ANNUAL REPORT 2015 TH

Page 1

2015 ANNUAL REPORT

รายงานประจำ�ปี 2558

YOUR SATISFACTION IS OUR BUSINESS.

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) Thai Factory Development Public Company Limited


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) มุ่งมั่น สร้างสรรค์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้าน โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำ�นักงาน และที่พัก อาศัย พร้อมการบริการด้วยใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อ สร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า

Thai Factory Development Public Company Limited Be Dedicated, Be Creative, Be a Quality Real Estate Developer In Industrial Factories, Office Buildings & All Real Estate Sectors Providing the Best Customer Service for Our Customers’ Satisfaction


สารบัญ ข้อมูลสำ�คัญทางการเงิน สารจากประธานกรรมการ คณะกรรมการ โครงสร้างการจัดองค์กร ฝ่ายจัดการ การพัฒนาสังคมในรอบปี 2558 รายงานการปฏิบัติตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการ การควบคุมภายใน รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต งบแสดงฐานะการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม ลักษณะการประกอบธุรกิจ ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน นโยบายเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ขัดกัน และรายการระหว่างกัน ปัจจัยความเสี่ยง การวิเคราะห์และคำ�อธิบายของฝ่ายจัดการ รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อ รายงานทางการเงิน ผู้ถือหุ้นและการจัดการ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2558 ข้อมูลทั่วไป

02 03 04 10 11 14 17 34 37 38 40 114 123 129 141 146 157 158 160 161


02

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ข้อมูลส�ำคัญทางการเงิน หน่วย : ล้านบาท รายการ

2558

2557

2557

2556

(ปรับปรุงใหม่) ข้อมูลทางการเงิน 1. รายได้จากการขายและบริการ 2. รายได้รวม 3. กำ�ไร (ขาดทุน) สุทธิ 4. สินทรัพย์รวม 5. หนี้สินรวม 6. ส่วน­ของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนทางการเงิน 1. อัตรากำ�ไรสุทธิต่อรายได้รวม 2. อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 3. อัตราผลตอบแทนต่อทรัพย์สินรวม 4. กำ�ไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 5. เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) 6. มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) 7. อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 8. หนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)

776.22 874.44 (274.56) 9,657.97 7,755.84 1,902.13

1,384.95 1,465.14 (157.82) 7,382.84 5,213.81 2,169.03

1,384.95 1,465.14 (157.82) 7,409.30 5,240.27 2,169.03

882.82 945.42 153.86 7,683.00 6,054.91 1,628.10

-31.40% -14.43% -2.84% (0.21) 1.48 1.39 4.07

-10.77% -7.27% -2.13% (0.12) 1.68 2.45 2.41

-10.77% -8.31% 1.20% (0.12) 1.68 2.45 2.41

16.27% 9.45% 2.00% 0.14 0.30 1.50 1.19 3.71


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

03

สารจากประธานกรรมการ

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น ปี 2558 เป็นปีที่ยากลำ�บากสำ�หรับเศรษฐกิจประเทศไทยอีกปีหนึ่ง อันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากปัจจัยลบหลายๆ ประการ ทั้งจากปัจจัย ภายนอกและจากปัจจัยภายในประเทศของเราเอง อาทิเช่น การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในประเทศจีนจึงมีผลทำ�ให้การ ลงทุนและการค้าระหว่างประเทศต้องประสบกับสภาวะซบเซาไปตามเศรษฐกิจโลกไปด้วย นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง ประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจโลก ส่วนปัจจัยลบภายในของประเทศเราก็เช่น การที่ประเทศไทยต้องประสบกับภัยแล้งอย่าง รุนแรง ยาวนาน ราคาพืชผลเกษตรตกต่�ำ ทำ�ให้ก�ำ ลังซือ้ ของภาคเกษตรกรหายไป สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชือ่ การถูกสหภาพ ยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางการค้า สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยลบทั้งสิ้น ซึ่งได้ส่งผลกระทบมายังบริษัทในแง่ของผลประกอบการที่ลดต่ำ�ลง เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามในปี 2558 ช่วงปลายปีได้มีข่าวที่น่ายินดีสำ�หรับบริษัทเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือที่ดินของบริษัทบริเวณนิคมอุตสาหกรรม ทีเอฟดี ตำ�บลท่าสะอ้าน อำ�เภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สีม่วงแล้ว คือบริษัทสามารถที่จะนำ�ที่ดินที่มีอยู่มา พัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมได้แล้ว ดังนั้น บริษัทจึงมีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะนำ�ที่ดินที่มีอยู่นี้มาพัฒนาให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟสที่ 2 ให้พร้อมขายในปี 2559 นี้ต่อไป นอกจากมีข่าวที่น่ายินดีของทีเอฟดีแล้ว ผมก็ขอเรียนต่อท่านผู้ถือหุ้นว่า ในบริษัทลูกก็มีเรื่องที่น่ายินดีเช่นกัน นั่นคือ สำ�หรับบริษัท คราวน์ ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด ที่มีโครงการที่จะทำ�การพัฒนาคอนโดมิเนียมเพื่อที่อยู่อาศัยต่อจากโครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส คือ โครงการเดอะฮาร์เบอร์ วิว เรสซิเดนส์เซส ตั้งอยู่ที่ถนนพระราม 4 - ห้าแยก ณ ระนอง มีพื้นที่ขายประมาณ 20,000 ตารางเมตรเศษ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอนการประมูลผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่สำ�หรับการขายห้องชุดในโครงการได้ทำ�การขายหมดทั้งโครงการแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ น่ายินดีเพราะสามารถปิดการขายโครงการได้อย่างรวดเร็วมาก ส่วนบริษัท โทเทิล อินดัสเตรียล เซอร์วิสเซส จำ�กัด ก็อยู่ระหว่างขั้นตอน การดำ�เนินการที่จะนำ�อาคารคลังสินค้าที่ประเทศอังกฤษ จำ�นวน 2 โรง และอาคารคลังสินค้าที่ท่าสะอ้าน จำ�นวน 2 โรง มาจัดตั้งเป็นกอง REIT ออกจำ�หน่ายให้แก่นักลงทุนภายในปีนี้ จากแผนการดำ�เนินการที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผมมีความเชือ่ มัน่ เป็นอย่างยิง่ ว่า ในปี 2559 จะเป็นปีทองของทีเอฟดีอย่างแน่นอน เพราะ ด้วยความพร้อมและจากการทำ�งานอย่างหนักของฝ่ายจัดการในช่วงที่ผ่านมาได้ดำ�เนินการจนสามารถส่งผลให้ทีเอฟดีและบริษัทในกลุ่ม มีผลประกอบการที่ดีในช่วงปี 2559 เป็นต้นไปอย่างแน่นอน ผมมีความเชือ่ มัน่ ว่า ไม่วา่ จะมีปญั หาและอุปสรรคประการใดก็ตาม ด้วยความมุง่ มัน่ และทุม่ เทให้กบั การทำ�งานอย่างหนักของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และพนักงานทุกคนที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันทุ่มเททำ�งานกันอย่างเต็มที่จะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้ บริษัทฯ ต้องขอขอบคุณในความร่วมมือ ร่วมใจกันของบุคลากรของบริษัทฯ ทุกคน และขอขอบคุณในการได้รับการสนับสนุนเป็น อย่างดีจากผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า สถาบันการเงิน สื่อสารมวลชน นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนประชาชนทั่วไป บริษัทฯ หวังเป็น อย่างยิ่งว่า บริษัทฯ จะได้รับความไว้วางใจและได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีเช่นนี้ตลอดไป ขอขอบพระคุณ

ดร.สุนทร เสถียรไทย ประธานกรรมการ


04

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

คณะกรรมการ

ดร.สุนทร เสถียรไทย

ประธานกรรมการ/กรรมการอิสระ

นายประสงค์ วรารัตนกุล

ประธานกรรมการตรวจสอบ/ ประธานกรรมการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน/กรรมการอิสระ

ดร.อภิชัย เตชะอุบล

รองประธานกรรมการ/ประธานกรรมการบริหาร

นายกัมพล ติยะรัตน์

กรรมการ/กรรมการบริหาร/ กรรมการผู้จัดการ

นายอนุกูล อุบลนุช

กรรมการ

นายนันท์ กิจจาลักษณ์

กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ/ กรรมการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน

นายบรรยง วิเศษมงคลชัย

กรรมการ

นายสมมาตร สังขะทรัพย์

กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ/ กรรมการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน

นายกฤตวัฒน์ เตชะอุบล

กรรมการ/กรรมการบริหาร

นายพิสุทธิ์ วิริยะเมตตากุล

กรรมการ

*นายพิสุทธิ์ วิริยะเมตตากุล ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

05

คณะกรรมการ ดร.สุนทร เสถียรไทย ประธานกรรมการ, กรรมการอิสระ ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545

การศึกษา

• ปริญญาเอก (เกียรตินิยม) เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส (SORBONNE) ประเทศฝรั่งเศส • ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส (SORBONNE) ประเทศฝรั่งเศส • ปริญญาตรี ธรรมศาสตร์บัณฑิต (ธ.บ.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รับราชการกระทรวงการคลังปี 2500 - 2531 • รองปลัดกระทรวงการคลัง • อธิบดีกรมบัญชีกลาง • อธิบดีกรมธนารักษ์ • ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง • หัวหน้ากองควบคุมธนาคารและการออมสิน

ประสบการณ์การท�ำงาน

• นายกสภามหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย • ศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ • ประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ดร.อภิชัย เตชะอุบล

รองประธานกรรมการ, ประธานกรรมการบริหาร ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2555

การศึกษา

• ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง • ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง • ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ North Central University, Arizona, U.S.A. • ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง

การอบรมหลักสูตรกรรมการจาก IOD • หลักสูตร DAP รุ่น 39/2005 • หลักสูตร Chairman 2000 • หลักสูตร CGI รุ่น 3/2015

ประสบการณ์การท�ำงาน

• กรรมการ บมจ.หลักทรัพย์ เออีซี • กรรมการ Barnsley Warehouse Limited • กรรมการ Bognor Regis Warehouse Limited • กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เจซี เควิน ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด • กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท คราวน์ ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด • กรรมการ บริษัท ทีเอฟดี เรียลเอสเตท แมนเนจเมนท์ จ�ำกัด • กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี • กรรมการทรงคุณวุฒิ - องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน • กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส จี แลนด์ จ�ำกัด • ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย • ที่ปรึกษาสมาคมหอการค้าไทยจีน • ประธานกรรมการ บริษัท ปริ๊นส์ตั้น พาร์ค สวีท จ�ำกัด • รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท โทเทิล อินดัสเตรียล เซอร์วิสเซส จ�ำกัด


06

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

นายประสงค์ วรารัตนกุล

ประธานกรรมการตรวจสอบ, ประธานกรรมการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน, กรรมการอิสระ ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542

การศึกษา

• ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาตรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง

ประสบการณ์การท�ำงาน

• กรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท วีรีเทล จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไทย พร๊อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด (มหาชน)

การอบรมหลักสูตรกรรมการจาก IOD • หลักสูตร DCP รุ่น 72/2006 • หลักสูตร DAP รุ่น 51/2006 • หลักสูตร ACP รุ่น 12/2006 • หลักสูตร AACP รุ่น 16/2014 • หลักสูตร ELP รุ่น 2/2015

นายนันท์ กิจจาลักษณ์

กรรมการตรวจสอบ, กรรมการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน, กรรมการอิสระ ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545

การศึกษา

• ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา • ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การอบรมหลักสูตรกรรมการจาก IOD • หลักสูตร DAP รุ่น 58/2006

ประสบการณ์การท�ำงาน

• กรรมการ บริษัท ส�ำนักงานกฎหมายฟาร์อีสฑ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

07

นายสมมาตร สังขะทรัพย์

กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ, กรรมการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2546

การศึกษา

• ปริญญาตรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ปริญญาตรี บัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์การท�ำงาน

• ที่ปรึกษาด้านภาษีอากร บริษัท ทรัพย์สถาพร จ�ำกัด

การอบรมหลักสูตรกรรมการจาก IOD • หลักสูตร DAP รุ่น 58/2006

นายกัมพล ติยะรัตน์ กรรมการ, กรรมการบริหาร, กรรมการผู้จัดการ ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545

การศึกษา

• ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ปริญญาตรี การบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ • ปริญญาตรี นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การอบรมหลักสูตรกรรมการจาก IOD

• หลักสูตร Role of the Chairman รุ่น 22/2009 • หลักสูตร DCP Refresher รุ่น 2/2006 • หลักสูตร DCP รุ่น 30/2003 • หลักสูตร AACP รุ่น 21/2015

การอบรมจากสถาบันอื่น

• หลักสูตร “การเป็นนักวิเคราะห์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจ” รุ่น 22 ปี 2552 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประสบการณ์การท�ำงาน

• ข้าราชการบ�ำนาญกรมสรรพากร • อดีตอนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบ ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ • กรรมการบริหาร บริษัท โทเทิล อินดัสเตรียล เซอร์วิสเซส จ�ำกัด • กรรมการบริหาร บริษัท เอส จี แลนด์ จ�ำกัด • กรรมการบริหาร บริษัท คราวน์ ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด • กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปริ๊นตั้นส์ พาร์ค สวีท จ�ำกัด


08

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

นายอนุกูล อุบลนุช กรรมการ ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545

การศึกษา

• ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • เนติบัณฑิตไทย ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา • ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง

การอบรมหลักสูตรกรรมการจาก IOD

• หลักสูตร DCP รุ่น 7/2001 • หลักสูตร Directors Diploma Examination • หลักสูตร Chartered Director รุ่น 5/2009

ประสบการณ์การท�ำงาน

• กรรมการ บริษัท เอส จี แลนด์ จ�ำกัด • กรรมการผู้จัดการ, กรรมการ บริษัท โทเทิล อินดัสเตรียล เซอร์วิสเซส จ�ำกัด • กรรมการผู้จัดการ, กรรมการ บริษัท คราวน์ ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด • กรรมการผู้จัดการ (2538-2548) บริษัท เครดิต ฟองซิเอร์ ยูนิโก้ เฮ้าซิ่ง จ�ำกัด • หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย (2535-2538) ธนาคารแหลมทอง จ�ำกัด (มหาชน)

การอบรมจากสถาบันอื่น

• หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 6 สถาบันพระปกเกล้า • หลักสูตร การปฏิบัติการจิตวิทยาฝ่ายอ�ำนวยการ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด

นายบรรยง วิเศษมงคลชัย

กรรมการ ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2557

การศึกษา

• ปริญญาโท กฎหมาย Temple University, USA • Mini MBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การอบรมหลักสูตรกรรมการจาก IOD • หลักสูตร DAP รุ่น 119/2015

การอบรมจากสถาบันอื่น

• นปอ. รุ่น 48 วิทยาลัยการปกครอง • วตท. รุ่น 5 สถาบันวิทยาการตลาดทุน

ประสบการณ์การท�ำงาน

• กรรมการ บริษัท โทเทิล อินดัสเตรียล เซอร์วิสเซส จ�ำกัด • กรรมการ และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บริษัทหลักทรัพย์ อาร์เอชบี (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหาร และกรรมการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี และ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ธนาคารอาคารสงเคราะห์


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

นายกฤตวัฒน์ เตชะอุบล กรรมการ, กรรมการบริหาร ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2557

การศึกษา

• ปริญญาตรี วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน ประเทศอังกฤษ

การอบรมหลักสูตรกรรมการจาก IOD

ประสบการณ์การท�ำงาน

• กรรมการ, กรรมการบริหาร บริษัท คราวน์ ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด • ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์การตลาด บริษัท เจซี เควิน ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด

• หลักสูตร DCP รุ่น 196/2014

นายพิสุทธิ์ วิริยะเมตตากุล กรรมการ ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557

การศึกษา

• ปริญญาโทด้านบริหาร (การเงิน) California State University • ปริญญาตรีด้านบริหารการจัดการ (International) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

การอบรมหลักสูตรกรรมการจาก IOD

ประสบการณ์การท�ำงาน

• กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพารักษ์พัฒนาการ จ�ำกัด บริษัท ซีเอ็มที เน็ทเวิร์คโซลูชั่น จ�ำกัด • รองกรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั รัชดาออฟฟิส บิลดิง้ จ�ำกัด

• หลักสูตร DCP รุ่น 7/2001 • หลักสูตร Directors Diploma Examination • หลักสูตร Chartered Director รุ่น 5/2009 หมายเหตุ : นายพิสุทธิ์ วิริยะเมตตากุล ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558

09


10

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

โครงสร้างการจัดองค์กร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 โครงสร้างการจัดการองค์กร และสายงานการท�ำงานภายในองค์กร

คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ ที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาธุรกิจ อุตสาหกรรม

ประธานกรรมการบริหาร

คณะกรรมการตรวจสอบ

กรรมการผู้จัดการ

ผู้ตรวจสอบภายใน

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาธุรกิจ - ที่พัก อาศัย และอาคารส�ำนักงาน

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายบริหารและเทคโนโลยี สารสนเทศ

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายการเงิน

หมายเหตุ : บริษทั ท�ำสัญญาว่าจ้างบุคคลภายนอกเป็นผูต้ รวจสอบภายใน โดยมีหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบในการด�ำเนินการตรวจสอบภายในและงานอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบ


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

11

ฝ่ายจัดการ

ดร. อภิชัย เตชะอุบล

ประธานกรรมการบริหาร

นายกัมพล ติยะรัตน์

นายกฤตวัฒน์ เตชะอุบล

กรรมการผู้จัดการ

นางสิริพร ปิ่นประยงค์

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายบริหาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ/เลขานุการบริษัท

กรรมการบริหาร

นางรัชนี ศิวเวชช

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายการเงิน

นางวิไล แซ่โง้ว

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม


12

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ฝ่ายจัดการ ดร.อภิชัย เตชะอุบล

ประธานกรรมการบริหาร เข้าร่วมงานกับบริษัทตั้งแต่ปี 2555

การศึกษา

• ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง • ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง • ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ North Central University, Arizona, U.S.A. • ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง

นายกัมพล ติยะรัตน์

กรรมการผู้จัดการ เข้าร่วมงานกับบริษัทตั้งแต่ปี 2545

การศึกษา

• ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ปริญญาตรี การบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ • ปริญญาตรี นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายกฤตวัฒน์ เตชะอุบล

กรรมการบริหาร เข้าร่วมงานกับบริษัทตั้งแต่ปี 2557

การศึกษา

• ปริญญาตรี วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน ประเทศอังกฤษ


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

นางรัชนี ศิวเวชช

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายการเงิน เข้าร่วมงานกับบริษัทตั้งแต่ปี 2524

การศึกษา

• ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นางสิริพร ปิ่นประยงค์

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ, เลขานุการบริษัท เข้าร่วมงานกับบริษัทตั้งแต่ปี 2537

การศึกษา

• ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร • ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ การเงิน Roosevelt University เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา

นางวิไล แซ่โง้ว

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานกับบริษัทตั้งแต่ปี 2540

การศึกษา

• ปริญญาตรี คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย West Coast ประเทศสหรัฐอเมริกา

13


14

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

การพัฒนาสังคม ในรอบปี 2558


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

15

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของความรับผิดชอบ ต่อสังคม ในพื้นที่ต่างๆ ที่บริษัทฯ เข้าไปด�ำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดูแล ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความสัมพันธ์ และสร้างผลประโยชน์ให้กับชุมชน ในปี 2558 บริษัทฯ ได้ด�ำเนินกิจกรรมช่วยเหลือและพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ที่ห่างไกล และพื้นที่ที่บริษัทเข้าไป ด�ำเนินธุรกิจ ไม่วา่ จะเป็นด้านการศึกษา ด้านพัฒนาคุณภาพชีวติ รวมไปถึงการบริจาคสิง่ ของ ให้กบั มูลนิธเิ พือ่ ช่วยเหลือผูท้ ปี่ ระสบ ความเดือดร้อน ทั้งนี้การด�ำเนินกิจกรรมและโครงการนั้น บริษัทฯ จะมุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของบริษัทฯ พนักงานและชุมชน โดยมีโครงการที่ส�ำคัญ ดังนี้ •

กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติประจ�ำปี 2558

สำ�หรับในปี 2558 บริษทั ฯ ได้รว่ มกับองค์การบริหารส่วนตำ�บลท่าสะอ้าน องค์การบริหารส่วนตำ�บลหนองจอก ผูป้ ระกอบการภายในนิคม อุตสาหกรรมทีเอฟดี และชุมชนบริเวณโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม นำ�อุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์กฬี า เครือ่ งอุปโภคบริโภค ไปมอบให้กบั เด็กนักเรียนในโรงเรียนบริเวณโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี โดยจะมุง่ เน้นการมีสว่ นร่วมระหว่างบริษทั ฯ ผูป้ ระกอบการ หน่วยงานท้องถิน่ และชุมชนบริเวณโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดีเป็นสำ�คัญ

• โครงการอนุรักษ์ ประเพณีวันสงกรานต์ การละเล่นพื้นบ้าน และวันผู้สูงอายุประจ�ำปี 2558 บริษัทฯ ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนต�ำบลและผู้น�ำชุมชน จัดกิจกรรมประเพณีวันสงกรานต์และวันผู้สูงอายุประจ�ำปี 2558 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวันสงกรานต์และให้ความส�ำคัญกับผู้สูงอายุ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในชุมชนและท้องถิ่นอีกด้วย


16

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

กิจกรรมท�ำบุญตักบาตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โครงการ “กนอ.ส่งแรงใจให้ทหารผู้เสียสละ”

บริษัทฯ และผู้ประกอบการภายในนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี ตลอดจนผู้นำ�ส่วนท้องถิ่นและชุมชนบริเวณโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม ร่วมจัดกิจกรรมทำ�บุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ณ บริเวณด้านหน้าสำ�นักงานนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา

บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการ “กนอ.ส่งแรงใจให้ทหารผู้เสียสละ” ของมูลนิธินิคมอุตสาหกรรมไทย ภายใต้การดำ�เนินงานของการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยการบริจาคเงินสมทบทุนช่วยเหลือผูป้ ว่ ยทหารที่ได้รบั บาดเจ็บจากการปฎิบตั หิ น้าที่ เพือ่ เป็นการสร้างขวัญ และกำ�ลังใจให้กับทหารผู้เสียสละเหล่านั้น

• โครงการ “สนับสนุนอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา และอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนโรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเพชรบุรี

บริษัทฯ ได้ร่วมกับกลุ่มน้ำ�ใจเพื่อรอยยิ้ม ดำ�เนินการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “น้ำ�ใจเพื่อรอยยิ้ม” เป็นประจำ�อย่างต่อเนือ่ งทุกปี เพือ่ ทีจ่ ะนำ�ความช่วยเหลือและสนับสนุนทางด้านการศึกษา ไปยังพื้นที่ห่างไกลหรือในถิ่นทุรกันดาร สำ�หรับในปี 2558 ที่ผ่านมา นั้นบริษัทร่วมกับกลุ่มน้ำ�ใจ เพือ่ รอยยิม้ เดินทางไปมอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กฬี า และ เลี้ยงอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนตำ�รวจตระเวน ชายแดนบ้านปาเกอะญอ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ในระหว่าง วันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาด้านการศึกษา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของ เยาวชนในพื้นที่ห่างไกล


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

17

หลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี ที่จะ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน สถาบันการเงิน พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในการดำ�เนินธุรกิจคณะกรรมการบริษัท จึงได้ก�ำ หนดหลักการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ขี องบริษทั เพือ่ เป็นแนวทางในการดำ�เนินธุรกิจสำ�หรับกรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานของบริษทั ทั้งนี้คณะกรรมการได้มีการทบทวนและปรับปรุงหลักการกำ�กับดูแลกิจการให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอและเผยแพร่นโยบาย รวมถึงข้อมูลต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทที่ http://www.tfd-factory.com หลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สามารถแบ่งได้เป็น 7 หมวดที่สำ�คัญ ดังต่อไปนี้ หมวดที่ 1 ปรัชญาการดำ�เนินธุรกิจ หมวดที่ 2 คณะกรรมการ หมวดที่ 3 จรรยาบรรณของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน หมวดที่ 4 การรายงานทางการเงิน รายงานทางการบริหาร และการควบคุมภายใน หมวดที่ 5 การบริหารความเสี่ยง หมวดที่ 6 สิทธิของผู้ถือหุ้น หมวดที่ 7 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน หมวดที่ 8 บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย หมวดที่ 9 การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส หมวดที่ 10 การดำ�เนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หมวดที่ 11 การต่อต้านคอร์รัปชั่น

หมวดที่ 1 ปรัชญาในการด�ำเนินธุรกิจ

บริษัทฯ มีเจตนารมณ์ที่จะเป็นองค์กรที่ดำ�เนินธุรกิจทางด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ดีเลิศ มีการบริหารจัดการที่ดี โดยมุ่งเน้นการ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำ�เนินงานให้มีความคล่องตัว มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และสามารถดำ�เนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ เกีย่ วข้อง รวมถึงผูท้ มี่ สี ว่ นได้เสียกับบริษทั ทัง้ หมด นอกจากนัน้ บริษทั ยังมีความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะเป็นองค์กรทีม่ กี ารกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี มีคณ ุ ธรรม มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่กิจการ และเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จากเจตนารมณ์ดงั กล่าว บริษทั จึงได้ก�ำ หนดปรัชญาในการดำ�เนินธุรกิจ เพือ่ ให้คณะกรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงาน ใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นให้บุคลากร มีทัศนคติที่ดี มีพฤติกรรมการเรียนรู้ มีการพัฒนาการดำ�เนินงานอย่างสร้างสรรค์ และมีจิตสำ�นึก ในการรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ปรัชญาดังกล่าวประกอบด้วยสาระสำ�คัญ ดังต่อไปนี้ 1. หลักสำ�คัญในการดำ�เนินธุรกิจและการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี 1.1 Accountability คือ ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทำ�ของตนเอง และสามารถชี้แจง/อธิบายการ ตัดสินใจนั้นได้ 1.2 Responsibility คือ ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ 1.3 Equitable Treatment คือการปฏิบตั ติ อ่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียอย่างเท่าเทียมกัน เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และมีค�ำ อธิบายได้ 1.4 Transparency คื อ ความโปร่ ง ใสในการดำ � เนิ น งานที่ ส ามารถตรวจสอบได้ และมี การเปิ ด เผยข้ อ มู ล อย่ า งโปร่ ง ใส แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 1.5 Vision to create long term value คือ การมีวิสัยทัศน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจการในระยะยาว 1.6 Ethics คือ การมีจริยธรรม/จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ 2. ค่านิยมองค์กร (Corporate Values) 2.1 ต่อผู้ถือหุ้น - จะดำ�เนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ให้มกี ารเติบโตและมีก�ำ ไรอย่างยัง่ ยืนโดยคำ�นึงถึงการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนทีด่ ี 2.2 ต่อลูกค้า - สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าโดยผ่านการนำ�เสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูงในระดับมาตรฐาน สากล ด้วยราคายุติธรรม 2.3 ต่อพนักงาน - จะสนับสนุนการพัฒนาความสามารถการทำ�งานระดับมืออาชีพอย่างต่อเนือ่ งให้ความมัน่ ใจในคุณภาพชีวติ การทำ�งานของพนักงานทัดเทียมบริษัทชั้นนำ�


18

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

2.4 ต่อชุมชน - จะรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชน 2.5 ต่อคู่ค้า - จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อเอื้อประโยชน์ร่วมกัน 3. วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) 3.1 ทัศนคติ - มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ - มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นหลัก - มุ่งเน้นลูกค้า - มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง - มีจิตสำ�นึกในการทำ�งานเป็นทีม โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน 3.2 วิธีคิด - คิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเชิงยุทธศาสตร์ และตรงประเด็น 3.3 พฤติกรรมในการทำ�งาน - มีกรอบและแผนการทำ�งานที่ชัดเจน - วิธีการทำ�งานต้องปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ - ทำ�งานเป็นทีม - บันทึก เก็บข้อมูล เพื่อวิเคราะห์และสร้างเป็นองค์ความรู้ - มีระบบการถ่ายทอดวิธีการทำ�งานอย่างเป็นระบบ - บริหารเวลาเป็น

หมวดที่ 2 คณะกรรมการ

1. หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการสรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูง 1.1 ภาวะผู้นำ�และความเป็นอิสระของคณะกรรมการ - คณะกรรมการ ภายใต้การนำ�ของประธานกรรมการจะต้องมีภาวะผูน้ �ำ และสามารถควบคุมการดำ�เนินการของผูบ้ ริหารได้อย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อบรรลุเป้าหมายที่เป็นหัวใจของธุรกิจของบริษัทโดยสามารถสร้างและเพิ่มพูนค่าการลงทุน ให้แก่ผู้ถือหุ้น ภาครัฐ ประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ (Stakeholders) - คณะกรรมการ ประกอบด้วย กรรมการอิสระจากภายนอกซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และควรมีการประชุมร่วมกัน อย่างน้อย 4 เดือน / ครั้ง โดยกรรมการอิสระจะต้องเข้าถึงข้อมูลทางการเงินและทางธุรกิจอื่นอย่างเพียงพอที่จะสามารถ แสดงความเห็นได้อย่างเป็นอิสระ รักษาประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าประชุมโดยสม่ำ�เสมอ - บริษทั กำ�หนดให้ประธานกรรมการและกรรมการผูจ้ ดั การเลือกตัง้ มาจากกรรมการบริษทั และเป็นคนละบุคคลกันเสมอ โดยมีการแบ่ง แยกหน้าทีด่ า้ นนโยบาย การติดตามประเมินผล และการบริหารงานออกจากกัน ประธานกรรมการมีภาวะผูน้ �ำ และบทบาทหลักในการ ดูแลให้การทำ�หน้าทีข่ องคณะกรรมการเป็นอิสระจากฝ่ายผูบ้ ริหาร กำ�หนดระเบียบวาระการประชุมตามหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของคณะ กรรมการ ทำ�หน้าทีป่ ระธานในทีป่ ระชุมคณะกรรมการและผูถ้ อื หุน้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสนับสนุนและผลักดันให้กรรมการทุกคน มีสว่ นร่วมในการประชุม 1.2 องค์ประกอบของคณะกรรมการและการแต่งตั้ง - คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย กรรมการที่เป็นผู้บริหาร กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร กรรมการอิสระ - บริษัทฯ มุ่งหวังให้มีกรรมการอิสระที่มีความเป็นมืออาชีพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่จะต้องไม่น้อยกว่า 3 คน - คณะกรรมการบริษัทมาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ เพื่อผสมผสานความรู้ความสามารถต่างๆ ที่จำ�เป็น ซึ่งประกอบด้วย ผู้ท่มี ีความรู้ด้านธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างน้อย 3 คน ผู้ท่มี ีความรู้ด้านกฎหมายอย่างน้อย 1 คน และ ผู้มีความรู้ ด้านบัญชีและการเงินอย่างน้อย 1 คน - การแต่ ง ตั้ ง กรรมการเป็ น ไปตามวาระที่ กำ � หนดไว้ โ ดยเจาะจง มี ค วามโปร่ ง ใส และชั ด เจนโดยเปิ ด เผยจำ �นวนปี การดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการแต่ละคนในรายงานประจำ�ปี และบน Website ของบริษัท 1.3 การจัดตั้งคณะกรรมการอื่นๆ - คณะกรรมการตรวจสอบ: คณะกรรมการ ต้ อ งจั ด ให้ มี ค ณะกรรมการตรวจสอบเป็ น ส่ ว นหนึ่ งของคณะกรรมการโดย แต่งตั้งจากกรรมการอิสระของบริษัท อย่างน้อย 3 คน และอย่างน้อย 1 คน ต้องมีความรู้ด้านบัญชี/การเงินโดย คณะกรรมการตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติเกี่ยวกับความเป็นอิสระตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

19

เรื่องคุณสมบัติและขอบเขตการดำ�เนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อทำ�หน้าที่ตรวจสอบ/กำ�กับดูแลการดำ�เนินงาน ของบริษทั ดูแลรายงานทางการเงิน ระบบควบคุมภายใน การคัดเลือกผูต้ รวจสอบบัญชี การพิจารณาข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงการจัดทำ�รายงานกำ�กับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งปัจจุบันกรรมการอิสระ 3 คนดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการตรวจสอบ และทั้ง 3 คน มีความรู้ในการสอบทานงบการเงิน ดังรายชื่อ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. นายประสงค์ วรารัตนกุล ประธานกรรมการตรวจสอบ 2. นายนันท์ กิจจาลักษณ์ กรรมการตรวจสอบ 3. นายสมมาตร สังขะทรัพย์ กรรมการตรวจสอบ - คณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี สรรหา และค่าตอบแทน : ทีป่ ระชุมคณะกรรมการ เมือ่ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2550 ได้ แต่งตั้งกรรมการอิสระของบริษัท 3 คน เป็นคณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน ซึ่งทั้ง 3 คนเป็น ผูม้ คี ณ ุ สมบัตติ รงตามหลักเกณฑ์ทต่ี ลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้ก�ำ หนดไว้ในเรือ่ งของคุณสมบัตขิ องกรรมการอิสระทุกประการ โดยมีวาระการดำ�รงตำ�แหน่ง 3 ปี หรือ จนกว่าจะพ้นตำ�แหน่งจากการเป็นกรรมการบริษทั ฯ ดังรายชือ่ ต่อไปนี้ 1. นายประสงค์ วรารัตนกุล ประธานกรรมการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน 2. นายนันท์ กิจจาลักษณ์ กรรมการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน 3. นายสมมาตร สังขะทรัพย์ กรรมการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ บรรลุวัตถุประสงค์ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบที่ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ คณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทนมีการประชุมอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี เพื่อพิจารณา หารือ และดำ�เนินการใดๆ ให้สำ�เร็จลุล่วงตามหน้าที่ ความรับผิดชอบของตน นอกจากนี้คณะกรรมการกำ�หนดให้กรรมการอิสระมีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งต่อเนื่องไม่เกิน 9 ปี นับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการอิสระครั้งแรก ในกรณีที่จะแต่งตั้งกรรมการอิสระนั้นให้ดำ�รงตำ�แหน่งต่อไป คณะกรรมการ จะพิจารณาอย่างสมเหตุสมผลถึงความจำ�เป็นดังกล่าว 2. คุณลักษณะ/คุณสมบัติของคณะกรรมการ - คณะกรรมการมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. บริษัท มหาชน จำ�กัด - คณะกรรมการพิจารณาประสิทธิภาพการทำ�งานของกรรมการที่ดำ�รงตำ�แหน่งหลายบริษัทอย่างรอบคอบ โดยกรรมการ แต่ละคน ไม่ควรดำ�รงตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนและบริษัทย่อยที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนเกิน 5 บริษัท - กรรมการอิสระต้องมีคุณสมบัติเกี่ยวกับความเป็นอิสระตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำ�นักงานคณะ กรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และต้องสามารถดูแลผลประโยชน์ของผูถ้ อื หุน้ ทุกรายได้เท่าเทียมกัน และ ไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัท กับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัทอื่น ซึ่งมีผู้บริหาร/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กลุ่มเดียวกัน และยังต้องสามารถเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ โดยให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระได้ ด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้มีข้อ กำ�หนดเกี่ยวกับคุณสมบัติตามเกณฑ์ของกรรมการอิสระ (Independent Director) โดยกำ�หนดให้โครงสร้างคณะกรรมการของบริษัท จดทะเบียนต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน และคณะอนุกรรมการควรเป็นกรรมการอิสระ โดยบริษัทสามารถกำ�หนดคุณสมบัติ ของกรรมการอิสระมากกว่าเกณฑ์ที่ ตลท. และ กลต. กำ�หนดไว้ได้ บริษัทฯ ได้กำ�หนดเรื่องคุณสมบัติของกรรมการอิสระต้องเป็นกรรมการที่เป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหาร และ ผู้เกี่ยวข้อง หรือกรรมการที่ ไม่เป็นผู้บริหารของบริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วม ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวสอดคล้องเป็นไป ตามสาระสำ�คัญของข้อกำ�หนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของกรรมการอิสระ ข้อ 16 ของประกาศคณะกรรมการกำ�กับตลาดทุนที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยมีคุณสมบัติดังนี้


20

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

คุณสมบัติของกรรมการอิสระของบริษัทฯ 1. ถือหุน้ ไม่เกินร้อยละ 1 ของจำ�นวนหุน้ ทีม่ สี ทิ ธิออกเสียงทัง้ หมดของบริษทั ฯ บริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือ ผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัทฯ ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย 2. ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ� หรือผู้มีอำ�นาจควบคุม ของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำ�ดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำ�นาจควบคุมของ บริษัทฯ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม้น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันยื่นคำ�ขออนุญาตต่อสำ�นักงาน ทั้งนี้ ลักษณะ ต้องห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีทกี่ รรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือเป็นทีป่ รึกษาของส่วนราชการซึง่ เป็นผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัทฯ 3. ไม่เป็นบุคคลทีม่ คี วามสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะทีเ่ ป็น บิดามารดา คูส่ มรส พีน่ อ้ ง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตรของกรรมการรายอื่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำ�นาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการ เสนอให้เป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย 4. ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจ ควบคุมของบริษัทฯ ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็น ผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัทฯ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวัน ที่ยื่นคำ�ขออนุญาตต่อสำ�นักงาน ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคหนึ่ง รวมถึงการทำ�รายการทางการค้าที่กระทำ�เป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้ หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการ รับหรือให้กู้ยืม ค้ำ�ประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำ�นองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้ บริษัทฯ หรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำ�ระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ร้อยละ 3 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯ หรือ ตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำ�นวนใดจะต่ำ�กว่า ทั้งนี้ การคำ�นวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำ�นวณมูลค่า ของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกำ�กับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ ในการทำ�รายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยอนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่าง 1 ปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ธุรกิจกับ บุคคลเดียวกัน 5. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุม ของบริษัทฯ และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำ�นาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำ�นักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของ บริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัทฯ สังกัดอยู่ เว้นแต่ จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันที่ยื่นคำ�ขออนุญาตต่อสำ�นักงาน 6. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปีจากบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ผูม้ อี �ำ นาจควบคุมของบริษทั ฯ และไม่เป็นผูถ้ อื หุน้ ทีม่ นี ยั ผูม้ อี �ำ นาจควบคุม หรือหุน้ ส่วนของผูใ้ ห้บริการทางวิชาชีพนัน้ ด้วย เว้นแต่ จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันยื่นคำ�ขออนุญาตต่อสำ�นักงาน 7. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 8. ไม่ประกอบกิจการทีม่ สี ภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันทีม่ นี ยั กับกิจการของบริษทั ฯ หรือบริษทั ย่อย หรือไม่เป็นหุน้ ส่วน ทีม่ นี ยั ในห้างหุน้ ส่วน หรือเป็นกรรมการทีม่ สี ว่ นร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ทีป่ รึกษาทีร่ บั เงินเดือนประจำ� หรือถือหุน้ เกิน ร้อยละ 1 ของจำ�นวนหุน้ ทีม่ สี ิทธิออกเสียงทัง้ หมดของบริษทั อืน่ ซึง่ ประกอบกิจการทีม่ สี ภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขัน ที่มีนัยกับกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย 9. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำ�ให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำ�เนินงานของบริษัทฯ กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ให้ตัดสินใจในการดำ�เนินกิจการของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำ�ดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัทฯ โดยมีการตัดสินใจในรูปแบบของ องค์คณะ (Collective decision) ได้


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

21

3. หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำ�คัญของคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ 3.1 ขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมการ 1. ทบทวนและให้ความเห็นชอบในการดำ�เนินการใดๆ ที่กฎหมายกำ�หนด 2. ประเมินผลงานของกรรมการผู้จัดการโดยสม่ำ�เสมอ และกำ�หนดค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการ 3. กำ�หนดวิสัยทัศน์ของกิจการ และรับผิดชอบต่อผลประกอบการ และการปฏิบัติงานของผู้บริหารโดยให้มีความตั้งใจและ ความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน 4. ทบทวนและให้ความเห็นชอบกับกลยุทธ์และนโยบายทีส่ �ำ คัญรวมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายทางการเงิน และแผนงานต่างๆ พร้อมทั้ง ติดตามให้ผู้บริหารมีการปฏิบัติตามแผนงานที่กำ�หนดไว้อย่างสม่ำ�เสมอ 5. ให้ความมั่นใจว่า ระบบบัญชี การรายงานทางการเงินและการสอบบัญชีมีความเชื่อถือได้ รวมทั้งดูแลให้มีกระบวนการ ในการประเมินความเหมาะสมของการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การบริหาร จัดการความเสี่ยง การรายงานทางการเงิน และการติดตามผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะเปิดเผยไว้ในรายงานประจำ�ปี 6. สอดส่องดูแลและจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท 7. ให้ความมัน่ ใจว่าวิธปี ฏิบตั ติ า่ งๆ ทีเ่ ป็นอยูข่ องคณะกรรมการสอดคล้องกับแนวทางการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี และเป็นการปฏิบตั ิ งานอย่างมีจริยธรรม 8. มีอำ�นาจพิจารณาอนุมัติรายการและค่าใช้จ่ายการลงทุนในโครงการต่างๆในวงเงินมากกว่า 500 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ต้องเป็น ไปตามหลักเกณฑ์ทเี่ กีย่ วข้องของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำ�กับตลาดทุน และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารมีอำ�นาจพิจารณาอนุมัติรายการและค่าใช้จ่ายการลงทุนในโครงการต่างๆในวงเงินไม่เกิน 500 ล้าน บาทประธานกรรมการบริหารมีอำ�นาจพิจารณาอนุมัติรายการและค่าใช้จ่ายการลงทุนในโครงการต่างๆ ในวงเงินไม่เกิน 300 ล้านบาทและกรรมการผูจ้ ดั การมีอ�ำ นาจอนุมตั ริ ายการและค่าใช้จา่ ยการลงทุนในโครงการต่างๆ ในวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท 3.2 ขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการได้จดั ตัง้ คณะอนุกรรมการ 2 คณะ ได้แก่คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี สรรหา และค่าตอบแทน โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำ�คัญดังนี้ 3.2.1 ขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. สอบทานงบการเงินของบริษัทเพื่อให้งบการเงินแสดงฐานะการเงินตามความเป็นจริง 2. สอบทานให้มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง และพิจารณาความดี ความชอบของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน จากการปฏิบัติหน้าที่และการรายงานต่างๆ รวมถึงสายงานบังคับบัญชาของหน่วยงานนี้ 3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตัง้ เสนอค่าตอบแทนผูส้ อบบัญชี และพิจารณาความเป็นอิสระของผูส้ อบบัญชีในกรณี ที่ผู้สอบบัญชีของบริษัทให้บริการอื่นนอกเหนือจากการสอบบัญชี (non-audit service) ที่อาจทำ�ให้ขาดความเป็น อิสระ รวมถึงการจัดให้มีการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าประชุมด้วยอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพื่อขอความเห็นจากผู้สอบบัญชีในเรื่องต่างๆ 5. พิจารณาให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเปิดเผยข้อมูล ในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือ รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน 6. จัดทำ�รายงานการกำ�กับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำ�ทุกปี ซึง่ ลงนามโดยประธานกรรมการ ตรวจสอบ รายงานนีป้ รากฎในรายงานประจำ�ปีของบริษทั ซึง่ จะจัดส่งให้ผถู้ อื หุน้ ทุกคน โดยการรายงานจะประกอบ ด้วย การรายงานจำ�นวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละ ท่าน รวมถึงความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบในประเด็นดังนี้ - ความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท - ความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท - การปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท - ความเหมาะสมของผู้บัญชี


22

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

- รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ - ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร - รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ตามขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบ หมายจากคณะกรรมการบริษัท 7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ 3.2.2 ขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทน คณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน มีหน้าที่เสนอ ทบทวน กำ�กับดูแลงานด้านการ กำ�กับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท และสรรหาผู้ที่สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัททดแทนกรรมการที่ครบรอบออกตาม วาระหรือกรณีอื่น ทบทวนระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ และ ทำ�แผนการสืบทอดตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัท และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่ออนุมัติหรือเพื่อเสนอต่อ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี รวมทั้งมีหน้าที่ศึกษาพิจารณาติดตามความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในเรื่องผลตอบแทนของ คณะกรรมการบริษัท เพื่อเสนอเป็นนโยบายค่าตอบแทนที่เป็นแรงจูงใจในการบริหารกิจการของบริษัทให้เจริญก้าวหน้า ตลอดจนสามารถรักษาคนเก่งและดีให้คงอยู่กับบริษัท ดังนี้ 1. พิจารณาทบทวนความเหมาะสม และความเพียงพอของนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการกับดูแลกิจการที่ดี และ จริยธรรมทางธุรกิจ พร้อมทัง้ ปรับปรุงนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี ให้เหมาะสมทันสมัยอย่างต่อเนือ่ ง 2. ติดตาม กำ�กับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติของการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี 3. ดูแลและส่งเสริมให้มีการดำ�เนินการในการปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งจรรยาบรรณทางธุรกิจ ให้มีผลอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมกับธุรกิจของบริษัท 4. ให้คำ�แนะนำ�แก่บริษัท คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และคณะทำ�งานในเรื่องเกี่ยวกับการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี 5. กำ�หนดวิธีการสรรหากรรมการหรือกรรมการผู้จัดการอย่างมีหลักเกณฑ์และโปร่งใส 6. คัดเลือกและสรรหาบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการหรือกรรมการผู้จัดการ ในกรณีที่ตำ�แหน่ง ว่างลง เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี 7. สรรหาผู้มาดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการบริษัท ทดแทนกรรมการที่หมดวาระเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัท และที่ ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ 8. พิจารณาเสนอรายชื่อกรรมการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นอนุกรรมการ เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อแต่งตั้งเมื่อ มีตำ�แหน่งว่างลง 9. เสนอแนะวิธีการประเมินผลการทำ�งานของกรรมการ คณะกรรมการบริษัท และคณะอนุกรรมการ รวมทั้งติดตาม ผลการประเมิน 10. ทบทวนและเสนอข้อแก้ไข ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับภาวการณ์ 11. เสนอแนวทางจ่ายค่าตอบแทน วิธีการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นใดให้แก่คณะกรรมการบริษัท คณะอนุกรรมการคณะต่างๆ และกรรมการผูจ้ ดั การ โดยมีหลักเกณฑ์หรือวิธกี าร โครงสร้างทีเ่ ป็นธรรมและสมเหตุ สมผล และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา 12. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย 4. คุณสมบัติและหน้าที่ความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท คณะกรรมการได้จดั ให้มเี ลขานุการบริษทั เพือ่ ดูแลกิจกรรมต่างๆของคณะกรรมการ และดูแลให้คณะกรรมการและบริษทั ปฏิบตั ิให้เป็น ไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องต่างๆ รวมถึงรับผิดชอบดูแลการประชุมของคณะกรรมการและผู้ถือหุ้น คุณสมบัติของเลขานุการบริษัท - เข้าใจในธุรกิจของบริษทั และบทบาทหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้องกับงานเลขานุการบริษทั รวมถึงมีความรูข้ นั้ พืน้ ฐานใน หลักการของกฎหมาย และกฎระเบียบของหน่วยงานกำ�กับดูแล ทีเ่ กีย่ วข้องกับกฎหมายว่าด้วยบริษทั มหาชน จำ�กัด และกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ การจัดหาความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ ที่ปรึกษากฎหมาย เป็นส่วนที่จะส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ดังกล่าวข้างต้น - มีความรู้ ความเข้าใจและสนับสนุนการดำ�เนินงานของบริษัทให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยอยู่ภายใต้หลักการกำ�กับ ดูแลกิจการที่ดี และข้อพึงปฏิบัติที่ดีในเรื่องการกำ�กับดูแลกิจการ


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

23

- ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ส่วนตัวจากโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งเก็บรักษาความลับของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี และ ยึดมัน่ ในคุณธรรม จริยธรรม คำ�นึงถึงผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกฝ่าย ไม่กระทำ�การใดๆ อันจะก่อให้เกิดผลเสียต่อชือ่ เสียง และภาพลักษณ์ของ บริษทั - มีมนุษยสัมพันธ์ทด่ี ี มีความสามารถในการติดต่อประสานงานกับฝ่ายงานและหน่วยงานต่างๆ ทัง้ ภายในและภายนอกบริษทั ฯ หน้าที่และความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท - ให้คำ�ปรึกษาและข้อเสนอแนะเบื้องต้นแก่คณะกรรมการในประเด็นกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับต่างๆ ของบริษัท และ ติดตามให้มกี ารปฏิบตั อิ ย่างถูกต้องและสม่�ำ เสมอ รวมถึงรายงานการเปลีย่ นแปลงในข้อกำ�หนด กฎหมายทีม่ นี ยั สำ�คัญแก่กรรมการ - จัดการประชุมคณะกรรมการบริษัท และการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับบริษัท และข้อพึง ปฏิบัติต่างๆ - จัดเตรียมและจัดเก็บเอกสารของคณะกรรมการและผู้ถือหุ้น ซึ่งได้แก่ ทะเบียนกรรมการ หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการและผู้ ถือหุ้น รายงานการประชุมคณะกรรมการและผู้ถือหุ้น และรายงานประจำ�ปีของบริษัทรวมถึงงบการเงินรายไตรมาสของบริษัท - เก็บรักษารายงานการมีสว่ นได้เสียทีร่ ายงานโดยกรรมการและผูบ้ ริหารของบริษทั พร้อมทัง้ นำ�เสนอรายงานตามทีก่ ฎหมายกำ�หนด - ดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศในส่วนที่รับผิดชอบต่อหน่วยงานกำ�กับดูแลโดยเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบและนโยบายการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของบริษัท - ติดต่อสื่อสารกับผู้ถือหุ้นให้ได้รับทราบสิทธิต่างๆ และข่าวสารของบริษัท - ดำ�เนินการอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย บริษัทได้แต่งตั้งให้ นางสิริพร ปิ่นประยงค์ ดำ�รงตำ�แหน่งเลขานุการบริษัท เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะ สมในการดำ�รงตำ�แหน่งดังกล่าว ชื่อ - สกุล นางสิริพร ปิ่นประยงค์ ตำ�แหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ และเลขานุการบริษัท คุณวุฒิทางการศึกษา - ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร - ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ การเงิน Roosevelt University เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา การอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม - Effective Minute Taking 8/2007 ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) - Company Secretary Program 22/2007 - Role of The Compensation Committee 1/2006 - Role of the Chairman Program 34/2014 - Director Accreditation Program SEC/2014 - Advanced Audit Committee Program 16/2014 - Ethical Leadership Program 2/2015 5. การดำ�เนินการประชุมคณะกรรมการ และการได้รับเอกสารและข้อมูล - ให้สำ�นักกรรมการผู้จัดการ ทำ�หน้าที่เป็นเลขานุการบริษัท เพื่อดำ�เนินการเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการ การประชุมผู้ถือหุ้น และการให้คำ�แนะนำ�เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ ที่คณะกรรมการ ควรได้รับรู้ - บริษทั จัดให้มกี �ำ หนดการประชุมและวาระการประชุมคณะกรรมการเป็นการล่วงหน้า และแจ้งให้กรรมการแต่ละคนทราบกำ�หนดการ ดังกล่าว เพื่อให้กรรมการสามารถจัดเวลาและเข้าร่วมประชุมได้ - คณะกรรมการ ควรอุทิศเวลาและทุ่มเทความสนใจให้แก่บริษัทอย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะเข้าร่วมการประชุมโดยสม่ำ�เสมอ อย่างน้อย 3 เดือน ต่อครั้ง และตามความจำ�เป็นหากมีกรณีที่มีวาระพิเศษ แต่ไม่ควรน้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี และต้องมีกรรมการ มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำ�นวนกรรมการทั้งหมดจึงจะครบองค์ประชุม การขาดการประชุมคณะกรรมการ มากกว่า 3 ครั้ง ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถือว่าไม่มีความประสงค์จะเป็นคณะกรรมการบริษัท อีกต่อไป ในกรณีทบ่ี ริษทั ไม่ได้มปี ระชุมทุกเดือน บริษทั ควรส่งรายงานผลการดำ�เนินงานให้คณะกรรมการทราบในเดือนทีไ่ ม่ได้มกี ารประชุมเพือ่ ให้คณะกรรมการสามารถกำ�กับ ควบคุมและดูแลการปฏิบตั งิ านของฝ่ายจัดการได้อย่างต่อเนือ่ งและทันการ - การลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำ�นวนกรรมการทั้งหมด - กรรมการทุกคนเข้าร่วมประชุมไม่นอ้ ยกว่า ร้อยละ 75 ของจำ�นวนการประชุมคณะกรรมการบริษทั ทัง้ หมดที่ได้จดั ให้มขี น้ึ ในรอบปี


24

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

- ประธานกรรมการควรเป็นผู้ให้ความเห็นชอบในการจัดเรื่องที่จะเข้าวาระการประชุม โดยการปรึกษาหารือกับกรรมการผู้จัดการ ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการควรพิจารณาคำ�ขอของกรรมการบางท่านที่จะบรรจุเรื่องอื่นที่สำ�คัญเป็นวาระการพิจารณาในการประชุม ครั้งต่อไป - ประธานกรรมการควรให้ความมัน่ ใจได้วา่ คณะกรรมการได้มกี ารจัดสรรเวลาให้อย่างเพียงพอทีผ่ บู้ ริหารจะเสนอ เอกสารและข้อมูล เพื่อการอภิปราย และเพียงพอสำ�หรับคณะกรรมการที่จะอภิปรายในประเด็นที่สำ�คัญ - ประธานกรรมการควรมีมาตรการที่ชัดเจนเพื่อให้กรรมการได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องล่วงหน้าโดยมีเวลาเพียงพอที่จะศึกษาพิจารณา และตัดสินใจอย่างถูกต้องในเรื่องต่างๆ ในการประชุมคณะกรรมการแต่ละครั้ง สำ�หรับเอกสารประกอบการประชุมจัดส่งให้แก่ กรรมการเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันทำ�การก่อนวันประชุม - คณะกรรมการสามารถเข้าถึงสารสนเทศทีจ่ �ำ เป็นเพิม่ เติมได้โดยขอเอกสารและข้อมูล คำ�ปรึกษา และบริการต่างๆ เกีย่ วกับการดำ�เนินงาน จากผู้บริหารระดับสูงหรือเลขานุการบริษัท และอาจขอความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาภายนอกเมื่อจำ�เป็นโดยถือเป็น ค่าใช้จ่ายบริษัท เพื่อประกอบการประชุมในแต่ละครั้ง - ควรมีการจัดบันทึกผลการประชุมคณะกรรมการไว้ให้ชัดเจนเพื่อใช้อ้างอิง การเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละคณะ ปี 2558 ครั้ง / จำ�นวนประชุมทั้งหมด รายชื่อ

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

คณะกรรมการ บริษัท

คณะกรรมการ บริหาร

คณะกรรมการ ตรวจสอบ

คณะกรรมการ ก�ำกับดูแลกิจการ ที่ดี สรรหาและ ค่าตอบแทน

ดร.สุนทร เสถียรไทย 7/8 นายอภิชัย เตชะอุบล 8/8 1/1 นายประสงค์ วรารัตนกุล 8/8 8/8 3/3 นายนันท์ กิจจาลักษณ์ 7/8 7/8 3/3 นายสมมาตร สังขะทรัพย์ 8/8 8/8 3/3 นายกัมพล ติยะรัตน์ 8/8 1/1 นายอนุกูล อุบลนุช 8/8 นายบรรยง วิเศษมงคลชัย 8/8 นายกฤตวัฒน์ เตชะอุบล 7/8 นายพิสุทธิ์ วิริยะเมตตากุล* 5/5 หมายเหตุ : นายพิสทุ ธิ์ วิรยิ ะเมตตากุลได้ลาออกจากการเป็นกรรมการเมือ่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 เลขานุการบริษัท : นางสิริพร ปิ่นประยงค์ (ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ) 6. การประเมินตนเองของคณะกรรมการ หลักเกณฑ์การประเมินผลของคณะกรรมการ - คณะกรรมการควรจัดทำ�แบบประเมินผลตนเองเพื่อใช้เป็นกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของคณะกรรมการโดย สม่ำ�เสมอ - คณะกรรมการควรจัดให้มีบรรทัดฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอย่างมีหลักเกณฑ์ และทำ�การประเมินผลการปฏิบัติงาน เปรียบเทียบกับบรรทัดฐานเป็นระยะๆ ตามที่กำ�หนด - กรรมการผู้จัดการควรมีส่วนร่วมในการอธิบายถึงความคาดหวังของตนเองที่จะได้รับจากคณะกรรมการบริษัท - คณะกรรมการควรจ้างทีป่ รึกษาภายนอกมาให้มสี ว่ นในการกำ�หนดแนวทางและเสนอแนะประเด็นในการประเมินผลการปฏิบตั งิ าน ของคณะกรรมการอย่างน้อยทุกๆ 3 ปี และเปิดเผยผลการประเมินไว้ในรายงานประจำ�ปี ขั้นตอนและผลการประเมินของคณะกรรมการ - คณะกรรมการได้ กำ � หนดให้ มี ก ารจั ด ทำ � แบบประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง านของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุ ด ย่ อ ย ปีละ 1 ครั้ง ในรูปแบบ การประเมินตนเองรายคณะ ซึ่งอ้างอิงจากแบบประเมินของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทย (IOD) เพือ่ ใช้เป็นกรอบในการตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงการปฏิบตั งิ านในหน้าทีข่ อง คณะกรรมการ โดยชื่อกรรมการที่ทำ�การประเมินและข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินนั้นจะไม่แจ้งให้กรรมการที่ถูกประเมินทราบ ทั้งนี้แบบประเมินผลกรรมการทั้งคณะ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

25

1. โครงสร้างของคณะกรรมการ 2. การกำ�หนดกลยุทธ์และทิศทางบริษัท 3. การติดตามและประเมินผลงานของฝ่ายจัดการ 4. ความรับผิดชอบตามหน้าที่ของคณะกรรมการ - วิ ธีการประเมิ น ผลการปฏิ บัติง านของคณะกรรมการบริ ษัท ใช้ วิธีร วบรวมผลสำ � รวจจากการทำ � แบบประเมิ น ตนเองของ คณะกรรมการรายบุคคล โดยรวบรวมผลในช่องเหมาะสมและช่องควรปรับปรุงของแต่ละหัวข้อแล้วนำ�มาหารกับจำ�นวนกรรมการ ทัง้ หมดทีท่ �ำ แบบประเมิน โดยค่าของผลสำ�รวจทีค่ ดิ ได้สรุปผลได้วา่ คณะกรรมการเห็นว่าหัวข้อต่างๆ เหมาะสมหรือควรปรับปรุงเป็น ร้อยละเท่าไหร่ของกรรมการทัง้ หมด 7. การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร - คณะกรรมการมีนโยบายส่งเสริมและอำ�นวยความสะดวกให้กรรมการ ผู้บริหาร เลขานุการบริษัท และผู้เกี่ยวข้องเข้ารับการฝึก อบรมหลักสูตรต่างๆ ที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Director : IOD) ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย หรือองค์กรอิสระต่างๆ เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งกรรมการ ใหม่ ฝ่ายจัดการจะจัดให้มีเอกสารและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการใหม่ รวมถึงการจัดให้มีการแนะนำ� ลักษณะธุรกิจ และแนวทางการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้แก่กรรมการใหม่ - คณะกรรมการกำ�หนดให้กรรมการผู้จัดการรายงานเพื่อทราบเป็นประจำ�ถึงแผนการพัฒนาและสืบทอดงาน พร้อมกำ�หนดผู้ที่ทำ� หน้าที่แทนผู้บริหารในระดับต่างๆ ในกรณีที่ผู้บริหารท่านนั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งบรรจุไว้ในนโยบายและแผนพัฒนา บุคคลของบริษัทเป็นประจำ�ทุกปีแล้ว

หมวดที่ 3 จรรยาบรรณของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน

เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ในการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทอย่างโปร่งใส มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) และคำ�นึงถึงสังคมและสิง่ แวดล้อม จึงกำ�หนดจรรยาบรรณของบริษทั ขึน้ เพือ่ ให้คณะกรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานทุกคน ใช้เป็นแนวทาง ในการประพฤติปฏิบัติ ควบคู่ไปกับข้อบังคับ/ระเบียบของบริษัทดังต่อไปนี้ หมวดที่ 3.1 จรรยาบรรณของคณะกรรมการและผู้บริหาร เพื่อให้เป็นไปตามหลักการข้างต้น คณะกรรมการและผู้บริหารมีหน้าที่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ดังต่อไปนี้ 3.1.1 คณะกรรมการและผู้บริหาร ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัทตลอดจนมติที่ ประชุมผู้ถือหุ้น 3.1.2 คณะกรรมการและผู้บริหาร ต้องบริหารงานเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท ผู้ถือหุ้น และพนักงาน ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ตลอดจนรักษาภาพลักษณ์ของบริษัท 3.1.3 คณะกรรมการและผู้บริหาร ต้องบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อผลประโยชน์ต่อบริษัท ผู้ถือหุ้น และพนักงาน ทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต 3.1.4 คณะกรรมการมีบทบาทสำ�คัญในการควบคุมและตัดสินใจเรื่องนโยบาย รวมถึงการแต่งตั้งผู้บริหารเพื่อจัดการงานประจำ�วัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ต่อกันและกันในการดำ�เนินงานตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับบริษัท โดย คณะกรรมการควรให้อ�ำ นาจผูบ้ ริหารดำ�เนินงานประจำ�วันอย่างเต็มที่ โดยไม่เข้าไปชีน้ �ำ การดำ�เนินงานดังกล่าวอย่างไม่มีเหตุผล อันสมควร 3.1.5 คณะกรรมการและผูบ้ ริหาร ต้องไม่มสี ว่ นได้เสียในกิจการทีด่ �ำ เนินธุรกิจเกีย่ วข้องกับบริษทั หรือในกิจการทีม่ ลี กั ษณะเป็นการ แข่งขันกับบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม 3.1.6 คณะกรรมการและผู้บริหาร พึงบริหารงานโดยหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ผลประโยชน์ส่วนตนต่อผลประโยชน์ของบริษัท เพื่อ ให้การบริหารงานเป็นไปอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ผลประโยชน์ข้างต้นรวมถึง - ไม่หาผลประโยชน์ส่วนตัวจากการเป็นกรรมการ - ไม่ใช้ความลับของบริษัทในทางที่ผิด - ไม่เป็นกรรมการในบริษัทที่เป็นคู่แข่งขันของบริษัท - ไม่มีผลประโยชน์ในการทำ�สัญญาของบริษัท 3.1.7 คณะกรรมการและผูบ้ ริหาร ต้องบริหารงานด้วยความระมัดระวัง และไม่สร้างข้อผูกมัดทีอ่ าจขัดแย้งกับหน้าทีข่ องตนในภายหลัง 3.1.8 คณะกรรมการและผู้บริหาร ต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบจากการทำ�งานไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม 3.1.9 คณะกรรมการและผู้บริหาร ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท


26

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

3.1.10 คณะกรรมการและผู้บริหาร ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการหรือเป็นผู้ถือหุ้นสำ�คัญ หรือมีบุคคลในครอบครัวเป็นกรรมการ หรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการ หรือธุรกิจการค้าใดอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขัน หรือทำ�ธุรกิจกับบริษัท ไม่ว่ากระทำ�เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น 3.1.11 คณะกรรมการและผู้บริหาร ต้องไม่กระทำ�การใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใดๆ ในลักษณะที่มี ผลบั่นทอนผลประโยชน์ของบริษัท หรือเอื้อประโยชน์ให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ ไม่ว่าจะทำ�เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือ ของผู้อื่น 3.1.12 คณะกรรมการและผู้บริหาร ต้องมุ่งมั่นที่จะป้องกัน และขจัดการกระทำ�ทุจริตทุกประเภท โดยถือเป็นเรื่องที่ต้องดำ�เนินการ อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และเด็ดขาด 3.1.13 คณะกรรมการและผู้บริหาร ต้องมีความเป็นอิสระทั้งในด้านการตัดสินใจและการกระทำ�การ รวมถึงการสร้างความพอใจใน ความถูกต้องของการตัดสินใจของคณะกรรมการและผู้บริหาร หมวดที่ 3.2 ว่าด้วยข้อพึงประพฤติปฏิบัติของพนักงาน บริษัทซึ่งดำ�เนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย เพื่อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น จึงจำ�เป็น ต้องธำ�รงไว้ซึ่งความเป็นมืออาชีพ ความคล่องตัว และความเป็นอิสระ ดังนั้น เพื่อรักษาคุณลักษณะดังกล่าวให้มั่นคงสืบไป บริษัทจึงกำ�หนด ข้อพึงปฏิบัติของพนักงาน ดังต่อไปนี้ 3.2.1 ปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความรับผิดชอบ ซือ่ สัตย์สจุ ริต มุง่ มัน่ ทุม่ เท และปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบ และนโยบาย โดยถือประโยชน์ของ บริษัทเป็นสำ�คัญ 3.2.2 รักษาความลับของลูกค้า คู่ค้า และบริษัท อย่างเคร่งครัด โดยดูแลและระมัดระวังมิให้เอกสาร หรือข่าวสารอันเป็นความลับ ของบริษัท รั่วไหล หรือตกไปถึงผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท 3.2.3 เคารพในสิทธิสว่ นบุคคลของพนักงาน หลีกเลีย่ งการนำ�เอาข้อมูลหรือเรือ่ งราวของพนักงานอืน่ ทัง้ ในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับการปฏิบตั ิ งาน และเรื่องส่วนตัวไปเปิดเผย หรือวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงาน หรือภาพลักษณ์โดย ส่วนรวมของบริษัท 3.2.4 ไม่กล่าวร้ายหรือกระทำ�การใดๆ อันจะนำ�ไปสู่ซึ่งความแตกแยก หรือความเสียหายภายในบริษัท หรือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ บริษัท 3.2.5 รักษาและร่วมสร้างสรรค์ ให้เกิดความสามัคคีและความเป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกันในหมู่พนักงาน และช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกันและกันในทางที่ชอบ เพื่อประโยชน์ต่องานของบริษัทโดยรวม 3.2.6 พึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานด้วยความสุภาพ มีน้ำ�ใจ มีมนุษยสัมพันธ์อันดี ไม่ปิดบังข้อมูลที่จำ�เป็นในการปฏิบัติงานของ ผู้ร่วมงาน และปรับตัวให้สามารถทำ�งานร่วมกับบุคคลอื่นได้ รวมทั้งการให้เกียรติผู้อื่น โดยไม่นำ�ผลงานของผู้อื่น มาแอบอ้างเป็นผลงานของตนเอง 3.2.7 พนักงานควรประพฤติปฏิบตั ิ และพัฒนาตนเองไปในทางทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ ตนเองและบริษทั อยูเ่ สมอโดยการศึกษาหาความ รู้และประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติงาน ยึดมั่นในคุณธรรม ละเว้นจากอบายมุขทั้งปวง โดยไม่ ประพฤติตนในทางที่อาจทำ�ให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเอง และ บริษัท 3.2.8 แจ้งผู้บังคับบัญชา หรือคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบว่าบริษัท หรือผู้บริหาร หรือพนักงาน กระทำ�การใดๆ โดยมิชอบ หรือทุจริต 3.2.9 ให้ความเอาใจใส่และช่วยดำ�เนินการใดๆ ที่จะรักษาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำ�งาน รวมทั้งการพัฒนาองค์กรไป สู่ความเป็นเลิศ 3.2.10 หลีกเลี่ยงการให้-รับสิ่งของ การให้-รับการเลี้ยงรับรอง หรือประโยชน์ ใดๆ จากคู่ค้า หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจ ของบริษัท เว้นแต่เพื่อประโยชน์ ในการดำ�เนินธุรกิจในทางที่ชอบธรรมของบริษัท หรือในเทศกาล หรือประเพณีนิยม ในมูลค่าทีเ่ หมาะสมซึง่ ผูร้ บั พึงพิจารณา หากของขวัญที่ได้รับในรูปของเงินหรือสิ่งของมีมลู ค่าสูงพึงแจ้งผูบ้ งั คับบัญชาทราบ และส่งคืน


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

27

หมวดที่ 4 การรายงานทางการเงิน รายงานทางการบริหาร และการควบคุมภายใน

- คณะกรรมการควรเสนอรายงานการประเมินฐานะ และแนวโน้มของบริษทั โดยสรุป ในลักษณะทีเ่ ข้าใจได้งา่ ย ไว้ในรายงานประจำ�ปี ของบริษัท - คณะกรรมการต้องจัดให้มกี ารทำ�งบดุล บัญชีก�ำ ไรขาดทุนและรายงานการตรวจสอบบัญชีของผูส้ อบบัญชี พร้อมทัง้ รายงานประจำ�ปี ของคณะกรรมการ เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญประจำ�ปีเพื่อพิจารณาอนุมัติ - จัดให้มีการจัดทำ�รายงานทางการบริหารที่จำ�เป็นในการวิเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ ตามที่คณะกรรมการต้องการ นอกเหนือจาก รายงานทางการเงิน และรายงานการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบและผู้สอบบัญชี - คณะกรรมการควรจัดให้มรี ะบบทีเ่ ป็นทางการและโปร่งใสในการรักษาความสัมพันธ์กบั ผูต้ รวจสอบภายนอก และภายในบริษทั โดย มีคณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้เชื่อมโยง - ผูส้ อบบัญชีภายนอกควรยืนยันความเป็นอิสระของตนทุกปีตอ่ คณะกรรมการตรวจสอบ และวิธกี ารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในสำ�นักงานสอบ บัญชีของตน เพื่อให้ความมั่นใจถึงความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีภายนอก - ผู้สอบบัญชีมีสิทธิที่จะสอบทานรายงาน หรือรายงานทางการเงินอื่นที่คณะกรรมการออกควบคู่กับงบการเงินที่ตนได้ตรวจสอบ แล้ว และมีสิทธิที่จะรายงานความผิดปกติในรายงานซึ่งไม่สอดคล้องกับงบการเงินที่ตนได้ตรวจสอบแล้ว - คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่รับผิดชอบในการทบทวน รายงานทางการเงิน - ค่าธรรมเนียมสอบบัญชีและค่าธรรมเนียมอืน่ ทีจ่ า่ ยแก่ผสู้ อบบัญชีควรเปิดเผยแยกกันในงบการเงินเพือ่ เพิม่ ความโปร่งใสของความ เป็นอิสระของผู้สอบบัญชี การควบคุมภายใน คณะกรรมการให้ความสำ�คัญในเรื่องระบบการควบคุมภายใน และติดตามดูแลการดำ�เนินงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบสอบทานการประเมินระบบการควบคุมภายใน โดยมีฝา่ ยตรวจสอบภายในทีม่ คี วามเป็นอิสระจากฝ่าย บริหารรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการทบทวนความ มีประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในอย่างสม่ำ�เสมอ โดยการสอบทานควรครอบคลุมในทุกเรื่อง รวมทั้งการควบคุมทางการเงิน การ ดำ�เนินงาน การกำ�กับดูแลการปฏิบตั งิ าน (Compliance Control) การจัดการความเสีย่ ง และการให้ความสำ�คัญต่อรายการทีผ่ ดิ ปกติทงั้ หลาย

หมวดที่ 5 การบริหารความเสี่ยง

บริษัทประเมินความเสี่ยงทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรที่จะมีผลกระทบต่อการดำ�เนินธุรกิจของบริษัท โดยวิเคราะห์และจัดระดับ ความเสีย่ งทีส่ �ำ คัญตามผลกระทบและโอกาสทีจ่ ะเกิดขึน้ ในแต่ละกระบวนการทางธุรกิจ เพือ่ กำ�หนดแผนงานการบริหารความเสีย่ ง รวมทัง้ ให้ มีการติดตามเหตุการณ์หรือปัจจัยความเสี่ยงอย่างสม่ำ�เสมอ - บริษัทได้จัดตั้งทีมงาน หรือมอบหมายอำ�นาจหน้าที่ให้หน่วยงานในบริษัทอย่างชัดเจน เพื่อตรวจสอบและดูแลการบริหาร ความเสี่ยงโดยตรง เช่น ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks) ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน (Operation Risks) ความเสี่ยงในธุรกิจ (Business Risks) หรือความเสี่ยงในเหตุการณ์ (Event Risks) เป็นต้น และให้มีการจัดทำ�รายงานประเมิน ผลความเสี่ยง (Risk Management Report) เสนอคณะกรรมการบริษัท นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทได้เปิดเผยถึงการบริหาร ความเสีย่ งและปัจจัยความเสีย่ งไว้ในรายงานประจำ�ปี และในทุกๆ ระยะเวลาทีพ่ บว่าระดับความเสีย่ งมีการเปลีย่ นแปลง ซึง่ รวมถึง การให้ความสำ�คัญกับสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าและรายการผิดปกติทงั้ หลาย อีกทัง้ คณะกรรมการบริษทั จะมีการพิจารณาทบทวน ความเพียงพอของระบบการบริหารความเสี่ยงและประสิทธิผลของการจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่จำ�เป็น


28

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

หมวดที่ 6 สิทธิของผู้ถือหุ้น

บริ ษั ท ตระหนั ก และให้ ความสำ � คั ญ ถึ ง สิ ท ธิ ข องผู้ ถื อ หุ้ น ไม่ กระทำ � การใดๆ อั น เป็ น การละเมิ ด หรื อ ริ ด รอนสิ ท ธิ ข องผู้ ถื อ หุ้ น รวมทั้ ง ส่ ง เสริ ม การใช้ สิ ท ธิ ข องผู้ ถื อ หุ้ น ซึ่ ง ควบคุ ม บริ ษั ท ผ่ า นการแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการให้ ทำ �หน้ า ที่ แ ทนและมี สิ ท ธิ ใ นการตั ด สิ น ใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำ�คัญของบริษัท - คณะกรรมการมีนโยบายในการสนับสนุน หรือส่งเสริมผู้ถือหุ้นทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ถือหุ้นประเภทสถาบัน ให้เข้าร่วม ประชุมผูถ้ อื หุน้ - บริษทั มีการให้ขอ้ มูล วัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุม โดยมีค�ำ ชีแ้ จงและเหตุผลประกอบในแต่ละวาระหรือประกอบมติทข่ี อตาม ทีร่ ะบุไว้ในหนังสือเชิญประชุมสามัญและวิสามัญผูถ้ อื หุน้ หรือในเอกสารแนบวาระการประชุม - ประธานที่ประชุมควรจัดสรรเวลาให้เหมาะสมและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสในการแสดงความเห็นและตั้งคำ�ถามต่อที่ประชุมใน เรื่องที่เกี่ยวข้องกับบริษัทได้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำ�ถามล่วงหน้าก่อนวันประชุม โดยกำ�หนดหลักเกณฑ์การส่งคำ�ถาม ล่วงหน้าไว้ชัดเจน นอกจากนี้ บริษัทยังเผยแพร่หลักเกณฑ์การส่งคำ�ถามล่วงหน้าดังกล่าวไว้บน Website ของบริษัทด้วย - คณะกรรมการสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นสามารถกำ�หนดทิศทางการลงคะแนนเสียงได้และได้เสนอชื่อกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คน เป็นทางเลือกในการมอบฉันทะของผู้ถือหุ้น - คณะกรรมการส่งเสริมให้บริษัทนำ�เทคโนโลยีมาใช้กับการประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งการลงทะเบียนผู้ถือหุ้น การนับคะแนนและแสดงผล เพื่อให้การดำ�เนินการประชุมสามารถกระทำ�ได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ� - กรรมการทุกคนโดยเฉพาะประธานกรรมการ/ประธานคณะกรรมการชุดอืน่ ๆ ควรเข้าร่วมประชุมผูถ้ อื หุน้ เพือ่ ตอบคำ�ถามผูเ้ ข้าประชุม - ผูถ้ อื หุน้ มีสทิ ธิออกเสียงลงคะแนนแยกสำ�หรับแต่ละระเบียบวาระทีเ่ สนอ คณะกรรมการไม่ควรรวมเรือ่ งต่างๆ ที่ไม่เกีย่ วข้องกันแล้ว เสนอขออนุมตั ริ วมเป็นมติเดียว นอกจากนัน้ ได้จดั ให้มกี ารลงมติเป็นแต่ละรายการในกรณีทวี่ าระนัน้ มีหลายรายการ เช่น วาระการ แต่งตั้งกรรมการ - บริษทั ได้จดั ให้มบี คุ คลทีเ่ ป็นอิสระ เป็นผูต้ รวจนับหรือตรวจสอบคะแนนเสียงในการประชุมสามัญและวิสามัญผูถ้ อื หุน้ โดยเปิดเผย ให้ที่ประชุมทราบพร้อมบันทึกไว้ในรายงานการประชุม - คณะกรรมการสนับสนุนให้มีการใช้บัตรลงคะแนนเสียงในวาระที่สำ�คัญ เช่น การทำ�รายการเกี่ยวโยง การทำ�รายการได้มาหรือ จำ�หน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ เป็นต้น เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ - คณะกรรมการเปิดเผยให้สาธารณชนทราบผลการลงคะแนนของแต่ละวาระในการประชุมสามัญและวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันทำ�การ ถัดไปบน website ของบริษัท

หมวดที่ 7 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

คณะกรรมการตระหนักถึงการอำ�นวยความสะดวกในการประชุมผู้ถือหุ้น โดยให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันทุกราย และ ไม่กระทำ�การใดๆ ในลักษณะที่เป็นการจำ�กัดสารสนเทศของบริษัท และการเข้าร่วมประชุมของผู้ถือหุ้น - บริษทั จะแจ้งกำ�หนดการประชุมพร้อมระเบียบวาระและความเห็นของคณะกรรมการต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเผยแพร่ ทาง website ของบริษทั อย่างน้อย 30 วัน ก่อนวันนัดประชุมผูถ้ อื หุน้ นอกจากนีบ้ ริษทั ได้จดั ทำ�หนังสือเชิญประชุมผูถ้ อื หุน้ เป็นภาษา อังกฤษทัง้ ฉบับและเผยแพร่พร้อมกับฉบับภาษาไทย ทัง้ นี้ บริษทั จะจัดส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าให้ผถู้ อื หุน้ ก่อนวันประชุมอย่างน้อย 7 วัน หรือเป็นไปตามทีส่ �ำ นักงานคณะกรรมการ กำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำ�หนด - บริษทั จะแจ้งให้ผถู้ อื หุน้ ทราบกฏเกณฑ์ตา่ งๆ ที่ใช้ในการประชุม ขัน้ ตอนการออกเสียงลงมติ รวมทัง้ สิทธิการออกเสียงลงคะแนนตาม แต่ละประเภทของหุน้ และผูถ้ อื หุน้ ทีเ่ ป็นผูบ้ ริหารจะไม่เพิม่ วาระการประชุมที่ไม่ได้แจ้งเป็นการล่วงหน้าโดยไม่จ�ำ เป็น โดยเฉพาะวาระ สำ�คัญทีผ่ ถู้ อื หุน้ ต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ - คณะกรรมการกำ�หนดหลักเกณฑ์การให้ผถู้ อื หุน้ ส่วนน้อยเสนอเพิม่ วาระการประชุมล่วงหน้าก่อนวันประชุมผูถ้ อื หุน้ อย่างชัดเจนเป็นการ ล่วงหน้า เพือ่ แสดงถึงความเป็นธรรมและความโปร่งใสในการพิจารณาว่าจะเพิม่ วาระหรือไม่ รวมทัง้ เปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ ส่วนน้อย สามารถเสนอชือ่ บุคคลเพือ่ เข้าดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการล่วงหน้า โดยให้เสนอชือ่ ผ่านคณะกรรมการสรรหาล่วงหน้า 3-4 เดือนก่อนวัน ประชุมผูถ้ อื หุน้ พร้อมข้อมูลประกอบการพิจารณาด้านคุณสมบัตแิ ละการให้ความยินยอมของผูไ้ ด้รบั การเสนอชือ่ - คณะกรรมการเปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ ได้ใช้สทิ ธิในการแต่งตัง้ กรรมการเป็นรายคน - คณะกรรมการกำ�หนดเป็นนโยบายให้กรรมการทีม่ สี ว่ นได้เสียในวาระใด ควรงดเว้นจากการมีสว่ นร่วมในการประชุมพิจารณาในวาระ นัน้ ๆ และให้กรรมการรายงานการมีสว่ นได้เสียอย่างน้อยก่อนการพิจารณาวาระนัน้ และบันทึกไว้ในรายงานการประชุมคณะกรรมการ


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

29

- บริษทั ฯ มีนโยบายในการทำ�รายการระหว่างกันทีเ่ กิดขึน้ ในปัจจุบนั ต่อไปในอนาคต ภายใต้กรอบการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี โดยจะกำ�หนด เงือ่ นไขต่างๆ ให้เป็นไปตามลักษณะการดำ�เนินธุรกิจปกติ และเป็นราคาตลาดซึง่ สามารถเปรียบเทียบได้กบั ราคาทีเ่ กิดขึน้ กับบุคคล ภายนอก ทัง้ นี้ บริษทั ฯ ให้คณะกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมพิจารณาถึงความเหมาะสมของราคา และความสมเหตุสมผลของการทำ� รายการระหว่างกันด้วย - รายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนั้น คณะกรรมการบริษัท จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ และข้อบังคับ ประกาศ คำ�สัง่ หรือข้อกำ�หนดของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำ�กับตลาดทุน และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมตลอดถึงการปฏิบตั ติ ามข้อกำ�หนดเกีย่ วกับการเปิดเผยข้อมูล การทำ�รายการเกีย่ วโยงและการได้มาหรือจำ�หน่ายทรัพย์สนิ ทีส่ �ำ คัญของบริษทั ฯ หรือบริษทั ย่อย โดยคาดว่าปริมาณการเข้าทำ�รายการ ระหว่างกันทีอ่ าจเกิดขึน้ ในอนาคตของบริษทั ฯ คงเป็นไปตามทีเ่ ป็นอยู่ในปัจจุบนั อย่างไรก็ดี ปริมาณดังกล่าวอาจเปลีย่ นแปลงได้ตาม ความจำ�เป็นและเหมาะสมในการดำ�เนินธุรกิจของกลุม่ บริษทั ฯ - ทัง้ นี้ หากมีรายการระหว่างกันของบริษทั ฯ หรือบริษทั ย่อยเกิดขึน้ กับบุคคลทีอ่ าจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีสว่ นได้สว่ นเสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในอนาคต บริษทั ฯ จะให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผูใ้ ห้ความเห็นเกีย่ วกับความจำ�เป็นและ ความเหมาะสมของรายการนัน้ ในกรณีทค่ี ณะกรรมการตรวจสอบไม่มคี วามชำ�นาญในการพิจารณารายการระหว่างกันทีอ่ าจเกิดขึน้ บริษทั ฯ จะให้ผเู้ ชีย่ วชาญอิสระหรือผูส้ อบบัญชีของบริษทั ฯ เป็นผูใ้ ห้ความเห็นเกีย่ วกับรายการระหว่างกันดังกล่าว เพือ่ นำ�ไปใช้ประกอบ การตัดสินใจของคณะกรรมการบริษทั หรือผูถ้ อื หุน้ ตามแต่กรณี ทัง้ นี้ บริษทั ฯ จะเปิดเผยรายการระหว่างกันไว้ในหมายเหตุประกอบ งบการเงินที่ได้รบั การตรวจสอบหรือสอบทานจากผูส้ อบบัญชีของบริษทั ฯ - คณะกรรมการมีนโยบายกำ�หนดแนวทางในการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ขอ้ มูลภายในเป็นลายลักษณ์อกั ษรและแจ้งให้ทกุ คนในองค์กร ถือปฏิบตั ิ รวมทัง้ ได้ก�ำ หนดให้กรรมการทุกคนและผูบ้ ริหารทีม่ หี น้าทีร่ ายงานการถือครองหลักทรัพย์ตามกฎหมาย จัดส่งรายงานดัง กล่าวให้แก่คณะกรรมการเป็นประจำ�พร้อมกับเปิดเผยในรายงานประจำ�ปี

หมวดที่ 8 บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย

- คณะกรรมการตระหนักและให้ความมั่นใจว่า ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท จะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ - คณะกรรมการควรรายงานข้อมูลที่ ไม่ ใช่ทางการเงินที่แสดงให้เห็นว่าผู้มีส่วนได้เสียได้รับการดูแลและคำ�นึงถึงเป็นอย่างดี ในการตัดสินใจดำ�เนินงานของบริษัท - คณะกรรมการควรพิจารณาระบุว่า ผู้ใดคือ กลุ่ ม ผู้ มี ส่ว นได้ เ สี ย ของบริ ษั ท ให้ ค รบถ้ ว น และกำ � หนดลำ � ดั บ ความสำ � คัญให้ เป็นข้อพิจารณาโดยไม่ผิดพลาด หรือทำ�ให้การดำ�เนินกิจการไม่สำ�เร็จในที่สุด บริษัทขอจำ�แนกบทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสียตามกลุ่มต่างๆ ดังนี้ หมวดที่ 8.1 ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะมุ่งมั่นเป็นตัวแทนที่ดีของผู้ถือหุ้นในการดำ�เนินธุรกิจ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดของผู้ถือหุ้น โดยคำ�นึงถึงการเจริญ เติบโตของมูลค่าบริษทั ในระยะยาว และผลตอบแทนทีด่ แี ละต่อเนือ่ งในระดับทีเ่ หมาะสม รวมทัง้ จะดำ�เนินการอย่างโปร่งใส สร้างความเชือ่ ถือ ได้ของระบบบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว บริษัทจึงยึดถือแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 8.1.1 การเจริญเติบโตของมูลค่าบริษัทในระยะยาว - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่และรายย่อย เพื่อประโยชน์สูงสุดโดยรวม - บริหารจัดการโดยใช้ความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างเต็มความสามารถ ตลอดจนระมัดระวังและรอบคอบ ในการ ตัดสินใจที่จะดำ�เนินการต่างๆ ในทุกกรณี - ไม่ดำ�เนินการใดๆ ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อบริษัท 8.1.2 การเปิดเผยข้อมูล - รายงานสถานภาพและแนวโน้มในอนาคตของบริ ษั ท ต่ อ ผู้ ถื อ หุ้ น อย่ า งเท่ า เที ยมกั น โดยสม่ำ � เสมอและครบถ้ว น ตามความเป็นจริง - ไม่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเองและผู้เกี่ยวข้องโดยใช้ข้อมูลใดๆ ของบริษัท ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ - ไม่เปิดเผยข้อมูลลับ อันจะนำ�มาซึ่งผลเสียของบริษัท ต่อบุคคลภายนอก


30

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

หมวดที่ 8.2 ว่าด้วยความสัมพันธ์กับลูกค้า บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจและความมั่นใจให้แก่ลูกค้า ที่จะได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่ดี มีคุณภาพในระดับ ราคาที่เหมาะสม รวมทั้งรักษาสัมพันธภาพที่ดีและยั่งยืน จึงได้กำ�หนดแนวทางปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้ 8.2.1 ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ โดยมุ่งมั่นทีจ่ ะพัฒนามาตรฐานของสินค้าให้มีคุณภาพที่ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างถูกต้องครบถ้วน ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงและทันต่อเหตุการณ์ 8.2.2 ให้การรับประกันสินค้าและบริการภายใต้เงื่อนไขในเวลาอันเหมาะสม 8.2.3 จัดระบบเพือ่ ให้ลกู ค้าสามารถร้องเรียนเกีย่ วกับสินค้า และบริการ และดำ�เนินการอย่างดีทสี่ ดุ เพือ่ ให้ลกู ค้าได้รบั การตอบสนอง ผลอย่างรวดเร็ว 8.2.4 ไม่ค้ากำ�ไรเกินควรเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพของสินค้าหรือบริการในชนิดหรือประเภทเดียวกันและไม่กำ�หนดเงื่อนไข การค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกค้า 8.2.5 ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่ง ครัด หากไม่สามารถปฏิบัติได้ต้องรีบแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไข 8.2.6 รั ก ษาความลั บ ของลู ก ค้ า อย่ า งจริ ง จั ง และสม่ำ � เสมอ รวมถึ ง ไม่ นำ � มาใช้ เ พื่ อ ประโยชน์ ข องตนเองและผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง โดยมิชอบ หมวดที่ 8.3 ว่าด้วยความสัมพันธ์กับคู่ค้า คู่แข่งทางการค้า และเจ้าหนี้ทางการค้า บริษัทฯ คำ�นึงถึงความเสมอภาค และความซื่อสัตย์ ในการดำ�เนินธุรกิจและผลประโยชน์ร่วมกันกับคู่ค้า โดยคู่ค้าของบริษัท พึง ปฏิบัติตามกฎหมายและกติกาต่างๆ อย่างเคร่งครัดและมีจรรยาบรรณที่ดีในการดำ�เนินธุรกิจ ในส่วนของธุรกิจที่เป็นการแข่งขัน บริษัทจะ ยึดถือกติกาของการแข่งขันที่ดีและบริษัทจะยึดถือแนวทางการปฏิบัติที่ดี และเป็นธรรมในการกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้และการชำ�ระคืน ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว บริษัทจึงได้กำ�หนดแนวทางปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้ 8.3.1 ความสัมพันธ์กับคู่ค้า - ไม่เรียก หรือไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับคู่ค้า - ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้าอย่างเคร่งครัด - กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้จะรีบแจ้งให้คู่ค้าทราบล่วงหน้าเพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยหลักของความสมเหตุสมผล 8.3.2 ความสัมพันธ์กับคู่แข่งทางการค้า - ประพฤติปฏิบัติตามกรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี - ไม่พยายามทำ�ลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้ายโดยปราศจากซึ่งมูลความจริง 8.3.3 ความสัมพันธ์กับเจ้าหนี้ทางการค้า - รักษาและปฏิบตั ติ ามเงือ่ นไขทีม่ ตี อ่ เจ้าหนี้โดยเคร่งครัดทัง้ ในแง่การชำ�ระคืน การดูแลหลักทรัพย์ค�้ำ ประกันและเงือ่ นไขอืน่ ๆ รวมทั้งไม่ใช้เงินทุนที่ได้จากการกู้ยืมเงิน ไปในทางที่ขัดกับวัตถุประสงค์ในข้อตกลงที่ทำ�กับผู้ให้กู้ยืมเงิน - รายงานฐานะทางการเงินของบริษทั แก่เจ้าหนีด้ ว้ ยความซือ่ สัตย์ - รายงานเจ้าหนีล้ ว่ งหน้า หากไม่สามารถปฏิบตั ติ ามข้อผูกพันในสัญญา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว หมวดที่ 8.4 ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อพนักงาน บริษัทฯ ถือว่าพนักงานเป็นปัจจัยสู่ความสำ�เร็จของบริษัท จึงมุ่งมั่นในการพัฒนา เสริมสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศการทำ�งาน ที่ดีงาม รวมทั้งการส่งเสริมการทำ�งานเป็นทีม เพื่อให้เกิดความมั่นใจให้แก่พนักงานในการจะปฏิบัติงานกับบริษัทอย่างยั่งยืน จึงกำ�หนด แนวทางปฏิบัติไว้ ดังนี้ 8.4.1 ให้ผลตอบแทนทีเ่ ป็นธรรมแก่พนักงาน โดยอยู่ในรูปแบบของเงินเดือน และ/หรือ ค่าตอบแทนในการทำ�งาน รวมทัง้ สวัสดิการ ในรูปแบบต่างๆ 8.4.2 ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมการทำ�งานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานอยู่เสมอ 8.4.3 การแต่งตัง้ และโยกย้าย รวมถึงการให้รางวัลและการลงโทษพนักงานต้องกระทำ�ด้วยความเสมอภาค สุจริตใจ เป็นธรรม และตัง้ อยู่ บนพืน้ ฐานของความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมรวมทัง้ การกระทำ� หรือการปฏิบตั ขิ องพนักงานนัน้ ๆ 8.4.4 ให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนา การถ่ายทอดความรู้ และความสามารถของพนักงาน โดยให้โอกาสพนักงานอย่างทั่วถึงและ สม่ำ�เสมอในการพัฒนาความรู้และศักยภาพของพนักงาน 8.4.5 รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

8.4.6 8.4.7 8.4.8 8.4.9

31

ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเคร่งครัด บริหารงานโดยหลีกเลี่ยงการกระทำ�ใดๆ ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานของพนักงาน ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพและให้ความเคารพอย่างเท่าเทียมทุกคน เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถแจ้งเรือ่ งการทำ�ผิดกฎหมายของบริษทั โดยรายงานผูบ้ งั คับบัญชาหรือคณะกรรมการตรวจสอบ

หมวดที่ 9 การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส - คณะกรรมการมีหน้าที่ในการเปิดเผยสารสนเทศทั้งที่เป็นสารสนเทศทางการเงิน และที่ไม่ ใช่ทางการเงินอย่างครบถ้วน เพียงพอ เชือ่ ถือได้ และทันเวลา เพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ และผูม้ สี ว่ นได้เสียของบริษทั ได้รบั สารสนเทศอย่างเท่าเทียมกันตามทีก่ �ำ หนดโดย กฎหมาย ข้อบังคับบริษทั และหน่วยงานของภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้อง - สารสนเทศของบริษทั ควรจัดทำ�ขึน้ อย่างรอบคอบ ชัดเจน กะทัดรัด ใช้ภาษาทีเ่ ข้าใจง่ายและโปร่งใสโดยเปิดเผยสารสนเทศทีส่ �ำ คัญ อย่างสม่�ำ เสมอ ทัง้ ในด้านบวกและด้านลบ ควรระมัดระวังไม่ให้ผใู้ ช้เกิดความสับสนและสำ�คัญผิดในข้อเท็จจริงควรให้ความสำ�คัญกับ เนือ้ หามากกว่ารูปแบบ และระบุเงือ่ นไข ทีส่ �ำ คัญ หรือสมมุตฐิ านทีเ่ กีย่ วข้องให้ครบถ้วน - จัดให้มหี น่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เพือ่ ประชาสัมพันธ์/สือ่ สารข้อมูลข่าวสารทีเ่ ป็นประโยชน์ ให้ผถู้ อื หุน้ ผูล้ งทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และผูท้ เ่ี กีย่ วข้องได้รบั ทราบข้อมูลของบริษทั - คณะกรรมการควรจัดหาทรัพยากรอย่างเพียงพอ เพือ่ ช่วยพัฒนาความรูค้ วามสามารถของฝ่ายบริหารในการนำ�เสนอสารสนเทศและ การติดต่อสือ่ สาร - นอกจากการเผยแพร่ข้อมูลตามเกณฑ์ท่ีกำ�หนดและผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำ�ปีแล้ว มีการเปิดเผยข้อมูลทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่าน Website ของบริษทั อย่างสม่�ำ เสมอ พร้อมทัง้ นำ�เสนอข้อมูลทีเ่ ป็นปัจจุบนั ดังนี้ - วัตถุประสงค์ของบริษัท - ฐานะการเงินและผลการดำ�เนินงานของบริษัททั้งฉบับปัจจุบันและของปีก่อนหน้า - โครงสร้างการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมและสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน - รายชื่อกรรมการ อนุกรรมการชุดต่างๆ ผู้บริหารระดับสูง และค่าตอบแทน - ปัจจัยและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงที่สามารถมองเห็นได้ ทั้งที่เกี่ยวกับการดำ�เนินงานและการเงิน - ประเด็นที่มีความสำ�คัญเกี่ยวกับลูกจ้าง และผู้มีส่วนได้เสียอื่น - คณะกรรมการสนับสนุนให้บริษัทจัดทำ�คำ�อธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ( Management Discussion and Analysis (MD&A)) สำ�หรับงบการเงินทุกไตรมาส ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ ฐานะการเงินและผลการดำ�เนินงานของบริษทั ในแต่ละไตรมาสได้ดยี งิ่ ขึน้ นอกเหนือจากข้อมูลตัวเลขในงบการเงินเพียงอย่างเดียว - ควรเปิดเผยในรายงานประจำ�ปีเกีย่ วกับจำ�นวนครัง้ ทีก่ รรมการ และ/หรืออนุกรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประชุม โดยเปรียบเทียบกับ จำ�นวนครัง้ ของการประชุมคณะกรรมการ และ/หรือคณะอนุกรรมการในแต่ละปี รวมถึงการฝึกอบรมและพัฒนาความรูด้ า้ นวิชาชีพ อย่างต่อเนื่องของคณะกรรมการในรายงานประจำ�ปี - คณะกรรมการควรดูแลให้มีการเปิดเผยค่าสอบบัญชี และค่าบริการอื่นที่ผู้สอบบัญชีให้บริการไว้ด้วย

หมวดที่ 10 การด�ำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ด้วยวิสัยทัศน์แห่งการเป็นบริษัทที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ได้จัดให้มีคณะทำ�งานเพื่อพัฒนาระบบการจัดการ สิง่ แวดล้อมทีด่ ีในการดำ�เนินงานทุกภาคส่วน โดยกำ�หนดยุทธศาสตร์ดา้ นความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมถึงการบริหาร จัดการโครงการต่างๆ ให้มปี ระสิทธิภาพสูงสุด ทัง้ ในด้านการปรับปรุงกระบวนการปฏิบตั งิ าน กรรมวิธี และวิธกี ารในการดูแลรักษาสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ สนับสนุนให้มกี ารศึกษาผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมก่อนเริม่ โครงการต่างๆ ของบริษทั กำ�หนดให้ฝา่ ยปฏิบตั กิ ารสามารถรายงานตรงต่อ คณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหา และค่าตอบแทนได้ตามความจำ�เป็น และรายงานผลให้ทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ให้มีการทบทวน การดำ�เนินธุรกิจในมุมมองด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การประเมินความเสีย่ ง และโอกาสทีอ่ าจส่งผลต่อการเติบโตอย่างยัง่ ยืน การกำ�หนด แนวทาง และแผนงานเพื่อตอบสนองประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีกลยุทธ์ ทั้งนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีความรับผิดชอบ การดำ�เนินงานตามนโยบายและแนวทางที่กำ�หนดตามกรอบการดำ�เนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความ เข้าใจในบริบทที่รับผิดชอบ โดยให้มีการติดตามและรายงานผล เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทจึงกำ�หนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้


32

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

10.1 ในการใช้ ป ระโยชน์ จากทรั พ ยากรธรรมชาติ บริ ษั ท จะคำ � นึ ง ถึ ง ทางเลื อ กที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ความเสี ย หายของสั ง คม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพของชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุด 10.2 คืนผลกำ�ไรส่วนหนึ่งของบริษัท ให้แก่กิจกรรมที่จะมีส่วนสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำ�เสมอ 10.3 ปลูกฝังจิตสำ�นึกของความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นในหมู่พนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่องและจริงจัง 10.4 ให้ความสำ�คัญในการทำ�ธุรกรรมกับคู่ค้าที่มีเจตจำ�นงเดียวกันกับบริษัท ในเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม 10.5 ปฏิบตั แิ ละให้ความร่วมมือ หรือควบคุมให้มกี ารปฏิบตั อิ ย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและกฎระเบียบทีอ่ อกโดย หน่วยงานกำ�กับดูแล 10.6 บริษัทถือเป็นหน้าที่และนโยบายหลักในการให้ความสำ�คัญแก่กิจกรรมของชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนา สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างสรรค์ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ดี รวมทั้งการสนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชน การสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์แก่ชุมชนที่ด้อยโอกาสห่างไกลความเจริญ ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงด้วยการเสริมสร้างทักษะและพัฒนาอาชีพให้แก่ชุมชนทั่วไป

หมวดที่ 11 การต่อต้านคอร์รัปชั่น

เพือ่ ให้มน่ั ใจว่าบริษทั มีนโยบายการกำ�หนดความรับผิดชอบแนวปฏิบตั ิ และข้อกำ�หนดในการดำ�เนินการทีเ่ หมาะสม เพือ่ ป้องกันคอร์รปั ชัน่ กับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท และเพื่อให้การตัดสินใจและการดำ�เนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นได้รับ การพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบ บริษัทจึงได้จัดทำ� นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ ชัดเจนในการดำ�เนินธุรกิจ และพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน หน้าที่ความรับผิดชอบ 1) คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำ�หนดนโยบายและกำ�กับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชั่น ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำ�คัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น และปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร 2) คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสีย่ งให้มนั่ ใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุมเหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ 3) กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายจัดการและผู้บริหาร มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำ�หนดให้มีระบบและให้การส่งเสริมและสนับสนุน นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำ�หนดของกฎหมาย 4) ผู้ตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบตั ิงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบาย แนวปฏิบัติ อำ�นาจดำ�เนินการ ระเบียบปฏิบัติ และกฎหมาย ข้อกำ�หนดของการกำ�กับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่มีความเหมาะสม และเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้น และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ แนวทางปฏิบัติ 1) กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานทุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นของบริษัท โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่อง คอร์รัปชั่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม 2) พนักงาน ไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำ�ที่เข้าข่ายคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ต้องแจ้งให้ผ้บู ังคับบัญชา หรือบุคคลทีร่ บั ผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ หากมีขอ้ สงสัยหรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผูบ้ งั คับบัญชา หรือบุคคลทีก่ �ำ หนดให้ท�ำ หน้าทีร่ บั ผิดชอบเกีย่ วกับการติดตามการปฏิบตั ติ ามนโยบาย ผ่านช่องทางต่างๆ ทีก่ �ำ หนดไว้ 3) บริษทั จะให้ความเป็นธรรมและคุม้ ครองพนักงานทีป่ ฏิเสธ หรือแจ้งเรือ่ งคอร์รปั ชัน่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับบริษทั โดยใช้มาตรการคุม้ ครอง ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่น 4) ผู้ที่กระทำ�คอร์รัปชั่นเป็นการกระทำ�ผิดซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกำ�หนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะ ได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำ�นั้นผิดกฎหมาย 5) บริษทั ตระหนักถึงความสำ�คัญในการเผยแพร่ ให้ความรู้ และทำ�ความเข้าใจกับบุคคลอืน่ ทีต่ ้องปฏิบตั หิ น้าทีท่ เี่ กี่ยวข้องกับบริษัท หรืออาจเกิดผลกระทบต่อบริษัท ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้ 6) บริษัท มุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทั้งการทำ�ธุรกรรมกับภาคเอกชน และภาครัฐ


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

33

การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน คณะกรรมการได้จัดให้มีมาตรการในการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนการกระทำ�ผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ หรือ พฤติกรรมที่อาจ ส่อถึงการทุจริต หรือประพฤติมิชอบของบุคคลในองค์กร ทั้งจากพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่น รวมถึงได้จัดให้มีกลไกในการคุ้มครองผู้แจ้ง เบาะแสเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลผลประโยชน์ของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เรื่องที่รับแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน - การกระทำ�ผิดกฎหมาย ทุจริตระเบียบบริษัท หรือการทำ�ผิดของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน - ความผิดปกติของรายงานทางการเงิน หรือระบบควบคุมภายในที่บกพร่อง - เรื่องที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ หรือชื่อเสียงของบริษัท ช่องทางแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน ผ่านทาง Website ของบริษัทที่ www.tfd-factory.com หรือส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มาที่ cs@tfd-factory.com หรือ จดหมายธรรมดาที่ บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 18 ซอยสาทร 11 แยก 9 อาคารทีเอฟดี แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทร (662) 6764031-6, (662) 6763836-9 ซึ่งจะผ่านกรรมการอิสระหรือกรรมการตรวจสอบของบริษัทเพื่อสั่งการให้มีการตรวจสอบข้อมูลตามกระบวนการที่บริษัทกำ�หนดไว้ และรายงานต่อคณะกรรมการ กลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส - จัดทำ�ระบบฐานข้อมูลเก็บความลับของข้อมูลผูแ้ จ้งเบาะแส โดยการเข้าระบบฐานข้อมูลจะต้องสามารถกระทำ�ได้โดยผูบ้ ริหารระดับ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการเท่านั้น - บริษทั ถือเป็นหน้าทีข่ องผูบ้ งั คับบัญชา หรือหัวหน้าของผูท้ ถ่ี กู ร้องเรียนทุกคนในการใช้ดลุ พินจิ สัง่ การทีส่ มควรเพือ่ คุม้ ครองผูร้ อ้ งเรียน พยานและบุคคลที่ให้ขอ้ มูลในการสืบสวนสอบสวนมิให้ตอ้ งรับภยันตรายและความเดือดร้อน หรือความไม่ชอบธรรมอันเนื่องมาจาก การร้องเรียน การเป็นพยาน หรือการให้ข้อมูล


34

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

การควบคุมภายใน 1. วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน

“การควบคุมภายใน” เป็นกระบวนการปฏิบัติงานหรือวิธีการปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ และบุคลากรทุกระดับของบริษัท จัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำ�เนินงานของบริษัท จะบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังนี้ี - ด้านการดำ�เนินงาน (Operations) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยบรรลุเป้าหมายของบริษัท รวมถึงการดูแลทรัพย์สินไม่ให้ สูญหาย หรือใช้ไปในทางที่ไม่เหมาะสม - ด้านการรายงานทางการเงิน (Financial Reporting) มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และทันเวลา - ด้านการปฏิบัติตามนโยบาย กฎ ระเบียบ (Compliance) มีการปฏิบัติถูกต้องตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

2. ความส�ำคัญของระบบการควบคุมภายใน

ระบบการควบคุมภายในเป็นกลไกสำ�คัญที่ให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลต่อผู้บริหารของบริษัท ในการ - ช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจ - ช่วยให้ดำ�เนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม และบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ - ช่วยปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินไม่ให้รั่วไหล สูญหาย หรือจากการทุจริตประพฤติมิชอบ - ช่วยให้รายงานทางการเงินมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ - ช่วยให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง - ช่วยคุ้มครองเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น การควบคุมภายในจึงเป็นปัจจัยสำ�คัญทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังความสำ�เร็จของทุกกิจการ ไม่วา่ กิจการในภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่วา่ กิจการ นัน้ อยู่ในกลุม่ ธุรกิจประเภทใด จึงเป็นหน้าทีข่ องผูบ้ ริหารในฐานะผูน้ �ำ ทีน่ อกจากตนเองจะต้องรับผิดชอบจัดสิง่ แวดล้อมและองค์ประกอบต่างๆ ของการควบคุมภายในของหน่วยงานตนให้ดีแล้วยังจะต้อง - ปลูกจิตสำ�นึกและกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับตระหนักถึงความสำ�คัญที่จะต้องร่วมมือและปฏิบัติตามอย่างสม่ำ�เสมอและ ต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้มาตรการและกลไกต่างๆ ของระบบการควบคุมภายใน ซึง่ ผูบ้ ริหารกำ�หนดขึน้ ได้ท�ำ หน้าที่ให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้ - จัดให้มกี ารติดตามและประเมินผลการควบคุมภายในทีม่ อี ยูน่ นั้ โดยสม่�ำ เสมอ เพือ่ ให้มาตรการและกลไกต่างๆ นัน้ มีความเหมาะสม กับสถานการณ์ และความเสี่ยงที่แปรเปลี่ยนไป การควบคุมภายในไม่วา่ จะได้รบั การออกแบบหรือดำ�เนินการอย่างไร ก็ให้ได้เพียงความมัน่ ใจในระดับทีส่ มเหตุสมผลเท่านัน้ ว่าจะช่วย ปกป้องไม่ให้เกิดความสูญเสีย สูญเปล่า หรือการดำ�เนินงานจะบรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ แต่ไม่สามารถที่จะเป็นหลักประกันหรือ ให้ความมั่นใจได้ว่า กิจการจะไม่ประสบความล้มเหลวทางธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะการควบคุมภายในมีข้อจำ�กัดอยู่หลายประการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของคน

3. นโยบายการควบคุมภายในของบริษัท

3.1 บริษัทมุ่งมั่นให้ผู้บริหารตระหนักถึงความสำ�คัญของการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพเพียงพอกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมต่างๆ ของงานหรือกิจกรรมของหน่วยงานนั้นๆ โดยจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุม ภายในของบริษัท ดังนี้ี 3.1.1 คณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล และบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการกำ�หนดนโยบายเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน การบริหารความ เสี่ยง และทำ�การติดตามประเมินผลอย่างสม่ำ�เสมอว่าระบบที่วางไว้ดำ�เนินไปอย่างมีประสิทธิผลหรือไม่ ทั้งนี้คณะกรรมการ ตรวจสอบมีหน้าที่สอบทานว่าองค์ประกอบของระบบการควบคุมภายในที่สำ�คัญทั้ง 5 ประการได้มีการปฏิบัติตามอย่างมี ประสิทธิผล ดังนี้


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

35

- กิจการมีสภาพแวดล้อมของการควบคุมที่ดี (Control Environment) - กิจการมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสม (Risk Assessment) - กิจการมีกิจกรรมควบคุมที่ดี (Control Activities) - กิจการมีระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูลที่ดี (Information and Communication) - กิจการมีระบบการติดตามและการประเมินผลที่ดี (Monitoring and Evaluation) 3.1.2 ผูบ้ ริหาร มีหน้าทีค่ วามรับผิดชอบในการนำ�นโยบายทีค่ ณะกรรมการกำ�หนดไปปฏิบตั ิให้สมั ฤทธิผ์ ล บริษทั จึงมุง่ มัน่ ให้ผบู้ ริหาร ตระหนักถึงความสำ�คัญของการควบคุมภายใน และให้ผบู้ ริหารมีหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบโดยตรง ในการจัดให้มรี ะบบการ ควบคุมภายในขึ้นใน บริษัท ซึ่งได้แก่ งานหรือกิจกรรมต่างๆ ทุกระดับ หรือแฝงอยู่ในวิธีดำ�เนินธุรกิจของผู้บริหาร ทั้งนี้โดย - ผูบ้ ริหารระดับสูง เป็นผูจ้ ดั ให้มกี ารควบคุมภายในทีค่ รอบคลุมทุกองค์ประกอบใน บริษทั รวมถึงปลูกฝังให้ผใู้ ต้บงั คับบัญชา มีวินัยและจิตสำ�นึกที่ดีในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมภายใน - ผูบ้ ริหารระดับกลาง มีหน้าที่ในการจัดให้มกี ารควบคุมภายในในงานทีร่ บั ผิดชอบ ประเมินประสิทธิผลของระบบการควบคุม ภายใน ปรับเปลีย่ นระบบให้มคี วามรัดกุมอยูเ่ สมอและสอบทานให้การปฏิบตั ติ ามระบบการควบคุมภายใน 3.1.3 พนักงานทุกระดับ มีหน้าที่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับ ระเบียบ คำ�สั่ง นโยบาย แผนงาน มาตรการ และระบบการควบคุมภายใน ต่างๆ ที่ฝ่ายบริหารวางไว้ โดยจะต้องให้ความสำ�คัญ และปฏิบัติสม่ำ�เสมอ ต่อเนื่องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ระบบการควบคุม ภายในเกิดประสิทธิผล ซึง่ จะมีผลทำ�ให้การดำ�เนินงานเป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด พนักงานทุกคน ต้องมีจิตสำ�นึกตระหนักถึงความสำ�คัญของการควบคุมภายใน 3.1.4 การตรวจสอบภายใน โดยผูต้ รวจสอบภายในมีหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบโดยตรงในเรือ่ งการประเมินผลการควบคุมภายใน และ ตรวจสอบการปฏิบตั ติ ามระบบทีม่ อี ยูเ่ ป็นระยะๆ อย่างสม่�ำ เสมอเพือ่ ปรับปรุงให้มมี าตรการควบคุมต่างๆ ทีม่ คี วามเหมาะสม กับสถานการณ์ สิง่ แวดล้อมต่างๆ และความเสีย่ งทีแ่ ปรเปลีย่ นไป โดยผูต้ รวจสอบภายในสามารถเสนอแนะต่อผูบ้ ริหารระดับ สูงและระดับกลาง ให้จัดหามาตรการควบคุมภายในขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ของบริษัท โดยมีนโยบายให้ - ผู้ตรวจสอบภายในมีอิสระในการตรวจสอบตามที่เห็นสมควร ตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายใน - ผู้ตรวจสอบภายในมีสิทธิที่จะขอตรวจสอบทรัพย์สินและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งหนังสือ บัญชี เอกสารประกอบการบันทึก บัญชี จดหมายโต้ตอบ และรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง - ผู้ตรวจสอบภายในสามารถขอให้พนักงานของหน่วยรับตรวจ ให้ข้อมูล คำ�ชี้แจง และส่งมอบเอกสารในเรื่องที่ทำ�การ ตรวจสอบ ทั้งนี้ บุคลากรทุกระดับจะต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ รวมทั้งให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ต่อผู้ตรวจสอบภายในและ ผู้สอบบัญชีของบริษัท ซึ่งหน้าที่ตรวจสอบและประเมินขั้นตอน กระบวนการ ตลอดจนระบบของการควบคุมภายในว่ามีอยู่ เพียงพอ มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ รวมทั้งมีหน้าที่เสนอแนะว่ามีจุดใดที่ควร ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นตามที่เห็นเหมาะสม


36

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

การบริหารความเสี่ยง

การดำ�เนินธุรกิจของบริษทั ต้องเผชิญความเสีย่ งและความไม่แน่นอนต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ ซึง่ อาจส่งผลกระทบอย่างมีนยั สำ�คัญ ต่อรายได้ ผลกำ�ไร สินทรัพย์ สภาพคล่อง และมูลค่าหุ้นของบริษัท ด้วยปัจจุบันความเชื่อมโยงทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน มีการเจริญ เติบโตอย่างมาก เป็นผลให้บริษัทต้องปรับตัวเพื่อเผชิญกับกระแสการแข่งขันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ทิศทาง กลยุทธ์ กระบวนการตัดสินใจเชิงธุรกิจและการดำ�เนินงานของบริษทั เพือ่ ลดผลกระทบจากความผันผวนทีม่ ตี อ่ บริษทั ดังกล่าว บริษทั จึงกำ�หนดกระบวนการบริหารจัดการความเสีย่ งรวมทีค่ รอบคลุม ความเสีย่ งด้านผลิตภัณฑ์สนิ ค้า ความเสีย่ งด้านรายได้ ความเสีย่ งด้านความ เสียหายจากภัยธรรมชาติ ความเสี่ยงด้านการแข่งขัน ความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ ทั้งในระดับบริหาร และระดับ ปฏิบตั กิ ารไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อกั ษร เพือ่ เป็นทิศทางในการดำ�เนินงานของบริษทั ให้บรรลุวตั ถุประสงค์และเป้าหมายของบริษทั เป็นสำ�คัญ นอกจากความเสี่ยงดังกล่าว อาจมีความเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งบริษัทไม่อาจทราบหรือระบุได้ในขณะนี้ และความเสี่ยงบางอย่างที่บริษัทคิดว่า ไม่เป็นนัยสำ�คัญในปัจจุบัน แต่อาจมีความสำ�คัญต่อไปในอนาคตได้ ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ควรพิจารณาผลกระทบและความ เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงพิจารณาถึงปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทนอกเหนือจากปัจจัยความเสี่ยงที่บริษัทได้กล่าวไว้ด้วย 1. ดำ�เนินการให้การบริหารความเสีย่ งเป็นความรับผิดชอบของพนักงานในทุกระดับชัน้ ทีต่ อ้ งตระหนักถึงความเสีย่ งทีม่ ีในการปฏิบตั ิ งานในหน่วยงานของตนและองค์กร โดยให้ความสำ�คัญในการบริหารความเสีย่ งด้านต่างๆ ให้อยู่ในระดับทีเ่ พียงพอและเหมาะสม 2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือสำ�คัญในการบริหารจัดการของบริษัท โดยนำ�ระบบการบริหาร ความเสี่ยงมาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ การวางแผนกลยุทธ์ แผนงาน และการดำ�เนินงานของบริษัท รวมถึงการมุ่งเน้นให้ บรรลุวตั ถุประสงค์ เป้าหมาย วิสยั ทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ทกี่ �ำ หนดไว้ โดยบุคลากรทุกระดับต้องมีความเข้าใจ และร่วมมือร่วมใจ กันใช้การบริหารความเสีย่ งสร้างภาพลักษณ์ทดี่ ี เสริมสร้างการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี ความเป็นเลิศในการปฏิบตั งิ าน และสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท 3. เหตุที่มาของความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อบริษัท ทั้งในทางการเงิน และไม่ใช่การเงิน และจัดให้มีการทบทวนความเสี่ยงทุกครั้ง ที่มีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเงินลงทุนของบริษัท 4. ประเภทของความเสี่ยง และกำ�หนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ ในการตอบสนองต่อความเสี่ยงของบริษัท 5. กำ�หนดแนวทางป้องกันและบรรเทาความเสี่ยงจากการดำ�เนินงานของบริษัท เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย หรือความสูญเสียที่ อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการติดตามและประเมินผลการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้เกิดความแม่นยำ�มากขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณหรือ คุณภาพอย่างสม่ำ�เสมอ 6. ส่งเสริมและพัฒนาการนำ�ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการการบริหารความเสี่ยงของบริษัท และ สนับสนุนให้บคุ ลากรทุกระดับสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารการบริหารความเสีย่ งอย่างทัว่ ถึง ตลอดจนการจัดระบบรายงาน การบริหารความเสี่ยงให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัทได้มีการกำ�หนดอำ�นาจหน้าที่ในการดำ�เนินงานบริหารความเสี่ยง และอำ�นาจอนุมัติ พร้อมทั้งนำ�นโยบายและ กระบวนการบริหารความเสี่ยงเผยแพร่ในเว๊บไซด์ ของบริษัท เพื่อให้ทุกหน่วยงานรับทราบ และถือปฏิบัติ และมีการจัดทำ�รายงานผลการ บริหารความเสี่ยงเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาปรับปรุงแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อไป


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

37

รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ ในปี 2558 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด(มหาชน) ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำ�หนดของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ดังนี้ี 1. ในปี 2558 คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประชุมร่วมกัน 8 ครั้ง มีคณะกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ซึ่งมีผู้สอบบัญชีเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2. ได้พิจารณาและอนุมัติแผนงานตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบภายในประจำ�ปี 2558 โดยเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพระบบ การควบคุมภายใน การตรวจสอบที่เพียงพอในจุดที่จำ�เป็น การรายงานผลการตรวจสอบภายในต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นประจำ� คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาและประเมินผลการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบภายในประจำ�ปี 2558 แล้วเห็นว่าระบบ การควบคุมภายในมีประสิทธิภาพดีเพียงพอในการควบคุมการดำ�เนินงานของบริษัทฯและบริษัทย่อยโดยไม่พบข้อบกพร่องที่ มีสาระสำ�คัญ 3. ได้สอบทานรายงานทางการเงินทัง้ รายไตรมาสและประจำ�ปีของบริษทั ฯ เพือ่ ให้ขอ้ มูลทางการเงินมีความครบถ้วน ถูกต้องตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทันเวลา และแสดงถึงฐานะอันแท้จริงของบริษัท ก่อนนำ�เสนอคณะกรรมการบริษัท 4. ได้สอบทานแบบประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะ สมและเพียงพอในการดูแลการดำ�เนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่บริษัทตั้งไว้ 5. ได้สอบทานการบริหารความเสีย่ งโดยการพิจารณานโยบายการบริหารความเสีย่ ง แผนงานและแนวทางการบริหารจัดการความ เสีย่ งตามรายการความเสีย่ งระดับองค์กร รวมทัง้ พิจารณาและสอบทานประสิทธิภาพและความเหมาะสมของกระบวนการบริหาร ความเสี่ยงอย่างสม่ำ�เสมอ 6. ได้สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามเรื่องการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ พัฒนาเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสากลอย่างสม่ำ�เสมอ 7. ได้สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำ�หนดต่างๆของทางการ 8. ได้สอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลใน เรื่องดังกล่าวให้มีความถูกต้องครบถ้วน 9. พิจารณาคัดเลือกการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อนำ�เสนอที่ประชุม ผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ

(นายประสงค์ วรารัตนกุล) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 26 กุมภาพันธ์ 2559


38

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอต่อผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงินรวมของบริ ษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริ ษทั ย่อย ซึ่ งประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 258 งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวม งบแสดงการ เปลี่ยนแปลงส่ วนของผูถ้ ือหุน้ รวมและงบกระแสเงินสดรวม สําหรับปี สิ้ นสุ ดวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุสรุ ป นโยบายการบัญชีที่สาํ คัญและหมายเหตุเรื่ องอื่น ๆ และได้ตรวจสอบงบการเงินเฉพาะกิจการของบริ ษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) ด้วยเช่นกัน ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่ องบการเงิน ผูบ้ ริ หารเป็ นผูร้ ับผิดชอบในการจัดทําและการนําเสนองบการเงินเหล่านี้โดยถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการ รายงานทางการเงินและรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ผบู ้ ริ หารพิจารณาว่าจําเป็ นเพื่อให้สามารถจัดทํา งบการเงินที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสําคัญไม่วา่ จะเกิดจากการทุจริ ตหรื อ ข้อผิดพลาด ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี ข้าพเจ้าเป็ นผูร้ ับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ ปฏิบตั ิงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งกําหนดให้ขา้ พเจ้าปฏิบตั ิตามข้อกําหนดด้านจรรยาบรรณ รวมถึงวางแผนและปฏิบตั ิงานตรวจสอบเพื่อให้ได้ความเชื่อมัน่ อย่างสมเหตุสมผลว่า งบการเงินปราศจากการ แสดงข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสําคัญหรื อไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่ งหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับจํานวนเงินและการ เปิ ดเผยข้อมูลในงบการเงิน วิธีการตรวจสอบที่เลือกใช้ข้ ึนอยูก่ บั ดุลยพินิจของผูส้ อบบัญชี ซึ่งรวมถึงการประเมิน ความเสี่ ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสําคัญของงบการเงินไม่วา่ จะเกิดจากการทุจริ ตหรื อ ข้อผิดพลาด ในการประเมินความเสี่ ยงดังกล่าว ผูส้ อบบัญชีพิจารณาการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําและ การนําเสนองบการเงินโดยถูกต้องตามที่ควรของกิจการ เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อประสิ ทธิผลของการควบคุมภายในของกิจการ การตรวจสอบ รวมถึงการประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผบู ้ ริ หารใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการ ทางบัญชีที่จดั ทําขึ้นโดยผูบ้ ริ หาร รวมทั้งการประเมินการนําเสนองบการเงินโดยรวม


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

39

ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ขา้ พเจ้าได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็ นเกณฑ์ในการแสดงความเห็น ของข้าพเจ้า ความเห็น ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 258 ผลการดําเนินงานและกระแสเงินสด สําหรับปี สิ้ นสุ ดวันเดียวกันของบริ ษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริ ษทั ย่อย และเฉพาะ ของบริ ษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสําคัญตามมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน

ศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กลุ ผูส้ อบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 344 บริ ษทั สํานักงาน อีวาย จํากัด กรุ งเทพฯ: 9 กุมภาพันธ์ 2559


40

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบแสดงฐานะการเงิน

บริษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย ณ วันที่ 31 ธันนวาคม 2558 งบแสดงฐานะการเงิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

2558

2557

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

7 8 9 10

304,157,240 28,565,139 51,365,000 21,616,456

157,878,693 27,371,895 84,050,000 30,511,649

24,201,449 28,565,139 51,365,000 5,188,257

31,932,015 27,371,895 84,050,000 10,570,985

6 11

180,069,041 6,461,079,697 197,066,250 29,302,826 19,252,547 7,292,474,196

320,151,233 5,202,862,739 46,503,500 9,969,237 15,287,892 5,894,586,838

2,727,560,211 3,177,447,619 197,066,250 4,432,800 6,215,826,725

2,003,233,877 2,429,109,800 38,553,000 4,251,306 4,629,072,878

12 6 13 14 15 16 17 29

83,857,672 208,125,000 364,120,822 1,392,712,523 82,329,871 182,382,553 37,848,892 14,122,686 2,365,500,019 9,657,974,215

64,045,392 225,000,000 401,107,497 535,947,832 90,678,588 131,522,718 25,453,073 14,503,582 1,488,258,682 7,382,845,520

61,348,252 178,239,446 908,477,107 208,125,000 43,840,063 77,462,761 118,658,586 2,849,933 9,919,867 1,608,921,015 7,824,747,740

61,183,487 230,489,571 898,477,107 225,000,000 45,254,259 87,658,605 62,268,660 1,097,540 9,943,420 1,621,372,649 6,250,445,527

งบการเงินรวม หมายเหตุ สินทรัพย์ สิ นทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนระยะสั้น-กองทุนรวมตราสารหนี้ เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ อื่น เงินให้กยู้ มื ระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างรับ จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ต้นทุนพัฒนาโครงการอสังหาริ มทรัพย์ เงินมัดจําจ่ายค่าซื้ อที่ดิน เงินจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้าง สิ นทรัพย์หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่ หมุนเวียน เงินฝากสถาบันการเงินที่มีภาระคํ้าประกัน เงินให้กยู้ มื ระยะยาวและดอกเบี้ยค้างรับจากบริ ษทั ย่อย เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อย เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย สิ ทธิการเช่า อสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน อุปกรณ์ สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้นิติบุคคลรอขอคืน สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสิ นทรัพย์ไม่ หมุนเวียน รวมสิ นทรัพย์ หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่วนหนึ่ งของงบการเงินนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

41

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ)

บริษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย งบแสดงฐานะการเงิน (ต่ อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

งบการเงินรวม หมายเหตุ หนีส้ ิ นและส่ วนของผู้ถือหุ้น หนีส้ ิ นหมุนเวียน เงินกูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ การค้าและเจ้าหนี้อื่น ส่วนของหุ้นกูท้ ี่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่ งปี ส่วนของหนี้ สินภายใต้สญ ั ญาเช่าการเงินและเช่าซื้ อ ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี ส่วนของเงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี ส่วนของเงินกูย้ มื ระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่ งปี ดอกเบี้ยค้างจ่ายแก่บริ ษทั ย่อย ภาษีเงินได้คา้ งจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมหนีส้ ิ นหมุนเวียน หนีส้ ิ นไม่ หมุนเวียน หุ ้นกู-้ สุ ทธิจากส่ วนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่ งปี หนี้สินภายใต้สญ ั ญาเช่าการเงินและเช่าซื้ อ-สุ ทธิ จากส่ วนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่ งปี เงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน-สุทธิ จากส่ วนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่ งปี เงินกูย้ มื ระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน และดอกเบี้ยค้างจ่าย - สุทธิ จากส่วน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่ งปี เงินมัดจําการเช่ารับ เงินมัดจํารับจากการขายโครงการ หนี้ สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สํารองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน ประมาณการหนี้ สินระยะยาว หนี้ สินไม่หมุนเวียนอื่น รวมหนีส้ ินไม่ หมุนเวียน รวมหนีส้ ิ น

2558

2557

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

18 19 20

2,191,502,485 256,620,823 1,691,064,708

1,532,087,115 331,772,781 -

1,895,853,787 146,909,036 1,691,064,708

1,177,633,190 48,615,175 -

21

5,550,655

6,958,176

4,681,385

6,714,426

22

983,921,968

516,561,757

681,038,450

499,218,283

6, 23 6

88,138,895 6,721,056 13,185,709 5,236,706,299

1,581,446 13,114,893 2,402,076,168

8,685,112 704,442 4,428,936,920

8,685,112 1,830,438 1,742,696,624

20

1,392,053,922

1,687,453,370

1,392,053,922

1,687,453,370

21

7,386,573

11,505,248

6,399,926

10,956,810

22

893,589,536

733,330,520

34,063,014

467,216,509

6, 23

154,239,829 47,201,070

312,722,001 48,528,070

6 29 24 25

3,269,485 17,023,508 2,372,500 2,003,850 2,519,140,273 7,755,846,572

2,226,766 11,908,720 2,372,500 1,692,500 2,811,739,695 5,213,815,863

2,713,422 14,293,986 2,372,500 1,262,500 1,453,159,270 5,882,096,190

129,500,000 2,109,658 10,029,732 2,372,500 1,692,500 2,311,331,079 4,054,027,703

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ่งของงบการเงินนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


42

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย งบแสดงฐานะการเงิน (ต่ อ) ธันวาคม ณณวันวัทีน่ 31ที่ ธั31 นวาคม 2558 2558

งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ)

งบการเงินรวม หมายเหตุ ส่ วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรื อนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ ้นสามัญ 1,914,911,170 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ทุนที่ออกจําหน่ายและชําระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 1,283,501,405 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ส่ วนเกินมูลค่าหุ ้นสามัญ กําไรสะสม จัดสรรแล้ว - สํารองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จดั สรร (ขาดทุนสะสม) องค์ประกอบอื่นของส่ วนของผูถ้ ือหุ้น ส่ วนของผูถ้ ือหุ ้นของบริ ษทั ฯ ส่ วนของผูม้ ีส่วนได้เสี ยที่ไม่มีอาํ นาจควบคุมของบริ ษทั ย่อย รวมส่ วนของผู้ถือหุ้น รวมหนีส้ ินและส่ วนของผู้ถือหุ้น

27

2558

1,914,911,170

1,914,911,170

1,914,911,170

1,914,911,170

1,283,501,405 955,101,210

1,283,501,405 955,101,210

1,283,501,405 955,101,210

1,283,501,405 955,101,210

50,655,721 (318,985,214) (180,496,107) 1,789,777,015 112,350,628 1,902,127,643 9,657,974,215

50,655,721 (40,850,818) (188,156,725) 2,060,250,793 108,778,864 2,169,029,657 7,382,845,520

50,655,721 (349,126,786) 2,520,000 1,942,651,550 1,942,651,550 7,824,747,740

50,655,721 (92,840,512) 2,196,417,824 2,196,417,824 6,250,445,527

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่วนหนึ่ งของงบการเงินนี้

กรรมการ

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2557

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

43

บริ ไทยพั ฒนาโรงงานอุ ตสาหกรรม กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย บริษษทั ัทไทยพั ฒนาโรงงานอุ ตสาหกรรม จํากัด (มหาชน)จ�ำและบริ ษทั ย่ อย งบกําไรขาดทุ นเบ็ดเสร็จ งบก� ำไรขาดทุ นเบ็ดเสร็จ สํ าหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

สาหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

กําไรขาดทุน: รายได้ รายได้จากการขายอาคารชุด รายได้ค่าเช่าและค่าบริ การ รายได้อื่น เงินปั นผลรับ ดอกเบี้ยรับ กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน อื่นๆ รวมรายได้ ค่ าใช้ จ่าย ต้นทุนขายอาคารชุด ต้นทุนให้เช่าและบริ การ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริ หาร ขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน รวมค่ าใช้ จ่าย กําไร (ขาดทุน) ก่ อนค่ าใช้ จ่ายทางการเงินและค่ าใช้ จ่ายภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ขาดทุนก่ อนค่ าใช้ จ่ายภาษีเงินได้ รายได้ภาษีเงินได้ ขาดทุนสํ าหรับปี

หมายเหตุ

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอืน่ สํ าหรับปี : รายการที่ จะถูกบันทึ กในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนในภายหลัง ผลกําไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผือ่ ขาย ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่างบการเงิน ที่เป็ นเงินตราต่างประเทศ หัก: ผลกระทบของภาษีเงินได้ รายการที่จะถูกบันทึกในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนในภายหลัง สุ ทธิจากภาษีเงินได้ รายการที่ จะไม่ ถูกบันทึ กในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนในภายหลัง ผลขาดทุนจากการประมาณการทางหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย หัก: ผลกระทบของภาษีเงินได้ รายการที่จะไม่ถูกบันทึกในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนในภายหลัง สุ ทธิจากภาษีเงินได้ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอืน่ สํ าหรับปี กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสํ าหรับปี หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ่ งของงบการเงินนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2558

งบการเงินรวม

2557

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

480,499,755 295,717,805

1,151,345,972 233,601,759

15,574,280

14,897,339

21,226,500 27,283,474 26,327,369 23,389,564 874,444,467

16,063,810 30,969,963 33,154,542 1,465,136,046

21,226,500 151,386,289 22,414,549 210,601,618

16,063,810 124,060,132 24,074,603 179,095,884

376,488,000 169,157,306 34,717,842 223,965,609 40,462,622 844,791,379 29,653,088 (346,073,877) (316,420,789) 41,858,157 (274,562,632)

878,144,018 152,142,672 65,260,393 233,584,378 18,665,053 26,244,708 1,374,041,222 91,094,824 (305,058,175) (213,963,351) 56,147,983 (157,815,368)

12,398,667 2,077,904 155,282,278 40,462,622 210,221,471 380,147 (313,082,583) (312,702,436) 56,416,162 (256,286,274)

11,630,917 1,961,318 159,530,183 18,665,053 191,787,471 (12,691,587) (241,666,220) (254,357,807) 57,098,450 (197,259,357)

14

3,150,000

(18,000,000)

3,150,000

(18,000,000)

29

5,140,618 (630,000)

(1,417,992) 3,600,000

(630,000)

3,600,000

7,660,618

(15,817,992)

2,520,000

(14,400,000)

-

(262,448) 52,490

-

(847,989) 169,597

7,660,618

(209,958) (16,027,950)

2,520,000

(678,392) (15,078,392)

(266,902,014)

(173,843,318)

(253,766,274)

(212,337,749)

14

9

29

24 29


44

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบก�ำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ต่อ)

บริษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริษทั ย่ อย งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ต่ อ) สาหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 สํ าหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

งบการเงินรวม หมายเหตุ การแบ่ งปันกําไรขาดทุน ส่ วนที่เป็ นของผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ฯ ส่ วนที่เป็ นของผูม้ ีส่วนได้เสี ยที่ไม่มีอาํ นาจควบคุมของบริ ษทั ย่อย

การแบ่ งปันกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม ส่ วนที่เป็ นของผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ฯ ส่ วนที่เป็ นของผูม้ ีส่วนได้เสี ยที่ไม่มีอาํ นาจควบคุมของบริ ษทั ย่อย กําไรต่ อหุ้น กําไรต่อหุน้ ขั้นพื้นฐาน ขาดทุนส่ วนที่เป็ นของผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ฯ กําไรต่อหุน้ ปรับลด ขาดทุนส่ วนที่เป็ นของผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ฯ

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ่ งของงบการเงินนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2558

2557

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

(278,134,396) 3,571,764 (274,562,632)

(169,148,671) 11,333,303 (157,815,368)

(256,286,274)

(197,259,357)

(270,473,778) 3,571,764 (266,902,014)

(185,240,736) 11,397,418 (173,843,318)

(253,766,274)

(212,337,749)

(0.2515)

(0.1529)

(0.2317)

(0.1783)

(0.2515)

(0.1470)

(0.2317)

(0.1714)

30


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย สาหรั บปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่ วนของผู้ถือหุ้น สํ าหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

งบการเงินรวม ส่วนของผูถ้ ือหุ้นของบริ ษทั ฯ องค์ประกอบอื่นของส่วนของผูถ้ ือหุ้น กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น ส่วนเกิน (ตํ่า) กว่าทุน ผลต่างจากการ ผลต่างจากการ ส่วนเกินทุน จากการวัดมูลค่า แปลงค่างบการเงิน เปลี่ยนแปลง จากการรวมธุรกิจ รวม เงินลงทุนใน ที่เป็ นเงินตรา สัดส่วนเงินลงทุน ภายใต้การควบคุม องค์ประกอบอื่น หลักทรัพย์เผื่อขาย ต่างประเทศ ในบริ ษทั ย่อย เดียวกัน ของส่วนของผูถ้ ือหุ้น

(หน่วย: บาท)

ส่วนเกินมูลค่า หุ้นสามัญ

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 ขาดทุนสําหรับปี กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นสําหรับปี กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวมสําหรับปี ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน ทุนเรื อนหุ้นเพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิตามใบแสดงสิ ทธิ ซื้ อหุ้นสามัญ (หมายเหตุ 26) เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 33) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

1,083,500,205 200,000,000

147,783,522 807,312,888

50,655,721 -

421,117,042 (169,148,671) (274,074) (169,422,745) -

14,400,000 (14,400,000) (14,400,000) -

(1,417,992) (1,417,992) -

(45,699,839) -

(141,038,894) -

(172,338,733) (15,817,992) (15,817,992) -

1,530,717,757 (169,148,671) (16,092,066) (185,240,737) 1,007,312,888

97,381,445 11,333,303 64,116 11,397,419 -

1,628,099,202 (157,815,368) (16,027,950) (173,843,318) 1,007,312,888

1,200 1,283,501,405

4,800 955,101,210

50,655,721

(292,545,115) (40,850,818)

-

(1,417,992)

(45,699,839)

(141,038,894)

(188,156,725)

6,000 (292,545,115) 2,060,250,793

108,778,864

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ขาดทุนสําหรับปี กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นสําหรับปี กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวมสําหรับปี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

1,283,501,405 1,283,501,405

955,101,210 955,101,210

50,655,721 50,655,721

(40,850,818) (278,134,396) (278,134,396) (318,985,214)

2,520,000 2,520,000 2,520,000

(1,417,992) 5,140,618 5,140,618 3,722,626

(45,699,839) (45,699,839)

(141,038,894) (141,038,894)

(188,156,725) 7,660,618 7,660,618 (180,496,107)

2,060,250,793 (278,134,396) 7,660,618 (270,473,778) 1,789,777,015

108,778,864 3,571,764 3,571,764 112,350,628

6,000 (292,545,115) 2,169,029,657 2,169,029,657 (274,562,632) 7,660,618 (266,902,014) 1,902,127,643 -

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

45

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

รวม ส่วนของ ผูถ้ ือหุ้น

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ทุนเรื อนหุ้น ที่ออก และชําระแล้ว

กําไรสะสม จัดสรรแล้ว ยังไม่ได้จดั สรร

รวม ส่วนของผูถ้ ือหุ้น ของบริ ษทั ฯ

ส่วนของผูม้ ี ส่วนได้เสี ยที่ ไม่มีอาํ นาจ ควบคุม ของบริ ษทั ย่อย


46

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สาหรั บปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ

ทุนเรื อนหุ ้นที่ออก และชาระแล้ว

ส่วนเกินมูลค่า หุ ้นสามัญ

กาไรสะสม จัดสรรแล้ว ยังไม่ได้จดั สรร

(หน่วย: บาท) องค์ประกอบอื่ นของ ส่วนของผูถ้ ือหุ ้น กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่ น ส่วนเกิน (ต่า) กว่าทุน จากการวัดมูลค่าเงินลงทุน ในหลักทรัพย์เผื่อขาย

รวมส่วนของ ผูถ้ ือหุ ้น

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 ขาดทุนสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่ นสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวมสาหรับปี ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน ทุนเรื อนหุ้นเพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิตามใบแสดงสิ ทธิซ้ื อหุ ้นสามัญ (หมายเหตุ 26) เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 33) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

1,083,500,205 200,000,000

147,783,522 807,312,888

50,655,721 -

397,642,352 (197,259,357) (678,392) (197,937,749) -

14,400,000 (14,400,000) (14,400,000) -

1,693,981,800 (197,259,357) (15,078,392) (212,337,749) 1,007,312,888

1,200 1,283,501,405

4,800 955,101,210

50,655,721

(292,545,115) (92,840,512)

-

6,000 (292,545,115) 2,196,417,824

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ขาดทุนสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่ นสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวมสาหรับปี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

1,283,501,405 1,283,501,405

2,520,000 2,520,000 2,520,000

2,196,417,824 (256,286,274) 2,520,000 (253,766,274) 1,942,651,550

หมายเหตุ ระกอบงบการเงิ นส่ว่ งนหนึ ่งของงบการเงิ นนี้ หมายเหตุปป ระกอบงบการเงิ นเป็ นนส่เป็ วนหนึ ของงบการเงิ นนี้

955,101,210 955,101,210

50,655,721 50,655,721

(92,840,512) (256,286,274) (256,286,274) (349,126,786)

-

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จากัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย งบแสดงการเปลี ่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่ วนของผู้ถอื หุ้ น (ต่ อ)


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

47

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย บริษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริษทั ย่ อย งบกระแสเงิ นสด งบกระแสเงินสด

สาหรั นทีธัน่ 31 นวาคม 2558 สํ าหรับบปี สิปี้นสสุิ้นดวัสุนดทีวั่ 31 วาคมธั2558

งบการเงินรวม 2558 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน ขาดทุนก่อนภาษี รายการปรับกระทบยอดขาดทุนก่อนภาษีเป็ นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดําเนิ นงาน ค่าเผือ่ หนี้ สงสัยจะสู ญ (โอนกลับ) ค่าเสื่ อมราคาและค่าตัดจําหน่าย ขาดทุนจากการด้อยค่าสิ นทรัพย์ กําไรจากการจําหน่ายเงินลงทุนระยะสั้น-กองทุนรวมตราสารหนี้ กําไรที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจริ งของเงินลงทุนระยะสั้น-กองทุนรวมตราสารหนี้ กําไรจากการจําหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ขาดทุนที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจริ งของเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ขาดทุนจากการจําหน่ายอุปกรณ์ สํารองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน เงินปั นผลรับ ดอกเบี้ยรับ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย กําไร (ขาดทุน) จากการดําเนิ นงานก่อนการเปลี่ยนแปลง ในสิ นทรัพย์และหนี้ สินดําเนิ นงาน สิ นทรัพย์ดาํ เนิ นงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง ลูกหนี้ การค้าและลูกหนี้ อื่น ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริ มทรัพย์ เงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้ อที่ดิน-บริ ษทั ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เงินประกันการก่อสร้าง สิ นทรัพย์หมุนเวียนอื่น สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น หนี้ สินดําเนิ นงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) เจ้าหนี้ การค้าและเจ้าหนี้ อื่น เงินมัดจําการเช่ารับ หนี้ สินหมุนเวียนอื่น หนี้ สินไม่หมุนเวียนอื่น เงินสดใช้ไปในกิจกรรมดําเนิ นงาน จ่ายผลประโยชน์ระยะยาวพนักงาน จ่ายดอกเบี้ย รับคืนเงินภาษีเงินได้หกั ณ ที่จ่าย จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดสุ ทธิใช้ ไปในกิจกรรมดําเนินงาน หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ่ งของงบการเงินนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2557

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

(316,420,789)

(213,963,351)

(312,702,436)

(254,357,807)

2,576,494 103,099,735 (5,128,432) (64,812) (233,256) 40,462,623 58,614 5,330,876 (21,226,500) (27,283,474) 346,073,877

1,872,180 77,827,315 12,459,561 (2,293,793) (78,102) (25,137,021) 18,665,053 55,709 4,944,394 (16,063,810) (30,969,963) 305,058,175

(17,510) 13,578,749 (5,128,432) (64,812) (233,256) 40,462,623 58,613 4,480,342 (21,226,500) (151,386,289) 313,082,583

204,209 11,636,666 (2,293,793) (78,102) (25,137,021) 18,665,053 6,504 4,177,584 (16,063,810) (124,060,132) 241,666,220

127,244,956

132,376,347

(119,096,325)

(145,634,429)

4,278,479 (1,153,265,762) (197,066,250) (19,333,589) (3,483,093) 292,231

(9,901,485) (277,286,045) (63,669,500) 69,030,763 6,980,645 (7,203,245)

3,825,908 (707,087,972) (197,066,250) (181,494) 23,552

(1,818,022) (320,698,965) (38,553,000) 79,000,000 8,279,068 (6,055,234)

(90,813,193) (1,327,000) 70,796 311,350 (1,333,091,075) (216,088) (436,295,840) (15,986,757) (1,785,589,760)

(234,215,364) (4,527,201) 5,616,226 (340,000) (383,138,859) (2,240,000) (313,056,831) 7,217,382 (79,600,760) (770,819,068)

(41,050,341) (1,125,996) (430,000) (1,062,188,918) (216,088) (301,484,627) (1,752,393) (1,365,642,026)

(39,232,735) (414,198) (340,000) (465,467,515) (2,240,000) (247,904,056) (38,453,115) (754,064,686)


48

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย บริษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริษทั ย่ อย งบกระแสเงิ นสด (ต่อ) งบกระแสเงินสด (ต่ อ)

สาหรั นทีธั่น31 นวาคม 2558 สํ าหรับบปี ปี สิ้นสสุิ้นดสุวันดทีวั่ 31 วาคมธั2558

งบการเงินรวม 2558 กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ซื้ อเงินลงทุนระยะสั้น-กองทุนรวมตราสารหนี้ เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนระยะสั้น-กองทุนรวมตราสารหนี้ ซื้ อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า เงินสดรับจากการขายหลักทรัพย์เพื่อค้า เงินสดรับจากการลดมูลค่าหน่วยลงทุนในหลักทรัพย์เผือ่ ขาย เงินฝากสถาบันการเงินที่มีภาระคํ้าประกันเพิ่มขึ้น เงินให้กยู้ มื ระยะสั้นแก่บริ ษทั ย่อยเพิ่มขึ้น รับชําระคืนเงินให้กยู้ มื ระยะสั้นแก่บริ ษทั ย่อย รับชําระคืนเงินให้กยู้ มื ระยะยาวแก่บริ ษทั ย่อย เงินให้กยู้ มื ระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (เพิ่มขี้น) ลดลง เงินสดจ่ายซื้ อเงินลงทุนในบริ ษทั ย่อย ส่ วนปรับปรุ งสิ ทธิการเช่าเพิ่มขึ้น เงินปั นผลรับ ซื้ ออสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน ซื้ ออุปกรณ์ เงินสดรับจากการขายอุปกรณ์ เงินสดรับจากดอกเบี้ย เงินสดสุ ทธิใช้ ไปในกิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินกูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น (ลดลง) จ่ายชําระคืนเงินกูย้ มื ระยะสั้นจากบริ ษทั ย่อย จ่ายชําระคืนหนี้ สินตามสัญญาเช่าการเงิน เงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น จ่ายชําระคืนเงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน เงินสดรับจากการออกหุน้ กู้ เงินสดจ่ายชําระคืนหุน้ กู้ จ่ายชําระคืนเงินกูต้ ามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ จ่ายชําระคืนเงินกูย้ มื ระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดรับจากการออกหุน้ สามัญเพิ่มทุน เงินสดรับจากส่ วนเกินมูลค่าหุน้ สามัญ เงินสดรับจากการใช้สิทธิซ้ื อหุน้ สามัญ เงินปั นผลจ่าย เงินสดสุ ทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน ผลต่ างจากการแปลงค่ างบการเงินเพิม่ ขึน้ เงินสดและรายการเทียบเท่ าเงินสดเพิม่ ขึน้ (ลดลง) สุ ทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปี เงินสดและรายการเทียบเท่ าเงินสดปลายปี หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ่ งของงบการเงินนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2557

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

(945,000,000) 949,000,000 (52,593,292) 47,089,145 20,025,000 (19,812,280) 140,000,000 (4,146,108) 21,226,500 (891,512,557) (3,207,016) 3,103 26,884,104 (712,043,401)

(1,551,000,000) 1,526,000,000 (684,453,911) 604,833,231 (50,830,681) (20,000,000) (755,984) 16,063,810 (341,794,368) (12,746,240) 714,953 30,822,900 (483,146,290)

(945,000,000) 949,000,000 (52,593,292) 47,089,145 20,025,000 (164,766) (620,000,000) (10,000,000) 21,226,500 (2,707,424) 784,522 98,844,191 (493,496,124)

(1,551,000,000) 1,526,000,000 (684,453,911) 604,833,231 (50,226,358) (1,134,000,000) 474,075,533 18,347,358 (299,999,790) 16,063,810 (11,230,277) 714,953 54,385,370 (1,036,490,081)

670,000,000 (7,178,500) 933,023,259 (309,388,507) 1,386,387,610 (20,000,000) (310) 2,652,843,552 (8,931,844) 146,278,547 157,878,693 304,157,240 -

(1,026,789,928) (5,053,236) 211,210,429 1,686,131,804 (1,350,000,000) (66,710,880) (18,347,358) 200,000,000 807,317,688 1,200 (292,395,087) 145,364,632 (2,184,683) (1,110,785,409) 1,268,664,102 157,878,693 -

728,000,000 (6,694,345) (256,285,371) 1,386,387,610 (310) 1,851,407,584 (7,730,566) 31,932,015 24,201,449 -

(852,249,612) (48,000,000) (5,782,882) 800,000,000 (314,910,904) 1,686,131,804 (1,350,000,000) 200,000,000 807,317,688 1,200 (292,395,087) 630,112,207 (1,160,442,560) 1,192,374,575 31,932,015 -


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

49

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริษทั ย่ อย งบกระแสเงินสด (ต่ อ) สํสาหรั าหรับปีบสิปี้นสสุิ้น ดวัสุนดทีวั่ 31นธัทีน่ วาคม 31 ธั2558 นวาคม 2558

งบกระแสเงินสด (ต่อ)

2558

2557

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

46,503,500 1,511,000

54,642,250 11,596,780 17,255,250

38,553,000 1,511,000

งบการเงินรวม ข้ อมูลกระแสเงินสดเปิ ดเผยเพิม่ เติม รายการที่ไม่ใช่เงินสด โอนเงินมัดจําการซื้ อที่ดินเป็ นต้นทุนพัฒนาโครงการอสังหาริ มทรัพย์ โอนค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าเป็ นอุปกรณ์ สิ นทรัพย์ที่ได้มาภายใต้สัญญาเช่าทางการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ่ งของงบการเงินนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

54,642,250 11,596,780 16,280,250


50

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุ สาหรั บปีสิ้นปสุดระกอบงบการเงิ วันที่ 31 ธันวาคมนรวม 2558 สํ าหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม .

ข้ อมูลทัว่ ไป บริ ษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) (“บริ ษทั ฯ”) เป็ นบริ ษทั มหาชน ซึ่ งจัดตั้งและมี ภูมิลาํ เนาในประเทศไทย ธุรกิจหลักของบริ ษทั ฯคือการพัฒนาอสังหาริ มทรัพย์ ที่อยูต่ ามที่จดทะเบียนของ บริ ษทั ฯอยูท่ ี่เลขที่ 18 ซอยสาทร 11 แยก 9 อาคารทีเอฟดี แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุ งเทพมหานคร

2.

เกณฑ์ ในการจัดทํางบการเงิน

2.1 งบการเงินนี้ จดั ทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กาํ หนดในพระราชบัญญัติวิชาชี พบัญชี พ.ศ. 2547 โดยแสดงรายการในงบการเงินตามข้อกําหนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าลงวันที่ 28 กันยายน 2554 ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 งบการเงิ น ฉบับ ภาษาไทยเป็ นงบการเงิ น ฉบับ ที่ บ ริ ษ ัท ฯใช้เป็ นทางการตามกฎหมาย งบการเงิ น ฉบับ ภาษาอังกฤษแปลจากงบการเงินฉบับภาษาไทยนี้ งบการเงินนี้ได้จดั ทําขึ้นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมเว้นแต่จะได้เปิ ดเผยเป็ นอย่างอื่นในนโยบายการบัญชี 2.2 เกณฑ์ในการจัดทํางบการเงินรวม ก) งบการเงินรวมนี้ได้จดั ทําขึ้นโดยรวมงบการเงินของบริ ษทั ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) (ซึ่งต่อไปนี้เรี ยกว่า “บริ ษทั ฯ”) และบริ ษทั ย่อย (ซึ่งต่อไปนี้เรี ยกว่า “บริ ษทั ย่อย”) ดังต่อไปนี้

ชื่อบริ ษทั

ถือหุ้นโดยบริษัทฯ บริ ษทั โทเทิล อินดัสเตรี ยล เซอร์วสิ เซส จํากัด บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด บริ ษทั คราวน์ ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (เดิมชื่อ บริ ษทั วีเอสเอสแอล เอ็นเตอร์ไพรส์ จํากัด) บริ ษทั ทีเอฟดี เรี ยลเอสเตท แมนเนจเม้นท์ จํากัด

ลักษณะธุรกิจ

จัดตั้งขึ้น ใน ประเทศ

อัตราร้อยละ ของการถือหุน้ 2558 2557 ร้อยละ ร้อยละ

ให้เช่าโรงงานสําเร็ จรู ป ให้เช่าอาคารชุดสํานักงาน อาคารชุดพักอาศัยเพื่อขาย

ไทย ไทย ไทย

100.00 49.91 100.00

100.00 49.91 100.00

ประกอบกิจการด้านการเป็ น ผูจ้ ดั การกองทุนทรัสต์

ไทย

100.00

-

1


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ชื่อบริ ษทั

ลักษณะธุรกิจ

ถือหุ้นโดยบริษัท โทเทิล อินดัสเตรียล เซอร์ วสิ เซส จํากัด Barnsley Warehouse Limited ลงทุนในที่ดินและอาคาร คลังสิ นค้าเพื่อเช่าและขาย Bognor Regis Warehouse Limited ลงทุนในที่ดินและอาคาร คลังสิ นค้าเพื่อเช่าและขาย

จัดตั้งขึ้น ใน ประเทศ

51

อัตราร้อยละ ของการถือหุน้ 2558 2557 ร้อยละ ร้อยละ

อังกฤษ

100.00

100.00

อังกฤษ

100.00

-

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2558 บริ ษทั โทเทิล อินดัสเตรี ยล เซอร์วิสเซส จํากัด ซึ่งเป็ นบริ ษทั ย่อยของบริ ษทั ฯได้ ลงทุนในบริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ ง คือ Bognor Regis Warehouse Limited ซึ่ งเป็ นบริ ษทั ที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ในประเทศอังกฤษ เพื่อประกอบกิ จการด้านการลงทุนในธุ รกิจที่ดินและอาคารคลังสิ นค้าเพื่อเช่าและขาย บริ ษทั โทเทิล อินดัสเตรี ยล เซอร์ วิสเซส จํากัด ลงทุนในบริ ษทั ดังกล่าวจํานวน 1,620,000 หุ น้ มูลค่าหุ ้นละ 1 ปอนด์ (รวมเป็ นเงินประมาณ 82 ล้านบาท) ซึ่งคิดเป็ นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนของบริ ษทั ดังกล่าว และเมื่ อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 บริ ษทั ฯลงทุนในบริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ ง คือ บริ ษทั ที เอฟดี เรี ยลเอสเตท แมนเนจเมนท์ จํากัด ซึ่ งเป็ นบริ ษทั ที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ในประเทศไทย เพื่อประกอบกิจการด้านการเป็ น ผูจ้ ดั การกองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริ มทรัพย์ บริ ษทั ฯลงทุนในบริ ษทั ดังกล่าวจํานวน 1,000,000 หุน้ มูลค่าหุน้ ละ 10 บาท ซึ่งคิดเป็ นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนของบริ ษทั ดังกล่าว ข)

บริ ษทั ฯจะถือว่ามีการควบคุมกิจการที่เข้าไปลงทุนหรื อบริ ษทั ย่อยได้ หากบริ ษทั ฯมีสิทธิได้รับหรื อมี ส่ วนได้เสี ยในผลตอบแทนของกิจการที่เข้าไปลงทุน และสามารถใช้อาํ นาจในการสั่งการกิจกรรมที่ ส่ งผลกระทบอย่างมีนยั สําคัญต่อจํานวนเงินผลตอบแทนนั้นได้

ค)

บริ ษทั ฯนํางบการเงินของบริ ษทั ย่อยมารวมในการจัดทํางบการเงินรวมตั้งแต่วนั ที่บริ ษทั ฯมีอาํ นาจใน การควบคุมบริ ษทั ย่อยจนถึงวันที่บริ ษทั ฯสิ้ นสุ ดการควบคุมบริ ษทั ย่อยนั้น

ง)

งบการเงินของบริ ษทั ย่อยได้จดั ทําขึ้นโดยใช้นโยบายการบัญชีที่สาํ คัญเช่นเดียวกันกับของบริ ษทั ฯ

จ)

สิ นทรัพย์และหนี้ สินตามงบการเงินของบริ ษทั ย่อยซึ่ งจัดตั้งในต่างประเทศแปลงค่าเป็ นเงินบาทโดย ใช้อตั ราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน ส่ วนรายได้และค่าใช้จ่ายแปลงค่าเป็ นเงินบาท โดยใช้อตั ราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยรายเดือน ผลต่างซึ่ งเกิดขึ้นจากการแปลงค่าดังกล่าวได้แสดงไว้เป็ น รายการ “ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินที่เป็ นเงินตราต่างประเทศ” ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลง ส่ วนของผูถ้ ือหุน้

ฉ)

ยอดคงค้างระหว่างบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย รายการค้าระหว่างกันที่มีสาระสําคัญได้ถูกตัดออกจากงบ การเงินรวมนี้แล้ว

2


52

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ช)

ส่ วนของผูม้ ีส่วนได้เสี ยที่ไม่มีอาํ นาจควบคุม คือ จํานวนกําไรหรื อขาดทุนและสิ นทรัพย์สุทธิ ของ บริ ษทั ย่อยส่ วนที่ไม่ได้เป็ นของบริ ษทั ฯ และแสดงเป็ นรายการแยกต่างหากในส่ วนของกําไรหรื อ ขาดทุนรวมและส่ วนของผูถ้ ือหุน้ ในงบแสดงฐานะการเงินรวม

2.3 บริ ษทั ฯจัดทํางบการเงินเฉพาะกิจการ โดยแสดงเงินลงทุนในบริ ษทั ย่อยตามวิธีราคาทุน .

มาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่ มาตรฐานการรายงานทางการเงิ น ที่ เริ่ มมี ผลบังคับ ในปี บัญ ชี ปั จจุ บ ัน และที่ จะมี ผลบังคับ ในอนาคตมี รายละเอียดดังนี้ ก. มาตรฐานการรายงานทางการเงินทีเ่ ริ่มมีผลบังคับใช้ ในปี ปัจจุบัน บริ ษทั ฯได้นาํ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุ ง (ปรับปรุ ง 2557) และฉบับใหม่ที่ออกโดย สภาวิชาชี พบัญชี ซึ่ งมีผลบังคับใช้สาํ หรับรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่ มในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 มาถื อปฏิ บตั ิ มาตรฐานการรายงานทางการเงิ นดังกล่าวได้รับการปรั บปรุ งหรื อจัดให้มีข้ ึนเพื่อให้มี เนื้ อหาเท่าเทียมกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ โดยส่ วนใหญ่เป็ นการปรับปรุ ง ถ้อยคําและคําศัพท์ การตีความและการให้แนวปฏิบตั ิทางการบัญชีกบั ผูใ้ ช้มาตรฐาน การนํามาตรฐาน การรายงานทางการเงินดังกล่าวมาถือปฏิบตั ิน้ ี ไม่มีผลกระทบอย่างเป็ นสาระสําคัญต่องบการเงินของ บริ ษทั ฯ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินตามที่กล่าวข้างต้นบางฉบับมีการเปลี่ยนแปลง หลักการสําคัญซึ่งสามารถสรุ ปได้ดงั นี้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 9 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง ผลประโยชน์ ของพนักงาน มาตรฐานฉบับปรับปรุ งนี้ กาํ หนดให้กิจการต้องรับรู ้รายการกําไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลัก คณิ ตศาสตร์ประกันภัยทันทีในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นในขณะที่มาตรฐานฉบับเดิมอนุญาตให้กิจการ เลือกรับรู ้รายการดังกล่าวทันทีในกําไรขาดทุน หรื อในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น หรื อทยอยรับรู ้ในกําไร ขาดทุนก็ได้ มาตรฐานฉบับปรับปรุ งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่องบการเงินนี้ เนื่ องจากบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยรับรู ้ รายการกําไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัยทันทีในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จ อื่นอยูแ่ ต่เดิมแล้ว มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 0 เรื่อง งบการเงินรวม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่  กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินรวม โดย ใช้แทนเนื้ อหาเกี่ยวกับการบัญชีสาํ หรับงบการเงินรวมที่เดิมกําหนดอยูใ่ นมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่  เรื่ อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ มาตรฐานฉบับนี้ เปลี่ยนแปลงหลักการเกี่ยวกับ การพิจารณาว่าผูล้ งทุนมีอาํ นาจการควบคุมหรื อไม่ กล่าวคือ ภายใต้มาตรฐานฉบับนี้ ผลู ้ งทุนจะถือว่า ตนควบคุมกิจการที่เข้าไปลงทุนได้ หากตนมีสิทธิได้รับหรื อมีส่วนได้เสี ยในผลตอบแทนของกิจการ ที่ เข้าไปลงทุ น และตนสามารถใช้อ าํ นาจในการสั่ งการกิ จ กรรมที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ จํานวนเงิ น ผลตอบแทนนั้นได้ ถึงแม้ว่าตนจะมีสัดส่ วนการถือหุ ้นหรื อสิ ทธิ ในการออกเสี ยงโดยรวมน้อยกว่า 3


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

53

กึ่ ง หนึ่ งก็ ต าม การเปลี่ ย นแปลงที่ สําคัญ นี้ ส่ งผลให้ ฝ่ายบริ ห ารต้อ งใช้ดุ ล ยพิ นิ จ อย่างมากในการ ทบทวนว่าบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมีอาํ นาจควบคุมในกิ จการที่เข้าไปลงทุนหรื อไม่และจะต้องนํา บริ ษทั ใดในกลุ่มกิจการมาจัดทํางบการเงินรวมบ้าง การเปลี่ยนแปลงหลักการนี้ไม่มีผลกระทบต่องบการเงินของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่  เรื่อง การร่ วมการงาน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่  ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่  เรื่ อง ส่ วนได้เสี ย ในการร่ วมค้า ซึ่ งได้ถูก ยกเลิ กไป มาตรฐานฉบับ นี้ กําหนดให้กิ จการที่ ลงทุ น ในกิ จการใดๆต้อง พิจารณาว่าตนมีการควบคุมร่ วม (Joint control) กับผูล้ งทุนรายอื่นในกิจการนั้นหรื อไม่ หากกิจการมี การควบคุมร่ วมกับผูล้ งทุนรายอื่นในกิจการที่ถูกลงทุนนั้นแล้วให้ถือว่ากิจการนั้นเป็ นการร่ วมการ งาน (Joint arrangement) หลังจากนั้น กิจการต้องใช้ดุลยพินิจในการกําหนดประเภทของการร่ วมการ งานนั้นว่าเป็ น การดําเนิ นงานร่ วมกัน (Joint operation) หรื อ การร่ วมค้า (Joint venture) และบันทึก ส่ ว นได้เสี ย จากการลงทุ น ให้ เหมาะสมกับ ประเภทของการร่ ว มการงาน กล่ าวคื อ หากเป็ นการ ดําเนิ นงานร่ วมกัน ให้กิจการรับรู ้ส่วนแบ่งในสิ นทรัพย์ หนี้ สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ ของการดําเนินงานร่ วมกันตามส่ วนที่ตนมีสิทธิตามสัญญาในงบการเงินเฉพาะกิจการของตน แต่หาก เป็ นการร่ ว มค้า ให้ กิ จ การรั บ รู ้ เงิ น ลงทุ น ในการร่ ว มค้าตามวิ ธี ส่ ว นได้เสี ยในงบการเงิ น ที่ แ สดง เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสี ย หรื องบการเงินรวม (หากมี) และรับรู ้เงินลงทุนในการร่ วมค้าตามวิธี ราคาทุนในงบการเงินเฉพาะกิจการ ฝ่ ายบริ ห ารของบริ ษ ทั ฯและบริ ษ ทั ย่อยเชื่ อว่ามาตรฐานฉบับนี้ ไม่มีความเกี่ ยวเนื่ องกับธุ รกิ จของ บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การเปิ ดเผยข้ อมูลเกีย่ วกับส่ วนได้ เสี ยในกิจการอืน่ มาตรฐานฉบับนี้ กาํ หนดเรื่ องการเปิ ดเผยข้อมูลที่ เกี่ ยวข้องกับส่ วนได้เสี ยของกิจการในบริ ษทั ย่อย การร่ วมการงาน บริ ษทั ร่ วม รวมถึงกิจการที่มีโครงสร้างเฉพาะตัว มาตรฐานฉบับนี้จึงไม่มีผลกระทบ ทางการเงินต่องบการเงินของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่  เรื่อง การวัดมูลค่ ายุติธรรม มาตรฐานฉบับนี้ กาํ หนดแนวทางเกี่ยวกับการวัดมูลค่ายุติธรรมและการเปิ ดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการ วัด มู ล ค่ ายุติ ธ รรม กล่ าวคื อ หากกิ จ การต้อ งวัด มู ล ค่ ายุติ ธ รรมของสิ น ทรั พ ย์ห รื อ หนี้ สิ น ใดตาม ข้อ กํา หนดของมาตรฐานที่ เกี่ ย วข้อ งอื่ น กิ จ การจะต้อ งวัด มู ล ค่ ายุติ ธ รรมนั้ นตามหลัก การของ มาตรฐานฉบับนี้และใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็ นต้นไปในการรับรู ้ผลกระทบจากการเริ่ มใช้มาตรฐานนี้ มาตรฐานฉบับนี้ไม่มีผลกระทบอย่างเป็ นสาระสําคัญต่องบการเงินของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย

4


54

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ข. มาตรฐานการรายงานทางการเงินทีจ่ ะมีผลบังคับในอนาคต ในระหว่างปี ปั จจุบนั สภาวิชาชี พบัญชี ได้ประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุ ง (ปรับปรุ ง ) และฉบับใหม่ รวมถึงแนวปฏิบตั ิทางบัญชี จํานวนหลายฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้สาํ หรับ งบการเงินที่ มีรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่ มในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 มาตรฐานการรายงานทาง การเงินดังกล่าวได้รับการปรับปรุ งหรื อจัดให้มีข้ ึนเพื่อให้มีเนื้อหาเท่าเทียมกับมาตรฐานการรายงานทาง การเงินระหว่างประเทศ ฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั ฯเชื่อว่ามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุ ง และฉบับใหม่ รวมถึงแนวปฏิบตั ิทางบัญชีดงั กล่าวจะไม่มีผลกระทบอย่างเป็ นสาระสําคัญต่องบการเงิน เมื่อนํามาถือปฏิบตั ิ 4.

นโยบายการบัญชีทสี่ ํ าคัญ

4. การรับรู้ รายได้ การรั บรู้ รายได้ จากการขายอสังหาริ มทรั พย์ รายได้จากการขายที่ ดิน อาคารโรงงานและหน่ วยในอาคารชุ ด รั บรู ้ เมื่ อบริ ษทั ฯได้โอนความเสี่ ยงและ ผลตอบแทนที่มีนยั สําคัญของความเป็ นเจ้าของสิ นค้าให้กบั ผูซ้ ้ื อแล้ว โดยรับรู ้รายได้เมื่องานก่อสร้างเสร็ จ ตามสัญญาและมีการโอนกรรมสิ ทธิ์ให้ผซู ้ ้ือหลังจากได้รับชําระจากผูซ้ ้ือครบถ้วนแล้ว รายได้ ค่าเช่ าและค่ าบริ การที่เกี่ยวข้ อง รายได้จากค่าเช่ารับรู ้เป็ นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างตลอดอายุสัญญาเช่า รายได้ค่าบริ การรับรู ้เมื่อได้ให้บริ การ แล้วโดยพิจารณาถึงขั้นความสําเร็ จของงาน ดอกเบีย้ รั บ ดอกเบี้ยรับถือเป็ นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างโดยคํานึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริ ง เงินปั นผลรั บ เงินปั นผลรับถือเป็ นรายได้เมื่อบริ ษทั ฯมีสิทธิในการรับเงินปันผล 4.

ต้ นทุนการขายอสั งหาริมทรัพย์ ในการคํานวณหาต้นทุนขายที่ดิน อาคารโรงงาน และหน่ วยในอาคารชุด บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยได้ทาํ การ แบ่งสรรต้นทุนการพัฒนาทั้งหมดที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (โดยคํานึ งถึงต้นทุนที่เกิ ดขึ้นจริ งด้วย) ให้กบั ที่ดิน อาคารโรงงาน และหน่วยในอาคารชุดที่ขายได้ตามเกณฑ์พ้ืนที่ที่ขาย แล้วจึงรับรู ้เป็ นต้นทุนขายในงบกําไร ขาดทุน ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริ มทรัพย์แสดงตามราคาทุนหรื อมูลค่าสุ ทธิ ที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะ ตํ่ากว่า ซึ่ งประกอบด้ว ยต้น ทุ น ที่ ดิ น ค่ าออกแบบ ค่ าสาธารณู ป โภค ค่ าก่ อ สร้ าง ต้น ทุ น การกู้ยืม และ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจะบันทึกขาดทุนจากการลดมูลค่าของโครงการ (ถ้ามี) ไว้ในงบกําไรขาดทุน 5


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

4.3

55

เงินสดและรายการเทียบเท่ าเงินสด เงิ น สดและรายการเที ย บเท่ าเงิ น สด หมายถึ ง เงิ น สดและเงิ น ฝากธนาคาร และเงิ น ลงทุ น ระยะสั้ น ที่ มี สภาพคล่องสู ง ซึ่ งถึงกําหนดจ่ายคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ได้มาและไม่มีขอ้ จํากัดใน การเบิกใช้

4.

ลูกหนีก้ ารค้ า ลูกหนี้ การค้าแสดงมูลค่าตามจํานวนมูลค่าสุ ทธิที่จะได้รับ บริ ษทั ฯบันทึกค่าเผือ่ หนี้สงสัยจะสู ญสําหรับผล ขาดทุนโดยประมาณที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ ซึ่งโดยทัว่ ไปพิจารณาจากประสบการณ์ การเก็บเงินและการวิเคราะห์อายุหนี้

4.

เงินลงทุน ก) เงิ น ลงทุ น ในหลัก ทรั พ ย์เพื่ อค้าแสดงตามมู ลค่ายุติ ธรรม การเปลี่ ยนแปลงในมู ลค่ ายุติ ธรรมของ หลักทรัพย์บนั ทึกในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุน ข) เงิ น ลงทุ น ในหลักทรั พ ย์เผื่อขายแสดงตามมูลค่ายุติธรรม การเปลี่ ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ หลักทรัพย์ดงั กล่าวบันทึกในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จ และจะบันทึกในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนเมื่อ ได้จาํ หน่ายหลักทรัพย์น้ นั ออกไป ค) เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อยที่แสดงอยูใ่ นงบการเงินเฉพาะกิจการแสดงมูลค่าตามวิธีราคาทุน มูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดคํานวณจากราคาเสนอซื้อหลังสุ ด ณ สิ้ นวันทําการ สุ ดท้ายของปี บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยใช้วิธีถวั เฉลี่ยถ่วงนํ้าหนักในการคํานวณต้นทุนของเงินลงทุน ในกรณี ที่มีการโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนจากประเภทหนึ่ งไปเป็ นอีกประเภทหนึ่ ง บริ ษทั ฯจะปรั บ มูลค่าของเงินลงทุนดังกล่าวใหม่โดยใช้มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่โอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุน ผลแตกต่าง ระหว่างราคาตามบัญชีและมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่โอนจะบันทึกในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนหรื อแสดง เป็ นองค์ประกอบอื่นของส่ วนของผูถ้ ือหุน้ แล้วแต่ประเภทของเงินลงทุนที่มีการโอนเปลี่ยน เมื่อมีการจําหน่ ายเงินลงทุน ผลต่างระหว่างสิ่ งตอบแทนสุ ทธิ ที่ได้รับกับมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุน จะถูก บันทึกในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุน

6


56 4.6

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

อสั งหาริมทรัพย์ เพือ่ การลงทุน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยบันทึกมูลค่าเริ่ มแรกของอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนในราคาทุนซึ่ งรวมต้นทุน การทํารายการ หลังจากนั้น บริ ษทั ฯจะบันทึกอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยราคาทุนหักค่าเสื่ อมราคา สะสมและค่าเผือ่ การด้อยค่า (ถ้ามี) ค่ าเสื่ อ มราคาของอสั งหาริ ม ทรั พ ย์เพื่ อการลงทุ น คํานวณจากราคาทุ น โดยวิ ธีเส้น ตรงตามอายุการให้ ประโยชน์โดยประมาณดังนี้ อาคารและอาคารคลังสิ นค้า ส่ วนที่ปรับปรุ งอาคารโรงงานเช่า อาคารชุดสํานักงาน

25 ปี  ปี  ปี

ค่าเสื่ อมราคาของอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนรวมอยูใ่ นการคํานวณผลการดําเนินงาน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยรับรู ้ผลต่างระหว่างจํานวนเงินที่ได้รับสุ ทธิ จากการจําหน่ายกับมูลค่าตามบัญชีของ สิ นทรัพย์ในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนในงวดที่ตดั รายการอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนออกจากบัญชี 4.

อุปกรณ์ และค่ าเสื่ อมราคา อุปกรณ์แสดงมูลค่าตามราคาทุนหักค่าเสื่ อมราคาสะสมและค่าเผือ่ การด้อยค่าของสิ นทรัพย์ (ถ้ามี) ค่าเสื่ อมราคาของอุปกรณ์ คาํ นวณจากราคาทุน ของสิ นทรั พย์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการให้ประโยชน์ โดยประมาณดังนี้ ส่ วนปรับปรุ งอาคารสํานักงานเช่า เครื่ องตกแต่งและอุปกรณ์สาํ นักงาน ยานพาหนะ

5 ปี 5, 8 ปี 5 ปี

ค่าเสื่ อมราคารวมอยูใ่ นการคํานวณผลการดําเนินงาน ไม่มีการคิดค่าเสื่ อมราคาสําหรับสิ นทรัพย์ระหว่างติดตั้ง บริ ษ ัทฯและบริ ษ ัทย่อยตัดรายการอุ ปกรณ์ ออกจากบัญชี เมื่ อจําหน่ ายสิ นทรั พย์หรื อคาดว่าจะไม่ ได้รับ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการใช้หรื อการจําหน่ ายสิ นทรัพย์ รายการผลกําไรหรื อขาดทุนจากการ จําหน่ ายสิ นทรัพย์จะรับรู ้ในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนเมื่อบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยตัดรายการสิ นทรัพย์น้ ัน ออกจากบัญชี 4.

ต้ นทุนการกู้ยมื ต้นทุนการกูย้ ืมของเงินกูท้ ี่ใช้ในการได้มา การก่อสร้างหรื อการผลิตสิ นทรัพย์ที่ตอ้ งใช้ระยะเวลานานใน การแปลงสภาพให้พร้อมใช้หรื อขาย ได้ถูกนําไปรวมเป็ นราคาทุนของสิ นทรัพย์จนกว่าสิ นทรัพย์น้ นั จะอยู่ ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามที่มุ่งประสงค์ ส่ วนต้นทุนการกูย้ ืมอื่นถือเป็ นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดรายการ ต้นทุนการกูย้ มื ประกอบด้วยดอกเบี้ยและต้นทุนอื่นที่เกิดขึ้นจากการกูย้ มื นั้น 7


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

4.

57

สิ ทธิการเช่ าและค่ าตัดจําหน่ าย สิ ทธิการเช่าแสดงมูลค่าตามราคาทุนหลังหักค่าตัดจําหน่ายสะสมและค่าเผือ่ การด้อยค่าสะสม (ถ้ามี) ค่าตัดจําหน่ายคํานวณจากราคาทุนโดยวิธีเส้นตรงตามอายุสญ ั ญาเช่าดังนี้ สิ ทธิการเช่าที่ดิน สิ ทธิการเช่าอาคารโรงงาน

30, 40 ปี 15 ปี

ค่าตัดจําหน่ายรวมอยูใ่ นการคํานวณผลการดําเนินงาน 4. รายการธุรกิจกับบุคคลหรือกิจการทีเ่ กีย่ วข้ องกัน บุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย หมายถึง บุคคลหรื อกิจการที่มีอาํ นาจควบคุม บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย หรื อถูกบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย ควบคุมไม่ว่าจะเป็ นโดยทางตรงหรื อทางอ้อม หรื อ อยูภ่ ายใต้การควบคุมเดียวกันกับบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย นอกจากนี้ บุคคลหรื อกิ จการที่ เกี่ ยวข้องกันยังหมายรวมถึงบริ ษทั ร่ วมและบุ คคลที่ มีสิทธิ ออกเสี ยงโดย ทางตรงหรื อ ทางอ้อ มซึ่ งทําให้ มี อิท ธิ พ ลอย่างเป็ นสาระสําคัญ ต่ อบริ ษ ัท ฯ บริ ษ ัท ย่อย ผูบ้ ริ ห ารสําคัญ กรรมการหรื อพนักงานของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยที่มีอาํ นาจในการวางแผนและควบคุมการดําเนิ นงาน ของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย 4.1 สั ญญาเช่ าระยะยาว สัญญาเช่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ความเสี่ ยงและผลตอบแทนของความเป็ นเจ้าของส่ วนใหญ่ได้โอนไป ให้กบั ผูเ้ ช่าถือเป็ นสัญญาเช่าการเงิน สัญญาเช่าการเงินจะบันทึกเป็ นรายจ่ายฝ่ ายทุนด้วยมูลค่ายุติธรรมของ สิ นทรัพย์ที่เช่ าหรื อมูลค่าปั จจุบนั สุ ทธิ ของจํานวนเงินที่ตอ้ งจ่ายตามสัญญาเช่ าแล้วแต่มูลค่าใดจะตํ่ากว่า ภาระผูกพันตามสัญญาเช่ าหักค่าใช้จ่ายทางการเงิ นจะบัน ทึ กเป็ นหนี้ สิ น ระยะยาว ส่ วนดอกเบี้ ยจ่ายจะ บันทึกในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนตลอดอายุของสัญญาเช่า สิ นทรัพย์ที่ได้มาตามสัญญาเช่าการเงินจะคิด ค่าเสื่ อมราคาตลอดอายุการใช้งานของสิ นทรัพย์ที่เช่าหรื ออายุของสัญญาเช่า แล้วแต่ระยะเวลาใดจะตํ่ากว่า สัญญาเช่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ความเสี่ ยงและผลตอบแทนของความเป็ นเจ้าของส่ วนใหญ่ไม่ได้โอน ไปให้กบั ผูเ้ ช่าถือเป็ นสัญญาเช่าดําเนินงาน จํานวนเงินที่จ่ายตามสัญญาเช่าดําเนิ นงานรับรู ้เป็ นค่าใช้จ่ายใน ส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุของสัญญาเช่า 4.2 เงินตราต่ างประเทศ บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยแสดงงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ เป็ นสกุลเงินบาท ซึ่ งเป็ นสกุลเงิน ที่ใช้ในการดําเนินงานของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย รายการต่างๆของแต่ละกิจการที่รวมอยูใ่ นงบการเงินรวม วัดมูลค่าด้วยสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของแต่ละกิจการนั้น รายการที่ เป็ นเงิ น ตราต่ างประเทศแปลงค่ าเป็ นเงิ น บาทโดยใช้อ ัต ราแลกเปลี่ ย น ณ วัน ที่ เกิ ด รายการ สิ นทรัพย์และหนี้ สินที่เป็ นตัวเงินซึ่ งอยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศได้แปลงค่าเป็ นเงินบาทโดยใช้อตั รา แลกเปลี่ยน ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน กําไรและขาดทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนได้รวมอยูใ่ นการคํานวณผลการดําเนินงาน 8


58

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

4. การด้ อยค่ าของสิ นทรัพย์ ทุกวันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจะทําการประเมินการด้อยค่าของสิ นทรัพย์ของ บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย หากมีขอ้ บ่งชี้ ว่าสิ นทรัพย์ดงั กล่าวอาจด้อยค่า บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยรับรู ้ขาดทุน จากการด้อยค่าเมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสิ นทรัพย์มีมูลค่าตํ่ากว่ามูลค่าตามบัญชีของสิ นทรัพย์น้ นั ทั้งนี้ มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนหมายถึงมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายของสิ นทรัพย์หรื อมูลค่าจากการ ใช้สินทรัพย์แล้วแต่ราคาใดจะสู งกว่า บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจะรับรู ้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุน 4.4 ผลประโยชน์ ของพนักงาน ผลประโยชน์ ระยะสั้นของพนักงาน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยรับรู ้ เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็ นค่าใช้จ่ายเมื่อ เกิดรายการ ผลประโยชน์ หลังออกจากงานของพนักงาน โครงการสมทบเงิน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย และพนักงานได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งประกอบด้วยเงินที่พนักงาน จ่ายสะสมและเงินที่บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจ่ายสมทบให้เป็ นรายเดือน สิ นทรัพย์ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ได้แยกออกจากสิ นทรัพย์ของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย เงินที่บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจ่ายสมทบกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพบันทึกเป็ นค่าใช้จ่ายในปี ที่เกิดรายการ โครงการผลประโยชน์ หลังออกจากงาน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมี ภาระสําหรั บเงินชดเชยที่ ตอ้ งจ่ายให้แก่ พนักงานเมื่ อออกจากงานตามกฎหมาย แรงงาน ซึ่ งบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยถือว่าเงินชดเชยดังกล่าวเป็ นโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงาน สําหรับพนักงาน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยคํานวณหนี้ สินตามโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงานโดยใช้วิธี คิ ด ลดแต่ ล ะหน่ ว ยที่ ป ระมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method) โดยผูเ้ ชี่ ย วชาญอิ ส ระ ได้ท ําการ ประเมินภาระผูกพันดังกล่าวตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย ผลกําไรหรื อขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัย สําหรับโครงการผลประโยชน์ หลังออกจากงานของพนักงานจะรับรู ้ทนั ทีในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น หนี้ สิ น ของโครงการผลประโยชน์ห ลังออกจากงานของพนักงานประกอบด้วยมูลค่าปั จจุบนั ของภาระ ผูกพันตามโครงการผลประโยชน์หักด้วยต้นทุนบริ การในอดีตที่ยงั ไม่ได้รับรู ้และผลกําไรขาดทุนจากการ ประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัยที่ยงั ไม่ได้รับรู ้ 9


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

59

ในการปฏิ บตั ิ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่ อง ผลประโยชน์ของพนักงานเป็ นครั้ งแรกในปี  บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยเลือกรับรู ้หนี้ สินในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าหนี้ สินที่รับรู ้ ณ วันเดียวกันตาม นโยบายการบัญ ชี เดิ ม โดยบัน ทึ ก เป็ นค่ าใช้จ่ ายตามวิ ธี เส้ น ตรงภายในระยะเวลา 5 ปี นับ จากวัน ที่ นํา มาตรฐานการบัญชีน้ ีมาถือปฏิบตั ิ 4.5 ประมาณการหนีส้ ิ น บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจะบันทึกประมาณการหนี้สินไว้ในบัญชีเมื่อภาระผูกพันซึ่ งเป็ นผลมาจากเหตุการณ์ ในอดีตได้เกิดขึ้นแล้ว และมีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจะเสี ยทรัพยากรเชิง เศรษฐกิ จไปเพื่ อปลดเปลื้ องภาระผูกพันนั้น และบริ ษทั สามารถประมาณมูลค่าภาระผูกพันนั้นได้อย่าง น่าเชื่อถือ 4.1 ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ประกอบด้วยภาษีเงินได้ปัจจุบนั และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้ ปัจจุบัน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยบันทึกภาษีเงินได้ปัจจุบนั ตามจํานวนที่คาดว่าจะจ่ายให้กบั หน่วยงานจัดเก็บภาษีของรัฐ โดยคํานวณจากกําไรทางภาษีตามหลักเกณฑ์ที่กาํ หนดในกฎหมายภาษีอากร ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยบันทึกภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของผลแตกต่างชัว่ คราวระหว่างราคาตามบัญชีของ สิ นทรัพย์และหนี้ สิน ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงานกับฐานภาษีของสิ นทรัพย์และหนี้ สินที่เกี่ยวข้องนั้น โดยใช้อตั ราภาษีที่มีผลบังคับใช้ ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน บริ ษ ัท ฯและบริ ษ ัท ย่อ ยรั บ รู ้ ห นี้ สิ น ภาษี เงิ น ได้ร อการตัด บัญ ชี ข องผลแตกต่ างชั่ว คราวที่ ต ้อ งเสี ย ภาษี ทุกรายการ แต่รับรู ้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสาํ หรับผลแตกต่างชัว่ คราวที่ใช้หักภาษี รวมทั้งผล ขาดทุนทางภาษีที่ยงั ไม่ได้ใช้ในจํานวนเท่าที่มีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ ที่บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจะมี กําไรทางภาษี ในอนาคตเพี ยงพอที่ จะใช้ประโยชน์จากผลแตกต่างชั่วคราวที่ ใช้หักภาษี และผลขาดทุ น ทางภาษีที่ยงั ไม่ได้ใช้น้ นั บริ ษ ัทฯและบริ ษ ทั ย่อยจะทบทวนมู ลค่าตามบัญ ชี ของสิ น ทรั พ ย์ภ าษี เงิ นได้รอการตัดบัญ ชี ทุก สิ้ น รอบ ระยะเวลารายงานและจะทําการปรั บ ลดมู ลค่าตามบัญ ชี ดังกล่ าว หากมี ความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ ว่า บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจะไม่มีกาํ ไรทางภาษีเพียงพอต่อการนําสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีท้ งั หมด หรื อบางส่ วนมาใช้ประโยชน์ บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจะบันทึกภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีโดยตรงไปยังส่ วนของผูถ้ ือหุน้ หากภาษีที่เกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับรายการที่ได้บนั ทึกโดยตรงไปยังส่ วนของผูถ้ ือหุน้ 10


60

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

4.17 การวัดมูลค่ ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรม หมายถึง ราคาที่คาดว่าจะได้รับจากการขายสิ นทรัพย์หรื อเป็ นราคาที่จะต้องจ่ายเพื่อโอน หนี้ สินให้ผูอ้ ื่นโดยรายการดังกล่าวเป็ นรายการที่เกิ ดขึ้นในสภาพปกติระหว่างผูซ้ ้ื อและผูข้ าย (ผูร้ ่ วมใน ตลาด) ณ วันที่ วดั มูลค่า บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยใช้ราคาเสนอซื้ อขายในตลาดที่ มีสภาพคล่องในการวัด มูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์และหนี้ สินซึ่ งมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกําหนดให้ตอ้ งวัด มู ลค่ าด้ว ยมู ลค่ ายุติธ รรม ยกเว้น ในกรณี ที่ ไม่ มี ต ลาดที่ มี ส ภาพคล่ อ งสําหรั บ สิ น ทรั พ ย์ห รื อหนี้ สิ น ที่ มี ลักษณะเดียวกันหรื อไม่สามารถหาราคาเสนอซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่องได้ บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจะ ประมาณมูลค่ายุติธรรมโดยใช้เทคนิ คการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และพยายามใช้ ข้อมูลที่สามารถสังเกตได้ที่เกี่ยวข้องกับสิ นทรัพย์หรื อหนี้สินที่จะวัดมูลค่ายุติธรรมนั้นให้มากที่สุด ลําดับชั้นของมูลค่ายุติธรรมที่ใช้วดั มูลค่าและเปิ ดเผยมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์และหนี้ สินในงบการเงิน แบ่งออกเป็ นสามระดับตามประเภทของข้อมูลที่นาํ มาใช้ในการวัดมูลค่ายุติธรรม ดังนี้ ระดับ 1

ใช้ขอ้ มูลราคาเสนอซื้อขายของสิ นทรัพย์หรื อหนี้สินอย่างเดียวกันในตลาดที่มีสภาพคล่อง

ระดับ 2

ใช้ขอ้ มูลอื่ น ที่ สามารถสังเกตได้ของสิ น ทรั พย์ห รื อหนี้ สิ น ไม่ ว่าจะเป็ นข้อมูลทางตรงหรื อ ทางอ้อม

ระดับ 3

ใช้ขอ้ มูลที่ไม่สามารถสังเกตได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินในอนาคตที่กิจการประมาณขึ้น

ทุ ก วัน สิ้ น รอบระยะเวลารายงาน บริ ษ ัท ฯและบริ ษ ัท ย่อยจะประเมิ น ความจําเป็ นในการโอนรายการ ระหว่างลําดับชั้นของมูลค่ายุติธรรมสําหรับสิ นทรัพย์และหนี้ สินที่ถืออยู่ ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน ที่มีการวัดมูลค่ายุติธรรมแบบเกิดขึ้นประจํา 5.

การใช้ ดุลยพินิจและประมาณการทางบัญชีทสี่ ํ าคัญ ในการจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฝ่ ายบริ หารจําเป็ นต้องใช้ดุลยพินิจและการ ประมาณการในเรื่ องที่ มีความไม่ แน่ น อนเสมอ การใช้ดุลยพินิจและการประมาณการดังกล่าวนี้ ส่ งผล กระทบต่อจํานวนเงินที่ แสดงในงบการเงินและต่อข้อมูลที่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ผลที่ เกิดขึ้นจริ งอาจแตกต่างไปจากจํานวนที่ประมาณการไว้ การดุลยพินิจและการประมาณการที่สาํ คัญมีดงั นี้ การรับรู้และการตัดรายการสิ นทรัพย์ และหนีส้ ิ น ในการพิ จารณาการรั บ รู ้ ห รื อ การตัดรายการสิ น ทรั พ ย์และหนี้ สิ น ฝ่ ายบริ ห ารต้องใช้ดุลยพิ นิ จในการ พิจารณาว่าบริ ษทั ฯได้โอนหรื อรับโอนความเสี่ ยงและผลประโยชน์ในสิ นทรัพย์และหนี้ สินดังกล่าวแล้ว หรื อไม่ โดยใช้ดุลยพินิจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ดีที่สุดที่รับรู ้ได้ในสภาวะปั จจุบนั

11


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

61

การรวมงบการเงินของบริษัทย่ อยทีบ่ ริษัทฯมีสัดส่ วนการถือหุ้นน้ อยกว่ ากึง่ หนึ่ง ฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั ฯพิจารณาว่าบริ ษทั ฯมีอาํ นาจควบคุมในบริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด ถึงแม้ว่าบริ ษทั ฯ จะถือหุ ้นและมีสิทธิ ออกเสี ยงในบริ ษทั ดังกล่าวในสัดส่ วนร้อยละ 49.91 ซึ่งเป็ นสัดส่ วนที่นอ้ ยกว่ากึ่งหนึ่ ง ทั้งนี้ เนื่ องจากบริ ษ ัท ฯเป็ นผูถ้ ื อหุ ้น ที่ มีเสี ยงส่ วนใหญ่ และสามารถสั่งการกิ จกรรมที่ สําคัญ ของบริ ษ ัท ดังกล่าวได้ ดังนั้น บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด จึงถือเป็ นบริ ษทั ย่อยของกลุ่มกิจการและต้องนํามารวมในการ จัดทํางบการเงินรวมตั้งแต่วนั ที่บริ ษทั ฯมีอาํ นาจควบคุมในกิจการดังกล่าว สั ญญาเช่ า ในการพิจารณาประเภทของสัญญาเช่าว่าเป็ นสัญญาเช่าดําเนิ นงานหรื อสัญญาเช่าทางการเงิน ฝ่ ายบริ หาร ได้ใช้ดุลยพินิจในการประเมินเงื่อนไขและรายละเอียดของสัญญาเพื่อพิจารณาว่าบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย ได้โอนหรื อรับโอนความเสี่ ยงและผลประโยชน์ในสิ นทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวแล้วหรื อไม่ ค่าเผือ่ หนีส้ งสั ยจะสู ญของลูกหนี้ ในการประมาณค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสู ญของลูกหนี้ ฝ่ ายบริ หารจําเป็ นต้องใช้ดุลยพินิจในการประมาณการ ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากลูกหนี้ แต่ละราย โดยคํานึ งถึงประสบการณ์การเก็บเงินในอดีต อายุของ หนี้ที่คงค้างและสภาวะเศรษฐกิจที่เป็ นอยูใ่ นขณะนั้น เป็ นต้น ค่ าเผือ่ การด้ อยค่ าของเงินลงทุน บริ ษ ัท ฯและบริ ษ ัท ย่อ ยจะตั้งค่ าเผื่อ การด้อ ยค่ าของเงิ น ลงทุ น ในหลัก ทรั พ ย์เผื่อ ขายและเงิ น ลงทุ น ใน บริ ษทั ย่อยเมื่อมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนดังกล่าวได้ลดลงอย่างมีสาระสําคัญและเป็ นระยะเวลานานหรื อ เมื่อมีขอ้ บ่งชี้ ของการด้อยค่า การที่จะสรุ ปว่าเงินลงทุนดังกล่าวได้ลดลงอย่างมีสาระสําคัญหรื อเป็ นระยะ เวลานานหรื อไม่น้ นั จําเป็ นต้องใช้ดุลยพินิจของฝ่ ายบริ หาร อุปกรณ์ และค่ าเสื่ อมราคา ในการคํานวณค่าเสื่ อมราคาของอุปกรณ์ ฝ่ ายบริ หารจําเป็ นต้องทําการประมาณอายุการให้ประโยชน์และ มูลค่าคงเหลือเมื่อเลิกใช้งานของอุปกรณ์ และต้องทบทวนอายุการให้ประโยชน์และมูลค่าคงเหลือใหม่หาก มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากนี้ ฝ่ ายบริ หารจําเป็ นต้องสอบทานการด้อยค่าของอุปกรณ์ในแต่ละช่วงเวลาและบันทึกขาดทุนจาก การด้อ ยค่ า หากคาดว่ า มู ล ค่ า ที่ ค าดว่ า จะได้รั บ คื น ตํ่ากว่ ามู ล ค่ าตามบัญ ชี ข องสิ น ทรั พ ย์น้ ั น ในการนี้ ฝ่ ายบริ หารจําเป็ นต้องใช้ดุลยพินิจที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์รายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคตซึ่ งเกี่ยวเนื่ อง กับสิ นทรัพย์น้ นั

12


62

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

อสั งหาริมทรัพย์ เพือ่ การลงทุน ในการบันทึกและวัดมูลค่าของอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ วันที่ได้มา ตลอดจนการทดสอบการด้อยค่า ในภายหลัง ฝ่ ายบริ ห ารจําเป็ นต้องประมาณมู ลค่ายุติธรรมของอสังหาริ มทรั พย์เพื่ อการลงทุ นโดยให้ผู ้ ประเมิ น ราคาอิ สระประเมิ น มูลค่ายุติธรรมโดยใช้วิธีพิจารณาจากรายได้ เนื่ องจากไม่ มีราคาในตลาดที่ สามารถใช้เทียบเคียงได้ ข้อสมมติฐานที่สาํ คัญที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริ มทรัพย์เพื่อ การลงทุนได้อธิบายไว้ในหมายเหตุ 16 สิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย จะรับรู ้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสาํ หรับผลแตกต่างชัว่ คราวที่ใช้หักภาษี และขาดทุนทางภาษีที่ไม่ได้ใช้เมื่อมีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่วา่ บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจะมีกาํ ไรทางภาษี ในอนาคตเพียงพอที่จะใช้ประโยชน์จากผลแตกต่างชัว่ คราวและขาดทุนนั้น ในการนี้ฝ่ายบริ หารจําเป็ นต้อง ประมาณการว่าบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยควรรั บรู ้ จาํ นวนสิ นทรั พย์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชี เป็ นจํานวน เท่าใด โดยพิจารณาถึงจํานวนกําไรทางภาษีท่คี าดว่าจะเกิดในอนาคตในแต่ละช่วงเวลา ผลประโยชน์ หลังออกจากงานของพนักงานตามโครงการผลประโยชน์ หนี้ สิ น ตามโครงการผลประโยชน์ ห ลังออกจากงานของพนัก งานประมาณขึ้ น ตามหลัก คณิ ต ศาสตร์ ประกันภัย ซึ่ งต้องอาศัยข้อสมมติฐานต่าง ๆในการประมาณการนั้น เช่น อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือน ในอนาคต อัตรามรณะ และอัตราการเปลี่ยนแปลงในจํานวนพนักงาน เป็ นต้น คดีฟ้องร้ อง บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมี หนี้ สินที่ อาจจะเกิ ดขึ้นจากการถูกฟ้ องร้องเรี ยกค่าเสี ยหาย ซึ่ งฝ่ ายบริ หารได้ใช้ ดุลยพินิจในการประเมินผลของคดี ที่ถูกฟ้ องร้องแล้วและเชื่ อมัน่ ว่าจะไม่มีความเสี ยหายเกิ ดขึ้นจึงไม่ได้ บันทึกประมาณการหนี้สินดังกล่าว ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน

13


63

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

.

รายการธุรกิจกับกิจการทีเ่ กีย่ วข้ องกัน ในระหว่างปี บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมีรายการธุ รกิจที่สําคัญกับบุคคลหรื อกิ จการที่เกี่ยวข้องกัน รายการ ธุ รกิ จดังกล่าวเป็ นไปตามเงื่ อนไขทางการค้าและเกณฑ์ตามที่ ตกลงกันระหว่างบริ ษทั ฯและบุ คคลหรื อ กิจการที่เกี่ยวข้องกันเหล่านั้น ซึ่งเป็ นไปตามปกติธุรกิจโดยสามารถสรุ ปได้ดงั นี้

รายการธุรกิจกับบริ ษทั ย่อย (ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว) ดอกเบี้ยรับ รายได้ค่าบริ หารงานอาคาร ดอกเบี้ยจ่าย รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ขายอาคารชุด ดอกเบี้ยรับ ค่าเช่าและค่าบริ การจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

งบการเงินรวม 2558 2557

-

-

147

112

-

-

5 -

5 1

131 22 15 18

18 10 20

14 -

10 -

(หน่วย: ล้านบาท) นโยบายการกําหนดราคา

อัตราดอกเบี้ยร้อยละ. ถึง . ต่อปี และร้อยละ  ต่อปี ตามที่ตกลงในสัญญา อัตราดอกเบี้ย MLR ตามที่ตกลงในสัญญา อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี ตามที่ตกลงในสัญญา อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี

ยอดคงค้างระหว่างบริ ษทั ฯและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่  ธันวาคม 8 และ 7 มีรายละเอียด ดังนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม ลูกหนีก้ ารค้ า (หมายเหตุ 0) บริ ษทั ย่อย บริ ษทั ทีเอฟดี เรี ยลเอสเตท แมนเนจเม้นท์ จํากัด บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด บริ ษทั โทเทิล อินดัสเตรี ยล เซอร์วสิ เซส จํากัด รวม ลูกหนีอ้ นื่ (หมายเหตุ 0) กิจการที่ เกี่ยวข้ องกัน Schubert Holdings Pte.Ltd. รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

7

2558

2558

7

-

-

26 496 26 548

473 473

-

43 43

-

-

14


64

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ

งบการเงินรวม เจ้ าหนีก้ ารค้า (หมายเหตุ 19) กิจการที่ เกี่ยวข้ องกัน บริ ษทั เจซี เควิน ฟู้ ด แอนด์ เบฟเวอเรจ จํากัด บริ ษทั เจซี เควิน ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด รวม เจ้ าหนีอ้ นื่ (หมายเหตุ 19) บริ ษทั ย่อย บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด บริ ษทั ทีเอฟดี เรี ยลเอสเตท แมนเนจเม้นท์ จํากัด

7

2558

2558

7

635 152 787

753 753

635 152 787

753 753

-

-

90,000 149 90,149

-

-

-

-

129,500 129,500

รวม เงินมัดจํารับจากการขายโครงการ (หมายเหตุ 15) บริ ษทั ย่อย บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด รวม

เงินให้กยู้ มื แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันและเงินกูย้ มื จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยอดคงค้างของเงินให้กยู้ มื และเงินกูย้ มื ระหว่างบริ ษทั ฯและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่  ธันวาคม 8 และ 7 และการเคลื่อนไหวของเงินให้กยู้ มื และเงินกูย้ มื ดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้

เงินให้ ก้ ยู มื ระยะสั้ นและดอกเบีย้ ค้างรับจาก กิจการที่เกีย่ วข้ องกัน บริ ษทั เจซี เควิน ดีเวลลอปเมนท์ จํากัด เงินให้กยู้ มื ดอกเบี้ยค้างรับ รวม

ลักษณะ ความสัมพันธ์ มีกรรมการ ร่ วมกัน

ยอดคงเหลือ ณ วันที่  มกราคม 

320,000 151 320,151

งบการเงินรวม

ลดลง

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 58

(140,000) (22,461) (162,461)

180,000 69 180,069

ในระหว่างปี เพิ่มขึ้น

22,379 22,379

(หน่วย: พันบาท)

15


65

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

เงินกู้ยมื ระยะยาวและดอกเบีย้ ค้ างจ่ ายจาก กิจการที่เกีย่ วข้ องกัน (หมายเหตุ 23) Schubert Holdings Pte.Ltd. เงินกูย้ มื ดอกเบี้ยค้างจ่าย รวม หัก: ส่ วนที่กาํ หนดชําระคืนภายในหนึ่งปี เงินกูย้ มื ระยะยาวและดอกเบี้ยค้างจ่ายจาก กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สุ ทธิจากส่ วนที่ถึง กําหนดชําระภายในหนึ่งปี

ลักษณะ ความสัมพันธ์ ถือหุน้ ใน บริ ษทั ย่อย

ยอดคงเหลือ ณ วันที่  มกราคม 

127,925 184,797 312,722 -

งบการเงินรวม

เพิ่มขึ้น

18,096 18,096

ลดลง

(20,000) (68,439) (88,439)

เงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ นและดอกเบีย้ ค้ างรับจาก กิจการที่เกีย่ วข้ องกัน บริ ษทั คราวน์ ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (เดิมชื่อ บริ ษทั วีเอสเอสแอล เอ็นเตอร์ไพรส์ จํากัด) เงินให้กยู้ มื ดอกเบี้ยค้างรับ รวม บริ ษทั โทเทิล อินดัสเตรี ยล เซอร์วสิ เซส จํากัด เงินให้กยู้ มื ดอกเบี้ยค้างรับ รวม รวมทั้งสิ้ น

107,925 134,454 242,379 (88,139) 154,240

งบการเงินเฉพาะกิจการ

ลักษณะ ความสัมพันธ์

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 58

ในระหว่างปี

312,722

ยอดคงเหลือ ณ วันที่  มกราคม 

(หน่วย: พันบาท)

(หน่วย: พันบาท)

เพิ่มขึ้น

ลดลง

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 8

1,346,000 47,112 1,393,112

498,000 86,118 584,118

(309,000) (20,738) (32,738)

1,535,000 112,492 1,647,492

596,000 14,122 610,122 2,003,234

635,000 45,082 680,082 1,264,200

(204,000) (6,135) (210,135) (539,873)

1,027,000 53,069 1,080,069 2,727,561

ในระหว่างปี

บริ ษทั ย่อย

บริ ษทั ย่อย

16


66

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ

ลักษณะ ความสัมพันธ์ เงินให้ ก้ ยู ืมระยะยาวและดอกเบีย้ ค้ างรับจากบริษัทย่ อย บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด เงินให้กยู้ มื ดอกเบี้ยค้างรับ รวม ดอกเบีย้ ค้ างจ่ ายแก่ บริษัทย่ อย บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด ดอกเบี้ยค้างจ่าย รวม

บริ ษทั ย่อย

ยอดคงเหลือ ณ วันที่  มกราคม 

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 8

ในระหว่างปี เพิ่มขึ้น

ลดลง

107,925 122,564 230,489

16,189 16,189

(68,439) (68,439)

107,925 70,314 178,239

8,685 8,685

-

-

8,685 8,685

บริ ษทั ย่อย

เงินให้กยู้ มื ระยะสั้นแก่บริ ษทั ย่อย เงินให้กยู้ ืมระยะสั้นแก่บริ ษทั ย่อยซึ่ งเป็ นเงินกูย้ ืมตามตัว๋ สัญญาใช้เงิน โดยมีอตั ราดอกเบี้ยร้อยละ . - . ต่อปี (: ร้อยละ . - . ต่อปี ) มีกาํ หนดได้รับชําระคืนเมื่อทวงถามและไม่มีหลักประกัน เงินให้กยู้ มื ระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงิ น ให้ กู้ยืมระยะสั้น แก่ กิ จ การที่ เกี่ ย วข้องกัน เป็ นเงิ น มัด จําค่ าที่ ดิ น รอรั บ คื น อัน เนื่ อ งมาจากที่ ป ระชุ ม วิสามัญผูถ้ ื อหุ ้นครั้ งที่ 2/2557 ของบริ ษทั ฯ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 มี มติ ไม่อนุ มตั ิ ให้ บริ ษทั คราวน์ ดี เวลลอปเม้นท์ จํากัด (เดิ มชื่ อ บริ ษทั วีเอสเอสแอล เอ็นเตอร์ ไพรส์ จํากัด) (“บริ ษทั ย่อย”) ซื้ อที่ดินจาก บริ ษทั เจซี เควิน ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (“ผูข้ าย”) ซึ่งผูข้ ายยินยอมจะจ่ายชําระคืนเงินมัดจําค่าที่ดินจํานวน  ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ . ต่อปี (นับจากวันที่ผขู ้ ายได้รับเงินมัดจําจากบริ ษทั ย่อยจนถึง วันที่บริ ษทั ย่อยได้รับชําระเงินมัดจําคืนจากผูข้ าย) ภายใน  วัน นับจากวันที่ประชุมผูถ้ ือหุ ้นของบริ ษทั ฯ มี ม ติ ไม่ อนุ ม ัติ โดยนายอภิ ชัย เตชะอุ บ ล (ประธานกรรมการบริ ห ารของผูข้ าย) ตกลงเป็ นผูค้ ้ าํ ประกัน การชําระคืนเงินมัดจําดังกล่าว

17


67

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ต่อมาเมื่ อวัน ที่  เมษายน  ที่ ประชุ ม สามัญ ผูถ้ ื อหุ ้น ประจําปี ของบริ ษ ทั ฯได้มีมติ อนุ มตั ิ ให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขการขอขยายระยะเวลาในการจ่ายชําระเงิน ดังนี้ 1)

ให้บริ ษทั เจซี เควิน ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (“ผูข้ าย”) ขยายเวลาการชําระเงินมัดจําค่าที่ดินจํานวน 320 ล้านบาท ออกไปอีก 1 ปี นับจากวันที่ถึงกําหนดชําระคืนให้แก่บริ ษทั ย่อย (วันที่ 29 ธันวาคม 255)

2)

ให้ผูข้ ายจ่ายชําระดอกเบี้ ยให้แก่ บริ ษทั ย่อยทุกเดื อน ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ  ต่อปี นับจากวันที่ 29 ธัน วาคม 255 เป็ นต้น ไปจนถึงวันที่ บริ ษทั ย่อยได้รับชําระเงิ นต้นพร้ อมดอกเบี้ ยคืน จากผูข้ าย จนครบถ้วนแล้ว

3)

ให้ผขู ้ ายจดจํานองห้องชุ ดโครงการ “สาทร เฮอริ เทจ เรสซิ เดนเซส” อาคาร C เป็ นหลักประกันการ ชําระหนี้

4)

ให้นายอภิ ชยั เตชะอุบล (ประธานกรรมการบริ หารของผูข้ าย) ตกลงเป็ นผูค้ ้ าํ ประกันการชําระเงิน ต่อไป

ต่อมาที่ประชุ มคณะกรรมการบริ ษทั ครั้งที่ 7/2558 ของบริ ษทั ย่อยเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 ได้มีมติ อนุ มตั ิให้ผขู ้ ายไถ่ถอนการจดจํานองห้องชุ ดโครงการ “สาทร เฮอริ เทจ เรสซิ เดนเซส” อาคาร C บางส่ วน เพื่อนําไปจําหน่ายและนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายมาชําระหนี้ให้แก่บริ ษทั ย่อย รวมถึงเพื่อให้เป็ นไปตาม เงื่อนไขบางประการ ผูข้ ายได้นาํ หลักประกันห้องชุ ดโครงการ “สาทร เฮอริ เทจ เรสซิ เดนเซส” อาคาร C มาจดจํานองเพิ่มเพื่อเป็ นหลักประกันการชําระหนี้ ในเดือนธันวาคม 2558 บริ ษทั ย่อยได้รับชําระคืนแล้วเป็ นจํานวน 1 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คงเหลือเป็ นเงินให้กยู้ มื ระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันอีกเป็ นจํานวน  ล้านบาท ต่อมาในเดื อนมกราคมและเดื อนกุมภาพันธ์ 2559 บริ ษทั ย่อยได้รับชําระคืนอีกเป็ นจํานวน 40 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการบริ ษทั ฯ ครั้งที่ /2559 ของบริ ษทั ฯมีมติอนุมตั ิให้ บริ ษทั ย่อยขยายระยะเวลาในการจ่ายชําระเงินแก่ผขู ้ ายส่ วนที่เหลือออกไปอีก 1 ปี นับจากวันที่ถึงกําหนดชําระ คืนให้แก่บริ ษทั ย่อยซึ่งกําหนดชําระคืนใหม่เป็ นวันที่  ธันวาคม  เงินให้กยู้ มื ระยะยาวแก่บริ ษทั ย่อย บริ ษทั ฯ ได้ทาํ สัญญาให้เงินกูย้ มื แก่บริ ษทั ย่อยแห่งหนึ่งรายละเอียดดังนี้ วงเงิน

วงเงินจํานวน 135 ล้านบาท เบิกใช้เต็มจํานวนแล้ว อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี กําหนด คืนดอกเบี้ยในอัตราผ่อนปรนทุกเดือน ตามสัญญากําหนดจ่ายคืนเงินต้นครั้งแรกตั้งแต่เดือนที่มีการปิ ดบัญชี เงินกูเ้ กิดขึ้นเป็ นต้น ไป อย่างไรก็ตาม บริ ษทั ย่อยจะต้องจ่ายชําระหนี้ ท้ งั หมดให้เสร็ จสิ้ นภายใน  ปี นับแต่วนั ปิ ดบัญ ชี เงิ น กู้ (วัน ปิ ดบัญ ชี เงิ น กู้คื อ วัน ที่ ห นี้ ตามสั ญ ญาปรั บ โครงสร้ า งหนี้ และหนี้ ตามสัญญาเงินกูฉ้ บับหนึ่งได้มีการชําระเสร็ จสิ้ น ซึ่งได้ชาํ ระเสร็ จสิ้ นในปี ) 18


68

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

เงินกูย้ มื ระยะสั้นจากบริ ษทั ย่อย เงิ น กู้ยืมระยะสั้น จากบริ ษ ัท ย่อยคงเหลื อเป็ นดอกเบี้ ยค้างจ่ ายตามตัว๋ สัญ ญาใช้เงิ น โดยมี อตั ราดอกเบี้ ย MLR ต่อปี มีกาํ หนดชําระคืนเมื่อทวงถามและไม่มีหลักประกัน ค่าตอบแทนกรรมการและผูบ้ ริ หาร ในระหว่างปี สิ้ น สุ ด วัน ที่  ธัน วาคม 2558 และ 2557 บริ ษ ทั ฯและบริ ษ ัทย่อยมี ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ พนักงานที่ให้แก่กรรมการและผูบ้ ริ หาร ดังต่อไปนี้

ผลประโยชน์ระยะสั้น ผลประโยชน์หลังออกจากงาน รวม

งบการเงินรวม 2558 2557 61,110 60,383 2,942 3,894 64,052 64,277

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 39,525 43,154 2,738 3,641 42,263 46,795

ภาระคํ้าประกันกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริ ษ ัท ฯมี ภ าระจากการคํ้า ประกัน ให้ กับ กิ จ การที่ เกี่ ย วข้อ งกัน ตามที่ ก ล่ าวไว้ใ นหมายเหตุ ป ระกอบ งบการเงินข้อ 3.4. 7.

เงินสดและรายการเทียบเท่ าเงินสด

เงินสด เงินฝากธนาคาร รวม

งบการเงินรวม 2558 2557 515 512 303,642 157,367 157,87 304,157

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 295 345 23,906 31,587 24,201 31,932

ณ วันที่  ธันวาคม 8 เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจํามีอตั ราดอกเบี้ยระหว่างร้อยละ 0.5 ถึง 2.5 ต่อปี (7: ร้อยละ 0.1 ถึง 2.6 ต่อปี )

19


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

8.

69

เงินลงทุนระยะสั้ น-กองทุนรวมตราสารหนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 บริ ษทั ฯมีเงินลงทุนระยะสั้น - กองทุนรวมตราสารหนี้ ดังนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม / งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 มูลค่ายุติธรรม ราคาทุน มูลค่ายุติธรรม ราคาทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ ตราสารหนี้ บวก: กําไรที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจากการ เปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุน ระยะสั้น-กองทุนรวมตราสารหนี้ รวมเงินลงทุนระยะสั้น-กองทุนรวม ตราสารหนี้ - สุ ทธิ

9.

28,500

28,565

27,294

27,372

65

-

78

-

28,565

28,565

27,372

27,372

เงินลงทุนในหลักทรัพย์ เพือ่ ค้ า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 บริ ษทั ฯมีเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ดังนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม / งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 มูลค่ายุติธรรม ราคาทุน มูลค่ายุติธรรม ราคาทุน หลักทรัพย์ เพือ่ ค้ า ตราสารทุน หัก: ขาดทุนที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจากการ เปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุนใน หลักทรัพย์เพื่อค้า รวมเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า - สุ ทธิ

110,493

51,365

1,

,

(59,128) 51,365

51,365

(18,665) ,

84,050

20


70

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ในระหว่างปี เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้ามีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

ราคาตามบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 - สุ ทธิ ซื้อระหว่างปี ขายระหว่างปี การเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์เพื่อค้า ราคาตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 - สุ ทธิ

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม / งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 84,050 52,593 684,454 (44,815) (581,739) (40,463) (18,665) 84,050 51,365

ในระหว่างปี บริ ษทั ฯมีมูลค่ากําไรจากการซื้ อขายหลักทรัพย์เพื่อค้าที่เกิดขึ้นแล้ว และมูลค่าขาดทุนที่ยงั ไม่ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ดังนี้

กําไรจากการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ขาดทุนที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่า เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า สุ ทธิ

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม / งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 233 25,137 (40,463) (40,230)

(18,665) 6,472

21


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

0.

71

ลูกหนีก้ ารค้ าและลูกหนีอ้ นื่ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

งบการเงินรวม 2558 2557 ลูกหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 6) อายุหนี้คงค้างนับจากวันที่ถึงกําหนดชําระ ค้างชําระ ไม่เกิน  เดือน รวมลูกหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ลูกหนี้การค้า - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน อายุหนี้คงค้างนับจากวันที่ถึงกําหนดชําระ ยังไม่ถึงกําหนดชําระ ค้างชําระ ไม่เกิน 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน รวม หัก: ค่าเผือ่ หนี้สงสัยจะสู ญ รวมลูกหนี้การค้า - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน - สุ ทธิ รวมลูกหนี้การค้า - สุ ทธิ ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 6) อื่นๆ รวมลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ลูกหนี้อื่น - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน อื่นๆ รวมลูกหนี้อื่น - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน รวมลูกหนี้อื่น รวมลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น - สุ ทธิ

-

-

548 548

473 473

1,755

1,755

-

-

13,225 372 23 9,269 24,644 (8,291) 16,353 16,353

4,169 1,532 5,994 5,311 18,761 (5,714) 13,047 13,047

326 2 9 240 577 (187) 390 938

2,612 218 129 193 3,152 (204) 2,948 3,421

-

43 43

-

-

5,263 5,263 5,263 21,616

17,422 17,422 17,465 30,512

4,250 4,250 4,250 5,188

7,150 7,150 7,150 10,571

22


72 .

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ต้ นทุนโครงการพัฒนาอสั งหาริมทรัพย์

ที่ดินและส่ วนปรับปรุ งที่ดิน ต้นทุนดอกเบี้ย งานระหว่างก่อสร้าง อาคารชุดพร้อมขาย ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริ มทรัพย์ อัตราการตั้งขึ้นเป็ นทุน (ร้อยละ)

งบการเงินรวม 2558 7 3,185,242 2,431,674 380,499 362,622 1,707,995 901,686 1,187,344 1,,881 6,461,080 5,202,863

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 7 2,640,917 1,93,544 93,513 90,816 443,018 400,750 3,177,448 2,429,110

0.86 - 8.00

0.86 - 7.00

5.50 - 6.88

6.75 - 6.88

ในระหว่างปี สิ้ นสุ ดวันที่  ธันวาคม 8 บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยได้รวมต้นทุนการกูย้ ืมเข้าเป็ นต้นทุน การพัฒนาโครงการอสังหาริ มทรัพย์เป็ นจํานวน  ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 2 ล้านบาท) (7: 28 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 23 ล้านบาท)) บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยได้นาํ ที่ดินพร้อมสิ่ งปลูกสร้างบนที่ดินจํานวน 4,621 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะ กิจการ: 1,744 ล้านบาท) (7: 4,229 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 1,796 ล้านบาท)) ซึ่ งอยู่ภายใต้ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริ มทรัพย์ ไปจดจํานองไว้กบั ธนาคารเพื่อเป็ นหลักประกันวงเงินเบิ กเกิ น บัญชี เงินกูย้ มื ระยะสั้นและเงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน 2.

เงินฝากสถาบันการเงินทีม่ ีภาระคํา้ ประกัน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย ได้นําเงินฝากประจําไปคํ้าประกันวงเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิ นและ หนังสื อคํ้าประกันซึ่งออกโดยธนาคารในนามบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย

23


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

.

73

เงินลงทุนในบริษัทย่ อย

13.1 เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อยตามที่แสดงในงบการเงินเฉพาะกิจการ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ บริ ษทั

บริ ษทั โทเทิล อินดัสเตรี ยล เซอร์วสิ เซส จํากัด บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด บริ ษทั คราวน์ ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (เดิมชื่อ บริ ษทั วีเอสเอสแอล เอ็นเตอร์ ไพรส์ จํากัด) บริ ษทั ทีเอฟดี เรี ยลเอสเตท แมนเนจเม้นท์ จํากัด รวม หัก: ค่าเผือ่ การลดลงของมูลค่าเงินลงทุนใน บริ ษทั ย่อย สุ ทธิ

ทุนเรี ยกชําระแล้ว 2558 7

สัดส่ วนเงินลงทุน 2558 7 (ร้อยละ) (ร้อยละ)

ราคาทุน 2558

7

(หน่วย: พันบาท) เงินปั นผล ที่บริ ษทั ฯรับระหว่างปี 2558 7

400,000 100,450

400,000 100,450

100.00 49.91

100.00 49.91

397,550 45,523

397,550 45,523

-

-

701,000

701,000

100.00

100.00

496,901

496,901

-

-

10,000

-

100.00

-

10,000 949,974

939,974

-

-

(41,497) 908,447

(41,497) 898,477

-

-

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการบริ ษทั ฯครั้งที่ 6/2558 ของบริ ษทั ฯมีมติอนุมตั ิลงทุนใน บริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ ง คือ บริ ษทั ทีเอฟดี เรี ยลเอสเตท แมนเนจเม้นท์ จํากัด ซึ่ งเป็ นบริ ษทั ที่จดทะเบียนจัดตั้ง ใหม่ ใ นประเทศไทย เพื่ อ ประกอบกิ จ การด้ า นการเป็ นผู ้จ ัด การกองทุ น ทรั ส ต์ เพื่ อ การลงทุ น ใน อสังหาริ มทรัพย์ บริ ษทั ฯลงทุนในบริ ษทั ดังกล่าวจํานวน 1,000,000 หุ ้น มูลค่าหุ ้นละ  บาท ซึ่ งคิดเป็ น ร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนของบริ ษทั ดังกล่าว บริ ษทั ฯได้จ่ายชําระค่าหุ ้นแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ดังนั้น บริ ษทั ฯจึงถือว่า บริ ษทั ทีเอฟดี เรี ยลเอสเตท แมนเนจเม้นท์ จํากัด เป็ นบริ ษทั ย่อยของบริ ษทั ฯ ตั้งแต่วนั ที่ 14 กรกฎาคม 2558 เป็ นต้นไป

24


74

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

13.2 รายละเอียดของบริ ษทั ย่อยซึ่งมีส่วนได้เสี ยที่ไม่มีอาํ นาจควบคุมที่มีสาระสําคัญ สัดส่ วนที่ถือโดย ส่ วนได้เสี ย ที่ไม่มีอาํ นาจควบคุม บริ ษทั 2558 2557 (ร้อยละ) (ร้อยละ) บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด 50.09 50.09

ส่ วนได้เสี ยที่ไม่มีอาํ นาจควบคุม ในบริ ษทั ย่อยสะสม 2558 2557 112

109

กําไรหรื อขาดทุนที่แบ่งให้กบั ส่ วนได้เสี ยที่ไม่มีอาํ นาจควบคุม ในบริ ษทั ย่อยในระหว่างปี 2558 2557 3

11

(หน่วย: ล้านบาท) เงินปันผลจ่ายให้กบั ส่ วนได้เสี ย ที่ไม่มีอาํ นาจควบคุม ในระหว่างปี 2558 2557 -

-

1. ข้อมูลทางการเงินโดยสรุ ปของบริ ษทั ย่อยที่มีส่วนได้เสี ยที่ไม่มีอาํ นาจควบคุมที่มีสาระสําคัญ ซึ่ งเป็ นข้อมูล ก่อนการตัดรายการระหว่างกัน สรุ ปรายการฐานะทางการเงิน (หน่วย: พันบาท) บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด

สิ นทรัพย์หมุนเวียน สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน

ณ วันที่  ธันวาคม 2558 2557 73,631 92,589 539,327 595,594 113,122 22,820 195,488 355,419

สรุ ปรายการกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จ

รายได้ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวม

สรุ ปรายการกระแสเงินสด

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุ ทธิ

(หน่วย: พันบาท) บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด สําหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่  ธันวาคม 2558 2557 182,179 189,715 10,545 9,355 (หน่วย: พันบาท) บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด สําหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่  ธันวาคม 2558 2557 103,630 114,290 45,238 (1,732) (103,930) (117,568) 44,938 (5,010)

25


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

75

4. เงินลงทุนในหลักทรัพย์ เผือ่ ขาย (หน่วย: พันบาท)

ชื่อกองทุน

กองทุนรวมอสังหาริ มทรัพย์ และสิ ทธิ การเช่า เอ็มเอฟซี อินดัสเตรี ยล อินเวสเมนท์ (M-II) รวม

สัดส่ วนเงินลงทุน 2558 2557 (ร้อยละ) (ร้อยละ)

.

.

งบการเงินรวม / งบการเงินเฉพาะกิจการ กําไร (ขาดทุน) ที่ยงั ไม่เกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลง มูลค่าเงินลงทุน ราคาทุน 2558 2557 2558 2557

204,975 204,975

225,000 225,000

3,150 3,150

มูลค่าตามบัญชี 2558 2557

(18,000) 208,125 (18,000) 208,125

225,000 225,000

ในระหว่างปี ปั จจุบนั กองทุนฯประกาศลดทุนจดทะเบียนโดยมูลค่าหน่วยลงทุนที่ตราไว้ก่อนการลดเงินทุน เท่ากับ  บาทต่อหน่วย ลดลงคงเหลือ . บาทต่อหน่วย ส่ งผลให้บริ ษทั ฯได้รับเงินคืนจากกองทุนฯเป็ น จํานวน  ล้านบาท และบริ ษทั ฯยังคงมีสดั ส่ วนเงินลงทุนคงเดิม บริ ษทั ฯได้รับเงินปั นผลจากกองทุนฯดังกล่าวในระหว่างปี ปั จจุบนั เป็ นจํานวนเงิน  ล้านบาท (255: 14 ล้านบาท) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการบริ ษทั ฯครั้ งที่ 5/2558 ของบริ ษทั ฯมีมติอนุ มตั ิให้ บริ ษทั ฯซื้ อหุ ้นสามัญเพิ่มทุนของบริ ษทั บริ หารและพัฒนาเพื่อการอนุ รักษ์สิ่งแวดล้อม จํากัด (มหาชน) (“GENCO”) จํานวน 350 ล้านหุ ้น มูลค่าหุ ้นที่ตราไว้หุ้น ละ 1 บาท ในราคาหุ ้นละ 2 บาท คิดเป็ นมูลค่า รวม 700 ล้านบาท ซึ่ งคิดเป็ นร้อยละ 15.69 ของทุนจดทะเบียนของบริ ษทั ฯดังกล่าว ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์  ที่ประชุมคณะกรรมการของบริ ษทั ฯ ครั้งที่ / ของบริ ษทั ฯมีมติอนุ มตั ิให้ ยกเลิกซื้ อหุ ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว เนื่ องจากเงื่อนไขเรื่ องการลงทุนไม่สอดคล้องกับแผนงานการลงทุน ของบริ ษทั ฯ

26


76

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

5. สิ ทธิการเช่ า

ค่าเช่าที่ดิน จ่ายล่วงหน้า ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ค่ าตัดจําหน่ ายสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 ค่าตัดจําหน่ายสําหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ค่าตัดจําหน่ายสําหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มูลค่ าสุ ทธิตามบัญชี

งบการเงินรวม ค่าเช่าอาคาร สิ ทธิการเช่า สิ ทธิการเช่า จ่ายล่วงหน้า ที่ดิน อาคารโรงงาน

รวม

(หน่วย: พันบาท) งบการเงิน เฉพาะกิจการ สิ ทธิการเช่า ที่ดิน

132,264 132,264 132,264

476,368 756 477,124 4,365 481,489

56,376 56,376 56,376

9,096 9,096 9,096

674,104 756 674,860 4,365 679,225

56,376 56,376 56,376

43,309 7,635 50,944 7,635 58,579

174,087 30,966 205,053 31,686 236,739

9,707 1,415 11,122 1,414 12,536

6,018 616 6,634 616 7,250

233,121 40,632 273,753 41,351 315,104

9,707 1,415 11,122 1,414 12,536

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

81,320

272,071

45,254

2,462

401,107

45,254

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

73,685

244,750

43,840

1,846

364,121

43,840

5. งบการเงินเฉพาะกิจการ บริ ษทั ฯ มีสิทธิ การเช่าที่ดินกับสํานักงานพระคลังข้างที่ เพื่อก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย (โครงการมหาดเล็ก หลวง)โดยอาคารชุดดังกล่าวจะตกเป็ นกรรมสิ ทธิ์ ของสํานักงานพระคลังข้างที่ต้ งั แต่เริ่ มสร้างและบริ ษทั ฯ ต้องปฎิบตั ิตามเงื่อนไขในสัญญาตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3.2.2 ปี  บริ ษทั ฯได้ทาํ ข้อตกลงกับบริ ษทั ผูร้ ่ วมลงทุนต่างประเทศในบริ ษทั ย่อย (บริ ษทั เอส จี แลนด์ จํากัด) โดยจะขายสิ ทธิ การเช่าและอื่นๆของโครงการมหาดเล็กหลวง ให้กบั บริ ษทั ย่อยดังกล่าวในราคา 280 ล้านบาท ซึ่ งบริ ษทั ฯ และบริ ษ ทั ผูร้ ่ วมลงทุ นดังกล่าวมี สัดส่ วนการลงทุนฝ่ ายละ 50:50 เท่ ากับจํานวน 140 ล้านบาท บริ ษทั ฯ ได้รับเงินจากบริ ษทั ย่อยบางส่ วน จํานวน  ล้านบาท ในระหว่างปี 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการบริ ษทั ฯครั้งที่ / ของบริ ษทั ฯได้มีมติให้บริ ษทั ฯทําข้อตกลง เพื่ อยกเลิ กการขายสิ ทธิ การเช่ าและอื่ นๆของโครงการมหาดเล็กหลวงกับบริ ษ ทั ย่อยดังกล่าว โดยบริ ษทั ฯ จะต้องชําระคืนเงินมัดจํารับจากการขายโครงการให้กบั บริ ษทั ย่อย และรายการดังกล่าวแสดงเป็ นเจ้าหนี้อื่นใน งบแสดงฐานะการเงิน 27


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

77

5.2 บริษัทย่ อย (1) บริ ษทั ย่อยมีสิทธิ การเช่าที่ดินกับสํานักงานพระคลังข้างที่โดยทําสัญญาเมื่อปี  บันทึกเป็ นค่าเช่า ที่ดินจ่ายล่วงหน้าและ บริ ษทั ย่อยได้ก่อสร้างอาคารชุดสํานักงานเพื่อให้เช่าบนที่ดินเช่ า โดยอาคาร สํานักงานให้เช่าดังกล่าวได้ตกให้เป็ นของผูใ้ ห้เช่าตั้งแต่วนั ที่เริ่ มก่อสร้าง โดยบริ ษทั ย่อยได้สิทธิ ใน การใช้อาคารดังกล่าวจนกว่าสัญญาเช่าที่ดินสิ้ นสุ ด บริ ษทั ย่อยบันทึกมูลค่าอาคารสํานักงานให้เช่ า เป็ นค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า (2) บริ ษ ัท ย่อ ยมี สิ ท ธิ ก ารเช่ า ที่ ดิ น จากบริ ษ ัท แห่ งหนึ่ งเพื่ อ ก่ อ สร้ างอาคารชุ ด สํานัก งานให้ เช่ า และ สิ ทธิ การเช่าจากบุคคลธรรมดาเพื่อก่อสร้างอาคารโรงงานให้เช่า ตามหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 16 บริ ษทั ย่อยได้นาํ สิ ทธิการเช่าที่ดินจากสํานักงานพระคลังข้างที่มูลค่าสุ ทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม  จํานวน 66 ล้านบาท ( ธันวาคม :  ล้านบาท) ไปคํ้าประกันหนังสื อคํ้าประกันการใช้ไฟฟ้ าจาก ธนาคาร . อสั งหาริมทรัพย์ เพือ่ การลงทุน มูลค่าตามบัญชีของอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 แสดงได้ดงั นี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม ที่ดินและอาคาร คลังสิ นค้าให้เช่า/ ส่ วนปรับปรุ ง อาคาร อาคารโรงงานเช่า สํานักงานให้เช่า

รวม

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ราคาทุน หัก : ค่าเสื่ อมราคาสะสม หัก : ค่าเผือ่ การด้อยค่า มูลค่าตามบัญชี - สุ ทธิ

1,248,294 (37,610) (12,500) 1,198,184

343,615 (149,086) 194,529

1,591,909 (186,696) (12,500) 1,392,713

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ราคาทุน หัก : ค่าเสื่ อมราคาสะสม หัก : ค่าเผือ่ การด้อยค่า มูลค่าตามบัญชี - สุ ทธิ

343,235 (7,849) (11,950) 323,436

341,505 (128,993) 212,512

684,740 (136,842) (11,950) 535,948 28


78

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริ ษทั ย่อยดําเนิ นธุรกิจสร้างโรงงานให้เช่าบนที่ดินที่เช่าจากการนิ คมอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย และ บุคคลธรรมดาตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3.2.3 และให้เช่ าอาคารชุดสํานักงานบนที่ดินที่เช่ า จากบริ ษทั แห่ งหนึ่งตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3.2. การกระทบยอดมูลค่าตามบัญชีของอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนสําหรับปี 2558 และ 2557 แสดงได้ดงั นี้

มูลค่าตามบัญชีตน้ ปี ซื้อเพิ่มในระหว่างปี ค่าเสื่ อมราคาสําหรับปี ค่าเผือ่ การด้อยค่า ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน มูลค่าตามบัญชีปลายปี

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม 2558 7 535,948 232,189 891,512 341,794 (48,961) (26,342) (12,460) 767 14,214 1,392,713 535,948

มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 แสดงได้ดงั นี้

ที่ดินและอาคารคลังสิ นค้าให้เช่า อาคารสํานักงานให้เช่า

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม 2558 2557 1,203,829 322,243 617,000 617,000

มูลค่ายุติธรรมประเมินโดยผูป้ ระเมินราคาอิสระโดยใช้เกณฑ์ราคาตลาดสําหรับที่ดินและอาคารคลังสิ นค้า ให้เช่า อาคารสํานักงานให้เช่าใช้เกณฑ์วิธีพิจารณาจากรายได้ (Income Approach) ข้อสมมติฐานหลักที่ใช้ ในการประเมินราคาอสังหาริ มทรัพย์ดงั กล่าวประกอบด้วย อัตราผลตอบแทน อัตราเงินเฟ้ อ อัตราพื้นที่ว่าง ระยะยาว และอัตราการเติบโตระยะยาวของค่าเช่า บริ ษทั ย่อยได้นําอสังหาริ มทรั พย์เพื่ อการลงทุ นมูลค่าสุ ทธิ ตามบัญชี ณ วัน ที่ 3 ธัน วาคม  จํานวน ประมาณ 1,390 ล้านบาท ไปคํ้าประกันสัญญาเงินกูย้ ืมระยะยาวจากสถาบันการเงินและหนังสื อคํ้าประกัน การใช้ไฟฟ้ าจากธนาคาร บริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ งดําเนิ นธุ รกิ จให้เช่ าอาคารคลังสิ นค้าบนที่ดินเช่ าอายุสัญญาเช่ า  ปี นับจากวันทํา สัญญาและมีสิทธิในการซื้อที่ดินดังกล่าว เมื่อครบสัญญา  ปี ตามราคาที่กาํ หนดในสัญญา

29


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

79

การขายทรัพย์สินให้กองทุนรวมอสังหาริ มทรัพย์และสิ ทธิการเช่าเอ็มเอฟซี อินดัสเตรี ยล อินเวสเมนท์ในปี  ในเดือนธันวาคม 2556 บริ ษทั ฯและบริ ษทั โทเทิล อินดัสเตรี ยล เซอร์ วิสเซส จํากัด (บริ ษทั ย่อย) ได้โอน กรรมสิ ทธิ์ ในที่ดินพร้อมอาคารและสิ่ งปลูกสร้างที่ต้ งั อยู่ในนิ คมอุตสาหกรรมทีเอฟดี และอาคารและสิ่ ง ปลูกสร้างให้เช่ าที่ต้ งั อยู่ในโครงการกิ่งแก้วให้กบั กองทุนรวมอสังหาริ มทรัพย์และสิ ทธิ การเช่าเอ็มเอฟซี อินดัสเตรี ยล อินเวสเมนท์ (“กองทุนฯ”) และได้ทาํ สัญญาและข้อตกลงบางประการไว้ ดังนี้ 1. ข้อตกลงสําหรับเงินชดเชยในที่ดินและอาคารโรงงานแปลงที่ไม่มีสัญญาเช่ารายย่อยหรื อมีสัญญาเช่า รายย่อยแล้ว แต่การชําระค่าเช่าหรื อค่าบริ การยังไม่เริ่ มหรื อมีระยะเวลาเช่าน้อยกว่า  เดือน บริ ษทั ฯ และบริ ษทั ย่อยตกลงรับประกันอัตราค่าเช่าและค่าบริ การขั้นตํ่าสําหรับที่ดินและอาคารโรงงานแปลง ที่อยูใ่ นระหว่างการก่อสร้างและแปลงที่ไม่มีสญ ั ญาเช่ารายย่อยให้แก่กองทุนฯ ตลอดระยะเวลาสามปี นับตั้งแต่วนั โอนกรรมสิ ทธิ์ในทรัพย์สิน 2. ข้อตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนฯ บริ ษทั ฯหรื อบริ ษทั ย่อยตกลงเข้าลงทุนเพื่อ ถือหน่ วยลงทุน ณ วันที่กองทุนฯจําหน่ ายหน่ วยลงทุน เป็ นจํานวนเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ  ของ มู ล ค่ า การเพิ่ ม ทุ น หรื อเป็ นจํา นวนเงิ น  ล้า นบาท (หน่ ว ยลงทุ น จํา นวน . ล้า นหน่ ว ย) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริ ษทั ฯได้ลงทุนในกองทุนฯคิดเป็ นร้อยละ 1. ของมูลค่าหน่วยลงทุน ของกองทุนฯ ซึ่ งบริ ษทั ฯบันทึกกําไรจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนหน่ วยลงทุนดังกล่าวจํานวนเงินรวม  ล้านบาท (สุ ทธิ จากภาษีเงินได้) เป็ น“ส่ วนเกินทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย” ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นสําหรับปี 8 3. บริ ษทั ฯได้ทาํ สัญญาแต่งตั้งผูบ้ ริ หารอสังหาริ มทรัพย์กบั กองทุนฯ โดยแต่งตั้งให้บริ ษทั ฯเป็ นผูบ้ ริ หาร อสังหาริ มทรัพย์ของโครงการส่ วนเพิ่มทุนเพื่อจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าว ซึ่ งบริ ษทั ฯ ตกลงวางเงิ น ประกัน เพิ่ ม จํา นวน . ล้านบาท เพื่ อ เป็ นการประกัน การปฎิ บ ัติ ห น้าที่ ผูบ้ ริ ห าร สิ นทรัพย์ 4. บริ ษทั ฯตกลงรับประกันการก่อสร้างอาคารโรงงานเป็ นเวลา 5 ปี นับแต่วนั ที่กองทุนจดทะเบียนรับ โอนกรรมสิ ทธิ์อาคารโรงงาน ในระหว่างปี 2558 บริ ษทั ฯและบริ ษ ทั ย่อยมี การจ่ายชําระเงิ นชดเชยการรั บประกันรายได้ค่าเช่ าขั้น ตํ่า เพิ่ มเติ มให้แก่ กองทุ นฯเป็ นจํานวนเงิ น ประมาณ  ล้านบาท (งบการเงิ น เฉพาะกิ จการ:  ล้านบาท) (: 4 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 2 ล้านบาท))โดยรับรู ้เป็ นค่าใช้จ่ายในการบริ หาร

30


80 7.

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

อุปกรณ์

(หน่วย: พันบาท) ส่ วนปรับปรุ ง อาคาร/สํานักงานเช่า

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 ซื้ อเพิ่ม จําหน่าย โอน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ซื้ อเพิ่ม จําหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ค่ าเสื่ อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 ค่าเสื่ อมราคาสําหรับปี ค่าเสื่ อมราคาสําหรับส่ วนที่จาํ หน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 257 ค่าเสื่ อมราคาสําหรับปี ค่าเสื่ อมราคาสําหรับส่ วนที่จาํ หน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

งบการเงินรวม เครื่ องตกแต่งและ อุปกรณ์ ยานพาหนะ

รวม

7,319 1,334 (4,521) 11,428 15,560 15 15,575

31,079 20,164 (6,084) 45,159 2,231 47,390

82,654 8,503 (6,976) 169 84,350 2,437 (97) 86,690

121,052 30,001 (17,581) 11,597 145,069 4,683 (97) 149,655

6,598 2,149 (4,521) 4,226 2,698 6,924

23,930 5,116 (5,363) 23,683 5,971 29,654

29,820 3,588 (6,926) 26,482 4,300 (35) 30,747

60,348 10,853 (16,810) 54,391 12,969 (35) 67,325

มูลค่ าสุ ทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

11,334

21,476

57,868

90,678

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

8,651

17,736

55,943

82,330

ค่ าเสื่ อมราคาสํ าหรับปี 2557 (รวมอยูใ่ นค่าใช้จ่ายในการบริ หารทั้งจํานวน)

10,853

2558 (รวมอยูใ่ นค่าใช้จ่ายในการบริ หารทั้งจํานวน)

12,969

31


81

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

(หน่วย: พันบาท) ส่ วนปรับปรุ ง อาคาร/สํานักงานเช่า ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 ซื้ อเพิ่ม จําหน่าย โอน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ซื้ อเพิ่ม จําหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ค่ าเสื่ อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 ค่าเสื่ อมราคาสําหรับปี ค่าเสื่ อมราคาสําหรับส่ วนที่จาํ หน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 257 ค่าเสื่ อมราคาสําหรับปี ค่าเสื่ อมราคาสําหรับส่ วนที่จาํ หน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ เครื่ องตกแต่งและ อุปกรณ์ ยานพาหนะ

รวม

4,533 1,334 (4,521) 11,597 12,943 15 12,958

26,159 18,864 (4,500) 40,523 2,176 (3,286) 39,413

65,661 7,312 (6,903) 66,070 1,992 (97) 67,965

96,353 27,510 (15,924) 11,597 119,536 4,183 (3,383) 120,336

4,523 2,040 (4,521) 2,042 2,590 4,632

19,009 4,928 (3,778) 20,159 5,663 (1,098) 24,724

13,326 3,254 (6,904) 9,676 3,876 (35) 13,517

36,858 10,222 (15,203) 31,877 12,129 (1,133) 42,873

มูลค่ าสุ ทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

10,901

20,364

56,394

87,659

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

8,326

14,689

54,448

77,463

ค่ าเสื่ อมราคาสํ าหรับปี 2557 (รวมอยูใ่ นค่าใช้จ่ายในการบริ หารทั้งจํานวน)

10,222

2558 (รวมอยูใ่ นค่าใช้จ่ายในการบริ หารทั้งจํานวน)

12,129

ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558 บริ ษ ทั ฯและบริ ษ ทั ย่อยมี ยอดคงเหลื อของยานพาหนะและอุ ปกรณ์ ซ่ ึ งได้มา ภายใต้สัญญาเช่ าทางการเงิ น โดยมี มูลค่าสุ ทธิ ตามบัญชี เป็ นจํานวนเงิน 20 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะ บริ ษทั ฯ:  ล้านบาท) (2557: 27 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะบริ ษทั ฯ: 27 ล้านบาท)) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมีส่วนปรับปรุ งอาคารและสํานักงานเช่ าและอุปกรณ์ จํานวนหนึ่ งซึ่ งตัดค่าเสื่ อมราคาหมดแล้วแต่ยงั ใช้งานอยู่ มูลค่าตามบัญชี ก่อนหักค่าเสื่ อมราคาสะสมของ สิ นทรัพย์ดงั กล่าวมีจาํ นวนเงินประมาณ 15 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะบริ ษทั ฯ: 5 ล้านบาท) (: 14 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะบริ ษทั ฯ: 14 ล้านบาท)) 32


82 18.

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

เงินกู้ยมื ระยะสั้ นจากสถาบันการเงิน

ตัว๋ แลกเงิน ตัว๋ สัญญาใช้เงิน

อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี ) .85 - .40 .

รวม

งบการเงินรวม 2558 2557 2,144,502 1,532,087 47,000 2,191,502 1,532,087

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 1,895,854 1,177,633 1,895,854 1,177,633

เงินกูย้ มื ระยะสั้นดังกล่าวประกอบด้วยตัว๋ แลกเงินที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่ งบริ ษทั ฯได้ค้ าํ ประกันการออกและ เสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นประเภทตัว๋ แลกเงินให้แก่บริ ษทั ย่อย และตัว๋ สัญญาใช้เงินที่ค้ าํ ประกันโดยการ จดจํานองด้วยที่ดินพร้อมสิ่ งปลูกสร้างบางส่ วนของบริ ษทั ย่อยและคํ้าประกันโดยบริ ษทั ฯตามที่กล่าวไว้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 34.4.1 9. เจ้ าหนีก้ ารค้ าและเจ้ าหนีอ้ นื่ งบการเงินรวม 2558 7 เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้การค้า - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 6) เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง รวมเจ้าหนี้ การค้า เจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้อื่น - เงินมัดจําจากการขายโครงการ, กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ ) เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 6) เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า เงินประกันผลงาน ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย อื่นๆ รวมเจ้าหนี้อื่น รวมเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 7

9,115 787 69,255 79,157

22,335 753 69,087 92,175

6,839 787 7,626

10,475 753 11,228

42,686 30,277 84,193 20,308 177,464 256,621

113,573 39,056 75,856 11,113 239,598 331,773

90,000 149 3,659 41,116 4,359 139,283 146,909

2,214 10,811 24,282 80 37,387 48,615

33


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

83

20. หุ้นกู้

หุน้ กูช้ นิดไม่ดอ้ ยสิ ทธิและไม่มีหลักประกันครั้งที่ 1/2557 หุน้ กูช้ นิดไม่ดอ้ ยสิ ทธิและไม่มีหลักประกันครั้งที่ 1/2558 หุน้ กูช้ นิดไม่ดอ้ ยสิ ทธิและไม่มีหลักประกันครั้งที่ 2/2558 หัก: ค่าใช้จ่ายในการออกหุน้ กูร้ อตัดบัญชี รวม หัก: ส่ วนที่ครบกําหนดชําระภายในหนึ่งปี หุน้ กู้ - สุ ทธิจากส่ วนที่ครบกําหนดชําระภายในหนึ่งปี

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม / งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 7 1,693,500 1,693,500 1,200,000 200,000 (10,381) (6,047) 3,083,119 1,687,453 (1,691,065) 1,687,453 1,392,054

การเปลี่ยนแปลงของบัญชีหุน้ กูส้ าํ หรับปี สิ้ นสุ ดวันที่  ธันวาคม 8 มีรายละเอียด ดังนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่  มกราคม 8 บวก: ออกหุน้ กูใ้ นระหว่างปี ตัดจําหน่ายค่าใช้จ่ายในการออกหุน้ กู้ ค่าใช้จ่ายในการออกหุน้ กู้ ยอดคงเหลือ ณ วันที่  ธันวาคม 8

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม / งบการเงินเฉพาะกิจการ 1,687,453 1,400,000 9,278 (13,612) 3,083,119

ตามมติที่ประชุมวิสามัญผูถ้ ือหุ ้นของบริ ษทั ฯ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 6 ได้มีมติอนุ มตั ิให้ออกและเสนอ ขายหุ ้นกูไ้ ม่ดอ้ ยสิ ทธิ และไม่มีหลักประกันจํานวนรวมทั้งสิ้ นไม่เกิน 3,500 ล้านบาท โดยมีอายุไม่เกิน 5 ปี ให้แก่นกั ลงทุนสถาบันและผูล้ งทุนโดยเฉพาะเจาะจงทัว่ ไปหรื อประชาชนทัว่ ไป เมื่อวันที่  กรกฎาคม  บริ ษทั ฯได้ออกและเสนอขายหุ น้ กูไ้ ม่ดอ้ ยสิ ทธิและไม่มีประกันชุดที่  จํานวน 1,693,500 หน่ ว ย มู ล ค่ าหน่ ว ยละ ,00 บาท มู ล ค่ ารวม 1,694 ล้านบาท โดยมี ก าํ หนดไถ่ ถ อนในวัน ที่  กรกฎาคม  และมีกาํ หนดชําระดอกเบี้ยทุก  เดือน ในอัตราร้อยละ . ต่อปี

34


84

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

เมื่ อวัน ที่  กุ ม ภาพัน ธ์  บริ ษ ัท ฯได้ออกและเสนอขายหุ ้น กู้ไม่ ด้อยสิ ท ธิ และไม่ มี ป ระกัน ชุ ด ที่  จํานวน ,, หน่ วย มูลค่าหน่ วยละ , บาท มูลค่ารวม , ล้านบาท โดยมีกาํ หนดไถ่ถอนใน วันที่  กุมภาพันธ์  และมีกาํ หนดชําระดอกเบี้ยทุก  เดือน ในอัตราร้อยละ  ต่อปี เมื่ อ วัน ที่  มี น าคม  บริ ษ ัท ฯได้อ อกและเสนอขายหุ ้ น กู้ไ ม่ ด้อ ยสิ ท ธิ แ ละไม่ มี ป ระกัน ชุ ด ที่  จํานวน , หน่ วย มูลค่าหน่ วยละ , บาท มูลค่ารวม  ล้านบาท โดยมีกาํ หนดไถ่ถอนในวันที่  เมษายน  และมีกาํ หนดชําระดอกเบี้ยทุก  เดือน ในอัตราร้อยละ  ต่อปี ยอดคงเหลื อของหุ ้น กู้แสดงมู ลค่าสุ ทธิ จากค่ าใช้จ่ายในการออกหุ ้น กู้รอตัด บัญ ชี หุ ้น กู้มีขอ้ ปฏิ บตั ิ และ ข้อจํากัดบางประการตามปกติธุรกิจของบริ ษทั ฯ 2. หนีส้ ิ นตามสั ญญาเช่ าการเงิน

หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน หัก: ดอกเบี้ยรอการตัดจําหน่าย รวม หัก: ส่ วนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน - สุ ทธิจากส่ วน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี

งบการเงินรวม 2558 2557 14,129 20,394 (1,191) (1,931) 12,938 18,463 (5,551) (6,958) 7,387

(หน่วย : พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 12,099 19,527 (1,018) (1,856) 11,081 17,671 (4,681) (6,714)

11,505

6,400

10,957

บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยได้ทาํ สัญญาเช่าการเงินกับบริ ษทั ลีสซิ่ งเพื่อเช่ารถยนต์ รถตัก รถขุดและเครื่ องถ่าย เอกสารใช้ใ นการดําเนิ น งานของกิ จ การโดยมี ก าํ หนดการชําระค่ าเช่ าเป็ นรายเดื อ น อายุข องสั ญ ญามี ระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ  เดือน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าเช่าขั้นตํ่าตามสัญญาเช่าการเงินดังนี้ (หน่วย: พันบาท)

ผลรวมของจํานวนเงินขั้นตํ่าที่ตอ้ งจ่ายทั้งสิ้ น ตามสัญญาเช่า ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าการเงินรอการตัดบัญชี มูลค่าปั จจุบนั ของจํานวนเงินขั้นตํ่าที่ตอ้ งจ่าย ทั้งสิ้ นตามสัญญาเช่า

ไม่เกิน 1 ปี 2558 2557

งบการเงินรวม 1 -  ปี 2558 2557

6,267 (716)

7,965 (1,007)

7,862 (475)

5,551

6,958

7,387

รวม 2558

2557

12,429 (924)

14,129 (1,191)

20,394 (1,931)

11,505

12,938

18,463

35


85

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

(หน่วย: พันบาท) ไม่เกิน 1 ปี 2558 2557 ผลรวมของจํานวนเงินขั้นตํ่าที่ตอ้ งจ่ายทั้งสิ้ น ตามสัญญาเช่า ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าการเงินรอการตัดบัญชี มูลค่าปั จจุบนั ของจํานวนเงินขั้นตํ่าที่ตอ้ งจ่าย ทั้งสิ้ นตามสัญญาเช่า

งบการเงินเฉพาะกิจการ 1 -  ปี 2558 2557

รวม 2558

2557

5,285 (604)

7,698 (984)

6,814 (414)

11,829 (872)

12,099 (1,018)

19,527 (1,856)

4,681

6,714

6,400

10,957

11,081

17,671

22. เงินกู้ยมื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน วงเงินที่

สกุลเงิน

วงเงิน (ล้าน)

1 บาท 1,796 2 บาท 990 3 บาท 800 4 บาท 150 5 บาท 380 6 บาท 185 7 บาท 235 8 ปอนด์ 3 9 ปอนด์ 8.5 รวม หัก:ส่ วนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี เงินกูย้ มื ระยะยาว - สุ ทธิจากส่ วนที่ถึงกําหนด ชําระภายในหนึ่งปี

งบการเงินรวม 2558 7 312,249 312,249 93,113 147,163 309,739 507,023 144,923 149,278 261,117 134,180 79,861 99,830 147,164 429,516 1,877,512 1,249,893 (983,922) (516,562) 893,590

733,331

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 7 312,249 312,249 93,113 147,163 309,739 507,023 715,101 966,435 (681,038) (499,218) 34,063

467,217

36


86

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

วงเงินที่ (1) เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2554 บริ ษทั ฯกูย้ ืมเงินจากธนาคารในประเทศวงเงินรวม 1,796 ล้านบาท (เบิกใช้แล้ว 1,223 ล้านบาท) คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR ชําระดอกเบี้ยทุกเดือนและกําหนด ชําระคืนเงินต้นโดยการปลอดจํานองอสังหาริ มทรัพย์และตามเงื่อนไขในสัญญา ทั้งนี้ จะต้อง ชําระคืนเงินกูใ้ ห้เสร็ จสิ้ นภายในเดือนมิถุนายน 2560 เงินกูย้ มื ดังกล่าวคํ้าประกันโดย (1) การจดจํา นองที่ ดิ น พร้ อ มสิ่ ง ปลู ก สร้ าง รวมทั้ง การโอนผลประโยชน์ ใ นกรมธรรม์ ประกันภัยของสิ นทรัพย์ดงั กล่าวให้แก่ผใู ้ ห้กู้ (2) การจํานําสิ ทธิบญั ชีเงินฝากประจําของบริ ษทั ฯให้กบั ธนาคาร วงเงินที่ (2) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 5 บริ ษทั ฯ กูย้ ืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศวงเงิน 990 ล้าน บาท (เบิ ก ใช้แ ล้ว 150 ล้านบาท) คิ ด อัต ราดอกเบี้ ย เท่ ากับ MLR บวกร้ อ ยละ 0.5 ต่ อ ปี โดย จะต้องชําระคืนเงินกูต้ ามจํานวนที่กาํ หนดไว้ในสัญญาเมื่อมีการขายหน่วยในอาคารชุดได้และ กําหนดชําระคืนเงินกูใ้ ห้เสร็ จสิ้ นภายในเดือนธันวาคม 60 ในเดือนกุมภาพันธ์  บริ ษทั ฯได้ลงนามในบันทึกเพิม่ เติมต่อท้ายสัญญาเงินกู้ โดยกําหนด ให้ชาํ ระคืนเงินต้นทุกเดือนในอัตราเดือนละ  ล้านบาท เริ่ มชําระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  เป็ นต้นไป เงินกูย้ มื ดังกล่าวคํ้าประกันโดย () การจดจํา นองที่ ดิ น พร้ อ มสิ่ ง ปลู ก สร้ า งรวมทั้ง การโอนผลประโยชน์ ใ นกรมธรรม์ ประกันภัยของสิ นทรัพย์ดงั กล่าวให้แก่ผใู ้ ห้กู้ (2) หนังสื อคํ้าประกันโดยประธานกรรมการบริ หาร

37


87

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

วงเงินที่ (3) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม  บริ ษทั ฯ กูย้ ืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศวงเงิน  ล้าน บาท (เบิกใช้แล้วทั้งจํานวน) คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR โดยจะต้องชําระคืนเงินกูใ้ ห้เสร็ จ สิ้ นภายในวันที่  กรกฎาคม  และตามจํานวนที่กาํ หนดไว้ในสัญญา เมื่อมีการขายหน่วย ในอาคารชุดได้ เงินกูย้ มื ดังกล่าวคํ้าประกันโดย () การจดจํา นองที่ ดิ น พร้ อ มสิ่ ง ปลู ก สร้ า งอาคารชุ ด ของบริ ษ ัท ย่ อ ย รวมทั้ง การโอน ผลประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัยของสิ นทรัพย์ดงั กล่าวให้แก่ผใู ้ ห้กู้ (2) หนังสื อคํ้าประกันโดยประธานกรรมการบริ หารและบริ ษทั ย่อยแห่งหนึ่งในฐานะลูกหนี้รวม วงเงินที่ (4) เมื่อวันที่  สิ งหาคม  บริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ ง กูย้ มื เงินจากสถาบันการเงินในประเทศวงเงิน 150 ล้านบาท (เบิกใช้แล้วทั้งจํานวน) คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR ลบร้อยละ  ต่อปี กําหนด ชําระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนในอัตราที่กาํ หนดในสัญญา ทั้งนี้ ตอ้ งชําระคืนเงินกูใ้ ห้ เสร็ จสิ้ นภายใน  ปี นับจากวันเบิกใช้เงินกู้ เงินกูย้ มื ดังกล่าวคํ้าประกันโดย () การจดจํานองที่ดินพร้อมสิ่ งปลูกสร้างของบริ ษทั ย่อย รวมทั้งการโอนผลประโยชน์ใน กรมธรรม์ประกันภัยของสิ นทรัพย์ดงั กล่าวให้แก่ผใู ้ ห้กู้ (2) หนังสื อคํ้าประกันโดยบริ ษทั ฯ วงเงินที่ (5) เมื่อวันที่  สิ งหาคม  บริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ ง กูย้ มื เงินจากสถาบันการเงินในประเทศวงเงิน  ล้านบาท (เบิ กใช้แล้ว  ล้านบาท) คิดอัตราดอกเบี้ ยเท่ากับ MLR ลบร้ อยละ  ต่ อปี กําหนดชําระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนในอัตราที่กาํ หนดในสัญญา ทั้งนี้ ตอ้ งชําระคืน เงินกูใ้ ห้เสร็ จสิ้ นภายใน  ปี เงินกูย้ มื ดังกล่าวคํ้าประกันโดย () การจดจํานองที่ดินพร้อมสิ่ งปลูกสร้างของบริ ษทั ย่อย รวมทั้งการโอนผลประโยชน์ใน กรมธรรม์ประกันภัยของสิ นทรัพย์ดงั กล่าวให้แก่ผใู ้ ห้กู้ (2) หนังสื อคํ้าประกันโดยบริ ษทั ฯ

38


88

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

วงเงินที่ () เมื่อวันที่ 13 มกราคม 8 บริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ งได้กูย้ ืมเงินจากธนาคารในประเทศวงเงิน 185 ล้านบาท (เบิกใช้แล้ว 80 ล้านบาท) คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR ลบร้อยละ 0.5 ต่อปี กําหนด ชําระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนในอัตราที่กาํ หนดในสัญญา ทั้งนี้ ตอ้ งชําระคืนเงินกูใ้ ห้ เสร็ จภายใน 3 ปี เงินกูย้ มื ดังกล่าวคํ้าประกันโดย () การจดจํานองที่ดินพร้อมสิ่ งปลูกสร้างของบริ ษทั ย่อย รวมทั้งการโอนผลประโยชน์ใน กรมธรรม์ประกันภัยของสิ นทรัพย์ดงั กล่าวให้แก่ผใู ้ ห้กู้ () หนังสื อคํ้าประกันโดยบริ ษทั ฯและประธานกรรมการบริ หาร วงเงินที่ () เมื่ อวันที่ 13 มกราคม 8 บริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ งกูย้ ืมเงิ นจากธนาคารในประเทศวงเงิน 235 ล้า นบาท (เบิ ก ใช้แ ล้ว 100 ล้านบาท) คิ ด อัต ราดอกเบี้ ยเท่ ากับ MLR ลบร้ อ ยละ 0.5 ต่ อ ปี กําหนดชําระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนในอัตราที่กาํ หนดในสัญญา ทั้งนี้ ตอ้ งชําระคืน เงินกูใ้ ห้เสร็ จภายใน 3 ปี เงินกูย้ มื ดังกล่าวคํ้าประกันโดย () การจดจํานองที่ดินพร้อมสิ่ งปลูกสร้างของบริ ษทั ย่อย รวมทั้งการโอนผลประโยชน์ใน กรมธรรม์ประกันภัยของสิ นทรัพย์ดงั กล่าวให้แก่ผใู ้ ห้กู้ () หนังสื อคํ้าประกันโดยบริ ษทั ฯและประธานกรรมการบริ หาร วงเงินที่ () เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 บริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ งได้กูย้ ืมเงิ นจากสถาบันการเงินในต่างประเทศ วงเงิน 3 ล้านปอนด์ (เบิกใช้แล้วทั้งจํานวน) คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4.15 ต่อปี ชําระคืน เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตามจํานวนที่กาํ หนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ ตอ้ งชําระคืนเงินกูใ้ ห้ เสร็ จสิ้ นภายใน 5 ปี นับจากวันเบิกใช้เงินกู้ เงินกูย้ มื ดังกล่าวคํ้าประกันโดย () สิ ทธิ การเช่ารวมสิ่ งปลูกสร้างของบริ ษทั ย่อยรวมทั้งการโอนผลประโยชน์ในกรมธรรม์ ประกันภัยของสิ นทรัพย์ดงั กล่าวให้แก่ผใู ้ ห้กู้ () จํานําหุ ้นสามัญของบริ ษทั ย่อยที่บริ ษทั ย่อยอีกแห่ งหนึ่ งถือเงินลงทุนอยู่จาํ นวน ,000 หุน้ มูลค่าที่ตราไว้หุน้ ละ  ปอนด์

39


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

89

วงเงินที่ (9) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558 บริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ งได้กูย้ ืมเงินจากสถาบันการเงินในต่างประเทศ วงเงิ น 8.5 ล้านปอนด์ (เบิ กใช้แล้วทั้งจํานวน) อัตราดอกเบี้ ยเท่ากับร้ อยละ 4. ต่อปี ชําระ เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตามจํานวนที่กาํ หนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ ตอ้ งชําระคืนเงินกูใ้ ห้ เสร็ จสิ้ นภายใน 5 ปี นับจากวันเบิกเงินกู้ เงินกูย้ มื ดังกล่าวคํ้าประกันโดย (1)

ที่ ดิ น พร้ อ มสิ่ งปลู ก สร้ างของบริ ษ ัท ย่อ ยรวมทั้งการโอนผลประโยชน์ ใ นกรมธรรม์ ประกันภัยของสิ นทรัพย์ดงั กล่าวให้แก่ผใู ้ ห้กู้

(2)

การจํานําสิ ทธิบญั ชีเงินฝากประจําของบริ ษทั ย่อยให้กบั ธนาคาร

สัญญาเงินกูย้ ืมส่ วนใหญ่ได้ระบุขอ้ ปฏิบตั ิและข้อจํากัดที่บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยต้องถือปฏิบตั ิบางประการ ตามที่ ร ะบุ ใ นสั ญ ญา เช่ น การดํา รงอัต ราส่ วนหนี้ สิ นต่ อ ส่ วนของผู ้ถื อ หุ ้ น ไม่ เกิ น กว่ า .: เท่ า การจ่ายเงินปั นผล และการคงสัดส่ วนโครงสร้างของผูถ้ ือหุน้ ณ 31 ธันวาคม 2558 บริ ษทั ฯไม่สามารถดํารงอัตราส่ วนหนี้ สินต่อส่ วนของผูถ้ ือหุ น้ ตามที่กาํ หนดไว้ในสัญญาได้ อย่างไรก็ตาม บริ ษทั ฯได้รับหนังสื อผ่อนผันการผิดเงื่อนไขดังกล่าวแล้วจากธนาคาร บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมีวงเงินกูย้ มื ระยะยาวตามสัญญาเงินกูท้ ี่ยงั มิได้เบิกใช้สรุ ปได้ดงั นี้

วงเงินกูย้ มื ระยะยาวที่ยงั ไม่ได้เบิกใช้

งบการเงินรวม 2558 2557 1,760 1,73

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 1,413 1,413

2. เงินกู้ยมื ระยะยาวจากกิจการทีเ่ กีย่ วข้ องกันและดอกเบีย้ ค้ างจ่ าย

เงินกูย้ มื ระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ดอกเบี้ยค้างจ่าย รวม หัก: ส่ วนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี เงินกูย้ มื ระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันและดอกเบี้ยค้างจ่าย - สุ ทธิจากส่ วนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม 2557 2558 107,925 127,925 134,454 184,797 242,379 312,722 (88,139) 154,240

312,722

40


90

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 บริ ษทั ย่อยแห่งหนึ่ง ได้ทาํ สัญญากูย้ มื เงินจากบริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกันแห่ งหนึ่งใน ต่างประเทศ รายละเอียดมีดงั นี้ วงเงินที่ (1) วงเงินจํานวน 135 ล้านบาท เบิกใช้เต็มจํานวนแล้ว อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี กําหนดชําระ คืนดอกเบี้ยในอัตราผ่อนปรนทุกเดือน ตามสัญญากําหนดจ่ายคืนเงินต้นครั้งแรกตั้งแต่เดื อนที่มีการปิ ดบัญชี เงินกูเ้ กิ ดขึ้นเป็ นต้นไป อย่างไรก็ตาม บริ ษทั ย่อยจะต้องจ่ายชําระหนี้ ท้ งั หมดให้เสร็ จสิ้ นภายใน  ปี นับแต่วนั ปิ ดบัญชี เงินกู้ (วันปิ ดบัญชีเงินกูค้ ือวันที่หนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ และหนี้ตามสัญญาเงินกูฉ้ บับ หนึ่งได้มีการชําระเสร็ จสิ้ น ซึ่งได้ชาํ ระเสร็ จสิ้ นในปี ) วงเงินที่ (2) วงเงินจํานวน  ล้านบาท (เบิกใช้แล้ว  ล้านบาท) ซึ่ งบริ ษทั ย่อยได้นาํ ไปจ่ายค่าซื้ อสิ ทธิ การเช่าโครงการมหาดเล็กหลวงของบริ ษทั ฯ คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ย ทุกเดือน ตามสัญญากําหนดจ่ายคืนเงินกูต้ ามเงื่อนไขเหมือนกับวงเงินที่ (1) ในระหว่างปี บริ ษทั ย่อยได้จ่ายชําระคืนเงินกูย้ มื วงเงินที่ () แล้วทั้งจํานวน เงินกูย้ มื ดังกล่าวไม่มีการนําหลักทรัพย์ใดๆไปคํ้าประกัน

41


91

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

4. สํ ารองผลประโยชน์ ระยะยาวของพนักงาน จํานวนเงินสํารองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานซึ่ งเป็ นเงินชดเชยพนักงานเมื่อออกจากงานแสดงได้ ดังนี้

ภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ ต้นปี ส่ วนที่รับรู้ในกําไรหรื อขาดทุน : ต้นทุนบริ การในปัจจุบนั ต้นทุนดอกเบี้ย ผลประโยชน์ที่จ่ายในระหว่างปี ส่ วนที่รับรู ้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น : ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัย ส่ วนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อสมมติดา้ น ประชากรศาสตร์ และส่ วนที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงข้อสมมติทางการเงิน ส่ วนที่เกิดจากการปรับปรุ งจากประสบการณ์ ภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ ปลายปี หนี้สินในช่วงที่เปลี่ยนแปลงที่ยงั ไม่รับรู้ สํ ารองผลประโยชน์ ระยะยาวของพนักงานปลายปี

งบการเงินรวม 2558 2557 13,703 12,530

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 11,536 10,259

2,939 598 (216)

2,635 516 (2,240)

2,472 502 (216)

2,248 421 (2,240)

17,024 17,024

128 134 13,703 (1,794) 11,909

14,294 14,294

737 111 11,536 (1,507) 10,029

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานรวมอยูใ่ นส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนแสดงได้ดงั นี้

ต้นทุนบริ การในปัจจุบนั ต้นทุนดอกเบี้ย หนี้สินในช่วงที่เปลี่ยนแปลงที่รับรู้ในปี รวมค่ าใช้ จ่ายที่รับรู้ในส่ วนของกําไรหรือขาดทุน

งบการเงินรวม 2558 2557 2,939 2,635 598 516 1,794 1,794 4,945 5,331

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 2,472 2,248 502 421 1,507 1,507 4,481 4,176

ค่าใช้จ่ายดังกล่าวรับรู้ในรายการในส่ วนของกําไรหรื อขาดทุนในค่าใช้จ่ายในการบริ หาร

บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยคาดว่าจะจ่ายชําระผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานภายใน  ปี ข้างหน้า เป็ น จํานวนประมาณ 8 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: จํานวน 7 ล้านบาท) (:  ล้านบาท (งบการเงิน เฉพาะกิจการ:  ล้านบาท)) 42


92

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ณ วันที่  ธันวาคม  ระยะเวลาเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนักในการจ่ายชําระผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน ของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยประมาณ 18 ปี (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 18 ปี ) สมมติฐานที่สาํ คัญในการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย ณ วันประเมินสรุ ปได้ดงั นี้

อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือนในอนาคต อัตราการเปลี่ยนแปลงในจํานวนพนักงาน (ขึ้นกับช่วงอายุและระดับของพนักงาน)

งบการเงินรวม 2558 2557 (ร้อยละ) (ร้อยละ)   5 5 0 - 15

0 - 15

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (ร้อยละ) (ร้อยละ)   5 5 0 - 15

0 - 15

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่สาํ คัญต่อมูลค่าปั จจุบนั ของภาระผูกพันผลประโยชน์ระยะยาว ของพนักงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม  สรุ ปได้ดงั นี้

อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือนในอนาคต อัตราการเปลี่ยนแปลงในจํานวนพนักงาน (ขึ้นกับช่วงอายุและระดับของพนักงาน)

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ลดลงร้อยละ  เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ลดลงร้อยละ  (728) 818 (569) 641 886 (806) 701 (638) (662)

596

(511)

479

25. ประมาณการหนีส้ ิ นระยะยาว ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 16 ประมาณการหนี้ สินระยะยาวดังกล่าว คือ ประมาณ การค่ า ใช้จ่ า ยในการรั บ ประกัน การก่ อ สร้ า งอาคารโรงงาน ที่ บ ริ ษ ัท ฯต้อ งชํา ระให้ แ ก่ ก องทุ น ฯเป็ น ระยะเวลา 5 ปี

43


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

93

. ใบสํ าคัญแสดงสิ ทธิทจี่ ะซื้อหุ้นสามัญ เมื่อวันที่  เมษายน  ที่ประชุมสามัญผูถ้ ือหุ ้นประจําปี ของบริ ษทั ฯ อนุ มตั ิให้บริ ษทั ฯออกและเสนอ ขายใบสําคัญ แสดงสิ ท ธิ ครั้ งที่  (TFD-W) จํานวน  ล้านหน่ ว ยให้แ ก่ ผูถ้ ื อหุ ้ น เดิ ม ของบริ ษ ัท ฯใน สัดส่ วน  หุน้ สามัญเดิม ได้รับใบสําคัญแสดงสิ ทธิครั้งที่  จํานวน  หน่วยโดยไม่คิดมูลค่า เมื่อวันที่  พฤศจิกายน  ที่ประชุมวิสามัญผูถ้ ือหุ ้นครั้งที่ / ของบริ ษทั ฯได้มีมติอนุ มตั ิการออก และเสนอขายใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ที่จะซื้ อหุ ้นสามัญของบริ ษทั ฯ (TFD-W) จํานวน  ล้านหน่ วย โดย จัดสรรให้แก่ผถู ้ ือหุ ้นเดิมของบริ ษทั ฯในอัตราส่ วน 5 หุ ้นสามัญเดิมต่อใบสําคัญแสดงสิ ทธิ 1 หน่วยโดยไม่ คิดมูลค่า รายละเอียดของใบสําคัญแสดงสิ ทธิมีดงั นี้ รายละเอียด

ใบสําคัญแสดงสิ ทธิครั้งที่ 2 (TFD-W2) วันที่ออก วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 จํานวนใบสําคัญแสดงสิ ทธิที่ออก (หน่วย) ,, อายุของใบสําคัญแสดงสิ ทธิ 3 ปี นับแต่วนั ที่ออกและเสนอขาย ใบสําคัญแสดงสิ ทธิ วันที่ใช้สิทธิ วันทําการสุ ดท้ายของเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และ ธันวาคม ของแต่ละปี โดยจะเริ่ มใช้ สิ ทธิได้ครั้งแรกในวันที่ 28 มิถุนายน 2556 ราคาใช้สิทธิต่อ  หุน้ สามัญ (บาท) 5.00 อัตราส่ วนการใช้สิทธิ (ใบสําคัญแสดง สิ ทธิต่อหุน้ สามัญ) 1:1

ใบสําคัญแสดงสิ ทธิครั้งที่ 3 (TFD-W3) วันที่ 15 ธันวาคม 7 ,,  ปี  เดือนนับจากวันที่ออกและ เสนอขายใบสําคัญแสดงสิ ทธิ วันทําการสุ ดท้ายของเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยจะเริ่ มใช้สิทธิได้ครั้งแรกใน วันที่  มีนาคม  5.00 1:1

44


94

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

การใช้สิทธิของผูถ้ ือใบสําคัญแสดงสิ ทธิ มีรายละเอียดดังนี้

วันที่ใช้สิทธิ  มิถุนายน 6  กันยายน 6 1 ธันวาคม 6 1 มีนาคม 7 30 มิถุนายน 2557 30 กันยายน 2557  ธันวาคม  31 มีนาคม 2558 30 มิถุนายน 2558  กันยายน  31 ธันวาคม 

ใบสําคัญแสดงสิ ทธิครั้งที่ 2 (TFD-W2) จํานวน เงินรับจาก จํานวน การใช้สิทธิ คงเหลือ ที่ใช้สิทธิ (หน่วย) (บาท) (หน่วย) 6,261 281,305 180,501,345 90,380 451,900 180,410,965 ,10,9 1,200 6,000 ,, ,, ,, 180,409,765 180,409,765 180,409,765 180,409,765 180,409,765

ใบสําคัญแสดงสิ ทธิครั้งที่ 3 (TFD-W3) จํานวน เงินรับจาก จํานวน การใช้สิทธิ คงเหลือ ที่ใช้สิทธิ (หน่วย) (บาท) (หน่วย) 256,563,552 256,563,552 256,563,52 256,563,52

27. สํ ารองตามกฎหมาย ภายใต้บทบัญญัติของมาตรา 116 แห่ งพระราชบัญญัติบริ ษทั มหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 บริ ษทั ฯต้องจัดสรร กําไรสุ ทธิ ประจําปี ส่ วนหนึ่ งไว้เป็ นทุ นสํารองไม่น้อยกว่าร้ อยละ  ของกําไรสุ ทธิ ประจําปี หักด้วยยอด ขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสํารองนี้จะมีจาํ นวนไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน สํารอง ตามกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถนําไปจ่ายเงินปันผลได้ 28. ค่ าใช้ จ่ายตามลักษณะ รายการค่าใช้จ่ายแบ่งตามลักษณะประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายที่สาํ คัญดังต่อไปนี้

ซื้ อที่ดิน งานระหว่างก่อสร้างและค่าพัฒนาโครงการ การเปลี่ยนแปลงในต้นทุนการพัฒนาโครงการ อสังหาริ มทรัพย์ เงินเดือนและค่าแรงและผลประโยชน์อื่นของพนักงาน ค่าเสื่ อมราคาและค่าตัดจําหน่าย ค่าตอบแทนกรรมการและผูบ้ ริ หาร ค่าเช่าจ่ายตามสัญญาเช่าดําเนินงาน

งบการเงินรวม 2558 2557 1,634,051 1,254,597

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 748,339 399,296

(1,258,217) 44,952 , 61,110 20,010

(748,338) 33,681 13,579 39,525 14,164

(378,614) ,676 77,827 61,579 19,950

(399,296) 34,480 11,637 44,677 14,445

45


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

95

29. ค่ าใช้ จ่ายภาษีเงินได้ รายได้ภาษีเงินได้สาํ หรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 สรุ ปได้ดงั นี้

ภาษีเงินได้ ปัจจุบัน: ภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับปี ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี: ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจากการเกิดผลแตกต่างชัว่ คราว และการกลับรายการผลแตกต่างชัว่ คราว รายได้ ภาษีเงินได้ ทแี่ สดงอยู่ในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

งบการเงินรวม 2558 2557

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

,

12,778

-

-

(50,447) (41,)

(68,926) (56,148)

(56,416) (56,416)

(57,098) (57,098)

จํานวนภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับส่ วนประกอบแต่ละส่ วนของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นสําหรับปี สิ้ นสุ ด วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 สรุ ปได้ดงั นี้

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับกําไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผือ่ ขาย ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับผลขาดทุน จากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย รวม

งบการเงินรวม 2558 2557

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

630

(,00)

630

(3,600)

630

(52) (3,652)

630

(170) (3,770)

46


96

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

รายการกระทบยอดระหว่างกําไรทางบัญชีกบั รายได้ภาษีเงินได้มีดงั นี้ งบการเงินรวม 2558 2557 (213,963) (,)

ขาดทุนทางบัญชีก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ขาดทุนทางบัญชีก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลคูณอัตราภาษี ผลกระทบทางภาษีสาํ หรับ: เงินปั นผลรับที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายบวกกลับทางภาษี ค่าใช้จ่ายที่มีสิทธิหกั ได้เพิ่มขึ้น ผลแตกต่างชัว่ คราวที่ไม่ได้ต้ งั สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้ อื่น ๆ รวม รายได้ภาษีเงินได้ที่แสดงอยูใ่ นงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จ

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (312,702) (254,358)

ร้อยละ 20 (,)

ร้อยละ 20 (42,793)

ร้อยละ 20 (62,540)

ร้อยละ 20 (50,872)

(4,245) 19,253 (1,319) , 2, (41,)

(3,213) 10,636 (41,328) 11,073 9,477 (13,355) (56,148)

(4,245) 6,922 (135) 3,582 6,124 (56,416)

(3,213) 5,461 (8,600) 126 (6,226) (57,098)

ส่ วนประกอบของสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้ สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ประกอบด้วย รายการดังต่อไปนี้ (หน่วย: พันบาท) งบแสดงฐานะการเงิน งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงินรวม ณ วันที่ ณ วันที่ ณ วันที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2557 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2557 สิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ค่าเผือ่ หนี้สงสัยจะสูญ กําไรที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจริ ง ผลขาดทุนจากการประมาณการตามหลัก คณิ ตศาสตร์ประกันภัย หนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงิน ประมาณการหนี้สินระยะยาว ขาดทุนทางภาษีที่ยงั ไม่ได้ใช้ สํารองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริ มทรัพย์ อื่นๆ รวม

1,658 30,241

1,142 30,241

37 -

41 -

169 1,503 474 139,874 3,235 3,763 1,465 182,382

 3,777 923 ,302 1,832 136 131,523

169 1,243 474 110,283 2,689 3,763 118,658

 3,534 475 56,625 1,424 62,269

47


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

97

(หน่วย: พันบาท) งบแสดงฐานะการเงิน งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงินรวม ณ วันที่ ณ วันที่ ณ วันที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2557 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2557 หนีส้ ิ นภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี กําไรที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่า เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผือ่ ขาย ผลกําไรจากการประมาณการตามหลัก คณิ ตศาสตร์ประกันภัย ผลกระทบจากการคิดค่าเสื่ อมราคาทางบัญชี และทางภาษีของสิ นทรัพย์ภายใต้สญ ั ญา เช่าการเงิน รวม

630

-

630

-

117

117

-

-

2,522 3,269

2,110 2,227

2,083 2,713

,110 2,110

รายละเอียดวันสิ้ นสุ ดระยะเวลาการให้ประโยชน์ของรายการขาดทุนทางภาษีที่ยงั ไม่ได้ใช้แสดงได้ดงั นี้

 ธันวาคม 2  ธันวาคม 3

งบการเงินรวม 2557 2558 431,080 431,080 268,289 431,080 669,369

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 283,127 283,127 268,289 551,416 283,127

0. กําไรต่ อหุ้น กําไรต่อหุ ้นขั้นพื้นฐานคํานวณโดยหารกําไรสําหรับปี ที่เป็ นของผูถ้ ือหุ ้นของบริ ษทั ฯ (ไม่รวมกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็ จอื่น) ด้วยจํานวนถัวเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนักของหุน้ สามัญที่ออกอยูใ่ นระหว่างปี กําไรต่อหุ ้นปรั บลดคํานวณโดยหารกําไรสําหรั บปี ที่เป็ นของผูถ้ ือหุ ้นของบริ ษทั ฯ (ไม่รวมกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็ จอื่น) ด้วยผลรวมของจํานวนถัวเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนักของหุ น้ สามัญที่ออกอยูใ่ นระหว่างปี กับจํานวนถัว เฉลี่ยถ่วงนํ้าหนักของหุน้ สามัญที่บริ ษทั ฯอาจต้องออกเพื่อแปลงหุ น้ สามัญเทียบเท่าปรับลดทั้งสิ้ นให้เป็ นหุ น้ สามัญ โดยสมมติวา่ ได้มีการแปลงเป็ นหุน้ สามัญ ณ วันต้นงวดหรื อ ณ วันออกหุน้ สามัญเทียบเท่า

48


98

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

กําไรต่อหุน้ ขั้นพื้นฐานและกําไรต่อหุน้ ปรับลด แสดงการคํานวณได้ดงั นี้

กําไรต่ อหุ้นขั้นพืน้ ฐาน ขาดทุนส่ วนที่เป็ นของผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ฯ ผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่ าปรับลด ใบสําคัญแสดงสิ ทธิที่จะซื้ อหุน้ สามัญ กําไรต่ อหุ้นปรับลด ขาดทุนที่เป็ นของผูถ้ ือหุน้ สามัญสมมติวา่ มีการใช้ สิ ทธิซ้ื อหุน้ สามัญจากใบสําคัญแสดงสิ ทธิ

กําไรต่ อหุ้นขั้นพืน้ ฐาน ขาดทุนส่ วนที่เป็ นของผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ฯ ผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่ าปรับลด ใบสําคัญแสดงสิ ทธิที่จะซื้ อหุน้ สามัญ กําไรต่ อหุ้นปรับลด ขาดทุนที่เป็ นของผูถ้ ือหุน้ สามัญสมมติวา่ มีการใช้ สิ ทธิซ้ื อหุน้ สามัญจากใบสําคัญแสดงสิ ทธิ

งบการเงินรวม สําหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม จํานวนหุน้ สามัญ ถัวเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนัก ขาดทุน 2558 7 2558 7 (พันบาท) (พันบาท) (พันหุน้ ) (พันหุน้ ) (,)

(169,149)

1,106,076

1,106,076

-

-

-

44,653

(27,)

(169,149)

1,106,076

1,150,729

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม จํานวนหุน้ สามัญ ขาดทุน ถัวเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนัก 2558 7 2558 7 (พันบาท) (พันบาท) (พันหุน้ ) (พันหุน้ ) (256,286)

(197,259)

1,106,076

1,106,076

-

-

-

44,653

(256,286)

(197,259)

1,106,076

1,150,729

ขาดทุนต่อหุน้ 2558 7 (บาท) (บาท) (0.2515)

(0.1529)

(0.2515)

(0.1470)

ขาดทุนต่อหุน้ 2558 7 (บาท) (บาท) (0.2317)

(0.1783)

(0.2317)

(0.1714)

เนื่ องจากใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ที่จะซื้อหุ น้ สามัญของบริ ษทั ฯครั้งที่  (TFD-W2) และใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ที่ จะซื้ อหุ ้นสามัญของบริ ษทั ฯครั้งที่  (TFD-W3) มีราคาใช้สิทธิ สูงกว่าราคาตลาดของหุ ้นสามัญถัวเฉลี่ย สําหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 1 ธันวาคม  ดังนั้น บริ ษทั ฯจึงไม่นาํ ผลของใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ดงั กล่าวมารวม คํานวณ เพื่อหากําไรต่อหุน้ ปรับลดสําหรับปี 

49


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

3.

99

ข้ อมูลทางการเงินจําแนกตามส่ วนงาน ข้อมูลส่ วนงานดําเนินงานที่นาํ เสนอนี้สอดคล้องกับรายงานภายในของบริ ษทั ฯที่ผมู ้ ีอาํ นาจตัดสิ นใจสู งสุ ด ด้านการดําเนิ นงานได้รับและสอบทานอย่างสมํ่าเสมอเพื่อใช้ในการตัดสิ นใจในการจัดสรรทรัพยากร ให้ กับ ส่ ว นงานและประเมิ น ผลการดําเนิ น งานของส่ ว นงาน ทั้งนี้ ผูม้ ี อ าํ นาจตัด สิ น ใจสู งสุ ด ด้านการ ดําเนินงานของบริ ษทั คือประธานบริ หารของกลุ่มบริ ษทั บริ ษ ัท ฯและบริ ษ ัท ย่อ ยจัด โครงสร้ างองค์ก รเป็ นหน่ ว ยธุ รกิ จ ตามประเภทของผลิ ต ภัณ ฑ์ แ ละบริ ก าร ในระหว่างปี ปั จจุ บ ัน บริ ษ ัท ฯและบริ ษ ัท ย่อยมี ก ารเปลี่ ยนแปลงโครงสร้ างของส่ ว นงานดําเนิ น งานที่ รายงาน โดยการเพิ่มหน่ วยงานธุ รกิจจัดการกองทุนทรัสต์ อย่างไรก็ตาม หน่ วยธุรกิจจัดการกองทุนทรัสต์ ยังไม่มีรายได้ในปี ปัจจุบนั จึงไม่ได้แสดงข้อมูลแยกตามส่ วนงาน เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริ หารงาน บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจัดโครงสร้างองค์กรเป็ นหน่ วยธุ รกิจ  ส่ วน งาน ดังนี้ (1) ส่ วนงานที่ ดินและอาคารโรงงานเพื่ อขาย เป็ นส่ วนงานที่ ทาํ การซื้ อที่ ดินมาพัฒ นาและก่ อสร้ าง อาคารโรงงาน รวมทั้งระบบสาธารณู ปโภคต่ างๆ โดยมี วตั ถุประสงค์ห ลักเพื่ อขายที่ ดินเปล่ าที่ พัฒนาแล้ว และที่ดินพร้อมอาคารโรงงานสําเร็ จรู ป (2) ส่ วนงานที่ดินและอาคารคลังสิ นค้าเพื่อให้เช่า เป็ นส่ วนงานที่ทาํ การซื้ อที่ดินหรื อเช่าที่ดินระยะยาว เพื่อนํามาพัฒนา และก่อสร้างอาคารคลังสิ นค้ารวมทั้งระบบสาธารณู ปโภคต่างๆ โดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่อให้เช่าที่ดินพร้อมอาคารคลังสิ นค้าสําเร็ จรู ป (3) ส่ วนงานอาคารสํานักงานเพื่อให้เช่า เป็ นส่ วนงานที่ทาํ การเช่าที่ดินระยะยาว เพื่อนํามาพัฒนา และ ก่อสร้างอาคารสํานักงาน เพื่อให้เช่าพื้นที่สาํ นักงานและการให้บริ การ (4) ส่ วนงานอาคารชุ ดพักอาศัยเพื่อขาย เป็ นส่ วนงานที่ ทาํ การก่ อสร้างอาคารชุ ดพักอาศัย ทั้งในเขต ใจกลางเมืองและสถานที่ตากอากาศ เพื่อขายให้แก่บุคคลทัว่ ไป บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยไม่มีการรวมส่ วนงานดําเนินงานเป็ นส่ วนงานที่รายงานข้างต้น ผูม้ ีอาํ นาจตัดสิ นใจสู งสุ ดสอบทานผลการดําเนินงานของแต่ละหน่วยธุรกิจแยกจากกันเพื่อวัตถุประสงค์ใน การตัดสิ นใจเกี่ ยวกับการจัดสรรทรั พยากรและการประเมิ นผลการปฏิ บตั ิงาน บริ ษทั ฯประเมินผลการ ปฏิบตั ิงานของส่ วนงานโดยพิจารณาจากกําไรหรื อขาดทุนจากการดําเนิ นงาน สิ นทรัพย์รวมและหนี้ สิน รวมซึ่ งวัดมูลค่าโดยใช้เกณฑ์เดี ยวกับที่ใช้ในการวัดกําไรหรื อขาดทุนจากการดําเนิ นงาน สิ นทรัพย์รวม และหนี้สินรวมในงบการเงิน การบัน ทึ กบัญชี สําหรั บรายการระหว่างส่ วนงานที่ รายงานเป็ นไปในลักษณะเดี ยวกับการบันทึ กบัญ ชี สําหรับรายการธุรกิจกับบุคคลภายนอก ข้อมูลรายได้ กําไร สิ นทรัพย์รวมและหนี้สินรวมของส่ วนงานของบริ ษทั ฯ และบริ ษทั ย่อยสําหรับปี สิ้ นสุ ด วันที่  ธันวาคม 8 และ 7 มีดงั ต่อไปนี้ 50


ที่ดินและอาคาร โรงงานเพื่อขาย()  

รายได้จากการขายให้ลกู ค้าภายนอก กําไรจากการดําเนินงานตามส่ วนงาน รายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ปันส่ วน: รายได้อื่น กําไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน ค่าใช้จ่ายในการขาย ขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ค่าใช้จ่ายในการบริ หาร ค่าใช้จ่ายทางการเงิน รายได้ภาษีเงินได้ ขาดทุนสําหรับปี ส่ วนของผูม้ ีส่วนได้เสี ยที่ไม่มีอาํ นาจควบคุมของบริ ษทั ย่อย ขาดทุนส่ วนของผูถ้ ือหุน้ ใหญ่ของบริ ษทั ฯ ขาดทุนสําหรับปี (ส่ วนที่เป็ นของผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ฯ)

อาคารสํานักงาน เพื่อให้เช่า()  

อาคารชุดพักอาศัย เพื่อขาย(4)  

รายการปรับปรุ ง และตัดรายการ ระหว่างกัน  

งบการเงินรวม  

-

112

45

183

189

481

1,151

(1)

(1)

775

1,384

-

8

24

5

5

02

27

7

4

20

54

72 27 (34) (40) (224) (346) 41 (274) (4) (278)

80 (26) (65) (18) (234) (305) 56 (158) (11) (9)

51

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

รายได้

ที่ดินและ อาคารคลังสิ นค้า เพื่อให้เช่า()  

สําหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่  ธันวาคม

100

(หน่วย: พันบาท)


(หน่วย: ล้านบาท)

ณ วันที่  ธันวาคม อสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน ต้นทุนพัฒนาโครงการ อสังหาริ มทรัพย์ สิ ทธิ การเช่า สิ นทรัพย์ส่วนกลาง รวมสิ นทรัพย์

() () () ()

ที่ดินและอาคาร คลังสิ นค้าพื่อให้เช่า(2) 2558 2557 1,198 323

อาคารสํานักงาน เพื่อให้เช่า(3) 2558 2557 195 213

อาคารชุดพักอาศัย เพื่อขาย(4) 2558 2557 -

-

-

การตัดรายการบัญชี ระหว่างกัน 2558 2557 -

อื่นๆ 2558

2557

งบการเงินรวม 2558 2557 1, 536

4,841 46 5,343 10,230

3,601 48 4,172 7,821

70 1,268

24 347

318 173 686

353 231 797

1,823 357 2,180

1,773 375 2,148

8 8

-

(203) (4,51) (4,71)

(171) (3,559) (3,730)

6,461 364 ,44 9,65

5,203 401 1, 7,383

3,438 145 3,083 1,225

2,612 142 1,687 796

 33  

9 2 322

25 462

23 586

54 54 1,648

170 159 1,393

-

-

(1) (3,541)

(1) (2,686)

4,069 256 3,083  34

2,782 332 1,687 2 411

7,891

5,237

1,1

333

487

609

1,756

1,722

-

-

(3,542)

(2,687)

7,7

5,214

ส่ วนงานที่ดินและอาคารโรงงานเพื่อขาย เป็ นส่ วนงานที่ทาํ การซื้ อที่ดินมาพัฒนาและก่อสร้างอาคารโรงงาน รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยมีวตั ถุประสงค์หลักเพื่อขายที่ดินเปล่าที่พฒั นาแล้ว และที่ดินพร้อมอาคารโรงงานสําเร็ จรู ป ส่ วนงานที่ดินและอาคารคลังสิ นค้าเพื่อให้เช่า เป็ นส่ วนงานที่ทาํ การซื้ อที่ดินหรื อเช่าที่ดินระยะยาวเพื่อนํามาพัฒนา และก่อสร้างอาคารคลังสิ นค้ารวมทั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อให้เช่าที่ดินพร้อมอาคารคลังสิ นค้าสําเร็ จรู ป ส่ วนงานอาคารสํานักงานเพื่อให้เช่า เป็ นส่ วนงานที่ทาํ การเช่าที่ดินระยะยาว เพื่อนํามาพัฒนา และก่อสร้างอาคารสํานักงาน เพื่อให้เช่าพื้นที่สาํ นักงานและการให้บริ การ ส่ วนงานอาคารชุดพักอาศัยเพื่อขาย เป็ นส่ วนงานที่ทาํ การก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ทั้งในเขตใจกลางเมืองและสถานที่ตากอากาศ เพื่อขายให้แก่บุคคลทัว่ ไป

101

52

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

เงินกูย้ มื จากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น หุ น้ กู้ ภาษีเงินได้คา้ งจ่าย หนี้สินส่ วนกลาง รวมหนี้สิน

ที่ดินและอาคาร โรงงานเพื่อขาย(1) 2558 2557 -


102

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ข้ อมูลเกีย่ วกับเขตภูมิศาสตร์ รายได้จากลูกค้าภายนอกกําหนดขึ้นตามสถานที่ต้ งั ของลูกค้า

รายได้จากลูกค้าภายนอก ประเทศไทย ประเทศอังกฤษ รวม สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียน (ไม่รวมเครื่ องมือทางการเงิน สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี) ประเทศไทย ประเทศอังกฤษ รวม

2558

(หน่วย: พันบาท) 2557

690,303 85,914 776,217

,44, 19,097 1,465,136

, 1,197,289 1,8,

9, 322,243 1,2,

ข้ อมูลเกีย่ วกับลูกค้ ารายใหญ่ ในปี  และ  บริ ษ ทั ฯและบริ ษ ทั ย่อยไม่ มีรายได้จากลูกค้ารายใดที่ มีมู ลค่าเท่ ากับ หรื อมากกว่า ร้อยละ  ของรายได้ของกิจการ 2. กองทุนสํ ารองเลีย้ งชีพ บริ ษทั ฯ บริ ษทั ย่อยและพนักงานบริ ษทั ฯร่ วมกันจัดตั้งกองทุนสํารองเลี้ยงชีพขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยบริ ษทั ฯ บริ ษทั ย่อยและพนักงานจะจ่ายสมทบให้แก่พนักงานเข้ากองทุนเป็ น รายเดือนในอัตราร้อยละ - ของเงินเดือน กองทุนสํารองเลี้ยงชี พนี้ บริ หารโดยบริ ษทั หลักทรัพย์จดั การ กองทุ น เอ็ม เอฟซี จํากัด (มหาชน) บริ ษ ัท หลัก ทรั พ ย์จ ัด การกองทุ น ทหารไทย จํากัด และจะจ่ ายให้ แ ก่ พนักงานเมื่อพนักงานนั้นออกจากงานตามระเบียบว่าด้วยกองทุนของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อย ในระหว่างปี 2558 บริ ษ ัท ฯและบริ ษ ัท ย่อ ยได้จ่ ายเงิ น สมทบกองทุ น เป็ นจํานวนเงิ น 3 ล้านบาท (: 3 ล้านบาท) (งบการเงินเฉพาะบริ ษทั ฯ: 2 ล้านบาท (: 2 ล้านบาท))

53


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

103

. เงินปันผลจ่ าย เงินปันผล

อนุมตั ิโดย

เงินปั นผลระหว่างกาลสําหรับปี 56 ที่ประชุมคณะกรรมการบริ ษทั ฯ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 เงินปั นผลประจําปี สําหรับปี 56 เสนอโดยที่ประชุมคณะกรรมการ บริ ษทั ฯ เมื่อวันที่  มีนาคม  และอนุมตั ิโดย ที่ประชุมสามัญ ประจําปี ผูถ้ ือหุน้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 7 รวมเงินปั นผลจ่ายในระหว่างปี สิ้ นสุ ดวันที่  ธันวาคม 

เงินปั นผลจ่าย (พันบาท)

เงินปั นผลจ่ายต่อหุน้ (บาท)

238,370

0.22

54,175 292,545

0.05 0.27

4. ภาระผูกพันและหนีส้ ิ นทีอ่ าจเกิดขึน้ 4. ภาระผูกพันเกีย่ วกับรายจ่ ายฝ่ ายทุน 34.1.1 ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 8 บริ ษ ัท ฯและบริ ษ ัท ย่อ ยมี ภ าระผูก พัน เกี่ ย วกับ สั ญ ญาการออกแบบ ปรับปรุ งและก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยเพื่อขายและสัญญาจ้างบริ หารและควบคุมงานก่อสร้าง ดังนี้ งบการเงินรวม 2558 7 สัญญาออกแบบ ปรับปรุ งและก่อสร้างอาคาร ชุดพักอาศัยเพื่อขาย รวม

 

73 73

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 7 67 67

69 69

34.1.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 8 บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมีภาระผูกพันตามสัญญาต่างๆ ที่เกี่ ยวเนื่ องกับ โครงการนิคมอุตสาหกรรม ที เอฟ ดี และโครงการอื่นดังต่อไปนี้ งบการเงินรวม 2558 7 สัญญาก่อสร้างอาคารและระบบ สาธารณูปโภค สัญญาจะซื้ อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการ รวม

276 437 713

179 351 530

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 7 11 437 448

19 303 322

54


104

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

4.2 ภาระผูกพันเกีย่ วกับสั ญญาเช่ าดําเนินงาน 34.. บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยได้เข้าทําสัญญาเช่าดําเนิ นงานที่เกี่ยวข้องกับการเช่าพื้นที่อาคารสํานักงาน และบริ การอื่นๆ อายุของสัญญามีระยะเวลาตั้งแต่  ถึง  ปี ณ วันที่ 1ธันวาคม 8 บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมีจาํ นวนเงิ นขั้นตํ่าที่ ตอ้ งจ่ายในอนาคตทั้งสิ้ น ภายใต้สญ ั ญาเช่าดําเนินงานที่บอกเลิกไม่ได้เป็ นจํานวนเงินรวม 23 ล้านบาท 34.2. บริ ษทั ฯ มีสิทธิ การเช่าที่ดินจากสํานักงานพระคลังข้างที่และได้รับสิ ทธิ ให้ทาํ โครงการปลูกสร้าง อาคารชุ ด พัก อาศัย บนที่ ดิ น ดังกล่ าว โครงการดังกล่ าวได้รับ อนุ ญ าตจากหน่ ว ยงานราชการที่ เกี่ยวข้องในเดือนมกราคม 2550 ในเดือนมิถุนายน  และเดือนกุมภาพันธ์  บริ ษทั ฯได้ทาํ สัญญารับทําการปลูกสร้างและเช่า ที่ ดิ น กับ อาคารที่ ป ลู ก สร้ า งแล้ว กับ สํ า นั ก งานพระคลัง ข้า งที่ มี ก ํา หนด 30 ปี นั บ ตั้ง แต่ ว ัน ที่ 1 มกราคม 2553 เป็ นต้นไป เมื่อวันที่  กันยายน  บริ ษทั ฯ ตอบรับหนังสื อจากสํานักงานพระคลังข้างที่ ซึ่ งมีมติเห็นชอบ จากการที่บริ ษทั ฯ ได้ขอเปลี่ยนรู ปแบบและขนาดของโครงการใหม่ โดยมีเงื่อนไขที่บริ ษทั ฯ ต้อง ปฏิบตั ิตาม ณ วันที่ 31 ธันวาคม  บริ ษทั ฯ มีภาระผูกพันตามสัญญา ดังนี้ (1) อาคารที่ จ ะปลู ก สร้ า งต้อ งขออนุ ญ าตปลู ก สร้ า งในนามสํ า นั ก งานพระคลัง ข้า งที่ แ ละ สํานักงานพระคลังข้างที่เป็ นเจ้าของกรรมสิ ทธิ์ อาคารและสิ่ งปลูกสร้างอื่นๆ บนที่ดินด้วย โดยบริ ษทั ฯเป็ นผูอ้ อกค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนการปลูกสร้างอาคารโครงการดังกล่าวแล้วเสร็ จ (2) ระยะเวลาการปลูกสร้างอาคารภายใน  ปี นับแต่วนั ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารใหม่ จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง (3) สัญญาเช่ามีกาํ หนดระยะเวลา 30 ปี นับแต่วนั ที่ครบกําหนดระยะเวลาการปลูกสร้างอาคาร ตามข้อ () แต่หากการปลูกสร้างอาคารเสร็ จเรี ยบร้อยก่อนวันครบกําหนดให้เริ่ มนับกําหนด ระยะเวลาการเช่ าตั้งแต่วนั ที่การปลูกสร้างอาคารเสร็ จเรี ยบร้อย กําหนดจ่ายค่าเช่ าเป็ นราย เดือน ค่าเช่าในปี แรกมีอตั ราเดือนละ 00,000 บาท และเพิ่มอัตราค่าเช่าอีกร้อยละ 5 ต่อปี ทุก ปี จนครบกําหนดระยะเวลาเช่า (4) ในระหว่างการปลูกสร้างอาคาร บริ ษทั ฯต้องชําระค่าทดแทนการขาดผลประโยชน์เป็ นราย เดื อนๆละ 0, บาท ตลอดระยะเวลาทําการปลูกสร้างอาคารเริ่ มชําระเดื อนกันยายน  และชําระค่าใช้จ่ายในการดูแลทางเข้าออกเดือนละ , บาท () บริ ษทั ฯต้องส่ งมอบหนังสื อคํ้าประกันในวงเงิน  ล้านบาท ภายในวันที่  ธันวาคม  ซึ่งบริ ษทั ฯได้จดั ทําและส่ งมอบบางส่ วนแล้วจํานวน  ล้านบาท ในปี  และบริ ษทั ฯได้ ส่ งมอบหนังสื อคํ้าประกันทั้งหมดแล้วในวันที่  กรกฎาคม  55


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

105

34.2. บริ ษทั ย่อยมีภาระผูกพันในอนาคตที่จะต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินเป็ นรายปี ให้แก่การนิ คมอุตสาหกรรม แห่ งประเทศไทยและกับบุคคลธรรมดา เพื่อใช้ประกอบกิจการสร้างโรงงานให้เช่า โดยมีระยะเวลา การเช่า 15 ปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 8 และ 2557 บริ ษทั ย่อยมีภาระผูกพันคงเหลือตามสัญญา ดังนี้:

จ่ายชําระ ภายใน  ปี มากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน  ปี รวม

2558

(หน่วย: ล้านบาท) 2557

2 4 6

  8

34.2. บริ ษทั ย่อยมีสิทธิการเช่าที่ดินจากสํานักงานพระคลังข้างที่ และได้รับสิ ทธิให้ทาํ โครงการปลูกสร้าง อาคารชุดเพื่อให้เช่าบนที่ดินดังกล่าว อายุสัญญา 30 ปี เริ่ มพฤศจิกายน 2536 สิ้ นสุ ด ตุลาคม 2566 ซึ่ งอาคารได้ตกเป็ นกรรมสิ ทธิ์ ของสํานักงานพระคลังข้างที่ ต้ งั แต่ เริ่ มแรก ณ วันที่ 31 ธัน วาคม 8 และ 2557 บริ ษทั ย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าเช่าคงเหลือตามสัญญาจํานวนประมาณ ดังนี้

จ่ายชําระ ภายใน  ปี มากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน  ปี มากกว่า  ปี รวม

2558

(หน่วย: ล้านบาท) 2557

4 16 13 33

3 15 18 36

บริ ษทั ย่อยยังมีภาระเรื่ องค่าใช้ทางเข้าออกจํานวนเงิน 50,000 บาทต่อเดือน 34.2. บริ ษทั ย่อยมีสิทธิ การเช่าที่ดินซึ่ งเช่าช่วงมาจากบริ ษทั แห่ งหนึ่ งและได้รับสิ ทธิ ให้ปลูกสร้างอาคาร ชุดสํานักงานเพื่อให้เช่ าบนที่ดินดังกล่าว สัญญาอายุ  ปี เริ่ มธันวาคม  สิ้ นสุ ด พฤศจิกายน  ซึ่งอาคารดังกล่าวจะยกให้บริ ษทั ผูใ้ ห้เช่าช่วงเมื่อสิ้ นสุ ดสัญญา

56


106

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

4. ภาระผูกพันเกีย่ วกับสั ญญาบริการระยะยาว 34.3.1 ณ วัน ที่  ธั น วาคม 8 บริ ษ ัท ฯมี ภ าระผู ก พัน ตามสั ญ ญาร่ ว มดํา เนิ น งานโครงการนิ ค ม อุตสาหกรรม ที เอฟ ดี กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทยโดยบริ ษทั ฯ ต้องจ่ายค่ากํากับการ บริ การพื้นที่โครงการ เริ่ มชําระงวดแรกในปี  ในอัตราปี ละประมาณ 1 ล้านบาท อัตราค่าบริ การนี้ อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกๆระยะเวลา  ปี ในอัตราไม่เกินร้อยละ  ของอัตราค่าบริ การในขณะนั้น 34.3.2 ณ วันที่  ธันวาคม 8 และ  บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมีภาระผูกพันตามสัญญาบริ การคงเหลือ ดังนี้

จ่ายชําระ ภายใน  ปี มากกว่า  ปี แต่ไม่เกิน  ปี รวม

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 7

งบการเงินรวม 2558 7   2

20 4 24

6 4 10

7 4 11

4.4 การคํา้ ประกัน 34.4. ณ วันที่ 31ธันวาคม 8 บริ ษทั ฯ คํ้าประกันเงิ นกูย้ ืมระยะสั้น วงเงิ นกูแ้ ละวงเงินสิ นเชื่ อให้แก่ บริ ษทั ย่อยในวงเงินรวม 1,250 ล้านบาท 34.4. ณ วันที่ 31ธันวาคม 2558 บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมีหนังสื อคํ้าประกันซึ่ งออกโดยธนาคารในนาม บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยดังนี้ หนังสื อคํ้าประกัน เพื่อคํ้าประกันการปฏิบตั ิตามสัญญาร่ วมดําเนินงาน โครงการนิคมอุตสาหกรรม ที เอฟ ดี กับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อคํ้าประกันการใช้ไฟฟ้ าและอื่นๆ รวม

งบการเงินรวม 2558 7

4 10 14

4 10 14

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 7

4 2 6

4 2 6

57


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

107

4.5 คดีฟ้องร้ อง คดีความ ณ วันที่  ธันวาคม 8 มีรายละเอียด ดังนี้ ก)

ในปี 2555 บริ ษ ัท ฯถู ก บริ ษ ัท อี ก แห่ งหนึ่ ง (โจทก์) ฟ้ องร้ อ งในฐานะจําเลยร่ ว ม (จําเลยที่ ) กับ องค์การบริ หารส่ วนตําบลปากนํ้าปราณ โดยโจทก์ขอให้ศาลมี คาํ สั่งเพิ กถอนใบอนุ ญาตก่ อสร้ าง อาคาร ของโครงการเดอะโคโลเนี ยล เขาเต่ า หัวหิ น ซึ่ งเป็ นโครงการของบริ ษ ัท ฯในข้อหาออก ใบอนุ ญาตก่อสร้างโดยมีระยะห่ างจากแนวเขตชายฝั่งทะเลไม่ถึง 200 เมตร ตามประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้อม จึงเป็ นการออกใบอนุ ญาตก่อสร้างอาคารฝ่ าฝื นต่อบทบัญญัติ ของกฎหมาย และห้ามผูถ้ ูกฟ้ องคดี ดาํ เนิ น การก่ อสร้ างหรื อกระทําการใดๆ จนกว่าคดี จะถึ งที่ สุด ต่ อ มาเมื่ อ วัน ที่  สิ ง หาคม  ศาลปกครองชั้น ต้น มี ค าํ สั่ ง ให้ ร ะงับ การก่ อ สร้ า งอาคารตาม ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารไว้ก่อนเป็ นการชัว่ คราวจนกว่าศาลจะมีคาํ พิพากษาหรื อคําสั่งเป็ นอย่างอื่น ทั้งนี้ บริ ษทั ฯได้ยนื่ คําร้องอุทรณ์คาํ สัง่ ของศาลปกครองชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 25 กันยายน  เมื่ อวัน ที่ 27 มี น าคม 2557 ศาลปกครองสู งสุ ด มี คาํ สั่งไม่ เห็ น พ้องด้วยกับ คําสั่งของศาลปกครอง ชั้นต้น โดยมีคาํ สั่งกลับคําสั่งของศาลปกครองชั้นต้น เป็ นให้ยกคําขอกําหนดมาตรการหรื อวิธีการ คุม้ ครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชวั่ คราวก่อนการพิพากษา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ศาลปกครองกลางได้มีคาํ พิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เฉพาะในส่ วนที่เป็ นการอนุ ญาตให้ก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยที่มีความสู งจากระดับพื้นดินเกินกว่า 12 เมตรขึ้นไป จนถึงส่ วนที่สูงของอาคาร ทั้งนี้ บริ ษทั ฯได้ยื่นอุทธรณ์ คดั ค้านคําพิพากษาของศาล ปกครองกลางต่อศาลปกครองสู งสุ ดแล้วเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั ฯได้ใช้ดุลยพินิจในการประเมินผลของคดีที่ถูกฟ้ องและผลเสี ยหายจากการถูก ระงับการก่ อสร้ างดังกล่าวและเชื่ อมัน่ ว่าจะไม่ มีความเสี ยหายเกิ ดขึ้น กับมู ลค่าของโครงการของ บริ ษทั ฯ ดังนั้น บริ ษทั ฯจึงไม่ได้บนั ทึกค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าโครงการหรื อประมาณการหนี้ สิน จากคดีดงั กล่าว ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน

ข)

ในเดือนเมษายน 2557 บริ ษทั ฯถูกผูซ้ ้ื อห้องชุดพักอาศัยในโครงการแห่ งหนึ่ งจํานวน 1 รายฟ้ องร้อง เรี ยกค่าเสี ยหายจากการไม่สามารถใช้สอยประโยชน์ได้ในห้องชุดตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ฝ่ ายโยธา เป็ นจํานวนทุ น ทรั พ ย์ 7.28 ล้านบาท พร้ อมด้วยดอกเบี้ ยในอัตราร้ อยละ 7.5 ต่ อปี และ ค่าเสี ยหายในอัตราเดือนละ 80,000 บาท นับถัดจากวันฟ้ องเป็ นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็ จ ในปี  ศาลได้มีคาํ พิพากษาให้ยกฟ้ อง

58


108

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

4. หนีส้ ิ นทีอ่ าจจะเกิดขึน้ บริ ษทั โทเทิล อินดัสเตรี ยล เซอร์วิสเซส จํากัด (“บริ ษทั ย่อย”) มีหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจ่ายค่าชดเชย กรณี ที่ ดิ น โครงการกิ่ ง แก้ว ถู ก เวนคื น ให้ กับ กองทุ น รวมอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์แ ละสิ ท ธิ ก ารเช่ า เอ็ ม เอฟซี อินดัสเตรี ยล อินเวสเมนท์ จํากัด (“กองทุนฯ”) ตามข้อตกลงที่ได้ระบุไว้ โดยจํานวนเงินสู งสุ ดที่บริ ษทั ย่อย อาจต้องจ่ายเพื่อชดเชยให้กบั กองทุนฯคํานวณตามอัตราที่กาํ หนดไว้ในข้อตกลงดังกล่าวมีจาํ นวนประมาณ 27 ล้านบาท ทั้งนี้ฝ่ายบริ หารของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยได้ใช้ดุลยพินิจในการประเมินผลของความเสี ยหาย ของเหตุการณ์ดงั กล่าวและเชื่อมัน่ ว่ากองทุนฯจะไม่ได้รับผลเสี ยหายจากการถูกเวนคืนที่ดิน และบริ ษทั ย่อย จะไม่ตอ้ งจ่ายค่าชดเชยให้กบั กองทุนฯ ดังนั้น บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจึงไม่ได้บนั ทึกประมาณการหนี้สินที่ อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดงั กล่าว ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน 5. ลําดับชั้นของมูลค่ ายุติธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยมีสินทรัพย์และหนี้ สินที่วดั มูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมหรื อ เปิ ดเผยมูลค่ายุติธรรมแยกแสดงตามลําดับชั้นของมูลค่ายุติธรรม ดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินรวม สิ นทรัพย์ทวี่ ดั มูลค่ าด้ วยมูลค่ ายุตธิ รรม เงินลงทุนในกองทุนระยะสั้นในตราสารหนี้ เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้าในตราสารทุน เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผือ่ ขายในตราสารทุน สิ นทรัพย์ทเี่ ปิ ดเผยมูลค่ ายุตธิ รรม อสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน หนีส้ ิ นทีเ่ ปิ ดเผยมูลค่ ายุตธิ รรม หุ น้ กู้

ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

รวม

51 208

29 -

-

29 5 208

-

1,821

-

,82

-

3,108

-

,08 (หน่วย: ล้านบาท)

ระดับ 1 สิ นทรัพย์ทวี่ ดั มูลค่ าด้ วยมูลค่ ายุตธิ รรม เงินลงทุนในกองทุนระยะสั้นในตราสารหนี้ เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้าในตราสารทุน เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผือ่ ขายในตราสารทุน หนีส้ ิ นทีเ่ ปิ ดเผยมูลค่ ายุตธิ รรม หุน้ กู้

งบการเงินเฉพาะกิจการ ระดับ 2 ระดับ 3

รวม

51 208

29 -

-

29 5 208

-

3,108

-

,08

59


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

109

. เครื่องมือทางการเงิน .1 นโยบายการบริหารความเสี่ ยง เครื่ องมือทางการเงินที่สาํ คัญของบริ ษทั ฯตามที่นิยามอยูใ่ นมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 107 “การแสดงรายการ และการเปิ ดเผยข้อมูลสําหรับเครื่ องมือทางการเงิน” ประกอบด้วย เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้ การค้าและลูกหนี้ อื่น เงินให้กูย้ ืม เงินลงทุน เงินกูย้ ืมระยะสั้น และเงินกูย้ ืมระยะยาว บริ ษทั ฯมีความเสี่ ยงที่ เกี่ยวข้องกับเครื่ องมือทางการเงินดังกล่าว และมีนโยบายการบริ หารความเสี่ ยงดังนี้ ความเสี่ยงด้ านการให้ สินเชื่อ บริ ษทั ฯมี ความเสี่ ยงด้านการให้สินเชื่ อที่ เกี่ ยวเนื่ องกับลูกหนี้ การค้าและลูกหนี้ อื่น และเงิ นให้กูย้ ืม ฝ่ าย บริ ห ารควบคุ มความเสี่ ยงนี้ โดยการกําหนดให้มีนโยบายและวิธีการในการควบคุ มสิ น เชื่ อที่ เหมาะสม ดังนั้นบริ ษทั ฯจึงไม่คาดว่าจะได้รับความเสี ยหายที่เป็ นสาระสําคัญจากการให้สินเชื่ อ จํานวนเงินสู งสุ ดที่ บริ ษ ทั ฯอาจต้องสู ญ เสี ยจากการให้สิน เชื่ อคื อมูลค่าตามบัญ ชี ของลูก หนี้ และเงิ น ให้กู้ยืมที่ แสดงอยู่ใน งบแสดงฐานะการเงิน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย บริ ษทั ฯมี ความเสี่ ยงจากอัตราดอกเบี้ ยที่ สําคัญอัน เกี่ ยวเนื่ องกับเงินฝากสถาบันการเงิน เงิ นให้กูย้ ืม เงิ น เบิ กเกิ นบัญชี เงินกูย้ ืมระยะสั้นและเงินกูย้ ืมระยะยาวที่ มีดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เนื่ องจากสิ นทรั พย์และ หนี้ สิ น ทางการเงิ น ส่ ว นใหญ่ มี อตั ราดอกเบี้ ยที่ ป รั บ ขึ้ น ลงตามอัต ราตลาด หรื อมี อตั ราดอกเบี้ ยคงที่ ซ่ ึ ง ใกล้เคียงกับอัตราตลาดในปัจจุบนั ความเสี่ ยงจากอัตราดอกเบี้ยของบริ ษทั ฯจึงอยูใ่ นระดับตํ่า สิ นทรัพย์และหนี้ สินทางการเงินที่สาํ คัญสามารถจัดตามประเภทอัตราดอกเบี้ย และสําหรับสิ นทรัพย์และ หนี้ สินทางการเงินที่มีอตั ราดอกเบี้ยคงที่สามารถแยกตามวันที่ครบกําหนด หรื อ วันที่มีการกําหนดอัตรา ดอกเบี้ยใหม่ (หากวันที่มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ถึงก่อน) ได้ดงั นี้

60


110

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

อัตราดอกเบี้ยคงที่ ภายใน มากกว่า 1 ถึง  ปี  ปี สิ นทรัพย์ ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนระยะสั้น-กองทุนรวมตราสารหนี้ เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เงินให้กยู้ มื ระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างรับ จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินฝากสถาบันการเงินที่มีภาระคํ้าประกัน เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผือ่ ขาย หนีส้ ิ นทางการเงิน เงินกูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน หนี้สินภายใต้สญ ั ญาเช่าทางการเงิน เงินกูย้ มื ระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันและ ดอกเบี้ยค้างจ่าย หุน้ กู้

งบการเงินรวม ณ วันที่  ธันวาคม 8 อัตราดอกเบี้ย ไม่มี ปรับขึ้นลง อัตรา ตามราคาตลาด ดอกเบี้ย รวม

อัตรา ดอกเบี้ย ที่แท้จริ ง (ร้อยละต่อปี )

-

-

303 -

1 29 51 22

304 29 51 22

0.50 - 2.50 -

180 180

84 84

30

208 311

180 84 208 878

7.00 0.10 - 2.15 -

2,191 5

7

1,877 -

257 -

2,191 257 1,877 12

4.00 - 5.40 MLR 2.35 - 12.18

88 1,691 3,975

154 1,392 1,553

1,877

257

242 3,083 7,662

15.00 5.50 - 6.00

งบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่  ธันวาคม 8 อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ย ไม่มี ภายใน มากกว่า 1 ปรับขึ้นลง อัตรา  ปี ถึง  ปี ตามราคาตลาด ดอกเบี้ย รวม สิ นทรัพย์ ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนระยะสั้น-กองทุนรวมตราสารหนี้ เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เงินให้กยู้ มื และดอกเบี้ยค้างรับแก่บริ ษทั ย่อย เงินฝากสถาบันการเงินที่มีภาระคํ้าประกัน เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผือ่ ขาย

(หน่วย: ล้านบาท)

2,728 2,728

178 61 239

23 

1 29 51 5 208 29

24 29 51 5 2,906 61 208 3,284

(หน่วย: ล้านบาท) อัตรา ดอกเบี้ย ที่แท้จริ ง (ร้อยละต่อปี ) 0.50 - 2.50 5.25 - 15.00 0.10 - 2.15 -

61


111

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่  ธันวาคม 8 อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ย ไม่มี ภายใน มากกว่า 1 ปรับขึ้นลง อัตรา ถึง  ปี ตามราคาตลาด ดอกเบี้ย รวม  ปี หนีส้ ิ นทางการเงิน เงินกูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เงินกูย้ มื ระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างจ่ายจาก บริ ษทั ย่อย เงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน หนี้สินภายใต้สญ ั ญาเช่าการเงิน หุน้ กู้

(หน่วย: ล้านบาท) อัตรา ดอกเบี้ย ที่แท้จริ ง

1,896 -

-

-

147

1,896 147

.85 - .40 -

5 1,691 3,592

6 1,392 1,398

715 715

8 155

8 715 11 3,083 5,860

MLR 4.29 - 12.18 6.00

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินรวม ณ วันที่  ธันวาคม 7 อัตราดอกเบี้ยคงที่ ภายใน มากกว่า 1  ปี ถึง  ปี

อัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นลง ตามราคาตลาด

ไม่มี อัตรา ดอกเบี้ย

อัตรา ดอกเบี้ย ที่แท้จริ ง

รวม

(ร้อยละต่อปี )

สิ นทรัพย์ ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

-

-

157

1

158

0.58 - 2.80

เงินลงทุนระยะสั้น-กองทุนรวมตราสารหนี้

-

-

-

27

27

-

เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า

-

-

-

84

84

-

ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เงินให้กยู้ มื ระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างรับ จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินฝากสถาบันการเงินที่มีภาระคํ้าประกัน

-

-

-

31

31

-

320 320

64 64

157

225 368

320 64 225 909

5.50 0.30 - 2.70 -

1,532

-

-

-

1,532

2.00 - 5.70

เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

-

-

-

332

332

-

เงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน หนี้สินภายใต้สญ ั ญาเช่าทางการเงิน

7

11

1,249 -

-

1,249 18

MLR 3.60 - 12.20

-

313 1,687

-

-

313 1,687

15.00 5.50

1,539

2,011

1,249

332

5,131

เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผือ่ ขาย หนีส้ ิ นทางการเงิน เงินกูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

เงินกูย้ มื ระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันและ ดอกเบี้ยค้างจ่าย หุน้ กู้

62


112

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่  ธันวาคม 7 อัตราดอกเบี้ยคงที่ ภายใน มากกว่า 1  ปี ถึง  ปี

อัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นลง ตามราคาตลาด

ไม่มี อัตรา ดอกเบี้ย

อัตรา ดอกเบี้ย ที่แท้จริ ง

รวม

(ร้อยละต่อปี )

สิ นทรัพย์ ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

-

-

31

1

32

0.10 - 2.60

เงินลงทุนระยะสั้น-กองทุนรวมตราสารหนี้

-

-

-

27

27

-

เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า

-

-

-

84

84

-

ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เงินให้กยู้ มื และดอกเบี้ยค้างรับแก่บริ ษทั ย่อย

2,003

231

-

11 -

11 2,234

5.30 - 15.00

เงินฝากสถาบันการเงินที่มีภาระคํ้าประกัน

2,003

61 292

31

225 348

61 225 2,674

0.30 - 2.70

1,178

-

-

-

1,178

2.00 - 5.60

เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

-

-

-

49

49

-

ดอกเบี้ยค้างจ่ายจากบริ ษทั ย่อย

-

-

-

8

8

-

เงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน

-

-

966

-

966

MLR

หนี้สินภายใต้สญ ั ญาเช่าการเงิน

7 -

11 1,687

-

-

18 1,687

3.60 - 12.20

1,185

1,698

966

57

3,906

เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผือ่ ขาย

-

หนีส้ ิ นทางการเงิน เงินกูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

หุน้ กู้

5.50

ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลีย่ น บริ ษทั ฯมี ความเสี่ ยงจากอัตราแลกเปลี่ ยนในระดับตํ่าเนื่ องจากรายการทางธุ รกิ จโดยส่ วนใหญ่ เป็ นสกุล เงินบาท นอกจากนี้ บริ ษ ัท ฯและบริ ษ ัท ย่อ ยยัง มี ค วามเสี่ ย งจากการที่ มี เงิ น ลงทุ น ในบริ ษ ัท ย่อ ยในต่ างประเทศ ซึ่งบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยไม่ได้ทาํ สัญญาป้ องกันความเสี่ ยงไว้ . มูลค่ ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน เนื่ องจากเครื่ องมือทางการเงินส่ วนใหญ่ของบริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจัดอยูใ่ นประเภทระยะสั้น เงินให้กยู้ ืม และเงินกูย้ ืมมีอตั ราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด บริ ษทั ฯและบริ ษทั ย่อยจึงประมาณมูลค่า ยุติธรรมของเครื่ องมือทางการเงินใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชีที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน

63


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

113

7. การบริหารจัดการทุน วัตถุประสงค์ในการบริ หารจัดการทุ นที่ สําคัญของบริ ษทั ฯ คือจัดให้มีซ่ ึ งโครงสร้ างทุ นที่ เหมาะสมเพื่อ สนั บ สนุ น การดํา เนิ น ธุ ร กิ จ ของบริ ษ ัท ฯและเสริ ม สร้ างมู ล ค่ าการถื อ หุ ้ น ให้ กับ ผูถ้ ื อ หุ ้ น โดย ณ วัน ที่ 31 ธันวาคม 2558 กลุ่มบริ ษทั มี อตั ราส่ วนหนี้ สินต่อทุนเท่ากับ 4.08:1 (2557: 2.42:1) และเฉพาะบริ ษทั มี อัตราส่ วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 3.03:1 (2557: 1.86:1) 38. การอนุมัติงบการเงิน งบการเงินนี้ได้รับอนุมตั ิให้ออกโดยคณะกรรมการบริ ษทั ฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 9

64


114

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ลักษณะการประกอบธุรกิจ 1. โครงสร้างรายได้ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย 1 ธุรกิจที่ดินและอาคารโรงงาน - รายได้จากการขาย - รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 2. ธุรกิจให้เช่าพื้นที่สำ�นักงาน - รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 3. ธุรกิจอาคารชุดพักอาศัย 4. กำ�ไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อ การลงทุน 5. รายได้อื่นๆ รวมรายได้

ล้านบาท

2556

ร้อยละ

ล้านบาท

2557

ร้อยละ

ล้านบาท

2558

ร้อยละ

460.00 48.21

48.66 5.09

44.70

3.06

116.55

13.33

199.93 40.36

21.14 4.27

188.90 1,151.35

12.89 78.58

179.17 480.50

20.49 54.95

134.33 62.60 945.42

14.21 6.62 100.00

80.18 1,465.13

5.47 100.00

98.22 874.44

11.23 100.00

2. การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์

2.1 ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ บริษัทฯ และบริษัทย่อยดำ�เนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบที่หลากหลาย โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ผลิตภัณฑ์หรือ การประกอบธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อยแบ่งออกได้เป็น 6 กลุ่มธุรกิจ คือ • นิคมอุตสาหกรรม - ดำ�เนินการโดยบริษัทฯ • โรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้า - ดำ�เนินการโดย TISCOM และ Barnsley, Bognor • อาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) - ดำ�เนินการโดยบริษัทฯ และ CROWN • อาคารสำ�นักงานให้เช่า - ดำ�เนินการโดยบริษัทฯ (SG เป็นเจ้าของสิทธิการเช่าในที่ดินและ อาคารสำ�นักงาน เอส จี ทาวเวอร์ 1 และสิทธิการเช่าช่วงในที่ดินและอาคารสำ�นักงาน เดอะ มิลเลนเนีย) • รับบริหารทรัพย์สิน - ดำ�เนินการโดยบริษัทฯ • บริหารจัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า - ดำ�เนินการโดย TFDRM อนึ่ง ในอดีต บริษทั ฯ และ TISCOM เป็นผู้ดำ�เนินการธุรกิจโรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้า ของกลุ่มบริษทั ฯ ปัจจุบนั ได้มกี ารปรับเปลี่ยน โครงสร้างการดำ�เนินธุรกิจให้มีความชัดเจน โดยให้ TISCOM ,Barnsley และ Bognor ดำ�เนินธุรกิจโรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้าทั้งหมดของ กลุ่มบริษัทฯ 2.1.1 นิคมอุตสาหกรรม ในปี 2550 บริษัทฯ ได้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดีขึ้น ที่อำ�เภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อพัฒนาที่ดิน จัดวางระบบ สาธารณูปโภค และก่อสร้างโรงงานมาตรฐาน โดยบริษัทฯ ได้เข้าทำ�สัญญาร่วมดำ�เนินงานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และได้ จัดพื้นที่ในนิคมให้มีทั้งส่วนที่เป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Zone) และเขตประกอบการเสรี (Free Zone) ไว้รองรับนักลงทุนทั้งชาว ไทยและชาวต่างประเทศ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรม การผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ บริษัทฯ ได้เลือกทำ�เลที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่สามารถอำ�นวยความสะดวกให้กับผู้ลงทุน ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก เลียบถนนมอเตอร์เวย์ ระหว่าง ก.ม. 43 แยกทางเข้าทางหลวงสายฉะเชิงเทรา-ชลบุรี การคมนาคมสะดวก น้�ำ ไม่ทว่ ม เหมาะสมกับการสร้าง โรงงาน อาคารคลังสินค้า และเป็นศูนย์โลจิสติกส์ เป็นอย่างยิง่ เนือ่ งจากมีความได้เปรียบในเรือ่ งของทำ�เลทีต่ งั้ เพราะอยู่ในจุดทีม่ คี วามสะดวก ทางด้านการขนส่ง ใกล้กับกรุงเทพมหานคร อยู่ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิเพียงไม่เกิน 20 นาที และห่างจากท่าเรือน้ำ�ลึกแหลมฉบังเพียง ไม่เกิน 40 นาทีเท่านั้น จัดเป็นทำ�เลที่มีศักยภาพมากกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทฯ มีสัญชาติญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้น ส่วนอิเล็คทรอนิคส์และชิ้นส่วนยานยนต์


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

115

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี แบ่งการดำ�เนินงานออกเป็น 2 เฟส ดังนี้ (1) โครงการเฟสที่ 1 มีพน้ื ที่โครงการทัง้ หมดประมาณ 302.86 ไร่ เป็นพืน้ ทีเ่ กิดรายได้เท่ากับ 230.47 ไร่ ซึง่ แบ่งเป็นเขตประกอบการเสรี (Free Zone) เท่ากับ 74.59 ไร่และเขตอุตสาหกรรมทัว่ ไป (General Zone) เท่ากับ 155.88 ไร่บริษทั ฯ มีการรับรูร้ ายได้จากโครงการทัง้ การขายทีด่ นิ เปล่าและทีด่ นิ พร้อมโรงงานสำ�เร็จรูปขนาด 1,500.00-3,000.00 ตารางเมตร ตัง้ แต่ปี 2554 ซึง่ ณ 31 ธันวาคม 2558 โครงการเฟสที่ 1 มีพน้ื ทีข่ ายแล้วเท่ากับ 225.48 ไร่ และมีพน้ื ทีข่ ายคงเหลือเพียง 4.99 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.17 ของพืน้ ทีเ่ กิด รายได้ทง้ั หมด (2) โครงการเฟสที่ 2 บริษัทฯ ได้จัดทำ�แผนขยายพื้นที่โครงการเฟสที่ 2 ซึ่งมีทำ�เลเชื่อมต่อกับโครงการเฟสที่ 1 อีกประมาณ 2,500.00 ไร่ โดยอยู่ระหว่างเร่งดำ�เนินการพัฒนาที่ดิน ปรับสภาพภูมิทัศน์ จัดทำ�และออกแบบระบบสาธารณูปโภคต่างๆ พร้อมกับจัดทำ� รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อยื่นขออนุญาตกับหน่วยงานราชการ และขออนุญาตการใช้พื้นที่เพื่อการ อุตสาหกรรม ซึ่ง ณ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ ได้ซื้อที่ดินเปล่าในโครงการเฟสที่ 2 แล้วประมาณ 1,757.70 ไร่ ทั้งนี้ ตาม แผนการลงทุนในช่วงปี 2559 - 2561 บริษัทฯคาดว่าจะซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีกประมาณ 750.00 ไร่ โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุน ประมาณ 3,000.00 ล้านบาท มูลค่าโครงการประมาณ 9,000.00 ล้านบาท โดยบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ประมาณ ไตรมาส 3 ของปี 2559 2.1.2 โรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้า TISCOM ดำ�เนินธุรกิจจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมมาตรฐานและคลังสินค้าให้เช่าและขาย ในนิคมอุตสาหกรรมและเขตส่งเสริม อุตสาหกรรมในทำ�เลต่างๆ เพือ่ ให้บริการกับผูล้ งทุน โดยคำ�นึงถึงความสะดวกของการเดินทาง การขนส่ง การติดต่อสือ่ สาร ระบบสาธารณูปโภค ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ดี นอกจากนี้ยังจัดให้มีโรงงานทั้งในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปและเขตประกอบการเสรีตามความต้องการของ ผูล้ งทุนอีกทัง้ TISCOM ได้จดั ตัง้ บริษทั ย่อยในประเทศอังกฤษ ได้แก่ Barnsley Warehouse Limited ซึง่ จดทะเบียนจัดตัง้ เมือ่ วันที่ 22 เมษายน 2557 และ Bognor Regis Warehouse Limited ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2558 เพื่อดำ�เนินธุรกิจด้านการลงทุนในธุรกิจ ที่ดินและอาคารคลังสินค้าเพื่อเช่าและขายในประเทศอังกฤษ (1) โรงงานสำ�เร็จรูป ลักษณะโรงงานเป็นรูปแบบมาตรฐานอาคารชัน้ เดียวพร้อมชัน้ ลอยเพือ่ ใช้เป็นสำ�นักงาน มีขนาดตัง้ แต่ 1,000 ถึง 3,000 ตารางเมตร ซึ่งก่อสร้างในบริเวณพื้นที่ดินที่มีรั้วกั้นเป็นสัดส่วน พร้อมด้วยป้อมยาม และพื้นที่จอดรถ พื้นโรงงานสามารถรับ น้ำ�หนักได้ 3 ตันต่อตารางเมตร TISCOM สามารถให้ทางเลือกกับผู้ลงทุนได้หลายแบบ เช่น การซื้อโรงงาน หรือเช่าโรงงาน หรือให้มีสิทธิ์ซื้อในภาย หลังเป็นต้น สัญญาเช่าระหว่าง TISCOM และลูกค้า โดยส่วนใหญ่มีอายุสัญญาเท่ากับ 3 ปี ซึ่งลูกค้าสามารถต่อสัญญาเช่ากับทาง TISCOM ได้ โดยกำ�หนดให้ลูกค้าชำ�ระเงินมัดจำ�เป็นจำ�นวน 6 เดือนของค่าเช่า ตารางแสดงข้อมูลโรงงานสำ�เร็จรูปและอัตราการเช่า (Occupancy rate) ที่ผ่านมาของบริษัทฯ และ TISCOM โรงงานสำ�เร็จรูป ปี 2556 จำ�นวน (หลัง) พื้นที่ (ต.ร.ม.) ปี 2557 จำ�นวน (หลัง) พื้นที่ (ต.ร.ม.) ปี 2558 จำ�นวน (หลัง) พื้นที่ (ต.ร.ม.)

จำ�นวนโรงงาน ต้นงวด

จำ�นวนที่ขายเข้ากองทุนรวม จำ�นวนโรงงานสิ้นงวด อสังหาริมทรัพย์ มีผู้เช่า ไม่มีผู้เช่า

อัตราการเช่า ณ สิ้นงวด (ร้อยละ)

5 7,650.00

7 14,970.00

5 7,650.00

-

100.00%

5 7,650.00

-

4 6,900.00

1 750.00

90.20%

5 7,650.00

-

4 6,900.00

1 750.00

90.20%

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 TISCOM อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานสำ�เร็จรูป จำ�นวน 21 หลัง ที่ตำ�บลบางเสาธง จังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดดำ�เนินการได้ภายในปี 2559


116

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

(2) คลังสินค้าสำ�เร็จรูป ลักษณะคลังสินค้าของ TISCOM เป็นรูปแบบมาตรฐานอาคารชัน้ เดียวพร้อมชัน้ ลอยเพือ่ ใช้เป็นสำ�นักงาน มีขนาดตัง้ แต่ 2,000 ถึง 10,000 ตารางเมตร ซึ่งก่อสร้างในบริเวณพื้นที่ดินที่มีรั้วกั้นเป็นสัดส่วน พร้อมด้วยป้อมยาม พื้นที่จอดรถ และมี พื้นที่สำ�หรับขนถ่ายสินค้า พื้นคลังสินค้าสามารถรับน้ำ�หนักได้ 3 ตันต่อตารางเมตร TISCOM สามารถให้ทางเลือกกับผู้ลงทุนได้หลายแบบ เช่น การซื้อคลังสินค้า หรือเช่าคลังสินค้า หรือให้สิทธิ์ซื้อใน ภายหลังเป็นต้น สัญญาเช่าระหว่าง TISCOM และลูกค้า โดยส่วนใหญ่มีอายุสัญญาเท่ากับ 3 ปี ซึ่งลูกค้าสามารถต่อสัญญาเช่ากับทาง TISCOM ได้ โดยกำ�หนดให้ลูกค้าชำ�ระเงินมัดจำ�เป็นจำ�นวน 4 เดือนของค่าเช่า ตารางแสดงข้อมูลคลังสินค้าสำ�เร็จรูปและอัตราการเช่า (Occupancy rate) ที่ผ่านมาของบริษัทฯ และ TISCOM คลังสินค้า สำ�เร็จรูป ปี 2556-2557 จำ�นวน (หลัง) พื้นที่ (ต.ร.ม.) ปี 2557 จำ�นวน (หลัง) พื้นที่ (ต.ร.ม.)

จำ�นวนคลังสินค้า ต้นงวด

จำ�นวนที่ขายเข้ากองทุนรวม จำ�นวนคลังสินค้าสิ้นงวด อสังหาริมทรัพย์ มีผู้เช่า ไม่มีผู้เช่า

17 15,034.10

17 15,034.10

8 57,575.00

-

ปีที่ครบกำ�หนดอายุสัญญาเช่า 2556 2557 2558 รวม

-

อัตราการเช่า ณ สิ้นงวด (ร้อยละ)

-

-

0.5 7.5 3,625.00 53,950.00

6.30.%

สัดส่วนรายได้ค่าเช่าคิดเทียบรายได้เช่ารวม (ร้อยละ) 28.18 71.82 100.00

2.1.3 อาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย โดยมีโครงการที่ดำ�เนินการขายแล้วเสร็จทั้งสิ้น 2 โครงการ ประกอบด้วย โครงการ เลค กรีน (LAKEGREEN APARTMENT) และโครงการ 59 เฮอริเทจ (59 HERITAGE) และมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำ�เนินการ ทั้งหมด 4 โครงการ คือ โครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส (15 SUKHUMVIT RESIDENCES) โครงการ เดอะโคโลเนียล เขาเต่า หัวหิน (THE COLONIAL KAO TAO HUA HIN) โครงการ มหาดเล็ก เรสซิเดนเซส (MAHADLEK RESIDENCES) และโครงการ เดอะฮาเบอร์ วิวเรสซิเดนเซส (THE HARBOUR VIEW RESIDENCES) บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยได้พฒ ั นาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดพักอาศัยเพือ่ ขาย เพือ่ ตอบสนองความต้องการของผูท้ ตี่ อ้ งการ ที่อยู่อาศัยในรูปแบบอาคารชุด ทั้งในเมืองซึ่งใกล้แนวรถไฟฟ้า สิ่งอำ�นวยความสะดวก และในต่างจังหวัดเพื่อสนองความต้องการบ้านหลังที่ สองไว้พักผ่อนบรรยากาศเงียบสงบแถบชายทะเล อำ�เภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ 31 ธันวาคม 2558 มีโครงการคอนโดมิเนียม ที่อยู่ระหว่างพัฒนา และ/หรือดำ�เนินการขาย และ/หรือรอโอนให้แก่ลูกค้า รวม 4 โครงการ รายละเอียดดังนี้


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

117

(1) โครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส (15 SUKHUMVIT RESIDENCES) โครงการอาคารห้องชุดพักอาศัยเพื่อขาย ตั้งอยู่ระหว่างซอย 13 และ 15 ถนนสุขุมวิท พื้นที่โครงการ 2-3-73 ไร่ มูลค่า โครงการรวม 3,900 ล้านบาท เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 25 ชั้น โดย CROWN ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารโครงการ ดังกล่าวมาเมื่อปี 2553 โดยมีพื้นที่ใช้สอยรวมของโครงการเท่ากับ 59,113.00 ตารางเมตร เป็นส่วนของพื้นที่ขายรวม 31,659.43 ตารางเมตร จำ�นวนห้องชุดเพื่อขายรวม 505 ยูนิต แบ่งเป็นส่วนของห้องชุดพักอาศัย 492 ยูนิต และส่วนของ พื้นที่พาณิชยกรรม 13 ยูนิต ณ 31 ธันวาคม 2558 CROWN สามารถขายห้องชุดพักอาศัยและร้านค้าไปแล้วประมาณร้อยละ 48.88 ของมูลค่าโครงการ

(2) โครงการ เดอะโคโลเนียล เขาเต่า หัวหิน (THE COLONIAL KAO TAO HUA HIN) โครงการพัฒนาอาคารห้องชุดพักอาศัย ตั้งอยู่ที่บริเวณเขาเต่า ตำ�บลปากน้ำ�ปราณ อำ�เภอปราณบุรี จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ 9-0-42.3 ไร่ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 3,375.00 ล้านบาท บริษัทฯ ได้ดำ�เนินการก่อสร้างอาคาร 3 ชั้น (อาคารสำ�นักงานขาย) เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเปิดใช้เป็นสำ�นักงานขาย ในส่วนของการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ทั้งนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างฐานรากทั้ง 2 อาคาร และอาคารจอดรถ อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนธันวาคม 2557 บริษัทฯ ได้ชะลอ โครงการ ไว้เป็นการชั่วคราว เนื่องจากโครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีฟ้องร้อง (ดูรายละเอียดในส่วนที่ 1 การ ประกอบธุรกิจข้อ 3. ปัจจัยความเสี่ยง)

(3) โครงการ มหาดเล็ก เรสซิเดนซ์ (MAHADLEK RESIDENCES) โครงการอาคารห้องชุดพักอาศัยเพื่อขาย จำ�นวน 1 อาคาร สูง 41 ชั้น พื้นที่โครงการ 1-3-28 ไร่ ตั้งอยู่ในซอย มหาดเล็กหลวง 2 ถนนราชดำ�ริ ที่ดินดังกล่าวถือกรรมสิทธิ์โดยสำ�นักงานพระคลังข้างที่ มีระยะเวลาสัญญาเช่า 30 ปี นับตั้งแต่ วันทีค่ รบกำ�หนดระยะเวลาก่อสร้าง (ตามสัญญาระบุให้ระยะเวลาการปลูกสร้างอาคารตามโครงการ มีก�ำ หนดเวลา 5 ปี นับตัง้ แต่ วันที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจากกรุงเทพมหานคร) หรือนับตั้งแต่ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน โครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากสำ�นักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2557 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นขอใบ อนุญาตก่อสร้าง ซึ่งอยู่ช่วงดำ�เนินการแก้ไขแบบแปลน เพื่อประกอบการขออนุญาตก่อสร้าง


118

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

(4) โครงการ เดอะฮาเบอร์ วิว เรสซิเดนเซส (THE HARBOUR VIEW RESIDENCES) ในปี 2558 บริษัทคราวน์ดีเวลลอปเม้นท์จำ�กัด ได้ลงทุนในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ถนน ณ ระนอง แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1-3-31 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นอาคารชุดพักอาศัยขนาด 472 ห้องพื้นที่ขาย 20,000 ตาราง เมตร เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559 คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติขายทั้งโครงการเมื่อได้ก่อสร้างแล้วเสร็จให้แก่บริษัท บลู โอเชี่ยน เรียลเอสเตท จำ�กัด ในมูลค่ารวม 1,640 ล้านบาท

2.1.4 อาคารสำ�นักงานให้เช่า ในปี 2551 บริษัทฯ ได้ร่วมลงทุนดำ�เนินธุรกิจอาคารสำ�นักงานให้เช่าผ่าน SG ซึ่งบริษัทฯถือหุ้นร้อยละ 49.91 โดย SG ได้ลงทุน ในสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารสำ�นักงาน เอส จี ทาวเวอร์ 1 และสิทธิการเช่าช่วงที่ดินพร้อมอาคารสำ�นักงาน เดอะ มิลเลนเนีย (อาคาร เอส จี ทาวเวอร์ 2) ซึ่งตั้งอยู่ในซอยมหาดเล็กหลวง 3 ถนนราชดำ�ริ และถนนหลังสวน พื้นที่ให้เช่ารวม 26,846.18 ตารางเมตร ทั้งนี้ ที่ดิน และอาคาร เอส จี ทาวเวอร์ 1 ถือกรรมสิทธิ์โดยสำ�นักงานพระคลังข้างที่ (ผู้ให้เช่า) และที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคาร เดอะ มิลเลนเนีย ถือ กรรมสิทธิ์โดย บริษัท จี เอฟ โฮลดิ้งส์ จำ�กัด (ผู้ให้เช่าช่วง) ในขณะที่ อาคาร เดอะ มิลเลนเนีย ถือกรรมสิทธิ์โดย SG และจะตกเป็นของ บริษัท จี เอฟ โฮลดิ้งส์ จำ�กัด เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเช่า ในปี 2568 ทั้งนี้ บริษัทฯ เป็นผู้บริหารอาคารสำ�นักงานให้เช่าดังกล่าว ซึ่งราย ละเอียดดังนี้ (1) อาคาร เอส จี ทาวเวอร์ 1 ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา อาคารเลขที่ 161/1 ซอยมหาดเล็กหลวง 3 ถนนราชดำ�ริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารสำ�นักงานรวมพื้นที่จอดรถให้เช่าทั้งสิ้น 19 ชั้น และมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น มีพื้นที่รวม 30,752.00 ตารางเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ให้เช่า 14,932.53 ตารางเมตร พื้นที่ส่วนกลาง 7,711.62 ตารางเมตร และพื้นที่ จอดรถ 8,107.85 ตารางเมตร (220 คัน) ณ 31 ธันวาคม 2558 มีพื้นที่ปล่อยเช่าแล้วร้อยละ 80.03 ของพื้นที่ให้เช่ารวม (2) อาคาร เดอะ มิลเลนเนีย (อาคาร เอส จี ทาวเวอร์ 2) ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 22 ตารางวา อาคารเลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารสำ�นักงานรวมพื้นที่จอดรถให้เช่าทั้งสิ้น 26 ชั้น และมีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น มีพื้นที่รวม 29,700.00 ตารางเมตร ประกอบ ด้วยพื้นที่ให้เช่า 11,913.65 ตารางเมตร พื้นที่ส่วนกลาง 7,916.35 ตารางเมตร และพื้นที่จอดรถ 9,870.00 ตารางเมตร (220 คัน) ณ 31 ธันวาคม 2558 มีพื้นที่ปล่อยเช่าแล้วร้อยละ 77.32 ของพื้นที่รวม สัญญาเช่าระหว่าง SG และลูกค้า โดยส่วนใหญ่มีอายุสัญญาเท่ากับ 3 ปี ซึ่งลูกค้าสามารถต่อสัญญาเช่ากับทาง SG ได้ โดย SG กำ�หนดให้ลูกค้าชำ�ระเงินมัดจำ�เป็นจำ�นวน 3 เดือนของค่าเช่า


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

119

ตารางสรุปธุรกิจอาคารสำ�นักงานที่ดำ�เนินงานอยู่ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 อาคารสำ�นักงาน ที่ตั้ง ลักษณะ พื้นที่เช่า พื้นที่เช่าที่มี พื้นที่เช่า อัตราการเช่า ทั้งหมด สัญญาเช่า คงเหลือ (Occupancy rate) (ตรม.) (ตรม.) (ตรม.) 80.03% เอส จี ทาวเวอร์ 1 อาคารเลขที่ 161/1 อาคารสำ�นักงาน 14,946.53 11,960.98 2,985.55 ซอยมหาดเล็กหลวง 3 สูง 19 ชั้น และชั้น ใต้ดิน 2 ชั้น ถนนราชดำ�ริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทมฯ เดอะ มิลเลนเนีย

อาคารเลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทมฯ

11,932.65 อารสำ�นักงาน สูง 26 ชั้น และชั้น ใต้ดิน 1 ชั้น

9,225.12 2,706.53

77.32%

26,878.18

21,186.10 5,692.08

79.08%

รวมทั้งหมด

2.1.5 ให้บริการบริหารอสังหาริมทรัพย์ บริษัทฯ และ TISCOM ได้เริ่มมีการขายที่ดินและโรงงานให้กับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ TIF1 ครั้งแรกในปี 2548 หลังจาก นั้นได้มีการขายสินทรัพย์เพิ่มเติมให้แก่กองทุน TIF1 และ M-II อีกในปี 2550 ปี 2555 และปี 2556 ทั้งนี้นอกเหนือจากการขายสินทรัพย์ที่ เป็นที่ดิน โรงงานและคลังสินค้าแล้วบริษัทฯ ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารสินทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว พร้อมทั้งเป็น ผูบ้ ริหารสินทรัพย์อาคารชุดสำ�นักงานให้เช่าของ SG ด้วย โดยได้รบั รายได้คา่ ตอบแทนจากการบริหารทรัพย์สนิ เหล่านัน้ ซึง่ สามารถสรุปได้ดงั นี้ ค่าตอบแทนจากการบริหารทรัพย์สินใน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ TIF 1 และ M-II • ค่าธรรมเนียมผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์และค่าตอบแทนส่วนเพิ่ม • ค่านายหน้าในการจัดหาผู้เช่ารายใหม่ • ค่านายหน้าในการต่อสัญญา • ค่านายหน้าในกรณีที่มีการขายทรัพย์สินหรือโอนสิทธิการเช่าของทรัพย์สิน (ยกเว้น กรณีที่เป็นการขายทรัพย์สินให้แก่ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์หรือบุคคลในกลุ่มเดียวกับผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์​์) (สามารถดูรายละเอียดของสัญญาแต่งตั้งผู้บริหารสินทรัพย์ ได้ในส่วนที่ 5 หัวข้อ ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ) ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่บริษัทฯ รับบริหารอยู่ในณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีดังนี้ (1) TIF 1 เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แบบ Freehold ซึง่ ลงทุนในทีด่ นิ และสิง่ ปลูกสร้างซึง่ ตัง้ อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม โดยทรัพย์สนิ ของ TIF 1 ประกอบด้วยโรงงาน 25 หลัง และอาคารแฟลต 1 หลังจำ�นวน 12 ห้อง โดยแบ่งเป็นแต่ละทำ�เลทีต่ ง้ั ดังนี้ นิคม/เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม 1. นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค 2. นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน 3. นิคมอุตสาหกรรมนวนคร 4. นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 5. นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี 6. นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี (แฟลต 4 ชั้น) 7. นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี รวมทั้งหมด

ที่ตั้ง พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี ปทุมธานี ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา

ประเภท สินค้าที่ให้บริการ ที่ดิน+โรงงาน ที่ดิน+โรงงาน ที่ดิน+โรงงาน ที่ดิน+โรงงาน ที่ดิน+โรงงาน แฟลต ที่ดิน+โรงงาน

เนื้อที่ (ตรม.) 17,248.00 1,980.00 2,310.00 9,150.00 1,800.00 8,811.00 3,240.00 44,539.00

จำ�นวนยูนิต (ยูนิต) 12 1 1 7 2 12 2 37


120

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

(2) M-II เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แบบ Freehold และ Leasehold ซึง่ ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยทรัพย์สินของ M-II ประกอบด้วยโรงงาน 39 หลัง และคลังสินค้า 17 หลัง โดยแบ่งเป็นแต่ละทำ�เลที่ตั้งดังนี้ ประเภท ประเภท เนื้อที่ จำ�นวนยูนิต นิคม/เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ตั้ง สินค้าที่ให้บริการ กรรมสิทธิ์ (ตรม.) (ยูนิต) 1. นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี ที่ดิน+โรงงาน Freehold 2,160.00 2 2. นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี ฉะเชิงเทรา ที่ดิน+โรงงาน Freehold 32,820.00 19 3. นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ชลบุรี ที่ดิน+โรงงาน Freehold+Leasehold1 19,350.00 18 2 15,034.10 17 4. คลังสินค้ากิ่งแก้ว สมุทรปราการ ที่ดิน+คลังสินค้า Freehold+Leasehold รวมทั้งหมด 69,364.10 56 หมายเหตุ : 1. สิ น ทรั พ ย์ ป ระเภทโรงงานเป็ น Freehold และสิ น ทรั พ ย์ ป ระเภทที่ ดิ น เป็ น Leasehold ทั้ ง นี้ สิ ท ธิ การเช่ า ที่ ดิ น (28-0-66.09 ไร่) จะสิ้นสุดอายุสัญญาปี 2585 และสิทธิการเช่าช่วงที่ดิน (1-0-80 ไร่) จะสิ้นสุดอายุสัญญาปี 2561 2. สินทรัพย์ประเภทคลังสินค้าเป็น Freehold และสินทรัพย์ประเภทที่ดินเป็น Leasehold ทั้งนี้ สิทธิการเช่าที่ดิน (25-1-96 ไร่) จะสิ้นสุดอายุสัญญาปี 2579 (3) ทรัพย์สินอาคารชุดสำ�นักงานให้เช่าของ SG ประกอบด้วยอาคารชุด 2 อาคาร เชื่อมติดต่อกันระหว่างซอยมหาดเล็กหลวง 3 ถนน ราชดำ�ริ และถนนหลังสวน โดยมีรายละเอียดดังนี้ อาคารชุดสำ�งานให้เช่า 1. อาคารเอสจี ทาวเวอร์

พื้นที่ให้เช่า (ตรม.) 14,946.53

2. อาคารเดอะ มิลเลนเนีย

11,931.65

รวมทั้งหมด

26,878.18

ประเภทสินทรัพย์ของบริษัทฯ

กรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์

สิทธิการเช่าที่ดินและอาคารสำ�นักงาน (สิ้นสุดปี 2566) สิทธิการเช่าช่วงที่ดินพร้อมอาคาร สำ�นักงาน (สิ้นสุดปี 2568)

สำ�นักงานพระคลังข้างที่ SG

สิทธิและประโยชน์ที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้รับ • สิทธิประโยชน์จากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - บริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำ�หรับเงินปันผลรับจากการลงทุนใน M-II ซึ่งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

3. การตลาดและการแข่งขัน

121

3.1 กลยุทธ์ทางการตลาด นิคมอุตสาหกรรม กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทฯ คือ อุตสาหกรรมกลุ่มสนับสนุน (Supporting industry) และผู้ประกอบการ รายใหญ่ที่ได้ซอื้ ทีด่ นิ เปล่าในนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดีไว้แล้ว โดยมีกลุม่ เป้าหมายหลักคือผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรมขนาด SME ที่ไม่กอ่ ให้ เกิดมลภาวะ และต้องการความสะดวกในการขนส่ง โดยเฉพาะผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดีตงั้ อยูบ่ นพืน้ ทีท่ มี่ รี ะดับความสูงจากน้�ำ ทะเลถึง 2 เมตร ซึง่ มีความปลอดภัยและไม่มผี ลกระทบจากเหตุอทุ กภัย ทำ�ให้มคี วามต้องการจากนักลงทุนในการซือ้ ทีด่ นิ เปล่า และเช่าโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี อีกทัง้ ยังได้รบั สิทธิประโยชน์จากสำ�นักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โซน 2 ที่มีระยะทางใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุด ซึ่งทำ�เลที่ตั้งของนิคมดังกล่าวถือเป็นจุดยุทธศาสตร์และสร้าง ความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Competitive advantage) ให้แก่บริษัทฯ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้รวบรวมที่ดินไว้มากกว่า 1,800 ไร่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ที่พร้อมสำ�หรับการนำ�มาพัฒนาในนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 ภายในช่วงระยะเวลา 5 - 8 ปีข้างหน้า ซึ่งบริษัทฯ ได้ทยอยซื้อไว้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ�เมื่อเปรียบเทียบกับราคาซื้อขาย เนื่องจากปัจจุบัน ที่ดินที่จะสามารถนำ�มาพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมนั้นมีจำ�นวนที่ไม่มากนัก จึงทำ�ให้ที่ดินดิบมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับสมัยก่อน โดยเฉพาะที่ดินติดถนนในละแวกนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี และถนนบางนา-ตราด ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 20 ถึงกิโลเมตร ที่ 40 อีกทั้ง ที่ดินที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเป็นที่ต้องการของนักลงทุนเป็นอย่างมากและเริ่มขาดแคลน ส่งผลให้ความต้องการที่ดินในนิคม อุตสาหกรรมทีเอฟดีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การตั้งราคาขายที่ดินและราคาค่าเช่าพื้นที่ของบริษัทฯ จะพิจารณาจากต้นทุนการก่อสร้าง ต้นทุนทางการเงิน และระดับราคาของทีด่ นิ โดยรอบ ซึง่ บริษทั ฯ จะปรับราคาค่าเช่าพืน้ ทีแ่ ละราคาขายทีด่ นิ เปล่าให้มคี วามสอดคล้องกับสภาวะ ตลาดอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี บริษทั ฯ มีชอ่ งทางการจัดจำ�หน่ายทัง้ หมด 2 ช่องทางหลัก ประกอบด้วย สำ�นักงานขายของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี และการจำ�หน่าย ผ่านตัวแทน (Agent) ที่ได้แนะนำ�ลูกค้าให้แก่บริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการสื่อสารทางการตลาด ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ ป้ายโฆษณา (Billboard) บริเวณนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ และการจัดอีเว้นท์ร่วมกับสำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น โรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในธุรกิจการให้เช่าโรงงานและคลังสินค้าสำ�เร็จรูปของ TISCOM คือ อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม รวม ทั้งผู้ประกอบการชาวไทยและชาวต่างชาติที่ต้องการจำ�กัดความเสี่ยงในการลงทุนสำ�หรับช่วงเริ่มต้นดำ�เนินธุรกิจ เนือ่ งด้วยผูป้ ระกอบการต่างชาติบางรายเลือกทีจ่ ะมีโรงงานและคลังสินค้าในเขตนิคมอุตสาหกรรม จากความต้องการบริการด้านระบบ สาธารณูปโภคและบริการอุตสาหกรรมที่เพียบพร้อม อีกทั้งการอยู่รวมตัวกันในนิคมอุตสาหกรรมยังสร้างข้อได้เปรียบให้กับผู้ประกอบการ จากระบบขนส่งที่กำ�ลังพัฒนา การจัดการทางด้านแหล่งวัตถุดิบ รวมไปถึงการพึ่งพาซึ่งกันและกันของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน อุตสาหกรรมยานยนต์และปิโตรเคมี นอกจากนี้ โรงงานและคลังสินค้าสำ�เร็จรูปยังช่วยอำ�นวยความสะดวกต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ดังกล่าว ในการไม่ตอ้ งเสียเวลาและบุคลากรในการดำ�เนินการก่อสร้างโรงงานเพือ่ ผลิตสินค้า การมีบริการให้เช่าโรงงานและคลังสินค้าสำ�เร็จรูป เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนในการลงทุน และเพิ่มความยืดหยุ่นในการแข่งขันธุรกิจ ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกที่จะเช่าโรงงานและ คลังสินค้าในระยะแรก หลังจากนั้นจึงขยายไปสู่การซื้อที่ดินอุตสาหกรรมหรือโรงงานและคลังสินค้าเป็นของตนเองเมื่อธุรกิจขยายตัว ทั้งยัง เป็นการรักษาความสัมพันธ์ทดี่ กี บั ลูกค้าในระยะยาว ทำ�ให้ลกู ค้าสามารถเน้นการลงทุนด้านกลยุทธ์ได้มากขึน้ โดยไม่จ�ำ เป็นต้องลงทุนในส่วน ของที่ดินหรืออาคารโรงงานและคลังสินค้า ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และทำ�ให้ผลตอบแทนในการลงทุนสูงขึ้น ซึ่งทำ�เลที่ตั้งของโรงงาน และคลังสินค้า ประกอบกับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการอย่างครบวงจร (One-stop-service) ถือเป็นความได้เปรียบเชิงการแข่งขันหลัก ของ TISCOM ค่าเช่าโรงงานและคลังสินค้าสำ�เร็จรูปขึ้นอยู่กับต้นทุนในการก่อสร้างและต้นทุนทางการเงินเป็นหลัก โดยในการกำ�หนดราคาค่าเช่า ดังกล่าว จะคำ�นึงถึงทำ�เลที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้าประกอบกับค่าเช่าของคู่แข่งขันหรือนิคมอุตสาหกรรมใกล้เคียงด้วย เพื่อให้การ กำ�หนดราคาค่าเช่าอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ TISCOM มีช่องทางการจัดจำ�หน่ายทั้งหมด 2 ช่องทางหลัก ประกอบด้วย การติดต่อลูกค้าเป้าหมายผ่านพนักงานขายของ TISCOM เอง และการจำ�หน่ายผ่านตัวแทน (Agent) ทั้ได้แนะนำ�ลุกค้านอกจากนี้ TISCOM ยังมีการสื่อสารทางการตลาด ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ ป้ายโฆษณา (Billboard) บริเวณนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ และการจัดอีเว้นท์ร่วมกับสำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน เป็นต้นเช่นเดียวกับการสื่อสารทางการตลาดของธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม


122

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

อาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในธุรกิจอาคารชุดพักอาศัยของบริษัทฯ และ CROWN คือ กลุ่มที่มีรายได้ระดับกลางขึ้นไป ที่มีความต้องการ ที่อยู่อาศัยในรูปแบบอาคารชุด ทั้งในเมืองใกล้แนวรถไฟฟ้า และในต่างจังหวัดสำ�หรับเป็นบ้านหลังที่สองไว้พักผ่อน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯและ CROWN มีโครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างพัฒนา และ/หรือดำ�เนินการขาย และ/หรือ รอโอนให้แก่ลูกค้า รวมทั้งหมด 4 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส 2) โครงการ เดอะโคโลเนียล เขาเต่า หัวหิน 3) โครงการ มหาดเล็ก เรสซิเดนเซส 4) โครงการ เดอะฮาเบอร์ วิว เรสซิเดนเซสทั้งนี้ ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของบริษัทฯ และ CROWN ในธุรกิจอาคารชุดพักอาศัย มาจากประสบการณ์อันยาวนานด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริหาร ส่งผลให้บริษัทฯสามารถคัดเลือกและจัดหา ทำ�เลที่มีความเหมาะสมในการดำ�เนินโครงการอาคารชุดพักอาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ และ CROWN มีช่องทางการจัดจำ�หน่ายทั้งหมด 2 ช่องทางหลัก ประกอบด้วย การติดต่อลูกค้าเป้าหมายผ่านพนักงานขาย ของบริษัทฯ และ CRONW เอง และการจัดจำ�หน่ายผ่านตัวแทน (Agent) อาคารสำ�นักงานให้เช่า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในธุรกิจอาคารสำ�นักงานให้เช่าของ SG คือ กลุ่มผู้ประกอบการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่ต้องการอาคาร สำ�นักงานให้เช่าในบริเวณศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business District) ทั้งนี้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของ SG คือ กลุ่มผู้ประกอบการชาว ต่างชาติ ซึ่งมักเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีการแนะนำ�ต่อๆ กันมา SG เป็นบริษทั ทีบ่ ริษทั ฯ ได้เข้าร่วมลงทุนเพือ่ ดำ�เนินธุรกิจอาคารสำ�นักงานให้เช่าซึง่ บริษทั ฯ ถือหุน้ ร้อยละ 49.91 โดยมีอาคารสำ�นักงาน ให้เช่า 2 อาคาร ได้แก่ 1) อาคาร เอส จี ทาวเวอร์ 1 และ 2) อาคาร เดอะ มิลเลนเนีย (อาคาร เอส จี ทาวเวอร์ 2) ซึ่งทำ�เลที่ตั้งของอาคาร สำ�นักงานให้เช่าทั้ง 2 แห่งของ SG สามารถเชื่อมติดต่อกันระหว่างซอยมหาดเล็กหลวง 3 ถนนราชดำ�ริ และถนนหลังสวน ซึ่งอยู่ใกล้กับ สถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีราชดำ�ริ และสถานีชิดลม โดยทำ�เลดังกล่าวถือเป็นจุดยุทธศาสตร์และสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันให้กับธุรกิจ อาคารสำ�นักงานให้เช่าของ SG การกำ�หนดอัตราค่าเช่าสำ�นักงานของ SG จะอิงกับอัตราค่าเช่าเดิมที่ได้ทำ�สัญญาไว้กับลูกค้า โดยจะคำ�นึงถึงอัตราค่าเช่าสำ�นักงาน ในบริเวณใกล้เคียงประกอบ เพื่อให้อัตราค่าเช่าที่กำ�หนดเป็นอัตราที่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้ ทั้งนี้ SG มีนโยบายในการ ปรับอัตราค่าเช่าทุกๆ 3 ปีตามอายุของสัญญาเช่า เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดอย่างต่อเนื่อง SG มีชอ่ งทางการจัดจำ�หน่ายทัง้ หมด 2 ช่องทางหลัก ประกอบด้วยช่องทางการจำ�หน่ายโดยตรงผ่านสำ�นักงานขายของ SG เอง และ การจำ�หน่ายผ่านตัวแทน (Agent) ที่ได้แนะนำ�ลูกค้า


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

123

ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน นิคมอุตสาหกรรม

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มีแผนที่จะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการใหม่ในจังหวัดชายแดนเพื่อรองรับการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยเฉพาะในจังหวัดกาญจนบุรี และเชียงราย อีกทั้งยังมีแผนที่จะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอีก 8 แห่ง ในบางจังหวัดตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก นอกจากนี้การนิคมอุตสาหกรรมยังต้องการพันธมิตรจากภาคเอกสาร ที่จะเข้ามาร่วมพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดเล็กเพื่อรองรับอุตสาหกรรมขนาด SME คณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะปรับเปลี่ยนนโยบายการส่งเสริมการลงทุนเป็นรูปแบบใหม่ในปี พ.ศ. 2558 เพื่อรองรับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ซึ่งทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนออกมาตรา การ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนต่างชาติยังคงมีความกังวลต่อเรื่องการแบ่งเขตการลงทุนตามนโยบาย ดังนี้รัฐบาลควรพัฒนาปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อรองรับการลงทุน คสช. มีแผนจะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทัว่ ประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดตามแนวชายแดนทีเ่ ชือ่ มต่อกับประเทศเพือ่ นบ้านโดยสะพาน มิตรภาพ โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษทุกแห่งจะประกอบไปด้วยพื้นที่พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย และอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำ�คัญที่มีผล ต่อตลาดนิคมอุตสาหกรรมในประเทศในปี พ.ศ. 2558 และในอนาคตราคาขายของที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับ ทำ�เลทีต่ งั้ ระยะทางจากระบบขนส่งโครงสร้างพืน้ ฐานและกลุม่ ผูจ้ ดั จำ�หน่ายราคาขายของทีด่ นิ ทีอ่ ยู่ในนิคมอุตสาหกรรมในกรุงเทพมหานครสูง ทีส่ ดุ เนือ่ งจากเป็นศูนย์กลางของการขนส่งซึง่ รวมทัง้ ท่าเรือและสนามบินอันดับสองและสามคือฉะเชิงเทราและระยองตามลำ�ดับราคาทีด่ นิ ทีม่ ี ความแตกต่างกันมากในกรุงเทพมหานครและฉะเชิงเทราเนือ่ งจากว่ามีนคิ มอุตสาหกรรมหลายแห่งทีต่ งั้ อยู่ใกล้กบั กรุงเทพมหานครในขณะที่ นิคมอุตสาหกรรมอืน่ ๆ ตัง้ อยูไ่ กลออกไปราคาทีด่ นิ ในนิคมอุตสาหกรรมทีอ่ ยู่ในจังหวัดปราจีนบุรแี ละสระบุรมี รี าคาถูกกว่าเนือ่ งจากตัง้ อยูไ่ กล จากกรุงเทพมหานครและท่าเรือ สภาวะการแข่งขันภายในธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ยังจัดอยู่ในขั้นปานกลาง เนื่องจากมีผู้ประกอบการน้อยราย และเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ เงินลงทุนมาก ผู้แข่งขันโดยตรงของบริษัทฯ คือนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่อยู่ในทำ�เลเดียวกัน ซึ่งมีจำ�นวน 5 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม เกตเวย์ซิตี้ และนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย และนิคมอุตสาหกรรมทีพาร์ค ทั้งนี้ จาก ทำ�เลของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี ซึง่ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์และสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันให้แก่บริษทั ฯนัน้ ส่งผลให้บริษทั ฯ มีศกั ยภาพ ในการแข่งขันทีค่ อ่ นข้างสูง และสามารถเป็นผูน้ �ำ ในการกำ�หนดราคา (Price maker) ในธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมทีต่ ง้ั อยู่ในทำ�เลใกล้เคียงกันได้​้ โรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้า ในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมโดยทัว่ ไปจะเริม่ ต้นจากการพัฒนาทีด่ นิ อุตสาหกรรม การจัดสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานในทีด่ นิ อุตสาหกรรม และการขายทีด่ นิ ให้แก่ผปู้ ระกอบการอุตสาหกรรมเพือ่ ก่อสร้างโรงงานหรือคลังสินค้า ทัง้ นีผ้ ปู้ ระกอบการอาจเลือกทางเลือกในการเช่าโรงงาน หรือคลังสินค้าแทนการสร้างเอง เพื่อลดเงินลงทุนและลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการเช่าโรงงานและ คลังสินค้าดังกล่าวทำ�ให้ผู้เช่าได้รับความสะดวกจากการรับบริการแบบครบวงจรจากนิคมอุตสาหกรรมนั้นๆ นอกจากนั้น ธุรกิจโรงงาน มาตรฐานและคลังสินค้ายังส่งผลให้ผปู้ ระกอบการชาวต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนตัง้ ฐานการผลิตในประเทศไทยได้โดยไม่ตอ้ งถือกรรมสิทธิ์ ในโรงงานและคลังสินค้า อุปทานของโรงงานมาตรฐานและคลังสินค้าให้เช่า สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ อุปทานจากผูพ้ ฒ ั นาโรงงานและคลังสินค้า บนที่ดินอุตสาหกรรมที่ตนเองพัฒนาขึ้น ซึ่งผู้พัฒนาโรงงานและคลังสินค้าจะเป็นบุคคลเดียวกันกับเจ้าของนิคมอุตสาหกรรม และอุปทาน จากผู้พัฒนาโรงงานและคลังสินค้าบนที่ดินอุตสาหกรรมที่ซื้อหรือเช่าจากเจ้าของที่ดินอุตสาหกรรม เช่น บริษัทที่ดำ�เนินธุรกิจสร้างโรงงาน และคลังสินค้าเพื่อให้เช่าบนที่ดินที่ซื้อจากเจ้าของที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมในทำ�เลที่หลากหลาย เป็นต้นทั้งนี้ อุปสงค์ของโรงงานมาตรฐาน และคลังสินค้าให้เช่าจะมาจากผูป้ ระกอบการที่ไม่ตอ้ งการเป็นเจ้าของสินทรัพย์โรงงานและคลังสินค้า เพือ่ ลดเงินลงทุนของโครงการและเพือ่ ความยืดหยุ่นในการดำ�เนินธุรกิจ อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นทางเลือกที่ดีสำ�หรับการลงทุนของผู้ประกอบการชาวต่างชาติ เนื่องจากทำ�เลที่ ตั้งซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของทวีปเอเชีย แรงงานที่มีทักษะ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ ที่สนับสนุนต่อการลงทุนจาก ต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการเช่าโรงงานและคลังสินค้าเพิ่มสูงขึ้น


124

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

สภาวะการแข่งขันภายในธุรกิจโรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้า ยังจัดอยู่ในขัน้ ปานกลาง เนือ่ งจากมีผปู้ ระกอบการน้อยราย และเป็นธุรกิจ ทีต่ อ้ งใช้เงินลงทุนมาก เช่นเดียวกันกับธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม นอกจากนัน้ กลุม่ ผูป้ ระกอบการและนักลงทุนส่วนใหญ่ทมี่ คี วามต้องการโรงงาน หรือคลังสินค้าให้เช่า จะมีทำ�เลเป้าหมายซึ่งสามารถสนับสนุนธุรกิจของผู้ประกอบการหรือนักลงทุนรายนั้นๆ อยู่แล้ว ผู้แข่งขันโดยตรงของ TISCOM ในธุรกิจนี้ คือนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่อยู่ในทำ�เลเดียวกันซึ่งมีการให้บริการโรงงานมาตรฐานและคลังสินค้าให้เช่า ทั้งนี้ จาก ทำ�เลของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี ซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์และสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันให้แก่กลุ่มบริษัทฯนั้น ส่งผลให้ TISCOM มี ศักยภาพในการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง และสามารถเป็นผู้นำ�ในการกำ�หนดราคา (Price maker) ในธุรกิจโรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้าที่ตั้งอยู่ ในทำ�เลใกล้เคียงกันได้​้ อาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) ตามรายงานวิจัยของ คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย ณ ไตรมาสที่ 4 ปี 2558 พบว่า คอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ใน ไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 มีประมาณ 5,960 ยูนิต ต่ำ�กว่าไตรมาสก่อนประมาณร้อยละ 13 โดยหลายโครงการเลื่อนมาจากไตรมาสก่อนๆ ใน ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายชะลอการเปิดขายโครงการใหม่ออกไปจนกระทั่งปี 2558 ทั้งนี้ มีคอนโดมิเนียมประมาณ 34,670 ยูนิต ซึ่งต่ำ� กว่าคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในช่วง ปี 2557 ซึ่งต่ำ�กว่าปี พ.ศ. 2557 ประมาณ 30% และมีผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงไม่ม่ันใจในกำ�ลังซื้อ พวกเขาจึงปรับแผนการลงทุนในปี 2559 ทั้งนี้ มีอุปทานของคอนโดมิเนียม ณ ปี 2558 ของกรุงเทพมหานคร อยู่ที่ประมาณ 466,400 ยูนิต 

แผนภาพ คอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่

ที่มา: ฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

125

อัตราการขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 อยู่ที่ประมาณ 120,600 บาทต่อตารางเมตร เพิ่มขึ้น จากไตรมาสก่อนหน้านี้ ประมาณ 25% เพราะว่ามีหลายโครงการทีเ่ ปิดขายในไตรมาสที่ 4 พ.ศ.2558 ในราคาทีส่ งู กว่า 200,000 บาทต่อ ตารางเมตร เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายเปิดขายโครงการระดับ Luxury ด้วยราคาขายที่มากกว่า 200,000 บาทต่อตารางเมตรและให้ความสนใจ มากกว่ากลุ่มระดับล่างที่ได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือนและกำ�ลังซื้อที่ลดลง 

ที่มา: ฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย สภาวะการแข่งขันภายในธุรกิจอาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) ของบริษทั ฯ และ CROWN จัดอยู่ในขัน้ สูง เนือ่ งจากความต้องการ ในตลาดคอนโดมิเนียมไม่ลดลงหรือลดลงในสัดส่วนทีต่ �่ำ ในขณะทีผ่ ปู้ ระกอบการทัง้ รายเล็กและรายใหญ่ตา่ งให้ความสนใจในการพัฒนาอาคาร สูงกันมากขึ้น แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีอุปทานมากอยู่แล้วก็ตามผู้แข่งขันโดยตรงของกลุ่มบริษัทฯ ในธุรกิจนี้ คือ โครงการคอนโดมิเนียมอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับโครงการของกลุ่มบริษัทฯ ทั้งนี้ จากประสบการณ์อันยาวนานด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริหาร ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถคัดเลือกและจัดหาทำ�เลที่มีความเหมาะสมในการดำ�เนินโครงการคอนโดมิเนียมได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบกับการตั้งราคาที่ มีความเหมาะสมและสามารถแข่งขันได้ในตลาด ส่งผลให้บริษัทฯ และ CROWN มีศักยภาพในการแข่งขันกับผู้แข่งขันรายอื่นๆ ในธุรกิจ คอนโดมิเนียมได้ อาคารสำ�นักงานให้เช่า ตามรายงานวิจัยของ คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย ณ ปี 2558 พบว่าอุปทานของอาคารสำ�นักงานใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด น้อยมาก อาคารสำ�นักงานใหม่ส่วนใหญ่กำ�ลังก่อสร้างอยู่นอกพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ อาคารสำ�นักงานของปี 2558 ทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 8,284,400 ตารางเมตร ซึ่งเป็นอาคารสำ�นักงานใหม่ประมาณ 109,940 ตารางเมตรสร้างเสร็จในปี 2558 แผนภาพ อุปทานของอาคารสำ�นักงานสะสม

ที่มา: ฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย


126

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

อัตราการเช่าเฉลี่ยของอาคารสำ�นักงานในกรุงเทพมหานครอยู่ที่ประมาณร้อยละ 90 ซึ่งเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในอาคารสำ�นักงานเกรด A ที่อยู่ไม่ไกลกับระบบขนส่งมวลชนอาคารสำ�นักงานที่คุณภาพไม่ดีในทำ�เลที่ห่างไกลจากระบบขนส่งมวลชนไม่เป็นที่สนใจมากนักเล็กน้อย จากไตรมาสก่อน โดยอาคารสำ�นักงานเกรด A ในพื้นที่ตามแนวถนนพหลโยธินมีอัตราการเช่าสูงที่สุดที่ประมาณร้อยละ 98 ในขณะที่อาคาร สำ�นักงานเกรด B ในพื้นที่ศูนย์กลางเขตธุรกิจอยู่ที่ประมาณร้อยละ 95 ทั้งนี้ อัตราการเช่าเฉลี่ยในตลาดอาคารสำ�นักงานมีค่าสูงที่สุดในช่วง หลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการพื้นที่อาคารสำ�นักงานจากบริษัทต่างชาติ และบริษัทไทยที่มีมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดย เฉพาะในพื้นที่ศูนย์กลางเขตธุรกิจ และพื้นที่ตามแนวถนนรัชดาภิเษก แผนภาพ อัตราการเช่าของพื้นที่อาคารสำ�นักงาน จำ�แนกตามทำ�เลที่ตั้ง ณ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2558

ที่มา: ฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย

ค่าเช่าเฉลี่ยในพื้นที่ศูนย์กลางเขตธุรกิจมีค่าสูงที่สุด โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งตลาดประมาณร้อยละ 56 เนื่องจากอาคารสำ�นักงาน เกรด A ในกรุงเทพมหานครจะอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางเขตธุรกิจ นอกจากนี้ความต้องการพื้นที่สำ�นักงานในอาคารสำ�นักงานเกรด A ก็เพิ่มขึ้น ค่อนข้างมากในช่วงหลายไตรมาสทีผ่ า่ นมา และอาคารสำ�นักงานเกรด A ในพืน้ ทีศ่ นู ย์กลางเขตธุรกิจส่วนใหญ่จะมีอตั ราการเช่าทีส่ งู มากหรือ เกือบเต็มร้อยละ 100 ซึ่งมีผลต่อเนื่องมายังค่าเช่าที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ไตรมาส ทั้งนี้ อาคารสำ�นักงานเกรด A บางอาคารในพื้นที่ศูนย์กลาง เขตธุรกิจมีค่าเช่ามากกว่า 950 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน นอกจากนี้อาคารสำ�นักงานเกรด A บางอาคารปรับเพิ่มค่าเช่าขึ้นมากกว่า ร้อยละ 5 หลังจากที่อัตราการเช่าใกล้จะเต็มร้อยละ 100 และอาคารสำ�นักงานบางอาคารในพื้นที่ตามแนบถนนรัชดาภิเษกก็ปรับเพิ่มขึ้นค่า เช่าร้อยละ 5 - 10 เนื่องจากความต้องการพื้นที่อาคารสำ�นักงานในพื้นที่ดังกล่าว และอาคารสำ�นักงานใหม่ๆ บางอาคารมีอัตราการเช่าเต็ม ร้อยละ 100 หรือเกือบเต็มก่อนที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ แผนภาพ ค่าเช่าเฉลี่ย จำ�แนกตามทำ�เลที่ตั้ง ณ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 แผนภาพ อาคารสำ�นักงานให้เช่าสร้างใหม่ ในเขตกรุงเทพฯ

ที่มา: ฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย สภาวะการแข่งขันภายในธุรกิจอาคารสำ�นักงานให้เช่าของ SG จัดอยู่ในขั้นต่ำ� เนื่องจากอุปสงค์ของตลาดอาคารสำ�นักงานให้เช่ามี การเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อุปทานมีค่อนข้างจำ�กัด โดยเฉพาะในเขตศูนย์กลางทางธุรกิจ นอกจากนั้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของ SG เป็นกลุม่ ผูป้ ระกอบการจากชาวต่างชาติ ซึง่ มักจะมาจากการแนะนำ�ต่อๆ กันมา ผูแ้ ข่งขันโดยตรงในธุรกิจนีค้ อื อาคารสำ�นักงานให้เช่าอืน่ ๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารสำ�นักงานให้เช่าของ SG ทั้งนี้ จากทำ�เลที่ตั้งของอาคารสำ�นักงานให้เช่าของ SG ที่ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ และสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันให้แก่ธุรกิจ ส่งผลให้ SG มีศักยภาพในการแข่งขันกับผู้แข่งขันรายอื่นๆ ในธุรกิจดังกล่าวได้


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

127

การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

นิคมอุตสาหกรรม บริษัทฯ ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาที่ดินเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 1 ประมาณ 3 - 5 ปี โดยไม่รวมระยะเวลาขออนุญาต จากหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ ระยะเวลาการพัฒนาทีด่ นิ เพือ่ จัดตัง้ นิคมอุตสาหกรรมในแต่ละโครงการขึน้ อยูก่ บั ระยะเวลาขออนุญาตจากหน่วย งานที่เกี่ยวข้องและฤดูกาล เป็นหลัก เนื่องจากฤดูฝนจะส่งผลให้การดำ�เนินการก่อสร้างเป็นไปได้ยากขึ้น ทั้งนี้ ขั้นตอนในการพัฒนานิคม อุตสาหกรรมของบริษัทฯ สามารถสรุปได้ดังแผนภาพดังต่อไปนี้ โดยวัตถุดิบและบริการหลักในการพัฒนาที่ดินเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ที่ดิน ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ออกแบบโครงการ และวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ปูนซีเมนต์และเหล็ก เป็นต้น ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่การจัดหาวัสดุก่อสร้างจะเป็นภาระหน้าที่ของผู้รับเหมาก่อสร้างที่ บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ว่าจ้างในการดำ�เนินโครงการ โรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้า TISCOM ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างโรงงานมาตรฐานและคลังสินค้า ประมาณ 6 - 7 เดือน โดยไม่รวมระยะเวลาขออนุญาตจากหน่วย งานทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ ระยะเวลาในการก่อสร้างโรงงานและคลังสินค้าจะขึน้ อยูก่ บั ระยะเวลาขออนุญาตจากหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องและฤดูกาล เป็น หลัก เนื่องจากฤดูฝนจะส่งผลให้การดำ�เนินการก่อสร้างเป็นไปได้ยากขึ้น เช่นเดียวกันกับการพัฒนาที่ดินเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม โดยวัตถุดบิ และบริการหลักในการก่อสร้างโรงงานมาตรฐานและคลังสินค้า ประกอบด้วย ทีด่ นิ ผูร้ บั เหมาก่อสร้าง ผูอ้ อกแบบโครงการ และวัสดุกอ่ สร้าง เช่นเดียวกันกับการพัฒนาทีด่ นิ เพือ่ จัดตัง้ นิคมอุตสาหกรรม ทัง้ นี้ โดยส่วนใหญ่การจัดหาวัสดุกอ่ สร้างจะเป็นภาระหน้าทีข่ อง ผู้รับเหมาก่อสร้างที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ว่าจ้างในการดำ�เนินโครงการ อาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) บริษัทฯ และ CROWN ใช้ระยะเวลาในการดำ�เนินงานก่อสร้างคอนโดมิเนียมประมาณ 2.5 - 3 ปี โดยไม่รวมระยะเวลาขออนุญาตจาก หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ ระยะเวลาในการก่อสร้างคอนโดมิเนียมในแต่ละโครงการจะแตกต่างกันออกไปขึน้ อยูก่ บั ขนาดของโครงการเป็นหลัก โดยวัตถุดิบหลักในการก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียม ประกอบด้วย ที่ดิน ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ออกแบบโครงการ และวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ คอนกรีตสำ�เร็จรูป (Precast concrete) กระจก และอลูมิเนียม เป็นต้น ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่การจัดหาวัสดุก่อสร้างจะเป็นภาระหน้าที่ ของผู้รับเหมาก่อสร้างที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ว่าจ้างในการดำ�เนินโครงการ อาคารสำ�นักงานให้เช่า บริษัทฯ ประกอบธุรกิจอาคารสำ�นักงานให้เช่า โดยการร่วมกับพันธมิตร (Schubert Holdings Ple., Ltd) เข้าซื้อ SG ซึ่งมีอาคาร สำ�นักงานให้เช่า 2 แห่ง ภายหลังจากการเข้าลงทุนใน SG บริษัทฯได้ทำ�หน้าที่เป็นผู้บริหารอาคารสำ�นักงานดังกล่าว


128

งานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ณ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีงานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ดังนี้

ลักษณะ

15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส อาคารชุด 26 ชั้น

2-3-73

100

505

3,739

333

1,828

172

1,912

48.88

299

1,665

34

162

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

โครงการ

พื้นที่โครงการ ร้อยละ จำ�นวนห้องทั้งหมด จำ�นวนห้องที่จำ�หน่าย จำ�นวนห้องที่คงเหลือ ร้อยละของ จำ�นวนห้องที่โอน จำ�นวนห้องคงเหลือที่ ไร่-งาน-วา ของความ กรรมสิทธิ์แล้ว รอโอน แล้ว ความคืบ คืบหน้า หน่วย มูลค่า หน่วย มูลค่า หน่วย มูลค่า หน้าการ หน่วย มูลค่า หน่วย มูลค่า ขาย โครงการ (ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท)


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

129

นโยบายเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ขัดกัน 1. นโยบายเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ขัดกัน

นโยบายของบริษัท เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ขัดกันตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า การตัดสินใจใดๆ ของบุคลากรทุกระดับในการดำ�เนินกิจกรรม ทางธุรกิจจะต้องทำ�เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทเท่านั้น การตัดสินใจดังกล่าวจะต้องปราศจากอิทธิพลของความต้องการส่วนตัว ของ ครอบครัว หรือบุคคลผู้ใกล้ชิด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจว่าอะไรเป็นผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท โดยเฉพาะสำ�หรับบุคลากรทุก คนจะต้องปฏิบัติงานให้เต็มเวลาให้แก่บริษัทอย่างสุดกำ�ลังความสามารถ และไม่ควรจะมีผลประโยชน์ทางธุรกิจอื่นใดภายนอกบริษัท อันจะ เป็นการเบียดบังเวลาหรือเบียดบังการทุ่มเทเอาใจใส่ในหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีต่อบริษัท และอาจสร้างความเสียหายให้แก่บริษัท ผลประโยชน์ทขี่ ดั กันจะเกิดขึน้ ในกรณีทบี่ คุ ลากรทุกระดับมีผลประโยชน์สว่ นตัวหรือครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชดิ ไม่วา่ จะเป็นด้านการ เงิน หรือด้านอื่นใดก็ตามในกิจการซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จากการตัดสินใจของบุคคลผู้นั้นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้แก่บริษัท หรือการ รับรู้กิจกรรมการดำ�เนินงาน หรือแผนการในอนาคตของบริษัท บริษัทถือเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกระดับที่จะหลีกเลี่ยงการมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงิน และ/หรือ ความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก อื่นๆ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทต้องเสียผลประโยชน์ หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งในด้านความภักดี หรือผลประโยชน์ หรือขัดขวางการปฏิบัติงาน อย่างมีประสิทธิภาพ บริษทั มีนโยบายทีจ่ ะปกปักรักษาผลประโยชน์อนั ชอบธรรมของบริษทั ขณะเดียวกันก็จะให้มกี ารจำ�กัดขอบเขตแห่งเสรีภาพในกิจกรรม ต่างๆ ของบุคลากรทุกระดับให้น้อยที่สุด

2. ตัวอย่างสถานการณ์เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ขัดกัน

บุคลากรทุกระดับควรจะยึดตัวอย่างต่อไปนี้ไว้เป็นแนวทางพิจารณาเพือ่ ประโยชน์ของตนเอง และให้ถอื เป็นเรือ่ งสำ�คัญเรือ่ งหนึง่ ในการ ปฏิบตั งิ าน การเปิดเผยและปรึกษาหารือตามขัน้ ตอนจะช่วยคลีค่ ลายปัญหาหรือนำ�ไปสูก่ ารหาทางออกทีเ่ หมาะสมต่อไป เมือ่ เกิดความสงสัย ไม่แน่ใจใดๆ ควรจะขอคำ�ปรึกษาทุกครั้ง 2.1 การลงทุนทั่วไป กฎพื้นฐานในเรื่องนี้มีอยู่ว่า บุคลากรทุกระดับ ครอบครัว หรือ บุคคลผู้ใกล้ชิด ต้องไม่เป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับผลประโยชน์จาก บริษัทคู่แข่งหรือกิจการใดๆ รวมถึงลูกค้า ผู้ค้า/ผู้ขาย ที่บริษัทติดต่อธุรกิจด้วย การซื้อหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือการลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือหน่วยลงทุนไม่เป็นผลประโยชน์ที่ ขัดกันตราบใดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานให้กับบริษัท 2.2 การจัดหาสินค้าและบริการให้บริษัท ผลประโยชน์ทขี่ ดั กันอาจจะเกิดขึน้ ถ้าบุคลากรทุกระดับครอบครัว หรือบุคคลผูใ้ กล้ชดิ เป็นผูจ้ ดั หาสินค้า หรือบริการให้ แก่บริษัท ในฐานะผู้ค้า/ผู้ขาย ถ้าบุคคลผู้นั้นสามารถที่จะชี้นำ�หรือมีอิทธิพลต่อการดำ�เนินงานของกิจการดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะไม่มี หน้าที่ที่เกี่ยวกับการทำ�ธุรกิจของบริษัทกับกิจการนั้นๆ ก็ตาม ในกรณีทบี่ คุ ลากรทุกระดับของบริษทั คนใดมีบคุ คลในครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชดิ เป็นพนักงาน หรือเจ้าของกิจการทีเ่ ป็นลูกค้า ผูค้ า้ /ผูข้ าย หรือคูแ่ ข่ง และบุคลากรของบริษทั ผูน้ นั้ มีสว่ นร่วมตัดสินใจในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับกิจการดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นผลประโยชน์ที่ขัดกัน ในทำ�นองเดียวกันหากลูกค้า ผู้ค้า/ผู้ขาย หรือพนักงานของคู่แข่งคนใดมีบุคคลในครอบครัวเป็นบุคลากรของบริษัท ก็เป็นเรื่อง ที่ไม่สมควรที่จะมอบอำ�นาจให้บุคลากรผู้นั้นของบริษัท มีอิทธิพลในการตัดสินเกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ในครอบครัวของตน บริษัทจะไม่ซื้อหรือเช่าทรัพย์สิน อุปกรณ์ วัตถุดิบ หรือใช้บริการจากบุคลากรของบริษัท บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด และไม่ทำ�สัญญาใดๆ ในเรื่องดังกล่าวด้วย (ยกเว้นเฉพาะสัญญาจ้างพนักงาน) เว้นแต่เป็นกรณีพิเศษและได้รับการอนุมัติเป็นลาย ลักษณ์อักษรจากกรรมการผู้จัดการ


130

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

2.3 สิ่งบันเทิงและของขวัญ บุคลากรทุกระดับไม่ควรจะรับสิ่งบันเทิง ของขวัญ ตั๋วโดยสาร บัตรชมกีฬา ตั๋วอื่นๆ ข้อเสนอเพื่อการพักผ่อน ที่พักรับรอง หรือ ข้อเสนอที่ให้เป็นการส่วนตัวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานของตนในบริษัท หากการกระทำ�ดังกล่าวจะนำ�ไปสู่การสร้างข้อผูกมัด ให้กับบริษัท หรืออาจจะทำ�ให้บุคคลผู้นั้นต้องตกอยู่ในสถานการณ์ผลประโยชน์ขัดกัน 2.4 การรับงานทางวิชาการ เป็นวิทยากร งานบริการสาธารณะ หรือการรับตำ�แหน่งใดๆ ผู้บริหาร พนักงาน สามารถเข้าร่วมกิจกรรมภายนอกได้ หากมีเหตุผลที่ดีมีหลายกรณีที่บริษัท ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วม กิจกรรมภายนอกเพราะเห็นว่ากิจกรรมเหล่านั้นช่วยขยายการมองการณ์ ไกล และประสบการณ์ให้แก่บุคลากร ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการ ทำ�งานของบุคลากรให้เป็นประโยชน์แก่ บริษัทยิ่งขึ้น บุคลากรที่จะรับงานในสถาบันวิชาชีพ เป็นวิทยากร งานบริการสาธารณะ หรือ การรับตำ�แหน่งใดๆ เช่น กรรมการบริษัท ที่ปรึกษา เป็นต้น โดยบุคลากรผู้นั้นจะต้องขออนุมัติจากกรรมการผู้จัดการ ก่อนรับงาน หรือตำ�แหน่งดังกล่าว บุคลากรที่ได้รับอนุมัติแล้วควรระลึกเสมอว่าจะต้องไม่นำ�เอาบริษัท หรือตำ�แหน่งของตนในบริษัทไปพัวพันกับ กิจกรรมที่ทำ�ภายนอกเว้นแต่ได้รับอนุมัติให้ทำ�เช่นนั้นได้ด้วย ในกรณีที่ผู้บริหารหรือพนักงานได้รับตำ�แหน่งให้เป็นเลขานุการคณะกรรมการใดๆ ของบริษัทหรือเป็นตัวแทน บริษัทใน คณะจัดการในโครงการ/กรรมการในบริษัทร่วมทุน บริษัทในเครือไม่ถือว่าเป็นกรณีผลประโยชน์ที่ขัดกัน

3. ค�ำจ�ำกัดความ

“ครอบครัว” หมายถึง บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรทุกระดับไม่ว่าในทางสายเลือด หรือจากการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย “บุคคลผู้ใกล้ชิด” หมายถึง บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรทุกระดับในทางสัมพันธภาพใดๆ อย่างใกล้ชิด

รายการระหว่างกัน

1. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งและลักษณะความสัมพันธ์ บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง บริษัท เจซี เควิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด (JC Kevin) (ชื่อเดิม บริษัท วี.ซี.เอ.แอล. บิสซิเนส กรุ๊ป จำ�กัด) ดำ�เนินธุรกิจพัฒนาอาคารชุดเพื่อขาย ธุรกิจพัฒนาอาคาร สำ�นักงานให้เช่า และโรงแรม บริษัท เจซี เควิน ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอเรจ จำ�กัด ดำ�เนินกิจการโรงแรม ภัตคาร บาร์ ไนท์คลับ นายอภิชัย เตชะอุบล นางชลิดา เตชะอุบล นายอดิศร เตชะอุบล

ลักษณะความสัมพันธ์ นางชลิดา เตชะอุบล (ภรรยาของนายอภิชยั ) ถือหุน้ ร้อยละ 100 นายอภิชยั เตชะอุบล และนายโชติวทิ ย์ เตชะอุบล (บุตรของนาย อภิชยั ) เป็นกรรมการของ JC Kevin บริษัท เจซี เควิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ถือหุ้นร้อยละ 100 นายอภิชัย เตชะอุบล นายโชติวิทย์ เตชะอุบล และนายกฤตวัฒน์ เตชะอุบล (บุตรของนายอภิชัย) เป็นกรรมการของ JC Food ประธานกรรมการบริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ภรรยาของนายอภิชัย เตชะอุบล น้องชายของนายอภิชัย เตชะอุบล


2. รายการระหว่างกันของบริษัทฯและบริษัทย่อยและบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในปี 2557 และปี 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีการทำ�รายการกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งโดยรายการระหว่างกันดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ รายการที่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินงานทั่วไป บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง

JC Food

JC Kevin

ลักษณะรายการ

TFD

ค่ารับรอง: TFD ได้ใช้บริการร้านอาหาร และโรงแรมของ JC Kevin ในการเลี้ยง รับรองแขกและใช้หอ้ งประชุมในการประชุม กรรมการและประชุมผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้การค้า

0.86

2.80 JC Kevin คิดค่าบริการโดยมีส่วนลดพิเศษร้อยละ 10 จากราคาที่คิดกับลูกค้าทั่วไป

0.75

ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ: คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าเป็นรายการทีส่ มเหตุสมผล ให้ความสะดวกแก่ TFD ในการเลีย้ งรับรอง 0.27 แขกและประชุม เนื่องจากสถานที่ใกล้กับสำ�นักงานของ TFD และได้รับส่วนลดพิเศษ

ค่าเช่าสำ�นักงาน: TFD ได้ตกลงทำ�สัญญา เช่าพื้นที่อาคารสำ�นักงานจาก JC Kevin ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 4 - 6 พื้นที่รวม 2,497 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่ ของ TFD อัตราค่าเช่าและค่าบริการเดือนละ 1,123,650 บาท (450 บาทต่อตารางเมตร) สัญญาเช่า 3 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559

10.47

TFD

เงินมัดจำ�ล่วงหน้า เจ้าหนี้การค้า

มูลค่ารายการ (ล้านบาท) ปี 2557 ปี 2558

6.98

ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผล

22.90 เนื่องจากปัจจุบัน TFD และบริษัทย่อย มีการขยายกิจการเพิ่มขึ้นจึงจำ�เป็นต้องหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อใช้ เป็นสำ�นักงานสำ�หรับดำ�เนินธุรกิจของ TFD และบริษัทย่อย ด้วยพื้นที่สำ�นักงานในปัจจุบันคับแคบไม่เพียง พอกับจำ�นวนพนักงานที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนสัญญาเช่าเดิมได้หมดอายุลงในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 TFD จึงได้พิจารณาเช่าพื้นที่สำ�นักงานอาคารจาก JC Kevin นี้แทนเพราะเป็นอาคารใหม่มีพื้นที่เช่าเพียงพอต่อ ความต้องการ และอัตราค่าเช่าสำ�นักงานเป็นอัตราที่เทียบเคียงได้กับอาคารสำ�นักงานในบริเวณใกล้เคียง

6.98 0.15

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริษัทฯ

131


ลักษณะรายการ

TISCOM ค่าเช่าสำ�นักงาน: TISCOM ได้ตกลงทำ� สัญญาเช่าพื้นที่อาคารสำ�นักงานจาก JC Kevin ชั้นที่ 3 พื้นที่รวม 196 ตาราง เมตร เพื่อใช้เป็นที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่ของ TISCOM อัตราค่าเช่าและค่าบริการเดือน ละ 88,200 บาท (450 บาทต่อตาราง เมตร) สัญญาเช่า 3 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 เงินมัดจำ�ล่วงหน้า

มูลค่ารายการ (ล้านบาท) ปี 2557 ปี 2558

ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผล

0.83

0.83 ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ: ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การ เข้าทำ�รายการทีเ่ กีย่ วโยงกันดังกล่าวมีความสมเหตุสมผล เพราะนอกจากอาคารของ JC Kevin จะเป็นอาคาร ใหม่ และมีพนื้ ทีเ่ พียงพอต่อความต้องการแล้ว TFD ยังได้รบั อัตราค่าเช่าทีล่ ดลงจากเดิมทีช่ ำ�ระอยู่ในปัจจุบนั ตลอดจนสามารถเทียบเคียงได้กับอาคารสำ�นักงานในบริเวณที่ใกล้เคียง

0.53

0.53

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

JC Kevin

บริษัทฯ

132

บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง


บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง

JC Kevin

บริษัทฯ

ลักษณะรายการ

ดอกเบี้ยค้างรับ

ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผล

320.00 180.00 1) การจัดซื้อที่ดินเขาใหญ่ CROWN ได้ทำ�สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่เขาใหญ่จำ�นวน 138 ไร่ เป็นจำ�นวนเงิน 800 ล้านบาท กับ JC Kevin เพือ่ พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพือ่ ขาย เนือ่ งจากคณะกรรมการ TFD เห็นว่า รายการดังกล่าว เป็นรายการธุรกิจปกติที่มีเงื่อนไขทางการค้าโดยทั่วไป และจะสร้างผลประโยชน์ให้แก่ TFD ทำ�ให้ CROWN มีโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อพักอาศัยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่โครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนซ์ได้ ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก่อนตัดสินใจเข้าทำ�การซื้อขายที่ดินดังกล่าว TFD ได้ว่าจ้างบริษัทประเมิน ราคาที่ดินเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ต่อมาบริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำ�กัด ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของ TFD ในการจัดเตรียมเอกสาร และการยื่นคำ�ขอต่อสำ�นักงาน ก.ล.ต. เพื่อออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ได้ให้ความเห็นว่า รายการดังกล่าว จัดเป็นรายการธุรกิจปกติที่ไม่มเี งือ่ นไขทางการค้าโดยทัว่ ไป และมีขนาดรายการเกินกว่าร้อยละ 3 ของมูลค่า สินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ ซึ่งตามประกาศที่เกี่ยวข้อง TFD จะต้องขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ TFD เปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และขออนุมัติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ TFD เห็นว่าการทำ�รายการดังกล่าวจะต้องดำ�เนินการว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินอิสระให้ความเห็นเพื่อ ขออนุมตั ติ อ่ ทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ซึง่ จะทำ�ให้การจัดซือ้ ทีด่ นิ ต้องล่าช้าออกไป และส่งผลกระทบต่อแผนการระดม ทุนที่ได้วางไว้ คณะกรรมการ TFD ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 จึงมีมติอนุมัติให้ CROWN ยกเลิกการซื้อที่ดินดังกล่าว และแจ้งให้ JC Kevin ชำ�ระเงินมัดจำ�ค่าที่ดินคืนให้แก่ CROWN

0.15

0.07

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

CROWN ลูกหนี้อื่น: เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2556 CROWN ได้ทำ�สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำ�นวน 138 ไร่ เป็นจำ�นวนเงิน 800 ล้านบาท กับ JC Kevin โดยมีเงื่อนไขการ ชำ�ระเงินดังนี้ 1. ชำ�ระเงินมัดจำ�งวดแรก จำ�นวน 300 ล้านบาท ณ วันทำ�สัญญา 2. ชำ�ระเงินงวดที่ 2 จำ�นวน 20 ล้านบาท ในวันที่ 30 มกราคม 2557 และจำ�นวน 180 ล้านบาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2557 3. ชำ�ระส่วนที่เหลือ จำ�นวน 300 ล้าน บาท ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ วันที่ 30 มกราคม 2557 CROWN ได้ ชำ�ระเงินมัดจำ�ให้แก่ JC Kevin ไปแล้วรวม 320 ล้านบาทต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2558 JC Kevin ได้ชำ�ระเงินให้แก่ CROWN บางส่วนจำ�นวน 140 ล้านบาท

มูลค่ารายการ (ล้านบาท) ปี 2557 ปี 2558

133


JC Kevin (ต่อ)

CROWN (ต่อ)

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการ (ล้านบาท) ปี 2557 ปี 2558

ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผล

อย่างไรก็ตาม สำ�นักงาน ก.ล.ต.ได้เสนอแนะว่า TFD ควรเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการพิจารณา อนุมัติรายการดังกล่าว เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี ประกาศ ของสำ�นักงาน ก.ล.ต.และประกาศของตลาดหลักทรัพย์ฯ TFD จึงได้นำ�รายการดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมการ TFD ครั้งที่ 14/2557 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 เพื่อพิจารณาทบทวนการอนุมัติอีกครั้ง โดย TFD ได้ปรับเปลีย่ นรูปแบบการพัฒนาโครงการเพือ่ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองทีย่ งั คงมี ความไม่แน่นอนและได้ว่าจ้างผู้ประเมินราคาอิสระ 2 ราย เป็นผู้ทำ�การประเมินราคาที่ดินซึ่งได้ราคาประเมิน ที่ดินเท่ากับ 808.20 ล้านบาท และ 777.71 ล้านบาท ตามลำ�ดับ ฝ่ายจัดการจึงได้มีการเจรจาต่อรองกับ JC Kevin เพื่อปรับลดราคาขายที่ดินให้สอดคล้องและเหมาะสมกับราคาประเมินใหม่ และค่าเสียโอกาสที่ CROWN จะนำ�เงินมัดจำ�ค่าที่ดินไปแสวงหาประโยชน์อื่น ซึ่งได้ข้อสรุปเงื่อนไขสัญญาใหม่ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. กรณีมติผู้ถือหุ้นอนุมัติให้ซื้อที่ดิน JC Kevin ยินยอมปรับลดราคาที่ดินลงเป็น 755 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักเงินมัดจำ�ค่าที่ดินที่ได้ชำ�ระไปแล้ว 320 ล้านบาท รวมคงเหลือเงินที่ต้องจ่ายชำ�ระค่าที่ดินอีก 435 ล้านบาท ซึ่งต้องชำ�ระภายใน 90 วันนับจาก วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ 2. กรณีมติผู้ถือหุ้นไม่อนุมัติให้ซื้อที่ดิน JC Kevin ยินยอมจ่ายชำ�ระเงินมัดจำ�ค่าที่ดินจำ�นวน 320 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5.5 ต่อปีคืนให้แก่ CROWN นับจากวันที่ JC Kevin ได้รับเงินมัดจำ�จาก CROWN จนถึงวันที่ CROWN ได้รับ ชำ�ระเงินมัดจำ�คืนจาก JC Kevin ภายใน 90 วันนับจากวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติไม่อนุมัติทั้งนี้ ที่ประชุม คณะกรรมการ TFD ได้มีมติอนุมัติให้ CROWN จัดซื้อที่ดินจาก JC Kevin และให้นำ�เสนอรายการดังกล่าว เพื่อขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ TFD

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริษัทฯ

134

บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง


บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง

บริษัทฯ

JC Kevin (ต่อ)

CROWN (ต่อ)

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการ (ล้านบาท) ปี 2557 ปี 2558

ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผล

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

135

2) การยกเลิกสัญญาจัดซื้อที่ดิน เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2557 มีมติไม่อนุมัติให้ CROWN จัดซื้อที่ดิน ดังกล่าวจึงส่งผลให้ JC Kevin ต้องจ่ายชำ�ระเงินมัดจำ�ค่าที่ดินจำ�นวน 320 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 5.5 ต่อปี คืนให้แก่ CROWN ภายใน 90 วันนับจากวันที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ TFD มีมติไม่อนุมัติ (ครบกำ�หนดวันที่ 29 ธันวาคม 2557) 3) การขยายระยะเวลาการชำ�ระเงินมัดจำ�คืน (ครั้งที่ 1) ต่อมาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2557 JC Kevin ได้จ่ายชำ�ระดอกเบี้ยค้างชำ�ระ จำ�นวน 17.68 ล้านบาท ให้ แก่ CROWN และ JC Kevin ได้เจรจาขอขยายระยะเวลาในการจ่ายชำ�ระคืนเงินมัดจำ�ค่าที่ดินออกไป โดยมีรายละเอียดเงื่อนไข ดังนี้ 1. ขยายระยะเวลาการชำ�ระเงินมัดจำ�ค่าที่ดินจำ�นวน 320 ล้านบาท ออกไปอีก 1 ปีนับจากวันที่ครบ กำ�หนดการจ่ายชำ�ระคืนในวันที่ 29 ธันวาคม 2557 2. จ่ายชำ�ระดอกเบี้ยทุกเดือน ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.0 ต่อปี นับจากวันที่ 29 ธันวาคม 2557 เป็นต้น ไป จนถึงวันที่ CROWN ได้รับชำ�ระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนจาก JC Kevin จนครบถ้วนแล้ว 3. จดจำ�นองห้องชุดโครงการ “สาทร เฮอริเทจ เรสซิเดนเซส” อาคาร C ตัง้ อยูถ่ นนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร จำ�นวน 30 ยูนิต พื้นที่ขายรวม 3,288.49 ตร.ม. เป็นหลัก ประกันการชำ�ระหนี้ โดยค่าใช้จ่ายในการจดจำ�นองและค่าใช้จ่ายอื่นใดที่อาจเกิดขึ้น JC Kevin เป็นผู้รับ ผิดชอบเพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ นายอภิชัย เตชะอุบล ซึ่งเป็นผู้ค้ำ�ประกันการชำ�ระเงินยินยอมตกลง เข้าผูกพันเป็นผู้ค้ำ�ประกันต่อไป ทั้งนี้ รายการดังกล่าวจัดเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน ประเภทการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และมีขนาด รายการเกินกว่าร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ ซึ่งตามประกาศที่เกี่ยวข้อง TFD จะต้องขอ อนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ TFD เปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และขออนุมัติ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ TFD ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 จึงมีมติอนุมัติให้ CROWN ขยายระยะ เวลาการจ่ายชำ�ระเงินมัดจำ�ค่าที่ดิน และให้นำ�เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ TFD เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งจะจัดประชุมในวันที่ 27 เมษายน 2558 นี้


JC Kevin (ต่อ)

CROWN (ต่อ)

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการ (ล้านบาท) ปี 2557 ปี 2558

ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผล

4) การขยายระยะเวลาการชำ�ระเงินมัดจำ�คืน (ครั้งที่ 2) ต่อมาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2558 และ 15 กุมภาพันธ์ 2559 JC Kevinได้มีหนังสือแจ้งขอผ่อนผันการจ่าย ชำ�ระหนี้เงินต้นจำ�นวน 320,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่ CROWN จากเดิมที่จะต้องจ่ายชำ�ระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยให้ครบถ้วนภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2558 ออกไปเป็นภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2559 และขอ ให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเบี้ยปรับในการจ่ายชำ�ระล่าช้าบางส่วน จำ�นวน 2,800,000 บาทโดย JC จะชดเชย ด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาที่ขยายออกไปเป็นร้อยละ 7.25 ต่อปี สำ�หรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็น ไปตามรายละเอียดทีร่ ะบุไว้ในสัญญาเดิมและเมือ่ วันที่ 30 ธันวาคม 2558 JC Kevin ได้ช�ำ ระเงินให้แก่CROWN บางส่วนจำ�นวน 140 ล้านบาทคงเหลือยอดหนี้เงินมัดจำ�ที่ค้างชำ�ระจำ�นวน 180 ล้านบาท ทั้งนี้ รายการดังกล่าวจัดเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน ประเภทการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และมีขนาด รายการเกินกว่าร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ ซึ่งตามประกาศที่เกี่ยวข้อง TFD จะต้องขอ อนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ TFD เปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และขออนุมัติ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ TFD ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 จึงมีมติอนุมัติให้ CROWN ขยายระยะ เวลาการจ่ายชำ�ระเงินมัดจำ�ค่าที่ดิน และให้นำ�เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ TFD เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งจะจัดประชุมในวันที่ 29 เมษายน 2559 นี้

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริษัทฯ

136

บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง


บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง

บริษัทฯ

JC Kevin (ต่อ)

CROWN (ต่อ)

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการ (ล้านบาท) ปี 2557 ปี 2558

ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผล

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ: 1) การจัดซื้อที่ดินเขาใหญ่ ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบครั้งที่ 10/2557 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 มีความเห็นว่า การจัดซื้อ ทีด่ นิ จาก JC Kevin น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึง่ ทีจ่ ะเป็นแหล่งสร้างรายได้และผลกำ�ไรแห่งใหม่ให้แก่ CROWN และ TFD ได้ในอนาคต อีกทั้งราคาซื้อขายที่ดินใหม่ก็ต่ำ�กว่าราคาประเมินของผู้ประเมินราคาอิสระ ประกอบ กับเงื่อนไขสัญญาที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการซื้อขายที่ดินทั่วไป จึงเห็นสมควรเสนอต่อที่ประชุมคณะ กรรมการ TFD เพือ่ พิจารณา และนำ�เสนอรายการดังกล่าวเพือ่ ขออนุมตั ติ อ่ ทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ของ TFD ต่อไป 2) การยกเลิกสัญญาจัดซื้อที่ดิน เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2557 มีมติไม่อนุมัติให้ CROWN จัดซื้อที่ดิน ดังกล่าว 3) การขยายระยะเวลาการชำ�ระเงินมัดจำ�คืน (ครั้งที่ 1) ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 มีความเห็นว่า การขยาย ระยะเวลาการชำ�ระหนี้คืนในครั้งนี้ JC Kevin ได้เสนอผลตอบแทนให้แก่ CROWN ในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของ TFD และ JC Kevin ได้จ่ายชำ�ระดอกเบี้ยค้างชำ�ระในปี 2557 คืนให้ แก่ CROWN แล้ว รวมทั้ง JC Kevin ยินยอมจดจำ�นองทรัพย์สินเป็นหลักประกันการจ่ายชำ�ระหนี้ดังกล่าว เพิม่ เติม ซึง่ มูลค่าหลักประกันตามราคาประเมินของผูป้ ระเมินราคาอิสระสูงกว่ามูลหนีท้ คี่ า้ งชำ�ระอยู่ในปัจจุบนั ประกอบกับ นายอภิชัย เตชะอุบล ได้ร่วมค้ำ�ประกันการชำ�ระคืนเงินดังกล่าวในนามส่วนตัว จึงเห็นสมควร เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ TFD เพื่อพิจารณา และนำ�เสนอรายการดังกล่าวเพื่อขออนุมัติต่อที่ประชุม ผู้ถือหุ้นของ TFD ต่อไป

137


JC Kevin (ต่อ)

CROWN (ต่อ)

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการ (ล้านบาท) ปี 2557 ปี 2558

ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผล

4) การขยายระยะเวลาการชำ�ระเงินมัดจำ�คืน (ครั้งที่ 2) ต่อมา ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เมื่อได้พิจารณาถึง ความจำ�เป็นและความตั้งใจของ JC Kevin ที่จะชำ�ระหนี้และประวัติการชำ�ระดอกเบี้ยคืนให้แก่ CROWN ใน ช่วงเวลาที่ผ่านมา คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การขอผ่อนผันเงื่อนไข การชำ�ระ และการยกเว้น ค่าเบี้ย ปรับบางส่วนให้แก่ JC Kevin นั้น อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และเป็นธรรมกับบริษัทฯ เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. JC KEVIN ได้จ่ายชำ�ระดอกเบี้ยให้แก่ CROWN ในอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.25 ต่อปี เพื่อชดเชย กับช่วงเวลาที่ JC KEVIN ได้ขอ้ ขยายระยะเวลาการชำ�ระหนีอ้ อกไป และทีผ่ า่ นมา JC KEVIN ได้จา่ ยชำ�ระ ดอกเบี้ยให้แก่ CROWN อย่างสม่ำ�เสมอ และตรงตามกำ�หนดทุกเดือนอีกทั้ง สามารถรับรู้ดอกเบี้ย ที่ได้ รับชำ�ระจากJC KEVIN เป็นรายได้ของบริษัทฯ 2. อัตราดอกเบีย้ ที่ได้รบั สูงกว่าต้นทุนทางการเงินเฉลีย่ ของบริษทั ฯทีป่ จั จุบนั อยูท่ ป่ี ระมาณร้อยละ 6 ต่อปี 3. ห้ อ งชุ ด ที่ จ ดจำ � นองเป็ น หลั ก ประกั น มี มู ล ค่ า สู ง กว่ า มู ล หนี้ ที่ ค งเหลื อ อยู่ ใ นปั จ จุ บั น อี ก ทั้ ง คุณอภิชัย เตชะอุบล ยังคงเป็นผู้ร่วมค้ำ�ประกันดังเดิม และ JC KEVIN ได้ส่งมอบเช็ค ลงวันที่ ล่วงหน้า เพื่อเป็นหลักประกันการชำ�ระหนี้เพิ่มเติมให้แก่ CROWN 4. การยกเว้ น ค่ า เบี้ ย ปรั บ บางส่ ว น จำ � นวน 2,800,000 บาท ที่ เ กิ ด จากหนี้ เ งิ น ต้ น จำ � นวน 140,000,000 บาท ที่ JC KEVIN ได้จ่ายชำ�ระให้แก่ CROWN ในวันที่ 30 ธันวาคม 2558 อยู่ในเกณฑ์ ที่ยอมรับได้เนื่องจาก ได้รับชำ�ระเงินล่าช้ากว่ากำ�หนดเพียง 1 วันเท่านั้น อีกทั้งเหตุของความล่าช้าเกิด ขึ้นเป็นเหตุสุวิสัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ของ JC 5. การผ่อนปรนเงือ่ นไขการชำ�ระหนี้ให้แก่ JC KEVIN เป็นทางเลือกทีก่ อ่ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ ทัง้ CROWN บริษัทฯ และ JC KEVIN มากกว่าทางเลือกในการฟ้องร้องบังคับคดี ทั้งในด้านเวลาและค่าใช้จ่ายที่อาจ เกิดขึ้นรวมถึงช่วยลดผลกระทบต่อ ชื่อเสียงของบริษัทฯ กรรมการ และผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

บริษัทฯ

138

บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง


บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง

บริษัทฯ

JC Kevin (ต่อ)

CROWN (ต่อ)

นายอดิศร เตชะอุบล

TFD

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการ (ล้านบาท) ปี 2557 ปี 2558

ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผล

นอกจากนี้การให้ความช่วยเหลือทางการเงินในครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน และฐานะ ทางการเงินของบริษัทฯ โดยเมื่อพิจารณาจากงบการเงินรวมของบริษัทฯ ณ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสุทธิเท่ากับ 304.16 ล้านบาท ซึง่ เพียงพอสำ�หรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ภายในกิจการ จึงเห็นสมควรเสนอต่อทีป่ ระชุมคณะกรรมการ TFD เพือ่ พิจารณา และนำ�เสนอรายการดังกล่าว เพื่อขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ TFD ต่อไป 0.78

- รายการขายห้องชุดดังกล่าว เป็นรายการค้าปกติซึ่งมีราคาและเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไปเช่นเดียวกับการขาย ให้กับลูกค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ: คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าทั้งสองรายการดังกล่าวเป็นรายการทางการค้าปกติ บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

เงินมัดจำ �: เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2555 นายอดิศร เตชะอุบล ได้ทำ�สัญญาจะซื้อ จะขายห้องชุดโครงการ เดอะโคโลเนียล เขาเต่า หัวหิน จำ�นวน 1 ห้อง ในราคา 5.19 ล้านบาท โดยได้ชำ�ระเงินจองและเงินทำ� สัญญาแล้วเป็นจำ�นวน 0.78 ล้านบาท โดย ทาง TFD ได้ชำ�ระคืนเงินดังกล่าวแล้วเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม 2558

139


140

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

รายการเงินให้กู้ยืมระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อย กับ บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง - ไม่มี รายการค้ำ�ประกันเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง

นายอภิชัย เตชะอุบล

ผู้กู้

TFD TFD

ค้ำ� ประกัน

ü ü

วงเงิน ภาระหนี้คงเหลือ ลักษณะ ความจำ�เป็นและ (ล้านบาท) (ล้านบาท) ของ ความสมเหตุสมผล ณ 31 ธ.ค. ณ 31 ณ 31 รายการ 58 ธ.ค. 57 ธ.ค. 58 990.00 150.00 95.00 เป็นการค้ำ� การค้ำ�ประกันนี้เป็นไปตามเงื่อนไขในการ 800.00 513.35 312.06 ประกันส่วน กู้ยืมเงินของสถาบันการเงิน เพื่อใช้เป็นเงิน บุคคล ทุนหมุนเวียนในการดำ�เนินกิจการรวมทั้งเพื่อซื้อ ที่ดินและก่อสร้างโครงการของ TFD และบริษัท ย่อย โดยเป็นเงินกู้โครงการ เป็นต้น ซึ่งเป็น รายการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของ TFD และบริษัทย่อย

ความเห็นคณะกรรมการตรวจสอบ: คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า รายการ ค้ำ�ประกันดังกล่าว เป็นรายการที่มีความจำ�เป็น และสมเหตุสมผล และเป็นรายการที่ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อผลประกอบการของ TFD และ บริษัทย่อย 3. มาตรการหรือขั้นตอนการอนุมัติการทำ�รายการระหว่างกัน คณะกรรมการบริษัทฯ จะเป็นผู้อนุมัติรายการระหว่างกัน โดย - ฝ่ายจัดการต้องจัดทำ�รายงานเสนอต่อคณะกรรมการบริษทั ฯ โดยมีขอ้ มูลครบถ้วนเพียงพอต่อการพิจารณาเพือ่ คุม้ ครองผูล้ งทุน แสดงถึงความจำ�เป็นและความเหมาะสม - บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่มีสิทธิออกเสียง - ต้องมีการประเมินราคาโดยผู้ประเมินอิสระที่เป็นที่ยอมรับ - ให้กรรมการอิสระ หรือกรรมการตรวจสอบเสนอความเห็น - ดำ�เนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในกรณีที่รายการระหว่างกันนั้นเป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้ไว้หรือเป็นรายการตามปกติธุรกิจ ทั่วไป ถือว่ารายการนั้นอยู่ภายใต้ขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ ฝ่ายจัดการที่จะพิจารณาอนุมัติได้​้


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

141

ปัจจัยความเสี่ยง 1) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและการด�ำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ 1.1 ความเสี่ยงด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนือ่ งจากกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีการปรับปรุงแก้ไขและเพิม่ เติมอยู่ ตลอดเวลา ดังนัน้ กลุม่ บริษทั ฯ จึงอาจมีความเสีย่ งจากการเปลีย่ นแปลงหรือเพิม่ เติมกฎระเบียบดังกล่าว อาทิ พระราชบัญญัติ การจัดสรรทีด่ นิ กฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้องกับการก�ำหนดเขตการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ (Zoning) กฎหมายผังเมือง การก�ำหนดพืน้ ที่ สีเขียวซึง่ เป็นพืน้ ทีป่ ระเภทชนบทและเกษตรกรรมเพิม่ เติม และการก�ำหนดพืน้ ทีส่ มี ว่ งซึง่ เป็นพืน้ ทีป่ ระเภทอุตสาหกรรมลดลง เป็นต้น ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และขั้นตอนการพิจารณาโครงการในข้างต้น จะส่งผลกระทบต่อการด�ำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ หรือส่งผลให้โครงการที่กลุ่มบริษัทฯด�ำเนินการอยู่เป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ บริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวโดยการศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกฎระเบียบ ต่างๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ เตรียมความพร้อมส�ำหรับการปรับเปลีย่ นการด�ำเนินธุรกิจของกลุม่ บริษทั ฯ ให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว 1.2 ความเสี่ยงจากกรณีพิพาทของโครงการ เดอะโคโลเนียล เขาเต่า หัวหิน ในปี 2555 บริษัท วีเอแอล คอมเมอเชียล แอสโซซิเอท จ�ำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มมิลฟอร์ด โดยกลุ่ม มิลฟอร์ดด�ำเนินธุรกิจโรงแรมและสนามกอล์ฟในบริเวณใกล้กบั โครงการเดอะ โคโลเนียล เขาเต่า หัวหิน) ได้ฟอ้ งร้ององค์การ บริหารส่วนต�ำบลปากน�้ำปราณ และบริษัทฯ ในฐานะจ�ำเลยร่วม ต่อศาลปกครองกลาง ในข้อหาออกใบอนุญาตก่อสร้างโดย มีระยะห่างจากแนวเขตชายฝั่งทะเลไม่ถึง 200 เมตร ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารทีฝ่ า่ ฝืนต่อบทบัญญัตขิ องกฎหมาย ให้แก่บริษทั ฯ และได้ขอให้ศาลมีค�ำสัง่ ให้เพิกถอนใบอนุญาต ก่อสร้าง และขอให้ศาลระงับการก่อสร้างไว้ชวั่ คราวจนกว่าศาลจะมีค�ำสัง่ พิพากษาถึงทีส่ ดุ ซึง่ ศาลปกครองกลางได้มคี �ำสัง่ ให้ ระงับการก่อสร้างไว้ก่อน ต่อมา บริษัทฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ค�ำสั่งของศาลปกครองกลางไปยังศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีค�ำสั่งเพิกถอนค�ำสั่งของ ศาลปกครองกลางแล้ว ซึ่ง ณ วันที่ 27 มีนาคม 2557 ศาลปกครองสูงสุดมีค�ำสั่งให้ยกเลิกค�ำสั่งศาลปกครองกลางที่มีค�ำ สั่งระงับการก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามศาลปกครองกลางยังอยู่ระหว่างการตัดสินคดีดังกล่าวอยู่ ทั้งนี้ ณ วัน ที่ 31 ธันวาคม 2557 บริษัทฯได้ลงทุนในโครงการดังกล่าวแล้วทั้งสิ้นเป็นเงิน 422.59 ล้านบาท อย่างไรก็ดีในกรณีที่ศาล ปกครองกลางมีค�ำพิพากษาให้บริษัทฯ เป็นฝ่ายแพ้คดีแล้ว บริษัทฯ ยังสามารถขออุทธรณ์ค�ำพิพากษาหรือค�ำสั่งของศาล ปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุดได้ ซึง่ หากถึงทีส่ ดุ แล้วศาลปกครองสูงสุดตัดสินว่าบริษทั ฯ ไม่สามารถด�ำเนินการก่อสร้าง ตามแบบเดิมได้ บริษทั ฯ ก็สามารถเปลีย่ นแปลงแบบให้สอดคล้องตามบทบัญญัตขิ องกฎหมาย ซึง่ อาจท�ำให้โครงการมีขนาด เล็กลง หรืออาจพิจารณาขายโครงการดังกล่าวออกไปให้แก่นักลงทุนรายอื่น ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ เป็นฝ่ายแพ้คดีและมีค�ำ พิพากษา หรือค�ำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาต บริษัทฯ ก็สามารถด�ำเนินคดีฟ้องร้องกับองค์การบริหารส่วนต�ำบลปากน�้ำปราณ ให้ชดเชยความเสียหายและเรียกร้องค่าเสียโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ ได้ ทั้งนี้มูลค่าของโครงการดังกล่าวได้รับการประเมินจาก บริษัท บรูคเรียลเอสเตท จ�ำกัด ซึ่งมีมูลค่าประเมินเท่ากับ 589.00 ล้านบาท โดยมีมูลค่าสูงกว่าเงินลงทุนในปัจจุบันของบริษัทฯ


142

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

1.3 ความเสี่ยงจากการจัดหาที่ดินเพิ่มเติมเพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษทั ฯ ได้ขยายการลงทุนโดยซือ้ ทีด่ นิ เปล่าเพิม่ ขึน้ ในบริเวณใกล้เคียงกับนิคมอุตสาหกรรม เฟส 1 แล้วประมาณ 1,800 ไร่ ในพืน้ ทีเ่ ฟสที่ 2 โดยในเฟสที่ 2 บริษทั ฯ ได้จดั ท�ำแผนขยายพืน้ ทีอ่ อกไปอีกประมาณ 2,500.00 ไร่ และอยู่ระหว่างเร่งด�ำเนินการพัฒนาที่ดิน ปรับสภาพภูมิทัศน์ จัดท�ำและออกแบบระบบสาธารณูปโภคต่างๆ พร้อมกับ จัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมเพือ่ ยืน่ ขออนุญาตกับหน่วยงานราชการ ดังนัน้ บริษทั ฯ จึงอาจมีความเสีย่ ง จากการที่ไม่สามารถซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 ได้ครบตามจ�ำนวนหรือในท�ำเลที่ต้องการ หรืออาจมีความเสีย่ งจากการทีร่ าคาทีด่ นิ เพิม่ สูงขึน้ ส่งผลให้บริษทั ฯ ไม่มที ดี่ นิ ซึง่ มีขนาดและท�ำเลตามทีต่ อ้ งการในแผนการ พัฒนานิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 ได้ หรือส่งผลให้บริษทั ฯ มีตน้ ทุนในการพัฒนาโครงการดังกล่าวสูงขึน้ ซึง่ จะส่งผลกระทบ ต่อฐานะทางการเงินและผลการด�ำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีแนวทางในการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวโดยการท�ำสัญญากับนายหน้าจัดหาที่ดิน เพื่อให้ ท�ำหน้าที่นายหน้าในการเจรจาและต่อรองราคาตามเงื่อนไขที่ก�ำหนดโดยบริษัทฯ และด�ำเนินการให้บริษัทฯ ซื้อที่ดินเป็นที่ เรียบร้อย อีกทัง้ นายหน้าจัดหาทีด่ นิ ของบริษทั ฯ มีทงั้ บุคคลนอกพืน้ ทีจ่ งั หวัดฉะเชิงเทรา และบุคคลในพืน้ ทีจ่ งั หวัดฉะเชิงเทรา ส่งผลให้การด�ำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น 1.4 ความเสี่ยงจากการขาดแคลนผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นบริษัทฯ และบริษัทย่อยจึงมีความ เสีย่ งจากการขาดแคลนผูร้ บั เหมาก่อสร้าง ซึง่ อาจส่งผลต่อเนือ่ งให้งานก่อสร้างและการพัฒนาโครงการของกลุม่ บริษทั ฯ เกิด ความล่าช้าจากก�ำหนดการที่วางไว้ได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการด�ำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีแนวทางในการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว โดยมีนโยบายในการจัดหาผู้รับเหมา ก่อสร้างผ่านการเปิดประมูล โดยหลังจากการพิจารณาผู้รับเหมาก่อสร้างที่ได้คัดสรรแล้ว บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะติดตาม การด�ำเนินการของผู้รับเหมาก่อสร้าง และท�ำการประเมินผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงาน ทั้งนี้ หากผูร้ บั เหมาก่อสร้างผ่านการประเมินของบริษทั ฯ และบริษทั ย่อย จะมีการเก็บรายชือ่ ผูร้ บั เหมาก่อสร้างนัน้ ไว้ในทะเบียนรายชือ่ ผูร้ บั เหมาทีม่ คี ณุ ภาพ (Approved Supplier List) เพือ่ พิจารณาในการด�ำเนินการก่อสร้างในโครงการต่อๆ ไปของกลุม่ บริษทั ฯ 1.5. ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจ และปัญหาทางการเมือง ธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อย อาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง และปัจจัย มหภาคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ธุรกิจโรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้า และธุรกิจอาคารส�ำนักงานให้ เช่าเนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ซึ่งอาจพิจารณาลดการลงทุนหรือย้ายฐานการลงทุนออก จากประเทศไทยและส่งผลกระทบต่อเนื่องแก่อุปสงค์ในธุรกิจข้างต้น ดังนั้นความเสี่ยงดังกล่าวจึงอาจส่งผลกระทบต่อฐานะ ทางการเงินและผลการด�ำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ อย่างไรก็ดี กลุม่ บริษทั ฯ มีแนวทางในการบริหารความเสีย่ งดังกล่าว โดยการกระจายความเสีย่ งจากการด�ำเนินธุรกิจ ที่หลากหลาย ทั้งการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย และการ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารส�ำนักงานให้เช่า เป็นต้น นอกจากนั้น กลุ่มบริษัทฯ ยังให้ทางเลือกแก่ผู้ประกอบการ ในการเลือกลงทุนซื้อหรือเช่าสินทรัพย์ที่ดิน โรงงาน และคลังสินค้า เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนให้แก่ลูกค้าของกลุ่ม บริษทั ฯ ซึง่ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ อีกทัง้ ยังช่วยลดความผันผวนของอุปสงค์ในธุรกิจของกลุม่ บริษทั ฯ จากผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การเมือง และจากปัจจัยมหภาคอื่นๆ เช่นเดียวกัน 1.6 ความเสี่ยงในการต่อสัญญาเช่า ธุรกิจการก่อสร้างโรงงานมาตรฐานหรือคลังสินค้าให้ลูกค้าเช่าในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมหลายแห่ง ของ TISCOM นัน้ ถือเป็นหนึง่ ในรายได้หลักของกลุม่ บริษทั ฯ ประกอบกับรายได้จากการรับจ้างบริหารสินทรัพย์ของบริษทั ฯ จะแปรผันโดยตรงต่อรายได้ค่าเช่าจากสินทรัพย์ดังกล่าว ดังนั้นบริษัทฯ และบริษัทย่อยจึงมีความเสี่ยงในการจัดหาลูกค้า ใหม่ หรือในกรณีที่มีลูกค้าอยู่ในปัจจุบันแล้วแต่สัญญาเช่ามีระยะสั้น ซึ่งอายุสัญญาเช่าเฉลี่ยจะเท่ากับ 3 ปี เมื่อครบก�ำหนด


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

143

อายุสัญญาเช่าแล้ว ลูกค้าอาจพิจารณาไม่ต่อสัญญา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ในอนาคตของกลุ่มบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม จากผลประกอบการที่ผ่านมา อัตราการเช่าพื้นที่ของโรงงานและคลังสินค้ามาตรฐานของบริษัทฯ และ TISCOM หรือ บางครั้งไม่สามารถก่อสร้างโรงงานและคลังสินค้าได้ทันกับความต้องการของลูกค้า ประกอบกับลูกค้าส่วนใหญ่มักจะมี การต่อสัญญา ส่งผลให้ระยะเวลาที่โรงงานและคลังสินค้าว่างมีน้อยมาก ดังนั้นความเสี่ยงในเรื่องนี้จึงมีค่อนข้างต�่ำ และ สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันรายอื่นได้ ธุรกิจอาคารส�ำนักงานให้เช่าของ SG มีความเสี่ยงจากกรณีที่ผู้เช่าอาจพิจารณาไม่ต่ออายุสัญญาเช่า โดยสัญญาเช่า ส่วนใหญ่มอี ายุสญั ญาเท่ากับ 3 ปี ดังนัน้ ในกรณีทผี่ เู้ ช่าจ�ำนวนมากไม่ตอ่ อายุสญั ญาเช่าและ SG ไม่สามารถหาผูเ้ ช่ารายใหม่ มาทดแทนได้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระแสเงินสดและผลการด�ำเนินงานของ SG และบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม จากผล การด�ำเนินงานที่ผ่านมา อัตราการเช่าพื้นที่อาคารส�ำนักงานของ SG สูงถึงร้อยละ 70 - 80 ขึ้นไป ประกอบกับลูกค้า ส่วนใหญ่มกั จะมีการต่อสัญญา เนือ่ งจากอาคารส�ำนักงานของ SG มีท�ำเลทีต่ งั้ ทีด่ ซี งึ่ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ ดังนัน้ ความเสีย่ ง ดังกล่าวจึงมีค่อนข้างต�่ำ และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันรายอื่นได้ 1.7 ความเสี่ยงในการต่ออายุสัญญาสิทธิการเช่าและสิทธิการเช่าช่วงในธุรกิจอาคารส�ำนักงาน เนื่องจาก SG ได้ลงทุนในสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารส�ำนักงาน เอส จี ทาวเวอร์ 1 โดยเข้าท�ำสัญญากับส�ำนักงาน พระคลังข้างที่ และได้ลงทุนในสิทธิการเช่าช่วงที่ดินพร้อมอาคารส�ำนักงาน เดอะ มิลเลนเนีย (อาคาร เอส จี ทาวเวอร์ 2) โดยเข้าท�ำสัญญากับบริษัท จี เอฟ โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด เพื่อด�ำเนินธุรกิจอาคารส�ำนักงานให้เช่า ทั้งนี้ อายุสัญญาเช่าระหว่าง SG และพระคลังข้างที่ มีระยะเวลา 30 ปี และจะครบก�ำหนดอายุสัญญาในเดือนตุลาคม 2566 ซึ่งเหลือระยะเวลาอีกประมาณ 9 ปี และอายุสัญญาเช่าช่วงระหว่าง SG และบริษัท จี เอฟ โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด มีระยะเวลา 30 ปี และจะครบก�ำหนดอายุสัญญา ในเดือนพฤศจิกายน 2568 ซึ่งเหลือระยะเวลาอีกประมาณ 11 ปี ดังนั้น SG จึงมีความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถต่ออายุ สัญญาเช่าและสัญญาเช่าช่วงกับ ส�ำนักงานพระคลังข้างที่ และบริษัท จี เอฟ โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด ตามล�ำดับได้ ซึ่งอาจส่งผล กระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการด�ำเนินงานของบริษทั ฯ และบริษทั ย่อยในอนาคตได้อย่างมีนัยส�ำคัญ ทัง้ นี้ ในปี 2558 SG มีรายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 182.18 ล้านบาท และก�ำไรสุทธิ 18.25 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.01 ของรายได้รวม 1.8 ความเสีย่ งจากการต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อตกลงระหว่างบริษทั ฯและบริษทั ย่อยกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II เนื่องจากในเดือนธันวาคม ปี 2555 และ สิงหาคม ปี 2556 บริษัทฯ และ TISCOM ได้ตกลงขายทรัพย์สินให้กองทุน รวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ซึง่ ประกอบด้วยทีด่ นิ และอาคารโรงงานให้เช่าในนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม นวนคร และนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II นอกจากนั้น TISCOM ได้โอนสิทธิการ เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังให้แก่ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ M-II รวมถึงได้ตกลงขายที่ดินพร้อมอาคารและสิ่ง ปลูกสร้างให้เช่าที่ตั้งอยู่ในโครงการกิ่งแก้วซึ่งในสัญญาข้างต้น ได้ระบุข้อตกลงที่อาจส่งผลให้บริษัทฯ และ TISCOM ต้อง จ่ายช�ำระค่าชดเชย หรือมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในอนาคต ดังนี้ 1. ข้อตกลงกระทำ�การของบริษัทฯ และ TISCOM เกี่ยวกับสิทธิการเช่าของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ใน สัญญาเช่าที่ดินของการท่าเรือฯ: กำ�หนดว่า บริษัทฯ และ TISCOM ตกลงรับผิดชอบร่วมกันและแทนกันเพื่อ ชดเชยความเสียหายให้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II เท่ากับ 10.00 ล้านบาท ในกรณีที่กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ M-II ไม่สามารถจดทะเบียนต่ออายุสิทธิการเช่าในที่ดินของการท่าเรือฯ ให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย เท่ากับระยะเวลาเช่าที่ดินตามสัญญาเช่าที่ดินกับ กนอ. ได้ 2. ข้อตกลงเฉพาะสำ�หรับโรงงานแปลงทีอ่ ยูร่ ะหว่างการก่อสร้างและโรงงานแปลงที่ไม่มสี ญั ญาเช่า (การรับประกัน อัตราค่าเช่าและค่าบริการ): กำ�หนดว่า บริษัทฯ ตกลงรับประกันอัตราค่าเช่าและค่าบริการขั้นต่ำ� ในอัตรา 200 บาทต่อตารางเมตร สำ�หรับทีด่ นิ และอาคารโรงงานแปลงทีอ่ ยู่ในระหว่างการก่อสร้างและแปลงที่ไม่มสี ญั ญาเช่า รายย่อยหรือมีสญั ญาเช่ารายย่อยแล้ว แต่การชำ�ระค่าเช่าหรือค่าบริการยังไม่เริม่ หรือมีระยะเวลาเช่าน้อยกว่า 6 เดือนให้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ตลอดระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน


144

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

3. ข้อตกลงดำ�เนินการในส่วนทรัพย์สนิ ของ TISCOM (กรณีทดี่ นิ ในโครงการกิง่ แก้วถูกเวนคืน): กำ�หนดว่าบริษทั ฯ และ TISCOM ตกลงร่วมกันและแทนกันในการชำ�ระเงินชดเชยให้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II โดย คำ�นวณจากเงินชดเชยต่อตารางเมตรคูณด้วยพื้นที่เช่าแปลงที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน ในกรณีที่ที่ดิน โครงการกิ่งแก้วถูกเวนคืนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด นอกจากนั้น บริษัทฯ และ TISCOM ตกลงดำ�เนิน การก่อสร้างทดแทน ปรับปรุง หรือซ่อมแซม ทรัพย์สินดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานตามรูปแบบเดิม ที่มีอยู่ก่อนการเวนคืน ในกรณีที่การเวนคืนที่ดินดังกล่าวส่งผลให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II หรือผู้เช่า รายย่อยไม่สามารถใช้ประโยชน์ หรือต้องมีการก่อสร้างทดแทน ปรับปรุง หรือซ่อมแซมซึ่งทรัพย์สินไม่ว่าส่วน ใดส่วนหนึ่ง 4. ข้อตกลงดำ�เนินการในส่วนทรัพย์สินของ TISCOM (กรณีไม่สามารถต่อสัญญาเช่ากับกลุ่มฮวบแช่ม): กำ�หนด ว่าบริษัทฯ และ TISCOM ตกลงชำ�ระค่าชดเชยให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II เท่ากับ 40.00 ล้านบาท ในกรณีทกี่ องทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ไม่สามารถต่อสัญญาเช่ากับกลุม่ ฮวบแช่ม (ผูใ้ ห้เช่าทีด่ นิ ตามสัญญา เช่าและพัฒนาที่ดินกับ TISCOM) และจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวเป็นระยะเวลา 30 ปี ได้ 5. ข้อตกลงดำ�เนินการในส่วนทรัพย์สนิ ของ TISCOM (การรับประกันอัตราค่าเช่าและค่าบริการ):กำ�หนดว่าบริษทั ฯ และ/หรือ TISCOM ตกลงรับประกันอัตราค่าเช่าและค่าบริการขั้นต่ำ� ในอัตรา 180.00 บาทต่อตารางเมตร สำ�หรับทรัพย์สินของ TISCOM ที่ไม่มีสัญญาเช่ารายย่อยหรือมีระยะเวลาเช่าน้อยกว่า 6 เดือน ให้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ตลอดระยะเวลา 3 ปี 6. ข้อตกลงรับประกันการก่อสร้างอาคารโรงงาน: กำ�หนดว่าบริษัทฯ ตกลงรับประกันการก่อสร้างอาคารโรงงาน เป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์อาคารโรงงาน ดังนั้น บริษัทฯ และ TISCOM อาจมีความเสี่ยงจากการต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อตกลงในสัญญาข้างต้นกับ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ได้ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯ และ TISCOM มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามข้อ ตกลงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ และ TISCOM ได้ประมาณค่าใช้จ่ายในการรับประกันรายได้ค่าเช่าขั้น ต่ำ�ที่ต้องชำ�ระให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II (ตามข้อ 2.และ 4.) เป็นระยะเวลา 2 - 12 เดือน และ 2 ปี ตามลำ�ดับและบันทึกหักจากกำ�ไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพือ่ การลงทุนแล้ว รวมถึงค่าใช้จา่ ยในการรับ ประกันการก่อสร้างอาคารโรงงาน (ตามข้อ 6.) ที่ ต้องชำ�ระให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II โดยบันทึก เป็นต้นทุนขายในงบกำ�ไรขาดทุน ทัง้ นี้ ระยะเวลาในการประมาณค่าใช้จา่ ยในการรับประกันรายได้คา่ เช่าขัน้ ต่ำ� ของแต่ละหลังไม่เท่ากัน โดยขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ของฝ่ายขาย 1.9 ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ จากการที่บริษัทย่อยมีการลงทุนในคลังสินค้าและโรงงานให้เช่าในประเทศอังกฤษจ�ำนวน 2 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะมี ผู้เช่ารายใหญ่เพียงรายเดียวเช่าเต็มพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการไม่ต่อสัญญาเช่าของผู้เช่าได้ และอาจจะ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทและบริษัทย่อยในอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เช่าได้มีการท�ำสัญญาเช่าระยะยาว อีกทั้ง ผู้เช่าเดิมมีแนวโน้มที่จะต่ออายุสัญญาเช่าต่อไปอีก เนื่องจาก ผู้เช่าได้เช่าคลังสินค้าและโรงงานเพื่อประกอบธุรกิจมาเป็น ระยะเวลายาวนาน การเปลี่ยนท�ำเลที่ตั้งโรงงานใหม่จะเกิดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหาและขนย้ายทรัพย์สิน และเครื่องจักร เป็นจ�ำนวนมาก 1.10 ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนือ่ งจาก บริษทั ย่อยทีก่ ารลงทุนในประเทศอังกฤษ และมีการบันทึกรายได้ ค่าใช้จา่ ย ทรัพย์สนิ และหนีส้ นิ เป็นเงินตรา ต่างประเทศ (สกุลเงินปอนด์) ดังนัน้ ความผันผวนของอัตราแลกเปลีย่ นอาจส่งผลให้เกิดก�ำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลีย่ น ได้อย่างไรก็ตาม รายได้ของการลงทุนในประเทศอังกฤษ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558) คิดเป็นประมาณร้อยละ 69.10 ของ รายได้รวมของบริษัทฯ ในปี 2558 ดังนั้น ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจึงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

145

2) ความเสี่ยงด้านการเงิน 2.1 ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย และกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย 1. ผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของลูกค้า: เนือ่ งจากลูกค้าส่วนใหญ่ในกลุม่ ธุรกิจอาคารชุดพักอาศัยเพือ่ ขาย จะขอการสนับสนุนเงินกูเ้ พือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยจากสถาบัน การเงิน ดังนัน้ อัตราดอกเบีย้ และเงือ่ นไขการช�ำระเงินกู้ จึงเป็นปัจจัยทีส่ �ำคัญต่อการตัดสินใจซือ้ อาคารชุดพักอาศัยของลูกค้า ในกรณีอตั ราดอกเบีย้ เงินกู้เพิม่ สูงขึน้ จะส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินของลูกค้าและอาจท�ำให้ลูกค้าชะลอการตัดสินใจซือ้ ออก ไปได้ ทัง้ นี้ บริษทั ฯ มีแนวทางในการบริหารความเสีย่ งดังกล่าวโดยการศึกษาถึงพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า พร้อม ทั้งจัดเงื่อนไขการซื้อและการผ่อนช�ำระเงินดาวน์ให้กับลูกค้า เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและสามารถแบ่งเบา ภาระทางการเงินในการซื้ออาคารชุดพักอาศัยของลูกค้าให้มากที่สุด 2. ผลกระทบต่อต้นทุนทางการเงินของกลุ่มบริษัทฯ: เนื่ อ งจากกลุ ่ ม บริ ษั ท ฯ มี ก ารขอรั บ การสนั บ สนุ น วงเงิ น กู ้ จ ากสถาบั น การเงิ น เพื่ อ ใช้ ใ นการพั ฒ นาโครงการ อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย จะส่ง ผลกระทบต่อต้นทุนทางการเงินของกลุ่มบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ เนือ่ งจากปัจจุบนั ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตดิ ตามการปล่อยสินเชือ่ ของธนาคารพาณิชย์ตา่ งๆ โดยเน้นด้านคุณภาพ การปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น พร้อมทั้งมีการ ปรับเกณฑ์การกลั่นกรองสินเชื่อและปรับลดวงเงินสินเชื่อต่อหลักประกันส�ำหรับลูกค้าโครงการทั่วไปที่ไม่ใช่โครงการของ ผู้ประกอบการรายใหญ่ ดังนั้นกลุ่มลูกค้าที่ขอสนับสนุนเงินกู้จากสถาบันการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยดังกล่าวจะต้องเตรียม เงินดาวน์มากขึน้ ซึง่ อาจส่งผลกระทบต่อก�ำลังซือ้ และการตัดสินใจซือ้ ของลูกค้าทัง้ นีใ้ นทางกลับกัน การทีธ่ นาคารพาณิชย์เพิม่ ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชือ่ มากขึน้ จะเป็นการช่วยกลุม่ บริษทั ฯ ในการคัดกรองกลุม่ ลูกค้าได้ในระดับหนึง่ ซึง่ จะเป็นกลุม่ ลูกค้าที่มีคุณภาพและมีก�ำลังซื้อที่แท้จริง 2.2 ความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพคล่องและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจทีต่ อ้ งใช้การลงทุนสูง เริม่ ตัง้ แต่การลงทุนซือ้ ทีด่ นิ การพัฒนาทีด่ นิ การก่อสร้าง และการขาย กิจกรรมดังกล่าวล้วนต้องใช้เงินลงทุนจ�ำนวนมากจนกว่ากลุม่ บริษทั ฯ จะได้รบั ช�ำระเงินส่วนใหญ่ของมูลค่าขาย ในวันโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ มีระยะเวลาในการบริหารโครงการประมาณ 2 - 5 ปีขึ้นไปแล้วแต่ประเภทและขนาดของโครงการ ดังนั้นธุรกิจจึงมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่จะต้องใช้ในการด�ำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีแนวทางในการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว โดยการพิจารณาพัฒนาโครงการอย่างระมัดระวัง ตั้งแต่การเลือกท�ำเลที่ดิน การศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ และการว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการเพื่อให้ ทุกโครงการประสบความส�ำเร็จ นอกจากนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยยังได้ระดมเงินทุนผ่านช่องทางต่างๆ ที่หลากหลาย ทั้งการระดมทุนผ่านตลาดทุน และการระดมทุนจากสถาบันการเงิน เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงแหล่งเงินทุน แหล่งใดแหล่งหนึ่ง


146

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

การวิเคราะห์และค�ำอธิบายของฝ่ายจัดการ 1. ภาพรวมของการด�ำเนินธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ

บริษัทฯ และบริษัทย่อยดำ�เนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในรูปแบบที่หลากหลาย ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หรือการประกอบธุรกิจของ บริษัทฯ และบริษัทย่อย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย 1. ธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรม - ดำ�เนินการโดยบริษัทฯ 2. ธุรกิจที่ดินพร้อมโรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้า - ดำ�เนินการโดย TISCOM 3. ธุรกิจอาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) - ดำ�เนินการโดยบริษัทฯ และ CROWN 4. ธุรกิจอาคารสำ�นักงานให้เช่า - ดำ�เนินการโดย SG 5. ธุรกิจรับบริหารทรัพย์สิน - ดำ�เนินการโดยบริษัทฯ 6. บริหารจัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า - ดำ�เนินการโดย TFDRM อนึ่ง ในอดีต ธุรกิจที่ดินพร้อมโรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้า ดำ�เนินการโดยบริษัทฯ และ TISCOM แต่บริษัทฯ ได้มีการปรับเปลี่ยน โครงสร้างการดำ�เนินธุรกิจให้มคี วามชัดเจนขึน้ ในปี 2556 โดยให้ TISCOM ดำ�เนินธุรกิจโรงงานมาตรฐาน/คลังสินค้าทัง้ หมดของกลุม่ บริษทั ฯ

2. ผลการด�ำเนินงานและความสามารถในการท�ำก�ำไร

2.1 รายได้ รายได้รวม รายได้รวมของบริษัทฯ ประกอบด้วย รายได้จากการขายที่ดินและอาคารโรงงาน รายได้จากการขายอาคารชุด รายได้ค่าเช่าและ ค่าบริการ กำ�ไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เงินปันผลรับ และรายได้อื่น รายได้รวม

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

รายได้จากการขายที่ดินและอาคารโรงงาน 460.00 รายได้จากการขายอาคารชุด 40.36 1,151.35 480.50 รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 248.13 233.60 295.72 กำ�ไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 134.33 เงินปันผลรับ 7.82 16.06 21.22 ดอกเบี้ยรับ 13.49 30.97 27.28 กำ�ไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 26.33 รายได้อื่น 41.29 33.15 23.39 รวม 945.42 1,465.13 874.44 รายได้รวมของบริษัทฯ มีมูลค่าเท่ากับ 945.42 ล้านบาท 1,465.13 ล้านบาท และ 874.44 ล้านบาท ในปี 2557 ปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 54.97 เนื่องจาก บริษัทฯ มีรายได้จากการขายอาคารชุดโครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส ที่พิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปลาย ปี 2556 และเริ่มทยอยโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ลูกค้าที่จองซื้อในปี 2555 -2556 ในขณะที่ปี 2558 ปรับตัวลดลงร้อยละ 40.31 เนื่องจากมีรายได้ จากการขายอาคารชุดโครงการดังกล่าวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง

รายได้จากการขายที่ดินและอาคารโรงงาน รายได้จากการขายที่ดินและอาคารโรงงาน

รายได้จากการขายที่ดินพร้อมโรงงาน รวม

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

460.00 460.00

-

-


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

147

บริษัทฯ มีรายได้จากการขายที่ดินและอาคารโรงงานในปี 2556 เท่ากับ 460.00 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2557- 2558 บริษํทฯ ไม่มี รายได้จากการขายที่ดินและอาคารโรงงาน เนื่องจาก ที่ดินเปล่าของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 อยู่ระหว่างการขออนุมัติต่อหน่วยงาน ราชการเพือ่ เปลีย่ นแปลงกฏกระทรวงว่าด้วยเขตผังเมืองให้พนื้ ทีข่ องโครงการเป็นเขตทีด่ นิ ประเภทอุตสาหกรรม (เขตสีมว่ ง) ซึง่ ปัจจุบนั ทีด่ นิ ในบริเวณดังกล่าวได้รับอนุมัติให้เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรม (เขตสีม่วง) ในเดือนธันวาคม 2558 บริษัทฯ คาดว่าจะพัฒนาที่ดินโครงการ และเริ่มมีรายได้จาการขายที่ดินและอาคารโรงงานประมาณไตรมาสที่ 3 ปี 2559 รายได้จากการขายอาคารชุด บริษทั มีการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ในเขตใจกลางเมืองและสถานทีต่ ากอากาศ เพือ่ ขายให้แก่บคุ คลทัว่ ไป โดยปัจจุบนั มีโครงการ อาคารชุดทั้งหมด 4 โครงการ ได้แก่ โครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส โครงการ เดอะโคโลเนียล เขาเต่า หัวหิน โครงการ มหาดเล็ก เรสซิเดนซ์ และ โครงการ เดอะฮาเบอร์ วิวเรสซิเดนเซส รายได้จากการขายอาคารชุด

โครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส รวม

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

40.36 40.36

1,151.35 1,151.35

480.50 480.50

ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายอาคารชุด เท่ากับ 40.36 ล้านบาท 1,151.35 ล้านบาท และ 480.50 ล้านบาท ตามลำ�ดับ ซึง่ รายได้ทงั้ หมดมาจากโครงการ 15 สุขมุ วิท เรสซิเดนเซส ซึง่ ได้กอ่ สร้างแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2556 และเริม่ ทยอยโอนกรรมสิทธิ์ ให้แก่ลูกค้าตั้งแต่ปี 2556 ส่งผลให้ในปี 2557 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายอาคารชุดเติบโตสูงขึ้นมากจากปีก่อนมาก เนื่องจาก บริษัทฯ ได้ทยอยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดโครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส ให้แก่ลูกค้าที่จองซื้อโครงการมาตั้งแต่ 2555 - 2556 อย่างต่อเนื่องตลอด ทั้งปี ในขณะที่ยอดขายในปี 2558 ลดลงร้อยละ 58.27 เนื่องจากมีการมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดโครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส ลดลง จากการโอนกรรมสิทธิ์ส่วนใหญ่ที่โอนไปแล้วในปี 2557 และผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เมื่อต้นปี 2558 บริษัทฯ ได้ลงทุนซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโครงการ เดอะฮาเบอร์ วิวเรสซิเดนเซส ที่ตั้งอยู่ถนน ณ ระนอง กรุงเทพมหานคร มาเพื่อพัฒนาเป็นอาคารชุดพักอาศัยเพื่อขาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ ต่อมาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้ขายโครงการดังกล่าวทั้งโครงการเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จให้แก่ บริษัท บลู โอเชี่ยน เรียลเอสเตท จำ�กัด ในมูลค่าขายรวม 1,640 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2560 และรับรู้รายได้จาก การขายในปี 2561 สำ�หรับความคืบหน้าของโครงการอาคารชุดอื่น ได้แก่ โครงการ มหาดเล็ก เรสซิเดนเซส ซึ่งปัจจุบันได้รับความเห็นชอบรายงาน วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากสำ�นักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว และโครงการอยู่ระหว่างการยื่น ขอใบอนุญาตก่อสร้าง ส่วนโครงการเดอะโคโลเนียล เขาเต่า หัวหิน บริษัทฯ ได้ชะลอการก่อสร้างไว้ชั่วคราว เนื่องจากโครงการดังกล่าวยัง อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีฟ้องร้อง (ดูรายละเอียดในส่วนที่ 1 การประกอบธุรกิจ ข้อ 3. ปัจจัยความเสี่ยง) รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ เป็นรายได้จากส่วนงานที่ดินและอาคารโรงงานเพื่อให้เช่า ซึ่งเป็นส่วนงานที่ทำ�การซื้อที่ดินหรือเช่าที่ดิน ระยะยาวเพือ่ นำ�มาพัฒนา และก่อสร้างอาคารโรงงาน รวมทัง้ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้เช่าทีด่ นิ พร้อมอาคารโรงงาน สำ�เร็จรูป และส่วนงานอาคารสำ�นักงานให้เช่า ซึง่ เป็นส่วนงานทีท่ ำ�การเช่าทีด่ นิ ระยะยาว เพือ่ นำ�มาพัฒนา และก่อสร้างอาคารสำ�นักงาน เพือ่ ให้เช่าพื้นที่สำ�นักงานและการให้บริการ รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ

รายได้ค่าเช่าจากโรงงาน รายได้ค่าเช่าจากคลังสินค้า รายได้ค่าเช่าจากอาคารสำ�นักงาน รวม

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

9.24 38.97 199.93 248.13

14.90 29.80 188.90 233.60

15.57 100.98 179.17 295.72


148

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ในปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีรายได้ค่าเช่าและค่าบริการ เท่ากับ 248.13 ล้านบาท 233.60 ล้านบาท และ 295.72 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 มีรายได้คา่ เช่าและค่าบริการ ลดลงร้อยละ 5.86 เนือ่ งจาก ในช่วงปลายปี 2556 TISCOM ได้มกี ารขายสินทรัพย์ประเภทโรงงาน และคลังสินค้าเพื่อเช่า ให้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ถึงแม้ว่าในเดือนเมษายน 2557 TISCOM ได้จัดตั้งบริษัทย่อย (Barnsley) ในประเทศอังกฤษ เพือ่ ลงทุนในทีด่ นิ และอาคารคลังสินค้าให้เช่า ทำ�ให้ TISCOM เริม่ มีรายได้จากค่าเช่าคลังสินค้าในประเทศอังกฤษ แต่ก็ไม่ สามารถชดเชยรายได้ที่ได้จากสินทรัพย์ที่ขายให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ในขณะที่ ปี 2558 TISCOM ได้มีการขยายการลงทุน คลังสินค้าให้เช่าในประเทศอังกฤษเพิ่มขึ้น โดยในเดือนมกราคม 2558 ได้จัดตั้งบริษัทย่อย (Bognor) ลงทุนในที่ดินและอาคารคลังสินค้าให้ เช่าเป็นแห่งที่สอง ทำ�ให้ในปี 2558 บริษัทฯ มีรายได้ค่าเช่าและค่าบริการเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 26.59 กำ�ไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน กำ�ไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เป็นกำ�ไรจากการขายทรัพย์สินและโอนสิทธิการเช่าที่ดินให้แก่กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ กำ�ไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

กำ�ไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ M-II รวม

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

134.33 134.33

-

-

ในปี 2556 บริษัทฯ มีกำ�ไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เท่ากับ 134.33 ล้านบาท เนื่องจาก TISCOM ได้ขายสิทธิการ เช่าที่ดินและอาคารโรงงานให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II สำ�หรับปี 2557 - 2558 บริษัทฯ ไม่มีการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการ ลงทุนแต่อย่างใด

รายได้อื่น รายได้อน่ื เป็นรายได้ทน่ี อกเหนือจากธุรกิจหลักของบริษทั ฯ ซึง่ ได้แก่ เงินปันผลรับ ดอกเบีย้ รับ ค่าจ้างบริหาร และรายได้อน่ื ๆ เป็นต้น รายได้อื่น

เงินปันผล ค่าจ้างบริหาร กำ�ไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ยรับ อื่นๆ รวม

ปี 2556

ปี 2557

13.49 30.31 62.60

30.97 23.05 80.18

7.82 10.98

16.06 10.10

ปี 2558

21.22 13.99 26.33 27.28 9.40 98.22

บริษัทฯ มีรายได้อื่น ในระหว่างปี 2556 - 2558 เท่ากับ 62.60 ล้านบาท 80.18 ล้านบาท และ 98.23 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยใน ปี 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.08 สาเหตุจากดอกเบี้ยรับที่เพิ่มขึ้นจากเงินให้กู้ยืมแก่บริษัท เจซี เควิน ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (บริษัทที่เกี่ยวข้อง กัน) และเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 22.50 ในปี 2558 เนื่องจากมีกำ�ไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินลงทุนในประเทศอังกฤษ 2.2 ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายรวม ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ ประกอบด้วย ต้นทุนขายที่ดินและอาคารโรงงาน ต้นทุนขายอาคารชุด ต้นทุนให้เช่าและบริการ ค่าใช้จ่าย ในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้ ค่าใช้จ่ายรวม

ต้นทุนขายที่ดินและอาคารโรงงาน ต้นทุนขายอาคารชุด ต้นทุนให้เช่าและบริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน รวม

ปี 2556

244.23 32.20 148.91 52.76 158.15 636.25

ปี 2557

878.14 152.14 65.26 252.25 26.24 1,374.03

ปี 2558

376.49 169.16 34.72 264.43 844.80


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

149

ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายรวม เท่ากับ 636.25 ล้านบาท 1,374.03 ล้านบาท และ 844.79 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 115.96 สาเหตุหลักมาจากต้นทุนขายอาคารชุดโครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส ที่มีการโอน กรรมสิทธิ์จำ�นวนมากในปีนี้ ในขณะที่ปี 2558 ลดลงร้อยละ 38.52 เนื่องจากต้นทุนขายอาคารชุดที่ลดลงตามยอดขาย 1) ต้นทุนขายที่ดินและอาคารโรงงาน ต้นทุนขายที่ดินและอาคารโรงงาน

ต้นทุนขายที่ดินเปล่า ต้นทุนขายที่ดินพร้อมโรงงาน รวมทั้งหมด

ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ล้านบาท ร้อยละของรายได้ ล้านบาท ร้อยละของรายได้ ล้านบาท ร้อยละของรายได้

244.23 244.23

n/a 53.09% 53.09%

-

n/a n/a n/a

-

n/a n/a n/a

ในปี 2556 บริษทั ฯ มีตน้ ทุนขายทีด่ นิ และอาคารโรงงาน เท่ากับ 244.23 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 53.09 ของรายได้ โดยเป็นต้นทุน จากการขายที่ดินพร้อมโรงงานของ TISCOM ให้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2556 สำ�หรับในปี 2557-2558 บริษัทฯ ไม่มีการขายที่ดินและอาคารโรงงาน จึงไม่มีต้นทุนในส่วนนี้ี

2) ต้นทุนขายอาคารชุด ต้นทุนขายอาคารชุด

โครงการ 59 เฮอริเทจ โครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส รวม

ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ล้านบาท ร้อยละของรายได้ ล้านบาท ร้อยละของรายได้ ล้านบาท ร้อยละของรายได้

32.20 32.20

n/a 79.80% 79.80%

878.14 878.14

n/a 76.27% 76.27%

376.49 376.49

n/a 78.35% 78.35%

ในปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีต้นทุนขายอาคารชุด เท่ากับ 32.20 ล้านบาท 878.14 ล้านบาท และ 376.49 ล้านบาท ตามลำ�ดับ ซึ่ง เกิดจากการขายห้องชุดของโครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส ทั้งหมด โดยโครงการดังกล่าวจะมีอัตราต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 78.35 ของ รายได้ ส่วนสาเหตุที่ทำ�ให้ต้นทุนในแต่ละปีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรที่แตกต่างกันจากระดับชั้น หรือทำ�เลที่ตั้งห้อง ชุดที่ขายในแต่ละปี ในขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยต่อตารางเมตรอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน 3) ต้นทุนให้เช่าและบริการ ต้นทุนให้เช่าและบริการ

ต้นทุนเช่าโรงงาน ต้นทุนเช่าคลังสินค้า ต้นทุนเช่าอาคารสำ�นักงาน รวม

ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ล้านบาท ร้อยละของรายได้ ล้านบาท ร้อยละของรายได้ ล้านบาท ร้อยละของรายได้

8.96 11.48 128.47 148.91

96.99% 29.46% 64.26% 60.01%

11.63 9.91 130.60 152.14

74.70% 9.81% 72.89% 65.13%

12.39 31.86 124.90 169.15

79.58% 31.55% 69.71% 57.20%

ในปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีต้นทุนให้เช่าและบริการของบริษัทเท่ากับ 148.91 ล้านบาท 152.14 ล้านบาท และ 169.15 ล้านบาท ตามลำ�ดับ จะเห็นว่าต้นทุนให้เช่าและบริการที่เพิ่มขึ้นในปี 2557 และ 2558 เป็นผลจากต้นทุนค่าเช่าโรงงานและคลังสินค้าที่ปรับขึ้นตามราย ได้ค่าเช่าที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างต้นทุน จะเห็นได้ว่าอัตราส่วนต้นทุนขายต่อรายได้ในปี 2557 ลดลงจากปี 2556 มาอยู่ที่ ร้อยละ 51.45 ของรายได้ เป็นผลมาจากต้นทุนเช่าโรงงานและคลังสินค้าที่ลดลง โดยสาเหตุหลักมาจากรายได้คลังสินค้าที่ประเทศอังกฤษที่ มีอตั รากำ�ไรขัน้ ต้นทีด่ ี รวมถึงต้นทุนค่าเช่าโรงงานทีม่ กี ารปล่อยเช่าพืน้ ทีม่ ากขึน้ ทำ�ให้อตั ราต้นทุนโดยรวมปรับลดลง ในขณะทีป่ ี 2558 อัตรา ต้นทุนปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 57.20 ของรายได้ เนื่องจาก ในปี 2558 มีต้นทุนจากการลงทุนในคลังสินค้าที่อังกฤษในปี 2558 เพิ่มขึ้น


150

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

4) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จา่ ยในการขายของบริษทั ฯ ประกอบด้วย ค่าโฆษณาและส่งเสริมการขาย เงินเดือนพนักงานขาย ค่าบริหารงานขาย และค่านายหน้า เป็นต้น และค่าใช้จ่ายในการบริหารของบริษัทฯ ประกอบด้วย เงินเดือนพนักงาน ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่ารับรอง ค่าเช่าสำ�นักงาน เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร รวม

ปี 2556 ล้านบาท ร้อยละของ รายได้รวม

52.76 158.15 210.91

5.58% 16.73% 22.31%

ปี 2557 ล้านบาท ร้อยละของ รายได้รวม

65.26 252.25 317.51

4.45% 17.22% 21.67%

ปี 2558 ล้านบาท ร้อยละของ รายได้รวม

34.72 264.43 299.15

3.97% 30.24% 34.21%

ค่าใช้จ่ายในการขายของบริษัทฯ มีมูลค่าเท่ากับ 52.76 ล้านบาท 65.26 ล้านบาท และ 34.72 ล้านบาท ในปี 2556 - 2558 ตามลำ�ดับ โดยคิดเป็นร้อยละของรายได้รวมเท่ากับร้อยละ 5.58 ร้อยละ 4.45 และร้อยละ 3.97 ตามลำ�ดับ ในปี2557 มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพิ่มขึ้น จากปี 2556 แต่ค่าใช้จ่ายในการขายคิดเป็นร้อยละของรายได้รวมลดลง เนื่องจากรายได้จากการขายอาคารชุดเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูงกว่าค่า ใช้จ่ายในการขายที่เพิ่มขึ้นในปี 2558 มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดลดลงจากปี 2557 ค่าใช้จ่ายในการขายคิดเป็นร้อยละของรายได้รวมลดลง เนื่องจาก มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดลดลง ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการบริหารของบริษัทฯ มีมูลค่าเท่ากับ 158.15 ล้านบาท 252.25 ล้านบาท และ 264.43 ล้านบาท ในปี 2556 - 2558 ตามลำ�ดับ โดยคิดเป็นร้อยละของรายได้รวมเท่ากับร้อยละ 16.73 ร้อยละ 17.22 และร้อยละ 30.24 ตามลำ�ดับ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการบริหารปี 2557 เพิ่มขึ้นเนื่องจากเงินชดเชยค่าเช่าและบริการจ่ายกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ค่าเช่า สำ�นักงาน ขาดทุนทีย่ งั ไม่เกิดขึน้ จริงจากเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพือ่ ค้า และค่าใช้จา่ ยนิตบิ คุ คลอาคารชุด ส่วนค่าใช้จา่ ยในการบริหารปี 2558 เพิ่มขึ้นเนื่องจากขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าใช้จ่ายทางการเงินของบริษัทฯ ประกอบด้วย ดอกเบี้ยจ่าย และค่าธรรมเนียม เป็นต้น ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีค่าใช้ จ่ายทางการเงินของบริษัทฯ มีมูลค่าเท่ากับ 113.14 ล้านบาท 305.06 ล้านบาท และ 346.07 ล้านบาท ในปี 2556 - 2558 ตามลำ�ดับ โดย ปี 2557 มีค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 169.63 เนื่องจากบริษัทฯ ได้ออกหุ้นกู้มูลค่ารวม 1,693.50 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเพิ่มขึ้น จากการที่ CROWN บันทึกดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจากอาคารชุดก่อสร้างแล้วเสร็จจึงไม่สามารถบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้อกี ต่อไป ส่วนในปี 2558 มีคา่ ใช้จา่ ยทางการเงินเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 13.45 เนือ่ งจากบริษทั ฯ ได้ออกหุน้ กูม้ ลู ค่า รวม 1,400.00 ล้านบาท และมีเงินกู้ยืมสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 627.62 ล้านบาท 2.3 ความสามารถในการทำ�กำ�ไร กำ�ไรขั้นต้น ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษทั ฯ มีอตั รากำ�ไรขัน้ ต้น เท่ากับร้อยละ 43.17 ร้อยละ 25.61 และร้อยละ 29.70 ตามลำ�ดับ ในปี 2557-2558 บริษัทฯ มีอัตรากำ�ไรขั้นต้นลดลง เนื่องจาก บริษัทฯ ไม่มีรายได้จากการขายที่ดินและโรงงาน แต่ในปี 2558 อัตรากำ�ไรขั้นต้นของบริษัทฯ ได้ปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2558 สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจาก บริษัทฯ มีรายได้ค่าเช่าคลังสินค้าในประเทศอังกฤษเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ อัตรากำ�ไรขั้นต้น ของบริษัทฯ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลักได้ ดังตารางต่อไปนี้ อัตรากำ�ไรขั้นต้น

ขายที่ดินและอาคารโรงงาน ขายอาคารชุด ให้เช่าและบริการ รวม

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

46.91% 20.22% 39.99% 43.17%

n/a 23.73% 34.87% 25.61%

n/a 21.65% 42.80% 29.70%


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

151

จากตารางดังกล่าว อัตรากำ�ไรขั้นต้นของธุรกิจขายที่ดินและอาคารโรงงาน ในปี 2556 เท่ากับ ร้อยละ 46.91 ซึ่งเป็นรายได้จากการ ขายคลังสินค้าของ TISCOM ให้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2556 ในขณะที่ปี 2557 - 2558 บริษัทฯ ไม่มี การขายที่ดินและอาคารโรงงานแต่อย่างใด เนื่องจาก ที่ดินเปล่าของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 อยู่ระหว่างการขออนุมัติต่อหน่วยงาน ราชการเพือ่ เปลีย่ นแปลงกฎกระทรวงว่าด้วยเขตผังเมืองให้พนื้ ทีข่ องโครงการเป็นเขตทีด่ นิ ประเภทอุตสาหกรรม (เขตสีมว่ ง) ซึง่ ปัจจุบนั ทีด่ นิ ในบริเวณดังกล่าวได้รับอนุมัติให้เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรม (เขตสีม่วง) ในเดือนธันวาคม 2558 ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีอัตรากำ�ไรขั้นต้นของธุรกิจขายอาคารชุดเท่ากับร้อยละ 20.20 ร้อยละ 23.73 และร้อยละ 21.65 ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 อัตรากำ�ไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรของห้องชุดที่โอนกรรมสิทธิ์ในปี 2557 สูงกว่า ปี 2556 สำ�หรับปี 2558 อัตรากำ�ไรขัน้ ต้นลดลง เนือ่ งจากราคาขายเฉลีย่ ต่อตารางเมตรของห้องชุดที่โอนกรรมสิทธิ์ในปี 2558 ต่�ำ กว่าปี 2557 ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีอัตรากำ�ไรขั้นต้นของธุรกิจให้เช่าและบริการ เท่ากับร้อยละ 39.99 ร้อยละ 34.87 และร้อยละ 42.80 ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 ลดลงเนื่องจาก อัตราการปล่อยพื้นที่เช่าของธุรกิจอาคารสำ�นักงานปรับลดลงจากร้อยละ 93.44 ในปี 2556 เหลือร้อยละ 77.87 ในปี 2557 สำ�หรับในปี 2558 อัตรากำ�ไรขั้นต้นของธุรกิจให้เช่าและบริการปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจาก บริษัทฯ มีรายได้ ค่าเช่าเพิ่มขึ้นจากคลังสินค้าในประเทศอังกฤษ กำ�ไรจากการดำ�เนินงาน ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีอัตรากำ�ไรจากการดำ�เนินงาน เท่ากับร้อยละ 15.00 ร้อยละ 0.79 และร้อยละ -8.83 ตามลำ�ดับ ทัง้ นี้ เป็นผลจากการลดลงของยอดขายทีด่ นิ และโรงงาน รวมถึงค่าใช้จา่ ยในการขายและบริหารทีเ่ พิม่ สูงขึน้ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากทีด่ นิ เปล่าของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 ได้รับอนุมัติให้เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรม (เขตสีม่วง) ทำ�ให้บริษัทฯ คาดว่าในปี 2559 บริษัทฯ จะมีรายได้จากการขายที่ดินและโรงงานเพิ่มขึ้น และจะส่งผลให้กำ�ไรจากการดำ�เนินงานของบริษัทฯ ปรับตัวดีขึ้น กำ�ไรสุทธิ ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีอัตรากำ�ไรสุทธิของบริษัทฯ เท่ากับร้อยละ 16.01 ร้อยละ -11.55 และร้อยละ -31.81 ตามลำ�ดับ เนื่องจากอัตรากำ�ไรขั้นต้นที่ลดลง ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มขึ้นจากการขยายการลงทุนในโครงการต่างๆ ของบริษัทฯ ทั้งธุรกิจ นิคมอุตสาหกรรม คลังสินค้าและโรงงานให้เช่า และคอนโดมิเนียม ที่บางโครงการอยู่ระหว่างการขออนุญาต หรือยังก่อสร้างไม่เสร็จ ทำ�ให้ บริษัทฯ ยังไม่รายได้จากโครงการต่างๆ ดังกล่าวอย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าเมื่อโครงการที่บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนได้มีการพัฒนาแล้ว เสร็จ จะทำ�ให้อัตรากำ�ไรสุทธิของบริษัทฯ ปรับตัวขึ้นในอนาคต อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ร้อยละ 8.55 ร้อยละ -9.42 และร้อยละ -14.45 ตาม ลำ�ดับ เป็นผลมาจากค่าใช้จา่ ยในการขายและบริหาร และค่าใช้จา่ ยทางการเงินทีเ่ พิม่ สูงขึน้ ส่งผลให้บริษทั ฯ มีผลขาดทุนจากการดำ�เนินงาน เพิ่มมากขึ้น

3. ความสามารถในการบริหารทรัพย์สิน

สินทรัพย์ สินทรัพย์หลักของบริษัทฯ ประกอบด้วย ต้นทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่า และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมของบริษัทฯ เท่ากับ 7,683.01 ล้านบาท 7,382.84 ล้านบาท และ 9,657.97 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 ลดลง 300.17 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.91 เนื่องจาก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่ถูกใช้ไปใน การดำ�เนินงานและการลงทุนโครงการต่างๆ ของบริษัทฯ จาก 1,268.66 ล้านบาทในปี 2556 ลดลงเหลือ 157.88 ล้านบาทในปี 2557 ใน ขณะที่ปี 2558 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นจากปี 2557 เท่ากับ 2,275.13 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30.81 เป็นผลมาจาก บริษัทฯ ได้มีการจัดหาเงินทุนจากการกู้ยืมเพื่อขยายการลงทุนในโครงการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งในส่วนของต้นทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากปี 2557 จำ�นวน 1,258.22 ล้านบาท และ 856.76 ล้านบาท ตามลำ�ดับ ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ มีค่าเท่ากับร้อยละ 2.25 ร้อยละ -2.09 และร้อยละ -2.84 ตามลำ�ดับ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ในปี 2557 - 2558 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ลดลงเป็นผลมาจากผลขาดทุนจาก การที่เพิ่มมากขึ้น เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เท่ากับ 1,268.66 ล้านบาท 157.88 ล้านบาท และ 304.16 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 ลดลง 1,110.78 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 87.56 เป็นผลจากเงินสดที่ถูกใช้ไปในการดำ�เนินงาน และการลงทุนโครงการต่างๆ ของบริษัทฯ ในระหว่างปี 2557 ในขณะที่ปี 2558 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้นจาก ปี 2557 จำ�นวน 146.28 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 92.65 เนื่องจาก บริษัทฯ ได้จัดหาเงินจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อสำ�รองไว้ใช้ในการ ดำ�เนินงานและการลงทุน


152

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เท่ากับ 20.44 ล้านบาท 30.51 ล้านบาท และ 21.62 ล้านบาท ตาม ลำ�ดับ โดยในปี 2557 เพิ่มขึ้น 10.07 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 49.27 ในขณะที่ปี 2558 ลดลง 8.89 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 29.14 การเปลี่ยนแปลงในรายการลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นในแต่ละปีเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงรายได้ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ต้นทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีต้นทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ เท่ากับ 4,824.25 ล้านบาท 5,202.86 ล้านบาท และ 6,461.07 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 เพิ่มขึ้น 378.61 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.85 มีสาเหตุหลักมาจากการลงทุนในที่ดิน และพัฒนาโครงการ และการลงทุนก่อสร้างคลังสินค้าและโรงงานของ TISCOM สำ�หรับในปี 2558 เพิ่มขึ้นอีก 1,258.21 ล้านบาท หรือคิด เป็นร้อยละ 24.18 มีสาเหตุหลักมาจากการลงทุนในที่ดินและพัฒนาโครงการของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 เพิ่มขึ้น และ CROWN ได้ลงทุนซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโครงการ เดอะ ฮาร์เบอร์ เรสซิเดนซ์ และการลงทุนจากการลงทุนในที่ดินและพัฒนาโครงการก่อสร้าง คลังสินค้าและโรงงานของ TISCOM ทั้งในประเทศไทยและอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้น เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย เท่ากับ 243.00 ล้านบาท 225.00 ล้านบาท และ 208.13 ล้าน บาท ตามลำ�ดับ โดยมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายที่ปรับลดลงในระหว่างปี 2557 - 2558 เนื่องจาก การลดลงตามมูลค่าตลาดของ เงินลงทุน ประกอบกับในปี 2558 กองทุนที่บริษัทฯ เข้าลงทุนได้มีการลดทุนบางส่วนและจ่ายคืนเงินทุนให้แก่บริษัทฯ สิทธิการเช่า สิทธิการเช่าของบริษัทฯ ประกอบด้วย สิทธิการเช่าที่ดิน และสิทธิการเช่าอาคารโรงงาน ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีสิทธิการ เช่า เท่ากับ 440.98 ล้านบาท 401.11 ล้านบาท และ 364.12 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยสิทธิการเช่าที่ดินที่ลดลงในระหว่างปี 2557 - 2558 จำ�นวน 39.87 ล้านบาท และ 36.99 ล้านบาท ตามลำ�ดับ เนื่องมาจากการตัดจำ�หน่ายสิทธิการเช่าที่เกิดขึ้นในระหว่างปี อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนของบริษัทฯ ประกอบด้วย อาคารสำ�นักงานเพื่อให้เช่า โรงงานและคลังสินค้าเพื่อให้เช่า เป็นหลัก ใน ระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เท่ากับ 232.19 ล้านบาท 535.95 ล้านบาท และ 1,392.71 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 - 2558 บริษัทฯ มีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น 303.76 ล้านบาท และ 856.76 ล้านบาท ตามลำ�ดับ เนื่องจาก TISCOM ได้มีการลงทุนในคลังสินค้าให้เช่าในประเทศอังกฤษแห่งแรกผ่าน Barnsley (บริษัทย่อย) และลงทุนในคลังสินค้าให้เช่า ในประเทศอังกฤษแห่งที่สองผ่าน Bognor (บริษัทย่อย) การวิเคราะห์คุณภาพของลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้าของบริษัทฯ ประกอบด้วยลูกหนี้จากการให้เช่าอาคารสำ�นักงาน ลูกหนี้จากการให้เช่าโรงงานและคลังสินค้า และลูกหนี้ จากธุรกิจรับบริหารทรัพย์สินเป็นหลัก โดยนโยบายการให้สินเชื่อของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจะเท่ากับ 30 วัน ทั้งนี้ บริษัทฯ มีรายละเอียดของลูกหนี้การค้า ในปี 2556 - 2558 ดังต่อไปนี้ อายุหนี้

ยังไม่ถึงกำ�หนดชำ�ระ ค้างชำ�ระ ไม่เกิน 3 เดือน ค้างชำ�ระ 3 - 6 เดือน ค้างชำ�ระ 6 - 12 เดือน ค้างชำ�ระ นานกว่า 12 เดือน รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวมลูกหนี้การค้าสุทธิ

ลูกหนีก้ ารค้ากิจการทีเ่ กีย่ วข้องกัน ลูกหนีก้ ารค้ากิจการทีไ่ ม่เกีย่ วข้องกัน ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ปี 2556

0.14 0.14 0.14

-

-

1.93 9.73 1.66 0.06 6.39 19.76 (3.84) 15.92

1.76 4.17 1.53 5.99 5.31 18.76 (5.71) 13.05

1.76 13.22 0.37 0.02 9.27 24.64 (8.29) 16.35

1.93 9.73 1.66 0.06 6.53 19.90 (3.84) 16.06

รวม ปี 2557

ปี 2558

1.76 4.17 1.53 5.99 5.31 18.76 (5.71) 13.05

1.76 13.22 0.37 0.02 9.27 24.64 (8.29) 16.35

ในการประมาณค่าเผือ่ หนีส้ งสัยจะสูญของลูกหนี้ ฝ่ายบริหารของบริษทั ฯ จะใช้ดลุ ยพินจิ ในการประมาณการผลขาดทุนทีค่ าดว่าจะเกิด ขึ้นจากลูกหนี้แต่ละราย โดยคำ�นึงถึงประสบการณ์การเก็บเงินในอดีต อายุของหนี้ที่คงค้าง และสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เป็นต้น


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

153

4 สภาพคล่องและความเพียงพอของเงินทุนของบริษัท

4.1 แหล่งที่มาของเงินทุน

แหล่งที่มาของเงินทุน

รวมหนี้สิน รวมส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

6,054.90 1,628.10 3.72

5,213.81 2,169.03 2.40

7,755.84 1,902.13 4.08

หนี้สิน หนี้สินหลักของบริษัทฯ ประกอบด้วยเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ และเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ในระหว่าง ปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีหนี้สินรวม เท่ากับ 6,054.90 ล้านบาท 5,213.82 ล้านบาท และ 7,755.85 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 ลดลง 841.09 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.89 เป็นผลจากการออกเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในกับนักลงทุนในวงจำ�กัดเพื่อนำ�เงินมา ชำ�ระคืนหนี้เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ในขณะที่ปี 2558 บริษัทฯ มีหนี้สินรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2557 จำ�นวน 2,542.03 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 48.76 เป็นผลมาจากการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และการออกหุ้นกู้ เพื่อจัดหาเงินลงทุนเพื่อนำ�มาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และ ขยายการลงทุนในโครงการต่างๆ ของบริษัทฯ เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินของบริษัทฯ ณ สิ้นปี 2558 เป็นตั๋วแลกเงินที่ไม่มีหลักประกัน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ค้ำ�ประกัน การออกและเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นประเภทตั๋วแลกเงินให้แก่บริษัทย่อย โดยในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีเงินกู้ยืมระยะสั้น จากสถาบันการเงิน เท่ากับ 2,560.20 ล้านบาท 1,532.09 ล้านบาท และ 2,191.50 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 ลดลง 1,028.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.16 เป็นผลจากการออกเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในกับนักลงทุนในวงจำ�กัดเพื่อนำ�เงินมาชำ�ระคืนหนี้เงิน กู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ในขณะที่ปี 2558 บริษัทฯ มีเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 659.42 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 43.04 เนื่องจาก การออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อนำ�มาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้การค้าของบริษัทฯ ประกอบด้วยเจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง และเจ้าหนี้ค่าที่ดิน ส่วนเจ้าหนี้อื่นของบริษัทฯ ประกอบด้วย เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า เงินประกันผลงาน ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และอื่นๆ ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ของบริษัทฯ เท่ากับ 585.50 ล้านบาท 331.77 ล้านบาท และ 256.62 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 - 2558 ลดลงจำ�นวน 253.73 ล้านบาท และ 75.15 ล้านบาท ตามลำ�ดับ เนื่องจาก บริษัทฯ ได้มีการรับรู้เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้าเป็นรายได้จากการขายอาคารชุด หุ้นกู้ ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2556 ได้มีมติอนุมัติให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและ ไม่มีหลักประกันจำ�นวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,500 ล้านบาท โดยมีอายุไม่เกิน 5 ปี ให้แก่นักลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงทั่วไป หรือประชาชนทั่วไป โดย ณ 31 ธันวาคม 2558 คงเหลือหุ้นกู้ที่ยังไม่ถึงกำ�หนด มูลค่ารวม 3,093.50 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดหุ้นกู้ ชุดต่างๆ ดังนี้ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 บริษัทฯ ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีประกันชุดที่ 3 จำ�นวน 1,693,500 หน่วย มูลค่า หน่วยละ 1,000 บาท มูลค่ารวม 1,694 ล้านบาท โดยมีกำ�หนดไถ่ถอนในวันที่ 10 กรกฎาคม 2559 และมีกำ�หนดชำ�ระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ในอัตราร้อยละ 5.5 ต่อปี เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 บริษัทฯ ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีประกันชุดที่ 4 จำ�นวน 1,200,000 หน่วย มูลค่า หน่วยละ1,000 บาท มูลค่ารวม 1,200 ล้านบาท โดยมีกำ�หนดไถ่ถอนในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 และมีกำ�หนดชำ�ระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558 บริษัทฯ ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีประกันชุดที่ 5 จำ�นวน 200,000 หน่วย มูลค่า หน่วยละ 1,000 บาท มูลค่ารวม 200 ล้านบาท โดยมีกำ�หนดไถ่ถอนในวันที่ 10 เมษายน 2560 และมีกำ�หนดชำ�ระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ใน อัตราร้อยละ 6 ต่อปี​ี


154

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินเท่ากับ 1,049.22 ล้านบาท 1,249.89 ล้านบาท และ 1,877.51 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 - 2558 เพิ่มขึ้นจำ�นวน 200.66 ล้านบาท และ 627.62 ล้านบาท ตามลำ�ดับ เป็นผลมาจาก ในปี 2557 TISCOM ได้กู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ก่อสร้างคลังสินค้าในโครงการท่าสะอ้าน และลงทุนซื้อคลังสินค้าในประเทศอังกฤษแห่งแรกผ่าน Barnsley (บริษัทย่อย) และในปี 2558 ที่ TISCOM กู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในการลงทุนคลังสินค้าในโครงการในประเทศอังกฤษแห่งที่สองผ่าน Bognor (บริษัทย่อย) ส่วนของผู้ถือหุ้น ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นรวมเท่ากับ 1,628.10 ล้านบาท 2,169.03 ล้านบาท และ 1,902.13 ล้านบาท ตามลำ�ดับ โดยในปี 2557 เพิ่มขึ้น 540.93 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 33.22 เนื่องจากในเดือนพฤศจิกายน 2557 บริษัทฯ ได้จัดสรรหุ้น สามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำ�กัด (Private Placement) จำ�นวนทั้งสิ้น 200 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 5.32 บาท ในขณะที่ปี 2558 ส่วนของ ผู้ถือหุ้นลดลง 266.90 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.31 เนื่องจากขาดทุนจากผลการดำ�เนินงาน อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน เท่ากับ 3.72 เท่า 2.40 เท่า และ 4.08 เท่า ตามลำ�ดับ ทั้งนี้ อัตราส่วน หนี้สินต่อทุนที่ลดลง ณ สิ้นปี 2557 เนื่องจากการออกหุ้นเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำ�กัด สำ�หรับสาเหตุที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนปรับเพิ่มขึ้น ในปี 2558 มีสาเหตุมาการออกตั๋วสัญญาใช้เงินและหุ้นกู้เพื่อใช้ในการดำ�เนินงานและขยายการลงทุนในโครงการต่างๆ ของบริษัทฯ เพิ่มมาก ขึ้นในระหว่างปี 2558 4.2 รายจ่ายลงทุน ของบริษทั ฯ และบริษทั ย่อย มีวตั ถุประสงค์หลักเพือ่ การขยายกิจการ ทัง้ นี้ โครงการลงทุนทีผ่ า่ นมาและทีอ่ ยูร่ ะหว่างดำ�เนินการทัง้ หมด ของกลุ่มบริษัทฯ ได้แก่ โครงการนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 1 และเฟส 2 โครงการคลังสินค้าและโรงงานให้เช่า คลังสินค้าท่าสะอ้าน และ กิ่งแก้ว และคลังสินค้าและโรงงานให้เช่า ในประเทศอังกฤษ 2 แห่ง (ผ่านการลงทุนใน Bransley และ Bognor) โครงการ เลค กรีน โครงการ 59 เฮอริเทจ โครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส (ผ่านการลงทุนใน CROWN) โครงการ เดอะโคโลเนียล เขาเต่า หัวหิน โครงการ มหาดเล็ก เรสซิเดนเซส การลงทุนในอาคารสำ�นักงานให้เช่า (ผ่านการลงทุนใน SG) การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ M-II เป็นต้น ทั้งนี้ แหล่งเงินทุนหลักเพื่อใช้ในการดำ�เนินโครงการในข้างต้น มาจากวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

สำ�หรับแผนการลงทุนในปี 2559 ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ แผนการลงทุน

นิคมอุตสาหกรรม ทีเอฟดี มหาดเล็ก เรสซิเดนซ์ คลังสินค้าท่าสะอ้าน โรงงานสำ�เร็จรูปบางเสาธง โครงการเดอะ ฮาร์เบอรื วิวเรสซิเดนเซส

วัตถุประสงค์

พัฒนาที่ดินเพื่อขาย/ให้เช่า อาคารชุดพักอาศัยเพื่อขาย คลังสินค้าเพื่อขาย/ให้เช่า โรงงานเพื่อขาย/ให้เช่า อาคารชุดพักอาศัยเพื่อขาย

มูลค่าเงิน ลงทุน (ล้านบาท)

873.13 257.21 711.98 391.16 513.63

ปีที่คาดว่าจะ จ่ายเงินลงทุน

แหล่งเงินทุน

2559 2559 2559 2559 2559

เงินกู้ + เงินทุน เงินกู้ + เงินทุน เงินกู้ + เงินทุน เงินกู้ + เงินทุน เงินกู้ + เงินทุน

ผลกระทบ ต่อสภาพ คล่อง

4.3 ความเพียงพอของสภาพคล่อง กระแสเงินสด

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำ�เนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินเพิ่มขึ้น กระแสเงินสดสุทธิระหว่างงวด

ปี 2556

(1,562.23) (56.38) 2,483.38 864.77

ปี 2557

(792.78) (483.15) 167.32 (1,108.61)

ปี 2558

(1,785.59) (712.04) 2,652.84 (8.93) 146.28

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

155

ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำ�เนินงาน เท่ากับ -1,562.23 ล้านบาท -792.78 ล้านบาท และ -1,785.59 ล้านบาท ตามลำ�ดับ ทั้งนี้ กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมดำ�เนินงานในปี 2557 มีสาเหตุหลักมาจากเงินสดที่ใช้ลงทุนในพัฒนา โครงการเพิ่มขึ้นจำ�นวน 277.29 ล้านบาท และเงินที่ใช้จ่ายชำ�ระดอกเบี้ยจำ�นวน 320.43 ล้านบาท สำ�หรับกระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรม ดำ�เนินงานในปี 2558 มีสาเหตุหลักมาจากเงินสดที่ใช้ลงทุนในพัฒนาโครงการเพิ่มขึ้นจำ�นวน 1,153.27 ล้านบาท เช่น การลงทุนในพัฒนา โครงการฮาร์เบอร์ วิว เรสซิเดนเซส ของ CROWN และการเข้าลงซื้อที่ดินและก่อสร้างโรงงานและคลังสินค้าที่บางเสาธง และท่าสะอ้านของ TISCOM เป็นต้น รวมถึงเงินที่ใช้จ่ายชำ�ระดอกเบี้ยในระหว่างปี 2558 อีกจำ�นวน 436.29 ล้านบาท ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษทั ฯ มีกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนเท่ากับ -56.38 ล้านบาท -483.15 ล้านบาท และ -712.04 ล้านบาท ตามลำ�ดับ ทั้งนี้ กระแสเงินสดที่ใช้ไปในจากกิจกรรมลงทุนในปี 2557 มีสาเหตุหลักมาจาก TISCOM ได้ลงทุนซื้อที่ดินและคลังสินค้าใน ประเทศอังกฤษแห่งแรกผ่าน Bransley จำ�นวน 341.79 ล้านบาท และใช้ซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้าเพิ่มขึ้นในระหว่างงวด 79.62 ล้าน บาท สำ�หรับในปี 2558 มีสาเหตุหลักทีม่ กี ระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจาก TISCOM ได้ลงทุนซือ้ ทีด่ นิ และคลังสินค้าในประเทศอังกฤษ แห่งที่สองผ่าน Bognor จำ�นวน 891.51 ล้านบาท ในขณะที่มีกระแสเงินสดที่ได้รับจากการจ่ายชำ�ระหนี้คืนจากบริษัท เจซี เควิน ดีเวลลอป เมนท์ จำ�กัด (บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน) จำ�นวน 140.00 ล้านบาท ในระหว่างปี 2556 - 2558 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินเท่ากับ 2,483.38 ล้านบาท 145.36 ล้านบาท และ 2,652,84 ล้านบาท ตามลำ�ดับ ทั้งนี้ กระแสเงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินในปี 2557 มีสาเหตุหลักมาเงินสดรับจากการออกหุ้นสามัญ เพิ่มทุนให้แก่บุคคลเฉพาะเจาะจงจำ�นวน 1,007.32 ล้านบาท และจากการออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้นสุทธิ 343.50 ล้านบาท ในขณะที่มีการจ่ายชำ�ระ คืนเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินจำ�นวน 1,012.20 ล้านบาท สำ�หรับกระแสเงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินในปี 2558 มีสาเหตุ หลักเงินกูย้ มื สถาบันการเงินเพือ่ ใช้ลงทุนในโครงการทีป่ ระเทศอังกฤษเพิม่ ขึน้ สุทธิ 623.63 ล้านบาท เงินกูย้ มื ระยะสัน้ จากสถาบันการเงินเพือ่ ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน จำ�นวน 670.00 ล้านบาท และออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้นเพื่อใช้พัฒนาโครงการเพิ่มขึ้นอีก 1,386.39 ล้านบาท ทั้งนี้อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current ratio) ณ สิ้นปี 2556 - 2558 อยู่ที่ 1.20 เท่า 2.45 เท่า และ 1.40 เท่าตามลำ�ดับ โดยสาเหตุที่ อัตราส่วนสภาพคล่อง ในปี 2557 ปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2556 เนื่องจาก การลดลงของเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน และส่วนของหุ้นกู้ ที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายในหนึ่งปี จากการจ่ายชำ�ระคืนเงินของบริษัทฯ ในรอบบัญชีดังกล่าวเป็นหลัก สำ�หรับปี 2558 มีสาเหตุหลักมาจากการ เพิ่มขึ้นของเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินและหุ้นกู้เพื่อขยายธุรกิจของบริษัทฯ 4.4 ความสามารถในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม ณ สิ้นปี 2558 บริษัทฯ มีวงเงินกู้ยืมที่ยังไม่ได้เบิกใช้ ดังตารางต่อไปนี้ี ประเภทของวงเงินกู้

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน รวมทั้งหมด

วงเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้ (ล้านบาท)

1,760.48 1,760.48

อย่างไรก็ตาม จากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนในปี 2558 ที่สูงถึง 4.08 เท่า ส่งผลให้บริษัทฯ มีความสามารถในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม เติมผ่านการก่อภาระหนี้สินค่อนข้างต่ำ� ทั้งนี้บริษัทฯ มีแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว จากแผนการเพิ่มทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และ การเร่งการขายและโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดของโครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส เพื่อนำ�เงินไปชำ�ระคืนหนี้สถาบันการเงิน และจ่ายชำ�ระ คืนหุ้นกู้


156

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

5 รายละเอียดการรับช�ำระเงินจากการขายในโครงการอสังหาริมทรัพย์

รายละเอียดของการชำ�ระเงินของโครงการที่ดำ�เนินอยู่ในปัจจุบัน ณ สิ้นปี 2558

โครงการ

15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส

มูลค่าที่ ขายแล้ว (1)

1,828.09

เงินที่ครบกำ�หนด ชำ�ระสะสม (2) ล้านบาท ร้อยละ ของมูลค่า ที่ขายแล้ว

1,665.59

91.11%

เงินที่ชำ�ระแล้วสะสม (3) ล้านบาท

162.50

ร้อยละของ

9.76%

เงินที่ค้างชำ�ระ (2) - (3)

คงเหลือจำ�นวนเงิน ที่ยังไม่ถึงกำ�หนดชำ�ระ* (1) - (2) ร้อยละของ ล้านบาท ร้อยละ ของมูลค่า ที่ขายแล้ว

ล้านบาท

-

0.00%

162.50

หมายเหตุ: * จำ�นวนเงินคงเหลือที่ยังไม่ถึงกำ�หนดชำ�ระ จะเป็นจำ�นวนเงินที่ได้รับ ณ วันที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ รายละเอียดค้างชำ�ระสะสม ณ สิ้นปี 2558 โครงการ

15 สุขุมวิท เรสซิเดนเซส

เงินค้างชำ�ระสะสม ค้างชำ�ระ 1 - 3 เดือน ค้างชำ�ระ 3 - 6 เดือน ค้างชำ�ระ 6 เดือนขึ้นไป จำ�นวน ล้านบาท จำ�นวน ล้านบาท จำ�นวน ล้านบาท จำ�นวน ล้านบาท ราย ราย ราย ราย ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี -

8.89%


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

157

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความครบถ้วนถูกต้องของงบการเงินรวมของบริษัทฯ บริษัทย่อย และสารสนเทศทางการ เงินทีป่ รากฏในรายงานประจำ�ปี งบการเงินดังกล่าวจัดทำ�ขึน้ ตามมาตรฐานการบัญชีทรี่ บั รองทัว่ ไปในประเทศไทย โดยเลือกใช้นโยบายบัญชี ทีเ่ หมาะสม และถือปฏิบตั อิ ย่างสม่�ำ เสมอ การใช้ดลุ ยพินจิ อย่างระมัดระวัง การประมาณการทีด่ ที สี่ ดุ ในการจัดทำ� รวมทัง้ มีการเปิดเผยข้อมูล สำ�คัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทั่วไปอย่างโปร่งใส คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีและดำ�รงรักษาไว้ซึ่งระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจได้อย่างมีเหตุผลว่า การบันทึก ข้อมูลทางบัญชีมีความครบถ้วนถูกต้อง และเพียงพอที่จะดำ�รงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน และเพื่อให้ทราบจุดอ่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต หรือการดำ�เนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำ�คัญ ในการนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระที่ไม่เป็นผู้บริหาร เป็นผู้ดูแล รับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงิน และระบบควบคุมภายใน และความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ปรากฏในรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจำ�ปีแล้ว คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่าระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ โดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถสร้างความเชื่อมั่น อย่างมีเหตุผลได้ว่างบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีความเชื่อถือได้ โดยถือปฏิบัติตามมาตรฐานการ บัญชีที่รับรองทั่วไป และปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(ดร.สุนทร เสถียรไทย) ประธานกรรมการ

(นายกัมพล ติยะรัตน์) กรรมการผู้จัดการ


158

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ผู้ถือหุ้นและการจัดการ

การถือหุ้นของกรรมการ และผู้บริหาร ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ชื่อ - นามสกุล

1. นายอภิชัย เตชะอุบล 2. นายกัมพล ติยะรัตน์ 3. นายกฤตวัฒน์ เตชะอุบล

30 ธ.ค. 2558

302,283,275 120,700 43,995,000

จำ�นวนหุ้นสามัญ (หุ้น) 31 ธ.ค. 2557

268,038,875 2,000 43,995,000

เพิ่ม (ลด)

34,244,400 118,700 -

ค่าตอบแทนกรรมการ และผู้บริหาร สำ�หรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

(1) ค่าตอบแทนกรรมการ ที่ได้รบั อนุมตั จิ ากทีป่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำ�ปี 2558 มีจำ�นวน 10,000,000.- บาท โดยให้คณะกรรมการ บริษัทเป็นผู้จัดสรรค่าตอบแทนให้แก่กรรมการแต่ละท่าน และกรรมการได้รับการจัดสรรเป็นค่าเบี้ยประชุมและบำ�เหน็จ ดังนี้. ชื่อ - นามสกุล

1. ดร. สุนทร เสถียรไทย 2. นายอภิชัย เตชะอุบล 3. นายประสงค์ วรารัตนกุล 4. นายนันท์ กิจจาลักษณ์ 5. นายสมมาตร สังขะทรัพย์ 6. นายกัมพล ติยะรัตน์ 7. นายอนุกูล อุบลนุช 8. นายบรรยง วิเศษมงคลชัย 9. นายกฤตวัฒน์ เตชะอุบล 10. นายพิสุทธิ์ วิริยะเมตตากุล* รวม

ค่าเบี้ย ประชุม (บาท)

ค่าบำ�เหน็จ กรรมการ (บาท)

ค่า ตอบแทน รวม (บาท)

144,000 162,000

1,560,000 960,000

1,704,000 1,122,000

194,000

780,000

974,000

154,000

650,000

804,000

172,000

650,000

822,000

157,000 117,000 117,000 104,000 78,000 1,399,000

540,000 540,000 520,000 520,000 219,355 6,939,355

697,000 657,000 637,000 624,000 297,355 8,338,355

ตำ�แหน่ง

ประธานกรรมการ และกรรมการอิสระ กรรมการ, รองประธานกรรมการ และประธาน กรรมการบริหาร ประธานกรรมการตรวจสอบ, ประธานกรรมการ กำ�กับดูแลกิจการที่ดี สรรหาและค่าตอบแทน และ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ, กรรมการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี สรรหาและค่าตอบแทน และกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ, กรรมการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี สรรหาและค่าตอบแทน และกรรมการอิสระ กรรมการ, กรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ, กรรมการบริหาร กรรมการ

หมายเหตุ : *นายพิสทุ ธิ์ วิรยิ ะเมตตากุล ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการเมือ่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2558


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

159

(2) ค่าตอบแทนรวมของผูบ้ ริหารระดับผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การขึน้ ไปถึงระดับประธานกรรมการบริหารในรูปเงินเดือน และค่าตอบแทน ในการทำ�งาน ค่าตอบแทนรวม

จำ�นวนราย

ปี 2558

จำ�นวนราย

ปี 2557

เงินเดือน / ค่าตอบแทนในการทำ�งาน 6 29,981,799.16 5 32,942,942.69 หมายเหตุ : ปี 2558 ประกอบด้วยผูบ้ ริหาร 6 ท่าน 1) นายอภิชยั เตชะอุบล 2) นายกัมพล ติยะรัตน์ 3) นายกฤตวัฒน์ เตชะอุบล 4) นางวิไล แซ่โง้ว 5) นางสิรพิ ร ปิน่ ประยงค์ 6) นางรัชนี ศิวเวชช


160

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2558

จำ�นวนหุ้น

1. นายอภิชัย เตชะอุบล 2. นางชลิดา เตชะอุบล 3. นายกฤตวัฒน์ เตชะอุบล 4. นายโชติวิทย์ เตชะอุบล 5. นายพิสุทธิ์ วิริยะเมตตากุล 6. นางเพ็ญศรี รัตนสุนทรากุล 7. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำ�กัด 8. นางขันทอง อุดมมหันติสุข 9. นางสุภาวรรณ สันติเมทนีดล 10. อื่นๆ รวม

302,283,275 170,325,172 43,995,000 33,541,359 20,000,000 17,900,000 15,309,566 13,387,200 9,694,000 657,065,833 1,283,501,405

ร้อยละ

23.55 13.27 3.43 2.61 1.56 1.39 1.19 1.04 0.76 51.19 100


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

161

ข้อมูลทั่วไป บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) ทะเบียนเลขที่ 0107537000475 (บมจ. 294) มีสำ�นักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 18 ซอยสาทร 11 แยก 9 อาคาร ทีเอฟดี แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ (662) 676-4031-6, (662) 6763836-9 โทรสาร (662) 676-4038-9 เว็บไซต์ www.tfd-factory.com

ลักษณะการด�ำเนินธุรกิจ

การดำ�เนินธุรกิจของบริษัทจำ�แนกตามลักษณะของรายได้หลัก เป็น 4 ประเภทคือ: 1. นิคมอุตสาหกรรม 2. เพื่อการขาย และให้เช่า ที่ดิน โรงงานสำ�เร็จรูป คลังสินค้า และบริหารจัดการ 3. ธุรกิจบริการให้เช่าพื้นที่สำ�นักงาน และให้บริการบริหารจัดการทรัพย์สินประเภท อสังหาริมทรัพย์ 4. รับเหมาก่อสร้าง ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง

จ�ำนวนและชนิดของหุ้นทั้งหมดที่ออกจ�ำหน่ายแล้วของบริษัท

บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 1,914,911,170 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญทั้งสิ้นจำ�นวน 1,914,911,170 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท หุ้นที่ออกจำ�หน่ายและเรียกชำ�ระแล้วจำ�นวน 1,283,501,405 หุ้น หุ้นละ 1 บาท รวมเป็นเงิน 1,283,501,405 บาท หุ้นสามัญส่วนที่เหลือ จำ�นวน 631,409,765 หุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญที่ยังไม่เรียกชำ�ระ ดังนี้ 1.) หุน้ สามัญจำ�นวน 180,409,765 หุน้ สำ�หรับรองรับใบสำ�คัญแสดงสิทธิทจี่ ะซือ้ หุน้ สามัญของบริษทั ครัง้ ที่ 2 (TFD-W2) ซึง่ ยังไม่มี การใช้สิทธิจำ�นวน 180,409,765 หน่วย ราคาการใช้สิทธิหน่วยละ 4.853 บาท อายุการใช้สิทธิครั้งสุดท้ายวันที่ 15 พฤษภาคม 2559 2.) หุ้นสามัญจำ�นวน 13,000,000 หุ้น สำ�รองสำ�หรับการปรับสิทธิใบสำ�คัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 2 (TFD-W2) 3.) หุ้นสามัญจำ�นวน 256,563,552 หุ้น สำ�หรับรองรับใบสำ�คัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 3 (TFD-W3) ซึ่ ง ยั ง ไม่ มี การใช้ สิ ท ธิ จำ � นวน 256,563,552 หน่ ว ย ราคาการใช้ สิ ท ธิ ห น่ ว ยละ 5 บาท อายุ การใช้ สิ ท ธิ ค รั้ ง สุ ด ท้ า ย วันที่ 14 พฤษภาคม 2559 4.) หุ้นสามัญจำ�นวน 61,436,448 หุ้น คงเหลือจากการจัดสรรใบสำ�คัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 3 (TFD-W3) 5.) หุ้นสามัญจำ�นวน 120,000,000 หุ้น ค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาทเพื่อเสนอขายให้แก่นักลงทุนทั่วไป (Public Offering)


162

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

การถือหุ้นบริษัทในเครือ หรือบริษัทอื่น

บริษัท โทเทิล อินดัสเตรียล เซอร์วิสเซส จำ�กัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2546 ทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท บริษัทถือหุ้น 100% ดำ�เนินธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงงานมาตรฐานและคลังสินค้าเพื่อขายและให้เช่า สำ�นักงานตั้งอยู่เลขที่ 18 ซอยสาทร 11 แยก 9 อาคาร ทีเอฟดี แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ (662) 676-4055-57 โทรสาร (662) 676-4064 เว็บไซต์ www.tiscom.co.th

Barnsley Warehouses Limited ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2557 ทุนจดทะเบียน 630,000 ปอนด์ บริษัท โทเทิล อินดัสเตรียล เซอร์วิสเซส จำ�กัด (บริษัทย่อย) ถือหุ้น 100% ดำ�เนินงานด้านการลงทุนในธุรกิจที่ดินและอาคารคลังสินค้าเพื่อเช่าและขาย สำ�นักงานตั้งอยู่ 10 Norwich Street, London EC4A 1BD United Kingdom.

Bognor Regis Warehouses Limited ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2558 ทุนจดทะเบียน 1,620,000 ปอนด์ บริษัท โทเทิล อินดัสเตรียล เซอร์วิสเซส จำ�กัด (บริษัทย่อย) ถือหุ้น 100% ดำ�เนินงานด้านการลงทุนในธุรกิจที่ดินและอาคารคลังสินค้าเพื่อเช่าและขาย สำ�นักงานตั้งอยู่ 189 Piccagilly St James London W1J 9ES United Kingdom.

บริษัท คราวน์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด (ชื่อเดิม บริษัท วีเอสเอสแอล เอ็นเตอร์ไพร์ส จำ�กัด) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ทุนจดทะเบียน 701 ล้านบาท บริษัทถือหุ้น 100% ดำ�เนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สำ�นักงานตั้งอยู่เลขที่ 18 ซอยสาทร 11 แยก 9 อาคาร ทีเอฟดี แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ (662) 676-4031 โทรสาร (662) 676-4038

บริษัท เอส จี แลนด์ จำ�กัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2531 ทุนจดทะเบียน 100.45 ล้านบาท บริษัทถือหุ้น 49.91% ดำ�เนินธุรกิจเกี่ยวกับให้เช่าอาคารสำ�นักงาน สำ�นักงานตั้งอยู่เลขที่ 161/1 ซอยมหาดเล็กหลวง 3 ถนนราชดำ�ริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ (662) 651-9485, (662) 651-8577-78 โทรสาร (662) 651-8575, (662) 651-9471

บริษัท ทีเอฟดี เรียลเอสเตท แมนเนจเมนท์ จำ�กัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท บริษัทถือหุ้น 100% ดำ�เนินธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม สำ�นักงานตั้งอยู่เลขที่ 18 ซอยสาทร 11 แยก 9 อาคาร ทีเอฟดี แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ (662) 676-0288 โทรสาร (662) 676-0277


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

นายทะเบียนหลักทรัพย์

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชั้น 4 และ 7 เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ (662) 229-2800 โทรสาร (662) 654-5649

ผู้ค้าหลักทรัพย์ (ตั๋วแลกเงิน)

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำ�กัด ชั้น 3 อาคารสาทรซิตี้ ทาวเวอร์ 175 ถนนสาทรใต้ แขวงสาธร เขตสาธร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ (662) 680 - 1111 โทรสาร (662) 680-1014

บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซิมิโก้ จำ�กัด ชั้น 8, 15-17, 19, 21 อาคารลิเบอร์ตี้สแควร์ 287 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทมหานคร 10500 โทรศัพท์ (662) 695-5000 โทรสาร (662) 695-5173

บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 25 อาคารกรุงเทพประกันภัย ชั้น 15-17 ถนนสาทรเหนือ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ (662) 638-5000 โทรสาร (662) 638-6001

ธนาคารกสิกรไทย จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ (662) 470-2022 โทรสาร (662) 470-3065

ผู้สอบบัญชี

นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล ทะเบียนเลขที่ 3844 และ/หรือ นางสาวชลรส สันติอัศวราภรณ์ ทะเบียนเลขที่ 4523 และ/หรือ นางสาววราพร ประภาศิริกุล ทะเบียนเลขที่ 4579 บริษัท สำ�นักงาน อีวาย จำ�กัด ชั้น 33 อาคารเลครัชดา เลขที่ 193/136-137 ถนนรัชดาภิเษก คลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ (662) 264-0777 โทรสาร (662) 264-0789-90

163


164

บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) รายงานประจำ�ปี 2558

ที่ปรึกษากฎหมาย

บริษัท สำ�นักงานกฎหมายฟาร์อีสฑ์ (ประเทศไทย) จำ�กัด ชั้น 24 เลขที่ 121/74-75 อาคารอาร์. เอส. ทาวเวอร์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ (662) 641-3181-88, (662) 248-6711 โทรสาร (662) 641-3189-90, (662) 248-6719

ที่ปรึกษาทางการเงิน

บริษัท ดีเอส พรูเดนเชียล แมเนจเมนท์ จำ�กัด 540 อาคารเมอร์คิวรี่ ชั้น 5 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ (662) 658-5988 โทรสาร (662) 658-5877

การซื้อขายหุ้น

หุ้นสามัญของบริษัทฯ ทำ�การซื้อขายโดยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สถาบันการเงิน

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำ�กัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำ�กัด (มหาชน)


TFD

FACTORY LOCATION MAP


บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) Thai Factory Development Public Company Limited เลขที่ 18 ซอยสาทร 11 แยก 9 อาคารทีเอฟดี แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ : (66) 2676 4031-6, (66) 2676 3836-9 โทรสาร : (66) 2676 4038-9

18 Soi Sathorn 11 Yaek 9, TFD Building, Yannawa, Sathorn, Bangkok 10120 Thailand Tel : (66) 2676 4031-6 , (66) 2676 3836-9 Fax : (66) 2676 4038-9 www.tfd-factory.com


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.