MOOM Magazine Vol. 2 No.8

Page 1

นิตยสารธรรมะ : มุม : Vol.2 No.8 : ISSN 1906-2613 เดือนสิงหาคม 2554 : Guilty Issue : อวยพร เขื่อนแก้ว Vs. พระครู อ ดุ ล สี ล กิ ต ติ ์ พระพุ ท ธศาสนาในล้า นนา กดขี่ผู้หญิง เป็นจริง แค่ไ หน : สิริมตี นิม มานเหมินทร์ It’s me!!! NOW : Made in Chiang Mai : แจกฟรี !!


ที่ต้นร้ายปลายดีมีถมไป พากเพียรในชีวิตนี้ที่วาดหวัง ต่อสู้ได้มั่นใจไร้พะวัง จะสมดังตั้งใจใช่น้อยเลย วิมล เจือสันติกุลชัย


เจ้าของ มูลนิธิหยดธรรม ประธานมูลนิธิ พระถนอมสิงห์ สุโกสโล รองประธานมูลนิธิ พระมหาไกรวรรณ ชินทตฺติโย ที่ปรึกษามูลนิธิ ประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข กรรมการ พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชญฺญู กรรมการ พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป กรรมการ คุณวิชัย ชาติแดง กรรมการ คุณอลิชา ตรีโรจนานนท์ กรรมการ คุณศิริพร ดุรงค์พิสิษฐุ์กุล กรรมการ คุณวีรยา ทองน้อย กรรมการ คุณดนิตา ศักดาวิษรักษ์ บรรณธิการ พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณธิการที่ปรึกษา อลิชา ตรีโรจนานนท์ ้ ิมพ์โฆษณา พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณาธิการผูพ กองบรรณาธิการ วรวรรณ กิติศักดิ์ ที่อยู่มูลนิธิ ตู้ป.ณ. 54 ปณ.แม่ริม เชียงใหม่ 50180 โทร : 053-044-220 www.dhammadrops.org บรรณาธิการศิลปะ Rabbithood Studio ฝ่ายศิลป์ พัชราภา อินทร์ช่าง ช่างภาพ ศิริโชค เลิศยะโส / ภานุวัฒน์ จิตติวุฒิการ พรชัย บริบูรณ์ตระกูล / ชยพัทธ แก้วกมล ตะวัน พงศ์แพทย์ / วัชรพงษ์ บุญเรือง พิสูจน์อักษร พระมหาวิเชียร วชิรเมธี ร่วมบุญจัดส่ง บริษัท เคล็ดไทย จำ�กัด 117-119 ถ.เฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพนะนคร กรุงเทพฯ 10200 www.kledthaishopping.com ร่วมบุญจัดส่ง บริษัท ดอคคิวเมนนท์ พาเซล เอ็กซ์เพรส จำ�กัด (DPEX) ต่างประเทศ 60 ซอยอารีย์ 5 เหนือ ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 (www.dpex.com) Special thanks พระพรหมคุณากรณ์ ป.อ.ปยุตโต/ พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร/ พระมาโนช ธมฺมครุโก/ สุลักษณ์ ศิวรักษ์/ สุรสีห์ โกศลนาวิน/ ถนอมวรรณ โกศลนาวิน/ อุดม แต้พานิช/ ชาลี ประจงกิจกุล ออกแบบปก รบฮ. พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด กู๊ด-พริ้นท์ พริ้นติ้ง 4/6 ซอย 5 ถ. ช้างเผือก ต.ศรีภูมิ อ.เมือง เชียงใหม่ 50200 โทร : 053-412556 แฟกซ์ : 053-217264

Guilty Issue มีเพื่อนคนหนึ่งได้โทรมายามค่ำ�คืนพร้อมแนะนำ�ให้ดู รายการทีวีร ายการหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาสาระอยู่ที่การจับคู่ให้กับ ชายหญิงได้ไปเดทกัน โดยเริ่มแรกผู้หญิงจะเป็นฝ่ายเลือกผู้ชาย ที่เดินออกมา ด้วยการรับชมรับฟังประวัติความเป็นมาของชาย ผู้นั้น จนเมื่อถึง รอบสุดท้ายผู้ชายจะเป็นฝ่ายเลือกผู้หญิงคนที่ ตนอยากไปด้วย จากการฟังคำ�ตอบของคำ�ถามเพียงข้อเดียว บรรดาสาวๆ หนุ่มๆ ที่มาร่วมรายการก็ใช่ว่าจะธรรมดาๆกั น ซะที่ไหน แต่ล ะคนก็ต่างก็มีหน้าที่การงานที่ดีพ อสมควรแล้ว ทั้งนั้น เพียงแต่มาร่วมอุดมการณ์เดียวกันบนพื้นฐานของคำ�ว่า “เหงา” คำ�เดียว ซึ่งก็น่าแปลก คนบางคนอยู่คนเดียวแล้วเหงา อยู่ไม่ได้ต้องหาคนอื่นมาอยู่ด้วย แต่บางคนอยู่ท่า มกลางหมู่ ญาติมิตรเพื่อนฝูงหลายคนก็ยังเหงาได้ คงเป็น เพราะต่อให้อยู่ ท่ามกลางผู้คนก็ยงั รูส้ กึ เหมือนถูกทอดทิง้ อยูน่ น่ั เอง เหมือนๆ กับ โฆษณากินใจชุดหนึ่งที่รณรงค์ให้เราปิดมือถือแล้วหัน ไปสนใจ คนใกล้ตัวบ้า ง โดยเฉพาะคนที่มีบุญคุณกับเรา เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นต้น แล้ววันนี้คุณเหลี ย วไปดูพวกเขามั่งหรือยังล่ะ พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณาธิการ


7

4 7 8 8

16

16 22 32 34 36 38 40

Buddhist’s Mystery : น้ำ�มนต์...ฉ่ำ�กาย สบายใจ คน-ทำ�-มะ-ดา : จิตอาสาไม่ได้มากัน ง่ายๆ นะ มุมส่วนตัว : สิริมตี นิมมานเหมินทร์ It’s me !!! NOW มุมพิเศษ : เกิดเป็นหญิงเพราะมีกรรม VS. : อวยพร เขื่อนแก้ว Vs. พระครู อดุลสีลกิตติ์ พระพุทธศาสนาในล้านนา กดขี่ผู้หญิง เป็นจริงแค่ไหน ธรรมไมล์ : เพศวิถีในพุทธศตวรรษที่ 27 Hidden tips : ทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ต้องทำ�อย่างไร ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม : ให้ ได้ บุญ Time for ทำ� ธรรมะ(อีก)บท : เตรียมการณ์ 22

M Mental O Optimum O Orientation M Magazine

สารบัญ


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

กระดาษอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ นักวิทยาศาสตร์ชาวไต้หวันเผยความสำ�เร็จในการพัฒนา กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ (e-paper) พันธุ์ใหม่ สามารถเขียนซ้ำ� ใหม่ได้ด้วยความร้อน มีชื่อเรียกว่า “i2R e-paper” จุดเด่นคือ การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถในการเขียนใหม่ได้โดย ไม่ตอ้ งใช้ไฟฟ้า ทำ�ให้มคี วามแตกต่างจากกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในปัจจุบัน เพราะกระดาษไฮเทคเหล่านั้นยังคงต้องใช้ ไฟฟ้าในการเปลี่ยนข้อมูลบนหน้ากระดาษอยู่ในขณะนี้ผลการ ศึกษาของทีมพบว่ากระดาษหนึ่งแผ่นจะสามารถเขียนซ้ำ�ได้ เกิน 260 ครั้ง ซึ่งอาจจะสามารถเพิ่มจำ�นวนการเขียนซ้ำ�ในการ พัฒนาในอนาคตได้อีก สถาบันจะนำ�ส่งงานวิจัยนี้ให้กับบริษัท ไต้หวันเพื่อนำ�ไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ ต่อไป คาดว่าจะสามารถสร้างเป็น ผลิตภัณฑ์สู่ตลาดไต้หวันได้ภ ายใน 1-2 ปีนับจากนี้ กระดาษและต้นไม้ ที่มนุษย์จะสามารถประหยัดได้มาก ทั่วโลก www.thairath.co.th

สร้างวัดไทยแห่งแรกในนคร เทียนจิน นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำ�นวยการสำ�นัก งานพระพุท ธ ศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า เมือ่ เร็วๆ นี้ กระทรวงการต่างประเทศ มีน โยบายส่งเสริมความสัมพันธ์ อันดีร ะ ห ว่างไทยและสาธารณรัฐ ประชาชนจีน โดยจะเน้นเชื่อมความ สัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนา โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง ปักกิ่ง ได้จัดทำ�โครงการก่อสร้างวัดไทยในบริเวณวัดพระหยก ในนครเทียนจิน ซึ่งผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตฯ นมัสการ พระอาจารย์เหยี่ยน หลง เจ้าอาวาสวัดพระหยก นครเทียนจิน เพื่อหารือ แนวทางการสร้างวัดไทยในจีนแล้ว ซึ่งวัด พระหยก ยินดีจะมอบที่ดิน ภายในวัดประมาณ 20 ไร่ เพื่อสร้างวัดและ อัญเชิญพระพุทธรูปแบบเถรวาทตามคติของไทยไปประดิษฐาน ทั้งนี้รัฐบาลกลางของจีนและรัฐบาลนครเทียนจิน ได้อนุมัติให้ ก่อสร้างอาคารวัดไทยภายในบริเวณของวัดพระหยกได้ www. dailynews.co.th

มุมใหม่

5

เดินหน้าออกอากาศ “ทีวีพุทธ”ทั่วโลก พระพรหมโมลี ประธานคณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แห่งชาติกล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเห็น ชอบ โดยกำ�หนดให้สถานี วิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เขต 6 จ.สงขลา เป็นช่องเผยแพร่และดำ�เนินการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ “Thailand Buddhist Channel” หรือ TBC ขึ้น ออกอากาศทุกวัน จันทร์ - อาทิตย์ วันละ 18 ชั่วโมง ผ่านดาวเทียมไทยคมระบบ C-Band ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการกว่า 140 ประเทศใน 4 ทวีป คือ แอฟริกา เอเชีย โอเชียเนีย และยุโรป สำ�หรับผู้ที่ต้องการ รับชมจะต้องมีการติดตั้งจานดำ�เท่านั้น ถึงจะสามารถรับชมได้ www.thairath.co.th

พิธีหย่าเทรนด์ใหม่ในญี่ปุ่น ฮิโรอิ เทราอิ ริเริ่ม การจัดพิธีหย่าใน ประเทศญี่ปุ่น และล่าสุด เขาเพิ่ง จัด งานหย่าเป็นคู่ที่ 79 เพื่อช่วยให้ พวกเขาเหล่านั้น ฉลองการเริ่มต้น แยกทางกันอย่างชื่นมื่นทั้งสองฝ่าย รูป แบบงานหย่า ของเทราอิแ ทบ ไม่ต่างจากงานแต่งงาน มีญาติสนิท มิตรสหายร่วมเป็นสักขีพยาน โดยตัวเทราอิเป็นเหมือนนักบวช กำ�กับพิธี เรียกฝ่า ยชายว่าอดีตเจ้าบ่า ว และเรียกฝ่ายหญิงว่า อดีตเจ้า สาว หลังประกาศว่าวันนี้จะเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำ�หรับ ทั้งคู่แล้ว เทราอิจะยื่นค้อนให้ว่าที่อดีตคู่สามีภ รรยาทุบลงไป ที่แหวนแต่งงาน อันเป็นสัญลักษณ์ข องการหมดเยื่อใยต่อกัน แขกเหรื่อปรบมือแสดงความยินดี ก่อนเดินแยกจากกันไปด้วย รอยยิ้ม ปัจจุบันอัตราการหย่าร้างในญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และ เขาไม่หยุดแค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น เพราะกำ�ลังมีแนวคิดขยายธุรกิจ จัดพิธีหย่าไปยัง เกาหลีใต้ ประเทศที่มีอัตราหย่าร้างสูงที่สุด ในเอเชียอีกด้วย www.komchadluek.net


6

Buddhist’s Mystery

เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : รบฮ.

น้ำ�มนต์...ฉ่ำ�กายสบายใจ

ด้วยภูมิปัญญาของมนุษย์ที่มีมาแต่โบร่ำ�โบราณ คนที่ อยากมีผิวสวย ก็อาบน้ำ�แร่แช่น้ำ�นม ใช้สมุนไพร วัตถุธรรมชาติ หรือจะเป็นวัตถุสังเคราะห์เหมือนในปัจจุบันก็ตามแต่ ในการดูแล ให้ผิวพรรณสะอาดสะอ้านชวนมองอยู่เสมอ แล้วถ้าอยากชำ�ระ จิตใจให้ใสสะอาด ปราศจากความมัวหมองล่ะ คงไม่สามารถ ใช้สิ่งเหล่านี้ชำ�ระล้างได้เป็นแน่แท้ “น้ำ�มนต์” จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง สำ�หรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองจะถูกสิ่งชั่วร้ายเข้ามาแทรกแซงในชีวิต น้ำ�มนต์ หรือ น้ำ�ศักดิ์สิทธิ์ นั้นมีอยู่ในหลายศาสนาหลายความเชื่อ ซึ่งความขลังของมันก็อาจจะแปลกแตกต่างกันออกไป ในพุทธศาสนานั้นได้บันทึกเรื่องราวของการใช้น้ำ�มนต์ไว้ในพระธรรมบทว่า ด้วยเรื่องการแก้ปัญหาข้าวยากหมากแพง โรคระบาดไปทั่ว ผีร้าย ครองเมือง (ไม่รู้ว่าพูดถึงคนชั่วด้วยหรือเปล่า) ของเมืองเวสาลี ซึ่ง พระพุทธเจ้าก็ได้ให้พระอานนท์จัดทำ�น้ำ�มนต์มา เมื่อพรมน้ำ�มนต์ ลงไปบนผู้ป่วยแล้วต่างก็หายป่วย พรมไปบนผีร้ายผีก็ร้องแสบ ไปทั่ว จึงเป็นที่มาของการทำ�ลายสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ด้วยน้ำ�มนต์ แต่ว่า หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงธรรมต่อไป ซึ่งพระธรรมที่แสดง วันนั้นก็คือ รัตนสูตร ที่มีสาระอยู่ที่ความสำ�คัญของพระพุทธ

พระธรรม พระสงฆ์ และระดับการละกิเลสของพระอริยบุคคลระดับ ต่างๆ ว่าความทุกข์ย่อมไม่อาจกล้ำ�กรายผู้ที่ละกิเลส (สังโยชน์) ได้ผลคือ ทำ�ให้ผทู้ ไ่ี ด้ฟงั ธรรมะบทนีเ้ ข้าใจความเป็นจริงตามธรรมชาติ จนรู้จักปล่อยวาง และล้างกิเลสออกไปจากใจในเวลาเดียวกัน จะเห็นได้ว่าแม้ในสมัยพุทธกาล น้ำ�มนต์ที่ใช้ในขณะนั้น อาจจะศักดิ์สิทธิ์จริง ในแง่ของการรักษาโรคทางกาย ช่วยคุ้มครอง ภยันตรายต่างๆ นานา และช่วยทำ�ให้ใจชื้นขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง เท่านั้น ไม่ได้ช่วยทำ�ให้พ้นจากทุกข์ได้อย่างแท้จริง แต่การได้ ฟังธรรมและ ได้พิจารณาตามจนเข้าใจต่างหาก ที่ล้างใจให้พ้นจาก ความทุกข์ทค่ี นกำ�ลังเผชิญอยูไ่ ด้ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าเวลาไปวัด พระจะพรมน้ำ�มนต์ก็ต่อเมื่อสวดเจริญพุทธมนต์เสร็จ ซึ่งการ เจริญพุทธมนต์ เจ้าภาพจะเริ่มจุดเทียนเมื่อพระเริ่มสวดบทรัตนสูตร นั่นเอง หลังจากนั้นในบางวัดบางสำ�นักก็จะแสดงธรรมตามด้วย เพื่อรักษารูปแบบที่พระพุทธเจ้าได้กระทำ�มา แต่ใครจะสังเกตเห็นไหมนะว่าจริงๆ แล้วน้ำ�มนต์ หยดแรกที่ประพรมลงไปบนผืนแผ่นดินแห่งเมืองเวสาลีก็คือ น้ำ�ใจของพระพุทธเจ้าที่ตั้งใจจะไปช่วยคนให้พ้นจากความ ทุกข์นั่นเอง


www.WANGDEX.co.th


8

Book Corner

เรื่อง : กองบรรณาธิการ

พระไตรปิฎกอยู่นี่ : อยู่ที่ชวนกันไม่ประมาทในการศึกษา ผู้เขียน: พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อมีผู้ศึกษาพระไตรปิฎกคัมภีร์สำ�คัญของพุทธศาสนา แล้วเกิด ความสงสัยเกี่ยวกับจำ�นวน ข้อปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎกนั้นว่า “สิกขาบทในพระปาติโมกข์นั้นมี 150 ข้อ แทนที่จะเป็น 227 ข้อ จริงหรือ” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เพื่อไขข้อข้องใจนี้ และให้ชาวพุทธได้ศึกษาพระไตรปิฎกชัดเจนยิ่งขึ้น แม้หนังสือจะมีขนาดเล็ก แต่ท่านได้ย กเอาภาษาบาลีที่อ้างถึงข้อ ความส่วนนี้มาอธิบายไว้ได้อย่างชัดเจน สอดแทรก ประวัติก ารจัดพิมพ์พ ระไตรปิฎกอย่างคร่าวๆ พร้อมทั้ง แนะนำ�ให้ผู้ที่จะอ้างอิงข้อ ความใน พระไตรปิฎกว่าควรทำ�อย่างไร และเตือนสติผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฎก ควรศึกษารายละเอียดให้ ชัดเจนก่อนจะที่เชื่อตาม ว่าด้วยสุนทรียสนทนา (On Dialogue) ผู้แต่ง : เดวิด โบห์ม อะไรคือคำ�จำ�กัดความของคำ�ที่ฟังแล้วสวยหรูคำ�นี้ “สุนทรียสนทนา” คุณสามารถทำ�ความเข้าใจ ได้ในงานปรัชญาคลาสสิกเล่มนี้ ผลงานของ เดวิด โบห์ม นักวิทยาศาสตร์ควอนตัมฟิสิกส์ ยุคเดียว กับ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์และแนวคิดเรื่องการ เชื่อมโยงธรรมชาติ ออกมาเป็นเรื่องราวว่าด้วยการ “สนทนา” ที่จะทำ�ให้เกิดความเข้าใจระหว่างกัน ทั้งเข้าใจภาวะจิตใจของตนเอง และเชื่อมโยงไปสู่ความเข้าใจผู้อื่น โดยโบห์มได้แบ่งเนื้อหาที่ น่าสนใจออกมาเป็น 7 บทด้วยกัน เพือ่ จุดประสงค์ในการให้ผคู้ นได้ศกึ ษาวิธที จ่ี ะทำ�ให้อยูร่ ว่ มกันได้ โดยสันติด้วยความเข้าใจผ่านการ “สนทนา” In the Shadow of the Buddha : Secret Journeys, Sacred Histories, and Spiritual Discovery in Tibet ผู้เขียน: Matteo Pistono Matteo Pistono นักเขียน นักเคลื่อนไหวเพื่อสังคม ใช้เวลาเดินทางนับสิบปี ในการแสวงบุญ ตามรอยของพุทธศาสนาแบบธิเบตกว่าพันไมล์ ทำ�ทุกวิถีทางที่จะป้องกันศาสนาจากการถูก เข้าแทรกแซงและกดขี่จากมหาอำ�นาจอย่างประเทศจีน เขายอมทำ�แม้กระทั่งแอบเอาเอกสาร สำ�คัญ และภาพถ่ายฝีมือของเขา ที่ได้บันทึกภาพเกี่ยวกับ การละเมิดสิทธิมนุษ ยชน ลักลอบ นำ�ออกนอกประเทศด้วยสารพัดวิธี ไม่ว่าจะเป็นเย็บใส่รองเท้าและเป้สะพายหลัง เพื่อที่จะนำ� ไปมอบให้กับองค์กรข่าวระหว่างประเทศและรัฐบาลสหรัฐ หากเรื่องนี้เป็นนิยายมันก็คงจะเป็น เหมือนการผจญภัยของยอดนักสืบที่กล้าหาญชาญชัย ท่ามกลางทางที่เต็มไปด้วยขวากหนาม อันแสนอันตราย แต่ทว่านี่เป็นชีวิตจริงของผู้ชายคนหนึ่ง ที่แสวงหาสันติภาพมาให้กับพุทธศาสนา มาในธิเบตมาทั้งชีวิต ซึ่งรับรองว่าเป็นหนังสือที่คุณอ่านแล้วต้องทึ่ง อึ้ง และน่าติด ตามจนวาง ไม่ลงแน่นอน


เรียบเรียง : วรวรรณ กิติศักดิ์ I ภาพ :

คน-ทำ�-มะ-ดา

9

จิตอาสาไม่ได้มากันง่ายๆ นะ

ทุกวันนี้คงไม่ใช่เรื่องแปลกหากคุณจะเดินกระทบไหล่ กับชาวต่างชาติวันละหลายหน เพราะเมืองไทยกลายเป็นเมือง ท่องเที่ยวในฝันของใครหลายคนไปแล้ว (ไม่ว่าจะฝันดีหรือร้าย ก็ตาม) เช่นเดียวกันกับ พาร์คเกอร์ เซซี ชายหนุ่มอเมริกัน หน้าตา ดี เกิดในครอบครัวนักกฎหมาย เรียนจบมาทางรัฐศาสตร์จาก อเมริกา มีชีวิตสุขสบายทุกอย่าง ตั้งใจเพียงแค่อยากจะออกมา ท่องเที่ยวเพื่อชมโลกกว้าง เหมือนกับที่เพื่อนๆ ของเขาได้ไป แต่ เหตุการณ์กลับเป็นไปอย่างที่เขาคิดไม่ เพราะความตั้งใจที่จะท่อง เที่ยวของเขานั้นถูกระงับไว้ ด้วยบรรยากาศที่สุดแสนจะเป็นมิตร แต่ว่าขัดสนของคนในหมู่บ้านชาวเขาในแถบจังหวัดเชียงราย เขาจึงตกลงใจที่จะเป็นครูภาษาอังกฤษอาสาอยู่ที่นั่นช่วงระยะ เวลาหนึ่ง จนพบว่า “ภาษา” เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่าที่คิด จึงไป สมัครลงเรียนภาษาและการสื่อสารที่วิทยาลัยสื่อฯ ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การกลับไปบ้านเพื่อที่จะกลับมาเป็นนักศึกษาอาสา

สมัครนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสำ�หรับเขาเลย เมื่อที่บ้านได้เตรียมหลาย สิ่งหลายอย่างไว้ให้แล้ว แม่ของเขาคัดค้านการมาเมืองไทยอย่าง เต็มที่ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำ�ให้ความต้องการเรียนรู้การเป็นอาสาสมัคร ของเขาน้อยลง กลับทำ�ให้เขามีแรงบันดาลใจมากขึ้น ทำ�งาน พาร์ทไทม์เก็บเงินจนเดินทางมาเมืองไทยได้สำ�เร็จ และด้วยความที่หน้าตาเขาใกล้เคียงกับพระเอกใน สไปเดอร์แมน คนจึงมันเรียกเขาเล่นๆ ว่า ปีเตอร์ พาร์คเกอร์ ซึ่ง เขามักจะออกตัวว่าเขาไม่ได้ทำ�อะไรยิ่งใหญ่แบบนั้น เขาก็แค่ อยากช่วยคนอยากรู้จักคนให้มากที่สุดเท่านั้นเอง “ผมคิดว่าถ้าคุณไม่ทำ�ความรู้จักกับเขา คุณก็จะไม่แคร์ เขา ผมอยากให้คนแคร์ผม ผมก็ต้องเริ่มจากการไปดูแลเทคแคร์ เขาสิ และที่สำ�คัญคือผมอยากจะแนะนำ�ให้คนแคร์กันและกัน นะ” เป็นคำ�ทิ้งท้ายที่เขาบอกกับเรา เหมือนๆ กับจะบอกว่า ภาษาที่เขาเรียนตอนนี้ไม่ได้มีแค่ภาษาพูด อ่าน เขียนเท่านั้น มันไปถึงภาษาใจแล้ว....


10

มุมส่วนตัว

เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ I ภาพ : วัชรพงษ์ บุญเรือง

สิริมตี นิมมานเหมินทร์ It’s me!!! NOW

หลายคนอาจมีคำ�ถามในใจว่า เข้าวัดปฏิบัติธรรมแล้วได้ประโยชน์ อะไร ในเมื่อความสุขก็สามารถ หาได้ในทุกที่ตลอดเวลาอยู่แล้ว หลายคนมองว่ารอแก่ตัวก่อนค่อย เข้าวัด หรือบางคนก็มองว่า วัดคือ สถานรับเลี้ยงส่งเสียเด็กๆ ที่บ้าน ยากจนเรียน แต่ในปัจจุบันกลับมี หนุ่มสาวที่มีอนาคตอันรุ่งโรจน์ จำ�นวนไม่น้อยตัดสินใจเข้าวัดไป ปฏิบัติธรรมกันมากขึ้น คำ�ถามที่ เกิดขึ้นตามมาก็คือทำ�ไมต้องธรรมะ และทำ�ไมต้องบวช “มุม” ในฉบับนี้ ได้มีโอกาสพูดคุยสาวมั่นท่านหนึ่ง คุณ “ติ๊บ” สิริมตี นิมมานเหมินทร์ นักบินหญิงของสายการบินแห่ง หนึ่งและผู้เขียนหนังสือกุญแจใจ ผู้ประสบความสำ�เร็จในหลายด้าน ของชีวิต ทั้งในด้านการเรียน ด้าน การงาน มีครอบครัวที่ดี มีทั้งเงิน ทองและความสุขสบายพรั่งพร้อม ในทุกด้าน แล้วทำ�ไมผู้หญิงคนนี้ จึงตัดสินใจหันหน้าเข้าหาธรรมะ จนถึงขนาดไปบวชเป็นแม่ชีเปลี่ยน ชื่อเป็นแม่นาวอยู่ถึง 6 เดือน แล้ว อะไรทำ�ให้เธอกลับมาเป็นฆราวาส เหมือนเดิมอีกครั้ง เรามาหา คำ�ตอบไปพร้อมกันดีกว่าครับ


มุม : ตั้งแต่เด็กมาถือว่าเป็นคนที่มีความสุขไหม มีความสุขค่ะ มันมีความสุขอย่างไม่รู้ว่าตัวเองทุกข์ไง แต่ตอนนี้หลังจากที่ได้รู้จักธรรมะก็มีความสุขแล้วก็รู้วิธีที่จะลดทุกข์ที่มันยังมี ให้มันน้อยลง

11

มุม : ทำ�งานนักบินมากี่ปี ประมาณเก้าปี มุม : คิดว่าตัวเองเป็นคนยังไง เป็นตัวเองน่ะค่ะ เป็นคนเป็นธรรมชาติ คืออาจจะผ่านช่วงที่เป็นแบบนั้นมาแล้ว แบบว่าอยากหาเงินมากๆ อยากมีนั่นมีนี่ เหมือนมันพอแล้ว เริ่มรู้สึกว่า อยากจะทำ�สิ่งที่ตัวเองอยากทำ� เห็นคุณค่าของเวลามากขึ้น เพราะเวลามันเป็นสิ่งที่มีค่าสำ�หรับเรา เพราะฉะนั้นจะทำ�อะไรที่เรา เห็นว่ามันดีมันมีคุณค่า เราก็ทำ�เลยทุกวันก็คือการเรียนรู้ ค่อยๆ เรียนรู้ไปพยายามที่พัฒนาตัวเองทุกวันคะ มุม : คิดว่าตัวเองเป็นคนแรงไหม กล้าแสดงออกมากกว่า เพราะว่าเมื่อก่อนไม่รู้หรอกว่า คนไทยเขาถามแล้ว เขาไม่ได้เจาะจงว่าเราจะกล้าตอบ แต่ว่าเดี๋ยวนี้เราก็เรียนรู้ว่า บางทีเขาถามเขาไม่ได้เจาะจงว่าเราจะกล้าตอบ แต่เพราะเราคิดว่ามันโอเคเราก็จะตอบ เหมือนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นเหมือนกันไม่ แรงก็ไม่ได้คิดที่จะไปไฟต์กับใคร แต่ถ้าเป็นเมื่อก่อนนี้คือฉันถูกฉันคิดอย่างนี้ แกทำ�ไมไม่คิดอย่างฉัน แกงี่เง่าทำ�นองนี้คะ มุม : แล้วจุดที่เปลี่ยนตรงนี้เพราะอะไร เมื่อก่อนที่เป็นแบบนั้น คือเราไม่ได้เห็นมุมที่ว่าความคิดเราที่เราว่าดีน่ะ แน่ใจหรือเปล่าว่ามันดี อาจจะคิดว่าดีของเรา คนอื่นเขาอาจจะ ไม่ได้คิดอย่างนั้นด้วยก็ได้ แต่ตอนนี้มันเหมือนกับมันมองเห็นมุมอื่นได้บ้างอย่างบางทีเราคิดว่าของเราดี คนอื่นเขาว่าของเราไม่ดีก็ได้ หรือ บางทีเราว่าของเขาไม่เห็นจะเข้าท่าเลยแต่เขาก็ว่าของเขาดีอย่างนี้ มันเห็นหลายมุมมากขึ้น ก็เลยเหมือนกับว่าเปิดรับ ถ้าเขาแรงกว่าเรา ก็ให้เขาไป เราไม่ขวางน้ำ� น้ำ�เชี่ยวเราไม่ขวาง แต่เราก็รู้ว่าจริงๆ แล้วอะไรคืออะไร เราก็รู้ของเรา มุม : แล้วอันนี้เป็นบทเรียนที่ได้ก่อนที่จะรู้จักธรรมะหรือว่าหลัง หลังค่ะ แต่หมายถึงว่าพอเราเริ่มเห็นหลายด้านมากขึ้นหลังจากที่เรารู้จักธรรมะ เราก็ย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ในชีวิตเราตอนสมัยก่อนที่ เราเป็น ก็คือเอาเหตุการณ์ในอดีตมาตอกย้ำ�ว่า ดูสิ เมื่อก่อนเราเชื่อมั่นมากเลยว่า ความคิดอย่างนี้เราถูกแล้ว เราก็เข้าไปพูดหน้าดำ� คร่ำ�เครียดเถียงกัน มันมีข้อดีตรงไหน มันไม่เห็นมีข้อดีเลย มีข้อเสียมากกว่าด้วยซ้ำ� แต่พอมาตอนนี้พอเราเรียนรู้ธรรมะแล้ว เราก็เอา เหตุการณ์ที่ผ่านๆ มาเป็นเหมือนกับหลักฐาน มันไม่ดีจริงๆ นะ แล้วเราควรจะปรับยังไงคะ มุม : แล้วตอนเด็กๆ เป็นคนใกล้วัดอยู่แล้วใช่ไหม ก็ใกล้วัดเพราะว่าพ่อไปวัดบ่อยอะไรอย่างนี้นะ แต่ว่าก็ไปวิ่งเล่นเฉยๆ ไม่ได้รู้เรื่อง เข้าไปฟังพระมาแล้วไปเถียงกับคนอื่นมากกว่า อย่างเช่น สมัยเด็กๆ เราฟังธรรม เราก็ไม่ได้จะเอามาปฏิบัติกับเราเองหรอก แต่เราจะเอาไปเถียงกับคนอื่น เวลาที่คนอื่นเขาบอกต้องนั่งสมาธิ เราก็ บอกไม่จริงเอาไปเถียงกับเขาอย่างนี้ มันกลายเป็นว่าไม่ได้มีใครดีขึ้นเลยสักคน แต่ทะเลาะกันมากกว่า นี่คือการเอาธรรมะไปใช้แบบผิด ใช่ไหม ฟังมาแล้วก็ไม่ได้เอามาใช้กับตัวเอง ไม่ได้พัฒนาตัวเองเลย แต่ว่าอย่างน้อยที่ไปวิ่งอยู่ในวัดมันทำ�ให้คุ้นเคยหรือว่าสิ่งที่เคยได้ยิน มาก็เหมือนอยู่ในคลังของเรา แต่มันยังไม่คลิ๊ก วันหนึ่งพอเราเริ่มคลิ๊กในเรื่องหนึ่งสิ่งที่เราเคยฟังมา มันก็เริ่มมาเหมือนเป็นจิ๊กซอว์ให้เรา ขยายภาพออกไปได้ มันก็คลิ๊กมาเรื่อยๆ เหมือนกับว่ามีภาพๆ หนึ่งแรกสุดเลย ภาพเกี่ยวกับความเป็นจริง ธรรมะคือความเป็นจริงใช่ไหมคะ เมื่อก่อนภาพเกี่ยวกับความเป็นจริงอย่างนี้เราไม่มี มีแต่ฉันคิดยังไงฉันว่าอะไรถูกอย่างนี้ใช่ไหมคะ แต่พอเราเริ่มคลิ๊กธรรมะเริ่มสังเกตว่า


12 ความเป็นจริงมันคืออะไร มีภาพของความเป็นจริงมากขึ้นแล้วมันก็มากขึ้นๆ อย่างนี้คะ แล้วก็ทุกวันก็คือการเรียนรู้ของเราว่าความเป็นจริง มันคืออะไร ก็คิดวิเคราะห์ของเราบนพื้นฐานของความเป็นจริง แต่อันนี้เป็นเรื่องภายในนะ ไม่เกี่ยวกับบทบาทภายนอก มุม : ปกติเขาจะบอกว่าคนที่เข้าวัดคือคนที่มีทุกข์ ถ้าคนไม่มีทุกข์ส่วนใหญ่ก็ไปเที่ยวไปกับคนอื่นไม่ค่อยเข้าวัด คุณติ๊บเป็นอย่างนั้นด้วย หรือเปล่า ถ้าของติ๊บนี่นะ คือติ๊บไม่รู้ด้วยซ้ำ�ว่า ติ๊บเป็นทุกข์ ตอนที่ติ๊บมาเข้าอบรมครั้งแรกจริงๆ นะเป็น แต่เราไม่รู้ว่าเราเป็น เหมือนกับว่าแม่บอกว่า ปิดเทอมมาอบรม ก็มา แต่จริงๆ ทุกคนมันมีความทุกข์อยู่แล้ว แต่ทุกคนไม่คิดหรอกว่า ไอ้นั่นมันคือความทุกข์ พอทุกคนก็เป็นเหมือนกัน คนนั้นก็เจอคนนี้ก็เจอ ทะเลาะกับเพื่อนหรือว่าไม่พอใจใคร มันเหมือนแบบทุกคนก็เป็นไง มันก็เลยดูเหมือนไม่ใช่ความทุกข์ เหมือนเป็นเรื่อง ธรรมดาของคนทุกคนที่เขาเป็นกัน ณ ตอนนั้นก็ไม่รู้หรอกว่าไอ้ที่เขียนในหนังสือนะคะ ว่าไม่ถูกกับเพื่อนรูมเมทว่ามันเป็นความทุกข์ แต่พอ เข้าไปอบรมแล้วพิธีกรบอกว่าใครมีความทุกข์อะไรบ้าง ไม่รู้หรอกว่านั่นคือความทุกข์ แต่ว่าโอเคแหละเรื่องที่มันกรุ่นๆ อยู่ในความคิด ของเรามันก็คือเรื่องนี้แหละ ที่เราเล่าออกมา แต่สุดท้ายนั่นนะแหละ เขาก็วิเคราะห์ให้เราได้เห็นว่าเนี่ยแหละก็คือความทุกข์ เราก็เลย เข้าใจว่า อ๋อ (เน้นเสียง) ไอ้เรื่องหงุดหงิดเนี่ยหรือก็คือความทุกข์ ไอ้เรื่องโมโหคนอื่นเนี่ยหรือคือความทุกข์ เพราะว่าคำ�ว่าทุกข์มันฟังดูหนัก สำ�หรับคนเราทั่วไป เราก็ใช้ชีวิตอยู่ได้ไม่เห็นร้องไห้ยิ้มได้ ทำ�ไมบอกว่าฉันทุกข์อย่างนี้ใช่ไหมคะ คนก็เลยไม่รู้ว่าตัวเองนั่นแหละมีความทุกข์ อยู่ จริงๆ ชีวิตมันดีกว่านี้ได้ จุดนั้นก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้เริ่ม อ๋อ นี่ความทุกข์เหรอ นี่แปลว่าฉันมีความทุกข์เยอะเลยนะเนี่ยที่จะต้อง เคลียร์อะไรอย่างนี้คะ นั่นก็คือจุดแรก มุม : แล้วจากนั้นไปพยายามทำ�ยังไงกับความทุกข์เหล่านั้นบ้าง ตอนนั้นติ๊บอยู่หอกับเพื่อน แล้วมันก็หงุดหงิดเพื่อนคนนี้มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ตอนนั้นมันก็มีเรื่องเรียนกับเรื่องหงุดหงิดเพื่อนคนนี้ สลับกันไปมา เวลาเราไปเรียนก็ไปเรียน เราก็อาจจะเครียดเรื่องเรียนส่วนหนึ่ง แล้วก็กลับมาบ้านก็จะเจอเพื่อนคนนี้ เราก็หงุดหงิดหน้ามัน เพราะฉะนั้น ณ จุดช่วงชีวิตตอนนั้นมันดูเหมือนไม่ได้มีเรื่องอะไรมาก เพราะมันก็จะวนเวียนอยู่อย่างนี้ แต่พอเราเข้าใจความจริงว่า ที่เรา ไม่ชอบเพื่อนคนนี้เป็นเพราะว่าเราแค่ไม่เข้าใจว่า คนนี้เขามีธรรมชาติแบบที่เขาเป็น แต่เราอยากจะให้เขาเป็นแบบที่เราต้องการ มันก็ เลยไม่ได้ดังใจ ไม่พอใจอยู่อย่างนั้นแหละ แต่พอมันเข้าใจความจริงว่าเขามีสิทธิที่จะเป็นแบบนั้น ใครมาเปลี่ยนเรา เราก็ไม่ชอบ เราจะไป เปลี่ยนเขา มันก็เป็นไปไม่ได้ แล้วสุดท้ายคนที่อยากจะเปลี่ยนนั่นแหละที่ทุกข์เอง พอเราเข้าใจความจริงความทุกข์เกี่ยวกับเรื่องนี้มันหาย ไปแล้ว มันกลายเป็นความเข้าใจแทน ความทุกข์มันไม่มีแล้วในเรื่องนี้ใจมันสบายนะ เพราะจริงๆ เราหงุดหงิดกับเรื่องคนนี้มาตลอดช่วง เวลานั้นเราก็รู้สึกได้ว่าพอมันหายไปนะ มันเบายังไง มันก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่เราคิดว่า เราไม่ทุกข์ เพราะว่าเราให้ความหมายของคำ�ว่า ทุกข์ ผิด จริงๆ อะไรก็ตามที่มันทำ�ให้เราหนักใจ มันก็คือความทุกข์รูปแบบหนึ่ง เรามีเรื่องไหนอีกล่ะที่มันคิดถึงเมื่อไหร่แล้วมันก็เศร้า คิดถึงเมื่อ ไหร่แล้วมันก็หงุดหงิด นั่นคือความทุกข์ที่เราจะต้องทำ�ความเข้าใจให้ได้นะ เพราะว่าเวลาเรามีความทุกข์ แต่ว่าเราไม่เข้าใจความจริงอะไร บางอย่าง มันก็เลยค่อยๆ ตรวจสอบตัวเอง เพราะว่าตอนนั้นมันเป็นช่วงที่ไม่ได้เผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำ�ให้เกิดทุกข์บ่อยๆ แต่ว่าเราสามารถ เอาสิ่งที่เคยเป็นทุกข์ในอดีตซึ่งถ้ามันไม่เคลียร์มันก็ยังจะคงเป็นอยู่อย่างนั้น ก็ค่อยๆ เคลียร์ไปทีละเรื่องชีวิตมันมีความรู้สึกว่ามันสบายขึ้นนะ แต่พอเรียนจบทีนี้เริ่มเจอชีวิตจริง ปัญหามันก็เริ่ม อย่างการทำ�งานมันก็เริ่มมีอะไรให้แก้ปัญหาให้เรียนรู้เพิ่มขึ้นมันคือการที่เราเหมือนกับว่า ออกรบจริงๆ อย่างนี้คะ มุม : แล้วเป็นยังไงบ้างพอออกรบจริงนี่สนุกกว่าไหม ก็สนุกกว่า แต่ว่าพอเรามาลงสนามรบจริงๆ เราไม่รู้ว่าเรื่องอะไรมันจะเข้ามาบ้าง แล้วพอเรื่องเข้ามาสมมุติว่าไปทำ�งานราชการ เราก็อาจจะ ดูไม่ใช่แนวข้าราชการ คนเขาก็อาจจะนินทา หรือว่าหมั่นไส้เรา เราไม่เคยเจอโจทย์นี้ เราก็ต้องมีความรู้สึกก่อนว่าอะไรนะ เหมือนกับแบบ คนนินทาจะทำ�ยังไงดี มันก็ทำ�ให้เราได้เอามาพิจารณาว่า จริงๆ แล้วการที่ถูกคนนินทานี่มันเลวร้ายที่สุดมันคืออะไร สมมุติเขาเกลียดเรา กันทั้งกรมเลย อย่างมากเขาก็แค่ไล่เราออกหรือไม่ขึ้นเงินเดือนให้เรา เออมันไม่ตายนี่หว่า เออไม่เห็นต้องกลัวเลย ในที่สุดมันก็จะเหมือน


ติ๊บมองว่าทุกเหตุการณ์ไม่ว่า ดีหรือร้ายคือบทเรียน สำ�หรับเราโดยเฉพาะเรื่องร้ายๆ มันจะมาตรวจสอบตัวเราเองว่า เรายังไม่เข้าใจความจริงในจุดไหน


14 ทะลุปัญหาไปเจอความจริงว่ามันคืออะไร แต่ว่าเราจะทำ�ตัวยังไงให้กลมกลืนกับเขาดีล่ะ ไม่ให้เขาหมั่นไส้มากนัก อะไรอย่างนี้ ก็ฝึกที่จะ ทำ�ตัวกลมกลืนมากขึ้น แต่ช่วงแรกๆ ที่เราเจอโจทย์ใหม่ๆ มันก็ค่อยๆ เรียนรู้มากขึ้น เราก็ยังต้องทำ�ขั้นตอนเดิม ก็คือตรวจสอบว่าเรามีความ เข้าใจตรงไหนอีก เราเจอเหตุการณ์ไหนแล้วทำ�ให้เรารู้สึกยังไง ก็เรียนรู้ไปทุกวัน มุม : แต่ไม่ได้รู้สึกว่าปัญหามันหนักมากขึ้น มันก็เจอปัญหาใหญ่ๆ นะคะ บทเรียนที่ดูเหมือนกับแรงขึ้น แต่ถามว่าวันนี้ที่ผ่านเหตุการณ์พวกนี้มาเราได้ประโยชน์หรือได้โทษจากมัน ถ้า เป็นคนที่ไม่มีธรรมะเราจะได้แต่โทษกับมันแล้วก็อาจจะมีแผลเป็นในใจ แต่ถามว่าในฐานะของคนที่ปฏิบัติติ๊บมองว่า ทุกเหตุการณ์ไม่ว่าดี หรือร้ายคือบทเรียนสำ�หรับเรา โดยเฉพาะเรื่องร้ายๆ มันจะมาตรวจสอบตัวเราเองว่า เรายังไม่เข้าใจความจริงในจุดไหน เรายังมองอะไร ไม่เป็นไปตามความจริงยังไง เหตุการณ์พวกนี้มันมาเป็นเหมือนกับเตือนให้กับเรา ว่านี่ไงเฮ้ย (เน้นเสียง) ที่เรายังรู้สึกแย่รู้สึกทุกข์เนี่ย มันเป็นแค่การเตือนบอกว่ามีจุดที่จะต้องทำ�ความเข้าใจแล้วนะ แล้วก็รู้สึกว่านี่แหละเหตุการณ์พวกนี้มันให้ประโยชน์ จริงๆ ทุกคนมันก็ เจอหมด มันทำ�ให้เราสามารถเข้าใจคนพวกนั้น แล้วอย่างสมมุติว่าถ้าเราจะช่วยเหลือเขาทางด้านจิตใจหรืออะไรอย่างนี้ เราเข้าใจเขาก่อน อย่างน้อยเหมือนเป็นผู้ประสบมาร่วมกันเราจะเข้าใจแล้วเราจะบอกเขาได้ กันเขาออกจากไอ้วังวนของเขา มุม : ถึงจุดไหนที่คิดว่าชีวิตเราต้องบวช ก็มีความรู้สึกว่าจริงๆ เรารู้นะอะไรที่สำ�คัญในชีวิต แต่ทำ�ไมเราถึงใช้เวลาไปแบบนี้ คือหมายความว่าเอาเวลาไปทำ�งาน ไม่ใช่ว่ามันไม่มีข้อดี ไม่มีประโยชน์นะคะ แต่ถึงจุดหนึ่งมันรู้ว่า มันมีอะไรที่มีประโยชน์ยิ่งกว่านั้น ณ จุดที่จะบวชมันมีมุมมองแบบนั้นว่าเราก็รู้ อย่างงานมันก็เอา เป็นสรณังไม่ได้ ไม่เห็นมีอะไรเป็นสรณังได้สักอย่างเลย จริงๆ เราควรจะมาพัฒนาใจ เราพัฒนาตัวเราเองให้มันเข้มข้นกว่านี้ไหม เพราะเรา ไม่รู้ว่าจะตายเมื่อไหร ถ้าพรุ่งนี้ตายไปละ แล้วเราจะเสียดายไหมที่เราไม่ได้ทำ�สิ่งที่เราอยากทำ�ที่สุด ก็เลยตัดสินใจที่จะมาบวช มุม : คือตอนนั้นการบวชคือสิ่งที่อยากทำ�ที่สุด อาจจะไม่ใช่คำ�ว่าบวช หมายความว่าอยากจะใช้เวลาเต็มๆ ไปในการพัฒนาจิตใจตัวเอง แล้วก็เป็นประโยชน์กับคนอื่น มุม :บวชแล้วทำ�ให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไปอย่างไร ก็เหมือนกับว่าเราก็ไม่ต้องเสียเวลาไปเกี่ยวกับงานหรืออะไรอย่างนี้ มันก็จดจ่ออยู่กับการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวอะไรได้ ไม่ต้องแสดงบทบาท ทางโลกเลยเอาอย่างนี้ดีกว่า เป็นธรรมชาติเกี่ยวกับภายในล้วนๆ มุม : แต่ในขณะที่เป็นแม่ชีเองก็ยังต้องสวมบทบาทของแม่ชีนี่ แต่บทบาทแม่ชีง่าย คือว่านั่งเงียบๆ มันก็ดูเป็นแม่ชีที่ดีแล้วคะ เพราะฉะนั้นการทำ�งานภายใน มันสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่า ถ้าเราเป็น นักบินเราก็ต้องขับเครื่องบินคือมันต้องแสดงบทบาทภายนอก แล้วเวลาเราแสดงบทบาทภายนอกให้มันเหมาะสม เราก็ต้องคิดเหมือนกัน นะว่าเราจะแสดงยังไงถูกไหมคะ เหมือนดาราแสดงละครเวทีก็เป็นการทำ�งาน การที่เราไปทำ�งานหรือการที่เราอยู่ในสังคมให้มันกลมกลืน เราก็ต้องแสดงบทบาทภายนอก เพราะฉะนั้นส่วนของภายในแน่นอนมันเรียนรู้ระหว่างภายนอกกับภายในไปพร้อมกันนั่นแหละ แต่ว่าพลัง ปัญญา พลังสมอง มันต้องสำ�หรับออกมาแสดงภายนอกมากกว่า มุม : แต่สำ�หรับบางคนนั่งเงียบๆ นิ่งๆ อาจจะยากกว่าการไปทำ�อย่างนั้นด้วยไม่ใช่หรือ ในมุมมองของติ๊บ คิดว่าการเล่นบททางโลกนี่แหละเป็นเรื่องที่ยากที่สุดแล้ว เพราะถึงยังไงการปฏิบัติธรรมมันก็เป็นอยู่สองส่วน ของ ฆราวาสก็คือการด้านใจกับด้านภายนอกถูกไหมคะมันทิ้งกันไม่ได้ จริงๆ โจทย์ที่ยากไม่ใช่ด้านใจหรอกเพราะด้านใจเป็นส่วนที่เรารับผิด ชอบเองคนเดียวล้วนๆ แต่ด้านภายนอกนี่ต่างหากล่ะ เราจะแสดงบทบาทไหนให้มันเหมาะกับสถานการณ์คะ


มุม : แล้วตอนบวชนี่คิดว่าจะบวชนานไหมหรือว่าจะบวชไปเรื่อยๆ ก็อยากจะบวชไปเรื่อยๆ คะ แต่ว่าเหตุปัจจัยมันก็ไม่ค่อยเอื้ออำ�นวยเท่าไหร่ แต่หลังจากหกเดือนเราก็มีความรู้สึกว่า เราก็พร้อมแล้วละ ถ้าสมมุติว่าเราจะต้องสึกก็โอเค หรือว่าถ้ามีโอกาสบวชต่อก็โอเคทั้งสองอย่าง มันโอเคหมด

15

มุม : ตอนนั้นเหตุปัจจัยที่จะบวชจะสึกต่อขึ้นอยู่กับอะไร ส่วนหนึ่งก็งานก็ติดสัญญาอยู่ แล้วก็สามี เพราะว่าหลังจากหกเดือนที่เราบวชมามันก็ค่อนข้างจะอะไรหลายๆ อย่างที่ทำ�ให้เรารู้สึกว่า หกเดือนนี้มันก็มีคุณค่า ต่อให้เราจะเป็นชีวิตฆราวาสต่อไปเราก็ค่อนข้างมั่นใจว่าทุกเวลามันจะมีค่ามากขึ้น เหมือนกับว่าเราได้บทเรียน อะไรบางอย่าง เรารู้สึกว่าก็โอเคนะอยู่ในรูปฆราวาสก็ได้ เราก็เรียนรู้อะไรได้ มุม : มันเหมือนได้พักมาด้วยหรือเปล่า ก็ทั้งสองส่วนพักร่างกายและก็ด้านใจเหมือนเวลานักกีฬาไปเก็บตัว แทนที่ว่าวันหนึ่ง วิ่งวันละหนึ่งชั่วโมง ความแข็งแรงมันอาจจะต่างกับ วิ่งวันละหลายๆ กิโล การที่ไปบวชก็เหมือนกับว่า เราไปฟิตซ้อมอย่างเข้มข้น มันทำ�ให้เกิดซิกแพค มันสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติ ธรรมมากขึ้นค่ะ มุม : ตอนนั้นเขาให้ทำ�อะไรบ้างระหว่างบวช การที่ไปบวชมันคือทำ�ในสิ่งที่เราไม่เคยทำ� เหมือนกับว่าถ้าเราเป็นฆราวาส เราก็จะอยู่ในบ้านที่มันซ้ำ�ๆ เดิม กิจวัตรเดิมเปิดไฟดวงเดิมเวลา เดิมอะไรอย่างนี้ แต่การไปบวชมันคือข้อพิสูจน์ อาจารย์คือแม่ชีสุภาพนี่ท่านก็จะไม่ให้ทำ�อะไรเดิมๆ ให้ทำ�อะไรใหม่ๆเสมอ เพราะฉะนั้น ถ้าเราติดอะไรมันจะโชว์ออกมา อย่างสมมุติว่าเราย้ายที่พักบ่อย แล้วเกิดเราต้องใช้ผ้าเช็ดตัวในการเช็ดตัว แล้วครั้งนี้เราลืมเอามา เราก็หา ผ้าเช็ดตัวอยู่ไหนเดือดร้อนขึ้นมาอย่างนี้ ก็โชว์แล้วว่าเราติดผ้าเช็ดตัว การที่เราไม่ทำ�สิ่งต่างๆ ซ้ำ�มันจะเป็นตัวที่จะพิสูจน์ว่าอะไรที่เรายังติด อยู่ หรือว่าเราสามารถประยุกต์ตัวปรับได้อยู่เรื่อยๆ ไหม ถ้ามันปรับไม่ได้ ปรับได้ยากแปลว่าเราเริ่มครอบเริ่มยึดแล้วใช่ไหมคะ แต่ว่าถ้าเรา ปรับเรื่อยๆ มันก็ไปได้เรื่อยๆ ก็จะยิ่งทำ�ให้ ฟรีขึ้น แต่ถ้าสมมุติว่ายังไปเจอจุดที่ติดเหตุการณ์ก็จะบังคับให้เราต้องเปลี่ยนอย่างเช่นว่า พอมืด แล้วไม่ให้เปิดไฟ บางคนที่เขาต้องมีไฟ เขาก็จะรู้สึกว่าไม่ได้ต้องมีไฟ มันก็จะเป็นหัวข้อที่เขาจะต้องไปเคลียร์ของเขาเองแล้วใช่ไหมคะ หรือ ว่าถ้าห้องน้ำ�ไม่ชักโครกได้ไหม อาบน้ำ�ไม่อาบเวลานี้ได้ไหม หรือทำ�อะไรที่จะวัดตัวเองว่าติดอะไรการที่มาอยู่รวมกันเยอะๆผู้หญิงรวมกัน เยอะๆ มันมีอะไรที่มันไม่เข้าหูเราไหมเราปรับไม่ได้ไหม กับคนนี้เราไม่ชอบไหมมันก็เป็นเหมือนกับบททดสอบให้กับเราให้เราเห็นว่าอะไรที่ เราไม่ได้บ้าง แต่ถ้าเราปรับตัวเก่งขยับตัวเก่งการยึดติดของเรามันก็น้อยคะ มุม : ตอนที่ความรู้สึกเหล่านั้นเกิดขึ้น เคยมีสักแวบหนึ่งไหมคิดว่าจะบวชเป็นภิกษุณีต่อ เพราะสมัยนี้ก็มีภิกษุณีค่อนข้างเยอะขึ้นแล้ว ติ๊บไม่ได้ให้คุณค่ากับชื่อเรียก คือมีความรู้สึกว่าการที่เราบอกแบบนี้ จริงๆ คนอื่นนั่นแหละที่เขามาเรียกเราว่าแม่ชีหรืออะไรก็ช่างเถอะ แต่ว่าความตั้งใจของเรา คือเรามาเปลี่ยนสถานะ เรามาทำ�ในสิ่งที่แบบอยู่น้อยกินน้อยใช้น้อย ถ้าสมมุติว่าประเทศไทยเขาฮิตภิกษุณีกันก็ คงเป็นภิกษุณีนั่นแหละคะ แต่เผอิญเขาไม่ฮิตก็เลยเป็นแม่ชีเพราะเขาฮิตแม่ชี เป็นสถานะที่ให้เราเข้าไปได้ ไม่ได้ให้คุณค่าว่าภิกษุณีหรือ แม่ชี เพราะว่าเรื่องของใจจริงๆ แล้วมันไม่มีชื่อนะคะ มุม : แล้วทำ�ไมตอนนั้นถึงตั้งชื่อตัวเองว่าแม่นาว ที่มาที่ไปคือเป็นนักบินใช่ไหมแล้วก็บินเยอะด้วย เพราะฉะนั้นชีวิตมันขึ้นอยู่กับตารางเวลาการบิน แล้วมีอยู่ครั้งหนึ่งตอนที่หลวงปู่ (หลวง พ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ) มรณภาพ ก่อนหน้านั้นแม่ชีที่เป็นอาจารย์ ท่านบอกหลวงปู่ป่วยนะไปให้กำ�ลังใจหลวงปู่หน่อยสิ เราก็คิดในใจหลวงปู่ แข็งแรง หลวงปู่ไม่ตายเร็วหรอก หยุดก็ไม่ได้คิดจะไปอุดรเพื่อที่จะเยี่ยมหลวงปู่ อยู่มาวันหนึ่งหลวงปู่ก็ตาย พอรู้ว่าหลวงปู่ตาย ก็เลยรีบไป อุดรแล้วมีความรู้สึกว่าเซ็งตัวเองจังเลย ที่ว่าทำ�ไมเราถึงผัดวันประกันพรุ่ง ทำ�ไมเราถึงคิดว่าหลวงปู่ไม่ตายหรอก ทำ�ไมเราถึงคิดอย่างนั้น


16 คือเสียใจไม่ได้เสียใจที่หลวงปู่ตายนะ แต่เสียใจที่ว่า ดูสิเราเป็นคนที่คิดจะทำ�อะไรทำ�ไมไม่ทำ�เลย เรารู้ได้ยังไงว่ามันจะมีเวลาในอนาคต จากจุดนั้นมันก็เลยเหมือนเป็นปณิธานว่า ถ้าเราคิดว่าเราจะทำ�อะไรทำ�เลยเถอะ หลวงปู่มาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าหลวงปู่ดูแข็งแรงก็เถอะ ก็ตายได้นะ วันที่ไม่คิดว่าจะตายอย่างนี้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าคิดจะทำ�อะไรก็ให้ทำ�เลย ก็เหมือนกับตอนที่บวชค่ะ เพราะอยู่มาวันหนึ่งขับรถไป มันมีความรู้สึกว่าเราทำ�อะไรวะเนี่ย เราคิดว่าที่เราอยากทำ�คือบวชไม่ใช่หรือ แล้วเรามาทำ�งาน ทำ�ไมเราไม่ไปบวช วันนั้นก็เลยไปหาข้อมูล ว่าลาไปบวชได้ไหมทันทีเลย มันมีความรู้สึกว่าจะทำ�อะไรก็ทำ�เลยเดี๋ยวนี้แหละ เพราะไม่รู้ว่าจะมีเวลาต่อไปข้างหน้าอีกไหมอย่างนี้คะ มุม : ถ้าสมมุติว่ามีโอกาสอีกครั้งจะกลับไปบวชใหม่ไหมหรือว่าคิดว่าพอแล้ว ถ้ามีโอกาสก็คงบวชค่ะ เพราะว่ามันเป็นชีวิตที่เรียบง่าย มันเป็นชีวิตที่สบาย ชุดก็ไม่ต้องคิดว่าจะใส่อะไร รีดก็ไม่ต้องรีด ผมก็ไม่ต้องสระมัน เป็นชีวิตที่สบายมาก แต่ว่าถ้าปัจจัยมันเอื้อก็ไป แต่ถ้ามันไม่เอื้อก็เหนื่อยหน่อย ซักผ้ามากหน่อย รีดผ้ามากหน่อย สระผมมากหน่อย มันก็ โอเค มันก็จะได้รู้ว่านี่มันเป็นภาระกับเรายังไง มุม : ถ้าอย่างนั้นทุกวันนี้มีอะไรเป็นเป้าหมาย การพัฒนาตัวเราเองนี่แหละคะ ทำ�ยังไงที่เราจะสามารถไม่ต้องให้ความทุกข์มันมาถึงใจเราได้อีกเลยให้มันจบๆ กันไปเลย เพราะว่าก็รู้แล้ว ว่าการที่เรามาเกิดนี้มันก็ไปรนหาที่ อย่าว่าแต่การทำ�งานอะไรที่มันเป็นรัศมีออกไปไกลๆ จากเรา กะอีแค่ดูแลร่างกาย หิวต้องไปหาข้าวกิน มันก็เป็นภาระจะแย่อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราจะมารนหาที่มีภาระไปทำ�ไม มุม : พอเรากลับมาทำ�งานอีกหลังจากไปปฏิบัติมาหกเดือน เพื่อนร่วมงานมีท่าทีที่แปลกไปไหม แล้วเรามีท่าทีที่มองเขาต่างไปยังไง เขาก็สงสัย เขาก็คิดไม่ออกหรอกว่า จะไปบวชทำ�ไม มันต้องอกหักรักคุด มันต้องมีปัญหาอะไรแน่ๆ แบบเวลาไปถึงที่ทำ�งานจะได้ยินว่า เป็นยังไงบ้าง ดีขึ้นไหมติ๊บ ก็ เอ๊ะ ก็ดีอยู่แล้วนะคะ พี่ไม่ได้เป็นอะไร ก็เข้าใจแหละว่าเขาจะคิดยังไง แต่เราก็อยากจะอธิบาย เพราะเหมือน กับว่า คำ�ตอบของเราที่เราตอบเขามันจะกวนตีน แต่ก็จะบอกว่าที่ไปเนี่ยมันไม่ต้องเป็นทุกข์อะไรมากก็ไปได้นะ แต่ว่าคนที่รู้จักกันจริงๆ เขาก็จะรู้ว่ามันคืออะไร แต่ว่าคนที่เขาไม่รู้จัก เขาก็จะคิดไปไม่ถึงว่ามันมีวิธีคิดแบบนี้ด้วยเหรอ เขาก็จะคิดแบบเดิมๆ ของเขา แต่ว่าใครจะ คิดยังไงมันก็คงห้ามเขาไม่ได้นะคะ มันก็จะมีอีกแง่มุมหนึ่ง คนก็จะแบบมันต้องดีแน่ๆ เลย โอ้โห..ลาไปหกเดือนมันต้องมีอะไรดีแน่ๆ เขาก็ จะมาถามว่า เออ จริงๆ แล้วอะไรมันคืออะไร คนที่เขาจะคิดแบบเขาก็แล้วไป คนที่เขาคิดแล้วสงสัยว่า เออ มันน่าจะมีอะไรดี เราก็คุย ให้เขาฟัง มันก็เหมือนเปิดตัวไปเลยดีกว่า มุม : คิดว่าการไปบวชแล้วงานที่ทำ�ในระหว่างที่บวชมันลำ�บากกว่าตอนที่เป็นฆราวาสไหม การไปบวชหรือคะ สบายคะ เป็นชีวิตที่สบายมาก ใครๆ ก็น่าจะบวชทั้งนั้นแหละ ถ้าเขารู้ว่ามันสบาย มุม : แล้วคิดว่าทำ�ไมคนสมัยนี้ถึงไม่บวช ทำ�ไมคนสมัยนี้คิดว่ามันลำ�บาก เพราะเขาไม่เข้าใจ เพราะเขาอาจจะมีความสุขกับการที่ได้มี หรือเขามีความสุขกับการที่เขาอยู่กับความเคยชินของเขา แต่อย่างติ๊บมาบวช หลังจากที่ฝึกตัวเองมาแล้วสิบปี เพราะฉะนั้นการที่รู้จักธรรมะมันทำ�ให้มีจิตใจที่กล้าเผชิญ คือเป็นไงเป็นกันเดี๋ยวค่อยว่ากัน อะไรอย่างนี้ มันก็ทำ�ให้รู้สึกว่าจากเดิมที่ไม่เคยบวช เราก็คิดไม่ออกว่าการบวชคืออะไรใช่ไหมคะ แต่เราไม่กลัว เราอยากรู้ว่า ทำ�ไม อาจารย์เราถึงบวช เขาบวชมันต้องดีแน่ๆ เลย ตอนก่อนบวชก็ถามแม่ชีที่เคยเป็นฆราวาสแล้วรู้จักกันมานาน ก็ถามเป็นยังไงบ้าง เขาก็พยายามจะอธิบาย แต่เราก็เข้าใจได้ระดับหนึ่ง พอเรามาบวชเองประโยชน์อีกตั้งหลายอย่างที่เราไม่มีวันจะคิดออก มันดีมากๆ น่ะ ดีกว่าที่เราคิดไว้ร้อยเท่าพัน เท่าอย่างนี้คะ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วถ้าคนที่ไม่เคยฝึกตัวเองมาเลยยังมีความสุขกับการที่มีอะไรเยอะๆ ยังมีความสุขกับการที่ได้อยู่ในคอม ฟอร์ดโซนคือสิ่งที่ตัวเองเคยชิน เขาก็คงไม่มาบวชหรอกคะ แต่วันหนึ่งถ้าเกิดว่า เขาได้ค่อยๆ ฝึกตัวเองแล้วรู้สึกว่าการไม่มีมันไม่สบาย แต่ก็ ยังรับได้อยู่นะอย่างน้อยยังมีได้อยู่ แต่ก็ไม่ได้ต้องพึ่งพามันแล้ว การที่มาบวชนี่มันจะเป็นสิ่งที่สบายมากๆ



18

มุมพิเศษ

เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : รบฮ.

เกิ ดเป็นหญิง เพราะมี ก รรม



20

เมื่อหลายเดือนก่อนที่ธรรมศาลา( Dharamsala) ประเทศอินเดีย องค์ดาไลลามะได้อนุญาตให้คณะคนไทย ได้เข้าพบและถามคำ�ถามได้ตามอัธยาศัย ในจำ�นวนคำ�ถามหลายข้อนั้น มีข้อหนึ่งได้ถามว่าหากท่านได้กลับมาเกิด ใหม่อีกครั้ง ท่านอยากจะกลับมาเกิดใหม่เป็นอะไร ซึ่งท่านได้ตอบกลับมาว่า ครั้งหนึ่งท่านได้เดินทางโดยเครื่องบิน จากโตเกียวไปซานฟรานซิสโก ใกล้ๆ กับที่ท่านนั่งมีครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ อยู่ครอบครัวหนึ่ง ประกอบด้วยพ่อ แม่ และ ลูกสองคน ซึ่งลูกคนโตอายุประมาณ 5 ขวบ วิ่งไปวิ่งมาบนเครื่องบิน และมีลูกคนเล็กอีกคนที่ร้องไห้บ่อยมาก แรกๆ ท่านก็เห็นทั้งพ่อทั้งแม่ช่วยกันดูแลอยู่ แต่พอผ่านไปซักพักคนเป็นพ่อก็เริ่มถอยและหลับไปในที่สุดทิ้งให้คนเป็นแม่ ดูแลต่อไปโดยลำ�พัง จนถึงรุ่งเช้าเมื่อท่านตื่นขึ้นมา ท่านก็สังเกตเห็นว่าฝ่ายแม่ดูโทรมเหมือนอดนอน ในขณะที่ฝ่าย ชายดูสดใสจากการได้หลับเต็มอิ่ม ท่านจึงมองว่าฝ่ายหญิงเป็นผู้เสียสละเพื่อลูกมากกว่าฝ่ายชาย ท่านบอกว่าปัจจุบัน ความรุนแรงต่างๆ นานามักเกิดขึ้นจากน้ำ�มือของผู้ชาย หากได้ความกรุณาจากผู้หญิงมาช่วยน่าจะดีขึ้น ท่านมองว่า ความรักจากผู้หญิงเป็นความรักที่บริสุทธิ์โดยเฉพาะหากเป็นรักของแม่ที่ต้องการจะปกป้องลูก ซึ่งท่านได้ย้ำ�ไว้ด้วยว่า ในทางวิทยาศาสตร์ก็ได้วิเคราะห์ไว้อย่างนี้เหมือนกัน(วิทยาศาสตร์อาจลืมนึกไปว่าเวลาแม่ปกป้องลูกอาจจะโหดมาก พอที่ฆ่าทุกชีวิตที่เข้าใกล้ก็ได้) ท่านจึงบอกกับผู้ไปเยือนว่าหากคณะสงฆ์ของธิเบตอนุญาติท่านก็อยากกลับมาเกิด ใหม่เป็นผู้หญิงเหมือนกัน (ที่ท่านอย่างนี้เพราะความเชื่อทางพุทธศาสนาสายวัชรยานเชื่อว่าองค์ดาไลลามะเป็นพระ โพธิสัตว์ ซึ่งหากอธิษฐานเป็นพระโพธิสัตว์แล้วก็จะไม่กลับมาเกิดเป็นหญิงอีก) ชายหญิงในพระพุทธศาสนาไม่เท่ากันหรือ ถึงแม้จะมีหลายจุดในคำ�สอนที่ดูเหมือนกับว่าผู้หญิงมีฐานะไม่เท่ากับชายในพระพุทธศาสนาก็ตาม แต่ความจริงแล้วอาจ มองได้ว่าในพุทธกาลพระพุทธเจ้ามองทุกคนเท่ากันในแง่ของการเข้าถึงความจริงของธรรมชาติหรือที่เราเรียกกันว่าเข้าถึงธรรม นั่นแหละ หากแต่บริบททางสังคมของชมพูทวีปในเวลานั้นอาจต้องอาศัยการกระทำ�ที่ให้คนภายนอกดูเหมือนกับว่ามีความไม่เท่ากัน อยู่บ้างเพื่อให้ชาวบ้านรับได้ ซึ่งจะเอาเรื่องสิทธิต่างๆ ในสมัยนี้ไปเทียบไม่ได้ คงเหมือนกับที่สมัยก่อนคนแต่งงานมีลูกตั้งแต่ 13-14 แต่สมัยนี้ยังว่าเด็กไปนั่นแหละ จริงอยู่ที่พระพุทธเจ้าได้พูดถึงการเกิดเป็นหญิงว่าเป็นเพราะกรรม(การกระทำ�+เจตนา) และมีส่วนที่ได้อธิบายไว้ว่าเป็นเพราะ ผิดศีลข้อล่วงละเมิดทางกามในบุคคลผู้มีเจ้าของ ทำ�ให้กรรมนั้นส่งผลให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นกระเทย เป็นผู้หญิงอย่างละ 500 ชาติ แต่ในขณะเดียวกันก็มีสาวิกามากมายที่เป็นเลิศกว่าผู้อื่นในด้านต่างๆ โดยอดีตชาติของท่านเหล่านั้นได้ถูกเล่าไว้ว่าท่านได้ ตั้งจิตอธิษฐาน(ตั้งใจมั่น)และฝ่าฟันกระทำ�จนได้มาเกิดเป็นผู้หญิงที่เป็นพุทธสาวิกาและยังเลิศกว่าผู้ชายและผู้หญิงอื่นตั้งมากมาย ซึ่งพระพุทธเจ้าเองก็รับรองความสามารถนั้นด้วย ดังนั้นจึงสามารถพูดได้เหมือนกันว่าการเกิดเป็นหญิงไม่ได้เกิดจากการทำ�ชั่วแต่เพียง อย่างเดียว แต่การตั้งใจจะมาเป็นหญิงให้ได้นั้นศาสนาพุทธก็รับรองว่าถูกต้องตามหลักด้วยเหมือนกัน เช่น พระนางสิริมหามายาที่ได้ มาเป็นแม่ของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้มาเป็นแบบฟลุ๊คๆ แต่มาจากเหตุปัจจัยคือความตั้งใจล้วนๆ อธิษฐานกันหลายภพหลายชาติเลย ทีเดียว หรือแม้แต่พระนางยโสธราพิมพา ที่ตั้งใจอธิษฐานมาหลายภพหลายชาติว่าจะมาเป็นคู่ครองของเจ้าชายสิตธัตถะที่ต่อมาเป็น พระพุทธเจ้านั่นแหละ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยบอกผู้หญิงว่ามีความสามารถไม่ทัดเทียมผู้ชายเลย อาจจะมีบางพระสูตรที่พูดทำ�นองว่าผู้หญิงมีกิริยาอย่างไรที่ไม่ดีบ้าง หรือกิริยาอย่างไรเป็นกิริยาที่น่ายกย่องบ้าง เช่น กุณาลชาดก ที่ว่าด้วยมารยาหญิง 40 เล่มเกวียน เพื่อให้พระภิกษุแล้วผู้ตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์รู้ทันเท่านั้น หรือการยกย่อง


21

ความสามารถของนางวิสาขาที่เข้าไปปรนนิบัติครอบครัวสามีอย่างถูกกาลเทศะบ้าง (แม้ว่าการปรนนิบัติจะค่อนข้างกระตุกความคิด บ้างก็ตาม) ไม่ว่าอย่างไรก็ตามในสมัยนั้น พระพุทธเจ้าก็ทำ�ให้ความสามารถของผู้หญิงถูกยอมรับได้เท่าเทียมกับผู้ชายเลยทีเดียว แต่พอเวลาล่วงไป 2554 ปีหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดูเหมือนจะเปลี่ยนไป ผู้หญิงดูเหมือนจะมีพื้นที่ ในศาสนาน้อยลง เนื่องจากหลายสายโดยเฉพาะสายเถรวาทเชื่อกันว่าไม่มีภิกษุณีเหลืออีกแล้วอย่างหนึ่ง (ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีที่ ไปบวชจากศรีลังกามาบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับจากทางคณะสงฆ์อยู่ดี) พิธีกรรมความเชื่อที่เกิดขึ้นมาใหม่ผสมผสานกับ ความเชื่อท้องถิ่นเดิมซึ่งกีดกันพื้นที่ของผู้หญิงอีกหนึ่ง เช่น ในภาคเหนือที่มีความเชื่อเรื่องผู้หญิงขึ้นบนพระธาตุไม่ได้จะทำ�ให้ขึด (มีความหมายในทางเสื่อม) ผู้คนสนใจเรื่องการเสพบริโภคมากกว่าจิตวิญญาณอีกหนึ่ง ซึ่งในอย่างหลังนี้นับว่าทำ�ลายคุณค่าความ เป็นมนุษย์ลงไปมาก เพราะถ้าหากคำ�ว่ามนุษย์มาจากคำ�ว่า มน อ่านว่า มะ-นะ รวมกับ อุสฺโส หรือ อุษย ที่แปลว่า สูง เมื่อรวมกันแล้ว แปลว่า ผู้มีใจสูง แล้วล่ะก็ การไปหมกมุ่นอยู่กับการกินเสพบริโภคแต่เพียงอย่างเดียวจะต่างอะไรกับสัตว์เดรัจฉานที่กินๆ นอนๆ อยู่ ทุกวัน แม้จะอ้างว่าถึงไม่ได้คิดเรื่องจิตวิญญาณ “คน” ก็สามารถพัฒนาบ้านเมืองและความเป็นอยู่ให้สะดวกสบายขึ้น คิดค้นสิ่ง แปลกใหม่สนุกสนานออกมาเพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งทำ�ให้สุขมากขึ้น เป็นต้น ก็ตาม แต่เพราะต้องการความสะดวกสบายและความสุขที่ ไม่เคยพอนี้ไม่ใช่หรือ ที่ทำ�ให้เกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนทำ�ให้เกิดความฉิบหายแก่ตนเองและสังคมมานับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งนั่น ก็รวมไปถึงการชิงพื้นที่ในศาสนจักรด้วยเช่นกัน เพราะทุกคนต้องการสิทธิแต่ไม่ค่อยมีคนคิดถึงหน้าที่ เมื่อพื้นฐานทางความคิดเป็น อย่างนี้แล้ว หลักการก็ไม่มีความหมายอีกต่อไปเพราะไม่ว่าที่ไหนหลักการที่ดีมักจะไม่ตรงกับความต้องการ ดังเช่นหลักแห่งสิทธิ มนุษยชนนี้ถ้าใช้ไม่ดี แทนที่จะเป็นการเห็นอกเห็นใจคนอื่นที่ถูกกดขี่ ก็จะกลายเป็นเห็นแก่ตัวแทน ฉะนั้นหากลองพิจารณาดูดีๆ แล้ว การที่พระพุทธเจ้าเคยพูดไว้ว่าเกิดเป็นผู้ชายโชคดีกว่า อาจจะหมายความว่าไม่ว่าในสมัย ไหนๆ ก็มีความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศนี้เกิดขึ้น และโดยเฉพาะสังคมบนโลกนี้ก็เคยชินกับสังคมที่ถูกออกแบบมาโดยความคิดแบบ ชายเป็นใหญ่ ทำ�ให้การเกิดเป็นหญิงมีปมด้วยตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะถูกมองเป็นเพศที่อ่อนแอ เป็นวัตถุทางเพศ ฯลฯ สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้กระทำ�ในตอนนั้นจึงมิใช่เพียงเปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีสิทธิมากขึ้นเท่านั้น แต่พระพุทธเจ้าได้แสดงให้เห็นว่า คนทุกคนนั้นมีโอกาสเท่ากัน ไม่ใช่ว่าจะมีโอกาสทางสังคมเท่ากัน แต่มีโอกาสที่จะพ้นไปจากความทุกข์ทั้งปวงเท่าๆ กันนั่นเอง ซึ่งชัดเจนมากว่าพระพุทธศาสนาไม่เกิดขึ้นเพื่อกำ�จัดความเหลื่อมล้ำ�ทางสังคม แต่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นเพื่อกำ�จัดความทุกข์ในใจคน ทำ�ให้นึกถึง ณ ขณะที่พระนางมหาปชาบดีโคตมี หรือพระน้านางของพระพุทธเจ้าต้องการบวชแต่ถูกไม่ให้บวชโดย พระพุทธเจ้า ตอนนั้นนางเองก็เพิ่งเสียพระสวามีไป จิตใจก็ไม่ได้อยู่กับเนื้อกับตัว ลูกเต้าก็บวชกันหมดเสียแล้ว การอยู่ในปราสาท พระราชวังที่แสนจะยิ่งใหญ่อาจจะไม่อบอุ่นเหมือนเดิม เพราะเต็มไปด้วยความหลังที่เคยได้ร่วมหรรษากับทุกๆ คน ทำ�ให้อยู่เฉยๆ ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นความหลังจะฟุ้งขึ้นมาทำ�ให้เสียใจอีก นางจึงไม่สนใจทรัพย์สมบัติและลาภยศอีกต่อไป เพราะบรรดาคนรักทั้งหมดบวช ไปหมดแล้วนั่นเอง ฉะนั้นความสุขของนางจึงได้ไปผูกไว้กับพระพุทธเจ้าและลูกหลานที่ไปเป็นพระเป็นเณรหมดแล้ว เมื่อเป็นภิกษุณี แล้วนางได้ขออนุญาตยกเลิกครุธรรมข้อหนึ่งไป (ครุธรรมมี 8 ข้อ ข้อแรกบัญญัติว่า แม้ภิกษุณีมีพรรษา 100 ก็ต้องเคารพภิกษุที่บวชได้ วันเดียว น่าจะเป็นข้อกำ�หนดที่ตั้งเผื่อแม่บวชตามลูกชายแล้วจะไม่เคารพ จึงเป็นข้อฝึกฝนเพื่อลดละความถือตัวของผู้เป็นแม่ก็ได้) เมื่อนางมาขอให้ภิกษุและภิกษุณีนับถือกันตามพรรษาไม่เกี่ยวกับเพศด้วย พระพุทธเจ้าจึงปฏิเสธไปพร้อมกับกำ�หนดสิกขาบทเพิ่ม ไปอีกข้อหนึ่งด้วยว่า ห้ามภิกษุไหว้ผู้หญิง ถ้าไหว้เป็นอาบัติทุกกฏ โดยให้เหตุผลว่า ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไม่ปรากฎว่ามีลัทธิความเชื่อ ศาสนาใดๆ มีการไหว้ผู้หญิงมาก่อนเลย พระพุทธเจ้าจึงมองในแง่ของสังคมว่าในสมัยนั้นคนยังไม่สามารถทำ�ใจยอมรับตรงนี้ได้ จึงไม่ได้อนุญาต ต่อมานางมาขอให้พระพุทธเจ้าแสดงธรรมที่ไม่ยาวนักให้ฟัง เพื่อที่นางจะเอาไปใช้เป็นหลักปฏิบัติเวลาปลีกวิเวก ออกไปอยู่คนเดียว พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำ�หนัดย้อมใจ, เป็นไปเพื่อความประกอบสัตว์ไว้


22

(รั้งสัตว์ให้ติดในวัฏฏะ), เป็นไปเพื่อการสะสมกิเลส, เป็นไปเพื่อความมักมาก, เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ, เป็นไปเพื่อความคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ, เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน, เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ทั้งหมดนี้ให้จำ�ให้ดีว่าไม่ใช่คำ�สอนของพระศาสดา แต่ถ้าธรรม ที่ได้ฟังนั้นเป็นไปเพื่อความคลายกำ�หนัด, เป็นไปเพื่อความพรากสัตว์ออก(จากสังสารวัฏ), เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกิเลส, เป็นไปเพื่อ ความมักน้อย, เป็นไปเพื่อความสันโดษ, เป็นไปเพื่อความสงัด, เป็นไปเพื่อความเพียร, เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ทั้งหมดนี้ต้องจำ�ให้ดี เพราะนี่แหละธรรม นี่แหละวินัย นี่แหละสิ่งที่ตถาคตสอน เพราะฉะนั้นหลักนี้แหละที่เราสามารถนำ�ไปจับกับคำ�สอนที่ได้ยินมาได้ ถ้าพระบอกให้เราถวายเงินเยอะๆ เพื่อจะได้ไปอยู่ บนสวรรค์แล้วล่ะก็ ต้องลองพิจารณาดูว่ามันเป็นไปตามหลักที่พระพุทธเจ้าสอนไว้หรือเปล่า พระพุทธเจ้าเคยสอนให้ตั้งเป้าไปอยู่บน สวรรค์ไหม ท่านบอกแค่ว่าถ้าอยากไปต้องทำ�เหตุอย่างไร แต่ท่านไม่เคยบอกให้ไปให้ได้ ท่านบอกตลอดเวลาไปว่าการไปสวรรค์นั้น ยังเป็นทางที่ต้องกลับมาทุกข์อยู่ ควรพยายามหลุดพ้นเสียตั้งแต่วันนี้เลย อยู่กับปัจจุบันอดีตเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้ อนาคตยังมาไม่ถึงทำ�ปัจจุบันให้ดีอนาคตก็จะดีเอง ดังนั้นหากจะมองว่าการเกิดเป็นหญิงเป็นกรรมที่มาจากอดีตแล้วไม่ยอมที่จะปรับปรุงตัว ก็เลยกลายเป็นว่าเป็นการ สร้างกรรมใหม่คือกรรมขี้เกียจที่จะพัฒนาตัวเองไป กลายเป็นยอมรับความเสื่อมที่จะเข้ามาในชีวิต แล้วเมื่อเรายอมรับ ความเสื่อมนั้นเข้ามาเอง เราจะมีสิทธิอะไรที่จะมาบ่นมาอ้างว่าเป็นผลจากชาติที่แล้วอีกเล่า....



VS.

พื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างพระกับโยมในศตวรรษที่ 21


VS.

เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ I ภาพ : ตะวัน พงศ์แพทย์

พระครูอดุลสีลกิตต์ Vs. อวยพร เขื่อนแก้ว

พระพุทธศาสนา ในล้านนา กดขี่ผู้หญิง เป็นจริงแค่ไหน

25


26

ในสมัยพุทธกาลผู้หญิงถูกจำ�กัดสิทธิต่างๆ มากมายจากบริบททางสังคม แต่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น ก็แหวกม่านประเพณีต่างๆ ออกมาได้ โดยการตั้งสังฆะของภิกษุณี ยกย่องสตรีที่มีคุณความดีไว้คู่กับบุรุษ เช่น การมีเอตทัคคะต่างๆ เมื่อผู้ชายมีได้ผู้หญิงก็มีได้ จนผู้คนละทิ้งศาสนาเดิมมาหาพระพุทธเจ้า (สมัยนั้นไม่ได้เรียกพุทธ ศาสนาแต่เรียกพระธรรมวินัย) แต่ในปัจจุบัน เหตุการณ์กำ�ลังกลับตาลปัตรอีกครั้ง เมื่อพระพุทธศาสนิกเริ่มกลับไป นับถือผี สาง เทวดา บูชาหวย เทิดทูนคนรวย ดูถูกคนจน รำ�แก้บน จนถึงวิวัฒนาการที่กลับมาดูถูกผู้หญิงอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะในภาคเหนือที่ห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้นพระอุโบสถ (โบสถ์) หรือพระธาตุ (เจดีย์) ด้วยเหตุผลทางไสยศาสตร์ ซึ่ง ไม่ใช่คำ�สอนของพระพุทธศาสนาเลย “มุม” ฉบับนี้ได้รับโอกาสจาก อาจารย์อวยพร เขื่อนแก้ว กระบวนกรจัดอบรม และต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีไทย โดยใช้พระพุทธศาสนามาเป็นฐานในการก้าวเดิน มาแลกเปลี่ยนกับ พระครูอดุลสีลกิตต์ เจ้าอาวาสวัดธาตุคำ� จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ได้รับการยกย่องจากวงการพระในล้านนาว่า มีความรู้เรื่องวัฒนธรรมล้านนา ที่เอามาประสานกับพุทธศาสนามากที่สุดรูปหนึ่ง จะแลกเปลี่ยนกันแค่ไหนนั้นเราไปพิจารณาตามเลยครับ อ.อวยพร : คือเมืองไทยนี่มันเป็นประเทศที่มีประชากรชาวพุทธมากที่สุดในโลก แล้วมันจะมีภาพที่เห็นชัดเจนก็คือ ผู้หญิงจะเป็นคนที่ ทำ�นุบำ�รุงศาสนาตั้งแต่ทำ�กับข้าวใส่บาตรแล้วก็มาวัด โดยเฉพาะวันศีล (วันพระ) ที่หมู่บ้านก็จะใส่ชุดขาว ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้หญิง แล้ว ตอนนี้แม้กระทั่งสถานปฏิบัติธรรมไม่ว่าสายไหน แปดสิบเปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิง ทั้งในแง่คนปฏิบัติ ทั้งในแง่คนที่ทำ�นุบำ�รุง หมายความว่า ส่งเสริมเรื่องพื้นฐาน เรื่องอาหารนี่ผู้หญิงทำ�เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่มันเป็นปัญหาก็คือ โอกาสของผู้หญิงที่จะศึกษาพระศาสนาโดยตรงที่เป็น แก่นจริงๆ นี่น้อย เพราะบวชก็บวชไม่ได้ หรือบวชได้ก็เนื่องจากภาระของผู้หญิง ซึ่งระบบการบวชนี่มันไม่เอื้อ เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถมี วิธีจะให้การศึกษาพระศาสนานี่เป็นแก่นจริงๆ แล้วก็ให้โอกาสที่ผู้หญิงจะสอนผู้หญิงเรื่องธรรมะได้ มันจะไปได้เร็ว เนื่องจากบทบาทมันไม่มี ตอนนี้ มันก็เลยไปเชื่อเรื่องกรรมแก้กรรมทำ�โน่น ซึ่งผู้หญิงก็ไปเยอะที่สุดเลย ตั้งแต่ปัญหาที่เขาเจอ ปัญหาติดหนี้สิน ปัญหาเรื่องลูกติดยา ปัญหาเรื่องผัว เขาก็ไปแก้กรรมผิดๆ เพราะว่าเขาไม่ได้รับเรื่องการศึกษาการปฏิบัติที่ถูกต้อง คิดว่าอันนี้เป็นตัวหนึ่งที่เห็นปัญหาชัดเจน เขาไม่มีที่พึ่ง คือตามประเพณีมันถูกต้อง เช่น ใส่บาตร ทำ�โน่นทำ�นี่ แต่ไอ้ตัวที่ศึกษาและเข้าใจแก่น เช่นพื้นฐานเลยอริยสัจ ๔ คนท่องๆ แต่ ไม่รู้ว่า เวลาเอามาใช้ นั่งมองปัญหาชีวิต เอาใช้มาวิเคราะห์ยังไง แล้วหาทางออกในด้วยเชิงปัญญา เพราะฉะนั้นลักษณะเป็นว่าสวดบทนี้ ถ้าสวดได้ร้อยแปดรอบจะถูกหวย ซึ่งมันไม่ใช่ไง สวดมันได้แค่ความสงบแต่ปัญญามันยังไม่เกิด ตั้งแต่เริ่มทำ�งานกับแม่ชีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ก็เห็นว่ามันก็มีการสอนผิดๆ ในเรื่องกรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนไว้ เช่น เกิดเป็นผู้หญิงเป็นผลของกรรมชาติที่แล้ว ซึ่งมันรวมถึงเกิดเป็น คนพิการหลายอย่างเลยนะ ทีนี้พอชาติปัจจุบัน สมมุติว่าเป็นผู้หญิงแล้วไปเจอสามีกินเหล้า สามีทุบตี เขาก็บอกอีกว่าเป็นกรรม มันก็เลย ไม่ต้องใช้ปัญญาแก้ จริงๆ กรรมมันเป็นเหตุปัจจัยปัจจุบันใช่ไหม เพราะฉะนั้นมันถูกทำ�ให้คำ�สอนกรรมผิดๆ แบบนั้น ทำ�ให้ผู้หญิงก็ลุกขึ้นมา ไม่แก้ไข ก็คล้ายๆ ว่ายอมรับกรรมไป ทีนี้ผู้ชายก็ไม่มีใครแก้ มันก็เลยทุกข์ทั้งสองฝ่าย เราทำ�งานกับเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่ ใช้ความรุนแรง เขาก็สืบทอดความรุนแรงต่อมันไม่จบไม่สิ้นโดยวิธีคิดแค่กรรมเรื่องนี้นะ แปลว่าเราไม่ต้องแก้เหตุปัจจุบันเลยไม่ว่าเรื่องเหล้า หรือเรื่องความรุนแรงที่ศาสนาพุทธต้องปฏิเสธ พระครูอดุลย์สีลกิตต์ : อย่างเรื่องของการขึ้นพระธาตุก็ดีหรือบริเวณที่ห้ามผู้หญิงขึ้น มันไม่ได้เกี่ยวกับกรรมเลย อาจจะเกี่ยวกับกรรมก็คือ การกระทำ� เป็นปัจจุบันกรรมไม่ใช่อดีตกรรมหรืออดีตชาติอะไร แต่มันเกี่ยวกับข้อห้ามที่ว่า บางเหตุบางประการเมื่อในสถานที่บางแห่ง เช่น พัทธสีมาหรือโบสถ์ของวัด บางทีมันคับแคบเวลาไปบวชพระ อย่างโบสถ์ล้านนามันแคบ แล้วจะให้ผู้หญิงขึ้นไปร่วมในขณะทำ�สังฆกรรม เหมือนกับโบสถ์ทางภาคกลางไม่ได้ เพราะว่าโบสถ์ของภาคกลางเขากว้าง ผู้หญิงก็ออกห่างหัตถบาทของพระสงฆ์ไปได้ไกล ล้านนานี่ขนาด พระไปอยู่ได้ยี่สิบเอ็ดรูปก็จะจุเต็มโบสถ์แล้ว เพราะฉะนั้นก็จำ�เป็นต้องให้แต่ผู้ชายขึ้นไปเพื่อประเคนสิ่งของบางอย่างเท่านั้น จึงมีกฎว่า ไม่ให้ผู้หญิงขึ้นไปในเวลาทำ�สังฆกรรม เพราะว่ามันคับแคบอาจจะทำ�ให้เกิดการนั่งอาสนะเดียวกัน แม้แต่กับผู้ชายก็เช่นเดียวกัน พระยอม นั่งอาสนะเดียวกับอนุปสัมบันมันไม่ได้ ผิดอาบัติแล้ว ฉะนั้นไม่เฉพาะแต่ผู้หญิง สำ�หรับในบริเวณพระธาตุนั้น บางวัดที่ห้าม อย่างเช่น


การจำ�กัดสิทธิ์มันก็จำ�กัดสิทธิ์ แต่ว่าไม่จำ�กัดการปฏิบัติ เพราะจำ�กัดสิทธิ์เพียงบางส่วน ไม่ได้จำ�กัดสิทธิ์โดยทั่วไป


28 วัดพระธาตุหริกุญชัย วัดพระธาตุดอยสุเทพ จะมีรั้วเหล็กล้อมไว้ ไม่ให้ผู้หญิงเข้ารั้วนั้นเรียกว่าระเบียงพระธาตุ เพราะว่าในตำ�นานพระธาตุ ทุกแห่งนั้นจะปรากฏโยงเชื่อมเข้าไปจนถึงตำ�นานพระเจ้าเลียบโลก ในตำ�นานบอกว่าถ้าจะบรรจุเกศาธาตุก็ดี สิ่งต่างๆ ที่พระพุทธเจ้า ประทานให้แก่พระอินทร์ ท่านจะนำ�ฝังไว้ใต้ดิน ไม่ได้บรรจุไว้ในเจดีย์เหมือนพวกเราในปัจจุบันนี้ สิ่งของที่อยู่ในเจดีย์นั้นก็มีทั้งของที่เป็น ของมีค่าของพวกกษัตริย์ที่ในขณะนั้นได้เอามาถวายเป็นพุทธบูชา เช่นทอง เครื่องอุปภัณฑ์ สิ่งต่างๆ แก้วแหวนอะไร ทีนี้พระอินทร์ท่านก็ กลัวว่าของเหล่านั้นจะถูกคนทำ�ลาย ท่านจึงทำ�เครื่องป้องกันที่พิเศษเรียกว่า ยนต์ ยนต์นี้เป็นสิ่งที่ป้องกันโดยลักษณะเป็นธรรมชาติ เช่น ถ้าหากว่า เราขุดไปจนใกล้จะถึงทรัพย์สินสิ่งของที่มีค่าเหล่านั้นๆ มันจะเกิดเป็นจักรผันที่จะทำ�ลายบุคคลที่จะเข้าไปให้เกิดอันตราย แต่ว่า ยนต์นี้กำ�กับด้วยคาถาอาคม ถ้าหากว่าผู้หญิงเข้าไปสู่ในบริเวณนั้นจะทำ�ให้คาถาอาคมที่กำ�กับยนต์นั้นเสื่อม ท่านจึงห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าไป ใกล้บริเวณที่พระธาตุ จึงเป็นประเพณีมา แต่ที่อื่นๆ ที่ไม่มีสิ่งของที่ศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ เช่นว่าในวิหารหรือว่าในศาลาการเปรียญ หรือว่าใน ข่วง (บริเวณ) วัดนี่ก็ไม่ได้ห้าม แล้วอีกอย่างหนึ่งก็ในเวลาที่กระทำ�พิธีอันสำ�คัญ อย่างเช่นพุทธาภิเษกเป็นต้น เขาก็จะกั้นราชวัตรไว้บอกว่า บริเวณนี้ไม่ควรให้ผู้หญิงเข้าไป เพราะว่าในพระบาลีนั้นจะมีอยู่บทหนึ่งว่า มนต์นั้นย่อมเสื่อมเพราะอิสตรี สตรีเป็นอันตรายต่อมนต์ทั้งหลาย อ.อวยพร : คิดว่าที่อาจารย์อธิบายนี่เห็นชัด มันจะเห็นพิธีเรื่องคาถาอาคมมาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเรื่องพุทธ ที่อาจารย์อธิบายนี่มันชี้ให้ เห็นสองอันที่เราต้องแยกว่า ตัวพระพุทธเจ้าเองไม่ได้พูดไว้ ไม่ได้บอกร่างกายสกปรกนะ เหมือนที่พระพุทธเจ้าพูดตอนพระอานนท์ ถามว่า อะไรทำ�ให้ตถาคตไม่อนุญาตให้ผู้หญิงบวช เป็นเพราะเขาไม่สามารถตรัสรู้ธรรมใช่หรือเปล่า ก็ไม่ใช่ ใช่ไหม นั่นก็แปลว่าการตรัสรู้ ไม่ได้เกี่ยวกับร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับทางเพศ พระครูอดุลย์สีลกิตต์ : แต่ท่านว่าเป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์แห่งภิกษุเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าถ้าหากให้ผู้หญิงบวชศาสนาจะสั้นลง เพราะ เหตุว่าสตรีเมื่อใกล้ชิดกับบุรุษย่อมทำ�ให้เกิดการดู พระอานนท์ถามว่าสตรีจะทำ�อย่างไร ถ้าไม่ดูนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะเมื่อการดู การเห็นก็จะทำ�ให้เกิดการนึกคิด เมื่อเกิดการนึกคิดก็เกิดอยากจะสัมผัส เมื่อเกิดอยากจะสัมผัสก็ทำ�ให้เลยเถิดไปยิ่งกว่านั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่ยอมให้บวช แต่ตอนหลังพระอานนท์ท่านวกถามว่า สตรีจะสามารถบรรลุธรรมได้ไหม พระพุทธองค์ตรัสว่า ได้ เพราะ ฉะนั้นพระอานนท์จึงทูลว่า ถ้าอย่างนั้นก็ขอให้สตรีบวช จึงได้บวช แต่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า ห้ามสตรีบวช เพราะไม่ได้บรรลุธรรม อะไร แต่เพราะกลัวว่าถ้าหากสตรีบวชมันจะทำ�ให้อายุแห่งศาสนามันจะสั้น โดยเหตุว่ายิ่งใกล้ชิดเท่าไหร่นั้น ก็ยิ่งจะเป็นอันตรายมากเท่านั้น แม้แต่เสียงเราศึกษาในพระธรรมบทสามเณรรูปหนึ่งได้ยินแต่เสียงสตรีร้องเพลง ไม่ไกลจากที่นั่น ก็ยังไปกระทำ�มิจฉาจาร ท่านอรรถกถา จารย์กล่าวว่า ไม่มีเสียงใดเท่าเสียงสตรีที่จะไปตั้งอยู่ในใจ และในกายทำ�ให้เกิดการฟุ้งซ่านได้เท่าเสียงสตรี เพราะฉะนั้นแม้แต่เสียงก็เกิด อารมณ์ เกิดความวิปริตทางเพศแล้ว ไม่ใช่ว่าห้ามสตรีบรรลุธรรมอะไรหรอก แต่ว่าต้องการไม่ให้ใกล้ชิดมากเกินไป ถ้าบวชก็ต้องอยู่ในวัด เดียวกัน พระพุทธเจ้าถึงต้องให้กั้น แล้วก็ไม่ให้ภิกษุแสดงธรรมโดยเกินหกคำ� แม้แต่สตรีก็ไม่ให้เกินหกคำ�ในระหว่างสองต่อสอง อ.อวยพร : ผู้หญิงก็เหมือนกับผู้ชาย ก็ต้องการทั้งสองฝ่าย พูดถูกไหมคะ แต่ทีนี้เราต้องรู้ว่า วัฒนธรรม ผู้ชายก่อนที่จะบวช วัฒนธรรมของ ผู้ชายเป็นใหญ่ มันสอนผู้ชายแต่เล็กเรื่องจีบผู้หญิง ได้เห็นผู้หญิงอ่อน นึกออกไหม สังเกตไหม คือถ้าพูดเฉพาะผู้ชายฆราวาสทั่วไป มันสอน กรอบให้ผู้ชายมีอิสระเรื่องคิดถึงผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศเยอะ สังเกตจากรูปโฆษณาอะไรต่างๆ โดยสิ่งแวดล้อมมันก็ฝึกให้คิดเหมือนกันแล้ว เพราะฉะนั้นแน่นอนถ้าจะบวช ยิ่งอยู่ในสภาพสังคมแบบนี้ จะทำ�ยังไงให้ผู้ชายซึ่งถูกคาดหวังว่าเป็นผู้นำ�ศาสนา จะต้องมีเหตุปัจจัยที่เอื้อ ต่อการปฏิบัติให้พัฒนาจิตวิญญาณให้มากที่สุดนะคะ ก็เห็นด้วยว่าไม่ได้ ผู้หญิงที่ถูกสอนว่าเห็นผู้ชายต้องรักต้องเป็นที่พึ่งเราเป็นแฟนเรา ก็มีกิเลสเหมือนกัน แต่ว่าเนื่องจากกรอบวัฒนธรรมมันปกป้องผู้หญิงไม่ให้ไปวิ่งไล่จีบ สมัยก่อนนะ ซึ่งสมัยนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว เพราะฉะนั้น ก็ต้องการเสมอกัน การเสมอกันไม่ว่าจะนักบวชหญิงหรือนักบวชชายนะคะ แต่ทีนี้ไอ้สิ่งที่พูดเรื่องพระธาตุนี่มันแสดงให้เห็นเรื่องคาถาอาคม คือพ่อเรานี่เป็นหมอผีเป็นหมอรักษาคน เป็นหมอรักษายาดังมาก แล้วเขาก็มีรอยสักเต็มเลย ทีนี้ไอ้คาถาอาคมมันก็ไปโยงเรื่องพราหมณ์ เรื่องวัฒนธรรมพื้นบ้านซึ่งมองมาก่อนพุทธ แล้วคาถาอาคมน่ะ เฉพาะผู้ชายเท่านั้น มันก็ถูกตีความว่าผู้หญิงมีประจำ�เดือน เพศผู้หญิง อ่อนแอ หรืออะไรก็ตาม ถูกตีความโดยวัฒนธรรมพื้นบ้านนะ ห้ามเข้าใกล้ ห้ามไปยุ่งกับพิธี เพราะฉะนั้นตอนที่พ่อตาย เขาไม่สอนคาถา อาคมให้ใครนะ เขาบอกว่าผู้หญิงรับไม่ได้ เสื่อม ก็ต้องสอนให้ลูกชาย ลูกชายไม่เอา ก็เจ๊งหมด ไอ้คาถาอาคมพวกนี้ เพราะฉะนั้นเราจะเห็น การผสมผสานของไอ้ความเชื่อพื้นบ้านวัฒนธรรมเดิม ซึ่งมีเรื่องผู้ชายเป็นใหญ่เรื่องศักดิ์สิทธิ์เยอะ และพอมันมารวมกับพุทธ


มันก็ไปใส่ในเนื้อเดียวกันด้วย มันก็ทำ�ให้คนแยกไม่ออก ซึ่งที่พระอาจารย์บอกว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเช่นนี้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้คิด เหมือนพระอาจารย์ แล้วไม่ค่อยได้สอนแบบให้แยกออกว่า ไอ้ตัวแก่นพระศาสนากับไอ้ตัววัฒนธรรมดั้งเดิมเรื่องผู้หญิงผู้ชายสองอันมัน คนละตัวนะ แล้วเผอิญบางช่วงบางเรื่องพิธีกรรมมันมาปนกัน

29

พระครูอดุลย์สีลกิตต์ : การจำ�กัดสิทธิ์มันก็จำ�กัดสิทธิ์ แต่ว่าไม่จำ�กัดการปฏิบัติ เพราะจำ�กัดสิทธิ์เพียงบางส่วน ไม่ได้จำ�กัดสิทธิ์โดยทั่วไป เพราะว่าวัดเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถจะเข้าได้ ผู้หญิงก็เข้าได้ ผู้ชายก็เข้าได้ แม้แต่ใกล้พระธาตุเราก็สามารถไปกราบไหว้ได้ แต่ในชั้นใน เท่านั้นที่เขาไม่ให้ แต่ไม่มีที่กั้นผู้ชาย เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ผู้ชายจะสามารถบรรลุได้ถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ แต่ผู้หญิง ไม่สามารถบรรลุถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ แต่สามารถอธิษฐานที่จะให้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าได้ โดยที่ว่าเมื่อบารมีถึงสุด จะกลับชาติ กลายเป็นผู้ชายแล้วจึงจะได้บำ�เพ็ญต่อ แม้พระพุทธเจ้าของเรา ถ้าสืบประวัติโดยรวมแล้วไปจนลึก พระองค์ก็เคยเป็นผู้หญิงมาก่อน แต่ ต้องเป็นผู้ชายเพราะว่า พระสัมมาสัมโพธิญาณนั้นจำ�กัดเฉพาะผู้ชาย ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นผู้หญิง ในทุกกัปป์ไม่เฉพาะแต่พระภัทรกัปป์นี้ การที่เป็นเพศผู้หญิงนั้นมันก็เกี่ยวกับการที่เราบำ�เพ็ญบุญบำ�เพ็ญกุศลมา บางคนก็อธิษฐานที่จะเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าเป็นแต่เศษแห่งกรรม ไม่ใช่ แต่ที่อ่านพบนั่นเศษแห่งกรรมกาเมสุมิจฉาจารนี่ ส่วนมากจะเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกะเทย เป็นคนลักเพศผู้หญิงก็ไม่ใช่ผู้ชายก็ไม่ใช่ เพราะว่าไปผิดประเพณี แต่ว่านั่นเราก็ต้องดูว่าบางคนมันเกิดจากการเป็นเลียนแบบอีกก็มี แต่ว่าเป็นผู้หญิงนั้นมันเป็นตั้งแต่กำ�เนิด ก็แล้ว แต่แรงอธิษฐานเป็นส่วนสำ�คัญ อย่างพระพุทธเจ้าของเราท่านก็เคยเป็นผู้หญิง ท่านก็อธิษฐานว่าขอให้ได้เกิดเป็นผู้ชาย พอท่านเกิดเป็น ผู้ชาย ท่านก็บำ�เพ็ญตบะซึ่งมาเป็นพระพุทธเจ้า อ.อวยพร : เรื่องกรรมมันมีผลแม้กระทั่งคนที่สามีติดเชื้อเอดส์ แล้วมาติดเขา เขาบอกเป็นกรรมชาติที่แล้วมันมาทัน ทีนี้การอธิบายกรรมที่ ไม่ถูกต้องแบบนี้ มันทำ�ให้คนสยบยอมแล้วก็รับกรรม แล้วไม่ต้องแก้ไขปัญหาอะไรเลย ตั้งแต่ติดเหล้า ติดการพนัน เจ้าชู้ จนกระทั่ง ติดเชื้อเอดส์ ปัญหาประเทศไทยตอนนี้มันถึงเยอะมาก เพราะว่าพอมันเกิดปัญหาอะไรปุ๊บ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นชายขอบผู้หญิง มันไปที่ กรรมทันที ถ้าไม่มีฐานรองรับอยู่แล้วใช่ไหม พอไปที่กรรมเราก็ไม่ต้องทำ�อะไร ไม่ต้องแก้ ไม่ต้องแก้ตั้งแต่เรื่องระบบบริโภค ไม่ต้องแก้เรื่อง กฎหมาย ไม่ต้องแก้ผู้ชายผู้หญิงใช่ไหม แล้วทีนี้ปัญหามันก็จะเรื้อรัง คือวิธีเชื่อมกรรมที่ไม่ถูกต้อง คืออยู่ที่หมู่บ้านผู้หญิงเข้าวัดเยอะ แต่ว่า ประเพณีพฤติกรรมก็ยังเป็นภาษาบาลี เวลาไปวัดมันไม่มีการสอนที่มันเป็นปัจจุบัน พระครูอดุลย์สีลกิตต์ : คือเราต้องรู้ระดับของการเข้าวัดนะ ในพุทธศาสนาของเรานี่ ทาน ศีล ภาวนา นี้เป็นแบบสามัญทั่วไป แต่ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา อันนี้เป็นระดับขั้นสูง ณ ปัจจุบันนี้คนทุกคน ไม่ว่าหญิงว่าชายจะติดอยู่ที่แค่ทาน ศีลยังมีคนรับแล้วไม่รักษาเยอะมาก เพราะ ฉะนั้นเราสอนได้แค่ทานหรือว่าคนบริจาคแค่ทานอย่างเดียว ถ้าจะต้องการให้เกิดนี่ มันจะต้องรื้อตั้งแต่ระบบเริ่มต้นตั้งแต่เป็นนักเรียน เดี๋ยวนี้เราสวดมนต์มีไหม ก็ไม่มี นักเรียนเราไม่ได้สวดมนต์เลย แต่กอ่ นอย่างอาตมาเป็นเด็กนักเรียนวันศุกร์ เราก็ตอ้ งสวดมนต์ เสร็จเรียบร้อย แล้วก็ต้องสวดพาหุงอะไรยังได้เลย แต่ ณ วันนี้ก็ไม่มีใครจะสวดมนต์ จิตใจของนักเรียนที่จะสวดมนต์ก็ไม่มีแล้ว เพราะฉะนั้นระบบของการ ที่เราสอนทุกวันนี้ สอนทานได้แต่ศีลไม่ได้ ภาวนายิ่งยากที่สุดในการที่จะได้มา แม้พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า สมาธิเพียงหนึ่งแค่แม่ไก่ก้ม กินน้ำ� ไก่กระพือปีกก็เป็นบุญ เรายังไม่สามารถที่จะนำ�ให้จิตมาตั้งอยู่ ณ ที่มันเป็นส่วนที่จะให้เกิดสมาธิได้ เพราะฉะนั้นอย่าไปคิดเลยว่า ถ้าเราสามารถให้ทาน และมีศีล แล้วก็เจริญภาวนาได้ ไม่ต้องถึงสมาธิ ปัญญาอะไรก็พอแล้วประเทศไทยก็สงบสุขได้ แต่ทุกคนเดี๋ยวนี้ให้ ทานไหม ทุกคนก็ให้ทานมีอะไรก็ให้ทานๆ ตักบาตร ตักได้ ทำ�บุญ ทำ�ได้ แจกซองผ้าป่า แจกซองกฐิน ทำ�ได้ แต่ไม่มีศีล คนไม่มีศีล จึงเกิด การโกงการคอรัปชั่น ตั้งแต่ชั้นข้างล่างไปจนถึงสูงสุดของประเทศนั่นน่ะ เพราะไม่มีศีล และภาวนาจะเอาที่ไหนมา ภาวนาอบรมจิตใจให้ สะอาดบริสุทธิ์แล้วมันจะเป็นฐานให้เกิดปัญญา ความคิด ความเฉลียวคฉลาด ความที่เป็นสิ่งที่จะงอกงามเกิดขึ้น แต่เดี๋ยวนี้ผู้ชายยิ่งไม่ เข้าวัด วันพระทุกวันนี้ วัดหลวงพ่อมีผู้ชายแค่สองคนผู้หญิงมี 14-15 คน ทุกแห่งทุกที่ก็เป็นอย่างนี้ หรืออาจ สมัยพุทธกาลก็คงจะเป็นอย่าง นี้ก็ไม่รู้ สมมุติว่าเราอ่านคัมภีร์ในพุทธศาสนา ตายไปแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตร ทำ�ไมมีนางฟ้าเป็นบริวารตั้งหนึ่งหมื่นหกพันนางแวดล้อม ก็แสดงว่าผู้ชายเป็นคนที่มาทำ�บุญน้อยตายไป ผู้หญิงเหล่านั้นก็จึงไปเกิดเป็นบริวารก็อาจจะเป็นได้ แต่เรายังไม่ได้วิเคราะห์จนถึงขั้นนั้น เพราะฉะนั้นนี่หลวงพ่อว่า พุทธศาสนาไม่ได้จะจำ�กัดสิทธิ์หรอก แต่ว่าทุกคนไม่ใช้สิทธิ์ ไม่ค่อยใช้สิทธิ์ อย่างมาวัดเนี่ย ไม่ใช้สิทธิ์ในการเป็น


30 พุทธศาสนิกชนที่ดี หลวงพ่อไปพม่า เขาหยุดราชการวันพระทุกคนไปวัดนะ แล้วไม่มีอาหารขายในวัด ต้องหิ้วปิ่นโตกันไปทุกคน ไปก็ นั่งสวดมนต์ ผู้ชายพม่านับประคำ�เก่งที่สุด นั่งสมาธิได้นานที่สุด หลวงพ่อไปนั่งเคียงเขา เขายังไม่ลุก หลวงพ่อต้องลุกแล้วต้องไปที่อื่นแล้ว แสดงว่าเขามีจิตมั่นคงมากกว่าเรา เขาสอนภาวนาได้เก่งเรามีใครไหมขนาดประกาศจะปฏิบัติธรรมก็มีแต่ผู้หญิงนั่นแหละที่ไปปฏิบัติธรรม ผู้ชายก็มี 4-5 คน ต้องมีการเกณฑ์อย่างหน่วยงาน จะให้ปฏิบัติธรรมต้องมีการเกณฑ์ คุณไม่ผ่านเกณฑ์เข้าปฏิบัติธรรมแล้วคุณก็ไม่ สามารถจะเลื่อนตำ�แหน่งเลื่อนขั้นได้นะ นี่เป็นสิ่งที่ล่อใจ แต่นั่นเขาเอาบุญ เอานิพพานเป็นสิ่งที่เขาจะดำ�เนินชีวิตไปตามจุดนั้น อย่างพวก พม่าเราจะเห็นนั่งเจดีย์ที่ไหนนั่งในวิหารที่ไหน เขานั่งจิตเขาเป็นสมาธิ ทุกอย่างเท่ากัน แต่ว่ามีเพียงจำ�กัดนิดหน่อย คือว่าบางทีเป็นอย่างที่ ว่าขนบธรรมเนียมประเพณีเขามาอย่างนั้นแล้วคนก็ไม่กล้าว่า แต่ก็แหกกฎประเพณีได้ อย่างวัดพระสิงห์แต่ก่อนนั้นโบสถ์เขามีสองส่วน เขาบอกว่าโบสถ์ภิกษุณี โบสถ์ภิกษุ แล้วก็ไม่ให้ผู้หญิงขึ้นแต่ ณ ปัจจุบันนี้ก็เห็นเขาเปิดตลอดวันขึ้น ได้ทั้งผู้หญิงขึ้น ได้ทั้งผู้ชาย ก็แสดงว่า วัดเขาสามารถแหกกฎประเพณีที่มาแต่โบราณได้สำ�เร็จ อ.อวยพร : คิดว่าอาจจะเห็นต่างจากอาจารย์ คือหนึ่งตอนนี้เรารู้ว่ามันมีคือว่าภิกษุณีกับสามเณรีรวมหกสิบกว่าองค์ แต่เนื่องจากทั้งทาง เถระสมาคม ทั้งรัฐบาลไม่ยอมรับ เขาก็อยู่ลำ�บาก เพราะวัดไม่ใช่ทุกวัดที่จะรับ ก็มีนะวัดที่ใจกว้างอย่างเช่นทางเชียงใหม่ก็มี ทางอีสาน หลวงพ่อใจกว้างก็ให้ไปอยู่ แล้วก็เขาฝึกเข้มข้น เพราะว่าเขาก็ต้องปฏิบัติตามศีลสามเณรีกับภิกษุณีซึ่งเยอะมาก เขาก็ตั้งใจ แต่โอกาสการ ศึกษาก็น้อย เพราะว่าอยู่ๆ จะไปเรียนมหามงกุฎโน่น มันก็ยากใช่ไหม เพราะว่าสังคมยังไม่เปิดรับ อันนี้เป็นข้อที่แตกต่าง สองเรามีแม่ชี หมื่นกว่ารูปภายใต้สถาบันแม่ชีไทย ที่เคยทำ�งานด้วยหลายปีมาก ก็พบว่าโอกาสที่จะเรียนน้อยมาก เพราะมันไม่สามารถจะมีปัจจัย คือ ครอบครัวเขาพอรู้ว่า ลูกสาวจะบวชแม่ชี เขาเสียใจ แล้วบางคนลูกสาวเรียนปริญญาตรี ปริญญาโท ไปบวช พ่อแม่บังคับให้สึกนะ เพราะว่า เขาคิดว่าไม่มีอนาคตไง เป็นชีนึกออกไหม แต่ถ้าลูกบวชเป็นพระ เขายินดีนี่คือความต่างนะ เพราะฉะนั้นพอเป็นแม่ชีไม่สามารถมีปัจจัยไม่มี คนนิมนต์ โอกาสที่จะส่งตัวเองไปเรียนทางด้านธรรมะ ทางโลกมันน้อย ในแง่นี้แค่ดูแค่สองรูปแบบนี้ เราก็เห็นว่าทั้งสองมันสวมบท ต่างกัน แต่แน่นอนในแง่ของฆราวาสผู้หญิงเขาเข้าวัดเยอะ เขามีโอกาสเยอะ แต่แง่ในลักษณะของสภาพที่เป็นนักบวช คิดว่าผู้หญิงคน ที่เป็นฆราวาส ถ้ามีช่องทางมีระบบที่เกื้อเขาอย่างเต็มที่แล้ว ผู้หญิงน่าจะบวชเยอะมาก พระครูอดุลย์สีลกิตต์ : คือถ้าเราอยากจะให้บวชอย่างนั้น มันต้องมีสำ�นักอยู่ต่างหาก คือการที่เราจะมาบวชอยู่ในวัดร่วมกับพระนี่มันก็ คงจะลำ�บาก ความใกล้ชิดก็อาจทำ�ให้เกิดเหมือนกับที่พระพุทธเจ้าท่านหวั่นเกรงไว้นั่นแหละ ทีนี้ถ้ามีสำ�นักอย่างนั้น เจ้าสำ�นักท่านจะ สร้างเอง สำ�นักแม่ชีนั้นสำ�นักภิกษุณีนี้ ที่ไปบวชมาจากต่างประเทศ เพราะในประเทศไทยเรานี้ยังไม่นิยมด้วยเหตุถือตามเถรวาทว่า ภิกษุณี จะต้องบวชมาจากภิกษุณี แล้วจะมาบวชต้องเป็นสิกขมานาถึงหกปี บวชภิกษุณีแล้วจึงบวชกับภิกษุอีกทีหนึ่ง ทีนี้เมื่อวงศ์ภิกษุณีไม่ได้อยู่ ในประเทศไทย การที่ไปบวชอยู่ในประเทศอื่น ก็ไม่ได้อยู่ในหินยานเป็นมหายาน เพราะฉะนั้นพระที่เป็นหินยานจะบวชให้ภิกษุณีที่มาจาก มหายานก็ไม่ได้ เมื่อไม่ได้ ก็จึงไม่มีการบวช แล้วก็มีประกาศห้ามของคณะสงฆ์ไว้ด้วย ว่าห้ามภิกษุบวชผู้หญิงให้เป็นภิกษุณี ก็จึงเป็นเหตุ อย่างที่คุณโยมบอกว่ามันไม่มีการบวช ถ้าจะให้บวชมันก็จะต้องรัให้รัฐบาลส่งเสริม การศึกษาของพระภิกษุนี่ปลุกปล้ำ�มาตั้ง 14-15 ปี ก็เพิ่ง จะบรรลุผล แต่ว่าวันนี้การศึกษาของพระ ถ้าจะเอาเข้มข้น เราเอาคนที่จบปริญญาจากพระมาสอบดูอีกทีหนึ่ง ก็น่าจะสอบตกไปเกิน กว่าครึ่ง เพราะว่าเพียงแต่สอน เพียงแต่ตามให้ความรู้ ให้ผ่านเกรดไปเท่านัน้ ไม่ได้สอนให้วา่ ศีลมันคืออะไรแน่ทพ่ี ระจะต้องปฏิบตั ิ สมาธิคอื ทำ�อย่างไรทีจ่ ะทำ�ให้พระถึงความมัน่ คงแห่งจิต และปัญญามันเกิดขึน้ ได้เพราะอาศัยอะไร ตกหมดนะ หลวงพ่อบอกว่าเหลือสักยีส่ บิ เปอร์เซ็นต์ ยังจะมีหรือไม่ ก็ไม่แน่ ถ้าเราเรียนตามแบบทีเ่ ขาต้องการให้คะแนน มันไม่รอู้ ะไรหรอก มันก็จะต้องศึกษาเพิม่ เติมด้วยตนเองและปฏิบตั ไิ ปด้วย อ.อวยพร : มันจะเสริม เพราะว่ารัฐบาลนี่จริงๆ ให้ความสำ�คัญเรื่องการพัฒนาศาสนาน้อยมาก เช่นถึงจุด หนึ่งทั้งพระ ทั้งองค์กรเอกชน ทุกคนกำ�ลังมองว่า ห้ามขายเหล้าใกล้วดั ซึง่ รัฐบาลต้องทำ�นีค่ อื หน้าทีเ่ ขาไม่ใช่หน้าทีพ่ ระทีจ่ ะต้องลุกมาทำ�ใช่ไหมคะ งานวัดอะไรอย่างนี้ โอ้โห บริษทั เบียร์ บริษทั อะไรเข้าไปหมดเลยอันนัน้ รัฐบาลต้องทำ� รัฐบาลนีม่ กี ฎหมายจะต้องสร้างเงือ่ นไขทางสังคมเพือ่ จะเอือ้ ให้คนเข้าถึงธรรม ไม่ใช่ ปล่อยเป็นลักษณะใครจะทำ�ธุรกิจอะไรก็ได้ ทีนี้พระก็ไม่ใช่มีอำ�นาจใช่ไหม เดี๋ยวนี้ก็ต้องพึ่งโยมก็ทำ�อะไรไม่ได้มาก ดีไม่ดีโยมวิจารณ์พระอีก


ฆราวาสผู้หญิงเขาเข้าวัดเยอะ ถ้ามีช่องทางมีระบบที่เกื้อเขา ในลักษณะของสภาพที่เป็น นักบวชอย่างเต็มที่แล้ว ผู้หญิงน่าจะบวชเยอะมาก


32

ระบบของการที่เราสอนทุกวันนี้ สอนทานได้แต่ศีลไม่ได้ ภาวนายิ่งยากที่สุด พระครูอดุลสีลกิตต์ พระครูอดุลย์สีลกิตต์ : ถ้าเราไปพม่าหรือไปอินเดีย เราจะไม่เห็นร้านที่ขายเหล้าเลย อ.อวยพร : เขาไม่ให้เลย ไม่มีเลย พระครูอดุลย์สีลกิตต์ : เพราะฉะนั้นคนเขาก็ไม่กินเหล้า เขาก็ไม่ต้องมีกฎหมายที่จะห้ามตามมาตรฐาน เรานี่ยังอยากขายให้นักเรียนที่มัน อายุน้อยๆ นี่แหละมันได้ขายง่าย ฉะนั้นจึงห้ามนักเรียนสิบเจ็ด สิบแปดอะไรก็แล้วแต่ซื้อ แต่ว่าโดยการปฏิบัติแล้วมันยังห้ามไม่ได้ มันห้าม เด็ดขาดก็ยังไม่ได้ จึงเป็นปัญหาว่า เออ ทำ�อย่างไรล่ะ ทำ�อย่างไรที่ว่าศาสนาของเราเนี่ยมันเจริญเติบโตแต่เพียงวัตถุ เพราะว่ารัฐบาลก็ยัง ไม่มีข้อกำ�หนด มหาเถระสมาคมท่านก็ไม่ได้กำ�หนด ณ ปัจจุบันนี้เราจึงเห็นวัดต่างๆ แข่งกันสร้างพระองค์ใหญ่ วิหาร โบสถ์ใหญ่ เป็นเจดีย์ มหาเจดีย์ แต่ว่ามีคนไปกราบไหว้ หรือว่าไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุธรรมมีมากไหม ก็ยังไม่มีใคร ขอสร้างใหญ่ๆ ไว้ก่อน 10-20 ล้าน หรือ 100 ล้าน บางวัด 500 ล้านอย่างนี้ มันเกินจำ�เป็น ประเทศของเราความจริงจะว่าจนนี่ก็ไม่ใช่ จะว่ารวยก็ไม่ใช่ แต่ว่าเมืองไทยเรานี่รวย ศรัทธานะ การสร้างวัดแต่ละวัด ถ้ารวมกันนี่เป็นแสนล้านนะ ลองรวมๆ งบไปวัดๆ หนึ่ง หลวงปู่ทวด หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ องค์ 200-300 ล้าน ก็เป็นพุทธานุสติ ธรรมมานุสติ สังฆานุสติ แต่ว่าถ้าหากว่านึกไว้ในใจทุกคนให้เกิดความดีโดยตลอด แต่ว่านั่นเป็นเพียง องค์หลวง พ่อโตก็ยกมือไหว้ก็หมดไปก็ไม่ได้นำ�จิตลงไปที่บ้าน ความจริงก็จะได้แต่พอถูก แล้วก็ส่งเสริม ส่งเสริมคือการที่ว่าทำ� เราพากันไปส่งเสริม ถ้าสร้างเป็นรูปขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็นึกได้ว่าจะได้เป็นพุทธานุสติ แต่สร้างเป็นรูปสัตว์ เป็นพวกเครื่องรางของขลัง เป็นพวก หนุมานพวกอะไร ไม่มีอะไรเลย ชูชกอย่างนี้ มันจะเกินเลยเหตุแห่งพระพุทธศาสนาไปมาก ทำ�ไมถึงไม่มีกฎ ไม่มีกฎหมายที่จะห้าม เราต้อง สร้างแต่องค์พระพุทธเจ้าเท่านั้น เพื่อว่าห้อยแล้วติดตัวเราจะได้เป็นพุทธานุสติระลึกถึงคุณพระองค์ไม่มี แล้วดูหนังสือพิมพ์นี่ หลวงพ่อก็ อ่านหนังสือพิมพ์หน้าพระทุกวันก็เห็นแต่โฆษณาประชาสัมพันธ์ ครูบาอาจารย์อายุบุญเกือบร้อยแล้วก็ไปสร้างในสิ่งที่ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า อ.อวยพร : ก็มันมีเหตุปัจจัยเพราะว่าแม่ชีที่เคยทำ�งานด้วย ส่วนใหญ่ก็ต้องดูแลวัดไม่ให้ออกมา บางวัดพระที่เขาเน้นเรื่องกรรมฐานก็จะเป็น โอกาสได้ฝึกปฏิบัติ เพราะฉะนั้นเงื่อนไขปัจจัยของหลายคนต้องจับงานดูแลวัด ดูแลพระ ไม่มีเวลาที่จะปฏิบัติหรือว่าอะไร แต่ว่าอันหนึ่ง ที่คิดว่าโดยส่วนตัวมีความหวังก็คือปัจจุบันศูนย์ปฏิบัติธรรมมีมากขึ้น ฆราวาสเองสนใจมากขึ้น ผู้ชายก็เริ่มมีมากขึ้นแล้ว เพราะเขาเห็น สภาพเศรษฐกิจการเมืองคนก็เข้ามา แต่ว่าทำ�ยังไงเป็นการที่จะมารวมๆ กันไม่ใช่ของใครของมัน แล้วก็มานำ�มาสู่เรื่องแก้ปัญหาสังคมไม่ใช่ ปฏิบัติเดี่ยวๆ คือหลายคนตอนนี้มันเป็นคนชนชั้นกลางที่เขาปฏิบัติเดี่ยวๆ แล้วเขาก็ไม่สนใจคนยากคนจน หรือถ้าจะสนใจ ก็สนใจแต่วัด แต่ไม่สนใจสังคม เพราะฉะนัน้ ในแง่หนึง่ การทีฆ่ ราวาสเขาลุกขึน้ มา มันก็ชใ้ี ห้เห็นว่าฆราวาสจะต้องลุกขึน้ มารับผิดชอบสอนกันเองใช่ไหมคะ เพราะว่าอย่างระบบของการศึกษาพระสงฆ์เอง รัฐก็ไม่ได้สนใจจริงจัง มองในแง่ดีนะ แต่นี่เราไม่รู้จะทันกระแสได้ไหม กระแสทางการเมือง ก็ไม่ ระบบการเมืองรัฐบาลก็ไม่สนใจ เศรษฐกิจก็เป็นในเรื่องบริโภคมาก กฎหมายหลายอันไม่มีเลย เพราะฉะนั้นไอ้เงื่อนไขปัจจัยสภาวะ ของโลก มันไม่เอื้อเรื่องที่พุทธศาสนาจะฟื้นตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ตรงนี้จะเป็นจุดที่เราไม่แน่ใจว่าจะไปทางไหน เดี๋ยวนี้มันเปลี่ยนไปมาก ไปขึ้นบ้านใหม่แถวหมู่บ้าน แต่ก่อนเขาเอาพระพุทธรูปขึ้นก่อนแล้วก็หิ้งพระ เดี๋ยวนี้เอาทีวีขึ้นก่อน อันนี้มันเปลี่ยนไปหมด ระบบบริโภค นิยมยิ่งน่ากลัวนะ เพราะฉะนั้นมันต้องทำ�ยังไงที่จะดึงเรื่องมาทำ�ยังไงมาดูว่า เราช่วยกันฟื้นเรื่องระบบการศึกษาของพระ จนพระมีคุณภาพ เสร็จแล้วทำ�ยังไงที่พระจะเป็นผู้นำ�จิตวิญญาณของประชาชนได้จริง แล้วเข้าไปสู่ทุกมุมตั้งแต่โรงเรียน ตั้งแต่อะไรก็ว่าไป แล้วเรื่องผู้หญิง ที่จะให้โอกาสผู้หญิงส่งเสริม มันก็อยู่ในกรอบอันเดียวกันนั้น ต้องยกระดับทั้งแผงนะ ไม่อย่างนั้นเราหาความหวังได้น้อยมาก



34

ธรรมไมล์

เรื่อง I ภาพ : ภาณุวัฒน์ จิตตวุฒิการ


เพศวิถีในพุทธศตวรรษที่ 27 คนจะเป็นชายหรือหญิงไม่ได้อยู่ที่ ชาติกำ�เนิดอีกแล้ว แต่คนจะเป็นชายหรือหญิง อยู่ที่การกระทำ�และความประพฤติ


36

hidden tips

เรื่อง : ว.วชิรเมธี (เชียงใหม่) I ภาพประกอบ : เพลง

ทดแทนบุญคุณพ่อแม่ต้องทำ�อย่างไร

คำ�ว่า “ต้องทดแทนบุญคุณพ่อแม่” คือคำ�ที่คนเอเชีย ได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่เด็ก แต่ความหมายของการปฏิบัตินั้น ก็แตกต่างกันไปตามแต่ท้องถิ่น บางที่ก็พูดถึงการตอบแทนบุญคุณ ด้วยการเลี้ยงท่านกลับให้ท่านอยู่อย่างสุขสบาย บางที่ก็พูดถึง การตอบแทนทางใจโดยการทำ�ให้ท่านสบายใจ ไม่ทำ�ตัวเป็นนักเลง หัวไม้ ไม่เป็นหนี้เป็นสิน เป็นคนดีให้ท่านชื่นใจ เป็นต้น แต่เชื่อหรือ ไม่แท้จริงแล้วการกระทำ�เหล่านั้นในพุทธศาสนายังไม่ถือว่าเป็น การทดแทนบุญคุณทั้งหมด ในพุทธศาสนานั้นได้สอนเรื่องการตอบแทนบุญคุณ หรือ หน้าที่ที่ควรกระทำ�ให้กับพ่อแม่ไว้ 3 อย่างด้วยกันคือ 1 ทางกาย คือ การตอบแทนด้วยการเลี้ยงดูท่านทาง กายภาพ ช่วยเหลือการงานไม่ให้ท่านต้องทำ�งานหนักมากเหมือน เมื่อเรายังเด็กๆ เป็นต้น 2 ทางใจ คือ ทำ�ตัวให้เป็นคนดี ในความหมายที่ไม่ทำ�ให้

ท่านทุกข์ใจ ให้กำ�ลังใจสนับสนุนกัน ไม่ทำ�ให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย เป็นต้น 3 ด้วยการให้สิ่งที่ประเสริฐกับชีวิตของท่าน ซึ่งข้อนี้สำ�คัญ ที่สุด พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ต่อให้นำ�ท่านมาขึ้นนั่งบนบ่าเลี้ยงดู พ่อแม่อย่างดีที่สุดตลอดชีวิตก็ไม่ถือว่าได้ทดแทนบุญคุณทั้งหมด แต่หากลูกคนไหนทำ�พ่อแม่ที่ไม่มีศรัทธา (ในความจริง ในเหตุ ปัจจัย ในกรรม) ให้มีศรัทธา ไม่มีศีลให้มีศีล ไม่มีความเสียสละให้ รู้จักเสียสละ ไม่มีปัญญา(รู้แจ้ง เข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็น จริง)ให้มีปัญญาได้ ลูกคนนั้นก็ถือว่าได้ทดแทนบุญคุณพ่อแม่แล้ว ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าพุทธศาสนาไม่ได้สอนว่า “ลูกที่ดี ต้องเชื่อฟัง+ตามใจพ่อแม่” เพราะพ่อแม่อาจจะไม่ได้ถูกเสมอ ไปก็ได้ แต่พุทธศาสนาสอนด้วยว่าถ้าพ่อแม่ไม่ดีลูกก็ต้องช่วย เหลือพ่อแม่ โดยการแนะนำ�ให้พ่อแม่ก้าวออกมาจากกองทุกข์ ได้ด้วย



38

ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม ภาคพิเศษ ตอนเณรน้อยนักสืบ

คดีที่ ๑๕ : “ให้ ได้ บุญ”

เรื่อง : กิตติเมธี I ภาพประกอบ : บุคลิกลุงป้า bookalicloongpa@gmail.com


39

“การถวายทานนั้นอยู่เคียงคู่กับพระพุทธศาสนามาแต่ไหนแต่ไร โดยจุดเริ่มต้นมาจากเจตนาที่ต้องการสนับสนุน ส่งเสริมผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คือพระสงฆ์ หรือเป็นการลดละกิเลสคือความโลภของผู้ถวายทานให้เบาบางลง อีกทั้ง พระพุทธองค์ก็สรรเสริญว่า ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ และที่สำ�คัญเมื่อทำ�บุญด้วยการให้ทานเสร็จแล้ว ต้องกรวดน้ำ�เพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร หรือ ญาติที่ล่วงลับจากไปแล้วอีกด้วย เหมือนเรื่องพระเจ้าพิมพิสาร...” พระอาจารย์แนะนำ�โยมที่มาทำ�บุญถึงเรื่องการกรวดน้ำ� “พระเจ้าพิมพิสารเมื่อถวายวิหารเวฬุวันไม่ได้อุทิศให้กับเปรตที่เคยเป็นญาติของพระองค์ ตอนกลางคืนจึงปรากฏเป็นเสียง น่ากลัว ทั้งแสดงตนให้เห็น พระเจ้าพิมพิสารจึงไปถามพระพุทธองค์จึงรู้ว่าไม่ได้อุทิศ พระองค์จึงจัดถวายอาหารแด่ภิกษุสงฆ์ แล้วอุทิศส่วนบุญแก่เปรต เปรตจึงได้อาหารทิพย์จากส่วนบุญนั้น แต่วันต่อมาเปรตเหล่านั้นก็ยังเปลือยกายอยู่ จึงไปถาม พระพุทธองค์ก็เลยรู้ว่าตนเองไม่ได้ถวายผ้า จึงจัดถวายผ้าแด่ภิกษุสงฆ์แล้วอุทิศส่วนบุญให้เปรตอีก ตอนนั้นพวกเปรตจึงได้รับ ผ้าทิพย์...ทุกครั้งเวลาทำ�บุญจึงต้องกรวดน้ำ�อุทิศให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้วด้วย” ตาทองมัคคนายกประจำ�วัดกับน้อยหน่าหลานสาวเจ้าปัญหานั่งฟังเรื่องนี้อย่างสนใจ พอกรวดน้ำ�เสร็จ น้อยหน่าก็ถามทันที “แล้วอย่างนี้หนูถวายเสื้อผ้าแล้วพระจะใส่อย่างไรละคะ” “ไม่ใช่ทำ�บุญด้วยเสื้อผ้า แต่ทำ�บุญด้วยผ้าสบง จีวร หรือจะเป็น ้ ผ้าอาบนำ�ฝนที่นิยมถวายตอนเข้าพรรษาก็ได้” พระอาจารย์แนะนำ� “แล้วถ้าหนูถวายปลากระป๋อง แต่ไม่ได้ถวายที่เปิดละค่ะ จะทำ�ยังไงดี” น้อยหน่าถามต่อทันที “ก็ไม่เป็นไร ปลากระป๋องเป็นอาหาร ก็อุทิศส่วนบุญกุศลได้ แต่ถ้าให้ดีก็ถวายที่มีฝาเปิดได้เลย ก็มีนี่จะได้สะดวกพระท่านเวลาฉัน” พระอาจารย์ตอบต่อ “แล้วถ้าถวายมาม่าละค่ะ” น้อยหน่าถามต่อ “มาม่าก็เป็นอาหารก็ต้องได้ผลเหมือนกัน ญาติที่ตายไปแล้วก็ได้อานิสงส์ เช่นกัน” พระอาจารย์แก้วตอบต่อ “แต่หนูไม่ได้ถวายน้ำ�ร้อนนี่สิคะ แล้วคนตายจะกินกันได้หรือ” น้อยหน่าถามต่อ มาถึงตรงนี้พระอาจารย์แก้วเลยบอกสามเณรน้อยที่นั่งอยู่ข้างๆ ให้ทำ�หน้าที่ตอบแทน “ก็ไม่เป็นไรนะน้อยหน่าเณรว่า มาม่าเณรฉัน ไม่ต้องใส่น้ำ�ร้อนก็ได้ ฉะนั้น คนตายไปแล้วก็ต้องกินได้เหมือนกัน” “แล้วถ้าหนูใส่ขนมจีนแต่ไม่ได้ใส่น้ำ�ยาละคะ” น้อยหน่ายังไม่ยอมหยุด สามเณรน้อยหยุดคิดนิดหนึ่ง “น้อยหน่าก็จะเห็น ญาติที่ตายไปแล้วมาหาทำ�หน้าตาซูบซีด ไม่แจ่มใส และที่สำ�คัญต้องทำ�หน้าตาน่ากลัวแน่ๆ เลย ปรือๆ” “อ้าว ทำ�ไมละคะ” “ก็เพราะ กินแต่ขนมจีนอย่างเดียว ทั้งจืดและฝืดคออีกต่างหาก” สามเณรน้อยตอบ “แล้วเณรรู้ได้อย่างไรละ” “อ้าว ก็เณรเคยฉันมาแล้วน่ะสิ ใครกินเข้าไปก็ต้องทำ�หน้าตาอย่างนั้นล่ะ” สามเณรทำ�หน้าตาพะอืดพะอมให้ดูประกอบ ไปด้วย พระอาจารย์กับตาทองได้แต่นั่งยิ้มกับการสนทนาธรรมของทั้งคู่ “อย่างไร คนให้ก็ไม่ไร้ผลหรอกนะน้อยหน่า และที่สำ�คัญเราชอบอะไรก็ให้สิ่งนั้นแก่คนอื่น นี่จึงจะชื่อว่าเป็นทายก หรือผู้ให้ที่ประเสริฐอย่างแท้จริง” พระอาจารย์สรุป เพราะกลัวว่าทั้งคู่จะคุยออกนอกเรื่องอีก และก็ถึงเวลาฉันพอดีด้วย ทั้งตาหลานจึงลากลับ “อย่างนี้ก็ไม่ยากเลย ถ้าจะให้สิ่งที่หนูชอบ” น้อยหน่าพูดขึ้นตอนเดินกลับ “แล้วให้อะไรละลูก” ตาทองถามหลาน “ ให้ลูกอมไงค่ะ” น้อยหน่าตอบอย่างมั่นใจ “แต่ตาว่าถ้าอย่างนั้น ญาติที่ตายไปต้องมาหาน่ากลัวกว่าเดิมแน่ๆ” “อ้าวทำ�ไมละคะ” “ก็คิดดูสิหลาน ขนาดหนูอมลูกอมจนฟันผุหมดปากแล้ว ถ้าพระเณรอมบ้างแล้วฟันผุ พอเราอุทิศส่วนบุญไปให้คนตาย เขาก็คงมาหาหนูด้วยใบหน้ายิ้มแต่ไม่มีฟันแน่ๆ น่ากลัวจะตาย ปรือๆ” ตาทองตอบพร้อมทำ�ท่าลูบแขนด้วยความกลัว ขณะที่น้อยหน่า เอามือปิดปากด้วยความอาย แต่ไม่หมดข้อสงสัยที่ตั้งใจจะถามต่อในวันหน้า


40

-

Time for ทำ�

เรื่อง : กองบรรณาธิการ

รับสมัครอาสาสมัครสอนหนังสือเด็ก สวนศิวโมกข์ มูลนิธิห ยดธรรม ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รับสมัครอาสาสมัคร ร่วมกิจกรรมสอนหนังสือให้กับเด็กในชุมชน หลังเลิกเรียน วันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่ ช่วงเวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ไม่จำ�กัดเพศและอายุ ขอเพียงมีจิตอาสาและมีเวลา ให้เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ศิลปะ, คณิตศาสตร์ ฯลฯ สนใจ ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 053-044220 หรือ e-mail: dhammadrops@gmail.com

อาสามา (ฟื้นฟู) แม่สามแลบ โครงการครูบ้านนอกเปิดรับกิจกรรมงานอาสาสมัครไม่จำ�กัดจำ�นวนในพื้นที่ป ระสบภัย ตำ�บลแม่ส ามแลบ อำ�เภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่อ งสอน ภายใต้ชื่อกิจ กรรม “อาสามา (ฟื้นฟู) แม่สามแลบ” ระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2554 เพื่อฟื้นฟู สร้างขวัญ และกำ�ลังใจให้คนในพื้นที่ประสพภัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก, ครูประจำ�การในพื้นที่, ชาวบ้าน สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.053-737412 ต่อ 19 หรือ 087-1833705

-

-

รับอาสาสมัครงานมหกรรมดนตรีคนพิการ ศูนย์อาสาสมัค ร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ รับอาสาสมัครดูแลประสานงานกับชาวต่างชาติ สามารถสื่อ สารภาษา อังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาเกาหลี หรือภาษาญี่ปุ่นได้ หรือจะมาเป็นอาสา สมัครฝ่ายกิจกรรมทัว่ ไป ในงานมหกรรมดนตรีคนพิการแห่งเอเชีย – แปซิฟกิ ครั้งที่ 11 จัดขึ้นโดยองค์กรที่ทำ�งานด้านคนพิการใน 16 ประเทศคือ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย อิน โดนีเซีย ศรีลังกา เวียดนาม ลาว เขมร ไทย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มาร่วมยิ้มสู้เพื่อ การอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ระหว่างวันที่ 13 – 18 พ.ย. 2554 นี้ สนใจ ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 086-5300012

รับอาสาสมัครบ้านราชวิถี บ้านราชวิถีรับอาสาสมัครเพื่อกระตุ้นและเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นโครงการสอนพิเศษ ให้น้อง, โครงการกิจกรรมเสริมทักษะความรู้ทวั่ ไป, โครงการสนทนากับบุคคลตัวอย่าง และโครงการ กิจกรรมเพื่อความบันเทิง เพื่อให้เด็กๆ ได้ทำ�กิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน และเพื่อเป็นการให้กำ�ลังใจเมื่อ เด็กทำ�ความดี กิจกรรมเหล่านี้เป็นไปลักษณะการสังสรรค์หรือกิจกรรมนันทนาการทั่วไป ซึ่งโครงการ นี้เหมาะกับการที่อาสาสมัครจะได้ทำ�ความรู้จักกับเด็กๆ ในบ้านราชวิถีใ นสภาพแวดล้อมที่เป็นกันเอง สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 02-3547484-5

-


BACK ISSUE

6 7 8 9 10

11 12 13 14

สามารถติดต่อรับหนังสือมุมฉบับย้อนหลังได้ที่ มูลนิธิหยดธรรม 083-5169-888 หรือ prataa@dhammadrops.org

X X X X X X X X X X X X

12345

สามารถรับหนังสือมุมได้ที่ เชียงราย

เชียงใหม่ rabbithood studio happy hut 1 happy hut 2 ร้านกู Sweets Salad Concept แก้วก๊อ Café de Nimman คุณเชิญ มาลาเต Seescepe iberry Minimal Gallery Hatena ราชดำ�เนิน คุณนายตื่นสาย

สวนนม(นิมมาน) Toast House บะเก่า หมา อิน ซอย กาแฟสถาน hub 53 ร้านวันวาน กาแฟโสด กินเส้น สวนนม (หน้า มช.) Nova ร้านหนังสือดวงกมล ร้านหนังสือสุริวงศ์ พันธุ์ทิพย์ Bangkok Airway (ศรีดอนชัย)

ร้านอาหารครัวป้าศรี ร้านอาหารโป่งแยงแอ่งดอย หอพักนครพิงค์ลอด์จ ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ถ.ช้างเผือก ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) แม่ริม ฝ้ายเบเกอรี่ (ไลเซียม) Kru Club Lyceum สถาบันบัณฑิตวิทยา ร้านอาหาร 32 กม. ร้านกาแฟ วาวี (แม่สา) ร้านกาแฟ วาวี (four seasons) ร้านกาแฟ วาวี (แม่โจ้)

ร้านกาแฟ ดอยช้าง (แม่ริม) ริมปิง super market (กาดรวมโชค) ห้องสมุดทุกคณะใน มช. รติกา คลินิก ร้านแชร์บุ๊ค แม่ริม Annie Beauty (ศิลิมังคลาจารย์) Bon Café ช้างคลาน สนามบินเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ร้านเล่า Little cook cafe สถานีวิทยุแม่ริมเรดิโอ

ร้านเกาเหลาเลือดหมู เจ๊สหรส ร้านเครื่องปั้นดินเผา ดอยดินแดง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง Café Hub วิทยาลัยเทคนิค เชียงราย

กรุงเทพฯ

ร้านกาแฟ คาเฟ่ ดิโอโร่ (กรุงเทพ) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร วัดญาณเวศกวัน

Sweden The Royal Thai Embassy,StockKhoim Thai Studies Associatio


42

ธรรมะ(อีก)บท

เรื่อง : ธรรมรตา I ภาพประกอบ : Pare ID

เตรียมการณ์

มีตำ�นานได้เล่าถึง ลูกหมู 3 ตัว แยกครอบครัวไปสร้าง บ้านของตนเอง และก็เจอกับสุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์ เป่าลมใส่บ้านฟาง และบ้านไม้ ของลูกหมูพังซะจนย่อยยับ อย่างที่เราทราบกันดี จนกระทั่งถึงบ้านหลังที่ 3 ที่เป็นอิฐโบกปูน นำ�มาสู่บทสรุปให้หมู รุ่นต่อๆ มา ไม่สร้างบ้านด้วยฟางและไม้ หันมาสร้างด้วยอิฐ และปูนแทน กาลเวลาผ่านมา เมืองของหมูถูกสร้างอย่างมั่นคงตึกสูง ใหญ่ มีกำ�แพงหลายชั้น เพื่อป้องกันการรุกรานของเหล่าจิ้งจอก การเผชิญหน้ากันครั้งล่าสุด สุนัขจิ้งจอกต้องออกแรงเป่าลมพร้อม กันมากกว่า 1พันตัว ยังไม่สามารถทำ�ให้กำ�แพงสะเทือนได้เลย สร้างความเดือดแค้นให้กับจิ้งจอกอย่างยิ่ง ต้องถอยทัพกลับไป พร้อมเสียงโห่ไล่ของหมูบนกำ�แพงเมือง เมื่อหมูไม่หมู ซะแล้ว จิ้งจอกได้แต่คิดในใจว่า “ฝากไว้ก่อนเถอะ” ผ่านไปจนสิ้นหน้าฝนและเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว พืชพันธุ์ ธัญญาหารถูกนำ�มาเก็บไว้ในคลัง พร้อมรับมือกับพายุหิมะ เพราะ หมูทุกตัวรู้ดีว่า หากไปหาอาหารหน้าหนาวนั้น เสี่ยงกับสุนัขจิ้งจอก และสัตว์กินเนื้อหิวโซ ที่พร้อมขย้ำ�พวกเขาได้ทุกเมื่อ จึงอยู่ แต่ในเมือง

ขณะที่เหล่าจิ้งจอกต้องออกหาอาหารทุกวัน และต้อง ซุกตัวอยู่ในถ้ำ�ที่อับชื้นสกปรก เมื่ออาหารไม่พอก็ต้องแย่งชิงกัน เกิดความบาดเจ็บล้มตาย เสียงโหยหวน เห่า หอน สร้างความรู้สึก สยดสยอง ให้กับป่าทั้งป่า กลิ่นอายของความอดอยากและความ โหดร้ายเพื่อเอาชีวิตรอด โอบล้อมไปด้วยไอเย็นคละเคล้ากันผสาน เป็นดุจดั่งเข็มอันแหลมคม ทิ่มแทงหัวใจและไส้พุงอย่างเจ็บปวด เหล่าหมูผู้อยู่ในเมือง แม้ไม่รู้เห็นแต่ก็สัมผัสได้ จากเสียง แห่งความวุ่นวายจากป่าอันมืดมนเย็นยะเยือก สุดที่จะอดสะท้าน ในใจไม่ได้ “ข้าขอเรียนถามท่าน ผู้เฒ่าแห่งปราชญ์ ท่านนำ�พาพวก เรามาสู่จุดนี้ได้อย่างไร?” เจ้าชายหมูผู้เยาว์ถามหมูเฒ่าผู้เป็นอาจารย์ แม้มือเขย่า จนไม้เท้าสั่นแต่ก็ดูนิ่งสงบอบอุ่น ก่อนเอ่ยเบาๆ ว่า “ครูข้าสอนไว้ ตั้งแต่ยาวไกลเมื่อกว่าพันปีมาแล้วมีตอนหนึ่ง บอกว่า “อนาคตํ ปฏิกยิราถ กิจฺจํ มา มํ กิจฺจํ กิจฺจกาเล พฺยเธสิ เตรียมกิจสำ�หรับอนาคตให้พร้อมไว้ก่อน อย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตัวเมื่อถึงเวลาต้องทำ�เฉพาะหน้า”


มูลนิธิหยดธรรม ดำ�เนินการร่วมกันระหว่างพระและฆราวาสในการสร้างสรรค์ให้สังคมเกิดความดีงามโดยการใช้ธรรมะ ในการกล่อมเกลาจิตผ่านกิจกรรม การสร้างเสริมจิตอาสา สร้างเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนให้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกัน อย่างเกื้อกูลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อีกทั้งการจัดค่ายคุณธรรมตามสถานศึกษาต่างๆ ทัณฑสถาน และชุมชนที่สนใจ เพื่อให้เยาวชนและชุมชนได้ถ่ายทอดต่อไปยังคนรอบข้าง ไม่เพียงเท่านั้น ทางมูลนิธิหยดธรรมยังดำ�เนินงานในเรื่องของการจัดอบรมกรรมฐานและปฏิบัติธรรม สำ�หรับผู้สนใจ เพื่อ สุขภาวะของบุคคลและองค์รวม อีกทั้งการสร้างสรรค์สื่อธรรมะในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งนิตยสารที่ท่านถืออยู่นี้ เพื่อที่จะได้ ถ่ายทอดและเผยแผ่ธรรมะออกไปในวงกว้าง ทั้งนี้ ในทุกกิจกรรมที่ทางมูลนิธิได้ดำ�เนินการ รวมทั้งสื่อต่างๆที่ทางมูลนิธิได้จัดทำ�และเผยแพร่เป็นไปเพื่อการสาธารณะกุศล โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทางมูนิธิดำ�เนินกิจกรรมผ่านน้ำ�ใจของท่านผู้มีจิตศรัทธา ที่หวังจะให้ สังคมของเราเกิดความดีงาม ท่านผู้มีจิตศรัทธาท่านใดต้องการสนับสนุนการทำ�งานของมูลนิธิ และร่วมเครือข่ายหยดธรรม สามารถติดต่อได้ที่ prataa@dhammadrops.org กรณีประสงค์สนับสนุนทุนในการดำ�เนินกิจการของมูลนิธิ สามารถสนับสนุนได้โดยการโอนเงินมาที่ ... มูลนิธิหยดธรรม

ชื่อบัญชี มูลนิธิหยดธรรม ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขบัญชี 667-2-69064-3 ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขบัญชี 557-2-03369-6

โปรดแจ้งการสนับสนุนโดยการส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่โทร 085-995-9951 หรือ prataa@dhammadrops.org เพื่อที่ทางมูลนิธิสามารถออกโมทนาบัตรได้ถูกต้อง



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.