Creative Thailand Magazine

Page 18

COVER STORY เรื่องจากปก

Artspace.com ช้อปปิ้งงานศิลป์บนโลกออนไลน์ ตัวเลขจาก The European Fine Art Foundation เผย ว่า ทุกวันนี้ตลาดการค้างานศิลปะของโลกมีมูลค่าสูงถึงแปด หมืน่ ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่นา่ แปลกทีว่ า่ ทำ�ไมธุรกิจอีคอมเมิรซ์ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดศิลปะนั้น กลับยังไม่ค่อยก้าวตามกระแส ความต้องการนี้เท่าไรนัก

ด้วยเหตุนี้นักสะสมงานศิลปะตัวยงอย่างแคเธอรีน เลวีน (Catherine Levene) และหุ้นส่วนคริส วรูม (Chris Vroom) จึงมองเห็น “โอกาสทอง ทางธุรกิจ” ที่จะทำ�ให้ทั้งตัวเองและนักสะสมคนอื่นๆ สามารถ “เป็น เจ้าของ” ชิ้นงานศิลปะจากทั่วโลกได้ง่ายขึ้น และนั่นก็คือที่มาของ artspace.com คำ�ตอบสำ�หรับนักล่าศิลปะ ในฐานะสมบัติยุคใหม่ สำ�หรับนักสะสมมือใหม่ที่อยากจะเริ่มสร้างคอลเล็กชั่นของตัวเอง artspace.com ถือเป็นอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบของการค้างานศิลปะใน ปัจจุบัน ซึ่งหากคุณสมัครเป็นสมาชิกแล้ว คุณจะสามารถสืบค้นและ “คลิกซือ้ ” ผลงานศิลปะทีเ่ ข้าตาได้จากแทบทุกมุมโลก ไม่วา่ จะเป็นชิน้ งาน ตัวจริงราคาสูงลิ่ว หรือจะเป็นงานพิมพ์ลิมิเต็ด เอ็ดดิชั่น ที่ราคาย่อมเยา ลงมา ส่วนในกระบวนการทำ�งานนัน้ ทางทีมภัณฑารักษ์ของ artspace.com 18 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2556

จะคอยอัพโหลดภาพของผลงานใหม่ๆ ที่ทางพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี และ องค์กรวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลกเสนอขาย โดยในลิสต์ของกลุ่มผู้ค้านั้น ไม่ได้มแี ค่แกลเลอรีขนาดเล็กหรือขนาดกลางทัว่ ไป แต่ยงั รวมไปถึงองค์กร วัฒนธรรมระดับบิก๊ อย่าง พิพธิ ภัณฑ์กกุ เกนไฮม์ (Guggenheim Museum) หรือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิแตน (Metropolitan Museum of Art) เลยทีเดียว หลังจากเปิดตัวมาได้สองปีกว่า ปัจจุบัน artspace.com มียอด สมาชิกตบเท้าเข้าร่วม “ซื้อ-ขาย” แล้วเกือบ 150,000 คน จาก 25 ประเทศทั่วโลก ราคาสินค้าบนเว็บมีตั้งแต่ระดับสองร้อยเหรียญไปจนถึง เกือบสามล้านเหรียญสหรัฐฯ “แนวคิดของเราคือการทำ�ให้คนวงกว้าง สามารถเข้าถึงตลาดศิลปะได้ง่ายในระดับราคาที่เป็นไปได้ก่อน แต่วันใด เมื่อคุณอยากจะไต่บันไดขึ้นไปสูงๆ เราก็มีตลาดตรงนั้นตอบสนองให้ เหมือนกัน artspace.com จะไม่สต็อกงานใดๆ ไว้กับตัว เราแค่อำ�นวย ความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขาย และขอเก็บค่าคอมมิสชั่นจากตรงนั้น ซึ่ง เราเชื่อว่านี่คือโมเดลที่ประหยัดและคุ้มสำ�หรับทุกฝ่าย” แคเธอรีนกล่าว อย่างไรก็ดี หากใครคิดจะเริ่มก้าวไปในเส้นทางนักสะสมงานศิลปะ และพร้อมที่จะสร้าง “พื้นที่ชีวิต” ที่เพียงพอให้กับมัน ต้องไม่ลืมว่า วัฒนธรรมการซื้อขายงานศิลปะนั้นไม่เหมือนกับวัฒนธรรมการซื้อของ ออนไลน์ทั่วๆ ไป เพราะส่วนใหญ่แล้ว “งานศิลปะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนคืน ไม่ได้ (non-refundable)” แต่มันเป็นเรื่องของการให้ค่าส่วนบุคคล และ มันจะมีความหมายเกินราคาก็ต่อเมื่อคุณสร้างพื้นที่ความผูกพันร่วมกับ มันจริงๆ เท่านั้น ตราบใดที่เราทุกคนเชื่อว่า “ศิลปะ” คือบทสนทนาระหว่างมนุษย์กับ จินตนาการ และเป็นเชื้อเพลิงที่จะนำ�พาสังคมไปสู่ความงอกงามในมิติ อื่นๆ ได้ เมื่อนั้นเราทุกคนก็มีหน้าที่ร่วมกันที่จะต้องบ่มเพาะความสนิท สนมต่อโลกศิลปะนี้ ให้คงอยู่กับอารยธรรมของเราไปชั่วลูกชั่วหลาน วิวัฒนาการของ “พื้นที่ศิลปะ” ที่ทั้งพลิกแพลงและขยายวงออกไปอย่าง กว้างขวางนี้มิได้เป็นผลงานของนักจัดการวัฒนธรรมหรือเหล่าศิลปิน เท่านั้น หากแต่รสนิยมของผู้บริโภคเอง รวมไปถึงวิสัยทัศน์การพัฒนา เมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีต่างๆ ในยุคดิจิทัล ก็ล้วนมี บทบาทที่สำ�คัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้ “โลกศิลปะ” เติบโต เข้มแข็ง และเปิดกว้างสำ�หรับ “ทุกชีวิต” ได้อย่างแท้จริง ที่มา: artspace.com cnbc.com creativespaces.net.au manager.co.th tcdcconnect.com 798district.com


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.