ETG:Annual Report 2009

Page 1



Contents

สารบัญ

2 ข้อมูลสำคัญทางการเงิน 5 ข้อมูลทั่วไป 6 สารจากประธานกรรมการ 7 คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร 15 ปัจจัยความเสี่ยง 19 ลักษณะการประกอบธุรกิจ 24 กิจกรรมเพื่อสังคม 26 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 54 รายการระหว่างกัน 74 คำอธิบายและวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน 76 งบการเงิน

1


ข้อมูลสำคัญทางการเงิน งบการเงินรวม งบกำไรขาดทุน รายได้จากการให้บริการ กำไรจากการให้บริการ กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ กำไรสุทธิ งบดุล สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น หุ้น จำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ กำไรสุทธิต่อหุ้น เงินปันผลต่อหุ้น อัตราส่วนทางการเงิน อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้จากการให้บริการ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

(ล้านบาท)

2550 946 144 91 43

2551 1,069 157 94 43

2552 854 107 46 11

807 519 288

1,011 551 460

912 443 468

(ล้านบาท)

(ล้านหุ้น) (บาท) (บาท) (บาท) (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) (เท่า)

115.00 140.00 140.00 1.00 1.00 1.00 0.38 0.40 0.11 0.11 0.11 0.04 4.55 5.34 14.94 1.80

รายได้จากการให้บริการ (หน่วย : ล้านบาท) 1,200 1,100 1,000 900 800 700 600 500 400 300 200 100 0

946

2550

2

1,069

2551

854

2552

4.01 4.24 9.32 1.20

1.29 3.88 3.25 0.95


กำไรสุทธิ (หน่วย : ล้านบาท) 50

43

40

43

30

11

20 10 0

2550

2551

2552

ฐานะทางการเงิน (หน่วย : ล้านบาท) 1,100 1,000 900 800 700 600 500 400 300 200 100 0

1,011 807 551

519 288

2550

สินทรัพย์รวม

912

2551

460

หนี้สินรวม

443 468

ส่วนของผู้ถือหุ้น

2552

อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้การให้บริการ (หน่วย : ร้อยละ) 5.00 4.50 4.00 3.50 3.00 2.50 2.00 1.50 1.00 0.50 0.00

4.55

4.01 1.29

2550

2551

2552

3


อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (หน่วย : ร้อยละ) 6.00

5.34

5.00 4.00

4.24

3.88

2551

2552

3.00 2.00 1.00 0.00

2550

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (หน่วย : ร้อยละ) 20.00 15.00

14.94 9.32

10.00

3.25

5.00 0.00

2550

2551

2552

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (หน่วย : เท่า) 3.00 2.00

1.80

1.00

1.20

0.95

2551

2552

0.00

2550

4


ข้อมูลทั่วไป ชื่อบริษัท : บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) ลักษณะการประกอบธุรกิจ : ดำเนินธุรกิจด้านโลจิสติคส์ที่เกี่ยวข้องกับ - ให้คำปรึกษาด้านการนำเข้า-ส่งออกสินค้า - การดำเนินพิธีการทางศุลกากร - การให้บริการขนส่งและกระจายสินค้าทั่วประเทศ - การบริหารจัดการด้านคลังสินค้า ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ : 18/8 หมู่ 4 ถนนบางนา-ตราด กม. 23 อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10540 ที่ตั้งสาขา (ลานจอดรถบรรทุก) : 2/6 ถนนแฮปปี้เพลส แขวงคลองสามประเวศ เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 เลขทะเบียนบริษัท Website โทรศัพท์ (สนง. ใหญ่) โทรสาร (สนง. ใหญ่) โทรศัพท์ (สาขา) โทรสาร (สาขา) ทุนจดทะเบียน แบ่งเป็นหุ้นสามัญ มูลค่าที่ตราไว้ ทุนเรียกชำระแล้ว

: 0107548000617 : www.eternity.co.th : 02 315 7333 : 02 315 7300 : 02 737 7129 : 02 737 7150 : 140,000,000 บาท : 140,000,000 หุ้น : หุ้นละ 1 บาท : จำนวนเงิน 140,000,000 บาท

บุคคลอ้างอิงอื่นๆ ผู้สอบบัญชี : นางสาวซูซาน เอี่ยมวณิชชา ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4306 สำนักงานสอบบัญชี บริษัท เอส พี ออดิท จำกัด 503/21 อาคาร เค.เอส.แอล. ทาวเวอร์ ชั้น 12 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 นายทะเบียนหุ้นสามัญ : บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารสถาบันวิทยาการตลาดทุน เลขที่ 2/7 หมู่ที่ 4 (โครงการนอร์ธปาร์ค) ถนนวิภาวดี-รังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

5


ÊÒèҡ»Ãиҹ¡ÃÃÁ¡ÒÃ

วิกฤติเศ รษ ฐกิจโลกกลางป 2551  ตอเองถึ น่ ื งป 2552  มีผลกระท บ อยาง เปน ปรู ธรรม ตอผ ล ป ระก อบ ก ารของบ ษริทั อีเท อรนิตี้แ ก รน ดโล จิส ติคส จำ  กัด (ม หาชน ) ใน ป 2552  โดยตั้งแ ตไตรม าส ที1่ ถึงไตรม าส ที3่ ป มริ าณการให บ การ ริ ไดลดลงป ระม าณ 25% จากป 2551  งส ซ่ วน ึ  ใหญมีส าเหตุม าจากป มริ าณการสงซ่ ้อั ื ลดลงของลู ที่ กคา ทั้งจากภ ายในแ ละภ ายนอกป ระเท ศ บ ษริทั ไดตระหนักถึงผลกระท บ ดังกลาว งมี ซ่ ผลให ึ ระห  วางปมีการออกแ  ผน “90 วัน ชัสย ู ช น ะ” เพอรั่ บื มือกับ เหตุการณเกทีดขึ ่ ิ ้น แ ละจากความ วม ร มือรวม ใจ ของพ นักงาน ทุกคน ทุกฝาย  ทุกระดับ จึงท ำ ให ใน สทีดผลป ุ่ ระกอบ การของบ ษริทั ส าม ารถขึ้น ม าอยู ใน แ น วบ วกไดโดยเฉ พ าะใน ไต รม าส สดท ุ ายของป บ ษริทั มีผล ป ระกอบ การที ใกล ่ เคยงภ ี าวะป กติ จาก ความ ก ดดัน ตางๆ แ ล ะความ อุต ส าหะรวม ถึงก ารท ำ งาน หนัก ขอ ง พ นักงาน ท างบ ษริทั มีความอมั เช่น่ื วา ใน ป 2553  นี้บ ษริทั จะตองมีผลป ระกอบ การ ดีขึที ้น่ แ ละส ามารถนำ มาซ งผลตอบ ่ึ แ ทนตางๆ คืนให แ กพ นักงาน กรรมการบ หริารแ ละ นทุ ถือห ผู กท ุ านไดตามเาห ปมายที  ตั้งไว ่

6

¹Ò¾ٹÈÑ¡´Ôì à¸ÕÂä¾Ãѵ¹ »Ãиҹ¡ÃÃÁ¡ÒÃ


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท

นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ ประธานกรรมการ อายุ 45 ปี

นายทนงชัย เธียไพรัตน์ กรรมการ อายุ 63 ปี

นายไพโรจน์ เธียไพรัตน์ กรรมการ อายุ 66 ปี

การศึกษา 1) ปริญญาโท สาขา Finance and International Business สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) ปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้าน โลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) Directors Accreditation Program (DAP) 11/2004 4) Finance for Non-Finance Director (FN) 23/2005

การศึกษา 1) ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 47 ปี 2548

การศึกษา 1) อนุปริญญา สาขาการจัดการทั่วไป Kitti Commercial College 2) หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 47 ปี 2548

ประสบการณ์การทำงาน 2541 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด ก.ค. 2548 - ปัจจุบัน รองประธานกรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) มี.ค. 2551 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

ประสบการณ์การทำงาน ก.ค. 2548 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)

ประสบการณ์การทำงาน 2541 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด 2547 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการอิสระ บริษัท ธนมิตร แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) 2548 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) 2551 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

7


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท

นายประพัฒน์ เธียไพรัตน์ กรรมการ อายุ 49 ปี

นายพูนยศ เธียไพรัตน์ กรรมการ อายุ 43 ปี

นายโทรุ อิวาตะ กรรมการ อายุ 56 ปี

การศึกษา 1) ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สถาบันราชภัฏ วิทยาเขตพาณิชยการพระนคร 2) หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 47 ปี 2548

การศึกษา 1) ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขาการเงินระหว่างประเทศ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) Directors Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 46 ปี 2548

การศึกษา 1) ปริญญาโท Machanical Engineering, Wasada University

ประสบการณ์การทำงาน ก.ค. 2548 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)

8

ประสบการณ์การทำงาน 2541 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด 2548 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) 2551 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

ประสบการณ์การทำงาน 2548 - 2550 Director- Strategic Planning Department, Pokka Corporation 2550 - ปัจจุบัน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไอชิ ไคอุน จำกัด 2551 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท

นางพจมาน ภาษวัธน์ กรรมการอิสระ และ ประธานกรรมการตรวจสอบ อายุ 60 ปี

นายประชา พัทธยากร กรรมการอิสระ และ กรรมการตรวจสอบ อายุ 46 ปี

รศ.ดร. รุธิร์ พนมยงค์ กรรมการอิสระ และ กรรมการตรวจสอบ อายุ 42 ปี

การศึกษา การศึกษา การศึกษา 1) ปริญญาโท บริหารธุรกิจ 1) ปริญญาตรี LLB International Law, 1) ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต Idaho State University, U.S.A จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Paris I Pantheon-Sorbonne, France 2) หลักสูตร Director Accreditation 2) Master of Business Administration 2) ปริญญาโท LLM International Business Program (DAP) รุ่นที่ 41 ปี 2548 major in Finance and International Law, Paris I Pantheon-Sorbonne, 3) หลักสูตร Audit Committee France Business Program (ACP) 3) ปริญญาเอก Doctor of Philosophy สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ 4) หลักสูตร Monitoring the Internal แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Ph.D.) International Logistics, Audit Function (MIA) 3) หลักสูตร Director Accreditation Cardiff Business School, Cardiff ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ Program (DAP) รุ่นที่ 41 ปี 2548 University, Wales, United Kingdom บริษัทไทย (IOD) 4) หลักสูตร Director Certification 4) หลักสูตร Audit Committee Program 03 (DCP 103) Program (ACP) ประสบการณ์การทำงาน 5) หลักสูตร Director Accreditation 5) หลักสูตร Monitoring the Internal 2543 - 2551 Program (DAP) Audit Function (MIA) กรรมการสถาบันรหัสสากล 6) หลักสูตร Monitoring the Quality of 6) หลักสูตร Audit Committee สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย Financial Reporting (MFR) Program (ACP) 2548 - ปัจจุบัน 7) หลักสูตร Monitoring the System of ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ กรรมการอิสระ บริษัทไทย (IOD) Internal Control and Risk และประธานกรรมการตรวจสอบ Management (MIR) บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ ประสบการณ์การทำงาน ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) 2537 - ปัจจุบัน บริษัทไทย (IOD) 2549 - 2552 อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจ กรรมการ คณะอนุกรรมการ ระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง ประสบการณ์ ก ารทำงาน Logistics, กกร. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 2548 - ปัจจุบัน 2551 - ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 2548 - ปัจจุบัน กรรมการ บริ ษ ท ั อี เ ทอร์ น ต ิ ้ ี แกรนด์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ 2548 - ปัจจุบัน ประธานคณะทำงานจัดทำ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) กรรมการผู้อำนวยการ Roadmap โลจิสติกส์ บริ ษ ท ั พี แอ๊ ด ไวเซอร์ ร ่ ี จำกั ด อุตสาหกรรมอาหาร 2548 - ปัจจุบัน กพร. กระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท บริษัท ภารีสา คอร์ปอเรชั่น จำกัด

9


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร คณะผู้บริหาร

นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการ อายุ 45 ปี

นายทนงชัย เธียไพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพิธีการศุลกากร อายุ 63 ปี

นายไพโรจน์ เธียไพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีการเงิน อายุ 66 ปี

การศึกษา 1) ปริญญาโท สาขา Finance and International Business 2) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) ปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ด้าน โลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4) Directors Accreditation Program (DAP) 11/2004 5) Finance for Non-Finance Director (FN) 23/2005

การศึกษา 1) ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 47 ปี 2548

การศึกษา 1) อนุปริญญา สาขาการจัดการทั่วไป Kitti Commercial College 2) หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 47 ปี 2548

ประสบการณ์การทำงาน 2541 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด ก.ค. 2548 - ปัจจุบัน รองประธานกรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) มี.ค. 2551 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

ประสบการณ์การทำงาน ก.ค. 2548 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)

ประสบการณ์การทำงาน 2541 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด 2547 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการอิสระ บริษัท ธนมิตร แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) 2548 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) 2551 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

10


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร คณะผู้บริหาร

นายประพัฒน์ เธียไพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้อำนวยการฝ่ายพิธีการศุลกากร และ กรรมการผู้จัดการ อายุ 49 ปี บริษัท อีเทอร์นิต้ี โลจิสติคส์ จำกัด อายุ 43 ปี การศึกษา 1) ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สถาบันราชภัฏ วิทยาเขตพาณิชยการพระนคร 2) หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 47 ปี 2548

ประสบการณ์การทำงาน ก.ค. 2548 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)

การศึกษา 1) ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขาการเงินระหว่างประเทศ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) Directors Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 46 ปี 2548 ประสบการณ์การทำงาน 2541 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด 2548 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) 2551 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

นายจุลภพ บูรณะจรรยากุล ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด อายุ 44 ปี การศึกษา 1) ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) Directors Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 46 ปี 2548 ประสบการณ์การทำงาน 2541 - 2548 กรรมการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต 2002 จำกัด 2548 - 2550 ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการขนส่ง บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) 2550 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 2551 - ปัจจุบัน กรรมการ และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

11


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร คณะผู้บริหาร

นางสาวจุไรพร เธียไพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อและธุรการ อายุ 41 ปี

นายกิติเทพ จินตวร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารขนส่ง อายุ 42 ปี

การศึกษา 1) ปริญญาโท Finance, Farleigh Dichinson University, ประเทศสหรัฐอเมริกา 2) Directors Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 46 ปี 2548

การศึกษา 1) Higher National Diploma in Agricutural Engineering, Thames, ประเทศอังกฤษ

ประสบการณ์การทำงาน 2548 - 2551 ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนงานบริหาร บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) 2552 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อและธุรการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)

12

ประสบการณ์การทำงาน 2549 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารขนส่ง บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)

นายทรงเดช ศรีประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการ และซ่อมบำรุง อายุ 47 ปี การศึกษา 1) Master of Business Administration, San Angelo State University, Texas, ประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์การทำงาน 2546 - 2550 ผู้จัดการโรงงาน บริษัท ซี. เค. ชูส์ (ประเทศไทย) จำกัด 2549 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่ายบริการและซ่อมบำรุง บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร คณะผู้บริหาร

นางสาวดรุณี แสงพลสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด อายุ 46 ปี การศึกษา 1) ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประสบการณ์การทำงาน 2548 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด

ร.อ. นฤเบศวร์ ทองแดง รน. รักษาการ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารธุรกิจสัมพันธ์ อายุ 39 ปี การศึกษา 1) ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า โรงเรียนนายเรือ 2) หลักสูตรการบริหารท่าเรือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) หลักสูตร Logistics Management จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์การทำงาน 2547 Warehouse Manager, T.N.T Logistics (Thailand) Co., Ltd. 2547 - 2549 Transport Development Manager, C.P. All Plc. 2549 - ปัจจุบัน รักษาการ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)

ธงชัย กอบเกื้อชัยพงษ์ รักษาการ ผู้อำนวยการฝ่ายขนส่ง อายุ 39 ปี การศึกษา 1) ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต อุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์การทำงาน 2542 - 2550 ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์กระจายสินค้า บริษัท เอกชัย ดิสทริบิวชั่น จำกัด 2550 - ปัจจุบัน รักษาการ ผู้อำนวยการฝ่ายขนส่ง บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)

13


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร คณะผู้บริหาร

นางสาวยุพดี ดาราศรีศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด อายุ 33 ปี การศึกษา 1) ปริญญาตรี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบการณ์การทำงาน 2551 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

14


ปัจจัยความเสี่ยง

1. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงมีความผันผวนดังเช่นปี 2551 โดยราคาน้ำมันดีเซลอยู่ใน ระดับตั้งแต่ 25 - 40 บาทต่อลิตร จากความเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมัน บริษัทยังคงดำเนินการจัดการ อย่างต่อเนื่องโดยผ่านกระบวนการการบริหารแบบ Open book และการติดต่อประสานงาน กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อขอปรับอัตราค่าขนส่งทั้งขึ้นและลง นอกจากนั้น บริษัทยังคงดำเนิน การติดตั้ง NGV ไปตามแผนที่วางไว้ โดยจะเพิ่มการติดตั้งก๊าซขึ้นอีก เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องสถานี เติมก๊าซมีการผ่อนปรนมากขึ้น ในด้านบุคคลากร บริษัทยังคงใช้วิธีสร้างแรงจูงใจกับบุคคลากร เพื่อให้ขับขี่รถอย่างประหยัด ซึ่งก็เป็นวิธีการบริหารจัดการภายใน อีกทางหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วง วิกฤติน้ำมันแพง

15


ปัจจัยความเสี่ยง

2. ความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ

ในปี 2552 บริษัทได้ดำเนินการป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุผ่านคณะกรรมการ ความปลอดภัย โดยมีผลเป็นที่น่าพอใจ คืออัตราการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2552 เท่ากับ 0.40 ครั้ง/ล้านกิโลเมตร ในขณะที่ปี 2550 และ ปี 2551 เท่ากับ 0.54 และ 0.46 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นการตอกย้ำและแสดงความมั่นใจว่า คณะกรรมการความปลอดภัยและฝ่าย ปฏิบัติการต่างๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินการด้านอุบัติเหตุ และมีความพยายาม ควบคุมอัตราการเกิดอุบัติเหตุอย่างจริงจัง

16


ปัจจัยความเสี่ยง

3. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่

ในปัจจุบันบริษัทมีความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ลดลง เนื่องจากบริษัทได้ขยายธุรกิจ โดยผ่านลูกค้าขนาดกลางได้มากยิ่งขึ้นและต่อเนื่อง อาทิ เช่น Dunkin Donut, Billabong เป็นต้น นอกจากนั้นบริษัทได้ขยายกิจการ โดยนำเสนอบริการใหม่ๆ เช่น การขนส่งสินค้าข้ามชายแดน (Cross Border Transport) และ Multi Modal Transport เป็นต้น ดังนั้น ความเสี่ยงจากการพึ่งพิง ลู ก ค้ า รายใหญ่ จ ะถู ก ดำเนิ น การโดยผ่ า นกระบวนการขยายตลาดโดยมุ่ ง เน้ น ลู ก ค้ า ขนาดกลาง และขยายบริการอื่นๆ นอกเหนือจากบริการปกติที่บริษัทเคยมอบให้

17


ปัจจัยความเสี่ยง 4. ความเสี่ยงเกี่ยวกับกฎระเบียบของทางราชการ

ในปี 2552 บริษัทได้จัดตั้งหน่วยงานด้านกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม โดยอยู่ภายใต้การบริหาร งานของฝ่ า ยทรั พ ยากรบุ ค คล ซึ่ ง หน่ ว ยงานนี้ มี ห น้ า ที่ ใ นการดู แ ลและศึ ก ษาความเสี่ ย งต่ า งๆ ในแง่กฎหมาย สัญญาที่มี ทั้งส่วนราชการและภาคเอกชน

5. ความเสี่ยงเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศ และความไม่แน่นอนทางการเมือง

ความเสี่ยงดังกล่าวนี้ เป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัท แต่บริษัทต้องปรับตัว ปรับโครงสร้างภายในให้เหมาะสมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว โดยมีมาตรการเรื่องการ ลดต้นทุน ทั้งต้นทุนการดำเนินการและต้นทุนการบริหาร, มาตรการมุ่งเน้นการรักษาฐานลูกค้าเดิม และขยายฐานลูกค้าใหม่, มาตรการในการเปิดธุรกิจใหม่ เพราะบริษัทคิดว่าจะส่งผลที่ดีในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางน้ำ, ธุรกิจทางด้านพลังงาน, การขนส่งข้ามชายแดน เป็นต้น นั่นคือความ เสี่ยงที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยและรวมไปถึงการเมืองไทยที่ยังไม่มีความแน่นอน สิ่งสำคัญในการจัดการความเสี่ยงในเรื่องนี้คือ ต้องปรับตัวให้ได้และรวดเร็ว

18


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

สาระสำคัญโดยสังเขปของลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) (ETG) ประกอบธุรกิจการให้บริการด้าน โลจิสติคส์ อันประกอบไปด้วยการขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้าไปยังจุดหมายที่ลูกค้า ต้องการ รวมทั้งการให้บริการจัดหาอุปกรณ์เสริมเพื่อการขนส่งสินค้า ตลอดจนการให้คำปรึกษา หรือคิดหาแนวทาง วิธีการ หรือรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสมแก่ลูกค้า นอกจากนี้ ยังให้บริการ ในเรื่องการบริหารจัดการคลังสินค้า บริการบรรจุสินค้า ยกขนสินค้า การจัดส่งสินค้า การจัดเก็บ และการกระจายสิ น ค้ า โดยมี ค ลั ง สิ น ค้ า เป็ น ของตนเอง และให้ บ ริ ก ารขนส่ ง สิ น ค้ า เทกอง บริการบริหารท่าเรือแม่น้ำ โดยบริษัทฯ รับบริหารจัดการลูกค้าสามารถนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อ ขนถ่ายสินค้า ซึ่งมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก มีเครื่องชั่งรถบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ และมีคลัง สินค้า ที่พร้อมให้บริการ มีบริการให้คำปรึกษาและบริการดำเนินพิธีศุลกากร ในการนำเข้าและ

19


ลักษณะการประกอบธุรกิจ ส่ ง ออกสิ น ค้ า โดยได้ รั บ การอนุ ญ าตให้ เ ป็ น ตั ว แทนออกของรั บ อนุ ญ าต ลำดั บ ที่ 12 จาก กรมศุลกากรให้บริการดำเนินการเพื่อขอสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออก สินค้า ให้บริการดำเนินการเพื่อขอเอกสารหรือใบอนุญาตต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินพิธีการด้าน ศุลกากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการจัดหาบริการเสริมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง โดยในปี 2552 ได้มีการทดลองการขนส่งข้ามชายแดน (Cross Border) ไปยังประเทศในกลุ่ม GMS ETG มีบริษัทย่อย 4 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทในกลุ่มประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องและเกื้อหนุน ซึง่ กันและกัน ดังนี้

ETG ทุนชำระแล้ว 140 ล้านบาท

100% บริ​ิษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต จำกัด ทุนชำระแล้ว 20 ล้านบาท ETC

100% บริ​ิษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด ทุนชำระแล้ว 1 ล้านบาท ETL

30%

30% 40%

บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ทุนชำระแล้ว 20 ล้านบาท ECS

20

20%

บริ​ิษัท ไอชิ ไคอุน จำกัด ทุนชำระแล้ว 189 ล้านเยน Aichi

70% บริ​ิษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด ทุนชำระแล้ว 100 ล้านบาท PGL


ลักษณะการประกอบธุรกิจ ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัทย่อย 1. บริษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต จำกัด หรือ ETC ปัจจุบัน ETC ยังคงสภาพการเป็น บริษัทไว้โดยไม่ได้มีกิจกรรมทางธุรกิจใดๆ เผื่อการขยายกิจการในอนาคต และคณะกรรมการ บริษัทจะทำการพิจารณาทบทวนเรื่องนี้ทุกปี 2.บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด หรือ ETL จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 โดยครอบครัวเธียไพรัตน์ ปัจจุบันมีทุนชำระแล้ว 1 ล้านบาท ถือหุ้นทั้งหมดโดย ETG มีสถานที่ตั้ง อยูท่ เ่ี ดียวกับสำนักงานใหญ่ ธุรกิจหลักของ ETL ประกอบด้วยการให้บริการรับฝากสินค้าการบริหาร และจัดการคลังสินค้า การขนส่งและกระจายสินค้า บริการจัดหาสินค้าตามความต้องการของลูกค้า และการให้บริการส่งเสริมการขาย ตลอดจนการจัดหาบริการเสริมแบบพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การคัดเลือกและบรรจุ (pick and pack) การบรรจุหีบห่อใหม่ (Packing) เป็นต้น ETL ได้เช่าคลังสินค้าพื้นที่รวม 5,000 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นพื้นที่รับฝากและคลังสินค้าให้กับลูกค้า นอกจากนี้ได้ขยายการให้บริการในการบริหารคลังสินค้าของลูกค้าด้วย 3.บริ ษั ท อี เ ทอร์ นิ ตี้ คอนซั ล ติ้ ง แอนด์ เซอร์ วิ ส จำกั ด หรื อ ECS จั ด ตั้ ง ขึ้ น เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2545 โดยครอบครัวเธียไพรัตน์ ปัจจุบันมีทุนชำระแล้ว 20 ล้านบาท ถื อ หุ้ น ทั้ ง หมดโดย ETG ECS ดำเนิ น การจั ด การด้ า นอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ข องกลุ่ ม บริ ษั ท ฯ อาทิ บริ ห ารอาคารสำนั ก งานและคลั ง สิ น ค้ า ของบริ ษั ท ฯ บริ ห ารลานจอดรถบรรทุ ก และ วางตู้ ค อนเทนเนอร์ ที่ บ ริ เ วณถนนลาดกระบั ง เป็ น ต้ น ทั้ ง นี้ เ พื่ อ สนั บ สนุ น การดำเนิ น การ ของบริษัทในกลุ่ม และเพื่อรองรับการให้บริการด้านโลจิสติกส์อย่างครบวงจร 4.บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด หรือ PGL จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 โดยกลุ่มบริษัทพีแอนด์เอส ปัจจุบันมีทุนชำระแล้วจำนวน 100 ล้านบาท โดยการถือหุ้นร่วมกัน ระหว่าง ETG และ กลุ่มบริษัทพีแอนด์เอส PGL ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการด้านโลจิสติกส์ สำหรับสินค้าประเภทเทกอง อันหมายถึงสินค้าวัตถุดิบทางการเกษตรทั้งหลาย อาทิ ข้าว, ข้าวโพด, ถัว่ เหลือง เป็นต้น รวมถึงปุย๋ และแร่ธาตุตา่ งๆ บริการขนถ่ายสินค้าทางบก-ทางน้ำ และบริหารคลังสินค้า ซึง่ ในปีพ.ศ. 2551 ได้เริม่ มีการขนส่งข้ามชายแดนไปยังประเทศเพือ่ นบ้าน อาทิเช่น ลาว, เขมร เป็นต้น

21


ลักษณะการประกอบธุรกิจ โครงสร้างรายได้

ดำเนินการ 2552 2551 โดย จำนวนเงิน ร้อยละ จำนวนเงิน ร้อยละ

ประเภทของรายได้ 1. ให้บริการขนส่งและขนถ่ายสินค้า

บริษัท

628,464 64.22

PGL

107,096 10.95

944,438 84.12

2. บริการด้านศุลกากร

บริษัท

69,047

7.06

84,208

7.50

3. บริการบริหารและจัดการคลังสินค้า

ETL

24,783

2.53

14,986

1.33

PGL

14,709

1.50

10,017

0.89

ETL

91,049

9.30

47,575

4.24

PGL

23,891

2.44

4. บริการด้านการบริหารงานและค่าเช่า

ECS

329

0.03

641

0.06

บริษัท

9,624

0.98

14,282

1.27

5. รายได้อื่น

บริษัท

ขายสินค้า

รายได้รวม

22

หน่วย : พันบาท

9,667 0.99 6,613 0.59 978,659 100.00 1,122,760 100.00


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

หากพิจารณาสัดส่วนรายได้ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในปี 2552 สัดส่วนรายได้ที่มากที่สุด คือ รายได้จากการให้บริการขนส่งสินค้าและขนถ่ายสินค้า โดยมีสัดส่วนร้อยละ 75.17 ของรายได้รวม รองลงมา ได้แก่รายได้จากการขายสินค้ารายได้จากการบริการด้านศุลกากร รายได้จากการบริหาร และจัดการคลังสินค้า และ รายได้จากการให้บริการด้านการบริหารงานและค่าเช่า โดยมีสัดส่วน ร้อยละ 11.74, 7.06, 4.03 และ 1.01 ของรายได้รวมตามลำดับ สรุปการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ปี 2552 ปี 2552 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอยู่สามเหตุการณ์คือ 1. เดือนสิงหาคม ได้มีการจัดทำแผน 90 วันสู่ชัยชนะ โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มยอดขายและ ลดต้นทุนการดำเนินงาน เพื่อต่อสู้กับสภาวะทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจ ปรากฏในไตรมาสที่สี่ 2. ในเดือนเดียวกันนี้ ได้มีการปรับโครงสร้างในการบริหาร โดยได้กระจายงานด้านพัฒนาธุรกิจ ไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อเพิ่มยอดขาย และดูแลลูกค้าให้ใกล้ชิดขึ้น 3. เดื อ นกั น ยายน ได้ มี ก ารจดทะเบี ย นเพิ่ ม ทุ น ของ บริ ษั ท แพนดส์ กรุ๊ ป โลจิ ส ติ ก ส์ จำกั ด จาก 55 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท เพื่อเป็นการแบ่งเบาต้นทุนทางด้านการเงิน

23


กิจกรรมเพื่อสังคม

ในวั น อาทิ ต ย์ ที่ 25 มกราคม 2552 คุ ณ กิ ติ เ ทพ จิ น ตวร ผู้ อ ำนวยการฝ่ า ยบริ ห ารขนส่ ง บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานอนุกรรมการด้าน โลจิสติคส์ หอการค้าออสเตรเลีย-ไทย ได้มอบเงินช่วยเหลือแก่ มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมทั้งร่วมกับมูลนิธิคนพิการ โรงเรียนศรีสังวาลย์ และ กลุ่ม ซ.โซ่ อาสา พาน้องๆ ไปเที่ยวเยี่ยมชมที่สยามโอเชี่ยนเวิลด์ และพิพิธภัณฑ์ทหารอากาศ

24


กิจกรรมเพื่อสังคม

นับเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทฯ ที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยสนับสนุนน้องผู้ด้อยโอกาส ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ทางบริษัทฯ ให้ความสำคัญและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ เมื่อมีโอกาสมาโดยตลอด

25


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

26


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 8.1 โครงสร้างผู้ถือหุ้นและผู้ถือหุ้นสูงสุด 10 รายแรก ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552 รายชื่อ

ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552 จำนวนหุ้น

ร้อยละ

1. Aichi Kaiun Co, Ltd 2. นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ 3. นายพูนยศ เธียไพรัตน์ 4. นายทนงชัย เธียไพรัตน์ 5. นางศรีวิมล เธียไพรัตน์ 6. นางสาวกนกแก้ว วีรวรรณ 7. นายไพโรจน์ เธียไพรัตน์ 8. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ 9. นางสาวจุไรพร เธียไพรัตน์ 10. นางสาวดรุณี แสงพลสิทธิ์

27,800,000 21,529,028 13,339,543 12,508,357 10,131,300 7,371,000 5,954,243 5,494,700 4,981,243 4,981,243

19.86 15.38 9.53 8.93 7.24 5.27 4.25 3.92 3.56 3.56

ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ รวม

25,909,343

18.51

140,000,000

100.00

รวม ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552 ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย ผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าว

จำนวนหุ้นสามัญ 112,200,000 27,800.000

สัดส่วนผู้ถือหุ้น% 80.14 19.86

27


28

ผู้อำนวยการฝ่าย บริการและซ่อมบำรุง นายทรงเดช ศรีประเสริฐ

ผูอ้ ำนวยการฝ่าย เทคโนโลยีสารสนเทศ นายจุลภพ บูรณะจรรยากุล

ผูอ้ ำนวยการฝ่ายขนส่ง นายธงชัย กอบเกือ้ ชัยพงศ์ (รักษาการ)

คณะกรรมการความปลอดภัย

สำนักกรรมการผู้จัดการ

ผู้อำนวยการฝ่าย บริหารขนส่ง นายกิตติเทพ จินตวร

กรรมการผู้จัดการ นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์

คณะกรรมการบริษัท

ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้อำนวยการฝ่าย บริหารธุรกิจสัมพันธ์ บัญชีและการเงิน จัดซื้อและธุรการ ทรัพยากรบุคคล ร.อ. นฤเบศวร์ ทองแดง รน. นายไพโรจน์ เธียไพรัตน์ นางสาวจุไรพร เธียไพรัตน์ นายพูนยศ เธียไพรัตน์ (รักษาการ)

ผู้อำนวยการฝ่าย พิธีการศุลกากร นายทนงชัย เธียไพรัตน์ / นายประพัฒน์ เธียไพรัตน์

สำนักตรวจสอบภายใน นางสาวอนพัทย์ สิทธิเดชบริพัฒน์

คณะกรรมการตรวจสอบ

การจัดการโครงสร้าง บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ


ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ นายวันศุกร์ ปัทมสูต

กรรมการผู้จัดการ นายพูนยศ เธียไพรัตน์

คณะกรรมการบริษัท

* Outsource มาจาก ETG

ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ผูจ้ ดั การฝ่าย ทรัพยากรบุคคล จัดซื้อและธุรการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเงิน บริหารธุรกิจสัมพันธ์ นายประเวทย์ เดชรักษา* ร.อ. นฤเบศวร์ ทองแดง รน.* นางสาวจุไรพร เธียไพรัตน์* นายพูนยศ เธียไพรัตน์* นายจุลภพ บูรณะจรรยากุล*

สำนักตรวจสอบภายใน นางสาวอนพัทย์ สิทธิเดชบริพัฒน์*

โครงสร้างการจัดการของบริษัทย่อย 1) บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

29


30

ผู้จัดการฝ่ายนิติบุคคล ...

กรรมการผู้จัดการ นางสาวดรุณี แสงพลสิทธิ์

* Outsource มาจาก ETG

ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ทรัพยากรบุคคล จัดซื้อและธุรการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเงิน นายประเวทย์ เดชรักษา* นางสาวจุไรพร เธียไพรัตน์* นายพูนยศ เธียไพรัตน์* นายจุลภพ บูรณะจรรยากุล*

สำนักตรวจสอบภายใน นางสาวอนพัทย์ สิทธิเดชบริพัฒน์

คณะกรรมการบริษัท

2) บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ


แผนกควบคุมการขนส่ง

แผนกลูกค้าสัมพันธ์

ผู้จัดการทั่วไป นายจิรัฐิติ พันธุ์มณี

กรรมการผู้จัดการ นางสาวยุพดี ดาราศรีศักดิ์

คณะกรรมการบริษัท

แผนกวางแผนและติดตาม

ผู้จัดการ ฝ่ายปฏิบัติการขนส่ง

คณะกรรมการบริหาร

3) บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

แผนกทรัพยากร บุคลและธุรการ

ผู้จัดการฝ่าย สนับสนุนงานบริหาร

* Outsource มาจาก ETG

แผนกบัญชีและการเงิน

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

31


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ โครงสร้างกรรมการของบริษัทและบริษัทย่อย ETG 1. นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ 2. นายทนงชัย เธียไพรัตน์ 3. นายไพโรจน์ เธียไพรัตน์ 4. นายประพัฒน์ เธียไพรัตน์ 5. นายพูนยศ เธียไพรัตน์ 6. นายโทรุ อิวาตะ 7. นายจุลภพ บูรณะจรรยากุล 8. นางสาวจุไรพร เธียไพรัตน์ 9. นายธุมชาล สมิตะสิริ 10. นางสาวสิริธิดา สมิตะสิริ 11. นางพจมาน ภาษวัธน์

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการอิสระ, ประธานกรรมการ ตรวจสอบ

12. นายประชา พัทธยากร

กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ

13. รศ. ดร.รุธิร์ พนมยงค์

32

ETC

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ -

บริษัทย่อย ETL ECS

PGL

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ -

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ -

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ -

-

-

-

-

-

-


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ โครงสร้างการบริหารงานของบริษทั ฯ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ประกอบด้วยคณะกรรมการบริษทั คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะผู้บริหารดังต่อไปนี้

คณะกรรมการบริษัท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 คณะกรรมการบริษัท มีจำนวน 9 ท่าน ประกอบด้วย

ลำดับ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

รายชื่อ นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ นายทนงชัย เธียไพรัตน์ นายประพัฒน์ เธียไพรัตน์ นายไพโรจน์ เธียไพรัตน์ นายพูนยศ เธียไพรัตน์ นายโทรุ อิวาตะ นางพจมาน ภาษวัธน์ นายประชา พัทธยากร รศ.ดร. รุธิร์ พนมยงค์

ตำแหน่ง ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

โดยมี นางสาวภาวนา รัตนพันธากุล เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริษัท

33


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท

จากมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 4 /2548 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 สรุปหน้าที่และ ความรับผิดชอบที่สำคัญ ได้ดังนี้ 1) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท ตลอดจน มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่ในเรื่องที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน การดำเนิ น การเช่ น เรื่ อ งที่ ก ฎหมายกำหนดให้ ต้ อ งได้ รั บ มติ ที่ ป ระชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ และการซื้อหรือ ขายสินทรัพย์ที่สำคัญตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตามที่หน่วยงานราชการอื่นๆ กำหนด เป็นต้น 2) กำหนดหรือเปลี่ยนแปลงชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท 3) กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และทิศทางการดำเนินงานของบริษัท และการกำกับ ดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย กลยุทธ์ และทิศทางที่กำหนด ไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดแก่ผู้ถือ หุ้นและการเติบโตอย่างยั่งยืน ยกเว้นนโยบายหรือการดำเนินงานที่ต้องได้รับความ เห็นชอบและอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น 4) พิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่มีสาระสำคัญ เช่น แผนธุรกิจ งบประมาณ โครงการลงทุน ขนาดใหญ่ อำนาจการบริหาร และรายการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด 5) พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด ในพระราชบัญญัตบิ ริษทั มหาชนจำกัด พ.ศ.2535 (รวมทัง้ ฉบับทีม่ กี ารแก้ไขเพิม่ เติม) และกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงประกาศ ข้อบังคับ และ/ หรือ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจาก การออกตามวาระ 6) พิจารณาอนุมัติการกำหนดโครงสร้างการจัดการของบริษัท 7) พิจารณาอนุมัติการลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้อง 8) พิจารณาอนุมัติการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ 9) พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้น เมื่อเห็นว่าบริษัท มีผลกำไรเพียงพอและเห็นสมควร โดยให้รายงานการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นคราวต่อไป 10) ประเมินผลการปฏิบัติงานและกำหนดค่าตอบแทนของฝ่ายบริหาร 11) รับผิดชอบต่อผลประกอบการและการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารโดยมีความตั้งใจ และความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน 12) จั ด ให้ มี ร ะบบบั ญ ชี การรายงานทางการเงิ น และการสอบบั ญ ชี ที่ เ ชื่ อ ถื อ ได้ รวมทั้งดูแลให้มีกระบวนการในการประเมินความเหมาะสมของการควบคุมภายใน

34


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ และการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การบริหารการจัดการ ความเสี่ยง การรายงานทางการเงินและการติดตามผล 13) ดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัท 14) กำหนดข้อบังคับหรือระเบียบภายในของบริษัทในเรื่องต่างๆ 15) รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ในการจัดทำรายงานทางการเงิน โดยแสดงควบคู่กับรายงานของผู้สอบบัญชีไว้ในรายงานประจำปี และครอบคลุม เรื่องสำคัญต่างๆ ตามนโยบายข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 16) อำนาจในการดำเนินการดังต่อไปนี้จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากที่ประชุม ผู้ถือหุ้นก่อน ทั้งนี้ กำหนดให้รายการที่กรรมการหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มี ส่ ว นได้ เ สี ย หรื อ อาจมี ค วามขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ อื่ น ใดของบริ ษั ท หรื อ บริษทั ย่อย (ถ้ามี) ให้กรรมการทีม่ สี ว่ นได้เสียในเรือ่ งนัน้ ไม่มสี ทิ ธิออกเสียงลงคะแนน ในเรื่องนั้น (ก) เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (ข) การทำรายการที่ ก รรมการมี ส่ ว นได้ เ สี ย และอยู่ ใ นข่ า ยที่ ก ฎหมายหรื อ ข้ อ กำหนดของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ร ะบุ ใ ห้ ต้ อ งได้ รั บ อนุ มั ติ จ ากที่ ป ระชุ ม ผู้ถือหุ้น นอกจากนั้น ในกรณีต่อไปนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการ ด้วยคะแนนเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม และที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุม และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (ก) การขายหรือโอนกิจการของบริษทั ทัง้ หมดหรือบางส่วนทีส่ ำคัญให้แก่บคุ คลอืน่ (ข) การซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่นหรือบริษัทเอกชนมาเป็นของบริษัท (ค) การทำ แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่ากิจการของบริษัททั้งหมด หรือบางส่วนทีส่ ำคัญ การมอบหมายให้บคุ คลอืน่ เข้าจัดการธุรกิจของบริษทั หรือการรวมกิจการกับบุคคลอื่นโดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรขาดทุนกัน (ง) การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับ (จ) การเพิ่มทุน การลดทุน การออกหุ้นกู้ การควบหรือเลิกบริษัท (ฉ) การอื่นใดที่กำหนดไว้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และ/หรือ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ตอ้ งได้รบั ความ เห็นชอบจากทีป่ ระชุมคณะกรรมการและทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ด้วยคะแนนเสียง ดังกล่าวข้างต้นคณะกรรมการบริษัทอาจแต่งตั้งกรรมการจำนวนหนึ่งตาม ที่ เ ห็ น สมควรให้ เ ป็ น คณะกรรมการบริ ห าร เพื่ อ ปฏิ บั ติ ง านตามที่ ไ ด้ รั บ

35


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

มอบหมายจากคณะกรรมการบริษทั ทัง้ นีก้ ารมอบอำนาจแก่กรรมการดังกล่าว ข้ า งต้ น จะไม่ ร วมถึ ง การมอบอำนาจที่ ท ำให้ ก รรมการบริ ห ารสามารถ อนุ มั ติ ร ายการที่ ต นหรื อ บุ ค คลที่ อ าจมี ค วามขั ด แย้ ง มี ส่ ว นได้ เ สี ย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดทำกับ บริษัทหรือ บริษัทย่อย (ถ้ามี) รวมทั้งกำหนดให้ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุม ผู้ถือหุ้นในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่ง สินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัท เพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

คณะกรรมการตรวจสอบ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 คณะกรรมการตรวจสอบ มีจำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง 1. นางพจมาน ภาษวัธน์ ประธานกรรมการตรวจสอบ และ กรรมการอิสระ 2. นายประชา พัทธยากร กรรมการตรวจสอบ และ กรรมการอิสระ 3. รศ.ดร. รุธิร์ พนมยงค์ กรรมการตรวจสอบ และ กรรมการอิสระ โดยมี นางสาวอนพัทย์ สิทธิเดชบริพัฒน์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการตรวจสอบมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 3 ปี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท มีความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการและเป็นผู้ที่ผ่านการอบรม Director Accreditation Program (DAP) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการไทย อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทครั้งที่ 4 /2548 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ได้มีมติอนุมัติการกำหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ของบริษทั โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีขอบเขต หน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบตามทีไ่ ด้รบั มอบ หมายจากคณะกรรมการบริษทั รวมทัง้ การรายงานต่อคณะกรรมการบริษทั ดังนี้ 1) สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ โดยการประสานงานกั บ ผู้ ส อบบั ญ ชี ภ ายนอกและผู้ บ ริ ห ารที่ รั บ ผิ ด ชอบจั ด ทำ รายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบ อาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใดๆ ที่เห็นว่าจำเป็น และเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทก็ได้ 2) สอบทานให้บริษทั มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบ ภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล โดยสอบทานร่วมกับผู้สอบ บัญชีภายนอกและผู้ตรวจสอบภายใน

36


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 3) สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ของบริษัท 4) พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมถึงพิจารณาเสนอ ค่ า ตอบแทนของผู้ ส อบบั ญ ชี โดยคำนึ ง ถึ ง ความน่ า เชื่ อ ถื อ ความเพี ย งพอของ ทรัพยากร และปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น รวมถึง ประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัท เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อขอรับการแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น 5) พิ จ ารณาการเปิ ด เผยข้ อ มู ล ของบริ ษั ท ในกรณี ที่ เ กิ ด รายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น หรื อ รายการที่ อ าจมี ค วามขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ ใ ห้ มี ค วามถู ก ต้ อ งและครบถ้ ว น รวมทั้งพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าวเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อไป 6) จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ ในรายงานประจำปีของบริษัท โดยให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบลงนาม ในรายงานดังกล่าว รายการดังกล่าวควรประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ • ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการ เงินของบริษัทถึงความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ • ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัท • เหตุผลที่เชื่อว่าผู้สอบบัญชีของบริษัทเหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งต่อไปอีก วาระหนึ่ง • ความเห็นเกีย่ วกับการปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท • รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากคณะกรรมการบริษทั 7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการตรวจสอบ เช่น ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินและการ บริ ห ารความเสี่ ย ง ทบทวนการปฏิ บั ติ ต ามจรรยาบรรณทางธุ ร กิ จ ของผู้ บ ริ ห าร ทบทวนร่วมกับผู้บริหารของบริษัทในรายงานสำคัญๆ ที่ต้องเสนอต่อสาธารณชน ตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร เป็นต้น ในการปฏิบัติงานตามขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ ให้คณะกรรมการ ตรวจสอบมีอำนาจเชิญให้ฝ่ายบริหาร ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทที่เกี่ยวข้อง มารายงาน ให้ความเห็น ร่วมประชุม หรือส่งเอกสารที่เห็นว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น ทั้งนี้ คณะกรรมการมีอำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการตรวจสอบได้ตามที่จำเป็นหรือเห็นสมควร

37


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ คณะผู้บริหาร

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีคณะผู้บริหารจำนวน 11 ท่าน ประกอบด้วยรายชื่อ ดังต่อไปนี้ ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง 1. นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการ 2. นายทนงชัย เธียไพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพิธีการศุลกากร 3. นายประพัฒน์ เธียไพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพิธีการศุลกากร 4. นายกิตติเทพ จินตวร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารขนส่ง 5. นายทรงเดช ศรีประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการและซ่อมบำรุง 6. นายจุลภพ บูรณะจรรยากุล ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 7. นายไพโรจน์ เธียไพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน 8. นางสาวจุไรพร เธียไพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อและธุรการ 9. นายพูนยศ เธียไพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล 10. ร.อ. นฤเบศวร์ ทองแดง รน. รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายบริหารธุรกิจสัมพันธ์ 11. นายธงชัย กอบเกี้อชัยพงษ์ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายขนส่ง

8.2.2 การสรรหากรรมการและผู้บริหาร

บริษัทไม่มีคณะกรรมการสรรหากรรมการ แต่มีหลักเกณฑ์การเลือกและแต่งตั้ง กรรมการตามวิธกี ารทีร่ ะบุไว้ในข้อบังคับของบริษทั และกรรมการทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ จะต้องได้รบั อนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้นซึ่งมา ประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน คณะกรรมการบริษัท 1. คณะกรรมการของบริษัทประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 5 คน และกรรมการ ไม่ น้ อ ยกว่ า กึ่ ง หนึ่ ง ของจำนวนกรรมการทั้ ง หมดนั้ น ต้ อ งมี ถิ่ น ที่ อ ยู่ ใ นราชอาณาจั ก รและ กรรมการของบริษัทจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด 2. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้เลือกตั้งกรรมการโดยใช้เสียงข้างมากตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง (2) ให้ผู้ถือหุ้นออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคลไป (3) บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง เป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากัน เกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ให้ประธานใน

38


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด 3. ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3 ถ้า จำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับ ส่วน 1 ใน 3 กรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สองภายหลังจดทะเบียน บริ ษั ท นั้ น ให้ ใ ช้ วิ ธี จั บ สลากกั น ว่ า ผู้ ใ ดจะออก ส่ ว นปี ห ลั ง ๆ ต่ อ ไปให้ ก รรมการคนที่ อ ยู่ ใ น ตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง กรรมการที่ออกตามวาระนั้นอาจได้รับเลือกเข้า มาดำรงตำแหน่งใหม่ก็ได้ 4. กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัท การลาออกมี ผลนับแต่วันที่ใบลาออกถึงบริษัท 5. ในกรณี ที่ ต ำแหน่ ง กรรมการว่ า งลงเพราะเหตุ อื่ น นอกจากถึ ง คราวออกตาม วาระให้คณะกรรมการเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไปเว้นแต่วาระของกรรมการ จะเหลื อ น้ อ ยกว่ า 2 เดื อ น บุ ค คลซึ่ ง เข้ า เป็ น กรรมการแทนดั ง กล่ า ว จะอยู่ ใ นตำแหน่ ง กรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทนมติของคณะกรรมการ ตาม วรรคหนึ่งต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ 6. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราว ออกตามวาระได้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม และมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้น ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง

กรรมการอิสระ

ผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัท (แล้วแต่กรณี) เป็นผู้แต่งตั้งกรรมการอิสระอย่าง น้ อ ย 3 ท่ า น เข้ า ร่ ว มในคณะกรรมการบริ ษั ท เพื่ อ ทำหน้ า ที่ ใ นการเป็ น กรรมการอิ ส ระ ของบริษัท หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกรรมการอิสระอิงตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรรมการ บริษัท โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นกรรมการอิสระ พิจารณาจากคุณสมบัติและ ลักษณะต้องห้ามของกรรมการตาม พรบ.บริษัทมหาชน และกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงประกาศ ข้อบังคับ และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยกรรมการอิสระ จะมีคณ ุ วุฒกิ ารศึกษา ความเชีย่ วชาญเฉพาะด้าน (เช่น ความเชีย่ วชาญทางบัญชีและการเงิน) ประสบการณ์การทำงาน และความเหมาะสมอื่นๆ ประกอบกัน เพื่อนำมาเสนอต่อที่ประชุม ผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทต่อไป

กรรมการตรวจสอบ

ผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัท (แล้วแต่กรณี) เป็นผู้แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ

39


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ อย่างน้อย 3 ท่าน เข้าร่วมในคณะกรรมการบริษัท เพื่อทำหน้าที่ในการเป็นกรรมการตรวจสอบ ของบริษัท โดยกรรมการตรวจสอบแต่ละรายต้องเป็นกรรมการอิสระ และมีจำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน โดยกรรมการตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ รวมถึงประกาศ ข้อบังคับ และ/หรือ ระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยที่กำหนดว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ 1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละห้าของทุนชำระแล้วของบริษัท บริษัทในเครือ บริษัทร่วม หรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 2. เป็นกรรมการที่ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งในด้านการเงินและการบริหารงานของบริษัท บริษัทในเครือ บริษัทร่วม หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ทั้งนี้ ต้องเป็นกรรมการที่ไม่มีผลประโยชน์ หรือส่วนได้เสียมาก่อนในระยะเวลา 1 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ตรวจสอบ เว้นแต่กรรมการบริษัทจะพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเห็นว่าการ เคยมีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ และการให้ความเห็นที่เป็นอิสระ 3. เป็นกรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารในบริษัท บริษัทในเครือ บริษัทร่วม บริษทั ทีเ่ กีย่ วข้องหรือผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ของบริษทั รวมทัง้ ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำจากบริษัท บริษัทในเครือ บริษัทร่วม บริษัทที่ เกี่ยวข้อง หรือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท 4. เป็ น กรรมการที่ ไ ม่ ใ ช่ ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งหรื อ ญาติ ส นิ ท ของผู้ บ ริ ห ารหรื อ ผู้ ถื อ หุ้ น รายใหญ่ของบริษัท 5. เป็นกรรมการที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นตัวแทนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของ กรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น รายใหญ่ของบริษัท 6. สามารถปฏิบัติหน้าที่ แสดงความเห็น หรือรายงานผลการปฏิบัติงานตาม หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุม ของผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องหรือญาติสนิท ของบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 ท่าน ต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจหรือมี ประสบการณ์ด้านการบัญชีหรือการเงินที่เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทาน ความน่าเชื่อถือของงบการเงิน รวมถึงการทำหน้าที่อื่นในฐานะกรรมการตรวจสอบได้ ผู้บริหาร บริษัทไม่มีคณะกรรมการสรรหาผู้บริหาร ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายที่จะสรรหาผู้บริหาร โดยคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและจะ

40


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท/หรือบุคคลที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย

8.3 ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร

ก. ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

• กรรมการ ในปี 2552 มติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ครั้งที่ 1/2552 เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2552 ได้กำหนดค่าตอบแทนกรรมการและกรรมการตรวจสอบ เป็นจำนวนเงินรวม ไม่เกิน 2,000,000 บาท โดยมีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็นต้นไป ซึ่งประกอบด้วย 1. ค่าเบี้ยประชุมสำหรับการประชุมคณะกรรมการ จำนวน 7 ครั้ง และการประชุม คณะกรรมการตรวจสอบจำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ รายละเอียดค่าตอบแทนกรรมการบริษัท ในปี 2550 ปี 2551 และปี 2552 ค่าตอบแทน (บาท) รายชื่อ 2550 2551 1. นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ 75,000 105,000 2. นายทนงชัย เธียไพรัตน์ 50,000 70,000 3. นายไพโรจน์ เธียไพรัตน์ 50,000 70,000 4. นายประพัฒน์ เธียไพรัตน์ 50,000 70,000 5. นายพูนยศ เธียไพรัตน์ 50,000 70,000 6. นายจุลภพ บูรณะจรรยากุล 50,000 60,000 7. นายโทรุ อิวาตะ 10,000 8. นางพจมาน ภาษวัธน์ 98,000 130,000 9. นายประชา พัทธยากร 82,000 110,000 10. รศ. ดร.รุธิร์ พนมยงค์ 62,000 92,000 รวม *567,000 *787,000

2552 105,000 70,000 70,000 70,000 70,000 60,000 118,000 102,000 102,000 767,000

41


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 2. ค่าบำเหน็จกรรมการ : รายละเอียดการจ่ายค่าบำเหน็จกรรมการจำนวน 1,195,000 บาท ดังนี้ จำนวนเงิน (บาท) 170,000.1. นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ ประธานกรรมการ 2. นางพจมาน ภาษวัธน์ กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ 150,000.125,000.3. นายทนงชัย เธียไพรัตน์ กรรมการ 125,000.4. นายไพโรจน์ เธียไพรัตน์ กรรมการ 125,000.5. นายประพัฒน์ เธียไพรัตน์ กรรมการ 125,000.6. นายพูนยศ เธียไพรัตน์ กรรมการ 125,000.7. นายโทรุ อิวาตะ กรรมการ 125,000.8. นายประชา พัทธยากร กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ 125,000.9. รศ. ดร.รุธิร์ พนมยงค์ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ ชื่อ – นามสกุล

ตำแหน่ง

ผู้บริหาร ในปี 2550 ปี 2551 และปี 2552 บริษัทจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้บริหาร ดังนี้ ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 จำนวน ค่าตอบแทน จำนวน ค่าตอบแทน จำนวน ค่าตอบแทน (ราย) (บาท) (ราย) (บาท) (ราย) (บาท) เงินเดือนและโบนัส 8 15,222,354 8 17,315,410.75 10 17,808,116.75 เงินสมทบกองทุน 8 266,966 8 290,053.04 10 321,685.60 สำรองเลี้ยงชีพ/2 รวม 15,489,320 17,605,463.79 18,129,802.35 ค่าตอบแทน

42

ข. ค่าตอบแทนอื่น


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

ไม่มี –

8.4 การปฏิบัติตามการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัทได้มีนโยบายการปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่ดี (Code of Best Practices) และบริษัทได้ดำเนินการตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งเป็นไปตามหลัก การกำกับดูแลกิจการที่ดี 15 ข้อ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้

1 นโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ

บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเพิ่มความโปร่งใส และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการ รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ โดยครอบคลุมหลักการ ที่สำคัญ ดังนี้ (1). การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย (2). การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจการในระยะยาว บริหารงานและบริหารความเสี่ยงด้วย ความรอบคอบและระมัดระวัง รับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสามารถ และประสิทธิภาพที่เพียงพอเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น (3). การดูแลมิให้เกิดปัญหาความขัดแย้งอันอาจเกิดผลกระทบต่อประโยชน์ของบริษัท (4). การดำเนินงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส พร้อมที่จะให้ตรวจสอบได้ รวมทั้งเปิดเผย ข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (5). การกำหนดแนวทางการปฏิบัติด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ เพื่อให้กรรมการ และพนักงานถือปฏิบัติ

2 ผู้ถือหุ้น: สิทธิและความเท่าเทียมกัน

บริ ษั ท มี น โยบายที่ จ ะปฏิ บั ติ ต่ อ ผู้ ถื อ หุ้ น และอำนวยความสะดวกแก่ ผู้ ถื อ หุ้ น อย่ า ง เท่าเทียมกันทั้งในการเข้าร่วมประชุม การแสดงความเห็น และการตั้งคำถามใดๆ ต่อที่ประชุม ตามระเบียบวาระการประชุม และไม่กระทำการใดๆที่เป็นการจำกัดต่อการได้รับสารสนเทศ และการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้น และบริษัทได้จัดส่งหนังสือนัดประชุม พร้อมทั้งข้อมูลประกอบการประชุมตามวาระต่างๆ ให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุม ไม่น้อยกว่า 7 วัน (หรือเป็นไปตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยกำหนด) โดยในแต่ ล ะวาระจะมี ค วาม เห็ น ของคณะกรรมการประกอบเพื่ อ ประกอบการตั ด สิ น ใจและการลงมติ ข องผู้ ถื อ หุ้ น และมีการบันทึกการประชุมถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กับบุคคล หนึ่งบุคคลใดให้เป็นผู้รับมอบอำนาจ โดยบริษัทได้เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ถือหุ้น โดยมีการเสนอ ให้กรรมการอิสระ หรือ กรรมการตรวจสอบเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้น โดยจะระบุ

43


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ รายชื่อกรรมการผู้รับมอบอำนาจในหนังสือมอบฉันทะที่แนบมาพร้อมกับหนังสือนัดประชุม

3 สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ภายใน ได้แก่ พนักงานและผู้บริหารของบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอก เช่น เจ้าหนี้ ลูกค้า เป็นต้น โดยบริษัทตระหนักดีว่าการสนับสนุนและข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุก กลุ่มจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานและการพัฒนาธุรกิจของบริษัท ดังนั้น บริษัทจะปฏิบัติ ตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าวได้รับการดูแล เป็นอย่างดีนอกจากนี้ บริษทั ยังส่งเสริมให้มคี วามร่วมมือระหว่างบริษทั และกลุม่ ผูม้ สี ว่ นได้เสีย แต่ละกลุ่ม เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่กิจการของบริษัทตามแนวทาง ดังต่อไปนี้ พนักงาน : ปฏิบัติกับพนักงานอย่างเป็นธรรมและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม รวมทั้ง ส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถโดยการจัดอบรมและ เสริมความรู้เพิ่มเติมในส่วนงานที่รับผิดชอบตลอดจนการคัดสรรพนักงาน เพื่อมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายขององค์กรร่วมกับผู้บริหาร เพื่อให้ พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของตนเองที่ได้รับการมอบหมายจาก บริษัท และเพื่อการทำงานที่มีทิศทางและจุดมุ่งหมายเดียวกัน เจ้าหนี้ : ปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญา ลูกค้า : เอาใจใส่ แ ละรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ลู ก ค้ า ให้ บ ริ ก ารที่ มี คุ ณ ภาพและมาตรฐาน และรวดเร็วตรงต่อเวลา ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการให้บริการเพื่อ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด สังคม : มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมให้ ค วามสำคั ญ ต่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต และชุ ม ชน เพื่อให้การดำเนินการของบริษัทเป็นที่ยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกันใน สังคมได้ตลอดไป ทั้งนี้ บริษัทให้ความสำคัญและมีระเบียบที่เข้มงวดต่อ พนั ก งานในการปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายและกฎระเบี ย บของราชการและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

4 การประชุมผู้ถือหุ้น

บริษัทมีนโยบายในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นและได้จัดสรรเวลาในการ ประชุมอย่างเพียงพอ และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการแสดงความ คิดเห็นและตั้งคำถามในที่ประชุม โดยประธานในที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่าง เท่าเทียมกันในการตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท สอบถามและแสดงความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะต่างๆ โดยมีกรรมการและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อตอบคำถามในที่ ประชุม รวมทั้งจะมีการบันทึกประเด็นซักถามและข้อคิดเห็นที่สำคัญไว้ในรายงานการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้

44


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 5 ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์

คณะกรรมการของบริ ษั ท ประกอบด้ ว ยกรรมการที่ มี ค วามรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมาย ภารกิจ แผนธุรกิจ และงบประมาณของบริษัท ตลอดจนกำกับดูแลให้ ฝ่ายบริหารดำเนินการไปตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้กรอบ ของกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริตระมัดระวัง ตามหลักการข้อพึงปฏิบัติที่ดี นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้ ให้ความสำคัญและจัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน การประเมิน และการบริหารงานที่รัดกุมต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการติดตามการดำเนินการในเรื่อง ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ โดยบริษัทได้มีการจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อกำกับดูแล กิจการของบริษัท รวมทั้งทำหน้าที่ตรวจสอบ ประเมิน และติดตามผลของระบบควบคุมภายใน ของบริษัท และรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทมีการกำกับดูแล กิจการที่มีประสิทธิภาพและมีความเพียงพอ เหมาะสม คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณาให้มีการกำหนดและแยกบทบาท หน้าที่ และ ความรั บ ผิ ด ชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัท และฝ่ายบริหารโดยกำหนดระดับอำนาจ การดำเนินการอย่างชัดเจน รวมทั้งสื่อสารบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบดังกล่าวต่อ กรรมการและพนักงานอย่างสม่ำเสมอ

6 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

บริ ษั ท มี ม าตรการป้ อ งกั น ความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ เ พื่ อ ขจั ด ปั ญ หาความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างรอบคอบ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อย่างมีเหตุผล และเป็นอิสระ ภายในกรอบจริยธรรมที่ดี เพื่อผลประโยชน์ของบริษัทโดยรวมเป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดความ โปร่งใส และป้องกันการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน คณะกรรมการได้ดูแลอย่างรอบคอบเมื่อ เกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยได้กำหนดนโยบายและขั้นตอนการ อนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการตามที่ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด

7 จริยธรรมธุรกิจ

บริ ษั ท ยึ ด มั่ น การกระทำในสิ่ ง ที่ ถู ก ต้ อ ง เป็ น แนวทางการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท ผู้บริหารและพนักงานทุกคนของบริษัทมีหน้าที่ร่วมกันในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริต ภายใต้กรอบของกฎหมาย และภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบของตน บริษัท ได้จัดทำข้อบังคับการทำงานของพนักงาน ซึ่งมุ่งเน้นถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณในการ ปฏิบัติหน้าที่ โดยบริษัทจะมีการติดตามการปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวเป็นประจำรวมถึงมี

45


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ การกำหนดบทลงโทษทางวินัยไว้ด้วย

8 การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร

บริษัทมีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ด้านต่างๆ รวม 9 ท่าน โดยเป็นตัวแทนจากผู้ถือหุ้นและเป็นผู้บริหาร 6 ท่าน และกรรมการ ที่ไม่เป็นผู้บริหาร ได้แก่ กรรมการอิสระที่เป็นกรรมการตรวจสอบ 3 ท่าน ทั้งนี้ กรรมการ ตรวจสอบทั้ง 3 ท่านมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อมาปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและ ถ่วงดุลการบริหารกิจการในด้านต่างๆ ของบริษัท ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เป็นประโยชน์ สูงสุดต่อผู้ถือหุ้นทุกคน

9 การรวมหรือแยกตำแหน่ง

แม้ว่าประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการจะเป็นบุคคลเดียวกัน เพื่อให้มีการ ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน บริษัทฯ ได้กำหนดโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทที่ประกอบด้วย กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ 3 ท่าน จะทำให้เกิดการถ่วงดุลและการสอบทานการ บริหารงานได้ แม้ว่าประธานกรรมการบริษัทจะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัท แต่เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งจากคณะกรรมการของบริษัท

10 ค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทและผู้บริหาร

บริษัทมีนโยบายจ่ายค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารที่จูงใจในระดับที่เหมาะสม และกำหนดค่ า ตอบแทนกรรมการและผู้ บ ริ ห ารไว้ อ ย่ า งชั ด เจนและโปร่ ง ใส โดยได้ รั บ อนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้การกำหนดค่าตอบแทนจะจัดให้อยู่ในลักษณะที่เชื่อมโยง กั บ ผลการดำเนิ น งานของบริ ษั ท เหมาะสมกั บ หน้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบของกรรมการ และผู้บริหารแต่ละท่าน โดยอยู่ในรูปของค่าตอบแทนกรรมการ เบี้ยประชุม และ/หรือ เงินเดือน และ โบนัส

11 การประชุมคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ปีละ 4 ครั้งเป็นอย่างน้อย ซึ่งใน การประชุมแต่ละครั้งฝ่ายบริหารได้จัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดเพื่อให้คณะกรรมการใช้ ประกอบการพิจารณา และในระหว่างประชุม ประธานในที่ประชุมได้ให้เวลากับกรรมการใน การพิจารณาวาระต่างๆอย่างรอบคอบ รวมถึงการให้แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ และมี การจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมีการจัดเก็บรายงานการประชุมที่ ผ่านการรับรอง เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ โดยการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการแต่ละ

46


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ท่านสรุปได้ดังนี้

การเข้าร่วมประชุม / การประชุมทั้งหมด (ครั้ง) กรรมการบริษัท กรรมการตรวจสอบ ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 1. นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ 5/5 7/7 7/7 2. นายไพโรจน์ เธียไพรัตน์ 5/5 7/7 7/7 3. นายทนงชัย เธียไพรัตน์ 5/5 7/7 7/7 4. นายประพัฒน์ เธียไพรัตน์ 5/5 7/7 7/7 5. นายจุลภพ บูรณะจรรยากุล 5/5 6/7 6. นายพูนยศ เธียไพรัตน์ 5/5 7/7 7/7 7. นายโทรุ อิวาตะ 6/7 1/7 8. นางพจมาน ภาษวัธน์ 7/7 4/4 5/5 4/4 5/5 7/7 9. นายประชา พัทธยากร 6/7 4/4 5/5 3/4 5/5 6/7 10. รศ. ดร.รุธิร์ พนมยงค์ 4/4 3/5 3/4 3/5 5/7 7/7

12 คณะอนุกรรมการ

บริษัทมีคณะกรรมการตรวจสอบ นอกเหนือจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อเข้าช่วย ในการกำกับดูแลกิจการของบริษัท และเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนิน งาน ดังนี้

รายชื่อ

1. นางพจมาน ภาษวัธน์ 2. นายประชา พัทธยากร 3. รศ. ดร.รุธิร์ พนมยงค์

ตำแหน่ง

ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ

โดยมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ 1) สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียง พอ โดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทาง การเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบ บัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใดๆ ที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการ ตรวจสอบบัญชีของบริษัทก็ได้ 2) สอบทานให้ บ ริ ษั ท มี ร ะบบการควบคุ ม ภายใน (Internal Control) และ การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล โดยสอบทานร่วมกับ ผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้ตรวจสอบภายใน 3) สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

47


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 4) พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมถึงพิจารณาเสนอ ค่ า ตอบแทนของผู้ ส อบบั ญ ชี โดยคำนึ ง ถึ ง ความน่ า เชื่ อ ถื อ ความเพี ย งพอของทรั พ ยากร และปริ ม าณงานตรวจสอบของสำนั ก งานตรวจสอบบั ญ ชี นั้ น รวมถึ ง ประสบการณ์ ข อง บุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัท เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ บริษัทเพื่อขอรับการแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น 5) พิ จ ารณาการเปิ ด เผยข้ อ มู ล ของบริ ษั ท ในกรณี ที่ เ กิ ด รายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น หรื อ รายการที่ อ าจมี ค วามขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ ใ ห้ มี ค วามถู ก ต้ อ งและครบถ้ ว น รวม ทั้ ง พิ จ ารณาอนุ มั ติ ร ายการดั ง กล่ า วเพื่ อ นำเสนอต่ อ ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการ และ/หรื อ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อไป 6) จั ด ทำรายงานการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิ ด เผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษทั โดยให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบลงนามในรายงาน ดังกล่าว รายการดังกล่าวควรประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ • ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทาง การเงินของบริษัทถึงความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ • ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัท • เหตุผลที่เชื่อว่าผู้สอบบัญชีของบริษัทเหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งต่อไป อีกวาระหนึ่ง • ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจของบริษัท • รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขต หน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท 7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการตรวจสอบ เช่น ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินและการบริหาร ความเสี่ ย ง ทบทวนการปฏิ บั ติ ต ามจรรยาบรรณทางธุ ร กิ จ ของผู้ บ ริ ห าร ทบทวนร่ ว มกั บ ผู้บริหารของบริษัทในรายงานสำคัญๆ ที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร เป็นต้น ในการปฏิบัติงานตามขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ ให้คณะกรรมการ ตรวจสอบมีอำนาจเชิญให้ฝ่ายบริหาร ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทที่เกี่ยวข้องมารายงาน ให้ความเห็น ร่วมประชุม หรือส่งเอกสารที่เห็นว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น

48

ทั้งนี้ คณะกรรมการมีอำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ คณะกรรมการตรวจสอบได้ตามที่จำเป็นหรือเห็นสมควร

13 รายงานของคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินของบริษัท งบการเงินดังกล่าวจัดทำ ขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย และตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี รับอนุญาตทีไ่ ด้รบั อนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในการนี้คณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้สอบทานคุณภาพของรายงานทางการเงินและ ระบบควบคุมภายใน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบ งบการเงิน โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะได้นำเสนอความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ ต่อคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามลำดับ

14 ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และทั่วถึงทั้งด้านข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทั่วไป ตลอดจนข้อมูลอื่นที่สำคัญที่มี ผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทซึ่งล้วนมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ลงทุนและ ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท โดยได้จัดตั้งหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ขึ้นเพื่อดูแลงานด้าน การเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศของบริษัทต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และ สาธารณชนผ่านช่องทางและสือ่ การเผยแพร่ขอ้ มูลต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ ผ่ า น website ของบริ ษั ท www.eternity.co.th และมี ช่ อ งทางในการสื่ อ สารระหว่ า ง ผูล้ งทุนกับทางบริษทั ผ่านทางทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail address) ir@eternity.co.th หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2315 7401 หมายเลขโทรสาร 0 2315 7300

8.5 การดูแลการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทมีระเบียบ ข้อบังคับ ให้กรรมการ และผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างต้องรักษา ความลับและ/หรือข้อมูลภายในของบริษัท ไม่นำความลับและ/หรือข้อมูลภายในของบริษัทไป เปิดเผยหรือแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดย ทางอ้อม และไม่ว่าจะได้รับผลตอบแทนหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งต้องไม่ทำการซื้อขาย โอน หรือ รับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทโดยใช้ความลับ และ/หรือ ข้อมูลภายใน และ/หรือเข้าทำนิติกรรม อื่นใดโดยใช้ความลับ และ/หรือ ข้อมูลภายในของบริษัท อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากนี้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างซึ่งอยู่ใน หน่วยงานที่ได้รับข้อมูลภายในของบริษัทต้องไม่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวก่อนเปิดเผย สู่สาธารณชน และควรหลีกเลี่ยงการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นระยะเวลา 1 เดือน ก่อน ที่งบการเงินจะเปิดเผยสู่สาธารณะ ทั้งนี้ข้อบังคับดังกล่าวให้รวมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่ บรรลุนิติภาวะของกรรมการ ผู้บริหารและลูกจ้างของบริษัทด้วย นอกจากนี้ บ ริ ษั ท ได้ แ จ้ ง ให้ ก รรมการและผู้ บ ริ ห ารเข้ า ใจในภาระหน้ า ที่ ใ นการ รายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในบริษัท ตลอดจนการเปลี่ ย นแปลงการถื อ หลั ก ทรั พ ย์ ดั ง กล่ า วต่ อ สำนั ก งานคณะกรรมการ

49


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ กำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ตามมาตรา 59 และบทลงโทษตามมาตรา 275 แห่งพระราชบัญญัตหิ ลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทัง้ นีบ้ ริษทั ได้กำหนดโทษทางวินยั สำหรับผู้แสวงหาผลประโยชน์จากการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ หรือนำไปเปิดเผย จนอาจทำให้ บ ริ ษั ท ได้ รั บ ความเสี ย หาย โดยพิ จ ารณาลงโทษตามควรแก่ ก รณี ได้ แ ก่ การตักเตือนด้วยวาจา การตักเตือนเป็นหนังสือ การภาคทัณฑ์ตลอดจนการเลิกจ้างพ้นสภาพ การเป็นพนักงานด้วยเหตุไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แล้วแต่กรณี เป็นต้น

8.6 การควบคุมภายใน

บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความจำเป็น และให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายใน เพื่อดำเนินธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น โดยมุ่งเน้นให้มีระบบการควบคุมภายใน อย่างเพียงพอและเหมาะสมกับธุรกิจ คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่สอบทาน ระบบการควบคุ ม ภายในของบริ ษั ท ฯ ให้ เ หมาะสม มี ป ระสิ ท ธิ ผ ล และรายงานตรงต่ อ คณะกรรมการบริษัท โดยมีสำนักตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลการ ตรวจสอบภายใน ประเมิ น ความเหมาะสมและเพี ย งพอของระบบการควบคุ ม ภายใน คณะกรรมการตรวจสอบจะร่วมประชุมกับผูส้ อบบัญชีอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครัง้ เพือ่ สอบถามถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบงานที่สำคัญ และการควบคุมภายในอันนำมาประเมิน ถึงความเหมาะสมและเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน ซึง่ ได้มกี ารรายงานผลการดำเนิน งานในการประชุมคณะกรรมการทุกครั้งในกรณีที่มีข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะที่มีนัยสำคัญ ต่อความเสียหาย คณะกรรมการตรวจสอบจะนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อปรับปรุง พัฒนาระบบการควบคุมภายในให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัท มีความเห็นตามที่คณะกรรมการตรวจสอบรายงานว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ

8.7 นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริ ษั ท ฯ มี น โยบายจ่ า ยเงิ น ปั น ผลในอั ต ราไม่ ต่ ำ กว่ า ร้ อ ยละ 30 ของกำไรสุ ท ธิ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและสำรองตามกฏหมายในแต่ละปี ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผล ได้นำปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้มาพิจารณาประกอบ เช่น ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของ บริษัท สภาพคล่องของบริษัท การขยายธุรกิจและปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการบริหารงาน ของบริษัท ซึ่งการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวข้างต้น ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น

50


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ตามความเหมาะสม และความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัท การจ่ายเงินปันผลในปีที่ผ่านมา มีดังนี้ ปี พ.ศ. 2550

2551

2552

เงินปันผลประจำปี (บาทต่อหุ้น)

หมายเหตุ

0.11

มติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2550 อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลในวันที่ 23 เมษายน 2550

0.11

มติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2551 อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลในวันที่ 20 พฤษภาคม 2551

0.11

มติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลในวันที่ 18 พฤษภาคม 2552

51


รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เรียน ท่านผู้ถือหุ้น คณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้ ว ยกรรมการอิ ส ระ 3 ท่ า น ได้ แ ก่ นางพจมาน ภาษวั ธ น์ เป็ น ประธาน กรรมการตรวจสอบ นายประชา พัทธยากร และ รศ. ดร. รุธิร์ พนมยงค์ เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยมีผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ และความรับผิดชอบตามที่ได้ รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ และตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการ ตรวจสอบ ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับคณะกรรมการตรวจสอบของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2552 ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ จำนวน 4 ครั้ง และ มี ก ารประชุ ม ร่ ว มกั บ ผู้ บ ริ ห าร ผู้ ส อบบั ญ ชี และผู้ ต รวจสอบภายในตามความเหมาะสม ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำปี 2552 โดยได้สอบถาม และรับฟัง คำชี้แจงจากผู้บริหารและผู้สอบบัญชี ในเรื่องความถูกต้องครบถ้วนของงบการ เงิน และความเพียงพอในการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นสอดคล้อง กับผู้สอบบัญชีว่า งบการเงินดังกล่าวมีความถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐาน การบัญชีที่รับรองทั่วไป สอบทานข้อมูลการดำเนินงานและระบบการควบคุมภายใน เพื่อประเมินความ เพียงพอ ความเหมาะสม และประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน คณะกรรมการ ตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทฯ มีระบบติดตามควบคุมดูแลการดำเนินงานอย่างเพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิผล สอบทานการตรวจสอบภายใน โดยได้พิจารณาภารกิจ ขอบเขตการปฏิบัติงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ ความเป็นอิสระ อัตรากำลัง และงบประมาณของหน่วยงาน ตรวจสอบภายใน ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทฯ มีระบบการตรวจสอบ ภายในที่เพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิผล สอบทานการปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายว่ า ด้ ว ยหลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ข้ อ กำหนดของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ และกฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท ฯ ซึ่ ง คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า ไม่พบประเด็นที่เป็นสาระสำคัญในเรื่องการไม่ปฏิบัติ ตามข้อกำหนดและกฎหมาย พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลของรายการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย ซึ่ ง ผู้ ส อบบั ญ ชี มี ค วามเห็ น ว่ า รายการค้ า กั บ บริ ษั ท ที่

52


รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เกี่ ย วข้ อ งกั น ที่ มี ส าระสำคั ญ ได้ เ ปิ ด เผยและแสดงรายการในงบการเงิ น และหมายเหตุ ประกอบงบการเงินแล้ว และคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นสอดคล้องกับผู้สอบบัญชี รวมทั้งมีความเห็นว่ารายการดังกล่าวเป็นรายการที่สมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อ การดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วน ทบทวนและเสนอแก้ไขกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ต่อคณะกรรมการบริษัท เกี่ยวกับคุณสมบัติและขอบเขต อำนาจ หน้าที่ของกรรมการตรวจสอบเพื่อให้สอดคล้องกับ ข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีการปรับปรุง พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ประจำปี 2553 เพื่ อ นำเสนอต่ อ คณะกรรมการบริษัทฯ ให้ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2553 ซึ่งได้พิจารณาผลการปฏิบัติงาน ความเป็นอิสระ และความเหมาะสมของค่าตอบแทนแล้ว เห็นควรเสนอแต่งตั้ง นายสุชาติ พานิชย์เจริญ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4475 หรือนางสาว ซูซาน เอี่ยมวณิชชา ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4306 หรือ นายสมยศ วิวรรธน์อภินัย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 5476 แห่งบริษัท เอส พี ออดิท จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ประจำปี 2553 โดยสรุปในภาพรวมแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนตาม ที่ระบุไว้ใน กฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และมีความเห็นว่าบริษัท มีการรายงานข้อมูลทางการเงินและการดำเนินงานอย่างถูกต้อง ครบถ้วน มีระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายในทีเ่ หมาะสม มีการปฏิบตั ติ ามกฎหมาย และข้อกำหนดต่างๆ มีการปฏิบัติเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างถูกต้อง รวมทั้งมีระบบ ของการคั ด เลื อ ก เสนอแต่ ง ตั้ ง บุ ค คลซึ่ ง มี ค วามเป็ น อิ ส ระเพื่ อ ทำหน้ า ที่ เ ป็ น ผู้ ส อบบั ญ ชี ของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 ในนามคณะกรรมการตรวจสอบ

(นางพจมาน ภาษวัธน์) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ

53


54

1.1 บริษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต จำกัด (ETC)

บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

รายได้ค่าบริหารจัดการ : บริษัทมีรายได้จาก การให้ บ ริ ก ารบริ ห ารจั ด การสำหรั บ งาน ด้ า นบั ญ ชี แ ละการเงิ น โดยมี น โยบายการ กำหนดราคาตามข้ อ ตกลงการให้ บ ริ ก าร โดยบริ ษั ท กำหนดราคาให้ บ ริ ก ารดั ง กล่ า ว คำนวณจากต้ น ทุ น ของบริ ษั ท ที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง

ยอดคงค้าง ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ค่าใช้จ่ายบริการและบริหาร : บริษัทจ่าย ค่าใช้จ่ายให้กับ ETC สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ยานพาหนะ โดยมีนโยบายกำหนดราคาตามค่า ใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

ลักษณะรายการระหว่างกัน

24,000.00

0.00

88,056.98

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

ความจำเป็นและเหมาะสมของ รายการระหว่างกัน

คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า การให้ บ ริ ก ารงานบริ ห ารจั ด การให้ กั บ กลุ่ ม บริ ษั ท ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ นโยบาย ของกลุ่มบริษัทที่จะรวมศูนย์การบริหาร และส่วนงานสนับสนุนประกอบกับนโยบาย กำหนดราคาไม่ มุ่ ง เน้ น ผลกำไร จึ ง เห็ น ว่ า รายการดั ง กล่ า วเหมาะสมและ สมเหตุสมผล

คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่ารายการ ดั ง กล่ า วเป็ น ธุ ร กิ จ ปกติ เนื่ อ งจากเป็ น ค่าใช้จา่ ยทีเ่ กีย่ วข้องกับงานขนส่ง โดยราคา ที่ บ ริ ษั ท จ่ า ยให้ กั บ ETC เป็ น ราคาที่ เป็นธรรมและเป็นเงื่อนไขทางการค้าปกติ รวมทั้งบริษัทมีการกำหนดนโยบายราคา ระหว่ า งกั น ที่ ชั ด เจน ดั ง นั้ น จึ ง เห็ น ว่ า การทำรายการมี ค วามเหมาะสม และ สมเหตุสมผล

1. รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในปี 2552 ระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

รายการระหว่างกัน


บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

19,899,635.24 (400,000.00) 19,499,635.24 483,779.64 987,509.35

ดอกเบี้ยค้างจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด กู้ยืมระหว่างงวด รับโอนจากการซื้อสินทรัพย์ จ่ายชำระหว่างงวด ยอดคงเหลือยกไปปลายงวด

เงินกู้ยืม : บริษัทกู้ยืมเงินจาก ETC เกิดจากการ ซื้อทรัพย์สิน ของ ETC และคิดดอกเบี้ยโดยอิง จากอัตราดอกเบี้ย MOR ของธนาคารพาณิชย์ แห่งหนึ่ง

ลักษณะรายการระหว่างกัน

ความจำเป็นและเหมาะสมของ รายการระหว่างกัน

คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบว่าการ กู้ยืมเงินดังกล่าวเกิดขึ้นจากความจำเป็น ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการกู้ยืมเพื่อ ใช้เป็นการซื้อทรัพย์สิน ดังนั้นจึงเห็นว่า รายการดั ง กล่ า วสมเหตุ ส มผลและ ยอมรับได้

1. รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในปี 2552 ระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

รายการระหว่างกัน

55


56

บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง 1.2 บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด (ETL)

มูลค่ารายการ ความจำเป็นและเหมาะสมของ ระหว่างกัน (บาท) รายการระหว่างกัน รายได้ ค่ า บริ ก ารขนส่ ง สิ น ค้ า :บริ ษั ท ให้ 1,037,113.00 คณะกรรมการตรวจสอบเห็ น ว่ า บริ ก ารขนส่ ง สิ น ค้ า กั บ ETL ที่ มี ลั ก ษณะ รายการดังกล่าว มีความสมเหตุสมผล เฉพาะที่ต้องการรถใหญ่ (รถ 6 ล้อ, รถหัวลาก) เนื่องจากนโยบายของกลุ่มบริษัทจะ ในการขนส่ ง โดยมี น โยบายกำหนดราคา สร้างให้แต่ละบริษัทมีความชำนาญ ในการขนส่งแบบเหมาจ่ายเป็นเที่ยว (Trip ในการทำงานเฉพาะด้าน ซึ่งโดยปกติ rate) ซึ่ง ETL จะจ้างบริษัท ในอัตราส่วนลด ETL จะมี ค วามชำนาญในด้ า นคลั ง ประมาณร้อยละ 5 -10 จากราคาที่คิดกับ สินค้าและการบริหารรถบรรทุก 4 ล้อ ลูกค้าของ ETL ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่ ETL ดั ง นั้ น จึ ง จำเป็ น ต้ อ งจ้ า งบริ ษั ท ใน ว่าจ้าง Subcontractor รายอื่น การขนส่ ง ให้ ลู ก ค้ า บางรายที่ ต้ อ ง ยอดคงค้าง ใช้ ร ถใหญ่ (รถ 6 ล้ อ , รถหั ว ลาก) ประกอบกับราคาเป็นราคาที่เป็นธรรม ลูกหนี้การค้า 69,755.00 และเป็นเงื่อนไขทางการค้าปกติ ต้ น ทุ น ค่ า ขนส่ ง สิ น ค้ า : บริษัทได้ว่าจ้าง 0.00 คณะกรรมการตรวจสอบเห็ น ว่ า ETLในการขนส่งสินค้า ในกรณีที่ต้องใช้รถ รายการดังกล่าว มีความสมเหตุสมผล บรรทุก 4 ล้อ โดยมีนโยบายกำหนดราคา เนื่ อ งจากนโยบายของกลุ่ ม บริ ษั ท ในการขนส่งแบบเหมาจ่ายเป็นเที่ยว (Trip จะสร้างให้แต่ละบริษทั มีความชำนาญ rate) ซึ่งบริษัทจะจ้าง ETL ในอัตราส่วนลด ในการทำงานเฉพาะด้ า นซึ่ ง โดย ประมาณร้ อ ยละ 5-10 จากราคาที่ คิ ด กั บ ปกติ ETLจะมี ค วามชำนาญในการ ลูกค้าของบริษัทซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่จ่าย บริหารรถบรรทุก 4 ล้อ ดังนั้นบริษัท ให้ Subcontractor รายอื่น จึงจำเป็นต้องจ้าง ETLในกรณีที่ต้อง ใช้ รถบรรทุก 4 ล้อประกอบกับราคา เจ้าหนี้การค้า 15,099.48 เป็น ราคาที่เป็นธรรม และเป็นเงื่อนไข ทางการค้าปกติ

ลักษณะรายการระหว่างกัน

1. รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในปี 2552 ระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

รายการระหว่างกัน


บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง 1.2 บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด (ETL)

มูลค่ารายการ ความจำเป็นและเหมาะสมของ ระหว่างกัน (บาท) รายการระหว่างกัน รายได้ ค่ า บริ ก ารขนส่ ง สิ น ค้ า :บริ ษั ท ให้ 1,037,113.00 คณะกรรมการตรวจสอบเห็ น ว่ า รายการ บริ ก ารขนส่ ง สิ น ค้ า กั บ ETL ที่ มี ลั ก ษณะ ดั ง กล่ า ว มี ค วามสมเหตุ ส มผล เนื่ อ งจาก เฉพาะที่ต้องการรถใหญ่ (รถ 6 ล้อ, รถหัวลาก) นโยบายของกลุ่ ม บริ ษั ท จะสร้ า งให้ แ ต่ ล ะ ในการขนส่ ง โดยมี น โยบายกำหนดราคา บริ ษั ท มี ค วามชำนาญในการทำงาน ในการขนส่งแบบเหมาจ่ายเป็นเที่ยว (Trip เฉพาะด้ า น ซึ่ ง โดยปกติ ETL จะมี ค วาม rate) ซึ่ง ETL จะจ้างบริษัท ในอัตราส่วนลด ชำนาญในด้านคลังสินค้าและการบริหาร ประมาณร้อยละ 5 -10 จากราคาที่คิดกับ รถบรรทุก 4 ล้อ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจ้าง ลูกค้าของ ETL ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่ ETL บริษัทในการขนส่งให้ลูกค้าบางรายที่ต้อง ว่าจ้าง Subcontractor รายอื่น ใช้รถใหญ่ (รถ 6 ล้อ, รถหัวลาก) ประกอบกับ ยอดคงค้าง ราคาเป็นราคาที่เป็นธรรม และเป็นเงื่อนไข ทางการค้าปกติ ลูกหนี้การค้า 69,755.00 ต้ น ทุ น ค่ า ขนส่ ง สิ น ค้ า : บริษัทได้ว่าจ้าง 0.00 คณะกรรมการตรวจสอบเห็ น ว่ า รายการ ETLในการขนส่งสินค้า ในกรณีที่ต้องใช้รถ ดั ง กล่ า ว มี ค วามสมเหตุ ส มผล เนื่ อ งจาก บรรทุก 4 ล้อ โดยมีนโยบายกำหนดราคา นโยบายของกลุ่ ม บริ ษั ท จะสร้ า งให้ แ ต่ ล ะ ในการขนส่งแบบเหมาจ่ายเป็นเที่ยว (Trip บริ ษั ท มี ค วามชำนาญในการทำงาน rate) ซึ่งบริษัทจะจ้าง ETL ในอัตราส่วนลด เฉพาะด้ า น ซึ่ ง โดยปกติ ETLจะมี ค วาม ประมาณร้ อ ยละ 5-10 จากราคาที่ คิ ด กั บ ชำนาญในการบริหารรถบรรทุก 4 ล้อ ดังนั้น ลูกค้าของบริษัทซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่จ่าย บริษัทจึงจำเป็นต้องจ้าง ETL ในกรณีท่ตี ้อง ให้ Subcontractor รายอื่น ใช้รถบรรทุก 4 ล้อประกอบกับราคาเป็น ราคา ที่เป็นธรรม และเป็นเงื่อนไขทางการค้าปกติ เจ้าหนี้การค้า 15,099.48

ลักษณะรายการระหว่างกัน

รายการระหว่างกัน

57


บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

58

ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด ให้กู้ยืมระหว่างงวด รับชำระหว่างงวด ยอดคงเหลือยกไปปลายงวด ดอกเบี้ยค้างรับ ดอกเบี้ยรับ

เงินให้กู้ยืม : บริษัทให้ ETL กู้ยืมเงิน เพื่อใช้ เป็ น เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย นในกิ จ การ โดยมี ก ารคิ ด ดอกเบี้ยโดยอิงจากอัตราดอกเบี้ย MOR ของ ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง

รายได้ค่าบริหารจัดการ : บริษัทมีรายได้จาก การให้ บ ริ ก ารบริ ห ารจั ด การสำหรั บ งานด้ า น บัญชีและการเงิน ทรัพยากรบุคคลและฝึกอบรม จัดซื้อและธุรการ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริหาร ลูกค้าสัมพันธ์ บริหารคุณภาพ บริหาร ความ ปลอดภั ย และพั ฒ นาธุ ร กิ จ โดยมี น โยบาย การกำหนดราคาตามข้ อ ตกลงการให้ บ ริ ก าร โดยบริ ษั ท กำหนดราคาให้ บ ริ ก ารดั ง กล่ า ว คำนวณจากต้ น ทุ น ของบริ ษั ท ที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง ยอดคงค้าง รายได้ค้างรับ

ลักษณะรายการระหว่างกัน

492,128.38 836,819.87

14,400,000.00 63,300,000.00 (32,600,000.00) 45,100,000.00

0.00

1,416,682.27

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบว่าการให้กู้ยืม ดังกล่าวเกิดขึ้นจากความจำเป็นในการดำเนิน ธุรกิจซึ่งเป็นการให้กู้ยืมเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุน เวียนและรักษาสภาพคล่องของกิจการดังนั้น จึ ง เห็ น ว่ า รายการดั ง กล่ า วสมเหตุ ส มผลและ ยอมรับได้

คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า การให้ บริการงานบริหารจัดการให้กลับกลุ่มบริษัท ซึ่ง สอดคล้ อ งกั บ นโยบายของกลุ่ ม บริ ษั ท ที่ จะรวมศูนย์การบริหารและส่วนงานสนับสนุน ประกอบกั บ นโยบายกำหนดราคาไม่ มุ่ ง เน้ น ผลกำไร จึงเห็นว่ารายการดังกล่าวเหมาะสม และสมเหตุสมผล

ความจำเป็นและเหมาะสมของ รายการระหว่างกัน

รายการระหว่างกัน


ลักษณะรายการระหว่างกัน

ค่ า บริ ห ารจั ด การ : บริ ษั ท จ่ า ยค่ า เก็ บ รั ก ษา เอกสารทางบัญชี โดยมีนโยบายการกำหนดราคา ตามราคาตลาด ค่าใช้จ่ายบริการและบริหาร: บริษัทจ่ายค่า เก็บรักษาเอกสารทางบัญชี โดยมีนโยบายการ กำหนดราคาตามราคาตลาด ยอดคงค้าง ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้อื่น 1.3 บริษัท อีเทอร์นิตี้ ค่ า บ ริ ห า ร จั ด ก า ร : บ ริ ษั ท จ่ า ย ค่ า เ ช่ า คอนซัลติ้ง สำนั ก งานและค่ า บริ ห ารส่ ว นกลาง โดยมี แอนด์ เซอร์วิส นโยบายการกำหนดราคาตาม จำกัด (ECS) ราคาตลาด ค่ า ใช้ จ่ า ยบริ ก ารและบริ ห าร:บริ ษัท จ่ า ยค่ า เช่าสำนักงานงานและค่าบริหารส่วนกลาง โดย มีนโยบายการกำหนดราคาตาม ราคาตลาด ยอดคงค้าง ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้อื่น เงินมัดจำค่าเช่าจ่าย

บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

120,731.36 94,952.52 520,720.00

3,980,941.97

4,045,982.08

0.00 0.00

125,414.65

28,733.19

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

คณะกรรมการตรวจสอบเห็ น ว่ า รายการ ดั ง กล่ า ว มี ค วามสมเหตุ ส มผล โดยราคาที่ บริ ษั ท จ่ า ยให้ กั บ ECS เป็ น ราคาที่ เ ป็ น ธรรม และเป็ น เงื่ อ นไขทางการค้ า ปกติ ดั ง นั้ น จึ ง เห็ น ว่ า การทำรายการมี ค วามเหมาะสม และสมเหตุสมผล

คณะกรรมการตรวจสอบเห็ น ว่ า รายการ ดั ง กล่ า ว มี ค วามสมเหตุ ส มผล โดยราคาที่ บริ ษั ท จ่ า ยให้ กั บ ETL เป็ น ราคาที่ เ ป็ น ธรรม และเป็ น เงื่ อ นไขทางการค้ า ปกติ ดั ง นั้ น จึ ง เห็ น ว่ า การทำรายการมี ค วามเหมาะสม และสมเหตุสมผล

ความจำเป็นและเหมาะสมของ รายการระหว่างกัน

รายการระหว่างกัน

59


บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

60

ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด ให้กู้ยืมระหว่างงวด รับชำระหว่างงวด ยอดคงเหลือยกไปปลายงวด ดอกเบี้ยค้างรับ ดอกเบี้ยรับ

เงินให้กู้ยืม : บริษัทให้ ECS กู้ยืมเงิน เพื่อใช้ เป็ น เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย นในกิ จ การโดยมี ก ารคิ ด ดอกเบี้ยโดยอิงจากอัตราดอกเบี้ย MOR ของ ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง

รายได้ค่าบริหารจัดการ : บริษัทมีรายได้จาก การให้ บ ริ ก ารบริ ห ารจั ด การสำหรั บ งานด้ า น บัญชีและการเงิน ทรัพยากรบุคคลและฝึกอบรม จั ด ซื้ อ และธุ ร การ เทคโนโลยี ส ารสนเทศ โดย มี น โยบายการกำหนดราคาตามข้ อ ตกลงการ ให้บริการ โดยบริษัทกำหนดราคาให้บริการดัง กล่าวคำนวณจากต้นทุนของบริษัทที่เกิดขึ้นจริง ยอดคงค้าง รายได้บริหารอื่นค้างรับ ลูกหนี้อื่น เงินทดรองจ่าย

ลักษณะรายการระหว่างกัน

50,700,000.00 87,313,689.76 138,013,689.76 2,403,426.54 3,847,272.29

0.00 2,140.00 503.00

31,559.01

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบว่าการให้กู้ ยื ม ดั ง กล่ า วเกิ ด ขึ้ น จากความจำเป็ น ในการ ดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการให้กู้ยืมเพื่อใช้เป็นเงิน ทุนหมุนเวียนและรักษาสภาพคล่องของกิจการ ดั ง นั้ น จึ ง เห็ น ว่ า รายการดั ง กล่ า วสมเหตุ สมผลและยอมรับได้

คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า การให้ บริ ก ารงานบริ ห ารจั ด การให้ ก ลั บ กลุ่ ม บริ ษั ท ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกลุ่มบริษัทที่จะ รวมศู น ย์ ก ารบริ ห ารและส่ ว นงานสนั บ สนุ น ประกอบกั บ นโยบายกำหนดราคาไม่ มุ่ ง เน้ น ผลกำไร จึงเห็นว่ารายการดังกล่าวเหมาะสม และสมเหตุสมผล

ความจำเป็นและเหมาะสมของ รายการระหว่างกัน

รายการระหว่างกัน


1.5 บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

1.4 บริษัท อีเทอร์นิตี้ เทรด จำกัด (ETT)

บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

รายได้ค่าบริการขนส่งสินค้า : บริษัทให้บริการ ขนส่งสินค้ากับ PGL ที่มีลักษณะเฉพาะที่ต้อง การใช้ ร ถหางลากที่ เ หมาะสมกั บ ชนิ ด ของ สิ น ค้ า ในการขนส่ ง โดยมี น โยบายกำหนด ราคาในการขนส่ ง แบบเหมาจ่ า ยเป็ น เที่ ย ว (Trip rate) ซึ่ง PGL จะจ้าง บริษัท ในอัตรา ส่วนลดประมาณร้อยละ 5 -10 จากราคาที่คิด กั บ ลู ก ค้ า ของ PGL ซึ่ ง เป็ น อั ต ราเดี ย วกั บ ที่ PGL ว่าจ้าง Subcontractor รายอื่น ยอดคงค้าง ลูกหนี้การค้า เงินทดรองจ่าย

เงินกู้ยืม: บริษัทกู้ยืมเงินจาก ETT เพื่อใช้เป็น เงินทุนหมุนเวียนในกิจการ และคิดดอกเบี้ยโดย อิ ง จากอั ต ราดอกเบี้ ย MOR ของธนาคาร พาณิชย์แห่งหนึ่ง ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด ชำระคืนในระหว่างงวด กู้เพิ่มในระหว่างงวด ยอดคงเหลือยกไปปลายงวด ดอกเบี้ยค้างจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย

ลักษณะรายการระหว่างกัน

261,826.76 -

3,455,118.56

9,125,000.00 9,125,000.00 377,337.48

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท) คณะกรรมการตรวจสบรั บ ทราบว่ า การกู้ ยื ม ดังกล่าวเกิดขึ้นจากความจำเป็นในการดำเนิน ธุ ร กิ จ ซึ่ ง เป็ น การกู้ ยื ม เพื่ อ ใช้ เ ป็ น เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย นและรั ก ษาสภาพคล่ อ งของบริ ษั ท ซึ่ ง บริ ษั ท ยั ง คงมี ค วามจำเป็ น ต้ อ งใช้ เ งิ น กู้ ยื ม ดั ง กล่าวต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงเห็นว่ารายการ ดังกล่าวสมเหตุสมผลและยอมรับได้นอกจาก นี้ บ ริ ษั ท ได้ ก ำหนดนโยบายการทำรายการ ระหว่ า งกั น ในลั ก ษณะของการกู้ ยื ม ข้ า งต้ น และอื่นๆ ซึ่งรวมถึงมาตรการหรือขั้นตอนการ อนุมัติรายการระหว่างกันในอนาคต คณะกรรมการตรวจสอบเห็ น ว่ า รายการ ดั ง กล่ า วมี ค วามสมเหตุ ส มผล เนื่ อ งจาก นโยบายของกลุ่มบริษัทจะสร้างให้แต่ละบริษัท มี ค วามชำนาญในการทำงานเฉพาะด้ าน ซึ่ ง โดยปกติ PGL จะมีความชำนาญในด้านการ ขนส่ ง สิ น ค้ า ประเภทเทกองโดยใช้ ห างลากที่ เป็ น หางดั้ ม ในการขนส่ ง ดั ง นั้ น บริ ษั ท จึ ง จำเป็ น ต้ อ งให้ บ ริ ก ารขนส่ ง สิ น ค้ า ให้ ลู ก ค้ า บางรายที่ต้องใช้รถหางลากที่เหมาะสมกับชนิด ของสิ น ค้ า ประกอบกั บ ราคาเป็ น ราคาที่ เ ป็ น ธรรม และเป็นเงื่อนไขทางการค้าปกติ

ความจำเป็นและเหมาะสมของ รายการระหว่างกัน

รายการระหว่างกัน

61


บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

62 4,156,770.88

5,690,828.23 584,235.44

ยอดคงค้าง ลูกหนี้อื่น รายได้บริหารอื่นค้างรับ

604,102.72

958,440.22

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

รายได้ค่าบริหารจัดการ : บริษัทมีรายได้จาก การให้บริการบำรุงรักษายานพาหนะ และ ค่า บำรุงรักษายาง

ต้นทุนค่าขนส่งสินค้า : บริษัทได้ว่าจ้าง PGL ในการขนส่ ง สิ น ค้ า ประเภทเทกองโดยใช้ ห าง ลากที่เป็นหางดั้มในการขนส่ง โดยมีนโยบาย กำหนดราคาในการขนส่ ง แบบเหมาจ่ า ยเป็ น เที่ยว (Trip rate) ซึ่งบริษัทจะจ้าง PGL ในอัตรา ส่วนลดประมาณร้อยละ 5-10 จากราคาที่คิด กับลูกค้าของบริษัทซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่จ่าย ให้ Subcontractor รายอื่น ยอดคงค้าง เจ้าหนี้การค้า

ลักษณะรายการระหว่างกัน

คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า การให้ บริ ก ารงานบริ ห ารจั ด การให้ ก ลั บ กลุ่ ม บริ ษั ท ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ นโยบายของกลุ่ ม บริ ษั ท ที่จะรวมศูนย์การบริหารและส่วนงานสนับสนุน ประกอบกั บ นโยบายกำหนดราคาไม่ มุ่ ง เน้ น ผลกำไรจึ ง เห็ น ว่ า รายการดั ง กล่ า วเหมาะสม และสมเหตุสมผล

คณะกรรมการตรวจสอบเห็ น ว่ า รายการดั ง กล่าว มีความสมเหตุสมผล เนื่องจากนโยบาย ของกลุ่มบริษัทจะสร้างให้แต่ละบริษัทมีความ ชำนาญในการทำงานเฉพาะด้าน ซึ่งโดยปกติ PGL จะมี ค วามชำนาญในการบริ ห ารรถ บรรทุกสินค้าประเภทเทกอง ดังนั้นบริษัทจึงจำ เป็นต้องจ้าง PGL ในกรณีที่ต้องใช้รถบรรทุก หางลากที่ เ ป็ น หางดั้ ม ในการขนส่ ง ประกอบ กับราคาเป็นราคาที่เป็นธรรม และเป็นเงื่อนไข ทางการค้าปกติ

ความจำเป็นและเหมาะสมของ รายการระหว่างกัน

รายการระหว่างกัน


บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

เงินให้กู้ยืม : บริษัทให้กู้ยืมเงินแก่ PGL กู้ยืม เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ โดยมี การคิดดอกเบี้ยโดยอิงจากอัตราดอกเบี้ย MOR ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด ชำระคืนในระหว่างงวด ให้กู้ยืมในระหว่างงวด ยอดคงเหลือยกไปปลายงวด ดอกเบี้ยค้างรับ ดอกเบี้ยรับ รายได้จากการขาย : บริษัทขายน้ำมันให้กับ PGL โดยขายในราคาทุน

ลักษณะรายการระหว่างกัน

40,300,000.00 (44,800,000.00) 42,300,000.00 37,800,000.00 1.200,711.95 2,606.154.70 15,759,697.41

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า การให้ บริการงานบริหารจัดการให้กลับกลุ่มบริษัท ซึ่ง สอดคล้องกับนโยบายของกลุ่มบริษัทที่จะรวม ศูนย์การบริหารและส่วนงานสนับสนุน ประกอบ กับนโยบายกำหนดราคาไม่มุ่งเน้น ผลกำไร จึ ง เห็ น ว่ า รายการดั ง กล่ า วเหมาะสมและ สมเหตุสมผล

คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบว่าการให้กู้ ยื ม ดั ง กล่ า วเกิ ด ขึ้ น จากความจำเป็ น ในการ ดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการให้กู้ยืมเพื่อใช้เป็นเงิน ทุนหมุนเวียนและรักษาสภาพคล่องของกิจการ ดังนั้นจึงเห็นว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และยอมรับได้

ความจำเป็นและเหมาะสมของ รายการระหว่างกัน

รายการระหว่างกัน

63


1.7 Aichi Kaiun Co.,Ltd.

บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

64

รายได้ค่าบริหารจัดการ : บริษัทมีรายได้จาก การให้ บ ริ ก ารบริ ห ารจั ด การสำหรั บ งานด้ า น ทรัพยากรบุคคลอาคารสถานที่และเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยมีนโยบายการกำหนดราคาตาม ข้อตกลงการให้บริการ โดยบริษัทกำหนดราคา ให้บริการดังกล่าวคำนวณจากต้นทุนของบริษัท ที่เกิดขึ้นจริง ยอดคงค้าง รายได้บริหารอื่นค้างรับ ลูกหนี้อื่น เงินทดรองจ่าย

ลักษณะรายการระหว่างกัน

110,043.87

112,348.72

-

-

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท) คณะกรรมการตรวจสอบเห็ น ว่ า รายการดั ง กล่าว มีความสมเหตุสมผลประกอบกับราคา เป็ น ราคาที่ เ ป็ น ธรรม และเป็ น เงื่ อ นไขทาง การค้าปกติ

ความจำเป็นและเหมาะสมของ รายการระหว่างกัน

รายการระหว่างกัน


2.1 ECS

บุคคล/ นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

ต้นทุนการให้บริการ : บริษัทจ่ายค่าเช่าคลังสินค้า และค่าบริหารส่วนกลาง โดยมีนโยบายการกำหนด ราคาตามราคาตลาด ค่าใช้จ่ายบริการและบริหาร: บริษัทจ่ายค่าเช่าสำนักงานงาน และค่าบริหารส่วนกลาง โดยมีนโยบายการกำหนด ราคาตามราคาตลาด ค่าบริหารจัดการ : บริษัทจ่ายค่าเช่าสำนักงาน และค่าบริหารส่วนกลาง โดยมีนโยบายการกำหนดราคาตลาด ยอดคงค้าง เจ้าหนี้อื่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินมัดจำค่าเช่า

ลักษณะรายการระหว่างกัน

812.14 25,098.81 485,470.00

0.00

252,463.81

5,882,975.73

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่ารายการดังกล่าว มีความสมเหตุสมผล ประกอบกับราคาเป็นราคา ที่เป็นธรรม และเป็นเงื่อนไขทางการค้าปกติ

ความจำเป็นและเหมาะสม ของรายการระหว่างกัน

2. รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในปี 2552 ของ ETL กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

รายการระหว่างกัน

65


66

2.3 กรรมการ

2.2 ETT

บุคคล/ นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

เงิ น กู้ ยื ม : ETL กู้ ยื ม เงิ น จากกรรมการเพื่ อ ใช้ เป็ น เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย นในกิ จ การ โดยมี ก ารคิ ด ดอกเบี้ ย โดยอิ ง จากอั ต ราดอกเบี้ ย MOR ของ ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด ชำระคืนในระหว่างงวด กู้เพิ่มในระหว่างงวด ยอดคงเหลือยกไปปลายงวด ดอกเบี้ยค้างจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย

รายได้ค่าบริการ : ETL ให้บริการคลังสินค้าให้ กับ ETT เป็นการให้บริการรับฝากสินค้าทั่วไป ซึ่ง อัตราค่ารับฝากสินค้าที่คิดกับ ETT เป็นอัตราเดียว กับที่คิดกับลูกค้าทั่วไป ยอดคงค้าง ลูกหนี้การค้า

ลักษณะรายการระหว่างกัน

6,864,859.81 6,864,859.81 362,333.00 362,333.00

15,418.37

91,359.65

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

คณะกรรมการตรวจสอบรั บ ทราบว่ า การกู้ ยื ม ดังกล่าวเกิดขึ้นจากความจำเป็นในการดำเนิน ธุ ร กิ จ ซึ่ ง เป็ น การกู้ ยื ม เพื่ อ ใช้ เ ป็ น เงิ น ทุ น หมุ น เวียนและรักษาสภาพคล่องของ ETL ซึ่ง ETL ยังคงมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้ยืมดังกล่าวต่อ ไปในอนาคต ดังนั้นจึงเห็นว่ารายการดังกล่าว สมเหตุ ส มผล นอกจากนี้ ETLได้ ก ำหนด นโยบายการทำรายการระหว่างกันในลักษณะ ของการกู้ยืมข้างต้นและอื่นๆ ซึ่งรวมถึงมาตรการ หรื อ ขั้ น ตอนการอนุ มั ติ ร ายการระหว่ า งกั น ในอนาคต

คณะกรรมการตรวจสอบเห็ น ว่ า รายการดั ง กล่ า ว มี ค วามสมเหตุ ส มผลประกอบกั บ ราคา เป็ น ราคาที่ เ ป็ น ธรรมและเป็ น เงื่ อ นไขทางการ ค้าปกติ

ความจำเป็นและเหมาะสม ของรายการระหว่างกัน

2. รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในปี 2552 ของ ETL กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

รายการระหว่างกัน


3.2 กรรมการ

บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง 3.1 ETL

เงิ น กู้ ยื ม : ECS กู้ยืมเงินจากกรรมการ เพื่ อ ใช้ เ ป็ น เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย นในกิ จ การ โดยมี ก ารคิ ด ดอกเบี้ ย โดยอิ ง จากอั ต รา ดอกเบี้ย MOR ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด ชำระคืนในระหว่างงวด กู้เพิ่มในระหว่างงวด ยอดคงเหลือยกไปปลายงวด ดอกเบี้ยค้างจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย

รายได้ค่าเช่าและบริการ : บริษัทจ่าย ค่าเช่าสำนักงานงาน และค่าบริหารส่วน กลาง โดยมีนโยบายการกำหนดราคาตาม ราคาตลาด ยอดคงค้าง ลูกหนี้การค้า เงินประกันการเช่ารับ

ลักษณะรายการระหว่างกัน

5,925,438.70 (1,000,000.00) 4,925,438.70 266,340.41 266,340.41

6,135,439.54 25,910.95 485,470.00

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบว่าการกู้ยืมดังกล่าว เกิดขึ้นจากความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการ กู้ยืมเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและรักษาสภาพคล่อง ของ ECS ซึ่ง ECS ยังคงมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้ยืม ดั ง กล่ า วต่ อ ไปในอนาคต ดั ง นั้ น จึ ง เห็ น ว่ า รายการดั ง กล่าวสมเหตุสมผล นอกจากนี้ ECS ได้กำหนดนโยบาย การทำรายการระหว่ า งกั น ในลั ก ษณะของการกู้ ยื ม ข้ า งต้ น และอื่ น ๆ ซึ่ ง รวมถึ ง มาตรการหรื อ ขั้ น ตอนการ อนุมัติรายการระหว่างกันในอนาคต

ความจำเป็นและเหมาะสม ของรายการระหว่างกัน คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่ารายการดังกล่าว มีความ สมเหตุสมผล ประกอบกับราคาเป็นราคาที่เป็นธรรมและ เป็นเงื่อนไขทางการค้าปกติ

3. รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในปี 2552 ของ ECS กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

รายการระหว่างกัน

67


68

4.1 บริษัท แพนด์ส นครหลวง จำกัด

บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

รายได้ จ ากการให้ บ ริ ก ารขนส่ ง : บริ ษั ท ให้ บ ริ ก าร ขนส่งสินค้า โดยมีนโยบายการกำหนดราคาตามราคา ตลาด ในการขนส่งแบบเหมาจ่ายเป็นเที่ยว (Trip rate) ยอดคงค้าง ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้อื่น ต้ น ทุ น การให้ บ ริ ก าร : บริษัทจ่ายค่าเช่าโกดัง และ ค่าบริการผ่านท่า โดยมีนโยบายการกำหนดราคาตาม ราคาตลาด ยอดคงค้าง เงินประกันค่าเช่าจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้การค้า รายได้ จ ากการขายและรายได้ อื่ น : บริษัทได้ขาย สินค้า โดยมีนโยบายการกำหนดราคาตามราคาตลาด

ลักษณะรายการระหว่างกัน

414,000.00 13,868.00 1,296,297.30 1,743,917.24

811,436.47 28,446.54 9,783,543.08

1,864,808.77

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่าราย การดั ง กล่ า ว มี ค วามสมเหตุ ส มผล ประกอบกั บ ราคาเป็ น ราคาที่ เ ป็ น ธรรม และเป็นเงื่อนไขทางการค้าปกติ

คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่าราย การดั ง กล่ า ว มี ค วามสมเหตุ ส มผล ประกอบกั บ ราคาเป็ น ราคาที่ เ ป็ น ธรรม และเป็ น เงื่ อ นไขทางการค้ า ปกติ

คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่าราย การดั ง กล่ า ว มี ค วามสมเหตุ ส มผล ประกอบกั บ ราคาเป็ น ราคาที่ เ ป็ น ธรรม และเป็ น เงื่ อ นไขทางการค้ า ปกติ

ความจำเป็นและเหมาะสม ของรายการระหว่างกัน

4. รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในปี 2552 ระหว่าง PGL กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

รายการระหว่างกัน


บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

เงิ น ให้ กู้ ยื ม : PGL ให้ กู้ ยื ม โดยมี ก ารคิ ด ดอกเบี้ ย โดยอิงจากอัตราดอกเบี้ย MOR ของธนาคารพาณิชย์ แห่งหนึ่ง ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด รับชำระคืนในระหว่างงวด หักกลบลบหนี้ในระหว่างงวดยอดคงเหลือ ยกไปปลายงวด ดอกเบี้ยค้างรับ ดอกเบี้ยรับ

ลักษณะรายการระหว่างกัน

119,894.04 -

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท) คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบว่า การให้กู้ยืมดังกล่าวเกิดขึ้นจากความ จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการ ให้ กู้ ยื ม เพื่ อ ใช้ เ ป็ น เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย น และรักษาสภาพคล่องของกิจการ ใน ระยะสั้น ดังนั้นจึงเห็นว่ารายการดัง กล่าวสมเหตุสมผลและยอมรับได้

ความจำเป็นและเหมาะสม ของรายการระหว่างกัน

4. รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในปี 2552 ระหว่าง PGL กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

รายการระหว่างกัน

69


70

4.3.กรรมการ

บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

เงินกู้ยืม : PGL กู้ยืมเงินโดยมีการคิดดอกเบี้ยโดยอิง จากอัตราดอกเบี้ย MOR ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด ชำระคืนในระหว่างงวด กู้เพิ่มในระหว่างงวด ยอดคงเหลือยกไปปลายงวด ดอกเบี้ยค้างจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย

เงินกู้ยืม : PGL กู้ยืมเงินโดยมีการคิดดอกเบี้ยโดยอิง จากอัตราดอกเบี้ย MOR ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด ชำระคืนในระหว่างงวด โอนมาจากเจ้าหนี้ค่าทรัพย์สิน ยอดคงเหลือยกไปปลายงวด ดอกเบี้ยค้างจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย

ลักษณะรายการระหว่างกัน

200,000.00 200,000.00 15,461.86 2,963.01

13,719,671.30 450,005.24 517,006.10

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท) คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบว่า การกู้ ยื ม ดั ง กล่ า วเกิ ด ขึ้ น จากความ จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการ กู้ยืมเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและ รักษาสภาพคล่องของ PGL ซึ่ง PGL ยั ง คงมี ค วามจำเป็ น ต้ อ งใช้ เ งิ น กู้ ยื ม ดั ง กล่ า วต่ อ ไปในอนาคต ดั ง นั้ น จึ ง เห็นว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และมี อั ต ราดอกเบี้ ย ต่ ำ กว่ า อั ต รา ตลาดนอกจากนี้ PGL ได้ ก ำหนด นโยบายการทำรายการระหว่ า งกั น ในลักษณะของการกู้ยืมข้างต้นและ อื่นๆ ซึ่งรวมถึงมาตรการหรือขั้นตอน ก า ร อ นุ มั ติ ร า ย ก า ร ร ะ ห ว่ า ง กั น ในอนาคต คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบว่า การให้กู้ยืมดังกล่าวเกิดขึ้นจากความ จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการ ให้ กู้ ยื ม เพื่ อ ใช้ เ ป็ น เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย น และรั ก ษาสภาพคล่ อ งของกิ จ การ ในระยะสั้น ดังนั้นจึงเห็นว่ารายการดัง กล่าวสมเหตุสมผลและยอมรับได้

ความจำเป็นและเหมาะสม ของรายการระหว่างกัน

4. รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในปี 2552 ระหว่าง PGL กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

รายการระหว่างกัน


4.4 บริษัท พี.แอนด์. เอส แบไรท์ ไมน์นิ่ง จำกัด

บุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง

รายได้จากการให้ บริการขนส่ง : บริษัท ให้บริการขนส่งสินค้าโดยมีนโยบายการกำหนดราคา ตามราคาตลาด ในการขนส่งแบบเหมาจ่ายเป็นเที่ยว (Trip rate) ยอดคงค้าง ลูกหนี้การค้า

ลักษณะรายการระหว่างกัน

1,460,890.50

6,242,780.20

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (บาท)

4. รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในปี 2552 ระหว่าง PGL กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่ารายการ ดังกล่าว มีความสมเหตุสมผล ประกอบ กับราคาเป็นราคาที่เป็นธรรมและเป็น เงื่อนไขทางการค้าปกติ

ความจำเป็นและเหมาะสม ของรายการระหว่างกัน

รายการระหว่างกัน

71


รายการระหว่างกัน 9.2 ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยเงื่อนไขต่างๆ ของ รายการระหว่างกันที่เป็นรายการการค้าปกติเป็นไปตามเงื่อนไขปกติธุรกิจทั่วไปและเป็นราคาที่ เป็นธรรมตามราคาตลาดเป็นหลัก ไม่มีเงื่อนไขพิเศษระหว่างบริษัทและ/หรือบริษัทย่อยและ ผู้ที่เกี่ยวข้อง การกำหนดราคาหรืออัตราค่าธรรมเนียมเป็นการกำหนดตามราคาที่สอดคล้อง กับอัตราปกติที่สามารถเปรียบเทียบได้กับการทำรายการกับบุคลลอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง กัน และไม่ทำให้บริษัทและ/หรือบริษัทย่อยเสียประโยชน์แต่อย่างใด สำหรับรายการระหว่างกันที่ไม่ใช่การค้าปกติ ได้แก่ รายการกู้ยืมเงิน เกิดขึ้นเนื่อง จากความจำเป็นเพื่อใช้ในการขยายงานและเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสภาพคล่องในการ ดำเนินธุรกิจ และรายการค้ำประกันอันเนื่องมาจากความจำเป็นในการขอวงเงินสินเชื่อจาก สถาบันการเงิน เพื่อใช้ซื้อสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินการและเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขปกติของสถาบันการเงินในการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ โดยที่บริษัทและ/หรือ บริษัทย่อยไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการขอรับการค้ำประกันดังกล่าว ซึ่งการทำรายการ ดังกล่าวเป็นไปตามความจำเป็น และไม่ทำให้บริษัทและ/หรือบริษัทย่อยเสียประโยชน์แต่ อย่างใด คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการพิจารณารายการระหว่างกันดังกล่าวข้างต้นแล้ว มีความเห็นว่ามีความจำเป็นและสมเหตุสมผล ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และ /หรือ บริษัทย่อย 9.3 มาตรการหรือขั้นตอนการอนุมัติการทำรายการระหว่างกัน การอนุมัติรายการระหว่างกันของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อยที่ผ่านมา ได้มีการ พิจารณาโดยคณะกรรมการบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเข้าทำราย การระหว่างกันได้มีการคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเป็นสำคัญ รายการระหว่ า งกั น ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ในอนาคตกั บ บุ ค คลที่ อ าจมี ค วามขั ด แย้ ง ทาง ผลประโยชน์ มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในอนาคต บริษัทจะให้ คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นและความเหมาะสมของ รายการนั้น ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการ ระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้น บริษัทจะให้ผู้เชี่ยวชาญอิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทเป็นผู้ใหญ่ ความเห็ น เกี่ ย วกั บ รายการระหว่ า งกั น ดั ง กล่ า ว เพื่ อ นำไปใช้ ป ระกอบการตั ด สิ น ใจของ คณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี ทั้งนี้ บริษัทจะเปิดเผยรายการระหว่างกันไว้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัท

72


รายการระหว่างกัน 9.4 นโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการระหว่างกัน

นโยบายการพิจารณาอนุมัติรายการระหว่างกันกับกิจการที่เกี่ยวข้องจะเป็นไปตาม ขั้นตอนที่ต้องพิจารณาโดยคณะกรรมการบริษัทฯและคณะกรรมการตรวจสอบ โดยผู้มีส่วน ได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในรายการระหว่างกันจะไม่สามารถมีส่วนร่วม ในการอนุมัติได้ แนวโน้มของรายการระหว่างกันที่เป็นการให้กู้ยืมเงินที่เกิดขึ้นในอนาคต คือรายการ กู้ยืมระหว่างบริษัท และ/หรือบริษัทย่อยเนื่องจากเป็นการช่วยเหลือทางด้านการเงินในการ ดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นการสนับสนุนและเกื้อกูลธุรกิจซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นไปตามลักษณะ การประกอบธุรกิจปกติ ได้แก่ การให้บริการขนส่ง ให้เช่าพื้นที่สำนักงานและคลังสินค้า และ การให้บริการบริหารจัดการ ซึ่งเกิดขึ้นตามความจำเป็นและเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนิน ธุ ร กิ จ ภายในกลุ่ ม บริ ษั ท โดยมี การกำหนดนโยบายการคิ ด ราคาระหว่ างกัน อย่ างชั ด เจน ตามราคาและเงื่อนไขตลาดที่เหมาะสม และเป็นธรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเป็น สำคัญ รวมทั้งมีคณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นในการทำรายการดังกล่าว การค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อทางการเงิน และสัญญากู้ยืมเงินที่เกิดขึ้นระหว่าง บริ ษั ท และ/หรื อ บริ ษัทย่อยกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง จะยังคงมีอยู่ต่อไป เนื่องจาก ความจำเป็นในการขอวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อใช้ซื้อสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนิน งานและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขปกติของสถาบันการเงินในการ ให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ โดยที่บริษัทและ/หรือบริษัทย่อยไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการขอรับการ ค้ำประกันดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทและ/หรือบริษัทย่อยไม่มีนโยบายที่จะขอรับการค้ำประกัน จากบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง สำหรับวงเงินใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับวงเงิน เก่าบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย จะทยอยปลดการค้ำประกันของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งลง หากการปลดการค้ำประกันดังกล่าวไม่กระทบต่อวงเงินกู้ยืมของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย ในปัจจุบัน เงินกู้ยืมจากบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และเงินกู้ยืมระหว่างกลุ่มบริษัท บริษัท และ/หรือบริษัทย่อยอยู่ระหว่างชำระคืนเงินกู้ยืมดังกล่าว โดยเงินกู้ยืมดังกล่าวยังคงมีอยูต่ อ่ ไป ในอนาคตเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการบริหารงาน และมีนโยบายในการกำหนดเงื่อนไข ที่ชัดเจนและเป็นธรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดภายในกลุ่มบริษัท ทั้งนี้ รายการระหว่างกันที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิด ขึ้นในอนาคตนั้น คณะกรรมการบริษัทจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย รวมตลอดถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการ เกี่ยวโยงและการได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทและบริษัทย่อย รวมทั้งปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

73


คำอธิบายและวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ผลการดำเนิ น งานของบริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ย ปี 2552 มี ผ ลกำไรสุ ท ธิ จ ำนวน 10.92 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 74.52 จากกำไรสุทธิของปี 2551 จำนวน 42.85 ล้านบาท รายได้ รายได้ ร วมของบริ ษั ท ปี 2552 และ 2551 มี จ ำนวน 733.78 ล้ า นบาท และ 1,010.35 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 27.37 รายได้รวมของบริษัท ส่วนใหญ่มาจากรายได้จากการให้บริการและ รายได้จากการดำเนินพิธีการศุลกากร ซึ่งราย ได้จากการให้บริการส่วนใหญ่ เป็นรายได้จากการให้บริการขนส่ง โดยในปี 2552 และ 2551 มีรายได้จากการให้บริการจำนวน 711.53 ล้านบาท และ 945.89 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 24.77 รายได้ ร วมของบริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ย ปี 2552 รายได้ ร วมมี จ ำนวน 978.66 ล้ า นบาท ประกอบด้ ว ยรายได้จากการให้บริการ 854.05 ล้านบาท รายได้จากการขาย 114.94 ล้านบาท และรายได้อื่น 9.67 ล้านบาท ต้นทุนการให้บริการ ต้นทุนการให้บริการของบริษัท ปี 2552 และ 2551 มีจำนวน 606.63 ล้านบาท และ 763.02 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 20.49 สาเหตุหลักมา จากต้นทุนการให้บริการขนส่งที่ลดลงตามสัดส่วนของรายได้ที่ลดลงต้นทุนการให้บริการ ของบริษัทและบริษัทย่อย ปี 2552 ต้นทุนขายและให้บริการมีจำนวน 854.41 ล้านบาท ประกอบด้ ว ยต้ น ทุ น ให้ บ ริ ก ารจำนวน 747.10 ล้ า นบาท และต้ น ทุ น ขายจำนวน 107.31 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของบริษัท ปี 2552 และ 2551 มีจำนวน 49.58 ล้านบาท และ 84.38 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 41.24 สาเหตุหลัก เนื่องมาจากการลดลงของค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของบริษัทและบริษัทย่อย ปี 2552 ค่าใช้จ่ายใน การขายและบริหารมีจำนวน 55.20 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับ ปี 2551 สาเหตุหลักเนื่อง มาจากการลดลงของค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน

74


คำอธิบายและวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน สินทรัพย์รวม สินทรัพย์รวมของบริษัท ปี 2552 และ 2551 มีจำนวน 833.33 ล้านบาท และ 827.70 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.67 สาเหตุหลักมาจากการ เพิ่มขึ้นของเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้อง และ เงินลงทุนในบริษัทย่อย ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องในปี 2552 จำนวน 220.91 ล้านบาท นั้น ส่วนหนึ่งมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ของกิจการที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินสินทรัพย์ รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ปี 2552 และ 2551 มีจำนวนเท่ากับ 911.57 ล้านบาท และ 1,011.09 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 9.84 สาเหตุหลักมาจากการลดลง ของเงินลงทุนชั่วคราว และ สินทรัพย์ถาวร หนี้สินรวม หนี้สินรวมของบริษัท ปี 2552 และ 2551 มีจำนวน 375.53 ล้านบาท และ 376.99 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 0.38 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของเจ้าหนี้ ตามสัญญาเช่าทางการเงิน หนี้ สิ น รวมของบริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ย ปี 2552 และ 2551 มี จ ำนวน 443.37 ล้านบาท และ 551.37 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 19.58 สาเหตุหลัก มาจากการลดลงของเจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงิน ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ปี 2552 และ 2551 มีจำนวน 457.80 ล้านบาท และ 450.71 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.57 สาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้น ของกำไรสะสม ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อย ปี 2552 และ 2551 มีจำนวน 468.20 ล้านบาท และ 459.72 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.84 สาเหตุมาจาก การเพิ่มขึ้นของกำไรสะสม

75


รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ผู้ถือหุ้นของบริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 งบกำไรขาดทุนรวมและงบกำไร ขาดทุนเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และเฉพาะของบริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็น ผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่อ งบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ของบริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และเฉพาะของบริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) ที่นำมาเปรียบเทียบตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่นในสำนักงานเดียวกันตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และเสนอรายงานไว้อย่างไม่มีเงื่อนไขตามรายงานลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและ ปฏิบตั งิ านเพือ่ ให้ได้ความเชือ่ มัน่ อย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลทีข่ ดั ต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบ รวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความ เหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบ ดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะ กิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวมและ กระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และเฉพาะของบริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่ รับรองทั่วไป

บริษัท เอส พี ออดิท จำกัด

( นายสุชาติ พานิชย์เจริญ ) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4475

กรุงเทพมหานคร วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 255

76


งบดุล บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วั​ันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 หมายเหตุ

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

งบการเงินรวม 2552 2551

สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

47,397,853.40

47,996,798.44

34,218,091.26

34,905,331.75

เงินลงทุนชั่วคราว-สุทธิ

7

7,802,645.62

71,164,101.57

7,802,645.62

71,164,101.57

ลูกหนี้การค้า-สุทธิ

8

182,677,991.45

151,587,852.23

120,133,343.14

131,815,729.69

ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน-สุทธิ

6.1,9

2,287,745.34

2,233,862.21

331,581.76

1,080,809.84

เงินทดรองจ่ายลูกค้า-ค่าพิธีการ-สุทธิ

10

17,030,502.77

17,466,514.64

17,031,005.77

17,466,514.64

สินค้าคงเหลือ-สุทธิ

11

6,376,661.59

1,016,097.53

-

-

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น-สุทธิ

12

34,086,022.01

28,327,131.32

25,282,443.23

26,744,957.87

297,659,422.18

319,792,357.94

204,799,110.78

283,177,445.36

รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

6.1

-

-

220,913,689.76

105,400,000.00

เงินลงทุนในบริษัทย่อย-สุทธิ

13

-

-

65,348,647.95

44,073,505.73

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ

14

589,994,551.31

666,832,500.84

329,691,899.14

377,335,599.61

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ

15

5,846,489.85

8,836,996.40

5,714,098.86

7,037,286.19

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น-สุทธิ

16

18,072,893.72

15,629,617.11

6,865,481.27

10,676,542.29

613,913,934.88

691,299,114.35

628,533,816.98

544,522,933.82

911,573,357.06 1,011,091,472.29

833,332,927.76

827,700,379.18

รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

77


งบดุล บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วั​ันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2552 2551

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

17 140,000,000.00 140,158,946.19 140,000,000.00 140,158,946.19

เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยว ข้องกัน ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

67,634,945.74 50,051,478.39 36,588,727.95 44,029,894.44 6.1

1,093,015.51

619,202.20

194,508.42

19,20 80,987,080.41 100,765,309.62 62,633,514.49 63,023,374.43

ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น

1,296,297.30

118,765.02 18

รวมหนี้สินหมุนเวียน

2,291,739.56

-

2,010,828.02

21,918,145.08 32,560,501.73 17,232,857.86 22,367,376.40 311,955,233.55 326,920,991.00 257,074,302.50 271,784,927.90

หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

6.1

11,990,298.51 35,634,969.81 19,499,635.24 29,024,635.24

เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินระยะยาว-สุทธิ

19

35,898,629.42 102,625,266.91 17,451,296.78 64,217,190.80

เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร - สุทธิ

20

82,409,040.81 85,683,824.01 81,503,202.31 11,967,293.19

หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

78

1,119,130.00

507,225.00

-

-

131,417,098.74 224,451,285.73 118,454,134.33 105,209,119.23 443,372,332.29 551,372,276.73 375,528,436.83 376,994,047.13


งบดุล บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วั​ันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุ ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรื่อนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 140,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1.00 บาท ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว หุ้นสามัญ 140,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1.00 บาท ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นในหลัก ทรัพย์เผื่อขาย กำไรสะสม สำรองตามกฎหมาย

2552

งบการเงินรวม 2551

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

21 140,000,000.00 140,000,000.00 140,000,000.00 140,000,000.00

140,000,000.00 140,000,000.00 140,000,000.00 140,000,000.00 21 7

ยังไม่ได้จัดสรร รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในย่อย รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

154,932,789.85 154,932,789.85 154,932,789.85 154,932,789.85 30,088.15 569,314.52 30,088.15 569,314.52

10,907,839.77

9,755,970.51

10,907,839.77

9,755,970.51

142,419,576.27 143,841,265.40 151,933,773.16 145,448,257.17 448,290,294.04 449,099,340.28 457,804,490.93 450,706,332.05 19,910,730.73

10,619,855.28

-

-

468,201,024.77 459,719,195.56 457,804,490.93 450,706,332.05 911,573,357.06 1,011,091,472.29 833,332,927.76 827,700,379.18

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

79


งบกำไรขาดทุน บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วั​ันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 (หน่วย : บาท) หมายเหตุ รายได้ รายได้จากการให้บริการ รายได้จากการขาย

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

854,052,734.63 114,940,056.84

1,068,572,004.03 47,575,027.80

711,527,807.82 -

945,890,982.49 27,455,980.95

9,666,732.35

6,613,343.01

22,249,006.14

37,001,686.22

รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนการให้บริการ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ขาดทุนจากการด้อยค่าเงิน ลงทุนในบริษัทย่อย ค่าตอบแทนผู้บริหาร

978,659,523.82

1,122,760,374.84

733,776,813.96

1,010,348,649.66

747,097,074.80 107,313,141.29 55,201,779.63

903,092,311.43 41,908,077.50 59,432,138.42

606,630,236.11 49,578,093.26

763,021,743.58 27,437,043.01 84,380,980.71

22,978,549.62

24,244,979.60

10,224,857.78 18,373,822.06

17,438,333.06 19,535,926.08

รวมค่าใช้จ่าย กำไรก่อนต้นทุนทาง การเงินและภาษีเงินได้ ต้นทุนทางการเงิน

932,590,545.34

1,028,677,506.95

684,807,009.21

911,814,026.44

กำไรก่อนภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้

46,068,978.48 26,424,314.01 19,644,664.47 (8,723,608.89)

94,082,867.89 36,133,551.62 57,949,316.27 (15,099,637.22)

48,969,804.75 17,463,363.26 31,506,441.49 (8,469,056.24)

98,534,623.22 24,061,251.95 74,473,371.27 (14,623,969.08)

กำไรสุทธิ

10,921,055.58

42,849,679.05

23,037,385.25

59,849,402.19

การแบ่งปันกำไรสุทธิ ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

15,130,180.13

48,578,220.22

23,037,385.25

59,849,402.19

(4,209,124.55) 10,921,055.58

(5,728,541.17) 42,849,679.05

23,037,385.25

59,849,402.19

0.11

0.40

0.16

0.49

140,000,000

122,240,437

140,000,000

122,240,437

รายได้อื่น

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานส่วนที่เป็น ของบริษัทใหญ่ (บาท) จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนัก (หน่วย : หุ้น)

24

27

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

80

งบการเงินรวม 2551


81

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นในหลักทรัพย์เผื่อขาย รวมรายได้ (ค่าใช้จา่ ย) สุทธิของรายการทีร่ บั รูใ้ นส่วนของผูถ้ อื หุน้ กำไร (ขาดทุน) สุทธิสำหรับปี รวมรายได้ (ค่าใช้จ่าย) ทั้งสิ้นที่รับรู้ จ่ายเงินปันผล จัดสรรสำรองตามกฎหมาย เพิ่มทุนระหว่างปี ค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายหุ้นสามัญ ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพิ่มขึ้น ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 การเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์เผื่อขาย รวมรายได้ (ค่าใช้จ่าย) สุทธิของรายการที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น กำไร(ขาดทุน)สุทธิสำหรับปี รวมรายได้(ค่าใช้จ่าย)ทั้งสิ้นที่รับรู้ จ่ายเงินปันผล จัดสรรสำรองตามกฎหมาย ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพิ่มขึ้น ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 23 22

7

23 22 21 21

หมายเหตุ

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว 115,000,000.00 25,000,000.00 140,000,000.00 140,000,000.00

บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วั​ันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น 55,246,716.25 102,500,000.00 (2,813,926.40) 154,932,789.85 154,932,789.85

(หน่วย : บาท) ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ ส่วนของ รวม กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้น กำไรสะสม รวม ผู้ถือหุ้น ในหลักทรัพย์ ส่วนน้อย สำรอง ยังไม่ได้ หลักทรัพย์เผื่อขาย ตามกฎหมาย จัดสรร - 6,763,500.40 110,906,077.11 287,916,293.76 503,495.62 288,419,789.38 569,314.52 569,314.52 569,314.52 569,314.52 569,314.52 569,314.52 - 48,578,220.22 48,578,220.22 (5,728,541.17) 42,849,679.05 569,314.52 - 48,578,220.22 49,147,534.74 (5,728,541.17) 43,418,993.57 - (12,650,561.82) (12,650,561.82) - (12,650,561.82) - 2,992,470.11 (2,992,470.11) - 127,500,000.00 - 127,500,000.00 - (2,813,926.40) - (2,813,926.40) - 15,844,900.83 15,844,900.83 569,314.52 9,755,970.51 143,841,265.40 449,099,340.28 10,619,855.28 459,719,195.56 (539,226.37) (539,226.37) (539,226.37) (539,226.37) (539,226.37) (539,226.37) - 15,130,180.13 15,130,180.13 (4,209,124.55) 10,921,055.58 (539,226.37) - 15,130,180.13 14,590,953.76 (4,209,124.55) 10,381,829.21 - (15,400,000.00) (15,400,000.00) - (15,400,000.00) - 1,151,869.26 (1,151,869.26) - 13,500,000.00 13,500,000.00 30,088.15 10,907,839.77 142,419,576.27 448,290,294.04 19,910,730.73 468,201,024.77

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวม


23 22

7

23 22 21 21

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นในหลักทรัพย์เผื่อขาย รวมรายได้(ค่าใช้จ่าย)สุทธิของรายการ ที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสุทธิสำหรับปี รวมรายได้(ค่าใช้จ่าย)ทั้งสิ้นที่รับรู้ จ่ายเงินปันผล จัดสรรสำรองตามกฎหมาย เพิ่มทุนระหว่างปี ค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายหุ้นสามัญ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 การเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์เผื่อขาย รวมรายได้(ค่าใช้จ่าย)สุทธิของรายการที่รับรู้ ในส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสุทธิสำหรับปี รวมรายได้(ค่าใช้จ่าย)ทั้งสิ้นที่รับรู้ จ่ายเงินปันผล จัดสรรสำรองตามกฎหมาย ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 569,314.52 569,314.52 569,314.52 (539,226.37) (539,226.37) (539,226.37) 30,088.15

140,000,000.00 154,932,789.85

(539,226.37) - 23,037,385.25 23,037,385.25 - 23,037,385.25 22,498,158.88 - (15,400,000.00) (15,400,000.00) 1,151,869.26 (1,151,869.26) 10,907,839.77 151,933,773.16 457,804,490.93

569,314.52 - 59,849,402.19 59,849,402.19 - 59,849,402.19 60,418,716.71 - (12,650,000.00) (12,650,000.00) 2,992,470.11 (2,992,470.11) - 127,500,000.00 - (2,813,926.40) 9,755,970.51 145,448,257.17 450,706,332.05 (539,226.37)

(หน่วย : บาท) กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้น กำไรสะสม รวม ในหลักทรัพย์เผื่อขาย สำรองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร 6,763,500.40 101,241,325.09 278,251,541.74 569,314.52 569,314.52

25,000,000.00 102,500,000.00 - (2,813,926.40) 140,000,000.00 154,932,789.85 -

ทุนเรือนหุ้น ส่วนเกิน หมายเหตุ ที่ออกและชำระแล้ว มูลค่าหุ้น 115,000,000.00 55,246,716.25 -

บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วั​ันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ

82


งบกระแสเงินสด บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วั​ันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินการ กำไรก่อนภาษีเงินได้ ปรับกระทบกำไรสุทธิเป็นเงินสดรับ(จ่าย) จากกิจกรรมดำเนิดงาน หนี้สงสัยจะสูญ ขาดทุนจากการลดมูลค่าสินค้า (โอนกลับ) ขาดทุนจากการลดมูลค่าทรัพย์สินรอ จำหน่าย(โอนกลับ) ค่าเสื่อมราคา ขาดทุนจากทรัพย์สินสูญหาย (กำไร)ขาดทุนจากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ขาดทุนจากการตัดจ่ายทรัพย์สินจากการเลิกใช้ ขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย ขาดทุนจากการด้อยค่าค่าความนิยม กำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนชั่วคราว สินทรัพย์ไม่มีตัวตนและค่าใช้จ่ายตัดจำหน่าย รายได้ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยจ่าย ส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน)ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ในบริษัทย่อย กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลง ในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน (เพิ่มขึ้น)ลดลงในลูกหนี้การค้า (เพิ่มขึ้น)ลดลงในลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน (เพิ่มขึ้น)ลดลงในเงินทดรองจ่ายลูกค้า-ค่าพิธีการ (เพิ่มขึ้น)ลดลงในสินค้าคงเหลือ (เพิ่มขึ้น)ลดลงในสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เพิ่มขึ้น(ลดลง)ในเจ้าหนี้การค้า เพิ่มขึ้น(ลดลง)ในเจ้าหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน เพิ่มขึ้น(ลดลง)ในหนี้สินหมุนเวียนอื่น เพิ่มขึ้น(ลดลง)ในหนี้สินอื่น เงินสดรับ(จ่าย)จากการดำเนินงาน จ่ายดอกเบี้ย จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมดำเนินงาน หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2552

งบการเงินรวม 2551

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

23,853,789.02

63,677,857.44

31,506,441.49

74,473,371.27

976,329.87 (16,026.53) -

1,459,113.09 24,519.61 (273,644.98)

581,233.30 -

308,585.20 (273,644.98)

71,902,164.89 1,103,835.24

56,654,162.77 44,621,614.68 45,773,799.53 629,670.94 629,670.94 (1,670,218.87) (632,629.86) (1,275,550.97)

1,701.13 1,026.08 - 10,224,857.78 17,438,333.06 1,529,445.09 (1,089,003.63) (94,787.05) (1,089,003.63) (94,787.05) 2,153,125.57 2,138,295.04 1,995,457.91 2,004,006.13 (116,541.77) (272,929.52) (7,382,558.50) (4,513,612.34) 25,833,331.01 36,133,551.62 17,263,363.26 24,061,251.95 (4,209,124.55) (5,728,541.17) 121,923,025.34 (31,700,336.47) (114,354.09) 480,597.80 (5,344,537.53) (9,836,531.92) 17,583,467.35 203,281.79 (10,572,772.77) 611,905.00 83,233,744.50 (26,041,686.59) (14,759,014.18) 42,433,043.73

152,677,048.92 (5,463,247.49) (2,178,951.32) (2,378,742.71) 6,538,475.02 (2,276,684.28) (32,751,244.40) 1,093,015.51 (1,377,439.13) 348,000.00 114,230,230.12 (35,305,829.91) (17,206,211.34) 61,718,188.87

97,089,802.51 11,403,897.67 749,228.08 480,094.80 4,181,788.49 (7,441,166.49) 424,693.78 (4,949,037.50) 101,939,301.34 (17,450,656.00) (11,259,436.09) 73,229,209.25

158,531,422.74 5,908,247.15 (28,503.81) (2,378,742.71) (7,118,102.93) (27,667,114.57) (204,976.65) (5,114,306.00) 121,927,923.22 (23,394,546.22) (14,672,757.54) 83,860,619.46

83


งบกระแสเงินสด บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วั​ันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุ กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินสดจ่ายซื้อเงินลงทุนชั่วคราว เงินสดรับจากการจำหน่ายเงินลงทุนชั่วคราว เพิ่มขึ้นในเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน ลดลงในเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดจ่ายเพื่อซื้อบริษัทย่อยสุทธิจากเงินสดได้มา เงินสดจ่ายจากการซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เงินสดรับจากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (เพิ่มขึ้น)ลดลงในสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (เพิ่มขึ้น)ลดลงในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เงินสดรับดอกเบี้ย เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)ในกิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เพิ่มขึ้น(ลดลง)ในเงินเบิกเกินบัญชีและ เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาว จากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดจ่ายจากเงินกู้ยืมระยะยาว จากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดจ่ายชำระเจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน เงินสดจ่ายจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน เงินสดรับจากการเพิ่มทุน เงินสดรับจากการเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เงินสดจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ่ายหุ้นสามัญ เงินสดจ่ายเงินปันผล เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง)สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นงวด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันปลายงวด 29 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

84

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

งบการเงินรวม 2552 2551

(129,053,849.97) (102,500,000.00) (129,053,849.97) (102,500,000.00) 192,965,083.18 32,000,000.00 192,965,083.18 32,000,000.00 - (114,000,000.00) (83,000,000.00) - 4,080,000.00 77,400,000.00 28,200,000.00 - (38,235,509.77) (31,500,000.00) (38,499,600.00) (6,261,510.61) (33,469,856.89) (2,003,505.43) (25,437,425.68) 10,104,113.65 1,960,015.58 6,405,200.00 1,565,342.68 (348,694.01) (7,476,635.51) (328,900.48) (7,476,635.51) 4,431,495.81 (992,687.79) 4,370,893.13 272,779.45 662,691.87 224,768.21 4,192,303.92 4,318,224.62 72,499,329.92 (144,409,906.17) 8,447,224.35 (190,557,314.44)

(158,946.19)

76,352,438.48

(158,946.19) 77,023,228.24

200,000.00

-

-

7,664,330.85

(23,844,671.30) (86,564,427.50) 92,390,786.60 (95,655,872.00) 13,500,000.00 (15,398,188.30) (115,531,318.69) (598,945.04) 47,996,798.44 47,397,853.40

(2,875,000.00) (105,177,608.00) 26,087,744.39 (29,597,479.32) 127,500,000.00 (2,813,926.40) (12,644,119.40) 76,832,049.75 (5,859,667.55) 53,856,465.99 47,996,798.44

(9,525,000.00) (60,918,654.10) 11,737,886.74 (8,100,772.24) (15,398,188.30) (82,363,674.09) (687,240.49) 34,905,331.75 34,218,091.26

(31,685,063.71) (86,298,268.78) 19,088,668.69 (2,342,199.34) 127,500,000.00 (2,813,926.40) (12,644,119.40) 95,492,650.15 (11,204,044.83) 46,109,376.58 34,905,331.75


หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วั​ันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

1. ข้อมูลทั่วไป

บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) เป็นบริษัท มหาชน จำกัด ซึ่งจัดตั้งในประเทศไทย และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ 18/8 หมู่ 4 ถนนบางนา-ตราด กม.23 ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ บริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ย ดำเนิ น ธุ ร กิ จ หลั ก เกี่ ย วกั บ การให้ บ ริ ก ารด้ า นพิ ธี ก าร ศุลกากร บริการขนส่งและกระจายสินค้า บริการรับฝากและจัดการคลังสินค้า

2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน บริษัทจัดทำงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการเป็นภาษาไทยและมี หน่วยเงินตราเป็นเงินบาท โดยจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศ ไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งหมายความถึงมาตรฐานการ บัญชีที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ได้มีมติให้ประกาศ ใช้แล้ว และตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการจัดทำและนำเสนอรายงานทางการเงินภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษทั ได้จดั ทำขึน้ โดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิม ในการวัดมูลค่าขององค์ประกอบของงบการเงิน ยกเว้น บางรายการที่ได้อธิบายใน นโยบายการบัญชีที่จะกล่าวต่อไป การจัดทำงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทให้สอดคล้องกับหลักการ บัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย กำหนดให้ฝ่ายบริหารประมาณการและกำหนด สมมติฐานที่เกี่ยวข้องอันจะมีผลต่อตัวเลขของสินทรัพย์และหนี้สิน รวมทั้งการเปิด เผยข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ณ วันที่ในงบการเงิน และข้อมูล รายได้และค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาที่เสนองบการเงินดังกล่าว ตัวเลขที่เกิดขึ้น จริ ง อาจแตกต่ า งจากตั ว เลขประมาณการ ถึ ง แม้ ว่ า ฝ่ า ยบริ ห ารได้ จั ด ทำตั ว เลข ประมาณการขึ้นจากความเข้าใจในเหตุการณ์และสิ่งที่ได้กระทำไปในปัจจุบันอย่าง ดีที่สุด

85


หมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อความสะดวกของผู้อ่านงบการเงิน บริษัทได้จัดทำงบการเงินฉบับภาษาอังกฤษขึ้น จากงบการเงินฉบับภาษาไทยนี้ ซึ่งได้นำเสนอเพื่อรายงานภายในประเทศไทย สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 86/2551 โดยให้ใช้มาตรฐาน การบัญชีใหม่และมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังต่อไปนี้ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรือ่ ง การด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย และ การดำเนินงานทีย่ กเลิก

มาตรฐานการบั ญ ชี แ ละมาตรฐานการรายงานทางการเงิ น ข้ า งต้ น ให้ ถื อ ปฏิ บั ติ กั บ งบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ฝ่ า ยบริ ห ารของบริ ษั ท ได้ ป ระเมิ น แล้ ว เห็ น ว่ า มาตรฐานการบั ญ ชี แ ละมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับดังกล่าวไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินของบริษัท สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 16/2552 โดยให้ใช้มาตรฐาน การบั ญ ชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิ น และแนวปฏิ บั ติ ท างการบั ญ ชี ฉ บั บ ใหม่ ดั ง ต่อไปนี้ แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2550) เรือ่ ง การ เปิดเผยข้อมูลระหว่างบุคคล และกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกัน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 เรือ่ ง อสังหาริมทรัพย์เพือ่ การลงทุน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 20 เรือ่ ง การบัญชีสำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและ การเปิดเผยข้อมูลเกีย่ วกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล แนวปฏิบตั ทิ างการบัญชีสำหรับการบันทึกบัญชีสทิ ธิการเช่า แนวปฏิบตั ทิ างการบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน

วันถือปฏิบัติ 26 มิถุนายน 2552 1 มกราคม 2554 1 มกราคม 2554 1 มกราคม 2555 26 มิถุนายน 2552 1 มกราคม 2552

ฝ่ายบริหารของกลุ่มบริษัทได้ประเมินแล้วเห็นว่ามาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการ รายงานทางการเงิน และแนวปฏิบัติทางการบัญชีฉบับใหม่ดังกล่าวไม่มีผลกระทบอย่าง เป็นสาระสำคัญต่องบการเงินของบริษทั ในงวดปีปจั จุบนั ทีเ่ ริม่ นำมาตรฐานการบัญชี มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน และแนวปฏิบัติทางการบัญชีฉบับใหม่ดังกล่าวมาถือปฏิบัติ

86


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 3. หลักการจัดทำงบการเงินรวม

งบการเงินรวมของบริษัท ประกอบด้วยงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย (รวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) บริษัทย่อยเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ กลุ่มบริษัท การควบคุมเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มบริษัทมีอำนาจควบคุมทั้งทางตรงและทางอ้อม ในนโยบายทางการเงิ น และการดำเนิ น งานเพื่ อ ได้ ม าซึ่ ง ประโยชน์ จ ากกิ จ กรรม ของบริ ษั ท ย่ อ ย ในการพิ จ ารณาเรื่ อ งการควบคุ ม ได้ พิ จ ารณาถึ ง สิ ท ธิ ใ นการออกเสี ย ง ที่ จ ะได้ ม าในปั จ จุ บั น ไม่ ว่ า ได้ จ ากการใช้ สิ ท ธิ ห รื อ จากการแปลงสภาพตราสาร งบการเงินของบริษัทย่อยได้รวมอยู่ในงบการเงินรวมของกลุ่มบริษัทนับแต่วันที่ มีการควบคุมจนถึงวันที่การควบคุมสิ้นสุดลง

กลุ่ ม บริษัทใช้วิธีซื้อสำหรับการบันทึกการได้ม าซึ่งบริษัทย่อย ต้นทุนการได้ มาซึ่งบริษัทย่อยที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ของสิ น ทรั พ ย์ ที่ ส่ ง มอบให้ ใ นการได้ ม า มู ล ค่ า ของหุ้ น ที่ อ อกให้ ห รื อ หนี้ สิ น ที่ ต้ อ ง รับผิดชอบ ณ วันที่ได้มา และยังรวมถึงต้นทุนที่สัมพันธ์โดยตรงกับการได้มานั้น ส่วนของจำนวนต้นทุนการได้มาซึ่งบริษัทย่อยที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ สุทธิของบริษัทย่อยที่ได้มาจะบันทึกเป็นค่าความนิยมและทดสอบการด้อยค่าของ ค่าความนิยมดังกล่าวทุกปี

รายการบัญชียอดคงเหลือ และรายการกำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงที่ มีนัยสำคัญระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยได้ถูกตัดทิ้งในการทำงบการเงินรวมเว้น แต่รายการขาดทุนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงซึ่งกลุ่มบริษัทจะไม่สามารถได้รับคืนต้นทุนที่ เสียไป ในกรณีที่มีความจำเป็นนโยบายการบัญชีของบริษัทย่อยจะถูกเปลี่ยนให้มี ความสม่ำเสมอกับนโยบายที่ใช้โดยกลุ่มบริษัท

87


หมายเหตุประกอบงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ได้จัดทำขึ้นโดยรวมงบการเงินของบริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยหลังจากตัดยอดคงค้าง และรายการระหว่างกันที่มีสาระสำคัญแล้ว อัตราร้อยละของการถือหุ้นโดยบริษัท ทั้งทางตรงและทางอ้อมมีดังนี้ ชื่อบริษัท

ประเภทของกิจการ

จดทะเบียน ในประเทศ

บริษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต จำกัด ให้บริการขนส่งสินค้า บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด ให้บริการรับฝากและจัดการคลังสินค้า บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ ให้เช่าอาคารสำนักงานและโกดัง เซอร์วิส จำกัด บริษัท เอม ทรานสปอร์ต จำกัด ให้บริการขนส่งสินค้า บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด ให้บริการขนส่งสินค้า ** บริษัทถือหุ้นทางตรงในบริษัท ดังกล่าวร้อยละ 40 และถือทางอ้อมผ่านบริษัทย่อยอีกร้อยละ 60

อัตราร้อยละของการถือหุ้น 2552 2551

ไทย ไทย

100.00 100.00

100.00 100.00

ไทย ไทย ไทย

100.00** 50.00*** 70.00

100.00** 50.00*** 70.00

***บริษัทถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัทย่อยร้อยละ 50

4. นโยบายการบัญชี

4.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดได้แสดงอยู่ในงบดุลที่ราคาทุน สำหรับ เพื่อการแสดงงบกระแสเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ประกอบ ด้วยเงินสดในมือ เงินฝากธนาคาร เงินลงทุนระยะสั้นอื่นๆ ที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งมีกำหนดถอนเมื่อซื้อภายใน 3 เดือนหรือน้อยกว่า

4.2 เงินลงทุนชั่วคราว

เงินลงทุนชั่วคราวเป็นเงินลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนรวมและกองทุนเปิด ซึ่งบริษัทถือเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม บริษัทรับรู้การ เปลี่ยนแปลงมูลค่าเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของผู้ถือหุ้น และจะบันทึก ในงบกำไรขาดทุนเมื่อได้จำหน่ายเงินลงทุนนั้นไปแล้ว

88


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

4.3 ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้าแสดงในงบดุลด้วยมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คำนวณจากร้อยละของลูกหนี้โดยวิเคราะห์จากประสบการณ์การชำระเงินใน อดีตและการสอบทานสถานะของลูกหนี้ที่คงค้างอยู่ ณ วันที่ในงบดุล มูลค่า ของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญคือผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีของลูกหนี้การค้า เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้การค้า หนี้สูญที่เกิดขึ้น ในระหว่างปีตัดเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อสามารถระบุได้

4.4 สินค้าคงเหลือ

สินค้าคงเหลือแสดงด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใด จะต่ำกว่า ราคาทุนของสินค้าคำนวณตามวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน ต้นทุนสินค้า ประกอบด้วยต้นทุนทั้งหมดในการซื้อ ในการแปลงสภาพ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อทำให้สินค้าอยู่ในสถานที่และสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กลุม่ บริษทั ประมาณมูลค่าสุทธิทจ่ี ะได้รบั จากราคาขายทีค่ าดว่าจะขายได้ตาม ปกติของธุรกิจหักด้วยค่าใช้จ่ายในการขาย กลุม่ บริษทั ได้ตง้ั ค่าเผือ่ มูลค่าสินค้าลดลง สำหรับสินค้าทีเ่ สือ่ มคุณภาพ เสียหาย ล้าสมัยและค้างนาน

4.5 เงินลงทุนในบริษัทย่อย

เงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะกิจการบันทึกบัญชีตามวิธีราคา ทุน หลังหักค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน ซึ่งวิธีราคาทุนกำหนดให้บริษัทรับรู้ รายได้จากเงินลงทุนในบริษัทย่อยเมื่อบริษัทได้รับการปันส่วนรายได้จากกำไร สะสมของบริษัทย่อยหลังจากวันที่ได้ลงทุนในบริษัทย่อย ทั้งนี้การปันส่วนรายได้ ที่ได้รับในส่วนที่เกินกว่ากำไรดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการคืนเงินลงทุน ซึ่งจะรับรู้ รายการโดยการลดราคาทุนของเงินลงทุนนั้น

4.6 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์บันทึกด้วยราคาทุน สินทรัพย์ทุกประเภทยกเว้น ที่ดินและสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง แสดงในงบดุลด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อม ราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่า (ถ้ามี)

89


หมายเหตุประกอบงบการเงิน กลุ่มบริษัทคำนวณค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ทุกประเภทยกเว้นที่ดิน และสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานที่ประมาณ ไว้ของสินทรัพย์ดังนี้ อาคารสำนักงานและคลังสินค้า 30 ปี ระบบสาธารณูปโภค 30 ปี ส่วนปรับปรุงอาคาร และที่ทำการเคลื่อนที่ 5 ปี เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ 3 – 5 ปี ยานพาหนะ 5 – 8 ปี รายจ่ายเกี่ยวกับการต่อเติม หรือการปรับปรุงสินทรัพย์ให้ดีขึ้น ซึ่งทำให้ ราคาเปลี่ยนแทนในปัจจุบันของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างเป็นสาระสำคัญจะรวม เป็นราคาทุนของสินทรัพย์ส่วนค่าซ่อมแซมและค่าบำรุงรักษารับรู้เป็นค่าใช้จ่าย ในงวดที่เกิดขึ้น กำไรขาดทุนจากการขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เป็นผลต่างจากจำนวน เงิ น ที่ ไ ด้ รั บ กั บ ราคาตามบั ญ ชี และได้ ร วมอยู่ ใ นการคำนวณกำไรจากการ ดำเนินงาน

4.7 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอนที่กลุ่มบริษัทซื้อ มาแสดงในราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและค่าเผื่อด้อยค่า(ถ้ามี)โดยจะ ตัดจำหน่ายตามวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานดังนี้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สิทธิการบริหารท่าเรือ

5 ปี อายุตามสัญญา

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะไม่มีการตีราคาเพิ่ม แต่จะมีการทบทวนราคาตาม บัญชีใหม่ในแต่ละปีและปรับปรุง หากการด้อยค่าเกิดขึ้น

90


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 4.8 สัญญาเช่าระยะยาว

กรณีกลุ่มบริษัทเป็นผู้เช่า

สัญญาระยะยาวเพื่อเช่าสินทรัพย์โดยที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนของ ความเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ได้โอนไปให้กบั ผูเ้ ช่าถือเป็นสัญญาเช่าการเงิน สัญญา เช่าการเงินจะบันทึกเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ท่ีเช่า หรือมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่มูลค่าใดจะ ต่ำกว่า โดยจำนวนเงินทีต่ อ้ งจ่ายจะปันส่วนระหว่างหนีส้ นิ และค่าใช้จา่ ยทางการ เงินเพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อหนี้สินคงค้างอยู่โดยพิจารณาแยกแต่ละ สัญญา ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าหักค่าใช้จา่ ยทางการเงินจะบันทึกเป็นหนีส้ นิ ระยะยาว ส่วนดอกเบีย้ จ่ายจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนตลอดอายุของสัญญาเช่า สินทรัพย์ทไ่ี ด้มาตามสัญญาเช่าการเงินจะคิดค่าเสือ่ มราคาตลอดอายุการใช้งาน ของสินทรัพย์ทเ่ี ช่า แต่หากมีความไม่แน่นอนในสิทธิการเป็นเจ้าของเมือ่ สัญญา สิ้นสุดจะคำนวณค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์ท่ีเช่าหรืออายุ ของสัญญาเช่าแล้วแต่ระยะเวลาใดจะต่ำกว่า สัญญาระยะยาวเพื่อเช่าสินทรัพย์โดยที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนของ ความเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้ให้เช่าจะจัดเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน เงินที่ต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงาน (สุทธิจากสิ่งตอบแทนจูงใจที่ได้รับ จากผูใ้ ห้เช่า) จะบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยใช้วธิ เี ส้นตรงตลอดอายุสญ ั ญาเช่านัน้ ค่ า ใช้ จ่ า ยที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการยกเลิ ก สั ญ ญาเช่ า ดำเนิ น งานก่ อ นหมดอายุ การเช่า เช่น เบีย้ ปรับทีต่ อ้ งจ่ายให้กบั ผูใ้ ห้เช่าจะบันทึกเป็นค่าใช้จา่ ยในรอบระยะ เวลาบัญชีทก่ี ารยกเลิกนัน้ เกิดขึน้

กรณีกลุ่มบริษัทเป็นผู้ให้เช่า

สัญญาเช่าดำเนินงาน

สินทรัพย์ที่ให้เช่าภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานแสดงรวมอยู่ในทีด่ ิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุล และตัดค่าเสื่อมราคาตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ เช่นเดียวกับสินทรัพย์ถาวรทีม่ ลี กั ษณะเหมือนกัน

91


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

4.9 ต้นทุนการกู้ยืม

ต้นทุนการกู้ยืมประกอบด้วยดอกเบี้ยจ่ายจำนวนตัดจำหน่ายของส่วนลด หรือส่วนเกินที่เกี่ยวกับการกู้ยืม จำนวนตัดจำหน่ายของรายจ่ายที่เกี่ยวกับการ จัดการกู้ยืม ค่าใช้จ่ายทางการเงินที่เกิดจากสัญญาเช่าทางการเงินต้นทุน การกู้ยืมโดยทั่วไปจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่ค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้น

4.10 การด้อยค่าของสินทรัพย์

ยอดสินทรัพย์คงเหลือตามบัญชีของกลุ่มบริษัทตลอดจนสินทรัพย์ไม่มี ตัวตนจะได้รับการทบทวน ณ ทุกวันที่ในงบดุลว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่า หรือ ไม่ ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่าราคาตามบัญชีอาจไม่สามารถได้รับประโยชน์ คืนกลับมากลุ่มบริษัทจะทำการประมาณมูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับ คืนรายการขาดทุนจากการด้อยค่าเป็นผลต่างราคาตามบัญชีที่สูงเกินกว่า มูลค่าสุทธิที่จะได้รับซึ่งคือจำนวนที่สูงกว่าระหว่างราคาขายสุทธิเมื่อเทียบ กับมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ถูกจัดกลุ่มให้อยู่กลุ่มที่เล็กที่สุดที่สามารถระบุ ได้ว่าจะเกิดกระแสเงินสดเป็นอิสระจากกลุ่มอื่นเพื่อประโยชน์ในการประเมิน พิจารณา เรื่องการด้อยค่า กลุ่ ม บริ ษั ท จะรั บ รู้ ผ ลขาดทุ น จากการด้ อ ยค่ า ในงบกำไรขาดทุ น หรื อ บั น ทึ ก ลดส่ ว นเกิ น ทุ น ในกรณี ที่ สิ น ทรั พ ย์ นั้ น เคยตี ร าคาเพิ่ ม และจะกลั บ รายการขาดทุนจากการด้อยค่า เมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าการด้อยค่าดังกล่าวไม่มีอยู่ ต่อไปหรือเป็นไปในทางที่ลดลงโดยบันทึกเป็นรายได้อื่นในงบกำไรขาดทุน หรือนำไปเพิ่มส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์แล้วแต่กรณี 4.11 ประมาณการหนี้สิน กลุม่ บริษทั จะบันทึกประมาณการหนีส้ นิ เมือ่ มีความเป็นไปได้คอ่ นข้างแน่ ของการเกิดภาระผูกพันในปัจจุบันตามกฎหมาย หรือจากการอนุมานอันเป็น ผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในอดีต ภาระผูกพันดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลให้ ต้อง สูญเสียทรัพยากรเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพัน และสามารถประมาณการ จำนวนที่ต้องจ่ายได้อย่างน่าเชื่อถือ รายจ่ายที่จะได้รับคืนบันทึกเป็นสินทรัพย์ แยกต่างหากก็ต่อเมื่อการได้รับคืนคาว่าจะได้รับอย่างแน่นอน เมื่อได้จ่าย ประมาณการหนี้สินไปแล้ว

92


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

4.12 การรับรู้รายได้

รายได้จากการขายสินค้ารับรู้เป็นรายได้เมื่อมีการส่งมอบสินค้าและลูกค้า ยอมรับสินค้านั้นแล้ว รายได้จากการบริการขนส่งและกระจายสินค้าให้บริการรับฝากและจัดการ สินค้า และให้บริการนำเข้าออกของผ่านพิธีการกรมศุลกากร รับรู้รายได้เมื่อได้ ให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว รายได้คา่ เช่ารับรูโ้ ดยวิธเี ส้นตรงตามระยะเวลาของสัญญาเช่า (หมายเหตุ4.8) และรับรู้ค่าบริการเป็นรายได้เมื่อได้ให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว รายได้ดอกเบี้ยรับรู้เป็นรายได้ตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลาเว้นแต่จะมีความ ไม่แน่นอนในการรับชำระ

4.13 ผลประโยชน์ของพนักงาน

กลุ่มบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นกองทุนที่เกิดจากเงิน สมทบในส่วนของพนักงานและกลุ่มบริษัท โดยสินทรัพย์ของกองทุนแยกออก จากสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัท และบริหารโดยผู้บริหารกองทุนอิสระ เงินสมทบ ที่กลุ่มบริษัทจ่ายเข้ากองทุนจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนในงวดบัญชีที่เกิดขึ้น

4.14 ภาษีเงินได้

กลุ่มบริษัทคำนวณภาษีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร

4.15 ข้อมูลจำแนกส่วนงาน ส่ ว นงานทางธุ ร กิ จ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ห รื อ บริ ก ารของแต่ ล ะ ส่วนงานทางธุรกิจซึ่งมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ส่วนงานทาง ภูมิศาสตร์แสดงให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการภายใต้สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจ ที่เฉพาะเจาะจงซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างของส่วนที่ ดำเนินงานภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจอื่น ข้อมูลจำแนกตามส่วนงานแสดงโดยแบ่งตามส่วนงานธุรกิจของกลุ่มบริษัท

93


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

4.16 เครื่องมือทางการเงิน

สินทรัพย์ทางการเงินและหนีส้ นิ ทางการเงินทีป่ รากฏในงบดุลประกอบด้วย เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนในกองทุนรวม ลูกหนี้และเจ้าหนี้ การค้า ลูกหนีแ้ ละเจ้าหนีอ้ น่ื เงินให้กยู้ มื และเงินกูย้ มื นโยบายการบัญชีทส่ี ำคัญ และเกณฑ์ ก ารวั ด มู ล ค่ า ของสิ น ทรั พ ย์ ท างการเงิ น และหนี้ สิ น ทางการเงิ น ดังกล่าวได้เปิดเผยไว้ในนโยบายการบัญชีของรายการที่เกี่ยวข้องแล้ว เครื่อ งมื อ ทางการเงิ น จั ด ประเภทเป็ น หนี้สิน หรื อ ส่ ว นของเจ้ า ของโดย พิจารณาถึงเนื้อหาและภาระผูกพันตามสัญญา ดอกเบี้ย เงินปันผล รายการ กำไรและรายการขาดทุนที่เกิดจากเครื่องมือทางการเงิน หรือองค์ประกอบ ของเครื่องมือทางการเงินที่จัดประเภทเป็นหนี้สินทางการเงินแสดงเป็นรายได้ หรือค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่ผู้ถือเครื่องมือทาง การเงินที่จัดประเภทเป็นตราสารทุนนำไปหักจากส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรง เครื่องมือทางการเงินจะถูกนำมาหักกลบลบกันก็ต่อเมื่อกลุ่มบริษัทมีสิทธิตาม กฎหมายในการนำจำนวนที่รับรู้ไว้มาหักกลบลบหนี้กัน และมีความตั้งใจที่ จะรับหรือจ่ายชำระจำนวนที่รับรู้ไว้ด้วยยอดสุทธิ หรือตั้งใจที่จะรับประโยชน์ จากทรัพย์สินในเวลาเดียวกันที่จ่ายชำระหนี้สิน

4.17 ประมาณการทางบัญชีที่สำคัญ ข้อสมมติฐาน และการใช้ดุลยพินิจ

การประมาณการ ข้อสมมติฐาน และการใช้ดุลยพินิจได้มีการประเมิน ทบทวนอย่างต่อเนื่องและอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ในอดีตและปัจจัย อื่นๆ ซึ่งรวมถึงการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่เชื่อว่ามีเหตุผลใน สถานการณ์ขณะนั้น

อาคาร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

ฝ่ายบริหารเป็นผูป้ ระมาณการอายุการใช้งานและมูลค่าซากสำหรับ อาคาร อุ ป กรณ์ แ ละสิ น ทรั พ ย์ ไ ม่ มี ตั ว ตนของกลุ่ ม บริ ษั ท โดยฝ่ า ยบริ ห ารจะมี ก าร ทบทวนค่าเสื่อมราคาเมื่ออายุการใช้งานและมูลค่าซากมีความแตกต่างไป จากการประมาณการในงวดก่อน หรือมีการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ที่เสื่อม สภาพหรือไม่ได้ใช้งานโดยการขายหรือ เลิกใช้

94


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

สัญญาเช่าการเงิน/สัญญาเช่าดำเนินงาน

กลุ่ มบริษัทได้เข้าทำสัญญาเช่ายานพาหนะ และอุปกรณ์ซึ่งกลุ่มบริษัทได้ พิจารณาและประเมินขอบเขตของความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้ รับจากสินทรัพย์ที่เช่าตามสัญญาแล้วพบว่า ความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือ เกือบทั้งหมดเป็นของผู้เช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจัดเป็นสัญญาเช่าการเงิน

5. การเปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 บริษัทได้เปลี่ยนแปลงประมาณการราคาซาก ของยานพาหนะประกอบการในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ดังกล่าว โดยบริษัทได้ประมาณการมูลค่าซากของสินทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ สอดคล้องกับมูลค่าสุทธิที่บริษัทคาดว่าจะได้รับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ดังกล่าว เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีดังกล่าวข้างต้นมีผลกระทบต่องบการ เงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท) งบการเงินรวม/งบการเงินเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 2551 34.11 35.01 ค่าเสื่อมราคาลดลง

6. รายการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการทีเ่ กี่ยวข้องกัน หมายถึง กิจการและหรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุม หรือถูก ควบคุมไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งกระทำผ่านบริษัทที่ทำหน้าที่ถือหุ้น บริษัทย่อย และกิจการที่เป็นบริษัทย่อยในเครือเดียวกัน นอกจากนี้กิจการที่เกี่ยวข้อง กันยังรวมความถึง บริษัทร่วมและบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญกับกิจการ ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม ผู้บริหารสำคัญที่เป็นกรรมการหรือพนักงานของ กิจการ รวมตลอดทั้งสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดกับบุคคลดังกล่าว ซึ่งมีอำนาจชักจูง หรืออาจถูกชักจูงให้ปฏิบัติตามบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลข้างต้น

95


หมายเหตุประกอบงบการเงิน ในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันแต่ละ รายการบริษัทคำนึงถึงเนื้อหาของความสัมพันธ์มากกว่ารูปแบบทางกฎหมาย ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทคือครอบครัวเธียไพรัตน์และครอบครัวแสงพลสิทธิ์ ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 55.99 (31 ธันวาคม 2551 : ร้อยละ 57.99) ของทุนจดทะเบียนของ บริษทั รายการค้าทีเ่ กีย่ วข้องกับบริษทั ทีค่ รอบครัวเธียไพรัตน์ หรือครอบครัวแสงพลสิทธิ์ เป็นผู้ถือหุ้นหลักหรือเป็นกรรมการถือเป็นรายการระหว่างกันกับบริษัท ยอดคงเหลือและรายการระหว่างกันที่สำคัญระหว่างบริษัทกับกิจการและ บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้

96


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 6.1 สินทรัพย์และหนี้สินระหว่างกัน

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม 2552 2551

ลูกหนี้การค้า บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ เทรด จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ บริษัท แพนด์ส นครหลวง จำกัด บริษัท พี.แอนด์ เอส.มิลลิ่ง จำกัด บริษทั พี.แอนด์ เอส.แบไรท์ ไมน์นง่ ิ จำกัด รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ รายได้ค่าบริหารอื่นค้างรับ บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด Aichi Kaiun Co.,Ltd กรรมการ ลูกหนี้อื่น บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท แพนด์ส นครหลวง จำกัด ดอกเบี้ยค้างรับ บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

15,418.37 16,412.56 - 2,165,105.97 871,907.43 31,462.31 20,881.37 1,460,890.50 2,348,216.30 2,233,862.21 (60,470.96) 2,287,745.34 2,233,862.21

69,755.00 261,826.76 331,581.76 331,581.76

2,204.85 1,057,723.62 20,881.37 1,080,809.84 1,080,809.84

-

-

-

649.00

112,348.72 1,087.85 113,436.57

-

584,235.44 112,348.72 1,087.85 697,672.01

1,395.00 2,739,371.46 2,741,415.46

-

-

2,140.00

-

28,446.54 28,446.54

-

5,690,828.23 5,692,968.23

3,340,274.31 3,340,274.31

-

-

492,128.38

114,295.07

119,894.04 119,894.04

647,168.17 647,168.17

2,403,426.54 1,200,711.95 4,096,266.87

250,524.58 525,085.86 889,905.51

97


หมายเหตุประกอบงบการเงิน เงินทดรองจ่าย บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด Aichi Kaiun Co.,Ltd บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด เงินมัดจำค่าเช่าจ่าย บริษทั อีเทอร์นติ ้ี คอนซัลติง้ แอนด์ เซอร์วสิ จำกัด บริษัท แพนด์ส นครหลวง จำกัด กรรมการ ซื้อสินทรัพย์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ บริษัท พี.แอนด์ เอส.แบไรท์ ไมน์นิ่ง จำกัด ขายสินทรัพย์ บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท แพนด์ส นครหลวง จำกัด เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่ เกี่ยวข้องกัน บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด ยอดต้นงวด ให้กู้ยืมระหว่างงวด รับชำระระหว่างงวด ยอดปลายงวด บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ยอดต้นงวด ให้กู้ยืมระหว่างงวด รับชำระระหว่างงวด ยอดปลายงวด บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด ยอดต้นงวด ให้กู้ยืมระหว่างงวด รับชำระระหว่างงวด ยอดปลายงวด

98

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

งบการเงินรวม 2552 2551 110,043.87 110,043.87

-

503.00 110,043.87 110,546.87

1,610.00 1,610.00

-

-

520,720.00

477,180.00

414,000.00 96,000.00 510,000.00

350,000.00 350,000.00

520,720.00

477,180.00

489,424.40 125,160,000.00 - 20,000,000.00

-

-

489,424.40 145,160,000.00

-

-

641,402.80 641,402.80

-

171,200.00 171,200.00

1,625,430.00 1,625,430.00

-

-

14,400,000.00 63,300,000.00 (32,600,000.00) 45,100,000.00

15,600,000.00 27,000,000.00 (28,200,000.00) 14,400,000.00

-

- 50,700,000.00 - 87,313,689.76 - 138,013,689.76

35,000,000.00 15,700,000.00 50,700,000.00

-

-

40,300,000.00 42,300,000.00 40,300,000.00 (44,800,000.00) 37,800,000.00 40,300,000.00


หมายเหตุประกอบงบการเงิน (หน่วย : บาท) ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ ยอดต้นงวด เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในบริษัทย่อย หักกลบลบหนี้ระหว่างงวด รับชำระระหว่างงวด ยอดปลายงวด เจ้าหนี้การค้า บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด ดอกเบี้ยค้างจ่าย บริษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ เทรด จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ กรรมการ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บริษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท แพนด์ส นครหลวง จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ กรรมการ เจ้าหนี้อื่น บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท พี.แอนด์ เอส.มิลลิ่ง จำกัด เงินทดรองรับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ

งบการเงินรวม 2552 2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

- 6,868,634.61 - (2,788,634.61) - (4,080,000.00) - 220,913,689.76 105,400,000.00 1,296,297.30 1,296,297.30

1,093,015.51 1,093,015.51

15,099.48 604,102.72 619,202.20

193,764.77 743.65 194,508.42

450,005.24 644,135.27 1,094,140.51

765,752.54 143,210.81 577,030.66 1,485,994.01

483,779.64 483,779.64

88,857.76 765,752.54 854,610.30

-

-

120,731.36

54,850.23 10,810.45 119,811.89

13,868.00 79,000.00 92,868.00

696.00 7,594.80 8,290.80

120,731.36

185,472.57

-

-

94,952.52

17,783.40 117,444.88

-

1,392.09 1,392.09

94,952.52

1,392.09 136,620.37

- 5,019,626.68

-

-

99


หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินรวม 2552 2551

เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษทั อีเทอร์นติ ้ี ทรานสปอร์ต จำกัด ยอดต้นงวด กู้ยืมระหว่างงวด จ่ายชำระระหว่างงวด ยอดปลายงวด บริษัท อีเทอร์นิตี้ เทรด จำกัด ยอดต้นงวด 9,125,000.00 11,000,000.00 กู้ยืมระหว่างงวด (9,125,000.00) (1,875,000.00) จ่ายชำระระหว่างงวด ยอดปลายงวด - 9,125,000.00 ห้างหุ้นส่วน นครหลวงเดินรถ ยอดต้นงวด 13,719,671.30 รับโอนจากเจ้าหนี้ ค่าทรัพย์สิน - 13,719,671.30 จ่ายชำระระหว่างงวด (13,719,671.30) ยอดปลายงวด - 13,719,671.30 กรรมการ ยอดต้นงวด 12,790,298.51 13,790,298.51 กู้ยืมระหว่างงวด 200,000.00 เพิ่มขึ้นจากการลงทุน ในบริษัทย่อย - 820,736.00 หักกลบลบหนี้ระหว่างงวด - (820,736.00) (1,000,000.00) (1,000,000.00) จ่ายชำระระหว่างงวด ยอดปลายงวด 11,990,298.51 12,790,298.51 11,990,298.51 35,634,969.81

(หน่วย : บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2552

19,899,635.24 (400,000.00) 19,499,635.24

42,045,368.10 7,664,330.85 (29,810,063.71) 19,899,635.24

9,125,000.00 11,000,000.00 (9,125,000.00) (1,875,000.00) - 9,125,000.00 -

-

-

-

-

-

19,499,635.24 29,024,635.24

ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2552 และ 2551 กลุ่ม บริ ษัท มี เ งิ น ให้ กู้ยืม และเงิ น กู้ยืม ระยะยาวกั บ บริ ษัท ย่ อ ยและบริ ษัท ที่เ กี่ย วข้ อ งกั น เงิ น กู้ยืม ระหว่ า งกั น ดั ง กล่ า วกู้ยืม เงิ น ในรู ป ตั๋ว สั ญ ญาใช้ เ งิ น โดยมี ก ำหนด ชำระคื น ในอี ก 3 ปี นั บ จากวั น ที่ ใ นตั๋ ว สั ญ ญาใช้ เ งิ น และคิ ด ดอกเบี้ ย โดยอิ ง จากอั ต ราดอกเบี้ ย MOR ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 กลุ่มบริษัทได้กู้ยืมเงินจากกรรมการในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินโดยมี กำหนดชำระคื น ในอี ก 3 ปี นั บ จากวั น ที่ ใ นตั๋ ว สั ญ ญาใช้ เ งิ น และคิ ด ดอกเบี้ ย ระหว่ า งกั น อิ ง จากอั ต รา ดอกเบี้ย MOR ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง

100


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 6.2 รายได้และค่าใช้จ่ายระหว่างกัน (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม 2552 2551

รายได้จากการให้บริการขนส่ง บริษทั อีเทอร์นติ ้ ี โลจิสติคส์ จำกัด บริษทั แพนดส์ กรุป๊ โลจิสติกส์ จำกัด บริษทั แพนด์ส นครหลวง จำกัด 1,864,808.77 2,426,128.54* ห้างหุน้ ส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ - 4,202,600.04* บริษทั พี.แอนด์ เอส.แบไรท์ 6,242,780.20 5,809,209.50* ไมน์นง่ ิ จำกัด บริษทั พี.แอนด์ เอส.มิลลิง่ จำกัด 692,210.70* Aichi Kaiun Co.,Ltd 5,100.00 บริษทั อีเทอร์นติ ้ ี เทรด จำกัด 91,359.65 รายได้จากการขาย บริษทั แพนดส์ กรุป๊ โลจิสติกส์ จำกัด บริษทั แพนด์ส นครหลวง จำกัด 1,743,917.24 300,450.21* รายได้คา่ บริหารจัดการและรายได้อน่ ื บริษทั อีเทอร์นติ ้ ี เทรด จำกัด 95,192.50 บริษทั อีเทอร์นติ ้ ี โลจิสติคส์ จำกัด บริษทั อีเทอร์นติ ้ ี ทรานสปอร์ต จำกัด บริษทั อีเทอร์นติ ้ ี คอนซัลติง้ แอนด์ เซอร์วสิ จำกัด บริษทั เอม ทรานสปอร์ต จำกัด บริษทั แพนดส์ กรุป๊ โลจิสติกส์ จำกัด Aichi Kaiun Co.,Ltd 1,012,938.48 เงินปันผลรับ บริษทั อีเทอร์นติ ้ ี ทรานสปอร์ต จำกัด ดอกเบีย้ รับ บริษทั อีเทอร์นติ ้ ี โลจิสติคส์ จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ - 119,894.04* ต้นทุนการให้บริการขนส่ง บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท แพนด์ส นครหลวง จำกัด 9,783,543.08 5,989,265.87* * เป็นรายการค้าระหว่างกันตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

1,037,113.50 3,455,118.56 -

307,003.13 3,068,173.97* -

-

692,210.70* -

15,759,697.41 -

26,950,614.58* -

1,416,682.27 24,000.00 31,559.01

1,475,866.09 24,000.00 25,864.72

4,156,770.88 1,012,938.48

10,000.00 9,329,741.06* -

-

16,051,438.18

836,819.87 814,721.32 3,847,272.29 2,611,685.77 2,606,154.70 -

939,383.52* -

958,440.22 -

400.00 436,265.46* -

101


หมายเหตุประกอบงบการเงิน ต้นทุนค่าบริหารจัดการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด บริษัท พี.แอนด์ เอส.มิลลิ่ง จำกัด บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท แพนด์ส นครหลวง จำกัด Aichi Kaiun Co.,Ltd กรรมการ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร บริษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ดอกเบี้ยจ่าย บริษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ เทรด จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ กรรมการ

งบการเงินรวม 2552 2551 721,880.06 180,274.26 899,274.26

- 4,045,982.08 3,595,288.23 - 28,733.19 6,252.24 515,450.62* - 515,450.62* 2,000.00 29,640.93* - 180,274.26 -

-

- 88,056.98 - 125,414.65

-

- 3,980,941.97 4,992,386.57

377,337.48 517,006.10 631,636.42

- 987,509.35 1,820,292.14 393,046.42 377,337.48 393,046.42 694,299.92* 879,420.34 -

* เป็นรายการค้าระหว่างกันตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป

102

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม 2552 2551

648,274.18 50,468.41


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 6.3 ลักษณะความสัมพันธ์ บริษัท

ลักษณะความสัมพันธ์

บริษัทย่อย บริษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต จำกัด ถือหุ้นโดยบริษัทและมีกรรมการร่วมกัน บริษัท อีเทอร์นิตี้ โลจิสติคส์ จำกัด ถือหุ้นโดยบริษัทและมีกรรมการร่วมกัน บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ถือหุ้นโดยบริษัทและมีกรรมการร่วมกัน บริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด ถือหุ้นโดยบริษัทและมีกรรมการร่วมกัน บริษัท เอม ทรานสปอร์ต จำกัด ถือหุ้นโดยบริษัทย่อยและมีกรรมการร่วมกัน บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท อีเทอร์นิตี้ เทรด จำกัด บริษัท อีเทอร์นิตี้ เมลลิ่ง เซอร์วิส จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครหลวงเดินรถ บริษัท แพนด์ส นครหลวง จำกัด บริษัท พี.แอนด์ เอส.มิลลิ่ง จำกัด บริษัท พี.แอนด์ เอส.แบไรท์ ไมน์นิ่ง จำกัด บริษัท พี.แอนด์ เอส.โดโล-ไลม์ จำกัด บริษัท เมอร์ซิเดซ เค. มอเตอร์ จำกัด Aichi Kaiun Co.,Ltd

มีผู้ถือหุ้นหลักเป็นผู้ถือหุ้น กรรมการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กรรมการของบริษัทย่อยเป็นผู้ถือหุ้น กรรมการของบริษัทย่อยเป็นผู้ถือหุ้น กรรมการของบริษัทย่อยเป็นผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย ผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย ผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท เอม ทรานสปอร์ต จำกัด เป็นผู้ถือหุ้น

6.4 นโยบายการกำหนดราคา รายการค้า

รายได้และต้นทุนการให้บริการขนส่ง ค่าบริหารจัดการ ค่าเช่าพื้นที่ระหว่างกัน เงินทดรองรับจ่ายระหว่างกัน ซื้อ-ขายยานพาหนะหัวลาก/หางลาก ซื้อ-ขายอุปกรณ์ติดรถขนส่ง ซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ดอกเบี้ยรับ-จ่ายระหว่างกัน

นโยบายการกำหนดราคา

ราคาขายที่กลุ่มบริษัทเรียกเก็บจากลูกค้า ± 5 – 10% ราคาทุนบวกด้วยกำไร 10% ราคาตลาด ตามที่จ่ายจริง ราคาตลาด/ราคากลางของกรมขนส่ง ราคาต้นทุน ราคาต้นทุน อิงจากอัตราเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ MOR

103


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 6.5 ภาระผูกพันกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทได้ทำสัญญาค้ำประกันการจ่ายชำระหนี้ ตามสัญญาเช่าทางการเงินระยะยาวกับสถาบันการเงินหลายแห่งให้กับบริษัทย่อย แห่งหนึ่ง จำนวนเงิน 21.75 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2551 : จำนวนเงิน 28.97 ล้านบาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาเช่าอาคารสำนักงาน และทรัพย์สินกับบริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (บริษัทย่อย) เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งสามารถต่ออายุได้ กลุ่มบริษัทมีภาระผูกพันต้องจ่ายค่าเช่าและ ค่าบริการเดือนละ 1.17 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2551 : เดือนละ 0.96 ล้านบาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทได้ทำสัญญาบริหารท่าเทียบเรือกับบริษัท ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น แห่ ง หนึ่ ง เป็ น ระยะเวลา 6 ปี สิ้ น สุ ด วั น ที่ 30 พฤศจิ ก ายน 2556 โดยบริษัทต้องจ่ายค่าสิทธิการบริหารท่าเทียบเรือ จำนวน 8 ล้านบาท และบริษัทมี ภาระผูกพันต้องจ่ายส่วนแบ่งจากการบริหารท่าเทียบเรือประมาณปีละ 0.09 ล้านบาท ให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว (31 ธันวาคม 2551 : ประมาณปีละ 0.09 ล้านบาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทได้ทำสัญญากับบริษัทย่อยสี่แห่ง โดยบริษัท เป็นผู้ให้คำปรึกษาและบริการในด้านการจัดการและบริการอื่นๆ เป็นระยะเวลา 12 เดื อ น บริ ษั ท ย่ อ ยมี ภ าระผู ก พั น ต้ อ งจ่ า ยค่ า บริ ก ารเดื อ นละ 0.14 ล้ า นบาท ให้กับบริษัท (31 ธันวาคม 2551 : เดือนละ 0.14 ล้านบาท) ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2552 บริ ษั ท ได้ ท ำสั ญ ญาบำรุ ง รั ก ษายานพาหนะ ประกอบการพร้อมอะไหล่กับบริษัทย่อยแห่งหนึ่งเป็นระยะเวลา 2 ปี บริษัทย่อย มี ภ าระผู ก พั น ต้ อ งจ่ า ยค่ า บริ ก ารประมาณปี ล ะ 2.12 ล้ า นบาทให้ กั บ บริ ษั ท (31 ธันวาคม 2551 : ประมาณปีละ 4.15 ล้านบาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทได้ทำสัญญาบำรุงรักษายางกับบริษัทย่อย แห่งหนึ่งเป็นระยะเวลา 2 ปี บริษัทย่อยมีภาระผูกพันต้องจ่ายค่าบริการประมาณ ปีละ 1.83 ล้านบาทให้กับบริษัท (31 ธันวาคม 2551 : ประมาณปีละ 3.70 ล้านบาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาเช่าโกดังกับบริษัท ที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยสัญญาเช่ามีอายุ 1 ปีและสามารถต่ออายุสัญญาได้ บริษัท ย่อยมีค่าเช่าโกดังกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าวเป็นจำนวน 2.64 ล้านบาทต่อปี

104


หมายเหตุประกอบงบการเงิน ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2552 บริ ษั ท ย่ อ ยแห่ ง หนึ่ ง ได้ ท ำสั ญ ญาเช่ า พื้ น ที่ กั บ กรรมการของบริ ษั ท โดยสั ญ ญาเช่ า มี อ ายุ 3 ปี แ ละสามารถต่ อ อายุ สั ญ ญาได้ บริษัทย่อยมีค่าเช่าที่ดินกับกรรมการดังกล่าวเป็นจำนวน 0.10 บาทต่อเดือน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทย่อยสองแห่งได้ทำสัญญาค้ำประกันการจ่าย ชำระสินเชื่อของบริษัทวงเงิน 200 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาค้ำประกันการจ่าย ชำระเงินกูย้ มื ระยะสัน้ ของบริษทั วงเงิน 56 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2551 : 120 ล้านบาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาค้ำประกันการจ่ายชำระหนี้ เงิ น กู้ ยื ม ระยะยาวของบริ ษั ท ย่ อ ยแห่ ง หนึ่ ง กั บ สถาบั น การเงิ น แห่ ง หนึ่ ง ในวงเงิ น ค้ำประกันจำนวน 130.5 ล้านบาท

7. เงินลงทุนชั่วคราว - สุทธิ ประกอบด้วย

หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนในกองทุนรวม บวก กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นในหลักทรัพย์เผื่อขาย รวม

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม/งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 7,772,557.47 30,088.15 7,802,645.62

70,594,787.05 569,314.52 71,164,101.57

รายการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายในระหว่างปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีดังนี้ ราคาตามบัญชีต้นงวด ซื้อเงินลงทุน จำหน่ายเงินลงทุน การเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์เผื่อขาย ราคาตามบัญชีปลายงวด

(หน่วย : บาท) 71,164,101.57 129,053,849.97 (191,876,079.55) (539,226.37) 7,802,645.62

105


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 8. ลูกหนี้การค้า - สุทธิ ลูกหนี้การค้าจำแนกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้

ลูกหนี้การค้า ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ค้างชำระ 3 – 6 เดือน ค้างชำระ 6 – 12 เดือน ค้างชำระเกินกว่า 12 เดือน รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

งบการเงินรวม 2552 2551

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

162,629,277.05 135,532,480.81 106,854,466.85 121,061,586.86 17,890,941.89 15,293,752.56 12,723,109.96 10,420,809.30 1,969,765.16 806,069.78 483,164.60 358,902.86 708,412.89 69,887.69 363,829.46 65,815.85 514,446.28 310,315.96 165,839.00 87,192.67 183,712,843.27 152,012,506.80 120,590,409.87 131,994,307.54 (1,034,851.82) (424,654.57) (457,066.73) (178,577.85) 182,677,991.45 151,587,852.23 120,133,343.14 131,815,729.69

กลุ่มบริษัทมีนโยบายที่ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในอัตราร้อยละ 20, ร้อยละ 50 และร้อยละ 100 ของยอดลูกหนี้ที่ถูกจัดว่าไม่สามารถเก็บเงินได้ที่เกินกำหนด ชำระ 4 - 6 เดือน, 6 - 12 เดือน และที่เกินกำหนดชำระมากกว่า 12 เดือน ตามลำดับ

9. ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน-สุทธิ ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกันจำแนกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้ ลูกหนี้การค้า

งบการเงินรวม 2552 2551

ยังไม่ถึงกำหนดชำระ 528,582.37 ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน 1,507,090.66 ค้างชำระ 3 – 6 เดือน 310,534.07 ค้างชำระ 6 – 12 เดือน 2,009.20 ค้างชำระเกินกว่า 12 เดือน -

รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

106

2,348,216.30 (60,470.96) 2,287,745.34

2,197,230.33 36,631.88 2,233,862.21 2,233,862.21

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

168,992.00 267,476.58 80,000.00 813,333.26 27,992.72 54,597.04 331,581.76 1,080,809.84 331,581.76 1,080,809.84


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 10. เงินทดรองจ่ายลูกค้า-ค่าพิธีการ-สุทธิ เงินทดรองจ่ายลูกค้า-ค่าพิธีการจำแนกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2552 2551 เงินทดรองจ่ายลูกค้า-ค่าพิธีการที่ยังไม่เรียกเก็บ 4,764,422.77 เงินทดรองจ่ายลูกค้า-ค่าพิธีการที่เรียกเก็บแล้ว 9,133,406.59 ยังไม่ถึงกำหนดชำระ 3,007,896.65 ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน 79,928.33 ค้างชำระ 3 – 6 เดือน 136,600.82 ค้างชำระ 6 – 12 เดือน 5,243.09 ค้างชำระเกินกว่า 12 เดือน 17,127,498.25 รวม (96,995.48) หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 17,030,502.77 สุทธิ

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

3,859,012.19 4,764,422.77 3,859,012.19 12,553,406.68 9,133,909.59 12,553,406.68 947,168.10 3,007,896.65 947,168.10 113,300.38 79,928.33 113,300.38 26,320.85 136,600.82 26,320.85 108,887.85 5,243.09 108,887.85 17,608,096.05 17,128,001.25 17,608,096.05 (141,581.41) (96,995.48) (141,581.41) 17,466,514.64 17,031,005.77 17,466,514.64

บริษัทมีนโยบายที่ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในอัตราร้อยละ 20, ร้อยละ 50 และร้อยละ 100 ของยอดเงินทดรองจ่ายลูกค้าที่ถูกจัดว่าไม่สามารถเก็บเงินได้ที่เกิน กำหนดชำระ 4 – 6 เดือน, 6 -12 เดือน และที่เกินกำหนดชำระมากกว่า 12 เดือน ตามลำดับ

11. สินค้าคงเหลือ-สุทธิ ประกอบด้วย

สินค้าสำเร็จรูป หัก ค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้า สุทธิ

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม 2552 2551 6,458,559.67 1,114,022.14 (81,898.08) (97,924.61) 6,376,661.59 1,016,097.53

107


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 12. สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น-สุทธิ ประกอบด้วย (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม 2552 2551 วัสดุสิ้นเปลือง ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า ลูกหนี้อื่น เงินทดรองจ่ายพนักงาน เงินมัดจำจ่าย อื่น ๆ รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

3,149,950.93 5,994,655.93 2,949,453.45 5,692,162.88 3,578,544.20 6,160,191.62 3,102,527.60 4,778,590.40 18,895,216.99 1,616,990.24 7,219,209.97 6,597,797.95 2,201,775.22 2,659,838.84 2,201,775.22 2,659,838.84 1,282,438.38 3,646,875.18 1,276,238.38 2,111,150.38 5,859,675.64 8,779,911.27 8,966,068.96 4,990,917.42 34,967,601.36 28,858,463.08 25,715,273.58 26,830,457.87 (881,579.35) (531,331.76) (432,830.35) (85,500.00) 34,086,022.01 28,327,131.32 25,282,443.23 26,744,957.87

13. เงินลงทุนในบริษัทย่อย – สุทธิ ประเภทและมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษทั ย่อยในงบการเงินเฉพาะกิจการ มีดังนี้ ทุนชำระแล้ว

บริษัทย่อย บริษทั อีเทอร์นติ ้ี ทรานสปอร์ต จำกัด บริษทั อีเทอร์นติ ้ี โลจิสติคส์ จำกัด บริษทั อีเทอร์นติ ้ี คอนซัลติง้ แอนด์ เซอร์วสิ จำกัด บริษทั แพนดส์ กรุป๊ โลจิสติกส์ จำกัด หัก ค่าเผือ่ การด้อยค่าเงินลงทุน สุทธิ

2552

2551

สัดส่วนเงินลงทุน (%)

(หน่วย : บาท)

เงินลงทุนวิธีราคาทุน

2552

2551

20,000,000.00 20,000,000.00 100% 1,000,000.00 1,000,000.00 100% 20,000,000.00 20,000,000.00 40%

100% 100% 40%

19,999,300.00 19,999,300.00 999,300.00 999,300.00 8,034,800.00 8,034,800.00

2552

2551

100,000,000.00 55,000,000.00 70%

70%

69,999,600.00 38,499,600.00 99,033,000.00 67,533,000.00 (33,684,352.05) (23,459,494.27) 65,348,647.95 44,073,505.73

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2550 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้เลิกกิจการ ของบริษัท เอม ทรานสปอร์ต จำกัด โดยจะไม่มีกิจกรรมทางธุรกิจใดๆ เกิดขึ้น ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม 2550 เป็นต้นไป ปัจจุบันบริษัท เอม ทรานสปอร์ต จำกัด อยู่ระหว่างการชำระบัญชี

108


หมายเหตุประกอบงบการเงิน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติให้บริษัท ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด จำนวน 384,996 หุ้น ในราคามูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 เป็นเงิน 38.50 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 70 ของทุนที่ออกและชำระแล้ว และเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 ที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้นของบริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด มีมติให้จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่ม ทุนใหม่จำนวน 0.45 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 45 ล้านบาท โดยเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิม และได้จดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อ วันที่ 9 กันยายน 2552 โดยบริษัทได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวจำนวน 0.32 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 31.50 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 บริษัท อีเทอร์นิตี้ ทรานสปอร์ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ของบริษัทได้ประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 80.26 บาท โดย บริษัทได้บันทึกเงินปันผลดังกล่าวเป็นจำนวน 16.05 ล้านบาท ในปี 2552 บริษัทรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุนใน บริษัท อีเทอร์นิตี้ คอนซั ล ติ้ ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และบริษัท แพนดส์ กรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด จำนวน 10.22 ล้านบาท ในงบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการ ( ปี 2551 : 17.44 ล้านบาท)

109


110

ค่าเสื่อมราคาสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552

ราคาทุน:ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ซื้อเพิ่ม โอนเข้า จำหน่าย โอนออก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสะสม:ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี โอนเข้า จำหน่าย โอนออก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่าสุทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

ประกอบด้วย

14. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ

48,316,644.27 48,316,644.27

-

48,316,644.27 48,316,644.27

ที่ดิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ยานพาหนะ

56,504,348.89 733,003,431.12 2,318,319.11 3,614,941.50 1,063,082.00 (439,221.30) (23,810,763.09) (75,130.37) 58,308,316.33 713,870,691.53

เครื่องมือเครื่อง ใช้และอุปกรณ์

122,586,567.74 115,216,669.41

25,913,536.41 18,330,840.67

469,526,363.02 407,651,349.56

(11,974,035.43) (30,590,812.48) (263,477,068.10) (7,530,373.33) (9,810,367.15) (54,561,424.41) 350,292.73 11,819,150.54 73,411.24 (19,504,408.76) (39,977,475.66) (306,219,341.97)

134,560,603.17 160,475.00 134,721,078.17

อาคาร คลังสินค้า และระบบ สาธารณูปโภค

งบการเงินรวม

รวม

489,389.40 666,832,500.84 479,047.40 589,994,551.31 56,654,162.77 71,902,164.89

- (306,041,916.01) - (71,902,164.89) - 12,169,443.27 73,411.24 - (365,701,226.39)

489,389.40 972,874,416.85 1,052,740.00 7,146,475.61 1,063,082.00 - (24,249,984.39) (1,063,082.00) (1,138,212.37) 479,047.40 955,695,777.70

สินทรัพย์ ระหว่างติดตั้ง

(หน่วย : บาท)


111

ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี โอนเข้า จำหน่าย โอนออก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่าสุทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552

ราคาทุน:ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ซื้อเพิ่ม โอนเข้า จำหน่าย โอนออก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสะสม:ณ วันที่ 1 มกราคม 2552

หมายเหตุประกอบงบการเงิน ยานพาหนะ

14,262,409.73 10,254,011.91

332,141,185.64 292,606,561.44

(4,028,107.45) (5,526,251.00) (35,067,256.23) 204,909.31 8,840,693.89 62,202.55 (7,730,021.25) (21,689,822.92) (233,454,306.23) 30,442,614.84 26,574,982.39

สินทรัพย์ ระหว่างติดตั้ง

489,389.40 256,343.40

-

-

30,693,093.51 539,368,929.53 489,389.40 1,593,987.93 997,047.50 148,302.00 (279,999.98) (14,453,411.36) (84,744.00) (63,246.63) (148,302.00) 31,943,834.83 526,060,867.67 256,343.40

เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์

(3,701,913.80) (16,430,683.78) (207,227,743.89)

34,144,528.64 160,475.00 34,305,003.64

ที่ทำการเคลื่อนที่ และระบบ สาธารณูปโภค

งบการเงินเฉพาะกิจการ

377,335,599.61 329,691,899.14 45,773,799.53 44,621,614.68

(44,621,614.68) 9,045,603.20 62,202.55 (262,874,150.40)

(227,360,341.47)

604,695,941.08 2,751,510.43 148,302.00 (14,818,155.34) (211,548.63) 592,566,049.54

รวม

(หน่วย : บาท)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2552 กลุ่ ม บริ ษั ท มี สิ น ทรั พ ย์ ซึ่ ง คิ ด ค่ า เสื่ อ มราคาทั้ ง จำนวนแล้ว แต่ยังใช้ดำเนินงานอยู่ในราคาทุนจำนวน 88.31 ล้านบาท (ปี 2551 : 76.65 ล้านบาท) ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2552 บริ ษั ท ย่ อ ยแห่ ง หนึ่ ง ได้ จ ดจำนองที่ ดิ น พร้ อ ม สิ่ ง ปลู ก สร้ า งราคาทุ น 147.88 ล้ า นบาท เพื่ อ ค้ ำ ประกั น สิ น เชื่ อ ที่ บ ริ ษั ท ใหญ่ ได้รับจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึง่ ในวงเงิน 200 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทได้นำยานพาหนะประกอบการจำนวน 20 คัน ราคาทุน 5.46 ล้านบาท เป็นหลักประกันเพื่อการชำระหนี้เงินกู้ยืมของบริษัทย่อย กับสถาบันการเงินแห่งหนึง่ โดยได้มกี ารไถ่ถอนหลักประกันแล้วในไตรมาส 3 ปี 2552 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 สินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าทางการ เงินที่กลุ่มบริษัทเป็นผู้เช่าซึ่งรวมแสดงในรายการข้างต้นประกอบด้วยอุปกรณ์และ ยานพาหนะโดยมีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม 2552 2551

งบการเงินเฉพาะบริษัท 2552 2551

ราคาทุนของสินทรัพย์ตาม สัญญาเช่าทางการเงิน 329,264,489.00 385,513,535.38 235,032,489.00 270,360,532.17 (107,072,931.65) (91,946,734.13) (87,074,532.75) (80,086,460.83) หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ราคาตามบัญชีปลายงวด – สุทธิ 222,191,557.35 293,566,801.25 147,957,956.25 190,274,071.34

112


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 15. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ ประกอบด้วย

งบการเงินรวม โปรแกรม คอมพิวเตอร์

ราคาทุน:ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ซื้อเพิ่ม จำหน่าย โอนเข้า/โอนออก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสะสม:ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี จำหน่าย/อื่นๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าเผื่อการด้อยค่า:ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่าสุทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2552

(หน่วย : บาท)

ค่าสิทธิ ค่าความนิยม การบริหาร ท่าเรือ

รวม

3,131,917.43 348,694.01 -

7,476,635.51 -

1,529,445.09 12,137,998.03 348,694.01 -

3,480,611.44

7,476,635.51

1,529,445.09 12,486,692.04

(1,951,053.55) (1,349,948.08) (563,649.55) (1,246,105.92) (2,514,703.10) (2,596,054.00) -

-

1,180,863.88

6,126,687.43

965,908.34

4,880,581.51

-

(3,301,001.63) (1,809,755.47) (5,110,757.10)

(1,529,445.09) (1,529,445.09) (1,529,445.09) (1,529,445.09) 1,529,445.09 -

8,836,996.40 5,846,489.85 1,789,553.15 1,809,755.47

113


หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินเฉพาะกิจการ โปรแกรม ค่าสิทธิ คอมพิวเตอร์ การบริหาร ท่าเรือ

ราคาทุน:ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ซื้อเพิ่ม โอนออก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสะสม:ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี จำหน่าย/อื่นๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่าสุทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

1,770,150.00 328,900.48 2,099,050.48

(หน่วย : บาท) รวม

7,476,635.51 9,246,785.51 - 328,900.48 7,476,635.51 9,575,685.99

(859,551.24) (1,349,948.08) (2,209,499.32) (405,981.89) (1,246,105.92) (1,652,087.81) (1,265,533.13) (2,596,054.00) (3,861,587.13)

ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552

910,598.76 833,517.35

6,126,687.43 7,037,286.19 4,880,581.51 5,714,098.86 1,655,264.24 1,652,087.81

16. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ประกอบด้วย

ค่าเช่าที่ดินจ่ายล่วงหน้า เงินฝากติดภาระค้ำประกัน เงินมัดจำและประกัน ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย อื่นๆ รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

114

งบการเงินรวม 2552 2551 3,171,499.92 3,514,870.02 3,577,952.33 6,112,473.63 3,532,444.40 4,352,444.40 8,097,168.41 2,204,486.69 696,504.93 448,018.64 19,075,569.99 16,632,293.38 (1,002,676.27) (1,002,676.27)

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะบริษัท 2552 2551 3,171,499.92 3,514,870.02 1,052,649.68 3,612,473.63 1,844,720.00 3,101,180.00 779,551.83 17,059.84 448,018.64 6,865,481.27 10,676,542.29 -

18,072,893.72

6,865,481.27 10,676,542.29

15,629,617.11


หมายเหตุประกอบงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 บริษัทมีเงินฝากประจำกับธนาคาร พาณิชย์หลายแห่ง เพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการใช้น้ำมัน ประกันความเสียหาย กั บ การท่ า เรื อ แห่ ง ประเทศไทย และการใช้ ไ ฟฟ้ า สำหรั บ บริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ย แห่ ง หนึ่ ง และบริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีเงินฝากประจำกับธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง เพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันความเสียหายจากการขนส่งสินค้าของบริษัทแห่งหนึ่ง

17. เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ประกอบด้วย

เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินกู้ยืมระยะสั้น รวม

งบการเงินรวม 2552 2551 158,946.19 140,000,000.00 140,000,000.00

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 158,946.19

140,000,000.00 140,000,000.00 140,158,946.19 140,000,000.00

140,000,000.00 140,158,946.19

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 กลุ่มบริษัทมีวงเงินเบิกเกินบัญชีจาก ธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง และดอกเบี้ยอิงจากอัตราดอกเบี้ย MOR วงเงินเบิกเกิน บัญชีดังกล่าวค้ำประกันโดยบริษัทย่อยแห่งหนึ่งและการจดจำนองที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์ของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เงินกู้ยืมระยะสั้นเป็นเงินกู้ยืมประเภท ตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 3 เดือนกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง โดยคิดดอกเบี้ยอิงจาก อัตราเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ และค้ำประกันโดยบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง

18. หนี้สินหมุนเวียนอื่น ประกอบด้วย

ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่น เงินทดรองรับกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกัน เจ้าหนี้อื่น อื่นๆ

รวม

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 12,497,075.16 18,684,029.46 11,536,518.14 16,191,247.30 - 5,019,626.68

-

-

2,559,155.20 2,617,714.68

1,521,744.87

1,903,208.87

6,861,914.72 6,239,130.91 4,174,594.85 4,272,920.23 21,918,145.08 32,560,501.73 17,232,857.86 22,367,376.40

115


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 19. เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงินระยะยาว - สุทธิ ประกอบด้วย งบการเงินรวม 2552 2551

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงินระยะยาว 106,503,326.91 205,819,048.04 66,141,073.48 134,032,807.00 หัก ดอกเบี้ยจ่ายรอตัดบัญชี (7,846,491.04) (20,647,647.67) (3,850,333.51) (11,571,417.93) 98,656,835.87 185,171,400.37 62,290,739.97 122,461,389.07 หัก ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปี (62,758,206.45) (82,546,133.46) (44,839,443.19) (58,244,198.27) สุทธิ 35,898,629.42 102,625,266.91 17,451,296.78 64,217,190.80

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาเช่าการเงินระยะยาวกับ บริ ษั ท ลิ ส ซิ่ ง หลายแห่ ง เพื่ อ เช่ า ยานพาหนะและอุ ป กรณ์ จ ำนวน 103 สั ญ ญา (31 ธันวาคม 2551 : 141 สัญญา) สัญญาเช่ากำหนดชำระค่าเช่าเป็นงวดรายเดือน ตั้งแต่เดือนละ 867.12 บาท ถึงเดือนละ 79,791.00 บาท โดยมีระยะเวลาการเช่า ตั้งแต่ 3 ปี ถึง 5 ปี สัญญาเช่าดังกล่าวมีกรรมการของบริษัท และบริษัทย่อยแห่ง หนึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน กรรมสิทธิ์ในยานพาหนะและอุปกรณ์ดังกล่าวจะโอนเป็น กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัทเมื่อกลุ่มบริษัทได้ชำระเงินงวดสุดท้ายตามสัญญาเช่า จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าทางการเงินระยะยาวมีดังนี้ (หน่วย : บาท) 2552 เจ้าหนี้ตาม ดอกเบี้ยจ่าย สัญญาเช่า รอตัดบัญชี ทางการเงิน

งบการเงินรวม สุทธิ

เจ้าหนี้ตาม สัญญาเช่า ทางการเงิน

2551 ดอกเบี้ยจ่าย รอตัดบัญชี

สุทธิ

68,686,004.63 (5,927,798.18) 62,758,206.45 95,448,320.51 (12,902,187.05) 82,546,133.46 ไม่เกิน 1 ปี เกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี 37,817,322.28 (1,918,692.86) 35,898,629.42 110,370,727.53 (7,745,460.62) 102,625,266.91 106,503,326.91 (7,846,491.04) 98,656,835.87 205,819,048.04 (20,647,647.67) 185,171,400.37 รวม

116


หมายเหตุประกอบงบการเงิน (หน่วย : บาท) 2552 เจ้าหนี้ตาม ดอกเบี้ยจ่าย สัญญาเช่า รอตัดบัญชี ทางการเงิน

งบการเงินเฉพาะกิจการ สุทธิ

2551 เจ้าหนี้ตาม ดอกเบี้ยจ่าย สัญญาเช่า รอตัดบัญชี ทางการเงิน

สุทธิ

48,031,209.59 (3,191,766.40) 44,839,443.19 66,129,610.90 (7,885,412.63) 58,244,198.27 ไม่เกิน 1 ปี เกินกว่า 1 ปี​ี แต่ไม่เกิน 5 ปี 18,109,863.89 (658,567.11) 17,451,296.78 67,903,196.10 (3,686,005.30) 64,217,190.80 66,141,073.48 (3,850,333.51) 62,290,739.97 134,032,807.00 (11,571,417.93) 122,461,389.07 รวม

20. เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร-สุทธิ ประกอบด้วย งบการเงินรวม 2552 2551 100,637,914.77 103,903,000.17

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 99,297,273.61 16,746,469.35

เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร หัก ส่วนของหนี้สินระยะยาว ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (18,228,873.96) (18,219,176.16) (17,794,071.30) สุทธิ 82,409,040.81 85,683,824.01 81,503,202.31

(4,779,176.16) 11,967,293.19

บริษัทมีเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง วงเงิน 30 ล้านบาท เพื่อนำไปจ่ายชำระค่าดัดแปลงและ/หรือค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV โดยคิดดอกเบี้ย อิงจากอัตราดอกเบี้ย MOR มีกำหนดชำระคืนเงินต้นทุกเดือน โดยเริ่มชำระงวดแรก ในวันสุดท้ายของเดือนถัดไปจากเดือนที่มีการเบิกรับเงินกู้งวดแรก และต้องชำระ ต้ น เงิ น กู้ ใ ห้เ สร็ จ ภายใน 48 เดื อ นนั บ แต่ เดื อ นที่ ถึ ง กำหนดชำระต้ น เงิ น งวดแรก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มียอดค้างชำระจำนวน 12.51 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2551 : 16.75 ล้านบาท) บริษัทมีเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งวงเงิน 90 ล้านบาท เพื่ อ จ่ า ยชำระหนี้ เ งิ น กู้ ร ะยะยาวจากธนาคารให้ กั บ บริ ษั ท ย่ อ ยแห่ ง หนึ่ ง โดยคิ ด ดอกเบี้ ย อิ ง จากอั ต ราดอกเบี้ ย MLR มี ก ำหนดชำระคื น เงิ น ต้ น ทุ ก เดื อ น โดยเริ่ ม ชำระงวดแรกในวั น ทำการสุ ด ท้ า ยของเดื อ นถั ด ไปจากเดื อ นที่ มี ก าร เบิ ก รั บ เงิ น กู้ ง วดแรกและต้ อ งชำระต้ น เงิ น กู้ ใ ห้ เ สร็ จ ภายใน 84 เดื อ นนั บ

117


หมายเหตุประกอบงบการเงิน แต่เดือนที่ถึงกำหนดชำระต้นเงินงวดแรก เงินกู้ยืมดังกล่าวค้ำประกันโดยที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งและค้ำประกันร่วมกับบริษัทย่อยอีก สองแห่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม2552 มียอดค้างชำระจำนวน 86.79 ล้านบาท บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งวงเงิน 120 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินและก่อสร้างอาคารสำนักงานและคลังสินค้า โดยคิด ดอกเบี้ยอิงจากอัตราดอกเบี้ย MLR มีกำหนดชำระคืนเงินต้นทุกเดือน โดยเริ่ม ชำระตั้ ง แต่ เ ดื อ นสิ ง หาคม 2549 และครบกำหนดชำระงวดสุ ด ท้ า ยในเดื อ น สิ ง หาคม 2558 เงิ น กู้ ยื ม ดั ง กล่ า วค้ ำ ประกั น โดยที่ ดิ น พร้ อ มสิ่ ง ปลู ก สร้ า งของ บริษัทย่อยและค้ำประกันร่วมโดยกรรมการของบริษัทย่อยสามท่าน บริษัทใหญ่ บริษัทย่อยสองแห่ง บริษัทที่เกี่ยวข้องกันหนึ่งแห่งและยานพาหนะ ประกอบการ จำนวน 20 คัน ของบริษัทใหญ่ ในระหว่าง ไตรมาสสามปี 2552 บริษัทใหญ่ได้จ่าย ชำระหนี้เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารแทนบริษัทย่อย เป็นจำนวนเงิน 78.20 ล้านบาท และบริษัทใหญ่ได้บันทึกจำนวนเงินดังกล่าวเป็นเงินให้กู้ยืมระยะยาว แก่บริษัทย่อย บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง วงเงิน 5 ล้ า นบาท เพื่ อ นำไปจ่ า ยชำระค่ า ดั ด แปลงและ/หรื อ ค่ า ติ ด ตั้ ง อุ ป กรณ์ NGV โดยคิดดอกเบี้ยอิงจากอัตราดอกเบี้ย MOR มีกำหนดชำระคืนเงินต้นทุกเดือน โดยเริ่มชำระงวดแรกในวันสุดท้ายของเดือนถัดไปจากเดือนที่มีการเบิกรับเงินกู้ งวดแรก และต้องชำระต้นเงินกู้ให้เสร็จภายใน 48 เดือนนับแต่เดือนที่ถึงกำหนด ชำระต้ น เงิ น งวดแรก เงิ น กู้ ยื ม ดั ง กล่ า วค้ ำ ประกั น โดยบริ ษั ท ใหญ่ ณ วั น ที่ 31 ธันวาคม 2552 มียอดค้างชำระจำนวน 1.34 ล้านบาท กลุ่มบริษัทมีข้อปฏิบัติตามสัญญาเงินกู้ที่สำคัญที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ ได้แก่ • กลุ่มบริษัทจะต้องนำเงินกู้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เงินกู้ • กลุ่ ม บริ ษั ท จะไม่ ด ำเนิ น การเปลี่ ย นแปลงประเภทธุ ร กิ จ หรื อ เข้ า ร่ ว ม ประกอบธุรกิจอื่นใด นอกเหนือจากที่ได้ดำเนินการอยู่ในขณะที่ทำสัญญา เงินกู้ • กำหนดให้กลุ่มบริษัทต้องดำรงอัตราส่วนทางการเงินบางประการตามข้อ กำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้

118


หมายเหตุประกอบงบการเงิน จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายภายใต้สัญญาเงินกู้ยืมระยาวมีดังนี้

ไม่เกิน 1 ปี 2 ปี – 5 ปี เกินกว่า 5 ปี รวม

งบการเงินรวม 2552 2551 18,228,873.96 18,219,176.16 72,734,040.81 65,727,293.19 9,675,000.00 19,956,530.82 100,637,914.77 103,903,000.17

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 17,794,071.30 4,779,176.16 71,828,202.31 11,967,293.19 9,675,000.00 99,297,273.61 16,746,469.35

21. ทุนเรือนหุ้นและส่วนเกินมูลค่าหุ้น การเปลี่ ย นแปลงของทุ น เรื อ นหุ้ น และส่ ว นเกิ น มู ล ค่ า หุ้ น สำหรั บ ปี สิ้ น สุ ด วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้

ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 การออกหุ้นเพิ่มเมื่อ วันที่ 12 กันยายน 2551 ค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายหุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 การออกหุ้นเพิ่มระหว่างปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

จำนวนหุ้น หุ้นสามัญ ส่วนเกินมูลค่าหุ้น รวม (หน่วย : หุ้น) (หน่วย : บาท) (หน่วย : บาท) (หน่วย : บาท) 115,000,000 115,000,000.00 55,246,716.25 170,246,716.25 25,000,000 25,000,000.00 102,500,000.00 127,500,000.00 -

- (2,813,926.40)

(2,813,926.40)

140,000,000 140,000,000.00 154,932,789.85 294,932,789.85 140,000,000 140,000,000.00 154,932,789.85 294,932,789.85

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2551 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้ เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทอีก 25 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 115 ล้านบาท เป็ น 140 ล้ า นบาท บริ ษั ท ได้ จ ดทะเบี ย นเพิ่ ม ทุ น กั บ กระทรวงพาณิ ช ย์ แ ล้ ว เมื่ อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2551 บริษัทเสนอขายหุ้นสามัญจำนวน 25 ล้านหุ้น ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) หุ้นสามัญดังกล่าวมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้น ละ 1 บาท ในราคาหุ้นละ 5.1 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 127.50 ล้านบาท บริษัทบันทึก ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายหุ้นจำนวน 2.81 ล้านบาท เป็นรายการหักในบัญชี ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ

119


หมายเหตุประกอบงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 จำนวนหุ้นสามัญที่จดทะเบียนทั้งหมดจำนวน 140,000,000 หุ้น (2551 : 140,000,000 หุ้น) โดยมีมูลค่าหุ้นละ 1 บาท (2551 : มู ล ค่ า หุ้ น ละ 1.00 บาท) หุ้ น ทั้ ง หมดได้ อ อกและเรี ย กชำระแล้ ว เป็ น จำนวน 140,000,000 หุ้น (2551 : 140,000,000 หุ้น) โดยมีมูลค่าหุ้นละ 1.00 บาท (2551 : มูลค่าหุ้นละ 1.00 บาท) การจัดการความเสี่ยงในส่วนของทุน วัตถุประสงค์ของกลุ่มบริษัทในการบริหารทุนของกลุ่มบริษัทนั้นเพื่อดำรงไว้ซึ่ง ความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของกลุ่มบริษัทเพื่อสร้างผลตอบแทน ต่อผู้ถือหุ้นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีส่วนได้เสียอื่น และเพื่อดำรงไว้ซึ่งโครงสร้าง ของทุนที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนทางการเงินของทุน ในการดำรงไว้หรือปรับโครงสร้างของทุน กลุ่มบริษัทอาจปรับนโยบายการจ่าย เงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น การคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น การออกหุ้นใหม่ หรือการขาย ทรัพย์สินเพื่อลดภาระหนี้

22. สำรองตามกฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 บริษัทต้องจัดสรรทุน สำรองตามกฎหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีหลังหักขาดทุน สะสมยกมา (ถ้ า มี ) จนกว่ า สำรองจะมี จ ำนวนไม่ น้ อ ยกว่ า ร้ อ ยละ 10 ของทุ น จดทะเบียนของบริษัท สำรองตามกฎหมายไม่สามารถนำมาจ่ายเงินปันผลได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 บริษัทได้จัดสรรกำไรสุทธิสำหรับปีจำนวน 1.15 ล้านบาท และ 2.99 ล้านบาท ตามลำดับ ไปเป็นสำรองตามกฎหมาย

23. เงินปันผลจ่าย ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2552 มีมติให้จ่ายเงิน ปันผลประจำปีสำหรับผลการดำเนินงานปี 2551 ในอัตราหุ้นละ 0.11 บาท เป็น จำนวนเงินทั้งสิ้น 15.40 ล้านบาท (2551 : 12.65 ล้านบาท) โดยบริษัทได้จ่ายเงิน ปันผลดังกล่าวในเดือนพฤษภาคม 2552

120


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 24. รายได้จากการดำเนินงานอื่น สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ งบการเงินรวม 2552 2551

กำไรจากการ ขายอุปกรณ์ 956,607.59 รายได้ค่าบริการ และบริหารจัดการ 223,421.31 รายได้เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ 116,541.77 อื่นๆ 8,370,161.68 รวม 9,666,732.35

(หน่วย : บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

1,670,218.87

641,429.35

1,275,550.97

507,036.10 272,929.52 4,163,158.52 6,613,343.01

3,388,287.06 7,382,558.50 10,836,731.23 22,249,006.14

11,469,649.31 16,051,438.18 4,513,612.34 3,691,435.42 37,001,686.22

25. ค่าใช้จ่ายแยกตามลักษณะ รายการบางรายการที่ ร วมอยู่ ใ นการคำนวณกำไรสุ ท ธิ ส ำหรั บ ปี สิ้ น สุ ด วั น ที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 สามารถนำมาแยกตามลักษณะได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2552 2551 การเปลี่ยนแปลง ในสินค้าสำเร็จรูป วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าเสื่อมราคาของอาคาร และอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย

(หน่วย : บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

(5,360,564.06) 6,562,994.63 185,787,079.21 323,525,841.57 160,276,108.29 284,590,664.39 236,087,543.26 240,837,235.80 206,403,519.69 211,258,437.63 71,902,164.89 56,654,162.77 44,621,614.68 45,773,799.53 2,153,125.57

2,138,295.04

1,995,457.91

2,004,006.13

121


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 26. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุม่ บริษทั ได้จดั ตัง้ กองทุนสำรองเลีย้ งชีพพนักงานตามความในพระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยเข้าเป็นกองทุนจดทะเบียนกับสถาบันการ เงินแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 และตามระเบียบของกองทุนฯ พนักงาน ต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 2 ของเงินเดือน และกลุ่มบริษัทจ่าย สมทบเข้ากองทุนนี้ในอัตราเดียวกันกับพนักงาน ในปี 2552 กลุ่มบริษัทจ่ายสมทบ เข้ากองทุนเป็นจำนวน 1.76 ล้านบาท (2551 : 1.62 ล้านบาท)

27. กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน คำนวณโดยการหารกำไรสุทธิสำหรับงวดด้วยจำนวน ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายในระหว่างงวด

28. ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน การประกอบธุ ร กิ จ ของกลุ่ ม บริ ษั ท ในงบการเงิ น รวม สำหรั บ ปี สิ้ น สุ ด วันที่ 31 ธันวาคม 2552 จำแนกตามส่วนงานได้ ดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท)

รายได้จากการขาย และให้บริการ ต้นทุนการขายและให้บริการ กำไรขั้นต้น รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าตอบแทนผู้บริหาร ต้นทุนทางการเงิน กำไรก่อนภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ กำไรสุทธิก่อนส่วนของ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย บวก ขาดทุนส่วนของ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือ หุ้นบริษัทใหญ่ สินทรัพย์ถาวรของกลุ่มบริษัท ค่าเสื่อมราคา หนี้สินรวมของกลุ่มบริษัท

122

ให้บริการ ให้บริการ ให้บริการ ตัดรายการ งบการเงิน ขนส่งและ บริหารและ ผ่านพิธีการ ขนถ่าย จัดการ กรมศุลกากร ขายสินค้า อื่นๆ ระหว่างกัน รวม 739 (698) 41

40 (32) 8

69 (20) 49

115 (107) 8

26 (15) 11

(19) 970 17 (855) (2) 115 9 (55) (23) (26) 20 (9) 11 4

447 65

2 2

-

-

140 5

15 589 72 443


หมายเหตุประกอบงบการเงิน การประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัทในงบการเงินรวม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 จำแนกตามส่วนงานได้ ดังนี้

(หน่วย : ล้านบาท)

ให้บริการ ให้บริการ บริหาร ให้บริการผ่าน ขนส่งและ และจัดการ พิธีการกรม ขาย ขนถ่ายสินค้า คลังสินค้า ศุลกากร สินค้า รายได้จากการขาย และให้บริการ ต้นทุนการขาย และให้บริการ กำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าตอบแทนผู้บริหาร ต้นทุนทางการเงิน กำไรก่อนภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ กำไรสุทธิก่อนส่วนของ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

อื่นๆ

ตัดรายการ ระหว่างกัน

งบการ เงินรวม

954

33

85

73

15

(43)

1,117

(853) 101

(39) (6)

(22) 63

(67) 6

(11) 4

46 3

(946) 171 6 (59) (24) (36) 58 (15) 43

บวก ขาดทุนส่วนของผู้ถือ หุ้นส่วนน้อย กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือ หุ้นบริษัทใหญ่ สินทรัพย์ถาวรของ กลุ่มบริษัท ค่าเสื่อมราคา หนี้สินรวมของกลุ่มบริษัท

6 49

518 49

4 2

-

-

145 6

667 57 551

123


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 29. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระแสเงินสด 29.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบขึ้นจากรายการในงบดุลดังนี้ งบการเงินรวม เงินสด เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ เงินฝากธนาคารประเภทฝากประจำ เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน รวม

2552

1,884,656.33 23,224,642.09 2,612,428.43 19,676,126.55 47,397,853.40

2551

1,341,526.50 18,951,395.06 27,703,876.88 47,996,798.44

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

1,672,479.00 22,769,020.86 2,612,428.43 7,164,162.97 34,218,091.26

2551

1,246,859.00 18,628,805.93 15,029,666.82 34,905,331.75

29.2 กลุ่มบริษัทได้ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ งบการเงินรวม 2552 2551 ชำระเป็นเงินสด เจ้าหนี้ค่าทรัพย์สิน สัญญาเช่าทางการเงิน ราคาต้นทุนรวม

6,261,510.61 136,960.00 748,005.00 7,146,475.61

(หน่วย : บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

33,469,856.89 2,003,505.43 25,437,425.68 13,686,032.95 78,202,308.46 748,005.00 125,358,198.30 2,751,510.43 25,437,425.68

29.3 รายการที่ไม่กระทบเงินสด - ในระหว่างปี 2552 บริษทั ย่อยสามแห่งได้มกี ารจัดประเภทบัญชีภาษีเงิน ได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายของปี 2551 จากสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นเป็นสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนอื่นจำนวน 3.23 ล้านบาท - ในระหว่างปี 2552 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้มีการจำหน่ายสินทรัพย์ โดย บันทึกเป็นลูกหนี้อื่นจำนวน 0.17 ล้านบาท - ในระหว่ า งปี 2552 บริ ษั ท ย่ อ ยแห่ ง หนึ่ ง ขายยานพาหนะพร้ อ มโอน หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าทางการเงินระยะยาว จำนวน 0.69 ล้านบาท - ในระหว่างปี 2552 บริษัทใหญ่ได้กู้ยืมเงินระยะยาวจากธนาคารใน ประเทศแห่งหนึ่ง และให้ธนาคารโอนเงินเพื่อจ่ายชำระหนี้เงินกู้ยืมระยะ ยาวจากธนาคารของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง จำนวน 78.91 ล้านบาท และ บริษัทใหญ่ได้บันทึกจำนวนเงินดังกล่าวเป็นเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่ บริษัทย่อย

124


หมายเหตุประกอบงบการเงิน - ในระหว่างปี 2552 บริษัทได้มีการจัดประเภทบัญชีเงินมัดจำจ่ายจาก สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นจำนวน 0.12 ล้านบาท - ในระหว่างปี 2551 บริษัทย่อยสามแห่งได้มีการจัดประเภทบัญชีภาษีเงิน ได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายของปี 2550 จากสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นสินทรัพย์อื่น จำนวน 2.20 ล้านบาท - ในระหว่างปี 2551 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งหักกลบลบหนี้เงินให้กู้ยืมแก่ กิจการที่เกี่ยวข้องกันจำนวน 2.79 ล้านบาท กับหนี้สินหมุนเวียนอื่นจำนวน 1.40 ล้ า นบาท เจ้ า หนี้ ค่ า ทรั พ ย์ สิ น จำนวน 0.57 ล้ า นบาท และเงิ น กู้ยืมระยะยาวจากบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน จำนวน 0.82 ล้านบาท - ในระหว่างปี 2551 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้มีการโอนเจ้าหนี้ค่าทรัพย์สิน กิจการที่เกี่ยวข้องกันเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงินระยะยาว จำนวน 1.22 ล้านบาท - ในระหว่างปี 2551 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้มีการโอนเจ้าหนี้ค่าทรัพย์สิน กิ จ การที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น เป็ น เงิ น กู้ ยื ม ระยะยาวจากบุ ค คลและกิ จ การ ที่เกี่ยวข้องกันจำนวน 13.72 ล้านบาท

125


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 29.4 การซื้อบริษัทย่อย ในระหว่างไตรมาส 1 ปี 2551 บริษัทได้ซื้อบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง มูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์ที่ซื้อและหนี้สินที่ได้รับภาระมีดังนี้ เงินสด ลูกหนี้การค้า สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน อุปกรณ์-สุทธิ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงินระยะยาว-สุทธิ สินทรัพย์สุทธิ หัก ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย สินทรัพย์สุทธิที่ได้มา บวก ค่าความนิยม จำนวนเงินที่จ่ายซื้อบริษัทย่อย หัก เงินสดของบริษัทย่อย กระแสเงินสดจ่ายสุทธิจากการซื้อบริษัทย่อย

(หน่วย : บาท) 264,090.23 1,649,000.59 3,781,918.68 6,868,634.61 52,131,697.03 1,405,401.36 (4,694,722.99) (6,594,495.77) (820,736.00) (1,175,732.00) 52,815,055.74 (15,844,900.83) 36,970,154.91 1,529,445.09 38,499,600.00 (264,090.23) 38,235,509.77

30. เครื่องมือทางการเงิน กลุ่มบริษัทต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญ ได้แก่ ความเสี่ยง จากอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ อย่างไรก็ตามบริษัทไม่มี นโยบายที่จะประกอบธุรกรรมตราสารทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์เพื่อการ เก็งกำไรหรือเพื่อการค้า 30.1 ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย

126

ความเสี่ ย งจากอั ต ราดอกเบี้ ย เกิ ด จากความผั น ผวนของอั ต รา ดอกเบี้ ย ในตลาดที่ อ าจส่ ง ผลกระทบในทางลบต่ อ การดำเนิ น งานของ กลุ่มบริษัททั้งในปัจจุบันและอนาคต ผู้บริหารเชื่อว่ากลุ่มบริษัทมีความเสี่ยง จากอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ เนื่องจากเงินกู้ส่วนใหญ่เป็นหนี้สินตาม สัญญาเช่าทางการเงินระยะยาว ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ตามสัญญา ดังนั้นกลุ่มบริษัทจึงไม่ได้มีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 30.2 ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อเกิดจากการที่คู่สัญญาไม่สามารถ หรือไม่ ประสงค์จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทมีนโยบาย ในการป้องกันความเสี่ยงนี้โดยการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของคู่ค้า จำกัดการอนุมัติวงเงินสินเชื่อ มูลค่าสูงสุดของความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ คือ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ดังกล่าวสุทธิจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตามที่แสดงในงบดุล นอกจากนี้กลุ่มบริษัทไม่มีความเสี่ยงจากการกระจุก ตัวของสินเชื่อที่มีนัยสำคัญ 30.3 มูลค่ายุติธรรม ราคาตามบัญชีของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้และ เจ้าหนี้การค้า ลูกหนี้และเจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมและเงิน กู้ยืมจากบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกันมีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรม เนื่องจากมีระยะเวลาครบกำหนดชำระระยะสั้น ส่วนเงินกู้ยืมตามสัญญา เช่ า การเงิ น และเงิ น กู้ ยื ม ระยะยาวมี อั ต ราดอกเบี้ ย ใกล้ เ คี ย งกั บ สภาวะ ตลาด ดังนั้นราคาตามบัญชีของเงินกู้ยืมระยะยาวดังกล่าวมีมูลค่าใกล้ เคียงกับมูลค่ายุติธรรม

31. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น 31.1 กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาเช่าและบริการสำหรับที่ดินที่ทำการสำนัก งานยานพาหนะ อุปกรณ์สำนักงานและ ค่าบริหารจัดการขนส่งกับบุคคล ภายนอกหลายแห่ง โดยมีระยะเวลาการเช่าตั้งแต่ 1 – 3 ปี และสามารถต่อ อายุได้ กลุ่มบริษัทมีข้อผูกมัดที่จะจ่ายค่าเช่าและค่าบริการตามสัญญาดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท)

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ ถึงกำหนดชำระ - ภายใน 1 ปี 4 2 - เกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี 25 23 รวม 29 25

127


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 31.2 กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาบำรุงรักษายานพาหนะประกอบการและยางพร้อม อะไหล่ กับบุคคลภายนอกหลายแห่ง โดยสัญญามีอายุตั้งแต่ 3 - 5 ปี กลุ่มบริษัทมีข้อผูกมัดที่จะจ่ายค่าบริการตามสัญญาดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท) งบการเงินรวม/ งบการเงินเฉพาะกิจการ

ถึงกำหนดชำระ - ภายใน 1 ปี - เกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี รวม

15 17 32

31.3 กลุ่ ม บริ ษั ท มี ภ าระผู ก พั น ในการให้ ธ นาคารภายในประเทศออกหนั ง สื อ ค้ำประกัน ดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ Letter of Guarantee 12.97 1.00

32. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ตามมติ ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการเมื่ อ วั น ที่ 25 กุ ม ภาพั น ธ์ 2553 มี ม ติ ใ ห้ จ่ายเงินปันผลประจำปีสำหรับผลการดำเนินงานปี 2552 ในอัตราหุ้นละ 0.04 บาท เป็ น จำนวนเงิ น ทั้ ง สิ้ น 5.60 ล้ า นบาท และกำหนดจ่ า ยเงิ น ปั น ผลดั ง กล่ า วใน วันที่ 18 พฤษภาคม 2553

33. การอนุมัติงบการเงิน งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการนีไ้ ด้รบั การอนุมตั จิ ากคณะกรรมการ ของบริษัทเพื่อให้ออกงบการเงินได้เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553

128




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.