“ทฤษฎีครองอำนาจ” (hegemony theory)

Page 1

TANAWUT RITCHUAY

“ทฤษฎีครองอำนาจ” (Hegemony Theory) แนวคิดเรื่อง “การครอบงำ” (Hegemony) ถูกนำเสนอขึ้นโดยนักคิดแนวมาร์กซิสต์ ชาวอิตาเลียน ชื่อ Antonio Gramsci (1891-1937) โดยปรากฏอยู่ในบันทึกของที่เขาเขียนขึ้นระหว่างที่คุมขังชื่อ Prison Notebooks (1929 – 1935) ซึ่งต่อมามีการตีความหมายความคิดโดยนักวิชาการรุ่นหลังอย่างกว้างขวาง ความหมายของ การครองอำนาจ (Hegemony) ชัยอนันต์ สมุทวณชิ (2530)ได้สรุปความหมายของการมีอานาจครอบครองความเป็นใหญ่ (Hegemony) ในทัศนะของ กรัมชีไว้ดังน้ี 1.

หมายถึง กระบวนการในสังคมซ่ึงส่วนหน่ึงของชนชั้นนำกระทำการควบคุม ผ่านความเป็นผู้นำทางศีลธรรม และปัญญาต่อส่วนอื่นๆ ของชนชั้นนำซ่ึงเป็นพันธมิตรกันส่วนที่นำน้ีมีอำนาจและความสามารถในการเป็น ตัวแทน ผลประโยชน์ของส่วนอ่ืนๆ ส่วนที่นำไม่ได้บังคับให้ส่วนอ่ืนๆ ยึดถืออุดมการณ์ของตน แต่ใช้การกล่อม เกลาทางการศึกษาและในทางการเมือง โดยเสนอหลักการท่ีเป็นอุดมการณ์ร่วมในลักษณะที่ดึงเอาโลกทัศน์ และ ผลประโยชน์ของกลุ่มพันธมิตรเข้ามาไว้ในอุดมการณ์ร่วมน้ีด้วย

2.

การมีอำนาจครอบงำเป็นความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำและชนชั้นปกครอง เป็นความพยายามของชนชั้นนำ ท่ีประสบความสาเร็จในการใช้ความเป็นผู้นำทางการเมืองศีลธรรมและปัญญาไปกำหนดโลกทัศน์ของชนชั้น นำให้เป็น โลกทัศน์ที่ทุกๆฝ่ายยอมรับนับถือซ่ึงมีผลในการช้ีนำผลประโยชน์และความ ต้องการของกลุ่มที่ถูก อำนาจครอบงำทั้งหลาย

การมีอำนาจครอบงำเป็นเงื่อนไขที่สำคัญสำหรับการขยายความสามารถในการสืบทอด อำนาจในการควบคุม พัฒนาการของสังคมดังน้ันความคิดของคนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางประวัตศิ าสตร์ การพัฒนาแนวคิดการครองความเป็นเจ้านี้ เป็นการพัฒนาความคิดมาจากแนวคิดของมาร์กซ์ เกี่ยวกับการควบคุมการ ผลิตและการถ่ายทอดอุดมการณ์ในมือของผู้เป็นเจ้าของทุนของปัจจัยการผลิต ดังที่ Marx และ Engel (1938:37, quoted in Murdock and Golding, 1983: 15) ได้เขียนไว้ในตอนหนึ่งของหนังสือ The German Ideology ถึง ชนชั้นปกครองในทุกช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ว่า “ชนชั้นที่มีปัจจัยการผลิตวัตถุ (means of material production) จะมีอำนาจควบคุมปัจจัยทางการผลิตทางความ คิด(means of mental production) ด้วยในขณะเดียวกัน หากกล่าวโดยทั่วไปแล้ว ความคิดของผู้ที่ไม่มีปัจจัยการ ผลิตทางความคิด มักจะต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ที่มีทั้งปัจจัยการผลิตทางวัตถุและทางความคิด ดังนั้นผู้ ปกครองในฐานะชนชั้นหนึ่ง คือผู้ที่ตัดสินใจในการกำหนดขอบเขตและทิศทางของยุคสมัยหนึ่งๆ ด้วย จึงจะเห็นได้ชัด ว่า ผู้ปกครองคือผู้ตั้งเกณฑ์การผลิตและถ่ายทอดอุดมการณ์ ในยุคของพวกเขาออกไป ฉะนั้นความคิดของเขาจึงเป็น ความคิดที่ควบคุมยุคสมัยนั้นอยู่นั่นเอง” HEGEMONY


TANAWUT RITCHUAY

ในขณะเดียวกันมาร์กซ์ ได้แบ่ง “ระดับ” (levels) ของโครงสร้างทางสังคมออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน คือโครงสร้างส่วนบน (Superstructure) หรือโครงสร้างในระดับการเมือง-กฎหมายและโครงสร้างส่วนล่าง (Infrastructure) หรือฐานเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามในความคิดของมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมนั้น มีความเห็นว่าปัจจัยทาง เศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดปัจจัยส่วนบน (กาญจนา แก้วเทพ : 2543: 131) แต่สำหรับ Gramsci เขาจัดเป็นนักมาร์กซิสต์ รุ่นใหม่ ที่รื้อฟื้นความสนใจและพัฒนาปัญหาเรื่องโครงสร้างส่วนบน (กาญจนา แก้วเทพ, 2526: 105) และขณะเดียวกัน เขาก็เห็นว่า ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจก็อาจถูก กำหนดโดยรัฐ ซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนบนเช่นกัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างทั้งสอง มิใช่โครงสร้างหนึ่งจะกำหนดความ เป็นไปอีกโครงสร้างหนึ่ง แต่ทั้งสองต่างเป็นปัจจัยกำหนดซึ่งกันและกัน สิ่งหนึ่งที่ Gramsci อธิบายถึงการที่ชนชั้นปกครองจะเอาชนะความคิดความรู้สึกยินยอมพร้อมใจของชนชั้นล่างและ ผลักดันความคิดดั้งเดิมที่ครอบงำพวกเขาอยู่ก็คือ สิ่งที่เขาเรียกว่า “สงครามชิงพื้นที่ทางความคิด” ซึ่งเป็นสงครามใน ลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไปและเป็นส่วนสำคัญในการครอบครองความเป็นเจ้าทางอุดมการณ์ เพราะแท้ที่จริงแล้ว การ ครองความเป็นเจ้าคือ การยึดความยินยอม (consent) ในประชาสังคมเป็นหลัก ในขณะที่สงครามชิงพื้นที่ความคิดเชิง ความคิด ก็คือ “...การต่อสู้ในระดับอุดมการณ์ (Ideological struggle) เพื่อช่วงชิงชัยเหนือประชาสังคม เป็นลักษณะ ของการต่อสู้ทางอุดมการณ์ที่กินเวลานานยืดเยื้อ แต่เป็นความจำเป็นก่อนหน้าที่จะได้รับชัยชนะเหนือสังคมการเมือง (การยึดอำนาจรัฐ) หากชนชั้นหลักประสงค์ครองความเป็นใหญ่ในสังคมให้ดำรงอยู่ได้นานที่สุด เพราะจะประสบกับ การต่อต้านน้อยที่สุด ทั้งจะสามารถปกครองแทนการครอบงำบีบบังคับจึงอาจกล่าวได้ว่า การต่อสู้ทางอุดมการณ์ เป็น เรื่องของการแสวงหาเรียกร้องความยินยอมเป็นหลัก (สุรพงษ์ ชัยนาม,2524 :74 อ้างใน สมสุข หินวิมาน, 2534) ซึ่ง การใช้อำนาจบีบบังคับแต่เพียงอย่างเดียว ไม่อาจทำให้ชนชั้นที่ถูกปกครองยอมรับในอำนาจที่ถูกกดขี่ได้ตลอดไป จำเป็นต้องอาศัยชัยชนะในการต่อสู้ทางอุดมการณ์ ซึ่งทำให้เกิดการครองความเป็นเจ้าที่สมบูรณ์ แนวคิดเรื่อง Hegemony ในการวิเคราะห์เรื่องสื่อมวลชน Gramsci เสนอว่า การที่สังคมทุกวันนี้ยังคงสามารถสืบทอด ตัวเองต่อไปได้ (reproduce) จำเป็นต้องอาศัยกลไกสังคมมาธำรงรักษาเอาไว้ โดยที่กลไกนั้นสามารถแยกออกมาได้ เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือกลไกด้านการปราบปราม (Repressive Apparatus) เช่น กฎหมาย ตำรวจ คุก ศาล และ กลไกด้านอุดมการณ์ (Ideological Apparatus) เช่น โรงเรียน ครอบครัว ศาสนาและสื่อมวลชน จากกลไกทั้ง 2 นี้ Gramsci ให้ความสนใจกับกลไกด้านอุดมการณ์มากว่า เพราะเป็นกลไกที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทำงานอยู่ตลอด เวลาในชีวิตประจำวัน มีลักษณะเป็นไม้นวมมากว่าไม้แข็งและทำให้ผู้คนสามารถยอมรับได้อย่างยินยอมพร้อมใจ (consent) (กาญจนา แก้วเทพ, 2543: 142) กลยุทธของการ Hegemony จะไม่ใช้อำนาจบังคับอย่างรุนแรง หากแต่จะใช้วิธีการนำเสนออย่าง “แบบที่ไม่ต้องมีการ ตั้งคำถามกันเลย” เพราะ “เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า” “เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า” “รู้กันแล้วโดยปริยาย” สำหรับพวกที่ไม่เห็นด้วยก็จะกลายเป็น “พวกผิดปกติ พวกเบี่ยงเบน พวกไม่ธรรมดา” ไป Gramsci จึงมีความเห็น ว่าการ hegemony ทางด้านวาทกรรม (Discourse) ที่ปรากฏอยู่ในสื่อมวลชนนั้น น่าจะทรงพลังมากกว่าการ hegemony ทางด้านเศรษฐกิจการเมืองเสียอีก เพราะข้อความที่ปรากฏในสื่อมวลชนนั้น เป็นการให้นิยามแก่สังคม ให้นิยามชีวิต ให้นิยามกลุ่มคน ให้นิยามเหตุการณ์

HEGEMONY


TANAWUT RITCHUAY

การใช้แนวคิดในการวิเคราะห์

แนวคิดของกรัมซี่มักถูกนำมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง การขึ้นลงของอำนาจของกลุ่มทางสังคม ทั้งในระดับย่อยและ ระดับใหญ่สุดคือในระดับโลก การผลิตอุดมการณ์และการถ่ายทอดแนวคิดไปยังชนชั้นล่าง การทำสงครามเพื่อช่วงชิง พื้นที่ทางความคิด (War of Position)

Gramsci ยังได้แบ่งองค์ประกอบของโครงสร้างส่วนบนออกเป็น 2 ส่วน

1. ประชาสังคมหรือสังคมพลเมือง (Civil Society) ประชาสังคมคือส่วนที่รัฐไม่มีอำนาจผูกขาด รัฐต้องผลิต อุดมการณ์เพื่อสร้างความชอบธรรม ดังนั้นประชาสังคมจึงเป็นเครื่องมือสร้างความยินยอม (consent) 2. สังคมการเมือง หรือรัฐ (Political or State Society) สังคมการเมืองหมายถึง แหล่งที่ผูกขาดอำนาจโดยรัฐ ซึ่ง มิใช่การแสวงหาความยินยอม แต่เป็นการบังคับกดขี่ (coercion) Gramsci เชื่อว่า การที่ชนชั้นหนึ่งจะมีชัยชนะเด็ด ขาดสมบูรณ์ได้นั้น จำเป็นต้องมีความยินยอมจากสมาชิกของสังคมมากกว่าการบังคับกดขี่ เพราะฉะนั้นในทัศนะของ Gramsci แล้ว “...ประชาสังคมเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด ที่ชนชั้นหนึ่งจะสามารถครองความเป็นใหญ่อย่างสมบูรณ์ได้ หากสามารถเข้ามาครอบงำมีอิทธิพลเหนือประชาสังคมได้” การครองความเป็นเจ้าของในความหมายข้างต้น จึงหมายถึงความสามารถในการเอาชนะใจชนชั้นที่ถูกปกครอง ให้ ยอมรับในอุดมการณ์ของชนชั้นปกครอง หรือเป็นปฏิบัติการในอันที่จะทำให้ผู้ที่ถูกชนชั้นปกครอง ถูกจูงใจให้ยอมรับ ในระบบความเชื่อ (Beliefs) และนำความเชื่อนั้นไปพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งในค่านิยมทางสังคม วัฒนธรรม และศีลธรรม ของพวกเขาเองด้วย (Carnoy, 1984:87 อ้างใน สมสุข หินวิมาน, 2534)

ตัวอย่างการใช้หลักทฤษฏีในการวิเคราะห์

1. ในงานวิจัยของ กิ่งกาญจน์ เอี่ยมละออ,การแข่งขันในการครองอำนาจนำทางความคิดระหว่างพรรคเพื่อไทยและ พรรคประชาธิปัตย์ในการหาเสียงเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ใช้ทฤษฏีการครอบงำสื่อ โดยเลือกศึกษา การช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดผ่านสื่อ Facebook และ twitter ของสองพรรคการเมืองโดยใช้วิธีการศึกษาที่วิเคราะห์ ถึงการใช้สื่อเพื่อสร้างภาพลักษณ์ทางการเมืองของนักการเมืองและในเชิงนโยบายที่ใช้ตัวผู้สมัครสส. สว. ในสื่อโดยไป ศึกษากลไกนโยบายที่ที่ผู้สมัครแสดงผ่านสื่อ และกลไกการจัดการภาพลักษณ์ผ่านการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในโลก ออนไลน์ เพื่อแสดงถึงความรู้สึกที่มีต่อการแถลงนโยบายต่างๆ ในพื้นที่ที่แตกต่างกันไปอีกทั้งยังมีการถ่ายทอดสด และ มีคลิปที่แถลงการนโยบายในสื่อออนไลน์ เพื่อเป็นการตอกย้ำและสร้างพื้นที่ทางความคิดถึงจุดยืนในการทำงานและแก้ ปัญหา และยังมีการช่วงชิงพื้นที่ความคิดบนสื่ออย่างการ vdo call หรือการรับชมผ่าน vdo stremming เพื่อสร้าง ช่องทางในการติดตามอย่างต่อเนิ่อง “กลไกการครองอำนาจนายังทำหน้าที่รวมไปถึงการสร้างจิตสานึก (Conscious) ให้ชนชั้นผู้ถูกครอบงำมีความรู้สึกว่า ผลประโยชน์ของชนชั้นตนได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากชนชั้นปกครองหรือชนชั้นผู้ดำเนินการสร้างภาวะการครอง อำนาจนา โดยท่ีชนชั้นผู้ถูกครอบงำไม่รู้สึก หรือไม่สามารถตระหนักรู้ได้ว่าชนชั้นของตนนั้นถูกเอาเปรียบหรือขูดรีด อย่างไร”(กิ่งกาญจน์ เอี่ยมละออ,2555,168) ซึ่งจะเห็นว่าบนพื้นที่สือเดียวกับตัวนักการเมืองที่แทนได้ว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่อยู่ในโครงสร้างส่าวนบนของสังคม พยามสร้างความคิด ความเชื่อต่อนโยบายและต่อพรรคการเมืองเอง เพื่อใช้ประชาชนทั่วไปซึ่งถือได้ว่าอยู่ในโครงสร้าง ส่วนล่าง ยินยอมพร้อมเปิดรับตามสิ่งที่ตัวเองนำเสนอผ่านการปราศัยและการผลิตซ้ำในโลกออนไลน์ อันเป็นตัวอย่าง งานวิจัยที่นำเสนอภาพพลังอำนาจของการใช้สื่อเพื่อครอบงำทางความคิดโดยที่ผู้เสพสื่อถูกครอบงำโดยไม่รู้ตัว HEGEMONY


TANAWUT RITCHUAY

2. หรืออย่างเช่น การผลิตซ้ำทางอุดมการณ์ “ปิตาธิปไตย” ในหนังสือเรียนการศึกษาภาคบังคับของกระทรวง ศึกษาธิการ, ปารณีย์ ชะหงษ์รัมย์ 1, ธวัช ทันโตภาส2 , กนกวรรณ มโนรมย์3,และศรันย์ สุดใจ4 , ซึ่งได้ศึกษาถึงรูปแบบการผลิตซ้ำอุดมการณ์ที่แฝงอยู่การศึกษา “ระบบปิตาธิปไตยได้ถ่ายทอดและผลิตซ้ำ ผ่านหนังสือ เรียนการศึกษาภาคบังคับ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และกลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง อิทธิพลของอุดมการณ์นี้ได้สะท้อนให้เห็นความ เหนือกว่าของเพศชาย และความด้อยกว่าของเพศหญิงโดยนำเสนอให้เห็นภาพลักษณ์ความเป็นหญิงที่เต็มไปด้วยความ กดขี่ทางเพศ ทั้งในภาพประกอบและเนื้อหาในหนังสือเรียน โดยแบ่งออกได้เป็นสี่ด้าน ดังนี้ (หนึ่ง) ด้านชีวิตครอบครัว และการครองเรือน ซึ่งเพศหญิงถูกคาดหวังให้แสดงบทบาทของความเป็นลูก เป็นภรรยา และเป็นแม่ที่ดี โดยการเชื่อ ฟังพ่อและสามี (สอง) ด้านชีวิตการทำงาน เพศหญิงถูกจำกัดให้ทำงานภายในบ้าน รับผิดชอบครอบครัว หรือทำงานใน รูปแบบของการดูแล เอาใจใส่ผู้คน เช่น แม่บ้าน ครู พยาบาล (สาม)ด้านบทบาทของเพศชายและเพศหญิง ผู้หญิงต้อง เป็นคนเรียบร้อย อ่อนหวาน ว่านอนสอนง่าย รักนวลสงวนตัว รัก ซื่อสัตย์และยอมตายเพื่อสามี รวมทั้งยอมรับการมี ภรรยาหลายคนของสามีได้ (สี่) ด้านความงามของเพศหญิง เพศหญิงถูกคาดหวังให้มีรูปร่างหน้าตาที่งดงาม กริยา มารยาทเรียบร้อย และเป็นกุลสตรี เพื่อตอบสนองความต้องการของเพศชาย ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในหนังสือเรียนโดย เฉพาะวรรณกรรมสอนหญิงซึ่งล้วนแล้วแต่เขียนขึ้นโดยผู้ชายทั้งสิ้น เป็นการสร้างการครอบงำ(domination) ของเพศ ชาย และถูกครอบงำ (sub domination) ของเพศหญิง บนความสัมพันธ์เชิงอำนาจ นำไปสู่ครองความอำนาจนำทาง อุดมการณ์ และพยายามดำรงรักษาไว้ซึ่งความเป็นเจ้าทางอุดมการณ์นั้นของเพศชาย ด้วยการผลิตซ้ำ พร้อมสร้าง กระบวนการยอมรับ และจำนนต่อการเอารัดเอาเปรียบให้แก่เพศหญิง ให้เพศหญิงยอมรับหรือปฏิบัติอย่างไม่ติดใจ หรือปราศจากข้อสงสัย” ข้อความข้างต้นเป็นบางส่วนจากบทความของงานวิจัยนี้โดยได้ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การผลิตซ้ำทางอุดมการณ์ปิตาธิปไตยในหนังสือเรียนการศึกษาภาคบังคับ ได้แก่ แนวคิดเรื่องอุดมการณ์ ( Ideology ) และแนวคิดการครองอำนาจ (Hegemony) ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้แนวคิ ดดังกล่าวในการอธิบายและศึกษารูปแบบการครอบงำ ความคิดตั้งแต่แรกเข้าเรียน นี่อาจเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่สะท้อนภาพการปกครองจากชนชั้นนำ ที่ผลิตแนวคิดดังกล่าว ผ่านองค์กรทางสังคมคือโรงเรียนและผลิตซ้ำ ย้ำทวนด้วยครู จากการศึกษาทั้งส่วนของเนื้อหาและภาพประกอบจาก เอกสารซึ่งมีการถ่ายทอดอุดมการณ์ปิตาปไตย สร้างทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ แก่ผู้เรียนในประเด็นต่างๆดังนี้ 1. ด้านชีวิตครอบครัวและการครองเรือน 2. ด้านชีวิตการทำงาน 3. ด้านบทบาทของเพศชายและเพศหญิง 4. ด้านความงามของเพศหญิง HEGEMONY


TANAWUT RITCHUAY

ซึ่งจากงานวิจัยยังกล่าวสามารถสรุปความจากการนำทฤษฏีมาวิเคราะห์เนื้อหาและรูปแบบการผลิตซ้ำ และ การปลูกฝังอุดมการณ์ผ่านสื่อการเรียน ถอดความได้ดังนี้ 1. ด้านชีวิตครอบครัวและการครองเรือน จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า เพศหญิงได้ถูกคาดหวังให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะของความเป็นลูกสาว ภรรยา และแม่ที่ดี ดัง ตัวอย่างในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 หน้า 23 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงกล่าวไว้ชัดเจนว่าสมเด็จพระสุริโยทัยตัดสินพระทัยสละพระชนม์ชีพเพื่อพระสวามี เพราะ “มานมนัสกัตเวที ยิ่งล้ำ” ความ กตัญญูของพระองค์อาจจัดได้ว่าเป็นทั้งความกตัญญูของภรรยาต่อสามี และความกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์และแผ่นดิน คนไทยแต่ โบราณสอนให้สตรีเคารพ ซื่อสัตย์ และกตัญญูต่อสามี เพราะสามีเป็นผู้เลี้ยงดู ปกป้อง คุ้มครองให้มีความสุขและความมั่นคงในชีวิต ซึ่ง ในหลายเหตุการณ์ที่เพศหญิงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันประเทศชาติ หากแต่การได้รับยกย่องและกล่าวขวัญถึง คือกรณีของสมเด็จ พระสุริโยทัย ที่ยอมตายแทนพระสวามี ด้วยการแต่งองค์เป็นชาย และร่วมรบกับพระสวามี เมื่อเห็นว่าพระสวามีจะได้รับอันตรายจึงขับ ช้างเข้าไปขวางไว้ทำให้ตนเองถูกเจ้าเมืองแปรฟันจนสิ้นพระชนม์ ทรงได้รับการยกย่องในเรื่องความกตัญญูต่อพระสวามี มากกว่าการ ป้องกันประเทศด้วยกำลังพระวรกาย เป็นการนำเสนอในแง่มุมของบทบาที่เพศหญิงในสังคมไทยถูกคาดหวังให้เป็นเช่นดังพระองค์ คือ เมื่อแต่งงานไปแล้วก็ต้องซื้อสัตย์และยอมตายเพื่อสามีได้ และในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน้า 28 ได้กล่าว่า “หลังจากพระพุทธองค์เสด็จ ออกผนวช พระนางพิมพาเทวีก็โศกเศร้าอาดูร ไม่สนพระทัยในการตกแต่งพระวรกายแต่อย่างใด เมื่อทรงทราบว่าพระพุทธองค์ทรงผ้า กาสาวพัสตร์และอดพระกระยาหาร ทรมานพระกาย พระนางก็จัดหาผ้ากาสาวพัสตร์มาทรงและอดอาหารตาม จะหาสตรีที่มีความ จงรักภักดีเช่นนี้ เห็นทีจะหาได้ยาก” เป็นการนำเสนอเรื่องราวของนางพิมพาเทวี ที่ได้รับการเคารพยกย่องในแง่ของสตรีที่มีความจงรัก ภักดีต่อสามี แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงทอดทิ้งในขณะที่ให้กำเนิดลูก ซึ่งเป็นช่วงที่เพศหญิงไม่สามารถดูตัวเองได้ แต่นางพิมพาเทวีก็ยัง คงมีความจงรักภักดีต่อพระพุทธองค์ไม่เสื่อมคลาย ซึ่งเป็นความคาดหวังให้เพศหญิงในทุกสังคมประพฤติปฏิบัติตาม 2. ด้านชีวิตการทำงาน จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า อาชีพที่ได้รับการยกย่อง มีความมั่นคง และเป็นที่นับหน้าถือตา ของสังคม เช่น นักธุรกิจ หมอ หรืออาชีพที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกาย เช่น ตำรวจ ทหาร ถูกอธิบายขยายความแทนด้วยรูปของเพศชายสวมเครื่องแบบต่างๆ เหล่านั้นอยู่ (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนิน ชีวิตในสังคม เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 หน้า 3) ส่วนอาชีพครู (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชุดวรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หน้า 2) พยาบาล เจ้าหน้าที่ในสถานสงเคราะห์ ที่ต้องดูแล เอาใจใส่ให้การอบรมสั่งสอนเด็ก หรือการทอผ้า อาชีพค้าขาย อาชีพแม่บ้าน ถูกแทน ด้วยรูปภาพของเพศหญิง ที่แสดงออกถึงการเป็นแม่บ้านแม่เรือน และอาชีพที่เลือกทำแต่ละอาชีพนั้น สอดประสาน และกลมกลืนกับ กิจวัตรประจำวันในการดูแลครอบครัวของเพศหญิงทั้งสิ้น และเป็นอาชีพที่ไม่ต้องออกไปสู่โลกภายนอก และพบปะผู้คนมากเท่าใดนัก ในด้านการประกอบอาชีพภายนอกบ้าน ข้อจำกัดของผู้หญิงในการก้าวหน้าในหน้าที่การงานนั้น ปัจจัยทางครอบครัวมีผล เป็นอย่างมาก กล่าวคือในกรณีที่ต้องเลือกระหว่างงานและครอบครัว โดยส่วนมากผู้หญิงจะเลือกครอบครัวก่อน และเมื่อรวมกับสถาน นะการเป็นมารดาในบางคนแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เป็นข้อจำกัดมากขึ้น กอปรกับภาวะผู้นำที่เป็นค่านิยมสืบทอดกันมาว่าผู้หญิงจะมีความ สามารถในการจัดการและบริหารงานภายนอกบ้านได้ไม่เท่ากับผู้ชาย การที่ผู้หญิงมีลูกต้องเลี้ยงดู และดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว การ ดำรงรักษาสถานภาพการแต่งงานและการดูแลบ้าน ถือเป็นการกระทำตามภาระหน้าที่ตามที่สังคมมอบหมายให้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการทำ กิจกรรมมากมาย บางครั้งได้สร้างความขัดแย้งต่อกิจกรรมต่างๆที่ต้องทำขณะประกอบอาชีพ จึงถือว่าความขัดแย้งระหว่างการทำงาน และงานบ้านเป็นปัญหาต่อผู้หญิง ซึ่งเป็นไปได้ยากที่ผู้หญิงจะสามารถทำทั้งหมดทั้งสองอย่างได้พร้อมกัน ทำให้เพศหญิงถูกมองว่า บกพร่องต่อหน้าที่ของภรรยาที่ดี

HEGEMONY


TANAWUT RITCHUAY

3. ด้านบทบาทของเพศชายและเพศหญิง อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีกได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า โดยธรรมชาติผู้ชายอยู่เหนือกว่าและอยู่ในฐานะผู้ ปกครอง ส่วนผู้หญิงนั้นด้อยกว่า อยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง (อ้างในธีรพัฒน์ อังศุชวาล, 2554) หรือในบท อิศรญาณภาษิต ที่กล่าวไว้ว่า “ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาศัย” (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 3 หน้า 98) โดยคำประพันธ์วรรคแรกเปรียบผู้ชายเหมือนข้าวเปลือก ซึ่งเมื่อตกที่ใดก็งอกและเจริญเติบโตได้ แต่ผู้หญิง เปรียบเสมือนข้าวสารซึ่งไม่อาจเจริญงอกงามต่อไปได้ บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชาย ก็เป็นประเด็นสำคัญที่พบอยู่ในหนังสือเรียนความแตกต่างทางเพศสรีระ (หนังสือ เรียนรายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา รักสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หน้า 11) กำหนดความเป็นหญิง ความเป็นชาย ความต้องการทางเพศและแรงจูงใจด้านการเจริญพันธุ์ พฤติกรรมทางเพศ ความต้องการทางเพศ ดำรงอยู่บนร่างกาย บุคคล อันเป็นผลเนื่องมาจากการทำหน้าที่ทางสรีระของร่างกาย ความต้องการทางเพศ แรงปรารถนาทางเพศถูกประกอบสร้างขึ้นโดย วัฒนธรรมการเรียนรู้และประวัติศาสตร์ของสังคมเท่านั้น ในหนังสือเรียนสอนให้เพศหญิงควบคุมตัวเอง หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนการแต่งงาน และไม่ให้แสดงอออกในเรื่องเพศ ความเงียบของผู้หญิงในเรื่องเพศ นำไปสู่การเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศ ผู้ หญิงขาดอำนาจการต่อรองในเรื่องเพศและควบคุมเนื้อตัว ร่างกายของตนเอง จึงถูกคุกคาม ล่วงละเมิดทางเพศ และนำไปสู่การข่มขืน กระทำชำเรา และส่วนมากผู้กระทำความผิดลอยนวลเป็นอิสระ เพราะเพศหญิงไม่กล้าพูดถึง กลัวการประณามจากสังคม และถูกกล่าว โทษว่าเป็นความผิดของตัวเอง และเมื่อเพศหญิงถูกจำกัดการแสดงออกในเรื่องเพศ จึงเกิดในพื้นที่ใหม่ที่เปิดให้ผู้หญิงเข้ามาแสดงออก ในเรื่องเพศอย่างอิสระ เช่น พื้นที่ไซเบอร์ เซ็กซ์โฟน การแสดงบน เวที (สาวโคโยตี้) แม้กระทั่งการขายบริการทางเพศ นำไปสู่ปัญหา สังคมที่เป็นวงจรต่อเนื่องเรื่อยไป ผลศึกษาวิจัยพบว่า ในหนังสือเรียนสุขศึกษา และพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หน้าที่ 11 ระบุอย่างชัดเจน ในเรื่องความ แตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงทางกายภาพ ได้นำไปสู่ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงและผู้ชายมีความแตกต่างกันในด้านอื่นๆด้วย ใน หนังสือเรียนกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ อาทิ ด้านสติปัญญา ความสามารถ ความถนัด การตัดสินใจ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นความ แตกต่างที่มีมาตามธรรมชาติ กล่าวคือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งนำไปสู่สถานะของผู้หญิงที่ด้อยกว่าผู้ชาย ตัวอย่างความเชื่อที่ว่าผู้ หญิงเป็นเพศที่ไม่มีเหตุผล ชอบใช้อารมณ์ ส่งผลให้สังคมไม่ยอมรับผู้หญิงในฐานะผู้นำเพราะมีคุณสมบัติทางเพศที่ไม่เหมาะสม ความ เชื่อที่ว่าผู้หญิงไม่เก่งทางคณิตศาสตร์ ไม่คิดเป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้ไม่ได้การสนับสนุนให้ประกอบอาชีพด้านนี้ และความเชื่อที่ว่า ผู้หญิง มีคุณสมบัติหรือความสามารถทางเพศในการดูแลผู้อื่น ทำให้ผู้หญิงกลายเป็นผู้รับภาระหลักในการดูแลลูกและคนในครอบครัว เป็นต้น ผู้ศึกษาวิจัยจึงได้สรุปผลการศึกษา แยกตามบทบาทที่แสดงออก ตามช่วงวัยดังนี้3.1 บทบาทของลูกชาย ลูกสาว หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุด ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หน้า 175 ได้พูดถึง เด็กดี ว่าต้องมีหน้าที่ต่อ ครอบครัว กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ไม่ทำให้คนในบ้านต้องเดือดร้อน ช่วยงานบ้านด้วยความเต็มใจ เช่น ล้างจาน พับผ้า ถูบ้าน รดน้ำ ต้นไม้ และนำเสนอภาพเด็กผู้หญิงทำงานช่วยพ่อ กับแม่ เป็นการผลิตซ้ำเรื่องชายเป็นใหญ่ในแง่ว่าเด็กผู้ชายไม่จำเป็นต้องช่วยงานบ้าน เพราะหน้าที่เหล่านั้นเป็นของเด็กผู้หญิง เด็กชายไม่ได้ถูกคาดหวังให้ต้องทำหน้าที่ใดๆ นอกเหนือไปจากหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เช่น ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หน้า 29 ครูให้นักเรียนเล่ากิจกรรมในแต่ละช่วงวัน ผล ปรากฏว่า เด็กผู้หญิงได้ช่วยแม่ทำงานบ้านและไปจ่ายตลาด ส่วนเด็กผู้ชายเพียงแต่ พูดว่า“วันนี้ตอนเช้าผมตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน แต่งตัว รับประทานอาหารเช้า แล้วรีบมาโรงเรียนครับ” ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในกิจกรรมหนึ่งวันของเด็กผู้ชาย กับเด็กผู้หญิงมีความแตกต่าง กันอย่างชัดเจน เด็กผู้หญิงจะต้องช่วยแม่ทำงานบ้าน ทำกับข้าว ซักผ้า จ่ายตลาด เป็นกิจวัตรที่เพศหญิงต้องได้รับการปลูกฝังให้ทำ อย่างต่อเนื่อง ส่วนเด็กผู้ชายมีเพียงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับตนเองเท่านั้น 3.2 บทบาทของสามี ภรรยา ในหนังสือเรียนได้กล่าวถึง บทบาทของภรรยาที่เป็นแบบอย่างที่ดี และแนวทางการปฏิบัติตัวที่ควรประพฤติปฏิบัติตามอย่าง มากมาก ยกตัวอย่างเช่น ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน้า 115-117 ได้กล่าวถึงนางวิสาขาผู้ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด งามพร้อม และยึดมั่นกตัญญูต่อบิดา และสามี เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา โดยการ ปฏิบัติตามโอวาทของผู้เป็นบิดา เป็นภรรยาที่ดีโดยทำหน้าที่ปรนนิบัติรับใช้สามี และทำหน้าที่เป็นแม่บ้านที่ดี เป็นแบบอย่างที่สังคม HEGEMONY


TANAWUT RITCHUAY

คาดหวังให้เพศหญิงปฏิบัติตามเติบโตขึ้นเป็นหญิงที่เพียบพร้อมด้วยความงาม 5 ประการ (เบญจกัลยาณี) และมีโอวาท 10 ข้อ เป็น แนวทางปฏิบัติในการครองเรือน คือ 1.ไฟในอย่านำออก หมายถึง อย่าเอาเรื่องในบ้านไปแพร่งพรายนอกบ้าน 2. ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง เรื่องนอกบ้านอย่านำมาพูดจาเล่าขานภายในบ้าน 3. ควรให้แก่คนที่ควรให้ หมายถึง ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้วส่งคืน 4. ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ควรให้ หมายถึง ไม่ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้วไม่ส่งคืน 5. ควรให้ ทั้งแก่คนที่ควรให้ และคนที่ไม่ควรให้ หมายถึง ให้แก่ญาติและมิตรสหายที่ยากจนโดยไม่คำนึงถึงว่าจะส่งคืนได้หรือ ไม่ได้ 6. พึงนั่งให้เป็นสุข หมายถึง พึงจัดที่นั่งที่ควรให้แก่บิดามาดาของสามีและสามี แล้วตนตึงนั่งในที่อันควรในที่ใดที่หนึ่ง 7. พึงบริโภคให้เป็นสุข หมายถึง จัดอาหารให้แก่บิดามาดาของสามีและสามีบริโภคก่อน ตนเองจึงบริโภคภายหลัง 8. พึงนอนให้เป็นสุข หมายถึง ให้บิดามาดาของสามีและสามีนอนก่อน ตนเองจึงเข้านอนภายหลัง 9. พึงบำเรอไฟ หมายถึง ให้เห็นบิดามาดาของสามีและสามีเหมือนกองไฟ คือให้ความเคารพยำเกรงท่านเหล่านั้นเป็นประจำ 10. พึงบูชานอบน้อมเทวดาภายใน หมายถึง ให้ความเคารพบูชาบิดามารดาของสามี เหมือนเทวดาประจำบ้าน แบบอย่างในการดำเนินชีวิตของนางวิสาขาก็คือการเป็นภรรยาที่ดีโดยทำหน้าที่ปรนนิบัติรับใช้สามี และทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน ที่ดี หรือในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หน้า 112-113 ได้กล่าวถึงท้าวเทพกระษัตรี และ ท้าวศรีสุนทรที่ได้เกณฑ์ไพร่พลตั้งค่ายป้องกันรักษาเมืองอย่างกล้าหาญ จนพม่าขาดเสบียงอาหารเลิกทัพกลับไป วีรกรรมครั้งนี้นับเป็น แบบอย่างที่แสดงให้เห็นว่าบทบาทของหญิงไทยนั้น สามารถที่จะช่วยประเทศได้ทั้งในยามสงบ หรือในยามสงครามซึ่งหน้าที่ของเพศ หญิงนอกจากจะเป็น ภรรยาที่ดีแล้ว ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่แทนสามี และปกป้องประเทศชาติซึ่งนับว่าเป็นภาระที่หนักหน่วงของเพศ หญิง แต่ในบทนี้กล่าวยกย่องชมเชยวีรสตรีที่ทำได้ทุกอย่าง ช่วยประเทศชาติได้ทั้งยามสงบและยามสงคราม เป็นแบบอย่างที่ควร ประพฤติปฏิบัติตาม ผลิตซ้ำแนวทางการดำเนินชีวิตของเพศหญิงว่าต้องทำได้ทุกอย่างแม้กระทั่งการออกไปสู้รบกับข้าศึก หรือยอมตาย แทนสามีอย่างพระศรีสุริโยทัย

3.3 บทบาทของพ่อ แม่ จากการศึกษาพบว่าหนังสือเรียน โดยเฉพาะหนังสือรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ได้มีการผลิตซ้ำอุดมการณ์ปิตาธิปไตยอย่าง ชัดเจนมากที่สุด ผู้ศึกษาวิจัยจะยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนดังนี้ เรื่องเจ้าเนื้ออ่อนเอย เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับแม่และลูก โดยมีบทกลอน และคำง่ายๆ ประกอบการบรรยาย คือ “ฉันรักแม่ แม่รักฉัน ก่อนนอนทุกวัน แม่ร้องเพลงให้ฟัง” หรือ“เจ้าเนื้ออ่อนเอย อ้อนแม่จะกิน นม แม่อุ้มเจ้าออกชม กินนมแล้วนอนเปลเอย” (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต วรรณคดีลำนำ ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 หน้า 2-3) ซึ่งบทกลอนดังกล่าว กล่าวถึงการแสดงความรัก และการเลี้ยงดูลูกของเพศหญิง ในฐานะแม่ ซึ่งในบทเรียนนี้ไม่ ได้กล่าวถึงเพศชายเลย ราวกับว่าหน้าที่ในการเลี้ยงดูลูก เป็นของฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว เรื่อง “เรา มา เล่น เลี้ยง น้อง กัน” มีเนื้อหาคือ “พี่อุ้มน้อง พี่ปลอบน้อง พี่ร้องเพลงกล่อมน้อง น้องนอนหลับแล้ว” และใช้ รูปภาพประกอบเป็นเด็กผู้หญิงนั่งอยู่ข้างๆที่นอนเด็ก โดยมีแม่นั่งเย็บผ้าอยู่บนเก้าอี้ (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชุดภาษา เพื่อชีวิต วรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หน้า 9) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ไม่มีเพศชายมีส่วนร่วมอยู่ภายในภาพ เป็นการตอกย้ำ แนวคิดที่ว่า หน้าที่เลี้ยงดูเด็ก และทำงานบ้าน การเย็บปักถักร้อย เป็นของเพศหญิงแต่เพียงอย่างเดียว ในตัวละครที่ใช้มานำเสนอวรรณคดีเรื่องการผจญภัยของสุดสาคร(หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1 หน้า 151) นั้น เป็นพ่อ แม่ลูก ที่มีภาพประกอบเป็นรูปของพ่อนอนเอกเขนกบนเก้าอี้หวาย มีแม่นั่งพับเพียบถักไหม พรมอยู่ด้านล่าง แสดงถึงความเหนือกว่าของเพศชายที่ไม่ต้องมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำนอกเหนือจากงานนอกบ้าน ช่วงเวลาที่อยู่ภายใน บ้านเป็นช่วงเวลาของการพักผ่อนของเพศชาย แต่เพศหญิงแม้จะมีงานนอกบ้านทำ แต่เมื่อกลับบ้านภาระหน้าที่งานก็ยังต้องดำเนินการ HEGEMONY


TANAWUT RITCHUAY

ต่อเช่นเดิม อีกทั้งในภาพนี้แสดงลำดับความเป็นใหญ่ในบ้านได้อย่างชัดเจน พ่อนอนบนเก้าอี้หวายด้านบน แม่นั่งด้านล่างซึ่งอยู่ต่ำกว่า พ่อ แต่สูงกว่าลูกทั้งสองคนที่อยู่ชั้นล่าง เป็นการลำดับอำนาจ ว่าคนที่มีอำนาจสูงสุดในบ้านคือพ่อ(เพศชาย) เชื่อมโยงอำนาจในการตัดสินใจภายในบ้าน ได้นำวรรณกรรมเรื่องเงาะป่า ในตอนที่รจนาเลือกคู่ครองเป็นเงาะป่า ในบทนี้แสดงถึงการลงโทษลูกที่ไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อ และตัดสินใจเลือกคู่ครองที่พ่อไม่เห็นชอบด้วย พ่อจึงลงโทษด้วยการขับ ให้ออกไปอยู่ที่กระท่อมปลายนา หรือใน “กฎหมายเพิ่มเติมลักษณะอาญาหลวง ประกาศใช้ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เมื่อ พ.ศ. 2190 ห้ามบิดามารดายกบุตรสาวให้เป็นภรรยาชาวต่างชาติ ต่างศาสนา เนื่องมาจากขณะนั้นอยุธยากำลังมีปัญหากับชาติตะวัน ตก” (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน้า 47) เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจ และเป็นเจ้า ชีวิตของพ่อ ต่อลูกสาว 4. ด้านความงามของเพศหญิง ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต วรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หน้า 56 ได้บรรยาย ลักษณะของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ดังนี้ “เด็กหญิงสายรุ้ง เดินไปโรงเรียน เธอเป็นเด็กน่ารัก ใบหน้ารูปไข่ ดวงตากลมโต ขนตายาว งอน จมูกเล็ก ปากบางจิ้มลิ้มสีแดง ผมของเธอเส้นเล็กยาวสีน้ำตาล รวบและผูกโบขาวอย่างสวยงาม ทุกคนชมว่าเธอเป็นเด็กดี มีมารยาท เรียบร้อย พูดจาไพเราะ ....” นี่คือลักษณะของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกคาดหวังจากสังคมให้เพศหญิงมีลักษณะตามแบบฉบับที่กำหนด ต้องหน้าตาจิ้มลิ้ม มารยาทเรียบร้อย พูดจาไพเราะ หรือการแต่งตัว ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุด ภาษาพาที ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 หน้า 14 แทนด้วยภาพของแม่และลูกสาวที่กำลังยืนแต่งตัวอยู่หน้ากระจก ซึ่งเป็นการผลิตซ้ำความรักสวยรักงาม และความเอาใจใส่ดูแลตัวเองของเพศหญิง สอนให้เห็นถึงความสำคัญของความสวยงามของรูปร่างหน้าตา ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ทางเพศ ของเพศหญิง และเป็นภาพสะท้อนว่าเพศหญิงถูกคาดหวังจากสังคมว่าต้องมีลักษณะ รูปร่าง หน้าตาอย่างไร หากแต่ขณะเดียวกันเพศ ชายไม่ได้ถูกคาดหวังเช่นนั้น เป็นภาพสะท้อนของความเหนือกว่าของเพศชายที่สามารถกำหนดความเป็นไปของเพศหญิงได้ และเพศ หญิงเองก็สนองตอบความต้องการในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ประเด็นความงามของเพศหญิง ยังข้องเกี่ยวกับความงามกริยามารยาท และเป็นกุลสตรีอีกด้วย การสอนความเป็นเพศหญิง ความเป็นกุลสตรีที่เป็นที่นิยมชมชอบ และเป็นความคาดหวังของสังคม เช่น การรักนวลสงวนตัว ไม่ให้เกียจคร้านงานบ้าน ไม่ไปเที่ยว เล่นพูดคุยกับคนอื่นนอกบ้าน ดูแลข้าวของภายในบ้าน ถ้าสิ่งใดขาดตกบกพร่องก็ต้องไปหามา ต้องเก็บหอมรอมริบ อะไรที่ไม่ควรซื้อก็ อย่าซื้อ ดูแลพ่อแม่ เหล่านี้เป็นเรื่องที่สอนเฉพาะเพศหญิง และเป็นเรื่องที่เน้นย้ำอย่างชัดเจนลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สุภาษิตสอนหญิง หรืออื่นใดที่เพศชายได้กำหนดเป็นกรอบในการดำเนินชีวิตของเพศหญิงตามที่เพศชาย(ผู้เขียนบทประพันธ์) ประสงค์ให้เป็นไป จาการศึกษาแบบเรียนต่างๆของผู้วิจัยสะท้อนภาพว่าการผลิตซ้ำอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ในสังคมไทยเกิดมาเนิ่นนาน และมี การถ่ายทอดอุดมการณ์ดังกล่าวผ่านแบบเรียนซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนในระบบการศึกษาต้องรับ และเรียนรู้ แนวคิดดังกล่าวค่อยๆซึมซับโดย ผู้เรียนเองไม่รู้ตัว ซึงเป็นรูปแบบกระบวนการหนึ่งของทฤษฏีการครอบงำ Hegemony ซึ่งได้มีรูปแบบทำให้ชนชั้นโครงสร้างส่วน ล่าง(นักเรียน) ซึมซับอุดมการณ์ ideology ดังกล่าวโดยไม่ตั ้งคำถามและค่อยๆผลิตซ้ำย้ำทวนในแบบเรียนต่างๆ จนผู้เรียนเองไม่รู้สึกว่า ตัวเองกำลังถูกครอบงำผ่านอุดมการณ์ดังกล่าว ซึ่งนี่เองเป็นรูแบบที่ชัดเจนของการครองอำนาจผ่านสื่อตามที่ได้กล่​่าวไว้ในข้างต้น

ทฤษฎีครองอำนาจนำในทางสื่อ (The Media Hegemony Theory) ในส่วนของการครองอำนาจผ่านสื่อเอง ทฤษฎีครองอำนาจนำในทางสื่อ (The Media Hegemony Theory) ได้อธิ บายถึ ง บทบาทของสื่อที่มีส่วนในการกำหนดวาทกรรม ในฐานะของการเป็นตัวกลางที่ช่วยสร้างและดำรงไว้ซึ่งวาทกรรม เพื่อสร้างความชอบ ธรรมแห่งอำนาจให้กับผู้ที่คุมพื้นที่สื่อ ตามทฤษฎี Media Hegemony หรือทางกลับกันสื่อมวลชนกลับมีบทบาทในการให้ พื้นที่กับวาท กรรมอื่นที่นอกเหนือจากวาทกรรมหลัก ได้มีบทบาทในการช่วงชิงพื้นที่ทางความคิด 1. สื่อมวลชนมีส่วนในการสร้างวาทกรรม ในฐานะของการเป็นตัวกลางที่ช่วยสร้างและดำรงไว้ซึ่งวาทกรรมกระแสหลัก เพื่อ สร้างความชอบธรรมทางอำนาจให้กับผู้ที่คุมพื้นที่สื่อ ตามทฤษฎี Media Hegemony” นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะสื่อคือเครื่องมือที่ สามารถครอบครอง (hold) และครอบงำ (dominate) ได้ สื่อจึงเป็นเครื่องมือสร้าง “อำนาจครอบครองผ่านความรู้(วาทกรรม)” HEGEMONY


TANAWUT RITCHUAY

2. สื่อมวลชนมีบทบาทในการให้พื้นที่กับวาทกรรม อื่น ๆ (ที่นอกเหนือจากวาทกรรมหลัก)ได้มีโอกาสและ บทบาทในการช่วงชิงพื้นที่ใน สื่อสาธารณะในสังคมได้” ก็เป็นเรื่องที่จริงเช่นกัน เพราะอุดมการณ์เป็นสิ่งที่ถูกสร้างดังนั้นจึงถูกทำลายได้ ดังคำกล่าวของ Gorge Wilhelm Fredrich Hegel ที่ว่า “การที่โลกก้าวไปข้างหน้าด้วยความคิด ความขัดแย้งใดๆก็เป็นความขัดแย้งในเรื่องของความคิด ซึ่ง ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้า ทั้งเชิงคุณภาพและเหตุผล เรียกว่า “วิภาษวิธี(Dialectic)” ซึ่งเกิดจากการที่ ความคิดเดิม(Thesis) ถูก ท้าทายหรือขัดแย้งกับความคิดใหม่(Anti-Thesis) ก่อให้เกิด ความคิดที่ใหม่กว่า(Synthesis)ที่จะกลายเป็นความคิดเดิมในเวลาต่อไป การที่สามารถเกิดความคิดขัดแย้งใหม่ๆได้เสมอนั้นเพราะ ความคิดเป็นเพียงสิ่งสมมติที่มนุษย์สร้างขึ้นนั่นเอง” การที่วาทกรรมจัดเป็นความคิดอย่างหนึ่ง จึงสามารถถูกสร้างได้ ถูกใช้ได้ ถูกเชื่อได้ ถูกท้าทายได้ และถูกทำลายได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงเวทีการเมืองที่มีการสื่อสาร (political communication) โดยสื่อ(media) ถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างพลังให้กับผู้นำ ผู้ใช้ มวลชน(mass)มาเป็นพลัง สุดท้ายสื่อมวลชนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งในทางการเมืองและภาวการณ์ เช่นนี้สื่อมวลชนจึงต้องถูกใช้ ในการแสวงหาอำนาจในสังคมการเมือง โดยไม่ว่าผู้ที่ต้องการแสวงหาอำนาจจะมีสถานะทางสังคมอย่างไร เพียงแต่พวกเขาเหล่านั้น สามารถมีพลังเพียงพอ ในการเข้าถึงสื่อ พวกเขาก็จะมีอำนาจเพียงพอในระดับหนึ่ง ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่การเมืองมีการแย่ง ชิงอำนาจในการกำหนดการรับรู้ของประชาชน และคนในสังคมนั่นเอง ซึ่งเห็นได้ชัดว่ารูปแบบของการใช้ทฤษฏีเพื่อการวิเคราะห์การสร้างอุดมการณ์เพื่อครอบงำสังคม ผู้คนให้เป็นเป็นตามความต้องการของ ชนชั้นนำเพื่อการธำรงค์ไว้ซึ่งอำนาจพบได้ในทุกยุคสมัย และเกิดขึ้นเสมอมา และการผลิตซ้ำผ่านสื่อต่างๆ เป็นเครื่องมือที่ได้ผลมากกว่า การออกกฏหมาย ข้อบังครับ ซึ่งเหล่านี้มักนำมาซึ่งแรงเสียดทาน และข้อคัดค้านทางสังคมันนำมาถึงคามขัดแย้งหรือข้อแตกหักในสังคม ได้ในกาลต่อมา การสร้างวาทะกรรม และใช้สื่อในการเน้นย้ำ ซ้ำทวนสิ่งดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือในการครองอำนาจที่ดูจะเป็นกลวิธีใน การรักษาไว้ซึ่งอำนาจ และอุดมการณ์ดังกล่าวไม่ได้คงอยู่อย่างถาวร ดังนั้นผู้ที่อยู่ในโครงสร้างส่วนบนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผลิต อุดมการณ์บางอย่างเพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งอำนาจในการปกครอง และครอบงำคนในสังคมต่อไป

HEGEMONY


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.