เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรระยะสั้น คืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ 3) “เปิงสงก

Page 21

หน้า ๑๔

ง.วรรณคดี วัฒนธรรมประเพณีมอญเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในสัง คมไทย วรรณคดีเรื่อง “ราชาธิราช” เป็น พงศาวดารมอญ มีการแปลและแต่งเป็นวรรณคดีไทย ได้รับการยกย่องเป็นวรรณคดีที่ควรค่าแก่การอ่าน สาหรับคนไทย เนื้อหาบางตอนถูกนาไปตีพิมพ์เป็นแบบเรียนสาหรับเยาวชน โดยกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนั้นยังมีวรรณคดีไทยหลายเรื่องมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี มอญ เช่น วรรณคดีไทย พื้นบ้านเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” มีเนื้อหาเป็นเรื่องราวในปลายสมัยอยุธยา และถูกนามาแต่งเป็น บทร้อง เสภาเมื่ อ สมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ต อนต้ น ซึ่ ง มี ผู้ ร่ ว มแต่ ง กั น หลายท่ า น หนึ่ ง ในนั้ น คื อ สุ น ทรภู่ ซึ่ ง แต่ ง ตอน “กาเนิดพลายงาม” เสภาบทดังกล่าวมีสานวนภาษา และเนื้อหาเกี่ยวกับมอญอยู่หลายแห่ง วัฒนา บุ รกสิกร ได้วิเคราะห์ว่า สุนทรภู่น่าจะมีความรู้ภาษามอญ ซึ่งบทเสภาดังกล่าวมีดังนี้ แล้วพวกมอญซ้อนซอเสียงอ้อแอ้ ออระหน่ายพลายงามพ่อทรามเชย ให้อยู่ดีกินดีมีเมียสาว มวยบามาขวัญจงบันเทิง

ร้องทะแยย่องกะเหนาะหย่ายเตาะเหย ขวัญเอ๋ยกกกะเนียงเกรียงเกลิง เนียงกะราวกนตะละเลิ่งเคริ่ง จะเปิงยี่อิกะปิปอน

เนื้อหากล่าวถึงมอญในฐานะนักดนตรี “ทะแยมอญ” มีข้อความที่ถอดเสียงมาจากภาษามอญ แทรกอยู่ ๖ บาท ดังนั้นผู้แต่งที่มีความรู้ด้านฉันทลักษณ์ไทยและเข้าใจภาษามอญเท่านั้น จึงจะสามารถ แต่ง กลอนให้ มีเสี ยงและความหมายเป็ น มอญ ตรงตามฉัน ทลัก ษณ์ ไ ด้ แสดงให้ เห็น ว่ามีคนมอญอยู่ใน สังคมไทยเป็นจานวนมาก และคนไทยก็คุ้นเคยกับวัฒนธรรมมอญเป็นอย่างดี วรรณคดี เรื่อ ง “ขุ นช้ าง ขุน แผน” สอดแทรกวิถีชี วิตความเป็ น อยู่ การแต่ง กาย การละเล่ น ประเพณี คติความเชื่อ และไสยศาสตร์ของมอญ เช่น ตอนพระไวยแตกทั พ เมื่อพลายชุมพลปลอมตัวเป็น มอญท้าพระไวยออกรบ (พลายชุมพลและพระไวยเป็นบุตรของขุนแผน) ครานั้นเจ้าพลายชายชุมพล กูชื่อสมิงมัตรา ชื่อสมิงแมงตะยากะละออน เลื่องชื่อลือฟุ้งทุกกรุงไกร พระครูกูเรืองฤทธิเวท จะมาลองฝีมือไทยให้ระอา

แยบยลพูดเพี้ยนเป็นหงสา บิดากูผู้เรืองฤทธิไกร ในเมืองมอญใครไม่รอต่อได้ แม่ไซร้ชื่อเม้ยแมงตะยา พระสุเมธกะละดงเมืองหงสา ถ้าใครกล้ากูจะฟันให้บรรลัย

แสดงให้เห็ นว่าคนไทยในยุคนั้น คุ้นเคยกับคนมอญเป็นอย่างดี สามารถปลอมตัว เลียนเสียง รวมทั้งเอ่ยชื่อคนมอญ คือผู้ปลอมและผู้ถูกทาให้เชื่อต้องรู้จักมอญอย่างดี จึงสามารถเข้าใจความหมายและ เชื่อถือ การกล่าวอ้างถึงครูด้านคาถาอาคม สื่อให้เห็นว่า ในอดีตชาวมอญมีชื่อเสียงทางด้านไสยศาสตร์ เวทย์ ม นต์ เป็ น ที่ ห วั่ น เกรงของคนทั่ วไป ส่ ว น “พระสุ เมธ” เป็ น ต าแหน่ ง พระมหาเถรฝ่ ายรามั ญ ที่ พระมหากษัตริย์ไทยแต่งตั้งให้ดูแลปกครองพระรามัญ ด้วยกัน เริ่มตั้งครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยตั้งตามตาแหน่งพระสงฆ์ในเมืองมอญ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.