นิติศาสตร์แนวพุทธ2

Page 1

สารบัญ นิติศาสตรแนวพุทธ ...................................................................๕๓ บทนํา นิติศาสตร กับ ธรรมศาสตร ........................................................๕๖ ๑. หลักการพืน้ ฐาน .............................................................................๖๖ กฎหมาย ตองมาจากธรรม ตองชอบธรรม และตองเพื่อธรรม....................๖๖ กฎมนุษยตองไมแปลกแยกจากกฎธรรมชาติ ............................................๗๓ พัฒนาคนใหรจักเคารพสิทธิกันและกัน แตตองรทันวาที่แทมนุษยไมมีสิทธิ .......................................................๗๗ ถึงจะพัฒนาระบบขึ้นมาหลากหลาย ทุกระบบตองลงกันไดบนฐานหนึ่งเดียวแหงธรรม.................................๘๓ กฎหมายเพื่อสังคมมนุษย จะไมสมจริง ถาหยั่งไมถึงความจริง แหงธรรมชาติมนุษย ........................................... ๘๘ จุดหมายของสังคม คือจุดหมายของกฎหมาย แตสุดทาย จุดหมายของกฎหมายตองสนองจุดหมายของชีวิตคน..........๙๑ วินัย/กฎหมาย เปนเครื่องจัดสรรใหเกิดโอกาส ที่จะเปนฐานของการพัฒนาสูการสรางสรรคที่สูงขึ้นไป......................... ๓๙ วินัย/กฎหมายชวยจัดสรรสังคมดี ที่เอื้อใหคนงอกงามมีชีวิตที่ดี คนยิ่งงอกงามมีชีวิตที่ดี ก็ยิ่งหนุนสังคมดีที่คนจะมีชีวิตงอกงาม .......... ๔๓ การปกครองที่แท และกฎหมายที่ถูก ตองมีจุดหมายสอดคลองกับธรรมชาติของมนุษย ............................... ๑๐๖


นิติศาสตรแนวพุทธ

มีกฎหมายไวจัดการปกครอง เพื่อทําใหเกิดสังคมดี ที่คนมีโอกาสพัฒนาชีวิตที่ดีงาม.......................๑๐๖ กระบวนวิธีในการบัญญัติขอกฎหมาย กฎหมายโดยหลักการ กับกฎหมายโดยบัญญัติ ..................................๑๑๔ กฎหมายที่แทประสานประโยชนของบุคคลกับสังคม และประสานสมมติของมนุษย เขากับความจริงแทของธรรมชาติ.........๑๒๑

๒. หลักแหงปฏิบัติการ .....................................................................๑๓๒ ถาคนอยในหลักการ ก็ไมตองมีกฎหมาย ถากฎหมายไมใชเพื่อหลักการ ก็ไมควรใหเปนกฎหมาย..................... ๑๓๒ เมื่อคนเปนวิญูรูสาระของกฎหมาย สังคมสงบสุขดวยกติกางายๆ ครัน้ คนเสื่อมลงไป กฎหมายยิ่งบังคับซับซอน สังคมยิ่งเสื่อมทรุด..... ๗๙ จะรักษาธรรมใหแกสังคมได ตองรักษาดุลยภาพใหแกใจของตน ............๑๔๓ พฤติกรรมจะถึงภาวะแหงดุลยภาพ เมื่อจิตใจและปญญามาประสานอยางสมดุล .......................................๑๕๑ ความเครงครัดในวินัย ประสานกับจิตใจที่ไมยึดมั่น คํานึงแตจะรักษาธรรมเพื่อประโยชนสุขของปวงชน............................. ๑๖๐ ความยึดมั่นกฎหมาย หลงติดในสมมติ จะกลายเปนภัย แตถา เขา ถึงธรรมที่เปนฐานของกฎหมาย ก็จะกลายเปนนักนิติศาสตรที่แท.......๑๖๗ อารยธรรมของมนุษยจะยั่งยืนเพียงใด อยที่ภมู ิธรรมภูมิปญ  ญาในการจัดการกับสมมติ................................. ๑๗๘

บทสงทาย มองอดีตถึงปจจุบัน เพื่อสรางสรรคอนาคต......................๑๘๕ ดุลยภาพโดยรวมของสังคมสัมฤทธิ์ได ดวยการจัดการทางสังคม สเปาหมายแหงการพัฒนาคน.............. ๑๘๕


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

ฝายนิติบญ ั ญัตขิ องไทยจะทําอยางไร ถาจะคิดเกื้อกูลใหพุทธศาสนาอยูดีเพื่อประโยชนแกสังคมไทย........ ๑๘๕ เปน rule of law นั้นหรือจะพอ อยาเพิ่งภูมิใจ ถาพัฒนาสาระแทขึ้นมาไมได อารยธรรมก็จะสลายดวยกินตัวมันเอง.............

๑๒๖บรรณานุกรม .................................................................................. ...............๑๙๗



นิติศาสตรแนวพุทธ∗ ขอเจริญพร ทานอัยการสูงสุด ทานผูทรงคุณวุฒิในวงการนิติศาสตร ทาน ผูสนใจใฝรูใฝธรรมทุกทาน วันนี้ อาตมภาพไดรับนิมนตใหมาแสดงปาฐกถา ซึ่งในที่นี้เรียกวา ปาฐกถาพิเศษ และก็เปนพิเศษจริงๆ เพราะ พิเศษ แผลงมาจากคําวา “วิเศษ” แปลวา แปลกพวก หมายความวา ในที่ประชุมนี้ อาตมภาพไม เหมือนคนอื่น ในแงที่ ๑ เพราะเปนพระภิกษุ และในแงที่ ๒ เพราะอยู นอกวงการนิติศาสตร วันนี้ ทานอัยการสูงสุดนิมนตใหมาแสดงปาฐกถาในวงการของ ทานผูทรงคุณวุฒิทางนิติศาสตร และใหพูดในเรื่อง “นิติศาสตรแนวพุทธ” อาตมภาพคงไมตอบโดยตรงวานิติศาสตรแนวพุทธเปนอยางไร? แตจะ พูดถึงหลักการของพระพุทธศาสนา และจะขอใหทานที่อยูในที่ประชุมนี้ ตอบเองวา นิติศาสตรแนวพุทธเปนอยางไร บางทีเราอาจจะยังไมไดคําตอบก็เปนได เพราะวาเวลาในวันนี้ก็ ไมมากนักที่จะพูดในเรื่องนี้ จึงคงจะพูดกันในหลักกวางๆ ∗

ปาฐกถาพิเศษ โดย พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ตามคําอาราธนา ของ ศาสตราจารย ดร. คณิต ณ นคร อัยการสูงสุด ณ หองประชุมเล็ก จุณณานนท สํานักงานอัยการสูงสุด ๒๘ มีนาคม ๒๕๓๙ ๑๓.๓๐๑๖.๓๐ น.


บทนํา

นิติศาสตร กับ ธรรมศาสตร กอนอื่น จะพูดถึงคําศัพท คําวา “นิติศาสตร” แปลกันวา วิชา กฎหมาย แตที่จริงนั้นเรานําคํานี้มาจากภาษาสันสกฤตซึ่งเปนภาษาของ ประเทศอินเดียที่มีอารยธรรมเกาแกแตโบราณ นิติศาสตรเปนถอยคําทาง วิชาการของประเทศอินเดีย ซึ่งสมัยกอนเรียกวา ชมพูทวีป ถาดูตามศัพท นิติศาสตรตามความหมายที่ใชในประเทศอินเดีย จะเปนวิชาทางดาน politics คือวิชาดานรัฐศาสตร หรือวิชาการเมือง ดังเชน ที่กลาวถึงในคัมภีรพุทธศาสนาวา “ขตฺติยธมฺมสงฺขาเต นีติสตฺเถ” (ชา.อ.๘/ ๔๕๒) ซึ่งแปลวา ในนีติศาสตร กลาวคือ ขัตติยธรรม (ธรรมของกษัตริย คือ คุณสมบัติของผูปกครอง และหลักการปกครอง) “นิติ” แปลวา การนํา มีรากศัพทเดียวกับคําวา “นายก” ซึ่งแปลวา ผูนํา คําเดิมในภาษาบาลีหรือสันสกฤตวา นีติ ซึ่งมาจากธาตุเดียวกันกับ นายก คือ นี แปลวานํา “นีติ” จึงแปลวา การนํา นิติศาสตรที่แทเรียกวา “นีติศาสตร” ภาษาไทยเรียกนิติศาสตรเพื่อทําใหสั้น นิติศาสตร แปลวา ศาสตรแหงการนํา หรือจัดดําเนินการ ซึ่งอาจ ขยายความหมายวาเปนศาสตรแหงการนําคน หรือการนํากิจการของรัฐ หรือการทําหนาที่ของผูนํา อย า งไรก็ ต าม การที่ จ ะดํ า เนิ น การปกครองหรื อ เป น ผู นํ า ประเทศชาติไดนั้น แนนอนวาจะตองมีระเบียบแบบแผน คือเราตองมี เครื่องมือที่จะใชเปนกติกาสังคม การปกครองจะเปนไปไมไดถาไมมี กฎเกณฑกติกา อยางนอยตองรูวาจะทําอะไรไดหรือไมได ในขอบเขต แคไหน การปกครองจึงเรียกรองใหมีกฎเกณฑกติกาเกิดขึ้น เพราะฉะนัน้


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๕๗

เรื่ อ งของกฎหมายกั บ เรื่ องของการปกครองจึ งแยกกั นแทบไม ได จน กลายเปนวา เมื่อมีการปกครอง ก็ตองมีกฎหมาย คือมีกฎเกณฑกติกาของ สังคมหรือของประเทศชาติ ที่พลเมืองจะตองประพฤติปฏิบัติตาม สมัยกอน กฎเกณฑกติกาเหลานี้มาจากผูปกครอง และผปกครอง จะต อ งเข า ใจร จั ก จั ด ตั้ ง วางใช ก ฎเกณฑ ก ติ ก าเหล า นั้ น เพราะฉะนั้ น วิ ชาการปกครองก็ จึ งเรี ยกร องให ต องเรี ยนร ในเรื่ องกฎเกณฑ กติ กา ที่ เรียกวากฎหมาย พอมาถึงเมืองไทยปรากฏวาเราใชคําวา “นิติศาสตร” ใน ความหมายวา “วิชากฎหมาย” ก็เลยพูดไดวาวิชากฎหมายแยกไมออกจาก วิชาปกครองรัฐ ที่วา มานี้หมายถึงความเปนมาในอดีต กฎหมายมาจากรัฐ และ กฎหมายเปนเครื่องมือของการปกครอง การปกครองที่ดีมุงเพื่อประโยชนของประชาชน การตั้งกฎเกณฑ กติกาเหลานั้นขึ้นมาก็เพื่อประโยชนของประชาชน คือ ใหประชาชนอยู รวมกันดวยดี มีความสงบสุข แต บ างครั้ ง ก็ เ ป น ไปได ที่ ผู ป กครองนั้ น ออกกฎหมายมาเพื่ อ ประโยชนของตนเอง จึงอาจจะทําใหเกิดความเดือดรอนแกประชาชน หรือแมไมไดมุงจะเบียดเบียนประชาชน แตบางครั้งกฎหมายนั้นอาจจะ รุน แรงเกิ น ไปก็ ไ ด หรื อ บางครั้ ง อาจจะก อให เ กิ ด ความเดื อ ดร อ นแก ประชาชนแมดวยความตั้งใจดีแตรไมเทาถึงการณ ตอ มา กฎหมายก็อ าจจะมีวิวัฒ นาการ คือ เกิด มีก ติก าระหวา ง ผูปกครองกับผูใตปกครองวา ผูใตปกครองก็มีสิทธิเหมือนกัน ผูปกครอง ควรมีขอบเขตในการปฏิบัติตอผูใตปกครองอยางไร จึงมีกติกาที่ตั้งไว เปนขอบเขต แมแตเพื่อปองกันไมใหผูปกครองมาละเมิดหรือเบียดเบียน กดขี่ขมเหงผูอยูใตอํานาจปกครอง ทั้งนี้ก็เปนเรื่องของวิวัฒนาการซึ่ง อาศัยกาลเวลาที่ยาวนาน จากวิ วั ฒ นาการของสั ง คม ซึ่ ง มี ค วามสั ม พั น ธ กั น ระหว า งการ


๕๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

ปกครองกับกฎหมาย เมื่อสังคมเจริญมากขึ้น กฎหมายก็ไมใชเปนเพียง เครื่องมือของการปกครอง แตการปกครองก็ถูกกําหนดโดยกฎหมาย คือ กฎหมายทั้งรับใชการปกครอง และเปนตัวกําหนดการปกครอง ที่บอก ใหรวาจะใหการปกครองมีรูปแบบ กลไก และดําเนินไปอยางไร ภาวะที่นาจะเปน(ซึ่งอาจจะไมเปน) ก็คือ สังคมจะพัฒนาตอไปจนถึง ขั้นที่วา กฎหมายเปนเพียงขอตกลงของมนุษยผพัฒนาตนดีแลว สําหรับ หมายรในการอยรวมกันเพื่อสรางสรรคโอกาสในการพัฒนาชีวิตใหดีงาม ยิ่งขึ้น ถามนุษยเจริญถึงขั้นนั้นไดจริง ก็จะมีกฎหมายโดยไมตองมีการ ปกครอง เพราะประชาชนอยูภ ายใตกฎหมาย โดยแต ละคนปกครอง ตนเองไดตามขอตกลงนั้น มีอีกศัพทหนึ่งที่เปนเรื่องของกฎหมาย ซึ่งเราไดยินกันและใชกัน จนกระทั่ ง นํ า มาตั้ ง เป น ชื่ อ ของมหาวิ ท ยาลั ย คื อ คํ า ว า “ธรรมศาสตร ” แปลวา “วิชากฎหมาย” เหมือนกัน และเดิมนั้นเปนคําที่ตรงกวา เพราะคํา วานิติศาสตรนั้นเขาใชในความหมายของการปกครองโดยรัฐ ตรงกับที่ เราใชวารัฐศาสตร สวนวิชากฎหมายแทๆแตเดิมคือ ธรรมศาสตร ซึ่งถา แปลตามศัพทก็เปนวิชาที่วาดวยหลักการ เพราะ “ธรรม” แปลวา “หลักการ” หลั ก การมี ๒ อย า ง คื อ หลั ก การแห ง ความเป น จริ ง ที่ มี อ ยู ใ น ธรรมชาติ และหลักการที่มนุษยผูมีปญญานําเอาความรูในความจริงนั้น มาจัดตั้งวางเปนแบบแผนในสังคมมนุษย จนกระทั่งเปนกติกาสังคม ซึ่ง มนุ ษ ย ที่ อ ยู ใ นสั ง คมนั้ น จะต อ งยึ ด ถื อ อย า งหลั ง นี้ ก็ เ ป น หลั ก การ เชนเดียวกัน เราจึงเรียกทั้ง ๒ อยางนี้วา “ธรรม” หลักการในระดับที่นํามาวางเปนระเบียบแบบแผนกติกาสังคมที่ ใหประชาชนยึดถือ ก็มาจัดขึ้นเปนวิชาเรียกวา “ธรรมศาสตร” คือเปน วิชาการเกี่ยวกับกฎหมาย ในเมืองไทยสมัยใหม เมื่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ก็คือ ตั้ง


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๕๙

มหาวิทยาลัยที่เรียนวิชากฎหมาย และพึงสังเกตวา เดิมทีเดียวเรียกวา มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตรและการเมือง คือเรียนวิชากฎหมายกับ วิชาการปกครอง ตรงกับที่พูดไปขางตนแลววา กฎหมายมาดวยกันกับ การปกครอง หรือในการปกครองก็ตองมีกฎหมาย นิติศาสตร กับ ธรรมศาสตร มีความหมายโยงถึงกัน แตถามองใน ทัศนะของศาสนาพราหมณที่เปนเจาของอารยธรรมชมพูทวีปสมัยนั้น ก็ ถือวา กฎเกณฑก ติ กาทั้ งหมดนั้ นมาจากพระพรหมทั้งสิ้ น คือเทพเจา สูงสุดเปนผูกําหนด กฎเกณฑกติกาเหลานั้นจึงไดรับการรักษาสืบทอด กั น มาในคั ม ภี ร ศ าสนา ซึ่ ง มี ข อ กํ า หนดให ป ระพฤติ ป ฏิ บั ติ แ ม แ ต ใ น ครอบครัวและในชีวิตประจําวันวา ควรจะเปนอยกันอยางไร ดําเนินชีวิต อยางไรผิด ดําเนินชีวิตอยางไรจึงจะถูกตอง พราหมณถือวาทุกอยางที่กลาวมานั้นเปนขอกําหนดมาจากพระผู เป นเจ า ซึ่ งเป นผ ปกครองสู งสุ ดของโลก รวมทั้ งข อกํ าหนดในสั งคม โดยเฉพาะการแบงแยกชนชั้น ที่เรียกวา “วรรณะ” ไดแก วรรณะ พราหมณ กษั ต ริ ย แพศย ศู ท ร ดั ง ที่ อิ น เดี ย นั บ ถื อ กั น อยู และการ กําหนดใหคนวรรณะตางๆเหลานี้มีหลักปฏิบัติประจําวรรณะของตนเอง วา ตนมีสิทธิแคไหน จะตองทําและจะตองไมทําอะไรอยางไร หลักปฏิบัติ เหลานี้เรียกวา “ธรรม” คือธรรมประจําวรรณะ ไดแก หลักการ ขอกําหนด และหนาที่ของคนที่อยในวรรณะนั้นๆ ตําราและการศึกษาในเรื่องทีว่ า มานี้ ทั้งหมด เรียกวาเปน ธรรมศาสตร ความจริงยังมีลึกลงไปอีกวา สิ่งที่มาจากพระพรหมแทๆ เรียกวา ศรุติ แปลวา สิ่งที่ไดสดับมา คือเปนเรื่องที่พราหมณถือวา ไดฟงมาจาก พระพรหมหรือเทพเจาสูงสุดโดยตรง ไดแ กเนื้อหาในคัมภีรพระเวท สวนศาสตร นี้เปนคําสอนและคําอธิบายภายหลัง และศาสตรนี้ก็ยัง พัฒนามาจากสูตรอีกตอหนึ่ง ทั้งสูตรและศาสตรนี้รวมกันเรียกวา สมฤติ แปลวาสิ่งที่จํากันมา คือเลาเรียนถายทอดตอกันมา


๖๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

เพราะฉะนั้น ธรรมศาสตร จึงสืบเนื่องจาก ธรรมสูตร อีกตอหนึ่ง (ธรรมสูตรเปนความรอยแกว สวนธรรมศาสตรเรียบเรียงขึ้นเปนความ รอยกรอง) และทั้งธรรมสูตรและธรรมศาสตรนั้น ก็ถือวามีตนกําเนิดมา จากศรุติ คือพระเวท และจึงมาจากพระพรหมผสรางโลก รวมความวา ธรรมศาสตร เปนวิชาที่วาดวยหลักการและขอปฏิบัติ ตางๆ เริ่มตั้งแตการเปนอยูในชีวิตประจําวัน แนวทางความประพฤติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และกฎเกณฑตางๆ ในทางสังคม ซึ่งเปนสิ่งที่ แนบสนิ ทอยู กั บศาสนา หรื อพู ดง ายๆ ว ามาจากข อกํ าหนดในศาสนา พราหมณ สวน นิติศาสตร ตามความหมายทางวิชาการของชมพูทวีป หมายถึงวิชาการเมือง การปกครอง หรือการจัดกิจการบานเมือง เริ่มแต เรื่องอํานาจหนาที่และคุณสมบัติของราชา คือ ผูปกครอง การแตงตั้ง อํามาตยขาราชการ การจัดการบานเมืองใหอุดมสมบูรณ การทูต การ สงคราม ยุทธศาสตรและกลยุทธตางๆ การสงบศึกและสันติภาพ ฯลฯ ซึ่งเปนหลักเกณฑกฎกติกา และคําแนะนําสั่งสอนแกผทําหนาที่ปกครอง บานเมือง ตรงกับที่ไทยเราเรียกวา รัฐศาสตร นิติศาสตรตามความหมายนี้ คัมภีรของพราหมณ เชน มหาภารตะ ก็บอกวาเปนศาสตรที่พระพรหมเปนเจาตํารับ และดังนั้นจึงมีตนกําเนิด มาจากคัมภีรพระเวท อยางไรก็ดี เมื่อพูดในแงประวัติศาสตร ตําราทางดานการปกครอง หรือ นิต ิศ าสตรข องอิน เดีย ที่เ ปน หลัก เปน ฐานจริง ๆ เรื่อ งแรก ก็ค ือ อรรถศาสตร ของเกาฏิลยะ (เรียกวา จาณักยะ บาง วิษณุคุปต บาง) ผเปน ที่ปรึกษาของพระเจาจันทรคุปต (พระอัยกาของพระเจาอโศกมหาราช) ซึ่งไดแตงคัมภีรนี้ขึ้นอยางเร็วก็ประมาณ พ.ศ. ๑๖๐ (ฝรั่งวา ประมาณ ๒๙๐ ปกอนคริสตศักราช) แสดงใหเห็นวาตํารานิติศาสตร ที่เปนของ


๖๑

พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

นั ก ปราชญ ฝ า ยบ า นเมื อ งแต ง ขึ้ น ก็ มี ไม จํ า เป น ต อ งมาจากสายคั ม ภี ร ศาสนาพราหมณ ที่วามาจากพระพรหมผสรางโลก ตํานานของพราหมณโยงเรื่องการปกครองกับกฎหมายเขาดวยกัน ดังที่เขาถือวาพระพรหมไดทรงแตงตั้ง “มนู” ใหเปนกษัตริยหรือราชา พระองคแรกของมวลมนุษย และพระมนูนี้ไดนิพนธคัมภีรธรรมศาสตร คือกฎหมายฉบับแรกขึ้นมา กลาวคือ มานวธรรมศาสตร (เรียกวา มนู สมฤติ บาง มนูสังหิตา บาง แตบางทีเราเรียกกันงายๆ วา มนู ธรรมศาสตร) วาโดยประวัติศาสตร คัมภีรธรรมศาสตรหรือตํารากฎหมายเลม แรก คือ มานวธรรมศาสตร นี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๗๕๐-๘๐๐ ในทางพุทธศาสนา ก็มีคําวา “นิติศาสตร” เหมือนกัน แตภาษา บาลีใชคําวา นีติสัตถะ แปลวา คัมภีรวาดว ยนีติ ไดแกขัตติยธรรม ดั ง กล า วแล ว ข า งต น แต นี ติ ใ นทางพุ ท ธศาสนาใช น อ ยอย า งยิ่ ง และ ความหมายไมไดโยงกับพระผูเปนเจาแตอยางใดทั้งสิ้น ในทางพุทธศาสนา “นีติ” อาจใชในความหมายกวางๆ หมายถึง แนวทางหรือแบบแผนความประพฤติทั่วๆไป หรือระบอบการดําเนิน ชี วิ ต ที่ ดี ง าม ซึ่ ง ไม จํ า เป น ต อ งเกี่ ย วข อ งกั บ การปกครองบ า นเมื อ ง ยกตัวอยางเชน คติที่ถือกันตั้งแตกอนพุทธกาลวา “บุคคลนั่งนอนใตร มไมใด ไมพึงหั กรานกิ่งกานของ ตนไมนั้น ผูประทุษรายมิตรเปนคนทราม” (ขุ.ชา. ๒๗/๑๔๖๙/ ๒๙๗)

อยางนี้ก็ถือเปนนีติเหมือนกัน คือเปนแบบแผนความประพฤติ หลักการในเรื่องนี้ถือวาตนไมก็เปนมิตรของเรา ถาเราไปอาศัยนั่งนอน ใตรมของเขาแลวไปฟาดฟนทําลาย ก็เปนผูประทุษรายมิตร วาที่จริง ในฝายสันสกฤต นีติ ก็มีการใชในความหมายพื้นๆวา


๖๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

แนวทางความประพฤติ หรือหลักนําทางการดําเนินชีวิตดวยเหมือนกัน ดังที่มีวรรณกรรมอันมีชื่อเสียงเกี่ยวกับหลักความประพฤติหรือหลักการ ดําเนินชีวิตและกิจการ เชน โลกนีติ ธรรมนีติ และ ราชนีติ เพราะฉะนั้ น คํ าวานี ติศาสตร ในฝ ายสั นสกฤตของอิ นเดี ย จึ งมี ความหมายไมจํากัดตายตัวทีเดียว คืออาจจะหมายถึงวิชาการเมืองการ ปกครองก็ได วิชาหลักหรือแบบแผนความประพฤติ อยางที่เรียกปจจุบัน วาจริยธรรมก็ได หรือวิชาจริยธรรมทางการเมืองก็ได ถาจะใหแนชัด เด็ดขาดลงไปวาเปนวิชาการปกครองบานเมือง หรือวิชารัฐศาสตรใน ความหมายอยางที่ใชกันในเมืองไทย ก็เติมคํา “ราช” เขาไปขางหนา เปน “ราชนีติศาสตร”∗ เมื่อตัดความคิดของพราหมณที่เกี่ยวกับพระพรหม หรือเทพเจาผ สรางโลกออกไปเสีย และถือตามความหมายอยางที่ใชในภาษาบาลีใน คัมภีรพระพุทธศาสนา รวมทั้งความหมายสามัญในภาษาสันสกฤต เราก็ สามารถนําคําวา “นิติศาสตร” มาใชกับวิชากฎหมาย โดยบัญญัติ ความหมายว า เป น วิ ช าว า ด ว ยระเบี ย บแบบแผนความประพฤติ ข อง ประชาชนพลเมือง หรือจะประสานกับความหมายของนีติที่เปนเรื่องของ ∗

ดูคํา “นีติศาสฺตฺร” ใน Sir Monier Monier-Williams, A SanskritEnglish Dictionary (London: Oxford University Press, 1899), p.565. และใน Prof. R.C. Pathak, Bhargava's Standard Illustrated Dictionary of the Hindi Language (Hindi-English Edition) (Varanasi: Bhargava Book Depot, 1989), p.427. ดูคํา “politics” ใน Sir M. Monier-Williams, A Dictionary: English and Sanskrit (Delhi: Motilal Banarsidass), p.605. และดูคํา “political science” ใน Prof. R.C. Pathak, Bhargava's Standard Illustrated Dictionary of the English Language (Anglo-Hindi Edition) (Varanasi: Bhargava Book Depot, 1988), p.635. และดู คําอธิบายใน Hindu World (vol.2, pp.223-228)


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๖๓

การปกครอง พรอมทั้งแนวคิดของพราหมณ แลวใหความหมายใหมก็ได วา นีติศาสตร หรือ นิติศาสตร เปนวิชาวาดวยกฎหมายที่มาจากฝาย ปกครอง คือกฎหมายที่ผปกครองประเทศบัญญัติขึ้นสําหรับใชในการ บริหารกิจการของประเทศชาติบานเมือง สวน ธรรมศาสตร เปนกฎหมายหรือกติกาของสังคมที่สืบกันมา แ ต เ ดิ ม ต า ม คํ า ส อ น ข อ ง ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ อั น ค ร อ บ ค ลุ ม ถึ ง ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีทั่วไปดวย อนึ่ง ในอินเดียเองนั่นแหละ เขาก็ถือวาพระเจาแผนดินมีเทวอํานาจ เพราะเปนผที่เทพเจาสูงสุดทรงแตงตั้งขึ้นอยางที่ไดกลาวแลววา พระ พรหมไดทรงแตงตั้งพระมนู ใหเปนกษัตริยพระองคแรกของมวลมนุษย และตอมากษัตริยก็ไดกลายเปนเทพเจาเองเลยทีเดียว ฉะนั้น ราชาจึง สามารถทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในดานกฎหมาย โดยตีความใหมบาง ตรากฎหมายใหม ขึ้ น มาเองบ า ง ซึ่ ง อาจจะทํ า โดยการปรึ ก ษาหรื อ มอบหมายแกปุโรหิต ซึ่งเปนพราหมณ ที่ถือวาเปนผรหลักของศาสนา พราหมณ และรความประสงคของพระผเปนเจา นอกจากนั้น พึงสังเกตดวยวา คัมภีรกฎหมายสําคัญของพราหมณ โดยเฉพาะ มานวธรรมศาสตร นั้น มงเนนหลักการเรื่องวรรณะ ๔ เปน อยางมาก โดยมุงจะยืนยันสถานะอันสูงสงของวรรณะพราหมณ จุดเดน จึงอยูที่ขอปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องชาติชั้นวรรณะ จนนักวิชาการชาวตะวันตก ที่ศึกษาคนควาเรื่องนี้ เชน Sir Henry Maine เชื่อวา คัมภีรธรรมศาสตร เปนผลงานจากฝมือของพราหมณที่มีเจตนาจะกดกันคนวรรณะต่ําสุด คือพวกศูทรและจัณฑาลไวใหอยภายใตการควบคุมของวรรณะชั้นสูง (Encycl. Britannica, 1988, vol.4, p.57)

ตรงกับที่ Benjamin Walker เขียนไวใน Hindu World วา เจตจํานงอันสําคัญของมานวธรรมศาสตร ก็คือมงจะเอาเทวอํานาจมา


๖๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

รับรองสถาบันวรรณะ และทําใหพราหมณเปนวรรณะสูงสุด (Walker, vol.2, p.28)

คัม ภี ร ธ รรมศาสตร ใ ช หลั กการของศาสนาพราหมณ ม าตอกย้ํา ยืนยันระบบวรรณะ พรอมกับที่ในขณะเดียวกันนั้นก็นําเอาหลักธรรม จากพระพุทธศาสนาเปนอันมากไปใชประโยชนในดานคําสอนเกี่ยวกับ หลักความประพฤติและความดีงามทั่วๆ ไป (ดู joshi, p.353) เรื่องศัพทที่ยกมาพูดนี้ไมใชเปนเรื่องที่ตองถือตายตัว แตเปนเรื่อง ของการบัญญัติ ในยุคสมัยหนึ่งเราบัญญัติคําจํากัดความอยางหนึ่ง เมื่อถึง อีกยุคสมัยหนึ่งก็อาจจะบัญญัติอีกอยางหนึ่งได การที่นํามาพูดเชื่อมโยงนี้ ก็เพื่อใหเห็นฐานเดิม จะไดเห็นแนวทางของความคิดวา สิ่งเหลานี้มาจาก รากฐานของอารยธรรมอยางไร จากภูมิหลังทางวิชาการที่ไดกลาวมา เราอาจใหความหมายของเรา เองอยางเปนอิสระจากวงวิชาการของชมพูทวีปก็ไดวา คําทั้งสองที่กลาว มานั้น มีความหมายแยกไดเปน ๒ อยาง คือ ความหมายอยางกวาง กับ ความหมายเฉพาะ ในความหมายอยางกวาง ธรรมศาสตร คือ วิชาวาดวยหลักการ ทั้ง หลักความจริง และหลักการประพฤติปฏิบัติทั่วไป ซึ่งครอบคลุมหมดทุก อยาง สวนในความหมายเฉพาะ ธรรมศาสตร เปนชื่อของคัมภีรหรือ ตําราเกี่ ยวกั บกฎหมาย ที่ว าดวยขอกําหนดความประพฤติปฏิบัติ และ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี อันสืบกันมาในสังคมชมพูทวีปตามหลัก คําสอนหรืออิทธิพลของศาสนาพราหมณ สวน นิติศาสตร ในความหมายอยางกวาง หมายถึงตําราและ วิชาการที่วาดวยระเบียบแบบแผนและขอกําหนดความประพฤติปฏิบัติ โดยทั่วไป ที่ไมจํากัดเฉพาะอยางธรรมศาสตรในความหมายอยางหลัง


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๖๕

สวนในความหมายเฉพาะ นิติศาสตร คือวิชากฎหมาย โดยเฉพาะ ในฐานะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการของรัฐ หรือบทบัญญัติที่เนื่องดวยการ ปกครอง ซึ่งรัฐตราขึ้น หรือตราขึ้นในนามของรัฐ เพื่อจัดการและบริหาร บานเมืองใหประชาชนพลเมืองเปนอยูกันดวยดี อยางไรก็ตาม ความหมายที่วามาทั้งหมดนี้ ยังเปนเรื่องที่อาจจะ ตองพัฒนาตอไปอีก


-๑หลักการพื้นฐาน

กฎหมาย ตองมาจากธรรม ตองชอบธรรม และตองเพื่อธรรม เรามาดูกันวา ในพระพุทธศาสนา กฎหมายคืออะไร คําที่ใกลที่สุด ตรงที่สุด ก็คือคําวา “วินัย” แตจะเห็นไดชัดวา คําวาวินัยไมใชจํากัด เฉพาะแตกิจการของรัฐเทานั้น ถาจะมองเห็นนิติศาสตรแนวพุทธจะตอง เขาใจเรื่องวินัยใหชัดเจน ถาไมเขาใจเรื่องวินัยก็ไมสามารถที่จะมองเห็น นิติศาสตรแนวพุทธได วินัย คืออะไร แนนอนวาวินัยไมไดมีความหมายแคบๆ อยางใน ภาษาไทย “วินัย” ในภาษาไทยมีความหมายแคบ เปนเรื่องของกฎเกณฑ ระเบียบ ขอบังคับในการปฏิบัติกจิ หนาที่ และการเปนอยู แต วินั ยในความหมายของพระพุทธศาสนา ในชั้น แรกนี้ จะให ความหมายไวเพื่อเปนจุดตั้งตนในการทําความเขาใจวา “วินัย” แปลงายๆ วา “การจัดตั้งวางระบบแบบแผน” วินัยเกิดขึ้นมาไดอยางไร ถาจะเขาใจเรื่องนี้จะตองมองดูวินัยใน ฐานะเป น องค ป ระกอบใหญ อ ย า งหนึ่ ง ของพระพุ ท ธศาสนา พระพุทธศาสนาทั้งหมดมีองคประกอบใหญอยู เพียง ๒ อยางเทานั้ น และ ๒ อยางนี้รวมกันเปนชื่อของพระพุทธศาสนา คําวา “พระพุทธศาสนา” ที่เราเรียกกันปจจุบันนี้ เปนคําใหม ใน สมัยพุทธกาลก็มี แตใชในความหมายวา “คําสอนของพระพุทธเจา” เวลา


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๖๗

นี้คําวาพระพุทธศาสนาขยายความหมายออกไปจนกลายเปนสถาบัน และ เปนกิจการทุกอยาง แลวเราก็ลืมศัพทเดิมที่มีความหมายสําคัญกวา ซึ่งใช ในสมัยพุทธกาล คือ คําวา “ธรรมวินัย” ศาสนาของพระพุทธเจา พระองคนี้ก็เรียกวา ธรรมวินัยนี้ หรือธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแลว ธรรมวินัย มาจากคําคู คือ ธรรม กับ วินัย แลวรวมกันเปน เอกพจน คื อ สองอย า งแต ร วมเป น อั น เดี ย ว นี้ คื อ เนื้ อ ตั ว ของ พระพุทธศาสนา เราจะตองมองเห็นความสัมพันธระหวางสองคํานี้ คือคํา วา ธรรม กับ วินัย แลวจะเห็นหลักการของพระพุทธศาสนาทั้งหมด เพราะฉะนั้ น เรื่ อ งของกฎหมาย หรื อ เรื่ อ งนิ ติ ศ าสตร ใ น พระพุทธศาสนา ก็มาดูที่ความหมายของวินัย และความสําคัญของวินัย ที่ อยูในหลักการที่เรียกวาธรรมวินัยนั้น ทีนี้ก็ยอนไปดูวาธรรมวินัยนั้นเปนมาอยางไร เริ่มตนก็มีธรรมอยู กอน (คือมีอยูเปนประจําตลอดเวลาตามธรรมดาของมัน หรือมีอยูแ ลวแต เดิ ม) ธรรม คือ ความจริ งในธรรมชาติ นั่ น เอง หลั ก การของ พระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจาตรัสไวชัดเจนวา “ตถาคต(คือพระพุทธเจา)จะเกิดหรือไมเกิดก็ตาม หลัก ความจริงก็คงอยูอยางนั้นเปนธรรมดา . . . ตถาคตทั้งหลาย คนพบหลักความจริ งคือตั วธรรมนี้แลว จึงนํามาเปดเผย (ดู องฺ.ติก. ๒๐/๕๗๖) แสดง ชี้แจง ทําใหเขาใจงาย” นั่นคือจุดตั้งตนของพระพุทธศาสนาที่วา ธรรมมีอยูกอนแลว โดย ไมขึ้นตอพระพุทธเจาเลย ธรรม คือความจริงที่มีอยูตามธรรมดาของมัน เราอาจจะแปลได หลายอยาง เชนแปลวา ธรรมชาติ กฎธรรมชาติ ความเปนจริง หรือพูด งายๆ ก็คือ ธรรมชาติและธรรมดานี่เอง ธรรมชาติ คือสิ่งตางๆ ธรรมดา คือความเปนไปของธรรมชาติ หรือความเปนจริงของสิ่งทั้งหลาย ธรรม


๖๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

เปนสิ่งที่มีอยูตามธรรมดา พระพุทธเจาจะเกิดหรือไมเกิด มันก็อยูของมัน อยางนั้น เมื่อพระพุทธเจาทรงคนพบความจริงนี้แลว ก็ทรงนํามาเปดเผย แสดงสั่งสอน ความจริงนี้เปนกฎธรรมชาติ เชน ความเปนไปตามเหตุปจจัย ผล เกิดจากเหตุ เหตุกอใหเกิดผล เหตุอยางใดก็กอใหเกิดผลอยางนั้น หรือ เหตุปจจัยตางๆทําใหเกิดผลขึ้นมา มนุษยจะรูหรือไมรูก็ตาม ธรรมคือความเปนจริงแหงเหตุปจจัยนี้ก็ ทํางานของมันอยูตลอดเวลา แตถามนุษยไมรู ก็ไมสามารถเอาประโยชน จากมันได และถามนุษยประพฤติปฏิบัติดําเนินชีวิตไมถูกตองตามความ เปนจริงนี้ ก็เกิดผลเสียแกตนเอง แตถามนุษยปฏิบัติถูกตอง และดําเนิน ชีวิตดวยความรเขาใจกฎแหงธรรมชาติ คือความเปนจริงอันนี้ ผลดีก็ไดแก ตัวมนุษยเอง ทําอยางไรมนุษยจะประพฤติปฏิบัติ หรือดําเนินชีวิตไดดี ก็ตองรู ความจริง ถามนุษยรูธรรมคือรูตัวความจริง รูความเปนไปตามเหตุปจจัย ในธรรมชาตินี้เมื่อใด เขาก็จะสามารถเอาประโยชนจากธรรมชาติได ตัวอยางเชน เขาตองการจะกินผลมะมวง เขาเห็นตนมะมวง จะกิน ผลก็ เ ก็ บ เอา แต ต อ มาถ า เขารู ว า มะม ว งที่ จ ะเกิ ด มาเป น ผลสุ ก ให เ รา รับประทานไดนั้นเกิดจากตนไมนี้ ซึ่งกอนนั้นตองโตมาจากเมล็ด และ ชอบที่ดินอยางนั้น ตองอาศัยปุย อาศัยน้ํา อุณหภูมิ ซึ่งเปนเหตุปจจัยใน ธรรมชาติ ถามนุษยรูอยางนี้แลว ตอไปก็ไมตองคอยไปหาตนมะมว ง ที่อยไกล เขาจะสามารถปลูกตนมะมวงในสวนของตนเองได ถึงตอนนี้ มนุ ษ ย ก็ ไ ด ป ระโยชน จ ากกฎธรรมชาติ หรื อ ธรรม การรู ธ รรมจึ ง เป น ประโยชนอยางยิ่ง แมแตชีวิตของเรานี้ก็เกิดจากเหตุปจจัยปรุงแตง เชนมีธาตุตางๆ มารวมกัน มีทั้งรูปธรรม และนามธรรม ถามนุษยไมรูจักมันก็ปฏิบัติตอ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๖๙

ชี วิ ตไม ถู ก แม แต กิ นอาหาร ก็ กิ นไม เป น ไม ได ประโยชน จากอาหาร เทาที่ควร เพราะฉะนั้น ธรรมจึงสําคัญอยางยิ่ง พระพุทธเจาทุกพระองคก็ ทรงคนพบธรรมนี้ พระองคทรงเขาถึงธรรมและไดประโยชนจากธรรมนี้ เต็มที่ โดยทรงนําเอาธรรมมาประพฤติปฏิบัติตาม จึงทรงพัฒนาพระองคเอง ขึ้นมาจนเปนพุทธ และทรงเห็นคุณประโยชนของการรธรรมนี้จึงทรง นําไปสั่งสอนผูอื่น อยางไรก็ดี การที่จะสั่งสอนใหไดผลดีจะทําอยางไร หมูมนุษย จํานวนมากๆ ถาไปสอนทีละคนก็ไดทีละนิดละหนอย กวาจะสําเร็จสัก คนหนึ่งพระองคก็เหนื่อยแน เดินทางไปเปนวันๆ และไดทีละเล็กทีละ นอย ตลอดพระชนมชีพคงไมไดกี่คน ทําอยางไรจึงจะใหไดประโยชน แกคนจํานวนมาก ก็ตองมีวิธีการ วิธีการก็คือการจัดตั้ง โดยทําใหมีระบบการที่มนุษยจะมารวมตัว กันเปนชุมชน และมีระเบียบแบบแผนในการเปนอยตลอดจนการดําเนิน กิจการ เพื่อใหมนุษยเหลานั้นไดประโยชนจากธรรม หรือจากการสอน ของพระองคอยางเต็มที่ พระองคจึงทําการจัดตั้ง และวางระบบแบบแผน ในทางสังคมขึ้นมา การจัดตั้งนี้ก็คือตั้งเปนชุมชนที่เรียกวา “สังฆะ” สังฆะ นั้นไมใชบุคคล ในภาษาไทยเรามองคําวาสงฆนี้เปนตัว พระภิ ก ษุ ไ ป ความจริ ง คํ า ว า “สงฆ ” หมายถึ ง หมู หรื อ ชุ ม ชน หมายความวาตองมีคนจํานวนหนึ่งมารวมกัน ไมใชคนเดียว ภาษาไทยนี้ สับสน เราเรียกพระองคเดียววาพระสงฆไปแลว ก็เลยใชกันจนติดแลวก็ ทําใหเกิดปญหาในบางครั้ง แตตัวสงฆที่แทจริงก็คือชุมชนที่จัดตั้งขึ้นมา เมื่อตั้งเปนชุมชนขึ้นมาแลว และเมื่อคนที่มารวมกันเขามีระเบียบ แบบแผนในความเปนอยูและการสัมพันธกัน คือมี วินัย ธรรมก็จะเขาถึง ประชาชนหรือหมูชนไดจํานวนมาก ไมใชเปนประโยชนทีละนอย


๗๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

เปนอันวา เดิมนั้นก็มีธรรม แตเพื่อใหคนหมูใหญไดประโยชน จากธรรม จึงมีวินัย ขึ้นมาจัดสรรความเปนอยูของหมูมนุษยใหเกิดมี โอกาสอันดีที่สุด ที่จะใชธรรมใหเปนประโยชนหรือไดประโยชนจาก ธรรมนั้น รวมความวา วินัย ก็คือการจัดโครงสรางวางระบบแบบแผนของ ชุมชนหรือสังคม เพื่อใหหมูมนุษยมาอยูรวมกัน โดยมีความเปนอยและ ความสัมพันธที่ดีงาม ที่จะใหไดรับประโยชนจากธรรมนั่นเอง จุดหมาย ที่แทก็คือ ใหหมูมนุษยจํานวนมากไดประโยชนจากธรรม การที่พระพุทธเจาเปนบุคคลที่เราเรียกเต็มๆ วา “พระสัมมาสัมพุทธเจา” ก็เพราะพระองคทรงมีความสามารถ ๒ ชั้น ชั้นที่ ๑ สามารถเขาถึงตัวความจริง ที่เรียกวา ธรรม ชั้นที่ ๒ นอกจากรูความจริงแลว ยังสามารถนําเอาความจริงนั้น มาทําใหเกิดประโยชนแกหมูชนจํานวนมากได ดวย วินัย ความสามารถขั้นที่สองนี้ ก็คือการที่สามารถจัดตั้งวางระบบชุมชน ที่เรียกวาสงฆขึ้นมาดวยวินัย เพราะฉะนั้นจึงเปนสัมมาสัมพุทธะ สวนทานผูใดสามารถรเขาใจถึงความจริงคือธรรมดวยปญญาของ ตนเอง แตไมมีความสามารถที่จะทําการจัดตั้งวางระบบแบบแผนที่เรียกวา วินัย ใหมีสงฆเปนชุมชนคนหมูใหญขึ้นมาที่จะไดประโยชนจากธรรมนี้ ทานผูนั้นก็เปนพระพุทธเจาอีกประเภทหนึ่งที่เรียกวา พระปจเจกพุทธเจา คือผรูเฉพาะตน เพราะฉะนั้น การจัดตั้งวางระบบที่เรียกวา วินัย นี้ได จึงถือวาเปน ความสามารถพิ เ ศษของมนุ ษ ย ที่ ว า ไม เ ฉพาะเข า ถึ ง ความจริ ง ของ ธรรมชาติเทานั้น แตยังสามารถนําเอาความจริงของธรรมชาตินั้นมาทํา ใหเกิดประโยชนแกหมูชนจํานวนมากไดดวย อันนี้เปนความสามารถ ขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๗๑

เรื่องที่วามานี้ทําใหมีเหตุผลโยงกันดวยในแงที่วา ถาจัดตั้งวางระบบ แบบแผนโดยไมมีธรรมคือความจริงที่แทเปนฐานแลว การจัดตั้งนั้นก็ไร ความหมาย ดังนั้น วินัย คือการจัดตั้งของมนุษยจึงตองตั้งอยูบนฐานของ ธรรม คือตัวความจริงที่แท และตองอาศัยปญญาที่รูความจริงนั้นมาจัดตั้ง เพราะฉะนั้น เบื้องหลังวินัย ก็คือหลักการแหงธรรม ที่เปนความ จริงแนแทอยในธรรมดาของธรรมชาติ เปนหลักการอันสูงสุด ทั้งโดยตัว มันเอง และโดยเปนสาระและเปนจุดหมายของวินัย ไมมีใครสูงเหนือ ธรรม พระพุทธศาสนาถือเปนหลักการวา ธรรมสูงสุดในโลก ธรรม สูงสุดในสังคมมนุษย (ที.ปา.๑๑/๗๑/๑๐๗) สําหรับผนับถือเทพเจา ธรรมก็เปนมาตรฐานตัดสินบรรดาเทพเจา ตลอดจนพระพรหม หมายความวาธรรมยอมเหนือเทพ แมแตจะนับถือกรรม โดยเชิดชูกรรมที่เปนบุญ ธรรมก็เปนมาตรฐานตัดสินกรรมและความเปนบุญ นั้น พระพุทธเจาทรงเคารพธรรม (องฺ.จตุกฺก.๒๑/๒๑/๒๕) และทรงจัดตั้ง วางระบบแหงวินัยขึ้นบนฐานแหงธรรมนั้น และเมื่อสงฆที่ตั้งขึ้นดวย วินัยนั้นขยายใหญโตขึ้น พระพุทธเจาก็ทรงเคารพสงฆ และทรงมอบ อํ า นาจให แก สงฆ โดยที่ สงฆ นั้ นก็ เกิ ดมี ขึ้ นจากธรรม เป นสงฆ เพราะ ธรรม และมีอยเพื่อความปรากฏแหงธรรมในโลก นักปกครองผยิ่งใหญตามหลักการของพระพุทธศาสนา ที่เรียกวา “จักรพรรดิ” ผเปนธรรมราชา ก็ตองเคารพธรรม ถือธรรมเปนใหญ จัด ดําเนินการปกครองโดยธรรม (ที.ปา.๑๑/๓๕/๖๔) เชนเดียวกัน โดยนัยนี้ ธรรม จึงเปนทั้งฐานของวินัย และเปนทั้งจุดหมายของ วินัย


๗๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

๑. ที่วาเปนฐาน หมายความวา ตองรูความจริงของกฎธรรมชาติ จึงจะสามารถมาจัดตั้งวางระบบแบบแผนในหมูมนุษยเพื่อใหมนุษยได ประโยชนจากธรรมนั้นได ถาไมรู การจัดตั้งก็ผิดพลาดหรือไรความหมาย ๒. ที่วาเปนจุดหมายคือ การที่ใหมนุษยมาอยูรวมกัน และมีการ จัดตั้งระเบียบแบบแผนทั้งหมดนั้น ก็เพื่อชวยใหมนุษยเขาถึงและไดรับ ประโยชนจากธรรมนั่นเอง ดังนั้น ธรรมจึงเปนทั้งเบื้องตนและที่สุดแหงวินัย ถาปราศจากธรรม วิ นั ยก็ ไม มี ความหมาย ไร ประโยชน แต ถ ามี แต ธรรมเป นของจริ งตาม ธรรมชาติ แมจะมีคนที่รูธรรมแตไมสามารถมาจัดสรรใหเกิดประโยชนแก คนหมูใหญได ธรรมนั้ นก็ไมเกิ ดประโยชน เทาใดนั ก ทั้ งๆที่ มีอยู เป น ความจริง ดังนั้นสองอยางนี้จึงตองอิงอาศัยกัน เมื่อครบทั้งสองอยางจึงเปน พระพุทธศาสนา ในเรื่องนี้มีขอที่นาสังเกตวา ในพระพุทธศาสนา เมื่อพูดถึง ธรรม เราจะใชคําวา “แสดง” เพราะธรรมเปนความจริงที่มีอยูตามธรรมดา เรา เพียงแตไปรูและแสดงมัน แตถาพูดถึง วินัย จะใชคําวา “บัญญัติ” เพราะ เปนเรื่องที่มนุษยจัดตั้งหรือทําขึ้นมา ขอย้ําวา ธรรมไมใชของมนุษยทําขึ้น แตเปนของมีอยูตามธรรมดา ส ว นวิ นั ย เป น ของที่ ม นุ ษ ย จั ด ตั้ ง ขึ้ น เพราะฉะนั้ น เราจึ ง พู ด ว า พระพุทธเจาทรงแสดงธรรม และพูดวาพระพุทธเจาทรงบัญญัติวินัย อยางไรก็ดี คําวาบัญญัติที่ใชกับ “ธรรม” ก็มีบาง แตใชเปน คําประกอบ โดยมีความหมายวา จัดวางหรือนําเสนอในรูปลักษณะที่จะเอื้อ ตอการรเขาใจ แตสําหรับ “วินัย” จะใชคําวา บัญญัติ เปนคําหลักเลย ทีเดียว


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๗๓

เรื่องความสัมพันธระหวางกฎหมายหรือวินัย กับธรรมที่เปนความ จริงในกฎธรรมชาตินี้ จะนําไปสับสนกับคติของฝรั่งในเรื่อง natural law และ natural rights ไมได เพราะเปนคนละแบบกันเลย พวกฝรั่ ง มี คติ เ กี่ ย วกั บ กฎหมายตามสายหรื อ สํ า นั ก ต า งๆ ซึ่ ง มี แนวความคิดหลายแบบ เชน พวกหนึ่งถือวามี natural law คือ กฎหมาย ตามธรรมชาติ และมี natural rights คือมีสิทธิตามธรรมชาติดวย แตเรื่อง เหลานี้ไมตรงกับเรื่องธรรมกับวินัยที่ไดพูดไปแลวแตประการใด

กฎมนุษยตองไมแปลกแยกจากกฎธรรมชาติ ตอนนี้เรากลับมาพูดเรื่องธรรมกับวินัยอีกครั้งหนึ่ง เปนอันวา เรา มีความจริงตามธรรมชาติที่เรียกวา ธรรม กับการจัดตั้งของมนุษยที่ เรียกวา วินัย ซึ่งเปนเรื่องสมมติ ขอสังเกตสําคัญในที่นี้คือ เรื่องวินัยและเรื่องกฎหมายนี้เปนเรื่อง “สมมติ” แตสมมติไมใชเรื่องเหลวไหล สมมติเปนสิ่งที่มีความสําคัญ อยางยิ่ง ในภาษาไทยเราใชคํานี้ในความหมายที่ไมคอยดีนัก แตในภาษา พระ สมมติเปนเรื่องใหญ ถึงกับจัดเปนสัจจะประเภทหนึ่ง ในทางพุทธศาสนามีหลักวา สัจจะ มี ๒ อยาง คือ ๑. สัจจะที่เปนความจริงแทแนนอนมีอยูในธรรมชาติ เรียกวา ปรมัตถสัจจะ (สัจจะโดยเนื้อแท) และ ๒. สัจจะที่เปนความจริงตามความตกลงยอมรับรวมกันของหม มนุษย เรียกวา สมมติสัจจะ (สัจจะโดยสมมติ) ตามหลักสัจจะสองอยางนี้ เราก็มีกฎธรรมดาของธรรมชาติ กับกฎ สมมติของมนุษย ธรรมเปนกฎธรรมชาติ เพราะมันเปนความจริงแหงความ เปนไปของสิ่งทั้งหลายตามธรรมดาของมัน สวนกฎหมายนี้เปนกฎมนุษย ควรทราบวา กฎธรรมชาติ กับกฎมนุษยนี้ สัมพันธกันอยางไร


๗๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

มนุษยเราตามปกติจะทํากิจกรรมใดก็ตาม ยอมมีความมุงหมาย คือ ตองการผลของมัน เราตองการผลสักอยางหนึ่ง เราก็ทํากิจกรรมที่เปน เหตุใหไดผลนั้น อันนี้เปนเรื่องธรรมดาของมนุษย เมื่อยังไมมีการจัดตั้ง วางระบบสังคมขึ้นมาก็ดําเนินชีวิตอยางนั้น ทําไปตามธรรมชาติ ผลที่ เกิดตามเหตุในธรรมชาตินั้น ก็เปนไปตามกฎธรรมชาติ ตัวอยางเชน เมื่อคนตองการใหตนไมเจริญงอกงาม ถาเขาไมรอให ตนไมมันงอกเอง เขาจะทําอยางไร เขาก็ปลูกตนไม เชนเอาเม็ดมะมวงมา แลวเขาก็ขุดดิน เอาเม็ดมะมวงลง กลบดินแลวก็รดน้ําเปนตน เมื่อปลูก ตนไมมากๆ ก็เรียกวาทําสวน การทําสวนนี้เปนเหตุ และจะทําใหเกิดผลคือตนไมเจริญงอกงาม อันนี้คือเหตุและผลตามกฎธรรมชาติ พูดย้ําวา การทําสวนเปนเหตุ ตนไม เจริญงอกงามเปนผล นี้เปนความเปนจริงตามกฎธรรมชาติ เปนเรื่องของธรรม เมื่อมนุษยมาอยูรวมกันเปนสังคม เราก็จัดตั้งระบบแบบแผนขึ้น ในสังคมแลวมีวัฒนธรรมและอารยธรรมขึ้นมา เราบอกวาเราตองการให มีสวนดอกไมสวยงามที่นี่ เราก็ใชระบบระเบียบในสังคมมาชวยใหมี สวนตามที่ตองการ โดยใหคนๆหนึ่ง หรือจํานวนหนึ่ง มาทําหนาที่ใน เรื่องนี้โดยเฉพาะใหเต็มที่โดยไมตองหวงใยเรื่องอื่น เราก็จางคนมาทํา สวน และเราก็ใหเงินเดือนเขา ในสังคมที่มีอารยธรรมแลวก็จะมีการปฏิบัติเชนนี้ แทนที่วาทุก คนจะตองไปทําสวนเอง เราก็มีการจัดตั้งวางระบบแบบแผนขึ้น มีการตั้ง เงินเดือนและบอกวาคุณมาทําสวน ฉันจะใหเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาท ก็เกิดมี กฎของมนุษยขึ้นวา การทําสวนเปนเหตุและการไดเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาทเปนผล เปนกฎขึ้นมาใหเห็นเหตุเห็นผลจริงๆ คือ การทําสวนเปน เหตุ การไดเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาทเปนผล ไมมีใครเถียง เปนเหตุเปนผล จริงๆ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๗๕

แตถามอีกชั้นหนึ่งวา จริงแนหรือไม? การทําสวนเปนเหตุ เงินเดือน ๕,๐๐๐ บาทเปนผลนี้จริงแทหรือไม ตอบวาจริงในระดับหนึ่ง เท า นั้ น ที่ แ ท แ ล ว ไม จ ริ ง การทํ า สวนเป น เหตุ เงิน เดื อ น ๕,๐๐๐ บาท เกิดขึ้นมีที่ไหนในโลก ไปขุดดินทําสวนแลวเงินเกิดขึ้นมา ๕,๐๐๐ บาท เปนไปไดที่ไหน ที่แทนั้นกฎนี้เปนกฎที่มนุษยตั้งขึ้นมาโดยการ “สมมติ” สมมติ แปลวา มติรวมกัน มาจากคําวา สํ (รวมกัน) + มติ (การ ยอมรับหรือตกลง) เพราะฉะนั้น สมมติจึงแปลวา ขอตกลงรวมกัน หรือ การยอมรับรวมกัน กฎของมนุษยที่วา ทําสวน ๑ เดือนเปนเหตุ ไดเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาทเปนผลนี้ เปนกฎที่ตั้งอยูบนสมมติ คือการยอมรับรวมกัน ถาสมมติ คือการยอมรับรวมกันหายไปเมื่อใด กฎนี้จะหายไปทันที เชน ถาฝายใด ฝายหนึ่งในสองฝายที่เกี่ยวของไมยอมรับเงื่อนไขที่ตกลงกันไว การทํา สวนก็ไมเปนเหตุ เงินเดือน ๕,๐๐๐ บาทก็ไมเปนผล เพราะฉะนั้น กฎที่วานี้จึงไมมีความเปนเหตุเปนผลที่แทจริงใน ธรรมชาติ แตเปนกฎที่จัดวางกันขึ้นดวยการตกลงยอมรับรวมกันคือการ สมมติของมนุษยเอง จึงเรียกวาเปน กฎของมนุษย หรือ กฎมนุษย อารยธรรมของมนุษยไดสรางกฎทํานองนี้ขึ้นมามากมาย เพื่อให สังคมมนุษยดํารงอยูไดดวยดี แตทั้งนี้เราจะตองถามใหเกิดความชัดเจน ทางปญญาวา ในการจัดตั้งวางกฎสมมติของมนุษยขึ้นนี้ ที่แทจริงนั้น มนุษยตองการอะไร การที่เราวางกฎมนุษยขึ้นอยางเปนเหตุเปนผลวา ทําสวน ๑ เดือน เปนเหตุใหไดเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาทนั้น ผลแทจริงที่เราตองการ คือผล ตามกฎธรรมชาติ ไดแก ความเจริญงอกงามของตนไม อันนี้แนนอน เรา จึงเห็นความจริง ๒ ชั้น คือมีกฎ ๒ ชั้น ซอนกันอย


๗๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

การทําสวนอันเดียว มีความเปนเหตุเปนผลตามกฎซอนกันทีเดียว ๒ กฎ คือ ๑. กฎธรรมชาติ ที่เปนธรรม เปนไปตามธรรมดาของเหตุปจจัย คือการทําสวนเปนเหตุ ตนไมเจริญงอกงามเปนผล ๒. กฎมนุษย ที่เปนกฎสมมติ เกิดจากมติรวมกัน คือ การทําสวน เปนเหตุ การไดเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาท เปนผล สองกฎนี้มีความสัมพันธกัน โดยเฉพาะ ถาไมมีความจริงตามกฎ ธรรมชาติ คือ ธรรม ที่วาการทําสวนเปนเหตุและตนไมเจริญงอกงาม เปนผลแลว การวางกฎมนุษย ที่เรียกวา วินัย คือทําสวน ๑ เดือนได เงินเดือน ๕,๐๐๐ บาท ก็ไมมีความหมายอะไร แทจริงนั้น การที่เราวางกฎสมมติของมนุษย ก็เพราะเราตองการ ผลตามกฎธรรมชาติ ถาเราไมตองการใหตนไมเจริญงอกงามแลวเราจะ วางกฎมนุษยใหคนทําสวนไดเงินเดือนไปทําไม ทั้งนี้หมายความวา เรา วางกฎสมมติของมนุษยขึ้น ก็เพื่อสนับสนุนการทําเหตุที่จะใหเกิดผล แทจริงตามกฎธรรมชาตินั้นเอง ขอย้ําวา วินัย คือการจัดตั้งวางระบบจัดระเบียบและวางกฎสมมติ ขึ้นมานี้ เปนความสามารถพิเศษอันเลิศของมนุษย  ที่จะทําใหชีวิตและ สังคมของพวกตนไดประโยชนมากที่สุดจากธรรม คือความจริงของ ธรรมชาติ และการวางกฎสมมติของมนุษยขึ้นมา ก็เพื่อชวยหนุนใหเกิด ความมั่นใจที่จะไดผลที่ตองการตามกฎธรรมชาติ เพราะฉะนั้น มนุษย จะตองตระหนักรอยเสมอวา สิ่งตองการที่แทคือความเปนจริงตามธรรม เรื่องที่พูดมานี้เปนตัวอยางใหเห็นวา แทจริงนั้นเราตองการผล จริงๆ ตามกฎธรรมชาติ ถามนุษยยังเขาใจความมงหมายที่แทจริงนี้ และ ยังโยงสัมพันธกฎสมมติของมนุษยเขากับกฎธรรมชาติที่ซอนรองรับอย ได คือไมลืม ไมมองขามผลที่ตองการที่แทจริง ชีวิตและสังคมมนุษยก็จะ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๗๗

ดํารงอยูดวยดี แตเมื่อมนุษยไดพัฒนาอารยธรรมออกไปๆ มนุษยจํานวน มากก็ไดแปลกแยกจากธรรมชาติไปเสีย และพากันหลงสมมติ หลงสมมติ คือติดอยูในกฎสมมติของมนุษย ไมเข าถึง หรือไม สามารถเชื่อมโยงใหเขาถึงความจริงของธรรมชาติ ถาความแปลกแยกจากธรรมนี้เกิดขึ้นเมื่อใด ความวิปลาสทั้งของ ชีวิตและสังคมก็จะเกิดขึ้นเมื่อนั้นทันที เชน คนทําสวนทํางานเพื่อ ตองการเงินเดือนอยางเดียว โดยไมไดคํานึงถึงการที่จะทําใหเกิดผลตาม กฎธรรมชาติ คือ การทําใหตนไมเจริญงอกงาม เพราะฉะนั้นจะตองถือวา การเขาถึงความจริงแหงกฎธรรมชาติ หรือธรรมนี้ จะตองเปนหลักอยูตลอดเวลา ถามนุษยแปลกแยกจากความ จริงหรือธรรมนี้เมื่อใด การดําเนินชีวิตของเขาจะวิปริตทันที และสังคมก็ จะไมไดรับผลที่ตองการ ลองคิดดูวา ถาคนสวนมาทําสวนดวยตองการ เงิ นเดื อน ๕,๐๐๐ บาท และไม ตอ งการผลที่แ ท จริ งตามกฎธรรมชาติ อะไรจะเกิดขึ้น และเรื่องนี้จะมีผลโยงไปถึงเรื่องอื่นทั้งหมด ซึ่งจะยังไม พูดถึงในที่นี้ เพียงแตขอยกขึ้นมาพูดไวเปนตัวอยาง อนึ่ง การหลงสมมติเปนโทษภัยแกมนุษยฉันใด การไมยอมรับ สมมติที่บัญญัติจัดวางขึ้นโดยชอบธรรม ก็เปนภัยอันตรายตอชีวิตและ สังคมของมนุษยเองดวยฉันนั้น เรื่องนี้จะไดพูดกันตอไปขางหนา

พัฒนาคนใหรจักเคารพสิทธิกันและกัน แตตองรทันวาที่แทมนุษยไมมีสิทธิ มนุษยเรามีความสามารถในเรื่องวินัยนี้ เราจึงจัดโครงสรางวาง ระบบตั้ ง กฎระเบี ย บในการจั ด แจงจั ด สรรสั ง คมขึ้ น มามากมาย และ พัฒนาอารยธรรมขึ้นได จนกระทั่งมนุษยถึงกับตกลงกันใหพวกตนมี


๗๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

สิทธิ แมแตจะเปนเจาของและจัดการกับธรรมชาติไดตามปรารถนา เชน แผนดิน ก็นํามาแบงกันโดยกําหนดใหมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเกิดขึ้น เอา แผนดินมาจัดสรร บัญญัติวาที่ดินแปลงนี้เปนของคุณ ที่ดินแปลงนี้เปน ของฉัน จะละเมิดกันไมได โดยมีกฎหมายเขามารองรับ ถาละเมิดกันก็มี การลงโทษตามกระบวนการของกฎหมายนั้น กฎหมายจึ ง เป น เครื่ อ งแสดงการยอมรั บ สิ ท ธิ ห รื อ เป น เครื่ อ ง กําหนดใหเกิดมีสิทธินั้นขึ้น และกฎหมายก็เปนเครื่องมือคมครองสิทธิ ของบุคคล ตลอดจนคมครองกิจการตางๆ ของคน แตไปๆ มาๆ มนุษยก็ อาจจะลืมความจริงที่แทของธรรมชาติไปเลย จนบางที เมื่อมนุษยตาง อารยธรรม ตางวัฒนธรรมมาพบกัน ก็มีเรื่องแปลกๆ ตัวอยางเชน เรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ๑๔๑ ป ลวงมาแลว (พ.ศ. ๒๓๙๘) ประธานาธิบดีอเมริกา ชื่อวาแฟรงคลิน เพียซ ไดติดตอขอซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากพวกอินเดียนแดงเผาหนึ่ง ซึ่งมีหัวหนา ชื่อวา ซีแอตเติล (Seattle) ซึ่งไดเปนที่มาของชื่อเมืองใหญ ในรัฐวอชิงตัน ทางตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศสหรัฐอเมริกาในปจจุบัน ตอนนั้ นดิ น แดนนี้ เ ป น ของอิ นเดีย นแดงเผ าของซีแ อตเติล เมื่ อ ประธานาธิบดี เพียซ ติดตอขอซื้อไป ก็ไดรับคําตอบจากอินเดียนแดงวา “ท า นจะเอาแผ น ดิ น และผื น ฟ า มาซื้ อ ขายกั น หรื อ นี่ (Gore, ความคิดนี้แปลกประหลาดสําหรับพวกเรา” 359)

เวลานี้ เรายึ ดถื อกั นเหลื อเกิ นใช ไหม ที่ ดิ นนี้ เป น ของฉั น ฉั นมี กรรมสิทธิ์ และก็รสึกกันวาเปนความจริงอยางนั้นจริงๆ แตเมื่อมนุษยที่เรา เห็ นว ายั งไม มีอารยธรรมมาไดยินได ฟงเรื่ องอยางนี้เขา เขารู สึกแปลก ประหลาด อินเดียน แดงเหลานี้นึกไมออกวามนุษยมีการนําแผนดินผืน ฟามาขายกันไดอยางไร


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๗๙

ตอไป นอกจากเอาแผนดินมาแบงกันแลว มนุษยก็จะขายผืนฟา กันจริงๆดวย เชน อาจจะมีการเชาที่ตั้งสถานีอวกาศ ซึ่งเปนเรื่องที่มนุษย สมมติขึ้นทั้งสิ้น สมัยกอน ตอนที่ประธานาธิบดีแฟรงคลิน เพียซ ขอซื้อ ที่ดินจากพวกอินเดียนแดงนั้น คนอเมริกันยอมรสึกดูถูกคนอินเดียนแดง มาก วาคนพวกนี้ไมมีสติปญญา โงเขลาเหลือเกิน ไมมีอารยธรรม ไมร จักเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต ม าบั ด นี้ ความคิ ด ของอิ น เดี ย นแดงกลั บ ได รั บ การยกย อ ง สรรเสริญ เพราะวามนุษยยุคนี้มาประสบปญหาจากสภาพแวดลอมเสื่อม โทรม แลว เห็น กั นว า การกระทํ าของมนุ ษยที่ เบี ยดเบี ย นธรรมชาติ ที่ จัดการกับธรรมชาติตามชอบใจนั้น ไดเปนสาเหตุแหงความเสื่อมโทรม ของธรรมชาติ ทํ า ให เ กิ ด มลภาวะเป น ต น ปรากฏว า คนอเมริกั น ยุ ค นี้ กลับไปยก วาทะของอินเดียนแดงผูนี้มายกยองสรรเสริญกัน ตัวอยางเชน รองประธานาธิบดี Al Gore คนปจจุบันนี้ เมื่อเขียน หนังสือเกี่ยวกับการอนุรักษธรรมชาติเรื่อง Earth in the Balance ก็ยกถอยคําหรือวาทะของอินเดียนแดงคนนี้มาอางอิง (Gore, 359) เหมือนดังจะเยาะเยยความคิดของชาวอเมริกันผเจริญแลว ที่ หลงไปตามสมมติ และยอมรั บ ว า ความคิ ด ความเข า ใจของพวก อินเดียนแดงนั้นสอดคลองตรงตามความจริงของธรรมชาติ เพราะฉะนั้น เรื่องสิทธิเปนตน ตามที่บัญญัติในกฎหมาย จึงเปน เรื่องของการที่มนุษยมาตั้งกฎเกณฑกันขึ้น เพื่อประโยชนในหมูมนุษยของ เรา จนหลงเพลินไปวาเรามีความชอบธรรมที่จะไปจัดการกับธรรมชาติได ตามปรารถนา แตตามความจริงสิทธิอยางนี้มีหรือไม เชน ที่ฝรั่งพวกหนึ่ง บอกวามนุษยมีสิทธิตามธรรมชาตินั้น ในทัศนะของพระพุทธศาสนาวาเปน ความสับสน


๘๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

จะตองเขาใจวา ความจริงตามธรรมชาติก็เปนความจริงของมันอยู อยางนั้ น เชน การที่ สิ่ง ทั้ งหลายเป นไปตามเหตุป จ จัย แต มนุ ษยนั้ นมี สติปญญา เมื่อรความจริงนั้นแลว และตองการจะใหชีวิตและกิจการงาน ของตนอยูไดดวยดีภายใตกฎธรรมชาตินั้น ก็นําความรูในกฎธรรมชาติ มาจัดสรรวางระบบแบบแผนขึ้นในสังคมของตน เพื่อใหความเปนไป ตามเหตุปจจัยในกฎธรรมชาตินั้นเกิดผลดีแกชีวิตและสังคมของตน ดวย การตกลงกันวางขอกําหนดขึ้น เชนการกําหนดใหมีสิทธิตางๆ ขึ้นมา แต ทั้งนี้จะตองมีความรตระหนักในความจริงวา มันเปนเรื่องของมนุษยทตี่ ก ลงกัน ไมใชความเปนจริงในธรรมชาติ สมมติวา เราตกลงกันวาที่ดินแปลงนี้เปนของฉัน หรือของคนนั้นคน นี้ ก็เกิดเปนสิทธิขึ้นมา แตสิทธิที่วานั้นเปนเรื่องที่จะใชอางกันไดในหมู มนุษยเทานั้น จะเอาไปอางกับธรรมชาติไมได เราจะบอกวาที่ดินแปลงนี้ เป น ของฉั น แล ว ทุ ก อย า งในที่ นี้ จ ะต อ งเชื่ อ ฟ ง ฉั น ฉั น ปลู ก อะไรแก จะตอ งงอก อั น นี้ จ ะเอาไปอ า งกั บ ธรรมชาติ โ ดยไม ทํ า เหตุ ป จ จั ย ตาม ธรรมชาติ ก็เปนไปไมได การอางสิทธินั้นจะไมสําเร็จผลเลย ธรรมชาติ จะไมฟง เรื่องของธรรมชาติก็คือความเปนไปตามเหตุปจจัยของมัน คุณ ตองการอะไรคุณก็ตองทําใหถูกตามเหตุปจจัย ถาคุณทําไมถูกตามเหตุ ปจจัยก็ไมเกิดผลที่คุณตองการ เราจะบอกวาตนมะมวงตนนี้เปนตนไมของฉัน เกิดในที่ดินของ ฉัน ฉันมีสิทธิจัดการได แกตองฟงฉัน แกตองงอกงาม แกตองออกผลมาก ให ไ ด เ ท า นี้ ใ นฤดู นี้ ป นี้ ให ฉั น มี ร ายได เ ท า นี้ ฯลฯ การอ า งสิ ท ธิ กั บ ธรรมชาติอยางนี้ยอมเปนไปไมได มนุษยจะตองทําตามเหตุปจจัยของ ธรรมชาติทั้งสิ้น ดั ง นั้ น มนุ ษ ย จึ ง จะต อ งรู จั ก แยกระหว า งความจริ ง ตามกฎ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๘๑

ธรรมชาติ กับความจริงที่มนุษยมาตกลงกันวางขึ้น เพราะวาแมแตชีวิต ของมนุษยเอง ในแงของกฎธรรมชาติมนุษยก็ไมมีสิทธิอะไร เราจะบอก วาฉันมีสิทธิในชีวิตของฉัน ก็ไมมีผลอะไร ถาไฟไหมจะมาถึงตัว ไมยอม หนี จะอางสิทธิกับไฟวา “ฉันมีสิทธิในชีวิตของฉัน แกไมมีสิทธิจะทําอะไรฉัน” ไฟก็ไหมเอาเทานั้น หรือลองเขาปาไปพบเสือแลวไปยืนอางสิทธิบอกกับ เสือวา “ขาเปนเจาของชีวิตของขา ขามีสิทธิในชีวิตของขา” บอกกับเสือ เสือก็ไม ฟง มันก็งับกินเทานั้นเอง แมแตในการดําเนินชีวิตประจําวันของเรา เราจะอางสิทธิในชีวิต ของเรากับธรรมชาติ ก็ไมมีผลอะไร แตเราจะตองปฏิบัติ หรือดําเนินชีวิต ของเราใหถูกตองตามเหตุปจจัยในกระบวนการของธรรมชาติ เราตอง รักษาสุขภาพของเรา เราตองกินอยูหลับนอน ตองทํากิจกรรมทั้งหลาย ให เ ป น ไปตามกฎธรรมชาติ ตรงตามเหตุ ป จ จั ย ของมั น ถ า เราไม ทํ า ตามนั้น จะอางสิทธิตอธรรมชาติ ก็ไมอาจไดรับผลที่ตองการ ในโลกยุคตอไป ปญหาเรื่องสิทธิจะซับซอนยิ่งขึ้น ดังเชนปญหาที่ เกิดจากความเจริญทางเทคโนโลยี ทางดานการแพทย และทางดานขาวสาร ขอมูล เปนตน อยางที่เปนปญหามากขึ้นๆ ในประเทศที่พัฒนาแลว เกี่ยวกับความขัดแยงในเรื่องสิทธิในการเกิด สิทธิในการใหกําเนิด สิทธิใน การตาย สิทธิ ในการมี ชี วิ ตอย สิ ทธิ เกี่ ยวกั บทรั พย สิ นทางป ญญา เช น ปญหาความขัดแยงระหวางสิทธิในการมีชีวิตของทารกในครรภ กับสิทธิ ที่ จ ะมี ชี วิ ต ที่ มี สุ ข ภาพดี ข องมารดาผ ถื อ ว า ตนเป น เจ า ของครรภ เพราะฉะนั้น การเขาใจความจริงที่ทําใหแยกไดระหวางความจริงตาม ธรรมดาของธรรมชาติ กั บ ความจริ งตามที่ ตกลงกั น (โดยสมมติ )ด ว ย ปญญาของมนุษย จะยิ่งมีความสําคัญมากขึ้น ตัวอยางอีกเรื่องหนึ่งคือ ในชวงเวลาที่ผานมานี้โลกไดประสบปญหา จากความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศเปนอยางมาก และตระหนักเห็นภัย


๘๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

จากการทําลายธรรมชาติ เนื่องจากปญหาและความตื่นตัวในเรื่องนี้ ก็ได มีบุคคลและกลมชนที่เริ่มตั้งขอพิจารณาขึ้นมาวา สัตวดิรัจฉานทั้งหลายมี สิทธิในชีวิตของมันหรือไม และบางคนก็ลงความเห็นวา “มี” เมื่อตกลงวาสัตวดิรัจฉานมีสิทธิในชีวิตของมัน ก็มีเรื่องที่มนุษย จะตองแกปญหาในหมพวกตนตามมาอีกมาก เชน นาย ก. เปนเจาของเลา หมู เลี้ยงหมูไวฆาขายเนื้อจํานวนมาก นาย ข. เห็นวาหมูมีสิทธิในชีวิต ของมัน จึงลอบไปปลอยหมูออกจากเลา ตํารวจจับนาย ข. ฐานลักทรัพย ซึ่งเปนการละเมิดกรรมสิทธิ์ของนาย ก. แตนาย ข. อางวาเขาไมไดลัก ทรัพย เขาเพียงแตปลอยหมูไปตามสิทธิของมัน (เหมือนชวยคนที่ถูกคน อื่นกักขังไว; แตก็พึงสังเกตดวยวา สมัยกอนโนน เมื่อยังมีระบบทาส เจาของทาสก็มีสิทธิตามสมมติที่จะจัดการกับทาส คลายกับที่เจาของเลา หมูจ ะจัดการกับหมู แตมาบัดนี้ เมื่อสังคมยกเลิกระบบทาสแลว การ ปฏิบัติตอคนอยางนั้นกลายเปนความผิด กรรมสิทธิ์ตอทาสกลายเปนไมมี) เรื่ อ งทํ า นองนี้ ค งเป น ป ญ หาสํ า หรั บ นั ก กฎหมายในอนาคตจะ วินิจฉัยกันตอไป แตก็มีตัวอยางแลวที่รัฐฮาไว สหรัฐอเมริกา นักศึกษา ชั้นบัณฑิตศึกษาผหนึ่งเห็นวาปลาโลมามีสิทธิในชีวิตของมัน มันควรจะ มีอิสรภาพ จึงปลอยปลาโลมา ๒ ตัว ออกจากสถานีทดลอง ปรากฏวาเขา ถูกตัดสินวามีความผิดฐานลักทรัพย (ดูความคิดของชาวตะวันตกตอเรื่อง อยางนี้ เชน Rolston, 47 และ Howard, 132 เปนตน) ขอใหสังเกตวา แมใครก็ตามจะบอกวาสัตวมีสิทธิในชีวิตของมัน สัตวนั้นก็คงไมสามารถเอาสิทธินั้นไปอางกับใครๆ หรือกับสัตวอื่นใด แตสิทธิของสัตวนั้น เปนสิ่งที่มนุษยนั่นเองจะนําไปอางตอมนุษยดวยกัน ในการที่จะปฏิบัติตอสัตวนั้นๆ ตามที่พวกตนตกลงกัน เปนอันวา สิทธิตอชีวิต เปนตน อางไมไดกับธรรมชาติ แตอางได กั บ มนุ ษ ย ด ว ยกั น ตามที่ ต กลงยอมรั บ นี้ เ ป น เรื่ อ งหนึ่ ง ที่ แ สดงถึ ง


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๘๓

ความสัมพันธระหวางกฎธรรมชาติ ที่เรียกวา ธรรม กับกฎเกณฑในหมู มนุษย ที่เรียกวา วินัย ซึ่งซอนกันอยูและโยงเปนเรื่องเดียวกัน แตแยก ออกเปน ๒ ระดับ

ถึงจะพัฒนาระบบขึน้ มาหลากหลาย ทุกระบบตองลงกันไดบนฐานหนึ่งเดียวแหงธรรม ดังไดกลาวแลววา กฎของมนุษยคือวินัย ตองอิงอยูบนความจริง ของธรรมชาติคือธรรม และมีไวก็เพื่อเขาถึงและไดประโยชนจากกฎ ธรรมชาตินั่นเอง ความหมายของวินัย ซึ่งรวมทั้งกฎหมายก็อยูที่นี่ แตตามที่กลาวแลววา วินัยคือการจัดตั้งวางระบบแบบแผนที่เปน สมมตินี้ เปนความสามารถพิเศษของมนุษยที่ไมมีในหมูสัตวอื่น มนุษยมี ความสามารถพิเศษเชนนี้ จึงสรางสรรควัฒนธรรมและอารยธรรมขึ้นมา ได โลกของมนุษยจึงเปนแดนของสมมติ แตมีขอสังเกตอีกอยางหนึ่งวา ในเมื่อเราบอกวา ธรรม (คือความ จริง เชน ความเปนไปตามเหตุปจจัยเปนตนนี้) เปนฐานของวินัย (คือการ จั ด ตั้ ง วางระบบแบบแผนกฎเกณฑ ก ติ ก าในสั ง คมมนุ ษ ย ทุ ก อย า ง) เพราะฉะนั้น การที่จะใหกฎของมนุษยไดผลจริง ระบบตางๆ จึงตอง ประสานโยงถึงกันเปนอันหนึ่งอันเดียว เวลานี้ เมื่อมนุษยเรามีอารยธรรมเจริญมากขึ้น เราก็มีการจัดตั้งวาง ระบบแบบแผนในสังคมมากขึ้น โดยแยกเปนระบบเศรษฐกิจ ระบบ การเมืองการปกครอง และระบบสังคมดานตางๆมากมาย การที่เรามีระบบเหลานี้จัดแยกออกไปเปนหลายดาน ก็เพื่อใหมี ประสิทธิภาพในเชิงปฏิบัติ และในการที่จะศึกษาไดลึกละเอียด แตที่จริง กฎธรรมชาติคือความจริงที่รองรับระบบเหลานั้นทั้งหมดก็เปนความจริง


๘๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

อันเดียวกัน เพราะฉะนั้น ถาจะใหกฎมนุษย ซึ่งหมายถึงระบบแบบแผน ตางๆในสังคมมนุษย ไดผลอยางแทจริง ระบบเหลานั้นจะตองประสาน เปนอันเดียวกันได บนฐานแหงความเขาใจในความจริงตามกฎธรรมชาติ ที่เปนหนึ่งเดียวนั้น ปญหาของโลกมนุษยในปจจุบันนี้ก็คือ มนุษยตางคนตางคิดและ วางระบบตามความคิดที่แยกสวนแบบชํานาญพิเศษเฉพาะดานๆ ของตน ทําใหมีระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ระบบการเมืองการปกครองเปนตน หลายรูปหลายแบบ โดยที่ระบบเหลานี้ตั้งอยูบนฐานของทฤษฎีคนละ อยาง และมนุษยยิ่งเจริญขึ้น ก็ดูเหมือนวาระบบและทฤษฎีตางๆ จะยิ่ง แยกเปนเฉพาะสวนเฉพาะดานออกไปๆ และก็ยิ่งไมชัด หรือถึงกับไม คํ า นึ ง ว า ทฤษฎี เ หล า นั้ น ได เ ข า ถึ ง ธรรมคื อ ความจริ ง ในกฎธรรมชาติ หรือไม ทฤษฎี ก็คือการพยายามที่จะเขาถึงความจริงที่เรียกสั้นๆ วา ธรรม นั้น และจากทฤษฎีก็ไปจัดโครงสรางวางระบบตั้งกฎเกณฑขึ้นในสังคม แตถาทฤษฎีไมเขาถึงธรรมคือความจริง ระบบที่เขาจัดตั้งขึ้นบนฐานของ ทฤษฎีนั้น ก็ไมสามารถใหประโยชนที่แทจริงยั่งยืน คือไมสามารถสราง ผลสําเร็จตามที่ตองการได และจะเปนระบบที่ไมยั่งยืน ยิ่งไปกวานั้น เมื่อระบบตางๆ ในสังคมเดียวกันตั้งอยูบนฐานของ ทฤษฎีคนละอยาง ตอมาระบบเหลานี้ก็จะขัดแยงกัน เชน ระบบเศรษฐกิจ ไปทางหนึ่ง ระบบการเมืองไปทางหนึ่ง ระบบทางสังคมอยางอื่นๆ เชน ระบบการจัดการศึกษาไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งคิดวาสภาพในปจจุบันก็เปน อยางนี้ดวย และเมื่อเปนอยางนั้น ระบบตางๆ ก็จะขัดแยงกันบาง ชักพา ไขว เขวไปคนละทิศละทางบาง ตัวมนุษยเองมีความขัดแยงกันในระบบ บาง แลวการดําเนินชีวิตและกิจการของมนุษยก็จะตองมีปญหาเกิดขึ้น ตัวอยางงายๆ ในปจจุบันนี้ก็คือ แมแตระบบเศรษฐกิจกับระบบ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๘๕

การเมืองการปกครองก็เปนปญหากันอย ระบบเศรษฐกิจหนึ่งก็จัดตั้งขึ้น ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตรหนึ่ง ซึ่งเปนความเพียรพยายามที่จะเขาถึงความ จริงของธรรมชาติในดานหนึ่ง แตก็ไมรูวาไดเขาถึงความจริงหรือไม ซึ่ง ก็รอไมไดจึงตองปฏิบัติกันไป เมื่อตกลงวาเอาทฤษฎีเศรษฐศาสตรแบบ นี้ ก็จัดระบบเศรษฐกิจแบบนี้ ตอมาทางดานการปกครองก็มีทฤษฏีการ ปกครอง เชน แนวคิดประชาธิปไตย เปนตน ซึ่งนํามาใชเปนฐานในการ จัดระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในเมื่ อ ระบบเศรษฐกิ จ กั บ ระบบการปกครองมาจากฐานแห ง ทฤษฎีคนละฐาน แลวจับมาประสานกัน ปรากฏวาฝายสังคมนิยมก็อาง วา พวกตนก็ใชการปกครองระบอบประชาธิปไตย และอางวาระบอบ ประชาธิ ป ไตยแบบของตนเป น ประชาธิ ป ไตยที่ แ ท เช น เป น ประชาธิปไตยของประชาชน สวนอีกสังคมหนึ่งใชระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมเสรี ก็อางวาพวกตนใชระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แตเปนประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม แลวสองฝายนี้ก็เถียงกันวาของใคร เปนประชาธิปไตยที่แทจริง ของใครจะนําสังคมไปสสันติสุขไดจริง เวลานี้ฝายทุนนิยมเสรีชนะ ก็นําระบบสองดานนี้มาผนวกกันวา ในดานเศรษฐกิจใชระบบทุนนิยมแบบตลาดเสรี (free-market economy) สวนในดานการปกครองใชระบบประชาธิปไตย (democracy) และบอก วาตองใชระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยมจึงจะดีที่สุด จึงผนวกสอง คํานี้เปน free-market democracy แปลวา ประชาธิปไตยแบบตลาดเสรี ซึ่งทําใหบางคนอาจจะหลงเพลินไปวา ถาเปนประชาธิปไตยแลวตอง เปนตลาดเสรี คือตองเปนทุนนิยม ทามกลางสภาพเชนนี้ ความขัดแยงในตัวระบบเองก็อาจจะมีอยู และที่สําคัญคือ ฝายหนึ่งจะครอบงําอีกฝายหนึ่ง เชน แนวคิดเศรษฐกิจ แบบทุ น นิ ย ม เข า มาครอบงํ า แนวคิ ด ของประชาธิ ป ไตย ทํ า ให ม อง


๘๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

ความหมายของหลั ก การของประชาธิ ป ไตย ไปตามอิ ท ธิ พ ลของ แนวความคิดทางเศรษฐกิจ ดังที่เห็นไดชัดในเวลานี้วา การตีความหมาย ของความเสมอภาคและเสรีภาพ เปนการตีความหมายแบบทุนนิยม คือ ใตอํานาจของระบบเศรษฐกิจแบบสนองความตองการผลประโยชน สวนตัว ซึ่งพูดสั้นๆ วาเปนการมองความหมายแบบแบงแยกและแกงแยง เพื่อความชัดเจน ขอยกตัวอยางนิดหนอย เสรีภาพที่เปนหลักการ ของประชาธิปไตย เนนความหมายในแงของการที่บุคคลมีโอกาสที่จะ นําเอาศักยภาพ เชน สติปญญา ความสามารถของตนออกไปเปนสวน รวมในการแกปญหาและสรางสรรคสังคม ซึ่งเปนความหมายเชิงรวมมือ และเอื้อตอกัน แตภายใตอิทธิพลของทุนนิยม เสรีภาพเนนความหมายใน แงของการที่จะไดผลประโยชนตามที่ตนปรารถนา ซึ่งเปนไปในทาง แบงแยกและแกงแยง ความเสมอภาค (สมภาพ หรือสมานภาพ) ที่เปนหลักการของ ประชาธิปไตย เนนความหมายในแงของการมีสวนรวมอยางเสมอหนา กัน เชน เสมอในสุขและทุกข คือรวมสุขรวมทุกข รวมแกไขปญหา แต ภายใต อิ ท ธิ พ ลของเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ย ม ความเสมอภาคเน น ความหมายในแงของการเพงจองผลประโยชนวา ถาเขาได ๕๐๐ ฉันก็ ตองได ๕๐๐ เปนตน ซึ่งเปนความหมายเชิงแบงแยกและแกงแยง วาโดยสรุป สภาพเชนนี้ก็คือการที่มนุษยยังไมมีความสามารถ ที่ จะประสานระบบการตางๆของมนุษยใหเขาถึงและสอดคลองกับหลัก ความจริงของธรรมชาติได ถามนุษยสามารถเขาถึงความจริงนี้ หลักการ และระบบตางๆที่มนุษยจัดตั้ง จะตองประสานเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน และอยูบนฐานของความจริงนี้ ความสําเร็จอยูที่นี่ ถามิฉะนั้นจะไมมีทาง สําเร็จผลดีไดจริง และไมยั่งยืน


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๘๗

เพราะฉะนั้น การที่ระบบเศรษฐกิจการเมืองการปกครองเปนตน ของมนุษยจะแกปญหาไดแคไหน ก็อยที่วามนุษยจะเขาถึงตัวธรรมคือ ความจริงไดเพียงใด แตขณะนี้เปนการพูดถึงหลักการใหเห็นวา มนุษยจะ จัดตั้งวางระบบแบบแผนอยางไรก็ตาม ทั้งหมดนั้นจะตองมาจากฐาน คือ การรูเขาใจเขาถึงความจริงของธรรมชาติ คือความเปนไปตามเหตุปจจัย ของสิ่งทั้งหลาย แลวจึงจัดตั้งวางระบบทางสังคมขึ้น ซึ่งจะนํามาจัดแยก เปน ระบบยอยๆ อยา งไรก็ได และถา ทําไดสํ าเร็จ ก็คือความสามารถ พิ เ ศษสองชั้ น ของมนุ ษ ย ที่ ว า นอกจากมี ป ญ ญาเข า ถึ ง ความจริ ง ของ ธรรมชาติ คือธรรม ซึ่งนับวาเลิศประเสริฐขั้นที่หนึ่งแลว ยังกาวสขั้นของ วินั ย ตอไปด ว ย คื อสามารถเอาความรูใ นความจริ ง หรือ ธรรมนั้ น มา จัดตั้งวางระบบแบบแผนในสังคมขึ้นอยางประสานสอดคลองไดสําเร็จ จะเห็นวา กฎหมาย นั้น ไมใชเปนเพียงระเบียบขอบังคับเกี่ยวกับ ความเป น อยู ข องมนุ ษ ย ห รื อ ความประพฤติ เ ท า นั้ น แต เ ป น เครื่ อ ง กําหนดการจัดวางระบบ และกําหนดกิจการตางๆ ของสังคมวาจะทํา อยางไรกันดวย เพราะฉะนั้น วินัย จึงไมไดมีความหมายแคบๆ อยางใน ภาษาไทย คือ วินัยไมใชเปนเพียงระเบียบความประพฤติของคนเทานั้น แตวินัย หมายถึงระบบการจัดสรรสังคมทั้งหมด การจัดระเบียบการอยู รวมกันของมนุษย การจัดระเบียบกิจการของสังคม ซึ่งจะใหเปนอยางไร ก็ตองมีกติกา มีขอกําหนดที่ใหหมายรูวาจะดําเนินไปอยางไร เพราะฉะนั้น กฎหมาย จึงครอบคลุมความเปนอยูและการดําเนิน กิจการทั้งหมดของสังคมมนุษย (ในขอบเขตของประเทศหนึ่งๆ เปนตน) กิจการดานเศรษฐกิจจะดําเนินไปอยางไร กฎหมายก็เปนตัวบงบอก การ ปกครองจะดําเนินไปอยางไร กฎหมายก็เปนตัวกําหนด การดําเนินชีวิต ของบุคคลจะมีขอบเขตแคไหน คนจะสัมพันธกันภายในขอบเขตอยางไร กิจการใดจะดําเนินไปอยางไร กฎหมายก็จะกาวเขาไปคุมทั้งหมด


๘๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

ดังนั้น วิชากฎหมาย จึงครอบคลุมกิจกรรมทุกอยางในการดําเนิน ชีวิต และกิจการทุกอยางของสังคม และจึงมีทั้งกฎหมายที่คุมคน คุม ความประพฤติของคน และกฎหมายที่วางระบบกิจการที่ดําเนินการโดย คน คือเรื่องของคนที่อยในสังคมนี้กฎหมายคุมหรือครอบคลุมหมด อยางไรก็ตาม เทาที่เปนมาถึงบัดนี้ คําที่วา กฎหมายครอบคลุม กิจกรรมทุกอยางของมนุษย(ในสังคม)นั้น เพียงแตดูคลายจะเปนจริง เทานั้น แตหาไดเปนจริงแทไม ที่วาดูคลายจะเปนจริง หมายความวา เราอาจจะมีกฎหมายสําหรับ กิจกรรมและกิจการทุกอยางในสังคมมนุษย ครบทุกอยาง แตที่วาไมจริง แทก็คือ กฎหมายเหลานั้นก็คุมกิจกรรมและกิจการดานนั้นๆ แตละอยาง แต ล ะดา นเทา นั้ น เป น เอกเทศจากกัน ยั งหาไดมีก ฎหมายที่ เ ชื่อมโยง ประสานกิจกรรมและกิจการทุกดานเหลานั้นเขามาอยในระบบอันหนึ่ง อันเดียวกันอยางครอบคลุมทั่วทั้งหมดไม ในสังคมที่สมบูรณ จะตองมีกฎหมายหรือวินัยใหญอันหนึ่งที่จะ ทําหนาที่นี้ คือ เปนที่ประมวลประสานระบบยอยทุกอยางของสังคม ให เขามาอยในระบบสัมพันธใหญที่ครอบคลุมทั้งหมดอันเดียวกัน อยาง กลมกลืนและเกื้อหนุนกัน โดยโยงเขากับความจริงพื้นฐานอันเปนหนึ่ง เดียวของระบบแหงธรรมดาของธรรมชาติ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเปนกฎหมายสูงสุดของประเทศ เปนตัวอยางของ ระบบสมมติ ที่ ก า วเข า มาขั้ น หนึ่ ง ส ก ารที่ จ ะเป น กฎหมายใหญ ที่ ครอบคลุมนี้ แตก็ยังไมครอบคลุมจริง โลกยุคที่ผานมา เปนโลกที่มีอารยธรรมบนฐานความคิดแบบแบง ซอยแยกสวน ที่ทําใหเกิดความเจริญกาวหนาทางวิชาการแบบชํานาญ พิเศษเฉพาะทาง และการพัฒนาทั่วโลกก็อยในขั้นของการเนนความ เจริญเติบโตขยายตัวทางดานเศรษฐกิจ การปกครองและกฎหมายตางๆ ก็


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๘๙

หันไปใส ใจกับ ดานเศรษฐกิจ นี้ มาก กฎหมายที่ เกี่ ย วกับเรื่อ งราวและ กิจกรรมดานเศรษฐกิจจึงมีมากมายเปนพิเศษ แตบัดนี้โลกไดสํานึกแลววา การพัฒนาที่มงวัตถุเนนเศรษฐกิจเปน ตัวเดนนี้เสียดุล เปนการพัฒนาที่ผิดพลาด ไมยั่งยืน จะตองเปลี่ยนแปลง ใหม นับวาเปนการถึงเวลาที่ นิติศาสตร จะตองกาวใหญอีกขั้นหนึ่ง ส ขั้นของการกําหนดจัดวางระบบชีวิตและสังคมที่กวางขวางครอบคลุม โยงประสานเกื้อหนุนกันเปนระบบอันหนึ่งอันเดียว บนฐานแหงปญญา ที่รความจริงอยางทั่วตลอดรอบดาน ซึ่งจะทําใหระบบแหงกฎสมมติของ มนุ ษ ย ประสานสอดคล อ งถู ก ต อ งและได ผ ลจริ ง ตามระบบแห ง กฎ ธรรมชาติอันจริงแทที่เปนฐานอยอยางแทจริง ในสั ง คมหลายยุ ค หลายสมั ย ผ มี อํ า นาจปกครองประเทศหรื อ สังคมนั้นๆ เปนผตรากฎหมายออกมาควบคุมใหประชาชนประพฤติ ปฏิ บั ติ ต าม แต ก ารปฏิ บั ติ เ ช น นั้ น บางที ก็ จั ด ได ว า เป น การแก ป ญ หา ชั่วคราว พอใหไดผลที่จะใหสังคมมีความสงบเรียบรอยไวกอน กฎหมายที่สมบูรณตามความมงหมาย ตองการปญญาพิเศษ ที่หยั่ง ร ค วามจริ ง แห ง เหตุ ป จ จั ย ทุ ก อย า งที่ เ กี่ ย วข อ ง โยงมาส ก ารจั ด ตั้ ง วาง ระเบียบระบบสําหรับชีวิตและสังคมอยางประสานสอดคลองดังกลาวแลว ถาไมมีผปกครองผมีปญญาพิเศษเชนนั้น ก็อาจตองมีแหลงปญญาพิเศษ ดังกลาวที่จะมาตรากฎหมายใหผปกครองบริหารกิจการไปตามนัน้ อีกชัน้ หนึง่ การมีฝายนิติบัญญัติแยกจากฝายบริหาร ในระบอบประชาธิปไตย อยางปจจุบัน อาจถือไดวาเปนพัฒนาการขั้นหนึ่งในวิถีทางที่กลาวนี้ แต ก็จะตองถามวา บุคคลหรือคณะบุคคลผมารวมกันทําหนาที่เชนนั้น มีการ พัฒนาที่จะทําใหเปนผมีปญญาพิเศษดังกลาวนั้นแลวหรือไม ถายัง สังคม จะตองมงที่จะกาวตอไปสจุดหมายนั้นใหได


๙๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

กลาวโดยสรุป กิจทางปญญาอันยิ่งใหญที่นักนิติศาสตรจะตองทํา ใหไดมี ๒ อยาง คือ ๑) รเขาใจหยั่งทราบถึงจุดหมายที่แทจริงตามกฎธรรมชาติ ที่อย เบื้องหลังระบบแหงสมมติทั้งหมดของมนุษย ๒) จัดตั้งวินัยหรือกฎหมายที่มีขอบขายครอบคลุม ที่จะประสาน ระบบสมมติของมนุษยทุกอยางเขาเปนระบบใหญอันหนึ่งอันเดียว ที่โยง ถึงกันทั่วทั้งหมด ซึ่งสอดคลองกับระบบความสัมพันธอันหนึ่งอันเดียว ของธรรมชาติ

กฎหมายเพื่อสังคมมนุษย จะไมสมจริง ถาหยั่งไมถึงความจริง แหงธรรมชาติมนุษย ขอย้ําวา “วินัย” มีความหมาย ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑ คือ การจัดตั้งวางระเบียบชีวิต และวางระบบกิจการ ชั้นที่ ๒ คือ ขอกําหนดที่บอกใหรวาจะจัดตั้งวางระเบียบระบบให เปนอยางไร ชั้นที่ ๓ คือ ก) การใชระเบียบและระบบที่จัดวางขึ้นนั้น เปน เครื่องมือสรางเสริมโอกาสใหคนพัฒนาชีวิตใหดียิ่งขึ้น หรือการชักนํา ดูแลให คนใช ระเบี ยบและระบบนั้นเป นเครื่ องมือ(ที่ จะชว ยกั นทํ าให สังคมเปนแหลงอํานวยโอกาสในการ)พัฒนาชีวิตของตน หรือ ข) การใช ระเบียบและระบบที่จัดวางขึ้นนั้น เป น เครื่องมื อบั งคับควบคุ มคนให อยู ในความสงบเรียบรอย หรื อการบังคั บ ควบคุมคนใหเปนอยูและประพฤติปฏิบัติดําเนินกิจการตามระเบียบและ ระบบที่จัดวางขึ้นนั้น


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๙๑

ความหมายของ “วินัย” ที่เราเขาใจกันมาก คือความหมายที่ ๒ ได แ ก ร ะเบีย บแบบแผนที่ บ อกว า จะให จั ด ตั้ ง วางระบบอย า งไร หรื อ ขอกําหนดที่เปนแมบทในการจัดตั้ง ตัวอยางเชน พระมาอยูรวมกัน ตองมีวิธีแสวงหาและการจัดสรร แบงปนปจจัยสี่ คืออาหาร เครื่องนุงหม ที่อยูอาศัย และยารักษาโรค ในเรื่องนี้วิ นัย ก็ จะบอกวา พระภิก ษุมีวิ ธีที่จะไดมาและจัด สรร แบงปนปจจัยสี่กันอยางไร เมื่อมีใครมานิมนตพระ จะใหใครเปนผูทํา หนาที่ในการบอกใหพระรูปไหนไป และจะจัดอยางไร เชน จะใหใคร ไปกอนไปหลัง ปจจัยสี่ อยางไหนพระภิกษุจะเก็บสะสมไดหรือไมได เก็บไดมากเทาใดและนานเทาไร จะเก็บอยางไร ใครจะเปนผูเก็บ เมื่อมี การขัดแยงกันขึ้น หรือมีพระทําความผิด จะดําเนินคดีอยางไร อยางนี้ เปนตน นี่คือเรื่องของวินัยในความหมายที่สอง ซึ่งตรงกับ กฎหมาย ความหมายของวินัยอยางที่ ๓ ก็คือ การปกครอง วินัยในความหมาย นี้เป นเรื่ องของการปกครอง เพราะการดู แลให บุคคลเป นอย ประพฤติ ปฏิบัติตามกฎกติกาและใหกิจการตางๆดําเนินไปตามครรลอง ก็คือการ ปกครอง ในความหมายที่ครอบคลุมทั้งหมด ตอจากนั้นจึงแยกออกเปน รายละเอียดในการบริหาร ซึ่งทั้งหมดนั้นตองมีการจัดดําเนินการที่เปน งานรวม เพื่อใหหมูชนหรือสังคมดําเนินไปอยางใดอยางหนึ่ง อันไดแก การปกครอง โดยนัยนี้ คําวา วินัย จึงมีความหมายกวาง และไปโยงกับที่ได กลาวถึงในตอนแรกวา กฎหมายเปนเรื่องที่เกี่ยวกับการปกครองมาก เพราะวินัยเอง จะแปลวา การปกครองก็ได วินัย นั้น โดยรากศัพท แปลวา การนําไปใหวิเศษ มาจาก วิ แปลวา ใหวิเศษ และ นี ตัวเดียวกับใน “นีติ” แปลวา นํา รวมกันเปน “วินัย” แปลวาการนําไปใหวิเศษ หมายความวา ทําใหคนมีชีวิตที่ดีงาม


๙๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

ยิ่งขึ้น และทําใหกิจการตางๆดําเนินไปดวยดี เปนความหมายทั้งในระดับ บุคคลและสังคม เปนไดทั้งกฎหมายและการปกครอง ที่จะจัดสรรใหเกิด ความเรียบรอยดีงามขึ้นในสังคมมนุษย (ถาเปน กฎหมาย ก็แปลวาเครื่องนําไปใหวิเศษ ถาเปนการ ปกครอง ก็แปลวาการนําไปใหวิเศษ) จึงพูดไดวา ในที่สุดแลว เรื่องของกฎหมายและการปกครอง หรือ เรื่องของวินัย ก็คือ การจัดการใหเกิดความเรียบรอยหรือมีสันติสุขขึ้นใน สังคม นี้เปนความหมายของวินัยในระดับหนึ่ง แตแทจริง สิ่งนี้เปนจุดหมายของวินัย หรือกฎหมายและการ ปกครอง จริงหรือไม จุดหมายของนิติศาสตร คืออะไรแน? ถามองในแงของวินัย ตามความหมายของพระพุทธศาสนา ความ สงบเรียบรอยอยูกันดวยดีในสังคม ยังมิใชเปนจุดหมาย ทําไมจึงยัง ไมใช ถามองเผินๆก็นาจะเปนเชนนั้น เพราะการปกครองโดยมีกฎหมาย วางระเบี ยบกฎเกณฑ ขึ้ นมา ก็เพื่อให มนุ ษย อยู ร วมกั นด วยดี โดยสงบ เรียบรอย เพราะฉะนั้น การมีความสงบก็นาจะเปนการบรรลุจุดหมาย แต แทจริงความสงบเรียบรอยในสังคมนั้นเราถือวาเปนปจจัย ไมใชเปน จุดหมาย ความสงบเรี ย บร อ ยของสั ง คมไม ใ ช เ ป น จุ ด หมาย ถ า จะให ไ ด คําตอบตองถามตอไปวา ทําไมจึงตองมีวินัย? ไดพูดแลววา การมีวินัยสัมพันธกับการเกิดขึ้นของสงฆ คือ สังฆะ หรือชุมชนของพระภิกษุ หรือพระสงฆทั้งหลายที่มาอยูรวมกัน ทําไมจึงเกิดสงฆ? ทําไมพระพุทธเจาจึงตั้งสังฆะขึ้นมา เรื่องนี้โยง ไปถึงธรรมชาติของมนุษย ซึ่งจะทําใหเห็นวาจุดมุงหมายของการมีการ ปกครอง มีกฎหมาย มีระเบียบกฎเกณฑกติกาของสังคมนั้น เพื่ออะไร


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๙๓

ในการจั ด ตั้ ง หรื อ จั ด สรรสั ง คม เรามองธรรมชาติ ข องมนุ ษ ย อยางไร? ถาเรามองโยงลงไปไมถึงธรรมชาติของมนุษย ศาสตรทั้งหลาย จะไมเกิดประโยชนแกมนุษยไดจริง ศาสตรทุกศาสตรจะตองหยั่งลงไปใหถึงธรรมชาติของมนุษย และ จะตองตั้งอยูบนฐานของปญญาที่เขาใจความจริงตั้งแตธรรมชาติของ มนุษย เพราะวาในที่สุดนั้น การจัดตั้งวางระบบทุกอยางเราทําขึ้นมาเพื่อ ประโยชนแกมนุษย ถาไมเขาใจธรรมชาติของมนุษย เราก็ไมรูวามนุษย จะมีชีวิตอยูไปทําไม เขาตองการอะไร และเราควรจะทําอะไรใหเขา ถาเราไมเขาใจธรรมชาติหรือความจริงแหงชีวิตของมนุษย สิ่งที่ เราทําใหเขานั้น แทนที่จะเปนประโยชน อาจจะกลายเปนโทษเปนพิษภัย แกเขาก็ได ทั้งที่เราอาจจะมีเจตนาดีก็ตาม

จุดหมายของสังคม คือจุดหมายของกฎหมาย แตสุดทาย จุดหมายของกฎหมายตองสนองจุดหมายของชีวิต คน ทีนี้ กลับไปสูคําถามขั้นรากฐานวา พระพุทธศาสนามองธรรมชาติ ของมนุษยอยางไร? พระพุทธศาสนามองมนุษยวา เปนสัตวที่ตองฝกและ เปนสัตวที่ฝกได คือทั้งตองฝกและฝกได ถาใชศัพทภาษาสมัยใหมก็วา มนุษยเปนสัตวที่ตองศึกษา และศึกษาได นี้คือธรรมชาติของมนุษยที่แปลกจากสัตวอื่น สัตวชนิดอื่นนั้น ไม ตองฝกแตก็ฝกไมได ไมตองฝก หมายความวา เมื่อเกิดมาก็มีชีวิตอยูรอด ไดงาย โดยแทบไมตองฝก ไมตองเรียนรู ไมตองศึกษาอะไร เพราะอาศัย สัญชาตญาณชวย ออกจากทองแม ๒ นาทีอาจจะเดินไดเลย ถาเปนหานก็ ออกจากไขตอนเชา บายก็ตามแมไปลงสระน้ํา วายน้ําได หากินไดโดยไม


๙๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

ตองฝก สัตวเหลานั้นอยูไดดวยสัญชาตญาณ แตมนุษยเปนสัตวพเิ ศษในแง ที่วา ถาไมมีการฝกฝน ไมมีการเรียนรูแลว อยูไมได อยูไมรอด มนุษยเกิดขึ้นมาแลวไมสามารถอยูรอดดวยตนเอง เมื่อเกิดมาแลว ตองมีผูอุมชูเลี้ยงดู โดยเฉพาะพอแม เลี้ยงดูไปเปนปๆก็ยังอยูไมรอด ตอง เลี้ยงดูไปหลายปจนเขาสามารถดําเนินชีวิตได ระหวางที่พอแมเลี้ยงดูเขา นั้น เขาทําอะไร นี่คือสิ่งสําคัญ สิ่ งที่เขาทําคือการเรียนรู และฝกศึกษา พัฒนาตัวเอง ระหวางที่พอแมเลี้ยง เด็กก็เรียน เขาตองเรียนทุกอยางเพื่อให ดําเนินชีวิตได ไมวาจะนั่ง จะกิน จะนอน จะขับถาย ตองเรียนรู ตองฝก ตองหัดทั้งสิ้น คือตองศึกษานั่นเอง ถาไมเรียนรูไมฝกฝนเขาจะทําไมได สักอยางและอยูไมรอด กวาจะเรียนรูในการเดิน การพูด เด็กบางคนใช เวลาเกือบ ๒ ป จึงเดินได พูดได โดยนัยนี้ การดําเนินชีวิตของมนุษยจึงไมใชไดมาเปลาๆ มนุษยตอ ง ลงทุนดวยการศึกษา เรียนรู ฝกฝน พัฒนา จึงพูดวามนุษยเปนสัตวที่ตอง ฝก แตการที่ตองฝกนี้มองอีกดานหนึ่งก็เปนขอดีของมนุษย คือ เปนสัตว ที่ฝกได สวนสัตวชนิดอื่นนั้นไมตองฝกก็จริง แตมันฝกไมได ที่จริงไม ถึงกับฝกไมไดเลย แตฝกไดนอยอยางยิ่ง เรียนรูไดจํากัด เรียนรูไดนิด หน อ ย และส ว นใหญ ถ า จะฝ ก ต อ งให ม นุ ษ ย ฝ ก ให ส ว นมนุ ษ ย นี้ มี ความสามารถพิเศษที่ฝกตนเองได เรียนรูดวยตนเองได ถามนุษยฝกตน แลวก็พัฒนาไดแทบไมมีที่สิ้นสุด ฝกอยางไรก็ไดอยางนั้น อยากจะเปน อยางไรก็ฝกเอา ดวยเหตุนี้ มนุษยจึงพัฒนาตนจนกระทั่งทิ้งสัตวชนิดอื่นทั้งหมด มนุษยสามารถสรางโลกของมนุษยขึ้นมาตางหากจากโลกของธรรมชาติ ไม เ หมื อ นกั บ สั ต ว ช นิ ด อื่ น ที่ ต อ งอยู ใ นธรรมชาติ ต ลอดชี วิ ต เกิ ด มา ดวยสัญ-ชาตญาณใดก็ตายไปดวยสัญชาตญาณนั้น มนุษยนี้เกิดมาแลว ก็


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๙๕

ฝกศึกษาพัฒนา เรียนรูกาวหนาไปไมมีที่สิ้นสุด สรางสรรคอารยธรรม สืบตอกันได จากมนุษยรุนพอมาสูรุนลูกรุนหลาน รุนเหลน ตอไปเรื่อยๆ ธรรมชาติ ข องมนุ ษ ย มี ค วามพิ เ ศษอยู ต รงนี้ คื อ การที่ ม นุ ษ ย สามารถมีชีวิตที่ดีงามเปนเลิศได ดวยการเรียนรูฝกศึกษาพัฒนา แตพูด ยอนกลับวา มนุษยจะมีชีวิตที่ดีงามเปนเลิศได จะตองเรียนรูฝกศึกษา พัฒนา เพราะฉะนั้น มนุษยเรานี้จึงถือวา เปน “สัตวที่ตองศึกษา” และจึง คือชีวิตแหงการศึกษา วางเปนหลักไดวา ชีวิตที่ดีงามของมนุษย พระพุทธศาสนาถือคตินี้ สอดคลองกับการที่มนุษยมีธรรมชาติอยางนี้ เราต องการให มนุ ษย มีชี วิต ที่ ดีง าม แต มนุ ษย จ ะต องเรี ย นรู ฝ ก ศึกษา พัฒนาตัวเอง ดังนั้น จึงเขามาสูระบบของพระพุทธศาสนาในเรื่อง ของการโยง ธรรม กับ วินัย มนุษยเรียนรูเพื่อเขาถึงความจริงของกฎธรรมชาติ คือธรรม ถามนุษย รูเหตุปจจัยที่เปนความจริงในระบบความสัมพันธของสิ่งทั้งหลาย มนุษยก็ จะกระทําการตางๆไดผลตามที่ตนตองการแทบทุกอยาง เชน จะกินผลไม ก็ไมตองรอเดินไปกินที่ตนในปา แตสามารถเอาเม็ดมาปลูกใหมีตนไมที่ บานได ความสามารถสรางสรรคทําสิ่งตางๆขึ้นมามากมายนั้น เกิดจาก การเรียนรู ฝก ศึกษา พัฒนาของมนุษยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น มนุษยจะมี ชีวิตที่ดีงาม ก็ตองฝกศึกษาพัฒนาใหเขาถึงความจริงของกฎธรรมชาติ และเอาประโยชน จ ากความรู นั้ น ให ไ ด แล ว ด ว ยการเรี ย นร ฝ ก ศึ ก ษา พัฒนาโดยใชความรูนี้ มนุษยก็จะสรางสรรคชีวิตและสังคมที่ดีงามขึน้ มา ได ชี วิ ต และสั ง คมดี ง าม ที่ สร า งสรรค ขึ้ น มาได ด ว ยการเรี ย นร ฝ ก ศึกษาพัฒนาตนของมนุษยนี้ จึงเปนจุดหมายแหงกิจ กรรมและกิจการ ทั้งหลายของมนุษย


๙๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

แตการที่คนทั้งหลายผมาอยรวมกันจะเรียนรฝกศึกษาพัฒนาตน ใหสามารถสรางสรรคชีวิตและสังคมที่ดีงามขึ้นมาไดนั้น ก็ตองมีชีวิตที่ ปลอดภัยและสังคมที่อยกันสงบเรียบรอยเปนสภาพเอื้อหรือเกื้อหนุน และนี่แหละคือจุดที่การปกครองและกฎหมายเขามา คือ สังคมตองมีวนิ ัย ทั้ ง ในแง ข องการปกครอง และกฎหมาย เพื่ อ สร า งสรรค ค วามสงบ เรียบรอย อันเปนสภาพเอื้อที่จะชวยใหคนทั้งหลายพัฒนาชีวิตของตนขึ้น ไปใหสามารถบรรลุจุดหมายแหงการมีชีวิตที่ดีงาม มีสันติสุขและเปน อิสระได จนเขาถึงประโยชนสุขที่สูงสุด

วินัย/กฎหมาย เปนเครื่องจัดสรรใหเกิดโอกาส ที่จะเปนฐานของการพัฒนาสูการสรางสรรคที่สูงขึ้นไป ไดเคยพูดไวที่อื่นแลววา วินัยเปนเครื่องจัดสรรใหเกิดโอกาส จึงขอ ยกมาอาง ณ ที่นี้ดวย ดังนี้ “. . .วินัยเปนการจัดสรรโอกาส ทําใหชีวิตและสังคมมี ระบบระเบียบ และมีโอกาสเกิด ขึ้น ทําให ทําอะไรๆ ได คลอง ดําเนินชีวิตไดสะดวก ดําเนินกิจการไดสะดวก ถา ชี วิ ต และสั ง คมไม มี ร ะเบี ย บ ไม เ ป น ระบบ ก็ จ ะสู ญ เสี ย โอกาสในการที่จะดําเนินชีวิตและทํากิจการของสังคมให เปนไปดวยดี ตลอดจนทําใหการพัฒนาไดผลดี ทําไมจึงตองจัดระเบียบ ทําไมจึงตองมีวินัย? ถาชีวิตวุนวาย การเปนอยูของมนุษยสับสนหาระเบียบ ไม ไ ด โอกาสในการดํ า เนิ น ชี วิ ต ก็ จ ะหายไป เช น ในที่ ประชุ ม นี้ ถ า เราไม มี ร ะเบี ย บเลย โต ะ เก า อี้ ก็ ว างเกะกะ ทั่วไป คนก็เดินกันไปเดินกันมา อาตมภาพพูดนี่ก็ฟงกันไม


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

รูเรื่อง สับสน แมแตเมื่ออยในบานของเรา ถาสิ่งของตั้งวาง ไมเปนระเบียบ กระจัดกระจายอยูตรงโนนตรงนี้ แมแตจะ เดินก็ยาก เดินไปก็เตะโนน ชนนี่ กวาจะถึงประตูก็เสียเวลา ตั้งหลายนาที แตพอเราจัดของใหเปนระเบียบ ตกลงกันวา ตรงนี้เปนทางเดินก็เวนไว เปนชองวาง เราเดินพรวดเดียวก็ ถึงประตู ทําใหสะดวกรวดเร็ว กิ จ การต า งๆ ต อ งมี ร ะเบี ย บ หรื อ ต อ งอาศั ย วิ นั ย มา จั ด สรรโอกาสทั้ ง นั้ น ที่ เ ห็ น ได ง า ยๆ เช น เมื่ อ แพทย จ ะ ผาตัด ศัลยแพทยจะตองการวินัยมาก จะตองจัดระเบีย บ เครื่องมือที่ใชตามลําดับการทํางานอยางเครงครัดทีเดียว ต อ งตกลงกั น ไว ก อ นว า ขั้น ตอนใดจะใช เ ครื่ อ งมื อ ไหน และสงเครื่องมือใหถูกตอง คนนี้ยืนตรงนี้ จังหวะนี้ ถึงเวลา ไหนสงเครื่องมืออันไหน เพราะอยในชวงของความเปน ความตาย พยาบาลที่จัดเตรียมเครื่องมือ ตองพรอมและตอง จัด ให ถู ก ลํ าดั บ ทุ ก อย า ง ผิ ด นิ ด ไม ได เพราะงานนั้ นต อง เปนไปตามเวลาที่จํากัด ฉะนั้นในกิจการที่ยิ่งมีความสําคัญ มีความซับซอน มีความเปนความตายเขามาเกี่ยวของ วินัย จะยิ่งตองมีความเครงครัดแมนยํามากยิ่งขึ้น ในสังคมวงกวางออกไป ถาชีวิตคนไมปลอดภัย สังคม ไมมีความเปนระเบียบ มีโจร มีขโมย มีการทํารายกัน เราจะ ไปไหนเวลาไหน ก็ไมสะดวก เพราะกลัววาถาไปเวลานี้ หรือผานสถานที่จุดนั้นแลว อาจจะถูกทํารายได เมื่อคนไม กลาเดินทาง มีความหวาดระแวง กิจการงานของสังคมและ การดํ า เนิ น ชี วิ ต ของบุ ค คลก็ ห มดความคล อ งตั ว ทํ า ให ขัดของไปหมด

๙๗


๙๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

โดยนัยนี้ วินัยจึงชวยจัดทําใหเกิดระบบระเบียบในชีวิต และสังคมขึ้น ทําใหเกิดความคลองตัว จะทําอะไรตออะไร ก็ ไ ด ผ ล ฉะนั้ น การจั ด วางวิ นั ย จะต อ งคํ า นึ ง ถึ ง ความมุ ง หมายนี้อยเสมอ เชนตองตรวจสอบวา การจัดวางวินัยของ เรามีค วามมุ ง หมายชั ด เจนหรื อ ไม ที่ จ ะช ว ยให ชี วิต และ กิจการงานเปนไปไดดวยดี เกิดมีโอกาส และทําใหมั่นใจวา เมื่ อ เราจั ด ระบบระเบี ย บเรี ย บร อ ยดี แ ล ว โอกาสในการ พั ฒ นาชี วิ ต จะเกิ ด ขึ้ น ความเป น อย แ ละกิ จ การต า งๆ จะ เปนไปดวยความคลองตัว นําไปสจุดหมายดีงามที่ตองการ ในการพัฒนามนุษยระยะยาว ถาไมมีวินัยเปนฐาน ก็จะ ทําใหเกิดความขัดของวุนวายสับสน ฉะนั้นเราจึงจัดวาง วินัยเพื่อความมุงหมายระยะยาวในการพัฒนามนุษยดวย และดวยเหตุนี้วินัยจึงเปนเรื่องสําคัญในสังคมประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยตองการโอกาสเหลานี้ ในการที่ จะใหมนุ ษยมาสื่อมาแสดงออก เพื่อนํ าเอาศัก ยภาพของ ตัวเองออกมารวมในการสรางสรรคสังคมอยางไดผล สรุปวา วินัยมีความหมายเชิงบวก คือ เปนการจัดสรร โอกาสใหชีวิตและสังคมดําเนินไปโดยสะดวก คลองตัว ไดผล มีประสิทธิภาพ และเปนโอกาสแกการพัฒนามนุษย ดวย” (วินัย: เรื่องที่ใหญกวาที่คิด, น. ๑๕-๑๗) เมื่อประชาชนเปนอยโดยมีชีวิตรางกายปลอดภัย ครอบครัวมั่นคง ทรัพยสินไรอันตราย ไปไหนมาไหนโดยไมตองหวาดระแวง จะดําเนิน กิจการใดก็มั่นใจ ไมตองกลัวถูกฉกฉวยผลหรือขมเหงเอาเปรียบ ก็นับวา สังคมมีความสงบเรียบรอยแลว


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๙๙

กระนั้ น ก็ ต าม สั ง คมที่ ดี จ ะไม ห ยุ ด เพี ย งเท า นั้ น แต จ ะต อ งมี มาตรการทางการปกครองและกฎหมายมาเอื้อโอกาสสงเสริมสนับสนุน ช ว ยให ป ระชาชนผ ทํ า การอาชี พ หรื อ ประกอบกิ จ กรรมและดํ า เนิ น กิจการตางๆ ที่ดีงามสุจริต มีกําลังใจและตั้งใจทํางานสรางสรรค ฝกปรือ ฝมือและความจัดเจนชํานิชํานาญในการงานวิชาชีพของตนๆ พัฒนา ความสามารถที่ จ ะสร า งสรรค ป ระดิ ษ ฐกรรมและกิ จ กรรมที่ เ ป น คุ ณ ประโยชน ใ ห เ จริ ญ แพร ห ลาย ทํ า ให ชี วิ ต มี ค วามเป น อย แ ละ สภาพแวดลอมทางวัตถุและทางสังคมที่ผาสุกสบาย เอื้อตอการเขาถึง ความดีงามและความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไป ทามกลางความเปนอยและสภาพแวดลอมที่ มีความพรั่ง พร อม เอื้ออํานวยทางเศรษฐกิจและทางสังคมเชนนี้ วินัย ทั้งดานการปกครอง และกฎหมาย หรือทั้งดานรัฐศาสตรและนิติศาสตร จะตองเนนมาตรการที่ จะสงเสริมกิจกรรมและกิจการทางดานศิลปวัฒนธรรม ทางศีลธรรม ทาง ศาสนา และคุณคาทางจิตใจตางๆ ที่จะสนับสนุนใหประชาชนพัฒนา ดานคุณธรรม ใฝในอุดมคติทางนามธรรม และเขาถึงความดีงามและ ความสุขทางจิตใจที่สูงหรือประณีตยิ่งขึ้นไป ทั้งเพื่อประโยชนสุขแหง ชี วิ ต ของประชาชน และเพื่ อ ความมั่ น คงยั่ ง ยื น แห ง พั ฒ นาการทาง เศรษฐกิจและทางสังคมนั้นดวย พรอมกันนั้นก็ใหมีมาตรการทางวินัย ทั้งดานการปกครอง และ กฎหมาย ที่จะสงเสริมการคนควาแสวงปญญา และกิจกรรมตางๆ เพื่อ พัฒนาภูมิปญญาของประชาชน เพื่อใหชีวิตเขาถึงความดีงามความเปน เลิศความสุขและ อิสรภาพที่แทจริง และนําทางอารยธรรมสความเจริญ งอกงามยิ่งขึ้นไป ถาพูดสั้นๆ ดวยภาษาแหงไตรสิกขา ก็คือการใชมาตรการทางวินัย (ทั้งการปกครองและกฎหมาย) มาชวยสรางสภาพเอื้อและสงเสริม


๑๐๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

ประชาชนใหพัฒนา ทั้งในดานพฤติกรรม (โดยเฉพาะสัมมาอาชีวะ และ อนวัชช-กรรม คือกิจกรรมสรางสรรค) ในดานจิตใจ และในทางปญญา

วินัย/กฎหมายชวยจัดสรรสังคมดี ที่เอื้อใหคนงอกงามมีชีวิตที่ดี คนยิ่งงอกงามมีชีวิตทีด่ ี ก็ยิ่งหนุนสังคมดีที่คนจะมีชีวิตงอกงาม ชีวิตมนุษยมี ๓ ดาน คือ ดานพฤติกรรม ดานจิตใจ และดานปญญา ซึ่งดําเนินไปดวยกัน และสัมพันธอิงอาศัยเปนปจจัยแกกัน แยกขาดจากกัน ไมได พฤติกรรม ที่แสดงออกทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี เปนสวนที่ปรากฏ ออกมาในการติ ดต อกั บสภาพแวดล อมทั้ งทางวั ตถุ และทางสั งคม แต เบื้องหลังพฤติกรรมนั้นก็คือ เจตนา ความตั้งใจและแรงจูงใจ ภายในจิตใจ ซึ่งเปนตัวกําหนดพฤติกรรมที่จะแสดงออกมาเพื่อสนองความตองการ อยางใดอยางหนึ่งในจิตใจนั้น และพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นจะมีลักษณะ อาการอยางไร ก็เปนไปตามสภาพจิตใจ เชนความรสึกสบายใจไมสบายใจ เปนตนของเขา นอกจากนั้น พฤติกรรมของเขาจะตื้นเขินคับแคบ หรือดําเนินไป อยางลึกซึ้งซับซอนในขอบเขตกว างขวาง มี ประสิทธิภาพที่จะสนอง ความตองการของตนเองอยางไดผลหรือไมเพียงใด ก็ยอมขึ้นตอความ รอบรู ความเขาใจและความเฉลียวฉลาดคือปญญาของเขา พฤติกรรมจึง แยกออกไมไดจากจิตใจและปญญา จิตใจ ก็อาศัยพฤติกรรม เชน จิตใจจะมีความสุขเมื่อมีพฤติกรรมที่ ดําเนินไปไดตามความตองการ หรือไดทําพฤติกรรมที่ถูกใจ แตถาตอง ทําพฤติกรรมที่ไมปรารถนา ก็จะฝนใจ มีความทุกข ถาไดทําพฤติกรรมที่ ชอบหรือเคยชิน ก็ชอบใจสบายใจ แตถาพฤติกรรมนั้นถูกขัดขวางปดกั้น


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๐๑

ก็ไมชอบใจ โกรธหรือเกิดความทุกข พรอมกันนั้น จิตใจก็เปนไปตามปญญา ถาคิดนึกหรือประสบ สถานการณใดแลว ไมรวาอะไรเปนอะไร จะปฏิบัติตอมันอยางไร จะเอา อยางไรกับมัน จิตใจก็จะอึดอัดขัดของ เกิดความรสึกบีบคั้นกดดันเปน ทุกข แตไมวาในสถานการณใด หรือตอประสบการณใด ถารเขาใจวามัน คืออะไร เปนอยางไร มองเห็นชัดโลงไปวาจะปฏิบัติหรือจัดการกับมัน ไดอยางไรแลว จิตใจก็โปรงโลงสุขสบาย ถามีทุกขอยก็พนหายหมดทุกข ไป เมื่อเห็นคนอื่นหนาตาบึ้ง พูดจาหรือมีกิริยาอาการไมสุภาพ จิตใจก็ร สึกโกรธขัดเคือง แตพอรวา คนนั้นเขามีปญหา มีความกดดันในใจจาก แรงบีบคั้น เชนขาดเงินหรือกําลังกลุมใจเรื่องครอบครัวเปนตน พอร ขึ้นมาเกิดปญญาแลว จิตใจก็หายโกรธเคือง กลายเปนสงสารเห็นใจอยาก เขาไปชวยเหลือ จิตใจจึงแยกกันไมไดกับพฤติกรรมและปญญา ปญญาก็เชนกัน จะพัฒนาหรือทํางานไดผลดี ก็ตองอาศัยจิตใจ และพฤติกรรม ถาจิตใจออนแอเหนื่อยหนายเฉื่อยชา เจอปญหาก็ไมส ไม พยายามคิดหาทางแกไข ปญญาก็ไมพัฒนา หรือจะพิจารณาศึกษาอะไร จิตใจฟงซานเลื่อนลอย ก็คิดไมออกหรือมองไมชัด แตถาจิตใจเขมแข็ง มี ความเพี ย รแรงกล า เจอป ญ หาก็ ส พยายามคิ ด หาทางแก ไ ข ป ญ ญาก็ พัฒนาไดดี ยิ่งจิตใจนั้นเปนสมาธิ สงบมั่นคงแนวแน ไมมีอะไรกวนได ก็ ยิ่งคิดไดชัดเจนมองเห็นสวางโลง พรอมกันนั้น ในการแสวงปญญา ก็ตองใชพฤติกรรมเกื้อหนุน และเปนเครื่องมือ เชนตองเดินไปยังแหลงขอมูล ตองดําเนินการจัดเก็บ รวบรวมขอมูล ตองรจักดู รจักฟง รจักสัมผัส ตองรจักเขาหาผคน รจัก พูดจา ถาพูดจาสุภาพ รจักตั้งคําถาม รจักพูดใหกระชับตรงประเด็น และ โตตอบเปน เปนตน การแสวงปญญาก็ไดผลดี ฯลฯ โดยนัยนี้ ปญญาก็ สัมพันธกับจิตใจและพฤติกรรม


๑๐๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

การจัดการหรือจัดดําเนินการใหระบบความเปนไปของชีวิตทั้ง ๓ ดาน คือพฤติกรรม จิตใจ และปญญานี้ สัมพันธกันในลักษณาการที่ทํา ใหชีวิตดีงาม เปนอยอยางไดผลยิ่งขึ้น นี่แหละ คือการเรียนร การฝก หรือ การพัฒนาชีวิต ที่เรียกวา สิกขา หรือการศึกษา และเพราะเปนการพัฒนา หรือศึกษาอยางเปนระบบครบ ๓ ดานไปดวยกัน จึงเรียกวา ไตรสิกขา จิตใจ และปญญา เปนเรื่องภายใน เปนสวนเฉพาะตัวของแตละ บุคคล แตพฤติกรรมเปนชีวิตดานที่สัมพันธเกี่ยวของกับโลกภายนอก ทัง้ กับเพื่อนมนุษยดวยกันในสังคม และกับวัตถุทั้งหลาย เราสามารถใช พฤติกรรมเปนสื่อในการเขาถึงจิตใจและปญญา การพัฒนาพฤติกรรมจึง เปนปจจัยสําคัญในการพัฒนาจิตใจและปญญา ในทางกลับกัน พฤติกรรมก็เปนสื่อหรือเปนแดนที่แสดงออกของ จิตใจและปญญา ถาจิตใจและปญญาไดมีการพัฒนาอยางดี ก็จะทําใหคนมี พฤติกรรมที่ ดี ง ามเกื้ อกู ล ดั ง นั้ น พฤติ ก รรมของคนจะเป น ไปในทาง เบียดเบียนบั่นทอนสังคม หรือเปนไปในทางที่สงเสริมเกื้อหนุนตอความ เปนอยและกิจการที่รวมกัน ก็อยที่วาจิตใจและปญญาไดรับการพัฒนา หรือไมเพียงใด วินัย เอาพฤติกรรมเปนจุดเชื่อมโยงเขาสไตรสิกขาในตัวคน หรือพูด อีกอยางหนึ่งวา วินัยเชื่อมโยงกับระบบไตรสิกขาที่พฤติกรรมคือดานศีล ของคน อาจพูดดวยอีกสํานวนหนึ่งวา วินัย คือการจัดระบบพฤติกรรม หรือการจัดระบบชีวิตและสังคมที่จะสงเสริมพฤติกรรมของคน เพื่อชวย ใหเขาพัฒนาในไตรสิกขา จากจุดเริ่มที่พฤติกรรม เมื่อประชาชนไดอาศัยสภาพแวดลอมแหง ระบบชีวิตและสังคมที่เกื้อหนุนตอการพัฒนาชีวิตของตน และไดพัฒนา ทางดานจิตใจและปญญามากขึ้น ตัวเขาเองก็จะมีชีวิตที่ดีงามมีความสุขมาก


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๐๓

ยิ่งขึ้น พรอมกับที่ภาวะที่พัฒนาแลวทางดานจิตใจและปญญานั้น ก็จะ สงผลออกมาทางดานพฤติกรรม ทําใหเขามีพฤติกรรมที่พึงปรารถนา ซึ่ง ประณีตเกื้อกูลหนุนเสริมสรางสรรคสังคมใหเปนสภาพแวดลอมที่เอื้อ โอกาสต อ การพั ฒ นาชี วิ ต ของเพื่ อ นมนุ ษ ย โดยที่ ตั ว เขาเองจะเป น ผ ปกครองตนเองได และปฏิบัติตามกฎหมายอยางเปนขอหมายรรวมกัน ทํ า ให วิ นั ย ไม ว า จะในความหมายของระเบี ย บระบบที่ จั ด ตั้ ง ก็ ต าม ขอกําหนดในการจัดตั้งคือกฎหมายก็ตาม หรือการจัดการใหเปนไปตาม ระเบียบระบบนั้นคือการปกครองก็ตาม ไดผลตามความหมายและความ มุงหมายที่แทจริง อยางมั่นคงยั่งยืน นิติศาสตร เกี่ยวของโดยตรงกับพฤติกรรมของมนุษย หมายความ วา พฤติกรรมหรือชีวิตดานศีล เปนแดนสัมพันธของนิติศาสตร แตการ จัดสรรดานพฤติกรรมหรือศีลอยางเดียว ไมเพียงพอแกการสรางสรรค และดํารงรักษาอารยธรรมของมนุษยชาติ การที่ นิ ติ ศาสตร ใ ชศีล หรื อ พฤติ ก รรมเป น แดนเชื่ อมโยงส ง ผล เข า ส แ ดนแห ง จิ ต ใจและป ญ ญา ทํ า ให เ กิ ด การพั ฒ นาคนอย า งเต็ ม ทั้ ง ระบบ โดยสื่ อ สมมติ ส ตั ว ธรรมอั นเป น ความจริ ง แท ใ นธรรมชาติ ใ ห สําเร็จได นี่ตางหากที่เปนคุณคาที่แทจริงของนิติศาสตร ถาการปกครองและกฎหมายขาดจุดหมายในการพัฒนามนุษย คือ การปกครองและกฎหมายนั้นไมเปนเครื่องมือสื่อสิกขา พอสังคมสงบ เรี ย บร อ ยและมี ค วามพรั่ ง พร อ มทางเศรษฐกิ จ มากขึ้ น ความลุ ม หลง เพลิดเพลินมัวเมา ความเฉื่อยชาประมาท และความขัดแยงในหมูชนก็จะ แพรหลายขยายตัว ตอจากนั้น สังคมก็จะเลื่อนไหลลงไปในกระแสแหง ความเสื่ อ ม หรื อ วนเวี ย นอย ใ นวงจรแห ง ความเจริ ญ แล ว ก็ เ สื่ อ ม เชนเดียวกับอารยธรรมเกาๆ เชน กรีก และโรมัน เปนตน ที่ลมสลายไป แลวในอดีต


๑๐๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

เรื่องนี้จะตองสํานึกตระหนักกันใหมาก เพราะสังคมที่เจริญขึ้น ในทางเศรษฐกิจที่พรั่งพรอมและความเปนอยที่สงบเรียบรอยมั่นคงถึง ระดับหนึ่งแลว ความโน มเอียงที่จะประมาทมัวเมาจะแรงเขมมาก จน แมแตจะมีมาตรการในการพัฒนาทางจิตปญญาอย ก็ยังยากที่จะชูสังคม นั้นไวได ยอนมาดูการจัดตั้งสังฆะ ในฐานะเปนสังคมที่เกิดจากวินัยเปน ตัวอยาง ดังที่กลาวแลววา มนุษยจะไดผลดีจากกฎธรรมชาติไดก็โดยที่มี การจั ด ตั้ ง เพราะฉะนั้ น พระพุ ท ธเจ า เมื่ อ ทรงเข า ถึ ง ความจริ ง ในกฎ ธรรมชาติ รูความจริงนั้นแลว ทรงเห็นวามนุษยจะไดประโยชน เขาจะมี ชีวิตที่ดีงาม ถาเขาเรียนรู ฝกหัด พัฒนาตัวเองใหเขาถึงธรรม และเอา ความรูในธรรม หรือในกฎธรรมชาติมาใชใหเปนประโยชนยิ่งขึ้นไป แตทําอยางไรจึงจะใหประโยชนนี้เกิดเปนผลแกหมูมนุษยจํานวน มาก ก็จึงตองจัดตั้งขึ้นมาเปนสังฆะ เพื่อคนที่ตองการจะฝกศึกษาพัฒนา ตัวเองนั้น จะไดมีสภาพความเปนอยู สิ่งแวดลอม ระบบการอยรวมกัน บรรยากาศและโอกาส ที่เอื้อเกื้อหนุนตอการเรียนรู ฝก ศึกษา พัฒนาของ เขา เชนการที่จะไดเขามาอยูใกลชิดและเรียนรจากพระพุทธเจา หรือจาก บุ ค คลที่ มี ค วามรู ค วามสามารถสู ง กว า ตน หรื อ หมู บุ ค คลที่ มี ค วาม ตองการและระดับการเรียนรูอยางเดียวกัน ใฝในการฝกฝนพัฒนา จะ ไดมาเกื้อกูลตอกันดวยการปรึกษาสังสรรค เปนตน โดยนัยนี้จึงเกิดมี สังฆะ ขึ้นมาเปนชุมชนแหงการศึกษา เพื่อใหคน ที่ตองการเขาถึงธรรมและไดประโยชนจากธรรม จะไดมีโอกาสเรียนรู ฝกหัดพัฒนาดังกลาวแลว และเปนศูนยกลางที่บุคคลภายนอกที่ตองการ เรียนรูจะเขามาหาในฐานะเปนแหลงของการศึกษา และพรอมกันนั้น พระที่มีความรู ไดเลาเรียนสูงขึ้นไปหรือเขาถึงธรรมแลว ก็จะออกจาก ศูนยกลางนี้ ไปใหความรูเพื่อการศึกษาของประชาชน


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๐๕

นี้คืองานของวินัย ที่ทําใหมีการจัดตั้งขึ้นเปนสังฆะ โดยมีหลัก แหลงที่เรียกวา วัด ซึ่งก็คือชุมชนที่เปนแหลงแหงการศึกษานั่นเอง รวมความว า การใช วิ นั ย จั ด ตั้ ง สั ง ฆะคื อ สงฆ ขึ้ น มานั้ น มี จุดมุงหมายนี้ คือเปนการจัดระบบความเปนอยู สรางสภาพแวดลอมและ บรรยากาศตลอดจนระบบความสัมพันธในการทํากิจการรวมกันทุกอยาง ใหเปนสภาพเอื้อตอการที่แตละบุคคลผูเขามาสูชุมชนนี้ จะไดมีโอกาสที่ จะศึกษา เรียนรู พัฒนาตนเองใหดีขึ้น เพื่อเขาถึงชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้น นี้คือ วัตถุประสงคของวินัย เพราะฉะนั้น การปกครองที่มีกฎหมายเปนเครื่องมือจัดสรรสังคม เพื่อใหมนุษยอยูกันโดยสงบเรียบรอยนี้ จึงมีความมงหมายเพื่อใหความ เปนอยูที่สงบเรียบรอยนั้นเปนสภาพที่เอื้อตอการที่แตละบุคคลในสังคมนั้น จะได มี โ อกาสเรี ย นรู ฝ ก หั ด ศึ ก ษา พั ฒ นาตนให เ ข า ถึ ง ชี วิ ต ที่ ดี ง าม ยิ่งๆขึ้นไป หมายความวา เราตองการใหหมูมนุษยมีชีวิตที่ดีงามยิ่งๆขึ้นไป ก็ จึง จัด ใหมี ก ารปกครองโดยวางข อกํ าหนดเป นกฎหมายขึ้นมา เชน ที่ พระพุทธเจาทรงปกครองสงฆดวยวินัย ซึ่งมาจัดสรรใหความเปนอยู การ ดําเนินชีวิต สภาพแวดลอม การทํากิจการรวมกัน ประสานกันเปนระบบที่ เกื้อกูลตอการพัฒนาชีวิตของหมูมนุษยไปสูความดีงามสูงสุดที่เปนจุดหมาย ถาไมมีจุดหมายนี้ ความเปนระเบียบเรียบรอยก็ไมมีความหมายที่ ชัดเจนเพียงพอ ไมมั่นคงยั่งยืน และไมเปนประโยชนแทจริงแกหมูมนุษย


๑๐๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

การปกครองที่แท และกฎหมายที่ถูก ตองมีจุดหมายสอดคลองกับธรรมชาติของมนุษย เมื่อสังฆะ คือสงฆขยายใหญขึ้น มีพระภิกษุจํานวนมากขึ้น ในการ ปกครองตอมา พระพุทธเจาก็ทรงบัญญัติใหพระภิกษุผบวชใหมแตละรูป มีอุปชฌาย คือเมื่อจะบวชตองมีอุปชฌาย อุปชฌาย แปลวา ผูดูแล ซึ่งเรามักจะมองในแงวาเปนผูปกครอง แตเมื่อมองใหตรงแทตามความหมายของพระพุทธศาสนา จะเห็นวา อุปชฌายมีขึ้นเพราะวา บุคคลใดก็ตามเมื่อสมัครเขาบวชมีชีวิตเปนภิกษุ อยูในชุมชนนี้ ก็ถือเปนการตกลงวา จะเขามารับการฝกฝน มาเรียนรู มา สิกขาคือศึกษา โดยเฉพาะผูที่บวชเขามาใหม ยังไมรูหลักการ แนวทาง และวิธีการในการศึกษาปฏิบัติ จําเปนจะตองไดผูดูแลแนะนําใหความรู พื้นฐานเบื้องตน ยิ่งเมื่อมาอยูรวมกันมากๆขึ้น ก็มีปญหาวา ผูเขามาใหม นั้นบางบุคคลเขามาแลวอาจจะเควงควางเลื่อนลอย ไมไดรับการแนะนํา ใหฝกฝน ศึกษา เรียนรู แลวก็จะไมไดประโยชนจากสังฆะที่พระพุทธเจา ตั้งขึ้นเทาที่ควร เพราะฉะนั้น พระพุทธเจาจึงทรงบัญญัติใหมีอุปชฌาย ขึ้นมา อุปชฌาย เปนเหมือนผค้ําประกันตัวผบวชตอที่ประชุมสงฆใน การบวช กลาวคือ แมวาที่ประชุมสงฆจะพิจารณาเห็นวาบุคคลที่สมัคร เขามา มีคุณสมบัติ ควรรับเขาบวชได แตที่ประชุมสงฆก็ตองการใหมีคน ที่จะรับผิดชอบชวยดูแลผที่บวชใหมนั้น ก็จึงมีอุปชฌายมาเปนผูประกัน ตอสงฆ ที่จะใหความมั่นใจแกสงฆหรือที่ประชุมวา บุคคลผูนี้เมื่อบวช เขาไปแลวจะไมเควงควาง ขาพเจาจะเปนผูดูแล เพื่อใหมั่นใจวาเขาจะ ไดรับการศึกษา


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๐๗

โดยนัยนี้ จึงเหมือนวาไดเกิดการปกครองขึ้นเปนระดับขั้น ตั้งแต พระพุทธเจาผทรงปกครองสงฆใหชุมชนทั้งหมดดําเนินไปในระบบแหง ไตรสิกขา จนถึงพระอุปชฌายผูดูแลใหพระภิกษุที่บวชเขามาใหมใน ปกครองของตนแตละรูปไดรับการศึกษา เพราะฉะนั้น การปกครองตามความหมายในพระพุทธศาสนาจึง เปน การปกครองเพื่อการศึกษา หมายความวา การปกครองและความ สงบเรียบรอยที่เกิดจากการปกครองนั้นมิใชเปนจุดหมายในตัว แตเปน เพียงปจจัยคือสภาพเอื้อ เพื่อชวยใหแตละบุคคลบรรลุจุดหมายแหง การศึกษา หรือเพื่อเปนหลักประกันของการศึกษา จึงถือเปนคติไดวา การปกครองที่มีข้นึ เปนเรื่องของการศึกษา และเพื่อการศึกษาทั้งสิ้น ในสั งคมไทยยุ คก อนๆ จะเห็ นได ชั ดว า ความสั มพั นธ ระหว าง ผูปกครองกับผูใตปกครองจะเปนแบบอาจารยกับศิษย เชน เจาอาวาส เรา เรียกวา “อาจารย” คือผูที่สอน แนะนํา ชวยใหเกิดการเรียนรูและฝกฝน ตางๆ ดังที่เรายังเรียกเจาอาวาส ติดมาถึงปจจุบันนี้วาเปนอาจารย ทั้งๆที่ เดี๋ยวนี้ทานไมคอยไดทําหนาที่นั้นแลว เพราะสังคมวิปลาสคลาดเคลื่อน ไป ความจริงนั้น การศึกษานั่นแหละครอบคลุมการปกครองอยในตัว กลาวคือ ในความสัมพันธระหวางอาจารยกับศิษยนั้น เมื่อ อาจารยสอน และศิษยเปนผูไดรับความรู อาจารยก็กลายเปนผูปกครองโดยมีลูกศิษย เปนผูใตปกครอง การปกครองของอาจารย ก็คือการคอยดูแลใหศิษยอยู ในความดีงาม และฝกฝนเพื่อความดีงามยิ่งขึ้นไป เขากับหลักการที่วา การปกครองในความหมายของพระพุ ทธศาสนาเปนการปกครองเพื่ อ การศึ ก ษา และในที่ สุ ด การปกครองก็ เ ป น เรื่ อ งของการศึ ก ษา ด ว ย การศึกษา และเพื่อการศึกษา ดังที่เห็นกันอยูวา อาจารยปกครองศิษยดวย การศึกษา ซึ่งเปนการปกครองในตัว ดวยความสัมพันธระหวางครูกับ


๑๐๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

ศิษย ที่มีความเคารพเปนหลักประกัน ทําใหมีความเชื่อถือและเชื่อฟง ดวยดี ถาไมปกครองดวยการศึกษาอยางนี้ ก็ตองปกครองดวยอํานาจ เมื่อ ปกครองดวยอํานาจก็เกิดความรูสึกในเชิงปฏิปกษ ที่เอียงไปในทางที่จะ ขัดแยงกัน เชน ในการปกครองสงฆปจจุบันนี้ เมื่อการศึกษาเสื่อมโทรม ลง ก็ ต องหั น ไปเน นการปกครองด วยอํ านาจ เจ าอาวาสมี อํ านาจเป น ผูปกครอง มีกฎเกณฑขอบังคับเปนเครื่องมือ พระลูกวัดอยูใตปกครอง ตองทําตาม ผูใตปกครองเหลานั้นไมมองวาผปกครองคือผเอื้อโอกาสเพื่อการ พัฒนาชีวิตของตน แตมองวา ผูปกครองคือผูมาคอยบังคับ คอยกีดกั้นเขา จากสิ่งที่ตองการจะทํา จึงมีความรูสึกแบบเปนปฏิปกษกัน ดวยเหตุนี้ การปกครองแบบใชอํานาจจึงกอใหเกิดปญหา เริ่มตั้งแตเกิดความขัดแยง ในจิตใจเปนตนไป ทําใหยิ่งตองเพิ่มการใชอํานาจ ใชอาญา และจะเนน การลงโทษมากยิ่งขึ้นตามลําดับ ไมใชเปนการปกครองแบบพยายาม สรางคนดี แตเปนการปกครองแบบพยายามกําจัดคนเลว การปกครองในทางบ านเมื องที่ เป นแบบนี้ ก็ จะเป นเช นเดี ยวกั น กล าวคื อ เมื่ อหลั กการเพื่ อจุ ดหมายที่ แท เลื อนหายไปแล ว ทุ กอย างก็ จะ วิปลาสไปหมด ดังนั้น การปกครองในสมัยนี้ของพระสงฆ เราจึงเห็นวาไมคอย ไดผล เพราะไดกลายมาเปนการปกครองเพื่อการปกครอง คือปกครอง แบบใชอํานาจ พระลูกวัดจะมีความรูสึกตอเจาอาวาสแบบเปนปฏิปกษ อยางนอยก็รสึกวาเปนผูขัดขวางผลประโยชนที่ตองการ แลวใจก็ไมรับ ความสัมพันธที่ดีก็ไมมี เพราะฉะนั้น ก็จะมีความรูสึกในทางที่อยากจะ หรือหาทางที่จะละเมิดอยูเสมอ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๐๙

ถ า จะเอาระบบที่ ถู ก ต อ ง จะต อ งร ต ระหนั ก ในหลั ก การว า การศึกษาคือเนื้อหาสาระของชีวิตแหงความเปนพระภิกษุ การปกครอง เป น เครื่ อ งมื อ รั บ ใช ก ารศึ ก ษา คื อ เป น การจั ด ระบบความเป น อย ความสัมพันธและสภาพแวดลอมใหเอื้อตอการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตให เขาถึงความดีงามและประโยชนสุขที่สูงขึ้นไป เมื่อครูอาจารยปกครอง ลูกศิษย ก็เปนการปกครองดวยการศึกษา และเพื่อการศึกษา เราอาจจะเลี ย นศั พ ท ข องประชาธิ ป ไตยที่ บ อกว า ระบอบ ประชาธิ ป ไตย คื อ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่ อ ประชาชน แลวเราก็พูดวา ในพระพุทธศาสนา การปกครอง คือการ ปกครองที่ เ ปน เรื่ องของการศึ ก ษา ด ว ยการศึ ก ษา และเพื่ อ การศึ ก ษา หลักการนี้ชัดเจนมาก การที่เราจัดระบบการปกครองดวยวินัย หรือดวย กฎหมาย ก็เพื่อเอื้อตอชีวิตบุคคลที่เขาจะไดพัฒนา เรียนรู มีการศึกษา เพิ่มขึ้น เพื่อใหสามารถเขาถึงชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป รวมความวา วินัย มีความหมาย • ทั้งในแงบุคคล วาเปนเครื่องฝกตัวของบุคคลนั้นเอง คือเมื่อ บุ ค คลนั้ น นํ า หลั ก การนี้ ม าประพฤติ ป ฏิ บั ติ วิ นั ย ก็ เ ป น เครื่องมือของเขาในการที่จะไดเรียนรูฝกฝนพัฒนาชีวิตของ ตนเอง และ • ในทางสังคม วาเปนการสรางสภาพเอื้อตอการพัฒนาชีวิต ที่ ทั้งตัวเขาเองและคนอื่นมีสวนรวมไดประโยชนดวยกัน เป น อั น ว า ได ค วามหมาย ๒ อย า ง ดั ง นั้ น วิ นั ย ในทาง พระพุทธศาสนา จึงแปลวา การฝก หรือการนําไปใหวิเศษ และโดยนัยนี้ ตามความหมายในพระพุทธศาสนา กฎหมายจึงเปนเครื่องฝกมนุษยหรือเปน เครื่องมือพัฒนาชีวิต


๑๑๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

ถ า เราไม ม องวิ นั ย และกฎหมายเป น เครื่ อ งฝ ก แล ว คนจะมอง กฎหมายและวินัยในความหมายอยางไร อยางแรกที่จะมองคือ มองเปน เครื่องบังคับหรือบังคับควบคุม ถาพลเมืองมองกฎหมายเปนเครื่องบังคับเมื่อไร ก็เรียกวาฐานเสีย เมื่อนั้น เพราะคนจะมีความรสึกขัดแยง (เชนขัดแยงตอความสะดวกสบาย ขัดแยงตอความพอใจชอบใจสวนตัว ตลอดจนขัดขวางผลประโยชนของ ตัว) ฝนใจ และจึงมีความคิดโนมไปสูการที่จะละเมิดอยูเสมอ

มีกฎหมายไวจัดการปกครอง เพื่อทําใหเกิดสังคมดี ทีค่ นมีโอกาสพัฒนาชีวิตทีด่ ีงาม ในทางพุทธศาสนานั้น ฐานเบื้องแรกคือการเริ่มจากจุดที่มองวา วินัยเปนเครื่องฝกมนุษย หรือเปนเครื่องพัฒนาชีวิต เพราะการที่เขามาอยู รวมชุมชนนี้ ก็คือการที่จะไดสภาพความเปนอย สิ่งแวดลอม บรรยากาศ และโอกาสจากระเบียบและระบบการทุกอยาง ที่จะชวยเกื้อหนุนการ เรี ย นรู ฝ ก ศึ ก ษาพั ฒ นาตั ว เราทุ ก คนให เ ข า ถึ ง ชี วิ ต ที่ ดี ง ามยิ่ ง ขึ้ น เพราะฉะนั้น วินั ย จึง เปนเครื่ องฝกตน พรอมทั้งเปน เครื่องชวยให ได สภาพแวดลอมและระบบการอยูรวมกันที่เอื้อตอการฝกตัวนั้น นี่เปนการ มองมนุษยในฐานะเปนสัตวผูตองศึกษาดังที่กลาวมาแลว ถึงตอนนี้ ขอใหยอนกลับไปมองความหมายขอที่ ๓ ของวินัย ที่ หมายถึงการปกครอง ที่ไดกลาวไววา “ชั้นที่ ๓ คือ ก) การใชระเบียบและระบบที่จัดวางขึ้นนั้นเปน เครื่องมือสรางโอกาสใหคนพัฒนาชีวิตใหดียิ่งขึ้น หรือการชักนําดูแลให คนใชระเบียบและระบบนั้นเปนเครื่องมือ(ที่จะชวยกันทําใหสังคมเปน แหลงอํานวยโอกาสในการ)พัฒนาชีวิตของตน หรือ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๑๑

ข) การใช ร ะเบี ย บและระบบที่ จั ด วางขึ้ น นั้ น เป น เครื่ องมื อบั งคั บควบคุ มคนให อย ในความสงบเรี ยบร อย หรื อการบั งคั บ ควบคุมคนใหเปนอยและประพฤติปฏิบัติดําเนินกิจการตามระเบียบและ ระบบที่จัดวางขึ้นนั้น” ตามที่กลาวมาจะเห็นวา การปกครองที่แทถูกตองตามหลัก คือขอ ก) ที่วาเปนการใชระเบียบและระบบที่จัดวางขึ้นนั้น เปนเครื่องมือ เสริมสรางโอกาสใหคนพัฒนาชีวิตใหดียิ่งขึ้น ซึ่งเปนการปกครองที่เปน เครื่องมือของการศึกษา หรือเปนการปกครองที่เอื้อหรือนําคนใหพัฒนา ชีวิตสความดีงาม แตคนจํานวนมากมักมองการปกครองตามความหมายในขอ ๓. ข) ที่วา เปนการบังคับควบคุมคนใหอยในความสงบเรียบรอย หรืออยาง นอยก็ควบคุมคนใหปฏิบัติตามระเบียบระบบนั้นๆ ซึ่งเปนการปกครอง แบบเนนอํานาจ และเปนการปกครองที่เปนจุดหมายในตัวของมันเอง ซึ่ ง มิ ใ ช เ ป น การปกครองที่ ถู ก ต อ ง จั ด เป น การปกครองแบบกิ จ การ ชํานาญพิเศษเฉพาะทาง ไมชวยเชื่อมโยงไปสจุดหมายที่ดีงามสูงขึ้นไป ถ า การปกครองเป น การบั ง คั บ ควบคุ ม คนให อ ย ใ นระเบี ย บ กฎหมายก็เปนเครื่องมือบังคับควบคุมคน ถาการปกครองเปนการชักนําดูแลชวยเสริมสรางโอกาสใหคนฝก ศึกษาพัฒนาตน หรือสรางสภาพเอื้อตอการฝกศึกษาพัฒนาตนของคน กฎหมายก็เปนเครื่องมือสรางสรรคสภาพเอื้อตอการพัฒนาชีวิตของคน รวมทั้งเปนเครื่องมือฝกศึกษาพัฒนาตนของแตละคน เมื่อเราแยกวินัยออกมาเปนขอๆ จะยิ่งเห็นความหมายนี้ชัดเจน วินัยเปนชื่อรวม ซึ่งอาจจะเทียบไดกับคําวาประมวลกฎหมาย วินัยไมใช กับขอบัญญัติแตละขอ บทบัญญัติแตละขอไมเรียกวาวินัย บางครั้งเรา อาจสับสน วินัยเปนศัพทเอกพจน ไมมีการใชเปนพหูพจน นอกจากแยก


๑๑๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

เปนระบบหรือแบบแผนใหญๆคนละอยาง เชน วินัยของภิกษุ และวินัย ของภิกษุณี วินัย คือระบบทั้งหมด ซึ่งตองประสานเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน บน ฐานแหงธรรมคือความจริงของกฎธรรมชาติ ตามที่ไดกลาวไปแลว ระบบนี้ แยกย อยออกไปเป นข อๆ คล ายกั บมาตราในกฎหมาย แต ละข อเรี ยกว า “สิกขาบท” คําวา “สิกขาบท” นั้นบอกทัศนะของพระพุทธศาสนาในเรื่อง นิติศาสตรชัดเจน สิกขาบท คือ สิกขา + บท บท คือขอ และ สิกขา คือศึกษา สิกขาบท จึงแปลวา ขอศึกษา หรือ ขอฝก กฎแตละขอที่บัญญัติขึ้นมาใน วินัยเปนขอศึกษาทั้งสิ้น ถาพระภิกษุเรียนรูพระพุทธศาสนาอยางถูกตอง จะตองมองกฎ หรือพุทธบัญญัติตางๆไมใชเปนขอบังคับ แตตองมองในความหมายวา เป น ข อ ฝ ก ตน หรื อ เป น ข อ ศึ ก ษา คื อ เป น สิ ก ขาบท คล า ยๆกั บ เป น แบบฝกหัด (ในภาษาปจจุบัน) ขอกําหนดทุกอยางในวินัยเปน สิกขาบท คือขอฝกตนทั้งสิ้น แมแตหลักความประพฤติที่ใหคฤหัสถปฏิบัติ ที่เรียกวา “ศีล” ก็ เปนคําที่เรียกกันตามภาษาชาวบาน ไมเปนทางการ ถาสังเกตจะเห็นวา เวลาที่โยมขอศีล จะกลาววา “ปญจะ สีลานิ ยาจามะ” แตเวลาที่พระให พระจะสรุปวา อิมานิ ปญจะ สิกขาปทานิ, สีเลนะ สุคะติง ยันติ เปนตน ซึ่งฟองชัดวา ศีล เปนคําที่ชาวบานเรียก แตพระเรียกวา สิกขาบท โยมขอ ศีล พระใหสิกขาบท (โยมขอศีล พระบอกใหตั้งใจถือปฏิบัติเอาแลวจะ เกิดเปนศีลขึ้นในตัวเอง) ขอใหสังเกตสิกขาบทแตละขอ เชนวา ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ แปลวา ขาพเจาขอรับถือปฏิบัติขอฝกขอศึกษา


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๑๓

ที่จะเวนจากการทําลายชีวิต อะทินนาทานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยา มิ แปลวา ขาพเจาขอรับถือปฏิบัติขอฝกขอศึกษาที่จะงดเวนจากการ ถือเอาของที่เขาไมไดให ดังนี้เปนตน ทุกขอเปน สิกขาบท หมายความวา พระพุทธศาสนามองมนุษยเปนสัตวที่ตองศึกษา เพราะฉะนั้น มนุษยจะมี ชีวิตที่ดีงามไดก็ตองฝก ตองศึกษา สิกขาบททั้ง ๕ ที่เรียกกันวาศีล ๕ ขอ นี้ เปนขอปฏิบัติสําหรับฝกฝนพัฒนาตนเพื่อใหชีวิตดีงามยิ่งขึ้น ไมใช ขอบังคับ เปนอันวา วินัยแยกยอยออกเปนขอๆ เรียกวา “สิกขาบท” นี้คือขอ บงชั ดว า เรามองวินั ย ตัวบทกฎหมาย บทบัญ ญัติ ตางๆ เปน เรื่องของ การศึกษาหรือการพัฒนาชีวิตของมนุษยทั้งสิ้น เมื่อใดเราปฏิบัติตามสิกขาบทไดแลว ตั้งอยูในวินัย จึงจะเปนผูมี ศีล ศีลคือคุณสมบัติของคนที่ปฏิบัติตามวินัย หมายความวา ศีลเกิดขึ้นที่ ตัวคนเมื่อเขาปฏิบัติตามหรือตั้งอยูในวินัย ในภาษาไทยเวลานี้สับสนมาก วินัยกับศีลก็แยกกันไมออก ศีลกับ สิกขาบทก็ใชกันสับสน วินัย คือการจัดตั้งวางระบบและระเบียบแบบแผน กับทั้งตัวบท กฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑกติกา ที่เปนขอกําหนดในการจัดตั้ง รวมทั้ง การจัดการใหคนประพฤติปฏิบัติ หรือใหกิจการดําเนินไปตามตัวบท กฎหมายเปนตนนั้น เมื่อคนตั้งอยในวินัย โดยปฏิบัติตามสิกขาบท ก็เปนผูมีศีล ศีลจึง เปนคุณสมบัติของคน เปนสภาพการฝกฝนพัฒนาที่อยูในตัวคน สรุปอีกครั้งหนึ่งวา วินัย เปนระเบียบชีวิตและระบบกิจการของ สั ง คมมนุ ษ ย ที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น มาด ว ยปรี ช าญาณที่ เ ข า ถึ ง ความจริ ง ของกฎ ธรรมชาติ เพื่ อ ให ม นุ ษย ไ ด ป ระโยชน จ ากธรรมคื อ ความจริ ง ของกฎ ธรรมชาตินั้นและจะไดมีชีวิตที่ดีงาม วินัยจึงตองตั้งอยูบนฐานของความ


๑๑๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

เขาใจในความจริงนั้น และการที่มนุษยจะเขาถึงความดีงามนี้ได มนุษย จะตองเรียนรู ตองฝกหัดพัฒนาตน วินัยเปนเครื่องมือพัฒนา ที่จะนําพา มนุษยใหเขาถึงธรรม และไดประโยชนจากธรรมนั้น ถามองเชนนี้ ก็จะเห็นความหมายของวินัยดีขึ้น

กระบวนวิธีในการบัญญัติขอกฎหมาย กฎหมายโดยหลักการ กับกฎหมายโดยบัญญัติ เมื่อพระพุทธเจาจะทรงบัญญัติสิกขาบทแตละขอ ที่มารวมกันเปน วินัยนี้ พระองคตรัสแสดงวัตถุประสงคทุกครั้งวา ที่ทรงบัญญัติสิกขาบท คื อ ข อ ฝ ก หรื อ กฎแต ล ะข อ นี้ เพื่ อ อะไร ซึ่ ง ได แ ก วั ต ถุ ป ระสงค ๑๐ ประการ (วินย.๑/๒๗; องฺ.ทสก.๒๔/๓๑) จัดไดเปน ๕ หมวด คือ ๑. เพื่อประโยชนแกสงฆหรือสวนรวม ๒. เพื่อประโยชนแกตัวบุคคล ๓. เพื่อประโยชนแกชีวิตของมนุษย ๔. เพื่อประโยชนแกประชาชนทั่วไปในสังคมใหญที่แวดลอม ๕. เพื่อประโยชนแกตัวพระศาสนา ทั้ง ๕ หมวดนี้แยกยอยเปนหมวดละ ๒ ขอ ดังนี้ ๑. เพื่อประโยชนแกสงฆหรือสวนรวม ๑.๑ “สังฆสุฏุตายะ” เพื่อความยอมรับวาดีแหงสงฆ คือ เพื่อ ความดีงามของสถาบันสงฆทั้งหมดโดยสวนรวม ที่จะมีความเรียบรอย อยูกันดวยดี ดวยการตั้งวินัยขึ้นมาบนฐานแหงการยอมรับรวมกัน ที่วา “ยอมรับวาดีแหงสงฆ” หมายความวา พระพุทธเจาไมใชวิธีบังคับขืนใจ แตทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อผลดีรวมกัน และโดยความยอมรับรวมกัน ๑.๒ “สังฆผาสุตายะ” เพื่อความผาสุกแหงสงฆ ไมใชเฉพาะแต อยูเรียบรอยดี ตองอยูสบายดวย และเปนความสบายของสวนรวม


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๑๕

๒. เพื่อประโยชนแกตัวบุคคล ๒.๑ เพื่อกําราบคนหนาดาน (ทุมมังกุ = ผูเกอยาก) ๒.๒ เพื่อความอยูผาสุกของภิกษุผูมีศีลเปนที่รัก พูดสั้นๆวา เพื่อสงเสริมคนที่ประพฤติดี และกําราบคนที่ประพฤติ ชั่ว หรือเพื่อปดชองคนราย-ใหโอกาสคนดี ๓. เพื่อประโยชนแกชีวิตของมนุษยเอง คือคํานึงถึงผลดีและ ผลรายที่จะเกิดกับชี วิตของมนุ ษย เชน เรื่องความดี ความชั่ว เปนต น โดยมงที่จะสรางสภาพเอื้อตอชีวิตที่ดีงาม ๓.๑ เพื่อปดกั้นผลเสียหายที่จะเกิดในปจจุบัน ๓.๒ เพื่อปองกันผลเสียหายที่จะเกิดในอนาคต ๔. เพื่อประโยชนแกประชาชนทั่วไป คือ เพื่อผลดีแกจิตใจของ ประชาชน ทําใหคนมีจิตใจผองใสดวยอาศัยความดีงามของพระสงฆเปน สื่อ ๔.๑ เพื่อความเลื่อมใสของประชาชนที่ยังไมมีความเลื่อมใส ๔.๒ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งๆขึ้นไปของประชาชนที่มีความเลื่อมใสอยู แลว สองข อ นี้ มุ ง เพื่ อ ประโยชน แ ก ป ร ะชาชนเอง เพราะว า ความสัมพันธระหวางพระศาสนากับประชาชนมีจุดเริ่มตนอยูที่ทําใหเขา มีจิตใจที่สงบ แชมชื่น สบาย ผองใส เกิดศรัทธา มีปติและความสุข เปน กุศลพื้นฐานที่จะนําไปสูคุณความดีที่สูงยิ่งขึ้นไป ๕. เพื่อประโยชนแกตัวพระศาสนา ๕.๑ เพื่อใหสัทธรรม คือธรรมที่แท หรือหลักการที่แทของพระ ศาสนา ดํารงอยูไดมั่นคงยั่งยืน


๑๑๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

๕.๒ เพื่ออนุเคราะหวินัย คือ เพื่อชวยค้ําจุนใหระเบียบแบบแผน และระบบการตางๆ เกิดมีผลในการปฏิบัติตามหลักการอยางหนักแนน มั่ น คง เป น ไปตามวั ต ถุ ป ระสงค อ ย า งยั่ ง ยื น (เพื่ อ ให วิ นั ย เกิ ด ผลสม วัตถุประสงค) แตละครั้งที่พระพุทธเจาบัญญัติสิกขาบท พระองคจะทรงแถลง วัตถุประสงคเหลานี้ทุกครั้ง เพราะฉะนั้น จะขอเลาวิธีบัญญัติสิกขาบท ในพระวินัยของพระพุทธเจา (วินัยคือรวมสิกขาบททั้งหมด) กลาวตามวิวัฒนาการในสังฆะ เมื่อสงฆคือชุมชนของพระภิกษุยัง เล็กอยู (เมื่อพระพุทธเจาตั้งสงฆใหมๆ) บุคคลที่เขามาในตอนแรกรูชัด ในวัตถุประสงคของชีวิตและการอยูรวมกันในสังคมนี้วา เราเขามาเพื่อ จะพัฒนาชีวิต ดวยการเรียนรู และฝกตนในไตรสิกขา เพื่อเขาถึงชีวิตที่ดี งามที่ ป ระเสริ ฐ ตามหลั ก การของพระพุ ท ธศาสนาที่ ถื อ ว า มนุ ษ ย จ ะ ประเสริฐดวยการฝก ถาไมฝกหาประเสริฐไม ผูที่ฝกแลวหรือศึกษาแลว เปนผูประเสริฐสุด แมยิ่งกวาเทพเจา หลักการของพระพุทธศาสนามีอยางไร ผูเขามารูตระหนักชัดเจน อยูแลว ดังนั้น สังฆะในระยะแรกจึงดํารงอยโดยไมมีกฎหรือขอบังคับ วินัยมีอยูโดยหลักการอยางเปนไปเอง วินัยมีอยูแลวทั้งๆที่ไมมีสิกขาบท มีแตเพียงหลักการ และขอนัดหมาย หรือขอหมายรรวมกันตามหลักการ นั้น ใหตั้งขอสังเกตวา วินัย ไมจําเปนตองมีสิกขาบท คือมีระบบแบบ แผนโดยไมตองมีขอบัญญัติ หรือมีการปฏิบัติตามหลักการโดยไมตองมี ขอกําหนด ตอนแรกมีวินัยโดยไมตองมีสิกขาบท พระก็อยูกันไดดวยดี โดย ถือหลักการ ปฏิบัติไปตามหลักการ มีหลักการเปนเครื่องรักษาควบคุม ดังปรากฏวา ในวันอุโบสถ เมื่อภิกษุทั้งหลายประชุมกัน พระพุทธเจาก็


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๑๗

ทรงแถลงหลั ก การของพระพุ ท ธศาสนา เป น การทบทวนว า พระพุทธศาสนามีอุดมการณอยางนี้ มีหลักการอยางนี้ (พูดสั้นๆ วา มีแต โอวาทปาติโมกข คือหลักการแมบท ไมมีอาณาปาติโมกข คือกฎหมาย แมบท) ทรงปฏิบัติเชนนี้ตลอดมาเปนเวลาประมาณ ๒๐ ป จนกระทั่ง เมื่อมีการบัญญัติสิกขาบทแลว จึงทรงบัญญัติใหภิกษุทั้งหลายประชุมกัน ทบทวนตรวจสอบความประพฤติดวยสิกขาบทเหลานั้น (พูดสั้นๆ วา ตอจากนั้นจึงมีอาณาปาติโมกข) (องฺ.อฏก.๒๓/๑๑๐/๒๐๗; วินย.อ.๑/๒๑๒, ๒๑๔, ๒๔๘; อุ.อ.๓๑๙)

ขอยกตัวอยางหลักการใหญๆ เชนที่เรานํามาสวดกันวา “ไมทําชั่ว ทําความดี ทําจิตใจใหผองใส” หรือ “นิพพานเปนบรมธรรม” หรือ “บรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีลักษณะสําคัญคือเปนผูไมทํารายใคร ไม เบียดเบียนใคร” หลักการเหลานี้พระพุทธเจาทรงแถลงทบทวนกับที่ ประชุ ม ของพระสงฆ โดยไม มี ข อ บั ญ ญั ติ ย อ ยละเอี ย ดลงไปเป น กฎ ข อ บั ง คั บ ที่ จ ะลงโทษแก ผ ทํ า ผิ ด พระสงฆ ใ นระยะแรกอยู กั น ด ว ย หลักการ ความเปนมาของการที่จะบัญญัติสิกขาบทมีเรื่องราวที่นาสนใจวา (วินย.๑/๗-๘) ครั้งหนึ่งพระสารีบุตรซึ่งเปนอัครสาวกของพระพุทธเจา ได ทูลถามพระพุทธเจาเกี่ยวกับศาสนาของพระพุทธเจาในอดีตที่พูดถึงใน ขณะนั้น ซึ่งมีพระพุทธเจาที่ออกพระนาม ๕ พระองค พระสารีบุตรทูลถามวา ศาสนาของพระพุทธเจาพระองคไหนที่ มั่นคงยั่งยืน ของพระองคไหนไมมั่นคงยั่งยืน พระพุทธเจาตรัสตอบวา ศาสนาของพระวิปสสี พระสิขี และพระเวสสภู ตั้งอยูไมนาน ไมมั่นคง ยั่งยื น แต ศาสนาของพระกกุ สันธะ และพระโกนาคมนะ ตั้ งอยู มั่นคง ยั่งยืนยาวนาน


๑๑๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

พระสารี บุ ต รทู ล ถามต อ ไปว า เพราะเหตุ ใ ดศาสนาของ ๓ พระองคแรกจึงไมมั่นคงยั่งยืน และเพราะเหตุใดของ ๒ พระองคหลังจึง มั่นคงยั่งยืน พระพุทธเจาตรัสเฉลยวา เพราะวา พระพุทธเจา ๓ พระองค ที่ออกพระนามมาขางตนนั้น ไมคอยจะไดทรงสั่งสอน และมีคําสอนที่ เปนหลักการตางๆนอย อีกทั้งไมไดทรงบัญญัติสิกขาบทไว และไมไดมี การประชุมทบทวนประมวลบทบัญญัติที่เรียกวา “ปาติโมกข” ตางจาก ศาสนาของพระพุทธเจา ๒ พระองคหลัง ซึ่งมีคําสั่งสอนมาก มีการบัญญัติ สิกขาบท คือตราขอกฎหมายไวเปนแบบแผน เรียบรอย พระพุท ธเจ าทรงเปรีย บเทีย บวา พระภิ กษุ ทั้งหลายมาจากชาติ ตระกูลต างๆกั น ภู มิหลังตา งๆกัน เหมือนกับดอกไมนานาพั นธุ ที่เ ขา นํามาวางบนพื้นกระดาน ถาไมไดรอยไวดวยเสนดาย ลมมาก็พัดกระจุย กระจาย แตถาเอาดายรอยไวก็จะคุมกันอยู แมลมพัดมาก็จะไมกระจุย กระจาย สําหรับพระพุทธเจาพระองคนี้ เวลานั้นมีหลักคําสอนมากแลว แต ยังไมไดบัญญัติสิกขาบท พูดงายๆวากฎหมายยังไมมี พระสารีบุตรจึงทูล อาราธนาวา ถาเชนนั้น เพื่อจะใหพระศาสนาของพระองคในบัดนี้ มั่นคง ยั่งยืนตอไป ขอใหพระองคทรงบัญญัติสิกขาบท พระพุทธเจาตรัสตอบ วา “ยังไมถึงเวลา” พระพุทธเจาทรงทราบดีวาเมื่อใดจะถึงเวลา คือเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น มี ขอเสียหายเกิดขึ้น จึงจะทรงบัญญัติสิกขาบท และขอเสียหายตางๆ นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อ สังฆะนี้ ๑. ตั้งมาไดเปนเวลายาวนานพอสมควร ๒. ขยายตัวใหญโตขึ้น ๓. มีผลประโยชนเกิดมากขึ้น


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๑๙

เมื่อนั้นแหละจะเกิดปญหามีขอเสียหายขึ้นมา และจะทรงบัญญัติ สิ กขาบท นี้ เ ป น แนวทั ศนะอย างหนึ่ ง ของพระพุ ท ธศาสนาที่ เ กี่ย วกั บ นิติศาสตร ผลประโยชนเปนเรื่องใหญที่พระพุทธเจาทรงเนนความสําคัญ นี่ คือเรื่องของมนุษย แมแตในพระสูตรที่ตรัสถึงการปกครองของมนุษย ก็ ตรัสวา แตเดิม มนุษยยังไมมีการปกครอง ตอมามีผูคนจํานวนมากขึ้น และมีผลประโยชนเกิดขึ้น ซึ่งในยุคแรกเปนเรื่องของพืชผลในที่ดิน จึงมี การจั ด แบ ง สรรป น เขตที่ ดิ น และต อ มาก็ เ กิ ด มี ก ารขั ด แย ง แย ง ชิ ง ผลประโยชนในที่ดินนั้น จึงมีการตั้งผูปกครองขึ้นมา ด ว ยเหตุ นี้ ในพระพุ ท ธศาสนาจึ ง เล า ประวั ติ ก ารเกิ ด ขึ้ น ของ ผูปกครอง โดยถือเปนเรื่องของวิวัฒนาการในสังคมมนุษย (ที.ปา.๑๑/๖๑๖๓/๙๙–๑๐๑) ตางจากในศาสนาพราหมณที่ถือวา พระพรหมเทพเจาจัดตั้ง กํ า หนดผู ป กครองมาให และเมื่ อ มี ก ารปกครอง ก็ ต อ งมี ก ฎเกณฑ ข อ บั ง คั บ อย า งน อ ยก็ คื อ ข อ ตกลงกั น จึ ง มี สิ่ ง ที่ เ รี ย กว า กฎหมาย (กฎหมายนี้ศาสนาพราหมณก็วาเปนบัญญัติของพระพรหมเชนกัน) ขอกําหนดของกฎหมาย หรือสิกขาบทในวินัย ทานบัญญัติไวก็ เพื่อใหไดผลตามหลักการ ดังวัตถุประสงคทั้ง ๑๐ ประการ ที่กลาวแลว ขางตน ซึ่งพูดไดวา ขอสุดทาย คือ ขอ ๑๐ เปนขอที่คุมและคลุมทั้งหมด วัตถุประสงคขอที่ ๑๐ ตามคําบาลีวา “วินยานุคฺคหาย” แปลวา เพื่ อ อุ ด หนุ น หรื อ ค้ํ า จุ น วิ นั ย หมายความว า บั ญ ญั ติ สิ ก ขาบท คื อตรา กฎหมายขึ้น ก็เพื่อค้ําจุนระบบที่จัดตั้งไว หรือพูดอีกความหมายหนึ่งวา เพื่อเกื้อหนุนการปกครอง เมื่อผลเปนไปตามวัตถุประสงคทั้ง ๑๐ ประการนั้น ก็จะเกิดสภาพ เอื้ อ โอกาสและเกื้ อ หนุ น ให ส มาชิ ก ทุ ก คนของสั งคม/สั ง ฆะ สามารถ พัฒนาชีวิตสความดีงามและประโยชนสุขที่สูงยิ่งขึ้นไป ดังกลาวขางตน


๑๒๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

หันกลับมาพูดเรื่องการบัญญัติสิกขาบทวา ตอมามีเหตุไมดีไมงาม เกิดขึ้นซึ่งพระสงฆและประชาชนติเตียน พระพุทธเจาจึงทรงเริ่มบัญญัติ สิ ก ขาบท ในการบั ญ ญั ติ สิ ก ขาบทแต ล ะข อ หรื อ แต ล ะมาตรานี้ พระพุทธเจาทรงปฏิบัติตามลําดับทํานองนี้ คือ ๑. มีพระภิกษุทําเรื่องเสียหายเกิดขึ้น ๒. ประชาชนหรือพระสงฆกลาวติเตียนวาเปนสิ่งเสียหาย ไมดีไม งามแลว เรื่องมาถึงพระพุทธเจา พระสงฆ เ องถื อ เป น หน า ที่ พอได ยิ น ประชาชนโจษขานว า พระองคนั้นองคนี้ประพฤติไมเหมาะ ก็จะมีพระนําความมากราบทูล พระพุทธเจา พระพุทธเจาก็ทรงเรียกประชุมสงฆ ใหพระภิกษุทั้งหลาย มาประชุมกัน และเรียกตัวบุคคลที่ทําความผิดเสียหายนั้นมาซักถามในที่ ประชุม เมื่อ ยอมรับวาเปนความจริงแลว พระพุทธเจาจะทรงชี้แจงโทษ ความเสียหายวาการกระทํานั้นไมดีไมถูกตองอยางไร ขัดกับหลักการ ของพระพุทธศาสนาอยางไร เมื่อชี้แจงเสร็จแลวจึงตรัสวาจะทรงบัญญัติ สิ ก ขาบท โดยทรงแถลงวั ต ถุ ป ระสงค ๑๐ ประการในการบั ญ ญั ติ สิกขาบท แลวจึงทรงบัญญัติสิกขาบท วา “ภิก ษุ ทั้ง หลาย เธอทั้ง หลายพึงยกสิ กขาบทขึ้ น แสดง (เปนหลักอางอิง) ดังนี้วา . . .” โดยนัยนี้จึงเกิดเปนขอบัญญัติที่เรียกวาสิกขาบท ขึ้นมาทีละขอ สิกขาบทแตละขอนั้ นมีบัญญัติ ตนเดิมก อน หากต อมาปรากฏว ายังไม เหมาะเชนควรมีขอยกเวน และจะทรงปรับปรุงหรือแกไขเพิ่มเติม ก็ทรง เรียกประชุมสงฆอีก แลวตรัสชี้แจงเหตุที่เกิดขึ้น และปรับแกสิกขาบท นั้นใหม


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๒๑

การบัญญัติครั้งแรก เรียกวา มูลบัญญัติ หรือบัญญัติเดิม สวนขอ แกไขเพิ่มเติม เรียกวา อนุบัญญัติ สิกขาบทบางสิกขาบทจึงมีทั้งมูล บัญญัติและอนุบัญญัติ และอนุบัญญัตินั้นอาจจะมีหลายครั้งดวย ขอยกตั ว อย า งเช น ครั้ ง หนึ่ ง พระภิ ก ษุ เ ดิ น ทางไปกั บ ภิ ก ษุ ณี ประชาชนติเตียนวา พระเดินทางไปกับภิกษุณี สงสัยวาจะเปนสามีภรรยา กัน ชาวบานโจษขานกันไป ติเตียนใหเสียหาย พระพุทธเจาทรงเรียก ประชุมสงฆและดําเนินขั้นตอนตามแบบแผน แลวทรงบัญญัติสิกขาบท วา ไมใหพระภิกษุเดินทางไกลไปไหนกับภิกษุณี นี้เปน มูลบัญญัติ ตอมาปรากฏวา เมื่อมีการเดินทาง ภิกษุไมยอมเดินทางรวมกับ ภิกษุณี และเมื่อแยกกันเดินทาง ภิกษุณีถูกประทุษราย เกิดปญหาเปน เรื่ องมาถึ งพระพุ ท ธเจา ก็ท รงประชุมสงฆ และทรงบั ญญัติ สิ ก ขาบท แกไขเพิ่มเติมจากมูลบัญญัติวา ไมใหเดินทางรวมกัน เวนแตสมัย คือ เมือ่ มีเหตุอันสมควร ไดแก หนึ่ง เดินทางไปกับกองคาราวาน สอง มีภัย อันตราย (วินย.๒/๔๕๒/๒๙๐) ขอที่บัญญัติแกไขเพิ่มเติมใหมนี้เรียกวา อนุ บัญญัติ

กฎหมายที่แทประสานประโยชนของบุคคลกับสังคม และประสานสมมติของมนุษย เขากับความจริงแทของธรรมชาติ ขอย้ําวา วินัยที่เราเรียกวากฎหมายนั้น ไมถือความเปนระเบียบ เรียบรอยหรือความสงบเรียบรอยเปนจุดหมาย แตเปนการสรางสภาพเอื้อ คือ เพื่อใหมีความสงบเรียบรอย ที่จะชวยเกื้อหนุนใหบุคคลแตละคนมี โอกาสพัฒนาชีวิตสูจุดหมายที่ดีงามยิ่งๆขึ้นไป คือ เปนการสรางสภาพ เอื้อตอการศึกษานั้นเอง


๑๒๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

เพราะฉะนั้น เราจึงพูดวา การที่มีกฎหมายหรือมีวินัยนี้ ก็เพื่อเปน เครื่องสรางสภาพเอื้อตอการที่คนจะพัฒนาตน คือพัฒนาความสามารถที่ จะมีชีวิตที่ดี เพราะเราถือวา มนุษยเปนสัตวที่ตองเรียนตองศึกษา ไมใชวา มนุษยจะมีชีวิตที่ดีไดเลยทันที และยิ่งกวานั้น ยังมีคุณคาดีงามสูงสงขึ้น ไปที่ชีวิตมนุษยควรจะไดจะถึงยิ่งขึ้นไปๆ อีก เปนอันวา การตั้งกฎเกณฑ หรือกติกาสังคมนี้ ๑. เพื่อสรางสภาพที่มนุษยจะอยูกันดวยความสงบเรียบรอยเปนอันดี ๒. เพื่อใหสภาพที่สงบเรียบรอยนั้น เปนเครื่องเกื้อหนุนตอการที่ มนุษยเหลานั้นทุกๆ คนจะเขาถึงชีวิตที่ดีงามยิ่งๆขึ้นไป คือเปน การสรางสภาพเอื้อตอการที่บุคคลจะไดพัฒนาความสามารถที่จะ มีชีวิตที่ดี กฎหมายไมไดมีขึ้นเพียงเพื่อสรางสภาพเอื้อตอการมีชีวิตที่ดีเทานั้น แต สร างสภาพเอื้ อต อการที่ เขาจะพั ฒนาความสามารถที่ จะมี ชี วิ ตที่ ดี ยิ่งขึ้นไปดวย มองในแงของพระพุทธศาสนา ขอหลังนี้สําคัญกวา คือการ จัดสรรสภาพที่เอื้อตอการที่บุคคลจะไดพัฒนาความสามารถที่จะมีชีวิต ที่ดี เพราะเราถือตามความจริงของธรรมชาติวามนุษยเปนสัตวที่ตอง เรียนรู ตองฝก ตองศึกษา จึงจะสามารถมีชีวิตที่ดีงามตอไป ถามองงายๆ เราอาจจะคิดวา ขอใหกฎหมายสอดคลองกับหลัก ศีลธรรมก็แลวกัน เมื่อคนมีศีลธรรมไดก็ดีแลว คือเรายอมรับวาศีลธรรม เปนหลักที่ดีอยูแลว เราจึงคิดวาจะทําอยางไรใหศีลธรรมมีผลปฏิบัติใน สังคม เพราะว าหลัก เกณฑ ของศี ล ธรรมนั้ น ไมมี เ ครื่ องบั งคั บ อาจจะ ไมไดผล จึงตองเอากฎหมายมาชวย ยกตัวอยางเชน เราถือวาศีล ๕ ดีแลว ถาคนประพฤติตามศีล ๕ หมด สังคมก็เรียบรอย แตทําอยางไรจะใหคนประพฤติตามศีล ๕ นั้น ก็


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๒๓

ตองตรากฎหมาย รัฐก็เอาใจใสวางกฎเกณฑกติกาขอบัญญัติขึ้นมา เพื่อ จะใหศีลธรรมไดผล กฎหมายจึงสอดคลองกับระบบศีลธรรม แตที่จริง ลึกลงไปไมใชเพียงแคนั้น ศีล ๕ ก็เปนขอฝกคน คือแต ละขอเปนเพียงสิกขาบทเทานั้น เราจะเอากฎหมายมาบังคับใหคนมีศีล ๕ ยังไมถูก แตทําอยางไรจะเอากฎหมายมาชวยใหคนพัฒนาตนใหมีศีล ๕ หรือสรางสภาพเอื้อตอการที่คนจะ(พัฒนาตนให)มีศีล ๕ เพื่อจะได

สามารถเขาถึงชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป เพราะฉะนั้น เราจะตองมุงในแงวา จะทําอยางไรใหคนมีโอกาสพัฒนาความสามารถที่จะมีชีวิตที่ดีตางหาก เราตองการอันนี้ เมื่อมองในแงนี้จึงถือวา การสรางสภาพแวดลอมที่เอื้อตอการศึกษา เพื่อใหคนพัฒนาความสามารถที่จะมีชีวิตที่ดี เปนเรื่องที่สําคัญอยางยิ่ง การจัดระบบกิจการอะไรตางๆ ของสังคมจะมีจุดหมายรวมอยูที่นี่ ในเรื่องนี้ สังคมจะตองเอาอยางใดอยางหนึ่ งในการที่จะตองมี จุดหมายที่ดีงามชัดเจน ถาไมมีการสรางความรความเขาใจและกําหนด จุดหมายที่ชัดเจนไว ก็จะมีจุดหมายที่ไมรตัว ซึ่งเปนการเสี่ยงตออันตราย เพราะอาจจะเปนจุดหมายที่ไมเคยนึกถึงและไมเคยยกขึ้นมาตรวจสอบ และกลายเปนจุดหมายที่ผิดพลาดก็ได ทุกคนมีความเขาใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษยอยในใจของตน อย า งใดอย า งหนึ่ ง แม ไ ม ไ ด พู ด ออกมาและไม ชั ด แก ต นเอง แต เ วลา ตัดสินใจทุกครั้ง จะตองมีความเขาใจนี้แฝงกํากับอยูเบื้องหลัง ถาความ เข าใจและความม งหมายนี้ ไม ได รั บการพั ฒนาและไม เคยจั บยกขึ้ นมา ตรวจสอบ ก็อาจกอความผิดพลาดได และก็จะกลายเปนการสรางผลรายแก สังคมโดยไมรตัว


๑๒๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

เปนอันวา เมื่อเราจะสรางสภาพเอื้ออยางที่วานี้ เราก็จึงจัดตั้งชุมชน ขึ้นมา ชุมชนที่มีสภาพเอื้อตอการศึกษาของคนคืออยางไร ถาใชศัพท พระก็คือ “ชุมชนแหงกัลยาณมิตร” หมายความวา บุคคลที่มาอยูดวยกัน เริ่มตั้งแตองคพระศาสดาหรือ ผนํา เปนกัลยาณมิตรคือผที่จะชวยเกื้อหนุนผอื่นในการที่จะพัฒนาชีวิตได ดี ใหเปนชีวิตที่เจริญงอกงามมีความสุขยิ่งขึ้น พระภิกษุทั้งหลายที่มาอย ด ว ยกั น ก็ คื อมาช วยกั น มาเอื้ อต อกั น มาอุ ดหนุ นกั น ให แ ต ละบุ คคล พัฒนาตนใหเขาถึงชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นเราจึงสรางชุมชนแหง กัลยาณมิตรขึ้น ด ว ยการกํ า หนดวางหรื อ บั ญ ญั ติ สิ ก ขาบทเหล า นี้ สิ ก ขาบท ทั้ ง หลายจึ ง เป น ทั้ ง ข อ ฝ ก คน และเป น เครื่ อ งมื อ สร า งชุ ม ชนแห ง กัล ยาณมิตร ให บุคคลที่ เข ามาอยูร วมกันเป นป จ จัยเอื้ อตอกัน ในการ เขาถึงชีวิตที่ดีงาม ก็คือ เพื่อการศึกษานั่นเอง เพราะฉะนั้น สังฆะ คือชุมชนนี้ จึงมีประโยชนที่จะใหชีวิตของแต ละบุคคลไดรับประโยชนจากสังฆะ เมื่อแตละคนไดประโยชนจากสังฆะ แตละคนนั้นก็ตองเปนสวนประกอบหรือสวนรวม ที่จะตองชวยเอื้อเฟอ เกื้ อตอสั งฆะดว ยเช น กั น เป น การเอื้อ ต อ กัน ระหวา งสังคมกั บบุ ค คล ไมใชขางเดียว คือ ไมใชบุคคลเพื่อสังคม หรือสังคมเพื่อบุคคล เราสรางสังคม/สังฆะขึ้นมา เพื่อใหมีสภาพเอื้อตอการที่บุคคลนั้น จะพัฒนาตัวไดดวยดีสการเขาถึงชีวิตที่ดีงาม และสังฆะนั้นจะดํารงอย ดวยดี ก็ดวยการที่บุคคลแตละคนนั้นเปนสวนรวมที่ดี เพราะฉะนั้น จึงมี หลักการและบทบัญญัติวา แตละบุคคลจะตองมีความสัมพันธกับสังคม/ สังฆะที่เปนสวนรวมนั้นอยางไร และก็จะมีหลักการขึ้นมาอยางหนึ่งใน แงที่เกี่ยวกับวินัยวา พระภิกษุจะตองถือสังฆะเปนใหญ คือถือสวนรวม เปนใหญ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๒๕

มีพระดํารัสของพระพุทธเจาเองวา “เราเคารพธรรม (คือถือหลักการแหงความจริงความ ถูกตองดีงาม ตัวกฎธรรมชาติ) แตเมื่อสงฆเติบใหญขึ้น เรา (องฺ.จตุกฺก.๒๑/ ก็เคารพสงฆดวย” ๒๑๒๕)

เพราะฉะนั้น เมื่อสังฆะคือชุมชนสงฆขยายใหญขึ้น พระพุทธเจา จึ ง ทรงมอบอํ า นาจให ส งฆ ตอนแรกพระพุ ท ธเจ า ทรงตั้ ง สั ง ฆะขึ้ น พระองค ท รงบวชให แ ก ผ ข อเข า มาในสั ง ฆะ ด ว ยพระองค เ อง ใคร ตองการจะเขามาในสังฆะ พระองคก็ทรงรับเอง ทรงพิจารณาคุณสมบัติ เอง แตเมื่อสังฆะใหญขึ้น พระพุทธเจาทรงมอบอํานาจใหสังฆะบวช จึง ตองตั้งกฎเกณฑและระเบียบการดําเนินการในการบวชขึ้นมา เชนวา ๑. ตองมีที่ประชุม องคประชุมตองมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป คือ กําหนดองคประชุม ๒. ตัวผที่ขอบวช ตองมีคุณสมบัติดังนี้ๆ ๓. มีวิธีดําเนินการบวช เชน เมื่อเริ่มการประชุม จะตองมีภิกษุรูป หนึ่งที่มีสติปญญาความสามารถ ทําหนาที่เปนผดําเนินการประชุม เปนผ ซั ก ถามคุ ณ สมบั ติ ข องผ ข อเขา มาเป น สมาชิก ใหม ทั้ ง ซ อ มขา งนอกที่ ประชุม แลวซักถามเอาจริงในที่ประชุม ใหท่ีประชุมพิจารณาตรวจสอบ วาผูนี้มีคุณสมบัติที่จะบวชไดหรือไม จะยอมรับเขาสูสงฆไดหรือไม พรอมนั้นก็ใ หมีอุปชฌาย เปนตัวประกันที่จะใหความมั่นใจแก สงฆวา ผูที่เขามาบวชนั้นจะไดรับการศึกษาอยางแนนอน ไมเควงควาง เลื่อนลอย นี้คือการบวช ซึ่งเปนเรื่องของสังฆกรรม แตมาปจจุบันนี้มักเหลือ เพียงเปนพิธี จนกระทั่งผูที่เขาไปรวมกิจกรรมนั้นไมรูวาทําอะไรกัน แต ที่จริงคือการรับสมาชิกใหม ซึ่งตองมีการตรวจสอบคุณสมบัติ


๑๒๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

เนื่ องจากพระพุ ทธเจ าเองทรงให ถื อสั งฆะเป นใหญ พระองค ก็ เคารพสงฆ จึงทรงมอบอํานาจใหสงฆดําเนินการ เริ่มแตกําหนดใหมีองค ประชุมวา การที่จะทํากิจการระดับนี้ตองใชองคประชุมเทานี้ เชน ถาสวด ปาติโมกข ตองใช ๔ รูปขึ้นไป ถารับกฐินตอง ๕ รูปขึ้นไป ถาจะบวช ภิ ก ษุต อง ๑๐ รู ป ขึ้ น ไป ต อมาก็ มี อ นุ บั ญ ญัติ วา ในถิ่ น ไกลชายแดน ที่ เรียกวาปจจันตประเทศ หาพระยาก และพระที่จะไปก็เปนผที่ไดผานการ ฝกอบรมมาดีพอสมควรแลว จึงยอมลดหยอนใหวา ใหองคประชุมมีพระ เพียง ๕ รูปได เปนตน ที่วา มานี้ เปนเรื่องชีวิตของสงฆ แตขอสําคัญก็คือ ใหภิกษุถือสงฆ เปนใหญ พระพุทธเจาก็ทรงเคารพสงฆ เพราะฉะนั้นพระภิกษุจะตองถือ ประโยชนสวนรวมเปนใหญ พระภิกษุ แมแตเปนพระอรหันต เมื่อมีกิจการของสวนรวมเกิดขึ้น ถาไมมาเขาที่ประชุม ก็อาจถูกลงโทษ มีพระอรหันตถูกที่ประชุมลงโทษ ในประวัติของพระพุทธศาสนาหลายองค อยาไดนึกวาพระอรหันตพน โทษ ในแงของธรรมทานพนโทษคือไมมีกิเลส แตในแงของวินัยไมพน วินัยตั้งอยูบนฐานของธรรม และเพื่อธรรม แตแยกออกเปนคนละ เรื่องกัน ธรรมเปนเรื่องของความจริงแทในธรรมชาติ สวนวินัยเปนเรื่อง ของสมมติเพื่อหนุนธรรม แตสมมติไมจําเปนตองรอธรรม คนทํากรรมชั่ว ฝายธรรมวามีกฎธรรมชาติเปนกฎแหงกรรม เขา จะไดรับผลตามกรรมของเขา แตวินัยไมรอ วินัยจึงตั้งกรรมสมมติขึ้นมา และนําผกระทําความผิดเขามาในกลางที่ประชุมและลงโทษ วินัยไมรอ ธรรม จึงไมรอกรรมตามธรรมชาติ วินัยจึงจัดการทันที ในเรื่องนี้ยังมีชาวพุทธที่เขาใจไมคอยถูกตองวา ใครทํากรรมชั่ว เราไมตองทําอะไร เดี๋ยวเขาก็ตองรับผลกรรมของเขาเอง การมองอยางนี้ แสดงวาพลาดแลว


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๒๗

ในพระพุทธศาสนามีหลักการ ๒ อยาง คือ ธรรม กับ วินัย ในเรื่อง ของสังคม ถาผิด วินัยจัดการทันที หมายความวา วินัยมีวิธีดําเนินการ เพื่อใหธรรมสําเร็จเปนผลในสังคม มิฉะนั้น ในที่สุด ถาเราไมเอาใจใส การปฏิบัติตามธรรมก็จะคลาดเคลื่อนไป และสังคมก็จะคลาดจากธรรม อยางไรก็ตาม จะตองทําความเขาใจลึกลงไปอีกขั้นหนึ่ง กลาวคือ แทจริงนั้น ที่พูดวา “วินัยไมรอธรรม” เชน เมื่อมีภิกษุทําความผิด วินัย และสงฆ จ ะไม ร อให ก รรมแท ต ามกฎธรรมชาติ แ สดงผล แต สงฆ จ ะ นําเอากรรมสมมติตามวินัยมาใชจัดการกับภิกษุนั้นทันที การที่พูดอยางนี้ นับวาเปนสํานวนพูดในระดับหนึ่ง จะตองไมเขาใจผิดไปวามนุษยแยกตัวเองพนเหนือกฎธรรมชาติ ได เพราะวาการจัดตั้งตางๆ โดยสมมติ และปฏิบัติการตางๆ ในทางวินัย ทุกอยางนั้น แทที่จริงก็คือความสามารถพิเศษของมนุษย ที่นําเอาปจจัย ในฝายของตนเองเขาไปเปนสวนรวมในกระบวนการแหงเหตุปจจัยของ ธรรมชาติ เพื่อใหบังเกิดผลดีแกมนุษยในทางที่ดีงามพึงปรารถนา พูดอีกอยางหนึ่งวา วินัย หรือระบบสมมติทั้งหมด ก็คือการที่มนุษย นําเอาปญญาและเจตจํานง ซึ่งเปนคุณสมบัติธรรมชาติอันวิเศษที่ตนมีอยู มาเพิ่มเขาไปเปนปจจัยพิเศษในกระบวนการแหงเหตุปจจัยของธรรมชาติ เพื่อใหกระบวนการของเหตุปจจัยนั้น ดําเนินไปในทางที่จะกอใหเกิดผลดี แกชีวิตและสังคมของตน โดยสอดคลองกับปญญาและเจตจํานงของมนุษย นั่นเอง ปญญา และ เจตนาหรือเจตจํานงที่ประกอบดวยคุณสมบัติตางๆ นั้ นก็ เป นธรรมชาติ นั่ นเอง แต เป นธรรมชาติ ด านนามธรรม และเป น ธรรมชาติสวนพิเศษ ซึ่งเกิดขึ้นดวยการฝกศึกษาพัฒนาที่เปนศักยภาพของ มนุษย


๑๒๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

พูดสั้นๆ วา วินัย คือการนําเอาปญญาและเจตนาที่เปนธรรมชาติ พิเศษของมนุษย เขาไปรวมเปนปจจัยที่จะผันแปรกระบวนการแหงเหตุ ปจจัยของธรรมชาติ ใหเปนไปในทางที่จะเกิดผลดีแกตนในเชิงสังคม ความพิเศษและความประเสริฐของมนุษย ที่ทําใหเกิดวัฒนธรรม และอารยธรรมขึ้นมา อยูที่นี่ ถามนุษยไมรูจักใชคุณสมบัติเหลานี้ใหเปน ปจจัย ความเปนมนุษยจะมีประโยชนอะไร การที่ กิ จกรรมต างๆ ที่ เกิ ดจากป ญญาและเจตจํ านง/เจตนาของ มนุ ษ ย จะเป น ป จ จั ย ที่ มี คุ ณ ภาพและประสิ ท ธิ ภ าพ ซึ่ ง จะชั ก นํ า ให กระบวนการแหงเหตุปจจัยทั้งหลายดําเนินไปในทางที่จะกอใหเกิดผลดี แกมนุษยตามความตองการของปญญาและเจตจํานงไดจริงนั้น ยอมเปน ข อ เรี ย กร อ งหรื อ บั ง คั บ อย ใ นตั ว ว า มนุ ษ ย จ ะต อ งพั ฒ นาป ญ ญาและ เจตจํานงในจิตใจของตนอยตลอดเวลา เพื่อพัฒนาปจจัยตางๆ ใหนําไปสผล ที่ตองการไดจริง ขอยอนกลับไปย้ําวา บุคคลตองเกื้อหนุนตอสังฆะ โดยเคารพสงฆ คือถือสงฆเปนใหญ การที่อยูรวมกันในสังคมจะตองสงเสริมความเขมแข็ง มั่นคงของสังคมหรือสังฆะนั้น แลวสังฆะจะไดมารองรับหนุนบุคคลนั้น ให เจริญเติบโตขึ้ นไปได ถ าสั งฆะไม เจริญมั่ นคง ก็ จะไม เอื้ อให บุคคล เจริญเติบโต เพราะฉะนั้น จึงใหถือหลักการเรื่องถือสงฆเปนใหญและ หลักการเรื่องความสามัคคีเปนสําคัญ ตามหลักที่เรียกวา “สังฆสามัคคี” แปลวา ความพรอมเพรียงของสงฆ ถาสงฆไมมีความสามัคคีแลว สภาพ ชี วิ ต และระบบความเป น อยู ก็ จ ะไม เ อื้ อ ต อ การพั ฒ นาของบุ ค คล เพราะฉะนั้นจึงตองมีความสามัคคี ขอย้ําเรื่องความสามัคคีอีกหนอยวา สามัคคีมีความสําคัญอยางยิ่ง สําหรับชีวิตหม หรือการอยรวมกันเปนสังคม (เชน ขุ.อิติ.๒๕/๑๙๗/๒๓๘) โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตย สามัคคีก็คือความพรอมเพรียงกัน


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๒๙

ความรวมแรงรวมใจกัน และความเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่เรียกวา เอกี ภาพ (แตไทยเรานิยมใชวา เอกภาพ) โดยทั่วไป เราจะมองเห็นคุณคาและความสําคัญของความสามัคคี ในแง ข องความมี พ ลั ง คื อ เป น การรวมกํ า ลั ง กั น ตรงข า มกั บ ความ แตกแยกขัดแยงที่ทําใหสูญสิ้นกําลัง เมื่อสามัคคีกนั คน ๒ คน มารวมกับ คนอีก ๒ คน ก็เทากับ ๒+๒ เปน ๔ แตถาขัดแยงแตกแยกกัน คน ๒ คน มาพบกับคนอีก ๒ คน ก็เทากับ ๒-๒ เปน ๐ คุ ณค าแท ของสามั คคี ที่ สํ าคั ญมาก ซึ่ งเป นพื้ นฐานของวิ นั ยและ ประชาธิปไตย ก็อยางที่กลาวขางตน คือ ทําใหสังคมเกิดมีคณ ุ ประโยชนตาม ความหมายของมั น โดยเป น สภาพเอื้ อ อํ า นวยโอกาสแก ทุ ก คนที่ จ ะ ดํารงชีวิตของตนอยูดวยดี สามารถพัฒนาชีวิตของตนใหเขาถึงประโยชน สุขยิ่งขึ้นไป แตลึกลงไปอีก คุณคาและความหมายของสามัคคีที่มักไมไดนึกถึง กัน ก็คือ สามัคคีเปนฐานรองรับสมมติไว ถาไมมีสามัคคี สมมติก็อยู ไมได อารยธรรมก็สั่นคลอน เพราะสังคมมนุษยดําเนินไปไดดวยสมมติ และสามัคคีก็รองรับสมมติไว โดยทําใหคนยอมรับตามสมมตินั้น ถ า คนไม สามั คคี กั น ก็ จะเกิ ดการไม ยอมรั บตามสมมติ เช น ไม ยอมรับกรรมสิทธิ์ของผอื่นหรือของคกรณีที่ขัดแยงกัน ไมยอมรับสิทธิ ตางๆ ของคนพวกอื่นฝายอื่น ไมยอมรับกฎเกณฑกติกา ตลอดจนกฎหมาย จึงทําใหเกิดความสับสนวนวายระส่ําระสาย จนถึงอาจจะทําใหสังคม ดํารงอยไมได ในทางกลับกัน ถาสมมติไมตั้งอยบนฐานแหงธรรม หรือไม เปนไปตามธรรม ก็จะทําใหคนทะเลาะวิวาทกัน ไมสามารถรวมจิตรวม ใจกัน และยอมรับสมมตินั้นไมได แลวความขัดแยงแตกสามัคคีก็จะ


๑๓๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

เกิดขึ้น ถาเปนไปอยางรุนแรงหรือแพรหลาย ก็จะนําไปสความเสื่อม สลายของสังคม จึงเปนเรื่องสําคัญยิ่ง ที่จะใหสมมติที่เปนหลักของสังคมตั้งอยูบน ฐานแหงธรรม และเปนไปโดยชอบธรรม เพื่อใหเกิดความสามัคคี แม หากวาสมมตินั้นขัดตอผลประโยชนของบุคคลบางคน แตถาสมมตินั้น ชอบธรรม มี ธ รรมเป น ฐานรองรั บ เขาก็ ไ ม อ าจปฏิ เ สธสมมติ นั้ น ได พรอมกันนั้น ก็ตองมีการพัฒนาคนอยเสมอเพื่อใหรวมสามัคคีในการที่ จะยอมรับและปฏิบัติตามสมมติที่ชอบธรรมนั้นๆ ถาคนไมยอมรับความจริงในธรรมดาของธรรมชาติ เขาก็จะไดรับ ผลรายตามเหตุปจจัยในกฎธรรมชาติ แตถาเขาไมยอมรับสมมติ เขาก็จะ แตกสามัคคีกันในสังคมมนุษยเอง และผลรายก็เกิดแกเขาเนื่องจากความ แตกสลายของสังคมของเขานั้น พระพุทธเจาตรัสย้ําเรื่องสามัคคี ในทางสังคมนั้น นอกจากบัญญัติ สิกขาบทแลว ก็มีหลักการในดานธรรมที่จะอุดหนุนวินัยดวย พรอมทั้ง ในทางวินัยก็ทรงบัญญัติสกิ ขาบทขึ้นมาเพื่อสรางความสามัคคี ดั ง นั้ น ถ า พระเกิ ด ทะเลาะกั น ขึ้ น จึ ง ต อ งมี วิ ธี ร ะงั บ อธิ ก รณ คื อ ดําเนินคดี เพื่อตัดสินความผิด และลงโทษกัน ใหเสร็จสิ้นไป ไมใหตองรอ อยูอยางนั้น และถามีคดีเกิดขึ้นแตไมดําเนินการ ก็ตองเอาผิดกับพระที่ไม ดําเนินการอีก จะไปอางวารอใหกรรมจัดการ ไมมีทาง วินัยไมรอดวย วินั ย ก็มี กรรมที่ จะนํ ามาใชจั ดการไดทั นที (ดูเรื่องสั งฆกรรมต างๆ ซึ่ ง รวมถึงนิคคห-กรรมจํานวนมาก ในพระวินัยปฎก) เปนอันวา กรรม มี ๒ แบบ คือ ๑. กรรมในธรรม ที่เปนกฎธรรมชาติ ๒. กรรมในวินัย ที่มนุษยสรางขึ้นโดยสมมติ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๓๑

ในทางวิ นั ย ถ า พระทํ า ผิ ด ชุ ม ชนคื อ สงฆ ก็ มี ก รรมสมมติ ที่ พระพุทธเจาทรงบัญญัติไวเปนสิก ขาบท ที่จะนํามาใช จัดการไดทัน ที และตองจัดการโดยไมรอกรรมในกฎธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะวา ถึงตอนนี้ เราไดนําเอากรรมสมมติ ที่เกิดจากปญญา และเจตนาของมนุ ษย มาเป นป จ จั ยร วมที่ เพิ่ มเข าไปเป นกรรมในกฎ ธรรมชาติดวยแลว


-๒หลักแหงปฏิบัติการ ถาคนอยูในหลักการ ก็ไมตองมีกฎหมาย ถากฎหมายไมใชเพื่อหลักการ ก็ไมควรใหเปนกฎหมาย กฎหมายแม จ ะมี ค วามสํ า คั ญ แต ก็ ไ ม เ พี ย งพอและไม เ ป น หลักประกันวาจะทําใหชีวิตดีงามและสังคมมีสันติสุขได โดยเฉพาะใน สั ง คมประชาธิ ป ไตย ที่ มี แ ละยอมรั บ ความแตกต า งหลากหลายของ ประชาชน คนจะต อ งมี ค วามเป น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น โดยหลั ก การ พื้นฐานและจิตใจที่เขากันได เชน ไมแบงแยกรังเกียจเดียดฉันทกันดวย เรื่องชนชั้น ผิวพรรณ เชื้อชาติ และลัทธิศาสนา มีความเสมอภาค ไมเอา รัดเอาเปรียบกัน เปนตน สังคมจึงจะมีความมั่นคงยั่งยืนอยูได ฉะนั้น สามัคคีหรือเอกีภาพจึงเปนหลักการพื้นฐานที่สําคัญอยาง ยิ่งในการดํารงรักษาสังคม และจะตองมีหลักความประพฤติปฏิบัติตางๆ ที่จะทําใหเกิดความสามัคคีเชนนั้น การที่สังคมบัญญัติวินัยคือกฎหมายตางๆ ขึ้น ก็เพื่อมาหนุนใหคน ดํารงอยในหลักการตางๆ เหลานั้น อันจะทําใหสังคมหรือสังฆะมีความ เป นอั นหนึ่ งอั นเดี ยวกั นแล วจะได มี ความมั่ นคงยั่ งยื นและมี สั นติ สุ ขตาม วัตถุประสงค หลัก การต างๆ เพื่ อดํ ารงรั กษาสั งคมนั้ น เท ากั บเป น สาระหรื อ เจตนารมณของกฎหมาย ถาคนยึดถือและปฏิบัติตามหลักการเหลานั้น ก็ แทบจะพูดไดวาไมจําเปนตองมีกฎหมาย นอกจากในความหมายวาเปน


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๓๓

ขอหมายรอยางที่กลาวขางตน หลักการตางๆ เหลานี้ นอกจากนํามาเปน หลักในการบัญญัติขอกฎหมายแลว บางทีก็มีอยในรูปที่เปนคติธรรม หรือหลักคําสอน ธรรมที่เปนหลักการทั่วไปซึ่งไมไดบัญญัติไวเปนสิกขาบทในทาง วินัยมีหลายอยาง ที่เปนเครื่องสนับสนุนใหเกิดความสามัคคีในชุมชน แห ง กั ล ยาณมิ ต ร เช น หลั ก สาราณี ย ธรรม เป น ต น ซึ่ ง ถื อ ได ว า เป น หลักการของประชาธิปไตย ขอยกมาเปนตัวอยาง หลัก สาราณียธรรม ๖ ประการ (สารณียธรรม ก็เรียก) คือ ๑. เมตตากายกรรม จะทําอะไรก็ทําตอกันดวยเมตตา ทําดวยใจ รักหวังดี เชน เมื่อมีเรื่องที่ตองจัดทํา หรือมีงานสวนรวม ก็มาชวยเหลือ รวมมือกัน พรอมเพรียงกันทําเพื่อประโยชนสวนรวม ดวยหวังดีที่จะให เกิดประโยชนสุขตอกัน ๒. เมตตาวจีกรรม จะพูดอะไรก็พูดตอกันดวยเมตตา พูดดวยใจ รัก หวังดี มีปยวาจา ชวยแกปญหา มุงใหเกิดความสามัคคีและประโยชน สุขรวมกัน ๓. เมตตามโนกรรม จะคิดอะไรก็คิดตอกันดวยเมตตา คิดดวยใจ รัก หวังดี คิดในทางที่จะแกไขปญหา ในทางสมัครสมานประสาน สงเสริม หรือเอื้อเฟอชวยเหลือสนับสนุนกันเพื่อจุดหมายที่ดีงาม ยิ้มแยม แจมใสตอกัน ๔. สาธารณโภคิตา ไดมาแบงกันกินใช หลายคนเขาใจผิดวา พระพุทธศาสนาไม เอาใจใสเ รื่องวั ตถุ แตแ ทจ ริงพระพุทธศาสนาให ความสําคัญกับเรื่องลาภหรือผลประโยชนหรือดานเศรษฐกิจเปนอยางยิ่ง ถือวาตองจัดสรรใหเรียบรอยชอบธรรม แตใหอยูในขอบเขตที่เรียกวา เปน ปจจัย เพราะฉะนั้น เรื่องการแบงปนลาภและเอื้อเฟอกัน รวมถึง


๑๓๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

เรื่องการจัดสรรผลประโยชน จึงเปนขอสําคัญอยางหนึ่งในหลักการอยู รวมกัน ๕. สีลสามัญญตา เสมอสมานกันโดยศีล ตั้งอยูในหลักความ ประพฤติเสมอกัน คลายกับที่พูดวามีความเสมอภาคกันตอหนากฎหมาย ทุ ก คนต อ หน า วิ นัย แล ว เสมอกั น ทั้ ง หมด แม แ ต เป นพระอรหั น ต ก็ ไ ม ยกเวน นอกจากมีกฎยกเวนใหเปนสิกขาบทโดยเฉพาะ จึงจะพนโทษ ทางวินัย ในเรื่องของวินัยจะอางธรรมไมได วินัยกําหนดไวใหเสมอภาค กั น และจึ ง ต อ งพยายามประพฤติ ตั ว ให เ สมอกั น โดยศี ล ไม ใ ห เ ป น ที่ รังเกียจแกชุมชน ๖. ทิฏฐิสามัญญตา เสมอสมานกันโดยทิฐิ หมายความวา ยึดถือ หลักการพื้นฐานและอุดมการณของสังคมรวมกัน ในสังคมใดคนไมมี หลักการรวมกัน ก็จะดํารงเอกภาพไวไมได เชน ในสังคมประชาธิปไตย ถาประชาชนไมยึดถือหลักการแหงประชาธิปไตยรวมกัน ก็ถึงอวสาน เพราะฉะนั้ น สมาชิ ก จึ ง ต อ งมี อุ ด มการณ และมี ห ลั ก การที่ เ ป น ทิ ฏ ฐิ พื้นฐานรวมกัน ธรรม ๖ ขอนี้เปนหลักแหงความสามัคคี ในระหวางบุคคลก็เปน ปยกรณ แปลวาสรางความรักกัน ครุกรณ สรางความเคารพกัน สารณียะ ทําใหระลึกถึงกัน หรือยึดเหนี่ยวใจกันไว และในแงสวนรวมก็เปนไป เพื่อสังคหะ คือทําใหรวมคนเขาเปนหมูอยูได เพื่ออวิวาทะ ทําใหไม วิวาทกัน เพื่อสามัคคี คือพรอมเพรียงกัน และเพื่อเอกีภาพ ที่เรียกวา เอกภาพ คือทําใหมีความเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีหลักการอื่นอีก เชน อปริหานิยธรรม คือธรรมที่จะ ทําใหไมเสื่อม ซึ่งมี ๗ ขอ คือ ๑. ประชุมกันเนืองนิตย


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๓๕

๒. เมื่อประชุมก็พรอมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็อยจน เลิกโดยพรอมเพรียงกัน และเมื่อมีกิจสวนรวม คือสังฆกรณีย เกิดขึ้น ก็ ตองพรอมใจกันทํา ๓. ไมถืออําเภอใจแลวบัญญัติอะไรตามใจตัว หรือลมเลิกถอน บทบัญญัติอะไรตามใจชอบ ๔. เคารพนับถือยกยองบุคคลที่เปนหลัก ที่เรียกวา สังฆบิดร มองเห็นความสําคัญของถอยคําของทาน ในที่นี้ไมไดบอกวาตองเชื่อ แต ภิกษุใดเปนเถระ เปนรัตตัญู หมายความวา ไดมีประสบการณยาวนาน มีความรูเปนหลัก ตองมองเห็นความสําคัญของถอยคําของทาน และให สําคัญวาเปนสิ่งอันพึงฟง ไมลบหลูละเลยหรือมองขามไป ๕. ใหเกียรติและคุมครองสตรี ไมใหมีการขมเหงรังแกกุลกุมารี (น า สั ง เกตว า สั ง คมไทยเวลานี้ ได ทรุด ลงไปไกลในเรื่ องนี้ ถึ ง ขั้ นที่ มี โสเภณีเด็กแพรหลาย อยางที่ไมเคยมีไมเคยเปน; สําหรับหมูสงฆ ขอนี้ ทานใชวา ไมลุแกอํานาจตัณหา คือไมเห็นแกการบํารุงบําเรอปรนเปรอ เสพบริโภคและผลประโยชนสวนตัว ซึ่งสังคมคฤหัสถก็ควรจะปฏิบัติ ดวย) ๖. ใหความสําคัญแก เจดีย หรืออนุสาวรีย ซึ่งเปนสิ่งที่เคารพ เปน ที่รวมใจของสังคม และเปนเครื่องเตือนใจใหเกิดจิตสํานึกตอสวนรวม (สําหรับหมูสงฆ ขอนี้ทานใชวา มีใจผูกพันใฝชอบเสนาสนะปา) ๗. จั ด อารั ก ขาคุ ม ครองป อ งกั น แก พ ระอรหั น ต หมายความว า พระสงฆ หรือนักบวชที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ไมประมาทมัวเมา เปน หลักใจของประชาชน เปนตัวแทนของคุณธรรม เปนหลักของศีลธรรม เปนผรักษาธรรมไวใหแกสังคม ใหถือเปนหนาที่ของบานเมืองจะตอง จัดการอารักขา คุมครองปองกัน และยินดีตอนรับทาน (ขอนี้สําหรับหมู


๑๓๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

สงฆ ทานเปลี่ยนเปนวา ยินดีตอนรับเพื่อนสพรหมจารีที่ยังไมมา และ ตั้งใจตอทานที่มาแลวขอใหอยูเปนสุข) สําหรับคฤหัสถ คือคนทั่วไปที่อยูในสังคมใหญ ยังมีหลักธรรมอีก ชุดหนึ่งเรียกวา สังคหวัตถุ แปลวา หลักการสงเคราะห คือหลักการยึด เหนี่ยวประสานหมูชนใหอยูในความสามัคคี ซึ่งมี ๔ ประการ (สังคหะ แปลวา สังเคราะห หรือสงเคราะห ที่เราใชในความหมายวาชวยเหลือกัน แตคําศัพทเดิมแปลวารวมเขาดวยกัน) หมายความวา ในการที่จะผนึกให สังคมมีความมั่นคงเปนอันหนึ่งอันเดียวกันได คนจะตองมีธรรม ๔ ขอนี้ คือ ๑. ทาน การให การเผื่อแผแบงปน มีลาภหรือผลประโยชนก็ กระจายเฉลี่ยกันไป ๒. ปยวาจา การพูดดวยใจรักหวังดี กลาวถอยคําสุภาพไพเราะ รูจักใชวาจาแสดงน้ําใจ ที่จะแกปญหาและชวยเหลือกัน ๓. อั ตถจริยา การบํ าเพ็ ญ ประโยชน เอาเรี่ ย วแรงกํ า ลั ง ความสามารถเขาชวยเหลือรวมมือกัน ๔. สมานัตตตา การเอาตัวเขาสมาน มีความเสมอภาค ทําตัวใหเขา กันได โดยรวมสุขรวมทุกขกัน รวมกันเผชิญและแกปญหา ไมทอดทิ้ง กัน ไมดูถูกดูหมิ่นกัน ไมเอารัดเอาเปรียบกัน และไมเลือกที่รักผลักที่ชัง สม่ําเสมอสมานกันโดยธรรม สังคหวัตถุ ๔ นี้ แปลเปนภาษางายๆ ในแงของการชวยเหลือกัน เพื่อใหเกิดการประสานสังคม คือ ๑) ชวยดวยสิ่งของเงินทอง ๒) ชวยดวยถอยคํา เชน แนะนําคนใหรวิธีแกปญหาของเขา ให ความรู สั่งสอนวิชาการ เพื่อใหสามารถแกไขบําบัดความทุกข ยาก


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๓๗

๓) ชวยดวยเรี่ยวแรงกําลังความสามารถ ๔) ทําตัวเสมอสมาน คือ ทําตัวใหเขากันได โดยมีความเสมอ ภาคกัน ปฏิบัติตอกันอยางเสมอหนาตามธรรม ที่วามานี้เปนหลักที่จะรวมหมูชนใหอยูดวยกัน และทําใหสังคมมี ความเจริญมั่นคง แตเปนหลักที่ไมไดบัญญัติเปนสิกขาบทในวินัย จึงไม มีการกําหนดความผิดและไมมีการลงโทษ แตใหเปนหลักที่รูกันวาควร ประพฤติปฏิบัติ มีหลักปฏิบัติอีกชุดหนึ่ง ซึ่งพูดถึงกันมากวามีความสําคัญอยางยิ่ง สําหรับการดํารงรักษาสังคมใหมีความสงบเรียบรอย คือ ศีล ๕ และจะ เห็ น ได ว า บทบั ญ ญั ติ ใ นกฎหมายทั้ ง แพ ง และอาญาแทบทั้ ง หมด มี เจตนารมณตามหลักศีล ๕ นี้ อยางไรก็ดี พึงสังเกตวา ศีล ๕ นี้ที่จริงเปนสิกขาบท แตเปนสิกขาบท สํ าหรั บคฤหั สถ (ในวิ นั ย สํ าหรั บพระภิ กษุ ศี ล ๕ หรื อสิ กขาบท ๕ นี้ กระจายแยกออกไปเป นสิกขาบทย อยๆ มากหลายขอ และรวมอยู ใ น สิกขาบท ๒๒๗ ที่เราเรียกกันวาศีล ๒๒๗ ซึ่งมีบัญญัติความผิดแกผู ละเมิด) ในสังคมของชาวพุทธนั้น พระพุทธเจาไมไดทรงกําหนดความผิด และการลงโทษไวแกผละเมิดศีล ๕ เราพูดไดวาทางพระศาสนายกศีล ๕ นี้ใหเปนเรื่องของสังคมคฤหัสถ โดยเฉพาะทางฝายรัฐจะนํามาจัดแยก ซอยเปนขอกําหนดยอยๆ ลงไป ใหสอดคลองกับสภาพความเปนจริง ของแต ล ะถิ่ น ฐานและยุ คสมั ย ที่เ ปลี่ ย นแปลงตา งกั น ไป แล ว กํ า หนด ความผิดและการลงโทษตามที่เหมาะสมตามธรรม และเทาที่เปนมาจะ เห็นไดวา กฎหมายโดยทั่วไปในขั้นพื้นฐานมีสาระสําคัญเพื่อจะดํารง รักษาศีล ๕ หรือเพื่อดูแลไมใหคนละเมิดสิกขาบท ๕ ขอนี้


๑๓๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

โดยนัยนี้ ศีล ๕ (สิกขาบท ๕) จึงเปนหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานเพื่อ ชวยใหสังคมอยในความสงบเรียบรอย แตการที่สังคมจะกาวไปสจุดหมาย แห ง การพั ฒ นาที่ ถู ก ต อ งดี ง ามแท จ ริ ง จะต อ งให ค นพั ฒ นาขึ้ น ไป เหนื อ กว าศี ล ๕ ที่ เป น เพี ย งระดั บ แก ไขป อ งกั น ความชั่ ว ร า ยและการ เบียดเบี ยนกั น ส หลั ก การเชิ งสร า งสรรค ต า งๆ ที่ ย กตั ว อย า งมาแสดง ขางตน อันควรจะเปนสาระและเจตนารมณที่แทจริงทั้งของกฎหมายและ การปกครอง เมื่อไดพูดถึง ศีล ๕ แลว ก็ควรจะนําขอยอยมาแสดงไวดวย ซึ่งมีดังนี้ ๑. การเวนจากปาณาติบาต (การไมละเมิดตอชีวิตรางกาย) ๒. การเวนจากอทินนาทาน (การไมละเมิดกรรมสิทธิ์ใน ทรัพยสิน) ๓. การเวนจากกาเมสุมิจฉาจาร (การไมละเมิดตอคครองของหวง) ๔. การเวนจากมุสาวาท (การไมละเมิดตอกันทางวาจา) ๕. การเวนจากสุรายาเมา (การไมดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติด) ศีล ๕ (สิกขาบท ๕) นี้ มีสาระสําคัญที่มุงเพื่อใหคนอยูรวมกัน ดวยดีโดยไมเบียดเบียนกัน จะไดมีความสงบเรียบรอย ที่เปนโอกาส พื้นฐานแหงการพัฒนาชีวิตสประโยชนสุขที่สูงยิ่งขึ้นไป สําหรับ ๔ ขอแรก จะเห็นความหมายนี้ไดชัดเจน แตขอ ๕ ที่วา เวนจากสุรายาเสพติดที่จะทําใหเกิดความประมาทขาดสตินั้น มักมอง เห็นชัดแตในแงของโทษตอชีวิตของตัวผเสพเอง แตที่จริงในการจัดเขา ชุดแหงศีล ๕ นี้ ทานมุงความหมายเชิงสังคม ในแงสังคมนั้น การละเมิดศีลขอ ๕ คือ เสพสุรายาเมาสิ่งเสพติด กอความเสียหายหรือโทษภัยที่สําคัญ คือ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๓๙

๑. คนเมาสุรายาเสพติด ขาดสติแลว จะทําการรายละเมิดศีลได หมดทุ ก ข อ ไม ว า จะฆ า คน ทํ า ร า ยกั น ลั ก หรื อ ทํ า ลาย ทรัพยสิน ทําความผิดทางเพศ พูดเท็จ ก็ไดทั้งนั้น ๒. กอใหเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาจจะกอความพินาศหรือความเสียหาย อยางมาก ๓. แมยังไมไดลงมือทําการรายใดๆ ก็เปนผคุกคามตอความรสึก มั่นคงปลอดภัยในสังคม เชน คนที่ขับรถไปในถนนหลวง พอมองเห็นรถที่กําลังแลนสวนมามีคนขับที่เมาเหลา หรือ ระแวงวาคนขับรถสิบลอที่กําลังแลนสวนมาเสพยามายาบา ก็จะเกิดความรสึกหวาดหวั่น พรั่นใจ รวมความวา สังคม โดยเฉพาะรัฐ จะตองจัดตั้งวางมาตรการทาง สังคม โดยเฉพาะการออกกฎหมาย ที่จะมาเปนประกันใหคนดํารงอยูใน ศีล ๕ หรือสิกขาบท ๕ นี้ พรอมทั้งสงเสริมใหคนยึดถือหลักการตางๆ ที่ กลาวแลวขางตน เชน สาราณียธรรม ๖ และสังคหวัตถุ ๔ เปนตน กลาวไดวา หลักการตางๆ เหลานี้และทํานองนี้ เปนสาระของวินัย หรือเป นเจตนารมณที่แทของกฎหมาย ถ าคนมีก ารศึกษาที่พัฒนาตน อยา งถูก ต อง ให มี ศรั ทธา เห็น คุ ณ คา พรอ มและเต็ม ใจ สมั ครใจที่ จ ะ ปฏิบัติตามหลักการเหลานี้ ก็ไมจําเปนตองมีการบัญญัติขอกําหนดของ กฎหมายหรือสิกขาบทในวินัย ในทางตรงข า ม การที่ มี สิ ก ขาบทหรื อ ข อ กฎหมาย ก็ เ พื่ อ เป น หลักประกันใหเกิดความมั่นใจวา จะมีการปฏิบัติใหเกิดผลตามหลักการ เหลานี้ ดังนั้น ถาคนไมปฏิบัติตาม หรือเคลื่อนคลาดจากหลักการมากขึ้น ก็ยิ่งตองมีการบัญญัติสิกขาบทหรือขอกฎหมายมากขึ้นๆ และมักจะตอง มีการบัญญัติความผิดและการลงโทษมากขึ้น หรืออาจจะหนักขึ้นดวย


๑๔๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

เมื่อคนเปนวิญูรูสาระของกฎหมาย สังคมสงบสุขดวยกติกา งายๆ ครัน้ คนเสื่อมลงไป กฎหมายยิ่งบังคับซับซอน สังคมยิ่งเสื่อมทรุด เปนความจําเปนวา เมื่อคนมาอยูรวมกันตั้งแต ๒ คนขึ้นไป ก็ตองมี ขอตกลงที่กําหนดกันขึ้นไววา จะทําอะไร เมื่อไร อยางไร เปนตน เพื่อให ชีวิตแหงการอยูรวมกันดําเนินไปดวยดี เอื้อประโยชนตอทุกคนดวยกัน เพราะฉะนั้น ในสังคมที่คนมีการศึกษาพัฒนาดีแลว ที่เขาเขาใจความหมาย ของขอตกลงสําหรับการเปนอยและทํากิจการรวมกันเชนนี้ และมีจิตใจที่ พรอมจะปฏิบัติ การมีกฎหมายเพียงในความหมายวาเปนขอหมายร หรือ ขอกําหนดที่หมายรในการอยูรวมกัน ก็เปนการเพียงพอ (เรื่องนี้จะพูดถึง อีกขางหนา) ในภาวะเชนนี้ กฎหมายหรือขอหมายร จะเปนเพียงขอตกลง หรือ กติกาทางปญญา ซึ่งมีจํานวนจํากัดตามความจําเปนแหงกิจที่จะทํา และ เมื่อคนยังปฏิบัติกันดี ก็ไมตองมีสิกขาบทหรือขอกฎหมายมาก อยางไรก็ดี เมื่อคนขาดการศึกษาที่ถูกตอง ไมไดพัฒนาตน เขาไม เขาใจความหมาย ไมเขาใจเจตนารมณของกฎหมาย และไมพรอมที่จะ ปฏิบัติ เมื่อคนไมปฏิบัติตามขอหมายรูนั้น ก็ตองมีการบัญญัติขอกฎหมาย ในลักษณะที่เปนขอบังคับ ที่มีการกําหนดความผิดและการลงโทษ เพิ่มขึ้นๆ จนในที่สุดจะกลายเปนวา ยิ่งมีการบัญญัติขอกฎหมายมาก ชีวติ และสั ง คมกลั บ ยิ่ ง เสื่ อ มโทรม และในกรณี เ ช น นี้ การมี ก ฎหมายใน ความหมายวาเปนขอบังคับมาก กลับกลายเปนเครื่องบงชี้ถึงความเสื่อม โทรมของชีวิตและสังคม


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๔๑

เพราะฉะนั้น ในสังคมที่คนมีการศึกษาถูกตอง พัฒนาตนดีแลว ก็ จะมีกฎหมายแตเพียงที่เปนขอหมายร ไมตองเลยไปเปนขอบังคับ แต ต รงข า ม ในสั ง คมที่ ไ ม พั ฒ นา คนขาดการศึ ก ษา หรื อ เมื่ อ การศึกษาเสื่อมลง กฎหมายที่มีความหมายเปนขอบังคับ ก็จะเพิ่มมาก ขึ้นๆ โดยที่แมจะจําเปนเพื่อกันไมใหเสื่อมโทรมลงไปอีกๆ แตก็ไมชวย ใหชีวิตและสังคมดีงามขึ้นไดเลย อยางนอย ยิ่งมีขอบัญญัติมาก หลักการ ที่เปนสาระกลับยิ่งเลือนลางจางหาย เคยมีผูทูลถามพระพุทธเจาวา (ม.ม.๑๓/๑๗๑-๒/๑๗๔; และดู สํ.นิ.๑๖/๕๓๑-๕/ ๒๖๓)

“ขาแตพระองคผเจริญ อะไรหนอเปนเหตุเปนปจจัยที่ ทําใหเมื่อกอนโนน สิกขาบทมีนอยกวา แตภิกษุผดํารงใน อรหัตตผลกลับมีมากกวา ครั้นมาบัดนี้ สิกขาบทมีมากกวา แตภิกษุที่ดํารงในอรหัตตผลกลับมีนอยกวา” พระพุทธเจาตรัสตอบวา “เป น เช น นั้ น ภั ท ทาลิ เมื่ อ หมู ช นกํ า ลั ง เสื่ อ มลง เมื่ อ สัทธรรมกํา ลั งเลื อนหาย สิ กขาบทก็ มี มากขึ้ น แต ภิก ษุ ที่ ดํารงในอรหัตตผลกลับนอยลง ภัททาลิ พระศาสดาจะยังไมบัญญัติสิกขาบทแกสาวก ทั้ ง หลาย ตราบเท า ที่ อ าสวั ฏ ฐานิ ย ธรรม (เรื่ อ งเสี ย หาย วุนวาย) ยังไมปรากฏในสงฆ แตเมื่อใดมีอาสวัฏฐานิย ธรรมปรากฏในสงฆ เมื่ อ นั้ น พระศาสดาก็ จ ะบั ญ ญั ติ สิ ก ขาบทแก ส าวกทั้ ง หลาย เพื่ อ ขจั ด แก ไ ขอาสวั ฏ ฐานิ ย ธรรมเหลานั้น ภัททาลิ อาสวัฏฐานิยธรรมทั้งหลาย จะยังไมปรากฏใน สงฆ ตราบเทาที่สงฆยังไมถึงความเปนหมูใหญ . .


๑๔๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

. ยังไมถึงความพรั่งพรอมดวยลาภ . . . ยังไมถึงความ พรั่งพรอมดวยยศ . . . ยังไมถึงความเปนพหูสูต . . . ยังไม ถึงความเปนรัตตัญู แตเมื่อใดสงฆถึง(ภาวะดังที่กลาวมา นั้น) เมื่อนั้นก็จะมีอาสวัฏฐานิยธรรมปรากฏในสงฆ และ เมื่ อ นั้ น พระศาสดาก็ จ ะทรงบั ญ ญั ติ สิ ก ขาบทแก ส าวก ทั้งหลาย เพื่อขจัดแกไขอาสวัฏฐานิยธรรมเหลานั้น” โดยนัยดังกลาวมา การศึกษาที่แท ในความหมายของการพัฒนา คนอยางถูกตอง จึงเปนเรื่องสําคัญยิ่ง และสัมพันธกับวินัย ไมวาจะใน ความหมายที่เปนกฎหมาย เปนระบบที่จัดตั้ง หรือเปนการปกครองก็ตาม ทั้งในแงที่วาจะตองมีการพัฒนาคนอยางถูกตองเพื่อใหมีการปฏิบัติตาม กฎหมายอย างถู ก ต อง และในแง ที่ วา วิ นั ยเช น กฎหมายเป น เครื่ อ งมื อ จัดสรรสภาพเอื้อโอกาสในการพัฒนาชีวิตของมนุษย เมื่อมีการศึกษาแทที่ทําใหคนพัฒนาอยางถูกตอง คนก็จะพรอมที่ จะปฏิบัติตามวินัยโดยเฉพาะที่เรียกวากฎหมาย(ที่ชอบธรรม) และคนที่มี การศึกษา ที่พัฒนาตนแลวอยางถูกตองนั้น ก็จะมองวินัย โดยเฉพาะ กฎหมายนั้นเปนขอหมายร ที่จะไดปฏิบัติใหถูกตอง ในการชวยกัน สรางสรรคสภาพชีวิตและสังคม ที่เอื้อตอการพัฒนาชีวิตสความดีงามและ ประโยชนสุขที่สูงยิ่งขึ้นตอไป สงฆเปนชุมชนแบบอยางที่พระพุทธเจาทรงจัดตั้งขึ้นตามหลักการที่ กลาวนี้ และพระพุทธเจาก็ทรงไดรับถวายคําสรรเสริญวา ทรงฝกคนและ ปกครองคนโดยไมตองใชทัณฑอาชญา (เชน วินย.๗/๓๘๑/๑๙๐; ม.ม.๑๓/๕๒๙/๔๘๓; ๕๖๕/๕๑๑)

นั ก ปกครองในอุ ด มคติ ตามหลั ก การของพระพุ ท ธศาสนา ที่ เรียกวาเปนจักรพรรดิ ซึ่งเปนธรรมราชา ก็เปนผที่ปกครองแผนดินโดย


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๔๓

ธรรม โดยไมตองใชทัณฑะ หรือศัสตราวุธ (เชน ที.สี.๙/๑๔๓/๑๑๕; ที.ม.๑๐/๒๘/๑๘; ที.ปา.๑๑/๓๔/๖๒)

ตามความหมายที่กลาวมานี้ การปกครองที่ดี คือการปกครองโดย ไมตองใชอํานาจบังคับ และกฎหมายที่ดี คือบัญญัติที่เปนขอหมายรใน การที่ จ ะเป นอยแ ละทํ ากิจ ในการมี ชี วิ ต ร ว มกั น ซึ่ ง ทั้ งหมดนั้ น ขึ้ นต อ ความสําเร็จในการปฏิบัติตามหลักการแหงการพัฒนาคน

จะรักษาธรรมใหแกสังคมได ตองรักษาดุลยภาพใหแกใจของตน มีอีกหลักหนึ่งที่เปนพื้นฐานลึกลงไปในจิตใจ คนเรานี้ถาไมมี พื้นฐานในใจ กฎหมายหรือวินัยจะกําหนดอยางไรก็ไมไดผลจริงจังยั่งยืน เพราะคนจะหาทางหลีกเลี่ยงกฎหมาย ตลอดจนสมคบกันหาประโยชน จากกฎหมาย อยางนอยก็ไมมีความยินดีเต็มใจพรอมใจที่จะปฏิบัติตาม และในที่ สุ ด กฎหมายก็ จ ะอยู ไ ม ไ ด วิ นั ย รวมทั้ ง กฎหมายจึ ง ต อ งมี คุณสมบัติในใจคนเปนฐานรองรับ ซึ่งจะเปนแรงจูงใจและเปนเครื่องผูก ใจใหคนประพฤติตามกฎหมายได นี่ เป นเหตุ ผ ลที่ ทํา ให ต อ งมี ก ารพั ฒ นาคน ถ าไม พั ฒ นาคน การ ดํารงสังคมก็ไปไมตลอด สังคมที่จะบัญญัติกฎหมายตางๆ ตองถือกฎหมายเปนตัวเกื้อหนุน คือจะตองถือเปน means ไมใชเปน end ถาเราถือกฎหมายเปน end ก็จบ แมแตถือความสงบเรียบรอยเปนจุดหมายก็ยังไปไมรอด เพราะขาดสาระ หรือตัวแกน คือการพัฒนาคน จะพั ฒ นาคนอย า งไร ก็ ต อ งทํ า ให ค นประพฤติ ป ฏิ บั ติ ทํ า การ ทั้งหลายดวยปญญา จากเจตนาที่ดี บนฐานแหงจิตใจที่มีคุณธรรม มี ความรับผิดชอบ และมีจิตสํานึกตอสังคม


๑๔๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

พระพุทธเจาทรงแสดงหลักธรรมไวชุดหนึ่ง ซึ่งเปนทาทีพื้นฐานใน จิตใจของคนที่จะสรางสรรคและรักษาสังคมมนุษย ซึ่งไมใชเพียงแค รักษากฎหมาย แตเปนคุณสมบัติสําหรับบุคคลที่จะเปนผูมีสวนรวมใน การสรางสรรคและอนุรักษสังคมนี้ไว สังคมมนุษยนั้น มนุษยทุกคนตองมีสวนรวมในการสรางสรรค และอนุรักษ มิฉะนั้นก็จะพินาศ แมแตการที่จะรักษากฎหมายได ก็ตองมี ทาทีพื้นฐานในจิตใจมาเปนแกนใหกอน ทาทีพื้นฐานนี้ไมใชหลักธรรม ยากอะไร ก็คือหลักพรหมวิหาร ๔ นี่เอง พรหมวิหาร ๔ ขอนี้เปนทาทีที่สําคัญของจิตใจ แตในสังคมไทย เขาใจธรรมชุดนี้กันผิดพลาดมาก และปฏิบัติกันไมครบถวน หรือปฏิบัติ คลาดเคลื่อนจนทําใหเกิดผลรายบางอยาง “พรหมวิหาร” แปลวา ธรรมประจําใจของพรหม พรหม คือ เทพเจา สูงสุดในศาสนาพราหมณ ที่สรางโลกและอภิบาลโลก ในทัศนะของ พราหมณ เขาถือวามนุษยอยูกันไป พอถึงกัปปหนึ่งโลกจะพินาศ และ พระพรหมจะสรางโลกขึ้นมาใหม แลวพระพรหมก็ลิขิตชีวิตและจัดสรร สังคมมนุษยวาจะใหเปนอยูกันอยางไร แต พ ระพุ ท ธศาสนาไม ร อพระพรหม เราถื อ ว า ทุ ก คนมี ส ว น รับผิดชอบในการสรางสรรคและอภิบาลสังคม เพราะฉะนั้น ทุกคนตอง ทําตัวใหเปนพรหม โดยประพฤติตามหลัก ที่เรียกวา พรหมวิหาร ๔ ขอนี้ คือ ๑. เมตตา มีใจไมตรี ปรารถนาดี อยากใหเขาเปนสุข ๒. กรุณา พลอยสะเทือนใจ ทนนิ่งอยูไมไดที่จะเห็นทุกขของเขา ๓. มุทิตา พลอยยินดีในความดีงามความสุขความสําเร็จของเขา ๔. อุเบกขา วางใจเปนกลางตอทุกคนเพื่อรักษาธรรม


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๔๕

ทาทีพื้นฐาน ๔ ประการนี้เขาใจงาย เพราะเปนทาทีที่แสดงออก ต อ ผู อื่ น เพราะฉะนั้ น วิ ธี ที่ จ ะดู ค วามหมายก็ ดู ที่ ค นอื่ น คื อ ดู ต าม สถานการณที่คนอื่นเขาประสบ จึงจะรูวาเราจะใชพรหมวิหารขอไหน แลวความหมายก็จะชัดออกมาเอง สถานการณที่ ๑ เมื่อคนอื่นเขาอยูเปนปกติ เราก็มีเมตตา คือ มี ความหวังดี มีความรัก มีความเปนมิตร (เมตตา มาจากรากศัพทเดียวกับคํา วา มิตร คือคุณสมบัติของมิตรนั่นเอง ไดแกน้ําใจที่หวังดีอยากใหเขาเปน สุข) สถานการณที่ ๒ เมื่อบุคคลอื่นนั้นตกต่ํา คือ เขาเดือดรอนเปน ทุกขประสบปญหา เราก็มีกรุณา คือพลอยหวั่นไหวสะเทือนใจไปกับ ความทุกขของเขา อยากจะชวยบําบัดทุกขนั้น หรือยกเขาขึ้นมาจากความ ทุกขนั้น (จะเห็นวา เมตตากับกรุณาตางกันมาก) สถานการณที่ ๓ เมื่อบุคคลอื่นนั้นเปลี่ยนจากปกติและตกต่ําเปน ขึ้นสูง คือเขาประสบความสําเร็จ มีความสุข ทําอะไรๆ ไดดี หรือกาวไป ในความดีงาม เราก็มีมุทิตา คือพลอยยินดีดวยในความดีงามและ ความสุขความสําเร็จของเขา พรอมที่จะสงเสริมสนับสนุน สถานการณที่ ๔ ซึ่งสําคัญที่สุดที่จะรักษาสังคมไวได คือ เมื่อ บุคคลอื่นนั้นละเมิดธรรม หรือสมควรรับผิดชอบตอธรรม เราก็มีอุเบกขา คือวางใจเปนกลาง ไมขวนขวายชวยเหลือที่จะทําใหเสียธรรม โดยวางเฉย ตอบุคคลนั้น ใหเขารับผิดชอบตอธรรมและตามธรรม ดํารงอยูในความ สมเหตุสมผล ในข อ อุ เ บกขานี้ จะต อ งเข า ใจหลั ก ความจริ ง พื้ น ฐานก อ นว า เบื้องหลั งสังคมมี ธรรมรองรั บอยู คื อหลักการแหงความเปนจริงตาม ธรรมชาติ ความเปนเหตุเปนผลในสิ่งทั้งหลาย หรือความเปนไปตามเหตุ ปจจัย การที่มนุษยมีความสัมพันธกันดี ไมพอที่จะทําใหสังคมอยูได แม


๑๔๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

มนุษยจะมีความสัมพันธกันดีใน ๓ สถานการณแรก แตถาเขาไมรักษา ธรรมไว สังคมก็อยูไมได แตจะวิปลาสคลาดเคลื่อนจนถึงความวิบัติ เพราะฉะนั้ น จึ งมี สถานการณ ที่ ๔ คือ ไม ว าความสั มพั นธ ของ มนุ ษย จ ะเป น อย า งไรก็ ต ามในสถานการณ ๑, ๒ หรื อ ๓ แต ถ า ความสั ม พั น ธ นั้ น ไปละเมิ ด ก อ ความเสี ย หายต อ ธรรมแล ว ก็ ม าถึ ง สถานการณที่ ๔ ซึ่งจะตองหยุ ดความสั มพันธนั้ น คือวางเฉย ไมชว ย ความสัมพันธระหวางบุคคลตองหยุด เพื่อรักษาธรรม นี้คืออุเบกขาซึ่ง เปนตัวรักษาหลักการของสังคม ไดกลาวแลววา เบื้องหลังความเปนไปในสังคมมนุษยที่เปนเรื่อง ของความสัมพันธระหวางคนดวยกัน ยังมีธรรม ที่เปนความจริงแหง ความถูกตองดีงาม ความที่ควรจะเปนตามเหตุผล ความเปนไปตามเหตุ ปจจัย หรือความเปนไปตามกฎธรรมชาติอีกชั้นหนึ่ง บนฐานแหงหลักความจริงแทตามกฎธรรมชาตินั้น เมื่อมนุษยเอา ความรูในความจริงมาตั้งเปนหลักการ เปนกฎเกณฑกติกาในสังคม เราก็ พลอยเรียกหลักชั้นสองที่มนุษยบัญญัตินี้เปน “ธรรม” ไปดวย เชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ตั้งขึ้นเพื่อเรียนธรรมศาสตร ก็คือเรียนวิชา กฎหมาย นี่คือการที่กฎของมนุษยก็ถูกเรียกเปนธรรมไปดวย หลักการที่วามาทั้งหมดนี้ ไมวาระดับไหน จะเปนระดับความจริง ในธรรมชาติ หรื อ หลั ก การในสั ง คมมนุ ษ ย ก็ ต าม ถ า ความสั ม พั น ธ ระหวางมนุษยไปละเมิดหรือจะกอใหเกิดความเสียหายตอหลักการนั้น มนุษยจะตองหยุดความสัมพันธระหวางกันแลวเอาธรรมเปนใหญ และ ปฏิบัติไปตามธรรม คือ เฉยตอคนและปฏิบัติไปตามธรรม ฉะนั้น อุเบกขาจึงเปนขอธรรมใหญที่คุมทาย เพราะเปนตัวรักษา หลักการไว ถาไมรักษาหลักการนี้ สังคมมนุษยแมจะมีการชวยเหลือกันดี ก็ไปไมรอด เพราะสังคมนั้นสูญเสียดุลยภาพ กลาวคือ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๔๗

๑. เมื่อคนมีน้ําใจตอกัน มีเมตตา กรุณา และแมแตมุทิตากันดี ก็มี ความอบอุนมีความสุขในการอยูรวมกันดี แตขอเสียจะเกิดขึ้นเนื่องจาก มนุษยจํานวนหนึ่งจะชอบหวังพึ่งผูอื่น โดยคิดวาถาเราเดือดรอนก็ไปหา ผู ใ หญ ค นนั้ น ได ไปหาญาติ ค นนี้ ไ ด เพราะฉะนั้ น เขาก็ ไ ม ดิ้ น รน ขวนขวาย สั งคมที่เ ปน เช น นี้ก็ จะทํ าใหค นจํานวนมากตกอยู ในความ ประมาท ออนแอ เฉื่อยชา หรือถึงกับเกียจคราน ๒. เมื่อเอาความสัมพันธระหวางบุคคลเปนหลัก ชอบชวยเหลือ กันเปนสวนตัว ก็อาจจะชวยกันจนเกินขอบเขต โดยไมคํานึงถึงหลักการ หรือความถูกตองชอบธรรม แมจะมีกฎเกณฑกติกาหลักการก็ไมเอา แต จะเลี่ยงหลีกหลบไป หรือมองขาม ตลอดจนทําลายกฎกติกานั้นเสีย เมื่อ เปนอยางนี้สังคมก็เสียหลัก ดวยเหตุนี้จึงตองมีอุเบกขาไวเปนประกัน เมื่ออุเบกขาเขามาคุม ก็ รั ก ษาดุ ล ของสั ง คมไว ไ ด ทํ า ให ค วามสั ม พั น ธ ร ะหว า งคนกั บ คน กั บ ความสัมพันธระหวางคนกับธรรมนี้สมดุลกัน ในทางตรงขาม ถามีแตขอสุดทายคืออุเบกขา ก็กลายเปนตัวใคร ตัวมัน เชน ในสังคมตะวันตก ฝรั่งมีชีวิตแบบตัวใครตัวมัน เมตตากรุณา นอย ไมคอยมีน้ําใจ แตยึดถือหลักการกฎเกณฑกติกาและกฎหมายเปน บรรทัดฐาน คุณจะทําอะไรก็ทําของคุณไป ฉันไมชวย ถาไมผิดกฎหมาย ฉันไมวาอะไร แตถาคุณทําผิดกฎหมายเมื่อไรฉันจัดการทันที ระหวาง นั้นฉันไมชวย เพราะฉะนั้น ถาคุณไมดิ้นรนขวนขวายคุณก็ตาย ในสังคมที่เนนอุเบกขาแบบนี้ ชีวิตจะขาดความอบอุน จะเครียด แหงแลง มีทุกขในจิตใจ เปนโรคประสาทและโรคจิตกันมาก แตเปนการ บีบคั้นคนใหตองดิ้น ก็เขมแข็งดี ทําใหเกิดความเรงรัดในการสรางความ เจริ ญ ก า วหน า พร อ มกั บ สามารถรั ก ษาหลั ก การและกฎเกณฑ ก ติ ก า ตลอดจนมีการปฏิบัติตามกฎหมายไดดี


๑๔๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

ในครอบครัวที่พอแมมีอุเบกขามาก เด็กถาไมรายเสียคนไปเลย ก็ จะเปนคนแข็งแกรง ชวยตัวเองไดดี บุกฝาไปได แตอาจจะเหี้ยมเกรียม ในครอบครัวนั้น ถาพอแมมีแตเมตตา กรุณา มุทิตา มาก ขาด อุเบกขา เด็กจะออนแอ เลี้ยงไมโต ไมมีความเขมแข็ง ทําอะไรไมเปน รับผิดชอบตัวเองไมได ชอบพึ่งพา ถาอยางแรงก็เปนนักเรียกรอง เอาแต ใจ และไมรจักกฎกติกา ทุกคนมีชีวิตแหงความสัมพันธ ๒ ดาน ดานหนึ่ง เราสัมพันธอยู รวมกับเพื่อนมนุษยดวยกัน ซึ่งเราควรจะมีน้ําใจไมตรีชวยเหลือกันและ กัน และเราก็ชวยกันได แตอีกดานหนึ่ง เราอยูกับความเปนจริงของโลก และชีวิต ซึ่งเปนไปตามเหตุปจจัยของมันตามกฎธรรมชาติ ที่ไมเขาใคร ออกใคร ทุกคนจะตองปฏิบัติตอความเปนจริงนี้ดวยปญญา โดยพัฒนา ความรความสามารถของตนขึ้นมาเพื่อใหสามารถรับผิดชอบตนเองได ในดานนี้ ถึงแมมนุษยจะชวยกัน ก็ชวยกันไมไดจริง และทําใหกันไมได จะชวยกันไดก็ดวยการชวยใหเขาฝกฝนพัฒนาตัวเขาเองขึ้นมาจนพึ่งตัว ของเขาเองได ฉะนั้น จะตองระลึกไวเสมอวา มนุษยไมไดอยูกับมนุษยเทานั้น แตมนุษยนั้นตองอยูกับความเปนจริงของโลกและชีวิตดวย ทุกคนมีชีวิต ที่รับผิดชอบตอความจริงของกฎธรรมชาติ ถึงแมในดานมนุษยเราจะ ชวยเหลือกันดี พอแมจะรักและทําใหลูกทุกอยาง แตชีวิตและโลกนี้มัน ไมไดมาตามใจดวย มันมีกฎมีเกณฑมีกติกาแหงธรรมตามความเปนจริง ของมั น ซึ่ ง ทุ ก คนจะต อ งปฏิ บั ติ ต อ มั น ให ถู ก ต อ งตามเหตุ ผ ลด ว ย สติปญญาความสามารถที่จะตองพัฒนาขึ้นมาในตนเอง ดวยเหตุฉะนี้ ทุกคนจะตองรับผิดชอบตอธรรม คือความเปนจริง ของชีวิตและสังคม และเราจะตองฝกตองหัดกันใหมีความสามารถนี้


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๔๙

ฉะนั้นมนุษยจึงตองมีทาทีขอที่ ๔ คือ อุเบกขาไวคุมทาย ชีวิตจึงจะดี และ สังคมจึงจะอยูได สรุปวา อุเบกขาที่เกิดจากปญญา เปนดุลยภาพในจิตใจ ที่ชวยให เกิดผลภายนอก ๓ ดาน (ของเรื่องเดียวกัน) คือ ๑. ชวยรักษาบุคคล ดวยการสรางโอกาสใหเขารจักรับผิดชอบตอ เหตุผลและความเปนจริงของโลกและชีวิต เชน คอยดูแลใหเด็กทําการตางๆ ดวยตนเอง เพื่อชวยใหเขาพัฒนาตนเองใหเขมแข็ง คิดเปน ทําเปน เปนตน ๒. ชวยรักษาสังคม ดวยการสนองเจตนารมณของขอตกลง (สมมติ)ที่วางไว โดยปฏิบัติตาม เปนตน ทําใหเกิดความเสมอภาค เชน การที่ ทุ ก คนจะมี ค วามเสมอกั น ต อ หน า หลั ก การกฎเกณฑ ก ติ กาและ กฎหมาย เปนตน ๓. ชวยรักษาธรรม ดวยการทําใหมีการปฏิบัติตาม ไมถูกคนลวง ละเมิด ดํารงรักษาไวไดซึ่งความถูกตอง ความชอบธรรม ความดีงาม หรื อ อย า งน อ ยความสมเหตุ ส มผล (ซึ่ ง มั ก ถื อ เอาตามความลงตั ว โดย เหตุ ผล หรื อการลงความเห็ นตามเหตุผลและหลั กฐาน ที่เรี ยกว าความ ยุติธรรม อันไดแก ธรรมคือยุตติ หรือธรรมโดยยุตติ) อุเบกขาทําใหเกิดดุลยภาพภายในจิตใจแลว ก็คุมพรหมวิหารทั้ง ๔ ใหอยูในดุลยภาพดวย และจึงทําใหเกิดดุลยภาพในสังคมมนุษย ดวย การเอาความรักความเอื้อเฟอเกื้อกูลใหแกคน พรอมกับในขณะเดียวกันก็ เอาความถูกตองดีงามและความพอดีไวใหแกธรรมชาติและสังคม เมื่ออุเบกขารักษาธรรมไวใหแกสังคม หรือระหวางคนตอคนกับ ธรรมไวไดแลว ก็ตองไมลืมเหลียวแลที่จะปฏิบัติตอคนนั้นๆ ดวยเมตตา กรุณามุทิตา เทาที่ไมเสียหรือกระทบตอธรรมดวย ไทยเราเรียกผูทําหนาที่ตัดสินอรรถคดีวา “ตุลาการ” ซึ่งจะแปลวา ผมีอาการดุจตราชู ก็ได ผสรางตุลาคือสรางตราชูหรือสรางมาตรฐาน ก็ได


๑๕๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

หมายความวา ดํารงตนคงที่ เที่ยงธรรม เปนมาตรฐานของสังคม เปน กลางตอทุก คน ทั้ งดี และราย สม่ํา เสมอในทุก กรณี ไมเลื อกที่ชอบใจ หรือไมชอบใจ ไมวาในสุขหรือทุกข วาไปตามที่เปนจริงตอทุกคนในทุก กรณี (ในภาษาบาลีทานใชคําวา “ตุลาภูตะ” แปลวา ผูเปนดุจตราชู มี คําอธิบายหลายแหง เชน วินย.อ.๓/๒๓๒; องฺ.อ.๒/๕๔; พุทฺธ.อ.๑๖๖-๗; จริยา.อ.๓๑๕ เปนตน) นี้คือภาวะที่จิตมีอุเบกขา เมื่อตั้งอยูในอุเบกขา ตัวของผปฏิบัติก็พรอมที่จะรักษาตนเองไว ไมใหลวง อคติ คือ การออกนอกทางที่ควรจะไป หรือความประพฤติ นอกทางแหงธรรม ที่แปลงายๆวา ความลําเอียง ๔ ประการ คือ (ที.ปา. ๑๑/๑๗๖๑๗๗/๑๙๕)

๑. ฉันทาคติ ลําเอียงเพราะ รัก หรือเพราะชอบกัน ๒. โทสาคติ ลําเอียงเพราะ ชัง หรือเพราะขัดเคือง ๓. ภยาคติ ลําเอียงเพราะ ขลาด หรือเพราะกลัว ๔. โมหาคติ ลําเอียงเพราะ เขลา หรือเพราะหลงผิดรูไมเทาถึงการณ∗ นี้คือภาวะแหงดุลยภาพในจิตใจของบุคคล ที่สงผลออกมาทําให รักษาดุลยภาพในสังคมไวได จะเห็นชัดวา พรหมวิหารสามขอแรกนั้นหนักในดานความรูสึก สวนขอที่สี่หนักดานความรู สามขอแรกหนักดานความรูสึกอยางไร เบื้องแรกเราพัฒนาคนให พนจากความรูสึกที่ไมดีมาสูความรูสึกที่ดีตอกัน ทําใหมีเมตตา เปนตน คือ ยามเขาเปนปกติ เราก็รสึกเปนมิตร เขาเดือดรอน เราก็รสึกสงสาร ∗

ลําดับเดิม คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ แตในที่นี้เรียงตามลําดับที่ตรัสสรุปไวในคาถา ซึ่งจํางาย กวา


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๕๑

เห็นใจ เขาไดดีมีสุข เราก็รสึกพลอยชื่นชมยินดีดวย ทั้งหมดนี้เปนดาน ความรสึก ซึ่งเมื่อสถานการณนั้นๆ มาถึง ก็พรอมทันที แตขอที่ ๔ คืออุเบกขา อาศัยความรสึกไมได ตองอาศัยความรู คือ ปญญาดวย เพราะฉะนั้นอุเบกขาจึงตองมากับปญญา เพราะตองรูวาอะไร คือความจริง อะไรคือความถูกตอง อะไรคือความดีงาม อะไรคือหลักการ แลวจึงจะปฏิบัติคือมีอุเบกขาได ฉะนั้น อุเบกขาจึงตองตั้งอยูบนปญญา เพราะฉะนั้น ในพระพุทธศาสนาจึงแยกวา อุเบกขามี ๒ ชนิด คือ อุเบกขาที่เปนกุศลนี้ กับอุเบกขาที่เปนอกุศล ซึ่งเรียกวา “อัญญาณุเบกขา” แปลวา เฉยโง คือเฉยไมรูเรื่อง ไมเอาเรื่อง แลวก็ไมไดเรื่อง เฉยในภาษาไทย เรามักจะมองแบบเฉยโง ซึ่งผิด เปนอกุศลธรรม ฉะนั้น เฉยในที่นี้ตองหมายความวา เฉยเพราะรูวาถาชวยเขาจะกลายเปนการ ทําลายธรรม จึงเฉยไมเอากับบุคคลนั้น เพื่อจะไดปฏิบัติใหเปนไปตาม ธรรม โดยเฉพาะผูพิพากษา จะตองมีทาทีอุเบกขานี้มากหนอย แมวาจะ สงสารหรืออยางไรก็โ อนเอนไมได ตองวาไปตามกฎกติกา และตาม หลักการ เพราะฉะนั้น อุเบกขาจึงเปนตัวรักษาธรรม เชนความเที่ยงธรรม ในสังคมไว ในหมูมนุษยจะตองมีธรรมขอที่ ๔ นี้ไวเพื่อรักษาธรรมวินัย ตลอดจนกฎเกณฑกติกา อยางที่วากฎตองเปนกฎ อะไรทํานองนี้

พฤติกรรมจะถึงภาวะแหงดุลยภาพ เมื่อจิตใจและปญญามาประสานอยางสมดุล อยางไรก็ตาม ที่วากฎตองเปนกฎ ก็ตองระวังเหมือนกัน เพราะกฎ มี ๒ ชั้น อยางที่วามาแลว คือกฎธรรมชาติ กับกฎมนุษย


๑๕๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

กฎธรรมชาติซึ่งเปนความจริงแทที่มีอยูเปนอยูของมันตามธรรมดา นั้น เราตองรูและรใหชัดใหทั่วตลอด เพราะถาไมรูเราก็พลาด กฎไมผิด แตเราเองพลาด ส ว นกฎมนุ ษ ย นี้ ม นุ ษ ย สร า งขึ้ น มา เมื่ อ มนุ ษ ย ส ร า งเองก็ มี ท าง พลาด กลายเปนกฎที่ผิด เพราะฉะนั้น การที่จะเอากฎหมายเปนเกณฑก็ จะตองคอยตรวจสอบกฎหมายตลอดเวลาดวย โดยเฉพาะตองดูวามัน สอดคลองกับความเปนจริงของกฎธรรมชาติคือตัวธรรมหรือเปลา ฉะนั้น สําหรับกฎหมายคือกฎที่มนุษยตั้ง หรือวินัย จึงตองคอย ตรวจสอบความถูกตองสอดคลองและความไดผลตามกฎธรรมชาติหรือ ความจริงตามธรรมอยูเสมอ เพื่อใหบรรลุจุดหมายที่เปนธรรมนั้น ซึ่ง ตองอาศัยการที่รูทั้งหมด คือรทั้งดานกฎธรรมชาติ และรดานมนุษยทั้งแง บุคคลและสังคม การจะวางกฎหมายไดดี ตองรูเขาใจธรรมชาติ ทั้งธรรมชาติทั่วไป คื อ ความจริ ง แห ง ธรรมดาของสิ่ ง ทั้ ง หลาย และธรรมชาติ ข องมนุ ษ ย เข า ใจจุ ด หมายของชี วิ ต เข า ใจจุ ด หมายของสั ง คม ตลอดจนเข า ใจ จุ ด หมายของกฎหมายเอง ซึ่ ง ต อ งไปสอดคล อ งกั บ จุ ด หมายที่ ว า มา ทั้งหมดนั้น ถาไมเชนนั้น จุดหมายของกฎหมายก็พลาดได รวมความวา กฎหมายซึ่งเปนกฎมนุษยนี้จะตองมีการตรวจสอบ อยูเสมอ มิฉะนั้น แมแตอุเบกขาก็อาจจะพลาดเหมือนกัน ในกรณีที่เอา กฎหมายซึ่งเปนกฎชั้นรองมาใช เรื่องของกฎหมายมีทางพลาดไดทั้ง ๒ ขั้นตอน คือ ทั้งการบัญญัติ กฎหมาย และการใชกฎหมาย (ทั้งสองขั้นนี้เปนดานพฤติกรรม) และ ผิดพลาดดวยเหตุสําคัญ ๒ ประการ คือ ๑. ดานปญญา ไมรความจริง คือไมรเทาทันทั่วถึงธรรม คําวา “ธรรม” นี้มีหลายชั้น วากันถึงที่สุดก็คือตัวธรรมที่เปนความจริงใน


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๕๓

ธรรมชาติ ถาไมรูความจริงนี้ เชน ไมรูไมเขาใจชีวิตมนุษย และไมเขาใจ เหตุปจจัยในสังคม วาเวลานี้สังคมเปนอยางไร มีปญหาอยางไร กลไก ของปญหาสังคมเปนอยางไร การทําเหตุปจจัยอยางนี้ๆ จะกอใหเกิดผล ในสังคมสะทอนกันไปอยางไร ถาปญญาไมรูความจริงนี้เพียงพอ การ บัญญัติกฎหมายจะพลาดทันที เพราะฉะนั้นจึงตองรเขาใจความจริงของ ตัวธรรมทุกระดับ ตอจากปญญาที่รความจริงคือธรรม เชนเหตุปจจัยทั้งหลายแลว ก็ ยังตองมีปญญาในขั้นจัดตั้งวางวินัย คือ รจักจัดระเบียบระบบขึ้นมาอยาง ประสานสอดคลองและใหไดผลจริงตามธรรมนั้นดวย ๒. ดานเจตนา (คือดานจิตใจ) ถามีเจตนาแอบแฝง เชน คิดจะหา จะเอาผลประโยชนแกตัวหรือพวกของตัว หรือจะกลั่นแกลงทํารายคน อื่นพวกอื่น ก็จะทําใหพลาดอีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้น การบัญญัติวินัยที่เปนกฎในระดับสังคมมนุษยจึงมี ทางผิดพลาด ที่ทําใหตองมีการตรวจสอบอยูเสมอ ๒ ชั้นดวยกัน คือ ๑. ปญญาเพียงพอหรือไม มีความรูความเขาใจทั่วตลอดและ วางแผนจัดตั้งไดสอดสมทั่วถวนไหม ๒. เจตนาเปนอยางไร ในการใชกฎหมาย ถาปญญาไมพอ ไมรความจริง หาความจริงไม ทั่วถึง ก็เกิดความผิดพลาด ถาเจตนาไมดี ก็อาจจะเลี่ยงหลบหรือเอา กฎหมายเปนเครื่องมือสนองเจตนารายนั้น ขอเพิ่ มเติ มในเรื่ อ งนี้ อี ก หน อย คื อ ในการใช กฎหมาย หรื อใช หลักการกฎเกณฑกติกา ดังไดกลาวแลววา ในทางวินัยหรือกฎหมายมี กรรมชนิ ด ที่ เป นสมมติ ซึ่ งทํ าใหไ มต องรอกรรมตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น เมื่อมีพระภิกษุทําผิดวินัย สงฆก็ตองดําเนินการ ถาใครละ


๑๕๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

เวนก็มีความผิด แมแตภิกษุรูวาภิกษุรูปหนึ่งทําความผิดรายแรง แลวชวย ปกปดความผิดนั้น ก็เปนอาบัติ นอกจากในกรณีที่มีความผิดเกิดขึ้นแลว แมแตในยามปกติ ทุก ๑๕ วั น ก็ ต อ งมี ก ารประชุ ม ครั้ ง หนึ่ ง เพื่ อ ให ภิ ก ษุ ทุ ก รู ป ตรวจสอบความ ประพฤติของตนตามปาติโมกข คือประมวลกฎหมาย ที่เปนวินัยขั้น พื้นฐาน (ยังมีวินัยอีกระดับหนึ่งซึ่งวาดวยการจัดกิจการของสวนรวม อัน นั้นไมตองเอามาตรวจสอบกันในที่ประชุมนี้) คือเอาวินัยที่เปนขอ ประพฤติสวนบุคคลมาสาธยายในที่ประชุมทุก ๑๕ วัน ถามีใครทําผิดก็ จะตองจัดการทันที เชนมีการลงโทษ วิธีการลงโทษก็เปนเรื่องหนึ่งที่จะตองมีหลัก ขอเลาเรื่องในพระ สูตรเปนตัวอยาง (ม.อุ.๑๔/๑๐๕-๑๑๓/๘๙–๙๖) เมื่อพระพุทธเจาปรินิพพานใหมๆ พระอานนทยังอยู พระอานนท นี้ใกลชิดพระพุทธเจามาก วันหนึ่งวัสสการพราหมณ มหาเสนาบดีของ แควนมคธ เดินทางมาตรวจราชการงานเมือง ดูแลงานซอมแซมพระนคร มาถึงที่พระอานนทกําลังสนทนากับพราหมณคนหนึ่งคางอยู สนทนากันมาถึงตอนที่พราหมณถามวา มีพระภิกษุรูปใดบางไหม ที่มีคุณสมบัติพรอมทุกอยางเทากับพระพุทธเจา พระอานนทตอบวาไมมี เพราะพระพุทธเจาทรงเปนผคนพบและเปนผชี้แสดงมรรคา สวนสาวก ทั้งหลายเปนผูรูตาม ดําเนินตาม วัสสการพราหมณจึงถามตอวา พระพุทธเจาก็ทรงปรินิพพานไปแลว พระองคไดตั้งใครเปนหัวหนาปกครองสงฆตอไป พระอานนทตอบวา ไมได ตั้ง วัสสการพราหมณนี้เปนนักปกครองบริหารกิจการบานเมืองอย จึง ว า พวกท า นไม มี หัว หน า ไมมี ผู ปกครอง จะอยู ร ว มกั นไดอยา งไร ความพรอมเพรียงสามัคคีจะเกิดขึ้นไดอยางไร


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๕๕

พระอานนทก็ตอบวา พวกเราไมใชจะไมมีหัวหนา พวกเรายึดถือ ธรรมคือหลักการ พวกเราอยูกันดวยหลักการ คือยึดถือธรรม วัสสการพราหมณก็ถามตอไปวา ที่ทานวาอยูกันดวยหลักการ คือ ยึดถือธรรมนั้น หมายความวาอยางไร พระอานนทก็ตอบวา พระพุทธเจาทรงบัญญัติสิกขาบท วางวินัย แม บ ทเป น หลั ก อ า งอิ ง ไว แ ล ว เมื่ อ ถึ ง วั น อุ โ บสถ ๑๕ วั น ครั้ ง หนึ่ ง พระภิกษุที่อยูในทองถิ่นหนึ่งๆ ก็มาประชุมพรอมกัน ขอใหพระภิกษุรูป หนึ่งสวดสาธยายสิกขาบทที่วางไวเปนแมบทนั้น เมื่อมีพระทําความผิด สงฆคือที่ประชุม ก็ใหภิกษุรูปนั้นปฏิบัติตามกติกา การที่ปฏิบัติเชนนี้ไม ถือวาใครลงโทษภิกษุนั้น แตถือวาธรรมลงโทษเขา อันนี้เปนหลักการที่สําคัญ คือกฎเกณฑกติกามีอยูแลว สิกขาบทมี อยูวาดังนี้ ใครทําความผิด ที่ประชุมเพียงแตเปนสื่อ มาเปนตัวแทนของ หลักการ มาเปนปากเสียงใหแกหลักการ เพื่อจะใหหลักการที่วางไวมีผล ในเชิงปฏิบัติ ที่ประชุมและภิกษุทั้งหลายมาเปนกระบอกเสียงใหแกตัว หลักการนั้น แตเวลาที่ลงโทษถือวาหลักการลงโทษ ไมมีภิกษุรูปใดลงโทษ สวนที่วาพระพุทธเจาไมไดทรงตั้งภิกษุใดไวเปนหัวหนาปกครอง สงฆแทนพระองค แตภิกษุทั้งหลายก็มีภิกษุที่เคารพนับถือเปนหัวหนา นั้ น ก็ ห มายความว า พระพุ ท ธเจ า ทรงแสดงธรรมคื อ หลั ก การที่ เ ป น คุณสมบัติไว ภิกษุใดมีคุณสมบัติอยางนั้น ภิกษุทั้งหลายก็พรอมใจกันยก ภิกษุรูปนั้นขึ้นเปนที่เคารพนับถือเชื่อฟง นี่คือ การไมตั้งบุคคล แต ยึดถือหลักการ อันนี้ก็เปนแงของนิติศาสตรแนวพุทธ อีกเรื่องหนึ่ง คือผูพิพากษา จะตองทําใจและวางทาทีแบบนี้ คืออยาไปนึกวาเราเปนผูลงโทษ ถาคิด อยางนั้นก็ผิดแนนอน ผพิพากษาตองทําใจใหบริสุทธิ์ ปราศจากความร สึกที่เปนตัวเขาตัวเรา มีแตเจตนาที่รักษาธรรม และใชปญญาที่รความ


๑๕๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

จริงถองแท ทําหนาที่เปนเพียงกระบอกเสียงใหแกตัวธรรมคือหลักการ และตัวบทกฎหมายเทานั้น เมื่อทําไดอยางนี้ ถามีการลงโทษ ก็คือกฎหมายลงโทษเขา กติกา ลงโทษเขา ตัวธรรมลงโทษเขา ถ า มี ใ จบริ สุ ท ธิ์ แ ละป ญ ญาถ อ งแท ถึ ง ที่ สุ ด แล ว ก็ เ ป น ตั ว ธรรม ลงโทษเขา นี่คือใหธรรมในระดับหลักการของมนุษยมาทําหนาที่ เพราะ ถารอใหธรรมในกฎธรรมชาติมาแสดงผล สังคมอาจจะวิปริตไปเสียกอน ก็ได เพราะฉะนั้ น เมื่ อ มนุ ษ ย มี ค วามสามารถในการจั ด ตั้ ง เราก็ ใ ช ความสามารถนั้นจัดสรรระบบของสังคมเพื่อจะดําเนินการใหเปนไป ตามธรรม โดยมุงใหมีประสิทธิผลในการที่สังคมจะอยูรวมกันดวยดี คน ที่ดําเนินการตามหลักการและกฎกติกาอยางนี้ ถือวาดําเนินการตามธรรม เปนสื่อใหแกธรรม เปนทางผานของธรรม หรือเปนกระบอกเสียงแก ธรรม ไมใชเปนผูไปทําอะไรของตนเอง และไมใชไปลงโทษเขา นอกจากนั้ น เมื่ อ เราปฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย หรื อ ตามวิ นั ย โดยมี ความรู สึ ก ต อ กฎหมาย ด ว ยท า ที แ ห ง การปฏิ บั ติ ต อ กั น ระหว า งเพื่ อ น มนุ ษ ย ที่ มุ ง เพื่ อ จะรัก ษาธรรม ก็ จ ะเป น การปฏิบั ติ ด ว ยสภาพจิ ต ของ พรหมผูสรางสรรคอภิบาลโลก คือพรหมวิหาร ๔ ขอที่กลาวแลวนั้น มนุษยจะมีทาทีตอกฎหมายตางกันเปน ๓ ระดับ ซึ่งตองขึ้นตอ การที่กฎหมายนั้นเปนธรรมหรือไมดวย ทาทีที่ ๑ คือความรูสึกแบบเปนเครื่องบังคับ ถือวาเปนความรูสึก ที่ต่ําสุด และจะไมยั่งยืน เดี๋ยวนี้เราชอบใชคําวายั่งยืน โดยเฉพาะในคําวา การพัฒนาที่ยั่งยืน กฎหมายก็จะไมยั่งยืน และสังคมนี้ก็จะไมยั่งยืน ถา มนุษยเต็มไปดวยความรูสึกวากฎเกณฑกติกาทั้งหลายเปนขอบังคับ ทาที ที่ ๑ คือทาทีความรสึกวากฎหมายเปนเครื่องบังคับ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๕๗

ทาทีที่ ๒ เปนทาทีแบบพระพุทธศาสนาที่มองวา กฎเกณฑกติกานี้ เราบัญญัติจัดวางขึ้นมาเพื่อสรางสภาพเอื้อในสังคม ที่จะเปนโอกาสให คนพั ฒ นาความสามารถที่ จ ะมี ชี วิ ต ที่ ดี ง าม เพราะฉะนั้ น คนจะมอง กฎเกณฑกติกา วาเปนเครื่องฝกตน ดังที่เรียกวา สิกขาบท คือเปนขอฝก หรือขอเรียนรู ที่จะเอามาปฏิบัติดวยจิตใจที่รูสึกวาจะฝกตัวเอง หรือจะ เรียนรเพื่อจะไดปฏิบัติไดถูกตองใหเกิดผลดีตามวัตถุประสงค เพราะวา การที่เราจะเขาถึงชีวิตที่ดีงามได เราจะตองมีระบบความเปนอยูที่เอื้อ เมื่อมีความเขาใจอยางนี้ เขาก็จะมีความสํานึกตระหนักวา ระบบ ชีวิตแบบนี้เราตองทําใหได เมื่อเราทําไดแลวเราจะสามารถมีชีวิตที่ดี จาก นี้เขาก็เต็มใจและพรอมใจ ที่จะปฏิบัติอยางเปนการฝกตน ถามองกวางออกไปก็คือ ในสังคมนี้ การที่เราจะอยูรวมกันดวยดี เหตุผลก็มีอยูแลว วาเราจะตองมีความประพฤติกันอยางนี้ เพราะฉะนั้น เราจะตองพยายามปฏิบัติ มาฝกตัวกัน อยาถือเปนขอบังคับ เราจะตองฝก ตัว พัฒนาตัวกันจนกระทั่งอยูตัว จนกระทั่งเรามีความประพฤติอยางนั้น เปนธรรมดา มนุษ ยนี้ฝ กได เรี ยนรู ได เพราะฉะนั้น เมื่อทานเห็ นวากฎนี้ เขา สรางขึ้นเพื่อใหเกิดสภาพเอื้อตอชีวิตที่ดีงามของเราตอไป ถาเราอยากจะ มีชี วิ ต ที่ดี งาม เราก็ต องปฏิบั ติ ตามกฎนี้ เราต องมาฝก กั น เมื่อฝ ก แล ว ตอไปเราจะทําไดเปนธรรมดาไปเลย มันก็จะเปนสภาพชีวิตที่ดีงามเกิด ขึ้นมา สังคมก็บรรลุวัตถุประสงคที่จะเปนสภาพเกื้อกูลตอชีวิตของแตละ ตนดวย และสังคมเองก็อยูดีดวย ดั ง นั้ น มนุ ษ ย จ ะต อ งมองกฎกติ ก าเหล า นี้ เ ป น ข อ ฝ ก คื อ เป น สิกขาบทอยางที่วา ถาถึงขั้นนี้แลวมนุษยจะเริ่มพัฒนา ทาทีที่ ๓ มนุษยที่พัฒนายิ่งขึ้นกวานี้ จะไปถึงอีกระดับหนึ่งที่จะมี ปญญารูเขาใจวา กฎเกณฑกติกาของสังคมนี้ มนุษยวางขึ้นดวยเหตุผล


๑๕๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

เพื่อจะใหอยูรวมกันดวยดี และจะไดมีสภาพเอื้อตอการพัฒนาชีวิตที่ดี งาม ดั ง ที่ เ ห็ น ได ชั ด ๆแล ว เพราะฉะนั้ น กติ ก าเหล า นี้ จึ ง เป น เพี ย ง เครื่องหมายรูวาเราจะอยกันอยางไรเทานั้นเอง เพื่อใหมีชีวิตที่ดีงาม และ ให สั ง คมมี ส ภาพที่ เ อื้ อ อย า งที่ เ ราต อ งการและอย า งที่ มั น ควรจะเป น เพราะฉะนั้น เราจึงตองปฏิบัติตามกติกาในการที่จะอยูรวมกันอยางนี้ เพราะฉะนั้น กฎหมายและกฎเกณฑกติกาจึงเปนเพียงขอหมายรู รวมกันวาจะเอาอยางไร มนุษยที่มีทาทีความรสึกขั้นนี้เรียกวาเปนคนที่ พัฒนาไปมากแลว พระอรหันตจะอยูดวยทาทีความรูสึกแบบนี้ แมแตพระอรหันตก็ตองมีกติกา คือตองมีวินัย ทําไมพระอรหันต ตองมีวินัย เพราะการอยูรวมกันตองมีระเบียบระบบ เชน จะมาฉันพรอม กันเวลาเชา ก็ตองวางกติกาวาฉันเวลาไหน จะเอาสิ่งใดเปนเครื่องนัด หมาย ถ าใช ร ะฆั ง จะตี กี่ ที ก็ ตกลงบั ญญั ติ กติ กาว า ถ าตี ระฆั ง ๒ ครั้ ง หมายถึงมีเหตุการณอยางนี้เกิดขึ้น ๓ ครั้งนัดประชุม ๕ ครั้งบอกเวลาฉัน ตลอดกระทั่งวาเมื่อมาแลวจะนั่งกันอยางไร จะทําอะไรกันอยางไร พูด สั้นๆ วาตองมีวินัย เพราะฉะนั้ น แม แ ต พ ระอรหั น ต ผู พั ฒ นาสู ง สุ ด แล ว ก็ ต อ งมี กฎเกณฑ ก ติ ก าของสั ง คม ไม เช นนั้ นก็ อยูด ว ยกัน โดยเรี ย บร อ ยด ว ยดี ไมได เพราะแทนที่จะเกิดมีโอกาส ก็กลายเปนเกิดความขัดของ เปนอันวา เมื่อมนุษยอยูรวมกัน ก็ตองมี social contract แต ความหมายอาจจะไมเหมือนของฝรั่ง๑ พระอรหันตคือมนุษยที่พัฒนา ๑

ในฝายตะวันตก บุคคลหลักที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ social contract ๓ ทาน คือ Thomas Hobbes, John Locke และ Jean Jacques Rousseau แมจะมีทัศนะในเรื่องนี้ตางกันบาง แตกร็ วมลงเปน อยางเดียวกันในแนวคิดใหญของตะวันตก ที่มองมนุษยแยกตางหากจากธรรมชาติ และเห็นวาการจัดการ ทางสังคมอยางนี้ เปนเรื่องตรงขามกับภาวะของธรรมชาติ (ที่ปาเถื่อนไรขื่อแป) ซึ่งบุคคลตองยอมสละ


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๕๙

สมบูรณแลว มองกติกาเหลานี้ดวยความเขาใจดวยปญญาวา เปนเพียง เครื่องหมายรูรวมกัน เพื่อใหเราอยูรวมกันดวยดีเทานั้นเอง ถามนุษยพัฒนาถึงขั้นนี้ โดยมีความรูสึกตอกฎหมายอยางนี้ได ก็ เปนมนุษยที่พัฒนาแลว เรียกวาเปนผมีการศึกษา แตถามนุษยยังมองกฎหมายเปนเครื่องบังคับอยู ก็แสดงวามนุษย ยังไมมีการศึกษา หรือไมเชนนั้นก็มีกฎหมายที่เปนเครื่องบังคับเขาจริง คือกฎหมายไมเปนธรรม แตถากฎหมายเปนธรรม ก็แสดงวามนุษยไมมี การศึกษา จึงมองวากฎหมายเปนเครื่องบังคับ ถาคนมีการศึกษา อยางนอยก็จะมองวากฎหมายเปนเครื่องฝกตน เพื่อเปนปจจัยเอื้อตอการที่จะมีชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป และ ถาเขาพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกจนสมบูรณแลว ก็จะมองกฎหมายวาเปน เครื่องหมายรูรวมกัน ซึ่งตรงตามความหมายของสมมติที่แทจริง คือเปน เรื่องของมติรวมกัน การตกลงหรือรับรรวมกัน หรือยอมรับรวมกัน ดวย เหตุผลเพื่อความดีงามรวมกัน ทั้งของชีวิตแหงบุคคลและของสังคม พู ด มาถึ ง ตรงนี้ คงจะช ว ยให ม องเห็ น ความหมายที่ แ ท แ ละ ความสําคัญของ “สมมติ” พรอมทั้งวิธีปฏิบัติที่ถูกตองตอสมมตินั้น ที่วา ไมละเลย แตถือสําคัญ อยางรูเทาทัน ใชประโยชนไดถูกตอง โดยไมหลง ติดนั้น คืออยางไร (พึงศึกษาจากพุทธพจนในที่ตางๆ เชน ที.สี.๙/๓๔๒/๒๔๘; สํ.ส.๑๕/๖๕/ ๒๑)

สิทธิเสรีภาพของตนบาง เพื่อไดรับการคุมครองจากสังคมหรือจากผูปกครอง สวนทางพระพุทธศาสนา มองมนุ ษย เป นธรรมชาติ สวนพิ เศษที่ ฝก ศึ ก ษาได การจั ด การทางสั ง คมอย างนี้ ก็เป น การประสาน ประโยชนจากความจริงของธรรมชาตินั่นเอง มนุษยที่พัฒนาแลวจึงมีชีวิตจิตใจที่กลมกลืนกับกติกาทาง สังคมที่ตกลงจัดวางกันขึ้นนั้น


๑๖๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

ถาประชาชนประพฤติตามกฎหมายดวยจิตสํานึกอยางหลังนี้ ก็พูด ไดวา สังคมบรรลุความสมบูรณแล วในแงของนิติศาสตร เพราะยอม หมายถึงการที่คนพัฒนาแลวอยางสมบูรณ จนทั้ง ๓ ดานของชีวิต คือ ทั้ง พฤติกรรม จิตใจ และปญญา มาบูรณาการประสานกันลงตัว ทางด า นป ญ ญาก็ ร เ ข า ใจเหตุ ผ ลและความมุ ง หมายของวิ นั ย ทางดานจิตใจก็มีความเต็มใจและรวมใจ พรอมทั้งทางดานพฤติกรรมก็ ปฏิบัติตามดวยดีอยางมีเหตุผล แตในความเปนจริง สังคมจะไมบรรลุภาวะนี้ เพราะเปนธรรมดา วา ในขณะหนึ่งขณะเดียวกัน มนุษยทั้งหลายยอมอยูในระดับการพัฒนา ที่ตางกันหลากหลาย อย า งไรก็ ต าม มนุ ษ ย จ ะปล อ ยตั ว ประมาทไม ไ ด จะต อ งเพี ย ร พยายาม อยางนอยใหมีคนจํานวนหนึ่งมีทาทีปฏิบัติในระดับที่ ๓ โดยให คนจํานวนมากที่สุดมีทาทีปฏิบัติในระดับที่ ๒ และใหคนที่มีทาทีปฏิบัติ ในระดับที่ ๑ มีจํานวนนอยที่สุด สังคมก็จะยังพออยูกันได และนับไดวา เปนสังคมที่ดี

ความเครงครัดในวินัย ประสานกับจิตใจที่ไมยึดมั่น คํานึงแตจะรักษาธรรมเพื่อประโยชนสขุ ของปวงชน กิจกรรมหรือขอยึดถือปฏิบัติที่ตกลงกันในสังคมมนุษย พระทาน ใชคําวา “สมมติ” ทั้งนั้น ตัวอยางเชน มีจีวรเกิดขึ้นในวัด พระภิกษุแตละรูปในวัดนัน้ มีสทิ ธิ สิทธิก็เปนของสมมติเหมือนกัน ญาติโยมอาจไดสิทธิมีของครอบครอง มากมาย แตพระมีสิทธิเพียงเครื่องใชที่เรียกวา บริขารนิดเดียว เชน มีไตร


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๖๑

จีวรที่ถือไดจริงๆ ชุดเดียว นอกจากนั้นแลวมีสิทธิครอบครองไดแค ๑๐ วันเปนอยางมาก เกินกวานั้นเก็บไมได แลวทีนี้จะทําอยางไร ถ า จี ว รเกิ ด ขึ้ น มากมาย ก็ ใ ห มี พ ระภิ ก ษุ รู ป หนึ่ ง เป น เจ า หน า ที่ สําหรับเก็บ เรียกวา จีวรนิทหกะ แปลวาภิกษุเจาหนาที่เก็บจีวร ภิกษุองคหนึ่งจีวรขาด อยากจะไดจีวรใหม จะไปหาภิกษุองคที่ เก็บก็ไมได เพราะองคเก็บไมมีหนาที่แจก ตองไปหาพระภิกษุอีกองค หนึ่งผูมีตําแหนงเรียกวา จีวรภาชกะ แปลวา ภิกษุเจาหนาที่แจกจีวร ภิกษุทั้ง ๒ รูปนี้ คือทั้งพระจีวรนิทหกะ (ผเก็บจีวร) และพระจีวร ภาชกะ (ผแจกจีวร) ตองไดรับแตงตั้งจากสงฆ โดยมีกฎเกณฑบัญญัติวา ตองมีคุณสมบัติพื้นฐานอยางนี้ๆ คือ ไมมีอคติ ทั้ง ๔ และรงานในหนาที่ โดยเขาที่ประชุมพิจารณาแลว ที่ประชุมตกลงมีมติรวมกัน แตงตั้งภิกษุ รูปนี้เปนผูเก็บจีวรหรือเปนผแจกจีวร การเลือกตั้งภิกษุรูปใดรูปหนึ่งขึ้นมาทําหนาที่อันใดอันหนึ่ง ใหมี ตําแหนงหนาที่อยางนี้ เรียกวา สมมติ คําวา “สมมติ” ของพระ ไมใชเปนเรื่องเหลวไหลอยางที่ญาติโยม เขาใจกัน แตเปนเรื่องที่จริงตามสมมติ คือตามที่ตกลงกันนั้น เมื่อภิกษุรูป นั้นไดรับการสมมติแลว ก็มีอํานาจหนาที่จริงๆ (ตามที่ตกลงกัน) ในการ ที่จะเก็บจีวร หรือในการที่จะแจกจีวร เปนตน อีกตัวอยางหนึ่ง การสรางโบสถจะตองมีนิมิต คือเครื่องหมายเขต เวลาผูกสีมาคือตกลงกําหนดเขตนั้น ก็เรียกวา “สมมติสีมา” สมมติ ก็คือ มติรวมกันดังที่กลาวแลว เรื่องของสังคมมนุษยนั้น เปนเรื่องของมติที่มนุษยจะตกลงกันวา จะเอาอยางไร เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สมมติ” ทั้งสิ้น แตกลาวแลววา สมมติ เ ป นเรื่อ งที่ สํ าคั ญ มาก อารยธรรมของมนุ ษยตั้ง อยูบนฐานของ สมมติ เพราะมนุษยมีความสามารถในการสมมติ จึงสามารถทําการ


๑๖๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

สรางสรรคอารยธรรมใหเจริญงอกงามขึ้นมาได เพราะเหตุที่สมมติเปน เรื่องจริงในระดับหนึ่ง และเปนเรื่องใหญทีเดียว ในพระพุทธศาสนา ทานจึงแสดงไวทั้งปรมัตถสัจจะ และสมมติสัจจะ การเขาถึงสมมติ คือการรเขาใจตามเปนจริงวา กฎเกณฑเปนตนนี้ เป น สิ่ ง ที่เ ราตกลงกั นกํ าหนดตั้ งขึ้น เพื่ อประโยชน บ างอย า ง เมื่ อเรามี เหตุผลในการตั้งกฎเกณฑขึ้นมาเพื่อประโยชนอันนี้ เราก็ตองปฏิบัติให ถูกตองตามสมมตินั้น เพราะฉะนั้น พระจึงมีลักษณะที่วายิ่งพัฒนาไปก็ จะยิ่งปฏิบัติตามวินัยไดเครงครัด อาจมีผูสงสัยวา ขอปฏิบัติตางๆ ที่เรียกวาการรักษาสิกขาบทนั้นก็ เปนขอฝกเทานั้น พระอรหันตเปนผฝกเสร็จแลว ไมตองฝกอีกตอไปแลว ทําไมจะตองปฏิบัติดวย ก็กลายเปนวาพระอรหันตยึดถือสมมติมากใชไหม ตอบวา ตามปกติคนเรานั้น แบงไดเปน ๒ ประเภท คือ ผูที่ยังฝก กับผูที่ฝกแลว หรือผูที่กําลังศึกษากับผจบการศึกษา หรือผูที่กําลังพัฒนา กับผูที่จบการพัฒนาแลว พระอรหันตนั้นจบการพัฒนาแลว แตปรากฏวา เปนผู ที่ถือวินัยจริงจังมาก เพราะอะไร มีเหตุ ผลในเรื่องนี้อยางน อย ๓ ประการ คือ ๑. เปนผูนํา พระอรหันตในฐานะที่เปนผูสมบูรณแลว จึงตอง ปฏิบัติตนเปนผูนําเขาในความเครงครัดในสิกขาบท ขอยกตัวอยางวา (วิน ย.๔/๑๕๓/๒๐๘) เมื่อครั้งที่พระพุทธเจาทรงบัญญัติใหพระภิกษุลง อุ โ บสถสวดปาติ โ มกข ทุ ก ๑๕ วั น มี พ ระอรหั น ต อ งค ห นึ่ ง ดํ า ริ ว า หลักการนี้บัญญัติขึ้นเพื่อจะตรวจสอบความบริสุทธิ์ เราเปนผูบริสุทธิ์ แลว ควรจะตองไปหรือไม พระพุทธเจาเสด็จมาถึงตัวเลยตรัสวา ถาเธอผู บริสุทธิ์แลวไมเคารพกฎ แลวใครจะเคารพกฎ ถาเธอผูบริสุทธิ์แลวไมถือ สําคัญ ใครจะเห็นสําคัญ เพราะฉะนั้น พระอรหันตจึงตองเปนผูนําใน การรักษาสิกขาบท


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๖๓

๒. เปนแบบอยาง ซึ่งก็อยูในฐานะผูนําดวยเหมือนกัน ทานเรียกวา ปฏิบัติเพื่อใหชนรุนหลังถือเปนแบบอยาง ขอนี้สําคัญมาก หมายความวา ไมใชปฏิบัติเพื่อตัวเอง เพราะตัวเองพัฒนาสมบูรณแลว สําหรับตัวเองทํา ใหพอแลว เต็มแลว เพราะฉะนั้น ตอนนี้ก็คิดแตจะทําเพื่อผูอื่น อะไรจะ เปนการดีแกคนรุนหลัง ก็ทําใหเปนตัวอยางไว ดังเชน พระมหากัสสปะ ทานแกมากอายุถึง ๑๒๐ ป แตทานก็ยัง ถือธุดงค เชน อยูปาเปนวัตร ถือผาบังสุกุลเปนวัตร เปนตน พระพุทธเจา เคยตรัสกับพระมหากัสสปะวา เธอถือธุดงคเครงครัดมาเปนเวลายาวนาน บัดนี้เธอก็ชราแลว เรี่ยวแรงกําลังก็ไมคอยมี ผาบังสุกุลนี้เนื้อไมดีและ หนักมาก เธอรับจีวรที่ญาติโยมถวายมาใชเถิด แตพระมหากัสสปะไดทูล ขอปฏิบัติถือธุดงคเชนนั้นตอไป พระพุทธเจาก็ตรัสถามวามีเหตุผลอะไร เพราะหากยอมใชจีวรเนื้อดีก็จะเบาสบาย พระมหากัสสปะชี้แจงเหตุผลวา เพื่อเปนแบบอยางแกคนรุนหลัง เรียกวา ปจฺฉิมา ชนตา ทิฏานุคตึ อาปชฺ เชยฺย แปลวา ประชุมชนภายหลังจักไดถือเปนแบบอยาง (สํ.นิ.๑๖/๔๘๑/๒๓๙) จะไดเปนไปเพื่อประโยชนสุขแกคนเหลานั้นเอง ๓. เปนการปฏิบัติเพื่อประโยชนสุขของพหูชน หรือเปนการรักษา ผลประโยชนของประชาชน เพราะวินัย กฎหมาย และกฎเกณฑกติกา ทั้งหลายนั้น เปนสิ่งที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชนแกสวนรวม โดยเฉพาะ เพื่ อ สร า งสภาพเอื้ อ ต อ การสร า งสรรค พั ฒ นาชี วิ ต และสั ง คมที่ ดี ง าม ดังกลาวแลว พระอรหันตนั้นเปนผบรรลุประโยชนตนแลว ไมมีอะไรที่ จะตองทําเพื่อตนเองอีก ทานจึงปฏิบัติเพื่อผูอื่นและเพื่อสวนรวมไดเต็มที่ ตามคติ ที่ ว า พหุ ช นหิ ต ายะ พหุ ช นสุ ข ายะ โลกานุ กั ม ปายะ คื อ เพื่ อ ประโยชนสุขแกชนจํานวนมาก เพื่อเห็นแกประโยชนสุขของโลก อย า งในเรื่ อ งพระมหากั ส สปะ เมื่ อ ท า นทู ล ชี้ แ จงเหตุ ผ ลแล ว พระพุทธเจาก็ทรงประทานสาธุการวาทานปฏิบัติเพื่อประโยชนสุขของ


๑๖๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

พหูชน (สํ.นิ.๑๖/๔๘๒/๒๓๙; ฯลฯ) ดวยเหตุนี้พระอรหันตจึงปฏิบัติเครงครัด ในพระวินัย นี้คือหลักการในการรักษาวินัย กฎหมาย และระเบียบแบบแผน ตางๆ ซึ่งคนที่อยูในระดับตางๆของสังคมควรจะมีทาทีที่ถูกตอง แต ปรากฏวาในสังคมไทยมีการยึดถือเขาใจผิดกันบอยๆ เชน บางทีมีการ อางวา พระภิกษุทานนั้นทานนี้เปนพระอริยะ ทานหมดกิเลสแลว ไมมี กิเลสแลว ทานจะทําอะไรก็ไดเพราะทานไมยึดมั่นถือมั่น เอาหลักความ ไมยึดมั่นถือมั่นมาอาง (รายหนึ่งถึงกับวาใหหญิงสาวนวดให) ญาติโยม หลายทานฟงแลววานาจะจริงนะ เพราะพระอรหันตทานไมยึดมั่นถือมั่น จะไปเอาอะไรกับสิ่งเหลานี้ ซึ่งไมจริงแทแนนอน เปนสิ่งสมมติ เปน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่แหละ ระวังจะตกหลุม ที่วาตองระวังก็คือ ความไมยึดมั่นที่แท กับความไมยึดมั่นเทียม หรือความไมยึดมั่นอยางปลอม เปนคนละอยางกัน การที่พระอรหันต ทานไมยึดมั่นนั้น ทานไมยึดมั่นแทดวยปญญาที่รูความจริง แตในการ ดําเนินชีวิตทานยอมรับความจริงตามเหตุตามผล ไดกลาวแลววา สมมติ นั้น คือสิ่งที่มนุษยตกลงกัน มีมติรวมกัน โดยกําหนดวางไวตามเหตุผล เพื่อวัตถุประสงคที่เปนประโยชน ไมใช ตั้งขึ้นมาลอยๆ พระอรหันตอยูดวยปญญาที่เขาใจเหตุผลนั้น และทานไม มีอะไรที่เปนการเห็นแกประโยชนของตัวทานเองดวย เพราะฉะนั้นทาน จึ ง เป น ผู ที่ พ ร อ มที่ สุ ด ที่ จ ะปฏิ บั ติ ต ามสมมติ นี้ จึ ง กลายเป น ว า พระ อรหันตเปนผูพรอมที่สุด ที่จะปฏิบัติตามวินัยหรือกฎกติกาที่เปนสมมติ เพราะไมมีกิเลสที่จะทําใหเห็นแกตัวหรือทําเพื่อตัว ถ า คนยั ง เห็ น แก ป ระโยชน ส ว นตั ว กฎเกณฑ ก ติ ก าจะขั ด ขวาง ผลประโยชนของเขา อยางนอยก็ตามใจตัวที่ขี้เกียจทํา หรือเปนการไม สบายที่ ต อ งไปทํ า ตามกฎ กิ เ ลสเช น ความขี้ เ กี ย จ และความเห็ น แก


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๖๕

ประโยชนสวนตัวตางๆ เหลานี้ จะมาขัดขวาง ทําใหคนไมปฏิบัติตาม กติกาสังคม เพราะฉะนั้น คนที่ยังมีกิเลสจึงปฏิบัติตามกฎไดยาก สวน พระอรหันตทานหมดกิเลสแลว ทานไมมีเรื่องสวนตัวที่จะเขามากีดกั้น มาทําใหจิตใจตองฝนหรือหลบซอน ทานไมมีอะไรตองทําเพื่อตัวเอง แล ว ทานพร อมที่ จ ะทํ าตามสิ่ งที่ มีเหตุ ผ ลทุก อยา ง เพราะฉะนั้น พระ อรหันตจึงเปนผูนําในการปฏิบัติตามสมมติที่ชอบธรรม บางคนบอกวา อะไรมันก็ไมเที่ยงแทแนนอน อยาไปยึดมั่นถือมั่น มันเลย แลวก็ไมเอาเรื่องเอาราวอะไร กลับไปบานก็วาเงินทองไมใชของ เรา เปนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ลูกก็ไมใชของเรา ภรรยาก็ไมใชของเรา บอกวาไมยึดมั่น นี่แหละ เจอความยึดมั่นอยางหนักเขาไปแลว ความยึด มั่ น เกิ ด ขึ้ น มาโดยไม ร ตั ว นี่ ก็ คื อ “ความยึ ด มั่ น ในความไม ยึ ด มั่ น ” เพราะว า ความไม ยึ ดมั่ นที่ เขาอ างนั้ น เป น เพี ย งความไม ยึ ด มั่ นที่ เป น concept หรือเปนสัญญาที่รับเอามาถือไว แลวก็ยึดมั่นวาฉันจะไมยึดมั่น เทานั้นเอง สวนความไมยึดมั่นที่แทจริง เกิดจากปญญาที่รูความจริงแลวใจไม ติด ใจเปนอิสระอยู แลวก็ปฏิบัติไปตามเหตุผลอยางจริงจังตามหนาที่ หรือตามเหตุผลที่ไดตกลงเห็นชอบรวมกัน เพื่อความดีงามบางอยาง มี อะไรเปนไป ใจก็ไมตกเปนทาส ไมถูกครอบงํา อันนี้สิที่สําคัญ สวนการ ปฏิบัติในทางรูปธรรมดําเนินตามแบบแผนกติกาที่ตกลงไว ถามันชอบ ธรรมสมเหตุสมผล ดังนั้น พระอรหันตจึงเปนผูปฏิบัติจริงจังตามสมมติ และเปนแบบอยางในการปฏิบัติตามวินัยอยางเครงครัด วินัยนี้ ในแงหนึ่งเปนการสรางแบบแผนชีวิตตัวอยางสําหรับผูที่ จะมีชีวิตที่ดีงามอยางนั้น เพราะฉะนั้นเราจะเห็นไดวา ทั้งที่พระพุทธเจา สอนหลักความไมยึดมั่น แตวินัยของพระทําไมกลับใหเอาจริงเอาจังกับ


๑๖๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

สิ่งตางๆมากนัก นี่แหละวินัยเปนตัวแสดงใหเห็นชัดวา ในระบบการฝก มนุษยที่แทจริงนั้น ความไมยึดมั่นที่ถูกตองเปนอยางนี้ จะขอยกตัวอยางเกี่ยวกับความไมยึดมั่น ซึ่งอาจจะซอนกันอยูเปน ๒ ชั้น คือ ในชั้นที่ ๑ ทานสอนใหไมยึดติด เชน ไมเห็นแกลาภ ไมโลภ ไม หมายมั่นในการที่จะตองไดจีวรอยางนี้อยางนั้น ที่จะเอาแตใจ หรือจะมี ของในครอบครองใหมาก เพราะฉะนั้นจึงมีสิกขาบทในวินัยที่บัญญัติวา ใหภิกษุมีสิ่งของเครื่องใชไดจํากัดเทานั้นเทานี้ เพียงเทาที่พอแกการใช ประโยชนที่แทจริง ในเวลาเดียวกัน มองอีกขั้นหนึ่ง ก็จะเห็นความไมยึดมั่นในชั้นที่ ๒ คือสิ่งของอยางไหนที่ตกลง (สมมติ) วาเปนของทานแลว ทานตองมี ความรับผิดชอบอยางเต็มที่ ตัวอยางเชน วินัยกําหนดวา พระภิกษุรูปหนึ่ง(มีสิทธิ)มีจีวรไดชุด เดียว ดูจะเปนการไมใหความสําคัญแกเรื่องเสื้อผาอาภรณ จึงไมใหมีมาก แตพระจะบอกวา เรื่องจีวรนี้ไมสําคัญ ฉันไมยึดมั่นถือมั่น มันไมใชของ ของเราจริง เราเกิดมามันก็ไมไดติดมาดวย ตายแลวก็เอาไปไมได แลวก็ ไมเอาใจใส ปลอยสกปรก ไมซัก หรือวาปลอยใหขาดเปนรู ไมปะชุน พระภิกษุจะปลอยปละละเลยอยางนั้นไมได วินัย กําหนดไววา ภิ ก ษุป ล อ ยให จี ว รขาด ไม ป ะชุ น แม จะเป นรู เ ท า หลั ง เล็ บนิ้ ว ก อย ก็ มี ความผิด เปนอาบัติ (วินย.อ. ๒/๑๖๘) เอาละซิ จีวรผืนเดียว ตองรักษาอยางดี ขนาดนี้ ปลอยใหขาด ไมปะ ก็โดนปรับความผิดแลว ในทํ า นองเดีย วกั น ภิก ษุ มีจี ว รชุ ดเดี ย วต อ งรั ก ษาไว ใ ห ดี ถา อยู ปราศจากมันแมแตราตรีเดียว ก็เปนอาบัติ (วินย. ๒/๑๐/๗) ทานเรียกวาขาด ครอง ญาติโยมไมเขาใจหลักการนี้ก็จะพูดวา พระทําไมมายึดมั่นถือมั่น กะเรื่องจีวรแคนี้ สําคัญอะไรนักหนา


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๖๗

เพราะฉะนั้น จะตองเขาใจหลักการนี้ใหถูก วินัยเปนระบบแหงวิถี ชีวิตของการฝกตน ถาเรามองเห็นธรรม คือความจริงแทแหงความถูกตอง ดีงาม ที่เขามาสูวินัย คือระบบการจัดตั้งของมนุษย ในรูปของระเบียบ แบบแผนในการดําเนินชีวิตแลว ก็ผานตอนนี้ไปได จึงจะขอเลยตอไปสู เรื่องในระดับการบัญญัติและการใชกฎหมาย และเรื่องอื่นๆ อีกสัก ๓-๔ อยาง

ความยึดมัน่ กฎหมาย หลงติดในสมมติ จะกลายเปนภัย แตถาเขาถึงธรรมที่เปนฐานของกฎหมาย ก็จะกลายเปนนักนิติศาสตรที่ แท การบัญญัติกฎหมายซึ่งเปนกฎมนุษย มีขอที่ตองระวังหลายอยาง ขอระวังที่ ๑ ก็คือ การที่มนุษยจะแปลกแยกจากธรรมชาติ ซึ่งจะไมอธิบาย มาก แตจะเห็นไดจากตัวอยางที่ยกมาพูดตอนตนแลวในเรื่องกฎมนุษย กับ กฎธรรมชาติ ที่ซอนกันอยู ดั งได บอกแล วว า ที่ จริงนั้ น การที่ เราบั ญญั ติ กฎมนุ ษย ขึ้ นมา ก็ เพราะความตองการแทจริงของเราอยูที่กฎธรรมชาติ เราจึงบัญญัติกฎ มนุษยขึ้นมาหนุนการกระทําที่จะใหไดผลตามกฎธรรมชาตินั้น ทําไมเราจึงบัญญัติกฎมนุษยวาใหคนมาทําสวน ๑ เดือนแลวเราให เงินเดือน ๕,๐๐๐ บาท การที่กฎมนุษยเกิดขึ้นมานี้ เพราะแทจริงแลวมีกฎ ธรรมชาติอยูเบื้องหลัง คือเราตองการผลตามกฎธรรมชาติวา จะใหตนไม เจริ ญ งอกงาม จึ ง จัด ระบบให มี คนมาทํา สวน กฎมนุษ ย ว า ทํ า สวน ๑ เดือน ไดเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาท ก็มาหนุนกฎธรรมชาติที่วา ทําสวน ทํา ใหตน ไมเจริญงอกงาม


๑๖๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

ถามนุษยแปลกแยกจากกฎธรรมชาติ และหลงสมมติ คือติดอยูแค กฎสมมติเมื่อไร ชีวิตและสังคมจะเริ่มวิปลาสทันที เริ่มจากคนทําสวน ซึ่งมาทําสวนเพียงเพราะตองการผลตามกฎมนุษย คือ ตองการเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาท เขาไมตองการผลตามกฎของธรรมชาติ ไมไดตองการให ตนไมเจริญงอกงาม อะไรจะเกิดขึ้น ผลเสียหรือความวิปลาสที่เกิดขึ้น คือ ๑. ในดานชีวิตของตัวบุคคลนั้นเอง คนทําสวนก็ไมมีความสุขใน การทําสวน เพราะเขาทําสวนดวยความฝนใจเนื่องจากเขาไมไดตองการผลที่ แทจริงของการทําสวน แตสิ่งที่เขาตองการคือเงิน การทําสวนจึงทําให เขาตองมาทรมาน ตองรอเวลาเดือนหนึ่งกวาจะไดเงินเดือน ซึ่งเปนภาวะ ที่แยจริงๆ เพราะฉะนั้นเขาจึงทําสวนดวยใจทุกขทรมานเต็มทีตลอดเวลา ๒. ในดานกิจการของสังคม ประโยชนสวนรวมก็เสีย เพราะวาเมื่อ คนทําสวนไมเต็มใจทําสวน นอกจากตัวเขาเองจะไมมีความสุขแลว ก็ยัง ไมตั้งใจทํางานอีก เมื่อไมตั้งใจทํา สังคมก็ไมไดประโยชนที่ควรจะไดจาก เขา กิจการของสังคมก็เสีย เพราะการทําสวนไมมีคุณภาพ และไมมี ประสิทธิภาพ นอกจากนั้น เมื่อคนทําสวนนี้แปลกแยกจากกฎธรรมชาติ ตองการ ผลแตตามกฎมนุษย และไมตั้งใจทําสวน สังคมมนุษยก็ตองตั้งกฎมนุษย ซอนเพิ่มเขามาอีก เชนจะตองดําเนินการตั้งคนคุมขึ้นมาเพื่อคุมคนทํา สวนคนนี้ แตนายคนคุมก็แปลกแยกจากกฎธรรมชาติ ตองการแตผลตาม กฎมนุษยอยางเดียว ก็เลยไมไดเรื่องอีก แลวก็ตั้งกฎซอนเขามาเปนชั้นๆ จนซับซอนอยางยิ่ง แตผลที่สุดก็ลมเหลวหมด การที่สังคมนี้ยังดํารงอยูได ก็เพราะคนเราบางสวนยังไมแปลก แยกจากธรรมชาติ ถามนุษยทั้งสังคมนี้แปลกแยกจากกฎธรรมชาติมาติด อยูกับกฎมนุษยอยางเดียวโดยหลงสมมติเมื่อไร สังคมนี้ก็จะปนปวน


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๖๙

วิปริต และชีวิตก็จะไมมีความสุข จะเสียคุณภาพชีวิต ดังเชนคนทําสวนที่ ทํางานดวยความทุกขทรมานดังกลาวมาแลว เวลานี้ มนุษยเ ริ่มเขาสู ร ะบบที่ติดสมมติ มากขึ้ น ระบบแขง ขั น หรือระบบผลประโยชนที่กําลังเขามา สงผลกระทบตอระบบทุกอยางของ สังคม ไมเฉพาะดานเศรษฐกิจ แมแตกฎหมายก็จะถูกกระทบดวย เพราะฉะนั้น นักกฎหมายจะตองทันตอแนวโนมนี้ดวย ระบบการแขงขัน หาผลประโยชนนี้เปนระบบที่เต็มไปดวยสมมติ และจะผลักดันใหมนุษย ทําการตางๆ เพื่อผลตามกฎสมมติอยางเดียว จนกระทั่งในไมชาคนก็จะ แปลกแยกจากธรรมชาติแทบจะสิ้นเชิง ดัง ตัว อยางที่ย กมาพูดบ อยๆ คือ เมื่ อคนตั้งโรงพยาบาลเอกชน ขึ้นมาโรงหนึ่ง ในขณะที่สังคมเขาสูระบบแขงขันหาผลประโยชนนั้น ถามวาอะไรเปนเครื่องวัดความสําเร็จของโรงพยาบาล คําตอบตามระบบ ผลประโยชนก็คื อ กําไรสู ง สุด เพราะเขาตั้ง โรงพยาบาลขึ้ น เพื่ อ ผลประโยชน เมื่อไดกําไรสูงสุดก็คือความสําเร็จ ถาไมไดกําไรสูงสุดก็ไม ประสบความสําเร็จ การตั้งโรงพยาบาลแลวทํ าใหไดกําไรสูงสุดนี้เปนเรื่องของกฎ มนุษย ซึ่งหมายถึงการที่การแพทยไดกลายเปนธุรกิจแลว จึงมุงไปที่การ ไดผลประโยชนตอบแทน แตตามกฎธรรมชาติ การแพทยคืออะไร ผล ของการแพทยคืออะไร การแพทยเปนเหตุ อะไรเปนผลตามกฎธรรมชาติ ตอบว า การที่ ค นหายโรค มี สุ ข ภาพดี เป น ผลตามกฎธรรมชาติ เพราะฉะนั้ น ความสํ า เร็ จ ของโรงพยาบาลตามกฎธรรมชาติ ซึ่ ง เป น ความสํ า เร็ จ ที่ แ ท จ ริ ง ก็ คื อ การที่ ไ ด ช ว ยให ผู ค นในสั ง คมนี้ ห า งเบา บรรเทาจากโรคภั ย ไข เ จ็ บ มี สุ ข ภาพดี ขึ้ น นี้ คื อ ความสํ า เร็ จ ตามกฎ ธรรมชาติ


๑๗๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

พูดสั้นๆวา ความสําเร็จของมนุษยตามความหมายแหงกฎสมมติ คือ การไดกําไรสูงสุด แตความสําเร็จของมนุษยตามความหมายแหงกฎ แทของธรรมชาติ คือ การทําใหชีวิตดีงามมีความสุข สังคมสันติ และโลก เปนแดนเกษม ตอนนี้ ระหวาง ความสําเร็จตามกฎมนุษย กับความสําเร็จตาม กฎธรรมชาติ เราจะเลือกเอาความสําเร็จอยางไหน ในสังคมปจจุบันนี้ กิจการทุกอยางกําลังกลายเปนธุรกิจ แมแตการศึกษา เรากําลังจะมองกัน อยู แ ค ก ฎมนุ ษ ย และหลงอยู กั บ กฎสมมติ น้ั น ไม ว า จะทํ า อะไร ก็ มุ ง ผลสําเร็จที่กําไรสูงสุด ถาเปนอยางนี้จริงๆ แมแตแพทย ก็จะคํานึงแต รายได ไมคํานึงถึงชีวิตของคน คนจะเปนอยางไรก็ชาง ใหฉันไดกําไรก็ แลวกัน นี่ดแี ตวาแพทยของเรายังมีคุณธรรมอยูหลายทาน เวลานี้กิจการทุกอยางกําลังจะเปนอยางนี้ นี้คือการที่มนุษยแปลก แยกจากธรรมชาติ ติดในสมมติ เขาจึงไมสามารถเชื่อมกฎธรรมชาติกับ กฎของมนุษยเขาหากัน เขาไมรตระหนักวา การที่เราจัดตั้งวินัย คือวาง ระบบสังคมในหมูมนุษยขึ้นมานี้ แทจริงแลวก็เพื่อใหความเปนจริงใน กฎธรรมชาติปรากฏผลที่ดีงามขึ้นมาแกชีวิตและสังคมของมนุษย ถา มนุษยยังตระหนักรและทําใหเปนไปอยางนี้ได ก็คือ การเชื่อมระหวาง กฎมนุษยกับกฎธรรมชาติ หรือวินัยกับธรรมได พระพุทธเจาตรัสธรรมกับวินัยไวดวยกันเปนคกัน เพราะที่แทนั้น ฐานของชีวิตและสังคมมนุษยของเราคือธรรม และประโยชนที่แทของเรา ก็ คื อธรรม นิ ติ ศ าสตร จ ะต อ งจั บ จุ ด นี้ ใ ห ไ ด โดยเฉพาะในเมื่ อ สั ง คม ตอไปนี้จ ะประสบปญหาเรื่องนี้มากขึ้นทุกที ซึ่งเราจะตองคิดวาจะเอา อยางไรกับมัน


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๗๑

กฎหมายนั้น วาที่จริง สาระที่แทตองอยูที่เจตนารมณซึ่งสอดคลอง กั บ ธรรมนั้ น เพราะฉะนั้ น ถ า คนไม เ ข า ถึ ง ธรรม ก็ จ ะมี ป ญ หาจาก กฎหมายไดหลายอยาง ไมวาจะเปนเพราะ ๑. ปญญาไมเขาถึงธรรม ก็ตาม ๒. เจตนาไมเปนธรรม เชน ไมบริสุทธิ์ หรือไมประกอบดวย เมตตาคือความหวังดีตอเพื่อนมนุษย เนื่องจากเห็นแกประโยชนสวนตัว หรือคิดจะกลั่นแกลงผูอื่น ก็ตาม เพราะฉะนั้น บางครั้งกฎหมายก็จึงกลายเปนเครื่องมือกดขี่ขมเหง กันในสังคมได และเราจึงตองคอยตรวจสอบเจตนารมณที่แทจริงของ กฎหมายกั บ ข อ กํ า หนดตามตั ว อั ก ษร ด ว ยความสํ า นึ ก ตระหนั ก ว า ขอกําหนดตามตั วอักษรนั้น ที่จริงจั ดวางไวเพื่อสนองเจตนารมณของ กฎหมาย แตเมื่อออกมาแลวบางทีมันกลับเปนเครื่องมือในการที่จะไม ปฏิบัติตามเจตนารมณของกฎหมาย คนจึงใชบัญญัติตามตัวอักษรเพื่อทํา รายคนอื่นก็ได หรือเพื่อสนองการหาผลประโยชนของตนเองก็ได ดังที่มี คนใชกฎหมายเพื่อผลประโยชนของตัวเองกันมากมาย เพราะฉะนั้น การที่จะตองตรวจสอบกฎมนุษยคือกฎหมายนี้ให สอดคลองกับธรรมและใหชวยนํามนุษยเขาถึงตัวธรรมใหได จึงเปน หนาที่ของมนุษยที่จะตองทําอยูตลอดเวลา สิ่งที่นักกฎหมายโดยเฉพาะผู บัญญัติกฎหมายจะตองมี ก็คือการเขาถึงธรรมทั้งในแง ๑. การเขาถึงธรรมดวยปญญา คือความรูในความจริงอยางที่วามี หลายระดับ ตั้งแต ๑) ความรในกฎแหงความเปนเหตุเปนผลของสิ่งทั้งหลาย ความ เปนไปตามเหตุปจจัย หลักการแหงความถูกตองดีงาม อยางนอยรูตัว กฎเกณฑกติกาในความหมายที่แทจริงของมัน และตามที่มนุษยบัญญัติ และรูไปถึงสังคม สภาพปญหาของสังคม เหตุปจจัยแหงความเปนไปใน


๑๗๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

สังคม กลไกของความเปนไปนั้น ตลอดจนการหยั่งรหยั่งเห็นวาการที่ วางกฎขอนี้แลวจะเกิดผลอะไรขึ้นมาในสังคม เปนตน และ ๒) ความเขาใจในธรรมชาติของมนุษย วามนุษยนี้เปนสัตวที่ ตองฝกฝนพัฒนา เขามีความประสงคอะไร ชีวิตที่ดีเปนอยางไร ซึ่งอยาง ที่กลาวแลววา คนเราทุกคนมีความเขาใจและความตองการนั้นอยูแมโดย ไมรตัว ถึงแมเห็นไมชัดมันก็มีอยูในใจ และถาไมชัดนี่แหละ มันจะมี อิทธิพล ซึ่งทําใหเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด ๒. การเขาถึงธรรมดวยจิตใจ คือมีเจตนาบริสุทธิ์ รักความเปน ธรรม มีความมุงมาดใฝปรารถนาตอจุดหมายที่จะสรางสรรคชีวิตและ สังคมใหดีงาม ดวยการดํารงธรรมไวในสังคม อันนี้จะตองมีอยูในใจ คือ ความใฝปรารถนาที่จะดํารงธรรมและสรางสรรคสิ่งที่ดีงาม การเขาถึงธรรมที่วามานี้จะตองมีอยูในนักกฎหมาย โดยเฉพาะผ บัญญัติกฎหมาย เมื่อผบัญญัติกฎหมายเขาถึงธรรมดวยปญญา และดวยจิตใจแลว พฤติกรรมของเขาในการบัญญัติกฎหมายก็จะเปนพฤติกรรมที่เขาถึงธรรม ดวย เมื่อผใชกฎหมายเขาถึงธรรมดวยปญญา และดวยจิตใจแลว ก็จะมี พฤติกรรมในการใชกฎหมายอยางผูเขาถึงธรรมดวยพฤติกรรมดวย ขอย้ํ า อี ก ที ว า เมื่ อ มี ก ารบั ญ ญั ติ ก ฎหมายใดก็ ต าม ในใจของผ บัญญัติยอมมีความคิดความเห็นความเขาใจอยางใดอยางหนึ่งทีพ่ ระเรียกวา ทิฏฐิ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษยอยูในใจ ตัวอยางเชน คนหนึ่งอาจจะเชื่อวา ความสุขของมนุษยอยูที่การเสพ วัตถุ คนที่มีความเขาใจอยางนี้อยูในใจ แมจะไมไดทําความเห็นหรือความ เชื่อนั้ นใหประจักษออกมาแก ตนเอง มันก็ฝงลึ กอยู เวลาเขามาบัญญั ติ กฎหมาย เขาก็จะบัญญัติอยางหนึ่ง


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๗๓

แตอีกคนหนึ่งมีความเชื่อวา ตามธรรมชาติของมนุษยนั้น ความสุข ไมไดอยูเพียงแคการเสพวัตถุ แตอยูที่คุณคาทางนามธรรมที่ลึกซึ้งกวา นั้น เวลาเขามาบัญญัติกฎหมายเขาก็จะบัญญัติอีกอยางหนึ่ง เปนอันวา ทิฏฐิ หรือแนวคิดความเชื่อนี้จะเปนอิทธิพลอยู เบื้องหลัง ซึ่งจะมากําหนดวิถีทางในการคิดวินิจฉัยและใหเหตุผลแกเขาผ นั้นในการทํากิจกรรมทางปญญาทั้งหมด เรื่องนี้ใหญมาก เพราะฉะนั้น นั ก กฎหมายจะอยู แ ค เ หตุ ผ ลพื้ น ๆ ในทางสั ง คมเท า นั้ น ไม ไ ด แต เ ขา จะตองเขาถึงความจริงซึ่งรวมทั้งเรื่องธรรมชาติของมนุษยดวย เพราะวา มนุษยที่ตรากฎหมายในสภานิติบัญญัติเปนตนนั้น ๑. จะวางกฎหมายจากฐานแหงปจจัยปรุงแตงในตัวเขา ซึ่งมีหลาย อยาง เชน เขามีปญญารูแคไหน ก็เปนปจจัยปรุงแตงในตัวเขาใหทําได อยางนั้นเทานั้น พูดงายๆ ก็ภูมิธรรมภูมิปญญานั่นเอง ตลอดจนสภาพ หลอหลอมของคานิยมทางสังคม และวัฒนธรรมเปนตน ซึ่งเขามาเปน ปจจัยปรุงแตงในใจ แลวแสดงอิทธิพลออกมาเปนการวินิจฉัย การให ความเห็น ตลอดจนการยกมือวาจะเอาขางไหน พูดงายๆวา ภูมิธรรมภูมิ ปญญาในตัวคนนั้นสําคัญอยางยิ่ง เริ่มแตทิฏฐิของเขา ซึ่งเปนปจจัยหลอ หลอมทั้งในตัวบุคคลและในทางสังคม ๒. เมื่อบัญญัติกฎหมายแลว กฎหมายนั้นก็จะไปเปนปจจัยปรุง แตงผลักดันสังคมอีก ทําใหสังคมกาวไปทางไหนอยางใดตอไป เปนอันวา ทิฏฐิในตัวคนมีความสําคัญอยางยิ่ง ซึ่งจะทําใหมีผล ขึ้นมา ๒ อยางนี้ โดยเฉพาะนักกฎหมายจะตรากฎหมายที่ดีไมไดถาไมรู ธรรมชาติของมนุษยวา มีศักยภาพอยางใด ควรมีชีวิตอยางไร ตัวอยางเชน เวลานี้จะออกกฎหมายเกี่ยวกับสนุกเกอร จะเห็นวา ความเขาใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษยจะอยูเบื้องหลังการตัดสินใจของ ผออกกฎหมาย เชน บางคนก็เขาใจวา ความสุขของมนุษยอยูท่กี ารเสพวัตถุ


๑๗๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

ซึ่งเจาของความคิดอาจไมรูตัวเลย แตเขาจะวินิจฉัยและตัดสินใจลงมติ ตางๆ ตามภูมิธรรมภูมิปญญาที่เขามีอยูเบื้องหลังตัวเขานั้น เพราะฉะนั้น การตัดสินใจของเขาจึงเปนตัวฟองภูมิธรรมภูมิปญญาของตัวเขาเอง โดยนัยนี้เราจึงพูดไดวา กฎหมายที่ออกมา เปนตัวฟองภูมิธรรม ภูมิปญญาของนักกฎหมาย หรือของผทํางานนิติบัญญัติ แมวาจะตองคํานึงถึงหรือไมลืมมองปจจัยทางสังคม เชน คานิยม ทางสังคมและวัฒนธรรมดวย แตอยาลืมวา การที่มนุษยมีปญญาพัฒนามา ไดเพียงแคในระดับที่อยูใตคานิยมของสังคมยังไมเพียงพอ มนุษยที่จะ แกปญหาของมนุษยจะตองไมจมอยูใตปญหานั้นเสียเอง มิฉะนั้น สังคมมี ค า นิ ย มอย า งไร แม แ ต ค า นิ ย มที่ เ ป น ป ญ หา ค า นิ ย มนั้ น ก็ จ ะชั ก พานั ก กฎหมายไปได มนุษยจะเพียงเปนไปตามสังคมเทานั้นไมได มนุษยตอง แกไขสังคมไดดวย ถึงตอนนี้ ขอแทรกเรื่องความจริงที่เปนหลักใหญไวอยางหนึ่ง ซึ่ง ที่จริงเปนเรื่องสําคัญมาก (ควรอยูใน ภาค ๑) แตจะพูดไวเพียงเปนแนว คือหลักที่วา มนุษยนี้มีภาวะ หรือสถานะ ๒ อยางในเวลาเดียวกัน คือ ๑) เปนชีวิต ซึ่งเปนธรรมชาติ อยูในธรรมชาติ และเปนไปตามกฎ ธรรมชาติ ตองขึ้นตอกฎธรรมชาติ ทั้งนี้ แยกเปน ๒ ดาน คือ กาย และใจ อันจะตองปฏิบัติใหถูกตองดวยปญญา ๒) เปนบุคคล ซึ่งเปนสมาชิกอยูรวมในสังคม มีความสัมพันธตอ กันโดยขึ้นตอเจตจํานง เมื่อมองคนตองมองทั้งสองดาน และใหประสานโยงถึงกัน ทั้ง ดานที่เปนบุคคลในสังคม และดานที่เปนชีวิตในธรรมชาติ โดยเฉพาะ มองคนตองใหถึงชีวิต แตเรามักจะมองคนแคบุคคล ซึ่งเปนดานสังคม ตามแนวคิ ดตะวั นตก สังคมศาสตร มองมนุ ษย ในแง เป นบุ คคล แทบไมพูดถึงในแงเปนชีวิต โดยปลอยใหชีวิตเปนเรื่องของวิทยาศาสตร


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๗๕

ซึ่งก็ศึกษาชีวิตนั้นแตดานวัตถุรางกายอยางเดียว นิติศาสตรอยูในหมวด สังคมศาสตร ก็จึงมองมนุษยในแงเปนบุคคล แตจุดหมายของศาสตรทั้งหลายที่จะสรางสรรคประโยชนสุขแก มวลมนุษยจะไมมีทางสัมฤทธิ์จริงได ถามองคนเพียงแคดานบุคคล โดย ไมคํานึงถึงความเปนชีวิต เพราะมนุษยโดยพื้นฐานเปนธรรมชาติ คือ เปนชีวิต และตองมองชีวิตใหครบทั้งดานกายหรือดานวัตถุ และดาน จิตใจ มนุษย ทั้งที่เปนชีวิตซึ่งเปนสวนหนึ่งในธรรมชาติ และเปนบุคคล ในสั ง คม เกี่ ย วเนื่อ งโยงเป นอั นเดี ย วกั น ถ าเราไม เ ข า ใจชี วิ ต และไม ปรั บ ปรุ ง ชี วิ ต ให ดี ความเป น บุ ค คลที่ จ ะอยู ร ว มกั น ด ว ยดี ใ นสั ง คมก็ เปนไปไดยาก ชีวิตที่พัฒนาอยางดีจึงจะทําใหความเปนบุคคลเจริญงอก งามไดอยางถูกตอง หากเราจะใหมนุษยมีชีวิตที่ดีงาม อยูในโลกที่ดี มี สังคมที่รมเย็นเปนสุข เราจะตองประสานความคิดเรื่องชีวิตกับความเปน บุคคลใหกลมกลืนและเกื้อหนุนกันใหได เพี ย งแค รั บ ประทานอาหาร คนก็ กิ น อาหารทั้ ง ในฐานะที่ เ ป น บุคคล และกินในฐานะที่เปนชีวิต มีทั้งการกินเพื่อสนองความตองการ ของบุคคล และการกินเพื่อสนองความตองการของชีวิต แนนอนวา คุณคาที่แทจริงของอาหารคือเพื่อสนองความตองการ ของชีวิต การกินเพื่อสนองความตองการที่ถือวาดีที่สุดของบุคคล (เชน อรอย โก แสดงฐานะ ซึ่งรวมทั้งสิ้นเปลืองที่สุด) อาจจะบั่นทอนหรือ ทําลายชีวิตของเขาเอง ถาเมื่อใดเขาใจถึงความจริงที่โยงมาประสานกัน ก็ เทากับจับจุดของการแกปญหาได ถามองไมเห็นจุดประสาน แมแตคน แตละคน ก็จะไมสามารถเขาใจตัวเองและปฏิบัติตอตัวเองใหถูกตองได การพัฒนาที่ผิดพลาด ทําใหเกิดความขัดแยงระหวางสังคมมนุษย กับธรรมชาติตั้งแตระหวางบุคคลกับชีวิตในตัวคนเอง


๑๗๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

การตั ด สิ น ใจทางสั ง คม รวมทั้ ง นิ ติ บั ญ ญั ติ มี ก รณี ม ากมาย ที่ คํานึงถึงแตบุคคล(และสังคม) โดยไมมองไปใหถึงคุณหรือโทษตอชีวิต (และธรรมชาติ) คือ มองคนไมถึงชีวิต เพราะติดอยูแคบุคคล ทําใหไม อาจสรางสรรคประโยชนสุขที่แทจริง และกอปญหาแกอารยธรรมใน ระยะยาว ตองยอมรับวา กฎหมายมากมายในระบบสังคมที่เปนมา ไดเปน เครื่องบั่นทอนอารยธรรม เชน ทําใหเกิด “การพัฒนาที่ไมยั่งยืน” ดังเชน กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบไมยั่งยืนที่ ผานมาแลวในสังคมตะวันตก ซึ่งก็ตองเปนเพราะนักกฎหมายเองก็มีสวน ในความเขาใจเชนนั้น คือมีมิจฉาทิฏฐิดวย จึงชวยกันผลักดันใหเกิดการ พัฒนาที่ไมยั่งยืน งานของนักกฎหมายมีผลกวางไกลอยางนั้น โดยที่นักกฎหมายเอง อาจอยูใตอิทธิพลของนักปกครองและนักเศรษฐศาสตรเปนตน และมอง ความเปนมนุษยไมทั่วตลอดถึงความจริงทั้งดานชีวิตและดานบุคคลอยางที่ กลาวแลวนั้น ดั ง นั้ น ผู บั ญ ญั ติ ก ฎหมายก็ ต าม ผู ใ ช ก ฎหมายก็ ต าม จึ ง ต อ งไม ประมาท จะตองศึกษาพัฒนาตัวอยูตลอดเวลา เพื่อใหมีปญญายิ่งขึ้น และ มีเจตนาดียิ่งขึ้น การศึกษาที่ผลิตนักกฎหมายผสามารถมาสรางกฎหมายที่เกื้อหนุน ตอชีวิตที่ดีงามของมนุษย จะเปนปจจัยสําคัญในการสรางอารยธรรมของ มนุษย เพราะฉะนั้น การจะบัญญัติกฎหมายที่ถูกตองใหเปนปจจัยปรุง แตงสรางสรรคสังคมที่ดีไดนั้น จะตองทําดวยความไมประมาท โดยมี ความรับผิดชอบอยางสูง ทั้งดานปญญาและดานเจตนา ถากฎหมายผิด ก็


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๗๗

จะทําลายชีวิตมนุษย ทําลายสังคม ตลอดจนทําลายตัวธรรมทั้งหมดเลย ทีเดียว นี้เปนการเตือนใหตองระวังวา ธรรมที่เปนฐานของกฎหมายหรือ เปนฐานของวินัย อาจถูกทําลายโดยกฎหมายที่ผิด ดวยปญญาที่รูไมเทาถึง การณ หรือดวยเจตนาที่ราย ซึ่งมีผลเปนการทําลายอารยธรรมของมนุษย รวมความวา กฎหมายแทมีหลักอยูในใจที่ตองรักตัวธรรม (เชน รักความเปนธรรม) และรักประโยชนสุขของสังคม พูดงายๆ ก็คือ กลับไปหลักเกาที่วาตองมีทั้งตัวเจตนา คือเจตจํานง ที่มีเมตตา มีความใฝ ปรารถนาดีต อเพื่อนมนุษย และต อสังคม ตลอดจนมนุษยชาติ และมี ความรแจง คือมี ปญญา ที่เขาถึงความจริง จนกระทั่งถือธรรมเปนใหญ เมื่อไรนักกฎหมายถือธรรมเปนใหญ ก็เรียกวา เปนธรรมาธิปไตย คือถือเอาความจริง ความถูกตอง ความดีงาม หลักการเปนใหญ แตจะถือ ธรรมเปนใหญไดก็ตองมีปญญารูธรรม รูหลักการ รูวาอะไรจริง อะไร ถูกตองดีงาม มันพันกันอยูในตัว เพราะฉะนั้นอยางนอยตองมี ๒ อยางนี้ คือรักธรรม ถือธรรมเปนใหญ โดยรูดวยปญญาและมีเจตนาดีตอเพื่อน มนุษย ซึ่งจะทําใหมีพื้นฐานที่จะบัญญัติกฎหมายที่ดี กฎหมายและนิติบัญญัติมีความสําคัญตอชีวิตและสังคมตลอดจน อารยธรรมของมนุษยชาติเปนอยางมากเชนนี้ และนักกฎหมายหรือผทํา หนาที่นิติบัญญัติจะตองมีคุณสมบัติที่เขาถึงธรรม ทั้งดวยปญญา ดวย จิตใจ และดวยพฤติกรรม อีกทั้งตองมีความสามารถในการจัดตั้งวาง ระเบียบระบบที่เปนสมมติเพื่อสื่อธรรมออกมาสวินัยอยางไดผลดี ดังที่ กลาวแลว ดั งนั้ น การศึ กษาด านนิ ติ ศาสตร จึ งเป นเรื่ องใหญ ที่ มี ขอบข าย กวางขวางลึกซึ้งมาก ไมใชเปนเพียงการเรียนวิชากฎหมายในความหมาย ตามตัวอักษรเทานั้น แตเปนการศึกษา เพื่อสื่อสัจธรรมในธรรมชาติส


๑๗๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

อารยธรรมของมนุษยชาติ ทั้งหมด และเพื่ อรักษาอารยธรรมของ มนุ ษ ยชาติ ใ ห ดํ า รงอยู ใ นดุ ล ยภาพแห ง สั จ ธรรมของธรรมชาติ ที่ จ ะ เอื้ออํานวยประโยชนแกมวลมนุษยอยางดีที่สุด ซึ่งตองการปญญาที่ กวางขวางยิ่งใหญ

อารยธรรมของมนุษยจะยั่งยืนเพียงใด อยูที่ภูมิธรรมภูมปิ ญญาในการจัดการกับสมมติ เวลานี้เรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย เชนเรื่อง “สิทธิ” ที่มีการนําเขามา เผยแพรหรือใชกัน เรามักแยกไมถูก เพราะฉะนั้นจึงขอตั้งขอสังเกตอีก นิด อยางที่ในวงการนิติศาสตรตะวันตกมีสายความคิดแบบ natural law, natural rights ซึ่งดูคลายๆ กับเรื่องธรรม แตท่ีจริงไมใชเลย แนวคิด แบบนี้คลายๆ จะถือวามีกฎหมายที่เปนกฎสากล ที่ใชไดทุกกาลเทศะ อยู ในหัวสมองหรือในปญญาของมนุษย แตที่จริงปญญาของมนุษยที่เขาถึง ตัวความจริงในธรรมชาติที่จะทําใหมีกฎสากลอะไรแบบนั้นได ในทาง พุทธศาสนาแยกเปน ๒ ชั้น คือ ๑. ความจริงของธรรมชาติ ที่ไมเขาใครออกใคร เชนความเปนไป ของสิ่งทั้งหลายตามเหตุปจจัยของมัน ซึ่งมนุษยจะตองรูเขาใจแลวใช ความสามารถของเรามาจัดตั้งระบบสังคมของเราเอง ๒. ถามนุษยเราเขาถึงความจริงนั้นจริง และมีความสามารถจริง เราก็จัดระบบสังคม โดยเฉพาะการปกครองและกฎหมาย ซึ่งเปนวินัยได ดี ท่ีสุด โดยสอดคล อ งกั บความเป นจริ ง ในธรรมชาติ แล ว มนุ ษ ย ก็ จ ะ ไดรับประโยชนเอง ดวยเหตุผลนี้ เราจึงมาตั้งขอกําหนดตางๆ ขึ้น อยางไรก็ดี การกําหนดในเรื่องสิทธิเปนตนนี้ เปนสมมติ ซึ่งได


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๗๙

กลาวแลววาเปนความสามารถพิเศษของมนุษย ซึ่งทําใหเราสรางอารย ธรรมขึ้ น มาได ถ า มนุ ษ ย ไ ม ร จั ก สมมติ มนุ ษ ย ก็ จ ะอยู กั น ได แ ค ต าม ธรรมชาติพื้นฐานเหมือนอยางหมู แมว ชาง มา เทานั้น หรืออาจจะแย กวาสัตวเหลานั้น เพราะโดยสัญชาตญาณมนุษยสูสัตวเหลานั้นไมได ดัง ไดยกตัวอยางวา เราสรางกฎใหคนทําสวนมาทําสวนแลวไดเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาท อันนี้เปนความสามารถของมนุษย ซึ่งในสัตวอื่นไมมี แตก็ ไดบอกแลววา ถามนุษยหลงสมมติเมื่อไร เมื่อนั้นคือความพินาศ การที่ จะไมหลงสมมติก็คื อ จะตอ งโยงจากสมมติ นั้น เข า ถึงตั ว ธรรมคือความจริงอยูตลอดเวลา เชน คนทําสวนยังไมแปลกแยกจาก ธรรมคือกฎธรรมชาติ เขาทําสวนไดเงินเดือนตามกฎมนุษย ๕,๐๐๐ บาท พร อ มกั บ ที่ ลึ ก ลงไปในใจที่ แ ท เขาทํ า สวนเพื่ อ ให ไ ด ผ ลตามกฎของ ธรรมชาติ คือ เพื่อใหตนไมเจริญงอกงาม ถ า เขามองทะลุ ส มมติ เ ข า ถึ ง ความจริ ง คื อ ตั ว ธรรมอย า งนี้ ประโยชนของสังคมที่เปนจุดหมายแทก็ไมเสีย แตกลับทําใหกลายเปนวา สมมติมาหนุ นความจริ ง แท บั ญ ญั ติมาหนุนหลั กการ คือวิ นัยมาหนุ น ธรรม ทําใหความตองการผลตามกฎธรรมชาติบรรลุจุดหมายเปนจริงสม ประสงคยิ่งขึ้น มนุษยเรามีความฉลาด เราจึงบัญญัติสิทธิตางๆ ขึ้นมา แตอยางที่ บอกแลววา สิทธิ นี้เปนความสามารถของมนุษยที่ตกลงกําหนดกันขึ้น ซึ่ง จะไดผลดีจริงหรือไมเพียงไรก็อยที่เราจะตองมีจิตใจที่บริสุทธิ์ มีเจตนาที่ ดีงาม มีเมตตาตอเพื่อนมนุษย หวังประโยชนสุขแกสังคม และทําการ ดวยความรูความเขาใจระบบความสัมพันธแหงเหตุปจจัยอยางกวางขวาง ทั่วถึงที่สุด


๑๘๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

นาสังเกตวา ในชวงเวลาแหงความเจริญของอารยธรรมมนุษย ยุค ปจจุบัน มีการเนนเรื่องสิทธิมากขึ้น และปญหาเรื่องสิทธิตางๆ ก็ซับซอน ขึ้น กับทั้งมีการกําหนดสิทธิใหมๆ แปลกๆ ขึ้นดวย ขอยกตัวอยางเชน เวลานี้ประเทศที่พัฒนาแลวมีการกําหนดสิทธิ อยางหนึ่งขึ้นเรียกวา pollution rights แปลวา “สิทธิในการกอมลภาวะ” ซึ่ ง ไม มี ใ นธรรมชาติ และก็ ไ ม ไ ด ถื อ ว า เป น สิ ท ธิ ต ามธรรมชาติ แต ก็ ทํานองเดียวกับที่กลาวมาแลว คือ เปนสิ่งที่มนุษยกําหนดขึ้นมาเพื่อความ ดี ง ามของสั ง คม เท า ที่ ม นุ ษ ย ที่ กํ า หนดเรื่ อ งนี้ ขึ้ น มา จะมี ส ติ ป ญ ญา มองเห็นวาจะเปนเครื่องชวยแกปญหาในหมูมนุษย สํ า หรั บ ในกรณี นี้ เ หตุ ผ ลก็ คื อ ว า เวลานี้ ธ รรมชาติ เ สื่ อ มโทรม เสียหายมาก เนื่องจากการกระทําของมนุษย โดยเฉพาะกิจการดานธุรกิจ อุตสาหกรรม ซึ่งเปนเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ ปญหาจึงมีวาจะทํา อยางไรใหมนุษยไมทําลายธรรมชาติ ในขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจก็ จําเปนตองทํา (ที่จริงอาจเปนวา ทั้งๆที่การพัฒนาเศรษฐกิจผิดทางจน กลายเปนโทษแลว หรือเปนการพัฒนาในทางที่กอผลรายเชนเพื่อสนอง ความโลภไปแลว เราก็ยังจําเปนตองทําการพัฒนาอยางนั้น) การผลิต สิ่งของเครื่องใชก็ตองทํา ก็มีทางประนีประนอม คือทําใหเขาผลิต โดย สรางมลภาวะใหนอยที่สุด ในบรรดาวิธีการทั้งหลายที่จะแกปญหา รวมทั้งจริยธรรมในการ ปฏิบัติตอสิ่งแวดลอม ก็มีการบัญญัติสิทธิขึ้นมาอยางหนึ่งคือ สิทธิในการกอ มลภาวะ วิธีป ฏิบัติ ในเรื่องนี้คือ รัฐเอาสิทธิใ นการกอมลภาวะใหบ ริษั ท หรือโรงงานอุตสาหกรรมแหงใดแหงหนึ่งไป โดยกําหนดใหมีสิทธิกอ มลภาวะไดเทานี้ เมื่อไดรับสิทธิไปแลว บริษัทหรือโรงงานนั้นก็ตองไป จั ด การระบบธุ ร กิ จ อุ ต สาหกรรมของตนเอง ให ก อ มลภาวะภายใน


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๘๑

ขอบเขตแห ง สิ ท ธิ ที่ ไ ด ม า ถ า ธุ ร กิ จ ของตนไม มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ก็ ก อ มลภาวะมากแตผลิตสินคาไดนอย ถาจะดําเนินธุรกิจอยูตอไป ก็ไมคุม เพราะหมดสิ ท ธิ ก อ มลภาวะแล ว จะผลิ ต สิ น ค า มากกว า นั้ น ไม ไ ด ก็ ขาดทุน อาจจะตองลมเลิกกิจการไปเอง เทากับวารัฐไปบีบใหธุรกิจรักษา ธรรมชาติแวดลอม ทีนี้เมื่อโรงงานหรือกิจการที่ไมมีประสิทธิภาพ ผลิตของไดนอย แต ก อ มลภาวะสู ง หมดสิ ท ธิ ที่ จ ะผลิ ต เกิ น กว า นั้ น แล ว ธุ ร กิ จ ขาดทุ น ยับเยินจะอยูไมได ก็สามารถขายสิทธินี้แกบริษัทอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพ มากกว า คื อ สามารถผลิ ต ของมาก โดยก อ มลภาวะน อ ย บริ ษั ท หรื อ โรงงานที่มีประสิทธิภาพนั้นก็มาซื้อเอาสิทธินี้ไป ตัวอยางนี้เปนอุ บายวิธีที่ ทําให การทําลายสภาพแวดลอมเบาลง ดวยการผลิตของมากแตกอมลภาวะนอย นี่ก็คือภาวะที่เศรษฐกิจก็ไปได และสิ่ ง แวดล อ มก็ มี ท างที่ จ ะอยู ดี ไ ด พ อสมควร นั บ ว า เป น วิ ธี ก าร ประนีประนอมอยางหนึ่ง ในการพัฒนาที่มีปญหาวาจะไมยั่งยืน ในเรื่องสมมติและบัญญัตินี้ มนุษยมีความสามารถก็คิดกันเอา ถา ปญญาดีและเจตนาดี ความพยายามก็จะไดผลดีดวย และเมื่อเราพิจารณา ตอไป เห็นวาวิธีนี้ยังไมไดผลดีนัก ก็เปลี่ยนไปอีก เรื่องสิทธิกฎขอบังคับตางๆ นี้ก็เปนเรื่องของมนุษย แตอยางที่วา แลว จะตองไมลืมความจริงของธรรมชาติ มิฉะนั้นจะอายอินเดียนแดง อยางที่ประธานาธิบดี แฟรงคลิน เพียซ ไดเจอมาแลว เมื่อครั้งซื้อแผนดิน เมือง ซีแอตเติ้ลจากอินเดียนแดง ถูกอินเดียนแดงตอบมาวา “อะไรกัน ท า นจะเอาแผ น ดิ น และผื น ฟ า มาซื้ อ ขายกั น หรื อ นี่ ความคิ ด นี้ แ ปลก ประหลาด” เพราะวามีที่ไหน มนุษยเอาแผนดินมาแบงกัน มันเปนเรื่องที่ สังคมมนุษย ตกลงกัน แลวเราก็บอกวาเป นสิทธิในทรัพย สิน และใน อะไรตางๆ แตเวลาอางกับธรรมชาติ มันไมฟงเรา


๑๘๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

ไมวาจะทําอะไรก็ตองรตระหนักในหลักการ ๒ ชั้นที่โยงเชื่อมกัน คือ ตัวธรรมความจริงในกฎธรรมชาติที่เราจะตองรูตลอดเวลา ซึ่งเปน ฐานของการสรางวินัยที่เปนระบบกฎเกณฑกติกาในสังคม พรอมทั้งเปน จุดหมายของวินัยนั้นไปดวยในตัว ทั้งนี้มนุษยจะตองไมประมาท โดยมี การศึกษาพัฒนาตนอยูตลอดเวลา โดยเฉพาะผูที่อยูในสภานิติบัญญัติ จะตองคํานึงถึงหลักความจริง นี้ใหมาก เพราะดังไดกลาวแลววา กฎหมายที่บัญญัติกันนั้นออกมาจาก ปจจัยปรุงแตงภายใน คือภูมิธรรมภูมิปญญา พรอมทั้งปจจัยหลอหลอม จากสังคมภายนอก ซึ่งตนเองเปนผูตัดสินใจ กฎหมายที่ออกมาจึงเปนตัว ฟองวาผบัญญัติมีภูมิธรรมภูมิปญญาแคไหน ตอจากนั้น กฎหมายที่ออกมาก็ จะเป นป จจัยปรุ งแต งสังคมและ อารยธรรม หรือเปนตัวทําลายตอไป ถารายก็ทําลายทั้งชีวิตสังคมและ ทําลายอารยธรรมตลอดจนทําลายตัวธรรมดวย ถาดีก็สงเสริมใหอารย ธรรมมนุษยเจริญกาวหนาเกื้อหนุนชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป มีขอที่ขอย้ําอีกอยางหนึ่งวา พระพุทธเจาทรงจัดตั้งสรางระบบ สังคมที่เรียกวา สังฆะ ขึ้นมาเพื่อเปนชุมชนแหงการศึกษา แลวมีการ ปกครองขึ้นมาเพื่อใหการศึกษาคือการฝกฝนพัฒนาชีวิตของมนุษยนั้น เปนไปไดดวยดี การฝกคนหรือใหการศึกษาแกเขานั้น แทที่จริงเปนการ สร า งป จ จั ย ที่ เ อื้ อ ต อ การที่ เ ขาจะพั ฒ นาตั ว เอง แต เ มื่ อ ทํ า อย า งนั้ น พระพุทธเจาก็ทรงไดชื่อวาเปนผูฝกเขาดวย และในการฝกนั้นพระองคมี ลักษณะอยางหนึ่ง เรียกวาเปนผูฝกโดยไมตองใชอํานาจ หรือที่ศัพททาง พระเรียกวา ผูฝกโดยไมตองใชอาชญา คือไมตองใชการลงโทษ ลักษณะนี้อาจจะเปนอุดมคติวา กฎหมายที่ดีที่สุด และการ ปกครองที่ดีท่ีสุด ตองบรรลุจุดหมายโดยใชอาชญาใหนอยที่สุด ถาเปน พระพุทธเจาก็ไมตองใชเลย พระองคจึงมีคุณสมบัติพิเศษที่ฝกคนโดยไม


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๘๓

ตองใชอาชญา และที่จริงนั้นกฎหมายเองก็เปนเครื่องฝกคนอยูแลว แต การที่เปนอยางนี้ได ก็อยูที่วาจะตองทําใหคนมีจิตสํานึก และมีทาทีตอ กฎหมายแบบเปนสิกขาบท คือเปนขอฝกตน ไมใชขอบังคับ และทําใหดี ยิ่งขึ้นไปอีกจนกระทั่งวา กฎหมายเปนเพียงเครื่องหมายรูรวมกันในขอ สมมติของสังคมอยางที่วามาแลว โดยนัยนี้ แนวทางในการทํากฎหมาย จึงมี ๒ ทาง คือ ในระบบสังคม ที่การปกครองเปนจุดหมายในตัว คือการปกครองเพื่อใหสังคมสงบเรียบรอย ก็จะเปนการปกครองดวยอํานาจ หรือเนนการใชอํานาจ กฎหมายก็จะมุง บังคับและควบคุม โดยเนนการกําจัดคนชั่ว ดวยการลงโทษคนทําความผิด แตในระบบที่ถือคติวาการปกครองเปนการสรางสังคมที่ดีขึ้นมา เพื่อเปนสภาพเอื้อใหมนุษยไดพัฒนาตนเขาสูชีวิตที่ดีงาม การบัญญัติ กฎหมายก็จะเนนการสรางคนดี เพราะเปนเครื่องฝกมนุษยใหขึ้นไปสู ชีวิตที่ดีงาม เมื่อกฎหมายเปนสิกขาบทคือเปนเครื่องฝกตน กฎหมายก็จะ เปนเครื่องมือในการสรางคนดี เพราะฉะนั้น จึงควรเนนกฎหมายในการ สรางคนดีมากกวาการกําจัดคนชั่ว เปนอันวา กฎหมายมี ๒ แบบ ถาเนนอํานาจก็จะเปนกฎหมายที่ เดนในดานกําจัดคนชั่วโดยมีการหามและบังคับมาก แตถาเปนกฎหมาย ที่เนนการศึกษา ซึ่งมุงสรางคนดี ก็จะมีลักษณะในทางจัดสรรโอกาสและ มีการสงเสริมมาก แตในความเปนจริงซึ่งสังคมในขณะหนึ่งๆ มีคนที่อยู ในระดับการพัฒนาที่แตกตางกันหลากหลาย การปกครองและกฎหมาย จะตองทําหนาที่ทั้งสองดาน คือ ทั้งสงเสริมคนดี และกําราบคนราย ทั้งนี้ โดยมีจุดเนนที่การสรางและสงเสริมคนดี รวมความวา ถาแยกโดยจุดเนน กฎหมายก็มี ๒ แบบ คือ แบบ สรางคนดี กับแบบกําจัดคนชั่ว ถาใชระบบอํานาจก็แนนอนวาจะเอียงไปในแบบกําจัด แตถาใช


๑๘๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

ระบบที่มองสังคมมนุษยเปนสังคมที่คืบหนาไปสูความดีงาม เราก็ออก กฎหมายมาสรางสภาพเอื้อใหชีวิตพัฒนา ก็เปนกฎหมายที่พยายามสราง คนใหเปนคนดี และสรางคนใหเปนคนดีใหมากจนกระทั่งเราแทบไม ตองลงโทษคน หรือลงโทษคนใหนอยที่สุด เพราะไมมีคนชั่วที่จะตอง ลงโทษ ถาทําไดอยางนั้นก็เปนกฎหมายที่ดี แตทั้งนี้กฎหมายยอมสัมพันธกันอยางแนบแนนกับการปกครอง การปกครองจึงตองมีนโยบายในการที่จะสรางสรรคสังคมในแบบที่วา ใช ก ารปกครองเพื่ อสร า งคน โดยสร า งคนดี เ พื่ อ ให มี ค นชั่ ว ที่ จ ะต อ ง ลงโทษใหนอยที่สุด ซึ่งก็คือ เปนการถือแนวคิดแบบสิกขา


 มองอดีตถึงปจจุบัน เพื่อสรางสรรคอนาคต

ดุลยภาพโดยรวมของสังคมสัมฤทธิ์ไดดวยการจัดการทางสังคม สเปาหมายแหงการพัฒนาคน ฝายนิตบิ ัญญัติของไทยจะทําอยางไร ถาจะคิดเกื้อกูลใหพุทธศาสนาอยูดีเพื่อประโยชนแกสังคมไทย เทาที่เปนมา เมื่อการพัฒนาคนออนลง และมีการทําความชั่วเชน อาชญากรรมมากขึ้น แนวโนมของสังคมก็หันไปสูการปกครองแบบเนน อํานาจมากยิ่งขึ้น และดานกฎหมายก็ออกขอกําหนดกฎเกณฑในการบังคับ และลงโทษมากยิ่งขึ้น แนวคิดแบบนี้ก็ไดเขาไปสูระบบการปกครองคณะสงฆดวย หรือ อาจจะเปนวาคณะสงฆถูกหลอหลอมจากอิทธิพลของกระแสสังคม ใหมี แนวคิ ด การปกครองแบบที่ เ น น อํ า นาจมากยิ่ ง ขึ้ น ซึ่ ง เท า กั บ เป น การ หลงลืมละทิ้งหลักการแหงวินัยที่แท ซึ่งเปนการปกครองเพื่อการศึกษา ที่ มุงเกื้อหนุนการพัฒนาชีวิตของมนุษย ตลอดกาลที่ลวงไป พระราชบัญญัติคณะสงฆแทบทุกฉบับที่ออกมา เปนกฎหมายประเภทที่เนนอํานาจ คือการปกครองแบบบังคับควบคุม แลวลืมหลักการของพระพุทธศาสนาที่วา ตั้งสังฆะขึ้นมาเพื่ออะไร ถ า จะปฏิ บั ติ ใ ห ถู ก ต อ ง พระราชบั ญ ญั ติ ค ณะสงฆ จ ะต อ งวาง


๑๘๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

บทบัญญัติ เพื่อเอื้อตอการสรางชุมชนแหงการศึกษาขึ้นมาใหได จึงจะ สอดคลองกับจุดหมายที่แทจริงแหงการปกครองในพระธรรมวินัย เวลานี้เนนแตการใชอํานาจและการบังคับบัญชา เจาอาวาสเลิก เปนอาจารยไปนานแลว ยังเหลือแตการเรียกชื่อเทานั้น วาเปน “อาจารย” ชาวบานไปเจอเจาอาวาสก็ยังเรียกอาจารย แตตัวเจาอาวาสจํานวนมากไม เคยทําหนาที่ของอาจารย เพราะฉะนั้นจึงพูดไดวาวิปลาสไปแลว เจา อาวาสทําหนาที่เปนผูปกครอง ก็มุงใชอํานาจบังคับบัญชา ถาอยางนี้ก็ไป ไมไหว อันนี้เปนเรื่องหนึ่งที่จะตองยกขึ้นมาพิจารณา อาตมภาพไดพูดมาใชเวลามากมายแลว ทีนี้ทานอัยการสูงสุด ได ฝากคําถามไว ๔ ขอ สําหรับ ๓ ขอตนนั้น อาตมภาพคิดวาจะไมตอบละ ขอถือวาเนื้อความที่พูดมาเปนเสมือนวาครอบคลุมคําตอบไวแลว สวนขอที่ ๔ คําถามดูเหมือนจะเปนวา “ฝายนิติศาสตรจะเกื้อกูล พุทธศาสนาไดหรือไมอยางไร” อาตมภาพจะไมพูดในแงตัวนิติศาสตร โดยตรง แตจะพูดในแงนิติบัญญัติ ก็อยางที่บอกเมื่อกี้วา ในสังคมไทยเรามีความสัมพันธระหวางนิติ บัญญัติของรัฐบาลไทย กับการปกครองของคณะสงฆ โดยรัฐเปนผตรา กฎหมายคณะสงฆ ไดแกพระราชบัญญัติคณะสงฆ ในเรื่องนี้ ถาทางนิติบัญญัติจะเกื้อกูล ก็คือ ชวยใหกฎหมายคณะ สงฆเปนไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา หมายความวา ทําอยางไร จะใหพระราชบัญญัติคณะสงฆ และขอบัญญัติตางๆ เปนสิกขาบทตาม หลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งจะเปนตัวเสริมสรางสภาพแวดลอม ระบบ ความสัมพันธ และระบบสถาบันที่เกื้อหนุนใหบุคคลที่เขามาบวชแลว ไดรับการศึกษา ที่เรียกวาไตรสิกขา ถากฎหมายทําอยางนี้ไมได ก็แทบจะไมมีความหมายอะไรเลย เพราะมันไมเอื้อใหเกิดการปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนา


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๘๗

เวลานี้ก็เปนอยางที่ย้ําแลววา กฎหมายของเราไดชักนําความโนม เอียงเขามาสูวงการสงฆ ในแบบที่ทําใหสถาบันสงฆกลายเปนสถาบันที่ ปกครองดวยอํานาจไปดวย ซึ่งเปนการไมถูกตอง ถาจะใหเปนไปโดย ชอบจะตองใหเปนการปกครองดวยการศึกษาและเพื่อการศึกษา อยางที่บอกแลววา ในพระพุทธศาสนา การปกครองและกฎหมาย คือวินัย เปนเรื่องของการศึกษา โดยการศึกษา และเพื่อการศึกษา ที่จะ เกื้อหนุนใหมนุษยพัฒนาตนขึ้นไปสความมีชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้น ต อ ไปขั้ น ที่ ๒ ก็ คื อ ให ข ยายหลั ก การนี้ อ อกไปสู สั ง คมให กวางขวาง ถาเห็นดวยกับหลักการของพระพุทธศาสนาตามนิติศาสตร แนวพุทธ กฎหมายจะตองมีแนวโนมในการที่จะสรางระบบสังคม จัดสรรสภาพแวดลอม และวางรูประบบความสัมพันธในการอยูรวมกัน ของมนุษย ในทางที่จะเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย ให มนุษยเขาถึงจุดหมายของชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป พร อ มกั น นี้ ยั ง มี ค วามสั ม พั น ธ อี ก อย า งหนึ่ ง ที่ จ ะมาเกื้ อ หนุ น พระพุทธศาสนา ที่พูดมาเมื่อกี้นั้นเปนการเกื้อหนุนในแงของหลักการ ของพระพุทธศาสนา แตทีนี้การเกื้อหนุนอีกอยางหนึ่งที่แคบเขามาเปน ดานปฏิบัติการ ก็คือในหลักธรรมชุดหนึ่งที่พูดไปแลว ไดแก อปริหานิย ธรรม ๗ ประการ หลั กนี้ ข อสุ ดท ายบอกว า หน าที่ ของรั ฐอย างหนึ่ งคื อจะต องจั ด อารักขาคุมครองปองกันอันชอบธรรมแกพระอรหันต ซึ่งในที่นี้หมายถึง ทานผูมีศีลมีความบริสุทธิ์ เปนผูดํารงธรรม สั่งสอนธรรม เปนหลักใจ ของประชาชน และเปนแบบอยางทางศีลธรรมของสังคม กฎหมายและ การปกครองจะตองชวยคุมครองและเกื้อหนุน ไมใชละเลย แลวกลับไป หนุนในทางที่ผิด เวลานี้ ค งต อ งถามว า สั ง คมของเราได ใ ชก ฎหมายเกื้ อหนุ น ใน


๑๘๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

แ น ว ท า ง นี้ บ า ง ห รื อ ไ ม คื อ เ กื้ อ ห นุ น ผู ที่ อ ยู ใ น แ น ว ท า ง ข อ ง พระพุทธศาสนา อยูในธรรมในวินัย หรือเกื้อหนุนผูที่ออกไปนอกธรรม นอกวินัย เรื่องนี้เปนงานหนึ่งที่จะประสานกับธรรม เพราะวาเมื่อมองในแง ประโยชนสวนรวม ในที่สุด สภาพของสถาบันสงฆก็จะฟองถึงสภาพ ของสั ง คมไทยด ว ย เนื่ องจากสถาบั น สงฆนั้ น เป น สถาบั น สั ง คม โดยเฉพาะเปนสถาบันที่เปนตัวแทนของจริยธรรม เพราะฉะนั้นจึงเปน เครื่องชี้วัดจริยธรรมของสังคมไปดวย ในแง ห นึ่ ง เรามองว า เวลานี้ ส ถาบั น สงฆ ซึ่ ง เป น ตั ว แทนทาง จริยธรรมของสังคมไทยตกต่ําเสื่อมโทรมมาก ถาตกต่ําจริงก็เปนดัชนีชี้ วั ด ว า เวลานี้ สั ง คมไทยได มี ค วามตกต่ํ า ทางจริ ย ธรรมอย า งยิ่ ง จน แมกระทั่ งสถาบั นที่ เปนตัวแทนหรื อเป นแกนกลางของจริ ยธรรมก็ยั ง ตกต่ําถึงเพียงนี้ สภาวะเชนนี้เปนเครื่องเตือนใจผูรับผิดชอบตอสังคม โดยเฉพาะ นักปกครองและผูบริหารทุกทานวา จะตองตื่นขึ้นมารีบปรับปรุงพัฒนา สังคมของเรา รวมทั้งการพัฒนาสถาบันสงฆดวย เพราะวาการที่สถาบัน สงฆตกต่ํานั้นไมไดหมายความวาเฉพาะสถาบันสงฆเทานั้นที่ตกต่ํา ดังที่ เรามักมองกันอยางคับแคบเหลือเกิน เชนมองวาพระไมดีๆ เวลานี้พระ ตกต่ําอะไรตางๆ แลวก็จบ แตที่จริงนั้น สังคมนี้เปนสวนรวมขององครวมตางๆ มากมาย แต ละสวนนั้นเปนองคประกอบที่ทั้งเปนปจจัยสงผลและทั้งเปนตัวรับผล ดวย สถาบันสงฆก็เชนเดียวกัน เมื่อสถาบันสงฆไมมีประสิทธิภาพ ก็จะไมสามารถเปนปจจัยปรุง แตงสรางสรรคสังคมในทางที่ดี แตจะเปนเพียงตัวรับผลจากปจจัยทาง สังคม และเปนตัวสะทอนปญหาของสังคม


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๘๙

เพราะฉะนั้นจึงขอย้ําวา เมื่อสถาบันสงฆตกต่ําเสื่อมโทรม ในแงหนึ่ง ก็เปนเครื่องวัดวาเวลานี้สังคมไทยไดตกต่ําทางจริยธรรมเปนอยางยิ่ง ถึง ขนาดที่แมแตสวนแกนกลางทางจริยธรรมก็ยังแยขนาดนี้ ฉะนั้นอยาได ไปคิดมองแคบๆ วาสถาบันสงฆแย เพราะวาที่แทก็คือสังคมไทยทั้งสังคม แยที่สุดแลว ถาเรามองเชนนี้ก็จะเปนประโยชนที่จะทําใหเราตื่นขึ้นมา และรีบแกไขปญหาดวยการปรับปรุงสังคมไทยใหขึ้นสูสถานะที่ดีงาม ถูกตอง ดวยการพัฒนาสถาบันสงฆเองดวย ใหเขาสูแนวทางที่ถูกตอง อนึ่ง มองในแงปจจัยอยางหนึ่งก็อาจจะเปนไปไดวา นิติบัญญัติ ของสังคมไทยไดมีสวนเอื้อที่ทําใหสถาบันสงฆตกต่ําลง การปกครองด ว ยอํ า นาจนั้ น แน น อนว า ผิ ด หลั ก การของ พระพุทธศาสนา เพราะการปกครองในพระพุทธศาสนาเปนเพียงปจจัย ที่มาชวยเสริม ซึ่งมีขึ้นเพื่อการศึกษาเทานั้น คือเพื่อชวยสนับสนุนให มนุษยพัฒนาตนขึ้นสูชีวิตที่ดีงาม ถาเราไมยอมรับหลักการนี้มาใชใน สังคมสวนใหญ ก็ตองยอมรับในแงของสถาบันสงฆ ถ า ยอมรั บ ทั้ ง หมด ก็ ห มายความว า ขยายหลั ก การนี้ ม าใช กั บ สังคมไทยสวนรวมดวย ตลอดจนสังคมโลกทั้งหมด เพื่อใหนิติศาสตร เกื้อหนุนระบบการจัดการสังคม ที่เอื้อตอการพัฒนามนุษย ใหมีชีวิตที่ดี งาม มีสังคมที่สันติสุข และชวยทําโลกใหรื่นรมยนาอยูอาศัยยิ่งขึ้น ไดกลาวแลววา การพัฒนาคนเปนทั้งจุดหมายและเปนทั้งปจจัย ของวินัยอันรวมทั้งกฎหมาย กลาวคือกฎหมายมีไวเพื่อสรางสภาพเอื้อ โอกาสแกการที่คนจะพัฒนาชีวิตสความดีงามและประโยชนสุขที่สูง ยิ่งขึ้นไป และคนที่พัฒนาดี แลวนั่นแหละจะปฏิ บัติตามกฎหมายไดดี ที่สุด พรอมทั้งชวยใหกฎหมายบรรลุจุดหมายของมันอยางดีที่สุด โดยเฉพาะถาคนมีการพัฒนาตนอยางดี จนเขาถึงธรรมดวยปญญา และดวยจิตใจแลว เขาก็จะมีพฤติกรรมที่เขาถึงธรรม ซึ่งจะทําใหมีการ


๑๙๐

นิติศาสตรแนวพุทธ

ปฏิบัติตามกฎหมายอยางสมบูรณแบบ กลาวคือกฎหมายจะไมใชเปน ขอบังคับ แตเปนเพียงขอหมายรู หรืออาจจะพูดอีกอยางหนึ่งวา ไมตองมี กฎหมายแบบขอบังคับ มีแตเพียงกฎหมายแบบขอหมายร หรือมีวินัย โดยไมตองมีสิกขาบท ถา ไมมีพื้ นฐานการพั ฒนาทางจิต ใจและป ญญา ไมว ากฎหมาย หรื อ วิ นั ย จะกํ า หนดไว อย า งไร ในที่ สุ ด ก็ จ ะไปไม ร อด เพราะคนจะ หาทางเลี่ยงกฎหมาย หรืออยางนอยก็ไมมีความยินดีเต็มใจพรอมใจที่จะ ปฏิ บั ติ ต าม และแม จ ะมี ก ารบั ง คั บ และการลงโทษกั น อย า งไร ก็ จ ะ ลมเหลวในที่สุด เพราะตัวระบบเองจะกรอนโทรมจนหมดประสิทธิภาพ เชน มีการสมคบกันหลบเลี่ยงกฎหมายในทุกระดับ ตองตั้งระบบบังคับ ควบคุมซับซอนขึ้นๆ และลงโทษรุนแรงขึ้นๆ จนไรผล ตลอดจนมีการ นําเอากฎหมายไปใชในทางที่ผิดเจตนารมณ เพื่อสนองความตองการ ผลประโยชนสวนตัว เปนตน ฉะนั้ น การพั ฒ นาคนในด า นพฤติ ก รรมตอ กฎหมาย พร อ มไป ดวยกันกับการพัฒนาดานจิตใจและดานปญญา จึงเปนภารกิจสําคัญที่ นิติศาสตรจะตองใหความสนใจ

เปน rule of law นั้นหรือจะพอ อยาเพิ่งภูมิใจ ถาพัฒนาสาระแทขนึ้ มาไมได อารยธรรมก็จะสลายดวยกินตัวมัน เอง การพัฒนาคนอาจเกิดจากปจจัยแวดลอมตางๆ ในประวัติศาสตร ผลักดัน โดยไมไดเกิดจากการตั้งใจปฏิบัติใหถูกตองดวยปญญาที่รเขา ใจความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติของคนและสังคมเปนตน เชน การรักความ เปนธรรมอยางแรงกล า ที่ พัฒนาขึ้นมาในหมู ช นบางสัง คม เนื่อ งจาก


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๙๑

ประสบการณในการถูกกดขี่ขมเหงเบียดเบียนกันมาอยางแพรหลายและ รุนแรง จากประสบการณ เ ช น นั้ น และด ว ยความรั ก ความเป น ธรรมที่ พัฒนาขึ้นมาอย างนั้น เป นฐาน สังคมดังกลาวก็จ ะจั ดตั้งวางกฎเกณฑ กติกาตางๆ ขึ้นมา เพื่อรักษาความเปนธรรมนั้นอยางคอนขางไดผล และ คนที่ รั ก ความเป น ธรรมทั้ ง หลายก็ จ ะเคารพและรั ก ษากฎหมายหรื อ กฎเกณฑกติกาเหลานั้นไดอยางหนักแนนและจริงจังมั่นคง อยางไรก็ดี เมื่อกาลเวลาผานไป และปจ จัยแวดลอมทางสังคม เปลี่ยนแปลงไป ความรักความเปนธรรมเปนตนทีเ่ ปนฐานอยภ ายในจิตใจก็ เลือนลางจางลงไป แมวากฎหมายและบทบัญญัติตางๆ ที่วางไวยังคงอยู และความนิยมและความสามารถในการจัดตั้งวางกฎเกณฑกติกาและตรา กฎหมายก็ยังสืบเนื่องตอมา แตปรากฏวาบางที กฎหมายและกฎเกณฑ กติกาทั้งหลายไดกลายเปนเพียงรูปแบบที่ไมสนองเจตนารมณที่เปนตัว หลักการ จึงไมไดผลสมความมุงหมายบาง กอผลขางเคียงหรือผลพวง ในทางลบที่ บ างครั้ ง ร า ยแรงบ า ง ตลอดจนกลายเป น เครื่ อ งมื อ หา ผลประโยชนของบุคคล และกลุมคน หรือกลายเปนเครื่องทํารายสังคม นั้นเอง สภาพการณ เ ช น นี้ เป นสิ่ งที่ นั ก นิ ติ ศาสตร แ ละผ รั บ ผิ ดชอบต อ สังคมโดยทั่วไปจะตองรเทาทันและระมัดระวังโดยไมประมาท เพราะการ เป นสั งคมที่ พั ฒนาแล ว (ตามความหมายสมั ยใหม ที่ เน นการพั ฒนาทาง เศรษฐกิจหรือดานวัตถุ) ไมเปนหลักประกันวาจะปลอดภัย และอาจเปน ปจจัยสําคัญอยางหนึ่งที่ทําใหสังคมตองหมุนไปในวงจรของความเจริญ แลวก็เสื่อม สหรัฐอเมริกาเปนตัวอยางของสังคมยุคปจจุบัน ที่ภูมิใจตนวาเปน สังคมที่ถือหลัก rule of law แปลกันวาหลักนิติธรรม คือปกครองกันดวย


๑๙๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

กฎหมาย ถือกฎหมายเปนใหญ (คือเปนธรรมาธิปไตย ในระดับธรรมโดย บัญญัติ) ไมมีใครอยูเหนือกฎหมาย ทุกคน ทั้งผูปกครองและผูใต ปกครอง ต องอยู ใต บั ง คั บของกฎหมายและได รั บความคุ มครองจาก กฎหมายเสมอกัน จะยกตั วอย างป ญหากฎหมายกั บสภาพการพั ฒนาคนในสั งคม อเมริกัน ซึ่งถือกันวาเปนสังคมที่พัฒนากาวไกลที่สุด มาเปนขอพิจารณา สัก ๓ กรณี ๑) ปญหาการแบงแยกผิว เปนตัวอยางของการพยายามแกปญหา ดวยกฎหมาย ในขณะที่ทางดานจิตใจไมมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่จะ พัฒนาให สอดคลองกั น หรื อพู ดอี กอยางหนึ่งวา เปนการพยายามเอา กฎหมายที่ เ ป น รู ป ธรรมมารวมคนเข า ด ว ยกั น โดยรู ป แบบ แต ไ ม มี เครื่องมือทางนามธรรมที่จะมารวมใจคน ผลก็คือสภาพสังคมอเมริกันที่ ป ญ หาการแบ ง แยกผิ ว ยิ่ ง รุ น แรง และความหวั ง ในการแก ป ญ หายิ่ ง เลือนลางลงไปทุกที ขอใหดูตัวอยางคํากลาวในหนังสือใหมๆ บางเลม ของชาวอเมริกัน เชน “ในที่สุด เราก็เลิกคติเบาหลอม (melting pot) ไป แลว” (Naisbitt, 273) “คนอเมริกันผิวดํา เปนชาวอเมริกัน แตกระนั้น เขาก็ยังมี ชีวิตอยอยางคนตางดาวในผืนแผนดินเดียวที่เขารจักนั้น . . . ดังนั้น อเมริกาจึงมองไดวาเปนชน ๒ ชาติตางหากจากกัน . . . การแบงแยกนั้นแผคลุมไปทั่วและชําแรกลึก” (Hacker, 4) “สามสิบปผานไปแลว หลังจากออกรัฐบัญญัติวาดวยสิทธิ พลเมือง (Civil Rights Act) เราควรจะไดเห็นยุค ใหมแหงความรวมมือและความเขาใจกัน . . . แตการขจัด ความแบงแยกดวยกฎหมาย ไดนําไปสูการรวมจิตใจเขาดวยกัน


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๙๓

อยางที่ ดร.คิง มุงหวังหรือเปลา ความสมานสามัคคีมีมาใหเห็น เงาบางไหม . . . หรือวาพวกเรายิ่งจมลึกลงไปในหลุมแหง ความโดดเดี่ยวและความไมไวใจกัน . . . ความรังเกียจผิวเปน บาดแผลแหงสังคมของเรา แตแทนที่เราจะคอยดูแลใหแผลนั้น คอยๆ หายไปอยางชาๆ เราก็เหมือนกับสัตวอื่นๆ ซึ่งอดไมได ที่จ ะคอยกัด แผลนั้ น แผลก็เลยยิ่ งเปดกว างมากขึ้ น” (Howard, 133-143)

๒) ปญหาการทารุณเด็ก การทําทารุณกรรมตอเด็กเปนปญหาใหญ ที่ แ พร ห ลายมานานในสั ง คมอเมริ กั น และสั ง คมยิ่ ง เจริ ญ ป ญ หาก็ ยิ่ ง รุนแรงมากขึ้น หนังสือ The Day America Told the Truth กลาววา “คนที่เติบโตขึ้นมาเปนผใหญทั่วอเมริกาทุก ๑ ใน ๖ คน เคยถูกทําการทารุณทางรางกายในวัยเด็ก และเกือบเทากันนั้น คือ ทุก ๑ ใน ๗ คน สารภาพวา เมื่อเปนเด็กตนเคยถูกทํา (Patterson, ทารุณกรรมทางเพศ” 125)

แมวาตามสถิติที่เปนทางการ จํานวนเด็กที่มีในรายงานจะนอยกวา ที่ ก ล า วนี้ เช น ในป ๒๕๓๖/๑๙๙๓ มี ร ายงานเด็ ก ถู ก ทํ า ทารุ ณ ๒,๘๒๕,๕๙๔ คน (The American Almanac 19951996, Table No. 347) คนที่ทําการทารุณสวนมากก็คือคน ใกลชิด เริ่มแตพอแมของเด็กเอง เมื่อปญหาการทารุณเด็กแพรหลายมากอยางที่วานี้ จึงเกิดความ จําเปนที่ทําใหรัฐบาลตองออกกฎหมายมาปองกันแกไขปญหาและคมค รองเด็ก เชน มีมาตรการในการลงโทษคนที่ทารุ ณเด็ก แต กฎหมายที่


๑๙๔

นิติศาสตรแนวพุทธ

ออกมาเปนเหมือนดาบสองคม ในดานดี ชวยไดเพียงลงโทษคนที่ทําผิด และยับยั้งบางคนที่จะทําราย ชวยบรรเทาปญหาดวยการกั้นกระแสราย ไมใหสังคมเสื่อมโทรมลงไปกวานั้นอีก (ซึ่งก็ไมไดผลจริง) แตในดานผลเสีย กลายเปนการทําลายบรรยากาศทางจิตใจ และ ความสั ม พั น ธ ใ นครอบครั ว รวมทั้ ง เป น การแทรกแซงกั้ น ขวางใน กระบวน การอบรมเลี้ยงดูเด็ก เชน เมื่อพอหรือแมตีหรือดุวาเด็ก ซึ่งอาจ ยังไมแนวาเปนการรุนแรงหรือไม เด็กอาจมองวารุนแรงหรือโกรธแลว โทรศัพทไปแจงตํารวจ หรือเพื่อนบานไดยินไดเห็นแลวอาจโทรศัพทไป แจง หรื อเด็ก ไปโรงเรี ยนฟ องครู แ ล ว ครู โ ทรศั พท ไ ปแจ งตํ า รวจ เมื่ อ ตํา รวจมาจับพ อแมไ ป พ อ แมถู กขัง หรื อดํ าเนิน คดี อยู แมจ ะยั งไม ได ตัดสินวามีความผิดจริงหรือไม ผลเสียก็เกิดขึ้นแลว (เชน เคยมีกรณีที่พอ ตรอมใจผูกคอตายในหองขังบาง พอแมหลบหนีคดีทําใหกิจการงานตอง ลมเลิกไปบาง) แม แ ต เมื่ อยั ง ไม มีก รณี เ กิ ดขึ้น แต บ รรยากาศในบ า นที่ควรเป น สภาพแหงความรักความอบอุน ก็อาจจะกลายเปนบรรยากาศแหงความ หวาดระแวงกัน พอแมจะสั่งสอนลูกก็ตองหวาดวาอาจถูกจับถูกฟอง ลูก ก็อาจมีทาทีแบบเพงจองหาความผิดของพอแม หรือมองพอแมเปนคนละ ฝายกับตน และไมเกรงพอแม เพราะนึกวามีกฎหมายและเจาหนาที่เปน พวกของตน ดังนี้เปนตน ๓) ปญหาการฟองเรียกคาเสียหาย วัฒนธรรมอเมริกันเนนการ พิทักษสิทธิสวนบุคคล จึงพัฒนามาตรการที่จะปองกันการละเมิดสิทธิ ของกันและกัน มาตรการสําคัญคือทางดานกฎหมายเมื่อมีการละเมิด สิทธิกัน ก็จะมีการฟองเรียกคาเสียหาย (v.= to sue; n. = suit) เมื่อคนรักความเปนธรรม เขาจึงพัฒนามาตรการทางกฎหมาย คือ การฟองเรียกคาเสียหายนี้ขึ้นมาเพื่อรักษาความเปนธรรมนั้นใหมีผลเปน


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑๙๕

จริงและดํารงอยอยางมั่นคง แตเมื่อการรักความเปนธรรมซึ่งเปนสาระที่ แทเลือนลางจางลงไป มาตรการทางกฎหมายที่เปนรูปแบบภายนอกก็ คอยๆ แปรความหมายไป คือแทนที่จะเปนเครื่องมือของการคมครอง สิทธิเพื่อรักษาความเปนธรรม ก็กลายเปนวาการฟองเรียกคาเสียหายได กลายเปนเครื่องมือแสวงหาผลประโยชนจากผอื่น เวลานี้ การใชมาตรการทางกฎหมายในการฟองเรียกคาเสียหายมา เปนเครื่องมือหาผลประโยชน ไดแพรหลายมากขึ้นในสังคมอเมริกัน เชน ทนายความบางคนโฆษณาวารับปรึกษาและใหบริการทางกฎหมาย ฟรี แตมีความหมายวา ใครมีเรื่องราวกระทบกระทั่งกับคนอื่น เชน เพื่อน บ า น พอจะเห็ น ทางฟ อ งเรี ย กค า เสี ย หายได ก็ นํ า เรื่ อ งมาปรึ ก ษา ทนายความๆ จะไมคิดคาบริการ ถาเห็นทางตั้งเปนคดีได ก็ตั้งเปนคดี ฟองศาล และรับวาความใหเปลา แตถาชนะไดเงินชดใชคาเสียหาย ก็ แบงกับลูกความคนละครึ่ง ถาแพก็แลวไป โดยวิธีนี้ ชาวบานที่เปนลูกความก็เห็นวาตนมีแตไดไมมีเสีย และ เห็นเปนวิธีหาเงินที่ไดผลดี ก็ชอบใจ เลยจองหาเรื่องฟองเพื่อนบาน ทํา ใหคนอยูกันดวยความไมจริงใจและหวาดระแวงกันมากขึ้น เรื่องแบบนี้ที่เดนมากอยางหนึ่ง คือ คนไขและญาติคนไขคอยจอง จับผิดแพทยที่รักษา เพื่อหาแงที่จะไดเงินดวยการฟองเรียกคาเสียหายจาก แพทย ทําใหแพทยเดือดรอนมากขึ้น กระแสของคานิยมนี้กําลังกาวไป ไกลมากขึ้นในสังคมอเมริกัน ในสั ง คมไทยที่ ไ ม มี วั ฒ นธรรมแบบนี้ แต มี วั ฒ นธรรมน้ํ าใจ ที่ ประชาชนและคนไขมองแพทยเปนผมีพระคุณ กรณีแบบนี้ก็ไมมี แตเมื่อ สังคมหลงสมมติมากขึ้น การแพทยกลายเปนธุรกิจอยางตะวันตกมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็จะตามมา กรณีเชนนี้ก็จะเริ่มมีขึ้น ตอน แรกก็จะเปนเพียงการฟองเพื่อพิทักษสิทธิ แตตอไปเมื่อคุมกระแสไมได


๑๙๖

นิติศาสตรแนวพุทธ

การฟองเพื่อหาเงินหารายไดก็จะเกิดขึ้นและจะเฟองฟูไดดวยเชนกัน และก็ จ ะไม เ ฉพาะในวงการธุ ร กิ จ การแพทย เ ท า นั้ น แต อาจจะแผ ไ ป ครอบงํากิจการทุกอยางของสังคมเลยทีเดียว จึงเปนเรื่องที่เรียกรองการพัฒนาคนอยางยิ่ง และหมายถึงการที่ ตองพัฒนาคนนั้นใหทันการณกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วนีด้ ว ย กฎหมายหรือกฎสมมติของมนุษยเปนคุณ เมื่อมันเปนเครื่องมือ สนองความตองการธรรม แต เ มื่ อ ความต อ งการธรรมเลื อ นลางจางหาย กฎหมายก็ อ าจ กลายเปนเครื่องมือสนองความปรารถนาสวนตัวของบุคคล ที่อาจจะตรง ขามกับธรรม เชน เปนเครื่องมือของการแสวงหาผลประโยชนของตน หรือการ กลั่นแกลงทํารายผอื่น กฎหมายหรือกฎสมมติของมนุษยมีกําเนิดขึ้น เพื่อชวยสนับสนุน ธรรม หรือกฎแทของธรรมชาติ ใหปรากฏผลเปนจริงหนักแนนในสังคม มนุษ ย แต เมื่ อ คนแปลกแยกจากความจริ งแท แ ห ง ธรรม หรื อหลงลืม มองขามไปเขาไมถึงธรรมแลว กฎหมายหรือกฎสมมติของมนุษยนั้นก็เลื่อน ลอยคลาดเคลื่ อนจากคุ ณ ค าที่ แ ทจ ริ ง และกลั บกลายเปน เครื่ องทํ าลาย สังคมมนุษยเสียเอง เมื่อมีการพัฒนาดานจิ ตใจและปญญาภายในตัวคน ทําให คนมี ความสามารถภายในที่จะควบคุมและนําพฤติกรรมของตนไปในทางที่ ถู กต องดี งาม สั ง คมจะต องการกฎหมายเพี ย งเพื่ อมาช ว ยจัด สรร สภาพแวดล อม โอกาสและบรรยากาศ ที่ จะอุ ดหนุนความมั่นคงแห ง พฤติกรรมที่ถูกตองดีงามนั้น แตถาจิตใจและปญญาไมไดรับการพัฒนา คนไมมีความสามารถ ภายในที่จะควบคุมและนําทางพฤติกรรมของตนใหถูกตอง ก็จะตองเพิ่ม มาตรการควบคุมจากภายนอกดวยการบัญญัติกฎหมายมาบังคับควบคุม


๑๙๗

พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

คนมากขึ้นๆ พรอมทั้งลงโทษหนักหนารุนแรงขึ้นๆ จนในที่สุดกฎหมาย ก็จะหมดความหมาย สังคมก็จะเสื่อมสลาย และชีวิตก็จะไมอาจบรรลุ จุดหมายแหงประโยชนสุขและอิสรภาพที่แทจริง อยางไรก็ตาม ดวยปญญาที่เชื่อมโยงกฎสมมติของมนุษยเขากับ กฎแทของธรรมชาติได และจัดวางกฎหมายที่เปนกฎสมมติของมนุษย ใหเปนเครื่องเกื้อหนุนผลที่มงหมายแทจริงตามกฎธรรมชาติ ใหกฎหมาย และการปกครองเปนเครื่องรองรับและเชิดชูธรรม ตั้งอยูบนฐานแหง ธรรมและมีจุดหมายเพื่อธรรม พรอมทั้งจัดตั้งวางระบบแบบแผน ที่เอื้อ โอกาสใหคนพัฒนาตนใหสามารถไดรับประโยชนสูงสุดจากความจริง แท คื อ ธรรมนั้ น ด ว ยปรี ช าญาณและปฏิ บั ติ ก ารเช น นี้ นิ ติ ศ าสตร ก็ จ ะ ชวยชีวิตมนุษย ชวยสังคม และชวยโลกได อาตมภาพไดพูดมาในเรื่อง “นิติศาสตรแนวพุทธ” แมวาจะไมได ตอบคําถามโดยตรง แตก็ไดกลาวแลววาขอฝากไวใหพิจารณาในหลัก ตางๆ ที่พูดไปแลว และก็อาจจะใหทานผฟงไดตอบเองดวย ขออนุโมทนาทานอัยการสูงสุด ที่ไดมีกุศลเจตนาดํารินิมนตอาตม ภาพมาพูด พรอมทั้งทานผูทรงคุณวุฒิ และทานผูสนใจใฝธรรมทุกทานที่ มารวมฟง ขอกุศลเจตนาของทานจงเปนปจจัยแหงความสุขและความ เจริญงอกงาม ขอทุกทานจงเจริญดวยจตุรพิธพรชัย มีกําลังกาย กําลังใจ กํ าลั งป ญญา ที่จะช วยกั นปฏิ บั ติ กิ จ หน าที่ ในการสร างสรรค ชี วิ ต และ สังคมที่ดีงามยิ่งขึ้นไป โดยทั่วกันทุกทาน

บรรณานุกรม ก. คัมภีรพระพุทธศาสนา ที่อางอิงในคําบรรยายนี้ คือ


๑๙๘

นิติศาสตรแนวพุทธ

๑. พระไตรปฎกบาลีฉบับสยามรัฐ มหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ พ.ศ. ๒๕๒๓ ชุด ๔๕ เลม - ระบบอางอิง คือ เลม/ขอ ๒. อรรถกถา และ ฎีกา ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย และฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย หลาย พ.ศ. - ระบบอางอิง คือ เลม/หนา

ข. หนังสืออื่นๆ ปยุตฺโต, พระธรรมปฎก ป. อ. วินัย: เรื่องที่ใหญกวาที่คิด. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๓๙. Gore, Senator Albert A. Earth in the Balance. Boston: Houghton Miffin Co., 1992. Hacker, Andrew. Two Nations. New York: Charles Scribner's Sons, 1992. Howard, Philip K. The Death of Common Sense. New York: Random House, Inc., 1994. Joshi, Lalmani. Studies in the Buddhistic Culture of India. Delhi: Motilal Banarsidass, 1987. Naisbitt, John. Megatrends. New York: Warner Books, Inc., 1984. Patterson, James, and Kim, Peter. The Day America Told the Truth. New York: Penguin Books USA Inc., 1992. Rolston, Holmes. Environmental Ethics. Philadelphia: Temple University Press, 1988. Walker, Benjamin. Hindu World. 2 vols. London: George Allen & Unwin Ltd., 1968.


นิติศาสตรแนวพุทธ พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การใหธรรม ชนะการใหทั้งปวง


นิติศาสตรแนวพุทธ © พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ISBN 974-8239-34-9 พิมพครัง้ แรก สถาบันกฎหมายอาญา สํานักงานอัยการสูงสุด พิมพเปนธรรมทาน ธันวาคม ๒๕๓๙ พิมพครั้งที่ ๕ (ปรับปรุง) — ธันวาคม ๒๕๔๔ - คุณจินตนา นันทไพบูลย ๑,๐๐๐ เลม - หางหุนสวนจํากัด พิคกา ชิบปง ๑๐๐ ” - คุณจิตตินันท นันทไพบูลย ๕๐ ” - คุณนงคราญ ธาราทิพยกุล ๒๕ ” - คุณศรีลออ พะลายะสุต ๒๕ ” - คุณธารทอง -ประเวศ พวงประเสริฐ ๒๐ ” - คุณอรวรรณ สวางกมล ๒๕ ” - คุณพรพิมล เจริญศรี ๒๕ ” - คุณนิภาพรรณ ศิริหาญยากร ๓๐ ” - คุณเจือ สุวรรณเจริญ และคณะ ๑๑๒ ” - คุณกิ่งรัก กรอบเพชร ๕๐ ” - คุณปยะนุช ลือชานิมิตจิต ๕๐ ” - ครอบครัวโกสินทราภรณ ๑๐๐ ”

พิมพที่ บริษทั พิมพสวย จํากัด

๓,๐๐๐ เลม

- ทุนพิมพหนังสือเปนธรรมทาน๙๒๓ เลม - คุณวศิน นันทไพบูลย ๗๕ ” - คุณพวงทอง เจริญพานิช ๒๕ ” - คุณพรพิมล เกียรติกังวาฬไกล๒๕ ” - คุณจิตรา ชัยยะ ๒๕ ” - คุณนฤมล คันธาจละ ๒๕ ” - คุณเฉลา -สุรัชดา รัตนเสถียร ๕๐ ” - คุณสาธิต พันธกิจไพบูลย ๒๕ ” - คุณสวรัฐ เรียนเขมะนิยม ๕” - คุณวิเศษ จันทรโส ๑๐ ” - คุณชุติมา เศวตนัย ๑๐๐ ” - ครอบครัวเตชะผาติกุล ๑๐๐ ”

๒๓/๙-๑๐ ถ.ดํารงรักษ แขวงคลองมหานาค เขตปอมปราบศัตรูพาย กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐


พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๒๐๑

โทร. ๒๘๐-๒๐๗๔-๖ โทรสาร ๒๘๑-๙๕๑๒

วันอาทิตยที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ปรับใหมนิติ.พุทธ จากพระครูฯ 16.12.44 .doc Cordia 16 pt.=136 pp. Replaced with PSLBundit =136 pp. เทากัน พอดี


๒๐๒

นิติศาสตรแนวพุทธ

๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ หลัง ๑๖ น. จึงไดมีโอกาสเริ่มงานจัดปรับแทรกเสริมเพิ่มเติม • ตั้งหัวขอยอยเพิ่ม ๗ แหง • แทรกเพิม่ เนือ้ หา (ตั้งแต น. ๗๒) ๔ แหง=๑๖ ยอหนา (โดยเฉพาะ น. ๑๑๑–๑๑๒=๑๑ ยอหนา) • ซอยยอหนาอีกมากมาย • ใหตัวอักษรเพิ่มอีกมากมาย

• ปรับปรุงถอยคําสํานวน และแทรกขอความปลีกยอยทั่วไป • ที่มาคัมภีร ใสเลขหนาเขาดวย ทั้งที่เพิม่ มากมาย แตจํานวนหนากลับทําใหลดลงไป จนเหลือเพียง ๑๓๓ หนา

กวาจะเสร็จ=๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ สารบัญเสร็จ=๒๔.๓๐ น. ขึ้นวันใหมจันทรที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.