ศาสนากับสื่อใหม่

Page 1

ศาสนากับสื่อใหม่ : ศรัทธา 3.0 (Religion and New Media : Faith 3.0)

73

การศึกษา

ศาสนากับสื่อใหม่ : ศรัทธา 3.0 (Religion and New Media : Faith 3.0)

พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์

บทความนี้ เขี ย นขึ้ น โดยได้ รั บ แรง บั น ดาลใจจากหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อโดนใจ ว่ า เมื่ อ ศาสนาต้ อ งเผชิ ญ กั บ สื่ อ สมั ย ใหม่ (When Religion Meets New Media)

โดย ไฮดิ แคมเบล (Campbell, 2010) ซึง่ ได้ กล่าวถึงชุมชนทางศาสนาในสภาพแวดล้อม ของสังคมออนไลน์ วิธีการที่ชุมชนแห่งความ เชื่อเลือกที่จะปรับใช้เทคโนโลยีดิจิตอลสมัย

รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม ผู้สอนรายวิชาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม ผู้สอนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร ผู้สอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร ผู้สอนรายวิชาโปรแกรมประยุกต์ด้านการออกแบบ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร


74 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556

ในฟิลิปปินส์ ได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับการส่งข้อความสั้น (SMS) เกี่ยวกับพระเจ้าในมหานครมนิลา ...พบว่า... เยาวชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73) ยอมรับว่าทุกครั้งที่ได้รับข้อความสั้นเกี่ยวกับศาสนา ทำให้เขาได้ระลึกถึงพระเจ้า รู้สึกใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ กับเทคโนโลยีเคลือ่ นที่ (Mobile Technologies) และอินเตอร์เน็ต จากสมมติฐานเดิมทีว่ า่ ศาสนาเป็นศัตรู กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงเกิดคำถามขึน้ หลาย ประการ ประการแรก เมื่อศาสนาต้องเผชิญ หน้ากับเทคโนโลยี อะไรจะเกิดขึ้น ประการ ที่สอง ชุมชนแห่งความเชื่อโดยเนื้อแท้แล้ว เป็ น ศั ต รู ห รื อ เป็ น แค่ ค วามหวาดระแวงต่ อ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และประการที่สาม เป็น การตอบรับตามธรรมชาติของชุมชนแห่งความ เชื่ อ ที่ จ ะปฏิ เ สธสื่ อ ในรู ป แบบใหม่ ห รื อ ไม่ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับยุคสมัยของ เทคโนโลยีกันก่อนครับ หากอ้างอิงถึงการแบ่งยุคสมัยของ Web ซึง่ ในยุคแรก Web 1.0 (ประมาณปี ค.ศ.1995 -2000) นั้ น ผู้ เข้าชมสามารถอ่านข้อมูลจาก เว็ บ ไซต์ ไ ด้ เ พี ย งอย่ า งเดี ย ว (Read-only) เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster)

เท่านัน้ ทีส่ ามารถแก้ไข ปรับปรุง เปลีย่ นแปลง เพิ่ ม เติ ม ข้ อ มู ล ในเว็ บ ไซต์ ไ ด้ ผู้ เข้ า เยี่ ย มชม ไม่ มี ส่ ว นร่ ว มกั บ เว็ บ ไซต์ ไ ด้ เ ลย หากแต่ รั บ ข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว ถือเป็นรุ่นแรกของ เทคโนโลยีเว็บไซต์ ส่วนมากใช้ภาษา html เป็นภาษาสำหรับการพัฒนามีลักษณะเดียว กันกับหนังสือทั่วไปที่ผ้อู ่านมีส่วนร่วมน้อยมาก ในการเติมแต่งข้อมูล ต่อมาในยุคของ Web 2.0 (ประมาณ ปี ค.ศ.2000-2010) ผูเ้ ข้าชมสามารถอ่านและ เขียนข้อมูลได้ด้วยตนเอง (Read-Write) เป็น เทคโนโลยี เว็ บ ไซต์ ที่ ส ามารถโต้ ต อบกั บ ผู้ ใช้ งานได้ เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล็อก วิกิพีเดีย เป็ น ต้ น ซึ่ ง จะใช้ ฐ านข้ อ มู ล มาเกี่ ย วข้ อ งกั บ เทคโนโลยีนี้ด้วย บุคคลทั่วไปก็สามารถสร้าง เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่างๆ ได้ ในยุค ที่ 2 นี้ จึงเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ ซึ่ ง กั น และกั น โดยการสร้ า งเสริ ม เติ ม แต่ ง


ศาสนากับสื่อใหม่ : ศรัทธา 3.0 (Religion and New Media : Faith 3.0)

ข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ ถูกต้องที่สุด ตัวอย่างที่ดีที่สุดน่าจะเป็น Wiki pedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดได้ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มี ที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูล ของแต่ละบุคคล ทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมาก ทีส่ ดุ และจะถูกมากขึน้ เมือ่ เรือ่ งนัน้ ถูกขัดเกลา อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ข้ อ มู ล จึ ง มี ค วามทั น สมั ย อยู่ ตลอดเวลาอีกด้วย และในยุค Web 3.0 (หลังปี ค.ศ.2010) เน้ น เรื่ อ งการจั ด การข้ อ มู ล ในเว็ บ มากขึ้ น แก้ไขปัญหาของข้อมูลหรือ Content ที่ไม่มี คุณภาพซึ่ง WEB 2.0 ได้สร้างไว้ โดยข้อมูล เหล่านี้มีการขยายขนาดและเติบโตขึ้นอย่าง รวดเร็ว คำถามคือจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้เข้าถึง Content หรือข้อมูลทีต่ นเองต้องการได้งา่ ยและ ตรงตามความต้องการมากที่สุด สะดวกที่สุด ในยุ ค Web 3.0 จึ ง เป็ น ยุ ค ของเทคโนโลยี ออนไลน์และสื่อใหม่ ทำให้การสื่อสารเป็น เรือ่ งของการอ่าน+เขียน+ปฏิสมั พันธ์ (Read+ Write+Relate) ทำให้สามารถนำเสนอข้อมูล ข่าวสารได้หลากหลาย และสามารถมีปฏิสมั พันธ์ ได้อย่างปัจจุบันทันที มีความเป็นมัลติมีเดีย แบ่งปันเรื่องราวได้ไม่รู้จบ ที่ไหนก็ได้ สร้าง ได้หลากหลายช่องทาง และส่งไปยังเครื่อง รับได้หลากหลายรูปแบบ (Any ware/Any media/Any device)

75

จ า ก ยุ ค ส มั ย ข อ ง เ ว็ บ 1 . 0 2 . 0 แ ล ะ 3.0 ที่กล่าวมาแล้ว ในปัจจุบันประเทศไทย ยั ง อยู่ ใ นยุ ค ของเทคโนโลยี 3G (Third Generation) อันเป็นเทคโนโลยีดา้ นการสือ่ สาร ซึ่ ง จะส่ ง ผลให้ อุ ป กรณ์ ด้ า นการสื่ อ สารที่ ใช้ เทคโนโลยี นี้ เช่ น โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ Smart Phone Tablet ฯลฯ สามารถรับ-ส่งข้อมูล ในระบบไร้ ส ายด้ ว ยอั ต ราความเร็ ว ที่ สู ง ขึ้ น ทำให้การรับส่งข้อมูลไม่ได้จำกัดรูปแบบอยู่ แค่เพียงข้อความเท่านั้น แต่ยังรองรับข้อมูล มัลติมีเดีย ทั้งภาพและเสียงได้อย่างลื่นไหล อีกด้วย ดังนั้น เมื่อเทคโนโลยีเว็บ 3.0 ผนวก รวมกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ 3G ย่อม ส่ ง ผลกระทบต่ อ สิ่ ง ต่ า งๆ ไม่ เว้ น แม้ ก ระทั้ ง ศาสนา และเมื่ อ ศาสนาต้ อ งเผชิ ญ หน้ า กั บ เทคโนโลยีเหล่านี้ อะไรจะเกิดขึน้ อันดับแรก หากย้อนดูท่าทีของพระศาสนจักรคาทอลิกใน อดีต โดยองค์สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 (Pope Paul VI, 1975) ทรงกล่าวไว้ว่า “เพราะฉะนั้น พระวรสารและการ ประกาศข่าวดีไม่เหมือนกับวัฒนธรรม อย่ า งแน่ น อน ทั้ ง ยั ง เป็ น อิ ส ระจาก วัฒนธรรมทั้งมวล ถึงกระนั้นก็ตาม อาณาจักรซึ่งพระวรสารประกาศยัง คงมี ชี วิ ต ชี ว าด้ ว ยสื บ เนื่ อ งมาจาก


76 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556

มนุษย์ ผู้ซ่งึ ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยง ก า ร ห ยิ บ ยื ม อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง วั ฒ นธรรมมนุ ษ ย์ ห รื อ องค์ ป ระกอบ ข อ ง วั ฒ น ธ ร ร ม ต่ า ง ๆ แ ม้ ว่ า มี อิสรภาพของวัฒนธรรม พระวรสาร และการประกาศข่าวดีไม่จำเป็นต้อง เข้ า กั น ไม่ ไ ด้ กั บ วั ฒ นธรรมเสมอไป ยิ่ ง กว่ า นั้ น ต้ อ งสามารถที่ จ ะแทรก ซึมโดยปราศจากการควบคุมใดๆ” “...พระศาสนจักรได้พบตัวตนหรือไม่ ในการจั ด หาสิ่ ง จำเป็ น ที่ ดี ก ว่ า เพื่ อ ประกาศพระวรสาร และใส่ ล งใน หั ว ใจของผู้ ค นด้ ว ยความเชื่ อ อย่ า ง แรงกล้ า พร้ อ มจิ ต ใจที่ มี อิ ส รภาพ และประสิทธิภาพ แล้ววิธีการใดควร จะนำมาใช้เพื่อให้พลังแห่งพระวรสาร เกิดผล” จะเห็ น ได้ ว่ า พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ยิ น ดี รั บ พั ฒ นาการต่ า งๆ อั น เกิ ด จากการ พัฒนาของคนในสังคมนั้นๆ เพื่อมิติด้านการ อภิ บ าล โดยการประกาศข่ า วดี ไ ด้ พั ฒ นา รูปแบบตามการดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ที่เปลี่ยนแปลงไป และสืบเนื่องต่อมา โดย องค์สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 (Pope John Paul II, 1990) ทรงกล่าวไว้ว่า

“...เพราะว่าการประกาศข่าวดีอย่าง แท้ จ ริ ง ของวั ฒ นธรรมสมั ย ใหม่ นั้ น ขึ้นอยู่กับการแพร่อิทธิพลของสื่อเป็น อย่างมาก การใช้สื่ออย่างง่ายๆ เพื่อ เผยแพร่ขา่ วสารคริสตชนและการสอน ที่ แ ท้ จ ริ ง ของพระศาสนจั ก รนั้ น ไม่ เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องผสมผสาน ด้วยข้อความเข้าไปในวัฒนธรรมแบบ ใหม่ โดยการสื่ อ สารสมั ย ใหม่ ด้ ว ย เช่นเดียวกัน นี่คือประเด็นที่ยุ่งยาก เพราะวั ฒ นธรรมแบบใหม่ ไ ม่ ไ ด้ แ ค่ เริ่ ม ต้ น ขึ้ น จากอะไรก็ ต ามที่ สุ ด ท้ า ย แล้ ว แสดงออกให้ เ ห็ น ได้ แต่ จ าก ข้อเท็จจริงที่ว่า หนทางแนวใหม่ของ การสื่ อ สารนั้ น มี อ ยู่ จ ริ ง ด้ ว ยภาษา ใหม่ เทคนิ ค ใหม่ และจิ ต วิ ท ยา ใหม่” ในฟิลิปปินส์ ได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับ การส่งข้อความสั้น (SMS) เกี่ยวกับพระเจ้า โดยศึกษาเยาวชนจำนวน 600 คนในมหานคร มนิลา (Anthony, 2010) พบว่า เยาวชน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73) ยอมรับว่าทุกครั้งที่ได้ รับข้อความสั้นเกี่ยวกับศาสนานั้น ทำให้เขา ได้ระลึกถึงพระเจ้า รู้สึกใกล้ชิดพระเจ้ามาก ขึ้น นอกจากนั้นการได้รับข้อความสั้นเกี่ยวกับ ศาสนายั ง มี ส่ ว นกระตุ้ น ให้ เ กิ ด การภาวนา


ศาสนากับสื่อใหม่ : ศรัทธา 3.0 (Religion and New Media : Faith 3.0)

ส่วนตัว (ร้อยละ 36) กระตุ้นให้เข้าร่วมพิธี บูชาขอบพระคุณ กระตุ้นให้อ่านพระคัมภีร์ ฯลฯ และเมื่อถามถึงปฏิกิริยาอื่นๆ หลังจาก ได้รบั ข้อความสัน้ เกีย่ วกับพระเจ้าแล้ว เยาวชน ส่วนหนึ่ง (ร้อยละ 26) จะเก็บข้อความนั้นไว้ เพื่อส่งต่อให้กับบุคคลอื่นในภายหลัง จากผล การวิ จั ย นี้ คงทำให้ เ ราทราบได้ ถึ ง ความ พยายามนำเทคโนโลยีการส่งข้อความสั้นผ่าน ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยี ในยุคที่ 2 (2G) ก็มีส่วนส่งเสริมกระตุ้นเตือน ให้ เ ยาวชนได้ มี โ อกาสระลึ ก ถึ ง และใกล้ ชิ ด พระเจ้ามากยิง่ ขึน้ ในชีวติ ประจำวันของพวกเขา เพราะหากมองถึ ง บริ บ ทของชาวฟิ ลิ ป ปิ น ส์ หลายล้านครอบครัวซึง่ ถูกแยกจากกัน อันเป็น ผลสื บ เนื่ อ งจากการทำงานในต่ า งประเทศ การติดต่อสื่อสารระหว่างกันในครอบครัวจึง

77

ต้องอาศัยโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งได้รับความ นิยมเป็นอย่างมากเพราะสามารถตอบสนอง ความต้องการของพวกเขา ผู้ซึ่งถูกทิ้งไว้ข้าง หลั ง ให้ ไ ด้ สั ม ผั ส กั บ คนอั น เป็ น ที่ รั ก ที่ อ ยู่ โ พ้ น ทะเล อย่ า งน้ อ ยก็ ด้ ว ยวิ ธี ดิ จิ ต อลผ่ า นทาง การสนทนาและการส่งข้อความ ซึง่ เทคโนโลยี โทรศัพท์เคลื่อนที่นี้ช่วยปูทางสำหรับการเจริญ เติ บ โตที่ ข นานนามกั น ว่ า เป็ น “ครอบครั ว ดิจิตอล” (Torres, 2005) หากมองดู ใ นบริ บ ทของสั ง คมไทย ปัจจุบนั จะเห็นได้ถงึ ความพร้อมทางด้านต่างๆ ทั้งอุปกรณ์รับข้อมูล ซึ่งเด็กและเยาวชนไทย ส่วนใหญ่มีเพียบพร้อมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone ยี่ ห้ อ ต่ า งๆ นานา หากโต ขึ้นมาหน่อยเป็นนักศึกษาและคนวัยทำงาน อาจมีของเล่นเพิ่มเป็นพวก Tablet เพื่อการ


78 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556

เข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล อิ น เตอร์ เ น็ ต ได้ ทุ ก ที่ ทุ ก เวลา หากดู จ ากสถิ ติ ก ารใช้ ง านอิ น เตอร์ เ น็ ต ของ คนไทยในปี ค.ศ. 2013 คนไทยใช้ ง าน อินเตอร์เน็ตจำนวน 25 ล้านคน และมีการ ใช้ facebook อยู่ ใ นอั น ดั บ ที่ 16 ของโลก โดยมี จ ำนวน account อยู่ ที่ 16-17 ล้ า น user (ที่มา : http://wilas.chamlertwat. in.th) ข้อมูลเหล่านี้บอกถึงโอกาสในการรับส่ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสารผ่ า นทางเครื อ ข่ า ยสั ง คม ออนไลน์ ซึ่ ง มี ผู้ ใ ช้ ง านมากมาย การส่ ง ข้ อ ความสั้ น ด้ า นศาสนาผ่ า นระบบโทรศั พ ท์ เคลื่อนที่แบบเดิมได้พัฒนารูปแบบเป็นการส่ง ข้ อ ความ/การแบ่ ง ปั น ข้ อ มู ล โดยการแชร์ รู ป ภาพ เสี ย งเพลง ตลอดจนคลิ ป วิ ดี โ อ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook, Twister, Line, Youtube, Instragrame, Social Cam ฯลฯ สุ ด แท้ แ ต่ จ ะสรรหา (ซึง่ ส่วนใหญ่เยาวชนคนหนึง่ ๆ นัน้ จะใช้ทกุ อย่าง ที่ ก ล่ า วมานี้ ) การส่ ง ข้ อ มู ล จึ ง ไม่ ใช้ ก ารส่ ง ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับเพียง 1 ต่อ 1 อีกต่อไป แต่เป็นการส่งจาก 1 ไปสู่หลายๆ คน และ จากหลายๆ คนไปสู่ ม หาชนได้ ใ นพริ บ ตา และนี่เองที่เป็นพลังอำนาจอันมิอาจเพิกเฉยได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีทั้งหน่วยงาน องค์กร และบุคลากรด้านศาสนา พยายามใช้เทคโนโลยี เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ด้านการอภิบาลและ แพร่ ธ รรม ซึ่ ง ผู้ เขี ย นขอชื่ น ชม และขอยก ตัวอย่างองค์กรและบุคคลแวดล้อมผู้เขียนที่ได้

ใช้โอกาศอันดีจากเทคโนโลยีนใ้ี นการนำพระวาจา ข้ อ คิ ด และความรู้ ด้ า นศาสนามาเผยแพร่ ผ่าน Facebook เช่น อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำพระวาจาประจำวั น ให้ ไ ด้ ร ำพึ ง ภาวนา ฝ่ า ยพิ ธี ก รรมสั ง ฆมณฑลเชี ย งใหม่ ได้ น ำ ความรู้ ด้ า นพิ ธี ก รรมมาโพสต์ ไว้ เ ป็ น ประจำ สังฆมณฑลอุดรธานี นำพระวาจาและข้อคิด ยามเช้าให้ผู้ติดตามได้นำมาขบคิดทุกเช้าวัน ใหม่ และ Pope Report : เข้ า ถึ ง โป๊ ป ... เข้าถึงพระศาสนจักรที่ได้รายงานข่าว และ เรือ่ งราวขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส องค์ปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจ และรู้สึกใกล้ชิด พระองค์มากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ใน Facebook ส่วนตัวก็มี การนำเสนอบทความเกี่ยวกับศาสนาเช่นกัน ขอยกตั ว อย่ า งบุ ค คลที่ ผู้ เ ขี ย นรู้ จั ก ดั ง นี้ บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ได้นำเรื่อง เล่าสั้นๆ ที่มีข้อคิดดีๆ มาแบ่งบัน บาทหลวง สมเกี ย รติ ตรี นิ ก ร ได้ น ำความรู้ ด้ า นต่ า งๆ เช่นคำศัพท์ พระวาจา และการเปิดให้ขอ คำภาวนาในพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ประจำวั น ฯลฯ บาทหลวงวีระเทพ วาทนะเสรี ได้นำ ข้อคิดและพระวาจามาแบ่งปันอย่างสม่ำเสมอ คุณทิวา ไทยสนธิ ได้นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ นักบุญตามวันฉลองขึ้นให้อยู่เสมอๆ เหล่านี้ เป็นเพียงตัวอย่างบุคคลที่อุทิศ Facebook ส่วนตัวให้เป็นเวทีสำหรับการนำเสนอข้อความ ด้านศาสนา ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายองค์กร


ศาสนากับสื่อใหม่ : ศรัทธา 3.0 (Religion and New Media : Faith 3.0)

หลายบุคคลที่ได้ดำเนินตามวิถีนี้แต่มิได้กล่าว ถึงในที่นี้ จึงขอเป็นกำลังใจและขอชื่นชมมา ณ ที่ นี้ เพราะนี้ คื อ ศรั ท ธา 3.0 ยุ ค ที่ ศาสนาใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเข้าถึง ชุมชนแห่งความเชื่อได้ทุกที่ ทุกเวลา พร้อม ทั้งมีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างปัจจุบันทันทีอีกด้วย ดังนัน้ สมมติฐานเดิมทีว่ า่ ศาสนาเป็น ศัตรูกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงไม่ส้จู ะเป็นจริง นัก เพราะพระศาสนจักร โดยองค์สมเด็จ

79

พระสั น ตะปาปา และบุ ค ลากรผู้ ท ำหน้ า ที่ อภิบาลหลายๆ ท่าน ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ศาสนาสามารถนำเทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ นี้ ม า เป็ น เครื่ อ งมื อ ชั้ น ดี ใ นการประกาศข่ า วดี แ ก่ พี่ น้ อ งชาวไทยจำนวนกว่ า 25 ล้ า นคนที่ มี โอกาสเข้ า ถึ ง อิ น เตอร์ เ น็ ต สุ ด ท้ า ยนี้ ข อให้ ทุกท่านช่วยกันทำให้ศรัทธา 3.0 เจริญเติบโต ต่อไปในสังคมไทยครับ

*****


80 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556

Campbell, Heidi A. 2010. When Religion Meets New Media. Abingdon : Routledeg. John Paul II, Pope. 1990. Redemptoris Missio, Encyclical on the Permanent Validity of the Church’s Missionary Mandate. Vatican : Holy See. Paul VI, Pope. 1975. EvangeliiNuntiandi, Apostolic Exhortation to the Episcopate, to the Clergy and to all the Faithful of the Entire World. Vatican : Holy See. Roman, Anthony G. Roman. 2010. “God Texting : Filipino Youth Response to Religious SMS”. Religion and Social Communivation 8,1-2 : 43-82. Torres, Jose. 2005. Digital Families. Philippine Center for Investigative Journalism (April 2005). Available : http://pcij.org/stories/digital-families/


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.