แวดวงวัคซีน ปีที่ 9 ฉบับที่ 2

Page 1

แวดวงวัคซีน จดหมายข่าว ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนมกราคม - มีนาคม 2559

เวียดนามกับความส�ำเร็จในการพึ่งตนเองด้านวัคซีน

เรื่องในเล่ม 03 เวียดนาม ความส�ำเร็จ ในการพึ่งตนเองด้านวัคซีน 05 พรบ. ความมั่นคงด้านวัคซีน 06 ความต้องการวัคซีน กับกระแสการตื่นกลัว โรคไข้เลือดออก 08 มหกรรมวิทยาศาสตร์ งานยักษ์ที่รัฐต้องต่อยอด สู่ผลิตภัณฑ์ 10 วัคซีนทางเลือก ผู้สูงอายุควรควักกระเป๋า หรือไม่?

ภาพปกจาก www.thanhniennews.com


บทบรรณาธิการ editor’s talk

ปั

กฤษณา นุราช

บรรณาธิการ

จจุบันวิทยาศาสตร์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิตประจ�ำวันของคนเรา มากขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศก�ำลังพัฒนาหลายประเทศ จึงหันมาให้ ความส�ำคัญกับการน�ำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา ประเทศในหลายมิติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ ความมั่นคง หรือ การป้องกันประเทศ หลายประเทศสามารถพิสจู น์ให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์สามารถ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หลายชนิด ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สามารถสร้างรายได้ให้กับ ประเทศได้อย่างเป็นกอบเป็นก�ำ ตัวอย่าง เช่น วัคซีน และผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ ส�ำคัญอื่น ๆ เป็นต้น หากประเทศไทยจะน�ำวิทยาศาสตร์มาเป็นพลังส�ำคัญในการขับเคลื่อน ประเทศ คงต้ อ งมี ก ารบู ร ณาการกิ จ กรรม หน่ ว ยงาน บุ ค ลากร โครงสร้ า ง พื้นฐาน กฎหมาย และนโยบายของประเทศให้มีความชัดเจน ต่อเนื่อง สมบูรณ์ พร้อมรองรับการขยายตัวและการลงทุน มุ่งสู่เป้าหมายการสร้างสรรค์ความรู้ สู ่ น วั ต กรรมและผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ พื่ อ พั ฒ นาประเทศได้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ...มิ ใ ช่ เ พี ย ง วาทกรรมสวยหรูบนแผ่นกระดาษ

จดหมายข่าว “แวดวงวัคซีน” ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559 ทีป่ รึกษา ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ บรรณาธิการ นางสาวกฤษณา นุราช ผู้ช่วยบรรณาธิการฝ่ายวิชาการ นางสาวนันทะภร

แก้วอรุณ นางสาวอัญญรัตน์ ธรรมเจริญ นายจักรกฤช ทองย้อย ติ ด ต่ อ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ชั้น 2 อาคารกรมควบคุมโรค 4 กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ต� ำ บลตลาดขวั ญ อ� ำ เภอเมื อ ง จั ง หวั ด นนทบุ รี 11000 โทรศั พ ท์ 0-2590-3196-9 โทรสาร 0-2965-9152 www.nvco.go.th ออกแบบรูปเล่ม บริษัท ดีเซมเบอรี่ จ�ำกัด

2

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559


กองบรรณาธิการ

เวียดนาม...ตัวอย่างความส�ำเร็จในการพึ่งตนเอง ด้านวัคซีนของประเทศก�ำลังพัฒนา

โรงงานผลิตวัคซีน ประเทศเวียดนาม

ภาพจาก: http://vietnam.vnanet.vn/english/vietnamese-vaccines/44247.html

“ประเทศเวี ย ดนามสามารถ ผลิตวัคซีนได้เอง 11 ชนิด และ เริ่มส่งออกไปยังหลายประเทศ ”

ปั

จจุ บั น ประเทศเวี ย ดนามสามารถผลิ ต วั ค ซี น ได้ เ อง 11 ชนิ ด จากทั้งหมด 13 ชนิด ที่บรรจุอยู่ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของประเทศ และมีวคั ซีนทีก่ ำ� ลังอยูใ่ นช่วงของการวิจยั พัฒนามากถึง 12 ชนิด เวียดนามเริ่มผลิตวัคซีนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 กระทั่งกลางปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2558) องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองมาตรฐานหน่วยควบคุมก�ำกับ (อ.ย.) ของประเทศเวียดนามอย่างเป็นทางการ ท�ำให้ปลายปีเดียวกัน เวียดนาม เริ่มส่งออกวัคซีนไปยังตลาดต่างประเทศ ทั้งอินเดีย ติมอร์-เลสเต เกาหลีใต้ ศรีลังกา และ ฟิลิปปินส์

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559

3


รัฐบาลยังได้อนุมัติโครงการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ที่จ�ำเป็นส�ำหรับใช้ใน ประเทศ จ�ำนวน 7 ชนิด เพื่อทดแทนการน�ำเข้า และเพื่อการส่งออกขาย ต่างประเทศ คาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีนดังกล่าวได้ในปี พ.ศ. 2563 นอกจากนี้ เวียดนามยังสนใจผลิตวัคซีนรวมเข็มเดียวป้องกันได้ 5 และ 6 โรค ในอนาคต อีกด้วย งานด้านวัคซีนของเวียดนามพัฒนาและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะรัฐ มีนโยบายการน�ำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนพัฒนา ประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ทัง้ ด้าน เศรษฐกิจ สังคม ความมัน่ คง และการยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชากร มีการการปรับปรุงโรงงานผลิตวัคซีนในประเทศให้ มีความทันสมัย สามารถผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อการใช้ภายใน ประเทศ ลดการน�ำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ วัคซีนหัด ผลิตในเวียดนาม

ภาพจาก: http://tiemchungpolyvac.com

ความมุ่งมั่นของรัฐบาล พร้อมความเชื่อมั่น มาโดยตลอดว่าเวียดนามต้องพึ่งพาตัวเองในการ ผลิตวัคซีน ท�ำให้มีการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนางานอย่างมีทิศทาง ท�ำให้ปัจจุบัน เวียดนามก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีนประเทศ ที่ ส ามในกลุ ่ ม อาเซี ย นได้ อ ย่ า งเต็ ม ตั ว ...และอาจ ก้าวสู่ผู้ผลิตวัคซีนรายส�ำคัญในภูมิภาคอาเซียนใน อนาคตอันใกล้

วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (SMB) ผลิตในเวียดนาม ภาพจาก: http://tiemchungpolyvac.com

4

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559


กองบรรณาธิการ

พรบ. ความมั่นคงด้านวัคซีน

เครื่องมือขับเคลื่อนการพัฒนาวัคซีนไทย

ระราชบัญญัติ ความมั่นคงด้านวัคซีน เป็ น แนวคิ ด หนึ่ ง ที่ จ ะน� ำ มาใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการขั บ เคลื่ อ นงานด้ า น การผลิ ต และการสร้ า งความมั่ น คงด้ า นวั ค ซี น ของประเทศไทย ให้ ส ามารถเดิ น ไปข้ า งหน้ า ได้ อย่างมั่นคง มีทิศทาง มีความเป็นเอกภาพในการ บริหารจัดการ โดยการเพิ่มอ�ำนาจทางปกครองแก่ คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติในการส่งเสริมผลักดัน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถด�ำเนินงานด้าน วั ค ซี น ได้ เ ต็ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ ทั้ ง หน่ ว ยวิ จั ย ผลิ ต ควบคุมก�ำกับ ผู้ใช้ และผู้จัดซื้อจัดหา เป็นต้น ไทยเป็ น ประเทศหนึ่ ง ในอาเซี ย นที่ มี ป ระวั ติ การพัฒนางานด้านวัคซีนมาอย่างยาวนาน เคยผลิต วัคซีนใช้ได้เองในประเทศหลายชนิด แต่จนถึงปัจจุบนั ศั ก ยภาพด้ า นการผลิ ต วั ค ซี น ของไทยลดลงอย่ า ง ต่อเนื่อง แม้ปจั จุบนั จะมีการจัดตัง้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ มีแผนยุทธศาสตร์และนโยบายวัคซีนแห่งชาติ มีการ ประกาศวาระแห่งชาติด้านวัคซีน เพื่อผลักดันงาน ด้านวัคซีนของประเทศ แต่ดูเหมือนว่าการพัฒนา งานด้านวัคซีนของไทยก็ยงั เดินหน้าได้ชา้ มาก ช้ากว่า หลายประเทศ

จากประสบการณ์การท�ำงานของสถาบันวัคซีนที่ผ่านมา พบว่าสาเหตุหลัก ที่ ท� ำ ให้ ง านด้ า นวั ค ซี น ของประเทศไม่ ส ามารถพั ฒ นาได้ ต ามแผนที่ ว างไว้ เพราะขาดสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากภาครัฐ ในหลายด้าน เช่น งบประมาณที่ให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานด้านวัคซีนของประเทศ โครงสร้าง พื้นฐานที่ได้มาตรฐานสากล บุคลากรที่มีศักยภาพ นโยบายส่งเสริมการลงทุน ด้านวัคซีน และที่ส�ำคัญ คือ การขาดความเชื่อมโยงในการด�ำเนินการด้านวัคซีน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในขณะนี้ แ ม้ มี ค ณะกรรมการ วัคซีนแห่งชาติ ภายใต้ระเบียบส�ำนัก นายกรัฐมนตรี และมีสถาบันวัคซีน แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดตั้ง โดยพระราชกฤษฎีกา ภายใต้ พ.ร.บ. องค์การมหาชน แต่การด�ำเนินงาน ก็ยังมีข้อจ�ำกัด เพราะคณะกรรมการ และองค์กรไม่สามารถใช้อำ� นาจ หน้าที่ เพื่อการสนับสนุนและขับเคลื่อนให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด�ำเนินงานตาม แผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับไม่มีบทลงโทษที่จะเป็นแรงผลักให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด�ำเนินงานให้ส�ำเร็จตามแผนได้

ดั ง นั้ น การยกระดั บ ความส� ำ คั ญ ของประเด็ น การพึ่ ง ตนเองเพื่ อ สร้ า ง ความมั่ น คงด้ า นวั ค ซี น เป็ น พระราชบั ญ ญั ติ จึ ง เป็ น หนทางที่ เ ป็ น พื้ น ฐาน ที่มีความส�ำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงาน ให้สามารถเดินหน้าไป ในขณะที่ ประเทศก�ำลังพัฒนาหลายประเทศ ตามนโยบายและแผนยุ ท ธศาสตร์ วั ค ซี น แห่ ง ชาติ ไ ด้ อ ย่ า งรวดเร็ ว มากยิ่ ง ขึ้ น เดินหน้าผลิตวัคซีนใช้เองกันโครม ๆ เพราะเขาคิดว่า อั น จะท� ำ ให้ ป ระชาชนมี วั ค ซี น ใช้ อ ย่ า งเพี ย งพอแม้ เ กิ ด ภาวะฉุ ก เฉิ น และมี การผลิตวัคซีนได้เองเป็นยุทธศาสตร์สำ� คัญในการพึง่ พา ความต้องการวัคซีนมากขึ้นทั่วโลก อีกทั้งจะเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญในการชักน�ำ ตนเองทีย่ งั่ ยืน ทัง้ ในด้านด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ให้เกิดผลิตภัณฑ์แบบต้นน�้ำส�ำหรับอุตสาหกรรมสีเขียว ทั้งยา วัคซีน สมุนไพร ความมั่นคง และขณะเดียวกันเป็นการพัฒนางาน เป็นต้น อันจะส่งผลให้ประเทศไทยมีศกั ยภาพด้านเทคโนโลยีชวี ภาพและสามารถ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระยะยาวอีกด้วย แข่งขันได้กับนานาชาติในอนาคต ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559

5


อนุชิต สารสิทธิ์

ความต้องการวัคซีน ... กับกระแสการตื่นกลัวโรคไข้เลือดออก “ ป ั จ จั ย แ ห ่ ง ค ว า ม ส� ำ เ ร็ จ ของการผลิ ต วั ค ซี น ในประเทศ ก� ำ ลั ง พั ฒ นา เกื อ บทุ ก บ้ า นเมื อ ง ตอบเป็ น เสี ย งเดี ย วกั น ว่ า คื อ การสนับสนุนอย่างซีเรียส จริงจัง จากรัฐบาล”

ปอ ทฤษฎี เข้ารับการรักษาโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลรามาธิบดี ภาพ : http://khaonews5.blogspot.com

นั

กแสดงหนุ่ม ปอ ทฤษฎี ติดเชื้อและป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาการสาหั ส ต้ อ งนอนห้ อ งซี ซี ยู แ รมเดื อ นและเสี ย ชี วิ ต ในที่ สุ ด เป็นเหตุการณ์เศร้าสลด ติดอันดับข่าวดัง ส่งผลให้เกิดกระแส การตื่นกลัวโรคไข้เลือดออกขึ้นมาทันที นอกจากการป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด การรักษาตามอาการแล้ว สิ่งหนึ่งที่สังคมถามหา คือ วัคซีน เครื่องมือทาง สาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมป้องกันโรคมากว่าศตวรรษ

6

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559


การพั ฒ นาวั ค ซี น ไข้ เ ลื อ ดออกอยู ่ ใ นแผนวาระแห่ ง ชาติ ด ้ า นวั ค ซี น ของ ประเทศไทย ความพยายามในการพัฒนาและผลิตวัคซีนภายในประเทศเพื่อ การพึ่งพาตนเองมีมาเกือบสิบปี แต่ก็มีอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ มากมาย ท�ำให้ ล่าช้าในการผลิตวัคซีนขึ้นมาใช้ ตอนนี้ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการซื้อหา วั ค ซี น มู ล ค่ า สู ง จากต่ า งประเทศเข้ า มาใช้ เ ป็ น ส่ ว นใหญ่ สามารถผลิ ต ได้ เองตั้งแต่ต้นน�้ำเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ วัคซีนป้องกันวัณโรคในเด็กและ ไข้สมองอักเสบ

ประกอบกั บ ความสามารถในการผลิ ต วั ค ซี น ต่าง ๆ ทั่วโลกมีจ�ำกัดอยู่เพียงบางประเทศหรือบาง บริษัทเท่านั้น แต่ปริมาณผู้ที่ต้องการใช้วัคซีนทั่ว โลก ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนที่ใช้ในคน หรือแม้แต่วัคซีน ที่ใช้ส�ำหรับสัตว์ มีจ�ำนวนมหาศาล ไม่เพียงพอกับ ความต้องการ ท�ำให้วัคซีนที่ออกมาสู่ตลาดหลายตัว น้อยกว่าความต้องการ ราคาจึงสูง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในภาวะที่เกิดการระบาดของโรคหรือเกิดปัญหา การผลิตในบริษัทใดบริษัทหนึ่งขึ้น ปั จ จั ย แห่ ง ความส� ำ เร็ จ ของการผลิ ต วั ค ซี น ใน ประเทศก�ำลังพัฒนา เกือบทุกบ้านเมืองตอบเป็น เสี ย งเดี ย วกั น ว่ า คื อ การสนั บ สนุ น อย่ า งซี เ รี ย ส จริงจังจากรัฐบาล (Commitment) และในระยะสั้น ก่อนที่จะตั้งตัวได้ดี ผู้ใช้โดยเฉพาะภาครัฐต้องช่วย กันซื้อวัคซีนคุณภาพดีที่ผลิตในประเทศ ไม่ใช่มอง แต่การเปิดเสรีให้คนอื่นมาทุ่มตลาด ท�ำลายธุรกิจ การผลิตภายในประเทศย่อยยับ

ที่มา : รายงาน 506 ส�ำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ปั จ จั ย ที่ ส� ำ คั ญ ในการส่ ง เสริ ม การผลิ ต วั ค ซี น อีกอย่าง คือ การสร้างความร่วมมือกับนานาชาติ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transferring) อั น เป็ น หนทางสู ่ ค วามส� ำ เร็ จ ที่ ส� ำ คั ญ ในหลาย ประเทศ ไม่ใช่หวังแต่รอผลจากการวิจัยเองทุกตัว แต่ ทุ ก คนต้ อ งยอมรั บ กติ ก า Win-win รั ฐ ได้ ความมั่นคง ส่วนผู้ลงทุนต้องอยู่ได้ด้วย เรียกว่า “no free lunch” ส่วนวัคซีนที่ผลิตไม่ได้ก็ต้องหา มาตรการทีก่ ารันตีได้วา่ จะสามารถจัดซือ้ จัดหา ท�ำให้ ได้วัคซีนมาใช้อย่างเพียงพอทุกปีด้วย

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559

7


กองบรรณาธิการ

มหกรรมวิทยาศาสตร์ ... งานยักษ์ที่รัฐต้องต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์

ะหว่างวันที่ 14-25 พฤศจิกายน 2558 สถาบันวัคซีนแห่งชาติ มีโอกาสเข้าร่วมจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวัคซีนในงานมหกรรม วิทยาศาสตร์ประจ�ำปี 2558 ณ เมืองทองธานี โดยมีองค์การ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นเจ้าภาพหลัก แนวคิดการจัดงานปีนี้ คือ “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วย วิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” งานนี้ ถือได้ว่าเป็นงานใหญ่ระดับประเทศงานหนึ่งทีเดียว เพราะมีหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ จากภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ยกขบวนเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการและ สร้างสรรค์กิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้ร่วมสนุกมากกว่า 100 บูธ บนพื้นที่ การจัดงานมากกว่า 40,000 ตารางเมตร เรียกได้ว่าถ้าเดินชมนิทรรศการ กันแบบจริงจัง ใช้เวลาทั้งวันก็คงเดินชมได้ไม่ทั่วถึงทุกหน่วยงาน

8

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559


ในส่วนของสถาบันวัคซีนได้น�ำนิทรรศการเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านวัคซีนมา จัดแสดง ให้เด็กๆ เห็นความส�ำคัญของการน�ำวัคซีนมาใช้ในการป้องกันโรค ประโยชน์ของวัคซีน การท�ำงานของวัคซีนเมื่อเข้าสู่ร่างกาย และกระบวนการ พัฒนาวัคซีนตั้งแต่ต้นน�้ำจนถึงการออกวางจ�ำหน่ายในท้องตลาด ในรูปแบบ ของแอนนิเมชั่น เพื่อให้เด็ก ๆ เข้าใจได้ง่าย รวมถึงได้จัดแสดงตัวอย่างวัคซีนที่ มีการผลิตในประเทศไทย และอนาคตของประเทศในการเดินหน้าพัฒนาวัคซีน ชนิดต่าง ๆ ขึ้นใช้เองภายในประเทศมุ่งสู่เป้าหมายการพึ่งตนเองด้านวัคซีน อย่างยั่งยืน เด็ก ๆ ทีเ่ ข้าชมงานส่วนใหญ่เป็นกลุม่ เด็กนักเรียนระดับประถมถึงมัธยมจาก ทั่วประเทศเดินทางมาเป็นหมู่คณะพร้อมครูอาจารย์ หลังการอธิบายวิชาการจบ มี โ อกาสซั ก ถามพู ด คุ ย กั บ น ้ อ ง ๆ เ กี่ ย ว กั บ วิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่ เห็ น วิ ท ยาศาสตร์ เ ป็ น เรือ่ งไกลตัว น่าเบือ่ ยาก ต่ อ การเรี ย นรู ้ แ ละท� ำ ความเข้าใจ จึงไม่ค่อย มีใครสนใจอยากจะเป็น นักวิทยาศาสตร์กัน

นักเรียนชั้นประถมและมัธยมร่วมกิจกรรมภายในบูธของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ ประจ�ำปี 2558 ณ เมืองทองธานี 14-25 พฤศจิกายน 2558

ในงานนี้ นาน ๆ จะเห็นผูป้ กครองจูงมือลูกหลาน มาเดินชมงาน บางคนเดินทางมาชมงานอื่น ๆ ใน เมืองทองธานี แต่เดินแวะมาเพราะจัดอยู่ใกล้กัน ดูแล้วคนไทยให้ความส�ำคัญกับวิทยาศาสตร์น้อย เหลือเกิน จึงไม่นา่ แปลกใจทีป่ ระเทศไทยมีการพัฒนา นวัตกรรมใหม่ด้านวิทยาศาสตร์(รวมวัคซีน)ในเชิง การค้าน้อยเหลือเกิน คงปฏิเสธไม่ได้วา่ สถาบันการศึกษาและครอบครัว ก็มีส่วนส�ำคัญเป็นอย่างมากในการปลูกฝังพื้นฐาน และความสนใจของเด็กเกีย่ วกับวิทยาศาสตร์ แนวคิด ของภาครัฐในการจัดงานและการทุ่มงบประมาณ จ� ำ นวนไม่ น ้ อ ย เพื่ อ หวั ง ผลให้ วิ ท ยาศาสตร์ เ ป็ น ฟันเฟืองส�ำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต นับว่าคุม้ ค่า แต่ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องคิดสนับสนุน ให้ครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการ พัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์อย่างจริง ไม่เช่นนั้น คงได้ กันแต่เพียงรู้เพื่อสอบให้ผ่าน หรือผลิตคนไทยป้อน โรงงานต่างประเทศเท่านั้น

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559

9


ดร.นพ. จรุง เมืองชนะ

วัคซีนทางเลือกยอดฮิต ... ผู้สูงอายุควรควักกระเป๋าหรือไม่?

ายวั น อั ง คาร 21 ตุ ล าคม 2558 ผมยั ง นั่ ง ท� ำ งานในห้ อ งพั ก ณ โรงแรมหรูระดับห้าดาวใจกลางเมืองเชียงใหม่. โล่งใจไปอีกเปลาะ หลังกดแป้นเอ็นเตอร์ ส่งสไลด์ไปให้ผเู้ ชิญ เตรียมน�ำขึน้ ฉายประกอบ การบรรยาย เสร็จกันสด ๆ ร้อน ๆ เกือบนาทีสุดท้าย ภาพชีวิตของวิทยากร ในคราบคนอาชีพหมอ ผู้บริหารและนักวิชาการ จ�ำต้องเบียดเวลาพักผ่อน อดตาหลับขับตานอนกันหลายค�่ำคืน เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลทันสมัยเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดบนเวทีนานาชาติ ต้องใส่ใจกันเป็นพิเศษ ครั้งนี้ ได้รับเชิญให้บรรยาย เรื่อง ความส�ำคัญและสถานการณ์การใช้วัคซีนส�ำหรับ ผู้สูงอายุ ในการประชุมสมาคมเวชศาสตร์ผู้สูงอายุนานาชาติ ครั้งที่ 10 IAGG: International Association of Gerontology and Geriatrics-Asia/Oceania 2015 Congress ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ “วัคซีน” นวัตกรรมส�ำคัญของมวลมนุษยชาติในรอบศตวรรษ สร้างความหวัง

และได้รับความไว้วางใจสูงสุดในการน�ำมาใช้เป็นเครื่องมือควบคุมป้องกันโรค ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตอันยาวไกล เด็ก คือ กลุ่มเป้าหมายหลักของการ ใช้วัคซีนมากว่า 3 ทศวรรษ แต่เชื่อไหม! ละอ่อนอายุต�่ำกว่าขวบปี ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ หรือกว่า 24 ล้านชีวิตจากทั่วโลก ไม่ได้รับหรือรับวัคซีนยัง ไม่ครบชุด จึงไม่แปลกใจเลย ว่าท�ำไมในแต่ละปี ประชากรวัยบริสทุ ธิอ์ ายุนอ้ ยกว่า 5 ปี ยังต้องล้มตายจากโรคร้ายที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน กว่า 2 ล้านคน จ�ำนวนนี้ยังไม่นับรวมเด็กที่ต้องทุกข์ทรมาน พิกลพิการ ดูเหมือนความยุติธรรม และความเท่าเทียมแห่งโอกาสบนโลกใบนี้ช่างสร้างได้ยากเสียจริง คนที่ไม่ใช่เด็กหรือที่เรียกกันว่าผู้ใหญ่ เป็นอีกกลุ่มเป้าหมายของการใช้ วัคซีนที่มาแรง ทั้งวัคซีนใหม่และวัคซีนเก่าเมื่อไม่ก่ีปีก่อน พูดไปแล้วไม่มีใคร อยากเชื่อว่ามนุษย์เราจะพัฒนาวัคซีนป้องกันมะเร็งขึ้นมาได้ ท�ำให้สามารถฝืน ชะตา ท้าทายยมฑูต หยุดการตายจากโรคร้ายได้ปีละเหยียบล้าน คนในวงการ วัคซีนจึงเชือ่ มัน่ ทราบหลักการเป็นอย่างดี หากรูก้ ลไกการเกิดโรค (Pathogenesis) ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อหรือโรคไร้เชื้อ ลิวคีเมีย เบาหวาน ความดัน สโตรค (โรคหลอดเลือดสมอง) ภูมิแพ้ อัลไซเมอร์ ฯลฯ ล้วนสามารถผลิตวัคซีนขึ้นมา ป้องกันได้ ยากง่าย ช้าเร็วแตกต่างกัน 10

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559

“60 ปี ม านี้ ประชากรโลก ผู้อยู่นานหรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า คนแก่ ห รื อ ผู ้ เ ฒ่ า อายุ 60 ปี ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จนแตะ 800 ล้ า น อนาคตข้ า งหน้ า อี ก ครึ่ ง ศตวรรษ หากใครอยู ่ ถึ ง พ.ศ.2593 จะได้ เ ห็ น คนกลุ ่ ม นี้ เพิ่มขึ้นเป็น 2 พันล้าน”


ตัวอย่าง

วัคซีนนิวโมคอคคอล

วัคซีนผู้ใหญ่ ที่วางจ�ำหน่ายในท้องตลาด

วัคซีนงูสวัด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

60 ปีมานี้ ประชากรโลกผู้อยู่นานหรือเรียกกันง่าย ๆ ว่าคนแก่หรือผู้เฒ่า อายุ 60 ปี ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จนแตะ 800 ล้าน อนาคตข้างหน้าอีกครึง่ ศตวรรษ หากใครอยูถ่ งึ พ.ศ.2593 จะได้เห็นคนกลุม่ นีเ้ พิม่ ขึน้ เป็น 2 พันล้าน เท่ากับคนวัยละอ่อนซึง่ ลดจ�ำนวนลง เป็นล�ำดับ จนข่าวการยุบโรงเรียนประถมเนื่องจากเด็กโหรงเหรง ไม่เต็มห้อง ได้ยินกันหนาหูมากขึ้นทุกที ความก้าวหน้าด้านสาธารณสุข และการแพทย์ ส่งผลให้โครงสร้างประชากรและระบาดวิทยาของการป่วยเปลี่ยนไป (Demographic and epidemiological transition) โรคติดเชื้อในเด็ก สาเหตุการตายส�ำคัญในอดีต ค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยโรคไร้เชื้อ โรคของคนวัยหลังเกษียณ มากขึ้นทุกที จนแซงหน้า กลายเป็นสาเหตุหลักแห่งการมรณังของประชากรโลกไปแล้ว ในฐานะคนสนับสนุนการพัฒนาเพือ่ การพึง่ ตนเองและความมัน่ คงด้านวัคซีนของประเทศ พักหลังข่าวสารออนไลน์กา้ วหน้ากันสุด ๆ, มักถูกถามบ่อยครั้งว่าวัคซีนส�ำหรับผู้สูงอายุที่ส่งต่อกันในไลน์ เป็นการโฆษณาเกินจริงใช่ไหม? หากเป็นวัคซีนจ�ำเป็น ท�ำไมไม่น�ำเข้า โครงการระดับชาติ ฉีดกันฟรี ๆ ไม่ตอ้ งควักกระเป๋าให้เปลืองตังค์? วัคซีนยอดฮิต ทีม่ าของค�ำถามมี 3 ตัว คือ ไอพีดี (Invasive pneumococcal diseases) งูสวัด และไข้หวัดใหญ่ หากเป็นกลุ่มคนที่เงินทองไม่ขาดมือ มีตังค์เหลือสะสม ผมแนะน�ำให้ควักกระเป๋า จ่ายครั้งเดียวส�ำหรับ สองตัวแรกอย่างละหนึ่งเข็ม รวมแล้วเกือบ 7,000 บาท ส่วนไข้หวัดใหญ่ราคาถูกกว่ามาก รัฐให้บริการฟรีอยู่แล้ว แต่ต้องฉีดทุกปี ส่วนการน�ำมาใช้ในโครงการระดับชาติ ต้องคิดกันอีกแบบ เพราะปัญหาของบ้านเมืองมีหลายเรือ่ ง การน�ำงบประมาณและทรัพยากร ที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดมาใช้ จึงต้องใคร่ครวญกันอย่างถี่ถ้วน ข้อมูลภาระโรค ทั้งจ�ำนวนคนป่วย คนตาย คนพิการ ค่ารักษา ค่าใช้จ่าย การสูญเสียรายได้ ผลกระทบจากการป่วย รวมทั้งประสิทธิภาพและราคาวัคซีน ตลอดจนทางเลือกอื่นนอกจากวัคซีน ฯลฯ ล้วนส�ำคัญ ยิ่งยวด ต้องน�ำมาวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด เป็นที่น่าเสียดาย ยังไม่มีข้อมูลหลายอย่างที่กล่าวมา จัดท�ำขึ้นมาใหม่ ก็เป็นไปได้ยากยิ่ง (ปัญหาจากกลไกการเกิดโรค) สิ่งเหล่านี้จึงคงเป็นค�ำตอบ คลายความฉงนได้อย่างดี ว่าท�ำไม มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ได้ น�ำวัคซีนเหล่านี้มาฉีดฟรีให้กับประชาชนวัยเกษียณ หากมีตังค์ ใครอยากฉีด ตอนนี้คงต้องควักกระเป๋าจ่ายกันเองไปพลางก่อนครับ

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559

11


กองบรรณาธิการ

ร่วมแสดงความยินดี

องค์การเภสัชกรรม คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ จากผลส�ำเร็จการพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกชนิดเชื้อเป็น อร่วมแสดงความยินดีกับองค์การเภสัชกรรมและคณะผู้วิจัย ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นวัตกรรมแห่งชาติด้านสังคม จากผลงานการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดนก (Fluvac H5) ในงานวันนวัตกรรมแห่งชาติประจ�ำปี 2558 ซึ่งจัดโดยส�ำนักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ผู้อ�ำนวยการองค์การเภสัชกรรมและคณะวิจัยรับรางวัลจาก ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในงานวันนวัตกรรมแห่งชาติประจ�ำปี 2558 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558 ที่มา : www.manager.co.th และ www.hfocus.org

12

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559


เป็นวัคซีนสายพันธุ์ H5N2 ชนิดเชือ้ เป็นอ่อนฤทธิ์ ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ให้โดยการพ่นจมูก เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเทคโนโลยี รับรางวัล “ศิษย์เก่าดีเด่น สาขาผู้บริหาร” การใช้ไข่ไก่ฟักปลอดเชื้อ (SPF eggs) ให้ผลผลิตสูง เป็นวัคซีนรูปแบบของเหลว ต้องเก็บโดยการแช่แข็ง อแสดงความยินดี กับ ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ ในโอกาสได้รับ (-20 องศาเซลเซียส) และมีความคงตัวนานถึง 1 ปี รางวัล “ศิษย์เก่าดีเด่น สาขาผู้บริหาร” จากสมาคมศิษย์เก่าพยาบาล วัคซีนผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัย รามาธิ บ ดี เมื่ อ วั น ที่ 2 ธั น วาคม 2558 ที่ ผ ่ า นมา ณ โรงแรม และประสิทธิภาพจนได้รบั ใบอนุญาตการผลิต เพือ่ ใช้ แอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ ในผูท้ มี่ อี ายุระหว่าง 18 - 49 ปี เมือ่ มีการระบาดของ ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5 จากส�ำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (อย.) แล้ว เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2558

ข้ อ ดี ข องวั ค ซี น ชนิ ด นี้ คื อ สามารถกระตุ ้ น ภูมคิ มุ้ กันได้ทงั้ ระบบเซลล์และระบบสารน�ำ ้ (Cell- and humoral-mediated immunity) นอกจากนี้วัคซีนยัง สามารถกระตุ ้ น ให้ เ กิ ด แอนติ บ อดี ข ้ า มสายพั น ธุ ์ (Cross Neutralizing Immunity) ต่อเชื้อไข้หวัดนก สายพันธุ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย ส่งผลให้สามารถป้องกัน ไข้ ห วั ด นกสายพั น ธุ ์ ต ่ า ง ๆ ได้ ดี ก ว่ า วั ค ซี น ชนิ ด เชื้อตายสายพันธุ์เดียวกันที่มีใช้อยู่เดิม

“ข้ อ ดี ข องวั ค ซี น ชนิ ด นี้ คื อ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ทั้ ง ระบบเซลล์ แ ละระบบสารน�้ ำ (Cell- and humoralmediated immunity)”

ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ รับรางวัลจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมจิตร หนุเจริญกุล ที่ปรึกษาโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2558

ดร.อัญชลี จบการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการ ระบาด จากมหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2540) ปัจจุบนั ด�ำรงต�ำแหน่งผูอ้ ำ� นวยการ ส�ำนักส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายด้านวัคซีน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (NVI) ซึ่ ง ได้ ร ่ ว มงานกั บ สถาบั น วั ค ซี น แห่ ง ชาติ ก ่ อ นจั ด ตั้ ง เป็ น องค์ ก ารมหาชน (พ.ศ.2550) จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบศตวรรษแล้ว ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559

13


ดร. อั ญ ฃลี ถื อ เป็ น บุ ค คลากรคนส� ำ คั ญ ของ NVI ในการผลั ก ดั น งาน การสร้ า งความมั่ น คงและการพึ่ ง ต้ น เองด้ า นวั ค ซี น ของประเทศไทย เช่ น 1) การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีน 2) การพัฒนา บุคลากรด้านวัคซีน 3) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวัคซีนกับสถาบัน และหน่ ว ยงานภาครั ฐ และภาคเอกชนทั้ ง ในและต่ า งประเทศ ฯลฯ เชื่ อ ว่ า ความตัง้ ใจ ความสามารถ และผลงานของ ดร.อัญชลี จะเป็นแบบอย่างแก่บคุ ลากร ด้านวัคซีนและด้านอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่เฉพาะในสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เท่านั้น คณะผู้จัดท�ำจดหมายข่าวฉบับนี้จึงขอสัมภาษณ์ ดร.อัญชลี มาฝากค่ะ ผู้จัดท�ำฯ : ความรู้สึกต่อรางวัลที่ได้รับ

ดีใจและประทับใจที่ได้รางวัลฯ เพราะช่วงที่ผ่านมาผู้ที่ได้รับรางวัลนี้เกือบ ทั้งหมดเป็นผู้ที่ยังอยู่ในวิชาชีพพยาบาล และท�ำคุณประโยชน์ด้านการพยาบาล แต่ตัวดิฉันเองได้ออกจากวงการพยาบาลมาตั้งแต่ ปี 2534 ด้วยความสนใจใน วิชาระบาดวิทยา แม้ไม่ได้เป็นพยาบาล แต่ยังท�ำประโยชน์ด้านการสาธารณสุข และทางสมาคมศิษย์เก่าก็ยังให้ความส�ำคัญ รางวัลที่ได้รับ สามารถสะท้อนได้ถึง ความส�ำเร็จอันเกิดจากการประสิทธิป์ ระสาทวิชาจากโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ที่มีระบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย สอนให้มีความคิดเชิงวิชาการควบคู่กับ การท�ำงาน หล่อหลอมให้ตัวดิฉันเองมีความเป็นนักวิชาการ กล้าแสดงความคิด เห็น และรู้จักวางแผนที่จะพัฒนาตนเองตามล�ำดับขั้น ผู้จัดท�ำฯ : เหตุผลที่สนใจและเลือกท�ำงานงานด้านวัคซีน

หลังจากก้าวเข้าสู่วงการสาธารณสุข ได้เริ่มท�ำงานที่กองระบาดวิทยา และ เรียนรู้กระบวนการท�ำงาน ทั้งเรื่องการวางแผนและประเมินผล การจัดตั้งระบบ เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา การสอบสวนโรค การศึกษาวิจัย จนกระทั่งรู้สึกว่า ถึงจุดอิ่มตัวในการท�ำงานทางระบาดวิทยา จึงเปลี่ยนสู่การท�ำงานในโครงการ ป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งเป็นโอกาสดีที่มีการเตรียมความพร้อมรองรับไข้หวัด ใหญ่ระบาดใหญ่ จึงได้พัฒนาตนเองในการท�ำงานในส่วนที่เป็นความร่วมมือกับ หน่วยงานต่างๆ ทัง้ ในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ในการจัดท�ำแผน ซ้อมแผน และประเมินผลการซ้อมแผน

14

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559

ช่ ว งที่ ท� ำ งานด้ า นนี้ ได้ เ ห็ น ความส� ำ คั ญ ของ การมีวัคซีนเป็นเครื่องมือในการป้องกันโรค ซึ่งจะ สามารถลดความตระหนกตกใจ ความวิ ต กกั ง วล ของคนไทยได้มาก หากมีวคั ซีนใช้อย่างเพียงพอและ แน่นอน เพราะเราไม่อาจจะยืมจมูกใครหายใจได้ หรือเราจะต้องจมน�้ำตาย ถ้าว่ายน�้ำไม่เป็น นั่นเป็น เหตุ ผ ลที่ คิ ด ว่ า เวลาส่ ว นที่ เ หลื อ ของชี วิ ต ราชการ น่าจะท�ำประโยชน์ในงานวัคซีน ผู้จัดท�ำฯ : มุมมองต่อการพัฒนางานวัคซีนของ ประเทศไทยในปัจจุบัน

ในอดีตทีผ่ า่ นมาประเทศไทยก็มกี ารพัฒนาวัคซีน มาอย่างต่อเนือ่ ง แบบใครอยากท�ำก็ทำ � งบประมาณต้อง ตะเกียกตะกายหามาเอง ท�ำให้การวิจัยพัฒนาและ การผลิตวัคซีนนัน้ มีความส�ำเร็จในระดับหนึง่ เท่านัน้ เมือ่ มีสถาบันวัคซีนแห่งชาติเกิดขึน้ การพัฒนาวัคซีน ของประเทศจะมีเป้าหมายและทิศทางที่เห็นได้ชัด ขึ้น แต่การพัฒนาวัคซีนของประเทศต้องอาศัยทุก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันเร่งรัดขับเคลื่อนให้มี ผลิตภัณฑ์วัคซีนใหม่ที่เป็นความส�ำเร็จจากศักยภาพ และฝี มื อ ของคนไทย ตลอดจนประชาชนต้ อ ง สามารถได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง ในราคาที่เหมาะสม ผู ้ จั ด ท� ำ ฯ : อยากเห็ น ประเทศไทยมี ทิ ศ ทาง การพัฒนาวัคซีนอย่างไร

ประเทศมีทิศทางการพัฒนาวัคซีนชัดแล้ว แต่ การไปให้ถึงเป้าหมายได้ จ�ำเป็นต้องมีการบริหาร จัดการ ควบคุมก�ำกับ ให้การด�ำเนินงานในแต่ละ ภาคส่วนเป็นไปตามแผน ไม่ควรมีการปรับเปลี่ยน เป้ า หมาย แต่ ส ามารถปรั บ แผนการท� ำ งานได้ นอกจากนี้ สิ่งส�ำคัญมาก คือ ผู้น�ำที่มีวิสัยทัศน์และ ความเข้าใจในการพัฒนาวัคซีน หากต้องการพัฒนา การผลิตให้ได้เอง ก็ต้องชัดเจนในเรื่องการสนับสนุน งบประมาณ ก�ำลังคน เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน ที่ขาด


หลายประเทศที่พัฒนาวัคซีนได้ส�ำเร็จ เกิดจากแนวคิดและการติดตามของผู้น�ำระดับสูงของประเทศ มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคง ของชาติด้านวัคซีน รวมทั้งผู้น�ำองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบในการสร้างชาติ สร้างเศรษฐกิจของประเทศ อยากเห็นประเทศไทย มีการพัฒนาด้านวัคซีน ไม่ใช่การสร้างความมั่นคงโดยการมีวัคซีนใช้อย่างเพียงพอด้วยการซื้อและซื้อ แต่เราท�ำเองไม่เป็น ท�ำไม่ได้ หรือท�ำได้บางส่วน

ถ่ายรูปร่วมกับเพื่อนพยาบาล

ผู้จัดท�ำฯ : หลักในการท�ำงานในฐานะผู้บริหาร

การบริหารจัดการงานให้ได้ผลส�ำเร็จตามเป้าหมายทีว่ างแผนไว้ ถือว่าเป็นเรือ่ งส�ำคัญมาก จะต้องมีการคลีก่ จิ กรรมในแต่ละโครงการ ออกมาให้เห็นชัดเจน และต้องก�ำหนดการด�ำเนินงานในแต่ละกิจกรรมว่าใครจะต้องท�ำ และท�ำเมื่อไหร่ โดยมอบหมายผู้รับผิดชอบหลัก และรอง เพื่อให้มีการคิดงานและวางแผนงานด้วยตนเอง ทั้งนี้ ผู้บริหารต้องติดตาม และควบคุมก�ำกับอย่างเป็นระยะ งานใดที่ยุ่งยาก เกินก็ต้องเข้าไปลงมือช่วยด�ำเนินการให้ส�ำเร็จลุล่วงไป ประเด็นส�ำคัญ คือ ต้องท�ำงานในความรับผิดชอบของตนเองให้ส�ำเร็จ ไม่พึ่งพา ผู้อื่นโดยไม่จ�ำเป็น เพราะหากทุกคนท�ำงานของตนเองได้ส�ำเร็จ เมื่อรวมผลงานกันแล้ว องค์กรก็จะได้ผลส�ำเร็จตามเป้าหมาย ทั้งนี้ การบริหารจัดการต้องควบคู่กับกระบวนการเรียนรู้พัฒนาตนเองและผู้ร่วมงานเสมอ พัฒนาทั้งเขาและเรา ไม่ใช้อ�ำนาจในการครองงาน แต่ควรใช้การอธิบาย ให้ความรู้ การสอนงาน เป็นตัวเชื่อมในการพัฒนาคน หากมีปัญหาในการท�ำงานเกิดขึ้น ต้องหาสาเหตุ และหา ทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันด้วย ผู้จัดท�ำฯ : ฝากถึงน้อง ๆ รุ่นหลัง ที่สนใจงานด้านวัคซีน

งานวัคซีนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ท้าทาย เหมาะส�ำหรับคนท�ำงานที่มีความขยัน มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ทั้งด้านวิชาการ และการบริหารจัดการ มีศาสตร์หลายแขนงที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ฉะนั้น คนที่ชอบพัฒนาตนเอง ชอบท�ำงาน จะไม่ผิดหวังเลยที่มาท�ำงาน ด้านวัคซีน มุมมองของ ดร.อัญชลี เกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนไทยและข้อคิดด้านการท�ำงาน มีหลายแง่มุมที่สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจ มุ่งมั่น ในการท�ำงาน ท�ำให้ผลงานต่าง ๆ ทีท่ ำ� ประจักษ์แก่สายตาของหลายท่าน รวมถึงรางวัล ศิษย์เก่าดีเด่น สาขาผู้บริหาร จากสมาคมศิษย์เก่า พยาบาลรามาธิบดี คงเป็นเครื่องการันตีได้ว่าท่านเป็นบุคลากรคนส�ำคัญในวงการวัคซีนอย่างแท้จริง

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - มีนาคม 2559

15


กองบรรณาธิการ

เปิดรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ประจ�ำปี 2559

ถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดอบรมหลักสูตรพัฒนาความรูแ้ ละทักษะในการปฏิบตั งิ านของเจ้าหน้าทีส่ ร้างเสริม ภูมคิ มุ้ กันโรคทัว่ ประเทศ จ�ำนวน 2 หลักสูตร 10 รุน่ อบรมฟรี ไม่เสียค่าลงทะเบียน ผูส้ นใจสามารถสมัครเข้ารับการอบรมได้ตงั้ แต่ บัดนีเ้ ป็นต้นไป

รายละเอียด

เนื้อหาการอบรม

หลักสูตรส�ำหรับเจ้าหน้าสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค

หลักสูตรส�ำหรับเภสัชกร

• ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและโรคที่ป้องกันได้ด้วย วัคซีน • การบริหารจัดการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เช่น การประมาณการวัคซีน ระบบการขนส่งและการเก็บรักษาวัคซีน ระบบลูกโซ่ความเย็น • การบริหารจัดการภายหลังการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (AEFI) ระบบการเฝ้าระวัง และแนวทางปฏิบัติส�ำหรับผู้ให้บริการวัคซีนเมื่อเกิด AEFI

หัวข้อการบรรยายเพิม่ เติม • เทคนิคการให้บริการวัคซีน

-

จ�ำนวนรุ่น

6 รุ่น

4 รุ่น

ระยะเวลาการอบรม

3 วัน

3 วัน

วันอบรม

รุ่นที่ รุ่นที่ รุ่นที่ รุ่นที่ รุ่นที่ รุ่นที่

1 2 3 4 5 6

วันที่ 25-27 มกราคม วันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ วันที่ 30 มีนาคม-1 เมษายน วันที่ 16-18 พฤษภาคม วันที่ 6-8 มิถุนายน วันที่ 15-17 มิถุนายน

รุ่นที่ รุ่นที่ รุ่นที่ รุ่นที่

1 2 3 4

วันที่ 23-25 มีนาคม วันที่ 20-22 เมษายน วันที่ 25-27 พฤษภาคม วันที่ 22-24 มิถุนายน

รายละเอียดอื่น ๆ

ไม่มี

สามารถขอหน่วยกิตการศึกษาต่อ เนื่องทางเภสัชศาสตร์ (CPE)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม/ ติดต่อเจ้าหน้าที่

www.nvi.go.th

www.nvi.go.th

โทร 02 590 3169-9 ต่อ 122 (คุณอัญญรัตน์ ธรรมเจริญ)

โทร 02 590 3196-9 ต่อ 136 (คุณศิรินันท์ สุวรรณน้อย)

เรียนรู้พื้นฐานโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ฝึกประมาณการวัคซีน

ฝึกการจัดเก็บวัคซีน

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ชั้น 2 อาคารกรมควบคุมโรค 4 กระทรวงสาธารณสุขต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-590-3196-9 โทรสาร 02-965-9152 Website: www.nvco.go.th E-mail: mail@nvco.go.th

nvikm

vacciknowlogo.org

เรียนรู้เทคนิคการฉีดวัคซีน


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.