เกย์กับเสรีภาพ ฐานคิดปรัชญาและอุดมการณ์

Page 29

ในป ค.ศ.1993 หลังจากที่ดีน เฮเมอร เชื่อวาคนพบยีนสที่ทําใหคนกลายเปนเกย116 ทําใหผูนําศาสนายิว ชื่อเอ็มมานูแอล โจโคโบวิตสออกมาประกาศวาจะทําลายยีนสที่ทําใหบุคคลกลายเปนเกย ซึ่งสรางความไมพอใจ ใหกับกลุมเอาทเรจ ประเด็นเกี่ยวกับเกยยีนส ในทัศนะของปเตอร แท็ตเชลล หนึ่งในผูกอตั้งเอาทเรจ เชื่อวา ฮอรโมนมีสวนทําใหบุคคลกลายเปนเกย ซึ่งอาจเกิดขึ้นในชวงตั้งครรภ แตฮอรโมนมิใชตัวกําหนดอยางเดียว การ เปนเกยอาจเกิดจากปจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม หรือประสบการณชีวิตของคนๆนั้น ในชวงทศวรรษที่ 1980-1990 เกิดความไมแนนอนของการนิยามอัตลักษณทางเพศ เพราะความรูทาง วิทยาศาสตรมีขอจํากัดในการอธิบาย ในขณะที่นักสังคมศาสตรก็เริ่มอธิบายวา “เกย” เปนสิ่งที่สังคมสรางขึ้นมา นักวิชาการสายสังคมเชื่อวา “เกย” มิใชสิ่งที่ถาวรหรือมีแกนแท แตมีกระบวนการเปลี่ยนผานไปตามยุคสมัย ดังเชนมิเชล ฟูโก อธิบายวาความรูเรื่องเพศในตะวันตกสัมพันธกับอํานาจของวิทยาศาสตรซึ่งสราง “วาทกรรม” เกี่ยวกับตัวตนและอัตลักษณ กอนคริสตศตวรรษที่ 19 พฤติกรรมทางเพศมิใชสิ่งบงบอกตัวตนของมนุษย แตใช บอกวาใครทําดีหรือทําบาป117 แตการแพทยในคริสตศตวรรษที่ 19 ทําใหเพศกลายเปนเรื่องอัตลักษณ เดวิด เฮลเพอริน118 อธิบายวาอัตลักษณเกยมีดานที่อันตราย เพราะดํารงอยูในวิธีคิดเรื่องเพศวิถี (Sexuality) ที่ชวยให ความเปนรักตางเพศแจมชัดมากยิ่งขึ้น เฮลเพอรินเชื่อวาอัตลักษณเกย คืออัตลักษณของการเกลียดเกย (Homophobic Identity) ซึ่งเปนทั้งการตอตานรักตางเพศและเปนภาพที่นาเกลียดนากลัวที่รักตางเพศจะมองเห็น ไดชัดขึ้น อยางไรก็ตาม ภายในชุมชนเกยมีทั้งผูที่สนับสนุนและตอตานอัตลักษณดังกลาว ฟูโก เชื่อวาการแสดงออกถึงอัตลักษณเกย มิใชแคการเปดเผยตัวเอง แตควรจะเปนการใชอัตลักษณเกย เพื่อสรางความสัมพันธที่หลากหลาย เพราะตัวตนทางเพศมิใชมีไวเพื่อการเฉลิมฉลอง หากแตมีไวเพื่อการทําลาย กฎเกณฑทางเพศ ขอสังเกตของฟูโกในเรื่องนี้ทาทายการทํางานขององคกรเกยทั้งหลาย โดยมีคําถามสําคัญคือ องคกรเกยใช “อัตลักษณเกย” ในฐานะเปนของสําเร็จรูป หรือเปนสิ่งที่พรอมจะเปลี่ยนไปสูการนิยามใหมๆ ในป ค.ศ.1972 กาย ฮ็อคเคว็นเฮม119 ผูนําองคกรเกยในฝรั่งเศส เขียนหนังสือเรื่อง Homosexual Desire อธิบายวาสังคมชายเปนใหญคือสิ่งที่ถูกสรางขึ้น และการเรียกรองเสรีภาพของเกยก็เปนเพียงการจรรโลงให อํานาจของผูชายดํารงอยูตอไป ฟูโกก็เปนอีกคนหนึ่งที่ไมเห็นดวยกับการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกรองเสรีภาพของ ชาวเกย เพราะการเรียกรองเทากับเปนการตอกย้ําการแบงประเภทของคนตามเพศสภาพและเพศวิถี 120

116

N.J. Peters. Conundrum The Evolution of Homosexuality. Author House, Blommington,

Indiana. 2006. p.86-88.

117

David M. Halperin. How to do the History of Homosexuality. The University of Chicago

Press, Chicago. 2002. p.28. 118

David M. Halperin. “Gay Identity after Foucault” in Lucille Cairns. (ed.) Gay and Lesbian

Cultures in France. Oxford/Bern: Peter Lang, 2002, p.17-24. 119

Guy Hocquenghem. “Capitalism, the Family, and the Anus” in Mark Blasius and Shane

Phelan (ed.) We Are Everywhere. Routledge, New York. 1997. Pp.412-419. 120

David Halperin. Saint Foucault. Towards a Gay Hagiography. Oxford University Press,

New York. 1995.


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.