BEC: รายงานประจำปี 2554

Page 1

ÃÒ§ҹ»ÃШӻ‚ 2554 ºÃÔÉÑ· ºÕÍÕ«Õ àÇÔÅ´ ¨Ó¡Ñ´ (ÁËÒª¹)

àÅ¢·ÐàºÕ¹ºÃÔÉÑ· 0107538000673

ºÃÔÉÑ· ºÕÍÕ«Õ àÇÔÅ´ ¨Ó¡Ñ´ (ÁËÒª¹)

ºÃÔÉÑ· ºÕÍÕ«Õ àÇÔÅ´ ¨Ó¡Ñ´ (ÁËÒª¹)

3199 ÍÒ¤ÒÃÁÒÅÕ¹¹· ·ÒÇàÇÍà ªÑé¹ 2, 3, 8, 9, 30-34 ¶¹¹¾ÃÐÃÒÁ 4 á¢Ç§¤ÅͧµÑ¹ ࢵ¤ÅͧàµÂ ¡ÃØ§à·¾Ï 10110 â·ÃÈѾ· : 0 2204 3333, 0 2262 3333 â·ÃÊÒà : 0 2204 1384 www.becworld.com

ÃÒ§ҹ»ÃШӻ‚ 2554


ÇÔÊÑ·Ñȹ ¢Í§ºÃÔÉÑ·

“໚¹ºÃÔÉÑ·ªÑé¹¹Ó´ŒÒ¹¡ÒüÅÔµ áÅйÓàʹ͢‹ÒÇÊÒà ÊÒÃÐáÅФÇÒÁºÑ¹à·Ô§ ·ÕèãËŒ¤Ø³¤‹ÒÊÙ§ÊØ´”

˹ѧÊ×ÍàÅ‹Á¹Õé¼ÅÔµ¨Ò¡¡ÃдÒÉ Green Paper ໚¹¡ÃдÒÉ·Õè¾Ñ²¹Ò¢Ö鹨ҡàà¹Ç¤Ô´¡ÒÃ㪌·ÃѾÂҡøÃÃÁªÒµÔ ËÁعàÇÕ¹ãËŒà¡Ô´»ÃÐ⪹ ÊÙ§ÊØ´ â´Â㪌àÂ×èÍ 100% EcoFiber

ÊÒúÑÞ ¢ŒÍÁÙÅÊÓ¤ÑÞ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ÃÒ§ҹ¤³Ð¡ÃÃÁ¡Òà ÃÒ§ҹ¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒõÃǨÊͺ ¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒúÃÔÉÑ· ¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒúÃÔËÒÃáÅÐ਌Ò˹ŒÒ·ÕèºÃÔËÒà â¤Ã§ÊÌҧ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ºÕÍÕ«Õ àÇÔÅ´ ¡ÒôÓà¹Ô¹¸ØáԨ¢Í§ “¡ÅØ‹ÁºÕÍÕ«Õ àÇÔÅ´ ” ¡Ô¨¡ÃÃÁà¾×èÍÊѧ¤ÁáÅÐÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁ ¤Ó͸ԺÒÂáÅСÒÃÇÔà¤ÃÒÐË ¼Å¡ÒôÓà¹Ô¹§Ò¹áÅаҹСÒÃà§Ô¹ 30 ÃÒ§ҹ¢Í§¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒÃà¡ÕèÂǡѺ ¤ÇÒÁÃѺ¼Ô´ªÍºã¹¡ÒèѴ·ÓÃÒ§ҹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹

31 32 74 75 76 101

ÃÒ§ҹ¢Í§¼ÙŒÊͺºÑÞªÕÃѺ͹ØÞÒµ §º¡ÒÃà§Ô¹ â¤Ã§ÊÌҧÃÒÂä´Œ ¢ŒÍÁÙżٌ¶×ÍËØŒ¹ÃÒÂãËÞ‹ 10 ÃÒÂáá ¡ÒèѴ¡Òà ÃÒ¡ÒÃÃÐËÇ‹Ò§¡Ñ¹¡ÑººØ¤¤Å·ÕèÍÒ¨ ÁÕ¤ÇÒÁ¢Ñ´áÂŒ§·Ò§¼Å»ÃÐ⪹ ã¹»‚ 2554 102 ¢ŒÍÁÙÅÍ×è¹ 107 »ÃÐÇѵԡÃÃÁ¡ÒÃáÅÐ਌Ò˹ŒÒ·ÕèºÃÔËÒà 120 ºØ¤¤Å͌ҧÍÔ§Í×è¹æ

COVER in_FONT

Í͡Ẻ : ºÃÔÉÑ· ÁÙ¿àÁŒ¹· ਹ. ·ÃÕ ¨Ó¡Ñ´

1 2 4 6 8 9 10 14 20

COVER in_BACK


ข้อมูลสำคัญทางการเงิน หน่วย : ล้านบาท

2554

2553

2552

สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น รายได้จากการขาย รายได้รวม กำไรขั้นต้น กำไรสุทธิ

9,848 2,418 7,430 12,803 12,970 6,735 3,530

9,610 1,794 7,816 11,714 11,887 6,224 3,303

8,791 1,436 7,355 8,949 9,058 5,330 2,635

อัตราส่วนทางการเงิน

2554

2553

2552

อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวม อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท)

27.22% 47.51% 35.84% 1.77 1.80* 3.71

27.79% 42.26% 34.37% 1.65 1.65 3.91

29.09% 35.83% 29.97% 1.32 1.30 3.68

หมายเหตุ * เงินปันผลของปี 2554 เป็นตัวเลขที่เสนอจ่ายแสดงไว้เป็นตัวเลขอ้างอิง และได้รวมเงินปันผลระหว่างกาล

จำนวน 0.80 บาทต่อหุ้น ที่ได้จ่ายไปแล้วเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2554 ไว้ด้วย

นโยบายการจ่ายเงินปันผล

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิ ของงบการเงินรวมในแต่ละงวดบัญชี ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นต้องลงทุนในโครงการสำคัญ สำหรับการพิจารณาการจ่าย เงินปันผลจากบริษัทย่อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่บริษัทฯถือหุ้นในอัตราร้อยละ 99.99 ให้แก่บริษัทนั้น จะคำนึงถึงความต้องการ ใช้เงินสดของบริษัทฯ และบริษัทย่อยเป็นสำคัญ

สินทรัพย์รวม

รายได้รวม

ล้านบาท 12,000 10,000 -

12,970 9,848

กำไรสุทธิ ล้านบาท 3,500 -

11,887 9,058

9,610 8,791

3,303

3,000 -

2,635

2,500 -

8,000 -

2,000 -

6,000 -

1,500 -

4,000 -

1,000 -

2,000 0-

3,530

500 , ปี 54

,

53

,

52

,

54

, 53

,

52

ปี

,

54

,

53

, 52

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

1


รายงานคณะกรรมการ

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ปีพ.ศ. 2554 เป็นปีที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ สามารถสร้างรายได้จากการขายเวลาโฆษณา และกำไรสุทธิสำหรับผู้ถือหุ้นได้สูงสุด ต่อเนือ่ งอีกปีหนึง่ แม้วา่ อุตสาหกรรมและประเทศจะได้รบั ผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหามหาอุทกภัยในช่วงไตรมาสท้ายปี และ นอกเหนือจากผลการดำเนินงานที่วัดผลเป็นตัวเงินที่ทำได้เป็นยอดสูงสุดเป็นประวัติการณ์นั้นแล้ว กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ก็ยังสามารถ สร้างผลงานทีไ่ ม่อาจจะวัดเป็นตัวเงินได้ดขี น้ึ กว่าปีกอ่ นมากอีกหลายเรือ่ ง ทัง้ ในแง่ของการยอมรับ ความนิยมชมชอบ และให้ความเชือ่ ถือ ในผลงาน ทั้งจากผู้ฟัง/ผู้ชมที่ติดตามรายการต่างๆ ที่เรานำเสนอ และจากมวลชนทั่วไปในสังคม จนกล่าวได้ว่าปีพ.ศ. 2554 เป็นปีที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ สามารถสร้างผลงานได้ดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในส่วนของผลการดำเนินงานที่วัดเป็นตัวเงินนั้น กลุ่มบีอีซี เวิลด์ สามารถสร้างรายได้จากการขายเวลาโฆษณาสูงขึ้นกว่า ปีกอ่ นรวม 898.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 8.1 มีรายได้และกำไรขัน้ ต้นจากการจัดกิจกรรมการแสดง และคอนเสิรต์ เพิม่ สูงกว่าปีกอ่ นมาก เช่นเดียวกับรายได้จากการให้ใช้สทิ ธิและบริการอืน่ ในขณะทีต่ น้ ทุนและค่าใช้จา่ ยแม้วา่ จะสูงขึน้ แต่สว่ นหนึง่ เป็น รายการพิเศษที่เกิดจากปัญหามหาอุทกภัย อีกส่วนหนึ่งเกิดจากโครงการเกษียณอายุงานก่อนกำหนด ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ได้ เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่จะมีส่วนช่วยให้ค่าใช้จ่ายในระยะยาวลดลง ทำให้กำไรสุทธิสำหรับผู้ถือหุ้นของ บีอีซี เวิลด์ สำหรับปี พ.ศ. 2554 มียอดรวม 3,530.3 ล้านบาท สูงขึ้นกว่าปีก่อน 226.9 ล้านบาท คิดเป็นยอดที่สูงขึ้นร้อยละ 6.9

2

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


แม้ว่าในช่วงไตรมาสท้ายของปีที่ผ่านมา กลุ่มบีอีซี เวิลด์ จะได้รับผลกระทบรุนแรงจากปัญหามหาอุทกภัย จนส่งผลให้ รายได้จากการขายเวลาโฆษณาลดต่ำลงมากเมือ่ เปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนและเมือ่ เทียบกับไตรมาสเดียวกันนีข้ องปีกอ่ น แต่ก็ ได้เห็นการปรับฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนมาตั้งแต่เดือนธันวาคมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันจึงเชื่อได้ว่าการปรับฟื้นตัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง เช่นนี้ จะเป็นแรงส่งที่ดีที่จะช่วยสร้างอัตราการเติบโตของผลการดำเนินงาน เสริมสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้นของบีอีซี เวิลด์ ให้ได้มากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องไป การดำเนินงานที่ดี ที่เราสามารถทำได้ในช่วงปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นผลจากความสามารถ ความร่วมมือร่วมใจของ พนักงานและผู้ร่วมงานของเราในทุกระดับ รวมทั้งการให้การสนับสนุนอย่างดีทั้งจากลูกค้า สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป รวมถึง นักลงทุน ท่านผู้ถือหุ้นของบีอีซี เวิลด์ ในนามของคณะกรรมการบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ขอขอบพระคุณ ทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

(วิชัย มาลีนนท์) ประธานกรรมการ

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

3


รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ตามที่คณะกรรมการบริษัทได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการบริษัทที่เป็นอิสระจากการ บริหารงานรวม 3 คน คือ นายอรุณ งามดี เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ นายประธาน รังสิมาภรณ์ และนายมานิต บุญประกอบ เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญ คือ การสอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงิน อย่างถูกต้องและเพียงพอ มีระบบการควบคุมภายในทีด่ ี มีการตรวจสอบภายในอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ กำกับดูแลให้บริษทั ปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความสมเหตุสมผลในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและค่าตอบแทน ในรอบปี 2554 คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประชุม รวม 6 ครั้ง โดยที่กรรมการตรวจสอบได้เข้าประชุมครบทุกคนทุกครั้ง และในบางครั้งเป็นการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมด้วย โดยมีประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ คือ 1. สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำปี รวมทั้งงบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย ก่อนนำเสนอต่อ คณะกรรมการบริษทั สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งผลจากการสอบทานงบการเงินประกอบกับคำชี้แจงของผู้สอบบัญชีและฝ่ายบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่า งบการเงินดังกล่าวได้จดั ทำขึน้ ตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีความถูกต้อง ครบถ้วน และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ 2. ประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายใน ผ่านการกำกับดูแลและการตรวจสอบของสำนัก ตรวจสอบภายใน และผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี โดยได้สนับสนุนและส่งเสริมความเป็นอิสระในการทำงานของ สำนักตรวจสอบภายใน และผูส้ อบบัญชีอย่างเต็มที่ และให้นำผลการประเมินความเสีย่ งมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผน การตรวจสอบ เพื่อลดโอกาสที่จะทำให้การดำเนินงานของบริษัทเกิดความเสียหาย และได้ประชุมหารือกับผู้ตรวจสอบ ภายในและผูส้ อบบัญชี เพือ่ พิจารณาประเด็นข้อเสนอแนะทีส่ ำคัญ เสนอให้ฝา่ ยบริหารและคณะกรรมการบริษทั เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการควบคุมภายใน ตลอดจนติดตามผลการปฏิบตั งิ านตามระบบงานทีไ่ ด้มกี ารปรับปรุง และพัฒนาแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่าระบบการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงของบริษัทมีความ เหมาะสมและเพียงพอ 3. สอบทานให้บริษทั ปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่า ไม่มีประเด็นที่เป็นสาระสำคัญในเรื่องการไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

4

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


Report

4. 5. 6. 7.

พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่ารายการดังกล่าวเป็นรายการทีส่ มเหตุสมผล เป็นไปเพือ่ ประโยชน์สงู สุด ต่อบริษัท และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ถูกต้องและครบถ้วน พิจารณาสอบทานความเหมาะสมการจัดองค์กร ขอบเขตและความรับผิดชอบของสำนักตรวจสอบภายในกฎบัตรสำนัก ตรวจสอบภายใน และแผนการตรวจสอบประจำปี พิจารณาหารือกับผูส้ อบบัญชีและตัวแทนฝ่ายบริหาร เพือ่ รับทราบประเด็นสำคัญทีอ่ าจเป็นปัญหาเกีย่ วกับการบริหารงาน และอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษทั ตลอดจนถึงประเด็นทีอ่ าจช่วยให้การนำเสนอรายงานและการเปิดเผย ข้อมูลต่างๆ อาจทำได้ดีขึ้น และให้ความเห็นเสนอแนะต่อฝ่ายบริหารตามความเหมาะสมด้วย คณะกรรมการตรวจสอบได้ประเมินผลการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการตรวจสอบ ตามกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว เห็นว่าปฏิบตั ไิ ด้ครบถ้วนตามกฎบัตรฯ และได้รายงานผลการปฏิบตั งิ าน รวมทัง้ นำเสนอข้อเสนอแนะแจ้งให้คณะกรรมการ บริษัททราบทุกครั้งที่มีการประชุมคณะกรรมการบริษัท

สำหรับรอบปีบัญชี 2555 คณะกรรมการตรวจสอบได้เสนอต่อคณะกรรมการบริษัท ว่าเห็นสมควรเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้แต่งตั้ง ดร.วิรัช อภิเมธีธำรง และ/หรือนายชัยกรณ์ อุ่นปิติพงษา และ/หรือ นายอภิรักษ์ อติอนุวรรตน์ แห่งสำนักงาน ดร.วิรัช แอนด์ แอสโซซิเอทส์ ให้เป็นผู้สอบบัญชีของกลุ่มบริษัทสำหรับรอบปีบัญชี 2555 โดยได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้สอบบัญชีเป็นผู้มี คุณสมบัติเหมาะสม มีความรู้ความสามารถ มีความชำนาญในวิชาชีพ มีผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับและน่าพอใจ ผู้สอบบัญชีมีความเป็นอิสระ และไม่มีความสัมพันธ์หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทและบริษัทย่อย ในส่วนค่าสอบบัญชีสำหรับรอบ ปีบัญชี 2555 นั้น ได้พิจารณาแล้วว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยค่าสอบบัญชีที่ปรับเพิ่มขึ้นตามปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น จากการปรับ โครงสร้างและขยายธุรกิจของบริษัทในกลุ่มบีอีซี เวิลด์ เป็นหลัก

(นายอรุณ งามดี)

ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ในนามคณะกรรมการตรวจสอบ รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

5


คณะกรรมการบริษัท

นายวิชัย มาลีนนท์

นายประสาร มาลีนนท์

ประธานกรรมการ

นายประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการ

6

รองประธานกรรมการ

นางสาวรัตนา มาลีนนท์ กรรมการ

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

นางสาวนิภา มาลีนนท์

กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร


นางสาวอัมพร มาลีนนท์

นายประชุม มาลีนนท์

นางรัชนี นิพัทธกุศล

นายอรุณ งามดี

นายประธาน รังสิมาภรณ์

นายมานิต บุญประกอบ

นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู

นายสมชัย บุญนำศิริ

กรรมการ

กรรมการอิสระ

กรรมการอิสระ

กรรมการ

กรรมการอิสระ

กรรมการอิสระ

กรรมการ

กรรมการอิสระ

นายแมททิว กิจโอธาน

กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร

นางชลัยพร อิทธิถาวร เลขานุการบริษัท

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

7


คณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร

คณะกรรมการตรวจสอบ 1. นายอรุณ งามดี 2. นายประธาน รังสิมาภรณ์ 3. นายมานิต บุญประกอบ นายฉัตรชัย เทียมทอง

ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

1. 2. 3.

ประธานคณะกรรมการสรรหา กรรมการสรรหา กรรมการสรรหา เลขานุการคณะกรรมการสรรหา

คณะกรรมการสรรหา

นางสาวรัตนา มาลีนนท์ นายประชุม มาลีนนท์ นางรัชนี นิพัทธกุศล นายฉัตรชัย เทียมทอง

คณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร 1. นายวิชัย มาลีนนท์ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 2. นายประสาร มาลีนนท์ รองประธานกรรมการบริหาร, ประธานเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ าร และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ 3. นายประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการบริหาร - สายธุรกิจโทรทัศน์ และกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ 4. นายประชุม มาลีนนท์ กรรมการบริหาร - สายธุรกิจสื่อโฆษณา และกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ 5. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ กรรมการบริหาร - สายบัญชีและการเงิน 6. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ กรรมการบริหาร - สายธุรกิจผลิตรายการ 7. นางรัชนี นิพัทธกุศล กรรมการบริหาร - สายการตลาดและการขาย 8. นายปณิธาน ทศไนยธาดา* ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายโฆษณา 9. นายสมรักษ์ ณรงค์วิชัย* ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายผลิตรายการ 10. นายบริสุทธิ์ บูรณะสัมฤทธิ* ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายงานสนับสนุน 11. นายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน 12. ดร.อภิญญา กังสนารักษ์* ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล 13. นายพิษณุ เรืองรจิตปกรณ์* ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายเทคโนโลยี 14. นายณัฐธพงษ์ พิสิฐพัฒิกุล* ผู้อำนวยการ สำนักตรวจสอบภายใน (เดิมชื่อนายณพพงศ์ บุตรขวัญ) 15. นายนพดล เขมะโยธิน* ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการลงทุน หมายเหตุ * ไม่ใช่ผู้บริหารตามนิยาม ที่กำหนดไว้ในประกาศ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.24/2552

8

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


โครงสร้างกลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

กลุ่มธุรกิจดำเนินการออกอากาศ และสื่อโฆษณา

กลุ่มธุรกิจดำเนินจัดหา และผลิตรายการ

ธุรกิจโทรทัศน์

ธุรกิจจัดหาผลิตรายการบันเทิงและสารคดี

99.99% บจก. บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ (300)

99.99% บจก. รังสิโรตม์วนิช (5) 99.99% บจก. นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น (5) 99.99% บจก. บางกอกเทเลวิชั่น (5) 99.99% บจก. บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น (5) 59.99% บจก. ทีวีบี 3 เน็ตเวอร์ค (10)

ธุรกิจวิทยุ 99.99% บจก. ยูแอนด์ไอ คอร์โปเรชั่น (35)

ธุรกิจสื่อใหม่ 99.99% บจก. แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติ้ง *(1) 99.99% บจก. บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น *(25) 99.99% บจก. บีอีซี มัลติมีเดีย (200 : ชำระเเล้ว 50) 99.99% บจก. บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น (200)

ธุรกิจผลิตรายการแสดง ส่งเสริมการจำหน่ายเพลงและกิจกรรมรณรงค์

59.99% บมจ. บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (250 : ชำระเเล้ว 200) 59.99% บจก. ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ (10) 59.99% บจก. แฮฟเอกู๊ดดรีม (10) 51.00% บจก. บีอีซี-เทโร คอมคอม (28) 51.00% บจก. ไอเอ็มจี บีอีซี-เทโร สปอร์ตส แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด1 (10) 50.00% บจก. บีอีซี-เทโร ซีเนริโอ (40) 99.99% บจก. บีอีซี-เทโร ศาสน (10) 99.99% บจก. บีอีซี-เทโร เรดิโอ (49.96)

ธุรกิจต่อเนื่องและสนับสนุน หมายเหตุ : - ตัวเลขเปอร์เซ็นแสดงสัดส่วนการถือหุ้น - ตัวเลขในวงเล็บแสดงทุนจดทะเบียน (หน่วย : ล้านบาท) * ยังไม่เริ่มดำเนินการ 1จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อสิงหาคม 2554

99.99% บจก. บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ (1) 99.99% บจก. สำนักข่าวบีอีซี *(5) 99.99% บจก. บีอีซี สตูดิโอ *(5) 99.99% บจก. บีอีซี แอสเซท (30) 99.99% บจก. บีอีซี ไอที โซลูชั่น (15)

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

9


การดำเนินธุรกิจของ “กลุ่มบีอีซี เวิลด์” ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประกอบด้วยบริษัททั้งหมดรวม 25 บริษัท โดยมี บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทใหญ่ สามารถแยกออกเป็นกลุ่ม ตามลักษณะของธุรกิจที่ดำเนินกิจการได้ดังนี้

1. กลุ่มธุรกิจดำเนินการออกอากาศและสื่อโฆษณา ประกอบด้วย

1.1 ดำเนินงานออกอากาศโทรทัศน์ แยกเป็น:

1.2 ดำเนินงานธุรกิจวิทยุ โดยบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ดำเนินการออกอากาศวิทยุคลื่นเอฟ เอ็ม

1.3 ธุรกิจสื่อใหม่ ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ ดำเนินการโดยบริษัท บีอีซีไอ

10

ระบบฟรีทีวี ดำเนินการโดยบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ดำเนินธุรกิจบริหารการออกอากาศ โทรทัศน์สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบภาคพื้นดิน ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ภายใต้สัญญา ร่วมดำเนินกิจการฯกับ อ.ส.ม.ท. โทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ได้ให้ความสนใจในการดำเนินการโทรทัศน์ระบบบอกรับ เป็นสมาชิก และมองหาช่องทางส่งสัญญาณไปยังผูช้ มทัง้ ในประเทศและประเทศต่างๆ ทัว่ โลก โดยในระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาได้เริ่มทดลองส่งสัญญาณไปยังประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่าง การสรรหาผู้ร่วมดำเนินการในประเทศต่างๆ เพิ่มเติม

สถานีวิทยุ อสมท. 105.5 เมกะเฮิรตซ์, บริษัท ยูแอนด์ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด ดำเนินการออกอากาศวิทยุ คลื่นเอฟ เอ็ม 95.5, โดยมีบริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด) เป็นผู้ขายเวลาโฆษณา และให้คำปรึกษาด้านการพัฒนารายการ

คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด และ บริษัท บีอีซี–เทโร คอมคอม จำกัด อีกทั้งกำลังมองหา ช่องทางดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยบริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด และบริษัท แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติ้ง จำกัด

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


2. กลุ่มธุรกิจดำเนินการจัดหา-ผลิตรายการ และจัดจำหน่ายรายการ ประกอบด้วย

2.1 จัดหา-ผลิตและจัดจำหน่ายรายการบันเทิงและสารคดี โดยบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน), บริษัท

รังสิโรตม์วนิช จำกัด, บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด, บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท ทีวีบี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด, บริษทั บีอซี ี อินเตอร์เนชัน่ แนล ดิสทริบวิ ชัน่ จำกัด, บริษทั บีอซี ี - เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด

2.2 จัดหา-ผลิตรายการแสดงโชว์/คอนเสิร์ต และจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ดำเนินการโดย บริษัท บีอีซี-เทโร

เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด; นอกจากนี้ ยังมีบริษัท บีอีซี-เทโร ซีเนริโอ จำกัด ดำเนินการจัดแสดงละครบนเวที และบริษัท บีอีซี-เทโร ศาสน จำกัด ดำเนินการด้านการบริหาร และจัดการสโมสรฟุตบอล และบริษัทไอเอ็มจี บีอีซี-เทโร สปอร์ตส แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ดำเนินการ จัดการแข่งขันกีฬา การประกวด และการแสดงโชว์; โดยมีบริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำกัด ให้บริการทำ โฆษณาประชาสัมพันธ์ บริการขาย-รับจองบัตรเข้าชมการแสดง และให้บริการขายตั๋วรถยนต์โดยสาร

2.3 ธุรกิจต่อเนื่องและสนับสนุน ได้แก่ ธุรกิจให้บริการสารสนเทศ ดำเนินการโดย บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด

ธุรกิจถือครองและให้เช่าทรัพย์สิน ดำเนินการโดย บริษัท บีอีซี แอสแซท จำกัด และธุรกิจให้บริการอุปกรณ์ สตูดิโอ ดำเนินการโดยบริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด นอกจากนี้ ได้มีแผนที่จะดำเนินธุรกิจ ให้บริการการผลิตรายการ-ให้เช่าสตูดโิ อและ/หรืออุปกรณ์สตูดโิ อเพือ่ การผลิตรายการ และให้บริการ Post Production โดยบริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด และธุรกิจผลิตรายการข่าว ทำหน้าที่ผลิตข่าวเพื่อออกอากาศทั้งทางวิทยุและ โทรทัศน์ ตลอดจนถึงข่าวที่จะขายให้แก่สำนักข่าวอื่นๆ ในนาม บริษัท สำนักข่าว บีอีซี จำกัด

ปัจจุบันบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) มีทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท หุ้นของบริษัทได้เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2539 โดยใช้ชื่อย่อว่า “BEC” ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 1,899คน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2, 3, 8, 9, 30-34 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ เลขที่ 3199 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์หมายเลข (66) 2204-3333, 2262-3333 โทรสารหมายเลข (66) 2204-1384 เว็บไซต์ของบริษัท becworld.com รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

11


ºÃÔÉÑ· ºÕÍÕ«Õ àÇÔÅ´ ¨Ó¡Ñ´ (ÁËÒª¹)

ÊÙ‹¡ÒÃËÇÁÁ×Í Ã‹ÇÁ㨠ÊÌҧÊÃä ÊÔ觴Õæ ¤×¹ÊÙ‹Êѧ¤Á

p.12

p.13


กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปี 2554 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีนโยบายดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี และเนื่องจาก บริษัทย่อยของบริษัท คือ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ดำเนินธุรกิจสถานีวิทยุโทรทัศน์ (สถานีฯ) ซึ่งเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพ สูงสุดในการเข้าถึงประชาชนทั่วประเทศ ดังนั้นรูปแบบกิจกรรมจึงออกมาใน ลั ก ษณะกิ จ กรรมรณรงค์ เ พื่ อ การมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนทั่ ว ประเทศ โดย นอกจากจะริเริ่มจัดกิจกรรมเองแล้ว ยังให้การสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรม การรณรงค์ของหน่วยงาน/องค์กรอืน่ ๆ ทีม่ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ การรักษาสิง่ แวดล้อม

เพื่ อ สั ง คม โดยการเข้ า ร่ ว มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการจั ด กิ จ กรรมรณรงค์ ข อง

หน่วยงาน/องค์กรนั้นๆ ด้วย โดยกิจกรรมหลักที่ได้ดำเนินการไปในปีนี้ เป็นเรื่อง การช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย มีดังนี้

ขอบคุณ... น้ำใจไทย

บทความโดย อัชฌา สุวรรณปากแพรก รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด

ปี 2554 เป็นปีของน้ำจริงๆ ตั้งแต่ต้นปีน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมภาคใต้ ทั้งๆ ที่เป็นเดือนมีนาคม ซึ่งเริ่มเข้า หน้าร้อน แต่ฝนตกหนัก จากนัน้ น้ำก็ไปท่วมในจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ไล่ลงมาจนถึงภาคกลาง

จนมวลน้ำไหลผ่านทุ่งเจ้าพระยาออกอ่าวไทยตอนปลายปีข้ามมา ถึงต้นปีนี้ อุทกภัยในรอบปีที่ผ่านมา มีผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ 65 จังหวัด จำนวน 12.8 ล้านคน กินพื้นที่ 150 ล้านไร่ ธนาคารโลกประเมินความเสียหายมูลค่าสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท และจัดให้เป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดเป็น อันดับสี่ของโลก ในแง่ของปริมาณน้ำและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ ปี 2553 อุทกภัยว่ารุนแรงแล้ว แต่ปี 2554 ถือว่ารุนแรงที่สุด ในรอบหลายสิบปี เมื่อสังคมเกิดภัยพิบัติ ทีมงานครอบครัวข่าว 3 ขอทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของสังคม เปิดรับบริจาคเงินในนาม “กองทุน ครอบครั ว ข่ า ว 3 ช่ ว ยผู้ ป ระสบภั ย ” ขึ ้ น เพื ่ อ ระดมความช่ ว ยเหลื อ บรรเทาความเดื อ ดร้ อ นตลอดจนการเยี ย วยา

ผู้ประสบภัยซึ่งครอบครัวข่าวถือว่า เป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของสังคม ที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ช่วยเหลือ แบ่งเบาความเดือดร้อน ของคนไทย ในวันที่ 23 มีนาคม 2554 เกิดอุทกภัย ดินถล่มอย่างรุนแรง ในหลายจังหวัดของภาคใต้ น้ำป่าพัดพาชีวิต บ้านเรือน และ เรื อ กสวนไร่ น าของประชาชนไปพร้ อ มกั บ ความรุ น แรงของ กระแสน้ำ ครอบครัวข่าว 3 ขอเป็นสื่อกลางของคนไทยเพื่อแสดง “น้ำใจไทย” ช่วยเหลือดูแลกัน โดยเปิดบัญชีธนาคารในนาม “กองทุนครอบครัวข่าว 3 ช่วยผูป้ ระสบภัย” ให้คนไทยร่วมบริจาค เงินผ่านบัญชีธนาคาร และ SMS ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ AIS DTAC TrueMove หรือมาบริจาคโดยตรงที่สถานีฯ รวมเงิน บริจาคทั้งสิ้น 179,107,418.17 บาท และเพื่อความรอบคอบ โปร่ ง ใสและเป็ น ไปตามความประสงค์ ข องผู้ บ ริ จ าคอย่ า งมี ประสิทธิภาพทุกบาททุกสตางค์ ทางสถานีฯ จึงตัง้ คณะกรรมการ จัดการกองทุนครอบครัวข่าว 3 ช่วยผูป้ ระสบภัยขึน้ เพือ่ พิจารณา การใช้จา่ ยเงินตามโครงการต่างๆ ให้ถงึ ผูป้ ระสบภัยอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและโปร่งใสตรวจสอบได้โดยคณะกรรมการฯ ได้พิจารณา อนุมัติโครงการ ดังต่อไปนี้ 14

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


1. โครงการคลังอาหาร

24,990,698.69 บาท เป็ น การช่ ว ยเหลื อ เร่ ง ด่ ว นจั ด ข้ า วสารอาหารแห้ ง และถุงยังชีพแจกจ่ายผู้ประสบภัยใน จังหวัดสุราษฏร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, กระบี่ และชุมพร จำนวน 68,500 ถุง

2. โครงการสือ่ การเรียนการสอน/ซ่อมแซมโรงเรียน

42,193,390.33 บาท อุ ท กภั ย ในภาคใต้ ท ำให้ โรงเรี ย นได้ รั บ ความเสี ย หาย โดยเฉพาะสื่อการเรียนการสอน หนังสือยืมเรียน และนักเรียน เองก็ได้รบั ความเดือดร้อนเนือ่ งจากน้ำป่าเข้าท่วมบ้าน อย่างรวดเร็ว ต่างต้องเอาชีวติ รอดก่อน เสือ้ ผ้า ชุดนักเรียน หนังสือ สมุดดินสอ สูญหายไปกับกระแสน้ำ กองทุนฯ จึงมีโครงการนีข้ น้ึ เพือ่ ช่วยเหลือ โรงเรียนและนักเรียน โดยได้ช่วยเหลือไปทั้งสิ้น 599 โรงเรียน รวมนักเรียน 70,170 คน

3. โครงการบ้านน้ำใจไทย

44,651,208.75 บาท กองทุนฯ ได้ร่วมมือกับรัฐบาลช่วยสร้างบ้านให้กับ ผู้ประสบอุทกภัยที่บ้านพังทั้งหลัง ใน 4 จังหวัด คือ กระบี่, นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี และพัทลุง รวม 194 หลัง พร้อมกันนี้ได้มอบอุปกรณ์เครื่องครัว ที่นอนหมอนมุ้ง พร้อม 4. โครงการจัดซือ้ เครือ่ งมือทำกินและฟืน้ ฟูอาชีพ ถังเก็บน้ำ 2,755,224.00 บาท ปล่อยกุ้งในทะเลสาบสงขลา 10 ล้านตัว จัดหาอวน ให้ชาวประมงพื้นบ้านปัตตานี ปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ที่ จ.สุราษฏร์ธานี จัดหาเมล็ดพันธุข์ า้ วพันธุเ์ ป็ดเทศ และเมล็ดพืชผักสวนครัวให้กบั ชาว อำเภอควนขนุน จ.พัทลุง 2,589,880.00 บาท จัดหาเสือ้ กันหนาวให้กบั ผูป้ ระสบภัยทีอ่ พยพหนีนำ้ ป่า ในจังหวัดพัทลุง กระบี่ สุราษฏร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวน 15,754 ตัว

5. โครงการเสือ้ กันหนาว

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

15


6. โครงการศูนย์เตือนภัย

3,793,890.00 บาท หลายพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ที่อยู่ใกล้ลำธาร ใกล้เชิงเขา เป็นพื้นที่เสี่ยงกับอุทกภัย ดินถล่ม หลายชีวิตสูญเสียไปกับน้ำป่า ที่ไหลหลากอย่างรุนแรง ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงขอให้กองทุนฯ ช่วยเหลือ จึงมีโครงการนีข้ น้ึ โดยร่วมกับภาคประชาชน ตัง้ เครือ่ งวัด ปริมาณน้ำฝน เพือ่ ชีว้ ดั ความเสีย่ งของน้ำป่า พร้อมกันนีไ้ ด้ตดิ ตัง้ วิทยุสื่อสาร เครื่องฐาน และลูกข่าย เพื่อให้สามารถเตือนภัย ได้ทันท่วงที ติดตั้งที่อำเภอนบพิตำ อำเภอสิชล อำเภอปากพนัง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยมีมูลนิธิ กระจกเงาร่วมในการฝึกอบรมการเตือนภัยและการอพยพประชาชน ด้วย ในช่วงฝนตกหนักและเกิดน้ำป่าไหลหลากในช่วงปลายปีทแ่ี ล้ว อุปกรณ์เหล่านี้ก็ได้ช่วยในการเตือนภัยและอพยพชาวบ้านที่ อำเภอนบพิตำ และที่ อำเภอสิชล ทำให้ไม่มีผู้สูญเสียชีวิตจาก เหตุการณ์ครั้งล่าสุด

16

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

สรุป รวมยอดเงินบริจาค 179,107,418.17 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้ง 6 โครงการทั้งสิ้น 120,974,291.77 บาท ยอดเงินคงเหลือ 58,133,126.40 บาท (ยอดยกไปรวมกองทุนครอบครัวข่าว 3 ช่วยผู้ประสบภัย 2554-2)

ขณะที่ อุ ท กภั ย ในภาคใต้ ยั ง ไม่ ได้ เข้ า สู่ ภ าวะปกติ ฝนก็เริ่มกระหน่ำทางภาคเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หลายพื้นที่น้ำท่วมสูง เข้าสู่ช่วงมรสุม พายุฝนก็กระหน่ำ ทางภาคเหนือ ที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เกิดน้ำป่า ไหลหลาก ดินถล่ม ทำให้มผี เู้ สียชีวติ บ้านเรือนราษฎรเสียหาย ภาวะของมวลน้ำเริม่ ส่อวิกฤต น้ำเหนือเริม่ ไหลเข้าภาคกลางสู่ แม่นำ้ เจ้าพระยา ปริมาณมวลน้ำมหาศาลทีเ่ กินกำลังการเก็บกัก ของเขื่อนไหลเข้าท่วมจังหวัดต่างๆ ในภาคกลาง ไล่ลงไป จนกระทั่งน้ำไหลออกอ่าวไทย ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนเศษ ซึ่งช่วง 3 เดือนนี้ พื้นที่น้ำท่วมขยายวงกว้าง กว้างมากที่สุด และสูงที่สุดในรอบหลายสิบปี กองทุนครอบครัวข่าว 3 ช่วยผู้ประสบภัยได้นำเงินที่ยกมาจากการบริจาคเมื่อต้นปี เข้าดำเนินการช่วยเหลือประชาชนเพือ่ บรรเทาความเดือดร้อน ของผูป้ ระสบภัยและได้เปิดรับบริจาคเพือ่ ระดมความช่วยเหลือ เป็นกองทุนครอบครัวข่าว 3 ช่วยผูป้ ระสบอุทกภัย 54 - 2


3. โครงการบ้านน้ำใจไทย-น้ำปาด 12,565,000.00 บาท

จากพายุฝนถล่ม น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน ราษฎร ที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้บ้านเรือน ประชาชนกว่า 70 หลัง เสียหายพังทัง้ หลัง ในการนี้ ครอบครัว ข่าว 3 ได้ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนพึ่งภาฯ ยามยาก สร้างบ้าน ให้ผู้ประสบภัยจำนวน 35 หลัง พร้อมมอบอุปกรณ์เครื่องครัว ที่นอนหมอนมุ้ง รวมถึงถังน้ำ ด้วย นอกจากนั้นยังช่วย สนับสนุนเพิม่ งบประมาณส่วนต่างทีท่ างจังหวัดได้จากรัฐบาล โดยเปิ ด ช่ อ งทางรั บ บริ จ าคผ่ า นธนาคารกรุ ง เทพ ไม่เพียงพออีก 36 หลัง เป็นเงิน 716,004.00 บาท ธนาคารไทยพาณิชย์​์ และ SMS ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มอื ถือ 30,000,000.00 บาท AIS DTAC TrueMove รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 548,303,958.87 บาท 4. โครงการประตูใจ เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาผู้ประสบภัย กองทุนฯ (รวมยอดเงินยกมาจากกองทุนฯ 2554-1 จำนวน 58,133,126.40 ได้จดั หาประตูพร้อมลูกบิดบานพับให้แก่ประชาชนผูป้ ระสบภัย บาท) ทีม่ รี ายได้นอ้ ย ในจังหวัดต่างๆ รวมแล้ว 45,392 ชุด ในการช่วยเหลือผูป้ ระสบอุทกภัย คณะกรรมการกองทุน ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครอบครัวข่าว 3 ได้อนุมัติ โครงการ 5. โครงการเสื้อกันหนาว 2,500,000.00 บาท ช่วยเหลือดังต่อไปนี้ ในช่วงที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ถูกน้ำป่า 1. โครงการคลังอาหาร 214,951,758.40 บาท ไหลหลาก ผู้คนอพยพทิ้งบ้านเรือน จนกระทั่งถึงฤดูหนาว จัดทำถุงยังชีพ 550,000 ถุง แจกจ่ายไปยังผู้ประสบภัยทุกจังหวัด อากาศเริ่มเย็นลง กองทุนฯ จึงได้จัดหาเสื้อกันหนาวจำนวน ในพืน้ ที่ ขณะเดียวกันก็ได้จดั ตัง้ คลังอาหาร โดยนำเครือ่ งอุปโภค 2,000 ตัว และผ้านวม 580 ผืน ให้กับประชาชนผู้อพยพ บริโภคทีไ่ ม่ตอ้ งบรรจุถงุ ไปให้กบั ชุมชนทีส่ ามารถรวมกลุม่ บริหาร และผู้ประสบภัยในอำเภอน้ำปาด จัดการดูแลกันเองได้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม

2. โครงการสื่อการเรียนการสอน และซ่อมแซม โรงเรียน 44,065,457.00 บาท

คาราวานสื่อการเรียนการสอนได้ดำเนินการช่วยเหลือ โรงเรียนและนักเรียนที่ประสบภาวะน้ำท่วมในจังหวัดภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง รวมทัง้ สิน้ 656 โรงเรียน เป็นนักเรียน 110,000 คน โดยกองทุนฯ ได้จัดหนังสือยืมเรียน อุปกรณ์ การเรียน อุปกรณ์ดูแลเด็กอนุบาล สมุดดินสอ เครื่องกีฬา ไปช่วยเหลือเยียวยา กับโรงเรียน และนักเรียนที่ประสบภัย

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

17


6. โครงการเรือน้ำใจไทย

13,790,070.00 บาท ด้วยภาวะน้ำท่วมสูงเป็นระยะเวลายาวนาน การสัญจร เดินทางของประชาชนเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการนำความช่วยเหลือไปให้ผู้ประสบภัยในท้องถิ่น ที่ห่างไกล “เรือ” ขนาดใหญ่จึงมีความจำเป็น กองทุนฯ จึงได้ จัดหาเรือขนาดใหญ่พร้อมเครื่องยนต์ให้กับอาสาสมัคร ชุมชน หน่วยราชการ เพื่อนำความช่วยเหลือให้เข้าถึงผู้ประสบภัย อย่างทั่วถึงที่สุด พร้อมกันนี้ได้จัดหาเครื่องยนต์มาติดตั้งให้กับ เรือที่มีผู้บริจาคอีก 53 เครื่องด้วย

9. โครงการฟื้นฟู Cleaning Kits 4,400,000.00 บาท

ในช่วงทีน่ ำ้ ลด ทางกองทุนฯ ได้เข้าสูช่ ว่ งโครงการฟืน้ ฟู โดยมอบ ชุด Cleaning Kits ซึง่ ประกอบด้วย ม็อบถูพน้ื , แปรงขัดพืน้ , ผงซักฟอก, น้ำยาทำความสะอาด, ถุงมือ, แอลกอฮอลล์, ถุงดำ ฯลฯ จำนวน 10,000 ชุด ให้ผปู้ ระสบภัยเพือ่ ทำความสะอาด บ้านเรือน

10. โครงการซ่ อ มแซมบ้ า นผู้ ป ระสบอุ ท กภั ย ที่ ยากไร้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 8,009,193.33 บาท

รายการตู้ปณ.ข่าว 3 รับผิดชอบโครงการซ่อมบ้าน นอกจากนัน้ จำนวนเรือทีแ่ จกจ่ายให้กบั ผูป้ ระสบภัยเป็น เรือขนาดเล็กที่มีผู้บริจาคผ่านครอบครัวข่าว 3 อีกประมาณ ผู้ประสบภัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยกองทุนฯ มีข้อกำหนด เน้นการซ่อมบ้านให้คนชราและคนพิการที่ยากจน ในจังหวัด 2,092 ลำ ต่างๆ ก่อน ซึง่ บางกรณีกเ็ ป็นการสร้างบ้านให้ทง้ั หลัง แต่สว่ นใหญ่ 7. โครงการครัวน้ำใจไทย 97,500,000.00 บาท เป็นการซ่อมแซมตามสภาพ ขณะนีด้ ำเนินการไปแล้ว 466 หลัง ในช่วงทีเ่ กิดภาวะน้ำท่วม ทีมงานรายการผูห้ ญิงถึงผูห้ ญิง พร้อมด้วยอาสาสมัครได้ทำการปรุงอาหารสุกไปแจกจ่ายให้กบั 11. โครงการงานเข้า งานหาคน คนหางาน 60,000.00 บาท ผู้ประสบภัยทุกพื้นที่ตระเวนตามไปจุดต่างๆ และเมื่อเข้าสู่ช่วง เป็นกิจกรรมหางานให้กับผู้ตกงานเนื่องจากปัญหา ฟื้นฟูหลังน้ำลด เห็นว่า ชุดเครื่องครัวของผู้ประสบภัยได้รับ ความเสียหาย กองทุนฯ จึงได้เข้าไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อน อุทกภัย ตลอดจนการเปิดสอนและฝึกอาชีพให้กับผู้ตกงาน โดยจัดหาชุดเครื่องครัว ประกอบด้วย หม้อ จาน ชาม ช้อน โดยร่วมกับกรมจัดหางานและหน่วยงานเอกชน จัดไปทั้งสิ้น กระทะ ถังแก๊ส ฯลฯ ประมาณ 20,000 ชุด ให้กบั ผูป้ ระสบภัย 6 ครั้ง 6 จังหวัด 2,000,000.00 บาท สุขาเคลื่อนที่ เป็นความจำเป็นสำหรับผู้ประสบภัย โดย ข้อเท็จจริงแล้วมีผู้บริจาคผ่านครอบครัวข่าว 3 เป็นจำนวนมาก ส่วนทีจ่ ดั หาในวงเงิน 2 ล้านนี้ เนือ่ งจากหน่วยราชการร้องขอ และ เป็นการเร่งด่วน กองทุนฯ จึงได้ดำเนินการจัดหาเป็นกรณีพเิ ศษ

8. โครงการสุขาเคลื่อนที่

18

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


12. โครงการจัดซื้อเครื่องมือทำกินและฟื้นฟูอาชีพ สรุป 23,027,400.00 บาท รวมยอดเงินบริจาค

548,303,958.87 บาท เพื่อให้ชาวนามีเมล็ดพันธุ์ข้าวในฤดูปลูกใหม่ทดแทน รวมค่าใช้จา่ ยทัง้ 13 โครงการทัง้ สิน้ 454,086,825.33 บาท 94,217,133.54 บาท พันธุข์ า้ วทีเ่ สียหายไปกับอุทกภัย รายการข่าวสามมิตริ บั ผิดชอบ ยอดเงินคงเหลือ โครงการมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกรที่จังหวัดลพบุรี (สรุปยอดเงินค่าใช้จ่าย ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555) และชัยนาท จำนวน 900 ตัน รายการ เกษตรฮอทนิวส์ จัดหาพันธุ์ สำหรับกองทุนครอบครัวข่าว 3 ช่วยผูป้ ระสบภัย 2553 ต้นชะอมให้กบั เกษตรกรผูป้ ลูกชะอมทีต่ น้ ชะอมเสียหายทัง้ หมด ทีจ่ งั หวัดอ่างทองจำนวน 250 ราย โต๊ะข่าวเศรษฐกิจช่วยเหลือ มียอดบริจาคทั้งสิ้น 186,519,788.53 บาท รวม ค่าใช้จ่าย ชาวสวน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มอบพันธุ์ ตามโครงการฯ 156,171,455.51 คงเหลือสุทธิ มอบเงินบริจาค มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 จำนวน 24,000 ต้น 30,348,333.02 บาท 13. โครงการอื่นๆ 1,217,946.60 บาท การช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยของครอบครัวข่าว 3 จะสำเร็จ เป็นโครงการทีห่ น่วยงานหรือชุมชนร้องขอ เช่น โครงการ สร้างสะพานไม้เชือ่ มถนนกับโรงพยาบาลภูมพิ ล จัดหาอาหารสัตว์ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคเงินได้ ต้องได้รับ โครงการจัดทำเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ช่วยกู้พื้นที่น้ำท่วมต่างๆ ความร่วมมือจากพันธมิตรครอบครัวข่าว หลายสิบหน่วยงาน เอกชนและหน่วยงานราชการ ซึง่ นำความช่วยเหลือทีป่ ระชาชน นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่คณะกรรมการกองทุนฯ บริจาคผ่านครอบครัวข่าว 3 ไปให้ผปู้ ระสบภัยอย่างทัว่ ถึงรวดเร็ว อยู่ระหว่างพิจารณา คือ โครงการที่จะช่วยฟื้นฟูพุทธมณฑล ครอบครัวข่าว 3 ในนามของผูป้ ระสบภัยและผูบ้ ริจาคขอขอบคุณ ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะต้นไม้ เพื่อให้ เหล่าจิตอาสาเหล่านี้เป็นอย่างสูง สิ่งเหล่านี้ทั้งการบริจาคเงิน พุ ท ธมณฑลฟื้ นกลั บ มาเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ละศู น ย์ ก ลางของ การเข้ามาร่วมกันในการช่วยเหลือ ได้บง่ บอกถึงคุณลักษณะพิเศษ พุทธศาสนาโดยเร็ว ของสังคมไทยที่ห่วงใยช่วยเหลือเกื้อกูลกันเมื่อยามภัยมาว่า “น้ำใจไทย” ขอบคุณ “น้ำใจไทย”

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

19


คำอธิบายและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน

ภาวะอุตสาหกรรม - ธุรกิจดำเนินการออกอากาศและสื่อโฆษณา ธุรกิจโทรทัศน์ในประเทศ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ (1) ธุรกิจโทรทัศน์ปกติ และ (2) ธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับ เป็นสมาชิก ในส่วนของธุรกิจโทรทัศน์ปกตินน้ั ปัจจุบนั มีเครือข่ายหลัก 6 เครือข่าย โดยที ่ 5 เครือข่ายเดิม (ช่อง 3 - ซึง่ ดำเนินการโดยบริษทั บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด, ช่อง 5, ช่อง 7, ช่อง 9 และช่อง 11) ออกอากาศในระบบVHFเป็นหลัก และ เครือข่ายใหม่ “ไทย-พีบีเอส” (T-PBS ซึ่งเริ่มในชื่อ “ไอทีวี” แล้วเปลี่ยนแปลงเป็น “ทีไอทีวี” ก่อนแปรสภาพมาเป็นเครือข่ายที่ให้บริการ ในฐานะบริการสาธารณะเช่นปัจจุบนั ) ออกอากาศในระบบUHF แม้ทกุ เครือข่ายมีพน้ื ทีอ่ อกอากาศครอบคลุมทัว่ ประเทศในขนาด ที่ใกล้เคียงกัน แต่เนื่องจากความนิยมที่สร้างสะสมมาเป็นเวลานาน การแข่งขันจึงกระจุกตัวอยู่ในระหว่าง 2 เครือข่ายหลัก คือ “ช่อง 3” และ “ช่อง 7” ซึ่งมีส่วนแบ่งผู้ชมรวมกันในช่วงเวลาที่สำคัญอยู่สูงถึงประมาณร้อยละ 70 โดยที่ทาง “ช่อง 7” อยู่ในฐานะ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำตลาด ในประเด็นเรื่องสัดส่วนคนดู เนื่องจากการที่ “ช่อง 7” สามารถสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุม ทั่วประเทศได้ก่อนเครือข่ายอื่นๆ จึงได้เปรียบในการสร้างฐานคนดูมีส่วนแบ่งคนดูประมาณร้อยละ 40 ในขณะที่ “ช่อง 3” ที่ในช่วงต้น เข้าถึงได้เฉพาะคนดูในส่วนที่เป็นคนเมือง จึงมีฐานคนดูที่แคบกว่า แม้ว่าในช่วงยี่สิบปีหลังนี้ “ช่อง 3” ได้ขยาย เครือข่ายสามารถเข้าถึงคนดูได้ทั่วประเทศเท่าเทียมกับเครือข่ายอื่น และได้มีการนำเสนอรายการในรูปแบบต่างๆ เพิ่มเติมขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความหลากหลายของฐานคนดูของ “ช่อง 3” แต่ก็ยังมีส่วนแบ่งคนดูเป็นที่ 2 มีส่วนแบ่งคนดูประมาณร้อยละ 30 ต่ำกว่าที่ “ช่อง 7” มีอยู่พอสมควร อีก 4 เครือข่ายที่เหลือนั้น ต่างมีคนดูอยู่ในระดับร้อยละ 10 หรือต่ำกว่า โดยที่ “ช่อง 11” เป็นเครือข่ายที่มีคนดูน้อยที่สุดในภาวะปกติ ในแง่ธุรกิจในฐานะสื่อโฆษณา ในช่วงแรกทุกเครือข่ายต่างให้บริการเชิงพาณิชย์ จนเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาระหว่าง ภาครัฐกับ “ไอทีวี” เปลี่ยนแปลงเป็น “ทีไอทีวี” ก็ยังดำเนินการต่อในรูปแบบเดิมอยู่ต่ออีกระยะหนึ่ง จนกระทั่งมีการแปลงสภาพ “ทีไอทีวี” อีกครั้งเป็น “ไทย-พีบีเอส” (T-PBS) ในรูปแบบโทรทัศน์สาธารณะที่ไม่มีโฆษณาในช่วงกลางมกราคมปีพ.ศ. 2551 ทำให้จำนวนผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์ปรับลดลงเหลือเพียง 5 เครือข่าย และโดยที่ “เนลสัน มีเดีย รีเสริช์” ได้เคยรายงานว่า “ไอทีวี/ทีไอทีวี” มีส่วนแบ่งตลาดในเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์สูงกว่าร้อยละ 15 ในปีพ.ศ. 2550 และ ก่อนหน้านัน้ ยิง่ ทำให้ภาวะอุตสาหกรรมในแง่ของส่วนแบ่งเม็ดเงินโฆษณาเปลีย่ นแปลงไปจากเดิมมาก และก็มผี ลทำให้จำนวนยอด เม็ดเงินโฆษณาผ่านสือ่ โทรทัศน์ในปีพ.ศ. 2551 ตามทีร่ ายงานโดย “เนลสันฯ” ได้ยบุ ตัวลงจากปีกอ่ นเกือบทุกเดือน แต่อย่างไรก็ตาม เนลสันฯ ได้รายงานว่าอุตสาหกรรมยังมีการเติบโตจากปีก่อนในช่วงไตรมาส 2 และเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปีพ.ศ. 2551 ทำให้ อุตสาหกรรมโดยรวมในปีพ.ศ. 2551 ยุบตัวลงจากปีก่อน เพียงร้อยละ 4.4 จึงมีผลทำให้ทุกช่อง ยกเว้น “ที-ไอทีวี/ที-พีบีเอส” มีการเติบโตสูงกว่าปีกอ่ นทัง้ สิน้ โดยทีก่ ารใช้เงินของผูโ้ ฆษณาไม่ได้ยบุ ตัวไปในทางเดียวกัน นอกจากผูท้ เี่ คยเป็นผูโ้ ฆษณารายใหญ่ 20

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


ของ “ที-ไอทีวี” ซึ่งกลับมาเป็นผู้โฆษณาที่ใช้เงินลดลงในปีพ.ศ. 2551 แต่เนลสันฯ ได้รายงานว่ายังมีผู้โฆษณาหลายกลุ่มสินค้า /หลายราย ทั้งรายใหญ่ๆ และรายกลางๆ ที่ยังเพิ่มการใช้เงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ในปีพ.ศ. 2551 นั้นสูงขึ้นกว่าปีก่อน และ มีหลายรายทีใ่ ช้เงินโฆษณาเพิม่ ขึน้ มากกว่าร้อยละ 20 ของปีกอ่ น อีกทัง้ ยังมีผโู้ ฆษณารายใหม่เพิม่ เข้ามาอีกมากราย ทำให้ผโู้ ฆษณา ส่วนใหญ่มีส่วนแบ่งในอุตสาหกรรมลดลง แสดงให้เห็นได้ชัดถึงความหลากหลาย, ความมั่นคง และโอกาสที่ดีของการเติบโต ของอุตสาหกรรม อันเป็นเหตุให้ทั้ง “ช่อง3” และเครือข่ายอื่น สามารถปรับอัตราราคาเวลาโฆษณาเพิ่มขึ้นในบางช่วงเวลา มาตั้งแต่ช่วงต้นปีพ.ศ. 2551 และอีกรอบในช่วงกลางไตรมาส 2 ปีพ.ศ. 2551 ก่อนที่ข่าวร้ายทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ จะมีผลลบต่อเศรษฐกิจมหภาคจนทำให้อุตสาหกรรมได้ยุบตัวต่อเนื่องกันใน2เดือนสุดท้ายของปีพ.ศ. 2551นั้น แต่ก็ยังเป็นอัตรา การยุบตัวลงในอัตราที่ต่ำ สำหรับปีพ.ศ. 2552 ข่าวร้ายทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ เริ่มส่งผลลบต่อเศรษฐกิจมหภาค ของไทย มาตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2551 มีผลทำให้อุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2552 ได้ยุบตัวลงถึงร้อยละ 8 จากยอด ที่เคยใช้ในไตรมาสก่อน ตามรายงานของ “เนลสันฯ” แม้ส่วนหนึ่งจะถือได้ว่าเป็นปกติของการเปรียบเทียบไตรมาสต้นปี (ซึง่ เป็นช่วง “โล-ซีซน่ั ”) กับไตรมาสท้ายปี (ซึง่ เป็นช่วง “ไฮ-ซีซน่ั ”) และ “เนลสันฯ” ก็ได้รายงานว่า เม็ดเงินโฆษณาผ่านสือ่ โทรทัศน์ ได้ปรับฟื้นตัวในเดือนมีนาคม เมื่อเริ่ม “ไฮ-ซีซั่น” รอบแรกของปี พ.ศ. 2552 แม้ “เนลสันฯ” ได้รายงานด้วยว่าการใช้เงิน ของผู้โฆษณารายใหญ่รายหนึ่งในช่องหลักช่องหนึ่งได้ลดลงมากผิดปกติ ฉุดให้อุตสาหกรรมลดต่ำลงจากปีก่อนในอัตราสูง ในไตรมาสสองของปีนั้น แต่เหตุการณ์ผิดปกตินั้น กลับมีผลช่วยให้ภาวะการแข่งขัน ในระหว่างเจ้าของสินค้า/ผู้โฆษณาในกลุ่ม สินค้าที่เกี่ยวข้องเพิ่มรุนแรงมากขึ้น มีการใช้เงินโฆษณาจากผู้โฆษณากลุ่มนั้นเพิ่มจากฐานของปีก่อนสูงมาก ทำให้อุตสาหกรรม กลับมามีการเติบโตได้เป็นอย่างดีในครึง่ หลังของปี และเป็นการเติบโตในอัตราทีด่ ขี น้ึ อย่างต่อเนือ่ ง ช่วยให้ยอดรวมทัง้ ปีพ.ศ. 2552 มีการเติบโตสูงกว่าปีกอ่ นได้ โดยทีท่ กุ ช่องมีการเติบโตจากฐานปีกอ่ น ยกเว้นช่องหลักทีม่ กี ารลดผิดปกติ แม้ปญ ั หาความผิดปกติ นั้นดูคล้ายจะได้คลี่คลายไปตั้งแต่ปลายไตรมาสสามแล้วก็ตาม สำหรับปี 2553 จากฐานที่ต่ำในปีก่อนตั้งแต่ไตรมาสแรกเพราะ ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค ซ้ำด้วยปัญหาในการใช้เงินของผูโ้ ฆษณารายใหญ่รายหนึง่ -ในโทรทัศน์ชอ่ งหลักช่องหนึง่ ในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของปีพ.ศ. 2552 ซึ่งก็มีส่วนทำให้สภาวะการแข่งขันในระหว่างเจ้าของสินค้า/ผู้โฆษณาในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้อง

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

21


พัฒนารุนแรงมากขึ้นมาตั้งแต่นั้น และมีส่วนทำให้อุตสาหกรรมกลับมามีการเติบโตได้เป็นอย่างดีมาตั้งแต่ครึ่งหลังของ ปีพ.ศ. 2552 เป็นการเติบโตในอัตราที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ยอดการใช้เงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ในปีพ.ศ. 2553 นี้ ตามที่รายงานโดย “เนลสัน มีเดีย รีเสริทซ์” (เนลสันฯ) มีการเติบโตสูงกว่าฐานปีก่อนเป็นตัวเลขสองหลัก ได้ตลอดทั้งปี แม้ อุตสาหกรรมและประเทศได้ประสบปัญหาจากเหตุการจลาจลกลางเมืองในช่วงกลางไตรมาส 2 แต่เมื่อเหตุการณ์นั้นสงบ การใช้เงินโฆษณาก็โตขึ้นมามาก อย่างต่อเนื่องอีกเช่นเคย ส่วนหนึ่งก็ได้ผลบวกจากการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก อีกส่วนหนึง่ ก็ได้ผลบวกจากการปรับฟืน้ ของเศรษฐกิจมหภาค และ การปรับฟืน้ ของความเชือ่ มัน่ ของผูบ้ ริโภคและผูป้ ระกอบการ อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ในช่วงท้ายปีอีกด้วย ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ต่างเป็นเหตุกระตุ้นให้ภาวะการ แข่งขันในระหว่างเจ้าของสินค้า/ผู้โฆษณาเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นไปอีก เนลสันฯ ได้รายงานว่ายอดรวมทั้งปีพ.ศ. 2553 อุตสาหกรรมได้โตขึ้นร้อยละ 15 โดยที่เนลสันฯได้รายงานด้วยว่า มีผู้โฆษณาหลายกลุ่มสินค้า/หลายราย ทั้งรายใหญ่ๆ และ รายกลางๆ ทั้งที่เป็นผู้โฆษณาจากกลุ่มสินค้าอุปโภค/บริโภคหลัก-ที่เป็นผู้โฆษณารายใหญ่มาแต่ดั้งเดิม และผู้โฆษณาที่เริ่มขยับ ขึ้นมาเป็นรายใหญ่หน้าใหม่จากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมการเงิน ต่างได้เพิ่มการใช้เงินโฆษณาผ่านสื่อ โทรทัศน์สูงขึ้นกว่าที่เคยใช้ในปีก่อนในอัตราสูง-เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ของปีก่อน ทำให้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ใน ปีพ.ศ. 2553 นั้น เป็นยอดที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ สูงกว่าที่เคยเป็นในปีพ.ศ. 2550 ที่ขณะนั้นอุตสาหกรรมยังมี “ไอทีวี” ร่วม อยู่ด้วยตลอดทั้งปีนั้นแล้ว และเนลสันฯ ได้รายงานด้วยว่าเขาพบว่า อัตราการใช้นาทีโฆษณา ได้เพิ่มขึ้นถึงอัตราสูงสุดที่กำหนด โดยกฎหมาย ในแทบทุกช่องต่อเนื่องตลอดช่วงครึ่งหลังของปีอีกด้วย ตอกย้ำให้เห็นชัดเจน ถึงพลังซื้อจากความหลากหลายของ อุตสาหกรรม ตลอดถึงความมั่นคง และ โอกาสที่ดีของการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรม สำหรับปี 2554 หลังจากที่อุตสาหกรรมโฆษณาได้โตขึ้นมาอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาส จนถึงปลายกันยายนพ.ศ. 2554 “เนลสัน มีเดีย รีเสริทซ์” ได้รายงานว่าอุตสาหกรรมโฆษณาเริ่มทรุดตัวปรับลดลงมาตั้งแต่เดือนตุลาคม โดยเป็นผลกระทบจาก ปัญหามหาอุทกภัย และได้ทรุดหนักลงไปอีกในเดือนพฤศจิกายน เมื่อน้ำท่วมเขตอุตสาหกรรมหลายแห่ง และน้ำที่ท่วม ได้สร้างปัญหาในการขนส่งสินค้าเข้า/ออกกรุงเทพฯ จนเป็นผลฉุดให้อุตสาหกรรมทรุดลง ต่ำกว่าไตรมาสก่อน และต่ำกว่าปีก่อน กว่าร้อยละ 14 แม้ว่าจะได้มีการฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดในเดือนธันวาคมก็ตาม แต่จากการที่อุตสาหกรรมโฆษณาได้เติบโตดีขึ้นมาตลอดตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2554 จนถึงสิ้นไตรมาส 3 จึงทำให้ยอดรายจ่าย โฆษณารวมทั้งปี ยังสามารถโตขึ้นเป็นยอดสูงกว่าปีก่อนได้อยู่ดี แม้อัตราเติบโตจะเป็นเพียงแค่ละร้อยละ 3.5 โดยที่สื่อโทรทัศน์ ได้รับผลกระทบจากปัญหามหาอุทกภัยในอัตราที่รุนแรงกว่าสื่ออื่น ประกอบกับการที่แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่ได้ปรับตัวดีขึ้น ก่อนหน้านั้น ได้ส่งผลให้สื่อโฆษณาอื่นๆ สามารถเติบโตได้ในอัตราที่ดีกว่าสื่อโทรทัศน์ ที่มีข้อกำหนดบังคับจำกัดจำนวนนาที โฆษณาไว้ และได้มีการใช้นาทีโฆษณาในอัตราสูงมาตั้งแต่ปีก่อน จึงมีผลให้การใช้เงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์เติบโตขึ้นจากปี ก่อนในอัตราที่ต่ำกว่าอุตสาหกรรม (โตขึ้นเพียงร้อยละ 2.4) อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก่อนเกิดมหาอุทกภัย ซึ่งได้เป็นเหตุกระตุ้นให้ภาวะการแข่งขันในระหว่าง เจ้าของสินค้า/ผูโ้ ฆษณา ให้มกี ารแข่งขันกันรุนแรงมากขึน้ ไปอีก เราจึงเห็นได้วา่ มีผโู้ ฆษณา หลายราย/หลายกลุม่ สินค้า ทัง้ รายใหญ่ๆ และรายกลางๆ ทั้งที่เป็นผู้โฆษณาเดิมและเป็นรายใหม่ ทั้งจากกลุ่มสินค้าที่เป็นผู้โฆษณารายใหญ่มาแต่ดั้งเดิม (เช่น ผู้โฆษณา ในกลุ่มสินค้าอุปโภค/บริโภคหลัก และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม) และกลุ่มสินค้าที่เริ่มโตขึ้นมาเป็นผู้โฆษณารายใหญ่หน้าใหม่ (เช่น ผู้โฆษณาจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมการเงิน) ต่างก็ได้เพิ่มการใช้เงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์สูงขึ้น กว่าที่เคยใช้ในปีก่อนในอัตราสูง เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ของปีก่อน อีกทั้งยังเห็นจำนวนผู้โฆษณาได้เพิ่มขึ้นมากด้วย 22

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของผู้โฆษณารายใหญ่ลดลง เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์มีความหลากหลายมากขึ้นมาก จึงตอกย้ำ ให้เห็นชัดเจน ถึงพลังซือ้ ทีแ่ ข็งแกร่งจากภาวะการแข่งขันและความหลากหลายของอุตสาหกรรม ตลอดถึงความมัน่ คง และโอกาสทีด่ ี ของการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมได้อีกเช่นเคย อย่างไรก็ตาม “เนลสันฯ” ได้รายงานด้วยว่า ทั้งสองเครือข่ายใหญ่ทั้ง “ช่อง3” และ “ช่อง7” นี้ต่างก็มีส่วนแบ่งเม็ดเงิน โฆษณาต่ำกว่าส่วนแบ่งคนดูที่ทำได้ แต่ส่วนต่างของส่วนแบ่งตลาดเม็ดเงินโฆษณาระหว่างสองเครือข่ายนี้ไม่ห่างกันมากเช่น ส่วนแบ่งคนดู แต่สำหรับเครือข่ายที่เหลือทุกสถานีต่างมีส่วนแบ่งเม็ดเงินสูงกว่าส่วนแบ่งคนดู แต่ก็ไม่มีใครสามารถยืนยัน ความถูกต้องแม่นยำของรายงานส่วนแบ่งตลาดทีว่ า่ นี้ และแม้วา่ ส่วนแบ่งการตลาดของสองเครือข่ายใหญ่จะอยูใ่ นอัตราสูงก็จริง แต่เครือข่ายอื่นๆ ก็ไม่อยู่นิ่ง และได้พยายามที่จะปรับเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของตัวเองขึ้นด้วยกันทั้งนั้น อีกทั้งโดยภาพรวมแล้ว สำหรับธุรกิจโทรทัศน์ปกตินี้ยังมีช่องว่างในระบบ UHF สำหรับเครือข่ายรายใหม่เหลืออยู่อีก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กร จัดสรรคลืน่ ความถี่ ว่าจะออกใบอนุญาตใหม่อย่างไร/เมือ่ ไร แต่กไ็ ม่นา่ จะเป็นเรือ่ งทีท่ ำได้ฉบั พลัน เนือ่ งจากได้มกี ฎให้มกี ารประกาศ แผนแม่บทแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนดำเนินการดังกล่าว การแข่งขันในธุรกิจนี้จึงเป็นที่น่าสนใจให้ติดตามอยู่ตลอดเวลา ในส่วนของธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกนั้น นอกจากผู้ประกอบการระดับประเทศที่ได้รับใบอนุญาตแต่เพียง รายเดียวแล้วก็ยงั มีผปู้ ระกอบการระดับท้องถิน่ อีกมากราย โดยรวมนัน้ แม้จะได้ดำเนินการมาหลายปีแล้วก็ตาม แต่กย็ งั ไม่สามารถ ขยายฐานจำนวนผู้บอกรับเป็นสมาชิกได้มากนัก ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายได้เปลี่ยนรูปแบบการให้บริการไปเป็นการเปิด ให้สามารถรับชมได้โดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิก โดยหวังที่จะหารายได้จากค่าโฆษณาแทน แต่ก็ยังไม่สามารถจะแย่งจำนวนผู้ชม ส่วนใหญ่ของโทรทัศน์ปกติไปได้อยู่ดี กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ เองก็เป็นผู้จัดจำหน่ายรายการโทรทัศน์รายหนึ่ง ที่ขายสิทธิใช้รายการ โทรทัศน์ให้แก่ผู้ดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกด้วย แต่เนื่องจากสภาวะการแข่งขันของผู้ดำเนินการในธุรกิจ ดังกล่าวลดลง เมื่อผู้ประกอบการระดับประเทศรวมตัวกันทำให้โอกาสของกลุ่มลดลงตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก จุดแข็งด้านรายการของกลุม่ บีอซี ี เวิลด์ นัน้ เป็นทีย่ อมรับเห็นได้ชดั เจน เรายังเชือ่ มัน่ ว่าเรายังมีโอกาสหารายได้จากธุรกิจโทรทัศน์ ระบบบอกรับสมาชิกนี้อยู่ ในส่วนของธุรกิจวิทยุ มีการแข่งขันกันยิ่งกว่าโทรทัศน์ จากจำนวนคลื่นที่มีมากกว่าระบบโทรทัศน์ ทั้งคลื่น เอฟ. เอ็ม. และคลื่น เอ.เอ็ม แต่การที่พื้นที่ครอบคลุมซึ่งเล็กกว่าโทรทัศน์มาก วิทยุจึงจำเป็นต้องสร้างบุคลิกให้เหมาะสมกับผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET) เพือ่ ให้มบี คุ ลิกทีช่ ดั เจนเด่นชัดมากขึน้ เมือ่ ภาวะเศรษฐกิจดีขน้ึ เช่นนีท้ ำให้โอกาสของสือ่ เฉพาะกลุม่ มีมากขึน้ ด้วย จึงทำให้สภาวะการแข่งขันในธุรกิจวิทยุมีมากขึ้น และเนื่องจากปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจโทรทัศน์และวิทยุ อยู่ที่ความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของผู้โฆษณาให้ได้มากที่สุด ดังนั้น เป้าหมายหลักของเรา คือการดำเนินงานเพื่อเพิ่ม จำนวนผู้ชมรายการโทรทัศน์และผู้ฟังรายการวิทยุอย่างมีประสิทธิภาพให้มากที่สุด ธุรกิจวิทยุของกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ แต่ละคลื่น ซึ่งเน้นเพียงเฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET)ที่ชัดเจน และก็ได้รับผลสำเร็จชัดเจนมากขึ้น จึงได้มีความพยายามที่จะขยายกลุ่ม นั้นๆ ให้ได้กว้างมากขึ้น แต่เนื่องจากการปฎิรูปของอุตสาหกรรมที่ได้ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2540 ถูกเลือ่ นออกไปจากปัญหาการจัดตัง้ องค์กรอิสระทีจ่ ะมากำกับดูแลกิจการกระจายเสียงวิทยุ/โทรทัศน์ สัญญาดำเนินการ ในธุรกิจวิทยุสว่ นใหญ่จงึ กลายเป็นสัญญาระยะสัน้ ทีต่ อ้ งต่อสัญญากันแทบจะเป็นแบบปีตอ่ ปีทกุ ปี จึงมีการแข่งขันแย่งสถานีวทิ ยุ ที่ประสบความสำเร็จกันมากขึ้น และมีส่วนผลักดันให้ต้นทุนในการประกอบการเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังอาจขาดความต่อเนื่อง

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

23


หากไม่สามารถรักษาคลื่นเดิมไว้ได้ แม้จะยังสามารถย้ายไปนำเสนอจากสถานีใหม่ได้ก็ตาม แต่ก็มีผลทำให้ความสามารถในการ ทำกำไรจากธุรกิจวิทยุนต้ี ำ่ ลง แต่ในส่วนของบีอซี ี เวิลด์นน้ั เนือ่ งจาก รายได้ในส่วนนีไ้ ม่ได้เป็นสัดส่วนทีส่ งู นักจึงถูกกระทบไม่มาก ในส่วนของธุรกิจสื่อใหม่ ทั้งในส่วนของเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ต และการใช้การส่งข้อความทางระบบเครือข่ายโทรศัพท์ ทั้งในส่วนข้อความเสียง ข้อความตัวหนังสือ และข้อความรูปภาพทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ก็มีการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจาก มีผู้เข้ามาร่วมให้บริการด้านข้อมูลมากราย และจำนวนผู้ใช้บริการก็เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม ปัจจัย ความสำเร็จในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับทั้งเนื้อหาและการประชาสัมพันธ์โฆษณาบริการนั้นๆ ดังนั้นกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ จึงน่าจะมีจุดเด่นกว่า คู่แข่งขันรายอื่นๆ ในธุรกิจนี้ อีกทั้งการเข้ามาร่วมในธุรกิจนี้ก็เป็นการสร้างโอกาสในอนาคตของกลุ่มเพิ่มค่ารายการต่างๆ ที่กลุ่มถือครองอีกด้วย เพียงแต่ว่าในปัจจุบันธุรกิจนี้ยังมีขนาดเล็กอยู่มากแต่ก็มีอัตราการเติบโตดีพอสมควร

ภาวะอุตสาหกรรม - ธุรกิจดำเนินการจัดหาและผลิตรายการ

ในส่วนของธุรกิจดำเนินการจัดหาและผลิตรายการ นอกเหนือจากการจัดหาเพื่อใช้เองในการดำเนินธุรกิจดำเนินการ ออกอากาศแล้ว กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ได้ขยายงานออกไปสร้างภาพยนตร์และการจัดการแสดงสด ในส่วนการจัดการแสดงสดนี้ มีความหลากหลายแตกต่างกันมาก แต่กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มีบุคลิกเด่นเฉพาะตัวที่เน้นเฉพาะการจัดการแสดงที่เป็นนานาชาติ ซึ่งมีผู้ประกอบการน้อยราย ประกอบกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ เองก็มีประวัติการทำงานและผลงานเด่นชัด และเมื่อคำนึงรวมถึงศักยภาพ ในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย ที่ได้รับการสนับสนุนบริษัทย่อยรายอื่นที่ดำเนินธุรกิจทั้งสื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุ

กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ จึงเป็นตัวเลือกรายต้นๆ ของผู้ที่คิดจะมีการแสดงในลักษณะดังที่กล่าวในประเทศไทย สำหรับ บีอีซี เวิลด์ การแข่งขันจึงไม่รุนแรง ในส่วนการสร้างผลิตนำเสนอภาพยนตร์นั้นแม้ว่า บีอีซี เวิลด์ จะเป็นผู้ปลุกฟื้นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทยขึ้นมาในรอบนี้ แต่ปัจจุบันนี้มีผู้นำเสนอภาพยนตร์ไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อาจกล่าวได้ว่ามีภาพยนตร์ไทยเรื่องใหม่ ออกมาเสนอให้ชมได้ทุกสัปดาห์ และในบางสัปดาห์อาจมีมากกว่าหนึ่งเรื่อง ทางกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ จึงเลือกที่จะลดบทบาทในฐานะ ผู้สร้างภาพยนตร์ลง และเพิ่มเน้นบทบาทในการเป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศเป็นหลัก

ปัจจัยความเสี่ยง

24

ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ

การเติบโตของรายจ่ายด้านโฆษณา เนื่องจากรายได้หลัก ในการดำเนินการของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ มาจากการขายเวลาโฆษณา ปัจจัยความเสี่ยงหลัก ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ส่วนหนึ่งจึงได้แก่การเติบโตของรายจ่ายด้านโฆษณาของเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังซื้อ ของผู้บริโภคในประเทศ และภาวะการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศซึ่งเป็นผู้โฆษณา ในส่วนนี้แม้ว่าฝ่ายบริหาร จะไม่สามารถควบคุมได้โดยตรงก็ตาม แต่ก็น่าเชื่อได้ว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาร้ายแรงในการดำเนินการของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ เนื่องจากผู้โฆษณาหลักของสื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีตลาดใหญ่ ที่มีการเติบโตต่อเนื่องทุกปี จากการขนาดของเศรษฐกิจที่โตขึ้น และมีการแข่งขันค่อนข้างสูง นอกจากนั้นจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ก็เป็นภาวะที่เอื้อให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น จึงมีผู้โฆษณารายใหม่เข้ามาเพิ่มในตลาดตลอดเวลา ทำให้ปริมาณเม็ดเงิน โฆษณาโตขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2542 แม้อัตราการเติบโตดังที่กล่าวได้ชะลอตัวลงบ้างในช่วง 2 - 3 ปี 2550 - 2552

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


จากการถดถอยของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีส่วนมาจากปัญหาทั้งในส่วนการเมืองภายในประเทศ และภาวะยุบตัว ของเศรษฐกิจโลกทีม่ ผี ลกระทบต่อการส่งออกของเรา โดยเฉพาะในช่วงปีพ.ศ. 2551 แต่นน่ั ก็มสี าเหตุมาจากการทีโ่ ทรทัศน์ เพื่อ การพาณิชย์ช่องหนึ่งได้ปรับตัวเปลี่ยนไปเป็นช่องที่ให้บริการสาธารณะที่ไม่มีโฆษณาเป็นหลักแต่ในรายละเอียด แล้วเห็นชัดเจนว่ายังมีการเติบโตอย่างเด่นชัดในหลายภาคส่วน มีส่วนทำให้อุตสาหกรรมสามารถกลับมาโตขึ้น จาก ฐานปีก่อนในอัตราสูงมา ตั้งแต่ไตรมาสท้ายของปี 2552 ต่อเนื่องมาทุกเดือนจนถึงต้นไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ที่ได้ ทรุดตัวลงจากปัญหามหาอุทกภัยแต่ก็ได้เห็นการปรับฟื้นตัวขึ้นมาอย่างชัดเจนตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนั้นและเริ่มมีการ เติบโตอีกรอบตัง้ แต่ตน้ ปี 2555 จึงน่าเชือ่ ได้วา่ ความเสีย่ งทีเ่ ม็ดเงินโฆษณาจะยุบตัวลงอีกมีโอกาสน้อยและหากจะเกิดขึน้ ก็จะเป็นในระยะเวลาช่วงสั้นๆ เนื่องจาก สภาวะการแข่งขันในตลาดของผู้โฆษณาจะเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เม็ดเงิน โฆษณาโตขึ้นอยู่ดี อีกทั้งสื่อที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ดำเนินการ ก็ถือได้ว่าเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค ที่เป็นลูกค้าหลักของผู้โฆษณา

การรักษาส่วนแบ่งตลาด กลุ่มบีอีซี เวิลด์ เองก็ได้พยายามที่จะขยายเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงนั้นให้ได้ดีกว่าผู้ดำเนินการในธุรกิจ เดียวกันรายอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง แต่นี่ก็เป็นปัจจัยความเสี่ยงอีกประการหนึ่งของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ว่ากลุ่มบีอีซี เวิลด์จะยัง สามารถดำรงหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงนี้ได้ดีเพียงใด แม้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมากลุ่มบีอีซี เวิลด์ ได้ประสบความ

สำเร็จในการจัดหารายการและปรับปรุงผังรายการ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงผู้ชมได้เป็นอย่างดีก็ตาม แต่กย็ งั มีความเสีย่ งในด้านการแข่งขันกับผูป้ ระกอบการรายอืน่ ๆ ในธุรกิจเดียวกัน ทัง้ จากรายเดิมทีอ่ าจเพิม่ ประสิทธิภาพ ได้ดีขึ้น และจากรายใหม่ที่อาจเข้ามาเพิ่มในอนาคตหากมีการออกใบอนุญาตให้สร้างเครือข่ายใหม่ อย่างไรก็ตามการ รับชมรายการโทรทัศน์เป็นพฤติกรรมที่อาจปรับเป็นอุปนิสัยที่เกิดจากความคุ้นเคยได้ (Habitual Business) ซึ่งทำให้ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จอยู่แต่เดิมได้เปรียบกว่าผู้ที่จะมาแข่งขัน จึงน่าเชื่อว่าสำหรับกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ความ เสี่ยงในส่วนนี้ไม่น่าจะรุนแรง

การเปลี่ยนแปลงการกำกับดูแลการประกอบการกิจการกระจายเสียง ความเสีย่ งจากการเปลีย่ นแปลงการกำกับดูแลการประกอบการกิจการกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ ซึง่ มีองค์กรอิสระ ขึน้ มากำกับดูแลแทนองค์กรภาครัฐ แต่ในประเด็นนีก้ ส็ ามารถคาดได้วา่ จะไม่มผี ลกระทบอย่างร้ายแรงต่อกลุม่ บีอซี ี เวิลด์ เนื่องจาก ได้มีบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องคุ้มครองอยู่ แม้อุตสาหกรรมจะถูกกระทบจากการ ที่จำนวนนาทีโฆษณาที่กำหนดใน พ.ร.บ. ประกอบกิจการกระจายเสียงฯ ฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับมาตั้งแต่ช่วงปลาย ไตรมาสแรกปี 2551 นั้นได้ลดจำนวนนาทีโฆษณาลง แต่ก็เป็นผลกระทบทั้งอุตสาหกรรม ไม่มีผลให้สภาวะการแข่งขัน ในอุตสาหกรรมเปลี่ยนไป

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

25


การต่ออายุสัญญาในการดำเนินการ เนือ่ งจากการจัดตัง้ องค์กรอิสระนีล้ า่ ช้าออกไป ประกอบกับอายุสญ ั ญาในการดำเนินการสถานีวทิ ยุคลืน่ ส่วนหนึง่ ที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีเป็นสัญญาปีต่อปี จึงมีความเสี่ยงเพิ่มในส่วนนี้ว่ากลุ่มบีอีซี เวิลด์ จะได้รับการต่อสัญญาการ ดำเนินงานสำหรับคลื่นนั้นๆ หรือไม่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสัดส่วนรายได้จากการดำเนินงานวิทยุนี้ต่ำ อีกทั้งอัตรา กำไรก็ตำ่ ด้วย ดังนัน้ หากแม้ไม่สามารถดำเนินงานในส่วนนีต้ อ่ ได้กม็ ผี ลกระทบต่อกลุม่ บีอซี ี เวิลด์ น้อยมากอยูด่ ี แต่ในส่วน ของการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์นั้น ความเสี่ยงในประเด็นนี้กลับน้อยกว่า เนื่องจากสัญญาที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีอยู่นั้น ยังมีอายุอยู่จนถึงปี 2563 ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยี่นั้นมาถึงจุดที่จะมีการเปลี่ยนผ่านจากระบบ “อนาล็อก” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก้าวไปสู่ระบบ “ดิจิตอล” ที่จะทำให้ “รายการโทรทัศน์” สามารถเข้าถึงผู้ชมได้ในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งจะ เป็นการช่วยเพิม่ โอกาสให้ “รายการโทรทัศน์” ของกลุม่ บีอซี ี เวิลด์ สามารถดำเนินการต่อไปได้แม้สญ ั ญาปัจจุบนั สิน้ สุดลง

การที่มีสื่อโฆษณาใหม่มาทดแทนสื่อโทรทัศน์ ในส่วนของผลกระทบจากสื่ออื่นที่อาจมาทดแทนสื่อโทรทัศน์ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิคส์อย่างอินเตอร์เน็ต หรือสื่อ โทรทัศน์ในรูปแบบใหม่ เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ฯลฯ กลุ่มบีอีซี เวิลด์ เชื่อว่าในระยะเวลา อันใกล้นี้แม้จะเห็นการพัฒนาการในเรื่องนี้ชัดเจนมากขึ้น แต่ก็จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งของรายได้จากการขายเวลาโฆษณาของกลุม่ บีอซี ี เวิลด์ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจาก การเข้าถึงผูบ้ ริโภค ของสือ่ ใหม่เหล่านีไ้ ม่นา่ จะเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทัง้ จากปัญหาของภาระทางการเงินทีผ่ บู้ ริโภคจะต้องจ่ายมากขึน้ และ จากพฤติกรรมความคุ้นเคยที่ต้องใช้เวลา ซึ่งจะทำให้สื่อใหม่ๆ เหล่านี้เป็นสื่อเฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET) อีกทั้ง รายได้หลักของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ นั้นเป็นรายได้ในฐานะสื่อตลาดหลัก (MASS MARKET) และเม็ดเงินโฆษณามักจะ กระจุกตัวอยู่ในสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้โฆษณาได้เป็นจำนวนมาก เฉกเช่นเดียวกับความเสี่ยงที่สื่อโทรทัศน์ระบบ บอกรับสมาชิกทีไ่ ด้รบั อนุญาตให้ขายเวลาโฆษณาได้ตามกฎหมายใหม่ ก็ไม่นา่ จะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกลุม่ บีอีซี เวิลด์ เนื่องจากธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกนั้นมีกลุ่มผู้ชมเพียงกลุ่มเล็กๆ จึงอาจถือได้ว่าเป็นตลาด เฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET) ในขณะที่สื่อโทรทัศน์ปกติ (ช่อง 3, 5, 7, 9, 11) นั้น มีฐานผู้ชมทั่วประเทศ เป็นตลาด สำหรับผู้อุปโภคโดยทั่วไป (MASS MARKET) การเลือกลงโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ปกติจึงยังเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมของ กลุ่มผู้โฆษณา ที่เป็นผู้ผลิตหรือเจ้าของสินค้าอุปโภคบริโภค ดังที่เห็นได้จากส่วนแบ่งตลาดที่สื่อนี้มีสูงกว่าสื่ออื่นๆ อยู่อย่างมาก ในส่วนของสื่ออิเล็กทรอนิคส์อย่างอินเตอร์เน็ต แม้ว่าจะเป็นสื่อใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว แต่ก็ เข้าถึงผู้ใช้บริการก็ยังมีลักษณะเป็นเพียงเฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET) เช่นกัน ดังนั้น หากผู้โฆษณาโดยทั่วไปเลือกที่จะ ใช้สื่อใหม่ เช่น อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ในระบบใหม่ๆ หรือโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ก็เป็นเพียงการเสริมเพิ่มเติม จากการใช้บริการสื่อโทรทัศน์ปกติเท่านั้น และสื่อใหม่นี้ก็อาจจะช่วยผู้โฆษณาที่ต้องการเข้าถึงตลาดเฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET) ซึ่งอาจจะไม่คุ้มถ้าต้องโฆษณาในสื่อที่เป็น MASS ที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก แม้ผู้โฆษณากลุ่มนี้มิได้เป็นลูกค้า ของบริษทั อยูแ่ ล้วตัง้ แต่ตน้ แต่กอ็ าจเป็นการสร้างสินค้าใหม่/ผูโ้ ฆษณารายใหม่มาเพิม่ การแข่งขันในตลาดมากขึน้ ในอนาคต ซึ่งก็จะกลับมาเป็นประโยชน์แก่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ในตอนนั้นอยู่ดี

ความเสี่ยงด้านการบริหารและจัดการ

26

การถือหุ้นในบริษัทโดยกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เนื่องจาก กลุ่มตระกูลมาลีนนท์ถือหุ้นในบีอีซี เวิลด์ รวมร้อยละ 51.03 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด ของบริษัท จึงทำให้กลุ่มตระกูลมาลีนนท์อาจกำหนดทิศทางการบริหารจัดการบริษัทได้ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ บริษัท รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


ได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีรวมถึงหลักการคุ้มครองผู้ถือหุ้นข้างน้อยโดยเคร่งครัดอยู่แล้ว และยังมี หน่วยงานอิสระทั้งภายในและภายนอกบริษัทกำกับดูแลการบริหารจัดการกิจการของบริษัทอีกชั้นหนึ่งด้วย นอกจากนี้ หากเป็นการลงมติอนุมัติการดำเนินการในเรื่องใดที่มีนัยสำคัญตามกฎหมาย บริษัทจะต้องได้รับมติพิเศษจากที่ประชุม ผู้ถือหุ้นก่อนจึงจะดำเนินการได้ ปัจจัยต่างๆ ข้างต้นย่อมเป็นหลักประกันความเสี่ยงในด้านการบริหารและการจัดการ ได้เป็นอย่างดี

โครงสร้างของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ในปีพ.ศ. 2554 กลุม่ บีอซี ี เวิลด์ มีการเปลีย่ นแปลงโครงสร้างของกลุม่ เล็กน้อย โดยที่ “บมจ. บีอซี -ี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์” (“บีอีซี-เทโรฯ”) บริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นอยู่ร้อยละ 60 ของทุนที่ชำระแล้ว ได้จัดตั้งบริษัทย่อยรายใหม่ ในระหว่างไตรมาส 3 ของปีพ.ศ. 2554 เป็นบริษัทร่วมทุน กับ “บริษัท ไอเอ็มจี เวิลด์ไวด์ อิงค์” ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา และมิได้เป็นบริษัทที่เกี่ยวโยงกัน โดยที่ “บีอีซี-เทโรฯ” ถือหุ้นร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ในบริษัทย่อยรายใหม่นี้ ซึ่งใช้ชื่อว่า “บริษัท ไอเอ็มจี บีอีซี-เทโร สปอร์ต แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด” เพื่อดำเนินธุรกิจ จัดงานและบริหารกิจกรรม ด้านกีฬา แฟชั่น และความบันเทิงต่างๆ นอกจากนั้นก็เป็นการที่การจดทะเบียนเลิก “บริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส จำกัด” ที่ได้หยุดดำเนินการมาหลายปีแล้ว โดยสามารถจดทะเบียนเลิกบริษัทดังกล่าวได้ในช่วงท้ายปี แต่อย่างไรก็ตาม การที่ “บีอีซี-เทโรฯ” ได้ซื้อหุ้นใน “บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด” (เดิมชื่อ “บริษัทเวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด”) เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของ “บีอีซี-เทโรฯ” ในบริษัทดังกล่าวเป็นร้อยละ 99.9 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด เปลี่ยนสถานะของ “บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด” จาก “บริษัทร่วม” มาเป็น “บริษัทย่อย” ในช่วงท้ายของปีก่อน (ปีพ.ศ. 2553) นั้น ทำให้ต้องนำผลการดำเนินงานของ “บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด” มารวมในงบกำไรขาดทุน ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ทุกบรรทัด มาตั้งแต่ต้นไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2554 นี้ เป็นต้นไป

ผลการดำเนินงาน เนื่องจากนโยบายบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม มีผลทำให้ผลการดำเนินงาน ที่แสดงในงบฯเฉพาะของบริษัท แสดงผลที่ต่างไปจากผลการดำเนินงานของกลุ่ม ดังนั้นเพื่อป้องกันความสับสน ขออธิบาย ผลการดำเนินงาน ตามที่แสดงในงบการเงินรวม และเนือ่ งจาก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรือ่ ง ภาษีเงินได้ และ ฉบับที่ 19 เรือ่ ง ผลประโยชน์ของพนักงาน มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2554 จึงมีผลต่องบการเงิน ทำให้ต้องรับรู้สินทรัพย์และหนี้สินเพิ่มเติมจากเดิม และ ทำให้บริษัทต้องปรับ งบการเงินของปีก่อน ที่นำมาเปรียบเทียบ ทำให้ผลการดำเนินงานในปีก่อน (ปีพ.ศ. 2553) และ ฐานะการเงิน ณ วันสิ้นปีก่อน ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบนั้น เปลี่ยนไปจากที่ได้รายงานไว้แล้ว อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เป็น สาระสำคัญ (“กำไรสุทธิ” ที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบีอีซี เวิลด์ ในปีพ.ศ. 2553 ที่แสดงเปรียบเทียบเท่ากับ 3,303.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากที่ได้รายงานไว้แล้ว 1.1 ล้านบาท และ สินทรัพย์รวม ณ วันสิ้นปีพ.ศ. 2553 เพิ่มขึ้นจากที่ได้รายงานไว้ 42.1 ล้านบาท (ซึ่งได้แก่ “ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี”) ดังนั้นคำอธิบาย ที่จะแสดงต่อไปนี้ จะเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานที่ได้ปรับปรุงใหม่แล้ว

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

27


กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มี “กำไรสุทธิ” (ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบีอีซี เวิลด์) ในปีพ.ศ. 2554 เป็นยอดเท่ากับ 3,530.3 ล้านบาท เป็นยอดสูงสุดเป็นประวัตกิ ารณ์อกี ครัง้ หนึง่ สูงขึน้ กว่าทีเ่ คยทำได้ในปีกอ่ นร้อยละ 6.9 มากขึน้ 226.9 ล้านบาท แม้ได้รบั ผลกระทบ อย่างรุนแรงจากปัญหามหาอุทกภัย ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี และได้จ่ายค่าตอบแทนพนักงานเพิ่มเป็นพิเศษจากโครงการ เกษียณอายุงานก่อนเวลา ในไตรมาสแรกของปี และแม้ว่าในปีก่อน(พ.ศ. 2553) เราได้มีรายได้อื่นเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ จากการ ที่ผู้ถือหุ้นเดิมของ “บีอีซี-เทโร เรดิโอ” ได้ยกหนี้ให้ด้วยก็ตาม โดยที่บีอีซี เวิลด์ สามารถเพิ่ม “รายได้จากการขายเวลาโฆษณา” ได้เป็นยอดที่สูงมากกว่าปีก่อนร้อยละ 8.1 ทำได้มากขึ้น 898.2 ล้านบาท สามารถสร้างรายได้และกำไรจากการ “จัดกิจกรรม /การแสดง” และมี “รายได้จากการให้ใช้สิทธิและบริการอื่น” เพิ่มสูงขึ้นจากที่เคยทำได้ในปีก่อนอีกด้วย แม้ว่า “ต้นทุน” และ “ค่าใช้จ่าย” ได้เพิ่มขึ้นตามมาด้วยก็ตาม แต่ กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ก็ยังสามารถสร้างกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบีอีซี เวิลด์ ได้สูงกว่า ที่เคยทำได้ในปีก่อน ได้อีกเช่นเคย

รายได้จากการขาย หลังจากที่ได้ปรับขยายธุรกิจ เพิ่มเวลานำเสนอรายการที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ จัดหามาเองมากขึ้น จนกล่าวได้ว่ากลุ่มบีอีซี เวิลด์ ได้ขยายเวลาทำธุรกิจในสถานีวิทยุไทยทีวีสีช่อง 3 เต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง มาตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2553 ในปีพ.ศ. 2554 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ยังสามารถเพิ่ม “รายได้จากการขายเวลาโฆษณา” ได้เป็นยอดที่สูงมากกว่าปีก่อนได้อีกร้อยละ 8.1 ทำได้มากขึ้น

898.2 ล้านบาท แม้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหามหาอุทกภัย ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จนทำให้มีรายได้จาก การขายเวลาโฆษณาในไตรมาสนัน้ ต่ำกว่าทีเ่ คยทำได้ในปีกอ่ นถึงร้อยละ 6.2 โดยได้เพิม่ ขึน้ จากการปรับขยายธุรกิจ ปรับผังรายการ ปรับราคาขายของบางช่วงเวลาขึ้น รวมถึงการขยายเวลาของรายการที่มีราคาขายสูงให้ยาวขึ้น ส่วนรายได้และกำไรขั้นต้นจาก “การจัดกิจกรรมและการแสดง/คอนเสิร์ต” นั้น ก็ทำได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เช่นเดียวกันกับรายได้จาก “การให้ใช้สิทธิ และบริการอื่น” จากการปรับฟื้นของความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และสถานะที่เข้มแข็งของบีอีซี เวิลด์ ในตลาด

ต้นทุนขายและค่าใช้จ่าย “ต้นทุน” (ในส่วนที่ไม่รวมต้นทุนการจัดการแสดง) เพิ่มขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากการปรับ ขยายธุรกิจ ปรับผังรายการเพิ่มรายการใหม่ รวมถึงการขยายเวลาของรายการที่มีต้นทุนสูงเพิ่มยาวขึ้น ซึ่งก็เป็นการสร้างโอกาส ในการทำรายได้และกำไรของบีอีซี เวิลด์ ให้เพิ่มสูงขึ้นในระยะยาวด้วย ส่วนหนึ่งมาจากรายจ่ายพิเศษในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2554 นี้จากโครงการเกษียณอายุงานก่อนเวลา และอีกส่วนหนึ่งมาจากการที่บีอีซี เวิลด์ ต้องนำผลการดำเนินงานของ “บีอีซี-เทโร เรดิโอ” มารวมในงบกำไรขาดทุน ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ มาตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2554 นี้ด้วย ซึ่งจากการที่ต้องนำเอา ผลการดำเนินงานของ “บีอีซี-เทโร เรดิโอ” มารวมด้วยนี้ ก็ช่วยให้ “ค่าใช้จ่ายในการขาย” ลดลง จากการที่ต้องหักกลบลบกัน ของรายการระหว่างกัน แต่ ก็มีผลทำให้ “ค่าใช้จ่ายในการบริหาร” เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มเติมจากรายจ่ายพิเศษ จากจากโครงการเกษียณอายุงานก่อนเวลา และค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มจากปัญหามหาอุทกภัยในไตรมาสท้ายปี

28

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


ฐานะการเงิน “สินทรัพย์” โดยรวมเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับยอด ณ สิ้นปีพ.ศ. 2553 โดยยอดที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นยอด “ผลประโยชน์ จ่ายเพิ่ม-รอการตัดบัญชี” และมี “หนี้สิน” เพิ่มขึ้น จาก “รายได้รับล่วงหน้า” ที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการขายรายการไปต่างประเทศ และรอรับรู้เป็นรายได้ และจาก “สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน” ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” กลับลดลงจากยอดเมื่อปลายปีก่อนตามกำไรที่ลดลงในครึ่งหลังของปีหลังการจ่ายเงินปันผลในระหว่างปี กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ยังคงมีฐานะการเงินที่มั่นคงเช่นเคย

ปัจจัยที่อาจมีผลต่อผลการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกลุ่มโดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับรายได้ แต่มีลักษณะคงที่ หรือผันแปรตามภาวะของตลาดโดยตรง ในปีพ.ศ. 2553 กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นกว่า ปีก่อนก่อนอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็เป็นการลงทุนขยายโอกาสในการสร้างรายได้และกำไรให้เพิ่มขึ้น ซึ่งก็เป็นการปรับฐานเมื่อ มีการขยายงาน และเมื่อการขยายงานนี้ดำเนินไปครบรอบปีแล้ว การปรับเพิ่มในปีพ.ศ. 2554 ก็เป็นไปในอัตราปกติ แม้ในปี พ.ศ. 2554 นี้มีการปรับฐานอีกเล็กน้อยจากการเอาธุรกิจวิทยุของบริษัทย่อยรายใหม่เข้ามารวมในรายงานผลการดำเนินงาน ของกลุ่มเป็นปีแรกก็ตาม จึงเป็นที่น่าเชื่อได้ว่านับแต่นี้ไปการเติบโตของต้นทุนและค่าใช้จ่ายของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ จะเป็นไป

ในอัตราใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศ แม้ในปีนี้อาจจะปรับสูงกว่าปีก่อนๆ จากการปรับฐานต้นทุนหลายประการ ทัง้ ในส่วนค่าแรงขัน้ ต่ำ (ทีผ่ ลกระทบโดยตรงในกลุม่ นัน้ มีนอ้ ยเนือ่ งจากกลุม่ ได้จา่ ยค่าตอบแทนพนักงานส่วนใหญ่ในอัตราทีส่ งู กว่า นโยบายใหม่ของรัฐอยู่แล้ว) และในส่วนของค่าน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอีกรอบหนึ่ง แต่ก็เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อนั้นยังจะอยู่ใน อัตราทีต่ ำ่ อยูด่ ี ในส่วนของค่าของเงินบาททีอ่ าจจะอ่อนตัวนัน้ ก็ไม่มผี ลกับธุรกิจของเรานัก รวมทัง้ ความกังวลเรือ่ งสภาพการแข่งขัน จากการปรับตัวของผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันที่มีมากขึ้นจากสภาวะตลาดที่เอื้อมากขึ้นแล้วเกรงกันว่าอาจ จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นนั้น ก็น่าจะถือได้ว่าเป็นการวิตกเกินเหตุ เนื่องจากธุรกิจนี้โดยรวมแล้วไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนของ ทรัพยากร อีกทั้งธุรกิจที่กลุ่มดำเนินการอยู่นี้ก็ไม่ได้มีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่เด่นชัดให้ต้องประมูลแข่งแย่งทรัพยากรกัน อีกทั้ง การแข่งขันนั้นในอุตสาหกรรมนี้กลับมีแนวโน้มลดลง จากการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการภาครัฐบางรายเมื่อกระบวนการ ปฎิรูปสื่อโดย “กสทช.” เริ่มขึ้นตามที่ได้กำหนดบทบาทไว้ในพรบ. ประกอบกิจการฯ ดังนั้น ประสิทธิภาพในการทำกำไรของกลุ่มจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างรายได้เป็นหลัก และแม้ว่าปัจจัย การเพิม่ รายได้จากการขายเวลาโฆษณา ซึง่ เป็นรายได้หลักของกลุม่ นัน้ ไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั ปัจจัยทีฝ่ า่ ยบริหารควบคุมได้ทงั้ หมด แต่จะ ขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโตของค่าใช้จ่ายในการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เป็นหลัก ซึ่งจากสภาพตลาดที่ได้ผลบวกจากการปรับ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจมหภาค จากนโยบายภาครัฐ และจ่ายการฟื้นฟูประเทศหลังมหาอุทกภัย ซึ่งส่งผลทำให้ผู้โฆษณาหลายราย ได้กลับมาใช้เงินเพิม่ ในอัตราสูงตลอดปีทผ่ี า่ นมาก่อนมหาอุทกภัย และได้ฟน้ื ตัวอย่างเร็ว กลับมาใช้เงินเพิม่ ในอัตราสูงกว่าทีเ่ คยเป็น ในปีกอ่ นตัง้ แต่ตน้ ปีนแ้ี ล้ว น่าจะบ่งชีใ้ ห้เห็นโอกาสทีด่ ขี น้ึ ของอุตสาหกรรมและของกลุม่ บีอซี ี เวิลด์ ได้อย่างชัดเจน ยิง่ เมือ่ นำสภาพ การแข่งขันในตลาดของผู้โฆษณาที่ได้เพิ่มขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจที่เอื้อให้มีการแข่งขันมากขึ้น มาประกอบ ยิ่งน่าเชื่อได้ว่า ประสิทธิภาพในการสร้างรายได้จากการดำเนินงาน และความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มบีอีซีในปีพ.ศ. 2555 นี้ น่าจะยังมี โอกาสปรับดีขึ้นกว่าปีก่อน อีกทั้งกลุ่มบีอีซี เวิลด์ เองก็มีโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่ง มีสภาพคล่องที่ดีเยี่ยม และไม่มีปัญหาเรื่อง คุณภาพของสินทรัพย์ บีอีซี เวิลด์จึงไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องฐานะการเงินใดๆ รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

29


รายงานของคณะกรรมการเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการจัดทำรายงานทางการเงิน

รายงานทางการเงินทีป่ รากฏในรายงานประจำปี ซึง่ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน จัดทำขึ้นโดยฝ่ายบริหาร ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปโดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้ดุลยพินิจ อย่างระมัดระวังและประมาณการที่ดีที่สุดในการจัดทำ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอ คณะกรรมการได้จดั ให้มแี ละดำรงไว้ซง่ึ ระบบการควบคุมภายในทีม่ ปี ระสิทธิผล เพือ่ ให้มน่ั ใจได้อย่างมีเหตุผลว่าการบันทึก ข้อมูลทางบัญชีมคี วามถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอทีจ่ ะดูแลรักษาสินทรัพย์ และป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือการดำเนินการ ที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ คณะกรรมการได้แต่งตัง้ คณะกรรมการตรวจสอบ ซึง่ ประกอบด้วย กรรมการบริษทั ทีเ่ ป็นอิสระจากการบริหารงาน เป็นผูด้ แู ล และสอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ปรากฏในรายงานของคณะกรรมการ ตรวจสอบซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจำปีนี้แล้ว บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทำการตรวจสอบรายงานทางการเงินดังกล่าว ตาม มาตรฐานการสอบบัญชีทร่ี บั รองทัว่ ไป เพือ่ รายงานให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระถึงความถูกต้องตามทีค่ วรของฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานที่ได้แสดงไว้ในรายงานทางการเงินดังกล่าว รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แสดงไว้แล้วพร้อมกันนี้

(วิชัย มาลีนนท์)

ประธานกรรมการ ในนามคณะกรรมการ

30

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สำนักงาน ดร. วิรัช เเนด์ เเอสโซซิเอทส์

เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

518/3 อาคารภาณุนี ชั้น 7 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ / โทรสาร 0-2250-2860, 0-2255-2518, 0-2254-1210, 0-2250-0634, 0-2254-8386-7

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 งบกำไรขาดทุนรวม งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบกระแสเงินสดรวม สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน ของแต่ละปี ของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และได้ตรวจสอบงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงิน เหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบตั งิ านตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีทร่ี บั รองทัว่ ไป ซึง่ กำหนดให้ขา้ พเจ้าต้องวางแผนและปฏิบตั งิ าน เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึง การใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความ เหมาะสมของหลักการบัญชีทก่ี จิ การใช้และประมาณการเกีย่ วกับรายการทางการเงินทีเ่ ป็นสาระสำคัญซึง่ ผูบ้ ริหารเป็นผูจ้ ดั ทำขึน้ ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการทีน่ ำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชือ่ ว่าการตรวจสอบดังกล่าว ให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 ผลการดำเนินงานและกระแส เงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และเฉพาะกิจการของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยมิได้เป็นการแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่องบการเงินข้างต้น ตามที่อธิบายไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 2.3 ในปี 2554 บริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงและมาตรฐานการบัญชีใหม่ ที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งกำหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป เพื่อจัดทำและ นำเสนองบการเงินนี้ งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบได้แสดงตามรูปแบบใหม่เพื่อ ให้สอดคล้องกับงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ตามที่อธิบายไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3.1 ในปี 2554 บริษัทและบริษัทย่อยได้เปลี่ยนนโยบายการบัญชี เกี่ยวกับเรื่อง ภาษีเงินได้ ดังนั้นงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ที่แสดงเปรียบเทียบ ได้มีการปรับย้อนหลัง จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบรายการปรับปรุงที่มีต่องบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ข้าพเจ้าเห็นว่ารายการปรับปรุงดังกล่าวมีความเหมาะสมและได้นำไปปรับปรุงโดยถูกต้อง ตามควรแล้ว ตามที่อธิบายไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3.2 ในปี 2554 บริษัทและบริษัทย่อยได้นำนโยบายการบัญชีใหม่ มาถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน บริษัทและบริษัทย่อยได้เลือกรับรู้มูลค่าหนี้สิน ส่วนเพิ่มโดยปรับกับกำไรสะสมต้นงวดของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2554 สำหรับงบการเงินรวมเป็นจำนวนเงิน 283.92 ล้านบาท (สุทธิจากภาษี) และสำหรับงบการเงินเฉพาะกิจการเป็นจำนวนเงิน 31.65 ล้านบาท (สุทธิจากภาษี)

(ดร.วิรัช อภิเมธีธำรง)

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 1378 13 กุมภาพันธ์ 2555 รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

31


งบดุล บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 2554 2553 หมายเหตุ (ปรับปรุงใหม่) (ปรับปรุงใหม่) สินทรัพย์

สินทรัพย์หมุนเวียน

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว เงินฝากประจำธนาคาร เงินลงทุนในกองทุนเปิด เงินลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน รวมเงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินปันผลค้างรับ คอนเสิร์ตและรายการโทรทัศน์ระหว่างผลิต ดอกเบี้ยค้างรับ อื่นๆ รวมสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

4.21 และ 5 3,147,180,994 5,194,693,731 657,537,800 1,884,952,520 1,948,070,327 - 1,413,488,523 - 4.2 และ 6 49,643,050 48,579,307 11,103 11,749 11 2,886,487 - - - 2,000,599,864 48,579,307 1,413,499,626 11,749 4.3 และ 7 906,660,441 959,888,451 220,338,050 405,136,980 8 - - 195,321,750 388,000,000 4.4 และ 9 417,805 311,961 - - 4.5

- - 1,699,989,800 1,549,986,833 43,889,757 28,368,467 - 1,143,780 14,457,157 9,889,300 11,993,597 13,654,837 110,366,382 93,837,240 11,276,018 6,287,274 168,713,296 132,095,007 1,723,259,415 1,571,072,724 6,223,572,400 6,335,568,457 4,209,956,641 4,249,173,973

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

เงินลงทุนเผื่อขาย 4.6 และ 10 เงินฝากธนาคารติดภาระค้ำประกัน เงินลงทุนในบริษัทย่อย 4.7 และ 11 เงินลงทุนระยะยาวอื่น 4.8 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 4.9 และ 12 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 4.10 และ 13 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 4.11 และ 14 สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอตัดจำหน่าย 4.12 และ 15 ผลประโยชน์จ่ายเพิ่มรอตัดบัญชี 4.13 และ 16 ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และลิขสิทธิ์รอตัดจำหน่าย 4.14 และ 17 เงินมัดจำค่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ค่าผลิตละครจ่ายล่วงหน้า สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 4.16 และ 26 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์ หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

32

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

55,337,500 82,923,700 - 3,000,000 63,250,000 258,236,764 55,259,818 1,053,100,182 385,390,823 1,264,074,648 3,400,000 207,941,000 117,448,311 75,591,833 3,624,954,579 9,848,526,979

61,162,500 55,337,500 61,162,500 98,500,929 - - - 813,190,028 811,635,028 3,000,000 - - 63,431,165 650,000 763,980 312,412,066 13,963,803 15,566,305 46,582,063 58 58 1,140,674,311 - - - - - 1,251,480,867 584,049,381 630,765,875 2,420,000 - - 170,901,600 207,941,000 160,901,600 42,133,907 49,989,711 40,976,511 81,665,420 10,287,820 10,287,820 3,274,364,828 1,735,409,301 1,732,059,677 9,609,933,285 5,945,365,942 5,981,233,650


งบดุล (ต่อ) บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 หมายเหตุ

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน

เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 18 - 28,000,000 - - เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 19 398,278,900 358,010,959 116,605,724 117,831,661 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 421,941,026 392,718,322 29,985,225 28,794,488 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 20 7,840,000 4,400,000 - - ภาษีเงินได้ค้างจ่าย 596,779,254 660,645,860 64,362,412 60,443,624 หนี้สินหมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้กรมสรรพากร 118,918,806 125,364,516 13,453,665 17,381,937 ภาษีขายยังไม่ถึงกำหนดชำระ 43,987,342 55,747,367 10,658,550 23,394,980 เงินรับแทนค่าขายบัตร-บริษัทคู่สัญญา 153,483,700 46,132,275 - - รายได้รับล่วงหน้า 301,840,179 117,683,264 - - อื่นๆ 2,500,933 5,443,428 424,928 583,085 รวมหนี้สินหมุนเวียนอื่น 620,730,960 350,370,850 24,537,143 41,360,002 รวมหนี้สินหมุนเวียน 2,045,570,140 1,794,145,991 235,490,504 248,429,775 หนี้สินไม่หมุนเวียน สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน 4.22 และ 21 373,113,472 - 39,126,375 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 373,113,472 - 39,126,375 - รวมหนี้สิน 2,418,683,612 1,794,145,991 274,616,879 248,429,775

ส่วนของผู้ถือหุ้น

ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 2,000,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ทุนที่ออกและชำระแล้ว หุ้นสามัญ 2,000,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ กำไรสะสม จัดสรรแล้ว ทุนสำรองตามกฎหมาย 24 ยังไม่ได้จัดสรร องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น รวมส่วนของบริษัทใหญ่ ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

2,000,000,000 2,000,000,000 2,000,000,000 2,000,000,000 2,000,000,000 2,000,000,000 2,000,000,000 2,000,000,000 1,166,724,373 1,166,724,373 1,166,724,373 1,166,724,373 200,000,000 3,925,201,582 (27,588,563) 7,264,337,392 165,505,975 7,429,843,367 9,848,526,979

200,000,000 4,278,778,955 (22,928,563) 7,622,574,765 193,212,529 7,815,787,294 9,609,933,285

200,000,000 2,331,613,253 (27,588,563) 5,670,749,063 - 5,670,749,063 5,945,365,942

200,000,000 2,389,008,065 (22,928,563) 5,732,803,875 - 5,732,803,875 5,981,233,650

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

33


งบกำไรขาดทุน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หน่วย : บาท

หมายเหตุ

รายได้

รายได้จากการขายเวลาโฆษณา รายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่น รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ รายได้เงินปันผล 11 รายได้อื่น ดอกเบี้ยรับ กำไรจากการได้รับยกเว้นหนี้ 11 กำไรจากการกลับรายการค่าเผื่อการ ด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย อื่นๆ รวมรายได้อื่น รวมรายได้

ค่าใช้จ่าย

25 ต้นทุนขายและต้นทุนการให้บริการ ต้นทุนการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย ขาดทุนจากการด้อยค่า-ค่าความนิยม 11 ค่าตอบแทนกรรมการ 22 ต้นทุนทางการเงิน รวมค่าใช้จ่าย กำไรก่อนภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 4.17 และ 26 กำไรสำหรับปี

การแบ่งปันกำไร

ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

11,967,163,543 11,068,988,253 821,100,000 760,087,500 269,877,273 195,055,618 1,578,200,800 1,294,977,200 566,558,848 449,756,818 - - - - 3,086,778,740 2,920,373,605 123,287,661 -

52,387,689 58,301,876

70,541,594 -

36,804,197 -

- - 1,595,000 9,132,000 43,450,897 62,873,304 1,270,588 6,064,768 166,738,558 173,562,869 73,407,182 52,000,965 12,970,338,222 11,887,363,558 5,559,486,722 5,027,439,270 5,601,922,407 466,050,724 434,753,320 1,195,811,205 - - 19,000,000 636,440 7,718,174,096 5,252,164,126 1,622,559,802 3,629,604,324

5,100,327,813 1,519,689,183 389,630,719 - 535,776,102 4,635,635 963,934,950 223,533,623 - 40,000 10,718,556 - 19,215,000 19,000,000 44,936 - 7,019,648,076 1,766,898,441 4,867,715,482 3,792,588,281 1,450,979,731 218,329,997 3,416,735,751 3,574,258,284

1,326,340,035 - 2,287,422 204,591,021 40,000 - 19,215,000 - 1,552,473,478 3,474,965,792 153,451,926 3,321,513,866

3,530,346,446 3,303,402,917 3,574,258,284 3,321,513,866 99,257,878 113,332,834 - - 3,629,604,324 3,416,735,751 3,574,258,284 3,321,513,866

กำไรต่อหุ้นส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท) 4.18 จำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว 2,000,000,000 หุ้น หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

34

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

1.77

1.65

1.79

1.66


งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

กำไรสำหรับปี กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น :-

ผลขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย ภาษีเงินได้เกี่ยวกับองค์ประกอบของกำไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับปี-สุทธิจากภาษี กำไรเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี

การแบ่งปันกำไรเบ็ดเสร็จรวม

ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 2554 2553 3,629,604,324 3,416,735,751 3,574,258,284 3,321,513,866 (5,825,000)

(4,660,000)

(5,825,000)

(4,660,000)

1,165,000 932,000 1,165,000 932,000 (4,660,000) (3,728,000) (4,660,000) (3,728,000) 3,624,944,324 3,413,007,751 3,569,598,284 3,317,785,866

3,525,686,446 3,299,674,917 3,569,598,284 3,317,785,866 99,257,878 113,332,834 - - 3,624,944,324 3,413,007,751 3,569,598,284 3,317,785,866

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

35


36

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

หน่วย : บาท

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2553 ก่อนปรับปรุง :- 2,000,000,000 1,166,724,373 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี - ภาษีเงินได้ 3 ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2553 ที่ปรับปรุงแล้ว 2,000,000,000 1,166,724,373 รับรู้หนี้สินส่วนเพิ่มโดยปรับกับกำไรสะสม ณ วันต้นปี - ผลประโยชน์ของพนักงาน กำไรเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 2554 3 ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมเพิ่มขึ้นระหว่างปี ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมลดลงระหว่างปี เงินปันผลจ่าย 22 เงินปันผลทีบ่ ริษทั ย่อยจ่ายให้สว่ นได้เสียทีไ่ ม่มอี ำนาจควบคุม ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2554 2,000,000,000 1,166,724,373

ปี 2554

ยอดคงเหลือ ณ ต้นปี 1 มกราคม 2553 ก่อนปรับปรุง :- 2,000,000,000 1,166,724,373 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี - ภาษีเงินได้ 3 ยอดคงเหลือ ณ ต้นปี 1 มกราคม 2553 ทีป่ รับปรุงแล้ว :- 2,000,000,000 1,166,724,373 กำไรเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 2553 (ปรับปรุงใหม่) ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมเพิ่มขึ้นระหว่างปี ส่วนต่ำกว่าทุนจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วน การถือหุ้นในบริษัทย่อย เงินปันผลจ่าย 22 เงินปันผลทีบ่ ริษทั ย่อยจ่ายให้สว่ นได้เสียทีไ่ ม่มอี ำนาจควบคุม ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2553 ที่ปรับปรุงแล้ว 2,000,000,000 1,166,724,373

ปี 2553

7,773,653,387 42,133,907 7,815,787,294 (295,480,517) 3,624,944,324 4,900,020 (2,886,479) (3,600,000,000) (117,421,275) 7,429,843,367

(4,119,279) (10,298,192) - (2,900,000,000) (102,426,417) (102,426,417) 193,212,529 7,815,787,294

166,199,764 7,355,303,686 225,606 40,200,445 166,425,370 7,395,504,131 113,332,834 3,413,007,751 20,000,021 20,000,021

4,242,487,110 (28,660,704) 7,580,550,779 193,102,608 36,291,845 5,732,141 42,023,986 109,921 4,278,778,955 (22,928,563) 7,622,574,765 193,212,529 (283,923,819) (283,923,819) (11,556,698) 3,530,346,446 (4,660,000) 3,525,686,446 99,257,878 - 4,900,020 (2,886,479) (3,600,000,000) (3,600,000,000) - - (117,421,275) 3,925,201,582 (27,588,563) 7,264,337,392 165,505,975

(6,178,913) (2,900,000,000) - (22,928,563) 7,622,574,765

(6,178,913) (2,900,000,000) 200,000,000 4,278,778,955 200,000,000 200,000,000 200,000,000

(24,000,704) 7,189,103,922 4,800,141 39,974,839 (19,200,563) 7,229,078,761 (3,728,000) 3,299,674,917 -

200,000,000 3,846,380,253 35,174,698 200,000,000 3,881,554,951 3,303,402,917

งบการเงินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ กำไรสะสม องค์ประกอบอื่นของ ส่วนของผู้ถือหุ้น รวมส่วน ส่วนได้เสีย รวมส่วน หมายเหตุ ทุนที่ออก ส่วนเกิน จัดสรรแล้ว- ยังไม่ได้จัดสรร กำไรขาดทุน ของผู้ถือหุ้น ที่ไม่มี ของ และชำระแล้ว มูลค่าหุ้นสามัญ ทุนสำรอง เบ็ดเสร็จอื่น บริษัทใหญ่ อำนาจควบคุม ผู้ถือหุ้น ตามกฎหมาย เงินลงทุนเผื่อขาย

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น


รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

37

หน่วย : บาท

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ ต้นปี 1 มกราคม 2553 ก่อนปรับปรุง :- 2,000,000,000 1,166,724,373 200,000,000 1,932,249,873 (24,000,704) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี - ภาษีเงินได้ 3 35,244,326 4,800,141 ยอดคงเหลือ ณ ต้นปี 1 มกราคม 2553 ที่ปรับปรุงแล้ว :- 2,000,000,000 1,166,724,373 200,000,000 1,967,494,199 (19,200,563) กำไรเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 2553 (ปรับปรุงใหม่) 3,321,513,866 (3,728,000) เงินปันผลจ่าย 22 (2,900,000,000) ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2553 หลังปรับปรุง 2,000,000,000 1,166,724,373 200,000,000 2,389,008,065 (22,928,563) ปี 2554 ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2553 ก่อนปรับปรุง :- 2,000,000,000 1,166,724,373 200,000,000 2,353,763,695 (28,660,704) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี - ภาษีเงินได้ 3 35,244,370 5,732,141 ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2553 ที่ปรับปรุงแล้ว 2,000,000,000 1,166,724,373 200,000,000 2,389,008,065 (22,928,563) รับรู้หนี้สินส่วนเพิ่มโดยปรับกับกำไรสะสม ณ วันต้นปี - ผลประโยชน์ของพนักงาน (31,653,096) กำไรเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 2554 3 3,574,258,284 (4,660,000) เงินปันผลจ่าย 22 (3,600,000,000) ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2554 2,000,000,000 1,166,724,373 200,000,000 2,331,613,253 (27,588,563)

ปี 2553

5,691,827,364 40,976,511 5,732,803,875 (31,653,096) 3,569,598,284 (3,600,000,000) 5,670,749,063

5,274,973,542 40,044,467 5,315,018,009 3,317,785,866 (2,900,000,000) 5,732,803,875

งบการเงินเฉพาะกิจการ กำไรสะสม องค์ประกอบอื่นของ ส่วนของผู้ถือหุ้น รวมส่วน หมายเหตุ ทุนที่ออก ส่วนเกิน จัดสรรแล้ว- ยังไม่ได้จัดสรร กำไรขาดทุน ของ และชำระแล้ว มูลค่าหุ้นสามัญ ทุนสำรอง เบ็ดเสร็จอื่น ผู้ถือหุ้น ตามกฎหมาย เงินลงทุนเผื่อขาย

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ)


งบกระแสเงินสด บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 2554 2553 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน 5,252,164,126 4,867,715,482 3,792,588,281 3,474,965,792 กำไรก่อนภาษีเงินได้

ปรับกระทบกำไรก่อนภาษีเงินได้เป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากการดำเนินงาน

ค่าเสื่อมราคา 118,317,580 152,017,557 3,326,887 4,907,968 ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 20,004,001 8,348,357 - - ค่าตัดจำหน่ายสิทธิการใช้ทรัพย์สิน 140,935,175 135,733,120 - - ค่าตัดจำหน่ายผลประโยชน์จ่ายเพิ่ม 19,609,177 - - - ค่าตัดจำหน่ายค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าละคร ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ และลิขสิทธิ์ 1,623,371,711 1,460,632,799 1,298,801,419 1,107,808,861 ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายตัดจำหน่าย 11,758,945 - - - ขาดทุนจากการด้อยค่า-ค่าความนิยม - 10,718,556 - - หนี้สูญ 11,962,361 734,020 - - หนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น (ลดลง)-ลูกหนี้การค้า (5,584,075) (27,734,167) - - หนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น (ลดลง)-เงินให้กู้ยืมระยะสั้น แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - (9,869,604) 10,518,604 7,275,350 (กำไร) ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นของเงินลงทุนในกองทุนเปิด (1,063,743) (454,995) 646 222 กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร (4,235,784) (12,951,181) (1,032,707) (4,689,561) (กำไร) ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (19,136) (708,995) 599,322 (323,570) รายได้เงินปันผล - - (3,086,778,740) (2,920,373,605) ขาดทุนจากการด้อยค่าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 181,165 - 113,980 - ขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อย - - 40,000 40,000 กำไรจากการกลับรายการขาดทุนจากการ ด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย - - (1,595,000) (9,132,000) กำไรจากการคืนทุน-เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - (14,327) - - ส่วนแบ่งกำไรตามสัดส่วนของกิจการร่วมค้าที่เลิกกิจการ - (5,396) - - กำไรจากการได้รับยกเว้นหนี้ - (58,301,876) - - ดอกเบี้ยรับ (123,287,663) (52,387,689) (70,541,594) (36,804,197) ดอกเบี้ยจ่าย 636,440 44,936 - - ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน 31,062,965 - 2,187,412 - ส่วนแบ่งขาดทุนของบริษัทย่อยที่เลิกกิจการ 52,332 - - - ส่วนแบ่งขาดทุนของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ที่เลิกกิจการ 52,331 - - -

กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในส่วน ประกอบของสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

38

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

7,095,917,908 6,473,516,597 1,948,228,510 1,623,675,260


งบกระแสเงินสด (ต่อ) บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม 2554 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของสินทรัพย์ดำเนินงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง

เงินลงทุนในกองทุนเปิด ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินมัดจำค่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ค่าผลิตละครจ่ายล่วงหน้า สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

- 47,370,073 (105,844) (26,664,025) (980,000) (37,039,400) (6,230,179)

25,800,000 - (4,988,082) 184,798,930 140,795,211 (50,959) - - 136,370,135 (3,844,964) (858,852) 7,462,648 - - (28,693,600) (47,039,400) (64,693,600) 4,772,230 - (302,804)

การเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของหนี้สินดำเนินงาน เพิ่มขึ้น (ลดลง) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน เงินสดรับจากการดำเนินงาน จ่ายดอกเบี้ย จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน

34,034,735 68,517,979 (1,811,401) 23,925,458 29,061,199 23,997,793 1,190,737 1,232,205 270,345,789 (59,954,024) (16,836,717) (5,664,675) (29,418,451) - (3,002,751) 7,376,291,805 6,646,750,717 2,061,682,944 1,718,108,203 (429,455) (7,995) - (1,689,982,294) (1,237,240,764) (213,970,791) (140,980,232) 5,685,880,056 5,409,501,958 1,847,712,153 1,577,127,971

เงินฝากประจำธนาคารเพิ่มขึ้น (1,948,070,327) - (1,413,488,523) - เงินฝากธนาคารติดภาระค้ำประกัน (เพิ่มขึ้น) ลดลง 15,577,229 (82,259,206) - - รับดอกเบี้ย 118,719,806 44,079,933 67,901,230 29,829,253 เงินสดรับจากเงินปันผล - - 2,936,775,773 2,470,378,172 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น - - (57,000,000) (255,300,000) รับชำระเงินจากเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 243,461,250 109,000,000 เงินสดจ่ายซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย - (1) - - เงินสดรับจากการคืนทุน-เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - 20,044,353 - - ซื้ออุปกรณ์เพิ่มขึ้น (58,660,017) (72,047,314) (1,724,388) (9,152,399) เงินสดรับจากการขายอุปกรณ์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 4,529,289 56,662,664 1,032,710 4,719,626 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเพิ่มขึ้น (28,681,756) (9,408,215) - - สิทธิการใช้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้น (53,361,046) (122,231,912) - - ผลประโยชน์จ่ายเพิ่มเพิ่มขึ้น (405,000,000) - - - ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และค่าลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น (1,635,965,492) (1,430,763,181) (1,521,974,125) (1,256,689,990) เงินสดรับจากการขายละคร - - 269,889,200 215,867,500 เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุน (3,990,912,314) (1,595,922,879) 524,873,127 1,308,652,162 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

39


งบกระแสเงินสด (ต่อ) บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม 2554 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินลดลง (28,000,000) - - (3,600,000,000) (2,900,000,000) (3,600,000,000) (2,900,000,000) จ่ายเงินปันผล เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น 3,440,000 4,400,000 - - เงินปันผลทีบ่ ริษทั ย่อยจ่ายให้สว่ นได้เสียทีไ่ ม่มอี ำนาจควบคุม (117,424,242) (102,421,851) - - เงินสดรับจากทุนของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ในบริษัทย่อย 4,900,020 20,000,050 - - เงินสดจ่ายซื้อส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมในบริษัทย่อย (27) - - - เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน (3,737,084,249) (2,978,021,801) (3,600,000,000) (2,900,000,000) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) (2,042,116,507) 835,557,278 (1,227,414,720) (14,219,867) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 1 มกราคม 5,194,693,731 4,367,659,847 1,884,952,520 1,899,172,387 หัก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่โอนออก จากการเลิกบริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย (งบประกอบ 1) (5,396,230) - - - หัก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่โอนออก จากการเลิกกิจการร่วมค้าทีถ่ อื หุน้ โดยบริษทั ย่อย (งบประกอบ 2) - (22,335,158) - - บวก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจากการซื้อบริษัทย่อย (งบประกอบ 3) - 13,811,764 - - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 3,147,180,994 5,194,693,731 657,537,800 1,884,952,520

ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบกระแสเงินสด รายการที่ไม่ใช่เงินสดประกอบด้วย

โอนดอกเบี้ยค้างรับเป็นเงินให้กู้ยืมระยะสั้น แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินปันผลค้างรับ เงินปันผลที่บริษัทย่อยค้างจ่ายให้แก่ส่วนได้เสีย ที่ไม่มีอำนาจควบคุม สินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นจากเจ้าหนี้ทรัพย์สิน โอนค่าเสื่อมราคาเป็นโปรแกรมจำหน่ายบัตรระหว่างทำ เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย ผลขาดทุนที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

40

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

- -

- -

4,301,604 1,975,350 1,699,989,800 1,549,986,833

10,200 5,877,001 -

13,166 11,912,321 82,040

- - -

(5,825,000)

(4,660,000)

(5,825,000)

- 31,121 - (4,660,000)


งบกระแสเงินสด (ต่อ) บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม 2554 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

งบประกอบ 1 การเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนของบริษัทย่อย ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2554 บริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ได้หยุดการดำเนินงานและจดทะเบียนเลิกบริษทั จึงจัดประเภทเงินลงทุนชัว่ คราว-เงินลงทุนในบริษทั ทีเ่ กีย่ วข้องกันและโอนสินทรัพย์ และหนี้สินที่คงเหลืออยู่ออกจากงบการเงินรวม ดังนี้ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 5,396,230 - - - ลูกหนี้การค้า 1,072 - - - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 8,570 - - - อุปกรณ์ 101,235 - - - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 544,820 - - - เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น (128,791) - - - ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (45,480) - - - ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม (2,938,837) - - - เงินลงทุน ณ วันต้นปี 2,938,819 - - - ส่วนแบ่งขาดทุนตามสัดส่วนของบริษทั ย่อยทีเ่ ลิกกิจการ (52,332) - - - เงินลงทุนชั่วคราว-เงินลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 2,886,487 - - -

งบประกอบ 2 การเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนของบริษัทย่อย

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 กิจการร่วมค้า บีอซี -ี เทโร ซีเนริโอ ซึง่ เป็นกิจการร่วมค้าของบริษทั บีอซี -ี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้เลิกกิจการ จึงจัดประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราว-เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน และในเดือนสิงหาคม 2553 ได้รับ เงินคืนจากกิจการร่วมค้าซึ่งชำระบัญชีเสร็จแล้ว จึงได้โอนสินทรัพย์และหนี้สินที่คงเหลืออยู่ออกจากงบการเงินรวม ดังนี้ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด - 22,335,158 - - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น - 34,617 - - เจ้าหนี้การค้า - (81,204) - - หนี้สินหมุนเวียนอื่น - (71,154) - - ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย - (2,192,787) - - เงินลงทุน ณ วันต้นปี - 20,024,630 - - ส่วนแบ่งกำไรตามสัดส่วนของกิจการร่วมค้าทีเ่ ลิกกิจการ - 5,396 - - เงินลงทุนชั่วคราว-เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - 20,030,026 - - เงินสดรับจากการคืนทุน-เงินลงทุนในกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกัน - 20,044,353 - - กำไรจากการคืนทุน-เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - 14,327 - -

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

41


งบกระแสเงินสด (ต่อ) บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม 2554 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

งบประกอบ 3 การลงทุนในบริษัทย่อยของบริษัทย่อย ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2553 บริษทั บีอซี -ี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนเพิม่ ในบริษทั เวอร์จน้ิ บีอซี -ี เทโร เรดิโอ

(ประเทศไทย) จำกัด (ชื่อใหม่ บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด) ในสัดส่วนการถือหุ้นจากเดิมร้อยละ 51.00 เป็นร้อยละ 99.99 มูลค่าของสินทรัพย์ที่ซื้อและหนี้สินที่รับภาระมามีดังนี้ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด - 13,811,764 - - ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น - 132,433,966 - - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ-ลูกหนี้การค้า - (1,715,430) - - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น - 6,995,225 - - อุปกรณ์ - 10,953,789 - - โปรแกรมคอมพิวเตอร์ - 1,459,270 - - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น - 30,517,110 - - เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น - (10,494,737) - - ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย - (31,645,934) - - เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - (115,268,862) - - ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย - (16,078,587) - - เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน - (28,000,000) - - หนี้สินหมุนเวียนอื่น - (13,984,350) - - รวม - (21,016,776) - - ส่วนของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ณ วันซื้อ - 29 - - ส่วนต่ำกว่าทุนจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วน การถือหุ้นในบริษัทย่อย - ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ - 6,178,913 - - - ส่วนของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม - 4,119,279 - - ค่าความนิยมที่เกิดจากการซื้อธุรกิจ - 10,718,556 - - กระแสเงินสดจ่ายในการลงทุนในบริษัทย่อย - 1 - -

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

42

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

1. ลักษณะธุรกิจ

1.1 ข้อมูลทั่วไป

สถานะทางกฎหมาย สถานที่ตั้งบริษัท ลักษณะธุรกิจ

เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3199 อาคาร มาลีนนท์ทาวเวอร์ ชั้น 2, 3, 8, 9, 30-34 ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ประเทศไทย (1) จัดหา ผลิตรายการ และขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ (2) ลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมซึ่งดำเนินธุรกิจ ตามหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ. 11

1.2 ข้อมูลสัญญาร่วมดำเนินกิจการ

1.2.1 บริษัทย่อยได้ทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีกับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ตามสัญญาลงวันที่ 28 เมษายน 2521 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2525 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 โดยได้รับสิทธิร่วมดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3 จนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ทรัพย์สินที่บริษัทย่อยได้กระทำขึ้นหรือได้จัดหามาไว้สำหรับใช้ใน การดำเนินการตามสัญญานี้ ให้ตกเป็นทรัพย์สิน อ.ส.ม.ท. นับแต่วันที่ได้กระทำหรือได้จัดหา ซึ่งบริษัทย่อยมีสิทธิในการ ใช้ทรัพย์สินดังกล่าวได้ ภายใต้สญ ั ญาดังกล่าวข้างต้น บริษทั ย่อยจะต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนรายปีแก่ อ.ส.ม.ท. ตามทีร่ ะบุไว้ในสัญญา 1.2.2 บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณากับ อ.ส.ม.ท. ตามสัญญาลงวันที่ 25 มกราคม 2533 และแก้ไขใหม่ ลงวันที่ 22 กันยายน 2537 โดยได้รบั สิทธิในการจัดรายการและโฆษณาสถานีวทิ ยุ อ.ส.ม.ท.เอฟ.เอ็ม. ความถี่ 105.5 เมกกะเฮิร์ตซ กรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับอายุสัญญาร่วมดำเนิน กิจการส่งโทรทัศน์สี แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ได้มีข้อตกลงว่า หากสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีสิ้นสุดลง ไม่ว่า ด้วยเหตุใดก่อนครบกำหนดอายุสัญญา ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันสิ้นสุดด้วย ภายใต้สัญญาดังกล่าวข้างต้น บริษัทย่อยจะต้องจ่ายค่าเช่าเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ รายเดือนแก่ อ.ส.ม.ท. ตามที่ระบุไว้ในสัญญา 1.2.3 ในเดือนสิงหาคม 2547 ได้มีการยุบเลิก อ.ส.ม.ท. และมีการจัดตั้งบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขึ้นมา รับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่ของ อ.ส.ม.ท.

2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน

งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ที่กำหนดในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และตามประกาศ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

43


2.1 งบการเงินรวมนี้จัดทำขึ้นโดยรวมงบการเงินของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ดังต่อไปนี้

รายการ

บริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นโดยตรง 1. บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด 2. บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด 3. บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด 4. บริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด 5. บริษัท ยู แอนด์ ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด 6. บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด 7. บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด 8. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด 9. บริษัท สำนักข่าว บีอีซี จำกัด 10. บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด 11. บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด 12. บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด 13. บริษัท แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติ้ง จำกัด 14. บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 15. บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 16. บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด 1. บริษัท ทีวีบี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 1. บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำกัด 2. บริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด 3. บริษัท บีอีซี-เทโร คอมคอม จำกัด 4. บริษัท บีอีซี-เทโร ซีเนริโอ จำกัด 5. บริษัท บีอีซี-เทโร ศาสน จำกัด 6. บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด) 7. บริษัท ไอเอ็มจี บีอีซี-เทโร สปอร์ตส แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 1. บริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส จำกัด

ถือหุ้นร้อยละ 2554 2553

99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 59.99 99.99 99.99

99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 59.99 99.99 99.99

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

59.99

59.99

ไทย

59.99 59.99 51.00 50.00 99.99 99.99

59.99 59.99 51.00 50.00 99.99 99.99

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

51.00

-

ไทย

-

49.99

ไทย

2.2 ยอดคงค้างและรายการระหว่างกันของบริษัทและบริษัทย่อย ได้ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว 2.3 การปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงและมาตรฐานการบัญชีใหม่ในระหว่างปี

44

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

จัดตั้งขึ้นใน ประเทศ


บริษทั และกลุม่ บริษทั ได้ถอื ปฏิบตั ติ ามมาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงและมาตรฐานการบัญชีทอี่ อกใหม่ โดยสภาวิชาชีพบัญชีดังนี้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง สินค้าคงเหลือ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง งบกระแสเงินสด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการ ทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง สัญญาเช่า มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง รายได้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์ เมื่อออกจากงาน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 เรื่อง การรายงานทางการเงินในสภาพเศรษฐกิจ ที่เงินเฟ้อรุนแรง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ส่วนได้เสียในการร่วมค้า มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง กำไรต่อหุ้น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและ (ปรับปรุง 2552) การดำเนินงานที่ยกเลิก มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 6 เรื่อง การสำรวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่ การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง สัญญาการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 เรื่อง รายได้ - รายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

45


มาตรฐานการบัญชีทใ่ี ห้ถอื ปฏิบตั กิ บั งบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีทเ่ี ริม่ ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 ประกอบด้วย

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 20 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 เรื่อง ฉบับที่ 21 เรื่อง ฉบับที่ 25 เรื่อง

ภาษีเงินได้ การบัญชีสำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและ การเปิดเผยข้อมูลเกีย่ วกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความช่วยเหลือจากรัฐบาล - กรณีทไ่ี ม่มคี วามเกีย่ วข้อง อย่างเฉพาะเจาะจงกับกิจการดำเนินงาน ภาษีเงินได้ - การได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ ที่ไม่ได้คิดค่าเสื่อมราคาที่ตีราคาใหม่ ภาษีเงินได้ - การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางภาษี ของกิจการหรือของผู้ถือหุ้น

ฝ่ายบริหารของกลุม่ บริษทั เชือ่ ว่ามาตรฐานการบัญชีขา้ งต้นจะไม่มผี ลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่องบการเงิน เมื่อนำมาถือปฏิบัติ ยกเว้นในปี 2554 กลุ่มบริษัทได้นำมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ มาถือ ปฏิบัติก่อนวันที่มีผลบังคับใช้กับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 2.4 งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้น โดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิม เว้นแต่จะได้เปิดเผยเป็นอย่างอื่นในนโยบายการบัญชี

3. การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี

3.1 ในปี 2554 บริษัทและบริษัทย่อยได้นำมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ มาถือปฏิบัติก่อนวันที่มี ผลบังคับใช้ โดยบริษทั และบริษทั ย่อยต้องปรับย้อนหลังงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีกอ่ นทีน่ ำมาเปรียบเทียบ เสมือนว่าบริษัทได้บันทึกสินทรัพย์หรือหนี้สินภาษีเงินได้ ดังนั้นข้อมูลงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ที่นำมาเปรียบเทียบ จึงเป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นตามนโยบายการบัญชีใหม่ ผลกระทบจากการเปลี่ยน นโยบายการบัญชีมีดังนี้ งบการเงินรวม งบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 หน่วย : พันบาท สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 42,134 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีส่วนที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น : ผลขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย (5,732) ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม (110) กำไรสะสมปลายปีเพิ่มขึ้นในส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 36,292 งบกำไรขาดทุนรวม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ภาษีเงินได้ลดลงจากรายได้ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี กำไรสำหรับงวดเพิ่มขึ้น การแบ่งปันกำไร(ขาดทุน) ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่เพิ่มขึ้น ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมลดลง 46

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

1,001 1,001 1,117 (116)


งบการเงินเฉพาะกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีส่วนที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น : ผลขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย กำไรสะสมปลายปีเพิ่มขึ้น

หน่วย : พันบาท 40,976 (5,732) 35,244

ผลกระทบจากการนำมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ มาถือปฏิบัติก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ ที่ต้องนำมา ปรับเพิ่มกำไรสะสมต้นงวดสำหรับงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นจำนวนเงิน 36.29 ล้านบาท และ 35.24 ล้านบาท ตามลำดับ และ ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นจำนวนเงิน 35.17 ล้านบาท และ 35.24 ล้านบาท ตามลำดับ 3.2 ในระหว่างปี 2554 บริษัทและบริษัทย่อยได้นำนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงานมาถือปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ในการนำนโยบายการบัญชีดังกล่าว มาถือปฏิบัติ บริษัทและบริษัทย่อยได้เลือกรับรู้มูลค่าหนี้สินส่วนเพิ่ม โดยปรับกับกำไรสะสม ณ วันต้นปี 1 มกราคม 2554 โดยในงบการเงินรวมแสดงในส่วนที่เป็นของส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่เป็นจำนวนเงิน 283.92 ล้านบาท (สุทธิจากภาษี) ส่วน ที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมเป็นจำนวนเงิน 11.56 ล้านบาท (สุทธิจากภาษี) และในงบการเงินเฉพาะกิจการ เป็นจำนวนเงิน 31.65 ล้านบาท (สุทธิจากภาษี)

4. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ

4.1 การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย

บริษัทบันทึกรายได้และค่าใช้จ่าย ตามเกณฑ์คงค้าง รายได้จากการขายเวลาโฆษณา บันทึกเป็นรายได้เมื่อให้บริการออกอากาศทางโทรทัศน์และวิทยุ รายได้จากผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ละครและลิขสิทธิ์ บันทึกรายได้ตามวันที่ออกฉายหรือเมื่อมีการขาย รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ บันทึกเป็นรายได้เมื่อมีการแสดงแล้ว รายได้จากการให้ใช้สิทธิ์ละคร ที่มีการคิดค่าใช้สิทธิ์เป็นจำนวนคงที่ ซึ่งผู้ใช้สิทธิ์ไม่สามารถเรียกคืนได้ และ ผูใ้ ห้สทิ ธิไ์ ม่มขี อ้ ผูกพันภายหลังการให้ใช้สทิ ธิ์ จะถือเป็นรายได้ทง้ั จำนวนเมือ่ ผูใ้ ช้สทิ ธิส์ ามารถใช้สทิ ธิไ์ ด้ตามสัญญา เงินปันผลรับถือเป็นรายได้ เมื่อมีสิทธิ์ในการรับเงินปันผล ดอกเบี้ยรับถือเป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างโดยคำนึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง

4.2 เงินลงทุนในกองทุนเปิด

4.3 ลูกหนี้การค้าและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

เงินลงทุนในกองทุนเปิดถือเป็นหลักทรัพย์เพือ่ ค้า แสดงในมูลค่ายุตธิ รรม ราคาทุนของเงินลงทุน ทีจ่ ำหน่าย ในระหว่างปีคำนวณโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ลูกหนี้การค้าแสดงตามมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญซึ่งประมาณจากจำนวนหนี้ ทีอ่ าจเรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยอาศัยประสบการณ์ในการเรียกเก็บเงินในอดีตและสถานะปัจจุบนั ของลูกหนีค้ งค้าง ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

47


4.4 สินค้าคงเหลือ

4.5 คอนเสิร์ตและรายการโทรทัศน์ระหว่างผลิต

สินค้าที่มีเพื่อขาย แสดงในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า ราคาทุนคำนวณ โดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก รายการที่ยังไม่ได้ออกอากาศ แสดงในราคาทุน และจะถือเป็นต้นทุนเมื่อได้ออกอากาศแล้ว

คอนเสิร์ตระหว่างผลิต รายการโทรทัศน์ระหว่างผลิต

4.6 เงินลงทุนเผื่อขาย

4.7 เงินลงทุนในบริษัทย่อย

ตัดบัญชีเป็นต้นทุนการผลิตเมื่อได้มีการแสดงแล้วตามสัดส่วนการแสดง ที่เกิดขึ้น แสดงมูลค่าต้นทุนของการผลิตที่อยู่ระหว่างการผลิตและถ่ายทำซึ่งจะ บันทึกเป็นต้นทุนเมื่อได้โอนสิทธิและส่งมอบหรือเมื่อได้ออกอากาศแล้ว

เงินลงทุนเผื่อขาย เป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด แสดงตามมูลค่ายุติธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเงินลงทุนระยะยาว บริษัทรับรู้การเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์เผื่อขาย เป็นรายการแยกต่างหาก ในส่วนของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ภายใต้หัวข้อ “เงินลงทุนเผื่อขาย”

บริษัทย่อย หมายถึง กิจการที่กลุ่มบริษัทมีอำนาจในการควบคุมนโยบายการเงินและการดำเนินงาน บริษทั รวมบริษทั ย่อยไว้ในงบการเงินรวมตัง้ แต่วนั ทีก่ ลุม่ บริษทั มีอำนาจควบคุมจนถึงวันทีก่ ารมีอำนาจควบคุมนัน้ สิ้นสุดลง เงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะกิจการ แสดงตามวิธีราคาทุนหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่า ของเงินลงทุน

4.8 เงินลงทุนระยะยาวอื่น

4.9 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

4.10 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

เงินลงทุนในบริษัทอื่น หมายถึง บริษัทที่กลุ่มบริษัทถือหุ้น แต่ไม่มีอำนาจควบคุมหรือมีส่วนร่วมในการ กำหนดนโยบายใดๆ เงินลงทุนในบริษัทอื่นแสดงในราคาทุน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ประกอบด้วย ที่ดิน และอาคาร แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม บริษัทและ บริษัทย่อยรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนไว้ในกำไรหรือ ขาดทุนในปีที่เกิดขึ้น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน อาคารและอุปกรณ์คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง ตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ ดังนี้

48

รายการ

อาคาร เครื่องตกแต่งและเครื่องใช้สำนักงาน ระบบสาธารณูปโภค อุปกรณ์ผลิตรายการ ส่วนปรับปรุงอาคารเช่า ยานพาหนะ เครื่องมือและอุปกรณ์ถ่ายทำ

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

อายุการใช้งาน (ปี)

20 3 - 10 5 5 5 5 - 10 5


4.11 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

4.12 สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอตัดจำหน่าย

รายการ

ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของ สินทรัพย์ในเวลา 3-10 ปี ค่าลิขสิทธิ์นักฟุตบอลและโค้ช ตัดจำหน่ายเป็นต้นทุนโดยวิธีเส้นตรงตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา สิทธิการใช้ทรัพย์สนิ รอตัดจำหน่ายตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จา่ ยโดยวิธเี ส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณ ของสินทรัพย์ หรือตัดจำหน่ายตามอายุสัมปทานที่เหลือ ดังนี้

อายุการใช้งาน (ปี)

อาคาร ส่วนปรับปรุงอาคาร สิ่งปลูกสร้างอื่น เครื่องส่งโทรทัศน์สีและวิทยุ อุปกรณ์โทรทัศน์สีและวิทยุ รถถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ สินทรัพย์สถานีเครือข่าย

5 - 20 หรืออายุสัมปทานที่เหลือ 5 5 10 หรืออายุสัมปทานที่เหลือ 5 - 10 5 - 10 5 หรืออายุสัมปทานที่เหลือ

4.13 ผลประโยชน์จ่ายเพิ่มรอตัดบัญชี

4.14 ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละครและลิขสิทธิ์รอตัดจำหน่าย

ผลประโยชน์จ่ายเพิ่มรอตัดบัญชี ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรง ตามอายุสัมปทานที่เหลือ

ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร ค่าลิขสิทธิ์

ตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จา่ ยโดยวิธเี ส้นตรง ตามระยะเวลาทีก่ ำหนดในสัญญา หรือสัดส่วนการออกอากาศของภาพยนตร์ที่กำหนดในสัญญา หรือตาม สิทธิที่ได้รับในการออกอากาศ ตัดจำหน่ายเป็นต้นทุนตามอัตราส่วนของรายได้ที่รับ จากประมาณการ รายได้ทั้งหมด ตัดเป็นค่าใช้จ่ายอัตราร้อยละ 20 ต่อปี ตั้งแต่เริ่มได้มา และจะตัดเป็น ค่าใช้จา่ ยให้คงเหลือเท่ากับร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนเดิมเมือ่ ออกอากาศ ครั้งแรกจบทั้งเรื่อง หลังจากนั้นจะตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายต่อไปโดย วิธีเส้นตรงในระยะเวลา 5 ปี ตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จา่ ยโดยวิธเี ส้นตรง ตามระยะเวลาทีก่ ำหนดในสัญญา

4.15 สัญญาเช่าดำเนินงาน

4.16 สินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

สัญญาเช่าซึ่งความเสี่ยงและประโยชน์ส่วนใหญ่ จากการเป็นเจ้าของทรัพย์สินยังคงอยู่กับผู้ให้เช่า บันทึก เป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน ค่าเช่าทีเ่ กิดขึน้ จากสัญญาเช่าดังกล่าว รับรูเ้ ป็นค่าใช้จา่ ยในผลการดำเนินงานระหว่างปี ตามอายุของสัญญาเช่า

สินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี จะคำนวณขึ้นจากผลแตกต่างชั่วคราว ณ วันที่ในงบแสดง ฐานะการเงินระหว่างฐานภาษีของสินทรัพย์หรือหนี้สินกับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์หรือหนี้สินนั้น ซึ่งจะรับรู้ เป็นรายได้ภาษีหรือตัดบัญชีเป็นค่าใช้จา่ ยภาษี เมือ่ รายได้สามารถรับรูเ้ ป็นรายได้หรือค่าใช้จา่ ยทีบ่ นั ทึกไว้เกิดขึน้ จริง และถือหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แล้วในการคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

49


บริษัทรับรู้ผลแตกต่างชั่วคราว ที่ต้องหักภาษีเป็นสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือบวกภาษีเป็น หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หากมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่า บริษัทจะมีกำไรทางภาษีจากการ ดำเนินงานในอนาคตเพียงพอ ที่จะนำสินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ บริษทั จะทบทวนมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์/หนีส้ นิ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ณ วันทีใ่ นงบแสดงฐานะ การเงิน และจะปรับมูลค่าตามบัญชีดังกล่าวเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่า บริษัทจะไม่มีกำไรทางภาษี เพียงพอต่อการนำสินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ประโยชน์

4.17 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

4.18 กำไรต่อหุ้น

4.19 รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

4.20 รายได้จากการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ

4.21 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

4.22 ผลประโยชน์ของพนักงาน

ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้คำนวณจากกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวด ประกอบด้วย ภาษีเงินได้ปัจจุบันและ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับรายการที่บันทึก ในส่วนของผู้ถือหุ้นรับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรต่อหุน้ ขัน้ พืน้ ฐาน คำนวณโดยการหารกำไรสำหรับปีดว้ ยจำนวนหุน้ สามัญทีอ่ อกจำหน่ายและชำระแล้ว ณ วันสิ้นปี

รายการบัญชีทเ่ี ป็นเงินตราต่างประเทศได้บนั ทึกเป็นเงินบาท โดยใช้อตั ราแลกเปลีย่ น ณ วันทีเ่ กิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่มียอดคงเหลือ ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน ได้บันทึกไว้เป็น เงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน ยกเว้นรายการที่เป็นสัญญาอัตราแลกเปลี่ยน ล่วงหน้ากับธนาคารจะใช้ราคายุตธิ รรม ผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลีย่ นได้บนั ทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จา่ ย ในการดำเนินงานระหว่างปีแล้ว

รายได้จากการแลกเปลีย่ นสินค้าหรือบริการ เกิดจากการแลกเปลีย่ นสินค้าหรือบริการทีม่ ลี กั ษณะทีไ่ ม่เหมือนกัน ซึ่งกิจการมีการรับรู้รายได้ดังกล่าว ด้วยมูลค่ายุติธรรมของราคาสินค้าหรือบริการที่แลกเปลี่ยน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ได้แก่ เงินสดและเงินฝากธนาคาร และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพ คล่องสูง ซึ่งถึงกำหนดในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน นับจากวันที่ได้มาและปราศจากภาระผูกพัน ผลประโยชน์ระยะสั้น บริษัทรับรู้เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดรายการ ผลประโยชน์ระยะยาว โครงการสมทบเงิน บริษทั และบริษทั ย่อยจัดให้มกี องทุนสำรองเลีย้ งชีพ ซึง่ เป็นลักษณะของแผนการจ่ายสมทบตามทีไ่ ด้กำหนด การจ่ายสมทบไว้แล้ว สินทรัพย์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้แยกออกไปจากสินทรัพย์ของบริษัท และได้รับการ บริหารโดยผู้จัดการกองทุนภายนอก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าว ได้รับเงินสะสมเข้ากองทุนจากพนักงานและ เงินสมทบจากบริษัท เงินจ่ายสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ในผลการดำเนินงานระหว่างงวด สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการนั้น

50

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


โครงการผลประโยชน์ ในปี 2554 สำรองผลประโยชน์ของพนักงานเมื่อเกษียณอายุ บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตลอดอายุการทำงานของพนักงาน โดยการประมาณจำนวนเงินผลประโยชน์ในอนาคต ทีพ่ นักงานจะได้รบั จาก การทำงานให้กบั บริษทั ในงวดปัจจุบนั และงวดอนาคต ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย โดยผลประโยชน์ดงั กล่าว ได้ถูกคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบัน อัตราคิดลดใช้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเป็นอัตราอ้างอิงเริ่มต้น การประมาณการหนี้สินดังกล่าวคำนวณโดยผู้เชี่ยวชาญโดยใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method) ในปี 2553 บริษัทบันทึกค่าใช้จ่ายสำหรับผลประโยชน์ของพนักงาน ตามกฎหมายแรงงานไทยในปีที่เกิด รายการ

4.23 การใช้ดุลยพินิจและประมาณการทางบัญชีที่สำคัญ

ในการจัดทำงบการเงิน ตามมาตรฐานการบัญชีทรี่ บั รองทัว่ ไป ฝ่ายบริหารต้องใช้ดลุ ยพินจิ ในการประมาณ และตั้งข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อจำนวนเงินที่เกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ และ หนี้สิน รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างไป จากจำนวนที่ประมาณไว้ ประมาณการและข้อสมมติฐานจะได้รับการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ โดยอาศัยประสบการณ์ในอดีตและ ปัจจัยต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ในอนาคตทีค่ าดว่าจะเกิดขึน้ ซึง่ ฝ่ายบริหารมีความเชือ่ มัน่ อย่างสมเหตุสมผลภายใต้ สถานการณ์นั้น บริษัทได้ตั้งประมาณการและข้อสมมติฐานต่อเหตุการณ์ในอนาคต เป็นผลให้ประมาณการทาง บัญชีอาจจะไม่ตรงกับผลที่เกิดขึ้นจริง ประมาณการและข้อสมมติฐานทางบัญชีที่สำคัญ ได้แก่ ค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสูญ ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และสำรองผลประโยชน์ ระยะยาวของพนักงาน การประมาณการในเรื่องต่างๆ ได้เปิดเผยในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องของหมายเหตุประกอบ งบการเงินนี้

5. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วยรายการ ดังต่อไปนี้ หน่วย : บาท

เงินสดและเงินฝากธนาคาร เงินฝากประจำธนาคารระยะสั้น ตั๋วแลกเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

งบการเงินรวม 2554 2553

รายการ

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

1,433,029,100 1,827,528,668 322,722,002 414,285,670 1,714,151,894 718,198,023 334,815,798 261,580,198 - 2,648,967,040 - 1,209,086,652 3,147,180,994 5,194,693,731 657,537,800 1,884,952,520

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และตั๋วแลกเงินมีอัตราดอกเบี้ยระหว่าง ร้อยละ 0.25 ถึง 3.90 ต่อปี และร้อยละ 0.25 ถึง 2.00 ต่อปี ตามลำดับ

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

51


6. เงินลงทุนในกองทุนเปิด

งบการเงินรวม 2554 2553

รายการ

เงินลงทุนในกองทุนเปิด-ตราสารหนี้ ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน เงินลงทุนในกองทุนเปิด - มูลค่ายุติธรรม

หน่วย : บาท

46,802,522 2,840,528 49,643,050

46,802,522 1,776,785 48,579,307

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

10,037 1,066 11,103

10,037 1,712 11,749

เงินลงทุนในกองทุนเปิดเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า ผลต่างของมูลค่ายุติธรรมกับราคาทุน แสดงเป็นค่าเผื่อการปรับ มูลค่าเงินลงทุน ผลกำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในกองทุนเปิดทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่างปีได้นำไปแสดงในงบกำไรขาดทุนแล้วดังนี้ หน่วย : บาท

งบการเงินรวม 2554 2553

รายการ

กำไร(ขาดทุน)ที่ยังไม่เกิดขึ้นของเงินลงทุนในกองทุนเปิด กำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในกองทุนเปิด ผลกำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในกองทุนเปิด

1,063,743 - 1,063,743

454,995 5,298,549 5,753,544

7. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

52

-

(646) (646)

-

(222) (222)

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม 2554 2553

อายุลูกหนี้

ลูกหนี้การค้า ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เกินกำหนดชำระไม่เกิน 3 เดือน มากกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน มากกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป ลูกหนี้เช็คคืน รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้การค้า-สุทธิ ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน รวมลูกหนี้การค้า-สุทธิ ลูกหนี้อื่น ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น-สุทธิ

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

771,916,271 89,940,448 9,049,972 2,038,790 8,840,391 - 881,785,872 (9,621,354) 872,164,518 3,107,867 875,272,385 31,388,056 906,660,441

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

866,668,179 - 62,615,882 - 11,258,127 - 258,782 - 9,720,238 - 55,000 - 950,576,208 - (15,205,429) - 935,370,779 - - 220,319,550 405,136,980 935,370,779 220,319,550 405,136,980 24,517,672 18,500 959,888,451 220,338,050 405,136,980


8. เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

รายการ

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม 2554

บริษัทให้กู้ยืม - บริษัทย่อย 1. บริษทั บีอซี ี บรอดคาสติง้ เซ็นเตอร์ จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - รับชำระคืนระหว่างปี - ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - 2. บริษัท ยู แอนด์ ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - ให้กู้เพิ่มระหว่างปี - ดอกเบี้ยค้างรับที่ทบเป็นเงินต้น - ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - รวมเงินให้กู้ยืม-สุทธิ - 3. บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - ให้กู้เพิ่มระหว่างปี - ดอกเบี้ยค้างรับที่ทบเป็นเงินต้น - รับชำระคืนระหว่างปี - ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - 4. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - ดอกเบี้ยค้างรับที่ทบเป็นเงินต้น - ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - รวมเงินให้กู้ยืม-สุทธิ - 5. บริษัท ทีวีบี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - ให้กู้เพิ่มระหว่างปี - รับชำระคืนระหว่างปี - ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - รวมเงินให้กู้ยืม-สุทธิ -

2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละ) 2554 2553

- - -

190,000,000 190,000,000 (70,000,000) 120,000,000 190,000,000 2.75-4.25 2.75-3.25

- - - - - -

67,684,350 65,832,052 2,400,000 2,464,694 1,852,298 72,549,044 67,684,350 2.75-4.625 2.75-4.00 (72,549,044) (67,684,350) - -

- - - - -

78,000,000 7,000,000 - 100,000,000 1,683,000 (34,361,250) (29,000,000) 45,321,750 78,000,000 2.75-4.625 2.75-3.25

- - - - -

4,642,852 4,519,800 153,910 123,052 4,796,762 4,642,852 3.00-4.625 2.75-3.75 (4,796,762) (4,642,852) - -

- - - - - -

28,300,000 23,000,000 14,600,000 5,300,000 (9,100,000) 33,800,000 28,300,000 3.00-4.875 3.00-4.25 (33,800,000) (28,300,000) - -

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

53


หน่วย : บาท รายการ

6. บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี ให้กู้เพิ่มระหว่างปี รับชำระคืนระหว่างปี ยอดคงเหลือยกไปปลายปี รวมเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย-สุทธิ บริษัทย่อยให้กู้ยืม - บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 1. บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (เดิมชือ่ บริษทั เวอร์จน้ิ บีอซี -ี เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด) ยอดคงเหลือยกมาต้นปี หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวมเงินให้กู้ยืม-สุทธิ หัก โอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนจาก บริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อย - เงินต้น - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ยอดคงเหลือยกไปปลายปี รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน-สุทธิ

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

2554

2553

- - - - -

- - - - -

- - -

34,000,000 (9,869,604) 24,130,396

- - -

-

- - -

(34,000,000) 9,869,604 -

- - -

-

-

-

อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละ) 2554 2553

120,000,000 50,000,000 40,000,000 150,000,000 (130,000,000) (80,000,000) 30,000,000 120,000,000 2.75-4.625 2.75-3.25 195,321,750 388,000,000

-

195,321,750 388,000,000

9. สินค้าคงเหลือ

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม 2554 2553

รายการ

สินค้าสำเร็จรูป รายการที่ยังไม่ได้ออกอากาศ สินค้าอื่น รวม

54

6.198-7.325

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

315,776 81,299 20,730 417,805

172,249 119,142 20,570 311,961

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

- - - -

-


10. เงินลงทุนเผื่อขาย

เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย เกิดจากการโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนจากบริษัทร่วมมาเป็นเงินลงทุนใน หลักทรัพย์เผื่อขาย หน่วย : บาท

รายการ

บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ราคาทุน หัก ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน มูลค่ายุติธรรม ณ วันโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุน หัก ผลขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุน เงินลงทุนเผื่อขาย-มูลค่ายุติธรรม

งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

266,046,765 (176,223,561) 89,823,204 (34,485,704) 55,337,500

266,046,765 (176,223,561) 89,823,204 (28,660,704) 61,162,500

11. เงินลงทุนในบริษัทย่อย

รายการ

1. บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด 2. บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด 3. บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด 4. บริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด 5. บริษัท ยู แอนด์ ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด 6. บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด 7. บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด 8. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด 9. บริษัท สำนักข่าว บีอีซี จำกัด 10. บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด 11. บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด 12. บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด 13. บริษัท แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติ้ง จำกัด 14. บริษัท บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 15. บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 16. บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด เงินลงทุนในบริษัทย่อย หัก ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน รวมเงินลงทุนในบริษัทย่อย-สุทธิ (งบการเงินเฉพาะกิจการ)

หน่วย : บาท สัดส่วนการถือหุ้น(%) 2554 2553

ตามวิธีราคาทุน 2554 2553

99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99

99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99

299,999,200 34,999,510 59,999,160 42,996,990 34,999,300 29,999,930 4,999,930 4,999,930 4,999,930 4,999,930

299,999,200 34,999,510 59,999,160 42,996,990 34,999,300 29,999,930 4,999,930 4,999,930 4,999,930 4,999,930

99.99 99.99 99.99 59.99 99.99 99.99

99.99 99.99 99.99 59.99 99.99 99.99

24,999,930 14,999,930 999,930 122,116,158 199,992,000 49,998,000 936,099,758 (122,909,730)

24,999,930 14,999,930 999,930 122,116,158 199,992,000 49,998,000 936,099,758 (124,464,730)

813,190,028 811,635,028

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

55


รายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย

บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยบริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

56

บริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส จำกัด ในเดือนธันวาคม 2554 บริษทั ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วสิ จำกัด ซึง่ เป็นบริษทั ย่อยของบริษทั บีอซี ไี อ คอร์ปอเรชัน่ จำกัด ได้จดทะเบียนเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์ และอยู่ในระหว่างการชำระบัญชี จึงได้จัดประเภทเงินลงทุน บริษทั ดังกล่าวเป็นเงินลงทุนชัว่ คราว-เงินลงทุนในบริษทั ทีเ่ กีย่ วข้องกันในงบการเงินรวมเป็นจำนวนเงิน 2.89 ล้านบาท

บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไอเอ็มจี บีอีซี-เทโร สปอร์ตส แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ในเดือนสิงหาคม 2554 บริษัทย่อยของบริษัทได้ลงทุนใน บริษัท ไอเอ็มจี บีอีซี-เทโร สปอร์ตส แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นหุ้นสามัญจำนวน 509,998 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 5.10 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการลงทุน ร้อยละ 51.00 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการแข่งขันกีฬา การประกวดและการแสดงโชว์

บริษัท บีอีซี-เทโร ศาสน จำกัด ในเดือนเมษายน 2553 บริษัทย่อยของบริษัทได้ลงทุนใน บริษัท บีอีซี-เทโร ศาสน จำกัด เป็นหุ้นสามัญจำนวน 999,997 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 99.99 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการ บริหารและจัดการสโมสรฟุตบอล

บริษัท บีอีซี-เทโร ซีเนริโอ จำกัด ในเดือนมีนาคม 2553 บริษัทย่อยของบริษัทได้ลงทุนใน บริษัท บีอีซี-เทโร ซีเนริโอ จำกัด เป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,999,998 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 50 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการ จัดการแสดงละครเพลงบนเวที

บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2554 ได้มีมติอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อบริษัทจากเดิมชื่อ “บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด” เป็น “บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด” บริษัทได้จดทะเบียน เปลี่ยนชื่อบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 และบริษัทย่อยของบริษัทได้ซื้อหุ้นเพิ่ม ในวันเดียวกัน จำนวน 5 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท เป็นจำนวนเงิน 50 บาท ทำให้จำนวนหุ้นจากเดิมจำนวน 4,996,073 หุ้น เป็นจำนวน 4,996,078 หุ้น

เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อหุ้นบุริมสิทธิของ บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด) จำนวน 2,448,080 หุ้น จากบริษัท เวอร์จิ้น เรดิโอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในราคา 1 บาท เนื่องจาก ณ วันซื้อหุ้นเพิ่ม บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด) มีผลขาดทุนสะสมสูงกว่าทุน และบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าไปค้ำประกันเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงินเพิ่มจากเดิมจำนวน 40 ล้านบาท แทนบริษัท เวอร์จิ้น เรดิโอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นจำนวน 80 ล้านบาท (ดูหมายเหตุ 29.5) โดยที่บริษัท เวอร์จิ้น เรดิโอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ตกลงยกหนี้เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างจ่ายจำนวน 58.30 ล้านบาท ให้กับ บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด)

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


ซึ่งได้รับรู้การยกหนี้ให้ดังกล่าวเป็นรายได้ในปี 2553 การซื้อหุ้นดังกล่าวทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 51.00 เป็นร้อยละ 99.99 ดังนัน้ บริษทั ย่อยของบริษทั จึงโอนเปลีย่ นประเภทเงินลงทุนในบริษทั ร่วมเป็นเงินลงทุน บริษัทย่อย และทำให้เกิดค่าความนิยมจากการซื้อกิจการเป็นจำนวนเงิน 10.72 ล้านบาท และบริษัทย่อยของบริษัท ได้ตั้งขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าความนิยมทั้งจำนวน งบการเงินของ บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด) ที่นำมาใช้ในการจัดทำงบการเงินรวมในปี 2553 ถือตามงบการเงินที่ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น

กิจการร่วมค้าที่ลงทุนโดยบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

กิจการร่วมค้า บีอีซี-เทโร ซีเนริโอ ในเดือนมีนาคม 2553 ผู้ถือหุ้นของกิจการร่วมค้า บีอีซี-เทโร ซีเนริโอ ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าบริษัทย่อยของบริษัท ได้เลิกกิจการ และอยู่ในระหว่างการชำระบัญชี จึงได้จัดประเภทเงินลงทุนดังกล่าวเป็นเงินลงทุนชั่วคราว-เงินลงทุน ในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ในงบการเงินรวม เป็นจำนวนเงิน 20.03 ล้านบาท ในเดือนสิงหาคม 2553 บริษัทย่อยของบริษัท ได้รับเงินคืนเป็นจำนวนเงิน 20.05 ล้านบาท เนื่องจากกิจการ ร่วมค้า บีอีซี-เทโร ซีเนริโอ ได้ชำระบัญชีเสร็จแล้ว หน่วย : บาท รายการ

ทุนชำระเเล้ว 2554 2553

ประเภทกิจการ

บริษัทย่อย 1. บริษทั บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์ และวิทยุ 2. บริษทั รังสิโรตม์วนิช จำกัด จัดหา ผลิตรายการและ ขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ 3. บริษทั นิวเวิลด์ โปรดัก๊ ชัน่ จำกัด จัดหา ผลิตรายการและ ขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ 4. บริษทั บีอซี ี บรอดคาสติง้ เซ็นเตอร์ จำกัด ให้บริการอุปกรณ์หอ้ งสตูดโิ อ 5. บริษทั ยู แอนด์ ไอ คอร์โปเรชัน่ จำกัด ผลิตรายการและดำเนินการ สถานีวทิ ยุ 6. บริษทั บีอซี ี แอสเซท จำกัด ดำเนินการถือครอง และให้เช่าทรัพย์สนิ 7. บริษทั บีอซี ี สตูดโิ อ จำกัด ( * ) ผลิตรายการและให้บริการ อุปกรณ์หอ้ งสตูดโิ อ 8. บริษทั บีอซี ี อินเตอร์เนชัน่ แนล จัดหาและผลิตรายการโทรทัศน์ ดิสทริบวิ ชัน่ จำกัด 9. บริษทั สำนักข่าว บีอซี ี จำกัด ( * ) ผลิตรายการข่าว 10. บริษทั บางกอกเทเลวิชน่ั จำกัด จัดหา ผลิตรายการและ ขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ 11. บริษทั บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ ให้บริการรับ-ส่งสัญญาณ เทเลคอมมิวนิเคชัน่ จำกัด ( * ) โทรทัศน์ผา่ นดาวเทียม

เงินปันผล 2554 2553

300,000,000 300,000,000 1,899,994,933 1,799,995,200 5,000,000

5,000,000 529,992,580 629,991,180

5,000,000

5,000,000

-

-

1,000,000 1,000,000 49,996,500 149,989,500 35,000,000 35,000,000 - 30,000,000 30,000,000 49,999,883 49,999,883 5,000,000

5,000,000

-

-

5,000,000

5,000,000

-

-

5,000,000 5,000,000

5,000,000 - 5,000,000 349,995,100 149,997,900

25,000,000 25,000,000

-

-

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

57


หน่วย : บาท

รายการ

12. บริษทั บีอซี ี ไอที โซลูชน่ั จำกัด 13. บริษทั แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติง้ จำกัด ( * ) 14. บริษทั บีอซี -ี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 15. บริษทั บีอซี ไี อ คอร์ปอเรชัน่ จำกัด 16. บริษทั บีอซี ี มัลติมเี ดีย จำกัด

ประเภทกิจการ

58

บริษทั บีอซี -ี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัทย่อย 1. บริษทั ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำกัด 2. บริษทั แฮฟเอกูด๊ ดรีม จำกัด 3. บริษทั บีอซี -ี เทโร คอมคอม จำกัด

เงินปันผล 2554 2553

ให้บริการด้านเทคโนโลยี 15,000,000 15,000,000 39,999,813 สารสนเทศและขายปลีก อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และให้บริการดูแลรักษา ให้บริการโทรทัศน์ผา่ นดาวเทียม 1,000,000 1,000,000 -

-

-

จัดหา ผลิตรายการและ 200,000,000 200,000,000 166,799,931 140,399,942 ขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ผลิตและส่งเสริมการจำหน่าย เพลง จัดแสดงคอนเสิรต์ ผลิตภาพยนตร์และละคร ลงทุนในธุรกิจอินเตอร์เน็ต 200,000,000 200,000,000 - ลงทุนในธุรกิจมัลติมเี ดีย 50,000,000 50,000,000 - -

บริษัทที่ถือหุ้นโดย 1. บริษทั บีอซี ี อินเตอร์เนชัน่ แนล ดิสทริบวิ ชัน่ จำกัด บริษัทย่อย 1. บริษทั ทีวบี ี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด จัดหา ผลิตรายการและ ขายเวลาโฆษณา 2.

ทุนชำระเเล้ว 2554 2553

10,000,000 10,000,000

-

-

ให้บริการทำโฆษณา / บริการ 10,000,000 10,000,000 รับจองและขายบัตรเข้าชม การแสดง / บริการสำรองทีน่ ง่ั และจำหน่ายตัว๋ รถโดยสาร จัดหา ผลิตรายการและ 10,000,000 10,000,000 ขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ตัวแทนขายสือ่ โฆษณา 28,000,000 28,000,000 และสปอนเซอร์บนหน้าจอ โทรศัพท์เคลือ่ นทีผ่ า่ นเครือข่าย ผูใ้ ห้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นที่ ในประเทศไทย

9,299,985 13,199,846

*ยังไม่เริ่มดำเนินการ

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

-

-

-

-


หน่วย : บาท

รายการ

ประเภทกิจการ

ทุนชำระเเล้ว 2554 2553

เงินปันผล 2554 2553

4. บริษทั บีอซี -ี เทโร ซีเนริโอ จำกัด ดำเนินการจัดแสดงเพลงบนเวที 40,000,000 40,000,000 - 5. บริษทั บีอซี -ี เทโร ศาสน จำกัด บริหารและจัดการสโมสร 10,000,000 10,000,000 - ฟุตบอล 6. บริษทั บีอซี -ี เทโร เรดิโอ จำกัด ขายเวลาโฆษณาและ 49,960,800 49,960,800 - (เดิมชือ่ บริษทั เวอร์จน้ิ ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนา บีอซี -ี เทโร เรดิโอ รายการวิทยุ (ประเทศไทย) จำกัด) 7. บริษทั ไอเอ็มจี บีอซี -ี เทโร สปอร์ตส จัดการแข่งขันกีฬา การประกวด 10,000,000 - - แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด และการแสดงโชว์ 3. บริษทั บีอซี ไี อ คอร์ปอเรชัน่ จำกัด บริษัทย่อย 1. บริษทั ไทยออดิโอเท็กซ์ ให้บริการ ข้อมูลด้วยเสียง - 30,000,000 - เซอร์วสิ จำกัด ทางโทรศัพท์ รวมเงินปันผล 3,096,078,725 2,933,573,451 - เงินปันผลทีบ่ ริษทั รับจากบริษทั ย่อย 3,086,778,740 2,920,373,605 - เงินปันผลรับจากบริษทั ย่อยทีถ่ อื หุน้ โดยบริษทั ย่อย 9,299,985 13,199,846

12. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หน่วย : บาท

ราคาทุนเดิม หัก ผลขาดทุนจากการปรับมูลค่า มูลค่ายุติธรรม

งบการเงินรวม 2554 2553

รายการ

63,431,165 (181,165) 63,250,000

63,431,165 - 63,431,165

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

763,980 (113,980) 650,000

763,980 763,980

มูลค่ายุติธรรมประเมินโดยผู้ประเมินอิสระ ตามวิธีเปรียบเทียบกับข้อมูลตลาด

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

59


13. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม เครื่องตกแต่ง ระบบ อุปกรณ์ผลิต ส่วน เครื่องมือ สินทรัพย์ รายการ ที่ดิน และ สาธาร- รายการ ปรับปรุง ยาน- และ ระหว่าง เครื่องใช้ ณูปโภค โทรทัศน์ อาคาร พาหนะ อุปกรณ์ ติดตั้ง สำนักงาน และวิทยุ เช่า ถ่ายทำ

ราคาทุน 31 ธันวาคม 2552 ซื้อเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากการ ลงทุนซื้อกิจการ จำหน่าย/เลิกใช ้ โอน/รับโอน 31 ธันวาคม 2553 ซื้อเพิ่ม จำหน่าย/เลิกใช้ โอน/รับโอน 31 ธันวาคม 2554 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2552 เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นจากการ ลงทุนซื้อกิจการ จำหน่าย/เลิกใช้ โอน/รับโอน 31 ธันวาคม 2553 เพิ่มขึ้น จำหน่าย/เลิกใช้ โอน/รับโอน 31 ธันวาคม 2554 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2554

รวม

1,284,250 479,753,838 100,870,241 284,198,986 114,328,539 430,638,565 361,846,722 78,364,610 1,851,285,751 - 19,480,340 - 2,523,751 1,191,750 50,177,353 5,284,191 5,302,250 83,959,635 - 107,078,487 - - 59,514,579 3,018,630 - - 169,611,696 - (21,475,717) - (13,564,894) - (28,749,962) (176,112,347) - (239,902,920) - 196,000 - 70,998,160 - - 7,170,450 (78,364,610) 1,284,250 585,032,948 100,870,241 344,156,003 175,034,868 455,084,586 198,189,016 5,302,250 1,864,954,162 - 20,005,896 452,322 1,775,316 481,080 29,938,371 11,676,832 207,200 64,537,017 - (6,254,257) - (465,681) (348,704) (23,328,654) - - (30,397,296) - (230,000) - - 1,352,250 - 3,936,156 (5,302,250) (243,844) 1,284,250 598,554,587 101,322,563 345,465,638 176,519,494 461,694,303 213,802,004 207,200 1,898,850,039 - -

433,190,447 90,844,258 254,499,317 102,481,994 302,001,490 264,905,215 24,973,157 7,269,982 24,654,708 11,657,858 53,891,782 29,570,070

- -

1,447,922,721 152,017,557

- - - - - - - -

100,572,225 - - 55,454,299 2,631,383 - (19,644,839) - (13,218,838) - (28,324,080) (144,950,372) 82,040 - - - - - 539,173,030 98,114,240 265,935,187 169,594,151 330,200,575 149,524,913 25,579,972 2,700,058 21,832,457 4,781,082 44,986,061 18,437,950 (6,111,618) - (314,828) (348,704) (23,328,642) - (133,601) - - - - (9,008) 558,507,783 100,814,298 287,452,816 174,026,529 351,857,994 167,953,855

-

158,657,907 - (206,138,129) 82,040 1,552,542,096 118,317,580 (30,103,792) (142,609) 1,640,613,275

- - - - - -

1,284,250 45,859,918 2,756,001 78,220,816 5,440,717 124,884,011 48,664,103 5,302,250 312,412,066 1,284,250 40,046,804 508,265 58,012,822 2,492,965 109,836,309 45,848,149 207,200 258,236,764

ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี 2553 (122.89 ล้านบาท รวมอยู่ในต้นทุนบริการ ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร) 2554 (89.10 ล้านบาท รวมอยู่ในต้นทุนบริการ ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร)

152,017,557 118,317,580

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 งบการเงินรวมมีสินทรัพย์ถาวรที่คำนวณค่าเสื่อมราคาครบแล้วและยังมีการ ใช้งานอยู่ ซึ่งมีราคาทุนเป็นจำนวนเงิน 1,298.99 ล้านบาท และ 1,108.58 ล้านบาท ตามลำดับ

60

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


หน่วย : บาท รายการ

ราคาทุน 31 ธันวาคม 2552 เพิ่มขึ้น จำหน่าย/เลิกใช้ 31 ธันวาคม 2553 เพิ่มขึ้น จำหน่าย/เลิกใช้ 31 ธันวาคม 2554 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2552 เพิ่มขึ้น จำหน่าย/เลิกใช้ 31 ธันวาคม 2553 เพิ่มขึ้น จำหน่าย/เลิกใช้ 31 ธันวาคม 2554 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2554 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี 2553 (รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร) 2554 (รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร)

งบการเงินเฉพาะกิจการ เครือ่ งตกแต่ง เครื่องมือ และ ระบบ ยานพาหนะ และ เครื่องใช้ สาธารณูปโภค อุปกรณ์ สำนักงาน ถ่ายทำ

รวม

130,197,140 436,856 - 130,633,996 119,388 - 130,753,384

19,280,129 53,989,621 - 8,746,664 - (14,856,658) 19,280,129 47,879,627 - 1,605,000 - (6,964,019) 19,280,129 42,520,608

318,010 - - 318,010 - - 318,010

203,784,900 9,183,520 (14,856,658) 198,111,762 1,724,388 (6,964,019) 192,872,131

128,304,740 1,031,041 - 129,335,781 546,555 - 129,882,336

19,279,930 44,561,415 42 3,876,885 - (14,826,593) 19,279,972 33,611,707 - 2,780,332 - (6,964,016) 19,279,972 29,428,023

317,997 - - 317,997 - - 317,997

192,464,082 4,907,968 (14,826,593) 182,545,457 3,326,887 (6,964,016) 178,908,328

1,298,215 871,048

157 157

14,267,920 13,092,585

13 13

15,566,305 13,963,803

4,907,968 3,326,887

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 งบการเงินเฉพาะกิจการมีสินทรัพย์ถาวรที่คำนวณค่าเสื่อมราคาครบแล้วและ ยังมีการใช้งานอยู่ ซึ่งมีราคาทุนเป็นจำนวนเงิน 171.50 ล้านบาท และ 177.59 ล้านบาท ตามลำดับ

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

61


14. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

หน่วย : บาท

โปรแกรม รายการ คอมพิวเตอร์

ราคาทุน 31 ธันวาคม 2552 ซื้อเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากการลงทุนซื้อกิจการ จำหน่าย/เลิกใช้ โอน/รับโอน 31 ธันวาคม 2553 ซื้อเพิ่ม 31 ธันวาคม 2554 ค่าตัดจำหน่ายสะสม 31 ธันวาคม 2552 เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นจากการลงทุนซื้อกิจการ จำหน่าย/เลิกใช้ 31 ธันวาคม 2553 เพิ่มขึ้น 31 ธันวาคม 2554 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2554

งบการเงินรวม ค่าลิขสิทธิ์ โปรแกรม นักฟุตบอล คอมพิวเตอร์ และโค้ช ระหว่างติดตั้ง

2,288,106 964,080 - - 82,040 3,334,226 1,004,716 4,338,942

รวม

87,329,406 2,363,283 4,182,157 (13,281,549) - 80,593,297 19,436,062 100,029,359

- 6,080,852 - - - 6,080,852 8,240,978 14,321,830

35,689,925 7,873,211 2,722,887 (3,334,857) 42,951,166 9,533,875 52,485,041

- 475,146 - - 475,146 10,470,126 10,945,272

37,642,131 47,544,318

5,605,706 3,376,558

3,334,226 46,582,063 4,338,942 55,259,818

ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี 2553 (7.72 ล้านบาท รวมอยู่ในต้นทุนบริการ ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร) 2554 (18.81 ล้านบาท รวมอยู่ในต้นทุนบริการ ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร)

8,348,357 20,004,001

- - - - - - -

89,617,512 9,408,215 4,182,157 (13,281,549) 82,040 90,008,375 28,681,756 118,690,131 35,689,925 8,348,357 2,722,887 (3,334,857) 43,426,312 20,004,001 63,430,313

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 งบการเงินรวมมีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ตัดจำหน่ายครบแล้วและยังมีการใช้งานอยู่ ซึ่งมีราคาทุนเป็นจำนวนเงิน 27.95 ล้านบาท หน่วย : บาท

รายการ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หัก โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัดจำหน่ายสะสม สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี 62

2552

2,267,820 2,267,762 58 -

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

งบการเงินเฉพาะกิจการ เพิ่มขึ้น 2553 เพิ่มขึ้น

- -

2,267,820 2,267,762 58 -

- -

2554

2,267,820 2,267,762 58 -


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 งบการเงินเฉพาะกิจการมีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ตัดจำหน่ายครบแล้วและยังมีการ ใช้งานอยู่ ซึ่งมีราคาทุนเป็นจำนวนเงิน 2.27 ล้านบาท

15. สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอตัดจำหน่าย

หน่วย : บาท

งบการเงินรวม ส่วน สิ่ง เครื่องส่ง อุปกรณ์ รถ สินทรัพย์ ทรัพย์สิน รายการ อาคาร ปรับปรุง ปลูกสร้าง โทรทัศน์สี โทรทัศน์สี ถ่ายทอด สถานี ระหว่าง อาคาร อื่น และ และ สัญญาณ เครือข่าย ติดตั้ง วิทยุ วิทยุ โทรทัศน์

ราคาทุน 31 ธันวาคม 2552 เพิ่มขึ้น 31 ธันวาคม 2553 เพิ่มขึ้น โอน/รับโอน 31 ธันวาคม 2554 ค่าตัดจำหน่ายสะสม 31 ธันวาคม 2552 เพิ่มขึ้น 31 ธันวาคม 2553 เพิ่มขึ้น 31 ธันวาคม 2554 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2554

รวม

94,749,618 62,424,725 1,819,856 300,316,002 475,066,673 12,633,040 2,215,046,141 - 3,162,056,055 - 702,873 - - 62,005,448 - 2,461,072 57,062,519 122,231,912 94,749,618 63,127,598 1,819,856 300,316,002 537,072,121 12,633,040 2,217,507,213 57,062,519 3,284,287,967 - 624,341 - 38,057,972 6,998,418 6,832,750 847,565 - 53,361,046 - - - - - - 57,062,519 (57,062,519) 94,749,618 63,751,939 1,819,856 338,373,974 544,070,539 19,465,790 2,275,417,297 - 3,337,649,013 77,571,913 1,690,807 79,262,720 1,690,807 80,953,527

48,091,759 1,635,661 224,440,643 452,597,646 11,631,512 1,191,911,402 6,571,728 117,947 8,123,620 16,846,653 125,937 102,256,428 54,663,487 1,753,608 232,564,263 469,444,299 11,757,449 1,294,167,830 5,147,839 66,244 9,305,454 18,955,109 602,662 105,167,060 59,811,326 1,819,852 241,869,717 488,399,408 12,360,111 1,399,334,890

15,486,898 8,464,111 13,796,091 3,940,613

ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี 2553 (รวมอยู่ในต้นทุนบริการ) 2554 (รวมอยู่ในต้นทุนบริการ)

- - - - -

2,007,880,536 135,733,120 2,143,613,656 140,935,175 2,284,548,831

66,248 67,751,739 67,627,822 875,591 923,339,383 57,062,519 1,140,674,311 4 96,504,257 55,671,131 7,105,679 876,082,407 - 1,053,100,182

135,733,120 140,935,175

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 งบการเงินรวมมีสิทธิการใช้ทรัพย์สินที่ตัดจำหน่ายครบแล้ว และยังมีการใช้งานอยู่ ซึ่งมีราคาทุนเป็นจำนวนเงิน 845.19 ล้านบาท

16. ผลประโยชน์จ่ายเพิ่มรอตัดบัญชี

ในเดือนกรกฎาคม 2554 บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้จ่ายเพิ่ม ผลประโยชน์ให้กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จำนวน 405 ล้านบาท บริษัทย่อยของบริษัทตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย โดยวิธีเส้นตรงตามอายุสัมปทานที่เหลือของสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

63


หน่วย : บาท

รายการ

งบการเงินรวม

ผลประโยชน์จ่ายเพิ่มรอตัดบัญชี หัก ค่าตัดจำหน่ายผลประโยชน์จ่ายเพิ่ม ผลประโยชน์จ่ายเพิ่มรอตัดบัญชี-สุทธิ

405,000,000 (19,609,177) 385,390,823

17. ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละครและลิขสิทธิ์รอตัดจำหน่าย

งบการเงินรวม 2554 2553

รายการ

ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และลิขสิทธิ์รอตัดจำหน่าย - สุทธิยกมา บวก ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละครและลิขสิทธิ์ที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี หัก ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละครและลิขสิทธิ์ที่ลดลงจากการขายระหว่างกัน รวม หัก ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละครและลิขสิทธิ์ตัดจำหน่ายในระหว่างปี ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และลิขสิทธิ์รอตัดบัญชี - สุทธิยกไป

หน่วย : บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

1,251,480,867 1,281,350,485 630,765,875 697,752,246 1,635,965,492 1,430,763,181 1,521,974,125 1,256,689,990 - - (269,889,200) (215,867,500) 2,887,446,359 2,712,113,666 1,882,850,800 1,738,574,736 (1,623,371,711) (1,460,632,799) (1,298,801,419) (1,107,808,861) 1,264,074,648 1,251,480,867 584,049,381 630,765,875

18. เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด) เป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้น โดยบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ทำสัญญาเงินกู้ยืมระยะสั้น กับธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในวงเงินรวม 80 ล้านบาท (วงเงินกู้ยืมจำนวน 70 ล้านบาทและวงเงินเบิกเกินบัญชีจำนวน 10 ล้านบาท) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งมีอายุไม่เกิน 180 วัน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR เงินกู้ยืมดังกล่าวค้ำประกันโดยบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ดูหมายเหตุ 29.5)

19. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

งบการเงินรวม 2554 2553

รายการ

เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้การค้า-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้อื่น รวมเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 64

หน่วย : บาท

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

351,809,261 327,886,365 114,421,666 116,040,917 5,888,435 5,856,126 - 40,581,204 24,268,468 2,184,058 1,790,744 398,278,900 358,010,959 116,605,724 117,831,661


20. เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม 2554 2553

รายการ

บริษัท บีอีซี-เทโร คอมคอม จำกัด กู้ยืมจากบริษัท คอมคอม เอเอส จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี กู้เพิ่มระหว่างปี ยอดคงเหลือยกไปปลายปี

หน่วย : บาท

4,400,000 3,440,000 7,840,000

4,400,000 4,400,000

อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละ) 2554 2553

2.00

21. สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน

รายการ

มูลค่าหนีส้ นิ ส่วนเพิม่ จากการเริม่ ใช้นโยบายบัญชีใหม่ ณ ต้นปี บวก ต้นทุนบริการในปัจจุบัน ต้นทุนดอกเบี้ย หัก ผลประโยชน์ที่จ่ายในระหว่างปี ยอดคงเหลือยกไปปลายปี

2.00

หน่วย : บาท สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ

371,468,958 19,819,900 11,243,065 (29,418,451) 373,113,472

39,941,714 1,449,531 737,881 (3,002,751) 39,126,375

ในปี 2554 บริษัทและบริษัทย่อยได้มีโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดในเดือนมีนาคม 2554 บริษัทและบริษัทย่อย ได้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษในงบการเงินรวมเป็นจำนวนเงิน 113.35 ล้านบาท งบการเงินเฉพาะกิจการเป็นจำนวนเงิน 13.35 ล้านบาท ตามโครงการดังกล่าว ส่วนหนึ่งของผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษได้หักออกจากมูลค่าหนี้สินส่วนเพิ่มจากการ เริ่มใช้นโยบายบัญชีใหม่ต้นปี

สมมติฐานที่สำคัญในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ณ วันที่ประเมิน สรุปได้ดังนี้ หน่วย : บาท

รายการ ธันวาคม 2554 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31

อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือน (ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ) อัตราการเปลี่ยนแปลงในจำนวนพนักงาน (ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ)

งบการเงินรวม/งบการเงินเฉพาะกิจการ

ร้อยละ 4.6 ต่อปี ร้อยละ 5.5 - 9.7 ต่อปี ร้อยละ 1.8 - 15.2 ต่อปี

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

65


22. เงินปันผลจ่ายและค่าตอบแทนกรรมการ

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2554 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทครั้งที่ 5/2554 ได้มีมติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 2,000 ล้านหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท เป็นจำนวนเงิน 1,600 ล้านบาท บริษัทได้จ่ายเงินปันผล ระหว่างกาลแล้วในวันที่ 8 กันยายน 2554 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับทราบการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลที่ได้จ่าย ไปแล้วแก่ผู้ถือหุ้นในระหว่างปี 2553 ตามที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553 ได้มีมติให้จ่าย เงินปันผลระหว่างกาล ในอัตราหุ้นละ 0.65 บาท เป็นจำนวนเงิน 1,300 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแล้ว ในวันที่ 9 กันยายน 2553 และได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผล สำหรับผลการดำเนินงานปี 2553 งวดหลังอีกในอัตราหุ้นละ 1.00 บาท จำนวนเงิน 2,000 ล้านบาท ซึ่งได้จ่ายแล้วในวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 รวมเงินปันผลที่มีมติให้จ่าย อัตราหุ้นละ 1.65 บาท เป็นจำนวนเงิน 3,300 ล้านบาท รวมทั้งได้มีการอนุมัติการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2554 เป็นเบี้ยประชุมกรรมการในวงเงินไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และเงินบำเหน็จกรรมการ เป็นจำนวนเงิน 18 ล้านบาท เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับทราบการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลที่ได้จ่าย ไปแล้วแก่ผู้ถือหุ้นในระหว่างปี 2552 ตามที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 ได้มีมติให้จ่ายเงิน ปันผลระหว่างกาล ในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท เป็นจำนวนเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแล้ว ในวันที่ 10 กันยายน 2552 และได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผล สำหรับผลการดำเนินงานปี 2552 งวดหลังอีกในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท จำนวนเงิน 1,600 ล้านบาท ซึ่งได้จ่ายแล้วในวันที่ 26 พฤษภาคม 2553 รวมเงินปันผลที่มีมติให้จ่าย อัตราหุ้นละ 1.30 บาท เป็นจำนวนเงิน 2,600 ล้านบาท รวมทั้งได้มีการอนุมัติการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2553 เป็นเบี้ยประชุมกรรมการในวงเงินไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และเงินบำเหน็จกรรมการ เป็นจำนวนเงิน 18 ล้านบาท

23. รายการระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัทและบริษัทย่อยมีรายการบางส่วนกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกันโดยการถือหุ้น การมีผู้ถือหุ้น หรือมีกรรมการร่วมกัน รายการดังกล่าวเป็นไปตามปกติธุรกิจตามราคาตลาด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับรายการค้า ที่เกิดกับบุคคลภายนอก ผลของรายการดังกล่าวได้แสดงไว้ในงบการเงินนี้ตามมูลฐานที่ตกลงร่วมกัน โดยบริษัทและ บริษัทย่อยกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้ กิจการที่เกี ่ยวข้องกัน

1. บริษัทย่อย 2. บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 3. บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 3.1 บริษัท มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด 3.2 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มิลเลียนแนร์ 3.3 บริษัท สปอร์ต อาร์ต จำกัด 4. บริษัทที่เกี่ยวข้องกันของบริษัทย่อย 4.1 บริษัท คอมคอม เอเอส จำกัด 4.2 Television Broadcasts Limited

66

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

ลักษณะความสัมพันธ์

ดูหมายเหตุ 11 ดูหมายเหตุ 11 (ในเดือนธันวาคม 2553 บริษัทย่อยของบริษัทได้ลงทุนเพิ่ม จึงเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนในบริษัทร่วมไปเป็นเงินลงทุน ในบริษัทย่อย) มีผู้ถือหุ้นและ/กรรมการร่วมกัน บริษทั มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด เป็นผูถ้ อื หน่วยลงทุนรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน บริษทั ทีถ่ อื หุน้ บริษทั ย่อยของบริษทั บีอซี -ี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัทที่ถือหุ้นบริษัทย่อยของบริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด


รายการระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่สำคัญ มีดังนี้

งบการเงินรวม 2554 2553

รายการในงบแสดงฐานะการเงิน

1. ลูกหนี้การค้า (หมายเหตุ 7) - บริษัทย่อย - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - บริษัทที่เกี่ยวข้องกันของบริษัทย่อย รวม 2. เงินให้กู้ยืมระยะสั้น (หมายเหตุ 8) - บริษัทย่อย-สุทธิ 3. เงินปันผลค้างรับ - บริษัทย่อย 4. สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น - บริษัทย่อย 5. ขายละคร (หมายเหตุ 17) - บริษัทย่อย 6. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น - เงินประกันอาคารเช่า - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 7. เงินกู้ยืมระยะสั้น - บริษัทที่เกี่ยวข้องกันของบริษัทย่อย 8. เจ้าหนี้การค้า - บริษัทย่อย - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - บริษัทที่เกี่ยวข้องกันของบริษัทย่อย รวม 9. ดอกเบี้ยค้างจ่าย - บริษัทที่เกี่ยวข้องกันของบริษัทย่อย 10. หนี้สินหมุนเวียนอื่น - บริษัทย่อย - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน รวม

หน่วย : บาท

- 2,033,000 1,074,867 3,107,867

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

- 220,319,550 405,136,980 - - 591,368 - 591,368 220,319,550 405,136,980

-

-

195,321,750 388,000,000

-

-

1,699,989,800 1,549,986,833

-

-

-

-

43,019,480

43,019,480

7,840,000

4,400,000

- 5,721 5,882,714 5,888,435

- 13,676,216 19,026,697 - - 5,856,126 - 5,856,126 13,676,216 19,026,697

1,557,308

1,503,919

- 5,667,550 5,667,550

- 10,658,550 24,055,438 6,834,880 113,841 114,756 6,834,880 10,772,391 24,170,194

7,342,419

8,549,261

269,889,200 215,867,500 9,304,056 -

-

9,304,056 -

-

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

67


หน่วย : บาท

รายการในงบกำไรขาดทุ น สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

11. รายได้จากการขายเวลาโฆษณา - บริษัทย่อย - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย - บริษัทที่เกี่ยวข้องกันของบริษัทย่อย รวม 12. รายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่น - บริษัทย่อย - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย - บริษัทที่เกี่ยวข้องกันของบริษัทย่อย รวม 13. รายได้แสดงโชว์ - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 14. รายได้เงินปันผล - บริษัทย่อย 15. รายได้อื่น - บริษัทย่อย - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย - บริษัทที่เกี่ยวข้องกันของบริษัทย่อย รวม 16. ต้นทุนขายและต้นทุนการให้บริการ - บริษัทย่อย - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน รวม 17. ต้นทุนแสดงโชว์ - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 18. ค่าใช้จ่ายในการขาย - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 19. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร - บริษัทย่อย - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน รวม 20. ดอกเบี้ยจ่าย - บริษัทที่เกี่ยวข้องกันของบริษัทย่อย

68

งบการเงินรวม 2554 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

- - 1,900,000 1,900,000

- 821,100,000 760,087,500 58,099,588 - - - 58,099,588 821,100,000 760,087,500

- - 2,358,038 2,358,038

- 1,578,200,800 1,294,977,200 9,420,792 - 2,497,279 - 11,918,071 1,578,200,800 1,294,977,200

-

-

- - 402,885 402,885

6,035,234 -

-

-

3,086,778,740 2,920,373,605

- 15,416,157 13,349,343 7,879,823 - 48,153 - 7,927,976 15,416,157 13,349,343

- - 230,037,764 219,825,743 - 3,923,104 - 125,530,408 116,216,820 - 125,530,408 120,139,924 230,037,764 219,825,743

-

6,312,541

-

-

-

151,270,606

-

-

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

- - 25,434,398 25,696,375 - 411,000 - 120,916,010 113,076,760 42,417,172 42,571,910 120,916,010 113,487,760 67,851,570 68,268,285 53,390

21,029

-

-


24. ทุนสำรองตามกฎหมาย

ตามพระราชบัญญัตบิ ริษทั มหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 บริษทั ต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีสว่ นหนึง่ ไว้เป็นเงินทุนสำรอง ตามกฎหมายไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกำไรสุทธิประจำปี หักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา(ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองนี้จะมี จำนวนไม่นอ้ ยกว่าร้อยละสิบของทุนจดทะเบียน ทุนสำรองดังกล่าวจะนำไปจ่ายเงินปันผลไม่ได้ บริษทั ได้จดั สรรทุนสำรอง ตามกฎหมายครบตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว

25. การจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย

งบการเงินรวม 2554 2553

รายการ

การเปลี่ยนแปลงในสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการ ค่าใช้จ่ายในการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ค่าตัดจำหน่ายสิทธิการใช้ทรัพย์สิน ค่าตัดจำหน่ายผลประโยชน์จ่ายเพิ่ม ค่านายหน้าและส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารและสถานที่ ค่าใช้จ่ายอื่น รวม

หน่วย : บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

(105,844) (50,959) - 3,962,728,575 3,676,379,474 1,519,689,183 1,326,295,991 466,050,724 389,630,719 - 177,483,346 174,160,147 50,243,267 50,062,128 1,278,703,162 1,002,810,362 106,051,727 63,314,570 118,317,580 152,017,557 3,326,887 4,907,968 20,004,001 8,348,357 - 140,935,175 135,733,120 - 19,609,177 - - 434,749,939 535,776,102 4,635,635 2,287,422 404,553,683 342,393,409 74,556,639 73,959,154 694,508,138 602,404,852 8,395,103 31,646,245 7,717,537,656 7,019,603,140 1,766,898,441 1,552,473,478

26. ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จากกำไรทางภาษีของบริษัทและบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 คำนวณจากกำไรทางบัญชี ปรับปรุงด้วยรายได้และรายจ่ายอื่นบางรายการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ เช่น เงินปันผลรับ หรือเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ เช่น หนี้สงสัยจะสูญ ขาดทุนจากการด้อยค่า เป็นต้น บริษัทคำนวณค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สำหรับปี 2554 ในอัตราร้อยละ 30 และปี 2553 เฉพาะกำไรส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาทในอัตราร้อยละ 25 กำไรส่วนที่เกิน 300 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 30 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ของบริษัทย่อย คำนวณในอัตราร้อยละ 15, 25 และ 30 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่รับรู้ในงบกำไรขาดทุน ประกอบด้วย หน่วย : บาท รายการ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับปี บวก (หัก) สินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี จากความแตกต่างชั่วคราวเพิ่มขึ้น (ลดลง) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

งบการเงินรวม 2554 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

1,620,720,712 1,451,981,193 217,889,579 153,451,926 1,839,090 (1,001,462) 440,418 1,622,559,802 1,450,979,731 218,329,997 153,451,926

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

69


เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554 ได้มีพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 530 เรื่องการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยให้ลด อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และเป็นร้อยละ 20 ในปี 2556 และ 2557 ซึง่ สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกคำชีแ้ จงเกีย่ วกับการเปลีย่ นแปลงอัตราภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล โดยอัตราภาษีทค่ี าดได้ ค่อนข้างแน่ที่ควรนำมาใช้ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีควรเป็นอัตราร้อยละ 23 สำหรับปี 2555 และร้อยละ 20 สำหรับปี 2556 เป็นต้นไป ดังนั้นบริษัทและบริษัทย่อยจึงบันทึกสินทรัพย์ภาษีเงินได้ รอตัดบัญชีด้วยอัตราภาษีที่คาดว่าจะได้ใช้ประโยชน์ในอัตราร้อยละ 15 และ 20 โดยปรับย้อนหลังตั้งแต่ปี 2553 เมื่อเริ่ม นำมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่องภาษีเงินได้ มาถือปฏิบัติ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 สินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีประกอบด้วยผลแตกต่างชั่วคราว ดังต่อไปนี้ หน่วย : บาท

รายการ

กำไรจากเงินลงทุนในกองทุนเปิด ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลูกหนี้การค้า ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย การคำนวณค่าเสื่อมราคาในอัตราที่ต่างจากภาษี สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน ขาดทุนจากการด้อยค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ผลขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย ส่วนที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น สินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีซึ่งคำนวณ จากอัตราภาษีเงินได้ 20% กำไรจากเงินลงทุนในกองทุนเปิด สินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีซึ่งคำนวณ จากอัตราภาษีเงินได้ 15% รวมสินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี

งบการเงินรวม 2554 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

(1,884,304) (1,192,887) (1,066) (1,712) 3,486,604 1,374,000 - 176,223,561 176,223,561 176,223,561 176,223,561 9,306,210 5,815,786 - 366,047,957 - 39,126,375 67,185 - 113,980 34,485,704 28,660,704 34,485,704 28,660,704 587,732,917 210,881,164 249,948,554 204,882,553 117,546,583 (655,147)

42,176,233 49,989,711 40,976,511 (282,176) - -

(98,272) 117,448,311

(42,326) - 42,133,907 49,989,711 40,976,511

27. การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน

บริษทั และบริษทั ย่อยดำเนินกิจการในส่วนงานทางธุรกิจเดียว คือธุรกิจด้านบันเทิงและสันทนาการ และดำเนินธุรกิจ ในส่วนงานทางภูมศิ าสตร์คอื ในประเทศไทย ดังนัน้ รายได้ กำไร และสินทรัพย์ ทัง้ หมดทีแ่ สดงในงบการเงินรวมและงบการเงิน เฉพาะกิจการ จึงเกี่ยวข้องกับส่วนงานทางธุรกิจและส่วนงานทางภูมิศาสตร์ตามที่กล่าวไว้

28. เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 70

บริษัทและบริษัทย่อยได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 เพือ่ เป็นสวัสดิการตลอดจนเป็นหลักประกันแก่พนักงาน เมือ่ ลาออกจากงานหรือครบอายุการทำงาน (เกษียณ) ตามระเบียบ ของบริษัท โดยพนักงานจ่ายสะสมส่วนหนึ่ง และบริษัทจ่ายสมทบอีกส่วนหนึ่งในอัตรา 3-5% ของเงินเดือน ทั้งนี้ บริษัท ได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด เป็นผู้จัดการกองทุนเพื่อบริหารกองทุนดังกล่าว เงินสมทบกองทุนสำรองเลีย้ งชีพในส่วนของบริษทั และบริษทั ย่อย ทีจ่ า่ ยสำหรับพนักงานและได้บนั ทึกเป็นค่าใช้จา่ ย ในงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 เป็นจำนวนเงิน 26.93 ล้านบาท (เฉพาะกิจการ 1.85 ล้านบาท) และ 24.58 ล้านบาท (เฉพาะกิจการ 1.88 ล้านบาท) ตามลำดับ

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


29. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นภายหน้า

29.1 ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นภายหน้า

บริษัทย่อยมีภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นภายหน้า ดังนี้

งบการเงินรวม

รายการ

2554

หนังสือค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์ - ค้ำประกันการทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี - ค้ำประกันการปรับปรุงเครือ่ งมือและอุปกรณ์ตามสัญญา ร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สแี ก้ไขเพิม่ เติมครัง้ ที่ 3 - อื่นๆ

10.00

10.00

72.00 6.61

72.00 6.27

บริษัทย่อยมีภาระค่าลิขสิทธิ์ตามสัญญาซื้อล่วงหน้า ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท งบการเงินรวม

รายการ

ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี - ค่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ - ค่าลิขสิทธิ์ FA Cup - ค่าลิขสิทธิ์ LA Liga - ค่าลิขสิทธิ์ UEFA Champions League and UEFA Super Cup ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสามปี - ค่าลิขสิทธิ์ FA Cup - ค่าลิขสิทธิ์ LA Liga

2553

29.2 ภาระค่าลิขสิทธิ์ตามสัญญาซื้อล่วงหน้า

หน่วย : ล้านบาท

2554

2553

- 3.40 (USD 106,665) 2.27 (EUR 55,000) -

2.88 18.58 (USD 613,334) 4.42 (EUR 110,000) 13.63 (USD 450,000)

- -

3.23 (USD 106,665) 2.21 (EUR 55,000)

29.3 ภาระผูกพันตามสัญญาเช่า

บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันตามสัญญาเช่า โดยมีรายละเอียด ดังนี้ - บริษัทและบริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่สำนักงานอาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2-9, 21, 25-28 และ 30-34 เลขที่ 3199 ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร กับ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ มิลเลียนแนร์ มีระยะเวลา 3 ปี โดยมีการทยอยเข้าทำสัญญา ตั้งแต่ วันที่ 9 เมษายน 2553 และวันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 และ 19 มกราคม 2554 - บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ของอาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ (M II) ชั้น B2 และ 2-12 มีระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 8 เมษายน 2556 - บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ของอาคารใบหยกสอง ชั้น 84 มีระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2554 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2557 รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

71


หน่วย : ล้านบาท

รายการ

งบการเงินรวม

ค่าเช่าพื้นที่ อุปกรณ์และส่วนตกแต่งในพื้นที่เช่า (ต่อเดือน) อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ (M II) อาคารใบหยกสอง รวม ค่าบริการส่วนกลาง (ต่อเดือน) อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ (M II) รวม รวมทั้งสิ้น

รายการ

72

3.51 1.89 5.40 14.69

1.24 1.24 3.10

งบการเงินรวม

จำนวนเงินขั้นต่ำ

173.44 784.96 759.62 1,718.02

บริษทั ย่อยต้องจ่ายค่าผลตอบแทนรายปีตามสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสถานีวทิ ยุ อ.ส.ม.ท. เอฟ.เอ็ม. ความถี่ 105.5 เมกกะเฮิร์ตซ แก่ อ.ส.ม.ท. ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท

รายการ

งบการเงินรวม

จำนวนเงินขั้นต่ำ

16.41 83.81 90.20 190.42

29.5 ภาระผูกพันจากการค้ำประกัน

บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ของบริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ของบริษทั บีอซี -ี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กับสถาบันการเงินแห่งหนึง่ เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 80 ล้านบาท

30. การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน

1.86 1.86

บริษัทย่อยมีสัญญาร่วมดำเนินกิจการโทรทัศน์สีกับ อ.ส.ม.ท. โดยต้องจ่ายค่าตอบแทน ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท

ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่าห้าปี รวมทั้งสิ้น

5.26 2.83 1.20 9.29

29.4 ภาระผูกพันตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการกับ อ.ส.ม.ท.

ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่าห้าปี รวมทั้งสิ้น

งบการเงินเฉพาะกิจการ

บริษทั และบริษทั ย่อยมีขอ้ มูลเกีย่ วกับเครือ่ งมือทางการเงินทัง้ ในงบแสดงฐานะการเงินและนอกงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


30.1 นโยบายการบัญชีและวิธีการปฏิบัติทางการบัญชี

ดูหมายเหตุ 4

30.2 ความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา

- - -

ความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เกิดจากการที่คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและบริษัทย่อย ความเสีย่ งจากการกระจุกตัวของสินเชือ่ มีไม่มาก แม้ลกู หนีก้ ารค้าของบริษทั และบริษทั ย่อยส่วนใหญ่ จะเป็นบริษัทตัวแทนโฆษณาเป็นหลัก เนื่องจากธุรกรรมของกลุ่มกระจายไม่ได้กระจุกตัวอยู่กับลูกค้า รายใดหรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ และได้มีการติดตามพฤติกรรมและการชำระหนี้ของลูกหนี้การค้า อย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงคาดได้ว่าบริษัทและบริษัทย่อยจะไม่มีความเสียหายที่เป็นสาระสำคัญจาก ความเสี่ยงนี้ สำหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ดังกล่าว ได้หักสำรองต่างๆ เพื่อให้เป็นราคายุติธรรมโดยประมาณ โดยสำรองดังกล่าวถือเป็นมูลค่าสูงสุดของ ความเสี่ยงที่จะเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา

30.3 ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย

ความเสีย่ งทีจ่ ะเกิดจากการเปลีย่ นแปลงของอัตราดอกเบีย้ ซึง่ อาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่บริษทั ในงวดปัจจุบนั และงวดต่อๆ ไป บริษัทคาดว่าจะสามารถบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากบริษัทได้มีการวางแผน และติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา

30.4 ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

30.5 ราคายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน

บริษัทและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่มียอดคงเหลือ ณ วันที่ในงบแสดง ฐานะการเงินมีจำนวนเงินไม่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษทั ย่อยได้ทำสัญญาซือ้ เงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Exchange Contracts) กบั ธนาคารพาณิชย์ เพื่อป้องกันความเสีย่ งของการเปลีย่ นแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจมีผลกระทบ ต่อจำนวนเงินบาทที่บริษัทต้องจ่ายชำระหนี้สินเป็นเงินตราต่างประเทศจำนวน 0.45 ล้านดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา โดยส่งมอบภายในเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันส่งมอบประมาณ 31.39 บาท ต่อดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา และมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ามีมูลค่า 14.53 ล้านบาท (1 ดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา เท่ากับ 32.01 บาท) บริษัทและบริษัทย่อยใช้วิธีการและข้อสมมติฐานดังต่อไปนี้ ในการประมาณราคายุติธรรมของเครื่องมือ ทางการเงิน - สินทรัพย์ทางการเงิน แสดงในราคาตามบัญชีซึ่งเท่ากับราคายุติธรรมโดยประมาณ - หนี้สินทางการเงิน ราคาตามบัญชีมีมูลค่าใกล้เคียงกับราคายุติธรรม เนื่องจากหนี้สินดังกล่าวจะ ครบกำหนดในระยะเวลาอันใกล้

31. การจัดประเภทรายการในงบการเงิน

บริษัทและกลุ่มบริษัทได้จัดประเภทรายการบัญชีบางรายการในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ใหม่เพือ่ ให้สอดคล้องกับการจัดประเภทรายการบัญชีในปีปจั จุบนั เนือ่ งจากบริษทั และกลุม่ บริษทั ได้ปฏิบตั ติ ามการแสดง รายการในงบการเงินตามข้อกำหนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า การจัดประเภทบัญชีดงั กล่าวไม่มผี ลกระทบต่อกำไร หรือส่วนของผู้ถือหุ้นตามที่ได้รายงานไว้

32. การอนุมัติงบการเงิน

งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติจากกรรมการของบริษัทแล้ว เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

73


โครงสร้างรายได้ ตารางแสดงโครงสร้างรายได้ 3 ปีที่ผ่านมา ปี 2554 2553 และ 2552 ตามลำดับ (รายได้ทั้งหมดนี้ ได้หักรายการระหว่างกันออกแล้ว) ผลิตภัณฑ์/บริการ

ดำเนินการโดย

ขายสื่อโฆษณา สื่อโทรทัศน์ บมจ. บีอีซี เวิลด์ บางกอกเอ็นเตอร์ฯ1 รังสิโรตม์วนิช1 บางกอกเทเลวิชั่น1 บีอีซี-เทโรฯ และบริษัทย่อย2 รวมรายได้จากการขายสื่อโฆษณาโทรทัศน์ สื่อวิทยุ บางกอกเอ็นเตอร์ฯ1 ยูแอนด์ไอฯ1 บีอีซี-เทโรฯ และบริษัทย่อย2 รวมรายได้จากการขายสื่อวิทยุ รวมรายได้จากการขายสื่อโฆษณา รายได้จากการให้ใช้ลขิ สิทธิ์ บางกอกเอ็นเตอร์ฯ1 และบริการอื่น บางกอกเทเลวิชั่น1 บีอีซี-เทโรฯ และบริษัทย่อย2 บีอีซี อินเตอร์ฯ1 บีอีซี ไอที โซลูชั่น1 บีอีซีไอและบริษัทย่อย1 รวมรายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่น รายได้จากการจัดคอนเสิรต์ บีอีซี-เทโรฯ และบริษัทย่อย2 และแสดงโชว์ รวมรายได้จากการขายและบริการ รายได้อน่ื รวมรายได้

2554 ล้านบาท

2553 %

ล้านบาท

2552 %

ล้านบาท

%

11,566.91 89.18 10,782.84 90.71 8,101.47

89.44

400.25 3.09 286.15 2.41 270.45 11,967.16 92.27 11,068.99 93.12 8,371.92 0.25 0.00 - - 0.57 28.69 0.22 2.22 0.02 2.27 211.57 1.63 160.75 1.35 126.63 2.66 0.02 2.54 0.02 7.87 0.18 0.00 0.90 0.01 1.32 26.53 0.20 28.64 0.24 41.86 269.88 2.07 195.05 1.64 180.52 566.56 4.37 449.76 3.78 396.55

2.99 92.43 0.00 0.03 1.40 0.09 0.01 0.46 1.99 4.38

12,803.60 98.71 11,713.80 98.54 8,948.99 98.80 166.74 1.29 173.56 1.46 109.11 1.20 12,970.34 100.00 11,887.36 100.00 9,058.10 100.00

หมายเหตุ 1 ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.99 2 ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.99

โครงสร้างรายได้และการเปลี่ยนแปลงในปีที่ผ่านมา

74

รายได้หลักของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ เป็นรายได้จากการขายสื่อโฆษณา ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการขายเวลาโฆษณา รายได้ ที่เป็นจำนวนรองลงมาได้แก่ รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ สำหรับรายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์ หรือให้บริการอื่นๆ ได้มาจากการจัดกิจกรรมบันเทิง การขายสิทธิการใช้รายการโทรทัศน์ การขายสิทธิภาพยนตร์และละคร เพื่อนำออกจำหน่าย ในรูปวีซีดี/ดีวีดีภายในประเทศ และการขายสิทธิละครเพื่อนำออกอากาศในต่างประเทศ การให้บริการขายบัตรชมการแสดง และจำหน่ายตั๋วรถโดยสาร การให้บริการ Mobile Entertainment และการให้บริการอื่นๆ ในขณะที่รายได้อื่น ได้แก่ ดอกเบี้ยรับ และรายได้จากการลงทุนเป็นหลัก รายได้จากการขายเวลาโฆษณา ในปี 2554 ทำได้สูงขึ้นร้อยละ 8.1 เป็นยอดที่ดีขึ้น สูงกว่าปีก่อน 898.2 ล้านบาท จากการปรับขยายธุรกิจ ปรับผังรายการ ปรับราคาขายของบางช่วงเวลาขึ้น รวมถึงการขยายเวลาของรายการที่มีราคาขายสูง ให้ยาวขึ้น รายได้จากการให้ใช้สิทธิและบริการอื่นและรายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์นั้น ก็เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาก เช่นกัน จากการปรับฟื้นของความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และสถานะที่เข้มแข็งของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ในด้านนี้ รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


ข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก (ก)

รายชื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นสูงสุด 10 รายแรก ณ วันปิดสมุดทะเบียนครั้งสุดท้ายก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2554 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 เป็นดังนี้

รายชื่อผู้ถือหุ้น

1. กลุ่มมาลีนนท์* 2. CHASE NOMINEES LIMITED 42 3. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 4. Thai NVDR Company Limited 5. ALBOUYS NOMINEES LIMITED 6. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 7. STATE STREET BANK EUROPE LIMITED 8. THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 9. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR AUSTRALIA 10. BNP PARIBAS SECURITIES SERVICES LUXEMBOURG หมายเหตุ *

จำนวนหุ้นที่ถือ (หุ้น)

คิดเป็นร้อยละ

1,020,600,000 169,586,270 83,104,290 79,592,372 71,453,400 44,633,780 44,162,786 35,668,279 25,409,493

51.03 8.48 4.16 3.98 3.57 2.23 2.21 1.78 1.27

23,370,000

1.17

รายละเอียดการถือหุ้นของกลุ่มมาลีนนท์ มีดังนี้ 1. นายประสาร มาลีนนท์ จำนวนหุ้นที่ถือ 121,667,500 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2. นายประวิทย์ มาลีนนท์ จำนวนหุ้นที่ถือ 127,575,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 3. นายประชุม มาลีนนท์ จำนวนหุ้นที่ถือ 127,575,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 4. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ จำนวนหุ้นที่ถือ 123,575,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 5. นางสาวนิภา มาลีนนท์ จำนวนหุ้นที่ถือ 127,575,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 6. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ จำนวนหุ้นที่ถือ 125,175,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 7. นางรัชนี นิพัทธกุศล จำนวนหุ้นที่ถือ 110,317.500 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 8. นางสาวเทรซี่ แอนน์ มาลีนนท์ จำนวนหุ้นที่ถือ 78,570,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 9. นางสาวแคทลีน มาลีนนท์ จำนวนหุ้นที่ถือ 78,570,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ

6.08 6.38 6.38 6.18 6.38 6.26 5.52 3.93 3.93

การเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของบริษัทโดยกรรมการและผู้บริหาร:

(ข)

บริษัทมีบุคคลในตระกูลมาลีนนท์ - กลุ่มมาลีนนท์, เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่อาจมีผลต่อการกำหนดนโยบายการจัดการ หรือการดำเนินงานของบริษทั อย่างมีนยั สำคัญ โดยทีธ่ รุ กิจของบริษทั เป็นธุรกิจหลักของกลุม่ มาลีนนท์

ในระหว่างปี 2554 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการถือครองโดยกรรมการและผู้บริหาร

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

75


การจัดการ ผั ง โครงสร้ า งองค์ ก ร ของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

คณะกรรมการ ผู้อำนวยการ

สำนักตรวจสอบภายใน

คณะกรรมการบริหาร

ประธานกรรมการบริหาร (CEO)* ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO)* กรรมการผู้อำนวยการใหญ่

กรรมการ รองผู้อำนวยการใหญ่* สายธุรกิจโทรทัศน์

ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ อาวุโส* อาวุโส* ฝ่ายรายการ ฝ่ายผลิต รายการ

กรรมการ รองผู้อำนวยการใหญ่* สายธุรกิจสื่อใหม่

ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ อาวุโส* อาวุโส* อาวุโส* อาวุโส* อาวุโส* อาวุโส* อาวุโส* ฝ่ายตลาด ฝ่ายวิทยุ ฝ่ายสือ่ ใหม่ ฝ่ายบัญชี ฝ่ายเทคโนโลยี ฝ่ายทรัพยากร ฝ่ายงาน โฆษณา และการเงิน สารสนเทศ บุคคล สนับสนุน และขาย

ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ฝ่าย ฝ่าย ฝ่ายผลิต ฝ่ายโฆษณา รายการ

ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ฝ่าย ฝ่าย ฝ่าย ฝ่าย ฝ่าย ฝ่ายพัฒนา ฝ่ายการเงิน* ฝ่ายเทคโนโลยี ฝ่ายทรัพยากร ฝ่ายงาน ธุรกิจ และ บุคคล สนับสนุน การลงทุน

หมายเหตุ * หมายถึง ผู้บริหารตามนิยาม “ผู้บริหาร”

76

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


1. โครงสร้างการจัดการ

การจัดการของบีอีซี เวิลด์ ดำเนินการโดยคณะกรรมการ ซึ่งมีรูปแบบเป็นคณะกรรมการเดี่ยว (Unitary Board) ประกอบด้วยกรรมการบริหาร 7 คน กรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหาร 7 คน โดยกรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหาร 7 คนนี้ มีกรรมการ ทีเ่ ป็นอิสระรวมอยูด่ ว้ ยจำนวน 5 คน เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการทีด่ สี ำหรับบริษทั จดทะเบียน ซึง่ สัดส่วนกรรมการ ที่ไม่เป็นผู้บริหารเพียงพอที่จะสามารถสอบทานการบริหารจัดการงานของบริษัทได้

คณะกรรมการได้จดั มีคณะอนุกรรมการ ช่วยในการบริหารงานหรือกลัน่ กรองงานบางเรือ่ ง ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา โดยทีค่ ณะกรรมการเป็นองค์กรสูงสุดของบริษทั กำหนดวิสยั ทัศน์ ทิศทาง และนโยบาย ตัดสินใจเพือ่ ประโยชน์สงู สุดของบริษทั และผูถ้ อื หุน้ ในระยะยาว พร้อมทัง้ ให้ขอ้ ชีแ้ นะ และพิจารณาการทำงาน ของคณะกรรมการบริหาร ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการบริหารงาน กำกับดูแลฝ่ายจัดการ

ในการบริหารงาน คณะกรรมการได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารซึง่ ประกอบด้วยกรรมการของบริษทั รวม 7 คน แต่ละคนจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลควบคุมการปฏิบัติงานประจำของแต่ละสายงานธุรกิจ แยกกันไปตามแต่ความถนัด ความสนใจ ความสามารถ และความเหมาะสมของแต่ละคน มีประธานคณะกรรมการบริหารเป็นผู้กำกับดูแลงาน คณะกรรมการบริหารจะรับทิศทาง/นโยบาย และหลักการกำกับดูแลกิจการ มาจากคณะกรรมการเพื่อมากำหนดเป็น แผนงานดำเนินการ โดยมีประธานเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ ารเป็นผูก้ ำกับดูแลการบริหารงานและการปฏิบตั งิ านของเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร ในขณะที่คณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร มีบทบาทสำคัญในการสอบทาน รายงานทางการเงิน เพือ่ ให้งบการเงินนัน้ จัดทำขึน้ โดยถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีทร่ี บั รองทัว่ ไป มีการเลือกใช้นโยบาย บัญชีทเ่ี หมาะสมและถือปฏิบตั อิ ย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการสอบทานให้บริษทั มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญและข้อมูลเกีย่ วกับ รายการระหว่างกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอ

คณะกรรมการของบริษัท

คณะกรรมการของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ประกอบด้วยกรรมการ 14 คน ดังนี้ 1. นายวิชัย มาลีนนท์ ประธานกรรมการ 2. นายประสาร มาลีนนท์ รองประธานกรรมการ 3. นายประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการ 4. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ กรรมการ 5. นางสาวนิภา มาลีนนท์ กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 6. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ กรรมการ 7. นายประชุม มาลีนนท์ กรรมการ 8. นางรัชนี นิพัทธกุศล กรรมการ 9. นายอรุณ งามดี กรรมการอิสระ 10. นายประธาน รังสิมาภรณ์ กรรมการอิสระ 11. นายมานิต บุญประกอบ กรรมการอิสระ 12. นายแมทธิว กิจโอธาน กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 13. นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู กรรมการอิสระ 14. นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการอิสระ โดยมี นายฉัตรชัย เทียมทอง เป็นเลขานุการคณะกรรมการ และนางชลัยพร อิทธิถาวร เป็นเลขานุการบริษัท ประวัติประสบการณ์การทำงานของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารแสดงไว้ใน หน้า 107-117 รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

77


กรรมการอิสระของบริษทั หมายถึง กรรมการทีม่ คี วามเป็นอิสระในการแสดงความเห็น ทัง้ นี ้ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4/2551 ได้พิจารณาทบทวนคุณสมบัติของกรรมการอิสระในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ดังนี้ 1.) เป็นกรรมการซึ่งอาจถือหุ้นของบริษัทได้แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 1 ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 2.) เป็นกรรมการที่ไม่ทำหน้าที่จัดการในบริษัทหรือบริษัทย่อย 3.) เป็นกรรมการที่เป็นอิสระจากฝ่ายจัดการและผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม 4.) ต้องไม่เป็นญาติสนิทหรือเป็นบุคคลซึง่ รับหรือมีผลประโยชน์รว่ มกับผูบ้ ริหาร ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือผูม้ อี ำนาจควบคุม 5.) เป็นผู้ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่มีสาระสำคัญกับบริษัท ซึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อการแสดงความเห็น ที่เป็นอิสระ 6.) ต้องไม่เป็นลูกจ้างหรือพนักงานที่ได้รับเงินเดือนประจำในช่วงสองปีก่อนดำรงตำแหน่ง

กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน

กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทประกอบด้วย นายวิชัย มาลีนนท์ ประธานกรรมการ ลงลายมือชื่อและ ประทับตราสำคัญของบริษัท หรือ นายประสาร มาลีนนท์ นายประวิทย์ มาลีนนท์ นางสาวรัตนา มาลีนนท์ นายประชุม มาลีนนท์ นางสาวอัมพร มาลีนนท์ นางสาวนิภา มาลีนนท์ และนางรัชนี นิพัทธกุศล กรรมการสองในเจ็ดคนนี้ลงลายมือชื่อ ร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

คณะกรรมการเป็นองค์กรสูงสุดของบริษัท กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางและนโยบาย ตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุด ของบริษัทและผู้ถือหุ้นในระยะยาว พร้อมทั้งให้ข้อชี้แนะ และพิจารณาการทำงานของคณะกรรมการบริหาร ซึ่งมีหน้าที่ ดำเนินการบริหารงาน กำกับดูแลฝ่ายจัดการ กรรมการต้องปฏิบตั หิ น้าทีใ่ ห้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับ ของบริษทั ตลอดจนมติของทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึง่ หรือหลายคนหรือบุคคลอืน่ ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนคณะกรรมการก็ได้

การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ

ในรอบปี 2554 คณะกรรมการได้จัดให้มีการประชุมรวม 6 ครั้ง

ชื่อ - นามสกุล

1. นายวิชัย มาลีนนท์ 2. นายประสาร มาลีนนท์ 3. นายประวิทย์ มาลีนนท์ 4. นายประชุม มาลีนนท์ 5. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ 6. นางสาวนิภา มาลีนนท์ 7. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ 8. นางรัชนี นิพัทธกุศล 9. นายแมทธิว กิจโอธาน 10. นายอรุณ งามดี 11. นายประธาน รังสิมาภรณ์ 12. นายมานิต บุญประกอบ 13. นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู 14. นายสมชัย บุญนำศิริ

78

ชื่อ ึ นามสกุล

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

จำนวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม/ จำนวนครั้งที่จัดประชุมทั้งหมด

6/6 6/6 4/6 6/6 6/6 6/6 6/6 6/6 4/6 6/6 5/6 6/6 6/6 6/6


มาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

คณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร

คณะกรรมการได้กำหนดมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยให้กรรมการ และผู้บริหาร มีหน้าทีจ่ ะต้องแจ้งข้อมูลการมีสว่ นได้สว่ นเสียของตน ญาติสนิท และผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องในการเข้าทำสัญญาใดๆกับบริษทั ฯ และบริษัทย่อย ต่อเลขานุการบริษัท เพื่อให้เลขานุการบริษัทรวบรวมข้อมูลแจ้งต่อกรรมการตรวจสอบ และดำเนินการ เสนอเรื่องเพื่อพิจารณาอนุมัติการทำรายการตามขั้นตอน รวมถึงการเปิดเผยการทำรายการ ให้ครบถ้วนถูกต้องตาม หลักเกณฑ์ต่อไป

คณะกรรมการบริหารของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ประกอบด้วยกรรมการบริหารจำนวน 7 คน ดังนี้ 1. นายวิชัย มาลีนนท์ ประธานกรรมการบริหาร 2. นายประสาร มาลีนนท์ รองประธานกรรมการบริหาร, กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ 3. นายประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการบริหาร สายธุรกิจโทรทัศน์, กรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่, 4. นายประชุม มาลีนนท์ กรรมการบริหาร สายธุรกิจสื่อใหม่, กรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ 5. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ กรรมการบริหาร สายบัญชีและการเงิน 6. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ กรรมการบริหาร สายธุรกิจผลิตรายการ 7. นางรัชนี นิพัทธกุศล กรรมการบริหาร สายการตลาด และการขาย

เจ้าหน้าทีบ่ ริหาร ตามนิยาม “ผูบ้ ริหาร” ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ประกอบด้วยเจ้าหน้าทีบ่ ริหารจำนวน 8 คน ดังนี้ 1. นายวิชัย มาลีนนท์ ประธานกรรมการบริหาร (CEO) 2. นายประสาร มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO) 3. นายประวิทย์ มาลีนนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายธุรกิจโทรทัศน์ 4. นายประชุม มาลีนนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายธุรกิจสื่อใหม่ 5. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายบัญชีและการเงิน 6. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายธุรกิจผลิตรายการ 7. นางรัชนี นิพัทธกุศล ผู้อำนวยการอาวุโส สายการตลาดและการขาย 8. นายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร

คณะกรรมการของบริษทั ได้แต่งตัง้ คณะกรรมการบริหารขึน้ เป็นคณะทำงานเพือ่ ดูแลบริหาร งานประจำของบริษทั ปัจจุบันคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยกรรมการของบริษัทรวมเจ็ด (7) คน โดยแต่ละคนจะมีอำนาจหน้าที่ดูแล ควบคุมการปฎิบตั งิ านประจำ ของแต่ละสายงานธุรกิจแยกกันไปตามแต่ความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ความเหมาะสม ของแต่ละคน และยังทำหน้าที่เป็นกรรมการของบริษัทย่อยอีกด้วย มีประธานคณะกรรมการบริหาร เป็นผู้กำกับดูแลงาน คณะกรรมการบริหารจะรับทิศทาง/นโยบาย และหลักการกำกับดูแลกิจการ มาจากคณะกรรมการเพื่อมากำหนดเป็น แผนงานดำเนินการ โดยมีประธานเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ าร เป็นผูก้ ำกับดูแลการบริหารงานและการปฏิบตั งิ านของเจ้าหน้าที่ บริหาร ทัง้ นี้ คณะกรรมการได้มอบอำนาจให้แก่กรรมการบริหารให้มอี ำนาจสามารถดำเนินงานในหน้าทีแ่ ทนคณะกรรมการได้ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานบางเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นเรื่องแปลกใหม่ หรือเกี่ยวข้องกับหลายๆ สายงาน ในเรื่องเดียวกัน กรรมการบริหารอาจนำเรื่องเข้าเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อขออนุมัติให้ดำเนินการเป็นเรื่องเฉพาะ เช่น การเข้าร่วมทุนกับบุคคลภายนอกเข้าดำเนินการธุรกิจใหม่ เช่นนี้เป็นต้น

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

79


การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร

คณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหารจะจัดประชุมเป็นปกติสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

คณะกรรมการตรวจสอบ

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ

การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ประกอบด้วยกรรมการรวม 3 คน ได้แก่ 1. นายอรุณ งามดี ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 2. นายประธาน รังสิมาภรณ์ กรรมการตรวจสอบ 3. นายมานิต บุญประกอบ กรรมการตรวจสอบ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ นายฉัตรชัย เทียมทอง คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ 1. สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตัง้ โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอืน่ ใด ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 3. สอบทานให้บริษทั ปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตัง้ บุคคลซึง่ มีความเป็นอิสระเพือ่ ทำหน้าทีเ่ ป็นผูส้ อบบัญชีของบริษทั และเสนอ ค่าตอบแทน ของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5. พิจารณารายการทีเ่ กีย่ วโยงกันหรือรายการทีอ่ าจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุด ต่อบริษัท 6. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษทั รายงานคณะกรรมการ ตรวจสอบแสดงไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท หน้า 4-5 7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ

ในรอบปี 2554 คณะกรรมการได้จัดให้มีการประชุมรวม 6 ครั้ง

ชื่อ - นามสกุล

1. นายอรุณ งามดี 2. นายประธาน รังสิมาภรณ์ 3. นายมานิต บุญประกอบ

80

คณะกรรมการสรรหา

จำนวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม/ จำนวนครั้งที่จัดประชุมทั้งหมด

6/6 6/6 6/6

คณะกรรมการสรรหา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ประกอบด้วยกรรมการรวม 3 คน ได้แก่ 1. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ ประธานกรรมการสรรหา 2 นายประชุม มาลีนนท์ กรรมการสรรหา 3. นางรัชนี นิพัทธกุศล กรรมการสรรหา

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา

การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา

คณะกรรมการสรรหาของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ 1.) กำหนดวิธีการและหลักเกณฑ์การสรรหากรรมการบริษัทฯ รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เพื่อให้เกิด ความโปร่งใส 2.) ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการใหม่ รวมถึงผู้บริหารระดับสูง 3.) ทำความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ

ในรอบปี 2554 คณะกรรมการได้จัดให้มีการประชุมรวม 1 ครั้ง

ชื่อ - นามสกุล

จำนวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม/ จำนวนครั้งที่จัดประชุมทั้งหมด

1. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ 2. นายประชุม มาลีนนท์ 3. นางรัชนี นิพัทธกุศล

1/1 1/1 1/1

2. การสรรหากรรมการและผู้บริหาร

ข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้บริษัทมีกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร กรรมการได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทุกๆครั้งที่มีการประชุม ผู้ถือหุ้นประจำปีจะมีกรรมการหนึ่งในสามต้องออกจากตำแหน่งตามวาระ การเลือกตั้งกรรมการเป็นไปตามข้อบังคับ ของบริษัท ที่กำหนดให้ผู้ถือหุ้นแต่ละท่านมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ตนถือ และสามารถใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ ทั้งหมดเลือกบุคคลเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ แต่จะแบ่งแยกคะแนนเสียงที่ตนมีอยู่ให้แก่บุคคลใดมากน้อย เพียงใดไม่ได้ และให้บุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดตามลำดับลงมา เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่ากับจำนวน กรรมการที่พึงจะเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่มีตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ข้อบังคับกำหนดให้คณะกรรมการสามารถเลือกบุคคลเข้าเป็นกรรมการแทนกรรมการท่านดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีทว่ี าระ ของกรรมการท่านดังกล่าวเหลือน้อยกว่า 2 เดือน ในกรณีนี้คณะกรรมการสรรหาจะเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลให้คณะกรรมการ พิจารณาแต่งตั้ง ในส่วนของการสรรหาเจ้าหน้าที่บริหารอาจจะดำเนินการสรรหาโดยผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น หรือ ผ่านคณะกรรมการสรรหาขึน้ อยูก่ บั ตำแหน่งทีจ่ ะสรรหา ทีผ่ า่ นมาการเปลีย่ นแปลงในตำแหน่งต่างๆ ของเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร มีไม่บ่อยนัก

3. ค่าตอบแทนกรรมการและ ผู้บริหารในรอบปี 2554

3.1. ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารที่เป็นตัวเงิน

ณ สิ้นปี 2554 บริษัทมีกรรมการรวมทั้งสิ้น 14 คน และมีเจ้าหน้าที่บริหารทั้งสิ้น 8 คน โดยที่ผู้บริหาร 7 คน เป็นกรรมการของบริษทั ด้วย กรรมการและผูบ้ ริหารได้รบั ค่าตอบแทนในรอบปี 2554 ทีเ่ ป็นตัวเงิน ดังนี้ (ก) ค่าตอบแทนกรรมการในรูปเบี้ยประชุมและเงินบำเหน็จกรรมการ 18,000,000.- บาท เงินบำเหน็จกรรมการที่ยังไม่ได้จัดสรรจำนวน 1,000,000.- บาท (ข) ค่าตอบแทนรวมของเจ้าหน้าที่บริหารทุกคน 31,243,267.- บาท (ได้แก่ เงินเดือน ค่าพาหนะ ค่าครองชีพ โบนัสและเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

81


ตารางแสดงค่าตอบแทนกรรมการปี 2554

ในรอบปี 2554 คณะกรรมการได้จัดประชุมคณะกรรมการรวม 6 ครั้ง และคณะกรรมการตรวจสอบ ได้จัดประชุมรวม 6 ครั้ง และคณะกรรมการสรรหาประชุม 1 ครั้ง สามารถสรุปข้อมูลการเข้าประชุมและ การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการได้ ดังนี้ ชื่อ - นามสกุล

1. นายวิชัย มาลีนนท์ 2. นายประสาร มาลีนนท์ 3. นายประวิทย์ มาลีนนท์ 4. นายประชุม มาลีนนท์ 5. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ 6. นางสาวนิภา มาลีนนท์ 7. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ 8. นางรัชนี นิพัทธกุศล 9. นายอรุณ งามดี 10. นายประธาน รังสิมาภรณ์ 11. นายมานิต บุญประกอบ 12. นายแมทธิว กิจโอธาน 13. นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู 14. นายสมชัย บุญนำศิริ

เบี้ยประชุม

ค่าบำเหน็จ

90,000 60,000 40,000 60,000 60,000 60,000 60,000 60,000 120,000 110,000 120,000 40,000 60,000 60,000

2,082,000 1,227,250 1,227,250 1,227,250 1,227,250 1,227,250 1,227,250 1,227,250 1,100,000 1,000,000 1,000,000 1,227,250 1,000,000 1,000,000

รวม

2,172,000 1,287,250 1,267,250 1,287,250 1,287,250 1,287,250 1,287,250 1,287,250 1,220,000 1,110,000 1,120,000 1,267,250 1,060,000 1,060,000

3.2 ค่าตอบแทนอื่น เช่น โครงการให้สิทธิซื้อหุ้น หลักทรัพย์แปลงสภาพ หุ้นกู้ หรือสิทธิประโยชน์อย่างอื่น ที่ผู้บริหารได้รับจากบริษัท -ไม่มี-

4. การกำกับดูแลกิจการ รายงานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) สำหรับปี 2554 หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น และหมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 82

1. คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับ สิทธิของผู้ถือหุ้น และการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น ดังนี้ - บริษัทจะเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสมอภาค และเที่ยงธรรม - บริษทั จะดำเนินงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเปิดเผยข้อมูลแก่ผเู้ กีย่ วข้องทุกฝ่ายอย่างครบถ้วน เพียงพอ ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทำให้สำคัญผิดในสาระสำคัญ ไม่ปกปิดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสำคัญ รวมทั้งข้อมูลต้องเป็นปัจจุบัน และส่งให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องตามกำหนดเวลา อย่างทั่วถึง 2. หน่วยงานภายในทีท่ ำหน้าทีด่ แู ลอำนวยความสะดวกกับผูถ้ อื หุน้ : คณะกรรมการได้มอบให้เลขานุการบริษทั ช่วยเหลือดูแล และอำนวยความสะดวก รวมถึงการปกป้องการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น ส่วนหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ มอบให้ดูแล การให้ข้อมูลข่าวสารกับผู้ถือหุ้นอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


3. การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของกิจการ: ให้คำนึงถึงความทัว่ ถึง เท่าเทียมกัน และทันต่อเวลา โดยภายหลังจากการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร ผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไว้บน เว็บไซต์ของบริษัท www.becworld.comด้วย การจัดทำข้อมูลข่าวสาร ให้จัดทำเป็นสองภาษาคือภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ถือหุ้นต่างด้าว และข้อมูลข่าวสารต่างๆ ต้องมีความครบถ้วน ถูกต้อง มีเนื้อหาสาระสำคัญ เพียงพอ เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุน 4. ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของบริษทั : นอกจากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ www.set.or.th แล้ว ยังมีเว็บไซต์ ของบริษัท www.becworld.com การเผยแพร่ข้อมูลในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งนอกจากบริษัทจะจัดทำเป็น รูปเล่มแล้ว ยังมีการจัดทำในรูปแบบแผ่นซีดีเพื่อการเผยแพร่ด้วย นอกจากนี้ ได้จัดทำเป็น pdf. file แสดงไว้บนเว็บไซต์ ของบริษัท ให้นักลงทุนที่สนใจสามารถ download ได้ นอกจากนี้ ยังมีการทำข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพัฒนาการ ในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ในรูปข่าวธุรกิจออกอากาศทางสื่อโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่กลุ่มบริษัทบริหารอยู่ ซึ่งเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงในการเข้าถึงประชากรทั่วประเทศ 5. การติดต่อกับบริษัท: นอกจากช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทแล้ว ผู้ถือหุ้นสามารถติดต่อบริษัทผ่านหน่วยงานนักลงทุน สัมพันธ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 30 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ เลขที่ 3199 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02 262 3635 โทรสาร 02 262 3170 หรือที่ E-mail address: ir@becworld.com 6. การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2554: บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันทุกราย โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิในการเข้าร่วมประชุมและออกเสียง ลงคะแนน รวมถึงการแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 7. คณะกรรมการเปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ สามารถใช้สทิ ธิของตนเองตามกฎหมายได้อย่างเต็มที่ โดยผูถ้ อื หุน้ สามารถติดต่อ กับบริษัท รวมถึงติดต่อคณะกรรมการของบริษัทด้วยจดหมาย หรือติดต่อผ่านเลขานุการบริษัท หรือนักลงทุนสัมพันธ์ ผ่าน www.becworld.com หรือที่ E-mail address: ir@becworld.com หรือจะมาติดต่อที่สำนักงานด้วยตนเอง ที่อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ซึ่งหากผู้ถือหุ้นรายใดประสงค์จะเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุม รายชื่อบุคคล ที่เห็นควรเสนอตั้งเป็นกรรมการบริษัท รวมถึง ข้อเสนอแนะ หรือในกรณีที่ผู้ถือหุ้นมีคำถามที่เกี่ยวกับวาระการประชุม ก็อาจส่งคำถามทีเ่ กีย่ วข้องกับวาระการประชุมถึงคณะกรรมการล่วงหน้า ก่อนการประชุมผูถ้ อื หุน้ ได้ โดยนำเสนอเรือ่ ง/ คำถาม พร้อมด้วยข้อมูลประกอบการพิจารณาเข้ามา จากนั้นเลขานุการบริษัทจะรวบรวมนำเสนอเข้าที่ประชุม คณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาตามลำดับขั้นตอน ก่อนที่ประชุมคณะกรรมการมีมติเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้น; โดยเรื่องที่ผู้ถือหุ้นเสนอเข้ามานั้น คณะกรรมการจะพิจารณาบรรจุเป็นวาระการประชุมผู้ถือหุ้น ก็ต่อเมื่อพิจารณา แล้วเห็นว่าเรือ่ งดังกล่าวมีประโยชน์ตอ่ ผูถ้ อื หุน้ โดยรวม และเป็นประเด็นทีอ่ ยูใ่ นวิสยั ทีค่ ณะกรรมการสามารถดำเนินการได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย รวมถึงสรุปความเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับวาระนั้นๆ เสนอต่อ ผู้ถือหุ้นด้วย ส่วนกรณีการเสนอชื่อบุคคลฯนั้น คณะกรรมการสรรหาจะพิจารณาคุณสมบัติของบุคคลที่ผู้ถือหุ้นเสนอ ตามกระบวนการสรรหาที่บริษัทกำหนดไว้ ก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป; ในกรณีที่ คณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่ผู้ถือหุ้นเสนอเข้ามาแล้ว เห็นว่าสิ่งที่ผู้ถือหุ้นเสนอไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม หรืออาจเป็นกรณีที่ผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องเข้ามาในช่วงเวลาที่กระชั้นชิดเกินไป ทำให้ไม่สามารถพิจารณาตามขั้นตอนได้ รวมถึง กรณีการเสนอชื่อบุคคลฯเพื่อตั้งเป็นกรรมการนั้น หากไม่มีเวลาเพียงพอในการพิจารณาคุณสมบัติตามเกณฑ์ ของบริษัท และไม่สามารถเสนอได้ทันการประชุมคณะกรรมการ คณะกรรมการจะมอบหมายให้เลขานุการบริษัท ติดต่อและชี้แจงเหตุผล ที่ไม่บรรจุเรื่องที่ผู้ถือหุ้นเสนอเป็นวาระการประชุมผู้ถือหุ้น หรือไม่เสนอชื่อบุคคลที่ผู้ถือหุ้น เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้ผู้ถือหุ้นท่านนั้นได้รับทราบต่อไป; อย่างไรก็ตามในปี 2554 ไม่มีผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอ เรือ่ งเพือ่ บรรจุเป็นวาระการประชุม, เสนอชือ่ บุคคลเพือ่ เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ รวมถึงไม่มกี ารส่งคำถามทีเ่ กีย่ วข้อง กับการประชุมล่วงหน้าแต่อย่างใด 8. บริษัทได้ส่งเสริมการใช้สิทธิในการเข้าร่วมประชุม และออกเสียงลงคะแนน สำหรับผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุม ด้วยตนเอง สามารถมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมแทนได้ โดยบริษัทได้จัดส่งหนังสือมอบฉันทะแบบ ข และแบบ ค ไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม โดยได้แสดงคำอธิบายเอกสาร/หลักฐานที่ผู้ถือหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะ ต้องแสดง และ/หรือ ประกอบการมอบฉันทะ ซึ่งได้จัดทำเอกสารภาษาอังกฤษ สำหรับผู้ถือหุ้นต่างด้าวด้วย โดย บริษัทไม่ได้กำหนดเงื่อนไขที่ยากหรือเป็นอุปสรรคต่อการมอบฉันทะของผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วม รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

83


84

ประชุมได้ และประสงค์จะมอบฉันทะให้กรรมการอิสระของบริษัทใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนแทน บริษัทได้เสนอ ให้ผู้ถือหุ้นพิจารณามอบฉันทะให้ นายมานิต บุญประกอบ - กรรมการอิสระ เป็นผู้ใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนแทน; บริษัทสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นใช้หนังสือมอบฉันทะรูปแบบ ที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนเสียงได้; ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 ได้มีผู้ถือหุ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุน สถาบันหลายราย ได้มอบฉันทะให้นายมานิต บุญประกอบ เป็นผู้ใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนแทน 9. การเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2554 บริษัทได้แจ้งสารสนเทศมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เรียกประชุม สามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2554 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554 โดยได้แนบ ร่างหนังสือนัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ไทย-อังกฤษ ที่คณะกรรมการบริษัทให้ความเห็นชอบแล้ว ภายในระบุข้อมูล เกีย่ วกับ วัน เวลา สถานที่ วาระการประชุม วัตถุประสงค์และเหตุผล รวมถึง ความเห็นกรรมการ โดยสารสนเทศนี้ แจ้งล่วงหน้า 48 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น และได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัททันทีหลังจากแจ้งสารสนเทศต่อ ตลาดหลักทรัพย์แล้ว โดยในตอนท้ายของสารสนเทศดังกล่าว บริษทั ได้แจ้งว่าจะนำหนังสือเชิญประชุมผูถ้ อื หุน้ ปี 2554 พร้อมด้วยเอกสารประกอบการประชุม งบการเงิน หนังสือมอบฉันทะฯลฯ โดยข้อมูลทัง้ หมดจะเหมือนกับข้อมูลทีบ่ ริษทั จะส่งให้ผถู้ อื หุน้ ทางไปรษณียใ์ นรูปแบบเอกสาร ทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขึน้ แสดงบนเว็บไซต์ของบริษทั ภายใน วันที่ 25 มีนาคม 2554 ซึ่งเป็นการแสดงเอกสารล่วงหน้าก่อนประชุมประมาณ 33 วัน; ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ถือหุ้น ได้ศึกษาข้อมูลประกอบการประชุมเป็นการล่วงหน้า ก่อนได้รับหนังสือเชิญฯทางไปรษณีย์ 10. การจัดส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น: บริษัทมอบให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็น นายทะเบียนหุน้ ของบริษทั เป็นผูจ้ ดั ส่งหนังสือเชิญประชุมฯให้แก่ผถู้ อื หุน้ สำหรับปี 2554 บริษทั ส่งหนังสือเชิญประชุมฯ ล่วงหน้าประมาณ 14 วัน ก่อนถึงวันประชุมฯ 11. การลงประกาศโฆษณาหนังสือเชิญประชุม: บริษทั ได้มกี ารลงประกาศหนังสือเชิญประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปี 2554 ในหนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น 3 วันติดต่อกัน ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนถึงวันประชุม เพื่อบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้น 12. หนังสือเชิญประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปี 2554 คณะกรรมการบริษทั ได้ดแู ลให้มกี ารเปิดเผยข้อมูลประกอบการประชุม ในแต่ละวาระอย่างเพียงพอเหมาะสม ต่อการพิจารณาตัดสินใจ มีการระบุวัตถุประสงค์และเหตุผลของแต่ละวาระ ที่เสนอ รวมถึง ความเห็นของคณะกรรมการในแต่ละวาระที่เสนอ บริษัทมีการส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสาร ประกอบการประชุมเป็นภาษาอังกฤษให้กับผู้ถือหุ้นต่างชาติด้วย ดังนี้ - วาระการแต่งตั้งกรรมการ: ข้อมูลเบื้องต้นของบุคคลที่เสนอแต่งตั้ง ( เช่น คำนำหน้าชื่อ ชื่อ อายุ ประเภทกรรมการ การศึกษา ประสบการณ์ รวมถึงข้อมูลความสัมพันธ์ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อบริษัท) การดำรงตำแหน่งในกิจการอื่น, โดยในปี 2554 เป็นการเสนอแต่งตั้งกรรมการรายเดิมแทนกรรมการที่ครบกำหนด ออกตามวาระจำนวน 4 คน และมีกรรมการหนึ่งคนต้องออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ เพื่อให้สัดส่วนกรรมการ ออกตามวาระของบริษัทใกล้เคียงสัดส่วน 1 ใน 3 ขององค์คณะให้มากที่สุด โดยกรรมการที่ถูกเสนอชื่อในปีนี้ ได้ผ่านการพิจารณาทบทวนคุณสมบัติจากคณะอนุกรรมการสรรหาแล้ว และบริษัทได้แสดงผลการปฏิบัติงาน ในปีล่าสุดไว้ด้วย ซึ่งกรรมการ 5 คนนี้ ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสรรหา ซึ่งนอกจากจะพิจารณา เรื่องความรู้ความสามารถ และประสบการณ์การทำงานแล้ว ยังได้พิจารณาคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนฯ กำหนด นอกจากนี้ คณะกรรมการได้แสดงความเห็นอย่างเพียงพอเหมาะสม เพื่อประกอบการ ตัดสินใจของผู้ถือหุ้นด้วย - วาระการพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ: สำหรับการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปี 2554 บริษทั ได้แจ้งจำนวนเงิน และรูปแบบค่าตอบแทน อัตราเดิมเท่ากับปีก่อน โดยที่บริษัทกำหนดค่าตอบแทนกรรมการเป็นตัวเงินเท่านั้น ไม่ได้กำหนดสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นพิเศษ ในการพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการในแต่ละปีนั้น เนื่องจาก คณะกรรมการไม่ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการจึงได้พิจารณาร่วมกัน; โดยอัตรา ค่าตอบแทนกรรมการที่คณะกรรมการเสนอต่อที่ประชุมนี้ นอกจากจะพิจารณาโดยคำนึงถึงผลประกอบการของ บริษัทแล้ว คณะกรรมการยังได้พิจารณาโดยเทียบเคียงกับอัตราการจ่ายของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมบริการ รวมถึงบริษทั ทีม่ ขี นาดรายได้ และขนาดของกำไรในระดับเดียวกันกับบริษทั ประกอบด้วย; ในส่วนของเงินบำเหน็จ กรรมการที่ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรค่าตอบแทนนี้ ร่วมกันตามความเหมาะสม ในการเสนอวาระค่าตอบแทนกรรมการนี้ คณะกรรมการได้แสดงความเห็นอย่าง เพียงพอเหมาะสม เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


- วาระการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดจำนวนเงินค่าสอบบัญชี: คณะกรรมการตรวจสอบเสนอชื่อผู้สอบบัญชี คนเดิม และสำนักงานสอบบัญชีเดิม, โดยได้ชแ้ี จงเหตุผลในการเลือกผูส้ อบบัญชีคนเดิมแสดงไว้ในเอกสารประกอบ การประชุมด้วย, คณะกรรมการตรวจสอบให้ความสำคัญต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอบบัญชี และพิจารณาความสมเหตุสมผลในการปรับค่าสอบบัญชี รวมถึงความเหมาะสมของอัตราค่าสอบบัญชีทเ่ี สนอปรับ, คณะกรรมการได้แสดงความเห็นอย่างเพียงพอเหมาะสม เพือ่ ประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น - วาระการจ่ายเงินปันผล: บริษทั ได้แสดงนโยบายการจ่ายเงินปันผลแสดงไว้ในหนังสือรายงานประจำปี หน้า 1 และ ได้แสดงไว้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วย; คณะกรรมการได้ดแู ลให้มกี ารแสดงรายละเอียดของเรือ่ งทีเ่ สนอ อย่างเพียงพอ ได้แก่ อัตราเงินปันผลที่เสนอจ่าย ข้อมูลอัตราเงินปันผลระหว่างกาล และยอดรวมเงินปันผลทั้งปี ข้อมูลกำไรสุทธิ และกำไรสะสมในงบการเงินเฉพาะของบริษทั และงบการเงินรวมของบริษทั และบริษทั ย่อย รวมถึง ได้แสดงตัวเลขอัตราเงินปันผลต่อกำไรสุทธิไว้เพือ่ ประกอบการพิจารณาด้วย, ความเห็นของคณะกรรมการเพียงพอ และชัดเจนที่จะให้ผู้ถือหุ้นตัดสินใจ - ในปี 2554 บริษัทไม่มีวาระเพื่อพิจารณาเรื่องสำคัญของบริษัท เช่น การเพิ่ม/ลดทุน การแก้ไขข้อบังคับ การขาย/ เลิก/โอนกิจการ การควบรวมกิจการ 13. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้น บริษัทได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการลงทะเบียนผู้เข้าประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึง การพิมพ์บัตรลงคะแนน ซึ่งระบุรายละเอียดผู้เข้าร่วมประชุมและจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนแยก รายวาระ ผู้ถือหุ้นสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ตลอดเวลาการประชุม โดยมีการปรับฐานคะแนนเสียงตาม การลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมจริงในทุกวาระ 14. กรรมการเข้าร่วมประชุมรวม 13 คนจาก 14 คน ประธานกรรมการไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ประธานกรรมการ ตรวจสอบและประธานกรรมการสรรหาเข้าร่วมประชุม ผู้อำนวยการฝ่ายเข้าร่วมประชุมครบทุกคน โดยรองประธาน กรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้วย ได้ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม นอกจากนี้ บริษัทได้ เชิญตัวแทนผู้สอบบัญชี และที่ปรึกษากฎหมายเข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมชี้แจงและตอบคำถามของผู้ถือหุ้นด้วย 15. ก่อนเริม่ การประชุม ประธานทีป่ ระชุมได้แจ้งองค์ประชุม ซึง่ ประกอบด้วยจำนวนรายของผูเ้ ข้าร่วมประชุม และจำนวน คะแนนเสียง นอกจากนี้ ได้ชี้แจงระเบียบวิธีในการออกเสียงลงคะแนน และการนับคะแนน ให้ที่ประชุมได้รับทราบ จากนั้นจึงได้เริ่มการประชุม 16. การดำเนินการประชุม ประธานที่ประชุมดำเนินการประชุมทีละวาระ ตามลำดับที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุม ที่ได้จัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยไม่มีการสลับวาระหรือเพิ่มวาระการประชุมที่ไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบเป็นการล่วงหน้า รวมถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลประกอบการประชุม 17. การออกเสียงลงคะแนน ประธานที่ประชุมได้กำหนดให้ใช้บัตรลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระการประชุม เพื่อให้เกิด ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในกรณีมีข้อโต้แย้งในภายหลัง โดยบริษัทได้จัดทำบัตรลงคะแนนเสียงสำหรับวาระ เพื่อพิจารณาทุกวาระ บริษัทให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการออกเสียงลงคะแนนในแบบหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง 18. ในวาระเลือกตั้งกรรมการ ประธานจะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ต้องออกตามวาระ โดยจะเสนอรายชื่อบุคคลที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ที่ประชุมพิจารณาเป็นรายคน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิใน การแต่งตั้งกรรมการเป็นรายคน โดยบริษัทได้ขอความร่วมมือผู้ถือหุ้นให้ส่งใบลงคะแนนวาระเลือกตั้งกรรมการเพื่อ การจัดเก็บเป็นหลักฐานด้วย 19. ประธานที่ประชุมฯ เป็นผู้ควบคุมการประชุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย โดยได้จัดสรรเวลาในการประชุมแต่ละวาระ อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอ แนะ รวมถึงสอบถามประเด็นข้อสงสัย ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุมได้อย่างเต็มที่ โดยประธานฯได้พิจารณาจัดสรรเวลาพอสมควรให้ กรรมการบริหาร หรือผู้บริหารที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสชี้แจง/ตอบข้อซักถามแก่ผู้เข้าร่วมประชุม และเพื่อเป็นการเคารพ สิทธิของผูเ้ ข้าร่วมประชุมทุกคน ประธานฯจึงต้องพิจารณาควบคุมการประชุมไม่ให้ผเู้ ข้าร่วมประชุมต้องเสียเวลามาก ดังนั้น หากประเด็นข้อซักถามใดไม่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุม ก็จะขออนุญาตตอบผู้เข้าร่วมประชุมหลังจากปิด การประชุมแล้ว สำหรับปี 2554 ประธานฯได้จัดสรรเวลาตอบทุกคำถามในระหว่างดำเนินการประชุม รายละเอียด ปรากฏตามรายงานการประชุมฯ ซึ่งแสดงไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

85


20. สำหรับการประชุมปี 2554 เลขานุการบริษัทรับผิดชอบจัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น โดยได้ระบุ วันเวลาและ สถานที่ประชุม, องค์ประชุม ซึ่งแยกเป็นจำนวนหุ้นและจำนวนผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะ, รายชื่อกรรมการและ ผู้บริหารที่เข้าร่วมประชุม, แจ้งระเบียบวิธีการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนและนับคะแนน, วาระการประชุม และมติ ที่ประชุมในแต่ละวาระ โดยเฉพาะวาระที่ต้องออกเสียงลงคะแนน จะมีการแสดงคะแนนเสียงไว้อย่างชัดเจน แยกเป็น คะแนนเสียงเห็นด้วย, ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง พร้อมประเด็นข้อซักถาม/ข้อเสนอแนะจากผู้ถือหุ้น รวมถึงคำตอบ จากกรรมการบริษัท อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 21. เลขานุการบริษทั ได้นำส่งรายงานการประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปี 2554 ต่อตลาดหลักทรัพย์ ภายในกำหนด 14 วันนับจากวันประชุมฯ นอกจากนี้ได้นำเสนอร่างรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2554 ต่อที่ประชุม คณะกรรมการ ครั้งที่ 3/2554 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 ซึ่งเป็นการประชุมคณะกรรมการครั้งแรกหลังจากเสร็จสิ้น การประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้กรรมการผู้เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นได้ร่วมพิจารณาความครบถ้วนถูกต้องของรายงานฯ จากนั้น จึงได้นำเสนอให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามรับรองรายงานฯ และนำส่งให้แก่ตลาดหลักทรัพย์อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ได้นำส่งรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติพิจารณาอนุมัติงบการเงิน ปี 2553 พร้อมกับนำส่งงบการเงินปี 2553 ต่อกระทรวงพาณิชย์ฯ ภายในเดือนพฤษภาคม ปี 2554 ด้วย 22. บริษทั ได้เผยแพร่รายงานการประชุมผูถ้ อื หุน้ ไว้บนเว็บไซต์ของบริษทั หลังจากทีไ่ ด้ยน่ื รายงานฯต่อตลาดหลักทรัพย์แล้ว สำหรับปี 2554 ได้นำขึ้นแสดงบนเว็บไซต์ภายใน 14 วันนับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม ได้รบั ทราบรายละเอียดการประชุมอย่างเท่าเทียมกัน และเพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ ทีเ่ ข้าร่วมประชุมแสดงความเห็นโดยไม่ตอ้ งรอ ถึงการประชุมครั้งต่อไป 23. ข้อบังคับบริษัทกำหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับเงินปันผลในอัตราหุ้นละเท่าๆ กัน 24. ปัจจุบนั คณะกรรมการของบริษทั มีการถือหุน้ รวมกันเกินกว่าร้อยละ 25 ของหุน้ ทีอ่ อกแล้วของบริษทั ส่วนสัดส่วนของหุน้ free float นั้น ปัจจุบันมีอัตราสูงถึง 49% 25. บริษทั มีนโยบายป้องกันการใช้ขอ้ มูลภายในของบริษทั และได้เผยแพร่ให้พนักงาน ผูบ้ ริหาร และกรรมการบริษทั ทราบ โดยการกำกับดูแลการใช้ข้อมูลภายใน แสดงไว้ในหัวข้อ 5 หน้า 99 ที่ผ่านมาบริษัทไม่เคยเกิดกรณีที่กรรมการ/ ผู้บริหารของบริษัทมีการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน 26. โครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ แสดงไว้ในหน้า 9; จาก โครงสร้างการถือหุ้นปัจจุบัน จะพบว่า กลุ่มบริษัทประกอบด้วยบมจ. บีอีซี เวิลด์ [บีอีซี] ซึ่งเป็นบริษัทแม่และบริษัทย่อยรวม 25 บริษัท โดยส่วนใหญ่เป็น บริษัทย่อยที่บีอีซี ถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 โดย ไม่มีการถือหุ้นไขว้กันภายในกลุ่มของบริษัท และไม่มีโครงสร้าง การถือหุน้ แบบปิรามิด อย่างไรก็ตาม กรณีบริษทั ย่อยทีเ่ ป็นบริษทั ร่วมทุนนัน้ ผูถ้ อื หุน้ อีกฝ่ายจะเป็นบุคคลทีไ่ ม่ใช่บคุ คล ที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งจากโครงสร้างการถือหุ้นเช่นนี้ ส่งผลให้การทำรายการระหว่างบีอีซี เวิลด์ กับบริษัทย่อย หรือ บริษัทย่อยกับบริษัทย่อย ไม่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน 27. บริษัท ไม่เคยฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การซื้อขายสินทรัพย์ ส่วนการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันนั้น เนื่องจาก ปัจจุบันกลุ่มบริษัทมีการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งเป็นรายการประเภทธุรกิจปกติ รายการสนับสนุนธุรกิจปกติ และรายการเช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะสั้น ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการขออนุมัติจากที่ประชุม คณะกรรมการก่อนเข้าทำรายการตามข้อกำหนดฯ เป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว และได้เปิดเผยข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ขา่ วสาร ของตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงการเปิดเผยรายละเอียดและเหตุผลของการทำรายการให้ผู้ถือหุ้นทราบในงบการเงิน และในรายงานประจำปี ที่ผ่านมาบริษัทไม่มีการทำรายการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่บริษัทที่ไม่ใช่ บริษัทย่อยของบริษัท

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

คณะกรรมการตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่มีต่อบริษัท จึงได้กำหนดนโยบายการ กำกับดูแลกิจการในส่วนทีเ่ กีย่ วกับบทบาทของผูม้ สี ว่ นได้เสียโดยบริษทั จะเคารพสิทธิและการปฏิบตั ติ อ่ ผูถ้ อื หุน้ และผูม้ สี ว่ นได้เสีย ทุกกลุ่ม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสมอภาค เที่ยงธรรม และคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ โดยได้กำหนด มาตรการในการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม ดังนี้ 86

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


(1) คณะกรรมการกำหนดให้มีการจัดทำจรรยาบรรณธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ทุกคนเข้าใจถึงมาตรฐานด้านจริยธรรมทีบ่ ริษทั ใช้ในการดำเนินธุรกิจ พร้อมทัง้ ได้มกี ารติดตามการปฏิบตั ติ ามจรรยาบรรณ (2) กำหนดให้มหี น่วยงานรับผิดชอบหลัก ในการดูแลการปฏิบตั ติ อ่ ผูม้ สี ว่ นได้เสียในแต่ละกลุม่ เพือ่ ให้มน่ั ใจว่ามีหน่วยงาน รับผิดชอบในการนำเอานโยบายในการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียไปปฏิบัติจริง (3) กำหนดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่ม รวมถึงกำหนดบทบาทและหน้าที่ที่แต่ละหน่วยงานมีต่อผู้มีส่วนได้เสีย ในแต่ละกลุ่ม การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่ม สรุปได้ดังนี้ 1. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท: คณะกรรมการได้มอบหมายให้หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ และเลขานุการบริษัท รับผิดชอบดูแลผู้ถือหุ้นและนักลงทุน และได้กำหนดนโยบายการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น โดยให้มีการคำนึงถึงสิทธิของ ผู้ถือหุ้น และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน ส่งเสริมการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น; ในการดำเนินธุรกิจ นอกจากจะแสวงหากำไรจากการดำเนินงาน เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นในรูปเงินปันผลแล้ว คณะกรรมการ ยังให้ความสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กิจการ และสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาวด้วย; โดย คณะกรรมการกำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่ต่ำกว่า 90% ของกำไรสุทธิ 2. การปฏิบัติต่อพนักงานและผู้บริหารบริษัท ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายใน: ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่ง ของกลุ่มบริษัท คณะกรรมการได้มอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลดูแลรับผิดชอบให้มีการดูแลให้พนักงานได้รับ ผลตอบแทนที่เพียงพอเหมาะสม ดูแลให้มีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม - สวัสดิการที่จัดให้แก่พนักงานนั้น นอกจากสวัสดิการขั้นต่ำตามกฎหมายแรงงานกำหนดแล้ว บริษัทยังจัดให้มี การตรวจสุขภาพประจำปี จัดให้มีห้องพยาบาลที่มีแพทย์ประจำด้วย และนอกเหนือจากการประกันสังคมแล้ว บริษัทยังทำประกันภัยหมู่ให้กับพนักงานทุกคน (ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพ); และมีการ จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกด้วย นอกจากนี้ บริษัทยังให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตัดเครื่องแบบ พนักงานด้วย และสืบเนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น รวมตลอดถึงภาวะภัยพิบัติ ธรรมชาติ คณะกรรมการได้พิจารณาปรับเพิ่มจำนวนเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่พนักงาน เพื่อความเหมาะสมกับ ภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในส่วนของพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สวัสดิการที่เคย อนุมัติให้ตั้งแต่ปี 2550 ก็ยังคงให้ต่อเนื่องมาถึงปี 2554 ดังนี้ 1.) เพิ่มวงเงินประกันชีวิตให้สูงกว่าพนักงานปกติ 10 เท่า 2.) ให้เงินช่วยเหลือพิเศษ 3,000-4,500บาทต่อคนต่อเดือน นอกจากนี้ บริษัทได้จัดหาเสื้อเกราะให้กับ พนักงานด้วย - การจัดสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานให้มีสุขอนามัย ปลอดภัย เหมาะสมกับการทำงาน เช่น การควบคุม ดูแลเรือ่ งความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของทีท่ ำงาน เพือ่ ป้องกันอุบตั เิ หตุในทีท่ ำงานการตรวจเช็ค ระบบไฟฟ้า ระบบดับเพลิง ในส่วนของการป้องกันอัคคีภัยนั้น นอกจากการให้ความรู้กับพนักงานแล้ว ยังจัดให้ มีการซ้อมหนีไฟเป็นประจำทุกปีด้วย เป็นต้น; คณะกรรมการได้จัดให้มีการนำระบบ Intranet มาใช้ เพื่อเสริม ประสิทธิภาพระบบการสื่อสารแจ้งข่าวสารภายในองค์กร - การส่งเสริมให้พนักงานมีโอกาสพัฒนาความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์อย่างเหมาะสมกับภาระหน้าที่ เพื่อความก้าวหน้าในการทำงาน บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรไว้ในหัวข้อ 5 บุคลากร หน้า 98 ในส่วนของพนักงานฝ่ายข่าว เนื่องจาก การเป็นสื่อสารมวลชน จึงมีโอกาสที่จะสัมผัสกับบุคคล ในสังคมที่มากมาย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ซึ่งแม้บุคลากรในสายงานนี้ จะมีความรู้ขั้นพื้นฐานจากการศึกษาในระดับอุดมศึกษามาแล้วก็ตาม ฝ่ายทรัพยากรก็จะมีการจัดอบรมสัมมนา ภายในเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติม เป็นระยะๆเสมอ 3. การปฏิบัติต่อกลุ่มผู้จัดหาและผลิตรายการในการจัดหาและผลิตรายการป้อนสถานี: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด [บางกอกฯ] มอบให้ฝ่ายรายการเป็นผู้ดูแลการปฏิบัติต่อผู้ผลิตรายการ/ ผูจ้ ดั และนักแสดง โดยมีนโยบายในการปฏิบตั ติ อ่ กลุม่ ผูผ้ ลิตรายการ/ผูจ้ ดั และนักแสดง อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และเนือ่ งจาก จำนวนผูผ้ ลิตรายการ/ผูจ้ ดั และนักแสดงมีจำนวนมาก แต่เวลาในการออกอากาศรายการมีจำกัด ดังนัน้

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

87


88

จึงต้องจัดสรรเวลาการออกอากาศรายการสำหรับผูผ้ ลิต/ผูจ้ ดั รายการ เพือ่ ให้ผผู้ ลิต/ผูจ้ ดั รายการ มีโอกาสสร้างรายได้; ส่วนนักแสดงนั้น ต้องจัดสรรโอกาสในการนำเสนอผลงานของนักแสดง เพื่อรักษาระดับความนิยมในตัวนักแสดง; ในกรณีทม่ี กี ารทำสัญญาระหว่างกัน บางกอกฯต้องควบคุมดูแลให้มกี ารปฏิบตั ติ ามตามเงือ่ นไขข้อตกลงอย่างครบถ้วน เคร่งครัด การชำระค่าตอบแทนต้องครบถ้วน ตรงตามเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ บางกอกฯ ได้สนับสนุนการจัดอบรม ต่างๆ เช่น อบรมการบริหารจัดการธุรกิจสำหรับผู้จัดรายใหม่ อบรมสัมมนาความรู้ทางกฎหมายโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน กฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อการปกป้องสิทธิของนักแสดง และลิขสิทธิ์ในผลงาน 4. การปฏิบัติต่อลูกค้า: ซึ่งได้แก่ ตัวแทนซื้อขายสื่อโฆษณา (Agency) เจ้าของสินค้าผู้ซื้อสื่อโฆษณาวิทยุโทรทัศน์ ผูอ้ ปุ ถัมภ์รายการ ลูกค้าพึงได้รบั ข้อมูลข่าวสารเกีย่ วกับรายการและผังรายการของโทรทัศน์ไทยทีวสี ชี อ่ ง 3 ทีท่ นั สมัย เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการซื้อสื่อโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด [บางกอกฯ] โดยฝ่ายขายเป็นผู้รับผิดชอบดูแลการปฏิบัติต่อลูกค้า บางกอกฯมีนโยบายในการให้ปฏิบัติต่อลูกค้า อย่างซื่อสัตย์และจริงใจ พนักงานต้องมีจิตสำนึกถึงงานบริการที่มีคุณภาพ ด้วยการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า การบริการต้องรวดเร็ว รักษาคำมั่นสัญญา และที่สำคัญต้องรักษาความลับของลูกค้า การกระจายข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับรายการของทางสถานีให้แก่ลูกค้า ต้องมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ข้อมูลข่าวสารต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจ การกระจายข่าวสารต้องทั่วถึง เท่าเทียมกัน ทันเวลา เนื่องจาก เวลาโฆษณาเป็นสินค้าที่มี จำนวนจำกัดในแต่ละช่วงเวลา 5. การปฏิบัติต่อคู่แข่ง: กลุ่มบีอีซี เวิลด์มีนโยบายให้ปฏิบัติต่อคู่แข่งขันทุกราย ด้วยความสุจริต ดำเนินการแข่งขันทาง ธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย คำนึงถึงคุณธรรมและความถูกต้อง ด้วยการพัฒนาคุณภาพรายการ และประสิทธิภาพ ของสัญญาณการออกอากาศ คู่แข่งเองก็เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีพัฒนาการในการผลิตสินค้า และบริการที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2554 บีอีซี เวิลด์ไม่มีข้อพิพาทกับคู่แข่งทางการค้าเลย 6. การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้: กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีนโยบายให้การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ทุกรายอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน โดย มอบให้ฝ่ายบัญชีรับผิดชอบควบคุมดูแลการชำระหนี้ และปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีต่อเจ้าหนี้ ให้ครบถ้วนถูกต้องและ ทันตามกำหนดเวลา เพื่อไม่ให้เสียความสัมพันธ์ทางการค้า รักษาชื่อเสียงและภาพพจน์ของกิจการ และเพื่อควบคุม ไม่ให้มีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอันเกินจากค่าปรับตามสัญญา ซึ่งในปี 2554 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ได้ปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ทุกราย ตามข้อตกลงทุกประการ 7. การปฏิบัติต่อชุมชน/สังคม: กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และส่งเสริมสังคมไทย โดยไม่ได้มุ่งเน้นแค่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว ดังนั้น รายการต่างๆ ที่บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด [บางกอกฯ] สรรหามาเพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นั้น นอกจาก จะให้ความบันเทิงแล้ว ยังสอดแทรกความรู้และคุณธรรมอีกด้วย เช่น การนำเสนอรายการประเภทละคร ซึ่งไม่ได้เน้นให้ความบันเทิง เพียงอย่างเดียว แต่จะแทรกคุณธรรมต่างๆ เสมอ นอกจากนี้ ยังได้สร้างช่วงเวลารายการทีเ่ ป็นประโยชน์สำหรับผูห้ ญิง และเด็ก เพือ่ ส่งเสริมให้สงั คมไทยยอมรับความสามารถของสตรี และให้ความสำคัญกับครอบครัว โดยเฉพาะเยาวชน ของชาติ นอกจากนี้ บีอีซี เวิลด์ ยังให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณในวิชาชีพสื่อมวลชน ในฐานะที่ บางกอกฯ เป็นผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเข้าถึงประชาชนครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ การสรรหารายการทีม่ คี วามหลากหลายจำนวนมาก ทำให้มโี อกาสก่อให้เกิดผลกระทบต่อกลุม่ บุคคลในสังคม/ชุมชนบ้าง จึงมีการมอบหมายให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์รับผิดชอบดูแล ในการสานสัมพันธ์ระหว่างสถานีกับชุมชน/สังคม เพื่อสื่อสารเจตนารมณ์ที่ดีของทางสถานีในการสรรหารายการต่างๆ เพื่อมอบสาระและความบันเทิงให้แก่ผู้ชม รวมถึงการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะทีช่ มุ ชน/สังคมมีตอ่ สถานีฯ และนำเสนอความเห็น/ข้อเสนอแนะนั้น ให้คณะกรรมการได้รับทราบ เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงต่อไป 8. การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม: กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีนโยบายดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสังคมและ สิ่งแวดล้อมที่ดี และเนื่องจาก บริษัทย่อยของบริษัท คือ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด [บางกอกฯ] ดำเนินธุรกิจสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 [สถานีฯ] ซึ่งเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเข้าถึงประชาชน ทั่วประเทศ ดังนั้น รูปแบบกิจกรรมจึงออกมาในลักษณะกิจกรรมรณรงค์เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม บริษทั ได้ให้การสนับสนุนความรูค้ วามเข้าใจกับพนักงานเกีย่ วกับการทำกิจกรรม CSR กิจกรรมเพือ่ สังคม รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


และความรูเ้ กีย่ วกับการอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม เพือ่ ให้บคุ ลากรมีความรูค้ วามเข้าใจทีถ่ กู ต้อง เพือ่ นำความรูค้ วามเข้าใจนัน้ ไปช่วยสังคมอีกทอดหนึ่ง บริษัทได้เชิญวิทยากรเข้ามาจัดการอบรมภายในบริษัทเพื่อให้พนักงานฝ่ายข่าว ฝ่ายผลิต รายการ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รวมถึงฝ่ายบริหาร เพื่อความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการให้ การสนับสนุนการจัดกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากปี 2554 เป็นปีที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยใหญ่ จำนวน 2 ครั้ง 9. การชดเชยผู้ได้รับความเสียหาย: คณะกรรมการได้กำหนดมาตรการในการดำเนินการ กรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ ความเสียหาย จากการที่บริษัทละเมิดสิทธิตามกฎหมายของผู้มีส่วนได้เสีย โดยในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว บริษัทจะตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายอย่างเหมาะสม เที่ยงธรรม และชดเชยอย่างเร็วเพื่อบรรเทาความเสียหาย 10. กลไกการมีสว่ นร่วมของผูม้ สี ว่ นได้เสีย: คณะกรรมการได้กำหนดวิธกี ารทีใ่ ห้ผมู้ สี ว่ นได้เสียมีสว่ นร่วม โดยให้หน่วยงาน ทีร่ บั ผิดชอบดูแลผูม้ สี ว่ นได้เสียในแต่ละกลุม่ จัดสรรโอกาสเข้าพบผูม้ สี ว่ นในส่วนเสียในกลุม่ นัน้ เพือ่ รับฟังความคิดเห็น/ ข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่ม รวมถึงการรายงานให้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง ได้รบั ทราบ ความเห็นและข้อเสนอแนะทีผ่ มู้ สี ว่ นได้เสียแต่ละกลุม่ เสนอ โดยมอบให้เลขานุการบริษทั เป็นผูป้ ระสานงาน ผู้มีส่วนได้เสียสามารถฝากเรื่องที่เห็นว่าอาจเป็นประเด็นปัญหา ความเห็น หรือข้อเสนอแนะถึงคณะกรรมการและ คณะอนุกรรมการทุกคณะได้ โดยติดต่อกับเลขานุการบริษัทโดยตรง หรือติดต่อผ่านเว็บไซต์ของบริษัท นอกจากนี้ คณะกรรมการได้ควบคุมดูแลให้ทุกหน่วยงานมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้มีส่วน ได้เสียมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 11. การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนการกระทำผิด: คณะกรรมการได้กำหนดแนวทางดำเนินการที่ชัดเจนกรณีมีผู้แจ้ง เบาะแส หรือข้อร้องเรียนการกระทำผิดกฎหมาย หรือจรรยาบรรณ รายงานทางการเงินที่ไม่ถูกต้อง หรือระบบควบคุม ภายในทีบ่ กพร่อง โดยสามารถแจ้งเบาะแสผ่านสำนักตรวจ สอบภายใน เพือ่ การติดตามและตรวจสอบหาข้อเท็จจริง นำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการตรวจ สอบของบริษัท เพื่อร่วมกันวางแนวทางในการระงับยับยั้งความเสียหาย ตลอดจนการวางมาตร การ/แนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำต่างๆนั้นได้อีก และรายงานให้คณะกรรมการ ได้รับทราบต่อไป ซึ่งข้อร้องเรียนที่บริษัทได้รับจะถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ และไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ร้องเรียนต่อ สาธารณชน โดยฝ่ายตรวจสอบจะทำการตรวจสอบข้อมูลและรายงาน

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

คณะกรรมการให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลของบริษทั และความโปร่งใส โดยได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ในส่วนที่เกี่ยวกับหมวดการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ดังนี้ บริษัทจะดำเนินงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างครบถ้วนเพียงพอ ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทำให้สำคัญผิดในสาระสำคัญ ไม่ปกปิดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสำคัญ รวมทั้งข้อมูลต้องเป็นปัจจุบัน และส่งให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องตามกำหนดเวลา เปิดเผย อย่างทั่วถึง 1. การเปิดเผยข้อมูล: บริษัทได้มีการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญของบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลที่มิใช่ข้อมูล ทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส และเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด โดยผ่านช่องทางระบบเผยแพร่ข้อมูลอิเลกทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และผ่านเว็บไซต์ของบริษัท www.becworld.com โดยมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ในปี 2554 บริษัทได้ปฏิบัติถูกต้องตาม หลักเกณฑ์ โดยไม่มีการถูกลงโทษจากทางการในประเด็นการเปิดเผยข้อมูลแต่อย่างใด 2. คุณภาพของรายงานทางการเงิน: คณะกรรมการบริษทั ได้จดั ทำรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงาน ทางการเงิน ลงนามโดยประธานกรรมการ และนำเสนอต่อผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปี 2554 โดยจัดแสดงคู่กับ หน้ารายงานของผู้สอบบัญชี 3. ข้อมูลโครงสร้างผูถ้ อื หุน้ : บริษทั มีการเปิดเผยโครงสร้างผูถ้ อื หุน้ จากการปิดสมุดทะเบียนครัง้ ล่าสุด ซึง่ บริษทั ได้แจกแจง รายละเอียดการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นกลุ่มมาลีนนท์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ในรายงานประจำปี หน้า 75 ส่วนของการถือหุ้นของกรรมการและผู้บริหารในรายงานประจำปี หน้า 107-117 รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

89


90

4. การเปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำปีของบริษัท - บริษัทมีการจัดแสดงงบการเงิน คำอธิบายและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน - แสดงโครงสร้างกลุม่ บริษทั ลักษณะการประกอบธุรกิจและภาวะการแข่งขัน, ความเสีย่ งในการดำเนินธุรกิจของบริษทั - ข้อมูลเกี่ยวกับกรรมการบริษัทนั้น นอกจากที่แสดงภาพและตำแหน่งกรรมการในหน้า 6, 7 และ 8 แล้ว ยังแสดง ประวัตกิ รรมการไว้ในหน้า 107-117 ด้วย ซึง่ แสดงประวัตกิ ารศึกษา ประสบการณ์การทำงาน การดำรงตำแหน่ง ในกิจการอื่น สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ฯลฯ - รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินเสนอไว้ในรายงานประจำปี หน้า 30 โดยแสดงไว้ คู่กับหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี - บริษทั ได้เปิดเผยข้อมูลเกีย่ วกับการจัดการ ในรายงานประจำปี 2554 ของบริษทั ซึง่ ได้เปิดเผยถึงการปฏิบตั หิ น้าที่ เข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละคนในปีทผ่ี า่ นมา เปิดเผยข้อมูล ค่าตอบแทนกรรมการเป็นรายบุคคล การปฏิบตั ิ หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการสรรหา, นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการและ ผูบ้ ริหารระดับสูง,จรรยาบรรณธุรกิจโดยสรุป รวมถึง ได้แสดงประวัตกิ ารอบรมของกรรมการในรายงานประจำปีดว้ ย 5. การป้องกันการใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลภายใน: บริษทั ได้ตระหนักความสำคัญของการป้องกันการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลภายในในทางมิชอบ อันจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น คณะกรรมการจึงได้กำหนดเป็นนโยบาย และทำบันทึกแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของกลุ่ม บริษัท รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อราคาซื้อขายหุ้นของบริษัทที่ยังไม่ได้เผยแพร่เป็นการทั่วไป ให้ความร่วมมือ ทีจ่ ะไม่ทำการซือ้ ขายหลักทรัพย์ของบริษทั ในช่วงระยะ 2 สัปดาห์ ก่อนและหลังการประกาศผลการดำเนินงานของบริษทั ในแต่ละไตรมาส หรือก่อนแจ้งสารสนเทศที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้นของบริษัท นอกจากนี้ ได้กำหนดให้กรรมการ และผู้บริหารที่มีหน้าที่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงาน กลต. ต้องจัดส่งสำเนารายงานฯดังกล่าวให้แก่ เลขานุการบริษัท เพื่อรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อทราบทุกครั้งที่ มีการประชุม ซึ่งในปี 2554 พบว่าทุกท่านให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามนโยบายบริษัททุกประการ 6. การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์: คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยกำหนดให้กรรมการและผูบ้ ริหารรวมถึงผูเ้ กีย่ วข้องของกรรมการและผูบ้ ริหาร แจ้งให้บริษทั ทราบเป็นการล่วงหน้า ว่าจะมีการทำรายการใดๆ กับกลุม่ บริษทั ทีจ่ ะทำให้ตนและผูเ้ กีย่ วข้องมีสว่ นได้เสียในการทำรายการนัน้ ๆ โดยกำหนด ให้เป็นหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารที่จะต้องรีบเปิดเผยข้อมูลส่วนได้เสียดังกล่าว พร้อมเอกสารหลักฐาน ต่อ เลขานุการบริษทั ทันทีทท่ี ราบ เพือ่ เสนอให้คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษทั ได้รบั ทราบ และได้ทำการ พิจารณาอนุมัติการทำรายการให้ครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ก่อนเกิดรายการ และ เพื่อให้คณะกรรมการสามารถตัดสินใจเพื่อประโยชน์โดยรวมของบริษัท จึงได้กำหนดเป็นมารยาทของคณะกรรมการ ว่าในการประชุมเพื่อพิจารณาการทำธุรกรรมใดที่มีกรรมการหรือผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำ ธุรกรรมนั้นๆ บุคคลนั้นไม่ควรอยู่ร่วมในที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมมีความเป็นอิสระในการพิจารณา และเมื่อได้ทำ รายการแล้ว คณะกรรมการได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นผู้พิจารณาความเพียงพอเหมาะสมในการ เปิดเผยข้อมูลการทำรายการไว้ในงบการเงิน และเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีด้วย ภายใต้หัวข้อ รายการระหว่างกัน กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วย 7. การเสนอตัง้ ผูส้ อบบัญชี: คณะกรรมการบริษทั ได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาเสนอแต่งตัง้ ผูส้ อบบัญชี ของบริษัท รวมถึงเสนออัตราค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี เพื่อให้คณะกรรมการมีความเห็นเสนอต่อที่ประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่มีความเป็นอิสระ และมีความน่าเชื่อถือ ให้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท โดย ที่ผ่านมางบการเงินของบริษัทได้รับการรับรองโดยมีเงื่อนไขจากผู้สอบบัญชี และที่ผ่านมาบริษัทไม่มีประวัติการส่ง รายงานทางการเงินทัง้ รายไตรมาสและรายปีลา่ ช้าแต่อย่างใด อีกทัง้ ไม่เคยถูกสำนักงาน ก.ล.ต. สัง่ ให้แก้ไขงบการเงิน แต่อย่างใด

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


8. งานนักลงทุนสัมพันธ์: คณะกรรมการได้มกี ารจัดตัง้ หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ ซึง่ ขึน้ ตรงต่อฝ่ายการเงิน รับผิดชอบ ดูแลการจัดทำ และนำส่งรายงานตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด รวมถึงการเปิดเผย ข้อมูลสำคัญของบริษทั ทัง้ ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทีม่ ใิ ช่ขอ้ มูลทางการเงิน เช่น การแจ้งมติทป่ี ระชุมคณะกรรมการ ทีส่ ำคัญ ได้แก่ มติเรียกประชุมผูถ้ อื หุน้ กำหนดปิดสมุดทะเบียน และการจ่ายเงินปันผล เป็นต้น เพือ่ ทำหน้าทีใ่ ห้บริการ ข้อมูลและข่าวสารกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท ไปยังผู้ถือหุ้น ตลอดจนนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และประชาชนทั่วไป โดยการเปิดเผยข้อมูลต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา - คณะกรรมการได้มอบหมายให้ นายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน เป็นผู้รับมอบอำนาจใน การลงนามหนังสือแจ้งข้อมูลข่าวสาร ผ่านระบบการเผยแพร่ขอ้ มูลอิเลกทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ตลอดจน เป็นตัวแทนฝ่ายบริหารในการให้ข้อมูลข่าวสารของกลุ่มบริษัทแก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ ผู้สื่อข่าว และ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การชี้แจงข่าวลือต่างๆ โดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับพัฒนา การของบริษัท จะยึดถือปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัท จดทะเบียนอย่างเคร่งครัด - นอกจากนี้ หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์เป็นผู้ติดต่อประสานงานกับ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด - นายทะเบียนของบริษทั เพือ่ ให้บริการด้านงานทะเบียนแก่ผถู้ อื หุน้ ตลอดจนการปิดสมุดทะเบียน การจัดทำ และนำส่งเอกสารต่างๆ ให้ผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ รวมถึงการดำเนินการจัดทำและนำส่งเช็คเงินปันผล หรือนำเงิน ปันผลเข้าบัญชีธนาคาร - กิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์: ในรอบปี 2554 บริษทั ได้จดั ประชุมนักวิเคราะห์ทส่ี ำนักงานใหญ่ของบริษทั รวม 4 ครัง้ โดยจัดในวันทำการถัดไปภายหลังจากที่ได้ยื่นงบการเงินปี 2553 และงบไตรมาส1,2 และ 3 ของปี 2554 โดยมีนายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของบริษัท และนายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ ผู้อำนวย การฝ่ายการตลาดและการขายของบริษัทย่อยที่เป็นธุรกิจหลักของบริษัท เพื่อที่จะได้ให้ผู้บริหารของบริษัท ได้ให้ขอ้ มูลตลอดจนคำชีแ้ จงผลการดำเนินงานของกลุม่ บริษทั ข้อมูลการตลาด และนโยบาย/ทิศทางการดำเนินธุรกิจ กับนักวิเคราะห์โดยตรง นอกจากนี้ บริษัทได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการและพบปะกับผู้บริหาร (Company Visit) อย่างสม่ำเสมอ โดยตลอดทั้งปีเฉลี่ยประมาณ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง นอกจากนี้ยังได้ส่งนายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน เข้าร่วมกิจกรรมตามที่ บริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดขึ้นภายในประเทศ; ส่วนแผนงานในการดำเนินกิจกรรมนักลงทุน สัมพันธ์ สำหรับปี 2555 นั้น บริษัทยังคงจัดประชุมนักวิเคราะห์ แถลงผลการดำเนินงาน ที่สำนักงานใหญ่ของ บริษัททุกไตรมาส และยังเปิดให้นักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ เข้าเยี่ยมชมกิจการและ พบปะกับผู้บริหาร (Company Visit) ทั้งนี้ จะพยายามเลี่ยงช่วงเวลา 2 สัปดาห์ก่อนเปิดเผยผลการดำเนินงาน ในแต่ละไตรมาส นอกจากนี้มีแผนจะเข้าร่วมกิจกรรมประชุมนักลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์จัดภายในประเทศ ให้ได้ทุกนัด ส่วนการเดินทางไปพบปะนักลงทุนในต่างประเทศนั้น จะพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป 9. ช่องทางในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารของบริษัท: คณะกรรมการยังสนับสนุนให้ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์เปิดโอกาส ให้ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้สื่อข่าว รับทราบข้อมูลข่าวสารของบริษัทจากหลายช่องทาง โดยจัดให้มี เว็บไซต์ของบริษัท www.becworld.com นอกเหนือจากการอาศัยช่องทางการเปิดเผยข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทเป็นไปอย่างทั่วถึง โดยทุกครั้งที่ทางส่วนงานจัดทำเอกสาร แจกจ่ายแก่ผู้สื่อข่าว, นักวิเคราะห์ และนักลงทุนเกี่ยวกับข้อมูลของอุตสาหกรรมและกลุ่มบริษัทแล้ว ก็จะจัดแสดง เอกสารเหล่านั้นไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้ามาติดตามข้อมูลของบริษัท และอุตสาหกรรม ได้อย่างสม่ำเสมอ โดยข้อมูลที่เปิดเผยใน เว็บไซต์ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย: - วิสยั ทัศน์, ข้อมูลโครงสร้างการดำเนินธุรกิจของกลุม่ บริษทั , รายงานคณะกรรมการ, ข้อมูลโครงสร้างคณะกรรมการ และโครงสร้างการถือหุ้นที่แสดงให้เห็นถึงผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของบริษัท และโครงสร้างองค์กร - รายงานประจำปี, หนังสือเชิญประชุมผูถ้ อื หุน้ และเอกสารทีเ่ กีย่ วข้องทีน่ ำส่งแก่ผถู้ อื หุน้ - นำเสนอเอกสารชุดเดียวกัน กับที่นำส่งแก่ผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ โดยจะนำขึ้นแสดงเป็นการล่วงหน้าก่อนนำส่งเอกสารทางไปรษณีย์ ที่ผ่านมา นำขึ้นแสดงทันวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อเรียกประชุมผู้ถือหุ้น - รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น - จะนำขึ้นแสดงภายใน 14 วันนับจากวันประชุมฯ รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

91


- -

งบการเงิน คำอธิบายงบการเงิน MD&A และข่าวที่บริษัทเผยแพร่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ (Press Release) - นำขึ้น แสดงบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ หลังจากยื่นข้อมูลข่าวสารนั้นๆผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลอิเลกทรอนิกส์ของตลาด หลักทรัพย์ฯแล้ว ข้อมูลที่นำเสนอนักวิเคราะห์และผู้ลงทุนในการประชุมนักลงทุนต่างๆ จะนำขึ้นแสดงบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทเป็นไปอย่างทั่วถึง

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ 1. 92

โครงสร้างคณะกรรมการ 1.1 โครงสร้างคณะกรรมการของบริษัทจะประกอบด้วยกรรมการรวม 14 คน โดยเป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหาร 7 คน และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 7 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีกรรมการอิสระรวมอยู่ด้วย 5 คน ทำให้โครงสร้างคณะ กรรมการบริษัทมีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ขององค์คณะ ช่วยเสริมให้การสอบทานการบริหารจัดการ งานของบริษทั และการกำกับดูแลกิจการมีประสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ บริษทั ได้เปิดเผยข้อมูลโครงสร้างคณะกรรมการ โดยระบุว่ากรรมการรายใดเป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร / กรรมการอิสระ / กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ไว้ใน รายงานประจำปี หน้า 6-8 1.2 คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรรหา เพื่อช่วยคณะกรรมการในการสรรหากรรมการและผู้บริหาร ของบริษัท โดยคณะอนุกรรมการสรรหาได้กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมในการดำรงตำแหน่ง กรรมการ/ผู้บริหารบริษัท เป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ในส่วนของวิธีการสรรหานอกจากการศึกษาหาข้อมูล กรรมการอาชีพแล้ว กรรมการสรรหาก็ได้สรรหาจากบุคคลสายวิชาชีพต่างๆ เพือ่ ให้องค์คณะประกอบด้วยบุคลากร ที่มีความรู้หลากหลาย เพื่อช่วยเสริมการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท โดยกรรมการสรรหาสามารถเสนอชื่อบุคคล ที่เห็นว่าเหมาะสม ต่อที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาได้อย่างเป็นอิสระ ในกรณีที่กรรมการบริษัทฯ ครบวาระ การดำรงตำแหน่ง บริษัทฯ โดยคณะกรรมการสรรหาจะทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกเพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาต่อไป และในกรณีที่กรรมการอิสระครบวาระนั้น การสรรหาบุคคลเพื่อเสนอตั้งเป็นกรรมการบริษัท ต้องมีคณ ุ สมบัตติ ามเกณฑ์กรรมการอิสระของบริษทั ด้วย ทัง้ นีใ้ นปี 2554 ไม่มผี ถู้ อื หุน้ ส่วนน้อยเสนอรายชือ่ บุคคล เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ 1.3 คณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการบริหาร เป็นผูท้ ม่ี คี วามชำนาญในธุรกิจของกลุม่ บริษทั เป็นอย่างดี โดยได้ แยกรับผิดชอบงานตามความถนัด กรรมการอิสระแต่ละคนเป็นผูท้ รงคุณวุฒใิ นสายวิชาการ และมีกรรมการอิสระ 1 คนมีความรู้ความชำนาญด้านบัญชีและการเงิน กรรมการทุกคนมีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ ทีห่ ลากหลาย มีคณ ุ ธรรม และความซือ่ สัตย์ และมีความพร้อมทีจ่ ะปฏิบตั หิ น้าทีอ่ ย่างเต็มทีแ่ ละเต็มใจ โดยกรรมการ ทุกท่านได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถ และอุทิศเวลาให้กับบริษัทอย่างเต็มที่ รายชื่อคณะกรรมการ และรายชื่อกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร แสดงไว้ในหน้า 6-8 ของรายงานฉบับนี้ 1.4 ประธานกรรมการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร (CEO) ด้วย แต่ในการจัดการได้มอบหมายให้อยู่ใน ความรับผิดชอบของประธานเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ าร (COO) ซึง่ ดำรงตำแหน่งกรรมการผูอ้ ำนวยการใหญ่ดว้ ยในการทำงาน ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่มีการแบ่งแยกบทบาท และหน้าที่กันอย่างชัดเจน โดยประธานกรรมการบริหารจะดูแลด้านการบริหารในเชิงนโยบาย ในขณะที่ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ จะทำหน้าทีต่ ดิ ตามควบคุมดูแลให้มกี ารนำนโยบายต่างๆ มาถือปฏิบตั อิ ย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการกำหนดเป้าหมาย แผนงาน การติดตามประเมินผล และกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข 1.5 คณะกรรมการบริษทั ได้พจิ ารณากำหนดคุณสมบัตขิ อง “กรรมการอิสระ” ของบริษทั ไว้ตามเกณฑ์ขอ้ กำหนดขัน้ ต่ำ ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 1 ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งหมด นิยามกรรมการอิสระและคุณสมบัติของบริษัทได้แสดงในหัวข้อการจัดการในรายงานประจำปีด้วย 1.6 กรรมการทีเ่ ป็นผูบ้ ริหาร 7 คน และกรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหาร 1 คน เป็นบุคคลในตระกูลมาลีนนท์ ซึง่ เป็นผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่เพียงกลุ่มเดียวของบริษัท ปัจจุบันถือหุ้นรวมกันอยู่ 43.17% ส่วนที่เหลือกระจายอยู่กับผู้ถือหุ้นรายย่อย ในตลาดหลักทรัพย์

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


1.7 1.8 1.9 1.10

คณะกรรมการได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษทั และวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการชุดย่อย ทุกชุดเท่ากัน วาระละ 3 ปี โดยไม่จำกัดจำนวนวาระ เนื่องจาก กรรมการบริหารมีภารกิจประจำในการบริหารงานของบริษัท และบริษัทย่อยในกลุ่ม คณะกรรมการ จึงกำหนดนโยบายการดำรงตำแหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นของกรรมการบริหารเฉพาะกรณีที่บริษัทเข้าลงทุนใน บริษทั นัน้ และมีเงือ่ นไขในการส่งตัวแทนเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ เพือ่ ร่วมกำกับดูแลและบริหารกิจการ ส่วน กรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหาร ต้องไม่ดำรงตำแหน่งกรรมการทีบ่ ริษทั จดทะเบียนอืน่ เกินกว่า 5 แห่ง หากมีความจำเป็น ต้องดำรงตำแหน่งกรรมการเกินกว่าที่กำหนด ต้องแจ้งให้คณะกรรมการได้รับทราบก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้กรรมการ มีเวลาเพียงพอในการปฏิบตั หิ น้าที่ โดยได้มกี ารเปิดเผยข้อมูลการดำรงตำแหน่งของกรรมการแต่ละคนให้ผถู้ อื หุน้ ทราบในหัวข้อ รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท หน้า 118 ของรายงานฉบับนี้ ทั้งนี้ในปี 2554 มีกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารจำนวน 3 คนที่ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่น คือ นายแมทธิว กิจโอธาน ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่น 3 แห่ง นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู ดำรงตำแหน่ง กรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่น 1 แห่ง และนายสมชัย บุญนำศิริ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการในบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนแห่งหนึ่ง เนือ่ งจาก ผูบ้ ริหารระดับสูงมีภารกิจในการบริหารจัดการธุรกิจประจำวัน การไปดำรงตำแหน่งกรรมการทีบ่ ริษทั อืน่ อาจรบกวนเวลาทำงานประจำ คณะกรรมการไม่มีนโยบายสนับสนุนให้ผู้บริหารไปดำรงตำแหน่งกรรมการใน กิจการอื่นนอกกลุ่ม เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็น ผู้บริหารก็อาจเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณา อนุมัติได้ ปัจจุบันไม่มีผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ไปดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่น คณะกรรมการได้แต่งตั้ง นางชลัยพร อิทธิถาวร เป็นเลขานุการบริษัท มีความรับผิดชอบขั้นต่ำตามที่กฎหมาย กำหนด ซึ่งได้แก่การจัดประชุม การจัดทำรายงานการประชุม และการจัดเก็บรายงานการประชุม ทั้งการประชุม คณะกรรมการและการประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงการจัดเก็บทะเบียนกรรมการ และรายงานการมีส่วนได้ส่วนเสีย ของกรรมการและผู้บริหาร กรณีที่มีประเด็นสืบเนื่องจากการประชุมฯ เลขานุการฯมีหน้าที่ประสานงานกับ หน่วยงานอื่นๆ ในองค์กร เพื่อแจ้งให้ทราบถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการให้หน่วยงานที่ เกีย่ วข้องได้รบั ทราบ ตลอดจนติดตามและรายงานผลการปฏิบตั ติ ามมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ นอกจาก ความรับผิดชอบขั้นต่ำตามกฎหมายแล้ว คณะกรรมการได้มอบหมายให้ เลขานุการบริษัทมีหน้าที่ติดตาม และแจ้งให้คณะกรรมการทราบถึง การออกและบังคับใช้ของข้อกำหนด และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ออกโดยสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ดูแลกิจกรรม ของคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการทุกคณะ รวบรวมและนำเสนอข้อมูลหลักสูตรการอบรมสัมมนาสำหรับ กรรมการ ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการสมัครเข้าอบรมสัมมนา นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ดูแลงาน นักลงทุนสัมพันธ์ด้วย ซึ่งมีหน้าที่ดูแลกิจกรรมของผู้ถือหุ้น/นักลงทุน และสนับสนุนการให้ข้อมูลข่าวสารแก่กลุ่ม นักวิเคราะห์และผู้ลงทุน คณะกรรมการได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำสำนักเลขาฯ อย่างเพียงพอ เพื่อช่วยในการ ปฏิบัติหน้าที่ของเลขานุการบริษัท

2.

คณะอนุกรรมการ 2.1 คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสระจำนวน 3 คน โดยมีกรรมการ ตรวจสอบ 1 คน ที่มีความรู้ ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์ด้านบัญชีหรือการเงิน นอกจากนี้ คณะกรรมการ มีการจัดตัง้ สำนักตรวจสอบภายในขึน้ เป็นหน่วยงานหนึง่ ภายในบริษทั และมีการกำหนดกฎบัตรสำนักตรวจสอบ ภายใน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักตรวจสอบภายในด้วย โดยสำนักตรวจสอบภายในนี้ รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง 2.2 คณะกรรมการให้ความเห็นชอบการกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ หรือกฎบัตร (Charter) ของ คณะกรรมการตรวจสอบที่เป็นลายลักษณ์อักษร 2.3 คุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด 2.4 คณะกรรมการตรวจสอบรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้งที่มีการประชุม คณะกรรมการ นอกจากนี้ได้รายงานการทำหน้าที่ในรอบปีที่ผ่านมาต่อผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปี หน้า 4-5 รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

93


94

2.5 2.6 2.7 2.8 2.9

คณะกรรมการไม่ได้จัดให้มีคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน ในการพิจารณาค่าตอบ แทนกรรมการ คณะกรรมการจะพิจารณาร่วมกัน โดยพิจารณาจากข้อมูลค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำ โดยจะพิจารณาและเสนอความเห็นต่อผู้ถือหุ้น แสดงไว้ในหนังสือเชิญประชุมเพื่อ ประกอบการพิจารณา คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา เพื่อช่วยทำหน้าที่ในการสรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูง ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการที่กำหนดไว้ คณะกรรมการให้ความเห็นชอบการกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ หรือกฎบัตรของคณะกรรมการ สรรหาที่เป็นลายลักษณ์อักษร คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการบริหารจำนวน 3 คน รายชื่อสมาชิกคณะกรรมการสรรหาแสดงไว้ ในรายงานประจำปี ภายใต้หัวข้อการจัดการเช่นกัน สำหรับปี 2554 คณะกรรมการสรรหาได้รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/2554 ประชุมเมือ่ วันที่ 10 มีนาคม 2554 จำนวนครัง้ การประชุมคณะกรรมการสรรหา และการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องกรรมการ สรรหา ได้แสดงไว้ในรายงานประจำปีเช่นกัน

3.

บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ: คณะกรรมการได้ทำหน้าที่ในการพิจารณา และให้ความ เห็นชอบในเรือ่ งทีส่ ำคัญเกีย่ วกับการดำเนินงานของบริษทั เช่น กำหนดวิสยั ทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมายทางการเงิน ความเสีย่ ง แผนงานและงบประมาณ รวมทั้งกำกับ ควบคุม ดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินงานตามนโยบายและแผนที่กำหนดไว้อย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนให้แก่กิจการและผู้ถือหุ้น ตลอดจนผลประโยชน์ ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งแรกของปี คณะกรรมการบริหารจะเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้ ความเห็นชอบในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมายทางการเงิน ความเสี่ยง แผนงาน และงบประมาณ จากนั้นก็จะจัดให้มีการสื่อสารให้พนักงานทุกระดับชั้นได้รับทราบ และเข้าใจถึงกลยุทธ์ เป้าหมาย ฯลฯ ตามที่ได้ผ่าน การพิจารณาจากคณะกรรมการบริษัท โดยการชี้แจงผ่านฝ่ายจัดการระดับผู้อำนวยการฝ่าย พร้อมกันนี้ ได้จัดให้มีการใช้ อินทราเน็ตเพื่อช่วยให้การสื่อสารภายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย เลขานุการคณะกรรมการจะติดตาม เจ้าหน้าที่บริหารเพื่อรวบรวมข้อมูล นำเสนอรายงานผลการดำเนินงาน และความคืบหน้าในการปฏิบัติตามแผนงาน ที่คณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบไว้ เป็นระยะๆ คณะกรรมการได้พิจารณาแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ และฝ่ายจัดการอย่างชัดเจน ซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจำปีภายใต้หัวข้อการจัดการเช่นกันด้วย

4.

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ: คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษทั อย่างเป็นลายลักษณ์อกั ษร และได้สื่อสารให้พนักงานในองค์กรทุกคน ได้รับทราบและนำไปยึดถือปฏิบัติในงานที่ได้รับมอบหมาย โดยได้มอบหมาย ให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ทุกคนในองค์กรปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ที่กำหนด เช่น การจัดทำบอร์ดความรู้ การสื่อสารในระบบ Intranet และได้พิจารณาทบทวนนโยบายปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ มีความทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์

คณะกรรมการให้ความสำคัญต่อการดำเนินการตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่กำหนดไว้ โดยจะติดตามสอบถาม ฝ่ายจัดการเกีย่ วกับความคืบหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายและแผนทีก่ ำหนดแล้ว ยังติดตามผลการประเมินปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะอย่างมีเหตุผล รวมถึงการปรับนโยบายตามความเหมาะสม จากการติดตามการปฏิบัติตามนโยบายพบว่า พนักงานในองค์กรมีการปรับทัศนคติยอมรับความสำคัญในการนำ หลักการกำกับดูแลทีด่ มี าปรับใช้กบั องค์กร โดยได้นำนโยบายกำกับดูแลกิจการทีค่ ณะกรรมการกำหนดไว้ มาปรับเข้ากับ งานในหน้าที่รับผิดชอบได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้วัฒนธรรมองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงไป มีมาตรฐานการบริหารจัดการ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามที่ได้รายงานไว้ในรายงานนี้ รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


5.

จรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct): คณะกรรมการได้กำหนดให้มีการจัดทำจรรยาบรรณธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์ อักษร แบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ จรรยาบรรณต่อลูกค้า จรรยาบรรณต่อบริษัท จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณ ต่อผู้บังคับบัญชา จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน จรรยาบรรณต่อผู้ใต้บังคับบัญชา แสดงไว้ในหนังสือคู่มือพนักงานแจกจ่าย คู่มือพนักงานให้แก่พนักงานทุกคนในองค์กร เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนเข้าใจถึงมาตรฐานด้าน จริยธรรมที่บริษัทใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยคณะกรรมการได้จัดช่องทาง INTRANET ไว้ให้ใช้สื่อสารข่าวสาร รวมถึง การประชาสัมพันธ์ขอ้ พึงปฏิบตั ทิ ด่ี ภี ายในองค์กร ซึง่ หากพนักงานคนไหนมีประเด็นข้อสงสัย ก็อาจตัง้ เป็นกระทูใ้ นเว็บบอร์ด ระบบอินทราเน็ตได้ นอกจากนีก้ ย็ งั ติดต่อสือ่ สารกันด้วยระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายในองค์กรได้ ทัง้ นี้ ฝ่ายทรัพยากร บุคคล รับผิดชอบในการรณรงค์ส่งเสริมให้ทุกคนในองค์กรปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ โดยการจัดทำกระดานข่าวซึ่ง ตั้งไว้ตามที่มุมพักผ่อนของพนักงาน รวมถึงจัดแสดงไว้ในข่าวสารในระบบ INTRANET ด้วย โดยในระยะแรกได้ทำการ สื่อสารให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ ในการจัดทำจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทรวมถึงการกระตุ้นเตือนว่า ในความเป็นจริงแล้ว จรรยาบรรณธุรกิจเหล่านี้ พนักงานในองค์กรได้ยึดถือปฏิบัติอยู่แล้ว เพียงแต่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ได้รวบรวมจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น จากนั้นก็จะนำเสนอประโยชน์ของการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ และปรับทัศนคติเพื่อโน้มน้าวจิตใจให้ยึดถือปฏิบัติ ปัจจุบันข่าวสารที่นำเสนอจะเสนอข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ จริยธรรมธุรกิจในเชิงปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้ ซึ่งบางครั้งก็เป็นการนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมมาเป็น ตัวอย่างอ้างอิง โดยรูปแบบการนำเสนอมีส่วนเสริมสร้างความสนใจ โดยใช้ถ้อยคำเป็นกันเอง การใช้ภาพประกอบ รวมถึงการใช้สีสันที่สวยงาม เพื่อดึงดูดความสนใจ ฯลฯ

เนื่องจากการยึดถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ เป็นการกระทำโดยความสมัครใจของพนักงาน บริษัทจึงส่งเสริมให้ พนักงานเห็นประโยชน์/คุณค่า ในการยึดถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ นอกจากนี้ หัวหน้าหน่วยงานเป็นบุคคลสำคัญ ในการส่งเสริมให้ทุกคนในหน่วยงานยึดถือและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เนื่องจาก หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับ พนักงานในหน่วยงาน สามารถติดตามสอดส่องดูแลการทำงานของพนักงานได้เป็นอย่างดี นอกจากหัวหน้าจะเป็น ตัวอย่างในการปฏิบัติแล้ว ในฐานะผู้บังคับบัญชา หัวหน้าพึงให้คำแนะนำแก่พนักงานในหน่วยงาน รวมถึง กระตุ้นเตือน พนักงานในหน่วยงานให้มีจิตสำนึกในการยึดถือปฏิบัติฯอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ประเมินความเหมาะสม ของจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทด้วย คณะกรรมการได้ติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของพนักงานในองค์กรผ่าน ฝ่ายบริหาร ในปี 2554 ไม่มีปัญหาที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตาม จรรยาบรรณธุรกิจของพนักงาน

6.

รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์: คณะกรรมการได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา เรื่องความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ โดยให้กรรมการและผู้บริหารที่จะมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการเข้าทำรายการใดๆ ของบริษทั ให้รบี แจ้งส่วนได้สว่ นเสียของตนเองให้คณะกรรมการทราบทันทีทร่ี ถู้ งึ การจะเข้าทำธุรกรรมนัน้ ๆ และในขัน้ ตอน การพิจารณาการทำรายการนั้นๆ กรรมการที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลประโยชน์ของเรื่องที่กำลังมีการพิจารณา ไม่ควร เข้าร่วมประชุมในวาระนั้นๆ เพื่อให้กรรมการที่เหลืออยู่มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ นอกจากนี้รายการใดๆ ที่มีความ ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญ คณะกรรมการบริษัทอาจมอบหมายให้กรรมการอิสระพิจารณากลั่นกรอง เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทได้ ในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทไม่มีความชำนาญ ในการพิจารณารายการ ระหว่างกันที่เกิดขึ้น คณะกรรมการบริษัทสามารถให้ผู้เชี่ยวชาญอิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัท เป็นผู้ให้ความเห็น เกีย่ วกับรายการระหว่างกันดังกล่าว เพือ่ นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษทั หรือผูถ้ อื หุน้ ได้แล้วแต่กรณี สำหรับปี 2554 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2554 ที่ประชุมได้พิจารณาอนุมัติการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ประเภทธุรกิจปกติ ระหว่างบริษัทย่อยของบริษัท กับ บริษัท สปอร์ต อาร์ต จำกัด ซึ่งการทำรายการดังกล่าว อยู่ในอำนาจ ของคณะกรรมการของบริษัทที่จะสามารถพิจารณา และอนุมัติการเข้าทำรายการดังกล่าว บริษัทได้ดำเนินการโดย ถูกต้องตามเกณฑ์ในประกาศฯ เรื่องรายการที่เกี่ยวโยงกันดังกล่าว กล่าวคือ เลขานุการบริษัทได้เสนอให้คณะกรรมการ ตรวจสอบพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นในการทำรายการ รวมถึง ความเหมาะสมของเงื่อนไขราคา รวมถึงประโยชน์ สูงสุดทีบ่ ริษทั จะได้รบั ก่อนทำความเห็นเสนอต่อทีป่ ระชุมคณะกรรมการเพือ่ พิจารณาอนุมตั กิ ารทำรายการต่อไป; ในระหว่าง รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

95


96

การประชุมเพื่อพิจารณาวาระการอนุมัติการทำรายการ เลขานุการบริษัทได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบ เพื่อให้กรรมการที่มี ส่วนได้เสียแยกออกไปจากที่ประชุมก่อนเริ่มการพิจารณา เพื่อให้กรรมการที่เหลืออยู่มีความเป็นอิสระในการพิจารณา อนุมัติการทำรายการ นอกจากนี้ โดยบริษัทได้แจ้งสารสนเทศการทำรายการผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ของตลาดหลักทรัพย์ และเปิดเผยข้อมูลการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันที่เกิดขึ้นแล้วไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ของบริษัทอย่างครบถ้วนแล้ว รวมถึงได้เปิดเผยข้อมูลการทำรายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ ในปี 2554 ไว้ในรายงานประจำปี 2554 หน้า 101

7.

ระบบควบคุมและตรวจสอบภายใน: ได้แสดงไว้ในรายงานประจำปี หน้า 100

8.

การบริหารความเสีย่ ง: คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายการบริหารความเสีย่ ง ให้ครอบคลุมทัง้ องค์กร และให้ทกุ ฝ่าย มีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง ให้ผู้จัดการฝ่ายทุกฝ่ายรับผิดชอบในการจัดให้มีการสำรวจประเด็นที่อาจเป็นปัญหา ในแต่ละฝ่าย เสนอแนวทางในการป้องกันปัญหา/ความเสี่ยง แนวทางในการดำเนินการเพื่อลดระดับความเสี่ยง/บรรเทา ความเสียหาย(ที่อาจเกิด) โดยได้มอบให้สำนักตรวจสอบภายในเป็นหน่วยงานหลัก ในการประสานงานกับทุกหน่วยงาน ในองค์กร เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร และรายงานให้คณะกรรมการทราบเป็นประจำ โดยเฉพาะในกรณี ที่พบว่าระดับความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลง คณะกรรมการให้ความสำคัญกับการจัดให้มีสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าและ รายการผิดปกติทั้งหลาย นอกจากนี้ ให้สำนักตรวจสอบภายในทำการทบทวนระบบ หรือประเมินประสิทธิผลของการ จัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และให้รายงานคณะกรรมการรวมถึงฝ่ายจัดการที่เกี่ยวข้องทุกคนให้รับทราบ ซึ่งในปี 2554 ไม่พบการปฏิบัติงานใดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญ

9.

การประชุมคณะกรรมการ: - เลขานุการบริษัทได้ทำบันทึกแจ้งกำหนดการประชุมคณะกรรมการ เป็นการล่วงหน้าตลอดทั้งปี โดยได้นำส่งให้แก่ กรรมการทุกคนตั้งแต่ช่วงต้นปี เพื่อให้กรรมการสามารถจัดสรรเวลาเข้าร่วมประชุมได้ตั้งแต่ต้นปี - บริษัทกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขั้นต่ำปีละ 5 ครั้งโดย วาระหลักของการประชุม 4 ครั้ง คือ วาระพิจารณา รับรองผลการดำเนินงาน ก่อนเผยแพร่เป็นการทั่วไป และอีก 1 ครั้ง เพื่อพิจารณาเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ในปี 2554 ที่ผ่านมามีการประชุมทั้งสิ้น 6 ครั้ง จำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละคน เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ แสดงไว้ ในหัวข้อ การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ หน้า 78; จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรมการกำหนดไว้เหมาะสม กับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการ และลักษณะธุรกิจ นอกจากวาระหลักๆที่ต้องดำเนินการให้มีการพิจารณาตาม กฎหมายแล้ว ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการจะรวบรวมเรื่องอื่นๆที่ต้องให้คณะกรรมการทราบ และ/ หรือพิจารณา บรรจุเป็นวาระการประชุมในแต่ละครั้ง ตามความเหมาะสม ภายในกำหนดการประชุม 5 ครั้งหลักที่ ขอเวลาจากคณะกรรมการไว้ตั้งแต่ต้นปี ในกรณีที่มีความจำเป็นก็อาจจัดการประชุมเพิ่มตามความเหมาะสม - ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ร่วมกันพิจารณาเลือกเรื่องเข้าวาระการประชุมคณะกรรมการ โดยกรรมการแต่ละท่านสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมได้โดยอิสระ - คณะกรรมการกำหนดให้เลขานุการบริษทั ทำหน้าทีร่ วบรวมข้อมูลทีส่ ำคัญๆ เพือ่ ประกอบการพิจารณาในแต่ละวาระ จัดทำเป็นเอกสารประกอบการประชุม และจัดส่งเอกสารประกอบการประชุมให้กรรมการเป็นการล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้กรรมการได้มีเวลาเพียงพอในการศึกษาข้อมูล ที่ผ่านมามีปัญหาเอกสารล่าช้าบ้าง ได้แก้ไขด้วย การทยอยส่ง โดยนำส่งเอกสารในวาระที่ครบถ้วนสมบูรณ์ล่วงหน้าไปก่อนตามกำหนดเวลา เอกสารส่วนที่เหลือนำส่ง ตามไปโดยเร็วที่สุด - คณะกรรมการสามารถเชิญผู้บริหาร หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องต่างๆ เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้โดยตรง ในระหว่างการประชุม - ในการดำเนินการประชุม ประธานกรรมการจะจัดสรรเวลาการประชุม เพื่อให้เวลาประชุมในแต่ละวาระเพียงพอ เหมาะสม โดยประธานคณะกรรมการจะเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นในวาระการประชุมอย่างกว้างขวาง กรรมการทุกคนสามารถหยิบยกประเด็นขึ้นพิจารณา แสดงความเห็น รวมถึงให้ข้อเสนอแนะได้อย่างเป็นอิสระ

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


- - - -

10.

การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ: คณะกรรมการจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง เป็นประจำปีละ 1 ครั้ง โดยประเมินรวมทั้งคณะไม่ได้ทำการประเมินแยกเป็นรายบุคคล คณะกรรมการร่วมกันกำหนด หลักเกณฑ์การประเมินโดยปรับจากตัวอย่างทีต่ ลาดหลักทรัพย์แนะนำไว้ให้เหมาะสมกับองค์กร เมือ่ ได้สรุปผลประเมินแล้ว ได้พิจารณากำหนดแนวทางปรับปรุงการทำงานร่วมกัน โดยเปิดให้ทุกคนสามารถเสนอความเห็นได้อย่างเป็นอิสระ สำหรับปี 2554 ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555

11.

ค่าตอบแทนกรรมการ: คณะกรรมการกำหนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการและผูบ้ ริหารระดับสูง โดยกำหนด ให้มีการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารเป็นตัวเงินเท่านั้น โดยค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารต้องเพียงพอ เหมาะสมกับภารกิจ หน้าที่รับผิดชอบของกรรมการ สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ผลการดำเนินงานและลักษณะธุรกิจ โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา คือ 1.) สามารถเทียบเคียงกับค่าตอบแทนของบริษทั จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือบริษัทที่มีระดับรายได้หรือกำไรที่ใกล้เคียงกัน 2.) ผลการดำเนินงานของบริษัท 3.) ค่าตอบแทนเหมาะสมกับภาระ หน้าที่ ความรับผิดชอบที่มีความแตกต่างกัน กรรมการที่ได้รับมอบหมายหน้าที่และ ความรับผิดชอบเพิ่ม จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม มีกระบวนการพิจารณาจำนวนเงินค่าตอบแทนแต่ละปีที่โปร่งใส โดย พิจารณาร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการ และเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้อนุมัติการจ่ายค่าตอบแทน บริษัทกำหนด รูปแบบค่าตอบแทนกรรมการที่เป็นตัวเงินเท่านั้น โดยรายละเอียดปรากฏในข้อ 3 ค่าตอบแทนกรรมการฯ หน้า 81-82

12.

ค่าตอบแทนของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่: เนื่องจาก บริษัทไม่ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบริษัทจะเป็นผู้พิจารณาและอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการให้แก่กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ โดยพิจารณา จากหน้าที่ ความรับผิดชอบ ผลการปฏิบัติงาน ประกอบกับผลการดำเนินงานของบริษัท เทียบกับเป้าหมายที่กำหนด ไว้เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษทั ได้พจิ ารณาข้อมูลค่าตอบแทนกรรมการและผูบ้ ริหารบริษทั จดทะเบียน ประกอบด้วย

ที่ประชุมรับฟังความเห็นของกันและกัน ทำให้พิจารณาตัดสินใจด้วยเหตุและผล และได้พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะในวาระที่สำคัญๆ และเพื่อให้ความเข้าใจตรงกัน ประธานจะกล่าวสรุปมติที่ประชุมทุกครั้งที่จบวาระ โดยเฉลี่ยการประชุมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงซึ่งเป็นเวลาที่คณะกรรมการเห็นว่าเพียงพอในการพิจารณา ในรายละเอียดกันอย่างรอบคอบ ในทุกเรื่องที่นำเสนอต่อคณะกรรมการ ภายหลังการประชุม เลขานุการบริษทั จะจัดทำบันทึกรายงานการประชุมให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน ในรายงานการประชุม ของบริษัทจะมีการบันทึก วัน เวลาเริ่ม-เวลาเลิกประชุม ชื่อกรรมการที่เข้าประชุม สรุปสาระสำคัญของเรื่องที่เสนอ คณะกรรมการ สรุปประเด็นที่มีการอภิปราย รวมถึงข้อสังเกต ความเห็น และคำแนะนำของกรรมการแต่ละคน มติคณะกรรมการมีความชัดเจน ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มติไม่เอกฉันท์ ก็จะบันทึกความเห็น ของกรรมการที่ไม่เห็นด้วยนั้นไว้ด้วย ชื่อผู้บันทึกรายงานการประชุม ชื่อผู้สอบทานรายงานการประชุม ที่ผ่านมา เลขานุการคณะกรรมการบริษัทจะช่วยตรวจทานเพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ของรายงานฯ; เลขานุการบริษัทมีความ เป็นอิสระ ในการบันทึกรายงานการประชุม เลขานุการบริษัทรับผิดชอบดูแลการจัดเก็บหนังสือเชิญประชุม รายงานการประชุม และเอกสารประกอบการประชุม ให้มีระบบการจัดเก็บที่ดี สืบค้นง่าย โดยบริษัทมีธรรมเนียมปฏิบัติ ในการรับรองรายงานการประชุมในการประชุม ครั้งถัดไป รายงานการประชุมแต่ละครั้ง จึงไม่สามารถแก้ไขโดยไม่ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการ จากนั้นจึงนำเสนอ ประธานที่ประชุมเพื่อพิจารณาลงนามรับรองรายงานการประชุมต่อไป เนือ่ งจากบริษทั ไม่ได้จดั ประชุมทุกเดือน เลขานุการคณะกรรมการจึงจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของบริษทั และ นำส่งให้คณะกรรมการได้รับทราบทุกเดือน ในกรณีที่มีความจำเป็น กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารอาจนัดประชุมกันเองโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าประชุมด้วยได้ เพื่อ อภิปรายปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจ และแจ้งให้กรรมการผู้จัดการทราบผลการประชุมด้วย ที่ผ่านมาจะนัดประชุมกันล่วงหน้าก่อนถึงเวลานัดประชุมคณะกรรมการ โดยเลขานุการบริษัทจะจัดห้องรับรองไว้ให้

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

97


13.

การพัฒนากรรมการและผูบ้ ริหาร: คณะกรรมการให้ความสำคัญต่อการพัฒนากรรมการและผูบ้ ริหาร โดยได้สนับสนุน ให้กรรมการและผูบ้ ริหารระดับสูงได้เข้ารับการอบรมสัมมนา เพือ่ เสริมสร้างและพัฒนาความรูค้ วามชำนาญในการบริหาร จัดการ โดยบริษทั จะสนับสนุนค่าใช้จา่ ย รวมถึงการอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ หลักสูตรสำหรับกรรมการ ซึ่งจัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือ IOD ที่ผ่านมาคณะกรรมการเกือบทั้งหมดของบริษัท ได้ผ่าน การเข้ารับการอบรมหลักสูตร DIRECTORS ACCREDITATION PROGRAM (DAP) ของ IOD แล้ว โดยมีกรรมการ 3 คน ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรพัฒนากรรมการ DIRECTORS CERTIFICATION PROGRAM (DCP) มาแล้ว และกรรมการ ตรวจสอบของบริษัท ได้ผ่านหลักสูตร Audit Committee Program (ACP) แล้ว ทั้ง 3 คน และมีกรรมการบริหารที่ไม่มี พื้นฐานบัญชีและการเงิน ได้ผ่านการอบรมหลักสูตร FINANCE FOR NON - FINANCE DIRECTORS PROGRAM แล้ว 1 คน โดย คณะกรรมการได้มอบหมายให้เลขานุการบริษัทติดตามหาข้อมูลหลักสูตรการอบรมต่างๆ และนำเสนอต่อ กรรมการทุกคนเพื่อพิจารณาโดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นหลักสูตรที่จัดโดย IOD; นอกจากนี้ คณะกรรมการยังส่งเสริมให้ เลขานุการคณะกรรมการ เข้ารับการอบรมหลักสูตร DCP ด้วย อีกทั้งยังได้สนับสนุนให้ เลขานุการบริษัท เจ้าหน้าที่ นักลงทุนสัมพันธ์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบภายใน ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบการกำกับดูแลกิจการของบริษัท เข้ารับการอบรมในเรื่องที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่หน่วยงานกำกับฯ และหน่วยงานเอกชนเป็นผู้จัดการอบรม สัมมนา นอกจากนี้ ภายในบริษัทฯ เอง ก็มีการจัดอบรมพัฒนาบุคลากรโดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะพิจารณาจัดหลักสูตร การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการทัว่ ไป และหลักสูตรเฉพาะสำหรับแต่ละหน่วยงานตามความเหมาะสม ซึง่ ผูบ้ ริหาร ทุกคนสามารถเข้าร่วมรับการฝึกอบรมได้;

14.

แผนสืบทอดงาน: คณะกรรมการได้กำหนดให้มีแผนสืบทอดงาน โดยได้พิจารณากำหนดตัวบุคคลเพื่อรองรับแผน สืบทอดงาน โดยกำหนดให้ผู้บริหารในระดับรองลงไป เป็นผู้ทำหน้าที่แทนชั่วคราว แต่สำหรับกรณีถาวร ให้คณะกรรมการ พิจารณาตามความเหมาะสม โดยอาจมอบให้คณะกรรมสรรหาเป็นผูพ้ จิ ารณาดำเนินการสรรหาบุคคลทีม่ คี วามเหมาะสม เสนอเพื่อพิจารณาต่อไป; ในปี 2554 มีกรณีที่ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราว กรณีที่ประธาน กรรมการบริหารไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

15. บริษัทไม่มีประวัติการกระทำผิดกฎระเบียบของ ก.ล.ต./ตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทไม่มีการกระทำที่ขัดต่อกฎระเบียบ ที่เป็นความผิดร้ายแรง (serious offenses) 16. บริษัทไม่มีโครงการให้สิทธิแก่ผู้บริหารในการซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท

5. บุคลากร

98

บริษัทให้ความสำคัญต่อการพิจารณาจัดสรรกำลังคนให้เหมาะสมกับขนาดของหน่วยงาน และเพื่อการเตรียม ความพร้อมของกำลังคนต่อแผนงานในอนาคตด้วย โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 กลุ่มบริษัทมีพนักงานรวม 1,899 คน แบ่งตามสายงานหลักได้ ดังนี้ สายธุรกิจสื่อโทรทัศน์ และสื่อโฆษณา 1,129 คน สายธุรกิจจัดหา/ผลิตรายการบันเทิงและสารคดี 131 คน สายธุรกิจวิทยุ 102 คน สายธุรกิจผลิตรายการแสดง ส่งเสริมการจำหน่ายเพลง และกิจกรรมรณรงค์ 436 คน สายธุรกิจต่อเนื่องและสนับสนุน 101 คน รวมทั้งสิ้น 1,899 คน

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


ค่าตอบแทนที่เหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ให้แก่บุคลากร ตลอดจน การส่งเสริมให้มีความภักดีต่อองค์กรในระยะยาว บริษัทจึงได้พิจารณาให้ผลตอบแทนรวมของพนักงานกลุ่มบริษัท ในรอบปี 2554 เป็นจำนวนเงินรวม 1,279 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินเดือน ค่าล่วงเวลา เบี้ยเลี้ยง โบนัส เงินสมทบ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่ารักษาพยาบาล และ สวัสดิการต่างๆ เนื่องจาก บุคลากรเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าของบริษัท นอกจากบริษัทจะให้ความสำคัญในการพิจารณาสรรหา บุคลากรที่มีคุณภาพมาร่วมงานแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรของบริษัทอันจะยังประโยชน์ต่อ การพัฒนาศักยภาพของบริษทั ในระยะยาวด้วย บริษทั จึงมีนโยบายส่งเสริมให้บคุ ลากรได้มกี ารพัฒนาความรูค้ วามสามารถ และเพิ่มทักษะในการทำงาน โดยจัดให้บุคลากรในแต่ละหน่วยงานได้เข้าอบรมสัมมนาตามสายงานความรับผิดชอบ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนอกจากการอบรมสัมมนาซึ่งจัดโดยสถาบันต่างๆภายนอกแล้ว ภายในองค์กรเองหน่วยงาน ทรัพยากรบุคคลก็ได้จดั อบรมภายใน โดยได้พจิ ารณาจัดอบรมหมุนเวียนให้แก่หน่วยงานต่างๆ ในองค์กรตามความเหมาะสม โดยได้เพิ่มความถี่ และความหลากหลายในการจัดอบรมมากขึ้นเพื่อเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการแข่งขัน ในธุรกิจปัจจุบันให้มากขึ้น ในรอบปี 2554 กลุ่มบริษัทได้จัดอบรมภายใน โดยเลือกหลักสูตรที่เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน ได้แก่ ปฏิบัติตน เมื่อเผชิญเหตุจลาจล, การตลาดเชิงประสบการณ์, การส่งภาพข่าววิดีทัศน์ทางอินเตอร์เน็ต, การกำหนดเป้าหมายการ ปฏิบตั งิ านและการดำเนินชีวติ , เทคนิคการเล่าเรือ่ งด้วยภาพข่าววีดที ศั น์(มุมมองของผูก้ ำกับภาพยนตร์รนุ่ ใหม่), การออกแบบ 3 มิติ, ก้าวต่อไปของครอบครัวข่าวครั้งที่ 4, คุณภาพ คุณธรรมในการทำงาน, ดูแลสุขภาพจิตหลังเหตุการณ์วิกฤติ, ก้าวต่อไปของเทคโนโลยีสื่อสารสำหรับสถานีโทรทัศน์ รุ่นที่ 4, ธรรมะในออฟฟิศ, โครงการฝึกอบรมผู้สื่อข่าวรุ่นใหม่, เปลีย่ นความเครียดเป็นพลังแห่งการสร้างสรรค์, การปฏิบตั วิ ปิ สั สนากรรมฐานรุน่ 1,2,/2554, แนวปฏิบตั เิ กีย่ วกับบัญชีลกู หนี้ หนีส้ งสัยจะสูญ และหนีส้ ญ ู ทีผ่ ทู้ ำบัญชีตอ้ งปฏิบตั ,ิ เทคนิคการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในอาคาร; ส่วนการอบรมภายนอกนัน้ จะคัดเลือกหลักสูตรที่เสริมกับภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก โดยในปีที่ผ่านมามีค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมสัมมนา ภายใน รวมถึงการส่งพนักงานเข้ารับการอบรมฯภายนอกรวม 4.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553รวม 1.26 ล้านบาท

6. การกำกับดูแลการใช้ข้อมูลภายใน

ในการกำกับดูแลการใช้ข้อมูลภายในนั้น บริษัทมีนโยบายห้ามมิให้ผู้บริหารนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้เพื่อ ประโยชน์ส่วนตน ซึ่งรวมทั้งเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ โดยได้แจ้ง นโยบายของบริษัทฯ กฎเกณฑ์ แนวทาง ปฏิบตั แิ ละข้อเสนอแนะของตลาดหลักทรัพย์ฯ และของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนได้รับทราบ และเข้าใจถึงมาตรฐานการปฏิบัติตนตามที่บริษัทคาดหวัง โดยให้ถือปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารต้องรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ให้บริษัทฯ ทราบโดยทันที และรวบรวมรายงานเหล่านั้น(หากมี) แจ้งให้คณะกรรมการทราบทุกครั้งที่มีการประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การห้ามมิให้ผู้บริหารนำข้อมูลภายในของบริษัทฯไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน และห้ามไม่ให้ผู้บริหารหรือหน่วยงานที่ได้ รับทราบข้อมูลภายในเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลภายนอก หรือบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง และไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ ของบริษัทฯ ในระหว่างสองสัปดาห์ก่อนและหลังบริษัทเผยแพร่ผลการดำเนินงานต่อสาธารณชน นอกจากนี้ ในคู่มือพนักงาน ในหัวข้อจรรยาบรรณของพนักงาน ในหมวดจรรยาบรรณต่อลูกค้า ข้อ 1.4 กำหนด ให้พนักงานพึงรักษาความลับข้อมูลของลูกค้า และไม่นำไปแสวงหาผลประโยชน์ ในหมวดจรรยาบรรณต่อตนเอง ข้อ 3.5 ได้กำหนดให้ พนักงานไม่พึงอาศัยอำนาจและตำแหน่งหน้าที่ไปแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

99


7. การควบคุมภายใน

บริษทั ได้จดั ให้มแี ละดำรงไว้ซง่ึ ระบบการควบคุมภายในทีม่ ปี ระสิทธิผล เพือ่ ให้มน่ั ใจได้อย่างมีเหตุผลว่าการบันทึก ข้อมูลทางบัญชีมคี วามถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอทีจ่ ะดูแลรักษาสินทรัพย์ และป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือการดำเนิน การที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ โดยคณะกรรมการได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและสำนักตรวจสอบภายใน เพือ่ สอบทานความเพียงพอ และความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายใน ของบริษทั และบริษทั ย่อย ศึกษาปัญหาของ องค์กร เสนอแนวทางการแก้ไข การป้องกัน ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงขององค์กรอีกด้วย และเพื่อให้การปฏิบัติ หน้าที่ของสำนักตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ และได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุกระดับชั้น คณะกรรมการ จึงได้จัดให้มีการเผยแพร่กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ และกฎบัตรสำนักตรวจสอบภายใน ให้พนักงานทุกระดับชั้น ได้รับทราบโดยทั่วกัน คณะกรรมการตรวจสอบได้ประชุมร่วมกับผูส้ อบบัญชี และผูต้ รวจสอบภายในเป็นประจำอย่างน้อยไตรมาสละครัง้ ทุกครัง้ ทีป่ ระชุมจะมีการสอบถามเพือ่ ประเมินถึงความเพียงพอ และความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในของบริษทั และบริษัทย่อย คณะกรรมการตรวจสอบได้รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ต่อคณะกรรมการ ในการประชุมคณะกรรมการทุกครั้ง และเมื่อมีประเด็นปัญหาหรือข้อเสนอแนะในอันที่จะพัฒนาให้ระบบการควบคุม ภายในดีขึ้น ก็จะเน้นไว้อยู่ในรายงานนั้นๆ พร้อมทั้งได้มีการรายงานผลของการติดตามการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตาม ข้อเสนอแนะนัน้ แจ้งให้แก่คณะกรรมการด้วย โดยสรุปคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษทั มีความเห็นพ้อง กันว่า บริษทั และบริษทั ย่อยมีระบบการควบคุมภายในทีเ่ หมาะสมและเพียงพอ โดยรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ได้แสดงไว้ใน หน้า 4-5 สำนักงานตรวจสอบภายในได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ให้ประเมินผลระบบควบคุมภายใน อย่างน้อย ปีละ 1 ครัง้ และให้รายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการผ่านคณะกรรมการตรวจสอบ ทัง้ นี้ ผลการประเมินการควบคุม ประจำปี 2554 ลงวันที่ 6 มกราคม 2555 ซึ่งนำเสนอผ่านคณะกรรมการตรวจสอบเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 สรุปผลโดยรวมพบว่า บริษัทและบริษัทย่อย มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลในระดับที่ยอมรับได้โดยทั่วไป แต่ยังคงมีบางเรื่องที่อาจจะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผลการประเมินระบบควบคุมภายในนี้ ได้รายงานให้คณะกรรมการบริหารทราบ เพื่อการปรับปรุงแก้ไขแล้ว และได้จัดส่งให้แก่ผู้สอบบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

8. การจ่ายค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี

100

ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (Audit Fee) ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 มีมติอนุมัติค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีเป็นจำนวนเงินรวม 6,270,000 บาท โดยค่าสอบบัญชีที่จ่ายจริงสำหรับปี 2554 มียอดรวม 6,284,000 บาท สูงกว่าที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2554 ที่อนุมัติไว้อยู่ 14,000 บาท เนื่องจาก ผู้สอบบัญชีได้เรียกเก็บค่าตรวจสอบและสอบทานบัญชีตาม ปริมาณงานที่เปลี่ยนแปลงตามการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท ดังนี้ 1. มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ไอเอ็มจี บีอีซี-เทโร สปอร์ตส แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด [ไอเอ็มจี บีอีซี-เทโร] เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2554 ภายหลังจากการเสนออัตราค่าสอบบัญชีปี 2554 ต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2554 แล้ว โดยในปี 2554 นี้ ผูส้ อบบัญชีได้มกี ารเรียกเก็บค่าสอบทานบัญชีไตรมาส 3 /2554 และค่าตรวจสอบบัญชี ปี 2554 เป็นจำนวนเงินรวม 30,000 บาท 2. มีการจดทะเบียนยกเลิก บริษัท ไอทยออดิโอเท็กซ์ จำกัด เมื่อธันวาคม 2554 ทำให้ค่าตรวจสอบบัญชีลดลงจำนวน 16,000 บาท

ค่าบริการอื่น (Non-Audit Fee) -ไม่มี-

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


รายการระหว่างกันกับบุคคลทีอ่ าจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในปี 2554 ในปี 2554 บริษัทในกลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีการทำรายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ดังนี้ บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ ลักษณะความสัมพันธ์ บริษัท สปอร์ต อาร์ต จำกัด กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ มิลเลียนแนร์

มูลค่ารายการ (ล้านบาท)

เป็นบริษัทที่มีญาติสนิทของ กรรมการ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่ในกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์มิลเลียนแนร์ ในขณะที่ บริษัท มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด มีกรรมการและผู้บริหารของบริษัท เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

1.90

ลักษณะรายการ รายได้จากการขายเวลาโฆษณา

125.52

ต้นทุนการให้บริการ - เป็นการเช่า อสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี และ ค่าสาธารณูปโภคสำหรับอาคาร ทีใ่ ช้สนับสนุนดำเนินการออกอากาศ

120.92

ค่าใช้จ่ายในการบริหารเป็นการเช่า อสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี และ ค่าสาธารณูปโภคสำหรับอาคาร ที่ใช้เป็นส่วนสำนักงาน

1. ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการ

รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาเป็นรายการที่มีความจำเป็น และมีความสมเหตุ สมผลของการทำรายการ เพื่อก่อให้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ กล่าวคือ 1) การทำรายการขายเวลาโฆษณา ซึง่ เป็นรายการประเภทธุรกิจปกติ คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า เนือ่ งจาก บริษทั ย่อย ของบริษทั มีความจำเป็นต้องสรรหารายการหลากหลายประเภทมาออกอากาศทางสถานี เพือ่ รักษาฐานผูช้ มของสถานีโทรทัศน์ บริษัท สปอร์ต อาร์ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรายการประเภทการแข่งขันกีฬามวยไทย ในรูปแบบรายการที่มีความทันสมัย ได้รบั ความนิยมจากผูช้ มทัง้ ในและต่างประเทศ จึงได้มกี ารทำรายการโดยมีเงือ่ นไขราคาค่าเวลาโฆษณาทีเ่ ทียบเคียงได้ กับราคา ที่บริษัทย่อยทำกับคู่สัญญาที่เป็นผู้ผลิต/ผู้จัดหารายการประเภทเดียวกัน 2) การทำรายการเช่าใช้พน้ื ทีอ่ าคาร ซึง่ เป็นรายการประเภทเช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะสัน้ นัน้ คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่า บริษทั ย่อย ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์และวิทยุ นอกจากพื้นที่อาคารสำนักงานปกติแล้ว กลุ่มบีอีซี เวิลด์ จำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่ได้รับ การออกแบบพิเศษให้เหมาะสมกับการสร้างห้องสตูดิโอ รวมถึงห้องเทคนิคการผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งทางผู้ให้เช่าก็ได้ให้ ความร่วมมือเป็นพิเศษในการออกแบบอาคาร 12 ชัน้ ให้เหมาะสมกับการใช้งานของสถานีดงั ทีก่ ล่าว อกี ทัง้ ขนาดพืน้ ทีต่ อ้ งมากพอ ที่จะรองรับการขยายงานด้วย ซึ่งพื้นที่อาคารมาลีนนท์นี้ยังเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง อยู่ในย่านที่มีระบบการคมนาคมขนส่งที่ อำนวยสะดวกแก่การดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทด้วย โดยเงื่อนไขราคาค่าเช่าที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ได้รับนั้น ต่ำกว่าราคาตลาด ที่ผู้ให้เช่าให้กับผู้เช่ารายอื่น เนื่องจาก เป็นการเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่

2. นโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการระหว่างกัน

บริษัทมีนโยบายพยายามหลีกเลี่ยงการทำรายการกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่รายการระหว่างกันนั้นจะเอื้อประโยชน์ ต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบีอีซี เวิลด ทั้งนี้ กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ยังมีแนวโน้มที่จะทำรายการระหว่างกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 1. ข้างต้น ต่อไป เนื่องจาก 1) บริษัทย่อย ยังมีความจำเป็นต้องสรรหารายการหลากหลายประเภทมาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เพื่อรักษาฐานผู้ชม รายการการแข่งขันกีฬามวยไทย ทีบ่ ริษทั สปอร์ต อาร์ต จำกัด เป็นผูผ้ ลิตนัน้ ยังคงได้รบั ความนิยมสูงสุดจากผูช้ มอยูใ่ นปัจจุบนั 2) การทำรายการเช่าพืน้ ทีอ่ าคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์นน้ั เนือ่ งจาก กลุม่ บีอซี ี เวิลด์ ได้ใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการสร้างห้องสตูดโิ อ และงานระบบ กลุ่มบีอีซี เวิลด์ จึงยังคงมีนโยบายในการต่ออายุการเช่าพื้นที่อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ เพื่อใช้ประโยชน์ใน พื้นที่ให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปให้ได้สูงสุด ทั้งนี้ รายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนั้น คณะกรรมการบริษัทฯ จะปฏิบัติให้เป็นไปตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ รวมถึง ประกาศคณะกรรมการตลาดทุน เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งหากมีรายการระหว่างกันของ บริษัทฯหรือบริษัทย่อย เกิดขึ้นกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีส่วนได้เสีย บริษัทฯจะให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้ ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็น และความสมเหตุสมผลในการทำรายการ ส่วนการกำหนดราคาค่าตอบแทนและเงื่อนไขต่างๆนั้น ในกรณีที่ คณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้นนั้น คณะกรรมการตรวจสอบอาจขอความเห็น จากผู้เชี่ยวชาญอิสระได้ โดยบริษัทเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

101


ข้อมูลอื่น ณ ธันวาคม 2554 มีนิติบุคคลที่บริษัทถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

บริษัทย่อย

1. ชื่อ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ประเภทธุรกิจ ดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์และวิทยุ ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 3,000,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3333, 0-2204 - 3333 0-2204 - 1384

2. ชื่อ บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการและขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 500,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3333, 0-2204 - 3333 0-2204 - 1384

3. ชื่อ บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการและขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 500,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3333, 0-2204 - 3333 0-2204 - 1384

4. ชื่อ บริษัท บี อี ซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด ประเภทธุรกิจ ให้บริการอุปกรณ์สตูดิโอ ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 100,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3333, 0-2204 - 3333 0-2204 - 1384

5. ชื่อ บริษัท ยู แอนด์ ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด ประเภทธุรกิจ ผลิตรายการและดำเนินการสถานีวิทยุ ทุนจดทะเบียน 35 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 350,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่

102

โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3274 0-2262 - 3665

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


6.

ชื่อ บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด ประเภทธุรกิจ ดำเนินการถือครองและให้เช่าทรัพย์สิน ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 3,000,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 3 ถนนพระรามสี่

โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3759 0-2262 - 3780

7. ชื่อ บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด (ยังไม่เริ่มดำเนินการ) ประเภทธุรกิจ ผลิตรายการและให้บริการอุปกรณ์ห้องสตูดิโอ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 500,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3333, 0-2204 - 3333 0-2204 - 1384

8. ชื่อ บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหาและผลิตรายการโทรทัศน์, ถือหุ้นในบริษัทอื่น ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 500,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3333, 0-2204 - 3333 0-2204 - 1384

9. ชื่อ บริษัท สำนักข่าวบีอีซี จำกัด (ยังไม่เริ่มดำเนินการ) ประเภทธุรกิจ ผลิตรายการข่าว ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 500,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3333, 0-2204 - 3333 0-2204 - 1384

10. ชื่อ บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการและขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 500,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3333, 0-2204 - 3333 0-2204 - 1384

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

103


11. ชือ่ บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ยังไม่เริ่มดำเนินการ) ประเภทธุรกิจ ให้บริการ รับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 2,500,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3333, 0-2204 - 3333 0-2204 - 1384

12. ชือ่ บริษทั บีอซี ี ไอที โซลูชน่ั จำกัด ประเภทธุรกิจ ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และขายปลีกและให้บริการดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 1,500,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 3 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3759 0-2262 - 3780

13. ชือ่ บริษทั แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติง้ จำกัด (ยังไม่เริ่มดำเนินการ) ประเภทธุรกิจ ให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 100,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3333, 0-2204 - 3333 0-2204 - 1384

14. ชือ่ บริษทั บีอซี -ี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการและขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์, จัดแสดงโชว์/คอนเสิร์ต

และจัดกิจกรรมรณรงค์ ทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 200 ล้านหุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 25-28 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2262 - 3800 โทรสาร 0-2262 - 3801-2

15. ชื่อ บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประเภทธุรกิจ ลงทุนในธุรกิจอินเตอร์เน็ต ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 20,000,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

104

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2204 - 9999 0-2204 - 9970

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


16. ชื่อ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ประเภทธุรกิจ ลงทุนในธุรกิจมัลติมีเดีย ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท (หุ้นที่ออก หุ้นสามัญ 20,000,000 หุ้น เรียกชำระแล้วร้อยละ 25) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด

17.

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2204 - 9999 0-2204 - 9970

ชื่อ บริษัท ทีวีบี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการ และขายเวลาโฆษณา ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 1,000,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถนนพระรามสี่

โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3050 0-2262 - 3066

บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

18. ชื่อ บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำกัด ประเภทธุรกิจ ให้บริการทำโฆษณา บริการรับจองและขายบัตรเข้าชมการแสดง ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 1,000,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 27 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3800 0-2262 - 3801-2

19. ชื่อ บริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการและขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 1,000,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 74/2 ซอยเอกมัย 22 ถนนสุขุมวิท 63 (เอกมัย) โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3800 0-2262 - 3801-2

20. ชื่อ บริษัท บีอีซี-เทโร คอมคอม จำกัด ประเภทธุรกิจ ตัวแทนขายสื่อโฆษณาบนหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่

ผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไทย ทุนจดทะเบียน 28 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 5,600,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 21 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2262 - 3800 โทรสาร 0-2262 - 3801-2

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

105


21. ชื่อ

บริษัท บีอีซี-เทโร ซีเนริโอ จำกัด

(จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2553) ประเภทธุรกิจ จัดแสดงละครบนเวที ทุนจดทะเบียน 40,000,000 บาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว 4,000,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 28 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2262 - 3800 โทรสาร 0-2262 - 3801-2

22. ชื่อ

บริษัท บีอีซี-เทโร ศาสน จำกัด

(จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2553)

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3800 0-2262 - 3801-2

ประเภทธุรกิจ บริหารและจัดการสโมสรฟุตบอล ทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว 1,000,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

23. ชื่อ

บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด

(เดิมชื่อ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเมื่อ กุมภาพันธ์ 2554) ประเภทธุรกิจ ผลิตรายการและขายเวลาโฆษณาทางวิทยุ ทุนจดทะเบียน 49,960,800 บาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว 4,996,080 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 23- 24 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2262 - 3500 โทรสาร 0-2262 - 1410

24. ชื่อ บริษัท ไอเอ็มจี บีอีซี-เทโร สปอร์ตส แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ประเภทธุรกิจ เพื่อดำเนินธุรกิจ จัดงานและบริหารกิจกรรม ด้านกีฬา แฟชั่น และความบันเทิงต่างๆ ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว 1,000,000 หุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 28 ถนนพระรามสี่ โทรศัพท์ โทรสาร

บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

25. ชื่อ

106

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0-2262 - 3800 0-2262 - 3801-2

บริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส จำกัด (จดทะเบียนเลิกบริษัท แล้วเสร็จปลายปี 2554)

ประเภทธุรกิจ ให้บริการข้อมูลด้วยเสียงทางโทรศัพท์ ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท (หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 3 ล้านหุ้น) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนพระราม 4

โทรศัพท์ โทรสาร

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ (สำนักงานผู้ชำระบัญชี) 0-2204 - 9999 0-2204 - 9970

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


ประวัติกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร 1. นายวิชัย มาลีนนท์ ตำแหน่ง: ประธานกรรมการ, ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อายุ: 92 ปี ประสบการณ์การทำงาน:

ปี 2538 - ปัจจุบัน

ประธานกรรมการ, ประธานกรรมการบริหาร และ ประธานจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บีอีซี เวิลด์ กรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 3 บริษัทย่อย ของกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา/อบรม: มัธยมศึกษาปีที่ 6 ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์ 2. นายประสาร มาลีนนท์ ตำแหน่ง: รองประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ อายุ: 68 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน ปัจจุบัน มกราคม 2541 - ปัจจุบัน ประวัติการศึกษา/อบรม:

รองประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บมจ.บีอีซี เวิลด์ กรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 19 บริษัทย่อย ประธานกรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. บีอีซีึเทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ Elmhurst College, Illinois, USA วุฒิบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ. รุ่นที่7) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) ปี 2547 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 6.08% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

107


3. นายประวิทย์ มาลีนนท์ ตำแหน่ง: กรรมการ, กรรมการบริหาร - สายธุรกิจโทรทัศน์ และกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ อายุ: 65 ปี ประสบการณ์การทำงาน:

ปี 2538 - ปัจจุบัน ปัจจุบัน

กรรมการ, กรรมการบริหารและกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. บีอีซี เวิลด์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 7 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา/อบรม: Bachelor of Science, University of Illinois, Chicago, Illinois, USA วุฒิบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ. รุ่นที่3) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) ปี 2547 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 6.38% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์ 4. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ ตำแหน่ง: กรรมการ, กรรมการบริหาร - สายบัญชีและการเงิน และประธานคณะกรรมการสรรหา อายุ: 62 ปี ประสบการณ์การทำงาน:

ปี 2538 - ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน

กรรมการ และกรรมการบริหาร บมจ. บีอีซี เวิลด์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 12 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา/อบรม: ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) ปี 2547 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554:6.18% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์

108

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


5. นางสาวนิภา มาลีนนท์ ตำแหน่ง: กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร อายุ: 60 ปี ประสบการณ์การทำงาน:

ปี 2538 - ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน

กรรมการ บมจ. บีอีซี เวิลด์ กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 3 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา/อบรม: ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) ปี 2547 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 6.38% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์ 6. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ ตำแหน่ง: กรรมการ, กรรมการบริหาร - สายธุรกิจผลิตรายการ อายุ: 57 ปี ประสบการณ์การทำงาน:

ปี 2538 - ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน

กรรมการ, กรรมการบริหาร บมจ. บีอีซี เวิลด์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 12 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา/อบรม: ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) ปี 2547 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 6.26% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

109


7. นายประชุม มาลีนนท์ ตำแหน่ง:

อายุ:

ประสบการณ์การทำงาน:

กรรมการ, กรรมการบริหาร - สายธุรกิจสื่อใหม่ และกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ กรรมการสรรหา 56 ปี

ปี 2538 - ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน พ.ค. 2545 - ปัจจุบัน ประวัติการศึกษา/อบรม:

กรรมการ,กรรมการบริหาร และกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. บีอีซี เวิลด์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 13 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ.บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) ปี 2547 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 6.38% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์ 8. นางรัชนี นิพัทธกุศล ตำแหน่ง: อายุ: ประสบการณ์การทำงาน:

กรรมการ, กรรมการบริหาร - สายการตลาดและการขาย และกรรมการสรรหา 54 ปี

ปี 2538 - ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน

กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. บีอีซี เวิลด์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 5 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา/อบรม: ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) ปี 2547 และ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Finance for Non - Finance Directors Program ปี 2547 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 5.52% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์

110

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


9. นายอรุณ งามดี ตำแหน่ง: อายุ: ประสบการณ์การทำงาน:

กรรมการอิสระ และประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 77 ปี

ปี 2542 - ปัจจุบัน ปี 2538 - ปัจจุบัน ปี 2536 - 2538 ปี 2532 - 2536

กรรมการตรวจสอบ บมจ. บีอีซี เวิลด์ กรรมการอิสระ บมจ. บีอีซี เวิลด์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ประวัติการศึกษา/อบรม: ปริญญาโท ด้านการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย บอสตัน อักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตรนักบริหารระดับสูง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และ สถาบันพัฒนาข้าราชการสำนักงาน ก.พ. ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) ปี 2546 และ ประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Program (ACP) ปี 2548 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี 10. นายประธาน รังสิมาภรณ์ ตำแหน่ง: กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ อายุ: 78 ปี ประสบการณ์การทำงาน:

ปี 2542 - ปัจจุบัน ปี 2538 - ปัจจุบัน ปี 2535 - 2551 ปี 2537 - 2544 ปี 2536 ปี 2529 - 2531

กรรมการตรวจสอบ บมจ. บีอีซี เวิลด์ กรรมการอิสระ บมจ. บีอีซี เวิลด์ อาจารย์พิเศษ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านการประชาสัมพันธ์ ผู้อำนวยการ กองงานคณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) กรรมการและเลขานุการ กบว. ประวัติการศึกษา/อบรม: MA Journalism, University of Panjab, Pakistan, Under SEATO Scholarship, วารสารศาสตร์บัณฑิต และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) ปี 2546 และ ประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Program (ACP) ปี 2548 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

111


11. นายมานิต บุญประกอบ ตำแหน่ง: กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ อายุ: 61 ปี ประสบการณ์การทำงาน:

ธันวาคม 2542 - ปัจจุบัน กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บมจ. บีอีซี เวิลด์ 2541 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ สำนักงานที่ปรึกษา บีเอ็มเอส 2541 - ปัจจุบัน กรรมการบริหารบริษัท แธ็บ ซัพพอร์ท จำกัด และบริษัทจิรจิตร จำกัด มิถุนายน 2554 - ปัจจุบัน กรรมการจรรยาบรรณ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2536 - 2541 กรรมการและกรรมการบริหาร, รองผู้จัดการใหญ่-การเงิน และ ซีเอฟโอ กลุ่มบริษัท เอบีบี ประเทศไทย ประวัติการศึกษา/อบรม: ปริญญาโทบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาตรี บัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ประเทศไทย) วุฒิบัตร หลักสูตรพัฒนากรรมการ Directors Certification Program (DCP#02/2000) และประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Program (ACP) ปี 2548 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี 12. นายแมทธิว กิจโอธาน ตำแหน่ง: กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร อายุ: 45 ปี ประสบการณ์การทำงาน:

กันยายน 2552 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่, International Business บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เมษายน 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 2550 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท โอเชี่ยนกลาส จำกัด (มหาชน) 2549 - สิงหาคม 2552 กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บมจ.ไมเนอร์คอร์ปอเรชั่น ปี 2547 - 2548 Vice President, Business Management, Asia Pacific, Gillette Asia Pacific Group ปี 2538 - 2547 Brand Marketing Director, Asia Pacific Region, Pepsi-Cola International Inc. ประวัติการศึกษา/อบรม: Master of Science, Management, Imperial College, University of London, England Bachelor of Commerce, University of Toronto, Canada การอบรมหลักสูตรกรรมการ: วุฒิบัตร หลักสูตรพัฒนากรรมการ Directors Certification Program (DCP#95/2007) และประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP#57/2006) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี 112

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


13. นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู ตำแหน่ง: กรรมการอิสระ อายุ: 61 ปี ประสบการณ์การทำงาน:

ปัจจุบัน ปัจจุบัน กรรมการ กรรมการ กรรมการ

กรรมการ, กรรมการรองผู้จัดการใหญ่, ผู้อำนวยการลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บมจ. เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ บจ.ไทย อินดัสเตรียล เอสเตท บจ.ไฮเทค นิทซู (ประเทศไทย) บมจ.บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ประวัติการศึกษา/อบรม: Advanced Management Program [AMP], Harvard Business School, ปี 2543 ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBM), Asian Institute of Management, Philippines ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วุฒิบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ปี 2539 การอบรมหลักสูตรกรรมการ: ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) ปี 2547 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี 14. นายสมชัย บุญนำศิริ ตำแหน่ง: อายุ: ประสบการณ์การทำงาน:

พ.ย. 2550 - ปัจจุบัน มิ.ย. 2538 - ปัจจุบัน ม.ค. 2546 - ม.ค. 2551 ธ.ค. 2549 - ก.ย. 2550 ธ.ค. 2548 - ก.ค. 2550 ต.ค. 2546 - พ.ย. 2549 ม.ค. 2546 - ต.ค. 2549 พ.ย. 2547 - ก.ย. 2549 พ.ย. 2548 - ก.ย. 2549 ประวัติการศึกษา/อบรม:

กรรมการอิสระ 57 ปี กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัทวอลล์สตรีท ทัลเลทท์ พรีบอนน์ จำกัด กรรมการ กรรมการตรวจสอบและกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษาและประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัทไทยแลนด์พริวิเลจ คาร์ด จำกัด ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์วอลล์สตรีททัลเลทพรีบอนน์ จำกัด กรรมการ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการบริหารการเงิน การประปานครหลวง อนุกรรมการเฉพาะกิจด้านกำกับดูแลกิจการประปา สำนักงานคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ ที่ปรึกษาอนุกรรมการการลงทุน และบริหารความเสี่ยง โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต The Victoria University of Manchester ประเทศอังกฤษ เศรษฐศาสตรบัณฑิต The University of Salford ประเทศอังกฤษ

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

113


ประกาศนียบัตร Ordinary National Diploma in Business Studies City of Bath Technical College ประเทศอังกฤษ วุฒิบัตร หลักสูตรพัฒนากรรมการ Directors Certification Program (DCP#59/2005) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 8 สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 9 ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี 15. นายปณิธาน ทศไนยธาดา

(ไม่ใช่ผู้บริหารตามนิยาม ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.24/2552) ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายโฆษณา อายุ: 68 ปี

ประสบการณ์การทำงาน:

ปี 2538 - ปัจจุบัน ปี 2523 - 2538 ประวัติการศึกษา/อบรม:

ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายโฆษณา บมจ. บีอีซี เวิลด์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ, Winning College, Hong Kong ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี 16. นายสมรักษ์ ณรงค์วิชัย

(ไม่ใช่ผู้บริหารตามนิยาม ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.24/2552) ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายผลิตรายการ อายุ: 61 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายผลิตรายการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ปี 2534 - 2538 หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ประวัติการศึกษา/อบรม: อักษรศาสตร์บัณฑิต (ศิลปะการละคร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี 114

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


17. นายบริสุทธิ์ บูรณะสัมฤทธิ

(ไม่ใช่ผู้บริหารตามนิยาม ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.24/2552) ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายงานสนับสนุน อายุ: 65 ปี

ประสบการณ์การทำงาน:

ปี 2538 - ปัจจุบัน ปี 2533 - 2538

ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายงานสนับสนุน บมจ. บีอีซี เวิลด์ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ประวัติการศึกษา/อบรม: วารสารศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 4 (บยส.4) วิทยาลัยการยุติธรรม ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี 18. นายฉัตรชัย เทียมทอง ตำแหน่ง: ผูอ้ ำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน เลขานุการคณะกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ อายุ: 60 ปี ประสบการณ์การทำงาน:

ปี 2539 - ปัจจุบัน ปี 2542 - ปัจจุบัน ปี 2542 - 10 เม.ย. 2544 ปี 2534 - 2538 ประวัติการศึกษา/อบรม:

ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน และเลขานุการคณะกรรมการ บมจ. บีอีซี เวิลด์ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ บมจ. ซิงเกอร์ (ประเทศไทย) กรรมการ บมจ. ซิงเกอร์ (ประเทศไทย) บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วุฒิบัตร หลักสูตรพัฒนากรรมการ Directors Certification Program (DCP# 63/2005) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.015% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

115


19. ดร.อภิญญา กังสนารักษ์

(ไม่ใช่ผู้บริหารตามนิยาม ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.24/2552) ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล อายุ: 50 ปี ประสบการณ์การทำงาน : ปี 2545 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บมจ. บีอีซี เวิลด์ ผู้จัดการฝ่ายบุคคล บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ปี 2538 - 2545 ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล, ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บมจ. ธนาคารศรีนคร ประวัติการศึกษา/อบรม: ปริญญาเอก ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี 20. นายพิษณุ เรืองรจิตปกรณ์

(ไม่ใช่ผู้บริหารตามนิยาม ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.24/2552) ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายเทคโนโลยี อายุ: 58 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2546 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายเทคโนโลยี บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปี 2546 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด ปี 2543 - 2546 ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น ประวัติการศึกษา/อบรม: ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี

116

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


21. นายณัฐธพงษ์ พิสิฐพัฒิกุล (ชื่อเดิม: นายณพพงศ์ บุตรขวัญ)

(ไม่ใช่ผู้บริหารตามนิยาม ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.24/2552) ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการ สำนักตรวจสอบภายใน อายุ: 46 ปี ประสบการณ์การทำงาน: 5 ม.ค. 2547 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ สำนักตรวจสอบภายใน บมจ. บีอีซี เวิลด์ ส.ค. 2545 - ธ.ค. 2546 ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายใน บริษัท อินเตอร์คอมฟอร์ท จำกัด ประวัติการศึกษา/อบรม: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มินิเอ็มบีเอ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง CERTIFIED INTERNAL AUDITOR (CIA) NO.30806 CERTIFIED PROFESSIONAL INTERNAL AUDITOR (CPIA) NO.3012 ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี 22. นายนพดล เขมะโยธิน

(ไม่ใช่ผู้บริหารตามนิยาม ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.24/2552) ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการลงทุน อายุ: 45 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ก.พ. 2547 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการลงทุน บมจ. บีอีซี เวิลด์ 2544 - 2546 ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการลงทุน บล.แอสเซท พลัส จำกัด (มหาชน) ประวัติการศึกษา/อบรม: ปริญญาตรี คณะพาณิชย์ศาสตร์ และการบัญชี (สาขาการเงินและการธนาคาร) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท บริหารธุรกิจ MBA สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยอริโซนา, สหรัฐอเมริกา ประกาศนียบัตร FUTURE MARKET SAKURA DELLSHER EDUCATION PROGRAM, CHICAGO, U.S.A. (RECEIVED FULL ACADEMIC SCHOLARSHIP) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี

ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายในและการทำผิด ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554: 0.00% ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยทางกฎหมาย: ไม่มี

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

117


118

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

X,// // // // // // // // / / / / / /

1 // // // // // // //

2 // // // //

3 // // // //

4 // // // //

5 // // // // //

6 // // //

7 // // // // //

8 // // // // //

9 // // // // //

10 // // // // //

11 // // // // //

12 // // // //

13 // // // // //

14 X,// //

บริษัท

15 // // // // // //

16 // // // // // //

17 // //

18 // /

19 //

20

21

22 //

23 //

24 //

25 // // // // // // // //

26 27

บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี-เทโร 12. บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยตรง 13. บริษัท แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติ้ง จำกัด 18. บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำกัด 1. บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด 14. บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 19. บริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด 2. บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด 15. บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 20. บริษัท บีอีซี-เทโร คอมคอม จำกัด 3. บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด 16. บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด 21. บริษัท บีอีซี-เทโร ซีเนริโอ จำกัด 4. บริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล 22. บริษัท บีอีซี-เทโร ศาสน จำกัด 5. บริษัท ยูแอนด์ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด ดิสทริบิวชั่น จำกัด 23. บริษัท บีอีซี - เทโร เรดิโอ จำกัด 6. บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด 17. บริษัท ทีวีบี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด [เดิมชื่อ บริษัทเวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด]1 7. บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด หมายเหตุ : 8. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด X = ประธานกรรมการ // = กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม / = กรรมการ 24. บริษทั ไอเอ็มจี บีอซี -ี เทโร สปอร์ตส แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด2 9. บริษัท สำนักข่าว บีอีซี จำกัด 1 = เปลีย่ นสถานะจากบริษทั ร่วมเป็นบริษทั ย่อย เมือ่ 29 ธันวาคม 2553 บริษัทที่เกี่ยวข้อง 10. บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด 25. บริษัท มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด และจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 11. บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ 2 26. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มิลเลียนแนร์ = จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด 27. บริษัท สปอร์ต อาร์ต จำกัด

รายชื่อบริษัทตามลำดับในตาราง

1. นายวิชัย มาลีนนท์ 2. นายประสาร มาลีนนท์ 3. นายประวิทย์ มาลีนนท์ 4. นายประชุม มาลีนนท์ 5. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ 6. นางสาวนิภา มาลีนนท์ 7. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ 8. นางรัชนี นิพัทธกุศล 9. นายอรุณ งามดี 10. นายประธาน รังสิมาภรณ์ 11. นายมานิต บุญประกอบ 12. นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู 13. นายสมชัย บุญนำศิริ 14. นายแมทธิว กิจโอธาน 15. นายฉัตรชัย เทียมทอง

รายชื่อผู้บริหาร บมจ. บีอีซี เวิ และผู ้มีอำนาจควบคุ ม ลด์

ตารางแสดงข้อมูลการดำรงตำแหน่งของผูบ้ ริหารและผูม้ อี ำนาจควบคุมของบริษทั ในบริษทั ย่อย บริษทั ร่วม และบริษทั ทีเ่ กีย่ วข้อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554


รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

119

บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด

บมจ. บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด

1. นายชาตรี โสภณพนิช X 2. นายวิชัย มาลีนนท์ // // 3. นายประสาร มาลีนนท์ // X,// // 4. นายประวิทย์ มาลีนนท์ // // 5. นายประชุม มาลีนนท์ // // // 6. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ // // // 7. นางสาวนิภา มาลีนนท์ // 8. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ // // // 9. นางรัชนี นิพัทธกุศล // 10. นายบุญญฤทธิ์ สุวรรณพฤกษา / 11. นางสาวแคทลีน มาลีนนท์ // 12. นายไบรอัน ลินด์เซ มาร์การ์ // 13. นายชาญศักด เฟื่องฟู / 14. นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ / 15. ดร.วรศักดิ์ วรภมร / 16. นายมนูธรรม ถาใจ / หมายเหตุ บริษัทย่อย หมายถึง บริษัทย่อยที่มีนัยสำคัญ เช่น มีรายได้เกินกว่าร้อยละ 10 ของรายได้รวมตามงบกำไรขาดทุนรวมของปี 2554 X = ประธานกรรมการ // = กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม / = กรรมการ

รายชื่อผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุม

รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัทย่อยที่มีนัยสำคัญ


บุคคลอ้างอิงอื่นๆ นายทะเบียนหลักทรัพย์:

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถานที่ตั้ง: เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 Call center: 0-2229-2888 เบอร์โทรศัพท์: 0-2596-9000 เบอร์โทรสาร: 0-2832-4994-5 Website: www.tsd.co.th E-mail: contact.tsd@set.or.th ดร.วิรัช อภิเมธีธำรง ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 1378 นายชัยกรณ์ อุ่นปิติพงษา ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3196 นายอภิรักษ์ อติอนุวรรตน์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 5202 บริษัท สำนักงาน ดร.วิรัช แอนด์ แอสโซซิเอทส์ สถานที่ตั้ง: เลขที่ 518/3 อาคารภาณุนี ชั้น 7 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เบอร์โทรศัพท์: 0-2252-2860, 0-2255-2518 เบอร์โทรสาร: 0-2254-1210

ผู้สอบบัญชี:

ที่ปรึกษากฎหมาย: บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายไพบูลย์ จำกัด สถานที่ตั้ง: เลขที่ 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 22 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 เบอร์โทรศัพท์: 0-2665-6150 เบอร์โทรสาร: 0-2665-6153 Website: www.paiboon.biz E-mail: pa@paiboon.biz

ที่ปรึกษาทางการเงิน: บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) สถานที่ตั้ง: เลขที่ 175 ชั้น 3/1 อาคารสาธรซิตี้ ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 เบอร์โทรศัพท์: 0- 2285-1888, 0-2680-1111 เบอร์โทรสาร: 0- 2670-9271 Website: www.asiaplus.co.th 120

รายงานประจำปี 2554 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.