การควบคุมภายในตามแนว COSO กรณีศึกษาบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จำกัด

Page 1

รายงานผลการศึกษารายวิชาปัญหาพิเศษ การควบคุมภายในตามแนว COSO กรณีศึกษาบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จากัด INTERNAL CONTROL BASED ON COSO CASE STUDY OF VUDHICHAI PRODUCE CO., LTD.

โดย นางสาวจิตรานุช นางสาวธัชชา นางสาวลลิตภัทร นางสาววิมพ์วิภา

พรมกิตติยานนท์ สิงควะนิช พัดพา สุนทรวิริยะวงศ์

รายงานผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีบริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2555



การควบคุมภายในตามแนว COSO กรณีศึกษาบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จากัด INTERNAL CONTROL BASED ON COSO CASE STUDY OF VUDHICHAI PRODUCE CO., LTD.

โดย

นางสาวจิตรานุช นางสาวธัชชา นางสาวลลิตภัทร นางสาววิมพ์วิภา

พรมกิตติยานนท์ สิงควะนิช พัดพา สุนทรวิริยะวงศ์

5230110155 5230110341 5230110741 5230110783

รายงานผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีบริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2555


(1)

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : จากัด ชื่อผู้จัดทา :

ปีการศึกษา : อาจารย์ที่ปรึกษา :

การควบคุมภายในตามแนว COSO กรณีศึกษา บริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ นางสาวจิตรานุช พรมกิตติยานนท์ นางสาวธัชชา สิงควะนิช นางสาวลลิตภัทร พัดพา นางสาววิมพ์วิภา สุนทรวิริยะวงศ์ 2555 อาจารย์พีรญา พงษ์ปรสุวรรณ์

ในการจัดทาปัญหาพิเศษครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลกระทบจากวิกฤตการณ์อาหาร โลกที่ส่งผลต่อธุรกิจส่งออกข้าว และศึกษาระบบการควบคุมภายในตามแนว COSO ของธุรกิจ ส่ ง ออกข้ า ว เพื่ อ ใช้ เ ป็ น แนวทางในการปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาระบบการควบคุ ม ภายในให้ มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้สภาวะที่มีการแข่งขันรุนแรงและภายใต้ วิกฤตการณ์อาหารโลกใน ปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบให้กับประเทศและธุรกิจส่งออก โดยใช้ บริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จากัด ซึ่ง ดาเนินธุรกิจเกี่ยวกับการคัดเกรดและส่งออกข้าวสารหอมมะลิและข้าวเหนียวเป็นกรณีศึกษา และใช้ วิธีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ กิจการใช้ แล้วนามาทาการวิเคราะห์กับองค์ประกอบระบบการควบคุมภายในตามแนว COSO ผลการศึกษา พบว่าวิกฤตการณ์อาหารโลกเป็นปัญหาสาคัญเนื่องจากความต้องการ สินค้าเกษตรและอาหารมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ทาให้ราคาอาหารสูงขึ้น ซึ่งประเทศไทยนั้นหลายคน มองว่าเป็นโชคดีและเป็นโอกาสในการพัฒนาสิ นค้าเกษตรและอาหารเพื่อการส่งออก แต่วิกฤต ดังกล่าว ก็ส่งผลกระทบให้กับประชาชนที่ยากจน ชนชั้นกลางของประเทศที่ส่วนใหญ่มีอ าชี พ เกษตรกร ภาครัฐจึงจาเป็นต้องกาหนดนโยบายเพื่อช่วยเหลือ โดยใช้นโยบายโครงการรับจานาข้าว เพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกข้าวหรือ ที่เรียกกันว่าชาวนา โดยรับซื้อ ข้าวในราคาที่สูงกว่าราคา ตลาด ทาให้ชาวนามีรายได้สูงขึ้น แต่ผลกระทบทางลบกลับมาอยู่ที่ผู้ส่งออกและผู้บริโภค เพราะ ราคาข้าวที่ส่งออกก็สูงขึ้นด้วยตามไปด้วย ซึ่งบริษัท วุฒิชัย โปรดิวส์ จากัดก็เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกที่ ได้รับผลกระทบ ปริมาณการส่งออกข้าวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทาให้รายได้และ กาไรของบริ ษัท ลดลงด้ วย และระบบการควบคุม ภายในของบริษั ท วุ ฒิชั ยโปรดิว ส์ จ ากั ด ใน


(2) ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ตามองค์ประกอบของ COSO สามารถแบ่งโครงสร้างการควบคุมภายใน ออกได้เป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุมทางบริษัทมีการจัดการที่ดีและมี ประสิทธิภาพแต่มีด้านโครงสร้างการจัดองค์กรที่มีการบริหารงานแบบรวมอานาจไว้ที่ผู้บริหาร 2) ด้านการประเมินความเสี่ยง ทางบริษัท ก็มีการประเมินความเสี่ยง 5 ด้าน คือ ด้านบริหาร ด้าน การเงินการบัญชี ด้านจัดซื้อจัดจ้าง ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล และด้านสารสนเทศ โดยรวมบริษัท มีการประเมินความเสี่ยงที่ดีและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ยกเว้นด้านการเงินการบัญชี ซึ่ง ความเสี่ยง ที่พบเกิดจากการที่กรรมการรักษาเงินถือกุญแจทั้งหมดเพียงผู้เดียว การไม่ระบุวงเงินและผู้มีอานาจ ในการลงนามสั่งจ่ายเช็ค ดังนั้น บริษัทควรบริหารความเสี่ยงด้วยวิธีการแบ่งความเสี่ยงด้วยการหา ผู้รับผิดชอบร่วมในความเสี่ยงเพื่อลดการก่อทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น 3) ด้านกิจกรรมการควบคุม มี การควบคุมภายในที่ดี เนื่องจากมีการกาหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการสอบทาน โดยผู้บริหารสูงสุด การควบคุมทางกายภาพ การใช้ดัชนีวัดผลการดาเนินงานที่สาคัญ ยกเว้นการ สอบทานของส่วนงานจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ได้มีการลงบัญชีหรือทะเบียนพัสดุในทันที มีการทางาน ซ้าซ้อนบางตาแหน่ง ระหว่างการอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ การจดบันทึกข้อมูล และการดูแล รักษาทรัพย์สินขององค์การ และมีการควบคุมที่ไม่เหมาะสมเรื่องการจัดเก็บใบเสร็จที่ทาการยกเลิก หรือไม่ได้ใช้ 4) ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร แบ่งเป็นส่วนของข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร ด้านข้อมูลข่าวสารบริษัทมีการจัดการข้อ มูลข่าวสารที่ดี ครบถ้วน เพียงพอ และทันเวลา มีการจัด ประเภทเป็นหมวดหมู่ ส่วนด้านการสื่อสารกาหนดให้ผู้บริหารและพนักงานสื่อสารผ่านทางอีเมล หรือเอกสารหากเป็นเรื่องที่เป็นทางการ 5) ด้านการติดตามและประเมินผล ทางบริษัทมีการควบคุม ที่ดี มีก ารประเมิน ผลการบรรลุ วัต ถุป ระสงค์ อ ย่ างต่อ เนื่ อ งและสม่ าเสมอ มีการสื่ อ สารผลการ ประเมิ น ให้ บุ ค ลากรทราบและแก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง การด าเนิ น งาน มี ก ารทบทวนหรื อ ปรั บ ปรุ ง วัตถุประสงค์การ ดาเนินงานแผน และกระบวนการดาเนินงานตามคาร้องขอของบุคลากร


(3)

กิตติกรรมประกาศ การจัดทารายงานวิชาปัญหาพิเศษฉบับนี้ สาเร็จลงได้ด้วยความกรุณาและการอนุเคราะห์ ช่วยเหลือจาก อาจารย์พีรญา พงษ์ปรสุวรรณ์ ที่กรุณาให้คาปรึกษาและชี้แนะแนวทางรวมไปถึงการ แก้ไขข้อบกพร่องรายงานปัญหาพิเศษฉบับนี้มาโดยตลอด คณะผู้จัดทาขอกราบขอบพระคุณเป็น อย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ รวมทั้งขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ ไ ด้ประสิทธิ์ประสาทวิชา แขนงต่างๆให้คณะผู้จัดทาได้เรียนรู้และประสบความสาเร็จในที่สุด ขอขอบพระคุณหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ใน การค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในการทารายงานวิชาปัญหาพิเศษในครั้งนี้ให้ประสบความสาเร็จไปได้ ด้วยดี สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆ ร่วมสถาบันที่ได้ศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาการบัญชี บริหารทุกท่านที่คอยให้กาลังใจ ให้คาปรึกษา ให้คาแนะนา และให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานปัญหาพิเศษฉบับนี้ จะสามารถสร้างประโยชน์ไม่มากก็ น้อยให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ที่ต้องการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน ตามแนว COSO หากรายงานปัญหาพิเศษฉบับนี้มีข้อ ผิดพลาดหรือข้อบกพร่อ งประการใด คณะ ผู้จัดทาขออภัยเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทา 31 มกราคม 2556


(4)

คำนำ รายงานผลการศึกษาเรื่องการควบคุมภายในตามแนว COSO กรณีศึกษาบริษัท วุฒิชั ย โปรดิวส์ จากัด โดยรายงานผลการศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ อาหารโลกที่ส่งผลต่อธุรกิจส่งออกข้าว ศึกษาการระบบการควบคุมภายในของธุรกิจส่งออกข้าว รวมถึ งวิเ คราะห์อ งค์ป ระกอบของการควบคุม ภายในที่ กิจการใช้ อ ยู่ใ นปัจ จุบัน ว่ามี ปัญหาหรื อ ข้อผิดพลาดใดเกิดขึ้น เมื่อเที ยบกับองค์ประกอบของ COSO และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไ ข ข้อบกพร่องของระบบควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณะผู้จัดทารายงานปัญหาพิเศษหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถช่วยสร้างความรู้และเป็ น ประโยชน์แก่ผู้ที่มาศึกษารายงานปัญหาพิเศษเล่มนี้พอสมควร หากเกิดข้อบกพร่องและข้อผิดพลาด ประการใดในรายงานปัญหาพิเศษเล่มนี้ คณะผู้จัดทาข้อน้อมรับผิด พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อปรับปรุงในโอกาสต่อไป และขออภัย ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทา มกราคม 2556


(5)

สารบัญ

บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ คานา สารบัญ สารบัญภาพ บทที่ 1 บทนา ที่มาและความสาคัญ วัตถุประสงค์ของการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษา วิธีการศึกษา ขอบเขตของการศึกษา นิยามศัพท์ บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับวิกฤตการณ์อาหารโลก แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมภายใน แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างการควบคุมภายในตามแนว COSO แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งออก แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ ผลงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 ข้อมูลกรณีศึกษา ประวัตขิ ององค์กร การดาเนินงานขององค์กร ผลกระทบจากวิกฤตการณ์อาหารโลก บทที่ 4 ผลการศึกษา สภาพแวดล้อมการควบคุม การประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม

หน้า (1) (3) (4) (5) (7) 1 2 2 3 3 4 5 41 47 61 65 69 77 80 87 89 91 93


(6)

สารบัญ (ต่อ)

สารสนเทศและการสื่อสาร การติดตามประเมินผล ผลการวิเคราะห์วิกฤตการณ์อาหารโลก บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ สรุปผลการศึกษา ข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง

หน้า 97 98 98 100 103


(7)

สารบัญภาพ

ภาพที่ 1 แผนผังองค์กร

หน้า 79


บทที่ 1 บทนำ ที่มำและควำมสำคัญ ในขณะที่ทั่ วโลกก้ำ ลัง ประสบปั ญหำรำคำน้​้ ำมั นที่ แพงขึ้ นและทวี ควำมรุน แรงอย่ำ ง ต่อเนื่อง วัตถุดิบที่ใช้ในกำรผลิตอำหำรส้ำหรับคนและสัตว์มีรำคำพุ่งสูงขึ้นโดยมิได้คำดกำรณ์มำ ก่อนและน้ำไปสู่กำรเกิด “วิกฤตกำรณ์อำหำรโลก” หรือที่เรียกว่ำ World Food Crisis ขึ้น ก่อให้เกิด กระแสควำมตึงเครียดไปทั่วโลก เนื่องจำกประชำคมโลกล้มตำยด้วยควำมอดอยำกและหิวโหย จำก รำคำอำหำรที่สูงขึ้นเป็นประวัติกำรณ์ท้ำให้บำงประเทศเริ่มขำดแคลนอำหำรหลัก ต้องน้ำเข้ำอำหำร และโภคภัณฑ์เป็นจ้ำนวนมำก ขณะเดียวกันหลำยๆ ประเทศถึงกับต้องวำงมำตรกำรห้ำมส่งออก และมีกำรเรียกเก็บภำษีส่งออกทั้งข้ำวและอำหำร ส้ำหรับประเทศไทยกำรเกิด “วิกฤตกำรณ์อำหำร” นับเป็นโอกำสส้ำคัญที่ไทยจะต้องเริ่มตระหนักถึงบทบำทระดับโลก เนื่องจำกมีปริมำณอำหำร เพียงพอทั้งกำรบริโภคภำยในประเทศ และส่งออกได้ อีกทั้งเรำยังมีพื้นที่นิเ วศน์อันอุดมสมบูรณ์ทั้ง พืชพันธุ์ธัญญำหำรและสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบเพื่อผลิตอำหำรได้มำกมำยที่สำมำรถสร้ำงรำยได้ และแปรวิกฤตให้เป็นโอกำสให้ประเทศไทยได้ เมื่อวิกฤตอำหำรได้แผ่ขยำยไปทั่วโลก ประเทศไทย จึงเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบปัญหำนี้ ซึ่งเป็นที่รับรู้ของประชำคมโลกว่ำประเทศไทยนั้นอุดม สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญำหำร เพรำะเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้ำภำคเกษตรรำยใหญ่ ของโลก ซึ่ ง ย่ อ มหนี ไ ม่ พ้ น กั บ ผลกระทบด้ ำ นรำคำอำหำรแพง ปั ญ หำภำคกำรเกษตรที่ ถู ก ปรับเปลี่ยนจำกกำรเพำะปลูกเพื่อกำรบริโภคภำยในประเทศมำเป็นกำรเพำะปลูกเพื่อกำรส่งออก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกำรผลิตข้ำวเพื่อใช้บริโภคและท้ำกำรส่งออกมำกเป็นอันดับ ต้นๆ ของโลก และประชำกรส่วนใหญ่ยังมีอำชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เพรำะประเทศไทยมีพื้นที่ที่ อุดมสมบูรณ์ท้ำให้สำมำรถท้ำนำได้ผลดี และมีคุณภำพ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบทำงกำรแข่งขันกับคู่แข่ง ทำงกำรค้ำ ได้แก่ เวียดนำมและอินเดีย แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่ำนมำเวียดนำมมีกำรพัฒนำกำรผลิตและ ส่งออกข้ำวอย่ำงจริงจัง และสำมำรถครองส่วนแบ่งตลำดข้ำวส่วนใหญ่ในอำเซียนได้ ประเทศไทย นั้น เริ่มเสียตลำดข้ำวในอำเซียนให้กับเวี ยดนำมตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมำ ดังนั้นกำรด้ำเนินธุรกิจ ส่งออกข้ำวจึงเป็นอีกธุรกิจที่น่ำสนใจในกำรท้ำกำรศึกษำเกี่ยวกับกำรควบคุมภำยใน เพรำะกำร ควบคุมภำยในนั้นเป็นกระบวนกำรปฏิบัติงำนที่จัดให้มีขึ้นในองค์กรเพื่อให้บรรลุ เป้ำหมำยอย่ำงมี


2 ประสิทธิผลและประสิทธิภำพ ภำยใต้สภำวะที่มีกำรแข่งขัน รุนแรงและภำยใต้วิกฤตกำรณ์อำหำร โลกในปัจจุบัน กำรด้ำเนินธุร กิจส่งออกข้ำวเป็นธุรกิจที่มีก ำรแข่งขันค่อ นข้ำงสูง จึงจ้ำ เป็นต้อ งมีกำร วำงแผนและเตรีย มควำมพร้ อมในกำรด้ำเนินกำรด้วยควำมรอบคอบทุกขั้น ตอน เริ่ม ตั้งแต่กำร ตัดสินใจด้ำเนินธุรกิจจนถึงกำรส่งออกสินค้ำให้ผู้ซื้อ ดังนั้นกำรควบคุมภำยในจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ ส้ำคัญในกำรด้ำเนินธุรกิจ คณะผู้จัดท้ำจึงได้ท้ำกำรศึกษำระบบกำรควบคุมภำยในตำมแนว COSO โดยใช้บริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จ้ำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจส่งออกข้ำวเป็นกรณีศึกษำ วัตถุประสงค์ 1. ศึกษำผลกระทบจำกวิกฤตกำรณ์อำหำรโลกที่ส่งผลต่อธุรกิจส่งออกข้ำวของ บริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จ้ำกัด 2. ศึกษำระบบกำรควบคุมภำยในของธุรกิจส่งออกข้ำวของบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จ้ำกัด

3. ศึกษำปัญหำ ข้อบกพร่อ ง และข้อ เสนอแนะของระบบกำรกำรควบคุมภำยในของ ธุรกิจส่งออกข้ำวของบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จ้ำกัด

ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับจำกกำรศึกษำ 1. ท้ำให้ทรำบถึงปัญหำทีเ่ กิดขึ้นจำกวิกฤตกำรณ์อำหำรโลก ที่ส่งผลต่อธุรกิจส่งออกข้ำว 2. เพื่อใช้เป็นแนวทำงในกำรปรับปรุงและพัฒนำระบบกำรควบคุมภำยในของบริษัท ให้ มีประสิทธิภำพมำกขึ้น 3. เพื่อให้ผู้ที่สนใจสำมำรถน้ำข้อมูลไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทำงในกำรพัฒนำ ปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลำดในกำรปฏิบัติเกี่ยวกับกำรควบคุมภำยในของธุรกิจ


3 วิธีกำรศึกษำ 1. ศึกษำข้อมูลทุติยภูมิ เกี่ยวกับระบบกำรควบคุมภำยในตำมแนว COSO 2. กำรศึกษำข้อมูลปฐมภูมิ จำกกรณีศึกษำบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จ้ำกัด โดยกำรสัมภำษณ์ ผู้บริหำรและพนักงำนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เกี่ยวกับกำรควบคุมภำยในที่กิจกำรใช้ 3. ท้ำกำรวิเครำะห์ 3.1 ควำมเหมำะสมและควำมครบถ้วนของระบบกำรควบคุมภำยในของบริษัท วุฒิ ชัยโปรดิวส์ จ้ำกัด 3.2 ปัญหำและข้อบกพร่องของระบบกำรควบคุมภำยในของธุรกิจส่งออกข้ำวจำก กรณีศึกษำบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จ้ำกัด 3.3 องค์ประกอบระบบกำรควบคุมภำยในตำมแนว COSO 4. สรุปผลกำรวิเครำะห์ ขอบเขตของกำรศึกษำ กำรศึกษำเรื่องกำรควบคุมภำยในตำมแนว COSO โดยใช้บริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จ้ำกัด ซึ่ง ด้ำ เนิ นธุ รกิ จเกี่ย วกั บกำรคั ดเกรดและส่ง ออกข้ำ วสำรหอมมะลิ และข้ ำ วเหนี ยวเป็ นกรณี ศึก ษำ ขอบเขตในกำรศึกษำครั้งนี้ ท้ำกำรศึกษำเกี่ยวระบบกำรควบคุมภำยในขององค์กรตำมแนว COSO ว่ำองค์กรได้มีกำรน้ำระบบกำรควบคุมภำยในขององค์ตำมแนว COSO มำใช้หรือ ไม่ และมีกำร ควบคุมภำยในด้ำนใดที่ต้องท้ำกำรปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อที่จะสำมำรถด้ำเนิน งำนให้บรรลุเป้ำหมำย อย่ำงมีประสิทธิผลและประสิทธิภำพ ภำยใต้สภำวะที่มีกำรแข่งขันรุนแรงและภำยใต้ วิกฤตกำรณ์ อำหำรโลกในปัจจุบัน


4 นิยำมศัพท์ “กำรส่งออก” หมำยถึง กำรเคลื่อนย้ำยสินค้ำโดย เรือ หรือเครื่อ งบิน จำกสถำนที่หนึ่งใน ประเทศไทยไปยัง สถำนที่หนึ่ง นอกประเทศไทย สินค้ำ ทั้งหมดที่ส่งออกจำกประเทศไทยต้อ ง รำยงำนและผ่ำนพิธีกำรทำงศุลกำกร “กำรควบคุม ภำยใน” หมำยถึ ง กระบวนกำรปฏิ บั ติ งำนที่ผู้ ก้ ำ กับ ดู แ ลฝ่ ำ ยบริ ห ำรและ บุคลำกรขององค์กรจัดให้มีขึ้น เพื่อ สร้ ำงควำมมั่ นใจอย่ำ งสมเหตุสมผลว่ ำ กำรด้ำ เนินงำนของ องค์กำรจะบรรลุวัตถุประสงค์ของกำรควบคุมภำยในด้ำนประสิทธิผลและประสิทธิภำพ “สภำพแวดล้อมของกำรควบคุม” หมำยถึง นโยบำย วิธีกำร และวิธีปฏิบัติต่ำงๆ ที่แสดงให้ เห็นถึงทัศนคติของผู้บริหำรที่มีต่อกำรควบคุมภำยในของกิจกำร “กำรประเมินควำมเสี่ยง” หมำยถึง กำรวิเครำะห์และจัดล้ำดับควำมเสี่ยง โดยพิจำรณำจำก กำรประเมินจำกโอกำสที่จะเกิดควำมเสี่ยง และควำมรุนแรงของผลกระทบจำกเหตุกำรณ์ควำมเสี่ยง ต่อกำรบรรลุวัตถุสงค์ของกระบวนกำรท้ำงำนของหน่วยงำนหรือขององค์กร “สำรสนเทศ” หมำยถึง ข้อ มูลข่ำวสำรทำงกำรเงิน และข้อมูลข่ ำวสำรอื่นๆ เกี่ยวกับกำร ด้ำเนินงำนขององค์กร ไม่ว่ำจะเป็นข้อมูลจำกแหล่งภำยในหรือจำกภำยนอก “กำรติดตำมและประเมินผล” หมำยถึง กระบวนกำรประเมินคุณภำพกำรปฏิบัติงำนและ ประเมินประสิทธิผลของกำรควบคุมภำยในที่วำงไว้อย่ำงต่อเนื่องและสม่้ำเสมอโดยกำรติดตำมผล ในระหว่ ำ งกำรปฏิบั ติง ำน (Ongoing Monitoring) และกำรประเมิน ผลเป็น รำยครั้ ง (Separate Evaluation)


บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาเรื่อง การควบคุมภายในตามแนว COSO กรณีศึกษาบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จากัดนั้น คณะผู้จัดทาได้ศึกษาและรวบรวมเอกสาร ตารา งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อ เป็นพื้นฐานและแนวทางในการวิจัย อันประกอบไปด้วย 1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับวิกฤตการณ์อาหารโลก 2. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมภายใน 3. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างการควบคุมภายในตามแนว COSO 4. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งออก 5. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ 6. ผลงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับวิกฤตการณ์อาหารโลก ผลจากวิกฤตการณ์อาหารที่สะท้อ นให้เห็นชัดเจนตามที่ปรากฏในสื่อ ต่างๆ คือ การเกิด เหตุการณ์จลาจลอย่างรุนแรงขึ้นในหลายประเทศ เช่น เฮติ บังกลาเทศ และอียิปต์ เนื่องจากขาด แคลนอาหารและราคาอาหารที่สูงขึ้นอย่างต่อ เนื่อง จนก่อให้เกิดการประท้วงเพื่อ โค่นล้มรัฐบาล และการเรียกร้องให้เปลี่ยนผู้นาเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนอาหารให้แก่ประชาชน ราคาอาหารที่สูงขึ้น หรือที่เรียกว่า ภาวะราคาอาหารเฟ้อ (Food Inflation) เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาอาหารตามรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มในช่วงเดียวกันร้อยละ 25 ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลระหว่างผลผลิต และความ ต้อ งการอาหาร มี ส าเหตุ จ ากหลายปั จ จัย อาทิ ปั ญ หาภาคการเกษตรที่ ถู ก ปรั บเปลี่ ย นจากการ เพาะปลูกเพื่อการบริโภคภายในประเทศมาเป็นการเพาะปลูกเพื่อส่งออก ในหลายประเทศพยายาม


6 เปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่ มีการเบียดเบียนวิถีเกษตร เพื่อ ชุมชนสู่ภาคธุรกิจการเกษตรอย่างไม่ถูกต้อ ง เกิดการสิ้นเปลือ งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เกิดปัญหาที่ ตามมา คือ ดินเสื่อมโทรม และส่งผลให้ผลผลิตที่ได้น้อยลง วิธีการแก้ปัญหาหนึ่งกลับสร้างปัญหา ใหม่ขึ้นมา ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถบรรเทาความอดอยาก และประชาชนหลายล้านคนในประเทศที่ ส่งออกอาหาร เช่น ประเทศจีน และอินเดีย ยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการ สาหรับประเทศไทยการเกิดวิกฤตการณ์อาหาร นับเป็นโอกาสสาคัญที่ทาให้เริ่มตระหนัก ถึงบทบาทระดับโลก เนื่องจากมีปริมาณอาหารที่เพียงพอทั้งการบริโภคภายในประเทศ และการ ส่งออก อีกทั้งยังมีพื้นที่นิเวศน์อันอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพันธุ์ธัญญาหารและสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ เพื่อผลิตอาหารได้มากมาย ซึ่งสามารถสร้างรายได้และแปรวิกฤตให้เป็นโอกาส แต่แม้มีปัจจัยความ พร้อมสาหรับการผลิตดังกล่าวก็ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตการณ์อาหาร ซึ่งผู้ที่ได้รับ ผลกระทบมากที่สุดก็คือประชาชนผู้ยากจน รวมไปถึงชนชั้นกลาง ซึ่งถือว่ามีความจาเป็นอย่างยิ่งที่ ภาครัฐต้องมีวิสัยทัศน์ชัดเจน เพื่อ กาหนดมาตรการและวางนโยบายการดาเนินการอย่างถูกต้อ ง นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอาหารมากมาย แต่ยังขาดความชัดเจนของ วิสัยทัศน์จึงทาให้ทิศทางการพัฒนารวมถึงกลยุทธ์ในการดาเนินการของภาครัฐที่ผ่านมาไม่ประสบ ผลสาเร็จ เช่น นโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งออกอาหารไทยเป็น 1 ใน 10 ของ โลก แต่ปัจจุบันก็ยังมาสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้ โดยกลยุทธ์ที่ผ่านมาเน้นเพียงการส่งเสริมการ ส่งออกอาหารของไทย และการเปิดร้านอาหารไทยในต่างประเทศเท่านั้น ความมั่นคงทางอาหาร พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เนื่องจากอาหารมีความสาคัญกับการดารงชีวิตอยู่ของมนุษย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติอ าหาร พ.ศ.2522 ขึ้นไว้โดยคาแนะนา และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทาหน้าที่รัฐสภา เพื่อสร้างความมั่นคง ทางอาหารของประเทศไทยมีรายละเอียด ดังนี้ มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ให้ความหมายว่า “อาหาร” หมายถึง ของกิน หรือ เครื่องค้าจุนชีวิต ได้แก่


7 (1) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนาเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าวิธีใดๆ หรือในรูปลักษณะใดๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (2) วัตถุที่มุ่งหมายสาหรับใช้หรือ ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุเจือ ปน อาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส มาตรา 6 เพื่อประโยชน์แก่การควบคุมอาหาร ให้รัฐมนตรีมีอานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา (1) กาหนดอาหารควบคุมเฉพาะ (2) กาหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารควบคุมเฉพาะตามชื่อ ประเภท ชนิด หรือ ลักษณะของอาหารนั้นๆ ที่ผลิตเพื่อจาหน่าย นาเข้าเพื่อจาหน่าย หรือที่จาหน่าย ตลอดจนหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการผลิตเพื่อจาหน่าย นาเข้าเพื่อจาหน่าย หรือจาหน่าย (3) กาหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารที่มิใช่เป็นอาหารตาม (1) และจะกาหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการผลิตเพื่อจาหน่าย นาเข้าเพื่อจาหน่าย หรือจาหน่าย ด้วยหรือไม่ก็ได้ (4) กาหนดอัตราส่วนของวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมอาหารตามชื่อ ประเภท ชนิด หรือ ลักษณะ ของอาหารที่ผลิตเพื่อจาหน่าย นาเข้าเพื่อจาหน่าย หรือที่จาหน่ายรวมทั้งการใช้สีและเครื่องปรุงแต่ง กลิ่นรส (5) กาหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการใช้วัตถุเจือปนในอาหาร การใช้วัตถุกันเสีย และ วิธีป้องกันการเสีย การเจือสี หรือวัตถุอื่นในอาหารที่ ผลิตเพื่อจาหน่าย นาเข้าเพื่อจาหน่าย หรือ ที่ จาหน่าย (6) กาหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุ และการใช้ภาชนะบรรจุ ตลอดจนการ ห้ามใช้วัตถุใดเป็นภาชนะบรรจุอาหารด้วย (7) กาหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร เพื่อป้องกัน มิใ ห้ อาหารที่ ผ ลิ ตเพื่ อ จาหน่ าย นาเข้ าเพื่ อ จาหน่ าย หรือ ที่ จ าหน่ า ย เป็น อาหารไม่บ ริ สุ ทธิ์ ต าม พระราชบัญญัตินี้


8 (8) กาหนดอาหารที่ห้ามผลิต นาเข้า หรือจาหน่าย (9) กาหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตรวจ การเก็บตัวอย่าง การยึด การอายัด และการตรวจวิเคราะห์ทางวิชาการซึ่งอาหาร รวมทั้งเอกสารอ้างอิง (10)กาหนดประเภทและชนิดอาหารที่ผลิตเพื่อจาหน่าย นาเข้าเพื่อจาหน่าย หรือที่จาหน่าย ซึ่งจะต้องมีฉลากข้อความในฉลากเงื่อนไข และวิธีการแสดงฉลาก ตลอดจนหลักเกณฑ์ และวิธีการ โฆษณาในฉลาก การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต มาตรา 14 ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจาหน่าย เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้ อนุญาต การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดใน กฎกระทรวง มาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้ใดนาเข้าซึ่งอาหารเพื่อ จาหน่า ย เว้นแต่ จะได้รับใบอนุญาตจากผู้ อนุญาต การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดใน กฎกระทรวง มาตรา 16 บทบัญญัติมาตรา 14 และมาตรา 15 ไม่ให้ใช้บังคับแก่ (1) การผลิตอาหารหรือนาเข้าซึ่งอาหารเฉพาะคราว ซึ่งได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราว จากผู้ อนุญาต (2) การผลิ ต อาหารหรือ น าเข้ า หรื อ ส่ ง ออกซึ่ ง อาหารเพื่ อ เป็ น ตั ว อย่า ง ส าหรั บ การขึ้ น ทะเบียนตารับอาหารหรือเพื่อพิจารณาในการสั่งซื้อ ผู้ที่ได้รับการยกเว้นตาม (1) และ (2) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อ นไขที่ กาหนดในกฎกระทรวง


9 การควบคุมอาหาร มาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นาเข้าเพื่อจาหน่าย หรือจาหน่าย ซึ่งอาหารดังต่อไปนี้ (1) อาหารไม่บริสุทธิ์ (2) อาหารปลอม (3) อาหารผิดมาตรฐาน (4) อาหารอื่นที่รัฐมนตรีกาหนด มาตรา 26 อาหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ (1) อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย (2) อาหารที่มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ในอัตราที่อาจเป็นเหตุให้คุณภาพของอาหารนั้น ลดลง เว้นแต่การเจือปนเป็นการจาเป็นต่อกรรมวิธีผลิต การผลิต และได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่แล้ว (3) อาหารที่ได้ผลิต บรรจุ หรือเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ (4) อาหารที่ผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรคอันอาจติดต่อถึงคนได้ 5. อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วยวัตถุน่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ มาตรา 27 อาหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาหารปลอม (1) อาหารที่ ได้ สั บ เปลี่ ยนใช้วั ต ถุ อื่น แทนบางส่ ว น หรือ คั ด แยกวัต ถุ ที่มี คุ ณ ค่า ออกเสี ย ทั้งหมดหรือบางส่วน และจาหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้น หรือใช้ชื่ออาหารแท้นั้น (2) วัตถุ หรืออาหารที่ผลิตขึ้นเทียมอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง และจาหน่ายเป็นอาหารแท้ อย่างนั้น


10 (3) อาหารที่ได้ผสมหรือปรุงแต่งด้วยวิธีใดๆ โดยประสงค์จะปกปิดซ่อ นเร้นความชารุด บกพร่อง หรือความด้อยคุณภาพของอาหารนั้น (4) อาหารที่ มีฉลากเพื่อลวง หรือ พยายามลวงผู้ซื้อ ให้เ ข้าใจผิด ในเรื่อ งคุณภาพปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น หรือในเรื่องสถานที่และประเทศที่ผลิต (5) อาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพ หรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศ มาตรา 28 อาหารผิดมาตรฐาน ได้แก่ อาหารที่ไ ม่ ถูกต้อ งตามคุณ ภาพหรือ มาตรฐานที่ รัฐมนตรี ประกาศกาหนดตามมาตรา 6(2) หรือ (3) แต่ไม่ถึงขนาดดังที่กาหนดไว้ในมาตรา 27(5) มาตรา 29 อาหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นอาหารตามมาตรา 25(4) (1) ไม่ปลอดภัยในการบริโภค หรือ (2) มีสรรพคุณไม่เป็นที่เชื่อถือ หรือ (3) มีคุณค่า หรือคุณประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่ไม่เหมาะสม การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา 46 เมื่อปรากฏต่ อผู้ อ นุญ าตว่าผู้ รับ อนุญ าตผู้ใดไม่ ปฏิบั ติต ามพระราชบัญ ญัติ นี้ กฎกระทรวง หรือประกาศซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือในกรณีที่ปรากฏผลจากการตรวจ พิสูจน์ว่าอาหารซึ่งผลิตโดยผู้รับอนุญาตผู้ใดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามมาตรา 26 เป็นอาหารปลอม ตามมาตรา 27 เป็นอาหารที่ผิดมาตรฐานตามมาตรา 28 เป็นอาหาร หรือภาชนะบรรจุที่น่าจะเป็น อันตรายต่อสุขภาพหรือผิดอนามัยของประชาชน ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมี อานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกาหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน หรือในกรณีที่มีการฟ้อง ผู้รับอนุญาตต่อศาลว่าได้ก ระทาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ จะสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้รอคา พิพากษาอันถึงที่สุดก็ได้ ในกรณีที่มีคาพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด ผู้รับอนุญาตผู้ใดได้กระทาความผิดตามมาตรา 26 หรือมาตรา 27 ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอานาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้


11 ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคาสั่ง รัฐมนตรีมีอานาจสั่งให้ยกอุทธรณ์ หรือแก้ไขคาสั่งของผู้ อนุญาตให้ เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ได้ คาวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุ ท ธรณ์ ค าสั่ ง ต่ อ รั ฐ มนตรี ต ามวรรคสี่ ไ ม่ เ ป็ น การทุ เ ลาการบั ง คั บ ตามค าสั่ ง พั ก ใช้ ใบอนุญาต หรือคาสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ถือว่าการผลิต นา หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจาหน่าย ซึ่งอาหารควบคุมเฉพาะ ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 14 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหาร อยู่หลายฉบั บ และอยู่ ในอานาจหน้าที่ของหลายหน่วยงานในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ แต่ มี ลักษณะของการปฏิบัติงานเกี่ยวกับอาหารในมิติที่แตกต่างกันในขอบเขตจากัด ขาดการบูรณาการ ขาดความเป็นเอกภาพ และประสิทธิภาพในการกากับดูแล การดาเนินงานในห่วงโซ่อาหารทั้งด้าน คุณภาพ และความปลอดภัยของอาหาร เพื่อ การคุ้มครองผู้บริโภค การส่ง เสริม และสนับสนุ น การค้า และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหารทั้งภายใน และระหว่างประเทศประกอบกับยังขาดนโยบาย และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารทั้งในยามปกติ และยามฉุกเฉิน ตลอดจนการป้องกัน การใช้อาหารในการก่อการร้าย รวมทั้งการให้การศึกษาด้านอาหารให้ทันต่อสถานการณ์ของสังคม โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ เพื่อเป็น องค์กรหลัก และกลไกของประเทศในการกาหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับอาหารทุกมิติ ดังกล่าวเบื้องต้น โดยครอบคลุมห่วงโซ่อาหารอย่างมีเอกภาพ และประสิทธิภาพในลักษณะบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ


12 พระราชบัญญัติ นี้มีบทบัญญัติบ างประการเกี่ยวกับ การจ ากัดสิท ธิ และเสรีภ าพของ บุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทาได้โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนา และยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “คุณภาพอาหาร” หมายความว่า อาหารที่มีคุณลักษณะทางกายภาพ และส่วนประกอบที่พึง จะมีรวมถึงมีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม “ความปลอดภัยด้านอาหาร” หมายความว่า การจัดการให้อาหาร และสินค้าเกษตรที่นามา เป็น อาหารบริ โภคส าหรั บมนุษ ย์มี ความปลอดภัย โดยไม่มี ลัก ษณะเป็นอาหารไม่บ ริสุ ทธิ์ ตาม กฎหมายว่าด้วยอาหาร และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาหารที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย (1) อาหารที่มีจุลินทรีย์ก่อโรค หรือสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ (2) อาหารที่มีสาร หรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในปริมาณที่อาจเป็นเหตุ ให้เกิดอันตราย หรือสามารถสะสมในร่างกายที่ก่อให้เกิดโรค หรือผลกระทบต่อสุขภาพ (3) อาหารที่ได้ผลิต ปรุง ประกอบ บรรจุ ขนส่งหรือมีการเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ (4) อาหารที่ผลิตจากสัตว์ หรือผลผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรคอันอาจติดต่อถึงคนได้ (5) อาหารที่ผลิต ปรุง ประกอบจากสัตว์ และพืช หรือผลผลิตจากสัตว์ และพืชที่มีสารเคมี อันตรายเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือยาปฏิชีวนะตกค้างในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (6) อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วยวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ


13 “ความมั่นคงด้านอาหาร” หมายความว่า การเข้าถึงอาหารที่มีอ ย่างเพียงพอสาหรับการ บริโภคของประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตาม ความต้องการตามวัยเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งการมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาความสมดุล ของระบบนิเวศวิทยา และความคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งใน ภาวะปกติ หรือเกิดภัยพิบัติสาธารณภัย หรือการก่อการร้ายอันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร มาตรา 12 ในภาวะที่เกิดภัยพิบัติ สาธารณภัย หรือการก่อการร้ายอันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร อันเป็นภัยที่ร้ายแรง และฉุกเฉินอย่างยิ่ง ให้นายกรัฐมนตรีโดยคาแนะนาของคณะกรรมการ และ โดยความเห็น ชอบของคณะรั ฐมนตรี มีอ านาจประกาศกาหนดให้เ ขตพื้ น ที่ใ ดเป็ น เขตพื้น ที่ ที่ จาเป็นต้องสงวนไว้เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงด้านอาหารเป็นการชั่วคราว รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่ที่ จาเป็นต้องสงวนไว้นั้นแนบท้ายประกาศด้วย ในการออกประกาศตามวรรคหนึ่ ง ให้ ด าเนิ น การเพี ย งเท่ า ที่ จ าเป็ น เพื่ อ บรรลุ ต าม วัตถุประสงค์ โดยกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่ ดังกล่าวน้อยที่สุด ประกาศตามวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ และ อาจขยายได้อีกครั้งละไม่เกินหนึ่งปี ในกรณีที่ภัยร้ายแรง และฉุกเฉินอย่างยิ่งนั้นยังคงมีอยู่ และให้ ปิดไว้ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้ (1) ที่ทาการของหน่วยงานตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สานักงานเขต และที่ทาการแขวง หรือศาลากลางจังหวัด ที่ว่ า การอาเภอหรือ กิ่ ง อ าเภอ ที่ ท าการก านั น และที่ ทาการผู้ ใ หญ่ บ้ า นแห่ง ท้ อ งที่ ที่เ ขตพื้ น ที่ ที่ จาเป็นต้องสงวนไว้นั้นตั้งอยู่แล้วแต่กรณี (3) ส านั กงานที่ดิน กรุ งเทพมหานคร และส านั กงานที่ ดิน กรุ งเทพมหานครสาขา หรื อ สานักงานที่ดินจังหวัด สานักงานที่ดินจังหวัดสาขา และสานักงานที่ดินอาเภอแห่งท้องที่ที่เขตพื้นที่ ที่จาเป็นต้องสงวนไว้นั้นตั้งอยู่แล้วแต่กรณี


14 มาตรา 13 ในเขตพื้นที่ใดที่ได้มีประกาศกาหนดตามมาตรา 12 ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ หรือกระทาการใดๆ ในเขตพื้นที่นั้นผิดไปจาก หรือขัดกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนด ไว้ในประกาศดังกล่าว มาตรา 14 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 13 ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่น บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ ความสาคัญของความมั่นคงทางอาหาร ความสาคัญในระดับสากล อาหารเป็ นปั จ จัย ที่ สาคัญ ส าหรั บมนุษ ย์ ในการดารงชี วิต อยู่ เป็น พลั ง งานให้ มนุ ษ ย์ ใช้ ประกอบกิจกรรมเพื่อดาเนินชีวิตประจาวันต่างๆ ทั้งยังมีส่วนช่วยสร้างความคิดพัฒนาสติปัญญา ของมนุษย์ เพื่อสนองความต้องการความเจริญก้าวหน้าอื่นๆ ในอดีตวิถีชีวิตของคนไทยทั้งในเมือง และชนบทมีชีวิตอยู่บนผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ มีการหาอาหารและน้าจากธรรมชาติ มีพื้นที่เพื่อการ เพาะปลูกพืชผักสวนครัวไว้เพื่ออยู่เพื่อกิน ครอบครัวมีการประกอบอาหาร และถนอมอาหารภายใน ครัวเรือน แต่การพัฒนาประเทศที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านอย่างรวดเร็ว มีการนาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโต สังคมไทย จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพการดาเนินชีวิตจากการพึ่งพาตนเอง เพาะปลูกตามธรรมชาติ เพื่อ บริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก มาเป็นการผลิตเพื่อการค้า ที่ต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตทั้งด้านเงินทุน เทคโนโลยี พลังงานเชื้อเพลิง และระบบตลาด เพื่อให้เกิดการซื้อขายอาหารเพื่อการบริโภคมากขึ้น ทาให้เศรษฐกิจโลกได้เข้ามามีบทบาท ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ข้าวขาดแคลนของโลก และ สถานการณ์ปัญหาราคาน้ามันที่ส่งผลกระทบไปในทุกภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การขนส่งต่างมีผลทาให้ราคาสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วประเทศต่างปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ราคาอาหารทั้งปลีก และส่งแพงขึ้นเป็นเงาตามตัว ค่าครองชีพของประชาชนปรับตัวสูงขึ้น และมี แนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งจากราคาน้ามันที่ผันผวน ความไม่มั่นคงของสถานการณ์การเมือ ง และภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย สิ่งเหล่านี้ได้ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อความมั่นคงของประชาชน โดยเฉพาะความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) ซึ่งถือ ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานหลักที่สาคัญ เพราะถ้าในชีวิตประจาวันการหาอาหารเพื่อประทังชีวิตเป็ นเรื่อง ที่ยากลาบากแล้ว ยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าการดาเนินชีวิตจะต้องประสบความยากลาบากมากขึ้น


15 ไปอีก ดังที่ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program : UNDP) ได้เน้นย้าว่า ประชาชนต้องสามารถที่จะดูแลตนเอง ตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่สาคัญของ ตน และสามารถเลี้ยงชีพตนเองได้ เนื่องจากคนจน หรือผู้มีรายได้น้อยเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน จากสถานการณ์นี้มากกว่าคนในกลุ่มอื่น โดยเฉพาะคนจนในเมืองต้องเผชิญกับความยากลาบาก เพิ่มขึ้นอีกจากความเสี่ยงที่รายได้ของครอบครัวลดลง รายจ่าย และภาระหนี้สินของครอบครัวที่ เพิ่มขึ้น เนื่องจากระดับการบริโภคอาหารมีความสัมพัน ธ์กับความยากจน ที่ไ ม่ใช่เรื่อ งปริมาณ อาหารเพียงอย่างเดียว แต่หมายความว่าเมื่อเกิดวิกฤติราคาอาหารแพง คนจนจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่จะ ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากไม่มีเงินที่จะซื้ออาหาร เพราะรายได้อาจจะไม่เพิ่มขึ้นหรือ เพิ่มขึ้นอย่างจากัด นอกจากนี้ปัญหาการเข้าถึงอาหารของผู้บริโภคในชุมชนเมืองต้องพึ่งพาระบบ ตลาด เช่ น ตลาดสด ร้านอาหาร หาบเร่ แผงลอย ซุปเปอร์ มาร์ เก็ต ซึ่ง ไม่ส ามารถควบคุ มชนิ ด คุณภาพ ความปลอดภัย และราคาของอาหารได้ด้วยตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ชี้ให้ เห็นถึงความไม่มั่นคง ทางอาหารได้ชัดเจน ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เป็นประเด็นหนึ่งที่องค์การระหว่างประเทศทั่วโลก ให้ความสนใจ ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ทาการพยากรณ์ในปี 1993 ว่าในปี 2020 จะมีประชากร โลกถึง 8 พันล้านคน ร้อยละ 93 ของจานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจะเกิดในประเทศที่กาลังพัฒนา โลก จะถู ก ท้ า ทายให้ ผ ลิ ต อาหารให้ เ พี ย งพอกั บ จ านวนประชากรที่ จ ะเพิ่ ม ขึ้ น ปี ล ะ 90 ล้ า นคน ความสามารถในการผลิตอาหารจะต้อ งเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของประชากร เพื่อ ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการมีรายได้เพิ่มขึ้น การขยายตัวของเมือง และรูปแบบ การดารงชีวิตที่เปลี่ยนไป องค์การสหประชาชาติ ถือว่าการได้รับอาหารอย่างพอเพียงนั้นเป็นสิทธิ สากลของมวลมนุษ ย์และเป็ นความรั บผิดชอบร่วมกัน ทุ กคนมีสิท ธิที่จะได้ ดารงชีพ ตามระดั บ มาตรฐานที่พอเพียงต่อสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของตนเอง และครอบครัว ซึ่งรวมถึงการได้รับ อาหารด้วย ทาให้เกิดการประชุมสุดยอดว่าด้วยเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อ 3-5 มิถุนายน 2551 ได้จัดทาปฏิญญาว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหาร (Declaration on World Food Security) เพื่อให้เกิดสภาวะความมั่นคงด้านอาหาร ที่เพียงพอ และสามารถรองรับ ความต้องการของประชากรที่หิวโหย โดยมีมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เน้นเพิ่ม การให้ ความช่ วยเหลื อ ด้า นอาหาร การเตรี ย มการเพาะปลู ก การเสริ มสร้ างความสามารถของ ประชาชนในการรับมือกับปัญหา การแก้ไ ขปัญหาการบิดเบือ นตลาด และข้อ จากัดด้านการค้ า ระหว่างประเทศ การมีโครงข่ายรองรับทางสังคม และการเสริมสร้างระบบการผลิต และเพิ่มกา ร


16 สนับสนุนการลงทุน วิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการน้า และที่ดิน การจัดหาแหล่งเงินระหว่าง ประเทศเพื่อระดมทุน และจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเชื้อเพลิงชีวภาพ สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารของประเทศไทย ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทยในปัจจุบันตามปกติแล้วประเทศไทยแทบไม่เจอ ภาวะความขาดแคลนทางอาหารเนื่อ งจากความแข็งแกร่งในภาคการผลิตอาหารภายในประเทศ อาหารตามธรรมชาติที่ประชาชนสามารถเข้ าถึงได้ และความสามารถในการนาเข้าอาหารที่มีไ ม่ เพียงพอภายในประเทศ แต่จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันหลังปี 2540 ทาให้รัฐบาลไทยพยายามหา พลังงานทางเลือกแทนน้ามันซึ่งพืชที่สามารถนามาผลิตเป็นพลังงานแทนน้ามันได้ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสาปะหลัง และน้ามันปาล์ม นอกจากนี้ยังมีการประมาณการณ์ว่าความต้องการเชื้อเพลิง ชีว ภาพเหล่ า นี้จ ะเพิ่ม สู งขึ้ น อีก มาก ส่ งผลให้ เ กษตรกรจ านวนไม่ น้อ ยหัน ไปปลู ก พืช พลัง งาน ทดแทนพืชอาหารเดิม เช่น ในภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ามันส่วนใหญ่ของประเทศอยู่แล้วทา ให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ชุ่มน้า และปลูกปาล์มน้ามันในนาข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกร บางส่วนเริ่มปลูกมันสาปะหลังภายหลังจากการการเก็บเกี่ยวจากเดิมเคยปล่อยดินให้พักฟื้น กระแสความนิยมพืชพลังงานอาจส่ งผลต่อ ความมั่น คงทางอาหารของประเทศได้ โดย ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผลิตอาหารสาคัญก็อาจตกเป็นเป้าหมายของการเข้ามาแย่งยึดที่ดิน และ ครอบครองระบบเกษตรกรรมและอาหารในรูปแบบต่างๆ รวมถึงเกิดจากปัญหาเชิงนโยบายของรัฐ ระบบเกษตรกรรม และยังเผชิญกั บสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง และมีจานวนครั้ง มากขึ้นเรื่อยๆ แม้ ว่ า ประเทศไทยจะมี อ าหารเพี ย งพอแต่ เ มื่ อ ลงรายละเอี ย ดในระดั บ ตั ว บุ ค คล หรื อ ครัวเรือนแล้วประชากรมากกว่าหนึ่งในสาม และส่วนมากอยู่ในเขตชนบทมีความเสี่ยงต่างๆ ที่จะ ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหารโดยทั่วไปกลุ่มเสี่ยงนี้ก็คือคนจนที่มีระดับรายได้ต่าหรือไม่ก็ มีค่าใช้จ่ายด้านอาหารสูง ในระดับบุคคล และครัวเรือ นเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถสร้างความหลากหลายของพืช พันธุ์ในแปลงสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ดีขึ้น และยังช่วยสร้างเกราะคุ้มกันต่อราคาตลาด และ สภาพอากาศที่แปรปรวนมากกว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยวรวมถึงยังลดต้นทุนการผลิต และภาวะหนี้สิน


17 อีกด้วย ในภาวะที่การแข่งขันในตลาดสูงขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนสามารถ เป็นทางเลือกของเกษตรกรรายย่อ ย และครอบครั วได้สาหรับการผลิต และบริ โภคอาหารของ ครัวเรือน เมื่อประเทศมีการพัฒนามากขึ้นในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตอาหาร ดังนั้น รัฐบาล ควรที่จะสนใจแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์จากดิน ทรัพยากรทะเล อากาศ และทรัพยากรอื่นๆ ที่มาก เกินไป และส่งเสริมสนับสนุนวิถีการผลิต และการบริโภค และเกษตรกรรมที่ยั่งยืน สาเหตุความไม่มั่นคงทางอาหารของประเทศไทย นวลน้อย ตรีรัตน์ (2551) กล่าวว่า หลังจากราคาพลังงานได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา หลายปี ตอนนี้โลกกาลังเผชิญกับปัญหาใหม่ ที่อ าจจะรุนแรงมากกว่า คือ ปัญหาราคาอาหารที่ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และอาจจะถึงขั้นขาดแคลนอาหาร ทาให้เราต้องหันกลับมาพูดกัน ถึงเรื่อ ง ความมั่นคงทางอาหารอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่การพูดถึงเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ได้ห่างหายไป เป็นเวลานาน สาเหตุที่ทาให้ปัญหานี้กลับมาทวีความสาคัญมาจากปัจจัยต่างๆ จานวนมาก เริ่มตั้งแต่เป็น ผลมาจากการเพิ่ม ขึ้ น ของราคาน้ ามัน อย่า งต่อ เนื่ อ ง และรุ นแรง มี ผลทาให้มี ก ารเปลี่ ย นพื้ น ที่ เพาะปลู ก พื ช อาหาร ไปเป็ นพื ช พลั งงานเพิ่ม ขึ้ น เพราะพืช พลั ง งานเหล่า นั้ น มี ราคาเพิ่ม สู ง ขึ้ น ขณะเดียวกันราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อ ต้นทุน ในการผลิตของสินค้าทางด้าน เกษตร และอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงภาวะภูมิอ ากาศ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า โลกร้อ น ซึ่งมีผลกระทบต่อ สภาพภูมิอากาศ ทั้งฝนแล้ง และอุทกภัย พายุต่างๆ สารพัด ซึ่งกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร ซึ่ง แม้ว่าจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังต้อ งพึ่งธรรมชาติเป็นด้านหลัก การสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกให้กับการพัฒนาเมือ งและภาคอุตสาหกรรม ทาให้พื้นที่การเพาะปลูก ลดลง การเติบโตของประชากรโลก ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมาก ของประเทศที่มี ประชากรรวมกันเกือบครึ่งโลก อย่างจีน และอินเดีย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีส่วนส่งให้ราคาอาหาร เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตอาหารที่สาคัญแห่งหนึ่งของโลก มี หลายระดับ ในแง่ของผู้ผลิตเอง ดูเหมือนว่าจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เพราะสามารถขายผลผลิตได้ใน


18 ราคาที่สูงขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าผลประโยชน์เหล่านั้นไปตกอยู่กับใคร ตกอยู่กับเกษตรกรมากน้อ ย เพียงใด ตกอยู่กับพ่อค้าคนกลาง และผู้ที่ทาการส่งออกเป็นจานวนเท่าใด ส่วนในด้านผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนอย่างแน่นอน แต่จะมากน้อยแค่ไหน อาจจะต้อง กล่าวว่าขึ้นอยู่ว่า มีฐานะทางเศรษฐกิจอย่างไร คนจนย่อมต้องเดือดร้อนหนัก เพราะรายได้อาจจะไม่ เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นอย่างจากัด ถ้าดูจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่าที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าขึ้นน้อยกว่าดัชนี เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็แสดงว่ารายได้ที่แท้จริงของคนกลุ่มนี้ลดลง สาหรั บบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศยากจนที่ต้อ งซื้อ อาหารจากประเทศอื่น ได้รั บ ผลกระทบหนักหน่วงรุนแรงทีเดี ยว เช่น คนยากจนชาวเฮติจานวนหนึ่งไม่มีเงินที่จะซื้ออาหารที่มี ราคาสูงรับประทานได้ ต้องหันมาบริโภคคุกกี้ที่ทามาจากดินเพื่อประทังความหิวโหย ประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อนก็เคยเผชิญกับปัญหานี้มาก่อน เมื่อ เด็กเล็กๆ ในครอบครัวที่ ยากจน ไม่มีอะไรจะกิน ก็กินดินแทน นามาสู่โรคภัยสารพัด หรือการประท้วง จลาจลในอีกหลายๆ ประเทศที่มีฐานะยากจน ที่เกี่ยวเนื่องกับวิกฤตทางด้านอาหาร มีข้อสรุปร่วมกันว่าระดับการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์กับความยากจน ไม่ใช่เรื่อ ง ปริมาณอาหารเพียงอย่างเดียว นั่นหมายความว่าเมื่อเกิดวิกฤตราคาอาหารแพงขึ้น คนจนก็จะเป็น กลุ่มแรกๆ ที่จะได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะแม้ในช่วงที่โลกไม่ได้เผชิญกับปัญหาวิกฤต ทางด้านอาหารเหมือนปัจจุบัน ประชากรจานวนไม่น้อยกว่า 800 ล้านคน อยู่ในภาวะอดอยาก และ หิวโหย และประเด็นปัญหาไม่ได้อยู่ที่ เราไม่มีอาหารพอที่จะเลี้ยงคนทั้งโลกได้ แต่อยู่ที่คนยากจน เหล่านั้น ไม่มีเงินที่จะซื้ออาหาร ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่โลกไม่สามารถจะกระจาย ผลของการ พัฒนาไปสู่ประชากรโลกได้อย่างทั่วถึง มีการกระจุกอยู่ในมือของคนกลุ่มหนึ่งที่สามารถสะสม ความมั่งคั่งไว้ได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกลายเป็นเครื่องมือของประเทศพัฒนาแล้วที่จะดูด ทรัพยากรโลกมาอยู่ มาใช้อย่างฟุ่มเฟือยในประเทศของตนเองและเมื่อวิกฤตทางด้านอาหารมาเยือน จานวนผู้คนที่อดอยากหิวโหยจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมก็จะตามมา


19 ปวรรัตน์ พรรธนประเทศ (2555) กล่าวถึง สาเหตุของความไม่มั่นคงทางอาหาร ดังนี้ 1. ปัญหาความเสื่อมโทรมของฐานทรัพยากรอาหาร 1.1 การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ 1.2 การเสื่อมโทรมของดิน 1.3 ปัญหาของทรัพยากรน้า 2. ปัญหาของระบบการผลิตอาหารที่ไม่ยั่งยืน 2.1 ปัญหาพันธุกรรมในการผลิตอาหาร 2.2 การพึ่งพาปุ๋ยและสารเคมีการเกษตร 2.3 การลดลงของเกษตรกรรายย่อยและการขยายตัวของธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ 3. ปัญหาโครงสร้างของที่ดินทากิน และสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร 4. บทบาทของค้าปลีกขนาดใหญ่ และโมเดิร์นเทรดที่มีบทบาทมากขึ้นในระบบกระจาย อาหาร 5. การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และผลกระทบต่อการผลิตอาหาร 6. ผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า และความตกลงระหว่างประเทศต่อระบบอาหาร 7. ปัญหาสุขภาวะที่เกิดจากระบบอาหาร 8. การแผ่ขยายของอาณานิคมทางอาหาร 9. วัฒนธรรมอาหารต่างชาติครอบงาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น 10. การขาดนโยบายเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร


20 ผลกระทบอันเนื่องมาจากความไม่มั่นคงทางอาหาร ผลจากวิกฤตอาหารที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนที่สุด คือ การเกิดเหตุการณ์จลาจลอย่างรุนแรง ขึ้น ในประเทศเฮติ เนื่อ งจากขาดแคลนอาหาร และราคาอาหารที่แ พงลิบ ลิ่ว จนก่อ ให้ เกิ ดการ ประท้วงเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเฮติ ถึงขั้นต้องปรับเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ปัญหาปากท้องให้แก่ ประชาชน นอกจากนี้ยังมีเหตุจลาจลที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา และประเทศอื่นๆ อีก ตามที่ปรากฏ ในสื่อต่างๆ ทุกครั้งที่มีวิกฤตราคาพลังงานเกิดขึ้น วิกฤตด้านราคาอาหารก็จะเกิดตามมาเป็นวัฏจักร เนื่อ งจากการเคลื่ อนย้ายของธุ รกิ จพลัง งานเข้ามาแย่ง วัต ถุดิ บไปจากพืชอาหารเพื่ อ เอาไปผลิ ต พลังงาน ส่งผลให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น ปัจ จุ บัน ภาวะราคาอาหารที่ แพงสู งขึ้ น หรื อ ที่ เรี ย กว่า “ภาวะราคาอาหารเฟ้ อ ” (Food Inflation) พุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ จะเห็นได้ว่า ดัชนีเฉลี่ยราคาอาหารขององค์การอาหาร และ เกษตรแห่งสหประชาชาติ ในช่วงมีนาคม 2551 เท่ากับ 220 โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดือนมีนาคมของปี ก่อนๆ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57 โดยดัชนีอาหารเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 ซึ่งสาเหตุหลักมา จากความไม่สมดุลระหว่างผลผลิต และความต้องการใช้ที่แตกต่างกัน ราคาอาหารที่แพงสูงขึ้น และคาดว่าจะยังคงอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อ เนื่อง เกิดจากปัจจัย สาคัญที่ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง สวนทางกับความต้องการบริโภคที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และเกิดจาก ปัจจัยแทรกซ้อนหลายๆ ปัจจัยภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ คือ 1. การเก็งกาไร และสภาวะเงินดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกาที่ตกต่า 2. นโยบายเรื่องการส่งเสริมพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก 3. สภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน 4. ราคาน้ามันที่แพงขึ้น และดูจะต่อเนื่องยาวนาน จนต้องหันไปใช้ไบโอดีเซลทดแทน 5. การบริโภคสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากของบรรดากลุ่มประเทศตลาดใหม่


21 วิกฤตการณ์อาหารในวันนี้ มาจากปัญหาภาคการเกษตรที่ถูกปรับเปลี่ยนจากการเพาะปลูก เพื่อการส่งออก มาแทนการเพาะปลูกเพื่อการบริโภคภายในประเทศ การเปลี่ยนมาเป็นอุตสาหกรรม การเกษตรขนาดใหญ่ที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ต้องสิ้นเปลืองปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และแหล่งน้า เบียดเบียนวิถี เกษตรเพื่อชุมชน สู่ภาค “ธุรกิจการเกษตร” อย่างไร้เหตุผล นอกจากจะไม่บรรเทาความอดอยากแล้ว ยังทาให้ประชาชนหลายล้านคนในประเทศที่ส่งออกอาหาร เช่น ประเทศอินเดีย ประชากร 1 ใน 5 ต้อ งอดมื้อกินมื้อ แม้แต่เด็กอายุต่ากว่า 5 ปี อีก 48% ยังต้อ งประสบภาวะทุพโภชนาการ และใน ประเทศโคลัมเบีย ประชากรถึง 13% ก็ประสบภาวะนี้ เช่นกัน แนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วนอีกทางหนึ่งก็คือ การประชุมสุดยอดของสหประชาชาติว่าด้วย “วิกฤตอาหาร” ที่จัดขึ้น ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้นาของโลกได้ให้ คามั่นว่า จะลดอุปสรรคทางการค้า และจะส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตรให้มากขึ้น เพื่อ สู้กับ วิกฤตการณ์ อาหารที่ ทาให้เ กิดภาวะอดอยาก และนาไปสู่ การก่อ ความไม่ สงบรุน แรงในหลาย ประเทศทั่วโลก ที่ประชุมได้ผ่านความเห็นชอบในปฏิญญาร่วมกันที่จะแก้ปัญหาวิกฤตอาหารแพง และส่งเสริมการลงทุนในภาคการเกษตรให้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างความสมดุลในประเด็นปัญหา ที่มีการถกเถียงกันในเรื่องของเชื้อเพลิงชีวภาพ และการเรียกร้องให้ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยใน ประเทศยากจนที่มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และอาหารสัตว์ในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งเชื่อว่าจะ ช่วยบรรเทาวิกฤตอาหารที่โลกกาลังเผชิญอยู่ไ ด้ อย่างไรก็ตาม องค์การสหประชาชาติเคยจัดการ ประชุมสุดยอดอาหารโลกมาแล้วเมื่อปี ค.ศ. 1996 เพื่อสร้างอธิปไตยทางอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ ให้เน้นการบริโภคภายในประเทศ การคุ้มครองปกป้อ งสิทธิมนุษยชน และสร้างหลักประกันให้ ประชาคมโลกเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยมีคุณค่า และเหมาะสมทางวัฒนธรรม วิกฤตการณ์อาหารโลกไม่ใช่ ปัญหาระยะสั้นๆ เพราะประชาคมโลกต่างให้ความสนใจ และตระหนักถึงประเด็นปัญหาเหล่านี้ด้วยความวิตกกังวล บ้างก็วิเคราะห์ว่าเกิดจากการนาเอา พลังงานทดแทน (Biofuel) มาใช้ ทาให้ธัญพืช (Grains) ลดปริมาณลง และเกิดการขาดแคลนอยู่ ตลอดเวลา เช่น บรรดาประเทศในแถบทะเลทรายซาฮารา เป็นต้น ปัญหานี้ คือ ปัญหาฉุกเฉินที่ต้องการการแก้ไข แต่อุปสรรคสาคัญอยู่ที่เงินทุนช่วยเหลือด้าน การวิจัย ที่มีงบประมาณน้อยมาก การพัฒนาด้านการเกษตรดูเหมือนจะถูกละเลย การบริหารจัดการ ก็เป็นไปภายใต้กรอบของกระบวนการ โลกาภิวัตน์ เนื่องจากนานาประเทศหันมาพึ่งการค้า มากกว่า การพึ่ ง พาตนเอง ผลกระทบจากการใช้ พ ลั ง งานทดแทนที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ก็ คื อ กรณี ข องประเทศ


22 สหรัฐอเมริกาที่ใช้พื้นที่เพื่อพลังงานทดแทนมากขึ้น ทาให้พื้นที่ ปลูกข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารคน และสั ตว์กว่ า 30% ถูก แปรเปลี่ย นไป จากกรณีดั งกล่า วย่อ มส่งผลกระทบกับ แหล่ง ผลิตอาหาร แน่นอน เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สาคัญของโลก แม้แต่ในยุโรปเองก็ยังสนับสนุนนโยบายด้านการผลิต เอทานอล โดยกาหนดให้มีส่วนผสม ของเอทานอล อย่างน้อย 10% ดังนั้น พื้นที่เพาะปลูกอาหารเพื่อ บริโภค จึงกลายมาเป็นการปลูก ปาล์มน้ามัน อ้อย ข้าวโพด มันสาปะหลัง เพื่อเป็นพลังงานทดแทนเช่นกัน องค์ก ารอาหารโลกแห่ง สหประชาชาติ (WFP) ได้ ตั้ง ชื่ อ วิ กฤตการณ์นี้ ว่า เป็น “Silent Tsunami” หรือ “สึนามิเงียบ” ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้เตรียมการรับมือไว้ก่อน นับว่าท้าทาย ความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องในการวางนโยบายเพื่อความอยู่รอดของประชาคมโลกเป็นอย่างยิ่ง จากนี้ไป ประชาคมโลกคงต้ อ งจับตามองอย่างใกล้ชิดว่า องค์กรต่างๆ ระดับโลก จะใช้ มาตรการและยุทธศาสตร์ใดเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์นี้ ส าหรั บ ประเทศไทย ซึ่ ง เป็ น ที่ รั บ รู้ ข องประชาคมโลกว่ า อุ ด มสมบู ร ณ์ ด้ ว ยพื ช พั น ธุ์ ธัญญาหาร เพราะเราเป็นผู้ผลิต และผู้ส่งออกสินค้าภาคเกษตรรายใหญ่ของโลก ย่อมหนีไม่พ้ นกับ ผลกระทบด้านราคาอาหารแพง ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงไม่พ้นประชาชนผู้ยากจน รวมไป ถึงชนชั้นกลาง ซึ่งถือว่าเป็นความจาเป็นอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลต้องกาหนดมาตรการเพื่อวางนโยบาย และดาเนินการอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันความเดือดร้อนจากราคาอาหารที่แพงสูงขึ้น แต่ไม่ส อดรับ กับ รายได้ ของประชาชน โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิ จในระดับ รากหญ้ า ขณะนี้ คงต้อ งเน้ น ที่ ความสาคัญของการบริหารจัดการ เพื่อ ปรับปรุงประสิทธิภาพ และรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงทาง อาหาร (Food Security) ของประเทศ เพื่ อ ส่ งเสริม ผู้ ที่ เป็ น เกษตรกร และผู้ ผลิ ต ให้ ค งได้ รั บ ผลประโยชน์จากภาคการตลาด ส่วนประชาชน ผู้บริโภคทั้งหลาย ก็ต้องเข้าถึงอาหารทั้งโอกาส และ การกระจายรายได้ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยมากกว่า ที่ได้เกิด “วิกฤตการณ์ อาหารโลก” ขึ้น เนื่องจากเราเป็นประเทศผู้ผลิต อาหารส่งออกที่สาคัญของโลก มีปริมาณอาหาร เพียงพอทั้งการบริโภคภายในประเทศ และส่งออกได้พร้อมๆ กัน อีกทั้งเรายังมีพื้นที่นิเวศน์อันอุดม สมบูรณ์ด้วยสัตว์เลี้ยงที่เป็นอาหารมากมายนานาชนิด “ข้าว” ซึ่งนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถ


23 สร้างรายได้ และแปรวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ ภายใต้แผนพัฒนาด้านศักยภาพของความเป็นแหล่ง อาหารโลก เพื่อรองรับแนวโน้มทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพราะอาหารก็คือ ทรัพยากรที่มี ความสาคัญมากขึ้นทุกๆ วัน รั ฐ บาลควรก าหนดนโยบายพั ฒ นาประเทศที่ เ ป็ น ระบบ ท าให้ เ รากลายเป็ น ประเทศ เกษตรกรรมที่มีเอกภาพ เน้นการเพิ่มผลผลิตด้ วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขยายพื้นที่ภาคการเกษตร ควบคู่กับการบริหารจัดการน้า และร่วมกันส่งเสริมทุกภาคส่วน โดยเน้นการจัดแบ่งพื้นที่เพาะปลูก พืช ธัญญาหารให้มากกว่าพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทน แม้ไทยเราจะเป็นผู้นาเข้าด้านพลังงานสุทธิ แต่ก็ควรให้ความสาคัญกับการปลูกพืชพลังงานทดแทนเสมอกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุปัจจัยจาก ความเคลื่อนไหวของราคาน้ามันทั่วโลกที่ยังไม่หยุดนิ่ง การปลูกพืชพลังงานทดแทน เช่น อ้อย และมันสาปะหลัง สามารถนามาผลิตเป็นเอทานอล ได้อย่างพอเพียง เนื่องจากพื้นที่สาหรับการเกษตรของเรามีเป็นจานวนมาก เมื่อวิกฤตการณ์พลังงานแผ่ขยายไปทั่วโลก นโยบายด้านการผลิตเอทานอลจึงเป็นนโยบาย ในระยะยาวที่ต้องจัดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อ เตรียมการแก้ไข และป้อ งกันไปพร้อ มๆ กับการ แก้ไขวิกฤตการณ์พลังงาน และวิกฤตการณ์อาหาร ประเทศไทยมีพื้นที่ภาคการเกษตรถึง 7 ล้านไร่ เศษ ดังนั้น นับเป็นความจาเป็นที่ต้องจัดสรรงบประมาณ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภาครัฐควรส่งเสริม และมีมาตรการให้กู้ยืม ในอัตราดอกเบี้ยขั้นต่า เพิ่มศักยภาพด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ วางแผน จัดการทรัพยากรน้า จากัดและควบคุมราคาปุ๋ย ตลอดจนช่วยลดรายจ่ายให้พี่น้องเกษตรกรในทุกๆ ด้าน อันจะเป็นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ ภายใต้นโยบายที่เข้มแข็ง อ้อยที่เรานามาผลิตเป็นน้าตาล ใช้บริโภคภายในประเทศ นอกจากนั้นยังสามารถส่งออกได้ เป็นส่วนใหญ่ เพราะ เรามีพื้นที่ปลูกอ้อยที่ไม่กระทบต่อพื้นที่นา ในภาคอีสานเราก็ปลูกพืชพลังงาน ได้มากกว่าภาคอื่นๆ อาศัยบรรดาผู้ประกอบการเป็นผู้ส่งเสริม โดยแบ่งแยกสัดส่วนให้ชัดเจน ผู้ผลิต น้าตาลจะไม่เกี่ยวข้องกับโรงงานผลิตเอทานอล การอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนนั้น ต้องจัด สัมมนาขึ้น เพื่อระดมสมองและสรรพกาลังต่างๆ ทาการวิเคราะห์ค้นคว้า วิจัย อันจะนาไปสู่ผล ทางการแก้ไขที่มีทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผล


24 จะเห็นได้ว่า เราต้องใช้ทุนจากกระทรวงการคลังจานวนถึง 25,000 ล้าน เพื่อลดต้นทุนด้าน ผลผลิตอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางภาคเกษตร สร้าง ความมั่นใจให้แก่ประเทศที่เป็นพันธมิตรทางการค้า โดยยึดหลักความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้ที่ รับผลประโยชน์ และผู้ที่เสียผลประโยชน์ แม้ในหลายประเทศทั่วโลกจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลาบาก โดยไม่สามารถจะคาดเดาได้ ว่าอนาคตข้างหน้านั้นจะเป็นอย่างไร แต่สาหรับประเทศไทย คงต้อ งเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เช่น ไม่ควรจากัด การส่งออก ไม่บิดเบือนราคาตลาด แสวงหาพันธมิตรที่เป็นประเทศผู้ผลิตภาค การเกษตรเพื่ อแลกเปลี่ ยนความรู้ และการตลาดซึ่งกั นและกัน แม้ ว่า วิกฤตการณ์อ าหารท าให้ เกษตรกรไทยได้รับผลประโยชน์มากขึ้นก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันผลกระทบยังคงตกอยู่กับคนจน ในเมือง เพราะยังคงต้องจ่ายค่ าอาหารในราคาที่สูงขึ้นถึง 43% และในที่ประชุมสหประชาชาติว่า ด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ที่กรุงอักกรา สาธารณรัฐกานา ยังแสดงความเห็นเช่นเดียวกันว่า ในระยะยาวนั้น การเจรจาเปิดตลาดการค้านับเป็นสิ่งสาคัญที่สุด ส่งผลให้บรรดาเกษตรกรมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น เพราะราคาพืชผลทางการเกษตรจะได้ราคาดีตามผลผลิตที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น อัน นับว่าเป็นผลประโยชน์ที่ดี แก่ประเทศไทยทั้งสิ้น นับว่าเป็นความโชคดีของเราที่เป็นประเทศส่งออกอาหารสุทธิที่สาคัญของโลก จึงได้รับ ผลกระทบจากวิกฤตการณ์อาหารน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกหลายๆ ประเทศ การ บริโภคภายในประเทศจึงไม่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลน และยังได้รับอานิสงส์จากราคาสินค้าภาค เกษตรที่สูงขึ้นด้วย เพราะอาหารไม่ใช่เพียงโภคภัณฑ์ แต่อาหารเป็นหัวใจของการอยู่รอดของประชากรโลก ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้น ณ ที่หนึ่งที่ใด หากแต่กลายเป็นปัญหาใหญ่ทางสังคม และการเมือง ที่ แผ่ขยายไปทั่วโลก การพัฒนาอย่างยั่งยืน สภาโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา ได้ให้ความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนว่า “การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดย ไม่ก ระทบกระเทื อนความสามารถของคนรุ่น ต่อ ไป ในการที่ จะสนองตอบความต้ อ งการของ


25 ตนเอง” (Sustainable development is development which meets the needs of the present generation without compromising the ability of future generations to meet their own needs) การพัฒนาแบบยั่งยืนตามความหมายดังกล่าว ประกอบด้วยแนวคิดอย่างน้อย 3 ประการ คือ ประการแรก เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความต้อ งการของมนุษ ย์ ประการที่สอง เป็นแนวคิดเกี่ยวกั บ ขีดจากัด และประการที่สาม เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคม แนวคิดประการแรก การพัฒนาแบบยั่งยืนคานึงถึงแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นความต้องการพื้นฐานในการดารงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การมีงานทา และความต้องการที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม ความต้องการทั้ง 2 ประการ นั้น ล้วนต้องอาศัยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปคนรวยกับคนจนมีความต้องการที่แตกต่างกัน แต่ทั้งคนรวย และคนจนก็มีความ ต้องการพื้นฐานซึ่งเป็นความจาเป็นในการดารงชีวิตเหมือนๆ กัน ไม่แตกต่างกัน คนที่ร่ารวยกว่า ย่อมต้องการดารงชีวิตอยู่อย่างมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูง มีสิ่งอานวยความสะดวกสบายมากมาย นอกเหนือจากสิ่งที่จาเป็นต่ อการครองชี พ คนจนก็เช่น เดียวกัน เมื่ อ ได้รับการสนองตอบความ ต้อ งการขั้นพื้นฐานแล้วเขาก็มีสิทธิ์ที่จะพัฒนาตนเอง หรือ ได้รับการพัฒนา ให้มีมาตรฐานการ ดารงชีวิตที่สูงขึ้นกว่าขั้นความจาเป็นพื้นฐาน แนวคิดประการที่สอง เกี่ยวกับขีดจากัดของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม จะทาหน้าที่อย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. เป็นผู้ให้ทรัพยากรแก่กระบวนการพัฒนา 2. เป็นที่รองรับของเสียจากกระบวนการพัฒนา ระบบสภาพแวดล้อมมีขีดจากัดในการให้ ทรัพยากร และมีขีดจากัดในการรองรับของเสีย ในกระบวนการพัฒนา ย่อมจะต้องนาเอาทรัพยากร สิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ และเมื่อมี การพัฒนา จะต้องมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางกาย และชีวภาพเกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่ ระดับเทคโนโลยีที่ใช้ แล้วแต่อัตราและปริ มาณการใช้ประโยชน์ จากทรั พยากรธรรมชาติ และ


26 สิ่งแวดล้อม แล้วแต่ความสามารถในการบริหารจัดการกับผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น การพัฒนาแบบยั่งยืนจะต้องไม่กระทบต่อความสามารถของคนรุ่นต่อๆ ไป ที่จะมาจัดใช้ประโยชน์ จะต้องไม่เกินศักยภาพที่ระบบนิเวศนั้นจะทาให้งอกงาม และฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ได้ ไม่เกินขอบขีด ความสามารถ ที่ระบบนิเวศจะรองรับได้ จะต้องไม่เกินขีดสมดุลของธรรมชาติ แนวคิดประการที่สาม เกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคม เพราะการพัฒนาโดยทั่วไปเป็นการ ปรับปรุงเปลี่ยนให้สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคมดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แนวทางการพัฒนาแบบ ยั่งยืนมีหลักการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในปริมาณเท่าที่ฟื้นฟูเกิดใหม่ไ ด้ ความยั่งยืนนั้นไม่อ าจ มั่นคงอยู่ได้ หากปราศจากนโยบายการพัฒนาที่คานึงถึงปัจจัยทางสังคม-วัฒนธรรม เข้ามาพิจารณา ด้วย อาทิ โอกาสของการเข้าถึง และได้ใช้ทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน การกระจายการลงทุน และ ผลประโยชน์ตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอย่างเหมาะสม การพัฒนาแบบยั่งยืนจึงต้องคานึงถึง หลัก ความยุติ ธรรมระหว่ างชนรุ่น ปัจ จุบั นกั บชนรุ่ นต่ อ ๆ ไป (Intergenerational Equity) และ หลักการความยุติธรรมระหว่างชนรุ่นเดียวกัน (Intergenerational Equity) ตามหลั ก การความยุ ติ ธ รรมระหว่ า งชนรุ่ น ปั จ จุ บั น กั บ ชนรุ่ น ต่ อ ไป ชนรุ่ น ปั จ จุ บั น มี ภาระหน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ คนรุ่ น ต่ อ ไปในการที่ จ ะต้ อ งมอบมรดกทางธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมในปริมาณ และคุณภาพที่ไม่ด้อยไปกว่ายุคปัจจุบัน การทาลายความสุขสมบูรณ์ของชน รุ่นหลังนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง ส่วนหลักความยุติธรรมระหว่างคนรุ่นเดียวกันจะต้องมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาความยากจน และการสนองความต้องการของประชากรผู้ยากไร้ด้อยโอกาส เพื่อลดความไม่เท่าเทียมกัน การที่จะ ให้คนยากจนชื่นชมกับธรรมชาติ รักษาสภาพแวดล้อมทั้งๆ ที่ปากท้องยังหิวอยู่เป็นเรื่องที่ขัดต่อ ความรู้สึก ฝืนต่อความต้องการตามธรรมชาติของเขา เมื่อใดที่สามารถพัฒนาให้หลุดพ้นจากวงจร แห่งความชั่วร้าย (โง่ เจ็บ จน) ได้ คนยากจนก็จะมีโอกาสใช้ ทรัพยากร และสภาพแวดล้อ มใน ลักษณะที่ยั่งยืนได้ การพั ฒ นาแบบยั่ งยื น สนั บสนุ น ค่ า นิย มที่ มี ก ารส่ ง เสริ ม ให้ มี มาตรฐาน ในการบริ โ ภค ทรัพยากรที่ไม่ฟุ่มเฟือยที่อยู่ในขอบขีดความสามารถของระบบนิเวศที่จะรองรับได้ ตามคากล่าว ของมหาตมะคานธี ที่ว่า “โลกเรานี้ มีทรัพยากรเพียงพอสาหรับสนองความต้องการของมนุษย์ แต่มี ไม่เพี ยงพอสาหรั บความโลภของมนุษ ย์ ” มนุษย์เ ราจึง ต้อ งเปลี่ย นแปลงให้ มีค่านิ ยมแบบใหม่


27 เศรษฐศาสตร์ที่เน้นเรื่อง “ยิ่งมากยิ่งดี” (The economics of more and more) จะต้องกลายเป็น เศรษฐศาสตร์ของความพอดี (The economics of enough) ซึ่งตรงกับหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ในเรื่องมัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือ ความพอเหมาะพอดี การพัฒนาแบบยั่งยืนจะต้องคานึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่หรือมีประชาชน เป็นศูนย์กลาง (People centered development) การพัฒนาที่มีครอบครัวเป็นรากฐาน (family – based development) เพราะประชาชนส่วนใหญ่ควรจะได้รับผลการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การพัฒนาจึงจะยั่งยืน โดยที่ครอบครัวและชุมชนเป็นรากฐานที่สาคัญของสังคม จึงควรพัฒนา ครอบครัวและชุมชนให้มั่นคง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ลาพังการพัฒนาโดยรัฐบาลฝ่ายเดียว โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมด้วยจะไม่ทาให้เกิดการ พัฒนาที่ยั่งยืน โดยที่ประชาชนเป็นผู้รับผลประโยชน์ของการพัฒนา รู้ปัญหา และความต้องการของ ตนดี การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน (People participation) และ ส่ ง เสริ ม บทบาทของภาคเอกชนในการพั ฒ นา ภาคเอกชนประกอบด้ ว ยองค์ ก รเอกชน (nongovernment organization หรือ NGO) องค์กรธุรกิจ (business organization) และองค์กรประชาชน (people organization) ดังนั้น ภาครัฐบาล องค์กรเอกชน และองค์กรธุรกิจ ควรจะร่วมกันส่งเสริม องค์กรประชาชนให้สามารถดาเนินงานอย่างเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ การพั ฒ นาแบบยั่ ง ยื น จะต้ อ งเป็ น การพั ฒ นาที่ ส มดุ ล โดยมี ก ารพั ฒ นาที่ ส มดุ ล และ ผสมผสานในด้านต่างๆ ไม่จาเป็นต้องพัฒนาที่เน้นหนักไปในด้านเศรษฐกิจจนเกินไป เพราะลาพัง การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว ไม่อาจจะบรรลุถึงการ พัฒนาแบบยั่งยืนได้ ไม่อาจจะรั กษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ จาเป็นต้องมีการพัฒนาด้านอื่นควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการพัฒนาด้านสังคม และการพัฒนาด้าน วัฒนธรรม และจิตใจ มีผู้ ก ล่ า วว่ า สาเหตุ ที่ สาคั ญ ของปั ญหาสิ่ ง แวดล้ อ ม คื อ พฤติ ก รรมของมนุ ษ ย์ (Human behavior) เช่น การเห็น แก่ ความสะดวกสบาย ความเห็น แก่ตัว ความเห็นแก่ไ ด้ การขาดความ รับผิดชอบ การขาดจิตที่สานึกต่อส่วนรวม จึงมีคากล่าวว่า “ตัวเราเองเป็นศัตรูที่ร้ายแรงที่สุดของ เรา” (We are own worst enemy) เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงต้องมีการเร่งรัดการพัฒนาด้าน


28 วัฒนธรรม และจิตใจ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความเจริญก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ และด้าน จิตใจ เกิดความมั่งคั่งทางจิตใจ (spiritual wealth) ให้สมดุลกับความมั่งคั่งทางวัตถุ (material wealth) นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพั ฒ นาที่ จะก่ อให้ เกิ ด ผลที่ ยั่ง ยื นยาวนาน จะต้ อ งไม่ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเสื่ อ มโทรมแก่ คุณภาพของสิ่งแวดล้อม และต้องกระทาอย่างจริงจัง การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม มีดังนี้ 1. การควบคุ ม การเพิ่ ม ประชากร การเพิ่ ม ประชากรท าให้ เ กิ ด การใช้ ท รั พ ยากรอย่ า ง กว้างขวาง ต้องมีการผลิตอาหารเพิ่มขึ้น ต้องการที่อยู่อาศัย ต้องการน้าดื่มน้าใช้เพิ่มขึ้น ฯลฯ ความ ต้องการที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดการร่อยหรอขาดแคลนทรัพยากร เกิดสารพิษในสิ่งแวดล้อม และท าให้ธ รรมชาติ หรือสิ่ง แวดล้อ มขาดความสมดุลในที่สุด การหยุดยั้ งการเติบโต หรื อ การ หยุดยั้งการเพิ่มประชากรมนุษย์ จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และลดปริมาณการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติลง 2. การพื้นฟูสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อ ม และทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในสภาพเสื่อ ม โทรม เช่น ป่าไม้ แหล่งน้า การพังทลายของหน้าดินจะต้องได้รับการป้องกันมิให้เกิดสภาพเสื่อ ม โทรมขึ้นต่อไป และจะต้องฟื้นฟูพัฒนาปลูกป่า ขุดลอกหาแหล่ง น้า การใช้ที่ดินเพื่อกิจการต่างๆ ต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เป็นต้น 3. การป้องกันกาจัดสารพิษ สารพิษที่แพร่กระจายในอากาศ แหล่งน้า และที่อ ยู่ในวงจร อาหารจะต้ อ งก าจั ด ออกไป โดยการป้ อ งกัน ควบคุ ม การใช้ ส ารพิ ษ เหล่า นั้ น ทั้ งในการเกษตร อุตสาหกรรม และในบ้านเรือน มีแหล่งรวบรวม จัดการ และขจัดสารพิษเหล่านั้นมิให้แพร่กระจาย ออกไป 4. การวางแผนการใช้ที่ดินและน้า ที่ดินที่มีอยู่ทั่วประเทศทั้งในชนบท และในเมืองจะต้อง มีการจัดสรรการใช้ให้เหมาะสมกับสมรรถนะของดิน ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรม หรือ อุตสาหกรรมการใช้เป็นชุมชนที่อยู่อ าศัย และการใช้เพื่อการสาธารณูปโภค จะต้องเป็นไปอย่าง สอดคล้องเหมาะสม และให้ประโยชน์สูงสุด น้าที่ใช้ทั้งเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโภค


29 จะต้องมีการวางแผนการใช้ให้เกิดความเป็นธรรม พอเหมาะแก่ฤดูกาล และเหมาะกับวัตถุประสงค์ ของการใช้ ทั้งป้องกันมิให้มีการแพร่กระจายสารพิษ หรือ ป้อ งกันน้าเสียมิให้แพร่กระจายไปสู่ แหล่งน้าธรรมชาติ 5. การประหยัดการใช้ทรัพ ยากร การใช้ทรัพยากรทุกชนิดไม่ว่า จะเป็นน้า ไฟฟ้า หรือ พลังงานอื่นๆ การกิน และการใช้เครื่อ งใช้ในชีวิตประจาวันทุกชนิด จะต้องเป็นไปอย่างประหยัด และใช้ประโยชน์ให้ได้นานคุ้มค่ามากที่สุด 6. การพั ฒ นาเทคโนโลยี ที่ เ หมาะสม เทคโนโลยี ที่ จ ะน ามาใช้ ทั้ ง ในภาคเกษตร อุตสาหกรรมการสื่อสาร คมนาคม และในครัวเรือน จะต้อ งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งจะต้อ งมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการ แก้ไข และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมได้ด้วย 7. ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เหมาะสม ค่านิยม และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดารงชีวิต และการใช้ปัจจัยในการดารงชีวิต จะต้องเป็นไปอย่างพอเหมาะกับกาลังการผลิตที่เกิดขึ้นในระบบ นิเวศน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดค่านิยมฟุ่มเฟือย ควรถือว่าเป็นการมุ่งทาลายการดารง อยู่ของมนุษยชาติโดยส่วนรวม 8. การควบคุมอาวุธสงคราม อาวุธที่ใช้ทาสงครามและเพื่อประโยชน์ในการทาลายล้างกัน จะต้อ งถู กควบคุม จากัด การสร้า ง การใช้ และการซื้อ ขายกั น เพื่ อ ป้ อ งกัน การข่ มขู่ รุก ราน การ ได้เปรียบในการใช้ท รัพยากร และผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อ มที่เ กิดขึ้นจากการใช้อ าวุธสงคราม เหล่านั้น 9. การให้ การศึ กษา การให้ก ารศึก ษาเกี่ ยวกับสิ่ งแวดล้อ ม ทรั พยากรธรรมชาติ ระบบ นิเวศน์สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี หรือวิชาการด้านอื่นๆ จะต้องผสมผสานกันอย่างถูกต้อง และ เป็นไปเพื่อการดารงชีวิตที่มีคุณภาพก่อให้เกิดสติปัญญา ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในชีวิต และ ธรรมชาติโดยรอบตัวอย่างถ่องแท้ และก่อให้เกิดทักษะที่จาเป็นแก่การดารงชีวิตที่แท้จริง


30 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจาเป็นที่จะต้อ งมี ระบบภู มิคุ้ ม กั น ในตั ว ที่ ดีพ อสมควร ต่ อ การมี ผ ลกระทบใดๆ อัน เกิ ด จากการเปลี่ ย นแปลงทั้ ง ภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ใน การนาวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดาเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้อง เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ของรัฐนักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุก ระดับให้มีสานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดาเนินชีวิตด้วย ความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก ภายนอกได้เป็นอย่างดี หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคานึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดารงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะ เป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนามาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และ เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภั ย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้น การปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน 3. คานิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้


31 3.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่ เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้อง เป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคานึง ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทานั้นๆ อย่างรอบคอบ 3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการ เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคานึงถึ งความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล เงื่อนไข การตัดสินใจ และการดาเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้ง ความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนาความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และ ความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความ ซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดาเนินชีวิต แนวทางปฏิ บั ติ / ผลที่ ค าดว่ า จะได้ รั บ จากการน าปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมา ประยุ กต์ใช้ คือ การพั ฒนาที่ สมดุล และยั่ งยืน พร้อ มรับต่อ การเปลี่ยนแปลงในทุก ด้าน ทั้งด้า น เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี แนวทางการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล ระดับชุมชน และระดับประเทศมี แนวทางดังนี้


32 1. ระดับบุคคล 1.1 รู้จัก “พอ” ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 1.2 พยายามพัฒนาทักษะ ความรู้ ความเข้มแข็งของตนเอง 1.3 ยึดทางสายกลาง พอใจกับชีวิตที่พอเพียง 2. ระดับชุมชน 2.1 รวมกลุ่ม ใช้ภูมิปัญญาของชุมชน 2.2 เอื้อเฟื้อกัน 2.3 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 3. ระดับประเทศ 3.1 ชุมชนร่วมมือกัน 3.2 วางระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง 3.3 พัฒนาเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป 3.4 เติบโตจากข้างใน แนวทางการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 1. แนวทางการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้ 1.1 ยึดหลักสามพอ พออยู่ พอกิน พอใช้ 1.2 ประหยัด 1.3 ประกอบอาชีพสุจริต


33 1.4 เน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง 1.5 ทามาหากินก่อน ทามาค้าขาย 1.6 ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ดิน คืนทุนสังคม 1.7 ตั้งสติมั่นคง ทางานอย่างรู้ตัวไม่ประมาท 1.8 ใช้ปัญญาใช้ความรู้แท้ 1.9 รักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งกายและใจ 2. แนวทางการประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2.1 ทางานอย่างผู้รู้ ใช้ปัญญาทางานอย่างมืออาชีพ 2.2 อดทนมุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง 2.3 อ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่าย ประหยัด 2.4 มุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นสาคัญ 2.5 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 2.6 ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียร 2.7 สุจริต กตัญญู 2.8 พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดี และคนเก่ง 2.9 รักประชาชน (ผู้รับบริการ) 2.10 เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน สรุปได้ว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความสาคัญอย่างมากในการพัฒนาคนได้ ทั้งการ พัฒนาระดับบุคคล ระดับชุมชน และระดับประเทศชาติ โดยยึดหลัก 3 ห่วง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม ซึ่ง


34 ถ้านาไปปฏิบัติอย่างจริงจังแล้วทุกคนในชาติหรือ ในระดับโลกจะเป็นบุคคลที่มีจิตสาธารณะที่ มองเห็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และจะนามาซึ่งความสงบสุขของคนในสังคม การพึ่งพาตนเอง คณะกรรมการพิเศษเพื่อการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ (2554: 12) ได้กล่าวถึงที่มาและความสาคัญของการพึ่งพาตนเอง ดังนี้ การพึ่งพาตนเองได้ของประชาชนในภาคเกษตรนับเป็นเรื่องที่สาคัญยิ่ง เกษตรกรจะมีงาน ทา มีรายได้ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาวตามหลักการ “ทฤษฎีใหม่” ซึ่งเป็นการทา การเกษตรที่มีกิจกรรมหลากหลาย สามารถปรับตัวและยืดหยุ่นได้ตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในแต่ละพื้นที่ เป็นแนวพระราชดาริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานเป็นแนวคิด และแนวทางในการดารงชีวิต โดยเป็นแนวทางดาเนินการที่ นาไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดความเสี่ยงในการ เปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ และความผันแปรของธรรมชาติ ทฤษฎีใหม่เป็นระบบความคิดเกี่ยวกับ กระบวนการพัฒนาที่ไม่เคยมีผู้ใดคิดมาก่อน และแตกต่างจากแนวคิด ทฤษฎี และวิธีการที่เคยมีมา ก่อนทั้งสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชดารัสไว้ดังนี้ “ฉะนั้นจึงทาทฤษฎีใหม่เพื่อที่จะให้ประชาชนมีโอกาสทาการเกษตรกรรมให้พอกิน ถ้าน้า มีพอดีในปีไหน ก็จะสามารถที่จะประกอบการเกษตร หรือปลูกข้าวที่เรียกว่านาปีได้ ถ้าต่ อไปใน หน้าแล้ง น้ามีน้อยก็สามารถที่จะใช้น้า ที่กักไว้ในสระเก็บน้าในแต่ละแปลงมาทาการเพาะปลูก แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ ไม่ต้องไปเบียดเบียนชลประทานระบบใหญ่ เพราะมีของตัวเอง แต่ก็อาจจะ ปลูกผักหรือเลี้ยงปลา หรือทาอะไรอื่นๆก็ได้ ทฤษฎีใหม่นี้มีไว้สาหรับป้องกันความขาดแคลน ใน ยามปกติก็จะทาให้ร่ารวยมากขึ้น ในยามที่มีอุทกภัย ก็สามารถที่จะฟื้นตัวได้เร็ว โดยไม่ต้อ งให้ ราชการไปช่วยมากเกินไป ถ้าประชาชนมีโอกาสพึ่งตนเองได้อย่างดี” วิทยา อธิปอนันต์และคณะ (2543: 5) ได้อธิบายถึงที่มา และความสาคัญของหลักการพึ่งพา ตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับที่มา และความสาคัญข้างต้นว่าหลักการพึ่งพาตนเองนั้นเนื่องมาจากแนว พระราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงต้องการให้เกษตรกรไทยเน้นการพึ่งพาตนเอง โดยเกษตรกรจะใช้ค วามรู้ค วามสามารถ ในการบริห ารจัด การที่ดิ น โดยเฉพาะแหล่ง น้า และ


35 กิจกรรมการเกษตรได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของเกษตรกรเอง ด้วยการนาเรื่องทฤษฏีใหม่เข้ามาเป็นพื้นฐานในการพึ่งพาตนเอง โดยนาฐานการผลิตความพอเพียง มาปรับใช้ในไร่นาของตนเอง โดยเริ่มจากการผลิตจะต้องทาในลักษณะพึ่งพาอาศัยทรัพยากรในไร่ นา และทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ให้มีความหลากหลายของกิจกรรมการเกษตรในไร่นา มี กิจกรรมเกื้อกูลกัน กิจกรรมเสริมรายได้ ใช้แรงงานในครอบครัว ทางานอย่างเต็มที่ ลดต้นทุนใน การผลิต ตลอดจนการผสมผสานกิ จกรรมการปลูก พื ช เลี้ ยงสั ตว์ และประมง ในไร่ น าให้เ กิ ด ประโยชน์สูงสุด ลินด์ ซีย์ฟาลวีย์ (2549: 339 – 341)ได้กล่าวถึงที่มา และความสาคัญของหลักการพึ่งพา ตนเองซึ่งคล้ายคลึง กับที่มา และความสาคัญข้างต้นว่าสิ่ง ที่เรียกว่าแนวเกษตรทางเลือ กนั้น คื อ ทางเลือกที่ต่างไปจากหลักการทั่วไปของนักวิทยาศาสตร์การเกษตร เกษตรกรรายย่อยซึ่งครั้งหนึ่ง รู้จักหรือปฏิบัติเทคนิคต่างๆเหล่ านี้ และปัจจุบันนี้ผู้เชี่ยวชาญนามาจัดแจงใหม่ เทคนิคดังกล่าว สามารถให้ผลผลิ ตสู งกว่ าโดยใช้ปั จจั ยการผลิต จากภายนอกน้อ ย ซึ่ งช่ วยให้เ กษตรกรรายย่อ ย สามารถมีส่วนในเกษตรเชิงพาณิชย์ได้ สามารถทาให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในระบบการผลิตแบบ พึ่งตนเอง สิ่งสาคัญในการพิจารณาเกษตรทางเลือ กนี้ ทาให้เกษตรกรรายย่ อ ยมีโอกาสมากขึ้ น โอกาสทางเลือกผลผลิตที่ดี และการเข้าถึงโครงการพื้นฐานทางสังคมเป็นสิ่งสาคัญในการลงทุน ชนบท ซึ่งทาให้เกิดการพัฒนาที่แท้จริง และสร้างความมั่นคงทางการเมืองของประเทศไทย โดย ทางเลือกที่แตกต่างไปจากการเกษตรเชิงพาณิ ชย์ได้นามาพิจารณาในกรอบบริบทของศาสนา และ ด้านสังคมรวมทั้งความเป็นมาในบทต่อไป บทสรุปเกี่ยวกับระบบที่นามาใช้ในประเทศไทยได้ กล่าวถึงตอนนี้ ให้เห็นผลกระทบต่อ การเกษตรรายย่อ ย ระบบเกษตรที่ใช้ปัจจัยการผลิตต่า และ คานึงถึงระบบนิเวศวิทยาของการผลิตอาหาร ซึ่งคานึงถึงความสาคัญของคุณค่าของมนุษย์ รวมทั้ง การพึ่งตนเอง และวิถีชีวิตที่ถูกสุขลักษณะรวมทั้งโภชนาการ ในขณะที่สร้างรายได้ให้เกษตรกร ถูก นาเข้าจากต่างประเทศในหลายๆ รูปแบบ วัฒนเกษตร (Permaculture) ยังคงเป็นระบบที่ไ ม่ค่อยเข้าใจว่าแตกต่างจากระบบเกษตร ผสมผสาน และยากที่จะแยกออกของไทย ในขณะที่ระบบเกษตรผสมผสานพืช สัตว์น้า ซึ่งใช้ สารเคมีน้อย ได้รับความสนใจจากเกษตรกร และนักส่งเสริมของไทย เช่น เดียวกับแนวคิดของ ระบบการทาฟาร์มอินทรีย์ การทาฟาร์มอินทรีย์ต้องการทักษะการจัดการ และการตลาดรวมทั้งทุน ทาให้ระบบนี้ยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น อาทิ ญี่ปุ่น


36 ระบบการผลิตเพื่อครอบครัวซึ่งปราศจากปัจจัยการผลิตภายนอก อันพิจารณาว่าสอดคล้อง กับคาสอนหรือวิถีแบบไทย และคุณค่าทางพุทธศาสนา ได้รู้จักกันในประเทศไทยในหลักเศรษฐกิจ พอเพียง ซึ่งสืบเนื่องจากปรัชญาของความพอเพียงนั้น ได้เน้นวิธีการใช้พื้นที่ดินของเกษตรกรราย ย่อย ความร่วมมือกันในการเจรจาต่อ รอง การร่วมกันใช้เงินทุน และการต่อรองกับกลุ่มภายนอก รวมทั้ งเจ้ าหน้ าที่ข องทางรั ฐบาล และผลประโยชน์ทางการค้า รวมเป็ นส่ว นหนึ่ งของแนวทาง ดังกล่าว พระราชดาริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กล่าวว่า การป่าไม้แบบชาวบ้านมีส่วนร่วม เป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้มีคนประสบความสาเร็จ ช่วยให้แง่คิดทางสังคมในการเกษตรที่ถูกลืมได้รับ การยอมรับอย่างเด่นชัด ผู้ที่น่าเป็นห่วงในเชิงความคิดนี้อยู่ในกลุ่มธุรกิจการเกษตร และข้าราชการ การพึ่งพาตนเองเป็นหลักการสาคัญของการเกษตรไทยเสมอมาในระดับเกษตรกรรายย่อย และคงเป็นเช่นนี้ต่อไป หลักการนี้อาจได้รับทุนสนับสนุนมากขึ้นเพื่อขยายความคิดไปสู่สังคมแนว กว้ า ง หากพิ จ ารณาในเชิ ง ปรั ชญาชี วิ ต หลั ก การนี้ น่ า นั บ ถื อ ตลอดกาล ส าหรับ ภาคเกษตรนั้ น หลักการนี้ไม่เพียงแต่เหมาะแก่กาละ แต่ยังให้ก ารพิจารณาอย่างสมเหตุสมผลแก่ระบบเกษตรราย ย่ อ ยแบบดั้ ง เดิ ม ในยุ ค วั ต ถุ นิ ย มหลั ก การนี้ อ าจถู ก ตี ค่ า ต่ า เว้ น แต่ ผู้ นั บ ถื อ จะได้ แ สดงให้ เ ห็ น ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ดังเช่น ได้มุ่งมั่นในประเทศไทย หลักการนี้ได้รับความนิยมในระดับ สากล เพราะเชื่อว่าวิธีการปรับปรุงแก้ไขแบบระบบเกษตรกรรายย่อยเป็นทางออกให้กับเกษตรเชิง พาณิชย์ ความเชื่อมโยงระหว่างเกษตรสองระบบจะช่วยให้ระบบเกษตรรายย่อยลดการถูกผลักดัน ออกชายขอบ หลักการพึ่งพาตนเอง คณะกรรมการพิเศษเพื่อการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ (2554: 21) ได้ให้หลักการพึ่งพาตนเองตามแนวพระราชดาริ ดังนี้ 1. ด้ า นจิ ต ใจ ท าตนให้ เ ป็ น ที่ พึ่ ง ตนเอง มี จิ ต ส านึ ก ที่ ดี สร้ า งสรรค์ ใ ห้ ต นเองและชาติ โดยรวม มีจิตใจเอื้ออาทร ประนีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสาคัญ 2. ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้อ งช่วยเหลือเกื้อ กูลกัน เชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนให้แข็งแรง และเป็นอิสระ


37 3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ใช้ และจัดการอย่างชาญฉลาด พร้อ มทั้ง หาทางเพิ่มมูลค่า อยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน 4. ด้านเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามา มีทั้งดี และไม่ดีจึงต้องรู้จักแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน และเลือกใช้ให้สอดคล้องกับ ความต้องการตามสภาพแวดล้อม และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง 5. ด้า นเศรษฐกิจ เดิม นั ก พัฒ นามุ่ง ที่ จ ะเพิ่ ม รายได้ และไม่ มุ่ งที่ จ ะลดรายจ่ า ยในภาวะ เศรษฐกิจเช่นเวลานี้ จึงต้องปรับทิศทางการพัฒนาใหม่ คือ ต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสาคัญ โดยยึด หลักพออยู่พอกิน วิทยา อธิปอนันต์และคณะ(2543: 8-9) ได้ให้หลักการพึ่งพาตนเอง 5 ประการ ซึ่งสอดคล้อง กับหลักการข้างต้น ดังนี้ 1. ความพอดีด้านจิตใจประกอบด้วย 1.1 มีจิตใจเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ 1.2 มีจิตสานึกที่ดี 1.3 มองโลกอย่างสร้างสรรค์ 1.4 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 1.5 ประนีประนอม 1.6 นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 2. ความพอดีด้านสังคมประกอบด้วย 2.1 ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 2.2 เชื่อมโยงเครือข่าย


38 2.3 สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน 2.4 รู้รักสามัคคี 3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 3.1 รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ 3.2 เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด 3.3 ระวังไม่ให้กิจกรรมกระทบสิ่งแวดล้อม 3.4 น้าเน่าเสีย ฯลฯ 3.5 ฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากร 4. ความพอดีด้านเทคโนโลยีประกอบด้วย 4.1 รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม 4.2 พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน 4.3 ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก 5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย 5.1 มุ่งลดรายจ่าย 5.2 ยึดหลักพออยู่พอกินพอใช้ 5.3 ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินฐานะที่หามาได้ 5.4 หารายได้เพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป 5.5 หลีกเลี่ยงการก่อหนี้โดยไม่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่า 5.6 บริหารความเสี่ยงอย่างเข้มงวด


39 ทั้งนี้การประยุกต์ใช้แนวทางพระราชดาริเศรษฐกิจพอเพียงจะประสบผลสาเร็จได้จะต้อ ง ขั้นตอนต่างๆ 3 ขั้นตอนคือ 1. การพึ่ ง ตนเองคื อ ประชาชนแต่ ล ะคนต้ อ งเข้ า ใจในหลั ก การของแนวทางดั ง กล่ า ว ประพฤติปฏิบัติได้ 2. การพึ่งพากันเองกล่าวคือ เมื่อทุกคนปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแล้วต้องมา รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มเป็นองค์กรเป็นชุมชนเพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอน 3. การเติบโตอย่างมั่นคงสมบูรณ์ มูลนิ ธิชัย พัฒนา (2547: 1-3) ได้ใ ห้ห ลักการพึ่ งพาตนเองซึ่ง สอดคล้อ งกั นกับ หลัก การ ข้า งต้ น ว่า หลัก การพึ่ งพาตนเองนั้ นหั น กลั บ มายึ ดเส้น ทางสายกลาง (มั ชฌิ ม าปฏิ ปทา) ในการ ดารงชีวิตให้สามารถพึ่งตนเองได้โดยใช้หลักการพึ่งตนเอง 5 ประการคือ 1. ด้านจิตใจตนให้เป็นที่พึ่งของตนเองมีจิตใจที่เข้มแข็งมีจิตสานึกที่ดีสร้างสรรค์ให้ตนเอง และชาติโดยรวมมีจิตใจเอื้ออาทรประนีประนอมซื่อสัตย์สุจริตเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งดัง กระแสพระราชดารัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการพัฒนาคนความว่า “บุคคลต้องมีรากฐานทางจิตใจที่ดีคือความหนักแน่นมั่นคงในสุจริตธรรม และความมุ่งมั่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้จนสาเร็จทั้งต้องมีกุศโลบาย หรือวิธีการอันแยบยลในการปฏิบัติงานประกอบ พร้อมด้วยจึงจะสัมฤทธิ์ผลแน่นอน และบังเกิดประโยชน์อันยั่งยืนแก่ตนเอง และแผ่นดิน” 2. ด้า นสัง คมแต่ ล ะชุม ชนต้อ งช่ วยเหลือ เกื้ อ กู ล กั นเชื่ อ มโยงกัน เป็ นเครื อ ข่ า ยชุม ชนที่ แข็งแรงเป็นอิสระดังกระแสพระราชดารัสความว่า “เพื่อให้งานรุดหน้าไปพร้อมเพรียงกันไม่ลดหลั่นจึงขอให้ทุกคนพยายามทางานในหน้าที่ อย่างเต็มที่และให้มีการประชาสัมพันธ์กันให้ดีเพื่อให้งานทั้งหมดเป็นงานที่เกื้อหนุนสนับสนุนกัน”


40 3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ใช้ และจัดการอย่างฉลาดพร้อมทั้งการเพิ่ม มูลค่าโดยให้ยึดหลักการของความยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดดังกระแสพระราชดารัสความว่า “ถ้ารักษาสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมนึกว่าอยู่ได้อีกหลายร้อยปีถึงเวลานั้นลูกหลานของเราก็ อาจหาวิธีแก้ปัญหาต่อไปเป็นเรื่องของเขาไม่ใช่เรื่องของเราแต่เราก็ทาได้ได้รักษาสิ่งแวดล้อมไว้ให้ พอสมควร” 4. ด้านเทคโนโลยีจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเทคโนโลยีเข้ามาใหม่ มีทั้งดี และไม่ดีจึงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน และเลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความ ต้องการของสภาพแวดล้อมภูมิประเทศสังคมไทย และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเรา เองดังกระแสพระราชดารัสความว่า “การเสริ ม สร้ า งสิ่ ง ที่ ช าวบ้ า นชาวชนบทขาดแคลน และต้ อ งการคื อ ความรู้ ใ นด้ า น เกษตรกรรมโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสิ่งที่เหมาะสม” “การใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทศย่อมจะ มีปัญหา” 5. ด้านเศรษฐกิจแต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่งที่การลดรายจ่าย ในเวลาเช่นนี้จะต้องปรับทิศทางใหม่ คือ จะต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสาคัญ และยึดหลักพออยู่พอ กินพอใช้ และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองในระดับเบื้องต้นดังกระแสพระราชดารัสความว่า “การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้ เพื่อ ตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้าที่มีความสุขพอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไปก็คือ ให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตนเอง” “หากพวกเราร่วมมือร่วมใจกันทาสักเศษหนึ่งส่วนสี่ประเทศชาติของเราก็สามารถรอดพ้น จากวิกฤติได้”


41 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมภายใน ระบบการควบคุมภายในประกอบด้วย นโยบาย และวิธีปฏิบัติงานที่กาหนดขึ้นในองค์การ เพื่ อ ให้ ค วามมั่น ใจอย่ า งสมเหตุ ส มผลว่ า กิ จ การจะบรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ และเป้ าหมายในเรื่ อ ง ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการดาเนินงาน ความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน และการ ปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารของกิจการจะเป็นผู้กาหนดวิธีการควบคุม ภายใน เพื่อให้กิจการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการเนินธุรกิจ การควบคุมภายในยังช่วย ป้องกันความเสี่ยง หรือผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการอีกด้วย ความหมายของการควบคุมภายใน American Institute of CPAs (อ้างอิงใน เกล็ดนที สสิกาญจน์ , 2540: 2) ได้ให้ความหมาย ของการควบคุ ม ภายใน หมายถึ ง แผนจั ด แบ่ ง ส่ ว นงาน วิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ง านที่ ป ระสานกั น และ มาตรการต่างๆ ที่ถือปฏิบัติในกิจการ เพื่อดูแลรักษาทรัพย์สิน ตรวจสอบความถูกต้อง และเชื่อถือได้ ของข้อมูลทางบัญชี เพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินงาน และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามนโยบายที่ ผู้บริหารได้วางไว้ เจริญ เจษฎาวัลย์ (ม.ป.ป. : 64) ได้ให้ความหมายของการควบคุมภายใน หมายถึง การ ควบคุมการดาเนินกิจกรรมทั้งมวลขององค์การต่างๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือลดความเสี่ยงนั้น ในยุคปัจจุบันมักนิยมมุ่งเน้นหนักไปในเรื่อ งที่เกี่ยวกับนโยบาย ระเบียบปฏิบัติงาน และวิธีการ ควบคุมบังคับให้มีการปฏิบัติตามนโยบาย และระเบียบปฏิบัติที่กาหนด พยอม สิงเสน่ห์ (2544: 6-2) ได้ให้ความหมายของการควบคุมภายใน หมายถึง นโยบาย และวิธีการที่ได้วางไว้สาหรับปฏิบัติในกิจการ เพื่อ ที่จะได้รับความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า กิจการจะสามารถดาเนินการให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ สานัก งานการตรวจเงิ นแผ่น ดิน (2544: 1) ได้ ให้ ความหมายของการควบคุ มภายใน หมายถึง กระบวนการที่ผู้กากับดูแลฝ่ายบริหาร และบุคลากรของหน่วยรับตรวจกาหนดให้มีขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดาเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ วางไว้


42 สมพงษ์ พรอุปถัมภ์ (2545: 52) ได้ให้ความหมายของการควบคุมภายใน หมายถึง แผน วิธีการ และมาตรการต่ างๆ ที่ฝ่ายบริหารนามาใช้ในกิจการเพื่อ ให้การดาเนินธุรกิ จเป็นไปตาม นโยบายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน และดูแลทรัพย์สินจากการทุจริต หรือใช้งานอย่าง ไม่เหมาะสม เพื่อให้ข้อมูล ทางบัญชี และการเงินเชื่อ ถือ ได้ และสามารถค้นพบข้อ ผิดพลาดได้ ทันเวลา อุษณา ภัทรมนตรี (2547: 5-3) ได้ให้ความหมายของการควบคุมภายใน คือ กระบวนการ ปฏิบัติงานที่ทุกคนในองค์การตั้งแต่คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารทุกระดับ และพนักงานทุกคนมี บทบาทความรั บ ผิ ด ชอบร่ ว มกั น การควบคุ ม ภายในก าหนดขึ้ น เพื่ อ สร้ า งความมั่ น ใจอย่ า ง สมเหตุสมผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ เมตตา ศรีโพธิ์ชัย (2547: 74) ได้ให้ความหมายของการควบคุมภายใน หมายถึง การจัด โครงสร้ า งขององค์ ก ร การจั ด แบ่ ง ส่ ว นงาน การก าหนดหน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบ และวิ ธี ก าร ปฏิบัติงานให้ประสานสัมพันธ์กัน โดยสามารถควบคุมตรวจสอบยืนยันซึ่งกันและกันได้ เพื่อให้ การดาเนินงานบรรลุตามเป้าหมายองค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย (2548: 27) ได้ให้ความหมายของการควบคุมภายใน หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอนการทางานที่เป็นผล มาจากการออกแบบโดยคณะกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคลากรอื่นๆ ขององค์กร เพื่อก่อให้เกิดความ มั่นใจได้อย่างสมเหตุสมผลว่า องค์กรจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ได้ มัลลิกา ต้นสอน และอดิศักดิ์ พันธุ์หอม (2545: 55-57) ได้ให้ความหมายของการควบคุม หมายใน หมายถึง การบริหารจะครบวงจรหรือสมบูรณ์ที่สุดหากมีการควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน ตามแผนงานของผู้ ร่ ว มงานอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และสม่ าเสมอ เนื่ อ งจากการควบคุ ม ดู แ ลเป็ น การ ตรวจสอบ ติดตาม การรายงาน การวัด และประเมินผล ซึ่งจะนาเข้าสู่วงจรของการวางแผนใน ลักษณะการปรับปรุง สรุปแล้ว การควบคุมภายใน หมายถึง เครื่อ งมือ ชนิดหนึ่งที่ฝ่ายบริหารขององค์กรนั้นๆ นามาใช้เพื่อลดความสูญเสียหรือข้อผิดพลาดที่ ไม่ต้องการจะให้เกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพ


43 และประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน ความเชื่อถือ ได้ของรายงานการเงินการบัญชี และการปฏิบัติ ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง แนวคิดพื้นฐานของการควบคุมภายใน การควบคุมภายในมีแนวคิดพื้นฐานที่สาคัญ ดังนี้ 1. ความรับผิดชอบของผู้บริหาร การจัดให้มีระบบการควบคุมภายในเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหาร เพื่อช่วยให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่จะทาให้เกิดความมั่นใจเท่าที่จะสามารถทาได้ว่า การดาเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมี ระเบียบและมีประสิทธิภาพ 2. ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล ในการจัด ให้ มีร ะบบการควบคุม ภายในย่ อ มมี ต้น ทุน เกิ ดขึ้ น เช่ น จ้ างพนั กงานเพิ่ มขึ้ น เพื่ อ ให้ มี ก ารแบ่ ง แยกหน้ า ที่ กั น ท าอย่ า งเหมาะสม หรื อ ออกแบบระบบเอกสารและคู่ มื อ การ ปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรมีความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า ต้นทุนของการควบคุมภายในต้องไม่สูง กว่าประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดให้มีระบบการควบคุมภายในนั้น 3. ข้อจากัดสืบเนื่องตาลักษณะของการควบคุมภายใน การควบคุมภายในถึงแม้จะมีการออกแบบไว้อย่างดีแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถให้ข้อสรุป แก่ผู้บริหารว่าระบบการควบคุมภายในได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว เนื่องจากการควบคุมภายในมี ข้อ จากัดสืบเนื่องภายในตัวเอง เช่น โอกาสที่จะเกิดข้อ ผิดพลาดจากบุคลากร เนื่องจากความไม่ ระมัดระวังพลั้งเผลอ การใช้ดุลยพินิจผิดพลาด หรือไม่เข้าใจคาสั่ง โอกาสที่จะเกิดการหลีกเลี่ยงขั้น ตอของการควบคุมภายในโดยผู้บริหาร หรือโอกาสที่บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมภายในใช้ อานาจนั้นในทางที่ผิด เป็นต้น


44 ประเภทของการควบคุมภายใน 1. ระบบการควบคุมภายในทางการบัญชี (Internal Accounting Control) ระบบการควบคุมภายในทางการบัญชี หมายถึง การจัดองค์การ และกระบวนวิธีปฏิบัติงาน และการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพิทักษ์รักษาทรัพย์สิน และความเชื่อถือได้ของข้อมูล ทางการบัญชี การควบคุมดังกล่าวกาหนดขึ้นมาเพื่อให้เป็นมั่นใจว่า 1.1 รายการต่างๆ ได้มีการดาเนินการโดยมีการอนุมัติถูกต้อง 1.2 รายการต่างๆ ได้มีการบันทึกไว้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการบัญชีที่ รับรองกันทั่วไป 1.3 การเข้าไปใช้ทรัพย์สินต่างๆ จะต้องได้รับคายินยอมโดยผู้บริหารที่มีอานาจอนุมัติ 1.4 การบันทึกบัญชีทรัพย์สินจะต้องบันทึกไว้อย่างครบถ้วน และตัวทรัพย์สินจะต้องมี อยู่จริง หากเกิดมีข้อแตกต่างใดๆ เกิดขึ้นก็ต้องมีมาตรการที่เหมาะสม เพื่อดาเนินการกับข้อผิดแผก แตกต่างเหล่านั้น กล่าวโดยสรุปคือ ในส่วนที่เป็นเรื่องของการควบคุมทางการบัญชีนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวข้อง กับการบันทึกบัญชี การได้มาหรือการใช้ไปของทรัพย์สินจะต้องมีการอนุมัติโดยผู้มีอานาจอย่าง ถูกต้อง 2. ระบบการควบคุมทางการบริหาร (Administrative or Management Control) ระบบการควบคุมภายในทางการบริ หาร เป็นเรื่อ งที่ ค่อ นข้ างจะกว้างขวางมาก โดยจะ รวมทั้งเรื่องของการจัดองค์การ และกระบวนการวิธีปฏิบัติงาน และการบันทึกรายการต่างๆ ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ กระบวนการตั ด สิ น ใจของฝ่ า ยบริ ห ารในการตั ด สิ น ใจอนุ มั ติ หรื อ ไม่ อ นุ มั ติ ใ ห้ ดาเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลจากการอนุมัติของฝ่ายบริหารนั้นจะเป็นเรื่องต่อเนื่องให้เกิดเป็น จุดเริ่มต้นของการควบคุมทางการบัญชี


45 วิธีการที่จะนามาใช้เพื่อให้ระบบการควบคุมภายในทั้ง 2 ประเภท เป็นระบบการควบคุมที่ดี มีประสิทธิภาพ มีวิธีการอยู่ 2 วิธี คือ 1. การป้องกัน มีหลักการ คือ การสร้างระบบการควบคุมที่ดี และเหมาะสมสอดแทรกไว้ ในกระบวนการดาเนินงานต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริต หรือการปฏิบัติงานที่ผิดพลาดไป จากเป้าหมายที่กาหนด 2. การติดตาม การควบคุมที่ดีต้องมีการติดตามที่ดีด้วย และการติดตามที่ดีจะเป็นเครื่องมือ สาคัญที่สุดสาหรับนักบริหารที่จะให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่ควบคุมงานแทนตน ได้มีการปฏิบัติตามหน้าที่ และความรับผิดชอบตามระบบที่กาหนดไว้ หน้าที่ของการควบคุมภายใน ถ้าจะกล่าวถึงหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายใน อาจสรุปได้ 7 ประการ ดังนี้ 1. การดูแลตรวจตรา (Supervision) หมายถึง วิธีการที่ใช้เพื่อดูแลสินทรัพย์ของกิจการ เช่น มาตรการในการตรวจนับสินค้าคงเหลือ การตรวจนับสินทรัพย์ถาวร การควบคุมการรับชาระหนี้ ทางไปรษณีย์ เป็นต้น 2. การพิสูจน์ความถูกต้อง (Clerical Proof) หมายถึง วิธีการที่กาหนดให้สามารถพิสูจน์ ความถูกต้องของข้อมูลที่เป็นจานวนตัวเลข วิธีการพิสูจน์ความถูกต้อ งเป็นการวางระบบให้การ ทางานในหน้าที่ต่างๆ สามารถทาโดยเป็นอิสระต่อกัน แต่นาผลงานที่ได้มาสอบยันกันได้ เช่น การ ใช้บัญชีคุมยอดและบัญชีย่อย เป็นต้น 3. การแจ้งผลการปฏิบัติงาน (Acknowledging Performance) หมายถึง หน้าที่รายงานผล การปฏิบัติงานแก่ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นต่อไปได้ เช่น ระบบการ จัดทารายงานหรืองบประมาณ เพื่อประโยชน์ทางด้านการวางแผน และควบคุม การจัดทารายงาน การรับสินค้า รายงานการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ เป็นต้น


46 4. การโอนความรับผิดชอบ (Transferring Responsibility) หมายถึง หน้าที่ซึ่งกาหนดความ รับผิดชอบของพนักงาน เมื่อพนักงานได้ปฏิบัติงานในส่วนของตนเสร็จสิ้นแล้วก็จะมี การโอนหรือ ส่งอบงานให้พนั กงานอื่ น เพื่อปฏิบัติงานต่อ ไป การส่ง มอบงานควรท าเป็นกิจ จะลักษณะ เพื่ อ แบ่งแยกความรับผิดชอบ เช่น พนักงานเก็บเงินจัดทารายงานการเก็บเงินประจาวัน พร้อมทั้งส่งมอบ เช็ค และเงินที่เก็บได้มอบให้กับแคชเชียร์ เพื่อนาฝากธนาคารต่อไป 5. มาตรการการป้องกัน (Protective Measure) หมายถึง หน้าที่หรือมาตรการที่กาหนดขั้น เพื่อ ให้เกิดความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของกิจการ เช่น การใช้ตู้นิรภัยเก็บทรัพย์สินที่มีค่า การติด สัญญาณป้องกันขโมยการใช้เครื่องรับเงินสด การจัดให้มีเวรยาม เป็นต้น 6. การทบทวน (Review) หมายถึง หน้าที่ซึ่งกาหนดขึ้น เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการ ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจทาได้ 2 ลักษณะ คือ 6.1 การทบทวนก่อน (Pre-review) เป็นการช่วยป้องกัน หรือยุติการกระทาที่ผิดพลาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เช่น การจาหน่ายสินทรัพย์ถาวรโดยไม่ได้รับอนุมั ติจากผู้มี อานาจ การควบคุมภายในจึงก าหนดให้มี การทบทวนก่อ นที่รายการสาคัญ จะเกิ ดขึ้น เช่น การ ตรวจสอบความถูกต้องของการรับสินค้า การอนุมัติในใบสาคัญจ่ายก่อนที่จะมีการจ่ายชาระ การ อนุมัติการนาสินค้าออกจากคลังสินค้า เป็นต้น 6.2 การทบทวนภายหลัง (Post-review) เป็นการสอบทาน หรือทบทวนงานที่ได้ปฏิบัติ ไปแล้ว เช่น การสอบทานงบกระทบยอดเงินฝากธนาคารโดยสมุห์บัญชี การจัดให้มีการตรวจสอบ ภายใน การสอบทานผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้แน่ใจว่าการดาเนินงานเป็นไปตามนโยบายที่กาหนด ไว้ 7. การสอบทานและการประเมินผล (Verification and Evaluation) หมายถึง หน้าที่ซึ่งจะ ช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่นั้นเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ การสอบ ทาน และประเมินผลควรทาอย่างอิสระ โดยผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดให้มีระบบการควบคุม ภายในนั้น การตรวจสอบภายในถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการสอบทานการติดตาม และประเมินผล


47 วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในมีอยู่ 5 ประการ ดังนี้ 1. เพื่อให้ข้อมูลมีการบันทึกอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้ 2. เพื่ อ ให้พ นั ก งานปฏิบั ติ ง านตามนโยบาย แผนงาน ขั้ น ตอน กฎหมาย และระเบี ย บ ข้อบังคับ 3. ป้องกันรักษาทรัพย์สินขององค์กรให้พ้นจากการทุจริตหรือสูญหาย 4. ให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด 5. ให้พนักงานปฏิบัติงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายองค์กร แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างการควบคุมภายในตามแนว COSO ตามรายงานของ COSO โครงสร้างการควบคุมภายในต้อ งมีอ งค์ประกอบการควบคุ ม (Component) ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment) 2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) 3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) 4. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication) 5. การประเมินติดตามผล (Monitoring)


48 องค์ประกอบการควบคุม 5 ประการ ตามแนว COSO อธิบายได้ ดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม องค์ ป ระกอบด้ านสภาพแวดล้ อ ม เป็ นองค์ ป ระกอบเกี่ย วกั บ การสร้ างความตระหนั ก (Control Consciousness) และบรรยากาศ (Atmosphere) ของการควบคุมในองค์การ ให้คนของ องค์การเกิดจิตสานึกที่ดีในการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบ ซึ่ง COSO ถือเป็นองค์ประกอบแรก และส าคั ญ ที่ สุด โดยเน้ น การสร้า งบรรยากาศโดยผู้ บ ริห ารระดั บ สู ง ซึ่ ง มีอิ ท ธิ พลส าคัญ ยิ่ ง ต่ อ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมของการควบคุมภายในองค์การนั้น ถ้ากิจการมีบุคลากรดีก็จะเป็น พื้นฐานที่ดี และเป็นแกนจักรกลสาคัญในการผลักดันสิ่งดีอื่นๆ ให้เกิดขึ้นภายในกิจการ COSO ระบุองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมหลายประการ ตัวอย่างเช่น 1.1 ความซื่อสัตย์และจริยธรรม (Integrity and Ethical Values) ผู้บริหารควรแจ้งให้ พนักงานทุกคนทราบว่า การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และมีจริยธรรมมีความสาคัญยิ่ง และไม่ ยินยอมให้มีการต่อรอง หรือผ่อนปรนในเรื่องนี้ โดยผู้บริหารควรจะ 1.1.1 ทาตัวให้เป็นตัวอย่างอย่างสม่าเสมอทั้งโดยคาพูด และการกระทา 1.1.2 สื่อสาร และแจ้งให้พนักงานทุกคนทราบ และเข้าใจดีในหลักการเช่นนั้น 1.1.3 จัดทาข้อกาหนดด้านจริยธรรม หรือแนวทางที่พึงปฏิบัติต่อองค์การ ลูกค้าผู้ ติดต่อฯไว้ให้ชัดเจน โดยเฉพาะกรณีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 1.1.4 ลดวิธีการ หรือแรงจูงใจที่เปิดโอกาส หรือส่งเสริมให้เกิดการกระทาผิด 1.2 ความรู้ทั กษะและความสามารถของบุ คลากร (Commitment to Competence) ผู้บริหารควรกาหนดระดับของความรู้ ความสามารถที่จาเป็นสาหรับการปฏิบัติงานแต่ละงาน ระดับ ความรู้ความสามารถที่กาหนดขึ้นนั้น ควรแบ่งเป็นข้อกาหนดด้านพื้นความรู้ทางการศึกษา และหรือ ประสบการณ์ความชานาญในการปฏิบัติงาน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาบรรจุแต่งตั้งพนักงาน ให้เหมาะสมกับหน้ าที่ และความรับ ผิดชอบ เครื่ อ งมื อ สาคั ญในการนี้อ ย่างหนึ่ง คื อ การจัดท า เอกสารกาหนดลักษณะงาน (Job Description) และคุณสมบัติที่ต้องการในแต่ละตาแหน่งงาน


49 1.3 คณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการตรวจสอบ (Board of Directors or Audit Committee) คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบ COSO เน้นว่าฝ่ายบริหารระดับสูง มีบทบาทสาคัญยิ่งในการสร้างบรรยากาศการควบคุมของกิจการ ส่วนคณะกรรมการตรวจสอบเป็น คณะบุคคลสาคัญที่ทาหน้าที่ส่งเสริมบรรยากาศของการควบคุม โดยเฉพาะการส่งเสริมให้การ ตรวจสอบทั้งการตรวจสอบภายใน และการสอบบัญชีเป็นไปโดยอิสระ และได้มาตรฐานของการ ปฏิบัติงาน นอกจากนี้สาหรับคณะกรรมการตรวจสอบยังต้องพิจารณาปัจจัยเกี่ยวกับความเป็นอิสระ ของคณะกรรมการตรวจสอบจากฝ่ายบริหาร ความรู้ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระดับ ความเกี่ยวข้อง และคาถามที่ถามฝ่ายบริหาร รวมทั้งกิจกรรมความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชี 1.4 ปรั ช ญาและสไตล์ ก ารท างานของผู้ บ ริ ห าร (Management Philosophy and Operating Styles) ความแตกต่างในแนวความคิด และวิธีการทางานของนักบริหารย่อมมีผลสาคัญ ต่อการควบคุมภายในขององค์การ เพราะผู้บริหารมีหน้าที่โดยตรงในการจัดให้มีนโยบาย มาตรการ และวิธีการควบคุมภายในที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ รวมทั้งต้องรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น ปรัชญา และสไตล์การทางานของผู้บริหารอาจขึ้นอยู่กับรูปแบบโครงสร้างของกิจการ เช่น เป็น เครือข่ายต่างประเทศ หรือเป็นกิจการภายในประเทศ เป็นกิจการที่มีสาขาหรือไม่มีสาขา รวมถึงเป็น กิจการขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ เป็นต้น องค์ประกอบนี้ยังพิจารณาถึงทัศนคติของฝ่ายบริหารที่มีต่อการเลือกนโยบายการบัญชี ความระมัดระวังในการกาหนดประมาณการทางบัญชี และทัศนคติที่มีต่อการบัญชี การประมวลผล และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี 1.5 โครงสร้างการจัดองค์การ (Organizational Structure) โครงสร้างขององค์การที่ ได้รับการจัดไว้ดีย่อมเป็นพื้นฐานสาคัญที่ทาให้ผู้บริหารสามารถวางแผน สั่งการ และควบคุมการ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยการจัดโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม กับลักษณะขององค์การธุรกิจนั้น เช่น 1.5.1 การรวมศูนย์อานาจ หรือ กระจายศูนย์อานาจการตัดสินใจในระดับต่างๆ หากกิจการเลือกใช้การรวมศูนย์อานาจในการตัดสินใจ คุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้ได้รับอานาจย่อมมี


50 ความสาคัญ ในขณะที่หากเลือกวิธีกระจายศูนย์อานาจการตัดสินใจ ระบบและขั้นตอนการทางาน รวมถึงกระบวนการในการติดตามผลย่อมมีความสาคัญมากกว่าคุณสมบัติของตัวบุคคล 1.6 วิธีมอบอานาจและความรับผิดชอบ (Assignment of Authority and Responsibility) การมอบอานาจต้องให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน บุคลากรทุกคนผู้ปฏิบัติ หน้าที่ด้านต่างๆ จาเป็นต้องเข้าใจชัดเจนถึงกรอบขอบเขตแห่งอานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ของตน ทั้งยังควรทราบว่างานของตนสัมพันธ์กับงานของผู้อื่นอย่างไร โดยอาจใช้วิธีการ ดังนี้ 1.6.1 การจัดทาเอกสารกาหนดลักษณะงาน (Job Description) ของพนักงานทุก ระดับไว้อย่างชัดเจน เป็นแนวทางสาหรับอ้างอิงในการปฏิบัติงาน ป้องกันมิให้เกิดความซ้าซ้อ น หรือการละเว้นการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง 1.6.2 การจัดทาเอกสารคู่มือระบบงาน (System Documentation) สาหรับงานที่มี ความซับซ้อนหรือต้องใช้เทคโนโลยีสูง หรือลงทุนด้วยเงินจานวนมาก เช่น ระบบงานคอมพิ วเตอร์ เพราะหากไม่มีเอกสารคู่มือระบบงานแล้วจะทาให้กิจการมีความเสี่ยงสูงหากผู้รู้ลาออก หรือถูก ประมูลซื้อตัวไปทางานที่อื่น 1.6.3 การกาหนดแนวการปฏิบัติที่ดี (Best Practices) รวมทั้งการกาหนดความรู้ และความช านาญพิ เ ศษที่ พ นั ก งานในระดั บ ส าคั ญ ควรมี ต ามหน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบในแต่ ล ะ ตาแหน่งด้วย 1.7 นโยบายและวิธีบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Policy and Practices) เนื่องจากคนเป็นปัจจัยสาคัญ และมีอิทธิพลที่สุดต่อการปฏิบัติงานทุกด้านรวมทั้งต่อ ประสิทธิผลของการควบคุมภายใน ซึ่งกระทบอย่างมากด้วยพฤติกรรม และอุปนิสัยของบุคลากรใน องค์ ก าร ดั ง นั้ น ฝ่ า ยบริ ห ารควรก าหนดนโยบาย และวิ ธี ป ฏิ บั ติ ใ นส่ ว นที่ เ กี่ ย วกั บ การบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ เช่น 1.7.1 การว่าจ้าง การพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อ นชั้นเลื่อ น ตาแหน่ง และการจ่ายค่าตอบแทน และผลประโยชน์อื่น


51 1.7.2 การประกันความซื่อ สัตย์ ของพนั กงาน เพื่อ ลดความเสีย หายที่กิ จการจะ ได้รับเนื่องมาจากความไม่ซื่อสัตย์สุจริตของพนักงาน 1.7.3 การกาหนดแนวการปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการขัดแย้งของผลประโยชน์ 2. การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง ความเสี่ยง คือ เหตุการณ์ไ ม่พึงประสงค์ที่ทาให้งานไม่ประสบ ความสาเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กาหนดไว้ ซึ่งธุรกิจในยุคความเสี่ยงกาลังเผชิญหน้าอยู่ การประเมินความเสี่ยงจึงเป็นเครื่องมือทางการบริหารที่นิยมในปัจจุบัน ที่ผู้บริหารใช้ในการระบุ วิเคราะห์ วัดระดับความเสี่ยงที่ประสบ รวมทั้งการจัดการบริหารความเสี่ยง เช่น การกาหนดวิธีการ ควบคุม และลดผลกระทบของความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า ขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยง ได้แก่ 2.1 การกาหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) วัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายของกิจการ แบ่งเป็นระดับใหญ่ๆ ได้ 2 ระดับ คือ ระดับกิจการ (Entity Level) และระดับกิจกรรม (Activity Level) วัตถุประสงค์ระดับกิจการย่อมสัมพันธ์ และเป็นเป้าหมายของวัตถุประสงค์ระดับกิจกรรมที่ เกี่ ย วข้ อ งในระดั บ รองลงมา การก าหนดเป้ า หมายที่ ดี ที่ ชั ด เจน จะเป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ท าให้ วั ด ความส าเร็ จ ของการปฏิบั ติ ง านในแต่ ละระดั บ ได้ และท าให้ มั่น ใจว่ า ไม่ มี วั ตถุ ป ระสงค์ หรื อ เป้าหมายที่ขัดแย้งกัน การกาหนดเป้าหมายในแนว COSO จะเน้นเป้าหมายที่เป็นปัจจัยความสาเร็จ ที่สาคัญ (Key Success Factors) หรือการใช้ดัชนีวัดผลการปฏิบัติงานที่สาคัญ (Key Performance Indicators) 2.2 การระบุปัจจัยความเสี่ยง (Risk Identification) ความเสี่ยงของกิจการมีสาเหตุปัจจัย ทั้งจากภายในกิจการ และภายนอกกิจการ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าอาจหันไปใช้บริการจากบริษัทคู่แข่ง เพราะได้เสนอวิธีการใหม่ที่ลูกค้าพอใจ ทั้งที่วิธีการให้บริการของเรายังคงมีมาตรฐานเหมือนเดิม ปัจจัยความเสี่ยงแต่ละชนิดมีผลกระทบไม่เท่าเทียมกัน เช่น ปัจจัยความเสี่ยงบางชนิดมี ผลกระทบต่อความสาเร็จในระดับกิจการ (Entity Level) บางชนิดมีผลกระทบในระดับกิจกรรม


52 (Activity Level) นอกจากนั้นบางชนิดเป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งผู้บริหารต้องติดตาม ศึกษาความเสี่ยง และสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงสาคัญที่จะเกิดขึ้น แต่บางชนิดเป็นปัจจัยภายใน ที่ควบคุมได้ 2.2.1 ตัวอย่างปัจจัยความเสี่ยงภายนอก ได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (2) ลูกค้าเปลี่ยนรสนิยมหรือความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการ (3) การแข่งขันทางการตลาดทั้งสินค้าและบริการ (4) กฎหมายและระเบียบข้อบังคับใหม่ (5) สภาวะทางเศรษฐศาสตร์ 2.2.2 ตัวอย่างปัจจัยความเสี่ยงภายใน ได้แก่ (1) ข้อขัดข้องทางกิจกรรมประมวลผลที่มีผลเสียร้ายแรงต่อการปฏิบัติงาน คุณภาพ และความสามารถของพนักงาน รวมทั้งนโยบายเกี่ยวกับการบริหารบุคลากรของกิจการ (2) การเปลี่ ย นฝ่ า ยบริ ห ารการคั ด เลื อ กคณะกรรมการบริ ห าร และ คณะกรรมการตรวจสอบที่ไม่เหมาะสม ทาให้ได้ผู้ที่ไม่มีคุณภาพมากากับดูแลงาน ความเสี่ยงในระดับกิจกรรม หมายถึง ความเสี่ยงในระดับรองลงมาจากระดับกิจการ เป็น ความเสี่ยงในระดับกระบวนการปฏิบัติการ สาขา และหน่วยงานต่างๆ ที่อาจทาให้การปฏิบัติงานไม่ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เช่น ในกระบวนการจัดหาอาจมีวัตถุประสงค์ในการมีสินค้าคงเหลือ ที่ พอดี แต่ความเสี่ยงอาจเกิดจากการสั่งซื้อที่ไม่ตรงตามความต้องการใช้งาน หรือไม่ตรงเวลา หรือ จานวนมากไป และสาเหตุอาจเกิดจากการไม่มีการควบคุมที่ดี เช่น ไม่มีการวางแผนการจัดหา การ ขาดการประสานงานระหว่างฝ่ายจัดหากับผู้ขาย


53 ความเสี่ยงในระดับกิจกรรมจึงมีหลายประการ บางประการอาจเห็นเด่นชัด หรือเกิดขึ้น บ่อย แต่บางประการอาจซ่อนเร้นอยู่ ผู้ประเมินความเสี่ยงจึงต้องใช้ดุลยพินิจที่ระบุปัจจัยความเสี่ยง ที่สาคัญในระดับกิจกรรมอย่างรอบคอบ 2.3 การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) หมายถึง การประเมินระดับความสาคัญ ของความเสี่ยง (Significant of Risk) การกาหนดโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หรือ ความถี่ (Frequency) ที่จะเกิดการพิจารณาวิธีการที่จะจัดการกับความเสี่ยงที่มีความสาคัญ หรือมีโอกาสจะ เกิดสูง เทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยงมีหลายวิธี ซึ่งผู้บริหารอาจต้องเลือกใช้อย่างมีดุลยพินิจ และ รอบคอบ เช่น การวิเคราะห์อย่างง่าย การใช้คะแนนถ่วงน้าหนัก การพิจารณาทั้งจากผลกระทบ และ โอกาสที่จ ะเกิ ด ฯลฯ โดยอาจประชุ มหาวิธี การ และผลที่ไ ด้จ ากผู้ บริ หาร และผู้เ กี่ยวข้อ ง การ วิเคราะห์อาจกาหนดระดับคะแนน เช่น 1-2-3 แทนระดับความสาคัญน้อย ปานกลาง หรือสาคัญก็ ได้ 2.4 การบริหารความเสี่ยงหรือความเปลี่ยนแปลง (Risk or Change Management) เป็น สิ่งที่ผู้บริหารยุคปัจจุบันต้ องให้ความสนใจ เพราะอาจมีผลกระทบต่อ กิจ การอย่างร้ายแรง เช่ น ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับ 2.4.1 การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเกิดจากสภาวะความ กดดันทางเศรษฐกิจ กฎหมาย 2.4.2 ผู้ บ ริ ห ารใหม่ พนั ก งานใหม่ ความไม่ คุ้ น เคย และไม่ เ ข้ า ใจกั น อาจมี ผลกระทบต่อผลงาน และการควบคุม 2.4.3 ระบบงานใหม่ เทคโนโลยีใหม่ 2.4.4 สายการผลิตใหม่ สินค้าและบริการใหม่ 2.4.5 การปรับโครงสร้างองค์การ 2.4.6 การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว


54 2.4.7 การค้าระหว่างประเทศ นอกเหนือจากการจัดระบบการควบคุมให้เหมาะสมตามจุดที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว วิธีการ บริหารความเสี่ยง และความเปลี่ยนแปลงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ (1) การกระจายความเสี่ยง (Diversify the Risk) ได้แก่ การกระจายความ เสี่ยงออกไปในหลายกิจกรรม (2) การแบ่งความเสี่ยง (Share the Risk) ได้แก่ การหาผู้รับผิดชอบร่วมใน ความเสี่ยง หรือการจัดประกันภัย และ (3) การกาหนดแผนสารองในเหตุฉุกเฉิน (Contingency Planning) ได้แก่ การกาหนดแผนการล่วงหน้าในเหตุร้ายที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว (Known Risk) การกาจัดความเสี่ยงให้หมดไปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากอย่างยิ่ง หรือเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้น ที่ดีที่สุดก็คือพยายามลดความเสี่ยงให้น้อ ยลงจนอยู่ในระดับที่ผู้บริหารกาหนดขึ้นว่าอยู่ใน ระดั บ ที่ ย อมรั บ ได้ ผู้ บ ริ ห ารที่ ใ ห้ ค วามส าคั ญ กั บ การประเมิ น ความเสี่ ย งอย่ า งสม่ าเสมอ และ ปรับ เปลี่ ยนมาตรการควบคุ มภายในให้ มีค วามสัมพั นธ์ เหมาะสมกั บความเสี่ย งที่เ ปลี่ ยนไปอยู่ ตลอดเวลา ย่อมถือได้ว่าปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารอย่างเหมาะสม และถือเป็นองค์ประกอบสาคัญอย่าง หนึ่งของการควบคุมภายใน สาหรับแนวการตรวจสอบปัจจุบันจะเน้นการตรวจสอบแบบประเมินผลความเสี่ยง เพื่อให้ ผู้ตรวจสอบทราบจุดสาคัญที่ตนควรตรวจ และวางแผนจัดสรรเวลา และวิธีการตรวจให้ถูกต้อง การ ประเมินความเสี่ยงจะลดความเสี่ยงในการตรวจสอบ (Audit Risk) ซึ่งหมายถึง การแสดงความเห็น หรือรายงานผลการตรวจผิดพลาด 3. กิจกรรมการควบคุม องค์ประกอบที่ 3 ของการควบคุมภายใน คือ กิจกรรมการควบคุม หมายถึง การกระทา (Action) ที่สนับหนุนการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามนโยบาย วิธีปฏิบัติงาน และคาสั่งต่างๆ ที่ฝ่าย


55 บริหารกาหนด ซึ่งเมื่อกระทาอย่างถูกต้อ ง ภายในเวลาที่เหมาะสมแล้ว ควรเพิ่มความมั่นใจใน ความสาเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กาหนด หรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ กิจ กรรมการควบคุ มที่ ดี ต้อ งแฝง หรือ แทรกอยู่ ใ นกิ จกรรมการท างานตามปกติ ไม่ ใ ช่ กิจกรรมที่ต้องทาเป็นพิเศษ หรือเป็นภาระเกิดจาเป็น (Build-in not Build-on) และจะมีมากหรือน้อย เพียงไรควรขึ้นอยู่กับความสาคัญ และผลการประเมินความเสี่ยงที่กล่าวมาแล้ว แต่ควรเพียงพอที่ทา ให้ผู้บริหารควบคุมการทางานนั้นได้ โดยภาพรวมกิจกรรมควบคุม หมายรวมถึง การให้ความเห็นชอบ (Approvals) การอนุมัติ (Authorization) การสอบยัน (Verification) การกระทบยอด (Reconciliation) การสอบทานผลงาน (Review of Performance) การรักษาความปลอดภัย (Security of Assets) การแบ่งแยกหน้าที่ (Segregation of Duties) และการควบคุมระบบสารสนเทศ (Controls over Information Systems) ซึ่ง ผู้บริหารควรกาหนด และออกแบบการควบคุมที่ดี โดยการแฝงแทรกลงเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของ กิจกรรมปฏิบัติงานจริง เพื่อไม่ให้เป็นภาระกิจกรรมส่วนเกิน แต่เป็นกิจกรรมที่ช่วยการบรรลุตาม วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของกิจการ ตัวอย่างกิจกรรมการควบคุมที่ระบุในรายงาน COSO และควรพิจารณานาไปออกแบบเป็น ระบบควบคุมภายในให้เหมาะสมกับแต่ละกิจการ เช่น 3.1 การกาหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติงานที่ชัดเจน (Policies and Procedures) เป็น หน้าที่ที่ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้นาในการจัดทานโยบาย แผนงานรวมตลอดถึงงบประมาณ และ ประมาณการในระดับองค์การเพื่อใช้เป็นเครื่อ งมือในการติดตาม และประเมินผลต่อไป ส่วนวิธี ปฏิบัติงาน หมายถึง การกาหนดวิธีปฏิบัติงานในรายละเอียดโดยผู้บริหารระดับรองลงมาในการ ดาเนิ นงานด้ านต่า งๆ ให้ รองรั บ หรือ เป็ น ไปตามนโยบาย หรื อ แผนงานระดับ องค์ การ ดัง นั้ น นโยบาย แผนงาน งบประมาณ และประมาณการต่างๆ ที่ดี จึงควรระบุผลงานที่คาดหมายไว้อย่าง ชัดเจน ทั้งในรูปจานวน และระยะเวลาเพื่อ ให้การติดตามและประเมินผลในขั้นตอนต่อไปทาได้ โดยมีข้อสรุปผลการประเมินที่ชัดเจนไม่ครุมเครือ 3.2 การสอบทานโดยผู้บริหารสูงสุด (Top Management Review) หมายถึง กิจกรรม การควบคุมที่ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ใช้ เช่น การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างผลการปฏิบัติงาน


56 จริงกับแผนงาน งบประมาณ หรือประมาณการ ซึ่งได้จัดทาหรือกาหนดขึ้นไว้เป็นการล่วงหน้า การ สอบทานโดยผู้บริหารสูงสุดเป็นการสอบทาน เพื่อ ให้เห็นภาพรวมว่าการดาเนินงานนั้นมีปัญหา ใหญ่ๆ ด้านใดบ้าง รวมทั้งการสอบทานโดยเปรียบเทียบกับข้อ มูลของคู่แข่ง เพื่อช่วยให้ผู้บริหาร สูงสุดได้ทราบระดับ และทิศทางของการแข่งขัน และเตรียมรับสถานการณ์ในอนาคตได้ถูกต้อ ง มากขึ้น 3.3 การสอบทานโดยผู้ บ ริห ารระดับ สายงาน (Functional Management Review) ผู้บริหารระดับสายงานในที่นี้ หมายถึง ผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านใดด้านหนึ่งภายใน องค์การ เช่น การจัดหา การผลิต การขาย การเงิน การบัญชี เป็นต้น ซึ่ งเป็นการสอบทานตามสาย การบังคับบัญชาในหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบโดยวิธีต่างๆ เช่น 3.3.1 การสอบทานผลงานจริงกับแผนงานหรือเป้าหมายในด้านที่ตนรับผิดชอบ 3.3.2 การสอบทานวิธีการปฏิบัติงานจริงกับระเบียบที่กาหนด 3.3.3 การสอบทานกับสถิติผลงานปฏิบัติงานในอดีต 3.3.4 การสอบทานโดยผู้บริหารระดับกลาง ควรกระทาบ่อยครั้งมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของความเสี่ยงของงาน เช่น กรณีของธนาคาร หรือสถาบันการเงินซึ่งระดับ ความเสี่ยงค่อนข้างสูง บางครั้งอาจต้องมีการสอบทานเป็นประจาทุกวันหรือทุกสัปดาห์ 3.4 การควบคุมการประมวลผลข้อมูล (Control over Information Processing) ข้อมูลมี ความหมายรวมถึงทั้งข้อมูลทางการบัญชี และข้อมูลสาคัญอื่น กิจกรรมควบคุมการประมวลข้อมูลที่ ดี ทาให้ได้สารสนเทศส าหรับการบริหาร ที่มีค วามถูกต้อ ง กะทัดรัด สมบูรณ์ ทันเวลา และให้ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องตัดสินใจ กิจกรรมการควบคุมที่จาเป็นในกระบวนการนี้ ได้แก่ 3.4.1 การอนุมัติรายการ (Authorization) ก่อนที่จะบันทึกรายการนั้นลงในบัญชี ทะเบียน หรือแฟ้มหลักฐานอื่นใดของกิจการ เพื่อให้แน่ใจว่าได้มีการบันทึกเฉพาะรายการที่ถูกต้อง และบันทึกโดยครบถ้วน 3.4.2 การแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างผู้อนุมัติ ผู้บันทึกบัญชี และผู้เก็บรักษาทรัพย์สิน ที่สาคัญ (Segregation of Duties)


57 3.4.3 การเก็ บ รั ก ษารวมทั้ ง การควบคุ ม ทรั พ ย์ สิ น และข้ อ มู ล ที่ ส าคั ญ (Access Control) เช่น การเก็บรักษาในสถานที่ที่ปลอดภัย การบันทึกทะเบียน การแสดงรายการอย่างเป็น ปัจจุบัน 3.4.4 การสอบทานหรือ สอบยันงานระหว่างกัน (Internal Review and Internal Check) เช่น การสอบทานยอดคงเหลือระหว่างแผนก การสอบทานยอดบัญชีคุมกับรายละเอียด การ ทางบพิสูจน์ยอด ฯลฯ 3.4.5 การออกแบบและการใช้เอกสารให้เหมาะสม (Document Design and Use) เช่น การกาหนดเลขที่เอกสารเรียงตามลาดับ การใช้สาเนาเอกสาร การกาหนดข้อความสาคัญใน เอกสารให้สะดวกในการใช้ ฯลฯ 3.4.6 การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมช่วยในการประมวลผลข้อ มูล (Information Technology) ซึ่งรวมทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ ระบบงาน ระบบควบคุม และบุคลากรที่เหมาะสมกับ เทคโนโลยีนั้น 3.4.7 ในกรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล ต้องคานึงถึงการควบคุมทั่วไป (General Controls) และการควบคุมเฉพาะระบบงาน (Application Controls) ในระบบคอมพิวเตอร์ ที่กิจการใช้ 3.5 การควบคุมทางกายภาพ (Physical Controls) หมายถึง การดูแลป้องกันทรัพย์สินที่ เป็นรูปร่าง มีตัวตน ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ สินค้าคงเหลือ เงินสด หลักทรัพย์ เอกสารสิทธิ์ และ เอกสารสาคัญอื่นๆ รวมถึงการตรวจนับการจัดเวรยามรักษาการณ์ การประกันภัย การเปรียบเทียบ จานวนที่มีอยู่จริงกับทะเบียนหรือหลักฐานทางบัญชี 3.6 การแบ่ งแยกหน้าที่ (Segregation of Duties) โดยหลัก การ คื อ จัดแบ่งหน้า ที่ ระหว่างบุคคล หรือหน่วยงาน เพื่อให้มีการสอบยันความถูกต้อง สมบูรณ์ระหว่างกัน การแบ่งแยก หน้าที่ ควรใช้ในกรณีที่งานมีลักษณะเสี่ยงต่อความผิดพลาดหรือความเสียหาย เนื่อ งจากหากขา ด การแบ่งแยกหน้าที่ โดยมอบให้บุคคลคนเดียว หรือหน่วยงานเดียวเป็นผู้ปฏิบัติงานนั้นตามลาพัง


58 ตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุด จะเปิดโอกาสให้เกิดการกระทาที่ไม่เหมาะสม หรือไม่สุจริตได้โดยง่าย และกว่า จะทราบก็อาจสายเกินแก้ ตามหลักการแบ่งแยกหน้าที่ จะหมายความว่า งานใดที่มีความสาคัญควรจัดแบ่งแยก หน้าที่ความรับผิดชอบในงาน 3 หน้าที่ออกจากกัน คือ 1. การอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ 2. การ จดบันทึกข้อมูล และ 3. การดูแลรักษาทรัพย์สินขององค์การ โดยจะต้องไม่ให้หน่วยงานเดียวหรือ คนเพียงคนเดียวทาหน้าที่ทั้ง 3 ตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะจะทาให้ขาดระบบการสอบยันความถูกต้อง ระหว่างกัน และถือเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของระบบการควบคุมภายใน 3.7 การใช้ดัชนีวัดผลการดาเนินงานที่สาคัญ (Key Performance Indicators) ดัชนีวัดผล การดาเนินงานที่นิยมใช้มักอยู่ในรูปอัตราส่วนต่างๆ ที่จะช่วยบอกให้นักวิเคราะห์ทราบ “อาการ ผิดปกติ ” บางอย่างอย่างรวดเร็วว่าธุรกิจอยู่ในสภาวะอย่างไร น่าพึงพอใจหรือ ไม่ หรือ บางครั้ง อัตราส่วน หรือแนวโน้มที่ผิดปกติ เป็นดัชนีบ่งชี้ให้ต้องติดตาม หรือให้ความสนใจในเรื่องใดเรื่อง หนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อตัดสินใจสั่งการแก้ไขปัญหาอย่างทันกาล ตัวอย่างดัชนีวัดผลการดาเนินงาน เช่น 3.7.1 อัตราส่วนทางการเงินซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทางการเงิน หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างการดาเนินงานอย่างหนึ่งกับข้อมูลอีกอย่างหนึ่ง 3.7.2 การวิเคราะห์แนวโน้มของความเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วน 3.7.3 การใช้เทคนิคดัชนีวัดความสาเร็จแบบสมดุล (Balanced Score Card) ซึ่ง เป็นเทคนิคสมัยใหม่วัดผลการปฏิบัติงาน 4 ด้านร่วมกัน ได้แก่ การวัดผลด้านการเงิน การวัดผลด้าน ความพอใจของลูกค้า การวัดผลด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และการวัดผลด้านนวัตกรรม โดยหาก องค์การใดบรรลุตามดัชนีวัดผลทั้ง 4 ด้าน จะเป็นเครื่องหมายแสดงผลความสาเร็จได้อย่างยั่งยืนกว่า การวัดผลทางการเงินด้านเดียว 3.8 การจัดทาหลักฐานเอกสาร (Documentation) การดาเนินงาน หรือระบบงานใดที่มี ความสาคัญ ควรมีการจัดทาหลักฐานที่เป็นเอกสารหรือเป็นหนังสือไว้ เช่น


59 3.8.1 การจัดหาทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงควรทาสัญญากับผู้ขาย 3.8.2 การจัดทาเอกสารระบบงานไว้ให้มีความสมบูรณ์เพียงพอสาหรับระบบงาน คอมพิวเตอร์ เช่น ควรจั ดให้มีแผนภาพ (Flowchart) ส าหรับระบบงาน และสาหรับโปรแกรม สั่งงานที่สาคัญ เพื่อให้ทุกคนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้ทราบ และสามารถค้นคว้าหรืออ้างองได้เมื่อมี ความจาเป็น 3.8.3 การจัดทาคู่มือการปฏิบัติงานไว้ให้สมบูรณ์เพียงพอ และต้องจัดระบบการ ดูแลให้คู่มือนั้นให้เป็นปัจจุบันเสมอ สาหรับการปฏิบัติงานหลักๆ ที่มีความสาคัญต่อการดาเนินงาน เช่น ด้านการผลิต การให้สินเชื่อ การขาย การบัญชี การเงิน การพัสดุ และระบบงานคอมพิวเตอร์ คู่มือการปฏิบัติงานที่ดีรวมถึงคู่มือการอนุมัติรายการแนววิธีปฏิบัติงานที่ดี 3.8.4 เอกสารแบบฟอร์มที่มีใช้ เพื่อสามารถใช้สอบทานความถูกต้อง และควบคุม มิให้เกิดความเสียหายใดขึ้นได้ 3.8.5 การกาหนดให้ใช้เลขที่เอกสารเรียงลาดับ การพิมพ์เลขที่เอกสารล่วงหน้า ฯลฯ 4. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 4.1 ข้อมูลข่าวสาร หมายความถึงทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลข่าวสารทางการบัญชี และข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวกับการดาเนินงานด้านอื่นๆ ทั้งที่เป็นข้อ มูลข่าวสารจากแหล่งภายใน และแหล่ง ภายนอก ผู้บริหารจาเป็นต้องใช้ข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่มีลักษณะเป็นสิ่งบอกเหตุ (Warning Signals) ประกอบการพิจารณาสั่งการ ส่วนผู้ปฏิบัติงานมักใช้ข้อมูลข่าวสารที่ออกมาจาก ฝ่ายบริหารเป็นเครื่องชี้นาทิศทางการปฏิบัติหน้าที่ ลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่ดีซึ่งทุกองค์กรควรพยายามจัดให้มี และใช้ประกอบการจัด สินใจเป็นดังนี้


60 4.1.1 ความเหมาะสมกับการใช้ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารบรรจุเนื้อหาสาระที่จาเป็น สาหรับการตัดสินใจ 4.1.2 ความถูกต้อ งสมบูรณ์ หมายถึง ข้อ มูลข่าวสารที่สะท้อนผลตามความเป็น จริง และมีรายละเอียดที่จาเป็นครบถ้วน 4.1.3 ความเป็นปัจจุบัน หมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่ให้ตัวเลข และข้อเท็จจริงล่าสุด หรือใกล้เคียงวันที่ใช้ตัดสินใจมากที่สุด 4.1.4 ความทันเวลา หมายถึง จัดทาอย่างรวดเร็วเพื่อให้ผู้ตัดสินใจได้รับทันเวลาที่ ต้องการใช้ข้อมูลข่าวสารนั้น 4.1.5 ความสะดวกในการเข้าถึง หมายถึง ความยากง่ายในการเข้าถึง ซึ่งควรง่าย สาหรับผู้ที่มีอานาจหน้าที่เกี่ยวข้อง แต่มีระบบรักษาความปลอดภัยมิให้ผู้ที่ไ ม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อ ง เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ การจัดให้ มีข้อมูลข่า วสารที่ดีเ ป็นหน้าที่ข องผู้บริหาร โดยจะต้อ งจัดหาบุคลากรที่ มี ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ท างวิ ช าชี พ รวมถึ ง ต้ อ งจั ด ให้ มี เ ครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ เทคโนโลยี และระบบงานที่ดี ซึ่งประกอบด้วยระบบเอกสาร ระบบบัญชี และระบบการประมวล ข้อมูลข่าวสาร โดยต้องกาหนดให้ปฏิบัติตามระบบงานที่กาหนดไว้อย่างสม่าเสมอ 4.2 การสื่อสาร หมายถึง การจัดให้มีความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลที่มีหน้าที่ความ รับผิดชอบในงานที่สัมพันธ์กัน การจัดระบบสื่อสารให้ข้อ มูลที่จัดทาไว้ดีแล้ว ส่งไปถึงผู้ที่ควร ได้รับ หรือมีไว้พร้อมสาหรับผู้ที่ควรใช้ข้อมูลข่าวสารนั้น และการสื่อสารที่ดีต้องเป็นการสื่อสาร สองทาง คือ มีการรับและส่งข้อมูลแบบโต้ตอบกันได้ ต่อไปนี้คือตัวอย่างของข้อมูลข่าวสารที่ควรสื่อสารให้บุคลากรได้รับทราบทั่วกัน 4.2.1 มาตรการควบคุมภายในต่างๆ ที่ใช้อ ยู่ในองค์กร เช่ น นโยบาย แผนงาน งบประมาณ หรือประมาณการ กฎ ระเบียบต่างๆ


61 4.2.2 บทบาท อานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรแต่ละตาแหน่ง หน้าที่ มาตรฐานผลงานที่ต้องการจากการปฏิบัติงาน 4.2.3 รายงาผลการดาเนินงานตามนโยบาย แผนงาน และโครงการ ที่กาหนดขึ้น ความสัมพันธ์ของงานในหน้าที่ของบุคคล หรือหน่วยงานหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล หรือหน่วยงาน อื่น 4.2.4 ข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ เ ป็ น สั ญ ญาณอั น ตรายหรื อ สั ญ ญาณเตื อ นภั ย (Warning Signals) ที่อาจบอกถึงสิ่งขาดตกบกพร่องจากการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้น หรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความ บกพร่องในอนาคตอันใกล้ 4.2.5 สิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ ที่กาหนดไว้สาหรับบุคลากรแต่ละระดับ 5. การติดตามและประเมินผล การควบคุมภายในขององค์กรใดองค์กรหนึ่งจะสมบูรณ์ไ ม่ไ ด้ หากขาดการติดตามและ ประเมินผล (Monitoring and Evaluation) ทังนี้เนื่องจากความมีประสิทธิผลของมาตรการ และ ระบบการควบคุมภายในแปรเปลี่ยนไปได้เสมอๆ จึงจาเป็นต้องมีระบบการติดตาม และประเมินผล ให้ทราบ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งออก ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร (2549: 61) ได้กล่าวถึง การส่งออก (Exporting) เป็นวิธีการพื้นฐาน ในการดาเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะกิจการเพียงแต่แสวงหาตลาดสาหรับสินค้าของตน พร้อมทั้งวิธีการในการจาหน่ายสู่ผู้บริโภค ส่วนกระบวนการผลิตอันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนนั้น จะดาเนินการในประเทศเจ้าของกิจการ


62 วิธีการส่งออกแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ได้แก่ 1. การดาเนินกิจกรรมส่งออกผ่านบริษัทตัวแทนการส่งออก หรือขายสินค้าให้กับบริษัท นาเข้าและส่งออก (Indirect Exporting) แต่วิธีการให้บริษัทอื่นส่งออกให้ไม่ได้ทาให้กิจการมีความ ชานาญในการดาเนินธุรกิจต่างประเทศมากนัก และยังต้องเสียค่าตอบแทนให้กับตัวแทนดังกล่าว 2. การด าเนิ น กิ จ กรรมส่ ง สิ น ค้ า ออกไปตลาดในต่ า งประเทศด้ ว ยกิ จ การเอง (Direct Exporting) โดยกิจการอาจมีแผนกส่งออก หรือ มอบหมายให้ผู้จัดการฝ่ายขายรับผิดชอบ ในการ เปรี ยบเทียบช่องทางการจัดจ าหน่ ายจากผู้ ผลิต สู่ผู้บ ริโภคระหว่า งตลาดภายในประเทศกับ การ ส่งออกจะมีความแตกต่างกันที่ขั้นตอนการจัดจาหน่ายของการส่งออกจะมีขั้นตอนมากกว่า นอกจากความแตกต่างในเรื่องของขั้นตอนการจัดจาหน่ายดังกล่าวแล้ ว ยังมีเรื่องต้นทุนที่ สูงกว่าสินค้าที่ผลิต และจาหน่ายภายในประเทศ เนื่องจากมีหลายขั้นตอนมากกว่า อย่างไรก็ดีสินค้า ที่ผลิตโดยบริษัทข้ามชาติมักมีปริมาณมากทาให้ไ ด้เปรียบในเรื่อ งต้นทุนต่อ หน่วย ทาให้สินค้า นาเข้าบางครั้งอาจมีราคาถูกกว่าที่ผลิตภายในประเทศ ผลกระทบต่อการส่งออกที่สาคัญอีกประการ หนึ่ ง ได้แ ก่ ผลกระทบจากอั ตราแลกเปลี่ ย นเงิ น ตราระหว่า งประเทศ ผลกระทบดั ง กล่า วอาจ ก่อให้เกิดกาไร หรือขาดทุนแก่บริษัทที่ส่งออกเป็นจานวนมากมหาศาล ความต้องการส่งออก ความต้องการส่งออก (Desired export) หมายถึง มูลค่าสินค้าและบริการที่ประเทศหนึ่ง ส่งไปจาหน่ายยังต่างประเทศ ปัจจัยกาหนดความต้องการส่งออก 1. นโยบายส่งเสริม การส่งออกของรั ฐบาล เช่น การลดภาษีส่งออก การขยายตลาดใน ประเทศ การลดหรือยกเว้นภาษีนาเข้าวัตถุดิบ และการปรับปรุงพิธีการศุลกากรให้สะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส ก็จะทาให้มีการส่งออกมากขึ้น ส่วนในทางตรงกันข้าม ก็จะทาให้การส่งออกซบเซา


63 2. ราคาของสินค้าออก หากราคาของสินค้าออกของประเทศใดอยู่ในระดับสูงกว่าตลาด ต่างประเทศในสินค้าอย่างเดียวกัน ประเทศนั้นจะส่งออกได้น้อย แต่ถ้าราคาสินค้าออกต่ากว่าตลาด ต่างประเทศ ก็จะส่งออกได้มาก เนื่องจากราคาของสินค้าออกนอกจากขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิตแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หากเงินบาทเทียบกับเงินตราต่างประเทศมีค่าต่ากว่าความเป็น จริง สินค้าออกของไทยจะมีราคาต่ามองจากผู้ซื้อในต่างประเทศ ทาให้ปริมาณการส่งออกของไทย เพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามสลับกลับกัน 3. ความต้องการของตลาดต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้นาเข้า หาก ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในเกณฑ์ดีความต้องการซื้อสินค้าและบริการในตลาดต่างประเทศจะมีมาก ทาให้การส่งออกสดใสตามไปด้วย ส่วนในกรณีตรงข้าม การส่งออกจะลดลง การส่งออกข้าว การค้าข้าวกับต่างประเทศจาแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. การค้าข้าวระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government Sale : G-G) เป็น การค้าในนามของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ โดยรัฐบาลของประเทศผู้ซื้อติดต่อขอซื้อข้าว โดยตรงกับรัฐบาลไทย ซึ่งกระทาผ่านกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หรือเป็นกรณีที่ รัฐบาลไทยส่งผู้แทนออกไปเจรจาค้าขายข้าวแก่รัฐบาลต่างประเทศก็ไ ด้ โดยจะทาสัญญา และ ข้อตกลงทางการค้าตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งรายละเอียดของสัญญา และเงื่อนไข เช่น ระยะเวลาส่ง มอบ การชาระเงิน การบรรจุกระสอบ วิธีการขนส่งและการตรวจสอบคุณภาพข้าว เป็นต้น แตกต่าง กันไป แล้วแต่ข้อตกลงยินยอมของประเทศคู่สัญญา โดยทั่วไปราคาข้าวรัฐบาลจะต่ากว่าราคาข้าว ของเอกชน ทั้งนี้เพราะเหตุผลทางการเมือง และมนุษยธรรม เช่น การซื้อข้าวโดยผ่านรัฐบาลของ องค์การสหประชาชาติ เพื่อช่วยเหลือ ประเทศที่ถูกภัยพิบัติจากสงคราม หรือ การซื้อ ข้าวเพื่อ แลก น้ามันกับอินโดนีเซีย หรือประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น การซื้อ ขายแต่ละครั้ง ส่วน ใหญ่เป็นปริมาณมาก ราว 50,000 – 100,000 ตัน เหตุผลอีกประการหนึ่งที่รัฐบาลขายข้าว G-G คือ เพื่อต้องการระบายข้าวในช่วง ต้นฤดูที่ข้าวเปลือกมักจะทะลักสู่ตลาดข้าวต่างประเทศเพิ่มขึ้น แล้ว การซื้อข้าวของรัฐบาลเพื่อขายแก่ต่างประเทศในต้นฤดูการผลิตจะเป็นการดึงราคาข้าวให้สูงขึ้นได้


64 ข้าวรัฐบาลส่งออกส่วนมากจะเป็นขาวคุณภาพปานกลาง และคุณภาพต่า เช่น ข้าว 15% จนถึงข้าว 45% ข้าวผสมพิเศษ ปลายข้าวขาว และข้าวนึ่ง ทั้งนี้เพราะรัฐบาลของประเทศที่มาติดต่อ ซื้อข้าว G-G ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีความต้องการข้าวสูง แต่อานาจซื้อต่า การซื้อขายโดยมากมัก ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ โครงการ Kennedy Round เป็นต้น ประเทศที่ซื้อข้าว G-G มาก ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ เป็นต้น ข้าว ที่รัฐ บาลขายนั้น ในทางปฏิ บัติ รัฐ บาลไม่ไ ด้เ ป็น ผู้ด าเนิน การส่ งออกเอง รัฐ บาลเป็น แต่ เพี ยงผู้ ดาเนินงานด้านเอกสารการซื้อขายเท่านั้น ในการส่ง อบข้าวแก่ รัฐบาลต่างประเทศ รัฐบาลโดย กรมการค้ า ต่า งประเทศ จะมอบให้ พ่อ ค้ าเอกชน และหน่ว ยงานของรัฐ เช่ น อ.ค.ส. (องค์ก าร คลังสินค้า) อ.ต.ก. (องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร) เป็นผู้ส่งมอบ ซึ่งเดิมราคาที่ ภาครัฐซื้อจากพ่อค้า เอกชนเป็นราคาที่ทางการกาหนดไว้ (Official Price) ซึ่งต่ากว่าราคาภายในประเทศ หรือรัฐบาล อาจจะประกาศรับซื้อข้าวจากเอกชนโดยจะทาการประมูลข้าวชนิดที่ต้องการ แล้วมอบให้เอกชน เป็นผู้ส่งออกแทน สาหรับในปัจจุบันรัฐบาลมีคณะกรรมการการกาหนดราคารับซื้อข้าวรัฐบาล ที่ กระทรวงพาณิ ช ย์ แ ต่ ง ตั้ ง ขึ้ น เป็ น ผู้ พิ จ ารณาก าหนดราคาข้ า ว ที่ จ ะรั บ ซื้ อ แต่ ล ะงวดตามความ เหมาะสม โดยให้สิทธิแก่หน่วยงานของภาครัฐก่อน 2. การค้าระหว่างเอกชนกับรัฐบาล (Private to Government Sale) การค้าแบบนี้เป็นการค้า ระหว่างเอกชนผู้ส่งออกกับรัฐบาลต่างประเทศ โดยรัฐบาลผู้นาเข้าติดต่อขอซื้อข้าวจากพ่อค้าเอกชน โดยตรง การค้าลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อภาวะตลาดข้าวเป็นของผู้ขาย กล่าวคือ อุปสงค์ข้าวมีมากกว่า อุปทาน และฝ่ายรัฐบาลไม่อาจสนองความต้องการของรัฐบาลผู้นาเข้าได้ เนื่องจากไม่สามารถจะ รวบรวมข้าวจากพ่อค้าเอกชนได้มากเพียงพอ อีกประการหนึ่ง รัฐบาลผู้นาเข้าอาจมีความพึงพอใจ เอกชนรายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ และติดต่อขอซื้อจากเอกชนรายนั้นโดยตรง อย่างไรก็ตามการค้าใน รูปเอกชนกับรัฐบาลมีสัดส่วนน้อยกว่าการค้าระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน หรือ รัฐบาลต่ อ รัฐบาล 3. การค้าระหว่างเอกชนกับเอกชน (Private to Private Sale) การค้าแบบนี้เป็นการค้าแบบ ธรรมดาทั่วไปที่บริษัทผู้ส่งออกเอกชนติดต่อขายข้าวกับบริษัทเอกชนผู้นาเข้าในต่างประเทศ การค้า ลักษณะนี้จึงมีการแข่งขันในการแสวงหาตลาดเพื่อจะได้บรรลุผลกาไรสูงสุดของพ่อค้าแต่ละราย ดังนั้น การแข่งขันทางด้านราคาจึงเป็นกลยุทธ์ที่สาคัญอันหนึ่งของพ่อค้าผู้ส่งออก ตลาดข้าวเอกชน กับเอกชนส่วนใหญ่เป็นตลาดประจา (Traditional Market) ซึ่งได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ตลาดแถบตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา ได้เพิ่มความสาคัญขึ้นในระยะหลังๆ นี้ ตลาดข้าว


65 ดังกล่าวต้องการข้าวคุณภาพสูงซึ่งราคาค่อ นข้างสูง ดังนั้น กลยุทธ์การตลาดจึงขึ้นกับพ่อ ค้าและ เอกชนแต่ละราย แต่โดยทั่วไปแล้วตลาดประจา เช่น ฮ่องกง เอกชนผู้ส่งออกรายใหม่ๆ เข้าเจาะ ตลอดยากกว่า จึงต้องหันไปหาตลาดในตะวันออกกลางและแอฟริกา ส่วนตลาดยุโรปนั้นผู้ส่งออก ของไทยต้อ งประสบกั บการแข่ง ขัน กับข้ าวสหรัฐอเมริก าและอิ ตาลี ซึ่ งมี ราคาถู กกว่าข้ าวไทย เนื่องจาก ได้รับเงินช่วยเหลือ (Export Subsidy) จากรัฐบาล อีกทั้งยังได้เปรียบในด้านการขนส่ง ทา ให้การส่งออกข้าวไปยังตลาดยุโรปลดน้อยลง แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ ความเป็นมาของข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิไทยมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการคือ “Thai Hom Mali Rice” เป็น ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของไทยที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักระดับโลก เนื่องจากโดดเด่นในรูปลักษณ์และ รสชาติ มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย (บ้างก็บอกกลิ่นคล้ายดอกมะลิ) และมีความนุ่มของรสชาติ จึงได้รับ ความนิยมจากผู้บริโภคทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ แหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิเดิมอยู่ในอาเภอแปลงยาว จังหวัดชลบุรี ต่อมามีการนามาปลูก ที่อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราด้วย โดยในปี 2493 – 2494 นายสุนทร สีหะเนิน อดีตพนักงาน ข้าวของกรมการข้าว ได้รับมอบหมายในการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวต่างๆ จากทั่วประเทศ และในครั้ง นั้นได้มีการรวบรวมพันธุ์ข้าวในเขตอาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราด้วย โดยรวงข้าวทั้งหมด นามาปลูกคัดเลือก และหาสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง การจัดเก็บจะระบุหมายเลขของรวงที่เก็บมาได้ ตามลาดับ ซึ่งข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์หนึ่งจากรวงข้าวจานวน 199 รวง โดยได้ปลูกคัดเลือกที่สถานี ทดลองโคกสาโรง จังหวัดลพบุรี มีเมล็ดข้าวเรียวยาว สมบูรณ์ รวงข้าวที่มีความหอมนี้ เรียกกันว่า “ข้าวหอมมะลิ” ความหอมของข้าวยังคงเหมือนข้าวที่ปลูกจากแหล่งเก็บ จึงเรียกเป็นข้าวหอมมะลิ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (หนึ่งร้อยห้า) โดยช่วงแรกใช้ชื่อว่า ขาวดอกมะลิ 4-2-105 (หมายเลข 4 หมายถึง อาเภอที่เก็บมา คือ อาเภอบางคล้า หมายเลข 2 หมายถึง ชื่อพันธุ์ข้าวที่เก็บในอาเภอนั้น คือ หอมมะลิ และเป็นรวง หมายเลขที่ 105 คือ ตาแหน่งรวงข้าวของพันธุ์หอมมะลิ) ข้าวหอมมะลิพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และกข 15 มีความหอมเป็นพิเศษ และจะหอมตั้งแต่ใบอ่อนเริ่มแตกออกเป็นใบ ข้าวไปจนถึงเมล็ดข้าวทั้งข้าวเปลือก และข้าวสาร กลิ่นหอมนั้นจะมีกลิ่นคล้ายใบเตย ไม่ใช่กลิ่นดอก มะลิอย่างที่เข้าใจ


66 ต่อมาในปี 2500 พันธุ์ข้าวหอมมะลิมีการคัดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดี และนามาทดลองปลูกใน พื้นที่ดินทรายทางแถบภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร และมหาสารคาม ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยในปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิไทยที่มีคุณภาพดีที่สุด ลักษณะทั่วไป ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าไวแสงพัน ธุ์พื้นเมือง ได้มาโดยพนักงานเกษตร รวบรวมจากชาวนาในอาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ. 2493-2494 แล้วนาไปคัดเลือก แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสาโรง แล้วจึงนาไปปลูก เปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่นในภาคเหนือ จนคัดได้สายพันธุ์ 4-2-105 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502 ให้ชื่อว่าพันธุ์ “ขาวดอกมะลิ 105” มีอายุเก็บเกี่ยว ประมาณวันที่ 20 พฤศจิกายน สูง 140 ซ.ม. ระยะเมล็ดพักตัว 8 สัปดาห์ ข้าวเปลือกสีฟางข้าวกล้อง เรียวยาว 7.4 มม. ข้าวสุกนุ่มหอม อะไมโลส 14% มีลักษณะสาคัญบางประการ คือ ปลูกได้ในที่นา ดอนทั่วไป ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยว ทนดินเค็ม คุณภาพการหุงต้มดีมีกลิ่นหอมรสชาติดี ต้านทาน ไส้เดือน ฝอยรากปม ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง โรคจู๋ เพลี้ยกระโดดสี น้าตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และหนอนกอ ข้าว กข. 15 เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าไวแสงต้นสูง ได้จากกการนาเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไปอาบรังสีแกมม่าที่สานักงานปรมาณูเพื่อสันติแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยใช้ปริมาณ รังสี 15 กิโลแรด แล้วนาเมล็ดที่อาบรังสีแล้วไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ จนคัดได้สายพันธุ์ (KDML105'65G1U-45) ซึ่งคณะกรรมการพิจารณา พันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521 ให้ชื่อว่าพันธุ์ “กข 15” มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 10 พฤศจิกายน สูง 130 ซ.ม. ระยะเมล็ดพักตัว 7 สัปดาห์ ข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องเรียวยาว 7.5 มม. ข้าวสุกนุ่มหอม อะไมโลส 16% มีลักษณะสาคัญบางประการ คือ ทนแล้ง ปลูกเป็นข้าวไร่ ได้คุณภาพการหุงต้มดีมีกลิ่นหอม ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ แมลงบั่วเพลี้ยกระโดดสี น้าตาล และหนอนกอ ฟางอ่อนล้มง่าย และเมล็ดล่วงง่าย ไม่เหมาะกับนารุ่มที่ระบายน้าไม่ได้


67 ข้าวหอมมะลิที่นิยมปลูกในปัจจุบัน ปัจจุบันข้าวหอมมะลิที่นิยมปลูก และบริโภคกันอย่างแพร่หลาย คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข.15 แต่ราคาข้าวหอมมะลิค่อนข้างตกต่าลงมาเรื่อยๆ เนื่องจากข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ให้ ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 80-100 ถังต่อไร่ปลูกได้หลายครั้งต่อปี และ สามารถปลูกได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลาง ขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 ให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40 ถังต่อไร่ และปลูกได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้น ทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนา เน้นการปลูกข้าว พันธุ์ปทุมธานี 1 มากกว่า พันธุ์ปทุมธานี 1 แม้ว่าจะมีความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ไม่ใช่ข้าว หอมมะลิ แหล่งผลิตสาคัญ แหล่งผลิตหลักของข้ าวหอมมะลิอ ยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ปัจจุบันได้มีการ ส่งเสริมให้ปลูกในภาคอื่นๆ ด้วย เนื่องจากความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยพื้นที่ปลูกข้าวหอม มะลิกระจายไปตามภาคต่างๆ ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดิมเป็นแหล่งผลิตข้าวเหนียว แต่เมื่อได้ทดลองนาเข้าหอมมะลิ ไปปลูกพบว่าได้ผลดีทั้งคุณภาพเมล็ด และกลิ่นหอม ประกอบกับราคาดี จูงใจให้เกษตรกรหันมา ปลูกข้าวหอมมะลิ เพื่อการค้ากันมากขึ้น แหล่งผลิตที่สาคัญอยู่ในจังหวัดทางตอนล่างในเขตทุ่งกุลา ได้แก่ บุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี นอกจากนั้นยังมีการปลูกใน จังหวัดนครพนม อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และนครราชสีมา ภาคเหนือ ลักษณะพื้นที่ และสภาพแวดล้อมเหมาะสาหรับการปลูกข้าวหอมมะลิ แต่ เกษตรกรจะใช้พันธุ์ กข.15 ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิมาก และเป็นที่ต้องการ ของตลาด โดยเฉพาะในภาคเหนือตอนบน และทางราชการมีการส่งเสริมให้ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอก มะลิในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จังหวัดกาแพงเพชร ตาก พิษณุโลก ลาปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา


68 ภาคกลาง เป็นแหล่งผลิตข้าวเจ้าที่สาคัญ แต่พบว่าในบางพื้นที่ที่เป็นที่ดอนสามารถปลูก ข้าวหอมมะลิได้ดี ทั้งนี้แหล่งผลิตที่สาคัญอยู่ในจังหวัดลพบุรี สระบุรี ชัยนาท กาญจนบุรีโดยเฉพาะ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นถิ่นกาเนิดเดิมของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ภาคใต้ เนื่องจากภาคใต้มีฝนตกชุกขณะเก็บเกี่ยว ทาให้ต้องมีการกาหนดเวลา และวิธีการ ปลู ก ที่ เ หมาะสมจึ ง จะท าให้ ก ารปลู ก ข้ า วหอมมะลิ ไ ด้ ผ ลดี แหล่ ง ปลู ก ที่ ส าคั ญ ได้ แ ก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และสุราษฎร์ธานี ประเภทของข้าวหอมมะลิ กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าต่างประเทศ) ได้แบ่งประเภทของข้าวหอมมะลิไทยออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวขาว (8 ชนิด) และข้าวกล้อง (6 ชนิด) ข้าวขาวแบ่งออกเป็น 8 ชนิด ดังนี้ 1. ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 2. ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 3. ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3 4. ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ 5. ข้าวขาว 10 เปอร์เซ็นต์ 6. ข้าวขาว 15 เปอร์เซ็นต์ 7. ข้าวขาวหักเอวันเลิศพิเศษ 8. ข้าวขาวหักเอวันเลิศ ข้าวกล้องแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้ 1. ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1


69 2. ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 3. ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3 4. ข้าวกล้อง 5 เปอร์เซ็นต์ 5. ข้าวกล้อง 10 เปอร์เซ็นต์ 6. ข้าวกล้อง 15 เปอร์เซ็นต์ เกรดในการจาหน่าย กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งชั้นของข้าวหอมมะลิดังนี้ 1. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5% 2. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15% 3. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30% ผลงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลงานวิจัยนี้ได้ค้นหาในห้องสมุด และในเว็บไซด์ ซึ่งเป็นงานวิจัยหรืองานวิทยานิพนธ์ โดยได้ทาการคัดเลือกศึกษาหัวเรื่องที่เกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กับงานที่ผู้วิจัยกาลัง ศึกษาอยู่ ทั้งนี้เพื่อ เป็นการเรียนรู้งานวิจัยจากผู้อื่นที่เคยศึกษาค้นคว้ามาแล้ว ชลอ เหรียญประดับ (2548: 105) ได้ทาการศึกษาเรื่องแนวทางการควบคุมภายในของธุรกิจ อุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ระดับการให้ ความสาคัญในแนวทางการควบคุมภายในของธุรกิจอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ธุรกิจอุตสาหกรรมให้ความสาคัญต่อแนว ทางการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีมากที่สุด มีการออกแบบการควบคุมภายในที่สามารถ ให้ความมั่นใจและเชื่อถือได้ในระดับที่สมเหตุสมผลว่า ธุรกิจอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการบริหาร จัดการที่เป็นระบบ มีการควบคุมภายในที่ ดี ช่วยให้ระบบดาเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ไ ด้


70 อย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการควบคุมภายในโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน สาหรับรายด้าน มีค วามแตกต่า งกัน ในด้า นการผลิต ด้ านการตลาด ด้ า นการเงิ นและบั ญชี ทั้ งนี้ เ นื่อ งจากธุร กิ จ อุตสาหกรรมอาจจัดให้มีกิจกรรมการควบคุมที่แตกต่างกันไป ตามขนาดและกลุ่มอุตสาหกรรม เนื่อ งจากโครงสร้างการควบคุมของธุรกิจอุตสาหกรรมที่ไ ม่จาเป็นต้อ งซับซ้อ นมากนัก แต่ก็ยัง สามารถคงไว้ซึ่งระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล และเป็นไปตามองค์ประกอบของการ ควบคุมภายใน ถิราวุฒิ ทองทรง (2547: 71) ได้ทาการศึกษาเรื่องสภาพและปัญหาของระบบการควบคุม ภายใน ศึกษากรณี : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จากัด ผลการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมของการควบคุม ได้ ร่ว มการสร้ า งบรรยากาศของการควบคุม เพื่อ ให้ เ กิด ทั ศนคติที่ ดี ต่อ การควบคุ มภายใน โดย ส่งเสริมให้พนักงานเกิดจิตสานึกที่ดีในการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ และตระหนักถึงความ จาเป็น และความสาคัญของการควบคุมภายใน และได้มีการประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในที่มีผลกระทบต่อ การบรรลุวัตถุประสงค์จึงได้จัดให้มีกิจกรรมการควบคุมที่มี ประสิ ท ธิภ าพ และประสิท ธิ ผลเพื่ อ ป้อ งกัน หรื อ ลดความเสี ยหายความผิด พลาดที่ อ าจเกิด ขึ้ น สาหรับกิจกรรมการควบคุมในเบื้องต้นจะต้องแบ่งแยกหน้าที่งานภายในองค์กรอย่างเหมาะสมจึง จาเป็นต้องให้มีสารสนเทศอย่างเพียงพอ และมีการสื่อสารให้พนักงานทราบอย่างทั่วถึง และจะต้อง มีการติดตามประเมินผลโดยมีการติดตามในระหว่างการปฏิบัติงาน ซึ่งมีการประเมินผลจากการ ประเมินตนการควบคุมด้วยตนเอง และการประเมินการควบคุมอย่างเป็นอิสระ ปัญหาของระบบ การควบคุมภายในโดยรวมพบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพของระบบการ ควบคุ มภายใน ซึ่ง พบว่า มี การส่ งเสริ ม ให้ พนั กงานเกิด จิต สานึก ที่ ดีใ นการปฏิ บั ติง านในความ รับผิดชอบ และตระหนักถึงความจาเป็นและความสาคัญของการควบคุมภายใน จึงได้มีการกาหนด บทลงโทษทางวินัยอย่างชัดเจนในกรณีกระทาฝ่าฝืนนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อ บังคับ แนว ทางการปฏิบัติงาน หรือข้อกาหนดด้านจริยธรรมที่กาหนด และได้มีการประเมินความเสี่ยงอย่าง สม่าเสมอ เพื่อให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ จึงได้จัดให้มีกิจกรรมการควบคุมที่มี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในทุกหน้าที่ และทุกระดับของการปฏิบัติงานตามความจาเป็นอย่าง เหมาะสม และควรหลีกเลี่ยงการกาหนดกิจกรรมการควบคุมที่เกินความจาเป็นจึงจาเป็นต้องให้มี สารสนเทศอย่างเพียงพอ และมีการสื่อสารให้พนักงานทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งต้องเป็น ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง น่าเชื่อถือ ทันเวลา และเป็นข้อมูลที่ช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ และจะต้อง มีการติดตามประเมินผล โดยมีการติดตามในระหว่างการปฏิบัติงานซึ่งมีการประเมินผลจากการ


71 ประเมินตนการควบคุ มด้วยตนเอง และการประเมินการควบคุมอย่างเป็นอิสระ เมื่อ พบจุดอ่อ น ข้อบกพร่อง หรือปัญหาที่สาคัญจะต้องรายงานไปยังผู้มีอานาจตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ทันที ทิพย์สุดา เมฆฉาย (2550: 112) ได้ทาการศึกษาเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดด้านการ ควบคุมภายในของ COSO และระบบการควบคุมภายในของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร สาขาฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ธนาคารมีระบบการควบคุมภายใน คล้ายคลึงกับแนวคิดการควบคุมภายในของ COSO แต่จะแตกต่างกันในส่วนขององค์ประกอบย่อย ซึ่งมีความสอดคล้องกันกับการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิ ดด้านการควบคุมภายในของ COSO และ ระบบการควบคุมภายในของธนาคารออมสินของนพวรรณ ฟูติตระกูล ว่าธนาคารควรส่งเสริมให้ บุคลากรในธนาคารได้ตระหนักถึงคุณค่าของจรรยาบรรณ และข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองจะ ส่งผลให้ธนาคารมีสภาพแวดล้อมของการควบคุมที่ดี และการนาเครื่องมือในการประเมินผลการ ดาเนินงานสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับรูปแบบของธุรกิจ เช่น ดัชนีวัดผลการปฏิบัติงาน บัตรบันทึกคะแนนสมดุล ซึ่งการกาหนดการวัดผลต้องกาหนดให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ และ แผนการปฏิบัติงานขององค์กรซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารภายในองค์กร ในปัจจุบั นนี้ การประกอบธุรกิจต้องดาเนินงานภายใต้ความไม่แน่นอน และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น จากภัย ธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ การแข่งขันทางด้านเทคโนโลยี กฎระเบียบของทาง ราชการ และกระบวนการทางาน เครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถดาเนินธุรกิจให้บรรลุตามเป้าหมายที่ วางไว้คือ การควบคุมภายใน เนื่องจากการควบคุมภายในที่ดีจะทาให้กิจการมีระบบการกากับดูแล กิจการที่ดี สามารถป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหรือบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จะทาให้ธุรกิจสามารถดาเนินงานสาเร็จตามเป้าหมาย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่ กาหนด ไว้ ธัญญกิ จ ทรัพ ย์ประสม (2547: 115) การประเมิ นผลการควบคุ มภายในของ COSO : กรณีศึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ ส่วนเงินตรา ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหาร และผู้ ช่ ว ยฝ่ า ยบริ ห ารมี ร ะดั บ การประเมิ น การควบคุ ม ภายในตามแนวคิ ด ของ COSO ใน องค์ประกอบสภาพแวดล้อมของการควบคุมตามความเข้าใจ แตกต่างจากพนักงานปฏิบัติการระดับ ล่า ง โดยผู้ บ ริห ารและผู้ ช่ ว ยฝ่ า ยบริห ารมี การประเมิ น ผลการควบคุ ม ภายใน ในองค์ ประกอบ สภาพแวดล้อมของการควบคุมตามความเข้าใจอยู่ในระดับยอมรับถึงดีมาก ส่วนพนักงานปฏิบัติการ ระดับล่างมีการประเมินผลการควบคุมภายในตามความเข้าใจอยู่ในระดับปรับปรุงถึงยอมรับ ซึ่ง อาจจะเป็ น เพราะผู้ บ ริ ห ารและผู้ ช่ ว ยฝ่ า ยบริ ห ารจะได้ รั บ การอบรม สั ม มนา หรื อ ประชุ ม เชิ ง


72 ปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมภายในมากกว่าพนักงานปฏิบัติการระดับล่าง จึงทาให้มีความรู้ความ เข้าใจตามแนวทางการควบคุมภายในของ COSO ส่งผลให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามหลักการ นโยบาย หรื อ ข้ อ ปฏิ บั ติ ต่ า งๆ ตามแนวทางการควบคุ ม ภายใน นอกจากนี้ อ งค์ ป ระกอบ สภาพแวดล้อมของการควบคุมถือว่าเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลในการควบคุมภายใน เพราะเป็น ตัวกาหนดแนวทางขององค์กร และสร้างจิตสานึกในการควบคุมภายในให้กับบุคคลในองค์กรซึ่ง ถือ ว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของฝ่ายบริหาร ในขณะที่พนักงานปฏิบัติการระดับล่างส่วนใหญ่จะรับ นโยบาย คาสั่ง หรือการมอบหมายอานาจหน้าที่จากผู้บริหาร หรือผู้ช่วยผู้บริหารในการดาเนินการ ควบคุ ม ภายใน ท าให้ ไ ม่ ท ราบรายละเอี ย ดในเชิ ง ลึ ก ในการควบคุ ม ภายในขององค์ ป ระกอบ สภาพแวดล้อมของการควบคุม ส่วนความเข้าใจของพนักงานส่วนเงินตรา ในการประเมินการ ควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO สาหรับประเด็นกิจกรรมการควบคุม และสารสนเทศ และ การสื่ อ สารอยู่ ใ นระดั บ ดี ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ การสอบทานสภาพการควบคุ ม ภายใน ของส่ ว น ตรวจสอบกิจการภายใน แต่ประเด็นอื่นๆ คือ ประเด็นสภาพแวดล้อมของการควบคุม การประเมิน ความเสี่ยง การติดตามผลและประเมินผล ขัดแย้งกับผลการสอบทานสภาพการควบคุมภายในตาม แนว COSO ของส่วนตรวจสอบกิจการภายใน ซึ่งผลการสอบทานของส่วนตรวจสอบกิจการภายใน ได้ผลอยู่ในระดับดี แต่ในการศึกษาได้ผลอยู่ ในระดับยอมรับ ทั้งนี้อ าจเป็นเพราะมุมมองของผู้ ตรวจสอบภายในกับพนักงานที่ปฏิบัติในส่วนงานแตกต่างกันในบางประเด็น โดยผู้ตรวจสอบ ภายในจะมองในประเด็นที่จะส่งผลดีผลเสียหรือผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็น และมีกรอบในการสอบ ทาน ในขณะที่ พ นั ก งานผู้ ป ฏิ บั ติ ง านในส่ ว นเงิ น ตราจะมองสภาพที่ แ ท้ จ ริ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในการ ปฏิบัติงาน และทราบในรายละเอียดลึกๆ ภายในส่วนงาน จึงทาให้ผลการประเมินแตกต่างกัน ประไพพรรณ เฉลิ มพิ ชั ย (2551: 112) ได้ท าการศึ ก ษาเรื่ อ งการศึ ก ษาการใช้ ข้ อ มู ล สารสนเทศทางการบัญชี เพื่อการวางแผนการควบคุมภายในของธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอัญมณี : กรณีศึกษา บริษัท จอร์จ เจนเซน (ประเทศไทย) จากัด ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินความเสี่ยง ตามแนวทางของ COSO กิจการมีการใช้แนวทางการควบคุมภายในในแต่ละวงจรรายการค้าทั้ง 4 โดยกิจกรรมในวงจรรายได้นั้น ได้แก่ ด้านการขาย ด้านการรับคาสั่งซื้อ ด้านการจัดส่งสินค้ า ด้าน การชดเชยสินค้ารับคืน และการออกใบลดหนี้ ด้านการเก็บเงินจากลูกค้า การติดตามหนี้ และด้าน ระบบลูกหนี้ ซึ่งมีการใช้แนวทางการควบคุมภายในเป็นส่วนใหญ่ สาหรับกิจกรรมที่ไม่มีการใช้ แนวทางการควบคุมภายใน อันได้แก่ ด้านการตลาด ด้านสินเชื่อนั้น เนื่องจากกิจการไม่มีกิ จกรรม ทั้ง 2 ในการดาเนินงานภายในกิจการ เนื่อ งจากลูกค้าของกิจการมีรายเดียว คือ สานักงานใหญ่ สาหรับวงจรรายจ่ายกิจการมีการใช้แนวทางการควบคุมภายในเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการควบคุมภายใน


73 ทั่วไป การจัดซื้อจัดหา การตรวจรับสินค้า การจ่ายชาระหนี้ ด้านระบบเจ้าหนี้ และการควบคุมเงิน สดย่อย ในส่วนกิจกรรมที่มีความเสี่ยงที่สาคัญจากการไม่ใช้แนวทางการควบคุมภายใน คือ การไม่ แบ่งแยกหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายชาระหนี้ ซึ่งอาจทาให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องการทุจริต และอาจ เกิดความผิดพลาดได้ และด้านการจัดซื้อวัตถุดิบซึ่งผู้ขายผูกขาด เนื่องจากเป็นผู้ขายรายเดียว ทาให้ ขาดอานาจการต่อรอง และอาจเกิดการเสียเปรียบทางการค้า สาหรับวงจรการผลิตจากการประเมิน การควบคุ ม ภายในส่ ว นใหญ่ มี ก ารควบคุ ม ที่ ดี โดยเฉพาะกิ จ กรรมการวางแผนการผลิ ต กิ จ กรรมการบริหารสินค้าคงเหลือและคลังสินค้า การจ่ายและการจัดเก็บวัสดุ ส่วนในด้า นการพัฒนา ผลิตภัณฑ์พบว่า ไม่มีการใช้แนวทางการควบคุมภายใน เนื่องจากไม่มีแผนกออกแบบผลิตภัณฑ์ใน กิจการ วงจรการค้า สุดท้าย คือ วงจรบัญ ชีแยกประเภท ซึ่งกิจ การมีการใช้แนวทางการควบคุ ม ภายในที่ดีในทุกกิจกรรม ยกเว้น ในเรื่องการไม่จัดทาคู่มือการปฏิบัติงาน ไพเราะ รัตนวิ จิตร (2549: 83) ได้ทาการศึกษาเรื่อ งการศึกษาเปรียบเทียบการควบคุม ภายในตามแนว COSO ด้านองค์ประกอบสภาพแวดล้อ มการควบคุมในอุตสาหกรรมโรงแรม จังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาพบว่าการปฏิบัติงานและระบบการควบคุมภายในด้านองค์ประกอบ สภาพแวดล้อมการควบคุมของธุรกิจโรงแรม ตามส่วนประกอบย่อย 7 ด้าน ปรากฏว่าโรงแรมแต่ละ ขนาดมีสภาพแวดล้อมของการควบคุมภายในแตกต่างกันทุก ด้าน คือ ด้านการมอบอานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ โรงแรมขนาดใหญ่พนักงานจะทราบบทบาทหน้าที่ของตนจากเอกสารคา บรรยายลักษณะงาน มีหัวหน้าดูแลและติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างสม่าเสมอ มีการกลั่นกรอง และพิจารณาบุคลากรอย่างเข้มงวด มีเงินทุนในการจ้างงานและสวัสดิการกับพนักงานเพียงพอ ส่วน โรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กจะปฏิบัติงานตามคาสั่งของผู้บริหารเป็นหลัก เงินทุนจากัด การ พิจารณาจ้างงานขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารเป็นหลัก ด้านการกาหนดเป้าหมายและนโยบายของบริษั ท โรงแรมทุกขนาดมีการปรับปรุงเป้าหมายและนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายหลักของบริษัทอยู่ เสมอ ด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถในการปฏิบัติงาน โรงแรมทุกขนาดมีการจัดทาเป็นเอกสาร กาหนดคุณสมบัติที่ต้องการอย่างชัดเจน โรงแรมขนาดใหญ่มีการจัดอบรมให้พนักงานในอัตราส่วน สูงสุด ด้านความซื่อสัตว์และจริยธรรม ธุรกิจโรงแรมมีการปลูกจิตสานึกให้พนักงานอยู่เสมอ ด้าน ปรัชญาและรูปแบบการดาเนินงานของผู้บริหาร โรงแรมมีทัศนคติที่ดีและสนับสนุนการปฏิบัติ หน้าที่เกี่ยวกับงานด้านบัญชีการเงิน ให้ความสาคัญต่อข้อมูลการดาเนินงานสนับสนุนการปรับปรุง ระบบข้อมูลให้ทันต่อเทคโนโลยี และโครงสร้างการจัดองค์กร โรงแรมขนาดเล็กมีรูปแบบไม่ ซับซ้อน ทาให้ติดต่อสื่อสารกับผู้บริหารได้ง่าย และรวดเร็วกว่าโรงแรมขนาดใหญ่ซึงมีโครงสร้าง ซับซ้อนกว่า ทาให้การเข้าถึงผู้บริหารระดับสูงได้ช้าหรือยากกว่า


74 รจิตลักษณ์ ชัยพงศ์พิพัฒน์ (2549: 77) ได้ทาการศึกษาเรื่อ งการศึกษาระบบสารสนเทศ ทางการบัญชีเพื่อพัฒนาการควบคุมภายในของบริษัท อินทนิล เชียงใหม่ จากัด ผลการศึกษาพบว่า การควบคุมภายในระบบสารสนเทศทางการบัญชีถือเป็นสิ่งสาคัญ และมีความจาเป็นอย่างยิ่งในการ ดาเนินงานของบริษัท ซึ่งมีการจัดจาหน่ายและกระจายสินค้าจานวนมากในเขตภาคเหนือตอนบน ส่งผลให้ระบบการควบคุมภายในระบบสารสนเทศทางการบั ญชีที่มีอ ยู่มีจุดบกพร่อ งเกิดขึ้นทั้ง ทางด้านการควบคุมทั่วไป และการควบคุมระบบงาน พนักงานไม่เห็นความสาคัญในการปฏิบัติ ตามระบบควบคุมภายใน ไม่มีมาตรการที่เข้มงวดลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็น สาเหตุที่ทาให้ระบบควบคุมภายในทางการบัญชีไม่มีประสิทธิ ภาพ ดังนั้น วิธีการควบคุมภายใน ดังกล่าวจะประสบผลสาเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรในองค์กร เพื่อการพัฒนาการ ควบคุมภายในระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ลดความเสี่ยง และป้องกัน การทุจริตที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงมีระบบการควบคุมภายในของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มี ความทั่วถึงในทุกระบบ วิย ดา ปานาลาด (2548: 86) ได้ ท าการศึ ก ษาเรื่อ งการบริ ห ารการควบคุ ม ภายในของ กระทรวงมหาดไทย จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบว่า การบริหารการควบคุมภายในของ กระทรวงมหาดไทย จังหวัดนครราชสีมา ผู้บริหารให้ความสาคัญต่อการบริห ารการควบคุมภายใน ทุกๆ ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการติดตามประเมินผล ซึ่งผู้บริหารให้ความสาคัญกับการ กาหนดให้ผู้บริหารต้องรายงานต่อผู้กากับดูแลโดยเร็ว หากพบการทุจริต หรือสงสัยว่าทุจริต หรือ สงสัยว่า พนักงานมีการไม่ปฏิบัติ ตามกฎ ระเบี ยบ ข้อ บังคับ และมติคณะรั ฐมนตรี กรณีผลการ ดาเนินงานไม่เป็นไปตามแผน หรือเป้าหมาย ได้กาหนดให้มีการแก้ไขอย่างทันกาล การกาหนดให้มี การรายงานผลเกี่ยวกับการบริหารการควบคุมภายในของหน่วยงานโดยตรงต่อผู้กากับดูแล ซึ่งอาจ เป็ น ไปได้ ว่ า การบริ ห ารงานของระบบราชการจะต้ อ งมี ส ายงานบั ง คั บ บั ญ ชา มี ผู้ ก ากั บดู แ ล ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน การปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมาย ต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมาตลอดทาให้ผู้บริหารต้อ งให้ความสาคัญกับการติดตาม ประเมินผลมาก ปัญหาในการนาการบริหารการควบคุมภายในมาปฏิบัติด้านสภาพแวดล้อมการ ควบคุม ด้านกิจกรรมการควบคุม และด้านสารสนเทศและการสื่อสาร มีปัญหาอยู่ในระดับปาน กลาง อาจเป็นไปได้ว่าบุคลากรขาดการให้ความสาคัญกับนโยบายและระเบียบปฏิบัติขององค์กร ประสิทธิผลของการสื่อสารเกี่ยวกับนโยบายและระเบียบปฏิบัติภายในองค์การ ซึ่งอาจเป็นผลมา จากปัญหาด้านประสิทธิภาพของบุคลากรในองค์การและจิตสานึกของบุคลากรที่ยังยึดติดกับระบบ การบริหารราชการแบบเก่า การมีค่าความนิยมร่วมกันความสามารถของบุคลากร และวัฒนธรรม


75 องค์การที่ยังขาดการอบรม และพัฒนาการปลูกฝังจิตสานึก และการสร้างวัฒนธรรมองค์การ เพื่อให้ สามารถตอบสนองตามนโยบายของผู้บริหารได้ ด้านการติดตามประเมินผล และการประเมินความ เสี่ยง มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย อาจเป็นไปได้ว่าปัจจุบันหน่วยงานราชการได้ให้ความสาคัญกับการ ติดตามประเมินผลและการประเมินความเสี่ยงอยู่ในระดับที่มาก รวมทั้งรัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนระบบ การประเมินผล การติดตามผลเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกาหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้อง จัดการการประเมินผลงานแบบเป็นรูปธรรม โดยมีดัชนีชี้วัดที่ชัดเจนรวมทั้งการสั่งการให้มีผู้กากับ ดูแลส่วนราชการปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดมากขึ้น วิราภรณ์ พึ่งพิศ (2550) ได้ทาการศึกษาเรื่องปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบการ ควบคุมภายในของบริษัท บูรพาอุตสาหกรรม จากัด ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อ ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบการควบคุมภายในของพนักงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ไม่ แ น่ใ จ เมื่ อ พิจ ารณารายด้ านพบว่ า อยู่ใ นระดั บ ไม่ แ น่ใ จทุ กด้ า น โดยค่ า เฉลี่ ย สู ง สุ ด คื อ ด้ า น กิจกรรมการควบคุม รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม และด้านการประเมินความเสี่ยง ต่าสุด ซึ่งไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าใช่ปัญหา หรือไม่ใช่ปัญหาเนื่องมาจากการรับรู้ในเรื่อง ความรู้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ระบบการควบคุ ม ภายในท าได้ ย าก และพนั ก งานบริ ษั ท บู ร พา อุตสาหกรรม จากัดส่วนมากอยู่ในตาแหน่งระดับพนักงาน ตรงกับการวิเคราะห์ผล การรับรู้เกี่ยวกับ ระบบการควบคุมภายในปรากฏว่าอยู่ ในระดับรับรู้ ไ ด้น้อ ย การรับรู้ เกี่ยวกั บระบบการควบคุ ม ภายในของพนักงาน พบว่า ระดับการรับรู้เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับรับรู้ได้ปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง เฉพาะด้านการประเมินผล ด้านเดียว ส่วนด้านระบบการควบคุมภายใน และด้านความเสี่ยงของการควบคุม อยู่ในระดับรับรู้ได้ น้อ ย การแสดงความคิดเห็นของผู้บริหารนั้น โดยองค์การได้มีการปฏิบัติในบางส่วนแต่ไ ม่ครบ องค์ประกอบ 5 ด้านของระบบการควบคุมภายในตามแนวความคิดของ COSO ซึ่งนาไปสู่ปัญหา และอุปสรรคในการพัฒนาระบบการควบคุมภายใน เป็นประเด็นหนึ่งที่ผู้บริหารสามารถนาไป แก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการพัฒนาระบบการควบคุมภายใน ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ วางไว้ และก่ อ ให้ เกิ ดประโยชน์ด้ านอื่น ๆ ตามมา วั ฒนธรรมองค์ การ และโครงสร้ างเดิ มของ องค์การเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในพัฒนาระบบการควบคุมภายในครั้งนี้ เพราะการ นาระบบใหม่ เ ข้า ไปแทนที่ ระบบเก่ า ย่อ มเปลี่ ย นแปลงได้ ย ากกั บพนั ก งานและผู้ บริ ห ารระดั บ กิจกรรมที่มีอายุการทางานเกิน 10 ปีซึ่งมักจะยึดติดกับระบบเดิมที่สามารถนาพาให้องค์การดารงอยู่ จนถึงปัจจุบัน ผู้บริหารมักจะเข้าใจผิดในเรื่องการตรวจสอบภายในและการควบคุมภายในว่าเป็น เรื่องเดียวกัน สรุปได้ว่าทั้งผู้บริหารและพนักงาน ขาดการรับรู้ในความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบการ


76 ควบคุมภายในตามแนวความคิดของ COSO ที่มีองค์ประกอบ 5 ด้านในเรื่องของความหมาย และ ประโยชน์ในด้านต่างๆที่จะได้รับ อภิญญา เปินสูงเนิน (2551: 125) ได้ทาการศึกษาเรื่อ งการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการ ควบคุมภายใน กรณีศึกษาสหกรณ์โคนมในจังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบว่า ตามความเห็น ของผู้สอบบัญชี สหกรณ์มีการควบคุมภายในอยู่ในระดับพอใช้ ความซื่อสัตย์และจริยธรรมมีการ ควบคุมภายในอยู่ในระดับพอใช้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนในการกาหนดนโยบาย และ วิธีการบริหารงานบุคคลในเรื่องความซื่อสัตย์และจริยธรรม ไม่มีการถือปฏิบัติอย่างเคร่ งครัดของ คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ การจัดองค์การและการมอบหมายงานมีการควบคุมภายใน โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ทั้งนี้เนื่องมาจากการจัดโครงสร้างที่ยังไม่เหมาะสมกับขนาดของสหกรณ์ และการมอบอานาจให้แก่คณะกรรมการ การกาหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ส่วน ใหญ่ ยังไม่เป็นลายลักษณ์อักษร การบริหารงานบุคคลมีการควบคุมภายในโดยรวมอยู่ในระดับ พอใช้ ทั้งนี้อาจมาจากสหกรณ์ส่วนใหญ่ไม่มีการกาหนดแผนพัฒนาบุคลากรให้เกิดความรู้ความ ชานาญในการปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติตามระเบียบที่กาหนดยังไม่เหมาะสม กล่าวคือ ไม่มีการ ลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนระเบียบอย่างจริงจัง จึงทาให้การบริหารงานบุคคลไม่เกิดประสิทธิภาพ เท่าที่ควร การตรวจสอบภายในมีการควบคุมภายในโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานการตรวจสอบ ซึ่งได้แก่ ผู้ตรวจสอบกิจการ กล่าวคือ สหกรณ์ โคนมส่วนใหญ่คัดเลือกผู้ตรวจสอบกิจการโดยไม่คานึงถึงความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติ หน้าที่ตรวจสอบ รวมทั้งผู้ตรวจกิจการส่วนใหญ่เคยดารงตาแหน่งทางบริหารที่เว้นวรรคตามวาระ การดารงตาแหน่ง การรายงานและประเมินผลการควบคุมภายในโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากฝ่ายบริหารไม่มีการนารายงานผลดาเนินงานที่ได้จัดทาไว้ไปเป็นเครื่องมือในการ บริหาร กล่าวคือ ไม่มีการเปรียบเทียบรายการที่เกิดขึ้นจริงกับรายการที่ประมาณไว้ประจาทุกเดือน จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าว สรุปได้ว่า ระบบการควบคุม ภายใน เกี่ ยวข้อ งกั บองค์ ป ระกอบ 5 ด้ าน คื อ สภาพแวดล้อ มของการควบคุ ม การประเมิน ความเสี่ ย ง กิจกรรมการควบคุม สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามประเมินผลซึ่งมีความสัมพันธ์กับ โครงสร้างหน่วยงานของกลุ่มงานที่สังกัด วัฒนธรรมองค์การ และ การรับรู้ต่อระบบการควบคุม ภายในอย่างมีความรู้ ความเข้าใจ จึงจะสามารถพัฒนาระบบการควบคุมภายในให้ประสบผลสาเร็จ ได้ การมีระบบการควบคุมภายในนั้นเพื่อ ที่จะได้มีส่วนช่วยแก้ไ ขปัญหาและอุปสรรค หรือ สร้าง ระบบงานให้กิจกรรมทุกอย่างสอดคล้องกัน


บทที่ 3 ข้อมูลกรณีศึกษา ประวัติขององค์กร บริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จำกัด เดิมชื่อ บริษัท ผลิตผลมันสำปะหลัง จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียน เปลี่ย นชื่อเป็น บริษัท วุฒิ ชัยโปรดิว ส์ จำกัด เมื่อ วั นที่ 17 มิ ถุนำยน 2537 ทั้งนี้ ทำงบริษัท ได้จ ด ทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 เมษำยน 2520 ทะเบียนเลขที่ 0105520005400 โดย บริษัทตั้งอยู่เลขที่ 278 ถนนพลับพลำไชย แขวงป้อมปรำบ เขตป้อมปรำบศัตรูพ่ำย กรุงเทพมหำนคร มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 231,600,000 บำท วัตถุประสงค์หลัก คือ เป็นบริษัทที่ดำเนินงำนเกี่ยวกับ กำรปรับปรุงคุณภำพข้ำวชนิดต่ำง เช่น ข้ำวสำรเจ้ำ ข้ำวสำรเหนียว แล้วนำไปบรรจุถุงเพื่อส่งออกไป ยังต่ำงประเทศ เป็นบริษัทส่งออกข้ำวคุณภำพติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศไทย กำรดำเนินงำนของบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จำกัด จะมีกำรรับวัตถุดิบมำจำกมำจำกโรงสีข้ำว ทำงภำคตะวันออกเฉียงเหนือ และภำคเหนือของประเทศไทย และนำมำปรับปรุงสภำพเมล็ดข้ำว ให้ได้คุณภำพตำมที่รัฐบำลกำหนดเพื่อส่งออกไปยังต่ำงประเทศ อีกทั้งมีกำรสุ่มตัวอย่ำงเมล็ดไป ตรวจสอบคุณภำพทั้งก่อนปรับปรุง ระหว่ำงปรับปรุงและหลังปรับปรุงคุณภำพ เพื่อ ให้มั่นใจว่ำ เมล็ดข้ำวมีคุณภำพได้มำตรฐำน เมล็ดที่ไม่ได้มำตรฐำนจะถูกคัดออก รวมทั้ง สิ่งเจือปน เช่น เศษ ดิน เศษวัสดุ ต้น ใบหรือฟำงข้ำวที่อำจติดมำ สำหรับขั้นตอนกำรเก็บรักษำรอจำหน่ำยนั้นจะมีกำร ควบคุมดูแล รมยำป้องกันกำจัดแมลงในโรงเก็บ และมีกำรสุ่มตัวอย่ำงเมล็ดไปตรวจสอบคุณภำพ เป็ น ประจ ำทุ ก เดื อ น ซึ่ ง ประเทศที่ ท ำงบริ ษั ท ส่ ง ออกข้ ำ วไป ได้ แ ก่ ออสเตรเลี ย นิ ว ซี แ ลนด์ สหรัฐอเมริกำ สหรำชอำณำจักร แคนำดำ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปน โปแลนด์ ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ ประเทศที่มีกำรซื้อมำกที่สุด คือ สหรัฐอเมริกำ แคนำดำ และ ออสเตรเลีย ในปัจจุบันทำงบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จำกัด มีกำรบริหำรงำนโดย คุณวุฒิ อธิพันธุ์อำไพ และมีกรรมกำร คือ คุณอนุสิทธิ์ อภิวันทน์โอภำศ คุณอนุศักดิ์ อภิวันทน์โอภำศ และคุณอนุสรณ์ อภิ วันทน์โอภำศ เป็นผู้บริหำรระดับสูงสุดขององค์กร มีกำรแบ่งแผนกในองค์กรออกเป็น 6 แผนก คือ แผนกวำงแผน/พัฒนำธุรกิจ แผนกกำรตลำด แผนกผู้จัดกำรทั่วไป แผนกบัญชีและกำรเงิน แผนก


78 จัดซื้อ และแผนกโรงงำน ซึ่งในแต่ละแผนกจะมีผู้จัดกำรทำหน้ำที่ควบคุมกำรทำงำนและรำยงำน กำรดำเนินงำนต่อผู้บริหำร บริษัทได้แบ่งกำรปฏิบัติงำน 6 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 คือ ประธำน (President) ระดับ 2 คือ ผู้บริหำร (Managing Director) ระดับ 3 คือ ผู้จัดกำรฝ่ำย (Department Manager) ระดับ 4 คือ ผู้จัดกำรส่วน (Division Manager) ระดับ 5 คือ หัวหน้ำแผนก (Section Head) ระดับ 5.5 คือ ผู้ช่วยหัวหน้ำแผนก (Section Head Assistance) ระดับ 6 คือ เจ้ำหน้ำที่ (Officer)


ระดับ 1

ประธาน

ระดับ 2

กรรมการผู้จัดการ

ระดับ 3

ระดับ 4

ระดับ 5

วางแผน/พัฒนาธุรกิจ

สารสนเทศ

สารสนเทศ

การตลาด

ทรัพยากรบุคคล

ฝึกอบรม

บุคคล

บรรจุภณ ั ฑ์

บรรจุภณ ั ฑ์

ผู้จัดการทั่วไป

ลูกค้าสัมพันธ์

ลูกค้า ชาวจีน

ลูกค้าชาว ตะวันตก

บัญชีและการเงิน

ส่งออก

ใบอนุญาต

LOGISTIC

เอกสาร ส่งออก

SHIPPING

จัดซื้อ

ผู้จัดการโรงงาน

บริหาร สานักงาน

บัญชี

การเงิน

จัดซื้อ สานักงาน

จัดซื้อ โรงงาน

บริหาร โรงงาน

เทคนิค

ควบคุม คุณภาพ

ผลิต

ความ ปลอดภัยฯ

บริหาร สานักงาน

บัญชี

การเงิน

จัดซื้อ สานักงาน

จัดซื้อ โรงงาน

บริหาร โรงงาน

เทคนิค

ควบคุม คุณภาพ

ผลิต

ความ ปลอดภัยฯ

ระดับ 5.5

ระดับ 6

ผลิต

OFFICER 1

OFFICER 0

OFFICER 0

OFFICER 0

OFFICER 1

OFFICER 1

OFFICER 2

OFFICER 1

OFFICER 3

OFFICER 2

OFFICER 8

ภาพที่ 1 แผนผังองค์กร

OFFICER 2

OFFICER 2

OFFICER 1

OFFICER 1

OFFICER 4

OFFICER 12

OFFICER 4

OFFICER 1

OFFICER 0


80 การดาเนินงานขององค์กร การดาเนินงานขององค์กรสรุปได้ 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการบริหาร นโยบายต่างๆ ถูกกาหนดโดยผู้บริหารระดับสูง มีการกาหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การด าเนิ น งาน มี การแบ่ งออกเป็ นวั ตถุ ป ระสงค์ ย่อ ยในระดั บกิ จ กรรมหรือ ส่ วนงานย่อ ย และ สามารถวัดผลสาเร็จได้ ในการวางแผนการดาเนินงาน ทางบริษัทมีการจัดทาแผนการดาเนินงานตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กาหนดไว้โดยฝ่ายบริหาร มีการกาหนดวัตถุป ระสงค์เป้าหมาย วิธีการดาเนินงาน การจัดสรรทรัพยากรทั้งงบประมาณ อัตรากาลัง และระยะเวลาดาเนินงานไว้อย่างชัดเจน มีการ สื่อสารและมอบหมายหน้าที่ให้กับบุคลากรทราบ การติดตามประเมินผล ทางบริษัทมีการประเมินผลการบรรลุวัตถุประสงค์การดาเนินงาน ของหน่ ว ยงานอย่ า งต่ อ เนื่ อ งและสม่ าเสมอ โดยมี ก ารเปรี ย บเที ย บผลการใช้ จ่ า ยเงิ น จริ ง กั บ งบประมาณ และสรุปสาเหตุของความแตกต่างของจานวนเงินที่ ใช้จ่ายจริงกับงบประมาณ มีการ ติดตามผลอย่างเป็นระบบประเมินมีความน่าเชื่อถือ และตรงตามวัตถุประสงค์ที่กาหนด การติดตาม ประเมินผลมีการดาเนินการในช่วงเวลาและความถี่ที่เหมาะสม มีการสื่อสารผลการประเมินให้ บุ ค ลากรที่ รั บ ผิ ด ชอบทราบและแก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง การด าเนิ น งาน มี ก ารทบทวน หรื อ ปรั บ ปรุ ง วั ต ถุ ป ระสงค์ ก าร ด าเนิ น งานแผนและกระบวนการด าเนิ น งานตามค าร้ อ งขอของบุ ค ลากรที่ รับผิดชอบอีกทั้งฝ่ายบริหารมีการติดตามผลเพื่อให้ความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นไป ตามที่กาหนดไว้ ทางบริษัทยังใช้หน่วยงานในการตรวจสอบหรือสอบทานที่เป็นอิสระเกี่ยวกับการ ดาเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอและรายงานผลการตรวจสอบหรือ การสอบทานอย่างเป็น อิสระเกี่ยวกับการดาเนินงานเป็นลายลักษณ์อักษร


81 กระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อดูความมีประสิทธิผลของกระบวนการปฏิบัติงาน ฝ่ายบริหารมีการพิจารณาและกาหนด กระบวนการปฏิบั ติงานที่ส าคัญ ในการด าเนิ นงานตามภารกิ จ มีการประเมิ นประสิท ธิผลของ ปฏิบัติงาน รวมถึงข้อเสนอแนะจากมาตรการปรับปรุงประสิทธิผลของการปฏิบัติ ได้มีการนาไป ปฏิบัติอย่างจริงจัง ในส่วนของกระบวนการดาเนินงานที่สาคัญมีการจัดทาเป็ นเอกสารในรูปแบบที่ สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ง่ายและเป็นปัจจุบัน มีการลงนามในเอกสารเป็นไปตามขอบเขตอานาจ หน้าที่งานของแต่ละฝ่าย จะไม่มีการลงนามแทน เพื่อดูความมีประสิทธิภาพงานของกระบวนการปฏิบัติงาน ฝ่ายบริหารได้มีการติดตาม ประเมิน ผลเกี่ย วกั บประสิ ทธิภ าพของกระบวนการด าเนินงาน มีก ารคานวณต้นทุ นของแต่ล ะ กระบวนการดาเนินงานที่สาคัญ และมีการเปรียบเทียบต้นทุนการดาเนินงานกับผลผลิต (Output) หรื อ ผลลั พ ธ์ (Outcome) เพื่ อ เปรี ย บเที ย บประสิ ท ธิ ภ าพ ได้ มี ก ารปฏิ บั ติ ต ามมาตรการเพิ่ ม ประสิทธิภาพการดาเนินงานอย่างเหมาะสม ทรัพยากร มีการจัดสรรทรัพยากรให้กับกระบวนการดาเนินงานทั้งหมด มีการจัดลาดับความสาคัญ ของวัตถุประสงค์การดาเนินงาน หากทรัพยากรใดที่มีการใช้ประโยชน์น้อ ยก็จะได้รับการแก้ไ ข ปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้หน่วยงานบรรลุผลที่ดีที่สุดในการสร้างความสมดุลระหว่างประสิทธิผลกับ ประสิทธิภาพทางองค์กรได้ถือหลักปฏิบัติสม่าเสมอ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลของการใช้ทรัพยากร ทางบริษัทมีการกาหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการ จัดสรรทรัพยากรแต่ละประเภท เพื่อสนับสนุนการบรรลุวัตถุประสงค์ของการดาเนินงาน บุคลากรมี การยอมรับมาตรฐานการปฏิบัติงานที่กาหนดว่าจะต้องปฏิบัติได้ตามเป้ าหมายกาหนดหรือสูงกว่า หากการปฏิบัติงานต่ากว่าเป้าหมายที่กาหนดก็มีการปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงการดาเนินงาน มีแผนการฝึกอบรมที่เพียงพอสาหรับบุคลากรในการฝึกฝนทักษะและความสามารถที่จาเป็นต่อการ ปฏิบัติงาน และยังเป็นการจูงใจให้บุคลากรให้ความสาคัญต่อการพัฒนาทักษะและความสามารถ ของตนเอง รวมถึงยังมีการประเมินผลระบบสารสนเทศของหน่วยงานเป็นครั้งคราว เพื่อให้ใช้งาน ได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย


82 สภาพแวดล้อมการดาเนินงาน มีการระบุและกาหนดวิธี การปฏิบัติต ามระเบียบ ข้อ บั งคับและมาตรฐานที่สาคัญและ จาเป็นต่อการดาเนินงาน รวมทั้งมีกลไกการติดตามการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐาน ดังกล่าว ความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดาเนินงาน มีการติดตามผลและวางแผนป้องกันหรือ ลด ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก 2. การเงินการบัญชี การเก็บรักษาเงินโดยทั่วไป ทางบริษัทมีสถานที่และตู้นิรภัยสาหรับเก็บรักษาเงินที่ปลอดภัย มีกรรมการรักษาเงินที่ ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่ ถูกต้องตามระเบียบ มีการจัดทารายงานเงินคงเหลือประจาวัน การ เก็บรักษาเงินถูกต้องตามระเบียบและอยู่ภายในวงเงินเก็บรักษา ไม่มีเช็ค หรือใบสาคัญ หรือใบยืมที่ ไม่ ถูก ต้อ งไว้แ ทนตัว เงิ น ผู้รั กษาเงิน กับ ผู้ท าบั ญชี เงิ นสดเป็น บุค คลคนละคน มี การตรวจสอบ ใบสาคัญประกอบการเบิกจ่ายเงินก่อนอนุมัติสั่งจ่าย รวมทั้งยังมีผู้ตรวจสอบภายในหรือเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ ทาการตรวจนับเงินสดโดยไม่บอกล่วงหน้า การรับเงิน ทางบริษัทมีการออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน ใช้ใบเสร็จรับเงินมีเลขลาดับเล่มที่ และฉบับที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้า และใบเสร็จรับเงินที่ยังไม่ได้ใช้ เก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย และมีการ ทาทะเบียนคุมเพื่อให้ทราบจานวนที่คงเหลืออยู่ในมือทั้งหมด การเบิกใช้แต่ละครั้งผู้เบิกได้ ลงนาม ไว้เป็นหลักฐาน ใบเสร็จรับเงินที่ใช้แล้ว มีการสอบทานว่าได้มีการนาลงบัญชีครบทุกฉบับ การ รับส่งเงินระหว่างเจ้าหน้าที่ มีการสอบยอดจานวนเงินตามสาเนาใบเสร็จรับเงิน และมีหลักฐานลง ชื่อรับส่งเงินระหว่างกัน ระยะเวลาการส่งเงิน จะนาส่งเจ้าหน้าที่การเงินในวันที่รับ เงินหรือวันทา การถัดไป มีการกาหนดว่าเช็คที่ได้รับจะต้อง “ขีดคร่อม” เพื่อเข้าบัญชีของหน่วยงาน หน้าที่ของ


83 เจ้าหน้าที่รับเงินในแผนกการเงินแยกจากหน้าที่บันทึกบัญชีเงินสดและเงินฝากธนาคาร หน้าที่นา เงินสดฝากธนาคาร หน้าที่กระทบยอดเงินสดและเงินฝากธนาคาร และหน้าที่ลงนามการจ่ายเช็ค การจ่ายเงิน ทางบริษัทมีระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินอย่างชัดเจน การจ่ายเงินจะจ่ายเป็น เช็ค เว้นแต่รายจ่ายเล็กน้อยจ่ายจากเงินสดย่อย เช็คที่ไม่ใช้ได้ขีดฆ่าเพื่อป้องกันมิให้นาไปใช้อีก ออก เช็คสั่งจ่ายโดยระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น มีการควบคุมเช็คซึ่งยังไม่ได้ใช้อย่างเหมาะสม การจ่ายเงินทุก ประเภทมีเอกสารใบสาคัญประกอบการ จ่ายเงินครบถ้วนและถูกต้องตามระเบียบ มีการตรวจสอบ หลั ก ฐานทุ ก ราย ก่ อ นการจ่ า ยเงิ น ทุ ก ครั้ ง ว่ า จ่ า ยได้ ต ามกฎหมาย ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ และมติ คณะรัฐมนตรี ผู้เขียนเช็คเป็นคนละคนกับผู้ อนุมัติใบสาคัญจ่าย หน้าที่ของผู้เซ็นเช็ค แยกต่างหาก จากหน้าที่เก็บรักษาเงินสดย่อย หน้าที่อนุมัติใบสาคัญจ่ายเงิน หน้าที่บันทึกบัญชีเงินสดและเงินฝาก ธนาคาร และหน้าที่บันทึกรายการบัญชีแยกประเภท มีการกาหนดให้มีผู้มีอานาจลงนามในเช็คที่สั่ง จ่ายมากกว่าหนึ่งคน มีการส่งเช็คให้ผู้รับทันทีเมื่อลงนามแล้ว มีการจากัดผู้มีสิทธิที่จับต้องเช็ค การ จ่ายเงินให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้หรือผู้ไม่มีสิทธิรับเงินจ่ายโดยมีหนังสือมอบฉันทะของผู้มีสิทธิรับ เงิน มีการประทับตราใบสาคัญเมื่อจ่ายเงินแล้วและไม่มีการกาหนดให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวกั บการซื้อจ้าง และการเงินรับเงินแทนผู้มีสิทธิรับเงิน เงินฝากธนาคาร ธนาคารที่ทางบริษัทได้ทาการฝากเงินไว้นั้นเป็นธนาคารที่ได้รับอนุมัติให้ฝากเงินได้ตาม ระเบียบ หรือกฎหมายที่กาหนดไว้ ในการเปิดบัญชีธนาคารและการกาหนดผู้มีอานาจในการลงนาม สั่งจ่ายได้รับมอบอานาจโดยถูกต้อง มีการกาหนดระเบียบปฏิบัติที่แจ้งให้ธนาคารทราบ เมื่อมีการ เปลี่ยนผู้มีอานาจในการลงนามจ่ายเช็ค กรณีรับเช็คที่ฝากคืนจากธนาคาร มีการลงบัญชีคุมและมีการ ติดตามทุกรายการ มีการเก็บรักษาสมุดคู่ฝากใบนาฝากธนาคาร และต้นขั้วเช็คไว้เรียบร้อ ยมีการ พิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารอย่างน้อ ยเดือ นละครั้ง ผู้มีหน้าที่พิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารไม่ได้ทา หน้าที่ลงนามในเช็ค ลงรายการในสมุดเงินสด หรือเก็บรักษาและรับจ่ายเงินสด ใบแจ้งยอดเงินฝาก มีการส่งโดยตรงไปยังผู้จัดทางบกระทบยอด ยอดคงเหลือบัญชีเงินฝากธนาคารมีการคุมยอดด้วย บัญชีแยกประเภททั่ว ไป ผู้ตรวจสอบภายในตรวจผลการพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารและนาเสนอ ผู้บังคับบัญชาทุกครั้ง มีการควบคุมเช็คซึ่งผู้รับยังมิได้นาไปขึ้นเงินเป็นเวลานาน


84 เงินยืมทดรอง ใบยืมเงินทดรองได้รับอนุมัติโดยผู้มีอานาจตามระเบียบ ผู้ยืมเงินทดรองกับผู้อ นุมัติเป็น บุคคลคนละคนกัน การยืมเงินทดรองเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดตามระเบียบเท่านั้น มีการ ควบคุมเงินยืมทดรองที่ค้างนานเกินกาหนด เงินยืมทดรองที่เกินกาหนดมีการเร่งรัดให้ส่งคืนตาม ระเบียบ ไม่อนุมัติให้ยืมเงินทดรองใหม่หากยังไม่ส่งใช้เงินยืม ทดรองรายเก่า เมื่อได้รับคืนเงินยืม ทดรองมีการออกใบเสร็จรับเงินหรือใบรับใบสาคัญ และบันทึกการรับคืนในสัญญาการยืมเงินทด รอง มีการเก็บรักษาสัญญาการยืมเงินทดรองที่ยังไม่ส่งใช้ไว้อย่างเป็นระเบียบในที่ปลอดภัย 3. ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องทั่วไป ทางบริษัทมีการแบ่งแยกความรับผิดชอบของการขออนุมัติจัดซื้อ การจัดซื้อ การรับพัสดุ ออกจากการเงินและการบัญชี แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในการเตรียมหลักฐานเพื่อชาระค่า พัสดุและการอนุมัติจ่ายเงิน ออกจากการบันทึกเบิกจ่ายเงินและบัญชีแยกประเภท มีการกาหนด หน้ าที่ ส าหรับ แต่ล ะคนหรื อแต่ ละหน่ ว ยงานในเรื่อ งการบริ หารพั ส ดุอ ย่า งเหมาะสม หากเป็ น หน่วยงานกลางทาหน้าที่จัดหาพัสดุมีการกาหนดหน้าที่ความรับผิดชอบเหมาะสมชัดเจน แต่หากมี หน่วยงานอื่นนอกเหนือจากหน่วยจัดหาพัสดุ ได้มีการกาหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน และมีระบบการ ตรวจสอบเพื่อให้ความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ที่กาหนด การกาหนดความต้องการ ทางบริษัทจะให้ผู้ใช้พัสดุเป็นผู้กาหนดความต้องการพัสดุ โดยได้ระบุรายการหรือประเภท พัสดุ ปริมาณพัสดุ กาหนดเวลาที่ต้องการอย่างละเอียดและชัดเจนในรายงานการขอจัดซื้อหรือจ้าง ซึ่งมี การก าหนดระยะเวลาการแจ้ง ความต้อ งการพัส ดุ หรื อ ขอให้จั ดหาไว้อ ย่า งเหมาะสมและ เพียงพอ สาหรับจัดหาเพื่อป้องกันการจัดหาโดยวิธีพิเศษ ที่อ้างความเร่งด่วน


85 การจัดหา บริษัทได้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดหา ดาเนินการโดยเปิดเผยโปร่งใส และมีการแข่งขันกัน อย่างเป็นธรรม โดยมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา หรือ ผู้เสนองานแต่ละราย ว่าเป็นผู้ เสนอราคาที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน การตรวจรับ บริษัทจะให้คณะกรรมการตรวจรับ ตรวจรับพัสดุที่สาคัญหรือมูลค่าสูง ส่วนในการตรวจ รับพัสดุที่มีคุณภาพพิเศษในการตรวจรับจะมีการให้คาปรึกษาโดยชานาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิใน เรื่องนั้นโดยเฉพาะ มีการจัดทารายงานสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เมื่อมีการคืนสินค้าได้นาเอกสารลดหนี้ จากผู้ขายมาบันทึกบัญชีโดยถูกต้องครบถ้วน การควบคุมและการเก็บรักษา บริษัทมีการให้หมายเลขครุภัณฑ์ มีการจัดทาทะเบียนถูกต้องตามระเบียบและเป็นปัจจุบัน สถานที่จัดเก็บพัสดุเก็บไว้ในที่ปลอดภัย เป็นระเบียบเรียบร้อย มีการลงบัญชีหรือทะเบียนพัสดุ โดย จาแนกเป็นประเภทและรายการ โดยถูกต้องครบถ้วน การจาหน่ายพัสดุ กรณีที่มีการจาหน่ายพัสดุเป็นสูญได้รับการอนุมัติโดยผู้มีอานาจ 4. ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล การสรรหา ฝ่ายบริหารมีการกาหนดทักษะและความสามารถที่จาเป็นของตาแหน่งงานสาคัญไว้อย่าง ชัดเจน มีการเผยแพร่ข้อมูลการรับสมัครงานอย่างทั่วถึง และมีการจัดการทดสอบคัดเลือกบุคลากร


86 ในแต่ละตาแหน่ง งานเพื่อ ให้ได้บุค ลากรที่เ หมาะสมที่สุด รวมถึงมีอัต ราเงินเดือ นและค่าจ้างที่ สามารถจูงใจและรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กรได้ ค่าตอบแทน มีการบันทึกเวลาปฏิบัติงานของบุคลากรและมีหัวหน้างานลงนามรับรองใบลงเวลา ใน ส่วนของเงินเดือนมีการพิจารณาอนุมัติและจัดทาเป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงมีค่าตอบแทนให้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานเป็นผลสาเร็จหรือมีประสิทธิภาพสูง หน้าที่ความรับผิดชอบ มีการกาหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรแต่ละคน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่สาคัญ เกี่ยวกับการมอบหมายงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อ ให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้ตาม วัตถุประสงค์การดาเนินงานของหน่วยงาน ทั้งนี้หน้าที่ความรับผิดชอบของงานที่สาคัญต้องมีการ อนุมัติโดยหัวหน้างาน การพัฒนาบุคลากร ผู้บริหารระดับสูงให้ความสาคัญต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร โดยมีการ จัดฝึกอบรมบุคลากรเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ และมีการจัดสรรงบประมาณอย่าง เพียงพอเพื่อการพัฒนาบุคลากร การปฏิบัติงานของบุคลากร มีการกาหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่ กาหนดเป็นครั้งคราว และจัดทาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อนามาปรับปรุงผลการปฏิบัติงานที่ต่ากว่า มาตรฐานที่กาหนด


87 การสื่อสาร มีการสื่อสารข่าวสารหรือคาสั่งให้บุคลากรระดับปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ และมี การกาหนดวิธีการสื่อสารเพื่อให้บุคลากรสามารถส่งข้อเรียกร้องหรือข้อแนะนาให้กับฝ่ายบริหาร ได้ รวมถึงมีการกาหนดให้ฝ่ายบริหารติดตามผลและตอบข้อเรียกร้อง และข้อแนะนาของบุคลากร 5. ด้านสารสนเทศ การบันทึกข้อมูลเป็นไปโดยรวดเร็ว ทันเวลาและถูกต้อง โดยมีการจัดประเภทสารสนเทศ เป็นหมวดหมู่เพื่อใช้ในการในการวิเคราะห์และวัดผลงาน และกาหนดทางเดินของเอกสารต่างๆ ให้ เป็นไปอย่างชัดเจนและรวดเร็ว มีการจดบันทึกและจัดทารายงานการรับส่งสารสนเทศเป็นหลักฐาน ในด้านเอกสารต้องมีการลงนามในรายงานหรือเอกสารสาคัญแสดงผู้อนุมัติ ผู้จัดทา และผู้สอบทาน หรือใช้รหัสผ่านแบบเฉพาะเจาะจง ส่วนการควบคุมด้านคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลต้องมี ความถู ก ต้ อ ง ครบถ้ ว น เชื่ อ ถื อ ได้ นอกจากนี้ ยั ง ควรมี ก ารสอบยั น ข้ อ มู ล สารสนเทศระหว่ า ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่าเสมอ ผลกระทบจากวิกฤตการณ์อาหารโลก ในช่วงที่ประเทศไทยและทั่วโลกกาลังประสบกับวิกฤตการณ์อ าหารโลกนั้น ส่งผลให้ บริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จากัด มีการส่งออกข้าวน้อยลงในช่วง 3 ปีย้อนหลัง ทาให้รายได้และกาไร ของบริษัทลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุที่ทาให้ส่งออกข้าวได้น้อ ยลงนั้นผู้บริหารของบริษัทได้ให้ เหตุผลว่ ามาจาก ราคาข้าวในตลาด นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวกับโครงการจานาราคาข้าวของ รัฐบาลที่ให้ราคาสูงกว่าราคาตลาดมาก การกาหนดระดับราคาข้าวไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากระดับราคาข้าวไทยเกิด จากระบบการค้าในตลาดโลก ซึ่งนอกจากเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานของสินค้าแล้ว ยังขึ้นกับ อานาจการเจรจาต่อรองในเวทีการค้าซึ่งอานาจของผู้ซื้อมีมากกว่าผู้ขาย นอกจากนี้ ผู้ซื้อรายใหญ่ใน ตลาดโลกมักเป็นลักษณะการซื้อผ่านระบบรัฐบาลหรือที่เรียกว่า G2G


88 นโยบายการจานาข้าวของรัฐบาลนั้นมุ่งเน้นให้เกษตรกรหรือชาวนามีรายได้สูงขึ้น สามารถ ขายข้าวได้ในราคาที่สูง การกาหนดนโยบายเรื่องข้าวในปัจจุบันได้ให้ความสาคัญกับการแทรกแซง กลไกตลาดภายใต้โครงการรับจานาในระดับราคาที่สูงกว่าระดับราคาตลาดอย่างมากและรับจานา แบบไม่จากัดจานวนทาให้รัฐบาลกลายเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุด โดยให้ประโยชน์กับชาวนามากขึ้น ซึ่งก็ย่อ มมีผู้เสี ยประโยชน์นั้น ก็คือ ผู้ส่ งออกข้ าว เพราะการจานาข้าวของรัฐบาลนั้นทาให้ราคา ส่งออกข้าวของประเทศไทยนั้นสูงกว่าผู้ส่งออกข้าวที่สาคัญรายอื่นๆ ค่อนข้างมาก เนื่องจากรัฐบาล ที่กาหนดราคารับจานาสูงกว่าตลาด ทาให้ราคาส่งออกปรับตัวสูงตามไปด้วย ส่งผลให้ประเทศไทย ไม่สามารถแข่งขันส่งออกข้าวในตลาดโลกได้ นอกจากนี้ยังต้องพบกับการแข่งขันที่รุนแรงจาก ประเทศคู่แข่ง เช่น ประเทศอินเดียที่มีการส่งออกในราคาต่า และประเทศเวียดนามที่ได้ปรับลดราคา ส่งออกข้าวให้ต่าลงเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ กระบวนการผลิตและค้าข้าวของไทยได้ประสบความสาเร็จในการยกระดับคุณภาพข้าวมา ก่อน และจากชื่อเสียงของข้าวไทย ตลาดต่างประเทศก็พร้อมที่จะให้ข้าวไทยได้ราคาสูงกว่าข้าวของ ประเทศอื่นๆ แต่นโยบายจานาข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมากาลังคุกคามชื่อเสียงของข้าวไทยในตลาด ต่างประเทศและในประเทศ ทั้งนี้ เพราะจากกระบวนการผลิตและค้าข้ าวไทยที่ชาวนา โรงสี และ พ่อค้าส่งออกได้ร่วมกันสร้างมาแต่อดีต และที่อาศัยกลไกตลาดเป็นเครื่องมือ กระบวนการดังกล่าว นี้ มี ค วามละเอี ย ดอ่ อ นพอสมควร สามารถแยกแยะเกรดข้ า วต่ า งๆ ได้ เช่ น สามารถแยกแยะ แม้กระทั่งข้าวหอมมะลิจากจังหวัดต่างๆ กระบวนการดังกล่าวกาลังถูกทาลายออกไปโดยนโยบาย จานาข้าว ด้วยเหตุนี้ ชาวนาไทยจึงเริ่มหันไปปลูกข้าวที่เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ จากสาเหตุที่ทาให้ส่งออกข้าวได้น้อยลงดังกล่าวทางผู้บริหารหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มี แนวทางในการแก้ปัญหานี้ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และนโยบายของรัฐบาล โดยทาง บริษัทต้องมีการพูดคุยชี้แจงกับประเทศลูกค้าว่าราคาที่เพิ่มของเข้าที่ส่งออกนั้นมาจากสาเหตุใด และยังต้องพยายามหาซื้อวัตถุดิบจากแหล่งอื่นให้มากขึ้นเพื่อจะได้เพียงพอต่อความต้องการ


บทที่ 4 ผลการศึกษา บริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จำกัด เป็นบริษัทที่ดำเนินงำนเกี่ยวกับกำรปรับปรุงคุณภำพข้ำวชนิด ต่ำงๆ เช่น ข้ำวสำรเจ้ำ ข้ำวสำรเหนียว แล้วนำไปบรรจุถุงเพื่อส่งออกไปยังต่ำงประเทศ เป็นบริษัท ส่งออกข้ำวคุณภำพติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศไทย กำรดำเนินงำนของบริษัทจะมีกำรแบ่งแผนก ในองค์กรออกเป็น 6 แผนก คือ แผนกวำงแผน/พัฒนำธุรกิจ แผนกกำรตลำด แผนกผู้จัดกำรทั่วไป แผนกบัญชีและกำรเงิน แผนกจัดซื้อ และแผนกโรงงำน สรุปผลกำรควบคุมภำยในเปรียบเทียบตำมแนว COSO ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ด้ำน ได้แก่ 1. สภำพแวดล้อมกำรควบคุม (Internal Environment) 2. กำรประเมินควำมเสี่ยง (Risk Assessment) 3. กิจกรรมกำรควบคุม (Control Activity) 4. สำรสนเทศและกำรสื่อสำร (Information and Communication) 5. กำรติดตำมประเมินผล (Monitoring) สภาพแวดล้อมการควบคุม 1. ความซื่อสัตย์และจริยธรรม (Integrity and Ethical Values) ทำงบริษัทมีกำรกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ และมำตรฐำนกำรทำงำน เพื่อ ให้พนักงำนและผู้บริหำรปฏิบัติตำมในทิศทำง เดียวกัน ทำให้กำรดำเนินงำนเป็นไปอย่ำงรำบรื่นและตำมเป้ำหมำยของบริษัท 2. ความรู้ทักษะและความสามารถของบุคลากร (Commitment to Competence) ในกำร รับบุคลำกรเข้ำมำเป็นพนักงำนของบริษัท มำทำงฝ่ำยบริหำรมีกำรกำหนดทักษะ และควำมสำมำรถ ที่จำเป็นของตำแหน่งงำนนั้นๆ ไว้อย่ำงชัดเจน รวมทั้งมีกำรจัดกำรทดสอบคัดเลือกบุคลำกรในแต่ ละตำแหน่งงำน เพื่อให้ได้บุคลำกรที่เหมำะสมที่สุด


90 3. คณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการตรวจสอบ (Board of Directors or Audit Committee) ทำงฝ่ำยบริหำรมีกำรจัดตั้งคณะผู้ตรวจสอบทั้งภำยในบริษัทเอง และมีกำรจ้ำงผู้ตรวจ สอบที่ เ ป็ น อิ ส ระ มี ค วำมรู้ แ ละประสบกำรณ์ ใ นกำรปฏิ บั ติ ง ำน เข้ ำ มำท ำกำรตรวจสอบกำร ปฏิบัติงำน และตรวจสอบเอกสำรทำงบัญชีของบริษัท 4. ปรัชญาและสไตล์การทางานของผู้บริหาร (Management Philosophy and Operating Styles) กำรกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้ำหมำยกำรดำเนินงำนจัดทำโดยฝ่ำยบริหำร มีกำรแบ่ง ออกเป็นวัตถุประสงค์ย่อยในระดับกิจกรรมหรือ ส่วนงำนย่อ ย รวมถึงกำรวำงแผนและกำรจัดทำ แผนกำรดำเนินงำนตำมวัตถุประสงค์และเป้ำหมำยที่กำหนด กำรจัดสรรทรัพยำกร งบประมำณ อัตรำกำลัง และระยะเวลำดำเนินงำนที่ชัดเจน มีกำรสื่อสำรและมอบหมำยหน้ำที่ให้กับพนักงำน ทรำบ 5. โครงสร้างการจัดองค์การ (Organizational Structure) ทำงบริษัทมีกำรบริหำรงำน แบบกำรรวมศูนย์อำนำจกำรตัดสินใจต่ำงๆ ไว้ที่ผู้บริหำร ทำให้ผู้บริหำรสำมำรถวำงแผน สั่งกำร และควบคุมกำรปฏิบัติงำนทุกอย่ำงในบริษัท แม้จะมีกำรแบ่งโครงสร้ำงองค์กรออกเป็นแผนก ถ้ำ วงเงินที่ต้องอนุมัติมีจำนวนสูง ผู้บริหำรจะเป็นผู้ที่ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว แต่เนื่องจำกเป็นบริษัทที่ มีกำรดำเนินงำนแบบธุรกิจครอบครัว ผู้จัดกำรแผนกส่วนใหญ่เป็นเครือญำติกัน กำรตัดสินใจต่ำงๆ อำจได้มำจำกกำรปรึกษำกันในแบบครอบครัว ซึ่งส่งผลให้เกิดข้อเสียตรงที่อำจทำให้งำนล่ำช้ำใน กำรสั่งกำร หรือกำรแก้ปัญหำที่เกิดขึ้น งำนที่ออกมำอำจมีข้อผิดพลำด เนื่องจำกบุคคลเพียงคนเดียว ไม่มีควำมสำมำรถหรือมีควำมเชี่ยวชำญในทุกๆ ด้ำนที่จะตัดสินใจได้ 6. วิธีมอบอานาจและความรับผิดชอบ (Assignment of Authority and Responsibility) ผู้บริหำรจะมอบหมำยงำนให้เหมำะสมกับหน้ำที่ควำมรับผิดชอบของแต่ละคน มีกำรจัดทำคู่มือกำร ปฏิบัติงำนให้พนักงำนทรำบเป็นลำยลักษณ์อักษรชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้เกิดควำมซ้ำซ้อน หรือกำร ละเว้นกำรปฏิบัติงำนใดงำนหนึ่ง 7. นโยบายและวิธีบริหารงานด้านทรัพ ยากรมนุษย์ (Human Resource Policy and Practices) ในส่วนของกำรสรรหำบุคลำกร ฝ่ำยบริหำรมีกำรกำหนดทักษะและควำมสำมำรถที่ จำเป็นของตำแหน่งงำนสำคัญไว้อย่ำงชัดเจน และมีกำรจัดกำรทดสอบคัดเลือกบุคลำกร รวมถึงมี อัตรำเงินเดือนและค่ำจ้ำงที่สำมำรถจูงใจ และรักษำบุคลำกรให้อยู่กับ บริษัทได้ ในกำรทำงำนของ


91 พนักงำนจะมีกำรบันทึกเวลำปฏิบัติงำน และมีหัวหน้ำงำนลงนำมรับรองในใบลงเวลำ กำรจ่ำย เงินเดือนมีกำรพิจำรณำอนุมัติ และจัดทำเป็นลำยลักษณ์อักษร รวมถึงมีค่ำตอบแทนให้แก่บุคลำกรที่ ปฏิบัติงำนเป็นผลสำเร็จ หรือมีประสิทธิภำพสูง และผู้บริหำรระดับสูงยังให้ควำมสำคัญต่อ กำร พัฒนำควำมรู้ควำมสำมำรถของพนักงำน โดยมีกำรจัดฝึกอบรมบุคลำกรเพื่อพัฒนำทักษะควำมรู้ ควำมสำมำรถ และมีกำรจัดสรรงบประมำณอย่ำงเพียงพอเพื่อกำรพัฒนำบุคลำกร ซึ่งสำมำรถสรุปได้ว่ำ ทำงบริษัทมีอ งค์ประกอบด้ำนสภำพแวดล้อ มกำรควบคุม ที่ดีและ เหมำะสม สำมำรถสร้ำงควำมตระหนัก และบรรยำกำศของกำรควบคุมในองค์กร ให้พนักงำนของ บริษัทเกิดจิตสำนึกที่ดีในกำรปฏิบัติงำนตำมควำมรับผิดชอบได้ การประเมินความเสี่ยง ด้านการบริหาร ผลกระทบจำกปั จ จั ย ภำยนอกเป็ น ควำมเสี่ ย งที่ เ กิ ด จำกกำรไม่ ร ะบุ ปั จ จั ย ภำยนอกที่ มี ผลกระทบที่ มี นัย ส ำคัญ ต่ อ กำรด ำเนิ น งำนในอนำคตขององค์ก รให้ ชัด เจน เช่ น แนวโน้ ม กำร เปลี่ยนแปลงด้ำนเศรษฐกิจ เทคโนโลยี เป็นต้น ควำมเสี่ยงที่อำจเกิดขึ้น คือ หำกเกิดเหตุกำรณ์ที่คำด ไม่ถึงที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร โดยเฉพำะปัจจัยภำยนอกองค์กรซึ่งเป็นสิ่งที่อ งค์กรไม่สำมำรถ ควบคุมได้ ทำให้องค์กรอำจรับมือกับสถำนกำรณ์เหล่ำนั้นได้ไม่ดี เมื่อองค์กรไม่มีกำรเตรียมพร้อม กับสถำนกำรณ์ผลกระทบที่ได้รับจำกสถำนกำรณ์นั้นๆ จะส่งผลเสียหำยแก่บริษัทเป็นจำนวนมำก ซึ่งควำมเสี่ยงที่ควำมน่ำจะเป็นที่จะเกิดต่ำและผลกระทบอยู่ในระดับสูง เนื่องจำกบริษัทได้ติดตำม สถำนกำรณ์ที่คำดว่ำจะมีผลกระทบต่อบริษัทอย่ำงเป็นระยะ ดังนั้น วิธีกำรบริหำรควำมเสี่ยงที่ควร เลือกใช้ คือ กำรกำหนดแผนสำรองในเหตุฉุกเฉิน เช่น เงินทุนสำรอง ทรัพยำกรสำรอง ด้านการเงินการบัญชี ควำมเสี่ยงทีเ่ กิดจำกเรื่องกำรถือกุญแจของกรรมกำรรักษำเงินเพียงผู้เดียวถือกุญแจทั้งหมด ซึ่งอำจก่อให้เกิดกำรทุจริต เนื่องจำกกำรควบคุมกำรทุจริตที่ดี แม่กุญ แจที่ใช้รักษำเงินสดนั้นควรมี หลำยแม่กุญแจ เพื่อให้มีผู้ถือกุญแจหลำยคนและเพื่อป้องกันกำรสูญหำย และควำมเสี่ยงที่เกิดจำก กำรไม่ระบุวงเงิน และผู้มีอำนำจในกำรลงนำมสั่งจ่ำยเช็ค ไม่มีกำรตั้งกรรมกำรฝำกถอนและไม่มี


92 กำรกำหนดเรื่องกำรลงลำยมือชื่อในเช็คเพื่อสั่งจ่ำยเงินไว้ล่วงหน้ำ มีควำมเป็นไปได้ค่อนข้ำงสูงที่จะ เกิดควำมเสี่ยงอันเนื่องจำกกำรทุจริต เมื่อไม่มีกำรกำหนดวงเงินและผู้มีอำนำจใจกำรสั่งจ่ ำย ดังนั้น พนักงำนอำจสั่งจ่ำยเช็คเองและอำจมีมูลค่ำที่สูง ซึ่งควำมเสี่ยงที่ควำมน่ำจะเป็นที่จะเกิดขึ้นสูงและ ผลกระทบอยู่ในระดับสูง ดังนั้นวิธีกำรบริหำรควำมเสี่ยงที่ควรเลือกใช้ คือ กำรแบ่งควำมเสี่ยง ด้วย กำรหำผู้รับผิดชอบร่วมในควำมเสี่ยงเพื่อลดกำรก่อทุจริตที่อำจจะเกิดขึ้น ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ควำมเสี่ยงที่ อำจเกิดจำกกำรเบิกพัส ดุอ อกไปใช้ใ นปริมำณที่ม ำกเกินควำมจำเป็น หรื อ นำไปใช้ในเรื่องที่ไม่ก่อประโยชน์ให้แก่บริษัท เนื่องจำกบริษัทไม่มี กำรให้หน้ำที่จัดซื้อแยกจำก หน้ำที่กำรกำหนดควำมต้องกำร หรือกำรขออนุมัติจัดซื้อ และกำรรับพัสดุ และไม่มีกำรลงบัญชีหรือ ทะเบียนทันทีที่มีกำรจำหน่ำยพัสดุ ออกไป ซึ่งควำมเสี่ยงที่ควำมน่ำจะเป็น ของกำรเกิดขึ้นสูง และ ผลกระทบอยู่ในระดับต่ำ เพรำะพนักงำนอำจเบิกไปใช้ในจำนวนที่เกิน หรือเอำไปใช้ส่วนตัว แต่ก็ เป็นเพียงพวกวัสดุสิ้นเปลืองเล็กๆ น้อยๆ ที่มูลค่ำไม่มำกนัก ดังนั้น วิธีกำรบริหำรควำมเสี่ยงที่ควร เลือกใช้ คือ กำรแบ่งควำมเสี่ยง ด้วยกำรหำผู้รับผิดชอบร่วมในควำมเสี่ยงเพื่อลดกำรเบิกวัตถุดิบเกิน ควำมจำเป็น โดยมีผู้รับรู้อย่ำงน้อยสองคน เพื่อสำมำรถสอบทำนกันและกัน ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ควำมเสี่ยงทีเ่ กิดจำกกำรที่พนักงำนละเลยกำรไม่ปฏิบัติตำมกฎระเบียบขององค์กร มีผลต่อ กำรทำงำนให้เกิดประสิทธิภำพ บริษัทมีกฎระเบียบและข้อบังคับให้พนักงำนทุกคนในองค์กรได้ ปฏิบัติตำม เพื่อเอื้อต่อกำรควบคุมและกำรปฏิบัติงำนที่มีประสิทธิภำพ ควำมเสี่ยงที่ควำมน่ำจะเป็น ที่จะเกิดขึ้นต่ำและผลกระทบอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจำกบริษัทมีกำรจัดประชุมอย่ำงสม่ำเสมอ เพื่อให้ พนักงำนทรำบและเข้ำใจร่วมกันถึงควำมเคลื่อนไหวภำยในองค์กร และองค์กรมีบทลงโทษสำหรับ พนักงำนที่ผิดกฎ ดังนั้น วิธีกำรบริหำรควำมเสี่ยงที่ควรเลือ กใช้ คือ กำรแบ่งควำมเสี่ยง โดยให้ พนักงำนทุกคนได้ร่วมรับผิดชอบเกี่ยวกับองค์กร


93 ด้านสารสนเทศ ควำมเสี่ยงที่อำจเกิดจำกระบบสำรสนเทศล้มเหลว ส่งผลต่อกระทบต่อบริษัทในระดับสูง เพรำะ ระบบสำรสนเทศเป็ น ส่ ว นส ำคั ญ อย่ ำ งหนึ่ ง ในกำรด ำเนิ น งำน นอกจำกจะใช้ ใ นกำร ติดต่อสื่อสำรกับพนักงำนในองค์กรแล้ว ยังใช้ติดต่อ สื่อ สำรกับลูกค้ำในต่ำงประเทศ และยังเก็บ ข้อมูลที่สำคัญของบริษัทไว้มำกมำย เช่น รำยกำรค้ำ แต่บริษัทมีกำรป้องกันระบบสำรสนเทศที่ดีใน ระดับที่น่ำพอใจ ควำมเสี่ยงที่ควำมน่ำจะเป็นที่จะเกิดขึ้นต่ำและผลกระทบอยู่ในระดับสูง ดังนั้น วิธีกำรบริหำรควำมเสี่ยงที่ควรเลือกใช้ คือ กำรกำหนดแผนสำรองในเหตุฉุกเฉิน โดยกำรกำหนด แผนกำรล่วงหน้ำในเหตุกำรณ์ที่คำคว่ำจะมีโอกำสเกิดขึ้นจำกควำมเสี่ยงที่ได้รับรู้ กิจกรรมการควบคุม 1. การกาหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติงานที่ชัดเจน (Policies and Procedures) ฝ่ำยบริหำรของทำงบริษัทมีส่วนร่วมในกำรกำหนดวัตถุประสงค์ ซึ่งมีทั้งวัตถุประสงค์ของ ทั้งองค์กร รวมถึงวัตถุประสงค์ย่อยของแต่ละส่วนงำน และเป้ำหมำยกำรดำเนินงำนขององค์กร โดย กำหนดไว้ชัดเจน สำมำรถวัดผลสำเร็จได้ ถือว่ำเป็นกำรควบคุมภำยในที่ดี เพื่อใช้เป็นแนวทำงกำร ทำงำนของพนักงำนภำยในบริษัทที่เป็นลำยลักษณ์อักษร และมีควำมชัดเจน 2. การสอบทานโดยผู้บริหารสูงสุด (Top Management Review) ผู้บริหำรมีกำรเปรียบเทียบผลกำรใช้จ่ำยจริงกับงบประมำณ พร้อมทั้งสรุปสำเหตุของควำม แตกต่ำงของจำนวนเงินที่จ่ำยจริงกับงบประมำณ และมีกำรเปรียบเทียบต้นทุนกำรดำเนินงำนกับ ผลผลิต หรื อผลลัพ ธ์ เพื่อ เปรียบเที ยบประสิทธิ ภำพ เป็น กำรควบคุม ที่ดี อ ย่ำ งหนึ่ง เพื่ อ ช่ว ยให้ ผู้บริหำรสูงสุดได้ทรำบระดับและทิศทำงของกำรแข่งขัน และเตรียมรับสถำนกำรณ์ในอนำคตได้ ถูกต้องมำกขึ้น


94 3. การสอบทานโดยผู้บริหารระดับสายงาน (Functional Management Review) กำรสอบทำนโดยผู้ บ ริ ห ำรระดั บ สำยงำนนั้ น มี เ ฉพำะส่ ว นงำนจั ด ซื้ อ จั ด จ้ ำ ง ว่ ำ มี ก ำร ปฏิบัติงำนตำมระเบียบที่กำหนด ในส่วนงำนอื่นกิจกำรไม่มีกำรสอบทำนโดยผู้บริหำรระดับสำย งำน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ำไม่สำมำรถครอบคลุมทุกส่วนงำนของบริษัทได้ 4. การควบคุมการประมวลผลข้อมูล (Control over Information Processing) กำรอนุมัติรำยกำร บริษัทมีกำรตรวจสอบใบสำคัญประกอบกำรเบิกจ่ำยเงิน ตรวจสอบใบ ยืมเงินทดรองก่อนอนุมัติกำรสั่งจ่ำย หรือหำกมีกำรจำหน่ำยพัสดุเป็นสูญ มีกำรอนุมัติโดยผู้มีอำนำจ ถือว่ำเป็นกำรควบคุมที่ดี ทำให้แน่ใจว่ำได้มีกำรบันทึกเฉพำะรำยกำรที่ถูกต้องและบันทึกครบถ้วน กำรเก็บรักษำรวมทั้งควบคุมทรัพย์สินและข้อ มูลที่สำคัญ บริษัทมีกำรจัดทำรำยงำนเงิน คงเหลือประจำวัน มีกำรคุมยอดคงเหลือบัญชีเงินฝำกธนำคำร ด้วยบัญชีแยกประเภททั่วไป มีกำรนำ ใบเสร็จรับเงิน ใบลดหนี้ หรือ ใบสำคัญอื่นๆ มำสอบทำนว่ำได้มีกำรลงบัญชีค รบทุกฉบับ เพื่ อ ตรวจสอบควำมถูกต้อง และต้องกำรให้มีกำรแสดงรำยกำรเป็นปัจจุบัน ในด้ำนของสินทรัพย์อื่น มี กำรให้หมำยเลขทะเบียนครุภัณฑ์พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนสินทรัพย์ มีกำรลงบัญชีหรือทะเบียนพัสดุ โดยแยกเป็นประเภทและรำยกำร แต่เมื่อมีกำรจำหน่ำยพัสดุออกไป บริษัทไม่ได้มีกำรลงบัญชีหรือ ทะเบียนพัสดุทันที อำจทำให้เมื่อทำกำรนับสินทรัพย์คงเหลือเมื่อสิ้นงวด จำนวนคงเหลือมีควำม คลำดเคลื่อน หรืออำจทำให้เกิดกำรทุจริตในกำรจำหน่ำยพัสดุออกไปได้ บริษัทมีกำรสอบทำนหรือสอบยันงำนระหว่ำงกัน โดยมีกำรพิสูจน์ยอดเงินฝำกธนำคำร อย่ำงน้อยเดือนละครั้ง และมีกำรให้ผู้ตรวจสอบภำยในตรวจผลกำรพิสูจน์ยอดเงินฝำกทุกครั้ง ทำให้ มีควำมถูกต้อง สมบูรณ์มำกยิ่งขึ้น รวมถึงลดกำรทุจริต บริษัทมีกำรลำดับเล่มที่ เลขที่ และฉบับที่พิมพ์ของใบเสร็จรับเงินไว้ล่วงหน้ำ ในเช็ครับ บริษัทได้กำหนดให้ขีดคร่อมเพื่อเข้ำบัญชีของหน่วยงำน ส่วนกำรสั่งจ่ำยเช็คต้องระบุชื่อ ผู้รับเงิน เท่ำ นั้น โดยกำหนดผู้มี อำนำจลงนำมในเช็ค สั่ง จ่ำ ยมำกกว่ำ หนึ่ งคน ไม่ มีก ำรลงนำมในเช็ คไว้ ล่วงหน้ำ จำกนั้นจะทำกำรส่งเช็คให้ผู้รับทันที รวมถึงมีกำรจำกัดผู้มีสิทธิจับต้องเช็ค ถือว่ำเป็นกำร ควบคุมที่ดี เว้นแต่บริษัทไม่มีกำรระบุวงเงินของผู้มีอำนำจไว้


95 บริษัทมีกำรใช้เทคโนโลยีที่เหมำะสมช่วยในกำรประมวลผลข้อมูล เพื่อให้กำรบันทึกข้อมูล เป็นไปโดยรวดเร็ว ทันเวลำ และถูกต้อง โดยมีใช้รหัสผ่ำนแบบเฉพำะเจำะจง 5. การควบคุมทางกายภาพ (Physical Controls) ด้ำ นเงิ น สด ทำงบริ ษั ทมี ส ถำนที่แ ละตู้ นิ รภั ย สำหรับ เก็บ รั กษำเงิ น ที่ป ลอดภั ย โดยมี ผู้ ตรวจสอบภำยในหรือเจ้ำหน้ำที่ผู้รับผิดชอบ ทำกำรตรวจสอบนับเงินสดโดยไม่บอกล่วงหน้ำ ใน ส่วนของเช็คมีกำรควบคุมเช็คซึ่งยังไม่ได้ใช้อย่ำงเหมำะสม หำกได้ทำกำรใช้แล้วจะเก็บรักษำต้นขั้ว เช็คไว้ที่เดียวกับสมุดคู่ฝำก พร้อมทั้งใบนำฝำกธนำคำรในที่ปลอดภัย และหำกเป็นเอกสำร เช่น ใบเสร็จรับเงินที่ยังไม่ได้ใช้ สัญญำกำรยืมเงินทดรองที่ยังไม่ได้ใช้ หรือสมุดเช็คที่ยังไม่ได้ใช้ จะเก็บ ไว้อย่ำงเป็นระเบียบในที่ปลอดภัยเช่นกัน ในกรณีที่เป็นกำรเครื่องมือ เครื่องใช้ สินค้ำ พัสดุต่ำงๆ จะ มีกำรตรวจรับและนำเก็บในสถำนที่ที่มีกำรรักษำควำมปลอดภัยอย่ำงดี และถ้ำเป็นสิ่งที่มีมูลค่ำสูง หรือสำคัญ จะใช้ผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องนั้นตรวจรับโดยเฉพำะ เป็นกำรควบคุมที่ดี เนื่องจำกสิ่งที่อยู่ ในควำมครอบครองของบริษัท ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ำ หำกไม่จัดเก็บและดูแลรักษำไว้ในสถำนที่ ปลอดภัยหรือมีกำรตรวจสอบ อำจก่อให้เกิดกำรทุจริตภำยในบริษัทได้ 6. การแบ่งแยกหน้าที่ (Segregation of Duties) บริษัทมีกำรแบ่งแยกหน้ำที่ ดังนี้ โดยหน้ำที่รับเงินในแผนกกำรเงิน แยกออกจำกกำรบันทึก บัญชีเงินสดและเงินฝำกธนำคำร กำรนำเงินสดฝำกธนำคำร กำรกระทบยอดเงินสดและเงินฝำก ธนำคำร และกำรลงนำมกำรจ่ำยเช็ค หน้ำที่ของผู้ลงนำมในเช็คเป็นบุคคลเดียวกับผู้ที่มีหน้ำที่บันทึก บัญชีเงินสดและเงินฝำกธนำคำร และบันทึกรำยกำรบัญชีแยกประเภท แต่แยกต่ำงหำกจำกหน้ำที่ เก็บรักษำเงินสดย่อย และอนุมัติใบสำคัญจ่ำยเงิน บริษัทไม่มีกำรกำหนดให้เจ้ำหน้ำที่เกี่ยวกับกำรซื้อ จ้ำงและกำรเงินรับเงินแทนผู้มีสิทธิรับเงิน โดยควำมรับผิดชอบของกำรกำหนดควำมต้องกำรหรือ กำรขออนุมัติจัดซื้อ กำรจัดซื้อ กำรรับพัสดุ แยกออกจำกกำรเงินและกำรบัญชี แต่กำรจัดซื้อไม่ได้ แยกหน้ำที่กำรกำหนดควำมต้องกำรหรือกำรขออนุมัติจัดซื้อ และกำรรับพัสดุออกจำกกัน ให้ผู้ที่ยืม เงินทดรองกับผู้อนุมัติเป็นบุคคลคนละคนกัน หน้ำที่ควำมรับผิดชอบในกำรเตรียมหลักฐำนเพื่อ ชำระค่ำพัสดุและกำรอนุมัติจ่ำยเงิน แยกออกจำกกำรบันทึกกำรเบิกจ่ำยเงินและบัญชีแยกประเภท หน้ำที่พิสูจน์ยอดเงินฝำกธนำคำรไม่ได้ทำหน้ำที่ลงนำมในเช็ค แต่ทำหน้ำที่ลงรำยกำรในสมุดเงิน สด รวมถึงเก็บรัก ษำและรับจ่ำ ยเงิน สด จำกภำพรวมแล้วกำรแบ่งแยกหน้ ำที่ของบริษัท ยังไม่ มี


96 ประสิทธิภำพเท่ำที่ควร เนื่องจำกมีกำรทำงำนในหน้ำที่ที่ซ้ำซ้อนกัน หรือมอบหมำยให้บุคคลคน เดียวเป็นผู้ปฏิบัติงำน และหน้ำที่นั้นเปิดโอกำสให้เกิดกำรกระทำที่ไม่เหมำะสม หรื อไม่สุจริตได้ โดยง่ำย และกว่ำจะทรำบก็อำจจะสำยเกินแก้ไข เนื่องจำกไม่สำมำรถสอบยันควำมถูกต้องระหว่ำง กันได้ 7. การใช้ดัชนีวัดผลการดาเนินงานที่สาคัญ (Key Performance Indicators) บริษัทมีกำรใช้ดัชนีวัดผลกำรดำเนินงำนเป็นแบบอัตรำส่วนทำงกำรเงิน และกำรวิเครำะห์ แนวโน้มของควำมเปลี่ยนแปลงของอัตรำส่วน เพื่อให้สำมำรถปรับแผนกลยุทธ์ หรือตัดสินใจสั่ง กำรแก้ไขปัญหำอย่ำงทันกำล 8. การจัดทาหลักฐานเอกสาร (Documentation) ในกำรจั ด หำทรั พ ย์สิ นที่ มี มูล ค่ำ สูง บริษั ทได้ มีก ำรท ำสั ญญำกั บ ทำงผู้ ข ำย ส่ ว นในด้ ำ น ภำยในองค์กรบริษัทจัดให้มีแผนภำพ (Flowchart) สำหรับระบบงำน มีกำรใช้เอกสำรต่ำงๆ เป็น หลักฐำน เช่น ออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีกำรรับเงิน หรือเมื่อได้รับคืนเงินทดรอง หรือใบสำคัญ รับ และบันทึกรับคืนในสัญญำกำรยืมเงินทดรอง มีกำรประทับตรำใบสำคัญเมื่อจ่ำยเงินแล้ว จัดทำ รำยงำนสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในกำรจัดซื้อจัดจ้ำง บริษัทมีกำรกำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับกำรจัดสรรทรัพยำกรแต่ละประเภท มีกำรกำหนด วิธีกำรปฏิบัติตำมระเบียบข้อบังคับ มีกำรกำหนดหน้ำที่ควำมรับผิดชอบงำนไว้อย่ำงชัดเจน เพื่อให้ บุคลำกรสำมำรถปฏิบัติงำนได้ตำมวัตถุประสงค์กำรดำเนินงำนของหน่วยงำน เช่น กำรเบิกจ่ำยเงิน กำรแจ้งให้ธนำคำรทรำบ เมื่อมีกำรเปลี่ยนผู้มีอำนำจในกำรลงนำมจ่ำยเช็ค กำรจัดซื้อจัดจ้ำง กำรสรร หำบุคลำกร กำรเข้ำถึงระบบสำรสนเทศ นอกจำกนี้บริษัทได้มีกำรใช้เอกสำรแบบฟอร์ม เพื่อสำมำรถสอบทำนควำมถูกต้องและกำร ควบคุมควำมเสียหำยไม่ให้เกิดขึ้นได้ เช่น กำรรับส่งเงินระหว่ำงเจ้ำหน้ำที่ มีกำรสอบยอดจำนวน เงินตำมสำเนำใบเสร็จรับเงิน และมีหลักฐำนกำรลงชื่อรับส่งเงินระหว่ำงกัน กำรจ่ำยเงินทุกประเภท มีเอกสำรใบสำคัญประกอบกำรจ่ำยเงินครบถ้วนและถูกต้องตำมระเบียบ มีกำรตรวจสอบหลักฐำน ทุกรำยก่อนจ่ำยเงินทุกครั้ง กำรจ่ำยเงินให้แก่ผู้อื่นที่ไ ม่ใช่เจ้ำหนี้หรือผู้ไม่มีสิทธิรับเงิน จ่ำยโดยมี


97 หนังสือมอบฉันทะของผู้มีสิทธิรรับเงิน กรณีรับเช็คที่ฝำกคืนจำกธนำคำรมีกำรลงบัญชีคุม มีกำร ควบคุมเช็คซึ่งผู้รับยังมิได้นำไปขึ้นเป็นเวลำนำน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทำงบริษัทไม่มีกำรจัดทะเบียนคุม ใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จรับเงินที่ยกเลิกหรือไม่ใช้ เมื่อสิ้นงวดทำงบริษัทไม่ได้เก็บเอกสำรที่ยกเลิกไว้ แต่ใช้ วิธีท ำลำยโดยกำรย่อ ยสลำยแทน ส่ งผลให้เ อกสำรทำงบั ญชี ที่ค วรจะมีเ พื่อ กำรตรวจสอบมีไ ม่ ครบถ้วน ไม่ถูกต้องตำมหลักบัญชี ในภำพรวมของบริษัทแล้ว กิจกรรมกำรควบคุมด้ำนกำรจัดทำ เอกสำรหลักฐำนค่อนข้ำงที่จะมีประสิทธิภำพ สารสนเทศและการสือ่ สาร ข้อมูลข่าวสาร บริ ษั ท มี ก ำรจั ด กำรด้ ำ นข้ อ มู ล ข่ ำ วสำรที่ ดี ส่ ง ผลข้ อ มู ล ต่ ำ งๆ มี ก ำรจั ด เก็ บ อย่ ำ งควำม ครบถ้ ว น โดยมี ก ำรบั น ทึ ก ข้ อ มู ล เป็ น ไปโดยรวดเร็ ว ทั น เวลำและถู ก ต้ อ ง มี ก ำรจั ด ประเภท สำรสนเทศเป็นหมวดหมู่ เพื่อใช้ในกำรในกำรวิเครำะห์และวัดผลงำน ด้ำนกำหนดทำงเดินของ เอกสำรต่ ำ งๆ ให้ เ ป็น ไปอย่ ำงชัด เจนและรวดเร็ว มีก ำรจดบัน ทึก และจั ดท ำรำยงำนกำรรับ ส่ ง สำรสนเทศเป็ นหลัก ฐำน ในด้ำนเอกสำรต้อ งมี กำรลงนำมในรำยงำนหรือ เอกสำรสำคั ญแสดง ผู้อนุมัติ ผู้จัดทำ และผู้สอบทำน โดยจะไม่มีกำรลงนำมแทนกัน หรือใช้รหัสผ่ำนแบบเฉพำะเจำะจง ส่วนกำรควบคุมด้ำนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในกำรประมวลผลต้องมีควำมถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ นอกจำกนี้ยังควรมีกำรสอบยันข้อมูลสำรสนเทศระหว่ำงหน่วยงำนที่เกี่ยวข้องอย่ำงสม่ำเสมอ การสื่อสาร ทำงบริ ษัท มี ก ำรสื่อ สำรข่ ำวสำรหรื อ ค ำสั่ งให้ บุ ค ลำกรระดับ ปฏิ บั ติ อ ย่ ำ งต่ อ เนื่ อ งและ สม่ำเสมอ และมีกำรกำหนดวิธีกำรสื่อสำรเพื่อให้บุคลำกรสำมำรถส่งข้อเรียกร้องหรือข้อแนะนำ ให้ กั บ ฝ่ ำ ยบริ ห ำรได้ รวมถึ ง มี ก ำรก ำหนดให้ ฝ่ ำ ยบริ ห ำรติ ด ตำมผลและตอบข้ อ เรี ย กร้ อ งและ ข้อแนะนำของบุคลำกร โดยหำกเป็นกำรตอบข้อซักถำมหรือข้อเรียกร้องกันระหว่ำงฝ่ำยบริหำรและ พนักงำนทำงบริษัทจะติดต่อกันทำงอีเมลหรือเอกสำรหำกเป็นเรื่องที่เป็นทำงกำร แต่หำกเป็นคำสั่ง งำนของพนักงำนระดับปฏิบัติกำร หัวหน้ำงำนหรือ หัวหน้ำฝ่ำยอำจสื่อสำรกับพนักงำนโดยตรง


98 หำกเป็นระเบียบข้อบังคั บ หรือเรื่องสำคัญที่ต้องแจ้งให้พนักงำนทรำบ จะออกเป็นเอกสำรให้แก่ พนักงำน จำกที่ได้กล่ำวมำ ถือได้ว่ำทำงบริษัทมีกำรควบคุมด้ำนกำรสื่อสำรที่ดี ครอบคลุมในทุก ระดับอย่ำงทั่วถึง การติดตามประเมินผล กำรติดตำมประเมินผล ทำงบริษัทมีกำรประเมินผลกำรบรรลุวัตถุประสงค์กำรดำเนินงำน ของหน่ ว ยงำนอย่ ำ งต่ อ เนื่ อ งและสม่ ำเสมอ โดยมี ก ำรเปรี ย บเที ย บผลกำรใช้ จ่ ำ ยเงิ น จริ ง กั บ งบประมำณ และสรุปสำเหตุของควำมแตกต่ำงของจำนวนเงินที่ใช้จ่ำยจริงกับงบประมำณ มีกำร ติดตำมผลอย่ำงเป็นระบบประเมินมีควำมน่ำเชื่อถือ และตรงตำมวัตถุประสงค์ที่กำหนด กำรติดตำม ประเมินผลมีกำรดำเนินกำรในช่วงเวลำ และควำมถี่ที่เหมำะสม มีกำรสื่อ สำรผลกำรประเมินให้ บุ ค ลำกรที่ รั บ ผิ ด ชอบทรำบ และแก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง กำรด ำเนิ น งำน มี ก ำรทบทวนหรื อ ปรั บ ปรุ ง วัต ถุ ป ระสงค์ ก ำร ด ำเนิน งำนแผน และกระบวนกำรดำเนิ น งำนตำมคำร้ อ งขอของบุค ลำกรที่ รับผิดชอบ อีกทั้ งฝ่ำยบริหำรมีก ำรติดตำมผลเพื่อ ให้ควำมมั่นใจว่ำกำรปฏิบัติง ำนของบุคลำกร เป็นไปตำมที่กำหนดไว้ ทำงองค์กรยังมีหน่วยงำนกำรตรวจสอบหรือสอบทำนที่เป็นอิสระเกี่ยวกับ กำรดำเนินงำนอย่ำงต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และรำยงำนผลกำรตรวจสอบ หรือกำรสอบทำนอย่ำง เป็นอิสระเกี่ยวกับกำรดำเนินงำนเป็นลำยลักษณ์อักษร สรุ ป ได้ ว่ำ ทำงบริ ษั ท มี กำรติ ด ตำมและประเมิ นผลที่ ดี และสำมำรถนำข้ อ ผิ ดพลำดมำ ประเมินผล เพื่อกำรปรับปรุงแก้ไขอย่ำงเหมำะสม กำรตรวจสอบกำรดำเนินงำนเป็นไปโดยอิสระ ส่งผลให้กำรดำเนินงำนมีควำมโปร่งใส และมีกำรพัฒนำอย่ำงต่อเนื่อง ผลการวิเคราะห์วกิ ฤตการณ์อาหารโลก แม้ ว่ ำ หลำยคนจะมองว่ ำ วิ กฤตกำรณ์ อ ำหำรโลก ที่ เ กิ ดขึ้ น นี้ น่ ำจะเป็ นโอกำสที่ ดี ข อง ประเทศไทยมำกกว่ำ เนื่องจำกประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอำหำรส่งออกที่สำคัญของโลก มีปริมำณ อำหำรเพีย งพอทั้ง กำรบริ โภคภำยในประเทศ และส่ง ออกได้ พร้ อ มๆ กั น อี กทั้ งข้ำ วยั งเป็ นพื ช เศรษฐกิจที่สำมำรถสร้ำงรำยได้และแปรวิกฤตให้เป็นโอกำสให้กับประเทศไทยได้ และเพรำะ ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้ำภำคเกษตรรำยใหญ่ของโลกนั้นเอง ทำให้ประเทศไทย หนีไม่พ้นกับผลกระทบด้ำนรำคำอำหำรแพง ผู้ที่ได้รับผลกระทบมำกที่สุดคงหนีไม่พ้นประชำชนผู้


99 ยำกจน รวมไปถึงชนชั้นกลำง ซึ่งถือว่ำเป็นควำมจำเป็นอย่ำงยิ่ง ที่รัฐบำลต้องกำหนดมำตรกำรเพื่อ วำงนโยบำยป้ อ งกัน ควำมเดื อดร้ อ น อั น เกิ ด จำกรำคำอำหำรที่ สูง ขึ้ น แต่ ร ำยได้ ของประชำกร ภำยในประเทศกลับลดลง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภำพและรักษำไว้ซึ่งควำมมั่นคงทำงอำหำร (Food Security) ของประเทศ เพื่อส่งเสริมผู้ที่เป็นเกษตรกรและผู้ผลิตให้คงได้รับผลประโยชน์ แต่นโยบำยกำรจำนำข้ำวที่รัฐบำลกำหนดขึ้นนั้นเองที่เป็นปัญหำ ทำให้กำรส่งออกข้ำวของ ประเทศไทยลดลง กำรที่รัฐบำลให้รำคำสูงกว่ำรำคำตลำดมำก มีผลตำมมำ คือ ข้ำ วไทยในตลำด ส่งออกมีรำคำสูงขึ้น ซึ่งข้ำวไทยที่มีรำคำสูงขึ้น นี้ หำกยังสำมำรถขำยและส่งออกได้ตำมปกติก็จะ เป็นประโยชน์ จะทำให้มีรำยได้จำกกำรส่งออกข้ำวเพิ่มขึ้นและจะมีผลต่อรำคำข้ำวภำยในประเทศที่ ทำให้ชำวนำสำมำรถขำยข้ำวได้รำคำที่สูงขึ้นด้วย แต่ผลที่ออกมำกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพรำะเมื่อข้ำว ไทยมีรำคำสูงขึ้นมำก ทำให้ผู้นำเข้ำที่เป็นลูกค้ำเก่ำไม่ว่ำจะเป็นเอกชน หรือหน่วยงำนของรัฐที่เคย ซื้อ ข้ำวไทยแบบ G2G ต้องไปหำซื้ อ ข้ำวจำกแหล่ งอื่นที่ถูกกว่ำ เช่น เวียดนำม อินเดีย กัมพูช ำ ปำกีสถำน แม้คุณภำพข้ำวจะด้อยกว่ำประเทศไทย แต่ก็คุ้มเมื่อเทียบกับส่ วนต่ำงด้ำนรำคำที่ต่ำงกัน มำกเช่นกัน ซึ่งบริษัท วุฒิชัย โปรดิวส์ จำกัด ก็เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกข้ำวไทยที่ได้ผลกระทบจำกนโยบำย กำรรับจำนำข้ำวของรัฐบำล ทำให้บริษัทมีต้นทุนที่สูงขึ้น จึงต้องมีกำรส่งออกข้ำวในรำคำที่สูงขึ้น เช่นกัน ยังมีผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องจำกกำรรับจำนำข้ำวในรำคำสูงโดยไม่จำกัดจำนวนตำมมำอีก ด้วย ส่งผลให้ข้ำวหมุนเวียนซื้อขำยในท้องตลำดน้อยมำก เพรำะข้ำวจำนวนมำกเป็นข้ำวที่รับจำนำ ไว้แล้ว ซึ่งกองอยู่ในโรงสีและโกดังต่ำงๆ ยังไม่มีกำรระบำยออกมำ ทำให้ผู้ส่งออกไม่สำมำรถหำ ซื้อข้ำวในท้องตลำดได้ แม้มีผู้เสนอขำยก็ เป็นข้ำวที่มีปัญหำเรื่องคุณภำพ จึงทำให้บริษัทต้องมีกำร หำผู้จัดหำมำกขึ้น และลดกำรรับคำสั่ งซื้อ หรือ ไม่รับคำสั่งซื้อ นั้นหำกทำงบริษัทเห็น แล้วว่ำไม่ สำมำรถหำข้ำวคุณภำพตำมที่ตกลงกันส่งมอบให้ผู้ซื้อได้


บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ สรุปผลการศึกษา จากวิกฤตการณ์อาหารที่ทั่วโลกกาลังประสบอยู่นั้น เมื่อ มองในระยะยาวแล้วจะพบว่ามี แนวโน้มที่จะเป็นปัญหาสาคัญ ความต้องการพืชพลังงาน สินค้าเกษตรและอาหารมีแนวโน้มจะ เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก แต่ในด้านอุปทานของการผลิตนั้นจะลดลงด้วยข้อจากัด ด้านพื้นที่ เทคโนโลยีที่มีอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ทาให้ราคาอาหารสูงขึ้น สาหรับ ประเทศไทยนั้นหลายคนมองว่าเป็นโชคดีและเป็นโอกาสในการพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อ การส่งออก เพราะอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และยังเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าภาค เกษตรรายใหญ่ของโลก ซึ่งสินค้าที่ส่งออกและมีคุณภาพสูงจนเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกก็คงหนี ไม่พ้นข้าว ที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆของโลก แต่ถึงแม้จะมีปัจจัยความพร้อมต่างๆมากมาย ประเทศไทยก็ยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่ยากจน ชนชั้นกลาง ของประเทศที่ ส่วนใหญ่มีอ าชี พเกษตรกร ภาครัฐจึ งจ าเป็ นต้ อ งเข้า มามี บทบาทในการกาหนด นโยบายเพื่อช่วยเหลือ โครงการรับจานาข้าวเป็นนโยบายหนึ่งที่ทางรัฐบายกาหนดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ ปลูกข้าวหรือที่เรียกกันว่าชาวนา โดยรับซื้อข้าวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ทาให้ชาวนามีรายได้ สูงขึ้น แต่ผลกระทบทางลบกลับมาอยู่ที่ผู้ส่งออกและผู้บริโภค เพราะราคาข้าวที่ส่งออกก็สูงขึ้น ด้วย ตามไปด้วย ซึ่งบริษัท วุฒิชัย โปรดิวส์ จากัดก็เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบ ยอดส่งออก ข้า วลดลงอย่ า งต่อ เนื่ องในช่ว ง 3 ปี ที่ ผ่า นมา ท าให้ ร ายได้ แ ละก าไรของบริ ษัท ลดลงด้ ว ย ทาง ผู้บริหารคาดว่าในอนาคตปริมาณการส่งออกข้าวจะลดลงอีกหากรัฐบาลยังมีการรับจานาข้าวจาก ชาวนาในราคาที่สูงเช่นนี้ เนื่องจากประเทศที่รับซื้อข้าวจากบริษัท หันไปซื้อข้าวจากประเทศคู่แข่ง ที่ราคาถูกกว่าแทน ซึ่งผู้บริหารก็พยายามแก้ปัญหาและหาทางออกให้บริษัทโดยมีการเข้าพูดคุยกับ ลูกค้าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและพยายามหาผู้จัดหาให้มากขึ้น รวมถึงการจัดการและระบบการควบคุม ภายในองค์กรที่ถือเป็นเรื่องสาคัญอย่างยิ่ง


101 ระบบการควบคุมภายในของบริษั ท วุฒิ ชัยโปรดิวส์ จากัด ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ ที่ ดี เนื่ อ งจาก มี การบัน ทึก ข้อ มู ลอย่า งถูก ต้อ ง ครบถ้ว น และเชื่ อ ถือ ได้ มีก ารกาหนด นโยบายการ ปฏิบัติงาน และระเบียบข้อบังคับให้พนักงานปฏิ บัติตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ขององค์กร รวมถึงทางบริษัทมีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ตาม องค์ประกอบของ COSO สามารถแบ่งโครงสร้างการควบคุมภายในออกได้เป็น 5 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อมของการควบคุม การประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม สารสนเทศและการ สื่อสาร และการประเมินติดตามผล บริษัทมีการจัดการสภาพแวดล้อมของการควบคุมที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยทางผู้บริหาร ของบริษัทมีการกาหนดระเบียบ ข้อบังคับ และจัดทาคู่มือการปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน เพื่อให้การดาเนินงานของพนักงานเป็นไปอย่างราบรื่น รวมทั้งมีการจัดการทดสอบคัดเลือกเพื่อสรร หาบุคคลากรที่มีความเหมาะสมที่สุดในตาแหน่งนั้น และมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อฝึกอบรม บุคลากรอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งคณะผู้ตรวจสอบภายในและผู้ตรวจสอบอิสระเพื่อ ประเมินผลการปฏิบัติงานและเอกสารของบริษัท แต่สาหรับด้านโครงสร้างการจัดองค์กรทางบริษัท มีก ารบริ ห ารงานแบบรวมอ านาจไว้ ที่ ผู้บ ริ ห าร จึ งอาจส่ง ผลให้ ก ารบริ หารงานล่ า ช้า และเกิ ด ข้อผิดพลาดจากการตัดสินใจที่บุคคลเดียว บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงที่ดี โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร เป็น ความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่ระบุปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดาเนินงานในอนาคตขององค์กร ให้ชัดเจนซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ความน่าจะเป็นที่จะเกิดต่าและผลกระทบอยู่ในระดับสูง ด้านการเงิน การบัญชี มีความเสี่ยงที่เกิดจากการที่กรรมการรักษาเงินถือกุญแจทั้งหมดเพียงผู้เดียว และมีความ เสี่ยงที่เกิดจากการไม่ระบุวงเงินและผู้มีอานาจในการลงนามสั่งจ่ายเช็ค ซึ่งอาจก่อให้เกิดการทุจริต เป็นความเสี่ยงที่ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นสูงและผลกระทบอยู่ในระดับสูง ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง มี ความเสี่ยงที่เกิดจากการเบิกพัสดุออกไปใช้ในปริมาณที่มากเกินความจาเป็น ซึ่งเป็น ความเสี่ยงที่ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นสูงและผลกระทบอยู่ในระดับต่า ด้านทรัพยากรบุคคล มีความเสี่ยงที่เกิด จากการที่พนักงานละเลยการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กร ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ความน่าจะ เป็นที่จะเกิดขึ้นต่าและผลกระทบอยู่ในระดับต่า และด้านสารสนเทศ มีความเสี่ยงเกิดจากระบบ สารสนเทศล้มเหลว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ บริษัทในระดับสูง เพราะระบบสารสนเทศเป็นส่วน สาคัญอย่างหนึ่งในการดาเนินงาน ซึ่งความเสี่ยงที่ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นต่าและผลกระทบอยู่ ในระดับสูง โดยรวมแล้วความเสี่ยงของบริษัทอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ยกเว้นด้านการเงินและการ


102 บัญชี ซึ่งบริษัทควรบริหารความเสี่ยงด้วยวิธีการแบ่งความเสี่ยงด้วยการหาผู้รับผิดชอบร่วมในความ เสี่ยงเพื่อลดการก่อทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น ด้านกิจกรรมการควบคุม มีการควบคุมภายในที่ดี เนื่องจากมีการกาหนดนโยบายและวิธี ปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการสอบทานโดยผู้บริหารสูงสุด การควบคุมทางกายภาพ การใช้ดัชนีวัดผล การดาเนินงานที่สาคัญ ยกเว้น ด้านการสอบทานโดยผู้บริหารระดับสายงาน ซึ่งมีเพียงการสอบทาน ของส่วนงานจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการควบคุมการประมวลผลข้อ มูล บริษัทไม่ได้มีการลงบัญชีหรือ ทะเบียนพัสดุในทันทีที่มีการจาหน่ายออก และบริษัทมีเพียงการจัดทางบพิสูจน์ยอดเงินอย่างน้อย เดือนละครั้ง ด้านการแบ่งแยกหน้าที่ยังมีการทางานซ้าซ้อน โดยทางบริษัทให้ผู้มีหน้าที่ลงนามใน เช็คเป็นบุคคลเดียวกับผู้ที่มีหน้าที่บันทึกบัญชีเงินสดและเงินฝากธนาคารและบันทึกรายการบัญชี แยกประเภท ให้ผู้ทาหน้าที่จัดซื้อ ทาหน้าที่เดียวกับผู้ที่กาหนดความต้องการหรือ การขออนุมัติ จัดซือ้ และการรับพัสดุ ให้ผู้มีหน้าที่พิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร ทาหน้าที่ลงรายการในสมุดเงินสด รวมถึงเก็บรักษาและรับจ่ายเงินสด และสุดท้ายด้านการจัดทาหลักฐานเอกสาร บริษัทมีการควบคุม ที่ไ ม่มีประสิทธิภาพเรื่องบริษัทมิได้ทาการจัดเก็บใบเสร็จที่ยกเลิกหรือ ไม่ไ ด้ใช้ รวมถึงไม่จัดทา ทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน ด้านสารสนเทศและการสื่อสารแบ่งเป็นส่วนของข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร ด้านข้อมูล ข่าวสารบริษัทมีการจัดการข้อมูลที่ใช้ในการดาเนินงาน รวมถึงรายงานทางการเงินที่ดี ครบถ้วน เพียงพอ และทันเวลา มีการจัดประเภทเป็นหมวดหมู่ ด้านการสื่อ สาร ทางบริษัทมีการกาหนดให้ ฝ่ายบริหารติดตามผล และตอบข้อเรียกร้องหรือข้อแนะนาของบุคลากรอย่างทั่วถึง ผ่านทางอีเมล หรือเอกสารหากเป็นเรื่องที่เป็นทางการ เพื่อประสิทธิภาพในการดาเนินงาน ด้านการติดตามและประเมินผล ทางบริษัท มีการควบคุมที่ดี มีการประเมินผลการบรรลุ วัตถุประสงค์การดาเนินงานของหน่วยงานอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ มีการสื่อสารผลการประเมิน ให้ บุค ลากรที่รั บผิ ดชอบทราบและแก้ไ ขปรับ ปรุง การด าเนิน งาน มีก ารทบทวนหรือ ปรั บปรุ ง วัต ถุป ระสงค์ การ ดาเนิน งานแผน และกระบวนการด าเนิน งานตามค าร้อ งขอของบุ คลากร ที่ รับผิดชอบอีกทั้งฝ่ายบริหารมีการติดตามผลเพื่อให้ความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นไป ตามที่กาหนดไว้


103 จึงสามารถสรุปได้ว่าระบบการควบคุมภายในตามแนว COSO ของบริษัท วุฒิชัย โปรดิวส์ จากัด มีประสิทธิภาพในทุกๆด้าน ภายใต้วิกฤตการณ์อาหารโลกที่กาลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่ส่งผล กระทบต่อบริษัท ทาให้มีปริมาณการส่งออกข้าวน้อยลง รายได้และกาไรก็ลดลง แต่เนื่องด้วยบริษัท มีการควบคุมภายในที่ดี ทาให้บริษัทยังสามารถขับเคลื่อนไปได้ในอนาคต ข้อเสนอแนะ 1. การบริหารงานของของบริษัท ควรบริหารงานแบบกระจายอานาจมากขึ้น เพื่อป้องกัน ข้อผิดพลาดจากการให้บุคคลเดียวตัดสินใจ 2. บริษัทจัดทางบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารเพียงอย่างเดียว ดังนั้นควรมีการสอบทานยอด คงเหลือระหว่างแผนก หรือทาการสอบทานยอดบัญชีคุมพร้อมทั้งรายละเอียดทุกๆ สิ้นเดือน 3. บริษัทควรมีการลงบัญชีหรือทะเบียนพัสดุทันที เมื่อมีการจาหน่ายพัสดุออกไป 4. บริษัทมีการสอบทานระหว่างสายงานน้อยมาก ควรเพิ่มการสอบทานผลงานจริงกับ แผนงานหรือเป้าหมายในด้านที่ตนรับผิดชอบ รวมถึงสอบทานวิธีการปฏิบัติงานจริงกับระเบียบที่ กาหนด และสอบทานกับสถิติผลงานปฏิบัติในอดีตในทุกๆ ส่วนงาน 5. บริษัทควรแบ่งแยกหน้าที่ให้ชัดเจน ไม่ควรให้ 3 หน้าที่ต่อจากนี้เป็นบุคคลคนเดียวกัน หรือหน่วยงานเดียวกัน ได้แก่ 1) การอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ 2) การจดบันทึกข้อมูล และ 3) การดูแลรักษาทรัพย์สินขององค์การ 6. บริษัทควรเก็บใบเสร็จรับเงินที่ยกเลิกหรือไม่ใช้ไว้ เพื่ อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ ตอนสิ้นงวด 7. บริษัทควรใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก ทั้งนี้ข้าวไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นข้าวคุณภาพ ดี แต่ต้องเน้นการทาการตลาดและการสร้างภาพลักษณ์ รวมถึงการให้ความรู้และเพิ่มการบริโภค ข้าวไทยให้มีความกว้างขวางมากขึ้น


104 8. โครงสร้างการผลิตข้าวของไทยนั้นแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ การผลิตเพื่อส่งออกและ ผลิตข้าวเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนเมื่อเหลือแล้วจึงจะขาย รัฐควรแทรกแซงในส่วนที่เป็นเกษตรกร รายย่อยที่ผลิตข้าวเพื่อบริโภคและมีความยากจนสูงเพื่อให้ชาวนาได้รับรายได้ที่สามารถดารงชีพอยู่ ได้และโรงสีรายย่อยอยู่ได้ ในขณะเดียวกันควรปล่อยให้ตลาดส่งออกเป็นไปตามกลไกตลาด และ รักษาคุณภาพของข้าวเพื่อการส่งออกไว้ 9. ในการรับจานาข้าวนั้นควรจะจัดทาในลักษณะของการ กาหนดมูลค่าหรือ ราคาจานาให้ ต่ากว่ าหรือ ใกล้เ คี ยงกับ ราคาตลาด รวมถึ งการจากัด จ านวนและวงเงิน รั บจ าน าเพื่อ สนั บสนุ น เกษตรกรขนาดเล็ก และไม่เป็นกลไกสนับสนุนให้เกษตรกรหันไปปลูกข้าวคุณภาพต่า 10. นอกเหนือจากการศึกษาเรื่องการควบคุมภายในของบริษัท วุฒิชัยโปรดิวส์ จากัด ควร ทาการศึกษาเรื่องการบริหารต้นทุนเพิ่มเติม เนื่องจากทางบริษัท มีรายรับอยู่ในระดับสูง แต่กาไรที่ ได้รับต่อปีอยู่ในระดับค่อนข้างต่าเมื่อเทียบกับรายได้ ดังนั้นทางบริษัทควรหาวิธีการลดต้นทุนและ ค่าใช้จ่ายลงเพื่อให้เกิดผลการดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพ 11. ในการศึกษาเรื่องการควบคุมภายในครั้งต่อไป ควรนาค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมการ ส่งออกข้าว มาศึกษาและวิเคราะห์ เพื่อค้นหาแนวทางในการขจัดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น


เอกสารอ้างอิง กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. ม.ป.ป. การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จากัด. กองบรรณาธิการ. 2551. ผวาภัยฟู้ดไครซิสสะเทือน 100 ล.คน. (Online). www.thaipost.net, 28 มกราคม 2556. เกล็ดนที สสิกาญจน์. 2540. การควบคุมและการตรวจสอบภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พัฒนาวิชาการ (2535) จากัด. เจริญ เจษฎาวัลย์. ม.ป.ป. การตรวจสอบภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พอดี จากัด. ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. 2549. การจัดการระหว่างประเทศ. 2,000 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชลอ เหรียญประดับ. 2548. แนวทางการควบคุมภายในของธุรกิจอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ถิราวุฒิ ทองทรง. 2547. สภาพและปัญหาของระบบการควบคุมภายใน ศึกษากรณี : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จากัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ทิพย์สุดา เมฆฉาย. 2550. การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดด้านการควบคุมภายในของ COSO และ ระบบการควบคุมภายในของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


ธัญญกิจ ทรัพย์ประสม. 2547. การประเมินผลการควบคุมภายในของ COSO : กรณีศึกษาธนาคาร แห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ ส่วนเงินตรา. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นวลน้อย ตรีรัตน์. 2551. ความมั่นคงทางอาหาร. (Online). www.nidambe11.net, 27 มกราคม 2556. ประไพพรรณ เฉลิมพิชัย. 2551. การศึกษาการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชี เพือ่ การวาง แผนการควบคุมภายในของธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอัญมณี :กรณีศึกษา บริษัท จอร์จ เจนเซน (ประเทศไทย) จากัด. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปวรรัตน์ พรรธนประเทศ. 2555. ความมั่นคงทางอาหาร. (Online). www.nutrition.anamai.moph.go.th, 27 มกราคม 2556. ปานปรีย์ พหิทธานุกร. 2551. เตรียมรับมือวิกฤตการณ์อาหารโลก. (Online). www.oknation.net/blog/parnpree/2008/04/24/entry-1, 26 มกราคม 2556. ไพเราะ รัตนวิจิตร. 2549. การศึกษาเปรียบเทียบการควบคุมภายในตามแนว COSO ด้าน องค์ประกอบสภาพแวดล้อมการควบคุมในอุตสาหกรรมโรงแรมจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยบูรพา. ภัควดี วีระภาสพงษ์. 2551. วิกฤติการณ์อาหารโลก (ตอนที่ 1- 2). (Online). www.midnightuniv.org/forum/index.php, 1 กุมภาพันธ์ 2556. ภูเบศร์ สมุทรจักร. 2551. วิกฤตการณ์อาหารโลก. (Online). www.bangkokbiznews.com, 30 มกราคม 2556. รจิตลักษณ์ ชัยพงศ์พิพัฒน์. 2549. การศึกษาระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพือ่ พัฒนาการควบคุม ภายในของบริษัท อินทนิล เชียงใหม่ จากัด. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


ลินด์ ซีย์ฟาลวีย์. 2548. การเกษตรไทย อู่ข้าวอูน่ าข้ามสหัสวรรษ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. 2555. หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. 5,000 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จากัด. วิทยา อธิปอนันต์. 2543. เศรษฐกิจพอเพียงเพือ่ การเกษตรทีพ่ ึ่งพาตนเอง. กรุงเทพมหานคร: กรม ส่งเสริมการเกษตร สานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร. วิยดา ปานาลาด. 2548. การบริหารการควบคุมภายในของกระทรวงมหาดไทย จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. วิราภรณ์ พึ่งพิศ. 2550. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบการควบคุมภายในของบริษัท บูรพาอุตสาหกรรม จากัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ศจินทร์ ประชาสันติ์. 2552. สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทยภายหลังปี 2540. (Online). www.sathai.org/story_thai/043-Food_security-_thai.pdf, 20 มกราคม 2556. ศรีวงศ์ สุมิตร และ สาลินี วรบัณฑูร. 2538. เศรษฐศาตร์ระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2551. “วิกฤตอาหารโลก : ผลกระทบ...โอกาสของไทย.” กระแสทรรศน์. (Online). http://library.dip.go.th/multim6/edoc/17206.pdf., 29 มกราคม 2556. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้าและการเกษตร (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง. (Online). www.haii.or.th, 29 มกราคม 2556.


สานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ. 2547. เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิชัยพัฒนา. สานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ. 2554. ทฤษฎี ใหม่ หลักการพึง่ ตนเองที่ยงั่ ยืน. ม.ป.ท. สานักงานมูลนิธิชัยพัฒนา. 2550. เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่. (Online). www.chaipat.or.th/chaipat/index.php/th/publication/sufficiency-economy, 15 มกราคม 2556. สานักส่งเสริมและประมวลชน ส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วม. 2555. “วิกฤติการณ์อาหารโลก.” เกร็ดความรู้ทรัพยากรธรรมชาติ. (Online). http://intranet.dwr.go.th/bmpc/karkomru/feb%2055.pdf, 20 มกราคม 2556. สุทธิดา ศิริบุญหลง. 2552. การพัฒนาแบบยั่งยืน. (Online). http://library.uru.ac.th/bookonline/books%5CCh8A.pdf, 10 มกราคม 2556. อภิญญา เปินสูงเนิน. 2551. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการควบคุมภายใน กรณีศึกษาสหกรณ์โค นมในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการ จัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร. 2555. วิกฤติอาหารโลก. (Online). www.bangkokbiznews.com, 20 มกราคม 2556. อุษณา ภัทรมนตรี. 2543. การตรวจสอบและการควบคุมภายใน: แนวคิดและกรณีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.