การศึกษาในพิพิธภัณฑ์ไร้กำแพง : บทความจากการประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์

Page 148

ในทัศนะของฮาร์นี เห็นว่าผูค้ นได้รบั การสัง่ สอนแต่เยาว์วยั ให้ดำ� รงตนเป็นปัจเจกชนนิยม ที่นึกถึงตนเองเป็นเบื้องต้น และมุ่งปรารถนาการครอบครอง เมื่อเป็นดังนั้น หาก ผู้คนพัฒนาความเป็นปัจเจกบุคคลมากขึ้น จนเพิกเฉยต่อบุคคลอื่นในสังคม ทั้ง ๆ ที่ผู้คน ต่างต้องพึ่งพากันและกัน อาจจะน�ำไปสู่ปมปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ดังนั้นนักการศึกษาจะ มีส่วนในการพัฒนาตัวตนของบุคคลให้สมดุลกับการตระหนักถึงความส�ำคัญของผู้อื่นและ การพึ่งพิงได้อย่างไร ฮาร์นีให้ความส�ำคัญกับสิ่งที่ “กายาตรี จักรวรตี สปิวัค” (Gayatri Chakravorty Spivak) ในฐานะนักทฤษฎีหลังอาณานิคมและนักปรัชญา เสนอถึงการสอนมนุษยศาสตร์ “ต้องพยายาม ‘จัดการกับความปรารถนาแบบไร้ซ่ึงการบังคับ’” นั่นหมายถึงการลดทอน และบ่อนเสาะความเป็นปัจเจกชนนิยมทีม่ งุ่ หมายการครอบครอง โดยอาศัย “การอ่านอย่าง ใส่ใจ” หรือเรียกได้ว่าเป็นการอ่านที่น�ำพาบุคคลหลุดออกจากความเป็นตัวเองอันคับแคบ ไปสู่การค�ำนึงถึงผู้อื่น เพื่อให้เข้าใจถึงมุมมองของผู้คนที่มีความแตกต่างและหลากหลาย การเปิดใจจะน�ำไปสู่ความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นจะเกิดขึ้นอย่างไร ในบริบทของการศึกษาในพิพธิ ภัณฑ์ นับเป็นค�ำถามทีไ่ ม่มคี ำ� ตอบเบ็ดเสร็จ แต่การก้าวออกจาก ที่มั่นของปัจเจกบุคคลด้วยกลวิธีในการสื่อสารต่าง ๆ ของพิพิธภัณฑ์คือโอกาสส�ำคัญ ทีน่ กั การศึกษาควรใคร่ครวญ และสร้างสรรค์การท�ำงานอย่างมีชนั้ เชิง เพือ่ ให้ผคู้ นรูจ้ กั เรียนรู้ ทัง้ ตนเองและผูอ้ นื่ จนกลายเป็นดุลยภาพของความเป็นปัจเจกบุคคลกับภาวะในการพึง่ พิง ทางสังคม 146 การศึกษาในพิพิธภัณฑ์ไร้ก�ำแพง :


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.