จุลสารปรีดี 6 ต.ค.54: รำลึก ๓๕ ปี ๖ ตุลา อาชญากรรมรัฐไทย

Page 1


จุลสารปรีดี

บรรณาธิการแถลง

“วันนี้เมื่อ ๓๕ ปีที่แล้ว ที่แห่งนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์มีคนตาย พี่เราถูกฆ่าตาย อย่างทรมานโดยที่พี่เราไม่มีทางสู้ไม่มีแม้กระทั่งอาวุธตอบโต้.. พี่เราไม่ผิด พี่เราถูกใส่ร้ายประโยคแล้ว ประโยคเล่ายังก้องอยู่ซ�้ำ ไปซ้ำ�มา.. พี่เราตกเป็นเหยื่อของอำ�นาจ.. พี่เราไม่ได้ทำ�” เสียงหนึ่งจากนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่สะท้อนความรู้สึกลุ่มลึกที่ยังคงวนเวียนอยู่ไม่เฉพาะกลุ่ม นักศึกษา แต่สะท้อนความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ที่ยังคงตระหนักรับรู้การมีตัวตนของคนที่เสียสละเพื่อแลกมา ซึ่งสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก จนเราประชาชนในปัจจุบันสามารถที่จะใช้มันได้ถึงจะไม่เต็มที่นัก แม้ จะเป็นเพียงประโยคที่ไม่ยาวนัก แต่ผมกลับรู้สึกว่าเป็นประโยคที่อัดอั้นความรู้สึกชวนคิดตามจนต้องขอ หยิบยกขึ้นมาเป็นประโยคขึ้นต้นจุลสารปรีดี ฉบับที่สองนี้ ก่อนที่ใครหลายๆคนจะหลงลืมสิ่งที่เราเสียไป เพื่อให้มีเราเฉกเช่นทุกวันนี้ เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ วันนี้จุลสารปรีดีจะขอหยิบยกประเด็นเอามาขยาย ความและมองต่างมุมจากบุคคลหลายๆท่านเพื่อสะท้อนแง่คิด หวังว่าจุลสารปรีดีในฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยแก่ผู้อ่านทุกท่าน กองบรรณาธิการจุลสารปรีดีขอขอบพระคุณ คุณยายมณี รุ่งวิทยาพล อาจารย์วิภา ดาวมณี และ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เป็นอย่างสูงที่กรุณาให้สัมภาษณ์ลงจุลสารปรีดีฉบับนี้ ฉบับหกตุลา และมีส่วน ช่วยให้จุลสารปรีดีฉบับที่สองนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาก่อนที่พวกเรากองบรรณาธิการจะเริ่มมองเห็นแนวทาง ในการจัดทำ�จุลสารฉบับนี้จนเป็นรูปเป็นเล่ม ขอบพระคุณกำ�ลังใจจากคุณแม่ดุษฎี พนมยงค์ ที่ปรึกษา กองบรรณาธิการที่ยังอยู่เป็นกำ�ลังใจให้พวกเราในการดำ�เนินการมาตั้งแต่ต้น ขอบพระคุณคุณลุงสินธุ์สวัส ดิ์ ยอดบางเตย ที่คอยช่วยเหลือให้ค�ำ ปรึกษา ขอบคุณเพื่อนๆกองบรรณาธิการจุลสารปรีดีทุกฝ่ายที่ขมัก เขม้นทำ�งานกันอย่างแข็งขันจนเป็นรูปเล่มและขอยินดีต้อนรับอะตอม ภูเขา และริว สมาชิกใหม่ของกอง บรรณาธิการด้วยความรู้สึกอบอุ่น ‘No Guts No Glory’ สำ�นวนฝรั่งว่าเอาไว้ว่า ถ้าไม่มีกล้าก็ไม่มีวันที่จะประสบความสำ�เร็จ ผมขอ หยิบยกมาเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้กับคนรุ่นใหม่ที่กำ�ลังได้อ่านจุลสารปรีดี หากสิ่งที่เราทุกคนมีความฝัน มี ความตั้งใจที่จะลงมือทำ�แล้ว จงทำ�เมื่อต้องทำ� จงรีบทำ�ก่อนที่จะสาย เมื่อก่อนผมเคยมีความเชื่อว่าถ้าเราไม่ ทำ�คนอื่นก็ท�ำ กล้าๆกลัวๆที่จะต้องตัดสินใจ ซึ่งประวัติศาสตร์ในทุกๆหน้าของทุกๆที่บนโลก ถ้าหากคิดย้อน กลับถ้าทุกคนมัวแต่รอแต่ไม่มีคนเริ่มเราคงไม่มีเราอยู่ทุกวันนี้ แม้กระทั่งเหตุการณ์การต่อสู้ ‘หากไม่รู้จักเริ่ม ต้นต่อสู้ ก็จงรู้ไว้ว่าไม่มีทางชนะเช่นกัน’ จงมีชีวิตอยู่อย่างใช้ชีวิตให้คุ้มค่าและไม่เสียดายที่ได้เกิดมา

“แด่วีรชนผู้เสียสละเพื่อคนรุ่นหลัง .. วีรชน ๖ตุลา” วศิน เกียรติปริทัศน์ บรรณาธิการบทความ




จุลสารปรีดี

สารบัญ บรรณาธิการแถลง เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ บทความ “๓๕ ปี ๖ ตุลาฯ จากความเงียบ สู่คุณูปการของสังคมไทย” วาทกรรมทางการเมืองของพระสงฆ์ ประวัติศาสตร์ไทย ในสายตาเด็ก (คนหนึ่ง) ใครทำ�ลายพลังนักศึกษา? บทสัมภาษณ์ พูดคุยกับ ส. ศิวรักษ์ พูดคุยกับคุณยายมณี รุ่งวิทยาพล พูดคุยกับอาจารย์วิภา ดาวมณี มุมมองฝ่ายขวาต่อเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ บทกวี วันฆ่านกพิราบ ใต้ตมปลักเจ้าพระยา (รำ�ลึก ๖ ตุลาฯ - โมงยามนี้) “การฆ่าคน” ในนามชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่บาป เหตุการณ์ภายหลัง รายชื่อผู้จัดทำ�

๒ ๕ ๑๒ ๑๘ ๒๐ ๒๕ ๓๔ ๓๙ ๕๑ ๕๗ ๕๘ ๕๙ ๗๓ ๗๖


จุลสารปรีดี

1


จุลสารปรีดี

เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มที่รัฐให้การ สนับสนุน ได้เข้าไปล้อมจับกุมและสังหารนักศึกษาและประชาชนภายในบริเวณมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งกำ�ลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจรออกนอก ประเทศ ในเหตุการณ์นี้ ตำ�รวจตระเวนชายแดนนำ�โดยค่ายนเรศวรจากหัวหิน กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ตำ�รวจ และกลุ่มคนที่ตั้งโดยงบ กองอำ�นวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) คือ กลุ่มนวพล และ กระทิงแดง ได้ใช้กำ�ลังอย่างรุนแรง ทำ�ให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจำ�นวนมาก สาเหตุของความขัดแย้ง ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความพยายามกลับประเทศไทย ของ จอมพลประภาส จารุเสถียร ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และการกลับประเทศไทยของ จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ หลังจากที่ทั้งสองได้เดินทางออกนอก ประเทศหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา หลังจากการกลับมาของจอมพลประภาส ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ได้ชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้จอมพลประภาส เดินทางกลับออกนอกประเทศ จนกระทั่งในที่สุด จอมพลประภาสจึงยินยอมเดินทางออกนอกประเทศในวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมา จอมพลถนอมได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศอีกในวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยก่อนหน้านั้นได้แวะที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อบวชเป็นสามเณรที่วัดไทยในสิงคโปร์ และได้ รับอนุญาตให้เข้าอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร ได้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์บวช ให้และตั้งฉายาว่า “สุกิตติขจโร” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมให้ ม.ล.ทวีสันต์ ลดาวัลย์ ราชเลขาธิการในขณะนั้น อัญเชิญผ้าไตรพระราชทานมาด้วย ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยจึงได้ชุมนุมเพื่อขับไล่อีก ในขณะนั้นได้เกิดความแตกแยก ทั้งในพรรคการเมืองและกลุ่มประชาชน ออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่สนับสนุนบทบาทของนิสิตนักศึกษา และ กลุ่มที่ต่อต้านนิสิตนักศึกษา ทำ�ให้สถานการณ์มี ความรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศลาออกจาก ตำ�แหน่ง แต่พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ� ก็ตัดสินใจเลือก ม.ร.ว. เสนีย์ เป็น นายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง ในวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ นายวิชัย เกษศรีพงษา และนายชุมพร ทุมไมย พนักงาน การไฟฟ้านครปฐม และสมาชิกแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ถูกซ้อมตายระหว่างออกติด โปสเตอร์ประท้วงต่อต้านพระถนอม และถูกนำ�ศพไปแขวนคอที่ประตูทางเข้าที่จัดสรร บริเวณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม แต่ ตำ�รวจสรุปสำ�นวนคดีว่าเกิดจากการ ผิดใจกับคนในที่ทำ�งาน 2


จุลสารปรีดี

ความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้ขับไล่พระถนอม ทวีความรุนแรงมากขึ้น มหาวิทยาลัยทั้ง ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมีการชุมนุมเพื่ออภิปรายโจมตีรัฐบาล ต่อต้านการกลับมาของจอมพล ถนอม และให้จัดการจับฆาตกรสังหารโหดฆ่าแขวนคอที่นครปฐม สภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้ ยื่นคำ�ขาดต่อรัฐบาล ให้จอมพลถนอมออกนอกประเทศภายใน ๕ วัน มิฉะนั้นจะหยุดงานทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นไป ทั้งนักศึกษา สภาแรงงาน และผู้ต่อต้าน ได้รวมตัว กันประท้วงที่สนามหลวง จากนั้นจึงย้ายเข้าไปชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางด้านกลุ่มที่ต่อต้านการกระทำ�ของนิสิตนักศึกษา อันประกอบด้วย กลุ่มนวพล (พลโท สำ�ราญ แพทยกุล เป็นแกนนำ� รหัส นวพล ๐๐๑ เป็นหนึ่งในองคมนตรี) กลุ่มพิทักษ์ชาติไทย กลุ่ม กระทิงแดง และอื่น ๆ ได้ร่วมกันแถลงการณ์กล่าวหาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สภาแรงงาน และนักการเมืองบางคนว่า ได้ถือเอากรณีพระถนอม เป็นเงื่อนไขสร้างความไม่ สงบในประเทศ ต่อมากลุ่มเหล่านี้จึงเดินทางเข้ามาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สนามเสือป่า ราชตฤณมัยสมาคม และสนามหลวง เพื่อต่อต้านการชุมนุมของนิสิตนักศึกษา กลุ่มเหล่านี้ได้เรียก ร้องให้รัฐบาลจับกุม และปลดรัฐมนตรีบางคนที่เชื่อว่าให้การสนับสนุนนิสิตนักศึกษา แต่รัฐบาลก็ยัง ไม่ได้สั่งการประการใด ในวันที่ ๔ ตุลาคม มีการชุมนุมที่ลานโพธิ์ มีการอภิปราย และการแสดงละครเกี่ยวกับ กรณีฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้านครปฐม จัดโดยชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นสถานีวิทยุยานเกราะนำ�โดย พ.ท.อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, นายสมัคร สุนทรเวช, ทมยันตี, ฯลฯ ออกข่าวว่านักศึกษาที่แสดงละคร มีใบหน้าคล้ายเจ้าฟ้าชายถูกแขวนคอ ต่อมาหนังสือพิมพ์ดาวสยาม และบางกอกโพสต์ ฉบับเช้าวันที่ ๕ ตุลาคม เผยแพร่ภาพการแสดง ล้อการแขวนคอของนักศึกษาที่ลานโพธิ์ โดยพาดหัวข่าวเป็นเชิงว่า การแสดงดังกล่าวเป็นการหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ คืนวันที่ ๕ ตุลาคม สถานีวิทยุยานเกราะและชมรมวิทยุเสรี ออกอากาศกรณีหมิ่นพระบรม เดชานุภาพ เรียกร้องให้ประชาชน และลูกเสือชาวบ้าน ไปชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และเรียก ร้องให้รัฐบาลเร่งดำ�เนินการจับกุมผู้กระทำ�การหมิ่นองค์สยามมกุฎราชกุมารมาลงโทษ ตลอดทั้งคืน ขณะที่ทางรัฐบาล โดย ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีได้แถลงเรื่องนี้ด้วยตนเองทางสถานี โทรทัศน์ช่อง ๔ ในคืนนั้นเช่นกันว่าจะจับกุมตัวผู้ดำ�เนินการมาลงโทษให้จงได้ โดยตอนแรกทำ�การ ติดต่อไปในหลายสถานีแล้ว แต่ทว่ากลับออกอากาศได้เพียงช่องเดียวเท่านั้น

3


จุลสารปรีดี

4


จุลสารปรีดี

“๓๕ ปี ๖ ตุลาฯ จากความเงียบ สู่คุณูปการของสังคมไทย”

ต่อศักดิ์ สุขศรี กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD)

อดีต คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้ผ่านไปแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่อาจที่จะ ทำ�ลายหรือย้อนกลับไปแก้ไขในสิ่งที่ได้ทำ�ลงไปในอดีตได้ คนจำ�นวนมากมีความเชื่อเหมือนๆ กัน ว่า คุณูปการที่สำ�คัญของอดีต คือการเป็นบทเรียนให้เราได้จดจำ� และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดความ ผิดพลาดล้มเหลวซ้ำ�รอยอย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นอดีตที่ผิดพลาด และเลวร้าย จึงสมควรจะมี สถานะเป็นบทเรียนที่ดีสำ�หรับปัจจุบันและอนาคต หากประวัติศาสตร์คือการศึกษาเรื่องราวของ ‘อดีต’ และหากความเข้าใจทั่วๆ ไปที่บอก ว่า ประวัติศาสตร์คือการศึกษาเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เคยเกิดขึ้น ในแง่นี้ประวัติศาสตร์จึงน่าจะเป็นสิ่งที่สามารถทำ�ให้มนุษย์ หรือสังคม ได้ตระหนักและศึกษาเรียนรู้ร่วมกันถึงบทเรียนจากความผิดพลาดในอดีต เพื่อปรับปรุง แก้ไข และหาทางป้องกัน มิให้เรื่องราวของความผิดพลาดในอดีตได้ย้อนกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง และ หากการหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ในอดีตเป็นสาระสำ�คัญประการหนึ่งของประวัติศาสตร์ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณูปการสำ�คัญของการศึกษาประวัติศาสตร์อีกประการหนึ่ง น่าจะหมายรวมถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อปลดเปลื้องพันธนาการของอดีต ที่มีรอยแผลแห่งความทรงจำ�อันเกิด จากความผิดพลาดหรือความขัดแย้งร่วมของสังคมใดสังคมหนึ่ง ที่เป็นเหมือนดังสายโซ่ที่พันธนาการ และฉุดรั้งไม่ให้สังคมนั้นๆ เคลื่อนไปสู่ความเปลี่ยนแปลงหรือก้าวต่อไปในอนาคตได้อย่างมั่นคง (๑) สำ�หรับในสังคมไทยในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา เราได้พบเห็นวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการ เมือง อันนำ�ไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกันบ่อยครั้ง นับตั้งแต่เหตุการณ์ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ เหตุการณ์การรัฐประหารในเดือนกันยายน ๒๕๔๙ อันนำ�ไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมการเมืองของ ไทยรอบใหม่ที่ยังคงดำ�รงอยู่จนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์การปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำ�รวจกับกลุ่มผู้ ชุมนุมพันธมิตรฯ หน้ารัฐสภา ในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ เหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อ แดงในเดือนเมษายน ๒๕๕๒ และในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓ ในทุกครั้งที่ความขัดแย้งปะทุ ขึ้นถึงจุดตึงเครียด สิ่งที่เราได้เห็นคือ การพยายามสถาปนาความเกลียดชังให้เกิดขึ้นในสังคม ทำ�ให้ สถานการณ์ที่ตึงเครียดถูกผลักดันให้นำ�ไปสู่การใช้ความรุนแรงทางการเมืองต่อกัน เกิดการบาดเจ็บ และเสียชีวิตในเหตุการณ์ทุกครั้ง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากเกิดความขัดแย้งอันนำ�ไปสู่การใช้ความ รุนแรงต่อกัน ไม่ใช่เพียงการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ใช่เพียงแค่เกิดบาดแผลทั้งทางร่างกาย และ จิตใจเท่านั้น แต่โศกนาฏกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในทุกๆ ครั้ง ได้ทำ�ให้เกิดบาดแผลใน ความทรงจำ�ร่วมของสังคมไทย ทำ�ให้ความเชื่อใจความไว้วางใจที่คนในสังคมไทยเคยมีให้กันได้ถูก สั่นคลอน ถูกกัดเซาะ และพังทลายลง และยังเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ถ่วงรั้งการก้าวต่อไปสู่อนาคตของ 5


จุลสารปรีดี

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมไทย คำ�ถามสำ�คัญที่ผู้เขียนอยากจะตั้งคำ�ถามในบทความนี้ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๓๕ ปี เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ อันเป็นเหตุการณ์สำ�คัญทางประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย ที่เป็นผล มาจากความขัดแย้งทางสังคมการเมืองครั้งใหญ่ในบริบทของช่วงเวลานั้น อันนำ�ไปสู่การใช้ความ รุนแรงต่อกันครั้งใหญ่ สำ�หรับหลายๆ คน สถานะทางความทรงจำ�ของเหตุการณ์ ๖ ตุลา หรือ ที่ทางในความทรงจำ�ร่วมของสังคมต่อเหตุการณ์ ๖ ตุลา อาจจะแตกต่างกันไป สำ�หรับบางคน แล้วมันเป็น “ประวัติศาสตร์บาดแผล” (๒) บางคนบอกว่ามันคือโศกนาฏกรรม “ที่ไทยฆ่าไทย” (๓) ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำ�คัญที่ผู้เขียนเห็นว่าสังคมไทยน่าจะต้องมาคิดและตั้งคำ�ถามร่วม กันก็คือ แล้วคุณูปการของเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ อยู่ที่ไหน? ในฐานะเหตุการณ์สำ�คัญทาง ประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งในสังคมไทย ในฐานะความทรงจำ�ร่วมของสังคมไทย ในฐานะเนื้อหา ที่บรรจุอยู่ในตำ�ราเรียนประวัติศาสตร์ของการศึกษาไทย เหตุการณ์ ๖ ตุลา ได้ถูกมองและนำ�มา ใช้เป็นบทเรียนของความผิดพลาดในอดีตที่เคยเกิดขึ้น เพื่อปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงและป้องกัน ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงซ้ำ�แบบเดิมหรือไม่? หากไม่เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? หาก ๖ ตุลา คือเหตุการณ์ที่สังคมไทยควรเรียนรู้ อะไรคือบทเรียนที่เราไม่ยอมเรียนรู้? และอะไร บ้างที่น่าจะเป็นทางออกจากปัญหาเหล่านั้น? เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยในช่วง ๒๐ ปีหลังมานี้ อันนำ�ไปสู่การใช้ความ รุนแรงดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น น่าจะเป็นคำ�ตอบสำ�หรับคำ�ถามแรกได้ อย่างดีว่า สังคมไทยโดยรวมไม่ว่าจะเป็นรัฐ กลไกของรัฐ ชนชั้นนำ� ผู้มีอำ�นาจ และคนไทย จำ�นวนมาก ไม่ได้ตระหนักถึงบทเรียนที่ได้เกิดขึ้น และไม่ยอมเรียนรู้ถึงข้อผิดพลาดอย่างจริงจัง ไม่ ยอมใช้บาดแผลของอดีตที่เจ็บปวดให้เป็นบทเรียนและโอกาสสำ�หรับเปลี่ยนแปลงสังคมการเมือง ไทยให้ดีขึ้นกว่าเดิม จนเมื่อเกิดความรุนแรงตามมาอีกหลายครั้ง สังคมไทยบางส่วนจึงเริ่มตระหนัก ถึงความจริงข้อนี้ แต่คำ�ถามที่น่าจะคิดต่อก็คือ แล้วเพราะอะไรที่ทำ�ให้สังคมไทยไม่ยอมที่จะเรียนรู้ ถึงบทเรียนเหล่านั้น ไม่ใช้บาดแผลของอดีต ไม่ใช้ความเจ็บปวดของความทรงจำ� และไม่ใช้ความผิด พลาดทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น เป็นจุดเปลี่ยนในการทำ�ให้เกิดคุณูปการต่อการปฏิรูปสังคมไทย อย่างแท้จริงอย่างแท้จริง มุมมองของนักวิชาการบางท่าน ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นเหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้สังคมไทยไม่ ยอมเรียนรู้หรือใช้บทเรียนจากเหตุการณ์ ๖ ตุลา เพื่อให้เกิดคุณูปการในการปฏิรูปสังคมไทย และ การเรียนรู้วิธีที่จะจัดการกับความขัดแย้งไม่ให้นำ�ไปสู่ความรุนแรงอีกในอนาคต อ.ธงชัย วินิจจะ กูล นักประวัติศาสตร์ไทยคนสำ�คัญ ได้มีข้อคิดเห็นว่า กรณี ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ นั้น นอกจากไม่ได้รับ การชำ�ระสะสางข้อเท็จจริงให้กระจ่างแจ้งแล้ว ยังกลายเป็น “ความอิหลักอิเหลื่อ” ของสังคม และ ที่น่าสนใจคือเป็นทั้งความอิหลักอิเหลื่อของทั้งผู้กระทำ�และผู้ถูกกระทำ� เพราะในปัจจุบันความรู้สึก ดั้งเดิมของผู้กระทำ�ที่เคยเป็นความปรีดาปราโมทย์ในตอนแรกๆ ได้แปรเปลี่ยนเป็นความรู้สึกผิด 6


จุลสารปรีดี

หรือความละอายอดสู และสำ�หรับหลายๆ คนมันได้กลายเป็นชนักทางการเมืองที่สลัดไม่หลุด ดัง นั้นสำ�หรับฝ่ายผู้กระทำ�จำ�นวนไม่น้อยแล้ว ๖ ตุลา ไม่ใช่วีรกรรมแต่คือความอัปยศ สำ�หรับฝ่ายผู้ถูก กระทำ�เองก็เคลื่อนผ่านจาก “ความเคียดแค้น” ไปสู่ “ความเศร้าเสียใจ” (๔) สำ�หรับสังคมไทยแล้วแก่นหรือเค้าโครงหลักของประวัติศาสตร์ที่เรารู้จักกันดีนั้น เต็มไป ด้วยเรื่องราวของ “มหากาพย์ว่าด้วยความสามัคคีของชาวไทยภายใต้การนำ�ของรัฐและผู้นำ�ผู้มี บุญบารมีที่ปกป้องรักษาหรือกอบกู้เอกราชของชาติ” ประวัติศาสตร์ไทยจึงมักเป็นเรื่องของสังคม ไทยที่สงบสุขร่มเย็นและอิสระ ในแง่นี้จึงไม่น่าแปลกใจที่การเกิดขึ้นของเหตุการณ์ ๖ ตุลา ที่เป็น เรื่องราวของอาชญากรรมที่ก่อโดยรัฐและผู้ปกครองร่วมใจกันข่มเหงรังแกประชาชนจึงเป็นเรื่อง ที่เข้าใจลำ�บากสำ�หรับสังคมไทย เพราะเป็นสิ่งที่ขัดกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และอุดมการณ์ทาง ประวัติศาสตร์ ของไทย (๕) ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ แล้วสถานะ ของ ๑๔ ตุลา ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยดูจะยังมีคุณูปการต่อสังคมไทยอยู่บ้าง “โดยเฉพาะเมื่อ คำ�นึงถึงผลของ ๑๔ ตุลา ในแง่ของการขยายพื้นที่การเมืองประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น เอง” (๖) แต่สำ�หรับสังคมไทยแล้ว “๖ ตุลา มิใช่อะไรอื่น” แต่คือ “เหตุการณ์อัปยศที่บันทึกตอกย้ำ� ความอัปลักษณ์ของสังคมไทย” และเข้าไปอยู่ใน “ปริมณฑลของความอิหลักอิเหลื่อ” เพราะความ ทารุณโหดร้ายในเช้าวันนั้น ความโหดเหี้ยมที่ปรากฏเป็นสิ่งที่บรรยายเป็นคำ�พูดหรือถ้อยวาจาใดๆ ไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จะกลายเป็นเพียง “ความทรงจำ�” ในอดีตชนิดที่ตัดเข้ารูปรอยลงร่องปล่องชิ้นกับใครไม่ได้ทั้งสิ้น และสังคมไทยจัดการกับความทรงจำ� นี้ด้วย “ความเงียบ” เสมอมา” (๗) ผู้เขียนเห็นว่าวิธีการที่สังคมไทยจัดการกับความทรงจำ�ของเหตุการณ์ความขัดแย้งด้วย “ความเงียบ” เช่นนี้ที่เป็นผลมาจากสภาวะ “ความอิหลักอิเหลื่อ” และการเข้ากันไม่ได้กับ “สาระ สำ�คัญของประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย” (๘) ซึ่งได้ทำ�ให้บทเรียนที่สำ�คัญๆ จากเหตุการณ์ ๖ ตุลา ที่สังคมไทยน่าจะตระหนักและเรียนรู้อย่างจริงจังถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อทำ�ให้เกิดเป็นคุณูปการต่อ การพัฒนาการเมืองไทยในอนาคตไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้นซ้ำ�อีก กลายเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามและถูก ละเลยไป ทำ�ให้ในที่สุดสภาพของความขัดแย้งทางการเมือง อันนำ�ไปสู่การใช้ความรุนแรงก็ย้อน กลับมาเกิดซ้ำ�อีกอยู่เรื่อยๆ และผู้เขียนเห็นว่ามีแนวโน้มที่ภาพเช่นนี้จะยังคงวนเวียนอยู่กับสังคม การเมืองไทยแบบนี้ต่อไปจนกว่าเราที่เราจะได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของบทเรียนเหล่านั้นอย่าง จริงจัง หลังจากที่ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษางานวิชาการทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ๖ ตุลา จำ�นวน หนึ่งของ อ.ธงชัย ซึ่งได้กล่าวถึงประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ไว้ทั้งในบทความ บทสัมภาษณ์ และงานวิชาการจำ�นวนมาก ซึ่งเมื่อได้ศึกษาแล้ว ทำ�ให้ผู้เขียนได้เห็นถึงประเด็นและมุมมองสำ�คัญๆ จากงานต่างๆ เหล่านั้น 7


จุลสารปรีดี

ในบทความนี้ผู้เขียนจึงอยากจะใช้ งานของ อ.ธงชัย เพื่อเป็นกรอบในการมองและตอบ คำ�ถามว่า อะไรบ้างที่เป็น ‘บทเรียน’ และอะไรบ้างที่สังคมไทยน่าจะเรียนรู้จาก ‘บทเรียน’ ดังกล่าว เพื่อก่อให้เกิด ‘คุณูปการ’ แก่สังคมไทยอย่างแท้จริง โดยผู้เขียนได้นำ�ประเด็นและใจความสำ�คัญ จากงานเหล่านั้นที่ผู้เขียนคิดว่าน่าสนใจ มานำ�เสนอลงในบทความนี้เพื่อต้องการที่จะสื่อสารและ ส่งผ่านประเด็นเหล่านี้ไปยังผู้อ่านที่มีความสนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ ๖ ตุลา แต่อาจจะยังไม่เคยได้ รับรู้ถึงมุมมองและประเด็นเหล่านี้ ได้ลองมองเหตุการณ์นี้อีกครั้งจากอีกแง่มุมหนึ่ง ว่ามุมมองและ ประเด็นสำ�คัญเหล่านี้ที่ผู้เขียนพยายามจะสื่อสารและนำ�เสนอ เป็นสิ่งที่สังคมไทยควรจะตระหนักถึง ความสำ�คัญหรือไม่ บทเรียนประการแรก “สังคมไทยไม่เปิดพื้นที่ให้กับความแตกต่างขัดแย้งกับรัฐ” (๙) ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ความขัดแย้งทางสังคมการเมืองของไทยเกือบทุกครั้งที่เกิดความ รุนแรงขึ้น มักจะมีภาพของการพยายามทำ�ลายหรือกำ�จัด กลุ่มหรือฝ่ายทางการเมืองที่มีความคิด ความเชื่อที่ไม่ตรงหรือไม่เหมือนกับรัฐ ไม่ว่าจะเป็น อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่าง ความคิดที่ แหวกกรอบนอกคอก ซึ่งขัดแย้งกับแก่นกลางของ “ความเป็นไทย” ที่รัฐและชนชั้นนำ�ได้สถาปนาขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเมื่อรัฐมีแนวโน้มจะมองว่าความแตกต่างเหล่านั้นมีลักษณะที่ขัดแย้งหรือต่อ ต้านสถาบันหลักของสังคมไทย รัฐก็จะพยายามที่จะสร้างความเกลียดชังโดยการปลุกเร้าให้คนใน สังคมเห็นพ้อง เรียกร้อง หรือสนับสนุนให้รัฐใช้ความรุนแรงกับกลุ่มฝ่ายที่แตกต่างเหล่านั้น สำ�หรับ ปัญหาประการแรกนี้นั้น เกิดจากรากฐานของสังคมและวัฒนธรรมไทย ๒ ประการที่ทำ�ให้การเปิดใจ กว้างต่อกันนั้นเป็นเรื่องลำ�บาก (๑๐) ๑. “เรายึดมั่นถือมั่นในความสามัคคีอย่างผิดๆ และเกินขอบเขต” สังคมไทยพอใจกับ การคิดเหมือนๆ กันไปหมดในเรื่องสำ�คัญๆ โดยอ้างถึงความสามัคคีพร่ำ�เพรื่อเพื่อกดปราบความ คิดที่แตกต่าง ผลักไสความคิดแตกต่างที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์ให้กลายเป็นความคิดนอกคอก นี่เป็นความสามัคคีอย่างหยาบๆ ไม่ซับซ้อน เป็นการควบคุมกล่อมเกลาคนในสังคมให้อยู่ในกรอบ ความคิดมาตรฐานที่รัฐต้องการ แนวโน้มของการกระทำ�แบบนี้มันนำ�ไปสู่ การเป็น “ทรราชในนาม ของความสามัคคี” (๑๑) ๒. “การยึดมั่นถือมั่นในผลประโยชน์ของชาติอย่างผิดๆ และเกินขอบเขต” โดยใช้วิธีการ ทำ�ร้ายหรือทำ�ลายผู้ที่เห็นผลประโยชน์แห่งชาติแตกต่างออกไป ในสังคมไทยเราจึงมีคนจำ�นวนมาก ที่ตกเป็นเหยื่อของผลประโยชน์แห่งชาติ ในนามของส่วนรวมและเสียงข้างมาก (๑๒) เช่น การอ้าง สิทธิของเสียงข้างมาก โดยละเลยและไม่คำ�นึงถึงสิทธิของเสียงข้างน้อยเลย บทเรียนประการที่สอง “การจัดการกับประวัติศาสตร์อย่างผิดๆ และคับแคบ” (๑๓) สำ�หรับผู้เขียนแล้ว เหตุผลในข้อนี้น่าจะเป็นผลมาจาก “ความอิหลักอิเหลื่อ” และความไม่ลงรอย กันกับประวัติศาสตร์ของความเป็นไทย อันนำ�ไปสู่การสถาปนาความเงียบในสังคมไทยเกี่ยวกับ เหตุการณ์ ๖ ตุลา ทำ�ให้การพูดถึงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นเรื่องที่ลำ�บาก 8


จุลสารปรีดี

มาก คนในสังคมไทยกลัวที่จะพูดถึงและไม่อยากให้มีการสะสาง เพราะคิดว่าการพูดเรื่องนี้ในที่ สาธารณะเพื่อแสวงหาคำ�ตอบว่าอะไรถูกอะไรผิด อาจจะเป็นเหตุให้นำ�ไปสู่ความขัดแย้งและความ รุนแรงอีกครั้งหนึ่ง (๑๔) สิ่งที่สังคมไทยกระทำ�กับ “อดีตที่ไม่อยากจดจำ� จำ�ไม่ลง กลืนไม่เข้าคายไม่ ออก” ก็คือการ “ปฏิเสธมันเสีย” และพยายาม “แปลงความหมายของอดีตให้สอดคล้องกับความ ต้องการจดจำ�ของปัจจุบัน” (๑๕) ซึ่ง อ.ธงชัยได้ตั้งคำ�ถามที่ผู้เขียนเห็นว่าสำ�คัญมากสำ�หรับเรื่องนี้ ไว้ว่า “ทําไมเราจึงยอมให้มีทางออกแค่ ๒ ทาง คือ รุนแรงหรือไม่มีอะไรในกอไผ่ สังคมไทยไม่มี ความสามารถที่จะสร้างสรรค์ให้มีความคืบหน้าโดยไม่มีความรุนแรงเชียวหรือ?” (๑๖) ซึ่งการจัดการ ประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการเหล่านี้เองที่ทำ�ให้บทเรียนของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีตถูกละเลย และไม่ได้รับความสำ�คัญ เพราะคิดว่าวิธีการที่ใช้กันอยู่ตอนนี้คือวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คำ�ถามที่ อยากให้ผู้อ่านลองไปคิดต่อ แต่จะไม่ลงรายละเอียดในบทความนี้ ก็คือหากมองภาพความขัดแย้ง ของการเมืองไทยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแล้ว วิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มันช่วยแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่? และที่ว่า “ดี” นั้น “ดี” สำ�หรับใคร? เมื่อมองเห็นปัญหาที่เป็นบทเรียนของเหตุการณ์ ๖ ตุลา ไปบ้างแล้ว คราวนี้เราลองมาดูว่า ในงานของ อ.ธงชัยได้บอกแนวคิดหรือวิธีการอันเป็น ’คุณูปการ’ ที่น่าจะนำ�ไปสู่ทางออกจากสภาพ ความขัดแย้งและความรุนแรงในรูปแบบเดิมๆ ไว้อย่างไรบ้าง สำ�หรับบทเรียนประการแรกเกี่ยวกับการไม่ยอมรับความแตกต่างหลากหลายนั้น เรา ต้องตระหนักว่าความคิดที่แตกต่างขัดแย้งกับรัฐ เป็นทรัพยากรอันมีคุณค่าสำ�หรับอนาคตของสังคม ไทย เพราะความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายนั้นล้วนเป็นสิ่งที่มักจะช่วยให้เรามองเห็นข้อจำ�กัด ของความคิดกระแสหลักเอง และเมื่อเห็นข้อจำ�กัดแล้วสิ่งที่ต้องทำ�ต่อมาก็คือ การเปิดพื้นที่ให้ผู้ที่ มีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะการปะทะกันทางความ คิดที่แตกต่างหลากหลาย จะช่วยให้สังคมเติบโตและมีวุฒิภาวะทางปัญญา หากทำ�เช่นนั้นได้ สังคม ไทยก็น่าจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การเกิดขึ้นของ “วัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์” (๑๗) ในส่วนเรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติและความสามัคคีนั้น อ.ธงชัยได้ให้ความเห็นไว้ว่า “ความคิดและวาทกรรมว่าด้วยความสามัคคีและผลประโยชน์แห่งชาติ เอื้ออำ�นวยการใช้อำ�นาจใน ทางที่ผิดเพื่อกำ�ราบปราบปรามความคิดที่แตกต่างขัดแย้งกับรัฐ เพื่อผลักไสอุดมคติความคิดแหวก แนวให้กลายเป็นพวกนอกคอกอันตราย เราจึงไม่ควรหยุดอยู่แค่การยอมรับความแตกต่างความ นอกคอก แต่เราควรต้องตระหนักยิ่งไปกว่านั้นว่า ความแตกต่างจนถึงความนอกคอกคือทรัพยากร อันมีค่าต่อการเปลี่ยนแปลง”, “ผลประโยชน์ของชาติหรือส่วนรวม ไม่ใช่อำ�นาจชอบธรรมที่จะ ทำ�ลายวิถีชีวิตของประชาชน ที่เหลือวิถีชีวิตแตกต่างไปจากที่รัฐบงการ” และ “ความสามัคคี ควรจะ หมายถึงภาวะที่ความขัดแย้งปะทะความคิดกันอย่างสันติ ไม่มีการทำ�ร้าย และทำ�ลายความ แตกต่าง ไม่มีการฆ่า กำ�จัดในนามของความสามัคคี” (๑๘) 9


จุลสารปรีดี

เราจำ�เป็นต้องเปลี่ยนวิธีการจัดการความขัดแย้งกับรัฐ ด้วยวิธีการเทคนิคและกลไกใหม่ๆ ด้วยการต่อรองประนีประนอม มีกระบวนการเจรจาหาข้อยุติ รัฐต้องรับฟังเสียงของประชาชน รับฟัง ความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐ และตอบสนองด้วยวิธีการที่ลดโอกาสที่จะนำ�ไปสู่การใช้ความรุนแรง ลดโอกาสที่จะเกิดการทำ�ร้ายและทำ�ลายทางการเมืองต่อกันอีกในที่สุด สำ�หรับปัญหาประการที่สอง เกี่ยวกับวิธีการจัดการกับประวัติศาสตร์แบบผิดๆ และคับ แคบนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยการกล้าที่จะเผชิญหน้าต่อข้อเท็จจริงร่วมกันอย่างรับผิดชอบ กล้าตั้งคำ�ถาม ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอย่าไปคิดว่าเป็นการ “ฟื้นฝอยหาตะเข็บ” หรือ “กวนน้ำ�ให้ขุ่น” อย่าปล่อยให้ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วต้องตกอยู่ในสภาวะฝุ่นตลบ เพราะมันไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นแม้แต่น้อย เมื่อเดินหน้ากระบวนการหาข้อเท็จจริงแล้วก็ไม่ใช่สิ้นสุดแต่เพียงแค่นั้น เพราะมันจะเป็นการสะท้อน ว่าเรามองการชำ�ระประวัติศาสตร์เป็นแค่การรวบรวมข้อมูล และนำ�ข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นเพียงไป บรรจุลงในตำ�ราเรียนประวัติศาสตร์ก็น่าจะเพียงพอแล้ว อ.ธงชัยเสนอให้ก้าวพ้นกรอบแบบเดิมโดย มี “กระบวนการตัดสินถูก-ผิด” เพราะหากปล่อยให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงลอยอยู่เฉยๆ โดยไม่มีการ ตัดสินเชิงคุณค่าที่จำ�เป็น อดีตเหล่านั้นก็จะไม่กลายเป็นบทเรียน และก็จะไม่เกิดบรรทัดฐานทางการ เมืองและบรรทัดฐานทางศีลธรรมอะไรเลยแก่สังคมไทยในอนาคต (๑๙) สุดท้ายนี้ผู้เขียนมีความหวังว่าบทความนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำ�ให้ “ความเงียบ” ของเหตุการณ์ ๖ ตุลา ตลอดระยะเวลากว่า ๓๕ ปีที่ผ่านมา ได้กลับมาเปล่งเสียงและ มีพื้นที่ในสังคมไทยอีกครั้ง เพราะผู้เขียนมีความเชื่อว่ายามใดก็ตามที่ความเงียบในสังคมได้เปล่ง เสียงออกมา เสียงของมันอาจจะกลายเป็นคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ของสังคมไทยก็เป็นได้ ไม่ใช่เพียง แค่การทำ�ความจริงในอดีตให้กระจ่าง ไม่ใช่เพียงการมีกระบวนการเยียวยาให้กับผู้สูญเสียและผู้ เสียหาย หรือการให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายในอดีตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคุณูปการที่จะเกิดขึ้นต่อ สังคมไทยในอนาคต ที่เราจะไม่ต้องเกิดการบาดเจ็บและสูญเสียกันอีกต่อไป ซึ่งนี่ไม่ใช่หน้าที่หรือ ความรับผิดชอบของบุคคลใด กลุ่มใด หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของ สังคมไทยทั้งหมด ที่จะต้องเปลี่ยนทัศนคติต่อการมองปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเดิม และช่วยกัน หาทางออกจากปัญหาเหล่านี้ด้วยทัศนคติและวิธีการใหม่ๆ ที่จะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อสังคม ไทยร่วมกัน

10


จุลสารปรีดี เชิงอรรถท้ายบทความ (๑) ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, อภัยวิถี: มิตร/ศัตรูและการเมืองแห่งการให้อภัย (กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๔๓) หน้า ๒๕ (๒) ธงชัย วินิจจะกูล, ความทรงจำ�กับประวัติศาสตร์บาดแผล: กรณีการปราบปรามนองเลือด ๖ ตุลา ๑๙ ในรัฐศาสตร์สารปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๓ (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๓๙) หน้า ๑๗ (๓) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ๖ ตุลา กับสถานะทางประวัติศาสตร์การเมือง ในหนังสือ ๒๐ ปี ๖ ตุลา (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดงาน ๒๐ ปี ๖ ตุลา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๙) หน้า ๖๑ (๔) ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, อ้างแล้ว หน้า ๘ (๕) ธงชัย วินิจจะกูล, อ้างแล้ว หน้า ๓๖ (๖) ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, อ้างแล้ว หน้า ๘ (๗) ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, อ้างแล้ว หน้า ๙ (๘) ธงชัย วินิจจะกูล, อ้างแล้ว หน้า ๓๖ (๙) ธงชัย วินิจจะกูล, ในงานปาฐกถาพิธีเปิดประติมานุสรณ์ ๖ ตุลา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๓ (๑๐) ธงชัย วินิจจะกูล, เพิ่งอ้าง (๑๑) ธงชัย วินิจจะกูล, เพิ่งอ้าง (๑๒) ธงชัย วินิจจะกูล, เพิ่งอ้าง (๑๓) ธงชัย วินิจจะกูล, เพิ่งอ้าง (๑๔) ธงชัย วินิจจะกูล, ในบทสัมภาษณ์ ‘เสนอมอง ๖ ตุลาก้าวพ้นกรอบเดิม ต้องมีกระบวนการตัดสินถูก-ผิด’ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ (๑๕) ธงชัย วินิจจะกูล, อ้างแล้ว (๑๖) ธงชัย วินิจจะกูล, ในบทสัมภาษณ์ ‘เสนอมอง ๖ ตุลาก้าวพ้นกรอบเดิม ต้องมีกระบวนการตัดสินถูก-ผิด’ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ (๑๗) ธงชัย วินิจจะกูล, อ้างแล้ว (๑๘) ธงชัย วินิจจะกูล, อ้างแล้ว (๑๙) ธงชัย วินิจจะกูล, ในบทสัมภาษณ์ ‘เสนอมอง ๖ ตุลาก้าวพ้นกรอบเดิม ต้องมีกระบวนการตัดสินถูก-ผิด’ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

11


จุลสารปรีดี

วาทกรรมทางการเมืองของพระสงฆ์ จาก ๖ ตุลา ๑๙ ถึง เมษา-พฤษภา ๕๓

สุรพศ ทวีศักดิ์

มายาคติ “พระสงฆ์อยู่เหนือการเมือง”

สังคมสงฆ์ในบ้านเราถือว่าเป็น “สังคมการเมือง” อีกแบบหนึ่ง เพราะสังคมสงฆ์มี ระบบการปกครองตามกฎหมายที่ออกโดยรัฐ ไม่ใช่ปกครองตาม “ระบบพระธรรมวินัย” เท่านั้น โครงสร้างสังคมสงฆ์จึงเป็นโครงสร้างสังคมการเมืองขนาดย่อยที่ผูกโยงอยู่กับโครงสร้างสังคม การเมืองระดับใหญ่คือ รัฐไทย โดยโครงสร้างดังกล่าวนั้นได้ออกแบบให้สถาบันสงฆ์ขึ้นต่อรัฐ และ มีบทบาทสนับสนุนรัฐโดยปริยาย เช่น มีระบบ “พระราชาคณะ” หรือระบบสมณศักดิ์ที่สืบทอดมา จากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นระบบที่กำ�หนดให้พระสงฆ์เกี่ยวข้องกับการเมืองได้ หากเป็น ไปเพื่อสนับสนุนสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ของผู้มีอำ�นาจรัฐ หรือสนับสนุนนโยบายของรัฐ แต่หากเป็นการ เมืองในความหมายของการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ หรือตั้งคำ�ถามต่อผู้มีอำ�นาจหรือนโยบายรัฐ ย่อมเป็นการเมืองที่พระสงฆ์ไม่ควรยุ่งหรือยุ่งไม่ได้ ฉะนั้น การพยายามอธิบายว่าพระสงฆ์บริสุทธิ์ จากการเมือง หรืออยู่เหนือการเมือง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จึงเป็นคำ�อธิบายที่สังคมไทยพยายาม สร้าง “มายาคติ” ขึ้นมาหลอกตนเอง จะว่าไปแล้ว หากมองพระสงฆ์แต่ละปัจเจกบุคคล พระสงฆ์ย่อมมีสองสถานะคือเป็นพระ สงฆ์และเป็นพลเมืองของรัฐ แต่รัฐไทยไปจำ�กัดสิทธิต่างๆ ของพระสงฆ์ในฐานะพลเมือง เช่นห้ามใช้ สิทธิเลือกตั้ง ห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น ในขณะที่พระสงฆ์ศรีลังกาที่เรานำ�พุทธศาสนามาจาก เขา พระสงฆ์ที่นั่นมีสิทธิเลือกตั้ง ก่อตั้งพรรคการเมือง เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ลงสมัครรับเลือก ตั้งเพื่อเข้ามาเป็นตัวแทนประชาชนในการบริหารประเทศได้ พระพม่าออกมาเคลื่อนไหวทางการ เมืองเคียงข้างประชาชนประท้วงรัฐบาลเผด็จการได้ ขณะที่ทิเบต พระสงฆ์เป็นผู้ปกครองรัฐเสียเอง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า พุทธศาสนาไม่มีวินัยห้ามพระสงฆ์เกี่ยวข้องกับการเมืองไว้ โดยตรง ฉะนั้น จึงเปิดช่องให้พระสงฆ์ใช้ดุลพินิจของตนเองว่า ควรจะยุ่งหรือไม่ยุ่งการเมืองในแง่ ไหน อย่างไร เมื่อใช้ดุลพินิจต่างกันพระสงฆ์แต่ละประเทศจึงมีสิทธิทางการเมือง และเกี่ยวข้องกับ การเมืองในลักษณะแตกต่างกัน ในบ้านเรานั้นนอกจากรัฐไทยจะจำ�กัดสิทธิทางการเมืองของพระ สงฆ์ดังกล่าวแล้ว องค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย คือมหาเถรสมาคมยังออกประกาศห้าม พระภิกษุสามเณรร่วมชุมนุมทางการเมือง จัดอภิปราย เสวนาทางการเมืองทั้งในวัดและนอกวัด แต่ ทว่าประกาศดังกล่าวไม่มีผลในทางปฏิบัติมากนัก เพราะแทบในทุกเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการ เมืองที่สำ�คัญ เรามักเป็นพระสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ทางการเมืองที่เป็นการละเมิดประกาศดังกล่าว อยู่เสมอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพระสงฆ์บางส่วนเห็นว่ารัฐไทยสร้าง “ระบบสองมาตรฐาน” ในการยุ่ง เกี่ยวกับการเมืองของพระสงฆ์ คือถ้าเป็นการเมืองที่สนับสนุนรัฐให้ยุ่งได้แต่ถ้าวิพากษ์วิจารณ์ 12


จุลสารปรีดี

ตรวจสอบรัฐยุ่งไม่ได้ ฉะนั้น พระสงฆ์บางส่วนที่ไม่ยอมรับระบบสองมาตรฐานดังกล่าว จึงออกมา ยุ่งการเมืองที่เป็นการตรวจสอบรัฐโดยไม่สนใจประกาศมหาเถรสมาคม เช่นการที่มีพระสงฆ์จำ�นวน มากออกมาชุมนุมกับคนเสื้อแดง เป็นต้น

วาทกรรมทางการเมืองของพระสงฆ์ ๖ ตุลา ๑๙ และเมษา-พฤษภา ๕๓

แต่บทความนี้จะพิจารณาเฉพาะการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองของพระสงฆ์ในลักษณะ ของการสร้าง “วาทกรรมทางการเมือง” ที่สะท้อน “ความหมาย” ของการเลือกฝ่ายและเป็นก ลางทางการเมืองอย่างมีนัยสำ�คัญ เช่น วาทกรรมที่สะท้อนการเลือกฝ่าย “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญ มากกว่าบาป” ของ กิตติวุฑโฒ ภิกขุ ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ๖ ตุลา ๑๙, “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่า การฆ่าคน” ของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) และวาทกรรมสะท้อนความเป็นกลาง เช่น “สันติวิธีคือทางแก้ปัญหาความขัดแย้ง” ของ พระไพศาล วิสาโล สองวาทกรรมหลังเป็นวาทกรรมใน เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เมษา-พฤษภา ๕๓ เราจะพิจารณาแต่ละวาทกรรม ดังต่อไปนี้ ๑. วาทกรรม “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป” ของ กิตติวุฑโฒ ภิกขุ หรือที่คนพูด กันจนชินปากว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เป็นวาทกรรมที่โด่งดังมากเมื่อกิตติวุฑโฒ ให้สัมภาษณ์ นิตยสารจัตุรัส ฉบับวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๙ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการประโคมข่าวผ่านสื่อของ รัฐ และหนังสือพิมพ์ดาวสยามเวลานั้นว่า นักศึกษา และประชาชนที่ออกมาต่อต้านเผด็จการเป็น คอมมิวนิสต์ ขอคัดบทสัมภาษณ์บางตอนมาให้อ่านดังนี้ จัตุรัส : การฆ่าฝ่ายซ้าย หรือคอมมิวนิสต์บาปไหม กิตฺติวุฑฺโฒ: อันนั้นอาตมาก็เห็นว่าควรจะทำ� คนไทยแม้จะนับถือพุทธก็ควรจะทำ� แต่ก็ไม่ ชื่อว่าถือเป็นการฆ่าคน เพราะว่าใครก็ตามที่ทำ�ลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นั้นไม่ใช่คน สมบูรณ์ คือต้องตั้งใจ (ว่า) เราไม่ได้ฆ่าคนแต่ฆ่ามารซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน จัตุรัส : ผิดศีลไหม กิตติวุฑโฒ : ผิดน่ะมันผิดแน่ แต่ว่ามันผิดน้อย ถูกมากกว่า ไอ้การฆ่าคนคนหนึ่งเพื่อรักษา ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ไว้ ไอ้สิ่งที่เรารักษาปกป้องไว้มันถูกต้องมากกว่า แล้วจิตใจของทหาร ที่ทำ�หน้าที่อย่างนี้ไม่ได้มุ่งฆ่าคนหรอก เจตนาที่มุ่งไว้เดิมคือมุ่งรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไว้ การที่เขาอุทิศชีวิตไปรักษาสิ่งดังกล่าวนี้ก็ถือว่าเป็นบุญกุศล ถึงแม้จะฆ่าคนก็บาปเล็กน้อย แต่บุญ กุศลได้มากกว่าเหมือนเราฆ่าปลาแกงใส่บาตรพระ ไอ้บาปมันก็มีหรอกที่ฆ่าปลา แต่เราใส่บาตรพระ ได้บุญมากกว่า จัตุรัส : ฝ่ายซ้ายที่ตายหลายคนในช่วงนี้ คนฆ่าก็ได้บุญ กิตติวุฑโฒ : ถ้าหากฆ่าคนที่ทำ�ลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แล้วก็ได้ประโยชน์ จัตุรัส : คนฆ่าฝ่ายซ้ายที่ไม่ถูกจับมาลงโทษ ก็เพราะบุญกุศลช่วย กิตติวุฑโฒ : อาจจะเป็นได้ ด้วยเจตนาดีต่อประเทศชาติ (หัวเราะ) 13


จุลสารปรีดี

๒. วาทกรรม “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ซึ่งปรากฏผ่านทางทวิตเตอร์ของท่านเองราวกลางเดือนมกราคม ๒๕๕๓ เป็นช่วงเวลาที่กระแส สื่อมวลชนกำ�ลังคาดการณ์ว่า ในช่วงเดือนมีนา-พฤษภา ๒๕๕๓ จะมีการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดง และเกรงว่าจะเกิดความรุนแรงเหมือนเหตุการณ์สงกรานต์เลือดปี ๒๕๕๒ ในช่วงนี้สื่อเสื้อเหลืองก็เริ่ม ประโคมข่าวความรุนแรงของเสื้อแดงเป็นระยะๆ ต่อมาได้มีการนำ�ข้อความดังกล่าวของ ว.วชิรเมธี ไปวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์ และมีการนำ�เสนอในรายงานข่าวทาง Voice TV เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ว่า วาทกรรม “ฆ่าเวลาบาปไม่น้อยไปกว่าการฆ่าคน” วรรค ทองของ ว.วชิรเมธี โด่งดังไม่แพ้วาทกรรม “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ของ กิตติวุฑโฒ ภิกขุ ในช่วง ๖ ตุลา ๑๙ จากนั้น ว.วชิรเมธี ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสาร GM ฉบับดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เกี่ยวกับที่มาของ วาทกรรมดังกล่าวนี้ GM : ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์การทวิตเตอร์ของท่านชิ้นหนึ่งเป็น อย่างมาก นั่นคือการทวิตที่บอกว่า ‘ฆ่าเวลา บาปกว่าฆ่าคน’ อยากให้ท่านอธิบายว่า แท้จริงแล้วทวิ ตนี้มีความหมายที่แท้จริงอย่างไร ว.วชิรเมธี : จริงๆ แล้ว เรื่องนี้มันไร้สาระเสียจนอาตมาไม่อยากพูดอะไร อาตมากำ�ลังสอน เรื่องคุณค่าของเวลา โดยยกตัวอย่างเรื่องราวขององคุลีมาลว่า พระองคุลีมาลฆ่าคนมาแล้ว ๙๙๙ คน วันหนึ่งท่านพบกัลยาณมิตร คือพระพุทธเจ้า ท่านก็ได้มาบวช กลับตัวกลับใจ จนกลายมาเป็น พระอรหันต์ได้ สรุปได้ว่า องคุลีมาลยังกลับใจ แล้วคุณทำ�ไมไม่กลับตัว นั่นคือเรื่องของการฆ่าคนยัง มีโอกาสที่คนคนหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เมื่อเขาสำ�นึกผิด แต่เวลาทุกวินาทีเมื่อมันไหลผ่านเรา ไปแล้ว มันจะผ่านเราไปครั้งเดียวเท่านั้น ในชีวิตหนึ่ง คุณมีเงินหมื่นล้านแสนล้าน คุณไปต่อรองซื้อ เวลากลับมาไม่ได้ เช่นวันนี้ที่เราคุยกัน คุณสามารถคุยกับอาตมาแบบนี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นใน อนันตจักรวาลนี้ คุณไม่สามารถรีไซเคิลวันเวลานี้กลับมาได้อีกแล้วในชีวิตของคุณ ฉะนั้น เราควรจะ ใช้เวลาทุกวินาทีของคุณให้คุ้มค่าที่สุด ในเวลาที่อาตมาเทศน์หรือให้สัมภาษณ์ อาตมาก็พูดเท่านี้ละ แต่ก็มีนักวิชาการ ซึ่งคงจะอยากงับอะไรสักอย่างหนึ่งแล้วก็ไปเล่นงานใครสักอย่างหนึ่ง สอยเอาบางท่อนบางประโยคไป แล้วก็ไปบอกว่า ว.วชิรเมธี เห็นดีเห็นงามกับการฆ่าคนของรัฐบาล อาตมาได้อ่านนักวิชาการสรุปเช่นนี้แล้วก็เห็นว่า ทำ�ไมนักวิชาการเดี๋ยวนี้ทำ�งานกันง่ายจังเลย คุณ ไม่ลองคิดดูหรือว่า พระรูปหนึ่งที่บวชมาตั้งแต่อายุ ๑๓ จบเปรียญธรรม ๙ ประโยค ฝึกปฏิบัติตาม แนวทางของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ไม่เคยมีประวัติเห็นดีเห็นงามกับการฆ่าคน จู่ๆ จะลุก ขึ้นมาบอกว่าการฆ่าคนเป็นสิ่งที่ดี มันเป็นการสรุปที่มักง่ายจนอาตมาไม่อยากจะไปใส่ใจ เมื่อเราอ่านเนื้อใน เราได้เห็นบทสรุปที่แสนจะตื้นเขิน ดูเสมือนว่านักวิชาการเหล่านั้นกำ�ลัง แสดงความคิดเห็นต่อบ้านนี้เมืองนี้ แต่ถ้าเราอ่านดูจริงๆ มันเป็นเรื่องของการแสดงความรู้สึก ซึ่ง ไม่ใช่เรื่องของการแสดงความคิดเห็น การแสดงความคิดเห็นต้องมีรากฐานทางวิชาการรองรับ 14


จุลสารปรีดี

อย่างแน่นหนาเป็นหลักฐาน ส่วนการแสดงความรู้สึก แค่คุณไม่พอใจอะไรใคร คุณก็โพล่งหรือสบถ ออกมาแค่นั้น แล้วทุกวันนี้เราได้เห็นนักวิชาการหรือปัญญาชนทำ�แบบนี้กันมาก แล้วก็เรียกว่าฉัน กำ�ลังทำ�งานวิชาการ แล้วมันขายดีนะ ติดตลาด เพราะวัฒนธรรมของสังคมไทยเป็นวัฒนธรรมของ ความเชื่อ ไม่ใช่วัฒนธรรมแห่งการแสวงหาความรู้ นั่นทำ�ให้นักวิชาการจำ�นวนมากสามารถสร้างตัว เองขึ้นมาท่ามกลางซากปรักหักพังของเพื่อนร่วมชาติ ถ้าลองใช้ความคิดกันหน่อย ศึกษาประวัติของอาตมาดูหน่อย เขาไม่มีทางที่จะสรุปว่า ว.วชิรเมธี เห็นดีเห็นงามกับการฆ่าคน บางคนก็บอกว่าผู้ที่รัฐประหารอาศัยชุดความคิดของ ว.วชิร เมธี ไปทำ�รัฐประหาร รัฐบาลก็อาศัยชุดความคิดของพระบางรูปนี่ละมาบริหารราชการแผ่นดินและ เบียดเบียนประชาชนอย่างไม่รู้สึกผิด เพราะเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำ�อยู่มีความชอบธรรมทางศาสนาและศีล ธรรมรองรับพอสมควร แต่ทำ�ไมคนเหล่านั้นจะต้องอาศัยพระเด็กๆ รูปหนึ่งเพื่อทำ�งานทางการเมือง มันไม่ใช่ เพราะฉะนั้นอาตมาจึงรู้สึกว่า ผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นปัญญาชนหรือนักวิชาการสรุปอะไรง่าย เกินไป พูดง่ายๆ คือปัญญาชนสมัยนี้ทำ�งานด้วยจินตนาการมากกว่าทำ�งานด้วยความรู้ ๓. วาทกรรม “สันติวิธีคือทางแก้ปัญหาความขัดแย้ง” ของ พระไพศาล วิสาโล ซึ่งเป็นพระ สงฆ์ที่แสดงบทบาทเป็นกลางทางการเมืองด้วยการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วย สันติวิธีชัดเจนที่สุด ผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน การเขียนบทความ การเคลื่อนไหวทางการเมือง ผ่านกิจกรรมบิณฑบาตความรุนแรง เป็นต้น ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองช่วง เมษาพฤษภา ๕๓ โดยท่านเชื่อว่า สันติวิธีคือทางแก้ปัญหาความขัดแย้งและสามารถเปลี่ยนเผด็จการให้ เป็นประชาธิปไตยได้ ดังที่ท่านกล่าวในการให้สัมภาษณ์ผู้เขียนที่เผยแพร่ในประชาไท ตอนหนึ่งว่า “อาตมาเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสามารถเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธีได้ แต่ว่า ถ้ามันสันติไม่ได้มันก็ต้องเกิดความรุนแรง อันนี้ต้องทำ�ใจหากทำ�เต็มที่แล้ว แต่อาตมาเชื่อว่าระบอบ เผด็จการสามารถจะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยได้ด้วยสันติวิธี มันก็มีตัวอย่าง เช่น ชาวฟิลิปปินส์โค่น เผด็จการมาร์คอส ชาวรัสเซียโค่นคอมมิวนิสต์ด้วยสันติวิธี ในยุโรปตะวันออกระบอบคอมมิวนิสต์ พังทลายก็โดยสันติวิธี ในเซอร์เบียเผด็จการมิโลเซวิส ก็ถูกประชาชนขับไล่ด้วยสันติวิธี คือ ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีเหตุการณ์มากมายที่ทำ�ให้เรายืนยันได้ว่า เผด็จการสามารถเปลี่ยนแปลง ไปสู่ประชาธิปไตยได้ด้วยสันติวิธี”

วิจารณ์วาทกรรมทางการเมืองของพระสงฆ์

วาทกรรม “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป” หรือ “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เป็นวาท กรรมของการเลือกข้างทางการเมืองอย่างชัดแจ้งที่สุด เพราะเจ้าของวาทกรรมดังกล่าวคือกิตติ วุฑโฒ เป็นสมาชิกระดับนำ�ของ “กลุ่มนวพล” ซึ่งเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ บนจุดยืนของการปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยกล่าวหานักศึกษา และประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยว่า เป็นคอมมิวนิสต์ที่ต้องการทำ�ลายชาติ ศาสนา 15


จุลสารปรีดี

พระมหากษัตริย์ ฉะนั้น การฆ่าคนที่ทำ�ลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์จึงได้บุญมากกว่า บาป หากพิจารณาการอ้างเหตุผลของกิตติวุฑโฒตามที่ให้สัมภาษณ์จัตุรัส จะเห็นได้ชัดว่าเป็นการ บิดเบือนหลักคำ�สอนของพุทธศาสนาเพื่อรับใช้ฝ่ายเผด็จการที่กุมอำ�นาจรัฐอย่างชัดแจ้ง และ เป็นการใช้ข้ออ้างทางพุทธศาสนาสนับสนุน “การล่าแม่มด” หรือสนับสนุนการใช้ความรุนแรงปราบ ปรามนักศึกษา ประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย ถือเป็น “ตราบาป” ที่พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง ประทับไว้ในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย วาทกรรม “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” หากพิจารณาเฉพาะความหมายในทางตรรกะ ถือว่าเป็นการอ้างเหตุผลเปรียบเทียบที่เป็น “เหตุผลวิบัติ” (fallacy) เพราะสิ่งที่นำ�มาเปรียบเทียบ ในฐานะเป็นสิ่งที่ “ถูกฆ่า” ไม่ใช่สิ่งที่มีลักษณะคล้ายกันหรือใกล้เคียงกัน ในทางตรรกะประโยคเช่น นี้จึงไม่สมเหตุสมผล ส่วนในทางหลักธรรมที่ ว.วชิรเมธีอ้างว่า เพื่อให้รู้คุณค่าของเวลาโดยเปรียบ เทียบองคุลีมาลฆ่าคนมา ๙๙๙ คน ยังกลับใจและพัฒนาตนจนเป็นพระอรหันต์ได้ แต่การปล่อยเวลา ผ่านไปเพียงหนึ่งนาทีก็เรียกกลับไม่ได้นั้น ย่อมไม่ใช่ข้ออ้างที่สรุปได้ว่า “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าฆ่าคน” เพราะการฆ่าคนตามหลักคำ�สอนพุทธนั้นถือว่าบาปแน่นอน ไม่ว่าจะฆ่าด้วยข้ออ้างใดๆ ก็ตาม แต่ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าการฆ่าเวลาเป็นบาป (การปล่อยเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ คือ การสูญเสียโอกาสบางอย่างเท่านั้นเอง ไม่ใช่เรื่องเป็นบาป หากเราไม่ใช้เวลานั้นๆ ไปทำ�บาป) แต่ปัญหาของวาทกรรม “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” คือ เป็นการเสนอวาทกรรมเช่น นี้ออกมาในช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูง แม้เจ้าตัวจะอ้างว่าไม่มีเจตนาสนับสนุนการ ใช้ความรุนแรงปราบปรามคนเสื้อแดง ก็อาจถูกมองได้ว่าเป็น “การพูดไม่ดูกาลเทศะ” โดยเฉพาะ ในช่วงก่อนหน้านั้นผู้พูดไปจัดรายการทาง ASTV เขียนบทความสนับสนุนการเลือกข้างว่า “ธรรม อยู่ฝ่ายไหน พระต้องเลือกอยู่ฝ่ายนั้น” ในบริบทที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศ ใช้ “ธรรมนำ�หน้า” ในการต่อสู้ทางการเมือง แถมยังเคยสัมภาษณ์ทางทีวีไทย (Thai PBS) ว่า “ประชาธิปไตยอำ�นาจเป็นของประชาชน แต่เราลืมถามว่าประชาชนมีศักยภาพพอที่จะใช้อำ�นาจหรือ ยัง” ยิ่งทำ�ให้สังคมตีความ หรือเข้าใจว่า วาทกรรม “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าฆ่าคน” มีนัยในทางการ เมือง ฉะนั้น คำ�ให้สัมภาษณ์ของ ว.วชิรเมธี ที่กล่าวหานักวิชาการทำ�นองว่ารู้สึกไปเอง คิดไปเอง หรือ “ปัญญาชนสมัยนี้ทำ�งานด้วยจินตนาการมากกว่าทำ�งานด้วยความรู้” โดยไม่ดูว่าการแสดง ความคิดเห็นทางการเมืองของตนเอง (ว.วชิรเมธี) เป็นอย่างไร ตนพูดถูกหลักตรรกะ ถูกหลักธรรม ถูกกาลเทศะหรือไม่เป็นต้นนั้น จึงไม่น่าจะถูกต้องนัก ส่วนวาทกรรม “สันติวิธีคือทางแก้ปัญหาความขัดแย้ง” แม้ไม่ใช่การตีความหลักการ พุทธศาสนาเพื่อสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เรียกร้องทุกฝ่ายให้ใช้สันติวิธี และเห็นคุณค่าของการ เปลี่ยนผ่านสังคมให้เป็นประชาธิปไตยด้วยสันติวิธี แต่ก็ถูกตั้งคำ�ถามว่า สันติวิธีตามแนวทางของ พระไพศาล ไม่ลงลึกถึงความเป็นจริงของปัญหา และไม่ลงลึกในประเด็นความเป็นธรรมทางการ เมือง ฉะนั้น โดยวาทกรรมดังกล่าว ผู้ใช้วาทกรรมนั้นจึงวิพากษ์และเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ละอคติ 16


จุลสารปรีดี

ความโกรธ ความเกลียดชัง และห้ามใช้ความรุนแรงต่อกันเท่านั้น ไม่แตะโครงสร้างอำ�นาจอันอ ยุติธรรม หรือ “อำ�นาจนอกระบบ” ที่เป็นต้นเหตุของความไม่เป็นประชาธิปไตยแต่อย่างใด และ ในที่สุดโดยการใช้วาทกรรมดังกล่าวก็ทำ�ให้สังคมมองเห็นเพียง “ความผิดบาป” ของคนเสื้อแดงที่ ถูกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงฆ่ากันเองบ้าง เผาบ้านเผาเมืองบ้าง ส่วนรัฐนั้นกลับถูกมองว่าใช้ความ รุนแรงโดยจำ�เป็น หรือควรแก่เหตุ ดังรายงานผลการสอบหาข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุมคนเสื้อ แดงของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น ฉะนั้น โดยวาทกรรมดังกล่าวจึงไม่ได้ช่วยให้สังคมมองเห็น “ความผิดบาป” ของฝ่ายรัฐ หรือโครงสร้างอำ�นาจนอกระบบที่กำ�กับรัฐอีกทีหนึ่ง อันเป็น “โครงสร้างอันอยุติธรรมและรุนแรง” แม้จะเป็นวาทกรรมที่อ้างว่า อยู่บนจุดยืน “ความเป็นกลางทางการเมือง” แต่ก็ถูกตั้งคำ�ถามได้ว่า เป็นความเป็นกลางที่ “ปิดตาข้างหนึ่ง” หรือไม่ จึงทำ�ให้ผู้ใช้วาทกรรม “สันติวิธีคือทางแก้ปัญหา ความขัดแย้ง” ไม่เรียกร้องให้รัฐรับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมทางการเมืองที่ทำ�ให้มีคนตาย ๙๑ คน เป็นต้น แต่อย่างใด

17


จุลสารปรีดี

ประวัติศาสตร์ไทย ในสายตาเด็ก (คนหนึ่ง) NTW. ต้องชี้แจงเพื่อมิให้ผู้อ่านสับสนเสียก่อนว่า ผมไม่ใช่คนเดียวกับเจี๊ยบ บ้านระกาศ ที่เขียน “การ เมืองไทยในสายตาเด็ก (คนหนึ่ง)” เพราะผมคงไม่มีความคิดไร้เดียงสา อะไรอย่างนั้น ที่ใช้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะ ผมยังเป็นเด็กคนหนึ่ง (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) และอาจจะมีความคิดเห็นในบางเรื่องไม่ตรงกับเด็กคนอื่น คำ�ว่า “ประวัติศาสตร์”ตามที่ผมเข้าใจนั้น คือเรื่องราวในอดีต ที่มนุษย์ได้กระทำ�ไว้ จะโดย ตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มันก็คือ “ประวัติศาสตร์” ผมเชื่อว่ามีผู้คนจำ�นวนไม่น้อยที่ไม่เห็นคุณค่าของการศึกษา ประวัติศาสตร์ ซึ่งก็เป็นสิทธิของเขา แต่ถ้ามองในอีกด้านหนึ่งแล้วเมื่อไม่รู้อดีต (ประวัติศาสตร์) ย่อมไม่ เข้าใจปัจจุบันและความเป็นไปของอนาคต การเรียนรู้ประวัติศาสตร์นั้นจะทำ�ให้เราเข้าใจในความดำ�รง อยู่ของสังคมปัจจุบันและปัญหาต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรม ศาสตราภิชาน แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านกล่าวไว้ว่า “เราต้องเข้าใจประวัติศาสตร์จึงจะมีความ หวังกับอนาคต การไม่มีมิติประวัติศาสตร์ทำ�ให้ผู้ที่จะทำ�อะไรไม่ว่าจะเป็นภาคการเมือง ประชาชน รัฐ ราชการ เอกชน เลยเดาไม่ได้ว่า จะเป็นอย่างไรในอนาคต” แต่ “ประวัติศาสตร์ไทย” นั้นมักจะเป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกตัดตอน คือเอามานำ�เสนอแค่ด้าน เดียว เป็นประวัติศาสตร์แบบ “ราชาชาตินิยม” ศูนย์กลางเรื่องอยู่ที่พระมหากษัตริย์ อยู่ที่ชนชั้นปกครอง ไม่เห็นความสำ�คัญของราษฎรรวมถึงคนกลุ่มน้อย ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม สอนคนให้ “คลั่งชาติ” ให้ข้อมูลแต่ด้านเดียว ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมนั้น มักจะได้รับการเอาใจใส่จากชนชั้นปกครอง ให้ เรียนรู้ประวัติศาสตร์เช่นเรื่อง เสียดินแดน ๑๔ ครั้ง, เขาพระวิหารเป็นของไทย อะไรประมาณนี้ หรือแม้ กระทั่งเนื้อเพลงชาติที่ร้องกันทุกวันนี้ ถ้าตั้งคำ�ถามแล้วจะโดนหาว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า? ประวัติศาสตร์ แบบนี้มักจะสอนให้ซาบซึ้งและ “กล่อมประสาท” ไปวันๆ กล่อมประสาทจนไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น การสอนประวัติศาสตร์รวมศูนย์อยู่ที่ชนชั้นปกครองก็สอดคล้องกับรัฐไทยที่มีการปกครองแบบ รวมศูนย์อำ�นาจ มันแสดงออกมาถึงอำ�นาจนิยม ไม่เห็นความสำ�คัญของสิ่งอื่นๆ ยกย่องแต่ “ความเป็น ไทย”ให้เลอเลิศอลังการ ซึ่งความเป็นไทยที่ยกย่องกันอยู่นั้น มีจริงหรือไม่? ไม่เคยมีใครตั้งคำ�ถามถึง เหตุการณ์ส�ำ คัญในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย มีจำ�นวนไม่น้อยที่ถูกทำ�ให้ “ลืม” กลบ เกลื่อน เหตุการณ์อย่าง ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ที่มีการอภิวัฒน์เปลี่ยนการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบบประชาธิปไตยแต่ในทุกวันนี้ได้ถูกลืมไปอย่างสิ้นเชิง บุคคลเช่น นาย ปรีดี พนมยงค์ พระยาพหลพลพยุหเสนา ก็ถูกลืมจากประวัติศาสตร์เช่นกัน ซึ่งบุคคลเหล่านี้คือบิดาของ ประชาธิปไตยไทยตัวจริง แต่แล้วพวกเขากลับถูกลืมว่าได้เป็น “บิดาแห่งประชาธิปไตยไทย” จากทาง ราชการ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ วันประกาศสันติภาพทำ�ให้ไทยไม่ตกเป็นผู้แพ้สงครามเนื่องจากวีรกรรม ของขบวนการเสรีไทยผู้ปกป้องเอกราชอธิปไตยของประเทศ วีรกรรมของพวกเหล่านี้ ในตำ�ราประวัติศาสตร์ กระแสหลัก หาได้สนใจไม่! เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ บทเรียนที่ควรระลึก รัฐบาลเผด็จการได้ท�ำ การสังหารฆ่า ประชาชนอย่างโหดเหี้ยมไร้มนุษยธรรม ไม่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน ก็มิได้กล่าวถึงแต่อย่างใด มิไปเอ่ย

18


จุลสารปรีดี

ถึงเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา ๕๓ ที่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยถูกสังหารผลาญชีวิตมากกว่าเหตุการณ์ใดใน ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น ให้เจ็บแค้นไปเปล่าๆ “ในขณะที่เราเรียกร้องให้ระบบการศึกษาผลิตคนที่คิดเป็น เรากลับเรียกร้องให้เยาวชนเสพ ประวัติศาสตร์เป็นยากล่อมประสาทหนักเข้าไปอีก” (ธงชัย วินิจจะกูล) การเรียนประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้นั้น เป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่เป็น “หลักวิทยาศาสตร์” สอนให้ท่องจำ�อย่างเดียว และบิดเบือนสัจจะอย่างรุนแรง พวกอนุรักษ์นิยมเข้ามาครอบงำ�ผูกขาดความรู้ในด้านนี้ ประวัติศาสตร์ไทยแบบ “ราชาชาตินิยม” นั้นสมควร จะถูกตั้งคำ�ถาม และวิพากษ์วิจารณ์ได้ นี้ไม่ได้ขัดต่อกรอบคิด “พุทธ” แต่อย่างใด (แต่ถ้า พุทธแบบที่ผนวก กับไสยเวทวิทยาผนวกกับขัตติยาธิปไตย ก็ไม่แน่) หลักธรรมพุทธศาสนาก็ระบุอยู่แล้วให้ตรวจสอบ ให้ตั้งคำ�ถามได้ พระพุทธองค์ก็ยังเทศนาเรื่อง กาลามสูตร ศาสนาพุทธนั้น ผู้คนมักอ้างว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุ-ผล แล้วถ้ามิอาจวิพากษ์วิจารณ์ได้แล้ว สังคมไทยที่อ้างว่าเป็นพุทธนั้น ก็มิใช่พุทธ (หรืออาจเป็น พุทธแบบไทยๆ) แต่เป็นมิจฉาทิฐิ (ความเห็นที่ผิด) มิหนำ�ซ้�ำ ยังทำ�ให้พระบรมศาสดาที่ตัวเองยกย่องนับถือนักหนาแปดเปื้อนด้วยหรือไม่ ? มิติดีที่ตอนนี้พระภิกษุสงฆ์ จำ�นวนมากลุกขึ้นมาสู้เพื่อประชาธิปไตย ต่อต้านการรัฐประหาร พระ สงฆ์เลือกฝ่ายทางการเมืองได้หรือไม่? คำ�ตอบคือ เลือกได้ในบริบทของความขัดแย้งทางการเมืองที่ควร เลือก และ/หรือจำ�เป็นต้องเลือก แต่ต้องเลือกภายใต้จุดยืนทางจริยธรรม คือการยืนยัน “วิถีจริยธรรม”ของ พุทธศาสนาที่มุ่งสร้างประโยชน์สุขแก่สังคมบนพื้นฐานปรัชญาสังคมที่เคารพความเท่าเทียมในความเป็นคน และเสรีภาพทางศีลธรรม (ซึ่งสอดคล้องกับประชาธิปไตย) โดยต้องมีเมตตาธรรม และปกป้องสันติธรรม หรือสันติภาพของทุกฝ่าย (แม้ฝ่ายตรงข้ามกับที่ตนเองเลือก) และสันติภาพของสังคมโดยรวม กลับมาที่ประวัติศาสตร์แบบไทยๆ ประวัติศาสตร์แบบนี้จะอยู่ได้กลับสังคมไทยอีกนานเท่าไร โลกมีวิวัฒนาการตลอด สังคมไทยจะอยู่อย่างขัดแย้งต่อวิวัฒนาการของโลกได้หรือ? ถ้าไม่มีการปฏิรูปแล้ว ไซร้ การปฏิวัติจะเกิดขึ้นแทน เหล่าชนชั้นปกครองพึงระลึกไว้ให้ดี “ประวัติศาสตร์แบบที่ “ไม่ต้องคิด” เป็น ส่วนหนึ่งของจารีตประเพณีอันดีงามของไทย ประวัติศาสตร์ที่บอกว่า “รัฐก่ออาชญากรรม” “ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ทำ�ให้คนบ้าคลั่งเสียสติเหมือนคนเสพยาบ้า แล้วฆ่าคนอื่นได้อย่างทารุณ (ดูภาพเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙) ประวัติศาสตร์ที่ผูกขาดอยู่ในมือชนชั้นปกครอง ได้สรรแต่งเรื่องราวที่เป็นเท็จ ให้เกิดหลักความ เป็นจริงขึ้นมา บุคคลที่พิทักษ์สัจจะจะถูกจับ อีกนานเท่าไรที่ประชาชนจะตื่นตัวรู้เท่าทันมากขึ้นเรื่อยๆ ท่าน จะฉุดรั้งให้สังคมไทยอยู่กับที่ไปอีกนานเท่าไร? ในประเทศสหรัฐอเมริกามีหนังสือชื่อ A People’s History of the United States เขียนโดย Howard Zinn งานของซินชิ้นนี้เป็นการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของอเมริกา จากปากคำ�ของชนชั้นสูงมา เป็นการเสนอมุมมองของคนพื้นเมือง คนที่ถูกกระทำ�ย่ำ�ยีในช่วง ๕๐๐ กว่าปี นับตั้งแต่โคลัมบัสค้นพบทวีป (อเมริกา) นี้ในปี ค.ศ.๑๔๙๒ ปัจจุบันมีการเผยแพร่หนังสือเล่มนี้มากกว่า ๒ ล้านเล่ม คนอเมริกันรับรู้ถึง ประวัติศาสตร์ประเทศของตนที่มีทั้งดีและชั่ว แล้วประเทศไทย! ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ที่ผู้รักประชาธิปไตย จะร่วมกันสถาปนา “ประวัติศาสตร์ไทยฉบับราษฎร”

19


จุลสารปรีดี

ใครทำ�ลายพลังนักศึกษา?

บรรณกร จันทรทิณ

นิสิตชั้นปีที่ ๓ ภาควิชารัฐศาสตร์ฯ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยโดยการขับเคลื่อนของภาคประชาชนนั้นมีเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ อยู่เหตุการณ์หนึ่งที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลา” ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ซึ่งเป็นเหตุการณ์การชุมนุม กลางท้องถนนในประวัติศาสตร์ไทยที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำ�นวนมากที่สุดกว่าห้าแสนคนบนถนนราชดำ�เนิน เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย และขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหารจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร (และรวมพันเอกณรงค์ กิตติขจรเข้าไปด้วยจึงถูกเรียกว่า ๓ ทรราช) โดยสิ่ง สำ�คัญที่เห็นได้ชัดจากภาพที่ปรากฏในเหตุการณ์นี้ประการหนึ่งคือ ผู้เข้าร่วมการชุมนุมกว่าร้อยละ ๙๐ คือ เยาวชนที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่มาชุมนุมทั้งๆ ในเครื่องแบบ มันจึงเป็นความมหัศจรรย์ที่ทวีคูณยิ่ง ขึ้นว่านอกจากผู้ชุมนุมจะมากที่สุดแล้ว ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ยังเป็นเยาวชน ซึ่งมันเป็นไปได้อย่างไรที่เยาวชนจะ สนใจการเมืองกันมากมายขนาดนั้น บวกกับเทคโนโลยีการสื่อสารในเวลานั้นที่ยังไม่กา้ วหน้าเท่าไหร่เลย ต่างจากยุคปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๔) โดยสิ้นเชิงที่เยาวชนส่วนใหญ่แทบไม่ได้สนใจการเมืองกันเสีย เลย ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีการสื่อสารก็เจริญก้าวหน้ากว่าในยุคนั้นเป็นหลายร้อยเท่า ทั้งโทรศัพท์มือถือ แบล็ก เบอร์รี่ ไอโฟน และอินเตอร์เน็ตที่ค้นคว้าหาข้อมูลมากมายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แล้วยังมีเว็บไซต์เครือ ข่ายสังคมอย่างเช่น เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ให้ใช้กันอีกด้วย พลังนักศึกษาหายไปได้อย่างไร? ใครทำ�ลายพลังนักศึกษาที่เคยมีอยู่มากมายในอดีตถึงขนาดนั้น? สภาพทางสังคมในยุคก่อน ๑๔ ตุลา เป็นธรรมดาของสังคมที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ตามหลักไตรลักษณ์ของพระพุทธ ศาสนาที่เรียกว่า “ไตรลักษณ์” คือทุกสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน ยุคสมัยเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นได้ชัด ที่สุดถึงความไม่เที่ยงนี้ สภาพทางสังคมในยุคก่อน ๑๔ ตุลา เป็นยุคของความว่างเปล่าที่เรารู้จักกันใน นามว่า “ยุคฉันจึงมาหาความหมาย” ตามคำ�กล่าวของวิทยากร เชียงกูล เพราะนิสิตนักศึกษาสมัยนั้นเริ่ม สงสัยในสิ่งที่เป็นอยู่ของตนเองและสังคมในเวลานั้น ว่าเขามาเรียนเพื่ออะไร เพื่อเอาเพียงปริญญาบัตร เท่านั้นหรือ? ช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๑ – ๒๕๑๓ ในระหว่างนั้นคนหนุ่มสาวที่คิดว่าตนเองต้องการความหมายจาก มหาวิทยาลัยมากกว่าปริญญาบัตรเริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อศึกษา และทำ�กิจกรรมมากขึ้น ซึ่งต่างจากก่อน หน้าในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๑ ที่ถูกเรียกว่าเป็นยุคมืด เมื่อจอมพลสฤษดิ์ได้ก่อรัฐประหาร แล้วสนับสนุนกิจกรรม ฟุ่มเฟือยของนิสิตนักศึกษา พร้อมทั้งส่งนักเผด็จการเข้าไปแทรกแซงในวงการศึกษา แต่จากปัญหาที่รุม ล้อมทั้งภายใน และนอกประเทศ จึงทำ�ให้นักศึกษาส่วนหนึ่งสามารถฝ่าวงล้อมของสิ่งเหล่านี้ออกมาได้(วิสา, ๒๕๔๖) ซึ่งน่าจะมีสาเหตุจากที่นักศึกษาส่วนนี้ได้ออกไปทำ�ค่ายอาสาพัฒนาซึ่งเริ่มมีในยุคต้นๆ สมัยสฤษดิ์ ทำ�ให้พวกเขาได้เรียนรู้ชีวิต และปัญหาของชาวบ้านอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น (พฤทธิสาณ, ๒๕๒๘) ที่เชื่อมโยงถึง ปัญหาในระดับประเทศ จนกระทั่งกลุ่มนักศึกษาเหล่านี้ได้เจริญเติบโตขึ้นหลายกลุ่ม ไม่วา่ จะเป็นกลุ่มสภา หน้าโดมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มฟื้นฟูโซตัสใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มสภากาแฟ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชมรมคนรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยรามคำ�แหง เป็นต้น

20


จุลสารปรีดี

ต่อมากลุ่มเหล่านี้จึงได้คิด ได้เขียนหนังสือออกมามากมายเพื่ออธิบายถึงปัญหาสังคม และ การเมืองที่เป็นอยู่ จนกระทั่งถึงการเขียนหนังสือ “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่” ที่เปิดโปงรัฐบาลจอมพลถนอมที่ เข้าไปล่าสัตว์ในเขตป่าสงวน การเรียกร้องรัฐธรรมนูญจนถูกจับกุม และกลายมาเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ ขับไล่รัฐบาลในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา

ชนชั้นนำ�ทางการเมืองในยุค ๑๔ ตุลา

หลังจากเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา แม้จะสามารถไล่รัฐบาลชุด ๓ ทรราชให้ลาออกไปได้ก็จริง แต่ ประชาชนก็ยังไม่สามารถยึดอำ�นาจรัฐจัดตั้งรัฐบาลเองได้ รัฐบาลที่มาใหม่ก็ยังคงเป็นชนชั้นปกครองเหมือน เดิม พิทักษ์ผลประโยชน์ของชนกลุ่มน้อยในสังคมคือชนชั้นนายทุน และจักรพรรดินิยม เช่น การยอมให้ อเมริกาตั้งฐานทัพภายในประเทศ ยอมให้กองพลก๊กมินตั๋งก่อกวนประเทศเพื่อนบ้าน และค้าฝิ่นทางตอน เหนือ (ภัทรภักดิ์, ไม่ระบุปี) อำ�นาจของฝ่ายทหารก็ไม่ถูกกระทบกระเทือน ไม่มีการพิจารณาโทษผู้ยิง นักศึกษา และไม่ได้ยึดทรัพย์ ๓ ทรราช แม้จะมีการตั้งสภานิติบัญญัติขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ก็เป็นชนชั้น ปกครองกลุ่มเดิมเสียส่วนใหญ่ (วิทยากรและวิสา, ๒๕๔๖) มีภาคประชาชนอยู่ไม่ถึง ๑๐ คน และบางคนต้อง ลาออก เพราะพยายามจะพูดเพื่อรักษาผลประโยชน์ประชาชน แต่ไม่เคยได้รับการอนุญาตจาก ม.ร.ว.คึก ฤทธิ์ ปราโมช ประธานสภาฯ เลย ทำ�ให้สภาฯ ถูกเรียกว่าเป็นสภาศักดินาหรือสภานายทุน (ภัทรภักดิ์, ไม่ ระบุปี) แต่ในด้านประชาสังคมนั้นก็มีความตื่นตัวในทางสังคมและการเมืองขึ้นอย่างมาก นักศึกษา ประชาชนที่เผชิญความไม่เป็นธรรมต่างๆ ก็ได้ลุกฮือขึ้นประท้วงในกรณีต่างๆ มากมาย หลังจากที่ประเทศ ตกอยู่ภายใต้การครอบงำ�ของเผด็จการมาช้านาน องค์กรนิสิตนักศึกษาก็ได้จัดตั้งกลุ่มผลักดันทางการ เมืองเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอีกมากมาย (วิทยากรและวิสา, ๒๕๔๖) เรียกได้วา่ เป็นยุคทองของ ประชาธิปไตยในภาคประชาชนก็เป็นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำ�ให้ชนชั้นปกครองหัวเก่าที่กลัวว่าจะต้องเสียผลประโยชน์ของตนในการฉ้อ ราษฎร์บังหลวง จึงไม่ต้องการให้นักศึกษามีอิทธิพลมาก โดยพยายามในทุกด้านที่จะทำ�ลายพลังนักศึกษา ด้วยการยุแหย่ให้เกิดความแตกแยก และให้เงินสนับสนุนแก่กลุ่มนักศึกษาหัวเก่า พร้อมโจมตีใส่รา้ ยป้ายสี ผู้นำ�นักศึกษาอยู่เสมอ (วิทยากรและวิสา, ๒๕๔๖) ในช่วงปี ๒๕๑๘ – ๒๕๑๙ จะเห็นได้วา่ พวกหัวเก่านี้ไม่ ยอมรับการปฏิรูป และการเปลี่ยนแปลงแบบสันติวิธี (วิทยากร, ๒๕๔๖) จนกระทั่งลามไปถึงการลอบสังหาร แกนนำ�ประชาชน และสุดท้ายก็เกิดการสังหารหมู่นักศึกษาใน “เหตุการณ์ ๖ ตุลา” ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ จน นักศึกษาส่วนหนึ่งต้องหนีเข้าป่า เผด็จการขวาจัดเข้ามามีอำ�นาจ ประกาศรายชื่อหนังสือหัวก้าวหน้าให้เป็น หนังสือต้องห้ามเพื่อทำ�ลายทิ้ง ทำ�ให้พลังนักศึกษาแตกพ่ายย่อยยับลงตั้งแต่นั้นมา

ปัจจัยที่ทำ�ลายพลังนักศึกษาในยุคหลัง ๖ ตุลา

หลังจากเหตุการณ์ ๖ ตุลา ที่ชนชั้นปกครองได้ทำ�ลายพลังนักศึกษาลงเรียบร้อยแล้ว หลาย ปีต่อมานักศึกษาก็มีความพยายามฟื้นฟูพลังนักศึกษา แต่ก็ไม่เป็นผลด้วยปัจจัยต่างๆ ในส่วนของปัจจัย ภายในขบวน ได้แก่ ในด้านความชัดเจนของผู้ร่วมขบวนที่มีจุดมุ่งหมายไม่เป็นเอกภาพ เพราะบางคนทำ� เพื่อประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า ลักษณะองค์กรมีข้อจำ�กัด และไม่สามารถผลิตคนได้มาก และการแปลกแยก ระหว่างขบวน เพราะจำ�กัดแนวคิดคับแคบไม่สามารถสร้างแนวร่วมที่หลากหลายได้ (บุญมา, ๒๕๒๘) จึงมี

21


จุลสารปรีดี

แต่ความซบเซาของกิจกรรมนักศึกษา ซ้ำ�ร้ายด้วยการคืนชีพของลัทธิธรรมเนียมนิยม และอำ�นาจนิยมใน มหาวิทยาลัยก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อันได้แก่ ระบบโซตัสในการรับน้องเริ่มมีการนำ�กลับมาใช้(หลัง จากยกเลิกไปในช่วงก่อน และหลัง ๑๔ ตุลา) กิจกรรมฟุ่มเฟือยที่ใช้เงินแต่ละปีไม่ต่ำ�กว่าล้านบาท และความ พยายามของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการออกกฎระเบียบการแต่งกายนักศึกษา เมื่อขบวนการนักศึกษาเป็น เช่นนี้ก็ทำ�ให้เกิดสภาวะ “ต่างคนต่างไป ตัวใครตัวมัน” จึงทำ�ให้ขบวนการนักศึกษาตายอย่างสนิท (ธำ�รง, ๒๕๒๘)

ปัจจัยที่ทำ�ลายพลังนักศึกษาในปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบันสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ในด้านความเจริญทางวัตถุในทุกๆ ด้าน ดังที่ ได้กล่าวมาแล้วว่ามีเทคโนโลยีจำ�นวนมากที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็ว และยังค้นหาความรู้ได้ มากมายรวดเร็วอีกเช่นกัน ซึ่งได้เปรียบกว่าในอดีตก็จริง แต่ทำ�ไมนิสิตนักศึกษาจึงไม่ตื่นตัวทางการเมือง เท่าในยุคนั้น? ปัจจัยที่ทำ�ให้สภาพนิสิตนักศึกษาในยุคปัจจุบันเป็นเช่นนี้มีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการ โดยในที่นี้จะยกมาอธิบายในด้านปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ กับปัจจัยภายในที่สามารถควบคุม ได้ ดังนี้ ๑.ปัจจัยภายนอกนั้นก็คือ เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้ามาก ซึ่งมันก็มีประโยชน์อยู่มหาศาล แต่ก็ มีโทษในแง่ที่วา่ มีสิ่งจูงใจเป็นความบันเทิงมากมายกว่าในยุค ๑๔ ตุลามาก จึงทำ�ให้นิสิตนักศึกษาไปยึดติด กับความบันเทิง และความสนุกส่วนตัวจนไม่ได้ฉุกคิด และค้นหาความหมายของชีวิตดังเช่นนิสิตนักศึกษาใน ยุคนั้นซึ่งแทบไม่มีอะไรบันเทิงเลย เมื่อแต่ละคนเอาแต่ความสุขส่วนตัว ลักษณะตัวใครตัวมันก็มากขึ้น จึงไม่ ค่อยได้มีการรวมกลุ่มเพื่อทำ�ประโยชน์มากนัก แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเทคโนโลยีก็เป็นปัจจัยภายนอกที่เรา ไม่สามารถควบคุมได้ มันจึงมีความเจริญอยู่ตลอดเวลาตามความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ถ้าเราเลือกใช้ให้ มีประโยชน์มันก็ทำ�ได้มาก ฉะนั้นนิสิตนักศึกษาที่ยังคงมีความตื่นตัวทางการเมืองอยู่ก็ยังใช้ประโยชน์จากมัน ได้ในการใช้ศึกษาข้อเท็จจริง และติดต่อสื่อสารนัดรวมพลกัน ๒.ปัจจัยภายในคือ ระบบการศึกษาที่ไม่ได้กระตุ้นให้คนรู้จักคิดวิเคราะห์ และตั้งคำ�ถามกับสิ่ง ต่างๆ รอบตัวมากพอ แม้ว่าในยุคก่อน ๑๔ ตุลาก็อาจจะเป็นแบบนี้เช่นกัน แต่ด้วยความว่างเปล่าที่ทำ�ให้ เขาพบปัญหาของประเทศมากมาย จึงทำ�ให้นิสิตนักศึกษาจู่ๆ ก็คิดหาความหมายของชีวิตขึ้นมาได้ แต่ในยุค ปัจจุบันสภาพสังคมไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว โดยที่ระบบการศึกษายังคงเป็นเช่นเดิมอยู่ เมื่อไม่กระตุ้นให้เยาวชน รู้จักคิดวิเคราะห์มันก็ยิ่งล้าหลังกันไปอีก สังเกตได้ง่ายๆ เช่น การเรียนการสอนที่ครูเป็นผู้ป้อนให้อย่างเดียว โดยที่ไม่ได้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดตั้งคำ�ถามกลับบ้าง เราเรียนแบบนี้มาตั้งแต่เด็กจนโตเข้าสู่มหาวิทยาลัยแล้ว ก็ยังนั่งฟังอย่างเดียวอยู่เลย คนเราถ้าไม่รู้จักคิดรู้จักสงสัยอะไรแล้ว ก็มักจะกลายเป็นคนที่เชื่อตามๆ กันไป ว่า อันนี้ถูกอันนี้จริงโดยไม่คิดค้นคว้าหาความจริงเสียก่อน แล้วประเทศจะเจริญได้อย่างไรกัน ดังนั้นระบบ การศึกษาคือ ปัจจัยภายในประเทศที่ต้องมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่กันได้แล้ว อีกประการหนึ่งที่เป็นปัญหาสำ�คัญที่มักถูกมองข้ามภายในระบบการศึกษาก็คือ การรับน้องภาย ใต้ระบบโซตัส ซึ่งมีกิจกรรมที่เรียกว่าการประชุมเชียร์ที่กระทำ�โดยการพารุ่นน้องมาให้รุ่นพี่วา้ กใส่ให้เกิด ความทุกข์ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ โดยอ้างว่าเพื่อให้เกิดความสามัคคี และอดทน ซึ่งเป็นประเพณีที่ทำ�ต่อ กันมา กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะของอำ�นาจนิยมคือ รุ่นพี่สามารถใช้อำ�นาจในการกดขี่กลั่นแกล้งรุ่น

22


จุลสารปรีดี

น้องได้ เพราะเห็นว่ารุ่นน้องไม่มีความเสมอภาคกับตน โดยที่ในระหว่างกิจกรรมแม้จะกดขี่ให้ทุกข์แค่ไหน ก็มีการสื่อด้านเดียวอยู่ตลอดว่ากิจกรรมนี้เป็นสิ่งดีงาม เมื่อถึงพิธีปิดก็ทำ�ให้มีความซาบซึ้งตรึงใจเพื่อให้รุ่น น้องเชื่อว่าสิ่งที่กระทำ�อยู่นี้เป็นสิ่งดีจริง และควรทำ�ต่อซ้ำ�ลงไปอีก นี่จึงเป็นเครื่องมือสำ�คัญในวงการศึกษา ที่สั่งสอนคนให้เป็นพวกอำ�นาจนิยมส่วนหนึ่ง และเป็นคนที่เชื่องยอมอยู่ใต้อำ�นาจส่วนหนึ่ง กลายเป็นคนที่ ไม่รู้จักคิดไม่รู้จักสงสัย ปัญญาจึงถดถอยลงอย่างมาก ทั้งหมดนี้ขัดต่อหลักศีลธรรมและประชาธิปไตยอย่าง ชัดเจน การศึกษาไทยจะพัฒนาไปไม่ได้ถ้าการปฏิรูปการศึกษายังไม่แก้ไขปัญหาระบบโซตัส และแน่นอน ที่สุดว่าระบบโซตัสนี้คือ สิ่งที่ทำ�ลายพลังนักศึกษาอย่างชัดเจน

พลังนักศึกษาจะเดินต่อไปอย่างไร

จากทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยที่ทำ�ลายพลังนักศึกษาอยู่ตลอดเวลาในสังคมไทย เมื่อไม่ นับปัจจัยภายนอกอย่างเทคโนโลยีแล้วมันก็คือปัจจัยภายในที่ระบบการศึกษานั่นเอง คนที่ทำ�ให้ระบบการ ศึกษาเป็นแบบนี้ และทำ�ให้เกิดวัฒนธรรมอำ�นาจนิยมในวงการศึกษานั่นแหละคือ กลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ทำ�ลาย พลังนักศึกษา กลุ่มบุคคลเหล่านี้มีอยู่มากมายตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นเหล่าชนชั้นนำ�ที่ปลูกฝังให้ เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา และอาศัยความโง่เขลาทางปัญญาของคนส่วนหนึ่งให้เป็นทายาทสืบทอดความเป็น อำ�นาจนิยมนี้ต่อไป การเรียนประวัติศาสตร์ช่วงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ก็ได้ถูกชนชั้นนำ�ผู้มีอำ�นาจครอบงำ�ความรู้ทำ�ให้ ลืมเลือนหรือพร่ามัวบิดเบือนไปในปัจจุบัน สังเกตได้ว่าไม่ค่อยมีเรื่องนี้บรรจุไว้ในหนังสือเรียนส่วนใหญ่ (วิทยากร, ๒๕๔๖) ซึ่งในยุคปัจจุบันแม้ว่าจะมีการบรรจุไว้มากขึ้นแต่ก็ถูกให้ความสำ�คัญน้อยมากเพราะมีอยู่ เพียงไม่กี่บรรทัดในหนังสือเรียนระดับมัธยม รวมไปถึงเหตุการณ์ ๖ ตุลา และพฤษภาทมิฬ (พ.ศ.๒๕๓๕) ซึ่งเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับภาคประชาชนก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ต่างกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชนชั้นนำ�ทาง การเมืองที่เขียนไว้อย่างยาวเหยียด แม้พลังนักศึกษาในช่วง ๑๔ ตุลาอาจตายไปแล้วก็จริง แต่ในยุคปัจจุบันก็เชื่อว่ายังคงมีนิสิต นักศึกษาที่มีความตื่นตัวทางการเมือง ต้องการสานต่อเจตนารมณ์ของวีรชน ๑๔ ตุลา และต้องการพัฒนา ประชาธิปไตยของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป แม้ว่าพวกเราจะเป็นคนส่วนน้อยของสังคมในขณะ นี้ก็ตาม แต่ขอให้เชื่อมั่นว่า พวกเราก็ยังคงเป็นพลังนักศึกษารุ่นใหม่ที่พร้อมจะเดินก้าวหน้าต่อไปเพื่อสานต่อ เจตนารมณ์ประชาธิปไตย และพัฒนาประเทศของเราให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น วิธีการที่พวกเราจะเดินหน้าต่อ ไปได้นั้นมีดังนี้ ๑.พลังนักศึกษาในปัจจุบันแม้จะมีน้อย แต่ก็ต้องรวมตัวกันให้ได้มากที่สุด เพราะว่าในประเทศ นี้ยังคงมีนิสิตนักศึกษาที่ตื่นตัวทางการเมืองอีกมาก แต่ยังกระจัดกระจายกันอยู่ สังเกตได้วา่ ยังมีกลุ่ม การเมืองในปัจจุบันอยู่หลายกลุ่ม อาทิเช่น กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อ ประชาธิปไตย กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ กลุ่มประกายไฟ กลุ่มเยาวชนเลี้ยวซ้าย เป็นต้น และเราต้องหาวิธี การในการที่จะดึงคนที่ไม่สนใจการเมืองให้เข้ามาร่วมได้ กิจกรรมที่ทำ�ควรเป็นเรื่องสังคมใกล้ๆ ตัวด้วย โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปการศึกษา และเรื่องระบบโซตัสจะเป็นเรื่องใกล้ตัว และเป็นเรื่องที่ทำ�ลายพลัง นักศึกษาโดยตรงที่เราต้องศึกษา และต่อสู้รณรงค์ให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องนี้ให้ได้ การศึกษาข้อมูล และการ นัดรวมตัวกันควรใช้เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าให้เป็นประโยชน์สูงสุด

23


จุลสารปรีดี

๒.ประเด็นในทางการเมืองต้องก้าวให้พ้นความแตกแยกทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราใน ฐานะเยาวชนคนรุ่นใหม่ซึ่งเรามีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลได้มาก และเราต้องหมั่นฝึกปัญญาอยู่เสมอด้วยวิธี การต่างๆ เช่น การเรียนธรรมะ ปรัชญา และตรรกศาสตร์ เพื่อจะได้แยกแยะข้อมูลในการศึกษาว่าอะไรคือ ความจริง อะไรคือความเท็จ และต้องรอบด้าน ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ทุกฝ่ายย่อมมีทั้งถูกและ ผิด ไม่ควรยืนข้างกลุ่มทางการเมืองมากจนเกินไป ดังเช่น กลุ่มนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ที่เป็นอยู่นี้ในปัจจุบัน ซึ่งไม่เว้นแม้กระทั่ง สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนติชมด้วยความสุจริตใจขออย่าได้โกรธ กัน เพราะเรามีบทเรียนทางประวัติศาสตร์แล้วว่า การแปลกแยกระหว่างขบวนเพราะจำ�กัดแนวคิดคับแคบ ไม่สามารถสร้างแนวร่วมที่หลากหลายได้ จึงทำ�ให้พลังนักศึกษาไม่เข้มแข็งและตายลง การที่กลุ่มนิสิต นักศึกษาในปัจจุบันยืนข้างกลุ่มการเมืองฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไป ก็เป็นการจำ�กัดแนวคิดคับแคบ ทำ�ให้นิสิต นักศึกษาที่ไม่ได้ชื่นชอบกลุ่มการเมืองฝ่ายดังกล่าวไม่อยากเข้าร่วมด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ไม่เกิดความ สามัคคีที่ตั้งอยู่บนความหลากหลายอันเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริงไปได้เลย เพราะเอาความ แตกแยกทางการเมืองมาทำ�ให้พลังนักศึกษาแตกแยกลงไปด้วย ถ้าเราไม่ยืนด้วยลำ�แข้งของตนเองได้แต่ ต้องทำ�ตามกลุ่มการเมืองซึ่งก็เป็นชนชั้นนำ�เหมือนกัน แล้วเมื่อไหร่พลังนักศึกษาจะแข็งแกร่งจนพร้อมที่จะ เปลี่ยนแปลงประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้

....เยาวชนคืออนาคตของชาติ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นปัจจุบันของ ชาติ ถ้าเราทำ�ปัจจุบันให้ดีแล้ว อนาคตก็ย่อมดีขึ้นมาได้ แล้วก็เป็นพวก เราทั้งนั้นที่จะต้องอยู่ในอนาคต ดังนั้นอนาคตของประเทศที่ดีขึ้นอยู่กับ พลังของพวกเราทุกคนที่จะทำ�วันนี้ให้ดี แล้วชีวิตของเราในอนาคตก็จะ ดีตามไปด้วยภายใต้ประเทศที่ดีที่เราร่วมกันสร้างขึ้นมาเองในวันนี้...

พลังนักศึกษาจงเจริญ!!! บรรณานุกรม

วิสา คัญทัพ. (๒๕๔๖). ขบวนการนักศึกษาไทยช่วงก่อนจะถึงการลุกฮือ ๑๔ ตุลาคม. ใน ขบวนการนักศึกษาไทยจาก ๒๔๗๕ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖. บรรณาธิการโดย วิทยากร เชียงกูล. หน้า ๘๑- ๑๐๔. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : สายธาร. พฤทธิสาณ ชุมพล, ม.ร.ว. (๒๕๒๘, กันยายน - ตุลาคม). ย้อนระลึกถึง “คนรุ่นใหม่” กำ�เนิดขบวนการนักศึกษา ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ในบริบทการเมืองไทย. ปาจารยสาร. ๑๒(๕) : ๕๖ - ๖๗. ภัทรภักดิ์. (ไม่ระบุปีแต่คาดว่าหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาถึงก่อน ๖ ตุลา). รัฐบาล - รัฐสภา ของใคร เพื่อใคร. ใน สู่..ขบวนการ ประชาชน. โดย ศูนย์กลางนักศึกษาภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้. หน้า ๘๘ - ๙๗. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์. วิทยากร เชียงกูล; และ วิสา คัญทัพ. (๒๕๔๖). ความเปลี่ยนแปลงภายหลังการลุกฮือ ๑๔ ตุลาคม. ใน ขบวนการนักศึกษาไทย จาก ๒๔๗๕ - ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖. บรรณาธิการโดย วิทยากร เชียงกูล. หน้า ๑๕๕ - ๑๗๔. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : สายธาร. วิทยากร เชียงกูล. (๒๕๔๖). เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และบทบาทของปัญญาชน (เขียนในปี ๒๕๒๙). ใน ขบวนการ นักศึกษาไทยจาก ๒๔๗๕ - ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖. บรรณาธิการโดย วิทยากร เชียงกูล. หน้า ๑๗๕ - ๒๐๐. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : สายธาร. บุญมา ชัยเสถียรทรัพย์. (๒๕๒๘, กันยายน - ตุลาคม). วิกฤตการณ์ขบวนการนักศึกษา บทวิจารณ์จากคนรุ่นใหม่. ปาจารยสาร. ๑๒(๕) : ๒๓ - ๒๗. ธำ�รง ปัทมภาส. (๒๕๒๘, กันยายน - ตุลาคม). ขบวนการนักศึกษาฯ กทม. ต่างคนต่างไปในยุคสมัยปัจจุบัน. ปาจารยสาร. ๑๒(๕) : ๒๘ - ๓๔.

24


จุลสารปรีดี

พูดคุยกับ ส. ศิวรักษ์ ในช่วงเย็นวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมานี้ ทางกองบรรณาธิการได้รับเกียรติจาก อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักคิด นักเขียน ปัญญาชนสยาม ผู้ซึ่งมีบทบาทสำ�คัญในช่วงเหตุการณ์ สำ�คัญต่างๆของบ้านเมือง และเป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์กระตุ้นเตือนมโนธรรมสำ�นึกของสังคมร่วมสมัย ตลอดมา ให้เข้าพบที่บ้านของท่านและได้ทำ�การสัมภาษณ์ถึงความทรงจำ�ในสมัยเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลา รวมไปถึงเรื่องราวทั่วไปในสังคมทุกวันนี้ กองบรรณาธิการ : อยากทราบความทรงจำ�เกี่ยวกับเหตุการณ์ ๖ ตุลาของ อาจารย์ ที่ได้ทำ�กิจกรรมต่างๆ ในช่วงนั้นน่ะครับแล้วอาจารย์หนีไป- อ.สุลักษณ์ : ผมไม่ได้หนี ผมไม่กลับเมืองไทย เพราะผมไปอเมริกา เค้าเชิญไปพูด ในงาน สหรัฐอเมริกาตั้งมาครบ ๒๐๐ ปี และขากลับผมแวะที่อังกฤษ รุ่งขึ้นจะไปฝรั่งเศส ไปพบท่านนัท ฮันห์(ท่านติช นัท ฮันห์ พระสงฆ์เวียดนาม) แล้วก็คนก็เอาโทรเลขเมียผมไปให้ สมัยก่อนยังไม่มีอีเมล์ ไม่มีแฟกซ์ไม่มีอะไร ก็ส่งไปให้น้องชายผม ซึ่งเป็นลูกคนละพ่อ แม่เดียวกัน คนละนามสกุล ให้บอก พี่ชายอย่าพึ่งกลับ แล้วก็ปรากฎว่าข่าว BBC อะไรต่ออะไรก็ออก มีคนถูกฆ่า ถูกอะไรต่างๆ ปรากฏ มีชื่อผมถูกจับ เผอิญผมไม่อยู่ ถ้าอยู่ก็ถูกจับไปแล้ว เค้าก็มาค้นหนังสือ เค้าจับเมียผมไปวัน นึงอยู่ที่ โรงพัก คนก็ถูกจับกันเยอะ กองบรรณาธิการ : อยากรู้อีกว่าตอนช่วงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาขึ้นมาเนี่ย อยาก ทราบว่าตอนช่วงนั้นทำ�กิจกรรมหรือว่ามีส่วนร่วมอะไรยังไงมั่งครับ 25


จุลสารปรีดี

อ. สุลักษณ์ : อ๋อ ผมมันเกี่ยวข้องโดยตรง เพราะว่าขบวนการ ๑๔ ตุลาเนี่ย ที่เรียกร้อง ต้องการรัฐธรรมนูญเนี่ย มันออกไปจากร้านหนังสือผมเลย ร้านศึกษิตสยาม ก็ประกาศไปเลยว่า ใครอยากเรียนเรื่องประชาธิปไตย ให้มาเรียนที่ศึกษิตสยามสามย่าน เพราะเค้าต้องการสองแห่ง แห่งหนึ่งคือสมาคมนักข่าว ที่ราชดำ�เนิน แต่เค้าไม่ยอมให้ใช้ที่เค้า เลยมาใช้ที่ผม ที่ผมมันเปิดให้ ใช้อะไรก็ได้ เลยถือได้ว่าร้านศึกษิตสยามเนี่ยเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของเผด็จการเลย พอหลัง ๑๔ ตุลาแล้วก็มีนิสิตนักศึกษามามั่วสุมมาอะไรต่างๆ บางคนก็ถูกฆ่าตาย แต่ก่อนร้านศึกษิตสยามมัน มีศึกษิตเสวนา มีปริทัศน์เสวนา ซึ่งหลายคนบอกมันเป็นเหตุที่ทำ�ให้เกิด ๑๔ ตุลา เพราะฉะนั้นผมก็ เกี่ยวข้องโดยตรง กองบรรณาธิการ : แล้วคือในช่วงนั้นก็มีหนังสือที่ใส่ความว่าอาจารย์กับอาจารย์ป๋วยและ ผู้นำ�นักศึกษาไปประชุมกับ KGB เพื่อวางแผนล้มล้างสถาบัน อ. สุลักษณ์ : เออ ไอ้เนี่ยมันเป็นรูปถ่ายที่มีคนไปค้นได้ที่ไร่คำ�สิงห์ ศรีนอก(ลาวคำ�หอม) รูปถ่ายอันนี้เราประชุมกันที่เขื่อนจุฬาภรณ์กับพวกเควกเกอร์(นิกายหนึ่งของคริสต์) ต่อต้านการสร้าง เขื่อนผามอง อาจารย์ป๋วยก็ไปผมก็ไปคนอื่นก็ไป พวกเควกเกอร์จัดขึ้น มันเป็นเรื่องเปิดเผย พอ เสร็จแล้วพวกเควกเกอร์ก็ถ่ายไว้เป็นที่ระลึก ผมก็มีรูปนึง นี่คำ�สิงห์เค้าเอาไปไว้ที่ไร่เค้า มันไปจับคำ� สิงห์แต่จับไม่ได้ มันก็เลยเอารูปนี้มา ลงหนังสือชื่อ ดาวสยาม บางกอกโพสต์ อะไรต่ออะไร บอกว่า เป็นการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ ก็มีหลายคน เสน่ห์ จามริก ก็มี ใครต่อใครก็มี เป็นเรื่องซึ่งเสกสรร ปั้นแต่งทั้งนั้น ไม่มีอะไร กองบรรณาธิการ : พอทราบเรื่องข้อมูลแล้วอยากรู้เรื่องความคิดมั่งครับ รู้แล้วเป็นยังไง รู้เรื่องที่ว่าเกิดขึ้นแล้วคนโดนฆ่าเยอะ อ. สุลักษณ์ : ผมติดอยู่ที่อังกฤษ พอดีผมมีพวกมาก เลยได้ไปสอนที่คอร์แนล ที่เบิร์กเลย์ สองปีถึงได้กลับ จนกระทั่งหมดสมัยธานินทร์ กรัยวิเชียร แล้วถึงได้กลับมา กองบรรณาธิการ : คืออยากรู้ว่ารู้สึกยังไงอ่ะครับ อ. สุลักษณ์ : อันนี้มันชัดเจนเลยครับ อันนี้เป็นเรื่องปฏิกิริยาฝ่ายขวา เพราะว่า ๖ ตุลา มันเกิดขึ้นไล่ๆ กับเมื่อลาวกลายเป็นคอมมิวนิสต์ไปแล้ว เมื่อเวียดนามกลายเป็นคอมมิวนิสต์ เขมร ก็เป็นคอมมิวนิสต์ ไทยก็กลัวจะเป็นคอมมิวนิสต์ เพราะฉะนั้นไทยเมื่อเห็นใครก็ตามที่ไม่สยบ ยอมกับXXXXXไม่สยมยอมกับทหาร ก็เป็นพวกคอมมิวนิสต์หมดเลย เพราะฉะนั้นนักศึกษาใน ธรรมศาสตร์ก็เป็นญวนหมดเลย คุณสมัคร สุนทรเวช ก็ออกอากาศโจมตี แล้วก็มีวิทยุยานเกราะ ก็ ด่าหมดว่านักศึกษาเป็นญวนอะไร ผมเองก็ไม่เห็นว่าเป็นญวนจะเสียหายตรงไหน กองบรรณาธิการ : แต่ในตอนนั้นพวกฝ่ายขวาเค้าก็ยกย่องอาจารย์ไม่ใช่หรอ อาจารย์ก็ สนิทกับพวกเจ้าในวัง แล้วทำ�ไมยังโดนสั่งจับ อ. สุลักษณ์ : ฝ่ายขวา ต้องดูด้วยว่าพวกไหนเป็นฝ่ายขวา ผมรู้จักเจ้าดีๆ ก็มี เจ้าที่ผมรู้จัก ก็ไม่ได้ออกมาเต้นแร้งเต้นกาเล่นงาน ท่านก็อยู่เงียบๆ เพราะว่าไอ้ที่ออกมาเนี่ยก็ใช้เจ้าเป็นเครื่อง 26


จุลสารปรีดี

มือ พวกขวาจัด พวกสมัคร สุนทรเวชอะไรพวกนี้ กองบรรณาธิการ : อยากรู้ว่าตอน ๖ ตุลาเนี่ย มีลูกศิษย์อาจารย์ตายบ้างไหมครับ อ. สุลักษณ์ : โอ้ย เยอะแยะ ผมมีร้านหนังสืออีกร้านนึงด้วยอยู่ติดๆกับธรรมศาสตร์ ชื่อ สานสยาม อันนั้นถูกริบหนังสือไปหมดเลย ล้มละลายเลย พรรคพวกผมถูกฆ่าก็ไม่น้อย กองบรรณาธิการ : แล้วปัจจุบันเนี่ย เรื่อง ๖ ตุลามันเป็นอาชญากรรมที่รัฐฆ่าประชาชน มัน จะเป็นเหมือนกลุ่มเสื้อแดงได้มั้ย มันสะท้อนคล้ายๆ กันไหม อ. สุลักษณ์ : ๖ ตุลา นี่รัฐฆ่าประชาชนชัดเจน ไม่มีทางเถียงได้เลย แล้วก็คนที่ทำ�ลายล้าง ประชาชนมากที่สุดคือ ธานินทร์ กรัยวิเชียร แม้แต่ทหารยังเห็นว่าให้ธานินทร์ออกเลย เพราะเห็นว่า ขวาจัดเกินไป แต่ในหลวงตั้งธานินทร์เป็นองคมนตรีเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นองคมนตรีอยู่ กองบรรณาธิการ :ผมอยากรู้ว่าอาจารย์นี่ขวาหรือซ้ายครับ อ. สุลักษณ์ : ผมก็มีทั้งมือขวามือซ้ายนี่ (หัวเราะ) บางอย่างผมก็ขวา บางอย่างผมก็ซ้าย ไอ้นี่คิดแบบฝรั่ง ที่จริงมนุษย์เราจริงๆแล้วบางอย่างมันต้องขวา บางอย่างมันต้องซ้าย ถ้าขวาดีก็ ต้องว่าขวาดี ถ้าซ้ายดีเราก็ว่าซ้ายดี ไอ้บางคนเนี่ยมันก็ซ้ายตกขอบ อะไรที่เป็นขวาผิดหมด บางคน มันขวาตกขอบ อะไรซ้ายผิดหมด ผมว่าถ้าเราเป็นพุทธศาสนิกแล้วต้องรู้จักใช้วิจารณญาณในการ เลือก กองบรรณาธิการ :พุทธศาสนิกชน? พุทธศาสนิกชนหลายๆ คนก็วางอุเบกขา(วางเฉย)กับ เหตุการณ์ที่ฆ่าประชาชน นะครับ อ. สุลักษณ์ : อันนี้เค้าไม่เรียกว่าอุเบกขานะครับ เค้าใช้คำ�ผิด ไม่เอาไหนกับอุเบกขามัน ไม่เหมือนกัน สุรยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีเนี่ยไม่เอาไหน เค้าก็นึกว่าวางอุเบกขา มันไม่ใช่ สัญญา ธรรมศักดิ์ก็ไม่เอาไหน คนก็นึกว่าสัญญา ธรรมศักดิ์วางอุเบกขา พวกที่นับถือพุทธมาเป็นนายก เนี่ยแย่ทุกคนเลย เพราะพวกนี้ไม่เข้าใจศาสนาพุทธ แล้วก็อ้างตัวเป็นพุทธ อันตรายมากเมืองไทย อุเบกขาเนี่ยมันจะใช้ได้ต้องใช้เมตตาก่อน ใช้กรุณาก่อน ใช้มุทิตาก่อน แล้วถึงจะใช้อุเบกขา มันเป็น ขั้นตอน ถ้าคุณไม่มีเมตตา คุณจะใช้อุเบกขาได้ยังไง หมายความว่าคุณต้องรักเพื่อนมนุษย์ก่อน นี่ คนไทยส่วนใหญ่ไม่รักเพื่อนมนุษย์เลย เรารังเกียจพวกกะเหรี่ยง พวกคะฉิ่น พวกไทยมุสลิม พวก พุทธเนี่ยรังเกียจพวกคริสต์ ตอนนี้เราก็เอาเปรียบแรงงานพม่าอะไรต่างๆ อันนี้มันใช้ไม่ได้ แสดงว่า ไม่มีเมตตาเลย เมื่อมีเมตตาต้องมีกรุณาด้วย เห็นเค้าเดือดร้อนเนี่ยเราต้องไปร่วมความเดือนร้อน กับเค้าเลย ไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเค้าเลย เนี่ยกรุณา กรุณาไม่ใช่ว่าเอาผ้าห่มไปแจก แล้วมุทิตาเนี่ย คืออยู่กับเค้า ถ้าเค้าถูกถีบถูกกระทืบจากข้างบน เราใช้มุทิตา ไม่เกลียดคนที่กระทืบเรา แต่เราจะ พยายามทำ�ลายขบวนการ องคาพยพของสังคม โครงสร้างสังคมที่มันเอาเปรียบ โดยไม่เกลียดคนที่ เอาเปรียบเรา แต่ต้องพยายามทำ�ลายโครงสร้างที่เอาเปรียบ ถึงขั้นอุเบกขาถึงจะวางท่าทีที่ถูกต้อง หลังจากใช้เมตตา ใช้กรุณา ใช้มุทิตา อุเบกขาไม่ได้แปลว่าไม่เอาไหน เห็นเค้าตีกันแล้วเรานั่งบนรั้ว แล้วดูเค้าตีกัน มันไม่เรียกอุเบกขา เนี่ยความไม่เอาไหน ความชั่ว ความเหี้ย ความไม่ได้เรื่อง พระน่ะ 27


จุลสารปรีดี

เป็นมากเลย คนที่อ้างว่าถือพุทธเป็นมาก กองบรรณาธิการ : พูดแล้วนึกถึงพระกิตติวุฑโฒเลยนะครับ (หัวเราะ) อ. สุลักษณ์ : กิตติวุฑโทนี่ก็ชัดเจนนี่ เค้าเป็นขวาจัดชัดเจน แม้เค้าตายไปแล้วก็ยังมีกำ�พืด อยู่ที่XXXXXXXตอนนี้ ฝ่ายขวาชัดเจนเลย พร้อมที่จะฆ่าประชาชน พร้อมที่จะทำ�อะไรก็ได้ เพื่อให้ได้ เงินให้ได้อำ�นาจ กองบรรณาธิการ : คือพวกนี้มันก็ใช้ศาสนาพุทธมาเป็นเครื่องมือ อ. สุลักษณ์ : ก็ธรรมดา ศาสนาก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือมาตลอดเวลา มีแต่คนที่รู้เท่าทันที่ ค่อยยังชั่วหน่อย คนที่ไม่รู้เท่าทันก็ถูกมอมเมาได้ง่าย อย่างคนส่วนใหญ่มองไม่เห็นเลยว่า หลวงตาคูณนี่แกทำ�ผิด ทุกคนเรียกหลวงพ่อคูณ ทุก คนเห็นหลวงพ่อคูณเนี่ยดี หาเงินสร้างโรงเรียน หาเงินสร้างโรงพยาบาล พระไม่มีหน้าที่หาเงินสร้าง โรงเรียนสร้างโรงพยาบาล แต่ถ้าว่าจะสร้างโรงเรียนสร้างโรงพยาบาล ก็ต้องหาเงินโดยสัมมา อาชีวะไม่ใช่มิจฉาอาชีวะ การสร้างพระเครื่องออกมาแล้วบอกว่านี่แหล่ะเสร็จแล้วปลอดภัย เสร็จ แล้วจะถูกหวยอะไรต่างๆ อันนี้เป็นมิจฉาอาชีวะ มอมเมา ผิด! ที่หลวงตาคูณทำ�มาเนี่ยผิดทั้งหมด เลย แต่ไม่มีหนังสือพิมพ์ไหนโจมตีเลย ทุกคนยกย่องหมด เพราะอะไร? เพราะเรานับถือเงิน เงิน เป็นสรณะ หลวงพ่อคูณหาเงินให้ เราก็ชอบ ทุกๆ คนเห็นเงินสำ�คัญหมด ก็เสร็จเลย คือมองไม่เห็น ประเด็น ไม่เห็นชัด หลวงตามหาบัวเนี่ยออกมาเลย โอ้โห เค้าได้เป็นอรหันต์แล้ว จะหาเงินมาช่วยธนาคารแห่ง ประเทศไทยต่างๆ ไม่ใช่หน้าที่ของพระเลย แล้วเอาเงินจากไหน? เอาเงินจากคนจน จากคนอีสาน คนที่ถอดสายสร้อยมาให้หลวงตาบัว ได้เงินเป็นไม่รู้กี่ร้อยล้าน ไม่ใช่หน้าที่ของพระเลย ผมเห็นว่า พระเสือกเรื่องนี้ แล้วประกาศตัวเป็นอรหันต์เนี่ย เลอะที่สุดเลย ในเมืองไทยไม่มีใครกล้าพูดเลย ปิดปากเงียบหมด มีผมพูดอยู่คนเดียว กองบรรณาธิการ : แต่พอพูดแล้วก็มีคนมาด่าว่าอาจารย์- อ. สุลักษณ์ : ก็ไม่เป็นไร ผมไม่เดือดร้อนนี่ ผมพูดความจริง อย่างเรื่องธรรมกายเนี่ยผมก็ พูดความจริง มันจะเผาหุ่นผมด้วยซ้ำ� (หัวเราะ) กองบรรณาธิการ : เห็นอาจารย์นี่ก็โดนบ่อยนะเนี่ย พูดอะไรมาแต่ละทีคนก็ชอบด่า ผม เห็นตลอดอ่ะ อ. สุลักษณ์ : คนเค้าไม่ชอบความจริงครับ คนเค้าชอบสิ่งที่มันกึ่งจริงกึ่งเท็จ ทั้งหมดเลย คุณดูสิ รายการโทรทัศน์ทุกรายการเลยเป็นเรื่องกึ่งจริงกึ่งเท็จ ตำ�ราเรียนที่เค้าสอนคุณทั้งหมดด้วย เรื่องกึ่งจริงกึ่งเท็จทั้งนั้นเลย แต่เท็จมันมีมากกว่าจริง อย่างเรื่องยกย่องพระนเรศวรเนี่ย โอ้โห พระ นเรศวรเนี่ยแกเป็นซาดิสต์ ชอบฆ่าคน ยกย่องว่าเป็นคนดี! นี่ผมกำ�ลังเขียนลอกคราบเสด็จพ่อร.๕ อยู่ตอนนี้ พระปิยมหาราชดีไปหมดเลย ท่านก็มีอะไรดีหลายอย่าง แต่ท่านก็มีอะไรไม่ดีหลายๆอย่าง นี่เราไม่เคยเรียนเรื่องนี้กัน ต้องพูดถึงเค้าทั้งสองแง่ ศึกษาอะไรต่างๆต้องมองสองแง่สองด้าน แง่ 28


จุลสารปรีดี

ลบแง่บวก ด้านหน้าด้านหลังให้ชัด ถึงจะเกิดสติเกิดปัญญา นี่เมืองไทยเราไม่เคยสอนให้เกิดสติเกิด ปัญญา สอนอย่างเดียวคือมอมเมา ให้ยกย่องวีรบุรุษ นี่อันตรายมาก กองบรรณาธิการ : พูดไปถึงตำ�ราเรียนเนี่ยนะครับ แม้แต่เรื่อง ๖ ตุลาเนี่ยก็เป็นเหมือน ประวัติศาสตร์ที่เค้าไม่ยอมให้เราได้เรียน ไม่เคยได้รับการบันทึกเหมือนกันนะครับ อ. สุลักษณ์ : อ๋อ ไอ้ ๖ ตุลาเนี่ยมันเป็นแผลของชนชั้นปกครองเค้า แล้วแผลอันนี้ มันเข้าไปถึงXXXXXด้วย เพราะฉะนั้นอะไรที่กระทบXXXXXเค้าจะต้องไม่พูดถึงเด็ดขาด ๖ ตุลา นี่XXXXXเกี่ยวข้องโดยตรงกับการฆ่าราษฎร ๑๔ ตุลายังไม่ชัดเจน แต่ก็มีคนเริ่มพูดมากขึ้นแล้วว่า ๑๔ ตุลาXXXXXก็น่าจะเกี่ยวข้องด้วย ก็เหตุมันเกิดขึ้นที่หน้าXXXXXXXXXXXXXเลย แล้วเราก็ยังไม่ ยอมพูดความจริง หลายอย่างเราไม่พูดความจริงกัน และโดยเฉพาะบางเรื่องเนี่ย สิ่งที่เกิดในอดีต เป็นไปเพื่อราษฎรส่วนใหญ่ เป็นไปเพื่อท้าทายอำ�นาจเบื้องบนเนี่ย จะถูกสอนให้ลืมให้เลือน ยกตัวอย่าง ๒๔ มิถุนายนเนี่ย ก็ถูกสอนให้ลืมให้เลือนไป หาว่าปรีดีเนี่ยเป็นนักฉวยโอกาส ในหลวง จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว รัชกาลที่ ๗ ท่านพร้อม นี่บิดเบือนเลย รัชกาลที่ ๗ ไม่ใช่แค่ ไม่พร้อมอย่างเดียว รัชกาลที่ ๗ ยังอุดหนุนพระองค์เจ้าบวรเดชให้ทำ�กบฏต่อต้านปรีดี พนมยงค์ เอกสารหลักฐานมันมีหมดแล้ว แต่เราก็ยังยกย่องรัชกาลที่ ๗ อยู่ในฐานะว่าพระราชทานรัฐธรรมนูญ ปรีดีก็ถูกลืมไปเลย ก็ ๒๔ มิถุนาเป็นเรื่องสำ�คัญที่สุด มันเป็นการให้อำ�นาจราษฎร เป็นครั้งแรกเลย ครับที่ราษฎรมีอำ�นาจเท่ากับเจ้า ทุกคนมีอำ�นาจเท่ากันหมดในทางกฎหมาย แต่ปรีดีไม่ได้ต้องการ ความเท่าเทียมทางกฎหมายอย่างเดียว ต้องการความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจด้วย สังคมด้วย ถึงได้ เกิดร่าง ไอ้สมุดปกเหลืองขึ้น อันนั้นทำ�ให้ท่านถูกตีถูกกระทืบ และอีกอันนึงที่ปรีดีทำ� มันถูกลืมอยู่เวลานี้เนี่ยก็วันสันติภาพ ๑๖ สิงหา สำ�คัญมากเลย ครับที่เราไม่เป็นเมืองขึ้นฝรั่ง เราไม่แพ้สงคราม ญี่ปุ่นแพ้ อิตาลี่แพ้ เยอรมันแพ้ แต่เราไม่แพ้เพราะ ขบวนการเสรีไทยที่ปรีดีทำ�ก็ถูกลืมหมดเลย เพราะทหารโกรธมาก ทหารเค้าไปเข้าข้างฝ่ายแพ้ ทหารเป็นรัฐภายในรัฐ ทหารก็เลยจะยกย่องเฉพาะคนที่เป็นทหาร ยกย่องพระนเรศวรเพราะเป็น ทหาร ไม่ยกย่องคนที่ไม่ใช่ทหาร กองบรรณาธิการ : แล้วคิดว่าต่อไปเราจะทำ�ยังไงถึงจะสามารถรื้อฟื้นอะไรพวกนี้ขึ้นมาได้ อีกหรอครับ อ. สุลักษณ์ : เราก็ต้องช่วยกัน ไอ้สัจจะเนี่ย เวลามันเปิดเผยแล้วปิดไว้ไม่ได้หรอก ข้อ สำ�คัญเราต้องต่อสู้โดยใช้สัจจะ อย่าไปบิดเบือน และก็ใช้อหิงสา อย่าใช้ความรุนแรง อันนี้สำ�คัญ มันมีพลังมากครับ มีพลังที่สุด มหาตมะ คานธีใช้คำ�ว่า สตฺยาคฺรหฺ (สัตยาเคราะห์ : อำ�นาจของสัจจะ) พระพุทธเจ้าก็ใช้อันนี้ อริยสัจ ๔ ถ้าใช้สัจจะแล้ว สิ่งที่ปิดไว้มันไม่มิดหรอก ต้องเปิดออกอยู่วันยันค่ำ� กองบรรณาธิการ : แต่ทุกครั้งหลังจากเกิดการฆ่ากันแล้วนี่เค้าจะบอกว่า เลิกแล้วต่อกัน สันติ ปรองดอง นิรโทษกรรม อะไรอย่างนี้ อ. สุลักษณ์ : คนที่ถูกฆ่าก็ต้องหาเหตุว่าใครฆ่า แล้วคนที่ฆ่าก็ต้องเอามาลงโทษ เมื่อมีขื่อ 29


จุลสารปรีดี

มีแปมีกฎหมายก็ต้องทำ�อย่างนี้ ไอ้ที่กรือเซะน่ะคนตายตั้งเท่าไหร่ เสร็จแล้วศาลบอกว่า มันไม่มีลม หายใจตายเอง พูดอย่างหน้าด้านที่สุด ถ้าแก้อันนี้ไม่ได้นี่คุณแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้หรอก คือความผิดต้องชำ�ระ ชำ�ระแล้วจะอโหสิหรืออะไรอีกเรื่องหนึ่ง แต่ต้องรู้ว่าอะไรเป็นจริง อะไรเป็นเท็จก่อน เรื่องเสื้อแดงก็เหมือนกัน ก็ต้องรู้ ต้องยอมรับว่าส่วนใหญ่ทหารฆ่า รัฐบาลสั่งให้ ฆ่า ต้องยอมรับอันนี้ก่อน ว่ารัฐบาลเป็นฆาตกร ก็เหมือน ๖ ตุลาแหล่ะ รัฐบาลเป็นฆาตกร นี่ปัญหา เมืองไทย พวกฆาตกรยังลอยนวลอยู่ได้ ชาติชายก็เป็นฆาตกรตอน ๖ ตุลา ประมาณ อดิเรกสารก็ เป็นฆาตกร พวกนี้อยู่ลอยนวลเป็นแถวเลย กองบรรณาธิการ :แล้วบางคนก็มีหน้ามีตาในสังคม อ. สุลักษณ์ :เพราะว่าเราไม่ยอมรับสัจจะไง เรายอมรับความมีหน้ามีตา เรายอมรับความ มีอัครฐาน เราไม่ยอมรับความจริง ต้องแก้ไขตรงนี้ครับ คนรุ่นใหม่ต้องเห็นว่าสัจจะสำ�คัญ อัครฐาน ไม่สำ�คัญ เงิน อำ�นาจไม่สำ�คัญ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีคือว่าสังคมไทยเดิมก็เป็นอย่างนี้นะ ที่น่ายินดีคือว่า สังคมข้างล่างเป็นอย่างนี้เยอะ พวกสมัชชาคนจน เขายังอยู่ฝ่ายสัจจะ พวกที่ต่อสู้ที่ประจวบคีรีขันธ์ เค้าก็อยู่ฝ่ายสัจจะ ยายกระรอกนี่ผัวเค้าถูกฆ่าตาย ยายหน่อยเป็นหนี้เป็นสิน เอาเงินมาซื้อเค้าไม่ ขายตัว นี่ยอดเลย เมืองไทยมันอยู่ได้ก็เพราะคนข้างล่างนี่เข้มแข็ง พวกคนข้างบนนี่แหย เพราะคน ข้างบนถูกล้างสมองโดยระบบการศึกษาแบบใหม่ ต้องมีความสำ�เร็จ ต้องมีเงิน ต้องมีอำ�นาจ แล้ว ลืมไปเลย ลืมสัจจะ กองบรรณาธิการ :มีคนบอกว่าสัจจะไม่มีวันตาย แต่คนมันจะตายก่อนนะครับ อ. สุลักษณ์ : คนมันก็ต้องตายวันยันค่ำ�แหล่ะคุณ อย่างผมก็จะต้องตายเร็วๆนี้แล้ว ว่าแต่ คุณจะตายอย่างมีเกียรติหรือตายอย่างไม่มีเกียรติหล่ะ ประเด็นอยู่ตรงนี้ ตอนนี้เราพยายามพูดว่า อยู่ให้นานๆหน่ะดี คือถ้าอยู่อย่างไร้เกียรติแล้วจะอยู่ไปทำ�ไม เราไม่มีประเด็นนี้กัน พระพุทธเจ้าตรัส ไว้ชัดเจนเลยนะครับ อายุยืนไม่ใช่ของดีนะ อายุยืนมาก ทำ�ความชั่วมาก เนี่ยเหี้ยสุดๆเลย อายุแม้จะ สั้นแม้จะน้อย แต่ทำ�คุณงามความดี มีคุณค่ากว่ามากกว่าอายุยืนเป็นไหนๆ แล้วก็กลัวกัน ว่าพูดสัจจะแล้วจะตายอะไรกัน เหลวไหลที่สุดเลย มนุษย์เราต่างจากสัตว์ก็ ตรงที่มีวาจา มีคำ�พูดนี่แหล่ะ ถ้าคำ�พูดไม่มีความหมายมนุษย์ก็เลวร้ายยิ่งกว่าเดรัจฉาน โบราณก็ว่า ไว้นะ ว่าช้างตายจะเอางา คนเจรจาจะเอาถ้อยคำ� กองบรรณาธิการ : ถ้อยคำ�บางคำ�ของอาจารย์ก็ไปกระทบกับพวกชนชั้นปกครองบ่อยนี่ ครับ อ. สุลักษณ์ : ไม่สำ�คัญหน่ะ ถ้าเราพูดความจริงเราต้องกล้า เราต้องท้าทายชนชั้นปกครอง ชนชั้นปกครองเค้าอาจจะมีเงินมากกว่าเรา มีอำ�นาจมากกว่าเรา แต่ถ้าเขาปราศจากสัจจะแล้ว เค้า แหย กว่าเรา เท่านั้นเอง มันสำ�คัญมากเลยนะ โลกจะเปลี่ยนเพราะสัจจะนี่แหละ อย่างประเทศจี นเนี่ยเค้าหลอกลวงประชาชนมาตลอดเลย เพราะมันคุมหมดเลย คลุมสื่อมวลชนอะไรทั้งหมด แต่ ตอนนี้มันคุมไม่ได้แล้ว อินเตอร์เน็ตมันออกมา อะไรต่ออะไรมันออกมา นี่คนจีนตอนนี้ลุกขึ้นมา 30


จุลสารปรีดี

ท้าทายอำ�นาจรัฐกันมากขึ้นทุกทีเลย นี่สำ�คัญมากนะ สัจจะเนี่ยมันมีพลัง ในการที่จะต่อสู้กับอำ�นาจ ที่ฉ้อฉล ในจีนนี่นะอำ�นาจเบ็ดเสร็จเลยนะ พรรคคุมมันทั้งหมดเลย อย่างพม่านี่ก็อำ�นาจเบ็ดเสร็จ เลยนะ ตอนนี้พระก็ออกมาต่อสู้ แล้วก็ถูกจับ ถูกสึก ถูกกระทืบอะไรต่างๆ ท่านก็ใช้สัจจะ ใช้เมตตา ต่อสู้ นี่น่าสนใจมาก คุณดูสิ ออง ซาน ซู จี ผู้หญิงตัวเล็กๆคนเดียว กองทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพม่า กลัวเธอ เพราะอะไร เพราะเธอยืนอยู่ฝ่ายสัจจะ อยู่ฝ่ายอหิงสา กองบรรณาธิการ : ที่ตอนเมื่อกี้นี้อาจารย์ว่าท่านปรีดีต้องการจะสร้างความเท่าเทียมทั้ง ทางกฎหมาย เศรษฐกิจ และสังคมเนี่ย คือต้องการจะดำ�เนินในรูปแบบของรัฐสวัสดิการเพื่อความ เท่าเทียมหรอครับ อ. สุลักษณ์ : รัฐสวัสดิการมันก็เป็นแค่รูปแบบหนึ่งเท่านั้น ที่จริงแล้วมันต้องเป็นรัฐ สังคมนิยม คือมนุษย์ต้องเท่าเทียมกัน รัฐสวัสดิการมันเอื้ออาทรให้กับมนุษย์ที่คุณภาพชีวิตแย่ๆ ให้ได้อะไรบ้าง สามสิบบาทอะไรอย่างนี้ มันก็ดีกว่าไม่มี แต่ถ้าดีจริงๆต้องเป็นรัฐสังคมนิยม หมายความว่าคนต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด จะต้องลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ต้องปฏิรูป ที่ดิน ยึดที่จากXXXXXXXXXXXXXXXXXไปให้หมด (หัวเราะ) กองบรรณาธิการ : แล้วอาจารย์คิดว่าสังคมไทยจะยังเป็นอย่างนี้ต่อไปจะเป็นยังไง อ. สุลักษณ์ : มันก็เปลี่ยนสิครับ ตอนนี้ก็เริ่มเปลี่ยน คนรุ่นใหม่อย่างพวกคุณเริ่มเห็น ปัญหามันเลยจะเริ่มเปลี่ยน ตอนนี้ก็ยังเป็นจำ�นวนน้อยอยู่ เริ่มต้นมันก็น้อยแล้วแต่เวลา อย่างผมจัด ประชุมปริทัศน์เสวนาที่วันบวรนิเวศแค่ ๕ คน ถูกจับแล้ว ต้องไปอาศัยวัดทำ� แล้วมันก็กลายเป็น ๑๔ ตุลาขึ้นมา กระบวนการอะไรต่างๆต้องเน้นสัจจะให้มาก ตอนนี้ดีอย่างมันมีปรากฏเว็บไซต์เยอะเลย อย่างไอ้ฟ้าเดียวกันมันก็กล้าที่จะลงอะไรต่างๆ ไม่เห็นไปจับมันสิ มันเอาเว็บฝรั่งอะไรลง (wikileaks) กองบรรณาธิการ :อาจารย์เจอภัย ม. ๑๑๒ มาหลายครั้งแล้ว อาจารย์คิดว่าจะโดนอีกไหม อ. สุลักษณ์ : ไม่รู้ จะรู้ได้ไง อย่าไปกลัวสิ ทำ�อะไรอย่าไปกลัว แต่ก็อย่ากล้าจนเกินดีไป ทำ�อะไรมีสติไว้เสมอ กองบรรณาธิการ : เห็นอาจารย์พูดถึงเรื่องสัจจะแล้วนี่ อยากรู้ว่าอาจารย์เคยพูดอะไรผิด บ้างไหมครับ อ. สุลักษณ์ : อ๋อ ส่วนมากก็พูดผิดทั้งนั้นแหละ (หัวเราะ) กองบรรณาธิการ : พูดผิดนี่ พูดผิดหรือผิดหูผิดตาคน อ. สุลักษณ์ : คือมนุษย์มันต้องทำ�ผิดวันยันค่ำ�แหล่ะ อย่านึกว่าเราไม่ทำ�ผิด ปัญหาว่าเรา จงใจไม่ทำ�ผิดเท่านั้นแล้ว แต่บางทีมันผิด บวกเลข ใช้คอมพิวเตอร์บางทียังผิดเลย ผิดได้ ผิดแล้วก็ ต้องขอโทษ ก็อย่างผมเคยดูอาจารย์ปรีดีผิดมาตั้งนาน เล่นงานอาจารย์ปรีดีมาตั้งนาน พอรู้ว่าผิดก็ ต้องไปขอโทษท่าน กองบรรณาธิการ : ผมอยากได้ความเห็นของอาจารย์เรื่องความคิดเห็นที่แตกต่างของ 31


จุลสารปรีดี

คนในสังคมอ่ะครับ คือพูดประมาณว่าถ้าใครเห็นต่างจากกูก็ออกไปจากประเทศนี้เลยไปอย่างนี้ อยู่ ในสังคมเดียวกันไม่ได้ อ. สุลักษณ์ : ก็เนี่ยหนังสือผมเรื่อง ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทยที่เต็มไปด้วยขวาก หนาม ตำ�รวจมันยึดไปเนี่ย ผมฟ้องมันแล้วที่ศาลปกครอง ผมแพ้ศาลชั้นต้นไปแล้ว แต่ถึงศาล ปกครองสูงสุดก็คงแพ้อีกแหล่ะ เนี่ยผมบอกว่าในหลวงเสวยราชย์ ๖๐ ปี โอ้โห ประชาชนมาเยอะ เลย ท่านก็น้ำ�พระเนตรไหล ผมบอกท่านไหลท่านอาจจะปิติยินดีที่คนมาเยอะ แต่อาจจะไหลที่ว่าปี นี้เมื่อ ๖๐ ปีก่อนเนี่ย พี่ท่านตาย ท่านอาจจะเศร้าใจก็ได้ โอ้ ตำ�รวจมันเล่นงานผมเลยนะ นี่ผมไม่ได้ บอกซะหน่อยว่าXXXXXXXXXX ผมบอกแค่ว่าเสียใจที่พี่ท่านตาย เค้าว่าเขียนได้ยังไง ผมก็บอกว่างาน ๖๐ ปีคราวนี้ลูกหลานมาหมดเลย แม้แต่หลานที่มีพ่อเป็นฝรั่งก็มา แล้วหลานที่เป็นหม่อมเจ้าอีก ๔ องค์หายไปไหน โอ้ย แล้วมันก็ถามอีกแหล่ะ เขียนได้ยังไง อ้าวไอ้ห่า ผมไม่ได้พูดอะไรเลยผมถาม ความจริงธรรมดาว่าเค้าไปไหน เค้าว่างั้นคุณอย่าอยู่เมืองไทยไปอยู่เมืองนอกไป ดูแม้กระทั่งความ เป็นไทย ต้องเป็นเหมือนแพะเหมือนแกะไง คิดอะไรก็ต้องคิดเหมือนๆกันหมด ถามคำ�ถามไม่ได้ เลย ก็บ้าสิ กองบรรณาธิการ : มันเป็นวัฒนธรรมไทยด้วยหรือเปล่าครับ อ. สุลักษณ์ : ไม่ใช่หรอก มันเป็นวัฒนธรรมกึ่งดิบกึ่งดี วัฒนธรรมตอแหล วัฒนธรรมไทย เค้ามีความกล้าหาญมากคุณ คนไทยสมัยนี้เค้าไม่รู้จักวัฒนธรรมไทยกันแล้ว วัฒนธรรมไทยนี่เป็น วัฒนธรรมที่ผูกติดจากศาสนาพุทธ คนไทยส่วนใหญ่เนี่ยเค้าจะรังเกียจอำ�นาจ เมื่อไม่นานมาเนี่ยที่ พระไปเข้าวังๆกัน พระแหยไปหมดเลย ไปดูชาดกทุกเรื่องเลยคุณ พระเจ้าแผ่นดินเหี้ยทุกเรื่องเลย เพราะพระท่านแต่ง พระเจ้าแผ่นดินเนี่ยมันต้องอยู่กับอำ�นาจ อำ�นาจมันทำ�ให้เสียคน XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX ดูสิแทบทุกเรื่องพระท่านสอนอย่าไปยุ่งกับอำ�นาจ คน ไทยเค้ายอดจริงๆเรื่องพวกนี้ เพราะเราใกล้ชิดกับพระ ตอนหลังเนี่ยพระเหี้ยหมดเลย พระอยากจะ เป็นโยมกันหมดแล้ว เนี่ยสำ�คัญมากนะ กองบรรณาธิการ : แม้แต่ตัวพระเองก็ยังสยบยอมต่ออำ�นาจเลยนะ อ. สุลักษณ์ : แต่ก่อนนี้ก็ไม่เป็นนะ เพราะเราถูกล้างสมองไง ให้พระอยากเป็นโยม พระ อยากมีรถยนต์ เมื่อก่อนนี้พระเค้าถือตัวว่าสูงส่งกว่าโยม กินน้อยกว่านอนน้อยกว่า เสียสละมากกว่า มีความรู้ดีกว่า กองบรรณาธิการ : แล้วอาจารย์มีแนวทางจะทำ�ยังไงกับสังคมที่คนไม่ยอมรับฟังคนอื่น อย่างนี้ อ. สุลักษณ์ : ไม่เป็นไรหรอก ใครไม่รับฟังก็ไม่เป็นไร ยังไงก็มีคนฟังเรื่อยๆ อย่าไปใจร้อน เหมือนอย่างเรื่องXXXXXXXXXXXXXX เมื่อก่อนมีผมพูดอยู่คนเดียว แต่เดี๋ยวนี้มันอื้อ โอ้โห เต็มไป หมดเลย บางคนมาพูดดีกว่าผม บางคนมาพูดเลวกว่าผม เห็นหลายคนมันกล้ามากเลย 32


จุลสารปรีดี

กองบรรณาธิการ : อย่างสมศักดิ์(อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล)หล่ะครับ อ. สุลักษณ์ : ไม่เลวนะสมศักดิ์เนี่ย เมื่อก่อนนี้มันแย่เลย ตอนหลังข้อเสนอมันดีมากเลย ถ้าเชื่อไอ้สมศักดิ์เนี่ยXXXXXXอยู่ได้ ข้อเสนอไม่เลวเลยเจ็ดแปดข้อของมันเนี่ย นี่XXXXXXมันเหี้ย มัน โง่ ไม่ฟังไอ้สมศักดิ์ ผมเสนอมาสี่สิบปีไม่มีใครฟัง ก็โอเค ไม่เป็นไร ต่างจากคนใหม่ๆที่ควรจะฟังกัน มั่ง สมศักดิ์มันก็ถูกกระทืบแรงหน่อย เห็นเมียมันสั่นเลย ผมก็บอกเนี่ยเมียคุณพึ่งสั่น เมียผมสั่นมา ตั้งสี่สิบปี บุรุษไปรษณีย์มาเมียผมนึกว่าตำ�รวจมา มันมีอะไรที่ทำ�ให้เรากลัวอยู่ พอเราเลิกกลัวมันก็ทำ�อะไรเราไม่ได้ ความกลัวเนี่ยมันทำ�ให้ เราแหย เท่านั้นเอง

...คนมันก็ต้องตายวันยันค่ำ�แหล่ะคุณ อย่างผมก็จะต้องตาย เร็วๆนี้แล้ว ว่าแต่คุณจะตายอย่างมีเกียรติหรือตายอย่างไม่มี เกียรติหล่ะ ประเด็นอยู่ตรงนี้ ตอนนี้เราพยายามพูดว่าอยู่ให้นานๆ หน่ะดี คือถ้าอยู่อย่างไร้เกียรติแล้วจะอยู่ไปทำ�ไม เราไม่มีประเด็นนี้ กัน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนเลยนะครับ อายุยืนไม่ใช่ของดีนะ อายุ ยืนมาก ทำ�ความชั่วมาก เนี่ยเหี้ยสุดๆเลย อายุแม้จะสั้นแม้จะน้อย แต่ทำ�คุณงามความดีมีคุณค่ากว่ามากกว่าอายุยืนเป็นไหนๆ...

33


จุลสารปรีดี

พูดคุยกับคุณยายมณี รุ่งวิทยาพล เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ กองบรรณาธิการได้เข้าร่วมงานเสวนากับกลุ่มศึกษา เศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสต์ ที่อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำ�เนิน ได้พบ กับคุณยายท่านหนึ่ง ดูท่าจะเป็นผู้สนใจการเมืองเป็นอย่างมาก เพราะได้พบท่านแทบทุกงานเสวนา แถมคุณยายยังติดเข็มกลัดลายมือชื่อของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ไว้ตรงปกเสื้ออีกด้วย มีผู้ บอกว่าท่านเป็นคนที่ได้เข้าร่วมกับเหตุการณ์ในสมัย ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ทางกองบรรณาธิการจึงได้ขอ สัมภาษณ์เกี่ยวกับความทรงจำ�ที่เหลืออยู่ของคุณยายในสมัยนั้น กองบรรณาธิการ : ขอทราบชื่อของคุณยายหน่อยนะครับ คุณยาย : ชื่อจริงชื่อ มณี รุ่งวิทยาพล กองบรรณาธิการ : ตอนช่วงนั้นคุณยายอายุประมาณเท่าไหร่ครับ คุณยายมณี : ประมาณ ๒๐-๓๐ กว่า กองบรรณาธิการ : พวกผมเป็นกลุ่มนักศึกษาที่สนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ ๖ ตุลาครับ อยาก จะขอสัมภาษณ์คุณยายเพื่อเอาไปลงหนังสือ คือตอนเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาปี ๑๙ เนี่ย คุณยายได้เข้า ร่วมไหมครับ คุณยายมณี : ร่วม อยู่ในเหตุการณ์หมดล่ะ อยู่กับป๋วยตอนนั้น สมัยนั้นก็จบธรรมศาสตร์ เรียนคณะสังคมศาสตร์ประยุกต์ เรียนทั่วไป เขาจะเรียนแบบว่ามีกฎหมายอะไร ให้รู้กฎหมายบ้าง อะไรบ้าง กองบรรณาธิการ : แต่อาจารย์ป๋วยเขาไม่ค่อยเห็นด้วย(กับที่นักศึกษาชุมนุม)หรือเปล่า 34


จุลสารปรีดี

คุณยายมณี : เออ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย กองบรรณาธิการ : แล้วเริ่มต้นยังไงถึงได้ไปเข้าร่วมกับเขา คุณยายมณี : อ๋อ ตั้งแต่สมัยที่ ๑๔ ตุลา ๑๖ ก็จะมาที่ธรรมศาสตร์อยู่ทุกวัน มาฟังใครพูด อะไรมั่ง แล้วก็สนใจ ติดตามเหตุการณ์การเมืองตลอด เวลาเขาชุมนุมอะไรก็มา เข้าไปฟังที่ไหนๆ แต่เขาไม่ค่อยให้เข้า ส่วนมากเวลาฉันเข้าไป เห็นเขาทำ�อะไรบางทีก็จะช่วยไปทำ�อาหารช่วยที่หลัง อมธ. ตึกนักศึกษาอะไรนั่นน่ะ ตึกกิจกรรม ผัดกับข้าวใส่ถุงแล้วก็แจกเวที ธงชัย วินิจจะกูล เขาก็ อยู่ตรงนั้น ก็เป็นนักศึกษาอยู่ตรงนั้นแหละ เขาจะถือโทรโข่ง ฉันเองก็อยู่ตรงนั้น กองบรรณาธิการ : เพราะอะไรครับ ถึงทำ�ให้เขาบุกเข้ามาตั้งแต่เริ่มแรก คุณยายมณี : เหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มแรกก็คนที่ชื่ออภินันท์ (บัวหภักดี) เขาแสดงฉากแขวน คอพนักงานการไฟฟ้านครปฐม มาทำ�ตัวอย่างให้ดู แต่หน้ามันไม่เหมือน(พระบรมฯ)นะ พอเข้าไปใน นั้น(หนังสือพิมพ์) โห หน้าเหมือนเลย ตกกะใจเลย ตัวเขาแต่งเสื้อทหาร เหมือนตัดต่อคอ กองบรรณาธิการ : จริงๆ ยายก็รู้จักเจ้าตัวเขาดี คุณยายมณี : รู้จักดี ๖ ตุลาจะมาทุกวัน กองบรรณาธิการ : คุณยายเข้าไปร่วมตั้งแต่ตอนไหนครับ คุณยายมณี : ตั้งแต่ตอนกลางคืนเลย คืนวันที่ ๕ กองบรรณาธิการ : แล้วเริ่มต้น(กวางล้าง)นี่คือเริ่มจากวันที่ ๕ คุณยายมณี : เริ่มต้นจากวันที่ ๕ ไปทุกวัน มีวิทยุเครื่องนึง ฟังวิทยุพูดทั้งคืน ตำ�รวจอ่ะ ชื่อ อะไรไม่รู้พูดทั้งคืน บอกว่าจะลุยแล้ว จะลุยแล้ว ยิงพลุยิงอะไรเข้ามา ว่าเนี่ยจะบุก เราก็ไปหาคนที่ เอาโต๊ะ เอาเก้าอี้ไปตั้งที่ประตูรั้วหน้าธรรมศาสตร์ กั้นไม่ให้เขาบุกเข้ามา กองบรรณาธิการ : พอเริ่มบุกแล้วเป็นยังไงครับ เวลาประมาณเท่าไหร่ คุณยายมณี : ประมาณตี ๒ ตี ๓ เนี่ยมันยิงพลุมาก่อน ยิงพลุตั้งกะสนามหลวงออกมา เวลาเขายิงจากหน้าประตูมานะ เขาจะยิงพลุมาก่อนว่าจะลุยเข้ามา แล้วก็ยิงจากวัดมหาธาตุ ระเบิด มาลงสนามแต่ไม่ระเบิด กองบรรณาธิการ : แล้วตอนนั้นสถานการณ์ภายในเป็นยังไงบ้างครับ คุณยายมณี : ก็ต่างคนก็ต่างแบบหลบอยู่ในห้อง ตามเวที ธงชัยก็ตะโกนบอก อย่ายิงเข้า มา อย่ายิงเข้ามา ตอนเริ่มต้นก็ยังไม่มีคนตาย แล้วไอ้คนที่เอาของออกมา โห ขโมยเยอะแยะ พวก เครื่องเสียงอะไรก็ยึดหมด กองบรรณาธิการ : แล้วติดอยู่ตรงนั้นนานไหมครับ คุณยายมณี : นาน อยู่ห้องน้ำ�ห้องส้วมด้วย ว่าจะไปฉี่เสร็จแล้วจะออกมา ออกไม่ได้ ก็ เบียดกันอยู่ในห้องส้วมตั้ง๕-๖คน ทีแรกนั่งอยู่ตึกวารสาร อยู่ตรงกระไดหน่ะ เข้าห้องน้ำ�ที่ตึก เอทีมั้ง สมัยก่อนที่กลมๆอ่ะ เดี๋ยวนี้เขารื้อแล้วหนิ ทำ�เป็นนิติศาสตร์ ทางด้านพิพิธภัณฑ์ ทางหน้าเขาก็ยิงมา โอ๊ย วิ่ง ยิงจากฝั่งสนามหลวงมา โห ยิงมากๆเลย ก็คือฝั่งทางด้านตึก แอลที 35


จุลสารปรีดี

กองบรรณาธิการ : แสดงว่าตอนที่เขาโจมตีจริงๆ คุณยายอยู่ในห้องน้ำ� คุณยายมณี : อยู่ในห้องน้ำ� ไม่งั้นก็ตายแล้ว ไม่กล้าออกมาเดิน จะออกทางท่าพระจันทร์ก็ ออกไม่ได้ กองบรรณาธิการ : ตอนที่เขายิงมา คุณยายอยู่ในห้องน้ำ�แล้วทำ�ยังไงต่อครับ คุณยายมณี : ก็อยู่ในนั้นถึงเช้า พอถึงตอนเช้าเขาก็ไปเคลียร์ออกมา จับมาแล้วมาคว่ำ�อยู่ ที่สนามฟุตบอล คนนอนคว่ำ�เยอะแยะเลย เต็มสนามบอล ข้าวหกเรี่ยราดเต็มไปหมด ทหารก็ยืน ใช้ปืนกระแทกหลัง แล้วเดินเหยียบไปเหมือนถนนน่ะ ผู้ชายก็ถอดเสื้อ ผู้หญิงก็ถอดเหลือแต่เสื้อ ใน โดยมากเขาจะถอดเสื้อแล้วเอาเข็มขัดออกมากองเยอะๆ แต่นี่ไม่ได้ถอดนะ นอนคว่ำ�อย่างเดียว ขนาดเรานอนอยู่ที่สนามหญ้านะ ยังยิงขึ้นตึกเลย ไอ้คนที่ตั้งยิงก็ปืนแบบลูกกลมๆ แล้วเช้าเขาก็ไป เอารถศรีนคร รถอะไรเก่าๆน่ะ ออกประตูพระอาทิตย์ มีคนวิ่งตามบอกว่าไอ้นี่คอมมิวนิสต์ ขว้างของ ใส่ โดนหัวแตกเราก็ต้องเอาเก้าอี้ม้า มาคอยป้องกันไม่ให้เขวี้ยงขึ้นมาบนรถ ตรงพระอาทิตย์ออกไป แล้วส่งไปที่บางเขน กองบรรณาธิการ : แล้วที่แบบทางคนข้างนอกเขาเข้าใจว่าข้างในน่ะมีนักศึกษาเป็น ญวน อะไรอย่างนี้ คุณยายมณี : เขาบอกว่าเราเป็นคอมมิวนิสต์ แล้วก็มีปืนอะไร(ซ่อน)อยู่ในท่อ มีที่ไหน กระ บอกเล็กๆ มีมั้ง ไม่รู้ว่าเรายิง เขายิงอย่างเดียว เราก็ได้แค่ฟังหูดับตับไหม้อยู่ในห้องน้ำ�ไม่ค่อยได้ ออกมา มาออกตอนเช้าเขาก็เคลียร์ออกหมดแล้ว กองบรรณาธิการ : ถ้าแบบโดยทางการแล้ว มีตัวเลขผู้เสียชีวิต ๔๖ คน ยายคิดว่ามัน มากกว่านั้นไหมครับ คุณยายมณี : ต้องเยอะกว่านั้น ไม่ใช่น้อยๆ เยอะมาก แล้วไม่รู้เอาไปไว้ที่ไหนก็ไม่รู้ (หัวเราะ) กองบรรณาธิการ : แล้วมีคนรู้จักของคุณยายคนไหนที่เสียชีวิตบ้างหรือเปล่าครับ คุณยายมณี : มีๆ มีหลายคนเลย ตอนที่ฉันถูกประกันออกมา ยังต้องไปรายงานตัวทุก เดือนๆ ไปแล้วก็หิ้วของไปเยี่ยมพวกสุธรรมที่ยังติดอยู่ ไปรายงานตัวที่บางเขน เขายังใช้กฎอัยการ ศึก เขาให้ขึ้นศาลทหาร กองบรรณาธิการ : แสดงว่าคุณยายโดนด้วยหรอครับ คุณยายมณี : โดนจับสิ ติดคุกอยู่ที่บางเขนน่ะ ที่โรงเรียนพลตำ�รวจน่ะ ที่แรกเขาก็เอาไป อยู่ที่สนามที่เขาตีแบต แล้วน้ำ�เขาก็ไปเอาถังน้ำ�มันมา และก็ไปดูดน้ำ�จากคลองที่ไหนมาให้อาบน้ำ� แต่ข้างบนมันคนแน่น คือคนที่เขาขายของเกินราคาแล้วก็คนแก่ๆที่ติดคุกอยู่ในนั้น พอดีเราไปติด ด้วยเราก็ช่วยเขาออกมาเยอะแยะ คนที่ขายของเกินราคาเขากักบริเวณ สมมติถ้าประกันออกมาได้ ถ้าบ้านอยู่แถวนั้นเขาก็จะให้อยู่ตรงนั้น พวกเราก็ช่วย แต่ตอนหลังๆ คนมันเยอะนี่ ผู้ชายผู้หญิงเขา ขังไว้ ๔,๐๐๐ กว่าคน แล้วแยกขังที่อื่น มี จิ้น กรรมาชน(เภสัชกรกุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ) ก็อยู่ โดย 36


จุลสารปรีดี

มากเขาจะจับไปอยู่ที่อื่น แยกๆ กันไว้ กองบรรณาธิการ : แล้วโดนจับไปนี่กี่วันครับที่ติดอยู่ในนั้น คุณยายมณี : นาน กว่าจะสัมภาษณ์ ๔ - ๕ พันคน ต้องอยู่ประมาณเดือนกว่าๆ กองบรรณาธิการ : แล้วความเป็นอยู่เป็นยังไงบ้างครับ คุณยายมณี : ก็ทีแรกเขาก็ให้ข้าวต้มไข่มาให้กินตอนเช้า แต่ก็ไม่เช้านะ กว่าจะได้ทานก็โอ้โห กองบรรณาธิการ : แล้วเขาให้ทานมื้อเดียวเหรอครับ คุณยายมณี : ก็เป็นเช้ามื้อนึง และเย็นก็เป็นพวกผัดผักบุ้งใส่กระทะใหญ่ๆ แล้วใส่ถุงมา แจก แต่หลังๆมีคนเอามาให้เยอะเลย มีมาให้ของกินเยอะเลย เขาไม่ให้เข้านะ เขากั้นไว้ไม่ให้คนเข้า มาถึงตรงที่เราอยู่ กองบรรณาธิการ : มีการแจ้งข้อกล่าวหาไหมครับ คุณยายมณี : อู๊ย ข้อกว่าหามีสิบกว่าข้อ สิบสองข้อแหน่ะ กองบรรณาธิการ : แล้วทำ�ยังไงคุณยายถึงได้ออกจากที่กักกัน คุณยายมณี : ออกจากที่นั่นก็ประกันออกมา ใช้เงินสด ขอยืมเงินมาประกัน กองบรรณาธิการ : เท่าไหร่ครับ คุณยายมณี : มีคนเขาบอกทีแรกอย่างจิ้นน่ะ ตั้งเจ็ดหมื่น แล้วมันก็ลดมาเรื่อย ทีแรกแสน นึงก็มี แล้วก็ลดมา หกหมื่นเจ็ดหมื่น เหลือสองพันพันนึงก็ออกได้ แต่ฉันประกันไว้สองหมื่น กองบรรณาธิการ : แล้วหลังจากที่ยายออกมาแล้วยังมีการไล่จับนักศึกษาอยู่ไหมครับ คุณยายมณี : มีๆ ยังมี ตำ�รวจนี่ยังตามไปที่ทำ�งานฉันที่สุขุมวิท ตามไปดู ตอนนั้นตังค์ที่ ประกันตัวยังขอยืมที่ทำ�งานมา เวลาเย็นเลิกจากที่ทำ�เสื้อมาก็ยังมาธรรมศาสตร์ทุกวัน แวะทุกวัน ทหารก็จะนั่งเฝ้าอยู่ที่หน้าประตู นี่ตอนที่จับฉันขึ้นรถนะ เขาบอกเนี่ย เจอทุกทีเลยอยู่หน้าเวทีทุกที เลย เขาบอกถ้าประชาชนชนะอย่าจับผมนะ อย่าทำ�ผมนะ กลัว ผมทำ�ตามหน้าที่ กองบรรณาธิการ : รับคำ�สั่งมาอีกทีก็คงต้องทำ�ตามสินะครับ คำ�สั่งใครหรอครับ คุณยายมณี : ก็มีใครอีกหล่ะ มีแค่คนเดียวแหล่ะ (หัวเราะ) กี่ทีกี่ทีนี่ก็เห็นเค้าสั่งคนเดียว ทหารของเค้าทั้งนั้นที่สั่งมา แล้วอย่างเรามีปืนไปยิงกับเค้าที่ไหน ดีเที่ยวนี้มีแต่หนังแต่สติ๊กไปสู้กับ เค้าสู้ได้ที่ไหน เค้าสั่งมายิงสมองเละหมดแหล่ะ โห เห็นแล้วทุเรศ เที่ยวนี้หนักมาก(เหตุการณ์สังหาร หมู่คนเสื้อแดง ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓) กองบรรณาธิการ : คือเทียบกับ ๖ ตุลา เที่ยวนี้คือเยอะกว่ามาก? คุณยายมณี : ก็เยอะเหมือนกัน ตายเยอะ ไม่รู้เอาไปไว้ที่ไหน บางคนก็เอาไปทิ้งใส่จรเข้ ทิ้งทะเลที่ไหน แล้วจะตามที่ไหน ตามคนไม่ได้ ๖ ตุลาเนี่ยมหิดลตายเยอะนะ เข้าป่าก็เยอะ พวก จิ้นพวกนี้ กองบรรณาธิการ : แล้วคุณยายได้เข้าป่ามั้ยครับ คุณยายมณี : ไม่ได้เข้า ก็ตอนประกันออกมามีคนถามว่าจะเข้ามั้ย ไม่รู้จะเข้าไปทำ�ไม สู้ใน 37


จุลสารปรีดี

เมืองดีกว่า มีอะไรก็จะได้รู้ไง จะได้ช่วยกันได้ เพราะเราผ่านเหตุการณ์นี้ก็ต้องรู้ ถึงป่านนี้ไม่รู้ก็แย่ แล้ว กองบรรณาธิการ : แล้วมีคนมาด่าว่าเราเป็นคอมมิวนิสต์อะไรอย่างนี้มั้ยครับ คุณยายมณี : ไม่มีๆ ส่วนใหญ่ประชาชนก็อยู่ข้างประชาชน เนี่ยแถวบ้านบอกใครอยากรู้ การเมืองต้องถามคนนี้ๆ ที่ผ่านเหตุการณ์มา กองบรรณาธิการ : แล้วในอนาคตคาดว่าจะมีอีกมั้ยครับ เหตุการณ์ที่คล้ายๆกับ ๖ ตุลาเนี่ย คุณยายมณี : คิดว่าจะมีปฏิวัติอีกนะ เค้าไม่ยอมให้ยิ่งลักษณ์เป็นหรอก ที่จริงยิ่งลักษณ์เค้า ก็ทำ�ได้นะ ปล่อยให้เค้าทำ�ไปสิ ได้ไม่ได้ค่อยมาว่ากัน กองบรรณาธิการ : จากเหตุการณ์ครั้งนั้นมีผลกระทบอะไรต่อชีวิตคุณยายไหมครับ คุณยายมณี : เฉยๆ ก็ไม่มีอะไรนะ เวลาเขามีปราศรัยที่ไหนก็ไปฟัง บางทีก็กลัวๆกล้าๆ อยากรู้อะไรก็ไป กองบรรณาธิการ : สำ�หรับคุณยายที่เป็นบุคคลที่ผ่านเหตุการณ์พวกนี้มา ภูมิใจมั้ยที่เป็น ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ คุณยายมณี : ยังไงฉันต้องไม่ยอมอยู่แล้ว ต้องช่วยกัน เพราะมันไม่ถูกต้อง มันมีสอง มาตรฐาน ตอนนี้ยังไม่รู้เลยว่าจะอยู่ได้ดูประชาธิปไตยเต็มใบมั้ย สมัยก่อนเค้าว่าครึ่งใบ สมัยนี้ยังไม่ ถึงครึ่งเลย (หัวเราะ) คนรุ่นหลังๆนี่ต้องช่วยกันแล้ว...

38


จุลสารปรีดี

พูดคุยกับอาจารย์วิภา ดาวมณี หลังจากได้คุยกับคุณยายมณี รุ่งวิทยาพลเสร็จ อาจารย์วิภา ดาวมณี อาจารย์ประจำ� วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยากรบรรยายเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์ก ซิสต์ และเป็นผู้ผ่านเหตุการณ์ ๖ ตุลามาเช่นกัน อาจารย์ได้เข้ามาร่วมวงสนทนา และได้ให้ข้อมูลกับ ทางกองบรรณาธิการถึงสถานการณ์ทางสังคมในยุคนั้นกับเรื่องที่นักศึกษาหนีเข้าป่าอีกด้วย อาจารย์วิภา : เหตุการณ์ ๖ ตุลามันเป็นการร่วมมือกันของทั้งชนชั้น ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มเดียว หรือสถาบันใดสถาบันหนึ่ง มันเป็นการร่วมมือกันของทั้งชนชั้นเพราะสิ่งที่เขากลัวมากที่สุดนะตอน นั้นเนี่ย เขากลัวกระแสที่มันมีการเปลี่ยนประเทศต่างๆ ไปเป็นสังคมนิยม ที่เขาคิดว่าใช่นะคะ แต่ จริงๆแล้วมันก็เป็น ทุนนิยมโดยรัฐ แต่ว่ามันก็มาจากแนวเหมาอิสต์ ใช่ไหมคะ แล้วก็ปี ๑๘ เนี่ยเป็น ปีที่เปลี่ยนเยอะที่สุดเลย ๑๗-๑๘ เนี่ยรอบๆเลย ทั้งเวียดนาม กัมพูชา ลาวอย่างเงี้ย เพราะฉะนั้นเขา กลัวมาก มันเป็นกระแส แล้วคนก็นิยม ในตอนนั้นขนาดพรรคประชาธิปัตย์ก็บอกว่าตัวเองเป็นสังคม นิยมอ่อนๆ มันคือช่วงของการเปลี่ยนแปลงของสองแนว หลังจากที่มันมีสงครามเย็น ก็คือแนวคิด ที่โลกเสรี ซึ่งเรียกตัวเองว่าเสรีแต่ไม่ใช่เสรี ก็คือทุนนิยมสู้กับสังคมนิยม พอปี ๑๘ เนี่ยประเทศ เขาปลดแอกกันเพราะเขาใช้แนวของเหมาอิสต์ใช่ไหมคะ เขาใช้แนวสงครามประชาชาติ อย่างใน เวียดนามที่มีสงครามเวียดนามเรื้อรังมาตั้งนาน แล้วสหรัฐมาตั้งฐานทัพในไทย ในไทยเองขบวนการ นักศึกษาก็ขับไล่ฐานทัพ ในยุคคึกฤทธิ์ด้วย เพราะฉะนั้นโอ้โหชนชั้นปกครองกลัวมากเลย ว่าจะเปลี่ยนเป็นคอมมิวนิสต์ คือกลัวคำ�ว่า คอมมิวนิสต์ ตอนนั้นพรบ.คอมมิวนิสต์ก็มี เขาก็เลยร่วมมือกันทั้งชนชั้น ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งนะ 39


จุลสารปรีดี

คะ คำ�ว่าร่วมมือกันทั้งชนชั้นก็ไม่ว่าจะเป็นขุนศึก ศักดินา อะไรทุกฝ่าย ทั้งขุนนาง ข้าราชการ หรือ ว่าพวกนายทุน จะเรียกว่านายทุนธนาคาร นายทุนอะไรก็ตามเนี่ย เขาร่วมกันทั้งชนชั้นที่จะบอก ว่าต้องจัดการกับคนกลุ่มนี้ จัดการกับคนที่ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา ประชาชนที่ทำ�การเคลื่อนไหวและ ต่อต้าน ตอนนั้นก็มีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ใช้การต่อต้านด้วยอาวุธ ในเขตป่า เขาเลย ต้องปราบปรามขบวนการนักศึกษา เขาก็เลยก่อเรื่องที่ทำ�ให้สยดสสยองมากที่สุด คือเขาฆ่าธรรมดา ก็ได้ใช่ไหม เพราะปกติก่อนหน้านั้นเขาก็ฆ่าอยู่แล้วใช่ไหม ไม่ได้ไม่ฆ่า เช่นมีการถีบตกจากรถไฟบ้าง เอ่อ สมมติมีการข้ามถนนแล้วขับรถชนเวลาข้ามถนนเนี่ย มีนักศึกษามหิดลโดนใช่ไหม คือมีเรื่องฆ่า เนี่ย ฆ่าอยู่แล้ว เหมือนกับฆ่าพวกชาวนา ยิ่งชาวนาเขายิ่งฆ่าเยอะเพราะว่าเขาคิดว่าเนี่ยมันลุกขึ้นมา สู้กับเจ้าที่ดินอะไรงี้ใช่ไหม ก็มีผู้นำ�ชาวนาถูกฆ่าตายเงี้ยเยอะมากเลย ศพเกลื่อนเลยสมัยนั้นน่ะ แต่ ค่อยๆฆ่าไปไง แอบฆ่า แต่นี่พอกระทำ�การกลางเมืองเนี่ย ต้องกระทำ�ให้สยดสยอง เพื่อให้กลัวให้ หลาบจำ� ซึ่งเป็นวิธีการของแบบโบราณเลย ในประเทศอินโดนีเซียก็ทำ�เหมือนเรา ก่อนหน้าเรานี่ ประมาณปีไหน ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจน่ะ ช่วงนั้นเนี่ยประเทศอินโดนีเซียทำ�เหมือนเราเลยนะ คือฆ่า กลางกรุงเนี่ย ฆ่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เนี่ย ตายเยอะมาก แล้วตอนหลังเขาถึงออกมาเปิดเผยว่า ได้งบประมาณจากเพนตากอน พอดีมันมีรั่วใช่ไหมช่วงที่เขาขนย้าย ไม่ใช่วิกิลีกส์นะ ก่อนหน้าวิกิลีก ส์อยู่สักหกเจ็ดปีที่ผ่านมาเนี่ย มีข่าวรั่วใช่ไหมเพนตากอน ที่บอกว่าเนี่ยให้เงินงบประมาณในการฆ่า สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ไล่ฆ่ากันกลางเมืองนี่แหละ แล้วก็ตอกลิ่มแขวนคอ เหมือน ๖ ตุลา ๖ ตุลานี่ก็เตรียมเครื่องมือมาเลยนะ ตอกลิ่ม แขวนคอ แล้วก็เผา คือเขาจะมีพวกไม่ว่าจะเป็นตำ�รวจ นอกเครื่องแบบ หรือว่าทหารรับจ้าง หรือคนที่เคยเข้าไปฆ่าคนในสงครามในลาว กัมพูชา พวกเนี่ ยะเขาจะเก่งเรื่องพวกนี้ หัวเกรียนๆน่ะ ที่ถ้าเราดูจากหนังในเหตุการณ์มันจะคอยพาคนไปจัดการ นู่นนี่ หรือว่าขนคนเจ็บ ขนใส่เปลเราก็ นึกว่าจะเอาไปรักษาใช่ไหม ที่ไหนได้เอามาเทกองไว้หน้าหอ ใหญ่ หรือว่าเทกองไว้หน้าสนามหลวง ให้คนยำ�ต่อ แล้วก็มีคนงานที่บ้านเนี่ย เขาบอกเขาไปเห็นแล้ว เขาตกใจมากเลย จับขาจับแขนเป็นชิ้นแล้วชูอย่างนี้เลยแล้วหัวเราะ คือมันปลุกปั่นจนคนเข้าร่วม จน รู้สึกว่าหากใครมาบังอาจหมิ่น ตอนนั้นก็คือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งเป็นพระยุพราชใช่ไหม มา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพเนี่ยต้องตายแบบนี้ ทั้งที่ความเป็นจริงเนี่ยใช้กฎหมายก็ได้ใช่ไหม ถ้าหมิ่น นี่คุณต้องฆ่าเขาให้ตายเหรอก็ไม่ใช่ ใช่ไหม แต่ปรากฎว่าทุกคนที่มาเนี่ยแม้กระทั่งเด็กเล็ก เห็นบอก อายุแค่ไม่กี่ขวบเนี่ย ๑๐ ขวบหรืออะไรมายืนฉี่รดศพ แล้วตอนหลังก็มีคนสัมภาษณ์เด็กคนนั้นด้วย เขาบอกสถานการณ์พาไปนะ เขารู้สึกว่าพวกนี้เป็นพวกคอมมิวนิสต์ เป็นพวกกบฏ เป็นพวกหมิ่นต่อ ต้านสถาบันล้มล้างสถาบัน เนี่ยมาใช้วิธีการแบบนี้ได้ไง คือสนับสนุนความรุนแรง คือถ้าคุณจะลาก คอด้วยการใช้กฎหมายก็อีกเรื่องนึงหรือจะใช้ศาลที่คุณควบคุมได้ก็อีกเรื่องนึง แต่นี่ใช้ความรุนแรง และโหดเหี้ยม ในภาษาอังกฤษเขาเลยใช้คำ�ว่า Brutal คือโหดเหี้ยมคือตั้งใจว่าให้หลาบจำ� แล้วมัน ก็ส่งผลจริงๆนะ คือคนก็กลัวมากเลย หลังจากนั้นอีกกี่ปีกว่านักศึกษาจะออกมาขับเคลื่อน กิจกรรม แม้กระทั่งนักศึกษาจะจัดงานรำ�ลึก ๖ ตุลานะยังจัดกันเองเป็นงานเล็กๆ แล้วจากนั้น ๒๐ ปีถึงจะมา 40


จุลสารปรีดี

การจัดงานรำ�ลึก ๖ ตุลาที่เป็นงานใหญ่ ๒๐ ปีเชียวนะ ไม่เหมือนกับเสื้อแดงวันนี้ เสื้อแดงถูกจัดการ เมื่อปี ๕๓ หลังจากนั้นเกิดอะไร หายไปสักเดือนสองเดือน เกิดวันอาทิตย์สีแดง เกิดการรำ�ลึกเกิด อะไร เร็วกว่ากันเยอะเลย แสดงว่าคนเนี่ยก้าวหน้ากว่ายุคนั้น หรือคนเนี่ยมีใจที่กล้ากว่า อย่างตอน นั้นมันหลาบจำ� มันโอ้โห ทั้งลากคอ ทั้งตอกลิ่ม ผู้หญิงเนี่ยก็ใช้ขวดทำ�เป็นปากฉลามแล้วแทงเข้าไป ในช่องคลอด มีครบเลย คือตั้งใจว่าเป็นการฆาตกรรม แล้วดีใจด้วยเย็นวันนั้นมีการเลี้ยงฉลอง มี การเอาลูกเสือชาวบ้านไปเลี้ยงฉลอง หรือพวกกระทิงแดงก็ได้รับเงิน กองบรรณาธิการ : มันก็ไม่ใช่ว่าเป็นอุบัติเหตุ ตามที่หนังสือหลายๆเล่ม แบบ มันเหมือน เป็นอุบัติเหตุทางการเมืองที่มีการปะทะกัน แต่มันมีการวางแผนมาเรียบร้อยแล้ว มีการจัดตั้ง วางแผน ประสบการณ์เราดูเหมือนว่ามีจากอินโดนีเซียแล้ว อาจารย์วิภา : คือก่อนหน้าเหตุการณ์เนี่ย ในเดือนสิงหาก็จะมี ประภาสใช่ไหมที่แวะ เวียนมาเหมือนกัน แล้วก็มีการให้กระทิงแดงมายิงธรรมศาสตร์ทำ�กระจกแตกไปหลายบานเลย มี อาจารย์ที่เขานั่งใกล้ๆแถวๆนั้น เขาก็บอกเขากลัวมากเลย กองบรรณาธิการ : ตอนนั้นคือพยายามยั่วยุให้เกิดการปะทะกันระหว่างสองกลุ่ม อาจารย์วิภา : คือการก่อตั้งอันธพาลการเมืองเนี่ยเขาเรียกว่าระบบฟาสซิสต์ เพราะอะไร เพราะฟาสซิสต์นี่คือระบบการใช้ชนชั้นกลางมาเล่นงานชนชั้นอื่น เนื่องจากว่าการแสดงรูปแบบของ การปราบปรามโดยใช้กลไกรัฐอย่างทหารตำ�รวจนี่ มันชัด มัน Obvious ถ้าคุณใช้ทหารใช้ตำ�รวจมา คุณก็ต้องตั้งข้อกล่าวหาใช่ไหม แล้ววถ้าคุณกระทำ�การเกินเหตุเนี่ย มันก็ถือว่านอกเหนือกฎหมาย เพราะงั้นการเป็นฟาสซิสต์คือการพยายามใช้ชนชั้นกลาง แล้วก็ใช้กลุ่มเนี่ย อันธพาล ที่แบบ อาจจะ มาจากคนจรจัด คนตกงาน ที่นี้คือกลุ่มอาชีวะในบางส่วนเนี่ย คือมาเล่นงานเนี่ยเป็นลักษณะจุดเริ่ม ต้นของม็อบชนม็อบ ก็ไม่ผิดกับที่พันธมิตรเขาทำ� คือ ถ้ามีกลุ่มมวลชนเนี่ย ที่มาจากรากหญ้ามาจาก ไพร่เนี่ย ก็คือกลุ่มเสื้อแดงเนี่ย ก็จะมีอีกกลุ่มนึงที่เป็นเสื้อเหลือง มันก็คือการสร้างม็อบมาชนม็อบ แทนที่จะใช้กลไกรัฐมาจัดการ แล้วเขายอมให้ติดอาวุธด้วยนะ ตำ�รวจไม่จับนะ คือเราจะเห็นพวก กระทิงแดงเนี่ยมีอาวุธทุกคนเลย แม้แต่ศอฉ. เมื่อปีที่แล้วก็ยังบอกให้เอาปืนลูกซองมาแจกกำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งอันนี้มันเป็นเรื่องผิดกฎหมายนะ แล้วคุณวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ เลยไม่ยอมไง เขา บอกไม่ได้หรอกอยู่ดีๆทำ�ไมจะเอาอาวุธแล้วไปใช้กับประชาชน พอเขาไม่ยอมเขาก็เลยโดน คือมัน เป็นการสร้างม็อบมาชนกับม็อบ ถ้าเปรียบเทียบเหตุการณ์ ๖ ตุลากับปัจจุบันเนี่ยมันมีหลายอย่าง ใกล้เคียงกัน ที่จริงสมัยก่อนพวกหมอนี่เป็นกลุ่มก้าวหน้ามากนะ เพราะหมอจะอยู่หอพัก อย่างที่ศิริราช ที่มหิดลอะไรก็ดีเนี่ย ของหอพักแพทย์จุฬาฯก็เหมือนกัน เพราะงั้นเวลาที่ทำ�กิจกรรมเนี่ย พวกที่อยู่ หอพักมักจะกล่อมเกลามากกว่าคนอื่น พวกเข้าป่าก็เข้าเยอะนะหมอ ไม่น้อย อย่างเพื่อนที่มาจาก ห้องคิงห้องควีนเนี่ยเยอะมากเลย คิงควีนแจ๊ค คับป่าทั้งนั้นเลย เพราะว่าจบเตรียม แล้วมาเข้าจุฬา เพราะงั้น หมอก็เยอะ วิศวะก็เยอะ แล้วพวกเตรียมอุดมก็เยอะ เพราะงั้นจะหาว่าพวกเข้าป่านี่เป็น 41


จุลสารปรีดี

พวกโง่ก็ไม่ได้นะ คือเป็นพวกหัวกะทิเลย กองบรรณาธิการ : อาจารย์ในช่วงนั้นป็นนิสิตจุฬาใช่ไหมครับ อาจารย์วิภา : เป็นนิสิตจุฬาปี ๓ ตอนเข้าไปปีหนึ่งเข้าไปก็แรดเลยแหล่ะ (หัวเราะ) แรด ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามีการรับน้อง เราก็โจมตีการรับน้องเลยเพราะว่ามันเป็นเหตุการณ์หลัง ๑๔ ตุลา เราก็โจมตีเลยว่าเป็นเผด็จการ กองบรรณาธิการ : ช่วงนั้นระบบโซตัสในทุกๆมหาวิทยาลัยถูกท้าทายหมดเลยใช่ไหมครับ อาจารย์วิภา : ถูกท้าทายหมด และก็เหมือนมันเสื่อมไปเอง และก็พอมีประชาธิปไตยปั๊บ คนก็จะเริ่มคิดแล้วว่า ทำ�แบบนี้ มันรุนแรง มันไม่ให้สิทธิ เหมือนอย่างที่คำ�พูดของ Rosa Luxemburg เขาพูดเรื่องปฏิวัติกับปฏิรูปใช่ไหม เขาพูดว่าเมื่อมีปฏิวัติครั้งหนึ่งก็จะมีปฏิรูปตามมา เพราะงั้นพอมี เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาเหมือนกับว่ามันเป็นปรากฎการณ์ของสังคมที่ทำ�ให้ทุกคนคิดเรื่องประชาธิปไตย คิดเรื่องสิทธิเรื่องเสียงเนี่ย กลายเป็นว่าระบบมันก็ตายนะวันนั้นเลย คือมันจุดประกายให้คนไม่ร่วม มือ อย่างเช่นว่ารุ่นน้องที่เคยหวาดกลัว หรือคิดว่าเออถ้าเขาสั่งให้ทำ�อย่างนั้นให้ทำ�อย่างนี้ แล้วต้อง ทำ�เนี่ยเขาไม่ทำ�เขาไม่ร่วมมือ เพราะงั้นมันตายทันทีเลย กองบรรณาธิการ : อาจารย์ครับแล้วถ้าอย่างปัจจุบันเนี่ยระบบโซตัสเนี่ยมันแสดงถึงระบบ ประชาธิปไตยอะไรของประเทศไหมครับ อาจารย์วิภา : มันก็สะท้อนไงว่าประชาธิปไตยมันน้อยมากแล้วระบบชนชั้นเนี่ยมั่นคง ระบบชนชั้นโดยลักษณะที่เป็นอำ�มาตย์ อภิสิทธิ์ชน เอ่อ การมีอะไรนะ สิทธิพิเศษต่างๆ อภิชนต่างๆ แปลว่ามันแข็งมาก แข็งแรงมากจนคนเชื่อในเรื่องความเหลื่อมล้ำ�คนเชื่อในเรื่องว่าเราควรจะมีสิทธิ มากกว่าคนอื่น หรือแม้กระทั่งว่าที่ว่ารุ่นพี่กดขี่น้องเนี่ย เพราะมันเชื่อใช่ไหม มันเชื่อว่ามันนี้ต้องได้ รับสิทธิมากกว่าคนอื่น ที่อ่อนอาวุโสกว่า ก็คือมันไม่เชื่อเรื่องเสมอภาค เรื่องเท่าเทียม ในขณะที่ว่า ถ้าเป็นกระแสหลัง ๑๔ ตุลา เขาจะไม่เชื่อ เขาจะคิดเรื่องสิทธิเรื่องเสรี และก็หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา เนี่ย มีเหตุการณ์ประท้วงออกมาตั้ง ๓๐๐ ครั้ง ในช่วงเวลาแค่ไม่ถึง ๖ เดือน ไม่ว่าจะเป็นกรรมกรนะ ชาวไร่ชาวนา คนที่ถูกจำ�กัดสิทธิ ออกมากันหมดเลย เพราะมันถูกกดทับไว้ใช่ไหมล่ะ ถ้าจะบอกว่า ถ้ามีเหตุการณ์ปฏิวัติประชาธิปไตยแล้วบ้านเมืองจะสงบ ไม่ใช่นะ เพราะว่าสิ่งที่กดทับไว้มันจะระเบิด ออกมา กองบรรณาธิการ : หลังจากเหตุการณ์นั้นเป็นต้นมา อาจารย์ก็เข้าป่ากับ พคท. (พรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย)หรอครับ อาจารย์วิภา : คือเข้าป่านี่มีความสุขมาก ไปอยู่ตั้ง ๔ ปี บางคนก็บอกว่าไอ้พวกอยู่นานนี่ มันโง่แน่เลย คือบางคนเขาไปแป๊บเดียวเขาออกแล้วนะ บางคนเขาไปแค่ไม่กี่เดือนเขารู้สึกตะหงิดๆ แล้ว คือพรรคคอมมิวนิสต์มันก็ใช้ลัทธิทหาร เพราะมันต้องสู้รบในเขตป่าใช่ไหม มันป็นเรื่องของ สงครามแล้ว เพราะงั้นเขาก็ใช้ลัทธิทหารในการปกครอง สั่ง-ทำ� ห้าม-หยุด อะไรทำ�นองนี้ คือต้อง ใช้วินัยอย่างสูง เพราะงั้นประชาธิปไตย ที่เราคิดว่าเรารักในเสรีภาพเนี่ยก็จะน้อย การแสดงความ 42


จุลสารปรีดี

คิดเห็นที่ต่างเนี่ยก็จะน้อย เพราะงั้นบางคนเนี่ยเข้าไปแป๊บเดียว ก็อู้ย กูไม่อยู่แล้ว มาเจอเผด็จการ อีกรูปแบบหนึ่ง กองบรรณาธิการ : ตอนนั้นนี่คือยังเรียนไม่จบใช่ไหมครับ อาจารย์วิภา : ยังค่ะ อยู่ปี ๓ อยู่ในช่วงระหว่างสอบด้วย กองบรรณาธิการ : แล้วไปอยู่ส่วนไหน ตอนที่เข้าป่าครับ อาจารย์วิภา : อยู่เขตตะนาวศรี ที่ๆเฮลิคอปเตอร์ตกตอนนี้แหล่ะ อยู่กับหมู่บ้านชาว กระเหรี่ยง สนุกมากเลย คือว่าเขตจังหวัดประจวบเนี่ย เนื่องจากพื้นที่นี้ ถ้าเราดูตามแผนที่แล้ว มันจะเป็น คอคอดใช่ไหม คือมันจะเล็กนิดเดียว ถ้าข้ามเขาตะนาวศรีมันจะเป็นฝั่งพม่าใช่ไหม เขต อื่นเขาก็อยู่กันไกลใช่ไหมคะ ไม่เขาก็อยู่บนเขา อยู่ดงพญาเย็น คืออยู่ริมที่จะข้ามประเทศอื่น แล้ว มันไกลด้วย แต่ของประจวบนี่มันใกล้กรุงเทพมาก ของพี่นี่พี่เข้าเขตประจวบ คือตรงนี้นี่มันจะเป็น คือตรงนี้มันจะเป็นศูนย์กลางทางวิชาการวัฒนธรรม คือตรงนี้เนี่ยมันจะไม่ใช่เขตสู้รบ คือเขตอื่นเนี่ ยมันจะเป็นเขตสู้รบ แล้วเขาก็จะมีสิ่งที่เรียกว่าฐานที่มั่น ก็คือมันจะสามารถตีข้าศึกได้ ซึ่งชาวบ้าน เองเขาก็เห็นด้วย เช่นแถวสุราษฎร์ ช่องช้างเนี่ย ชาวบ้านเขาเห็นด้วยเขาก็จะเปลี่ยนเลยนะ เปลี่ยน เป็นวิธีปกครองแบบใหม่เลย คือกึ่งๆเขตปลดปล่อยเลย แต่เนื่องจากว่ามันชั่วคราวไง เราจึงเรียก ว่าฐานที่มั่น คือตำ�รวจอะไรเข้ามาเนี่ย เขาต้องไหว้เลยนะ อาวุธอะไรนี่ปลดหมดเลย ก็รู้กันชาวบ้าน เพราะว่าเขาก็รู้กันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ามีความคิดอะไร แต่ถ้าเป็นประจวบเนี่ย เนื่องจากว่ามันมีค่าย ทหารเพียบเลย ไม่รู้ค่ายอะไรเป็นค่ายอะไร มันเคยมีข่าว คือไม่ใช่ช่วงปีที่เราเข้าไปนะ ช่วงก่อน หน้านั้นหลายสิบปีเนี่ย เขตประจวบเป็นเขตที่บุกเบิกการต่อสู้ในป่า เขาเรียกว่าจากนโยบายของ พคท. เนี่ยว่า จะต้องเข้าไปฝังตัวอยู่ในป่าและต้องมีการสะสมอาวุธ เขาเรียกว่าใช้แนวคิดแบบเหมา อิสต์ เพราะเหมาอิสต์นี่เขาสู้แบบจรยุทธ์ใช่ไหมคะแล้วเขาประสบความสำ�เร็จ แต่เขาประสบความ สำ�เร็จเพราะเขาต่อสู้บนสงครามประชาชาติใช่ไหมคะ แต่ของเรามันไม่มีสงครามประชาชาติ แต่เราก็ พยายามจะเอาทฤษฎีของเขามาดัดแปลงแล้วก็บอกว่า เหตุที่ต้องเป็นประชาชาติเพราะเราต้องต่อสู้ กับจักรพรรดินิยมอเมริกา เขียนเหมือนกับเอาตำ�ราจีนมาแล้วมาเปลี่ยนจากคำ�ว่าจีนเป็นไทย ซึ่งมัน ก็ไม่สอดคล้อง แต่ตอนนั้นเราก็ยังคิดไม่เป็น เราวิเคราะห์ไม่เป็น ไปอยู่ฝั่งแดนเนี่ยมันก็จะมีกระเหรี่ยงอยู่บนพื้นที่นั้นอยู่แล้วเพราะเขาก็หาวิธีสร้างกันชน ระหว่างรัฐต่อรัฐ โดยการให้พวกพี่น้องชนชาติเนี่ยอาศัย งั้นก็จะเป็นเขตพี่น้องกระเหรี่ยง แล้วก็รู้ว่า ที่ฮอตกเนี่ยเพราะว่าทหารเข้าไปเผายุ้งฉางชาวบ้าน รู้ตั้งแต่วันแรกแล้ว เพราะพี่น้องกระเหรี่ยงเขา บอกมาว่าเขาโดนเผา แต่ แต่เราไม่ได้ติดต่อเขาโดยตรงนะ แต่หมายถึงคนในพื้นที่จะรู้ว่ามันเกิด เหตุอะไรบ้าง เขาอยู่มาเป็นร้อยปีอยู่ดีๆไปเผาเขาทำ�ไม เราจะเอาพื้นที่ที่เขาถากถางไว้ไปเป็นพื้นที่ ฝึกรบ หรือจะเอาไว้ใช้เพื่อโจมตีรัฐบาลชุดใหม่อะไรอย่างเงี้ยใช่ไหม มันมีแผนเยอะคือมันอาจจะใช้ ในทางเศรษฐกิจก็ได้ ใช้ในทางการทหารก็ได้ แต่ว่าพื้นที่ตรงนั้นชาวบ้านเขาก็อยู่ของเขามานานแล้ว แล้วที่ว่าทำ�ป่าทำ�ไร่เลื่อนลอยอะไร เขาก็ทำ�มาอยู่อย่างนั้น แล้วทำ�ไมต้องไปเผาข้าวเขาใช่ไหม แล้ว 43


จุลสารปรีดี

มันก้สร้างความเกลียดชังโกรธแค้น เราก็ยังเดาอยู่ว่ามันโดนปืนลูกซองยิงหรือเปล่า ถ้ามันลงเตี้ยๆ นะลูกซองสักสามสี่กระบอกก็เรียบร้อยแล้วไม่ต้องเอาอะไรมาก แต่คนที่เป็นรู้สึกระดับนายพัน นายพลเนี่ย คนนั้นเขาเป็นคนปราบคอมมิวนิสต์นะ เขา เป็นคนปราบคอมมิวนิสต์สมัย ๖ ตุลาเลยแหละ คือเป็นคนสู้รบเลยกับคอมมิวนิสต์อายุเท่ากันนี่ แหละ อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน กองบรรณาธิการ : แล้วตอนนั้นคือที่อยู่ตรงนั้นคือ เคยโดนโจมตีบ้างหรือเปล่าครับ อาจารย์วิภา : คือมันจะยิง แต่มันจะยิงไปที่เขาแทนไงคะ แต่เราจะอยู่ฝั่งหลังเขา ยังไงก็ ไม่โดนหรอก ก็ได้ยินแต่เสียงตูม ตูมไปเรื่อย เขาเรียกปืนค. ปืนครก แต่เหมือนมันยิงไปเรื่อยแต่มัน ยิงเหมือนกับว่ามันตามงบประมาณ ถ้างบมาก็ยิงไปเรื่อย ยิงก็มีอัตราว่ายิงวันละกี่ลูก แล้วยิงช่วง ไหน งบหมดก็ไม่ยิง เพราะเราอยู่สี่ปี ใช่ไหม คือทหารของรัฐบาลมันจะมีลักษณะเฉพาะอยู่อย่าง หนึ่งก็คือมันไม่ได้มีจิตใจเลย คือมันไม่ได้มีจิตสำ�นึกด้วยซ้ำ� แล้วมาเนี่ยมาแบบจำ�ใจ เพราะงั้น ใน ใจเขานะเขาจะกลัวอยู่แล้ว เพราะงั้นรบเท่าไหร่เขาไม่มีทางชนะเลยนะ ในขณะที่ทหารประชาชนนะ มาจากไหนมาจากแค้น พี่น้องโดนฆ่าบ้าง โดนรังแกบ้าง ลูกสาวถูกข่มขืนบ้าง เพราะว่าทหารอะไร พวกนี้เวลาเข้าไปในพื้นที่ก็ใหญ่ใช่ไหมคะ หรือว่าพวกเราที่เป็นปัญญาชนก็มาจากคนตุลา มาจากคน ที่ประสบเหตุ การมาจากนักกิจกรรมเนี่ย จิตใจไม่เหมือนกันเลย อย่างพวกนักศึกษาเนี่ยไม่เคยฝึก ทหารไม่เคยสู้รบนะ แต่อยากรบ บอกว่าอยากไปแก้แค้นแทนเพื่อน ใส่แว่นหนาเตอะเลย ใครเขา จะให้วิ่งข้างหน้า วิ่งก็ไม่ทันเพื่อน เป้ของก็สู้เขาไม่ได้ แต่ใจมันสู้ไง เพราะงั้นไอ้ที่บอกว่านักศึกษามัน เข้าป่า แล้วมันขี้ขลาด มันดัดแปลงตนเองไม่ได้ คือตอนหลังจะมีข้อมาโจมตี ว่าทำ�ไมคนออกจากป่า นี้ มันไม่จริง ไม่จริงทั้งนั้นเลย เพราะว่าคนเข้าไปแล้วเนี่ยมันต้องสู้แล้ว เพราะว่าใจมันอยากแก้แค้น แทนเพื่อน รบกันฉิบหายวายป่วง ไม่เคยฝึกรบก็รบ วัยหนุ่มสาวเนี่ยมีผลมาก มันทำ�ให้แรงเยอะมาก และไอ้ที่ไม่เคยทำ�ก็ทำ�กันใหญ่เลย อย่างเช่นว่าชาวบ้านเขาขาดอะไรเราก็คิดดัดแปลงทำ� เพราะเรา ปัญญาชนใช่ไหม ทำ�กังหันทำ�ระหัดวิดน้ำ� ทำ�ไฟฟ้านะ ทำ�ระหัดน้ำ�แล้วเอาน้ำ�มาทำ�นู่นนี่ มาชาร์จ แบตเตอรี่ ทำ�ไฟฟ้าก็เกิดขึ้นในยุคที่นักศึกษาเข้าป่า แล้วก็ทำ�น้ำ�เกลือเองนะ แล้วก็มีสหายที่เขาเรียน จากเมืองจีน แล้วเขากลับเข้ามาเงี้ยแล้วมากางมุ้งทำ�ห้องผ่าตัด คือทุกอย่างก็ต้องนึ่งหมดเลยนะ เหมือนกับผ่าตัดสนามน่ะ แต่นี่ทำ�ให้กับชาวบ้านให้กับมวลชนเนี่ย เพราะงั้นกระเหรี่ยงเนี่ยทำ�คลอด ให้กระเหรี่ยง ผ่าตัดไส้ติ่งนะ ถอนฟัน แล้วก็มีคนที่เรียนเรื่องทำ�ฟัน ทำ�ฟันจริงเลยนะ ทำ�ฟันปลอม ได้ด้วย คือการอุดฟันนี่แปลกมาก คืออุดไม่มีระหว่างซี่เลย อุดติดกันหมดเป็นแผงเลย คือเขาฝึกงานให้นักศึกษาที่เข้าไปแล้วมันยังทำ�ไม่เป็นน่ะ เรียกได้ว่านักศึกษาเข้าไปก็ ช่วยเยอะ แล้วก็ไปฝึกเป็นหมอแทงเข็มบ้างอะไรบ้าง ตำ�ราเราก็ไปเขียนให้ คือเรามีฝีมืออะไร เราก็จะทำ�แล้วก็พัฒนาเพิ่มขึ้นไปอย่างทำ�งานด้านวัฒนธรรม สร้างละครทำ�งิ้วการเมืองอะไรพวก นี้ ทำ�ได้ทุกอย่างสนุกมากเลย ชีวิตก็คือทำ�การผลิตเพราะอยู่กันเยอะ แต่เดิมเขาอยู่กันสามสิบคน นักศึกษาหลุดเข้าไปที เฉพาะเขตตะนาวศรีนี่ก็เป็นร้อยคน แล้วทางใต้เนี่ย เมื่อก่อนเขามีกันสาม 44


จุลสารปรีดี

ร้อยคน นักศึกษาเข้าไปครั้งเดียวเป็นพันคน คนมันเพิ่มมากเลย รวมทั้งหมดทั้งประเทศแล้วสาม พันกว่าคน แล้วคนที่ไปทีหลังก็ไปแบบนักท่องเที่ยวแล้ว ไม่ได้ไปอยู่แต่ไปเหมือนไปเพิ่มพลังน่ะ ไปอบรมชั่วคราว ก็ไปกันคนละเดือนบ้าง อาทิตย์บ้าง สามวันบ้าง ก็ทยอยกันไป เราก็เป็นพวกนำ� ทัวร์ ใครมาก็ต้อนรับ กองบรรณาธิการ : แล้วไม่กลัวทางรัฐบาลไทยจะรู้ถึงฐานที่มั่นหรอครับตอนนั้น อาจารย์วิภา : ถ้าเป็นแถวเขตตะนาวศรีมันเป็นเขตหลังเขา เขาเอาเครื่องบินไปทิ้งระเบิด ไม่ได้เพราะมันเป็นเขตพม่า แต่เขามาบินวนเวียนเวลาเราทำ�ไร่ พอเราได้ยินเสียงเครื่องบิน เราก็ ยืนตัวตรงแล้วเราใส่หมวกกวยเล้ย แล้วเสื้อเราจะใส่ไม่น้ำ�เงินก็ดำ� มันกะกลืนไปนึกว่าตอไม้ ยืน นิ่งๆซักพักก็บินไป บางทีเขาก็มองว่าอาจจะเป็นพื้นที่กะเหรี่ยง อย่างค่ายนี่จะเป็นพื้นที่ปกปิด อย่างเวลาหุงหาอาหารเขาจะมีวิธี อย่างในเวียดนามเขาก็จะมีบทเรียน สหายของไทยนี่ก็จะไป เรียนรู้มาจากทั้งจีนและเวียดนาม มีสองสายนะ ที่มันทะเลาะกันก็เพราะงี้ พวกเรียนจากเวียดนาม เนี่ยส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยรบ แล้วเวลาขุดเตา เขาจะขุดเหมือนเวียดนาม หุงข้าวเนี่ยต้องใช้กระทะ ใหญ่เป็นเมตร ควันมันจะเยอะ ฉะนั้นเขาก็จะขุดเตาแล้วที่ระบายควันก็จะเป็นท่อยาวไปตามพื้น ห้า สาย เอาใบไม้ปิดตลอดแนว แล้วมันก็ไปโผล่นู่นนิดโผล่นี่หน่อย มันก็เป็นเหมือนหมอกจางๆก็ไม่รู้ ว่าค่ายเราอยู่ที่ไหน แล้วเราก็มีการฝึกซ้อมการถอยเวลามีเหตุการณ์ ก็จะมีการซ้อมเป็นประจำ� เช่นว่าเขามีการเป่าสัญญาณถอย ก็ห้ามจุดไปเลย ต้องสามารถทำ�งานในที่มืดได้ อย่างเก็บของ มัดเชือกเอาเป้ขึ้นหลัง แล้วก็เดินกันมืดๆ เดินไปทางไหน จะเดินไปทิศใด ปกติก็จะมีกะล่อมนะ เป็นกระท่อมเล็กๆกลางป่า ก็เอาของไปเก็บไว้แล้วเดินขึ้นเขาไป ก็ฝึกรบฝึกถอยงี้เป็นประจำ� แล้ว ก็ถอดประกอบปืนในที่มืด ปืนก็ใช้ปืนรุ่นโบราณมากเลย สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เป็นของเก่าๆ คง ไม่ค่อยมีตังค์มั้ง จนมากเสื้อผ้านี่ปะแล้วปะอีก ไปวันแรกไปเจอทหารป่านะ คือคนที่เป็น ผู้บังคับ บัญชาเขาจะเรียกว่าจัดตั้ง ก็จัดตั้งเนี่ยเขามารับนะ เราดูในที่มืดเราไม่รู้นะ เขาใส่รองเท้ากันทาก นึกว่าเขาใส่รองเท้าบูทก็เหมือนในหนังไงเรามองดูก็ว่าเท่นะ ที่ไหนได้พอเช้าเสร็จปะเต็มตัวเลย (หัวเราะ) น่าเกลียดมากเลยปะกัน หูย ส่วนถุงเท้ากันทากก็คือผ้ายืดที่เอามาตัดเป็นถุงแล้วก็ผูก เชือกเพื่อไม่ให้ทากมันเข้าไป สนุกมาก กองบรรณาธิการ : ตอนที่ออกจากป่ามานี่ ทางพรรคเขากะที่จะเลิกต่อสู้หรืออย่างไรครับ อาจารย์วิภา : คือเราก็ไม่รู้ปัญหาโดยตรงของเขานะ มารู้เอาทีหลังว่าเขาเถียงกันเรื่อง นโยบายเรื่องยุทธศาสตร์อะไรต่ออะไร แล้วการที่นักศึกษาหลั่งไหลเข้าไปมากๆเชื่อว่าอย่างนึงเขา บริหารจัดการไม่เป็น คือเขาไม่รู้จะดูแลคนอย่างนี้อย่างไร โดยเฉพาะที่แนวคิดเขาเป็นแนวคิด ทหาร ทำ�ให้เขาไม่ให้ประชาธิปไตยด้วย เปิดประชาธิปไตยก็ไม่ได้ แล้วดูแลด้านเศรษฐกิจการ ผลิตก็มีปัญหา มันต้องใช้ทั้งกำ�ลังทรัพย์ ทั้งการเลี้ยงดูจำ�นวนมาก คือเราก็ลงไปผลิตนะ คือ ผลิตเลี้ยงตัวเราเองแต่มันก็ไม่เพียงพอ ทำ�ให้เขามีข้อถกเถียงกันมาก ก็กระเทือนไปหลายเรื่อง ทั้งเรื่องวิธีคิดทั้งเรื่องยุทธศาสตร์ของเขาเอง ทั้งเรื่องการผลิตด้วย เพราะว่าเขาเองก็ประชุมกัน 45


จุลสารปรีดี

น้อยมากนะ คือเราได้ข่าวว่าการประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์เองประชุมทีห้าปีสิบปีหายไปยี่สิบปี อะไรก็ไม่รู้ คือมันเป็นพรรคที่ค่อนข้างใช้ประสบการณ์ของประเทศอื่นและประสบการณ์ของตนเอง เนื่องจากการนำ�นี่จะมาจากสหายที่มาจากสหายชาวนาด้วย แล้วก็ยังขัดแย้งกับแนวคิดของสหายที่ เป็นต่างประเทศที่ก้าวหน้ากว่าด้วย เลยอยู่ไม่ได้ พวกเราก็ไม่ได้เข้าไปเพื่อให้เขาพังนะ แต่มันพัง เอง (หัวเราะ) คือถ้าเขาไม่มีจุดอ่อนอย่างนี้เขาก็อาจจะไม่พังจริงไหม เขาก็อาจจะนำ�พาเราได้ เขา ก็อาจจะเปิดประชาธิปไตยและอาจจะใช้ศักยภาพของเราให้เป็นประโยชน์ กองบรรณาธิการ : หลังจากเหตุการณ์ ๖ ตุลานั้นแล้วมีหลายคนเหมือนกับว่าเปลี่ยนฝั่ง แบบกลายเป็นอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว หรือไปเข้ากับฝั่งที่เคยทำ�ร้ายตนเอง อาจารย์คิดว่าเกิดจากอะไร ครับ อาจารย์วิภา : อันนี้มันอธิบายไม่ยากเลยนะ คือในสมองเรามันจะมีการต่อสู้เรื่อง จิตสำ�นึกทางชนชั้น มันไม่ได้แปลว่าคนๆหนึ่งจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างหนึ่งแล้วจะไม่กลับมา มันก็เป็น ความขัดแย้งที่เขาต้องต่อสู้ในความคิดจิตสำ�นึกของเขา เนื่องจากว่าในช่วงที่เราเป็นนักศึกษาแล้ว เราประสบกับเหตุการณ์ช่วง ๖ ตุลา เราเข้าป่าไปเพื่อเราจะบอกว่าเราจะเข้าสู่เวทีใหม่ จะมากอบ กู้ประเทศอะไรงี้ ตอนนั้นเราฝันว่าเราจะสามารถเปลี่ยนประเทศได้ภายในไม่เกินห้าปี แต่มันสอง สามปีแรกก็แย่แล้ว (หัวเราะ) เอ๊ะมันจะเปลี่ยนไหวป่าววะทำ�ไมมันจนขนาดนี้ วิทยุก็ไม่ให้ฟัง ให้ ฟังแต่ สปท. (เสียงประชาชนแห่งประเทศไทย) ปืนก็ไม่ค่อยจะมี ปืนเนี่ยจะได้ยิงเฉพาะวันพรรค นะ วันที่ ๑ ธันวาเนี่ย ให้ยิงคนละลูกเอง ให้ถือแต่ไม่ให้ยิง มีเช็ดมีถูมีถือบ้าง คนที่อยู่นานๆถึงจะ ได้จับ แล้วเรื่องเหล่านี้มันมีผลทั้งนั้น แล้วตอนนั้นคุณเชื่อย่างนั้นใช่มะ แต่ถ้าคุณไม่ได้คิดว่าคุณ จะต่อสู้เพื่ออะไรอย่างนี้ บางคนเขาอาจจะรู้สึกว่าเขาถูกหลอกเข้าไป พอออกมาแล้วที่เขาเรียก พวกอกหัก ถ้าคนใต้เขาจะเรียกว่าพวกเสียคิด คือมันประสาทไปเลย คือออกมามันก็เปลี่ยนไป แล้ว คนที่ออกมาแล้วเปลี่ยนตั้งแต่วันนั้นก็มี แต่บางคนก็มาเปลี่ยนเอาเมื่อตัวเองมีสถานะแล้วก็ มี คือเรียนจบแล้วได้ตำ�แหน่งได้หน้าที่ได้อะไรแล้วก็ไปเล่นการเมือง ได้สิทธิพิเศษขึ้นมา ก็เหมือนที่ เราบอกว่าทุนนิยมเสรีในยุคแรกยังเปลี่ยนได้เลย จากคนที่เสนอความเท่าเทียมของมนุษย์เพื่อไปสู้ กับพวกแลนด์ลอร์ด พอตัวเองขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองแล้วปรัชญาเปลี่ยนเลยนะ กลายเป็นว่าต้อง ปกป้องทรัพย์สิน ต้องรักษาระบบทุนนิยมไว้ให้ได้ก็จะเห็นว่ามันก็เปลี่ยนจากแนวความคิดเสรีนิยม ฉะนั้นนักศึกษาที่เข้าป่าไปแล้วพอออกมา คุณได้อภิสิทธิ์ในสังคม บางคนถึงกับว่าส่วนที่ หายเข้าไปในป่านี่ขาดทุนไปแล้ว ก็ต้องกลับมาตักตวงให้มาก บางคนก็เกลียดพรรคมาก เกลียด ชังเพื่อนด้วยนะไม่คบเลย พวกที่ยังคบกันอยู่นี่ก็เหลือจำ�นวนไม่เยอะนะ ดูสิคนตั้งสามพันกว่า คน มีคนปรากฏตัวซักกี่คน ในงาน ๖ ตุลาที่จัดเมื่อคบรอบ ๒๐ ปี ๖ ตุลา คือปี๒๕๓๙ ที่จัดเพราะ เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬส่งผลสะเทือนอย่างสูงเลยให้ย้อนกลับไปคิดถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย คน ๖ ตุลาจำ�นวนนึงก็กล้าที่จะออกมาจดงานรำ�ลึกแล้วก็บอกว่าฉันเนี่ยเคยเข้าป่า แต่จำ�นวนก็ไม่ ได้เยอะนะ จำ�นวนหนึ่งเท่านั้น แล้วก็คนที่เข้าสู้กระแสการเมือง ถ้าเราบอกว่าเขาเปลี่ยนไปนี่มัน 46


จุลสารปรีดี

เป็นเรื่องของการต่อสู้เชิงจิตสำ�นึกจริงๆเลย อย่างสุริยะใส สู้ในเหตุการณ์พฤษภาสู้กับทหารที่ ออกมาทำ�รัฐประหาร แล้วตอนนี้มานำ�การต่อสู้ให้กับเสื้อเหลือง แถมยังเป็นคนปลุกระดมว่าถ้าไม่ อาศัยกำ�ลังทหารออกมารัฐประหารก็ไม่สามารถโค่นทักษิณได้ ตัวเองเคยต้านทหารน่ะแล้วทำ�ไม ยังสนับสนุนทหารเต็มพิกัดขนาดนั้น เราต้องไม่คิดที่ว่าอะไรมันเปลี่ยนไม่ได้ แต่ว่าก็ไม่ได้คิดว่าทุก อย่างต้องเปลี่ยนแต่มันมีที่มาที่ไปไง รูปการจิตสำ�นึกเนี่ย แต่มันก็ไม่ได้แปลว่าพลิกลิ้นอธิบายอะไร ก็ได้นะ มันก็ยังเป็นเรื่องระหว่างจุดยืนทางชนชั้นอยู่ดี ว่าคุณมีจุดยืนในชนชั้นไหน คุณได้ทรยศต่อ ชนชั้นเดิมรึเปล่า แต่ก่อนเราก็จะถูกว่าว่าเป็นลูกชนชั้นกลางเป็นลูกนายทุนเขาบอกว่าเราไม่มีทาง เปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่คนที่ด่าเรานะที่บอกเป็นลูกชาวนาทั้งหลายน่ะ รักทหารมากเลย หลัง ๑๔ ตุลา นี่ถือเป็นเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง ทหารตำ�รวจไม่กล้าใส่เครื่องแบบเลย ไม่มีความภาคภูมิใจเลยนะ กลายเป็นว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเลวร้ายคิดดูสิสังคมเปลี่ยนได้ ขนาดนี้นะ แล้วประชาชนเนี่ยภูมิใจตัวเองนะ คนที่เคยจนมากๆลุกขึ้นมาโบกรถ ทำ�หน้าที่จราจร ทำ�หน้าที่ต่างๆ ภูมิใจในตัวเอง เขาบอกว่าการปฏิวัติครั้งหนึ่งก็จะทำ�ให้เกิดการปฏิรูปแล้วก็ จิตสำ�นึกเปลี่ยน กองบรรณาธิการ : ทราบว่าวีรชนเดือนตุลานี่ยังไม่เคยได้รับการเยียวยาจากรัฐเลยใช่ไหม ครับ อาจารย์วิภา : ยังเลยค่ะ ก็ยังคิดอยู่ที่เขาขอกันไปสิบล้านเราต้องไปขอบ้าง ขอให้ป้าเล็ก คุณแม่ของมนู วิทยาพร เพราะขนาดญาติของวีรชนที่จะมางาน ๖ ตุลานะยังไม่มีเลยมีอยู่สองราย เท่านั้นที่มา นอกนั้นไม่มีใครกล้าแสดงตัวเพราะว่า ๖ ตุลานี่ถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แล้ว แถมยังหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลยไม่มีใครอยากยุ่งเลย คนที่เป็นพ่อแม่เองเขายังช้ำ�ใจเลยว่าลูก เขาทำ�ไมตาย แต่เขาก็ไม่มางาน มีบางคนที่เราติดต่อได้นะ เขาเป็นแม่ของนักศึกษาคณะพาณิชย์ ที่ธรรมศาสตร์ เราอยากให้เห็นว่าผู้หญิงธรรมดาที่อยู่คณะพาณิชย์ก็ยังมีจิตสำ�นึกทางประชาธิปไตย ไม่จำ�เป็นว่าต้องเป็นคณะรัฐศาสตร์หรือนิติศาสตร์ เราก็อยากจัดงานให้เขาแต่ปรากฏว่าแม่เขาไม่ ยอมมาเลย ไม่ให้พูดถึงเลย แล้วคนที่ถูกแขวนคอที่ต้นมะขามหน่ะค่ะ อยู่คณะรัฐศาสตร์จุฬานะ อยู่ปี ๒ เองเป็นนักรักบี้ญาติเขาก็ไม่ยอมมานะ เคยมาอยู่สองสามครั้งแล้วหายไปเลยตอนนี้ที่เหลือ มางานทุกปีๆเหลืออยู่สองราย คือคุณแม่ของมนูแล้วคุณพ่อของจารุพงษ์ ทองสินธุ์ ซึ่งแก่มากๆเลย แล้วไม่เคยที่จะได้รับการเยียวยาจากภาครัฐเลยแล้วก็ หลังจากเหตุการณ์ ๖ ตุลามีการนิรโทษ กรรมกลายเป็นว่าทุกคนไม่ผิดเลย คนที่เข้าไปฆ่าเขาก็ถูกยกเลิกความผิดไปด้วย แล้วก็อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ที่ชื่อ กิตติศักดิ์ ปรกติ เนี่ยแกบอกว่าคุณจะไปเอาเรื่องอะไร เขานิรโทษกรรมไป แล้ว แกเป็นคน ๖ ตุลานะ แกเป็นคนถูกกระทำ�ถูกจับนะ ทำ�ไมพูดงี้ นี่มันมีคนแบบนี้เยอะมากเลย นี่คือความอ่อนแอภาคประชาชนน่ะ อย่างอาจารย์สมศักดิ์ เจียม.นี่แกถูกจับไปพร้อมกับ ๑๘ ผู้ต้องหา พวกนี้ส่วนนึงเขาไม่ได้ เข้าป่านะ เขาลิ้มรสการติดคุกอยู่ถึงสองปีเต็มๆ แล้วก็เป็นการเรียกร้องของทั่วโลกเลยนะ คนไทย 47


จุลสารปรีดี

หรือนักศึกษาที่หนีไปต่างประเทศเขาเคลื่อนไหวน่ะมันผลักดันให้เกิดการประณามไงว่าเป็นการฆ่า กันกลางกรุง ตอนแรกเขายินดีปรีดาฉลองชัยกัน แต่กลายเป็นว่าถูกประณามจากทั่วโลก ในที่สุด เขาก็ต้องปล่อย ตอนแรกเขาถือว่าเป็นคดีที่เกิดขึ้นหลังการัฐประหาร มันอยู่ภายใต้ทหาร เขาก็ เลยใช้ศาลทหาร ซึ่งศาลทหารจะทำ�ยังไงก็ได้ แต่ในที่สุดก็ต้องปล่อย อาจารย์สมศักดิ์ก็เป็นหนึ่ง ในนั้น แล้วบางคนก็ไปอยู่กับพันธมิตรนะ ประยูร เขาเคยพูดกับพี่นะว่าเมื่อหกปีก่อน ก่อนที่จะมี รัฐประหารเนี่ย คณะกรรมการสิทธิเข้าตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เขาบอกว่าจะสอบสวนเรื่อง ๖ ตุลา แล้วเขาบอกจะเชิญไปสัมภาษณ์ ก็ไปนั่งหน้าห้องอนุกรรมการสิทธิ์ ตอนนั้นยังเป็นชุดเดิมอยู่ที่มีอา จารย์จรัญ แต่ชุดอนุกรรมการจะไม่มีอาจารย์พวกนี้ ไปเจอประยูรหน้าห้อง “วิภา อย่าบอกนะว่า รู้จักกับพวกคอมมิวนิสต์ อย่าบอกนะว่ารู้จักทฤษฎีของลัทธิมาร์กซ์หรืออะไร” (หัวเราะ) ก็ยังไม่เข้าไป สัมภาษณ์เลยนะบอกไว้แล้วว่าห้ามอะไรบ้างแล้วมันจะสืบความจริงได้ยังไงกัน คือเขาพยายามจะ สร้างเรื่องว่านักศึกษาหรืออะไรที่เข้าป่าไปเนี่ยเป็นพวกหน่อมแน้มหมดเลย คือพยายามจะเปลี่ยน ประวัติศาสตร์น่ะ ที่เปลี่ยนอย่างนี้เพราะว่ากระแสสังคมนิยมทั้งหมดและแนวคิดทีเกี่ยวกับลัทธิมาร์ กซ์เป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองกลัวมาก ไม่ว่าจะขึ้นมาจากพรรคไหนนะไม่ยอมให้มี คุณจะรื้อฟื้นไม่ได้ เลย เพราะสิ่งเหล่านี้ทำ�ให้มวลชนตื่นตัว เพราะตอนนั้นกระแสสังคมนิยมเนี้นขึ้นถึงขีดสูงสุดเลยนะ กองบรรณาธิการ : ในสังคมไทยไม่ยอมให้มีประวัติศาสตร์เหล่านี้ในบทเรียน อาจารย์วิภา : เรียกร้องกันมาทุกปีนะก็ไม่เป็นบรรจุเข้าไป ฉะนั้นแล้วในเชิงนักศึกษาถ้า จะทำ�ในเรื่องปฏิรูปการศึกษาก็ต้องบรรจุไว้ด้วย เพราะอย่างขนาดเด็กมัธยมต่างประเทศเขายังเรียน เลยว่าความผิดพลาดของผู้นำ�ของเขามีอะไรบ้าง เขาว่ากันเป็นรายบุคคลเลยว่าคนนี้ทำ�เลวอะไรคน นี้ทำ�นโยบายอะไรผิดพลาด เขาให้เด็กมัธยมธรรมดาๆเรียนด้วยนะ คือให้เด็กวิเคราะห์เป็นเรื่อง ความยุติธรรม แต่ของเรานี่ไม่มี ในประเทศไทยนี่จะมีข้อคิดเห็นแล้วก็รูปของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา เขา จะไม่พูดถึง ๖ ตุลาเลย เพราะ ๖ ตุลานี้เป็นบาดแผลของผู้ปกครองและชนชั้นนำ�ไทยทั้งหมดเลย กองบรรณาธิการ : อาจารย์คิดว่าคนที่จะเข้าร่วมงานรำ�ลึกเหตุการณ์ ๖ ตุลาปีนี้จะเป็นยัง ไงบ้าง อาจารย์วิภา : คือที่ผ่านมาคนที่เข้าร่วมมันก็จะน้อยลงๆ อย่างแรกที่ต้องคำ�ถามว่านักการ เมืองที่มาจากคนเดือนตุลาเอง เขาก็ไม่ได้รักษาระบอบประชาธิปไตยเลย บางส่วนก็ไปเปลี่ยนวิธี คิด เปลี่ยนความคิด เหมือนกับชนชั้นปกครองที่เคยเป็นมาในอดีต เป็นไปได้ในช่วงนั้นที่จัดนี่เขา อาจจะเตรียมตัวเข้าสู่สนามการเมืองก็ได้ ถึงได้อ้างเรื่องนั้นเป็นเรื่องปูทางให้กับคนเดือนตุลาเป็น คนที่รักประชาธิปไตยและเป็นผู้เสียสละ เนื่องจากปี ๓๙ เนี่ยพอถัดมาอีก ๒ ปี ก็มีการหาเสียงแล้ว ก็มีการสร้างพรรคขึ้นมา อย่างพรรคพลังธรรมที่ต่อมาก็พัฒนาเป็นพรรคไทยรักไทยอะไรทำ�นองนั้น ปรากฏว่ากลุ่มก้อนที่ออกมาพยายามยึดยงตัวเองเข้ากับเหตุการณ์เดือนตุลา ก็พยายามจะบอกถึง ความเป็นผู้รักในประชาธิปไตย เป็นฮีโร่ มันก็เป็นไปได้ที่กระแสตอนนั้น เหมือนกลายเป็นกระแส ของคนเดือนตุลา เสกสรร ก็ออกมาต้องกลุ่มตัวเอง ตอนนั้นมีเยอะมากที่ทำ�เป็นกระแสประชาธิป 48


จุลสารปรีดี

ไตยเนี่ย มันต้องไปยืมคำ�พูดของคำ�ผกาที่ว่า พวกสลิ่มอวตารต้องไปฟังคำ�ผกานะเพราะว่ามันจริง มันเป็นการตัดต่ออุดมการณ์แล้วก็สร้างวาทะกรรมขึ้นมา ด้านนึงก็เพื่อผลักให้ตัวเองอยู่เหนือหัว ประชาชนแหล่ะ แล้วคนรุ่นใหม่ก็จะดีตรงที่ไม่มีบาดแผลจากอดีตจากการผิดหวังจากการเข้าไปร่วมกับ พรรคคอมมิวนิสต์ แล้วความเจ็บปวดขยาดกลัวจากการถูกปราบปรามจากอำ�นาจที่คอยเล่นงานเรา มันก็ไม่ค่อยมี เด็กรุ่นใหม่จึงถึงว่าเป็นความหวังมากกว่าผู้ใหญ่รุ่นที่แล้วๆ เด็กรุ่นใหม่ที่เรียนรู้และ เข้าใจถึงสิทธิที่มีของตัวเอง เข้าใจถึงเสรีภาพความเท่าเทียมพวกนี้จะมีพลังมากกว่า เราอย่าไปหวัง พึ่งเลยว่าคนรุ่นที่ผ่านมาเนี่ยเขาจะลุกขึ้นมาสู้เพราะบางคนเนื่องจากเจออุปสรรคมากก็อาจจะหนีไป เลย บางส่วนก็กลายเป็นว่าสร้างอำ�นาจให้กับตัวเองกลายเป็นใช้ให้เป็นประโยชน์กับส่วนตัว คน พวกนี้มันอยู่เพื่อตัวเองแล้วล่ะไม่ได้อยู่เพื่อคนยากคนจน เราอย่าไปหวังเลย คนรุ่นใหม่ไม่ควรจะไป หวังกับคนพวกนี้ กองบรรณาธิการ : อาจารย์คิดว่าประเทศไทยจะเป็นยังไงต่อไปหลังจากผ่านเหตุการณ์ หลายๆอย่างพวกนี้มาแล้ว อาจารย์วิภา : จริงเรามองในแง่ดีได้นะเพราะความตื่นตัวของมวลชนไม่เคยมีมากมาย เท่านี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย คำ�ว่าตาสว่างก็มีความหมายมากเลย สมัยก่อนเราคุยกันอยู่ แค่ไม่กี่คน เพราะฉะนั้นเนี่ยมวลชนอย่าไปพึ่งพรรคการเมืองถึงแม้จะได้ชัยชนะ มวลชนต้องรู้ว่า เพราะพลังของตัวเองนี่แหละที่นำ�ไปสู่ชัยชนะ มวลชนก็ยังคงต้องสู้กันต่อไป แต่ก็น่าภูมิใจนะเพราะ อำ�นาจนี่ต้องการเล่นงานคนตั้งแต่ทำ�รัฐประหารก็แล้ว ใช้กฎหมายเผด็จการก็แล้ว เขาก็ยังปวด หัวอยู่เลย ไม่ได้บกว่าเขาพ่ายแพ้นะ แต่ก็ยังไม่สามารถปราบปรามประชาชนออกไปได้ทั้งหมด แต่ เขาก็ยังคงหวังว่าจะทำ�รัฐประหารอีกอยู่มั้ง แต่กระแสสากลเขาก็ไม่เอาด้วย มวลชนนี่ต้องเชื่อมั่นใน พลังตนเองน่ะ แล้วในที่สุดแล้วก็น่าจะมีพรรคการเมืองเป็นของตัวเองไม่ต้องไปพึ่งพรรคการเมือง ของกลุ่มทุน แล้วกระแสโลกส่วนใหญ่ก็ลุกขึ้นมาสู้กับกลุ่มทุนและเผด็จการทั้งนั้นเลย อองซาน ซูจีเขายังต้องเรียนรู้เลยว่าสมัยนึงเขาเคยบอกว่าไม่ให้นักศึกษาออกมาต่อสู้เรียกร้อง เขา อาศัยหลักที่ว่าจะต่อสู้ผ่านรัฐสภา แต่ในที่สุดเขาก็โดนเด็จการจัดการ แต่มาวันนี้นะ ซูจีพอออกมา จากการกักบริเวณปั๊บก็พูดถึงการปฏิวัติดอกมะลิเลย คือถ้าซูจีเขาไม่ไปห้ามปรามนักศึกษาให้ลุกขึ้น สู้ตั้งแต่สมัยก่อนนะ ประเทศพม่าอาจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว นี่คือแนวคิดของชนชั้นกลางเลยที่เวลา สู้อะไรแล้วจะสู้ไม่สุด จะบอกว่าให้สู้เท่าที่ชนชั้นปกครองจะรับได้ ให้มีการยอมรับแล้วมีการต่อรอง แทนที่จะสู้ให้สุดแล้วตัวเองก็ถูกจับกุม ปัจจุบันก็เหมือนกัน เวลาเป็นรัฐบาลแล้วจะต้องเจรจาจะ ต้องไม่เรียกร้องมากนะเราอย่าไปกดดันเขานะ เป็นลักษณะนี้หมดเลย กองบรรณาธิการ : ความคาดหวังของอาจารย์นี่คิดว่าประเทศไทยเปลี่ยนแน่นอนใช่ไหม ครับ อาจารย์วิภา : เราคาดว่าประเทศจะเปลี่ยนแน่นอนไม่ได้เราต้องบอกว่าอยู่ที่พลัง 49


จุลสารปรีดี

ประชาชน ประชาชนที่รู้และเข้าใจในพลังของตัวเองจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เราอย่าคิดว่าแค่การเลือก ตั้งนี่สำ�เร็จแล้วนะ เพราะฝ่ายที่สูญเสียอำ�นาจนี่มันก็จ้องที่เอาคืนอยู่ มันจะยกอำ�นาจให้คนอื่น ง่ายๆหรือไม่มีทาง ที่เขาบอกว่าอำ�นาจที่ใกล้ดับสูญมันยิ่งต้องดิ้นทุรนทุราย เหมือนปีศาจที่ดิ้นรน น่ากลัว พลังนักศึกษานี่แหละจะเป็นตัวชี้ขาด พี่น้องประชนก็ส่วนหนึ่งทำ�ไงถึงจะปลุกเพื่อนๆ นักศึกษาขึ้นมาได้ กองบรรณาธิการ : อาจารย์คิดว่าการที่ย้ายธรรมศาสตร์กับมหิดลออกไปอยู่นอกเมืองนี่ ส่งผลต่อความคิดของนักศึกษาไหมครับ อาจารย์วิภา : ส่งผลค่ะ เพราะคนที่ย้ายนี่เขาก็คิดมาแล้ว ถึงแม้จะบอกว่ามันเริ่มต้นที่อา จารย์ป๋วยหรืออะไรก็ตาม มีคนพยายามจะยกนะว่ามีการจะขยายแคมปัสตั้งแต่สมัยก่อน แต่จริงๆ มันมีผลตอนคนที่มานั่งเป็นนายกสภามหาลัยคือ สุเมธ ตันติเวชกุล แล้วแถมสุเมธก็พูดกับศิษย์เก่า วชิราวุธนะเมื่อสองสามปีที่แล้วว่านี่คือผลงานของเขา เขาเชื่อมั่นเลยว่าการย้ายธรรมศาสตร์จาก ท่าพระจันทร์ไปรังสิตนี่เป็นผลงานของเขาเป็นกดการกระแสการต่อสู้ของนิสิตนักศึกษา แล้วเขาพูด เลยว่า “นี่คือผลงานของผม เพราะว่าผมเนี่ยไปเป็นนายกสภามหาลัย ซึ่งทำ�ให้งานนี้ประสบความ สำ�เร็จ” เขาพูดเองนะ ถ้าจะบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ก็ต้องบันทึกไว้ว่าเขาพูดไว้ที่สมาคมศิษย์เก่า วชิราวุธว่ายังไง มันอาจจะทำ�ให้นักศึกษามีโลกของตัวเองน่ะ ซึ่งอาจจะขาดการติดต่อกับคนทั่วไปเพราะ ว่า ในสนามหลวงหรือท่าพระจันทร์หรืออะไรพวกนี้มันเหมือนกับเป็นท้องถนนที่มีประวัติศาสตร์ เยอะ การใช้สนามหลวงปัจจุบันก็พยายามถูกตัดตอนไปด้วย คือถ้าไม่ให้ชุมนุมตรงนี้แล้วจะ ไปชุมนุมตรงไหนมันก็ตรงมาใช้ถนนจริงไหม ซึ่งแต่เดิมมันเป็นพื้นที่การชุมนุม ซึ่งถ้าเขาจะออก กฎหมายเป็นมรดกหรือเป็นโบราณสถานเนี่ย ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของสนามหลวงนี่เป็นการ ชุมนุมนะ ไม่ใช่ว่าประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของสนามหลวงใช้เผาศพเจ้านาย เพราะเจ้านายก็มีน้อย คน แต่ประวัติศาสตร์ส่วนสำ�คัญของสนามหลวงก็คือประวัติศาสตร์การเมือง แต่พอขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานดันไม่ให้สาธารณชนมาใช้ นี่คือการพยายามตัดทอน ที่จริงนักศึกษาธรรมศาสตร์ สามารถทวงได้นะ ทวงผ่านจดหมายเปิดผนึกเล่าเลยว่าประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของสนามหลวงคือ ประวัติศาสตร์การเมือง

50


จุลสารปรีดี

มุมมองฝ่ายขวาต่อเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ นายสมัคร สุนทรเวช ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวสำ�นักข่าว Al Jazeera ในรายการ 101 East และได้กล่าวถึง พาดพิงถึงเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ นักข่าว : ดิฉันอยากจะย้อนกลับไปในปี ๑๙๗๖ (เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙) ช่วงที่มีนักศึกษา ประท้วงกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีนักศึกษานับร้อยคน ถูกทำ�ร้าย ถูกยิง แล้วก็ถูกเผา สมัคร : คุณไปได้รายงานนั้นมาจากไหน ? นักข่าว : ประวัติศาสตร์บอกไว้ว่า คุณออกรายการวิทยุ ปลุกระดมม็อบประชาชน ให้มาทำ�ร้าย นักศึกษา สมัคร : ตอนนั้นคุณอายุเท่าไหร่...อายุเท่าไหร่...คุณเกิดหรือยัง ? นักข่าว : คุณปฏิเสธในเรื่องนั้นหรือไม่ ? สมัคร : ผมไม่กังวลเรื่องนั้นเลย พวกเขาเขียนประวัติศาสตร์ที่สกปรกเกี่ยวกับตัวผม ผมยื่นฟ้อง คนพวกนี้ต่อศาลมาหลายครั้งแล้ว เหตุการณ์ครั้งนั้นมีแค่ชาย ๑ คนเท่านั้นที่ตายในสนามหลวง เพราะ มีคนไปทำ�ร้ายเขา แล้วเผาด้วย....สายไฟ...เอ้ย...ด้วย...ยางรถยนต์ ขณะที่นักศึกษาร่วม ๓,๐๐๐ คน อยู่ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นก็โดนจับ ทหารต้องการนำ�นักศึกษาออกมา พวกเขาก็เลยถอดเสื้อ นักศึกษาออก แล้วก็ท�ำ อย่างนี้ (แสดงท่ามือไพล่หลัง) นักศึกษา ๓,๐๐๐ คน นอนลงกับพื้นสนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วทหารก็นำ�รถบรรทุกมาขนนักศึกษาไปยังค่ายทหาร เป็นวิธีเดียวที่จะไม่มีใคร ถูกทำ�ร้าย . . . ทั้ง ๓,๐๐๐ คน จากนั้นนักศึกษาก็ถูกปล่อยตัว แต่หลายคนกลัวก็เลยหนีเข้าป่าไป หลายคนก็กลับบ้าน ไม่มีใคร ตายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่มีใครตาย นั่นเป็นประวัติศาสตร์ที่โสโครก มีคนสร้างมันขึ้นมา มีคน เขียนเรื่องสกปรกแบบนั้นขึ้นมา

51


จุลสารปรีดี

นักข่าว : เราก็ไม่ควรเชื่อประวัติศาสตร์ค่ะ แต่เหตุการณ์นี้มีภาพบันทึกอยู่ สมัคร : ภาพอะไร... ภาพการฆ่ากันหรอ ? นักข่าว : ใช่ค่ะ สมัคร : เป็นไปไม่ได้ นักข่าว : ดิฉันเห็นภาพคนถูกทำ�ร้าย สมัคร : อ้าว! แน่นอนที่สนามหลวง นักข่าว : แล้วศพก็อยู่บนพื้น สมัคร : ใช่ๆ มี คน นักข่าว : คุณบอกว่า ๑ คน สมัคร : ใช่ นักข่าว : แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนบอกว่า มีหลายสิบคน อาจจะถึงร้อยด้วยซ้�ำ สมัคร : สำ�หรับผม ถ้าผมแปดเปื้อน ผมมาไกลขนาดนี้ไม่ได้หรอก ประวัติศาสตร์สกปรกแบบนี้ ผมแค่...ผู้หญิงอย่างคุณ เดินทางมาแสนไกล เพื่อมาถามคำ�ถามแบบนี้เนี่ยนะ แม้แต่คนไทย ยังไม่กล้าถาม คำ�ถามแบบนี้กับผมเลย ตอนผมเป็นผู้ว่าฯ กทม. บางคนก็บอกว่าผมเป็นฆาตกร เป็นพวกมือเปื้อนเลือด มาเป็นผู้ว่าฯไม่ ได้หรอก ผมนำ�เรื่องนี้ฟ้องต่อศาล ผู้พิพากษาบอกว่า คุณสมัคร กำ�ลังจะเลือกตั้งแล้วให้อภัยเขาเถอะ เขา เข้าใจผิด ถอนฟ้องไปเถอะ มันจะดีต่อตัวคุณเอง ผมก็เห็นด้วย ยอมถอนฟ้อง แล้วพอเลือกตั้ง ผมได้รับคะแนนเสียงเกินกว่า ๑ ล้านคะแนนจากชาวกรุงเทพฯ ไม่เคยมีใคร ทำ�ได้มาก่อน คนที่เคยได้คะแนนสูงสุด ได้ ๗๐๐,๐๐๐ คะแนน ผมได้มากกว่า ๑ ล้าน แล้วคนเลวอย่างนั้น ถูกเลือกมาได้อย่างไร ? นั่นไม่ใช่ข้อพิสูจน์เหรอ ? ที่คนกรุงเทพฯซึ่งมีการศึกษา ผู้มีสิทธิลงคะแนน ๔ ล้านคน ออกมาใช้ สิทธิ ๒ ล้านคน กว่า ๑ ล้านคนเลือกผม ที่เหลือผู้สมัครเบอร์อื่นได้คนละเล็กละน้อย นักข่าว : เอาล่ะ! แต่คุณถูกฟ้องในข้อหาคอร์รัปชั่นในสมัยที่คุณเป็นผู้ว่าฯกทม. ไม่ใช่เหรอ ? สมัคร : แล้วข้อหานั้นทำ�อะไรผมได้หรือยังล่ะ นั่นเป็นแค่วิธีการสกปรก ที่พวก...จนกระทั่งป่านนี้ คดีความปาเข้าไป ๒ ปีแล้ว ทำ�ไม ๒ ปียังเอาผมขึ้นศาลไม่ได้ ไม่มีอะไรผิดเลย พวกนั้นต้องการทำ�ลายผม คนบางคน ผมขอเรียกว่า “มือสกปรก” “มือมืด” “มือที่มองไม่เห็น” ต้องการทำ�ลายผม คุณต้องอยู่ที่นี่นาน กว่านี้ แล้วคุณจะรู้ว่าผมจะถูกจำ�คุกในคดีนี้หรือไม่ ถ้าผมพูดว่า ...นักข่าวอย่างคุณเป็นผู้หญิงที่น่ารังเกียจ คุณฆ่าคน คุณจะต้องเป็นอย่างนั้นหรือ เปล่า ? ไม่ ไม่ นักข่าว : ท่านนายกรัฐมนตรีคะ ขอบคุณที่มาให้สัมภาษณ์ สมัคร : คุณเชื่อผมสิ พูดจากใจจริง คุณต้องเข้าใจว่ามีคนใส่ความผม ถ้าผมเป็นคนเลวจริง ถ้าผม คอร์รัปชั่น ทำ�ไมผมได้รับเลือกตั้ง ทำ�ไมพรรคนี้ถึงได้ ส.ส.ถึง ๒๓๓ ที่นั่ง ทำ�ไม ทำ�ไมคนมือสะอาดถึงได้แค่ ๑๖๕ ที่นั่ง ทำ�ไม ตอบผมมาสิ...แค่ตอบคำ�ถามผมมา นักข่าว : โอเค ท่านนายกรัฐมนตรีคะ เราต้องพอแค่นี้ก่อนค่ะ ขอบคุณมากสำ�หรับการให้

52


จุลสารปรีดี

สัมภาษณ์ค่ะ สมัคร : ขอบคุณ แต่โปรดทำ�การบ้านมาบ้าง อย่าหยิบเอาแค่ข้อมูลบางอย่างแล้วมาตั้งคำ�ถาม ถ้าผมไม่ใช่ตัวจริง ผมมาไกลขนาดนี้ไม่ได้หรอก ขอบคุณที่มา นักข่าว : ขอบคุณมากค่ะ ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ที่ นายแดน ริเวอร์ส ผู้สื่อข่าวของซีเอ็นเอ็นถามนายสมัคร สุนทรเวช นายก รัฐมนตรี ออกอากาศในรายการ Talk Asia ทางสถานีโทรทัศน์ CNN เกี่ยวกับเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ซึ่งขณะนั้นนายสมัครเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นักข่าว : มีบางคนวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงถึงบทบาทของคุณในอดีต บางคนถึงกลับกล่าวหา ว่ามือของคุณเปื้อนเลือด คุณจะพูดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? สมัคร : ผมปฏิเสธทั้งหมด ผมไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นเลย ผมเป็นเพียงคนนอกในตอนนั้น นักข่าว : คุณต้องการที่จะใช้โอกาสตรงนี้ในการประณามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๙ รึเปล่า? สมัคร : ที่จริงแล้วมันเป็นการเคลื่อนไหวของนักศึกษาบางส่วน พวกเขาไม่ชอบรัฐบาล นักข่าว : แต่มีคนหลายสิบคน หรือบางทีอาจจะหลายร้อยคนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว สมัคร : ไม่ มีผู้เสียชีวิตเพียงแค่คนเดียว มีนักศึกษาราว ๓,๐๐๐ คน ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนนั้น นักข่าว : ตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการอยู่ที่ ๔๖ ราย และหลายคนบอกว่าจริงๆ แล้วมันสูง กว่านั้นมาก สมัคร : ไม่ สำ�หรับผม ไม่มีใครเสียชีวิตยกเว้นชายผู้โชคร้ายคนหนึ่งที่ถูกทำ�ร้ายและถูกเผาที่ สนามหลวง มีผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียวในวันนั้น นักข่าว : หมายความว่าไม่มีการสังหารหมู่เกิดขึ้นหรือ? สมัคร : ไม่ ไม่มีอย่างแน่นอนแต่คุณลองนึกภาพสิ มีนักศึกษาทั้งชายหญิงมารวมตัวกัน ๓,๐๐๐ คน พวกเขาเลยบอกว่ามีคนตาย ๓,๐๐๐ คน นักข่าว : ผู้คนบอกว่าความเป็นพวกขวาจัดของคุณทำ�ให้สถานการณ์ลุกเป็นไฟ สมัคร : เป็นฝ่ายขวาแล้วผิดตรงไหน ฝ่ายขวาจงรักภักดีกับในหลวง ฝ่ายซ้ายเป็นคอมมิวนิสต์ นักข่าว : คุณคิดว่าเป็นเรื่องที่ให้อภัยได้หรือในการฆ่าผู้บริสุทธิ์เพื่อเป็นการปกป้องประเทศไม่ให้ กลายเป็นคอมมิวนิสต์? สมัคร : ใครฆ่านักศึกษาล่ะ ถ้าการต่อสู้เกิดขึ้นระหว่างกองทัพ กองทัพก็มีหน้าที่ต้องป้องกัน ประเทศ ใครบางคนต้องการที่จะนำ�ระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาในเมืองไทย มันขึ้นอยู่กับกองทัพ จำ�นวนผู้ เสียชีวิตนั้น.... คุณต้องไปตรวจสอบดูว่าเกิดอะไรขึ้น

53


จุลสารปรีดี

54


จุลสารปรีดี

55


จุลสารปรีดี

56


จุลสารปรีดี

วันฆ่านกพิราบ มือกระชับ คาบบุหรี่ ที่มุมปาก ตาหรี่เล็ง ร่องบาก ปากปืนจ้อง สมุนราย เรียงรอบ ค่อยหมอบมอง รั้วระเนน เอนกอง ก่ายร่างล้น เลือดโซมหน้า ห่ามือ เข้ายื้อยุด กระชากฉุด กระชับหมัด ซัดด้วยส้น เงื้อไม้ฟาด ฟัดซ้ำ� กระหน่�ำ จน เลือดกระเซ็น กระเสือกกระสน ทุรนทุราย ผูกคอลาก กระชากร่าง กลางสนาม เลือดยังลาม จากหลังวิ่น รินเป็นสาย นอนแน่นิ่ง เนื้อขาว เปล่าเปลือยกาย ท่อนไม้ก่าย เกรอะเลือด เลอะเดือดแดง ร่างรุ่งริ่ง ล้นจุก ผูกคอห้อย กระโดดลอย ถีบร่าง คว้างร่องแร่ง เก้าอี้เหล็ก หวดโครม โถมสุดแรง รองเท้าแยง ยัดปาก กรากเข้ารุม ทีระร่าง ซ้อนร่าง เอายางทับ แล้วเปลวไฟ ก็ไหววับ ควันจับกลุ่ม กระดิกดิ้น เดือดมอด เนื้อกอดกุม กระดกงุ้ม หงิกงอ ตอตะโก เข้าตอกอก ทีละอก ยกไม้ฟาด ดารดาษ ดับดิ้น สิ้นแรงโผ หมวกเหล็กราย เรียงยืน และปืนโต หัวโล้นเหลือง เรืองโร่ โผล่ผุดกลาง ทีละภาพ ทีละภาพ กระชับชัด ทีละนัด ทีละนัด ถนัดร่าง ทีละวัน ละวันไป ยิ่งไม่จาง ยิ่งกระจะ ยิ่งกระจ่าง อยู่กลางใจ....

-เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์-

57


จุลสารปรีดี

ใต้ตมปลักเจ้าพระยา

(รำ�ลึก ๖ ตุลาฯ - โมงยามนี้) มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม

คณะสำ�รวจแห่งลมตุลา กำ�หนดทิศเข็มไปเสาะค้นโลกใหม่ เราถนอมท่อนกระดูกของเหล่าวีรชนผู้ล้มตาย ข้อต่อ - ข้อต่อ, ก่อเรียงเป็นเสากระโดงมั่น เย็บและเย็บผ้าห่อศพร้อยพันผืน ผืนทาบผืนกางใบเรือสกาว ผ่านมาค่อนครึ่งศตวรรษแล้ว เรายังสาวเชือกยืดยาวแห่งถ้อยคำ�งุ่มง่ามชวนเชื่อเย็นฉ่ำ�ใต้ชั้นบาดาลลึก ช่างลึกจริงหนอ เจ้าสมอหมุดในตมปลักเจ้าพระยา เราสาวเชือกไม่เคยสุดเสียที เราขึงใบเรือไม่เคยตึง วันทบวัน, ยิ่งก่ายทบด้วยท่อนกระดูกใหม่ เธอ, ยื่นแขนออกมาดูเลือด เลือดอีกดวงยังเยิ้มสด แหละนั่นบาดแผลของเธอเอง กัปตันหนุ่มผู้รอดชีวิตในเงื้อมเงาตุลา, ไปอยู่ไหน (ก็ใต้ตมปลักเจ้าพระยา) และสหายของกัปตันหนุ่มเล่า, ไปอยู่ไหน (ก็ใต้ตมปลักเจ้าพระยา) ไม่, ยุคสมัยไม่ต้องการเพียงท่านหรือเพียงใคร เราจะแล่นเรือกลไฟ สาวเชือก ดึงสมอเรือ ด้วยโครงข้อกระดูกของพวกเราเอง. 58


จุลสารปรีดี

“การฆ่าคน” ในนามชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่บาป

จรรยา ยิ้มประเสริฐ

จัตุรัส : การฆ่าฝ่ายซ้าย หรือ คอมมิวนิสต์บาปหรือไม่ กิตติวุฒโฑ: อันนั้นอาตมาก็เห็นว่าควรจะทำ� คนไทยแม้จะนับถือศาสนาพุทธก็ควรจะทำ� แต่ก็ไม่ใช่ถือว่าเป็นการฆ่าคน เพราะว่าใครก็ตามที่ทำ�ลาย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มันไม่ใช่คนสมบูรณ์ คือต้องตั้งใจ เราไม่ได้ฆ่าคน แต่ฆ่ามาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน... การฆ่าคนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือเป็นบุญกุศลเหมือนฆ่าปลาแกงใส่บาตรพระ --กิตติวุฒโฑภิกขุ. น.ส.พ.จัตุรัส ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕๑ วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๑๙ คนไทยได้เห็นข้อความเหล่านี้กันมาต่อเนื่อง แต่ด้วยการที่มันเป็นข้อความประวัติศาสตร์ ที่ส่งผลต่อความรุนแรงแห่งการฆาตกรรมมนุษยชาติ จึงไม่สามารถไม่นำ�มาอ้างอิงได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อเขียนถึงผู้ที่ต้องเสียชีวิต เพราะเป็นเหยื่อแห่งความเหี้ยมโหดแห่งเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ที่ถูกให้ท้ายด้วย “คำ�อนุญาตฆ่า” และการกระตุ้นยั่วยุด้วยกระแส “ปกป้องสถาบัน” สำ�หรับคนที่ไม่ใช่คนตุลา ตุลา ๑๖ หรือ ตุลา ๑๙ จุดร่วมกับคนตุลา ของข้าพเจ้า มี ประการเดียวคือข้าพเจ้าเกิดเดือนตุลาคม การเขียนบทความครั้งนี้จึงเป็นการมองย้อนไปในช่วงนั้น ด้วยสายตาและมุมมองของผู้ที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ในปี ๒๕๑๖ หรือ ๒๕๑๙ ในความเป็นเด็กที่ถูกมอมเมาจากสื่อรัฐบาลทุกชนิด ข้าพเจ้าก็ สนุกสนานไปกับการร่วมแสดงรีวิวประกอบเพลงเราสู้ และเพลงหนักแผ่นดิน และก็กลัวคอมมิวนิสต์ จนขี้ขึ้นสมอง ว่าเป็นปีศาจอันร้ายกาจ อานิสงส์ของรัฐประหาร ๒๕๔๙ คือการทำ�ให้ข้าพเจ้าหันมาสนใจศึกษาการเมืองไทยอย่าง จริงจัง และนับตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๔ เป็นต้นมา ได้พยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคนไทยที่ต้องเสีย ชีวิตจากการเมืองไทย ทั้งจากการฆาตกรรม ประหารชีวิต และสังหารหมู่ประชาชน ณ ขณะนี้ ตัวเลข เท่าที่รวบรวมได้นับตั้งแต่ปี ๒๔๙๐ มีประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน เป็นตัวเลขของข้อมูลที่เป็นสาธารณะ และสถิติของทางการ ข้าพเจ้าคิดว่าตัวเลขของผู้เสียชีวิตเพราะสงครามรักษาอำ�นาจในนามชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ตลอดช่วงรัชสมัย น่าจะราวๆ ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ คน เรื่องผู้เสียชีวิตเป็นอีกหนึ่ง ประเด็นที่รอการชำ�ระสะสางทางประวัติศาสตร์ และความยุติธรรม ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ตัดทอนมาจากรายงาน “ผู้เสียชีวิตจากการเมืองไทย ทั้งการฆาตกรรม และสังหารหมู่ประชาชน นับตั้งแต่ปี ๒๔๙๐” ที่ข้าพเจ้าและกลุ่มแอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตย จัดทำ�ขึ้น เพื่อนำ�เสนอภาพความโหดร้ายทางการเมืองไทย และจะนำ�เสนอต่อรัฐบาลของอารยะประเทศในวัน 59


จุลสารปรีดี

ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ การลุกขึ้นของคนตุลา ๒๕๑๖ และการปราบปรามในเดือนตุลา ๒๕๑๙ หลังจากวิกฤติ น้ำ�มันขาดแคลนทั่วโลก ราคาน้ำ�มันแพงขึ้นมาก จนส่งผลกระทบต่อคนยากคนจนในประเทศไทย ใน ขณะที่ความต้องการเงินในวิถีการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเงินตราของรัฐบาล ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่าง มากเช่นกัน หลังจากเหตุการณ์ตุลา ๒๕๑๖ ขบวนการแรงงานเริ่มจัดตั้งอย่างเข้มแข็ง ในปี ๒๕๑๗ มี การสไตรค์กว่า ๗๐๐ ครั้ง และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ได้ประกาศใช้ในปี ๒๕๑๘ หลังจากวิกฤติน้ำ�มันขาดน้ำ�มันขาดแคลนทั่วโลก ราคาน้ำ�มันแพงขึ้นมาก จนส่งผลกระทบ ต่อคนยากคนจนในประเทศไทย ในขณะที่ความต้องการเงินในวิถีการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเงินตรา ของรัฐบาล ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากเช่นกันหลังจากเหตุการณ์ตุลาคม ๒๕๑๖ ขบวนการแรงงาน เริ่มจัดตั้งอย่างเข็มแข็ง ในปี ๒๕๑๗ มีการสไตรค์กว่า ๗๐๐ ครั้ง และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ได้ประกาศใช้ในปี ๒๕๑๘ เกษตรกรรายย่อยเองก็เริ่มรวมตัวในระดับจังหวัด และเคลื่อนขบวนเข้า มาประท้วงที่กรุงเทพกันหลายครั้ง ทั้งเรื่องราคาข้าวตกต่ำ� เรื่องปุ๋ยเรื่องยาฆ่าแมลง และเงินกู้เพื่อ การเกษตร เป็นต้น ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่อาจรับได้ พวก เขาจึงจับมือกับพวกนายทุนและนายทหาร เหยียบย่ำ�ไปบนรัฐบาลพลเรือนที่น้ำ�ท่วมปากไปกับ ความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์ และทำ�การกวาดล้างผู้นำ�กรรมกร นักศึกษา และชาวนาชาวไร่ อย่าง เหี้ยมโหด ด้วยเหตุผลที่ชัดเจนอยู่แล้ว การบันทึกตัวเลขของการฆาตกรรม สังหารประชาชนในช่วงนี้กระจัดกระจาย และมีการ สร้างเรืองปิดบังข้อเท็จจริง แกนนำ�ชาวนาชาวไร่หลายสิบคนถูกสังหาร มีนักวิชาการที่พยายาม รวบรวมรายชื่อแกนนำ�ที่เสียชีวิต อยู่บ้างเช่นกัน อาทิ ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และข้อมูลที่มีก็ไม่ ครอบคลุมความเหี้ยมโหดแห่งยุคสมัยนั้นได้

60


จุลสารปรีดี

ผู้เสียชีวิตระหว่างสองตุลา ประวัติศาสตร์

การใช้กำ�ลังปราบปรามนักศึกษา วันที่ ๑๔-๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖ มีผู้เสียชีวิต ๗๗ คน บาดเจ็บ ๘๕๗ คน การสังหารโหดครั้งนี้แทบจะเป็นครั้งเดียวที่การจัด ทำ�ข้อมูลการเข่นฆ่าประชาชนที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกบีบให้ต้อง ยอมรับว่าผู้เสียชีวิตเป็นวีรชนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และพวกเขาเป็นประชาชนกลุ่มเดียวที่ถูก สังหารหมู่ที่ได้รับการพระราชทานเพลิงศพ ข้อมูลจากเว็บไซด์ อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา (http://www.14tula.com/hero_index.htm) ผู้ที่ถูกฆ่าในนามชาติ ศาสน์ กษัตริย์ การสังหารฆาตกรรมและการหายสาบสูญประชาชนนับตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ - ๒๕๑๙ เท่าที่ รวบรวมได้ในขณะนี้ ๒๕๑๗ ชาวบ้าน ๓ คน ถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหดที่บ้านนาทราย ตำ�บลนาสิงห์ อำ�เภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัด บึงกาฬ) บ้านเรือนชาวบ้าน ๑,๕๐๐ หลังคาเรือนถูกเผาวอด ทั้งหมู่บ้านด้วยฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐที่อ้างว่าหมู่บ้านนี้เป็น หมู่บ้านคอมมิวนิสต์ ๑๓ มกราคม นายชวินทร์ สระคำ� เสียชีวิตจากรถของเขาถูกรถบันทึกพุ่งชน อดีตพระครูผู้ เชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและภาษา บาลี ที่กลายมาเป็น ส.ส. ร้อยเอ็ด ผู้เขียนเรื่องเปิดหน้ากาก CIA ในปี ๒๕๑๖ ที่ส่งผลสะเทือนต่อขบวนการลุกฮือขับไล่ ฐานทัพอเมริกาออกจากไทยได้สำ�เร็จในปี ๒๕๑๙ เมื่อ รถยนต์ของเขาถูกรถบรรทุกชนพุ่งชนและเขาเสียชีวิตทันที ในวัย ๔๑ ปี - ผู้คนลงความเห็นว่าชวินทร์ถูก CIA สังหาร ๒๕๑๘ ชาวมุสลิม ๕ คน ในระหว่างเดินทางกลับบ้านที่อำ�เภอบาเจาะ จังหวันราธิวาส รถปิ๊กอัพของชาวมุสลิม ๕ คน ผู้ใหญ่ ๔ เด็ก ๑ ถูกทหาร เรียกให้จอดและตรวจค้นที่ระหว่างรอยต่ออำ�เภอบาเจาะ และอำ�เภอสายบุรี ไม่กี่วัน ต่อมา มีการพบศพผู้ใหญ่ทั้ง ๕ คนลอยขึ้นมาในแม่น้ำ� ๒๙ พฤศจิกายน 61


จุลสารปรีดี

๒๕๑๙ นายสนอง บัญชา ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำ�กรรมกรของบริษัทเหมืองแร่เทมโก้ ที่ จังหวัดพังงา ถูกยิงเสียชีวิตขณะเติมน้ำ�มันรถมอเตอร์ไซค์ ๒๕ มกราคม นายบุญมา สมประสิทธิ์ กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่จังหวัดอ่างทอง ถูกยิงเสีย ชีวิต กุมภาพันธ์ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน เสียชีวิตด้วยกระสุนปืนของผู้ลอบสังหาร อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเลขาธิการพรรคสังคมนิยม แห่งประเทศไทย บุญสนอง เป็นทั้งนักวิชาการผู้ปราดเปรื่อง และนักต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองผู้ไม่เคยย่อท้อ เขา เป็นหนึ่งในนักสังคมศาสตร์เพียงไม่กี่คนที่มีความสามารถ โดดเด่นทั้งในเชิงแนวคิดและการปฏิบัติ ๒๘ กุมภาพันธ์ นายนิสิต จิรโสภณ ถูกผลักตกรถไฟเสียชีวิตที่ อำ�เภอทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดิน ทางไปตามข่าวการต่อสู้ของประชาชนที่นครศรีธรรมราช ๑ เมษายน นายเฮียง ลิ้นมาก ถูกยิงเสียชีวิต ผู้แทนชาวนาสุรินทร์ ๕ เมษายน นายอ้าย ธงโต ถูกลอบยิงเสียชีวติ กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บา้ นต้นธง จังหวัดลำ�พูน ๑๐ เมษายน นายประเสริฐ โฉมอมฤต ถูกลอบยิงเสียชีวิต ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านฟ่อน หมู่ ตำ�บลหนองควาย อำ�เภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ๑๘ เมษายน นายโง่น ลาววงศ์ ถูกลอบทำ�ร้ายเสียชีวิต กรรมการหมู่บ้านหนองบัวบาน อำ�เภอหนวงวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ๒๑ เมษายน นายเจริญ ดังนอก ถูกยิงที่ อำ�เภอชุมพวง กรรมการชาวนาจังหวัดนครราชสีมา นายถวิล (ไม่ทราบนามสกุล) ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำ�ชาวนาจังหวัดพิจิตร นายมงคล สุขหนุน ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำ�ชาวนานครสวรรค์ ๕ พฤษภาคม นายเกลี้ยง ใหม่เอี่ยม ถูกลอบยิง รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อำ�เภอ ห้างฉัตร จังหวัดลำ�ปาง ๒๐ พฤษภาคม นายถวิล มุ่งธัญญา ถูกยิงเสียชีวิต ตัวแทนชาวนาจังหวัดนครราชสีมา ๒๖ พฤษภาคม นายพุฒ ปงลังกา ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำ�ชาวนาเชียงราย ๒๒ มิถุนายน 62


จุลสารปรีดี

นายมานะ อินทะสุริยะ นายจา จักรวาล นายประสาท ศิริม่วง นายบุญพา ปัญโญใหญ่ นายบุญทา โยธา นายเกลี้ยง ใหม่เอี่ยม นางสาวสำ�ราญ คำ�กลั่น นายอินถา ศรีบุญเรือง นายสวัสดิ์ ตาถาวรรณ นายตา อินตะคำ� นายอ้าย สิทธิ นายมี สวนพลู นายตา สิทธิ

ถูกลอบยิง ขณะที่กำ�ลังติดโปสเตอร์ชักชวนให้ประชาชน จังหวัดนครราชสีมา ร่วมใจต่อต้านฐานทัพอเมริกา เนื่องในวันชาติอเมริกา ๔ กรกฎาคม นักเรียนโรงเรียน ราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา ๑ กรกฎาคม รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้านดง อำ�เภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ๓ กรกฎาคม ถูกยิงเสียชีวิต ตัวแทนชาวนาจังหวัดสุรินทร์ ๘ กรกฎาคม ถูกลอบยิงเสียชีวิตที่จังหวัดลำ�พูน กรรมการสหพันธ์ชาวนา ชาวไร่แห่งประเทศไทย ๑๔ กรกฎาคม ถูกยิงเสียชีวิตที่ลำ�พูน ๑๘ กรกฎาคม ถูกลอบยิงเสียชีวิตที่บ้านสันกำ�แพง ตำ�บลเมืองตาก อำ�เภอ ห้างฉัตร จังหวัดลำ�ปาง รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำ�ปาง ๒๒ กรกฎาคม พนักงานโรงงานกระเบื้องยางวัฒนาวินิลไทล์ อำ�เภอ กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ถูกหัวหน้ายามโรงงานยิง เสียชีวิต เนื่องจากประท้วงโรงงานที่ปลดพนักงานอย่างไม่ เป็นธรรม ๒๖ กรกฎาคม ถูกคนร้ายสองคนบุกยิงตายคาที่ ณ บ้านพัก รองประธาน สหพันธ์ชาวนา ชาวไร่แห่งประเทศไทย และประธานสหพันธ์ ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ ๓๐ กรกฎาคม ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิต รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้า แม่ร้อยเงิน อำ�เภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ๔ สิงหาคม ประธานและกรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ของเขตต่าง ๆ ใน อำ�เภอฝาง จังหวัดชียงใหม่ ทั้ง ๕ คน ได้หายจากบ้าน อย่างลึกลับ ญาติสงสัยว่าถูกฆ่าตายแล้วนำ�ศพไปซ่อน และ เข้าแจ้งความกับตำ�รวจ อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ วันที่ ๓ เมษายน ตำ�รวจติดตามหาตัวไม่พบ ทั้ง ๕ คนได้ ถือว่าหายสาบสูญไป ๗ สิงหาคม หายตัวไปพร้อมกับนายตา หายตัวไปพร้อมกับนายตา หายตัวไปพร้อมกับนายตา 63


จุลสารปรีดี

นายต๋า แก้วประเสริฐ นายพุฒ ทรายดำ� นายช้วน เนียมวีระ เสียชีวิต ๑๕ ราย นายนวล กาวิโล ผู้เสียชีวิต ๑๕ ราย นายบุญรัตน์ ใจเย็น เสียชีวิต ๑๒ คน

หายตัวไปพร้อมกับนายตา ถูกลอบยิงแต่ไม่ตาย แต่ถูกคนร้ายตามไปยิงซ้ำ� ถึงที่เตียง ที่นอนรักษาในโรงพยาบาลต่อหน้าแพทย์ จนเสียชีวิต ชาวนา ตำ�บลแม่บอน อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ๑๑ สิงหาคม ถูกลอบยิงเสียชีวิต กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อำ�เภอ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ๑๒ สิงหาคม จากเหตุการณ์ระเบิดกลางหมู่ประชาชนที่ประท้วงการย้ายผู้ ว่าราชการจังหวัดพังงา บาดเจ็บ ๑๗ ราย ๒๙ กันยายน ถูกระเบิดเสียชีวิตขณะที่ปะทะกับฝ่ายเหมืองที่ ตำ�บลเสริม ขวา อำ�เภอเสริมงาม จังหวัดลำ�ปาง ผู้นำ�ชาวนาแม่เลียง ๑๒ ตุลาคม เสียชีวิตจากการปะทะกันระว่างชาวบ้านและชาวเหมืองที่ บ้านแม่เลียง ตำ�บลเสริมขวา อำ�เภอเสริมงาม จังหวัด ลำ�ปาง เนื่องจากทางเหมืองปล่อยน้ำ�เสียจนทำ�การเพาะ ปลูกไม่ได้ ๓ ตุลาคม ถูกลอบยิงเสียชีวิต รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้าน หนองป่าแสะ อำ�เภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ๑๙ ตุลาคม จากเหตุการณ์ระเบิดลงที่ปัตตานี ๑๓ ธันวาคม

การสังหารโหด ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ส่งผลให้ผู้เสียชีวิต ๔๒ คน ระบุได้ ๓๑ คน ระบุไม่ได้ ๑๐ คน หาศพไม่พบ ๑ มีการมอบ ให้ญาติไปจัดการตามประเพณี ๓๐ คน ชาย ๒๖ คน หญิง ๔ คน หลายร้อยคนได้รับบาดเจ็บ มี นักศึกษาถูกจับกุม ๓,๑๕๔ คน อีกนับพันคนหนีเข้าป่า แต่ตัวเลขของผู้เสียชีวิตมีการคาดการณ์ว่าสูง กว่าตัวเลขที่เผยแพร่จากทางการนี้เป็นอย่างมาก นางสาวภรณี จุลละครินทร์ ถูกกระสุนปืน นางสาววิมลวรรณ รุ่งทองใบสุรีย์ ถูกกระสุนปืน นางสาวอรุณี ขำ�บุญเกิด ถูกกระสุนปืน นายอับดุลรอเฮง สาตา ถูกกระสุนปืน นายมนู วิทยาภรณ์ ถูกกระสุนปืน นายสุรสิทธิ์ สุภาภา ถูกกระสุนปืน 64


จุลสารปรีดี

นายสัมพันธ์ เจริญสุข นายสุวิทย์ ทองประหลาด นายบุนนาค สมัครสมาน นายอภิสิทธิ์ ไทยนิยม นายวีระพล โอภาสพิไล นายสุพจน์ พันธุ์กาฬสินธุ์ นายยุทธนา บูรศิริรักษ์ นายภูมิศักดิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย นางสาววัชรี เพชรสุ่น นายดนัยศักดิ์ เอี่ยมคง นายไพบูลย์ เลาหจีรพันธ์ นายชัยพร อมรโรจนาวงศ์ นายอัจฉริยะ ศรีสวาท นายสมชาย ปิยะสกุลศักดิ์ นายวิสุทธิ์ พงษ์พานิช นายสุพล พาน หรือ บุญทะพาน นายศิริพงษ์ มัณตะเสถียร นายวสันต์ บุญรักษ์ นายเนาวรัตน์ ศิริรังษี นายพงษ์พันธ์ เพรามธุรส นายอนุวัตร อ่างแก้ว นายวิชิตชัย อมรกุล นายปรีชา แซ่เซีย นายวันชาติ ศรีจันทร์สุข นายสงวนพันธุ์ ซุ่นเซ้ง ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้ ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้ ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้ ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้ ไม่ทราบชื่อ ไม่ทราบชื่อ ไม่ทราบชื่อ 65

ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกกระสุนปืน ถูกระเบิด ถูกระเบิด ถูกของแข็งมีคม ถูกรัดคอ ถูกของแข็ง อาวุธหลายชนิด ถูกรัดคอ ผูกคอตายที่สถานีตำ�รวจบางเขน จมน้ำ� ถูกเผา ถูกเผา ถูกเผา ถูกเผา


จุลสารปรีดี

ไม่ทราบชื่อ ไม่ทราบชื่อ ไม่ทราบชื่อ ผลพวงของการสังหารโหด ๖ ตุลาคม คือ รัฐประหาร ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และคำ�ประกาศ คำ�สั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔๑ (๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙) ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่ม โทษมาตรา ๑๑๒ ให้สูงขึ้น และการชะงักงันและถดถอยของขบวนการนักศึกษาเพื่ออุดมการณ์ ประชาธิปไตยและการเมืองในเวลาต่อมา...

66


จุลสารปรีดี

67


จุลสารปรีดี

68


จุลสารปรีดี

69


จุลสารปรีดี

70


จุลสารปรีดี

71


จุลสารปรีดี

72


จุลสารปรีดี

เหตุการณ์ภายหลัง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

๑. ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อดีตผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย ต้องลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ และได้กลับมาในภายหลัง ๒. นายสมัคร สุนทรเวช ผู้จัดรายการสถานีวิทยุยานเกราะ ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (คณะรัฐมนตรีคณะที่ ๓๙ ของไทย) โดย ดำ�รงตำ�แหน่งระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ถึง ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ๓. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตผู้นำ�เสรีไทยในสหรัฐอเมริกา หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรัฐมนตรี ๔ สมัย ต้องลาออกจากตำ�แหน่งหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ และยุติบทบาท ทางการเมืองไปทั้งหมด ๔. นางวิมล เจียมเจริญ (ทมยันตี) แกนนำ�ชมรมแม่บ้านที่เคลื่อนไหวโจมตีกลุ่มนักศึกษา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และต่อมาก็ได้รับตำ�แหน่ง ผู้อำ�นวยการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ๕. ดร. สรรพสิริ วิริยศิริ ผู้อำ�นวยการช่อง ๙ อสมท. ถูกปลดออกจากตำ�แหน่ง หลังแพร่ ภาพเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อสาธารณะ ๖. นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ หนึ่งในรัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น คอมมิวนิสต์ ต้องยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด และภายหลังเหตุการณ์ได้บวชเป็นพระ และเขียน จดหมายขึ้นมาฉบับหนึ่ง ชี้แจงถึงเหตุการณ์ทั้งหมด ๗. หนังสือพิมพ์ทุกฉบับในประเทศไทย ถูกคำ�สั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ห้ามตี พิมพ์เผยแพร่เป็นเวลา ๓ วัน (๖ - ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖) หลังจากนั้นตลอดรัฐบาลธานินทร์ มีการ สั่งปิดหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผล “โจมตีรัฐบาล” ในขณะที่หนังสือพิมพ์ที่ไม่โจมตีรัฐบาล เช่น ไทยรัฐ และ บางกอกโพสต์ สามารถดำ�เนินกิจการอย่างราบรื่น ๑. ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ปิดหนังสือพิมพ์ ดาวดารายุคสยาม รายวัน ๒. ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ปิดหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์ ไม่มีกำ�หนด รวม ๑๓ ฉบับ (ปิดตาย) ๓. ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ปิดหนังสือพิมพ์ ชาวไทย รายวัน ๗ วัน ด้วยเหตุผล ลงข่าวเรื่อง ปลัดชลอ วนภูติ โกงอายุราชการ ๔. ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด เสียงปวงชน ๓ วัน ด้วยเหตุผล พาดหัวข่าวไม่ ตรงกับความจริง ๕. ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด ปฏิญญา รายปักษ์ ไม่มีกำ�หนดเพราะตีพิมพ์ ข้อความอันมีลักษณะโฆษณาชวนเชื่อให้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ ๖. ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด แนวหน้าแห่งยุค เดลินิวส์ ด้วยเหตุผล ตีพิมพ์ ข้อความที่ทำ�ให้ต่างชาติอาจเข้าใจรัฐบาลไทยผิด 73


จุลสารปรีดี

๗. ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด เดลิเมล์รายวัน ด้วยเหตุผล ตีพิมพ์โดยไม่ได้ รับอนุญาตเนื่องจากใบอนุญาตขาดการต่ออายุไปแล้ว ๘. ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด ดาวดารายุคสยาม ด้วยเหตุผล ตีพิมพ์ข้อความ เป็นเท็จ ๙. ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด บ้านเมือง ๗ วัน ด้วยเหตุผล ตีพิมพ์ข้อความ ที่มีลักษณะกล่าวร้ายเสียดสีรัฐบาลไทย ๑๐. ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด เด่นสยามรายวัน ไม่มีกำ�หนด ด้วยเหตุผล วิจารณ์การปิดเดลินิวส์ ๑๑. ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด ชาวไทย ไม่มีกำ�หนด ด้วยเหตุผล เขียน ข้อความบิดเบือนความเป็นจริง ๑๒. ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด เดลิไทม์ ไม่มีกำ�หนด ๑๓. ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด บางกอกเดลิไทม์ ไม่มีกำ�หนด ๑๔. ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด บูรพาไทม์ ยุคชาวสยาม ไม่มีกำ�หนด ด้วย เหตุผล กล่าวร้ายรัฐบาล กรณีใช้ ม.๒๑ ประหารชีวิต พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ ๑๕. ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ยึดหนังสือ “เลือดล้างเลือด” ๑๖. ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด สยามรัฐ ๗ วัน ๑๗. ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด เสียงปวงชน ไม่มีกำ�หนด ๑๘. ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด ยุคใหม่รายวัน ไม่มีกำ�หนด ที่ราชบุรี ๑๙. ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปิด หลังเมืองสมัย ไทยเดลี่ ๗ วัน จากการลง บทความ “รัฐบาลแบบไหน” ๒๐. ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เสียงปวงชน ถูกสั่งปิด จากบทความเรื่อง ‘อธิปไตยของชาติ’ ๘. สมาชิกกลุ่มกระทิงแดง นวพล และตำ�รวจ ที่เข้าปราบปรามทั้งหมดได้รับการพ้นโทษ จากกฎหมายนิรโทษกรรม ๙. มีการขอพระราชทานอภัยโทษ ให้แก่ นักศึกษาที่ถูกจับกุมในเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ๑๐. ตำ�รวจ กลุ่มกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และกลุ่มนวพล ที่ได้รับบาดเจ็บจาก เหตุการณ์ ได้รับกระเช้าเยี่ยมพระราชทาน ๑๑. แกนนำ�นักศึกษาบางคนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ถูกจับกุมคุม ขังเป็นเวลา ๓ ปีโดยไม่ได้รับการพิจารณาคดี ๑๒. พ.ศ. ๒๕๔๒ จอมพลถนอม กิตติขจร ถูกเสนอชื่อจากกองทัพ ให้เป็น นายทหารพิเศษ รักษาพระองค์ 74


จุลสารปรีดี

๑๓. พ.ศ. ๒๕๔๔ อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา ก่อตั้งสำ�เร็จบนที่ดินเช่าของ สำ�นักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณใกล้เคียงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เลขที่ ๑๔/๑๖ ถนนราชดำ�เนิน ใช้ เวลา ๒๗ ปีนับตั้งแต่มีการเสนอให้สร้างใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๗

75


จุลสารปรีดี

๑. เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (แฟรงค์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ บรรณาธิการบริหาร ๒. กษิดิศ อนันทนาธร (ดิศ) นักศึกษาปีที่ ๒ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรณาธิการกลาง ๓. ณัฐพล วงศ์ค�ำ แก้ว (โด้) นักศึกษาปีที่ ๑ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรณาธิการกลาง

๘. ปัฐนกวินท์ ชูชื่น (อะตอม) นักศึกษาปีที่ ๑ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรณาธิการบทความ ๙. นวภู แซ่ตั้ง (ภูเขา) นักศึกษาปีที่ ๑ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พิสูจน์อักษร ๑๐. ปรัชญา งาสิทธิ์ (ริว) นักศึกษาปีที่ ๑ คณะเทคโนโลยีการประมงและ ทรัพยากรทางน้ำ� มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พิสูจน์อักษร

๔. วศิน เกียรติปริทัศน์ (เบียร์) นักศึกษาปีที่ ๑ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรณาธิการบทความ ๕. ณัฐพล อิ้งทม (นัท) นักศึกษาปีที่ ๒ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิสูจน์อักษร ๖. ศุภชัย เสียงจันทร์ (เก้า) นักศึกษาปีที่ ๑ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิเทศน์ศิลป์ ๗. รัฐพล ศุภโสภณ (บาส) นักศึกษาปีที่ ๑ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตลาดและประชาสัมพันธ์

จุลสารปรีดี ติดต่อ Facebook : http://www.facebook.com/PridiBooklet E-mail : pridibooklet@hotmail.com

76



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.