เอกสารแนะนำโครงการเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์สาขางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านขององค์การยูเนสโก 2560

Page 1



CONTENTS 1 ที่มาของโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่าย

1

2 ตราสัญลักษณ์ของโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่

2

3 เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO

3

4 ประเภทของเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO

4

5 เป้าหมายของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO

5

6 กระบวนการปรับปรุงองค์ประกอบของเมือง

6

7 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development

7

8 UCCN Mission Statement ภารกิจของเมืองเครือข่าย

9

เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO (สาขาหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน) เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO (สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน)

ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO Goals (SDGs) ขององค์การ UNESCO

เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO


ที่มาของโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีอำ�นาจหน้าที่ในการ พัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ในหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การ สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ สาธารณูปโภค ทรัพยากร ธรรมชาติ และ จารีตประเพณี และภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ของเชียงใหม่ให้ด�ำ รง อยู่ และสืบทอดสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนใน ท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้วางแนวทางปฏิบัติในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับทุนทางสังคมและทุนทาง วัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแนวทางปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่ให้ความสำ�คัญ กับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริม การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางเครือข่ายการผลิต การค้า และการบริการของธุรกิจ สร้างสรรค์ของภูมิภาคอาเซียน (Creative Hub of ASEAN) ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งส่วนนโยบาย และการปฏิบัติการ ในการนี้อ งค์ก ารบริหารส่วนจั ง หวั ดเชี ยงใหม่ จึ ง ได้ จั ดทำ � โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ “โครงการขับเคลื่อนเมือง เชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO (สาขา หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน)” โดยมุ่งหวังให้เกิดการทำ�งานร่วมกัน อย่างบูรณาการกับองค์กรภาครัฐ เอกชน ชุมชน ภาคการศึกษาและอาชีพ ของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมกันผลักดันให้จังหวัดเชียงใหม่สามารถเป็น เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO (สาขาหัตถกรรมและ ศิลปะพื้นบ้าน) อันจะสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ในระดับ สากล จากทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป -1-


ตราสัญลักษณ์โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

ตราสัญลักษณ์ประจำ�โครงการเป็นรูปนกกินน้ำ�ร่วมต้น อันได้แรงบันดาลใจมาจากลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกที่พบมากในจังหวัด เชียงใหม่ นก หรือ หงส์ เป็นรูปสัตว์มงคลทั้งในชีวิตจริงและในจินตนาการ ที่สื่อถึงป่าหิมพานต์ในคติเรื่องจักรวาล นอกจากนั้นยังมี ความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ การมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างรักใคร่สามัคคีมีความมั่นคง และยั่งยืน เปรียบเสมือนกับผู้คน ที่มาจากต่างที่ ต่างถิ่น ต่างภูมิลำ�เนา ได้ มาอยู่ร ่วมกัน เพื่อ สร้างสรรค์งานหั ตถกรรมและศิ ลปะพื ้ นบ้ า น ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อให้งานหัตถกรรมและศิลปะ พื้นบ้านของ จังหวัดเชียงใหม่ เจริญสืบไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน

-2-


เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ปัจจุบันผู้คนในสังคมโลกเริ่มยอมรับความหลากหลายที่มีอยู่ในสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ.2001) องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่ ง สหประชาชาติ หรื อ UNESCO มี ความตกลงว่ า ด้ ว ยความหลากหลายทาง วัฒนธรรม (The UNESCO Universal Declaration of Cultural Diversity) เพื่อให้มีการ กำ�หนดมาตรฐานนานาชาติที่ใช้เป็นเครื่องมือสำ�หรับการพิทักษ์รักษาและส่งเสริมความ หลากหลายทางวัฒนธรรมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม โดยในปีต่อมาองค์การ UNESCO ได้ริเริ่มโครงการพันธมิตรระดับโลก เพือ่ ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Global Alliance for Cultural Diversity) และก่ อ ให้ เกิ ด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร ะหว่างวัฒนธรรมตามวั ตถุ ประสงค์ ที่ตั้ง ไว้ ซึ่ ง องค์การ UNESCO พยายามดำ�เนินกิจกรรมสนับสนุนนโยบายส่งเสริมความหลาก หลายทางวัฒนธรรมของโลกจนในที่สุดในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) องค์การ UNESCO จึงได้เสนอโครงการ “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์” (Creative Cities Network) เพื่อส่งเสริม การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries)ที่จะนำ�ไปสู่รูปแบบใหม่ ของความร่วมมือในระดับนานาชาติ ทั้งในส่วนของภาคประชาชน เอกชน สาธารณะ และประชาคมขึ้น สำ�หรับประเทศไทย มีเมืองที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO มีทั้งสิ้น 2 เมือง คือ 1.ภูเก็ต เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สาขา อาหาร (Gastronomy) 2.เชียงใหม่ เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สาขา หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art)

-3-


ประเภทของเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO

เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO มีทง้ั หมด 7 กลุม่ โดยเมืองใดที่จะเสนอเมืองเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ภายใต้ การประกาศรับรองโดยองค์การ UNESCO จะต้องเลือกเสนอตนเองได้ เพียงประเภทเดียวเท่านั้น

-4-


เป้าหมายของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO 1 สนับสนุนความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาในระดับ นานาชาติ 2 ตั้งหลักตอบรับกับผลกระทบในระดับโลก โดยพยายามที่จะ เชื่อมโยงเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 3 สร้างความเป็นไปได้ในการสร้างรูปแบบใหม่ของการท่องเที่ยว (Creating New TourismOpportunities) ที่นักท่องเที่ยวจะสามารถ เข้าใจ รับรูม้ ปี ระสบการณ์ และร่วมเป็นส่วนหนึง่ ในวัฒนธรรมของเมืองนัน้ ๆ ทั้งวัฒนธรรมในลักษณะที่จับต้องได้และที่เป็นนามธรรม (Tangibleand Intangible Cultures โดยผ่านประสบการณ์ของนักท่องเทีย่ วเอง โดยเน้นถึง “ความผูกพัน” (Engaged) “ความจริงแท้ผ่านประสบการณ์” (Authentic Experience) ซึ่งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมที่จะทำ�ให้นักท่องเที่ยวมีความ เข้าใจอย่างลึกซึ้งในลักษณะทางวัฒนธรรมของเมืองที่ตนไปเยือน (Active understanding of the specific cultural features of aplace)

-5-


กระบวนการปรับปรุงองค์ประกอบของเมืองให้เป็น เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO

1 การสร้ า งเอกลักษณ์ทางวัฒ นธรรมให้แ ก่ เมื อง (Cultural Identity) การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมให้มีความเปิดกว้าง (Diversity & Open Society) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ 2 การรวบรวมนักคิดและผู้ประกอบการสร้างสรรค์ (Talented / Creative Entrepreneur) เป็นการรวบรวมผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในการผสมผสานวัฒนธรรมและ ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ให้เข้ากับเทคโนโลยีและการจัดการด้านธุรกิจ ทีก่ อ่ ให้เกิดการจ้างงาน และกำ�ลังซื้อสินค้าหมุนเวียนอันเป็นกลไกให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองและ ประเทศ 3 การสร้างพืน้ ทีแ่ ละสิง่ อำ�นวยความสะดวก (Space & Facility) เมืองจะต้องมี สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอและมีคุณภาพ ช่วยก่อให้เกิดสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อ การผลิตนักคิดและธุรกิจสร้างสรรค์ 4 การบริหารจัดการเมือง (Management) องค์กรของภาครัฐและเอกชน จะต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมือง โดยเป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น และทำ�งาน ประสานกันเพื่อนำ�ไปสู่เป้าหมายได้อย่างสร้างสรรค์ โดยมีแนวทางในการปรับปรุง เมืองเพื่อให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) โดยการผสานแนวคิดทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมกัน -6-


เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การ UNESCO

โครงการฯ ต้องยึดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นทิศทางการพัฒนา ตามที่ องค์การ UNESCO ได้ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2573 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี โดยประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายคือ 1 ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ 2 ขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และ ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน 3 ทำ�ให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำ�รงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของ ทุกคนในทุกช่วงอายุ 4 ทำ�ให้แน่ใจถึงการได้รบั การศึกษาทีไ่ ด้คณ ุ ภาพอย่างเท่าเทียมและทัว่ ถึง และส่งเสริม โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน 5 บรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน 6 ทำ�ให้แน่ใจว่าเรื่องน้ำ�และการสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพ พร้อมใช้สำ�หรับทุกคน 7 ทำ�ให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน เชื่อถือได้ ตามกำ�ลัง ซื้อของตน 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึงให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพการมีงานทำ�และการจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำ�หรับทุกคน 9 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็น อุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม 10 ลดความเหลื่อมล้ำ�ทั้งภายในและระหว่างประเทศ -7-


เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การ UNESCO 11 ทำ�ให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับ การเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน 12 ทำ�ให้แน่ใจถึงการมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน 13 ดำ�เนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ ผลกระทบที่เกิดขึ้น 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลสำ�หรับ การพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน 15 พิทักษ์ บูรณะ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้งและฟื้นฟูความ เสื่อมโทรมของที่ดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 16 ส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข ไม่แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการ เข้าถึงความยุติธรรมโดยถ้วนหน้า และสร้างให้เกิดสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนรวม มี ประสิทธิผลและเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ 17 เสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการปฏิบัติให้เกิดผล และสร้างพลังแห่งการเป็น หุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

-8-


UCCN Mission Statement ภารกิจของเมืองเครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO

เริ่มต้นในปี 2547 เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UCCN) มีเป้าหมาย ที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความร่วมมือกับเมืองและระหว่างเมืองที่มีการยอมรับความคิด สร้างสรรค์เป็นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและ สิ่งแวดล้อม เมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย ในแต่ละเมืองจะร่วมกันหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ในการพัฒนาร่วมกับภาคีเครือข่าย เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมทาง วัฒนธรรม และการบูรณาการในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของเมือง วัตถุประสงค์ ยูเนสโกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์มีจุดมุ่งหมายเพื่อ: 1 เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ระหว่างเมืองที่มีการยอมรับความคิด สร้างสรรค์เป็นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน 2 กระตุ้นและยกระดับการริเริ่มต่างๆ ที่นำ�โดยเมืองสมาชิกเพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์ เป็นองค์ประกอบของการพัฒนาเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับ สาธารณะและภาคเอกชนและภาคประชาสังคม 3 เสริมสร้างการผลิตการจัดจำ�หน่ายและเผยแพร่กิจกรรมทางวัฒนธรรม เพิ่มมูลค่า สินค้าและบริการ 4 พัฒนาศูนย์ของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ขยายโอกาสสำ�หรับผู้ผลิต และ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม 5 ปรั บ ปรุ ง การเข้ า ถึ ง และการมี ส่ ว นร่ ว มในวิ ถี ชี วิ ต ของการใช้ สิ น ค้ า และบริ ก ารที่ มีคุณค่าทางวัฒนธรรมสำ�หรับกลุ่มคนชายขอบหรือกลุ่มเสี่ยง 6 บูรณาการวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์เข้ากับกลยุทธ์และแผนการพัฒนา ท้องถิ่นอย่างเต็มที่ -9-


UCCN Mission Statement ภารกิจของเมืองเครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ขอบเขตของการดำ�เนินการ ตามวัตถุประสงค์ของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การUNESCO ถูกนำ�มาใช้ ทั้งในระดับของเมืองสมาชิกและในระดับนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดำ�เนินการ ต่อไปนี้: 1 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด 2 จัดทำ�โครงการนำ�ร่องการมีส่วนร่วมและการริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐและเอกชน และสังคม 3 โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับเมืองเครือข่าย 4 การศึกษาวิจัยและประเมินผลประสบการณ์ของเมืองสร้างสรรค์ 5 จัดทำ�นโยบายและมาตรการเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน 6 สร้างกิจกรรมด้านการสื่อสารและการสร้างจิตสำ�นึก

รายละเอียดเพิ่มเติม https://en.unesco.org/creative-cities/sites/creative-cities/files/Mission_Statement_UNESCO_ Creative_Cities_Network.pdf

-10-


-11-


โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน หัวหน้าโครงการ : รศ. ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ชื่อหนังสือ : โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ปีที่พิมพ์ : สิงหาคม 2561 ออกแบบปก : นายอาณัฐพล ชัยศรี ออกแบบรูปเล่ม : นายณัฐวุฒิ ทุนอินทร์ เนื้อหา : นางสาวอรกัญญา อินทะวงศ์, นางสาววัชราภรณ์ ช่างเหล็ก, นายธนกร สุธีรศักดิ์ พิมพ์ที่ : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดต่อ/ติดตาม : (E-mail) cm.cityofcrats@gmail.com (Website) www.chiangmai-cityofcrafts.com (Facebook) www.facebook.com/ChiangmaiCCFA/ (Line@) @chiangmaiccfa

www.facebook.com/ChiangmaiCCFA/



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.