, oxygen content in the water or solvents that affect the watershed system. Upon daily observed data are obtained, the parameters should be re-calibrated in order to generate a more accurate and reliable data.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

171

References Arnold, J.G. and N. Fohrer. (2005) SWAT2000: current capabilities and research opportunities in applied watershed modeling. Hydrol. Process. 19(3): 563-572. Chinvanno S., Laung-Aram V., Sangmanee C. and Thanakitmetavut J. (2009) Southeast Asia START Regional Center Technical Report No. 18: Future Climate Projection for Thailand and Mainland Southeast Asia Using PRECIS and ECHAM4 Climate Models. Southeast Asia START Regional Center. Bangkok. Fu, C., S. Wang, Z. Xiong, W.J. Gutowski, D.-K. Lee, J.L. McGregor, Y. Sato, H. Kato, J.-W. Kim, and M.-S. Suh. (2005) Regional climate model intercomparison project for Asia. 86(2): 257–266. Gassman P.W., M. Reyes, C.H. Green, and J.G. Arnold. (2007) The Soil and Water Assessment Tool: Historical development, applications, and future directions. Trans. ASABE 50(4): 1211-1250. Gregory, J.M., J.A. Church, G.J. Boer, K.W. Dixon, G.M. Flato, D.R. Jacket, J.A. Lowe, S.P. O’Farrell, E Roeckner, G.L. Russell, R.J. Stouffer, and M. Winton. Comparison of results from several AOGCMs for global and regional sea-level change 1900-2100. Climate Dynamics 18: 225-240.


172

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

Hadley Centre. (2002) The Hadley Centre regional climate modeling system: PRECIS – Update 2002, providing regional climates for impact studies. Met Office, Hadley Centre, Bracknell, Berkshire, United Kingdom. Available at: http://precis.metoffice.com/new_user.html. Jones, R.G., Noguer, M., Hassell, D.C., Hudson, D., Wilson, S.S., Jenkins, G.J. and Mitchell, J.F.B. (2004) Generating high resolution climate change scenarios using PRECIS, Met Office Hadley Centre, Exeter, UK, 40pp. MRC. (2004) Water Utilisation Project Component A: Development of Basin Modelling Package and Knowledge Base (WUP-A). Technical Reference Report DSF 620 SWAT and IQQM Models. Mekong River Commission, Bangkok, Thailand. Neitsch S.L., Arnold J.G., Kiniry J.R. and Williams J.R. (2001) Soil and Water Assessment Tool User’s manual Version 2000. Grassland, Soil and Water Research Laboratory, Agricultural Research Service, Texas. 86 p. Rossi C.G., Srinivasan R., Jirayoot K., Le Due T., P. Souvannabouth, Binh N. and Gassman P.W. (2009) Hydrologic Evaluation of the Lower Mekong River Basin with the Soil and Water Assessment Tool Model. IAEJ, 18(1-2):1-13.


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

173

Southeast Asia START Regional Center. (2007) PRECIS meeting, 31 Oct 2007 - 02 Nov 2007: Future Climate Changed in Thailand. Bangkok, Thailand. The National Water Resource Board. (2004) Guidelines of Watershed Management in Thailand. In: Seminar’s supporting document of World Water Day. March 22, 2004. UNEP. (2007) The fourth Global Environment Outlook: environment for development (GEO-4). United Nations Environment Programme, United Kingdom. Available at: http://www.unep.org/geo/geo4/media. Williams, J.R., J.G. Arnold, J.R. Kiniry, P.W. Gassman, and C.H. Green. (2008) History of model development at Temple, Texas. Hydrol. Sci. J. 53(5): 948-960.


174

แนะนําหนังสือ นิวเคลียร์ : ทางเลือกผิดที่แสนแพง ตํานานของยุคอุตสาหกรรมนิวเคลียร์

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

บรรณาธิการ

หนั ง สื อ แปลเล่ ม เล็ ก จากเยอรมนี ของกระทรวงสิ่ ง แวดล้ อม ทรั พ ยากรธรรมชาติแ ละความปลอดภัย ทางนิ ว เคลี ย ร์ (BMU) ที่ แ ปลโดย เชษฐพงษ์ จรรยานุรักษ์ และ ไพบูลย์ ช่วงทอง ที่เพิ่งเริ่ มเผยแพร่ ในปี พ.ศ. 2554 ทั้งที่เริ่ มต้ นแปลหนังสือตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2552 นั้น ส่วนหนึ่ง น่าจะได้ รับผลกระตุ้นจากเหตุการณ์ที่ฟคุ ชุ ิมะ ประเทศญี่ปนที ุ่ ่ผ่านมา หนังสือ ได้ ให้ คําตอบในมุมมองใหม่ๆ ของคําถามเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในหลาย ประเด็น รวมถึงชี ้ถึงคําตอบที่หลายคนเคยคิดไว้ ว่าจริ งอย่างที่เป็ นอยู่ว่า เรื่ อง นี ้เป็ น “วาทกรรมดัง้ เดิ มของการต่อสู้หรื อไม่” หนังสือพยายามตอบคําถาม ที่ว่าพลังงานที่ได้ จากนิวเคลียร์ และผลจากการสร้ างพลังงานนั้นคุ้มค่า ดีพอ หรื อ ไม่ โดยให้ ภ าพของอุตสาหกรรมนิ วเคลี ยร์ แ บบง่า ยๆ ที่ เกิ ดขึน้ จริ ง ใน ประเทศเยอรมันนีได้ ชดั เจนขึ ้น หนังสือเริ่ มต้ นคําถามแรกที่ ว่าพลังงานนิวเคลียร์ สามารถปกป้อง รั กษาสภาพภูมิ อากาศได้ หรื อไม่นั้น คําตอบคือ “ไม่ ” เพราะพลังงานจาก นิ ว เคลี ย ร์ แ ม้ ว่า จะได้ เ ป็ นไฟฟ้ าหรื อ ในรู ป ของความร้ อนนั้น ไม่ ไ ด้ ล ดก๊ า ซ คาร์ บ อนไดออกไซด์ จ ากระบบขนส่ง ได้ อี ก ทั้ง ยัง ไม่ ใ ช่ “พลัง งานสี เ ขี ย ว” เพราะกระบวนการผลิตยังคงปลดปล่อยก๊ าซคาร์ บอนไดออกไซด์ในปริ มาณที่ สูงกว่าพลังงานหมุนเวียนอื่น เช่น พลังงานจากลม และพลังงานจากนํ ้า ในประเด็นด้ านความปลอดภัยนั้น ภาพความผิดพลาดที่ปรากฎขึ ้น หลายครั้งที่ผ่านมาในหน้ าประวัติศาสตร์ ร่ วมกับความเสี่ยงหลายประการซึ่ง สรุ ป รวมได้ ว่า 1) เทคโนโลยี ก ารผลิตของโรงไฟฟ้าเป็ นเทคโนโลยี ขั้น สูง ที่


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

175

ซับซ้ อน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบตั ิเหตุทางนิวเคลียร์ เช่นที่เคยเกิดขึ ้น มาแล้ ว 2) ยูเรเนียม และพลูโตเนียมที่เป็ นแหล่งกําเนิดพลังงานมีความเสี่ยง ต่อการนําไปผลิตอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อการต่อการร้ายได้ เช่นกัน 3) การกําจัด กากนิวเคลียร์ ที่อันตรายสูงนั้น ปั จจุบนั ยังไม่มีแหล่งเก็บกากนิวเคลียร์ ถาวร นอกจากเป็ นการเก็บแบบชัว่ คราวในเหมืองเกลือที่ยงั ไม่มีข้อพิสจู น์ว่ามีความ เหมาะสม และป้องกันอันตรายได้ ทั้งหมด 4) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ต้องมีการ จํากัดอายุการใช้ งานที่รัฐสามารถรับผิดชอบต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบตั ิเหตุ และมาตรการการกํ าจัดกากนิ วเคลียร์ ที่ชัดเจน ดังนั้นในเยอรมนี จึงมี การ ทยอยปิ ดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เรื่ อยมาตามอายุการใช้ งาน และหากต้ องมีการ ขยายระยะเวลาการใช้ งานต่อจะต้ องได้ รับความเห็นชอบในระดับรั ฐมนตรี และการยืดอายุการใช้ งานโรงไฟฟ้าออกไปไม่ใช่การส่งเสริ มการใช้ พลังงาน ทางเลือก เพราะในปี ค.ศ. 2007 เยอรมนีสามารถผลิตพลังงานทางเลือกอื่น ได้ สงู กว่าปริ มาณที่คาดว่าจะใช้ ทดแทนพลังงานจากนิวเคลียร์ นอกจากนี ้การ ยืนอายุการใช้ โรงไฟฟ้ายังเป็ นการขัดขวางการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่ยงั่ ยืน ยืดหยุน่ และควบคุมได้ งา่ ยกว่าพลังงานจากนิวเคลียร์ ประเด็นเรื่ องการทดแทนการใช้ นํ ้ามันนั้น ในเยอรมนีไม่ได้ ใช้ นํ ้ามัน ในการผลิตไฟฟ้า และใช้ ก๊าซธรรมชาติเพียงร้อยละสิบเท่านั้น ดังนั้นการใช้ นํ ้ามันจึงไม่ได้ เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ แต่อย่างใด และไม่มีผลต่อการลดค่า ไฟฟ้าลง เพราะหากสามารถลดค่าใช้ ไฟฟ้าได้ จริ งในปั จจุบนั เยอรมนีที่มีการ ผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ จะต้ องมีคา่ ไฟฟ้าที่ประชาชนต้ องจ่ายลดลงมากกว่า นี ้ แต่เพราะค่าไฟฟ้าถูกกําหนดโดยตลาดไฟฟ้าและผู้ผลิตที่หวังผลกําไร ค่า ไฟฟ้าจึงไม่ได้ ลดลง ยุคฟื น้ ฟูของพลังงานนิวเคลียร์ ไม่สามารถเกิดขึ ้นได้ เพราะแม้ ว่าจะ มีการเปิ ดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ใหม่ แต่ก็มีการปิ ดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ที่เก่า


176

วารสารวิ จยั สังคม ปี ที ่ 34 ฉบับที ่ 1 2554

แล้วเช่ น กั น ประกอบกั บ นโยบายการสนั บ สนุ น การสร้ างเตาปฏิ ก รณ์ นิวเคลียร์ ทําได้ ยากหากไม่มีงบประมาณจํานวนมากที่สนับสนุนจากรัฐ และ ความเสี่ยงของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เองทําให้ มีกระแสการต่อต้ านสูง อีกทั ้ง พลังงานนิวเคลียร์ ทําให้ เยอรมนีต้องพึง่ พาการนําเข้ ายูเรเนียม100 เปอร์ เซ็นต์ และคาดว่าในอีกร้ อยปี จะต้ องใช้ วิธีการสกัดยูเรเนียมที่มีราคาแพงมาใช้ เมื่อ นํามารวมกับ โอกาสเสี่ย งในการสร้ างอาวุธ นิว เคลีย ร์ เ พื่อ การก่อ การร้ าย แล้ วยุคฟื น้ ฟูของพลังงานนิวเคลียร์ จงึ ยากที่จะเกิดขึ ้น ประเด็นสุดท้ ายที่หนังสือได้ นําเสนอคือประเด็นเชิงเศรษฐกิจด้ าน ราคา และการจ้ างงานนั้น ชี ้ว่าพลังงานนิวเคลียร์ ไม่ใช่พลังงานราคาถูกอย่าง ที่เข้ าใจ เพราะต้ องมีการลงทุนจากรัฐจํานวนมหาศาลในด้ านความปลอดภัย และการจัดเก็บกากนิวเคลียร์ ที่ถือเป็ นความเสี่ยงเชิงเศรษฐศาสตร์ เมื่อมอง ด้ านการกระจายรายได้ แล้ วโรงไฟฟ้านิวเคลียรใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงจึงมีการจ้ าง งานจํ า นวนน้ อ ยมากเมื่ อ เที ย บกับ การสร้ างโรงไฟฟ้ าพลัง งานทางเลื อ กที่ ปกป้ องบรรยากาศของโลกแบบอื่ น และการรั ก ษาเสถี ย รภาพของราคา พลัง งาน และการทํ า ให้ ร าคาพลัง งานถูก ลงจะอยู่ที่ ก ารสร้ างกลไกตลาด ร่ ว มกับ การใช้ พ ลัง งานอย่า งมี ป ระสิท ธิ ภ าพ และการเพิ่ ม การใช้ พ ลัง งาน ทางเลื อ กมากกว่า รวมถึง จะเป็ นการลดการพึ่ง พาการนํ า เข้ า พลังงานอี ก ประการหนึ่ง และเมื่ อ ใช้ พ ลัง งานทางเลื อ กก็ จ ะเป็ นหลัก ประกัน ถึ ง แหล่ง พลังงานสํารองในอนาคตของเยอรมนีด้วย หนังสือเล่มนี ้เป็ นหนังสือที่มีขนาดจํานวนหน้ าที่กะทัดรัด ความง่าย และกระชับของภาษาที่ใช้ ทําให้ เหมาะสําหรับผู้ที่ไม่มีพื ้นความรู้ด้านพลังงาน หรื อวิศวกรรมพลังงานที่มีความซับซ้ อนสามารถเข้ าใจได้ ง่าย สาระที่ปรากฏ ในเล่มได้ ชี ้ประเด็นหลักๆ ที่บคุ คลทัว่ ไปความทราบสําหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในรู ป ของข้ อ เท็ จ จริ ง และตัว อย่ า งจากประเทศที่ ใ ช้ และเคยใช้ พ ลัง งาน


Journal of Social Research Institute Vol.34 No.1 2011

177

รู ปแบบนี ้ สาระในหนังสือในภาพรวมแล้ วแม้ ว่าจะชี ้ให้ เห็นในแง่บวก และแง่ ลบของพลัง งานทางเลื อ กชนิ ด นี ้ แต่ ส่ ว นมากยัง มุ่ง ประเด็ น ในการมอง ภาพลักษณ์ ของพลังงานที่มีความเสี่ยง ราคาไม่ถูกตามวาทกรรมเดิมที่ถูก นําเสนอ และโอกาสที่เราจะได้ รับผลกระทบจากความเสี่ยงจากโรงไฟฟ้าใน ประเด็นต่างๆ และเนื่องจากหนังสือเล่มนี ้เผยแพร่ หลังจากเหตุการณ์วิปโยคที่ ฟุคชุ ิมะ จึงเป็ นเสมือนการตอกยํ ้าถึงอันตรายของการใช้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มากขึน้ แม้ ว่าโรงไฟฟ้านั้นจะสร้ างจากเทคโนโลยี ชั้นนํ าที่มีความเชื่ อว่ามี ความปลอดภัยสูงก็ตาม อย่า งไรก็ ต ามข้ อ มูล ที่ ย่อ ยให้ ง่ า ยแล้ ว ในหนัง สื อ เล่ม นี ้ จึ ง เหมาะ สําหรั บการเผยแพร่ ให้ กับบุคคลทั่วไปที่จะสามารถเข้ าใจในเรื่ องโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ ได้ ในระดับหนึ่ง และเหมาะในการนําไปเผยแพร่ เพื่อตอบโต้ ตอ่ วาท กรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เดิมๆ ที่มี มาในมุมมองใหม่ๆ โดยเฉพาะใน ประเทศที่กําลังจะเลือกผลิต และ ใช้ พลั ง งานนิ ว เคลี ย ร์ เช่ น ใน ประเทศไทยว่า ความคุ้มค่าคุ้มทุน ในการผลิตพลังงานราคาถูกชนิด นี ้ เมื่อคิดต่อหน่วยตามความเชื่อ เดิ ม กั บ ความเสี่ ย งที่ อ าจจะ เกิ ด ขึ น้ ในแง่ มุ ม ต่ า งๆ นั้น เป็ น อย่ า งไร รวมทั้ง ความจริ ง ที่ ว่ า พลังงานจากนิวเคลียร์ นั้นแท้ จริ ง แล้ ว “ราคาถูก” จริ งหรื อไม่


หลักเกณฑ์ การเสนอบทความเพื่อตีพมิ พ์ ในวารสารวิจัยสังคม หลักเกณฑ์ วารสารวิจยั สังคม (ฉบับปรับปรุง เมษายน 2554) วัตถุประสงค์ วารสารวิจยั สังคม เป็ นวารสารวิชาการของสถาบันวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี วัตถุประสงค์เพื่อการเป็ นเวทีวชิ าการในการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ และผลงานทาง วิชาการด้ านสังคมศาสตร์ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา การพิจารณารับบทความ วารสารวิจยั สังคม มีนโนยายรับพิจารณาบทความเชิงวิจยั บทความเชิงวิชาการ และ ข้ อเขียนของนักวิชาการ นักวิจยั นิสติ นักศึกษาและบุคคลทัว่ ไป ทังภาษาไทยและ ้ ภาษาอังกฤษทีเ่ กี่ยวข้ องและได้ มาตรฐานตามทีว่ ารสารวิจยั สังคมได้ กําหนดไว้ ทังนี ้ ้โดย ไม่คาํ นึงถึงหน่วยงานต้ นสังกัด พื ้นฐานทางการศึกษา แหล่งถิน่ ทีพ่ ํานัก หรื อศาสนาของ ผู้เขียน ข้ อกําหนดในการส่ งและพิจารณาต้ นฉบับ 1. ต้ นฉบับพิม พ์ด้วย Microsoft Word for Windows ความยาว 10-30 หน้ า กระดาษ A4 2. ใช้ แบบตัวอักษร Angsana News 16 หรื อ Cordia News 16 3. ระบุ ชื่อของผู้เขียน หน่วยงานทีส่ งั กัด ตําแหน่งทางวิชาการ / ประวัตผิ ้ เู ขียนโดยย่อ (ถ้ ามี) 4. มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 1 หน้ ากระดาษ A4 5. ผลงานวิชาการที่ส่งมาต้ องไม่ได้ รับการเผยแพร่ ที่ใดมาก่อน 6. การส่งต้ นฉบับให้ จดั ส่งเอกสารพร้ อมไฟล์ต้นฉบับที่บนั ทึกลงแผ่นซีดี หรื อจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ส่งถึง กองบรรณาธิการ “วารสารวิจยั สังคม” สถาบันวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิศษิ ฐ์ ประจวบเหมาะ ชัน้ 5 ถนนพญาไท กรุ งเทพฯ 10330 email: sripub06@yahoo.com


7. กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความที่ส่งมาและเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒคิ ดั กรอง บทความ เพื่อพิจารณาคุณภาพความเหมาะสมของบทความก่อนการจัดพิมพ์ 7.1 ในกรณีที่ผลการพิจารณาให้ จดั พิมพ์ได้ หรื อต้ องมีการปรับปรุ งแก้ ไข ก่อน กองบรรณาธิการจะแจ้ งให้ ทราบ โดยผู้เขียนจะต้ องดําเนินการ ปรับแก้ ให้ แล้ วเสร็ จภายในระยะเวลาที่กําหนด และกอง บรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตกแต่งต้ นฉบับความถูกต้ องตาม หลักภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 7.2 ในกรณีที่ผลการพิจารณาไม่สามารถจัดพิมพ์ได้ กองบรรณาธิการ จะแจ้ งและส่งต้ นฉบับผลงานคืนแก่ผ้ เู ขียน 8. ลิขสิทธ์ของผลงาน ทัศนะและข้ อคิดเห็นในวารสารวิจยั สังคมเป็ นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทศั นะ และข้ อเขียนของกองบรรณาธิการ หรื อสถาบันวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนําข้ อความใดๆ ไปผลิต/เผยแพร่ ซํ ้าต้ องได้ รับ อนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจยั สังคมว่าด้ วยกฎหมาย ลิขสิทธิ์ แนวทางในการพิจารณาบทความ 1. กองบรรณาธิการ ส่งบทความไปยังผู้ทรงคุณวุฒเิ พื่อพิจารณาคัดกรองบทความ ตาม ความสนใจ และความเชี่ยวชาญของผู้ทรงคุณวุฒจิ ํานวน 1 บทความ / 2 ท่าน 2. ผู้ทรงคุณวุฒจิ ะให้ ข้อคิดเห็น/ข้ อเสนอแนะ ตามที่เห็นสมควร ลงในแบบฟอร์ ม ข้ อคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ และส่งคืนกลับยังกองบรรณาธิการ 3. กองบรรณาธิการส่งต้ นฉบับและข้ อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒใิ ห้ ผ้ เู ขียนปรับแก้ ไข (ถ้ ามี) ภายในระยะเวลา 2 เดือน และส่งต้ นฉบับ(ฉบับแก้ ไข) กลับมายังกองบรรณาธิการ เพื่อพิจารณาว่าได้ ปรับแก้ หรื อไม่อย่างไร


ติดต่อหรื อส่งบทความลงตีพิมพ์ได้ ที่ สถาบันวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิศษิ ฐ์ ประจวบเหมาะ ชัน้ 5 ถนน พญาไท กรุ งเทพฯ 10330 Chulalongkorn University Social Research Institute Thanon Phayathai, Bangkok 10330 Thailand Tel. 0-2218-7385, 0-2218-7396, 0-2218-7401 Fax 0-2215-5523, 0-2255-2353 E-mail: cusri@chula.ac.th, sripub06@yahoo.com http://www.cusri.chula.ac.th


วารสารวิจัยสังคม

* การเเก การเเกปญ ปญหาด หาดานที านที่อยู่ออยูาศั อาศัยของชุ ยของชุมชนบุ มชนบุกรุกกรุพืกพื้นที้น่ ใทีนเขตเมื ่ ในเขตเมืององ11 โดยการมี โดยการมีสวสนร วนรวม: วม:กรณี กรณีศึกศษาชุ ึกษาชุมชนคลองลำนุ มชนคลองลำนุน นกรุกรุงเทพมหานคร งเทพมหานคร

* การวิ การวิเคราะห เคราะหศักศยภาพของพื ักยภาพของพื้นที้น่เทีพื่เพื่อรองรั ่อรองรับการขยายตั บการขยายตัวดวาดนาน66 ที่อทียู่ออยูาศั ย ของชุ ม ชน: กรณี ศ ก ึ ษา เขตเทศบาลตำบลโคกมะกอก อาศัยของชุมชน: กรณีศึกษา เขตเทศบาลตำบลโคกมะกอก อำเภอเมื อำเภอเมืองปราจี องปราจีนบุนรบุี รจัี งจัหวั งหวัดปราจี ดปราจีนบุนรบุี รี * วาทกรรมช วาทกรรมชองว องวางการจั างการจัดการเหมื ดการเหมืองเเร องเเร: : มุมมุมองที มมองที่แตกต ่แตกตางกั างกับผลกระทบการพั บผลกระทบการพัฒฒนาที นาที่ไม่ไยมั่งยยืั่งนยืน * Water WaterResources ResourcesManagement: Management:Hydrologic HydrologicEvaluation Evaluationand and Effect of Climate Change on the Atsamart Watershed, Effect of Climate Change on the Atsamart Watershed, Northeastern NortheasternRegion, Region,Thailand Thailand

ปที่ 34 ฉบับที่ 1 2554

* การพั การพัฒฒนาการศั นาการศักยภาพท กยภาพทองเที องเที่ยวจั ่ยวจังหวั งหวัดเพชรบุ ดเพชรบุรีอรยีอายงยั างยั่งยื่งนยืน22 ผผานการประยุ ก ต ใ ช ร ะบบสารสนเทศภู ม ศ ิ าสตร านการประยุกต ใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตร

* พลัพลังงานนิ งงานนิวเคลี วเคลียรย:ร:ทางเลื ทางเลือกที อกที่เเสนเเพง ่เเสนเเพง

ISSN 0857-9180

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย อาคารวิศิษฐ ประจวบเหมาะ ชั้น 5 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทรศัพท : 0 2218 7396 โทรสาร : 0 2255 2353 Email : cusri@chula.ac.th

วารสารวิจัยสังคม

Journal of Social Research Institute ปที่ 34 ฉบับที่ 1 2554


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.