newsletter NVI (4/1/54)

Page 1



“สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”

ความหวังของการพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศ • สมฤดี จันทร์ฉวี และ ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ

ในระยะกว่ า   20  ปี ที่ ผ่ า นมา  ประเทศไทยได้ มี ความพยายามที่จะผลักดันนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ วัคซีนแห่งชาติ  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและผลิตวัคซีน

ที่จำเป็นสำหรับประเทศไทยและภูมิภาค  ความพยายามดังกล่าว ประสบผลสำเร็จในปี   2548  คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อ นโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติที่คณะกรรมการวัคซีน แห่งชาติและคณะอนุกรรมการทั้ง 4 คณะ จัดทำขึ้น นับตั้งแต่ปี  2548  เป็นต้นมา  การขับเคลื่อนนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติมีการดำเนินการอย่างไม่เป็น รู ป ธรรมมากนั ก   เนื่ อ งด้ ว ยยั ง ไม่ มี ห น่ ว ยงานกลางทำหน้ า ที่ ประสานพหุภาคี  และติดตามการดำเนินงานกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง อย่างใกล้ชิด  ตลอดจนทำหน้าที่บริหารจัดการการวิจัยพัฒนาและ การผลิตวัคซีนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ  เพื่อให้การพัฒนา ด้านวัคซีนเกิดความเชือ่ มโยงกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ  ทีเ่ กีย่ วข้อง อั น จะทำให้ ก ารพั ฒ นาสามารถดำเนิ น ไปได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ในภาพรวม ในปี ง บประมาณที่ ผ่ า นมา  กระทรวงสาธารณสุ ข

โดยสำนั ก งานคณะกรรมการวั ค ซี น แห่ ง ชาติ จึ ง ได้ เ สนอ  (ร่ า ง) พระราชบัญญัติสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. .... ต่อคณะกรรมการ

วั ค ซี น แห่ ง ชาติ   และได้ มี ม ติ เ ห็ น ชอบ  โดยให้ น ำเรื่ อ งเสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ขณะนี้ อ ยู่ ร ะหว่ า งขั้ น ตอนการจั ด ทำเอกสารหลั ก เกณฑ์ ใ นการ ตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติฯ แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าการเสนอ กฎหมายโดยการตราเป็ น พระราชบั ญ ญั ติ มั ก จะใช้ ร ะยะเวลา พิ จ ารณาจากทั้ ง สภาผู้ แ ทนราษฎรและวุ ฒิ ส ภาเป็ น เวลานาน ซึ่ ง จะส่ ง ผลให้ ก ารพั ฒ นางานด้ า นวั ค ซี น ของประเทศไม่ ทั น ต่ อ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1

เดือน ธันวาคม 2553

1


2

จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

สถานการณ์และสภาพปัญหา คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติจึงมีมติ ให้ ย กร่ า งระเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ว่ า ด้ ว ยการขั บ เคลื่ อ น นโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติ   โดยให้มีการจัดตั้ง สถาบั น วั ค ซี น แห่ ง ชาติ ขึ้ น   เรื่ อ งดั ง กล่ า วได้ เ สนอรั ฐ มนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามแล้วเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 และคณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ มี ม ติ เ ห็ น ชอบในหลั ก การเมื่ อ วั น ที ่

30 พฤศจิกายน 2553 สถาบั น วั ค ซี น แห่ ง ชาติ ภ ายใต้ ร ะเบี ย บสำนั ก นายก รั ฐ มนตรี ฯ   นี้   จะทำหน้ า ที่ เ ป็ น หน่ ว ยงานกลางด้ า นวั ค ซี น ไปพลางก่อน  เพื่อทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ วั ค ซี น แห่ ง ชาติ   การประสาน  ส่ ง เสริ ม   สนั บ สนุ น หน่ ว ยงาน ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวัคซีน  การบริหารจัดการความรู้  ข้อมูล ข่ า วสารด้ า นวั ค ซี น   การประสานและจั ด หาแหล่ ง ทุ น สนั บ สนุ น การดำเนินงานด้านวัคซีน  และติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ตามนโยบายและแผนยุ ท ธศาสตร์ ฯ   โดยมี ค ณะกรรมการ บริ ห ารสถาบั น วั ค ซี น แห่ ง ชาติ ท ำหน้ า ที่ ก ำหนดนโยบาย

ด้ า นการบริ ห ารสถาบั น   และกำกั บ ดู แ ลการดำเนิ น กิ จ การของ สถาบันให้สามารถผลักดันงานด้านวัคซีนให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ฯ นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ   ซึ่งจะทำ หน้ า ที่ ก ำหนดนโยบายและแผนยุ ท ธศาสตร์ ฯ   ของบประมาณ ประจำปี  แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา  คณะอนุกรรมการ  คณะทำงาน และเสนอแนะให้ มี ก ฎหมาย  หรื อ ให้ มี ก ารแก้ ไ ข  เพิ่ ม เติ ม หรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านวัคซีน ด้ ว ยความมุ่ ง หวั ง ที่ จ ะให้ ป ระเทศไทยสามารถสร้ า ง ศั ก ยภาพด้ า นการวิ จั ย พั ฒ นาและการผลิ ต วั ค ซี น ที่ จ ำเป็ น ต่ า งๆ อันจะทำให้ประเทศมีความมั่นคง  สามารถพึ่งตนเองได้ด้านวัคซีน “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”  ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ในช่วงต้น  และภายใต้  (ร่าง)  พระราชบัญญัติฯ  ในระยะต่อไป จะเป็ น กลไกสำคั ญ ที่ จ ะผลั ก ดั น   และขั บ เคลื่ อ นการดำเนิ น งาน ด้านวัคซีนโดยหน่วยงานต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องให้ไปในทิศทางเดียวกัน และส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ


เรียนรู้เรื่องไข้หวัดใหญ่จากการระบาด/ ความสูญเสียสู่การพัฒนาวัคซีน • วรวรรณ กลิ่นสุภา และ พญ.อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง 1 ประวัติศาสตร์การระบาด เวลาเกือบสองปีที่ผ่านมาคงไม่มีโรคใดที่สร้างความสนใจ และตื่นตัวแก่ประชาชนมากเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุใหม่ 2009 ที่ระบาดต่อเนื่องข้ามปี จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศ ให้การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุดังกล่าวเป็นการระบาด ใหญ่ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก (pandemic) ความจริงการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่นั้นเกิดขึ้นอยู ่

ทุกปีในประเทศต่างๆ  ทั่วโลก  เรียกว่าการระบาดประจำปีหรือ ตามฤดูกาล (annual หรือ seasonal influenza) ซึ่งช่วงเวลาที่มี การระบาดของโรคระหว่างซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้จะแตกต่างกัน ถือว่าเป็นการระบาดในวงจำกัด (epidemic) โรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส Influenza นั้น เริ่ ม คุ ก คามมนุ ษย์ตั้งแต่เมื่อใดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ ชั ด   แต่ จ าก บันทึกทางประวัติศาสตร์ทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดขึ้นมานาน กว่า 400 ปีก่อนคริสตกาลแล้ว ในช่วงเวลาศตวรรษที่ผ่านมาพบว่า มีการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่เกิดขึ้นถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้ง ก่ อ ให้ เ กิ ด การสู ญ เสี ย ชี วิ ต และสู ญ เสี ย ทางเศรษฐกิ จ /สั ง คม เป็นจำนวนมาก  ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดเกิดขึ้นใน  พ.ศ.  2461-2462 เรียกว่า  Spanish  flu  มีสาเหตุจากไวรัส  H1N1  ในครั้งนั้น การระบาดได้ ค ร่ า ชี วิ ต ผู้ ค นจำนวนมากถึ ง  40  ล้ า นคนทั่ ว โลก ซึ่ ง มากกว่ า จำนวนผู้ เ สี ย ชี วิ ต จากสงครามโลกครั้ ง ที่  1  เสี ย อี ก

ครั้งต่อมาเกิดขึ้นในพ.ศ. 2500-2501 เรียกว่า Asian flu เกิดจาก ไวรัส H2N2 มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1 แสนคน ครั้งที่สาม Hong Kong flu เกิดเมื่อพ.ศ. 2511-2512 ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลก

ราว  7  แสนคน  และครั้งล่าสุดที่เพิ่งผ่านพ้นไปก็คือไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ุใหม่ 2009 ที่มีผู้เสียชีวิตประมาณ 18,311 คนทั่วโลก (ข้อมูลตั้งแต่ เดือนเมษายน 2552 - กรกฎาคม 2553 จากองค์การ อนามัยโลก) ปีที่ 4 ฉบับที่ 1

เดือน ธันวาคม 2553

3


4

จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

2 วิวัฒนาการการพัฒนาวัคซีนจากอดีตถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมียารักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งที่เป็นยารักษาตาม อาการและยาต้านไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรค แต่สำหรับการป้องกัน การติ ด เชื้ อ ไวรั ส ไข้ ห วั ด ใหญ่   “วั ค ซี น ”  ถื อ เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ มี ประสิทธิภาพและให้ผลดีที่สุด  มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและ ลดความรุนแรงของการระบาด  ลดอัตราป่วยและตาย  รวมทั้ง ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีการพัฒนาและใช้แพร่หลายมานาน กว่า  60  ปี  และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและ ความปลอดภั ย   การพั ฒ นาวั ค ซี น เริ่ ม ต้ น จากการค้ น พบสำคั ญ ใน  พ.ศ.  2476  โดย  Patrick  Playfair  Laidlaw  และคณะ แห่งมหานครลอนดอน ที่สามารถเพาะแยกเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ โดยใช้สัตว์ฟันแทะ ferret และหนูขาว ต่อมาในพ.ศ. 2481 Jonas Salk ร่วมกับ Thomas Francis Jr. ได้ร่วมกันพัฒนาวัคซีนรุ่นแรกซึ่งผลิตโดยใช้เทคโนโลยี การเพาะเลี้ ย งไวรั ส ด้ ว ยไข่ ไ ก่ ฟั ก และนำไปใช้ อ ย่ า งแพร่ ห ลาย ในกองทัพระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่  2  วัคซีนชนิดนี้ถือเป็น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาวัคซีนในยุคต่อมา วั ค ซี น ป้ อ งกั น ไข้ ห วั ด ใหญ่ ใ นยุ ค แรก  เป็ น วั ค ซี น ชนิ ด เชื้อตาย  ซึ่งไม่ได้ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ที่ใช้เทคโนโลยี ที่ก้าวหน้าเช่นในปัจจุบัน  ทำให้วัคซีนในยุคนั้นก่อให้เกิดอาการ ไม่ พึ ง ประสงค์ ทั้ ง ชนิ ด เฉพาะที่ แ ละทั่ ว ทุ ก ระบบ  ในอั ต ราที่ สู ง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก  ในช่วงเวลานั้น  นักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า อาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ต่อมาเมือ่ เทคโนโลยีการผลิตมีความก้าวหน้าขึน้   มีการนำ เทคนิ ค การทำให้ บ ริ สุ ท ธิ์ ที่ ดี ม าใช้   ทำให้ ส ามารถพั ฒ นาวั ค ซี น ที่มีความบริสุทธิ์มากขึ้น อาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่เกิดภายหลัง ได้ รั บ วั ค ซี น ลดลงมาก  ทำให้ ท ราบว่ า   แท้ ที่ จ ริ ง แล้ ว อาการ

ไม่พึงประสงค์จากวัคซีนในยุคก่อนเกิดจากการปนเปื้อนของโปรตีน และสารต่ า งๆ  ที่ ไ ม่ ไ ด้ ถู ก แยกออกไปด้ ว ยกระบวนการทำให้ บริสุทธิ์ที่ดีพอ ต่อมากระบวนการพัฒนาวัคซีนก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ มี ก ารใช้ เ ทคนิ ค การแยกไวรั ส ทั้ ง ตั ว เป็ น ส่ ว นเล็ ก ๆ  (splitting) ด้วยสารเคมีหลายชนิด ผ่านกระบวนการแยกส่วน มี H และ N เป็นแอนติเจนสำคัญและมี external antigen เหลือตกค้างอยู่บ้าง แต่เป็นส่วนน้อย ทำให้อาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนลดลง วัคซีน ชนิดนี้เรียกว่า split virion vaccine และอีกชนิดหนึ่งคือ วัคซีนที่มี ความบริสุทธิ์มากขึ้น แยกเอาแอนติเจนส่วนภายในออกไป เหลือไว้ เพียง surface Ag ทำให้อาการไม่พึงประสงค์ต่ำกว่า split vaccine แม้ว่าประสิทธิภาพด้านการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันอาจด้อยไปบ้าง ได้แก่  purified  surface-antigen  vaccine  และ  virosomal vaccine


3 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ ใช้อยู่ ในปัจจุบัน จากการพั ฒ นาวั ค ซี น ตั้ ง แต่ อ ดี ต ถึ ง ปั จ จุ บั น   วั ค ซี น ไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ทั่วไป แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1. วัคซีนเชื้อตาย  (inactivated  influeza  vaccine) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ - whole-cell virus vaccine  เป็นวัคซีนที่นำเอา ไวรั ส ทั้ ง ตั ว ไปทำให้ ห มดสภาพในการติ ด เชื้ อ  วั ค ซี น รู ป แบบนี ้

ถูกยกเลิกไปในพ.ศ. 2544 เนื่องจากมีผลข้างเคียงมาก - subvirion (split virion) เป็นวัคซีนที่ประกอบด้วย ส่ ว นต่ า งๆของไวรั ส   เกิ ด จากการนำเชื้ อ ไวรั ส มาแยกออกจาก อนุภาคเดิม - purified surface-antigen vaccine เกิดจากไวรัส ที่ถูกแยกเอาเฉพาะ surface antigen ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ได้แก่ Haemagglutinin (HA) และ Neuraminidase (NA) มาใช้ เป็นวัคซีน - virosomal  vaccine  เป็นวั ค ซี น ที่น ำเชื้อ ไวรั ส

ไปผ่านกระบวนการเอาสารพันธุกรรมที่อยู่ข้างในออก  เหลือเพียง

แต่ส่วนที่เป็นเปลือกหุ้มไวรัส 2. วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live-attenuated vaccine) เป็นวัคซีนที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ในการก่อโรค  แต่ยังสามารถกระตุ้น ภูมิคุ้มกันโดยไม่เพิ่มจำนวนในร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีน  และนำ เข้าสู่ร่างกายโดยการพ่นเข้าทางจมูก สำหรั บ วั ค ซี น เชื้ อ ตายทั้ ง   4  ชนิ ด นั้ น   การทดสอบ ภาคสนามในอาสาสมัครจำนวนมากและการใช้เพื่อการป้องกันโรค ในประชากรทั่วไป พบว่าวัคซีนชนิด split virion มีประสิทธิภาพสูง กว่าวัคซีนเชือ้ ตายชนิดอืน่ อย่างไรก็ตาม  ในด้านอาการไม่พงึ ประสงค์ ภายหลั ง ได้ รั บ วั ค ซี น มี ข้ อ มู ล บ่ ง ชี้ ว่ า วั ค ซี น เชื้ อ ตายชนิ ด ที่ มี แ ต่ surface antigen ก่อปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์น้อยกว่า ไม่ว่าจะใช้ ในประชากรกลุ่ ม ใด  ในส่ ว นวั ค ซี น เชื้ อ เป็ น อ่ อ นฤทธิ์   ให้ โ ดย การพ่นจมูกเลียนแบบการติดเชื้อในธรรมชาติ  มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันโรคในระดับหนึ่ง  ซึ่งมีผลการศึกษาเฉพาะในผู้ที่ มีอายุระหว่าง  5-49  ปี  สำหรับประชาชนในกลุ่มอายุนอกเหนือ จากนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษา  ต้องรอผลการประเมินเพิ่มเติมต่อไป ปีที่ 4 ฉบับที่ 1

เดือน ธันวาคม 2553

5


6

จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

4 ความก้าวหน้าในการผลิตวัคซีนในเชิงอุตสาหกรรม การพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่นนั้   หากเป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาลจำเป็นต้องผลิตวัคซีนใหม่ทุกปี  เพื่อให้สอดคล้องกับ สายพั น ธ์ุ ข องไวรั ส ที่ เ ปลี่ ย นไปเนื่ อ งจากเชื้ อ สามารถกลายพั น ธ์ุ ได้ง่าย  และคาดว่าจะเป็นสายพันธ์ุที่ระบาดของปีนั้นและปีถัดไป ทั้ ง ของซี ก โลกเหนื อ และซี ก โลกใต้   โดยวั ค ซี น ที่ ผ ลิ ต และใช้ ในปัจจุบันเป็นวัคซีนแบบ trivalent ที่ประกอบไปด้วยไวรัสชนิด A 2 สายพันธ์ุ  และชนิด  B  1  สายพันธ์ุ ซึ่งกำหนดโดยองค์การ อนามัยโลก  แต่หากเป็นกรณีระบาดใหญ่  อาจใช้สายพันธ์ุที่กำลัง ระบาดอยู่ในขณะนั้นสายพันธ์ุเดียวเรียกว่า  monovalent  ทั้งนี้ ผู้ผลิตวัคซีนสามารถติดต่อเพื่อรับวัคซีนต้นแบบที่ใช้สำหรับผลิต ในระดั บ อุ ต สาหกรรมได้ ที่   WHO  Global  Influenza Programme, National Institute for Biological Standards and Control ประเทศอังกฤษ, US-CDC และ St.Jude Children’s Research Hospital ประเทศสหรัฐอเมริกา การผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม  ไม่ว่า จะเป็นชนิดเชื้อตายหรือเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ต่างก็ผลิตจากเทคโนโลยี ไข่ไก่ฟัก (egg-based technology) ทั้งสิ้น ทำโดยเพาะเชื้อใน ไข่ ไ ก่ ฟั ก ปลอดเชื้ อ แล้ ว เอาเฉพาะส่ ว นที่ เ ป็ น ของเหลวในรก (allantoic  fluid)  มาผลิตเป็นวัคซีน  เทคโนโลยีนี้ใช้ในการผลิต วัคซีนไข้หวัดใหญ่มากว่า  50  ปี  จึงมีคุณภาพและปลอดภัย  แต่มี ข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตไข่ไก่ฟักปลอดเชื้อ  และไม่สามารถใช้ วัคซีนนี้ได้ในคนที่แพ้ไข่  นอกจากเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว   ยังมี เทคโนโลยีอื่นที่มีประสิทธิภาพแต่ต้องการการพัฒนาให้สมบูรณ์ และมี ข้ อ มู ล ด้ า นเทคนิ ค การเพาะเลี้ ย งและความปลอดภั ย มากเพียงพอ  ได้แก่  เทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยง  (cell-based technology)  เป็นการเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์ชนิดต่างๆ  เช่น

MDCK  และ  Vero  cell  ซึ่ ง เป็ น เซลล์ จ ากไตของสุ นั ข และลิ ง ตามลำดั บ   และสุ ด ท้ า ยเป็ น เทคโนโลยี ก ารใช้   Baculovirus เป็นการนำยีนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในส่วนที่แสดงออกเป็นโปรตีน ที่ ก ระตุ้ น ภู มิ คุ้ ม กั น ของร่ า งกาย  มาตั ด ต่ อ เข้ า กั บ พั น ธุ ก รรมของ แบคิวโลไวรัส  แล้วนำแบคิวโลไวรัสที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม แล้วใส่เข้าไปในเซลล์แมลงที่เป็นเจ้าบ้าน (host) ของแบคิวโลไวรัส ผลคือทำให้เซลล์ของแมลงผลิตโปรตีนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เป็น ส่วนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย  แล้วนำมาใช้เป็นวัคซีน โรคไข้หวัดใหญ่ได้สร้างปัญหาให้กับสังคม แต่จะมากหรือ น้ อ ยนั้ น ขึ้ น อยู่ กั บ ความรุ น แรงของสายพั น ธ์ุ ไ วรั ส ที่ ก่ อ โรค  และ ความกว้างของพื้นที่ที่ไวรัสแพร่กระจาย  ดังนั้นแต่ละประเทศจึง ต้องเตรียมการรับมือกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั้งที่ระบาดตามฤดูกาล และเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่เพื่อลดความสูญเสีย ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น   หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งต้ อ งมี ม าตรการเฝ้ า ระวั ง โรค การเตรียมเวชภัณฑ์  วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น  เตรียมความพร้อมใน การควบคุมการระบาดฉุกเฉิน  ประชาสัมพันธ์ความรู้ความเข้าใจ ให้กับประชาชน  รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ และเป็นระบบด้วย อ้างอิงจาก - ระบาดบันลือโลก  ของ  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ - เอกสารข้ อ เสนอเชิ ง นโยบาย  “ยุ ท ธศาสตร์ การเตรี ย มพร้ อ มด้ า นวั ค ซี น ไข้ ห วั ด ใหญ่ ก รณี

เกิดการระบาดใหญ่ของประเทศไทย” - เว็บไซต์ http://www.who.int


การค้นพบ pathway ใหม่

ในการเข้าสู่เซลล์มนุษย์ของเชื้อมาลาเรีย • เกศินี มีทรัพย์

รคมาลาเรียเป็นโรคติดเชื้อปรสิตที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ที่ ส ำคั ญ ในหลายประเทศ  ในแต่ ล ะปี จ ะมี ผู้ เ สี ย ชี วิ ต จากโรคมาลาเรี ย กว่ า   1  ล้ า นคน  ซึ่ ง ในจำนวนนี้ ผู้ เ สี ย ชี วิ ต ส่วนใหญ่  จะเป็นผู้ป่วยเด็ก  นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมาน จากการป่ ว ยและติ ด เชื้ อ เป็ น จำนวนหลายร้ อ ยล้ า นคนทั่ ว โลก ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก การพั ฒ นาวั ค ซี น ป้ อ งกั น โรคมาลาเรี ย เป็ น ความหวั ง สำคัญ ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรค ทั้งนี้ในระยะ เวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา นับจากที่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ว่า การพัฒนาวัคซีนมีโอกาสประสบผลสำเร็จ  นักวิทยาศาสตร์และ หน่วยงานต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องในวงจรการพัฒนาวัคซีนได้พัฒนา ความร่วมมือและจัดทำแผนที่เดินทางเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนา วัคซีนมาลาเรียขึ้น  เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาวัคซีนให้ประสบ ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ร่วมกันวางไว้ ในวารสารฉบั บ นี้ จ ะขอนำความก้ า วหน้ า อี ก ขั้ น หนึ่ ง ที่ เ ป็ น การค้ น พบทางวิ ท ยาศาสตร์ ที่ ส ำคั ญ และเกี่ ย วข้ อ งกั บ การพัฒนาวัคซีนมานำเสนอให้ผู้อ่านได้รับทราบการค้นพบครั้งนี้

เป็ น การพบ  pathway  อี ก ทางหนึ่ ง ในการเข้ า สู่ เ ม็ ด เลื อ ดแดง ของเชื้ อ มาลาเรี ย   ซึ่ ง องค์ ค วามรู้ นี้ จ ะเป็ น ข้ อ มู ล พื้ น ฐานสำคั ญ ในการนำไปพัฒนายาและวัคซีนต่อไป ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า เชื้ อ มาลาเรี ย ใช้ โ ปรตี น   glycophorin  ในการเข้ า ไปในเซลล์ เม็ดเลือดแดง  อย่างไรก็ตาม  งานวิจัยล่าสุดโดยศาสตราจารย์ อลัน คาวแมน (Professor Alan Cowman) และคณะวิจัย สถาบัน Walter and Eliza Hall Institute มหาวิทยาลัย Edinburgh

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1

เดือน ธันวาคม 2553

7


8

จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

ค้นพบว่า เชื้อมาลาเรียมี pathway อื่นที่จะเข้าสู่เม็ดเลือดแดงได้ โดยไม่ ต้ อ งใช้   glycophorin  แต่ ใ ช้   PfRh4-CR1  pathway ซึ่ ง เชื้ อ มาลาเรี ย อาศั ย โมเลกุ ล   PfRh4  บนตั ว มั น ไปจั บ กั บ complement receptor 1 (CR1) ซึ่งเป็นโปรตีนทั่วไปที่พบบนผิว ของเซลล์เม็ดเลือดแดง เพื่อนำเชื้อมาลาเรียเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง PfRh4-CR1  pathway  นี้  เป็นทางเข้าสู่เซลล์ที่สำคัญทางหนึ่ง ของเชือ้ มาลาเรีย  หากสามารถปิดกัน้ ทางเข้าสูเ่ ซลล์โดย  glycophorin และ  PfRh4-CR1  pathway  จะสามารถลดการติ ด เชื้ อ ของ เซลล์ต่างๆ  ได้ถึงร้อยละ  90  ซึ่งในขณะนี้คณะผู้วิจัยกำลังพัฒนา

วัคซีนโดยคัดเลือกส่วนผสมของโปรตีนต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อชักนำ ให้ ร ะบบภู มิ คุ้ ม กั น จดจำและสร้ า งแอนติ บ อดี ส ำหรั บ ป้ อ งกั น การบุกรุกของเชื้อมาลาเรียเข้าสู่เซลล์ การค้นพบนี้เป็นโอกาสดีที่จะนำไปสูก่ ารวิจยั วิทยาศาสตร์ พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อมาลาเรีย/การพัฒนาวัคซีนที่พร้อม ที่จะทดสอบวัคซีนมาลาเรียในระดับคลินิกต่อไปด้วย แปลจาก  http://www.sciencedaily.com/releases/2010/09/ 100924095831.htm




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.