CT-Magazine Vol.13

Page 1

นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

ENTREPRENEUR Opendream

ตุลาคม 2553 ปีที่ 2 | ฉบับที่ 1

social innovation

Creative City สวีเดน

The Creative สุนติ ย์ เชรษฐา

แจกฟรี



Editor's Note บทบรรณาธิการ

A business cannot succeed in the society that fails “ธุรกิจไม่สามารถสำเร็จได้ในสังคมที่ล้มเหลว” ดร. ราเชนทรา ปาจาอุรี ประธานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)


สารบัญ The Subject: โครงการออกแบบโรงพยาบาลเกาะยาว

6

The Object: Better Design, Better Life

7

วัตถุดิบ: Book / DVD / Magazine

8

เปลี่ยนโลกรอบตัว: Green Office

10

Classic Item: Surface Irrigation

11

เรื่องจากปก: นวัตกรรมเพื่อสังคม

12

คิด ทำ กิน: โอเพ่นดรีม

20

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์: Super Swede

24

มุมมองของนักคิด: สุนิตย์ เชรษฐา

28

บรรณาธิการอำนวยการ ที่ปรึกษา บรรณาธิการบริหาร ผู้ช่วยบรรณาธิการ ฝ่ายเนื้อหา Material ConneXion® Bangkok ฝ่ายเนื้อหา ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ TCDC บรรณาธิการศิลปกรรม ผู้จัดการฝ่ายผลิตและเผยแพร่

จัดทําโดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ์. 02 664 7670 แยกสี บริษัท 71 อินเตอร์สแกน จำกัด โทร. 02 631 7171 แฟกซ์. 02 631 7181

อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล กิตติรัตน์ ปิติพานิช ชมพูนุช วีรกิตติ พิชิต วีรังคบุตร ศิริอร หริ่มปราณี มณฑิณี ยงวิกุล วราภรณ์ วศินสังวร จรินทร์ทิพย์ ลียะวณิช นันทิยา เล็กสมบูรณ์ พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ชมพูนุช วีรกิตติ เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร ชิดชน นินนาทนนท์ นิรชา ชินะรัตนกุล

พิมพ์ที่ บริษัท คอนฟอร์ม จำกัด โทร. 02 368 3942-7 แฟกซ์. 02 368 2962 จำนวน 50,000 เล่ม จัดวางโดย บริษัท สแปลช คอมมูนิเคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด โทร. 02 624 9696 แฟกซ์. 02 237 5656 นิตยสารฉบับนี้ใช้หมึกพิมพ์จากน้ำมันถั่วเหลือง ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังเป็นมิตรต่อ สิง่ แวดล้อม และทีส่ ำคัญคือ เป็นผลผลิตจากความคิด ของผู้ประกอบการไทย

Media Partner

จัดทำภายใต้โครงการ 'Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์' โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึ่งมีเป้าหมาย ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิด สร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

4

อนุญาตให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงทีม่ า-ไม่ใช้เพือ่ การค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย Creative Thailand l ตุลาคม 2553

อ่านนิตยสารฉบับออนไลน์และดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.creativethailand.org Email: creativethailand@tcdc.or.th Twitter: @Creative_TH Facebook: Creative Thailand


Editor's Note บทบรรณาธิการ

เราจะสร้างสังคมที่ดีขึ้นได้อย่างไร? ท่ามกลางการดำเนินไปตามวิถีโลกอันสลับซับซ้อนนั้น ปัจจัยเดียวที่ก่อให้เกิดที่มาของอัจฉริยภาพทั้งปวง ก็คือ มนุษย์ปรารถนาการเปลี่ยนแปลงชีวิตไปในทางที่ดีที่สุด วิวัฒนาการเพื่อสร้างเครื่องมือที่จะเปลี่ยนโลกให้ดีอย่างที่คาดหวัง ปรากฏผลเป็นการแสดงพลังทาง สังคมในรูปแบบต่างๆ ทัง้ การเปล่งเสียงเพือ่ ปลุกใจ หรือขัดเกลาเป็นท่วงทำนองเพือ่ ปลดแอกจากพันธนาการ ใดๆ และการขีดเขียนบนกำแพงถ้ำเพือ่ สะท้อนความคิดแม้จะไม่มใี ครรับรู้ เมือ่ เวลาผ่านพร้อมๆ กับความเจริญ ของเทคโนโลยี จากเสียงหรือความคิดที่เคยเป็นเรื่องเฉพาะตัว ก็กลายเป็นเรื่องของส่วนรวมไปโดยปริยาย ทั้งยังเกิดเป็นเครื่องมือต่อรองของสังคมชนิดใหม่ที่ทรงอานุภาพที่สุด เช่นเดียวกับความคิดของราเชล คาร์สัน เธอแปลมันออกมาเป็นงานวิจัยและหนังสือ นักชีววิทยาชาว อเมริกนั คนนีม้ คี วามเป็นห่วงกับอัตราการตายของแมลงท้องถิน่ ทีเ่ ป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง เพราะในช่วง ปลายทศวรรษที่ 1950 สหรัฐอเมริกาใช้สารดีดีทีกันอย่างเสรีและพร่ำเพรื่อ ดีดีทีถูกใช้ในสระว่ายน้ำ ถูกใช้ ในการทำความสะอาดบ้านเรือน อยูใ่ นอากาศทีค่ นอเมริกนั หายใจ และในน้ำทีค่ นอเมริกนั ดืม่ กิน เมือ่ คาร์สนั ออกหนังสือชื่อ Silent Spring ในปี 1962 เพื่อตีแผ่ผลร้ายของการใช้สารดีดีทีจากอาการทางผิวหนังไป จนถึงโรคมะเร็งร้าย หนังสือของเธอกลายเป็นหนังสือขายดีติดอันดับอย่างรวดเร็ว และเมื่อเธอได้รับเชิญไป ออกรายการทอลก์โชว์เพื่ออธิบายอย่างกระจ่างแจ้งถึงเนื้อหาในหนังสือ ก็สร้างปรากฏการณ์ให้คนอเมริกัน ตืน่ ตัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะหลังจากคืนนัน้ เป็นต้นมา คนอเมริกนั ได้สง่ จดหมายไปยังทำเนียบขาว นับล้านฉบับเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกหรือควบคุมการใช้ดีดีทีในประเทศ และการแสดงพลังครั้งนั้นก็ เห็นผล เมื่อในอีก 2 ปีต่อมา ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน และสภาคองเกรสต้องผ่านกฎหมาย ควบคุมการใช้สารดีดีทีของสหรัฐอเมริกา อะไรคือจุดพลิกผันของความสำเร็จครั้งนี้ งานเขียนของราเชล คาร์สัน รายการทอล์กโชว์คืนนั้น จดหมายของคนอเมริกัน หรือการยกมือโหวตของสมาชิกสภาคองเกรส คำตอบก็คือ ทุกคนที่แสดงความ ต้องการเห็นโลกข้างหน้าที่ดีขึ้น และเมื่อแสดงออกมาผ่านเครื่องมือและช่องทางของตนเอง ก็เกิดเป็น เครือข่ายของมวลทางสังคมที่ขับเคลื่อนไปสู่จุดหมายเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ นิตยสาร Creative Thailand จึง เลือกที่จะเริ่มต้นการก้าวเข้าสู่ปีที่ 2 ของเรา ด้วยการแสดงพลังสร้างสรรค์ของผู้คนที่ปรารถนาในความ เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เพราะเราเชื่อว่า เมื่อเราเปล่งเสียง หรือปลดปล่อยความคิดอย่างมีเหตุผลด้วยความ ศรัทธาและความรู้ในสิ่งที่ทำด้วยแล้ว เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสมดุลให้แก่สังคมที่เราอยู่ได้อย่าง มีคุณภาพ ยินดีต้อนรับสู่ปีที่ 2 ครับ อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล

ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

5


The Subject

เครื่องหมายแห่งพลังสร้างสรรค์ ไม่มีใครชอบไปโรงพยาบาล ภาพเตียงผู้ป่วยรายเรียง กันเป็นแพ ผู้คนสีหน้าเศร้าหมองนั่งแออัดกันอยู่ใน ห้ อ งสี่ เ หลี่ ย มสี ข าวเย็ น ชาที่ เ ห็ น แล้ ว ชวนหดหู่ แ ละ อมทุกข์ เป็นจุดเริ่มต้นให้นพ. มารุต เหล็กเพชร หรือ หมอนิล นายแพทย์ประจำศูนย์แพทย์ชุมชนพรุใน บน เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา ลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยน แปลงเพื่อให้โรงพยาบาลนั้นเยียวยา 'คน' ไปพร้อมๆ กับรักษา 'โรค'

ศูนย์แพทย์ชุมชนพรุในนั้นมีหมอนิลประจำอยู่เพียงคนเดียว มีเตียงผู้ป่วย 5 เตียง แต่ต้องให้บริการทางสาธารณสุขแก่ ประชากรบนเกาะถึง 10,000 คน แถมอาคารเรือนพักผู้ป่วย ที่ดัดแปลงมาจากตึกออฟฟิศเก่านั้นก็ทรุดโทรมแล้ว หมอหนุ่ม ไฟแรงจึงเป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้างเรือนพักผู้ป่วยหลังใหม่ ผ่านการทำงานร่วมกับกลุม่ สถาปนิกอาสา CROSSs ทีเ่ น้นการออก แบบอย่างมีสว่ นร่วมของชุมชน โดยมีจดุ มุง่ หมายให้โรงพยาบาล บนเกาะในทะเลอันดามันแห่งนี้เป็น "โรงพยาบาลที่เล็กที่สุด ในประเทศไทย แต่จะอบอุ่นที่สุดในโลก" ในการออกแบบโรงพยาบาลให้ 'อบอุ่น' นั้น ทีมนัก ออกแบบอาสาไม่ได้คำนึงถึงแต่แง่โครงสร้างสถาปัตยกรรม เท่านั้น หากแต่ขยายกระบวนบวนการออกแบบให้กว้างออก ไปเพื่อครอบคลุมมิติด้านสังคมและจิตวิญญาณด้วย พวกเขา จึ ง ออกสำรวจสถาปั ต ยกรรมพื้ น ถิ่ น และพบปะพู ด คุ ย กั บ ชาวบ้าน เปิดโอกาสให้คนในชุมชนออกความคิดเห็นในการ ออกแบบและวางผังทุกขั้นตอน จนได้ข้อสรุปว่าเรือนพักคนไข้ แห่งใหม่นั้นจะมีทั้งหมด 10 เตียง มีห้องพักพิเศษให้ผู้ป่วย ระยะสุ ด ท้ า ยได้ ใ ช้ เ วลาช่ ว งสุ ด ท้ า ยของชี วิ ต แวดล้ อ มด้ ว ย สมาชิกในครอบครัว ทั้งยังมีเรือนนวดแผนไทย สวนสมุนไพร ห้องอบไอน้ำสมุนไพร สวนครัว และลานชุมชนเพื่อรองรับ 6

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

การทำพิธีกรรมทางศาสนา แสดงให้เห็นถึงการนำภูมิปัญญา และวิถีชาวบ้านเข้ามาผนวกกับการแพทย์แผนใหม่ได้อย่าง กลมกลืน แบบร่างของโรงพยาบาลของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อ ชุมชนแห่งนี้จะไม่ได้เป็นเพียงที่รักษาโรค หากแต่จะเป็นพื้นที่ ให้คนในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กัน มีส่วนร่วมในการดูแลและ เสริมสร้างสุขภาพของกันและกันด้วย ที่สำคัญที่สุด โครงการ เกาะยาวนีเ้ ปิดโอกาสให้ชาวบ้าน เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข สถาปนิก อาสา และผู้สนับสนุนหลากหลายฝ่ายมีโอกาสได้มานั่งร่วมวง สานสัมพันธ์ และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จากจุดเริ่มต้นเพียงเล็กๆ โครงการเกาะยาวกำลังก่อร่าง สร้างตัวขึ้นเป็นรูปเป็นร่างอย่างช้าๆ แต่แข็งแรง จากความ ร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่ายที่ต่างต้องการเปลี่ยนเครื่องหมาย กากบาท สัญลักษณ์ของโรงพยาบาล ให้เป็นเครื่องหมายแห่ง พลังบวก สร้างสรรค์โรงพยาบาลในฝันที่เยียวยาแบบองค์รวม ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ติดตามกระบวนการออกแบบและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการได้ที่ http://kohyaoproject.wordpress.com

เรื่อง: ณัฐพร ศรีศิริรังสิมากุล


The Object

เรื่อง: ณัฐพร ศรีศิริรังสิมากุล

จากพาวิลเลียนของ 192 ประเทศ ที่เข้าร่วมงานเอ็กซ์โป 2010 ณ กรุงเซีย่ งไฮ้ พาวิลเลียนของประเทศสวีเดนทีน่ ำเสนอเนือ้ หา สาระอย่างครบวงจร เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี มาแก้ไขปัญหาสิง่ แวดล้อม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในเมือง และ ยกระดับคุณภาพชีวติ ของประชากร ดูจะเป็นหนึง่ ในพาวิลเลียน ตรงกับธีม Better City, Better Life ของงานเอ็กซ์โปครั้งนี้ มากที่สุด ที่สําคัญ เราได้เห็นนวัตกรรมการออกแบบจากภาค ธุรกิจ ที่ช่วยให้การสร้างเมืองแห่งคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้จริง และนี่คอื ตัวอย่างของงานออกแบบในส่วน 'Room for Solutions' จากพาวิลเลียนสวีเดน

วอลโว่ พั ฒ นาเครื่ อ งยนต์ ไ ฮบริ ด สำหรับรถประจำทาง ผ่านมาตรฐานยูโร 4 (European Emission Standards) ที่ กำหนดขึ้นโดยสหภาพยุโรปเพื่อควบคุม การปล่อยมลพิษทางอากาศของรถยนต์ เพราะลดการปล่ อ ยก๊ า ซคาร์ บ อน ไดออกไซด์สู่อากาศได้ถึงร้อยละ 40-50 ทั้งยังประหยัดน้ำมันมากกว่าถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ดีเซลแบบ ดั้งเดิม

ด้วยระบบจัดเก็บขยะใต้ดนิ ทีค่ ดิ ค้นขึน้ โดยบริษทั Envac ชาวสวีเดน จึงไม่ต้องรำคาญกับขยะกองโตที่ล้นออกมานอกถัง หรือรถเก็บ ขยะทีท่ ง้ั ปล่อยควันพิษและส่งกลิน่ เหม็นอีกต่อไป เพียงแยกประเภท ขยะก่อนนำไปทิ้งยังจุดทิ้งขยะที่กระจายอยู่ทั่วเมือง จากนั้นขยะ จะถูกดูดและขนส่งไปตามท่อใต้ดินเองโดยอัตโนมัติ เพื่อนำไป รีไซเคิลและเปลี่ยนเป็นพลังงานต่อไป พลังงานลมเป็นแหล่งพลังงานสะอาด ที่เติบโตเร็วมาก จนมีการคาดการณ์ว่า ร้อยละ 10 ของพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ ในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าจะมาจาก พลังงานลม และบริษัท SKF ของสวีเดน ก็เป็นผู้นำด้านการผลิตกังหันลมยักษ์ อันทันสมัย ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าถึง 5 เมกะวัตต์ ทัง้ ยังใช้งานและดูแลรักษาง่าย จึงติดตั้งในฟาร์มกังหันลมที่กันดารห่าง ไกลได้ ไม่ว่าจะให้ความอบอุ่นในคืนฤดูหนาวหรือทำความเย็นในฤดูร้อน เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) จาก Alfa Laval ก็เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเสมอเพราะใช้พลังงานจากของเสียเพื่อ ควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารบ้านเรือน

สว่ า นและรถเจาะหิ น แบบเก็ บ เสี ย ง Atlas Copco ขจัดปัญหามลภาวะทาง เสียงที่เกิดจากการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้ รบกวนความสงบสุขของผู้คนที่อาศัย อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

รถโดยสารด่วนพิเศษ หรือ BRT (Bus Rapid Transit) ยกระดับคุณภาพการ เดินทางของชาวเมืองให้สะดวกสบายขึน้ เพราะช่วยลดปัญหารถติด เดินเครือ่ งเงียบ ใช้พลังงานสะอาดและปล่อยมลพิษน้อย นอกจากจะให้บริการในเมืองโกเทนเบิรก์ ของสวีเดนแล้ว รถ BRT ทีผ่ ลิตโดยวอลโว่ ยั ง ได้ รั บ การสั่ ง ซื้ อ จากเมื อ งใหญ่ ใ น ประเทศอื่นๆ อาทิ เซาเปาโล ประเทศ บราซิล, ซานติอาโก ประเทศชิลี และ ยอร์ค ประเทศอังกฤษ

ข้อมูลจาก: พาวิลเลียนประเทศสวีเดน งาน 2010 Shanghai World Expo (www.swedenexpo.cn/en) และ www.envacgroup.com ภาพประกอบ: www.sewco.se, www.envac.se

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

7


วัตถุดบิ

โดย ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ TCDC

1

BOOK 1. the innovation wave: meeting the corporate challenge โดย Bettina von Stamm

2

3

4

8

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า 'นวัตกรรม' คือองค์ประกอบ สํ า คั ญ ในการขั บ เคลื่ อ นองค์ ก รในทุ ก วั น นี้ และหลายๆ องค์กรต่างกําลังผลักดันตัวเองให้ กลายเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมทีไ่ ม่เพียงแค่สร้าง ความฟูฟ่ า่ ชัว่ ครัง้ ชัว่ คราว แต่เลือกใช้นวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืน ในประเทศอังกฤษ มีกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Innovation Exchange ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน ของนักคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ จากบริษทั ชัน้ นำ ต่างๆ ที่จะมาร่วมกลุ่มสนทนา แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ระหว่างกัน แต่ทด่ี กี ว่านัน้ คือ การ ได้ร่วมวงพูดคุยกันย่อมทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ เพือ่ นำไปใช้แก้ปญั หาทีเ่ ผชิญหน้าอยู่ ทัง้ ยังช่วย ป้องกันไม่ให้ปญั หาทีเ่ กิดขึน้ แล้วกับคนอืน่ เกิดขึน้ กับงานที่เราทำ ตลอดจนเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่ เราคิดค้นขึ้นนั้นสอดคล้องกับกระแสหรือความ ต้องการที่แท้จริงของตลาด Dr. Bettina von Stamm ผูเ้ ขียน ในฐานะผูท้ ่ี ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Innovation Exchange จึงถือเป็นหนึ่งในผู้รู้จริงในแวดวงนวัตกรรม ในบทเปิด เธอได้ยกคำกล่าวของกรรมการบริหาร ของโซนี่ ซึ่งได้เคยกล่าวไว้ว่า “การสร้างสรรค์ นวัตกรรมทีแ่ ท้จริงนัน้ แค่เพียงนำเสนอเทคโนโลยี ใหม่ๆ อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ หากแต่ต้องมา พร้อมกับการวางแผนผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ และการวางแผนด้านการตลาดอย่างดีด้วย”


วัตถุดบิ

โดย ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ TCDC

นอกจากนัน้ หนังสือเล่มนีย้ งั ได้นำเสนอตัวอย่าง ทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวมากมาย เกี่ยวกับการสร้างคลื่นแห่งนวัตกรรมเพื่อความ ยั่งยืน ที่องค์กรต่างๆ จะสามารถนำไปประยุกต์ ใช้ได้ เพราะสิ่งที่เธอได้เน้นย้ำก็คือ นวัตกรรม ที่ดีไม่ใช่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ต้องรู้ ลึกไปถึงวัฒนธรรม ความเป็นผู้นำ กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ และวิธีการทำงานอีกด้วย หนังสือ เล่มนี้จึงเป็นอีกเล่มที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้ อ้างอิงเพื่อวางกลยุทธ์ของเหล่าผู้บริหารในวันนี้ และใครที่คิดหวังไว้ว่าจะเป็นผู้บริหารองค์กร แห่งนวัตกรรมในอนาคต

2. SOCIAL RESPONSIBILITY IN THE GLOBAL APPAREL INDUSTRY

โดย Marsha A. Dickson, Suzanne Loker และ Molly Eckman คำถามที่คนทำงานธุรกิจสร้างสรรค์ทุกวันนี้ พบเจอมากขึน้ ก็คอื นอกจากจะสร้างสรรค์สนิ ค้า และบริการที่สร้างความมั่งคั่งให้กับธุรกิจแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้มีความรับผิดชอบอะไรต่อสังคม อย่างไรบ้าง หรือการคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา เป็นประโยชน์อย่างไรต่อสังคม หนังสือเล่มนี้จะ เผยให้เห็นถึงแนวทางการสร้างความรับผิดชอบ ต่ อ สั ง คมในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมแฟชั่น พร้อมการอธิบายอย่างเจาะลึกผ่านทฤษฎีและ หลากหลายกรณีศึกษาจากทั่วโลก

DVD

MAGAZINE

3. สารคดีชุด Commanding Heights (The BATTLE for the WORLD ECONOMY)

4. form: The Making of Design

จากหนังสือขายดีทเ่ี ขียนโดย Daniel Yergin และ Joseph Stanislaw สูส่ ารคดีชดุ Commanding Heights นำเสนอการวิพากษ์วิจารณ์พลวัตที่ เกิดขึ้นในสังคมในมิติใหม่ โดยหยิบยกนักคิด และผูน้ ำของประเทศต่างๆ กว่า 50 ประเทศมา เป็นตัวละครสำคัญ เนื้อเรื่องแบ่งเป็น 3 ส่วน โดยเริม่ ปูพน้ื ความคิดตัง้ แต่ The Battle of Ideas ที่แสดงให้เห็นขั้วความคิดที่แตกต่างระหว่าง ระบบทุนนิยมและสังคมนิยม ต่อด้วย The Agony of Reform ที่พยายามฟื้นให้เห็นภาพปัญหา เศรษฐกิจในช่วงสงครามเย็น พร้อมยกกรณีศกึ ษา ในประเทศต่างๆ รวมถึงการใช้ระบบทุนนิยม แบบ Shock Therapy เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ของอดีตรัฐบาลนางมาร์กาเรต แทชเชอร์ ที่นำ ไปสู่ความล้มเหลว ก่อนนำเข้าสู่บทสรุปสุดท้าย ใน The New Rules of the Game ทีส่ ะท้อนภาพ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอันเป็นเสมือน ปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจทุนนิยมให้รุกคืบเข้าสู่ ประเทศต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศสังคมนิยม ขนาดใหญ่อย่างจีน เมื่อปิดหนังสือเล่มนี้ลงจะ พบว่า ทุกวันนีแ้ ม้เศรษฐกิจจะขยายตัวสักเพียงใด แต่ปญั หาช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยกลับ ยิ่งเพิ่มมากขึ้น สังคมในอดีตได้ให้บทเรียนกับ เราไว้อย่างรอบด้าน ถึงเวลาแล้วทีบ่ รรดานักคิด และผู้ น ำต้ อ งเริ่ ม วางแผนว่ า ทางออกที่ เหมาะสมกั บ รู ป แบบสั ง คมในอนาคตและ การแก้ ปั ญ หาความขั ด แย้ ง ที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น ควรเป็ น ไปในรู ป แบบใดจึ ง จะทั น ท่ ว งที แ ละ เฉียบคมที่สุด

"ไอเดียมีเสิร์ฟทุกที่ทุกเวลา" สำหรับนิตยสาร form นิตยสารสัญชาติเยอรมัน ที่ก่อตั้งและ สั่งสมประสบการณ์มายาวนานตั้งแต่ปี 1957 ความสดใหม่ของข้อมูล และการคัดสรรวัตถุดบิ ทางการออกแบบชั้นดีมานำเสนออย่างต่อเนื่อง เป็นเสมือนการเติมเครื่องปรุงที่ช่วยเพิ่มรสชาติ ในการเสพสรรพเนือ้ หาภายในเล่มให้กลมกล่อม ไม่ ว่ า จะเป็ น ข่ า วอั พ เดทในวงการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ งานกราฟิก งานตกแต่งภายใน งาน นิทรรศการ งานแฟร์และงานอีเว้นท์ที่มีความ โดดเด่นทั่วโลก แถมท้ายด้วยรายงานทิศทาง การตลาดที่น่าสนใจในช่วงเวลานั้นๆ ดังนั้น ถ้าไม่อยากพลาดอาหารจานอร่อยจานนี้ ลองพลิก อ่านเมนูด้านในเป็นการเรียกน้ำย่อย ก่อนจะ ลงมือละเลียดอาหารสมองบำรุงไอเดียเล่มนี้ให้ อิ่มหนำได้ทุกๆ สองเดือน

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

9


เปลีย่ นโลกรอบตัว โดย

GREEN OFFICE

เมือ่ เทคโนโลยีในสำนักงาน ร่วมมือกันพิทกั ษ์โลก เพราะพื้นที่กว่า 7 ล้านตารางเมตรในกรุงเทพ มหานครคื อ กลุ่ ม อาคารสำนั ก งานจำนวน มหาศาล อันเป็นแหล่งผลิตก๊าซเรือนกระจกที่ มากถึงร้อยละ 60 ของทั้งหมด* ดังนั้น ชาว ออฟฟิศกว่าล้านคนที่ต้องทำงานอยู่ในอาคาร เหล่านี้ จึงหนีไม่พน้ ทีจ่ ะต้องร่วมรับผิดชอบดูแล สิ่งแวดล้อมและช่วยกันประหยัดพลังงาน เพื่อ ฟื้นฟูให้โลกคืนสู่ความเขียวขจีด้วยเทคโนโลยี ทางด้ า นวั ส ดุ ศ าสตร์ ที่ ถู ก พั ฒ นาขึ้ น เพื่ อ ชาว ออฟฟิศโดยเฉพาะ อาทิ

จอแสดงผลแอ็กทีฟแมทริกซ์ OLED จอคอมพิ ว เตอร์ สุ ด ล้ ำ จากบริษัทยูนิเวอร์ซัล ดิสเพลย์ คอร์ปอเรชัน่ ทีม่ สี สี นั สดใส น้ำหนักเบา เพียง 6 กรัม และบางเฉียบเพียง 0.1 มิลลิเมตร จนสามารถม้วนและพับเก็บได้อย่างน่าอัศจรรย์น้ี มาพร้อมคุณสมบัติทนทานต่อความร้อนด้วย การใช้แผ่นตะกัว่ โลหะผสม นอกจากนี่้ จอ OLED ยังสามารถนำไปประยุกต์กบั ผลิตภัณฑ์ชว่ ยประหยัด พลังงานอืน่ ๆ ได้อกี มากมาย เช่น โทรศัพท์มอื ถือ บางเฉียบ หน้าจอสีสว่างแต่ใช้พลังงานน้อย เสือ้ ผ้า มี จ อแสดงผลระบบแสงสว่ า งในรถยนต์ ที่ ปราศจากหลอดไฟ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ม้วนและอัพเดตได้ทุกวัน และแผนที่แสดง ตำแหน่งด้วยระบบดาวเทียม (GPS) เป็นต้น 10

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

Buckypaper แกร่งกว่าเพชร ด้วยเทคโนโลยีระดับโนเบลไพรซ์

วู้ด เชลล์ (Wood Shell) โน้ตบุ๊กรักษ์โลก

อีกหนึ่งเทคโนโลยีจอภาพที่มีรูปลักษณ์เสมือน แผ่นกระดาษ ปรับขนาดเล็กใหญ่ได้ตามการ ใช้งาน ผลิตจาก Carbon Nanotubes ที่เล็ก เพียงหนึง่ ในห้าหมืน่ ส่วนของเส้นผมมนุษย์ แถม คาร์บอนที่นำมาใช้ผลิตยังเป็นผลงานระดับ รางวัลโนเบลอย่าง Carbon-60 หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ Buckminsterfullerene (Buckyballs) ซึ่ง สามารถนำมาผลิตเป็นหน้าจอแสดงผล เช่น จอ โทรทัศน์หรือจอ LCD ที่ให้คุณสมบัติแข็งแกร่ง มากกว่าเพชร นำไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสว่างที่สม่ำเสมอ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่า จอ LCD ทั่วไปถึง 250 เท่า

คอมพิว เตอร์โ น้ต บุ๊กก็ มีส่ว นช่ วยรั กษ์โ ลกได้ เช่นกัน ล่าสุด บริษัท ฟูจิตสึ เพิ่งเปิดตัวโน้ตบุ๊ก รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า ‘Wood Shell’ ในประเทศญี่ปุ่น โดยมีกรอบและตัวเครื่องทำจากวัสดุชีวภาพ อาทิ ไม้ซีดาร์ และพลาสติกย่อยสลายง่ายทีล่ ด การใช้พลาสติกจากปิโตรเคมี ซึ่งจะช่วยลดทั้ง ปริ ม าณก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ที่ เ กิ ด จาก กระบวนการผลิต และยังส่งผลดีต่อการลด อุณหภูมิของโลกอีกด้วย * ข้อมูลจากผลการสำรวจของสำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.)

หากต้องการโทรทัศน์สกั เครือ่ ง แต่ไม่อยากลงทุนซือ้ เครือ่ งใหม่ แค่มจี อคอมพิวเตอร์เก่า ๆ คุณก็สามารถดัดแปลงเป็นทีวีเครื่องใหม่ได้แล้ว เพียงติดตั้ง COMBO TV BOX ซึ่งเป็นขั้ว สำหรับเสียบจอแบบเดียวกันกับทีอ่ ยูห่ ลังคอมพิวเตอร์ จากนัน้ จัดการเสียบสายอะแดปเตอร์ เปิดเครื่อง เปิดจอ จากนั้นก็เริ่มต้นใช้งานได้เลย คุณรู้ไหมว่า อีเบย์ ตลาดออนไลน์ชั้นนำของโลกได้ประกาศนโยบายลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์ภายในองค์กรเป็นครั้งแรก โดยร่วมมือกับคาร์บอน ดิสโคลสเชอร์โปรเจ็กต์ (CDP) องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งดูแลบริหารฐาน ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของบริษัท ต่างๆ ทั้งนี้ อีเบย์ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปี 2551 ลงให้ได้ร้อยละ 15 ภายในปี 2555 (ข้อมูลจาก www.newswit.com)


Classic Item

เรื่อง: ดนัย คงสุวรรณ์

Irrigation

แม้มนุษยชาติจะเพิ่งรู้จักกฎของแรงโน้มถ่วงเอาเมื่อ ศตวรรษที่ 16 จากการค้นคว้าของเซอร์ ไอแซค นิวตัน แต่การใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วงของโลกนั้นมีมา ตั้งแต่สมัยหกพันปีก่อนคริสตกาล ในระบบชลประทาน แรกของโลกอั น เกิ ด จากความสร้ า งสรรค์ ข องชาว อียิปต์โบราณ ที่ต่อมาได้ชื่อว่า Surface Irrigation หรือการให้น้ำบนผิวดิน ที่ยังคงถูกใช้อย่างแพร่หลาย แม้ในปัจจุบัน

ชาวอี ยิ ปต์ใช้ป ระโยชน์จากแม่น้ำ ไนล์ที่ไหลผ่ านตลอด ประเทศ และล้นท่วมในเดือนสิงหาคมของทุกปี ด้วยการกั้น เขื่อนและขุดคูคลองเพื่อควบคุมน้ำให้ไหลไปท่วมผืนนาที่มี ลักษณะเป็นแอ่ง ซึ่งเป็นการทำให้น้ำที่เปี่ยมด้วยโคลนเลนของ แม่น้ำไนล์ช่วยปรับสภาพผิวดินให้เหมาะสำหรับการเพาะปลูก อีกครั้งหลังฤดูเก็บเกี่ยว ก่อนที่จะไหลกลับคืนสู่แม่น้ำเมื่อถึง เดือนตุลาคม อันเป็นเวลาเดียวกับที่ชาวอียิปต์จะเริ่มหว่าน เมล็ดอีกครั้ง การชลประทานแบบอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของน้ำเช่นนี้เองที่เรียกว่า Surface Irrigation บ้างก็เรียกว่า Flood Irrigation ค่าที่มันมีจุดเริ่มต้น มาจากการไหลท่วมของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ

ด้วยระบบชลประทานดังกล่าว จึงเชื่อกันว่า ชาวอียิปต์ โบราณเป็นเกษตรกรที่ใช้แรงงานน้อยที่สุดในการเพาะปลูกทั่ว โลก ยิ่งไปกว่านั้นระบบชลประทานโบราณแบบธรรมชาตินี้ยัง หล่อเลีย้ งชนชาวอียปิ ต์มาได้ถงึ ราวศตวรรษที่ 18 หลังคริสตกาล กระทั่งการขยายตัวของจำนวนประชากรบีบให้ชาวอียิปต์รุ่น หลังต้องเปลี่ยนรูปแบบการชลประทานไปเป็นลักษณะที่ต้องมี การควบคุมอย่างเป็นระบบมากขึ้น ปัจจุบนั Surface Irrigation ยังจัดเป็นระบบชลประทานทีใ่ ช้ กันมากที่สุดทั่วโลก แม้จะมีข้อดีรอบด้าน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี ข้อเสีย ทั้งการเป็นสาเหตุทำให้ดินเค็ม หรือการไม่สามารถ ควบคุมปริมาณน้ำทีท่ ว่ มได้ ฯลฯ จึงนำมาซึง่ ระบบชลประทาน รูปแบบใหม่ที่มีการควบคุมทั้งปริมาณและคุณภาพของน้ำให้ดี ยิง่ ขึน้ ด้วยเทคโนโลยีอนั ล้ำสมัยในปัจจุบนั ทุกวันนี้ มนุษย์ยุคใหม่ได้พัฒนาความสร้างสรรค์และใช้ ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการดัดแปลงระบบชลประทานแบบ Surface Irrigation ให้มปี ระสิทธิภาพดีขน้ึ ตรงจุดมากขึน้ และ เหมาะกับสภาวะโลกที่ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยที่ต้องให้ความ สำคัญ อาทิ การให้นำ้ ระบบหยดบริเวณรากพืช (Drip Irrigation) การให้น้ำตามช่วงเวลา (Surge Irrigation) และการให้น้ำแบบ ฉีดฝอยด้วยเครื่องพ่นน้ำ (Sprinkler Irrigation) เป็นต้น ภาพจาก www.flickr.com โดย Kevindooley ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

11


Cover Story เรื่องจากปก

นวัตกรรมเพื่อสังคม เรื่อง: นันทิยา เล็กสมบูรณ์

สังคมเปิด การเปลีย่ นแปลง และพลังสร้างสรรค์

น่ายินดีไหม หากมีใครบอกข่าวดีกับคุณว่า เรากำลัง รวยขึ้น เมื่อรายได้ต่อหัวที่เพิ่มขึ้นกําลังดึงให้ประชากร จำนวนมากหลุดพ้นจากภาวะยากจน และจากข้อมูล ของธนาคารโลก ภายในปี 2080 เราจะมีชนชั้นกลาง ถึงร้อยละ 80

กลับกัน คนทีบ่ ริโภคน้อยทีส่ ดุ ซึง่ หมายถึงการทำลายทรัพยากร และสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดกลุ่มนี้กลับต้องเป็นผู้ที่ ได้รบั ผลกระทบทางด้านสิง่ แวดล้อมและคุณภาพชีวติ ทีม่ าจาก การบริโภคทรัพยากรเกินพิกัดของสังคมมากที่สุด ที่สําคัญ ต้องไม่ลืมว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ เรากำลังเผชิญอยู่นั้น ต่างเชื่อมโยงและส่งผลกระทบถึงกัน อย่างไม่อาจแยกแยะได้ ไอน์สไตน์เคยกล่าวไว้วา่ "ไม่มปี ญั หาใดทีแ่ ก้ได้ดว้ ยสัญชาตญาณในระดับเดียวกับที่สร้างมันขึ้นมา" เช่นเดียวกับที่ปัญหา ที่รุมเร้าในศตวรรษที่ 21 ไม่สามารถแก้ได้ด้วยจิตวิญญาณและ รูปแบบจากศตวรรษที่ 20 ดูเหมือนว่า เรากำลังต้องการ สมมติฐาน คุณค่า วิธีคิด และแนวทางปฏิบัติใหม่ เพื่อมุ่งสู่วิถี ชีวิตที่อยู่บนรากฐานของการพัฒนาที่มีความยั่งยืน และใช้ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แต่เมื่อระดับรายได้เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการในการบริโภคจึง มีมากขึน้ ตามกัน สถาบันเฝ้าระวังอย่าง World Watch Institute ได้ประมาณการว่า เราอาจต้องการโลกอีกหนึง่ ใบเพือ่ ตอบสนอง ความต้องการในการบริโภคของประชากร 2.5 พันล้านคน ในจีนและอินเดีย ถ้าพวกเขาบริโภคทรัพยากรในระดับเดียว กับคนญี่ปุ่น ในขณะที่ WWF บอกว่าเราอาจต้องการโลกถึง สามใบ หากทุกคนมีระดับการบริโภคและวิถชี วี ติ เหมือนชาวอังกฤษ โดยเฉลี่ย และห้าใบหากเทียบกับประชากรในอเมริกาเหนือ กลับมาที่โลกใบเดิม ที่ซึ่งรายได้ต่อหัวประชากรที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้หมายถึงการกระจายรายได้ที่ดีขึ้นเสมอไป เมื่อสินทรัพย์ หนึง่ ในสีข่ องโลกอยูใ่ นการครอบครองของธุรกิจเพียง 300 แห่ง ที่สร้างให้เกิดการจ้างงานได้ไม่ถึงร้อยละ 1 ในขณะที่ร้อยละ 20 ของประชากรยังมีรายได้วันละไม่ถึงดอลลาร์ แต่ในทาง 12

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553


Cover Story เรื่องจากปก

Rethink, Redesign, Rebuild "เราจะออกแบบสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ใหม่อย่างไร?" เป็นคำถามที่ ทิม บราวน์ ซีอีโอของ IDEO สตูดิโอการออกแบบที่ได้รับการ ยอมรับมากทีส่ ดุ ในปัจจุบนั ได้โพสต์เอาไว้ในทวิตเตอร์สว่ นตัว ของเขา เมื่อได้รับเชิญให้จัดเวิร์คช็อปในการประชุม World Economic Forum ประจำปี 2010 ที่เมืองดาวอส ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เพือ่ แก้ปญั หาเรือ่ งคุณภาพชีวติ สุขลักษณะและสาธารณูปโภค พืน้ ฐาน การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ การศึกษา รวมถึงความ ตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมของชุมชนในอินเดีย บังเกอร์ รอย ชายชาวอินเดียซึ่งมาจากตระกูลมั่งคั่ง แต่ปฏิเสธระบบการ ศึกษาในระบบ จึงได้รเิ ริม่ สถานศึกษาทีม่ ชี อ่ื ว่า 'วทิ ยาลัยเท้าเปล่า' (Barefoot College) ขึน้ ในแคว้นราชาสถาน เพือ่ นำหญิงอินเดีย จากหมู่บ้านต่างๆ ที่ยากจน มาเข้ารับการฝึกฝนทางวิชาชีพ ด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ โดยไม่ บังคับให้พวกผูห้ ญิงเหล่านัน้ อ่านออกหรือเขียนได้ แต่ให้มที กั ษะ ด้านดังกล่าว เพื่อกลับไปพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนของ ตนเองได้ โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐแต่เพียง อย่างเดียว โครงการนีป้ ระสบความสำเร็จอย่างสูง และไม่เพียง แต่ทำให้ปัญหาอันเกิดจากความยากจนและความขาดแคลน ได้รับการเยียวยา แต่ยังเป็นการใช้ทรัพยากรบุคคลของสังคม ให้เกิดประโยชน์มากขึน้ (ไม่นบั รวมถึงเรือ่ งสิทธิสตรีและคุณค่า ทางจิตใจ) ไม่เพียงเท่านัน้ นักเรียนหญิงของวิทยาลัยเท้าเปล่านี้ ยังมีการถ่ายทอดความรู้ให้กับหญิงชาวแอฟริกันในเรื่องการ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึง่ เป็นหนึง่ ในความเชีย่ วชาญเป็นพิเศษ ของ 'โรงเรียนหญิงล้วน' แห่งนีอ้ กี ด้วย

จะดีแค่ไหน ถ้าเราไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อพลังงาน แต่ใช้การ ออกแบบช่วยให้เราผลิตพลังงานใช้ได้เอง และทำรายได้จาก พลังงานส่วนที่เหลือได้อีก? Vauban คือ โครงการต้นแบบ 'ชุมชนยั่งยืน' ในเมืองไฟร์บวร์ก ประเทศเยอรมนี ด้วยการสร้างให้เป็น Eco-town หรือเมือง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยออกแบบให้บ้านทุกหลังใช้พลัง งานให้น้อยที่สุด และเป็นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ โดย พลังงานส่วนที่เหลือจากการใช้จะถูกขายให้กับชุมชนเพื่อใช้ สำหรับสาธารณูปโภคส่วนกลาง และยังเป็นการสร้างรายได้ให้ ครัวเรือนอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น ชุมชน Vauban แห่งนี้ยังใช้การเดินเท้า และจักรยานเป็นพาหนะหลัก และร้อยละ 70 ของครัวเรือน เลือกทีจ่ ะใช้ชวี ติ โดยปราศจากรถส่วนตัว ซึง่ นัน่ ไม่ใช่เรือ่ งยากเลย ด้วยการออกแบบระบบการคมนาคมให้สามารถเดินทางไปมา หาสูเ่ มืองไฟร์บวร์กได้ดว้ ยรถราง และออกแบบบ้านให้เป็นแนว ขนานกับรางและอยู่ไม่ไกลจากแต่ละสถานี

(ภาพจาก Wikimedia Commons โดย Claire 7373)

Did you know?

Rethink, Redesign, Rebuild คือหัวข้อของการประชุม World Economic Forum ประจำปี 2010 (โดยมีชื่อหัวข้อเต็มๆ คือ 'Improve the State of the World: Rethink, Redesign, Rebuild')

เหล่าวิศวกรหญิงในมัวริทาเนียกำลังติดตัง้ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในหมูบ่ า้ นของตน หลังจาก ผ่านการอบรมจาก Barefoot College เป็นเวลา 6 เดือน (ภาพจาก flickr โดย Barefoot Photographers of Tilonia)

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

13


Cover Story เรื่องจากปก

การมาถึงของสังคมแบบเปิด

The Change We Need

ในปัจจุบัน มีคนอย่างน้อย 250,000 คน (ขนาดเท่าๆ กับ จำนวนพนักงานของเจเนอรัล มอเตอร์ส) ทั่วโลกกำลังทำงาน โดยไม่ต้องการค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายน้อยมากๆ ผ่านโครง การในรูปแบบโอเพนซอร์ซและความร่วมมือต่างๆ ที่มาพร้อม กับเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั และเครือข่ายสังคม ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ การรวมพลังทางปัญญาที่เรียกว่า Collective Intelligence ปัญญานี้ใช้สำหรับการเรียกร้อง ร่วมคิด ร่วมมือ เพื่อสร้าง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และในขณะเดียวกันก็สร้างให้ เกิดการยอมรับนับถือตนเอง นีค่ อื อีกเหตุผลหนึง่ ทีท่ ำให้คนใน ยุคต่อจากนี้ไปจะไม่ทำงานเพื่อเงินเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงเท่านั้น โอกาสที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี ยังทำให้ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งชุ ม ชนกั บ พลเรื อ นเปลี่ ย นแปลงไป ในอดีต หน้าที่ในการพัฒนาสังคม ยกระดับความกินดีอยู่ดี และจัดหาสิ่งตอบสนองความต้องการพื้นฐานของคนในสังคม เป็นหน้าทีแ่ ละการตัดสินใจของรัฐ แต่ดว้ ยการเปลีย่ นแปลงทาง เทคโนโลยีทเ่ี อือ้ ให้เกิดช่องทางแห่งความร่วมมือ และเปิดพืน้ ที่ ในการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชน เราจึงกำลังจะได้เห็นโลก อีกใบหนึ่งที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด สร้าง ดูแล และปกป้อง สังคมของตนเองได้อย่างทีไ่ ม่เคยเป็นมาก่อน และนำมาสูน่ ยิ าม ใหม่ของคำว่า 'พลเมืองโลก' (Global Citizen) ของศตวรรษนี้ ที่เปลี่ยน 'หน้าที่พ ลเมื อ ง' ให้กลายเป็ น 'การมีส่ว นร่วม' (Participation) ทางสังคม

เมื่อ 30 ปีก่อน ไม่มีใครรู้จักมูฮัมหมัด ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์ ชาวบังคลาเทศผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีนเพื่อเผยแพร่แนวคิด เรื่องไมโครเครดิต (Microcredit) หรือการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ ยากไร้ ในวันนี้ ไมโครเครดิตได้กลายเป็นแนวคิดที่แพร่หลาย ไปทั่วโลก และธนาคารกรามีนได้กลายเป็นต้นแบบของธุรกิจ เพือ่ สังคม ในขณะทีย่ นู สุ เองก็ได้รบั รางวัลโนเบลในปี 2006 รวม ถึงการประกาศเกียรติคุณในโครงการ 'Yes we can' ที่ริเริ่ม โดยประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้ที่ในขณะเดียวกันได้จัดตั้ง หน่วยงานใหม่ที่ชื่อ สำนักงานนวัตกรรมเพื่อสังคมและการมี ส่วนร่วมของพลเมือง (Office of Social Innovation and Civic Participation) ขึ้นด้วยเงินตั้งต้น 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับเผยแพร่แนวคิดกิจการเพื่อสังคมในสหรัฐอเมริกา หากเรามองนวัตกรรมเพื่อสังคมเป็นแนวคิด หรือวิธีการ แบบใหม่ในการสร้างผลประโยชน์ทางสังคม ระบบชลประทาน ในสมัยอียิปต์ การคิดค้นตัวอักษรจีนโบราณ หรือระบบการ ศึกษาในสมัยกรีก ล้วนจัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยวิคตอเรียนของอังกฤษ และสมัย รัชกาลที่ 5 ของไทย ที่เราได้เห็นการปฏิรูปการปกครอง การ คมนาคม ระบบสาธารณูปโภค การสร้างชุมชน ตลอดจน การศึกษาที่เป็นรากฐานมาจนถึงทุกวันนี้

TYPN เครือข่ายคนใจบุญยุคใหม่ เครือข่ายสังคมที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อย่างเฟซบุ๊ค ไม่เพียงแต่ทำให้เราตามหาเพื่อนสมัยประถม เจอเท่านั้น แต่ยังทำให้การ 'บอกบุญ' ยุคใหม่ทำได้ในชั่ว พริบตา ขอเพียงมีคนคิด ก็มีที่ให้ป่าวประกาศหาคนร่วมด้วยช่วย ทำ Thai Young Philanthropist Network หรือเครือข่ายอาสา สมัครคนรุ่นใหม่เพื่อสังคม คือโมเดลตัวอย่างของการใช้สื่อ สั ง คมอย่ า งเฟซบุ๊ ค เป็ น สื่ อ กลางในการระดมความคิ ด และพละกำลัง ตามความสนใจและความสมัครใจของแต่ละ คนได้อยากไม่ยากเย็น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมรณรงค์เพื่อสิ่ง แวดล้อม โครงการพัฒนาชุมชน การสอนหนังสือเด็ก การช่วย เหลือผูป้ ระสบภัยจากวิกฤติ ไปจนถึงการจัดออร์เคสตราการกุศล 14

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

(ภาพจาก Facebook, Thai Young Philanthropist Network)


Cover Story เรื่องจากปก

อย่างไรก็ดี นวัตกรรมเพือ่ สังคมในยุคใหม่ ได้รวมเอาเรือ่ ง ของความร่วมมือและความสัมพันธ์ของคนในสังคมเข้าไว้ด้วย ดังที่กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปะ ของอังกฤษ หรือ NESTA ได้ให้คำนิยามนวัตกรรมเพื่อสังคม ไว้คือ "ความคิดใหม่ (สินค้า บริการ หรือวิธีการ) ที่ตอบสนอง ความต้องการทางสังคม และสร้างความสัมพันธ์หรือความ ร่วมมือทางสังคมได้ในเวลาเดียวกัน" The Young Foundation หน่วยงานด้านนวัตกรรมเพื่อ สังคมที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่ง บอกว่า ในการฟื้นฟูหลังวิกฤติ เศรษฐกิจทีผ่ า่ นมานัน้ รัฐบาลจะต้องเน้นหนักในเรือ่ งนวัตกรรม และการประกอบการ (Entrepreneurship) และสนับสนุน อุ ต สาหกรรมที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด การสร้ า งงานในอนาคตซึ่ ง รวมถึงบริการด้านสาธารณสุข การศึกษา และสิ่งแวดล้อม มากกว่าการมุ่งเน้นที่จะฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่ล้มเหลวอย่าง ธนาคารหรือยานยนต์ และต้องลงทุนในเรื่องของความรู้และ การบริการมากกว่าอุตสาหกรรมหนักอืน่ ๆ ทีส่ ำคัญ ต้องระดม พละกำลั ง และความสามารถของหน่ ว ยงานท้ อ งถิ่ น และ อาสาสมัคร มากกว่าการพึง่ พาหน่วยงานรัฐแต่เพียงอย่างเดียว

หญิงชาวโบกรา บังคลาเทศ เข้ารับการอบรมเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายโยเกิร์ตยี่ห้อดานอน (Danone) ตามโครงการความร่วมมือระหว่างธนาคารกรามีนและดานอน (ภาพจาก flickr โดย danone.communities)

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

15


Cover Story

เรื่องจากปก

ความเชื่อมโยงของ พลังสร้างสรรค์ ไอเดียเปลี่ยนโลกมากมายเกิดจากความคิดและจินตนาการ ของคนตัวเล็กๆ นวัตกรรมเพื่อสังคมคือการเชื่อมโยงระหว่าง ความคิดและจินตนาการของคน เข้าด้วยกันกับองค์กรที่มีพลัง และเงินทุนในการผลักดันให้ความคิดต่างๆ เกิดขึน้ ได้ในความจริง สิ่งสำคัญสำหรับนวัตกรรมเพื่อสังคมก็คือ การหาตัวกลางที่ เรียกว่า Social Connector ทำหน้าที่เชื่อมโยงทั้งคน ความคิด และทรัพยากรหรือเงินทุนเข้าด้วยกัน ตัวกลางที่ว่านี้มีได้ตั้งแต่ระดับบุคคลที่ใช้ความสามารถ ในการเชื่อมโยงและประสานทรัพยากรต่างๆ เข้าหากันเพื่อ ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามความถนัด หรือความสนใจของตน ไปจนถึงองค์กรระดับโลกทีม่ อี งค์ความรู้ และกระบวนการทำงาน รวมถึงการจัดการและแบ่งปันความรู้ นัน้ อย่างเป็นระบบ ไม่วา่ จะเป็นองค์กรทีด่ ำเนินงานด้านนวัตกรรม เพื่อสังคมจนเป็นที่รู้จักในระดับโลกอย่าง Ashoka หรือ The Young Foundation หรือเครือข่ายสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม ใน 12 ประเทศอย่าง HUB รวมถึง ChangeFusion หน่วยงาน ที่มีการดำเนินงานในเรื่องนวัตกรรมและการออกแบบเพื่อ สังคมอย่างเป็นรูปธรรมในเมืองไทย

16

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

ChangeFusion: The Brokerage of Changes จากจุดเริม่ ต้นของนักศึกษาทีช่ นะโครงการประกวดจากธนาคาร โลกเมือ่ เกือบสิบปีกอ่ น ด้วยโครงการสร้างเว็บไซต์เผยแพร่ราคา พืชผลการเกษตรแบบรีลไทม์ให้กบั กลุม่ สหกรณ์ วันนี้ Change Fusion คือหน่วยงานสนับสนุนนวัตกรรมเพือ่ สังคมซึง่ เป็นทีร่ จู้ กั ดีในเมืองไทย โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมฝ่ายที่ เกีย่ วข้องต่างๆ เข้าหากัน เพื่อผลักดันโครงการต่างๆ ที่สร้าง ให้เกิดผลประโยชน์ทางสังคม ผลงานของ ChangeFusion ตลอดสิบปีที่ผ่านมามีมาก มายนับไม่ถ้วน เช่นเดียวกับพันธมิตรและผู้ลงทุนที่เข้ามาร่วม ด้วยช่วยกันสร้างให้เกิดการเปลีย่ นแปลง ไม่วา่ จะเป็นหน่วยงาน ของรัฐอย่างเนคเทคหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ภาคเอกชนอย่างเซ็นทรัล ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจระดับโลกอย่าง กูเกิล หรือไมโครซอฟท์ ตัวอย่างงานทีม่ าจากการผลักดันของ ChangeFusion อาทิ โครงการพัฒนาโปรแกรม GEO Chat เพื่อเฝ้าระวังและ ร่นระยะเวลาการเตือนภัยโรคระบาด ที่ทำร่วมกับกระทรวง สาธารณสุข กูเกิล ดีแทค และบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อ สังคมอย่างโอเพ่นดรีม หรือโครงการร้านเน็ตสีขาว ทีม่ งุ่ แก้ปญั หา การใช้ซอฟท์แวร์เถื่อน โดยการรวมพลังร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เล็กๆ เข้าเป็นเครือข่าย เพื่อซื้อซอฟท์แวร์ในราคาถูกจาก ไมโครซอฟท์ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกระทรวงวัฒนธรรม นอกจากนั้นยังมีโครงการจัดทำเกณฑ์การลงทุนอย่างรับ ผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Investing Guideline) ให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โครงการเชื่อมโยง ความรู้เพื่อยกระดับการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ผ่านเครือข่าย ห้องสมุดดิจิทัล (Thai Digital Library Network) โครงการ พัฒนาระบบข้อมูลออนไลน์ของมูลนิธิหมอชาวบ้าน รวมทั้ง การทำหน้ า ที่ สื่ อ กลางระหว่ า งประชาชนกั บ ภาครั ฐ ผ่ า น เว็บไซต์ ideas.in.th นอกจากการทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายแล้ว อีกบทบาท หนึ่งของ ChangeFusion ซึ่งอยู่ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบท แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็คือ การลงทุนเพื่อ สังคม ซึง่ ไม่จำกัดการลงทุนอยูแ่ ต่ในประเทศไทยเท่านัน้ แต่ยงั รวมไปถึงการสนับสนุนงานในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย มาเลเซีย ปากีสถาน หรือเนปาล โดยเน้นว่าไม่ใช่การ "ให้เปล่า" แต่เป็นการลงทุนทีม่ ผี ลตอบแทน โดยหนึง่ ในการคัดเลือกโครงการ ทีน่ า่ สนใจคือ การจัดประกวดแผนธุรกิจสำหรับกิจการเพือ่ สังคม ที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปีนั่นเอง ที่มา: ChangeFusion และ เว็บไซต์ BangkokBizNews


Cover Story เรื่องจากปก

นักบุกเบิกรุ่นใหม่

"ธุรกิจไม่สามารถสําเร็จได้ในสังคมทีล่ ม้ เหลว"* เมือ่ ทุนนิยมแบบ

ดัง้ เดิมไม่ได้ผนวกเอาต้นทุนทางสังคมและสิง่ แวดล้อม เช่น ค่า ใช้จา่ ยในการฟืน้ คืนทรัพยากร หรือค่าใช้จา่ ยในการรักษาพยาบาล อาการเจ็บป่วยจากอากาศเสีย เข้ากับราคาสินค้าและบริการ แต่เป็นผู้เสียภาษีที่แบกภาระในการแก้ไขเยียวยาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของธุรกิจ จึงมีการพูดถึงระบบ ทุนนิยมใหม่ ที่มองธุรกิจเป็นส่วนผสมของการสร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจและการแก้ปญั หาสังคมในเวลาเดียวกัน การวิเคราะห์ ทางธุ ร กิ จ แบบดั้ ง เดิ ม ที่ ค ำนึ ง ถึ ง ปั จ จั ย แวดล้ อ มทางด้ า น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ที่เรียกว่าโมเดล PEST (Political, Economic, Social and Technology) นั้น ไม่เพียงพออีกต่อไป แต่ต้องผนวกเอาเรื่องของสิ่งแวดล้อม ความเป็นธรรมทางสังคม และบรรษัทภิบาล หรือโมเดล ESG (Environmental, Social and Corporate Governance) เข้าไว้ด้วย ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ ธุรกิจคือผูท้ ส่ี ามารถสร้างความเปลีย่ น แปลงได้ดีที่สุด ริชาร์ด แบรนสัน จึงได้ลงทุน 2.6 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในการซื้อเครื่องโบว์อิ้ง 787-9 (Dreamliner) ซึ่งใช้พลังงานลดลงถึงร้อยละ 30 สำหรับสายการบินเวอร์จิ้น และยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการ Carbon War Room ในปี 2008 เพื่อกระตุ้นให้บรรดาผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง มลพิษทางสิ่งแวดล้อม หันมาให้ความสนใจและหาหนทางใน การต่อสู้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงด้วยกัน ไม่เพียงแต่ความเชื่อจากหลายฝ่ายว่า รูปแบบการจัดการ แบบธุรกิจคือสิ่งที่ยั่งยืนที่สุดในเรื่องการสร้างนวัตกรรมเพื่อ สังคมเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม สังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงก็ ได้สร้างให้ความต้องการอันหมายถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ ก็ได้เริ่ม ปรับโมเดลธุรกิจให้เห็นกันบ้างแล้ว อย่างเช่นธุรกิจสิง่ ทอสัญชาติ เดนมาร์ก Vestergaard Frandsen ที่ด ำเนิ น งานอยู่ใ น สวิตเซอร์แลนด์ และเชี่ยวชาญในการผลิตชุดยูนิฟอร์มสำหรับ บริษัทต่างๆ ได้หันมาเน้นการผลิตสิ่งทอเพื่อควบคุมโรค และ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและปรับปรุงคุณภาพชีวิต อื่นๆ รวมถึง LifeStraw หลอดดูดความยาว 25 เซนติเมตร ที่ ส ามารถกรองน้ ำ สกปรกให้ ก ลายเป็ น น้ ำ ที่ มี คุ ณ ภาพ สำหรับดืม่ ได้ และมีอายุการใช้งานนานถึงหนึง่ ปี เพือ่ ขายให้กบั รั ฐ บาลและองค์ ก รด้ า นความช่ ว ยเหลื อ ในประเทศต่ า งๆ หลอด LifeStraw นี้ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์ยอดเยี่ยมแห่ง ปีจากนิตยสารไทม์ และยังได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร

ผมมีความเชื่อว่าธุรกิจคือผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง และเป็นกำลังสำคัญในการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เพราะสิ่งที่ธุรกิจทำได้ดีที่สุดก็คือ การสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยน แปลง การจัดการความเสีย่ ง และการค้นหาโอกาสในทุกๆ สิง่ -- ริชาร์ด แบรนสัน ฟอร์บส ให้เป็น "หนึง่ ในสิบสิง่ ทีจ่ ะเปลีย่ นวิถกี ารใช้ชวี ติ ของเรา" ด้วยความคาดหมายว่า มันจะมีผลเปลีย่ นแปลงอย่างใหญ่หลวง ต่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต และสุ ข ภาพของคนจำนวนหลายล้ า น ที่ไม่อาจเข้าถึงน้ำสะอาดได้ การใช้กลไกตลาดที่มีประสิทธิภาพก็ช่วยสร้างให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแนว คิด 'แฟร์เทรด' (Fairtrade) หรือการค้าที่เป็นธรรม ที่ใช้การ ออกเครื่องหมายรับรองหรือฉลากแฟร์เทรดให้กับธุรกิจที่ซื้อ วัตถุดบิ ในการผลิตตามเงือ่ นไขทีต่ ง้ั ไว้ เป็นเครือ่ งมือในการช่วย เหลือผูผ้ ลิตในประเทศโลกทีส่ ามให้สามารถขายผลผลิตของตน ในราคาที่ เ ป็ น ธรรมและส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด ความยั่ ง ยื น ในการ ผลิต รวมถึงการส่งเสริมมาตรฐานทางสังคมสิ่งแวดล้อมให้แก่ ชุมชน แนวคิดนี้ไม่เพียงแต่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่ ของการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ยังสร้างความตระหนักถึง อำนาจของผูบ้ ริโภคในการสร้างสังคมทีด่ ขี น้ึ ได้ดว้ ย ในปัจจุบนั มีเกษตรกรและผู้ ผ ลิ ต ที่ อ ยู่ ใ นโครงการนี้ ก ว่ า หนึ่ ง ล้ า นราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตที่อยู่ในทวีปแอฟริกา * คํากล่าวของ ดร. ราเชนทรา ปาจาอุรี ประธานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล

ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) หน่วยงานที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ร่วมกับอดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ ในปี 2007

(ภาพจาก Wikimedia Commons โดย bseshadri)

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

17


Cover Story เรื่องจากปก

People Planet Profit มีรายงานว่า ในปี 2007 มีสินทรัพย์ที่ลงทุนในรูปแบบ SRI หรือ การลงทุนอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Investing) ถึง 2.71 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอเมริกา1 และ 1.6 ล้านยูโรในตลาดยุโรป2 แนวคิดนี้กำลังสร้างให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างมากในสองภูมิภาคดังกล่าว มีประมาณการ ว่าการลงทุนทุกๆ 1 ใน 9 เหรียญสหรัฐฯ ในตลาดอเมริกาเป็น การลงทุนตามแนวคิด SRI การลงทุนอย่างรับผิดชอบต่อสังคม หรือ SRI นี้ คือแนวคิดใน การลงทุนที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างผลตอบแทนทางการเงิน และคุณภาพของสังคมสูงที่สุดในเวลาเดียวกัน โดยทัว่ ไป นักลงทุน ที่รับผิดชอบต่อสังคมจะให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจที่มีวิถี ปฏิบตั ทิ ส่ี ง่ เสริมการรักษาสิง่ แวดล้อม การปกป้องคุม้ ครองผูบ้ ริโภค สิทธิมนุษยชน รวมถึงส่งเสริมความหลากหลายในด้านต่างๆ หรือพูดง่ายๆ คือ เป็นการลงทุนที่คํานึงถึงผลประกอบการ ทางเศรษฐกิจ (Economic) สังคม (Social) และสิ่งแวดล้อม (Environment) นัน่ เอง แน่นอนว่า ธุรกิจหลักๆ ที่ไม่เป็นที่ต้องการของการลงทุน ประเภทนี้ ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ การพนัน และ อาวุธ ในเดือนตุลาคม 2007 สภาเมืองลิเวอร์พูลได้ลงมติ ต่อต้านการลงทุนในธุรกิจค้าอาวุธ อันนำไปสูก่ ารยกเลิกการลงทุน 13.6 ล้านปอนด์ของกองทุนบำนาญ Merseyside Superannuation ที่ลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ คือ บริทชิ แอโรสเปซ ซึง่ เป็นบริษทั ค้าอาวุธทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในโลก รวมถึง โบอิ้ง และโรลส์-รอยซ์ ตามข้อเรียกร้องของประชาชนชาว ลิเวอร์พูล 1

จากรายงานเรื่อง Social Responsible Investing Trends in the United States (2007) จัดทำโดย Social Investment Forum 2 ประมาณการโดยบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน Celent

(ภาพจาก flickr โดย Oscar The Goat)

ใครที่เดินเข้าร้านกาแฟในอังกฤษตอนนี้ อย่าแปลกใจ หากแทน ที่พนักงานจะถามว่า "คุณต้องการกาแฟที่มีคาเฟอีนหรือไม่มี (caf or decaf)?" แต่เขากลับถามว่า "คุณต้องการกาแฟแฟร์เทรด หรือธรรมดา?" นีค่ อื ตัวอย่างของการใช้กลไกตลาดในการเปลีย่ น แปลงสังคม ผ่านผูบ้ ริโภคทีต่ อ้ งการแน่ใจว่า เกษตรกรและผูผ้ ลิต สินค้าและบริการจะได้รับส่วนต่างรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ตนเอง บริโภคมากขึน้ รวมถึงมีสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

18

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553


Cover Story เรื่องจากปก

วิถีใหม่ในทุกๆ อย่าง เทคโนโลยีไม่เพียงแต่เปิดพื้นที่สำหรับความร่วมมือเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปแบบหรือแพลตฟอร์มใหม่สำหรับทุกๆ อย่าง ไม่วา่ จะเป็นโมเดลธุรกิจ ตลาด การลงทุน โครงสร้างการทำงาน (ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม) สื่อ ไปจนถึงการ ตรวจสอบและประเมินผล ในปี 2009 OECD ได้จดั ทำเครือข่าย Wikiprogress.org สําหรับเป็นศูนย์กลางในการสื่อสารแลก เปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น และติดตามผลความก้าวหน้าทาง สังคม ผ่านตัวชี้วัดต่างๆ ที่ได้จัดทําขึ้น และในปีเดียวกัน ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีของฝรั่งเศสก็ได้ว่าจ้างให้นัก เศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล โจเซฟ สติกลิทซ์ เป็นหัวหน้า คณะทํา งานเพื่อ หาทางเลื อ กในการวั ด ประสิ ท ธิ ภ าพทาง เศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคม แทนการใช้ผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ (จีดพี )ี ซึง่ ไม่ได้รวมเอาเรือ่ งของคุณภาพชีวติ และความยัง่ ยืนทางสังคมและสิง่ แวดล้อมมาคิดคำนวณด้วย ดูเหมือนว่า การพัฒนาที่มุ่งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาในศตวรรษที่ ผ่านมา จะไม่เพียงพออีกต่อไปในสังคมเปิดของศตวรรษที่ 21 นี้ แต่เราต้องการวิธีคิดแบบใหม่ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และพลังทางสังคม และทำให้การพัฒนาหมายถึงการสร้างให้ เกิดคุณค่าต่อสังคมและมนุษยชาติ (Humanistic Value) ไปด้วย พร้อมๆ กัน ข้อมูลจาก รายงาน The Open Book of Social Innovation โดย The Young Foundation และ NESTA หนังสือ The New Pioneers: Sustainable Business Success Through Social Innovation and Social Entrepreneurship โดย Tania Ellis (ภาพเปิดจากเว็บไซต์ Ford Foundation)

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

19


Creative Enterpreneur คิด ทํา กิน

โอเพ่ น ดรี ม เทคโนโลยีเปิดฝัน เรื่อง: TCDCCONNECT โดย อาศิรา พนาราม ภาพ: มนูญ ทองนพรัตน์ คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า ในปัจจุบนั การทำธุรกิจที่ “คิดถึง ส่วนรวมเป็นหลัก” หรือกิจการเพื่อสังคม ได้กา้ วเข้า มามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคมในทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่มีผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (ผู้มีใจรัก อยากจะสร้างความเปลี่ยนแปลง) เข้ามาลงสนามร่วม เป็นผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม (Social Entrepreneur) กันแล้วไม่นอ้ ย เราจึงอยากแนะนําให้รจู้ กั กับ คูห่ วู ศิ วกร คอมพิวเตอร์ ทีเ่ ลือกก้าวออกจากเส้นทางความสำเร็จ ในองค์กรใหญ่ เพื่อเดินตามฝันในเวทีของตนเอง

น้องใหม่ในธุรกิจเพื่อสังคม

'โอเพ่นดรีม' (Opendream) คือ ผู้ให้บริการด้านการออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์ รวมไปถึงเทคโนโลยีการสือ่ สารอืน่ ๆ ให้แก่ องค์กรอิสระทีท่ ำงานแก้ปญั หาสังคม ปัญหาชนบท และปัญหา สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ธุรกิจเปิดฝัน นี้เกิดขึ้นจากแนวคิดของ สองผู้ก่อการ คือ 'หนึ่ง' พัชราภรณ์ ปันสุวรรณ และ 'เก่ง' ปฏิพทั ธ์ สุสำเภา ตามประสาคนรุน่ ใหม่ไฟแรงทีอ่ ยากแสวงหา ความหมายให้กบั ชีวติ มากกว่าการอยูภ่ ายใต้ระบบและรูปแบบ เดิมๆ ทัง้ สองได้มาพบกับผูส้ ร้างแรงบันดาลใจ คือ สุนติ ย์ เชรษฐา จาก ChangeFusion ในงานสัมมนา "อินเทอร์เน็ตเพื่อการ เปลี่ยนแปลง" ที่ได้หยิบยื่นคู่มือชีวิตเล่มเล็กๆ ที่จัดทำโดย ChangeFusion เรื่อง ทำเพื่อสังคม ไม่เห็นต้องกินแกลบ (Becoming Social Entrepreneur) หนังสือที่ใช้เวลาอ่านแค่ 5 นาทีจบ แต่กลับจุดประกายให้คนทั้งคู่เลือกเส้นทางการ ดำเนินชีวิตใหม่แทบจะทันทีที่พลิกถึงหน้าสุดท้าย

20

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

ช่ ว งแรกนั้ น พั ช ราภรณ์ แ ละปฏิ พั ท ธ์ ยั ง ไม่ รู้ จั ก คำว่ า 'ผปู้ ระกอบการเพือ่ สังคม' ด้วยซ้ำ พวกเขาตัง้ บริษทั โอเพ่นดรีม ขึ้นมาเพื่อรับงานจากลูกค้าต่างประเทศ (เพื่อให้ได้เงินจำนวน มากๆ) แล้วนำเงินนั้นไปช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยคิดเพียงว่า "คน ทำงานเพื่อสังคมก็ต้องไม่หาเงินกับสังคม" แต่ต่อมาความคิด และวิธีการทำงานของพวกเขาก็เปลี่ยนไป เมื่อสุนิตย์แนะนำว่า "ผู้ประกอบการสังคมมีอยู่จริง และสังคมก็มีรายจ่ายอยู่แล้ว ทำไมจะจ่ายให้กับคนที่อยากทำอะไรให้ดีขึ้นไม่ได้"

โมเดลในการสร้างสิ่งดีที่เป็นไปได้จริง

ทุกวันนี้โอเพ่นดรีมไม่ได้ทำงานกับชุมชนโดยตรง แต่พวกเขา เลื อ กที่ จ ะสร้ า งเทคโนโลยี ก ารสื่ อ สารให้ กั บ กลุ่ ม เอ็ น จี โ อ และองค์กรเพื่อสังคมต่างๆ ด้วยมองว่า ความรู้ด้านไอทีนั้นจะ เป็นเครื่องมือชั้นดีในการเผยแพร่ข้อมูลขององค์กร (ซึ่งมักจะ ขาดแคลนเครือ่ งมือชัน้ ดีทว่ี า่ ) องค์กรเหล่านีเ้ ป็นศูนย์กลางการ ทำงานกับชนบทอยูแ่ ล้ว ฉะนัน้ เมือ่ โอเพ่นดรีมตัง้ ต้นช่วยทีศ่ นู ย์ กลาง ความช่วยเหลือก็จะกระจายต่อไปด้วยเทคโนโลยีที่ดี ทีผ่ า่ นมาพวกเขาเลือกทำงานกับองค์กรใหญ่ เพราะมีศกั ยภาพ ทัง้ ด้านเงินทุนและด้านความช่วยเหลือต่อสังคม ในขณะเดียวกัน ก็รบั งานเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย ตลอดเวลาหนึง่ ปีครึง่ ของโอเพ่นดรีม พวกเขาค้นหาวิธกี าร ดำเนินงานที่เหมาะกับตัวเองเรื่อยมา จนในที่สุดก็ได้โมเดลที่ เป็นรูปร่างชัดเจน "โอเพ่ น ดรี ม เราแบ่ ง วิ ธี ห ารายได้ อ อกเป็ น สองส่ ว น ส่วนหนึ่งจาก ภาคสังคม ด้วยการ Optimise รายได้ให้ดีที่สุด หรือการหาจุดที่เหมาะสมของรายได้รวมถึงการนำผลกำไร ที่ได้รับมาสร้างให้เกิดประโยชน์และเกิดความยั่งยืนสูงสุด ในการดำเนินงาน ขณะที่รายได้ส่วนที่สองมาจาก 'ภาคธุรกิจ ต่างประเทศ' ด้วยการ Maximize กำไรให้ได้มากที่สุดเช่นกัน" กำไรที่ได้นั้นก็เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการต่อยอดกิจการ ต่างๆ ขององค์กรนั่นเอง


Creative Enterpreneur คิด ทํา กิน

โดยในการรับงาน พวกเขาจะกำหนดขอบเขตต่ำสุด-สูงสุด ของผลกำไรเอาไว้ แต่อย่างน้อยต้องให้ได้กำไรมากกว่าต้นทุน ดังนั้นด้วยต้นทุนที่เท่ากัน (ใช้คนเท่ากัน ซอฟแวร์ชุดเดียวกัน วิธีคิดเหมือนกัน ต่างกันที่เวลา) จึงสามารถเฉลี่ยกำไรของ งานทั้งสองภาคเข้าด้วยกันได้ และเมื่อได้กำไรมา พวกเขาจะ แบ่งมันออกเป็นสามส่วน คือ ค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในสำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการขยายทีมงาน และค่าใช้จ่ายเพื่องานสาธารณ ประโยชน์ เช่น การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายไอที นอกจากนี้ โมเดลธุรกิจที่รัดกุมของโอเพ่นดรีมยังถูกขับ เคลือ่ นไปข้างหน้าจนสุดจุดหมายปลายทาง ด้วยการใช้เทคโนโลยี เป็นขุมพลังพื้นฐานสำคัญ โดยมีเครื่องมือที่เป็นแกนกลางการ ดำเนินธุรกิจคือ การเลือกใช้โอเพนซอร์ซที่เหมาะสมกับแต่ละ งาน รวมถึงการทำระบบที่ลูกค้าสามารถดูแลตัวเองได้ เช่น สามารถอัพเดทข้อมูลได้เอง หรือให้โปรแกรมเมอร์อื่นเข้ามา เขียนโค้ดต่อยอดได้ ซึ่งในจุดนี้ซอฟท์แวร์ที่เป็นโอเพนซอร์ซ จะเป็นเครือ่ งมือทีส่ ำคัญมาก และหากมองในเชิงเศรษฐศาสตร์ แล้ว โอเพนซอร์ซคือการใช้ตน้ ทุนทีน่ อ้ ยทีส่ ดุ เพือ่ ให้ได้ผลกำไร มากที่สุดด้วย เน้นการหากําไรสูงสุด ให้คําปรึกษาด้าน IT พัฒนาเว็บไซต์ สร้างเครือข่าย IT

เน้นการหากําไรที่เหมาะสมที่สุด

ภาคธุรกิจ

บริการ สร้างนวัตกรรม เพื่อสังคม ด้วยเทคโนโลยี

รายได้

คุณค่า

ค่าปฏิบัติการ ค่าใช้จ่ายในสํานักงาน ค่าขยายทีมงาน

ค่าใช้จ่าย สําหรับ ธุรกิจ

โอเพนซอร์ซ

เครื่องมือ

ภาคสังคม

ค่าใช้จ่าย

Barcamp Bangkok Readcamp

ค่าใช้จ่ายสําหรับ กิจกรรม Community Building

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

21


Creative Enterpreneur คิด ทํา กิน

กำไรของธุรกิจเพื่อสังคมมีมากกว่าหนึ่ง

ที่ว่ามีมากกว่าหนึ่งนั้นหมายถึงกำไรไม่ได้มาในรูปของตัวเงิน เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึง ‘อิมแพค’ ที่จะเกิดขึ้นต่อ สังคมด้วย ตัวอย่างผลงานที่เห็นได้ชัด คือ เว็บไซต์ของ ‘หมอชาวบ้าน’ จากเว็บธรรมดาๆ ที่มีผู้เข้าชมเพียงหลักพัน ต่อเดือน ภายในสองสามเดือนเมื่อโอเพ่นดรีมเข้ามาทำเว็บให้ ใหม่ จำนวนผู้เข้าชมของเว็บนี้ก็พุ่งขึ้นเป็นสองสามแสน โดย ครั้งนั้นลูกค้ามีโจทย์หลักคือ ต้องการนำเนื้อหาย้อนหลัง 30 ปี ของหนังสือ หมอชาวบ้าน มาขึ้นบนเว็บเพื่อเป็นฐานข้อมูล ด้านสุขภาพให้คนได้สบื ค้น ซึง่ ทีมงานของโอเพ่นดรีมได้จดั ทำ ระบบขึ้นมาใหม่ให้ลูกค้าสามารถกรอกข้อมูลลงไปได้เอง รวมทั้งตั้งระบบสืบค้นจากกูเกิลด้วย "การวางระบบที่ ดี จ ะทำให้ เ กิ ด กำไรได้ อี ก ทอดหนึ่ ง เทคโนโลยีสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางความคิดให้แก่ ทีมงานซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ได้ เมื่อพวกเขาได้รับการปลูกฝังทั้ง ทางอุดมการณ์และทางทักษะ ในอนาคตเขาเหล่านี้ก็อาจออก ไปประกอบธุรกิจเพื่อสังคมด้วยตนเอง สามารถช่วยขยาย เครือข่ายและขยายความช่วยเหลือไปสู่สังคมในวงกว้าง"

น่ารู้เพิ่มเติมกับ ‘โอเพ่นดรีม’

ดร.มีชัย วีระไวทยะ คือผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจในด้านโมเดล การทำงาน ในขณะทีเ่ ราเพิง่ เริม่ รูจ้ กั กับคำนี้ ดร.มีชยั ได้ทำธุรกิจ เพื่อสังคมมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่วิธี คิดนอกกรอบเพื่อการแก้ปัญหา และที่สำคัญ ดร.มีชัยได้มอบ ประโยคเด็ดให้เป็นแรงผลักดันว่า "หากคุณจะเป็นผูป้ ระกอบการ สังคม คุณจะต้องหากินเองก่อน แล้วค่อยไปขอทาน ถ้าคุณไป ขอก่อนคุณจะกลายเป็นเอ็นจีโอ" การสร้างเครือข่ายเป็นพื้นฐานสำคัญของธุรกิจเพื่อสังคม ทุกวันนี้โอเพ่นดรีมเป็นเจ้าภาพจัดงานให้นักพัฒนาด้านต่างๆ ได้มาเจอกัน (เช่น Barcamp, Readcamp เป็นต้น) โดยที่ไม่ จำเป็นต้องใส่ประเด็นเรือ่ งการช่วยเหลือสังคมเข้าไปเลย แต่การ เชื่อมโยงกันไว้ก่อนถือเป็นการสร้างสังคมไอทีให้พัฒนาต่อไป โดยหากในอนาคตมีคนที่สนใจเรื่องสังคมพวกเขาก็สามารถ ขยายเครือข่ายความช่วยเหลือออกไปได้ง่ายขึ้น

22

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

วันข้างหน้าของโอเพ่นดรีม

พัชราภรณ์และปฏิพัทธ์พูดถึงองค์กรที่พวกเขาอยากจะเป็น ในอนาคตว่า "เราอยากเป็นแบบ ParqueSoft ซึ่งเป็นสวน นวัตกรรมในประเทศโคลัมเบีย โครงการนี้ก่อตั้งโดยออลันโด รินคอน โบนิลลา ซึ่งเป็นผู้ประกอบการสังคมด้านไอทีเช่นกัน โมเดลของรินคอนคือ การขยายเน็ตเวิร์ค โดยสร้างคนยากจน ที่สนใจด้านไอทีให้กลายเป็นพนักงานของ ParqueSoft และ ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่เชี่ยวชาญ" "ปัจจุบนั มีพนักงานของรินคอนประมาณ 400 คน บริหาร บริษัทในเครือ 30 บริษัทซึ่งอยู่ในที่ผืนเดียวกัน ข้อดีคือค่า บริหารจัดการต่ำ และแต่ละหน่วยย่อยก็มอี สิ ระในการทีจ่ ะออก ไปสร้างอิมแพคอะไรให้สังคมก็ได้ (โดยที่ตรงกลางไม่ต้อง ควบคุม) นี่เป็นโมเดลที่ทำให้ ParqueSoft เป็นที่กล่าวขวัญถึง ในฐานะผู้ประกอบการสังคมตัวอย่าง" ในขณะนีก้ ารทำงานของโอเพ่นดรีม คือ การมุง่ สร้าง 'คน' และสร้าง 'เครือข่ายไอที' ที่สร้างสรรค์ให้กับประเทศไทย แต่ ต่อไปในอนาคต เมือ่ ประสบการณ์หล่อหลอมพวกเขาจนเข้าฝัก เราอดคิดไม่ได้ว่าพวกเขาคงจะขยายพลัง 'เปิดฝัน' เพื่อช่วย สร้างสังคมดีๆ ได้อกี มากโขทีเดียว


Editor's Note บทบรรณาธิการ

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

23


จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

24

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

SUPER SWEDE นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต

Creative City


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

พัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ

เรื่อง: ณัฐพร ศรีศิริรังสิมากุล

คุณรู้หรือไม่ว่า ของที่เราใช้กันจนเคยชินอย่าง ซิป ไม้ขีดไฟ เทอร์โมมิเตอร์แบบองศาเซลเซียส และเข็มขัดนิรภัย ไปจนถึง โปรแกรมโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ตอย่าง Skype ล้วนแล้วแต่ เป็นผลงานความคิดสร้างสรรค์จากสวีเดน แต่นอกจากเครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ในชีวติ ประจำวันแล้ว ประเทศนักประดิษฐ์แห่งนีย้ งั พัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นเพื่อพัฒนาเมืองสีเขียวอย่าง ครบเครื่อง ให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ด้วยกันได้อย่างเกื้อกูล ไม่เสียชื่อประเทศที่มีนวัตกรรมโดดเด่นที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 (รองจากไอซ์แลนด์) จากการจัดอันดับของ Global Innovation Index ประจำปี 2009-2010

บทบาทของสวีเดนในฐานะผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นขึ้นในปี 1972 เมือ่ กรุงสตอกโฮล์มเป็นเจ้าภาพการประชุมสหประชาชาติวา่ ด้วยเรือ่ ง สิง่ แวดล้อม เพือ่ กระตุน้ ให้ประเทศต่างๆ ทัว่ โลกเกิดความตืน่ ตัวด้าน วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม จนเป็นจุดเริ่มต้นให้สหประชาชาติประกาศ ให้วนั ที่ 5 มิถนุ ายนของทุกปี เป็นวันสิง่ แวดล้อมโลก แต่กอ่ นทีจ่ ะก้าว ขึ้นมาเป็นประเทศหัวใจสีเขียวอย่างในปัจจุบัน สวีเดนเคยเผชิญ ปัญหามลภาวะเป็นพิษอย่างหนักมาก่อนโดยเฉพาะมลพิษทางน้ำ เมือ่ น้ำเสียจากชุมชนและกระบวนการอุตสาหกรรมถูกปล่อยทิง้ โดยที่ ยังไม่ได้รบั การบำบัด จนส่งผลให้ทะเลสาบ Trummen ในเมืองแวกซ์เยอ ทางตอนใต้ของสวีเดน และทะเลสาบ Malaren ที่โอบล้อมกรุง สตอกโฮล์ม สกปรกและส่งกลิน่ เหม็นจนไม่สามารถใช้อปุ โภคบริโภคได้ แต่เมื่อย่างเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 60 สวีเดนตัดสินใจลงมือแก้ ปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้ โดยวางระบบจัดการน้ำเสียเสียใหม่ ตั้ง โรงงานบำบั ด น้ ำ เสี ย ที่ ทั น สมั ย และหมั่ น ติ ด ตามเก็ บ ตั ว อย่ า งน้ ำ จากทะเลสาบมาตรวจคุณภาพ จนทำให้น้ำในทะเลสาบทั้งสองแห่ง กลับมาใสสะอาดอีกครั้ง จนประชาชนสามารถว่ายน้ำและตกปลา ในเมืองได้ เท่านัน้ ยังไม่พอ รัฐบาลสวีเดนยังมองการณ์ไกล ออกนโยบาย จัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างชาญฉลาด โดยกำหนดให้ปลูกต้นไม้ สองต้นทดแทนในทุกๆ ครั้งที่ตัดต้นไม้หนึ่งต้น จนทำให้ผืนป่าที่เคย ถูกรุกรานในอดีตกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง และในทุกวันนี้ธุรกิจ ป่าไม้ได้กลายเป็นอุตสาหกรรมทีส่ ร้างงานให้คนกว่าหนึง่ แสนคน และ ทำเงินให้สวีเดนคิดเป็นร้อยละ 12 ของมูลค่าการส่งออก จวบจนปัจจุบนั สวีเดนยังคงเป็นแม่แบบในการพัฒนาเมืองอย่าง ยัง่ ยืน โดยตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั เจนทีส่ ดุ ได้แก่ ย่าน Hammarby Sjostad ในกรุงสตอกโฮล์ม อดีตพื้นที่รกร้างและท่าจอดเรือสุดแสนสกปรก แห่งนีถ้ กู เนรมิตให้เป็นเขตอยูอ่ าศัยและพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ผ่านการวางแผนแบบบูรณาการ นับตั้งแต่การออกแบบอาคารและ การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง การวางผังเมือง การจัดระบบคมนาคม การบำบัดน้ำเสีย ไปจนถึงการนำของเสียมารีไซเคิลให้เป็นพลังงาน ต่อไปอย่างครบวงจร จน Hammarby Sjostad ได้รับยกย่องให้เป็น เขตพัฒนาต้นแบบที่มีนักวิชาการจากทั่วโลกเดินทางไปชมโครงการ อย่างสม่ำเสมอ

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

25


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

Swedish Pavilion

Stefan Geens

Petter Eldin

ประเทศสวีเดนออกแบบพาวิลเลียนเพือ่ นำเสนอ การยกระดับคุณภาพชีวติ และพัฒนาสังคมแบบ ยั่งยืนโดยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นเครื่อง มือ ภายใต้หัวข้อ 'จิตวิญญาณแห่งนวัตกรรม' (Spirits of Innovation) เมื่อมองจากด้านบน จะเห็นว่าอาคารทรงลูกบาศก์สี่หลังที่ถูกจัดวาง ให้ มี ที่ ว่ า งรู ป ไม้ ก างเขนอยู่ ต รงกลางนั้ น ถู ก ออกแบบมาให้มีลักษณะเหมือนธงชาติสวีเดน ด้านหน้าอาคารใช้โลหะฉลุเป็นลวดลายแผนที่ เมืองสตอกโฮล์ม ส่วนภายในตกแต่งด้วยภาพ ทัศนียภาพทางธรรมชาติของสวีเดน เพื่อสื่อถึง การอยูร่ ว่ มกันอย่างอย่างสมดุลของมนุษย์ เมือง และธรรมชาติ จุดเด่นของพาวิลเลียนสวีเดน คือ วั ส ดุ ทุ ก ชิ้ น ที่ ใ ช้ ใ นการก่ อ สร้ า งเป็ น มิ ต รต่ อ ธรรมชาติ แ ละสามารถนำกลั บ มาใช้ ใ หม่ ไ ด้ ในการขึน้ โครงสร้างอาคาร สวีเดนเลือกทีจ่ ะใช้ไม้ Glulam ที่ได้จากการนำแผ่นไม้แปรรูปหลายๆ ชิ้นมาประกอบและยึดติดกันด้วยกาวให้เป็นไม้ แผ่นใหญ่แผ่นเดียวทีม่ ขี นาดตามต้องการ นอกจาก จะได้โครงสร้างอาคารที่แข็งแรงปลอดภัยแล้ว ไม้ Glulam ยังเป็นมิตรต่อธรรมชาติมากกว่า การใช้คอนกรีตหรือเหล็กอีกด้วย

ทำครัวแบบอัจฉริยะ

หากจะพูดถึงแบรนด์จากสวีเดนทีโ่ ดดเด่นในเรือ่ ง นวัตกรรม หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น Electrolux ที่ล่าสุดได้ออกผลิตภัณฑ์เตาอบ INSPIRO ที่มี ระบบจัดการความร้อนอัจฉริยะติดตั้งภายใน ตัวเครือ่ ง โดยเครือ่ งจะรับรูถ้ งึ น้ำหนักของอาหาร ที่กำลังทำอยู่ และจะทำการปรับเปลี่ยนการ ปรุงอาหารให้เหมาะสมเองโดยอัตโนมัติตาม ข้อมูลที่มีการบันทึกไว้ในตัวเครื่องเพื่อให้ได้ รสชาติอาหารเสมือนกับมีผู้เชี่ยวชาญมาทำเอง

26

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

ดีไซน์ดี ชีวิตดี วิ ถี ชี วิ ต ของชาวสวี เ ดนที่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ ธรรมชาตินั้นสะท้อนสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ ขึ้ น ชื่ อ เรื่ อ งดี ไ ซน์ ที่ เ รี ย บง่ า ยไม่ ห วื อ หวา แต่เน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก และเป็นมิตร ต่อทั้งผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้จาก วิสัยทัศน์และแนวทางการออกแบบของบริษัท สัญชาติสวีเดน อาทิ วอลโว่ทใ่ี ช้ระบบเครือ่ งยนต์ ที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ประกอบขึ้ น จากชิ้ น ส่ ว นที่ ส ามารถนำมา รีไซเคิลได้กว่าร้อยละ 85 หรือ IKEA บริษทั ผลิต เฟอร์นิเจอร์ที่เลือกใช้สีสันสดใสและวัสดุที่มี พื้นผิวธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศสว่าง สบายตาและเพิ่มชีวิตชีวาให้แก่บ้านในประเทศ ที่หนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ ดีไซน์ทด่ี สี ามารถกระตุน้ จิตสำนึกที่ดีได้ จึงทำให้เหล่าดีไซน์เนอร์ชาว สวีเดนอีกกลุม่ หนึง่ รวมตัวกันในนาม STATIC! ทํา โครงการออกแบบวิจัยที่ม่งุ ออกแบบและพัฒนา ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่กระตุ้นให้ ผู้ ใ ช้ เ กิ ด ความสำนึ ก ในการใช้ พ ลั ง งาน โดยมีแนวคิดให้ใช้ 'พลังงาน' เป็นหนึ่งในวัสดุที่ ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วย เพราะหาก ทำให้ผู้ใช้สัมผัสและมองเห็นพลังงานได้ ก็จะ รู้ตัวว่ากำลังใช้พลังงานไปเยอะขนาดไหน ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทน่ี า่ สนใจ ได้แก่ โคมไฟ รูปดอกไม้ที่จะบานเมื่อผู้ใช้ลดปริมาณการใช้ ไฟฟ้าภายในบ้านลง กระเบื้องผนังห้องน้ำที่ ลวดลายบนกระเบื้องเพนท์จากหมึกจะเปลีย่ นสี ตามอุณหภูมิ โดยจะค่อยๆ เลือนหายไปหาก อุณหภูมิสูงขึ้น เป็นการเตือนให้คนใช้น้ำร้อน อย่างประหยัด และสายไฟที่จะส่องแสงจ้าหาก ใช้พลังงานมากเกินไป


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ไร้น้ำมัน แต่ไม่ไร้น้ำยา

ร่างกายอบอุ่น ตึกก็อบอุ่น

Kungsbrohuset อาคาร 13 ชัน้ ซึง่ ตัง้ อยูใ่ จกลาง กรุงสตอกโฮล์ม ถูกออกแบบขึน้ โดยมี 'สง่ิ แวดล้อม' เป็นโจทย์หลัก ผนังอาคารสองชัน้ ทำหน้าทีเ่ หมือน กระติกน้ำร้อน กักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ ที่ ส่ อ งเข้ า มาเพื่ อ ช่ ว ยให้ ค วามอบอุ่ น ภายใน อาคาร ทั้งยังมีระบบควบคุมอุณหภูมิภายในที่ เชื่อมต่อกับระบบพยากรณ์อากาศ จึงสามารถ ปรั บ เปลี่ ย นอุ ณ หภู มิ ใ นอาคารให้ เ หมาะกั บ สภาวะอากาศภายนอกได้ อ ย่ า งเหมาะสม แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ สิ่งก่อสร้างสีเขียวแห่งนี้ ใช้ที่ตั้งอาคารซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟ Central Station ทีม่ คี นพลุกพล่านให้เป็นประโยชน์ โดย ติดตัง้ เครือ่ งดักจับความร้อนจากร่างกายคนกว่า 250,000 คนทีส่ ญั จรผ่านสถานีในแต่ละวัน และ เปลี่ ยนให้ เ ป็ น พลั ง งานเพื่อ ใช้ภายในอาคาร ด้วยกระบวนการทัง้ หมดนี้ ทำให้ Kungsbrohuset ใช้พลังงานเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของตึกที่มีขนาด เท่าๆ กัน

มุ่งสู่พลังงานสะอาด ในปี 2006 สวีเดนสร้างความฮือฮาให้แก่ชาวโลก เมื่อออกมาประกาศว่าจะเป็นประเทศแรกใน โลกที่เลิกใช้น้ำมันให้ได้ภายในปี 2020 อาจฟัง ดูเหมือนเป็นความตั้งใจที่สูงเกินเอื้อมกว่าที่จะ ทำให้เป็นจริงได้ แต่เมื่อตั้งเป้าไว้ชัดเจนแล้ว รัฐบาลสวีเดนจึงมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนหันมา ใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างเข้มข้นและเอาจริงเอาจัง นัน่ คือการออกข้อเสนอและผลประโยชน์ทน่ี า่ สนใจมากมายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ชาวสวีเดน ลดการใช้น้ำมันและพลังงานถ่านหิน อาทิ ลด ภาษีรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตร ต่อสิง่ แวดล้อม พร้อมทัง้ ให้ผขู้ บั ขีร่ ถยนต์ประเภท นี้ใช้ทางด่วนได้ฟรี ในขณะเดียวกัน ก็ทุ่มงบ ประมาณเพิ่มรอบวิ่งรถไฟฟ้าและรถเมล์ในเขต เมืองให้ถี่ขึ้น เพื่อให้คนทิ้งรถไว้ที่บ้าน และในปี

Ankara

Ankara

2006 กรุงสตอกโฮล์มได้เริ่มจัดเก็บภาษีรถติด (Stockholm Congestion Tax) จากรถยนต์ ส่วนบุคคลทีจ่ ะเข้ามาในเมือง มาตรการนีน้ อกจาก จะช่วยลดมลภาวะทางอากาศแล้ว รัฐยังนำเงิน ภาษีที่เก็บได้นั้นไปขยายถนนและพัฒนาระบบ ขนส่งมวลชนต่อไป และการที่เมืองหลักต่างๆ อย่างสตอกโฮล์ม มัลโม่ และโกเทนเบิร์ก ต่างมี ทางจักรยานตัดผ่านร้านรวง พิพิธภัณฑ์ และ สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รอบเมือง ทำให้ชาว สวีเดนซึง่ รักธรรมชาติและชืน่ ชอบการออกกำลัง และกิจกรรมกลางแจ้งอยู่แล้วเป็นทุน เลือกใช้ จักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางแทนรถยนต์ นอกจากจะโน้มน้าวใจประชาชนแล้ว รัฐบาล สวี เ ดนยั ง ไม่ ลื ม ที่ จ ะจู ง ใจผู้ ผ ลิ ต และพั ฒ นา ไฟฟ้าจาก 'พลังงานสีเขียว' อาทิ พลังงานจากลม แสงอาทิตย์ คลืน่ และพลังงานชีวมวล โดยมอบ ใบรับรอง Green Certificates ให้ ซึ่งสามารถ นำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดได้ด้วย

ถึงจะต้องแวะเติมแก๊สทุกๆ 600 กิโลเมตร แถม ยังรับผูโ้ ดยสารได้เพียง 54 คนต่อเทีย่ ว แต่รถไฟ ไบโอแก๊สขบวนแรกของโลก ฝีมอื การพัฒนาและ ลงทุนของ Svensk บริษัทไบโอแก๊สยักษ์ใหญ่ ของสวีเดนก็นับเป็นรถไฟสายอนาคต เพราะใช้ ไบโอแก๊สธรรมชาติซึ่งเกิดจากการย่อยสลาย ของสารอิ น ทรี ย์ จ ากของเหลื อ ในครั ว เรื อ น และฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมัน รถไฟพลังไบโอแก๊สนี้เปิดให้บริการในปี 2005 วิ่งระหว่างเมืองลิงโกปิง ซึ่งอยู่ห่างจากกรุง สตอกโฮล์มไปทางใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร กับ เมืองแวสเตอร์วกิ ซึง่ อยูร่ มิ ชายฝัง่ ทางตะวันออก ของสวีเดน รวมระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ล่าสุด ประเทศสวีเดนยังได้รบั การจัดอันดับ เป็นที่ 3 จากการจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดใน โลก (World’s Best Countries) ของนิตยสาร นิวส์วีค แถมสตอกโฮล์มยังได้รับเลือกให้เป็น European Green City ประจำปี 2010 ทัง้ หมดนี้ ล้ ว นแล้ ว แต่ เ ป็ น ข้ อ พิ สู จ น์ ถึ ง ความเอาจริ ง เอาจังของรัฐบาลในการจัดระบบสิ่งแวดล้อม ควบคูไ่ ปกับการพัฒนาเมือง เพือ่ ยกระดับคุณภาพ ชีวติ ของประชาชน และความร่วมมือของทุกภาค ส่วนที่พร้อมใจกันเดินหน้าสู่อนาคตสีเขียวอัน ยั่งยืน

ที่มา: www.symbiocity.org, www.sweden.se, www.swedenexpo.cn, www.sweden.gov.se, www.tii.se/static, www.electrolux.com ภาพ: www.sweco.se, www.electrolux.com, www.flickr.com

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

27


The Creative

มุมมองของนักคิด

" I don't believe in charity " สุนิตย์ เชรษฐา เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: มนูญ ทองนพรัตน์

28

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

ถ้าถามว่า อะไรที่ทำให้คนรุ่นใหม่เติบโตมากับค่านิยมอย่างการ "สอบเข้ามหาวิทยาลัยดัง หางานดี มีเงินเดือนสูง" ลุกขึน้ มาปฏิวตั ิ ความคิดจากกรอบเดิม แล้วหันมาทุ่มเททำงานเพื่อสังคมควบคู่ ไปกับการทำธุรกิจอย่างยัง่ ยืนแล้วล่ะก็ เราเชือ่ ว่าคนทีจ่ ะตอบคำถาม นี้ได้ดีที่สุด คงหนีไม่พ้น ‘สุนิตย์ เชรษฐา’ ชายหนุ่มไฟแรงผู้ได้ รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน Ashoka Fellows ประจำปี 2009 หนึ่ ง ในตั ว แทนของคนไทยที่ ไ ด้ ร่ ว มทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ กับกลุ่มคนผู้มีบทบาทโดดเด่นด้านการทำงานเพื่อสังคมระดับ โลก ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง ChangeFusion องค์กรเพื่อสังคมของ คนรุน่ ใหม่ทเ่ี ชือ่ มัน่ ในการใช้นวัตกรรมและการออกแบบเพือ่ สร้าง สังคมที่ดีขึ้น การยืนหยัดเดินตามรอยอย่างมั่นคงในการทำหน้าที่เป็น "เชือ้ ไฟให้คนทำงานเพือ่ สังคม" ของสุนติ ย์อาจเกิดจากปมขัดแย้ง ในใจสมัยเด็กทีเ่ ขาไม่เคยเชือ่ ว่า คนเราต้องแยกการทำธุรกิจเพือ่ หากำไรออกจากการทำงานเพื่อสังคมที่ยังเลี้ยงตั ว เองรอด และการทำงานของ ChangeFusion เกือบสิบปีทผ่ี า่ นมาก็พสิ จู น์ ให้เห็นถึงความเป็นไปได้จริงๆ ของแนวคิดดังกล่าว ที่สำคัญวิถี การทำงานของสุ นิ ต ย์ ยั ง กำลั ง เพาะเชื้ อ ทางความคิ ด ในการ เป็น ‘ผู้ประกอบการเพื่อสังคม’ ให้กับกลุ่มคนหนุ่มสาวมากมาย และหากคุณอ่านบทสัมภาษณ์นจ้ี บ คุณก็อาจติดเชือ้ ทางความคิด ไปกับเขาแบบไม่รู้ตัว


The Creative

มุมมองของนักคิด

Social Innovation ในแบบของ ChangeFusion เป็นอย่างไร? การสร้างนวัตกรรมเพือ่ สังคม เราจะยึดองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน คือ Innovativeness คือมีความใหม่ Social Impact มีผลต่อสังคมและสิ่ง แวดล้อมตามที่สนใจ Sustainability มีความยั่งยืนในเชิงรูปแบบหรือเป็น นวัตกรรมทีส่ ร้างรายได้ให้กบั ตนเอง หรืออยูไ่ ด้ดว้ ยตนเองอย่างยัง่ ยืนด้วย กลไกการเลี้ยงตนเองในรูปแบบต่างๆ และ Scalability คือมีศักยภาพ ในการขยายผล สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ใน วงกว้าง

ChangeFusion เกิดขึน้ มาได้อย่างไร? จุดเริม่ ต้นก่อนจะมาเป็น ChangeFusion ในวันนี้ เกิดจากการทีผ่ มกับ กลุ่มเพื่อนที่มีแนวคิดคล้ายๆ กันได้รับเงินทุนจากการชนะรางวัลการ ประกวดที่จัดโดยธนาคารโลก สมัยที่ยังเรียนอยู่ปี 3 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2001 ซึ่งโครงการที่ชนะเลิศตอนนั้นเป็น โครงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และเรา เสนอการทำระบบข้อมูลให้กับสหกรณ์ขนาดใหญ่ แต่กลับกลายเป็นว่า เราเจอปัญหาเยอะมาก แล้วก็แก้ไม่ได้สักที จนสุดท้ายพบว่า มันเป็นเรื่อง ของอำนาจและการเมืองภายใน ทีย่ ง่ิ ทำให้โปร่งใสงานก็ยง่ิ ไม่เดินหน้า พอเรา รู้ปัญหา เราก็เปลี่ยนไปทำระบบข้อมูลท่องเที่ยวชุมชนให้อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพรแทนจนประสบความสำเร็จ จากนัน้ ก็มาจัดตัง้ เป็น Thai Rural Net (TRN) อยู่พักหนึ่ง ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น ChangeFusion เพื่อให้ ครอบคลุมและสอดคล้องกับสิ่งที่เราทำอยู่มากที่สุดในตอนนี้ โดยยังยึด หลักการทำงานเหมือนเดิมคือ การค้นหาเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือนำเอาวิธีการเก่าที่ไม่มีใครมองแล้วแต่ยังเป็นประโยชน์อยู่มาแก้ไข ประเด็นปัญหาทางสังคมให้มปี ระสิทธิภาพขึน้ มีความยัง่ ยืนและขยายผลได้

ถึงวันนี้ได้ทําอะไรไปบ้าง? ถ้าถามถึงวันนี้ ก็ต้องบอกว่า ยิ่งทำไปเรื่อยๆ เราก็ยิ่งเข้าใจว่ามีคน เก่งๆ อยูอ่ กี มากทีย่ งั ไม่มโี อกาสได้ทดลองทำหรือเชือ่ มโยงขยายผลกับใคร ดังนัน้ สิง่ ทีเ่ ราทำตอนนีค้ อื การเปลีย่ นบทบาทจากคนทีล่ งมือทำเองมาเป็น ผูส้ นับสนุนให้คนอืน่ ๆ เกิดการเชือ่ มโยงขยายผลระหว่างกัน อย่างปีทผ่ี า่ นมา เราทำ Social Innovation Investment Design Service อยู่ด้วย เช่น ไปทำงานกับกระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิของกูเกิล และองค์กรเพื่อสังคม อื่นๆ อย่าง Opendream ร่วมพัฒนาโปรแกรมเพื่อติดตามและเฝ้าระวัง โรคระบาดผ่านมือถือ ซึง่ ถือเป็นโครงการต้นแบบของภูมภิ าคอาเซียนหรือ การไปทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจทิ ลั (Thai Digital Library Network) เพื่อเชื่อมโยงความรู้และยกระดับการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ของห้องสมุด ทั่วประเทศ หรือแม้แต่การที่เราเข้าไปเป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับ ภาครัฐผ่านการจัดตัง้ โครงการ ‘ไอเดียประเทศไทย’ บนเว็บไซต์ ideas.in.th และการคิดแผนงานเพิ่มทักษะเพื่อความสำเร็จให้เยาวชนเพื่อลดปัญหา เชิงลบต่างๆ ของเยาวชนไทยในปัจจุบันกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดนี้มันชี้ให้เห็นว่า งานที่เราทำอยู่ตอนนี้อยู่ในฐานะ ‘คนจับแพะ ชนแกะ’ หรือ ‘Innovation Brokering’ มากกว่าคนที่คิดค้นนวัตกรรม เจ๋งๆ ผมเชื่อว่านวัตกรรมไม่ได้เกิดจากการแต่งตัวอาร์ทๆ ออฟฟิศมี กล่องประหลาดๆ หรือต้องเฮอาปาร์ตี้ แต่จริงๆ แล้ว นวัตกรรมคือการ ผสมผสานเทคโนโลยีที่มีอยู่ แล้วมาทำใหม่ให้ดีกว่าเดิม

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

29


The Creative

มุมมองของนักคิด

คุณพบปัญหาในการทำหน้าที่เป็น ‘คนกลาง’ ในการเชื่อมโยงองค์กร ต่างๆ เข้าด้วยกันบ้างหรือเปล่า? การทำหน้าที่เป็นคนกลางเราต้องเป็น ‘พื้นที่เปิด’ ที่ทุกคนสามารถ เข้ามาเล่นในพืน้ ทีน่ ไ้ี ด้อย่างสบายใจ จึงต้องพยายามลดละอัตตาลง ไม่บบี บังคับหรือชีน้ ำให้คนอืน่ ทำตามสิง่ ทีเ่ ราคิด แต่ตอ้ งเข้าไปสร้างแรงบันดาล ใจหรือไปกระตุ้นให้คนอื่นทำเพื่อสังคม เรื่องของการทำตัวเป็นที่ว่างนี้ ผมได้มาจากตอนที่อ่านเรื่อง ‘Designing Design’ ของเคนยา ฮารา ซึ่งเป็นดีไซเนอร์ให้กับมูจิ ที่พูดว่า ดีไซน์เกิดขึ้นจากการสร้างพื้นที่ว่าง และทุกสิ่งเกิดขึ้นบนที่ว่างนี้เอง ดังนั้น ถ้าเราจะไปเปลี่ยนอะไร เราก็ ต้องทำตัวเป็นพื้นที่ว่างให้ได้ก่อน แล้วเข้าไปดูว่าในที่นั้นๆ มีกระแสอะไร อยู่ มีแนวโน้มอะไร แล้วเราจะไปผูกกับกระแสนั้นๆ ให้มันไปในทาง เดียวกันหรือในแนวทางที่เราต้องการได้อย่างไร อีกอย่าง ถ้าเราเป็นพืน้ ทีว่ า่ งเวลาเข้าไปคุยกับใคร เราก็จะไม่ได้เข้าไป เพื่อชักจูง แต่เป็นการเข้าไปหาโอกาสเพื่อสร้างสิ่งที่คิดให้เป็นความจริง เทคนิคสำคัญคือ เราต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจก่อนเป็นอันดับแรกด้วย การมองหาจุดร่วมต่างๆ ก่อนที่จะพูดคุยหรือทำงานร่วมกัน เพราะเมื่อมี จุดร่วมตรงกันแล้ว เราจะยอมรับกันได้ง่ายขึ้น และไม่พยายามจับผิดกัน ผมว่าที่เมืองไทยเราสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ยาก อาจเป็นเพราะเราไม่ เชื่อใจกันนั่นเอง

หนังสือ 'Designing Design' ของเคนยา ฮารา หนึ่งในเครื่องมือ สร้างแรงบันดาลใจของสุนิตย์

30

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

จากวันนั้นถึงวันนี้ ChangeFusion ทำงานมาเยอะมาก คุณรู้ได้อย่างไร ว่าแนวทางที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง? ตอบด้วยความสัตย์จริงเลยคือไม่รู้ แต่เราก็ทำไปเรื่อยๆ อย่างเวลา ทำงาน เราจะสนใจตอนที่เริ่มต้นมาก คือต้องเข้าไปมีประสบการณ์กับ โลกความเป็นจริงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต้องมองให้ออกว่าโปรโตไทป์ เราเป็นแบบไหน แล้ววิง่ ไปหาลูกค้าเลย เพือ่ ให้รวู้ า่ มันถูกหรือผิด พูดง่ายๆ คือ ต้องมั่วไปก่อน แล้วมันจะชัดขึ้นเอง เหมือนปรัชญาจีนโบราณของ ‘Master of Ghost Valley’ ซึ่งเป็นปรัชญาแนวเต๋าที่บอกว่า ตอนที่ เราเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ เราต้องเป็นวงกลมในช่วงต้นน้ำ พอเจอร่องหรือ ทางที่ถูกต้องก็ค่อยๆ เปลี่ยนกลายเป็นเหลี่ยม จนท้ายที่สุดก็กลายเป็น เหลีย่ มทีม่ น่ั คงในทางทีถ่ กู ต้อง คือเราไม่จำเป็นต้องติดยึดกับความมัน่ คง ที่มากเกินไป บางครั้งก็ต้องเสี่ยงบ้างเหมือนการทำธุรกิจ


The Creative

มุมมองของนักคิด

ดู เหมือนว่าหลายเรื่องที่คุณทำจะมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี? ไม่จำเป็นครับ บางเรื่องก็เป็นเรื่องของนโยบายอย่างเดียว เช่นตอนนี้ เรากำลังทำเรื่อง Social Enterprise (กิจการเพื่อสังคม) กับคุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ได้ออกเป็นมติคณะรัฐมนตรีว่าจะ มีการจัดตั้งสำนักงานขึ้นมารองรับเรื่องนี้อย่างชัดเจน ซึ่งก็เป็นเรื่องของ ความรู้มากกว่าเทคโนโลยี โครงการนี้เราดูอังกฤษเป็นตัวอย่าง แล้วนำมา ปรับใช้ให้เข้ากับบ้านเรา แต่จริงๆ แล้วผมเชื่อว่า แนวคิดนี้ในไทยมีมา นานแล้ว อย่างในหลวงเองท่านก็ทำเรื่องนี้มาโดยตลอด หรือแม้แต่สมเด็จ ย่าที่ท่านมีความเป็นสุดยอดที่สุดในโลกแล้วในเรื่องการทำเพื่อสังคม อย่างยั่งยืน อย่างการที่ท่านไปพัฒนาให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นด้วยการเข้า ไปสร้างอาชีพทดแทนไม่ได้ไปห้ามปราม แต่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านมาช่วย กันพัฒนาสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุด และมี ความยั่งยืน จนกลายมาเป็นดอยตุง ผมว่าแนวคิดแบบนี้เป็นนวัตกรรม มากๆ แล้วก็ยุคที่ท่านทำ ผมว่า UN ยังไม่มีแนวคิดนี้ด้วยซ้ำ ซึ่งในหลวง ท่านก็ได้สานต่อแนวคิดมาเป็นกังหันชัยพัฒนา และโครงการหลวงต่างๆ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนไทย เวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมาของการทำงานในแนวทางนี้ ช่วยให้ทำงานง่าย ขึ ้นกว่าเมื่อก่อนไหม? ก็งา่ ยขึน้ บางเรือ่ ง และก็ยากขึน้ บางเรือ่ ง อย่างการทีเ่ รารูจ้ กั คนมากขึน้ เราก็ทำหน้าที่เชื่อมโยงได้ดีขึ้น เพราะมีเครือข่ายอยู่มาก และเครือข่ายที่ มีอยูก่ เ็ ป็นในระดับทีส่ งู ขึน้ เรือ่ ยๆ ทีนพ้ี อยิง่ สูงก็จะยิง่ มีความละเอียดอ่อน ในการประสานงานมากขึ้นเหมือนกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง

ตอนทีเ่ ราเริม่ ต้นทําอะไรใหม่ๆ เราต้อง เป็นวงกลมในช่วงต้นนํ้า พอเจอร่อง หรือทางที่ถูกต้องก็ค่อยๆ เปลี่ยน กลายเป็นเหลีย่ ม จนท้ายทีส่ ดุ ก็กลาย เป็นเหลีย่ มทีม่ น่ั คงในทางทีถ่ กู ต้อง แล้วโครงการแบบไหนที่จะไม่เข้าไปแตะเลย? เรื่ อ งที่ จ ะไม่ ท ำเลยก็ พ วกระบบสวั ส ดิ ก ารหรื อ สั ง คมสงเคราะห์ แบบดั้งเดิม คือผมเชื่อว่ามันไม่ยั่งยืน ผมไม่เห็นด้วยกับพวกรัฐสวัสดิการ หรือการทำให้คนมีรายได้เท่ากันไปหมด เพราะมันทำลายกฎทางการตลาด จนส่งผลให้เศรษฐกิจพัง ซึ่งพอพังไปแล้วก็ถอยกลับยาก เพราะคนใน ประเทศเคยชิน เหมือนกับชาวบ้านเราบางกลุ่มที่ชินกับการได้กองทุนหมู่ บ้านมาฟรีๆ หรือคิดว่าไม่ใช่เงินกู้ก็ไม่ต้องทำงานใช้คืนก็ได้ ดังนั้นสิ่งที่ ควรทำก็คอื การสนับสนุนให้เกิดระบบสวัสดิการทีค่ นในชุมชนจัดการกันเอง ได้ทั่วประเทศ แล้วรัฐบาลค่อยไปหนุน ไปแปลงพวกโครงการกองทุน หมูบ่ า้ น กองทุนเศรษฐกิจพอเพียงให้ไปหนุนกลุม่ ออมทรัพย์ชมุ ชนอีกที เพือ่ ให้เลีย้ งตัวเองได้จริงๆ ส่วนอีกเรื่องที่จะไม่เข้าไปยุ่งก็พวกธุรกิจที่มีปัญหา ต่างๆ อย่างพวกเหล้า บุหรี่

มีวิธีเลือกอย่างไรว่าโครงการไหนที่ ChangeFusion จะเข้าไปทำ? ก็เลือกจากสี่ปัจจัยของการสร้างนวัตกรรมทางสังคมข้างต้นก่อน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย อย่างงานที่เราเลือก เราต้องมั่นใจว่าจะ ไม่มปี ญั หาเรือ่ งการเงิน และทำให้เกิดความยัง่ ยืนบนหลักการทำงานของ เราได้ ต้องดูว่าเรามีเงิน มีเวลาเหลือไหม อย่างตอนนี้เรามองว่างานเรา เป็นการสร้างเครือข่ายเพือ่ สร้างชุมชนของคนทีร่ เิ ริม่ นวัตกรรม (Community of Innovator) อีกที ซึ่งถ้าทำได้ มันจะเกิดเป็นวงจรเครือข่ายความ ร่วมมือระหว่างกันเอง ดังนั้น บางเรื่องอาจไม่ใช่เรื่องที่อยากทำ แต่ถ้าเรา มองเรื่องการสร้างความร่วมมือกันในระยะยาว เราก็ต้องเลือกทำบาง โครงการเหมือนกัน

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

31


The Creative

มุมมองของนักคิด

เรื่องที่จะไม่ทาํ เลยก็พวกระบบสวัสดิการ หรือสังคมสงเคราะห์แบบดั้งเดิม คือผมเชือ่ ว่ามันไม่ยง่ั ยืน ผมไม่เห็นด้วย กับพวกรัฐสวัสดิการ หรือการทําให้ คนมีรายได้เท่ากันไปหมด เพราะมัน ทําลายกฎทางการตลาดจนส่งผล ให้เศรษฐกิจพัง

แล้วมีโปรเจคไหนบ้างไหมที่ไปไม่ถึงตามที่ตั้งเป้าไว้? ส่วนใหญ่เลยครับที่ไปไม่ถึง อย่างที่บอกว่าเราเน้นการทดลอง เพราะ ฉะนั้นถ้าเรามีสิบโปรเจคใหม่ หนึ่งโปรเจคจะเจ๊งไปอย่างรวดเร็ว คือ ประมาณสองอาทิตย์ก็เจ๊งแล้ว คือกระบวนการมันเริ่มดีไซน์จากเล็กๆ แล้วทดลองเป็นไอเดียก่อน ถ้าเอาไปคุยกับเพื่อนแล้วมันไม่เวิร์ก เราก็เลิก แล้วหันไปทำอย่างอื่นแทน หลักการทำงานของผมคือ พยายามทำเรื่อง ทดลองกับเรื่องจริงให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทดลองกันตั้งแต่คนในออฟฟิศ กับกลุ่มคนที่เราคิดว่าเขาน่าจะมาร่วมงานด้วย หรือแม้แต่ทดลองจริงๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการขึ้นมาเลย อย่างเว็บไซต์ที่เราทำ ผมก็จะเปิด ใช้เลยตอนที่ยังไม่พร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วถ้ามีคนด่าก็ค่อยๆ ปรับ เปลี่ยนไป เมื่อในกระบวนการทำงานไม่ได้มีตัวเงินเข้ามามากนัก มีวิธีดำเนินงาน ต่างๆ อย่างไร? ความจริงใจมั้งครับ (หัวเราะอารมณ์ดี) คือเราก็มีการแบ่งงานออก เป็นหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายหาและระดมทุน ซึ่งก็พยายามทำให้มันอยู่ได้ด้วย กลไกของตัวเอง แล้วตอนนี้ก็แบ่งงานให้ชัดเจนขึ้น อย่างขาแรกทำ Innovation Consulting คือต้องคิดว่าใครจะเป็นคนที่จะจ่ายให้กับเรื่อง นั้นเรื่องนี้ได้ หรือเรื่องที่จะทำอยู่ในความสนใจของใคร ส่วนอีกขาเราก็ ทำเป็น Fund Manager แล้วอาจจะคิดค่าบริหารจัดการ 10 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ทั้งหมด หรือเป็นเงินบริจาค แล้วตอนนี้ก็เริ่มขยายไปในส่วน ของ Social Investment บ้างแล้ว แต่ในแง่กฎหมายของไทยยังไม่ครอบ คลุมเรือ่ งนีท้ ง้ั หมด ดังนัน้ ในอนาคตก็อาจจะมีการแยกไปเป็นอีกหน่วยงาน หนึง่ ต่างหาก แล้วก็อาจจะเพิม่ หน่วยงานวิจยั ทีเ่ ป็น Think Tank โดยเฉพาะ เพราะการออกแบบนวัตกรรม (Innovation Design) เราต้องทำรายงาน และวิจัยมหาศาล เพื่อไปอธิบายให้คนที่เกี่ยวข้องเข้าใจ แต่คนที่ทำงาน พวกนี้ก็อาจจะรู้สึกว่ามันหนักมาก เพราะต้องทำข้อมูลกันตลอดเวลา เลยคิดจะตั้งหน่วยงานที่จะทำวิจัยอย่างเดียวให้เหมือนกับ DEMOS หรือ Young Foundation ในอังกฤษที่เป็น Think Tank แล้วค่อยต่อยอดออก ไปเป็นโครงการต่างๆ

32

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553


The Creative

มุมมองของนักคิด

คิดว่าภาคธุรกิจตอนนี้มีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อ สังคมมากน้อยแค่ไหน? คิดว่ายังไม่มากนัก แต่ก็อาจจะเป็นเรื่องที่เคยได้ยินกันบ้างแล้วว่า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทำ CSR สำหรับภาคเอกชน แต่ถ้าแต่ละ บริษทั เริม่ หันมาทำแล้วเกิดสำเร็จ ผมคิดว่าเรือ่ งนีจ้ ะกลายเป็นสิง่ ทีห่ ลายๆ บริษัทหันมาทำกันมากขึ้น ตอนนี้ติดแต่ยังขาดตัวอย่างแบบแชมเปี้ยนอยู่ เท่านัน้ ซึง่ เราเองก็พยายามสนับสนุนให้มผี ปู้ ระกอบการเพือ่ สังคมเกิดขึน้ มากๆ แล้วคนพวกนี้จะเป็นคนนำองค์กรต่างๆ เข้ามาร่วมงานกับเรา แล้วขับเคลื่อนสิ่งที่เราเชื่อมั่นกันต่อไป

คุณคิดว่า ‘ค่านิยม’ หรือการให้ ‘คุณค่า’ กับสิ่งต่างๆ ของคนในวันนี้ กำลังเปลี่ยนไปหรือเปล่า? เปลี่ยนนะ เปลี่ยนเยอะมาก ยิ่งโตมา เราก็ยิ่งรู้สึกแปลกแยกจาก กระแสทุนนิยมเดิมๆ โดยเฉพาะชนชั้นกลาง ที่มักจะเริ่มมีความขัดแย้ง ในใจว่า เราอาจไม่จำเป็นต้องรวยอย่างเดียว แต่ควรทำอย่างอื่นด้วย อีกอย่างผมมองว่าชนชั้นกลางยุคนี้ยังสำคัญตัวเองผิดไปพอสมควร เพราะจริงๆ แล้วชนชั้นกลางถือครองสินทรัพย์แค่ 4 เปอร์เซ็นต์ แต่เรา กลับไปเทียบตัวเองหรือไปใช้มาตรฐานการให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ ของคน ที่เป็นมหาเศรษฐีมากๆ มาเทียบกับตัวเองเสมอ

ในฐานะที่คลุกคลีกับเรื่องนี้มาตลอด จริงๆ แล้ว ประเทศเราควรจะมี ผู ้ประกอบการเพื่อสังคมเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของทั้งหมด? ผมเคยตั้งเป้าไว้ว่าอยากเห็น Social Economy หรือเศรษฐกิจที่เกิด จากผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมหรือวิสาหกิจชุมชุมอะไรพวกนีใ้ ห้ได้สกั 10-30 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี อย่างที่อังกฤษ เยอรมัน หรือหลายๆ ประเทศในยุโรป เค้ามีนโยบายพวกนี้ชัดเจนมาก และมีความพยายามในการกำหนดจีดีพี อย่างน้อยกี่เปอร์เซ็นต์ที่ควรจะใช้ในการลงทุนเลย ผมว่าถ้าเป็นในไทย อนาคตธุรกิจคงจะมีการผสมผสานมากขึน้ แต่ถามว่าจะเป็นเรือ่ งนวัตกรรม ทุกอย่างเลยไหมผมว่ายาก ส่วนมากน่าจะเป็นพวกนวัตกรรมทางธุรกิจ (Business Innovation) เป็นหลัก ส่วนนวัตกรรมทางสังคมก็คงจะมีคนเล็กๆ หรื อ ภาคเอกชนมาทำกั น มากขึ้ น กว่ า แต่ ก่ อ นที่ จ ะเป็ น องค์ ก รใหญ่ ๆ ของรัฐอย่างพวกรัฐวิสาหกิจ ตอนนีป้ ระเด็นการเป็นผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมมันกลายเป็นวัฒนธรรม ใหม่ที่ทำกันทั่วโลก มีเครือข่ายประเภทกลุ่มผู้นำนวัตกรรมทางสังคม มากมายและขยายไปทั่วยุโรป แต่ละคนก็ทำธุรกิจที่อยู่บนรากฐานเพื่อ สังคม แล้วก็สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันตั้งเป็นบริษัทใหม่ๆ ขึ้นมาอีก แต่ในไทย แค่พูดถึงสหกรณ์ยังไม่มีใครอยากจะตั้งเลย แม้แต่ เรื่องสหภาพแรงงานเราก็ยังมองมันในเชิงลบมากๆ ทั้งที่ในต่างประเทศ สหภาพพวกนีจ้ ะแข็งแกร่งมากและมีอำนาจต่อรองเรือ่ งต่างๆ สูง ซึง่ จริงๆ แล้วคนในสังคมเราก็ควรจะให้ความสำคัญกับมัน

พูดถึงพลังของคนรุ่นใหม่ คุณมองเห็นศักยภาพของ ‘พลังทางสังคม’ มากน้อยแค่ไหน? มหาศาลเลยครับ ผมว่าเลือกตั้งครั้งหน้าอินเทอร์เน็ตจะเป็นเหมือน ตัวชี้ขาดสำคัญๆ เลยก็ได้ คล้ายๆ ตอนเลือกตั้งโอบามา ที่กระจายพลัง กันผ่านพวกเครือข่ายสังคมออนไลน์ แต่ถงึ อย่างนัน้ คนไทยก็ยงั มีสว่ นร่วม กับเรื่องพวกนี้ค่อนข้างน้อยอยู่ ขณะที่บางเรื่องถ้าเกิดมันติดหรืออยู่ใน ความสนใจจริงๆ เรื่องก็จะพลิกเร็วมากเหมือนกัน อย่างเรื่องการบุกรุก พื้นที่ป่าเขาใหญ่ พอมีคนเอามาลงในเฟชบุ๊ค ปรากฏว่ามีคนมาร่วม เยอะมาก แล้วมันก็ทำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงทีพ่ อจะจับต้องได้ ซึง่ คุณภาพ ของไอเดียและคุณภาพของคนที่ดีขึ้นเรื่อยๆ นี้จะส่งผลสำคัญให้คนรวม กันไปทำอะไรดีๆ มากขึ้น

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

33


The Creative

มุมมองของนักคิด

Creative Ingredients ตัวตนของ ‘สุนิตย์ เชรษฐา’ ผมมักโดนหาว่าเป็น ‘เด็กดาวอังคาร’ อยู่เรื่อยๆ ตั้งแต่สมัยเรียนที่เซนต์คาเบรียลแล้วเกิดไปมีปัญหา กับอาจารย์ด้วยความเข้าใจผิด จนอาจารย์คิดว่าผม เป็นพวกก้าวร้าว พอเข้ามหาวิทยาลัยก็มีปัญหาการ เทียบโอนวุฒอิ กี เพราะดันไปเรียนแลกเปลีย่ นทีอ่ เมริกา แล้วสอบเทียบม.6 ที่นั่นได้ แต่พอจะโอนกลับมาเป็น ม.6 ของไทยกลับทำไม่ได้ ก็เลยโวยไปจนเกือบจะให้ โดนออกจากมหาวิทยาลัย ดังนั้นพอผมไปอยู่วงไหนก็ มักจะถูกมองว่าเป็นคนแรงๆ คนต้นแบบ ผมชอบ John Maynard Keynes เพราะเขา เป็นอาร์ตติสท์ในคราบนักเศรษฐศาสตร์ คือเป็นนัก เศรษฐศาสตร์คนแรกที่ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อช่วยเหลือความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างแท้จริง แล้วก็มองว่าเศรษฐศาสตร์เป็นเรือ่ งของศีลธรรม และยัง เป็นคนทีก่ ล้าลงมือทำในสิง่ ทีต่ วั เองเชือ่ อย่างจริงๆ จังๆ อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นอีกคนในแวดวง นักเศรษฐศาสตร์ที่ผมชื่นชม ด้วยการที่ท่านเป็นนัก เศรษฐศาสตร์คนหนึ่งของไทยที่ทำงานได้แบบถึงลูก ถึงคนเสมอ Carl Gustav Jung นักจิตวิทยาเจ้าของทฤษฎี Collection Unconscious ที่เชื่อว่าคนเรามีแม่แบบ ทางจิตอยู่แล้ว และค่อยๆ พัฒนาขึ้นเอง แล้วก็สนใจ เรื่องการวิเคราะห์ความฝัน คือเชื่อว่าความฝันหรือ การเป็นโรคจิตเกิดจากความพยายามสร้างสมดุลให้ จิตตามกลไกธรรมชาติ ผมว่าจิตวิทยาของสำนักนี้มี ความน่าสนใจ

1. John Maynard Keynes 2. อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ 3. Carl Gustav Jung 4. Zen & the Japanese Culture 5. Agora 6. บีโธเฟ่น 7. เซอร์เก รัคมานินอฟ 8. X-Japan

1 2 3 4 5 7

34

Creative Thailand

l ตุลาคม 2553

หนังสือที่ให้แรงบันดาลใจ Zen & the Japanese Culture ของ Daisetz T. Suzuki เป็นเล่มทีม่ อี งค์ประกอบของความเป็นเอเชีย มากๆ แล้วก็สามารถแชร์ได้ในหลายๆ วัฒนธรรม เป็นอีกเล่มที่เปิดมุมมองแนวคิดแบบเซนให้ซีกโลก ตะวันตกได้ดี คุณธรรมทางเศรษฐกิจ ของอาจารย์ปว๋ ย อึง้ ภากรณ์ เขียนไว้เมื่อกว่า 40 ปีแล้ว แต่ยังสะท้อนความเป็น ปัจจุบนั ได้แบบน่าขนลุก คือท่านเขียนไว้วา่ ถ้าเมืองไทย ดำเนินนโยบายการคลังและเศรษฐกิจมหภาคแบบเสรี นิยม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่คำนึงถึงการช่วยเหลือชน ชั้นล่าง ประเทศเราอาจจะไม่รอด เพราะชนชั้นบน สามารถหาทางออกของตัวเองได้ แต่ชนชั้นล่างต้อง ได้รับการช่วยเหลือ ไม่อย่างนั้นจะทำให้เกิดช่องว่างที่ กว้างขึน้ เรือ่ ยๆ จนทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม ภาพยนตร์เรื่องล่าสุด เรื่อง Agora ครับ เป็นหนังดีอีกเรื่องที่ควรดู เพราะมันสะท้อนสภาพบ้านเมืองของเราตอนนี้ได้ดี มาก แต่สิ่งที่เราแตกต่างคือเราเป็นเมืองพุทธมานาน ฉะนั้น การยุติความขัดแย้งต่างๆ ในเมืองไทยจึงเกิด ขึ้นได้ดีกว่า แต่ก็ต้องยอมรับว่าตอนนี้ดุลยภาพของ สังคมมันค่อนข้างเปราะบาง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพลงที่ชอบ สมัยอยู่ ม. 4 ผมเคยตัง้ วงญีป่ นุ่ ใต้ดนิ เล่นคัฟเวอร์ เพลงของ X-Japan แล้วไปจัดคอนเสิร์ตกันที่โรงแรม เฟิร์สแถวสยาม ปรากฏว่ามีคนตามมาดูเยอะกว่าที่ คิดไว้มาก ถึงตอนนี้ผมก็ยังคงเขียนเพลง ทำเพลง ของตัวเองอยู่ แต่จะเริม่ หันมาสนใจเพลงคลาสสิค แล้ว ก็เพลงยุคโรแมนติกมากขึน้ คือเพลงพวกทีฟ่ งั แล้วอยาก ร้องไห้ (เพราะฟังยังไงก็ไม่รู้เรื่อง) ที่ชอบที่สุดคงเป็น บีโธเฟ่น กับ เซอร์เก รัคมานินอฟ ความฝันสูงสุดที่ยังไม่ได้ทำ ผมอยากแต่งซิมโฟนีให้ได้สักเพลงก่อนตาย!!

6 8

ภาพจาก: www.imf.org, http://puey.in.th, www.flickr.com



Editor's Note บทบรรณาธิการ

มหกรรม ประชันไอเดียสรางสรรค

Big Mountain Music Festival: Survival Kits Manual Challenge TCDC รวมกับ Big Mountain Music Festival ขอทาคนมัน…รวมประชันไอเดีย เพ�่อผลิตเปน Survival Kits Manual สำหรับงาน Big Mountain Music Festival ณ โบนันซา เขาใหญ วันที่ 10-11 ธันวาคมนี้

สงสุดยอดไอเดียคัดสรรสูการเปน “1 ใน 10 ไอเดีย รูรอด…เปนยอดมัน” ไดจาก 3 หัวขอ Camping Survival Kit - ไอเดียชวยอำนวยความสะดวกในการใชชีวิตเอาทดอร Cheers up Survival Kit - ไอเดียกระตุนอะดรีนาลีนความมันจากการรวมกิจกรรม Hangover Survival Kit - ไอเดียรักษสิ่งแวดลอมกับการเก็บขาวของกอนกลับบาน

รวมสงสุดยอดไอเดียสรางสรรคของคุณ พรอมควารางวัลสุดเราใจไดตั้งแตวันนี้ถึง 15 ตุลาคม 2553 ติดตามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมไดที่ www.tcdc.or.th หรือโทร. 02 664 7667 ตอ 135 www.tcdc.or.th/bigmountain.php


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.