Final Report ปีที่ 2 พ.ศ. 2558

Page 1

รายงานฉบับสมบูรณ์ Final Report

เสนอต่อ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

เมษายน 2559


บทสรุปผู้บริหาร

รายงานฉบับนี้คือรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการ (Final Report) ที ่เสนอต่อองค์การบริหารส่วน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองวัฒนธรรม สร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO (สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน : Crafts and Folk Art) โดยมี รายละเอียดประกอบด้วย (1) รายงานผลการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรม กิจกรรมที่ 1 : ย้อมคราม บีบ รัด มัด หนีบ กิจกรรมที่ 2 : เซรามิค ขูด ขีด เขียน แกะ พิมพ์ กิจกรรมที่ 3 : ย้อม สี สร้าง ลาย กิจกรรมที่ 4 : แอ่วชุมชนหัตถกรรม (2) รายงานผลการจัดสัมมนาระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (3) รายงานผลการจัดประชุมสัมมนานานาชาติ Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015 และมหกรรมงานศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (4) รายงานการจัดทำเว็บไซด์เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการผลักดัน เชียงใหม่ให้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ภาค ประชาชน และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นและสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนิน งานร่วมกันในการผลักดันให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (5) รายงานผลการศึกษาดูงานเมืองที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อการสร้างเครือข่าย ณ เมือง Pekalongan ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการทำงานที่ผ่านมาทั้งโครงการสามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ ที่ทางองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ตั้งไว้ และสามารถนำผลงานไปการประกอบการยื่นเสนอเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมือง สร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO (สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน : Crafts and Folk Art) ในอนาคต

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมษายน ๒๕๕๙

ii


บทนำ ในปีงบประมาณ 2557 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกัน ดำเนินโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO โดยมี คณะวิจิตรศิลป์เป็นที่ปรึกษา ได้เริ่มโครงการด้วยการศึกษาศักยภาพและความพร้อมของเมืองเชียงใหม่ ที่เกี่ยวข้อง กับงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของเมืองเชียงใหม่ ในมิติของการเตรียมความพร้อมในการสร้างความร่วม มือกับผู้มีส่วนได้เสีย ที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของเมืองเชียงใหม่ โดยผลของการศึกษาพบ ว่าการดำเนินโครงการเรื่องนี้ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทุก ภาคส่วน ให้มีความเข้าใจเป้าประสงค์ ตลอดจกระบวนการในภาพรวมทั้งหมด เพื่อเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน เพื่อให้ครอบคลุมทุกหลักเกณฑของการพิจารณาการเป็นเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ซึ่ง เมืองเชียงใหม่จำเป็นต้องมีการดำเนินงานให้ครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ตามที่องค์การ UNESCO กำหนดไว้ เพื่อ ให้จังหวัดเชียงใหม่มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สมดัง วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่จึงได้ดำเนิน “โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็น เครือข่ายเมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ขององค์ UNESCO (สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน)” ระยะที่ 2 ใน ปีงบประมาณ 2558 ต่อ โดยมีการดำเนินงานดังนี้ 1. จัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง 4 ครั้ง 2. การจัดสัมมนาผู้ผลิตและผู้ใช้งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน 3. การประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านระดับนานาชาติ 4. การจัดทำเว็บไซด์เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน การผลักดันเชียงใหม่ให้ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และ องค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น และสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกันในการ ผลักดันให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO 5. จัดการศึกษาดูงานเมืองที่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO เพื่อเตรียมการสร้าง เครือข่าย และการรับรองจากสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO การดำเนินการในปีที่ 2 ในปีงบประมาณ 2558 นี้ จะทำให้เมืองเชียงใหม่ได้มีกิจกรรมและประสบการณ์ ในการส่งเสริมและพัฒนางานออกแบบหัตถกรรมเมืองสร้างสรรค์ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อส่ง เสริมให้เกิดงานวิจัย การเรียนรู้หัตถกรรม พัฒนาคน พัฒนาเมือง เพิ่มศักยภาพในเชิงการออกแบบงาน นวัตกรรม และการพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน และที่สำคัญที่สุดคือการรักษาและสืบทอดงาน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของเชียงใหม่ให้คงอยู่ และขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ให้ เป็น “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ในเครือข่ายสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขา หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art) ต่อไป

iii


สารบัญ

หน้า บทนำ กิจกรรมการอบรมเพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรม

6

กิจกรรมที่ 1 : ย้อมคราม บีบ รัด มัด หนีบ

9

กิจกรรมที่ 2 : เซรามิค ขูด ขีด เขียน แกะ พิมพ์

13

กิจกรรมที่ 3 : ย้อม สี สร้าง ลาย

18

กิจกรรมที่ 4 : แอ่วชุมชนหัตถกรรม

22

รายงานผลการจัดสัมมนาระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

34

รายงานผลการประชุมสัมมนานานาชาติ Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015 และงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ 39 รายงานการจัดทำเว็บไซด์เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์

76

การศึกษาดูงานเมืองสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO

88

iv


ผลการดำเนินงาน 1

การดำเนินงาน วางกรอบแนวคิดและแผนการดำเนินงาน

2

รายงานผลการศึกษาเบื้องต้น (Inception Report) 18 มิ.ย.58

พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.

3

จัดทำเว็บไซต์เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรมครั้งที่ 1 ย้อมคราม 4 “บีบ รัด มัด หนีบ” วันที่ 11 - 12 ก.ค. 58 กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรมครั้งที่ 2 เซรามิก 5 “ขูด ขีด เขียน แกะ พิมพ์” วันที่ 18 และ 25 ก.ค. 58 กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรมครั้งที่ 3 ย้อมสี 6 สร้างลาย วันที่ 8 - 9 ส.ค. 58 กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรมครั้งที่ 4 แอ่ว 7 ชุมชนหัตถกรรม Tourism Crafts & Cultural Branding Workshop วันที่ 22 - 23 ส.ค. 58 สัมมนาผู้ผลิตกับผู้ใช้งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน 8 วันที่ 30 ส.ค. 58 ประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Crafts and 9 Folk Art International Fair วันที่ 11 - 17 ก.ย. 58 10 การศึกษาดูงานเมืองสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO

v


กิจกรรมการอบรมเพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรม


กิจกรรมการอบรมเพื่อพัฒนางาน กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 เทคนิคการย้อมผ้าด้วยคราม “บีบ รัด มัด หนีบ” กิจกรรมที่ 2 การปั้นและสร้างลวดลายบนภาชนะซรา มิค ก่อร่างสร้างลาย (เซรามิค) “ขูด ขีด เขียน แกะ พิมพ์” กิจกรรมที่ 3 เทคนิคการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ “ย้อมสี สร้างลาย” กิจกรรมที่ 4 แอ่วชุมชนหัตถกรรม Tourism Crafts & Cultural Branding Workshop รวม

วันฝึกอบรม

จำนวนผู้เข้าอบรม (คน)

11 - 12 กรกฎาคม 2558

40

18 และ 25 กรกฎาคม 2558

40

8 - 9 สิงหาคม 2558

40

22 - 23 สิงหาคม 2558

40

8 วัน

160

7


8


กิจกรรมที่ 1: ย้อมคราม “บีบ รัด มัด หนีบ”


กิจกรรมที่ 1: ย้อมคราม “บีบ รัด มัด หนีบ” ช่วงเวลา : วันที่ 11 – 12 กรกฎาคม 2558 สถานที่ หอนิทรรศการศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากร : คุณพีรพงษ์ รัตนะศรีนุรังกุล จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม : 40 คน วิธีการสมัคร : ผ่านทาง Facebook และ โทรศัพท์ ลักษณะกิจกรรม 1. เรียนรู้กระบวนการปลูกครามหมักคราม และ การย้อมคราม 2. ปฏิบัติการทดลองย้อมครามด้วยเทคนิคการบีบ การรัด การมัด การหนีบผ้า จากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ชำนาญการในด้านย้อมครามโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับข้อมูลและการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถนำวิธีการย้อมครามตามภูมิปัญญาล้านนาไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใน รูปแบบอื่น

10


ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้ใช้สีครามที่มาจาก “ฮ่อม” สีครามเป็นสีธรรมชาติปรากฏในงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านล้านนามาช้านาน ชาวบ้านภาคเหนือ ย้อมผ้าสีคราม หรือเป็นที่รู้จักว่าสีหม้อห้อม (ม่อฮ่อม) โดยใช้ใบต้นฮ่อม คนรุ่นปู่ย่าในภาคเหนือกล่าวถึงการเลี้ยงฮ่อมว่า เป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนเหมือนไสยศาสตร์ที่อยู่ เหนือการควบคุม หม้อห้อม (ม่อฮ่อม) เป็นสิ่งมีชีวิต การเลี้ยงฮ่อม เป็นศาสตร์และศิลป์ ไม่มีสูตรแน่นอนตายตัว ต้องอาศัยการสังเกต ทั้ง “ดู ดม ชิม” ด้วยความ ชำนาญเท่านั้น การสาธิตเริ่มเรียนรู้จากการ “โจก” คือ ตักของเหลวที่เป็นส่วนผสมในหม้อห้อม (ม่อฮ่อม) ขึ้นสูง 1 ฟุต แล้วเทกลับลงไปในหม้อใหม่ทำอย่างนี้ประมาณ 3-4 ครั้ง ต่อรอบ วันละ 1-2 รอบ เช้าและเย็น การโจก นี้ทำเพื่อเติมอากาศให้กับจุลินทรีย์ภายในหม้อห้อม (ม่อฮ่อม) ให้พร้อมที่จะนำไปใช้ย้อมผ้า ทั้งนี้เทคนิคในการสังเกต สามารถดูได้จากจากฟอง ที่เรียกว่า “ปวก” จะมีสีน้ำเงินเหลือบม่วงแดง น้ำย้อมจะมีสีเหลืองเหลือบน้ำตาล จึงจะสามารถนำมาย้อมผ้าได้ ในกิจกรรม “บีบ รัด มัด หนีบ” หม้อห้อม (ม่อฮ่อม) วิทยากรได้เตรียมการก่อหม้อห้อมมาก่อนการทดลองเป็นเวลา 2 คืน ฮ่อม 1 หม้อ ในวันแรกจะย้อมผ้าพันคอได้ประมาณ 17 ผืน และต้องเดิม เนื้อฮ่อม น้ำด่าง มะขามเปี ยก และพักทิ้งไว้อีก 1 คืน ในวันที่ 2 จึงจะสามารถนำมาใช้ย้อมได้อีก ครั้ง ทั้งนี้หากต้องการย้อมต่อไปเรื่อยๆ จะต้องมีการเติมเชื่อ ที่เรียกว่า “เลี้ยงหม้อฮ่อม” โดยเดิม เนื้ออ่อน น้ำด่าง มะขามเปียก และพักทิ้งไว้ ทำอย่างนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ ก็ จะสามารถนำผ้ามาย้อมหม้อฮ่อม ได้ทุกวัน

11


ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม


ก่อร่างสร้างลาย (เซรามิค) “ขูด ขีด เขียน แกะ พิมพ์”


กิจกรรมที่ 2 : ก่อร่างสร้างลาย (เซรามิค) “ขูด ขีด เขียน แกะ พิมพ”์ ช่วงเวลา : วันที่ 18 และ 25 กรกฎาคม 2558 สถานที่ หอนิทรรศการศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากร : จำนวน

4 สตูดิโอ

1. IN CLAY STUDIO

: คุณจิระวงษ์ วงษ์ตระหง่าน คุณชัชชัยวัชร ซังชู

2. TAWAN POTTERY

: คุณศุภฤกษ์ มาละแซม คุณอนุพงษ์ สิงห์ทอง

3. CLAY DAY

: คุณณุพล วิริยะวงษ์

4. HAVE A HUG STUDIO

: คุณภูริดล พิมสาร คุณพีระพงษ์ สุทธิเวช

จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม : 40 คน วิธีการสมัคร : ผ่านทาง Facebook และ โทรศัพท์ ลักษณะกิจกรรม

14


1. การอบรมเชิงวิชาการเรื่ององค์ความรู้เกี่ยวกับงานเครื่องปั้นดินเผา (เซรามิค) ในเขตล้านนา เพื่อ เรียนรู้เอกลักษณ์ของงานเครื่องปั้นดินเผา ที่มีรูปแบบ เทคนิควิธีการเฉพาะถิ่น มาแต่ครั้งอดีต และแพร่ หลายไปยังภูมิภาคต่างๆ ผ่านการค้าขายแลกเปลี่ยน 2. ปฏิบัติการสร้างลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผา (เซรามิค) โดยใช้กระบวนการและเทคนิคต่างๆ ทั้ง การขูด การขีด การเขียน การแกะ และการพิมพ์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ เพื่อจะสามารถนำ ความรู้ไปพัฒนางานเซรามิกของตนเอง ให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะตัว ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ วิทยากร ได้นำดินชนิดต่างๆ เช่น ดินเหนียว ดินขาว ดินสโตนแวร์ มานวด และรีด น้ำ เพื่อให้พร้อมต่อการขึ้นรูป รวมถึงนำส่วนผสมของนำ้เคลือบที่ทำจากขี้เถ้าจากไม้ชนิดต่างๆ มาบดเพื่อให้ ได้นำ้เคลือบสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำมาเคลือบงานของตน

15


โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้เรียนรู้เทคนิคการขึ้นรูปและการสร้างลวดลาย 4 วิธี ได้แก่ ฐานที่ 1 การทาน้ำดินสี ขูด ขีด ลวดลาย ฐานที่ 2 เทคนิคการเจาะฉลุภาชนะดินเหนียวให้เป็นลวดลาย ฐานที่ 3 การพิมพ์ลายลงบนดินเหนียว ฐานที่ 4 การขึ้นรูปทรงอิสระเพ้นท์สีใต้เคลือบ หลังจากนั้นวิทยากรได้นำผลงานการขึ้นรูปและทำลวดลาย ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 40 คน ไปเผา โดยใช้วิธีการเผาดิบ คือ การเผาที่ยังไม่ได้ชุบน้ำเคลือบ ซึ่งเป็นการเผาแบบสันดาปสมบูรณ์ (Fully Oxidation) ตั้งแต่ต้นจนจบ 24 – 750 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมง แล้วจึงนำกลับมาให้เจ้าของผลงานชุบ น้ำเคลือบสีต่างๆ เช่น สีขาว สีเทา สีน้ำตาล ก่อนจะนำกลับไปเผาอีกครั้ง จึงจะได้ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์

16


ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม


“ย้อมสี สร้างลาย”


กิจกรรมที่ 3 : ย้อม สี สร้าง ลาย (ย้อมสีธรรมชาติ) ช่วงเวลา : วันที่ 8 – 9 สิงหาคม 2558 สถานที่ หอนิทรรศการศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากร : คุณพีรพงษ์ รัตนะศรีนุรังกุล จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม : 40 คน วิธีการสมัคร : ผ่านทาง Facebook และ โทรศัพท์ ลักษณะกิจกรรม 1. การอบรมเชิงวิชาการเกี่ยวกับสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ ประกอบไปด้วย กระโดน มะเกลือ สมอ ไทย และคราม 2. ปฏิบัติการสร้างลวดลายบนผืนผ้า ผ่านกระบวนการมัดย้อม โดยใช้เทคนิค บีบ รัด มัด หนีบ และทดลองย้อมสีธรรมชาติ โดยให้มีหลายๆ สี และหลายเทคนิค ในผืนเดียว

19


วัตถุดิบที่ใช้ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ ได้แก่ กระโดน หรือเรียกตามท้องถิ่นว่า กระโดนโคก กระโดนบก ปุย ปุยขาว ผ้าฮาด พุยขุย กะนอน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ทั่วไป ส่วนของกระโดนที่ใช้ในการย้อมจะเป็นเปลือก คราม มีชื่อเรียกต่างกันตามพื้นที่ได้แก่ คาม (เหนือ,อีสาน) คราม (ไทย) ครามย้อม (กรุงเทพฯ) ส่วนที่ใช้ย้อมสี ได้แก่ ต้นสด ใบ กิ่งก้าน สีที่ได้ คือ สีน้ำเงิน เป็นสารเคมีชื่อ INDIGO สมอไทย มีชื่อพื้นเมืองว่า มะนะ หรือ ม่าเน่ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึง ขนาดใหญ่ ขึ้นตามป่าดงดิบ เขาป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณทั่วไป ส่วนที่ให้สีคือ ใบ ผล และ เปลือก สีที่ได้ คือ สีเหลือง สีเขียว สีเทาดำ มะเกลือ ชาวไทใหญ่จะ เรียกว่า ผีเผา คนล้านนาจะเรียกว่า มะเกีย มะเกือ หรือ มะเกลื้อ ลูกมะเกลือใช้ทำเป็นสีย้อมผ้า ให้สีเทา น้ำตาล และดำ วิธีการย้อมสี จากมะเกลือ จะใช้วิธีการย้อมเย็น หรือย้อมแบบหมัก อาจใช้ผลมะเกลือสดหรือผลมะเกลือดอง ตำให้ละเอียดแล้วแช่น้ำ ในน้ำที่แช่นี้ อาจมีการเติมน้ำด่างหรือพืชอื่นๆ เพื่อช่วยในการย้อม โดยแต่ละท้องที่จะมีเทคนิคเฉพาะของตน จากนั้นจึงนำเอาเส้นด้ายฝ้ายลงไปย้อม การย้อมทุกครั้งต้องตากแดดให้แห้ง อาจต้องย้อมซ้ำหลายครั้ง เพื่อให้ได้สีน้ำตาลเข้มหรือ สีดำสนิท

20


ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม


“แอ่วชุมชนหัตถกรรม” TOURISM CRAFTS & CULTURAL BRANDING WORKSHOP


กิจกรรมที่ 4 : แอ่วชุมชนหัตถกรรม Tourism Crafts & Cultural Branding Workshop ช่วงเวลา : วันที่ 22 - 23 สิงหาคม 2558 สถานที่ ชุมชนพวกแต้ม ชุมชนศรีปันครัว ชุมชนป่าบง และ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากร : รศ. ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พระครูปฏิภาณธรรมพิศิษฎ์ เจ้าอาวาสวัดพวกแต้ม อาจารย์ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม : 40 คน วิธีการสมัคร : ผ่านทาง Facebook และ โทรศัพท์ ลักษณะกิจกรรม กิจกรรมในครั้งนี้ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การทัศนศึ กษาในชุมชนหัตถกรรม ได้แก่ ชุมชนช่างในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ชุมชนพวก แต้ม ที่ทำงานดุนทองเหลือง ซึ่งเรียกว่า “คัวตอง” และชุมชนทำเครื่องเขินที่บ้านศรีปันครัว และชุมชนทำ เครื่องจักสานในอำเภอสารภี คือ ชุมชนป่าบง เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของกระบวนการทำงาน หัตถกรรม และทราบถึงแหล่งผลิตงานหัตถกรรมภายในเมืองเชียงใหม่ และนำความรู้จากการเรียนรู้มา พัฒนาสู่การท่องเที่ยวเชิงใหม่ และการประยุกต์งานหัตถกรรมมาใช้ในวิถีแบบใหม่ 23


ชุมชนพวกแต้ม ชุมชนพวกแต้ม อยู่ในเขตอนุรักษ์ของเมืองเชียงใหม่ ชื ่อของชุมชนนี้ปรากฏในใบลาน เมื่อปีพุทธศักราช 2363 หรือ เมื่อ 193 ปี ที ่ผ่านมา ในสมัยของพระยา ธรรมลังกา (พ.ศ.2356 – 2364) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ 2 โดยชื่อของวัดมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้สร้างวัด ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นช่าง โดยคำว่า “พวก” หมาย ถึง หัวหน้าหมู่ซึ่งเป็นขุนนาง “แต้ม” หมายถึง การเขียนลวดลาย ดังนั้นวัดนี้จึงสัมพันธ์กับขุนนางที่มีหน้าที่ควบคุมทางด้านงานช่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงรักปิด ทอง อันเป็นการสร้างลวดลายในการประดับตกแต่ง ซึ่งสอดคลองกับการบอกเล่า ซึ่งต่อมาชุมชนได้ทำงานทองเหลือง อันเป็นสาขาหนึ่งของงานช่าง และสืบทอดมา ตราบปัจจุบัน

24


ชุมชนศรีปันครัว เครื่องเขิน (LACQUERS WARES) เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านประเภทหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีลั กษณะเป็นภาชนะรูปทรงต่างๆ ที ่เกิดจากการขดหรือสาน ไม้ไผ่ ให้ได้รูปทรงตามต้องการ จากนั้นนำมาเคลือบด้วยยางรัก เพื่อให้ภาชนะมีความคงทนแข็งแรงมากขึ้น แล้วจึงตกแต่งโดยการเขียนลวดลายด้วยชาด หรือการขูด ลาย และบางครั้งยังมีการประดับด้วยทองคำเปลว หรือเงินเปลวด้วย ซึ่งภาชนะเครื่องเขินนี้จะมีชื่อเรียกรวมๆ ในภาษาพื้นเมืองว่า “คัวฮักคัวหาง” หรือ “เครื่องฮัก เครื่องหาง” หรือ “เครื่องฮักเครื่องคำ” ขึ้น อยู่กับลักษณะของประดับตกแต่ง ว่าตกแต่งด้วยขาดหรือทองคำเปลว และเรียกชื่อภาชนะแต่ละชนิดไปตามหน้าที่การ ใช้สอย เช่น ขันดอก ขันหมาก ขันโอ หีบผ้า แอ๊บ อูบ หรือปุง ส่วนชื่อเรียก “เครื่องเขิน” นั้น สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ โดยเรียกไปตามชื่อของ กลุ่มชนชาวไทเขิน หรือ ไทขิน ที่มีความชำนาญในการผลิตภาชนะเครื่องใช้ประเภทนี้ บ้านศรีปันครัว ตำบลท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเพียงไม่กี่ชุมชนที่ยังมีการทำเครื่องเขินทั้งแบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์ เช่น “ขันแดง” ภาชนะทรงกลม ใช้ในพิธีกรรมและการตกแต่ง รวมถึงยังมการขึ้นรูปทรงเป็นภาชนะแบบต่างๆ เช่น พาน ตะลุ่ม ขันหมาก หีบผ้า ขันโตก และ ขันโอ เป็นต้น แต่เนื่องจากในปัจจุบัน วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องเขินทั้งรักและชาดนั้นค่อนข้างหายากและมีราคาสูง ดังนั้นชาวบ้านศรีปันครัวจึงเปลี่ยนมาใช้วัสดุสมัยใหม่ เช่น สีน้ำมัน และ สีพลาสติกทดแทน

25


ชุมชนบ้านป่าบง บ้านป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่ทำงานหัตถกรรมประเภทเครื่องจักสานที่เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เดิมบ้านป่าบงเป็นพื้นที่มีต้นไผ่บง เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงได้มีการนำมาแปรรูปและผลิตเป็นเครื่องจักสาน ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมภายในชุมชนที่พบ ได้แก่ ตะกร้า สวิง เปี๊ยด เป็นต้น ปัจจุบันสินค้า เครื่องใช้ของชุมชนป่าบงได้ถูกส่งไปยังอำเภอต่างๆ เพื่อเพิ่มเติมเทคนิคต่างๆ เช่น ส่งไปยังตำบลหนองควาย อำเภอหางดง เพื่อลงสี ส่งไปยัง ตำบลหารแก้ว อำเภอ หางดง เพื่อออกแบบตกแต่งเพิ่มเติมให้ตรงกับความนิยมของกระแสตลาด ก่อนที่จะส่งไปยังศูนย์หัตถกรรมบ้านถวาย อำเภอหางดง เพื่อจำหน่าย คำว่า “เครื่องจักสาน” นั้นเป็นคำที่เรียกขึ้นตามกรรมวิธีในการผลิตที่ทำให้เกิดเป็นภาชนะ ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการที่ประกอบด้วยการ “จัก” และ “สาน” “จัก” คือ การนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็น แฉก หรือ เป็นริ้ว เพื่อความสะดวกในการสาน การจักถือได้ว่าเป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมวัสดุในการทำเครื่อง จักสาน ลักษณะของการจักโดยทั่วไปนั้นขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาจักแต่ละชนิด โดยจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น วัสดุที่นำมาจักให้เป็นริ้วนั้นเป็นไม้ไผ่ หรือ หวาย จะเรียกว่า “ตอก” ซึ่งชุมชนป่าบงนี้แทบทุกครัวเรือนมีฝีมือในการจักสานอย่างน่าสนใจ

26


การจักตอกไม้ไผ่โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ จักตามแนวไม้ไผ่โดยมีผิวไม้เป็นส่วนแบน จะเรียกว่า “ตอกปิ้น” ส่วนอีกลักษณะหนึ่งเรียกว่า “ตอกตะแคง” ตอกชนิดนี้จะจักโดยมีผิวไม้เป็นส่วนสัน ตอก นอกเหนือจากตอกไม้ไผ่สองลักษณะนี้แล้ว อาจจะมีตอกที่จักให้เป็นเส้นกลม หรือ ลักษณะอื่นๆ ตาม ความต้องการที่จะนำตอกชนิดนั้นๆ ไปใช้ ดังนั้น การจักตอกจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนแรกในการทำ เครื่องเขิน เพราะลักษณะของตอกจะต้องประสานกับลวดลาย และรูปทรงของภาชนะเครื่องจักสานนั้นด้วย เช่น การสานส่วนก้นของภาชนะ จะต้องใช้ตอกปิ้นแบนๆ เพื่อให้เกิดลายสานที่เป็นแผ่ตามแนวราบ มีความ คงทน สามารถวางบนพื้นราบได้ และสะดวกต่อการสร้างรูปทรงของภาชนะส่วนที่อยู่ถัดจากส่วนก้นขึ้นไป หรือตอกสำหรับสานส่วนของภาชนะบริเวณที่เป็นคอ หรือส่วนที่คอดจำเป็นจะต้องใช้ตอกเส้นเล็กๆ ที่มี ความละเอียด เพื่อความสะดวกในการสานให้ได้รูปทรงตามต้องการ เป็นต้น การสานนั้นถือได้ว่าเป็นกระบวนการทางความคิดที่สร้างสรรค์ ลักษณะของการสานเริ่มแรกจะ เป็นการสานไปตามแนวราบโดยใช้วัสดุขัดกันไปมาอย่างง่ายๆ ตามแบบที่เรียกว่า “ลายขัด” ด้วยการยกขึ้น เส้นหนึ่งและกดลงเส้นหนึ่งให้เกิดการขัดกัน ทำให้วัสดุคงรูปต่อเนื่องกันไปเป็นพื้นที่มากขึ้นตามความ ต้องการ และจากการสานด้วยลายขัดตามแนวราบมนุษย์ก็ได้พัฒนาการสาน เพื่อตอบสนองความต้องการ ด้านประโยชน์ใช้สอยจึงเกิดเป็นภาชนะขึ้นมา โดยอาจจะสานลายขัดนั้นเข้ากับแม่แบบเพื่อให้เกิดเป็นรูป ทรงของภาชนะ แม่แบบสำหรับสานภาชนะนั้นอาจจะเป็นเปลือกผลไม้ หรือเครื่องปั้นดินเผาก็ได้ งานจักสานบ้านป่าบงได้พัฒนาลวดลายการสาน ทั้งโดยเจตนาและเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ทำให้ได้ เครื่องจักสานที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละบ้าน มีรูปทรงน่าใช้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้สอยที่เปลี่ยนไป ตามสมัยนิยม

27


ประสบการณ์ที่ได้รับ อาจารย์ยุทธศักดิ์ ฉัตรแก้วนภานนท์ (ภาควิชาการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่) กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่ได้ไปร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน “แอ่วชุมชนหัตถกรรม” Tourism Crafts & Cultural Branding Workshop : Chiang Mai City of Crafts and Folk Art Initiative ทำให้ เกิดความรู้ ความเข้าใจในแง่มุมของการท่องเที่ยวในชุมชนที่มีศิลปะและหัตถกรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน ส่วนของกิจกรรมการออกเยี่ยมชุมชนต่างๆ ได้แก่ ชุมชนพวกแต้มคัวตอง ชุมชนเครื่องเขินศรีปันครัว ชุมชน จักสานป่าบง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ เน้นส่งเสริมให้สังคมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา สืบทอด มรดก ทางศิลปวัฒนธรรมและงานหัตถกรรมพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวในชุมชนก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม ซึ่งการเยี่ยมชนชุมชนต่างๆ นั้น เป็นกิจกรรมรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงหัตถกรรม (Handicraft Tourism) ซึ่งการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้มีการให้ความหมายว่า เป็นการท่องเที่ยวไปยังชุมชนที่มีการทำงาน หัตถกรรม โดยมุ่งเน้นเพื่อการสร้างประสบการณ์ตรงให้แก่นักท่องเที่ยว จากการได้สัมผัสการทำหัตถกรรม ในสถานที่จริงและบรรยากาศจริง จากช่างในชุมชนผู้สืบสานงานหัตถกรรมของท้องถิ่นนั้นๆ กิจกรรมการท่องเที่ยวไปชมงานหัตถกรรมยังชุมชนต่างๆ นั้น นอกจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เห็น ขั้นตอนการผลิตงานหัตถกรรมแล้ว ยังได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่กำลังผลิตเพื่อออกวางจำหน่ายสู่ท้องตลาด ซึ่งการ ได้เห็นขั้นตอนการผลิตในสถานที่จริง ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความตระหนักถึงคุณค่า และต้องการ สนับสนุนชุมชน เพื่อเป็นของฝาก ของที่ระลึกทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว แม้ว่าสินค้าที่ทำการผลิตอยู่ในชุมชน ขณะนั้น จะเป็นสินค้าที่มีการสั่งชื้อหรือสั่งผลิตล่วงหน้าเพื่อวางจำหน่ายภายนอกชุมชน ซึ่งยังอยู่ในขั้นการ ผลิตที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมเมื่อสัมผัสกับกระบวนการทำงานในท้องถิ่นแล้ว ต่าง ต้องการซื้อสินค้าหัตถกรรมจากชุมชนแหล่งผลิตจริง มากกว่าตามงานแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือถนนคนเดินวันอาทิตย์ ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

28


เมื่อนักท่องเที่ยวเห็นขบวนการผลิตสินค้าหัตถกรรมแล้วและต้องการซื้อสินค้าหัตถกรรมเหล่านั้น ใน กระบวนการซื้อนั้นขายการต่อรองราคาแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ซึ่งต่างจากการซื้อสินค้าในลักษณะเดียวกันที่ถนนคน เดิน หรือตามงานแสดงสินค้าหัตถกรรมต่างๆ ซึ่งเหตุผลที่ได้คือ บรรยากาศ สถานที่ และประสบการณ์ที่ได้จากการ สัมผัสขบวนการผลิตทำให้ผู้ชื้อรู้สึกถึงคุณค่าของตัวผลิตภัณฑ์มากขึ้น จึงทำให้ไม่รู้สึกอยากต่อราคาสินค้านั้นๆ ซึ่งต่าง จากการไปซื้อสินค้าที่ตลาดนัดชุมชน ถนนคนเดินและสถานที่จัดจำหน่าย ที่ไม่ได้เห็นขั้นตอนกระบวนการผลิต โดยตรง ที่ผู้ซื้อไม่ได้รวมเอาประสบการณ์หรือคุณค่าของกระบวนการผลิตสินค้าไปรวมอยู่ด้วย การต่อรองราคาจึง เป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะสินค้าประเภทศิลปะและหัตถกรรมจากชุมชน ซึ่งผู้ซื้อคิดว่าควรจะมีต้นทุนต่ำ จากการเข้าใจ ว่าชุมชนทำเป็นอาชีพเสริม จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น การท่องเที่ยวเชิงหัตถกรรมควรมีการปรับเปลี่ยนไปสู่การท่องเที่ยวเพื่องาน ศิลปะและหัตถกรรมท้องถิ่น (from Handicraft Tourism to Souvenir Tourism) ซึ่งการ่องเที่ยวลักษณะนี้ จะเน้น ไปที่การเอาตัวผลิตภัณฑ์งานศิลปะและหัตถกรรมเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามายังชุมชน โดยผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ท้องถิ่นเป็นตัวดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปถึงแหล่งที่ผลิตสินค้าโดยตรง นักท่องเที่ยวจะได้เลือกชมสินค้าผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการดูกระบวนการผลิตงานหัตถกรรมนั้นๆ ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของการท่องเที่ยวเพื่องานศิลปะและหัตถกรรมท้องถิ่น คือ การมุ่งเน้นไปที่การไป ชม ศึกษาและเลือกชื้อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเฉพาะถิ่นให้กลายเป็นจุดประสงค์หลักของการเข้าไปท่องเที่ยวในชุมชน แหล่งผลิตสินค้า และการได้สัมผัสกับกระบวนการผลิต ที่ทำให้เกิดประสบการณ์และการสร้างคุณค่าของนักท่องเที่ยว ต่อตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้สินค้าหัตถกรรมเปลี่ยนจากแค่ Product ไปเป็น Souvenirs ผลที่ชุมชนได้รับ คือ การสร้างรายได้การชื้อขายโดยตรงของนักท่องเที่ยว จากที่นักท่องเที่ยวเคยซื้อสินค้า จากงานมหกรรมสินค้าพื้นเมืองในรูปแบบต่างๆ (ส่วนมากเน้นราคาถูก) แล้วค่อยมาเที่ยวดูแหล่งผลิตในลักษณะของ การมาชมพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ซึ่งชุมชนแทบไม่ได้อะไรโดยตรงจากการท่องเที่ยว นอกจากคำชม และการผลิตสินค้า ราคาถูกส่งขายงานแสดงสินค้าหัตถกรรมต่อไป ไปสู่การได้รับประโยชน์โดยตรงจากการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวเพื่องานศิลปะและหัตถกรรมท้องถิ่น จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้องตั้งอยู่ บนแนวคิด ที่เน้นความสำคัญของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และมีการผสมผสานจุดมุ่ง หมายของการอนุรักษ์กระบวนการผลิตงานหัตถกรรมเพื่อคงความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน โดยให้ความสำคัญต่อ ความรู้สึกและประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวต่อตัวผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต แหล่งที่ผลิต ดังนั้นการท่องเที่ยวเพื่อ งานศิลปะและหัตถกรรมท้องถิ่นจึงเป็นการต่อยอดจากการท่องเที่ยวในชุมชน ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ รวมถึงการ จัดการทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและการสร้างเศรษฐกิจชุมชน นอกจากนี้แล้ว หากทุกชุมชนผลิตและจำหน่ายงาน หัตถกรรมของชุมชนตนเองโดยตรงแก่นักท่องเที่ยว จะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน มีการผลิตงานที่มีความ เป็นเอกลักษณ์และมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน ไม่เกิดการลอกเลียนแบบกันและกันดังที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน

29


ส่วนที่ 2 การอบรมสั มมนา และ Workshop ภายใต้แนวคิ ด Cultural Branding โดยมุ่งเน้นตัวอย่างงานหัตถกรรมและชุมชน เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ในการนำ มาต่อยอดแนวทางด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนางานหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่ควบคู่กันไป และสร้างแรงบันดาล ใจให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการผลักดันเมืองเชียงใหม่สู่เมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านต่อไป ในการ Workshop มีการนำ แนวคิด Cultural Branding กับการนำอัตลักษณ์ของงานหัตถกรรมท้องถิ่นสู่การประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ โดย อาจารย์ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ (อาจารย์ประจำภาควิชา ออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) และเรื่องทุนทางวัฒนธรรมสู่คุณค่าในงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน โดย รศ. ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ได้กล่าวถึง ทุนทางวัฒนธรรม คือ มรดกภูมิปัญญา ทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ที่มีความหมายหลากหลายประเภทซึ่งล้วนแล้วยังประโยชน์ให้กับประเทศชาติทั้งสิ้น หากเปรียบเทียบว่าภูมิปัญญาเป็นเสมือนต้นทุนใน การผลิต ทุนทางวั ฒนธรรม อาจจะหมายความได้ว่า ต้นทุนที ่สะสมจากบรรพชน มาจากกระบวนการคิด กระบวนการประดิษฐ์ กระบวนการสร้างงาน เพื่อนำมาใช้ใน การพัฒนาผลงานให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติสืบต่อมา การนำทุนทางวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ในงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน สามารถสร้างจุดเด่น โดยนำทักษะทางงานฝีมือ มาผสานองค์ความรู้จากรากเหง้า ทางวัฒนธรรม รวมถึงความเข้าใจการใช้วัสดุจากท้องถิ่น สามารถสร้างคุณค่าให้กับผลงานนั้นๆ ควบคู่ไปด้วย คุณค่าที่เกิดขึ้นแสดงออกมาให้เห็นถึงรูปแบบของการ ผลิต เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งคุณค่าเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะอย่างยาวนาน กว่าดอกและผลทางศิลปวัฒนธรรมจะเจริญงอกงามสู่ สายตาให้เราประจักษ์รู้ถึงความเพียรพยายามในการอนุรักษ์ รักษา รวมถึงพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของไทยตราบจนทุกวันนี้ งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของเชียงใหม่ มีความโดดเด่นหลากหลาย ซึ่งแต่ละประเภทนั้น ได้มีการผสมผสานความรู้ในการผลิต ความคิดสร้างสรรค์และ การประยุกต์วัสดุท้องถิ่น อันเป็นจุดกำเนิดของทุนทางวัฒนธรรมที่ส่งต่อคุณค่าในงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน รวมถึงธรรมชาติและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมือง เชียงใหม่ ที่สามารถนำมารวมและหล่อหลอมเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน

30


31


32


33


การจัดสัมมนาระหว่างผู้ผลิต กับผู้ใช้งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน


กิจกรรมสัมมนา “ผู้ผลิตกับผู้ใช้งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน” Crafts : Future and Diversity ช่วงเวลา : 4 ตุลาคม 2558 สถานที่ : ห้องป่าสักน้อย โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว กิจกรรม : มีการแบ่งกิจกรรมออกเป็นดังนี้ 1. การบรรยายจากผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้าที่มีแนวคิดในการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับแนวคิด Social Entrepreneur เกี่ยวกับสถานการณ์ ปัญหา และการดำเนินธุรกิจงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ของเชียงใหม่ 2. แบ่งกลุ่มผู้สัมมนาร่วมทำ Empathy Map ระดมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับงาน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านและการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่สู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO 3. สรุปผลการสัมมนา

35


ลักษณะกิจกรรม 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ในการผลิตงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ไปยังผู้ใช้งาน ทั้งนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านมากยิ่งขึ้น 2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ไปต่อยอดในการพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านได้อย่างเหมาะสม กับบริบททางสังคม ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อสืบต่อลมหายใจของผู้ผลิตงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 120 คน ประกอบด้วย 1. สล่า ช่างฝีมือ ผู้ผลิตงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน 2. ผู้ใช้งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน 3. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน 4. เครือข่ายชุมชน กลุ่ม องค์กรอิสระต่างๆ 5. ตัวแทนจากสถาบันการศึกษา นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และนักวิชาการ 6. ตัวแทนจากหน่วยงานราชการ 7. ผู้สนใจทั่วไป 36


37


38


การประชุมสัมมนา CHIANG MAI CRAFTS AND FOLK ART FORUM 2015

และงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ


แนวคิดของโครงการสัมมนา Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015 ประเทศไทยได้เผชิญกับสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงหลายครั้งอันนำมาสู่การจัดการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เผชิญ ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีนโยบายการทำงานที่มุ่ง แก้ปัญหาของประเทศ และสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ของรัฐบาล ที่ให้ ความสำคัญกับการพัฒนา “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ซึ่งมุ่งเน้นและเสริมสร้างเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น และเตรียมการเรื่องนี้ คือ การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐาน ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยการส่งเสริมการพัฒนาเมือง สร้างสรรค์ควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ ตามแนวทางเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากร ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการเพื่อสนับสนุนการลงทุน และการพัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมการจดทะเบียน การใช้และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สนับสนุนการ ศึกษาวิจัยประเด็นที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยี สารสนเทศ การสื่อสารที่มีคุณภาพ ทันสมัย เพื่อสร้างบรรยากาศ และสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ พื้นที่สาธารณะ การจัดกิจกรรม ฝึกอบรม และงานแสดงสินค้า และบริการ สร้างสรรค์สาขาต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเครือข่ายของการผลิต การค้าและการ บริการของธุรกิจ สร้างสรรค์ของภูมิภาคอาเชียน (Creative Hub of ASEAN) เพื่อให้บรรลุตามพันธสัญญาการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาล องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ องค์การยูเนสโก (สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน) โดยร่วมกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ ชุมชนหัตถกรรม ใน จังหวัดเชียงใหม่ จัดสัมมนา Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015 และงานนิทรรศการศิลปะ พื้นบ้านนานาชาติ (Crafts and Folk Art International Exhibition) ขึ้น ณ หอนิทรรศการศิลป

40


วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นส่วนในการที่จะผลักดันเมืองเชียงใหม่ ให้ก้าวสู่เมืองสร้างสรรค์ สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านขององค์การ UNESCO การสัมมนาครั้งนี้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการผลิตหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน และ เกิดการตอบสนอง ต่อผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสร้างทุนทางวัฒนธรรม ที่มีความหมาย มุ่งเน้น คุณค่า และยังประโยชน์ให้กับประเทศชาติอีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดเวที แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงาน และเทคนิควิธีการต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบ การชาวเชียงใหม่และชาวไทย การประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นให้เกิดการตระหนักถึงความสำคัญในโอกาสจากการพบปะแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสนับสนุน นโยบายและส่งเสริมการผลิตงาน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน จากหลากหลายประเทศ อาทิ เมืองสร้างสรรค์ จิ๋งเต๋อเจิ้น สาธารณรัฐ ประชาชนจีน, เมืองสร้างสรรค์ นครเพกาลองงัน จังหวัดชวากลาง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), ประเทศอินเดีย, ราชอาณาจักรกัมพูชา, สาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมา และหน่วยงานภาครัฐของไทย มาให้นโยบายและความรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เข้า ร่วมประชุมในการเตรียมความพร้อมของเมืองเชียงใหม่สู่เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขา หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านต่อไปในอนาคต

ช่วงเวลา วันที่ 19 – 22 พฤศจิกายน 2558

41


วัตถุประสงค์ 1. เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การอนุรักษ์ พัฒนา การจัดการงานหัตถกรรมและศิลปะ พื้นบ้านของประเทศต่างๆ 2. เพื่อเสริมศักยภาพของเมืองและประเทศในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและการสร้างเครือข่ายงาน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านระหว่างประเทศ 3. เพื่อเป็นการเผยแพร่งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของเมืองเชียงใหม่ให้เป็นที่รู้จักในระดับ นานาชาติ 4. เพื่อให้หน่วยงานราชการประชาชน ชาวบ้าน สล่า ช่างฝีมือ และคนรุ่นใหม่ ได้รับทราบแนว ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ “เมืองสร้างสรรค์” และเปิดพื้นที่ แสดงศักยภาพ ของงานหัตถกรรมและศิลปะพื้น บ้านให้สังคมรับทราบ

ผู้เข้าร่วมสัมมนา 182 คน

สถานที่

หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชุมชนศรีสุพรรณ วัดต้นแกว๋น

42


ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หน่วยงานสนับสนุน ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ

สวทช. ภาคเหนือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงแรมดาราเทวีเชียงใหม่

โครงการ Lanna Collection

โครงการฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่

เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่

เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่

ชมรมสล่าพื้นบ้านล้านนา

กลุ่มคนตัวเล็กกับการอนุรักษ์

กลุ่มหน่อศิลป์

บริษัทเจอราร์ด

บริษัทเปรมประชา

บริษัทศูนย์ทำร่ม 1999

บริษัทกระเบื้องไม้งาม

บริษัทบัวผัดเฟคทอรี่

บริษัทภัทรบูรณ์

บริษัทสยามศิลาดล

บริษัทคอททอนฟาร์ม

บริษัทวิชัยกุลเครื่องเขิน

บริษัทแฮนด์บายบุญ

บริษัทใจฟ้าเครื่องเขินเชียงใหม่

บริษัทคริสตัลวอเทอร์

บริษัทโอเรียนทอลคิงคอม

เนติสตูดิโอ

Have a Hug Studio

ชุมชนหัตถกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ

ประเทศที่เข้าร่วมสัมมนา สาธารณรัฐประชาชนจีน

สาธารณรัฐอินโดนีเชีย

สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

สาธารณรัฐอินเดีย

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

ราชอาณาจักรกัมพูชา

43


กำหนดการการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ วันที่ 19 - 20 พฤศจิกายน 2558 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 17.00! ! ! ! ! ! !

การเดินทางของวิทยากรและผู้เข้าสัมมนา การต้อนรับโดย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ การประชุมและหารือแนวทางการผลักดันเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองสร้างสรรค์ของ องค์การ UNESCO

! ! ! !

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 8.00 - 9.00! 9.00 - 10.30! ! ! ! ! ! !

ลงทะเบียน พิธีเปิดการสัมมนา ! กล่าวต้อนรับ: ผศ. สุรพงษ์ เลิศทัศนีย์ ! ตัวแทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

! ! ! ! ! ! !

! ! !

! !

! ! !

Mr Doyo Budiwibowo ตัวแทนนายกเทศมนตรี เมือง Pekalongan สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO

! ! !

! ! !

! ! !

บริบทและวัตถุประสงค์ของการสัมมนา: รศ. ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรคของ องค์การ UNESCO และคณบดีคณะวิจิตรศิลป์

! ! ! ! ! ! !

! ! ! ! ! ! !

!

! ! ! ! ! ! ! !

!

! ! ! !

10.30- 10.45! 10.45 - 12.00! ! ! ! ! ! !

ศาสตราจารย์ ไพโรจน์ วิริยจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่! ข้อคิดในวาระการเปิดสัมมนา: เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO: สาขา หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน!! Ms. Vanessa Achilles ฝ่ายวัฒนธรรม องค์การ UNESCO กรุงเทพฯ!

พัก เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO คืออะไร ต้องทำอย่างไรจึงได้เป็น Mrs Ni Shu And Miss Yuzhou Zha ตัวแทนจากเมือง Jingdezhen, สาธารณรัฐประชาชนจีน

44


กำหนดการการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 13.00 - 14.30! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! !

แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยผู้มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ! ภาคหนึ่ง: สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

! ! !

• บันดุง ห้องทดลองสำหรับผู้ประกอบการสร้างสรรค์ Mr Deden Hendan Durahman อาจารย์, Institut Teknologi Bandung สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

! ! !

! ! !

! • เครือข่ายสร้างสรรค์กับความร่วมมือ Ms. Alice Ru Hwa Chiu ประธานสถาบันเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรประวัติศาสตรไทเป สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) • หัตถกรรมเพื่อฟื้นฟูมรดกการพึ่งพาตนเอง ตัวอย่างจาก สาธารณรัฐอินเดีย ! ! Dr Aarti Kawlra นักวิจัยสมทบ, IIAS Leiden, The Netherlands นักวิจัย, Nehru Memorial Museum & Library, New Delhi สาธารณรัฐอินเดีย

14.30 -14.45! พัก 14.45 - 16.00! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! !

เวทีอภิปรายครั้งที่ 1 – โครงการเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ในมุมมองของประเทศไทย, หัตถกรรมในประเทศไทย และศิลปะพื้นบ้านล้านนา!

! ! ! !

• หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในล้านนา อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ที่ปรึกษาโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะวัฒนธรรมล้านนา

! ! ! !

! ! ! !

• โครงการเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ในมุมมองของประเทศไทย นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการ!! ศึกษาวิทยาศาสต์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) • หัตถกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทย นางสาว ปานจิตต์ พิศวง รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT)

! ! 16.00 - 17.00! ประสบการณ์รังสรรค์หัตถกรรมด้วยตนเอง 17.30!

!

พิธีเปิดนิทรรศการหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ

18.30!

!

งานเลี้ยงอาหารค่ำ

45


กำหนดการการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 9.00 - 10.30! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! !

! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! !

แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยผู้มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ภาคสอง: สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมา

! • การพลิกโฉมหน้าและคุณค่าใหม่ของผ้าย้อมครามไต้หวัน ! Dr Wan Lee Chen ! Department Of Theatrical Design And Technology Taipei National University Of ! The Arts, Taipei, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

! ! ! !

! • การส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านหัตถกรรมและชุมชน ! Mr Khamchanh Souvannalith ! ผู้จัดการศิลปะวัตถุ และผู้จัดการเผยแพร่และการศึกษา The Traditional Arts And Ethnology Centre (TAEC) หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ! • การส่งเสริมเครื่องเขินในเมียนมา! ! ! Mr Nanda Win Maung - Ms Marlar Win Maung ! Everstand Lacquerware Workshop พุกาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

10.30 - 10.45! พัก 10.45 - 12.00! แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยผู้มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ภาคสาม: ! ! ! ราชอาณาจักรกัมพูชาและไทย ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! 12.00 - 13.00!

• ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน: กลไกเพื่อพัฒนาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านอย่างยั่งยืน Mr Sary Seng Meanchey University ราชอาณาจักรกัมพูชา! • ล้านนาคอลเล็กชัน นางปิยะฉัตร ไคร้วานิช เบอร์ทัน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เครือข่ายภาคเหนือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ พักอาหารกลางวัน

13.00 - 14.30! อภิปราย/สรุปผลการสัมมนา 14.45!

!

เยี่ยมชมวัดและชุมชนหัตถกรรม ชุมชนวัดศรีสุพรรณ

18.00! !

!

เลี้ยงอาหารค่ำประเพณีล้านนา (วัดต้นเกว๋น)

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 9.00 - 16.00

เยี่ยมชมแหล่งหัตถกรรม

46


ภาพบรรยากาศการประชุมและหารือเบื้องต้น เกี่ยวกับการผลักดันเมืองเชียงใหม่ เป็นเมืองมรดกโลก ขององค์การ UNSECO วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ณ ร้านอาหารบ้านสวน สันผีเสื้อ

47


ภาพบรรยากาศการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

48


ภาพบรรยากาศการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (ChianG Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

49


ภาพบรรยากาศการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

50


ภาพบรรยากาศการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

51


ภาพบรรยากาศการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

52


ภาพบรรยากาศการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

53


ภาพบรรยากาศการเลี้ยงต้อนรับและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

54


ภาพบรรยากาศการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

55


ภาพบรรยากาศการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

56


ภาพบรรยากาศการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

57


ภาพบรรยากาศการประชุมสัมมนาและงานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

58


ภาพบรรยากาศการเยี่ยมชมแหล่งหัตถกรรมของเชียงใหม่ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ณ วัดศรีสุพรรณ

59


ภาพบรรยากาศการเยี่ยมชมแหล่งหัตถกรรมของเชียงใหม่ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ณ วัดศรีสุพรรณ

60


ภาพบรรยากาศการสรุปผลประชุมสัมมนา (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ณ วัดต้นเกว๋น

61


ภาพบรรยากาศการจัดเลี้ยงอาหารค่ำ ประเพณีล้านนา (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ณ วัดต้นเกว๋น

62


ภาพบรรยากาศการเยี่ยมชมแหล่งหัตถกรรม อำเภอสันกำแพง (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ณ ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ผ้าไหมสันกำแพง

63


ภาพบรรยากาศการเยี่ยมชมแหล่งหัตถกรรม อำเภอสันกำแพง (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ณ ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม

64


ภาพบรรยากาศการเยี่ยมชมแหล่งหัตถกรรม อำเภอสันกำแพง (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ณ บริษัท เปรมประชา คอลเลคชั่น

65


ภาพบรรยากาศการเยี่ยมชมแหล่งหัตถกรรม อำเภอสันกำแพง (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ณ เฮือนใจ๋ยอง

66


ภาพบรรยากาศการเยี่ยมชมแหล่งหัตถกรรม อำเภอสันกำแพง (Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ณ กาดต่อนยอน ร้านอาหารมีนา

67


POSTER ประชาสัมพันธ์งานมหกรรมศิลปะพื้นบ้านนานาชาติ (Chiang Mai Crafts and Folk Art Exhibition 2015) วันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,

68


นิทรรศการ

นิทรรศการประกอบด้วย 11 งาน ที่สื่อถึงการเชื่อมโยงนานาชาติจากรากฐานทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน 1. งานจากทุนทางวัฒนธรรมของคนในลุ่มนำ้โขง: นาค 2. งานสร้างสรรค์จากจิตรกรรมฝาผนัง: วัดบ้านก่อ อ. วังเหนือ จ. ลำปาง 3. งานสร้างสรรค์จากสัตว์ในความเชื่อ: “มอม” สัญลักษณ์แห่งพลังของล้านนา 4. งานสร้างสรรค์จากสถาปัตยกรรมแบบพื้นบ้าน: วัดกองแขก อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 5. งานสร้างสรรค์จากสถาปัตยกรรมแบบประเพณี: วัดต้นเกว๋น อ. หางดง จ. เชียงใหม่ 6. งานสร้างสรรค์จากวัฒนธรรมชาติพันธ์: ไทใหญ๋ สี แสง ฉาน 7. นิทรรศการ ประชาสัมพันธ์การทำงานของโครงการ Chiang Mai City of Crafts and Folk Art 8. วัฒนธรรมไม้ไผ่ในอุษาคเนย์ 9. การสาธิตจากชุมชนหัตถกรรม 10. นิทรรศการภาพถ่ายสัตว์ในความเชื่อนานาชาติ: นาค และ มอม 11. งานสร้างสรรค์ที่เกี่ยวเนื่องกับความอุดมสมบูรณ์ : นำ้ เหมืองฝาย

69


นิทรรศการ Crafts And Folk Art Exhibition 2015 วันที่ 20 - 22 พฤศจิกายน 2558

70


นิทรรศการการออกแบบผลิตภัณฑ์ Crafts And Folk Art Exhibition 2015 วันที่ 20 - 22 พฤศจิกายน 2558

71


ภาพบรรยากาศการเปิดงานนิทรรศการ Crafts And Folk Art Exhibition 2015 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558

72


ภาพบรรยากาศการเปิดงานนิทรรศการ Crafts And Folk Art Exhibition 2015 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558

73


ภาพบรรยากาศการเปิดงานนิทรรศการ Crafts And Folk Art Exhibition 2015 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 สาธิตหัตถกรรม ชุมชน

74


ภาพ : ศ.สุรพล ดำริห์กุล

แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม วัดต้นเกว๋น วัดต้นเกว๋น หรือวัดอินทราวาส ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านต้นเกว๋น ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อวัดต้นเกว๋นเป็นชื่อเดิมที่ถูกเรียกไปตามพันธุ์ไม้พื้นถิ่นชนิดหนึ่ง ส่วนชื่อวัดอินทราวาส เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังตามชื่อของเจ้าอาวาส วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่จากหลักฐานอักษรเขียน ที่ปรากฏในวิหารระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2401 เมื่อพิจารณาลักษณะของสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ซึ่งน่าจะสร้างขึ้น ในระยะเวลาเดียวกัน จึงทำให้คาดว่าวัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่ ซึ่งปกครองในระหว่าง พ.ศ. 2399 - 2412 ความสำคัญของวัดต้นเกว๋น จากการศึกษาพบว่าในสมัยโบราณ วัดนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางโบราณที่จะเดินทางจากเมืองเชียงใหม่ลง ไปยังทางตอนใต้ จะผ่านบ้านต้นเกว๋นและหมู่บ้านต่างๆ ไปตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อครั้งยุคสมัยเจ้าผู้ครอง นคร ที่ยังมีประเพณีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดพระธาตุจอมทองเข้ามายังเมืองเชียงใหม่ ขบวนแห่ พระบรมสารีริกธาตุจะต้องหยุดพักประดิษฐานที่ศาลาจตุรมุข ในวัดต้นเกว๋นเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อให้ ศรัทธาประชาชน ได้เดินทางมาสักการะบูชาสรงน้ำสมโภชก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังเมืองเชียงใหม่ ดัง ปรากฏมณฑปไม้และรางรินสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุป็นหลักฐานอยู่มาจนทุกวันนี้ ดังนั้นศาสนสถานแห่ง นี้ จึ ง มี ลั ก ษณะเป็ น งานช่ า งฝี มื อ ชั้น สู ง ด้ ว ยเหตุ นี้จึ ง ไม่ แ ปลกใจในแบบแผนและรู ป แบบทางศิ ล ปะ สถาปัตยกรรมที่งดงามลงตัว

75


การจัดทำ WEBSITE


การจัดทำเว็ปไซต์ http://www.chiangmai-cityofcrafts.com

77


ความคืบหน้าการจัดทำเว็ปไซต์ http://www.chiangmai-cityofcrafts.com

78


ความคืบหน้าการจัดทำเว็ปไซต์ http://www.chiangmai-cityofcrafts.com

79


ผลการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน Facebook

80


ผลการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน Facebook

81


ผลการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน Facebook

82


ผลการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน Facebook

83


ผลการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน Facebook

84


ผลการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน Facebook

85


ผลการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน Facebook

86


การประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน Youtube Channel; Chiang Mai City Of Crafts And Folk Art Initiative

87


การศึกษาดูงาน เมืองสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic Indonesia) อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic Indonesia) เป็น หมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทร อิ น เดี ย กั บ มหาสมุ ท รแปซิ ฟิ ก มี พ รมแดนติ ด กั บ ประเทศมาเลเซี ย บนเกาะบอร์ เ นี ย วหรื อ กาลิ มั น ตั น (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเต บนเกาะ ติมอร์ (Timor) ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้นกำเนิดของ ผ้าบาติกอินโดนีเซีย และใช้สวมใส่กันแพร่หลายทุกเพศ ทุก วัย ทุกชนชั้นอาชีพ จนกลายเป็นชุดประจำชาติที่สร้างความภาคภูมิใจให้ชาวอินโดนีเชีย กำเนิดครั้งแรกของ ผ้าบาติกเกิดขึ้นในพระราชวังสุลต่าน ที่ชนชั้นปกครองใช้สวมใส่ในงานพระราชพิธีที่สำคัญต่างๆ และมี ลวดลายเฉพาะสำหรับสุลต่านเท่านั้น ที่ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิ์ใส่ และด้วยความเก่าแก่ผูกพันกับชาว อินโดนีเซียมาช้านาน บางครั้งผ้าบาติกยังถูกใช้เป็นสิ่งบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยล่า อาณานิคม อินโดอินเซียได้มีการส่งเสริมให้ผลิตผ้าบาติกในระบบอุตสาหกรรม โดยผนวกเอาเทคนิคการทำผ้า บาติกแบบดั้งเดิม ซึ่งเขียนเทียนด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า“จันติ้ง” (Canting) ผสมกับกระบวนการพิมพ์เทียน ด้วยแม่พิมพ์ที่ทำด้วยโลหะทองแดง (Cap, Print, Block) รัฐบาลอินโดนีเซียได้วางนโยบายในการค้นคว้า ปรับปรุงผ้าบาติก โดยตั้งเป็นหน่วยงานที่เรียกว่า “ศูนย์พัฒนาบาติกแห่งรัฐยอกยาการ์ตา (Balai Pene ltian Batik Kerajian – Yogyakarta) การพัฒนาด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคนิคในการผลิต ผ้าซึ่งมีลวดลายผ้าแบบใหม่มองคล้ายผ้าบาติก แต่ความจริงเป็นเทคนิคการพิมพ์แบบซิลค์สกรีน (silkscreen) ซึ่งมีลักษณะลวดลายคล้ายผ้าบาติก งานเลียนแบบชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยม ชาวอินโดนีเซียนิยมผ้าบา ติกชนิดเขียนด้วยมือ และจัดว่าเป็นบาติกชั้นสูง (classical-batik) แต่ก็มีราคาแพงกว่าบาติกที่ใช้ระบบการ พิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ทองแดง การทำผ้าบาติกนอกจากจะเน้นด้านประโยชน์ใช้สอยแล้วยังสร้างความภาคภูมิใจ ให้แก่ชาวอินโดนีเซียในฐานะมรดกของชาติอีกด้วย 89


เมือง เพกาลองงัน (Pekalongan) เมือง เพกาลองงัน (Pekalongan) “นครแห่งผ้าบาติก” มีประชากร 300,000 คน ตั้งอยู่ชายฝั่ง ทะเลด้านทิศเหนือของจังหวัดชวากลาง เศรษฐกิจของเมืองมาจากหัตถกรรมสร้างสรค์ คือ ผ้าบาติก ที่เขียนและพิมพ์ลวดลายด้วยมือ ผ้าบาติก ถูกใช้ในฐานะเครื่องถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ พื้นฐานของนครเพกาลองกันแห่งนี้ เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย (ชวา จีน และ อาหรับ) ชุมชนหลายเชื้อชาติอาศัยต่างมาอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน รวมถึงนิยมชมชอบ การแสดงออกทั้งวัฒนธรรมของเชื้อชาติอื่น ซึ่งเมืองเพกาลองกัน ได้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ของ UNESCO ในปี 2557 เมืองนี้มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ตลอดปี ในรูปแบบนิทรรศการ ขบวนพาเหรด และ กิจกรรมต่างๆ ภายในหมู่บ้านหัตถกรรมบาติก ได้มีการคุ้มครองและพัฒนาอย่างดี รวมทั้งสร้างพื้นที่ วัฒนธรรม Jatayu ในเมืองมรดกเก่า เมืองแห่งนี้เป็นเวทีรองรับการแสดงออกทางศิลปะพื้นบ้านมากมายทั้ง ดนตรี ละคร ละครหุ่น ฯลฯ ตลอดทั้งปี ในส่วนของการส่งเสริมงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ เพกาลองงันได้มีการศึกษาและฝึกอบรมเกี่ยวกับ มรดกทางวัฒนธรรมผ้าบาติกสำหรับนักเรียน ซึ่งได้รับการพิจารณาจากองค์การ UNESCO ให้เป็นการ ปฏิบัติที่เป็นเลิศในการสืบสาน มรดกวัฒนธรรม โดยมี พิพิธภัณฑ์ผ้าบาติก ที่เป็นศูนย์กลางสำคัญที่จัดการ ประชุมปฏิบัติการสำหรับนักเรียน และได้รับการพิจารณาเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการสืบสารมรดก วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Heritage) โดยองค์การ UNESCO ในปี 2552 โดยการผนวก วัฒนธรรมผ้าบาติก ลงไปในการศึกษาหลายระดับ เพกาลองงันจึงได้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การ พัฒนาอิงวัฒนธรรมสามารถใช้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนได้จริงโดยเฉพาะสตรี และเยาวชน 90


เพกาลองงัน มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยใช้วัฒนธรรมสร้างสรรค์อุตสาหกรรมผ้าบาติกและ ศิลปะพื้นบ้านของหลากหลายเชื้อชาติเป็นรากฐาน จึงทำให้ผู้คนทุกเชื้อชาติมีความเคารพ ความชื่นชมในกัน และกัน ยินดีร่วมมือกันด้านวัฒนธรรม มีสันติภาพและความกลมกลืนรวมทั้งสร้างความมั่งคั่งในทุกคน และ จากตัวอย่างการปฏิบัติที่เป็นเลิศนั้น เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้เข้าไปศึกษา แนวทางการดำเนินการเป็นเมืองสร้างสรรค์ของเพกาลองกัน

91


เมืองอูบุด (Ubud) เมืองที่ได้ชื่อว่าเมืองแห่งศิ ลปะ ในสมัยก่อนเชื่อกันว่าเมืองนี้ เป็นเมืองแห่งการรักษา เยียวยาผู้ป่วย แม้กระทั่งผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพให้ แข็งแรง มีชีวิตยืนยาวล้วน นิยมมาพักที่นี่ เน่ืองจากเป็นที่ที่อากาศดีมาก ใครที่มา ที่นี่จะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แม้แต่ผู้ป่วย ถ้าได้มานอนพักที่เมืองแห่งนี้ จะหาย ป่วยได้เอง ปัจจุบันเมืองอูบุดเป็น 1 ในสถานที่พักผ่อนที่ดีสุดบนเกาะบาหลี ชาวต่างชาติ เดินทางมา เพียงเพื่อจะได้มาพักผ่อนที่นี่ ถึงแม้เมืองจะเต็มไปด้วย ชาวต่างชาติ แต่อูบุดยังคงรักษาเอกลักษณ์ของเมืองไว้ได้อย่างดี มีวัดวาอาราม และสวนที่ตกแต่ง สวยงาม จนขึ้นชื่อว่า “สไตล์บาหลี” และขึ้นชื่อเร่ืองผู้คนอยู่ กับธรรมชาติท่ามกลางทุ่งนาเขียวขจี และ ระบบนำ้จนได้รับการยกย่องให้เป็น “มรดกโลก” นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมสินค้าหัตถกรรมสินค้า ที่ระลึก และ วัฒนธรรมจนมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก

การศึ ก ษาดู ง านเป็ น กิ จ กรรมหนึ่ง ที่โ ครงการขั บ เคลื่อ นเมื อ งเชี ย งใหม่ เ ป็ น เครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ให้ความสาคัญเพราะเป็นหนึ่ง ในข้อกาหนดที่เกี่ยวข้องกับการสมัคร ที่เมืองจะต้องสร้างความสัมพันธ์กับเมือง สร้างสรรค์อื่นๆ ขององค์การUNESCO ดังนั้น การศึกษาดูงานครั้งนี้จึงมีการ พบปะหารือกับนายกเทศมนตรี และตัวแทนข้าราชการของเมือง รวมถึงผู้มีส่วน ได้เสียต่างๆ นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนราชการและผู้ที่ เกี่ยวข้อง ให้เกิด ความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มทักษะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิดและมุมมองที่เกี่ยวข้องกับเมือง สร้างสรรค์ร่วมกัน ในการศึกษาดูงานครั้ง ทำให้เห็นถึงกรอบวิธีคิดในการพัฒนาเมือง เทคนิค รูปแบบ วิธีการปฏิบัติงาน รวมถึงประสบการณ์ของที่เมือง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผน พัฒนาเมืองเชียงใหม่ต่อไป

92


93


94


การแลกเปลี่ยนการทำงานเร่ืองเมืองสร้างสรรค์กับ เทศบาล PEKALONGAN เมือง Pekalongan เป็นเมืองขนาดเล็กที่ไม่ได้ตั้งบนเส้นทางการท่องเที่ยวของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย แต่มีชื่อ เสียงและความโดดเด่นด้วยการได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO ในปี 2557 ให้เป็น “เมืองแห่งบาติกโลก” จากการเข้าพบรองนายกเทศมนตรีของเมือง Pekalongan, ภริยานายกเทศมนตรีของเมือง Pekalongan ข้าราชการ หน่วยงาน และคณะทางานผลักดันเมือง สร้างสรรค์อย่างเป็นทางการ ของคณะจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ในครั้งนี้ เป็นการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเมืองเชียงใหม่และ Pekalongan ทำให้ได้ทราบถึงระบบ การบริหาร จัดการ การประชาสัมพันธ์ การบูรณาการงานบาติกเข้าสู่งานทุกรูปแบบ การสรา้งเครือข่ายในระหว่าง ผู้เกี่ยวข้อง เพ่ือให้สามารถนามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานของเมืองเชียงใหม่ในอนาคต เพกาลองงัน มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยมีการศึกษา วิจัยเร่ืองบาติก อย่างยาวนาน มีการให้ความรู้แก่ ผู้คนโดยผ่านพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดเป็นใช้วัฒนธรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมผา้บาติกและศิลปะพื้นบ้าน ของหลากหลาย เชื้อชาติเป็นรากฐาน จึงทาให้ผู้คนทุกเช้ือชาติมีความเคารพ ความชื่นชมในกันและกัน

95


หมู่บ้านหัตถกรรม

RIDAKA Crafts Center เป็นศูนย์กลางการทำผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น ต้นกล้วย กาบ กล้วย หยวกกล้วย ฯลฯ โดยผู้ ก่อตั้งได้มาเรียนรู้เร่ืองการทาผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ของประเทศไทย แล้วนาความรู้มาพัฒนาต่อยอด กลายเป็น Wall Paper, กระเป๋า, หมวก, กล่องของขวัญ ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม อันเป็นข้อกาหนด สำคัญของผลติ ภัณฑส์ ร้างสรรค์ที่ส่งขายไปท่ัวโลก และยังมีการทอผ้าซึ่ง นาเศษวัสดุเหลือใช้ เช่น กระดาษ หนังสือพิมพ์มาทอและพัฒนาเป็นเคร่ืองใช้ ซึ่งศูนย์กลางแห่งนี้ได้ อบรมผู้คนในชุมชนต่างๆ กว่า 1,000 คน ให้มีความรู้ และกลับไปผลิตงานในชุมชน เพื่อสร้างรายไ้ด้ ต่อไป

96


ชุมชน Kauman Batik Village ชุมชน Kauman Batik Village เป็นกลุ่มผลิตผ้าบาติค ซึ่งมีการนาเสนอ กระบวนการทางานตั้งแต่ เริ่มต้นจนสิ้นสุดขั้นตอนในการทาผ้าบาติก มีความละเอียดและต้องอาศัยความชานาญทั้งทางด้านการเขียน ลาย การลงสี และการย้อมลาย ให้ผู้มาเยือนรับทราบในคุณค่า ของผ้าบาติก 1 ผืน อาจใช้เวลากว่า 1-3 เดือน จึงจะสำเร็จเป็นผืน

ชุมชน Landugsari Canting Village เป็นชุมชนที่ทำแป้นพิมพ์ในการทาผ้าบาติก จากทองแดง โดยสนับสนุน ผู้ด้อยโอกาสมาเป็นช่าง ซึ่ง ปัจจุบันยังคงมีการทำกันอยู่อย่างต่อเน่ืองโดยมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เสมือนเป็นการอนุรักษ์และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม และ อาชีพให้คงอยู่ในชุมชนต่อไป

97


เกาะบาหลี Kuta - Tanah Lot

วัดเม็งวี Royal Temple of Mengwi

วิหารกลางสมุทร ทานาล็อต มี ความงดงามขึ้นชื่อของเกาะบาหลี วัดนี้ สร้างโดย ดังห์ยัง นิราร์ตา พระสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งมองเห็นแสง สว่างวาบขึ้นที่จุดๆ หนึ่งบนฝั่งตะวันตก จึงเดินทางไปที่ดังกล่าวเพื่อทาสมาธิ สาวกของผู้นำทางจิตวญิญาณในท้องถิ่นรู้สึกประทับใจ จึงมาศึกษาศาสนากับ ท่าน สร้างความขุ่นเคืองแก่นักบวชในท้องถิ่นอย่างมาก จึงท้าทายนิราร์ตา แต่ ท่ า นยั ง คงถื อ ขั น ติ แ ละย้ า ยที่บ าเพ็ ญ เพี ย รไปยั ง มหาสมุ ท ร และสร้ า งวั ด ขึ้น สถานที่แห่งน้ีจึงเป็นที่รู้จักในนาม ทานาล็อต หรือ “ดินแดนในทะเล” สิ่งท่ี น่าสนใจคือ “การยังคงรักษาประเพณีพิธีกรรม โบราณอย่างม่ันคง” ท่ามกลาง การเปลี่ยนแปลงของผู้คนทั่วโลก

วัดที่สวยงามที่สุด 1 ใน 6 วัดของบาหลี ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเม็งวี มีความ สำคัญเป็นอันดับสองของบาหลี เพราะเคยเป็นวังของรายาแห่งเม็งวี กำแพง ประตูวัด ก่อด้วยหินสูง แกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจง หลังคาปูด้วยหญ้าอลัง มี ศาลาเล็กๆซึ่งมีหลังคาแบบเมรุหลายชั้นตั้ง เรียงรายกัน สวยงามดังภาพวาด สิ่งก่อสร้างด้านใน ตกแต่งลวดลายงดงามตามแบบบาหลี วัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ระบบซูบะก์ (Subak) หรือระบบน้ำ อันได้รับยกย่องเป็น UNESCO World Heritage ด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) ซึ่งมีความคล้ายคลึง กับ ระบบจัดการน้ำของเชียงใหม่ (เหมืองฝาย) อันสามารถนำวิธีการร้ือฟื้นระบบ ซูบะก์ มาพัฒนาแหลง่มรดกของเชียงใหม่ตามนโยบายการผลักดันเชียงใหม่สู่ เมืองมรดกโลกซึ่งเป็นแนวคิดที่ทำงานควบคู่กับการผลักดันสู่เมืองสร้างสรรค์ 98


นาข้ันบันได Jatiluwih ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเขตบาหลีมีความผูกพันกับระบบชลประทานเก่าแก่ ซึ่งเป็น รู้จักกันในชื่อ “ซูบะก์” (Subak) อันสร้างขึ้นตามหลักปรัชญาไตรหิตครณะ (Cultural Landscape of Bali Province:The Subak System as a Manifestation of the Tri Hita Karana Philosophy) หรือความสัมพันธ์ของดินแดนระหว่าง วิญญาณ โลกมนุษย์ และพระเจ้า ดังนั้น ชุมชน หมู่บ้านและวัดจึงผูกพันกันด้วย ระบบการจัดการน้ำ นาขั้นบันได Jatiluwih เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งล่าสุดของ อินโดนีเซีย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกในปี พ.ศ. 2555 เป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมของนาข้าว แบบขั้นบันได 5 ชั้นของบาหลี โดยมีวัดทำหน้าที่ในการ ควบคุมและบริหารจัดการการจ่ายน้ำ โดยใช้คลองส่งน้ำและคันกั้นน้ำ (ฝาย) สามารถทำการบริหารจัดการน้ำได้ ครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 195 ตารางกิโลเมตร ภูมิทัศน์ที่รวมอยู่ด้วยกันคืออารามหลวงปูระ ตามัน อายุน (Royal Temple of Pura Taman Ayun) ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในรูปแบบนี้ บนเกาะบาหลี

99


พิพิธภัณฑ์หน้ากาก Setia Darma house of Masks and Puppet การจั ด การพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ โ ดยเอกชน เพื ่ อ สื บ สานตานานและเผยแพร่ อ งค์ ค วามรู ้ ข อง งานศิลปหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเชีย

วัดเบซากีห์ Pura Besaki วั ด ฮิ น ดู ที่มี ค วามสำคั ญ ที่สุ ด และศั ก ดิ์สิ ท ธิ์ที่สุ ด บนเกาะบาหลี สร้ า งขึ้น มาตั้ง แต่ ส มั ย ก่ อ น ประวัติศาสตร์ ชาวบาหลีนิยมเรียกกันอีกช่ือว่า “วัดแม่” หรือ” วัดหลวงแห่งเบซากีห์” (Mother Temple of Besakih) วัดนี้เป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนเป็นจำนวนมาก โดยด้านหลังของวัดนั้น เป็นภูเขาไฟ กุนุงอากุง (Mount Agung) ภูเขาไฟที่สูงที่สุด ของเกาะบาหลี วัดนี้มีบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ประกอบด้วย วัดเล็กๆ ประมาณ 23 แห่งตั้งเรียงรายอยู่เป็นขั้นๆกว่า7ขั้นตามไหล่เขาโดยวัดที่มีความสาคัญที่สุด Pura Penataran Agung ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางในทุกๆวัน ชาวบาหลีเดินทางมาประกอบพิธีทางศาสนา ทาให้เป็น สถานที่ที่สามารถเห็นธรรมเนียมประเพณีและการแต่งกายแบบพื้นเมืองทั้งชายและหญิงรวมทั้งการแบกทูน ของบูชาบนศรีษะตามแบบดั้งเดิมด้วย

100


พระราชวังกลุงกุง Puri Agung Semaranpura บาหลีฝั่งตะวันออกมีสถานที่ท่องเที่ยวงดงามมากมาย อีกทั้งยังเป็นดินแดนที่ชาวบาหลีเชื่อว่าเป็น ทิศมงคลที่สุดอีกด้วย ดังนั้นการมาศึกษาชมวัด และวังเก่า อาจจะให้ ความกระจ่างว่าเหตุใดชาวบาหลีจึงถือ บุรพทิศเป็นทิศมงคล กลุงกุงมีความสาคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนะรรมของเกาะบาหลี ในฐานะ ที่ว่าราชการของ ดวา อากุง มหาราชา ของชาวบาหลี และในฐานะศูนย์กลางของศิลปะ ราชสานักของราชา และเจ้านายแห่งกลุงกุงได้อุปถัมภ์และพัฒนารูปแบบต่างๆของดนตรี ละคร และศิลปะ ที่เฟื่องฟูในบาหลีทุก วันนี้ ในปี 1710 มีการสร้างวังใหม่ เม่ือราชธานีของอาณาจักรย้ายจาก เกลเกลไปยังกลุงกุง ซึ่งอยู่ใกล้ เคียงกัน วังดังกล่าวถูกทำลายลงในปี 1908 แตย่ังมีซากตั้งอยู่ในบริเวณตามันกีลี ในปัจจุบัน ผลงานสุดยอด ที่งดงามด้านจติรกรรมและสถาปัตยกรรมในรูปแบบดั้งเดิมของกลุงกุง ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่บาเลเกอร์ตาโกซา หรือหมายความว่า ศาลาแห่งสันติภาพและความรุ่งเรืองที่ตั้งอยู่ที่สี่แยกหลักของเมือง

101


องค์กร Threads of Life เป็นองค์กรเอกชนที่ตั้งขึ้นโดยชาวต่างชาติ เพื่อส่งเสริมการทอผ้าของประเทศอินโดนีเชีย โดยมุ่งเน้นให้ ชาวพื้น เมื อ งตามเกาะต่ า งๆในประเทศอิ น โดนี เชี ย มี ก ารประกอบอาชี พ ในการทอผ้ า และส่ ง เสริ ม การผลิ ต อย่างต่อเน่ือง โดยทำอย่างครบวงจร ทั้งการส่งเสริมเร่ืององค์ความรู้ วัสดุ และการจัดจำหน่ายอย่างเป็นระบบ ทาให้ เป็นทั้งการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาและสามารถต่อ ยอดเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงของประเทศอินโดนีเชีย

102


การศึกษาดูงานครั้งนี้มีความสำคัญในการสร้างเครือข่าย เพราะเชียงใหม่คือเมืองแรกที่ไปเยี่มเยือนเมือง Pekalongan หลังจากที่ได้รับการประกาศชื่อจากองค์การ UNESCO ซึ่งเเป็นประโยชน์ในการตอบข้อกำหนดของ UNESCO ที่เมืองจะต้องได้รับการสนับสนุนจากเมืองสมาชิก และได้รับทราบถึงแนวทางการสร้างความร่วมมือของผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน และได้เห็นการพัฒนาเมือง เทคนิค รูปแบบ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม การ ช่วยเหลือผู้คนด้อยโอกาส โดยผ่านงานหัตถกรรมอันเป็นนโยบายขององค์การสหประชาชาติ ในการพัฒนาอย่างย่ังยืน (Sustainable Development) ก่อให้เกิดอัตลักษณ์บ่งบอกถึงลักษณะของพ้ืนที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็คือ มรดกทาง วัฒนธรรม ที่ยังมีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งด้านองค์ความรู้และด้านฝีมือมาตราบปัจจุบัน จากความสำคัญดัง กล่าว สามรถวิเคราะห์เป็นแนวทางสำหรับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตอบรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (2555 – 2559) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) และกำหนดนโยบายการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ ภายใต้พันธะกิจที่มุ่งเน้นและเสริมสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับ ภูมิภาค และท้องถิ่น โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่าสินค้าบริการควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์อันเป็นการ เสริมสร้าง ศักยภาพของผู้ประกอบการและบุคลากรให้นำมาคิดสร้างสรรค์มาเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ พัฒนาระบบการ เงิน พัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร ที่มีคุณภาพและทันสมัยเพื่อ สร้างบรรยากาศและสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ศึกษาวิจัยและการพัฒนาความคิดให้มีการสร้างสรรค์ เพื่อให้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการ ผลิต การค้าและการบริการของธุรกิจสร้างสรรคข์องภูมิภาคอาเซียน (Creative Hub of ASEAN) ในการศึกษาดูงานครั้งนี้พบว่า เมือง Pekalongan มีรูปแบบในการบริหารจัดการที่สร้างความร่วมมือทุกภาค ส่วน ทำให้ได้แนวทางในการผลักดันชุมชนหัตถกรรมกระบวนการ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างความรู้ ความ เข้าใจในปัญหา เป็นแนวทางสำหรับเมืองเชียงใหม่ อย่างย่ังยืนของชุมชน และสร้างเครือข่ายในการบูรณาการเชิง สร้างสรรค์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานหัตถกรรมชุมชน เพื่อสามารถพัฒนาไปสู่ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน ภูมิภาค และระดับชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ซึ่งผลจากการศึกษาดูงานครั้งนี้ทำให้เห็นถึงความ เปลี่ยนแปลงองค์ความรู้จากเดิม ต่อยอดให้ชุมชน กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม โด ยมีเน้ือหาที่เชิดชูคุณค่าของมรดก ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถผลักดันให้เกิดการเรียนรู้จากด้านศิลปะ และการ พัฒนาสร้างสรรค์ หัตถกรรมตามหลักการของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ได้อย่าง เหมาะสมและส่งผลให้มรดกทางวัฒนธรรมประเภทนี้ค้งอยู่สืบไป ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างเหมาะสมตาม บริบททางสังคมและเกิดเครือข่ายทางการร่วมมือในการพัฒนาเมืองเชียงใหม่

103


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.