ข้อคิดยามเช้า ประจำเดือน มิถุนายน 2015

Page 1


enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 1 มิถุนายน ค.ศ.2015 ขณะที่พระสงฆ์อาวุโสองค์หนึ่งกาลังนั่งรอ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ชายคนหนึ่งขยับมา นั่งใกล้ท่าน และ แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับศาสนาเขาบอกว่า “ผมจะไม่เชื่อในสิ่งที่เข้าใจไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพระตรีเอกภาพ พระเจ้าหนึ่งเดียวแต่มีสามพระบุคคล เพราะเป็นคาสอนที่ขัดกับหลัก คณิตศาสตร์อย่างสิ้นเชิง เป็นไปได้อย่างไรที่ 1+1+1=1?” พระสงฆ์องค์นั้นยิ้ม พลางชี้ไปยังดวงอาทิตย์ที่กาลังทอแสงผ่านเข้ามาทางหน้าต่างของห้องพักผู้โดยสาร และถามชายคนนั้นว่า “ท่านเชื่อในดวงอาทิตย์ไหม?” ชายคนนั้นมองหน้าพระสงฆ์ผู้อาวุโสอย่างแปลกใจพร้อมกับตอบว่า“แน่นอน ทาไมล่ะ?” พระสงฆ์องค์นั้นจึงพูดต่อไปว่า “ดีมาก แสงที่ผ่านเข้ามาทางหน้าต่างซึ่งท่านมองเห็นนั้น มาจากดวงอาทิตย์ที่ อยู่ห่างจากที่นี่ประมาณ 93 ล้านไมล์ และความร้อนที่เราทั้งสองรู้สึกมาจากทั้งดวงอาทิตย์และแสงของมัน พระตรี เอกภาพเป็นบางสิ่งที่คล้ายกันนี้แหละ ดวงอาทิตย์เปรียบเสมือนพระบิดาเจ้า แสงที่ดวงอาทิตย์ส่งออกมา เปรียบเสมือนพระบุตรเจ้า ส่วนความร้อนซึ่งเป็นผลมาจากทั้งดวงอาทิตย์และแสงของมันเปรียบเสมือนพระจิตเจ้า ท่านคงไม่ปฏิเสธใช่ไหมว่าทั้งดวงอาทิตย์ แสง และความร้อนเป็นหนึ่งเดียวกัน” เมื่อได้ยินคาอธิบายเช่นนี้ ชายคนนั้นรีบเปลี่ยนเรื่องคุยทันที

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 2 มิถุนายน ค.ศ.2015 พระเยซูเจ้าทรงพูดถึง ความสัมพันธ์ของพระองค์ กับพระบิดาและพระจิตเจ้าไว้ว่า “ทุกสิ่งที่พระบิดาทรงมีนั้น ก็เป็นของเราด้วย ดังนั้น เราจึงบอกว่าพระจิตเจ้า จะทรงแจ้งให้ท่านรู้คาสอน ที่ทรงรับจากเรา” (ยน 16:15) พระตรีเอกภาพ เป็นธรรมล้​้าลึกซึ่งเราไม่สามารถเข้าใจและอธิบายได้ทั้งหมดเพราะมนุษย์เป็นเพียงสิ่งสร้างที่ มีขอบเขตจ้ากัดอย่างหนึ่งของพระเจ้า ผู้ซึ่งไร้ขอบเขตจ้ากัด เราอาจเข้าใจพระตรีเอกภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าเรามอง พระองค์ในฐานะบ่อเกิดของสรรพสิ่งที่ดีทั้งหลาย พระตรีเอกภาพมีคุณลักษณะหลายอย่างที่คล้ายกับดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นบ่อเกิดของสิ่งที่ดีมากมายต่อชีวิตฝ่ายกายของเราพระตรีเอกภาพทรงเป็นบ่อเกิดของชีวิตฝ่าย จิตหรือชีวิตพระในตัวเรา ดวงอาทิตย์ให้พลังงานและความเข้มแข็งแก่เรา พระตรีเอกภาพทรงให้พละก้าลังและ ความเข้มแข็งภายในแก่เรา ดวงอาทิตย์ให้แสงสว่างแก่เรา พระตรีเอกภาพทรงส่องสว่างสติปัญญาและจิตใจของเรา ดวงอาทิตย์ให้ความอบอุ่นแก่เรา พระตรีเอกภาพให้ความอบอุ่นฝ่ายจิต นั่นคือ ความรักต่อพระเจ้า และเพื่อนมนุษย์ แก่เรา แสงของดวงอาทิตย์สามารถรักษาความเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ อานุภาพของพระตรีเอกภาพสามารถรักษาบาป ซึ่งเป็นโรคร้ายฝ่ายวิญญาณของเรา ดวงอาทิตย์ท้าให้โลกสดใสและมีชีวิตชีวา พระตรีเอกภาพทรงท้าให้หัวใจของเรา เบิกบาน ด้วยความหวังในชีวิตนิรันดรที่ก้าลังรอคอยเราในสวรรค์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนในสมัยโบราณหลายชาติ หลายภาษานมัสการและเชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะพวกเขาไม่รู้ว่ายังมีใครที่ ยิ่งใหญ่กว่าดวงอาทิตย์นั่นเอง แต่ส้าหรับเราดวงอาทิตย์เป็นเพียงสิ่งสร้างชิ้นหนึ่งจากฝีพระหัตถ์ของพระเจ้าหนึ่งเดียวแต่มีสามพระบุคคล หรือที่เราเรียกว่าพระตรีเอกภาพเท่านั้น “เมื่อพระจิตแห่งความจริงเสด็จมาพระองค์จะทรงนาท่านไปสู่ความจริงทั้งมวล” (ยน 16:13) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.2015 “บทข้าพเจ้าเชื่อ” เป็นการประกาศ ความเชื่อใน พระเจ้าหนึ่งเดียว แต่มีสามพระบุคคล พระบิดาผู้ทรงเป็น พระผู้สร้างสรรพสิ่ง ทั้งแลเห็นได้ และแลเห็นไม่ได้ พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นพระบุตรหนึ่งเดียวของพระเจ้า และ พระจิตพระเจ้าผู้ทรงบันดาลชีวิต การทา “เครื่องหมายสาคัญมหากางเขน” เป็นอีกวิถีทางหนึ่งที่ช่วยเราให้ติดต่อ และ ยืนยันความเชื่อในพระตรีเอกภาพ ทุกครั้งที่เราทาเครื่องหมายนี้ เรากาลังถวายเกียรติแด่ “พระบิดา พระบุตร และพระจิต” และประกาศว่า ชีวิตของถูกตราไว้ในพระนามของพระองค์ เมื่อเราทาเครื่องหมายนี้ เรากาลังถวายชีวิตทั้งครบของเรา แด่พระเยซูเจ้า ผู้ทรงไถ่บาปเราบนกางเขน เตือนใจตนเองถึงกางเขนที่เราต้องแบกในแต่ละวันเพื่อติดตามพระองค์ เรายังทา เครื่องหมายนี้เพื่อวอนขอพระพรจากพระเจ้า และ ขอบพระคุณพระองค์สาหรับทุกสิ่งที่พระองค์ประทานให้เรา เครื่องหมายสาคัญมหากางเขนจึงเป็นสิ่งที่เราควรทาบ่อย ๆ ไม่ว่าก่อนและหลงทางาน ก่อนและหลังรับประทาน อาหาร ก่อนและหลังเรียน ก่อนและหลังการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรารู้สึกว่า ตนเองกาลังเผชิญหน้ากับ อันตรายและการประจญล่อลวงของปีศาจ การทาเครื่องหมายสาคัญมหากางเขนเป็นการเตือนสติเราเอง และยืนยัน ถึงพระอานุภาพของพระตรีเอกภาพในการต่อสู้กับสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย ดังนั้น อย่าละอายที่จะทาเครื่องหมายนี้ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนและเวลาใด

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.2015 การเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า คือ การเลิกนึกถึงตนเอง การแบกไม้กางเขนของตน และการติดตามพระองค์ไป ไม้กางเขนที่พระเยซูเจ้าทรง พูดถึงนี้ไม่ใช่เป็น ไม้กางเขนปลอม แต่เป็นไม้กางเขนจริง เป็นอุปสรรคและความ ยากลาบากในชีวิต ที่กาลังรอคอยเราอยู่เบื้องหน้า การเป็นพยานถึงพระองค์ด้วยคาพูดและการกระทาที่เราต้องเผชิญในแต่ละวัน เราต้องยอมรับความจริงอันนี้ ถ้าเราคิดที่จะติดตามพระองค์อย่างซื่อสัตย์และตลอดไป วิถีทางแห่งไม้กางเขนเป็นวิถีทางแห่งการรับใช้ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นการรับใช้อย่างหนึ่งเป็นการรับใช้บุคคลที่พระองค์ทรงรักจนถึงที่สุด แม้ว่าพระเยซูเจ้า ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้ายังทรงถ่อมพระองค์ลงมาเพื่อรับใช้มวลมนุษย์ บรรดาศิษย์ของพระองค์ต้องพร้อมที่จะ กระทาแบบเดียวกัน “ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญา และสุดกาลังของท่าน บทบัญญัติประการที่สองก็คือ ท่านจะต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง ไม่มีบทบัญญัติข้อใด ยิ่งใหญ่กว่าบทบัญญัติสองประการนี”้ (มก 12: 30-31)

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.2015 พระเยซูเจ้าทรง เรียกเด็กคนหนึ่ง ให้มายืนอยู่ท่ามกลาง บรรดาศิษย์ และ ตรัสว่า “ผู้ใดที่ต้อนรับ เด็กเล็ก ๆ เช่นนี้ ในนามของเรา ก็ต้อนรับเรา” (มก 9:37) สังคมของชาว อิสราเอล สมัยโบราณนั้น เด็กเป็นบุคคลที่ไม่มีความสาคัญและสิทธิใด ๆ ทั้งในด้านสังคมและศาสนา พวกเขาจึงเป็นสัญลักษณ์หมายถึง คนที่ต่าต้อยทั้งหลายในสังคม โดยรวมถึงคนยากจนขัดสนและคนที่สังคมรังเกียจด้วย การต้อนรับหรือรับใช้บุคคล เหล่านี้ เรียกร้องความสุภาพถ่อมตนเป็นอย่างมาก พระ เยซูเจ้าต้องการให้บรรดาศิษย์ของพระองค์ เป็นบุคคลที่มีความสุภาพถ่อมตนและเรียบง่ายเหมือนดั่งเช่น ธรรมชาติของเด็ก ๆ มาตรฐานของพระเจ้าแตกต่างจากมาตรฐานของมนุษย์ สาหรับพระองค์แล้วบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือบุคคลที่รับใช้ผู้อื่นไม่ใช่บุคคลที่ให้คนอื่นคอยรับใช้ เราจึงต้องใช้ชีวิตด้วยการรับใช้ซึ่งกันและกันตามสถานภาพ และ กาลังความสามารถของเราแต่ละคน โดยยึดแบบอย่างของพระเยซูเจ้า “ผู้เสด็จมามิใช่เพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่เพื่อมวลมนุษย์”

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.2015 การประกาศข่าวดีเป็นธรรมชาติ ของพระศาสนจักรซึ่งคริสตชนทุกคน มีบทบาทของการมีส่วนร่วม ในพันธกิจอันสาคัญยิ่งนี้ พระเยซูเจ้าทรงส่งบรรดาศิษย์ออกไป ประกาศข่าวดีถึงสองครั้ง ครั้งแรกพระองค์ทรงส่ง อัครสาวกสิบสองคนออกไป (ลก 9:1-6) และครั้งที่สองพระองค์ทรงส่ง ศิษย์เจ็ดสิบสองคนออกไป (ลก 10:1-12) ซึ่งเป็นการเน้นความเป็นสากล ของพันธกิจแห่งการประกาศข่าวดี เป็นสัญลักษณ์หมายถึง การประกาศข่าวดีแก่มนุษย์ทุกคน เมื่อพูดถึงอัครสาวกสิบสองคน ของพระเยซูเจ้า นั่นหมายถึงบรรดาศาสนบริกร ที่ได้รับศีลบวชของพระศาสนจักร ในระหว่างอาหารค่ามื้อสุดท้าย เมื่อพระเยซูเจ้าทรงตรัสว่า “จงทาการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:25) พระองค์ตรัสถ้อยคาเหล่านี้กับอัครสาวกสิบสองคน ซึ่งบรรดาพระสังฆราชเป็นผู้สืบตาแหน่งต่อจากพวกท่าน เหล่านี้ ศิษย์เจ็ดสิบสองคนที่พระเยซูเจ้าทรงส่งออกไปประกาศข่าวดี จึงเป็นตัวแทนของฆราวาสทั้งหลาย เป็นพันธกิจ ที่ฆราวาสทุกคนต้องทา พันธกิจแห่งการประกาศข่าวดีนี้ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของบรรดาพระสงฆ์หรือนักบวชชายหญิงเท่านั้น แต่เป็น หน้าที่ของฆราวาสทุกคนด้วย ในฐานะฆราวาส เราต้องอธิษฐานภาวนาเพื่อพันธกิจนี้จะได้สาเร็จลุล่วงไปตามพระ ประสงค์ของพระเจ้า


“จงวอนขอเจ้าของนาให้ส่งคนงานมาเก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์เถิด” (ลก 10:2) เราต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในพันธกิจนี้ ด้วยการออกไปประกาศข่าวดีและการดาเนินชีวิตที่เป็นพยานถึง ความรักของพระเจ้า “จงไปเถิด เราส่งท่านทั้งหลายไป” (ลก 10:3) คริสตชนทุกคนต้องตระหนักถึงบทบาทของการมีส่วนร่วมในพันธกิจที่สาคัญยิ่งอันนี้ โดยการเป็นประจักษ์ พยานด้วยการดาเนินชีวิตตามจิตตารมณ์พระวรสาร และ ประกาศข่าวดีแก่ทุกคน ที่ยังไม่มีความเชื่อในพระคริสตเจ้า หรือผู้ที่อยู่ห่างไกลจากพระองค์

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 7 มิถุนายน ค.ศ.2015 สมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า จุดประสงค์ของ วันสมโภชพระวรกาย และ พระโลหิตพระคริสตเจ้า คือ เพื่อระลึกถึงพระเยซูเจ้าผู้ทรง ยอมสละชีวิตพระองค์เอง เพื่อความรอดพ้นของมวลมนุษย์ และ คาสั่งของพระองค์ ที่ให้เราทาการรื้อฟื้นสิ่งที่ พระองค์ได้ทรงกระทา ระหว่างอาหารค่ามื้อสุดท้าย “ขณะที่ทุกคนกาลังกินอาหารอยู่นั้น พระองค์ทรงหยิบขนมปังตรัสถวายพระพร ทรงบิขนมปัง ประทานให้เขาเหล่านั้น ตรัสว่า ‘จงรับเถิด นี่เป็นกายของเรา’” (มก 14:22) “แล้วพระองค์ทรงหยิบถ้วย ตรัสขอบพระคุณประทานให้เขาและทุกคนดื่มจากถ้วยนั้น พระองค์ตรัสกับเขาว่า “นี่เป็นโลหิตของเรา โลหิตแห่งพันธสัญญาที่หลั่งออกเพื่อคนจานวนมาก” (มก 14:23-24) พระเยซูเจ้าปรารถนาให้เรากินพระกายและดื่มพระโลหิตของพระองค์ เพื่อเราจะได้รับความรอดพ้นที่ พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้เมื่อพระเยซูเจ้าทรงดารงชีวิตอยู่บนโลกนี้ พระองค์ตรัสว่า “เราเป็นปังทรงชีวิตที่ลงมาจากสวรรค์ใครที่กินปังนี้จะมีชีวิตอยู่ตลอดไป และปังที่เราจะให้นี้คือเนื้อของเราเพื่อให้โลกมีชีวิต” (ยน 6:51) และพระองค์ทรงอธิบายต่อไปอีกว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และ ไม่ดื่มโลหิตของเรา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง ผู้ที่กินเนื้อของเราและดื่มโลหิตของเราก็มีชีวิตนิรันดร เราจะทาให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้ายเพราะเนื้อของเราเป็นอาหารแท้ และ โลหิตของเราเป็นเครื่องดื่มแท้” (ยน 6:53-55)


พระดารัสของพระเยซูเจ้าในคาว่า “เราบอกความจริง” พระองค์กาลังชี้ไปยังบางสิ่งบางอย่างที่สาคัญสูงสุด ซึ่งผู้ฟังของพระองค์ไม่อาจมองข้ามได้โดยทางศีลมหาสนิทซึ่งเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซูเจ้า เรามี ความหวังและหลักประกันสาหรับชีวิตนิรันดร โดยทางพระกายและพระโลหิตของพระองค์ เราสามารถพบพลัง และความเข้มแข็งในการต่อสู้กับศัตรูฝ่ายจิตของเราบนโลกนี้ด้วยความเพียรทน ทั้งนี้ก็เพื่อว่าขณะที่เรายังอยู่บนโลกนี้ เราจะไม่ได้เป็นของโลกนี้อีกต่อไป ในฐานะสิ่งสร้างใหม่ของพระเจ้า เราแต่ละคนได้รับเรียกให้บารุงเลี้ยงชีวิตฝ่ายจิต ของเราด้วยศีลมหาสนิทเพื่อว่าพระกายและพระโลหิตของพระเยซูเจ้า จะเปลี่ยนเราให้ละม้ายคล้ายกับพระองค์นับวัน ยิ่งมากขึ้น ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 8 มิถุนายน ค.ศ.2015 คริสตชนบางคนอาจบอกว่า “ผมมีความเชื่อ ในพระเยซูเจ้า ดังนั้น ผมจะได้รับชีวิตนิรันดร อย่างแน่นอน” หรือ “ผมได้รับศีลล้างบาป และกลายเป็นสิ่งสร้างใหม่ ของพระเจ้าแล้ว ด้วยเหตุนี้ ผมจะได้รับความรอดพ้น ในวาระสุดท้ายอย่างแน่นอน” เราอาจกลายเป็นสิ่งสร้างใหม่ด้วยการตาย ถูกฝัง และ กลับคืนชีพพร้อมกับพระเยซูเจ้า แต่วิญญาณของเรา ไม่อาจมีชีวิตในตนเอง โดยปราศจากพระกายและพระโลหิตขององค์ “ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์และไม่ดื่มโลหิตของเราท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง” (ยน 6:53) สาหรับคริสตชนนั้น เราต้องมีความเชื่อ และ รับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ คือศีลล้างบาป ศีลอภัยบาป และ ศีลมหาสนิท ตามลาดับอย่างเหมาะสมเพื่อเข้าสู่ชีวิตนิรันดรในพระอาณาจักรของพระเจ้า ศีลมหาสนิทเป็นพระกาย และ พระโลหิตของพระเยซูเจ้า ความรอดพ้นและชีวิตนิรันดรในพระอาณาจักรของพระเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นของประทาน จากพระเจ้านั้นมาถึงเราโดยทางพระเยซูเจ้า ถ้าพระเยซูเจ้าไม่ดีพอสาหรับเรา และ เราปฏิเสธที่จะรับพระองค์ในศีล มหาสนิท เราคงหมดหวังที่จะรับความรอดพ้น และ ชีวิตนิรันดรร่วมกับพระองค์

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 9 มิถุนายน ค.ศ.2015 คืนที่พระเยซูเจ้า ทรงถูกทรยศนั้น เป็นคืนสุดท้าย ที่พระองค์ทรงอยู่ กับบรรดาอัครสาวก ก่อนที่จะทรงรับทรมาน และสิ้นพระชนม์ คาสั่งเสียหรือพินัยกรรม ประการหนึ่ง ที่พระองค์ ทรงมอบให้เราคือ “การเชื้อเชิญ” เราให้มาร่วม ในงานเลี้ยงของพระองค์ “จงทาการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด’... ทุกครั้งที่ท่านจะดื่ม จงทาการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด’” (1 คร 11:24-25) นี่คือสิ่งสุดท้ายที่พระเยซูเจ้าทรงขอร้องให้เราทาพระองค์ทรงขอให้เราทาสิ่งนี้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จนกระทั่งถึงวันที่ “พระองค์จะเสด็จมา” (1 คร 11:26) อย่างรุ่งโรจน์ นี่คือเหตุผลสาคัญประการหนึ่งที่เราควรมาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณเพื่อจะได้รับศีลมหาสนิทบ่อย ๆ เมื่อพระเยซูเจ้าทรงรักเรามากจนยอมมอบชีวิตเพื่อเป็นสินไถ่ที่ช่วยเราให้เป็นอิสระและรอดพ้นจากอานาจของบาป และ ความตายเราจะทาเพื่อพระองค์แค่นี้ไม่ได้หรือ?

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 10 มิถุนายน ค.ศ.2015 ในพระวรสารโดยนักบุญลูกา ตอนหนึ่งเล่าให้เราฟังถึงเรื่อง หญิงที่ล้างพระบาท ของพระเยซูเจ้าด้วยน้​้าตา ใช้ผมของนางเช็ด และใช้น้ามันหอม ชโลมพระบาทของพระองค์ (เทียบ ลก 7:38) ซึ่งเป็นเครื่องหมาย แสดงความเคารพและ ความรักที่มีต่อพระองค์ นางเคยสัมผัสพระเมตตาและความเห็นอกเห็นใจ จากการเทศน์สอนและการกระท้าของพระองค์ นางรู้แก่ใจ ดีว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้ไถ่กู้ ผู้ซึ่งน้าพระเมตตาและการให้อภัยจากพระเจ้ามาให้นาง ความรู้สึกกตัญญูรู้คุณและ ความรักของนางยิ่งใหญ่มาก จนกระทั่งนาง ซึ่ง “เป็นคนบาป” (ลก 7:37) ที่ทุกคนรู้จักดี กล้าเดินเข้าไปในบ้านของซี โมนซึ่งเป็นชาวฟาริสี แน่นอน ซีโมนคงตกใจและโกรธนางไม่น้อย ท่านไม่เข้าใจว่าท้าไมพระเยซูเจ้าผู้ซึ่งได้รับการ ยอมรับจากคนทั่วไปว่าเป็นประกาศกและอาจารย์จึงทรงยอมอดทนและนิ่งดูดาย ต่อการปรากฏตัวของหญิงคนบาป คนนี้ อีกทั้งยังทรงปล่อยให้นาง “แตะต้อง” (ลก 7:39) พระองค์อีกด้วย? ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งเราทุกคนล้วนอ่อนแอและเป็นคนบาปด้วยกันทั้งนั้น การให้อภัยจากพระเจ้าจึงเป็น สิ่งจ้าเป็นและขาดไม่ได้ส้าหรับเรา หญิงคนบาปคนนั้นได้หลั่งน้​้าตาล้างพระบาทพระเยซูเจ้าในฐานะเครื่องหมายแห่ง ความรักที่นางมีต่อพระองค์ แต่พระเยซูเจ้าเองที่ได้ทรงหลั่งพระโลหิตของพระองค์เพื่อบาปของเราจะได้รับการให้อภัย ให้เราพยายามตอบสนอง กิจการแห่งความรักยิ่งใหญ่ของพระองค์ประการนี้ด้วยความรักที่เต็มเปี่ยมจากใจจริงของเรา พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นเครื่องเตือนใจเราว่า พระเจ้าทรงกระหายความรักจากเราและทรงพยายามดึงเราให้เข้ามาหา พระองค์ด้วยพระพรแห่งการให้อภัย พิธีบูชาขอบพระคุณยังเป็นการระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ และ การกลับคืนพระ ชนมชีพของพระเยซูเจ้าเพื่อความรอดพ้นของเราอีกด้วย ในพิธีบูชาขอบพระคุณเราได้ยินพระวาจาของพระองค์ที่ว่า “นี่เป็นถ้วยโลหิตของเรา โลหิตแห่งพันธสัญญาใหม่อันยืนยง โลหิตซึ่งจะหลั่งออกเพื่ออภัยบาปสาหรับท่านและมนุษย์ทั้งหลาย” พระเจ้าทรงเป็นพระบิดาแห่งการให้อภัยและการให้อภัยของพระองค์ ควรท้าให้เรารักและรับใช้พระองค์นับวันยิ่งมากขึ้น ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 11 มิถุนายน ค.ศ.2015 พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่อง ลูกหนี้สองคนที่ได้รับการยกหนี้ทั้งหมด คนแรกเป็นหนี้อยู่ 500 เหรียญ ส่วนคนที่สองเป็นหนี้อยู่ 50 เหรียญ จากนั้น พระองค์ทรงถามซีโมนว่า “ในสองคนนี้ คนไหนจะรักเจ้าหนี้มากกว่ากัน” (ลก 7:42) ท่านตอบอย่างถูกต้องว่า “เป็นคนที่ได้รับการยกหนี้ให้มากกว่า” (ลก 7:43) จุดนี้เองที่พระเยซูเจ้าต้องการชี้ให้เห็นว่า การกระทาของหญิงคนบาปที่เข้ามาในบ้านของซีโมนนั้น เพราะ บาปมากมายที่นางได้กระทาในชีวิต เมื่อสานึกว่าพระเจ้าได้ทรงให้อภัยบาปเหล่านั้น นางจึงสนอบตอบด้วยความรัก ยิ่งใหญ่ ล้างพระบาทของพระเยซูเจ้าด้วยน้าตา ใช้ผมของนางเช็ดและใช้น้ามันหอม ชโลมพระบาทของพระองค์ (เทียบ ลก 7:38) ท่าทีภายนอกของซีโมนเป็นคนที่ภาคภูมิใจในความเป็นผู้มีศีลธรรมของตนเอง ท่านมองว่าตนเองมี คุณธรรมสูงส่งกว่าหญิงคนนั้น ท่านคิดว่าตนเองดีเพียบพร้อมทุกอย่าง และไม่ต้องการการให้อภัยจากพระเจ้า แต่จริง ๆ แล้ว ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เราทุกคนล้วนอ่อนแอและเป็นคนบาปด้วยกันทั้งนั้น การให้อภัยจากพระเจ้าจึงเป็นสิ่งจาเป็นและขาดไม่ได้ เราไม่ต้องอับอายที่จะสารภาพว่าเราเป็นคนบาป แต่ควรสานึกถึงบาปและขอรับการอภัยโทษจากพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงรักเรามากจึงได้ทรงหลั่งพระโลหิตของ พระองค์เพื่อบาปของเราจะได้รับการให้อภัย ยิ่งความผิดหรือบาปที่เราได้กระทาหนักหนามากเท่าไร เราต้อง ตอบสนองด้วยความรักต่อพระเจ้าให้มากยิ่งขึ้น พระเจ้าทรงเป็นพระบิดาแห่งการให้อภัย และการให้อภัยของ พระองค์นั้นจะต้องทาให้เราสานึกว่า ไม่ว่าจะเป็นบาปหรือความผิดยิ่งใหญ่เพียงใด เราต้องพร้อมให้อภัยแก่เพื่อน พี่น้องทุกคนเสมอ สิ่งนี้เองจะทาให้เรารักและรับใช้พระองค์นับวันยิ่งมากขึ้น

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 12 มิถุนายน ค.ศ.2015 ทัศนคติที่ว่า “ชีวิตของคนเรา ไม่ขึ้นกับ ทรัพย์สมบัติของเขา” เป็นเรื่องสวนทาง กับทัศนคติของ โลกแห่งวัตถุนิยม ในสมัยปัจจุบัน มนุษย์ส่วนใหญ่ใฝ่ฝัน อยากจะเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์สินมากมาย แต่พระเยซูเจ้า ได้ให้คาเตือนแก่เราว่า “จงระวังและรักษาตัวไว้ให้พ้นจากความโลภทุกชนิด เพราะชีวิตของคนเราไม่ขึ้นกับทรัพย์สมบัติของเขาแม้ว่าเขาจะมั่งมีมากเพียงใดก็ตาม” (ลก 12:15) พระองค์ต้องการให้เราตระหนักว่า ความร่ารวย ทรัพย์สินเงินทอง ไม่ใช่เป็นหลักประกัน ถึงความสุขและ ความปลอดภัยที่ยั่งยืนและเที่ยงแท้ เพราะบ่อยครั้ง มันจะทาให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง โลกและทุกสิ่งที่อยู่บน โลกนี้มีไว้เพื่อตักตวงมาเป็นของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ มองไม่เห็นบุคคลอื่น ไม่รู้จักการแบ่งปัน ความโลภนี้เองที่ ทาให้มนุษย์เห็นแก่ตัวนับวันยิ่งมากขึ้น พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตรพระเจ้า พระองค์สามารถเป็นคนร่ารวยที่สุดในโลกนี้ได้ แต่กลับทรงเลือกเป็น คนยากจน ยอมสละทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ชีวิตของพระองค์เองเพื่อช่วยเราให้รอดพ้น เป็นแบบอย่างสอนเรา ให้มีท่าทีที่ ถูกต้องต่อทรัพย์สินเงินทองในโลกนี้เพื่อจะกลายเป็นคนมั่งมีสาหรับพระบิดาเจ้าสวรรค์ “จงคิดถึงแต่สิ่งที่อยู่เบื้องบนอย่าพะวงถึงสิ่งของบนแผ่นดินนี”้ (คส 3:2)

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 13 มิถุนายน ค.ศ.2015 “คนที่สะสมทรัพย์สมบัติ ไว้สาหรับตนเอง แต่ไม่เป็นคนมั่งมี สาหรับพระเจ้า ก็จะเป็นเช่นนี”้ (ลก 12:21) ทรัพย์สินเงินทอง ในตัวมันเอง ไม่ได้เป็นสิ่งชั่วร้าย แต่การนา ทรัพย์สินเงินทอง ไปใช้ในทางที่ผิด ต่างหากที่ถือว่า เป็นสิ่งชั่วร้าย เงินมีไว้เพื่อซื้ออาหาร เครื่องนุ่งหม ที่อยู่อาศัย และ ใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของลูกหลานในครอบครัว เงินสามารถช่วยเราในการประกาศข่าวดี และ รับใช้พระคริสตเจ้า ช่วยเราให้สามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์คนอื่นที่ เดือดร้อน ถ้าเรารู้จักใช้เงินอย่างถูกต้อง เราสามารถเป็น “คนมั่งมีสาหรับพระเจ้า” ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นคนร่ารวย หรือคนยากจนก็ล้วนจะเกิดความโลภและเห็นแก่ตัว การเป็นคนมั่งมีสาหรับพระเจ้า จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีทรัพย์ สมบัติมากหรือน้อย แต่ขึ้นอยู่กับท่าทีของเราต่อทรัพย์สมบัติว่าเรามีความใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และไม่เห็นแก่ตัวหรือไม่

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 14 มิถุนายน ค.ศ.2015 คาว่า “พระอาณาจักร” ของพระเจ้า เป็นคาที่เราพบ บ่อยครั้งมาก ในพระวรสาร ความหมาย ในพระคัมภีร์ ไม่ได้หมายถึง สถานที่ใด สถานที่หนึ่ง แต่หมายถึง การปกครอง หรืออานาจ ดังนั้น การเป็นส่วนหนึ่งของพระอาณาจักรของพระเจ้า จึงเป็นการมอบตัวเองทั้งครบโดยรู้ตัวและเต็มใจ ไว้ภายใต้การปกครองหรืออานาจของพระองค์ เป็นการมีประสบการณ์เกี่ยวกับอานาจของพระองค์ และการทาให้ ตัวเองเปลี่ยนแปลงไปโดยทางอานาจนั้น อานาจดังกล่าวนี้เป็นอานาจแห่งความรัก เป็นอานาจที่สร้างสรรค์และ ก่อให้เกิดกาลังใจ เป็นอานาจที่ยกตัวเราให้สูงขึ้น และทาให้เราสามารถเป็นสิ่งที่เราถูกเรียกให้เป็น อานาจนี้ไม่ใช่เป็น การบังคับขู่เข็ญซึ่งนาไปสู่ความรุนแรง เมื่อเราสวดบทข้าแต่พระบิดาว่า “พระอาณาจักรจงมาถึง” เรากาลังอธิษฐานภาวนาขอให้ประชาชนทั่วทุก มุมโลกมอบตัวเองไว้ภายใต้การปกครองหรืออานาจแห่งความรักของพระเจ้า ในฐานะคริสตชนคนหนึ่ง เราถูกเรียกไม่ เพียงให้เป็นสมาชิกคนหนึ่งของพระศาสนจักรเท่านั้น แต่ให้เข้าไปและเป็นส่วนหนึ่งของพระอาณาจักรของพระเจ้าด้วย เราต้องเข้าใจว่าพระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นมากกว่าพระศาสนจักรคาทอลิกของเรา แต่ครอบคลุมมนุษยชาติและ สิ่งสร้างทุกอย่างของพระองค์ พระศาสนจักรเป็นเพียงส่วนหนึ่งและเครื่องหมายที่มองเห็นได้ ของพระอาณาจักรของ พระเจ้าเท่านั้นเอง ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.2015 พระเยซูเจ้าทรง เปรียบเทียบให้เราเข้าใจว่า พระอาณาจักรของพระเจ้า ดาเนินไปได้อย่างไร โดยใช้สถานการณ์ของ ชาวนาคนหนึ่งที่กาลัง หว่านเมล็ดข้าว ในผืนนาของตน พระองค์ทรงบอกว่า “เขาจะหลับหรือตื่น กลางคืนหรือกลางวัน เมล็ดนั้นก็งอกขึ้นและเติบโต เป็นเช่นนี้ได้อย่างไรเขาไม่ร”ู้ (มก 4:27) แล้วพระองค์ตรัสเสริมต่อไปอีกว่า “ดินนั้นมีพลังให้เกิดผลในตนเอง ครั้งแรกก็เป็นลาต้น แล้วก็ออกรวง ต่อมาก็มีเมล็ดเต็มรวง เมื่อข้าวสุก เกิดผลแล้วเขาก็ใช้คนไปเก็บเกี่ยวทันที เพราะถึงฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว” (มก 4:28) นี่เป็นประเด็นที่พระเยซูเจ้าบอกเราอย่างชัดเจนว่าการสร้างพระอาณาจักรเป็นงานของพระเจ้า งานนี้จะ ดาเนินไปเรื่อย ๆ และจะไม่มีวันล้มเหลว ไม่ว่าเราจะร่วมมือหรือไม่ร่วมมือกับพระองค์ ไม่ว่าเราจะตระหนักหรือไม่ ตระหนักในเรื่องนี้ก็ตาม แม้ว่าจะมีคนต่อต้าน หรือขาดความร่วมมือจากมนุษย์ ถ้าเรามองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของพระศาสนจักร ความเชื่อคริสตชนได้ยืนหยัดมั่นคง และผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้วกว่าสองพันปี ประชาชนบางกลุ่ม ผู้นาหรือผู้มีอานาจบางประเทศ ได้พยายามกาจัดผู้ที่ เชื่อในพระนามของพระเยซูเจ้าให้สิ้นซากไปจากแผ่นดินนี้ สุดท้ายพวกเขาก็ต้องพบกับความล้มเหลวอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เหตุผลที่สาคัญประการหนึ่ง คือ คุณค่าที่พระศาสนจักรยึดมั่นนั้นสอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติของสิ่ง ต่าง ๆ และเป็นความปรารถนาที่อยู่ลึก ๆ ของมนุษย์ ซึ่งมีมากจนกระทั่งไม่มีพลังอานาจตรงกันข้ามใดสามารถเข้ามา ทาลายได้ แน่นอน ธรรมชาติและความปรารถนาต่าง ๆ เหล่านี้มาจากพระเจ้าผู้เป็นต้นกาเนิดของสรรพสิ่งนั่นเอง ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 16 มิถุนายน ค.ศ.2015 พระเยซูเจ้าทรงเปรียบเทียบ พระอาณาจักรของพระเจ้า กับเมล็ดมัสตาร์ด เพื่อแสดงให้เห็นว่า พระอาณาจักรของพระเจ้า เริ่มจากคนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง เมล็ดมัสตาร์ดเป็น เมล็ดพืชขนาดเล็กมาก แต่เมื่อมัน เจริญเติบโตขึ้นแล้วมันจะ “กลายเป็นต้นไม้ใหญ่กว่าพืชผักทุกชนิด มีกิ่งก้านใหญ่โตจนบรรดานกในอากาศมาพักอาศัยร่มเงาได้” (มก 4:32) เมื่อครั้งที่อุปมาเรื่องนี้ได้ถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร พระศาสนจักรของเรายังเล็กมาก มีกลุ่มคริสตชน เพียงไม่กี่กลุ่มที่กระจัดกระจายอยู่ตามหัวเมืองและหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลในเขตทะเลเมดิเตอเรเนียนเท่านั้น ไม่มีการ ติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยเหมือนในสมัยปัจจุบันนี้ พวกเขาแทบจะถูกตัดขาดจากกัน ซ้​้าร้ายไปกว่านั้นอีก พวกเขายังต้อง เผชิญหน้ากับการเบียดเบียนข่มเหงที่โหดร้ายและป่าเถื่อนอีกด้วย ในตอนนั้น เพียงแค่ขอเอาตัวรอดไปวัน ๆ โดยไม่นึกว่าจะกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีความเชื่อ เดียวกันมากกว่าหนึ่งพันล้านคนเหมือนในปัจจุบัน พระศาสนจักรในประเทศของเราไม่ต่างจากเมล็ดมัสตาร์ดเท่าใดนัก เรามีคาทอลิกในประเทศไทยเพียง 0.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากร แม้จะมีจ้านวนน้อยมาก เป็นนาผืนเล็ก ๆ นิดเดียว แต่เราต้องไม่ลืมว่า เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว พระเยซูเจ้าได้ทรงตั้งพระศาสนจักรของพระองค์ขึ้น ด้วยอัครสาวกเพียง 12 คนเท่านั้น ให้เรามั่นใจว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นพระเยซูเจ้าจะทรงท้าให้พระศาสนจักรแห่งนี้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่เราต้องตั้งใจกระท้าในตอนนี้คืออย่างน้อยที่สุด ต้องทุ่มเทชีวิตอย่างสุดความสามารถ ส้าหรับผืนนาเล็ก ๆ ที่ พระเจ้าทรงมอบหมายให้เราดูแลแล้วพระองค์จะทรงจัดการส่วนที่เหลือเอง

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 17 มิถุนายน ค.ศ.2015 พระเยซูเจ้าทรงรักษา ชายที่มีปัญหาเรื่องการฟัง เพราะเขาเป็น “คนใบ้หูหนวก” (มก 7:32) ปรกติแล้วคนหูหนวก มักจะเป็นใบ้ด้วย เนื่องจากเขา ไม่สามารถฟังเสียงได้ เขาจึงไม่สามารถเรียนรู้ ที่จะพูดได้เหมือนคนอื่น คนที่บกพร่องประเภทนี้มีหลายล้านคนในโลกของเรา แต่ยังมีผู้คนอีกมากมายกว่านั้นอีกที่มีหูดี แต่ไม่ได้ยิน เพราะพวกเขาไม่ได้ฟังคนที่ปิดตนเอง คิดว่าตนเองดีและเก่งกว่าทุกคน โดยไม่ยอมฟังเสียงของคนอื่น คือคนที่หูหนวกอย่างแท้จริง การฟังเป็นสิ่งที่จาเป็นและขาดไม่ได้ในทุกแวดวงของชีวิตมนุษย์ การฟังเป็นประตูสู่ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชีวิตในครอบครัวและสังคมจะมีความสุขมากยิ่งขึ้น ถ้าสมาชิกทุกคนเรียนรู้ที่จะฟังซึ่งกันและกัน ไม่ได้หมายความเพียง แค่ปล่อยให้คนอื่นพูดเท่านั้น แต่หมายถึงพยายามฟังสิ่งที่เขาพูดอย่างตั้งอกตั้งใจด้วย การสื่อสารที่ดีไม่ใช่เป็นแบบ ทางเดียว แต่เป็นการพูดและการฟังเป็นการแบ่งปันไม่เพียงแค่ความคิดและเรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น แต่แบ่งปัน ความรู้สึกลึก ๆ ของเราด้วย

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.2015 การฟังด้วยความตั้งใจ เป็นสิ่งจาเป็นมาก เมื่อเรามาชุมนุมกัน เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ในพิธีบูชาขอบพระคุณ เราจะรู้ได้ว่าพระเจ้า ตรัสอะไรกับเราในวันนี้ พระดารัสของพระองค์ หมายความว่าอะไร อะไรคือประเด็นสาคัญ ของบทเทศน์ในวันนี้ การตั้งใจฟังนั้นยังเป็นการให้เกียรติและเคารพต่อผู้ที่กาลังพูดด้วย เมื่อพระเจ้าตรัสกับเราผ่านทางพระคัมภีร์ และผู้แทนของพระองค์ ถ้าเราไม่ฟังเสียงของพระองค์อย่างตั้งใจ ก็เท่ากับว่าเราไม่ให้เกียรติพระองค์ ทุกครั้งที่เรามาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่ากลับบ้านไปแบบมือเปล่า แต่นาเอาพระวาจาของพระเจ้าใส่ในใจ ของเรากลับไปด้วย แน่นอน เราจะสามารถทาสิ่งนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราตั้งใจฟังเสียงของพระองค์นั่นเอง

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 19 มิถุนายน ค.ศ.2015 การฟังเป็นสิ่งที่จาเป็น เมื่อเราอธิษฐานภาวนาด้วยเช่นกัน ถ้าการอธิษฐานภาวนาเป็นการพูดคุย และติดต่อกับพระเจ้า เราคงไม่พูดคนเดียว แต่เราต้องให้เวลาพระเจ้า เพื่อพระองค์จะตรัสกับเราด้วย เราต้องฟังเสียงพระองค์ พระเจ้าทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างดีกว่าเรา ทรงรู้ว่าอะไรดีที่สุดสาหรับเรา และทรงรู้ทุกสิ่งก่อนที่เรา จะวอนขอพระองค์เสียอีก ดังนั้น หาเวลาเงียบ ๆ อยู่กับพระองค์ และ ปล่อยให้พระองค์ตรัสกับเราในใจ เมื่ออยู่เฉพาะพระพักตร์ พระองค์ สิ่งที่เราต้องทาก็คือ พยายามฟังเสียงของพระองค์ นอกจากนั้น เราต้องพยายามฟังเสียงประชากรของ พระองค์ที่กาลังเป็นทุกข์เดือดร้อนและรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างด้วย สาหรับหลายคน ของขวัญที่มีค่ามากที่สุด คือ การที่มีใครสักคนฟังพวกเขาระบายความในใจซึ่งอาจเป็น ความอัดอั้นตันใจ ความทุกข์ทรมาน หรือความชื่นชมยินดีก็ได้ ให้เราวอนขอพระเยซูเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ผู้ทรงทาให้คนหูหนวกได้ยินอีกครั้งหนึ่ง ช่วยเราให้เรียนรู้จักฟังเสียงของพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เสียงของคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากเรามากที่สุด

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 20 มิถุนายน ค.ศ.2015 เมื่ออธิษฐานภาวนา หลายคนเกิดคาถามว่า เมื่อพระเจ้าทรง ดูแลเอาใจใส่เรา มากกว่าบิดา ทั้งหลายบนโลกนี้ แล้วทาไมเรา ยังต้องวอนขอพระองค์ อย่างไม่หยุดหย่อนเล่า? “จงขอเถิด แล้วท่านจะได้รับ จงแสวงหาเถิดแล้วท่านจะพบ จงเคาะประตูเถิดแล้วเขาจะเปิดประตูรับท่าน เพราะคนที่ขอย่อมได้รับคนที่แสวงหาย่อมพบ คนที่เคาะประตูย่อมมีผู้เปิดประตูให้” (ลก 11:9-10) อันที่จริง การที่เราวอนขอพระเจ้าไม่ใช่เพื่อเตือนพระเจ้าว่าเราต้องการอะไร พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า เราไม่ควรพูดพร่าเพรื่อเหมือนคนต่างศาสนา เพราะบ่อยครั้งการที่พระเจ้าไม่ประทานสิ่งที่เราวอนขอ เพราะสิ่งนั้นอาจ ไม่เหมาะสมในสายพระเนตรของพระองค์หรืออาจไม่สอดคล้องกับแผนการและพระประสงค์ของพระองค์ พระเจ้าทรง รู้ดีว่าอะไรคือสิ่งจาเป็นสาหรับเรา เป้าหมายของการอธิษฐานภาวนาคือ ความเป็นหนึ่งเดียวกันของเรากับพระเจ้า การอธิษฐานภาวนาไม่ว่าส่วนตัวหรือในหมู่คณะจะมีความหมายมากขึ้นสาหรับเรา เมื่อเราตระหนักเหมือน เด็กเล็ก ๆ ว่าเรากาลังพูดกับพ่อของเราผู้ซึ่งรักและพร้อมที่จะรับฟังเราเสมอ เราจึงควรอธิษฐานภาวนาด้วยคาพูดของ เราเองบ่อย ๆ อย่ามัวแต่วอนขอสิ่งโน้นสิ่งนี้เพื่อเราเท่านั้น แต่วอนขอเพื่อความต้องการและความจาเป็นของคน อื่นด้วย ที่สาคัญคือเราต้องไม่ลืมที่จะขอบพระคุณพระเจ้าสาหรับพระพรของพระเจ้าที่ประทานแก่เรา

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.2015 ในเย็นวันหนึ่งหลังจากได้ทรง เทศน์สอนประชาชนมาทั้งวันแล้ว พระเยซูเจ้าทรงขอให้บรรดาศิษย์ เตรียมเรือและพาพระองค์ ข้ามฟากไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ของทะเลสาบกาลิลี ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง พระองค์ทรงรู้สึกอ่อนเพลีย จากพันธกิจแห่งการประกาศข่าวดี ที่ทรงกระทาอย่างไม่หยุดหย่อน เวลานี้พระองค์ทรงปรารถนา สถานที่สงบเงียบและไกลจากผู้คน เพื่อจะได้พักผ่อนสักระยะหนึ่ง พระองค์ทรงเหนื่อยล้ามาก จนกระทั่งเผลอ “บรรทมหลับ” (มก 4:38) อยู่ที่ท้ายเรือ แม้ว่า “ขณะนั้นเกิดพายุแรงกล้า คลื่นซัดเข้าเรือจนน้​้า เกือบจะเต็มเรืออยู่แล้ว” (มก 4:37) การเกิดพายุในทะเลสาบกาลิลีช่วงยามเย็นเป็นเรื่องธรรมดา พระเยซูเจ้าทรงทราบดี และบรรดาศิษย์เอง มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้บ่อยครั้ง เพราะพวกเขาเป็นชาวประมง และหาเลี้ยงชีพอยู่ในผืนน้าแห่งนี้เป็นเวลา หลายปี อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่เป็นตายเท่ากันเช่นนี้ พระเยซูเจ้ายังคงบรรทมหลับอย่างสงบ ด้วยความรักตัว กลัวตายเหมือนคนทั่วไปบรรดาศิษย์จึงปลุกพระองค์เพื่อขอให้ช่วยเหลือพวกเขา พระเยซูเจ้าได้ทรงกระทาสิ่งที่พวก เขาคาดหวังไว้ นั่นคือ พระองค์ทรงลุกขึ้น “บังคับลม ตรัสสั่งทะเลว่า‘เงียบซิ จงสงบลงเถิด’” (มก 4:39)


ทุกสิ่งเป็นไปตามพระดารัสของพระองค์ ลมหยุดพัด และท้องทะเลสงบราบเรียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หลังจากนั้น พระองค์ทรงกระทาบางสิ่งที่พวกเขาไม่ได้คาดหวังไว้ ด้วยการถามเชิงตาหนิว่า “ตกใจกลัวเช่นนี้ท้าไม ท่านยังไม่มีความเชื่อหรือ?” (มก 4:40) เหมือนว่าพระเยซูเจ้าทรงรู้สึกผิดหวังที่บรรดาศิษย์ตกใจกลัวมากเช่นนี้ บางคนอาจสงสัยในใจว่า “บรรดาศิษย์ได้ท้าอะไรผิด พระเยซูเจ้าจึงทรงต้าหนิพวกเขา?” ประเด็นสาคัญที่พระเยซูเจ้าทรงต้องการบอกคือ บรรดาศิษย์ควรเชื่อมั่นและวางใจในพระองค์มากกว่านี้ พระองค์ทรงรู้ดีว่ากาลังทาอะไรเมื่อตรัสสั่งพวกเขาให้ลงเรือ และพาพระองค์ข้ามทะเลสาบไปอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อพระองค์ ทรงทาให้พวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย พวกเขาควรวางใจในพระองค์อย่างเต็มเปี่ยมว่าพระองค์จะดูแลเอาใจ ใส่ความปลอดภัยของพวกเขาอย่างแน่นอน เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น บุคคลแรกที่พวกเขาควรนึกถึงคือ พระเยซูเจ้า แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาได้พยายามทาทุก อย่างที่ควรทาเพื่อช่วยเหลือตัวเองจนสุดความสามารถตามประสามนุษย์แล้ว พวกเขาจึงคิดที่จะปลุกพระองค์ พูดอีก อย่างหนึ่งคือ สาหรับพวกเขา หลังจากวิธีการอื่นทั้งหมดล้มเหลวแล้ว พระเยซูเจ้าจึงทรงเป็นที่พึ่งสุดท้าย เพราะอัน ที่จริง แม้ว่าขณะนั้นพวกเขาจะกาลังใช้วิธีการตามประสามนุษย์เช่นไรอยู่ก็ตาม พระองค์ควรเป็นบุคคลแรกที่อยู่ใน ความคิดของพวกเขา เราแต่ละคนต้องถามตัวเองด้วยเช่นกันว่าในทุกสถานการณ์ของชีวิตพระเยซูเจ้าเป็นบุคคลแรก ที่อยู่ในความคิดและในชีวิตเราหรือไม่

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.2015 เราแต่ละคนมีความเชื่อ และความวางใจในพระเจ้า มากพอแล้วหรือ? พระองค์เป็นบุคคลแรก ที่เราคิดถึงเมื่อมรสุมชีวิต อุบัติขึ้นหรือเปล่า? บางคนอาจเคยได้ยิน คาพูดจากญาติพี่น้อง ของผู้ป่วยที่หมดทางรักษาว่า “สิ่งที่เราสามารถทาได้ เวลานี้คือ อธิษฐานภาวนา” ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว เราจะพบว่าคาพูดนี้เป็นคาพูดของคนที่ขาดความเชื่อที่แท้จริง ซึ่งมองพระเจ้า เป็นที่พึ่งสุดท้ายเท่านั้นเอง คล้าย ๆ กับท่าทีของบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้า ขณะที่พวกเขาเผชิญหน้ากับพายุกลาง ทะเลสาบกาลิลี พระเยซูเจ้าทรงปรารถนาที่จะสอนเราว่าท่าทีของเราต้องไม่ใช่แบบนี้ การอธิษฐานภาวนาของเราเพื่อ วอนขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจาวันและในทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แน่นอน เราต้องพยายามช่วยเหลือตัวเองโดยใช้วิธีการและความสามารถตามประสามนุษย์ของเราด้วย แต่ไม่ใช่ด้วยความคิดที่ว่าเราจะหันไปพึ่งความช่วยเหลือจากพระเจ้าก็ต่อเมื่อความพยายามสุดท้ายของเราล้มเหลว แล้วเท่านั้น พระเจ้าไม่ควรเป็นบุคคลสุดท้ายที่เราคิดถึงเมื่อมรสุมพัดโหมกระหน่าเข้ามายังชีวิตของเรา เราไม่ควรรอ จนกระทั่งเหตุการณ์เลวร้ายเกินแก้ไขเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงอธิษฐานภาวนาวอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์ เด็ก ๆ จะไปหาบิดามารดาของเขาไม่เพียงแค่เวลาที่เขาประสบความยากลาบากเท่านั้น แต่จะไปหาเพื่อขออาหาร กินเวลาที่หิว จะขอคาปลอบโยนเวลาที่ได้รับบาดเจ็บหรือถูกรังแก เขาต้องการความรักและความสนใจจากบิดามารดา ตลอดเวลา

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 23 มิถุนายน ค.ศ.2015 ไม่ว่าเราจะมีอายุ มากน้อยแค่ไหน เราทุกคนล้วนเป็น ลูกของพระเจ้า พระเจ้าทรงเป็น บิดาที่รัก และ สนใจเรา มากกว่าบิดาทั้งหลายบนโลกนี้ พระองค์ทรงปรารถนา ให้เราเข้ามาหาพระองค์ ในทุกสถานการณ์ของชีวิต ไม่เพียงแค่ในยามที่ เราประสบปัญหา หรือเป็นทุกข์เดือดร้อนเท่านั้น พระเจ้าทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและเจ้านาย ไม่เพียงแค่ของจักรวาลเท่านั้น แต่ของเราแต่ละคนด้วย พระองค์ทรงสร้างเราขึ้นมาและทรงดูแลเอาใจใส่เรา ถ้าเรามีความเชื่อและความวางใจในพระองค์อย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น บุคคลแรกที่เราควรนึกถึง ทั้งในยามสุขและยามทุกข์คือ พระเจ้า พระบิดาของเรา ในยามที่สิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับตัวเรา เราประสบความสาเร็จและมีความสุข เราควรสรรเสริญและขอบพระคุณ พระเจ้า ในยามที่มรสุมชีวิตประดังเข้ามาหาเรา เราควรหันเข้าหาพระองค์เพื่อขอความช่วยเหลือ พร้อมกับเชื่อมั่นและ วางใจในความรักอันหาขอบเขตไม่ได้และไร้เงื่อนไขของพระองค์ ให้คาว่า “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย” อยู่ที่ริมฝีปากของเราทุกครั้งที่มีอะไรเกิดขึ้นกับตัวเรา

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 24 มิถุนายน ค.ศ.2015 ปรกติแล้วเมื่อเราตกอยู่ ในสถานการณ์ที่ ยากลาบากและเดือดร้อน เราจะหันไปหาพระเจ้า เพื่อวอนขอพระองค์ ให้ทรงช่วยเรา แน่นอน การกระทาเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง แต่หลายครั้งเราไม่ได้นึก ถึงพระองค์ในยาม ที่เรามีความสุขเราลืม ที่จะขอบพระคุณพระองค์ "ทาไม?" เหตุผลที่เป็นไปได้ประการหนึ่งคือ บางคนเข้าใจว่า โดยเบื้องต้นแล้วการอธิษฐานภาวนา คือการวอนขอสิ่งที่ เราต้องการจากพระเจ้า ดังนั้น ถ้าเราไม่ต้องการความช่วยเหลือเราก็ไม่จาเป็นต้องหันมาพึ่งพระเจ้าหรือมาสนทนากับ พระองค์ อันที่จริง จุดประสงค์ของการอธิษฐานภาวนาของเรา ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อวอนขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า เท่านั้น แต่เพื่อสรรเสริญพระองค์สาหรับความดีและความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และเพื่อขอบพระคุณพระองค์สาหรับ ความรัก และพระพรต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงโปรยปรายมายังเราแต่ละคน พระเจ้าทรงปรารถนาให้เรามาหาพระองค์ไม่เพียงแค่เวลาที่เราเป็นทุกข์เดือดร้อนและต้องการความ ช่วยเหลือเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนี้ พระองค์คงไม่ต่างจากหมอคนหนึ่งที่เราไปหาเวลาที่เราเจ็บไข้ได้ป่วย แต่พระองค์ ทรงต้องการให้เรามาหาพระองค์ตลอดเวลาไม่ว่าจะยามสุขหรือยามทุกข์ พระองค์ทรงต้องการให้เรามองพระองค์ใน ฐานะบิดาผู้เปี่ยมด้วยความรักและเมตตา เราสามารถเข้าหาพระองค์ได้ตลอดเวลา และ พูดคุยกับพระองค์ได้ทุกเรื่อง

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้ อคิดยามเช้ า วันพฤหัสบดี ที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.2015 ชายตาบอดคนหนึ่ง ชื่อ “บารทิเมอัส” ได้ใช้ตลอดชีวิตที่ผา่ นมา อยูใ่ นโลกแห่งความมืดมน ต้องอาศัยการขอทาน เพื่อเอาชีวิตรอดไปวัน ๆ เมื่อได้ยินว่าพระเยซูเจ้า กาลังเสด็จผ่านมา จึงตะโกนเสี ยงดังว่า “พระโอรสของกษัตริย์ดาวิดเจ้ าข้ า โปรดเมตตาข้ าพเจ้ าเถิด” (มก 10:48) ท่านไม่นึกถึงอะไรอื่น นอกจากความเป็ นไปได้ ที่พระเยซูเจ้าจะทรงรักษาท่าน ให้หายจากตาบอด และ พระเยซูเจ้าก็ทรงทาเช่นนั้นจริ ง ๆ ในยามที่บารทิเมอัสเป็ นทุกข์เดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือ ท่านหันมาหาพระเยซูเจ้า หลังจากที่ท่านได้รับสิ่ งที่ท่านต้องการแล้ว ท่านได้เดินทางติดตามพระเยซูเจ้าบนหนทางไปสู่กรุ งเยรู ซาเล็ม ซึ่ งที่นนั่ พระองค์จะทรงรับทรมาน และสิ้ นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปมวลมนุษย์ นัน่ หมายความว่า ท่านได้ กลายเป็ นศิษย์คนหนึ่งของพระเยซูเจ้า การหายจากตาบอดเป็ นเสมือนจุดเริ่ มต้นของการเดินทางที่ยาวไกลของท่าน ในการติดตามและเรี ยนรู ้จากพระเยซูเจ้า ท่านได้มอบชีวิตที่เหลืออยูท่ ้ งั หมดให้กบั พระองค์ ในฐานะศิษย์คนหนึ่ง ของพระเยซูเจ้า เราต้องตระหนักถึงบทบาทและความสาคัญของพระองค์ในชีวิตเรา ผ่านทางศีลล้างบาปพระองค์ทรงนาเรา ออกจากโลกแห่งความมืดมนของบาปมาสู่โลกแห่งความสว่างซึ่ งเต็มไปด้วยความรักและพระพรของพระเจ้า ให้เรา ใช้ชีวิตที่เหลืออยูข่ องเราด้วยการขอบพระคุณพระองค์และติดตามพระองค์ไปบนเส้นทางแห่งการรับใช้สายนี้ อย่างซื่ อสัตย์และเพียรทนจนถึงที่สุด ขอพระเจ้ าอวยพรพีน่ ้ องทุกคน พระสั งฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวสิ ั ย ประมุขสั งฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 26 มิถุนายน ค.ศ.2015 เมื่อเรารับศีลล้างบาป โดยผ่านทางพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธี พระองค์ได้ทรงวางผ้าขาวบนตัวเรา เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป เราเป็นประชากรใหม่ของพระเจ้า และมีชีวิตใหม่ที่มีเสรีภาพ อย่างแท้จริง พระเยซูเจ้าทรงปรารถนา ให้เราทุกคนเป็นอิสระ หลุดพ้นจากพันธนาการ หรืออุปสรรคที่ขัดขวาง ไม่ให้เราเป็นศิษย์ที่สมบูรณ์ ของพระองค์ อย่างไรก็ตาม เราต้องไม่ลืมว่าเสรีภาพเป็นบางสิ่งที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน เราดาเนินชีวิตอยู่ในสังคมที่มี เสรีภาพ แต่การใช้เสรีภาพเพื่อสนองความต้องการฝ่ายเนื้อหนังของตนเองโดยไม่คานึงถึงสิทธิและเสรีภาพของคนอื่น ไม่ใช่เป็นเสรีภาพแบบที่พระเยซูเจ้าทรงนามาให้เราเสรีภาพที่พระเยซูเจ้าทรงนาให้เราเป็น “เสรีภาพที่มีไว้เพื่อรัก” พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงบังคับเราให้เป็นศิษย์ของพระองค์ หรือให้อุทิศตนเพื่อพระองค์ หรือให้รักพระองค์เหนือทุกคน และเหนือทุกสิ่ง แต่พระองค์ทรงให้เสรีภาพในการเลือกแก่เราเพราะว่าความรักที่ปราศจากเสรีภาพ หรือถูกบีบบังคับ โดยวิธีใดก็ตามไม่ใช่ความรักที่แท้จริง

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 27 มิถุนายน ค.ศ.2015 รูปแม่พระนิจจานุเคราะห์ เป็นรูปที่บันทึกถึงความเชื่อ ความศรัทธาของคริสตชนที่มีต่อ พระเยซูเจ้าและแม่พระ จากการราพึงภาวนาต่อพระรูป มีมิติใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะสรุปให้เข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพระรูปดังนี้ 1. พระนางมารีย์ มารดาพรหมจารีย์แห่งพระผู้ไถ่ ในรูปแม่พระนิจจานุเคราะห์ "แม่พระกับพระกุมาร" เป็นรูปหลัก เป็นการยืนยันว่าพระกุมารนี้ เป็นมนุษย์แท้และเป็นพระเจ้าแท้เช่นกัน พระองค์เป็นผู้ที่พระเจ้าส่งมาไถ่บาปมนุษย์ ตามที่ได้สัญญาไว้ เนื่องจากพระเจ้าทรง สร้างมนุษย์มาเป็นอมตะ ทรงสร้างมนุษย์มา ตามพระฉายาของพระธรรมชาติพระองค์ เพราะความอิจฉาของปีศาจ (ล่อลวงให้มนุษย์ทาบาป) ความตายจึงเข้ามาในโลก ผู้ที่อยู่ข้างปีศาจก็จะประสบความตาย (ปชญ.2.23) ข้อความต่าง ๆ ในพระวรสารที่ยืนยันถึง "พระนางมารีย์ เป็นมารดาของพระผู้ไถ่ที่พระเจ้าสัญญาไว้" มีอยู่หลายตอน เช่น เทวทูตแจ้งสารแก่ พระนางมารีย์ว่าจะเป็นมารดาพระเจ้า (ลก.1.26-38) นางเอลิซาเบธและยอห์น บัปติสต์ ได้ยืนยันว่า เป็นมารดาพระเจ้า (ลก.1.39-56) 2. ทูตสวรรค์มีหน้าที่แจ้งสาร ทูตสวรรค์ มีหน้าที่เป็นผู้ถือสารจากพระเจ้า ทูตสวรรค์คาเบรียลและมีคาแอลที่ปรากฏในรูปนั้น เพื่อมาแจ้ง ให้พระเยซูทราบว่าจะต้องตายอย่างไร "หากพระองค์จะไถ่บาปมนุษยชาติจะต้องผ่านการทรมานและความตายอย่างนี้ (แสดงในรูปทูตสวรรค์แบกเครื่องมือทรมาน) จะรับได้ไหม?" และพระเยซูรู้สึกตกใจกลัว


3. รองเท้าหลุด ภาพรองเท้าหลุดนี้ มองได้สองประเด็นคือ ประเด็นแรกพระเยซูตกใจ ตอนหดเท้าทาให้รองเท้าหลุดได้ หรือ อาจจะวิ่งเข้าหาแม่เมื่อเห็นทูตสวรรค์สองท่านนาเครื่องทรมานมา ทาให้สายรองเท้าขาด หรืออีกประเด็นหนึ่งคือ พระ เยซูได้สลัดรองเท้าออกข้างหนึ่ง เป็นการตอบรับแผนไถ่กู้ของพระเจ้าที่ทูตสวรรค์ได้เสนอมา ความคิดนี้ได้จากแนวคิด ที่มีอยู่ในหนังสือพระธรรมเก่าเรื่องรูธ ซึ่งกล่าวถึง "การวางรองเท้าลงบนสิ่งใดก็เป็นการประกาศว่าตนเป็นเจ้าของสิ่ง นั้น" การที่รองเท้าหลุดบ่งบอกว่าพระเยซูได้ตกลงน้อมรับแผนการของพระเจ้าตามที่ทูต สวรรค์ของพระเจ้าเสนอมา บัดนี้แผนการของพระเจ้าได้กลายเป็นแผนการของพระเยซูแล้ว 4. ใบหน้าที่โศกเศร้า ใบหน้าอันเศร้าโศกของพระนางมารีย์ บ่งบอกถึงความทุกข์ระทมที่อยู่ภายในหัวใจของแม่ เมื่อทูตสวรรค์มา แจ้งให้ทราบว่าพระเยซูจะต้องตายอย่างไร และพระนางมารีย์ก็รับรู้แผนการของพระเจ้านี้ด้วย จึงเก็บความรู้สึก เจ็บปวดนี้ไว้ในใจแต่ผู้เดียว ความรู้สึกนี้ได้สะท้อนจากการทานายของสิเมโอนว่า "หัวใจของนางจะโศกเศร้าทุกข์ระทม เหมือนกับมีดาบมาทิ่มแทงดวงใจของนาง" ความเจ็บปวดเพิ่มมากยิ่งกว่านั้น เมื่อคาทานายกลายเป็นความจริง พระ เยซูถูกจับ ถูกโบยตี เยาะเย้ย ทรมาน ที่สุดต้องแบกกางเขนสู่แดนประหาร และสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนอย่างช้า ๆ ต่อหน้าต่อตา หัวใจแทบจะแหลกสลาย เมื่อมือทั้งสองซึ่งเคยอุ้มลูกที่น่ารักนั้น ต้องมาอุ้มร่างอันไร้วิญญาณของลูก ตอนนี้เองแสดงถึงสัจธรรมของความชั่วร้ายและความทุกข์ทรมานที่เกิดแก่ มนุษยชาติ 5. การกลับคืนชีพ จะเห็นว่าใบหน้าของพระกุมารนั้นค่อนข้างจะเป็นผู้ใหญ่ หน้าตาไม่เศร้าโศก เป็นการแสดงว่าพระเยซูผู้ สิ้นพระชนม์นั้น บัดนี้กลับเป็นขึ้นมา มีชีวิตแบบใหม่ เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าพระทรมานผ่านไปแล้วคือทูตสวรรค์ทั้ง สองที่ถือ เครื่องพันธนาการนั้นอยู่หลังฉาก กลายเป็นอดีตไปแล้ว และพระเยซูไม่ได้มองเครื่องทรมานด้วย แต่กาลัง สนใจมองอะไรที่อยู่ข้างหน้า ความหมายของรูปกางเขนมองได้หลายอย่าง แบบแรก กางเขนที่ทูตสวรรค์กาเบรียลถือ อยู่นั้น หมายถึงกางเขนแห่งพระทรมานและความตาย แบบที่สอง คริสตชนออโธดอกซ์ รัสเซีย มองดูกางเขนอัน เดียวกันนี้เป็นกางเขนชัย พระเยซูมีชัยชนะต่อความตายแล้ว และท่าทีของทูตสวรรค์ทั้งสองที่อยู่ในรูป ไม่ได้แสดงว่า กาลังนาข่าว "พระทรมานละความตาย" มาให้พระเยซู ดังนั้น กางเขนในรูปนี้จึงมีความหมายว่าพระเยซูได้ กลับคืนชีพแล้ว 6. เสื้อสีแดง (จักรพรรดิณี) เสื้อสีแดงเป็นสีของกษัตริย์หรือราชวงศ์ มีบางท่านให้ความเห็นว่า สีแดงหมายถึงพรหมจารีย์ ดังนั้น เราจึง เรียกรูปนี้ว่า "พระนางมารีย์ พรหมจารีย์เป็นจักรพรรดิณี" ชื่อได้บ่งบอกถึงสถานภาพของพระนางมารีย์ ความยิ่งใหญ่ และความเป็นมารดาพรหมจารีย์


7. มือที่รองรับองค์พระเยซู มือซ้ายของพระนางมารีย์ที่อุ้มชูพระกุมาร ซึ่งเป็นพระเจ้าที่ทั้งสวรรค์และแผ่นดินไม่สามารถจะรองรับ พระองค์ได้ แต่มือของพระนางมารีย์เป็นเหมือนบัลลังก์ที่รองรับพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สามารถช่วยทุกคนที่วอนขอให้ ได้รับความรอดด้วย มือที่อุ้มและรองรับมือของพระกุมารแสดงว่า พระนางมารีย์ให้การสนับสนุนและร่วมมือกับพระ เยซูในการไถ่บาปมนุษย์อย่างเต็ม ที่ สิ่งใดที่เป็นของลูกก็เป็นของแม่ด้วย ลูกต้องไถ่กู้มนุษยชาติด้วยชีวิต และแม่ก็มอบ ชีวิตให้อยู่เคียงข้างลูก ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น พระนางมารีย์อยู่ที่นั้นแล้ว ตั้งแต่พระเยซูเกิดในถ้าเลี้ยงสัตว์...หนีไปอียิปต์ ...ตามหาพระเยซูและพบใน พระวิหาร...เมื่อพระเยซูเจ้าถูกจับ...สิ้นพระชนม์บนกางเขน...แม้ภายหลังจาก ที่พระองค์ เสด็จขึ้นสวรรค์ พระนางมารีย์ยังอยู่เคียงข้างกับบรรดาสาวก ทุกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ นี้ แสดงถึงการรับใช้ อย่างใกล้ชิดของพระนางมารีย์ สังคายนาวาติกันที่ 2 บรรยายถึงแม่พระว่า "พระนางมารีย์ได้อุทิศตนเองรับใช้พระเจ้าและงานของพระบุตรเยี่ยงทาสของ พระองค์..ภายใต้การนาของพระบุตรอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยพระหรรษทานของพระเจ้าผู้สูงสุด" (LG.56) 8. มือที่ชี้ไปทางพระเยซู มือของพระนางมารีย์เป็นมือซึ่ง"ชี้ทางชีวิต" ที่ชี้ไปหาพระเยซู เพราะพระเยซูเป็นหนทาง ความจริงและชีวิต ที่งานเลี้ยงสมรสที่เมืองคานา พระนางมารีย์เรียกคนใช้ของเจ้าภาพมาแล้วชี้ไปทางพระเยซู สั่งว่า "จงทาตามที่เขาสั่ง" (ยน.2.5) จากพระวรสารของนักบุญยอห์น จะเห็นว่างานเลี้ยงที่คานาเกิดขึ้นหลังจากพระเยซูได้เรียกฟิลลิป นาธานา แอล แอนดรู ซีมอน เจมส์และยอห์น ให้มาเป็นศิษย์ของพระองค์...และต่อหน้าพวกเขา พระนางมารีย์แสดงให้พวกเขา รู้ว่า "จงทาตามที่พระเยซูสั่ง" มือที่ชี้ไปทางพระเยซูนั้น ยังบอกกับคนที่อยู่ข้างหน้ารูปนี้ว่า "จงทาตามที่พระเยซูสั่ง" จงเชื่อมั่นในองค์พระเยซูเจ้า 9. ภาวนา ตาของพระนางมารีย์มองไปยังคนที่มาภาวนาต่อหน้าพระรูปนี้ ในเวลาเดียวกันมือขวาก็ชี้ไปทางพระเยซู หมายความว่าแม่พระได้เห็นความต้องการของผู้ที่มาภาวนาต่อหน้ารูปนี้ แล้วนาเสนอให้ลูกที่อยู่ในอ้อมแขน สายตาที่ มองมายังผู้วิงวอนเท่ากับชี้ (ด้วยสายตา) ให้พระเยซูช่วยคนเหล่านั้นด้วย การยกมือขึ้นหรือชี้ไปหาพระเยซู เป็น เครื่องหมายของการภาวนา 10. รูปดาวที่หน้าผาก รูปดาวแปดแฉกอยู่บนหน้าผากของพระนางมารีย์ มีความหมายว่า "ลาแสงเปรียบเหมือนมือของพระเจ้า ที่ อวยพรจากเบื้องบนลงมายังมนุษย์ทุกคน รูปดาวนี้เป็นเครื่องหมายแห่งพระหรรษทานที่โปรยปรายลงมายังพระนางมา รีย์ มารดาพระเจ้า ดาวยังมีความสัมพันธ์กับการบังเกิดมาของพระผู้ไถ่ ซึ่งบรรดาประกาศกได้ประกาศไว้ ดาวได้นา ทางพญาสามองค์และคนเลี้ยงแกะมายังถ้าเลี้ยงสัตว์ที่เบธเลแฮม แต่บัดนี้ พระนางมารีย์เป็นดาวที่นาทางบรรดา สัตบุรุษให้มาพบพระกุมาร


11. สีต่าง ๆ สีเขียวหมายถึงสิ่งมีชีวิต นั่นย่อมหมายถึงพระเจ้าทรงชีวิต สีน้าตาลเป็นสีดิน หมายถึงมนุษย์ คือมนุษย์มา จากดิน ตายแล้วจะกลับกลายเป็นดิน สีแดงเป็นสีที่หมายถึงกษัตริย์หรือราชวงศ์ สีน้าเงินเป็นสีท้องฟ้า หมายถึงความ เป็นเทพ(นักบุญ) คล้ายพระเจ้า แต่ไม่ใช่พระเจ้า จิตรกรจะใช้สีต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย ในรูปแม่ พระนิจจานุเคราะห์ พระเยซูมีสีเขียวหมายถึงพระองค์เป็นพระเจ้าแท้ มีสีน้าตาลหมายถึงพระองค์เป็นมนุษย์แท้ และสี แดงคือพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งสากลโลก ส่วนแม่พระนั้น มีเสื้อคลุมสีน้าเงินหมายถึงมีความเป็นเทพหรือนักบุญ มีสี เขียวหมายถึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระเจ้า คือเป็นมารดาพระเจ้า และสีแดงหมายถึงแม่พระเป็นจักรพรรดิณี สี ทองที่เป็นพื้นภาพและที่ฉายแสงไปบนตัวของทูตสวรรค์ พระนางมารีย์ และองค์พระกุมาร รวมทั้งรัศมีรอบ ๆ ศีรษะ ของพระกุมาร เป็นสีแห่งความรอด คือได้รับการไถ่บาปแล้วโดยการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า...แม้ว่าเราจะ อยู่ในความทุกข์ก็มีความสุขได้ เพราะ "เมื่อท่านถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะเรา จงชื่นชมยินดีเถิด เพราะรางวัลของท่านในสวรรค์นั้นยิ่งใหญ่"

เขียนโดย คุณพ่อศิริชัย เล้ากอบกุล, C.Ss.R


enen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.2015 วันสมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล อัครสาวก นักบุญเปโตรอยู่กับพระเยซูเจ้า ตั้งแต่ทรงประกาศข่าวดีอย่างเปิดเผยครั้งแรก ส่วนนักบุญเปาโลไม่เคยพบพระเยซูเจ้า จนกระทั่งห้าปีหรือมากกว่านั้น หลังจากการสิ้นพระชนม์ และ การกลับคืน พระชนมชีพของพระองค์ ท่านเดินทางใกล้ถึงเมืองดามัสกัส เพื่อไปจับกุมพี่น้องคริสตชน ทันใดนั้นมีแสงสว่างจากท้องฟ้า ล้อมรอบตัวท่านไว้ ท่านล้มลงที่พื้นดิน และได้ยินเสียงกล่าวว่า “เซาโล เซาโล ท่านเบียดเบียนเราทาไม” (กจ 9:4) นักบุญเปาโลซึ่งตอนนั้นมีชื่อว่าเซาโลจึงถามว่า “พระเจ้าข้า พระองค์คือใคร” พระองค์ตรัสว่า “เราคือเยซู ซึ่งท่านกาลังเบียดเบียน” (กจ 9:5) นักบุญเปโตรเป็นคนแรกที่ยอมรับว่าท่านอ่อนแอเมื่อได้ปฏิเสธว่าไม่รู้จักพระเยซูเจ้าถึงสามครั้ง ท่านร้องไห้ อย่างขมขื่น นักบุญเปาโลเป็นคนเข้มแข็ง แม้ว่าจะโผงผางไปบ้างก็ตามท่านเป็นคนที่มั่นใจในตนเองจนกระทั่ง ให้เครดิตแก่ตัวท่านเองว่าเป็น “อัครสาวก” คนหนึ่ง แม้ว่าท่านไม่อยู่ในสมัยที่พระเยซูเจ้ายังมีพระชนมชีพอยู่ก็ตาม ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างอัครสาวกผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองคือ พวกท่านอยู่คนละฝ่ายในความขัดแย้งที่ เกิดขึ้นในพระศาสนจักรสมัยนั้น ชาวยิวที่กลับใจเป็นคริสตชนส่วนใหญ่เชื่อว่าเพื่อเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า ประชาชน ต้องเข้าพิธีสุหนัตและถือตามบทบัญญัติของโมเสส พวกเขาคิดว่ากลุ่มคริสตชนเป็นกลุ่มชนเล็ก ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ศาสนายิว ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงเชื่อว่าใครก็ตามที่อยากจะเป็นคริสตชนต้องกลายมาเป็นชาวยิวก่อน นั่นคือ ต้องเข้า พิธีสุหนัตเสียก่อน


นักบุญเปาโลต่อต้านแนวความคิดนี้อย่างแข็งขัน ท่านยืนกรานว่าพระเยซูเจ้าได้ทาสิ่งใหม่ ท่านเข้าใจ ความหมายของพระดารัสของพระองค์ที่ว่า “เราไม่สามารถใส่เหล้าองุ่นใหม่ในถุงหนังเก่าได้” (เทียบ มธ 9:17) ท่านสอนว่าโดยการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและการกลับคืนพระชนมชีพ พระเยซูเจ้าทรงปลดปล่อยเราทุก คนให้เป็นอิสระจากข้อบังคับของธรรมบัญญัติเก่า เวลานี้เรามีพันธสัญญาใหม่ในพระโลหิตของพระองค์ ท่านยังเชื่ออีก ว่าพระศาสนจักรเปิดสาหรับชาวยิว และคนต่างศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการแบ่งแยก ในโอกาสวันสมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล อัครสาวกให้เราพยายามเลียนแบบอย่างชีวิตของพวกท่าน ให้พระเยซูเจ้าเป็นศูนย์กลางชีวิตของเราเหมือนที่พระองค์ทรงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างสาหรับท่านทั้งสองพยายามช่วยเหลือ และทาหน้าที่ของเราในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของพระศาสนจักรอย่างดีที่สุดเท่าที่เราจะสามารถทาได้

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.2015 ความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่าง นักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล ในสมัยเริ่มแรก เนื่องจาก ชาวยิวที่กลับใจเป็นคริสตชนส่วนใหญ่ เชื่อว่าเพื่อเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า ประชาชนต้องเข้าพิธีสุหนัต และถือตามบทบัญญัติของโมเสส นักบุญเปาโลต่อต้านแนวความคิดนี้ เพราะพระศาสนจักรต้องเปิดสาหรับ ชาวยิวและคนต่างศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการแบ่งแยก นักบุญเปโตรไม่ได้ยืนยันถึงความจริง และ ความถูกต้องตามความคิดของนักบุญเปาโล แต่พยายามที่จะประนีประนอม กับกลุ่มคริสตชนที่กลับใจ มาจากศาสนายิวกลุ่มนี้ ต่อมาพระศาสนจักรได้ทาสังคายนาครั้งแรกที่กรุงเยรูซาเล็มเพื่อแก้ไขปัญหาขัดแย้งนี้ (เทียบ กจ 15:1-35) ก่อนที่สังคายนาจะเริ่มขึ้น นักบุญเปโตรได้รับนิมิต ซึ่งทาให้ท่านมั่นใจว่าความคิดของนักบุญเปาโลนั้นถูกต้อง ขณะที่ท่านกาลังอธิษฐานภาวนาอยู่ที่เมืองยัฟฟา ท่านเข้าสู่ภวังค์และเห็นนิมิต สิ่งหนึ่งคล้ายผ้าผืนใหญ่ ถูกมัดไว้ ทั้งสี่มุม กาลังถูกหย่อนลงจากท้องฟ้ามาที่ท่าน เมื่อท่านจ้องดูสิ่งนั้นอย่างตั้งใจ ท่านเห็นนกในท้องฟ้า สัตว์สี่เท้า สัตว์ป่า และ สัตว์เลื้อยคลาน ท่านได้ยินเสียงหนึ่งกล่าวกับท่านว่า “เปโตรเอ๋ย จงลุกขึ้นฆ่าสัตว์เหล่านี้กินซิ” ท่านทูลตอบว่า “ทาไม่ได้พระเจ้าข้า เพราะสิ่งมีมลทินและไม่สะอาด ไม่เคยเข้าปากข้าพเจ้าเลย” เสียงจึงตอบจากท้องฟ้าเป็นครั้งที่สองว่า “สิ่งที่พระเจ้าทรงชาระให้สะอาดแล้วท่านอย่าเรียกว่ามีมลทินเลย”


เสียงจากท้องฟ้านี้เกิดขึ้นถึงสามครั้งแล้วทุกสิ่งถูกดึงขึ้นไปบนท้องฟ้า (เทียบ กจ 10:9-16) แม้ว่านักบุญเป โตรและนักบุญเปาโลจะมีความแตกต่างกันหลายอย่างและความคิดเห็นขัดแย้งกันหลายเรื่อง แต่สิ่งที่รวมอัครสาวกทั้ง สองเข้าด้วยกันคือความรักยิ่งใหญ่ที่ท่านทั้งสองมีต่อพระเยซูเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์ ความจริงอันนี้สาคัญ สาหรับเราด้วย แม้ว่าเราแต่ละคนมีความแตกต่างกันหลายอย่าง เราต้องจาไว้เสมอคือ เราต้องมุ่งความสนใจของเรา ไปที่พระเยซูเจ้าและพระศาสนจักรซึ่งเป็นของประทานล้าค่าสาหรับเรา เป็นพันธสัญญาใหม่ที่คงอยู่ถาวรตลอดไป ถ้าเราต้องถกเถียงเพราะความคิดเห็นแตกต่างกันเราควรถามตัวเองเสมอว่า “ท่าทีหรือแนวความคิดของเราช่วยเราและคนอื่นให้รักพระเยซูเจ้าและพระศาสนจักรมากขึ้นหรือไม่?”

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.2015 ไม่มีสิ่งมีชีวิตใด ๆ บนโลกนี้ สามารถหลีกเลี่ยงความตายได้ เป็นความจริงที่เราทุกคนต้องเผชิญหน้า ไม่วันใดวันหนึ่ง แต่ในฐานะคริสตชน เรารู้และมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็น “เจ้าแห่งชีวิต” โดยทางการสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพ พระองค์ได้ทรงทาลายความตาย และทรงปฏิรูปชีวิตของเราที่สูญเสียไป เพราะบาปให้กลับฟื้นคืนมาใหม่ พระเยซูเจ้าทรงเปี่ยมด้วยอานาจใน คาพูดและการกระทา ยิ่งกว่านั้นพระองค์ยังทรงไวต่อความต้องการของคนอื่น และเปี่ยมด้วยความเห็นอกเห็นใจและเมตตาสงสาร อีกด้วย เมื่อพระเยซูเจ้า “ทรงเห็นคนหามศพออกมา” (ลก 7:12) จากเมืองนาอิน พระองค์ทรงตระหนักดีว่าเวลาที่ แสนยากลาบากสาหรับหญิงม่ายคนนี้ไม่ได้อยู่ที่ช่วงเวลาในการฝังศพบุตรชายของนาง แต่เป็นช่วงเวลาที่ต้องกลับไปยัง บ้านที่ว่างเปล่าเพียงลาพัง เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเห็นนาง “ก็ทรงสงสาร” (ลก 7:13) อย่างจับใจ จึงตรัสกับนางว่า “อย่าร้องไห้ไปเลย” (ลก 7:13) พระเยซูเจ้า “ทรงแตะแคร่หามศพ” (ลก 7:14) และทรงสั่งร่างไร้ลมหายใจที่นอน แน่นิ่งอยู่บนนั้นให้ลุกขึ้น “หนุ่มเอ๋ย เราบอกเจ้าว่า จงลุกขึ้นเถิด” (ลก 7:14) เด็กหนุ่มคนนั้นลุกขึ้นนั่งทันที และ เริ่มพูด จุดสูงสุดของเหตุการณ์ยิ่งใหญ่นี้อยู่ในช่วงเวลาที่พระองค์ “ทรงมอบเขาให้แก่มารดา” (ลก 7:15) ในชีวิตของเรานั้น บางครั้งความเมตตาสงสารอย่างเดียวถือว่าไม่เพียงพอ เราต้องพยายามทาอะไรบางอย่าง เต็มกาลังความสามารถของเราเพื่อช่วยให้เขาหลุดพ้นจากสภาพที่น่าสงสารนั้นด้วย ชาวเมืองนาอิม “ต่างมีความกลัวและถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า กล่าวว่า ‘ประกาศกยิ่งใหญ่ได้เกิดขึ้นในหมู่เรา พระเจ้าได้เสด็จมาเยี่ยมประชากรของพระองค์’” (ลก 7:16) นี่คือแบบอย่างที่ดีแก่เราในการสรรเสริญและขอบพระคุณพระเจ้าสาหรับความเมตตากรุณาและความรักที่ พระองค์ทรงมอบให้เราผ่านทางพระบุตรสุดที่รักของพระองค์อย่างไม่ขาดสายและไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ทรงแสดงความเป็น เจ้าแห่งชีวิตของเราด้วยการมอบชีวิตพระองค์เองเป็นสินไถ่แทนเราเพื่อเราจะได้มีชีวิตนิรันดรโดยทางพระองค์ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.