3 minute read

Biz People วันดี กุญชรยาคง โลกนี้ไม่มีอะไรยากเกินแรงปรารถนา

วันดี กุญชรยาคง

ปยานี : เรื่อง บนเส้นทางสร้างตลาดพลังงานแสงอาทิตย์

Advertisement

ชั่วโมงนี้ถ้านึกถึงนักธุรกิจที่โดดเด่นที่สุดเรื่องพลังงาน เพื่อสิ่งแวดล้อม ชื่อของ วันดี กุญชรยาคง ประธาน กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำากัด (มหาชน) จะต้องได้รับการเอ่ยถึงเป็นอันดับต้นๆ ใน เมืองไทย ในฐานะเจ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มี กำาลังการผลิตสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แค่คำาว่า “ยาก” ก็ท้าทายแล้ว แต่ความปรารถนา ที่อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของประเทศ ทำา พลังงานสะอาดจากพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานไฟฟ้า จากแสงอาทิตย์ที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง ได้รับการพัฒนา ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ทำาให้คุณวันดีล้มเลิก ความคิดที่จะใช้ชีวิตในวัยเกษียณ แล้วกระโจนเข้าสู่สนาม

วันดีเคยเกี่ยวพันกับธุรกิจเซลล์แผงอาทิตย์ในฐานะ ที่มีโอกาสเข้าไปพัฒนาพลังงานไฟฟ้าให้กับชุมชนในพื้นที่ ห่างไกลให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนจะเกษียณออกไปพักผ่อน ใช้ชีวิตในแบบที่อยากทำา ในช่วงอายุ 50 ปี แต่สุดท้ายก็ถูกท้าทายจากอดีตรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพลังงาน ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ที่ชวน ให้ลองศึกษาและลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะ ไม่มีใครยอมทำา ใบอนุญาตที่เตรียมไว้ไม่มีใครมาขออนุมัติ สักรายเดียว แม้รัฐจะมีเงินสนับสนุนในรูปของ Adder หรือ ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าซึ่งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ ให้กับผู้ประกอบการก็ตาม เพราะต่างก็พูดเป็นเสียงเดียว กันว่ายาก โดยเฉพาะการหาเงินทุน

•• การกำ หนดแผนการสร้างโซลาร์ฟาร์มทีเดียว 34 โครงการต่อเนื่องในเวลาเพียง 3-4 ปี คิดเป็น กําลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม ทุกโครงการประมาณ 260 เมกะวัตต์ ซึ่งมากเกิน กว่าแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ กระทรวงพลังงานกำ หนดไว้ ทำ ให้เอสพีซีจีกลายเป็น ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ••

ธุรกิจพลังงานไฟฟ้าจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้บุกเบิก ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของไทยในวันนี้ บริษัท เอสพีซีจี จำากัด (มหาชน) พัฒนาโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์หรือที่บริษัทเรียกว่าโซลาร์ฟาร์มแห่ง แรกที่โคราช เมื่อปี 2552 และเริ่มจำาหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เมื่อเดือนเมษายน ปี 2553 กว่าจะดำาเนิน โครงการแรกให้เกิดขึ้นเป็นรูปร่างได้ ต้องใช้เวลาถึงปีครึ่ง ตั้งแต่เริ่มต้นศึกษา ชักชวนเพื่อนฝูงเพื่อระดมทุน แต่สุดท้าย ก็ต้องใช้เงินทุนส่วนตัวไปกว่า 5 พันล้านบาท สำาหรับการเริ่ม ต้นโซลาร์ฟาร์ม 9 โครงการแรก จากแผนที่จะพัฒนาให้ได้ จำานวน 34 โครงการ “ชวนเพื่อนก็ไม่มีใครเอาด้วย ไปกู้แบงก์ จากที่ได้

มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วมสนับสนุนแล้ว ส่วนหนึ่งแต่แบงก์ก็ยังไม่ให้กู้ บอกว่าต้องไปหาพาร์ทเนอร์ เจ๋ง ๆ มาก่อน ก็ถามว่าพาร์ทเนอร์ที่ว่าเจ๋งเป็นใคร เขาบอก ธนาคารโลก เราก็เขียนแผนแล้วบินไปเลย สุดท้ายก็ได้International Finance Corporation (IFC) เข้ามาเป็นทั้งผู้ร่วม ลงทุนและเป็นแหล่งเงินกู้ ก็เหมือนผู้หญิงที่ได้แต่งงานกับ ณเดชน์ คราวนี้ไปไหนคนก็สนใจ” นอกจาก IFC จะให้การสนับสนุนเงินกู้ในบางโครง การเพิ่มหลังจากนั้นแล้ว ยังมีการออกเงินกู้สำาหรับโครงการ เพื่อสิ่งแวดล้อมอีก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้มาจากโครงการของ เอสซีพีซีนั่นเอง แถมยังมีบริษัทไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งที่เข้ามา ร่วมลงทุนพัฒนาในโครงการแรกๆ และได้รับการสนับสนุน จากสถาบันการเงินต่างๆ ในไทยอีกหลายแห่ง ได้แก่ ธนาคาร กสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาติ ธนาคาร กรุงไทย ICBC (Industrial and Commercial Bank of China (Thai) Public Company Limited) การบุกเบิกโซลาร์ฟาร์มอย่างจริงจังของเอสพีซีจี ด้วย การกำาหนดแผนการสร้างโซลาร์ฟาร์มทีเดียว 34 โครงการต่อ เนื่องในเวลาเพียง 4 ปี คิดเป็นกำาลังการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์รวมทุกโครงการประมาณ 260 เมกะวัตต์ ซึ่งมากเกินกว่าแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ กระทรวงพลังงานกำาหนดไว้ ทำาให้เอสพีซีจีกลายเป็นผู้ผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ การลุยไปข้างหน้าแบบเอาจริง และพัฒนาโครงการ ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ทำาให้เกิดผลตามมามากมายในสังคม ไทย เริ่มจากกระทรวงพลังงานทำาการปรับแผนการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน ที่กำาหนดไว้เพียง 100 เมกะวัตต์เป็น 3,000 เมกกะวัตต์ และเลื่อนแผนกำาหนดการสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ออกไปอีก 3 ปี (แต่ยังไม่ยกเลิก) เพราะประเทศ สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่ไม่เคยทำาจริงจังให้ ใช้งานได้จริง ทำาให้เห็นโอกาสของการลดการผลิตจากการใช้ พลังงานฟอสซิลลงในบางส่วน ขณะที่เอสพีซีจีในฐานะผู้บุกเบิก ก็ถือโอกาสขยาย ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสง-อาทิตย์ ทันทีเช่นกัน หลังจากปรับโครงสร้างและเปลี่ยนชื่อบริษัทใน ตลาดหลักทรัพย์ เป็นบริษัท เอสพีซีจี จำากัด (มหาชน) เมื่อ ปี 2554 จากโครงสร้างธุรกิจของผู้ถือหุ้นเดิมที่เป็นผู้ผลิต เหล็ก ปรับตัวมาเป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า และมีการวาง โครงสร้างธุรกิจไว้ชัดเจนว่า นอกจากรายได้จากการขาย ไฟฟ้าแล้ว บริษัทมองเห็นโอกาสและการขยายธุรกิจเพื่อ รองรับการเติบโตจากธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้าน Solar Power Engineering (SPE) สำาหรับให้บริการด้าน Engineering Procurement and Construction (EPC) และ Operation Maintenance and Monitoring (OMM) การบริหารและดำาเนิน งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และการดูแล บริหารโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่บริษัทจะใช้เป็นธุรกิจ ในการบุกตลาดอาเซียน ซึ่งกำาลังจะก้าวสู่ AEC ปลายปี 2558 ในกรณีที่มีนักลงทุนสนใจพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสง อาทิตย์ในภูมิภาคนี้ บริษัทพร้อมจะเข้าไปดำาเนินการบริหาร

งานก่อสร้าง เป็นที่ปรึกษา และรับดูแลให้แบบครบวงจร “ธุรกิจของ SPE ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายว่าจะโกอินเตอร์ รับบริการทั่วอาเซียน และเป็นธุรกิจที่ทำาได้ตลอดกาล เช่น เดียวกับ OMM เมื่อมีผู้สนใจลงทุนแล้วถ้าไม่อยากดูแลเอง เราก็รับดูแลคอยมอนิเตอร์ส่งข้อมูลให้อยากดูเมื่อไรก็มาดูที่ ห้องมอนิเตอร์รูมที่เราทำาไว้รองรับได้เลย เหมือนนั่งดูหุ้นใน ตลาด แทนที่จะต้องไปอยู่ที่โครงการตื่นตีห้าทุกวันเป็นเวลา 30 ปี ตรงนี้เรารับดูแลให้เหมือนแม่บ้านเลย” คุณวันดีกล่าว ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่คุณวันดีคิด ไม่ ได้จำากัดแค่นักลงทุนสำาหรับโครงการโรงไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยัง ได้รับคำาแนะนำาจาก ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อีกครั้ง ที่ แนะนำาว่าให้ขยายธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไป สู่ภาคครัวเรือนด้วย จนเกิดเป็นธุรกิจติดตั้งแผงเซลล์แสง อาทิตย์สำาหรับใช้ในครัวเรือนขึ้นมา เป็นที่มาของรายได้อีก ทางหนึ่ง แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ว่ามีขนาด 3.84 กิโลวัตต์ สำาหรับใช้ในครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งประมาณ 3 แสนบาทขึ้นไปต่อหลังคาเรือน ปัจจุบันในประเทศไทย

มีจำานวนบ้านที่ติดตั้งเพียง 100 หลังคาเรือน เอสพีซีจีจึง คิดจะเข้าไปขยายตลาดส่วนนี้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1,000 หลังคาเรือน โดยจะติดตั้งในรูปแบบของระบบ โซลาร์รูฟ (Solar Roof) ซึ่งจะทำาตลาดด้วยข้อเสนอพิเศษ และเสนอ ประโยชน์ของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการลงทุน เพียงครั้งเดียว และไม่มีค่าเชื้อเพลิง หรือค่าบำารุงรักษา วิธีการติดตั้งโซลาร์รูฟเพียงนำาแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ติดตั้งบนหลังคาบ้านหันไปทางทิศใต้ ติดตั้งสายไฟเชื่อมต่อ ผ่านเครื่องแปลงไฟ (Inverter) แล้วส่งผ่านเข้าระบบตู้ MDB (Main Distribution Board) เพื่อจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ ไฟฟ้าภายในบ้าน ถึงวันนี้จากธุรกิจที่คนส่วนใหญ่มองว่าไม่มีโอกาสเกิด ขึ้นได้ในประเทศไทย มิหนำาซ้ำาเมื่อเริ่มทำาโครงการยังต้องดั้น ด้นไปหาเงินทุนไกลถึงต่างประเทศ แต่เอสพีซีจีก็ทำาธุรกิจนี้ ให้เกิดขึ้นจริงและแตกแขนงไปสู่ช่องทางธุรกิจที่ทำารายได้ เพิ่มขึ้นอีกหลายด้าน เอสพีซีจี จึงกลายเป็นตัวเลือกแรกของ ผู้สนใจลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อคิดจะลงทุน ในโครงการประเภทนี้ ดังนั้นนอกเหนือจาก 34 โครงการ ที่บริษัทดำาเนินงาน เอง ขณะนี้มีอีก 2 โครงการที่บริษัทกำาลังดำาเนินงานภายใต้ การร่วมทุนกับบริษัทอื่น คือ เอเจ เทคโนโลยี และ ทิพยนารายณ์ เป็นโซลาร์ฟาร์มที่ตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี รวมเป็น 36 โครงการ รวมทั้งมีการขยายธุรกิจไปยังประเทศ ซาอุดิอาระเบีย ที่มีการจำาหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์เข้า ระบบถึง 50,000 เมกกะวัตต์ การก่อสร้างโซลาร์ฟาร์มในแต่ละแห่งจะใช้เวลา ประมาณ 4 เดือน นับรวม 36 โครงการที่ดำาเนินงานอยู่ มี มูลค่าการลงทุนกว่า 25,000 ล้านบาท รวมกำาลังการผลิตกว่า 260 เมกกะวัตต์ โดยตามแผนที่กำาหนดนับจากโครงการ แรก โซลาร์ ฟาร์ม โคราช 1 ที่เริ่มต้นเมื่อปี 2552 ภายในปีนี้ ทุกโครงการจะแล้วเสร็จและจำาหน่ายไฟได้ครบ รวมทั้งบริษัท จะเริ่มมีรายได้เพิ่มเติมจากการได้รับอนุมัติจากสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United of Parties Convention on Climate Change: UNFCC) ให้ สามารถขายคาร์บอนเครดิตจาก กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) โดยคาดว่าจะ ได้เงินก้อนแรกจากการขายคาร์บอนเครดิต ในช่วงต้นปี 2557 “พลังงานแสงอาทิตย์มีระบบเดียว ตั้งแผง ต่อเข้า อินเวอร์เตอร์ แสงอาทิตย์ตกปุ๊บก็เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ผ่านเครื่องแปลงไฟก็จำาหน่ายได้ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ รับแสง แล้วเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า แค่นี้ก็น่าตื่นเต้นแล้ว จนถึงวันนี้ยังไม่

•• ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่วันดีคิด ไม่ได้จำ กัดแค่นักลงทุนสำ หรับโครงการโรงไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังได้รับคำ แนะนำ จาก ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อีกครั้ง ที่แนะนำ ว่าให้ขยายธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ไปสู่ภาคครัวเรือนด้วย จนเกิดเป็นธุรกิจติดตั้ง แผงเซลล์แสงอาทิตย์สำ หรับใช้ในครัวเรือนขึ้นมา เป็นที่มาของรายได้บริษัทอีกทางหนึ่ง ••

พบว่ามีผลกระทบอะไรจากโรงไฟฟ้าประเภทนี้อีกด้วย” คุณวันดีกล่าวถึงความรู้สึกที่เธอมีต่อธุรกิจการผลิตพลังงาน ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ นับแต่วันเริ่มต้นจนถึงวันนี้ อย่างไรก็ดี แม้ว่าในเชิงธุรกิจเธอจะประสบความ สำาเร็จแล้วในขั้นต้น บวกกับความสำาเร็จในการสร้างกระแส ลงทุนด้านพลังงานสีเขียวที่ทำาให้เกิดผู้สนใจเพิ่มขึ้นใน ประเทศไทย แต่เธอยังหวังผลที่มากกว่านั้น “หลังจากที่มีส่วนทำาให้มาตรฐานเกี่ยวกับพลังงาน หมุนเวียนเกิดขึ้นในประเทศแล้ว ความหวังต่อจากนี้คืออยาก เห็นแผนพลังงานของประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า จากที่แผน พัฒนาพลังงานกำาหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน ทดแทนเพียง 25% ก็ควรกำาหนดให้ชัดเจนไปเลยว่า ประเทศไทยควรจะมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก เพิ่มเป็น 40% เพราะถ้าเราอยากจะให้มีการใช้พลังงาน สะอาดผลิตไฟฟ้าแทนการผลิตจากพลังงานฟอสซิล เช่น แก๊ส น้ำามัน ถ่านหิน หรือแม้แต่นิวเคลียร์ เราก็ต้องพยายามสร้าง พลังงานทางเลือกทุกด้านตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่แค่พลังงานจาก แสงอาทิตย์หรือลมเท่านั้น” คุณวันดี กล่าวทิ้งท้ายด้วยความหวังถึงแผนงาน ที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศ เพราะ อย่างน้อยเธอก็เชื่อตั้งแต่ต้นที่โดดเข้ามาในธุรกิจนี้แล้วว่า สิ่งที่ทำาทั้งหมดแม้จะให้ผลในเชิงการลงทุนสำาหรับคนรุ่นนี้ แต่ผลกระทบที่แท้จริงของการทำาธุรกิจนี้คือ เธอคาดหวังถึง การรักษาโลกใบนี้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไปเพื่อคนรุ่นหลัง มากกว่า

This article is from: