ข้อคิดยามเช้า ประจำเดือน สิงหาคม 2015

Page 1


enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.2015 ฉลองนักบุญอัลฟอนโซ มารีย์ เด ลิกวอรี (ค.ศ.1693-1787) พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ผู้สถาปนาคณะพระมหาไถ่ นักบุญอัลฟอนโซ เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1696 ในตระกูลชั้นสูง ที่เมืองเนเปิล ประเทศอิตาลี ท่านศึกษาและสอบผ่าน ทางกฏหมายทั้งทาง บ้านเมืองและกฏหมายพระศาสนจักร เมื่ออายุได้เพียง 16 ปีเท่านั้น ท่านได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1726 เนื่องจากได้เห็นสภาพที่น่าสงสาร ของคนชนบทรอบเมืองเนเปิล ท่านได้สถาปนาคณะนักบวชขึ้นชื่อว่า “คณะพระมหาไถ่” โดยมีเจตจานงที่จะเลียนแบบ องค์พระผู้ไถ่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเทศน์สั่งสอน ประกาศพระวรสารแก่คนยากจน โดยเฉพาะผู้ที่ถูกทอดทิ้งมากที่สุด พระสันตะปาปาทรงรับรองพระวินัยของคณะพระมหาไถ่อย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1732 ท่านได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราชเมื่ออายุ 66 ปี ในค.ศ.1762 ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1787 ท่านได้สิ้นใจอย่าง ศักดิ์สิทธิ์ เมื่ออายุได้ 91 ปี ตลอดชีวิตของท่านได้เขียนหนังสือรวม 111 เล่ม งานเขียนของท่านได้รับการแปลเป็น ภาษาต่าง ๆ มากกว่า 60 ภาษา รวมทั้งภาษาไทยด้วย เช่น บทเฝูาศีลมหาสนิท สิริมงคลของแม่พระ ความภักดีต่อ พระคริสตเจ้า พระมหาทรมานของพระคริสตเจ้า เตรียมเผชิญความตาย เป็นต้น เป็นงานเขียนซึ่งใช้ถ้อยคาธรรมดา แต่ลึกซึ้ง กินใจ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสาหรับชีวิตฝุายจิตของผู้คนเป็นจานวนมาก การเป็นพระสงฆ์ เป็นพระสังฆราช เป็นนักเทศน์ เป็นผู้ฟังแก้บาป เป็นนักประพันธ์ ฯลฯ ในชีวิตของท่าน เป็นชีวิตแห่งการภาวนา การพลีกรรม ความสุภาพถ่อมตน และความร้อนรนในการช่วยเหลือทุกวิญญาณอย่างถึงที่สุด ซึ่งเป็นแบบอย่างบันดาล ใจให้ผู้คนมากมายเดินตาม


- ปี ค.ศ. 1816 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบุญราศรี - ปี ค.ศ. 1839 ท่านได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นนักบุญ - ปี ค.ศ. 1871 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร - ปี ค.ศ.1950 พระศาสนจักรได้มอบเกียรติแด่ท่านเป็นองค์อุปภัมภ์ของผู้ฟังแก้บาป และนักเทวศาสตร์ ศีลธรรมปัจจุบัน คณะพระมหาไถ่ มีสมาชิกมากกว่า 6,000 คนทางานใน 77 ประเทศทั่วโลก คณะพระมหาไถ่ได้เดินทางมาทางานในประเทศไทยในปี ค.ศ.1948 โดยเริ่มทางานที่บ้านช้างมิ่ง จ.สกลนคร ต่อมาได้ดูแลสังฆมณฑลอุดรธานีในปัจจุบัน ได้ทางานในสังฆมณฑลต่าง ๆ คือ กรุงเทพฯ จันทบุรี เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุบลราชธานี และอุดรธานี รวมทั้งการเทศน์อบรมจิตใจทั่วประเทศ ขอให้เราภาวนาเพื่อสมาชิกของคณะ พระมหาไถ่จะได้ทางานของพระเจ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ชายหนุ่มทั้งหลายได้ยินเสียงเรียกของพระเจ้า เข้ามารับ การฝึกอบรมให้เป็นสมาชิกในคณะพระมหาไถ่ เพื่อที่เขาจะได้เป็นเหมือนผู้ตั้งคณะ คือ นักบุญอัลฟอนโซ มารีย์ เด ลิกวอรี นักบุญผู้ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ในการนาวิญญาณผู้คนมาสู่พระเจ้า

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.2015 ธรรมทูตคนหนึ่ง ที่ทางานในประเทศอินเดีย มีโอกาสไปเยี่ยม เพื่อนธรรมทูตคณะเดียวกัน ที่ทางานในประเทศจีน เพื่อนได้พาเขาไปเที่ยวชม เมืองสาคัญและสวยงาม ของประเทศจีน เขารู้สึกทึ่งในความเจริญ และการพัฒนาที่รวดเร็ว ของประเทศนี้มาก เมื่อกลับมาประเทศอินเดีย เขาได้เล่าให้เพื่อนร่วมงานฟังถึงความประทับใจ และชี้ให้เห็นว่าประเทศจีนดีกว่า ประเทศอินเดีย เขาให้เหตุผลว่า “จริงอยู่ ประเทศจีนปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ แต่ประชาชนที่นั่นอยู่ดีกินดี เศรษฐกิจนับวันยิ่งดีขึ้นเรื่อย ๆ อีกไม่นานจะกลายเป็นมหาอานาจทางเศรษฐกิจหมายเลขหนึ่งของโลก แซงหน้าประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งต่างจากประเทศอินเดียที่ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตย สภาพเศรษฐกิจกลับแย่ลงและประชาชนส่วนใหญ่ยากจน คนรวยจริง ๆ มีเพียงแค่หยิบมือเท่านั้น เพราะฉะนั้น ระบบคอมมิวนิสต์ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดเราไม่ควรต่อต้านระบบการปกครองนี้” เพื่อนธรรมทูตอีกคนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับความคิดของเขาจึงพูดกับเขาว่า “ทาไมคุณพูดอย่างนี?้ สมมุติว่าพวกเราขังคุณไว้ในคุก ให้อาหารและเครื่องดื่มทุกอย่างที่คุณต้องการคุณยังอยากอยู่ในคุกต่อไปอีกไหม?” ธรรมทูตคนนั้นเงียบและเริ่มเข้าใจว่ายังมีบางสิ่งที่สาคัญมากกว่าอาหารฝุายกาย สิ่งนั้นคือ เสรีภาพ ซึ่งเป็น อาหารฝุายจิตที่จาเป็นสาหรับมนุษย์ ชาวอิสราเอลในบทอ่านแรกของวันอาทิตย์นี้มีความคิดไม่ต่างจากธรรมทูตที่ไป พักร้อนในประเทศจีนคนนั้น พวกเขาปล่อยให้ความต้องการอาหารฝุายกายครอบงาจนมองข้าม “เสรีภาพ” ซึ่งเป็น อาหารฝุายจิตที่พวกเขาเพิ่งได้รับจากพระเจ้า พวกเขาต่อว่าโมเสสและอาโรน ว่า “พระหัตถ์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าประหารพวกเราในแผ่นดินอียิปต์เมื่อนั่งอยู่รอบหม้อเนื้อและกินอิ่ม ยังดีกว่าที่ท่านพาพวกเราออกมาในถิ่นทุรกันดารนี้เพื่อให้พวกเราทุกคนอดตาย” (อพย 16:3)


ความหิวโหยทาให้ชาวอิสราเอลอยากกลับไปเป็นทาสในประเทศอียิปต์อีกครั้งหนึ่ง มากกว่าการมีเสรีภาพใน ถิ่นทุรกันดาร สาหรับพวกเขาการเป็นทาสพร้อมกับอาหารดี ๆ มีค่ามากกว่าเสรีภาพที่มาพร้อมกับความอดอยาก มุมมองนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับมุมมองของพระเยซูเจ้า ไม่ได้หมายความว่าพระองค์มองข้ามความสาคัญของอาหาร ฝุายกายเพราะทั้งสองประการต้องมีควบคู่กันไปจึงจะเกิดความสมดุลในชีวิต สาหรับพระองค์ อาหารฝุายจิตมี ความสาคัญมากกว่า พระองค์ตรัสว่า “มนุษย์มิได้ดารงชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น แต่ดารงชีวิตด้วยพระวาจาทุกคาที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า” (มธ 4:4) และอีกตอนหนึ่งว่า “อาหารของเราคือการทาตามพระประสงค์ของพระผู้ทรงส่งเรามา และการประกอบภารกิจของพระองค์ให้สาเร็จลุล่วงไป” (ยน 4:34) การทวีขนมปังเลี้ยงประชาชนผู้หิวโหยของพระองค์นั้นเพื่อเป็นเครื่องหมายที่ชี้ถึงอาหารฝุายจิตที่สูงส่งกว่า ซึ่งพระองค์กาลังจัดเตรียมไว้สาหรับมนุษย์ทุกคน

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 3 สิงหาคม ค.ศ.2015 ประชาชนไม่เข้าใจความหมาย ของอัศจรรย์ที่พระองค์ ได้ทรงกระทา พวกเขาร้องหาพระองค์เพราะ ต้องการอาหารจากพระองค์อีก พวกเขาต้องการแต่งตั้งพระองค์ เป็นกษัตริย์เพื่อท้องของพวกเขา จะอิ่มตลอดเวลา พวกเขาทูลพระองค์ว่า “นายขอรับ โปรดให้ขนมปังนี้ แก่พวกเราเสมอเถิด” (ยน 6:34) พระเยซูเจ้าทรงตาหนิพวกเขาที่คิดถึงเฉพาะเรื่องปากท้องเท่านั้น “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านแสวงหาเรามิใช่เพราะได้เห็นเครื่องหมายอัศจรรย์ แต่เพราะได้กินขนมปังจนอิ่มอย่าขวนขวายหาอาหารที่กินแล้วเสื่อมสลายไป แต่จงหาอาหารที่คงอยู่และนาชีวิตนิรันดรมาให้ อาหารนี้บุตรแห่งมนุษย์จะประทานให้ท่าน” (ยน 6:26-27) พระองค์ทรงปรารถนาให้ประชาชนเห็นว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อบารุงเลี้ยงชีวิตฝุายจิตของมนุษย์ด้วยอาหารที่ ทาให้หัวใจของพวกเขาอิ่มหนา อาหารที่ไม่มีวันเสื่อมสลาย แต่คงอยู่และให้ชีวิตตลอดไป ปัญหาคือ ขณะที่พระองค์ ตรัสถึงเรื่องฝุายจิต พวกเขาเข้าใจผิดคิดว่าพระองค์กาลังตรัสถึงเรื่องที่เป็นวัตถุ เมื่อพระองค์ทรงพบกับหญิงชาว สะมาเรียที่บ่อน้าของยาโคบพระองค์ทรงพูดกับนางถึงน้าฝุายจิต “ทุกคนที่ดื่มน้านี้จะกระหายอีกแต่ผู้ที่ดื่มน้าซึ่งเราจะให้นั้นจะไม่กระหายอีก น้าที่เราจะให้เขาจะกลายเป็นธารน้าในตัวเขาไหลรินเพื่อชีวิตนิรันดร” (ยน 4:13-14) แต่นางเข้าใจว่าเป็นน้าธรรมดาจึงทูลว่า “นายเจ้าขา โปรดให้น้านั้นแก่ดิฉันบ้าง เพื่อดิฉันจะไม่ต้องกระหายหรือต้องมาตักน้าที่นี่อีก” (ยน 4:15) หลายครั้งความคิดแบบวัตถุนิยมปิดตาของเราไม่ให้มองเห็นความจริงฝุายจิต ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.2015 เราต้องตระหนักว่าลัทธิวัตถุนิยม ซึ่งสัญญาจะให้ความสุขแก่เรา แต่ทิ้งเราให้หิวกระหาย เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุด กาลังครอบงาสังคมของเรา ในปัจจุบันนี้ เราได้ยินพระวาจาของพระเจ้า ซึ่งเป็นความจริงฝุายจิต แต่เราเข้าใจความจริงดังกล่าว ในกรอบของความต้องการ ฝุายกายของเรา วิธีแก้ไขคือ ให้เราเจริญรอยตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า และหลีกเลี่ยงสิ่งเย้ายวนของลัทธิดังกล่าว แม้ว่า เราจะมีอาหารชั้นเลิศรับประทานทุกวันแต่ถ้าเราขาดอาหารฝุายจิต อย่างเช่น ความรักและเสรีภาพ เราจะยังหิว กระหายอีกต่อไป และจิตใจของเราจะมีไม่วันสงบสุข “ทุกคนที่ดื่มน้านี้จะกระหายอีกแต่ผู้ที่ดื่มน้าซึ่งเราจะให้นั้นจะไม่กระหายอีก น้าที่เราจะให้เขาจะกลายเป็นธารน้าในตัวเขา ไหลรินเพื่อชีวิตนิรันดร” (ยน 4:13-14) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 5 สิงหาคม ค.ศ.2015 “ชีวิตของคนเราไม่ขึ้นกับ ทรัพย์สมบัติของเขา” เป็นทัศนคติที่สวนทาง กับทัศนคติของโลก แห่งวัตถุนิยมสมัยปัจจุบัน หลายคนบอกว่า ความมั่งคั่ง เป็นเครื่องหมาย ของความสาเร็จ เพราะทรัพย์สินเงินทองนามาซึ่งความปลอดภัย ความอุ่นใจ ความเคารพนับถือ และ สถานภาพที่สูงส่งใน สังคม แต่พระเยซูเจ้าได้เสนอวิถีทางที่จะนาไปสู่ความสุข และความปลอดภัยที่ยั่งยืนและเที่ยงแท้ พระองค์ต้องการ แทนที่ความโลภในจิตใจมนุษย์ด้วยการแบ่งปันเพราะความโลภทาให้พวกเขามีแต่ความเห็นแก่ตัวนับวันยิ่งมากขึ้น พระเยซูเจ้าเล่าเรื่องอุปมาให้เราฟังว่า เศรษฐีคิดว่าตนเองประสบความสาเร็จในชีวิตคนหนึ่ง ทางานหนักมาหลายปี เวลานี้เขามีทุกสิ่งที่เขาต้องการ เศรษฐีคนนี้เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ไม่มีสิ่งอื่นหรือบุคคลอื่น เข้ามาเกี่ยวข้องเลย โลกและทุกสิ่งที่อยู่บนโลกนี้เป็นสิ่งที่เขาต้องตักตวงเอาให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ ยุ้งฉางเก่า มันเล็กไป เขาต้องสร้างใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเดิมเพื่อเก็บทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่เขามีเวลานี้เขาไม่ต้องทาอะไรแล้ว นอกจากเสวยสุขกับสิ่งที่เขามี แต่พระเจ้าตรัสกับเขาว่า “คนโง่เอ๋ย คืนนี้ เขาจะเรียกเอาชีวิตเจ้าไปแล้วสิ่งที่เจ้าได้เตรียมไว้จะเป็นของใครเล่า” (ลก 12:20) พระเยซูเจ้าทรงสรุปให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่า “คนที่สะสมทรัพย์สมบัติไว้สาหรับตนเองแต่ไม่เป็นคนมั่งมีสาหรับพระเจ้าก็จะเป็นเช่นนี”้ (ลก 12:21)

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.2015 พระเยซูเจ้าทรงใช้อุปมา เรื่อง “ชาวสะมาเรียผู้ใจดี” เพื่อตอบคาถามที่ว่า “แล้วใครเล่าเป็นเพื่อน มนุษย์ของข้าพเจ้า” (ลก 10:29) เราคุ้นเคยกับอุปมานี้ เป็นอย่างดีจนกลายเป็น สานวนแทนความหมาย ถึงคนที่ได้ช่วยเหลือ ผู้ที่เป็นทุกข์เดือดร้อน โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ชาวยิวชอบ ดูถูกชาวสะมาเรีย และ มองพวกเขาเป็นผู้ทรยศ และ นอกรีต ชาวสะมาเรียเป็นศัตรูกับชาวยิว ทั้งในด้านการเมือง สังคม และศาสนา เป็นคนต่าต้อยที่สุดในสายตาของ พวกเขา การที่พระเยซูเจ้ายกย่องให้ชาวสะมาเรียเป็นวีรบุรุษในอุปมานี้ทาให้ชาวยิวรับได้ยากยิ่งนัก แต่สาหรับ พระเยซูเจ้า คาว่า “เพื่อนมนุษย์” ไม่ถูกจากัดโดยเชื้อชาติ ศาสนา หรือฐานะใด ๆ ทั้งสิ้น แต่หมายถึงการแสดงความ เมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือกันและกัน แม้ว่าจะไม่รู้จักกันก็ตาม บทสอนอีกอย่างหนึ่งแฝงอยู่ในอุปมาเรื่องนี้ คือ ภาพพจน์ของพระเยซูเจ้าในตัวชาวสะมาเรียผู้ใจดี “ชาวสะมาเรียผู้ใจดี” คนนั้นคือ “พระเยซูเจ้า” เอง มนุษยชาติถูกทิ้งไว้ข้างทางโดยบาป บาปเอาศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ของเราไปจนหมด มันปล้นเอาพระหรรษทานของพระเจ้าไปจากเรา ทุบตีเราอย่างรุนแรงจนบาดเจ็บสาหัส ปางตาย พระเยซูเจ้าเสด็จมาหาเรา ช่วยเหลือเรา แบกเราไว้บนบ่าของพระองค์ และ นาเราเข้าไปในพระศาสนจักร เพื่อว่าเราจะได้รับการดูแลเอาใจใส่จนกระทั่งพระองค์จะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งอย่างรุ่งโรจน์ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 7 สิงหาคม ค.ศ.2015 ตามตัวอักษรแล้วคาว่า “เพื่อนมนุษย์” หมายถึงคนที่อยู่ใกล้เรา คนที่เราสามารถพูดคุย และปรึกษาหารือได้ พระเยซูเจ้าทรงพิสูจน์ตัวเอง ให้เราเห็นว่า พระองค์ทรงเป็นมากกว่า เพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง มากกว่าทุกคนที่อยู่ใกล้ชิดเรา พระองค์ทรงทาให้เรา เป็นส่วนหนึ่งของ พระศาสนจักรซึ่งเป็น พระวรกายทิพย์ของพระองค์ ในพระองค์เราสามารถ ดาเนินชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมั่นใจ นักบุญเปาโลบอกเราในจดหมายถึงชาวโคโลสี ว่าพระเยซูเจ้า “ทรงเป็นศีรษะของร่างกายคือพระศาสนจักร” (คส 1:18) เมื่อเรามีพระองค์ทรงเป็นผู้นาชีวิตของเราจะได้รับการปกปูองคุ้มครองอย่างแน่นอน ตราบใดที่เรายังดาเนิน ชีวิตอยู่บนโลกนี้บาปจะไล่ล่าเราต่อไป คอยหาจังหวะที่เราไม่ทันระวังโจมตีเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่จิตใจของเรา อ่อนแอ อย่างไรก็ตาม เรามั่นใจได้ว่าเราจะไม่โดดเดี่ยวในการต่อสู้ ให้เราหันไปหาพระเยซูเจ้าในยามที่เราลาบาก แล้วเราจะพบที่พักพิงและกาลังใจ พระองค์ไม่ได้ทรงอยู่ห่างไกลเรา พระองค์ไม่ได้ทรงเป็นเพียงชาวสะมาเรียผู้ใจดี เท่านั้น แต่ทรงเป็น “เพื่อนมนุษย์ที่ดีที่สุด” ที่เราเคยมีและจะมีต่อไปด้วย

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 8 สิงหาคม ค.ศ.2015 พระเยซูเจ้าทรงเป็น “เพื่อนมนุษย์” ที่ดีที่สุดสาหรับเรา เรามั่นใจได้ว่าจะไม่โดดเดี่ยวในการ ต่อสู้กับบาปต่าง ๆเพราะพระองค์ ได้นาเราเข้ามาในพระศาสนจักรซึ่ง พระองค์ “ทรงเป็นศีรษะของร่างกาย คือพระศาสนจักร” (คส 1:18) เมื่อพระเยซูเจ้าทรงนาเรา เข้ามาในพระศาสนจักร พระองค์ ไม่ได้ละทิ้งเราไว้ตามลาพังแต่ทรง ประทับอยู่กับเราตลอดเวลาจนถึง วาระสุดท้ายโดยทางศาสนบริการ ต่าง ๆ ของพระศาสนจักร ในศีลล้างบาปพระองค์ทรงรักษาบาดแผลอันเนื่องมาจากบาปของเราทรงฟื้นฟูชีวิตของเราด้วยพระหรรษ ทานของพระองค์และประทานศักดิ์ศรีแห่งการเป็นบุตรพระเจ้า ให้แก่เราในศีลกาลังพระองค์ทรงทาให้ชีวิตพระในตัวเราคือการเป็นบุตรพระเจ้าและทายาทแห่งเมืองสวรรค์ มั่นคงเข็มแข็งมากยิ่งขึ้น ยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังทรงหล่อเลี้ยงชีวิตฝุายจิตของเราด้วยพระวาจาและศีลมหาสนิท ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความ รักซึ่งเป็นพระกายและพระโลหิตของพระองค์เอง พระเยซูเจ้าไม่เคยอยู่ห่างจากเราเลยให้เรายึดมั่นพระองค์เป็นที่พักพิงและกาลังใจเสมอ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.2015

ในพระวรสารวันนี้ พระเยซูเจ้าตรัสถึง “ปังซึ่งลงมาจากสวรรค์” (ยน 6:41,50) ถึงสองครั้ง ถ้อยคาสั้น ๆ นี้ เป็นกุญแจดอกสาคัญที่จะช่วยเราให้เข้าใจสิ่งที่กาลังเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี ในสมัยพระเยซูเจ้าชาวยิว กาลังรอคอยพระเมสสิยาห์ที่พระเจ้าจะทรงส่งลงมาหาพวกเขาอย่างใจจดใจจ่อ หลายคนเชื่อว่าพระองค์จะเสด็จลงมา จากสวรรค์อย่างวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่พร้อมปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่น่าเกรงขาม เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้ว จะทรง เป็นผู้นาที่ไร้เทียมทานและจะทรงทาลายศัตรูของพวกเขาทั้งหมดให้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง จากนั้นพระองค์จะทรง สถาปนาอาณาจักรอิสราเอลขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง อาณาจักรใหม่นี้จะคงอยู่ถาวรตลอดไป ดังนั้น เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จ มาและทรงประกาศว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ที่พวกเขากาลังรอคอย (เทียบ ยน 8:24,28) จึงเป็นเรื่องที่ขัดต่อความรู้สึก ของพวกเขาที่จะยอมรับว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเมสสิยาห์ที่พวกเขากาลังรอคอยนั่นเอง “ชาวยิวบ่นพึมพา ไม่เห็นด้วยกับพระเยซูเจ้าที่ตรัสว่า ‘เราเป็นปังซึ่งลงมาจากสวรรค์’ เขาพูดกันว่า ‘คนคนนี้ไม่ใช่เยซู บุตรของโยเซฟหรือ เรารู้จักทั้งบิดาและมารดาของเขาดี แล้วเขาพูดได้อย่างไรว่า เราลงมาจากสวรรค์’” (ยน 6:41-42)


เราต้องยอมรับคือ วิถีทางของพระเจ้าแตกต่างจากวิถีทางของมนุษย์ ตราบใดที่เรายังคิดว่าพระเจ้าจะเสด็จ มาหาเราในรูปแบบที่เราคาดหวังไว้ เราอาจเผชิญกับความประหลาดใจเหมือนชาวยิวได้ ชาวยิวในสมัยนั้นไม่เข้าใจ ในความคิดเกี่ยวกับ “เนื้อ” (ยน 6:51) ของพระองค์ ที่กลายเป็น “ปังทรงชีวิตที่ลงมาจากสวรรค์” (ยน 6:51) นั่นหมายถึงพระวจนาตถ์ของพระเจ้าที่ทรงรับเอากายและบังเกิดเป็นมนุษย์นั่นเอง เพราะความรักยิ่งใหญ่ที่พระเจ้า ทรงมีต่อเรา พระองค์จึงทรงยอมถ่อมพระองค์ลงมากลายเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่รู้จักตาย และทรงยอมมอบ พระองค์เองทั้งครบให้เป็นปังทรงชีวิตเพื่อเป็นอาหารบารุงเลี้ยงวิญญาณของเราทุกคน ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 10 สิงหาคม ค.ศ.2015

ความจริงประการหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือ วิถีทางของพระเจ้าแตกต่างจากวิถีทางของมนุษย์ ตราบใดที่เรา ยังคิดว่าพระเจ้าจะเสด็จมาหาเราในรูปแบบที่เราคาดหวังไว้ เราอาจเผชิญกับความประหลาดใจเหมือนชาวยิวในสมัย พระเยซูเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย พระเยซูเจ้าเสด็จมาหาชาวยิวในรูปแบบของพระเยซูเจ้า มนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งนั่นเป็น เรื่องที่ขัดต่อความรู้สึกของพวกเขาที่จะยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ที่พวกเขากาลังรอคอยเช่นเดียวกัน พระองค์อาจจะเสด็จมาหาเราในรูปแบบของคนธรรมดาที่เราพบปะในชีวิตแต่ละวันก็ได้ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะ สามารถตระหนักถึงการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในท่ามกลางพวกเขาเหล่านั้นหรือไม่ วันนี้ ให้เรากลับไปมองผู้คนที่ อยู่รอบข้างเราผู้ซึ่งเราพบปะเป็นประจาและอาจคิดว่ารู้จักพวกเขาเป็นอย่างดี พวกเขาอาจเป็นผู้นาสารที่พระเจ้าทรง ส่งมาหาเราเพื่อให้ความรู้และเตรียมเราสาหรับชีวิตนิรันดรก็ได้

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 11 สิงหาคม ค.ศ.2015 ฉลองนักบุญกลารา แห่งอัสซีซี

นักบุญกลารา แห่งอัสซีซี ได้ดาเนินชีวิตของท่าน เปรียบเสมือนโคมไฟ ส่องความสว่างให้กับโลกในยามมืดมน เป็นผู้ชี้ทางและอาจารย์แห่งชีวิตให้แก่บรรดาสตรีทั้งหลายท่านมีอุดมการณ์ชีวิตที่ชัดเจน มีจิตใจแน่วแน่ หนักแน่น กล้าทวนกระแสความคิดเกี่ยวกับชีวิตนักบวชในสมัยของท่านซึ่งถือว่านักบวช หรืออารามต่าง ๆ ควรมีทรัพย์สินไว้เป็น หลักประกันเพื่อการดารงชีพ แต่ท่านกลับต้องการดาเนินชีวิตยากจนตามพระวรสารของพระคริสตเจ้าโดยไว้วางใจใน พระญาณเอื้ออาทรของพระองค์อย่างสิ้นเชิง นี่คือ..ความท้าทายสาหรับบุคคลร่วมสมัยของท่าน และสาหรับเราทุกคน ในสมัยนี้ด้วยเช่นกัน นักบุญกลารา เกิดเมื่อปีค.ศ.1193 ในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่ง ณ เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี สมัยเดียวกับ นักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี เป็นผู้สถาปนานักพรตคณะกลาริส ร่วมกับนักบุญฟรังซิส ท่านเป็นผู้มีความศรัทธาตั้งแต่เด็ก มีจิตใจเมตตากรุณา ชอบทาบุญแก่คนยากจนแบ่งปันอาหารแก่เด็กกาพร้า และสวดภาวนาอย่างสม่าเสมอ ท่านไม่ ผูกพันกับความร่ารวย ชื่อเสียง ยศศักดิ์ ความงาม และความฟุูงเฟูอที่ชาวโลกนิยม แต่กลับสนใจเรื่องฝุายวิญญาณ มากกว่า เมื่อได้ฟังนักบุญฟรังซิส แห่ง อัสซีซี เทศน์เตือนใจและได้เห็นแบบอย่างความศักดิ์สิทธิ์ครบครันของท่าน นักบุญกลาราจึงปรารถนาที่จะบรรลุถึงความครบครันเพื่อชีวิตจะมีความหมายต่อหน้าพระเจ้า ท่านจึงตัดสินใจดาเนิน ชีวิตยากจนตามแบบฉบับพระเยซูคริสตเจ้าโดยได้หลบออกจากบ้านไปยังวัดแม่พระแห่งปวงเทวา


เมื่ออายุได้ 18 ปี เพื่อถวายตัวแด่พระเจ้าและดาเนินชีวิตอย่างเงียบ ๆ ภายในเขตจากัดของอาราม บรรดา สตรีจานวนมากสมัครมาใช้ชีวิตร่วมกับท่านนักบุญฟรังซิส มอบรูปแบบแห่งชีวิตเป็นพระวินัยสั้น ๆ คือ “เจริญชีวิตอย่างยากจนตามจิตตารมณ์พระวรสาร กระหายที่จะติดตามชีวิตและความยากจนของพระเยซูคริสตเจ้า และพระมารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ด้วยความซื่อสัตย์จนวาระสุดท้าย” ท่านมีความศรัทธาอย่างยิ่งต่อศีลมหาสนิทภาวนาและใช้โทษบาปอย่างจริงจัง ท่านได้ล้มปุวยต้องนอนอยู่บน เตียงเป็นเวลาถึง 28 ปี แต่ท่านอดทนต่อโรคภัยไข้เจ็บด้วยความสงบราบคาบตลอดระยะเวลาบนเตียงแห่งความ ทรมานนั้นเอง ท่านเย็บปักผ้าศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ส่งให้พระสงฆ์ตามวัดที่ยากจน วันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ.1253 ท่านได้จบ การจาริกแสวงบุญในโลกนี้ 2 ปีถัดมา ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ.1255ปัจจุบัน ศพของท่านยังไม่เปื่อยเน่า โดยเก็บรักษาไว้ ในพระวิหารนักบุญกลารา ณ เมืองอัสซีซี

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 12 สิงหาคม ค.ศ.2015 แม่พระเป็นผู้ที่พร้อมจะ ช่วยเหลือเราผู้ซึ่งเป็นลูกของพระนาง เสมอและตลอดไป เมื่อนางเอลีซาเบธ ญาติของพระนางซึ่งชรามากแล้ว ตั้งครรภ์บุตรชายแม้นางเอลีซาเบธ ไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากแม่พระ แต่แม่พระรีบไปเยี่ยมนางเอลีซาเบธ และอยู่กับนางประมาณสามเดือนจึง เสด็จกลับเมืองนาซาเร็ธ ในงานมงคลสมรสที่หมู่บ้านคานา “เมื่อเหล้าองุ่นหมด พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงมาทูลพระองค์ว่า ‘เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว’” (ยน 2:3) พระนางได้แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจสูงสุดที่พระนางมีในตัวพระบุตรของพระนาง โดยเรียกบรรดาคนใช้ มาและพูดกับพวกเขาว่า “เขาบอกให้พวกท่านทาอะไร ก็จงทาเถิด” (ยน 2:5) เพราะแม่พระมีความสนใจต่อความต้องการของคนอื่นจึงเปิดโอกาสให้พระเยซูเจ้าทาเครื่องหมายอัศจรรย์ และผลของเครื่องหมายนี้ คือความเชื่อของบรรดาศิษย์ “บรรดาศิษย์เชื่อในพระองค์” (ยน 2:11) วันนี้ จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของเรากับพระแม่อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เราได้ทาตัวของเรา ให้สมกับเป็นลูกของพระนางแล้วหรือยัง? เราเข้าใจความรู้สึกเป็นห่วงเป็นใยที่แม่พระมีต่อเราผู้ซึ่งเป็นลูกของพระนาง มากน้อยแค่ไหน? เราเคยคิดไหมว่าแม้ทุกคนในโลกจะทอดทิ้งเราไม่สนใจเรา ไม่รักเรา แต่พระนางมารีย์ยังรักเป็นห่วง และพร้อมที่จะช่วยเหลือเราเสมอ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 13 สิงหาคม ค.ศ.2015 นักบุญเปโตรเข้ามา ทูลถามพระเยซูเจ้าว่า “พระเจ้าข้า ถ้าพี่น้อง ทาผิดแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องยกโทษให้เขา สักกี่ครั้ง ถึงเจ็ดครั้งหรือไม่” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “เราไม่ได้บอกท่านว่า ต้องยกโทษให้เจ็ดครั้ง แต่ต้องยกโทษให้เจ็ดคูณเจ็ดสิบครั้ง” (มท 18:21-22) พระเยซูเจ้าทรงสอนเราว่า ถ้าเราให้อภัยผู้ซึ่งทาผิดต่อเราพระบิดาเจ้าสวรรค์ก็จะทรงอภัยความผิดของเรา เช่นกัน แต่ถ้าเราไม่ยอมให้อภัยความผิดเหล่านั้นแล้วเรายังหวังจะได้รับการอภัยจากพระเจ้าหรือ? พระเจ้าไม่ได้ทรง พอพระทัยเพียงแค่เราอธิษฐานภาวนาเพื่อขออภัยบาปจากพระองค์เท่านั้น แต่พระองค์ทรงต้องการให้เรา เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วย หากเรายังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้วเรายังหวังจะได้รับการอภัยจากพระเจ้าหรือ? ดังนั้น นอกจากการอธิษฐานวอนขอการอภัยบาปจากพระเจ้าแล้ว เราต้องเปลี่ยนทัศนคติของเราให้มีใจกว้าง เอื้ออาทร และรู้จักให้อภัยต่อผู้อื่นเสมอเหมือนดังที่พระเยซูเจ้าให้อภัยบาปต่อมวลมนุษยชาติ แม้ต้องรับทรมานและ สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 14 สิงหาคม ค.ศ.2015 “เป็นการถูกต้องหรือไม่ ที่ชายจะหย่าร้างกับภรรยา เนื่องด้วยเหตุใดก็ตาม” (มธ 19:3) การหย่าร้างเป็นปัญหาที่ไม่เคย จางหายไปจากสังคมมนุษย์ไม่ว่ายุคใด หรือสมัยใด สถิติการหย่าร้างของคู่สมรส ในประเทศไทยรอบ 10 ปี มีคู่สมรส มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์จบลงด้วยการ หย่าร้าง ดูเหมือนว่า การแต่งงานไม่ได้ ถูกถือว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ และ เป็นข้อผูกมัดตลอดชีวิตอีกต่อไปแล้ว ปัญหานี้ได้รับการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางแม้ในสมัยพระเยซูเจ้า คาตอบที่พระเยซูเจ้าทรงให้นั้น อิงอยู่กับพระประสงค์และแผนการดั้งเดิมของพระเจ้า พระองค์ตรัสว่า “เมื่อแรกนั้น พระผู้สร้างทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นชายและหญิงและตรัสว่าดังนี้ ชายจะละบิดามารดาไปสนิทอยู่กับภรรยาของตนและชายหญิงจะเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนี้ เขาจึงไม่เป็นสองอีกต่อไป แต่เป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่พระเจ้าทรงรวมกันไว้มนุษย์อย่าได้แยกเลย” (มธ 19:4-6) เราต้องยอมรับความจริงที่เจ็บปวดว่า ปัจจุบันนี้ สถาบันครอบครัวกาลังอยู่ในวิกฤตกาล แม้แต่ในแวดวง ของศาสนจักรคาทอลิก เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว ดูเหมือนว่าการหย่าร้างเป็นทางเลือกที่อยู่ลาดับต้น ๆ เสียด้วยซ้า ในฐานะศิษย์ของพระเยซูเจ้า เราต้องไม่ยอมรับสิ่งนี้เพราะการแต่งงานของคริสตชนเป็นการแสดง ออกแบบมนุษย์ของความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อเราผู้ซึ่งเป็นประชากรของพระองค์ ความรักซึ่งพระเจ้าทรงมีต่อเรา แต่ละคนเป็นความรักแบบไร้เงื่อนไขและไม่มีวันเปลี่ยนแปลงดังนั้น ความรักที่สามีและภรรยามีต่อกัน จึงต้องเป็น ความรักแท้ที่ปราศจากเงื่อนไขและไม่มีวันเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นเดียวกันแม้ว่าพวกเขาอาจต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรค และปัญหามากมายในชีวิตมากมายเพียงใดก็ตาม ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.2015 ทาไมเราซึ่งเป็น “คาทอลิก” จึงเชื่อ ให้เกียรติ ยกย่องและมีความศรัทธาในตัวของพระนางมารีย์เป็น พิเศษในขณะที่พี่น้องโปรเตสตันท์ละเลยในเรื่องนี?้ เหตุผลประการหนึ่งคือ พระศาสนจักรคาทอลิกกาลัง พยายามนาเสนอประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นที่ครบ บริบูรณ์หรือประกาศ “พระวรสาร” ที่ครบถ้วนนั่นเอง นักบุญเปาโลบอกเราว่า “มนุษย์ทุกคนตายเพราะอาดัมฉันใด มนุษย์ทุกคนก็จะกลับมีชีวิตเพราะพระคริสตเจ้าฉัน นั้น” (1 คร 15:22) นี่คือเหตุผลที่เราเรียกพระเยซูเจ้าว่า “อาดัมคนใหม่” ทันทีที่เราพูดเช่นนี้ เราจะรู้สึกว่ายังมีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเสมือนตัวเชื่อมเหตุการณ์ทั้งหมดขาดไป บาปกาเนิดไม่ใช่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาดัมเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของอาดัมและเอวาด้วยถ้าพระเยซูเจ้า ทรงเป็นอาดัมคนใหม่ แล้วใครละที่เป็น “เอวาคนใหม่”? คาตอบคือ แม่พระของเรานี่แหละที่ทรงเป็นเอวาคนใหม่ เหมือนที่เรื่องราวทั้งครบเกี่ยวกับบาปกาเนิดไม่ สามารถถูกบอกเล่าโดยปราศจากเอวาเรื่องราวทั้งครบเกี่ยวกับการไถ่กู้มนุษยชาติก็ไม่สามารถถูกบอกเล่าโดย ปราศจากแม่พระได้เช่นเดียวกัน

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.2015 วันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ นักบุญเปาโลบอกเราว่า “มนุษย์ทุกคนตายเพราะอาดัมฉันใด มนุษย์ทุกคนก็จะกลับมีชีวิต เพราะพระคริสตเจ้าฉันนั้น” (1 คร 15:22) นี่คือเหตุผลที่เราเรียกพระเยซูเจ้า ว่า “อาดัมคนใหม่” ในระบบเก่าหญิง (เอวา) มาจาก ร่างกายของชาย (อาดัม) แต่ในระบบใหม่ชาย (พระเยซูเจ้า) มาจากร่างกายของหญิง (แม่พระ) ในระบบเก่าหญิง (เอวา) ไม่เชื่อฟัง พระเจ้าก่อนแล้วจึงนาชาย (อาดัม) ให้กระทาเช่นเดียวกัน ในระบบใหม่ หญิง (แม่พระ) ได้ตอบรับ พระประสงค์ของพระเจ้าก่อน “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้า ตามวาจาของท่านเถิด” (ลก 1:38) และได้อบรมสั่งสอนพระเยซูเจ้า พระบุตรของพระนางให้ กระทาสิ่งเดียวกัน


อาดัมและเอวาดาเนินชีวิตอย่างมีความสุขด้วยกันในสวนเอเดน แต่กลับไม่นบนอบเชื่อฟังพระเจ้า ส่วน พระเยซูเจ้าและแม่พระประสบกับความทุกข์ยากลาบากด้วยกันเพราะการทาตามประสงค์ของพระเจ้า ดาบแห่งความ ทุกข์โศกได้ทิ่มแทงดวงใจของท่านทั้งสอง (ยน 19:34; ลก 2:35b) ในระบบเก่าอาดัมและเอวาได้รับการลงโทษซึ่งเป็น ผลมาจากการกระทาผิดของท่านทั้งสองทันที ในระบบใหม่ทั้งพระเยซูเจ้าและแม่พระต่างได้รับเกียรติรุ่งโรจน์ซึ่งเป็น ผลมาจากความนบนอบเชื่อฟังของท่านทั้งสอง พระเยซูเจ้าได้รับผ่านทางการกลับคืนพระชนมชีพและเสด็จสู่สวรรค์ ส่วนแม่พระได้รับผ่านทางการได้รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ความเชื่อและความศรัทธาในแม่พระไม่ทา ให้ความเชื่อของเราในพระเยซูเจ้าลดน้อยถอยลง แต่ทาให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น การรับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณของแม่พระเป็นการมีส่วนร่วมในการกลับคืนพระชนมชีพของ พระเยซูเจ้า และเป็นเครื่องหมายล่วงหน้าถึงการกลับคืนชีพของคริสตชนทุกคน ขอให้การได้รับเกียรติสูงส่งของ แม่พระเป็นความหวังและเป็นกาลังใจให้เราเพื่อสามารถติดตามพระบุตรของพระนางได้อย่างซื่อสัตย์ เพื่อว่าสัก วันหนึ่งเราจะมีส่วนร่วมในการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าเหมือนพระนางในสวรรค์

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.2015 ณ บั้นปลายชีวิตบนโลกนี้ของ พระนางมารีย์ พระเจ้าได้ประทานเกียรติ สูงส่งแก่พระนาง ด้วยการยกทั้งร่างกายและ วิญญาณของพระนางเข้าสู่สวรรค์ ในข้อความ เชื่อเรื่องนี้ เราสามารถมองเห็น ความร่วมมือ กันของชายและหญิงในงานกอบกู้มนุษยชาติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาที่มนุษย์คู่แรกตกในบาป ไปจนถึงการไถ่กู้ของพระเยซูเจ้าด้วยการ สิ้นพระชนม์บนกางเขนซึ่งส่งผลให้มนุษย์ทุก คนมีโอกาสได้เข้าร่วมในพระสิริรุ่งโรจน์ของ พระเจ้าในสวรรค์อีกครั้งหนึ่ง ปราศจากการรับ เกียรติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณของ แม่พระ เอวาคนใหม่ การเสด็จสู่สวรรค์ของ พระเยซูเจ้า อาดัมคนใหม่คงขาดความสมดุล ไปอย่างไม่ต้องสงสัยประวัติศาสตร์แห่งความ รอดพ้นของมวลมนุษย์คงจะถูกถ่ายทอดเพียง แค่ส่วนเดียว ดังนั้น การรับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณของแม่พระจึงเป็นบทพิสูจน์ความเสมอภาคของชาย และหญิง เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าและทาให้เราสามารถประกาศข่าวดีแห่งความรอดพ้นได้ทั้งครบ กล่าวคือ ความรอดพ้นมีไว้สาหรับมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงและความรอดพ้นมีไว้สาหรับมนุษย์ทั้งครบ นั่นคือ ทั้งร่างกายและวิญญาณ

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 18 สิงหาคม ค.ศ.2015 พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า คนมั่งมีจะเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ได้ยาก เราบอกท่านอีกว่า อูฐจะลอดรูเข็ม ยังง่ายกว่าคนมั่งมีเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์” (มธ 19:23-24) พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงบอกว่า ทรัพย์สินเงินทองเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่ท่าทีของเราต่อทรัพย์สินเงินทองต่างหาก เป็นประเด็นสาคัญ ความโลภ ความไม่รู้จักพอ และการนาทรัพย์สินเงินทองไปใช้ ในทางที่ผิดต่างหากที่ถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย นักบุญเปาโลเตือนเราทุกคนว่า “ความรักเงินตราเป็นรากเหง้าของความชั่วร้ายทุกประการ” (1 ทธ 6:10) ทรัพย์สินเงินทองมีความสาคัญสาหรับชีวิตเราในหลายเรื่องรวมทั้งยังช่วยเราในการประกาศข่าวดีและรับใช้ พระคริสตเจ้า ให้เราสามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์คนอื่นที่เดือดร้อนได้ แต่หากเราแสวงหาและใช้เงินทองเพียงเพื่อ อานาจและความพึงพอใจฝุายเนื้อหนังของเราเท่านั้น เราจะสมควรเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ได้อย่างไร พระเยซูเจ้าทรง เป็นพระบุตรพระเจ้าพระองค์ทรงสามารถเป็นคนร่ารวยที่สุดในโลกนี้ได้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่พระองค์กลับทรงเลือก เป็นคนยากจน ทรงยอมสละทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่ชีวิตของพระองค์เอง เพื่อช่วยเราให้รอดพ้น ดังนั้น ให้เราพยายาม เลียนแบบอย่างพระองค์ พระอาจารย์ของเราและวอนขอพระหรรษทานจากพระองค์ ให้เรามีท่าทีที่ถูกต้องต่อ ทรัพย์สินเงินทองในโลกนี้เพื่อการดาเนินชีวิตด้วยเปูาหมายมุ่งสู่อาณาจักรสวรรค์เพราะ “สาหรับมนุษย์เป็นไปไม่ได้แต่สาหรับพระเจ้า ทุกอย่างเป็นไปได้” (มธ 19:26) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.2015 “พระเจ้าข้า มีคนน้อยคนใช่ไหมที่รอดพ้นได้” (ลก 13:23) สาหรับชาวยิวแล้ว คนต่างศาสนาจะไม่ได้รับ ความรอดพ้นและไม่สามารถ เป็นส่วนหนึ่งของพระอาณาจักร ของพระเจ้าได้ พวกเขาเชื่อว่าการเป็นลูกหลาน ของอับราฮัมและการถือตาม ธรรมบัญญัติอย่างซื่อสัตย์เท่านั้น ที่จะเป็นหลักประกัน สาหรับความรอดพ้น พระเยซูเจ้าไม่ตอบคาถามเกี่ยวกับจานวนผู้ที่ได้รับความรอดพ้นแต่ชี้ให้เห็นว่า ไม่ควรสนใจจานวนคนมาก หรือน้อยแค่ไหนที่จะได้รับความรอดพ้น แต่ควรสนใจว่าต้องทาอะไรเพื่อจะช่วยให้เขาบรรลุถึงความรอดพ้นมากกว่า พระองค์ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า การเป็นลูกหลานของอับราฮัมไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะได้เข้าไปในพระอาณาจักร สวรรค์ความรอดพ้นไม่ได้เป็นแบบอัตโนมัติสาหรับคนใดคนหนึ่ง “เวลานั้น ท่านทั้งหลายจะร่าไห้คร่าครวญและขบฟันด้วยความขุ่นเคือง เมื่อแลเห็นอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ กับบรรดาประกาศกในพระอาณาจักรของพระเจ้าแต่ท่านทั้งหลายกลับถูกไล่ออกไปข้างนอก” (ลก 13:28) พระเยซูเจ้าทรงเตือนว่า เราแต่ละคนต้องออกแรงอย่างหนักเพื่อจะสามารถผ่านเข้าไปทางประตูแคบ ซึ่งนาไปสู่พระอาณาจักรสวรรค์ “จงพยายามเข้าทางประตูแคบ เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า หลายคนพยายามจะเข้าไป แต่จะเข้าไม่ได้”(ลก 13:24) การเข้าพระอาณาจักรสวรรค์เป็นของประทานจากพระเจ้า พระเจ้าประทานให้แก่เราเพราะพระองค์ ทรงรักเรา อย่างไรก็ตาม พระองค์ก็เรียกร้องให้เราแต่ละคนออกแรงด้วยเพื่อแสดงถึงความปรารถนาเมืองสวรรค์ ของเรา พระเจ้าไม่ทรงปรารถนาจะยัดเหยียดชีวิตนิรันดรให้ใครโดยที่เขาคนนั้นไม่ต้องการ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.2015 เราเป็นส่วนหนึ่งของ พระศาสนจักรคาทอลิก ประชากรใหม่ของพระเจ้า ไม่ใช่โดยทางสายเลือด ของอับราฮัม แต่โดยทางศีลล้างบาป แต่การเป็นเพียงคาทอลิก ไม่ได้เป็นหลักประกัน ความรอดพ้นใด ๆ เราต้องทางานหนัก เพื่อจะบรรลุถึง พระอาณาจักรสวรรค์ พยายามทาตามพระประสงค์ของพระเจ้าในทุกแง่มุมชีวิตของเรา แม้หลายครั้งจะพบกับความยากลาบากใน ชีวิตเพียงไรก็ตาม “ขณะที่ถูกเฆี่ยนตีสั่งสอนไม่มีความน่ายินดี มีแต่ความทุกข์แต่ให้ผลเป็นสันติและความชอบธรรม แก่ผู้ที่ยอมรับการเฆี่ยนตีสั่งสอนเป็นการฝึกฝนตนเอง” (ฮบ11:11) บางครั้งพระเจ้าอาจจะใช้ไม้แข็งกับเราเพื่อกระตุ้นเราให้ตระหนักถึงหนทางที่ถูกต้อง เราอาจต้องเสียสละ ความพึงพอใจตามประสามนุษย์หลายอย่าง ซึ่งหลายครั้งอาจก่อให้เกิดความคับข้องใจ เจ็บปวดใจ แต่ไม่ว่าอะไรจะ เกิดขึ้น เราต้องพยายามมองเห็นพระหัตถ์ของพระเจ้าในเหตุการณ์ต่าง ๆ ถามตัวเองเสมอว่า พระเจ้าต้องการบอก อะไรกับเราตระหนักอยู่เสมอว่าพระเจ้า พระบิดาของเรา ทรงรักเรา ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา มีผลในแง่บวกเสมอไม่ มากก็น้อยพระองค์ปล่อยให้มันเกิดขึ้นเพราะว่า พระองค์ปรารถนาจะช่วยเราให้สามารถผ่านเข้าทางประตูแคบซึ่งจะ นาเป็นสู่พระอาณาจักรนิรันดรของพระองค์ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม ค.ศ.2015

บ่อยครั้งในพระวรสาร เราจะสังเกตเห็นว่าประชาชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวฟารีสีที่คิดว่าเป็นตนเองเป็น ผู้ชอบธรรมจะรู้สึกคับข้องใจและสะดุดกับการกระทาของพระเยซูเจ้า เพราะพระองค์ให้เวลา เอาใจใส่และสนใจผู้ที่ถูก ตราหน้าว่าเป็นคนบาป “เขาไปพักที่บ้านคนบาป” (ลก 19:7) ตัวอย่างของศักเคียสซึ่ง “เป็นหัวหน้าคนเก็บภาษี เป็นคนมั่งมี” (ลก 19:2) ซึ่งชาวยิวประนามว่า ความร่ารวยของเขาล้วนมาจากการฉ้อโกงการเอารัดเอาเปรียบ และการขูดรีดจาก เพื่อนพี่น้องของเขาแต่ศักเคียสตระหนักว่าพระเยซูเจ้าเท่านั้นที่จะสามารถช่วยท่านให้พ้นจากสถานภาพของคนบาปได้ เพราะพระองค์เปี่ยมไปด้วยความรักและความเมตตากรุณาพระองค์ “ไม่ได้มาเพื่อเรียกคนชอบธรรมแต่มาเพื่อเรียกคนบาป” (มก 2:17) ท่านไม่ยอมให้ใครหรือสิ่งใดมาขัดขวางท่านไม่ให้พบพระองค์ไม่ว่าผู้คนที่ตัดสินว่าท่านเป็นคนไม่ดีและ ไม่เหมาะสมหรือรูปร่างที่ต่าเตี้ยซึ่งทาให้โดนบดบังจากผู้คนที่อยู่เบื้องหน้า ท่านปืนขึ้นต้นมะเดื่อเทศเพื่อจะสามารถ มองเห็นพระเยซูเจ้าและพระเยซูเจ้าทรงเรียกชื่อท่าน “ศักเคียส (ลก 19:5) รีบลงมาเถิด เพราะเราจะไปพักที่บ้านท่านวันนี”้ (ลก 19:5) สิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทาเพื่อศักเคียสพระองค์ได้ทรงกระทาเพื่อเราด้วย พระองค์ได้เสด็จเข้ามาในโลกนี้ เพื่อเราจะได้รับพระพรจากพระองค์


เราเดินมาถูกทางแล้วที่แสวงหาหนทางที่จะพบกับพระองค์ให้ได้ด้วยสายตาแห่งความเชื่อเราเห็นพระเยซูเจ้า ในฐานะพระผู้ช่วยให้รอดพ้นของเรา ด้วยหูแห่งความเชื่อ เราได้ยินเสียงของพระองค์กาลังตรัสกับเรา ในวันที่เรารับศีล ล้างบาป พระองค์ทรงเรียกชื่อเราแต่ละคนและทรงรู้ว่าเราแต่ละคนเป็นใคร พระเยซูเจ้าทรงคาดหวังว่าเราจะเปลี่ยนแปลงตัวเราเองให้ดีขึ้น หลังจากที่เราได้เข้ามาในบ้านของพระองค์ เราแต่ละคนเป็นผู้รับผลแห่งความรักและพระเมตตาของพระเจ้า ให้เราแต่ละคนพยายามเรียนรู้ที่จะรักจากพระเจ้าผู้ ทรงเป็นองค์ความรัก ค้นหาและช่วยผู้ที่หลงทางไป ไม่ใช่ตราหน้าใครว่าเป็นคนบาปแต่รักและให้โอกาสเพื่อนมนุษย์ ทุกคนเหมือนดังที่พระเจ้าทรงรักเรา ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.2015 ปัจจุบัน เราอาศัยอยู่ในสังคม ที่ใส่ใจในภาพพจน์ของตัวเองค่อนข้างสูง หลายครั้งเป็นการเสแสร้ง แสดงออกจน เกินกว่าตัวตนที่แท้จริงของเรา ที่จริง นี่เป็นเรื่องที่ฝังติดอยู่กับธรรมชาติของ มนุษย์มานานแล้ว พวกธรรมาจารย์ และชาวฟาริสีก็เป็นเช่นเดียวกัน สาหรับพวกเขาแล้ว ต้องการแสดงให้ คนอื่นเห็นว่าตนเองดีและศักดิ์สิทธิ์ เกินกว่าตัวตนที่แท้จริง ประชาชนที่ ศรัทธาจะทักทายพวกเขาโดยใช้คา นาหน้าว่า “รับบี” หรือ “อาจารย์” ทีละเล็กทีละน้อย ความเย่อหยิ่งจองหอง ก็เข้าครอบงาจนสาคัญตัวผิดคิดว่าตัวเอง เก่ง ดี และ ศักดิ์สิทธิ์เกินความเป็นจริง ในสังคมของเรา เรื่องเช่นนี้เกิดเพิ่มมากขึ้นจนน่าตกใจ คนจานวนมากยังแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียงและมุ่งมั่นให้ความสาคัญกับภาพพจน์ของตัวเอง เสแสร้งปั้นแต่งเรื่องราวต่าง ๆ ให้คนอื่นยอมรับนับถือ หรือสลวนอยู่กับการประจบประแจงเอาใจคนโน้นคนนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งหน้าที่การงาน ตาแหน่ง อานาจ ชื่อเสียง หรือเงินทอง โดยไม่ตระหนักเลยว่าพระเจ้าและวิถีทางของพระองค์เท่านั้น เป็นบ่อเกิดแห่งสันติสุขและความปลอดภัย ที่แท้จริงของเรา พระเยซูเจ้าทรงสอนเราให้เดินตามเส้นทางแห่งพระวรสารเท่านั้น “อย่าเรียกผู้ใดว่า บิดา เพราะว่าพระบิดาของท่านมีเพียงพระองค์เดียวคือพระบิดาในสวรรค์ อย่าให้ผู้ใดเรียกท่านว่า อาจารย์ เพราะพระอาจารย์ของท่านมีเพียงพระองค์เดียวคือพระคริสตเจ้า" (มธ 23:9-10) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 23 สิงหาคม ค.ศ.2015 ในบทอ่านที่หนึ่งโยชูวา ซึ่งเป็นผู้นาชาวอิสราเอลต่อ จากโมเสส มองเห็นว่า ชาวอิสราเอลกาลังดาเนินชีวิต แบบเหยียบเรือสองแคม นั่นคือ พวกเขานับถือทั้ง พระเจ้าของบรรพบุรุษ และเทพเจ้าของประชาชน ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินคานาอัน ซึ่งในสายตาของท่าน เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเรียกร้องบรรดาผู้นาศาสนาและการเมือง รวมทั้งประชาชนทั้งหลายที่มาชุมนุมกันที่เมือง เชเคมให้ตัดสินใจเลือกอีกครั้งหนึ่งว่าพวกเขาจะยังคงซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าผู้ซึ่งปลดปล่อยพวกเขาให้รอดพ้นจากการเป็น ทาสในประเทศอียิปต์และนาพวกเขาเข้ามาอาศัยอยู่ในแผ่นดินพันธสัญญาต่อไปอีกหรือไม่ ท่านท้าทายพวกเขาอย่าง ตรงไปตรงมาว่า “ถ้าการรับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้าดูเป็นเรื่องย่าแย่สาหรับพวกท่าน วันนี้พวกท่านจะต้องตัดสินใจว่าพวกท่านต้องการรับใช้พระเจ้าองค์ใด” (ยชว 24:15) ในเวลานั้นชาวอิสราเอลได้ตัดสินใจเลือก “เราจะรับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยเช่นกันเพราะพระองค์คือพระเจ้าของพวกเรา” (ยชว 24:18) หลายศตวรรษต่อมา พระเยซูเจ้าได้ทรงเรียกร้องบรรดาศิษย์และประชาชนที่มาชุมนุมกันเพื่อฟังการเทศน์ สอนของพระองค์ให้กระทาสิ่งเดียวกัน นั่นคือ พระองค์ได้ทรงท้าทายพวกเขาให้ตัดสินใจเกี่ยวกับพระองค์เอง ก่อนหน้านี้พระองค์ได้ทรงประกาศหลักคาสอนที่สาคัญประการหนึ่ง “เราเป็นปังทรงชีวิตที่ลงมาจากสวรรค์ใครที่กินปังนี้จะมีชีวิตอยู่ตลอดไป และปังที่เราจะให้นี้ คือเนื้อของเราเพื่อให้โลกมีชีวิต” (ยน 6:51)


เมื่อบรรดาผู้ไม่เห็นด้วยกับคาสอนของพระองค์หันหลังให้และละทิ้งพระองค์ไป พระองค์ทรงปล่อยให้พวก เขาไป เพราะเป็นเวลาที่พวกเขาต้องตัดสินใจพระองค์ทรงท้าทายอัครสาวกสิบสองคนซึ่งเป็นศิษย์ที่อยู่ใกล้ชิดพระองค์ มากที่สุด ว่า “ท่านทั้งหลายจะไปด้วยหรือ?” (ยน 6:67) ในวันนั้นนักบุญเปโตรได้ประกาศความเชื่อของท่าน “พระเจ้าข้า พวกเราจะไปหาใครเล่า พระองค์มีพระวาจาแห่งชีวิตนิรันดร พวกเราเชื่อและรู้ว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า” (ยน 6:68-69) ในยุคสมัยของเรา พระเยซูเจ้ายังคงท้าทายเราด้วยคาถามเดิมวันนี้ เราจะตอบพระองค์เช่นไร?

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.2015 การตัดสินใจถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราแต่ละคน ในแต่ละวันเราต้องเผชิญหน้ากับ การตัดสินใจหลายอย่างตั้งแต่ตื่น นอนจนกระทั่งเข้านอน ไม่ว่าการ ตัดสินใจของเราเป็นแบบชั่วคราว หรือแบบถาวรตลอดไปล้วนมีผล ต่อตัวเราเอง ต่อคนที่อยู่รอบ ข้างเราและสังคมที่เราเป็น ส่วนหนึ่งเสมอ ดังนั้น เมื่อเราต้องตัดสินใจเลือกบางสิ่งบางอย่างเราต้องตัดสินใจเลือกอย่างฉลาด นั่นคือ เลือกในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้าและเปูาหมายสุดท้ายของชีวิตบนโลกนี้ของเรา พระเยซูเจ้าทรงท้าทายอัครสาวกสิบสองคนซึ่งเป็นศิษย์ที่อยู่ใกล้ชิดพระองค์มากที่สุดให้เลือกว่าจะหันหลัง และละทิ้งพระองค์หรือจะติดตามเป็นศิษย์ของพระองค์ต่อไป “ท่านทั้งหลายจะไปด้วยหรือ?” (ยน 6:67) ในพิธีบูชาขอบพระคุณ พระเยซูเจ้ายังคงท้าทายเราต่อไป พระองค์ทรงปรารถนาให้ความเชื่อในศีลมหาสนิท เป็นบททดสอบสูงสุดของความเชื่อของเราในตัวพระองค์ การยอมรับและการทาให้ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้เป็น ศูนย์กลางชีวิตของเราจึงเป็นการดาเนินชีวิตในสายสัมพันธ์แห่งความรักที่คงอยู่ตลอดนิรันดร ทาให้พระองค์และเรา กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน ถ้าจะถามว่าทาไมเราจึงต้องเชื่อ ให้ความสาคัญ ให้คุณค่าและให้ความเคารพต่อศีลมหาสนิท มากมายถึงขนาดนี?้ ทาไมพิธีบูชาขอบพระคุณจึงเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาสูงสุดของเรา? คาตอบคือ เพราะว่าพระเยซูเจ้าทรง “มีพระวาจาแห่งชีวิตนิรันดร พวกเราเชื่อและรู้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า” (ยน 6:68-69) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 25 สิงหาคม ค.ศ.2015 ปัจจุบันนี้ ค่านิยมทางโลก สวนทางกับค่านิยมของพระวรสาร ทุกวันเรายังต้องเผชิญหน้ากับการ ตัดสินใจว่าจะติดตามพระเยซูเจ้า ต่อไปอีกหรือไม่ กระแสของวัตถุ นิยมหรือเสรีภาพนิยมแบบสุดโต่ง กาลังโหมกระหน่าเข้ามาในพระศา สนจักรของเรา หลายคนมองการ คดโกงที่เอื้อประโยชน์ให้ตนเองเป็น เรื่องถูกต้องการอยู่ด้วยกันก่อน แต่งงานและการทาแท้งเป็นเรื่อง เสรีภาพส่วนบุคคล การมาร่วมมิสซาวันอาทิตย์เป็นเรื่องล้าสมัยหรือเป็นเรื่องของเด็กและผู้สูงอายุ หลายคนคิดว่าคาสั่งสอนของ พระเยซูเจ้าและพระศาสนจักร ในเรื่องความซื่อสัตย์ ความรักต่อศัตรู การแต่งงาน การทาแท้ง และสิทธิมนุษย์ขั้น พื้นฐานเป็นเรื่องที่ขัดหูและรับไม่ได้ ทว่าพระเยซูเจ้าทรงสัญญากับเราแต่ละคนว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น พระวาจา ของพระองค์จะคงอยู่กับเราตลอดไป “ฟ้าดินจะสูญสิ้นไป แต่วาจาของเราจะไม่สูญสิ้นไปเลย” (มก 13:31) พระวรสารจึงเป็นหนังสือคู่มือและแรงบันดาลใจในการดาเนินชีวิตสาหรับคริสตชนทุกคน เพื่อว่าเราจะ สามารถติดตามพระองค์อย่างมั่นคงตลอดไป เราต้องอ่าน ราพึงภาวนา และรับฟังอย่างตั้งใจ พระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ได้รับการบันทึกไว้ในพระวรสาร และส่งผ่านมาถึงเราผ่านทางพระศาสนจักรจะนาเราไปสู่ความรอดพ้นหรือชีวิตนิรันดร ถ้าเรานาพระวาจาเหล่านั้นมา ดาเนินชีวิตอย่างจริงจังโดยให้พระวาจาเป็นแรงบันดาลใจในทุกกิจการที่เราทาเมื่อเราอ่านและฟังอย่างตั้งใจ เราจะพบ แสงสว่างและความหวังที่เราไม่สามารถพบได้ในที่อื่นถ้าเราปฏิบัติตามพระวาจาเหล่านั้นเราจะกลายเป็นแสงสว่างที่ สามารถช่วยคนที่อยู่ในเงามืดได้พบหนทางไปสู่บ้านพระบิดาเจ้าสวรรค์ด้วยเช่นกัน ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 26 สิงหาคม ค.ศ.2015 หลายคนในพวกเราอาจประกาศยืนยัน ความเชื่อทุกอาทิตย์ แต่ยังมีหลายสิ่ง หลายอย่างที่เรายังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ เกิดความสงสัยและตั้งคาถามอยู่เสมอ บางคนยิ่งอ่านพระคัมภีร์มากขึ้น ก็รู้สึกว่าตนเองสับสนมากยิ่งขึ้น ไม่รู้จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้อย่างไร คาสอนหรือข้อเรียกร้องของพระเยซูเจ้า หลายครั้งเป็นคาพูดที่ตรงกันข้ามกับ ความรู้สึกของคนทั่วไป ตรงกันข้ามกับ ค่านิยมของโลกสมัยปัจจุบัน ชีวิตของเราแต่ละคน ไม่ต่างจาก บรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้า ในสมัยเริ่มแรกเท่าใดนัก แม้ว่าบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้า ไม่เข้าใจตัวตนที่แท้จริงของพระเยซูเจ้า และคาสั่งสอนของพระองค์ในขณะนั้น แต่พวกเขาพยายามแสวงหาคาตอบ และความหมายที่แท้จริง ของสิ่งที่ยังไม่รู้อยู่เสมอ เมื่อเวลาผ่านไป พวกเขาก็สามารถเข้าใจสิ่งนั้นในที่สุด เราแต่ละคนควรจะเป็นเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน เราต้องอ่าน ราพึงภาวนา และรับฟัง พระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ได้รับการบันทึกไว้ในพระวรสารอย่างตั้งใจ นาพระวาจาเหล่านั้นมาดาเนินชีวิตอย่างจริงจังให้พระวาจาเป็นแรงบันดาลใจในทุกกิจการที่เราทา ใช้เวลาพิจารณา ไตร่ตรองถึงชีวิตของเราอยู่เสมอเพื่อว่าทีละเล็กทีละน้อยเราจะเข้าใจว่าพระเจ้าทรงประทับอยู่กับเราเสมอ ให้เรา ภาวนาวอนขอพระจิตเจ้าส่องสว่างจิตใจของเราเพื่อเราจะสามารถเข้าใจวิถีทางของพระเจ้าในชีวิตประจาวันของเรา ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 27 สิงหาคม ค.ศ.2015 พระเจ้าทรงเรียกอับราฮัม บิดาแห่งความเชื่อของเราให้ออกจากบ้าน เกิดเมืองนอนของตนและเดินทางไปยัง ดินแดนที่ท่านไม่รู้จัก สัญญาว่าท่านจะ เป็นบิดาของผู้คนมากมายดุจดวงดาวบน ท้องฟูา ท่านเชื่อในพระเจ้าและคาสัญญา ของพระองค์ด้วยเหตุนี้เอง ท่านได้ กลายเป็นผู้ชอบธรรมในสายพระเนตร ของพระเจ้า แม้ว่าท่านจะเป็นผู้ มีความเชื่อที่ยากจะหาใครมาเปรียบได้ แต่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งท่านคงคิดสงสัย เพราะไม่สามารถเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง ที่พระเจ้าได้ทรงกระทาในชีวิตของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระเจ้าทรงสั่งให้ ท่านถวายบูชายัญอิสอัคแด่พระองค์ เพราะถ้าอิสอัคต้องตายจากท่านไปจริง ๆ ความหวังต่อการเป็นบิดาของคนมากมาย ก็จะดับสูญไปด้วย แต่ลักษณะเด่นของ ท่านคือ แม้ว่าท่านจะสงสัย ท่านยังคง ไว้วางใจในความรักและพระเมตตา อันหาขอบเขตมิได้ของพระเจ้า และนี่คือบทเรียนสาหรับชีวิตของเราแต่ละคนจงเรียนรู้ที่จะไว้วางใจในพระเจ้า แม้เมื่อเวลาที่เรามีความ สงสัย แน่นอน สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทา แต่เราต้องพยายามทา จงมีความไว้วางใจในพระเจ้า แม้ในเวลาที่เรา มีความทุกข์ยากเพียงไรในยามที่หลายสิ่งหลายอย่างไม่ได้ดาเนินไปอย่างที่เราคาดคิด แม้เมื่อเราพบว่าตนเองอยู่ใน สถานการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา เวลาแบบนี้แหละเป็นเวลาที่ท้าทายความเชื่อว่าพระเจ้าทรงประทับอยู่กับเราเสมอ ความรักที่พระเจ้ามีต่อเรามั่นคงชั่วนิรันดร์ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 28 สิงหาคม ค.ศ.2015 “จงตื่นเฝ้าระวังไว้เถิด เพราะท่านไม่รู้วันและเวลา” (มธ 25:13) เราต้อง “ตื่นเฝ้าระวัง” และ “เตรียมพร้อมไว้”เสมอ ที่จะต้อนรับพระเจ้าเมื่อใดก็ ตามที่พระองค์เสด็จมาหาเรา ไม่มีใครรู้วันและเวลา ที่เราจะถูกเรียกไปเฝูาพระองค์ หรือไปรับการคิดบัญชีชีวิต เฉพาะพระพักตร์พระองค์ “บุตรแห่งมนุษย์จะเสด็จมาในเวลาที่ท่านมิได้คาดหมาย” (มธ 24:44) เราจึงต้องใช้ทุกช่วงเวลาในชีวิตของเราให้คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทาได้ ถ้าเราเตรียมตัวอย่างดี เราก็ไม่ต้อง หวาดกลัวเมื่อต้องไปยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์พระเยซูเจ้า เราสามารถมั่นใจได้ว่าวันนั้นจะเป็นวันแห่งความรอดพ้น หรือวันแห่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระของเราเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสาหรับวันนั้น สิ่งที่เราควรทา คือ ประการแรก เราต้องดาเนินชีวิตแต่ละวันตามความเชื่อ ราวกับว่ามันเป็นวันสุดท้ายของ เราปฏิบัติต่อทุกคนที่เราพบด้วยความเคารพนับถือด้วยใจเมตตากรุณา ด้วยความเอาใจใส่ และเห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือคนจน คนที่ประสบกับความทุกข์ยากลาบากในชีวิต ต่อสู้รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคมที่เราอาศัยอยู่ มีความอดทน อดกลั้น ใจกว้างและพร้อมที่จะให้อภัยเสมอ ประการที่สอง เมื่อทาผิดพลาดหรือทาบาปเราต้องวอน ขอการให้อภัยจากพระเจ้าพยายามหาทางชดเชยแก่บุคคลที่เราทาผิดต่อเขาหากพยายามทาเช่นนี้อย่างสุด ความสามารถเมื่อเวลานั้นมาถึง พระองค์จะบอกเราแต่ละคนว่า “ผู้รับใช้ที่ดีและซื่อสัตย์ของเราจงลุกขึ้นและมารับเมืองสวรรค์ ซึ่งพระบิดาของเราได้เตรียมไว้สาหรับท่านเป็นมรดกเถิด” (เทียบมธ 25:34) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 29 สิงหาคม ค.ศ.2015 นักบุญยอห์น แบปติสต์ ประกาศสอนในถิ่นทุรกันดารว่า “จงกลับใจเถิด อาณาจักรสวรรค์อยู่ใกล้แล้ว” (มธ 3:2) ช่วงเวลาในสมัยนั้น ประชาชน ชาวอิสราเอลกาลังรอคอยพระเมสสิยาห์ ผู้ซึ่งพระเจ้าทรงสัญญาไว้ อุปสรรคในการ เตรียมรับการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ คือ บาปการไม่เชื่อฟังและนบนอบต่อ พระประสงค์ของพระเจ้า ดังนั้น เพื่อเตรียมทางสาหรับองค์พระผู้เป็นเจ้า เราต้องขจัดบาปให้สูญสิ้นไป พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราต้อง กลับใจ การกลับใจหมายถึงการรู้สึกเสียใจสาหรับสิ่งที่เราได้ทาหรือไม่ได้ทาเพื่อว่าหลังจากนั้น ชีวิตเราจะเปลี่ยน มุมมองใหม่ เปลี่ยนทัศนคติใหม่ และกลับไปหาพระเจ้า เราต้องสารวจชีวิตของเราอย่างสม่าเสมอว่าอะไรคือสิ่งที่เรา กาลังทาอยู่ซึ่งไม่เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าและอะไรที่เราควรทา เพื่อให้เป็นที่สบพระทัยของพระเจ้าแต่เรากลับไม่ ทาบ้าง? การทาสิ่งที่พระเจ้าไม่ต้องการ และไม่ทาสิ่งที่พระองค์ต้องการ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นในการ “เตรียมพร้อมไว้” เสมอที่จะต้อนรับพระเจ้าเมื่อใดก็ตามที่พระองค์เสด็จมาหาเรา สาหรับคาทอลิก เรามีวิถีทางพิเศษสาหรับการกลับใจ นั่นคือ ศีลอภัยบาป ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดีกับ พระเจ้า เราควรใช้เครื่องมือที่พระคริสตเจ้าทรงมอบให้เรานี้อย่างสม่าเสมอศีลอภัยบาปไม่เพียงขจัดบาปของเรา เท่านั้น แต่ยังเป็นท่อธารแห่งพระหรรษทานสาหรับเราด้วย นอกจากจะช่วยเราให้หลีกเลี่ยงบาปแล้วยังทาให้เรา เข้มแข็งในการรับใช้พระเจ้าอย่างซื่อสัตย์มากยิ่งขึ้น ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 30 สิงหาคม ค.ศ.2015

วันหนึ่ง ขณะที่บราเดอร์อันโตนีโอ และบราเดอร์โดมินีโกนักบวชคณะฟรังซิสกัน กาลังเดินทางกลับอารามหลังจากไป เยี่ยมคนยากจนและเด็กกาพร้าในหมู่บ้านพวกท่านได้พบกับหญิงสาวที่น่ารักและแต่งตัวดีคนหนึ่งกาลังละล้าละลังที่จะ ข้ามสะพานไม้ที่อยู่ตรงหน้าเพราะน้าที่อยู่ข้างล่างไหลเชี่ยวกรากน่ากลัวมาก บราเดอร์อันโตนีโอจึงพูดกับหญิงสาวคน นั้นว่า “หนู มานี่” แล้วท่านก็อุ้มเธอ พาข้ามสะพานและวางเธอลงบนอีกฝั่งหนึ่ง หญิงสาวคนนั้นขอบคุณบราเดอร์ อันโตนีโอที่ช่วยเธอและจากไป เมื่อกลับปถึงอาราม บราเดอร์โดมินีโก จึงตาหนิด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวว่า “นักบวชไม่ควรเข้าใกล้และสัมผัสหญิงสาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงสาวที่น่ารักคนนั้น ทาไมท่านจึงกล้าทาเช่นนี?้ ท่านรู้ไหมว่ามันไม่เหมาะสม?” บราเดอร์อันโตนีโอตอบอย่างใจเย็นว่า “เพื่อนรัก ผมได้วางหญิงสาวคนนั้นไว้ที่ฝั่งแม่น้าแล้วแต่ท่านยังนาเธอเข้ามาในอารามของเรา”


จากเรื่องที่เล่ามานี้ เรามองเห็นการปฏิบัติศาสนาสองรูปแบบ รูปแบบแรก เน้นการหลีกเลี่ยงความชั่ว โดยมุ่งปูองกันตนเองให้พ้นจากสิ่งที่เป็นมลทินทั้งหลาย พวกเขามักจะเก็บตัวอยู่ในกลุ่มของตนเองและไม่ยอมยุ่ง เกี่ยวกับโลกภายนอกที่เต็มไปด้วยสิ่งเย้ายวน รูปแบบที่สอง เน้นการทาความดีโดยมุ่งช่วยเหลือคนอื่นโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งคนบาป คนที่สังคมรังเกียจและคนที่มีความทุกข์ยากลาบาก คริสตชนที่ปฏิบัติศาสนาในลักษณะนี้เชื่อว่าเป็นการ ดีกว่าที่จะจุดเทียนขึ้นสักเล่มหนึ่งแทนที่จะประณามความมืดมิดของโลกนี้ ความสมดุลของการปฏิบัติศาสนกิจทั้งสองรูปแบบเป็นสิ่งจาเป็นที่คริสตชนต้องทาควบคู่กันไป เหมือนที่นักบุญยากอบบอกเราในจดหมายของท่านว่า “การปฏิบัติศาสนกิจบริสุทธิ์และไร้มลทินเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าพระบิดาคือ การเยี่ยมเด็กกาพร้าและหญิงม่ายที่มีความทุกข์ร้อนและการรักษาตนให้พ้นจากมลทินของโลก” (ยก 1:27) ขณะที่เราทาความดี เราต้องพยายามหลีกเลี่ยงความชั่วหรือสิ่งที่ทาให้เราเป็นมลทินเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าด้วย

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a


Meenen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 31 สิงหาคม ค.ศ.2015 ชาวฟาริสีและบรรดาธรรมาจารย์ เป็นผู้ที่พยายามหลีกเลี่ยงทุกสิ่ง และทุกคนที่พวกเขาคิดว่า จะทาให้พวกเขาเป็นมลทิน โดยมุ่งปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ ทางจารีตพิธีกรรม ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียม ของบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด พระเยซูเจ้าไม่ทรงเห็นด้วยกับ แนวคิดในการปฏิบัติศาสนากิจ ที่เน้นการจารีตพิธีกรรมภายนอก มากเกินไปเช่นนี้ “ทุกคนจงฟังและเข้าใจเถิด ไม่มีสิ่งใดเลยจากภายนอกของ มนุษย์ทาให้เขามีมลทินได้ แต่สิ่งที่ออกมาจากภายใน ของมนุษย์นั้นแหละ ทาให้เขามีมลทิน” (มก 7:14-15) พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า ไม่มีบุคคลใดหรือสิ่งใดที่อยู่ภายนอกเราสามารถทาให้เรามีมลทินได้ ถ้าการ ปรากฏตัวของใครบางคนหรือสิ่งของบางอย่างทาให้เรารู้สึกว่าเป็นมลทินนั่นเป็นเพราะเราเป็นคนนามลทินนั้นเข้ามา ในตัวเราก่อนแล้ว คนที่มีใจบริสุทธิ์มองเห็นแต่ความสะอาดและบริสุทธิ์ในทุกสิ่งและทุกคนเหมือนที่พระเยซูเจ้าทรง บอกเราว่า “ผู้มีใจบริสุทธิ์ย่อมเป็นสุขเพราะเขาจะได้เห็นพระเจ้า” (มธ 5:8)


ในทุกแห่ง ในทุกสิ่ง และในทุกคน ดังนั้น พระองค์ไม่ทรงลังเลพระทัยที่จะสัมผัสคนโรคเรื้อน รับประทาน อาหารกับคนบาปและปล่อยให้หญิงที่ไม่สะอาดสัมผัสพระองค์ พระองค์ทรงคบค้าสมาคมกับคนไม่ดีจนกระทั่ง ได้รับสมญาว่า “เพื่อนกับคนเก็บภาษีและคนบาป” (มธ 11:19) เราเองต้องย้อนกลับมาคิดทบทวนเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนากิจของเราด้วยเช่นกัน เราดาเนินชีวิตแบบ หลีกเลี่ยงความชั่วอย่างเดียวเพียงเพราะต้องการรักษากฎเกณฑ์ที่มนุษย์ตั้งขึ้นด้วยกลัวว่าความศักดิ์สิทธิ์ของตนจะ เปื้อนหมองหรือเปล่า? ในพระวรสารวันนี้พระเยซูเจ้าทรงท้าทายเราให้พร้อมที่จะเข้าหาและช่วยเหลือผู้เป็นทุกข์ เดือดร้อนและยากจนขัดสนมากยิ่งขึ้นโดยตระหนักอยู่เสมอว่าถ้าเราไม่นาสิ่งที่เป็นมลทินหรือไม่บริสุทธิ์เข้ามาในใจของ เราเองก่อนไม่มีใครหรือสิ่งใดภายนอกสามารถทาให้เรามีมลทินได้

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

a a



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.