กว่าจะเป็นครูชีวันวิสาสะ

Page 1

กว่าจะเป็น

ครูชวี น ั วิสาสะ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก



กว่าจะเป็น

‘ครูชีวัน วิสาสะ’ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก




กว่าจะเป็น

ครูชผู้สีวร้างสรรค์ ัน วิหสนังาสะ สือสำ�หรับเด็ก เรื่อง นางสาวพรพิศุทธิ์ เล้าบัณฑิต ที่ปรึกษา : อาจารย์วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง คณะที่ปรึกษา : อาจารย์บรรยงค์ สุวรรณผ่อง อาจารย์อริน เจียจันทร์พงษ์ ดร.กันยิกา ชอว์ อาจารย์ภมรศรี แดงชัย ภาพประกอบ : นายเรืองชุณห์ เล้าบัณฑิต นางสาวพรพิศุทธิ์ เล้าบัณฑิต

จุลนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญานิเทศศาสตร์บัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสาสนเทศและการสื่อสาร เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา ๒๕๕๖ และเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย


สารบัญ ๗ ๒๑ ๓๑ ๓๙ ๖๑ ๗๕ ๘๕ 95 103 112

จากใจผู้เขียน จุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนหนังสือเด็ก อุปสรรคและการก้าวผ่านปัญหา กว่าจะออกมาเป็นชิ้นงาน เทคนิคเฉพาะ ของครูชีวัน วิสาสะ ทฤษฎี และแนวคิดที่ควรรู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก การเขียนหนังสือเด็กกับความเหมาะสมในวัยต่างๆ ทัศนะมุมมองต่อรางวัลหนังสือเด็ก อยากเป็นนักเขียนหนังสือเด็กต้องทำ�อย่างไร มุมมองของเพื่อนร่วมงาน

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก


“เรื่องของการเล่นในวัยเด็กนั้นสำ�คัญ เพราะเป็น ตัวหล่อหลอม และปลูกฝัง ทำ�ให้เรามีโอกาสสัมผัสสิ่งที่ เป็นธรรมชาติ ถือว่าเป็นวัตถุดิบสะสม และมีผลต่อวิธี คิดของเรา มีผลต่อความเข้าใจเด็กในปัจจุบัน” ครูชีวัน วิสาสะ -


จากใจผู้เขียน หนึ่งที่ชื่นชอบในหนังสือภาพ และหนังสือสำ�หรับเด็ก ด้วยเห็นว่าเป็น หนังสือที่แฝงแง่คิดให้เด็กคิดต่อหลังจากที่ได้ฟัง และได้อ่านหนังสือแล้ว จึง ตัดสินใจว่าจะทำ�การศึกษาและเข้าไปสัมผัสชีวิต ความคิด และเทคนิควิธีเขียน หนังสือเด็กของนักเขียนคนหนึ่งที่ประสบความสำ�เร็จในอาชีพนักเขียนหนังสือ สำ�หรับเด็ก ผู้เขียนตัดสินใจศึกษาเส้นทางชีวิต และเทคนิคการเขียนหนังสือเด็ก ใน ภาพที่ไม่ค่อยเห็นได้บ่อยนัก โดยเลือกเข้าไปคลุกคลีกับนักเขียนหนังสือเด็ก อาชีพจำ�นวนหนึ่งท่าน ที่ประสบความสำ�เร็จในอาชีพนักเขียนอย่างแท้จริง จน เป็นที่ยอมรับของวงการหนังสือเด็ก และเป็นที่รู้จักของผู้ปกครองที่กำ�ลังหา หนังสือให้ลูกอ่าน ผู้เขียนได้ไปเยือนที่บ้านของนักเขียนคนนี้หลายครั้ง เพื่อศึกษา วิเคราะห์ผลงาน ติดตามการทำ�งาน และการใช้ชีวิตของนักเขียนหนังสือเด็ก อย่างใกล้ชิด คอยพูดคุยกับนักเขียนหนังสือเด็กถึงชีวิตของเขา สอบถามสิ่งที่สงสัย จากบุคคลรอบตัว และผู้ที่ทำ�งานร่วมกับเขา จนบางครั้งก็เกรงว่าอาจทำ�ให้ ท่านเกิดความรำ�คาญใจ แต่ก็ไม่มีครั้งไหนที่ไม่ได้รับความร่วมมือเลย กระทั่งไปหาอ่านหนังสือเด็กตามห้องสมุดต่างๆ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่ง รวบรวมหนังสือเด็กในเมืองไทย ซึ่งมีน้อยมากที่จะพบหนังสือของนักเขียนผู้ นี้ ทางผู้เขียนจึงได้ไปคลุกคลีอยู่ในห้องสมุด TK Park เพื่อศึกษาหนังสือเด็ก ในแต่ละวัยเป็นเวลาหลายอาทิตย์ เพื่อคนคว้า เก็บรายละเอียด และวิเคราะห์

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก


ผลงานหนังสือเด็กเล่มต่างๆ มีการศึกษาค้นคว้าอย่างหนักในเรื่องของทฤษฎีการ เขียนและเทคนิควิธีการเขียนหนังสือเด็กให้เหมาะสม เพื่อให้รู้จักหนังสือเด็กมาก ขึ้น อย่างน้อยๆ แม้ไม่มากถึงขั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็มั่นใจว่ารู้จักหนังสือเด็กดีใน ระดับหนึ่ง สารคดีเล่มนี้ใช้เวลาศึกษาและเขียนอยู่หลายเดือน กว่าจะออกมาเป็นรูป เล่มอย่างที่เห็น ซึ่งคงจะสำ�เร็จไม่ได้เลยถ้าปราศจากที่ปรึกษาดีๆ อย่าง อ.วีระ ศักดิ์ จันทร์ส่งแสง ผู้คอยให้คำ�แนะนำ�เพื่อปรับปรุงผลงานอยู่ตลอดเวลา ที่สำ�คัญ ยังช่วยตรวจทานงานเขียนอย่างละเอียด อ่านซ้ำ� และติชมอยู่หลายรอบกว่าจะ ออกมาเป็นงานเขียนที่ดี นอกจากนี้ยังต้องขอบคุณ อ.บรรยงค์ สุวรรณผ่อง, อ.อริน เจียจันทร์ พงษ์, ดร. กันยิกา ชอว, อ.ภมรศรี แดงชัย ผู้ช่วยดูแลภาพรวมของหนังสือ และ ช่วยวางกรอบของหนังสือให้เดินมาอย่างถูกทางไม่บิดเบี้ยวไปไหน ขอบคุณคุณครูชีวัน – ครูชีวัน วิสาสะ นักเขียนหนังสือเด็กที่ประสบความ สำ�เร็จในชีวิต ที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด ชีวิต มุมมองการวาดภาพ และการ เขียนหนังสือเด็ก จนได้เนื้อหาอันทรงคุณค่า และมีความรู้มากมาย มาถ่ายทอด ไปยังผู้อ่านที่สนใจได้อย่างครบถ้วน ขอบคุณคุณโอ้ก – นายเรืองชุณห์ เล้าบัณฑิต พี่ชายที่ไปบ้านคุณครู ชีวัน และช่วยเป็นพี่ช่างภาพแบบไปไหนก็ไปกันตลอด ซึ่งทำ�ให้ได้ภาพสวยๆ น่า ประทับใจกลับมาประกอบหนังสือสารคดีในครั้งนี้ ขอบคุณเพื่อนๆ หลายคนที่ไม่ได้เอ่ยชื่อ ที่ช่วยอ่านและติชม รวมทั้งเป็น

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


กำ�ลังใจและเป็นที่ปรึกษาให้ตลอดการทำ�งาน หนังสือสารคดีบุคคลเล่มนี้จะไม่สามารถออกมาเป็นเล่มไม่ได้แน่ๆ ถ้า ขาดสิ่งที่เขียนไปทั้งหมดข้างต้น ผู้เขียนทุ่มเทกับการทำ�งานชิ้นนี้ แต่จะถือว่า สำ�เร็จไหม คงต้องให้ผู้อ่านเป็นคนตัดสินใจ ขอให้สนุกไปกับหนังสือสารคดีชีวิตและการทำ�งานบุคคลของครูชีวัน วิสาสะ นะค่ะ พรพิศุทธิ์ เล้าบัณฑิต

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก


๑๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ทำ�ไมต้องหนังสือภาพ? ตั้งแต่จำ�ความได้ นอกจากหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น หนังสือนวนิยาย หนังสือเรียน ที่เคยหยิบมาอ่านในชีวิตแล้ว “หนังสือภาพ” คือสิ่งหนึ่งที่ฉันจำ� ได้ว่าเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้จับและได้ฟังจากคุณแม่เล่าให้ฟังตั้งแต่ยังเล็กๆ ก่อนนอนของทุกวัน จำ�ได้ว่าคุณแม่จะชอบหยิบหนังสือเล่มหนึ่งมาเล่าเรื่อง ที่อยู่ในหนังสือนั้นให้ฟังก่อนเข้านอน ฉันมีพี่น้องทั้งหมดสองคนฉันเป็นลูก คนกลาง เป็นลูกสาวคนเดียว และจะเป็นคนที่ขี้สงสัยมากที่สุด เวลาแม่จะเล่า นิทานให้ฟัง เราสามคนก็จะมานั่งเป็นกลุ่มฟังคุณแม่เล่า แม่จะอ่านตัวหนังสือ ข้างในนั้น และเปิดหนังสือภาพที่มีภาพต่างๆอยู่ด้านใน พร้อมส่งเสียงอ่านและ ส่งเสียงร้องเลียนแบบตามตัวอักษรไปด้วย ก็แค่หนังสือเล่มหนึ่งที่มีภาพมากกว่าตัวอักษร ไม่รู้เหมือนกันว่าทำ�ไม เวลาฟังคุณแม่เล่า รู้สึกได้อารมณ์เหมือนอยู่ในเหตุการณ์ไปด้วย ฉันมองหนังสือภาพเล่มหนึ่งที่อยู่ในมือตอนนี้ ทำ�ให้มองเห็นภาพเก่าๆ ตอนที่เป็นเด็ก พลางให้นึกถึงชีวิตในวัยเด็กตามไปด้วย ชีวิตที่ไม่ต้องคิดอะไร มาก ไม่มีอะไรที่ต้องรับผิดชอบมากมาย มีแต่ความสนุกสนาน เวลาโกรธใครก็ โกรธแป๊บเดียวเดี๋ยวก็ดีกัน จะว่าไปพอมองหนังสือเด็กก็รู้สึกอยากกลับไปเป็น เด็กอีกครั้ง ฉันยืนมองหาหนังสือเด็กที่ถูกใจบนชั้นวางหนังสือไปเรื่อยๆ มีหนังสือ เด็กจำ�นวนมากมายวางเรียงอยู่เป็นจำ�นวนมาก ที่แห่งนี้คือห้องสมุดใจกลาง เมืองที่มีชื่อว่าทีเคปาร์ค เป็นห้องสมุดเล็กๆที่ตั้งอยู่บนชั้น8ของห้างสรรพสิน ค้าดิสโคเวอรี่ ตรงฉันยืนอยู่ตอนนี้คือโซนของเด็ก ที่มีเบาะให้เด็กนั่งหรือนอน เล่นก็ได้ มีรังผึ้งให้เด็กปีนขึ้นไป ไว้สำ�หรับอ่านหนังสือด้านบน ซึ่งดูจะเป็นที่ ชื่นชอบของเด็กมาก ที่สังเกตได้ในห้องสมุดบริเวณโซนเด็กนี้ คือ เขามีการจัด ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๑


แบ่งหมวดหมู่หนังสือเด็กออกเป็น 4 ช่วงอายุ ได้แก่ หนังสือเด็กวัยเตาะแตะ (0-3ปี) หนังสือเด็กวัยซน (4-6ปี) หนังสือเด็กวัยค้นหา (7-9ปี) และหนังสือเด็กวับเรียนรู้ (10-12ปี) บรรณารักษ์ที่ห้องสมุด TK Park เล่าว่า ส่วนใหญ่หนังสือจะถูกจัดเป็นหมวด หมู่ให้เหมาะสมกับวัย จะมีหลายครอบครัวพาเด็กมานั่งอ่านหนังสือที่นี่ บางคนก็ทิ้ง ลูกอ่านหนังสือแล้วไปทำ�งานแล้วค่อยกลับมารับลูกก็มี หนังสือภาพจะได้รับความ นิยมมากในเด็กเล็ก พ่อแม่จะชอบนำ�ไปอ่านแล้วหามุมเงียบๆ อยู่กับลูกสองต่อสอง แล้วอ่านให้เด็กฟัง “ที่นี่มีหนังสือภาพเยอะมาก และหลากหลายมาก” บรรณารักษ์ ว่ามาอย่างนั้น ยิ่งเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วยแล้วบริเวณนี้คนจะเยอะมาก ตรงเบาะ แทบไม่มีที่ว่างเลย ฉันเห็นเด็กชายคนหนึ่งนั่งอ่านหนังสือภาพตรงเบาะหนังสีแดง ดูจากรูปร่าง ลักษณะ เดาว่าน่าจะอายุประมาณ 5 ขวบได้ ไม่รู้ว่าน้องเขาอ่านตัวอักษรภายในเล่ม ออกไหม แต่เท่าที่สังเกตจนน้องเขาเปิดอ่านหนังสือจนจบเล่มแล้ว ฉันคิดว่าเขาดูจะ สนใจรูปภาพมากกว่าตัวหนังสือเป็นพิเศษ เด็กน้อยวางหนังสือเล่มนั้นลง สักพักก็ ไปหยิบอีกเล่มมาใหม่ ฉันแอบมองสังเกตอยู่นานจนเกิดความสงสัยว่า หนังสือภาพ มีอะไรที่ทำ�ให้เด็กตัวเล็กๆ รู้สึกสนใจ และดูจะทำ�ให้เด็กติดใจจนต้องหยิบอีกเล่มขึ้น มาอ่านขนาดนั้น นอกจากเด็กน้อยที่แอบสังเกตอยู่นาน ก็ยังเห็นเด็กโตอายุประมาณ 1012 ปีได้ กำ�ลังเลือกอ่านหนังสือภาพอยู่บริเวณมุมหนังสือเด็กวัยซน ซึ่งดูเหมือนว่า หนังสือภาพไม่ได้จำ�กัดอายุความชอบของแต่ละคนเลย และแต่ละคนก็ดูเหมือนว่า จะไม่สามารถหยุด ‘อ่าน’ มันจนจบเล่มได้เลย หรือกับนักเขียนหนังสือเด็กเอง ที่หลายคนคงไม่เคยเห็นหน้าว่าหน้าตาของผู้ ที่เขียนและวาดหนังสือภาพนั้นเป็นอย่างไร เมื่อพวกเขาได้เริ่มวาดภาพ เขากลับหลง

๑๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


รักและชื่นชอบในศิลปะ มีความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเด็ก จนหลายคนหลงใหล และยึดเป็นอาชีพ ไปจนถึงสามารถนำ�รายได้ไปหาเลี้ยงครอบครัวของตัวเองได้ ได้ทำ�ในสิ่งที่ตัวเองรัก มีรายได้ใช้จ่ายไม่ขัดสน เป็นอาชีพที่สุจริต นักเขียน หนังสือเด็กถ้าไม่รักศิลปะและไม่รักในความเป็นเด็กก็คงไม่สามารถยึดอาชีพนี้เป็น เวลานานได้ ความเป็นนักเขียนหนังสือเด็กที่ดีมีอะไรที่มากกว่า ‘การวาดภาพได้’ แต่ การเขียนหนังสือภาพคือการสื่อให้เชื่อ และสื่อให้คิด ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะตัดสินใจมาประกอบอาชีพค้าจินตนาการวาดภาพ นัก เขียนหนังสือเด็กจำ�เป็นต้องใช้ความคิด และว่ากันว่า นี่เป็นอาชีพที่รายได้น้อย ไม่มี เงินเดือนประจำ� ใครเลือกที่จะทำ�ก็ต้องมีความขยันตั้งใจจริงจังกับมัน ฉันวิเคราะห์หนังสือภาพแต่ละเล่มเริ่มตั้งแต่หน้าปก เนื้อหา สี และการวาด ภาพ ด้วยสายตาที่มีความสงสัยต่างๆมากมาย เวลาอ่านได้เอาความเป็นเด็กเข้าไป จับ สัมผัสถึงเนื้อหา ความรู้สึก แล้วก็พบว่าหนังสือภาพเป็นสิ่งที่อมตะ ไม่เคยตก ยุคหรือสูญหายไปตามเวลา ยังคงอยู่ทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่านักเขียนหนังสือเด็กได้เลิก อาชีพนักเขียนไปแล้ว เนื้อหาและคุณค่าของหนังสือก็ยังคงอยู่ให้เด็กอ่านได้ตลอด เพราะนักเขียนหนังสือเด็ก คือผู้ที่เขียนหนังสือภาพ เป็นคนที่นำ�ความคิด และจินตนาการมาใช้ เปรียบเสมือนกับเป็นครูที่สอนให้เด็กคิดจากผลงานของตัวเอง เกิดจินตนาการคิดตามหนังสือภาพ สำ�หรับฉันแล้ว ฉันคิดว่านักเขียนหนังสือเด็กทุก คนต่างมีหัวใจดวงเดียวกันของความเป็นครูบาอาจารย์ แม้จะเป็นคำ�ที่เชยไปบ้าง แต่ ฉันขอยืนยันคำ�เดิมคือ นักเขียนหนังสือเด็กมีหัวใจของความเป็นครู

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๓


๑๔

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


หนังสือภาพเกิดขึ้นอย่างไร หนังสือภาพเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หนังสือภาพได้เกิดขึ้นครั้งแรก ที่ญี่ปุ่นโดยจิตรกรชาวญี่ปุ่นชื่อ คาคูยู (Kakuyu) ได้จัดทำ�หนังสือภาพชื่อ สคอรล ออฟ แอนนิมอลส์ (Scroll of Animals) โดยไม่มีคำ�บรรยาย โดยคาคูยูมีชีวิตอยู่ ระหว่างปี พ.ศ.1596 ถึง 1683 หลังจากเขียนหนังสือภาพ ชื่อของเขาก็เป็นที่รู้จัก แพร่หลายในนามของโตบาโชโจะ (Toba Sojo) หนังสือภาพของคาคูยูเป็นที่นิยมชมชอบและเล่าเป็นนิทานสู่กันฟังทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ภาพในหนังสือแสดงให้เห็นสัตว์เล็กสัตว์น้อยไปร่วมสังสรรค์พักผ่อน หย่อนใจกันอย่างมีความสุข มีการว่ายน้ำ� มีการเลี้ยงอาหารใหญ่โต มีการรำ�คาบ และมีการเลือกราชาประจำ�วัน บุคลิกลักษณะของสัตว์ต่างๆ ตลกขบขันน่าเอ็นดู และเป็นที่ชื่นชอบของผู้อ่านมาก นอกจากจะมีภาพสัตว์เป็นบัญชีหางว่าวแล้ว ส คอรล ออฟ แอนนิมอลส์ ของคาคูยูยังเป็นหนังสือภาพที่แท้จริง มีภาพเป็นส่วน อธิบายเรื่อง และแสดงการกระทำ�ต่างๆอย่างชัดแจ้งโดยไม่จำ�เป็นต้องมีคำ�อธิบาย เป็นตัวหนังสือ หนังสือภาพเล่มนี้เล่มนี้แม้จะอายุมากถึง 800 ปีเศษแล้วก็ตาม แต่ เด็กสมัยนี้ ห็ยังชื่อชอบภาพในหนังสือเล่มนี้อยู่ เพราะว่าเด็กๆอ่านภาพแล้วเข้าใจ เป็นอย่างดี ต่อมาในคริสศตวรรษที่ 17 นักการศึกษาชาวยุโรปชื่อ คอมินิอุส (Comenius) ได้ทำ�หนังสือภาพชื่อ โอบิส พิคตัส (Obis Pictus) ในปีพ.ศ.2197 เพื่อใช้สอน ความหมายของคำ�และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพในหนังสือของเขา หนังสือ โอบิส พิคตัส ของคอมินิอุส ถือว่าเป็นหนังสือภาพเล่มแรกที่จัดทำ�ขึ้นเพื่อเด็กโดย เฉพาะ หนังสือภาพสำ�หรับเด็กและภาพประกอบหนังสือสำ�หรับเด็กก่อนคริสต ศตวรรษที่ 18 เป็นภาพพิมพ์ไม้และสีขาวดำ� หนังสือภาพสำ�หรับเด็กเล่มแรกๆที่ไม่มี

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๕


๑๖

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


หรือมีคำ�อธิบายเล็กน้อย ได้แก่ หนังสือภาพเอบีซี ของบรูโน มูนารี (Bruno Munari’s ABC) เป็นต้น ผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งภาพประกอบหนังสือสำ�หรับเด็ก คือ แรนดอล์ฟ คัลดิคอต สำ�หรับการเขียนและวาดหนังสือภาพสำ�หรับเด็กนั้น ไม่มีการประกฎแน่ชัด ว่าว่าได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อใด หนังสือภาพกลายเป็นหนังสือที่ให้ความคิดเด็กหลายคนในประเทศ และ สามารถสร้างความคิด สั่งสอนให้เด็ก ได้คิดต่อยอดไปอีกในอนาคต หนังสือภาพได้ รับการยอมรับจากผู้ปกครองและนักวิชาการหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะ ด้าน ศาสตร์ความคิด ด้านการจินตนาการ รวมไปถึงด้านการเรียนรู้ ที่สามารถพูดได้เต็ม ปากว่าเป็นเสมือนครูผู้สอนเด็กอีกคนหนึ่งก็เป็นได้ แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ยังไม่ได้รับ การยอมรับเท่าที่ควรคือ ‘อาชีพนักเขียน’ หลายคนมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่ยั่งยืน เป็น อาชีพของคนไส้แห้ง นอกจากเรื่องของด้านการเรียนรู้แล้ว หนังสือภาพยังมีความหมายมากกว่า การเป็นหนังสือที่เสริมพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก หรือบางทีคุณค่าของหนังสือเด็ก อาจเป็นมากกว่าการให้ความเพลิดเพลินผ่อนคลาย เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่มีใคร และ คงไม่มีคนทุกเพศทุกวัยชื่นชอบในการอ่าน จนเกิดความหลงใหลในหนังสือภาพได้ มากมายแบบนี้

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๗


๑๘

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


กว่าจะเป็น

ครูชีวัน วิสาสะ

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๙


๒๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


จุดเริ่มต้น

ของการเป็นนักเขียนหนังสือสำ�หรับเด็ก เรื่องของการเล่นในวัยเด็กนั้นสำ�คัญ เพราะเป็นตัวหล่อหลอม และปลูกฝัง ทำ�ให้เรามีโอกาสสัมผัสสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ถือว่าเป็นวัตถุดิบสะสม และมีผลต่อวิธีคิด ของเรา มีผลต่อความเข้าใจเด็กในปัจจุบัน นี่คือสิ่งที่ผมให้ความสำ�คัญ ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำ�ตัวกับผู้อ่านก่อน ชื่อของผมคือ ชีวัน วิสาสะ ชีวิตในวัยเด็กของผม เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เต็มไป ด้วยต้นไม้ เพราะในสมัยนั้นเทคโนโลยีความทันสมัยต่างๆ ยังไม่เข้ามามีบทบาทมาก เหมือนเช่นปัจจุบัน สมาชิกในครอบครัวของผม ไม่ว่าจะเป็น คุณพ่อ คุณลุง พี่ๆ น้องๆ ทุกคน ล้วนมีทักษะด้านศิลปะ ส่วนคุณแม่ ประกอบอาชีพค้าขาย แต่ก็ยังมีความเป็นศิลปินในตัวท่านเองที่ ค่อนข้างสูง ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๒๑


ชีวิตของผมเริ่มต้นในต่างจังหวัด จัดได้ว่าเป็นคนมีเพื่อนเยอะคนหนึ่ง ทั้งเพื่อน ละแวกบ้าน เพื่อนที่โรงเรียน และต่างจังหวัด ทำ�ให้มีประสบการณ์ในวัยเด็กที่หลาก หลาย ความซนตามประสาเด็กผู้ชายทำ�ให้ได้สัมผัสกับเพื่อนในวัยเด็กด้วยกัน บางทีที เรื่องราวความขัดแย้ง ซึ่งจัดได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่สำ�คัญด้วยเช่นกัน เด็กๆ ทุกคนต้องไปโรงเรียน เมื่อถึงวัยหนึ่งเด็กทุกคนต้องไปโรงเรียน ผม เองตอนเป็นเด็กชายก็เช่นกันต้องไปโรงเรียน หากแต่ในเรื่องของการเรียนนั้นทาง ครอบครัวของผมไม่ได้ขีดเส้นว่าต้องเรียนอะไร ถือว่าเป็นครอบครัวที่เปิดโอกาสให้ เลือกเองว่าต้องการเรียนอะไร ปล่อยให้คิดเองให้อิสระในการตัดสินใจ ครอบครัวพร้อม จะสนับสนุนไม่ว่าลูกๆ อยากเรียนอะไร ชีวิตเริ่มแรกของผมนั้น ไม่ได้ตั้งใจที่จะเรียนศิลปะ เพราะคิดว่ามีทักษะทางด้าน ศิลปะอยู่ก่อนแล้ว ผมจึงอยากจะไปเรียนสายอื่นบ้าง แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผมก้าวไม่พ้น ความเป็นศิลปะ ผมจึงเลือกเรียนศิลปะที่วิทยาลัยครูนครปฐม หลังจากเรียนจบผมก็รับราชการครูสอนศิลปะอยู่ 9 ปี จากนั้นก็เรียน มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร เรียนศิลปะศึกษา เนื่องด้วยผมเป็นคน ชอบทำ�หนังสือจึงเลือกเรียนวิชาโทการทำ�หนังสือ และฝันว่าอยากจะเป็นนักเขียนเรื่อง สั้น เขียนเรื่องนวนิยาย ความฝันในวัยเด็กของหลายๆคน ผมเชื่อว่าคงไม่ได้อยากเป็นแค่อย่างเดียว ความแตกต่างจะอยู่ตามแต่ละที่แตกต่างกันออกไป อยากเป็นนู้น อยากเป็นนี่บ้าง แต่ ที่ผมไม่คิดอยากจะเป็นเลย แต่คนอื่นเขาอยากเป็นกันคือ อาชีพหมอ ตำ�รวจ ทหาร ซึ่งบางทีมันอาจเป็นสิ่งที่ติดปาก พูดออกไปใครๆก็ตอบแบบนั้น ตามกันไป หรืออาจ

๒๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


บ้านครูชีวัน วิสาสะที่จังหวัดนครปฐม

เป็นครูบาอาจารย์ที่กระตุ้นให้เด็กว่าสิ่งนี้เป็นอาชีพมาตราฐาน พวกหมอ ครู ตำ�รวจ ทหาร ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เคยคิดอยากเป็นทหารเลย เพราะคิดว่ามันไม่สนุก คิดว่า อาชีพมันมีอยู่แค่นี้เองหรอ ตอนเด็กอาชีพนักธุรกิจ เราก็ไม่รู้ว่านักธุรกิจคืออะไร พอ โตขึ้นมาหน่อย มีความฝันอยากเป็นนักเขียนผจญภัย เพราะคิดว่ามันคงเป็นอะไร ที่สนุก ได้เดินทางไปตามที่ต่างๆ รู้สึกว่ามันเป็นอาชีพ อยากทำ�แบบนั้น เหตุผลที่ อยากเป็นนักเขียนเพราะเราชอบอ่านหนังสือ อยากเขียนเรื่องสนุกๆ ได้เหมือนกับผู้ ที่เขียนเรื่องมาให้เราอ่านบ้าง แต่การเป็นนักเขียนในตอนนั้นไม่ได้หมายถึงอยากเป็น นักเขียนหนังสือสำ�หรับเด็กเหมือนในอาชีพปัจจุบัน ตอนนั้นอยากเขียนเรื่องยาวๆ แต่สุดท้ายไม่ได้ทำ�ตามอย่างที่ฝัน เราไม่สามารถจะทำ�ถึงขั้นนั้นได้หรอก การเขียนเรื่องสั้น เขียนนวนิยายนั้น มันยาวเกินไป มันต้องใช้วัตถุดิบเยอะ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๒๓


แต่ด้วยความที่มีใจรักทางด้านการทำ�หนังสือ ประกอบกับความรู้ที่เรียนมาทาง ด้านศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป อีกทั้งทักษะในการสื่อสารกับเด็ก ความรู้ในการทำ� หนังสือเกี่ยวกับวรรณกรรมเด็กซึ่งได้ครูที่ดีที่ทำ�ให้ผมได้ศึกษาค้นคว้าต่อว่าหนังสือที่ดี สำ�หรับเด็กนั้นเป็นอย่างไร และมีโอกาสที่ดีได้เรียนรู้กับครูทั้งคนไทยและญี่ปุ่น ผมจึง ไม่ได้ทิ้งความฝันไปเลยทีเดียว ศิลปะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ปลายทางไม่จำ�เป็นต้องเป็นศิลปะ แต่ ระหว่างทางให้มีศิลปะไปเกี่ยวข้อง ศิลปะในที่นี้ผมอาจหมายถึงการเขียน บอกเล่า เรื่องราว แต่ก่อนที่จะเขียนนั้นต้องอ่านหาข้อมูล ดูภาพไปสัมผัสกับของจริง กลั่นกรอง ออกมา และลองเขียน วาดดู เด็กนั้นเมื่อมีความประทับใจอะไรเขาก็วาดออกมาตาม จินตนาการของเขา เราต้องเชื่อว่าเด็กมีศิลปะนิสัย ในที่นี้หมายถึงชอบวาด ขัดเขียน รูปที่เขามองเห็นรูปที่เข้าประทับใจ พอทำ�บ่อยๆ ก็จะเกิดทักษะ พอโตขึ้นความลึกของ ข้อมูลก็จะมากขึ้น แต่ศิลปะไม่ใช่ปลายทาง เป็นกระบวนการหนึ่งเท่านั้น อย่างเช่นคนที่เป็นผล นักวิทยาศาสตร์ พวกนี้เขาก็มีศิลปะอยู่ในตัวเพียงแต่ว่าศิลปะไม่ใช่ปลายทางของเขา ยกเว้นแต่คนที่สนจศิลปะและให้ศิลปะเป็นปลายทาง เช่น ศิลปินซึ่งพวกเขาจะให้เป็น ศิลปะปลายทาง ศิลปะจึงเป็นเครื่องมือการเรียนรู้อย่างดี เพราะทำ�ให้เรามีความสุขอิ่ม เอมใจระหว่างที่ศึกษาเรื่องนั้นเรื่องนี้ ผมจาก ด.ช.ชีวัน ในวันนั้นได้เติบโตขึ้นจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ได้พบคู่ชีวิตเป็น ครูศิลปะเช่นเดียวกันกับผมเอง เมื่อตอนที่เรียนอยู่ประสานมิตร หลังจากนั้นเราทั้งคู่ ได้สร้างครอบครัวกัน มีพยานรักตัวน้อยที่เติบโตขึ้นมาด้วยการหล่อหลอมด้วยศิลปะ

๒๔

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


หากแต่ลูกชายของผมเลือกที่จะเรียนในสายวิทยาศาสตร์ ส่วนลูกสาวตอนนี้เรียนอยู่ มัธยมต้น การที่เราเคยเป็นลูกมาก่อน เวลาเราถูกเลี้ยงมาอย่างไร ให้ลองมองย้อน กลับไปว่าอะไรคือข้อดี อะไรคือข้อเสีย เราต้องดูว่าการเลี้ยงสมัยก่อนอาจใช้ไม่ได้ ในปัจจุบันที่สังคมเปลี่ยนไปไม่ได้ เช่นการปล่อยและให้อิสระที่เคยถูกปล่อยแต่สมัย ก่อนมีสภาพแวดล้อมที่ดี พ่อแม่ปล่อยเรา เราก็ไม่ไปหาสิ่งที่ไม่ดี การเลี้ยงลูกเรา ต้องการข้อมูลและดูสภาพแวดล้อม อีกอย่างหนึ่งคือเราต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ดูสิ่งที่ เขาสนใจเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ไหม และสนับสนุน ถ้าตอนเด็กๆ เราปูพื้นฐานให้เขาดีในเรื่องการเล่านิทาน ใช้ศิลปะเป็นเครื่อง มือในการเรียนรู้ เขาก็จะหาสิ่งที่เขาชอบ หาจุดยืนได้เจอ ไม่ต้องแข่งขันมากมาย เพราะในปัจจุบันการแข่งขันเป็นที่น่าสังเกตุว่าการแข่งขันจะเป็นแบบไม่ร้จุดหมาย ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่ชัดเจนไม่มีเป้าหมาย ถ้าเลี้ยงลูกศร ถ้าเลี้ยงลูกให้เขารู้ว่า ชอบอะไรตั้งแต่เด็ก เขาก็จะมีเป้าหมายการแข่งขันก็จะน้อยลง เมื่อถึงช่วงที่ทำ�งานใช้ชีวิตในวัยผู้ใหญ่ ผมก็เริ่มมีความคิดบางอย่างและเริ่ม ตั้งคำ�ถามว่า ทำ�ไมคนเราตั้งแต่เกิดจนตายจะต้องประกอบอาชีพเพียงอาชีพเดียว พ่อเป็นครูต้องเป็นครูจนเกษียรเหรอ แม่ต้องค้าขายไปนานแค่ไหน ผมก็เริ่มมีความ คิดว่าจะเป็นครูอีกกี่ปี จะเป็นอย่างอื่นได้ไหม จะเป็นนักเขียนได้ไหม เป็นศิลปินได้ ไหม ค้าขายได้ไหม เมื่อมีความคิดที่ท้าทายผมจึงตัดสินใจที่จะลาออกจากอาชีพครู ผมเริ่มเข้าไปสัมผัสแวดวงการผลิตรายการโทรทัศน์สำ�หรับเด็ก โดยการ ชักชวนคนรู้จักอย่างน้านิดจากรายการสโมสรผึ้งน้อย นอกจากนี้ยังมีสำ�นักพิมพ์ที่ผม

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๒๕


ได้เคยเสนองานไป และสำ�นักพิมพ์กำ�ลังจะเปิดใหม่จะทำ�หนังสือเกี่ยวกับเด็ก ชักชวน ให้ไปทำ� ผมเลยมีโอกาสได้ทำ�หนังสือเด็ก ซึ่งพวกนี้ก็จะใช้ทักษะทางด้านการสื่อสาร และศิลปะ การสื่อสารก็คือวิธีการที่จะพูดคุยสื่อสารกับเด็กซึ่งมันมีรูปแบบ จะใช้ภาษา อย่างมีชั้นเชิงอย่างไรซึ่งไม่ใช่การสื่อสารโดยตรง ดังนั้นอาชีพนอกเหนือจากการรับ ราชการครูก็จะเริ่มมา นอกนั้นผมก็จะทำ�งานอื่นๆ ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเพลง เขียนบทละคร หรือการแสดงละครผมก็ยังเคยทำ�มาแล้วเช่นกันครับ ในความเป็นนักเขียนหนังสือเด็ก บางอย่างเราศึกษาโดยไม่รู้ตัวซึ่งมันจะมี ผลพลอยได้ โดยเริ่มจากการอ่าน รักในการอ่าน หรือรักในหนังสือ มันจะถูกบ่มเพาะ ในวัยเด็ก เริ่มต้นตั้งแต่เด็กแล้วเมื่อพอโตมาด้วยอิทธิพลของพ่อที่ทำ�ให้อยากอ่าน หนังสือไปด้วย พ่อเป็นคนชอบอ่านหนังสือ หลายครั้งที่พ่อจะปล่อยผมทิ้งไว้ให้เดินเล่นแถวสนามหลวง สภาพสมัยก่อน กับสมัยนี้มันต่างกัน เป็นตลาดนัดสนามหลวง ตลาดสดขนาดใหญ่มากมีลักษณะเป็น วงกลม ขายผัก ขายปลา หลากหลายสารพัด เปรียบเทียบได้กับตลาดนัดจตุจักรที่ ไม่ถาวร ไม่มีหลังคา คนที่ไปขายต้องกางเต้นท์ขาย เป็นเต้นท์งานวัดขายแบบเสาร์ อาทิตย์ ตอนนั้นต่างแซ่ตั้งก็ยังไปขายน้ำ�เก๊กฮวยด้วย คุณต่าง แซ่ตั้ง ที่เมื่อก่อนเขาเคย เป็นกวีซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ตอนนั้นผมยังได้ทันไปกินน้ำ�เก๊กฮวยแกอยู่เลย บริเวณฝั่งตรงข้ามจะเป็นพระธรณีบีบมวยผม เป็นซุ้มหนังสือ คือซุ้มหนังสือ เก่า บางทีผมขี้เกียจไปตลาดนัดกับพ่อเพราะคนด้านในจะเยอะมาก แน่นมาก พ่อก็จะ ปล่อยไว้ให้อ่านหนังสือฟรีด้านนอก ลักษณะจะเป็นแบบซุ้มหนังสือที่จตุจักร ตรงนั้นจะ มีหนังสือเก่าของญี่ปุ่น หนังสือเด็ก หนังสือเก่าของฝรั่งที่เป็นพวกมาเวล ดีซี คอมมิค

๒๖

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ตู้เก็บหนังสือ และของเล่นของครูชีวัน วิสาสะ ตั้งแต่เด็ก

ผมก็ไปเปิดอ่าน เขาจะขีดหัวหนังสืออออก พอไปนั่งอ่านเราก็รู้สึกชอบ ได้อ่านแล้วก็ คิดไปด้วย มันเหมือนกับเป็นจุดเริ่มต้นของการที่เรารักในหนังสือแล้วก็อ่าน เมื่ออ่าน หนังสือมันก็จะพัฒนาไปตามวัยของเรา ตามอิทธิพลของพ่อ ตามสิ่งแวดล้อมของเรา ซึ่งจะตรงกับจิตวิทยา การพัฒนาของคนที่เขาได้เขียนในหนังสือหลากหลายประเภท เอาไว้เราจะพบในแต่ละช่วงวัยเราจะชอบอะไรบ้าง แล้วเมื่อย้อนกลับไปดูมันจะใกล้ เคียงกัน ความเป็นวัยรุ่นทำ�ให้เราชอบเรื่องของประวัติบุคคล ช่วยพัฒนาการอ่าน ตรงกับความสนใจต่อวัยรุ่น เรื่องจริง ประวัติบุคคล ผจญภัย และเรื่องทั่วไป ในช่วงแรกของการเริ่มเป็นนักเขียน ผมพยายามฝึกฝน โดยความเป็นนัก เขียนมันไม่ได้หายไปไหน แต่พอเรามีอาชีพแล้วเราจึงเข้าใจว่า ในการเป็นนักเขียน เราไม่จำ�เป็นต้องลาออกไปจากความเป็นครูเพื่อเป็นนักเขียนเพียงอย่างเดียว เพราะ ว่าเรายังไม่สามารถคลำ�ทางได้ เพราะยังเขียนไม่เป็น ช่วงนั้นมีความคิดแต่ยังเขียนไม่

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๒๗


เป็น เพราะยังหาจุดที่ลงตัวไม่ได้ พอเราได้เป็นครูมันก็ลงตัวแล้วทำ�ให้เรามีอาชีพ แต่ หลังจากเป็นนักเขียน เราก็เขียนหนังสือ ตอนแรกๆ เลยที่เขียน เวลาเขียนหนังสือต้องคิดเริ่มต้นจากจินตนาการของเรา เราคิดเรื่องอะไรมา เราคิดว่าแบบนี้น่าจะสนุก แล้วก็ลองทดลองเขียนขึ้นมาแบบตอน แรกๆเลยนะ แล้วเราก็ดูหนังสือที่เราชอบเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนที่เพิ่มเติมออกมา ก่อนเขียนการ์ตูนเด็กสักเรื่องหนึ่ง เราจะต้องศึกษาไปเรื่อยๆ สังเกตในแง่ทฤษฎี ต่างๆ แต่ทั้งนี้การเรียนในระบบกับความจริงบางทีมันต่างกัน คือ มันยังไม่เชื่อมต่อกัน อย่างเรื่องทฤษฎีที่เราศึกษามาบางทีใช้กับเด็กจริงๆไม่ได้ พอเวลาเรามาเจอเด็กจริงๆ เราก็ไม่สามารถเปิดตำ�ราดูได้ว่าแบบนี้ควรทำ�ยังไง ถ้าถามว่าในส่วนของหนังสือจิตวิทยาของเด็กซึ่งพูดถึงความแตกต่างของการ พัฒนาเด็กในแต่ละวัย ถามว่าจำ�เป็นไหมที่ต้องศึกษา? ผมคิดว่ามันจำ�เป็นนะสำ�หรับคนที่สนใจ เพราะมันเปรียบเสมือนเป็นแนวทาง ให้คนที่สนใจ หรือว่าต้องการเริ่มต้นทำ�ให้เกิดความเข้าใจเด็ก ทำ�ให้มีหลักยึดเอาไว้บ้าง แต่มันไม่ได้สำ�คัญอะไรมาก เพราะหนังสือจิตวิทยาไม่ใช่เป็นคำ�ตอบแบบสำ�เร็จรูป โดยการที่เราจะเข้าใจ เด็กจริงๆ และต้องการเขียนหนังสือเด็กจริงๆ สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือ การสัมผัสกับ ประสบการณ์ตัวตนของเด็กโดยตรงมากกว่า หนังสือเล่มแรกที่ผมเขียน ไม่ได้เป็นหนังสือเด็กเพื่อพิมพ์ขาย แต่เป็นการ ทดลองทำ�รับจ้างเพื่อนที่เรียนด้วยกันที่เรียนวิทยาลัยครู ทำ�หนังสือส่งอาจารย์ ตอนนั้น เขียนหนังสือการ์ตูน แต่ถ้าเขียนหนังสือเพื่อพิมพ์ขายเลยจะมีอยู่ 3 เล่มด้วยกันคือเรื่อง หาหางมังกร แข่งไม้เท้า และหนูจี้ดกินจุ ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำ�นักพิมพ์ธีรสาร

๒๘

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ตอนนั้นผมเขียนตอนที่เรียนอยู่ประสานมิตร ตอนลาไปเรียนต่อปี4 ซึ่งใกล้จะ จบแล้ว อายุตอนนั้นประมาณ 20 ปีต้นๆ ตอนนั้นมีงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาตอยู่ที่ กระทรวงศึกษาธิการ คุรุสภ แถวถนนลูกหลวง สมัยก่อนจะจัดอยู่ตรงนั้น แต่แรกเดิมทีงานสัปดาห์หนังสือเขาจะจัดที่สวนลุมบริเวณสวนปาล์ม ทั้งนี้ ภายในงานสัปดาห์หนังสือจะมีตลาดนัดต้นฉบับ ตอนนั้นหลายคนที่ อยากเป็นนักเขียน พวกเขามักจะเอาเรื่องสั้น เรื่องนิยาย หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหนังสือ ไปเสนอขาย เขาจะมีโต๊ะตั้งวางไว้ ตอนนั้นผมก็เอางานเขียนไปเสนอขายก็สามารถ ขายได้ ใน1ปีผมทำ�ส่งไป2เรื่อง อีกครั้งหนึ่งทำ�ไปอีกเรื่องหนึ่ง สาเหตุที่ทำ�สองเรื่อง ตอนนั้นเพราะว่าเรียนใกล้จบแล้วจึงมีเวลาทำ� แต่พอต่อมาผมกลับมาสอนหนังสือ เวลาในการเขียนเลยไม่มี แต่ก็ได้ทำ�ส่งเข้าไปเหมือนกัน

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๒๙


๓๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


อุปสรรค

และการก้าวผ่านปัญหา งานทุกงานย่อมมีปัญหา การเป็นนักเขียน การเลือกสำ�นักพิมพ์ในการส่งผลงานเข้าไปเป็นอะไรที่สำ�คัญ จำ�เป็นไหมที่นักเขียนที่ต้องการมีชื่อเสียงจะต้องเข้าสำ�นักพิมพ์ขนาดใหญ่? ผมว่ามีความจำ�เป็น แต่เราต้องดูว่าสำ�นักพิมพ์นั้นเขามีทิศทางอย่างไร ทิศทางที่ว่านี่คือทิศทางของหนังสือ และทิศทางของตลาด อย่างทิศทางของหนังสือ คือแนวแทงของหนังสือ เราต้องดูว่าเราอยู่ในแนวทางที่เขาทำ�หรือไม่ ถ้ามันไม่ใช่ แนวทางที่เขาทำ� สำ�นักพิมพ์เขาก็ไม่เอา แล้วการเป็นนักเขียนหนังสือเด็กนั้น ด้านชื่อเสียงและความโด่งดังจัดว่าจับได้ ยาก เพราะมันไม่ใช่วงการบันเทิงที่นักแสดงจะมีชื่อจากการโฆษณา จากการผลักดัน แต่การเป็นนักเขียนหนังสือมันแตกต่างกัน เพราะจะเน้นที่เนื้อหา แล้วหนังสือจะมี ปัจจัยหนึ่งอย่าง คือ ปัจจัยการตลาด การตลาดจะเป็นสิ่งสำ�คัญ เราต้องดูว่าสำ�นัก พิมพ์มีการตลอดอย่างไร เขาทำ�การขายยังไง บางสำ�นักพิมพ์เขาไม่ได้ดีเด่นดังอะไรนะ แต่เขาก็ยังสามารถขายได้ อาจไม่เน้นคุณภาพ นักเขียนอาจพอใจหรือไม่พอเราก็ไม่สามารถรู้ได้ นักเขียนสมัยใหม่อาจจะภูมิใจแค่ว่า ขอให้มีหนังสือออกมาวางขายตัวเองก็ดีใจแล้ว ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๓๑


ความรู้สึกของการเป็นนักเขียนพอได้เห็นว่ามีหนังสือวางขายอยู่ตามร้านหนังสือ เราจะ รู้สึกว่าเรามีผลงานของเราแล้ว ผมเชื่อว่าทุกคนที่เป็นนักเขียน ผลงานออกมาเล่มแรก จะภูมิใจสุดๆ จะรู้สึกดีใจ แต่พอเรามาดูที่ยอดขายแล้วอาจรู้สึกห่อเหี่ยวก็ได้ สำ�นักพิมพ์แต่ละที่ความเคี่ยวไม่เท่ากันเช่นกัน บางที่มีความเคี่ยวมีชั้นเชิง มีกลเม็ดเด็ดพลายไม่เหมือนกัน คนที่คิดอยากเป็นนักเขียน สิ่งที่ควรคิดไว้อย่างหนึ่งเลยคือ สำ�นักพิมพ์ส่วนใหญ่ มีแนวโน้มเอาเปรียบนักเขียน เขาจะมีวิธีการสารพัด ซึ่งในฐานะที่เราเป็นนักเขียน เรา จะสามารถสรุปเป็นวิธีการใดก็ได้ เราต้องมีการคิดขึ้นมาเพื่อลดต้นทุนของนักเขียน เพราะปัญหาส่วนหนึ่งจะอยู่ในส่วนของลิขสิทธิ์ มันจะมีหลายรูปแบบด้วยกัน ทาง สำ�นักพิมพ์จะไม่ค่อยอยากจ่ายค่าลิขสิทธิ์เท่าใดนัก ปัจจุบันผมทำ�ทุกอย่างที่เป็นงานเกี่ยวกับเด็ก บางทีก็มีคนสงสัยนะ วันหนึ่งมีแม่บ้านที่เขาทำ�งานเป็นครูมาถามผมว่าทำ�งาน อะไร ผมตอบอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ถ้าจะตอบว่าเป็นนักเขียน คนทำ�หนังสือภาพ สำ�หรับเด็ก อันนั้นก็ถือว่าถูกส่วนหนึ่ง อาชีพของผมมันขึ้นอยู่กับช่วงเวลามีงานอะไร เข้ามาซึ่งเป็นงานที่มีคนเขาคิดว่า เราน่าจะคิดออก แต่งานทุกอย่างนั้นจะต้องไปเชื่อม โยงกับเด็ก ถ้าถามว่าเป็นอาชีพหรือเปล่า? งานแต่ละอย่างที่ผ่านเข้ามา ไม่ใช่อาชีพ ต้องบอกว่าเป็นงาน อย่างตอนนี้ที่เป็นภาระอย่างหนึ่ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน คือ การทำ�รายการทีวี ไปช่วยทำ�รายการ ไปออกรายการทีวี ซึ่งก่อนหน้านี้ผมก็เคยทำ�มาแล้ว แล้วก็ หยุด เหตุผลที่หยุดนั้นเป็นเพราะว่ารายการทีวีเด็กบ้านเรานั้นยังไม่เติบโตสักเท่าไหร่

๓๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ตอนนั้นทำ�รายการผึ้งน้อย แล้วก็มีผึ้งใหญ่ใจดี ผมไปช่วยงานของเขาในช่วง ยุคกลางถึงยุคสุดท้าย ตอนนั้นมีบ้างฉางซื้อไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จนมาเป็นเกม โชว์ เปลี่ยนรูปแบบไปจากรายการผึ้งน้อยแบบดั้งเดิมซึ่งแต่ก่อนจะให้เด็กมาแสดง ความสามารถ ผมเคยไปช่วยรายการทีวี รายการเห็ดหรรษา ซึ่งแต่ก่อนอยู่ในสถานีโทรทัศน์ ช่องไอทีวี หรือไทยพีบีเอสในปัจจุบัน จากนั้นผมก็หยุดไปกลับมาทำ�หนังสือภาพ บางทีกลับไปบรรยายพวกหนังสือนิทาน บรรยาเรื่องสื่อเกี่ยวกับครูเพื่อนำ�ไปสอน เด็ก แล้วก็ไปเป็นกองบรรณาธิการกองหนังสือภาพให้กับทาง SCG เกี่ยวกับพวก หนังสือภาพ และหนังสือแปล เป็นเกี่ยวกับสอนบรรยาย ทำ�หนังสือไปด้วยแล้วก็ ตระเวนไปจังหวัดละ 5 วัน 4 ภาพ เพื่อจะไปให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิด เพื่อ ที่จะทำ�รายการทีวี สำ�หรับคนที่สนใจเข้าอบรบเพื่อทำ�รายการทีวีเด็ก ผมไปให้มุม มองวิธีคิดงาน มุมมองการสื่อสารกับเด็ก สิ่งนี้ก็จัดว่าเป็นงานส่วนหนึ่งที่นอกเหนือ จากการทำ�หนังสือภาพ ว่าด้วยเรื่องของปัญหา ทุกงานมีปัญหาด้วยกันทั้งหมด จะแตกต่างเป็นงานๆ ไป ปัญหาเริ่มมีตั้งแต่วิธีการคิดหนังสือเลย ปัญหาก็คือการแก้ปัญหา ต้องคิดว่า เราต้องมาแก้ปัญหาอะไรบ้าง ทางปัญหา ทางเทคนิค และเราก็ต้องมีการคาดการณ์ ล่วงหน้าว่ามันจะมีปัญหาอะไรล่วงหน้าอีก ก่อนที่จะเริ่มทำ� คิดถึงปัญหาหนักเอา ไว้ก่อน แต่ละงานจีปมปัญหาอยู่ทั้งนั้น เราต้องหามันให้เจอ อย่างหนังสือนั้นมันก็มี ปัญหาด้วยเช่นกัน ในแนวคิดของเรา ในวิธีการนำ�เสนอของเรา เราจะเข้าใจหรือเปล่า ให้เรา ลองถามตัวเองว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาของเราหรือเปล่า แล้วเราจะมีวิธีแก้ปัญหากับมัน ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๓๓


อย่างไร เทคนิดที่เราเสนอไปแบบนี้ การเล่าเรื่องแบบนี้ผู้ที่อ่านเขาจะเข้าใจไหม เด็ก เปิดอ่านพวกเขาจะเข้าใจไหม ซึ่งตรงนี้ปัญหาคือเรารู้เราเข้าใจอยู่ฝ่ายเดียว การที่เรา สื่อสารด้วยประสบการณ์ของเด็กบางคนเขาอาจเข้าใจ แต่ก็จะมีบางคนที่เขาอาจจะไม่ เข้าใจด้วยเช่นกัน นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น มันไม่ได้มีแค่ปัญหาเดียว วิธีการแก้ปัญหาง่ายๆคือ เราต้องพยายามสร้างความสมดุลความเข้าใจให้ได้ อย่างทำ�รายการทีวีนั้นก็มีปัญหา แต่ไม่ใช่ปัญหาเรากับเด็ก ปัญหาที่พบคือการ ออกแบบเนื้อหา มีปัญหากับทางผู้บริหารเพราะเนื่องจากความเข้าใจไม่ตรงกัน ยก ตัวอย่างเช่น พอผ่านไป 4 ตอน 5 ตอน ผู้บริหารเขาก็ถามว่า ทำ�ไมครูชีวัน วิสาสะ คุณ จะคุยเรื่องตัวเลขไปอีกนานไหม สำ�หรับเรา เราจะเข้าใจว่าทำ�ไมต้องพูดถึงตัวเลข แต่ สำ�หรับผู้ใหญ่จะมองว่า ทำ�ไมถึงมีแต่ตัวเลขหรอ การที่เราหยิบตัวเลขมานำ�เสนอมาคุยกับเด็กนั้นเป็นเพราะว่ามันมีความคิด อย่างอื่นอยู่ เป็นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ เรื่องของการจินตนาการของตัวเลข มา เป็นตัวละครเท่านั้นเอง เวลาเราแต่งหนังสือ มันจะมีไปซ้ำ�กับเจ้าอื่นเหมือนกัน พอแต่งเสร็จกลับพบ ว่ามีคนอื่นคิดไว้อยู่แล้ว คิดเขียนเรื่องเสร็จแล้วแต่เวลาและการจัดการไม่ลงตัว เรื่อง ต้นฉบับก็ยังไม่ได้ออกมา แต่มันก็มีหนังสือออกมาโดยมีลักษณะลีลาเดียวกัน ลูกเล่น การใช้ภาษาเหมือนกัน แต่เรื่องมันคนละเรื่องกัน ปัญหาเรื่องซ้ำ�กันที่เจอจะประมาณนี้ พอรูปเล่มออกมาปุ๊บ ผมก็ตกใจอยู่ ในปัจจุบันคู่แข่งนักเขียนหนังสือเด็กถือว่าเยอะขึ้นเรื่อยๆ คนที่เป็นนักเขียน หนังสือเด็กที่ดีได้จะต้องมีการสั่งสมประสบการณ์นะ ไม่ใช่แค่ปีสองปีก็สามารถเป็นได้ สำ�หรับผม ผมเริ่มเขียนหนังสือจริงจังก็คือ เริ่มในปี 2536-2537 ตอนนั้นเริ่มทำ�หนังสือ เป็นเป็นจัง ร่วมกับสำ�นักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก

๓๔

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ในปี 2537 ตอนนั้นอายุ 31 ตอนที่เริ่ม เพราะว่า ผมเริ่มทำ�งานบรรจุรับ ราชการครูปี 2526 ตอนนั้นเงินเดือน 2250 บาท ช่วงนี้ให้เงินลูกพอกับที่เราได้รับ เงินเดือนราชการ ตอนนั้นอายุ 19 เป็นครูตั้งแต่อายุ 19-20 ปี ผมก็เป็นครูมา 9 ปี แล้วก็ลาออก ผมลาออกมาทำ�อาชีพอิสระ ทำ�งานฟรีเล้นซ์ ช่วยงานทีวี แล้วก็เป็นนักเขียน ไปด้วย แต่ว่าไม่ได้ออกมาปุ๊บแล้วจะมีหนังสือทันทีหรือเริ่มเขียนทันที ผมเริ่มทีละ นิด ใช้ประสบการณ์ที่ทำ�เรื่องเกี่ยวกับเด็ก ไม่ใช่ว่าทำ�หนึ่งเดือนจะเสร็จเลย หรือ ว่าอาทิตย์เดียวจะเสร็จเลย เพราะความเป็นต้นฉบับเป็นเรื่องที่เราต้องขัดเกลาให้ ละเอียด พอประมาณปี 2537 ผมก็เริ่มทำ�งานหนังสืออย่างจริงจัง ตอนนั้นโชคดี ถ้าเขียนหนังสืออย่างเดียวเลยนะ อย่างอื่นไม่ทำ� ผมคิดว่าอยู่ ยาก เพราะว่าหนังสือเราไม่ได้ออกได้ทุกเดือน ยิ่งปีหลังๆ ยิ่งมีต้นฉบับยิ่งมีความคิด เก็บเอาไว้ ก็ยิ่งทำ�ออกมาไม่ได้อย่างทันทีทันใด ยิ่งช่วงหลังๆออกมาปีหนึ่งสองเล่ม ก็ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๓๕


ถือว่าเยอะแล้ว ช่วงนั้นค่าลิขสิทธิ์จะได้ 10 เปอร์เซนต์จากยอดพิมพ์ที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นมาตราฐาน จากยอดขาย สมมุติว่าตอนนั้นผมทำ�เรื่องคุณตาหนวดยาว เรื่องอีเล้งเค้งโค้ง คุณตาหนวดยาวเล่มละ 125 บาท ตอนนั้นพิมพ์ 3000 เล่ม คือได้พิมพ์เล่ม ละ 12 บาท วิธีการคิดผมตอบแทนคือ เอา 12 มาคูณกับ 3000 บาท ผมจะได้ค่า ตอบแทนมา 36000 บาท สำ�หรับที่มาของราคาหนังสือ สำ�นักพิมพ์เขาจะมีการคำ�นวณว่าขนาดนี้ พอ พิมพ์ออกมาแล้ว จะใช้ต้นทุนในการพิมพ์เท่าไหร่ แล้วเขาจะคูณไป เล่มละ 30 บาท การพิมพ์นะมันจะตั้งราคาไม่สูงเท่าไหร่ เพราะมันมีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นด้วย แต่ต้องตั้ง ต้น 30 บาท นำ�มาคูณ จะคูณ 3 คูณ 4 คูณ 5 ก็จะได้มาเป็นราคาของหนังสือของเล่ม นั้นๆ ถ้าถามว่านักเขียนสามารถกำ�หนดหรือเรียกค่าลิขสิทธิ์ได้ไหม? ผมคิดว่ามันไม่มีอะไรตายตัวนะ มันเป็นเรื่องของการต่อรองทางธุรกิจ ระหว่าง ผลประโยชน์ของนักเขียนกับผลประโยชน์ของสำ�นักพิมพ์ควรประสานและก็ลงตัว ควร จะเสมอกัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ นักเขียนอาจดูเหมือนว่าทำ�งานง่าย แต่จริงๆ แล้วมันไม่ง่าย เพราะมันมีเบื้องหลังกว่าจะได้ชิ้นงานของมันอยู่ ตอนที่ไปเสนองาน นัก เขียนกับสำ�นักพิมพ์จะต้องคุยกันให้ได้ เวลาคุยต้องคุยกับบรรณาธิการ แล้วฝ่ายบรรณาธิการจะไปคุยกับเจ้าของ แต่ละสำ�นักพิมพ์จะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน มีคณะบริหารอีก บางทีเราต้องเข้าไปที่ ประชุม หลายคนอาจคิดว่ามันเป็นการตัดสินใจแค่คนๆเดียว แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ พอการตัดสินใจไปถึงขั้นคณะบริหาร คนอื่นก็ต้องมาร่วมพิจารณาออกความ เห็น แล้วเขาจะคิดว่าเขาจะคำ�นึงถึงผลประโยชน์ของใคร ซึ่งส่วนใหญ่เขาจะคำ�นึงผล ประโยชน์ของตัวเอง นี่แหละคือปัญหาความซับซ้อนยุ่งยาก ซึ่งนักเขียนจะต้องมีความ

๓๖

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


เข้าใจในตรงนี้ก่อนว่าแต่ละสำ�นักพิมพ์นั้นมีระบบยังไง พอมีระบบแบบนี้ เราต้องรู้ ว่าเราต้องสู้และเจอกับอะไรบ้าง เราจะต้องปรับตัวเข้าหา ต้องรู้วิธีปรับตัวอย่างไรถึง จะไม่เสียเปรียบ ไม่ทำ�ให้เสียความเป็นตัวตนมากเกินไป แล้วผลที่ออกมาต้องมีความ ภูมิใจในตนเอง ต้องไม่ใช่ผู้เป็นคนขอเข้าไป เราจะต้องสง่างาม ต่อรองกัน อะไรที่เรา สามารถยอมได้ต้องยอม อะไรที่ยอมไม่ได้อย่าไปยอม มันต้องมีจุดแข็ง และจุดยืนแต่ละฝ่ายที่สามารถตกลงกันได้

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๓๗


๓๘

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


กว่าจะ

ออกมาเป็นชิ้นงาน

‘หนังสือภาพสำ�หรับเด็กเป็นหนังสือสำ�หรับอ่านเพื่อฟัง’ ฟังดูเผินๆ เหมือนไม่น่ามีความหมายอะไร คือเวลาอ่านแล้วมันก็มีเสียงและ เด็กก็ฟังเท่านั้นก็จบ เมื่อมานั่งตีความ การอ่านเพื่อฟัง ทำ�ไมท่านถึงเน้นว่า ‘อ่านเพื่อฟัง’ แสดงว่าประโยคที่ผู้ใหญ่จะต้องอ่านมันต้องมีความพิเศษ มันไม่ใช่คำ�พูด ลอยๆ แน่นอน การอ่าน คือการออกเสียงตามข้อความที่คนแต่งอย่างชัดถ้อยชัดคำ� ดังนั้น ข้อความที่คนแต่งขึ้น มันจะต้องแตกต่างกับคำ�พูดที่คนพูดกันปกติ ฉะนั้นตรงนี้จะต้องมีการกลั่นกรอง ผมเลยมาตีความตรงนี้ว่า หนังสือภาพสำ�หรับ เด็กป็นหนังสือสำ�หรับอ่านเพื่อฟังใครล่ะเป็นคนอ่าน พ่อ แม่ ผู้ใหญ่ ครู อันนี้ก็เป็น โจทย์สำ�หรับผมแล้วว่า .. เราจะทำ�หนังสือให้ใครอ่าน เมื่อก่อนเราคิดว่าซื้อหนังสือ เด็กก็ต้องเอาไปแล้วให้เด็กอ่าน เมื่อมีโจทย์มาใหม่ว่า หนังสือเพื่ออ่านให้เด็กฟัง ซึ่ง พ่อ แม่ ครู ผู้ใหญ่ ที่จะเป็นคนอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เขามีความจำ�กัดทางด้านภาษา หรือเปล่า มีความจำ�กัดด้านการศึกษาหรือเปล่า ตรงนี้เป็นโจทย์หนึ่งที่คิดอยู่เสมอ ในการทำ�หนังสือภาพ ไม่ใช่ว่าเราเก่งทางภาษาแล้วเราก็ใส่เต็มที่ไปเลย แต่เมื่อเขียน ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๓๙


๔๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ออกมาแล้วครูอาจจะอ่านได้แต่พ่อแม่อ่านไม่เข้าใจ ตรงนี้ก็เป็นอีกเรื่องสำ�คัญที่ต้อง คิด ทีนี้ในความหมายของการอ่านหนังสือเด็ก คืออ่านอะไร ความจริงก็คือการ อ่านหนังสือนั่นแหละ แต่หนังสือเด็กในที่นี้ผมถอดรหัสออกมาว่า มันมีเนื้อหา มี ภาษา มีภาพ เนื้อหา หมายถึงอะไร หมายถึงเรื่องราวหรือเปล่า เรื่องราวที่เป็นนิทาน หรือเปล่า ถ้าเราจะทำ�หนังสือภาพ หนังสือภาพอาจจะกินความไปถึงหนังสือภาพที่ เป็นนิทานก็ได้ ไม่เป็นนิทานก็ได้ เพราะฉะนั้นเนื้อหามันจะเป็นอย่างไร หนังสือที่มี เนื้อหาเป็นนิทานกับไม่เป็นนิทาน การใช้ภาษามันจะแตกต่างกันไหม อันนี้เราต้อง คิดเสมอ ทีนี้ ภาพ การนำ�เสนอภาพด้วยเทคนิคอะไร ออกแบบภาพอย่างไร ภาย ใต้รูปเล่มแบบไหน แล้วสำ�หรับอ่านให้ใครฟังล่ะ อ่านให้เด็กฟัง เด็กอายุเท่าไหร่ ฟัง เพราะฉะนั้นการทำ�หนังสือภาพของผมแต่ละเล่มจะมีเรื่องพวกนี้ลอยอยู่ใน หัวอยู่ตลอดเวลา เราไม่ทำ�งานแบบตั้งโจทย์ว่าคืนนี้จะต้องฝันนิทานให้ได้ซักเรื่อง หนึ่ง พอได้ปุ๊บก็เอาจำ�นวนหน้ามาหาร ไม่ใช่สิ ไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องเอาโจทย์ เอา คำ�ถามเหล่านี้มาตรวจสอบหนังสือของเรา ทีนี้เวลาทำ�หนังสือภาพสำ�หรับเด็ก อาจจะมีปัญหาเรื่องที่มาของเรื่อง เช่น เรื่องนี้ได้มาจากไหน คิดออกมาได้อย่างไร เป็นคำ�ถามที่เจอเยอะมาก คิดเรื่องได้ อย่างไร เอาเรื่องมาจากไหน ผมจึงสรุปเอาจากตัวเองออกได้ 4 ข้อนี้หรือเปล่า การสั่งสมประสบการณ์ การสังเกตชีวิตเราและชีวิตของเด็กด้วย รวมถึง ชีวิตของคนที่อยู่รอบข้างด้วย พวกนี้คือที่มาของเรื่องทั้งนั้น พอสังเกตแล้วคิดบ่อยๆ เข้า เราก็อาจจะตกผลึกทางความคิด ที่มาของเรื่องอีกทางหนึ่งคือ การดู การ อ่าน แล้วก็คิด คิดไปเรื่อยๆ คิด คิด คิด ความจริงมันคือ การคิดใหม่นั่นละ ข้อ 4 คือ รูปแบบ มีวิธีคิด มีสูตรเฉพาะตัว เคยคิดไหมครับว่าการทำ�หนังสือมันต้องมีสูตร

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๔๑


๔๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


แน่นอน สูตรหรือวิธีคิดเฉพาะตัว คือความคิดแบบฉับพลัน หรืออธิบายสั้นๆ ว่า ปิ๊ง! นั่นเอง ซึ่งฟังดูช่างไม่เป็นวิชาการเอาเสียเลย ผมขอยกตัวอย่างเรื่องการสั่งสมประสบการณ์ชีวิต มารวมเข้ากับการ ตกผลึกความคิด ด้วยหนังสือ “น้องส้มโอกับพี่หลอดไฟ” ภาพนี้น้องส้มโอวาด สารภาพได้เลยว่าได้รับอิทธิพลจากปกรองของเรื่อง “อนุบาลช้างเบิ้ม” ที่มีลายมือ ของช้างเยิ้ม เขียนว่า “ช้างเบิ้มเขียนเองนะ” จับความคิดได้ว่าเป็นอารมณ์ของเด็ก ที่อยากจะแสดงออก อยากจะอวดฝีมือ บังเอิญตอนนั้นลูกสาวอายุ 3 ขวบกว่า เมื่อ เห็นผมวาดเรื่องนี้ เห็นตัวละครแบบนี้ เขาก็รู้สึกว่ามันวาดง่ายดี เลยเอาไปวาดบ้าง ก็ในเมื่อลูกเอาของพ่อไปวาดแล้ว พ่อก็เลยเอาคืนบ้าง เลยเอาภาพที่เขาวาดนี่ละมา ใช้ในหนังสือ ผมจะค่อยๆ อ่านให้ฟัง

น้องส้มโอ พี่หลอดไฟ โอ๊ะ พี่หลอดไฟหายไปไหน พี่หลอดไฟๆ เจ้าลูกเจี๊ยบไม่ใช่พี่หลอดไฟ อยู่นี่เองพี่หลอดไฟ เจ้าตุ่นปากเป็ดไม่ใช่พี่หลอดไฟ พี่หลอดไฟปีนต้นไม้เล่นใช่ไหม เจี๊ยกๆ นั่นไงพี่หลอดไฟกำ�ลังว่ายน้ำ� ฮือๆ พี่หลอดไฟอยู่ไหน มาแอบอยู่ที่นี่เองพี่หลอดไฟๆ ช่วยด้วย โครม! โอ๋ๆ อย่าร้องนะ พี่หลอดไฟไปซื้อไอติมมาให้น้องส้มโอ พี่หลอดไฟใจดีจังเลยนะ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๔๓


นอกจากได้ไอติมแล้วยังได้หัวปูดมาคนละ 1 ปูด ที่มาของเรื่องนี้เข้ากันกับ หัวข้อที่ว่า เป็นการสั่งสมประสบการณ์ สังเกตชีวิต คือสังเกตทั้งชีวิตเรา สังเกตทั้ง ชีวิตของเด็ก เด็กใกล้ตัว ในที่นี้ก็คือชีวิตของลูก จะเล่าที่มาของเรื่องให้ฟัง ถ้าใครมี ประสบการณ์ในลักษณะนี้ก็สามารถนำ�มาสร้างเรื่องได้ มีอยู่วันหนึ่งลูกชายผม ตอนนั้นอายุประมาณ 11 ขวบ อยู่ชั้น ป.6 ต้องไปค่าย ลูกเสือ ส่วนลูกสาวยังเล็กอยู่เลย เนื่องจากว่าเขาอยู่ด้วยกันมาตลอด เห็นกันทุกวันๆ แล้วปรากฏว่าวันหนึ่ง ลูกสาวตื่นขึ้นมา ไม่เห็นพี่ชาย ก็ร้องไห้ถามว่าพี่ชายไปไหนๆ พี่ โมไปไหนๆ อันนี้คือจุดที่เราฟังปุ๊บแล้วก็ปิ๊งขึ้นมา พี่น้องเขามีความห่วงใยกันอันนี้เป็น เรื่องสำ�คัญ ความห่วงใย เอื้ออาทรกัน เราก็เก็บความคิดนี้เอาไว้ สักวันหนึ่งถ้าคิดอะไร ออกพอที่จะทำ�เป็นหนังสือเด็กได้ก็จะเอาจุดนี้มาสร้างเป็นเรื่องราว และระหว่างที่ยัง คิดเรื่องไม่ออก ผมมักจะนั่งวาดรูปไปเรื่อยๆ และก็วาดรูปในลักษณะนี้ละ เป็นรูปง่ายๆ แล้วก็เฝ้ามองพิจารณาดู เออนี่มันรูปทรงเดียวกัน ถ้าเราพลิก กลับไปกลับมา มันก็จะเป็นตัวละครได้สองตัว อย่ากระนั้นเลย ตัวหนึ่งเป็นเจ้าส้มโอ ตัวหนึ่งเป็นเจ้าหลอดไฟ ตอนแรกเริ่มิดจะใช้ คำ�ว่า “พี่ส้มโอกับน้องหลอดไฟ” แต่พอ เขียนขึ้นมาแล้วพิจารณาดู อ่านหลายๆ เที่ยว มันไม่คล่องปาก เราก็พัฒนาเรื่องไปด้วย แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็น “น้องส้มโอกับพี่หลอดไฟ” ที่เห็นเป็นเล่มนี้ ผู้ใหญ่หลายคนแปลกใจว่า ทำ�ไมเด็กๆ ถึงชอบเรื่องนี้ บางคนสงสัยว่าเป็นเรื่อง บังเอิญหรือเปล่า ตั้งใจทำ�ให้ง่ายหรือว่าไม่ได้ตั้งใจ ลองคิดดูกันหน่อยว่า ทำ�ไมเด็ก จึงชอบ... เพราะว่ามันเป็นใบหน้าที่แสดงอารมณ์ และเป็นลายเส้นที่ง่ายๆ เด็กดูปุ๊บ ก็รู้เลยว่าหน้าอย่างนี้คือยิ้ม เพราะว่าดีใจ ใบหน้าของน้องส้มโอเป็นแบบนี้คือ เศร้า

๔๔

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


เพราะเสียใจ ขอให้สังเกตการดำ�เนินเรื่องของเรื่องนี้ เป็นการเดินทางเรื่องด้วยภาพ ภาพน้องส้มโอหลับตา มันมีเหตุมีผลของมันอยู่ในเหตุการณ์แต่ละหน้าที่เกิดขึ้น พอ เปิดต่อมา น้องส้มโอลืมตาพบว่าพี่หลอดไฟหายไปแล้ว ในหนังสือไม่ต้องบรรยาย แล้วว่า มีน้องส้มโอ มีพี่หลอดไฟทั้งคู่ เป็นพี่น้องกัน ขณะที่น้องส้มโอยืนหลับตา พี่ หลอดไฟก็ทำ�ท่าจะไปไหนก็ไม่รู้ พอลืมตาขึ้นมาก็ปรากฎว่าพี่หลอดไฟหายไปแล้ว

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๔๕


๔๖

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


นั่นคือเนื้อหาที่เราคิดเอาไว้ แต่สำ�หรับภาษาที่เราใช้ล่ะจะเป็นอย่างไร รวม ถึงการออกแบบภาพด้วน เมื่อเราคิดจะใช้ภาษาให้น้อยๆ และออกแบบภาพไปด้วย ฉะนั้น เรื่องราวที่เราคิดเอาไว้ ยาวๆในหัว ก็สามารถลดทอนตัดออกไปได้โดยใช้ภาษา ภาพแทน รวมทั้งใช้วิธีคิดแบบเดียวกันกับที่อาจารย์ทานากะได้บอก หลักการเดียวกัน คือ ‘อะไรเอ่ยง เราเสริมวิธีคิดเข้าไปด้วย โดยส่วนตัว ผมมักจะใช้วิธีคิดอย่างหนึ่งเป็น ประจำ�ในหนังสือเด็ก คือ ‘คิดแบบมิติสัมพันธ์’ หรือ ‘ความคิดแบบเชื่อมโยง’ จากรูป ทรงหนึ่ง มันเป็นอะไรได้บ้าง ลองเอาวิธีนี้มาใช้บ้างก็ได้รับรองว่าหากินได้ไม่รู้จบ และ เชื่อว่า อะไรที่มันปิด อะไรที่มันบัง เด็กๆ ยิ่งอยากรู้ เมื่อจับประเด็นตรงความอยากรู้ อยากเห็นของเด็กได้ เราก็คิดเรื่องต่อไป เจ้าตัวแรกที่เปิดออกมาปุ๊บเป็นลูกเจี๊ยบ แล้ว คิดว่าเราจับความรู้สึกของเด็กๆได้ว่า พอเห็นภาพลูกเจี๊ยบแล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่าย ก็คิดเหมือนกันว่า เอ๊ะ เด็กจะคุ้มกับเจ้าตัวนี้หรือเปล่า แล้วก็มีอีกความคิดหนึ่งแย้ง ว่า ถึงแม้ว่าจะไม่มีตุ่นหน้าตาแบบนี้ในเมืองไทย เป็นสิ่งที่เด็กไม่เคยเห็น หรือมันไม่ ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมของเขา แต่เด็กๆก็มีสิทธิจะได้รับรู้เหมือนกัน ถือว่าเราใส่อะไร ที่มันยากเข้าไปในหนังสือบ้าง ถึงแม้ว่าจะยากอย่างไรก็ตาม เด็กๆ ก็ไม่เคยโวยวาย ว่า “ไม่รู้เรื่องเลยอันนี้มาอยู่ได้ยังไง” รู้ไหมว่าใครโวยวาย ไม่ใช่พ่อแม่หรอก แต่เป็น บรรณาธิการ ก็เกิดการพูดคุยอลกเปลี่ยนกันอย่างมีเหตุมีผล เมื่อบรรณาธิการเห็นว่า เจ้าตัวนี้ไม่มีในเมืองไทย ถ้าใส่เข้าไปในเล่มแล้ว เด็กจะรู้หรือในฐานะคนทำ�งานก็ให้ เหตุผลไปว่า อะไรที่เด็กยังไม่รู้จัก และควรรู้ เราก็ต้องเปิดโลกทัศน์ของเขา อันนี้ถือว่า เป็นการแนะนำ�สิ่งใหม่ให้เด็กได้รู้จัก ส่วนลูกเจี๊ยบถือว่าเป็นการนำ�สิ่งที่คุ้นเคยมาให้ เด็ก เพื่อจะได้ไม่รู้สึกว่ามันแปลกตั้งแต่ต้น จนรับไม่ได้ ตัวตุ่นคือการนำ�เสนอสิ่งใหม ่

หน้าต่อมา เราทุกคนคิดว่า เด็กรู้จักลิง แต่ขอให้สังเกตดูการใช้คำ� ในหนังสือมี เพียง ‘เจี๊ยกๆ’ เราไม่ได้ใช้คำ�ว่า ‘ลิง’ เพราะว่าไม่จำ�เป็นต้องเอ่ยถึงลิงอีกแล้ว เพราะ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๔๗


๔๘

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


เด็กรู้อยู่แล้วว่า เจ้าตัวที่ส่งเสียงร้องเจี๊ยกๆ นั้นคือ ตัวอะไร เด็กสามารถเข้าใจและ ตอบได้ เขาจะตอบในใจ หรือเด็กบางคนอาจจะโต้ตอบพูดคุยกับพ่อแม่ก็ได้ เป็นการ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้ออกมาบ้าง ตัวละครสามตัวที่ผ่านมา เชื่อว่าถ้าเด็กได้ดูหนังสือเล่มนี้เป็นครั้งแรก ไม่ถูก ว่ามันจะเป็นตัวอะไรบ้างถึงแม้ว่าจะติดตามเอาใจช่วยน้องส้มโอก็ตาม เด็กๆอาจจะ รู้สึกว่า โอย...ยากจัง ทายไม่ถูกสักที รักจะหมดใจจะหมดใจแล้ว แต่พอมาถึงตัวนี้ ปุ๊บ...เป็นไงครับ เด็กดูเท่านี้ก็รู้เลยว่าเป็นปลา ตามเนื้อเรื่อง รู้สึกไหมว่ามันเหมือนดู ลิเกตรงที่น้องส้มโอไม่รู้ ส่วนเด็กที่ดูหนังสืออยู่เขารู้ ทำ�ให้รู้สึกว่าตัวเองเก่งกว่าน้อง ส้มโอหน่อยหนึ่ง ปกติเด็กๆ ชอบได้รับคำ�ชมเชย ตักข้าวกินเองก็เก่ง เดินไปสองสาม ก้าวก็เก่ง อะไรก็เก่งหมด เมื่อทายได้ว่าเป็น ปลา ก็...เก่งอีก ตอนนี้เป็นตอนที่ช็อคเด็ก มีผู้ใหญ่บางคน...เออ แปลกนะทำ�งานกับเด็กแต่ มักมีปัญหากับผู้ใหญ่ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร ทำ�ไมไม่มีปัญหากับเด็กเลย ผู้ใหญ่บางคน บอกว่า เอ๊ะ มันจะทำ�ให้เด็กกลัวผีหรือเปล่า ถ้าเป็นคอเดียวกันคงตอบในใจกันได้ ถ้า ในรูปแบบนี้คงไม่ถึงขั้นมอมเมาหรือทำ�ให้เด็กเกิดความกลัวแบบฝังใจ เพราะเชื่อว่า ทุกคนผ่านการเป็นเด็กมา และกลัวผีกันเกือบทุกคน รูปแบบนี้น่ากลัวไหม ถ้ากลัวก็ ช่วยไม่ได้แล้ว เพราะแบบเดิมตั้งใจจะให้เหมือนผีจริงๆเลย ลอยขึ้นมาเป็นวิญญาณ เลย แต่สงสารคุณพ่อคุณแม่ สงสารคุณครูว่าจะต้องมาอธิบายกับเด็กว่ามันคืออะไร แล้วตรงนี้ก็เป็นจุดคลี่คลายของเรื่อง ก่อนมาเปิดเผยว่าพี่หลอดไฟหายไปไหน พี่ หลอดไปซื้อไอติม มาให้น้องส้มโอ ตรงนี้ก็เป็นความผูกพันของพี่กับน้อง ถ้าใครมี น้องหรือมีลูกมีหลานก็ลองสังเกตดู เด็กๆพี่น้องกันก็อาจจะทะเลาะกันทุกวัน แต่เขา จะมีสิ่งหนึ่งที่บางทีอาจจะไม่ได้แสดงออกมา นั่นคือความผูกพันซึ่งกันและกัน อันนี้ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๔๙


๕๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ผมก็คือหยิบเอาประสบการณ์ชีวิตมาสร้างเป็นหนังสือ อีกข้อหนึ่งที่อยากจะนำ�มายกเป็นตัวอย่าง ความคิดแบบเฉียบพลัน หรือที่เรา เรียกว่าปิ๊ง มันคืออะไร แล้วเราจะนำ�มาขยายหรือสร้างเป็นหนังสือได้อย่างไร ถือว่า เล่าประสบการณ์ตรง เมื่อวันปลายเดือนพฤศจิกายน 2549 บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ แพรวเพื่อนเด็ก มาคุยกับครูชีวันว่า อยากได้หนังสือครูชีวัน ซึ่งตอนนั้นผมกำ�ลังทำ� อยู่ คือ “อีเล้งเค้งโค้งเที่ยวอยุธยา” หลายคนอาจจะเคยเห็น “อีเล้งเค้งโค้งอยากไป อยุธยา” แต่ไปไม่ถึง เล่มใหม่นี้จึงตั้งใจว่าจะให้เจ้าห่านไปถึงอยุธยาให้ได้ และอีกเล่ม คือ “น้องส้มโอกับพี่หลอดไฟ” เป็นภาคต่อเหมือนกัน ให้น้องส้มโอกับพี่หลอดไฟเล่น ซ่อนหา ตอนนั้นบรรณาธิการบอกว่า “ตอนนี้มีหนังสือเล่มหนึ่งสวยมากที่สำ�นักพิมพ์กำ�ลังจะจัดพิมพ์ ชื่อเรื่อง ‘ผม อยากเหมือนพ่อ’ อยากให้ครูชีวันมาท้าประกบเล่มนี้” ผมก็เลยปิ๊งเลย มันน่าจะเป็นเรื่อง “หนูอยากเหมือนแม่” ก็เริ่มคิดต่อทันที ว่าเราจะเอาเป็นความเป็นสัตว์อะไรมาล่ะ ถ้าคิดถึงความผูกพันแม่กับลูกในความคิด ของพวกเรา ถ้าไม่ใช่คนแล้วเป็นสัตว์ พวกเราคิดถึงตัวอะไรบ้าง ผมคิดถึงไก่ หลายคน คิดถึงอะไรบ้าง... แมว หมา นก ปลา ตัวอะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ว่าเราจะสร้างภาพต่อของ เรื่องได้อย่างไร มันสร้างไม่ได้ มันไม่มีฐานข้อมูลมากพอ ถ้าเป็นแมว ถ้าเป็นหมาก็พอไหว แต่ บังเอิญผมนึกถึงไก่ เพราะว่าประสบการณ์เดิม เราเคยได้ยินเพลงเด็กที่เกี่ยวกับไก่ กุ๊กๆ ไก่ เลี้ยงลูกมาจนใหญ่ ไม่มีนมให้ลูกกิน ลูกร้องเจี๊ยบๆ แม่ก็เรียกไปคุ้ย ดิน ทำ�มาหากินตามประสาไก่เอย ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๕๑


๕๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


แล้วยังมีนิทานพื้นบ้านเรื่อง ดาวลูกไก่ เป็นความรักความผูกพันระหว่างแม่ ไก่กับลูก เรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจน มันฝังอยู่ในความทรงจำ�ของคนไทย เด็กสมัยนี้อาจ จะไม่รู้จักเรื่องนี้แล้วก็ได้ แต่สำ�หรับคุณพ่อคุณแม่ต้องเคยผ่านหู เคยได้ยินได้ฟังมา จึงสรุปความคิดได้ว่า น่าจะเป็นไก่ จึงสเก็ตภาพขึ้นมาวันนั้นเลย มีลูกเจี๊ยบ 7 ตัว ทำ�ไมต้องเป็นลูกเจี๊ยบ 7 ตัวล่ะ ก็เพราะว่าเรื่องดาวลูกไก่ไงครับ ที่จริงมี 5 ตัว 6 ตัว ก็ได้ แต่มันไม่มีที่อ้างอิงไม่คุ้นเลย เราก็ต้องเอาความคุ้นเคย หรือว่าเชื่อมโยงให้ได้ ทำ�ให้รู้สึกว่าเรามีที่มาที่ไป และก็ให้ลูกเจี๊ยบสังเหตว่าแม่ไก่ทำ�อะไรบ้าง แม่ไก่ใช้เท้า คุ้นเขี่ยอาหาร ก็คำ�ออกมาโดยอัตโนมัติว่า “เป็นเท้าที่หาอาหารเก่งจริงๆ” “ใช้ปีกปกป้องลูกจากเจ้าเหมียว แสดงให้เห็นได้ปีกของแม่ที่กว้างจริงๆ ปากแหลมๆ ของแม่แม้แต่แมวยังกลัว พวกเราเจ็ดตัวอยู่บนหลังของแม่ได้สบาย” บันทึกเอาไว้ก่อนแล้วจึงเขียนลำ�ดับทีหลัง ความคิดผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ทีแรกยัง ไม่ได้จับมาเรียงว่าอันไหนจะขึ้นมาก่อน อันไหนต่อท้ายหรือตอนจบ “พวกเรานอนในอ้อมอกอุ่นๆ นอนฟังเสียงหัวใจ ของแม่ ที่เต้นจังหวะเดียวกันกับพวกเรา พวกเราอยากเป็นเหมือนแม่ พวกเราหลับฝันดี ฝันอยากเป็นเหมือนแม่” ก็ตั้งใจไว้ว่าอยากให้ บรรณาธิการเลือก สำ�หรับตอนที่ 7 ที่ผมเขียนออกมา เป็นหน้าคู่สุดท้าย เมื่อเราทำ�หนังสือมาซักระยะหนึ่งจะเห็นข้อจำ�กัดต่างๆ ในความ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๕๓


เป็นหนังสือ เราควรรู้แล้วว่าจะทำ�หนังสือกี่หน้า ถ้าจะทำ�หนังสือ 16 หน้ายก เราต้อง คิดได้โดยอัตโนมัติเลยว่าหน้าที่เราคิดจะใส่คำ�เป็นเรื่องมันก็จะมีประมาณ 7 หน้าคู่ รวมเป็น 14 หน้า ที่เหลือเป็นหน้าปกรอง แล้วก็หน้าเครดิต อันนีแป็นเทคนิคส่วนตัว ก็จะเป็น 7 ตอนด้วยกัน ต้นเรื่องคือตอนที่หนึ่ง แต่ในตอนแรกยังเป็นตอนที่ 1 ไม่ได้ อะไรคิดได้เขียน ไว้ก่อน สำ�หรับเล่มนี้มาคิดต้นเรื่องทีหลัง “ลูกเจี๊ยบ 7 ตัว ขดตัวในฟองไข่ของแม่ไก่” ตอนแรกจะให้เป็น 1 2 3 4 5 6 7 แต่รู้สึกว่ายัดเยียดเกินไป พอร่างความคิดได้ก็เสนอ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ บรรณาธิการรับความคิด พอพูดถึงตรงนี้ ผมชอบแทรกรายละเอียดสักนิดว่า การทำ�งานมันเป็นแบบนี้ จริงๆ อาจจะดูเหมือนเราทำ�งานเพียง 2 คน ระหว่างนักเขียนกับบรรณาธิการ ตรงนี้ เป็นข้อจำ�กัดของแต่ละสำ�นักพิมพ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ที่แพรวเพื่อนเด็กมีบรรณาธิการหลาย คน ผมเองก็เป็นบรรณาธิการ ในการทำ�งานเราก็จะได้ฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ บรรณาธิการคนอื่นด้วย ในเวลานั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 คน ด้วยกันคือ ตัวผม อาขารย์ปรีดา ปัญญาจันทร์ คุณรพี พรรณ พัฒนาเวช และอาจารย์พรอนงค์ นิยมค้า ใช้วิธีทำ�งาน ประชุม แก้ไขกันใน กองฯ ตอนนี้เหลือบรรณาธิการคนเดียว ถ้าเจอกับนักเขียนเขี้ยว หรือทำ�ตัวเป็นผู้มี อิทธิพลเหนือบรรณาธิการ บรรณาธิการก็คงต้องยอม หมายถึงยอมรับเหตุผลของนัก เขียน ผมก็ไม่แน่ใจว่ามันจะทำ�ให้หนังสือออกมาดีหรือเปล่า กลับมาที่หนังสือ หลังจากเขียนเรื่องเสนอไปแล้ว บรรณาธิการตอบตกลงแล้ว แต่ผมก็ยังมองเห็นจุดที่ต้องปรับอีก จึงปรับใหม่ แม้ว่าสำ�นักพิมพ์จะตอบตกลงให้เรา ทำ�งานได้เลย ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องหยุดคิด ถ้าเอากลับมาดูแล้วเห็นว่ามีสิ่ง ที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม เราก็ต้องทำ� ต้องไม่ฉวยโอกาสว่า สำ�นักพิมพ์ตกลงพิมพ์แล้วนี่ไม่ ต้องแก้อะไรอีกแล้ว

๕๔

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


แม่

สำ�หรับผม เขียนเสนอไป 7 ตอน เป็นแบบนี้ ลูกเจี๊ยบ 7 ตัว ขดตัวในฟองไข่ได้อกอุ่นๆของแม่ไก่ ลูกเจี๊ยบ 7 ตัวฟักไข่ออกจากไข่ ลูกเจี๊ยบ 7 ตัว ตื่นเต้น โลกช่างกว้างใหญ่ กุ๊กๆ เสียงแม่เรียกแล้ว แม่ของพวกเราเป็นแม่ไก่แสนสวย ตัวใหญ่ โอ้โฮ เท้าของแม่เป็นเท้าที่หาอาหารเก่งจริงๆ ใต้ปีกแม่กว้าใหญ่จริงๆ จงอยปากแหลมๆ ของแม่ แม้แต่แมวก็ยังกลัว พวกเรา 7 ตัวอยู่หลังของแม่ได้สบาย กลางคืนที่แสนหนาวพวกเราซุกตัวลงนอนในอ้อมอกอุ่นๆ ฟังเสียงหัวใจของแม่ที่เต้นจังหวะเดียวกับพวกเรา พวกเราหลับฝันดีฝันอยากเป็นเหมือนแม่ ทำ�ให้พวกเราฝันอยากเป็นเหมือน

เวลาเราสร้างตัวละครตัวหนึ่งขึ้นมา จะเห็นได้ว่าประสบการณ์นั้นสำ�คัญ แต่ ต้องดูว่า ประสบการณ์ทางไหนบ้าง เรามีประสบการณ์ทางไหนในการสื่อสารกับเด็ก แล้วเราต้องนึกถึงตอนที่เราเป็นเด็กๆด้วย ไม่ลืมอารมณ์ตอนที่เป็นเด็ก เราต้องเข้าใจ ว่าตอนนั้นที่เราเป็นเด็ก เราก็เป็นแบบนี้ เราต้องไม่ลืมความเป็นเด็กในตัวเรา เราต้อง กระตุ้นความรู้สึกแบบเด็กออกมา ไม่งั้นเราจะกลายเป็นผู้ใหญ่อีกคนหนึ่ง ผมคิดว่า ความเป็นผู้ใหญ่มันน่ากลัวนะ เพราะจะทำ�ให้ไม่เข้าใจโลกของเด็ก เลย ประสบการณ์อีกส่วนหนึ่งคือ จากการสังเกตทั้งหลายทั้งปวงรอบๆตัวเรา ถ้าถามผมว่าถ้าเราอ่านอย่างเดียวเลบ จะได้ประสบการณ์ลึกไหม? มันจะลึก เราจะได้แค่ความสนุก เราจะอ่านและตั้งคำ�ถาม แล้วก็คิดวิเคราะห์ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๕๕


ดูทุกอย่างที่เห็น แล้วก็ดูหนังสือภาพ บางอย่างเป็นข้อมูลที่เราจะต้องจดจำ� บางอย่าง เป็นวิธีคิดที่เราต้องตามเขาให้ได้ ให้ลองตั้งคำ�ถามดูว่า ทำ�ไมเราต้องคิดแบบนี้? พอเราเข้าใจว่าทำ�ไมเราถึงคิดแบบนี้ สักวันหนึ่ง ถ้าเราคิดประเด็นอะไรออกมา ให้เอา วิธีคิดแบบนั้นมาใช้กับประเด็นที่เราคิดได้ เพื่อจะไปสื่อสารกับเด็ก อย่าคิดว่าสิ่งนี้เราชอบ เราเลยอยากทำ�แบบนั้นบ้าง แบบนี้มันไม่ใช่ คือ เราต้องจับประเด็นจากเนื้อหาหลายๆเล่มในแบบของเรา จับประเด็นให้มันมา อยู่ในตัวเราก่อน แต่ว่าเราจะต้องใช้วิธีการหนึ่งในแบบของเราเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องแบบ เดียวกันกับเขา ก่อนอื่นจับประเด็นให้มันมาอยู่ในตัวเราก่อน แต่ว่าเราใช้อีกวิธีการหนึ่ง ในเรื่องของเราซึ่งไม่ใช่เรื่องแบบเดียวกันกับเขา ถ้าเราใช้วิธีการแบบเขา มันก็เหมือนกับว่าเราเลียนแบบเขา เราต้องเข้าใจวิธีการ เข้าใจแก่นของเขา แล้วมาดูเกี่ยวกับเรื่องของเรา ส่วนบุคคลิกของตัวละคร บางทีเราอาจคิดตัวละครไว้ก่อน แล้วเรื่องค่อยตาม มาทีหลัง บางทีเราอาจมีเนื้อหาของเรื่องมาก่อน แล้วค่อยมาคิดตัวละครว่าเป็นแบบ ไหน อย่างของผม ผมจะทำ�ตัวละครเพื่อออกรายการทีวี เพื่อจะคุยเรื่องภาษา อังกฤษ ผมก็เอาตัวอักษร ABC มาเล่นตามสไตล์ของผมเอง แต่ไม่อยากเล่นด้วยตัวของ ผมเอง เพราะผมไม่ได้มีภาพลักษณ์ของคนที่ใช้ภาษาอังกฤษเก่ง ผมก็ต้องดูว่าผมมีภาพ ลักษณ์ยังไง ก็พบว่า เรามีภาพลักษณ์ชวนให้เด็กคิด เล่านิทานให้เด็กฟัง ซึ่งมันจะมีอีก คนหนึ่งซึ่งเป็นคนไทย ภาษาอังกฤษเขาเก่ง เขาก็จะเอาตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เป็น Alphabet มาสร้างเป็นตัวละคร 2 ตัวด้วยกัน ซึ่งตัวแรกคือคุณอัลฟ่า (Alpha) กับคุณ เบตตี้ (Betty) เนื้อเรื่องสองคนนี้เป็นเพื่อนกัน เวลาอ่านชื่อจะรู้สึกเลยว่า อัลฟ่าเป็น ผู้ชาย ส่วนเบตตี้เป็นผู้หญิง

๕๖

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


อัลฟาเบท (Alphabet) เราจะตั้งชื่อว่าเบ็ทก็ไม่ได้ ผมเลยต้องตั้งชื่อว่าเบ็ทตี้ นี่คือวิธีการคิดตัวละครแบบหนึ่ง แล้วเราก็ค่อยๆ ใส่รายละเอียดลงไปในตัวละครตัว นั้น ว่าเขามีนิสัยอย่างไร เพื่อตอบสนองการเล่าเรื่องของเรา เราต้องย้อนกลับไปดูความเป็นเด็กว่าตอนนั้นเรามีนิสัยอย่างไร ตอนนั้นเขา เล่นอะไรกัน แต่เด็กที่เราสร้างขึ้นกับเด็กตามธรรมชาตินั้น มันจะมีส่วนร่วมกันเฉยๆ แต่เราสร้างขึ้นเนี้ยมันก็ต้องมีอะไรที่พิเศษกว่า มันก็ต้องมีตัวนำ�เด็กที่ดูให้เขาเชื่อ บางครั้งตัวละครที่เราสร้างขึ้นอาจมีลักษณะด้อยกว่าเด็กจริงหน่อยนึง แต่มันต้องมี สิ่งที่เด่นกว่า แล้วด้อยกว่า เหตุผลที่ต้องเด่นกว่าเพราะว่าเพื่อนำ�เด็ก เด็กอาจดูว่าสามารถตามตัวละครนั้นไปได้ ส่วนการสร้างเพื่อให้ด้วยกว่านั้น เพื่อให้ดูว่าตัวละครนี้น่าสงสาร อยากให้เด็กเอาใจช่วย อยากให้เด็กรู้สึกอยากช่วย เขา ที่สำ�คัญในการสร้างตัวละครคือ ตัวละครต้องมีธรรมชาติ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๕๗


ส่วนใหญ่จะไม่ทำ�เด็กประเภทกลางๆออกมา เพราะว่าจะไม่มีพลัง

เวลาเขียนหนังสือหนึ่งเล่มควรจะนาน แล้วแต่บางเล่มก็ไม่นาน แล้วกระบวน การคิดแต่ละเล่มจะนานพอสมควร เวลาเขียนมันต้องคิดแบบสุดๆ ไม่ใช่แค่ว่าคิดออก ปุ๊บทำ�ทันทีทันใด ผู้อ่านจะนึกไม่ออกหรอกว่าก่อนจะเป็นต้นฉบับนั้นคืออะไร ก่อนจะเป็นต้น ฉบับ มันคือการทดลอง เป็นการลองผิดลองถูก มันเป็นการทดลองความคิดเราว่ามัน สามารถเป็นไปด้วยกันได้ไหม แล้วคำ�ว่าไปด้วยกันสำ�หรับเรามันเพียงพอหรือยังกับเด็ก ที่จะเปิดอ่าน เพราะฉะนั้นที่ผมลาออกมาแล้วทำ�อย่างอื่นไปด้วย แล้วยังไม่ได้ทำ�หนังสือ อย่างเดียว ตอนนั้นผมก็ทำ�ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ลำ�บากอะไร แล้วพอมาถึงในปี 2537 ที่ผม บอกว่าโชคดีนี้หมายถึง ตอนนั้นบริษัทอมรินทร์ โดยคุณชูเกียรติ เขามีความคิดที่จะจัด ตั้งสำ�นักพิมพ์สำ�หรับทำ�หนังสือภาพสำ�หรับเด็กโดยเฉพาะ จึงทำ�ให้เกิดเป็นสำ�นักพิมพ์ แพรวเพื่อนเด็กขึ้นมา ผมเป็นบรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ในยุคแรก พอเป็นบรรณาธิการจะสัมผัสได้ว่าชื่อดูหรู คือเป็นที่ปรึกษาสำ�นักพิมพ์ แต่ทำ� หน้าที่เป็นบรรณาธิการ บรรณาธิการมีด้วยกัน 4 คน คือ มีอาจารย์ประนงค์ อาจารย์ปรีดา คุณรพี พรรณ หรือพี่แต้ว และก็ผม ร่วมเป็นบรรณาธิการร่วมกัน เพื่อให้หนังสือภาพออกมา อย่างสมบูรณ์ กองบรรณาธิการนั้นสำ�คัญ ไม่ใช่แค่นักเขียนเพียงคนเดียว จะต้องมีกอง บรรณาธิการด้วย แม้หนังสือแปลจะมีนักแปลออกมาแล้ว กองบรรณาธิการก็จัดได้ว่ามี ความสำ�คัญ

๕๘

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


กองบรรณาธิการทำ�หน้าที่อะไร? หลายคนอาจสงสัย กองบรรณาธิการหรือกองบก. มีหน้าที่ขัดเกลาดูแลหนังสือ เพื่อให้หนังสือ ออกมาให้ได้ดีที่สุด คือเขาจะดูทั้งเนื้อเรื่อง ดูทั้งรูป แต่การดูไม่ใช่แค่ว่าเพียงมองผ่าน ตา เห็นแล้วใช้ได้ก็ผ่านไปสามารถใช้ได้ มันไม่ใช่แบบนั้น เวลาเขียนเรื่องทุกเรื่อง จนออกมาเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์แบบได้นั้นต้องผ่าน ขบวนการหลายขั้นตอน ทั้งขบวนการคิด และขบวนการวิเคราะห์พิจารณา ทั้งนี้ทั้งนั้น เพราะหนังสือเด็กเป็นสิ่งที่ผลิตมาให้เด็กอ่าน ผู้จัดทำ�จึงต้อง พิถีพิถัน และคำ�นึงถึงเด็กเป็นสำ�คัญ

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๕๙


๖๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


เทคนิคเฉพาะ ของครูชีวัน วิสาสะ

ถ้าจำ�ไม่ผิด ผมน่าจะเขียนหนังสือไปแล้วทั้งหมดประมาณ 40 กว่าเรื่อง รวมทั้งที่เขียนเรื่องอย่างเดียว ไม่ได้เขียนภาพ ถ้าหากเขียนเรื่องและภาพประกอบ ทั้งหมดน่าจะอยู่ประมาณ 30 กว่าเรื่อง บางเล่มผมเขียนแค่เรื่อง บางเรื่องผมไม่ได้ เขียนภาพ สำ�หรับเรื่องอีเล้งเค้งโค้ง เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เด็กๆ นิยมอ่าน คำ�ว่า ‘อีเล้งเค้งโค้ง’ จะมีคำ�ก่อนหน้านั้นคืออีโล้งโค้งเคว้ง จะสังเกตได้ว่าคน เราถ้าหากฟังเพลินๆ จะสามารถจำ�คำ�ว่าอีโล้งโค้งเคว้งได้ ก่อนที่จะเป็นคำ�ว่าอีโล้งโค้งเคว้ง จริงๆแล้วมาจากคำ�สร้อยอุทานของคน สมัยก่อนที่เขาจะทักกัน อย่างตอนเวลาเขาทำ�ครัว พวกอุปกรณ์ทำ�ครัวอย่าง ทัพพี ตะหลิว จะชนหรือตีกันจนเกิดเป็นเสียงว่า อีเล้งโช้งเช้ง เราจะได้ยินคำ�ว่า อีโล้งโช้งเช้ง เวลาผัดอาหาร จากอีโล้งโช้งเช้งมาเป็นอีโล้ง โค้งเคว้ง มันคือการออกแบบคำ�อย่างหนึ่ง ออกมาแบบเสียง พอมาทำ�เป็นหนังสือก็ นำ�มากลับคำ�เป็นคำ�ว่าอีเล้งเค้งโคว้ง ในหนังสือเรื่องนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับห่าน ถ้าหากห่านดีใจส่งเสียงเป็นเพลง พยางค์สุดท้าย คือคำ�ว่า เพลง แล้วต่อมาก็จะเป็นคำ�ว่า อีเล้งเค้งโค้ง จะสังเกตได้ว่า ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๖๑


ภาพร่างหนังสือภาพเรื่อง ‘อีเล้งเค้งโค้ง’

เพลงจะสัมผัสกับเล้ง เล้งจะมาอยู่ที่พยางค์ที่สอง อีเล้งแล้วก็มีเค้ง มันคือการออกแบบ คำ� คนอาจสงสัยว่าทำ�ไมห่านตัวนี้ถึงได้ส่งเสียงเป็นเพลงอีเล้งเค้งโค้ง นั่นเป็น เพราะว่าอย่างที่ได้บอกไปข้างต้น อีโล้งโคว้งเคว้ง เป็นเสียงเอะอะโวยวาย ลักษณะ นิสัยของห่านเวลาที่มันอยู่ด้วยกันก็มักจะโวยวายมาก ผมก็นึกถึงเวลาที่มันร้องเสียง เอะอะโวยวายว่ามันน่าจะเป็นอันไหน ผมก็นึกถึงคำ�ว่า อีโล้งโค้งเค้ง แล้วก็เป็นอีเล้งเค้ง โค้ง อย่างที่ผมบอกไป ผมก็จะสังเกตจากบุคคลิกของห่าน ไม่ใช่เพียงแค่ว่าคิดที เดียวก็เขียนออกมาเลย ก่อนที่จะออกมาเป็นต้นฉบับ ตอนแรกๆ ผมก็ทดลองให้เด็กดูว่าแบบนี้เด็กชอบ ไหม แบบนั้นเด็กชอบไหม โดยการให้เด็กเลือกดู แต่พอหลังๆ ผมเริ่มเข้าใจอะไรมาก ขึ้น ก็หยุดทดลอง เราเชื่อมั่นว่าภาพที่เราวาดออกไปมันคือการออกแบบของเรา มัน

๖๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


จะมีหลักวิธีการคิดอยู่โดยจะให้เด็กดูภาพจากเรื่องที่มันสอดคล้องกัน ซึ่งอันนี้คือวิธี การและการออกแบบ พอเราดูปุ๊บ ด้วยฝีมือของเรา ด้วยทักษะการวาดของเราที่มี มากกว่าเด็กเด็กก็จะตอบว่าสวยทั้งหมด ซึ่งอันนี้มันเป็นมาตรฐานไม่ได้ หนังสือภาพสำ�หรับเด็กมันไม่ใช่แค่สวยกับไม่สวย มันต้องเล่าเรื่องประกอบ ไปด้วย แล้วภาพที่ออกมาก็ต้องสอดคล้องกับเรื่อง และทำ�ให้เกิดความคิดอะไรบาง อย่างขึ้นมา มันไม่จำ�เป็นว่าต้องเป็นภาพที่สวยเสมอไป แต่ต้องเป็นความเข้าใจว่า ทำ�ไมถึงทำ�ออกมาแบบนี้ ส่วนทฤษฎีหนังสือที่เกี่ยวกับเด็กเราก็ต้องดูนะ โดยให้ดูความสำ�คัญ เขาจะ บอกในหนังสือว่า เด็กมีความสำ�คัญอย่างไร ทำ�ไมเด็กถึงต้องมีหนังสือสำ�หรับเด็ก โดยเฉพาะ ซึ่งลักษณะพิเศษของหนังสือเด็ก คือ หนังสือเด็กจะมีความแตกต่างจาก หนังสือวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ทั้งด้านสรีระ ทัศนคติ ความคิด จินตนาการ ภาษาพูด ยก ตัวอย่างเช่นหนังสือเด็กของคุณจินตนา ใบกาซูยี ซึ่งเขาก็ได้อธิบายไว้ในเรื่องเทคนิค การเขียนหนังสือสำ�หรับเด็กว่า “หนังสือสำ�หรับเด็ก คือ หนังสือที่จัดทำ�ขึ้นเพื่อให้เด็กใช้ในการฟัง การอ่าน และการเรียนรู้ ด้วยเนื้อหาสาราที่มุ่งให้ความรู้ ความคิด และสาระอันเป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่าน หรือให้ความเพลิดเพลินและจรรโลงใจผู้อ่านอย่างหนึ่งอย่างใด หรือให้ทั้ง ความรู้ และความเพลิดเพลินร่วมกันไป โดยใช้แนวเขียนแบบสารคดี และบันเทิงคดี รวมทั้งการจัดทำ�รูปเล่มที่เหมาะสมกับวัน ความสนใจ และความสามารถในการอ่าน ของผู้อ่าน” การที่เราจะทำ�หนังสือเด็กก็ต้องควรศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหนังสือเด็กไว้บ้าง ดูว่ามันเป็นทฤษฎีของใคร ใครเป็นคนเขียน แล้วเราควรหยิบทฤษฎีของเขาส่วนไหน มาปรับใช้ และนำ�มาทำ�ความเข้าใจกับงานของเรา ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๖๓


๖๔

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


เพราะว่าคนที่จะทำ�หนังสือสำ�หรับเด็กแล้วจะทำ�อย่างต่อเนื่องนั้น ทฤษฎีจะ เป็นจุดเริ่มต้นหนึ่ง แต่ว่าพัฒนาการในการคิดงาน ถ้าถามว่ามันจะหยุดนิ่งไหม คำ� ตอบคือมันไม่ได้อยู่นิ่ง ไม่ได้หยุดนิ่งเหมือนทฤษฎีที่สรุปออกมา หรือจากการที่ศึกษา หนังสือเด็กมาแล้วจำ�นวนหนึ่งแล้วนำ�มาสรุป แต่คนทำ�หนังสือภาพจะไม่ได้หยุดนิ่งตามทฤษฎี อาจจะเริ่มต้นจากทฤษฎี แต่ ว่างานของคนทำ�หนังสือภาพจะมีการพัฒนา และมีการนึกถึงเด็กอยู่ตลอดเวลา อย่างเทคนิคของผม หนังสือเด็กเล็กผมจะเน้นที่โล่งไว้ โดยมีเหตุผลว่าต้องการ เน้นตัวละคร ให้เข้าใจบทบาทของตัวละคร ให้ผู้อ่านโฟกัสที่ตัวละคร ส่วนบางเล่มก็ อาจไม่ได้โล่ง อาจมีสีพื้น แต่สีพื้นก็จะไม่ได้กวน ซึ่งช่วยทำ�ให้รูปดูเด่นขึ้น ถามว่า การปล่อยพื้นที่ให้โล่งถือว่าเป็นงานที่หยาบไหม เราให้คำ�ตอบหรือพูด ไม่ได้ว่าหยาบ แต่มันเป็นภาพลดทอน เพื่อให้เด็กมาคอนแทคกับตรงที่เราต้องการให้ เป็นจุดสนใจ ถามว่าภาพคนที่ผมวาดในหนังสือเด็กเล็กนั้นเหมือนคนไหม หลายคนจะบอก ว่าไม่เหมือนเพราะว่าไม่ได้ละเอียดมากมายนัก แต่เด็กเล็กจะเชื่อมโยงมาที่ตัวเขาเอง แต่ถ้าหากเหมือนเด็กจริงๆ เขาจะคิดว่าภาพนั้นเป็นคนอื่นทันที ซึ่งวิธีคิดตรงนี้ถามว่า มันเป็นทฤษฎีไหม คำ�ตอบคือไม่ มันไม่มีเขียนในทฤษฎี กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีมันจะอยู่นิ่งเป็นแค่เพียงจุดเริ่มต้นของคนที่เริ่มใหม่ๆ แต่ ถ้าเป็นคนทำ�งานอย่างจริงจัง เราก็ต้องศึกษาเพิ่มเติม แล้วก็ลองตั้งคำ�ถามกับเทคนิค ของเขาเอง ว่าเทคนิคนี้จะตอบสนองอะไรกลับมาบ้าง ซึ่งมันจะมีความซับซ้อน และ รายละเอียดของตัวมันเอง นอกจากนี้เราก็ต้องดูว่าหนังสือที่เด็กชอบในแต่ละวัยเด็กสนใจอะไรบ้าง อย่าง เช่น หนังสือที่เหมาะสำ�หรับเด็กทารก คือ หนังสือที่ทำ�ด้วยผ้า เพราะเบา และจับได้ ถนัดกว่าหนังสือที่ทำ�ด้วยกระดาษ หนังสือผ้าสามารถซักและทำ�ความสะอาดได้ง่าย ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๖๕


แล้วเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย พัฒนาการของเด็กจะเริ่มพัฒนาขึ้นมาก จะเริ่มสนุกกับการ ดูโทรทัศน์ ชอบโฆษณา ชอบฟังเพลง หนังสือสำ�หรับเด็กวัยนี้จะเป็นหนังสือที่มีเนื้อ เพลง ชอบหนังสือที่มีคำ�ซ้ำ� เนื้อเรื่องจะเป็นเรื่องง่ายๆ และเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ต่างๆ ที่ทารกได้ประสบมา หรือหนังสือที่มีเรื่องราวต่อเนื่อง แต่มีรูปภาพใหญ่ และมี คำ�บรรยายเรื่องสั้นๆ หรือเป็นหนังสือภาพเพื่อให้เด็กเรียกชื่อตามแบบง่ายๆ ถ้าเป็นเด็กโตขึ้นมาหน่อย อายุประมาณ 8-9 ปี เด็กวัยนี้เขาจะชอบอ่าน นิทาน เทพนิยาย นิทานพื้นบ้าน ตำ�นาน เช่น ศรีธนญชัย ท้าวแสนปม เด็กจะเริ่ม ชอบและสนใจเกี่ยวกับชีวิตจริงมากขึ้น ชอบฟังหรืออยากรู้เรื่องราวของเด็กวัย เดียวกัน ส่วนลักษณะของขนาดเล่ม เราก็ต้องเป็นคนกำ�หนด เราต้องกำ�หนด โครงสร้างของหนังสือด้วย ว่าต้องมีขนาดแค่ไหน ขนาดจำ�นวนหน้า แล้วหนังสือ สำ�หรับเด็กที่ควรจะเป็นต้องเป็นปกแข็ง แต่ถ้าเป็นปกอ่อนก็ถือว่าไม่ผิดเหมือน กัน แต่ปกแข็งจะดีกว่าเพราะว่าแข็งแรงกว่า แล้วเวลาที่เราเปิดไปในแต่ละหน้าของ หนังสือนั้น เราต้องคิดว่าจะให้ผู้อ่านเปิดอย่างไร เปิดไปแล้วจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง บ้าง อะไรมันจะเชื่อมโยงกัน ต้องกำ�หนดไปเลยว่าจะทำ�กี่หน้า ตำ�แหน่งโลโก้ว่าจะวางตรงไหน ต้องวางให้ ลงตัว หนังสือภาพ คนเขียนต้องเป็นคนกำ�หนด ถ้าให้คนอื่นกำ�หนด พวกสีที่เรา ต้องการมันจะออกมาไม่ตรงกับที่เราอยากได้ คือเราต้องรู้ทันทีว่ามันต้องเพี้ยน แน่นอน แล้วโรงพิมพ์จะสามารถแก้ปัญหาของเราตรงไหนได้บ้าง เราก็ต้องคุยและ ตกลงกับเขา อย่างผม เวลาที่ผมมีคอนเซ็ปในการทำ�หนังสือเกิดขึ้นในหัว ผมก็จะรีบไป

๖๖

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


เสนอกับกองบรรณาธิการ มันแล้วแต่โอกาสว่าเราจะคิดได้ตอนไหน และคิดได้ช่วง เวลาไหน อย่างโอกาสที่เรามั่นใจ ผมเขียนขึ้นมาแล้วคิดว่ามันต้องสนุกแน่ ผมก็รีบไป เสนอแล้วก็จะอวดไปเลยว่า เล่มนี้จะซื้อไหมประมาณนี้ บางเล่มผมก็พิมพ์เอง ไม่ต้องไปขอคุยกับใคร อย่างเล่มที่เป็นเรื่องไดโนเสาร์ เปิดภาพและรายละเอียดให้คู่กัน เรื่องนี้ก็จัดว่าคุยยาก จัดว่าเป็นอีกเล่มหนึ่งที่ผมคิด ว่าราคาคงไม่แพงนะ 250 บาท พอทำ�ออกมาแล้วคิดว่าราคาดันออกมาสูง แต่ถ้าไม่ตั้ง ราคานี้เราก็คงขาดทุนแน่นอน สำ�หรับเทคนิคในการนำ�เสนอด้านต่างๆ ผมคิดว่าเราควรตอบโจทก์ตัวเองว่า เทคนิคนี้มีประโยชน์อย่างไรสำ�หรับผู้อ่าน เราต้องคิดถึงผู้อ่านเป็นสำ�คัญนะ เทคนิค การนำ�เสนอก็สำ�คัญ เราต้องดูว่าเราจะทำ�ออกมาเป็นรูปเล่ม ใช้เทคนิคอะไรบ้าง เรา ต้องถามและสื่อสารกับฝ่ายเทคนิคโรงพิมพ์ก่อนว่าทำ�ได้ไหม ถ้าทำ�ได้ก็โอเคร เราต้อง คิดเทคนิคในแง่ความเป็นไปได้ด้วย เราต้องรู้ว่ามันมีเทคนิคไหนบ้างในการพิมพ์ มาต่อในส่วนของการออกแบบ ผมเป็นคนหนึ่งที่เวลาวาดหนังสือภาพจะนิยม ใช้หลายสี แล้วแต่เล่ม และอารมณ์ความรู้สึกที่ต้องการสื่อออกมา บางเล่มผมก็ใช้ เทคนิคผสม บางเล่มใช้เทคนิคการตัดปะอย่างเดียวก็มี เวลาเราลงสีต่างๆ ในแง่คุณสมบัติของสี ผมจะดูเป้าหมายด้วยว่า เป้าหมาย ของเราเราใช้สีนี้เพื่ออะไร เพื่อให้ส่งผลยังไง บางทีเราต้องเลือกใช้สีที่ต่างกัน บางที ต้องเลือกใช้สีอคิลิก บางทีต้องใช้ตัดปะ บางทีต้องมช้สีขาวดำ� หรือกระดาษดำ� อะไร ทำ�นองนี้ พูดรวมๆ สำ�หรับเทคนิคในการเขียนโดยเฉพาะตัวของผมคือ การใช้ภาษาและ การกระตุ้นให้เด็กคิด อย่างภาพที่ผมวาดจะไม่เหมือนกับนักเขียนคนอื่นๆ ที่เขาจะมี สไตล์เฉพาะตัว ที่เขาเรียกว่าภาพอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นภาพที่เป็นอัตลักษณ์ของตัวเองเป็น ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๖๗


๖๘

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


สไตล์ของตัวเอง บางเรื่องผมต้องตัดกระดาษ ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่น่าจะอบอุ่น แต่กลับต้องใช้ เทคนิคตัดกระดาษที่ทำ�ให้มันดูแข็ง เราก็ต้องมาดูว่าเป็นเพราะอะไรทำ�ไมเราถึงเลือก ใช้เทคนิคนี้ เป็นเพราะมันต้องมีกลไกอะไรบางอย่างที่มา เมื่อมันผสมกันแล้ว เป็น ลักษณะของการตัดกระดาษที่ดูแข็งๆ แต่เมื่อเด็กดูภาพแล้ว แล้วก็ฟังจากการที่พ่อ แม่เล่าแล้วนั้น มันจึงเกิดความอบอุ่นขึ้นมาได้ ความรู้สึกบางอย่างนั้นไม่ใช่ว่าจะต้อง ถ่ายทอดตรงๆด้วยเทคนิคของภาพ บางทีมันต้องคล้องจองกับอย่างอื่นด้วย เราจะต้องตั้งคำ�ถามเป็นเล่มๆไป ว่าเล่มนี้มีวิธีคิดอย่างไร มีเนื้อหาอย่างไร ภาษาทำ�ไมต้องใช้แบบนี้ ภาพทำ�ไมมันต้องใช้เทคนิคนี้ นี่คือโครงสร้างของหนังสือ เนื้อหาภาษาภาพที่เวลาคนเขียนหนังสือภาพจะต้องไม่ พ้น 3 ข้อนี้ แต่จะคิดถึง 3 ข้อนี้ในแง่มุมไหน มันก็จะต่างกันไปของคนแต่ละคน ในด้านเนื้อหา ผมจะใช้เทคนิคหลายๆแนว แต่ที่สำ�คัญเลยคือกระตุ้นให้เด็ก คิด คือการกระตุ้นให้เด็กคิดและหยิบเพื่ออะไรมา คือเราจะคิดเป็นตัวอย่างในเรื่อง เนี้ย ในเรื่องเนี้ยคือตัวอย่างให้เด็กคิด ที่เราสื่อสารกับเด็กในขอบเขตของหนังสือ ใน รูปเล่มของหนังสือ แต่เมื่อจบแล้วได้ความคิดต่อยอดที่ไม่ได้จบไปตามเรื่อง หรือในขณะที่เราอ่าน ก็อาจจะเกิดความคิดอะไรบางอย่างก็ได้ อันนี้น่าจะ เป็นจุดเด่น คือไม่ใช่เรื่องที่จบแล้วได้ความคิดต่อ หรือในขณะที่อ่านนั้นก็อาจเกิด ความคิดอะไรบางอย่างก็ได้ อันนี้น่าจะเป็นจุดเด่น คือไม่ใช่เรื่องที่จบแล้ว จบเลย มัน จบในเรื่องก็จริง แต่ว่าเอาไปคิดต่อได้ต้องดู มันสามารถยกตัวอย่างเป็นเล่มๆได้ บางทีผมก็คิดนะว่าจะทำ�ผลงานไปเมืองนอก พอได้ในเรื่องของภาษา เรื่องของ ถ้อยคำ� เรื่องคณิตศาสตร์แล้ว เด็กเขาจะมีตัวเลขเป็นของตัวเองไหม เด็กอยากให้เลข ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๖๙


หนึ่งของตัวเองทำ�อะไรบ้าง อันนี้เด็กจะถูกกระตุ้นด้วยภาพศิลปะที่ชัดเจน และมีชีวิต ชีวา เด็กจะรู้สึกชอบ แล้วต่อจากนั้นเด็กก็จะไปวาดของเขาเอง พอเขาวาดของเขาเอง เขาจะวาดในตามแบบของเขา เลขสี่ของเขาจะไปทำ�อะไรอย่างอื่นได้ไหม หรือจะเป็น อย่างอื่นได้ไหม ถ้าถามว่าความคิดจบไหม หนังสือเมื่ออ่านเล่มนี้จบเด็กจะรู้สึกว่าความคิดมัน ไม่จบ มันยังคงค้างคาอยู่ แล้วดูการออกแบบ มันไม่ใช่แค่เพียงหน้าปก แต่ว่ามันคือ เรื่องราวอีกต่อหนึ่ง ในการเป็นนักเขียนเด็ก จำ�เป็นอย่างยิ่งว่าต้องอยู่กับเด็กสักพักหนึ่ง รู้จักเด็ก ก่อน ต้องคลุกคลีกับเด็กก่อน จะไม่ทำ�เทคนิคแบบผมก็ได้ แต่มันก็จำ�เป็นนะ เพราะว่า มันจะไม่ใช่เด็กที่รับเอาความคิดของเราเข้าไป มันจะไม่คุ้นเคยถ้าหากไม่ไปทำ�ความคุ้น เคยกับเด็กก่อน เราทำ�การค้า เราก็ต้องรู้จักลูกค้าของเราใช่ไหม เวลาทำ�อาหารเราก็ ต้องรู้จักคนกิน ทางที่ดีเราก็ควรศึกษา และคลุกคลีอยู่กับเด็กก่อน มันถึงจะดี ส่วนสิ่งที่มีอิทธิพลกับความคิด จริงๆแล้ว ผมคิดว่ามันก็คือประสบการณ์ตั้งแต่วัยเด็ก ที่เราต้องไม่ลืม สิ่งนี้สิ่งที่ดีที่สุด ถ้าคนที่จะทำ�งานเกี่ยวกับเด็กนะ เพราะไม่งั้นเราจะไม่ เข้าใจ เราจะมองเด็กว่าเป็นคนอีกเผ่าพันธุ์หนึ่ง ต่างชาติต่างพันธุ์ ต่างภาษาที่เราไม่รู้จัก ซึ่งมันไม่ใช่ แล้วถ้าเราจำ�ได้ว่าวัยเด็กเราเป็นยังไง เราสนุกเพราะอะไร เราจะทำ�งานกับเด็ก เวลาคิดเรื่องขึ้นมามันไม่ใช่เรื่องเสแสร้ง มันไม่ใช่เรื่องที่เราประดิษฐ์ขึ้นมา โดยไม่มีที่มา ที่ไป เวลาเราเขียนเราจะรู้สึกว่ามีกลิ่นอาย เราจะนึกถึงเพื่อนในสมัยเด็กๆของเรา การ เล่นกับเพื่อน การคุยกับเพื่อน ภาษาที่เราใช้ เราต้องมองที่เป็นเด็กจริงๆ มีชีวิตจริงๆ เพียงแต่ว่านักเขียนถ่ายทอดความเป็นจริงด้วยอะไร ด้วยชั้นเชิงวรรณศิลป์เท่านั้น เวลาเขียนเรื่องเล่มหนึ่ง การวางเค้าโครงความคิดแต่ละเรื่องมันไม่เหมือนกัน บางเล่ม

๗๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ภาพร่างหนังสือภาพเรื่อง ‘ลูกเจี๊ยบอยากเหมือนแม่’

มันจะจบภายในเล่มเดียว บางเรื่องถ้าเราอยากบอกเล่าเรื่องความรักความอบอุ่น อะไรทำ�นองนี้ เราก็ต้องสร้างตัวละครขึ้นมาที่เป็นตัวแทนของความรักความอบอุ่น เราก็ต้องคิดขึ้นมาเพื่อดำ�เนินเรื่องให้ได้ด้วยกลวิธีของเรา ยกตัวอย่างเช่นเรื่องเจี๊ยบๆอยากเหมือนแม่ ถามว่าเรื่องนี้มาจากไหน? เรื่องนี้มาจากการคุยจากบรรณาธิการ มันมีหนังสือของฝรั่งที่เป็นเรื่องของ สิงโต หรือเด็กที่อยากเป็นของผู้ใหญ่ เป็นธรรมชาติของคนที่เป็นไอดอล เป็นต้นแบบ ผมก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า ผมก็คิดกลับมาอีกมุมหนึ่ง เขาพูดถึงเรื่องสิ่งใหญ่ๆน่ากลัว เรา ก็มีพื้นฐานประสบการณ์อยู่แล้ว เรื่องสัตว์กับลูกสัตว์ อะไรที่เราสัมผัสได้ อะไรที่เรา คุ้นเคย ผมก็นึกถึงไก่ สุนัขก็เลี้ยงลูก แต่มันไม่น่ารักสำ�หรับเรา ลูกรักของมัน อาจ เป็นธรรมดาก็ได้ ผมก็ลองมานึกถึงไก่ ถ้างั้นเอาลูกเจี๊ยบอยากเหมือนแม่ดีกว่า ผมจึง เสนอบรรณาธิการไปว่าอยากทำ�เรื่องเจี๊ยบๆอยากเหมือนแม่ แล้วผมก็เริ่มทำ�เลย

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๗๑


๗๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ตอนแรกที่คิดเรื่องลูกเจี๊ยบอยากเหมือนแม่ ยังคิดเรื่องไม่ออกหรอก คิดแค่ เพียงคอนเซปคร่าวๆ แล้วก็ความคิดอยากคิดต่อ แล้วก็ตระเวนไปสอบถาม ไปถ่ายรูป ไปหาข้อมูล แล้วก็มาออกแบบให้คิดดูว่าเทคนิคไหนจะใช้ได้ ให้ลองทำ�เทคนิคหลายๆ อย่างดู ทั้งสีน้ำ� ตัดกระดาษ หรือจะทำ�ให้มันเป็นฟู่ๆฟูๆ อันที่จริงมันไม่ใช่ เพราะมันจะเหมือนจริงเกินไป แล้วมันจะไปติดอยู่ที่ภาพ เหมือนจริง ผมจึงลองคิดว่าใช้เทคนิคการตัดกระดาษดีกว่า โดยตัดกระดาษให้มัน คล้ายๆกับภาพพิมพ์ มันจะดูแข็งๆ แต่ว่าเรื่องจะอบอุ่นกับภาษาของเราที่คิดขึ้นมา ออกแบบมาให้เป็นภาษาที่ฟังดูแล้วอ่อนโยน มันก็จะคอนทราสกัน แต่ว่าไปด้วยกันได้ มันจะเป็นลักษณะเสริมซึ่งกันและกัน นี่คือวิธีคิด แต่ละเรื่องจะมีวิธีคิดต่างกันไป คือด้านเนื้อหา แล้วก็วิธีการสื่อสารแบบด้วย เทคนิคอะไร อย่างเรื่องคุณยายกับตา แนวของเรื่องจะเป็นนิทานโบราณ ผมเอามาตี ความใหม่ เพิ่มอะไรบางอย่างเข้าไป แบบนี้เขาเรียกว่านิทานวนไปวนมา หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า คิวบูเรทีฟ หรือเล่าแบบต่อเนื่อง หลายประเทศก็จะมีแบบนี้ ซึ่งแบบนี้ เป็นแบบนิทานดั้งเดิม ผมอ่านหนังสือแล้วรู้สึกประทับใจจึงนำ�มาปรับใช้กับสำ�นวนของ ตัวเอง เรื่องคุณยายกับตาถือว่าไม่ยาก แต่สิ่งที่ยากคือหาทางออก ทำ�ยังไงให้มัน เหมือนนิทานในแบบของเรา ทั้งภาษา แล้วก็ภาพ วิธีการเล่าเรื่อง โดยสิ่งที่เพิ่มเติมไป ในเรื่องนี้คือ เพิ่มเติมรายละเอียดเข้าไป

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๗๓


๗๔

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ทฤษฎี และแนวคิด

ที่ควรรู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ในการทำ�หนังสือสำ�หรับเด็ก ทฤษฎีบางส่วนเราก็ควรรับรู้ไว้ ว่าเป็นอย่างไร เพราะนอกจากจะช่วยให้เข้าใจความคิดของเด็กแล้ว มันก็ยังสามารถเพิ่มวิธีแนวคิด วิธีต่างๆ ในการทำ�หนังสือเพื่อพัฒนาเด็กได้ด้วย เดิมเชื่อกันว่าเด็กคือผู้ใหญ่ตัวเล็ก ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ เมื่อพ้น จากวัยเด็กก็คือ ผู้ใหญ่คนหนึ่ง ต่อมาการศึกษาทางจิตวิทยาทำ�ให้เกิดการยอมรับ แนวคิดที่ว่า วัยเด็กเป็นขั้นตอนหนึ่งในชีวิตที่ต่างไปจากผู้ใหญ่ เด็กเติบโตโดยผ่าน กระบวนการพัฒนาและขั้นตอนต่างๆ ตามอายุของเด็ก ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กจะมี 2 ทฤษฎีด้วยกัน คือ ทฤษฎี พัฒนาการของเพียเจต์ กับทฤษฎีพัฒนาการของอิริคสัน ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Theory of Cognitive Development) ของนักจิตวิทยาชาวสวิส ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) มีบทบาทอย่างมากในวงการ ทางการศึกษา เพียเจต์สนใจพัฒนาการของการเกิดความรู้ และลักษณะแบบแผน ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๗๕


การคิดของคนในแต่ละช่วงอายุ ว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร เขาเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้น จากการที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กังสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้เกิดกระบวนการทางสติปัญญาที่จะ รับข้อมูลเข้ามา (assimilation) และปรับแปลงข้อมูลที่มีอยู่ให้เขากับข้อมูลใหม่ที่ได้รับ (accommodation) ทำ�ให้เกิดความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ เพียเจต์แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาออกเป็น ๔ ระยะ คือ ๑. ระยะการใช้ทางประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (sensorimotor stage) เด็กแรกเกิด - ๒ ปี ต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ พฤติกรรมเด็กและการรับรู้ต่างๆ กระทำ� ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ในการเรียนรู้ความหมายของสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น การใช้ มือ ปาก ลิ้น ฯลฯ เพื่อทราบลักษณะของสิ่งนั้นๆ ว่าแข็ง นุ่ม หรือมีรสเป็นอย่างไร ใน ทัศนะของเพียเจต์ สติปัญญาและความคิดของเด็กมาจากปฏิกิริยาสะท้องเหล่านี้กับสิ่ง แวดล้อม ๒. ระยะเริ่มมีความคิดและความเข้าใจ เด็กแรกเกิด ๒-๖ ปี เริ่มรู้จักใช้ภาษาสัญลักษณ์เป็นตัวแทนเรียกชื่อสิ่งของ วัย นี้เป็นระยะที่มีความคิดยึดตัวเองเป็ศูนย์กลาง (egocentrism) มองสิ่งต่างๆ ในมุมมอง ของตัวเอง ความคิดความเข้าใจของเด็กยังขึ้นอยู่กับการรับรู้จากสิ่งที่มองเห็นในขณะ นั้น โดยดูจากลักษณะภายนอกเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถสันนิษฐานเกินจากสิ่งที่เห็น ๓. ระยะการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลเป็นรูปธรรม (concrete operation) เด็กอายุระหว่าง ๗ - ๑๑ ปี เริ่มเข้าใจแนวคิดพื้นฐานในการเข้าใจเรื่องรอบตัว แต่เป็นเพียงรูปธรรมเท่านั้น ความคิดที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางลดน้อยลง ๔. ระยะการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลเชิงนามธรรม (formal opeational stage) อายุ ๑๒ ปีขึ้นไป มีความสามารถเข้าใจแนวคิดที่เป็นนามธรรมได้ สามารถที่จะ คิดอย่างเป็นระบบ และมีเหตุผล อธิบายความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้

๗๖

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ทฤษฎีของเพียเจต์มีบทบาทอย่างมากในวงการการศึกษาและวงการ วรรณกรรมเด็ก เป็นการยอมรับว่าเด็กมีพัฒนาการและความสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ตามระดับอายุ จึงมีการผลิตวรรณกรรมสำ�หรับเด็กให้มีเนื้อหา รูปแบบ เหมาะสม กับวัยของเด็ก ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน ทฤษฎีพัฒนาการของอิริคสัน อิริค อิริคสัน (Erik H. Erikson) นักจิตวิทยาที่จัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่น ใหม่ เห็นว่าการจะทำ�ความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยง ดู สภาพสังคม และความเป็นอยู่ของเด็ก เขาอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยาและ สังคมวิทยา โดยชี้ให้เห็นว่า การเลี้ยงดูมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ แต่ละขั้นของพัฒนาการทางบุคลิกภาพมีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้ทั้งในทางบวกและ ลบ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเลี้ยงดูในวัยแรกของชีวิตจะเป็นรากฐานสำ�หรับวัย

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๗๗


ต่อๆ ไป ทฤษฎีที่อิริคสันพัฒนาขึ้น เรียกว่า ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต - สังคม (Psychosocial Development Theory) หรือพัฒนาการทางบุคลิกภาพ (Personality Development) แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยสูงอายุ เป็น ๘ ขั้น ดังนี้ ๑. ความไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจ (Trust VS. Mistrust) ในช่วง ๐ - ๒ ปี ทารกจะต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดูแลเอาใจใส่ทุกด้าน เป็นระยะ ที่การตอบสนองของพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู มีความสำ�คัญอย่างมากในการตอบสนองความ ต้องการพื้นฐานของทารก คือการได้รับอาหาร ความรัก การอุ้ม การกอดรัดสัมผัส หรือการพูดคุยเล่นด้วย ถ้าทารกได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอและสม่ำ�เสมอ ก็ ตะเกิดเป็นความพึงพอใจ รู้สึกปลอดภัย และไว้วางใจในสิ่งแวดล้อมของตน ซึ่งเป็นพื้น ฐานที่สำ�คัญที่สุดสำ�หรับพัฒนาการในช่วงต่อๆ ไป ๒. ความเป็นตัวของตัวเองกับความคลางแคลงใจ (Autonomy VS. Doubt) ช่วง ๒-๓ ปี พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เป็นวัยแห่งการทดลองใช้ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีความสำ�คัญ อยากเอาชนะสิ่ง แวดล้อม และเริ่มเรียนรู้ที่จะทำ�กิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเอง เช่น เริ่มหัดเดิน หรือตัก อาหารใส่ปากเอง เป็นต้น หากได้รับการสนับสนุนและกระตุ้น ให้กำ�ลังใจ ให้ลองทำ�ใน สิ่งที่เด็กทำ�ได้ตามความสามารถ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจและมั่นใจในความสามารถ ของตัวเอง แต่ถ้าพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูไม่ให้โอกาสหรือทำ�แทนเด็กทุกอย่าง เด็กจะเกิดความสา มารถความแคลงใจในความสามารถของตัวเอง ไม่กล้าที่จะทำ�อะไรด้วยตัวเอง ขาด ความมั่นใจ ๓. ความริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative VS. Guilt) ในช่วง ๓-๕ ปี จากการที่มีโอกาสสำ�รวจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในวัยหัดเดิน เด็ก

๗๘

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบลองของใหม่ ช่างซักถาม และสงสัยอยู่ตลอดเวลาหากพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูให้เวลากับเด็กในการตอบคำ�ถาม ไม่ ตัดบทด้วยความรำ�คาญ และสนับสนุนให้เด็กใช้ความสามารถของตนลองทำ�กิจกรรม ต่างๆ ตามความคิดของตัวเอง ก็จะช่วยให้เด็กพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หากผู้ใหญ่คอยเข้มงวด ไม่เปิดโอกาสให้เด็ก ตำ�หนิอยู่ตลอดเวลา เด็กก็จะ รู้สึกผิดเมื่อคิดจะทำ�สิ่งใดๆ ด้วยตัวเอง ๔. ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำ�ต้อย (Industry VS. Inferiority) ช่วง ๖ - ๑๒ ปี เป็นวัยเด็กที่เด็กเริ่มเข้าโรงเรียนและต้องการเป็นที่ยอมรับ ของผู้อื่น หากเด็กได้รับการกระตุ้นให้ทำ�สิ่งต่างๆ ได้รับคำ�ชมเชย ให้กำ�ลังใจ จะเป็น แรงกระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กมีมานะพยายามมากขึ้น เมื่อทำ�สิ่งใดๆ สำ�เร็จและได้ รับคำ�ชมเชย เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง และผลสำ�เร็จที่ได้รับ เห็นคุณค่า ของความเพียรพยายาม แต่ถ้าตรงกันข้าม หากเด็กทำ�สำ�เร็จและไม่ได้รับความสนใจ หรือผู้ใหญ่แสดงออกมาให้เห็นว่าเป็นการกระทำ�ที่น่ารำ�คาญ เด็กก็จะรู้สึกว่าตัวเอง ด้อย ขาดความมั่นใจ ๕. ความเป็นอัตลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (Identity VS. Role Confusion) ช่วง ๑๒ - ๑๘ ปี เป็นช่วงที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มสนใจเรื่องเพศ เข้าไปผูกพัน กับสังคมและต้องการตำ�แหน่งทางสังคม มีความรู้สึกเป็นอิสระและเป็นตัวของตัว เอง ถ้าค้นหาตัวเองได้ เข้าใจว่าตนคือใคร ต้องการอะไร มีความเชื่ออย่างไร เขาจะ แสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม ตรงข้าม หากไม่สามารถรวบรวมประสบ การณ์ในอดีตได้ ก็จะไม่สามารถเข้าใจตัวเอง เกิดความสับสน และความขัดแย้ง และ แสดงบทบาทที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับตนเอง ๖. ความผูกพันกับการแยกตัว (Intimacy VS. Isolation) ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๗๙


วัยผู้ใหญ่ (๑๘ - ๓๕ ปี) เป็นขั้นของการพัฒนาทางด้ายความรักความผูกพัน เมื่อสามารถค้นพบอัตลักษณ์ของตนเองได้แฃ้ว ก็เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่รู้ ใจ สามารถปรับทุกข์ซึ่งกันและกัน สร้างและแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์อย่างสนิทสนม กับบุคคลอื่นได้ หากไม่สามารถประสบความสำ�เร็จในแนวทางแห่งตน ไม่สามารถสร้าง ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้ เขาก็รู้สึกหว้าเหว่เหมือนถูกทอดทิ้ง ซึ่งจะนำ�ไปสู่การแยก ตัวเองและดำ�เนินชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ๗. การทำ�ประโยชน์ให้สังคมกับการคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity VS. Stagnation) วัยกลางคน (๓๕-๖๐ ปี) เป็นช่วงซึ่งมีความพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้สังคม ได้เต็มที่ ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมาดำ�เนินไปได้ด้วยดี เขาจะสร้างสรรค์งาน ต่างๆ เพื่อสังคม คิดถึงผู้อื่น ไม่เห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว แต่ถ้าตรงกันข้าม เขาจะเกิดความ รู้สึกท้อถอย เบื่อหน่ายชีวิต คิดถึงแต่ตนเอง (self absorption) ไม่รับผิดชอบต่อสังคม ทฤษฎ่ีของอิริคสัน อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยชรา อิริค สันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และพัฒนาการในวัยต่อๆ มาก็ สร้างจากรากฐานนี้ ถ้าหากเด็กตั้งแต่วัยแรกเริ่ม ได้รับการดูแลอย่างดีและอบอุ่น ก็จะ ช่วยให้เด็กมีความเชื่อถือและวางใจในผู้อื่น ตั้งแต่พ่อแม่ และบุคคลต่างๆ ที่อยู่รายรอบ เมื่อเขาเติบโตขึ้น ก็จะพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ดี และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมี ความสุข นอกจากนี้ด้านองค์ความรู้และแนวคิดสมัยใหม่เรื่องพัฒนาการของสมอง ในช่วงที่ผ่านมามีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ วิเคราะห์การทำ�งานของสมอง เพื่อการศึกษาพัฒนาการในแต่ละขั้นตอน ความรู้ใหม่พบว่า โอกาสแห่งการเรียนรู้ และอัตราการเรียนรู้สูงสุดอยู่ในช่วงปฐมวัย การเติบโตและพัฒนาการของสมองเป็น รากฐานของการเรียนรู้ และการเติบโตของสมองสูงสุดอยู่ในช่วง ๐-๖ ปี ซึ่งเป็นการ

๘๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


เติบโตทางปริมาณ ทำ�ให้มีขนาดเกือบจะเท่าสมองของผู้ใหญ่ การทำ�งานของสมอง ซีกซ้ายและขวาไม่แยกส่วนกัน แต่จะทำ�งานในลักษณะร่วมกัน จากองค์ความรู้นี้นำ� ไปสู่การออกแบบการเรียนรู้สมัยใหม่ ให้เข้ากับพัฒนาการของสมอง BBL - Brain Based Learning หรือการเรียนรู้บนฐานการทำ�งานของสมอง เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ โดยบูรณาการความรู้จากสหสาขาวิชา ต่างๆ มาอธิบายกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยด้านประ สาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ชีววิทยา (Biology) และจิตวิทยา (Psychology) เพื่อนำ�มาทำ�ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้กับสมอง หัวใจสำ�คัญของ BBL อยู่ที่การออกแบบการเรียนการสอนให้สมองสามา รถเรียนรู้ได้ดีที่สุด ซึ่งหมายความว่า ระบบการศึกษาจะต้องให้ความสนใจมากกว่า พัฒนาการด้านสติปัญญา (IQ - Intelligence Quotient) เพียงอย่างเดียว แต่จะ ต้องให้ความสนใจกับพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอารมณ์ สิ่งแวดล้อม ร่างกาย จิตใจ ทัศนคติ เพราะพัฒนาการในด้านต่างๆ ที่กล่าวนี้ ไม่สามารถแยกออกจาก พัฒนาการด้านสติปัญญา นักประสาทวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า สมองไม่ได้เรียนรู้เหมือ นเครื่องจักร แต่เรียนรู้ตามจังหวะชีววิทยา การทำ�งานของสมองขึ้นอยู่กับสภาพ ร่างกาย ความพร้อมทางอารมณ์สิ่งแวดล้อมภายนอก รวมทั้งเวลา ก็มีผลต่อการ เรียนรู้ มีความพยายามในการอธิบายการทำ�งานของสมองในเชิงอุปมาอุปมัยว่า สมองเปรียบเสมือนการทำ�งานของคอมพิมเตอร์ มีโครงข่ายการเชื่อมต่อและเส้น ทางในการจัดการและส่งสัญญาณข้อมูลเป็นวงจร ทว่ากลไกการทำ�งานของสมองมี ความซับซ้อนกว่ามาก ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๘๑


๘๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


สมองของทารกแรกเกิดมีเซลล์ประสาทสมองนับแสนล้านเซลล์ เซลล์สมอง หนึ่งเซลล์ประกอบด้วย ตัวเซลล์ (Cell body) และปลายประสาทที่แยกออกไป ซึ่งมี ๒ ลักษณะ คิอ เส้นประสาทคล้ายกระสวยที่แตกแขนงออกไปรอบๆ เรียกว่า “เดรน ไดร์ท” (dendrites) และเส้นประสาทที่เป็นแกนเดี่ยวมีขนาดใหญ่ยื่นออกไป เรียกว่า “แอกชอน” (axon) โดยปลายประสาทของแอกชอนซึ่งมีหลายแฉก จะเข้าไปเชื่อมต่อ กับเดรนไดร์ทของอีกเซลล์หนึ่ง จุดที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์เรียกว่า “ซินแนปส์” (synapses) เมื่อมีการก ระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เซลล์ที่ได้รับการกระะตุ้นก็จะเชื่อมต่อกับเซลล์อื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง นั่นคือ เกิดการเรียนรู้ เซลล์ในตำ�แหน่งที่ถูกกระตุ้นบ่อยๆ จะมีความแข็งแรง สามารถส่งและรับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่เซลล์ในตำ�แหน่งที่ไม่ถูกกระตุ้น ก็จะค่อยๆ หดหายไป ที่เรียกว่า เซลล์สมองฝ่อ (neuron pruning) เนื่องจากไม่ได้ใช้ จากทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สำ�คัญเรื่องพัฒนาการเด็ก รวมทั้งความรู้ เรื่องพัฒนาการของสมอง ชี้ให้เห็นว่า ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำ�คัญที่สุดและจำ�เป็น ที่สุดของการวางรากฐานการพัฒนาความเจริญเติบโตในทุกด้าน เพราะฉะนั้น หากเด็ก ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี และได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่เหมาะสมตามช่วงวัยแล้ว เด็ก จะเกิดการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและเป็นผู้ที่มีคุณภาพของสังคม ในทางตรงกันข้าม หากไม่ได้รับการเลี้ยงดูและพัฒนาอย่างเหมาะสม เมื่อพ้นวัยนี้ไปแล้วโอกาสทองของ การพัฒนาก็ยากที่จะหวนกลับมาอีก

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๘๓


๘๔

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


การเขียนหนังสือเด็ก กับความเหมาะสมในวัยต่างๆ

หนังสือเด็กหรือหนังสือภาพ เป็นหนังสือที่มีรูปภาพเป็นส่วนอธิบายเรื่อง โดยทั่วไปหนังสือภาพมีไว้สำ�หรับเด็กเล็กวัยก่อนเข้าเรียนที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ โดย ทั่วไปหนังสือภาพมีไว้สำ�หรับเด็กเล็กก่อนเข้าเรียนที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ แต่เด็ก สามารถอ่านเรื่องจากภาพหรือผู้ใหญ่อ่านเรื่องให้ฟัง หนังสือภาพเป็นหนังสือที่ภาพ และเนื้อเรื่องมีความสำ�คัญเท่ากัน ภาพในหนังสือภาพจะต้องมีความถูกต้องชัดเจน และให้ความหมายของเนื้อเรื่องอย่างแจ่มชัด ในการทำ�หนังสือภาพสำ�หรับเด็ก ความยากง่ายในการทำ�จะไม่เหมือนกัน ผมขอเอาชาร์ลอต เอส ฮัค และ ดอริส ยัง คัน (Chalototee S Et Doris Young Kuhn) ซึ่งเขาได้จำ�แนกความสนใจในการอ่านหนังสือของเด็กตามระดับอายุและชั้น เรียน ไว้ดังนี้ 1. วัยก่อนเข้าเรียน – ชั้นอนุบาล (อายุ 4-5ปี) ลักษณะพัฒนาการ 1. พัฒนาการทางภาษาเป็นไปโดยรวดเร็ว 2. ชอบกิจกรรมต่อเนื่อว แต่ช่วงเวลาความตั้งใจสั้น 3. ความสนใจและพฤติกรรมการแสดงออทางโอ้อวด ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๘๕


4. มีความอยากรู้อยากเห็น 5. การสร้างมโนทัศน์ควรผ่านประสบการณ์ใหม่ๆ 6. สนุกสนานกับการเล่นแบบจินตนาการ 7. ต้องการความอบอุ่นใจ และความมั่นคงปลอดภัย 8. เริ่มต้องการความเป็นอิสระจากผู้ใหญ่

ความสนใจ 1. ชอบเรื่องสั้น หรือสนุกสนานกับเรื่องที่เป็นชุด แต่แบ่งเป็นตอนๆ และจบ ภายในตอนหนึ่งๆ 2. เด็กเรียนรู้การใช้ทักษะในการอ่านและการเขียน ต้องกระทำ�สิ่งเหล่านี้ให้ สำ�เร็จด้วยตัวเอง และภูมิใจในความสำ�เร็จ 3. ต้องการหนังสือต่างชนิดกัน สนใจบ้านและเพื่อนบ้าน แต่สำ�หรับสือสารมวล ชนแล้วได้ขยายความสนใจกว้างออกไปยังดินแดนอื่นๆ จนกระทั่งถึงห้วงอวกาศ 4. สนุกสนานกับหนังสือที่เป็นเรื่องจินตนาการ ชอบแสดงละครเรื่องง่ายๆ 5. รู้จักแบ่งหนังสือกันอ่าน 6. เริ่มมีมโนทัศน์เกี่ยวกับเวลา หนังสือสารคดีประเภทชีวประวัติและ ประวัติศาสตร์ง่ายๆ จะช่วยให้เด็กมีความรู้สึกหวนคำ�นึงถึงอดีต 7. ชอบอ่านเรื่องตลกขบขันดังๆ ในห้องเรียน สนุกสนานกับหนังสือที่มีเรื่องตื่น เต้น 2. ชั้นประถมปีที่ 1-2 (อายุ 6-7ปี) ลักษณะพัฒนาการ 1. ช่วงเวลาของความตั้งใจนานขึ้น

๘๖

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


2. พยายามทำ�ให้สำ�เร็จตามที่ผู้ใหญ่ขอร้อง 3. มีความสนใจอย่างต่อเนื่องในสิ่งรอบตัว กระตือรือร้น และอยากรู้อยาก เห็น 4. พัฒนาจินตนาการกว้างไกลขึ้น 5. มีความรู้สึกในความยุติธรรม 6. มีมโนทัศน์เกี่ยวกับเวลาน้อยมาก 7. อารมณ์ขันพัฒนาขึ้น สนุกสนานกับความเคราะห์ร้ายของผู้อื่น และการ เล่นตลกต่างๆ 8. มีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศ 9. สภาพร่างกายกำ�ลังเปลี่ยนแปลง เรียนรู้การผิวปากและการใช้อวัยวะ ต่างๆ 10. ยังคงต้องการความเป็นอิสระจากผู้ใหญ่ 11. ประมาณอายุ 7 ปีเต็ม จะเข้ากลุ้มและเข้าหมู่คณะ 12. ยังคงต้องการความอบอุ่นใจ และความมั่นคงปลอดภัยจากผู้ใหญ่ที่มี ความสัมพันธ์กัน ความสนใจ 1. ชอบเรื่องสั้น หรือสนุกสนานกับเรื่องที่เป็นชุด แต่แบ่งเป็นตอนๆ และจบ ภายในตอนหนึ่งๆ 2. เด็กเรียนรู้การใช้ทักษะในการอ่านและการเขียน ต้องการกระทำ�สิ่งเหล่านี้ ให้สำ�เร็จด้วยตัวเอง และภูมิใจในความสำ�เร็จ 3. ต้องการหนังสือต่างชนิดกัน สนใจบ้านและเพื่อนบ้าน แต่สำ�หรับสื่อสาร มวลชนแล้วได้ขยายความสนใจกว้างออกไปยังดินแดนอื่นๆ จนกระทั่งถึงห้วงอวกาศ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๘๗


4. สนุกสนานกับหนังสือที่เป็นเรื่องจินตนาการ ชอบแสดงละครเรื่องง่ายๆ 5. รู้จักแบ่งหนังสือกันอ่าน 6. เริ่มมีมโนทัศน์เกี่ยวกับเวลา หนังสือสารคดีประเภทชีวประวัติและ ประวัติศาสตร์ง่ายๆ จะช่วยให้เด็กมีความรู้สึกหวนคำ�นึงถึงอดีต 7. ชอบอ่านเรื่องตลกขบขันดังๆ ในห้องเรียน สนุกสนานกับหนังสือที่มีเนื้อ เรื่องตื่นเต้น 8. ต้องการมีโอกาสเลือกหนังสือด้วยตนเอง 3. ชั้นประถมปีที่ 3-4 (อายุ 8-9ปี) ลักษณะพัฒนาการ 1. ช่วงเวลาของความตั้งใจนานขึ้น มีทักษะในการอ่านและเข้าใจได้ดี 2. ความสามารถและความสนใจกว้างขึ้น ความแตกต่างในความสนใจของเด็ก ชายและเด็กหญิงปรากฏเด่นชัด ระดับอายุ 9 ปี กิจกรรมต่างๆ แยกกันตามชนิดของ เพศ 3. การยอมรับความเสมอภาคในกลุ่มมีความสำ�คัญเพิ่มขึ้น รู้จักวิพากษ์วิจารณ์ ต้องการมาตรฐานความถูกและผิด มีความรับผิดชอบมากขึ้น 4. มีการให้ความร่วมมือและทำ�งานเป็นกลุ่มได้ดี 5. มีความสนใจในการเก็บรวบรวมมากขึ้น 6. สนุกสนานกับการท้าทายในการแก้ปริศนาและปัญหา ชอบรหัสลับและสนุก กับภาษา 7. การเล่นกีฬาเป็นทีมหรือทำ�งานเป็นกลุ่ม ทำ�ได้พร้อมเพรียงกัน 8. สนใจเรื่องต่างๆ เพิ่มขึ้น การโอ้อวดลดน้อยลง มีความสนใจในอดีตลึกซึ้งขึ้น และต้องการการผจญภัย

๘๘

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


9. ต้องการความรู้เฉพาะที่สามารถตอบปัญหาของตนได้ 10. สนุกสนานกับการเล่นตลกขบขันทุกวัน และทุกสถานการณ์ มีความ พอใจในเรื่องผจญภัยอันเกิดจากจินตนาการ 11. สนใจหนังสือที่ยากเกินความสามารถในการอ่านของตน ความสนใจ 1.การค้นคว้าหาอ่านเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานหรืองานอดิเรก ชอบมีอิสระใน การอ่านโดยไม่จำ�กัดเวลา ประมาณอายุ 9 ปี เด็กส่วนมากจะกระหายอ่านหนังสือ 2. หนังสือที่อ่านต้องสนองความสนใจและความสามารถของเด็ก 3. เด็กต้องการโอกาสที่จะแนะนำ�และพิจารณาหนังสือ 4. ปริมาณของหนังสือที่อ่านเป็นสิ่งสำ�คัญ เด็กชอบอ่านหนังสือที่เป็นชุด ต้องการหนังสือจำ�พวกงานอดิเรก 5. เริ่มสนใจเรื่องลึกลับและเรื่องผี 6. สนใจหนังสือกีฬา 7. สนใจเรื่องชีวประวัติ ชีวิตในอดีต ประชาชนในดินแดนอื่น ชอบเรื่องตื่น เต้นเร้าใจ 8. ต้องการคำ�แนะนำ�แหล่งหาความรู้ 4. ชั้นประถมปีที่ 5-6 (อายุ 10-11ปี) ลักษณะพัฒนาการ 1. ความเจริญเติบโตทางร่างกายเป็นไปโดยรวดเร็ว เด็กหญิงจะย่างเข้าสู่วัย รุ่นก่อนเด็กชายประมาณ 2 ปี 2. มีความเข้าใจและยอมรับบทบาททางเพศ เด็กหญิงแสดงความสนใจเด็ก ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๘๙


ชาย 3. สนใจอย่างแรงกล้าในกิจกรรมเฉพาะอย่าง 4. มีความเข้าใจเหตุการณ์ในอดีตมากขึ้น สามารถมองปัญหาได้หลายด้าน 5. มีความเข้าใจความจริงในเรื่องของความเป็นไปได้ของสิ่งเหนือวิสัยมากขึ้น 6. ความสัมพันธ์ในครอบครับเปลี่ยนแปลงไป ประมาณอายุ 11 ปีเต็ม อาจจะ ท้าทายอำ�นาจของพ่อแม่ 7. เน้นการเข้ากลุ่มมากขึ้นและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ พร้อมทั้งมีเจตนากีดกัน ผู้อื่น แสดงอคติออกมาให้เห็นชัดเจน 8. เริ่มยึดผู้อื่นเป็นตัวอย่างมากกว่าพ่อแม่ อาจจะได้ตัวอย่างเหล่านั้นจาก โทรทัศน์ ภาพยนต์ ครู และหนังสือ เริ่มสนใจอาชีพในอนาคต 9. รู้จักตนเอง และต้องการความเท่าเทียมกัน สนใจความรู้สึกของตนและผู้อื่น ต้องการได้รับความนิยมชมชอบ สนใจปัญหาต่างๆของโลก ความสนใจ 1. ยังคงมีความแตกต่างระหว่างเพศหญิงอยู่ในเรื่องของการชอบอ่าน 2. เด็กใช้เวลามากขึ้นสำ�หรับอ่านหนังสือในช่วงวัยนี้มากกว่าวัยอื่นๆ แนวโน้ม ในการเลือกหนังสือมักจะเกี่ยวกันกับชื่อเรื่อง เช่นเรื่องม้า เรื่องลี้ลับ และนวนิยาย วิทยาศาสตร์ 3. ต้องการการแนะนำ�ข้อวิจารณ์ในการกรำ�ที่มีอคติ 4. อาจถูกชักจูงไปในทางผิดเนื่องจากการอ่านวรรณกรรมเพ้อฝัน 5. หนังสือควรมีส่วนช่วยให้เด็กเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ที่ เด็กในวัยนี้มีต่อพ่อแม่ 6. เน้นตัวเองก่อนช่วยส่วนรวม

๙๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


7. หนังสือควรมีส่วนช่วยจัดหาตัวอย่างที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กยึดถือ และให้ ความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพต่างๆ 8. ช่วยให้เด็กได้เล่าเรื่องจากการอ่านเหตุการณ์ปัจจุบัน ให้มีการอภิปราย และดูข้อสังเกตแต่ละบุคคล 5. ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุ 12-14 ปี) ลักษณะพัฒนาการ 1.เด็กหญิงเด็กชายเริ่มแยกกันอยู่ อาจจับกลุ่มในระหว่างเพศเดียวกัน รัก พวกพ้องมาก 2.สนใจเกี่ยวกับชีวิตในโรงเรียน 3.ความชอบแตกต่างไปจากชั้นประถมศึกษา 4.รักษาความงามของร่างกาย และเริ่มสนใจความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ของตน 5. ชอบปฏิบัติตนเพื่อเป็นที่รักของผู้อื่น เช่น เพื่อน ครู ฯลฯ 6. สนใจความต้องการและรสนิยมของตน 7. ลักษณะพัฒนาการเริ่มย่างเข้าสู่วัยรุ่น ความสนใจ 1. เด็กชายชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับการผจญภัย วีรบุรุษและวีรสตรี และ ชอบอ่านหนังสือประเภทชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ 2. เด็กหญิงส่วนมากยังคงชอบเกี่ยวกับชีวิตภายในบ้าน ในโรงเรียน ชอบ เรื่องรักๆ ใคร่ๆ เริ่มอ่านนวนิยายสำ�หรับผู้ใหญ่ และชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับอาชีพด้วย 3. เรื่องผจญภัยชอบเรื่องผจญภัยในป่ากว้าง เด็กชายชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๙๑


การประดิษฐ์ เครื่องเล่น เครื่องใช้เล็กๆ น้อยๆ 4. เด็กหญิงในวัย 13-14 ปี ชอบอ่านนวนิยายของผู้ใหญ่ 5. เริ่มชอบอ่านคำ�ประพันธ์ บทละคร เรื่องสัตว์เลี้ยง แต่ไม่ชอบหนังสือ วิชาการเกินไป 6. ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงชอบอ่านนวนิยาย และนิตยสาร เด็กชายจะเลือก อ่านเฉพาะนวนิยายและนิตยสารที่มีเรื่องในแขนงที่ตนชอบเท่านั้น 7. เด็กหญิงวัย 14 ปี ชอบอ่านหนังสือผู้ใหญ่ ชอบเรื่องรักใคร่สะเทือนอารมณ์ และเรื่องที่แต่งเกินความจริง ทั้งนี้ สำ�หรับผมคิดว่าวัยกลางคน จนไปถึงเด็กโตจะง่าย แล้วสิ่งที่ยากที่สุดคือ เด็กเล็ก ซึ่งคิดว่ายาก เพราะว่ามีสาเหตุมาจากการรับรู้ของเด็กเล็กนั้นยาก เราต้องดู ว่าเขาจะรับรู้เรื่องนี้ได้ไหม ด้วยวิธีการที่เราจะออกแบบยังไง อันนี้ชัดเจนอยู่แล้ว อย่าง ของประเทศญี่ปุ่น ถ้าเราดูเราอาจจะงงด้วยซ้ำ�ว่าเนื้อเรื่องเกี่ยวกับอะไร ซึ่งหนังสือสำ�หรับเด็กเล็กมันต้องสื่อกับเด็กได้ มันจะต่างจากความเข้าใจของผู้ใหญ่ เด็กแต่ละวัยจะมีจินตนาการไม่เท่ากัน มันเป็นกลไกทางความคิด จินตนาการ กับความคิดคือการเชื่อมโยงมาถึงตัวเขาด้วย อย่างมีอยู่เรื่องหนึ่งในหนังสือเด็กญี่ปุ่น มันจะเป็นเรื่องของการใส่เสื้อผ้า เวลาใส่เสื้อผ้าแล้วทายว่าใครอยู่ข้างในเสื้อ แล้วเด็ก จะนำ�ไปเชื่อมโยงกับตัวเขาเอง ซึ่งตอนเด็กๆ ใส่เสื้อผ้า ตอนที่หัวของเขากำ�ลังจะออก มา มันจะมืดไปชั่วขณะหนึ่ง ความเป็นเด็กเวลาเราสวมใส่เสื้อผ้า มันมืดแล้วก็สว่าง แล้วถ้าหากหัวมันเล็กเนี้ย มันจะไม่ออก ซึ่งการเล่าเรื่องให้เด็กเล็กเข้าใจมันจะยาก แต่ การเล่าเรื่องให้เด็กโต มันจะอธิบายรู้เรื่องกว่า บางทีมันเป็นเรื่องราวทั่วๆไ ซึ่งง่ายกว่า แต่สำ�หรับเด็กเล็ก มันจะยากตรงที่ว่า เด็กเล็กนั้นๆ จะรู้เรื่องไหม

๙๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


การจะทำ�ให้ตัวเองเข้าใจในหนังสือเด็กกับวัยต่างๆ เราต้องทำ�ความรู้จักกับผู้ อ่านคือเด็กเสียก่อน ต้องเข้าใจจิตใจ ความสนใจ และความชอบของเด็กวัยต่างๆ จิต วิทายาสำ�หรับเด็กจึงเป็นสิ่งที่ควรคำ�นึงถึง เช่น เด็กเล็กวัย 5-6 ปี จะมีความสนใจ เรื่องใดไม่นานนัก การเขียนเรื่องสำ�หรับเด็กเล็ก จึงควรเป็นเรื่องสั้นๆ จบในเวลาอัน รวดเร็ว การเขียนต้องเขียนอย่างง่ายที่สุด ใช้ถ้อยคำ�สั้นๆ ใช้ภาษาที่เด็กเข้าใจได้ดี และเป็นเรื่องที่สั้นที่สุดที่เด็กสามารถอ่านจบได้ในเวลาอันรวดเร็ว ในเวลาไม่เกิน 10 นาที สำ�หรับเด็กโต ย่อมสนใจเรื่องยาวขึ้น และยากขึ้นได้ ผู้แต่งเรื่องสำ�หรับเด็ก ระดับโต ต้องเข้าใจจิตใจของเด็ก เด็กมักคิดเอาตัวเองเข้าไปเปรียบเทียบกับตัวละคร ในเรื่อง เรื่องที่เขียนจึงต้องสมเหตุสมผล ตัวละครมีลักษณะโน้มน้ามจิตใจของเด็กให้ มีคุณธรรม และจริยธรรม มีความเมตตากรุณา มีความกล้าหาญ มีความสามารถใน การผจญภัยและเอาชนะอุปสรรค

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๙๓


๙๔

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ทัศนะมุมมอง ต่อรางวัลหนังสือเด็ก

ปัจจุบันเริ่มมีคนเข้าสู่วงการนักเขียนหนังสือการ์ตูนมากขึ้น มีการเปิดกว้าง มากขึ้น แต่ว่าพอมาหลังๆ การที่เปิดตัวกว้างมากขึ้นในแง่ของสำ�นักพิมพ์ เปิดกว้าง ทางความคิด บางทีมันอาจจะทำ�ให้เฟื่องฟูอยู่พักหนึ่ง เปิดกว้างทางความคิดไม่ เคร่งครัด หรือว่าไม่พิถีพิถันในด้านของศิลปะ งานหนังสือภาพบางส่วนในปัจจุบัน บางเล่มผมคิดว่าดูเหมือนเป็นงานใหม่ งานสด แต่มันอาจตกหลุมพรางในความอยาก ในความที่คิดว่าไม่ต้องพิถีพิถันก็ได้ โดยการสื่อความคิดง่ายๆออกมา แต่งานศิลปะ ถ้ามันเป็นงานหยาบ มันเป็นงานที่ ง่ายเกินไป มันไม่มีอะไรให้คิดต่อ มันวูบมาวาบไป บางทีเอาความคิดที่ว่า ดูแล้วมัน สนุกดีง่ายดี แต่เอาจริงถ้าดูในแง่ของฝีมือมันต้องเคร่งครัดด้วย แต่พอเปิดกว้างทาง ความคิด ฝีมือก็ไม่เอาไว้ หลายคนก็ไปเน้นความคิด ไม่มีฝีมือ ทำ�ให้คนคิดว่า คนที่ จะเป็นนักเขียนหนังสือเด็กได้ไม่จำ�เป็นต้องวาดสวย ผมจะเห็นเลยว่า ความคิดมันไม่ขี้เหล่หรอก แต่ฝีมือมันควรจะมีความคิด บางคนลายเส้นไม่มีเสน่ห์เลย บางคนวาดได้แบบแย่มาก บางทีเนื้อหาความลงตัวมัน ไม่เข้ากัน มันไม่ได้ สำ�หรับรางวัลที่ผมเคยได้มาทั้งหมด เท่าที่จำ�ได้ และเป็นรางวัลชิ้นเด่นๆของ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๙๕


ผมเลยคือ เรื่อง ตัวเลขทำ�อะไร ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลชมเชยประเภทหนังสือ สวยงามสำ�หรับเด็กประจำ�ปี พ.ศ. 2540 แล้วมีผลงานที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ เช่น อิเล้งเค้งโค้ง และคุณฟองนักแปรง ฟัน ได้รับรางวัลด้านหนังสือภาพจากสำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และรางวัลจากสำ�นักนายกรัฐมนตรี รางวัลเหรียญทองจากงานประกวดวาดภาพประกอบหนังสือสำ�หรับเด็ก จาก ประเทศอิหร่าน ได้รับรางวัลจากรักลูกอวอร์ด จากเรื่อง อีเล้งเค้งโค้ง ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นประจำ�ปี พ.ศ.2556 จากเรื่อง 50 เท่า นอกจากนี้ก็ยังมีรางวัลพื้นๆ อย่างรางวัลสัปดาห์หนังสือ รางวัลหนังสือดีเด่น รางวัลรักลูกอวอร์ด ก็จัดว่าเป็นรางวัลที่ตั้งใหม่ขึ้นมา ผมก็ได้มาบ้าง ด้านรางวัลทางสำ�นักพิมพ์จะเป็นคนส่งไปเอง ทางรางวัลเขาประกาศเชิญชวน ให้สำ�นักพิมพ์ส่งไป ก็แล้วแต่ว่าสำ�นักพิมพ์ไหนจะส่งไปหรือไม่ส่งไป แต่ผมก็ไม่ได้เป็น คนส่งเองหรอก ในเเง่ของผม ผมมองว่ารางวัลไม่ใช่ความสำ�คัญ แต่สำ�คัญที่ว่าใครเป็นคนให้ รางวัล คณะกรรมการเป็นคนให้รางวัลและเรากล้าตั้งคำ�ถามไหมว่ากรรมการมีความ รู้ช่ำ�ชองเกี่ยวกับหนังสือภาพไหม ถ้าเราไม่กล้าตั้งคำ�ถามเราก็จะเชื่อถือกับรางวัล ถ้า เรากล้าตั้งคำ�ถามว่าคนที่ให้รางวัลมีความรู้เกี่ยวกับหนังสือก้าวทันหนังสือภาพสำ�หรับ เด็กหรือเปล่า ต้องไม่มองว่าหนังสือภาพสำ�หรับเด็กเป็นงานศิลปะของเด็ก หลายที่ จะมองอย่างนั้น มองประหนึ่งว่าเด็กทำ�หนังสือแล้วตัวเองเป็นผู้ใหญ่มองงานของเด็ก ตรงนี้เป็นข้อเสียของบ้านเรา

๙๖

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ต้องถามว่ากรรมการอ่านหนังสือภาพทุกวันหรือเปล่า วิเคราะห์หนังสือ ในชีวิตประจำ�วันหรือเปล่า คนที่จะตัดสินอะไรมันต้องทุกวันที่จะคิดจะวิเคราะห์ ไม่ใช่ว่าพอถึงเวลาเรามีเวลา 2 เดือน ก็มาพิจารณารางวัล นักเขียนต้องพัฒนางาน ทุกวัน แล้วกรรมการทันกับความคิดของนักเขียนไหม อีกอย่างหนึ่งที่มันขาดหายไปจากวงการก็คือการวิเคราะห์หนังสือภาพ ซึ่ง ตรงนี้มันหาย ถ้ามีการวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารในหนังสือภาพก็จะ ปรากฏต่อที่สาธารณะ ไม่ใช่มีใครก็ไม่รู้ในปี 1 มาตัดสิน เเล้วการตัดสินก็จะเยินยอ พูดถึงข้อดีจริงๆ แล้วมันดีหรือเปล่า มันต้องมีวงจรตรงนี้ว่ามันดีหรือเปล่า แต่ในฐานะเป็นคนที่อยู่ในวงการมานานแล้วพอรับรู้อะไรบางอย่าง ก็ทำ�ให้ ผมรู้สึกเฉยๆกับรางวัลในประเทศไทย ที่รู้สึกเฉยๆเลย นั่นเป็นเพราะว่า อย่างที่ผม เคยบอกไปว่า ถ้านำ�มาเปรียบเทียบกับทฤษฎีมันจะอยู่นิ่ง แล้วคนที่มาตัดสินรางวัล หนังสือ บางทีเขาก็ไม่ใช่คนทำ�หนังสือโดยตรง บางคนเป็นนักวิชาการที่อาจจะยึด หลักทฤษฎี ตามทฤษฎีที่คนได้เคยวางไว้ แล้วพอคนที่ตัดสินมาเจอกับหนังสือของ เรา เขาก็ไม่สามารถเชื่องโยงหรือเข้าใจได้ แล้วจากคนที่ไม่เคยทำ�หนังสือ เขาก็จะไม่ เข้าใจวิธีการสื่อสารในรูปแบบของเรา ยกตัวอย่างง่ายๆเลย อย่างเรื่องอีเล้งเค้งโค้ง ผมไม่ได้รับรางวัลจากในทาง ราชการหรือจากกระทรวง เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ตัดสินเป็นนักวิชาการ แต่กลับได้ รางวัลจากรักลูกอวอร์ด ซึ่งบางทีผู้ที่ตัดสินเขาไม่ใช่นักวิชาการ แต่อาจเป็นคนที่มี ประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องพัฒนาเด็ก เป็นคนที่เปิดกว้างและเข้าใจ แล้วอย่างถ้าเป็นรางวัลของกระทรวง ซึ่งผู้ตัดสินเป็นนักวิชาการ เขาเคยพูด มา แล้วได้ยินว่า เรื่อง อีเล้งเค้งโค้ง เป็นห่านอะไรกัน ห่านที่ไหนมันจะร้องอีเล้งเค้ง ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๙๗


๙๘

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


โค้ง ห่านมันไม่ได้ร้องอีเล้งเค้งโค้ง ผมก็จบเลยเหมือนเข้าใจไม่ตรงกัน ถามว่าเดี๋ยวนี้เขาเข้าใจประเด็นของการสื่อสารหรือเปล่า ว่าทำ�ไมห่านของเขา ชื่อ อีเล้งเค้งโค้ง ทั้งๆที่เด็กรู้จัก เด็กตะโกนอีเล้งเค้งโค้ง มันอยู่ในใจเด็ก ไม่รู้เท่าไหร่ต่อ เท่าไหร่ แต่กรรมการที่เป็นนักวิชาการกลับไม่เข้าใจ สิ่งที่กรรมการพูดถือว่าไม่ผิดหรอก แต่ถ้าจะเอาประเด็นนี้มาตัดสิน หนังสือนิทานก็ไม่ควรได้รับรางวัลสักเล่มเลย เพราะว่า เนื้อหาในนิทานมันไม่ตรงกับความเป็นจริง หมีในชีวิตจริงมีตัวไหนบ้างที่ใส่เสื้อผ้าบ้าง แล้วแมวในชีวิตจริงมีตัวไหนบ้างที่พูดได้บ้าง มันก็เป็นแบบนี้ อย่างที่ผมบอกไปว่า พอเรามาอยู่ในวงการมานาน หรืออยู่มาสักพักหนึ่ง พอ เราได้เห็นอะไรแล้วรู้ลึกถึงเบื้องหลัง ผมก็เริ่มรู้สึกค่อนข้างเฉยๆกับรางวัลที่จัดขึ้นใน ประเทศไทย และก็ไม่ได้ศรัทธาในรางวัลต่างๆ แต่ชอบอย่างเดียวคือเหมือนเราได้ รางวัลซึ่งเป็นเงินค่าตอบแทนกลับมา เปรียบเสมือนกับผลพลอยได้เพิ่มเติมจากงาน ของเรา ส่วนด้านการใช้ชีวิตตั้งแต่เป็นคนธรรมดาที่ไม่มีใครรู้จักเลย แล้วเริ่มมีคนรู้จัก จากผลงานหนังสือเด็กของเรา ถ้าถามว่าชีวิตของตัวผมเองเปลี่ยนไหม? สำ�หรับผม ก็ไมมีเปลี่ยนนะครับ เพราะว่า การเป็นนักเขียนนั้นไม่เหมือนกับดารานักแสดง อะไรที่มีอิทธิพลต่องานของเราในสังคม ในการใช้ชีวิตมันจึงไม่มีผลเท่าไหร่ ถ้าเป็นคนที่รู้กจักหนังสือ เขาก็รู้ว่าคนนี้มีชื่อเสียงนะ มันจะแล้วแต่บรรยากาศ นักเขียนหนังสือเด็ก มันไม่ใช่เป็นอาชีพที่มีภาพเผยแพร่ออกไปในการรับรู้ของ คนทั่วไป มันไม่ได้มีภาพไปด้วย คนรู้จักผมส่วนใหญ่ก็มักจะไม่เคยเห็นตัวจริง เพราะ ฉะนั้นในภายนอกด้านชีวิตจึงไม่มีผลกระทบ แต่ภายในอาจจะมีผลกระทบตรงที่ว่า เรา จะต้องทำ�งานให้ไม่ย่ำ�อยู่กับที่ให้ดีกว่าเดิม ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๙๙


๑๐๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ตอนนี้มันกดดัน เพราะมันยาก จะเหมือนเดิมได้ไหม มันเหมือนเดิมก็ได้ แต่เรา มีการพัฒนาให้เห็นว่าเรามีข้อแตกต่าง อย่างงานของผมเองหลายเล่ม มันจะมีสูตรของ ตัวมันเอง ยกตัวอย่างเช่น เรื่องตัวเลข มีงานอะไรที่เป็นตัวเลขบ้าง ที่เราสามารถเอา ตัวเลขมาใช้เป็นเทคนิคได้ อย่างเรื่องคุณเงาใจดีก็มีตัวเลข เรื่องเจ้าหนูเมืองพิศดารก็มี ตัวเลข เรื่องแม่มดน้อยก็มีตัวเลข เราจะเห็นว่ามันมีสูตรบางอย่างอยู่ แล้วถ้าจะถามว่าจำ�เป็นไหมที่ต้องใช้ตัวเลขไทย ใช้ตัวเลขธรรมดาได้ไหม ผมคิดว่าต้องเป็นเลขไทย เพราะว่าอันนั้นคือประเด็นสำ�คัญ คือ เราอยากใช้ เลขไทย แต่เหตุผลจริงๆ ก็คือความเหมาะสมของรูปแบบ ถ้าเป็นตัวเลขอาราบิก มันจะ มีความอ้วน มันจะมีพื้นที่ ถ้าเป็นเลขอาราบิกมันจะตั้ง มันจะเป็นแนวตั้งตรงเสียส่วน ใหญ่ บางทีมันไม่สมารถคล้องกับพยัญชนะได้ ซึ่งถ้าเป็นเลขไทยมันจะมีลักษณะโค้ง เหมือนกับยันต์ศักดิ์สิทธิ์ เราจะเรียกว่ามันเป็น เซกโซติก

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๐๑


๑๐๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


อยากเป็นนักเขียนหนังสือเด็​็ก ต้องทำ�อย่างไร

ผู้ที่จะเขียนหนังสือสำ�หรับเด็กจำ�เป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้าน จิตวิทยาเด็กโดยเฉพาะจะต้องรู้ว่าเด็กมีความต้องการสิ่งใดบ้าง และเด็กสนใจอะไร บ้าง เพราะเด็กในแต่ละวัยจะมีความต้องการและความสนใจของเด็กที่จะอ่าน หนังสือแตกต่างกัน ก่อนอื่นต้องรู้ความหมายของคำ�ว่า ความสนใจ ก่อน ความสนใจ คือ ความรู้สึกอย่างหนึ่งซึ่งถูกเร้าให้เกิดขึ้นในจิตใจโดยวัตถุภายนอก หรือความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง และทำ�ให้วัตถุหรือความคิดนั้นมีอำ�นาจในการดึงดูด จิตใจให้ไปจดจ่อกับสิ่งเหล่านั้นได้ โดยความสนใจเกิดจากการเรียนรู้ของมนุษย์โดยที่มนุษย์มีประสบการณ์ได้ รู้ได้เห็น มีความชำ�นาญในเรื่องต่างๆ จึงทำ�ให้มนุษย์สนใจเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ความสนใจอาจแยกได้ ดังนี้ 1.ความสนใจที่เกิดขึ้นเอง ความสนใจชนิดนี้เป็นลักษณะภายในเฉพาะของบุคคลอันเกิดจากความ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๐๓


สามารถหรือความถนัดของตน และด้วยความพอใจในแนวทางใดทางหนึ่ง เช่น เด็ก ชอบวาดรูป เด็กชอบเล่นดนตรี เด็กชอบร้องเพลง สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากความสนใจ ของเด็กเองทั้งนั้น 2. ความสนใจที่เกิดขึ้นโดยคนอื่นแนะนำ�ชักจูง ในกรณีนี้เด็กอาจไม่ประสงค์จะทำ�บางสิ่งบางอย่าง แต่ด้วยการชักชวนหรือ พูดจาหว่านล้อมจากเพื่อนฝูง เด็กก็จะสนใจและกระทำ�สิ่งนั้นได้ เช่น การชวนการไป เที่ยวต่างจังหวัด ไปชมภาพยนตร์ ไปดูกีฬา ฟังปาฐกถาโต้วาที หรือการอ่านหนังสือใน ห้องสมุด เป็นต้น 3. ความสนใจที่เกิดขึ้นจากการกระทำ�ตามผู้อื่น ความสนใจเช่นนี้เกิดจากการที่เห็นผู้อื่นทำ� ตนเองเกรงว่าจะไม่เหมือนเพื่อนจึง ได้กระทำ�ตาม โดยไม่มีผู้ใดมาชักจูงให้กระทำ� เช่น การแต่งตัวตามสมัยนิยมของเด็ก และวัยรุ่น การที่มีเพื่อนมีสิ่งสวยงาม หรือเครื่องประดับตนก็สนใจที่จะมีบ้าง เป็นต้น 4. ความสนใจที่เกิดเพราะการยกย่องของหมู่คณะหรือสังคม ความสนใจนี้เป็นแรงผลักดันสูงมาก เช่น นักดนตรีที่มีชื่อเสียง เด็กจะสนใจ และนิยมชอบหรืออาชีพที่สังคมยกย่อง เช่น แพทย์ ทหาร ผู้พิพากษา ฯลฯ เด็กจะ สนใจในอาชีพเหล่านี้ 5. ความสนใจที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมบังคับ ในลักษณะเช่นนี้มักเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ เช่น เด็กที่อาศัยอยู่ใน แหล่งเสื่อมโทรม จำ�เป็นต้องสนใจในถื่นที่อยู่ของตน เด็กในชนบทก็เช่นเดียวกัน ต้อง สนใจในสภาพแวดล้อมตน แม้กระทั่งการต่อสู้เพื่อการดำ�รงชีวิต เช่น สนใจในการ แสวงหาอาหาร จับแย้ จับจิ้งหรีด จับตัวแมลงต่างๆ เพื่อเป็นอาหาร ส่วนเด็กในจะ สนใจที่เกี่ยวกับพันกับตน เช่น ตึกสูงๆ รถที่วิ่งขวักไขว่ สิ่งเหล่านี้เป็นสภาพแวดล้อมที่ บังคับให้เด็กต้องสนใจเพื่อความอยู่รอด และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

๑๐๔

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ความสนใจที่ได้บอกไปข้างต้น ถือว่าเป็นพื้นฐานที่จะทำ�ให้ผู้เขียนวรรณกรรม สำ�หรับเด็กเข้าใจเด็กได้ดียิ่งขึ้น และความเข้าใจนี้จะช่วยให้ผู้เขียนหนังสือสำ�หรับเด็ก สามารถใช้ประสบการณ์และจินตนาการเขียนเรื่องสำ�หรับเด็กให้น่าอ่านมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราจะต้องรู้และเข้าใจว่า หนังสือสำ�หรับเด็กที่เราจะเขียนขึ้นนั้นมีความ มุ่งหมายจะเขียนเรื่องเพื่อให้เด็กฟังหรือเพื่อให้เด็กอ่าน ทั้งนี้เพราะกลวิธีในการเขียน ทั้ง 2 ประเภทนี้ มีข้อแตกต่างกันอยู่ 2 ประการ คือ 1. การเขียนเรื่องเพื่อให้เด็กฟัง อาศัยกลวิธีในการเล่าเรื่อง โดยไม่ต้องคำ�นึงถึงปัญหาว่าเด็กจะอ่านออก หรือไม่ เด็กที่ฟังอาจเป็นเด็กเล็ก หรือเล็กกว่านั้นหรือโตกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นนิยาย นิทานเรื่องสัตว์ หรือดวงดาวต่างๆ ฯลฯ ล้วนแต่ใช้กลวิธีอันเดียวกับการเล่าเรื่อง คือมุ่งให้สนุกสนาน มีเสียงแปลกๆ ต่างๆ ได้ในเรื่องที่เขียน ให้เพลิดเพลิน ตื่นเต้น ออกรส ขบขัน และอาจจะให้ความรู้ด้วย ใช้คำ�ได้ดีมาก ใช้คำ�ยาวๆ สะกดยากๆ ก็ได้ แต่ควรเป็นคำ�ที่เด็กชอบและเข้าใจได้ ยิ่งกว่านั้นในปัจจุบันนี้ ผู้เขียนยังควรคำ�นึงถึง ความเหมาะสมของเรื่องในการจัดทำ�รูปเล่มหนังสือประเภทนี้ด้วย เป็นต้นว่า เพื่อ เร้าความสนใจของผู้ฟังยิ่งขึ้นก็ควรเป็นหนังสือขนาดใหญ่และทนทาน มีภาพพลิก เปิดแสดงให้ดูได้ชัดเจน หรืออาจจะเป็นหนังสือขนาดจิ๋ว มีภาพประณีตทุกหน้า ให้ผู้ ฟังพลิกดูเองได้ด้วยความพอใจ 2. การเขียนเรื่องเพื่อให้เด็กอ่าน ผู้เขียนจำ�ต้องนึกถึงความสามารถของผู้อ่านด้วยว่าตนจะเขียนเรื่องให้ผู้อ่าน กลุ่มไหน และผู้อ่านกลุ่มนั้นจะอ่านหนังสือออกแล้วมากน้อยเพียงไร ตลอดจนจะ เข้าใจเรื่องง่ายยากได้มากน้อยเพียงไร การใช้คำ�ง่าย คำ�ยาก ใช้ข้อความสั้นหรือยาว ดำ�เนินเรื่องง่ายหรือสลับซับซ้อน มีตัวละครที่มีอุปนิสัย ดูง่ายหรือยาก

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๐๕


ถ้าจะทำ�หนังสือภาพสำ�หรับเด็ก ไม่อยากให้คิดแค่ว่า แค่ทำ�หนังสือออกมาให้ เด็กอ่าน เพราะเวลาที่ใครทำ�หนังสือภาพสำ�หรับเด็กอาจจะมีความรู้สึกว่าตัวเองได้ทำ� หนังสือเด็กแล้ว เพราะคิดว่าเราเป็นผู้ใหญ่ เราโตแล้ว เราสามารถทำ�อะไรได้มากกว่า เด็ก เราจึงเลือกทำ�อะไรที่เกี่ยวกับเด็กแล้วง่ายกว่า เลือกทำ�หนังสือเด็กเพราะง่ายกว่า เรื่องสั้น ง่ายกว่าเขียนนวนิยาย ถ้าเราคิดเพียงแค่นี้ เนื้อเรื่องของหนังสือจะออกมาค่อน ข้างอันตราย มันไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไรมาก แต่ว่ามันอันตรายสำ�หรับเด็ก เวลาที่หนังสือออกมามันจะไม่มีคุณภาพ และสิ้นเปลืองทรัพยากรโลกเป็นอย่าง มาก แล้วพอเวลาที่เด็กได้ดูภาพ เวลาที่พวกเขาได้ฟังได้อ่านแล้ว เด็กจะไม่เกิดการ พัฒนาขึ้นมา เพราะฉะนั้นคนที่จะทำ�งานเกี่ยวกับเด็ก ที่ไม่ได้ทำ�แค่เพียงเฉพาะหนังสือภาพ สำ�หรับเด็ก เราก็ต้องมีความทุ่มเทที่จะศึกษาเป็นอย่างมาก ให้เกิดความเข้าใจ และมี การตั้งคำ�ถามให้มากๆ เวลาเราออกแบบให้คิดว่าเราออกแบบเพื่ออะไร ทั้งในส่วนของ เรื่อง และรูปภาพ แล้วเราจะมีวิธีการนำ�เสนออย่างไร ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นคีย์เวิร์ดที่ สำ�คัญมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมยึดถืออยู่ตลอดเวลา ถ้าเราอยากจะศึกษาเรื่องนี้ ในแต่ละเรื่องจะเลือกใช้คำ�ว่าอะไร สื่อสารเรื่อง อะไร แล้วสื่อสารอย่างไร คำ�ที่เลือกมาแล้ว แล้วเราจะใช้คำ�ที่เลือกมาอย่างไร เอามาทำ� อะไร แล้วนำ�ไปผนวกกับองค์ประกอบของหนังสือภาพว่ามีเนื้อหาอะไร ภาษาอย่างไร มีภาพ และการออกแบบภาพอย่างไรในโครงสร้างของหนังสือ เพราะฉะนั้นไม่อยากให้เห็นว่า หนังสือสำ�หรับเด็ก มันเป็นเรื่องง่าย ต้องถาม ตัวเองไปด้วยว่า การที่เราจะทำ�หนังสือภาพสำ�หรับเด็กเราจะยึดเป็นอาชีพหลักเลย ไหม จะประกอบอาชีพนี้นานแค่ไหน แต่ถ้าหากเราต้องการทำ�แค่เพียงช่วงระยะเวลา

๑๐๖

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


หนึ่ง ไม่ได้จริงจังอะไรมากมาย หรือเลือกทำ�เพราะว่ารู้สึกดีแค่นั้น เราก็ไม่สมควรทำ� มันไม่ผิดนะ แต่มันไม่สมควรทำ� เพราะว่าในปัจจุบันมีหนังสือสำ�หรับเด็กที่ออกมามี เยอะมาก แล้วมันจะทำ�ให้ความเข้าใจในหนังสือภาพเกิดการเบี่ยงเบนไปเรื่อยๆ ถ้าถามว่าเบี่ยงเบนแล้วเกิดอะไรขึ้น? ส่งผลอะไรไหม? คำ�ตอบคือมันส่งผล มันจะทำ�ให้ผลงานที่ไม่มีคุณภาพมันถูกสร้างขึ้นมา แล้ว ยังคงอยู่ต่อ แล้วผลงานที่ไม่ได้มาตรฐานนี้มันจะกลายเป็นฐานที่ไม่ดี หรือตัวอย่างที่ ไม่ดีกับคนรุ่นใหม่ไปทำ�ตาม เมื่อตัวอย่างที่ไม่ดีเกิดขึ้น มีแบบอย่างที่ไม่ดีเกิดขึ้น เป็นงานที่ไม่มีมาตรฐาน คนรุ่นใหม่เขาก็จะไปทำ�ตาม มันจะส่งผลต่อวงการทำ�ให้แย่ลง เพราะว่าคนที่ทุ่มเท มากๆ คนที่เขาตั้งใจทำ�ลึกๆ มันจะต้องอาศัยความอดทนอย่างสูงมากกว่าคนที่เริ่ม ต้นมาใหม่ ถ้าเปรียบนักเขียนหนังสือเด็กกับอาชีพอื่น ผลตอบแทนเวลาทำ�ออกมามันไม่ ได้เดือนละเป็นหมื่น ถ้าหากทำ�ได้ขนาดนั้น ใครๆหลายคนคงอยากมาเขียนหนังสือ เด็กกันหมด แล้วยิ่งในปัจจุบันมีนักเขียนเยอะ เพราะว่าอย่างที่เคยบอกไว้ว่าเวลาคน อยากมาทำ� พอเขาได้ทำ�แล้วเขาก็รู้สึกภูมิใจ มาทำ�เพื่อให้ได้รู้สัจธรรมของนักเขียน ว่าเขาเป็นอย่างไร พอทำ�แล้วมันได้ผลตอบแทนน้อย อยู่ยาก หลายคนเขาก็อยาก เปลี่ยนอาชีพ แต่ผลงานของพวกเขายังคงอยู่ เพราะสำ�นักพิมพ์ได้ลงทุนไปแล้ว เขามี ต้นฉบับอยู่กับตัวเองแล้ว เขาก็สามารถพิมพ์ซ้ำ�ได้กี่รอบตามที่เขาต้องการได้ เพราะ ฉะนั้นสำ�นักพิมพ์จะพิมพ์ซ้ำ�ไปเรื่อยๆ ผลงานที่ได้ออกมามันไม่มีความเป็นมาตรฐาน ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๐๗


หนึ่ง ไม่ได้จริงจังอะไรมากมาย หรือเลือกทำ�เพราะว่ารู้สึกดีแค่นั้น เราก็ไม่สมควรทำ� มันไม่ผิดนะ แต่มันไม่สมควรทำ� เพราะว่าในปัจจุบันมีหนังสือสำ�หรับเด็กที่ออกมามี เยอะมาก แล้วมันจะทำ�ให้ความเข้าใจในหนังสือภาพเกิดการเบี่ยงเบนไปเรื่อยๆ ถ้าถามว่าเบี่ยงเบนแล้วเกิดอะไรขึ้น? ส่งผลอะไรไหม? คำ�ตอบคือมันส่งผล มันจะทำ�ให้ผลงานที่ไม่มีคุณภาพมันถูกสร้างขึ้นมา แล้วยัง คงอยู่ต่อ แล้วผลงานที่ไม่ได้มาตรฐานนี้มันจะกลายเป็นฐานที่ไม่ดี หรือตัวอย่างที่ไม่ดี กับคนรุ่นใหม่ไปทำ�ตาม เมื่อตัวอย่างที่ไม่ดีเกิดขึ้น มีแบบอย่างที่ไม่ดีเกิดขึ้น เป็นงานที่ไม่มีมาตรฐาน คนรุ่นใหม่เขาก็จะไปทำ�ตาม มันจะส่งผลต่อวงการทำ�ให้แย่ลง เพราะว่าคนที่ทุ่มเท มากๆ คนที่เขาตั้งใจทำ�ลึกๆ มันจะต้องอาศัยความอดทนอย่างสูงมากกว่าคนที่เริ่มต้น มาใหม่ ถ้าเปรียบนักเขียนหนังสือเด็กกับอาชีพอื่น ผลตอบแทนเวลาทำ�ออกมามันไม่ได้ เดือนละเป็นหมื่น ถ้าหากทำ�ได้ขนาดนั้น ใครๆหลายคนคงอยากมาเขียนหนังสือเด็กกัน หมด แล้วยิ่งในปัจจุบันมีนักเขียนเยอะ เพราะว่าอย่างที่เคยบอกไว้ว่าเวลาคนอยาก มาทำ� พอเขาได้ทำ�แล้วเขาก็รู้สึกภูมิใจ มาทำ�เพื่อให้ได้รู้สัจธรรมของนักเขียนว่าเขาเป็น อย่างไร พอทำ�แล้วมันได้ผลตอบแทนน้อย อยู่ยาก หลายคนเขาก็อยากเปลี่ยนอาชีพ แต่ผลงานของพวกเขายังคงอยู่ เพราะสำ�นักพิมพ์ได้ลงทุนไปแล้ว เขามีต้นฉบับอยู่ กับตัวเองแล้ว เขาก็สามารถพิมพ์ซ้ำ�ได้กี่รอบตามที่เขาต้องการได้ เพราะฉะนั้นสำ�นัก พิมพ์จะพิมพ์ซ้ำ�ไปเรื่อยๆ ผลงานที่ได้ออกมามันไม่มีความเป็นมาตรฐานซึ่งได้ถูกพิมพ์

๑๐๘

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ออกมาเป็นจำ�นวนมาก จะกลายเป็นว่า หนังสือซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีมันจะมาอยู่ใน วงการหนังสือเด็กมากขึ้น เราจะสังเกตได้ว่า ปัจจุบันคนเขียนที่เป็นผู้เขียนหนังสือเด็กที่วางขายตาม ร้านหนังสือ หลายต่อหลายคนได้เปลี่ยนอาชีพจากนักเขียนหนังสือเด็กไปเป็นอาชีพ อื่นหมดแล้ว หนังสือเด็กจะเยอะมาก แต่น้อยนักที่จะตามตัวนักเขียนหนังสือเด็ก จริงๆที่ยังประกอบอาชีพนี้อยู่ ทางที่ดีการจะเป็นนักเขียนที่จะทำ�แบบยาวนาน เราต้องดูด้วยว่าถึงแม้จะมี อาชีพหนึ่งประกอบไปด้วย เราต้องดูว่ามีอายุงานหนังสือเด็กกี่ปี เราควรให้ประมาณ สิบปีน่าจะกำ�ลังดี ที่บอกว่ามันดีเพราะว่ามันจะถึงขั้นพัฒนาในตัวเอง ขอยกตัวอย่างลักษณะหนังสือซึ่งจัดว่าไม่มีคุณภาพเลย แต่คนทำ�เขามีความ ภูมิใจที่หนังสือได้ตีพิมพ์ออกมา ซึ่งพอผมได้นำ�ตัวอย่างหนังสือเด็กที่ไม่ดีเลยไปถาม เด็ก เด็กไม่ได้บอกว่าสวยหรือไม่สวย แต่เขาจะคิดว่าคนที่วาดออกมาได้ก็ถือว่าเก่ง แล้ว เวลาเราจะดูหนังสือภาพว่าเล่มไหนไม่มีคุณภาพ เราต้องวิเคราะห์ให้เป็น ดูให้ รู้ว่าอะไรคือข้อดีข้อเสีย อะไรคือจุดอ่อนจุดแข็งของหนังสือ ถ้ามันไม่ดีมันก็ต้องดี แบบไหน เราต้องเปรียบเทียบระหว่างสองเล่ม ทั้งสองเล่มบรรยากาศเป็นยังไง เล่ม แรกอาจบรรยากาศดูขุ่นมัวน่ากลัว อีกเล่มอาจดูเลอะเทอะเพราะใช้สีไม่ถูกต้อง หรือ เรียกอีกอย่างว่าสีเน่าไปเลยก็ได้ ส่วนของภาพเราก็ลองเปรียบเทียบกัน เรื่องนั้น ปีศาจตัวเล็กมากดูไม่น่ากลัว ส่วนอีกเล่มกลับตัวใหญ่มากให้ความรู้สึกที่พอเวลาเราดู แล้วรู้สึกกลัว บางเล่มที่ไม่มีคุณภาพเขาก็สื่อออกมาไม่มีพลัง บางเล่มพอเปรียบเทียบ กันอีกเล่มดูมีการเคลื่อนไหว ส่วนอีกเล่มดูนิ่งดูไม่มีการเคลื่อนไหว ใจจริงผมอยากให้ลองดูดวงตาของตัวละคร จากการเปรียบเทียบกันสองเล่ม ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๐๙


ที่มีเนื้อเรื่องเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ตัวละครที่เป็นแพะ เมื่อลองสังเกตตาแพะ เล่มที่ มีคุณภาพตามันจะเป็นขีดขวาง ขีดขวางในตาดำ�ของแพะ ซึ่งตาดำ�มันจะตั้ง เวลากลาง คืนมันจะกลม แล้วก็มีม่านตาแบบวงรี ส่วนอีกเล่มที่ตาไม่เหมือนกันกับเล่มแรก ดวงตา แพะตาดำ�จะขีดขวาง ซึ่งเราจะเห็นรอยเขาเว้นเอาไว้ ขีดขวางไว้ ซึ่งมันจะคนละชั้นเชิง กันแตกต่างกันระหว่างสองเล่ม ซึ่งอย่างนี้พอเราเปรียบเทียบแล้วเจอข้อแตกต่าง ผมก็คิดว่ามันเหมือนกับเป็น หนังสือที่ไม่มีคุณภาพเลย ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะออกมาให้เด็กอ่าน ซึ่งมันใช้ไม่ได้เลย การที่สำ�นักพิมพ์พิมพ์ออกมานั้นแสดงว่าสำ�นักพิมพ์คงไม่มีความรู้ บรรณาธิการก็ไม่มี ความรู้ในด้านหนังสือเด็กอย่างแท้จริง ดังนั้นการที่จะเป็นหนังสือเด็กที่ดีเราจึงต้องมีความตั้งใจ และศึกษาอะไร หลายๆอย่างให้ดี เวลาเลือกใช้ภาพและเทคนิคเราต้องมีเหตุผล แล้วเวลาจะเราใช้ภาพ เราควรใช้ต่อเมื่อต้องการอธิบายเรื่องให้ชัดเจนขึ้น เพราะภาพประกอบสามารถอธิบาย เรื่องได้ดีกว่าตัวหนังสือสำ�หรับเด็ก การใช้สีกับภาพประกอบหนังสือสำ�หรับเด็กเราก็ต้องรู้ เราควรคำ�นึงถึงอิทธิพล ของสีต่อความรู้สึก และเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมด้วยเช่นกัน ในส่วนของเนื้อหา หนังสือสำ�หรับเด็กมีความสำ�คัญมากในอันที่จะหล่อหลอม เด็กให้เป็นคนดี เราจำ�เป็นต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการที่จะเขียนหนังสือสำ�หรับ เด็กให้มีคุณค่า การที่เขียนเรื่องสำ�หรับเด็ก ควรคำ�นึงถึงเรื่องความสนุกสนานบันเทิงใจของเด็ก ควบคู่กันไปกับการสอดแทรกค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม อุดมการณ์ของธรรมชาติ และสิ่งที่ดีงามอันพึงประสงค์ที่จะปลูกฝังให้แก่เด็กไปด้วย เรื่องสำ�หรับเด็กจะต้องมี

๑๑๐

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


คุณค่า ทั้งนี้ เรื่องของผู้ใหญ่แม้ว่าบางครั้งจะไม่ดีไปบ้างก็ยังไม่เป็นพิษเป็นภัยมาก นัก เพราะผู้ใหญ่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมามาก รู้ว่าสิ่งใดดี หรือไม่ดีอย่างไร สามารถ วิเคราะห์ได้ แต่สำ�หรับเด็ก เด็กเขายังขาดประสบการณ์และอ่อนวัยต่อโลก เขาจะไม่ สามารถวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี สิ่งใดควรหรือไม่ควรได้อย่างผู้ใหญ่ ดังนั้นการเขียนเรื่องสำ�หรับเด็กจึงต้องระมัดระวัง และลึกซึ้งในข้อนี้ให้มาก

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๑๑


มุมมองของเพื่อนร่วมงาน

คุณรพีพรรณ พัฒนาเวช หรือ พี่แต้ว

“ในการทำ�งานเกี่ยวกับหนังสือสำ�หรับเด็ก สิ่งที่สำ�คัญคือการ สื่อสารกับเด็ก ถ้าหากใครขาดการสื่อสารกับเด็กแล้ว งานที่ทำ�ออก มาก็จะไม่ประสบความสำ�เร็จ ครูชีวัน วิสาสะ เป็นคนหนึ่งที่ประสบ ความสำ�เร็จในแง่ของคนทำ�หนังสือ เพราะว่าเขามีทักษะในการ สื่อสารกับเด็กซึ่งจัดได้ว่ามีความพิเศษกว่านักเขียนคนอื่นๆ

๑๑๒

กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ด้านมุมมองของการทำ�งาน ครูชีวันเป็นที่คนที่ทำ�งานแล้วมี ความยืดหยุ่นสูง เขาพร้อมที่จะรับฟังคนอื่นอยู่เสมอ ครูชีวันเป็นคน ที่ค่อยๆคิด เมื่อเขาคิดเสร็จแล้วความคิดเขาสามารถนำ�มาใช้ได้เลย หลายครั้งที่ครูชีวันดูเป็นคนคิดช้า แต่พอความคิดเขาออกมาแล้ว ความคิดนั้นจะแตกต่างจากคนอื่นทันที ตรงที่ความคิดของครูชีวัน เขาสามารถนำ�มาใช้ได้เลย บุคคลิกนิสัยของเขา จัดได้ว่าเป็นคนที่มีความคิดนุ่มลึก มี ความคิดที่ละเอียด มีสายตาที่ละเอียด และแหลมคมมาก เขาจะมอง เห็นในรายละเอียดในสิ่งที่คนอื่นไม่ค่อยได้เห็น อันนี้คือสิ่งที่ข้าพเจ้า ได้เรียนรู้จากครูชีวัน นิสัยเขาเป็นคนรอบคอบ มีความคิดลึกซึ้ง ละเอียด แล้วก็มองทุกอย่างได้ละเอียดมาก มีความเป็นครูในตัวเอง สูง มีเมตตา หน้าตาเขาอาจดูเป็นคนดุดัน แต่นิสัยภายในของเขาจัด ว่าเป็นคนที่ใจดีคนหนึ่ง ตั้งแต่รู้จักเขามาตั้งแต่ก่อตั้งสำ�นักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก ใน ปีพ.ศ. 2536 การทำ�งานของครูชีวัน เขาไม่เคยหยุดอยู่กับที่ งาน ของเขามีการพัฒนาไปเรื่อยๆ มีการพัฒนางาน หนีความเป็นตัวเอง ไม่ว่าเขาจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม แต่ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นกอง บรรณาธิการ ข้าพเจ้าเห็นว่า ครูชีวันมีการพัฒนางานไปเรื่อยๆ ไม่มี ที่สิ้นสุด จนบางทีถ้าเทียบกับคนอื่น บางคนเขาก็หยุดการพัฒนางาน แล้ว”

ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก

๑๑๓


กว่าจะเป็น ‘ครูชีวัน วิสาสะ’


ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำ�หรับเด็ก


“เรื่องของการเล่นในวัยเด็กนั้นสำ�คัญ เพราะเป็น ตัวหล่อหลอม และปลูกฝัง ทำ�ให้เรามีโอกาสสัมผัสสิ่งที่ เป็นธรรมชาติ ถือว่าเป็นวัตถุดิบสะสม และมีผลต่อวิธี คิดของเรา มีผลต่อความเข้าใจเด็กในปัจจุบัน” - ครูชีวัน วิสาสะ -


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.