หนังสือ "SIA: Past, Present, Future"

Page 1



องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมสำ�หรับกิจการเพื่อสังคม และจัดทำ�กรณีศึกษานำ�ร่อง



องค์ความรู้ด้านการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อ สังคม และกรณีศึกษานําร่อง Social Impact Assessment Research Development System for Social Enterprises and Pilot Cases โดย สฤณี อาชวานันทกุล และคณะ

ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)


คณะวิจัย บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด สฤณี อาชวานันทกุล ภัทราพร แย้มละออ ธัญธิดา สาสุนทร กรณิศ ตันอังสนากุล รพีพัฒน์ อิงสิทธิ์ วิทยาลัยโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชัญญา ปัญญากำ�พล ศิญาณี หิรัญสาลี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วีรบูรณ์ วิสารทสกุล พัชรี กวาวคีรี


สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รัชฎาพร วิสุทธากร ดร.นิศาชล จำ�นงศรี ผศ.ดร.นฤมล สิงห์ดง บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รศ.ดร.ธนัญญา วสุศรี ผศ.ดร.ปภัศร ชัยวัฒน์ ดร.กนกพร เรียนเขมะนิยม วราภรณ์ บุญมากอง วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.นันทนา อุดมกิจ จีรภัทร งามพิมล เบญญาภา ชาประเสริฐกุล


องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม สําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง Social Impact Assessment Research Development System for Social Enterprises and Pilot Cases ผู้เขียน สฤณี อาชวานันทกุล และคณะ เลขมาตรฐานประจำ�หนังสือ 978-616-417-076-6 พิมพ์ฉบับปรับปรุงครั้งแรก กันยายน 2562 ราคา 350 บาท จำ�นวนพิมพ์ 1,000 เล่ม • กองบรรณาธิการ ศรัณย์ วงศ์ขจิตร ธัญธิดา สาสุนทร พิสูจน์อักษร นลินี  ฐิตะวรรณ ภาพประกอบปก ชินธิป เอกก้านตรง • ศิลปกรรม เด็ดเดี่ยว เหล่าสินชัย ออกแบบปก สกลชนก เผื่อนพงษ์


ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ สฤณี อาชวานันทกุล. องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง. ​-- กรุงเทพฯ :  สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), 2562. 344 หน้า. 1. การบริหารการศึกษา.  I. สฤณี  อาชวานันทกุล.  II. ชื่อเรื่อง. 370 ISBN 978-616-417-076-6

จัดพิมพ์โดย สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดำ�เนินการผลิตโดย บริษัทป่าสาละ จำ�กัด และ บริษัทภาพพิมพ์ จำ�กัด สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02 278 8200  โทรสาร 02 298 0476 e-mail: callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th website: www.trf.or.th บริษัทป่าสาละ จำ�กัด 2 สุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02 258 7383 email: info@salforest.com website: www.salforest.com จัดจำ�หน่ายโดย สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พิมพ์ที่ บริษัทภาพพิมพ์ จำ�กัด 02 879 9154


10

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ค�ำน�ำ สกสว.

ในต่างประเทศ กิจการเพื่อสังคมแพร่หลายเติบโตอย่างรวดเร็ว มูลค่าตลาดการ ลงทุนเพื่อสังคมเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของนักลงทุนเพื่อสังคม ส่งผลให้การรายงานผลลัพธ์ของกิจการเพือ่ สังคมเป็นเรือ่ งสำ�คัญและมีความจำ�เป็น เพื่อให้นักลงทุนเพื่อสังคมได้ทำ�ความเข้าใจผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการที่ตนเอง สนับสนุนมากขึน้ เพราะเป็นตัวช่วยแสดงว่าการลงทุนนีส้ ร้างความเปลีย่ นแปลงต่อ สังคมได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ขณะทีป่ ระเทศไทยมีกจิ การทีด่ �ำ เนินการในรูปแบบวิสาหกิจเพือ่ สังคมมานาน แต่ไม่มีการรับรองทางกฎหมาย และมีความพยายามผลักดันพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจเพือ่ สังคมมาหลายปี ก่อนจะมีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ภายใต้การดูแลของกรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ พระ­ ราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม จะมีผลทำ�ให้วิสาหกิจเพื่อสังคมได้รับการ รับรองสถานะอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี เงินกองทุนกู้ยืม และมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนต่างๆ ซึง่ จะกระตุน้ ให้มผี ปู้ ระกอบการเพือ่ สังคม มากขึน้ เป็นเครือ่ งมือสำ�คัญในการส่งเสริมการจ้างงานแก่บคุ คลทีส่ มควรได้รบั การ ส่งเสริมเป็นพิเศษ แก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม หรือเพื่อ ประโยชน์สว่ นรวมอืน่ และเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าทัง้ ภายใน ประเทศและระหว่างประเทศด้วย อย่างไรก็ดี การส่งเสริมให้มีกิจการ/วิสาหกิจเพื่อสังคมมากขึ้น เพื่อเป็น เครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนั้น จำ�เป็นต้องอาศัยความรู้ เครื่องมือ และข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยเป็นฐานในการขับเคลื่อน นโยบายส่งเสริมวิสาหกิจเพือ่ สังคม โดยภาครัฐและหน่วยงานควรมีแนวทางในการ ประเมินกิจการ/วิสาหกิจเพื่อสังคม สำ�หรับการพิจารณาให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตาม และประเมินผลได้อย่างเหมาะสม ผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมเองก็ควรมี


องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

11

เป้าหมายในการดำ�เนินกิจการและสามารถประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการได้ ด้วยตนเอง สามารถเผยแพร่ขอ้ มูลกิจการและสือ่ สารต่อสาธารณะได้ และประเทศ มีองค์ความรู้สาธารณะด้านวิสาหกิจเพื่อสังคมที่เหมาะสมกับบริบทสังคมในหลาก หลายกรณี รวมถึงมีเครือข่ายบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการ/วิสาหกิจเพื่อสังคมมากขึ้น เพื่อให้การส่งเสริม วิสาหกิจเพื่อสังคมในฐานะกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประสบผลสำ�เร็จ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) โดยฝ่ายชุมชนและสังคม ก่อนจะ เปลี่ยนเป็นสำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จึงได้สนับสนุนโครงการวิจยั เพือ่ พัฒนาองค์ความรูด้ า้ นการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมสำ�หรับกิจการเพือ่ สังคม และจัดทำ�กรณีศกึ ษานำ�ร่อง 6 กรณี โดยมี คุณ สฤณี อาชวานันทกุล สังกัดบริษัท ป่าสาละ จำ�กัด เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อ ศึกษาหลักการ เครื่องมือ และบทบาทของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ในต่าง ประเทศ และนำ�ประสบการณ์ตา่ งประเทศมาพัฒนาชุดความรูเ้ กีย่ วกับการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมในบริบทของประเทศไทย ได้ผลผลิตเป็นคูม่ อื ประเมินผลลัพธ์ทาง สังคมและรายงานการวิจยั ฉบับสมบูรณ์เมือ่ สิงหาคม 2560 ซึง่ ปรับปรุงเป็นหนังสือ องค์ความรูด้ า้ นการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสำ�หรับกิจการเพือ่ สังคมฯ เล่มนี้ เพือ่ ให้เป็นทีร่ วมความรูเ้ รือ่ งการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ประวัตแิ ละพัฒนาการของ วงการ “การประเมินผลลัพธ์/ผลกระทบทางสังคม” กรอบทฤษฎีและเครื่องมือ ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม รูปแบบเครื่องมือ/วิธีการประเมินผลลัพธ์ทาง สังคมทีห่ ลากหลายตามความเหมาะสมกับประเภท ขนาด ระดับข้อมูลเชิงประจักษ์ องค์ความรูข้ องกิจการ ความคาดหวังของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ความครอบคลุมของ ผลลัพธ์ทางสังคม และระดับความรุนแรงของปัญหาสังคม/สิ่งแวดล้อมที่กิจการ​ นั้นๆ มุ่งแก้ไข รวมถึงช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นด้วย นอกจากนี้ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการ ภาคประชา­ สังคม ภาควิชาการ รวมถึงสื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป จะได้มีคู่มือสำ�หรับ การทำ�ความเข้าใจนิยามและความแตกต่างของคำ�ว่า “ผลกระทบทางสังคม” (Social Impact) “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ” (CSR) “ผู้ประกอบการ ทางสังคม” (Social Entrepreneur) และ “กิจการ/วิสาหกิจเพือ่ สังคม” (Social


12

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

Enterprise) ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ให้ลึกซึ้งตรงกัน เพื่อทำ�ให้การสื่อสาร ต่อสาธารณะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจการ/วิสาหกิจเพื่อสังคมมีประสิทธิภาพมาก ยิง่ ขึน้ ทำ�ให้การขับเคลือ่ นวิสาหกิจเพือ่ สังคมแพร่หลายและเติบโตในประเทศไทย สกสว. หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า หนังสือเล่มนีจ้ ะเป็นองค์ความรูส้ �ำ คัญทีเ่ ป็นประโยชน์ สำ�หรับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับการขับเคลือ่ นกิจการเพือ่ สังคม ผูป้ ระกอบกิจการ เพื่อสังคมรุ่นใหม่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ลงทุนเพื่อสังคม สถาบันการศึกษาต่างๆ  ที่มีการเรียนการสอน การวิจัยหรือการบ่มเพาะกิจการเพื่อสังคม ในการช่วยกัน นำ�องค์ความรู้นี้ไปสร้างฐานการพัฒนากิจการเพื่อสังคมในประเทศไทยให้เข้มแข็ง มุ่งสร้างผลลัพธ์และผลกระทบที่ดีทางสังคมเป็นเป้าหมายในการทำ�งานมากขึ้น สามารถวัดผลและประเมินผลได้ สื่อสารต่อสาธารณะและสังคมได้ รวมถึงตอบ กลุ่มเป้าหมายที่กิจการเพื่อสังคมนั้นทำ�งานด้วยได้ เพื่อให้กิจการเพื่อสังคมเป็น เครือ่ งมือในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน เศรษฐกิจ สังคม สิง่ แวดล้อมได้อย่าง แท้จริงและยั่งยืนต่อไป ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)


องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

13

สารบัญ

คำ�นำ� สกสว.

10

บทที่ 1 ทักทายผู้อ่าน

17

บทที่ 2 “กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร? 2.1 ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (ซีเอสอาร์) 2.2 ผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur) และการประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurship) 2.3 กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise/Social Venture) 2.4 ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) สรุป

21 23 33 44 73 79

บทที ่ 3 ประวัตแิ ละพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม” 81 3.1 การจำ�แนกประเภทของวิธกี ารประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและพัฒนาการ 83 3.2 การเปลี่ยนแปลงด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม 89 3.3 ปัจจัยที่ทำ�ให้การวัดผลลัพธ์ทางสังคมเติบโต 94 3.4 ความท้าทายในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม 97 3.5 การคาดการณ์อนาคตของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม 106 108 3.6 การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุนในประเทศไทย บทที่ 4 การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม 4.1 นิยามกรอบทฤษฎีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม 4.2 นิยามเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคม

123 125 130


14

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

บทที่ 5 เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

159

บทที ่ 6 การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพือ่ สังคมไทย 6 แห่ง 243 บทที่ 7 สรุปผลกรณีศึกษานำ�ร่อง การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ของกิจการเพื่อสังคม 6 แห่ง 7.1 ขอบเขตการประเมิน และการระบุผู้มีส่วนได้เสีย 7.2 ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของกิจการในกรณีศึกษานำ�ร่อง 7.3 ห่วงโซ่ผลลัพธ์ของกิจการในกรณีศึกษานำ�ร่อง 7.4 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมที่เหมาะสม 7.5 การสร้างกรณีฐาน (Base Case Scenario) 7.6 ผลการทดลองวัดผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด และประเมินกรณีฐาน

251

บทที่ 8 สรุปบทเรียนจากการจัดทำ�กรณีศึกษานำ�ร่อง 8.1 ความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้ 8.2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดและไม่เกิด และอุปสรรคในการประเมิน 8.3 หลักเกณฑ์การเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และการเลือกตัวชี้วัด 8.4 สรุปข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการ 8.5 แนวทางปรับปรุงการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม 8.6 สรุป

275 277 279 282 295 301 304

บรรณานุกรม

306

253 256 257 261 264 269


องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมสำ�หรับกิจการเพื่อสังคม และจัดทำ�กรณีศึกษานำ�ร่อง



ทักทายผู้อ่าน

1



ทักทายผู้อ่าน

19

นับตัง้ แต่ศตวรรษที่ 21 เปิดฉากเป็นต้นมา สังคมไทยเริม่ ตืน่ ตัวและให้ความสนใจ ใน “กิจการเพื่อสังคม” (social enterprise) มากขั้นอย่างต่อเนื่อง ในฐานะ กิจการรูปแบบใหม่ที่มุ่งสร้างความยั่งยืนทางการเงินไม่ต่างจากองค์กรธุรกิจทั่วไป แต่มี “พันธกิจทางสังคม” (social mission) เป็นตัวตั้ง ไม่ใช่พันธกิจทางธุรกิจ ในเมื่อกิจการเพื่อสังคมมีพันธกิจทางสังคมเป็นตัวตั้ง การประเมิน “ผลลัพธ์ ทางสังคม” (social impact assessment) จึงนับเป็นหัวใจทีข่ าดไม่ได้ของกิจการ ประเภทนี้ เพื่อจะได้สามารถติดตามอย่างเป็นระบบว่ากิจการนั้นๆ สามารถสร้าง ผลลัพธ์ทางสังคมได้ตรงตามพันธกิจทีว่ างไว้หรือไม่ เพียงใด ก่อผลกระทบทางลบ หรือผลข้างเคียงทีไ่ ม่พงึ ประสงค์ หรือไม่ ผูป้ ระกอบการจะได้ปรับปรุงกิจกรรมและ กระบวนการต่างๆ ในองค์กร เพื่อจะได้สร้างผลลัพธ์ทางสังคมและลดผลกระทบ ทางลบได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ผลการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมยังสามารถใช้ในการสื่อสาร ผลลัพธ์ของกิจการเพือ่ สังคมต่อผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ผูใ้ ห้ทนุ หรือลงทุนในกิจการเพือ่ สังคมจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้ผลลัพธ์ทางสังคมเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ให้การสนับสนุนทางการเงิน และติดตามความก้าวหน้าของกิจการเพื่อสังคมที่ ลงทุนไปแล้ว ส่วนผู้บริโภค ลูกค้า หรือพันธมิตร ก็สามารถใช้ข้อมูลด้านผลลัพธ์ ทางสังคมประกอบการเลือกสนับสนุนงานของกิจการเพื่อสังคม ส่วนผู้กำ�หนด นโยบายก็จ�ำ เป็นจะต้องตัดสินใจออกนโยบายและมาตรการจูงใจต่างๆ บนฐานการ วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของกิจการเพื่อสังคมและสถานการณ์จริง เพื่อช่วย ในการบริหารจัดการงบประมาณรัฐอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการออก นโยบายที่ผิดพลาด อย่างไรก็ตาม การวัดผลลัพธ์ทางสังคมยังเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย องค์ ความรู้ด้านการวัดผลลัพธ์ทางสังคมยังเป็นองค์ความรู้ที่จำ�กัด งานวิจัยและกรณี ศึกษาในบริบทของกิจการเพือ่ สังคมของไทยยังมีนอ้ ย การนำ�ไปใช้งานหรือตีความ ประโยชน์ของเครื่องมือวัดผลต่างๆ เป็นไปอย่างคลาดเคลื่อน ขาดแคลนบรรทัดฐานและมาตรฐานทีเ่ หมาะสม ส่งผลให้กจิ การเพือ่ สังคมในประเทศไทยจำ�นวนมาก ยังไม่สามารถสื่อสารผลลัพธ์ทางสังคมออกมาได้อย่างชัดเจน หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงจากผลการวิจัย “โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสำ�หรับกิจการเพื่อสังคม และจัดทำ�กรณีศึกษา


20

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

นำ�ร่อง” โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ระหว่างปี พ.ศ. 2559–2560 เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่ เกีย่ วข้องกับการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสำ�หรับกิจการเพือ่ สังคม จากต่างประเทศ และในประเทศ ตลอดจนทดลองใช้วธิ ปี ระเมินผลลัพธ์ทางสังคมซึง่ เป็นทีน่ ยิ ม กับ กิจการเพือ่ สังคมในประเทศไทย 6 แห่ง และพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายนักวิจยั ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสำ�หรับกิจการเพื่อสังคม เนือ้ หาในหนังสือเล่มนีแ้ บ่งเป็นสีส่ ว่ นใหญ่ดว้ ยกัน ส่วนแรก (บทที่ 2) นำ�เสนอ นิยามของ “กิจการเพือ่ สังคม” และ “ผูป้ ระกอบการทางสังคม” จากการทบทวน วรรณกรรม รวมถึงการเปรียบเทียบระหว่างนิยามดังกล่าวกับแนวคิดเรือ่ ง “ความ รับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม” (corporate social responsibility: CSR) ว่ามี ความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ส่วนทีส่ อง (บทที่ 3 และ บทที่ 4) นำ�เสนอ ประวัตแิ ละพัฒนาการโดยสังเขปของวงการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม รวมถึงความ ท้าทายในปัจจุบนั ตลอดจนนิยามของกรอบทฤษฎีและประเภทของเครือ่ งมือหลักๆ  ทีใ่ ช้ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ส่วนทีส่ าม (บทที่ 5) นำ�เสนอผลการสำ�รวจ วิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนและองค์กรชั้นนำ�ทั่วโลกที่ให้การสนับ​ สนุน​กิจการเพื่อสังคม รวมทั้งในประเทศไทย จำ�นวน 69 แห่ง และกิจการเพื่อ สังคมชัน้ นำ�ระดับโลก 6 แห่ง จาก 22 ประเทศทัว่ โลก และส่วนสุดท้าย (บทที่ 6, บทที่ 7 และ บทที่ 8) นำ�เสนอสรุปข้อค้นพบจากกรณีศกึ ษานำ�ร่อง การประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย 6 แห่ง


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

2



“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

23

คำ�ว่า “กิจการเพื่อสังคม” แปลว่าอะไรกันแน่? เราสามารถหาคำ�ตอบจากการ ทบทวนวรรณกรรมต่างประเทศและในประเทศไทยเกี่ยวกับนิยามของกิจการเพื่อ สังคม (social enterprise) ธุรกิจเพื่อสังคม (social business, social venture) การประกอบการเพื่อสังคม (social entrepreneurship) ผู้ประกอบการ เพื่อสังคม (social entrepreneur) และความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (corporate social responsibility: CSR) ทีม่ คี วามหมายเกีย่ วข้องกับ “กิจการ เพือ่ สังคม” ในบริบททีค่ ล้ายคลึงหรือคาบเกีย่ วกัน การศึกษานิยามของแต่ละหัวข้อ จึงมีความสำ�คัญในการกำ�หนดขอบเขตการวิจัยที่เน้นไปที่การประเมินผลลัพธ์ทาง สังคมของกิจการเพื่อสังคมว่าจะครอบคลุมกิจการ ธุรกิจ ผู้ประกอบการหรือการ ประกอบการในลักษณะใดบ้าง 2.1 ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (ซีเอสอาร์) แนวคิดเรือ่ ง “ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม” (corporate social responsibility: CSR) เป็นแนวคิดทีค่ อ่ นข้างใหม่ในแวดวงธุรกิจไทย โดยได้รบั ความนิยม อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ราวปลายทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ถึงแม้ว่าแนวคิดนี้จะ ปรากฏในวรรณกรรมธุรกิจตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 มาแล้ว แต่ซีเอสอาร์ก็เพิ่ง กลายเป็นแนวคิดที่สำ�คัญต่อการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทระดับชาติและข้ามชาติ เพียงเมื่อไม่นานมานี้ (Srisuphaolarn, 2013) โดยเป็นหัวข้อยอดนิยมในหมู่ นักวิชาการ นักธุรกิจ และหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะในห้วงยามที่เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และ/หรือสภาพเศรษฐกิจและสังคม (Virakul et al., 2009) ความสนใจในแนวคิดซีเอสอาร์ของบริษทั ต่าง ๆ ในประเทศ​ ไทย ได้รับอิทธิพลไม่มากก็น้อยจากการที่บรรษัทข้ามชาติ (multinational corporations: MNCs) หลายแห่งทวีบทบาทและอิทธิพลจนถึงระดับโลก และนำ� แนวคิดซีเอสอาร์มาปรับใช้เพื่อบรรเทาแรงกดดันจากผู้มีส่วนได้เสีย ป้องกันหรือ บริหารจัดการความเสีย่ งด้านสังคมและสิง่ แวดล้อมทีส่ ง่ ผลกระทบต่อธุรกิจ ตลอด จนคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่ตรงต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย มากขึ้น กล่าวได้ว่าภาคธุรกิจไทยโดยรวมได้ “เจริญรอย” ตามแนวทางดังกล่าว


24

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

บูรณาการกลไกกำ�กับควบคุมตัวเองผ่านแนวคิดซีเอสอาร์เข้าไปในแบบจำ�ลองธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่าง ๆ แต่ในรายละเอียด แต่ละบริษทั อาจใช้แนวทางทีแ่ ตกต่างกันในการประยุกต์ใช้แนวคิดซีเอสอาร์เข้ากับ การดำ�เนินธุรกิจ นิยาม “ซีเอสอาร์” ในด้านหนึ่ง เจตนาของบริษัทที่จะ “แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม” หรือ ซีเอสอาร์ อาจมองได้วา่ เป็นการปลีกตัวออกห่างจากแนวคิด “สำ�นักคลาสสิก” ที่ ว่า ความรับผิดชอบเพียงประการเดียวของบริษทั คือ การสร้างผลตอบแทนสูงสุด ให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่ มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman, 1970) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ประกาศไว้ แต่หลัง จากเกิดกรณีออื้ ฉาวมากมาย และผูม้ สี ว่ นได้เสียฝ่ายต่าง ๆ เริม่ เรียกร้องให้ธรุ กิจรับ­ ผิดชอบต่อความเสียหายที่ตนมีส่วนก่อขึ้น แนวคิดสำ�นักคลาสสิกดังกล่าว ซึ่งแต่ เดิมมองว่าการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมากก็เป็นเพียง “ความไขว้เขว” หรือ “งานอดิเรก” นอกเหนือจากการดำ�เนินธุรกิจเท่านัน้ ได้เริม่ มีววิ ฒ ั นาการเป็น ลำ�ดับ ในทศวรรษ 1980 เมื่อการปฏิรูปแนวเสรีนิยมใหม่ (neoliberal) เกิดเป็น​ กระแสเชี่ยวกรากไปทั่วโลก ความคิดที่ว่าซีเอสอาร์เป็นเพียง “การทำ�ดี” (altruism) ก็คอ่ ย ๆ ถูกแทนทีด่ ว้ ยแนวคิดทีว่ า่ ซีเอสอาร์สามารถมีบทบาท “เชิงกลยุทธ์” (strategic) ในการบริหารจัดการองค์กร โดยใช้เป็นเครือ่ งมือในการดำ�เนินธุรกิจที่ สร้างทั้งคุณค่าทางธุรกิจ และคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ภายใต้แนวคิดที่วิวัฒนาการข้างต้น สังคมอาจมองด้วยความหวาดระแวงว่า ซีเอสอาร์เป็นเพียงกิจกรรมประชาสัมพันธ์หรือการเบี่ยงเบนความสนใจออกจาก ผลกระทบเชิงลบที่บริษัทสร้างไว้ แต่ถ้าหากบริษัทกำ�หนดนโยบายซีเอสอาร์และ ดำ�เนินตามนโยบายดังกล่าวอย่างจริงจัง ซีเอสอาร์ก็ช่วยเพิ่มมูลค่าของกิจการได้ (Broomhill, 2007) ในทางกลับกัน ธรรมเนียมปฏิบตั แิ ละความคาดหวังของสังคม ก็บ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจควรใช้ซีเอสอาร์เป็นเครื่องมือในการทำ� “อะไรสักอย่าง” ที่ สร้างประโยชน์กว่าเดิม ซึ่ง “อะไรสักอย่าง” นั้น ก็สะท้อนเป้าประสงค์ทางศีล­ ธรรมซึง่ เป็นเครือ่ งกำ�หนดความชอบธรรมทีแ่ ท้จริงของธุรกิจ (Handy, 2002) พูด อีกอย่างคือ ถ้าหากสังคมคาดหวังให้บริษัท “มีศีลธรรม” การทำ�ซีเอสอาร์ก็อาจ


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

25

เป็น​การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของบริษัท อย่างน้อยก็ในแง่ของการเป็นหลักประกัน หรือ “กลไกป้องกันแรงกระแทก” (shock absorber) จากพฤติกรรมของบริษทั ที่ผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่าง ๆ มองว่า “ไม่รับผิดชอบ” (Gallagher, 2005) ผลการทบทวนวรรณกรรมปริทศั น์ทเี่ กีย่ วกับซีเอสอาร์สามารถสรุปได้วา่ ความ พยายามใด ๆ ที่จะมองซีเอสอาร์ผ่านกรอบคิดหรือ “แว่น” ทางวิชาการที่เป็น​ ภววิสยั ไร้อคตินนั้ ยากมาก เนือ่ งจากความไม่แน่นอนในการพิสจู น์อย่างเพียงพอว่า กรอบดังกล่าวไร้อคติจริงหรือไม่ (Dahlsrud, 2008) ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมามี มุมมองและทฤษฎีจำ�นวนมากซึ่งถูกประดิษฐ์เพื่ออธิบายบทบาทของซีเอสอาร์ใน สังคม ยกตัวอย่างเช่น อเล็กซานเดอร์ ดาห์ลสรุด (Alexander Dahlsrud, 2008) วิเคราะห์นิยามกว่า 37 นิยามของซีเอสอาร์ และจัดหมวดหมู่นิยามทั้งหมดเป็น 5 มิติ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ ผู้มีส่วนได้เสีย และระดับความ สมัครใจ ส่วน อาร์ชี แคร์รอล (Archie Carroll) ก็พบนิยามซีเอสอาร์ที่แตกต่าง กันถึง 25 ชุด ในการทบทวนวรรณกรรม (Carroll, 1999) แคร์รอลเป็นหนึ่ง ในผู้เชี่ยวชาญด้านซีเอสอาร์คนแรก ๆ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ใน ค.ศ. 1991 เขา จัดประเภทความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมหรือซีเอสอาร์ออกเป็น 4 ประเภท และเรียงลำ�ดับความสำ�คัญเป็น “พีระมิด” จากฐานราก ได้แก่ ความรับผิดชอบ ด้านเศรษฐกิจ (ทำ�กำ�ไร) ความรับผิดชอบด้านกฎหมาย (ทำ�ตามกฎหมาย) ความ รับผิดชอบด้านศีลธรรม (มีจริยธรรมในการดำ�เนินธุรกิจ) และความรับผิดชอบเชิง การกุศล (เป็น “พลเมืองดี” ของสังคม) (Carroll, 1991) (ดูแผนภาพ 1) การนิยามและจัดประเภทซีเอสอาร์ของแคร์รอลส่งอิทธิพลต่อวงการซีเอสอาร์ สืบมาจนปัจจุบัน แม้หลังจากที่แนวคิดซีเอสอาร์ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 จะ วิวัฒนาการไปครอบคลุมถึง “ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์” ดังอธิบายไปแล้วข้างต้น (กล่าวคือ มุมมองที่ว่าบริษัทสามารถบูรณาการหลักซีเอสอาร์เข้ากับการดำ�เนิน ธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจ มิใช่เป็นซีเอสอาร์เชิงตั้งรับเพื่อลดแรงกดดันจาก ผู้มีส่วนได้เสียหรือ “คืนกำ�ไรสู่สังคม” ผ่านกิจกรรมการกุศลเท่านั้น) ในเวลา เดียวกัน คำ�ศัพท์และแนวคิดจากวงการต่าง ๆ ก็ถกู หลอมรวมเข้ามาใช้ใน “ภาษา” ของวงการซีเอสอาร์ หรือถูกมองว่าเป็นส่วนสำ�คัญของซีเอสอาร์ เช่น ธรรมาภิบาล บรรษัท (corporate governance) การกุศลของบริษัท (corporate philanthropy) การเป็นพลเมืองของบริษทั (corporate citizenship) การทำ�บัญชีสงั คม


26

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ความรับผิดชอบเชิงการกุศล (เป็น “พลเมืองดี” ของสังคม) ความรับผิดชอบด้านศีลธรรม (มีจริยธรรมในการดำ�เนินธุรกิจ) ความรับผิดชอบด้านกฎหมาย (ทำ�ตามกฎหมาย) ความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจ (ทำ�กำ�ไร) แผนภาพ 1 พีระมิดซีเอสอาร์ในกรอบคิดของ แคร์รอล (Carroll, 1991)

และสิง่ แวดล้อม (social accounting, environmental accounting) และล่าสุด การดำ�เนินธุรกิจที่ยั่งยืน (sustainable business) ด้วยเหตุนี้ จึงอาจสรุปได้ว่า แนวคิดซีเอสอาร์ครอบคลุมความคิดที่หลากหลายจำ�นวนมาก และส่งผลให้กลาย เป็นหัวข้อที่สามารถถกเถียง อภิปราย และวิเคราะห์กันได้ไม่รู้จบ นิยามที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุดนิยามหนึ่งของ “ซีเอสอาร์” ถูก กำ�หนดโดยคณะกรรมาธิการยุโรปใน ค.ศ. 2001 ว่า หมายถึง “แนวคิดที่บริษัท ต่าง ๆ บูรณาการประเด็นกังวลด้านสังคมและสิง่ แวดล้อมเข้าไปในการดำ�เนินธุรกิจ และปฏิสมั พันธ์กบั ผูม้ สี ว่ นได้เสียฝ่ายต่าง ๆ โดยสมัครใจ” นิยามดังกล่าวครอบคลุม องค์ประกอบ 5 มิตขิ องซีเอสอาร์ในนิยามทีด่ าห์ลสรุด (Dahlsrud, 2008) รวบรวม ไว้ในงานวิจัย การเน้นหลัก “โดยสมัครใจ” แปลว่าบริษัทต่าง ๆ มีอิสรภาพที่จะ ออกแบบและดำ�เนินนโยบายซีเอสอาร์ในแนวทางทีต่ นต้องการ และความแตกต่าง ของการดำ�เนินนโยบายซีเอสอาร์ก็ส่งผลให้เกิดแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมาก และการรับรู้เกี่ยวกับซีเอสอาร์ของคนในสังคมก็แตกต่างหลากหลายตามไปด้วย จนอาจกล่าวได้วา่ นโยบาย “กระแสหลัก” หรือ “มาตรฐานสากล” ของซีเอสอาร์ ยังไม่มอี ยูจ่ ริง ถึงแม้จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายทีจ่ ะพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานซีเอสอาร์ มาตรฐานดังกล่าวก็ยังเป็นเพียงมาตรฐานโดยสมัครใจเป็นหลัก


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

27

กล่าวโดยสรุป บริษัทต่าง ๆ สามารถยึดหลักความสมัครใจในการกำ�หนดเอง ว่า การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่ “ดี” ในมุมมองของบริษัทเองคืออะไร โดยตัง้ อยูบ่ นวิถกี ารจัดการทีก่ ว้างกว่าการมุง่ สร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กบั ผูถ้ อื หุน้ นัน่ คือ มองว่าบริษทั มีบทบาทสำ�คัญในสังคม และมีหน้าทีท่ กี่ ว้างกว่าการสร้างกำ�ไร สูงสุด อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบตกเป็นของผูม้ สี ว่ นได้เสียฝ่ายต่าง ๆ ทีจ่ ะเรียก ร้องให้บริษัทรับผิด (accountable) ต่อพฤติกรรมของตนเอง (Carroll, 1999; Frederick, 2006) แนวคิดล่าสุดเกี่ยวกับซีเอสอาร์ (ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า วันนี้ได้พัฒนามาเป็น “แนวคิดซีเอสอาร์กระแสหลัก”) ขัดแย้งชนิดคู่ตรงข้ามกับมุมมองแบบสำ�นัก คลาส­สกิ ทีว่ า่ ความรับผิดชอบต่อสังคมเพียงประการเดียวของบริษทั คือ การสร้าง ผลตอบแทนสูงสุดต่อผูถ้ อื หุน้ โดยสำ�นักนีใ้ ห้เหตุผลว่าบริษทั ทีม่ ี “สำ�นึกทางสังคม” ย่อมตกเป็นเหยือ่ ของลัทธิสงั คมนิยม และบัน่ ทอนสังคมเสรีแบบทุนนิยม (Friedman, 1970) ลำ�พังการทำ�กำ�ไร หรือการแสดงความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจในฐาน พีระมิดของแคร์รอลนัน้ ไม่เพียงพอทีจ่ ะมอบความชอบธรรมให้กบั กำ�ไรของบริษทั อีกต่อไป ธุรกิจจะต้องมีแรงจูงใจนอกเหนือจากการสร้างกำ�ไร เนื่องจากถูกมอง และตั้งความคาดหวังว่าควรมีเป้าหมายที่สูงส่งกว่านั้น (Handy, 2002) นิยาม ซีเอสอาร์มุมแคบของฟรีดแมน (ซึ่งเน้นการทำ�กำ�ไรอย่างเดียว) นั้นส่งอิทธิพลสูง มากจนถึงเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากบทความของเขายังคงเป็นแหล่งอ้างอิงอันดับ ต้น ๆ ในวงการซีเอสอาร์ และยังคงเป็นหัวข้อถกเถียงอภิปรายที่เข้มข้นในปัจจุบัน แม้นานหลายปีหลังจากที่เขาล่วงลับไปแล้วก็ตาม (Moon, 2013) กล่าวโดยสรุป แนวคิดซีเอสอาร์ได้เข้าสู่โลกธุรกิจในฐานะ “เครื่องมือ” ที่ บริษทั สามารถใช้แสวงหรือรักษาความชอบธรรมในสายตาของสาธารณะ และปรับ เปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือบริการให้การดำ�เนินธุรกิจสอดคล้องกับความ ต้องการของผู้มีส่วนได้เสียและชุดคุณค่าที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำ�คัญ ซีเอส­อาร์ อาจปรับเปลีย่ นรูปแบบได้ตามสถานการณ์ทเี่ ปลีย่ นแปลงไป แปลงอุดมการณ์เรือ่ ง ความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งมีฐานอยู่ในหลักจริยธรรม การกุศล และการคืนกำ�ไร สูส่ งั คม (Carroll, 2008) มาเป็นอุดมการณ์ซงึ่ สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กบั บริษัทได้ เช่น จูงใจให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมหรือสังคมหันมา อุดหนุนบริษทั มากขึน้ ฉะนัน้ จึงอาจสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กบั บริษทั


28

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ย้อนอดีต: เหตุผลด้านจริยธรรม ความเป็นเหตุเป็นผล และเศรษฐศาสตร์ของซีเอสอาร์ แนวคิดซีเอสอาร์ในธุรกิจสมัยใหม่ถือกำ�เนิดไม่นานหลังจากที่วิกฤตเศรษฐกิจ ถดถอยรุนแรง (Great Depression) ในทศวรรษ 1930 ส่งผลให้คนจำ�นวนมาก ตั้งคำ�ถามถึงวิถีปฏิบัติของธุรกิจที่มุ่งแสวงกำ�ไรสูงสุดอย่างไม่บันยะบันยัง สังคม สร้าง “สนามแข่งขัน” ให้ธรุ กิจก่อตัง้ และเติบโตด้วยการทำ�กำ�ไร แต่ความคาดหวัง ของสังคมเกี่ยวกับศีลธรรม จริยธรรม และคุณค่าต่าง ๆ ก็เริ่มกำ�หนดรูปธรรมของ “พันธะทางสังคม” ที่คนคาดหวังมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อบริษัท แนวคิดเชิงวิชาการ เรือ่ งซีเอสอาร์ปรากฏครัง้ แรกในงานเขียนของ ฮาวเวิรด์ โบเวน (Howard Bowen) (Carroll, 1999) ท่าม​กลางกระแสการกำ�กับดูแลของภาครัฐที่เข้มข้นมากขึ้นและ การจัดสวัสดิการแก่ประชาชนในยุคเศรษฐกิจตกตํ่า โบเวนเสนอว่า นักธุรกิจจะ ต้องรับผิดชอบที่จะ “ดำ�เนินนโยบาย ตัดสินใจ หรือปฏิบัติการใด ๆ ก็ตามที่พึง ประสงค์ ในแง่ของเป้าหมายและคุณค่าของสังคมของเรา” (Bowen, 1953) ในแง่นี้นับว่า โบเวนเป็นผู้วางหมุดหมายแรกให้กับเหตุผลด้านศีลธรรมของ ซีเอสอาร์นานหลายสิบปีก่อนที่ แฮนดี (Handy, 2002) จะประกาศว่าเป้าหมาย ของธุรกิจมิใช่การทำ�กำ�ไร ข้ออภิปรายดังกล่าวเสนอว่า บริษทั ต่าง ๆ จะอยูร่ อดได้ ก็ต่อเมื่อดำ�เนินธุรกิจในทางที่สอดคล้องกับชุดคุณค่าและหลักการของสังคมส่วน รวม ถ้าหากบริษัทใดประสบความสำ�เร็จทางธุรกิจ ความสำ�เร็จนั้นก็เกิดขึ้นเพียง เพราะสังคมมีสว่ นสร้างความสำ�เร็จนัน้  ๆ ผ่านการส่งมอบแรงงานมีฝมี อื โครงสร้าง พื้นฐานทางกายภาพ โครงสร้างทางกฎหมาย และตลาดผู้บริโภคให้บริษัทได้ใช้ ประโยชน์ สังคมทำ�ให้บริษัทประกอบกิจการได้ ดังนั้นบริษัทจึงสมควรรู้สึกว่ามี​ หน้าที่ที่จะปฏิบัติตนในทางที่สังคมมองว่ารับผิดชอบและเป็นประโยชน์ต่อสังคม (Werther & Chandler, 2011) อีกมุมหนึ่งมองว่า กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมที่พึ่งพาระบบเศรษฐกิจถูกคาดหวังว่า ต้องมี “หน้าทีท่ างศีลธรรม” ทีจ่ ะสร้างหรือเพิม่ สวัสดิการสังคม และกลุม่ ทีล่ ม้ เหลว ก็อาจถูกมองว่าขาดความชอบธรรม เมื่อใดที่คุณค่าเชิงอัตวิสัยของสังคมใดสังคม หนึ่งบัญญัติว่าบริษัทต่าง ๆ ควรทำ�ตามความคาดหวังทางศีลธรรมของสังคม เมื่อ นั้นบริษัทก็ควรทำ�ตามเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกควํ่าบาตรทางสังคม ด้วยเหตุนี้ การ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมหรือซีเอสอาร์จึงอาจเป็นการกระทำ�ที่มีเหตุมีผล


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

29

(rational) ของบริษทั เนือ่ งจากเป็นปฏิกริ ยิ าต่อกฎหมาย ค่าปรับ ข้อห้าม ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการดำ�เนินธุรกิจ และฐานะทางการเงิน และระหว่างทางบริษทั ก็จะได้เรียนรูว้ ธิ คี าดการณ์และเข้าใจ ความกังวลของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่าง ๆ มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า เหตุผล ด้านความมีเหตุมีผลของซีเอสอาร์คือ การทำ�ซีเอสอาร์มีเหตุมีผลเพราะช่วยให้ บริษทั สามารถทำ�กำ�ไรสูงสุด ในขณะทีข่ จัดอุปสรรค ข้อจำ�กัด หรือความเสีย่ งทาง ธุรกิจให้เหลือน้อยที่สุด (Werther & Chandler, 2011) ความมีเหตุมีผลของซีเอสอาร์อาจสรุปได้ใน “กฎเหล็ก” ของหลักคิดทั่วไป (ด้านรัฐศาสตร์หรือสังคมศาสตร์) เรือ่ งความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility) ทีร่ ะบุวา่ ใครก็ตามทีใ่ ช้อ�ำ นาจโดยมิชอบย่อมสูญเสียอำ�นาจนัน้ ไปในทีส่ ดุ ภาวะไร้ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจอาจส่งผลให้ภาครัฐ (เช่น ผ่านแรงกดดัน ของประชาชน) ตัดสินใจออกกฎหมายหรือกฎเกณฑ์กำ�กับดูแลที่เข้มงวดมากขึ้น ตีกรอบจำ�กัดกิจกรรมและผลกำ�ไรของธุรกิจยิง่ ขึน้ (Davis, 1973) ด้วยเหตุนี้ การ ดำ�เนินธุรกิจอย่างมีเหตุมีผลจึงหมายถึงวิถีปฏิบัติที่สร้างหลักประกันได้ว่า บริษัท จะได้รับผลตอบแทนทางการเงิน ในขณะเดียวกันก็ต้องโอนอ่อนผ่อนตามความ ประสงค์ขององค์กรพัฒนาเอกชนหรือขบวนการเคลือ่ นไหวทางสังคมในบางระดับ เพื่อจะได้ชื่อว่ามีความชอบธรรมในสายตาของประชาสังคม แอลลัน เมอร์เรย์ (Allan Murray, 2006) มองบริษัทว่าเปรียบเสมือน “สถาบันทาง​การเมือง” ที่ “ต้องอาศัยความไว้วางใจของสาธารณะเพือ่ จะดำ�เนินการได้อย่างราบรืน่ ” การ สูญเสียความไว้วางใจจากสาธารณะจะเปิดช่องให้บริษทั เผชิญกับการโจมตีจากภาค ประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐ และคู่แข่งรายอื่นในอุตสาหกรรม ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดเรื่องซีเอสอาร์กำ�ลังได้รับความสนใจ และน่าจะทวี ความสำ�คัญขึ้นเรื่อย ๆ บริษัทต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ จนถึงบรรษัท ข้ามชาติ กำ�ลังใช้ซีเอสอาร์เป็นเครื่องมือในการโฆษณาว่าตนแตกต่างจากคู่แข่ง อย่างไร และใช้สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเพือ่ แสวงจุดเด่นในตลาด (Margolis & Walsh, 2003) ตรรกะดังกล่าวจัดเป็นเหตุผลด้านเศรษฐศาสตร์ของ ซีเอสอาร์ ซึง่ สอดคล้องกับ “วิวฒ ั นาการ” ล่าสุดของแนวคิด ดังทีไ่ ด้กล่าวไปแล้ว ข้างต้น กล่าวคือ ซีเอสอาร์สามารถ “เพิม่ มูลค่า” ให้กบั สินค้าและบริการของบริษทั ผ่านการสะท้อนชุดคุณค่าและความต้องการของผูม้ สี ว่ นได้เสียในสินค้าและบริการ


30

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

นั้น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับชุดคุณค่าทางสังคมย่อมมีวิวัฒนาการตลอด เวลา เนือ่ งจากบริษทั ย่อมได้รบั อิทธิพลจากความกังวลและความต้องการของผูม้ สี ว่ น ได้เสีย ความสัมพันธ์และปฏิสมั พันธ์ดงั กล่าวช่วยสร้างหลักประกันว่าบริษทั จะสามารถ รักษาความชอบธรรมของการดำ�รงอยูใ่ นสังคม และในเวลาเดียวกันก็ชว่ ยรักษาการ เติบโตทางธุรกิจของตนเองในระยะยาวด้วย (Werther & Chandler, 2011) มุมมองด้านการบริหารจัดการ หรือ “วิถีผู้มีส่วนได้เสีย” (stakeholder approach) ของซีเอสอาร์ครอบคลุมเหตุผลด้านความมีเหตุมผี ล และเหตุผลด้าน เศรษฐศาสตร์ของซีเอสอาร์ นักธุรกิจในมโนทัศน์ของโบเวนไม่เพียงแต่เป็นผูจ้ ดั การ บริษัทที่ต้องรับผิดชอบต่อผลประกอบการทางการเงิน มีหน้าที่เพิ่มความมั่งคั่งให้ กับเจ้าของกิจการและผู้ถือหุ้นรายย่อย แต่ยังมีหน้าที่เติมเต็มความคาดหวังของ ลูกค้า ชุมชน และคู่ค้าด้วย ผู้มีส่วนได้เสียที่ส่งผลต่อความอยู่รอดของบริษัทถูก นิยามว่า “บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดก็ตามที่สามารถส่งผลกระทบหรือได้รับผล​ กระทบจากการบรรลุเป้าหมายขององค์กร” (Freeman, 1984) ซีเอสอาร์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน การถกเถียงเชิงทฤษฎีวา่ ด้วยนิยามของ “การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน” ยังคงดำ�เนินไป จวบจนปัจจุบัน และนักวิชาการบางรายยังคงมองว่าแนวคิดนี้ขัดแย้งกับแนวคิด เรื่องซีเอสอาร์ (Moon, 2007) จากมุมมองของสำ�นักคลาสสิกที่ว่า บริษัทต่าง ๆ  มีเป้าหมายเดียวคือการทำ�กำ�ไรสูงสุด เราก็มองได้วา่ บริษทั เหล่านัน้ “ไม่สามารถ” รับผิดชอบใด ๆ ต่อสังคมได้ นอกจากนี้ ในเมือ่ บริษทั ดำ�เนินกิจการในระบบเศรษฐกิจ เราก็อาจมองได้วา่ การประกอบธุรกิจไม่อาจเข้ากันได้กบั การบรรลุซงึ่ เป้าหมายด้าน “ความยัง่ ยืน” ในโลกทีท่ รัพยากรมีจ�ำ กัด ในเมือ่ ทัง้ สองแนวคิดนีย้ งั มีขอ้ โต้แย้งและ ถกเถียงมากมาย อีกทัง้ ยังเป็นแนวคิดทีซ่ บั ซ้อนในตัวมันเอง ลักษณะความสัมพันธ์ ระหว่างซีเอสอาร์กับการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงค่อนข้างมีความสลับซับซ้อนและมีนัย ที่แตกต่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับระบบสังคม การกำ�กับดูแล และสิ่งแวดล้อมใน แต่ละสังคม (Moon, 2007) ปกติแนวคิดเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน” จะเข้าใจกันว่ามี  3 มิติ ได้แก่ ความ ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ ความยั่งยืนด้านสังคม และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เป้า­ หมายการบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมโดยไม่บอ่ นทำ�ลายสิง่ แวดล้อมนัน้


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

31

เป็นประเด็นที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่ทำ�งานในสาขา การพัฒนาตลอดมา (Adams, 2001) บริษัทต่าง ๆ ล้วนดำ�รงอยู่ในสังคม เป็น ฟันเฟืองสำ�คัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม และสามารถใช้ซเี อสอาร์เป็น เครือ่ ง “บรรเทา” ผลกระทบเชิงลบ (หรือทีภ่ าษาเศรษฐศาสตร์เรียกว่า ผลกระทบ ภายนอกเชิงลบ หรือ negative externalities) ต่อสิง่ แวดล้อม ในเมือ่ บริษทั ต่าง ๆ  ใส่ใจภาพลักษณ์ของตนในสังคม (ประสงค์จะได้ชื่อว่าเป็น “พลเมืองดี”) บริษัท ต่าง ๆ จึงต้องพยายามหาสมดุลระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ กฎหมาย จริยธรรม และการ “คืนกำ�ไร” (การกุศล) ในกรอบคิด ของแคร์รอล (Carroll, 1991) ในแง่นี้ ซีเอสอาร์กบั การพัฒนาทีย่ งั่ ยืนดูจะสามารถ เดินอย่างสอดคล้องกันเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ได้ อย่างไรก็ดี มูน (Moon, 2007) เน้นยํา้ ว่า ซีเอสอาร์ใส่ใจกับ “ผูม้ สี ว่ นได้เสีย” กลุม่ ต่าง ๆ เป็นหลัก ขณะที่ การประยุกต์ใช้แนวคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” นั้นกว้างไกลกว่ามนุษย์มาก ความ สัมพันธ์ระหว่างซีเอสอาร์กบั การพัฒนาทีย่ งั่ ยืนตัง้ อยูบ่ นการยึดกรอบคุณค่าภายใน คนละชุด และต่างมีความซับซ้อนในตัวเอง (Connolly, 1983) แนวคิด “การพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน” มีนยิ ามทีแ่ ตกต่างหลากหลาย แต่นยิ ามซึง่ เป็น ที่ยอมรับมากที่สุดอยู่ในรายงาน “อนาคตร่วมกันของเรา” (Our Common Future) ผลิตโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาโลก มี โกร ฮาร์เล็ม บรุนด์ท­แลนด์ (Gro Harlem Brundtland) อดีตประธานาธิบดีนอร์เวย์เป็น ประธาน และดังนั้นจึงเป็นที่รู้จักในชื่อ “รายงานบรุนด์ทแลนด์” (Brundtland Report) รายงานฉบับนี้ระบุนิยามของ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ว่า หมายถึง “การ พัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถของ คนรุน่ หลังในการตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขา” (Brundtland, 1987) ในนิยามดังกล่าว การพัฒนาจะต้องมีเป้าหมายระยะยาว และถ้าใช้ภาษาของ ซีเอสอาร์ก็กล่าวได้ว่า “คนรุ่นหลัง” ถูกเติมเข้ามาเป็นผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มสำ�คัญ (Van Marrewijk, 2006) นิยามดังกล่าวมีส่วนกระตุ้นให้กลุ่มใหม่ ๆ เข้าร่วมวง อภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับซีเอสอาร์ เรียกร้องให้บริษัทรับผิดต่อการกระทำ�ของตน เช่ น องค์ ก รพัฒนาเอกชนที่ทำ�งานด้านการอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม และกลุ่ มชน พื้นเมืองที่เคลื่อนไหวเพื่อพิทักษ์การดำ�รงชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเอง การนำ� “คนรุ่นหลัง” เข้ามาเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย แปลว่าบริษัทมีเจตนาที่


32

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

จะรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันและความชอบธรรมของตน ในระยะยาว บริษทั ทีต่ อ้ งการจะเปลีย่ นวิถเี ข้าสูค่ วามยัง่ ยืน (หรือทีเ่ รียกว่า “ธุรกิจทีย่ งั่ ยืน” คือ สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน) ตัดสินใจเปลี่ยนด้วยส่วนผสมของเหตุผล ด้านศีลธรรม ความมีเหตุมผี ล และการเอาตัวรอดทางเศรษฐกิจ บริษทั ทีส่ ามารถ ปรับเปลี่ยนตัวเองให้ตอบสนองต่อความคาดหวังและชุดคุณค่าของสังคมได้จะ สร้างสรรค์กิจกรรมซีเอสอาร์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการและความกังวล ของสังคมได้ นักวิชาการบางราย อาทิ มาร์เซล แวน มาร์เรเว็ค และมาร์โก แอร์ (Marcel Van Marrewijk & Marco Werre, 2003) มองว่าเราสามารถประเมิน กิจกรรมซีเอสอาร์ทั้งหมดผ่าน “แว่น” ของการพัฒนาได้ นักวิชาการทั้งสองได้ พัฒนาชุดหลักการทีจ่ ะช่วยให้บริษทั ต่าง ๆ สามารถตอบสนองต่อความท้าทายของ การพัฒนา และใช้หลักการชุดนี้ในการจัดประเภทซีเอสอาร์ออกเป็น 5 ประเภท กล่าวคือ 1. ซีเอสอาร์ที่ขับดันด้วยการทำ�ตามกฎหมาย (compliance-driven CSR) เน้นการสร้างระเบียบสังคมเป็นหลัก (order) 2. ซีเอสอาร์ที่ขับดันด้วยผลกำ�ไร (profit-driven CSR) เน้นการบรรลุความ สำ�เร็จ (success) 3. ซีเอสอาร์ที่ขับดันด้วยความห่วงใย (care-driven CSR) เน้นการพัฒนา ชุมชน (community) 4. ซีเอสอาร์ทขี่ บั ดันด้วยการคิดเชิงระบบ (systemic-driven CSR) เน้นการ สร้างมูลค่าเพิ่ม (synergy) และ 5. ซีเอสอาร์ทขี่ บั ดันอย่างเป็นองค์รวม (holistically-driven CSR) เน้นการ สร้างระบบชีวิตที่เกื้อกูล (life system) อาจกล่าวได้ว่า การนิยามซีเอสอาร์ใหม่ในมุมมองของการพัฒนาดังตัวอย่าง ข้างต้นนั้น ช่วย “หลอมรวม” แนวคิดเรื่องความยั่งยืนกับความรับผิดชอบให้ โน้มเอียงมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น น่าสังเกตว่าในปัจจุบัน นิยามซีเอสอาร์นิยามหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมค่อนข้าง มาก คือ นิยามของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ซึง่ เป็นการรวมตัวกันโดย


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

33

สมัครใจของบริษทั ขนาดใหญ่ทวั่ โลก โดย WBCSD ให้นยิ ามซีเอสอาร์วา่ หมายถึง “ความทุม่ เทอย่างต่อเนือ่ งของธุรกิจทีจ่ ะมีสว่ นสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจต่อไป ใน ขณะเดียวกับที่ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของบุคลากร ครอบครัวของพวกเขา ตลอด จนคุณภาพชีวติ ของชุมชนและสังคมส่วนรวม” (WBCSD, 1998) ในเมือ่ ทุกบริษทั ย่อมประกอบธุรกิจเป็นหลักแหล่ง มีที่อยู่เชิงกายภาพ (สำ�นักงาน โรงงาน ฯลฯ) ภาคธุรกิจย่อมไม่อาจหลุดพ้นจากการถูกมองว่ามีส่วนร่วม (เชิงบวก) หรือลิดรอน (เชิงลบ) การพัฒนาชุมชนระดับท้องถิ่น ชาติ ภูมิภาค และโลกได้ ในแง่นี้ บริษัท ทีม่ เี หตุมผี ลทางเศรษฐศาสตร์ยอ่ มแสวงหาความยัง่ ยืนในวิถกี ารดำ�เนินธุรกิจ และ พยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคตด้วยการสร้างผลกระทบ ภายนอกเชิงบวก (positive externalities) การจัดการด้านการเงินและทางกฎหมายถูกเชือ่ มโยงเข้ากับการจัดการผลกระทบทีบ่ ริษทั ก่อต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม โคฟี อันนัน (Kofi Annan) อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ กล่าวในงานที่ จัดโดยแนวร่วมธุรกิจเพือ่ การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน (Business Action for Sustainable Development) ว่า “เราตระหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า เราจะก้าวหน้าได้ด้วยการ​ กระตุน้ ภาคธุรกิจเท่านัน้ ภาคธุรกิจมีทรัพยากรการเงิน เทคโนโลยี และทักษะการ บริหารจัดการที่จะบรรลุเป้าหมาย” (อ้างถึงใน Wade, 2005) พูดอีกอย่างคือ การบรรลุเป้าหมายการเติบโตทีย่ งั่ ยืนของสหประชาชาติแปลว่าภาคธุรกิจจะต้องมี บทบาทที่สำ�คัญและขาดไม่ได้ 2.2 ผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur) และการประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurship) ถึงแม้แนวคิดเรื่อง “การประกอบการเพื่อสังคม” จะเป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งปรากฏใน งานวรรณกรรมธุรกิจ แต่บคุ คลทีเ่ รียกได้วา่ เป็น “ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม” นัน้ มี มานานกว่าหนึง่ ศตวรรษแล้ว เช่น ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล หรือมาเรีย มอนเตสซอรี1 ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nitingale) ผูบ้ กุ เบิกด้านพยาบาลศาสตร์ยคุ ใหม่และยกระดับ วิชาชีพพยาบาลราวศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20,  มาเรีย มอนเตสซอรี (Maria Mon1


34

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

(Banks, 2016) ซึง่ ในทีน่ จี้ �ำ เป็นต้องแยกคำ�นิยามระหว่าง “การประกอบการเพือ่ สังคม” อันหมายถึงกระบวนการหรือลักษณะพฤติกรรมกับ “กิจการเพื่อสังคม” อันหมายถึงสถาบันที่มุ่งสร้างผลลัพธ์ทางสังคมอย่างต่อเนื่อง (ดูรายละเอียดใน บทที่ 2.3 ของรายงานฉบับนี)้ กับ “ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม” ซึง่ เน้นทีต่ วั บุคคล ผู้ริเริ่มสร้างผลลัพธ์ โลกเริ่มรู้จักคำ�ว่า “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” ผ่านการนำ�เสนอของผู้บุกเบิก แนวความคิดระดับโลกหลายคน หนึ่งในนั้นคือ บิล เดรย์ตัน (Bill Drayton) ผู้ ก่อตั้งมูลนิธิอโชก้า (Ashoka) องค์กรพัฒนาเอกชนที่ส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อ สังคม หรือชาร์ลส์ ลีดบีทเตอร์ (Charles Leadbeater) ผูเ้ ขียนหนังสือเรือ่ ง The Rise of the Social Entrepreneur (1997) เสนอการสนับสนุนนวัตกรรมทาง สังคมของผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมในการแก้ปญ ั หารัฐสวัสดิการ แนวคิดนีเ้ ริม่ ถูกใช้ ในวงกว้างตัง้ แต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา แต่โดยรวมถือว่ายังเป็นเรือ่ งทีค่ น รู้จักกันน้อยมาก (เอลคิงตันและฮาร์ติแกน, 2552) นิยามและลักษณะเฉพาะของ “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” ผลการทบทวนวรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวกับนิยามของผู้ประกอบการเพื่อ สังคมต่างกล่าวไปในทางเดียวกันว่า ความหมายของคำ�ว่าผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม ยังมีความหลากหลายและไม่มีการกำ�หนดหลักเกณฑ์เป็นสากลในการระบุว่าใคร คือผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม ตลอด 30 ปีทผี่ า่ นมามีการนิยาม “ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม” ที่แตกต่างกันไปหลายชุด จึงมีความพยายามในการทำ�ให้ภาพของผู้ ประกอบการเพือ่ สังคมชัดเจนขึน้ ผ่านการวิเคราะห์ลกั ษณะเด่นของผูป้ ระกอบการ เพื่อสังคมผ่านนิยามและกรณีศึกษาต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ซาเมอร์ อาบูไซฟาน (Samer Abu-saifan) ได้ทำ�การวิเคราะห์นิยามระหว่าง “ผู้ประกอบการทั่วไป” โดยเน้นมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ และ “ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม” ในศตวรรษที่ 20 ชนิดละ 7 นิยาม และสกัดลักษณะเฉพาะตัวและลักษณะที่เหมือนกันจาก นิยามเหล่านั้น พร้อมทั้งนำ�มาเปรียบเทียบกัน ดังแสดงใน ตาราง 1 tessori) แพทย์หญิงผู้ริเริ่มพัฒนาระบบการศึกษาสำ�หรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และคนหูหนวกให้มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กปกติช่วงต้นศตวรรษที่ 20


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

35

ตาราง 1 ลักษณะเฉพาะตัวและลักษณะที่เหมือนกันระหว่างผู้ประกอบการทั่วไป และผู้ประกอบการเพื่อสังคม ลักษณะเฉพาะตัวของ ผู้ประกอบการทั่วไป •  ผู้สร้างความสำ�เร็จ (high achiever) •  ผู้ยอมรับความเสี่ยง (risk bearer) • นักจัดการ (organizer) •  นักคิดวางกลยุทธ์ (strategic thinker) •  ผู้สร้างสรรค์คุณค่า (value creator) •  นกั บริหารแบบองค์รวม (holistic) •  ผู้ที่สามารถฉวยโอกาสทำ�กำ�ไร จากสถานการณ์ที่ไร้ความเสี่ยง (arbitrageur)

ลักษณะที่เหมือนกันระหว่าง ผู้ประกอบการทั่วไปและ ผู้ประกอบการเพื่อสังคม •  ผู้สร้างนวัตกรรม (innovator) • อุทิศตน (dedicated) • นักริเริ่ม (initiative taker) • ผู้นำ� (leader) •  ตื่นตัวกับโอกาสรอบตัว (opportunity alert) • หัวรั้น (persistent) •  มคี วามมุง่ มัน่ ทุม่ เท (committed)

ลักษณะเฉพาะตัวของ ผู้ประกอบการเพื่อสังคม •  ผู้นำ�ทางพันธกิจ (mission leader) •  มีอารมณ์เป็นแรงผลักดัน (emotionally charged) •  ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง (change agent) •  ผู้นำ�ที่รับฟังความคิดเห็น (opinion leader) •  ผู้สร้างคุณค่าทางสังคม (social value creator) •  ตื่นตัวกับประเด็นทางสังคม (socially alert) • ผู้จัดการ (manager) • มีวิสัยทัศน์ (visionary) •  มีความรับผิดสูงมาก (highly accountable)

ที่มา: Abu-Saifan (2012)

ผลการศึกษาเปรียบเทียบคำ�นิยามและลักษณะเฉพาะตัวดังกล่าวข้างต้นนำ�มา สูข่ อ้ เสนอคำ�นิยามว่า “ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม” คือ “บุคคลทีม่ พี นั ธกิจทางสังคม เป็นตัวขับเคลือ่ นโดยใช้หลักการของผูป้ ระกอบการ ในการส่งมอบมูลค่าทางสังคม ให้แก่กลุม่ ผูด้ อ้ ยโอกาสกว่า ผ่านการประกอบการทีม่ อี สิ รภาพด้านการเงิน สมบูรณ์ ในตัวเองและมีความยั่งยืน” (Abu-Saifan, 2012) และเสนอว่าเป้าหมายสูงสุด ของผูป้ ระกอบการทัว่ ไปคือการสร้างความมัง่ คัง่ ทางเศรษฐกิจ ในขณะทีผ่ ปู้ ระกอบ การเพื่อสังคมจะให้ความสำ�คัญกับพันธกิจทางสังคมที่วางไว้ อย่างไรก็ดี ตารางข้างต้นมิอาจสรุปได้ว่าเป็นรายการมาตรฐานในการระบุ ความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม เนื่องจากยังมีอีกหลากหลายแนวคิดเกี่ยวกับ


36

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

คุณสมบัตขิ องผูป้ ระกอบการและผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม เช่น การเป็นผูม้ คี วามคิด สร้างสรรค์ (creativity) ผูส้ ร้างความเปลีย่ นแปลง (transformatory) ผูส้ ร้างแรง บันดาลใจ (inspired) ผูล้ งมือทำ� (direct action) ผูม้ คี วามกล้า (courage) และ มีความอดทนยิ่ง (fortitude) ซึ่งล้วนแล้วแต่คาบเกี่ยวกับตารางที่นำ�เสนอข้างต้น นิยามที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับ “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” มักมาจากมูลนิธิขนาดใหญ่ที่ผลักดันและสนับสนุนแนวความคิดเกี่ยวกับการ ประกอบการเพือ่ สังคมและเน้นการสร้างเครือข่ายผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมทัว่ โลก องค์กรที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ได้แก่ องค์กรอโชก้า: ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม (Ashoka: Innovators for the Public) ก่อตั้งเมื่อปี  ค.ศ. 1980 โดย บิล เดรย์ตัน อโชก้า​ทำ�งานกับ ผู้ประกอบการเพื่อสังคมแนวหน้าหรือเรียกว่า อโชก้า เฟล­โลวส์ (Ashoka Fellows) กว่า 3,000 คน ใน 70 กว่าประเทศทั่วโลก อโชก้าให้ความหมายของ ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมว่า “บุคคลทีม่ วี ธิ กี ารใหม่ในการแก้ปญ ั หาสังคมทีเ่ ร่งด่วน บุคคลเหล่านีม้ คี วามมุง่ มัน่ และยืนหยัดในการแก้ไขปัญหาทีส่ �ำ คัญและเสนอแนวคิด ใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในวงกว้าง แทนที่จะปล่อยให้การแก้ปัญหา สังคมเป็นหน้าที่ของภาครัฐหรือภาคธุรกิจ” (Ashoka ประเทศไทย, ม.ป.ป.) ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีจำ�นวนผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ได้รับยกย่องให้เป็น อโชก้า เฟลโลวส์ จำ�นวน 105 คน (กรวรวัฎฐ์ วรรัตนวงศ์, 2559) มูลนิธชิ วาบเพือ่ การประกอบการเพือ่ สังคม (Schwab Foundation for Social Entrepreneurship) ก่อตัง้ ขึน้ ใน ค.ศ. 1998 โดย คลอส และฮิลเด ชวาบ (Klaus & Hilde Schwab) มีพันธกิจคือการเฟ้นหาผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ เปี่ยมด้วยนวัตกรรม สามารถแสดงวิธีแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการเพื่อสังคมตามความหมายของมูลนิธิชวาบหมายถึง “บุคคลที่ขับ เคลือ่ นนวัตกรรมทางสังคมและสร้างการเปลีย่ นแปลงทางสังคมในหลากหลายสาขา ได้แก่ การศึกษา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนากิจการ พวกเขามุ่งเป้าไปที่ การบรรเทาความยากจนโดยใช้จติ วิญญาณของผูป้ ระกอบการและกระบวนการทาง ธุรกิจสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ก้าวข้ามแนวปฏิบัติแบบดั้งเดิม” ใน ค.ศ. 2015 มี ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมทีไ่ ด้รบั คัดเลือกเป็นสมาชิกเครือข่ายจำ�นวน 31 คน จาก 25 องค์กรใน 45 ประเทศทั่วโลก (Schwab Foundation, 2015)


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

37

มูลนิธิสกอล (Skoll Foundation) ก่อตั้งโดย เจฟฟ์ สกอล (Jeff Skoll) ผูร้ ว่ มก่อตัง้ อีเบย์ (eBay) มูลนิธสิ กอลมีโครงการมอบรางวัลสกอล (Skoll Awards) เป็นเงินทุนสนับสนุนสำ�หรับผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมทีไ่ ด้รบั คัดเลือกเป็นประจำ�ทุกปี ผู้ประกอบการเพื่อสังคมในความหมายของมูลนิธิสกอล หมาย​ถึง “ผู้สร้างความ เปลี่ยนแปลงทางสังคม (society’s change agent) และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระบบของโลก” (Skoll Foundation, n.d.) หากลองพิจารณาจากการคัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อสังคมเข้าเป็นเครือข่าย สมาชิกองค์กร จะพบว่าแต่ละองค์กรนิยามความเป็นผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมตาม คุณลักษณะดังตาราง 2 ตาราง 2 คุณสมบัติของผู้ประกอบการเพื่อสังคมในมุมมองขององค์กรอโชก้า มูลนิธิชวาบ และมูลนิธิสกอล องค์กรอโชก้า (ก่อตั้ง ค.ศ. 1980) •  วิธีการใหม่ที่นำ�ไปสู่นวัตกรรม และมีศักยภาพในการแก้ปัญหา ได้จริง (a new idea that leads to innovation and real change potential) •  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (creative) •  ทักษะการประกอบการ (entrepreneurial quality) •  ความคิดใหม่นั้นสร้างผลกระทบ ทางสังคม (social impact of the idea) • มีจริยธรรม (ethical fiber)

มูลนิธิชวาบ (ก่อตั้ง ค.ศ. 1998) • นวัตกรรม (innovation) •  ความยั่งยืน (sustainability) •  การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวง กว้าง (reach) •  ผลลัพธ์ทางสังคม (social impact)

มูลนิธิสกอล (ก่อตั้ง ค.ศ. 1999) •  ความทะเยอทะยาน (ambitious) •  ขับเคลื่อนด้วยพันธกิจ (mission driven) • นักวางกลยุทธ์ (strategic) •  ความสามารถในการระดม ทรัพยากร (resourceful) •  มุ่งเน้นผลลัพธ์ (results oriented)

ความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ผู้ประกอบการเพื่อสังคมพึงมีและทั้งสาม องค์กรข้างต้นต่างเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกัน คือ ความสามารถในการสร้าง


38

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ผลลัพธ์ทางสังคมโดยใช้จติ วิญญาณของผูป้ ระกอบการทางธุรกิจ สามารถแก้ปญ ั หา สังคมโดยการสร้างนวัตกรรมที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงระบบไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้ งานวรรณกรรมปริทัศน์อีกชิ้นเสนอว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการเพื่อสังคมให้ความ สำ�คัญเป็นลำ�ดับแรกคือ ผลประโยชน์หรือคุณค่าทางสังคม และนั่นคือสิ่งที่ทำ�ให้ ผู้ประกอบการเพื่อสังคมมีความแตกต่างจากผู้ประกอบการทั่วไป (Martin & Osberg, 2007) การประกอบการเพือ่ สังคมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. สามารถมองเห็นความอยุติธรรมในจุดสมดุล (unjust equilibrium) อัน ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม เช่น คุณภาพชีวิตของประชากรด้อยโอกาส ซึ่งเป็น จุดที่ระบบปัจจุบันคลี่คลายปัญหาไม่ได้ 2. สามารถระบุโอกาสในการพัฒนาคุณค่าทางสังคมจากจุดสมดุลอันน่า ขุ่นเคืองนั้นได้ 3. ลงมืออย่างเต็มกำ�ลังในการเคลือ่ นย้ายจุดสมดุลของระบบไปสูส่ ถานะอืน่ ที่ ใช้การได้ดีกว่าเดิม เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของกลุ่มเป้าหมายและสังคมในวงกว้าง ขอบเขตของการประกอบการเพื่อสังคม จากข้อโต้แย้งอย่างไม่มีที่สิ้นสุดว่าใครคือผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่แท้จริง และจากแนวความคิดที่หลากหลายรวมถึงขอบเขตที่ทับซ้อนและเกี่ยวข้องกับ หลากสาขาทำ�ให้ความเข้าใจในบริบทของผู้ประกอบการเพื่อสังคมแตกต่างกันไป แล้วแต่กลุ่มคน บ้างมองว่าการประกอบการเพื่อสังคมเป็นการวางกลยุทธ์การ หาเงินลงทุนและการจัดการแผนงานสร้างคุณค่าทางสังคมโดยไม่แสวงหากำ�ไร บาง กลุ่มมองว่าคือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน แนวคิดนี้ เช่น อโชก้า และมูลนิธิชวาบ มองว่าเป็นการสร้างนวัตกรรมทางสังคม เพื่อบรรเทาปัญหาและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Mair & Marti, 2005) เหล่าผู้ประกอบการเพื่อสังคมมาจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอาสา­ สมัคร (Leadbeater, 1997) และทำ�งานในกิจการหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ องค์กรการกุศลไปจนถึงธุรกิจเชิงพาณิชย์ แต่เนือ่ งจากตลาดทีท่ �ำ งานนัน้ เป็นตลาด ทีย่ งั ไม่โตเต็มที่ รูปแบบการประกอบการสังคมจึงมักจะค่อนไปทางองค์กรไม่แสวงหา กำ�ไร (เอลคิงตันและฮาร์ติแกน, 2552) ส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงความหมาย


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

39

ภาคเอกชน (private sector)

ภาครัฐ (public sector)

ภาคอาสาสมัคร (volunteer sector)

แผนภาพ 2 แหล่งที่มาของผู้ประกอบการเพื่อสังคม ที่มา: Leadbeater (1997, p. 10)

ระหว่าง นักการกุศล (philanthropist) นักเคลือ่ นไหวทางสังคม (social activist) นักสิ่งแวดล้อม (environmentalist) และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมอื่น ๆ (socially-oriented practitioner) กับผู้ประกอบการเพื่อสังคม มูลนิธิสกอลเสนอว่า นิยามของ “การประกอบการเพื่อสังคม” ไม่ควรหมาย รวมถึงผู้มีจิตกุศล (เน้นการบริจาค) นักเคลื่อนไหวทางสังคม มูลนิธิของบริษัท หรือองค์กรทีแ่ สดงความรับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์ทอี่ ธิบายในบทที่ 2.1 ของ รายงานฉบับนี้) ถึงแม้บุคคลและนิติบุคคลเหล่านั้นจะสร้างคุณค่าทางสังคมแต่ก็ ไม่นับว่าเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Abu-Saifan, 2012) กิจกรรมเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อมบางกิจกรรมถึงแม้จะสร้างผลประโยชน์ให้สังคมอย่างมากจริง แต่ ก็ยงั ไม่สอดคล้องกับแนวความคิดของการเป็นผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม ดังนัน้ หาก เราไม่สามารถระบุขอบเขตของผู้ประกอบการเพื่อสังคมได้ การให้คำ�นิยามคำ�ว่า “ผู้ ป ระกอบการเพื่อสังคม” ก็ไ ม่มีความหมาย การกำ � หนดขอบเขตของการ ประกอบการเพือ่ สังคมออกจากกิจกรรมทีม่ งุ่ เน้นด้านสังคมและสิง่ แวดล้อมจะช่วย ให้การนิยามชัดเจนยิ่งขึ้น


40

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

การระบุขอบเขตของ “การประกอบการเพื่อสังคม” เทียบกับกิจกรรมทางสังคมอื่น ๆ รูปแบบของ “กิจกรรมทีม่ คี ณ ุ ค่าต่อสังคม” ทีจ่ �ำ เป็นต้องแยกออกจาก “การ ประกอบการเพื่อสังคม” มี 2 รูปแบบหลักด้วยกัน (Martin & Osberg, 2007) ได้แก่ การบริการสังคม (social service provision) และ การเคลื่อนไหวทาง สังคม (social activism) โดยแยกตามธรรมชาติของการปฏิบตั แิ ละผลลัพธ์ทเี่ กิด ขึ้นจากกิจกรรมนั้น ๆ ดังแสดงในแผนภาพ 3 จากแผนภาพ 3 จะเห็นว่า ความแตกต่างระหว่าง “การบริการทางสังคม” กับ “การประกอบการเพือ่ สังคม” อยูท่ ผี่ ลลัพธ์ของกิจกรรม ผลลัพธ์ของกิจกรรม ทางสังคมจากการบริการทางสังคมอยู่ในวงจำ�กัด ไม่อาจตอบสนองความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง แตกต่างจาก “การประกอบการเพื่อสังคม” ซึ่งเป็น​การมุ่งเปลี่ยนแปลงทั้งระบบในสังคมและสามารถขยายขนาดผลกระทบ (scaling) ให้องค์กรอื่น ๆ นำ�นวัตกรรมทางสังคมไปเผยแพร่ ทำ�ซํ้า และขยายผล จนกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในสังคมได้ (สินี จักรธรานนท์, 2559) ยกตัวอย่าง เช่น การสร้างโรงเรียนสำ�หรับเด็กกำ�พร้าที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) นับเป็น “การ บริการทางสังคม” หากเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายคือเด็ก กำ�พร้าทีต่ ดิ เชือ้ เอชไอวีเพียงกลุม่ เดียวในพืน้ ทีใ่ ดพืน้ ทีห่ นึง่ เท่านัน้ แต่ผทู้ ใี่ ช้แนวคิด “การประกอบการเพื่อสังคม” จะพยายามแก้ไขระบบที่ขัดข้องในสังคมทำ�ให้เกิด ผลลัพธ์ทจี่ ดุ สมดุลใหม่ เด็กกำ�พร้าผูต้ ดิ เชือ้ จะยังสามารถเข้าถึงการศึกษาได้เหมือน เดิม แม้โรงเรียนอาจปิดตัวลงไป ปัญหาสังคมนัน้ ก็ยงั ได้รบั การแก้ไขอย่างต่อเนือ่ ง ความแตกต่างระหว่าง “การเคลื่อนไหวทางสังคม” กับ “การประกอบ­การ เพือ่ สังคม” อยูท่ วี่ ธิ ปี ฏิบตั งิ าน ถึงแม้จะมีแรงผลักดันอย่างแรงกล้าในการแก้ปญ ั หา สังคมและผลลัพธ์ของการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ประสบความสำ�เร็จนั้นสามารถ สร้างจุดสมดุลใหม่ได้เหมือนกัน แต่กลยุทธ์ในการดำ�เนินงานของกลุ่มเคลื่อนไหว ทางสังคมจะให้ความสำ�คัญกับการโน้มน้าวผู้อื่นให้แก้ไขปัญหาสังคมมากกว่าการ ลงมือปฏิบัติเอง และทำ�ให้กิจกรรมนั้นยั่งยืน กล่าวได้วา่ ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมจะลงมือปฏิบตั โิ ดยตรงในการแก้ไขปัญหา สังคมทีต่ นสนใจตอบสนองความต้องการของกลุม่ เป้าหมาย ก่อให้เกิดการเปลีย่ นแปลงระบบและสร้างผลกระทบในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็นจริง


ทางตรง

การบริการสังคม (Social Service Provision)

41

การประกอบการเพื่อ สังคม (Social Entrepreneurship)

การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Activism)

ทางอ้อม

ธรรมชาติของการปฏิบัติ (Nature of Action)

“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

ระบบเดิม (รักษาและพัฒนาปรับปรุง)

จุดสมดุลใหม่ (สร้างและรักษา)

ผลลัพธ์ (Outcomes) แผนภาพ 3 รูปแบบของงานที่เกี่ยวกับภาคสังคม (Pure Forms of Social Engagement) ที่มา: Martin & Osberg (2007)

มี ร ะบบที่ ซั บ ซ้ อ นกว่ า มาก หลายองค์ ก รใช้ แ นวคิ ด การทำ � งานเพื่ อ สั ง คมและ สิ่งแวดล้อมในรูปแบบผสม เช่น มูฮัมหมัด ยูนูส (Muhammad Yunus) ผู้ก่อตั้ง ธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ได้ใช้แนวคิดการประกอบการเพือ่ สังคมในการ สร้างระบบและใช้การเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นตัวเร่งและขยายผลลัพธ์ทางสังคม การระบุขอบเขตการด�ำเนินงานของการประกอบการสังคม บนสเปกตรัมของความเป็นผู้ประกอบการ อาบูไซฟาน (Abu-Saifan, 2012) ได้น�ำ เสนอแบบจำ�ลองขอบเขตการทำ�งาน ของการประกอบการเพื่อสังคมโดยแบ่งตามกลยุทธ์การปฏิบัติงานของผู้ประกอบ การเพือ่ สังคม โดยใช้หลักแนวคิดความเป็นผูป้ ระกอบการ คือ การดำ�เนินการแบบ


42

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ไม่แสวงกำ�ไร

แสวงกำ�ไร ผู้ประกอบการเพื่อสังคม

องค์กรที่ ไม่แสวงกำ�ไร ที่มีกลยุทธ์การ หารายได้ การเติบโตของพันธกิจทางสังคม การพึ่งพิง ภายนอก

การพึ่งพา ตัวเองได้

ผู้ประกอบการ

องค์กรที่แสวง กำ�ไรที่มีกลยุทธ์ ขับเคลื่อนพันธ­ กิจทางสังคม การเติบโตของกำ�ไร

ความยั่งยืนทางการเงิน

แผนภาพ 4 ขอบเขตการทำ�งานของการประกอบการเพือ่ สังคม แบ่งตามกลยุทธ์การปฏิบตั งิ าน ที่มา: Abu-Saifan (2012)

แสวงหากำ�ไร (for-profit) และไม่แสวงหากำ�ไร (non-profit) ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมจะดำ�เนินการภายใต้ขอบเขตกลยุทธ์หลัก 2 แนวทาง ได้แก่ 1. การดำ � เนิ น การแบบไม่ แ สวงหากำ � ไรแต่ มี ก ลยุ ท ธ์ ก ารหารายได้ (non-profit with earned income strategies) คือ มีการทำ�กิจกรรม ทางการค้าเพือ่ ให้องค์กรสามารถอยูไ่ ด้ดว้ ยตัวเอง (self-sufficiency) ไม่ตอ้ งพึง่ พา อาศัยเฉพาะแต่เงินทุนหรือเงินบริจาค รายได้และกำ�ไรที่ได้จะนำ�ไปใช้เพื่อส่งมอบ คุณค่าทางสังคมต่อไป ซึ่งได้แบ่งลักษณะการประกอบการแยกย่อยลงไปอีกสอง ลักษณะ คือ การประกอบการทีย่ งั ต้องพึง่ พิงการเงินจากภายนอก เช่น มูลนิธติ า่ ง ๆ อย่างมูลนิธผิ ปู้ ว่ ยมะเร็ง และองค์กรการกุศล Salvation Army และการประกอบ การที่พึ่งพารายได้ของตนเองได้ เช่น กิจการเพื่อสังคม Proximity Designs,


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

43

อโชก้า และองค์กรการกุศล Goodwill ฯลฯ 2. การดำ�เนินการแบบแสวงหากำ�ไรพร้อมกลยุทธ์ที่มีพันธกิจเป็นตัวขับ เคลื่อน (for-profit with mission-driven strategies) คือ การดำ�เนินการ เพื่อให้องค์กรเกิดความยั่งยืน (sustainability) โดยมีพันธกิจทางสังคมเป็น ตั ว ขั บ เคลื่ อน องค์ก รมีอิสรภาพทางการเงิน ผู้ ก่ อ ตั้ ง หรื อ ผู้ ล งทุ น สามารถรั บ ผลประโยชน์ในรูปของตัวเงินจากการดำ�เนินงานขององค์กร เช่น กิจการเพือ่ สังคม อย่าง DripTech, Revolution Foods หรือธนาคารกรามีน และต่างจากการ ประกอบการของธุรกิจทัว่ ไปทีก่ ารมีพนั ธกิจทางสังคมเป็นตัวขับเคลือ่ นและดำ�เนิน การโดย “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” ไม่ใช่ผู้ประกอบการธุรกิจทั่วไป แบบจำ�ลอง ดังกล่าวแสดงในแผนภาพ 4 จะเห็นได้ว่าทั้งสองกลยุทธ์ข้างต้น ผู้ประกอบการจะต้องบริหารจัดการด้าน พันธกิจทางสังคมและการแสวงหารายได้ควบคู่กันไป แต่การดำ�เนินการแบบแรก เป็นการส่งมอบคุณค่าต่อสังคมเป็นหลักโดยสามารถหารายได้ดว้ ยตนเอง ส่วนแบบ ทีส่ องนัน้ เน้นการแสวงหาความยัง่ ยืนทางการเงิน โดยให้ความสำ�คัญกับคุณค่าทาง สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างทัดเทียมกับคุณค่าทางเศรษฐกิจ ปัจจุบัน แนวความคิดเรื่องการประกอบการเพื่อสังคมขยายออกไปสู่วงกว้าง มากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษที่มีกฎหมายรองรับการดำ�เนินกิจการตาม แนวคิดนี้อย่างเป็นรูปธรรม ประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างในทวีปลาตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย ที่ระบบรัฐสวัสดิการยังไม่เข้มแข็งนัก ก็มีองค์กรขนาดใหญ่ ทีเ่ กิดจากผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมในการแก้ปญ ั หาสังคมหลากหลายประเด็น ส่วน ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวคิดนีไ้ ด้วางรากความคิดไปสูก่ จิ กรรมเพือ่ สังคมต่าง ๆ  มากขึ้น (Leadbeater, 2007) ตลาดที่มีฐานแนวความคิดการประกอบการเพื่อ สังคมมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อย่างสูงในอนาคต เนื่องจากวิกฤตที่เกิดขึ้นบนโลก ใบนีจ้ �ำ เป็นต้องใช้โมเดลธุรกิจแบบ “ทุนนิยมก้าวหน้า” ทีอ่ าศัยความร่วมมืออย่าง แนบแน่นระหว่างธุรกิจ ภาครัฐ ชุมชน และองค์กรพัฒนาเอกชนในการพัฒนาไป ในวิถีทางที่ยั่งยืนโดยการเกื้อหนุนของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่าง สมดุล แต่ความท้าทายในการดำ�เนินแนวคิดนีค้ อื นวัตกรรมทางสังคมจำ�นวนมาก ซึง่ เป็นเครือ่ งมือของผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมยังไม่เติบโตหรือขยายขนาดผลกระทบ


44

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ในการแก้ปัญหาสังคม (scaling impact) ได้อย่างรวดเร็วทันสถานการณ์ (สินี จักรธรานนท์, 2559) เนือ่ งจากผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมหลายคนไม่มที นุ และทักษะ การบริหารจัดการ องค์กรพัฒนาเอกชนหลายแห่งจึงเกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้ ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมสามารถขยายผลกระทบของนวัตกรรมทีพ่ วกเขาใช้ ให้เกิด การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง 2.3 กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise/Social Venture) หากจะกล่าวถึงกิจการเพือ่ สังคมและธุรกิจเพือ่ สังคม ก็คงหลีกเลีย่ งไม่ได้ท​ จี่ ะกล่าว ถึงแนวคิด “เศรษฐกิจเชิงสังคม” ซึ่งเป็นเศรษฐกิจในภาคส่วนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ รัฐหรือตลาด แต่เกี่ยวข้องกับภาคประชาสังคม แนวคิดดังกล่าวถูกนำ�เสนอเป็น ครั้งแรกในหนังสือ เศรษฐกิจและสังคม (Economy and Society, 1978) โดย แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ในขณะทีเ่ ยเกอร์ (Jäger, 2010) เสนอว่ารากของ ธุรกิจเพือ่ สังคมริเริม่ ตัง้ แต่การก่อตัง้ สหกรณ์ราวกลางศตวรรษที่ 18 กระแสการค้า ที่เป็นธรรม ระหว่าง ค.ศ. 1940–1950 ความร่วมมือในการพัฒนาสังคมช่วง ประมาณ ค.ศ. 1970 รวมถึงแนวโน้มของการเป็นธุรกิจขององค์กรไม่แสวงหากำ�ไร ประมาณ ค.ศ. 1980 โดยมีสาเหตุมาจากที่รัฐบาลลดจำ�นวนเงินอุดหนุนและเงิน บริจาคจากสาธารณชนลดลง เมื่อการดำ�เนินธุรกิจในระบบตลาดและกิจกรรมที่ดำ�เนินการโดยภาครัฐไม่ สามารถตอบสนองความต้องการทางสังคมได้ทกุ ประการ ความท้าทายจากปัญหา เช่น การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ และวิกฤตการณ์ทางการเงิน ได้สร้างความ กังขาต่อกระบวนทัศน์ของระบบธุรกิจแบบเก่าที่การสร้างกำ�ไรคือเป้าหมายสูงสุด ว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรจะให้ความสำ�คัญกับมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่ ยิง่ หย่อนไปกว่ากัน (Hackett, 2010) กิจการเพือ่ สังคมจึงเกิดขึน้ ด้วยความมุง่ หวัง ที่จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างนี้ โดยที่ระบบกฎหมาย การเมืองและการปกครอง ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณี เป็นปัจจัยทีส่ ง่ ผลให้พฒ ั นาการของกิจการเพือ่ สังคม แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละประเทศ (OECD, n.d.) เช่นเดียวกับนานาประเทศ การแก้ไขปัญหาทางสังคมที่ผ่านมาของประเทศ​


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

45

ไทยจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ประสบข้อจำ�กัดด้านประสิทธิภาพ นวัตกรรม และแหล่งเงินทุน รวมถึงขาดความรับผิดชอบทางสังคม ทำ�ให้ไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ทางสังคมได้ดังที่ต้องการ (สำ�นักงานเลขาธิการสภา ผูแ้ ทนราษฎร, 2558) กิจการเพือ่ สังคมจึงได้รบั ความสนใจจากทุกภาคส่วนมากขึน้ เรือ่ ย ๆ ทัง้ จากผูป้ ระกอบการรุน่ ใหม่ ภาครัฐทีก่ �ำ ลังผลักดันกฎหมายและมาตรการ ภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม ธุรกิจที่อยากสร้างคุณค่าทางสังคมมากกว่า การทำ�กิจกรรมซีเอสอาร์ และผู้บริโภคที่มองหาสินค้าที่มีส่วนสร้างสรรค์สังคมให้ ดีขึ้นเป็นทางเลือกในการจับจ่าย (ภัทราพร แย้มละออ, 2559) นิยามของกิจการเพื่อสังคม ในช่วงก่อนทศวรรษที่ 1990 คำ�ว่า “กิจการเพื่อสังคม” ปรากฏในหลาย ภูมิภาคทั่วโลก โดยมีการใช้อย่างแพร่หลายในยุโรปและสหรัฐอเมริกามากกว่า ภูมิภาคอื่น ๆ กิจการเพื่อสังคมมีพัฒนาการมาจากแนวคิด “ภาคส่วนที่สาม” 2 (หรือ “third sector”) (เกวลิน มะลิ, 2557) แท้จริงแล้วการดำ�เนินกิจกรรมใน รูปแบบของผูป้ ระกอบการนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งใหม่ส�ำ หรับภาคขององค์กรไม่แสวงหากำ�ไร ที่ปรับเปลี่ยนยุทธวิธีเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคมที่ทั้งภาครัฐและภาค เอกชนไม่สามารถตอบโจทย์ได้ อย่างไรก็ดี กิจการเพือ่ สังคมมิได้เป็นเพียงกระบวนการสำ�หรับองค์กรไม่แสวงหากำ�ไรเท่านัน้ แต่ยงั เป็นรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แบบใหม่ที่มุ่งแก้ปัญหาสังคมที่ไม่ได้จำ�กัดอยู่ภายใต้องค์กรไม่แสวงหากำ�ไรเพียง อย่างเดียว (Defourny & Kim, 2011) ลักษณะการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำ�ให้กิจการเพื่อสังคมมีความ เชื่อมโยงกับคำ�ว่า “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” (ดูรายละเอียดในบทที่ 2.2 ของ รายงานฉบับนี้) ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงว่าควรนิยามกิจการเพื่อสังคมเป็นสาขาย่อย ของผู้ประกอบการเพื่อสังคมหรือไม่ อย่างไรก็ตาม มีการให้ความหมายแสดงข้อ แตกต่างระหว่างกิจการเพื่อสังคมและผู้ประกอบการเพื่อสังคมว่า ขณะที่ความ ภาคส่วนทีส่ าม หมายถึง ภาคส่วนของกิจการเพือ่ สังคม เป็นภาคส่วนทีเ่ พิม่ เติมจากทีม่ อี ยูเ่ ดิม คือ ภาคแรกหมายถึงภาครัฐ และภาคส่วนที่สองหมายถึงภาคเอกชน (Nise Corporation, 2557) 2


46

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

หมายของ “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” มุ่งเน้นไปที่ บุคคล ผู้ริเริ่มสร้างนวัตกรรม ของธุรกิจเพือ่ สังคม “กิจการเพือ่ สังคม” ให้ความสำ�คัญกับโครงสร้างของ องค์กร เป็นหลัก (Nicholls & Cho, 2006 อ้างใน Hackett, 2010) นอกจากนี้ กิจการ เพื่อสังคมได้รับการสื่อความหมายว่าเป็นเครื่องมือรูปแบบหนึ่งของผู้ประกอบการ เพือ่ สังคม ซึง่ ในกรณีนสี้ มาคมกองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศลของยุโรป หรือ European Venture Philanthropy Association (EVPA) ระบุว่า กิจการเพื่อสังคม สามารถอธิบายได้ด้วยเงื่อนไข 3 ประการ ได้แก่ 1) มุ่งสร้างคุณค่าให้กับสังคม  2) ตอบสนองความล้มเหลวของภาครัฐและตลาดด้วยกลไกแบบใหม่ และ 3) เสนอ ทางแก้ปัญหาด้วยระบบตลาดในวิธีที่สร้างสรรค์ (Maretich & Bolton, 2010) ปัจจุบัน นิยามของกิจการเพื่อสังคมยังเป็นที่ถกเถียงกันทั้งในแวดวงวิชาการ ภาครัฐ และภาคธุรกิจ และมีความแตกต่างกันตามการพัฒนาและบริบทของแต่ละ พื้นที่ โดยไม่มีนิยามเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก (Hackett, 2010; OECD, n.d.; Maretich & Bolton, 2010; Kerlin, 2013; Jeong, 2015) การ ศึกษาวิจัยเรื่องแนวคิดของธุรกิจเพื่อสังคมหรือกิจการเพื่อสังคมยังนับว่าเป็นเรื่อง ที่ค่อนข้างใหม่ (Hopper, 1990; Hyde, 2000) งานวิจัยล่าสุดนำ�เสนอว่ามีการ ให้นิยามธุรกิจเพื่อสังคมหรือกิจการเพื่อสังคมมากถึง 27 นิยาม (Brouard & Larivet, 2011) ทัง้ นี้ วรรณกรรมจำ�นวนมากมีการเรียกธุรกิจเพือ่ สังคมรวม ๆ ว่า กิจการเพื่อสังคม (Nyssens, 2006) ความหมายของ “กิจการเพื่อสังคม” และ “ธุรกิจเพื่อสังคม” ที่ระบุในวรรณกรรมหลายชิ้นให้ความหมายกับสองคำ�นี้คล้าย​ คลึงกันหรือเหมือนกัน อย่างไรก็ดี นิยามของกิจการเพือ่ สังคมและธุรกิจเพือ่ สังคมทีใ่ ช้โดยองค์กรต่าง ๆ  หรือระบุในวรรณกรรมต่าง ๆ มีความใกล้เคียงกันในแง่ของการเป็นกิจการธุรกิจที่ ดำ�เนินการเพื่อเป้าหมายทางสังคม ตัวอย่างเช่น “กิจการเพือ่ สังคม คือ ธุรกิจไม่แสวงหากำ�ไร ทีค่ วบรวมเป้าหมายทางสังคม กับระเบียบวิธี นวัตกรรม และความมุ่งมั่น แบบธุรกิจที่แสวงหากำ�ไร” —The Nonprofit Good Practice Guide (2009 อ้างใน Hackett, 2010)


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

47

“กิจการเพื่อสังคม คือ ธุรกิจใด ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป้าหมายทางสังคม กล่าวคือบรรเทาปัญหาสังคมหรือปัญหาจากความล้มเหลวของตลาด และเพื่อสร้างคุณค่าทางสังคม ควบคู่กับการดำ�เนินกิจการด้วยระเบียบ วิธีแบบธุรกิจในภาคเอกชน” —อัลเตอร์ (Alter, 2007 อ้างใน Hackett, 2010)

“กิจการเพื่อสังคม คือ กิจการที่มีเป้าหมายทางสังคมเป็นพื้นฐาน และ ส่วนเกินจากการดำ�เนินกิจการจะนำ�กลับไปลงทุนทั้งในธุรกิจและชุมชน เพื่อจุดประสงค์ทางสังคมที่ระบุไว้ มากกว่าการมุ่งสร้างผลกำ�ไรสูงสุดให้ แก่เจ้าของและผู้ถือหุ้น” —รัฐบาลสหราชอาณาจักร (British Government, 2002 อ้างใน Giulia & Borzaga, 2009)

“กิจการเพือ่ สังคม คือ ผูด้ �ำ เนินงานในเศรษฐกิจเพือ่ สังคม ซึง่ มีจดุ ประสงค์ หลักในการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมมากกว่าการสร้างกำ�ไรแก่เจ้าของและ ผู้ถือหุ้น กิจการเพื่อสังคมดำ�เนินการจัดหาสินค้าและบริการในรูปแบบ ของการประกอบกิจการ เพือ่ จำ�หน่ายในตลาด และนำ�กำ�ไรทีไ่ ด้ไปใช้เพือ่ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กิจการเพื่อสังคมดำ�เนินงานอย่างโปร่งใส และรับผิดชอบ ที่สำ�คัญส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการค้า” —Social Business Initiative (SBI) อ้างใน European Commission (2014)

“กิจการเพื่อสังคม คือ ธุรกิจหรือองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม และ/หรือ สิง่ แวดล้อม โดยมีรายได้หลักมาจากการค้าหรือการให้บริการ (มากกว่าการรับบริจาค) เพือ่ พึง่ พาตนเองทางการเงินได้ และนำ�ผลกำ�ไร ที่เกิดขึ้นไปลงทุนซํ้าเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมที่ตั้งไว้ กิจการเพื่อ


48

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

สังคมเป็นการเชือ่ มโยงจุดแข็งของสองภาคส่วน คือ การจัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพของภาคธุรกิจเอกชนกับการมีความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจทีจ่ ะแก้ไขปัญหา ของภาคสังคม เพื่อทำ�ให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหาที่มีนวัตกรรมและมี ความยั่งยืน” —สำ � นั ก งานสร้ า งเสริ ม กิ จ การเพื่ อ สั ง คมแห่ ง ชาติ (พ.ศ. 2554–2558) อ้ า งใน ภัทราพร แย้มละออ (2559)

“ธุรกิจเพื่อสังคม คือ ธุรกิจที่มีเป้าหมายที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและ ความกินดีอยูด่ โี ดยใช้ธรุ กิจเป็นสือ่ กลาง โดยมีหวั ใจคือการแบ่งสันปันส่วน สินทรัพย์ขาดแคลนให้สามารถสร้างผลตอบแทนสูงสุดโดยคำ�นึงถึงความ ยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม” —เบเกอร์ (Baker, 2011)

“ธุรกิจเพื่อสังคม คือ ธุรกิจที่ไม่ขาดทุนและไม่ปันผล โดยมุ่งมั่นในการ บรรลุเป้าหมายทางสังคม” —ยูนุสและเวเบอร์ (Yunus & Weber, 2010)

“กิจการเพื่อสังคม คือ กิจกรรมในการบรรลุเป้าหมายทางสังคมโดย กระบวนการขององค์กรภาคเอกชนและดำ�เนินการในตลาด” —ยัง (Young, 2008)

“กิ จ การเพื่ อ สั ง คม คื อ องค์ ก รที่ มี เ ป้ า หมายทางสั ง คม และดำ � เนิ น กิจกรรมทางการค้าเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น (อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่ง) โดย ไม่ปนั ส่วนผลกำ�ไรให้กบั ปัจเจกชน โดยกิจการจะถือครองสินทรัพย์ ความ มัง่ คัง่ และทรัสต์เพือ่ ประโยชน์ของชุมชน โดยสมาชิกในชุมชนสามารถมี


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

49

ส่วนร่วมต่อธรรมาภิบาลขององค์กรได้อย่างเป็นประชาธิปไตย มีความ เป็นอิสระและมีความรับผิดชอบต่อชุมชนที่องค์กรสนับสนุนและสังคมที่ ใหญ่กว่า” —เพียร์ซ (Pearce, 2003)

กล่าวโดยสรุป กิจการเพื่อสังคม หมายถึง รูปแบบองค์กรหรือลักษณะการ ประกอบกิจกรรมทีผ่ ปู้ ระกอบการเพือ่ สังคมเลือกใช้ เพือ่ บรรลุเป้าหมายทางสังคม ที่ตั้งไว้ ซึ่งกิจการเพื่อสังคมอาจเป็นได้ทั้งองค์กรที่ไม่แสวงหากำ�ไร (nonprofit) หรือแสวงหากำ�ไร (for-profit) ก็ได้ (Nonprofit Answer Guide, n.d.) ประเด็น สำ�คัญอยู่ที่การมีเป้าหมายในการแก้ปัญหาทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม และสร้าง ผลลัพธ์ทางสังคมในท้ายที่สุด (Haugh, 2007; Lumpkin, Moss, Gras, Kato, & Amezcua, 2013; Zahra et al., 2009; Nonprofit Answer Guide, n.d.) คุณสมบัติการเป็นกิจการเพื่อสังคม กิจการเพื่อสังคม มุ่งนำ�วิธีทางธุรกิจผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อแก้ปัญหาทาง สังคม เช่น ปัญหาที่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสประสบทั้งในเมืองและชนบท กิจการเพื่อ สังคมหลายแห่งพยายามนำ�เสนอบริการให้กบั ชุมชนเป้าหมายเพือ่ ตอบสนองความ ต้องการทางสังคมในด้านต่าง ๆ รวมถึงการศึกษา วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม (OECD, n.d.) ความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคแต่ละประเทศนี้เอง ที่ ทำ�ให้พัฒนาการและการให้คำ�นิยามคำ�ว่า “กิจการเพื่อสังคม” แตกต่างกัน แต่ แก่นของกิจการเพื่อสังคมคือการนำ�ระเบียบวิธีแบบธุรกิจมาแก้ปัญหาทางสังคม (Chell, Nicolopoulou, & Karatas-​Özkan, 2010) โดยเดโฟร์นี (Defourny, 2001) ได้สรุปคุณสมบัตอิ นั เป็นองค์ประกอบของกิจการเพือ่ สังคม 9 ประการ ซึง่ ข้อ 1–4 สะท้อนมิติทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ ขณะที่ ข้อ 5–9 สะท้อนปัจจัย ด้านสังคม ดังนี้ 1. กิจกรรมการผลิตและขาย สินค้าและ/หรือบริการ อย่างต่อเนือ่ ง (a continuous activity producing goods and/or selling services) กิจการเพื่อ สังคม ผลิตและขายสินค้า/บริการ นั่นคือเกี่ยวข้องกับการค้าขายโดยตรง ซึ่งแตก


50

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ต่างจากการดำ�เนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำ�ไรที่มุ่งรับเงินบริจาคเป็นหลัก 2. ความเป็นอิสระในการบริหาร (a high degree of autonomy) กิจการ เพื่อสังคมต้องมีอิสระในการบริหาร แม้จะได้รับเงินบริจาคหรือเงินทุนจากภาครัฐ หรือเอกชนก็ตาม 3. เผชิญความเสี่ยงสูง (a significant level of economic risk) ความ อยูร่ อดทางการเงินของกิจการเพือ่ สังคมขึน้ อยูก่ บั ความสามารถของสมาชิกในการ จัดการทรัพยากรทางการเงิน ทำ�ให้กจิ การเพือ่ สังคมเผชิญความเสีย่ งทางเศรษฐกิจ (economic risk) ที่สูงกว่าองค์กรภาครัฐ 4. มีการจ้างงาน (a minimum amount of paid work) กิจการเพือ่ สังคม ต้องมีการจ้างงาน (จ่ายค่าตอบแทน) แม้จะมีแรงงานที่เป็นอาสาสมัครด้วยก็ตาม 5. มีเป้าหมายเพื่อชุมชนอย่างชัดเจน (an explicit aim to benefit the community) กิจการเพือ่ สังคมแสดงเป้าหมายทีช่ ดั เจนว่าต้องการสร้างประโยชน์ ให้กับชุมชนหรือกลุ่มคนใด และส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับท้องถิ่น 6. การริเริม่ โดยกลุม่ ทีเ่ กีย่ วข้อง (an initiative launched by a group of citizens) กิจการเพื่อสังคมเป็นผลจากการริเริ่มโดยกลุ่มคนจากชุมชนหรือกลุ่ม ที่มีเป้าหมายและความสนใจร่วมกัน โดยต้องรักษาพันธกิจนั้นให้คงอยู่ 7. อำ�นาจการตัดสินใจไม่ขึ้นกับสัดส่วนการลงทุน (a decision-making power not based on capital ownership) โดยทัว่ ไปกิจการเพือ่ สังคมจัดสรร อำ�นาจในการตัดสินใจให้ผมู้ สี ว่ นได้เสียแบบ 1 สิทธิ์ 1 เสียง โดยไม่ขนึ้ กับสัดส่วน ในการลงทุน 8. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง (a participatory nature) กิจการเพื่อ สังคมมีภาวะของการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ผู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่ม เป้าหมายที่ใช้สินค้า/บริการ มีส่วนร่วมในการดำ�เนินกิจการ 9. จำ�กัดการจัดสรรกำ�ไร (limited profit distribution) กิจการเพื่อสังคม บางประเภทอาจไม่มีการจัดสรรผลตอบแทนหรือเงินปันผล ขณะที่บางแห่งอาจ กำ�หนดเกณฑ์การจัดสรรผลตอบแทนดังกล่าว จึงกล่าวได้วา่ กิจการเพือ่ สังคมไม่ได้ มุ่งเน้นกำ�ไรสูงสุด เนื่องจากมีการจำ�กัดการจัดสรรกำ�ไรและผลตอบแทน องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

มิติด้านสังคม

51

มิติด้านการ ประกอบการ

มิติด้านการกำ�กับ ดูแลกิจการ

กิจการเพื่อสังคม

แผนภาพ 5 องค์ประกอบ 3 ด้านของกิจการเพื่อสังคม ในมุมมองของสหภาพยุโรป ที่มา: European Commission (2014)

Economic Cooperation and Development: OECD) (Haugh, 2007) ระบุ ว่าเป้าหมายหลักของกิจการเพือ่ สังคมไม่ใช่การสร้างกำ�ไรสูงสุด แต่เป็นการดำ�เนิน กิจการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรเทา ปัญหาจากการกีดกันทางสังคม (social exclusion) และการว่างงาน ใน ค.ศ. 2014 สหภาพยุโรปได้ด�ำ เนินโครงการวิจยั เพือ่ จัดทำ�นิยามของกิจการ เพือ่ สังคม เพือ่ ใช้ในการจำ�แนกระหว่างกิจการทัว่ ไป องค์กรไม่แสวงหากำ�ไร และ กิจการเพื่อสังคม นอกจากนี้ ด้วยตระหนักว่าความหมายของกิจการเพื่อสังคมมี ความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละประเทศ งานวิจยั จึงต้องระบุความคล้ายคลึง และความแตกต่างของนิยามกิจการเพื่อสังคม ในขั้นตอนการนำ�ไปปฏิบัติของ ประเทศสมาชิก 29 ประเทศ ผลการศึกษาสรุปว่า นิยามของกิจการเพื่อสังคมที่ ใช้อย่างแพร่หลายในกลุม่ ประเทศสหภาพยุโรปมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ มิตดิ า้ น การประกอบการ มิ ติ ด้ า นสั ง คม และมิ ติ ด้ า นกำ � กั บ ดู แ ลกิ จ การ ดั ง แสดงใน แผนภาพ 5 •  มิติด้านการประกอบการ หมายถึง การดำ�เนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่าง


52

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ต่อเนือ่ ง สามารถสร้างรายได้ให้กจิ การไปพร้อมกับการดำ�เนินตามเป้าหมาย ทางสังคมขององค์กร •  มิติด้านสังคม หมายถึง การแสดงเป้าหมายทางสังคมอย่างชัดเจน •  มิติด้านการกำ�กับดูแลกิจการ หมายถึง การมีกลไกในการรักษาเป้าหมาย ทางสังคมให้เป็นเป้าหมายหลักของกิจการ มีอสิ ระในการบริหารจัดการ โดย ไม่ขึ้นกับภาครัฐหรือเอกชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และมี ข้อกำ�หนดเรื่องการจัดสรรผลกำ�ไรและ/หรือสินทรัพย์ของกิจการ กิจการเพื่อสังคมจะแสดงมิติทั้ง 3 ด้านควบคู่กัน ขณะที่กิจการธุรกิจทั่วไป และองค์กรไม่แสวงหากำ�ไร จะแสดงเพียง 1 หรือ 2 ด้านเท่านั้น องค์กรไม่ แสวงหากำ�ไรแบบดั้งเดิมจะไม่มีมิติด้านการประกอบการ ขณะที่กิจการที่แสวงหา กำ�ไรโดยทั่วไปจะไม่มีเป้าหมายทางสังคม โดยมิติด้านการกำ�กับดูแลกิจการ เป็น องค์ประกอบทีช่ ว่ ยจำ�แนกกิจการเพือ่ สังคมออกจากกิจการธุรกิจทัว่ ไปและองค์กร ไม่แสวงหากำ�ไรได้อย่างชัดเจนมากขึ้น (European Commission, 2014) ในขณะทีเ่ อลคิงตันและฮาร์ตแิ กน (Elkington & Hartigan) (2552) ระบุใน หนังสือ พลังของคนหัวรัน้ (The Power of Unreasonable People) ว่าธุรกิจ เพื่อสังคมจะมีลักษณะสำ�คัญ 4 ประการคือ 1. ผู้ประกอบการก่อตั้งกิจการในลักษณะธุรกิจที่มีพันธกิจเฉพาะเจาะจงว่า ต้องการผลักดันการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม 2. กิจการจะสร้างผลกำ�ไร แต่ไม่ได้มีเป้าหมายหลักที่จะสร้างผลตอบแทน สูงสุดให้ผู้ถือหุ้น แต่มีเป้าหมายคือการสร้างผลประโยชน์ทางการเงินแก่ผู้มีรายได้ น้อย และขยายการบริการให้เข้าถึงคนจำ�นวนมากขึน้ โดยการนำ�ผลกำ�ไรไปลงทุน ในกิจการ 3. ผู้ประกอบการจะต้องหานักลงทุนที่สนใจทั้งผลตอบแทนทางการเงินและ ผลตอบแทนทางสังคม 4. ธุรกิจเพือ่ สังคมมีโอกาสในการหาเงินทุนและขยายกิจการสูงกว่าองค์กรไม่ แสวงหากำ�ไร เนื่องจากสามารถรับเงินกู้และออกหุ้นเพิ่มทุนได้ง่ายกว่า วรรณกรรมอื่น ๆ ได้ระบุถึงคุณสมบัติของธุรกิจเพื่อสังคมเช่นกัน กิจการเพื่อ


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

53

สังคมประกอบด้วย กิจกรรมการผลิตสินค้าหรือบริการทีต่ อ่ เนือ่ ง มีความเป็นอิสระ มีระดับความเสีย่ งทางธุรกิจทีม่ นี ยั สำ�คัญ มีงานทีต่ อ้ งจ่ายเงินน้อยทีส่ ดุ มีเป้าหมาย ทางสังคมที่ชัดเจน มีโครงสร้างองค์กร ริเริ่มโดยกลุ่มประชาชน อำ�นาจในการ ตัดสินใจไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการถือหุ้น เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมโดยธรรมชาติ โดยรวมถึงกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมและมีข้อจำ�กัดในการปันผลกำ�ไร (Defourny, 2001; Vidal, 2005) มีพนั ธกิจในการสร้างและดำ�รงไว้ซงึ่ คุณค่าทาง สังคม (ไม่ใช่เพียงคุณค่าส่วนบุคคล) รับรู้และไม่ลังเลที่จะดำ�เนินการเมื่อมองเห็น โอกาสใหม่ในการบรรลุคุณค่าดังกล่าว มีกระบวนการค้นหานวัตกรรม ปรับตัว และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำ�งานอย่างแน่วแน่โดยไม่คำ�นึงว่าทรัพยากรในมือมีอยู่ จำ�กัด แสดงความรับผิดชอบอย่างสูงต่อชุมชนทีอ่ งค์กรสนับสนุนและผลลัพธ์ทเี่ กิด ขึน้ (Dart, 2004a) หรือกิจการเพือ่ สังคมต้องการทีจ่ ะสร้างผลกำ�ไร แต่ด�ำ เนินการ บนพืน้ ฐานทีจ่ ะไม่สร้างผลกำ�ไรให้กบั ปัจเจกบุคคล โดยจะนำ�รายได้สว่ นเกินทีส่ ร้าง ขึน้ ไปใช้ลงทุนเพือ่ บรรลุเป้าหมายทางสังคมขององค์กร พวกเขาจะคำ�นึงถึงประชาชนเป็นอันดับแรกผ่านทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะสร้างการจ้างงานและผล ประโยชน์ทางสังคม สิ่งแวดล้อม หรือชุมชน (Evans, et al., 2000) อย่างไรก็ดี การถกเถียงในการนิยามองค์ประกอบของกิจการเพื่อสังคมยังคง ดำ�เนินต่อไป และในภาคพืน้ ยุโรปเองก็พบการนิยามกิจการเพือ่ สังคมทีแ่ ตกต่างกัน โดยสมาคม EVPA ระบุวา่ การเป็นกิจการเพือ่ สังคมนัน้ มีองค์ประกอบหลักทีจ่ �ำ เป็น เพียง 2 ข้อ ได้แก่ มิติด้านการประกอบกิจการ และมิติด้านสังคม โดยให้เหตุผล ว่า มิติด้านการกำ�กับดูแลกิจการเป็นองค์ประกอบที่แตกต่างกันตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของแต่ละประเทศ ซึง่ กฎหมายไม่ใช่องค์ประกอบหลักในการให้ค�ำ นิยาม แต่เป็นการประกอบธุรกิจควบคูก่ บั เป้าหมายทางสังคม ซึง่ เป็นแก่นแท้ในการนิยาม กิจการเพื่อสังคม (Maretich & Bolton, 2010) โดยสรุป จุดร่วมที่เป็นคุณสมบัติสำ�คัญของกิจการเพื่อสังคม (หรือธุรกิจเพื่อ สังคมในวรรณกรรมหลายชิน้ ) คือ กิจการเพือ่ สังคม เป็น “กิจการ” ประเภทหนึง่ ที่วางเป้าหมายหรือพันธกิจหลักไว้ที่การแก้ไขปัญหาสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม มิใช่การแสวงหาผลตอบแทนทางการเงินสูงสุด โดยมีกระบวนการแก้ปัญหาสังคม และ/หรือสิ่งแวดล้อมหลอมรวมในการดำ�เนินกิจการ และอาศัยหลักการบริหาร จัดการจากภาคเอกชนเป็นสำ�คัญ ทำ�ให้กิจการเพื่อสังคมพยายามแสวงหาความ


54

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ยัง่ ยืนทางการเงินจากรายได้ทเี่ กิดจากการดำ�เนินกิจการเอง สำ�หรับกฎระเบียบใน การกำ�กับกิจการหรือโครงสร้างของกิจการ (เช่น ข้อกำ�หนดเรือ่ งการจ่ายเงินป​ นั ผล) เป็นองค์ประกอบที่แตกต่างกันตามกฎหมายแต่ละประเทศ ไม่ใช่คุณสมบัติหลัก ในการกำ�หนดการเป็นกิจการเพื่อสังคม (ภัทราพร แย้มละออ, 2559) ฮอจ์ (Haugh, 2007) ระบุวา่ กิจการเพือ่ สังคมจำ�เป็นต้องมีเป้าหมายทาง​การ เงินเช่นกันเพื่อให้องค์กรสามารถอยู่ได้ ซาฮรา, เกดาโจลวิค, นูบอม และชูลแมน (Zahra, Gedajlovic, Neubaum & Shulman, 2009) ให้ความสำ�คัญกับ มิติด้านการเงินเช่นเดียวกัน โดยระบุว่ากิจการเพื่อสังคมจำ�เป็นต้องรักษาสมดุล ระหว่างการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมและความยัง่ ยืนทางการเงินเพือ่ ให้องค์กรอยูไ่ ด้ การเป็ น ผู้ป ระกอบการเพื่อสังคมเกี่ยวข้องกั บกระบวนการใช้ ทั ก ษะการ ประกอบการเพื่อบรรลุเป้าหมายทางสังคม โดยไม่คำ�นึงถึงการมีโครงสร้างองค์กร แบบสร้างกำ�ไรเป็นสำ�คัญ ด้วยเหตุนี้ คำ�ว่ากิจการเพื่อสังคม (social venture) จึงมีความหมายทีก่ ว้าง ครอบคลุมองค์กรไม่แสวงหากำ�ไร องค์กรภาคประชาสังคม ธุรกิจเพื่อสังคม (social business) และกิจการเพื่อสังคม (social enterprise) ในบางบริบทจะพบการใช้คำ�ว่า กิจการเพื่อสังคม ในความหมายสื่อถึงคำ�ต่าง ๆ  เหล่านี้ (ดู Lumpkin, Moss, Gras, Kato, & Amezcua, 2013; Abarca, 2013) ลักษณะของกิจการเพื่อสังคม ผู้ประกอบการเพื่อสังคมอาจเริ่มการประกอบกิจการจากโครงการหรือการ รณรงค์เพื่อบรรลุเป้าหมายทางสังคมบางประการ ซึ่งกิจการจะไม่สามารถดำ�เนิน ต่อไปได้หากขาดการอุดหนุนทางการเงิน ผูป้ ระกอบการบางส่วนปรับเปลีย่ นรูปแบบ การดำ�เนินกิจการ ให้สร้างกำ�ไรเพื่อนำ�มาหล่อเลี้ยงให้องค์กรสามารถดำ�เนินการ ต่อไปได้ กิจการเหล่านี้เมื่อมีมิติทางธุรกิจอาจถูกเรียกว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม” หรือ “กิจการเพื่อสังคม” (UnLtd, n.d.) ขณะทีก่ จิ การเพือ่ สังคมบางแห่งมีรปู แบบไม่แสวงหากำ�ไรแบบองค์กรการกุศล กิจการเพื่อสังคมบางแห่งก่อตั้งโดยมีเป้าหมายทางการเงินเป็นองค์กรที่แสวงหา กำ�ไร โดยที่กิจการเพื่อสังคมบางแห่งกำ�หนดให้นำ�กำ�ไรกลับมาลงทุนซํ้าในกิจการ เมือ่ พิจารณารายได้จากการค้า จะพบว่ามีทงั้ กิจการเพือ่ สังคมทีส่ ามารถสร้างความ


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

55

มั่นคงทางการเงินจากการค้า และกิจการเพื่อสังคมที่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินที่หลาก หลาย โดยอาจจะมีรายได้จากการค้า การให้บริการ เงินให้เปล่า และเงินบริจาค เป็นต้น ด้วยคุณลักษณะทีแ่ ตกต่างและหลากหลายของกิจการเพือ่ สังคมนีเ้ อง ทำ�ให้ กล่าวได้ว่าทั้งเงื่อนไขการปันผลและรายได้จากการค้าขาย ไม่ใช่ลักษณะที่กำ�หนด​ การเป็นกิจการเพือ่ สังคม (Haugh, 2007) ตาราง 3 แสดงการเปรียบเทียบลักษณะ ของธุรกิจแบบปกติ องค์กรการกุศล และกิจการเพือ่ สังคม จะเห็นได้วา่ กิจการเพือ่ สังคมมีเป้าหมายทางสังคมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส แก้ปัญหาของชุมชน หรือสังคม เช่นเดียวกับองค์กรการกุศลหรือองค์กรไม่แสวงหากำ�ไรอืน่ แต่แตกต่าง กันทีย่ ทุ ธศาสตร์การดำ�เนินกิจการ ในทางกลับกัน กิจการเพือ่ สังคมมีลกั ษณะการ พึ่งพาตลาดและรายได้จากการค้าแบบเดียวกับธุรกิจทั่วไป (Haugh, 2007) ตาราง 3 เปรียบเทียบลักษณะของ ธุรกิจปกติ องค์กรการกุศล และกิจการเพื่อสังคม ธุรกิจปกติ (For-profit Venture)

องค์กรการกุศล (Charitable Venture)

กิจการเพื่อสังคม (Social Venture)

พันธกิจ

ผลักดันโดยตลาด, คุณค่า ทางเศรษฐกิจ, ส่วนเกิน ทางการเงิน

เพื่อบรรลุเป้าหมายด้าน การกุศล

คุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ตลาดเป้าหมาย

ความต้องการในตลาด, ประโยชน์ระดับปัจเจก

กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ชุมชน หรือสังคม

กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ชุมชน หรือสังคม

การหาทุน

หนี้, ส่วนของผู้ถือหุ้น, เงินลงทุนระยะเริ่มแรก (venture capital), กำ�ไร สะสม

เงินบริจาค, ทุนให้เปล่า, เงินอุดหนุน

หนี้, เงินบริจาค, เงินให้ เปล่า, เงินอุดหนุน, กำ�ไร สะสม

กิจกรรมการ ประกอบกิจการ

การค้าเพื่อสร้างกำ�ไร

โครงการต่าง ๆ เพื่อบรรลุ เป้าหมายที่ตั้ง

การค้าเพื่อบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้ง และสร้างส่วนเกิน

ลูกจ้างและอาสาสมัคร

ลูกจ้างและอาสาสมัคร

ทรัพยากรบุคคล ลูกจ้าง


56

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ธุรกิจปกติ (For-profit Venture) ทรัพยากรอื่น ๆ

ซื้อ ณ ราคาตลาด

องค์กรการกุศล (Charitable Venture)

กิจการเพื่อสังคม (Social Venture)

ซื้อ ณ ราคาตลาด, ซื้อ ณ ราคาตลาด, ซื้อที่ราคาตํ่ากว่าราคาตลาด, ซือ้ ที่ราคาตํ่ากว่าราคาตลาด, รับบริจาค รับบริจาค

โครงสร้างการ มีเจ้าของ, มีคณะกรรมการ กำ�กับดูแลกิจการ บริหาร

คณะกรรมการดูแล ผลประโยชน์ (board of trustees)

คณะกรรมการดูแล ผลประโยชน์ (board of trustees)

ความรับผิด คณะกรรมการบริษัท, ผู้ถือ คณะกรรมการดูแล (accountability) หุ้น ผลประโยชน์ (board of trustees), ผู้มีส่วนได้เสีย

คณะกรรมการดูแล ผลประโยชน์ (board of trustees), ผู้มีส่วนได้เสีย

ที่มา: Haugh (2007)

ปัจจุบันกิจการเพื่อสังคมปรากฏอยู่ในรูปแบบขององค์กรที่หลากหลาย เช่น สหกรณ์ องค์กรชุมชน วิสาหกิจชุมชน บริษัท และองค์กรไม่แสวงกำ�ไร ฯลฯ (UnLtd, n.d.) กิจการเพื่อสังคมในประเทศต่าง ๆ ดังทีก่ ล่าวไปข้างต้นว่า กิจการเพือ่ สังคมเกิดขึน้ มาเพือ่ เติมเต็มความไม่สมบูรณ์ ของสินค้าและบริการ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และองค์กรไม่แสวงหากำ�ไร ที่ไม่ สามารถตอบสนองความต้องการทางสังคมและสิง่ แวดล้อมได้ทกุ ประการ (OECD, n.d.) พัฒนาการของกิจการเพื่อสังคมได้รับอิทธิพลจากปัจจัยที่หลากหลาย เช่น ระบบกฎหมาย การสนับสนุนเงินทุน บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย และพันธกิจ ปัจจัยเหล่านีท้ �ำ ให้กจิ การเพือ่ สังคมแต่ละแห่งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง (Maretich & Bolton, 2010) และทำ�ให้กจิ การเพือ่ สังคมในแต่ละประเทศแตกต่างกันอีกด้วย (Chell, Nicolopoulou, & Karatas-Özkan, 2010) จากการศึกษาเรื่องการ ดำ�เนินงานของกิจการเพื่อสังคมในยุโรป 15 ประเทศ บอร์กาซาและเดโฟร์นี (Borzaga & Defourny, 2001) สรุป 3 ปัจจัยทีท่ �ำ ให้กจิ การเพือ่ สังคมของแต่ละ ประเทศแตกต่างกัน ได้แก่ 1) ระดับการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจและสังคม


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

57

2) ลักษณะของระบบสวัสดิการและองค์กรไม่แสวงหากำ�ไร และ 3) การเกือ้ หนุน จากระบบกฎหมาย (Chell, Nicolopoulou, & Karatas-Özkan, 2010) สหภาพยุโรป ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายประเทศในสหภาพยุโรปได้ตีความหมายและให้ นิยามกิจการเพื่อสังคมอย่างเป็นทางการ จากการศึกษาเรื่องกิจการเพื่อสังคมใน 29 ประเทศในยุโรป พบว่ามี 20 ประเทศทีไ่ ด้ให้นยิ ามกิจการเพือ่ สังคมอย่างเป็น ทางการ หรืออย่างน้อยมีนิยามที่ยอมรับอย่างทั่วกันภายในประเทศ ขณะที่อีก 6 ประเทศ คุ้นเคยกับคำ�ว่า “เศรษฐกิจเพื่อสังคม” (social economy) มากกว่า และปรากฏว่ามีการให้ความหมายอย่างเป็นทางการของเศรษฐกิจเพื่อสังคม ซึ่งมี ความคล้ายคลึงกับกิจการเพือ่ สังคมตามความหมายของ Social Business Initiative (SBI) (European Commission, 2014) อย่างไรก็ดี ความหมายของกิจการเพือ่ สังคมในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันในรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ •  มเี พียงบางประเทศทีก่ �ำ หนดเกณฑ์วา่ กิจการเพือ่ สังคมจะต้องหารายได้จาก การค้า เช่น ๏๏ สาธารณรัฐเช็กมีข้อกำ�หนดว่ารายได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ของกิจการ เพื่อสังคมต้องมาจากการค้าขาย ๏๏ สหราชอาณาจักรกำ�หนดให้กิจการเพื่อสังคมต้องมีรายได้จากการค้า อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายได้ทั้งหมด ๏๏ อติ าลีก�ำ หนดว่ารายได้ของกิจการเพือ่ สังคมต้องมาจากการค้าอย่างน้อย ร้อยละ 70 ๏๏ โครเอเชีย กำ�หนดว่ากิจการเพือ่ สังคมต้องมีรายได้ทมี่ าจากการค้าอย่าง น้อยร้อยละ 25 ภายใน 3 ปี หลังจากเริ่มดำ�เนินกิจการ •  เป้าหมายทางสังคมมีความหลากหลาย ตัง้ แต่ประเด็นทีม่ คี วามเฉพาะเจาะจง เช่น การเน้นการส่งเสริมการจ้างงาน (work integration) เพื่อแก้ปัญหา การว่างงานและขยายไปครอบคลุมการจ้างงานกลุ่มผู้ด้อยโอกาส (หลาย ประเทศในยุโรประบุเป้าหมายทางสังคมของกิจการเพือ่ สังคมอย่างแคบ คือ เน้นเรือ่ งการจ้างงานโดยเฉพาะ หรือมีการจำ�แนกกิจการเพือ่ สังคมลักษณะ Work Integration Social Enterprises (WISEs) โดยเฉพาะ เช่น ฟินแลนด์


58

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลิทัวเนีย โปแลนด์ สโลวาเกีย สเปน และสวีเดน ไปจนถึงเป้าหมายทาง สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างที่ครอบคลุมประเด็นหลากหลาย เช่น พลังงานหมุนเวียน การค้าที่เป็นธรรม โดยประเทศที่กิจการเพื่อสังคมมี เป้าหมายอย่างกว้าง เช่น สหราชอาณาจักร และกรีซ •  ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ให้ความสำ�คัญกับเป้าหมายทางสังคมเหนือวัตถุประสงค์ทางการค้า บางประเทศ เช่น สาธารณรัฐเช็ก ลัตเวีย และลิทวั เนีย ไม่ได้มีข้อกำ�หนดดังกล่าว •  ประเทศต่าง ๆ มีขอ้ กำ�หนดเรือ่ งการจัดสรรผลตอบแทน (กำ�ไร) แตกต่างกัน อิตาลีและโปแลนด์กำ�หนดไม่ให้มีการปันผล ลิทัวเนียไม่มีข้อกำ�หนดเรื่อง การนำ�ผลกำ�ไรกลับมาลงทุนซาํ้ ขณะทีป่ ระเทศส่วนใหญ่มกี ารกำ�หนดเกณฑ์ ว่าต้องนำ�กำ�ไรกลับมาลงทุนซํ้าเท่าใด และสามารถจ่ายเงินปันผลได้เท่าใด เช่น ฟินแลนด์ และสหราชอาณาจักร •  ประเทศส่วนใหญ่กำ�หนดให้กิจการเพื่อสังคมมีอิสระในการบริหารจัดการ (เป็ น อิสระจากภาครัฐ ) มีเพียงอิต าลีแ ละโปรตุ เ กสที่ ไ ม่ ไ ด้ มีข้ อ กำ � หนด ดังกล่าว (รวมถึงไม่จำ�เป็นต้องเป็นอิสระจากองค์กรไม่แสวงหากำ�ไร) •  บางประเทศกำ�หนดให้มกี ารจัดทำ�รายงานผลลัพธ์ทางสังคม เช่น เบลเยียม และอิตาลี สหราชอาณาจักร กระทรวงพาณิชย์ของอังกฤษได้ตั้งหน่วยงานสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมขึ้น ภายใต้ Department of Trade and Industry ขึ้นในปี 2001 และมีการให้ คำ�นิยามกิจการเพื่อสังคมอย่างเป็นทางการในปี 2002 ว่า “กิจการที่มีเป้าหมาย ทางสังคมเป็นพืน้ ฐาน และส่วนเกินจากการดำ�เนินกิจการจะนำ�กลับไปลงทุนทัง้ ใน ธุรกิจและชุมชน เพื่อจุดประสงค์ทางสังคมที่ระบุไว้ มากกว่าการมุ่งสร้างผลกำ�ไร สูงสุดให้แก่เจ้าของและผู้ถือหุ้น” (Giulia & Borzaga, 2009) ซึ่งเป็นนิยามที่ ยึดถือร่วมกัน หน่วยงานสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมแห่งสหราชอาณาจักร หรือ Social Enterprise UK ซึ่งเป็นแนวร่วมของภาคเอกชน ก็ยึดถือนิยามเดียวกันนี้ และสรุปว่ากิจการเพือ่ สังคมต้องมีพนั ธกิจทางสังคมทีช่ ดั เจน มีรายรับส่วนใหญ่จาก การขายผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ และมีกฎที่ชัดเจนว่าจะบริหารจัดการกำ�ไร


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

59

อย่างไร รวมถึงต้องนำ�กำ�ไรกลับไปลงทุนในพันธกิจเพือ่ สังคม (Social Enterprise UK, n.d.) ในปี 2005 รัฐสภาอังกฤษผ่านกฎหมายจดทะเบียนกิจการเพือ่ สังคมรูปแบบ เฉพาะ เรียกว่า CIC (Community Interest Companies) ทำ�ให้กิจการเพื่อ สังคมส่วนใหญ่สามารถจดทะเบียนได้โดยตรง และทำ�ให้เกิดการเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็ว (ประชาชาติธุรกิจ, 2555) กิจการเพื่อสังคมในสหราชอาณาจักรสามารถ จดทะเบียนได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ธุรกิจปกติ องค์กรไม่แสวงหากำ�ไร สหกรณ์ กองทุนเพือ่ การพัฒนา หรือ Community Interest Companies (CIC) ฯลฯ (British Council, 2012) ภาครัฐยังได้กำ�หนดเงื่อนไขการเป็นกิจการเพื่อสังคมในรูปแบบ CIC ดังนี้ (European Commission, 2014) •  รายได้ของกิจการเพือ่ สังคมต้องมาจากกิจกรรมค้าขายไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 25 •  รายได้ที่มาจากเงินให้เปล่าและเงินบริจาคต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 75 •  เงินปันผลที่จัดสรรให้เจ้าของและผู้ถือหุ้นต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 35 ของ กำ�ไรทั้งหมด มีข้อวิพากษ์เกี่ยวกับนิยามและเงื่อนไขการเป็นกิจการเพื่อสังคมว่า นอกจาก จะมีขอ้ กำ�หนดเรือ่ งเป้าหมายทางสังคมทีไ่ ม่ชดั เจนแล้ว ยังไม่มขี อ้ กำ�หนดเรือ่ งความ เป็นอิสระในการบริการ การให้ความหมายทีก่ ว้างเกินไปทำ�ให้กจิ การสามารถเป็น กิจการเพือ่ สังคมได้โดยง่าย ซึง่ กิจการบางแห่งอาจจัดตัง้ โดยมีเป้าหมายเพือ่ ประมูล งานโดยเฉพาะ เช่น สัญญาด้านบริการสุขภาพ (Mair, 2013) อิตาลี อิตาลีรู้จักรูปแบบของกิจการเพื่อสังคมตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ซึ่งแรกเริ่ม หมายถึงกิจการที่เกิดจากความสมัครใจของภาคเอกชนในการให้บริการด้านสังคม หรือมุ่งแก้ปัญหาสังคม โดยเป้าหมายสำ�คัญคือการจ้างงานกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กิจการเพือ่ สังคมยุคแรกถูกจำ�แนกอยูใ่ นกิจกรรมประเภทเดียวกับสหกรณ์เพือ่ สังคม (social cooperatives) ซึ่งมีกฎหมายรับรองครั้งแรกใน ค.ศ. 1991 (Act on Social Cooperatives) หลักจากนั้นใน ค.ศ. 2005 กิจการเพื่อสังคมจึงได้รับคำ�


60

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

นิยามอย่างเป็นทางการ และมีกฎหมายเพื่อควบคุมกิจการเพื่อสังคมโดยเฉพาะ (Law on Social Enterprise) ด้วยเหตุนี้ อิตาลีจึงเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มี กฎหมายรับรองทัง้ สหกรณ์เพือ่ สังคมและกิจการเพือ่ สังคม (European Commission, 2014) กฎหมายสหกรณ์เพื่อสังคม (1991) ได้สร้างความหมายใหม่ให้สหกรณ์เพื่อ สังคม ซึง่ สหกรณ์แบบเดิมมีเป้าหมายเพือ่ สร้างผลตอบแทนให้กบั สมาชิกเป็นสำ�คัญ แต่ในความหมายแบบใหม่ สหกรณ์เพื่อสังคมมีวัตถุประสงค์ด้านสังคมเป็นหลัก โดยกฎหมายจำ�แนกสหกรณ์เพื่อสังคมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์เพื่อ สังคมที่ดำ�เนินงานด้านการให้บริการด้านสังคม สุขภาพ และการศึกษา (เรียกว่า สหกรณ์เพือ่ สังคมแบบ A) และสหกรณ์เพือ่ สังคมทีจ่ า้ งงานกลุม่ ผูด้ อ้ ยโอกาส (เรียก ว่าสหกรณ์เพื่อสังคมแบบ B) กฎหมายกิจการเพื่อสังคม (2005) ให้คำ�นิยามกิจการเพื่อสังคมอย่างเป็น ทางการ รวมถึงระบุเงื่อนไขการเป็นกิจการเพื่อสังคมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการตีตราความเป็นกิจการเพื่อสังคมให้องค์กรที่มีคุณสมบัติตาม ข้อกำ�หนด ซึ่งลักษณะโครงสร้างองค์กรและความเป็นเจ้าของไม่ได้เป็นเงื่อนไขใน การพิจารณา (องค์กรทีไ่ ด้รบั การตีตราการเป็นกิจการเพือ่ สังคม อาจมีรปู แบบการ บริหารจัดการที่แตกต่างกัน เช่น สหกรณ์เพื่อสังคม สหกรณ์แบบเดิม บริษัท เอกชน หรือองค์กรไม่แสวงหากำ�ไร) ในแง่นี้ กฎหมายกิจการเพื่อสังคมของอิตาลี จึงมิได้บัญญัตินิยาม “กิจการเพื่อสังคม” ขึ้นมาใหม่ เพียงแต่ทำ�ให้คำ�ว่ากิจการ เพื่อสังคมมีตัวตนและเป็นที่ยอมรับตามกฎหมาย ซึ่งเงื่อนไขการเป็นกิจการเพื่อ สังคม ประกอบด้วย •  มีสถานะเป็นนิติบุคคลภาคเอกชน •  ด�ำ เนินการผลิตและค้าขายสินค้าและบริการทีม่ ี “อรรถประโยชน์เพือ่ สังคม” (social utility) และสร้างประโยชน์สาธารณะเป็นเป้าหมายหลัก มากกว่า มุ่งสร้างผลกำ�ไร ซึ่งมีข้อกำ�หนดให้รายได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ของกิจการ มาจากกิจกรรมธุรกิจ •  กจิ การเพือ่ สังคมสามารถมีผลกำ�ไรได้แต่ไม่สามารถจัดสรรให้กบั ผูถ้ อื หุน้ หรือ เจ้าของได้ ผลกำ�ไรทั้งหมดต้องนำ�ไปลงทุนซํ้าในกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดผล ทางสังคมที่ตั้งไว้ หรือนำ�ไปเพิ่มสินทรัพย์ของกิจการ


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

61

ฟินแลนด์ ฟินแลนด์มรี ปู แบบการบริหารประเทศแบบรัฐสวัสดิการ เช่นเดียวกับป​ ระเทศ อืน่  ๆ ในแถบสแกนดิเนเวีย ซึง่ ภาครัฐเป็นผูจ้ ดั หาบริการสาธารณะทีส่ �ำ คัญทีส่ นับสนุนความมั่นคงในชีวิตให้กับประชาชน ได้แก่ การศึกษา ระบบประกันสุขภาพ และที่อยู่อาศัย ภายใต้การบริหารแบบรัฐสวัสดิการ องค์กรไม่แสวงหากำ�ไรและ กิจการเพื่อสังคมจึงไม่มีบทบาทมากนักในการให้บริการสาธารณะ อย่างไรก็ดี วิกฤตการว่างงานทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ทำ�ให้บทบาทของกิจการเพือ่ สังคมเด่นชัดกว่าที่ผ่านมา กิจการเพื่อสังคมรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ แรงงานมีเป้าหมายทางสังคมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะ และนับตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา การให้บริการสาธารณะเกิดการเปลี่ยนผ่านผู้ให้บริการจากภาครัฐเป็น ภาคเอกชน เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลที่หลากหลายและทำ�ให้ตลาด บริการสาธารณะมีการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น ไม่ต่างจากกิจการเพื่อสังคมในประเทศ อืน่ กิจการเพือ่ สังคมในฟินแลนด์ประกอบขึน้ จากวัตถุประสงค์ทางสังคมกับยุทธวิธี ทางธุรกิจ ซึง่ มาพร้อมความคาดหวังว่านวัตกรรมทีส่ ร้างสรรค์ของธุรกิจจะยกระดับ การให้บริการสาธารณะต่าง ๆ รวมถึงการจัดหางานให้ผู้ด้อยโอกาส (work integration) ด้วย (European Commission, 2014) ใน ค.ศ. 2010 กระทรวงเศรษฐกิจและการจ้างงาน (Ministry of Economic Affairs and Employment) ได้กอ่ ตัง้ คณะทำ�งานเพือ่ ศึกษาเรือ่ งแบบจำ�ลองของ กิจการเพือ่ สังคม นำ�ไปสูก่ ารกำ�หนดเงือ่ นไขของกิจการเพือ่ สังคมอย่างเป็นทางการ โดยกิจการเพือ่ สังคมต้องมีเป้าหมายเพือ่ แก้ปญ ั หาสังคมและสร้างผลลัพธ์ทางสังคม และกิจการเพื่อสังคมต้องนำ�กำ�ไรจากการดำ�เนินงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 กลับ ไปลงทุนซํ้า (European Commission, 2014) ถึงแม้จะมีการให้ค�ำ นิยามกิจการเพือ่ สังคมทีช่ ดั เจน แต่ยงั ปรากฏปัญหาในการ ทำ�ความเข้าใจทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการเป็นรัฐ สวัสดิการ ทำ�ให้สมาคมผู้ประกอบการแห่งฟินแลนด์ (The Finnish Entrepreneurs Association) ตลอดจนนักวิชาการหลายรายออกมาให้ความเห็นว่าไม่มคี วาม จำ�เป็นจะต้องจำ�แนกกิจการเพื่อสังคมออกจากกิจการทั่วไป เพราะกิจการต่าง ๆ  ในฟินแลนด์ได้กอ่ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ สังคมอยูแ่ ล้วผ่านการเสียภาษีให้กบั รัฐ แสดง ให้เห็นถึงความไม่เข้าใจแนวคิดของกิจการเพือ่ สังคมทีย่ งั เป็นเรือ่ งใหม่ในฟินแลนด์


62

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

สหรัฐอเมริกา กิจการเพื่อสังคมในสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นจากปัญหาทางการเงินขององค์กรไม่ แสวงหากำ�ไร ภาครัฐมีนโยบายลดการให้เงินอุดหนุน ขณะที่เงินบริจาคเพื่อการ กุศลก็ลดลง องค์กรไม่แสวงหากำ�ไรซึ่งพึ่งพาเงินอุดหนุนและเงินบริจาคเป็นหลัก จึงประสบปัญหาอย่างหนักและจำ�เป็นต้องแสวงหารายได้ทางอื่นเพื่อให้องค์กรอยู่ รอด จุดเด่นของกิจการเพื่อสังคมในสหรัฐอเมริกาคือการให้ความสำ�คัญกับผล ประกอบการทางการเงินและการสร้างรายได้ สะท้อนพัฒนาการจากการเป็นองค์กร ไม่แสวงหากำ�ไรที่ปรับกลยุทธ์มาดำ�เนินกิจกรรมการผลิตและพึ่งพาระบบตลาด มากกว่าทีผ่ า่ นมา รายได้เชิงพาณิชย์ขององค์กรไม่แสวงหากำ�ไรเพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 42 ใน ค.ศ. 1982 เป็นร้อยละ 58 ใน ค.ศ. 2002 (Kerlin, 2006) การพยายาม เติมเต็มความต้องการทางการเงินขององค์กรจึงเป็นทางเลือกเชิงกลยุทธ์เพือ่ บรรลุ เป้าหมายทางสังคมที่องค์กรต้องการในลักษณะที่มีความยั่งยืน (Dart, 2004b) เมือ่ องค์กรไม่แสวงหากำ�ไรเริม่ มีกจิ กรรมเชิงพาณิชย์มากขึน้ นักวิชาการตัง้ ข้อ สังเกตถึงข้อได้เปรียบทางภาษีขององค์กรเหล่านัน้ (Artz & Sutherland, 2010) นอกจากนี้ องค์กรไม่แสวงหากำ�ไรยังเผชิญกับคำ�วิพากษ์วิจารณ์ว่าขาดประสิทธิภาพ และขาดความสามารถในการบริหารเนื่องจากไม่ต้องแข่งขันในตลาด นำ�ไป สู่การบังคับใช้กฎหมายกำ�กับดูแลองค์กรที่ได้รับการยกเว้นภาษีซึ่งเข้มงวดขึ้นใน สหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1969 (Grove & Berg, 2014) ในขณะที่ดรัคเกอร์ (Drucker, 1990) เสนอว่า หากเปรียบเทียบองค์กรไม่แสวงหากำ�ไรกับองค์กร แสวงหากำ�ไร องค์กรแสวงหากำ�ไรจะสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพได้งา่ ยกว่า โดยพิจารณากำ�ไรสุทธิทางการเงิน ในขณะที่ประสิทธิภาพขององค์กรไม่แสวงหา กำ�ไรยังไม่มีการวัดที่ชัดเจนนัก เนื่องจากขาดการประเมินกำ�ไรสุทธิในด้านอื่น ๆ ในศตวรรษที่ 20 เส้นแบ่งระหว่างธุรกิจและภาคประชาสังคมก็พร่าเลือนลง ครัตช์ฟิลด์ (Crutchfield, 2008) เสนอให้ภาคประชาสังคมใช้รูปแบบทางธุรกิจ เป็นคานงัดเพือ่ สร้างผลลัพธ์ทางสังคมทีม่ ากขึน้ เอกเกอร์ (Egger, 2004) มองเห็น การเคลื่อนย้ายของทรัพยากรบุคคลจากภาคธุรกิจสู่ภาคสังคมมากขึ้น และนำ� วิธีคิดแบบภาคธุรกิจมาด้วย ฟรานเชส (Frances, 2008) แสดงแนวคิดต่อต้าน การแบ่งขัว้ องค์กรแบบดัง้ เดิมว่าเป็นองค์กรแสวงหากำ�ไรหรือไม่แสวงหากำ�ไร และ มองว่าธุรกิจเพื่อสังคมคือองค์กร “ลูกผสม” ที่ใช้เครื่องมือทางธุรกิจเพื่อหา


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

63

ทางออกของปัญหาทางสังคมโดยเข้าใจเรื่องต้นทุนและผลตอบแทน แนวคิดดัง กล่าวตอบโจทย์ผบู้ ริจาคหลายคนทีม่ องว่าตนเองเป็น “นักลงทุน” ทีต่ อ้ งการทราบ ว่าการบริจาคนั้นสามารถสร้างผลลัพธ์ต่อสังคมอย่างไร และต้องการผลตอบแทน ทางสังคมทีว่ ดั ได้ ซึง่ จะนำ�ไปสูก่ ารบริหารจัดการในภาคประชาสังคมทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากขึ้น (Meehan et al., 2004) จากการปรับตัวขององค์กรไม่แสวงหากำ�ไรนำ�ไปสู่เอกลักษณ์ของกิจการเพื่อ สังคมในสหรัฐอเมริกาที่แตกต่างจากกิจการเพื่อสังคมในประเทศอื่น กล่าวคือ กิจการเพือ่ สังคมไม่จำ�เป็นต้องมีพันธกิจทางสังคม แต่ด�ำ เนินธุรกิจโดยมีเป้าหมาย เพื่อนำ�ผลกำ�ไรสนับสนุนกิจกรรมที่มีเป้าหมายทางสังคม ด้วยเหตุนี้ กิจการเพื่อ สังคมในสหรัฐอเมริกาจึงสามารถส่งเสริมการแก้ปัญหาทางสังคมได้หลายประเด็น พร้อมกัน เพราะสามารถให้ทนุ หรือบริจาคในโครงการทีห่ ลากหลายในเวลาเดียวกัน (Giulia & Borzaga, 2009) ในสหรัฐอเมริกายังไม่มหี น่วยงานรัฐทีร่ บั ผิดชอบกิจการเพือ่ สังคมโดยตรง แต่ มีสมาคมกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise Alliance) ที่มีกิจการเพื่อสังคม เป็นสมาชิกกว่า 1,000 แห่ง ซึ่งสมาคมฯ ได้นิยามกิจการเพื่อสังคมว่า “องค์กร หรือโครงการที่เป็นจุดร่วมระหว่างการมีพันธกิจทางสังคมแบบองค์กรไม่แสวงหา กำ�ไรหรือภาครัฐ และมีการขับเคลือ่ นด้วยกลไกตลาดแบบธุรกิจ” นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังระบุวา่ จะมีการปรับปรุงนิยามของกิจการเพือ่ สังคมเพือ่ ให้เข้ากับยุคสมัยทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป (Social Enterprise Alliance, n.d. อ้างใน ภัทราพร แย้มละออ, 2559) กิจการเพือ่ สังคมในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ยดึ ติดกับโครงสร้างองค์กร สามารถ ก่อตั้งและดำ�เนินงานได้ในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว บริษทั จำ�กัด บริษทั เอกชนขนาดใหญ่ องค์กรความร่วมมือ องค์กรทัง้ แสวงหาและ ไม่แสวงหากำ�ไร (Giulia & Borzaga, 2009) ด้านการส่งเสริมกิจการเพือ่ สังคม มี การออกกฎหมาย “บริษัทเพื่อสังคม” หรือ Benefit Corporation ซึ่งปัจจุบัน บังคับใช้ใน 27 มลรัฐ (รพีพฒ ั น์ อิงคสิทธิ,์ 2557) กิจการทีจ่ ดทะเบียนในรูปแบบ ของ Benefit Corporation มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากบริษัททั่วไปคือ มีวัตถุประสงค์เพือ่ สร้างผลลัพธ์ทางสังคม กรรมการบริษทั ดำ�เนินงานเพือ่ สร้างผลประโยชน์ ให้ผู้มีส่วนได้เสียรายอื่นนอกเหนือจากผู้ถือหุ้นด้วย และกิจการต้องจัดทำ�รายงาน ประจำ�ปีด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม


64

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

อินเดีย กว่า 3 ใน 4 ของกิจการเพือ่ สังคมในอินเดียก่อตัง้ ขึน้ โดยมีเป้าหมายเพือ่ จัดหา สินค้าและบริการเพื่อแก้ปัญหาของผู้บริโภคในกลุ่มฐานล่างสุดของพีระมิด (bottom of pyramid: BOP) ทีเ่ หลือเป็นกิจการเพือ่ สังคมทีม่ งุ่ แก้ปญ ั หาด้านผลิตภาพ คุณภาพสินค้า และการตลาดของคูค่ า้ รายย่อย จากการสำ�รวจกิจการเพือ่ สังคมใน อินเดียพบว่า เป้าหมายทางสังคมและการสร้างกำ�ไรมีความสำ�คัญต่อกิจการไม่ ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยมองว่าการประกอบกิจการคือเครื่องมือที่จะนำ�ไปสู่การ บรรลุผลทางสังคม และผลประกอบการด้านการเงินที่ดีหมายถึงเงินทุนที่จะนำ�ไป สร้างผลลัพธ์ให้มากขึ้นในอนาคตด้วย (Intellecap, 2012) กิจการเพือ่ สังคมมีโครงสร้างเป็นกิจการทีแ่ สวงหากำ�ไรตามกฎหมายของอินเดีย ซึง่ โครงสร้างการบริหารสามารถดำ�เนินการได้ใน 5 รูปแบบ ได้แก่ ผูป้ ระกอบการ รายเดียว (sole proprietorship) คณะบุคคล (partnership) ห้างหุน้ ส่วนจำ�กัด (limited liability partnership) บริษัทจำ�กัด (private firm) หรือสหกรณ์ (cooperative) (Swissnex India, 2015) ประมาณร้อยละ 80 ของกิจการเพื่อ สังคมในอินเดียเลือกใช้โครงสร้างนิตบิ คุ คลแบบบริษทั จำ�กัด ซึง่ เป็นรูปแบบทีม่ คี วาม ได้เปรียบในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจ เนื่องจากสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ หลากหลาย (Intellecap, 2012; Swissnex India, 2015) เกาหลีใต้ กิจการเพือ่ สังคมในเกาหลีใต้เริม่ ต้นจากการเคลือ่ นไหวด้านแรงงานจากปัญหา การว่างงานในต้นทศวรรษที่ 1990 (Jeong, 2015; Bidet & Eum, 2011) ปัญหา สังคมและปัญหาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 1997 ผลักดันให้เห็นความ จำ�เป็นขององค์กรในลักษณะที่แตกต่างจากเดิมมาแก้ไขปัญหา โดยเป็นองค์กรที่ นำ�จุดแข็งของภาครัฐและเอกชนมาประสานกัน กฎหมายกิจการเพื่อสังคมมี ผลบังคับใช้ในปี 2006 เจิง (Jeong, 2015) ได้สรุปมูลเหตุสำ�คัญที่เป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนา กิจการเพื่อสังคม ได้แก่ •  ปญ ั หาการว่างงานและความแตกแยก ซึง่ เป็นผลมาจากวิกฤตการเงินปี 1997 •  ความจำ�เป็นในการสร้างโอกาสในการหางาน


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

65

•  บริการสาธารณะที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากสังคมสูงอายุ (aging society) อัตรา การเกิดของประชากรที่ตํ่า และโครงสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนแปลง •  ความจำ�เป็นในการเพิ่มการจ้างงานในภาคบริการสาธารณะ •  ความสนใจในความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าว เป้าหมายทางสังคมที่สำ�คัญของกิจการเพื่อสังคมใน เกาหลีใต้ จึงเป็นการให้บริการทางสังคมและการจ้างงานกลุม่ ผูด้ อ้ ยโอกาส กฎหมาย กิจการเพื่อสังคมบัญญัติขึ้นในปี 2006 เพื่อสนับสนุนการดำ�เนินการของกิจการ เพื่อสังคม กฎหมายฉบับนี้ให้นิยามกิจการเพื่อสังคมว่า “กิจการที่มีเป้าหมายทาง สังคมในการจัดหาโอกาสในการทำ�งาน หรือให้บริการทางสังคมสำ�หรับกลุ่มที่มี ความอ่อนไหวทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงดำ�เนินกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การผลิต” ประเภทองค์กรไม่ใช่คุณสมบัติสำ�คัญของการเป็นกิจการเพื่อสังคม เนื่องจากสามารถมีโครงสร้างองค์กรที่หลากหลาย เช่น สหกรณ์ บริษัท องค์กร ความร่วมมือ องค์กรเอกชนไม่แสวงหากำ�ไร แต่กิจการเพื่อสังคมจะต้องมีรายได้ จากการค้าอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงาน เอกลักษณ์ของกิจการเพื่อสังคมในเกาหลีใต้คือบทบาทที่โดดเด่นของภาครัฐ ซึง่ เป็นผูร้ เิ ริม่ และผลักดันกิจการเพือ่ สังคม องค์กรทีด่ แู ลกิจการเพือ่ สังคม (Social Enterprise Support Committee) อยูภ่ ายใต้กระทรวงแรงงาน (Jeong, 2015) และนอกจากรับผิดชอบเรื่องการรับรองแล้ว ภาครัฐยังเป็นผู้จัดทำ�เว็บไซต์หลัก ของกิจการเพือ่ สังคมอีกด้วย (Bidet & Eum, 2011) นอกจากนี้ ภาครัฐยังให้การ อุดหนุนกิจการเพือ่ สังคมทีก่ อ่ ตัง้ ใหม่เป็นเวลา 5 ปี (2 ปี ในช่วงก่อนการจดทะเบียน และ 3 ปีแรก หลังจากจดทะเบียนเป็นกิจการเพือ่ สังคม) (Jeong, 2015) จึงกล่าว ได้วา่ ภาครัฐมีบทบาทมากกว่าภาคประชาสังคมในการพัฒนากิจการเพือ่ สังคมใน เกาหลีใต้ (Bidet & Eum, 2011) สิงคโปร์ ใน ค.ศ. 2006 รัฐบาลสิงคโปร์ออกนโยบายส่งเสริมการพัฒนาของกิจการเพือ่ สังคม โดยก่อตั้งหน่วยงานดูแลกิจการเพื่อสังคม ภายใต้กระทรวงพัฒนาชุมชน เยาวชนและกีฬา หน่วยงานนี้ได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และ


66

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ภาคประชาสังคม นำ�ไปสู่การพัฒนายุทธศาสตร์กิจการเพื่อสังคมระดับชาติ ซึ่งให้ ความสำ�คัญกับการยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคเอกชน การพัฒนา เครือ่ งมือสำ�หรับกิจการเพือ่ สังคม และการผลิตซาํ้ แบบจำ�ลองธุรกิจเพือ่ สังคม รวม ถึงการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม (British Council, 2012) กระทรวงพัฒนาสังคมและครอบครัวให้นยิ าม “กิจการเพือ่ สังคม” ว่า “บริษทั ที่ให้ความสมดุลระหว่างการประกอบธุรกิจและประเด็นทางสังคม” ขณะที่นิยาม อืน่ ทีใ่ ช้อย่างแพร่หลายในสิงคโปร์ประกอบด้วย นิยามทีใ่ ห้โดย Social Enterprise Association ว่า “ธุรกิจ และกิจการที่แสวงหากำ�ไร ไม่แสวงหากำ�ไร หรือแบบ ผสม ทีใ่ ช้ประโยชน์จากการค้าในระบบตลาดเพือ่ ยกระดับประเด็นทางสังคม โดย มีเป้าหมายสร้างผลกำ�ไรและนำ�มาลงทุนซํ้าเพื่อเป้าหมายทางสังคม” และนิยาม ที่ให้โดยธนาคาร DBS Bank ว่า “ธุรกิจที่มีเป้าหมายทางสังคม หรือต้องการยก ระดับการทำ�ธุรกิจที่ยั่งยืนทางการค้า และสร้างผลลัพธ์ทางสังคมที่ต้องการ” อย่างไรก็ดี ยังไม่มกี ารออกข้อกำ�หนดเกีย่ วกับคุณสมบัตขิ องกิจการเพือ่ สังคมด้าน แหล่งที่มาของทุนหรือการจัดสรรผลกำ�ไร (NUS Business School, 2015) เวียดนาม กฎหมายกิจการเพื่อสังคมของเวียดนามได้รับการแก้ไขใน ค.ศ. 2014 ซึ่งได้มี การนิยามและกำ�หนดคุณสมบัตกิ จิ การเพือ่ สังคมเพิม่ เติม ว่า “กิจการทีม่ เี ป้าหมาย ทางสังคมหรือสิง่ แวดล้อม และต้องนำ�กำ�ไรไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 51 กลับมาลงทุนซา้ํ เพื่อพันธกิจทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่ตั้งไว้” (The Guardian, 2014) การแก้ กฎหมายครัง้ นีเ้ ป็นสัญญาณของภาครัฐในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาของ กิจการเพื่อสังคม และส่งเสริมให้แหล่งเงินทุนของกิจการเพื่อสังคมมีความมั่นคง มากขึน้ (The Guardian, 2014) การแก้กฎหมายครัง้ นีจ้ ะทำ�ให้กจิ การเพือ่ สังคม ได้รบั เงือ่ นไขพิเศษด้านเงินให้เปล่าและการรับรอง ตลอดจนเข้าถึงแหล่งทุนทัง้ จาก ในประเทศและต่างประเทศได้ง่ายขึ้น (The Guardian, 2015) บริตชิ เคานซิล เวียดนาม (British Council Vietnam) มีบทบาทสำ�คัญต่อ การพัฒนาของกิจการเพื่อสังคมในเวียดนาม ด้วยการส่งเสริมรากฐานของกิจการ เพื่อสังคมผ่านการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ รณรงค์ให้กิจการ เพื่อสังคมและนักลงทุนเพื่อสังคมเกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

67

นอกจากนี้ บริติช เคานซิล เวียดนาม ยังดำ�เนินงานด้านการประชาสัมพันธ์และ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านกิจการเพื่อสังคมให้กับหน่วยงานภาครัฐที่สำ�คัญ (The Guardian, 2014) ด้วยเหตุนี้ พัฒนาการกิจการเพื่อสังคมในเวียดนามจึงได้รับ อิทธิพลจากแนวคิดของสหราชอาณาจักรไม่มากก็นอ้ ย (ดู The Guardian, n.d.) ไทย

การผลักดันให้ภาครัฐออกกฎหมายสนับสนุนกิจการเพือ่ สังคมในประเทศ​ไทย เป็นความเคลือ่ นไหวทีน่ า่ จับตาตลอดระยะเวลาราวหนึง่ ทศวรรษทีผ่ า่ นมา ใน พ.ศ.  2553 รัฐบาลได้จัดตั้งสำ�นักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ตาม ระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่าด้วยการจัดตัง้ สำ�นักงาน สร้างเสริมกิจการเพือ่ สังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เพือ่ เป็นกลไกสนับสนุนการดำ�เนิน งานตามแผนแม่บทว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพือ่ สังคม พ.ศ. 2553–2557 สกส. ดำ�เนินงานตามยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1. สร้างการรับรู้และการเรียนรู้เรื่องกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย 2. พัฒนารูปแบบและขีดความสามารถของกิจการเพื่อสังคม 3. พัฒนาช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและทรัพยากรสาํ หรับกิจการเพือ่ สังคม

ใน พ.ศ. 2554 รัฐได้ออกระเบียบสำ�นักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างเสริม กิจการเพื่อสังคมแห่งชาติและจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่ง ชาติ (คกส.) เพื่อจัดทำ�นโยบาย ยุทธศาสตร์ และสนับสนุนความช่วยเหลือให้กับ วิสาหกิจเพื่อสังคม (สำ�นักข่าวอิศรา, 2554) ใน พ.ศ. 2558 มีการพิจารณาร่าง พระราชบัญญัตสิ ง่ เสริมวิสาหกิจเพือ่ สังคมและรายงานวิจยั เรือ่ งวิสาหกิจเพือ่ สังคม อย่างไรก็ดี การผลักดันกฎหมายได้หยุดลงจากสถานการณ์ทางการเมืองทำ�ให้สภา ถูกยุบเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 ขณะที่  สกส. ก็ยุติบทบาทชั่วคราวตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เนือ่ งจากสิน้ สุดปีงบ­ประมาณจากสำ�นักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และต้องรอ พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อ สังคมประกาศใช้จึงสามารถจัดตั้งสำ�นักงานได้อีกครั้ง ด้วยเหตุนี้กิจการเพื่อสังคม ที่ยังไม่ได้ยื่นขอการรับรองเพื่อเป็นวิสาห­กิจเพื่อสังคมจำ�เป็นต้องรอสำ�นักงานใหม่ เปิดทำ�การ (ผู้จัดการรายวัน, 2559) และกิจการที่ยื่นขอรับรองมาแล้วต้องรอ


68

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

สำ�นักงานใหม่ในการดำ�เนินเรื่องต่อ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีได้มมี ติเห็นชอบหลักการมาตรการ ภาษีเพื่อสนับสนุน “วิสาหกิจเพื่อสังคม” และต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้มกี ารประกาศพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) ในราช­ กิจจานุเบกษา สรุปเนื้อหาโดยสังเขปได้ดังนี้ 1. คำ�นิยาม “วิสาหกิจเพือ่ สังคม” หมายถึง “บริษทั หรือห้างหุน้ ส่วนนิตบิ คุ คลทีต่ งั้ ขึน้ ตาม กฎหมายไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยมุง่ ส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิน่ ทีว่ สิ าหกิจเพือ่ สังคมตัง้ อยู่ หรือมีเป้าหมายใน การจัดตัง้ ตัง้ แต่แรกเริม่ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิง่ แวดล้อม โดยมิได้มงุ่ สร้างกำ�ไรสูงสุดต่อผูถ้ อื หุน้ หรือผูเ้ ป็นหุน้ ส่วน และนำ�ผลกำ�ไรไม่นอ้ ยกว่า ร้อยละ 70 ไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่น ๆ” 2. สิทธิประโยชน์ทางภาษี 2.1 สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำ�หรับวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ นิตบิ คุ คลสำ�หรับกำ�ไรสุทธิของวิสาหกิจเพือ่ สังคมในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ทัง้ นี้ เฉพาะวิ ส าหกิ จ เพื่ อ สั ง คมที่ นำ � ผลกำ � ไรทั้ ง หมดไปลงทุ น ในกิ จ การหรื อ ใช้ เ พื่ อ ประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือใช้เพื่อประโยชน์ ส่วนรวมอื่น ๆ โดยไม่มีการจ่ายเงินปันผล 2.2 สิทธิประโยชน์ทางภาษีส�ำ หรับผูส้ นับสนุนวิสาหกิจเพือ่ สังคมทีเ่ ป็นบริษทั หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล •  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายเงินลงทุนในหุ้นสามัญ ของวิสาหกิจเพือ่ สังคมตามจำ�นวนทีล่ งทุนจริง ทัง้ นี้ เฉพาะกรณีทบี่ ริษทั หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถือหุ้นสามัญของวิสาหกิจเพื่อสังคมไว้จนกว่าบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นหรือวิสาหกิจเพื่อสังคมเลิกกิจการ •  บริษทั หรือห้างหุน้ ส่วนนิตบิ คุ คลสามารถหักรายจ่ายเงินทีม่ อบให้หรือทรัพย์สินที่โอนให้วิสาหกิจเพื่อสังคมนำ�ไปใช้ในกิจการหรือใช้เพื่อประโยชน์ของ


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

69

สังคมโดยไม่มคี า่ ตอบแทนตามจำ�นวนทีจ่ า่ ยจริง แต่เมือ่ รวมกับรายจ่ายเพือ่ การกุศลสาธารณะแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำ�ไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย เพื่อการกุศลสาธารณะ ทั้งนี้ หากจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกินร้อยละ 30 ของกำ�ไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมจะได้รับ สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ท างภาษี ต ามข้ อ 2.2 แต่ ห ากวิ ส าหกิ จ เพื่ อ สั ง คมไม่ มี ก ารจ่ า ย เงินปันผล วิสาหกิจเพื่อสังคมจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อ 2.1 และ ผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อ 2.2 กล่าวโดยสรุป วิสาหกิจเพือ่ สังคมทีจ่ ะได้รบั การยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวล รัษฎากร จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ •  มคี �ำ ว่า “วิสาหกิจเพือ่ สังคม” อยูใ่ นชือ่ บริษทั หรือห้างหุน้ ส่วนนิตบิ คุ คลนัน้ •  ได้ยนื่ คำ�ร้องขอและได้รบั อนุมตั ใิ ห้เป็นวิสาหกิจเพือ่ สังคมจากอธิบดี และได้ รับการรับรองเป็นวิสาหกิจเพือ่ สังคมจากหน่วยงานทีอ่ ธิบดีประกาศกำ�หนด •  ไม่มีการจ่ายเงินปันผลและเงินลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้เป็นหุ้นส่วน •  นำ�ผลกำ�ไรสุทธิมากกว่าร้อยละ 70 หรือทั้งหมดไปลงทุนในกิจการหรือใช้ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม •  ไม่มกี ารจำ�หน่ายจ่ายโอนทรัพย์สนิ ทีใ่ ช้ในกิจการ เว้นแต่การโอนตามทีอ่ ธิบดี ประกาศกำ�หนด •  ไม่เป็นคู่สัญญา ไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็น หุ้นส่วน รวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน •  ไม่เปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการจากกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นกิจการอื่น ก่อนครบสิบรอบระยะเวลาบัญชี นับตั้งแต่รอบระยะเวลา บัญชีแรกที่ได้รับการอนุมัติ •  ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นที่อธิบดีประกาศกำ�หนด เป็นทีน่ า่ สังเกตว่านิยาม “วิสาหกิจเพือ่ สังคม” ในมติ ครม. ดังกล่าวข้างต้น หมาย รวมถึงกิจการที่ “มุ่งส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นที่มีวิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งอยู่” ด้วย มิได้หมายถึงกิจการที่มีพันธกิจทางสังคมเป็นเป้าหมายหลักเพียงอย่างเดียว


70

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ซึง่ นิยามนีอ้ าจก่อให้เกิดความสับสนในอนาคตได้วา่ กิจการใดเป็นกิจการเพือ่ สังคม กิจการใดไม่เป็น เนือ่ งจากกิจการธุรกิจทัว่ ไปย่อมมีการจ้างงานอยูแ่ ล้วเป็นธรรมชาติ ในแง่ของสิทธิประโยชน์ทางภาษี มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จะยกเว้นภาษี เงินได้เฉพาะสำ�หรับ “วิสาหกิจเพื่อสังคมที่นำ�ผลกำ�ไรทั้งหมดไปลงทุนในกิจการ หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือใช้เพื่อ ประโยชน์ส่วนรวมอื่น ๆ โดยไม่มีการจ่ายเงินปันผล” อย่างไรก็ตาม ณ เดือนมีนาคม 2560 พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ยัง อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ ลักษณะของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย ข้อแตกต่างของกฎหมายของแต่ละประเทศทำ�ให้คุณสมบัติของกิจการเพื่อ สังคมแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี คุณลักษณะที่สำ�คัญของกิจการเพื่อสังคมคือการ ดำ�เนินการทางธุรกิจที่สร้างผลกระทบทางสังคม โดยกิจการเพื่อสังคมอาจอยู่ใน รูปแ­ บบทีห่ ลากหลายทัง้ หน่วยงานภาครัฐ บริษทั เอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรไม่แสวงหากำ�ไร หรือองค์กรพัฒนาสังคมทีไ่ ม่ใช่ภาครัฐก็ได้ ในประเทศไทย มีกิจการหรือมูลนิธิหลายแห่งที่ถือกำ�เนิดมาหลายสิบปีก่อนนิยามหรือ “กระแส” ของกิจการเพือ่ สังคมจะเป็นทีส่ นใจ และก่อนทีก่ ารสนับสนุนของภาครัฐและกฎหมาย ที่กำ�กับดูแลจะถูกกำ�หนดขึ้น ในประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค ประชาสังคม ต่างเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาสังคมด้วยรูปแบบและวิธีการ ทีแ่ ตกต่างกันออกไป แต่กต็ อ้ งเผชิญกับข้อจำ�กัดทีท่ �ำ ให้ไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ทาง สังคมที่ต้องการได้ เนื่องจากขาดประสิทธิภาพและนวัตกรรม ขาดแหล่งเงินทุน หรือขาดความรับผิดชอบต่อสังคม (สำ�นักงานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร, 2558) คุณลักษณะของกิจการเพื่อสังคมหรือวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยที่แตกต่าง จากประเทศอื่น ๆ คือ การก่อตั้งองค์กรโดยมีความเชื่อมโยงกับสถาบัน ราชวงศ์ หรือกลุม่ ผูม้ คี วามมัง่ คัง่ ในสังคม ซึง่ ลักษณะพิเศษนีเ้ ป็นปัจจัยทีน่ �ำ ไปสูก่ ารตอบรับ สนับสนุนจากสังคม รวมถึงความพร้อมของทุนประกอบกิจการทีม่ อี ยูม่ าก ตัวอย่าง วิสาหกิจชุมชนที่มีลักษณะพิเศษนี้ เช่น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และสมาคมพัฒนา ประชากรและชุมชน โดยวิสาหกิจเพื่อสังคมลักษณะนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นโดยง่าย


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

71

กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ในปัจจุบัน (สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2558) รายงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2558) ยกตัวอย่างวิสาหกิจเพือ่ สังคมยุคบุกเบิกทีด่ �ำ เนินการโดยกลุม่ ผูม้ ฐี านะทาง สังคมและดำ�เนินธุรกิจในรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1) สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ก่อตัง้ เป็นองค์กรไม่แสวงหากำ�ไรใน พ.ศ. 2517 โดยคุณ มีชยั วีระไวทยะ เป็น ผูก้ อ่ ตัง้ โดยมีเป้าหมายเพือ่ พัฒนาคุณภาพชีวติ ของประชาชนผูด้ อ้ ยโอกาส ปัจจุบนั มีโครงการกว่า 300 โครงการ ภายใต้การดำ�เนินการของสมาคม ซึ่งครอบคลุม เรื่องการวางแผนครอบครัว การสาธารณสุข การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาศักยภาพของสตรีและเด็ก การส่งเสริมอาชีพและสร้าง รายได้ และสนับสนุนทุนการศึกษา เป็นต้น เงินทุนทีน่ �ำ มาสนับสนุนโครงการเหล่านี้ มาจากธุรกิจหลักคือ ร้านอาหาร (Cabbages & Condoms) โรงแรม (Birds & Bees พัทยา และ C&C เขาใหญ่) และบริษัทธุรกิจเพื่อการศึกษาและชนบท (B.R.E.A.D.) 2) มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ก่อตั้ง พ.ศ. 2545 มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์องค์ความรู้และเผยแพร่ภูมิปัญญา และพัฒนาสมุนไพรไทย โดยนำ�รายได้จากการจำ�หน่ายยาสมุนไพรมาสนับสนุนค่า ใช้จ่ายของโรงพยาบาล ตลอดจนสร้างอาชีพด้วยการส่งเสริมการปลูกสมุนไพร อินทรีย์ให้กับชาวบ้าน ผ่านระบบการรับซื้อล่วงหน้า รวมถึงสนับสนุนการจัดตั้ง กองทุนชุมชนและศูนย์การพึ่งตนเองแบบเกษตรอินทรีย์ 3) บริษัทสังคมสุขภาพ จำ�กัด (เลมอนฟาร์ม) เริม่ จากการเป็นสหกรณ์ทมี่ เี ป้าหมายเพือ่ ช่วยให้ผบู้ ริโภคเข้าถึงอาหารสุขภาพ ที่ปลอดภัยและเป็นธรรมกับผู้ผลิต บริษัทมีระบบวางแผนการผลิตร่วมกับสมาชิก รับซื้อและนำ�มาจัดจำ�หน่ายในร้านค้าของตน โดยกำ�ไรจะถูกนำ�ไปลงทุนซํ้าและ ปันผลให้กับสมาชิกเกษตรกร และดำ�เนินกิจกรรมกับผู้บริโภคในเมือง


72

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

จากการศึกษาวรรณกรรมด้านกิจการเพือ่ สังคมของประเทศต่าง ๆ สามารถนำ� มาสรุปเป็นตารางโดยแบ่งรายละเอียดตามพันธกิจทางสังคม การประกอบธุรกิจ ข้อกำ�หนดที่มาของรายได้ และข้อกำ�หนดการจัดสรรผลตอบแทนได้ในตาราง 4 ตาราง 4 ตัวอย่างข้อกำ�หนดของ “กิจการเพื่อสังคม” ตามกฎหมายในประเทศต่าง ๆ มีพันธกิจทาง สังคม

มีการประกอบ ธุรกิจ

สหราชอาณาจักร

มีรายได้จากการค้า เงินปันผลที่จ่ายให้กับ อย่างน้อยร้อยละ 25 เจ้าของและผู้ถือหุ้นต้อง มีรายได้จากเงินให้เปล่าและ ไม่เกินร้อยละ 35 เงินบริจาคไม่เกินร้อยละ 75

อิตาลี

มีรายได้จากการค้า อย่างน้อยร้อยละ 70

ฟินแลนด์

-

นำ�กำ�ไรจากการดำ�เนินงาน อย่างน้อยร้อยละ 50 กลับ ไปลงทุนซํ้าในกิจการ

-

-

-

-

ประเทศ

สหรัฐอเมริกา ไม่จำ�เป็นต้อง กำ�หนดพันธกิจ ทางสังคม แต่ คณะกรรมการ ต้องสร้าง ประโยชน์ให้กับผู้ มีส่วนได้เสียอื่น ๆ  นอกเหนือจาก ผู้ถือหุ้น อินเดีย

ข้อกำ�หนดที่มาของรายได้

ข้อกำ�หนดการจัดสรร ผลตอบแทน

สร้างกำ�ไรได้ แต่ไม่สามารถ จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นหรือ เจ้าของได้ ผลกำ�ไรทั้งหมด ต้องนำ�ไปลงทุนซํ้าใน กิจ­กรรมที่จะก่อให้เกิด ผลทางสังคมที่ตั้งไว้


73

“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

มีพันธกิจทาง สังคม

มีการประกอบ ธุรกิจ

เกาหลีใต้

รายได้จากการค้าอย่างน้อย ร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายใน การจ้างพนักงาน

-

สิงคโปร์

-

-

เวียดนาม

-

นำ�กำ�ไรอย่างน้อยร้อยละ 51 กลับไปลงทุนซํ้าในกิจการ

-

นำ�กำ�ไรอย่างน้อยร้อยละ 70 กลับไปลงทุนซํ้าในกิจการ/ ถ้าหากต้องการเข้าข่าย ยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องนำ� ผลกำ�ไร 100% กลับไป ลงทุนในกิจการ

ประเทศ

ไทย (มติ ครม. มีนาคม 2559)

ข้อกำ�หนดที่มาของรายได้

แต่ให้หมายรวมถึง กิจการที่ “มุ่ง ส่งเสริมการจ้าง งานในท้องถิ่น ที่มีวิสาหกิจเพื่อ สังคมตัง้ อยู”่ ด้วย

ข้อกำ�หนดการจัดสรร ผลตอบแทน

2.4 ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) แนวคิดกิจการเพื่อสังคมมีการดำ�เนินการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่และ สำ�นักคิด และวรรณกรรมจำ�นวนมากที่ใช้คำ�ว่ากิจการเพื่อสังคม (social enterprise/social venture) ในความหมายที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับธุรกิจเพื่อสังคม อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดหนึง่ ของ “ธุรกิจเพือ่ สังคม” ทีไ่ ด้รบั การยอมรับอย่างกว้าง ขวางว่ามีความหมายและมีคณ ุ สมบัตเิ ฉพาะของตนเอง แม้จะยังอยูใ่ ต้รม่ “กิจการ เพือ่ สังคม” คือ นิยามธุรกิจเพือ่ สังคมทีไ่ ด้รบั การอ้างอิงมากทีส่ ดุ โดยศาสตราจารย์ ดร.มูฮัมหมัด ยูนุส (Grove & Berg, 2014) ดร.ยูนุส เป็นนักเศรษฐศาสตร์และ นักคิดคนสำ�คัญ ผูไ้ ด้รบั รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำ�ปี  ค.ศ. 2006 ในฐานะ ผู้ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคมธนาคารกรามีนเมื่อ ค.ศ. 1976 และบุกเบิกนวัตกรรม “สินเชื่อเพื่อผู้ยากไร้” ที่ช่วยให้ประชาชนหลายสิบล้านคนในประเทศบังกลาเทศ หลุดพ้นจากความยากจน (Yunus & Weber, 2010) โดยที่ความพยายามแก้ไข


74

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

การสร้างกำ�ไรทางการเงินสูงสุด

ไม่มี

ธุรกิจแสวง กำ�ไรสูงสุด

การไม่ได้รับ ผลตอบแทนจาก เงินลงทุนกลับคืน

ผลตอบแทนจาก การลงทุน (การ พึ่งพาตนเองได้) องค์กรไม่แสวงกำ�ไร

ธุรกิจเพื่อสังคม

การสร้างคุณค่าทางสังคมสูงสุด แผนภาพ 6 ข้อเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจเพื่อสังคม ธุรกิจแสวงหากำ�ไรสูงสุด และองค์กรไม่แสวงหากำ�ไรในทัศนะของ มูฮัมหมัด ยูนุส ที่มา: Yunus & Weber (2000)

ปัญหาความยากจนในบังกลาเทศจากทัง้ ภาครัฐและภาคประชาสังคมไม่ประสบผล สำ�เร็จ (Aydin, 2015) ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม นิตบิ คุ คลจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ขัว้ ทีต่ รงข้าม กัน คือธุรกิจแสวงหากำ�ไรสูงสุดซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กับ ผู้ถือหุ้น และอีกหนึ่งขั้วคือองค์กรไม่แสวงหากำ�ไรที่ก่อตั้งเพื่อบรรลุเป้าหมายหรือ พันธกิจทางสังคม ยูนสุ และเวเบอร์ (Yunus & Weber 2010) เสนอว่า ธุรกิจเพือ่ สังคมมีลกั ษณะเป็นองค์กรลูกผสมของนิตบิ คุ คลทัง้ สองรูปแบบ ทำ�ให้สามารถเป็น องค์กรที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคม และมีลักษณะคล้ายคลึงธุรกิจ เพื่อให้ มัน่ ใจว่าองค์กรจะอยูร่ อดได้ในระยะยาว ลักษณะขององค์กรทัง้ 3 รูปแบบ สามารถ สรุปได้ดังแผนภาพ 6 มูฮมั หมัด ยูนสุ ยังได้ระบุหลักการ 7 ข้อของธุรกิจเพือ่ สังคม ในทีป่ ระชุมเวที เศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ณ เมืองดาวอส ประเทศ​สวิตเซอร์แลนด์


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

75

เมื่อ ค.ศ. 2009 ไว้ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ของธุรกิจคือเอาชนะความยากจน หรือแก้ไขปัญหาใดปัญหา หนึง่ หรือมากกว่า (ยกตัวอย่างเช่น การศึกษา สุขภาพ การเข้าถึงเทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม) ซึ่งคุกคามประชาชนและสังคม ไม่ใช่การสร้างกำ�ไรสูงสุด 2. มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและการเงิน 3. นักลงทุนได้เงินกลับคืนเท่ากับมูลค่าของเงินลงทุนเท่านั้น และจะไม่มีการ จ่ายเงินปันผลเกินมูลค่าของเงินลงทุน 4. หลังจากที่ธุรกิจจ่ายคืนเงินลงทุนทั้งหมดแล้ว กำ�ไรที่ได้จะถูกเก็บไว้ใน บริษัทเพื่อการขยายกิจการและการพัฒนา 5. คำ�นึงถึงประเด็นเรื่องเพศและสิ่งแวดล้อม 6. แรงงานได้รับค่าจ้างเทียบเท่าราคาตลาด แต่มีสภาพแวดล้อมการทำ�งาน ที่ดีกว่า 7. ทำ�ธุรกิจด้วยความปีติยินดี ยูนสุ ได้ยกตัวอย่างสินค้าหรือบริการทีส่ ามารถสร้างประโยชน์ตอ่ สังคมได้ เช่น สินค้าทีค่ ณ ุ ภาพสูงแต่จ�ำ หน่ายในราคาตํา่ ให้กบั กลุม่ คนยากจนหรือเด็กด้อยโอกาส การประกันสุขภาพสำ�หรับคนยากจนในราคาที่คนจนสามารถจ่ายได้ รวมถึงการ พัฒนาพลังงานหมุนเวียนในราคาที่สมเหตุสมผลแก่ประชาชนในเขตชนบทซึ่งไม่มี รายได้เพียงพอทีจ่ ะซือ้ ไฟฟ้าจากในระบบ เขายํา้ อีกว่าธุรกิจเพือ่ สังคมสามารถนิยาม ว่าเป็นธุรกิจที่ “ไม่มีผลขาดทุนและไม่จ่ายเงิน​ปันผล” แต่ในขณะเดียวกัน การมี ผลกำ�ไรก็สำ�คัญต่อธุรกิจเพื่อสังคม หากผลกำ�ไรที่เกิดขึ้นไม่ได้ลดทอนความสำ�คัญ ของการบรรลุเป้าหมายทางสังคมขององค์กร โดยมีเหตุผล 2 ประการคือ เพื่อ จ่ายคืนเงินลงทุนให้กับนักลงทุน และเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายทางสังคม ในระยะยาว (Yunus, 2007) ธุรกิจเพือ่ สังคมจึงคล้ายคลึงกับธุรกิจแสวงหากำ�ไรสูงสุด กล่าวคือ จำ�เป็นต้อง มีแผนระยะยาว และสร้างผลกำ�ไรเพื่อขยายกิจการในเชิงภูมิศาสตร์ เพิ่มคุณภาพ สินค้าและบริการ ใช้เป็นงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพใน กระบวนการ นำ�เทคโนโลยีมาใช้ หรืออาจคิดค้นนวัตกรรมด้านการตลาดหรือการ ส่งมอบสินค้าที่สามารถนำ�ส่งสินค้าหรือบริการให้ถึงกลุ่มคนที่ยากจนอีกขั้นหนึ่ง


76

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

(Yunus, 2007) แต่มีข้อแตกต่างสำ�คัญคือ การกระทำ�ดังกล่าวต้องไม่ยึดโยงกับ การแสวงหากำ�ไรส่วนบุคคล เพราะหากยังยึดโยงกับผลกำ�ไร สุดท้ายแล้วธุรกิจก็ จะย้อนกลับไปสูต่ รรกะแบบเก่าคือการแสวงหากำ�ไรสูงสุด (Kickul et al., 2012) ยูนุสได้สรุปแนวคิดหลักของธุรกิจเพื่อสังคมจากประสบการณ์การบริหารธนาคาร กรามีน ไว้ดังนี้ ธุรกิจเพือ่ สังคม ไม่ได้มงุ่ ทีจ่ ะสร้างกำ�ไรสูงสุด แต่มงุ่ ทีจ่ ะตอบสนองความ จำ�เป็นทีเ่ ร่งด่วนทีส่ ดุ ของมนุษย์ ดังนัน้ แรงจูงใจแรกของธุรกิจเพือ่ สังคม จึงไม่ใช่การสร้างผลกำ�ไรสูงสุด และอย่างทีส่ อง ธุรกิจเพือ่ สังคมจะไม่จา่ ย เงินปันผลให้กบั ผูถ้ อื หุน้ แต่จะนำ�เงินดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปญ ั หาสังคม โดยจำ�หน่ายสินค้าหรือบริการในราคาที่คนจนสามารถซื้อได้ หรืออาจ แจกจ่ายความเป็นเจ้าของธุรกิจเพือ่ สังคมแก่คนจนหรือผูย้ ากไร้ เพือ่ เปิด โอกาสให้พวกเขาหรือเธอมีส่วนแบ่งจากผลกำ�ไร ธุรกิจเพื่อสังคมจะจ่าย คืนเงินต้นแก่ผู้ลงทุนเท่านั้น และจะนำ�ผลกำ�ไรที่ได้ไปลงทุนซํ้าในนวัตกรรมหรือการเติบโตที่ขับเคลื่อนให้ธุรกิจเข้าใกล้เป้าหมายทางสังคม แม้ว่าธุรกิจเพื่อสังคมจะเป็นองค์กรที่ค่อนข้างใหม่ในแง่เป้าหมายของ องค์กร แต่การบริหารภายในก็ไม่แตกต่างจากธุรกิจโดยทัว่ ไป แรงงานใน องค์กรต้องมีความเป็นมืออาชีพและได้รบั ค่าตอบแทนเทียบเท่ากับค่าแรง ในตลาด ธุรกิจประเภทนี้อาจมีหรือไม่มีกำ�ไรก็ได้ แต่เช่นเดียวกับธุรกิจ อื่น ๆ ที่จะต้องไม่ขาดทุน เพื่อให้สามารถดำ�เนินกิจการต่อไปได้ ทุกด้าน ของธุรกิจเพื่อสังคมจะต้องยั่งยืน ตั้งแต่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทาง ตรง ผลกระทบตลอดห่วงโซ่อปุ ทาน และทีส่ �ำ คัญคืออิสรภาพทาง​การเงิน (Grameen Creative Lab, 2016) ในหนังสือ สร้างโลกไร้จน หรือ Creating a World Without Poverty: Social Business and the Future of Capitalism (2007) ยูนสุ ได้แบ่งธุรกิจ เพื่อสังคมออกเป็น 2 รูปแบบ คือ •  รูปแบบที่หนึ่ง (Type I) คือ กิจการที่มุ่งสร้างผลประโยชน์แก่สังคมมาก​ กว่าที่จะมุ่งสร้างผลตอบแทนสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นคือกลุ่มคนที่


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

77

ต้องการสร้างประโยชน์แก่สงั คม เช่น ลดความยากจน สร้างระบบสวัสดิการ สุขภาพเพือ่ คนจน ความยุตธิ รรมในสังคม หรือความยัง่ ยืนในระดับโลก ฯลฯ และแสวงหาผลตอบแทนคือความสุขทางใจหรือจิตวิญญาณ มากกว่าผล ตอบแทนทางการเงิน •  รูปแบบที่สอง (Type II) คือ กิจการที่แสวงหากำ�ไรสูงสุดแต่ถือหุ้นโดย คนจน หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคม ในกรณีนี้ ผลประโยชน์แก่สังคมจะเกิด จากเงินปันผลหรือการเติบโตของทุนจากกิจการซึง่ จะสร้างประโยชน์แก่ผถู้ อื หุน้ รายได้ดงั กล่าวจะช่วยลดความยากจน หรืออาจช่วยให้ผถู้ อื หุน้ หลุดพ้น ความยากจนในที่สุด ความแตกต่างระหว่างธุรกิจเพื่อสังคมทั้ง 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่หนึ่ง ผล ประโยชน์แก่สังคมจะเกิดจากธรรมชาติของธุรกิจ กล่าวคือ การจำ�หน่ายสินค้า หรือให้บริการทีอ่ าจสร้างผลลัพธ์ เช่น ลดความเหลือ่ มลาํ้ ในสังคม บรรเทาปัญหา ยาเสพติด หรือลดอาชญากรรม ฯลฯ ในขณะที่ธุรกิจเพื่อสังคมรูปแบบที่สอง สินค้าหรือบริการของธุรกิจอาจสร้างหรือไม่สร้างผลลัพธ์ทางสังคมก็ได้ แต่ผลลัพธ์ ทางสังคมจะเกิดจากผลกำ�ไรซึ่งจะถูกแจกจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นที่มีฐานะยากจนหรือ ผู้ด้อยโอกาส แม้ว่านิยาม “ธุรกิจเพื่อสังคม” ที่ยูนุสกำ�หนดจะเป็นนิยามที่ถูกอ้างถึงมาก ที่สุด แต่ก็เป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากเช่นกัน ไม่ใช่เพราะความเอือ้ เฟือ้ ของคนขายเนือ้ คนบ่มเหล้า หรือคนอบขนมปัง ที่ทำ�ให้เรามีอาหารเย็น แต่เพราะพวกเขาคำ�นึงถึงผลประโยชน์ส่วนตน ต่างหาก (จากหนังสือ The Wealth of Nations โดย Adam Smith) ประโยคข้างต้นเปรียบเสมือนการสรุปแก่นของเศรษฐศาสตร์สำ�นักคลาส­สิก ที่เน้นว่า ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวคือธรรมชาติของมนุษย์ แนวคิดธุรกิจเพื่อ สังคมเองก็ถูกวิพากษ์เนื่องจาก “มองข้าม” ธรรมชาติของมนุษย์ข้อนี้ไป (Grove & Berg, 2014) ยิง่ ไปกว่านัน้ เบเกอร์ (Baker, 2011) มองว่าการตีกรอบคำ�นิยาม ของธุรกิจเพื่อสังคมแบบยูนุสอาจทำ�ให้เกิดข้อจำ�กัดในการนำ�แนวคิดไปใช้ในเชิง


78

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ปฏิบัติและการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม เขาให้เหตุผลว่า ถึงแม้ผู้ถือหุ้นของหลาย บริษัทจะเริ่มเห็นความสำ�คัญของผู้มีส่วนได้เสีย แต่ผู้ถือหุ้นเหล่านั้นมีทีท่าจะไม่ ยอมเสียสละสิทธิ์ในผลตอบแทนจากเงินลงทุนของพวกเขา ยูนุสตอบโต้ข้อวิพากษ์ดังกล่าวโดยเน้นยํ้าเสมอในงานเขียนหลายชิ้นของเขา ว่า หัวใจของแนวคิดธุรกิจเพือ่ สังคมคือธรรมชาติของมนุษย์ โดยอธิบายว่าระบอบ ทุนนิยมในปัจจุบันเปรียบเสมือนโครงสร้างที่สร้างเสร็จเพียงครึ่งเดียวคือการตอบ สนองต่อความเห็นแก่ตวั ของมนุษย์เท่านัน้ แต่ยงั ไม่ตอบสนองอีกมิตหิ นึง่ ของมนุษย์ คือความเสียสละ และเขามองว่าธุรกิจเพื่อสังคมคือส่วนที่จะมาเติมเต็มโครงสร้าง ดังกล่าว (Yunus, 2009) ยูนสุ กล่าวว่า แม้แต่อดัม สมิธ (Adam Smith) บิดาของเศรษฐศาสตร์ส�ำ นัก คลาสสิกก็รับรู้ว่ามนุษย์โดยธรรมชาตินั้นมีหลายมิติ ทั้งเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และเสียสละ ดังที่ปรากฏในหนังสือ The Theory of Moral Sentiments ซึ่ง น้อยคนจะให้ความสนใจ ระบอบเศรษฐกิจทุนนิยมกระแสหลักจึง “ไม่มีพื้นที่ สำ�หรับอีกมุมหนึง่ ของมนุษย์ทไี่ ม่เห็นแก่ตวั ” (Yunus, 2011) ยูนสุ โต้แย้งว่า ยังมี นักลงทุนจำ�นวนมากที่ต้องการลงทุนในธุรกิจเพื่อสังคม แม้ว่าจะไม่ใช่ทางเลือกที่ แสวงหากำ�ไรสูงสุด และเขายังกล่าวว่าธุรกิจเพื่อสังคมควรจะหยุดพฤติกรรม แสวงหากำ�ไรหรือการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผถู้ อื หุน้ (Yunus & Weber, 2010) โดย ให้เหตุผล 3 ลักษณะ คือ 1. เหตุผลเชิงจริยธรรม ยูนุสมองว่า การแสวงหากำ�ไรจากคนจนเป็นเรื่องที่ ขัดจริยธรรม 2. เหตุผลในทางปฏิบัติ ยูนุสอธิบายว่า หากองค์กรตกอยู่ในสภาวะขัดสน ผลลัพธ์ทางการเงินจะมีอิทธิพลมากกว่าผลลัพธ์ทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม 3. เหตุผลเชิงระบบ ยูนุสมองว่า เราควรมีทางเลือกที่มากกว่าธุรกิจแสวงหา กำ�ไร และองค์กรไม่แสวงหากำ�ไร เพือ่ เปลีย่ นแนวความคิด ปรับเปลีย่ นโครงสร้าง ระบบเศรษฐกิจ และกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดรูปแบบใหม่ เนื่องจากธุรกิจเพื่อสังคมมีเป้าหมายแตกต่างอย่างชัดเจนจากธุรกิจทีแ่ สวงหา กำ�ไรสูงสุด จึงเกิดเป็นคำ�ถามและข้อถกเถียงหลายประเด็น (Grove & Berg, 2014) เช่น ประเด็นด้านการวัดผลการดำ�เนินงานที่ต้องไปให้ไกลกว่าการวัดผล


“กิจการเพื่อสังคม” คืออะไร ต่างจาก “ซีเอสอาร์” อย่างไร?

79

ทางการเงินของธุรกิจทัว่ ไป หรือความเข้าใจเบือ้ งต้นเกีย่ วกับบริบทและสาเหตุของ ปัญหาสังคมที่องค์กรต้องการแก้ไข ซึ่งแตกต่างกันไปตามพื้นที่และวัฒนธรรม รวมถึงผลกระทบทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่อาจก่อให้เกิด ปัญหาใหม่ขึ้นมาได้ สรุป จากการทบทวนวรรณกรรมข้างต้นจะเห็นว่า ถึงแม้ทั่วโลกจะมีนิยามที่แตกต่าง หลากหลายของ “กิจการเพื่อสังคม” ทั้งนิยามที่ใช้จำ�แนกกิจการออกจากองค์กร พัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) และธุรกิจกระแสหลัก และนิยามทีใ่ ช้เพือ่ กำ�หนดเงือ่ นไข การสนับสนุนจากภาครัฐ ผลจากการทบทวนวรรณกรรมสามารถสรุปลักษณะเด่น ทีน่ กั วิชาการ กิจการเพือ่ สังคม แหล่งทุน และองค์กรทีส่ นับสนุนกิจการเพือ่ สังคม ทั่วโลกได้โดยสังเขป 4 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. กิจการเพื่อสังคมมุ่งสร้างผลลัพธ์ทางสังคมเป็นหลัก ในทางที่มีความ ยั่งยืนทางการเงิน มิใช่มุ่งแสวงกำ�ไรสูงสุด แม้จะมีความแตกต่างอยู่บ้างในระดับ ขนาด ของการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังว่ากิจการเพื่อสังคมจะสร้างได้ เช่น บาง นิยามคาดหวังว่ากิจการเพื่อสังคมจะต้องเน้นการสร้าง “การเปลี่ยนแปลงทาง สังคม” ซึง่ ทำ�ซาํ้ และขยายขนาดได้ในวงกว้าง บางนิยามขยายความว่า กิจการเพือ่ สังคมจะต้องคิดค้น “นวัตกรรมทางสังคม” เพื่อแก้ปัญหาเชิงระบบ ขณะที่บาง นิยามเน้นแต่เพียงการ “บรรเทาปัญหาสังคม” ก็เพียงพอแล้ว จุดร่วมของนิยาม ที่แตกต่างหลากหลายเหล่านี้ คือ กิจการเพื่อสังคมจะต้องมี “พันธกิจทางสังคม” เป็นเป้าหมายหลักขององค์กร และจะต้องพยายามสร้างความยั่งยืนทางการเงิน โดยใช้กลยุทธ์การหารายได้หรือแบบจำ�ลองทางธุรกิจ มิใช่หวังพึ่งเงินบริจาคหรือ เงินให้เปล่าเป็นแหล่งทุนหลักในการดำ�เนินกิจการ ความหมายของ “ผู้ประกอบการทางสังคม” มุ่งเน้นไปที่ตัว บุคคล ผู้ริเริ่ม ส่วน “กิจการเพื่อสังคม” ให้ความสำ�คัญกับโครงสร้างของ องค์กร เป็นหลัก 2. โครงสร้างนิติบุคคลกิจการเพื่อสังคมมีได้หลากหลายรูปแบบ และจะ


80

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

จ่ายหรือไม่จา่ ยเงินปันผลก็ได้ อาจเป็นได้ทง้ั องค์กรทีไ่ ม่แสวงหากำ�ไร (nonprofit) หรือแสวงหากำ�ไร (for-profit) ก็ได้ รูปแบบนิติบุคคลเป็นได้ตั้งแต่ สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน องค์กรไม่แสวงกำ�ไร บริษัทจำ�กัด ห้างหุ้นส่วน ฯลฯ บางกิจการ มีนโยบายไม่จ่ายเงินปันผลแก่เจ้าของหรือผู้ถือหุ้น บางกิจการจ่ายเงินปันผลเช่น เดียวกับบริษทั ทัว่ ไป ประเด็นสำ�คัญทีจ่ ะกำ�หนดว่า กิจการใดเป็นกิจการเพือ่ สังคม หรือไม่ อยู่ที่การวางเป้าหมายอย่างชัดเจนในการแก้ปัญหาทางสังคมหรือสิ่ง­ แวดล้อม และมุ่งสร้างผลลัพธ์ทางสังคม 3. กิจการเพือ่ สังคมประเภท “ธุรกิจเพือ่ สังคม” จะเน้นหารายได้จากการค้า เป็นหลัก โดยทัว่ ไป กิจการเพือ่ สังคมสามารถพึง่ พาแหล่งเงินทุนทีห่ ลากหลาย โดย อาจจะมีรายได้จากการค้า การให้บริการ เงินให้เปล่า และเงินบริจาค หรือหลาย แหล่งเหล่านี้ผสมกัน แต่กิจการที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจำ�กัด หรือ “ธุรกิจเพื่อ สังคม” (social business) จะต้องมีแบบจำ�ลองธุรกิจ (business model) และ แสวงกำ�ไรจากการค้าขายเป็นหลัก ด้วยลักษณะที่แตกต่างและหลากหลายของ กิจการเพื่อสังคมนี้เอง ทำ�ให้กล่าวได้ว่าทั้งเงื่อนไขการปันผล และรายได้จากการ ค้าขาย ไม่ใช่ลักษณะที่กำ�หนดการเป็นกิจการเพื่อสังคม กล่าวโดยสรุป จุดร่วมทีเ่ ป็นคุณสมบัตสิ �ำ คัญของกิจการเพือ่ สังคม คือ กิจการ เพื่อสังคม เป็น “กิจการ” ประเภทหนึ่ง ที่วางเป้าหมายหรือพันธกิจหลักไว้ที่การ แก้ไขปัญหาสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม มิใช่การแสวงหาผลตอบแทนทางการเงิน สูงสุด โดยมีกระบวนการแก้ปัญหาสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อมหลอมรวมในการ ดำ�เนินกิจการ และอาศัยหลักการบริหารจัดการจากภาคเอกชนเป็นสำ�คัญ ทำ�ให้ กิจการเพือ่ สังคมพยายามแสวงหาความยัง่ ยืนทางการเงิน จากรายได้ทเี่ กิดจากการ ดำ�เนินกิจการเอง สำ�หรับกฎระเบียบของรัฐในการกำ�กับดูแลกิจการ หรือการกำ�หนดนิยามโดย รัฐเพือ่ มอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีบางประการให้กบั กิจการเพือ่ สังคมนัน้ นับเป็น องค์ประกอบทีแ่ ตกต่างกันตามกฎหมายแต่ละประเทศ ไม่ใช่และไม่อาจเป็นเงือ่ นไข ในการนิยาม “กิจการเพื่อสังคม” ในทางสากลแต่อย่างใด


ประวัติและพัฒนาการ ของวงการ “การประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคม”

3



ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

83

จากการสำ�รวจงานวิจยั ด้านนีใ้ นต่างประเทศ เราพบว่าพัฒนาการ วิสยั ทัศน์ ความ ท้าทายและปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อ สังคมมีความน่าสนใจในหลายแง่มุม ซึ่งประเด็นที่งานวิจัยต่างๆ หยิบยกขึ้นมา สามารถจำ�แนกเป็นประเด็นได้ดังต่อไปนี้ 3.1 การจ�ำแนกประเภทของวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และพัฒนาการ จากข้อมูลบนเว็บไซต์ Tools and Resources for Assessing Social Impact (TRASI) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวิธีการประเมินผลลัพธ์ของโครงการและการ ลงทุนเพื่อสังคมที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2010 TRASI ได้แสดงวิธีการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมที่แสดงไว้มากกว่า 150 วิธีในปัจจุบัน (Foundation Center, n.d.) และงานวิจยั ของไกรโค (Greico, 2015) ได้แสดงวิธกี ารประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ไว้ถงึ 75 วิธี แสดงให้เห็นว่าวิธกี ารประเมินผลลัพธ์ทางสังคมมีหลากหลายประเภท ให้เลือกใช้ วิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแรก ๆ เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990 โดย อาศัยหลักการทางบัญชีเข้ามาใช้ ได้แก่ แนวคิดผลตอบแทนทางสังคมจากการ ลงทุน (SROI) ที่เกิดขึ้นในปี 1997 โดยมีรากฐานมาจากหลักการ cost-benefit analysis (Greico, 2015) ตามมาด้วยวิธกี ารประเมินอีกหลายวิธที มี่ จี ดุ กำ�เนิดใน ช่วงปลายศตวรรษ ส่วนวิธีการที่มีลักษณะเป็น “ข้อแนะนำ�” (guideline) และ แนวดัชนีชวี้ ดั และมาตรฐาน เช่น Global Reporting Initiative (GRI) รวมทัง้ B Lab, IRIS และ GIIRS ต่างเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 2000 โดยแผนภาพ 7 แสดง การเกิดขึ้นของวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในแต่ละช่วง วรรณกรรมหลายชิ้นกล่าวถึงการจำ�แนกประเภทของวิธีการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมเพือ่ อธิบายถึงบทบาทและความเหมาะสมของวิธกี ารหรือเครือ่ งมือแต่ละ ชนิดในการนำ�ไปใช้งาน โอลเซนและกาลิมดิ ิ (Olsen & Galimidi, 2008) ทำ�การ วิเคราะห์และแจกแจงวิธีประเมินผลลัพธ์จำ�นวน 25 ประเภท และได้แบ่งวิธีการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมออกเป็น 3 หมวด จากมุมมองของนักลงทุนเพื่อสังคม


84

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

5% 30% 30%

2011–2015 35%

2006–2010 2000–2005 1995–1999

แผนภาพ 7 สัดส่วนของเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ในแต่ละช่วงปีที่มีการเริ่มใช้ ที่มา: Florman, Klingler-Vidra, & Facada (2016)

(impact investing) โดยแบ่งออกเป็น 1. ระบบการจัดอันดับ (rating systems) คือวิธีการประเมินเพื่อการคัด กรองผลลัพธ์ตั้งแต่ในช่วงการสอบทานกิจการ (due diligence) เช่น B Rating, Dalberg Approach และการรับรองมาตรฐานการค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade Certification) 2. ระบบการประเมินผล (assessment systems) ใช้เพือ่ สรุปผลต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาที่กิจการดำ�เนินการไป เช่น SIA, SROI Analysis, และ Progress out of Poverty Index (PPI) 3. ระบบการจัดการ (management systems) ใช้เพื่อติดตามผลอย่าง ต่อเนือ่ งเมือ่ กิจการได้รบั เงินลงทุนไปแล้ว เช่น SROI Framework, Trucost และ Balance Scorecard ที่รวมผลลัพธ์ทางสังคม ภายใต้สามหมวดหลักนี้ ยังมีการแบ่งแยกย่อยผลลัพธ์ทไี่ ด้จากวิธกี ารประเมิน ว่าเป็นแบบเฉพาะเจาะจง (specific impacts) คือ ใช้เฉพาะตามประเภทของ


85

ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

อุตสาหกรรมทีอ่ งค์กรอยู่ ตามภูมศิ าสตร์หรือประเภทของผลลัพธ์ เช่น การลดก๊าซ เรือนกระจก การลดความยากจนซึง่ อาจจะสะท้อนการทำ�งานของกิจการเพือ่ สังคม บางประเภทเท่านั้น หรือเป็นประเภทแสดงผลลัพธ์ “ทั่วไป” (general indicators) ทีน่ กั ลงทุนจะใช้ตวั ชีว้ ดั พืน้ ฐาน เช่น เศรษฐกิจ สิง่ แวดล้อม และสุขภาพ ใน การประเมินกิจการหลาย ๆ ประเภทได้ อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมชิ้นนี้เน้นว่าหัวใจในการติดตามผลลัพธ์ทางสังคม และนำ�ผลกลับมาใช้ในการปรับปรุงการทำ�งานนั้นอยู่ที่ความ “ลึก” ของวิธีการ ประเมินด้วยเช่นกันว่า วิธกี ารประเมินนัน้ เป็นตัวประเมินกิจการได้ในระดับผลผลิต (outputs) ระดับผลลัพธ์ (outcomes) หรือระดับผลกระทบ (impacts) ที่เกิด ขึน้ โดยอ้างอิงจากห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Clark, Rosenzweig, Long, & Olsen, 2003) ซึง่ วิธกี ารประเมินผลลัพธ์ทางสังคมบางประเภทอาจถูกจัดอยูใ่ นหลายหมวดเพราะ มีประโยชน์ในหลายลักษณะซึ่งแสดงได้ตามตาราง 5 ตาราง 5 การจัดประเภทวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและจำ�นวนปีที่มีการใช้งาน (นับถึง ค.ศ. 2016) ประเภทของวิธีการประเมิน

อายุของเครื่องมือ นับถึง ค.ศ. 2016 (ปี)

ชื่อวิธีการประเมิน

ระบบการ จัดอันดับ

การรับรองประกาศนียบัตร Fair Trade

รอยเท้านิเวศ

23

การรับรอง LEED (Leadership in Energy & Environmental Design)

18

Compass Investment Sustainability Assessment

Dalberg Approach

15

CHAT (Charity Analysis Tool)

14

ระบบการ ประเมินผล

ระบบการ จัดการ

28

16


86

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ประเภทของวิธีการประเมิน ชื่อวิธีการประเมิน

ระบบการ จัดอันดับ

ระบบการ ประเมินผล

ระบบการ จัดการ

อายุของเครื่องมือ นับถึง ค.ศ. 2016 (ปี)

Social Rating

12

B Ratings System

8

HIP (Human Impact + Profit) Framework

8

PROI (Political Return on Investment)

7

RISE (Research Indicators for Sustainable Employment)

17

การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (SIA)

17

SROI Analysis

15

SROI Toolkit

SROI Calculator

SROI Framework

DOTS (Development Outcome Tracking System)

12

Progress out of Poverty Index

12

Social Rating

12

EPRS (Environmental Performance Reporting System)

11

Movement Above the US$1 day Threshold

10

PDMS (Portfolio Data Management Systems)

Social Value Metrics

14 14

14

9 9


87

ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

ประเภทของวิธีการประเมิน ระบบการ จัดการ

อายุของเครื่องมือ นับถึง ค.ศ. 2016 (ปี)

Balanced Scorecard ที่รวมคุณค่าทาง สังคม

17

Trucost

16

SROI Lite

11

ชื่อวิธีการประเมิน

ระบบการ จัดอันดับ

ระบบการ ประเมินผล

ที่มา: ดัดแปลงจาก Olsen & Galimidi (2008, p.14)

ฟลอร์แมน, คลิงเลอร์-วิดรา, และฟากาดา (Florman, Klingler-Vidra, & Facada, 2016) ได้นำ�วรรณกรรมของโอลเซนและกาลิมิดิ (Olsen & Galimidi, 2008) ในประเด็นการแบ่งประเภทของวิธกี ารประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแบบเฉพาะ เจาะจง (specific impacts) และแบบแสดงผลลัพธ์ทวั่ ไปมาวิเคราะห์ตอ่ โดยเพิม่ วิธีการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดหลัง ค.ศ. 2008 เข้าไปด้วย เช่น GIIRS, B Rating และ IRIS และจำ�แนกประเภทของวิธีการประเมิน 20 วิธี ทั้งเพื่อดูว่ามีจำ�นวน วิธกี ารประเมินทีส่ ะท้อนผลลัพธ์ทางสังคมในประเภทต่าง ๆ จำ�นวนเท่าไรบ้าง โดย แบ่งหมวดหมู่ออกเป็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม (โดยรวมหลายประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับสังคม เช่น มนุษย์ ธรรมาภิบาล ฯลฯ) เศรษฐกิจ การเงิน ธรรมาภิบาลของ องค์กร นวัตกรรม การเรียนรู้และการเติบโต ความยากจน ลูกค้าและการพัฒนา บางวิธีการประเมินที่มีลักษณะเป็นการแสดงผลลัพธ์ “ทั่วไป” อาจจะตกอยู่ใน หลายหมวดได้ โดยแสดงดังแผนภาพ 8 MaRS Centre for Impact Investing (n.d.) หน่วยงานสนับสนุนและ พัฒนาการลงทุนเพือ่ สังคมในประเทศแคนาดา ได้แสดงการจับคูว่ ธิ ปี ระเมินผลลัพธ์ ทางสังคม 7 ประเภท ที่องค์กรแนะนำ�ให้ผู้มีส่วนได้เสียด้านการลงทุนเพื่อสังคม ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ได้แก่ SROI, Demonstrating Value, GRI, B Corp & GIIRS, IRIS และ Sustainable Livelihoods เทียบกับกรอบคิดแบบ Logic Model โดย W.K. Kellogg Foundation ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับห่วงโซ่ ผลลัพธ์ที่อ้างถึงโดยโอลเซนและกาลิมิดิ (Olsen & Galimidi, 2008) เพื่อแสดง


88

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

15

10

5

0

สิ่งแ ส วดล ังคม อม

เศร

ก ก น ค ล ก ษฐก ารเงิน ารกำก วัตกร วามย ูกคา ารพฒั นา ิจ ับดแู รม ก ากจน ารเร ลกจิ การ ียนร ูและ การ เติบ โต

แผนภาพ 8 จำ�นวนวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่มุ่งเน้นการประเมินในหัวข้อต่างๆ ที่มา: Florman, Klingler-Vidra, & Facada (2016, p. 7)

ว่าวิธกี ารประเมินแต่ละประเภทเริม่ วัดผลตัง้ แต่ระดับใดไปสิน้ สุดถึงระดับใด ได้แก่ การวัดผลในระดับกิจกรรม (activities) ระดับผลผลิต (outputs) ระดับผลลัพธ์ (outcomes) หรือไปจนถึงระดับผลกระทบ (impacts) รวมทัง้ เปรียบเทียบกับขัน้ ตอนของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง คือ สิ่งที่โครงการหรือกิจการต้องการจะทำ� (planned work) และผลลัพธ์ที่โครงการหรือกิจการตั้งใจจะให้เกิดขึ้น ซึ่งแสดง ได้ตามแผนภาพ 9


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

แผนการดำ�เนินการ

89

ผลที่ตั้งใจให้เกิด

SROI Demonstrating Value GRI B CORP/GIIRS IRIS Sustainable Livelihoods ปัจจัยนำ�เข้า

กิจกรรม

ผลผลิต

ผลลัพธ์

ผลกระทบ

แผนภาพ 9 การเปรียบเทียบวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมกับขั้นตอนต่างๆ  ของแบบจำ�ลองตรรกะ Logic Model ที่มา: ดัดแปลงจาก MaRS Centre for Impact Investing (n.d.)

3.2 การเปลี่ยนแปลงด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม นอกเหนือจากการจัดประเภทของวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแล้ว วรรณกรรมบางฉบับได้ตั้งข้อสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของผู้มีส่วน ได้เสียทีเ่ กีย่ วข้องกับการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพือ่ สังคมในด้านการ เลือกใช้วิธีประเมินหรือเทรนด์ที่กำ�ลังเกิดขึ้น ซึ่งสามารถแยกย่อยได้เป็นประเด็น ต่าง ๆ ดังนี้ •  การถอยออกจากวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแบบตีมูลค่าผลลัพธ์ทาง สังคมออกเป็นมูลค่าเงิน (monetization) และการใช้ตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น ฟลินน์, ยัง, และบาร์เน็ต (Flynn, Young, & Barnett, 2015) ตัง้ ข้อสังเกต จากการทบทวนวรรณกรรมด้านเครือ่ งมือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมว่าหากเป็น


90

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

วรรณกรรมทีม่ อี ายุมากกว่า 5 ปี (นับจาก ค.ศ. 2015) จะเน้นไปทีก่ ารประเมินผล แบบตีมูลค่าของผลลัพธ์ทางสังคมออกมาเป็นตัวเงิน เช่น การใช้ SROI ในขณะที่ วรรณกรรมทีใ่ หม่กว่าจะกล่าวถึงวิธใี นการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมทีม่ คี วามหลาก หลายมากขึ้น และแบ่งประเภทแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน ซึ่ง การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมจะก้าวเข้าหาการประเมินผลทีเ่ ป็นรูปแบบด้านมาตรฐานมากขึน้ เช่น มาตรฐานตัวชีว้ ดั IRIS ทีม่ นี กั ลงทุนทางสังคม (impact investors) ใช้เพียงร้อยละ 2 จากการสำ�รวจโดยบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ เจ.พี. มอร์แกน (J.P. Morgan) และมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ใน ค.ศ. 2010 ซึ่งในขณะนั้นนักลงทุน ส่วนใหญ่ใช้วธิ กี ารประเมินจากองค์กรภายนอกหรือคิดค้นเครือ่ งมือประเมินขึน้ เอง ขณะที่การสำ�รวจเดียวกันใน ค.ศ. 2013 พบว่านักลงทุนทางสังคมถึงร้อยละ 52 ใช้ IRIS ในการประเมิน (Hayat, 2013) การสำ�รวจนีใ้ น ค.ศ. 2015 พบว่านักลงทุน เพื่อสังคมให้ความสนใจในการวัดทั้งผลผลิตและผลลัพธ์ทางสังคม อย่างไรก็ตาม มีนักลงทุนทางสังคมประมาณร้อยละ 40 เท่านั้น ที่เห็นว่าการให้ค่าทางการเงิน กับคุณค่าทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมีความสำ�คัญ (Saltuk, Idrissi, Bouri, Mudaliar, & Schiff, 2015) จนมาถึง ค.ศ. 2016 การสำ�รวจเดียวกันพบว่านักลงทุน ทางสังคมถึงร้อยละ 65 ใช้ตวั ชีว้ ดั ของ IRIS หรือเครือ่ งมือทีอ่ า้ งอิงตัวชีว้ ดั ของ IRIS ร้อยละ 37 ใช้เครือ่ งมือทีอ่ งค์กรสร้างขึน้ มาเองประกอบกับตัวชีว้ ดั ของ IRIS (GIIN Research Team, 2016) และบนเว็บไซต์ของ IRIS เอง ก็มกี ารแสดงรายชือ่ ของ องค์กรที่เน้นด้านผลลัพธ์ทางสังคม 197 แห่ง ที่ใช้ IRIS ในปัจจุบัน (Global Impact Investing Network, n.d.) นอกเหนือไปจากการสร้างคลังตัวชี้วัดทางสังคมอย่าง IRIS วงการการลงทุน เพือ่ สังคม (impact investing) มีความพยายามอืน่  ๆ อีกทีจ่ ะสร้างมาตรฐานการ วัดผลลัพธ์ทางสังคมร่วมกัน ได้แก่ ระบบการจัดอันดับและวิเคราะห์ผลลัพธ์ทาง สังคม GIIRS การพัฒนาตัวชีว้ ดั เฉพาะและใช้รว่ มกันในกิจการไมโครไฟแนนซ์ เช่น Social Performance Indicators tool (SPI4) ในขณะเดียวกันเครือ่ งมือทีใ่ ช้วดั ​ ผลลัพธ์ทางสังคมแบบเฉพาะกิจการก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน เช่น การ ประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) และการทดลองแบบสุม่ และ มีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trials: RCTs)


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

91

• วิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเริ่มมีจุดร่วมมากขึ้น (consensus) จุดร่วมที่มีมากขึ้นในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม คือ ความนิยมในการใช้ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) เพราะช่วยให้ผู้ประเมินเห็นภาพ กว้างของเหตุและผลของการเปลีย่ นแปลง ทดสอบความเป็นเหตุเป็นผล (logical) และสมมติฐานทีท่ งั้ อาจจะเชือ่ มโยงหรือไม่เชือ่ มโยงกันในการออกแบบกิจกรรมหรือ การประเมินผล (Flynn, Young, & Barnett, 2015) ซึ่งทั้งหมดช่วยให้กิจการ เพื่อสังคมปรับแก้ไขกลยุทธ์ได้และทำ�ให้มีวิธีการทำ�งานดีขึ้น (Jackson, 2013) ดังนัน้ การประเมินในหลายวิธจี งึ เน้นไปทีก่ ารเชือ่ มโยงหรือจับคู่ (mapping) ระหว่าง ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ ให้มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งจะช่วยให้กิจการตอบ คำ�ถามนักลงทุนหรือผูใ้ ห้ทนุ ได้ดขี น้ึ ว่าทรัพยากรทีใ่ ส่ลงไปนัน้ พัฒนาชีวติ ของผูไ้ ด้รบั ประโยชน์ในส่วนใด มากน้อยเพียงใด และลงลึกในระดับใด •  การรวมความคิดเห็นและความต้องการของผูม้ สี ว่ นได้เสีย (stakeholders) เข้ามาในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมมากขึ้น วรรณกรรมหลายฉบับกล่าวถึงการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมทีเ่ น้นกระบวนการ ไปที่ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder-based approach) ว่าเป็น​กระบวนการที่มี ประสิทธิภาพ (Edwards & Hulme, 1996; Najam, 1996; Christensen & Ebrahim, 2006; William & Taylor, 2013) กิจการเพือ่ สังคมหลายแห่งทำ�งาน ในประเด็นทางสังคมมากกว่าหนึ่งประเด็นและทำ�งานกับหลายภาคส่วน ดังนั้นจึง มีผมู้ สี ว่ นได้เสียอยูห่ ลายฝ่าย ซึง่ แต่ละฝ่ายต่างมีวตั ถุประสงค์ ความต้องการ ความ คาดหวังต่อความสำ�เร็จของกิจการเพื่อสังคมที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงความคาดหวัง ต่อความรับผิด (accountability) ของกิจการและการแสดงตัวชี้วัดของผลลัพธ์ ทางสังคม การเลือกวิธปี ระเมินผลลัพธ์ทางสังคมจึงควรตอบสนองต่อความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย การใช้ตัวชี้วัดหลายตัวจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ทีจ่ ะตอบสนองความต้องการของผูม้ สี ว่ นได้เสียได้หลายฝ่าย ซึง่ การจะเลือกตัวชีว้ ดั ตัวไหนหรือวิธปี ระเมินอย่างไรควรจะตัง้ ต้นจากความต้องการของผูม้ สี ว่ นได้เสียหลัก และเกิดจากการสานเสวนา (dialogue) กับผูม้ สี ว่ นได้เสียอย่างสมาํ่ เสมอ มากกว่า


92

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ทีก่ จิ การเพือ่ สังคมจะตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียว (European Union; OECD, 2015) •  การใช้วธิ กี ารหรือเครือ่ งมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมประกอบกันมากกว่า 1 วิธี ในแวดวงวรรณกรรมด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมยังมีการถกเถียงเรื่อง การใช้เครื่องมือประเมินในสองมุมมอง ได้แก่ เครื่องมือแบบที่ใช้ได้กับทุกกิจการ และแบบทีข่ น้ึ อยูก่ บั บริบทของกิจการ การใช้เครือ่ งมือเพียงประเภทเดียวทีเ่ หมาะสม กับทุกกิจการเพื่อสังคม (one-size-fits-all) ถูกคาดหวังว่าจะใช้ได้กับกิจการทุก แบบ โดยใช้ตวั ชีว้ ดั (indicators) หลักทีเ่ หมือนกัน โดยไม่ค�ำ นึงถึงขนาด ประเภท ของธุรกิจ ประเทศที่ตั้ง กลไกของรัฐที่กำ�กับดูแลและอื่น ๆ (Arvidson, Lyon, & McKay, 2013) อีกวิธีคิดที่ดูเหมือนจะมีวรรณกรรมเห็นพ้องด้วยในจำ�นวนที่​ มากกว่า คือ การใช้ตัวชี้วัดที่สะท้อนความแตกต่างของแต่ละกิจการเพื่อสังคม โดยเริ่มจากการระบุเครื่องมือวัดผลที่มีความเหมาะสมเฉพาะกับตัวกิจการก่อน (Nicholls, 2009) วรรณกรรมบางชิ้นสนับสนุนแนวคิดของการทำ�แนวทาง (guidelines) ทีน่ �ำ ไปใช้ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมทีม่ คี วามหลากหลายของกิจการ เพื่อสังคม ที่แต่ละกิจการมีกิจกรรมและผู้มีส่วนได้เสียที่แตกต่างกันมากกว่าที่จะ หาเครือ่ งมือเพียงชนิดเดียวทีจ่ ะเป็น “ยาวิเศษ” หรือใช้ได้กบั ทุกกิจการ (Mullins, Watson & Ham, 2010; Wilkes & Mullins, 2012) เช่นเดียวกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของสหภาพยุโรปในด้านการประกอบการเพื่อ สังคม (The Group of Experts of the European Commission on Social Entrepreneurship: GECES) ทีเ่ ห็นด้วยกับแนวคิดนีแ้ ละออกเอกสารแนะนำ�การ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมทีป่ รับมาจากหลักเกณฑ์การขอทุนด้านการประกอบการ เพือ่ สังคมของสหภาพยุโรป และเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการนวัตกรรมการจ้างงาน และนวัตกรรมทางสังคม GECES มองว่า ไม่มีชุดดัชนีใดที่ถูกคิดขึ้นมาให้ใช้วัด​ ผลลัพธ์ทางสังคมในแบบบนลงล่าง (top-down) ได้ทกุ กรณี ซึง่ ผลลัพธ์ทางสังคม ทีส่ ร้างโดยกิจการเพือ่ สังคมนัน้ มีอยูม่ ากมาย ดังนัน้ ไม่นา่ จะมีวธิ วี ดั ผลวิธเี ดียวทีจ่ ะ วัดผลลัพธ์ทางสังคมทุกประเภทได้อย่างถูกต้องและยุตธิ รรม (GECES Sub-group on Impact Measurement, 2014) เช่นเดียวกับผลจากการสำ�รวจกิจการเพื่อ สังคมด้านสุขภาพในสหราชอาณาจักรจำ�นวน 172 แห่ง โดยมิลลาร์และฮอลล์


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

93

(Millar & Hall, 2013) พบว่าไม่มีวิธีการวัดผลเพียงแบบใดแบบหนึ่งที่เหมาะกับ ทุกองค์กร (one-size-fits-all) แต่กิจการเพื่อสังคมจะนำ�เครื่องมือการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทและพลวัตของตนเอง เบรสท์และบอร์น (Brest & Born, 2013) ยกตัวอย่างการใช้ชุดตัวชี้วัดที่มี การใช้อย่างแพร่หลายอย่าง IRIS และการจัดอันดับ GIIRS ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ของการประเมินผลลัพธ์ แต่กย็ งั ไม่ชว่ ยแสดงให้เห็นผลลัพธ์ทางสังคมเท่าไรนัก เช่น หากนักลงทุนทางสังคมเชือ่ ว่าการจ้างงานช่วยลดความยากจนให้ผคู้ นในระดับฐาน พีระมิด (bottom of the pyramid: BOP) IRIS และ GIIRS จะบอกได้ว่าคน จำ�นวนเท่าไรได้รับการจ้างงานแต่ไม่ได้บอก “คุณค่าทางสังคม” ของการจ้างงาน นัน้  ๆ ข้อสังเกตนีไ้ ม่ได้บง่ บอกว่าเครือ่ งมือนีไ้ ม่มปี ระโยชน์ แต่เป็นเหตุผลของการ สนับสนุนให้พจิ ารณาเลือกใช้เครือ่ งมือหลายชนิดในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Twersky & Lindblom, 2012) อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้เครื่องมือหลาย ประเภทเกินไป หรือใช้ตวั ชีว้ ดั จำ�นวนมากเกินไปจะทำ�ให้องค์กรเสีย่ งต่อการ “จม” กับข้อมูลจำ�นวนมาก ซึ่งอาจจะเกิดกับองค์กรที่มีความรับผิด (accountability) ต่อผู้มีส่วนได้เสียหลายรายและต้องมีการรายงานข้อมูลจำ�นวนมาก เช่นเดียวกับงานของมุลแกน (Mulgan, 2010) ที่ระบุข้อควรระวังในการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมว่า เครื่องมือประเมินผลส่วนใหญ่ไม่สามารถช่วยผู้ที่จะ ต้องใช้ข้อมูลจากการประเมินในการตัดสินใจสำ�คัญทั้ง 3 ด้านพร้อม ๆ กัน ได้แก่ 1) การแสดงความรับผิดต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก  2) การใช้ข้อมูลเพื่อจัดการ ปฏิบัติการภายใน และ 3) การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ทำ�ให้การใช้เครื่องมือ ประเมินผลลัพธ์เพียงตัวใดตัวหนึง่ ไม่เพียงพอ หรือหากพยายามใช้เครือ่ งมือตัวเดียว ในการอธิบายทั้งสามด้านก็จะทำ�ให้ข้อมูลที่จะนำ�ไปใช้ไม่มีคุณภาพพอที่จะตอบ ด้านใดด้านหนึ่งเลย •  ก ารเข้ า ถึ ง วิ ธี ก ารประเมิ น ผลลั พ ธ์ ท างสั ง คมได้ ง่ า ยขึ้ น และการมี วิ ธี ก าร ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ครอบคลุมมากขึ้น ฟลอร์แมน, คลิงเลอร์-วิดรา, และฟากาดา (Florman, Klingler-Vidra & Facada, 2016) ได้รวบรวมจุดแข็งของวิธปี ระเมินผลลัพธ์ทางสังคมทีม่ อี ยูใ่ นปัจจุบนั


94

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ไว้วา่ เครือ่ งมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมหลายประเภทมีการใช้งาน (usability) ที่ ง่ายขึน้ และช่วยลดภาระของผูป้ ระเมินทีต่ อ้ งทำ�การประเมินเป็นประจำ� สามารถ เข้าถึงได้ทางออนไลน์และผูค้ ดิ ค้นวิธกี ารประเมินเปิดให้สาธารณชนใช้งานได้ เครือ่ ง­ มือหลายชนิดมีกลไกในการเก็บข้อมูลทีท่ นั สมัย ช่วยทำ�ให้ผใู้ ช้งานประหยัดเวลาได้ เช่น เครื่องมือ Social Impact Assessment (SIA) ของการแข่งขันแผนธุรกิจ เพื่อสังคม Global Social Venture Competition ที่มีการปรับเปลี่ยนข้อมูล ทุกปี และการจัดอันดับ B Rating ที่มีฐานข้อมูลออนไลน์และใช้งานง่าย ในขณะทีว่ ธิ ปี ระเมินหลายประเภทมีความครอบคลุม (inclusiveness) เพราะ รวบรวมผูม้ สี ว่ นได้เสียหลายฝ่ายเข้ามาในการสร้างวิธกี ารประเมิน เช่น บริษทั นัก ลงทุน บริษทั ทีป่ รึกษาและบุคคลทีส่ าม เช่น เครือ่ งมือ Dalberg Approach และ ใช้งานโดยรวบรวมข้อดีของเครือ่ งมืออืน่  ๆ เข้ามาด้วย เช่น การจัดอันดับ B Rating ทีส่ ร้างขึน้ จากการบูรณาการเครือ่ งมือหลายชนิดเข้าด้วยกัน (Olsen & Galimidi, 2008) นอกจากนี้ วิธปี ระเมินบางแบบช่วยให้มขี อ้ มูลป้อนกลับ (feedback) และ มีตัวอย่างการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) ให้ผู้ใช้งานได้ศึกษา โดยไม่ได้ บอกแต่เพียงข้อมูลด้านคะแนนหรือลำ�ดับที่ได้รับ เช่น เครื่องมือ Ecological Footprint ที่เชื่อมโยง​ผล​กระทบทางสิ่งแวดล้อมเข้ากับกิจกรรมที่ผู้คนทำ� ทำ�ให้ บริษัทเข้าใจว่าจะลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ณ จุดไหน อย่างไร ซึ่งเป็น เครื่องมือที่ให้มากกว่า “ลำ�ดับ” แต่ช่วยแนะถึงทิศทางที่กิจการควรจะทำ�ต่อไป 3.3 ปัจจัยที่ท�ำให้การวัดผลลัพธ์ทางสังคมเติบโต วรรณกรรมหลายฉบับได้กล่าวถึงเหตุผลทีก่ ารประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเป็นทีส่ นใจ และมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วว่ามีปัจจัยต่าง ๆ ที่ผลักดันดังนี้ • การเติบโตของการลงทุนเพื่อสังคม (impact investing) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระแสการลงทุนเพื่อสังคม (impact investing) หรือการลงทุนที่ต้องการสร้างผลลัพธ์เชิงบวกโดยเฉพาะต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

95

มากไปกว่าที่จะมุ่งเน้นแต่เพียงผลตอบแทนทางการเงิน (O’ Donohoe et al., 2015) ได้รบั ความสนใจอย่างมากจากภาคการลงทุน ภาคการกุศล ภาคธุรกิจและ รัฐที่ต่างเสาะหานวัตกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสังคม การลงทุนเพื่อสังคมเป็นวิธี ที่จะใช้ประโยชน์จากความมีประสิทธิภาพและระบบที่ดีของตลาดทุน (capital markets) มาใช้แก้ไขปัญหาสังคมและสิง่ แวดล้อม (Social Impact Investment Taskforce, 2014) ใน ค.ศ. 2016 การสำ�รวจนักลงทุนทางสังคมประจำ�ปี ของ JPMorgan Chase & Co. และ Global Impact Investing Network (GIIN) ที่ทำ�การสำ�รวจนัก ลงทุนทางสังคมจากสถาบันต่าง ๆ รวม 158 แห่งจากทั่วโลก ที่บริหารสินทรัพย์ รวมกันอยูท่ ี่ 77.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึง่ เป็นมูลค่าทีเ่ ติบโตขึน้ ประมาณร้อยละ 29 จากปีก่อนหน้า นักลงทุนทางสังคมเหล่านี้มีการลงทุนทางสังคมมูลค่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ. 2015 และมีแผนทีจ่ ะเพิม่ เงินลงทุนอีกร้อยละ 18 ใน ปีถัดไป ร้อยละ 99 ของนักลงทุนทางสังคมมีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ซึ่ง ร้อยละ 95 ให้ความเห็นว่าการวัดผลลัพธ์ทางสังคม “มีความสำ�คัญอย่างยิง่ ” ด้วย เหตุผลหลัก 4 ประการเรียงลำ�ดับดังนี้ (GIIN Research Team, 2016) •  การวัดผลลัพธ์ทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจในการทำ�ความเข้าใจ ผลลัพธ์ทางสังคม/สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการลงทุนขององค์กร •  นักลงทุนต้องการทำ�ความเข้าใจและพัฒนาผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดจากการ ลงทุนขององค์กร •  นกั ลงทุนมีพนั ธสัญญาต่อผูม้ สี ว่ นได้เสียในด้านผลลัพธ์ทางสังคม/สิง่ แวดล้อม •  นักลงทุนเชื่อว่าข้อมูลด้านผลลัพธ์ทางสังคม/สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าทางธุรกิจ คือ ช่วยในการปรับปรุงผลประกอบการทางการเงินของกิจการทีอ่ ยูใ่ นพอร์ต การลงทุน รวมทั้งเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจการลงทุนในอนาคต การสำ�รวจข้างต้นยังพบว่า นักลงทุนทางสังคมถึงร้อยละ 80 ใช้ขอ้ มูลผลลัพธ์ ทางสังคมของกิจการและโครงการทางสังคมทีเ่ ข้าไปลงทุนในการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึง่ นักลงทุนทางสังคมใช้ประโยชน์ของข้อมูลด้านผลลัพธ์ทางสังคมมากทีส่ ดุ ในช่วง การคัดเลือกกิจการทีจ่ ะลงทุนและการสอบทานกิจการ (due diligence) ทีร่ อ้ ยละ 63 รวมถึงใช้ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงการจัดการการลงทุน และตัดสินใจในการปัน


96

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

สัดส่วนการลงทุนในพอร์ตอีกพอ ๆ กันที่ประมาณร้อยละ 45 นอกจากนี้ การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพือ่ สังคมได้กลายมาเป็น สิง่ ทีร่ ฐั บาลในระดับสูงสุดให้ความสนใจ รวมทัง้ ผูน้ �ำ กลุม่ G8 ทีต่ อ้ งการขับเคลือ่ น เรื่องผลลัพธ์ทางสังคมให้เป็นส่วนหนึ่งของงานผลักดันตลาดการลงทุนทางสังคม และการเพิ่มเม็ดเงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดนี้ การแสดงผลลัพธ์ทางสังคมจึงกลาย เป็นเป้าหมายของบริษทั จำ�นวนมาก และไม่ได้จ�ำ กัดอยูแ่ ต่เพียงองค์กรหรือนักลงทุน ที่เน้นการกุศล การวัดผลลัพธ์ทางสังคมถือเป็นหัวใจของการลงทุนเพื่อสังคม และสำ�คัญต่อ การเติบโตของตลาดการลงทุนเพือ่ สังคม เพราะเป็นตัวบ่งบอกถึงผลลัพธ์ทางสังคม ที่การลงทุนเหล่านี้ได้สร้างขึ้น ซึ่งยิ่งจะช่วยพิสูจน์ว่าการลงทุนลักษณะนี้สร้างการ เปลีย่ นแปลงเชิงสังคมได้จริง หากไม่มกี ารวัดผลลัพธ์ทางสังคม การลงทุนเพือ่ สังคม คงเกิดขึน้ ไม่ได้ (Social Impact Investment Taskforce, 2014) ดังนัน้ กองทุน ทีต่ อ้ งการจะทำ�มากกว่าการประกาศว่าตัวเองสร้างคุณค่าร่วมหรือไตรกำ�ไรสุทธิลว้ น ต้องการทีจ่ ะประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในงานของตนเอง (Saltuk & Idrissi, 2015) จึงทำ�ให้เครือ่ งมือวัดผลลัพธ์ทางสังคมสำ�หรับภาคธุรกิจมีจ�ำ นวนเพิม่ มากขึน้ ดังนัน้ การวัดผลลัพธ์ทางสังคมทีม่ ปี ระสิทธิภาพจะสร้างคุณค่าให้ผมู้ สี ว่ นได้เสียทัง้ หมดที่ เกีย่ วข้องกับการลงทุนเพือ่ สังคม ช่วยขับเคลือ่ นเงินทุนทีม่ ากขึน้ สร้างความโปร่งใส ต่อผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น และมีความสำ�คัญมากในการแสดงถึงความรับผิด ขององค์กร (Jackson, 2013) • การเติบโตของกิจการเพื่อสังคม กิจการเพือ่ สังคมกำ�ลังกลายเป็นปัจจัยสำ�คัญของระบบเศรษฐกิจโลก (OECD; European Union, 2013) และกิจการเพือ่ สังคมกำ�ลังเกิดขึน้ อย่างท่วมท้น (Greico, 2015) รวมทัง้ เป็นธุรกิจประเภทใหม่ทมี่ คี ณ ุ สมบัตเิ ฉพาะตัวในการสร้างคุณค่าหรือ แก้ไขปัญหาสังคมตามพันธกิจหลักขององค์กร ด้วยตัวโครงสร้างกิจการที่มีความ ซับซ้อนมากกว่าธุรกิจทัว่ ไป การสร้างความเข้าใจและการรายงานผลลัพธ์ทางสังคม ให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เช่น รัฐ นักลงทุน ลูกค้าและกิจการเพื่อสังคมอื่น ๆ เกิด ความเข้าใจจึงเป็นสิ่งจำ�เป็น (European Union; OECD, 2015)


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

97

การวัดผลลัพธ์ทางสังคมเป็นเครือ่ งมือทีช่ ว่ ยกิจการเพือ่ สังคมเองในการตัง้ เป้า­ หมายทีอ่ ยูบ่ นพืน้ ฐานของความเป็นจริง ทำ�ให้เกิดการติดตามผล ปรับปรุงผลงาน จัดลำ�ดับความสำ�คัญในการตัดสินใจในเรือ่ งต่าง ๆ และเข้าถึงตลาดทุนอย่างมีโอกาส แข่งขันได้มากขึ้น (Nicholls, 2007) การวัดผลลัพธ์ทางสังคมไม่ใช่ปรากฏการณ์ ใหม่ กิจการเพื่อสังคมได้รับการคาดหวังมาโดยตลอดว่าต้องวัดผลลัพธ์ทางสังคม ของกิจการ (Nicholls, 2009) แต่สงิ่ ทีใ่ หม่คอื การวัดไปถึงระดับ “ผลลัพธ์” และ กระบวนการวัดและสังเคราะห์ผลลัพธ์ที่มีความเป็นมาตรฐานมากขึ้น (Jany-​ Catrice, 2015) อย่างไรก็ตาม ในสหภาพยุโรป องค์กรของรัฐทีเ่ ป็นผูใ้ ห้ทนุ หลักของกิจการเพือ่ สังคมกำ�ลังประสบปัญหาด้านงบประมาณและต้องมีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมี ความระมัดระวังมากกว่าในอดีต การที่กิจการเพื่อสังคมสามารถตอบคำ�ถามเรื่อง ผลลัพธ์ทางสังคมได้จึงเป็นสิ่งที่จำ�เป็นในการพิจารณาให้ทุนสนับสนุน 3.4 ความท้าทายในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม นอกจากการกล่าวถึงพัฒนาการ การแบ่งประเภท ความสำ�คัญของการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมแล้ว วรรณกรรมหลายฉบับได้กล่าวถึงความท้าทายและอุปสรรค ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเช่นกัน •  ความหมายของผลลัพธ์ทางสังคมที่หลากหลายและความไม่มีมาตรฐาน ตายตัวของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ในปัจจุบนั การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมยังไม่มกี ฎเกณฑ์ทตี่ ายตัว แต่นบั เป็น สิ่งที่มีพัฒนาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ (European Union; OECD, 2015) คำ�ว่าผลลัพธ์ทางสังคมเองก็ไม่ได้มเี พียงความหมาย เดียว และถูกตีความมาใช้แตกต่างกัน ส่วนหนึง่ ของความหมายของผลลัพธ์ทางสังคมทีป่ รากฏอยูใ่ นวรรณกรรมได้แก่ คลาร์ก, โรเซ่นซไวก์, ลอง, และโอลเซน (Clark, Rosenzweig, Long, & Olsen,


98

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

2003) ให้นิยามไว้ว่า “ผลกระทบทางสังคม (impact) หมาย​ถึง สัดส่วนของ ผลลัพธ์ (outcome) ที่เป็นผลมาจากกิจกรรมของกิจการที่นอกเหนือไปจากสิ่งที่ จะเกิดขึ้นเอง” คลิฟฟอร์ด (Clifford, 2014) ได้ให้นิยามของผลลัพธ์ทางสังคมว่าเกี่ยว​ข้อง กับคุณสมบัติ 4 ประการดังต่อไปนี้ •  คณ ุ ค่าทีส่ ร้างขึน้ จากผลพวงของกิจกรรมของใครคนใดคนหนึง่ (Emerson, Wachowicz, & Chun, 2000) •  คุณค่าที่ผู้ได้รับประโยชน์ประสบและคุณค่าที่ส่งผลกระทบต่อคนอื่น ๆ (Kolodinsky, Stewart, & Bullard, 2006) •  ผลกระทบที่เกิดขึ้นรวมทั้งเชิงบวกและเชิงลบ (Wainwright, 2002) •  ผลกระทบที่ถูกตัดสินจากสถานการณ์ที่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากกิจกรรมดัง กล่าวไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม (Clifford, 2014) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญของสหภาพยุโรปในด้านการประกอบการเพื่อสังคม (The Group of Experts of the European Commission on Social Entrepreneurship: GECES) ได้ให้ความหมายของผลลัพธ์ทางสังคมไว้ว่า “การสะท้อน ผลลัพธ์ดา้ นสังคมให้ออกมาในรูปแบบการวัดผลทัง้ ในระยะสัน้ และระยะยาว และ ปรับด้วยผลกระทบทีค่ นอืน่ สร้างขึน้ (alternative attribution) ผลกระทบทีเ่ กิด ขึน้ เองไม่วา่ จะอย่างไรก็ตาม (deadweight) และผลลัพธ์ทดแทน (displacement) และผลกระทบทีจ่ ะค่อย ๆ ลดลงเมือ่ ผ่านช่วงเวลาไป (drop off)” (GECES Subgroup on Impact Measurement, 2014) แผนกวิจยั และการประเมินผล (The Research and Evaluation Division: RED) ของกิจการเพือ่ สังคมระดับโลก BRAC ให้ความหมายของผลลัพธ์ทางสังคม ไว้ว่า “การเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตผู้คนอย่างยั่งยืนที่เกิดขึ้นเพราะการเข้าแทรกแซง (intervention) ทางใดทางหนึ่งโดยเฉพาะ” (Halder, 2004) ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกองทุนเพือ่ สังคม Acumen Fund ระบุวา่ ความท้าทายแรกของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม คือ การระบุวา่ “ผลลัพธ์ทางสังคม” คืออะไร และลงลึกไปถึงระดับไหน เช่น เพียงพิสูจน์แบบ จำ�ลองหรือแนวคิดของกิจการเพื่อสังคม ระดับผลผลิตหรือไปถึงระดับผลลัพธ์


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

99

(Trelstad, 2008) การกำ�หนดขอบเขตของผลลัพธ์เป็นส่วนสำ�คัญที่จะกำ�หนดว่า ต้องมีการใช้ทรัพยากรอย่างไรไปกับการประเมิน ซึ่งการขาดจุดร่วมกันของความ หมายของผลลัพธ์ทางสังคมและวิธีการวัดผลลัพธ์ทางสังคมที่ดีที่สุดทำ�ให้การนำ� วิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคมไปใช้งานจริงสะดุด (Maas & Liket, 2011) • การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ สูง การวัดผลไม่ได้ตอ้ งการแต่เพียงทักษะและผูเ้ ชีย่ วชาญเท่านัน้ แต่ยงั รวมไปถึง เวลา งบประมาณและความทุ่มเท และต้องการใช้ข้อมูลเชิงปริมาณที่มาจากการ ปฏิบัติงานและกระบวนการดำ�เนินธุรกิจ รวมทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นหลักคิด ในการดำ�เนินกิจการและวิถปี ฏิบตั ิ นอกจากนี้ การจัดทำ�รายงานอาจจะกลายเป็น ภาระอันใหญ่หลวง หลายองค์กรใช้เวลาไปกับการรายงานผลมากกว่าทีจ่ ะใช้เวลาคิด หากลยุทธ์ในการเพิ่มผลลัพธ์ทางสังคม (Florman, Klingler-Vidra, & Facada, 2016) การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมมีราคาสูง ยิง่ หากต้องการประเมินด้วยความถูก ต้องและแม่นยำ�ตามมาตรฐานแล้ว องค์กรอาจจะใช้เงินไปกับการประเมินมากกว่า เงินที่ลงทุนไปเสียอีก (McCreless, Fonzi, Edens, & Lall, 2014) รวมทั้งยังมี ผูใ้ ห้ทนุ จำ�นวนน้อยทีย่ นิ ดีจะสนับสนุนงบประมาณในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม แก่กิจการเพื่อสังคม กองทุน Acumen Fund เคยหารือกับภาควิชาการอย่าง Poverty Action Lab ของมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT) ใน การพยายามวัดผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการสำ�คัญของกองทุน เช่น ระบบการ​ กระจายสินค้าของผลิตภัณฑ์มุ้งที่ป้องกันมาลาเรียในทวีปแอฟริกาและการจัดหา​ นํ้าดื่มสะอาดให้ชุมชน ให้ลงลึกถึงระดับ “ผลลัพธ์” (outcome) กองทุนพบว่า​ การศึกษาผลลัพธ์ทางสังคมในลักษณะดังกล่าวมีราคาสูงถึง 250,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนมองว่าไม่สมเหตุสมผลที่จะจ่ายเงินจำ�นวนนี้เพื่อศึกษาการลงทุนที่ใช้ เงินไป 500,000 เหรียญสหรัฐ นอกเสียจากผลของการวิจยั จะนำ�มาปรับใช้กบั การ ลงทุนอื่น ๆ ในพอร์ตในอนาคตได้ กองทุนจึงยังจำ�กัดการประเมินผลส่วนใหญ่ใน ระดับผลผลิต (output) เท่านั้น (Trelstad, 2008)


100

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

อุปสรรคด้านต้นทุนของการประเมินนี้สอดคล้องกับผลการสำ�รวจกิจการเพื่อ สังคมด้านสุขภาพในสหราชอาณาจักร จำ�นวน 172 แห่งใน ค.ศ. 2011 ที่ได้รับ ทุนจากกองทุนกิจการเพือ่ สังคม (Social Enterprise Investment Fund: SEIF) SEIF ได้กำ�หนดให้กิจการที่ได้รับเงินสนับสนุนประเมินผลลัพธ์ทางสังคมโดยใช้ เครื่องมือผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) โดยมีเงินสนับสนุนค่า ประเมินให้กิจการบางส่วน การสำ�รวจพบว่าข้อกำ�หนดนี้ทำ�ให้กิจการเพื่อสังคม ต้องใช้เวลาและค่าใช้จา่ ยสูงไปกับการประเมิน องค์กรขนาดเล็กทีม่ ที รัพยากรจำ�กัด ใช้เครือ่ งมือนีไ้ ม่ได้ เมื่อทราบว่ากิจการเพือ่ สังคม Jamie Oliver’s Fifteen จ่าย เงินค่าประเมิน SROI ไป 45,000 ปอนด์​สเตอร์ลิง กิจการเพื่อสังคมหลายแห่ง มองว่าพวกเขาไปทำ�ประโยชน์อย่างอืน่ แทนได้มากมายด้วยเงินจำ�นวนมากขนาดนี้ (Millar & Hall, 2013) ในขณะทีง่ านวิจยั ของ Third Sector Research Centre (TSRC) ในสหราช­อาณาจักรระบุว่าค่าใช้จ่ายในการทำ� SROI ในโครงการขนาด เล็กจะอยู่ที่ 12,000–15,000 ปอนด์สเตอร์ลิง และ 40,000 ปอนด์สเตอร์ลิง สำ�หรับโครงการขนาดใหญ่ (Gordon, 2009 อ้างถึงใน Floyd, 2014) ส่วน ลีอองและคณะ (Lyon et al., 2010 อ้างถึงใน Floyd, 2014) ระบุวา่ การศึกษา SROI นั้นมีราคาแตกต่างกันตามขนาดของโครงการโดยเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณ 4,000 ปอนด์สเตอร์ลิงไปจนถึงหลายหมื่นหรือแสนปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งถือว่าเป็น ราคาที่สูงสำ�หรับกิจการเพื่อสังคมจำ�นวนมาก ต้นทุนการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมไม่ได้เป็นปัญหาสำ�คัญเฉพาะในชั้นของ การเริ่มต้นประเมินผลลัพธ์ทางสังคม แต่ยังเป็นอุปสรรคต่อการประเมินซํ้าหรือ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเป็นประจำ�ในอนาคต นอกเหนือจากอุปสรรคที่เกิดจาก ต้นทุนแล้ว การใช้เวลาและกำ�ลังคนในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมก็เป็นความ ท้าทายทีส่ �ำ คัญเช่นกัน องค์กรหลายแห่งไม่ได้ท�ำ งานในประเด็นสังคมเพียงประเด็น เดียวและไม่ได้รับเงินลงทุนหรือเงินสนับสนุนจากแหล่งทุนรายเดียว ดังนั้นการ ประเมินผลจึงต้องมีความหลากหลายและซับซ้อนตามประเด็นสังคมที่องค์กร ทำ�งานอยู่ และมีรูปแบบการรายงานที่แตกต่างกันไปตามที่นักลงทุนหรือผู้ให้ทุน กำ�หนดให้ รวมทัง้ การสร้างการเปลีย่ นแปลงทางสังคมมักใช้เวลาในการเกิดผลผลิต (output) และยิ่งให้ต่อเนื่องไปจนเกิดผลลัพธ์ (outcome) อาจใช้เวลานาน การ วัดผลลัพธ์ทจี่ ะเกิดขึน้ ก็จะต้องอาศัยเวลาตามไปด้วย ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านีล้ ว้ นทำ�ให้


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

101

กิจการเพื่อสังคมมีความยุ่งยากในการทำ�งาน (Bielefeld, 2009) จากการสำ�รวจของ J.P. Morgan และ GIIN ใน ค.ศ. 2015 พบว่าฝัง่ ผูใ้ ห้ทนุ มองว่า “ต้นทุน” เป็นอุปสรรคที่ส�ำ คัญของการประเมิน แต่ไม่ประสบปัญหาด้าน ทรัพยากรบุคคลหรือองค์ความรูใ้ นการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ร้อยละ 75 ของ นักลงทุนทางสังคมระบุว่าทีมลงทุน (investment team) เป็นผู้รับผิดชอบการ จัดการผลงานด้านสังคม/สิง่ แวดล้อม ร้อยละ 20 มีทมี หรือเจ้าหน้าทีท่ ท่ี �ำ หน้าทีน่ ี้ โดยเฉพาะ และมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก อย่างไร ก็ตาม ปัญหาทีน่ กั ลงทุนทางสังคมถึงร้อยละ 88 มองว่าเป็นปัญหาทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ใน การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมคือ ความสามารถของกิจการทีไ่ ด้รบั เงินลงทุนในการ วัดผลลัพธ์ทางสังคม (Saltuk, Idrissi, Bouri, Mudaliar, & Schiff, 2015) กิจการเพื่อสังคมจำ�นวนมากยังขาดความรู้และความเชี่ยวชาญในการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมด้วยตนเอง จะมีเพียงแต่กจิ การเพือ่ สังคมขนาดใหญ่ทดี่ �ำ เนินการ มานานนับสิบปีที่มีการลงทุนกับระบบการเก็บข้อมูล มีพนักงาน หรือแผนกที่ทำ� หน้าที่การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมโดยเฉพาะ เช่น BRAC, HCT Group และ Proximity Designs ในขณะทีก่ จิ การเพือ่ สังคมส่วนใหญ่ไม่มี และกิจการเพือ่ สังคม ขนาดเล็กยังดิ้นรนที่จะอยู่รอดในตลาดเพราะยังขาดแคลนทรัพยากรพื้นฐานที่ สำ�คัญ สหภาพยุโรป (2015) แนะนำ�ว่าผู้ให้ทุนไม่ควรมีการกำ�หนดกฎเกณฑ์อย่าง เข้มงวดว่ากิจการเพือ่ สังคมควรใช้ตวั ชีว้ ดั แบบนัน้ หรือวิธกี ารประเมินแบบนี้ หากแต่ ควรช่วยกิจการเพื่อสังคมพัฒนาตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับกิจการของตัวเอง ให้ทุน สนับสนุนในการประเมิน รวมทัง้ แบ่งปันผลการประเมินและวิธปี ฏิบตั ทิ ดี่ ที สี่ ดุ และ หากมีผู้มีส่วนได้เสียที่กำ�หนดให้กิจการเพื่อสังคมใช้ตัวชี้วัดหรือวิธีประเมินแบบ เฉพาะเจาะจง ผูม้ สี ว่ นได้เสียรายนัน้  ๆ ก็ควรเป็นผูร้ บั ผิดชอบต้นทุนในการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมเอง แนวคิดข้างต้นตรงกับผลการศึกษาของนิโน-ซาราซัวและโคปสเตค (Nino-​ Zarazua & Copestake, 2016) ที่ว่า หากการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมไม่ สามารถสร้างประสิทธิผลทางต้นทุนให้กจิ การเพือ่ สังคม (ผูร้ บั ทุน) ได้ ภาระต้นทุน ก็มกั จะตกอยูก่ บั นักลงทุนทีจ่ ะมีคา่ ใช้จา่ ยเพิม่ ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของ กิจการ เพราะผลลัพธ์ทางสังคมถือเป็น “คุณค่า” ทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ เจ้าของเงินทุน


102

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

เช่นกันในการแสดงความรับผิดต่อสินทรัพย์ทนี่ �ำ มาลงทุน และช่วยนักลงทุนในการ จัดลำ�ดับความสำ�คัญและเลือกกิจการในพอร์ตการลงทุน ตัวอย่างเช่นกองทุน Acumen Fund มีข้อกำ�หนดว่าจะไม่ให้กิจการเพื่อสังคมเก็บข้อมูลใด ๆ ที่ไม่มี ความสำ�คัญต่อกิจการในการจัดการธุรกิจและการให้บริการคนยากจน (เป้าหมาย ทางสังคมหลักของกองทุนและกิจการ) ไม่มกี ารเก็บข้อมูลทีร่ ะบบการจัดการข้อมูล ของกิจการเพื่อสังคมจัดการเองไม่ได้ ซึ่งถ้าระบบที่ว่าของกิจการไม่สามารถเก็บ ข้อมูลที่จำ�เป็นได้ กองทุนจะพิจารณาลงทุนในด้านเครื่องมือเก็บข้อมูลให้ หรือ กองทุนกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise Investment Fund: SEIF) ใน สหราชอาณาจักรที่มีการกำ�หนดให้ผู้รับทุนทำ�การประเมินโดยใช้เครื่องมือ SROI กองทุนให้การสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมให้ได้รับการอบรม และให้เงินสนับสนุน เพิ่มเติมในการประเมินโดยใช้ SROI (อ้างถึงใน Millar & Hall, 2013) กิจการเพื่อสังคมหลายแห่งใช้บริการจากบริษัทที่ปรึกษาที่ให้บริการในราคา พิเศษหรือแบบไม่มคี า่ ตอบแทน (pro bono) ทำ�ให้ลดต้นทุนการประเมินได้ แต่มี ข้อจำ�กัดคือการพัฒนาระบบการประเมินมักจะใช้เวลาประมาณ 18–24 เดือน ใน ขณะทีบ่ ริษทั ทีป่ รึกษามักจะมีเวลาทำ�งานลักษณะนีโ้ ดยทัว่ ไปเพียง 4 เดือน (Trelstad, 2008) นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลโดยอาศัยเทคโนโลยีทำ�ให้การประเมินมี ต้นทุนที่ตํ่าลง เช่น การเก็บข้อมูลแบบ SMS ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตชนบท หรือพื้นที่ชุมชนที่ยากจนทำ�ให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ราคาถูก และ ครอบคลุม การร่วมมือกันระหว่างองค์กรในการลงทุนทำ�ประเมินร่วมกันหากทำ�งานใน ประเด็นเดียวกันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ลดต้นทุนและทำ�ให้สามารถทำ�การประเมินใน ขนาดที่องค์กรเดียวไม่สามารถทำ�เองได้ การรวบรวมข้อมูลต่างองค์กรเข้าด้วยกัน ทำ�ให้เกิดประโยชน์จากขนาด ซึ่งหากกิจการเพื่อสังคมทำ�ให้ข้อมูลการประเมิน กลายเป็นข้อมูลสาธารณะ หรือออกแบบการประเมินในลักษณะที่ให้คนอื่น “นำ� ไปทำ�ต่อได้” ก็จะเป็นการแบ่งปันความรูไ้ ด้มากขึน้ (McCreless, Fonzi, Edens, & Lall, 2014) •  กจิ การเพือ่ สังคมยังไม่เห็นความสำ�คัญหรือประโยชน์ของการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคม


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

103

ลินเกนและโอลเซน (Lingane & Olsen, 2004) พบว่ากิจการเพื่อสังคมจะ ใช้เวลากับการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมก็ต่อเมื่อกลายเป็นประเด็นที่นักลงทุนให้ ความสำ�คัญหรือเมือ่ ผูใ้ ห้ทนุ หรือนักลงทุนบอกให้ท�ำ และเมือ่ ได้ลองทำ� กิจการเพือ่ สังคมจะเข้าใจประโยชน์ของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Pritchard, Ní Ógáin, & Lumley, 2012) กิจการระยะเริ่มต้น (start-up) ให้ ความสำ�คัญน้อยมากกับการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม เพราะยังอยู่ในช่วงที่ต้อง พิสูจน์ให้ได้ว่าแบบจำ�ลองธุรกิจของกิจการอยู่รอดได้และเติบโตได้ รวมทั้งกิจการ ยังต้องใช้เวลากับการจัดการด้านอื่น ๆ เช่น การขยายฐานลูกค้าและการจัดการ ต้นทุน กิจการจะเริ่มสนใจการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเมื่อดำ�เนินกิจการผ่านไป หลายปี เริม่ ต้องการหาแหล่งทุนทีเ่ ป็นระบบ เริม่ มีการวางกลยุทธ์ทที่ �ำ ให้กจิ การมี อิสระมากขึน้ หรือเริม่ มีชอื่ เสียงและต้องพิสจู น์ให้ได้วา่ งานของกิจการมีคณ ุ ค่าทาง สังคม (Nino-Zarazua & Copestake, 2016) กิจการเพื่อสังคมอาจมองว่าการวัดผลลัพธ์ทางสังคมเป็นภาระ มากกว่าจะมี ประโยชน์ในการเป็นแหล่งให้ขอ้ มูลเพือ่ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือเป็น เครื่องมือที่ช่วยด้านการจัดการ (Social Enterprise Partnership UK, 2003) กิจการทีต่ อ่ ต้านเรือ่ งการประเมินผลอาจเกิดจากความไม่คนุ้ เคยกับแนวคิดด้านการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และความกังวลที่ว่ากิจการจะเสียจุดยืน อย่างไรก็ตาม จากการสำ�รวจฝัง่ นักลงทุนทางสังคมพบว่ามีนกั ลงทุนไม่ถงึ ร้อยละ 1 ทีไ่ ม่สนใจการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคม นักลงทุนทางสังคมต้องการข้อมูลการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมมากที่สุดในช่วงการคัดเลือกกิจการที่จะเข้าไปลงทุนและการสอบทาน กิจการ (due diligence) (GIIN Research Team, 2016) ดังนั้นการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมจึงเป็นสิ่งที่กิจการเพื่อสังคมหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อต้องระดมทุน กิจการเพื่อสังคมจะยอมรับการประเมินได้หากพิสูจน์ได้ว่าผลการประเมิน นำ�ไปใช้ปรับปรุงการดำ�เนินธุรกิจได้ และเป็นข้อมูลที่ใช้ในการจัดการความเสี่ยง การทำ�ความเข้าใจตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนากระบวนการทำ�งานได้ การที่จะทำ�ให้การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งในการทำ�งานทุกวันของ กิจการเพื่อสังคมและผู้ให้ทุนนั้น การ “ปรับ” วัฒนธรรมองค์กรถือเป็นปัจจัย สำ�คัญ การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมควรเป็นเครื่องมือที่คนทั้งองค์กรใช้ทำ�ความ เข้าใจ วิเคราะห์ เรียนรู้ และสือ่ สารถึงการเปลีย่ นแปลงทีอ่ งค์กรได้สร้างขึน้ มากกว่า


104

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

จะรู้สึกว่าเป็นอีกภาระหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาในขั้นตอนการทำ�งาน หรือเป็นเพียงแบบ ฟอร์มที่ต้องกรอก (อย่างไรก็ตาม การปรับวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเอื้อต่อการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมนี้ง่ายกว่าสำ�หรับกิจการเพื่อสังคมขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรบุคคลและการเงินพร้อมกว่า) (European Union; OECD, 2015) •  การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมบางประเภทมีความเป็นอัตวิสยั (subjective) วิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคมหลายประเภท เช่น การจัดอันดับและการให้ คะแนนในประเด็นต่าง ๆ ผลที่ได้จะขึ้นอยู่กับคนออกแบบวิธีประเมินผลที่คิดว่า อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุดหรือสำ�คัญที่สุด หรือเป็นวิธีการประเมินที่มุ่งเน้น เรื่องอะไร การให้คะแนนออกมาเป็นเชิงปริมาณจะมาจากการพิจารณาคุณค่าใน แต่ละด้านทีจ่ ะสอดคล้องกับความเชือ่ ของผูใ้ ห้คะแนนว่าแต่ละประเด็นนัน้ “ควร” เป็นอย่างไร แต่ตัวเลขที่ให้อาจจะไม่ได้ให้ข้อมูลถึงผลลัพธ์ทางสังคมทั้งหมดที่เกิด ขึ้นว่าเกิดขึ้นหรือไม่ หรือเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด คะแนนเป็นเพียงตัวช่วยให้เกิด การย่อยข้อมูลด้านผลลัพธ์ทางสังคมให้เข้าใจง่ายขึน้ (Florman, Klingler-Vidra, & Facada, 2016) เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ที่มีการให้คะแนนในการจัดอันดับหรือค่าแทน (proxy) อาจจะลดทอนความน่าเชือ่ ถือของผลลัพธ์ทางสังคม ลดความโปร่งใส เพิม่ ความเป็นอัตวิสัย หรือที่แย่ไปกว่านั้นคือองค์กรที่ถูกประเมินจะปรับพฤติกรรม ตัวเองเพือ่ เพิม่ คะแนนหรือค่าแทนให้มากขึน้ มากกว่าทีจ่ ะสนใจผลลัพธ์ทางสังคมที่ เกิดขึน้ จริง เช่น การใช้ SROI ทีผ่ ลลัพธ์ทางสังคมแต่ละเรือ่ งจะมี “ค่าแทน” ทาง​ การเงินที่ผู้ประเมินกำ�หนดให้ ซึ่งอาจจะมีความเป็นอัตวิสัยได้ โดยเฉพาะผลลัพธ์ ที่ “อ่อน” เช่น ความมั่นใจ และความภูมิใจในตนเอง (Sheridan, 2011) มุลแกน (Mulgan, 2010) ได้แสดงความเห็นไปทิศทางเดียวกันว่า ตัวชี้วัด ส่วนใหญ่มีสมมติฐานว่า “คุณค่า” ทางสังคมมีความเป็นภววิสัย (objective) ซึ่ง ในความเป็นจริงนั้นการทำ�งานด้านสังคมมักไม่มีกฎเกณฑ์ที่แข็งทื่อหรือตายตัว มนุษย์จะมีความนึกคิดเป็นของตนเอง รวมทัง้ มีประเด็นทางสังคมจำ�นวนมากทีผ่ คู้ น ยังถกเถียงกันไม่จบว่า “ผลลัพธ์” ทีน่ า่ พึงพอใจในเรือ่ งนัน้ ควรเป็นอย่างไร เพราะ แต่ละบุคคลมีจริยธรรม คุณธรรม และการจัดลำ�ดับความสำ�คัญทีไ่ ม่เหมือนกัน เช่น


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

105

การวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสังคมด้านการป้องกันอาชญากรรมด้วยเครือ่ งมืออย่างการ วิเคราะห์ประสิทธิภาพต้นทุน (cost-benefit analysis) เพื่อพิสูจน์ว่าการขัง นักโทษไว้ในคุกมีต้นทุนทางสังคมที่มากกว่าวิธีอื่น ๆ แต่ผู้คนจำ�นวนมากก็เลือกให้ มีการขังคุกอาชญากรเพราะคิดว่าเป็นการลงโทษที่ดี ดังนั้น “คุณค่า” ที่ได้จาก การประเมินจึงอาจไม่ได้ช่วยอะไรกับการตัดสินใจด้านนโยบายหรือการปฏิบัติ • ความโปร่งใสของกระบวนการ สืบเนือ่ งจากการทีก่ ารวัดผลลัพธ์ทางสังคมถูกวิพากษ์วจิ ารณ์ในด้านความเป็น​ ภววิสัยและมีความซับซ้อนจึงส่งผลให้เกิดความเคลือบแคลงในความโปร่งใสของ กระบวนการประเมิน บีเลเฟลด์ (Bielefeld, 2009) ระบุวา่ “คุณค่า” หลายด้าน ทางสังคมไม่สามารถวัดออกมาได้ ทำ�ให้การวัดผลทางสังคมให้มีคุณภาพเป็น เรื่องยาก และหลายครั้งกิจการเพื่อสังคมต้องอาศัยองค์กรภายนอกเข้ามาช่วยใน ด้านเทคนิคการประเมินและช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมหลายประเภทตั้งต้นจากข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูล สาธารณะ เครือ่ งมือหลายชนิดทีม่ กี ารวิเคราะห์ในบรรยากาศแบบปิดมากกว่าการ เปิดเผยให้สาธารณะรับรู้ ทำ�ให้สาธารณชนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องหรือ บ่งชีถ้ งึ ข้อผิดพลาดได้ เช่น HIP Scorecard ใช้ขอ้ มูลจากการสัมภาษณ์และข้อมูล ทุติยภูมิก่อนจะให้คะแนนและจัดอันดับ หรือการตอบคำ�ถาม 20–170 ข้อกับ B Lab ก่อนทีจ่ ะให้คะแนนและจัดอันดับ B Rating (Florman, Klingler-Vidra, & Facada, 2016) ดังนั้นผู้ใช้ข้อมูลจากเครื่องมือประเมินเหล่านี้จะตัดสินใจเอง ไม่ได้ว่าผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเป็นอย่างไร หรือคะแนนที่ได้ในแต่ละหมวด มีที่มาที่ไปหรือเหตุผลประกอบอย่างไร การแบ่งปันและการเปิดเผยข้อมูลจากการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเป็น สิ่งสำ�คัญที่จะช่วยให้เห็นความโปร่งใสของเครื่องมือแต่ละประเภท ผู้มีส่วนได้เสีย ควรสร้างประโยชน์ให้การวัดผลของ “วงการ” มากกว่าลำ�พังประโยชน์ขององค์กร ของตนเอง ซึง่ การแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันและการสร้างมาตรฐานในการประเมิน ก็เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำ�งานร่วมกันของกองทุน Acumen Fund ในการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลร่วมกับกูเกิล (Google) มูลนิธ​ิ


106

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

สกอล (Skoll Foundation) มูลนิธิ Lodestar และบริษทั Saleforce.com และ การพัฒนาคลังตัวชี้วัด IRIS ที่เกิดจากการทำ�งานร่วมกันอย่างต่อเนื่องของมูลนิธิ ร็อคกีเ้ ฟลเลอร์และแหล่งทุนทางสังคมอีกหลายสถาบันอยูห่ ลายปี ก่อนจะเผยแพร่ องค์ความรู้ต่อสาธารณะ 3.5 การคาดการณ์อนาคตของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม คณะทำ�งานด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่อยู่ภายใต้ Social Impact Investment Taskforce (2014) ได้ระบุวิสัยทัศน์ระยะยาวของการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมว่า ภาพอนาคตของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและระบบการ รายงานที่ช่วยส่งเสริมให้ข้อมูลด้านผลลัพธ์ทางสังคมที่มีคุณภาพดีมีมากขึ้นควร​ เป็นอย่างไร (Social Impact Investment Taskforce, 2014) ซึง่ คณะทำ�งานฯ  ได้แบ่งทิศทางการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ ดังต่อไปนี้ 1. ระยะเริม่ ต้น (emergence) องค์กรต่าง ๆ พัฒนาเครือ่ งมือวัดผลในแบบ เฉพาะของตัวเอง ข้อมูล การรายงาน และวิธีวัดผลลัพธ์ทางสังคมจะใช้เฉพาะ ภายในองค์กร ไม่เปิดเผยสู่สาธารณะ เช่น Impact Assessment Dashboard ขององค์กร Endeavor และรวมถึงการที่บางองค์กรที่แบ่งปันองค์กรอื่น ๆ ให้นำ� เครือ่ งมือวัดผลลัพธ์ทางสังคมทีอ่ งค์กรของตนคิดค้นไปใช้ได้ แต่กระบวนการวัดผล ก็อาจจะเหมาะกับการวัดผลลัพธ์ทางสังคมของกิจกรรมเฉพาะรูปแบบเท่านัน้ เช่น เครือ่ งมือ BACO Methodology ของกองทุนเพือ่ สังคม Acumen Fund แนวคิด ขั้นเริ่มต้นที่ว่านี้ตรงกับวรรณกรรมของแมคเครเลส ฟอนซี อีเดนส์ และลอล (McCreless, Fonzi, Edens, & Lall, 2014) ที่เรียกพัฒนาการในช่วงแรกของ การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมว่า Metrics 1.0 คือ เน้นการประเมินเพื่อแสดง ความรับผิด แต่ละองค์กรที่ลงทุนในด้านสังคมเริ่มระบุผลผลิตและผลลัพธ์รวมถึง รายงานผลลัพธ์ทางสังคมของตนเอง และเริม่ สอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากผูไ้ ด้รบั ทุน 2. ระยะเห็นพ้องต้องกัน (consensus) เริ่มมีวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) และแนวทางในการวัดผลลัพธ์ทางสังคมของแต่ละองค์กรมีจุดร่วมกัน ได้แก่ เครื่องมือวัดผลที่เหมาะสำ�หรับการใช้เฉพาะประเภทของปัญหาสังคมหรือ


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

107

เฉพาะภูมภิ าค เช่น แนวปฏิบตั ใิ นการวัดผลลัพธ์ทางสังคมของสมาคม European Venture Philanthropy Association (EVPA) ในยุโรป หรือแนวปฏิบัติการวัด​ ผลลัพธ์ทางสังคมทีแ่ พร่หลายในระดับโลก เช่น คูม่ อื การวัดผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุน (SROI) โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักร หรือคูม่ อื การรายงานของ UN Global Compact ขององค์การสหประชาชาติ ซึง่ เป็นข้อแนะนำ�หรือเครือ่ งมือใน การปฏิบัติแต่ไม่ใช่มาตรฐานที่ใช้บังคับ 3. ระยะมาตรฐาน (standardization) มีมาตรฐานการวัดผลและมีการ เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ทั้งที่เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจและมาตรฐานแบบ บังคับ การวัดผลลัพธ์ทางสังคมที่เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจได้แก่ชุดตัวชี้วัด IRIS และการจัดอันดับ GIIRS เป็นต้น ในขณะที่มาตรฐานแบบบังคับด้านการรายงาน ผลลัพธ์ทางสังคมยังไม่มใี นปัจจุบนั แต่หากจะเปรียบกับการรายงานผลทางการเงิน ก็อาจจะเปรียบได้กับมาตรฐานบัญชี U.S. Generally Accepted Accounting Principles (GAAP) เป็นต้น ขัน้ มาตรฐานนีอ้ าจเรียกได้วา่ อยูใ่ นช่วง Metrics 2.0 คือ การมีมาตรฐานร่วมกันเพือ่ ทีจ่ ะสร้างความแตกต่างของการลงทุนเพือ่ สังคมให้ แตกต่างจากการลงทุนทัว่ ไป มีการแสดงผลลัพธ์ทางสังคมให้มคี วามโดดเด่นขึน้ มี การส่งเสริมให้มกี ารเปรียบเทียบข้อมูล มีเงินทุนไหลเข้าสูต่ ลาดมากขึน้ จึงต้องมีการ พัฒนามาตรฐานที่จะใช้ร่วมกัน 4. ระยะบูรณาการ (integration) เป็นอนาคตในระยะไกล คือ เมือ่ มาตรฐานการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมได้กลายเป็นส่วนหนึง่ ของตลาดอย่างเป็นทางการ เช่น เป็นกฎในการรายงานและการเปิดเผยข้อมูล ซึง่ ยังไม่มวี ธิ ปี ฏิบตั หิ รือมาตรฐาน นี้อยู่สำ�หรับการรายงานผลลัพธ์ทางสังคมในปัจจุบันเช่นกัน หากเปรียบเทียบกับ กลไกอืน่ ในตลาดทุนก็อาจจะใกล้เคียงกับการรายงานของบริษทั จดทะเบียนทีต่ อ้ ง ปฏิบัติตามกฎของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักการบัญชีที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เป็นต้น เมื่อนำ�ขั้นตอนทั้งสี่มาจับคู่กับวิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคมประเภทต่าง ๆ จะ เห็นถึงวิวัฒนาการของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมดังแผนภาพ 10 อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการมุ่งไปถึงการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมขั้น บูรณาการตามแนวคิดของ Social Impact Investment Taskforce (2014)


108

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

แล้ว แมคเครเลส, ฟอนซี, อีเดนส์, และลอล (McCreless, Fonzi, Edens, & Lall, 2014) ได้เสนอวิวฒ ั นาการทีต่ อ่ เนือ่ งจากยุค Metrics 1.0 และ Metrics 2.0 เพิม่ เติมได้แก่ยคุ Metrics 3.0 ทีเ่ น้นเรือ่ งการสร้างคุณค่า (value creation) วรรณกรรมเสนอให้มีการบูรณาการตัวชี้วัดทางสังคมเข้าไปกับตัวชี้วัดด้านการเงินและ การปฏิบัติงาน เพื่อช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการได้ดีขึ้น ช่วยปรับปรุง การจัดสรรทรัพยากร สร้างประสิทธิผลและผลลัพธ์ทางสังคมที่มากขึ้น Metrics 3.0 จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร ส่วนใหญ่องค์กรจะมีแผนกวัดผ​ ลลัพธ์ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมแยกออกมา มีการเก็บข้อมูลด้วยระบบเฉพาะและดูแล ข้อมูลโดยพนักงานทีท่ �ำ หน้าทีน่ โี้ ดยเฉพาะ การทีม่ ขี อ้ มูลผลลัพธ์ทางสังคมทีด่ หี รือ ละเอียดแต่ไม่ได้ถูกนำ�มาบูรณาการเข้ากับข้อมูลด้านการเงินและการปฏิบัติการ แล้ว ข้อมูลส่วนนั้นก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการวางแผนกลยุทธ์ในระยะยาว เช่น หากองค์กรผูใ้ ห้ทนุ อย่าง Root Capital มีการให้สนิ เชือ่ การเกษตรและวัดผลด้าน รายได้ทเี่ พิม่ ขึน้ ของเกษตรกรเมือ่ ได้รบั สินเชือ่ แต่ไม่ได้น�ำ มาผนวกเข้ากับข้อมูลด้าน รายได้ที่คาดหวังจากสินเชื่อ ต้นทุนในการปฏิบัติการ และความเสี่ยงของสินเชื่อ แต่ละราย ผูท้ จี่ ะต้องวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจก็อาจจะไม่สามารถนำ�ข้อมูลผลลัพธ์ ทางสังคมมาตัดสินใจในการจัดการพอร์ตโฟลิโอสินเชือ่ หรือวางกลยุทธ์หาลูกค้าใหม่ ได้ ถึงกระนั้น การผนวกรวมข้อมูลผลลัพธ์ทางสังคมเข้ากับผลประกอบการทาง​ การเงินก็ยังมีความท้าทายอยู่มาก 3.6 การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุนในประเทศไทย งานวิจยั ในส่วนนีศ้ กึ ษาถึงกรอบคิดและเครือ่ งมือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของ กิจการเพือ่ สังคมและโครงการเพือ่ สังคมในประเทศไทย โดยอาศัยข้อมูลจากวรรณกรรมปริทศั น์และการสัมภาษณ์กลุม่ กิจการเพือ่ สังคมรวมถึงหน่วยงานทีส่ นับสนุน กิจการเพื่อสังคม รวม 26 องค์กร เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560 งานประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพือ่ สังคมในประเทศไทยยังอยูใ่ นช่วง เริ่มต้นและยังมีรายงานของกิจการเพื่อสังคมที่เผยแพร่สู่สาธารณะในจำ�นวนน้อย


ลักษณะการประเมินผล

ตัวอย่าง

แนวปฏิบัติ ในระดับองค์กร (เปิดเผย)

•  แนวปฏิบัติ BACO ของกองทุน Acumen Fund •  หลักการวัดผลลัพธ์ ของมูลนิธิ Gates Hewlett และ ร็อคกี้เฟลเลอร์ •  กรอบคิด DOTS ของ IFC

แนวปฏิบัติ ในระดับองค์กร (ไม่เปิดเผย)

•  แนวปฏิบัติ ขององค์กร Endeavor •  แนวปฏิบัติของ บ. Sonen Capital

ขั้นเริ่มต้น

•  ระเบียบวิธิการ ประเมินผลตอบแทน ทางสังคมจากการ ลงทุน (SROI) •  แนวทางปฏิบัติการ รายงานของ UNGC •  กรอบคิด International Integrated Reporting Framework

แนวปฏิบัติเฉพาะ เรื่องและในระดับโลก (ทางเลือก) •  ชุดตัวชี้วัด IRIS •  การจัดอันดับ Global Impact Investing Rating System (GIIRS) •  คณะกรรมการว่า ด้วยมาตรฐานทาง บัญชีความยั่งยืน (Sustainability Accounting Standards Board—SASB)

มาตราฐาน (ทางเลือก)

ขั้นบูรณาการ

•  มาตรฐานรายงาน ทางการเงินระหว่าง ประเทศ (IFRS) •  มาตรฐานการบัญชี ของสหรัฐอเมริกา (US GAAP)

•  กฎเกณฑ์ด้านหลัก ทรัพย์ เช่น ของ  กลต. หรืออื่นๆ •  ข้อบังคับในการ เปิดเผยข้อมูล เช่น การรายงานที่ค่อยๆ  มีการพัฒนาหรือ ตามระเบียบของ สหภาพยุโรป

การเทียบเคียงมาตรฐานอื่นๆ ที่มีในตลาด (ยังไม่มีตัวอย่างจริง)

การรายงานอย่างเป็น ทางการและข้อบังคับ ในการเปิดเผยข้อมูล

เป้าหมายระยะยาว มาตราฐาน (สิ่งที่ต้องทำ�)

ขั้นมาตรฐาน

แผนภาพ 10 วิวัฒนาการของตลาดและเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ที่มา: Social Impact Investment Taskforce (2014)

•  มาตรฐานสหภาพ ยุโรป (GECES) •  แนวปฏิบัติของ สมาคม EVPA •  แนวปฏิบัติของ NPC

แนวปฏิบัติเฉพาะ เรื่องและในระดับ ภูมิภาค (ทางเลือก)

ปัจจุบัน

เป้าหมายระยะสั้น

ขั้นเห็นพ้องต้องกัน


110

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

มาก การพัฒนากิจการเพือ่ สังคมในประเทศไทยยังอยูใ่ นช่วงเริม่ ต้นและยังไม่มกี าร เรียกร้องการรายงานผลลัพธ์ทางสังคมจากผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่าง ๆ เช่น ลูกค้า คู่ค้า ผู้สนับสนุนและนักลงทุนมากนัก จากการศึกษาวรรณกรรมปริทัศน์ รายงานการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมใน ประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. งานวิชาการด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม เช่น บทความในวารสาร วิชาการเพื่อทดสอบการใช้เครื่องมือการประเมินฯ กับกิจการเพื่อสังคม และงาน วิจัยเพื่อผลักดันนโยบายสาธารณะให้กิจการเพื่อสังคมบางประเภท งานประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมทีพ่ บในส่วนนีป้ ระกอบไปด้วยเครือ่ งมือวัดผ​ ลลัพธ์ทางสังคมอย่าง ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) และการประเมินผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุน (SROI) ตัวอย่างการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม

•  การศึกษาการประเมินผลด้วยเครื่องมือวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการ ลงทุนต่อการประกอบการเพื่อสังคม: กรณีศึกษาธนาคารปู จ.ชุมพร

สุชาติ เอกไพฑูรย์ (2554) ประยุกต์เครื่องมือวัดผลตอบแทนทางสังคมจาก​ การลงทุน (SROI) เพือ่ วัดผลลัพธ์ของโครงการธนาคารปู บ้านเกาะเตียบ จ.ชุมพร ซึง่ เป็นการพัฒนาธุรกิจเพือ่ สังคมทีด่ �ำ เนินการโดยชาวบ้านในพืน้ ที่ มีหน่วยงานภาค รัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมให้การสนับสนุน โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัด ทางสังคม เช่น รายได้ครัวเรือนของสมาชิก ส่วนต่างค่านาํ้ มันทีล่ ดลงจากการทีไ่ ม่ ต้องไปหาปูไกล ๆ ส่วนต่างราคาของค่าลอบที่กลุ่มซื้อในราคาส่ง หนี้สินครัวเรือน ของสมาชิก มูลค่าสวัสดิการที่สมาชิกได้รับ รายได้เพิ่มขึ้นจากการจับปู ลดความ จำ�เป็นทีต่ อ้ งออกไปหางานทำ�นอกถิน่ ฐาน และลดงบประมาณในการช่วยเหลือจาก ภาครัฐ ฯลฯ ผลการคำ�นวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของโครงการนี้เท่ากับ 58.82:1 หรือการลงทุน 1 บาทสามารถสร้างผลตอบแทนได้ 58.82 บาท ณ อัตราคิดลดที่ร้อยละ 5.1 ต่อปี


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

111

•  ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ของการดำ�เนินงานสนับสนุนการสร้าง รายได้ที่ยั่งยืนของคนพิการใน จ.นครพนม เดชรัต สุขกำ�เนิด และคณะ (2555) ได้คำ�นวณมูลค่าผลตอบแทนทางสังคม เพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนข้อเสนอแนะในการสร้างอาชีพอิสระและการ ประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมของคนพิการเสนอต่อสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคน พิการ (สสพ.) โดยใช้กรณีศึกษาจาก 1) โครงการพัฒนาอาชีพและเพิ่มศักยภาพ ด้านธุรกิจสำ�หรับคนพิการ และ 2) โครงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจขนาดย่อมสำ�หรับคนพิการ โดยมีระยะเวลาการประเมินย้อนหลังทัง้ สิน้ 3 ปี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) โครงการพัฒนาอาชีพและเพิ่มศักยภาพด้านธุรกิจสำ�หรับคนพิการ โครงการข้างต้นมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาอาชีพคนพิการที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายในกลุ่มคนพิการ และร่วมสร้างองค์ความรู้สำ�หรับการเริ่ม ต้นธุรกิจทีส่ ามารถนำ�ไปปฏิบตั ไิ ด้จริง โดยใช้กรณีศกึ ษาของกลุม่ คนพิการ อ.นาทม จ.นครพนม ทีเ่ ข้าร่วมกลุม่ ทำ�พวงหรีดเป็นอาชีพเสริม และวัด​ผลลัพธ์ทางสังคมใน 3 ด้าน ได้แก่ รายได้ทเี่ พิม่ ขึน้ สุทธิ ค่าสูญเสียโอกาสในการทำ�งาน และค่าความรู้ ที่ได้เพิ่มเติม ผลการคำ�นวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของโครงการนี้เท่ากับ 2.18 บาทต่อการลงทุน 1 บาท 2) โครงการพัฒนาทักษะการเป็นผูป้ ระกอบการธุรกิจขนาดย่อมสำ�หรับคนพิการ โครงการดังกล่าวจะคัดเลือกคนพิการทั้งสิ้น 31 ราย เพื่อเข้าสู่กระบวนการ พัฒนาทักษะการเป็นผูป้ ระกอบการตามแนวทางของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยทำ�การคำ�นวณผลตอบแทนทางสังคมจากการ ลงทุนของผู้เข้าร่วมโครงการจำ�นวน 2 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูหลุม และ เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งกบ ในส่วนการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของเกษตรกรทัง้ 2 ราย ผู้ประเมินดูผลลัพธ์ทางสังคมใน 3 ด้าน ได้แก่ รายได้ที่เพิ่มขึ้นสุทธิ ค่าสูญเสีย โอกาสในการทำ�งาน และค่าความรู้ที่ได้เพิ่มเติม ผลการคำ�นวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู


112

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

หลุม เท่ากับ 2.42 บาทต่อการลงทุน 1 บาท และของเกษตรกรผูเ้ ลีย้ งกบ เท่ากับ 1.68 บาทต่อการลงทุน 1 บาท ตามลำ�ดับ 2. งานประเมินผลลัพธ์ทางสังคมขององค์กรภาครัฐทีท่ �ำ งานสร้างผลลัพธ์ทาง สังคม และต้องมีการรายงานผลต่อรัฐหรือสือ่ สารต่อสาธารณะถึงการเปลีย่ นแปลง ทางสังคมที่องค์กรได้สร้างขึ้น งานประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่พบในส่วนนี้ใช้ เครื่องมือวัดผลลัพธ์ทางสังคมอย่างการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการ ลงทุน (SROI) ตัวอย่างการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม

• การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) การดำ�เนินงาน ของสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.)

สสส. มีวิสัยทัศน์ที่มุ่ง “จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน และพัฒนาสู่ระบบ สุขภาพทีพ่ งึ ประสงค์” โดยในแต่ละปีจะทำ�หน้าทีส่ นับสนุนงบประมาณราว 3,000 ล้านบาท เพือ่ ดำ�เนินการสร้างเสริมสุขภาพผ่านโครงการกว่า 1,000 โครงการ เมือ่ พ.ศ. 2555 สสส. ร่วมมือกับมูลนิธริ อ็ คกีเ้ ฟลเลอร์ สนับสนุนการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์เพื่อประเมินความคุ้มค่าด้านผลประโยชน์ทางสังคม (ย้อนหลัง) จากการ ดำ�เนินการ โดยแบ่งออกเป็นการวิเคราะห์โครงการในระดับมหภาคและจุลภาค โดยแต่ละโครงการจะมีกรอบระยะเวลาการประเมินที่แตกต่างกัน คณะวิจัยสรุป ผลการคำ�นวณ และผลลัพธ์ทางสังคมได้ดังตาราง 6 3. งานประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพือ่ สังคม ทีไ่ ด้รบั เงินให้เปล่าจาก หน่วยงานของรัฐ หรือเงินลงทุนจากนักลงทุน จึงต้องมีการรายงานผลหรือสือ่ สาร ต่อสาธารณะถึงการเปลีย่ นแปลงทางสังคมทีก่ จิ การได้สร้างขึน้ งานประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมในส่วนนีใ้ ช้กรอบคิดและเครือ่ งมือวัดผลลัพธ์ทางสังคมอย่างการใช้ทฤษฎี การเปลีย่ นแปลง การใช้หว่ งโซ่ผลลัพธ์ การใช้ตวั ชีว้ ดั และการประเมินผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุน (SROI)


113

ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

ตาราง 6 ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ของโครงการต่าง ๆ ของ สสส. ใน พ.ศ. 2555 โครงการ

ผลลัพธ์ทางสังคม

ผลตอบแทนทาง สังคมจากการ ลงทุน 1 บาท

โครงการควบคุมการบริโภค •  จำ�นวนผู้สูบบุหรี่ที่ลดลงหรือป้องกันได้ โดยเทียบกับต้นทุน ยาสูบ พ.ศ. 2544–2553 ด้านสุขภาพต่อนักสูบบุหรี่หน้าใหม่หนึ่งราย ประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาลตลอดชีวิตและการสูญเสียผลิตภาพ ในการทำ�งาน •  มูลค่าความต้องการในการจ่ายเพื่อให้มีผู้สูบบุหรี่น้อยลง

18.3 (12.5– 9.8)

โครงการป้องกันอุบัติเหตุ •  มูลค่าความสูญเสียเฉลี่ยจากอุบัติเหตุจราจรกรณีที่มี ทางถนน พ.ศ. 2544–2553 ผูเ้ สียชีวิต 1 ราย •  คิดสัดส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำ�เนินงานของ สสส.  ร้อยละ 50

130.2 (52.8–182.3)

โครงการจอมบึงมาราธอน พ.ศ. 2555

•  ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นจากการที่บุคคลมีสุขภาพดี และ สามารถทำ�งานได้มากขึ้น •  ค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วยที่หลีกเลี่ยงได้ของโรคที่ป้องกัน ได้ด้วยการออกกำ�ลังกาย •  ความสุข ความอิ่มเอมใจ และความมีจิตอาสาของผู้จัดงาน •  การลดอัตราการตายจากการจมนํ้าในเด็กเล็กของ อำ�เภอจอมบึง •  รายได้ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ อ.จอมบึง ในช่วง ที่มีกิจกรรมโครงการ สสส. •  สภาวะแวดล้อมที่ดีขึ้นจากการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้

แผนการรณรงค์เพือ่ เด็กไทย •  เด็กและลูกจ้างเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่กินหวาน และโครงการ ลดนํา้ ตาล และอาหารที่ไม่มีผลดีต่อสุขภาพ ส่งผลถึง ภาคีร่วมใจคนไทยไร้พุง ค่ารักษาโรคในระยะยาว และเกิดโรคน้อยลง โครงการจัดการความเสี่ยง •  ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากขึ้นเมื่อทราบว่าเด็กใน นํา้ ปนเปือ้ นตะกัว่ ในโรงเรียน การปกครองไม่ต้องสัมผัสสารตะกั่ว โครงการจัดการ​นํ้ามัน • เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น ทอดซํ้าเสื่อมสภาพ และ •  ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคโดยเฉพาะความดันโลหิตสูง โครงการจัดการอันตราย มะเร็งปอดและกล่องเสียง จากแร่ใยหิน

6.2 (2.5–8.7)

13.5 (8.2–18.8) 95.0 (42.0–148.1)


114

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

โครงการ

ผลลัพธ์ทางสังคม

ผลตอบแทนทาง สังคมจากการ ลงทุน 1 บาท

โครงการด้านเด็กและ เยาวชน

•  พัฒนาพฤติกรรมเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และครู ด้านโภชนาการ การออกกำ�ลังกาย และความสามารถ ในการเรียนรู้ • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในโรงเรียน •  ผู้ปกครองพึงพอใจกับสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก มากขึ้น

6.9 (3.6–10.1)

โครงการด้านผู้สูงอายุ

• พัฒนาสุขภาวะทางอารมณ์ของผู้สูงอายุ •  ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและ พัฒนาความสัมพันธ์ภายในชุมชน •  ลดค่าใช้จ่ายจากค่ารักษาในระยะยาวจากโรคเรื้อรังและ อุบัติเหตุ

2.9 (1.5–4.4)

หมายเหตุ: วงเล็บด้านล่างในช่องผลตอบแทนจากการลงทุน หมายถึงช่วง SROI ตามการเลือกใช้อัตราคิดลด (discount rate) ที่มา: สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) (2557) ตัวอย่างการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม

•  การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคมบั๊ดดี้โฮมแคร์ (Buddy Home Care) ภายใต้มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ จ.เชียงใหม่

บัด๊ ดีโ้ ฮมแคร์ให้ทนุ การศึกษากับเยาวชนชาติพนั ธุจ์ ากครอบครัวทีม่ รี ายได้นอ้ ย และขาดโอกาสในการศึกษาให้ได้รบั การฝึกอบรมการดูแลผูส้ งู อายุอย่างมีคณ ุ ภาพ เมื่อจบการศึกษา เยาวชนเหล่านี้จะทำ�งานให้บริการดูแลผู้สูงอายุประจำ�บ้านที่ ครอบครัวผู้สูงอายุจ่ายค่าบริการให้ กำ�ไรที่ได้จากการคิดค่าบริการ บั๊ดดี้โฮมแคร์ จะนำ�มาใช้กับโครงการดูแลผู้สูงอายุที่ยากไร้และขาดคนดูแล ซึ่งถือเป็นงานอาสา ของเยาวชนชาติพันธุ์ที่ผ่านการฝึกอบรมด้วย บั๊ดดี้โฮมแคร์ได้รับเงินให้เปล่าส่วนหนึ่งจากสำ�นักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อ สังคมแห่งชาติ (สกส.) และมีความรับผิดชอบที่ต้องรายงานผลลัพธ์ทางสังคมหลัง จากที่ดำ�เนินกิจการไปได้ 1 ปี ใน พ.ศ. 2559 กิจการบั๊ดดี้โฮมแคร์จึงได้ประเมิน


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

115

ผลลัพธ์ทางสังคมด้วยตนเอง ภายใต้กรอบคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงที่ว่า •  ถ้าเยาวชนหรือชาวเขาที่ขาดโอกาสทางการศึกษาได้รับการอบรมหลักสูตร ดูแลผู้สูงอายุ 3 เดือนแล้ว พวกเขาจะมีงานทำ�ในฐานะผู้ให้บริการด้าน สุขภาพและมีรายได้ที่ดีขึ้น •  ถ้าลูกค้าได้ใช้บริการการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของบั๊ดดี้โฮมแคร์โดยเยาวชนที่ ผ่านการอบรมแล้ว คนชราและสมาชิกในครอบครัวของลูกค้าจะมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น •  ถา้ เยาวชนทีผ่ า่ นการอบรมของบัด๊ ดีโ้ ฮมแคร์ ได้เข้าไปดูแล ช่วยเหลือ และ ให้คำ�ปรึกษาในการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุที่ยากจนแล้ว ผู้สูงอายุที่ ยากจนนั้นจะมีสุขภาวะที่ดีขึ้น ดังนี้

บัด๊ ดีโ้ ฮมแคร์ได้เขียนห่วงโซ่ผลลัพธ์ของกิจการ และใช้ตวั ชีว้ ดั ทางสังคมต่าง ๆ  •  มเี ยาวชนเรียนจบผ่านเกณฑ์อบรมเป็นผูด้ แู ลผูส้ งู อายุและมีประกาศนียบัตร หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 16 คน (ร้อยละ 70) •  มีเยาวชนได้งานทำ�เป็นผู้ให้บริการสุขภาพ 14 คน •  เยาวชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจำ�นวน 4,500–9,000 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้น 2–3 เท่าต่อปี •  มีผู้สูงอายุยากไร้ได้รับการดูแลปีละ 200 คน รวมชั่วโมงการดูแล 9,600 ชั่วโมงต่อปี •  ผู้สูงอายุจากครอบครัวที่ซื้อบริการจำ�นวน 110 คนต่อปี ได้รับการดูแล สุขภาพที่มีคุณภาพ รวมชั่วโมงการดูแลทั้งสิ้น 23,000 ชั่วโมงต่อปี •  การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคมสยามออร์แกนิค

บริษัท สยามออร์แกนิค จำ�กัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2554 เพื่อแก้ไขปัญหา ความยากจนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในประเทศไทย ผ่านแบบจำ�ลองทางธุรกิจที่ บริษัทบริหารกระบวนการตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้า ได้แก่ การจัดตั้งเครือข่าย เกษตรกรรายย่อยผูป้ ลูกข้าว การรับซือ้ ข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โรงสีและ


116

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

โรงบรรจุภณ ั ฑ์ทดี่ �ำ เนินงานโดยกลุม่ เกษตรกร การแปรรูปสินค้า การตลาดและการ จัดจำ�หน่ายสินค้า บริษทั ขายข้าวอินทรียภ์ ายใต้แบรนด์ “แจสเบอร์ร”ี่ ทัง้ ภายใน และต่างประเทศ ใน พ.ศ. 2558 สยามออร์แกนิคได้ร่วมมือกับองค์กร Shujog ภายใต้มูลนิธิ IIX ประเทศสิงคโปร์ มูลนิธิ IIX สนับสนุนการเติบโต การขยายขนาดผลลัพธ์ทาง สังคมและการเข้าถึงแหล่งทุนของกิจการเพือ่ สังคม Shujog ได้ประเมินผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ให้สยามออร์แกนิค โดยเป็นการประเมินผลลัพธ์ฯ  ย้ อ นหลั ง ในช่ ว ง พ.ศ. 2557–2558 และคาดการณ์ ผ ลลั พ ธ์ ล่ ว งหน้ า ใน พ.ศ.  2558–2559 ตัวชี้วัดที่ Shujog เลือกใช้ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ได้แก่ จำ�นวน เกษตรกรทีม่ รี ายได้เพิม่ ขึน้ รายได้ครัวเรือนทีเ่ พิม่ ขึน้ ของเกษตรกร จำ�นวนครัวเรือน ของเกษตรกรที่บริโภคข้าวที่ตนเองปลูก จำ�นวนครัวเรือนของเกษตรกรที่ขายข้าว ได้ในราคาทีส่ งู กว่าเดิม จำ�นวนครัวเรือนของเกษตรกรและมูลค่าต้นทุนทีล่ ดลงจาก การเพาะเมล็ดพันธุ์เอง จำ�นวนครัวเรือนของเกษตรกรที่มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น จำ�นวนเกษตรกรทีเ่ ข้าร่วมการอบรม และจำ�นวนครัง้ ทีม่ กี ารอบรมเทคนิคการเกษตร โดย Shujog ได้เลือกคำ�นวณค่าแทนทางการเงินของผลลัพธ์ทางสังคม 2 รายการ ได้แก่ สุขภาพที่ดีขึ้นของเกษตรกร และรายได้ที่เพิ่มขึ้น ผลการคำ�นวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของสยามออร์แกนิค เท่ากับ 1.6 เหรียญสหรัฐต่อการลงทุน 1 เหรียญสหรัฐฯ ในช่วง พ.ศ. 2557–2558 และเท่ากับ 2.3 เหรียญสหรัฐต่อการลงทุน 1 เหรียญสหรัฐในช่วง พ.ศ. 2558– 2559 ตามลำ�ดับ ข้อสังเกต

การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ที่เคยดำ�เนินการในประเทศไทย ยังขาดตัวชี้วัดและอัตราคิดลดที่เป็นมาตรฐาน หลายรายงานไม่ได้ระบุถงึ สมมติฐาน ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลง รวมถึงห่วงโซ่ผลลัพธ์ ทีช่ ดั เจนเพียงพอทีจ่ ะเชือ่ มโยงระหว่างปัจจัยนำ�เข้า กิจกรรม ผลผลิต และผลลัพธ์ ทางสังคมที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล นอกจากนี้ หลายโครงการมีลักษณะ เป็นการประเมินย้อนหลัง (evaluation) มากกว่าการประเมินก่อนเริ่มโครงการ


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

117

ทำ�ให้อาจมีปญ ั หาในการเก็บข้อมูลย้อนหลังเนือ่ งจากไม่ได้เก็บข้อมูล ณ จุดเวลาที่ เริ่มโครงการ นอกจากนี้ คณะวิจัยพบว่ารายงานการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และผล ตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนแม้ว่าจะมีการกล่าวถึงกรณีฐาน เช่น deadweight, attribution, drop-off และ displacement แต่กย็ งั ไม่มกี ารระบุอย่าง ชัดเจนว่านำ�แนวคิดดังกล่าวมาประกอบในการคำ�นวณอย่างไร ทำ�ให้บางรายการ อาจประมาณการผลลัพธ์ทางสังคมจากโครงการสูงเกินไป เช่น การที่มีผู้มาศึกษา ดูงานหรือเข้าร่วมการอบรมแล้วนำ�แนวความคิดไปใช้ หรือการทีผ่ เู้ ข้าร่วมโครงการ นำ�ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อ ฯลฯ สถานการณ์ โดยรวมของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของ กิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย ในมุมมองของภาครัฐทีก่ �ำ ลังขับเคลือ่ นกฎหมายทีจ่ ะกำ�กับและส่งเสริมกิจการ เพือ่ สังคม เอกสาร “สภาปฏิรปู แห่งชาติ วาระปฏิรปู พิเศษ ๑: วิสาหกิจเพือ่ สังคม” (สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2558) ระบุระบบการลงทะเบียนเพื่อ รับรองวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ วิสาหกิจเพื่อสังคม และ วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ เกณฑ์การลงทะเบียนระบุว่าจะต้อง เป็นองค์กรทีม่ วี ตั ถุประสงค์ทางสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ แม้จะมีเงือ่ นไข ต่าง ๆ ในการกำ�หนดเกณฑ์การเป็น “วิสาหกิจเพื่อสังคม” รวมทั้งข้อกำ�หนดใน​ การจัดทำ�รายงานประจำ�ปีให้กับหน่วยงานที่กำ�กับดูแล และพร้อมที่จะเปิดเผยสู่ สาธารณะ แต่ไม่มีข้อกำ�หนดเกี่ยวกับเงื่อนไขในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมอยู่ ในเกณฑ์หรือข้อกำ�หนดในการรายงานประจำ�ปีแต่อย่างใด ในด้านการทำ�ความเข้าใจผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายอื่น ๆ ของการขับเคลื่อนกิจการ เพือ่ สังคมในประเทศไทย คณะวิจยั ได้จดั การสนทนากลุม่ (focus group discussion: FGD) กับองค์กรอิสระทีใ่ ห้การสนับสนุนด้านทรัพยากรแก่กจิ การเพือ่ สังคม (enablers) กิจการเพือ่ สังคมทีเ่ คยประเมินผลลัพธ์ทางสังคมหรือผลตอบแทนจาก การลงทุน กิจการเพือ่ สังคมทีไ่ ม่เคยประเมินผลลัพธ์ทางสังคมหรือผลตอบแทนจาก การลงทุน และกิจการเพื่อสังคมในโครงการวิจัยฯ (ดูรายชื่อองค์กรที่เข้าร่วมการ สนทนากลุ่มทั้ง 25 แห่ง ได้ท้ายส่วนนี้) โดยมีข้อสรุปดังนี้


118

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

การเล็งเห็นประโยชน์ของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเห็นว่าผลลัพธ์ทางสังคมเป็นเรื่องที่สำ�คัญ ที่ช่วยให้ ตัวกิจการเองเข้าใจองค์กร มองเห็นผู้มีส่วนได้เสียและดัชนีชี้วัดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อนำ�ไปปรับปรุงการดำ�เนินธุรกิจให้ไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการสร้าง อีกทั้งยังช่วยให้ กิจการพัฒนาการเก็บข้อมูลทีเ่ ป็นประโยชน์ได้ดขี นึ้ และช่วยในการพัฒนาสินค้าและ บริการของกิจการ กิจการเพื่อสังคมที่ยังไม่เคยประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเพราะขาดทรัพยากร และองค์ความรูก้ ต็ อ้ งการให้มกี ารประเมินผลลัพธ์ทางสังคม เพราะผลทีไ่ ด้จะแสดง ถึงความสำ�เร็จของโครงการที่ทำ�และช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กิจการ สามารถเป็น เครดิตให้ลกู ค้าและผูใ้ ห้ทนุ มัน่ ใจ และนำ�ผลไปใช้ระดมทุนหรือทำ�การตลาดได้เพิม่ เติม ส่วนกิจการเพือ่ สังคมทีเ่ คยประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแล้วกล่าวว่ากระบวนการ ดังกล่าวมีประโยชน์มากในแง่การปรับปรุงการดำ�เนินธุรกิจให้สอดรับกับผลลัพธ์ ทางสังคมที่ต้องการสร้าง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การวัดผลลัพธ์ทางสังคมจะเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้น แต่ใน ประเทศไทยก็ยงั ถือว่าเป็นเรือ่ งใหม่มาก กิจการเพือ่ สังคมในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังไม่อยูใ่ นช่วงทีต่ อ้ งเข้าหานักลงทุนเพือ่ ระดมทุน และนักลงทุนทีม่ อี ยูก่ ย็ งั ไม่เรียก ร้องข้อมูลด้านการสร้างความเปลีย่ นแปลงทางสังคม และมองว่าการสนับสนุนเป็น เพียง “การช่วยเหลือ” กิจการเพื่อสังคมอยู่ หากการวัดผลลัพธ์ทางสังคมมีความ ชัดเจนมากขึ้นทั้งในแง่มาตรฐานและการส่งเสริมก็จะช่วยให้ทั้งกิจการเพื่อสังคม และนักลงทุนเข้าใจถึงขนาดการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการและให้ความ สำ�คัญกับผลลัพธ์ทางสังคมมากขึ้น อุปสรรคของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม

อุปสรรคต่อกิจการเพื่อสังคม กิจการที่ไม่เคยประเมินผลลัพธ์ทางสังคมนั้นระบุว่า ที่ไม่เคยประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมเพราะมีทรัพยากรจำ�กัดและขาดองค์ความรู้ ผูส้ นับสนุนไม่มงี บประมาณ ในการประเมินให้และไม่ได้ให้ความสำ�คัญจึงยังไม่ได้ท�ำ การประเมิน ตัวกิจการเอง บางรายมีการเก็บข้อมูลผลลัพธ์ทางสังคมเองบ้างแต่เป็นแค่เชิงคุณภาพ จึงไม่ สามารถระบุได้ว่าสร้างผลลัพธ์ทางสังคมจำ�นวนเท่าใด


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

119

ส่วนกิจการเพื่อสังคมที่เคยประเมินผลลัพธ์ทางสังคมหรือผลตอบแทนทาง สังคมจากการลงทุนประกอบด้วย บริษทั นวัตกรรมชาวบ้าน จำ�กัด, บัด๊ ดี้โฮมแคร์ และ Thai Biomass ซึ่งมีการประเมินผลลัพธ์ฯ ที่ดำ�เนินการโดยองค์กรหรือผู้ เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ส่วนใหญ่ทำ�ภายใต้ ทุนสนับสนุนจากผู้ให้ทุนให้ทำ�การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม แต่หลังการประเมิน โดยผู้เชี่ยวชาญ กิจการยังไม่สามารถนำ�วิธีประเมินมาปรับใช้เองได้เพราะความ ยุ่งยากและซับซ้อนของเครื่องมือ ความยุ่งยากของเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมถือเป็นอุปสรรคที่สำ�คัญ กิจการเพือ่ สังคมมองว่าการประเมินฯ เป็นเรือ่ งทีเ่ ข้าใจยากจึงต้องมีผเู้ ชีย่ วชาญหรือ หน่วยงานจากภายนอก (third party) มาช่วยกำ�หนดตัวชีว้ ดั นอกจากนี้ องค์กร ในประเทศไทยทีส่ ามารถทำ�การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมได้ยงั มีอยูน่ อ้ ยมาก ส่วน องค์กรทีป่ ระเมินฯ ได้ทม่ี าจากต่างประเทศก็ไม่มคี วามเข้าใจในบริบทของประเทศ​ไทย โดยสรุปคือ ความยุง่ ยากในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมต่อกิจการเพือ่ สังคม ไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความท้าทายด้านเทคนิค การประเมินฯ คือ การขาดความรูใ้ นการวิเคราะห์ ไม่ทราบว่าต้องเก็บข้อมูลอะไรบ้าง ไม่แน่ใจว่าตัวชี้วัดที่เลือกมาใช้นั้นถูกต้องหรือไม่ การไม่มีตัวอย่างหรือตัวเปรียบ เทียบ (benchmark) กับโครงการลักษณะใกล้เคียงกันหรือโครงการทีส่ ามารถตอบ โจทย์แบบเดียวกัน 2) การขาดทรัพยากรที่เพียงพอในการประเมินฯ ทั้งเงินและ กำ�ลังคน ซึ่งผู้ให้ทุนหรือลูกค้ามักไม่มีงบประมาณให้ดำ�เนินการประเมินเนื่องจาก ยังไม่เห็นความสำ�คัญและอยากให้เอางบประมาณนัน้ ไปดำ�เนินกิจกรรมอืน่ จะดีกว่า อุปสรรคต่อผู้สนับสนุนทรัพยากรแก่กิจการเพื่อสังคม ตัวแทนผูส้ นับสนุนทรัพยากรแก่กจิ การเพือ่ สังคมระบุวา่ อุปสรรคทีส่ �ำ คัญ คือ ความยุง่ ยากของเครือ่ งมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและวิธกี ารในการสือ่ สารผลให้ ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมหรือผลตอบแทนทาง สังคมจากการลงทุนยังไม่มีวิถีปฏิบัติหรือฐานข้อมูลกลางเพื่อเป็นมาตรฐานในการ เปรียบเทียบโครงการในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ ต่อให้กจิ การสามารถวัดผลลัพธ์ ทีเ่ กิดขึน้ ได้ แต่กไ็ ม่สามารถระบุได้วา่ ผลลัพธ์ทเี่ กิดขึน้ นัน้ มากน้อยอย่างไร และเป็น ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ หากเปรียบเทียบกับโครงการลักษณะใกล้เคียง


120

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

กันหรือโครงการที่สามารถตอบโจทย์ผลลัพธ์แบบเดียวกัน อุปสรรคอีกประการที่สำ�คัญ คือ ผู้ประกอบการยังไม่เข้าใจและไม่คำ�นึงถึง เรือ่ งผลลัพธ์ทางสังคมตัง้ แต่เริม่ โครงการจึงไม่ได้วางแผนตัง้ แต่ตน้ ไม่มแี บบจำ�ลอง ผลลัพธ์ทางสังคมและจุดยืนทีช่ ดั เจนว่าตนเองจะสร้างความเปลีย่ นแปลงอะไรและ มากน้อยเพียงใด เมื่อทำ�การเก็บข้อมูลย้อนหลังจึงยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่าจน ทำ�ให้กิจการมีภาระงานเพิ่มและไม่อยากทำ�ไปในที่สุด เครื่องมือบางตัวทำ�ให้เกิด ความคิดฝังหัวผู้ประกอบการว่าเนื้อหาเข้าใจยาก จึงจำ�เป็นต้องมีการค่อย ๆ ปรับ ใช้ให้เหมาะสมกับกิจการ ข้อเสนอแนะต่อการสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมในประเทศไทย

กลุม่ สนทนาโดยรวมมองว่าเครือ่ งมือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมยังมีเนือ้ หา ทีเ่ ข้าใจยากสำ�หรับคนทัว่ ไปทีไ่ ม่ใช่ผเู้ ชีย่ วชาญ หากมีการพัฒนาเครือ่ งมือประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมทีเ่ หมาะกับบริบทในประเทศไทย กลุม่ สนทนาอยากให้มกี ารค่อย ๆ  ปรับใช้เครื่องมือและนำ�ไปทดสอบก่อนว่าผู้ประกอบการเข้าใจหรือไม่ ผู้เข้าร่วมให้ความเห็นต่อการพัฒนาคู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของ ประเทศไทยว่าอยากให้มเี นือ้ หาทีเ่ ข้าใจง่าย มีขอ้ แนะนำ�การเลือกเครือ่ งมือ ตัวชีว้ ดั และชุดค่าแทนทางการเงิน (proxy) ทีเ่ หมาะสมกับกิจการเพือ่ สังคมแต่ละประเภท อาจแบ่งรูปแบบเครือ่ งมือเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบเบือ้ งต้น เป็นเครือ่ งมือพืน้ ฐาน บอกถึงดัชนีชี้วัดโดยรวมกว้าง ๆ ที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ได้ 2) แบบขั้นสูง คือ เจาะลึกดัชนีชวี้ ดั แต่ละประเภท โดยทัง้ สองแบบควรระบุให้เห็นถึงดัชนีทเี่ หมาะสม สำ�หรับกิจการเพื่อสังคมแต่ประเภท อย่างไรก็ตาม กลุ่มสนทนามองว่าการมีคู่มือเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ การ พัฒนาการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในประเทศไทยจำ�เป็นต้องมีองค์กรพี่เลี้ยง คอยดูแล รวมไปถึงอยากให้มกี ารฝึกอบรมวิธกี ารใช้คมู่ อื และมี “ระบบบริการหลัง การขาย” ให้ผู้ใช้สอบถามได้เมื่อเกิดปัญหาหลังการใช้งานคู่มือ นอกเหนือจากคูม่ อื แล้ว หากมีองค์กรทีส่ ามารถสร้างระบบนิเวศการใช้เครือ่ งมือ ประเมินฯ ให้ครอบคลุม อาจช่วยกระตุ้นให้ผู้ให้ทุนเห็นความสำ�คัญของการวัด​ ผลลัพธ์ทางสังคมอย่างจริงจังและผู้ประกอบการอยากวัดการทำ�งานของตนเอง


ประวัติและพัฒนาการของวงการ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

121

กลไกการสร้างเครือข่ายสำ�หรับกลุม่ คนทีส่ นใจการประเมินฯ จะช่วยให้กลุม่ ผูม้ สี ว่ น ได้เสียแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลกันและสามารถพัฒนาเทคนิคการประเมินและชุด ความรู้ใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับบริบทไทยต่อไป รายชื่อองค์กรที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560

องค์กรที่สนับสนุนทรัพยากรแก่กิจการเพื่อสังคม •  School of Changemakers มูลนิธิอโชก้า ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม • Change Ventures • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • บริษัทบ้านปู จำ�กัด (มหาชน) • มูลนิธิเพื่อคนไทย • Ma:D Club for Better Society • Hatch มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี กิจการเพื่อสังคมที่เคยประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • บริษัทนวัตกรรมชาวบ้าน จำ�กัด • บั๊ดดี้โฮมแคร์ (Buddy Homecare) ภายใต้มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ • Hivesters • Thai Biomass • มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง • วิสาหกิจสุขภาพชุมชน (Social Health Enterprise: SHE) กิจการเพื่อสังคมที่ไม่เคยประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • บริษัทโอเพ่นดรีม จำ�กัด • บริษัทครีเอทีฟ มูฟ จำ�กัด • มูลนิธิขวัญชุมชน • บริษัทเชียงใหม่วิสาหกิจกิจเพื่อสังคม (CSE) จำ�กัด • HAND Enterprise • Good Factory


122

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

กิจการเพื่อสังคมที่เข้าร่วมโครงการวิจัย • มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ • ร้านคนจับปลา • สหกรณ์กรีนเนท • บริษัทเลิร์น เอดดูเคชั่น จำ�กัด • บริษัทโลเคิล อไลค์ จำ�กัด • เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม


การประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมที่ใช้กับกิจการ เพื่อสังคม

4



การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

125

จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม กรอบทฤษฎี และเครือ่ งมือทีห่ น่วยงานต่าง ๆ ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพือ่ สังคม ตั้งแต่องค์กรสนับสนุนภาครัฐ องค์กรอิสระ มูลนิธิ กองทุนเพื่อสังคมและ สถาบันตัวกลางจากทัว่ โลกจำ�นวน 69 แห่ง และกิจการเพือ่ สังคมทีท่ �ำ การรายงาน ผลลัพธ์ทางสังคมอย่างสมาํ่ เสมอจำ�นวน 6 แห่ง เราสามารถสรุปประเด็นสำ�คัญได้ ดังนี้ 4.1 นิยามกรอบทฤษฎีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม กรอบทฤษฎีที่พบบ่อย 1. Logic Model

Logic Model หรือ “แบบจำ�ลองตรรกะ” ใช้คำ�ศัพท์และกราฟิกในการ อธิบายลำ�ดับของกิจกรรมต่าง ๆ ทีส่ ง่ ผลต่อการเปลีย่ นแปลง และอธิบายว่ากิจกรรม เหล่านัน้ เชือ่ มโยงกับผลลัพธ์ทโี่ ครงการหรือกิจการคาดหวังว่าจะบรรลุอย่างไร โดย ให้ความสำ�คัญกับการแยกแยะระหว่างผลลัพธ์ระยะสัน้ ระยะปานกลาง ระยะยาว และระหว่างผลลัพธ์ทางตรงกับผลลัพธ์ทางอ้อม การใช้แบบจำ�ลองนี้ถูกพัฒนาขึ้น ในทศวรรษ 1970 โดยแครอล ไวส์ (Carol Weiss, 1972) และนักวิเคราะห์อีก จำ�นวนมาก กระบวนการเขียนแบบจำ�ลองตรรกะอาศัยการครุน่ คิดถึงกระบวนการ สร้างผลลัพธ์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน (sequence) ผ่านปัจจัยและกิจกรรมต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้ 1. ทรัพยากร/ปัจจัยนำ�เข้า (resource/inputs)—ทรัพยากรที่มีอยู่และใช้ไป โดยตรงในการดำ�เนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ รวมทัง้ ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน การบริหารจัดการ และทรัพยากรของชุมชน 2. การแทรกแซง/กิจกรรม (intervention/activities)—อธิบายกิจกรรมต่าง ๆ  ของโครงการที่ใช้ปัจจัยนำ�เข้าในกล่องแรก ที่มีส่วนสร้างผลลัพธ์ของโครงการได้ 3. ผลลัพธ์/ผลสัมฤทธิ์ (outcomes/results)—อธิบายการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิด ขึน้ จากการแทรกแซงหรือกิจกรรมทีอ่ ธิบายไปก่อนหน้า โดยใช้ปจั จัยนำ�เข้าในกล่อง แรก โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจแบ่งได้ดังต่อไปนี้


126

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ปัจจัย ดำ�เนินการ กิจกรรม

activity output ผลผลิต

social output ผลลัพธ์ ระยะสั้น

social outcome ผลลัพธ์ ระยะกลาง

social impact ผลลัพธ์ ระยะยาว เป้าประสงค์

แผนภาพ 11 แบบจำ�ลองตรรกะ (Logic Model)

a.  ผลลัพธ์ระยะสัน้ (ผลผลิต—outputs) อาจหมายถึงปริมาณหรือขนาด ของกิจกรรมหรือการแทรกแซงที่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม (เช่น จำ�นวน ครั้งของการจัดอบรม) หรือการเปลี่ยนแปลงความรู้หรือทักษะ b.  ผลลัพธ์ระยะปานกลาง (ผลลัพธ์—outcomes) อาจหมายถึงการ เปลีย่ นแปลงพฤติกรรมหรือทัศนคติของกลุม่ เป้าหมายทีเ่ ข้าร่วมโครงการ c.  ผลลัพธ์ระยะยาว (ผลกระทบ—impacts) อาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในชุมชนหรือระบบ อันเป็นผลมาจากกิจกรรมของโครงการ แบบจำ�ลองตรรกะในรูปแบบข้างต้นถูกใช้อย่างแพร่หลายในภาครัฐและองค์กร ไม่แสวงกำ�ไร ซึ่งมิได้กำ�หนดพันธกิจที่การแสวงผลตอบแทนทาง​การเงินหรือ ผลกำ�ไร หมายความว่าการติดตามตรวจสอบระดับความคืบหน้าสู่ผลลัพธ์อาจ เป็นเรือ่ งยาก แบบจำ�ลองตรรกะส่งมอบชุดดัชนีชวี้ ดั ความคืบหน้าในแง่ของตัวชีว้ ดั ​ ผลผลิตและผลลัพธ์ ด้วยเหตุนี้ ปัจจัยสำ�คัญจึงอยู่ที่การระบุ “เป้าหมาย” หรือ วัตถุประสงค์ขององค์กรหรือโครงการทีช่ ดั เจนตัง้ แต่ตน้ และพิจารณาว่าจะติดตาม ความคืบหน้าได้อย่างไร บ่อยครั้งผลลัพธ์อาจเป็นเรื่องระยะยาว “ความสำ�เร็จ” ขององค์กรหรือโครงการอยูใ่ นอนาคตอันไกลโพ้น ในกรณีเช่นนี้ การกำ�หนดผลลัพธ์


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

127

ระยะปานกลางหรือระยะสัน้ อาจเป็นประโยชน์ ในแง่ของการส่งมอบตัวชีว้ ดั ระดับ ความคืบหน้าบนเส้นทางสู่ผลลัพธ์ระยะยาวอันเป็นเป้าหมายปลายทาง ก่อนหน้าทีจ่ ะมีแบบจำ�ลองตรรกะ โครงการสาธารณะของรัฐและโครงการเพือ่ สังคมของภาคไม่แสวงกำ�ไรมักถูกอธิบายโดยเม็ดเงินงบประมาณที่ใช้ในโครงการ เป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ดำ�เนินโครงการย่อมวัดได้และตระหนักดี แต่ไม่อาจชี้วัด ระดับความสำ�เร็จของโครงการนั้น ๆ ได้ เช่นเดียวกับที่ตัวชี้วัด “ปริมาณ” ของ กิจกรรมในโครงการ (เช่น จำ�นวนผูเ้ ข้าร่วม จำ�นวนครัง้ ของการจัดกิจกรรม) ไม่อาจ บ่งชีร้ ะดับความคืบหน้าสูผ่ ลลัพธ์ทางสังคมทีม่ งุ่ หวังได้ นอกจากนี้ การวัด “ผลผลิต” สามารถบ่งชีว้ า่ “อะไรสักอย่าง” ถูกส่งมอบต่อกลุม่ เป้าหมายในโครงการก็จริง แต่ ผลผลิตนัน้  ๆ อาจไม่เชือ่ มโยงกับผลลัพธ์ทางสังคมทีม่ งุ่ หวังก็เป็นได้ ด้วยตรรกะเช่น นีท้ �ำ ให้ “แบบจำ�ลองตรรกะ” ให้ความสำ�คัญกับการระบุ “ความสัมพันธ์” ระหว่าง ปัจจัยนำ�เข้า กิจกรรม และผลลัพธ์ระยะต่าง ๆ และได้รับความนิยมสืบมาจน ปัจจุบันในหน่วยงานภาครัฐและภาคไม่แสวงกำ�ไร ตัวอย่างองค์กรที่ใช้แบบจำ�ลองตรรกะ • กองทุน Social Innovation Fund สหรัฐอเมริกา • บริษัท Bridges Fund Management (ชื่อเดิม Bridges Ventures) • มูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation • มูลนิธิ The William and Flora Hewlett Foundation • กองทุน LGT Venture Philanthropy • กิจการเพื่อสังคม BRAC บังกลาเทศ 2. Theory of Change

Theory of Change หรือ “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” เริ่มได้รับความนิยม ในทศวรรษ 1990 ในฐานะ “ระเบียบวิธ”ี (methodology) สำ�หรับการวางแผน การระดมการมีสว่ นร่วมและการประเมินโครงการ โดยเริม่ ใช้ในภาคการกุศล ภาค ไม่แสวงกำ�ไร และหน่วยงานภาครัฐ ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลงเริม่ ต้นจากการให้ระบุ “เป้าหมายระยะยาว” ทีผ่ ดู้ �ำ เนินโครงการปรารถนา แล้วลากเส้นกลับมาเพือ่ ค้นหา “เงื่อนไข” และเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่จำ�เป็นต่อการบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ


128

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงมุ่งเน้นการอธิบาย “กระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลง” ด้วยการระบุความเชือ่ มโยงทีเ่ ป็นเหตุปจั จัย (causal linkages) และเป็น ลำ�ดับขั้นตามเวลา (chronological flow) ระหว่างผลลัพธ์แต่ละรายการ แต่ละ ลำ�ดับ จบลงตรงผลลัพธ์สุดท้ายที่มุ่งหวัง ความเชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์ต่าง ๆ ถูก อธิบายด้วย “คำ�ชีแ้ จงเหตุผล” (rationale) หรืออรรถาธิบายว่า ผลลัพธ์ใดผลลัพธ์ หนึ่งเป็น “เงื่อนไข” ของการเกิดผลลัพธ์อื่นได้อย่างไร นวัตกรรมของทฤษฎีการเปลีย่ นแปลงอยูท่ กี่ ารชีใ้ ห้เห็นความแตกต่างระหว่าง “ผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง” และ “ผลลัพธ์ที่เกิดจริง” และการเรียกร้องให้ผู้ดำ�เนินโครงการระดมความคิดจากผูม้ สี ว่ นได้เสียต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง มาร่วมกันสร้างแบบจำ�ลอง ของผลลัพธ์ทมี่ งุ่ หวังอย่างชัดเจน ก่อนทีจ่ ะตัดสินใจว่าจะดำ�เนินกิจกรรมหรือโครงการอย่างไรเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ดังกล่าว ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเป็นมากกว่า ระเบียบวิธีท่ีใช้ในการวางแผนและประเมินผล หากเป็น “ทฤษฎีเชิงวิพากษ์” (critical theory) ที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียที่แตกต่างหลาก หลาย เพื่อสร้างอรรถาธิบายผลลัพธ์ที่รัดกุมและสะท้อนความต้องการของกลุ่ม เป้าหมายอย่างแท้จริง ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงมักเขียนในรูปประโยค “ถ้า [มีโครงการนี้] แล้ว [จะ เกิดผลลัพธ์นั้น]” และปัจจุบันคำ�ว่า “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” กับคำ�ว่า “แบบ จำ�ลองตรรกะ” ก็มักถูกใช้แทนกัน (synonym) เนื่องจากมีความคล้ายคลึงในแง่ ของการเรียกร้อง “ความเป็นเหตุเป็นผล” ในอรรถาธิบายกระบวนการสร้างผลลัพธ์ ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง • สถาบัน Big Society Capital สหราชอาณาจักร • กองทุน Social Incubator Fund สหราชอาณาจักร • การรับรอง Social Enterprise Mark ฟินแลนด์ •  กองทุน The Roberts Enterprise Development Fund: REDF สหรัฐอเมริกา • องค์กร Intellecap อินเดีย • สมาคม Asian Venture Philanthropy Network (AVPN) • กิจการเพื่อสังคม d.light design สหรัฐอเมริกา • กิจการเพื่อสังคม HCT Group สหราชอาณาจักร


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

129

3. Outcome Linkage “การคำ�นวณความเชื่อมโยงผลลัพธ์” หรือ outcome linkage เป็น​กรอบ ทฤษฎีซง่ึ ถูกพัฒนาในแวดวงเศรษฐศาสตร์นโยบายสาธารณะ นำ�โดยสถาบันนโยบาย สาธารณะแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (Washington State Institute for Public Policy: WSIPP) สหรัฐอเมริกา ทฤษฎีนี้พัฒนามาจากการเชื่อมร้อยองค์ความรู้ จากงานวิจยั สองกลุม่ ใหญ่เข้าด้วยกัน กลุม่ แรกคืองานวิจยั ด้านการประเมินผลลัพธ์ โครงการ (program evaluation) ซึ่งมุ่งคำ�นวณว่าโครงการหรือนโยบายใด นโยบายหนึง่ มีสว่ น “สร้าง” ผลกระทบต่อผลลัพธ์ทมี่ งุ่ หวังหรือไม่ งานวิจยั กลุม่ ที่ สองคืองานวิจยั ทีส่ �ำ รวจ “ความเชือ่ มโยง” (linkage) ระหว่างผลลัพธ์สองผลลัพธ์ ที่แตกต่างกัน เป้าหมายสูงสุดของทฤษฎี outcome linkage อยู่ที่การนำ�ข้อมูล ทีท่ นั สมัยทีส่ ดุ จากงานวิจยั สองกลุม่ นี้ มาคำ�นวณหาขนาดของประโยชน์เมือ่ เทียบ กับต้นทุน (benefit-cost estimate) จากโครงการและนโยบายต่าง ๆ ตรรกะของ การใช้งานวิจัยด้าน “ความเชื่อมโยง” เป็นไปตามเส้นตรรกะดังต่อไปนี้ ถ้า Program → Outcome1 และถ้า Outcome1 → Outcome2 แปลว่า Program → Outcome2 กล่าวโดยสรุป หากงานวิจยั ชิน้ หนึง่ ระบุวา่ โครงการใดโครงการหนึง่ (Program) มีสว่ นสร้างผลกระทบต่อผลลัพธ์ใดผลลัพธ์หนึง่ (Outcome1) และงานวิจยั อีกชิน้ วัดระดับความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ดงั กล่าว (Outcome1) กับผลลัพธ์อกี รายการ ที่อยู่ในความสนใจ (Outcome2) ก็ย่อมอนุมานโดยตรรกะได้ว่า โครงการนั้น ๆ มี ส่วนสร้างผลลัพธ์ทสี่ องเช่นกัน ถึงแม้ผดู้ �ำ เนินโครงการอาจไม่สามารถหรือยังไม่เคย วัดความเชื่อมโยงโดยตรง ความสัมพันธ์ในลักษณะ outcome linkage ดังกล่าวข้างต้นนั้นสำ�คัญ สำ�หรับการวิเคราะห์ประโยชน์เทียบกับต้นทุน (benefit-cost analysis) เนือ่ งจาก การประเมินโครงการจำ�นวนมากมิได้วัดผลลัพธ์ที่มุ่งหวังโดยตรง อีกทั้งผลลัพธ์ที่ มุง่ หวังบางครัง้ ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าออกมาเป็นตัวเลขทางการเงินได้ จึงต้อง อาศัยการวิเคราะห์งานวิจัยจำ�นวนมากที่ประเมินขนาดของผลลัพธ์อื่นที่มีความ สัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง โดยให้ความสำ�คัญกับนํ้าหนักของหลักฐานและค่า


130

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ความคลาดเคลื่อน (error estimate) เป็นปัจจัยนำ�เข้าที่สำ�คัญในแบบจำ�ลอง ประโยชน์เทียบกับต้นทุน ตัวอย่างขององค์กรที่ใช้การคำ�นวณความเชื่อมโยงผลลัพธ์ •  สถาบัน Washington State Institute of Public Policy สหรัฐอเมริกา 4.2 นิยามเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ในปัจจุบนั เครือ่ งมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมมีอยูเ่ ป็นจำ�นวนมากทีใ่ ช้ทงั้ ในองค์กร ไม่แสวงหากำ�ไร แหล่งทุนทางสังคม บริษัททั่วไปและบริษัทจดทะเบียนที่สร้าง คุณค่าทางสังคมและ/หรือสิง่ แวดล้อม รวมไปถึงกิจการเพือ่ สังคม วิธกี ารประเมิน เหล่านี้มีทั้งที่พัฒนาขึ้นโดยองค์กรตัวกลาง แหล่งทุนและนักลงทุนเพื่อสังคม (impact investing) เว็บไซต์ Tools and Resources for Assessing Social Impact (TRASI) ซึง่ เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวิธีการประเมินผลลัพธ์ของโครงการ และการลงทุนเพือ่ สังคมได้แสดงวิธกี ารประเมินผลลัพธ์ทางสังคมทีแ่ สดงไว้มากกว่า 150 วิธีในปัจจุบัน (Foundation Center, n.d.) จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสำ�หรับกิจการเพื่อสังคมที่พบบ่อยแบ่ง ออกได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้ กรอบทฤษฎีที่พบบ่อย 1. Impact Value Chain

“ห่วงโซ่คณ ุ ค่า” หรือ Impact Value Chain เป็นเครือ่ งมือทีใ่ ช้แจกแจงส่วน ต่าง ๆ ของ “แบบจำ�ลองตรรกะ” และ “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” โดยให้ระบุ อย่างชัดเจนตั้งแต่ ทรัพยากร/ปัจจัยนำ�เข้า (resource/inputs), การแทรกแซง/ กิจกรรม (intervention/activities), ผลผลิตของการแทรกแซงหรือกิจกรรม (outputs), ผลลัพธ์ (outcomes) และในบางกรณีอาจเขียนไปถึงผลกระทบระยะ ยาว (impact) หรือเป้าหมายสูงสุดของโครงการ และไปจบที่การปรับเป้าหมาย ของกิจการ (goal alignment)


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

Inputs ปัจจัยนำ�เข้า สิ่งที่ต้องใช้ใน โครงการเพื่อสร้าง ผลลัพธ์ เช่น ทรัพยากรต่าง ๆ

Activities กิจกรรม กิจกรรมหลักที่ทำ� ในโครงการเพื่อให้ เกิดผลที่คาดหวัง

Outputs ผลผลิต ผลผลิตจากการทำ� กิจกรรมที่สามารถ วัดได้

Leading Indicator

131

Outcomes Goal ผลลัพธ์ การปรับเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่จะ การปรับกิจกรรม เปลี่ยนแปลงสังคม และเป้าหมาย สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอน แม้ไม่มีโครงการ Impact ผลกระทบ

แผนภาพ 12 ห่วงโซ่ผลลัพธ์ ที่มา: ดัดแปลงจาก Impact Value Chain ของคลาร์ก, โรเซ่นซไวก์, ลอง, และโอลเซน (Clark, Rosenzweig, Long, & Olsen, 2003)

ห่วงโซ่คุณค่ามีองค์ประกอบดังนี้ •  ปัจจัยนำ�เข้า (inputs) หมายถึง ทรัพยากรที่กิจการต้องใช้ในการสร้าง ผลลัพธ์ทางสังคม คือปัจจัยขั้นต้นหรือต้นทุนสำ�หรับกิจการ ได้แก่ เงินทุน แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ดิน ผู้เชี่ยวชาญ องค์ความรู้ •  กิจกรรม (activities) หมายถึง การแทรกแซง (intervention) หรือ กิจกรรมทีเ่ กิดขึน้ ภายในกิจการและทำ�ให้เกิดผลผลิต (outputs) ขัน้ ต้น เช่น การพัฒนาอาชีพ การฝึกอบรม การจำ�หน่ายสินค้า หรือการให้ทนุ สนับสนุน ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางสังคมของกิจการ •  ผลผลิต (outputs) หมายถึง องค์ประกอบที่เป็นผลขั้นต้นจากกิจกรรม และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นตัวเชื่อมและแปรกิจกรรม ที่เกิดขึ้นให้ออกมาเป็นผลลัพธ์ ผลผลิตในห่วงโซ่ผลลัพธ์ต้องมีความเป็น รูปธรรม สามารถวัดได้และแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดจากกิจกรรมจะส่งผ่าน ไปเป็นผลลัพธ์ได้อย่างไร เช่น รายได้ครัวเรือนทีเ่ พิม่ ขึน้ ค่าใช้จา่ ยทีค่ รัวเรือน ประหยัดได้ ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรทีล่ ดลง จำ�นวนผูป้ ว่ ยทีล่ ดลง หรือ จำ�นวนนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อได้มากขึ้น


132

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

•  ผลลัพธ์ (outcomes) หมายถึง เป้าหมายทางสังคมหรือการเปลีย่ นแปลง (ผลลัพธ์) ทางสังคมที่กิจการอยากเห็นจากการทำ�กิจการ รวมไปถึงผลที่ กิจการไม่ได้ตั้งใจให้เกิดแต่เกิดขึ้นเองจากการทำ�กิจการ ทัง้ นีต้ วั กิจกรรมและผลผลิตถือเป็น “ตัวนำ�ไปสูต่ วั ชีว้ ดั ” (leading indicators) คือ วิธีปฏิบัติ ผลผลิต หรือผลพลอยได้ที่กิจการวัดได้หรือเข้าถึงข้อมูลได้เอง โดยตรง ข้อมูลส่วนนีม้ กั ใช้เป็น “ค่าแทน” ของผลลัพธ์หรือผลกระทบ ซึง่ ต้องระวัง ค่าต่าง ๆ ทีอ่ งค์กรเก็บได้เองหรือเก็บได้งา่ ยว่าอาจเป็นเพียงผลผลิตของการดำ�เนิน กิจการ แต่ไม่เชื่อมโยงกับผลลัพธ์ทางสังคมที่ต้องการ ในบางกรณี กิจการเพือ่ สังคมหรือองค์กรทีต่ อ้ งการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม อาจจะเขียนห่วงโซ่ผลลัพธ์ต่อเนื่องไปถึงผลกระทบและการปรับเป้าหมาย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับองค์กรเอง เช่น เป้าหมายทางสังคมขององค์กร ระยะเวลาของผลลัพธ์ หรือผลกระทบ หรืออื่น ๆ • ผลกระทบ (impact) มีหลายความหมาย เช่น ๏๏ ตามแผนภาพ Impact Value Chain ข้างต้น ผลกระทบนี้หมายถึง “สัดส่วนของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำ�เนินกิจการ หลังจากที่หักลบ สิ่งที่จะเกิดขึ้นเองออกไป” ในทางสังคมศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า “ผลลัพธ์ ตรงข้ามความจริง” (counterfactual) กล่าวคือ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เองถ้าหาก กิจการนี้ไม่เข้าไปทำ�งาน หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเองทั้งในกลุ่ม ที่มีการแทรกแซงและกลุ่มควบคุม (Olsen & Galimidi, 2008) ๏๏ ผ ลกระทบ อาจหมายถึงผลทางสังคมที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ใ นระยะยาวหาก ผลลัพธ์ของกิจการเป็นไปได้ตามเป้าหมาย โดยทั่วไปการพัฒนาห่วงโซ่ ผลลัพธ์จะมีปลายทางที่ผลลัพธ์ หรือ outcomes ซึ่งหมายรวมถึงผล​ กระทบ หรือ impact ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นผลต่อเนื่องกัน อย่างไร ก็ดี กิจการที่มีเป้าหมายเพื่อสังคมบางลักษณะไม่ได้สร้างผลกระทบ เกิดขึน้ ต่อเนือ่ งอย่างทันที ในกรณีนผี้ ลกระทบจะปรากฏหลังจากกิจการ ได้สร้างผลลัพธ์ไปแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ การสร้างห่วงโซ่ ผลลัพธ์ของกิจการบางประเภทจึงได้แยกผลกระทบออกมาจากผลลัพธ์


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

133

เป็นลำ�ดับที่ 5 ซึ่งเป็นองค์ประกอบสุดท้ายของห่วงโซ่ผลลัพธ์น่ันเอง พาร์สันส์, โกคีย์, และธอร์นตัน (Parsons, Gokey, & Thornton, 2013) ให้คำ�นิยามผลลัพธ์ว่าคือประโยชน์ที่เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย ใน ขณะทีผ่ ลกระทบคือเป้าหมายเชิงยุทธ์ศาสตร์ในระดับทีใ่ หญ่กว่า ซึง่ หาก กิจการความรับผิดชอบทางสังคมของเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนในระดับ ผลลัพธ์ (outcomes) การเขียนห่วงโซ่ผลลัพธ์ถึงระดับ “ผลลัพธ์” ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว ในการวัดผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคมนั้น ผลผลิตง่ายต่อการวัดค่า มากที่สุดและวัดได้อย่างตรงไปตรงมา การวัดผลลัพธ์จะทำ�ได้ยากกว่าเพราะต้อง วิเคราะห์ผลต่อเนื่องจากผลผลิต ในขณะที่การวัด​ผลกระทบทำ�ได้ยากมาก และ จำ�เป็นต้องใช้กระบวนการวิเคราะห์ทส่ี ามารถควบคุมปัจจัยอืน่ ทีอ่ าจสร้างผลกระทบ แบบเดียวกันจึงจะได้ผลกระทบทีเ่ ป็นผลจากการดำ�เนินกิจการอย่างแท้จริง (Stannard-Stockton, 2010) ประเด็นที่สำ�คัญสำ�หรับการนำ�เครื่องมือนี้ไปใช้ในการประเมินขนาดของ ผลลัพธ์ คือ ความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ และการระบุผลผลิต ที่วัดได้และสามารถสะท้อนว่าผลลัพธ์ที่มุ่งหวังนั้นเกิดหรือไม่เกิด และเกิดใน ปริมาณเท่าใด รวมทั้งควรระวังในการติดตามและเก็บข้อมูลผลลัพธ์ทางสังคมว่า ข้อมูลหรือตัวเลขทีม่ กี ารเก็บนัน้ ใช้ “วัด” ผลลัพธ์หรือผลกระทบทีแ่ ท้จริงทีเ่ กิดจาก การดำ�เนินงาน หรือบอกเพียง “ตัวนำ�ไปสูต่ วั ชีว้ ดั ” หรือ “ค่าแทน” (proxy) ของ ผลกระทบเท่านั้น ข้อดีของการใช้ “ห่วงโซ่คุณค่า” คือ การเห็นความสัมพันธ์และ “ตรรกะ” ตั้งแต่ปัจจัยนำ�เข้าไปจนถึงผลผลิต เป็นเครื่องมือที่กิจการเพื่อสังคมสามารถเขียน เองได้ และใช้เป็นเครือ่ งมือ “พืน้ ฐาน” ในการวัดผลลัพธ์ดว้ ยตนเอง หรือประกอบ การใช้เครือ่ งมืออืน่  ๆ ทีว่ ดั ผลในเชิงลึกมากขึน้ เช่น ประกอบผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุน (SROI) หรือใช้ตวั ชีว้ ดั มาแสดงในส่วนผลผลิต ด้วยความไม่ซบั ซ้อน ของเครือ่ งมือ การทำ�ห่วงโซ่คณ ุ ค่าจึงมีตน้ ทุนตาํ่ และใช้เวลาไม่มาก ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ขอบเขตของสิ่งที่กิจการต้องการจะวัด ข้อจำ�กัดของเครือ่ งมือนี้ คือ การเขียนผลผลิตทีอ่ าจไม่สะท้อนผลลัพธ์ แต่เป็น


134

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

เพียง “ผล” ทีเ่ กิดขึน้ จากการทำ�กิจกรรม หรือการเขียนทีป่ จั จัยต่าง ๆ ในแต่ละขัน้ ตอนไม่สัมพันธ์กัน ตัวเครื่องมือเองอาจไม่ได้แสดง “ความเปลี่ยนแปลง” จาก จุดเริม่ ต้นจนถึงจุดทีต่ อ้ งการประเมินผล การตรวจสอบรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ ของแต่ละกล่องของห่วงโซ่คุณค่าจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ห่วงโซ่คุณค่า • องค์การรับรอง Social Enterprise Mark สหราชอาณาจักร • กองทุน Root Capital สหรัฐอเมริกา • มูลนิธิ W.K. Kellogg Foundation สหรัฐอเมริกา • กิจการเพื่อสังคม HCT Group สหราชอาณาจักร • กิจการเพื่อสังคม BRAC บังกลาเทศ 2. Cost-Benefit Analysis (CBA)

Cost-Benefit Analysis (CBA) หรือ Benefit-Cost Analysis คือ การ วิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนที่เป็นเครื่องมือหนึ่งในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทาง เศรษฐศาสตร์ท่ีได้รับการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 จากนักเศรษฐศาสตร์ และนักสังคมวิทยา และได้รับการพัฒนาสู่เทคนิคสมัยใหม่ในช่วงทศวรรษ 1940 ในสหรัฐอเมริกา CBA เป็นเครื่องมือที่ใช้โดยนักเศรษฐศาสตร์เพื่อประเมินการ ลงทุนที่ผลตอบแทนที่สำ�คัญทั้งหมดที่เกิดจากการลงทุนไม่ได้รวมอยู่ในรายการ แสดงรายได้และรายจ่าย เครือ่ งมือประเมินนีเ้ ป็นทีน่ ยิ มใช้ในการประเมินการลงทุน สาธารณะและโดยรัฐบาลในแต่ละประเทศ โครงการความช่วยเหลือระหว่างประเทศ มูลนิธิหรือองค์กรไม่แสวงหากำ�ไรต่าง ๆ รวมไปถึงการลงทุนทางสังคมที่ต้องการ ผลตอบแทนทั้งทางการเงินและทางสังคม CBA เป็นเครือ่ งมือช่วยในการตัดสินใจเลือกโครงการทีข่ อรับงบประมาณหรือ ทุน เช่น การพิจารณาโครงการที่เน้นผลลัพธ์ทางสังคมหรือผลลัพธ์ “ส่วนรวม” เป็นหลัก โดยพิจารณาบนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นตัวเงิน ทำ�ให้มีการเปรียบเทียบกัน ข้ามโครงการได้ รวมทั้งช่วยในการบริหารและตัดสินใจจัดสรรทรัพยากร และ การกำ�หนดนโยบาย ในบางประเทศ เช่น อิตาลี รัฐบาลมีน​ โยบายสาธารณะในการ สนับสนุนกิจการเพื่อสังคมที่ก่อให้เกิดการจ้างงานแก่ผู้ด้อยโอกาส (Work Inte-


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

135

gration Social Enterprise: WISE) การพิจารณาการจัดสรรเงินทุนจากรัฐก็ใช้ เครือ่ ง­มอื อย่าง CBA ในการพิจารณาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจการเพือ่ สังคม 10 แห่ง เป็นเวลาต่อเนื่องถึง 6 ปี (European Union; OECD, 2015) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนนั้นจะแสดงต้นทุนและผลลัพธ์ทางสังคมที่ เกิดจากการลงทุนออกมาในรูป “ตัวเงิน” (monetary terms) ก่อนจะประเมิน ตามปัจจัยใดปัจจัยหนึง่ หรือมากกว่าใน 3 ปัจจัย (Clark, Rosenzweig, Long, & Olsen, 2003) ดังนี้ •  มลู ค่าปัจจุบนั สุทธิ (net present value: NPV) ผลรวมของต้นทุน รายได้ และผลลัพธ์ทางสังคมแสดงในอัตราคิดลด (discount rate) เพื่อสะท้อน มูลค่าที่​แท้จริงในรอบบัญชีนั้น •  อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (benefit-cost ratio) คือ มูลค่าปัจจุบัน ของรายได้และผลลัพธ์ทางสังคมทางบวก หารด้วยมูลค่าปัจจุบนั ของต้นทุน และผลลัพธ์ทางสังคมทางลบ •  อัตราผลตอบแทนภายใน (internal rate of return: IRR) คือ อัตรา คิดลดที่จะทำ�ให้มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการ ดำ�เนินงาน เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของผลลัพธ์ทางสังคมที่คาดว่าจะเกิดจาก การดำ�เนินงานของกิจการ ข้อดีในการใช้เครื่องมือ CBA คือ การช่วยให้ผู้ให้ทุนเปรียบเทียบกิจการเพื่อ สังคมในด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมใน “ภาษา” เดียวกัน คือ ภาษาทางการเงิน ช่วยบอกถึงความคุ้มค่าและประสิทธิผลของเงินทุนที่ใช้ไปกับ กิจการและบอกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับเป้าหมายทางสังคมได้เช่นกัน รวมทั้ง ระบุความเสี่ยงและผลจากการตัดสินใจในการเลือกทางใดทางหนึ่ง (trade-off) ส่วนข้อด้อยของการใช้เครือ่ งมือนีค้ อื การต้องเก็บข้อมูลจำ�นวนมากทำ�ให้เป็น เครื่องมือที่ใช้เวลามากและต้นทุนสูง CBA เป็นเครื่องมือที่มีความซับซ้อน ผู้ใช้ เครื่องมือต้องอาศัยความรู้ในเชิงเศรษฐศาสตร์และการเงิน ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน องค์ความรูส้ าธารณะในการประเมินโดยใช้ CBA และตัวอย่างมีอยูม่ ากมาย แต่การ ให้สถาบันวิจยั สถาบันการศึกษาและผูเ้ ชีย่ วชาญภายนอกเป็นผูท้ �ำ การวิเคราะห์ CBA จะสะดวกกว่าที่กิจการเพื่อสังคมจะทำ�เอง (European Union; OECD, 2015)


136

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

การตีความมูลค่าผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่จับต้องไม่ได้ให้เป็นมูลค่าทางการเงินยังมีความ เป็นอัตวิสัย หรือมีอุปสรรคด้านอคติของผู้ประเมินเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะใน กรณีของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีความอ่อนไหว เช่น การให้ค่าแทนทาง​ การเงินแก่ชีวิตของคนหากมีกิจการเพื่อสังคมที่ทำ�ให้ชีวิตมนุษย์ยืนยาวขึ้นได้ ผล ของการประเมิน CBA ทีม่ คี ณ ุ ภาพจะยึดโยงมาจากข้อมูลตัง้ ต้นทีม่ คี ณ ุ ภาพ ดังนัน้ หากองค์กรมีข้อมูลไม่เพียงพอหรือคุณภาพตํ่าก็จะส่งผลต่อคุณภาพการประเมิน เช่นกัน รวมทั้งมูลค่าที่ได้จาก CBA ไม่รวมผลกระทบภายนอก (externalities) อื่น ๆ ที่เกิดจากการดำ�เนินงานจึงอาจไม่สะท้อนสัดส่วนของผลลัพธ์ท่ีเกิดขึ้นจาก กิจการจริง ๆ ตัวอย่างองค์กรที่ใช้การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทน •  สถาบัน Washington State Institute of Public Policy สหรัฐอเมริกา • มูลนิธิ Robin Hood Foundation สหรัฐอเมริกา • องค์กร Sametrica แคนาดา 3. Social Return on Investment (SROI)

ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน หรือ SROI เป็นเครือ่ งมือประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมที่พัฒนามาจากเครื่องมือ Cost-Benefit Analysis โดยมูลนิธิ The Roberts Enterprise Development Fund (REDF) สหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ.  1997 เพือ่ ตอบคำ�ถามของนักการกุศล นักลงทุนและผูเ้ ชีย่ วชาญในด้านความสำ�เร็จ ขององค์กร REDF ใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการตัดสินใจใช้ทรัพยากรขององค์กร การ ทดลองผลลัพธ์และทำ�ให้ผู้เกี่ยวข้องกับมูลนิธิเชื่อได้ว่าเงินทุก ๆ เหรียญสหรัฐที่ มูลนิธลิ งทุนไปสามารถสร้างประโยชน์ตอ่ ปัจเจกและสังคมทีร่ ะบุเป็นเชิงปริมาณได้ ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา รัฐและสถาบันชัน้ นำ�ในสหราช­อาณาจักรและยุโรปได้น�ำ เครือ่ งมือ SROI มาใช้ เช่น มูลนิธิ New Economics Foundation, สำ�นักงาน Office of the Third Sector (ชื่อปัจจุบันว่า Office for Civil Society Advisory Body) และกองทุนกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise Investment Fund: SEIF) แห่งสหราชอาณาจักร ก่อนที่ SROI จะกลาย เป็นเครื่องมือที่ใช้แพร่หลายในออสเตรเลีย ในปัจจุบันมีเครือข่ายหรือสมาคมผู้ใช้


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

137

SROI ในระดับนานาชาติชื่อ SROI Network (ชื่อปัจจุบันว่า Social Value) ที่ จัดงานสัมมนา พัฒนาความรู้ ให้บริการอบรมและให้การ “รับรอง” แก่ผปู้ ระเมิน SROI ทีผ่ า่ นเกณฑ์ทงั้ ในสหราชอาณาจักร ยุโรป ออสเตรเลียและแคนาดา อย่างไร ก็ตาม การนำ� SROI ไปใช้งานนัน้ มีคมู่ อื ตัวอย่างและองค์ความรูส้ าธารณะจำ�นวน มาก อีกทั้งผู้ใช้เครื่องมือก็ไม่จำ�เป็นต้องมีประกาศนียบัตรจาก SROI Network การให้ความสำ�คัญกับการรวมผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาในกระบวนการประเมิน ถือเป็นพัฒนาการที่สำ�คัญของ SROI ที่ต่างจากเครื่องมือ CBA ทำ�ให้ SROI ต้อง มีการวิเคราะห์ที่ลึกขึ้นและทำ�งานกับผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายมากกว่า อย่างไร ก็ตาม SROI เน้นการแปลงค่าผลลัพธ์ทางสังคมเป็นมูลค่าทางการเงิน (monetization) เหมือนกับ CBA และต้องการตอบคำ�ถามว่า “เงินที่ลงทุนไป สร้างผล ตอบแทน (มูลค่าทางสังคม) เท่าไร” เช่น กิจการเพื่อสังคม Proximity Designs ในเมียนมาร์ รายงานว่าทุกหนึ่งเหรียญสหรัฐที่กิจการลงทุนไป ใช้สร้างรายได้ ให้กับครัวเรือนในเขตชนบทได้ 10.25 เหรียญสหรัฐ หรือเป็นอัตราส่วน 1:10 (Proxi­mity Designs, 2013) การเริ่มต้นการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนต้องเริ่มจาก “ตรรกะ” ทางสังคมของกิจการ คือ ตั้งต้นจากกรอบคิด แบบจำ�ลองตรรกะหรือ ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลงในการแสดงปัจจัยนำ�เข้า เพือ่ ทำ�กิจกรรมหรือมีการแทรกแซงเพื่อให้เกิดผลผลิต และส่งผลให้เกิดผลลัพธ์หรือผลกระทบในระยะยาว เป้า­ หมายของ SROI คือ ตรวจสอบความเชือ่ มโยงของปัจจัยนำ�เข้า ไปจนถึงผลกระทบ ซึ่งทำ�ให้ SROI เป็นเครื่องมือการประเมินผลลัพธ์เดียวเท่านั้นในวงการด้านสังคม ที่ครอบคลุมขอบเขตของแบบจำ�ลองตรรกะตั้งแต่ปัจจัยนำ�เข้าไปจนถึงผลกระทบ (Social Ventures Australia Consulting, 2012; MaRS Centre for Impact Investing, n.d.) ในขณะที่เครื่องมืออื่น ๆ อาจจะสะท้อนเพียงความสัมพันธ์จาก กิจกรรมถึงผลผลิต หรือปัจจัยนำ�เข้าถึงผลผลิตเท่านั้น คูม่ อื A Guide to Social Return on Investment โดยสำ�นักงาน Office of the Third Sector (2009) แห่งสหราช­อาณาจักร เป็นหนึง่ ในวรรณกรรมด้าน SROI ทีถ่ กู อ้างอิงถึงมากทีส่ ดุ วรรณกรรมได้ระบุถงึ หลักการประเมินโดยใช้ SROI 7 ข้อ และขั้นตอนในการประเมิน 6 ขั้นตอน ดังนี้


138

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

หลักการประเมินโดยใช้ SROI 1. คำ�นึงถึงผู้มีส่วนได้เสียและดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด บอกผู้มีส่วน ได้เสียว่าจะประเมินอะไร ประเมินอย่างไร และให้เกียรติผมู้ สี ว่ นได้เสียด้วยการรวม เข้ามาในการประเมิน 2. เข้าใจสิ่งที่มกี ารเปลี่ยนแปลง อธิบายว่าการเปลีย่ นแปลงเกิดขึน้ ได้อย่างไร ประเมินจากหลักฐานที่รวบรวมได้ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านบวกและลบ ทั้งที่ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น 3. ใช้ “ค่าแทนทางการเงิน” (financial proxy) ตีคา่ ผลลัพธ์ทสี่ �ำ คัญ ผลลัพธ์ หลายแบบที่ไม่มีมูลค่าตลาดในปัจจุบันทำ�ให้ “คุณค่า” ของผลลัพธ์นั้นถูกละเลย ในการพิจารณา 4. รวมเฉพาะสิง่ ทีเ่ ป็น “สาระสำ�คัญ” (material) พิจารณาข้อมูลและหลัก­ ฐานเฉพาะที่มีความสำ�คัญในการประเมินที่จะช่วยสะท้อนความเป็นจริงที่ถูกต้อง และยุติธรรม ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียจะเป็นฝ่ายที่ช่วยให้ข้อสรุปด้านผลลัพธ์ที่เป็นเหตุ เป็นผล 5. หลีกเลีย่ งการกล่าวอ้างเกินจริง อ้างอิงเฉพาะคุณค่าทีอ่ งค์กรรับผิดชอบใน การสร้างขึ้น 6. เน้นความโปร่งใสทุกขั้นตอน แสดงหลักการในการวิเคราะห์ที่แม่นยำ�และ มีความซื่อสัตย์ รายงานและอภิปรายผลกับผู้มีส่วนได้เสีย 7. พร้อมรับการตรวจสอบ ใช้ผู้รับรองผลที่เป็นหน่วยงานอิสระ ขั้นตอนในการประเมิน SROI 1. กำ�หนดขอบเขตการวิเคราะห์และระบุกลุม่ ผูม้ สี ว่ นได้เสีย รวมผูม้ สี ว่ นได้เสีย เข้ามาในการประเมิน (ขั้นตอนทำ�ให้ SROI แตกต่างจากการวิเคราะห์ต้นทุน-ผล ตอบแทน) 2. ทำ�แผนที่ผลลัพธ์ อธิบาย “ตรรกะ” ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ�เข้า กิจกรรม และผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย (ขั้นตอนทำ�ให้ SROI แตกต่าง จากการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทน) 3. หาหลักฐานและให้ “มูลค่า” กับผลลัพธ์ เมื่อระบุผลลัพธ์ได้ชัดเจนแล้วก็ หาหลักกฐานที ฐานที่จ่จะวัะวัดดผลนั ผลนั้น้นว่าว่เกิาเกิดผลเท่ ดผลเท่ และคงอยู นเวลานานเท่ ไร และ หาหลั าไราไรและคงอยู ่เป็น่เป็เวลานานเท่ าไร าและ


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

139

เปลี่ยนผลลัพธ์นั้นให้เป็นค่าแทนทางการเงิน ซึ่งผลลัพธ์ส่วนนี้เป็นลักษณะพิเศษ ของ SROI ที่ให้ข้อมูลในการนำ�มาพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง 4. แสดงให้เห็น “ผลกระทบ” พิจารณาผลลัพธ์ที่เกิดจากกิจการเท่านั้น โดยนำ�ปัจจัยภายนอกทีก่ อ่ ให้เกิดผลลัพธ์เดียวกันมาหักออกไปจากผลลัพธ์ทงั้ หมด การพิจารณาผลกระทบจึงต้องอาศัยหลักคิดกรณีฐาน (base case scenario) มาประกอบการพิจารณา เช่น การคำ�นึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ •  Attribution การยอมรับว่าองค์กรอืน่  ๆ อาจมีสว่ นสร้างผลลัพธ์ทคี่ ล้ายคลึง กันได้ หรือองค์กรทีไ่ ด้รบั การประเมินไม่ได้ท�ำ งานในประเด็นสังคม​นน้ั  ๆ เพียง องค์กรเดียว •  Deadweight หรือผลลัพธ์สว่ นเกิน คือ การยอมรับว่าผลลัพธ์บางส่วนอาจ เกิดขึ้นได้เองต่อให้ไม่มีองค์กรไหนทำ�งานด้านนี้ •  Displacement หรือผลลัพธ์ทดแทน คือ การยอมรับว่าผลลัพธ์บางส่วน อาจไม่ใช่ส่วนเพิ่ม แต่เป็นการทดแทนผลลัพธ์ที่อื่น •  Drop-off หรืออัตราการลดลงของผลลัพธ์ ในกรณีที่ประมาณการผลลัพธ์ ทางสังคมในอนาคตตลอดช่วงเวลามากกว่าหนึ่งปี โดยที่องค์กรจะไม่มีการ ลงทุนเพิ่มเติมระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว การประเมินควรทำ�ประมาณการ อัตราการลดลงของผลลัพธ์ทางสังคมในแต่ละปีดว้ ย เพือ่ สะท้อนสภาพความ เป็นจริงทีว่ า่ ผลลัพธ์ทางสังคมใด ๆ ก็ตาม มักเกิดขึน้ ในปีแรก ๆ ของกิจกรรม มากกว่าในปีท้าย ๆ การพิจารณาเฉพาะผลกระทบ โดยดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะจากกิจการและ หักลบปัจจัยข้างต้นนี้ถือเป็น “ความซื่อสัตย์” (integrity) ที่เครื่องมือ SROI ให้ ความสำ�คัญ 5. การคำ�นวณ SROI รวบรวมข้อมูลเพื่อคำ�นวณอัตราส่วนผลตอบแทนทาง สังคมต่อการลงทุน เพื่อแสดงตัวเลขออกมาเป็นมูลค่าทางการเงินที่เป็นมูลค่า ปัจจุบัน (net present value: NPV) และวิเคราะห์ความอ่อนไหว (sensitivity analysis) ในบางกรณีอาจจะคำ�นวณในรูปแบบของระยะเวลาคืนทุน (payback period)


140

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

6. การรายงาน การใช้ข้อมูลจากการประเมินและผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ของการดำ�เนินกิจการ การรายงานต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายโดยรวมข้อมูลทั้งเชิง คุณภาพ เชิงปริมาณและข้อมูลการเงิน ใช้อตั ราส่วนผลตอบแทนทางสังคมต่อการ ลงทุนในการสื่อสาร และนำ�ข้อมูลที่ได้จากการประเมินมา​ทบทวนการวางแผน กลยุทธ์ ธรรมาภิบาล และวิธีปฏิบัติในการทำ�งาน และทำ�การเก็บข้อมูลรวมทั้ง ประเมินผลลัพธ์อย่างสมํ่าเสมอ ข้อดีในการใช้เครื่องมือประเมิน SROI คือ เป็นเครื่องมือที่แสดงผลลัพธ์ทาง สังคมที่ครอบคลุมความสัมพันธ์ตั้งแต่ปัจจัยนำ�เข้า (inputs) ไปจนถึงผลลัพธ์ (outcomes) หรือผลกระทบ (impacts) ทีแ่ สดงออกในเชิงปริมาณและมูลค่าทาง​ การเงินได้ เป็นเครื่องมือที่ “บังคับ” ให้กิจการต้องดึงผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามี ส่วนร่วมในการประเมิน ทำ�ให้ได้รับเสียงสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้มี ส่วนได้เสียอย่างแท้จริง รวมทั้งเน้นความซื่อสัตย์ของการแสดงผลกระทบว่าต้อง หักลบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเองแม้ไม่มีกิจการเข้าไปทำ�งานด้านนี้ และแสดงให้เห็น ผลลัพธ์ทางสังคมทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งที่เกิดจากกิจการและปัจจัยภายนอก ทำ�ให้กิจการเข้าใจถึงผลลัพธ์ทางสังคมของตนเองอย่างละเอียด ผูใ้ ห้ทนุ ใช้คา่ SROI ในการพิจารณาให้ทนุ ภายในองค์กรได้ การเปลีย่ นผลลัพธ์ ทางสังคมให้เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจทำ�ให้นักลงทุนเข้าใจได้มากขึ้น เพราะเป็น ภาษาเดียวกันกับภาษาการเงินทีใ่ ช้ในชีวติ ประจำ�วัน SROI จึงเป็นเครือ่ งมือทีใ่ ช้ใน การช่วยตัดสินใจของนักลงทุนทางสังคมได้ และช่วยประเมินความ “คุม้ ค่า” ทาง สังคมของโครงการ ข้อจำ�กัดในการใช้เครื่องมือ SROI ได้แก่ การเป็นเครื่องมือที่มีความเฉพาะ เจาะจง (specific) สูงต่อแต่ละกิจการ Social Ventures Australia Consulting (2012) แนะนำ�ว่า SROI ไม่เหมาะที่จะใช้เปรียบเทียบผลงานข้ามกิจการ แต่ เหมาะกับการอ้างอิงในการเปรียบเทียบผลของกิจการเองในช่วงเวลาที่ผ่านไป ซึ่ง เป็นสาเหตุให้องค์กรหลายแห่งเข้าใจผิดในการตีความตัวเลขอัตราส่วนผลตอบแทน ทางสังคมต่อการลงทุนว่าเป็น “มูลค่าเงิน” จริง ๆ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง โซและสตาสเก้วเิ ชียส (So & Staskevicius, 2015) เห็นพ้องว่า การพิจารณาแต่ ค่า SROI อย่างเดียวในการเปรียบเทียบกิจการเพื่อสังคมเพื่อให้เงินทุน โดยไม่


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

141

สนใจว่าปัญหาสังคมบางเรื่องที่เร่งด่วนหรือกระทบผู้คนที่ด้อยโอกาสอาจจะไม่ให้ ค่า SROI ที่สูงพอนั้นไม่ยุติธรรม SROI จึงเป็นเครื่องมือที่ควรใช้ร่วมกับเครื่องมือ อื่น ๆ และไม่เหมาะใช้ประเมินการแทรกแซง (intervention) เสียทุกประเภท ผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายยังไม่เข้าใจเครื่องมือ SROI ดีพอทำ�ให้เกิดปัญหาในการ สือ่ สารและตีความ นอกจากนี้ SROI เป็นเครือ่ งมือทีย่ งั ใหม่ และยังไม่มมี าตรฐาน สากล หรือได้รับการยอมรับเหมือนเครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ที่มีการพัฒนามา หลายร้อยปี และมีระบบบัญชีสากลในการกำ�กับ ในด้านต้นทุน วรรณกรรมหลายชิ้นเห็นพ้องต้องกันว่าการประเมิน SROI มี ราคาสูงมาก (Trelstad, 2008; Social Ventures Australia Consulting, 2012; Millar & Hall, 2013; Floyd, 2014) ในด้านข้อมูลที่ใช้ประเมิน SROI เป็นเครือ่ งมือทีต่ อ้ งการข้อมูลตัง้ ต้นโดยละเอียด การประเมิน SROI ไม่ได้เพราะมี ข้อมูลไม่พอ หรือประเมินได้แต่การคาดการณ์ (forecast) SROI ไปในอนาคต เพราะไม่มีข้อมูลตั้งต้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น Social Ventures Australia Consulting (2012) ได้ประเมินกิจการเพือ่ สังคมในประเทศออสเตรเลีย จำ�นวน 49 แห่ง ในระยะเวลาสองปีครึ่งโดยใช้เครื่องมือ SROI และพบว่ากิจการ ส่วนใหญ่เพิ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลของตนเองเป็นครั้งแรก การประเมินครั้งนั้น Social Ventures Australia Consulting จึงไม่มขี อ้ มูลพืน้ ฐาน (baseline data) เพียงพอทีจ่ ะประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแบบย้อนหลัง (evaluate) ให้กจิ การเหล่า นัน้ ได้ ขัน้ ตอนในการประเมินทีต่ อ้ งหาข้อมูลต่าง ๆ ทีส่ ะท้อน “สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ แน่นอน แม้ไม่มีกิจการเข้ามาทำ�งาน” (additionality) ก็หายาก (New Philanthropy Capital, 2010) นักลงทุนทางสังคมเกินครึง่ ทีม่ องว่าการหา attribution และการ หา additionality มีความสำ�คัญ แต่ยอมรับว่าการจะวัดสองสิ่งนี้ให้แม่นยำ�เป็น เรือ่ งยุง่ ยากและมีตน้ ทุนสูง (Saltuk, Idrissi, Bouri, Mudaliar, & Schiff, 2015) ความซับซ้อนของเครือ่ งมือ SROI ก็เป็นข้อจำ�กัดอีกประการทีส่ �ำ คัญ มิลลาร์ และฮอลล์ (Millar & Hall, 2013) ได้สัมภาษณ์และสำ�รวจกิจการเพื่อสังคมที่ได้ รับเงินสนับสนุนจากกองทุนกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise Investment Fund: SEIF) ของสหราชอาณาจักร ที่มีข้อกำ�หนดว่ากิจการเพื่อสังคมที่ได้รับทุน ต้องมีการประเมินด้วย SROI พบว่ามีกิจการเพื่อสังคมเพียงร้อยละ 33 ที่ใช้ เครื่องมือนี้ แม้ว่าจะมีการสนับสนุนทุนและองค์ความรู้แล้ว กิจการเพื่อสังคมให้


142

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ความเห็นว่าแม้ผใู้ ห้ทนุ อาจมีความเข้าใจถึงเครือ่ งมือ SROI เป็นอย่างดี แต่กจิ การ เพือ่ สังคมมองว่าผูใ้ ห้ทนุ ประเมินความซับซ้อนของการใช้เครือ่ งมือตาํ่ ไป และพวก เขามีอุปสรรคอย่างมากกับการหาค่าแทนทางการเงิน (proxy) ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ SROI •  มลู นิธิ The Roberts Enterprise Development Fund (REDF) สหรัฐอเมริกา • องค์กร Social Value UK สหราชอาณาจักร • องค์กร Shujog และตลาดทุนเพื่อสังคม IIX สิงคโปร์ • บริษัท SVT Group สหรัฐอเมริกา • กองทุน SOW Asia ฮ่องกง • กิจการเพื่อสังคม Proximity Designs เมียนมาร์ 4. Indicators

ตัวชีว้ ดั (indicators) คือ ตัวทีช่ ว่ ยระบุจ�ำ นวนของผลผลิต ทีเ่ ชือ่ มโยงกับการ เกิดขึ้นของผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่วัดออกมาได้เป็นข้อมูลเชิง ปริมาณ ตัวชี้วัดช่วยบอกว่าผลลัพธ์เกิดขึ้น “หรือไม่” และเกิดขึ้น “เท่าไร” ตัว ชี้วัดช่วยชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างจุดเริ่มต้น (baseline) กับพัฒนาการหลัง จากที่ทำ�กิจกรรมไประยะหนึ่ง เป็นปัจจัยที่สะท้อนการเกิดผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง การใช้ตวั ชีว้ ดั ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเป็นวิธที ไี่ ม่ซบั ซ้อน กิจการเพือ่ สังคมหลายแห่งสามารถกำ�หนดตัวชี้วัดได้เองตามประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่กิจการต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น กิจการเพื่อสังคม Digital Divide Data (DDD) ที่ทำ�งานด้านส่งเสริมอาชีพไอทีให้ผู้ด้อยโอกาสในลาว กัมพูชา และเคนยา ได้ใช้ตวั ชีว้ ดั ทีส่ ร้างขึน้ มาเองในการวัดและรายงานผลลัพธ์ทาง สังคม เช่น รายได้เฉลีย่ ของผูท้ จี่ บการศึกษาจาก DDD และรายได้ทเี่ พิม่ ขึน้ ตลอด ชีวิตการทำ�งานของผู้ที่จบจาก DDD เทียบกับกลุ่มคนที่มีลักษณะทางสังคมใกล้ เคียงกันแต่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการของ DDD หรือกิจการเพื่อสังคมไมโครไฟแนนซ์ BRAC จากบังกลาเทศที่ใช้ตัวชี้วัด เช่น อัตราส่วนของครัวเรือนของลูกค้าที่หลุด พ้นจากเส้นความยากจน รายได้ที่เพิ่มขึ้น สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น หรือการศึกษาต่อ


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

143

ของบุตรหลานที่เพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดที่ “ดี” ควรมีลักษณะ “SMART” ดังต่อไปนี้ •  จำ�เพาะเจาะจง (Specific) ไม่เหวี่ยงแห ตีขลุม มีความเฉพาะเจาะจงใน ระดับพื้นที่หรือกลุ่มเป้าหมาย •  วัดได้ (Measurable) รวมถึงมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องตามหลักวิชาการ ใช้เปรียบเทียบข้ามองค์กรได้ •  บรรลุได้ (Achievable) สามารถบรรลุได้ในความเป็นจริง มิใช่เลื่อน​ลอย หรือเป็นไปไม่ได้ •  เกีย่ วข้องกับประเด็น (Relevant) ตรงตามประเด็นทีต่ อ้ งการจะศึกษา และ เป้าหมายของโครงการ •  มีเงื่อนเวลา (Time-bound) สามารถใช้ติดตามความคืบหน้าเมื่อเวลาผ่าน ไป และแยกย่อยการวัดตามหน่วยเวลาแต่ละช่วงได้ (เช่น รายปี รายเดือน รายไตรมาส ฯลฯ) ในแวดวงการลงทุนเพือ่ สังคม ผูใ้ ห้ทนุ ทางสังคมรายใหญ่ของโลกมีการพัฒนา มาตรฐานหรือข้อแนะนำ�ด้านตัวชี้วัดทางสังคมมาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้าง “คลัง” หรือแค็ตตาล็อกตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐาน (metrics) ให้องค์กรต่าง ๆ ใช้ร่วมกันได้ รวมถึงกิจการเพื่อสังคม คลังตัวชี้วัดที่มีองค์กรใช้มากที่สุดในโลกในปัจจุบันได้แก่ Impact Reporting and Investment Standards หรือ IRIS จากองค์กรไม่ แสวง​หากำ�ไร Global Impact Investing Network (GIIN) IRIS เป็นคลังตัวชีว้ ดั ทีเ่ ริม่ ใช้ใน ค.ศ. 2009 โดยมีกองทุน Acumen Fund, มูลนิธริ อ็ คกีเ้ ฟลเลอร์ และ B Lab เป็นองค์กรหลักในการศึกษา รวบรวมและพัฒนาตัวชีว้ ดั เพือ่ สร้างวิธปี ฏิบตั ิ ในการวัดผลลัพธ์ทางสังคมที่โปร่งใส เชื่อถือได้ แสดงความรับผิดได้ และใช้ได้ทั่ว วงการการลงทุนทางสังคม (Global Impact Investing Network, n.d.) การ สำ�รวจนักลงทุนทางสังคมใน ค.ศ. 2016 พบว่านักลงทุนทางสังคมถึงร้อยละ 65 ใช้ตัวชี้วัดของ IRIS หรือเครื่องมือประเมินที่อ้างอิงตัวชี้วัดของ IRIS (GIIN Research Team, 2016) บนเว็บไซต์ของ GIIN เองก็ได้แสดงรายชื่อขององค์กรที่ ใช้คลังตัวชี้วัด IRIS ในปัจจุบัน จำ�นวน 197 แห่งจากทั่วโลก (Global Impact


144

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

Investing Network, n.d.) ตัวชีว้ ดั ของ IRIS ทุกตัวถูกพัฒนาขึน้ โดยยึดหลักการว่า เป็นตัวชีว้ ดั ทีส่ ามารถ เก็บข้อมูลได้ สัมพันธ์กบั การตัดสินใจ และมีประโยชน์กบั การวิเคราะห์ในภาพรวม ทีผ่ า่ นมา IRIS มีการพัฒนาอย่างสมํา่ เสมอโดยผ่านการเห็นชอบจากบอร์ดทีป่ รึกษา (advisory board) และคณะทำ�งาน และปรับจากเสียงสะท้อนของผู้ใช้งานและ ผูเ้ ชีย่ วชาญจากภายนอก ตัวชีว้ ดั ของ IRIS มีพน้ื ฐานมาจากตัวชีว้ ดั ขององค์กรต่าง ๆ  ที่ทำ�งานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับสากล เช่น องค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ (ILO) องค์การเพื่อความ​ร่วมมือทางเศรษฐกิจเเละการพัฒนา (OECD) องค์การอนามัยโลก และ World Resources Institute เครือ่ งมือประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมแบบที่องค์กรประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเอง (proprietary) หลายแห่งก็นำ�ตัว ชีว้ ดั ของ IRIS ไปใช้ประกอบการวัดผลลัพธ์ การจัดอันดับ การให้คะแนน และการ รายงานผลในพอร์ตการลงทุน เช่น การประเมินแบบ B Impact Assessment การจัดอันดับ Global Impact Investing Rating System (GIIRS) การประเมิน กองทุนเพื่อสังคม PRISM และการรายงาน GRI G4 ในปัจจุบนั IRIS เป็นข้อมูลสาธารณะทีใ่ ครก็น�ำ ไปใช้ได้โดยไม่ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ย ในเวอร์ชัน 4.0 ที่มีการปรับปรุงตัวชี้วัดไปในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 IRIS มี ตัวชี้วัดรวมทั้งหมด 559 ตัว โดยแบ่งประเภทเป็นหมวดหมู่ดังตาราง 7 IRIS มีเลขรหัสของตัวชี้วัดให้ผู้ใช้นำ�ไปอ้างอิงในการรายงานได้ รวมทั้งคำ� อธิบายตัวชี้วัดและวิธีการคำ�นวณในบางกรณี ดังตัวอย่างในตาราง 8 อย่างไรก็ตาม GIIN (2017) ยํ้าว่าคลังตัวชี้วัด IRIS ไม่สามารถตัดสินว่าผล การดำ�เนินงานขององค์กรดีหรือแย่ การใช้ IRIS ไม่ได้เป็นการรับรองหรือจัดอันดับ ผลงาน IRIS เองไม่ใช่การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมโดยตรง แต่สามารถนำ�ตัวชีว้ ดั ไปใช้ประกอบกับเครื่องมือประเมินผลอื่น ๆ นอกเหนือจากคลังตัวชี้วัด IRIS แล้ว ในสหราชอาณาจักรก็มีการพัฒนาตัว ชีว้ ดั โดย Big Society Capital (BSC) ซึง่ เป็นสถาบันการเงินแห่งแรกในโลกทีจ่ ดั ตั้งโดยรัฐเพื่อเน้นการลงทุนในสถาบันตัวกลางด้านการลงทุนทางสังคม (social investment finance intermediary: SIFI) และมีบทบาทเป็น “โปรโมเตอร์” รณรงค์สง่ เสริมการลงทุนเพือ่ สังคมในสหราช­อาณาจักร BSC ได้จดั ทำ�และเผยแพร่ ชุดตัวชีว้ ดั “Outcomes Matrix” ซึง่ เปรียบเสมือน “แผนที”่ ความต้องการหลัก ๆ


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

ตาราง 7 การแบ่งประเภทของตัวชี้วัด IRIS ประเภทของตัวชี้วัด

หมวดหมู่ย่อย

ประเด็นทางสังคม (sector)

• การเกษตร • การศึกษา • พลังงาน • สิ่งแวดล้อม • บริการทางการเงิน • บริการทางการเงิน: ไมโครไฟแนนซ์ • บริการทางการเงิน: ไมโครอินชัวรันซ์ • สุขภาพ • ที่อยู่อาศัย/การพัฒนาชุมชน • การอนุรักษ์ที่ดิน • นํ้า • อื่น ๆ

ผู้ได้รับประโยชน์ (beneficiaries)

• ลูกค้า • ผู้จัดจำ�หน่าย ผู้กระจายสินค้า • พนักงาน • สิ่งแวดล้อม • คู่ค้า

ผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติการ (operational impact)

•  นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและผลงาน (performance) •  ธรรมาภิบาลและความเป็นเจ้าของ (ownership) •  นโยบายด้านสังคมและผลงาน (performance)

รายงานทางการเงิน

• งบดุล • กระแสเงินสด • งบกำ�ไรขาดทุน • อัตราส่วน (ratio) และการคำ�นวณอื่น ๆ

การรายงานแบบ IRIS

• ข้อมูลขององค์กร • สิ่งที่รายงาน

มุมมองในการลงทุน (investment lens) • เพศ • ลักษณะทางภูมิศาสตร์ • ชนกลุ่มน้อยและผู้พิการ • ระดับความยากจน • ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

145


146

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ตาราง 8 ตัวอย่างตัวชี้วัดของ IRIS ในหมวดการเกษตร (บางส่วน) รหัส

ตัวชี้วัด

คำ�อธิบาย

PI1263

จำ�นวนสินค้าทั้งหมดที่ จำ�หน่ายได้

ยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการทีอ่ งค์กรขายได้ในระยะเวลาการรายงาน

PI7923

จำ�นวนสินค้าทั้งหมดที่ซื้อมา จากคู่ค้าในระดับปัจเจก

ยอดซือ้ ทีอ่ งค์กรซือ้ จากคูค่ า้ ในระดับปัจเจกในช่วงเวลาใดช่วงเวลา หนึ่งในระยะเวลาการรายงาน

PD2756

ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้รับ การรับรอง

อธิบายการรับรองผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยหน่วยงานภายนอก ที่จำ�หน่ายโดยองค์กร โดยที่การรับรองยังคงอยู่ในช่วงก่อนจบ ระยะเวลาการรายงาน

OI6912

การปรับสภาพที่ดินแบบยั่งยืน​ เนือ้ ทีซ่ งึ่ องค์กรมีสว่ นควบคุมโดยตรงในการปรับสภาพอย่างยัง่ ยืน –โดยตรง โดยการเตรียมสภาพการเพาะปลูกอย่างยั่งยืนหรือมีการจัดการ ที่ดินอย่างยั่งยืน (sustainable stewardship) รายงานถึงเนื้อที่ ซึ่งได้รับการปรับสภาพในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งของระยะเวลา รายงาน

PI1568

ราคาส่วนเพิ่มที่ผู้ผลิตได้รับ

ราคาส่วนเพิ่มที่ผู้ผลิตสินค้าได้รับจากการขายให้องค์กร เปรียบ เทียบกับราคาเฉลี่ย (หากไม่ได้เกิดการทำ�โครงการนี้ขึ้น) ใน ท้องถิ่นของสินค้าที่คล้ายคลึงกันในระยะเวลารายงาน การคำ�นวณ: (ยอดขายทีเ่ ป็นรายได้ทงั้ หมดทีผ่ ผู้ ลิตได้รบั จากการ ขายสินค้า – ยอดขายที่น่าจะได้รับจากการขายสินค้าจำ�นวน เดียวกันในตลาดท้องถิ่น) ÷ (ยอดขายที่น่าจะได้รับจากการขาย สินค้าจำ�นวนเดียวกันในตลาดท้องถิ่น)

OI9891

ปริมาณยาฆ่าแมลงที่ใช้

ปริมาณยาฆ่าแมลงที่ใช้ในพื้นที่ที่องค์กรมีส่วนควบคุมโดยตรงใน ระยะเวลารายงาน

ของกลุ่มเป้าหมาย 15 กลุ่มในสหราชอาณาจักร เช่น คนไร้บ้าน ผู้พิการ อดีต นักโทษ เหยื่ออาชญากรรม และผู้สูงอายุ ฯลฯ โดยครอบคลุมผลลัพธ์ 9 สาขา ประกอบไปด้วย 1) ด้านการจ้างงาน ฝึกอบรมและการศึกษา  2) ทีอ่ ยูอ่ าศัยและ สิ่งอำ�นวยความสะดวกในท้องถิ่น  3) รายได้และการเข้าถึงบริการทางการเงิน ​ 4) สุขภาพกาย  5) สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี  6) ครอบครัว เพื่อนและ


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

147

ความสัมพันธ์  7) ความเป็นพลเมืองและชุมชน  8) ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และ ความเชื่อ  9) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ชุดตัวชี้วัดเหล่านี้พัฒนามาจาก การสำ�รวจผู้ได้รับประโยชน์ (beneficiaries) และมีความเหมาะสมกับบริบทของ กิจการเพื่อสังคมในสหราชอาณาจักร BSC ต้องการให้ดัชนีเหล่านี้ช่วยผู้ให้ทุนและกิจการเพื่อสังคมในการวางแผน วัดผลลัพธ์ทางสังคมและเรียนรูผ้ ลลัพธ์ของตัวเอง และเป็นเหมือน “จุดร่วม” หรือ “ภาษากลาง” ของการลงทุนเพื่อสังคมและการประเมินผลลัพธ์ อย่างไรก็ตาม องค์กรที่ต้องการขอทุนจาก BSC หากมีการวัดผลด้วยเครื่องมืออื่น ๆ หรือตัวชี้วัด อืน่  ๆ ทีไ่ ม่ใช่ Outcomes Matrix ของ BSC อยูแ่ ล้ว ก็ไม่จ�ำ เป็นต้องเปลีย่ นมาใช้ ตัวชี้วัดชุดนี้ (Big Society Capital, n.d.) ไม่ว่าจะเป็นการใช้ตัวชี้วัดที่กำ�หนดขึ้นเอง หรือใช้อ้างอิงตามมาตรฐานอย่าง IRIS หรือ Outcomes Matrix ของ BSC เพือ่ การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ข้อดี ของการใช้ตัวชี้วัดคือ กิจการเพื่อสังคมสามารถกำ�หนดตัวชี้วัดได้เอง วัดผลและ รายงานผลได้เอง ตัวชีว้ ดั ทีเ่ ป็น “คลัง” ข้อมูลอย่าง IRIS ได้รบั การพัฒนาอย่างไม่ หยุดนิง่ และมีผใู้ ช้โดยเฉพาะฝัง่ ผูใ้ ห้ทนุ ทางสังคมเพิม่ มากขึน้ เรือ่ ย ๆ หากใช้ตวั ชีว้ ดั อย่าง IRIS หรือของ BSC กิจการเพื่อสังคมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะเป็น ข้อมูลสาธารณะ การเก็บข้อมูลไม่ตอ้ งลงลึกเพราะตัวชีว้ ดั เหล่านีถ้ กู ออกแบบมาให้ ใช้งา่ ยเพือ่ ให้เกิดมาตรฐานการใช้ในวงกว้าง ทำ�ให้การใช้ตวั ชีว้ ดั ในการประเมินผล มีต้นทุนไม่สูงนัก ตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานอย่าง IRIS ช่วยสร้าง “ภาษา” เดียวกัน ในการสือ่ สารระหว่างองค์กร และระหว่างนักลงทุนทางสังคมกับกิจการเพือ่ สังคม และเป็นเครื่องมือขั้นแรกที่เหมาะกับกิจการเพื่อสังคมที่มีทรัพยากรน้อยในการใช้ ประเมินผลงานก่อนทีจ่ ะขยับไปใช้เครือ่ งมืออืน่  ๆ ทีส่ ะท้อนผลลัพธ์ทางสังคมในเชิง ลึกได้มากขึ้นเมื่อกิจการมีความพร้อมมากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม การใช้ดชั นีชวี้ ดั ก็มขี อ้ จำ�กัดเช่นกัน การกำ�หนดดัชนีชวี้ ดั เองใน บางกรณี หรือการใช้ดัชนีชวี้ ัดของ IRIS เป็นเพียงการบอกจำ�นวนของสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จากการทำ�กิจกรรมเท่านั้นหรือบอกผลผลิต แต่ไม่ได้บอกผลลัพธ์ (Shahnaz & Ming, 2009) เช่น บอกยอดขายสินค้าของกิจการเพื่อสังคม ยอดซื้อสินค้าจาก คูค่ า้ รายย่อย รวมถึงจำ�นวนเกษตรกรทีเ่ ข้าร่วมการอบรม หรือตัวชีว้ ดั บางตัวทีบ่ อก ถึงการเปลีย่ นแปลงทางสังคมหรือไปถึงขัน้ “ผลลัพธ์” ได้ ก็จะบอกแต่เพียงข้อมูล


148

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ในจุดใดจุดหนึง่ ของช่วงเวลาทีร่ ายงาน แต่ยงั ไม่ได้บอก “การเปลีย่ นแปลง” ก่อน หน้าและหลัง ซึ่งกิจการเพื่อสังคมต้องมีการเก็บข้อมูลอย่างสมํ่าเสมอเพื่อเปรียบ เทียบมูลค่าของตัวชีว้ ดั ในช่วงเวลาทีผ่ า่ นไป หรือนำ�ไปเป็นส่วนประกอบของวิธกี าร ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในแบบอื่น ๆ ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ Indicators: • องค์กร Big Society Capital สหราชอาณาจักร • องค์กร Global Impact Investing Network (GIIN) สหรัฐอเมริกา •  อ งค์ ก ารภาครั ฐ Malaysian Global Innovation and Creativity Centre (MaGIC) มาเลเซีย •  อ งค์ ก ารภาครั ฐ Korea Social Enterprise Promotion Agency เกาหลีใต้ • มูลนิธิ Calvert Foundation สหรัฐอเมริกา • กองทุน GAWA Capital สเปน • กองทุน Change Ventures ไทย • กิจการเพื่อสังคม d.light design สหรัฐอเมริกา • กิจการเพื่อสังคม Digital Divide Data ลาว กัมพูชา และเคนยา • กิจการเพื่อสังคม Divine Chocolate สหราชอาณาจักร 5. Experimental Study

“การวิจยั เชิงทดลอง” หรือ Experimental Study หมายถึง การศึกษาโดย ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยเน้นการวัดระดับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างรัดกุม เพื่อศึกษาว่า เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นนั้น เป็นสาเหตุที่แท้จริงของผลหรือปรากฏการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่ โดยผู้วิจัยจะใช้วิธีการสังเกตเปรียบเทียบความแตกต่าง ของตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพปกติ กับที่ เกิดขึ้นในสภาพที่ได้รับการควบคุมตามเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุป การวิจัยเชิงทดลองเป็นการศึกษาจากสาเหตุไปหาผล คือต้องการจะทราบว่า ตัวแปรทีศ่ กึ ษานัน้ เป็นสาเหตุทที่ �ำ ให้เกิดผลเช่นนัน้ จริงหรือไม่ เช่น ถ้าเกิด X แล้ว


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

149

จะต้องเกิด Y หรือไม่ (If X then Y) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของปรากฏการณ์ต่าง ๆ และถือกันว่า เป็นการวิจัยที่ให้ความน่าเชื่อถือสูงสุด (gold standard) แก่ผลการวิจัย ซึ่งการ ประเมินผลลัพธ์โดยใช้ขอ้ มูลอย่างละเอียดเพือ่ แสดงหลักฐานความเปลีย่ นแปลงได้ มักขึน้ อยูก่ บั อายุของกิจการทีท่ �ำ งานในประเด็นสังคมนัน้  ๆ มานานพอ กิจการทีใ่ ช้ การวิจยั เชิงทดลองจึงมักมีเสถียรภาพและเป็นทีย่ อมรับแล้ว ในขณะทีก่ จิ การอืน่  ๆ  ที่ยังอยู่ในช่วงลองผิดลองถูกหรือพยายามพิสูจน์ “แนวคิด” ของกิจการว่าเป็นไป ได้มากน้อยเพียงใด ควรจะใช้เครือ่ งมืออย่าง Logic Model ก่อน (Mettgenberg-​ Lemiere, 2016) ในการวิจัยเชิงทดลองมักจะมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 2 ประเภท คือ กลุ่มทดลอง (experimental group) หมายถึง กลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มเป้าหมาย ที่เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมทางสังคม และกลุ่มควบคุม (control group) หมายถึง กลุม่ ตัวอย่างทีผ่ วู้ จิ ยั จัดให้มลี กั ษณะเหมือนกลุม่ ทดลอง แต่ไม่ได้เข้าร่วม โครงการ เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง รูปแบบของการวิจัย เชิงทดลองที่พบบ่อยในวรรณกรรมด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม คือ การ ทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial: RCT) และ การวิจยั กึง่ ทดลอง (quasi-experimental research) ซึง่ ทัง้ สองแบบมีขอ้ แตกต่าง คือ การเลือกกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยกึ่งทดลองไม่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมดมาเข้ากลุ่มเหมือนแบบ RCT เช่น ใช้กลุ่มทดลองที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ใชกลุมควบคุมที่มีความคลายคลึงกับกลุมทดลองแตไมมีการสุม ข้ อ ดี ข องการใช้ ก ารวิ จั ย เชิ ง ทดลองในการประเมิ น ผลลั พ ธ์ ท างสั ง คมนั้ น ประเด็นสำ�คัญที่กล่าวถึงข้างต้นคือ การได้ผลการประเมินที่น่าเชื่อถือได้สูงสุดเมื่อ เทียบกับเครื่องมือการประเมินประเภทอื่น ๆ เป็นวิธีที่แสดงให้เห็นเหตุและผล (cause and effect) ของการเปลีย่ นแปลงอย่างหนักแน่น การวิจยั เชิงทดลองจึง เหมาะจะเป็นเครื่องมือพิสูจน์ Logic Model, Theory of Change รวมไปถึง แสดง “สิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน แม้ไม่มีกิจการเข้ามาทำ�งาน” หรือการแสดงปัจจัย ภายนอกที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์เดียวกัน (additionality) (So & Staskevicius, 2015) เช่น แสดงสัดส่วนผลลัพธ์ที่เกิดจากองค์กรอื่น (attribution) ด้วยธรรมชาติของการใช้งานเพือ่ พิสจู น์เหตุและผล การใช้เครือ่ งมือนีจ้ งึ ไม่คอ่ ย


150

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

พบในการรายงานผลลัพธ์ทางสังคมทีท่ �ำ เป็นประจำ�หรือต่อเนือ่ ง แต่จะเป็นเฉพาะ กรณี เช่น การทดสอบหรือพิสูจน์ผลลัพธ์ทางสังคมของผลิตภัณฑ์หรือบริการบาง แบบ หรือกับเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในท้องถิ่น ข้อจำ�กัดของการใช้การวิจัยเชิงทดลอง คือ กระบวนการออกแบบวิธีวิจัยมี ความซับซ้อนสูง และการประเมินทำ�ได้ยากที่สุดเมื่อเทียบกับการวัดผลแบบ​อื่น ๆ การใช้การวิจยั เชิงทดลองต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนหรือนานกว่านัน้ ยกตัวอย่าง เช่น กิจการเพือ่ สังคมด้านพลังงานทางเลือก d.light design ทำ�การวิจยั กึง่ ทดลอง ระหว่างกลุม่ ทดลอง คือ กลุม่ ทีเ่ ป็นลูกค้าของกิจการจำ�นวน 500 ครัวเรือนเทียบ กับกลุ่มควบคุมจำ�นวน 1,500 ครัวเรือน ในประเทศยูกันดา โดยใช้เวลามากกว่า 6 เดือนในการศึกษา d.light design ต้องการทราบความเปลีย่ นแปลงในด้านค่า ใช้จา่ ยด้านพลังงานในครัวเรือน เวลาในการสร้างผลิตภาพ จำ�นวนอุบตั เิ หตุไฟลวก และการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพอื่น ๆ หลังจากที่ลูกค้าได้ไฟฉายพลังแสงอาทิตย์ ไปใช้งาน (d.light & IDInsight, 2015) องค์กรอื่น ๆ ที่นำ�ผลิตภัณฑ์ของ d.light design ไปบริจาคให้กลุ่มเป้าหมายก็ได้ทำ�การวิจัยกึ่งทดลองเช่นกันในเฮติและ บังกลาเทศ โดยใช้เวลาวิจัย 7 เดือนและ 16 เดือนตามลำ�ดับ ด้วยความยุง่ ยากของการวิจยั เชิงทดลอง เช่น การหาและสุม่ กลุม่ ตัวอย่าง การ ออกแบบและการควบคุมการทดลอง และความแม่นยำ�ทางสถิติ กิจการเพือ่ สังคม ทีต่ อ้ งการใช้วธิ ปี ระเมินนีค้ วรให้นกั วิชาการ สถาบันการศึกษาหรือผูเ้ ชีย่ วชาญจาก ภายนอกเป็นผู้ประเมินให้ ความยุ่งยากของการวิจัยเชิงทดลองส่งผลให้มันกลาย เป็นวิธกี ารประเมินทีม่ รี าคาสูงทีส่ ดุ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีทเ่ี ป็นกิจการเพือ่ สังคม ขนาดใหญ่ เป็นทีร่ จู้ กั มายาวนาน สร้างผลลัพธ์ทางสังคมในวงกว้างได้ และทำ�งาน ในประเด็นทีเ่ ป็นปัญหาเร่งด่วน (พลังงานทางเลือกสำ�หรับพืน้ ทีท่ ไ่ี ม่มไี ฟฟ้าใช้) ก็อาจ จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกในการทำ�วิจัย เช่น d.light design นักลงทุนทางสังคม 3 ราย ได้แก่ USAID มูลนิธเิ ชลล์ และ UK Aid Direct เป็น ผู้ออกงบประมาณในการประเมินให้กิจการเพื่อสังคม และให้บริษัทวิจัยภายนอก เป็นผู้ทำ�การประเมิน หรือกิจการไมโครไฟแนนซ์ BRAC ที่ทำ�งานกับคนยากจน หลายล้านคน นอกจากจะมีการวิจัยเชิงทดลองที่ทำ�โดยหน่วยงานภายในแล้ว ยัง มีสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภายนอกประมาณ 20 แห่ง ทีเ่ ข้ามาศึกษาผลลัพธ์ โดยใช้การวิจัยเชิงทดลอง


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

151

ตัวอย่างองค์กรที่ใช้การวิจัยเชิงทดลอง • กองทุน Social Innovation Fund สหรัฐอเมริกา • กิจการเพื่อสังคม d.light design สหรัฐอเมริกา • กิจการเพื่อสังคม BRAC บังกลาเทศ • กิจการเพื่อสังคม Proximity Designs เมียนมาร์ 6. Proprietary

เครือ่ งมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแบบ Proprietary หรือ “คิดค้น/ประดิษฐ์ เอง” หมายถึง เครื่องมือที่องค์กรประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเอง เพื่อประเมินและสื่อสาร ขนาดของผลลัพธ์ทางสังคมซึง่ เป็นเป้าหมายหลักขององค์กร หรือหากเป็นนักลงทุน ทางสังคม เครื่องมือ Proprietary อาจทำ�หน้าที่ให้คะแนน จัดอันดับ วิเคราะห์ องค์ประกอบต่าง ๆ และรายงานผลของกิจการเพื่อสังคมที่อยู่ในพอร์ตการลงทุน เพื่อใช้ตัดสินใจในการลงทุน หรือประเมินผลกิจการที่ได้รับทุนไปแล้ว การสำ�รวจ นักลงทุนทางสังคมโดย GIIRS ใน ค.ศ. 2016 พบว่านักลงทุนทางสังคมร้อยละ 65 ใช้กรอบคิดและดัชนีชว้ี ดั แบบ Proprietary ซึง่ นักลงทุนทางสังคมในสัดส่วนทีพ่ อ ๆ  กันได้ใช้ดัชนีชี้วัดของ IRIS (GIIN Research Team, 2016) และบางส่วนใช้ชุด ตัวชี้วัด IRIS ประกอบกับเครื่องมือ Proprietary ขององค์กรเอง ในงานวิจัยชิ้นนี้ คณะวิจัยจัดประเภทกระบวนการคัดเลือกตัวชี้วัดจากฐาน ข้อมูล เช่น IRIS มารวบรวมและให้นาํ้ หนักตามความสนใจและนโยบายของแหล่ง ทุน เพือ่ คำ�นวณ “คะแนนรวม” ของขนาดผลลัพธ์ทางสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ใน รูปแบบ scorecard ให้อยูใ่ นประเภท Proprietary เช่นเดียวกัน ถึงแม้วา่ กรณีนี้ จะมิได้เป็นผลจากการคิดค้นเครื่องมือขององค์กรเองทั้งหมด เนื่องจากองค์กรที่ จัดทำ� scorecard นับว่ามีกระบวนการวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสังคมทีล่ งลึกกว่าองค์กร ที่ใช้เพียงตัวชี้วัดต่าง ๆ ในการติดตามผลลัพธ์ทางสังคม เครื่องมือ Proprietary มีทั้งแบบที่ใช้เฉพาะในองค์กรโดยไม่เปิดเผยขั้นตอน การประเมินหรือวิเคราะห์ต่อสาธารณะ หากผู้ใช้งานไม่ได้เป็นสมาชิก เช่น การดู รายงานของการจัดอันดับ GIIRS และแบบทีเ่ ปิดเผยวิธกี ารหรือกรอบคิดสูส่ าธารณะ เช่น ดัชนีความก้าวหน้าในการออกจากความยากจน (Progress out of Poverty Index: PPI) ของธนาคารกรามีน ประเทศบังกลาเทศ หรือ “อัตราส่วนทางเลือก


152

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

การกุศลที่ดีที่สุด” (Best Available Charitable Option: BACO) ของกองทุน Acumen Fund ทัง้ นีเ้ ครือ่ งมือ Proprietary บางตัวทีพ่ ฒ ั นาโดยองค์กรตัวกลาง อาจมีคา่ ใช้จา่ ยในการใช้เครือ่ งมือ การดูขอ้ มูลการจัดอันดับหรือรายงานขององค์กร ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลหรือเมื่อกิจการเพื่อสังคมต้องการใช้เครื่องมือเพื่อ ประเมินเพือ่ ขอการรับรอง เช่น Dalberg Approach และบริการประเมินกิจการ โดย B Impact Assessment แต่ก็มีเครื่องมือหลายตัวที่เปิดให้องค์กรทดลองใช้ ฟรีเพือ่ ประเมินตัวเอง เช่น แบบประเมินตัวเองของ B Impact Assessment (ก่อน ที่จะตัดสินใจให้องค์กรตัวกลางประเมินและรับรองให้) หรือมีชุดความรู้ที่เปิดเผย ต่อสาธารณะโดยองค์กรใดจะหยิบเครือ่ งมือไปใช้กไ็ ด้โดยไม่เสียค่าบริการอย่าง PPI ตัวอย่างเครื่องมือ Proprietary ที่พบบ่อยในวรรณกรรม •  Progress out of Poverty Index (PPI) โดยองค์กรไม่แสวงกำ�ไร Innovations for Poverty Action (IPA) เครื่องมือ PPI จัดทำ�ขึ้นเพื่อใช้ประเมินโดยการสอบถามความคิดเห็นของ ลูกหนีธ้ นาคารกรามีน สถาบันไมโครไฟแนนซ์รนุ่ บุกเบิกในบังกลาเทศ ก่อนทีม่ ลู นิธิ กรามีน (Grameen Foundation) จะนำ�มาใช้ ขยายผล และเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ ในช่วง ค.ศ. 2005–2016 ก่อนที่มูลนิธิจะร่วมเป็นพันธมิตรกับสถาบัน Innovations for Poverty Action (IPA) ใน ค.ศ. 2016 ในการสร้างเครือข่าย PPI (PPI Alliance) ซึง่ เน้นด้านธรรมาภิบาลและการระดมทุน (Grameen Foundation, n.d.) ในปัจจุบันผู้ที่ทำ�หน้าที่บริหารจัดการเครื่องมือคือสถาบัน IPA PPI เกิดจากการถามกลุม่ เป้าหมายว่ารูปธรรมของ “ความยากจน” ในทัศนะ ของพวกเขาคืออะไร แล้วนำ�ผลที่ได้มาจัดชั้นและเปรียบเทียบกับสถิติเส้นความ ยากจนระดับชาติ PPI เป็นเครื่องมือชี้วัดความยากจน ใช้ช่วยวางแผนโครงการ และติดตามผล เหมาะสำ�หรับโครงการที่มีเป้าหมายด้านความยากจน และเป็น เครื่องมือที่มีการเผยแพร่ระเบียบวิธีต่อสาธารณะโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย PPI ทำ�หน้าทีว่ ดั ความยากจน ณ เวลาหนึง่ ใช้เปรียบเทียบระหว่างก่อนและ หลังการทำ�กิจกรรมได้ แต่ไม่สามารถกล่าวได้วา่ โครงการเป็นปัจจัยหลักในการสร้าง


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

153

ความเปลี่ยนแปลง ตัวเครื่องมือประกอบด้วยชุดคำ�ถาม และตารางเปรียบเทียบ ซึ่งพัฒนามาจากข้อมูลรายได้/รายจ่ายครัวเรือนของแต่ละประเทศ ซึ่งมีใช้ใน 60 ประเทศ นำ�มาสกัดเป็นคำ�ถามง่าย ๆ 10 ข้อ ทีง่ า่ ยต่อการเก็บข้อมูล กลุม่ เป้าหมาย สามารถตอบเสร็จได้ภายใน 5–10 นาที การพัฒนาคำ�ถามแต่ละคำ�ถามยึดหลักการ 3 ข้อ คือ •  เป็นคำ�ถามที่มีความเชื่อมโยงอย่างมากกับความยากจน เช่น มีข้อมูลสถิติ ยืนยันว่า หากครัวเรือนตอบคำ�ถามเช่นนีแ้ ล้ว แปลว่ามีสถานะอยูภ่ ายใต้เส้น ความยากจน ตัวอย่างคำ�ถาม เช่น “หัวหน้าครอบครัว/ผูน้ �ำ ครัวเรือนมีการ ศึกษาระดับใด” •  เป็นคำ�ถามทีก่ ารเก็บข้อมูลมีตน้ ทุนตํา่ ง่ายต่อการตอบและตรวจสอบความ ถูกต้อง ตัวอย่างคำ�ถาม เช่น “หลังคาบ้านของคุณทำ�จากวัสดุอะไร” •  เป็นคำ�ถามแสดงถึงการเปลีย่ นแปลงตามเวลาเมือ่ ระดับความยากจนเปลีย่ นแปลง ตัวอย่างคำ�ถาม เช่น “ครัวเรือนเป็นเจ้าของรถยนต์หรือจักรยานยนต์ กี่คัน” คำ�ตอบของแต่ละคำ�ถามจะบ่งชี้ความเป็นไปได้ที่ผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจะใช้ ชีวิตอยู่ภายใต้เส้นความยากจนของประเทศนั้น ๆ หรือภายใต้เส้นความยากจน สากล โดยคำ�ตอบจะถูกนำ�มาถ่วงนํา้ หนักกับตารางเปรียบเทียบทีอ่ า้ งอิงจากข้อมูล รายได้/รายจ่ายครัวเรือนของแต่ละประเทศ •  Best Available Charitable Option (BACO) ของกองทุน Acumen Fund กองทุน Acumen Fund หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือที่จะวัดผลตอบแทนทาง สังคมจากการลงทุน (SROI) เนือ่ งจากองค์กรลงทุนในโครงการทีม่ ลี กั ษณะแตกต่าง หลากหลายและการใช้เครื่องมือที่มีราคาสูงเกินไป กองทุนมองว่าการที่จะพิสูจน์ ผลลัพธ์ทางสังคมเป็นสิง่ สำ�คัญแต่เป็นเรือ่ งยุง่ ยากและมีราคาแพง กองทุนจึงวัดเพียง “ผลผลิต” (outputs) เช่น ยอดขายมุ้งเพื่อป้องกันยุง แทนที่จะวัดเพื่อพิสูจน์ ผลลัพธ์ (outcomes) เช่น จำ�นวนการเกิดโรคมาลาเรียทีล่ ดลง (Trelstad, 2008)


154

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

Acumen Fund จึงได้คดิ ค้นเครือ่ งมือทีเ่ รียกว่า “ทางเลือกเพือ่ บริจาคการกุศลที่ ดีที่สุด” (Best Available Charitable Option: BACO) เพื่อตอบคำ�ถามว่า “เงินลงทุนทุกหนึง่ ดอลลาร์จะสร้างผลลัพธ์ทางสังคมส่วนเพิม่ เท่าไรตลอดอายุการ ลงทุน เมื่อเทียบกับการลงทุนแบบการกุศลที่ใกล้เคียงที่สุด?” เครื่องมือดังกล่าว เปรียบเสมือนจุดเริม่ ต้นในการวัดผลลัพธ์ทางสังคมและประสิทธิผลทางต้นทุนของ การลงทุน การคำ�นวณ BACO จะขับเคลื่อนด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ •  โครงสร้างทางการเงิน (financial leverage)—เนื่องจาก Acumen Fund หาผลตอบแทนจากการลงทุนทัง้ ในรูปแบบหนีส้ นิ และหุน้ สามัญ ทำ�ให้ การลงทุนขององค์กรมีต้นทุนสุทธิตํ่ากว่าการบริจาค เช่น หาก Acumen Fund ให้สินเชื่อจำ�นวน 325,000 เหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราดอกเบี้ยร้อย ละ 6 อายุ 5 ปี จะต้องจ่ายเงินคืนทั้งสิ้น 422,500 เหรียญสหรัฐ ในขณะ ที่การบริจาคจะเป็นเงินทุนจม (sunk cost) •  ประสิทธิภาพขององค์กร (enterprise efficiency)—ทางเลือกเพื่อ บริจาคการกุศลที่ดีท่ีสุดส่วนใหญ่คือการบริจาคเงินให้กับองค์กรสาธารณะ หรือองค์กรไม่แสวงหากำ�ไร ในขณะที่ Acumen Fund เชือ่ ว่าการลงทุนใน ภาคเอกชนจะสามารถคืนทุนได้ราวร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 100 ให้กับ นักลงทุนในการลงทุนโครงการทางสังคม เช่น การที่ผู้รับเงินลงทุนจาก Acumen Fund เลือกใช้ตัวแบบทางธุรกิจในการเข้าถึงตลาดคนจนเพื่อ สร้างผลลัพธ์ทางสังคม •  คานงัดทางเทคโนโลยี (technology leverage)—ในหลายกรณีที่การ คิดค้นสินค้าหรือระบบธุรกิจรูปแบบใหม่สามารถสร้างผลลัพธ์ทางสังคมได้ มากขึ้นต่อเงินลงทุนหนึ่งหน่วย เช่น การลงทุนเพื่อลดการติดเชื้อมาลาเรีย ผ่านนวัตกรรมมุ้งเคลือบยาฆ่าแมลงที่ใช้ได้ยาวนาน (long lasting insecticide-treated nets) กว่ามุง้ เคลือบยาฆ่าแมลงทัว่ ไปซึง่ นิยมบริจาคกันใน ภูมิภาคแอฟริกาใต้ซาฮาราถึง 5 เท่า ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ BACO เช่น การเปรียบเทียบทางเลือกเพื่อป้องกัน โรคมาลาเรีย โดยทางเลือกแรกคือบริจาคเงินผ่านองค์กรการกุศลเพือ่ ซือ้ มุง้ เคลือบ


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

155

ยาฆ่าแมลง ซึ่งจะมีต้นทุน 0.839 เหรียญสหรัฐต่อปีต่อคน ในขณะที่ทางเลือกใน การลงทุนบริษัท A to Z (บริษัทสมมติ) ซึ่งผลิตมุ้งเคลือบยาฆ่าแมลงที่ใช้ได้ ยาวนาน ซึ่งจะมีต้นทุน 0.016 เหรียญสหรัฐต่อปีต่อคน ดังนั้นตามวิธี BACO องค์กรจึงตัดสินใจลงทุนในบริษัท A to Z เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยมี สัดส่วน BACO เท่ากับ 52 ดังแสดงในตาราง 9 ตาราง 9 ตัวอย่างการคำ�นวณอัตราส่วน BACO ของกองทุน Acumen Fund ในการลงทุนกับบริษัท A to Z (บริษัทสมมติ) BACO (เหรียญสหรัฐ)

การลงทุนของกองทุน Acumen Fund (เหรียญสหรัฐ)

ต้นทุนสุทธิ

(ต้นทุน-ผลตอบแทน)

390,000

32,500

Total Social Impact

จำ�นวนปี/คนที่ได้รับการ ป้องกันโรคมาลาเรีย

464,286

2,000,000

ต้นทุนสุทธิ/หน่วย ผลลัพธ์ทางสังคม

$ / ปี / คน (person/year)

0.839

0.016

อัตราส่วน BACO

ตัวคูณประสิทธิภาพต้นทุน

52

ที่มา: (Acumen Fund Metrics Team, 2007)

•  IMPACT Methodology ของบริษัท Bridges Fund Management (ชื่อเดิม Bridges Ventures) Bridges Fund Management เป็นบริษัทลงทุนทางสังคมจากประเทศ อังกฤษที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2002 เป็นบริษัทบริหารกองทุนส่วนบุคคล (private funds) โดยลงทุนไปกับการแก้ปัญหาสังคมสิ่งแวดล้อมที่เน้นใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การสนับสนุนธุรกิจที่โตเร็วและมีผลลัพธ์ทางสังคมสูง  2) การลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสร้างชุมชนให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาส  3) การลงทุนในธุรกิจเพือ่ สังคม และ 4) การลงทุนในองค์กรภาคสังคมให้ได้มาซึง่


156

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

สัญญาการค้าที่สร้างผลลัพธ์ทางสังคม บริษัทพัฒนาเครื่องมือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและความเสี่ยงขึ้นเอง Bridges Fund Management เชื่อว่าการทำ�ความเข้าใจความเสี่ยงในการได้มา ซึง่ ผลลัพธ์ทางสังคมมีความสำ�คัญไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่าการประเมินความเสีย่ งทาง​การ เงิน บริษัทมีชุดเครื่องมือที่คิดค้นขึ้นเองเรียกว่า “IMPACT Methodology” ที่ ประกอบไปด้วย “Bridges IMPACT Radar” เป็นเครือ่ งมือทีใ่ ช้ประเมินก่อนการ ตัดสินใจลงทุน และ “IMPACT Scorecard” ทีใ่ ช้ประเมินหลังจากทีล่ งทุนไปแล้ว Bridges IMPACT Radar ถูกใช้ในช่วงสอบทานกิจการ (due diligence) เครื่องมือแสดงความเสี่ยงในระดับสูง-กลาง-ตํ่าเทียบกับผลตอบแทน (ทั้งทาง​ การเงินและทางสังคม) ตามตัวชี้วัดใน 4 ประเด็น ได้แก่ •  ผลลัพธ์เป้าหมาย (target outcomes) พิจารณาจากความลึกหรือโอกาส ในการขยายผลของผลลัพธ์ทางสังคม การทำ�งานกับผู้ด้อยโอกาสหรือคน ส่วนใหญ่ของสังคม โอกาสการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบ และ หลักฐานจากการทดสอบความเชือ่ มโยงของเหตุและผลของ Logic Model •  คุณค่าส่วนเพิ่ม (additionality) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ระดับ นักลงทุน คือ ดูว่ากิจการจะเป็นอย่างไรหาก Bridges Fund Management ไม่เข้าไปลงทุน และระดับกิจการ คือ การลงทุนนี้นำ�ไปสู่ผลลัพธ์ อะไรถ้าบริษัทไม่ลงทุนจะไม่เกิดขึ้น? •  สงิ่ แวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) คือ การคำ�นึงถึงโอกาสทีก่ อ่ ให้เกิดประโยชน์ทั้งสามด้าน และการลดความเสี่ยงในทั้งสามด้าน • ค วามสอดคล้อง (alignment) ดูความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ทางสังคม และผลตอบแทนทางการเงิน รวมถึงระหว่างโมเดลทางธุรกิจและความ สามารถในการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม บริษัทจะประเมินมุมมองทั้งด้านความเสี่ยงและผลตอบแทนใน 4 ประเด็น ข้างต้น โดยมีคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 3 ดังแสดงตัวอย่างในแผนภาพ 13 หลังจากที่ตัดสินใจลงทุน เครื่องมือ IMPACT Scorecard จะถูกนำ�มาใช้ บริหารจัดการพอร์ตการลงทุนเพื่อติดตามความเสี่ยงและผลตอบแทนของแต่ละ กิจการในพอร์ตลงทุน และของแต่ละกองทุนอย่างต่อเนื่อง IMPACT Scorecard


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ใช้กับกิจการเพื่อสังคม

157

Target Outcomes 3 2 1 Alignment

Additionality

ESG

ความเสี่ยง ผลตอบแทน

แผนภาพ 13 ตัวอย่างการประเมินกิจการเพื่อสังคมโดยใช้เครื่องมือ Bridges IMPACT Radar ที่มา: Bridges IMPACT Report: A Spotlight on our Methodology, Bridges Ventures (2014) อ้างถึงใน Saltuk & Idrissi (2015)

แสดงตัวชี้วัดที่สำ�คัญของแต่ละประเด็นสำ�คัญจาก IMPACT Radar บริษัทส่ง Scorecard ให้นักลงทุนเพื่อรายงานผลลัพธ์ที่สร้างให้สังคมไปพร้อมกับรายงาน​ ผลตอบแทนทางการเงิน จากตัวอย่างเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแบบ Proprietary ข้างต้น จะเห็นได้วา่ การออกแบบเครือ่ งมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเพือ่ ใช้เองนัน้ ช่วยให้​ การประเมินข้อมูลตรงกับความต้องการของลักษณะการทำ�งานขององค์กร ทำ�ให้ การ​ใช้ข้อมูลมีประโยชน์โดยตรงต่อการปรับปรุงการทำ�งาน การตัดสินใจและการ รายงานต่อผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร อย่างไรก็ตาม การประดิษฐ์เครื่องมือการ ประเมินเป็นของตนเองจะเหมาะกับองค์กรที่ระบุผลลัพธ์ทางสังคมได้ชัดเจนแล้ว หรือผ่านการพิสจู น์ดา้ นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลในแบบจำ�ลองตรรกะหรือ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว มีเครื่องมือ Proprietary หลายประเภทที่เปิด สาธารณะให้เข้าถึงองค์ความรูแ้ ละตัวอย่างโดยไม่มคี า่ ใช้จา่ ย ทำ�ให้กจิ การเพือ่ สังคม


158

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

หรือผู้ให้ทุนที่ทำ�งานในประเด็นที่ใกล้เคียงกันสามารถนำ�เครื่องมือเหล่านั้นไป ประยุกต์ใช้งานต่อได้ ข้อจำ�กัดของการใช้เครือ่ งมือการประเมินแบบ Proprietary คือ การยอมรับ ผลการประเมินจากบุคคลภายนอกเพราะเกณฑ์การพิจารณา การจัดอันดับหรือหลัก ในการเก็บข้อมูลมักเป็นอัตวิสัยจากตัวองค์กร การเปรียบเทียบข้อมูลข้ามองค์กร อาจจะเป็นอุปสรรคเพราะมีขนั้ ตอน กรอบคิด หรือ “ภาษา” ทีไ่ ม่เหมือนกัน การ จะสร้างเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมขึ้นมาใช้เอง องค์กรควรมีผู้เชี่ยวชาญ เข้ามามีส่วนร่วม การพัฒนาและพิสูจน์เครื่องมือเป็นเรื่องที่ใช้เวลา การวางระบบ อาจใช้เวลา 12–24 เดือน (Trelstad, 2008) และมีตน้ ทุนสูง สำ�หรับองค์กรทีย่ งั ไม่มีเครื่องมือการประเมินใช้ เครื่องมือการประเมินที่องค์กรตัวกลางคิดค้นขึ้นมา หลายประเภทมีค่าใช้จ่าย และควรเลือกใช้ให้ตรงกับลักษณะการทำ�งาน เช่น เครือ่ งมือ PPI เหมาะกับกิจการเพือ่ สังคมทีท่ �ำ งานในด้านขจัดความยากจนเท่านัน้ ตัวอย่างองค์กรที่ใช้เครื่องมือ Proprietary •  เครือ่ งมือ B-Analytics และ B Impact Assessment ขององค์กร B Lab • เครื่องมือ PRISM ขององค์กร Intellecap อินเดีย • เครื่องมือ Social Action Plan ของกองทุน Lok Capital อินเดีย •  เครื่องมือ Log Frame Analysis ของมูลนิธิ Axis Bank Foundation อินเดีย • กองทุน Social Ventures Hong Kong Capital ฮ่องกง


เครื่องมือประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคม ของแหล่งทุนทั่วโลก

5



เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

161

กรอบทฤษฎี เครื่องมือ และขั้นตอนการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ส�ำหรับกิจการเพื่อสังคม

จากการสำ�รวจการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนและองค์กรชั้นนำ� ทัว่ โลกทีใ่ ห้การสนับสนุนกิจการเพือ่ สังคม รวมทัง้ ในประเทศไทย จำ�นวน 69 แห่ง และกิจการเพือ่ สังคมชัน้ นำ�ระดับโลก 6 แห่ง ดังแสดงในตาราง 10 และตาราง 11 ของรายงานฉบับนี้ โดยจำ�แนกประเภทได้เป็นหน่วยงานของรัฐ 8 แห่ง (ร้อยละ 12), มูลนิธิ 12 แห่ง (ร้อยละ 17), องค์กรตัวกลางที่มิใช่แหล่งทุนแต่มีบทบาท ในการส่งเสริมและพัฒนากิจการเพื่อสังคม เช่น การพัฒนาเครื่องมือประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคม 19 แห่ง (ร้อยละ 28), กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล (venture philanthropy) 17 แห่ง (ร้อยละ 25) ซึ่งเน้นการลงทุนในกิจการเกิดใหม่, กองทุนเพือ่ สังคม (social investment fund) 9 แห่ง (ร้อยละ 13) ซึง่ เน้นการ ลงทุนในกิจการทีผ่ า่ นพ้นระยะเริม่ ต้นมาแล้ว, บริษทั เอกชนทีส่ นับสนุนกิจการเพือ่ สังคม 1 แห่ง (ร้อยละ 1) และสถาบันวิชาการ 3 แห่ง (ร้อยละ 4) ดังสรุปใน แผนภาพ 14

1%

4%

12%

13% 17%

25% 28%

สถาบันวิชาการ บริษัทเอกชน กองทุนเพื่อสังคม กองทุนรวมลงทุนเชิงการกุศล องคกรตัวกลาง มูลนิธิ หนวยงานของรัฐ

แผนภาพ 14 ประเภทขององค์กรสนับสนุนและแหล่งทุนสำ�หรับ กิจการเพื่อสังคมที่ดำ�เนินการสำ�รวจ


162

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

คณะวิจัยพบว่าองค์กรกว่าร้อยละ 57 ใช้ “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” หรือ Theory of Change เป็นกรอบทฤษฎีในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และใช้ เครื่องมือที่หลากหลายในการประเมิน โดยกิจการเพื่อสังคมทั้ง 6 แห่ง เผยแพร่ ผลลัพธ์ทางสังคมขององค์กรต่อสาธารณะอย่างสมาํ่ เสมอ รวมทัง้ ต่อแหล่งทุนและ องค์กรสนับสนุน รายละเอียดแสดงดังตาราง 10 และตาราง 11 ตาราง 10 สรุปการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment) ของแหล่งทุนและองค์กรสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมทั่วโลก *ขั้นตอนที่ใช้เครื่องมือ (Y=ใช้, N=ไม่ใช้) ลำ�ดับที่ 1 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Office of Social Innovation and Civic Participation

ประเภทองค์กร

หน่วยงานของรัฐ

URL

https://www.whitehouse.gov/administration/eop/sicp

ปีก่อตั้ง

2009

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนภาคสังคม (ปัจเจกบุคคล องค์กรไม่แสวงกำ�ไร มูลนิธิ รวมถึงธุรกิจ และภาครัฐ) ให้ “ค้นหาหนทางใหม่ ๆ ที่จะแก้ปัญหาเก่า ๆ และผลักดันการ ร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อแก้ปัญหาที่ประเทศเผชิญหน้าได้ อย่างยั่งยืนและสร้างผลกระทบได้มากขึ้น”

ประเด็นที่สนับสนุน

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ, ความเข้มแข็งของชุมชน (สหรัฐอเมริกา)

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

หลากหลาย (มีบทบาทในการพัฒนาเครื่องมือ)

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

163

ลำ�ดับที่ 1 การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y

ลำ�ดับที่ 2 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Washington State Institute for Public Policy

ประเภทองค์กร

สถาบันวิชาการ

URL

http://www.wsipp.wa.gov/BenefitCost

ปีก่อตั้ง

1983

เป้าหมายองค์กร

ก่อตั้งโดยรัฐสภาของมลรัฐวอชิงตันเพื่อดำ�เนินการวิจัยโดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดตาม ประเด็นที่รัฐสภามลรัฐวอชิงตันชี้แนะ งานวิจัยด้านการประเมินผลลัพธ์ทาง สังคมมีเป้าหมายเพื่อระบุนโยบายของรัฐที่มีหลักฐานหนักแน่นพอให้มั่นใจว่า สามารถสร้างผลลัพธ์ทางสังคมในวงกว้างระดับมลรัฐ โดยใช้เงินภาษีของ ประชาชนอย่างคุ้มค่า

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย (แล้วแต่การชี้แนะของรัฐสภามลรัฐวอชิงตัน)

กรอบทฤษฎี

Outcome Linkage

ประเภทเครื่องมือ

Cost-Benefit Analysis

จุดเด่นของเครื่องมือ

นำ�วิธีการคำ�นวณแบบเศรษฐศาสตร์มาตรฐานมาประยุกต์ใช้กับนโยบายและ โครงการสาธารณะ คำ�นวณ “มูลค่า” ของการลงทุนด้วยการคำ�นวณมูลค่า ปัจจุบนั สุทธิ (net present value: NPV) ของประโยชน์ทางสังคมและต้นทุน ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละปี และเผยแพร่ผลการคำ�นวณต่อสาธารณะ

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

N

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


164

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 3 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Social Innovation Fund

ประเภทองค์กร

หน่วยงานของรัฐ

URL

http://www.nationalservice.gov/programs/social-innovation-fund

ปีก่อตั้ง

2009

เป้าหมายองค์กร

ขยายขนาดผลกระทบของวิธีแก้ปัญหาที่ตั้งอยู่บนฐานชุมชนและมีนวัตกรรม (innovative community-based solution) ซึ่งมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่า สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนผู้มีรายได้น้อยในสหรัฐอเมริกา

ประเด็นที่สนับสนุน

วิธีแก้ปัญหาที่ตั้งอยู่บนฐานชุมชนและมีนวัตกรรม (สหรัฐอเมริกา)

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

Experimental Study

จุดเด่นของเครื่องมือ

องค์กรที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนนวัตกรรมสังคมจะต้องสามารถแสดง แผนการประเมิน “หลักฐานขัน้ ต้น” (preliminary evidence) ณ วันทีเ่ สนอ โครงการ จากนั้นหลังจากที่โครงการได้รับการอนุมัติแล้ว องค์กรผู้ดำ�เนิน โครงการจะต้องดำ�เนินการประเมินผลลัพธ์ในระดับที่ได้ “หลักฐานขั้นกลาง” (moderate evidence) หรือ “หลักฐานขัน้ สูง” (strong evidence) ภายใน วันสิ้นสุดโครงการ

การวางแผนโครงการ

Y (ต้องวัดและแสดงหลักฐานขั้นต้น—preliminary level of evidence)

การให้ทุน

Y (SIF ประเมินหลักฐานขั้นต้น)

การประเมินผล

Y (ต้องวัดและแสดงหลักฐานขัน้ กลางหรือสูง—moderate or strong levels of evidence)

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

165

ลำ�ดับที่ 4 ประเทศ

อังกฤษ

ชื่อองค์กร

Big Society Capital

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง

URL

https://www.bigsocietycapital.com/

ปีก่อตั้ง

2012

เป้าหมายองค์กร

สถาบันการเงินแห่งแรกในโลกที่จัดตั้งโดยรัฐเพื่อเน้นการลงทุนในสถาบัน ตัวกลางด้านการลงทุนทางสังคม (social investment finance intermediaries: SIFI) มีสถานะเป็นองค์กรอิสระ จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย เน้นลงทุนใน กองทุนเอกชนและกองทุนการกุศลทีใ่ ห้การสนับสนุนทางการเงินแก่กจิ การเพือ่ สังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

กองทุนเอกชนหรือองค์กรการกุศลที่ลงทุนในกิจการเพื่อสังคมอีกทอดหนึ่ง

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators (ชุดดัชนีชื่อ BSC Outcomes Matrix)

จุดเด่นของเครื่องมือ

แบ่งการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของ SIFI ทีไ่ ด้รบั เงินสนับสนุนจาก BSC ออก เป็นสามระดับ ได้แก่ “เข้มแข็ง” “ปานกลาง” และ “อ่อน”

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


166

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 5 ประเทศ

อังกฤษ

ชื่อองค์กร

Social Incubator Fund

ประเภทองค์กร

หน่วยงานของรัฐ

URL

https://www.biglotteryfund.org.uk/socialincubatorfund

ปีก่อตั้ง

2012

เป้าหมายองค์กร

การเพิ่มคุณภาพและปริมาณของกิจการเพื่อสังคมใหม่ๆ ในอังกฤษ ผ่านการ สนับสนุนศูนย์บ่มเพาะดั้งเดิม และจูงใจให้ศูนย์บ่มเพาะใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย เน้นเฉพาะศูนย์บ่มเพาะกิจการเพื่อสังคมในอังกฤษ

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ออกชุดตัวชี้วัด “Outcomes Matrix” เป็น “แผนที่” ความต้องการหลักๆ  ของกลุ่มเป้าหมาย 15 กลุ่มในอังกฤษ ครอบคลุมผลลัพธ์ 9 สาขา เพื่อช่วย กิจการเพื่อสังคมวางแผนและวัดผลลัพธ์ทางสังคม

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

167

ลำ�ดับที่ 6 ประเทศ

อังกฤษ

ชื่อองค์กร

Social Enterprise Mark

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง

URL

http://www.socialenterprisemark.org.uk/

ปีก่อตั้ง

2012

เป้าหมายองค์กร

ระบบการรับรอง (accreditation scheme) ระดับนานาชาติเพียงระบบเดียว ในโลก เป้าหมายอยู่ที่การสนับสนุนให้กิจการเพื่อสังคมทั่วโลกได้มีมาตรฐาน รับรองว่า กิจการของตนมีความน่าเชื่อถือ ดำ�เนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม และ กำ�ลังสร้างผลกระทบทางสังคมอย่างแท้จริง มิใช่การแสวงกำ�ไรสูงสุด

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย (นานาชาติ)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Impact Value Chain

จุดเด่นของเครื่องมือ

กิจการทีข่ อรับตรารับรองควรแสดง “ปัจจัยนำ�เข้าทางสังคม” (social inputs), “ผลผลิตทางสังคม” (social outputs) และ “ผลลัพธ์ทางสังคม” (social outcomes) ตามกรอบ Impact Value Chain

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

ใช้ในการออกตรารับรอง (ไม่ใช่องค์กรให้ทุน)

การประเมินผล

Y (คณะกรรมการรับรองอิสระจะประเมินกิจการเพื่อสังคมที่ได้ตรารับรองใหม่ ทุกปี)

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


168

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 7 ประเทศ

สหภาพยุโรป

ชื่อองค์กร

European Social Entrepreneurship Funds

ประเภทองค์กร

ไม่ใช่องค์กร เป็นชนิดกองทุน (fund designation) สำ�หรับกองทุนทีม่ อี ยูเ่ ดิม

URL

http://ec.europa.eu/finance/investment/social_investment_funds/ index_en.htm

ปีก่อตั้ง

2013

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนในยุโรปสำ�หรับผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม สนับสนุน การลงทุนในกิจการเพือ่ สังคม และเพิม่ ขนาดให้ถงึ จุดทีจ่ ะสร้างผลกระทบขนาด ใหญ่ได้ (“critical size”) สำ�หรับกองทุนที่ลงทุนด้านสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

กองทุนทีไ่ ด้สถานะเป็น EuSEF ต้องเน้นการลงทุนในกิจการเพือ่ สังคมทีม่ งุ่ ผลิต สินค้าหรือบริการ หรือบริการทางการเงินแก่ผดู้ อ้ ยโอกาสหรือกลุม่ คนชายขอบ หรือการเข้าถึงตาข่ายสังคมด้านระบบสาธารณสุขและการศึกษา (มาตรา 10 ในกฎหมาย EuSEF)

กรอบทฤษฎี

หลากหลาย กฎหมาย EuSEF ระบุแต่เพียงว่า “ผู้จัดการกองทุนที่ได้สถานะ EuSEF จะต้องวางกระบวนการวัดผลลัพธ์ทางสังคมเชิงบวกทีค่ าดว่ากิจการเพือ่ สังคมจะบรรลุได้” และระบุให้เปิดเผยผลลัพธ์ดังกล่าวต่อนักลงทุน

ประเภทเครื่องมือ

หลากหลาย

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

169

ลำ�ดับที่ 8 ประเทศ

ฟินแลนด์

ชื่อองค์กร

Social Enterprise Mark

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง

URL

http://suomalainentyo.fi/en/services/finnish-social-enterprise/

ปีก่อตั้ง

2011

เป้าหมายองค์กร

ช่วยสร้างความแตกต่างระหว่างกิจการเพื่อสังคมในฟินแลนด์กับธุรกิจทั่วไป พร้อมทัง้ เป็นเครือ่ งยืนยันต่อสาธารณะว่า กิจการนัน้ ๆ ได้จดั ตัง้ ขึน้ เพือ่ แก้ปญ ั หา สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และกำ�ลังอุทิศผลกำ�ไรส่วนใหญ่เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย (จดทะเบียนในฟินแลนด์)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Impact Value Chain

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

ใช้ในการออกตรารับรอง (ไม่ใช่องค์กรให้ทุน)

การประเมินผล

Y (ทบทวนทุกสามปี)

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


170

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 9 ประเทศ

อิตาลี

ชื่อองค์กร

Social Report

ประเภทองค์กร

หน่วยงานของรัฐ

URL ปีก่อตั้ง

2006

เป้าหมายองค์กร

อิตาลีมกี ฎหมายรับรอง “กิจการเพือ่ สังคม” ตัง้ แต่  ค.ศ. 2006 ซึง่ มิได้ก�ำ หนด ประเภทนิติบุคคลใหม่ (new legal form) ขึ้นเป็นการเฉพาะ แต่รับรอง “สถานะทางกฎหมาย” (legal status) ของกิจการเพื่อสังคม หนึ่งในเงื่อนไข ที่ กิ จ การเพื่ อ สั ง คมตามกฎหมายดั ง กล่ า วต้ อ งปฏิ บั ติ ต าม คื อ การจั ด ทำ � “รายงานด้านสังคม” (social report—“bilancio sociale” หรือ “งบดุล ด้านสังคม”) ซึ่งจะต้องสะท้อนและอธิบายการดำ�เนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ส่วนร่วมที่องค์กรประกาศ

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย (จดทะเบียนในอิตาลี)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Impact Value Chain

จุดเด่นของเครื่องมือ

แนวปฏิบัติของรัฐระบุว่า ผลลัพธ์ที่กิจการเพื่อสังคมรายงานในรายงานด้าน สังคมจะต้องสามารถสะท้อนประสิทธิผล (ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับ ผลผลิต), ประสิทธิภาพ (ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ปัจจัยนำ�เข้ากับผลผลิต) และผลลัพธ์ (สะท้อนผลทางสังคมและสิง่ แวดล้อมทีเ่ กิดขึน้ ) และควรใช้ตวั ชีว้ ดั ทางสังคมเพือ่ ระบุขนาดของผลลัพธ์ทเี่ กิดขึน้ กิจการสามารถเลือกรายงานด้วย ตนเอง (self-certification) หรืออาศัยผู้ประเมินอิสระจากภายนอกก็ได้

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

ไม่มีการให้ทุน เป็นข้อกำ�หนดตามกฎหมาย

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

171

ลำ�ดับที่ 10 ประเทศ

มาเลเซีย

ชื่อองค์กร

Malaysian Global Innovation and Creativity Centre

ประเภทองค์กร

หน่วยงานของรัฐ

URL

http://se.mymagic.my/en/

ปีก่อตั้ง

2013

เป้าหมายองค์กร

ทำ�ให้มาเลเซียเป็น “เมืองหลวงกิจการเกิดใหม่ (start-up) แห่งเอเชีย” ผ่าน การสนับสนุนกิจการเกิดใหม่ รวมถึงกิจการเพื่อสังคมเกิดใหม่ในเอเชียตะวัน­ ออกเฉียงใต้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การบ่มเพาะ (incubation) ศูนย์การเรียนรู้ อบรม แนะแนว การจัดหาทุน ไปจนถึงการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย (อาเซียนสำ�หรับ start-up ทั่วไป, มาเลเซียสำ�หรับกิจการเพื่อ สังคม)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

โครงการเร่งการเติบโต (Accelerator Program) สำ�หรับกิจการเพือ่ สังคมของ MaGIC เปิดรับสมัครทีมที่สนใจจะดำ�เนินกิจการเพื่อสังคม หรือกิจการเพื่อ สังคมที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยต้อง “สามารถแจกแจงแบบจำ�ลองทางธุรกิจ และผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการได้”

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


172

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 11 ประเทศ

สิงคโปร์

ชื่อองค์กร

raiSE Singapore Centre for Social Enterprise

ประเภทองค์กร

หน่วยงานของรัฐ

URL

https://www.raise.sg/

ปีก่อตั้ง

2015

เป้าหมายองค์กร

สร้างความตระหนักรู้เรื่องการประกอบกิจการเพื่อสังคมต่อสาธารณะ และ สนับสนุนกิจการเพื่อสังคมทุกขนาดในสิงคโปร์ทั้งด้านความรู้และเงินทุน ใน ฐานะวิธีตอบสนองต่อความต้องการทางสังคมที่ยั่งยืน รวมถึงจะสนับสนุนการ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกิจการเพื่อสังคมกับองค์กรไม่แสวง กำ�ไรในสิงคโปร์

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย (จดทะเบียนในสิงคโปร์)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

ไม่ระบุ

จุดเด่นของเครื่องมือ

raiSE มีโครงการ VentureForGood ให้ทุนสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมเดิม และทีมที่มีความคิดจะก่อตั้งธุรกิจเพื่อสังคมใหม่ โดยในการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคม ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเพียงแต่ต้องตอบคำ�ถามในข้อเสนอธุรกิจ (business proposal) 2 ข้อ กล่าวคือ “จงระบุเป้าหมายทางสังคม และ อธิบายว่ากิจกรรมทางธุรกิจของคุณจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างไร” และ “คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณได้บรรลุผลลัพธ์ทางสังคมแล้ว?”

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

173

ลำ�ดับที่ 12 ประเทศ

เกาหลีใต้

ชื่อองค์กร

Korea Social Enterprise Promotion Agency

ประเภทองค์กร

หน่วยงานของรัฐ

URL

http://www.socialenterprise.or.kr/

ปีก่อตั้ง

2010

เป้าหมายองค์กร

เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อสังคมและส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมทุกระดับ ให้การรับรองนิติบุคคลทุกรูปแบบที่ประสงค์จะได้รับสถานะ “กิจการเพื่อ สังคม” ตามกฎหมาย ประเมินผลการดำ�เนินงานของกิจการเพือ่ สังคม รวมถึง ให้คำ�ปรึกษาและสนับสนุนเครือข่ายกิจการเพื่อสังคมในระดับอุตสาหกรรม ท้องถิ่น และระดับชาติ

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย โดยกิจการที่จะได้รับการรับรองว่าเป็น “กิจการเพื่อสังคม” ตาม กฎหมายเกาหลีใต้จะต้องเข้าข่ายใดข่ายหนึง่ ต่อไปนี ้ 1) สร้างงานให้กบั สมาชิก กลุ่มเปราะบางในสังคม,  2) ส่งมอบบริการทางสังคมให้กับกลุ่มเปราะบางใน สังคม  3) ส่วนผสมระหว่างประเภท 1) กับ 2),  4) สร้างเสริมคุณภาพชีวิต ให้กับสมาชิกชุมชนท้องถิ่น และ  5) สร้างผลลัพธ์ทางสังคมอื่นๆ

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

กระบวนการรับรองสถานะ “กิจการเพือ่ สังคม” ในเกาหลีใต้ดจู ากวัตถุประสงค์ ขององค์กร สัดส่วนรายได้ และการจัดสรรกำ�ไร มากกว่าการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคม อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการ KoSEA ระบุว่าปัจจุบัน KoSEA อยู่ระหว่างการจัดทำ� “ชุดตัวชี้วัดพื้นฐาน” (basic indicators) เพื่อ ช่วยในการวัดและประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคม

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

N

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


174

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 13 ประเทศ

เวียดนาม

ชื่อองค์กร

Centre for Social Initiatives Promotion

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง

URL

http://csip.vn/en

ปีก่อตั้ง

2008

เป้าหมายองค์กร

เพื่อให้การสนับสนุนภาคกิจการเพื่อสังคมที่กำ�ลังก่อตัวในเวียดนาม ผ่านการ ให้ทนุ การอบรม และทำ�งานร่วมกับผูม้ สี ว่ นได้เสียฝ่ายต่าง ๆ เพือ่ พัฒนาสภาพ แวดล้อมในการดำ�เนินกิจการของกิจการเพื่อสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย (จดทะเบียนในเวียดนาม)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

ไม่มี

จุดเด่นของเครื่องมือ

CSIP มีโครงการให้ทุนสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมในเวียดนาม 2 โครงการ ได้แก่ SE Incubation Program สำ�หรับกิจการเกิดใหม่ และ SE Accele­ rator Program สำ�หรับกิจการเพื่อสังคมดั้งเดิมที่ประสงค์จะขยายขนาด ผูส้ มัครเข้าร่วมโครงการ SE Incubation จะต้องสามารถ “อธิบายผลลัพธ์ทาง สังคมที่คาดว่าจะเกิด ซึ่งมีนัยสำ�คัญ วัดได้ และยั่งยืน” ส่วนผู้สมัครเข้าร่วม โครงการ SE Accelerator จะต้องสามารถ “พิสูจน์ได้ว่าสร้างผลลัพธ์ทาง สังคมในระดับชุมชน ในขนาดที่มีนัยสำ�คัญและวัดได้” โดยมิได้ระบุเครื่องมือ ที่ต้องใช้แต่อย่างใด

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

175

ลำ�ดับที่ 14 ประเทศ

สหราชอาณาจักร

ชื่อองค์กร

Truestone Impact Investment Management

ประเภทองค์กร

กองทุนเพื่อสังคม

URL

http://www.truestoneimpactinvestment.co.uk/

ปีก่อตั้ง

2010

เป้าหมายองค์กร

ลงทุนในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางโดยเฉพาะในประเทศกำ�ลังพัฒนาทีช่ ว่ ย บรรเทาปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ทาง​ การเงิน และสร้างผลตอบแทนให้นักลงทุน

ประเด็นที่สนับสนุน

ธุรกิจเพื่อสังคม

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้ดัชนีชี้วัดจาก Impact Reporting and Investment Standards (IRIS)

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N (เข้าดูได้เฉพาะผู้ที่ลงทุนกับบริษัท)


176

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 15 ประเทศ

สหราชอาณาจักร

ชื่อองค์กร

Bridges Fund Management (ชื่อเดิมคือ Bridges Ventures)

ประเภทองค์กร

กองทุนเพื่อสังคม

URL

http://impactinvesting.marsdd.com/

ปีก่อตั้ง

2002

เป้าหมายองค์กร

ให้เงินลงทุนแก่ผปู้ ระกอบการเพือ่ สังคมผูม้ พี รสวรรค์เพือ่ เผชิญปัญหาสังคมและ สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ประเด็นที่สนับสนุน

ตลาดที่ไม่ได้รับการตอบสนองในระดับที่สมควร (undeserved market) สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การดำ�เนินชีวิตอย่างยั่งยืน การศึกษาและทักษะ

กรอบทฤษฎี

Logic Model & Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Proprietary (ชุดเครื่องมือชื่อ Bridges IMPACT Methodology)

จุดเด่นของเครื่องมือ

มีชดุ เครือ่ งมือประกอบไปด้วย “Bridges IMPACT Radar” เป็นเครือ่ งมือทีใ่ ช้ ประเมินก่อนการตัดสินใจลงทุน ใช้ในช่วงสอบทานกิจการ (due diligence) เครื่องมือแสดงความเสี่ยงในระดับสูง-กลาง-ตํ่า เทียบกับผลตอบแทนตาม ตัวชี้วัดใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ผลลัพธ์เป้าหมาย (target outcomes) ​ 2) คุณค่าส่วนเพิ่ม (additionality  3) สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)  4) ความสอดคล้อง (alignment) คือความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ทาง สังคมและผลตอบแทนทางการเงิน และใช้เครือ่ งมือ “IMPACT Scorecard” ประเมินหลังจากที่ลงทุนไปแล้ว

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

177

ลำ�ดับที่ 16 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

The Roberts Enterprise Development Fund (REDF)

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://redf.org/

ปีก่อตั้ง

1997

เป้าหมายองค์กร

ให้เงินทุนแก่กิจการเพื่อสังคม ทั้งเงินทุนตั้งต้น และเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจ พร้อมให้คำ�ปรึกษา

ประเด็นที่สนับสนุน

การสนับสนุนการจ้างงานแก่ผู้เผชิญกับความยากลำ�บากในการเข้าสู่ตลาด แรงงาน เช่น คนไร้บา้ น อดีตนักโทษ ผูป้ ว่ ยทางจิต คนติดยา และผูม้ กี ารศึกษา จำ�กัด

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

SROI และ Cost-Benefit Analysis

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้กรอบแนวคิดของ Mathematica Jobs Study (MJS) เพื่อตอบคำ�ถาม ว่าการจ้างงานของกิจการเพื่อสังคมสามารถช่วยสนับสนุนผู้ที่เผชิญความยาก ลำ�บากในการเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างไร โดยพิจารณา 2 มิติคือ ความ เพียงพอในการดำ�รงชีพ (economic self-sufficiency) และความมั่นคงใน ชีวิต (life stability)

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

N

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


178

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 17 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Annie E. Casey Foundation

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

http://www.aecf.org/

ปีก่อตั้ง

1948

เป้าหมายองค์กร

สร้ า งอนาคตที่ ดี ก ว่ า สำ � หรั บ เด็ ก นั บ ล้ า นคนที่ มี ค วามเสี่ ย งด้ า นการศึ ก ษา เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ ทีต่ าํ่ กว่ามาตรฐาน โดยสร้างความเข้มแข็งให้กบั 3 ปัจจัยที่เด็กต้องการ คือ ครอบครัว ชุมชน และการเข้าถึงโอกาส

ประเด็นที่สนับสนุน

สนับสนุนการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของเด็ก โดยเน้นสร้างความ เข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้แนวทางของ Global Impact Investing Network โดย Impact Reporting Investment Standards (IRIS) เพือ่ วัดผลลัพธ์ในโครงการลงทุนทางสังคม (Social Investment Program) และแนวทางตามคูม่ อื ของมูลนิธฯิ (A Guide to MEASURING ADVOCACY AND POLICY) สำ�หรับโครงการอื่นๆ

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

179

ลำ�ดับที่ 18 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Bill & Melinda Gates Foundation

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

http://www.gatesfoundation.org/

ปีก่อตั้ง

1999

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่มีผลิตภาพมากขึ้น และมีสุขภาพดีขึ้น

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย เช่น HIV มาลาเรีย ท้องร่วง สารอาหาร โปลิโอ สุขภาพของแม่ และเด็ก การศึกษา และการพัฒนาในภาคการเกษตร

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

หลากหลาย ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการ

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้การประเมินผลลัพธ์ของโครงการหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของ โครงการ

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


180

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 19 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Root Capital

ประเภทองค์กร

กองทุนเพื่อสังคม

URL

https://www.rootcapital.org/

ปีก่อตั้ง

1999

เป้าหมายองค์กร

สร้างความมั่งคั่งในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ที่เปราะบางด้านสิ่งแวดล้อม โดยการ ให้สนิ เชือ่ ส่งมอบการฝึกอบรมทางการเงิน และสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน สำ�หรับกิจการการเกษตรขนาดเล็ก

ประเด็นที่สนับสนุน

ธุรกิจการเกษตร

กรอบทฤษฎี

Logic Model และ Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Impact Value Chain, Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ปัจจุบัน Root Capital ตั้งต้นที่การเขียน Impact Value Chain และเลือก ใช้ตัวชี้วัดจาก IRIS โดยกำ�ลังพัฒนาการวัดผลลัพธ์วิธีต่างๆ เช่น วิธีประเมิน แบบผสมอย่างมีส่วนร่วม (participatory, mixed-method evaluations) การประเมินเชิงปริมาณที่ใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (mobile-enabled quantitative evaluations) การวิเคราะห์พอร์ตฟอลิโอ (portfolio data analysis) และวางแผนว่าจะใช้การศึกษาทดลองเชิงปริมาณ (quantitative experimental studies)

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y (ก่อนการให้กู้ยืม มีการวัดโดยใช้ scorecard ก่อน)

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

181

ลำ�ดับที่ 20 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Acumen Fund

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://acumen.org/

ปีก่อตั้ง

2001

เป้าหมายองค์กร

ระดมเงินบริจาคเพื่อลงทุนโดยให้สินเชื่อหรือร่วมทุนกับผู้ประกอบการซึ่งมี ศักยภาพในการหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน

ประเด็นที่สนับสนุน

ลงทุนในบริษทั ระยะเริม่ แรกทีข่ บั เคลือ่ นในประเด็น เช่น ปัจจัยการผลิตทางการ เกษตรที่สามารถซื้อได้และเข้าถึงได้ คุณภาพทางการศึกษา พลังงานสะอาด บริการด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย และนํ้าสะอาดสำ�หรับผู้มีรายได้ตํ่า

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Proprietary (BACO ratio for “best available charitable option”)

จุดเด่นของเครื่องมือ

เปรียบเทียบต้นทุนต่อการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมหนึ่งหน่วย ระหว่างทางเลือก ว่ากองทุนจะลงทุนเอง และทางเลือกทีด่ ที สี่ ดุ ในการบริจาคเงินให้กบั องค์กรการ กุศลที่นำ�ส่งผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถสร้างผลลัพธ์ทางสังคมในรูปแบบ คล้ายคลึงกัน

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


182

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 21 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

The William and Flora Hewlett Foundation

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

http://www.hewlett.org/

ปีก่อตั้ง

1966

เป้าหมายองค์กร

หนุนเสริมความเป็นอยู่ท่ีดีของมนุษย์ โดยการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

ประเด็นที่สนับสนุน

การศึกษา สิ่งแวดล้อม การพัฒนา ประชากร และศิลปะการแสดง

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

Indicators และ SROI

จุดเด่นของเครื่องมือ

สำ�หรับการประเมินผลโครงการในประเด็นการศึกษา สิ่งแวดล้อม ประชากร และศิลปะการแสดง มูลนิธิจะดำ�เนินการตามกรอบคู่มือการประเมินผลลัพธ์ ภายในองค์กร ชื่อว่า Evaluation Principles and Practices ซึ่งระบุกรอบ แนวคิดการประเมินกว้าง ๆ ไว้ โดยให้ตั้งคำ�ถามและเก็บข้อมูลดัชนีชี้วัดเพื่อ​ เป็นตัวบ่งชี้ความก้าวหน้าและการบรรลุเป้าหมายของโครงการ ส่วนโครงการ ในประเด็นการพัฒนาทั่วโลก จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าผลตอบแทนที่คาดหวัง (expected return) ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม โดยจะคำ�นวณจาก ผลประโยชน์ในโลกทีส่ มบูรณ์แบบ คูณกับโอกาสทีโ่ ครงการจะประสบผลสำ�เร็จ และสัดส่วนที่องค์กรสนับสนุน หารด้วยต้นทุนของโครงการซึ่งรวมต้นทุน ค่ า บริ ห ารจั ด การ ค่ า พนั ก งาน และเงิ น ทุ น ที่ ม อบให้ ซึ่ ง จะได้ ผ ลลั พ ธ์ คื อ ผลตอบแทนทางสังคมต่อการลงทุน 1 บาท

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

183

ลำ�ดับที่ 22 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Calvert Foundation

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

http://www.calvertfoundation.org/

ปีก่อตั้ง

1995

เป้าหมายองค์กร

Calvert Foundation คือสถาบันการเงินเพื่อพัฒนาชุมชน (community development financial institution) ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถ ลงทุนเพื่อผลลัพธ์ทางสังคมทางบวกผ่านพันธบัตรลงทุนเพื่อชุมชน (community investment note) โดย Calvert Foundation จะทำ�หน้าที่เชื่อมโยง นักลงทุนรายย่อยกับองค์กรทั่วโลก

ประเด็นที่สนับสนุน

ที่อยู่อาศัยในราคาที่ซื้อได้ สร้างอาชีพ และปกป้องสิ่งแวดล้อม

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

รวมดัชนีชี้วัดจากหลายแหล่ง เช่น Impact Reporting and Investment Standards (IRIS), CDFI Fund และ The Department of Housing and Urban Development

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

N

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


184

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 23 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Epic Foundation

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

https://epic.foundation

ปีก่อตั้ง

2014

เป้าหมายองค์กร

พัฒนาเด็ก และทำ�ความเข้าใจประเด็นปัญหาของเยาวชน

ประเด็นที่สนับสนุน

การศึกษา การสนับสนุนทางเศรษฐกิจ สุขภาพ สิทธิและการคุ้มครอง

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้ตัวชี้วัด 15 ตัวชี้วัด เพื่อประเมินผลลัพธ์ทางสังคมขององค์กรทั้งธุรกิจเพื่อ สังคมและองค์กรไม่แสวงหากำ�ไรที่มูลนิธิให้ทุน โดยเผยแพร่ผลลัพธ์ทางสังคม ผ่านทางแอปพลิเคชัน

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N (เข้าดูได้เฉพาะผู้บริจาคให้กับมูลนิธิ)


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

185

ลำ�ดับที่ 24 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Global Social Venture Competition

ประเภทองค์กร

สถาบันวิชาการ

URL

http://gsvc.org/

ปีก่อตั้ง

1999

เป้าหมายองค์กร

การแข่งขันด้านธุรกิจเพือ่ สังคมระดับโลกทีม่ เี ป้าหมายเพือ่ พัฒนาผูป้ ระกอบการ เพื่อสังคมรุ่นใหม่ เพื่อเปลี่ยนแนวคิดทางธุรกิจไปสู่การสร้างผลลัพธ์ทางสังคม ในโลกจริง ผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงทดลองเพื่อพัฒนาทางออกของความ ท้าทายระดับโลก ด้วยนวัตกรรมที่ขยายผลได้

ประเด็นที่สนับสนุน

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดทางธุรกิจเพื่อสังคม

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้ดัชนีชี้วัดจาก Impact Reporting and Investment Standards (IRIS)

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


186

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 25 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

W.K. Kellogg Foundation

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

https://www.wkkf.org/

ปีก่อตั้ง

1930

เป้าหมายองค์กร

บริจาคเงินเพือ่ สนับสนุนเด็ก ครอบครัว และสังคม โดยมีจดุ ประสงค์เพือ่ ให้เด็ก ที่อยู่ในภาวะเปราะบางได้รับโอกาสในฐานะปัจเจกชนคนหนึ่ง

ประเด็นที่สนับสนุน

การศึกษาและสุขภาพเด็ก ความมัน่ คงของครอบครัว การมีสว่ นร่วมของชุมชน และความเท่าเทียมทางชาติพันธุ์

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

Impact Value Chain

จุดเด่นของเครื่องมือ

ให้ความสำ�คัญกับกระบวนการตั้งคำ�ถาม และตอบคำ�ถามนั้นด้วยเทคนิควิธีที่ หลากหลาย เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึก การทำ�การสนทนากลุ่มหรือการทำ� แบบสอบถาม มีการประเมินทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตามความเหมาะสม และลักษณะของโครงการ

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

N

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

187

ลำ�ดับที่ 26 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Robin Hood Foundation

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

https://www.robinhood.org/

ปีก่อตั้ง

1988

เป้าหมายองค์กร

บริจาคเงินแก่องค์กรที่ต่อสู้กับความยากจนในนิวยอร์กอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล

ประเด็นที่สนับสนุน

ที่อยู่อาศัย การศึกษา และการจ้างงานของคนยากไร้

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Cost-Benefit Analysis

จุดเด่นของเครื่องมือ

สร้างระบบผลลัพธ์ทางสังคมของตัวเอง โดยแจกแจงเป็นสมการการคำ�นวณ ผลลัพธ์ทางสังคมแบบเป็นตัวเงินจากกิจกรรมต่างๆ ตัง้ แต่ การให้บริการทำ�ฟัน การศึกษา การฝึกอบรม การปล่อยสินเชือ่ ขนาดจิว๋ การให้การศึกษาผูป้ กครอง การป้องกัน/รักษาโรค การลดความรุนแรงในครัวเรือน การลดความอ้วน ฯลฯ

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


188

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 27 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

Omidyar Network

ประเภทองค์กร

กองทุนเพื่อสังคม

URL

www.omidyar.com

ปีก่อตั้ง

2004

เป้าหมายองค์กร

ลงทุนในผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจสร้างผลลัพธ์ทางสังคมในความเร็ว และขนาดที่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกปัจจุบันได้

ประเด็นที่สนับสนุน

การใช้อนิ เทอร์เน็ตและโทรศัพท์มอื ถือ การศึกษา การเข้าถึงบริการทางการเงิน ธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม สิทธิในทรัพย์สิน

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

ไม่มี

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

-

การให้ทุน

-

การประเมินผล

-

การสื่อสารต่อสาธารณะ

-


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

189

ลำ�ดับที่ 28 ประเทศ

สวิตเซอร์แลนด์

ชื่อองค์กร

AlphaMundi Group

ประเภทองค์กร

กองทุนเพื่อสังคม

URL

www.alphamundi.ch

ปีก่อตั้ง

2007

เป้าหมายองค์กร

ลดความยากจนและรักษาสภาพแวดล้อมโดยเน้นการลงทุนในประเทศกำ�ลัง พัฒนา โดยได้ยึดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ

ประเด็นที่สนับสนุน

เกษตรกรรม พลังงานหมุนเวียน ที่อยู่อาศัย การศึกษา และสินเชื่อขนาดจิ๋ว

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้ดชั นีชวี้ ดั จาก Impact Reporting and Investing Standards (IRIS) และ ประเมินผลโดย GIIRS

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

N

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


190

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 29 ประเทศ

สเปน

ชื่อองค์กร

GAWA Capital

ประเภทองค์กร

กองทุนเพื่อสังคม

URL

http://www.gawacapital.com/

ปีก่อตั้ง

2009

เป้าหมายองค์กร

ลงทุนในรูปแบบตราสารหนี้และตราสารทุนในกิจการเพื่อสังคมที่ต้องการสร้าง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่กลุ่มผู้ยากจน

ประเด็นที่สนับสนุน

ไมโครไฟแนนซ์ สหกรณ์ชาวนา และกิจการเพื่อสังคมอื่นๆ

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้ดัชนีชี้วัดจาก Social Performance Task Force (SPTF) และ Impact Reporting and Investing Standards (IRIS)

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

191

ลำ�ดับที่ 30 ประเทศ

ลิกเตนสไตน์

ชื่อองค์กร

LGT Venture Philanthropy

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.lgtvp.com/

ปีก่อตั้ง

2007

เป้าหมายองค์กร

พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ยั่ ง ยื น แก่ ป ระชาชนที่ เ สี ย เปรี ย บอย่ า งที่ สุ ด โดยการ สนับสนุนทุนทางการเงิน ทุนทางความรู้ และทุนทางสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

การศึกษา ป่าไม้ การเกษตร โภชนาการ สุขภาพและสุขอนามัย ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถหมุนเวียนได้ และไอซีที

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


192

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 31 ประเทศ

ดำ�เนินการทั่วโลก

ชื่อองค์กร

The Global Impact Investing Network (GIIN)

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง (NPO)

URL

https://thegiin.org/

ปีก่อตั้ง

2007 (IRIS 2009)

เป้าหมายองค์กร

เพื่อส่งเสริม (ด้านปริมาณและประสิทธิผล) การลงทุนเพื่อสังคม (impact investing)

ประเด็นที่สนับสนุน

พัฒนา IRIS ซึ่งเป็นชุดตัวชี้วัด เพื่อใช้ในการวัดผลลัพธ์จากการลงทุน (ด้าน สังคม สิ่งแวดล้อม การเงิน)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

เป็นชุดตัวชี้วัดที่รวบรวมตัวชี้วัดที่สำ�คัญกว่า 500 ตัว ในด้านต่างๆ ที่พัฒนา/ รวบรวม จากมาตรฐานหรือเกณฑ์ขององค์กรที่เป็นที่ยอมรับในด้านนั้นๆ โดย แบ่งประเภทของประเด็นสังคม ผูร้ บั ผลประโยชน์ และอืน่ ๆ ในปัจจุบนั เป็นชุด ตัวชี้วัดที่มีการใช้มากที่สุดในระดับสากล

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

นักลงทุนใช้เครื่องมือช่วยตัดสินใจ

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

193

ลำ�ดับที่ 32 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

B Lab (B Analytics)

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง (NPO)

URL

https://www.bcorporation.net/

ปีก่อตั้ง

2006 (B Analytics 2013)

เป้าหมายองค์กร

สร้างมาตรฐาน B Corporations รับรองการเป็นธุรกิจเพือ่ สังคม เพือ่ ส่งเสริม ให้ธุรกิจรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เกณฑ์การพิจารณาครอบคลุม สังคม สิ่งแวดล้อม ความโปร่งใส แรงงาน เป็นต้น

ประเด็นที่สนับสนุน

สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลกระทบทางสังคม (B Impact Assessment, B Analytics)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Proprietary

จุดเด่นของเครื่องมือ

B Impact Assessment (BIA) วัดผลลัพธ์ทางสังคมและสิง่ แวดล้อมของธุรกิจ โดยประเมินผลการดำ�เนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นคะแนนรวม 200 คะแนน สามารถเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นได้

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

นักลงทุนใช้เครื่องมือช่วยตัดสินใจ

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


194

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 33 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ชื่อองค์กร

B Lab (GIIRS)

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง (NPO)

URL

http://giirs.nonprofitsoapbox.com/about-giirs/how-giirs-works/159

ปีก่อตั้ง เป้าหมายองค์กร

ให้คะแนนและจัดอันดับผลลัพธ์ทางสังคม และผลตอบแทนทางสังคมจากการ ลงทุน

ประเด็นที่สนับสนุน

(ใช้ B Analytics ในการเก็บข้อมูล)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ให้คะแนนผลการดำ�เนินงานด้านผลลัพธ์ทางสังคม พิจารณาผลกระทบ 4 ด้าน คือ การบริหาร แรงงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

นักลงทุนใช้เครื่องมือช่วยตัดสินใจ

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

195

ลำ�ดับที่ 34 ประเทศ

อินเดีย

ชื่อองค์กร

Intellecap (PRISM)

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง (บริษัท)

URL

http://prismforimpact.com/index/

ปีก่อตั้ง

2002 (Intellecap) 2014 (PRISM)

เป้าหมายองค์กร

หาทางเลือกทางธุรกิจ มุ่งส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตทั้งด้านกำ�ไรและความยั่งยืน สร้างผลลัพธ์ทางสังคมกับกลุ่ม BoP

ประเด็นที่สนับสนุน

PRISM เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการดำ�เนินงานของกองทุน (ที่ลงทุนใน ธุรกิจเพือ่ สังคม) นอกจากผลด้านการเงินแล้ว ยังพิจารณาเกณฑ์ดา้ นสังคมและ สิ่งแวดล้อม

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Proprietary

จุดเด่นของเครื่องมือ

PRISM (Portfolio, Risk, Impact, and Sustainability Measurement) เป็นเครื่องมือประเมินผลการดำ�เนินการของกองทุน นักลงทุนสามารถรู้ได้ว่า เงินลงทุนของตนสร้างผลลัพธ์ทางสังคมอย่างไร PRISM ประเมินผลจากคะแนน 2 ส่ ว น คื อ ผลการดำ � เนิ น งานของกองทุ น (fund performance) และ ผลการดำ�เนินงานพอร์ตโฟลิโอของบริษัท (performance of portfolio companies)

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

นักลงทุนใช้เครื่องมือช่วยตัดสินใจ

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


196

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 35 ประเทศ

อังกฤษ

ชื่อองค์กร

Social Value UK (The Social Value Self Assessment Tool)

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง

URL

http://www.socialvalueuk.org/

ปีก่อตั้ง

The SROI Network ก่อตั้ง ค.ศ. 2008 เปลี่ยนเป็น Social Value UK ใน ค.ศ. 2015 (Assessment Tool 2014)

เป้าหมายองค์กร

สร้างเครือข่ายผู้สนใจคุณค่าทางสังคมและผลกระทบทางสังคมเพื่อร่วมกัน พัฒนาและส่งเสริมการใช้งาน SROI เพือ่ วัดผลและสร้างผลลัพธ์ทางสังคมสูงสุด ต่อผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร

ประเด็นที่สนับสนุน

ส่ ง เสริ ม การใช้ SROI เพื่ อวั ด ผลลั พธ์ ข ององค์ ก ร ขยายนิ ย ามของ value ให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วยเสียกลุ่มต่าง ๆ ใช้ชุดข้อมูลในการปรับปรุงการวาง นโยบายองค์กร

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

SROI, Proprietary

จุดเด่นของเครื่องมือ

Social Value Self Assessment Tool ส่งเสริมให้กิจการเพื่อสังคมวัด​ ผลลัพธ์ทางสังคมของตนเอง แสดงผลแบบใยแมงมุมเทียบกับ best practice แสดงให้เห็นว่าควรพัฒนาด้านใด

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

N

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

197

ลำ�ดับที่ 36 ประเทศ

แคนาดา

ชื่อองค์กร

Sametrica

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง (บริษัท)

URL

http://sametrica.ca

ปีก่อตั้ง

2011

เป้าหมายองค์กร

ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อช่วยนักลงทุนประเมินและจัดการการลงทุนเพื่อสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลกระทบทางสังคมจากการลงทุน

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

SROI, Cost-Benefit Analysis

จุดเด่นของเครื่องมือ

วัดผลลัพธ์ทางสังคมจากการลงทุน ตีค่าเป็นตัวเงิน ระบุความเปลี่ยนแปลงที่ โครงการสร้าง ประมวลผลและแนะนำ�โอกาสในการพัฒนา

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

นักลงทุนใช้เครื่องมือช่วยตัดสินใจ

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N (รายงานสำ�หรับนักลงทุน ไม่ได้มุ่งสื่อสารสู่สาธารณะ)


198

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 37 ประเทศ

ดำ�เนินงานทั่วโลก

ชื่อองค์กร

Innovations for Poverty Action (IPA) (เดิ ม เครื่ อ งมื อ นี้ บ ริ ห ารโดย Grameen Foundation)

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง

URL

http://www.progressoutofpoverty.org/

ปีก่อตั้ง

2005

เป้าหมายองค์กร

IPA มีพันธกิจในการหาวิธีแก้ปัญหาความยากจนในระดับโลก

ประเด็นที่สนับสนุน

PPI index เป็นเครื่องมือชี้วัดความยากจน ใช้ช่วยวางแผนโครงการ และ ติดตามผล (สำ�หรับโครงการที่มีเป้าหมายด้านความยากจน)

กรอบทฤษฎี

อื่น ๆ (วัดความยากจน ณ เวลาหนึ่ง สามารถเปรียบเทียน ก่อน-หลัง ได้ แต่ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าโครงการเป็นตัวหลักในการสร้างความเปลี่ยนแปลง)

ประเภทเครื่องมือ

Proprietary (เครื่องมือชื่อ Progress out of Poverty Index (PPI))

จุดเด่นของเครื่องมือ

ชุดคำ�ถามและตารางเปรียบเทียบ พัฒนามาจากข้อมูลรายได้/รายจ่ายครัวเรือน ของแต่ละประเทศ สกัดเป็นคำ�ถามง่าย ๆ 10 ข้อ ที่สามารถบ่งชี้ความยากจน ง่ายต่อการเก็บข้อมูล และสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ *PPI สามารถเปรียบเทียบระดับความยากจนก่อนและหลังโครงการได้ แต่ ไม่สามารถวัดผลลัพธ์ทางสังคมได้ เพราะตัวเครื่องมือไม่ได้มุ่งอธิบายว่าการ เปลี่ยนแปลงเกิดจากอะไร

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y (ถ้าโครงการเกี่ยวกับการให้ทุนคนจน เครื่องมือจะช่วย “ระบุ” ว่าใครจน)

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

199

ลำ�ดับที่ 38 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา (ดำ�เนินงานทั่วโลก)

ชื่อองค์กร

SVT Group

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง (บริษัท)

URL

http://svtgroup.net/

ปีก่อตั้ง

2001

เป้าหมายองค์กร

เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจด้านการวัดผลลัพธ์และผลตอบแทนทางสังคมจากการ ลงทุน (เพื่อให้ลูกค้าสามารถสื่อสารกับผู้ให้ทุนได้)

ประเด็นที่สนับสนุน

ให้บริการเกีย่ วกับการวัดผลลัพธ์ทางสังคมอย่างครบวงจร (เช่น ประเมินผลลัพธ์/​ ผลตอบแทนทางสังคม คำ�แนะนำ�ด้านนโยบาย การจัดทำ�รายงาน และสือ่ สาร ต่อผู้ให้ทุน)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

SROI (ในส่วนประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน)

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y (เพื่อนำ�เสนอผู้ให้ทุน)

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y (จัดทำ�เป็นรายงาน)


200

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 39 ประเทศ

ฝรั่งเศส (ดำ�เนินงานทั่วโลก)

ชื่อองค์กร

SPI4 (พัฒนาโดย CERISE)

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง (NPO)

URL

http://www.cerise-spi4.org/

ปีก่อตั้ง

SPI4-2014

เป้าหมายองค์กร

CERISE ส่งเสริมการเงินที่รับผิดชอบและมีจริยธรรม ซึ่งเป็นมิติหนึ่งของการ พัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ (CERISE เป็นองค์กรไม่แสวงหากำ�ไรให้บริการ ด้านต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม ให้คำ�ปรึกษา เครื่องมือวัดผล)

ประเด็นที่สนับสนุน

SPI4 เป็นเครื่องมือช่วยสถาบันไมโครไฟแนนซ์ประเมินผลลัพธ์การดำ�เนินงาน ด้านสังคม

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

SPI4 ครอบคลุมเกณฑ์มาตรฐานของการดำ�เนินงานด้านสังคม มาตรฐานสากล 20 มาตรฐาน ถูกสกัดออกเป็นวิธปี ฏิบตั ิ 80 วิธี ซึง่ ประเมินด้วยตัวชีว้ ดั 200 ตัว

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

201

ลำ�ดับที่ 40 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา (ดำ�เนินงานทั่วโลก)

ชื่อองค์กร

Toniic Institute

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง (NPO)

URL

http://www.toniic.com/toniic-institute/

ปีก่อตั้ง

2010

เป้าหมายองค์กร

สร้างเครือข่ายนักลงทุน ผูจ้ ดั การกองทุน ผูป้ ระกอบการ ทีม่ เี จตนารมณ์ในการ แก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการลงทุน เครือข่ายเป็นเวทีเพื่อแลก เปลี่ยนข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์สำ�หรับการตัดสินใจลงทุน

ประเด็นที่สนับสนุน

พัฒนาเครื่องมือวัดผลลัพธ์และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน เครื่องมือ พัฒนามาจากตัวชี้วัดของ IRIS

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ประยุกต์ใช้ชุดตัวชี้วัด IRIS เพื่อตัดสินใจบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

นักลงทุนใช้เครื่องมือช่วยตัดสินใจ

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


202

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 41 ประเทศ

ดำ�เนินงานทั่วโลก

ชื่อองค์กร

International Association for Impact Assessment (IAIA)

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง

URL

http://www.iaia.org/index.php

ปีก่อตั้ง

1980

เป้าหมายองค์กร

เพื่อส่งเสริมการประเมินผลกระทบทางสังคมผ่านการสร้างเครือข่าย เพื่อแลก เปลี่ยนความรู้ สื่อสาร และพัฒนาการประเมินผลกระทบ

ประเด็นที่สนับสนุน

ส่งเสริมการรวมกลุ่ม สร้างเครือข่าย ผลิตข้อมูล เพื่อส่งเสริมการประเมิน​ ผลกระทบ (ไม่ได้พัฒนาเครื่องมือของตัวเอง)

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

ไม่มี

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

-

การให้ทุน

-

การประเมินผล

-

การสื่อสารต่อสาธารณะ

-


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

203

ลำ�ดับที่ 42 ประเทศ

สิงคโปร์ (ดำ�เนินงานในเอเชีย)

ชื่อองค์กร

Shujog

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง

URL

http://shujog.org/what-we-do/impact-assessment/

ปีก่อตั้ง

2010

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนการสร้างผลกระทบทางบวกและนวัตกรรมสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (ด้วย SROI และ IRIS) เป็นบริการอย่างหนึ่ง ขององค์กร เพื่อขยายผลกระทบทางบวกด้านสังคม

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

SROI

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

N

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


204

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 43 ประเทศ

ดำ�เนินงานทั่วโลก

ชื่อองค์กร

Social Performance Task Force (SPTF)

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง (NPO)

URL

http://sptf.info/about-us2

ปีก่อตั้ง

2005

เป้าหมายองค์กร

เป็นเครือข่ายส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในการพัฒนาและ ส่งเสริมการใช้มาตรฐานสากลในการจัดการผลการดำ�เนินงานด้านสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

ส่งเสริมการใช้มาตรฐานสากลในการจัดการผลการดำ�เนินงานด้านสังคม ขั้นตอนการประเมินผลลัพธ์ ใช้ SPI4

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

N

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

205

ลำ�ดับที่ 44 ประเทศ

อินเดีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์

ชื่อองค์กร

Unitus Impact

ประเภทองค์กร

กองทุนเพื่อสังคม

URL

http://unitusimpact.com/

ปีก่อตั้ง

2000

เป้าหมายองค์กร

ลดความยากจนทั่วโลกด้วยการหนุนเสริมทางเศรษฐกิจโดยเชื่อมต่อการลงทุน ทางสังคมในภูมภิ าคเอเชีย เน้นการลงทุนในองค์กรทีพ่ ฒ ั นาคุณภาพชีวติ ของคน ยากจน ในขณะที่บรรลุผลตอบแทนเชิงพาณิชย์ในราคาตลาดสำ�หรับนักลงทุน

ประเด็นที่สนับสนุน

คุณภาพชีวิตคนยากจน

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้ดัชนีชี้วัดด้านสังคม การเงิน และระบบนิเวศ โดยอ้างอิงชุดตัวชี้วัด IRIS

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


206

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 45 ประเทศ

เวียดนาม

ชื่อองค์กร

Lotus Impact

ประเภทองค์กร

กองทุนเพื่อสังคม

URL

http://www.lotusimpact.com/

ปีก่อตั้ง

2013

เป้าหมายองค์กร

สร้างโลกที่ดีกว่าโดยการให้ทุนบ่มเพาะในธุรกิจที่มีศักยภาพสูงที่จะสร้างมูลค่า ทางสังคมและการเปลีย่ นแปลงทีย่ งั่ ยืนต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิง่ แวดล้อมชุมชน ทั่วโลก พร้อมกันกับอำ�นวยความสะดวกในการเรียนรู้การลงทุนทางสังคมและ กระตุ้นเครือข่ายที่หลากหลายของนักลงทุน ธุรกิจ และผู้กำ�หนดนโยบายรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำ�ลังพัฒนา

ประเด็นที่สนับสนุน

การเกษตร การศึกษา นํ้าและการสุขภิบาล สุขภาพเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ความเท่าเทียมทางเพศ

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้ดัชนีชี้วัดด้านสังคม การเงิน และระบบนิเวศโดยอ้างอิงชุดตัวชี้วัด IRIS

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

207

ลำ�ดับที่ 46 ประเทศ

สิงคโปร์

ชื่อองค์กร

IIX Asia

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.asiaaiix.com

ปีก่อตั้ง

2009

เป้าหมายองค์กร

สร้างผลกระทบทางสังคมเชิงบวกแก่กลุม่ เป้าหมาย 100 ล้านคน ใน ค.ศ. 2020 ผ่านการลงทุนทางสังคม โดยเชื่อมแหล่งเงินทุนเข้ากับองค์กรที่จะสร้างผล​ กระทบแก่สังคม ส่งเสริมการลงทุนที่จะสร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators และ SROI

จุดเด่นของเครื่องมือ

พัฒนาและขยายองค์ความรูท้ างด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมไปเป็นองค์กร ตัวกลางอย่าง Shujog

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

N

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


208

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 47 ประเทศ

สิงคโปร์

ชื่อองค์กร

Asian Venture Philanthropy Network (AVPN)

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง

URL

http://www.avpn.asia

ปีก่อตั้ง

2010

เป้าหมายองค์กร

เพิ่มการไหลเวียนของทรัพยากรทุนให้กับภาคสังคม ทั้งทางด้านการเงิน ทุน มนุษย์และทุนทางปัญญา และปรับปรุงประสิทธิภาพการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม ของเครือข่ายสมาชิกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย ขึ้นอยู่กับองค์กรสมาชิก

กรอบทฤษฎี

Theory of Change และ Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

ไม่มี

จุดเด่นของเครื่องมือ

ไม่มกี ารวัดผลลัพธ์ทางสังคมโดยตรงจากองค์กรเอง ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดทำ� กรณีศึกษาเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการวัดผลกระทบทางสังคม กิจกรรม ส่วนใหญ่คอื การสร้างเครือข่ายสมาชิก ส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม จากเครือข่ายนั้น

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

N

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

209

ลำ�ดับที่ 48 ประเทศ

สิงคโปร์

ชื่อองค์กร

DBS-NUS Social Venture Challenge Asia

ประเภทองค์กร

สถาบันวิชาการ

URL

http://socialventurechallenge.asia/

ปีก่อตั้ง

2014

เป้าหมายองค์กร

ค้นหาและสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมที่มีศักยภาพในการสร้างและขยาย ผลกระทบเชิงบวกได้อย่างยั่งยืน

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลายมิติในด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

ไม่มี

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


210

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 49 ประเทศ

อินเดีย

ชื่อองค์กร

Aavishkaar

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.aavishkaar.in/

ปีก่อตั้ง

2001

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนผู้ประกอบการที่ให้ผลตอบแทนทางพาณิชย์ไปพร้อมกับการบริการ สังคมอย่างยั่งยืน

ประเด็นที่สนับสนุน

การเกษตร การศึกษา พลังงาน สุขภาพ นาํ้ และการสุขาภิบาล เทคโนโลยีเพือ่ การพัฒนา การดำ�รงชีพในแต่ละช่วงวัย การเข้าถึงบริการทางการเงิน

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้ดชั นีชวี้ ดั ด้านสังคม การเงิน และระบบนิเวศ โดยอ้างอิงจากชุดตัวชีว้ ดั IRIS และ PRISM

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

211

ลำ�ดับที่ 50 ประเทศ

อินเดีย

ชื่อองค์กร

Dasra

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.dasra.org

ปีก่อตั้ง

1999

เป้าหมายองค์กร

เสริมสร้างและสนับสนุนการแทรกแซงทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อขยาย ผลลัพธ์ทางสังคม ก้าวเป็นผู้นำ�ทางความคิดด้านการให้การกุศลเชิงกลยุทธ์ใน กลุ่มประเทศกำ�ลังพัฒนา

ประเด็นที่สนับสนุน

เด็กและเยาวชนหญิง สุขอนามัย ธรรมาภิบาล คุณภาพชีวิต การศึกษา การ ให้อย่างมีกลยุทธ์ (family giving, strategic philanthropy)

กรอบทฤษฎี

Theory of Change, Logic Model, Outcome Linkage และ OECD/DAC evaluation criteria

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้การประเมินผลลัพธ์ของโครงการหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของ โครงการ อ้างอิงชุดตัวชีว้ ดั IRIS และปรับแต่งชุดตัวชีว้ ดั ให้เข้ากับองค์กรนัน้  ๆ

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


212

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 51 ประเทศ

อินเดีย

ชื่อองค์กร

Lok Capital

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.lokcapital.com/ และ https://avpn.asia/2015/11/16/ impact-​assessment-lok-capital/

ปีก่อตั้ง

2006

เป้าหมายองค์กร

ลงทุนในผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงที่สร้างวิธีการแก้ปัญหาสังคมและ เศรษฐกิจสำ�หรับกลุ่มฐานล่างพีระมิดในอินเดีย

ประเด็นที่สนับสนุน

การเข้าถึงบริการทางการเงิน การศึกษา สุขภาพ คุณภาพชีวติ และการเกษตร

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

Proprietary–Social Action Plan (SAP) และ Social Performance Management (SPM)

จุดเด่นของเครื่องมือ

ปรับแต่งการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมให้เข้ากับบริบทของอินเดียโดยใช้หลัก พารามิเตอร์สากล เช่น แนวทางของ GIIN และชุดตัวชี้วัด IRIS, Islamic Development Bank (IDB) และ KfW Bankengruppe โดย SAP จะ เป็นการสร้างความมั่นใจว่าบริษัทมีกลยุทธ์เรื่อง “สวัสดิการทางสังคม” อยู่ใน การดำ�เนินงานหลัก และ SPM เป็นการติดตามประเมินผลและรายงานผลของ บริษัทรายไตรมาสสำ�หรับนักลงทุน

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

213

ลำ�ดับที่ 52 ประเทศ

อินเดีย

ชื่อองค์กร

Axis Bank Foundation

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

http://www.axisbankfoundation.org/

ปีก่อตั้ง

2006

เป้าหมายองค์กร

บริหารจัดการโครงการและมีสว่ นร่วมอย่างมีนยั สำ�คัญในการสร้างปัจจัยในการ ใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน

ประเด็นที่สนับสนุน

นาํ้ และเกษตรกรรม การสร้างอาชีพสำ�หรับผูด้ อ้ ยโอกาสและคนพิการ การสร้าง ตลาดให้กับช่างฝีมือท้องถิ่น

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

Indicators และ Proprietary (Log Frame Analysis)

จุดเด่นของเครื่องมือ

ร่วมมือกับองค์กร Tata Institute of Social Sciences (TISS) ในการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคม มีการใช้ขอ้ มูลฐาน (baseline data) เป็นข้อมูลฐาน ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม กำ�ลังอยูใ่ นช่วงพัฒนาเครือ่ งมือ Log Frame Analysis ซึ่งสอดคล้องไปกับมาตรฐาน GRI-G4 และเครื่องมือการประเมิน ผลลัพธ์อื่น ๆ

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


214

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 53 ประเทศ

อินเดีย

ชื่อองค์กร

Caspian Impact Investment Adviser Private Limited

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.caspian.in/

ปีก่อตั้ง

2004

เป้าหมายองค์กร

สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทน ทางการเงิน

ประเด็นที่สนับสนุน

อาหารและการเกษตร การเงินสำ�หรับธุรกิจขนาดเล็ก บ้านและที่อยู่อาศัย ระบบการเงินระดับฐานราก

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้ดัชนีชี้วัดด้านสังคม การเงิน และระบบนิเวศ โดยอ้างอิงจากการจัดอันดับ Global Impact Investing Rating System (GIIRS), ชุดตัวชี้วัด Impact Reporting Investment Standards (IRIS) และ PRISM

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

215

ลำ�ดับที่ 54 ประเทศ

อินเดีย

ชื่อองค์กร

Rianta Capital Zurich’s Artha Initiative

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.arthaplatform.com/

ปีก่อตั้ง

2006

เป้าหมายองค์กร

สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักลงทุนทางสังคม ผูบ้ ริจาค กับผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม และเพิ่มศักยภาพในการสร้างองค์กรเพื่อสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย เช่น คุณภาพชีวิต การเกษตร พลังงาน นํ้า สุขภาพ การศึกษา และเทคโนโลยี

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ปรับใช้มาตรฐานสากลต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลตัวชี้วัดของ IRIS และร่วมมือกับ องค์กรเช่น Bridges Ventures IMPACT Radar มีการจัดเก็บข้อมูลแบบ scorecard และกำ�ลังอยู่ในช่วงพัฒนาแนวทางการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ของตนเอง

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


216

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 55 ประเทศ

ปากีสถาน

ชื่อองค์กร

Invest2Innovate

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://invest2innovate.com/

ปีก่อตั้ง

2011

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนผูป้ ระกอบการทีต่ อ้ งการแก้ปญ ั หาทางสังคมด้วยทรัพยากร แหล่งทุน และการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมต่อการสร้าง start-up ในตลาดที่เปราะ บางและเพิ่งเกิดใหม่

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ให้ทนุ กับองค์กรทีส่ ามารถวัดผลลัพธ์ทางสังคมหรือมีแนวทางการวัดผลลัพธ์ทาง สังคมของตนเอง

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

217

ลำ�ดับที่ 56 ประเทศ

ฮ่องกง

ชื่อองค์กร

Social Ventures Hong Kong Capital

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.sv-hv.org

ปีก่อตั้ง

2007

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนธุรกิจ start-up ที่มีเป้าหมายในการแก้ปัญหาสังคมในฮ่องกงผ่าน วิธีการทางธุรกิจที่มีนวัตกรรมและความยั่งยืน

ประเด็นที่สนับสนุน

ความยากจน สังคมผู้สูงวัย การศึกษา การมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่มในสังคม สิ่งแวดล้อม

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators และ Proprietary

จุดเด่นของเครื่องมือ

SvHK ได้พัฒนาเครื่องมือและดัชนีชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมของตนเองโดยเรียนรู้ จาก Bridges Ventures

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


218

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 57 ประเทศ

ฮ่องกง

ชื่อองค์กร

SOW Asia

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.sowasia.org/

ปีก่อตั้ง

2009

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนกิจการที่มีความตั้งใจขยายผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านการ ลงทุนทางการเงินและโครงการเฟ้นหาและพัฒนาธุรกิจ (accelerator) อย่าง i2i และ Fast Forward

ประเด็นที่สนับสนุน

การบรรเทาความยากจน การมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่มในสังคม การศึกษา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

SROI และ Proprietary

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้ scorecard ภายใน ในการวัดผลทางด้านเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

N

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

219

ลำ�ดับที่ 58 ประเทศ

ฮ่องกง

ชื่อองค์กร

RS Group Asia

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.rsgroup.asia/

ปีก่อตั้ง

2009

เป้าหมายองค์กร

ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และค่านิยมในสังคม เพื่อให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ไม่สง่ ผลกระทบทีเ่ ป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิง่ แวดล้อม โดยการเพิม่ ประสิทธิภาพการจัดการสินทรัพย์และแหล่งทุนให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมสูงสุด

ประเด็นที่สนับสนุน

อาหารและการเกษตรยั่งยืน คุณภาพชีวิตของคนยากจน สิ่งแวดล้อม การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ประกอบการเพื่อสังคม

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

การวัดผลต่างออกไปตามแต่ระดับของสินทรัพย์ เช่น การใช้มาตรฐาน ESG และดัชนี้ชี้วัดรอยเท้าคาร์บอนในการประเมินตราสารหนี้และตราสารทุน การ ใช้หลักพารามิเตอร์สากลต่างๆ อย่าง Global Impact Investing Network คือ Impact Reporting Investment Standards (IRIS) ประเมินการลงทุน ทางสังคม หรือการใช้ดชั นีเฉพาะสำ�หรับโครงการทีไ่ ม่มดี ชั นีมาตรฐาน นอกจากนี้ RS Group ยังมีการลงทุนผ่านกองทุนเพือ่ สังคมอืน่ ๆ เช่น Oasis, SVhk และ มีความตั้งใจจะทำ�แนวทางการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของตนเองในอนาคต เพื่อดูผลลัพธ์การลงทุนในฐานะนักลงทุน

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


220

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 59 ประเทศ

ญี่ปุ่น

ชื่อองค์กร

Japan Venture Philanthropy Fund (JVPF)

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.jvpf.jp/en/index.html

ปีก่อตั้ง

2013

เป้าหมายองค์กร

สร้างผู้ประกอบการเพื่อสังคมและองค์กร โดยการสนับสนุนทางการเงินระยะ กลางและระยะยาว และการบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและ ขยายผลกระทบทางสังคม รวมถึงสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมการลงทุนเชิง การกุศลในประเทศญี่ปุ่น

ประเด็นที่สนับสนุน

การศึกษา เด็กและการส่งเสริมศักยภาพผู้หญิง การพัฒนาชุมชน

กรอบทฤษฎี

Theory of Change และ Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

221

ลำ�ดับที่ 60 ประเทศ

กัมพูชา

ชื่อองค์กร

UBERIS Capital

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://www.uberiscapital.com/

ปีก่อตั้ง

2012

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมในการสร้างกิจการและผลลัพธ์ทางสังคม โดย การให้เงินทุน คำ�แนะนำ� และการลงมือสนับสนุน

ประเด็นที่สนับสนุน

ห่วงโซ่คณ ุ ค่าภาคเกษตรกรรม พลังงานและนํา้ ในเขตชนบท คุณภาพชีวติ การ ศึกษา สุขภาพ การเงิน

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

เลือกตัวชี้วัดจากฐานข้อมูล IRIS

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


222

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 61 ประเทศ

ออสเตรเลีย

ชื่อองค์กร

Social Ventures Australia

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

http://socialventures.com.au

ปีก่อตั้ง

2002

เป้าหมายองค์กร

พัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวออสเตรเลียเพื่อลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมกัน ในสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย เกีย่ วกับความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เช่น การศึกษา สุขภาพ การ จ้างงาน ที่อยู่อาศัย การบริการชุมชน ผู้พิการ

กรอบทฤษฎี

Theory of Change และ Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

SROI

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้การประเมินผลลัพธ์ของโครงการหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของ โครงการ

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

223

ลำ�ดับที่ 62 ประเทศ

ไทย

ชื่อองค์กร

CHANGE Ventures

ประเภทองค์กร

กองทุนร่วมลงทุนเชิงการกุศล

URL

https://changeventures.asia/about/

ปีก่อตั้ง

2012/2555

เป้าหมายองค์กร

ลงทุนในหุ้นและให้กู้ยืมสำ�หรับกิจการเพื่อสังคมที่อยู่ในระยะเติบโต พร้อม เชื่อมโยงองค์กรกับนักลงทุนรายอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการลงทุนและเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลาย ขึ้นอยู่กับองค์กรสมาชิก

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


224

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 63 ประเทศ

ไทย

ชื่อองค์กร

Tae-jai

ประเภทองค์กร

องค์กรตัวกลาง

URL

http://www.taejai.com

ปีก่อตั้ง

2012/2555

เป้าหมายองค์กร

พื้นที่การระดมทุนจากบุคคลทั่วไปในสังคม (crowdfunding) เพื่อให้องค์กร ภาคสังคมสามารถมีเงินทุนตั้งต้นในการทำ�กิจกรรมได้

ประเด็นที่สนับสนุน

โครงการเพื่อสังคมขนาดเล็กที่มีระยะเวลาดำ�เนินการช่วงสั้น ๆ

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

ไม่มี

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

N

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

225

ลำ�ดับที่ 64 ประเทศ

ไทย

ชื่อองค์กร

Air Asia Foundation

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

http://www.airasiafoundation.com/

ปีก่อตั้ง

2011/2554

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมในการสร้างกิจการและผลลัพธ์ทางสังคม โดย การให้เงินทุน คำ�แนะนำ� และการลงมือสนับสนุน

ประเด็นที่สนับสนุน

กิจการเพื่อสังคมที่มุ่งพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่เอเชียตะวันออก­ เฉียงใต้ เช่น การท่องเที่ยวเชิงชุมชน สินค้าและบริการที่เป็นธรรม

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

ไม่มี

จุดเด่นของเครื่องมือ

ประเมินจากผลลัพธ์ทางสังคม “ที่เป็นไปได้” โดยไม่มีหลักการวัดของ องค์กรเอง

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


226

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 65 ประเทศ

ไทย

ชื่อองค์กร

International Grant Program, Toyota Foundation

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

https://www.toyotafound.or.jp/english/program/asian_neighbors. html

ปีก่อตั้ง

1974/2517

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนการวิจัยและโครงการที่เอื้อต่อการสร้างประโยชน์แก่มวลมนุษย์และ สิ่งแวดล้อมในหลากหลายสาขา

ประเด็นที่สนับสนุน

ความแตกต่างระหว่างวัย การสร้างวัฒนธรรมใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก­ เฉียงใต้

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

ไม่มี

จุดเด่นของเครื่องมือ

-

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

227

ลำ�ดับที่ 66 ประเทศ

ไทย

ชื่อองค์กร

AIS The Startup

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

http://www.ais.co.th/thestartup

ปีก่อตั้ง

2011/2554

เป้าหมายองค์กร

โครงการประกวดเพื่อสนับสนุนกลุ่มธุรกิจด้าน start-up สายเทคโนโลยี ในประเทศ​ไทยให้เติบโตในระยะยาว โดยแบ่งเป็นหมวดธุรกิจต่าง ๆ รวมไปถึง กิจการเพื่อสังคมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน (social enterprise หรือ social tech)

ประเด็นที่สนับสนุน

เทคโนโลยี ดิจิทัล

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

ไม่มี

จุดเด่นของเครื่องมือ

ไม่ได้ใช้เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในการตัดสินให้ทุน

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

N

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


228

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 67 ประเทศ

ไทย

ชื่อองค์กร

กองทุนรวมคนไทยใจดี (BKIND) บลจ.บัวหลวง

ประเภทองค์กร

กองทุนเพื่อสังคม

URL

http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/PersonalBanking/ BuildYourWealth/MutualFunds/BBLAM/EquityFund/Pages/BKIND. aspx

ปีก่อตั้ง

2014/2557

เป้าหมายองค์กร

การลงทุนแบบให้เปล่าในโครงการ/องค์กรทีแ่ ก้ไขปัญหาด้านสังคม โดยกำ�หนด ให้มกี ารแบ่งเงินร้อยละ 0.8 ของผูล้ งทุน โดยจ่ายผ่านส่วนแบ่งค่าบริหารจัดการ ร้อยละ 40 ของ บลจ.บัวหลวง ไปสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมที่มุ่งสร้าง อนาคตใหม่ให้สังคมไทย

ประเด็นที่สนับสนุน

กิจการทีม่ สี ว่ นร่วมรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อม ต่อสังคม มีธรรมาภิบาลทีด่ ี และ ร่วมต่อต้านการคอร์รปั ชัน ESGC (Environment–Social–Governance–Anti Corruption) เช่น การศึกษา การลดความเหลือ่ มลาํ้ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ใช้เกณฑ์การประเมินโครงการที่ให้ทุนตามหลัก ESGC

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

229

ลำ�ดับที่ 68 ประเทศ

ไทย

ชื่อองค์กร

BANPU Champions for Change

ประเภทองค์กร

บริษัทเอกชน

URL

http://www.facebook.com/banpuchampions

ปีก่อตั้ง

2011/2554

เป้าหมายองค์กร

สนับสนุนเยาวชนคนรุน่ ใหม่ทมี่ พี ลังสร้างสรรค์และศักยภาพในการเปลีย่ นแปลง สังคมให้ดำ�เนินกิจการเพื่อสังคม หรือ social enterprise ซึ่งมุ่งเน้นความ เชื่อมโยงระหว่างธุรกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยใช้การบริหารจัดการเชิงธุรกิจ ตลอดจนคุณธรรมในการดำ�เนินกิจการเพื่อสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

หลากหลายมิติในด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

Impact Value Chain และ Indicators

จุดเด่นของเครื่องมือ

ไม่ได้ใช้เครื่องมือตรวจสอบหรือประเมินโครงการผู้เข้าร่วมถึงเรื่องผลลัพธ์ทาง สังคม แต่มีการจัดอบรมเรื่องการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมโดยใช้แนวทาง Theory of Change และเครื่องมือ Impact Value Chain

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


230

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 69 ประเทศ

ไทย

ชื่อองค์กร

มูลนิธิเพื่อคนไทย

ประเภทองค์กร

มูลนิธิ

URL

http://www.khonthaifoundation.org/

ปีก่อตั้ง

2011/2554

เป้าหมายองค์กร

สร้าง “เครื่องมือ” หรือ “กลไก” ที่มีเป้าหมายแก้ปัญหาสังคมที่หลากหลาย ตลอดจนการออกแบบกระบวนการหรือรูปแบบการมีสว่ นร่วมทีส่ อดรับกับความ สนใจทีแ่ ตกต่างหลากหลายของผูค้ นในสังคม รวมทัง้ สอดคล้องกับบริบทสังคม และสถานการณ์ของประเทศ ขยายผลกระทบทางสังคมโดยลงทุนในองค์กร ลงทุนเชิงการกุศลหรือเพื่อสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม (active citizen)

กรอบทฤษฎี

ไม่มี

ประเภทเครื่องมือ

ไม่มี

จุดเด่นของเครื่องมือ

ไม่ระบุ

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

N

การประเมินผล

N

การสื่อสารต่อสาธารณะ

N


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

231

ตาราง 11 สรุปการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment) ของกิจการเพื่อสังคมชั้นนำ� 6 แห่ง *ขั้นตอนที่ใช้เครื่องมือ (Y=ใช้, N=ไม่ใช้) ลำ�ดับที่ 1 ประเทศ

สหรัฐอเมริกา (ดำ�เนินธุรกิจทั่วโลก)

ชื่อองค์กร

d.light design

ประเภทองค์กร

กิจการเพื่อสังคมแบบแสวงกำ�ไร

URL

www.dlight.com

ปีก่อตั้ง

2006

เป้าหมายองค์กร

สร้างการเข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพและราคาย่อมเยาให้คน รายได้น้อยจำ�นวน 2,000 ล้านคนบนโลกที่ยังอยู่นอกระบบกริดไฟฟ้า และใช้ พลังงานราคาสูง ไม่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพตาํ่ อยู่ เช่น ตะเกียงนาํ้ มันก๊าด

ประเด็นที่สนับสนุน

โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบพลังงานแสงอาทิตย์สำ�หรับครัวเรือน

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

1. Indicators: เกณฑ์การจัดอันดับของ B-Corporation, เกณฑ์การจัดอันดับ ของ GIIRS, ดัชนีชี้วัดมาตรฐานของ The Global Off-Grid Lighting Association (GOGLA) 2. Experimental Study

จุดเด่นของเครื่องมือ

มีต�ำ แหน่งเฉพาะสำ�หรับการวัดผลลัพธ์ทางสังคม เป็นบริษทั แรก ๆ ทีบ่ กุ เบิกใน การร่วมใช้ B-Corp, GIIRS และจัดอยู่ในกลุ่มบริษัทที่ได้คะแนนสูงสุด เป็น ผู้ร่วมพัฒนาตัวชี้วัดมาตรฐานของสมาคมและองค์กรที่ทำ�งานด้านแสงสว่างใน พื้นที่นอกกริดไฟฟ้าทั่วโลก The Global Off-Grid Lighting Association (GOGLA) ผูใ้ ห้ทนุ ของบริษทั ช่วยสนับสนุนเงินในการวัดผลแบบ Experimental Study ในยูกันดากับครัวเรือนจำ�นวน 2,000 ราย โดยบริษัทภายนอก และมี องค์กรอื่น ๆ ที่ทำ�งานในพื้นที่นอกกริดไฟฟ้าที่มีการประเมินผลแบบ Experimental Study ในบังกลาเทศ อินเดีย และเฮติทมี่ กี ารใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษทั รายงานเหล่านี้ศึกษาผลลัพธ์ในหลายมิติ เช่น การสร้างความรู้สึกปลอดภัย ผลการเรียนที่ดีขึ้นของนักเรียนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่ดีขึ้น ฯลฯ


232

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 1 การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y (ผู้ให้ทุนเป็นผู้สนับสนุนการวัดผลแบบ Experimental Study)

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y

ลำ�ดับที่ 2 ประเทศ

พม่า

ชื่อองค์กร

Proximity Designs

ประเภทองค์กร

กิจการเพื่อสังคมแบบไม่แสวงกำ�ไร

URL

http://www.proximitydesigns.org/

ปีก่อตั้ง

2004

เป้าหมายองค์กร

ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในชนบทของประเทศพม่า

ประเด็นที่สนับสนุน

เครือ่ งทุน่ แรงด้านการเกษตรทีม่ นี วัตกรรม เช่น ปัม๊ นาํ้ เท้าเหยียบ ถังกักเก็บนาํ้ บริการให้คำ�ปรึกษาด้านการเกษตร ผลิตภัณฑ์ด้านการเงิน เงินสนับสนุนเพื่อ โครงสร้างพื้นฐานของชุมชน โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

1. Indicators (ไม่ได้ใช้ตามมาตรฐานใดเป็นพิเศษ) 2. Experimental Study 3. SROI

จุดเด่นของเครื่องมือ

มีตำ�แหน่งเฉพาะสำ�หรับการวัดผลลัพธ์ทางสังคม เน้นการรายงาน outputs เช่น ยอดจำ�หน่าย จำ�นวนลูกค้า อัตราการคืนเงินกู้ แต่จะมีการรายงานผลลัพธ์ บางประเภท เช่น ปริมาณผลิตภาพการเกษตรที่เพิ่มขึ้นจากการใช้องค์ความรู้ และเทคโนโลยีการเกษตรขององค์กรที่มาจาก Experimental Study บางปี มีการรายงาน SROI แต่มีการรายงานผลประกอบการรวมผลลัพธ์ทางสังคม ทุกไตรมาส

การวางแผนโครงการ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

233

ลำ�ดับที่ 2 การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y

ลำ�ดับที่ 3 ประเทศ

อังกฤษ (ดำ�เนินธุรกิจในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา)

ชื่อองค์กร

Divine Chocolate

ประเภทองค์กร

กิจการเพื่อสังคมแบบไม่แสวงกำ�ไร

URL

http://www.divinechocolate.com/uk/

ปีก่อตั้ง

1998

เป้าหมายองค์กร

สร้างการค้าที่เป็นธรรม (fair trade) ในห่วงโซ่อุปทานโกโก้ที่เกษตรกรมีส่วน ร่วมในการเป็นเจ้าของ เกษตรกรมีรายได้เพิม่ ขึน้ ได้รบั เงินปันผลและนำ�เงินไป พัฒนาชุมชน

ประเด็นที่สนับสนุน

ช็อกโกแลตแท่งแฟร์เทรด และเป็นกิจการที่เกษตรกรร่วมเป็นเจ้าของ

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

Indicators (ไม่ได้ใช้ตามมาตรฐานใดเป็นพิเศษ)

จุดเด่นของเครื่องมือ

รายงานยอดรวมราคาพรีเมียมที่รับซื้อจากเกษตรกร จำ�นวนเงินปันผลให้ เกษตรกร และกิจกรรมต่าง ๆ ทีบ่ ริษทั เข้าไปพัฒนาชุมชน รวมทัง้ ดัชนีดา้ นความ ยัง่ ยืนบางตัว เช่น สัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือก ปริมาณขยะทีน่ �ำ ไปรีไซเคิล มีการรายงานผลประกอบการรวมผลลัพธ์ทางสังคมทุกปี

การวางแผนโครงการ

N

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


234

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 4 ประเทศ

ลาว กัมพูชา เคนยา

ชื่อองค์กร

Digital Divide Data (DDD)

ประเภทองค์กร

กิจการเพื่อสังคมแบบไม่แสวงกำ�ไร

URL

https://www.digitaldividedata.com/

ปีก่อตั้ง

2001

เป้าหมายองค์กร

กิจการเพื่อสังคมด้าน BPO (การรับงานบางส่วนของธุรกิจอื่นมาดำ�เนินการให้ โดยเน้นงานด้านไอที—Business Process Outsourcing) ที่ต้องการสร้าง โอกาสด้านอาชีพและส่งเสริมศักยภาพให้กับกลุ่มเยาวชนที่ขาดโอกาส เพื่อที่ พวกเขารวมทั้งครอบครัวจะได้มีอนาคตที่ดีขึ้นและหลุดพ้นจากความยากจน

ประเด็นที่สนับสนุน

รับงาน BPO เช่น การแปลงเนื้อหาให้เป็นไฟล์ดิจิทัล บริการด้านข้อมูล และ งานวิจัย

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

1. Indicators (ไม่ได้ใช้ตามมาตรฐานใดเป็นพิเศษ) 2. Experimental Study (เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วม)

จุดเด่นของเครื่องมือ

การทำ�ประมาณการรายได้ตลอดชีพของผู้จบการศึกษาจาก DDD เทียบกับ ผูท้ ไี่ ม่ได้เข้าโครงการ และมีการติดตามข้อมูลของผูท้ จี่ บการศึกษาอย่างต่อเนือ่ ง มีการรายงานผลประกอบการรวมผลลัพธ์ทางสังคมทุกปี

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

235

ลำ�ดับที่ 5 ประเทศ

อังกฤษ

ชื่อองค์กร

HCT Group

ประเภทองค์กร

กิจการเพื่อสังคมแบบไม่แสวงกำ�ไร

URL

http://hctgroup.org/how_we_work

ปีก่อตั้ง

1980

เป้าหมายองค์กร

ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างโอกาส และสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนด้วย การขนส่งและการฝึกอบรม เช่น ส่งเสริมการจ้างงาน การอำ�นวยความสะดวก ให้ผพู้ กิ าร และคนชรา การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางสุขภาพด้วยการขนส่ง

ประเด็นที่สนับสนุน

บริการรถประจำ�ทาง รถบัสให้เช่า รถยนต์ให้เช่า แท็กซี่และพาหนะอื่นๆ รวมทั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านขนส่ง

กรอบทฤษฎี

Theory of Change

ประเภทเครื่องมือ

1. Indicators ส่วนหนึง่ อิงตาม Big Society Capital (BSC) คือ Outcomes Matrix 2. Impact Value Chain

จุดเด่นของเครื่องมือ

รายงานผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้บริการโดยเน้นใช้ข้อมูลจากการจองบริการ สำ�รวจพฤติกรรมของลูกค้า ถามถึงความเปลีย่ นแปลงเมือ่ มาใช้บริการ เช่น คน ชราและผู้พิการที่มีสุขภาพจิตและความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเพื่อน ๆ เยาวชน ที่มีส่วนร่วมในงานของชุมชนมากขึ้น และจำ�นวนคนตกงานที่มีงานทำ�เมื่อผ่าน โปรแกรมอบรมของบริษัท รวมไปถึงมิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น การจัดซือ้ ทีย่ งั่ ยืน ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสถิตกิ ารเกิดอุบตั เิ หตุ มีการรายงานผลประกอบการรวมผลลัพธ์ทางสังคมทุกปี

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


236

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ลำ�ดับที่ 6 ประเทศ

บังกลาเทศ

ชื่อองค์กร

BRAC Microfinance

ประเภทองค์กร

กิจการเพื่อสังคมแบบไม่แสวงกำ�ไร

URL

www.brac.net

ปีก่อตั้ง

1972

เป้าหมายองค์กร

เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้คนและชุมชนที่ต้องเผชิญกับความยากจน การ ไม่รู้หนังสือ ความเจ็บป่วยและความอยุติธรรมในสังคม

ประเด็นที่สนับสนุน

เงินกู้ขนาดเล็กหรือไมโครไฟแนนซ์สำ�หรับสตรี เงินกู้เพื่อการเกษตร เงินกู้เพื่อ วิสาหกิจขนาดย่อมและเงินกู้เพื่อการย้ายถิ่นฐาน

กรอบทฤษฎี

Logic Model

ประเภทเครื่องมือ

1. Impact Value Chain 2. Experimental Study 3. Indicators (ไม่ใช้มาตรฐานใดเป็นพิเศษ)

จุดเด่นของเครื่องมือ

มีการวัดผลอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นการวัดผลแบบละเอียด ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม และพยายามวัดผลกระทบในระดับที่กว้างกว่า ระดับครัวเรือนด้วย โดยจัดตั้งสถาบันวิจัยที่ทำ�หน้าที่วัดผลเป็นของตัวเอง มี การรายงานผลประกอบการรวมผลลัพธ์ทางสังคมทุกปี มีการประเมินผลแบบ Experimental Study จำ�นวนมากทัง้ ทีท่ �ำ เองและมีหน่วยงานหรือสถาบันการ ศึกษาภายนอกเข้ามาศึกษา

การวางแผนโครงการ

Y

การให้ทุน

Y

การประเมินผล

Y

การสื่อสารต่อสาธารณะ

Y


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

237

28%

57%

3%

22%

Theory of Change Logic Model Outcome Linkage ไมมี

แผนภาพ 15 กรอบทฤษฎีที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ขององค์กรสนับสนุนและแหล่งทุนทั่วโลก ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิจัย

ผลการสำ�รวจแหล่งทุนและองค์กรสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมข้างต้นชี้ว่า องค์กร 39 แห่ง หรือร้อยละ 57 ใช้ “ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลง” หรือ Theory of Change เป็นกรอบทฤษฎีในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการทีต่ นให้การ สนับสนุน รองลงมาได้แก่ “แบบจำ�ลองตรรกะ” หรือ Logic Model จำ�นวน 15 แห่ง (ร้อยละ 22) ดังแสดงในแผนภาพ 15 สำ�หรับกิจการเพือ่ สังคมชัน้ นำ� 5 แห่ง จาก 6 แห่งทีท่ �ำ การสำ�รวจ ใช้ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลงเช่นกัน มีเพียงแห่งเดียวคือ BRAC Microfinance ในบังกลาเทศ ทีใ่ ช้แบบจำ�ลองตรรกะเป็นกรอบทฤษฎี (ทัง้ นี้ น่าสังเกตว่า BRAC เป็นกิจการเพือ่ สังคมทีเ่ ก่าแก่ทสี่ ดุ ในบรรดากิจการทีค่ ณะวิจยั สำ�รวจ คือก่อตัง้ ใน ค.ศ. 1972 นานนับทศวรรษก่อนทีท่ ฤษฎีการเปลีย่ นแปลงจะ เข้าสู่กระแสนิยมของแวดวงการพัฒนาสังคม) เมือ่ หันมาดูเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม พบว่าแหล่งทุนและ องค์กรสนับสนุนจำ�นวนมากใช้เครื่องมือหลายตัวประกอบกัน ราวกึ่งหนึ่ง คือ 37 แห่ง (ร้อยละ 54) ใช้ตัวชี้วัด (indicators) เป็นหลักในการประเมินผลลัพธ์ของ


238

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

4% 16% 6% 54% 13%

14% 9% 1%

Indicators Impact Value Chain Experimental Study Proprietary SROI Cost-benefit ไมมี ไมระบุ

แผนภาพ 16 เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมขององค์กรสนับสนุนและแหล่งทุนทั่วโลก ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิจัย

กิจการเพือ่ สังคมทีต่ นให้การสนับสนุน ในจำ�นวนนี้ 16 แห่ง หรือราวหนึง่ ในสีข่ อง องค์กรทั้งหมดที่สำ�รวจ ใช้ชุดตัวชี้วัด IRIS เป็นฐานในการประเมิน ไม่ว่าจะเป็น​ การเลือกตัวชี้วัดมาใช้ตรง ๆ หรือเลือกตัวชี้วัดมาประกอบการสร้าง scorecard หรือเครือ่ งมือชนิดอืน่ ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (proprietary) ก็ตาม รอง ลงมาคือองค์กร 10 แห่ง (ร้อยละ 14) ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือประเมินของ ตนเอง (proprietary) ตามเป้าหมายและนโยบายขององค์กร เช่น อัตราส่วน BACO (“Best Available Charitable Option”) ของกองทุน Acumen Fund คำ�นวณเปรียบเทียบต้นทุนต่อการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมหนึ่งหน่วย ระหว่างทาง เลือกว่ากองทุนจะลงทุนเอง และทางเลือกที่ดีที่สุดในการบริจาคเงินให้กับองค์กร การกุศลที่นำ�ส่งผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถสร้างผลลัพธ์ทางสังคมในรูปแบบ คล้ายคลึงกัน ส่วนหนึ่งเพื่อผลักดันให้กองทุนสร้างผลลัพธ์ทางสังคมสุทธิ (เมื่อ เทียบกับต้นทุน) สูงกว่าการทำ�การกุศลแบบเดิม ๆ


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

239

น่าสังเกตว่ามีองค์กรสนับสนุนและแหล่งทุนเพียง 9 แห่ง (ร้อยละ 13) ที่ใช้ การคำ�นวณผลตอบแทนทางสังคม (SROI) เป็นเครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์ และยิ่งประเด็นสังคมที่องค์กรให้การสนับสนุนมีความหลากหลาย องค์กรนั้น ๆ  ยิ่งมีแนวโน้มที่จะใช้ตัวชี้วัดในการประเมิน มากกว่าการประดิษฐ์เครื่องมือของ ตนเอง สรุปสัดส่วนของเครือ่ งมือต่าง ๆ ทีอ่ งค์กรสนับสนุนและแหล่งทุนเลือกใช้ได้ใน แผนภาพ 16 ข้อค้นพบอีกประการของคณะวิจัย คือ อายุของกิจการ และ ระยะเวลาให้ ทุน มีความเกี่ยวข้องกับประเภทเครื่องมือที่แหล่งทุนเลือกใช้ โดยยิ่งกิจการเพื่อ สังคมทีข่ อรับทุนมีอายุนอ้ ยเพียงใด แหล่งทุนยิง่ มีแนวโน้มทีจ่ ะกำ�หนดให้กจิ การใช้ ตัวชี้วัด (indicators) ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม สาเหตุหลักเนื่องมาจาก ความต้องการทีจ่ ะสนับสนุนกิจการเกิดใหม่ มิให้การประเมินผลลัพธ์เป็นกระบวน­ การที่มีต้นทุนสูงหรือยุ่งยาก อันอาจส่งผลกระทบต่อกิจการระยะเริ่มแรก อีกทั้ง ผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเกิดใหม่ย่อมยังไม่เกิด หรือมีขนาดไม่มากเมื่อเทียบ กับกิจการทีผ่ า่ นพ้นช่วงแรกมาแล้ว และกิจการเริม่ แรกมักจะมีความต้องการใช้เงิน ทุนไม่สงู มาก แหล่งทุนให้การสนับสนุนเพียงปีเดียวหรือสัน้ กว่า ดังนัน้ จึงไม่ตอ้ งรับ ความเสี่ยงมากนักเมื่อเทียบกับกิจการเพื่อสังคมที่มีขนาดใหญ่กว่า ดำ�เนินกิจการ มานานกว่า จึงไม่จำ�เป็นที่จะต้องกำ�หนดให้กิจการเพื่อสังคมประเมินผลลัพธ์ทาง สังคมด้วยวิธีที่เที่ยงตรงและละเอียดแต่อย่างใด ในทางกลับกัน เมือ่ กิจการเพือ่ สังคมเติบโตถึงระดับหนึง่ ต้องการเงินทุนมาก ขึน้ เพือ่ ขยายขนาด (scale up) หรือทำ�ซํา้ (replicate) แบบจำ�ลองทางธุรกิจของ กิจการไปในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อขยายขนาดผลลัพธ์ทางสังคม แหล่งทุนย่อมต้องการ ความน่าเชือ่ ถือเชิงวิชาการทีห่ นักแน่นว่า ทีผ่ า่ นมากิจการนัน้  ๆ สามารถสร้างผลลัพธ์ ทางสังคมตามเป้าหมายได้จริงหรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะกำ�หนดให้ กิจการที่ขอรับทุนสนับสนุนต้อง “พิสูจน์” ว่ากิจการได้สร้างผลลัพธ์ขึ้นจริง ด้วย เครือ่ งมือทีซ่ บั ซ้อนอย่างเช่นการศึกษาเชิงทดลอง ซึง่ มักจะต้องใช้เวลาและเงินทุน สูง แต่ให้ผลเชิงประจักษ์ที่มีระดับความน่าเชื่อถือสูง แหล่งทุนยินดีที่จะสนับสนุน กระบวนการดังกล่าวเนือ่ งจากถ้าหากได้หลักฐานเชิงประจักษ์จริง แบบจำ�ลองทาง ธุรกิจของกิจการนั้น ๆ ก็จะสามารถนำ�ไปขยายขนาดและ/หรือทำ�ซํ้าได้ด้วยความ


240

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

แผนภาพ 17 ระยะเวลาให้ทุน อายุของกิจการ และเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิจัย

มั่นใจว่า น่าจะเกิดผลลัพธ์ทางสังคมในวงกว้าง สรุปข้อค้นพบและข้อสังเกตของ คณะวิจัยเป็นกรอบคิดได้ดังแผนภาพ 17 ความเชื่อมโยงระหว่างอายุของกิจการ ระยะเวลาการให้ทุนหรือลงทุน กับ เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นจากการสำ�รวจ กิจการเพื่อสังคมชั้นนำ� 6 แห่งเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น d.light design เดิมทีวัด และรายงานผลลัพธ์ทางสังคมโดยใช้ตวั ชีว้ ดั เท่านัน้ เพือ่ ปรับปรุงการ​ด�ำ เนินงานของ กิจการเอง รายงานต่อสาธารณะ และตอบสนองต่อความต้องการของแหล่งทุน แต่หลายปีหลังจากทีก่ จิ การได้ขยับขยายจนเป็นกิจการเพือ่ สังคมระดับโลก มีลกู ค้า ที่ได้ประโยชน์ทางสังคมหลายล้านราย แบบจำ�ลองธุรกิจของ d.light พิสูจน์ให้ เห็นแล้วว่ามีนวัตกรรมทางสังคม มีความมั่นคงทางการเงิน และมีศักยภาพที่จะ ขยายขนาดไปยังผูม้ รี ายได้นอ้ ยกว่า 2 พันล้านคนบนโลกทีย่ งั อยูน่ อกระบบส่งไฟฟ้า ผู้ให้ทุนของบริษัทก็ยินดีสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการวัดผลแบบการศึกษาเชิงทดลอง


เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของแหล่งทุนทั่วโลก

241

ในหลายพืน้ ที่ เพือ่ ค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์วา่ แบบจำ�ลองธุรกิจนีช้ ว่ ยสร้างผลลัพธ์ ทางสังคมอะไรและมีขนาดเท่าใดบ้าง อันจะเป็นข้อมูลที่ขาดไม่ได้ในการขยายผล และทำ�ซํ้า เพื่อเพิ่มพูนผลลัพธ์ทางสังคมอย่างมีประสิทธิผลสืบไปในอนาคต



การประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมของกิจการ เพื่อสังคมไทย 6 แห่ง

6



การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคมไทย 6 แห่ง

245

ในส่วนของการจัดทำ�กรณีศกึ ษานำ�ร่อง เราได้น�ำ ผลการทบทวนวรรณกรรมมาปรับ ใช้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนการจัดท�ำกรณีศึกษา การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการ ในกรณีศึกษาน�ำร่อง

1. การกำ�หนดขอบเขตการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม กระบวนการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ จะเริม่ ต้นโดยคณะผูว้ จิ ยั เข้าหารือกับผูบ้ ริหาร ของกิจการเพือ่ สังคมในกรณีศกึ ษานำ�ร่อง เพือ่ ศึกษาและขอข้อมูลของกิจการ เช่น เอกสารภายในทีเ่ กีย่ วข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกกับผูบ้ ริหารเพือ่ ทำ�ความเข้าใจเป้าหมาย สูงสุดทางสังคมและกระบวนการทำ�งานภายในของกิจการเพือ่ สังคม กระบวนการ และปัจจัยทีเ่ ป็น “สาระสำ�คัญ” ของการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม และผูม้ สี ว่ นได้เสีย หลักของกิจการ รวมทัง้ กำ�หนดผูร้ บั ผิดชอบโครงการของกิจการเพือ่ สังคมทีจ่ ะเป็น ผู้ประสานงานในการประเมินฯ กำ�หนดขอบเขตของปีที่ประเมินและระยะเวลาใน การทำ�การประเมิน รวมถึงตกลงบทบาทหน้าทีข่ องคณะผูว้ จิ ยั และกิจการเพือ่ สังคม ร่วมกันในการทดลองประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการ 2. ร่างตารางผู้มีส่วนได้เสีย ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และห่วงโซ่ผลลัพธ์ของ กิจการเพื่อสังคมเบื้องต้น คณะผูว้ จิ ยั นำ�ข้อมูลทีศ่ กึ ษาจากข้อ 1 มาวิเคราะห์เพือ่ ร่างตารางผูม้ สี ว่ นได้เสีย ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลง และห่วงโซ่ผลลัพธ์ของกิจการเพือ่ สังคมเบือ้ งต้น นำ�เสนอ ต่อผู้บริหารกิจการเพื่อสังคมเพื่อหารือและปรับแก้ร่วมกัน ข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นตัวกำ�หนดกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่คณะผู้วิจัย ต้องเก็บข้อมูลด้านผลลัพธ์ทางสังคม และปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องกับกรณีฐาน คณะผูว้ จิ ยั จะวางแผนการเก็บข้อมูลปฐมภูมจิ ากกลุม่ ตัวอย่าง และวิธกี ารเก็บข้อมูลทีเ่ หมาะสม 3. เก็บข้อมูลปฐมภูมจิ ากผูม้ สี ว่ นได้เสียทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ศึกษาผลลัพธ์ทางสังคม ที่เกิดขึ้น คณะผู้วิจัยเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากผู้มีส่วนได้เสียหลัก เช่น การสัมภาษณ์กลุ่ม (focus group discussion: FGD) โดยอาจใช้เครือ่ งมือการประเมินอย่างรวดเร็ว


246

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

แบบมีสว่ นร่วม (Participatory Rapid Appraisal: PRA) เช่น แผนภูมเิ วนน์/ชา­ ปาติ (Venn/Chapati Diagram), Product Attribute Ranking และ Relative Preference Ranking ฯลฯ ประกอบการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เพือ่ เก็บข้อมูลด้านผลลัพธ์ทางสังคม ตัวชีว้ ดั และกรณีฐาน 4. นำ�ข้อมูลปฐมภูมิจากการลงพื้นที่มาจัดทำ�ห่วงโซ่ผลลัพธ์ฉบับสุดท้าย ในขั้นตอนนี้ คณะผู้วิจัยจะนำ�ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่มาปรับแก้ไขห่วงโซ่ ผลลัพธ์ของกิจการเพื่อสังคม 5. เก็บข้อมูลปฐมภูมิจากผู้มีส่วนได้เสียเพิ่มเติมตามจำ�นวนที่เหมาะสมทาง หลักสถิติเพื่อสรุปผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น (หากจำ�นวนผู้มีส่วนได้เสียมีมาก​กว่า ที่เก็บข้อมูลไปในข้อ 3) คณะผูว้ จิ ยั เก็บข้อมูลปฐมภูมจิ ากผูม้ สี ว่ นได้เสียตามจำ�นวนกลุม่ ตัวอย่างโดยใช้ แบบสอบถาม (questionnaire) 6. วิเคราะห์ข้อมูลและเขียนรายงานการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม คณะผู้วิจัยเขียนรายงานการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และข้อเสนอแนะต่อ กิจการเพื่อสังคม หลักเกณฑ์ ในการคัดเลือกกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย 6 แห่ง ที่จะใช้เป็นกรณีศึกษาน�ำร่อง

ในโครงการวิจยั นี้ เราคัดเลือกกิจการเพือ่ สังคมในประเทศ​ไทยทัง้ 6 แห่งเพือ่ ใช้เป็นกรณีศึกษานำ�ร่อง โดยใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. เลือกจากประเด็นปัญหาสังคมที่สำ�คัญของประเทศไทย 3 ด้าน ได้แก่ การเกษตร การพัฒนาชุมชน และการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ซึ่ง ล้วนเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต 2. ในแต่ละด้าน เลือกกิจการเพื่อสังคม 2 แห่ง ที่ทำ�งานแก้ไขปัญหาในด้าน นัน้  ๆ เป็นพันธกิจหลัก หนึง่ กิจการอยูใ่ นระยะเริม่ ต้น (start-up) และขยายกิจการ (scale up) และอีกกิจการดำ�เนินการมามากกว่า 10 ปีขึ้นไป


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคมไทย 6 แห่ง

247

การเปรียบเทียบกิจการเพื่อสังคมที่มีอายุแตกต่างกันจะทำ�ให้เห็นความแตก­ ต่างระหว่างแบบจำ�ลองทางธุรกิจ (business model) ผู้มีส่วนได้เสีย ผลลัพธ์ ทางสังคม และทำ�ให้มโี อกาสศึกษาผลลัพธ์ทางสังคมทัง้ ในระดับทีม่ องไปในอนาคต (กิจการระยะเริม่ ต้น) หรือวัดผลจากกิจกรรมในอดีต (กิจการทีด่ �ำ เนินการมานาน) ได้ นอกจากนี้ ตัวอย่างที่มีความหลากหลายเหล่านี้ยังเอื้อต่อการสนับสนุนให้ผู้ที่ ต้องการศึกษา สามารถนำ�ข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ต่อไปในอนาคต รายละเอียดกิจการเพื่อสังคมทั้ง 6 กิจการ มีดังต่อไปนี้


248

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

กิจการระยะเริ่มต้นและขยายกิจการ

กิจการที่ดำ�เนินธุรกิจมามากกว่า 10 ปี

ประเภทของปัญหาสังคม: การเกษตร ร้านคนจับปลา (Fisher Folk) ร้านคนจับปลา หรือ Fisher Folk เป็นธุรกิจเพือ่ สังคมที่ เพิง่ ก่อตัง้ มาไม่นาน แต่ผปู้ ระกอบการมีประสบการณ์ท�ำ งาน กับชุมชนชายฝั่งและชาวประมงพื้นบ้านมาอย่างยาวนานใน ฐานะสมาคมรักษ์ทะเลไทย ซึง่ ทางสมาคมฯ มองว่าการก่อตัง้ ร้านคนจับปลาจะเป็นทางออกของปัญหาเศรษฐกิจของชุมชน หลังจากที่สมาคมฯ ประสบความสำ�เร็จในการแก้ปัญหาด้าน ทรัพยากรทางทะเล ร้ า นคนจั บ ปลาเริ่ ม ต้ น ธุ ร กิ จ เพื่ อ แก้ ไขปั ญ หา “พ่ อ ค้ า คนกลาง” กดราคาชาวประมง ร้านคนจับปลาจึงรับซือ้ สินค้า จากชาวประมงในราคาสูงกว่าราคาแพปลาร้อยละ 20 โดย เปิดสาขาแรกที ่ จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ แต่ไม่ประสบความสำ�เร็จ จึงปรับกลยุทธ์มาจับตลาดคนเมืองในกรุงเทพฯ โดยกำ�ไรทีไ่ ด้ จะคืนสู่ชุมชน วัด และนำ�ไปใช้ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติใน ท้องถิน่ สินค้าทะเลของร้านคนจับปลาจะจัดการด้วยแนวคิด “จากชาวประมง ตรงสู่ ผู้ บ ริ โ ภค” คื อ ผลผลิ ต สั ต ว์ นํ้ า ที่ ชาวประมงพื้นบ้านจับมาด้วยเครื่องมือประมงที่ไม่ทำ�ลาย สิ่งแวดล้อม ถูกส่งขายแบบวันต่อวัน ไม่เก็บค้าง ไม่ใช้สาร ฟอร์มาลีน และจำ�หน่ า ยตรงสู่ ผู้ บ ริ โภคโดยไม่ ผ่ า นพ่ อค้ า คนกลาง ทำ�ให้ผบู้ ริโภคได้สนิ ค้าในราคาทีเ่ หมาะสม และชาว ประมงผู้ผลิตก็ได้รับราคาที่เป็นธรรม ปัจจุบนั ร้านคนจับปลามีโครงสร้างผูถ้ อื หุน้ ดังนี้ กลุม่ ชาว ประมงในนามเครือข่ายประมงพื้นบ้าน จ.ประจวบ­คีรีขันธ์ ร้อยละ 20 สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพืน้ บ้านแห่งประเทศ​ ไทย ร้อยละ 20 และสมาคมรักษ์ทะเลไทย ร้อยละ 60 โดย ในอนาคต มีการวางแผนว่ากิจการร้านคนจับปลาจะถือหุ้น โดยชาวประมงทั้งหมด

โครงการผลิตมะพร้าวอินทรีย์ สหกรณ์กรีนเนท สหกรณ์กรีนเนทดำ�เนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการ ปลูกสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที ่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบ­ครี ขี นั ธ์ มาตั้งแต่  พ.ศ. 2545 โดยทำ�งานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มอนุรักษ์ ธรรมชาติ บ้านกรูด ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวต่อต้าน โครงการโรงไฟฟ้าบ้านกรูด ต.ธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบ­ คีรีขันธ์ เนื่องจากเกรงว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ต่อมาจึงรวมตัวกันเป็น “กลุ่มพัฒนาเกษตรอินทรีย์ อ.บาง­ สะพาน” เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมอาชีพควบคู่ไปกับ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเปิดรับสมาชิกเป็นครั้งแรกใน ปลาย พ.ศ. 2546 โดยมีมะพร้าวเป็นผลผลิตหลัก และได้ เริ่มเข้ามาให้ความรู้และส่งเสริมการทำ�เกษตรอินทรีย์ให้แก่ กลุม่ อนุรกั ษ์ธรรมชาติ จนได้รบั การรับรองเกษตรอินทรียจ์ าก สำ�นักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นครั้งแรกเมื่อต้น พ.ศ.  2548 ต่อมาจึงได้รบั การรับรองเกษตรอินทรียต์ ามมาตรฐาน ของสหภาพยุโรปใน พ.ศ. 2549 ซึง่ นับว่าเป็นการสร้างโอกาส ทาง​การตลาด สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์กะทิอินทรีย์บรรจุ กระป๋องไปยังสหภาพยุโรป นอกจากกะทิอินทรีย์บรรจุกระป๋อง ซึ่งนับว่าเป็นผลิตภัณฑ์หลัก สหกรณ์กรีนเนทยังส่งเสริมให้กลุ่มฯ ผลิตนํ้ามัน มะพร้าวบริสุทธิ์ และการปลูกพืชชนิดอื่นในแปลงมะพร้าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและสร้างรายได้เสริม ปัจจุบัน กลุม่ ฯ มีสมาชิกทีส่ มัครเข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรียท์ งั้ หมด 5 หมู่บ้าน กระจายอยู่ในพื้นที่ 2 ตำ�บล โดยใน พ.ศ. 2558 สหกรณ์กรีนเนทได้รับซื้อผลผลิตมะพร้าวอินทรีย์จากกลุ่ม พัฒนาเกษตรอินทรียฯ์  รวมทัง้ สิน้ 580,952 ผล คิดเป็นมูลค่า 12,130,770.35 บาท

ผลลัพธ์ทางสังคมเบื้องต้นที่ต้องการศึกษา: • รายได้ที่เพิ่มขึ้นของสมาชิกของสมาคมฯ • สภาพแวดล้อมทางทะเลในบริเวณชุมชนที่ดีขึ้น • การพัฒนาชุมชนที่ดีขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของสมาชิก

• ฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของสมาชิก • สุขภาพที่ดีขึ้นของสมาชิก • ความสามัคคีที่เพิ่มขึ้นในชุมชน • ระบบนิเวศที่ดีขึ้นในชุมชน


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคมไทย 6 แห่ง

กิจการระยะเริ่มต้นและขยายกิจการ

249

กิจการที่ดำ�เนินธุรกิจมามากกว่า 10 ปี

ประเภทของปัญหาสังคม: การพัฒนาชุมชน โลเคิล อไลค์ (Local Alike) เป็นกิจการเพือ่ สังคมทีก่ อ่ ตัง้ ขึน้ เมือ่ 3 ปีทผี่ า่ นมา ผูก้ อ่ ตัง้ เล็งเห็นปัญหาของการท่องเที่ยวในปัจจุบันที่ “ไม่ยั่งยืน” เพราะคนในชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมกับวิถีการท่องเที่ยว และ รายได้จากการท่องเที่ยวเองก็ไม่ได้ถูกกระจายไปถึงชุมชน ผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรอย่างแท้จริง โลเคิล อไลค์ จึงวาง แนวทางให้ ชุ ม ชนได้ ทำ � อาชี พ เสริ ม เป็ น ไกด์ พิ เ ศษให้ กั บ นักท่องเทีย่ ว ส่งเสริมการสร้างรายได้และการกระจายรายได้ ภายในชุมชน และใช้รายได้จากการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาชุมชน เช่น การจัดการขยะ การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบนั บริษทั ทำ�งานร่วมกับชุมชนจำ�นวน 29 แห่งใน 16 จังหวัดทัว่ ประเทศ โดยมีโครงการริเริม่ จัดตัง้ กองทุนท่องเทีย่ ว โดยชุมชนให้กับ 2 หมู่บ้านนําร่อง คือหมู่บ้านสวนป่า และ หมู่บ้านหล่อโย ใน จ.เชียงราย ใน พ.ศ. 2558 โลเคิล อไลค์ มีลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติประมาณ 1,600 คน การจัดทำ�กรณีศึกษาโลเคิล อไลค์ จะมุ่งเน้นผลลัพธ์ทาง สังคมจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในชุมชนหลังจากที่ เกิดการท่องเที่ยวชุมชน รวมถึงผลลัพธ์ทางด้านรายได้และ การพัฒนาชุมชน

กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม โดยพระสุบิน ปณีโต พระสุบิน ปณีโต แห่งวัดไผ่ล้อม ต.ลบางพระ อ.เมือง จ.ตราด ก่อตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อมขึ้น เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เป็นกลุม่ การเงินเพือ่ ชุมชน โดยใช้ วัดและพระเป็นศูนย์กลางทางการเงิน มีจุดประสงค์เพื่อ บรรเทาปัญหาของประชาชนที่อยู่ในชุมชนวัดไผ่ล้อม เช่น ปัญหาความยากจน เงินกู้นอกระบบดอกเบี้ยสูง ยาเสพติด และการศึกษา โดยใช้หลักการออมและการบริหารจัดการเงิน ในชุมชน โดยพระสุบนิ มองว่าทุนในชุมชนก็ควรจะหมุนเวียน อยู่ภายในชุมชน การดำ�เนินงานของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อมแบ่ง ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ •  รบั ฝากเงินสมาชิก รายละอย่างน้อย 10 บาท แต่ไม่เกิน 100 บาทต่อเดือน ซึง่ ดอกเบีย้ ทีก่ ลุม่ ให้จะมีอตั ราสูงกว่า ดอกเบี้ยตามธนาคารทั่วไป •  ปล่อยกู้ให้กับสมาชิก ซึ่งจะปล่อยกู้จะให้แก่สมาชิกที่มี ความเดือดร้อนมากที่สุด โดยจัดประเด็นเร่งด่วนไว้ 3 ลำ�ดับคือ ผูป้ ว่ ย ผูม้ ภี าระดอกเบีย้ สูง และเงินกูเ้ พือ่ การ ศึกษา •  จัดกองทุนสวัสดิการด้วยกำ�ไรที่ได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ โดยยึดความต้องการของชุมชนเป็นหลัก สวัสดิการ ดังกล่าวเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ออมไม่ออกจากกลุ่ม เมือ่  พ.ศ. 2555 พระสุบนิ ให้สมั ภาษณ์วา่ กลุม่ สัจจะสะสม ทรัพย์วดั ไผ่ลอ้ มมีสมาชิกกว่า 60,000 คน และมีเงินหมุนเวียน กว่า 1,000 ล้านบาท โดยถือว่าเป็นกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ต้นแบบที่มีผู้เดินทางมาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ทางสังคมเบื้องต้นที่ต้องการศึกษา: •  รายได้ของชุมชนเพิ่มมากขึ้นจากการท่องเที่ยวและมีการ​ • ปัญหาความยากจนของชุมชนลดลง กระจายรายได้ที่เป็นธรรม • ปัญหาจากเงินกู้นอกระบบของชุมชนลดลง •  ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการท่องเที่ยวลดลง • ชุมชนมีเงินออมและสวัสดิการที่ดีขึ้น เช่น ปริมาณขยะที่ลดลง


250

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

กิจการระยะเริ่มต้นและขยายกิจการ

กิจการที่ดำ�เนินธุรกิจมามากกว่า 10 ปี

ประเภทของปัญหาสังคม: การยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education) เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาปริมาณครูที่ ไม่เพียงพอ ปัญหาการหยุดเรียนกลางคันของนักเรียนและ คุณภาพการศึกษาในโรงเรียน โดยเป็นส่วนขยายมาจากธุรกิจ สถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ทตี่ งั้ ขึน้ ใน พ.ศ. 2558 ให้บริการ โรงเรียนกวดวิชา ผลิตตำ�ราเรียนและสื่อการเรียนการสอนที่ ทันสมัย ภายใต้การดำ�เนินงานของบริษทั เลิรน์ คอร์ปอเรชัน่ จำ�กัด และขยายสู่ “เลิรน์ เอ็ดดูเคชัน่ ” ในรูปแบบของกิจการ เพือ่ สังคมประมาณช่วง พ.ศ. 2555 บริษทั ได้น�ำ นวัตกรรมการ ศึกษาทีใ่ ช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเครือ่ งมือในการช่วยสอน ในโรงเรียนโดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีโปรแกรมทีร่ องรับเนือ้ หาตามหลักสูตรจากส่วนกลาง ทำ�ให้ ผูเ้ รียนสามารถย้อนเรียนเองได้ ปรับความเร็วได้ตามความสนใจ ของผูเ้ รียน ช่วยให้ครูมเี วลาดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคลได้มาก ขึ้น เครื่องมือเทคโนโลยีเหล่านี้เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ (critical thinking) ผ่านบทเรียนต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน เครื่องมือของ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ยังใช้เพื่อการพัฒนาทักษะ ของครูผ่านการอบรมและการฝึกใช้เทคโนโลยี แบบจำ�ลองทางธุรกิจของบริษัทคือ การขายบริการทาง​ การศึกษาให้กบั สถานศึกษาทีม่ กี �ำ ลังซือ้ แล้วนำ�กำ�ไรบางส่วน มาแบ่งให้กลุม่ โรงเรียนทีไ่ ม่มกี �ำ ลังซือ้ เช่น โรงเรียนทีน่ กั เรียน มาจากครอบครัวฐานะยากจนหรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล และ กำ�ลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่โรงเรียน ผู้ปกครอง หรือสมาคม ผู้ปกครองของโรงเรียนที่นักเรียนมาจากครอบครัวชั้นกลาง หรือครอบครัวรายได้น้อย มีความสามารถทางการเงินเพียง พอทีจ่ ะซือ้ ไปใช้ได้ ปัจจุบนั มีโรงเรียน 29 แห่งทีใ่ ช้บริการของ บริษัท

Outsourcing Contact Center (OCC) มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิฯ ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2543 มุ่งช่วยเหลือและพัฒนา คนพิการให้มีอาชีพ มูลนิธิได้เปิดหลักสูตรฝึกอบรมให้กับ คนพิการและพัฒนาเป็น “โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่” ใน หลักสูตรงานด้านเทคโนโลยี คือ คอมพิวเตอร์ (โปรแกรม­เมอร์ เขียนแบบ คอมพิวเตอร์) อิเล็กทรอนิกส์ และการจัดการ ธุรกิจภาคภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ มูลนิธยิ งั มีศนู ย์จดั หางาน พร้อมเตรียมความพร้อมด้านอาชีพทั้งในสถานประกอบการ และส่งเสริมให้ผู้พิการเป็นผู้ประกอบการ ที่ผ่านมามูลนิธิได้ ฝึกแรงงานผู้พิการที่มีคุณภาพไปมากกว่า 3,000 คน จากปัญหาด้านการระดมทุน มูลนิธิฯ จึงได้ปรับรูปแบบ การดำ�เนินงานให้เป็นกิจการเพื่อสังคมในธุรกิจ 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) บริการคอลเซ็นเตอร์โดยผู้พิการ (Outsourcing Contact Center: OCC) ทีผ่ า่ นการอบรม ให้ความรูแ้ ละฝึก ทักษะการให้บริการคอลเซ็นเตอร์แก่ลูกค้าที่เป็นองค์กรจาก ทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชน 2) ศู น ย์ ไ อที พั ฒ นามาจากศู น ย์ ซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ และ พัฒนาระบบไอทีให้กบั ธุรกิจ 3) ธุรกิจโรงแรม 4) ธุรกิจเบเกอรี่ 5) สินค้ามือสองทีไ่ ด้จากการบริจาค 6) สินค้าหัตถกรรมจาก คนพิการ การจัดทำ�กรณีศึกษาของมูลนิธิฯ จะมุ่งเน้นผลลัพธ์ทาง สังคมจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากธุรกิจคอลเซ็นเตอร์ และธุรกิจไอที

ผลลัพธ์ทางสังคมเบื้องต้นที่ต้องการศึกษา: • ผลการเรียนของนักเรียนดีขึ้น • นักเรียนมีโอกาสในการศึกษาต่อมากขึ้น •  จำ�นวนนักเรียนที่ออกจากระบบการศึกษาลดลง กรณีศึกษา เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น เน้นไปที่การเปลี่ยนแปลง ทางสังคมที่เกิดขึ้นกับนักเรียนในโรงเรียนที่ขาดโอกาส

• ผู้พิการได้รับการจ้างงานมากขึ้น • ผู้พิการมีรายได้ที่ดีขึ้น • จำ�นวนองค์กรที่รับผู้พิการเข้าทำ�งานมีมากขึ้น


สรุปผลกรณีศึกษานำ�ร่อง การประเมินผลลัพธ์ทาง สังคมของกิจการเพื่อ สังคม 6 แห่ง

7



����������� � �������������������������������������������������������������

253

งานวิจัยในส่วนนี้สรุปผลการสังเคราะห์กรณีศึกษาการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม นำ�ร่องของกิจการเพื่อสังคม 6 แห่ง สรุปโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้ 7.1 ขอบเขตการประเมิน และการระบุผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ประกอบการเพื่อสังคมของกรณีศึกษานำ�ร่องทั้ง 6 แห่งในโครงการวิจัย ซึ่งไม่มี กิจการใดเคยจัดทำ�การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมมาก่อน เลือกที่จะลองประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตจากการดำ�เนินงาน โดยประสงค์จะให้คณะ ผูว้ จิ ยั ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสะสมตัง้ แต่ปกี อ่ ตัง้ กิจการ อย่างไรก็ดี การประเมิน ในความเป็นจริงของทุกกิจการไม่สามารถประเมินตั้งแต่ปีก่อตั้งได้ เนื่องด้วยข้อ จำ�กัดของข้อมูล จึงลดขอบเขตลงเหลือเพียงการประเมินผลลัพธ์ยอ้ นหลัง 3–6 ปี ล่าสุด ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละกิจการมีข้อมูลเพียงใด และกลุ่มเป้าหมายหลักสามารถ ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องย้อนหลังได้ไกลเพียงใด สรุปขอบเขตการประเมิน จำ�นวนผูร้ บั ประโยชน์ทางตรง (กลุม่ เป้าหมายหลัก ของกิจการ) และสัดส่วนกลุ่มเป้าหมายที่คณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ เทียบกับกลุ่ม เป้าหมายทั้งหมดของกิจการนั้น ๆ ได้ดังตาราง 12 นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายโดยตรงของกิจการ ในหลายกรณีคณะผู้วิจัย ยังได้รวมผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เข้ามาในการประเมินครั้งนี้ด้วย เนื่องด้วยหลังจากที่ ได้หารือกับผูป้ ระกอบการแล้ว คณะผูว้ จิ ยั พบผูม้ สี ว่ นได้เสียกลุม่ อืน่ ทีน่ า่ จะเข้าข่าย ใดข่ายหนึ่งดังต่อไปนี้ 1) อาจได้รบั ผลกระทบจากกิจการ ถึงแม้มใิ ช่กลุม่ เป้าหมายหลัก และสามารถ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผลของกิจการ (เช่น ครอบครัวของผู้พิการที่เป็นกลุ่ม เป้าหมายโดยตรงของกิจการ) 2) สามารถให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับประสิทธิผลของกิจการ (เช่น เกษตรกรทีเ่ ป็น​กลุม่ เป้าหมาย แต่ตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการของกิจการ) 3) สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่คาดว่าเกิดจาก กิจการนั้น ๆ ได้ 4) มีสว่ นสร้างผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการ ทัง้ ทางตรงในฐานะพันธมิตรหรือ


254

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ตาราง 12 ขอบเขตการประเมิน และสัดส่วนกลุ่มเป้าหมายที่สัมภาษณ์ ต่อกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดของกิจการนำ�ร่อง 6 แห่ง

ปีก่อตั้ง

ขอบเขตการ ประเมินผลลัพธ์ ทางสังคม

จำ�นวนกลุ่ม เป้าหมายทีค่ ณะ วิจัยเก็บข้อมูล

ร้อยละของกลุ่ม เป้าหมายหลัก ทั้งหมดของ กิจการ

โครงการมะพร้าวอินทรีย์ สหกรณ์กรีนเนท

2546

2557–2559

29

50.8

ร้านคนจับปลา

2557

2557–2559

15

12.5

Outsourcing Contact Center (OCC) มูลนิธิ พระมหาไถ่ฯ

2553

2553–2559

57

81.4

เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น

2554

2555–2559

35

11.7

สัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม

2533

2557–2559

34

0.05

โลเคิล อไลค์

2555

2556–2559

2 (จำ�นวนชุมชน)

6.9 (จำ�นวนชุมชน)

กิจการเพื่อสังคมนำ�ร่อง

ร่วมทำ�กิจกรรม หรือทางอ้อมผ่านโครงการเพือ่ สังคมหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของตัวเอง ซึ่งกิจการมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย (ปัจจัย attribution) สำ�หรับการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายโดยตรงและผู้มีส่วนได้เสียอื่นที่รวม เข้ามาในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม คณะผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และ การสนทนากลุ่มตามแนวคำ�ถามที่กำ�หนดไว้ล่วงหน้า โดยคณะผู้วิจัยลงพื้นที่ สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง สรุปผู้มีส่วนได้เสียและเหตุผลที่รวมเข้ามาในการประเมินได้ดังตาราง 13


����������� � �������������������������������������������������������������

255

ตาราง 13 ผู้มีส่วนได้เสียนอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายหลักที่รวมเข้ามาในการประเมิน กิจการเพื่อสังคมนำ�ร่อง โครงการมะพร้าวอินทรีย์ สหกรณ์กรีนเนท

ผู้มีส่วนได้เสียนอกเหนือจาก กลุ่มเป้าหมายหลักของ กิจการที่รวมเข้ามา

เหตุผลที่รวมเข้ามาในการประเมิน

•  เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วม โครงการ

• สอบถามสาเหตุที่ไม่เข้าร่วมโครงการ

• เจ้าหน้าที่รัฐ

•  บทบาทของรัฐในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ (attribution)

•  ชาวประมงที่ไม่ได้เข้าร่วม โครงการ

• สอบถามสาเหตุที่ไม่เข้าร่วมโครงการ

• แพปลา

• ได้รับผลกระทบจากโครงการ

• ลูกค้า (ผู้บริโภค)

•  ได้รับผลกระทบจากโครงการ/ให้ข้อมูล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงได้

Outsourcing Contact Center (OCC) มูลนิธิ พระมหาไถ่ฯ

• ครอบครัวของผู้พิการ

•  ได้รับผลกระทบจากโครงการ/ให้ข้อมูล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงได้

•  ลูกค้า (บริษัทที่จ้างงาน call center)

•  ได้รับผลกระทบจากโครงการ/ให้ข้อมูล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงได้

เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น

•  ครูผู้สอนที่ใช้ระบบ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น

•  มีบทบาทสำ�คัญในกิจกรรมหลักของโครงการ ได้รับผลกระทบจากโครงการ และให้ข้อมูล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงได้

ร้านคนจับปลา

สัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม -

-

โลเคิล อไลค์

•  มีบทบาทสำ�คัญในกิจกรรมหลักของโครงการ (ให้ความร่วมมือในการจัดการขยะ)

•  องค์การบริหารส่วนตำ�บล (อบต.)


256

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

7.2 ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของกิจการในกรณีศึกษาน�ำร่อง หลังจากที่คณะผู้วิจัยกำ�หนดขอบเขตการประเมินร่วมกับผู้ประกอบการ จัดทำ�​ ตารางผูม้ สี ว่ นได้เสีย และเลือกว่าจะรวมผูม้ สี ว่ นได้เสียรายใดเข้ามาในการประเมิน แล้ว ในขัน้ ตอนต่อไป คณะผูว้ จิ ยั เขียน “ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลง” ของกิจการร่วม กับผู้ประกอบการ เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ผู้ประกอบการคาด หมายว่าจะเกิดจากการดำ�เนินกิจการ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของกรณีศึกษาทั้ง 6 แห่ง สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ โครงการมะพร้าวอินทรีย์ สหกรณ์กรีนเนท

ถ้าสหกรณ์กรีนเนทมีการส่งเสริมการทำ�เกษตรอินทรีย์และการค้าแบบ fair trade ในโครงการมะพร้าวเกษตรอินทรีย์ อำ�เภอบางสะพาน แล้ว เกษตรกรจะมี ฐานะและสุขภาพดีขึ้น เกิดความสามัคคีในชุมชนมากขึ้น และระบบนิเวศดีขึ้น ร้านคนจับปลา

ถ้าชาวประมงพืน้ บ้านทำ�ประมงแบบยัง่ ยืน1 และเข้าถึงตลาดทีเ่ ป็นธรรม2 แล้ว 1) ชาวประมงพื้นบ้านจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 2) ระบบนิเวศของทะเลไทยจะได้รับการอนุรักษ์และทรัพยากรธรรมชาติทาง ทะเลจะอุดมสมบูรณ์ขึ้น 3) ผู้บริโภคจะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพลดลง Outsourcing Contact Center (OCC) มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ

ถ้าผู้พิการมาทำ�งานภายใต้ Outsourcing Contact Center ของมูลนิธิ พระมหาไถ่ฯ แล้ว ผู้พิการจะมีอาชีพที่มั่นคงมากขึ้น และลดภาระของครอบครัว ในการดูแล 1  2

ประมงแบบยั่งยืน นิยามตามที่ระบุใน Blue Brand Standard ตลาดที่เป็นธรรม หมายถึงการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม


����������� � �������������������������������������������������������������

257

เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น

ถ้าโรงเรียนได้ใช้ระบบ เลิรน์ เอ็ดดูเคชัน่ แล้ว นักเรียนในโรงเรียนจะมีโอกาส ยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการศึกษามากขึ้น สัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม

ถ้าชาวบ้านในชุมชนเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ และกลุ่มมีคณะ กรรมการทีเ่ หมาะสม แล้ว ชาวบ้านและครอบครัวจะสามารถพึง่ พาตนเองได้มากขึน้ โลเคิล อไลค์

ถ้าชาวบ้านได้รับการพัฒนาธุรกิจโฮมสเตย์โดย โลเคิล อไลค์ แล้ว ชาวบ้าน จะมีรายได้เพิ่มขึ้น และชุมชนจะน่าอยู่มากขึ้น 7.3 ห่วงโซ่ผลลัพธ์ของกิจการในกรณีศึกษาน�ำร่อง หลังจากที่เขียน “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” หรือ Theory of Change แล้ว ลำ�ดับต่อไปคณะผู้วิจัยร่าง “ห่วงโซ่ผลลัพธ์” หรือ Impact Value Chain ของ กิจการเพื่อสังคมในกรณีศึกษานำ�ร่อง เพื่อแจกแจงทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงว่า ผลลัพธ์ทางสังคมทีค่ าดหวังน่าจะเกิดจากปัจจัยนำ�เข้าและกิจกรรมของกิจการนัน้  ๆ  อย่างไร จากนั้นลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสีย และนำ�ข้อมูลมาปรับปรุง ห่วงโซ่ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย ห่วงโซ่ผลลัพธ์ของกิจการเพือ่ สังคมในกรณีศกึ ษานำ�ร่อง 6 แห่ง สามารถสรุป ได้ดังตาราง 14–19


258

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ตาราง 14 ห่วงโซ่ผลลัพธ์ โครงการมะพร้าวอินทรีย์ ปัจจัยนำ�เข้า (inputs)

กิจกรรม (activities)

•  เงินสนับสนุนจากมูลนิธิ •  การส่งเสริมการทำ�เกษตร สายใยแผ่นดิน สหกรณ์ อินทรีย์ เช่น การจัดการ กรีนเนท อบรมเกษตรกร การเผย •  ค่าดำ�เนินการขายมะพร้าว แพร่ความรู้เกี่ยวกับวิธีทำ� จากเกษตรกร เกษตรอินทรีย์ กิจกรรม การส่งเสริมการรวมกลุ่ม ของเกษตรกร •  การรับซื้อผลผลิตของ เกษตรกรในระบบการค้า แบบ fair trade •  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น การแปรรูป ทำ�เป็นนํ้ามัน มะพร้าว

ผลผลิต (outputs) • รายได้ที่เพิ่มขึ้น •  ต้นทุนการผลิตที่ลดลง •  เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายด้าน สุขภาพลดลง •  เกษตรกรช่วยเหลือเกื้อกูล กัน ทำ�กิจกรรมร่วมกัน มากขึ้น •  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มากขึ้น

ผลลัพธ์ทางสังคม (outcomes) • เกษตรกรมีฐานะดีขึ้น •  เกษตรกรมีสุขภาพดีขึ้น •  เกิดความสามัคคีในชุมชน มากขึ้น •  ระบบนิเวศดีขึ้น

ตาราง 15 ห่วงโซ่ผลลัพธ์ ร้านคนจับปลา ปัจจัยนำ�เข้า (inputs)

กิจกรรม (activities)

•  เงินทุนตั้งต้นจากสมาคม •  การส่งเสริมการทำ�ประมง ทีย่ ั่งยืน และการอนุรักษ์ สมาพันธ์ชาวประมงพื้น บ้านแห่งประเทศไทย และ ทรัพยากรทางทะเล (บทบาททับซ้อนกับ สมาคมรักษ์ทะเลไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย) (องค์กรที่ก่อตั้งร้านคน •  รับซื้อผลผลิตของ จับปลา) ชาวประมงในราคาสูงกว่า •  บุคลากรจากสมาคมรักษ์ ราคาตลาดร้อยละ 20 ทะเลไทย •  เงินค่าหุ้นจากชาวประมงที่ •  ขายผลผลิตของชาวประมง สมัครสมาชิก (อย่างน้อย ให้กับผู้บริโภคโดยตรง 1 หุ้น หุ้นละ 100 บาท) และผ่านร้านขายสินค้า เกษตรอินทรีย์

ผลผลิต (outputs)

ผลลัพธ์ทางสังคม (outcomes)

•  ชาวประมงพื้นบ้านจะมี •  รายได้สุทธิจากการทำ� ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประมงเพิ่มขึ้น •  ระบบนิเวศของทะเลไทย • หนี้จากแพปลาลดลง •  จำ�นวนชาวประมงพื้นบ้าน จะได้รับการอนุรักษ์และ ทรัพยากรธรรมชาติทาง ที่อพยพสู่เมืองเพื่อ ทะเลจะอุดมสมบูรณ์ขึ้น ประกอบอาชีพอื่นลดลง •  ผู้บริโภคจะมีความเสีย่ ง •  จำ�นวนและความหลาก ด้านสุขภาพลดลง หลายของสัตว์นํ้าในทะเล เพิ่มขึ้น •  จำ�นวนผู้บริโภคที่เข้าถึง อาหารทะเลปลอดภัย มากขึ้น


����������� � �������������������������������������������������������������

259

ตาราง 16 ห่วงโซ่ผลลัพธ์ Outsourcing Contact Center (OCC) มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ ปัจจัยนำ�เข้า (inputs) •  ค่าจ้างจากลูกค้าภาครัฐ และเอกชน • เงินทุน • ระบบ call center •  องค์ความรู้ด้านการ บริหารจัดการพนักงาน call center

กิจกรรม (activities) •  อบรมผู้พิการและฝึกทักษะ การให้บริการ call center ที่ได้มาตรฐานจาก Thailand Call Center Academy •  เปิดรับลูกค้า call center ทั้งภาครัฐและเอกชน •  ปรับปรุง platform เพื่อ รองรับผู้พิการที่ไม่สามารถ เดินทางได้

ผลผลิต (outputs)

ผลลัพธ์ทางสังคม (outcomes)

•  รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้พิการ •  ผู้พิการจะมีอาชีพที่มั่นคง มากขึ้น หลังจากเข้าร่วมโครงการ •  จำ�นวนผู้พิการที่มีรายได้ •  ลดภาระของครอบครัวใน การดูแล ต่อเนื่อง •  ภาระทางการเงินของ ครอบครัวผู้พิการลดลง •  ผู้พิการสามารถดูแล ช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น

ตาราง 17 ห่วงโซ่ผลลัพธ์ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ปัจจัยนำ�เข้า (inputs) • ระบบ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น • เงินทุน

กิจกรรม (activities)

ผลผลิต (outputs)

• การอบรมครู •  คะแนน ONET ในวิชา •  การวางระบบเลิร์น คณิตศาสตร์และวิชา เอ็ดดูเคชั่น ในโรงเรียน วิทยาศาสตร์ดีขึ้น •  การประเมินผลจาก​ระบบ •  นักเรียนมีเจตคติต่อการ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น เรียนที่ดีขึ้น •  อัตราการเรียนต่อของ นักเรียนสูงขึ้น

ผลลัพธ์ทางสังคม (outcomes) •  นักเรียนในโรงเรียนจะมี โอกาสยกระดับคุณภาพ ชีวิตด้านการศึกษามากขึ้น


260

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ตาราง 18 ห่วงโซ่ผลลัพธ์ สัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม ปัจจัยนำ�เข้า (inputs)

กิจกรรม (activities)

• หลักธรรมะ •  เงินทุน (เงินหุ้น และเงิน ทำ�บุญวันละบาท) •  การให้คำ�ชี้แนะของ พระสุบิน

•  จัดโครงสร้างกรรมการให้ เหมาะสม (มีพื้นฐานความ เสียสละ รับผิดชอบ ไม่มั่ว อบายมุข) • รับเงินฝาก (เงินหุ้น) •  รับเงินสำ�หรับจัดสวัสดิการ (เงินทำ�บุญวันละบาท) • ปล่อยเงินกู้ • จัดสวัสดิการ •  ใช้ทุนในการดูแลพัฒนา ชุมชน

ผลผลิต (outputs)

ผลลัพธ์ทางสังคม (outcomes)

• ชาวบ้านมีเงินออมมากขึ้น •  ชาวบ้านและครอบครัว สามารถพึ่งพาตนเองได้ •  ชาวบ้านได้รับสวัสดิการ มากขึ้น มากขึ้น •  ชาวบ้านที่เป็นกรรมการ กลุ่มมีความสามารถในการ บริหารจัดการเงินมากขึ้น •  กลุ่มออมทรัพย์รับซื้อผล­ ผลิตของสมาชิกได้มากขึ้น •  กลุ่มออมทรัพย์ซื้อที่ดินมา จัดสรรให้กับคนที่ไม่มีที่อยู่ ได้มากขึ้น

ตาราง 19 ห่วงโซ่ผลลัพธ์ โลเคิล อไลค์ ปัจจัยนำ�เข้า (inputs) • บุคลากร • เงินทุน •  ความรู้ในการพัฒนา ศักยภาพด้านต่าง ๆ

กิจกรรม (activities) •  กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ของชุมชนท่องเที่ยว เช่น การคิดราคา/การสื่อ ความหมาย •  การแลกเปลี่ยน/ถกเถียง กับแกนนำ�อย่างต่อเนื่อง •  การประชาสัมพันธ์สถานที่ ท่องเที่ยว • การจัดทริปท่องเที่ยว •  การประสานกับเอกชน/ องค์กรภายนอกให้มา ช่วยเหลือ •  การพัฒนากองทุน ท่องเที่ยวโดยชุมชน

ผลผลิต (outputs)

ผลลัพธ์ทางสังคม (outcomes)

•  ชาวบ้านมีรายได้จากการ • ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น ท่องเที่ยวมากขึ้น • ชุมชนน่าอยู่มากขึ้น •  จำ�นวนชาวบ้านที่มี ส่วนร่วมกับกิจกรรม การท่องเที่ยวมากขึ้น •  ความเปลี่ยนแปลงใน หมู่บ้านที่เกิดจากเงิน กองทุนท่องเที่ยวชุมชน • คนในชุมชนย้ายถิ่นน้อยลง •  ปริมาณขยะในชุมชนที่ได้ รับการจัดเก็บเพิ่มขึ้น


����������� � �������������������������������������������������������������

261

7.4 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมที่เหมาะสม หลังจากทีไ่ ด้ “ห่วงโซ่ผลลัพธ์” เพือ่ ทำ�ความเข้าใจว่าการเปลีย่ นแปลงทางสังคมที่ ผูป้ ระกอบการมุง่ หวังจะเป็นผลจากกิจกรรมและปัจจัยนำ�เข้าอย่างไร ขัน้ ตอนต่อไป คือการทบทวนผลผลิต (outputs) และผลลัพธ์ (outcomes) เพือ่ เลือกตัวชีว้ ดั ที่ เหมาะสมสำ�หรับการวัดผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการ คณะผู้วิจัยจำ�แนกตัวชี้วัดตามผลลัพธ์ทางสังคมที่มุ่งหวังรายกิจการในกรณี ศึกษานำ�ร่องทั้ง 6 แห่ง ได้ดังตาราง 20 โดย ตัวหนา แสดงตัวชี้วัดที่สำ�คัญที่สุด สำ�หรับแต่ละกิจการ จากการจัดอันดับผลลัพธ์ทางสังคมที่ผู้ประกอบการและผู้มี ส่วนได้เสียให้ความสำ�คัญสูงสุด ตาราง 20 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมที่เหมาะสม และวิธีการวัด ผลลัพธ์ทางสังคม

ตัวชี้วัดที่เหมาะสม

วิธีการวัด

กิจการ: โครงการมะพร้าวอินทรีย์ สหกรณ์กรีนเนท เกษตรกรมีฐานะดีขึ้น

รายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร

เทียบรายได้หลังเข้าโครงการกับรายได้ ก่อนเข้า จากคำ�บอกเล่าของเกษตรกร ประกอบกับราคารับซื้อมะพร้าวของ สหกรณ์กรีนเนท เทียบกับราคาตลาด

ต้นทุนการผลิตที่ลดลง

ต้นทุนการทำ�เกษตรอินทรีย์เทียบกับ การทำ�เกษตรเคมี จากคำ�บอกเล่าของ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

เกษตรกรมีสุขภาพดีขึ้น ค่าใช้จา่ ยด้านสุขภาพของเกษตรกรทีล่ ดลง คำ�บอกเล่าของเกษตรกร เกิดความสามัคคีใน ชุมชนมากขึ้น

เกษตรกรช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำ�กิจกรรม คำ�บอกเล่าของเกษตรกร และผู้นำ�ชุมชน ร่วมกันมากขึ้น

ระบบนิเวศดีขึ้น

ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

ผลการสุ่มตรวจสภาพดิน


262

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ผลลัพธ์ทางสังคม

ตัวชี้วัดที่เหมาะสม

วิธีการวัด

กิจการ: ร้านคนจับปลา ชาวประมงพื้นบ้านจะมี รายได้สุทธิจากการทำ�ประมงเพิ่มขึ้น ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หนี้จากแพปลาลดลง

คำ�บอกเล่าของชาวประมง คำ�บอกเล่าของชาวประมง ประกอบกับ ข้อมูลจากแพปลา

จำ�นวนชาวประมงพื้นบ้านที่อพยพสู่เมือง คำ�บอกเล่าของชาวประมง เพื่อประกอบอาชีพอื่นลดลง ระบบนิเวศของทะเลไทย จำ�นวนและความหลากหลายของ จะได้รับการอนุรักษ์และ สัตว์นํ้าในทะเลเพิ่มขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติทาง ทะเลจะอุดมสมบูรณ์ขึ้น

ผลการสำ�รวจของกรมประมง และ/หรือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผู้บริโภคจะมีความเสี่ยง จำ�นวนผู้บริโภคที่เข้าถึงอาหารทะเล ด้านสุขภาพลดลง ปลอดภัยมากขึ้น

คำ�บอกเล่าของผู้บริโภคและร้านค้า ที่รับซื้อผลิตภัณฑ์ของร้านคนจับปลา มาขายในร้าน

กิจการ: Outsourcing Contact Center (OCC) มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ ผู้พิการจะมีอาชีพที่ มั่นคงมากขึ้น

รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้พิการหลังจาก เข้าร่วมโครงการ

คำ�บอกเล่าของผู้พิการ

จำ�นวนผู้พิการที่มีรายได้ต่อเนื่อง

คำ�บอกเล่าของผู้พิการ

ลดภาระของครอบครัว ภาระทางการเงินของครอบครัวผู้พิการ ในการดูแล ลดลง ผู้พิการสามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ มากขึ้น

คำ�บอกเล่าของครอบครัวผู้พิการ คำ�บอกเล่าของผู้พิการ และครอบครัว ผู้พิการ

กิจการ: เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น นักเรียนในโรงเรียนจะมี คะแนน ONET ในวิชาคณิตศาสตร์ โอกาสยกระดับคุณภาพ และวิชาวิทยาศาสตร์ดีขึ้น ชีวิตด้านการศึกษา นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนที่ดีขึ้น มากขึ้น อัตราการเรียนต่อของนักเรียนสูงขึ้น

สถิติทางการ คำ�บอกเล่าของนักเรียน สถิติของโรงเรียน


����������� � �������������������������������������������������������������

ผลลัพธ์ทางสังคม

ตัวชี้วัดที่เหมาะสม

263

วิธีการวัด

กิจการ: สัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม ชาวบ้านและครอบครัว ชาวบ้านมีเงินออมมากขึ้น จะสามารถพึ่งพาตนเอง ได้มากขึ้น ชาวบ้านได้รับสวัสดิการมากขึ้น

ข้อมูลเงินออมของกลุ่ม (จากงบการเงิน ประจำ�ปี) ข้อมูลรายจ่ายสวัสดิการของกลุ่ม (จากงบ การเงินประจำ�ปี)

ชาวบ้านที่เป็นกรรมการกลุ่มมีความ สามารถในการบริหารจัดการเงินมากขึ้น

คำ�บอกเล่าของกรรมการกลุ่ม

กลุ่มออมทรัพย์รับซื้อผลผลิตของสมาชิก ได้มากขึ้น

คำ�บอกเล่าของกรรมการกลุ่ม ประกอบ ข้อมูลจากงบการเงิน

กลุ่มออมทรัพย์ซื้อที่ดินมาจัดสรรให้กับคน คำ�บอกเล่าของกรรมการกลุ่ม ประกอบ ที่ไม่มีที่อยู่ได้มากขึ้น ข้อมูลจากงบการเงิน กิจการ: โลเคิล อไลค์ ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น ชาวบ้านมีรายได้จากการท่องเทีย่ วเพิม่ ขึน้ คำ�บอกเล่าของชาวบ้าน จำ�นวนชาวบ้านที่มีส่วนร่วมกับการท่อง คำ�บอกเล่าของชาวบ้าน เที่ยวมากขึ้น ชุมชนน่าอยู่มากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้านที่เกิดจาก เงินกองทุนท่องเที่ยวชุมชน

คำ�บอกเล่าของชาวบ้าน และผู้บริหาร กองทุนท่องเที่ยวชุมชน

คนในชุมชนย้ายถิ่นน้อยลง

สถิติทางการ (อบต.) และคำ�บอกเล่าของ ผู้นำ�ชุมชน

ปริมาณขยะในชุมชนที่ได้รับการจัดเก็บ เพิ่มขึ้น

สถิติทางการ (อบต.) และคำ�บอกเล่าของ ผู้นำ�ชุมชน


264

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

7.5 การสร้างกรณีฐาน (Base Case Scenario) เนื่องจากกิจการเพื่อสังคมหลายแห่งมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในพื้นที่ ซึง่ มีองค์กรภาครัฐ ภาคประชาสังคม และ/หรือภาคเอกชนอืน่  ๆ เข้าไปทำ�งานเพือ่ สร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นเดียวกันอยู่แล้ว และกลุ่มเป้าหมายโดยตรงของ กิจการก็มิได้อยู่นิ่งเฉย แต่พยายามปรับปรุงสถานการณ์หรือแก้ไขปัญหาที่ตนเอง เผชิญหน้าอย่างต่อเนือ่ ง การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมจึงควรคำ�นึงถึงความเป็นไปได้ ดังต่อไปนี้ด้วย •  ผลลัพธ์บางส่วนอาจเกิดจากการดำ�เนินงานของหน่วยงานอืน่ (attribution) •  ผลลัพธ์บางส่วนอาจเกิดขึ้นเอง เกิดจากปัจจัยภายนอกที่สืบค้นต้นตอไม่ได้ หรือเกิดจากการพัฒนาตนเองของกลุ่มเป้าหมาย (deadweight) •  ผลลัพธ์บางส่วนอาจเกิดจากการทดแทนผลลัพธ์จากกิจการหรือกิจกรรมอืน่ ไม่ใช่ผลลัพธ์สุทธิ (displacement) การคำ�นึงถึงปัจจัยข้างต้นและค้นหาคำ�ตอบว่าอาจเกิดมากน้อยเพียงใด รวม กันเรียกว่าการสร้าง “กรณีฐาน” หรือ base case scenario ของการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการประเมิน ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล ของกิจการเพื่อสังคม โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดผลลัพธ์ทางสังคมอย่าง เป็นรูปธรรม แต่ปรากฏว่าผลลัพธ์ดังกล่าวเกิดจาก การดำ�เนินงาน ของกิจการ เพียงส่วนน้อยเท่านั้น แนวคิดในการประเมินกรณีฐานของคณะผู้วิจัยแต่ละคณะที่ศึกษากิจการเพื่อ สังคมในโครงการนี้ สามารถสรุปได้โดยสังเขปดังต่อไปนี้ กรณีฐาน โครงการมะพร้าวอินทรีย์ สหกรณ์กรีนเนท

Attribution—ไม่มี เนือ่ งจากสหกรณ์กรีนเนทเป็นองค์กรแรกและองค์กรเดียว ที่เข้ามาส่งเสริมเรื่องการทำ�มะพร้าวอินทรีย์ Deadweight—ไม่มี เนือ่ งจากถึงแม้กลุม่ ผูก้ อ่ ตัง้ และสมาชิกจะมีความเข้มแข็ง และมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น รวมทัง้ มีอดุ มการณ์ในเรือ่ งการอนุรกั ษ์ธรรมชาติเป็น ทุนเดิมอยูแ่ ล้ว ก็มไิ ด้มเี หตุอนั ใดให้เชือ่ ว่า ชาวบ้านจะริเริม่ เปลีย่ นจากการทำ�มะพร้าว


����������� � �������������������������������������������������������������

265

5% 15%

50% 30%

รานคนจับปลาและสมาคมรักษทะเลไทย ชุมชน กรีนพีซ ภาครัฐ

แผนภาพ 21 องค์กรที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บ้านทุ่งน้อย

เคมี มาเป็นมะพร้าวอินทรีย์กันเองถ้าหากสหกรณ์กรีนเนทไม่เข้าไปส่งเสริม กรณีฐาน ร้านคนจับปลา

Attribution—ผลลัพธ์ “ระบบนิเวศของทะเลไทยจะได้รับการอนุรักษ์และ ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลจะอุดมสมบูรณ์ขนึ้ ” น่าจะเป็นผลมาจากการดำ�เนิน งานขององค์กรอืน่ ไม่ตาํ่ กว่าร้อยละ 50 เนือ่ งจากร้านคนจับปลายังมีบทบาททีซ่ อ้ น ทับกับสมาคมรักษ์ทะเลไทย (องค์กรที่ก่อตั้งร้านคนจับปลา) โดยสะท้อนจากการ ที่ชาวบ้านในกลุ่มตัวอย่างยังแยกบทบาทระหว่างสององค์กรไม่ออกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการส่งเสริมการประมงทีย่ ง่ั ยืน นอกจากนี้ ยังมีองค์กรอืน่  ๆ เช่น กรีนพีซ อ็อกซ์แฟม และหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมประมง ที่เข้าไปให้การสนับสนุนการ ประมงที่ยั่งยืนและการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ โดยตัวอย่างการให้ค่า attribution จากการสัมภาษณ์ชาวประมงบ้านทุ่งน้อย แสดงในแผนภาพ 21 Deadweight—สมาชิกร้านคนจับปลาในกลุ่มตัวอย่าง 3 หมู่บ้าน ประเมิน ว่าผลลัพธ์ “ระบบนิเวศของทะเลไทยจะได้รบั การอนุรกั ษ์และทรัพยากรธรรมชาติ ทางทะเลจะอุดมสมบูรณ์ขึ้น” มาจากการดำ�เนินงานของชาวบ้านเอง 30–50


266

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

เปอร์เซ็นต์ เนือ่ งจากชาวบ้านระบุวา่ ได้ท�ำ ประมงอย่างยัง่ ยืนมาก่อนหน้าทีร่ า้ นคน จับปลาจะเปิดให้บริการ เช่น ชาวประมงบ้านคัน่ กระไดระบุวา่ สมัยก่อนใช้อปุ กรณ์ จับปลาทีผ่ ดิ วิธแี ละไม่ดแู ลอนุรกั ษ์จนสัตว์นาํ้ หายไปจากชายฝัง่ ของหมูบ่ า้ น จึงย้าย ไปลักลอบจับปลาในเขตพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ของชุมชนอืน่ เมือ่ โดนจับและได้ไปศึกษาดูงาน​ การอนุรกั ษ์ทรัพยากรชายฝัง่ ที่ อ.ท่าศาลา จึงเปลีย่ นพฤติกรรมและกลับมาร่วมกัน ตั้งกลุ่มดูแลอนุรักษ์สัตว์นํ้าตั้งแต่  พ.ศ. 2551 (ร้านคนจับปลาก่อตั้ง พ.ศ. 2557) กรณีฐาน Outsourcing Contact Center (OCC) มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ

Deadweight—สำ�หรับตัวชีว้ ดั “จำ�นวนผูพ้ กิ ารทีม่ รี ายได้ตอ่ เนือ่ ง” อาจดูจาก สัดส่วนของผูพ้ กิ ารทีม่ งี านประจำ�และมีรายได้ตอ่ เนือ่ งนานก่อนเข้าร่วมงานกับ OCC (สะท้อนว่าผู้พิการเหล่านี้สามารถมีรายได้ต่อเนื่องมาก่อนที่จะร่วมงานกับ OCC) กรณีฐาน เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น

Attribution—อาจประเมินเบื้องต้นจากสัดส่วนเวลาที่นักเรียนได้เรียนรู้จาก โครงการอื่น ๆ ด้านการเรียนการสอน ที่โรงเรียนนำ�มาใช้ในวิชาเดียวกันกับระบบ ของ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์) Deadweight—อาจประเมินเบื้องต้นจากสัดส่วนเวลาที่นักเรียนใช้ในการ ขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมในวิชาเดียวกันกับระบบของ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น เช่น ลงทะเบียนเรียนพิเศษ ศึกษาเองจากเนื้อหาออนไลน์ ฯลฯ อนึง่ ผูป้ ระกอบการทำ�งานกับทัง้ โรงเรียนทีม่ ที รัพยากรพร้อม และโรงเรียนที่ ขาดแคลน ดังนั้นลักษณะและขนาดของ attribution และ deadweight จึงน่า จะแตกต่างกัน (นักเรียนทีไ่ ปโรงเรียนทีม่ ที รัพยากรพร้อมมักจะมีทางเลือกมากกว่า และมาจากครอบครัวฐานะดีกว่าโรงเรียนที่ขาดแคลน) กรณีฐาน สัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม

จากการสัมภาษณ์พระสุบิน ปณีโต ผู้ก่อตั้งเครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์วัด ไผ่ลอ้ ม ไม่ปรากฏว่ามีหน่วยงานใดเข้ามาให้การสนับสนุนการดำ�เนินงานของเครือ­ ข่ายสัจจะสะสมทรัพย์วดั ไผ่ลอ้ ม หรือดำ�เนินโครงการหรือกิจการในลักษณะทีใ่ กล้ เคียงกัน (รับเงินฝากและจัดสวัสดิการ) แต่อย่างใด ส่วนองค์กรการเงินชุมชนอืน่  ๆ


����������� � �������������������������������������������������������������

267

ทีด่ �ำ เนินการระดับหมูบ่ า้ นเช่นเดียวกับกลุม่ สัจจะสะสมทรัพย์ เช่น กองทุนหมูบ่ า้ น หรือสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อการผลิต ก็เน้นกิจกรรมการปล่อยกู้เป็นหลัก ซึ่งถึง แม้วา่ สมาชิกสัจจะสะสมทรัพย์วดั ไผ่ลอ้ มจะเข้าถึงได้ การนำ�เงินกูไ้ ปประกอบอาชีพ ก็มิใช่ผลผลิต (outputs) หลักที่พระสุบินมองว่าสะท้อนผลลัพธ์ทางสังคมตาม แนวคิดของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อมซึ่งมุ่งเน้นให้ชาวบ้านและครอบครัว “พึ่งพาตนเองได้” ผ่านการสร้างฐานเงินออมและมีสวัสดิการครบวงจรชีวิต อย่างไรก็ดี เนื่องจากผลลัพธ์ “เงินออม” และ “สวัสดิการ” เป็นผลลัพธ์ที่ สามารถเกิดขึน้ เอง (คนในชุมชนมีแรงจูงใจในการออมมากขึน้ ด้วยตนเอง) และเกิด จากนโยบายรัฐหลายนโยบาย กรณีฐานสำ�หรับการประเมินจึงสามารถคำ�นึงถึง deadweight และ attribution ได้ 2 ประการดังนี้ Deadweight—ด้านเงินออม อาจอนุมานจากอัตราการเติบโตของเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตราด ซึง่ สะท้อนแนวโน้มการออมเงินของชาวบ้าน โดย จากสถิติที่เก็บโดยธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราการเติบโตปีต่อปีของเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตราด ระหว่าง พ.ศ. 2556–2559 อยูท่ ี่ 5.1 เปอร์เซ็นต์, - 0.3 เปอร์เซ็นต์, 3.5 เปอร์เซ็นต์ และ 3.8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำ�ดับ หรือคิดเป็นค่า เฉลี่ย 3.1 เปอร์เซ็นต์ต่อปี Attribution—ด้านสวัสดิการ สามารถอนุมานจากรายการต่อไปนี้ a.  ง บเหมาจ่ า ยรายหั ว ต่ อ ปี (สวั ส ดิ ก ารประกั น สุ ข ภาพถ้ ว นหน้ า ) ของ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เนื่องจากเป็นสวัสดิการ ด้านสุขภาพที่สมาชิกกลุ่มฯ มีสิทธิได้รับจากรัฐ โดยงบเหมาจ่ายรายหัว ประจำ�ปีงบประมาณ 2559 อยู่ที่ 3,029 บาทต่อคน b.  เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นสวัสดิการที่สมาชิกกลุ่มฯ ทุกรายมีสิทธิ ได้รับในฐานะผู้สูงอายุ ไม่วันนี้ก็วันหน้า โดยเบี้ยดังกล่าวปัจจุบันรัฐจ่าย เป็นขั้นบันไดในอัตราขั้นตํ่า 600 บาทต่อเดือน หรือ 7,200 บาทต่อปี สำ�หรับผูท้ มี่ อี ายุระหว่าง 60–69 ปี จนถึงสูงสุด 1,000 บาทต่อเดือน หรือ 12,000 บาทต่อปี สำ�หรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไป


268

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

กรณีฐาน โลเคิล อไลค์ ตัวชี้วัด ปริมาณขยะใน ชุมชนที่ได้รับการ จัดเก็บเพิ่มขึ้น

ประเภทของ กรณีฐาน Attribution

แกนนำ�ของทัง้ 2 หมูบ่ า้ น และ อบต. ทัง้ 2 แห่ง มีบทบาทสำ�คัญ ในการผลักดัน

Deadweight

อบต. ทั้ง 2 แห่ง ต้องดำ�เนินโครงการจัดการขยะตามนโยบายของ รัฐบาล คสช. โดยเฉพาะที่  อบต. ป่าตึง มีเตาเผาขยะ ซึ่งก็มีความ จำ�เป็นต้องเก็บขยะแห้งเพื่อนำ�มาใช้เป็นเชื้อเพลิง ทำ�ให้  อบต. ต้อง ทำ�กิจกรรมรณรงค์และสอนการแยกขยะให้หมูบ่ า้ นต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีเอกชนทีส่ ามารถรับซือ้ ถุงพลาสติกได้ทง้ั หมดเพือ่ นำ�ไปผลิตนา้ํ มัน อีกด้วย

ความเปลี่ยนแปลง Attribution ในหมู่บ้านที่เกิด จากเงินกองทุน ท่องเที่ยว

ชาวบ้านมีรายได้ จากการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น

กรณีฐานที่เป็นไปได้

เรื่องกองทุนท่องเที่ยวฯ ทั้งหมด มาจาก โลเคิล อไลค์ ส่วนการ เปลี่ยนแปลงในชุมชนที่มาจากกองทุนนั้น มีส่วนมาจากแกนนำ� ชุมชนที่ประสานทรัพยากรจากหน่วยงานภายนอกให้เข้ามาช่วย แก้ปัญหาด้วย (มิได้มาจากกิจกรรมของ โลเคิล อไลค์ เท่านั้น)

Deadweight

การเปลี่ยนแปลงในชุมชน โยฮัน ในฐานะผู้ใหญ่บ้านบ้านหล่อโย มีบทบาทที่จะต้องทำ�งานพัฒนาชุมชนโดยรวมอยู่แล้ว

Attribution

•  แกนนำ�ด้านการท่องเทีย่ วของทัง้ 2 หมูบ่ า้ น โดยเฉพาะ โยฮัน ซึง่ มีความสามารถมากในการใช้ช่องทางการขายที่หลากหลาย เช่น agoda.com, airbnb.com และ Facebook แต่มีข้อสังเกต ว่าการใช้ช่องทางเหล่านี้ เพิ่งเริ่มเมื่อกลางปี 2558 ภายหลังจาก ที่ โลเคิล อไลค์ เข้ามาทำ�งานร่วมด้วย • โครงการพัฒนาดอยตุง

Deadweight

แกนนำ�ด้านการท่องเที่ยวของทั้ง 2 หมู่บ้าน โดยเฉพาะที่บ้าน หล่อโย มีแรงจูงใจมากกว่าที่บ้านสวนป่า

Displacement

การจ้างงานในส่วนของการเป็นไกด์ทบี่ า้ นสวนป่า น่าจะเป็นผลลัพธ์ ทดแทน (displacement) เพราะไกด์ทงั้ หมด มีงานประจำ�ทีโ่ ครงการพัฒนาดอยตุงอยูแ่ ล้ว มีสว่ นต่างของค่าแรงประมาณ 100–200 บาทต่อวัน


����������� � �������������������������������������������������������������

269

7.6 ผลการทดลองวัดผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด และประเมินกรณีฐาน หลังจากที่ได้สรุปรายการตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมที่เหมาะสม และประเมินกรณี ฐานของตัวชี้วัดต่าง ๆ เท่าที่สามารถเก็บข้อมูลได้ภายในระยะเวลาอันจำ�กัด ใน ลำ�ดับต่อไป คณะผู้วิจัยได้ดำ�เนินการทดลองวัดผลลัพธ์ทางสังคมตามรายการ ตัวชี้วัดดังกล่าวข้างต้น ตามขอบเขตการประเมินที่ได้หารือกับผู้ประกอบการ สรุปผลการทดลองประเมินได้ดังตาราง 21 ตาราง 21 ผลการทดลองคำ�นวณผลลัพธ์ทางสังคมตามตัวชี้วัด ผลลัพธ์ทางสังคม

ตัวชี้วัดที่เหมาะสม

มูลค่าผลลัพธ์จากการทดลองประเมิน

กิจการ: โครงการมะพร้าวอินทรีย์ สหกรณ์กรีนเนท เกษตรกรมีฐานะดีขึ้น

รายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร

เกษตรกรเฉลี่ยมีรายได้เพิ่มขึ้น 6,183 บาทต่อ ไร่ (12,353 บาทต่อไร่ จากการขายมะพร้าว อินทรีย ์ − 6,170 บาทต่อไร่ ถ้าขายมะพร้าวเคมี)

ต้นทุนการผลิตที่ลดลง

เกษตรกรเฉลีย่ มีตน้ ทุนลดลง 1,032 บาทต่อไร่ (2,280 บาทต่ อ ไร่ ถ้ า ผลิ ต มะพร้ า วอิ น ทรี ย์ เทียบกับ 3,312 บาทต่อไร่ ถ้าผลิตมะพร้าวเคมี)

เกษตรกรมีสุขภาพดีขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของเกษตรกร ที่ลดลง

ไม่พบข้อแตกต่างระหว่างก่อนและหลัง เข้าร่วมโครงการอย่างชัดเจน

เกิดความสามัคคีใน ชุมชนมากขึ้น

เกษตรกรช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำ�กิจกรรมร่วมกันมากขึ้น

เกษตรกรมองว่าการมารวมกลุม่ กันเป็นประโยชน์ แต่ วั ด เป็ น ตั ว เลข (รายชั่ ว โมงหรื อ กิ จ กรรม) ไม่ได้ชัดเจน ตัวอย่างทัศนะ เช่น “อยู่คนเดียว ไม่ค่อยรู้อะไร พอมารวมกลุ่มก็ได้รู้จักเพื่อน มี ความรู้มากขึ้น”

ระบบนิเวศดีขึ้น

ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

ไม่มีข้อมูล (ในอนาคตควรทำ�การสุ่มตรวจสภาพดิน)


270

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ผลลัพธ์ทางสังคม

ตัวชี้วัดที่เหมาะสม

มูลค่าผลลัพธ์จากการทดลองประเมิน

กิจการ: ร้านคนจับปลา ชาวประมงพื้นบ้านจะมี รายได้สทุ ธิจากการทำ�ประมงเพิม่ ขึน้ ชาวประมงมีรายได้สุทธิ (กำ�ไร) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประมาณเดือนละ 1,120–1,600 บาท หนี้จากแพปลาลดลง

ชาวประมงสะท้อนว่า การเข้าร่วมโครงการกับ ร้านคนจับปลาไม่มีผลต่อการปลดหนี้จากแพ ปลา เนื่องจากปริมาณสัตว์นํ้าที่ร้านคนจับปลา รับซือ้ มีสดั ส่วนน้อย ทำ�ให้ได้รายได้จากร้านคน จับปลาไม่มากนัก สำ�หรับชาวประมงทีป่ ลดหนี้ ได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับจำ�นวนปลาที่จับได้และ ความถี่ในการออกหาปลามากกว่า

จำ�นวนชาวประมงพื้นบ้านที่อพยพ สู่เมืองเพื่อประกอบอาชีพอื่นลดลง

ไม่สามารถสรุปผลกระทบของร้านคนจับปลาต่อ ความมัน่ คงของอาชีพได้อย่างชัดเจน เนือ่ งจาก สมาชิกร้านคนจับปลาก็เป็นชาวประมงทีป่ ระกอบ อาชี พ ประมงในพื้ น ที่ แ ต่ เ ดิ ม อยู่ แ ล้ ว ผลการ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มสรุปได้ตรงกันว่า สิ่งที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของอาชีพคือ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ซึ่งเป็นผลมา จากการผลักดันของชุมชนเองร่วมกับสมาคม รักษ์ทะเลไทย (ผูก้ อ่ ตัง้ ร้านคนจับปลา) กรีนพีซ และองค์การบริหารส่วนตำ�บล

ระบบนิเวศของทะเล จำ�นวนและความหลากหลายของ ไทยจะได้รับการอนุรักษ์ สัตว์นํ้าในทะเลเพิ่มขึ้น และทรัพยากรธรรมชาติ ทางทะเลจะ อุดมสมบูรณ์ขึ้น

ไม่มีข้อมูล (ในอนาคตควรดูผลการสำ�รวจของ กรมประมง และ/หรือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)

ผู้บริโภคจะมีความเสี่ยง จำ�นวนผู้บริโภคที่เข้าถึงอาหารทะเล ด้านสุขภาพลดลง ปลอดภัยมากขึ้น

มีผลน้อยสำ�หรับผูบ้ ริโภคกลุม่ ตัวอย่างทีซ่ อื้ ผ่าน ร้านค้าปลีก เนื่องจากซื้อสินค้าของร้านคนจับ ปลาเป็นสัดส่วนไม่ถงึ ร้อยละ 5 ของอาหารทะเล ทีซ่ อ้ื ในร้านค้าปลีก โดยผูบ้ ริโภคระบุวา่ สินค้าของ ร้านคนจับปลามีราคาสูง แต่มผี ลสูงกว่าสำ�หรับ ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างที่ซื้อสินค้าจากร้านคน จับปลาโดยตรง เนื่องจากมียอดซื้อค่อนข้างสูง และเจาะจงซือ้ เพราะมัน่ ใจในคุณภาพของสินค้า


����������� � �������������������������������������������������������������

ผลลัพธ์ทางสังคม

ตัวชี้วัดที่เหมาะสม

271

มูลค่าผลลัพธ์จากการทดลองประเมิน

กิจการ: Outsourcing Contact Center (OCC) มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ ผู้พิการจะมีอาชีพ ที่มั่นคงมากขึ้น

รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้พิการหลังจาก รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้พิการ = 3,400 บาทต่อ เข้าร่วมโครงการ เดื อ น (เฉพาะผู้ พิ ก ารแต่ กำ � เนิ ด ) (หลั ง หั ก Deadweight ประมาณ 10,867 บาท) จำ�นวนผู้พิการที่มีรายได้ต่อเนื่อง

จำ�นวนผู้พิการที่มีรายได้ต่อเนื่องหลังจากเข้า ร่วมงานกับ OCC = 18 คน (ร้อยละ 31.6 จากผู้พิการที่มีรายได้ต่อเนื่องหลังจากเข้าร่วม งานกับ OCC)

ลดภาระของครอบครัว ภาระทางการเงินของครอบครัว ในการดูแล ผู้พิการลดลง

จำ�นวนผู้พิการที่ไม่ต้องรับเงินช่วยเหลือจาก ครอบครัว และสามารถส่งเงินกลับไปยังครอบครัว = 22 คน (ร้อยละ 38.6 จากจำ�นวนผู้พิการ ทั้งหมดที่ทำ�งานกับ OCC—ก่อนหน้านี้บุคคล เหล่านี้ไม่สามารถส่งเงินให้กับครอบครัวได้)

ผู้พิการสามารถดูแลช่วยเหลือ ตัวเองได้มากขึ้น

จำ�นวนผูพ้ กิ ารทีส่ ามารถเดินทาง หรืออยูไ่ ด้ดว้ ย ตนเอง = 18 คน (ร้อยละ 31.6 จากจำ�นวน ผู้พิการทั้งหมดที่ทำ�งานกับ OCC)

กิจการ: เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น นักเรียนในโรงเรียนจะมี คะแนน ONET ในวิชาคณิตศาสตร์ โอกาสยกระดับคุณภาพ และวิชาวิทยาศาสตร์ดีขึ้น ชีวิตด้านการศึกษา มากขึ้น

คณะผู้วิจัยทำ�การวิเคราะห์ความแตกต่างของ ค่าเฉลีย่ คะแนน ONET ระหว่างนักเรียนทีเ่ รียน ในระบบ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น กับนักเรียนที่ไม่ได้ เรียน โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน (Post-Hoc Analysis) จากนัน้ ทดสอบความแตกต่างของค่า เฉลีย่ ด้วยวิธกี ารจับคูพ่ หุคณ ู (multiple comparison) ทดสอบด้วย Tamhane’s Statistic ผลการวิเคราะห์พบว่า •  วชิ าคณิตศาสตร์ มีเพียงกลุม่ ทีม่ โี อกาสได้เรียน ในระบบ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น เป็นเวลา 3 ปี ก่อนเข้าสอบ ONET (คือเรียนตัง้ แต่ชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3) เท่านัน้ ที่มีค่าเฉลี่ยของผลคะแนนแตกต่างจากกลุ่ม อื่น ๆ อย่างมีนัยสำ�คัญ


272

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ผลลัพธ์ทางสังคม

ตัวชี้วัดที่เหมาะสม

มูลค่าผลลัพธ์จากการทดลองประเมิน •  วิชาวิทยาศาสตร์ ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบ ONET วิชาวิทยาศาสตร์ของทุกกลุม่ (เรียนใน ระบบ 1 ปี, 2 ปี และ 3 ปี) มีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำ�คัญ สรุปได้ว่า ในวิชาวิทยาศาสตร์นั้น จำ�นวนปีที่เด็กนักเรียนได้เรียนใน ระบบ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ช่วยเพิ่มผลคะแนน ของนักเรียนขึ้น โดยหากยิ่งมีโอกาสเรียนใน ระบบ เลิรน์ เอ็ดดูเคชัน่ ก่อนเข้าสอบ ONET ในรายวิชาวิทยาศาสตร์มากเท่าไร ผลคะแนน ก็จะเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น

นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนที่ดีขึ้น

จากการสนทนากลุ่ม คณะผู้วิจัยพบว่า ระบบ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ช่วยให้เด็กนักเรียนได้สร้าง ความคุ้นชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ และช่วย ทำ � ให้ เ ด็ ก นั ก เรี ย นเห็ น ภาพว่ า สิ่ ง ที่ เรี ย นจะมี ประโยชน์อย่างไรในอนาคต รวมทั้งยังทำ�ให้ นักเรียนเห็นความสำ�คัญของการเรียนในราย​ วิชาคณิตศาสตร์เเละวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้เกิด ผลทางบวกในเชิงเจตคติที่มีต่อระบบการศึกษา เเละการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น

อัตราการเรียนต่อของนักเรียนสูงขึ้น

โรงเรียนยังไม่ใช้ระบบ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น มา นานพอที่จะสามารถเปรียบเทียบสถิติการเรียน ต่อก่อนและหลังการใช้ระบบนีไ้ ด้ อย่างไรก็ตาม นักเรียนบางคน (ส่วนน้อย) เห็นว่าระบบนี้มี ส่วนช่วยให้ตนจะสามารถได้เรียนต่อในสาขา วิชาเเละได้ทำ�งานในสาขาอาชีพที่มุ่งหวัง

กิจการ: สัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม ชาวบ้านและครอบครัว ชาวบ้านมีเงินออมมากขึ้น จะสามารถพึ่งพาตนเอง ได้มากขึ้น ชาวบ้านได้รับสวัสดิการมากขึ้น

สมาชิกเครือข่าย (ทัง้ หมด 66,764 ราย) มีเงิน ออมมากขึ้ น เฉลี่ ย 21,950 บาทต่ อ ราย ณ สิ้นปี 2559 สมาชิกเครือข่าย (ทั้งหมด 66,764 ราย) ได้ สวัสดิการเพิ่มขึ้นจากสวัสดิการภาครัฐ (เบี้ยผู้ สูงอายุ และระบบประกันสุขภาพ) มูลค่าเฉลี่ย ไม่นอ้ ยกว่า 5,369 บาทต่อราย ณ สิน้ ปี 2559


����������� � �������������������������������������������������������������

ผลลัพธ์ทางสังคม

273

ตัวชี้วัดที่เหมาะสม

มูลค่าผลลัพธ์จากการทดลองประเมิน

ชาวบ้านที่เป็นกรรมการกลุ่มมีความ สามารถในการบริหารจัดการเงิน มากขึ้น

ไม่มีข้อมูล (ในอนาคตควรวัดจากการออกแบบ แบบทดสอบความรู้ในการบริหารจัดการเงิน สำ�หรับกรรมการกลุ่ม เทียบกับคนที่ไม่ได้เป็น กรรมการกลุ่ม)

กลุ่มออมทรัพย์รับซื้อผลผลิตของ สมาชิกได้มากขึ้น

ไม่มีข้อมูล (ยังไม่มีการเก็บข้อมูลนี้จาก 163 กลุ่ม ไว้ที่วัดไผ่ล้อม)

กลุ่มออมทรัพย์ซื้อที่ดินมาจัดสรร ให้กับคนที่ไม่มีที่อยู่ได้มากขึ้น

ไม่มีข้อมูล (ยังไม่มีการเก็บข้อมูลนี้จาก 163 กลุ่ม ไว้ที่วัดไผ่ล้อม)

กิจการ: โลเคิล อไลค์ ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น ชาวบ้านมีรายได้จากการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น

เฉพาะของผู้นำ�การท่องเที่ยว มีรายได้จากการ ประกอบกิจการท่องเทีย่ วไม่นอ้ ยกว่า 450,000 บาทต่อปี (บ้านหล่อโย) และเป็นไกด์ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี (บ้านสวนป่า ประมาณการ จากค่ า ไกด์ ต่ อ วั น และจำ � นวนการรั บ ทริ ป ที่ เหมาะสม คือ 3 ครั้งต่อเดือน)—ส่วนนี้เป็น รายได้เสริมที่ไม่เคยมีมาก่อน

จำ�นวนชาวบ้านที่มีส่วนร่วมกับการ •  บา้ นหล่อโย—16 ครัวเรือน คิดเป็นประมาณ ท่องเที่ยวมากขึ้น ร้อยละ 25 ของครัวเรือนทั้งหมด •  บา้ นสวนป่า—20 ครัวเรือน คิดเป็นประมาณ ร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมด ชุมชนน่าอยู่มากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้านที่เกิด จากเงินกองทุนท่องเที่ยวชุมชน

•  บ้านสวนป่า นำ�เงินกองทุนฯ ไปทำ�โครงการ จัดการขยะ พัฒนาพื้นที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติและแหล่งนํ้าลำ�ธารของชุมชน •  บ้านหล่อโย นำ�เงินกองทุนฯ ไปทำ�โครงการ ปรับปรุงพื้นที่ลานกิจกรรมและสนามเด็กเล่น สำ�หรับเด็กและเยาวชนในชุมชน

คนในชุมชนย้ายถิ่นน้อยลง

ไม่มีคนย้ายออก แต่ผลลัพธ์นี้ไม่ได้เกี่ยวเนื่อง กับการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันในรอบ 5 ปี มี ผู้ ที่ ย้ า ยกลั บ มาและช่ ว ยงานอยู่ ที่ โ ฮมสเตย์ บ้านดิน 2 คน


274

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ผลลัพธ์ทางสังคม

ตัวชี้วัดที่เหมาะสม ปริมาณขยะในชุมชนที่ได้รับการ จัดเก็บเพิ่มขึ้น

มูลค่าผลลัพธ์จากการทดลองประเมิน ไม่สามารถประเมินตัวเลขปริมาณขยะได้ แต่ ข้อมูลจากการลงพื้นที่บ่งชี้ว่าทั้ง 2 หมู่บ้านมี พัฒนาการในทางที่ดีขึ้น ทั้งในด้านการจัดการ ขยะในปัจจุบัน และการปลูกฝังพฤติกรรมให้ เด็ก ๆ และคนในชุมชนแยกขยะ ซึ่งต้องใช้เวลา นานกว่านี้ แต่มีแนวโน้มที่ดี


สรุปบทเรียนจากการ จัดทำ�กรณีศึกษานำ�ร่อง

8



��������������������������������������

277

การทดลองประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสำ�หรับกิจการเพื่อสังคม 6 แห่ง และจัดทำ� กรณีศกึ ษานำ�ร่องในโครงการวิจยั นี้ สามารถสรุปบทเรียนหลัก ๆ ทีค่ าดว่าน่าจะเป็น ประโยชน์ตอ่ การพัฒนาการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในประเทศ​ไทย และเครือข่าย ผู้ประเมินในอนาคตในหลายมิติ ตั้งแต่ความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้ การ เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดและไม่เกิดในพืน้ ที่ การเปลีย่ นแปลงในมุมมองของผูม้ สี ว่ นได้เสีย แนวทางปรับปรุงวิธปี ระเมิน หลักเกณฑ์ในการเลือกตัวชีว้ ดั ตลอดจนแนวทางพัฒนา​ เครือ่ งมือในอนาคตสำ�หรับผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม สรุปบทเรียนในมิตติ า่ ง ๆ เหล่านี้ ได้ดังต่อไปนี้ 8.1 ความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในบทก่อนหน้าว่า ผู้ประกอบการเพื่อสังคมของกรณีศึกษา นำ�ร่องทัง้ 6 แห่งในโครงการวิจยั ไม่มกี จิ การใดเคยจัดทำ�การประเมินผลลัพธ์ทาง สังคมมาก่อน ทุกแห่งเลือกทีจ่ ะลองประเมินผลลัพธ์ทางสังคมทีเ่ กิดขึน้ แล้วในอดีต จากการดำ�เนินงาน โดยประสงค์จะให้คณะผู้วิจัยประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสะสม ตั้งแต่ปีก่อตั้งกิจการ แต่ในความเป็นจริงทุกกิจการไม่สามารถประเมินตั้งแต่ปีก่อ ตั้งได้ เนื่องด้วยข้อจำ�กัดของข้อมูล โดยเฉพาะการไม่มี “ข้อมูลฐาน” เกี่ยวกับ สถานการณ์ในพืน้ ทีก่ อ่ นเริม่ ดำ�เนินกิจการ จึงลดขอบเขตลงเหลือเพียงการประเมิน ผลลัพธ์ยอ้ นหลัง 3–6 ปีลา่ สุด ขึน้ อยูก่ บั ว่าแต่ละกิจการมีขอ้ มูลเพียงใด และกลุม่ เป้าหมายหลักสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องย้อนหลังได้ไกลเพียงใด อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะมีข้อจำ�กัดของข้อมูลค่อนข้างมาก คณะผู้วิจัยพบว่าการ สร้าง “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” “ห่วงโซ่ผลลัพธ์” และการเลือก “ชุดตัวชี้วัด​ ผลลัพธ์” ทีก่ จิ การจะทำ�การวัดผล ตลอดจนการประเมินโดยคำ�นึงถึง “กรณีฐาน” (ผลลัพธ์บางส่วนอาจเกิดจากกิจการอื่นหรือปัจจัยภายนอก) ล้วนเป็นแนวคิดและ เครื่องมือที่เหมาะสมกับการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคม ด้วย เหตุผลดังต่อไปนี้ 1. ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลง เป็นจุดตัง้ ต้นในการวางกรอบวิธคี ดิ ของผูป้ ระกอบ­ การให้พยายามอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผลว่า กิจการของตนมุ่งหวังที่จะมีส่วน


278

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

สร้าง “การเปลีย่ นแปลงทางสังคม” อะไร และอย่างไร นอกจากนี้ กรอบแนวคิด ดังกล่าวยังเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงวิชาการ และแหล่งทุนที่สนับสนุน กิจการเพื่อสังคมทั่วโลก (ใช้ในองค์กรร้อยละ 57 ขององค์กรที่สำ�รวจในโครงการ วิจัยนี้) 2. ห่วงโซ่ผลลัพธ์ เป็นเครือ่ งมือทีม่ ปี ระโยชน์ในการ “คลี”่ ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลงของกิจการออกมาให้เห็นองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างชัดเจน และช่วยในการ เลือกชุดตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมที่เหมาะสมกับกิจการ 3. กรณีฐาน มีประโยชน์ในแง่การกระตุน้ ให้ผปู้ ระกอบการมองบริบทของพืน้ ที่ และสภาพปัญหาทีต่ นดำ�เนินงาน ในทางที่ “กว้าง” กว่าขอบเขตการดำ�เนินกิจการ เพือ่ ให้มองเห็นว่ามีองค์กรหรือหน่วยงานอืน่ กำ�ลังทำ�งานในประเด็นเดียวกันในพืน้ ที่ เดียวกันหรือไม่ ซึง่ อาจนำ�ไปสูก่ ารปรับปรุงการดำ�เนินงานของกิจการเอง หรือแม้ กระทั่งการจับมือเป็นพันธมิตรกับองค์กรอื่นที่ทำ�งานในพื้นที่เดียวกัน เพื่อสนธิ ศักยภาพและเพิ่มประสิทธิผลในการทำ�งาน นอกจากนี้ การคิดถึงกรณีฐานยัง กระตุ้นให้ผู้ประกอบการคำ�นึงถึงความพยายามของกลุ่มเป้าหมายโดยตรงในการ ปรับปรุงสถานการณ์ของตนเองและบทบาทของกลุ่มเป้าหมายในการออกแบบ กิจกรรมหลักของกิจการ (กิจการเพื่อสังคมในไทยหลายแห่งต่อยอดกิจกรรมเดิม ของกลุ่มเป้าหมาย หรือให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมหลัก) ผู้ประกอบการของกิจการ 6 แห่ง ซึ่งเป็นกรณีศึกษานำ�ร่องในครั้งนี้ มองว่า ผลการประเมินนับว่ามีประโยชน์ต่อกิจการ ในแง่ของการให้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่า ในอดีตว่า กิจการของตนสามารถสร้างผลลัพธ์ทางสังคมตรงกับที่มุ่งหวังหรือไม่ เพียงใด ความคืบหน้าเป็นอย่างไร มีผลลัพธ์อะไรที่ไม่คาดหมายหรือไม่ ผู้มีส่วน ได้เสียคิดอย่างไร รวมถึงให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรม หลักของกิจการในบางระดับ การเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสมนั้น สอดคล้อง กับพัฒนาการการประเมินผลลัพธ์ของกิจการเพือ่ สังคมในระดับสากล ดังทีไ่ ด้สรุป ไปก่อนหน้านี้ในบทที่ 5 ยกตัวอย่างเช่น แหล่งทุนและองค์กรสนับสนุนระดับโลก หรือภูมภิ าค 35 แห่ง หรือร้อยละ 50 ขององค์กรทีส่ �ำ รวจ ใช้ตวั ชีว้ ดั (indicators) เป็นหลักในการประเมินผลลัพธ์ของกิจการเพื่อสังคมที่ตนให้การสนับสนุน


��������������������������������������

279

8.2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดและไม่เกิด และอุปสรรคในการประเมิน กล่าวโดยรวม กิจการเพื่อสังคมในกรณีศึกษานำ�ร่องทั้ง 6 แห่ง ล้วนแต่สามารถ สร้างผลลัพธ์ทางสังคมอย่างน้อยบางส่วนที่ตรงกับเป้าหมายหลักของกิจการ ไม่มี กิจการใดที่คณะผู้วิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงสำ�คัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นเพียง ผลพลอยได้ หรือไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับกิจกรรมหลักของกิจการ ข้อค้นพบ ดังกล่าวสะท้อนว่าผู้ประกอบการทั้ง 6 แห่ง ได้ทำ�การศึกษาความต้องการและ ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายหลักมาเป็นอย่างดีก่อนที่จะริเริ่มกิจการ และออกแบบ กิจกรรมที่คาดว่าจะส่งผลเชิงบวกได้ อย่างไรก็ดี จากการทดลองประเมินผลลัพธ์ คณะผู้วิจัยพบว่า “ขนาด” ของ ผลลัพธ์ทางสังคมหลายรายการเกิดน้อยกว่าทีผ่ ปู้ ระกอบการคาดหวัง การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ บางรายการเป็นสิง่ ทีผ่ มู้ สี ว่ นได้เสียให้ความสำ�คัญ แต่ไม่ได้เป็นเป้า­ หมายหลักของกิจการ และตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมหลายรายการที่ไม่ใช่ผลลัพธ์ ทางเศรษฐกิจ เช่น ความสามัคคีในชุมชน ก็จ�ำ เป็นจะต้องมีการวางแผนและพัฒนา วิธวี ดั ผลทีเ่ ป็นระบบในอนาคต เพือ่ จะได้สามารถติดตามตรวจสอบดูได้วา่ เกิดความ เปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพียงใด น่าจะเกิดจากกิจกรรมหลักของกิจการหรือเกิดจาก ปัจจัยอื่น การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ไม่เกิดขึน้ สรุปไม่ได้ และอุปสรรคทีค่ ณะผูว้ จิ ยั พบ ในการประเมิน สามารถสรุปได้ดงั ตาราง 22 โดย ตัวหนา แสดงการเปลีย่ นแปลง ที่กลุ่มเป้าหมายหลักมองว่าเป็นประโยชน์ที่ตนได้รับ แต่ไม่ได้อยู่ในเป้าหมายหรือ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของกิจการ


280

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ตาราง 22 สรุปการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และอุปสรรคในการประเมิน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

การเปลี่ยนแปลง ที่ไม่เกิดขึ้น

การเปลี่ยนแปลง ที่ไม่สามารถสรุปได้

อุปสรรคในการประเมิน

กิจการ: โครงการมะพร้าวอินทรีย์ สหกรณ์กรีนเนท • รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น • ต้นทุนเฉลี่ยลดลง •  สมาชิกทำ�งานเป็นกลุ่ม และรู้สึกว่ามีความรู้ มีศักยภาพมากขึ้น •  การเปลี่ยนแปลงด้าน สิ่งแวดล้อม (เช่น ดินดีขึ้น)

•  สุขภาพของเกษตรกร ที่ดีขึ้น

•  ขาดข้อมูลฐาน และ ข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม

กิจการ: ร้านคนจับปลา •  ราคารับซื้อสูงกว่าตลาด ร้อยละ 20 ส่งผลให้ รายได้ชาวประมงเพิ่มขึ้น •  สัตว์นํ้ากลับมาในพื้นที่ มากขึ้น ชาวประมงจับ ปลาได้มากขึ้น (ผลลัพธ์ จากสมาคมรักษ์ทะเลไทย และองค์กรอื่นมากกว่า กิจการ)

•  รายได้ที่เพิ่มขึ้นยังไม่เพียง •  วางดัชนีเชิงปริมาณไว้ พอต่อการปลดหนี้ แต่เก็บข้อมูลไม่ได้ เช่น และมาจากแพปลาด้วย บัญชีครัวเรือนของสมาชิก และข้อมูลด้านผลกระทบ (แต่ก็ต้องให้เครดิตร้าน สิ่งแวดล้อม คนจับปลาที่กดดันให้ แพปลาแข่งขันด้วยการ ขึ้นราคารับซื้อ)

กิจการ: Outsourcing Contact Center (OCC) มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ •  รายได้ที่เพิ่มขึ้นของ •  ความก้าวหน้าในอาชีพ • ความมั่นคงทางอาชีพ ผู้พิการ (career path)—กิจการ • ความมั่นใจในการใช้ชีวิต มองว่าเกิด แต่กลุ่ม • การพึ่งตนเองได้มากขึ้น เป้าหมายมองไม่เห็นว่า ตนมีความก้าวหน้าใน อาชีพ

•  การขอข้อมูลจากกิจการ เกิดความล่าช้า


��������������������������������������

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

การเปลี่ยนแปลง ที่ไม่เกิดขึ้น

การเปลี่ยนแปลง ที่ไม่สามารถสรุปได้

281

อุปสรรคในการประเมิน

กิจการ: เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น •  คะแนนวิทยาศาสตร์เพิ่ม ขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญทาง สถิติ และเพิ่มขึ้นทุกปี ตรงตามที่กิจการตั้งไว้ ประมาณร้อยละ 30 •  คะแนนคณิตศาสตร์ ต้อง ใช้เวลา 3 ปีขึ้นไปถึงจะ เห็นผลคะแนน ONET ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ

•  โอกาสในการเรียนต่อ •  กิจการไม่ยินดีจะให้ (ยังเร็วเกินกว่าที่จะสรุป) เปิดเผยรายละเอียด ผลการประเมินผลลัพธ์ ต่อสาธารณะ

กิจการ: สัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม • สมาชิกมีเงินออมเพิ่มขึ้น •  สมาชิกได้รับสวัสดิการ มากขึ้น •  สมาชิกได้รับสินเชื่อ มากขึ้น

•  ขาดข้อมูล โดยเฉพาะ •  ความสามารถในการ บริหารจัดการเงินของ ระดับกลุ่ม (เครือข่าย กรรมการกลุ่ม สัจจะสะสมทรัพย์วัด •  ผลลัพธ์ของการใช้เงิน ไผ่ล้อมมีสมาชิก 163 กลุ่ม (เช่น รับซื้อผลผลิต กลุ่มทั้งจังหวัด) ของสมาชิก ซื้อที่ดินมา จัดสรรให้กับสมาชิก) กิจการ: โลเคิล อไลค์

•  ชุมชนตัวอย่างจัดการขยะ •  ศักยภาพของชาวบ้านใน •  คุณภาพชีวิตของคนใน ได้ดีขึ้น เกิดจากการ ชุมชน (ผลกระทบจาก ชุมชน จุดประกายของกิจการ การท่องเที่ยวเกิดน้อย ร่วมกับ อบต. เป็นผลจาก กว่าที่คาด และกระจุกตัว การท่องเที่ยวโดยตรง ในตัวผู้นำ�คนเดียว) •  รายได้ของคนที่เกี่ยวข้อง •  ประสิทธิภาพการ เพิ่มขึ้น ดำ�เนินงานของกองทุน การท่องเที่ยว

•  เหตุสุดวิสัยในชุมชนซึ่ง กระทบต่อแผนการ ลงพื้นที่


282

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

8.3 หลักเกณฑ์การเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และการเลือกตัวชี้วัด จากบทเรียนการจัดทำ�กรณีศกึ ษานำ�ร่องในโครงการวิจยั นี้ คณะผูว้ จิ ยั เสนอว่าการ เขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของกิจการเพื่อสังคม ตลอดจนการเลือกชุดตัวชี้วัด​ ผลลัพธ์ที่เหมาะสม ควรมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นดังต่อไปนี้ 1. นิยาม “การเปลีย่ นแปลงทางสังคม” ทีก่ จิ การต้องการมีสว่ นสร้างอย่าง รัดกุม และชัดเจนว่าเป็นผลมาจากกิจกรรมหลัก กิจการเพือ่ สังคมจำ�นวนไม่นอ้ ยคาดหวังแต่เพียงกว้าง ๆ ว่า กิจการของตนจะ สามารถมีสว่ นสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับที่ใหญ่และไกลทีส่ ุด คือทัง้ สังคม ฉะนั้นเวลาเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงก็จะระบุ “การเปลี่ยนแปลงทาง สังคม” ด้วยถ้อยคำ�นามธรรมที่มีความหมายกว้าง เช่น “ความสุข” “คุณธรรม” หรือ “ความอยูด่ มี สี ขุ ” ซึง่ ถึงแม้วา่ กิจการอาจมีสว่ นสร้างการเปลีย่ นแปลงในระดับ นั้นได้จริง แต่การตั้งเป้าหมายในระดับไกลขนาดนี้ก่อให้เกิดความไม่ชัดเจนว่า กิจการจะประเมินอย่างน่าเชือ่ ถือได้อย่างไรว่าตนมีสว่ นสร้างการเปลีย่ นแปลงหรือไม่ เพียงใด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ไกลที่สุดย่อมเกิดจากปัจจัยมากมาย ประกอบกัน ด้วยเหตุน้ี ผู้ประกอบการจึงจำ�เป็นต้องให้เวลากับการนิยาม “การเปลี่ยนแปลงทางสังคม” ที่ตนต้องการมีส่วนสร้างอย่างชัดเจน และอธิบายอย่างเป็นเหตุ เป็นผลได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ น่าจะเกิดจากกิจกรรมหลักของตนโดยตรงได้ หรือไม่ อย่างไร ถ้าหากไม่สามารถอธิบาย “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” ได้ชัดเจน ก็ควรทบทวนกิจกรรมหลักและเป้าหมายของกิจการ กลับไปศึกษาความต้องการ ของกลุม่ เป้าหมายหลัก และสุดท้ายอาจปรับเปลีย่ นเป้าหมายทางสังคมของกิจการ ให้ “ใกล้ชิด” กับกิจการ คือน่าจะเป็นผลมาจากกิจกรรมหลักของตนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะตั้งเป้า “เพิ่มความอยู่ดีมีสุขในชุมชน” ก็อาจจะระบุ “ยกระดับคุณภาพชีวติ ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชน” แทน ถ้าหากกิจกรรมหลัก ไม่สามารถอธิบายได้วา่ น่าจะมีสว่ นสร้างการเปลีย่ นแปลงทางสังคมด้านอืน่ นอก เหนือจากเศรษฐกิจ (เช่น การเพิ่มรายได้ หรือลดรายจ่าย)


��������������������������������������

283

ตัวอย่าง การนิยาม “คุณภาพชีวิตด้านการศึกษา” ในกรณีศึกษาน�ำร่อง เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น เมอร์ซีและคณะ (Mercy el al., 2015, pp. 9–10) ได้ทำ�การแบ่ง คุณภาพชีวิตของมนุษย์ออกเป็น 8 มิติหลัก และ 1 มิติพิเศษ โดยอ้างอิง จากดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการระบบการสถิติแห่งสหภาพ ยุโรป (European Statistical System Committee: ESSC) ดังนี้ มิติหลักของคุณภาพชีวิต 1) คุณภาพชีวติ ด้านสภาพทีอ่ ยูอ่ าศัย (Material Living Condition) 2) คุณภาพชีวิตด้านความอุดมสมบูรณ์ (Productive) 3) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (Health) 4) คุณภาพชีวิตด้านการศึกษา (Education) 5) คณ ุ ภาพชีวติ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและการหย่อนใจ (Social Relations and Leisure) 6) คณ ุ ภาพชีวติ ด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัยทางกายภาพ (Economic and Physical Safety) 7) คณ ุ ภาพชีวติ ด้านการปกครองและสิทธิขนั้ พืน้ ฐาน (Governance and Basic Rights) 8) คุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อมในการดำ�รงชีวิต (Natural and Living Environment) โดยในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยให้ความสำ�คัญกับคุณภาพชีวิตใน มิตดิ า้ นการศึกษา ซึง่ ถือได้วา่ เป็นปัจจัยทีส่ �ำ คัญทีจ่ ะนำ�ไปสูค่ ณ ุ ภาพชีวติ ใน ด้านอื่น จากการศึกษาของเมอร์ซีและคณะ (Mercy el al., p. 82) พบ ว่าระยะเวลาทีบ่ คุ คลอยูใ่ นสถาบันการศึกษามีสว่ นเกีย่ วข้องกับสถานะและ บทบาทในสังคม โดยเมอร์ซแี ละคณะพบว่า คนทีห่ ยุดเรียนก่อนสำ�เร็จการ ศึกษามีความเสี่ยงที่จะถูกกีดกันจากสังคมมากกว่าคนที่อยู่ในระบบการ


284

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ศึกษาจนสำ�เร็จการศึกษา นอกจากนี้ ระดับการศึกษายังมีผลโดยตรงต่อ การจ้างงานด้วย โดยผูป้ ระกอบการตลอดจนนายจ้างส่วนใหญ่ จะให้ความ สำ�คัญกับระดับการศึกษาในการรับรองทักษะและความสามารถที่เหมาะ­ สมกับตลาดแรงงาน กล่าวโดยสรุปคือ ระดับการศึกษาเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ นำ�ไปสู่การมีคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ นั่นเอง ทั้งนี้ในแง่ขอบเขตของคุณภาพชีวิตด้านการศึกษา คณะผู้วิจัยจะ พิจารณาจากปัจจัยเชิงคุณภาพ 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) เจตคติต่อการเรียน ทีด่ ขี นึ้   2) การลดความเสีย่ งในชีวติ ด้านการไม่ได้เรียนต่อ  3) แรงจูงใจใน ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตตัวเอง

2. กิจการเพื่อสังคมประเภท “ตัวกลาง” (intermediary) ควรกำ�หนด ตัวชีว้ ดั ผลลัพธ์ขนั้ กลาง (intermediate outcomes) นอกเหนือจากผลลัพธ์ ทางสังคมขั้นสุดท้าย กิจการเพือ่ สังคมบางแห่งดำ�เนินงานในลักษณะ “ตัวกลาง” (intermediary) เป็นหลัก กล่าวคือ ไม่สร้างผลลัพธ์ทางสังคมที่คาดหวัง (ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย อัน เป็นเป้าหมายของกิจการ) ทางตรง จากการดำ�เนินกิจการ แต่สร้างผลลัพธ์ ทาง อ้อม ผ่านการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรอืน่ ทีไ่ ปสร้างผลลัพธ์ทางสังคมอีกทอด หนึ่ง ถ้าหากกิจการลักษณะดังกล่าวติดตามเฉพาะตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมขั้น สุดท้าย (ซึ่งเป็นผลทางตรงจากองค์กรอื่นที่ตนไปเสริมสร้างศักยภาพ นับเป็นผล ทางอ้อมจากการดำ�เนินงานของตนเอง) ก็จะทำ�ให้ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกิจการ (ในการมีส่วนสร้างผลลัพธ์ทางสังคม) ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากกิจกรรมหลักมิได้สร้างผลลัพธ์ทางสังคมขั้นสุดท้ายโดยตรง ด้วยเหตุนี้ กิจการแบบ “ตัวกลาง” จึงสมควรกำ�หนดชุดตัวชีว้ ดั อีกชุดสำ�หรับประเมิน “ผลลัพธ์ ขัน้ กลาง” (intermediate outcomes) เช่น ศักยภาพขององค์กรชุมชน ความรู้ ความสามารถของคนในชุมชน (ในกรณีนี้ “คนในชุมชน” จะเป็นผูส้ ร้างผลลัพธ์ขนั้


��������������������������������������

285

สุดท้าย) โดยผลลัพธ์ขนั้ กลางดังกล่าวควรเป็นผลทีเ่ กิดขึน้ โดยตรงจากกิจกรรมหลัก ของกิจการเพื่อสังคม และอธิบายเป็นเหตุเป็นผลได้ว่าจะมีส่วนสร้างผลลัพธ์ขั้น สุดท้ายอย่างไร โลเคิล อไลค์ เป็นกิจการเดียวในบรรดากรณีศึกษานำ�ร่องทั้ง 6 แห่ง ที่มี ลักษณะเป็น “ตัวกลาง” ดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากผลลัพธ์ทางสังคมที่มุ่งหวัง ไม่วา่ จะเป็นรายได้จากการท่องเทีย่ วของคนในชุมชน หรือการทีช่ มุ ชนน่าอยูม่ ากขึน้ ล้วนมิได้เกิดจากการดำ�เนินกิจการโดยตรง แต่เกิดจากการที่ โลเคิล อไลค์ เข้าไป ทำ�งานร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่น และร่วมก่อตั้ง “กองทุน ท่องเทีย่ วโดยชุมชน” ขึน้ ในพืน้ ที่ บริหารจัดการโดยคนในชุมชนเอง โดยทีก่ จิ การ คาดหวังว่าผูป้ ระกอบการท้องถิน่ และกองทุนนีจ้ ะสร้างผลลัพธ์ทางสังคมทีป่ รารถนา ได้ สรุปเป็นแบบจำ�ลองตรรกะได้ในแผนภาพ 22

ตัวอย่าง กลไกสร้างผลลัพธ์ทางสังคมขั้นสุดท้าย สืบเนื่องจากผลลัพธ์ขั้นกลางของกิจการ: กองทุนท่องเที่ยว โดยชุมชน (Community-​Based Tourism Fund: CBT Fund) (บริษัทโลเคิล อไลค์ จ�ำกัด, 2558) กองทุนท่องเทีย่ วโดยชุมชนมีรายได้จากกิจกรรมการท่องเทีย่ วทีเ่ กิดขึน้ ร่วมกันระหว่างชุมชนและโลเคิล อไลค์ เงินสมทบในกองทุนมาจาก 2 ส่วน คือ รายได้ร้อยละ 5–10 ของรายได้ที่เกิดขึ้นจากโปรแกรมการท่องเที่ยว ในชุมชน และร้อยละ 5 ของกำ�ไรสุทธิของบริษัทเกิดขึ้นจากโปรแกรม การท่องเที่ยวในชุมชน นอกจากวัตถุประสงค์หลักในการเป็นกองทุนการพัฒนาชุมชนแล้ว การดำ�เนินงานของกองทุนท่องเทีย่ วโดยชุมชนจะช่วยเสริมสร้างทักษะการ บริหารจัดการปัญหาและความต้องการในชุมชน ช่วยเสริมสร้างความ สัมพันธ์และความเป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างชุมชนและโลเคิล อไลค์ การ บริหารกองทุนท่องเที่ยวโดยชุมชนใช้หลัก​ธรรมาภิ­บาล ให้ความสำ�คัญกับ


คุณภาพชีวิตในระดับ ปัจเจกและครอบครัว • สุขอนามัย •  รายได้ที่เพิ่มขึ้นของ ชาวบ้าน (เช่น จากการ ขายอาหาร การแสดง) “ชุมชนน่าอยู่” •  ความสามัคคีและความ สัมพันธ์ในชุมชนดีขึ้น •  ปัญหาสำ�คัญของชุมชน ได้รับการแก้ไข • ลดการย้ายถิ่น •  มีการสืบสานภูมิปัญญา วัฒนธรรมที่ต่อเนื่อง

1) ศักยภาพ ความสามารถ ในการบริหารจัดการใน เรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น • การทำ�โฮมสเตย์ • การผลิต การขาย และ การจัดการสินค้า 2) รายได้ของผู้ประกอบการ ท่องเที่ยวในท้องถิ่น เช่น เจ้าของโฮมสเตย์

แผนภาพ 22 แบบจำ�ลองตรรกะ (Logic Model) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจาก โลเคิล อไลค์  = ขอบเขตกิจกรรมและผลลัพธ์ที่ โลเคิล อไลค์ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง

กองทุนท่องเที่ยว โดยชุมชน

ร้อยละ 5–10 ของรายได้ที่เกิดขึ้นจาก โปรแกรมการท่องเที่ยวในชุมชนนั้นๆ

ร้อยละ 5 ของกำ�ไรสุทธิของบริษัทที่เกิดขึ้นจาก โปรแกรมการท่องเที่ยวในชุมชนนั้นๆ

ความรู้/ความเข้าใจใน การทำ�งานต่างๆ

การพัฒนาศักยภาพ ด้านต่างๆ

เงินสมทบจาก โลเคิล อลไค์

โอกาสในการเข้าถึงการ มีรายได้ที่มากขึ้น

การส่งเสริมด้าน การตลาด

ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (ultimate outcomes)

ผลลัพธ์ขั้นกลาง (intermediate outcomes)


��������������������������������������

287

การมีสว่ นร่วมของสมาชิก มีความยืดหยุน่ คล่องตัว เปิดเผย โปร่งใส และ ตรวจสอบได้ โดยมุ่งหวังว่าจะนำ�ไปสู่การพึ่งตนเองได้ของชุมชนในการ บริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

เมือ่ มีเงินสะสมครบ 1 ปี โลเคิล อไลค์ จะดำ�เนินการชีแ้ จงเงินสะสม ทีเ่ กิดขึน้ ในกองทุน และหารือร่วมกับชุมชนเกีย่ วกับปัญหา ความต้องการ และแนวทางในการใช้เงินจากกองทุนฯ ในการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนอง ความต้องการของชุมชน โครงการน�ำร่อง

•  โครงการจัดการขยะ พัฒนาพืน้ ทีเ่ ส้นทางศึกษาธรรมชาติและแหล่ง นํ้าลำ�ธารของชุมชน หมู่บ้านสวนป่า อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัด เชียงราย

โครงการจัดการขยะ พัฒนาพืน้ ทีศ่ กึ ษาธรรมชาติและแหล่งนาํ้ ลำ�ธาร ของชุมชน เริม่ ขึน้ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ด้วยเงินจำ�นวน 3,500 บาท เพือ่ แก้ปญ ั หาขยะทีส่ ะสมในพืน้ ทีจ่ ากการทับถมของนํา้ ป่าไหลหลาก โครงการนำ�โดยนายเพชรัช วิบลู ศรีสกุล (อาฉาย) และผูน้ �ำ ชุมชนอืน่  ๆ ชักชวน ให้คนในชุมชนร่วมกันเก็บขยะในหมู่บ้านจำ�นวน 3 ครั้ง และปีต่อมาได้


288

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ประสานกับองค์การบริหารส่วนตำ�บลให้ดำ�เนินการจัดหาถังขยะและเข้า มาเก็บขยะในหมู่บ้านทุกวันพุธ โดยเก็บค่าบริการเดือนละ 20 บาท (ต่อ หลังคาเรือน) •  โครงการปรับปรุงพื้นที่ลานกิจกรรมและสนามเด็กเล่นสำ�หรับเด็ก และเยาวชนในชุมชน หมู่บ้านหล่อโย อ.แม่จัน จ.เชียงราย โครงการปรับปรุงพืน้ ทีล่ านกิจกรรมและสนามเด็กเล่น เริม่ ต้นในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556 ด้วยเงิน 15,000 บาท สำ�หรับจัดซื้อวัสดุในการ ก่อสร้างปรับพืน้ ทีใ่ ห้เกิดเป็นลานกิจกรรมให้เด็กมาเล่นแทนพืน้ ทีท่ เี่ สีย่ งต่อ อุบัติเหตุ

จากแบบจำ�ลองตรรกะข้างต้นจะพบว่า ผลกระทบทางสังคมจะเกิดที่ต้นทาง หรือแกนนำ�ทีเ่ ป็นจุดเชือ่ มต่อโดยตรงกับโลเคิล อไลค์ (ผลลัพธ์ขนั้ กลาง) มากกว่า ผลกระทบสืบเนื่องไปที่ชุมชน (ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย) ค่อนข้างมาก และการเร่งให้ เกิดการใช้เงินจากกองทุนการท่องเที่ยวชุมชนให้เห็นเป็นรูปธรรม หากเริ่มมีการ ดำ�เนินการอย่างจริงจังมากขึน้ ก็นา่ จะเป็นตัวเร่งให้ชมุ ชนเห็นความสำ�คัญของการ ท่องเทีย่ ว และหันมาเข้าร่วมช่วยกันพัฒนาชุมชนให้เกือ้ กูลกับการท่องเทีย่ วชุมชน 3. ทัศนะของผู้มีส่วนได้เสียช่วยประเมินความเหมาะสมของตัวชี้วัด และ จัดลำ�ดับความสำ�คัญของผลลัพธ์ ความท้าทายหลักประการหนึง่ ของการเลือกตัวชีว้ ดั ทีเ่ หมาะสม คือ ผูป้ ระกอบ­ การหลายรายมีแนวโน้มที่จะเลือกตัวชี้วัดที่ “วัดง่าย” ทั้งในแง่ของเวลาและ ค่าใช้จ่าย มากกว่าตัวชี้วัดที่อาจ “วัดยาก” แต่สามารถสะท้อนผลลัพธ์ทางสังคม ได้ใกล้เคียงมากกว่า อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเลือกตัวชี้วัดจำ�นวนมากที่มีความ หลากหลายสูง โดยไม่ลำ�ดับความสำ�คัญของตัวชี้วัดแต่ละรายการเสียก่อน และ


��������������������������������������

289

ไม่ทบทวนอย่างละเอียดว่า ตัวชีว้ ดั แต่ละตัวมีความชัดเจนหรือไม่ สามารถสะท้อน “ผลลัพธ์ทางสังคม” ที่มุ่งหวังจะให้เกิดได้หรือไม่ อย่างไร ในการรับมือกับความท้าทายดังกล่าว การให้ผู้มีส่วนได้เสียโดยเฉพาะกลุ่ม เป้าหมายหลักของกิจการ ได้เข้ามามีสว่ นร่วมตัง้ แต่เนิน่  ๆ ในกระบวนการประเมิน สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างตัวชี้วัดที่เหมาะสม รวมถึงช่วยจัด อันดับความสำ�คัญของผลลัพธ์แต่ละรายการได้ เนื่องจาก “การเปลี่ยนแปลง” ที่ผู้ประกอบการคาดหวังนั้น ย่อมหวังว่าจะเกิดกับกลุ่มเป้าหมายของกิจการ โดยตรง และกลุม่ เป้าหมายคือบุคคลทีจ่ ะให้ขอ้ มูลได้ดที สี่ ดุ ว่าเกิดการเปลีย่ นแปลง ไปในทิศทางใดบ้าง (ถึงแม้ว่าการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดเพื่อให้ประเมินผลลัพธ์ ได้จริง ๆ จะต้องอาศัยวิธีการที่เป็นระบบและเชื่อถือได้มากกว่าเพียงทัศนะของผู้มี ส่วนได้เสียก็ตาม) ตัวอย่างที่น่าสนใจของการนำ�ทัศนะของผู้มีส่วนได้เสียมาทบทวนตัวชี้วัด คือ กรณีศึกษานำ�ร่อง การทดลองประเมินผลลัพธ์ทางสังคมจากการดำ�เนินงานของ Outsourcing Contact Center (OCC) มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ ในกรณีศกึ ษาดังกล่าว คณะผูว้ จิ ยั ได้รวบรวมข้อมูลของผูม้ สี ว่ นได้เสีย 3 กลุม่ หลักได้แก่ 1) ผูพ้ กิ ารทีเ่ ข้าร่วมโครงการของ OCC  2) ครอบครัวของผูพ้ กิ าร และ 3) บริษัทที่จ้างงาน OCC โดยวิธีการที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยการ สัมภาษณ์ และประชุมกลุ่มย่อยสำ�หรับกลุ่มผู้พิการ และการสัมภาษณ์สำ�หรับ ครอบครัวรวมทัง้ บริษทั ทีจ่ า้ งงาน โดยพบว่าผูพ้ กิ ารร้อยละ 31.6 จากกลุม่ ตัวอย่าง มีรายได้จาก OCC จากที่ไม่เคยทำ�งานมาก่อน ร้อยละ 43.9 มีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.5 มีรายได้เท่าเดิม และร้อยละ 14.0 มีรายได้ลดลงหลังจากทีม่ าทำ�งาน กับ OCC ดังรายละเอียดในตาราง 23 ข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ ผู้พิการ 8 คน หรือร้อยละ 14 ที่มีรายได้ลดลงหลัง จากทีม่ าทำ�งานกับ OCC นัน้ ยังคงเลือกทีจ่ ะทำ�งานกับ OCC ต่อไป โดยผูพ้ กิ าร ในกลุม่ นีใ้ ห้เหตุผลว่า ส่วนใหญ่ประสบอุบตั เิ หตุ ส่งผลให้รา่ งกายพิการไม่สามารถ ทำ�งานเดิมได้ เพราะร่างกายไม่เอื้ออำ�นวย อีกทั้งยังพบปัญหาเรื่องแนวความคิด ของเจ้านาย การปรับเปลี่ยนหัวหน้างาน ทำ�ให้ผู้พิการเลือกทำ�งานกับ OCC ซึ่ง สามารถทำ�ให้ผู้พิการมีรายได้ที่มั่นคง เป็นอาชีพที่เหมาะกับผู้พิการ รวมถึงจัด สถานที่ที่เอื้ออำ�นวยให้กับผู้พิการ


290

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ตาราง 23 จำ�นวนผู้พิการที่มีรายได้จาก OCC เทียบกับรายได้ในอดีต จำ�นวนผู้พิการที่มีรายได้จาก OCC เปรียบเทียบกับรายได้ในอดีต หน่วย

เคยทำ�งานมาก่อน

ไม่เคยทำ�งาน มาก่อน

รายได้เพิ่มขึ้น

รายได้เท่าเดิม

รายได้ลดลง

คน

18

25

6

8

ร้อยละ

31.6

43.9

10.5

14.0

ด้วยเหตุนี้ “รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้พิการ” จึงเป็นตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อน ความมั่นคงทางอาชีพของผู้พิการได้บางส่วน แต่ไม่อาจสะท้อนผลลัพธ์ทางสังคม ที่สำ�คัญด้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ความเชื่อมั่นในตัวเอง ความสบายใจในการ ทำ�งาน ความสามารถและความกล้าในการเข้าสังคม ศักยภาพในตัวเองทีไ่ ด้รบั การ พัฒนา และการลดการพึ่งพาความช่วยเหลือจากครอบครัว ซึ่งล้วนแต่เป็นคุณค่า ทีไ่ ม่สามารถประเมินได้ในมุมมองของครอบครัวผูพ้ กิ าร และเป็นผลลัพธ์ทางสังคม ที่สำ�คัญกว่าและน่าจะส่งผลในระยะยาวมากกว่าลำ�พังการสร้างรายได้เพิ่มให้กับ ผู้พิการ กรณีศกึ ษานำ�ร่อง โครงการมะพร้าวอินทรีย์ สหกรณ์กรีนเนท เป็นอีกตัวอย่าง ที่ผู้มีส่วนได้เสียหลักให้คุณค่ากับประโยชน์ด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวเงิน ไม่แพ้ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจทีเ่ กิดขึน้ ในกิจการนี้ ระยะหลังเกษตรกรหลายรายตัดสินใจ เข้าร่วมกลุ่มเพราะแรงจูงใจด้านราคารับซื้อมะพร้าวที่สูงกว่าราคาตลาด แต่มิได้ เข้าร่วมโครงการเพราะมีความรู้หรือเชื่อมั่นในการทำ�เกษตรอินทรีย์ กล่าวคือ เข้า ร่วมเพราะผลประโยชน์ทางการเงินที่สูงกว่า อย่างไรก็ดี หลังจากร่วมทำ�งานกับกลุ่ม เกษตรกรส่วนใหญ่คิดว่า ชุมชนเข้ม แข็งขึ้น เช่น เริ่มมีเกษตรกรบ้านข้างเคียงให้ความสนใจและร่วมรับฟังความรู้หรือ ข่าวสารใหม่ ๆ จากกลุม่ มากขึน้ นอกจากนี้ กลุม่ ยังบอกว่ามีอ�ำ นาจในการต่อรองกับ ภาครัฐมากยิง่ ขึน้ สมาชิกมีความสามัคคี มีการแลกเปลีย่ นข้อมูลข่าวสาร ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน และการรวมกลุ่มยังทำ�ให้สมาชิกได้รับความรู้ใหม่ ๆ ทางการเกษตร อย่างสมํ่าเสมอ


��������������������������������������

291

จากการร่วมสังเกตการณ์การประชุมประจำ�เดือน การให้เกษตรกรได้มีส่วน ร่วมในการกำ�หนดราคารับซือ้ มะพร้าวถือเป็นสิง่ ทีเ่ กษตรกรให้ความสำ�คัญและเห็น คุณค่าในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ เกษตรกรรายหนึ่งกล่าวว่า “ถ้าขายให้พอ่ ค้าคนกลาง เขาซือ้ เท่าไร เขานับลูกให้เราเท่าไร ว่าลูกใหญ่ เป็นลูกกลาง ว่าลูกกลางเป็นลูกเล็ก ก็ต้องตามนั้น” ส่วนราคาที่มีการบวกเพิ่มจากราคาตลาดนั้น คุณค่าที่ได้มีมากกว่าตัวราคา แต่มีคุณค่าด้านการมีส่วนร่วม การเป็นส่วนหนึ่งของการได้กำ�หนดราคา และการ ได้มโี อกาสเสนอและมีผรู้ บั ฟัง และรูส้ กึ ว่าไม่ถกู เอารัดเอาเปรียบเหมือนกับการขาย มะพร้าวให้กับพ่อค้าคนกลาง นอกเหนือจากความเข้มแข็งของชุมชนทีเ่ พิม่ ขึน้ แล้ว เกษตรกรยังพบว่าสภาพ แวดล้อมในสวนมีการเปลีย่ นแปลงไปในทางทีด่ ขี นึ้ ดินมีคณ ุ ภาพทีด่ ขี นึ้ มีไส้เดือน ในดินเจำ�นวนมาก ดินไม่แข็ง ยกตัวอย่างทัศนะเช่น “เวลามะพร้าวตกลงมา มันไม่ค่อยแตก เพราะดินเรานิ่ม ถ้าใช้เคมี ดิน แข็ง มะพร้าวตกลงมา แตกหมด ทำ�เกษตรแบบเคมีไปนาน ๆ ดินจะเสีย ต้นไม้มนั ไม่โต ใส่ปยุ๋ เท่าไรก็ไม่พอ ต้องเพิม่ อย่างเดียว เหมือนเอาเงินไป โยนทิ้ง แต่ถ้าทำ�อินทรีย์ ดินจะดีขึ้น มีไส้เดือนเยอะมากขึ้น” “การควันดินหนึง่ ครัง้ ในพืน้ ทีป่ ลูกอินทรียแ์ ละปลูกเคมีจะเห็นความ แตกต่างได้เลย คือ ดินผิดกันมาก หน้าฝนเดินจะรู้ สวนอินทรีย์เดินดิน จะยุบ สวนเคมีดินถ้าเดินจะลื่นเพราะดินแข็งมาก ถ้าขุดลงไปสวนเคมี ไม่เจอหรอกไส้เดือน ถ้าขุดสวนอินทรีย์ขุดครั้งเดียวก็เจอแล้วไส้เดือน” ทัศนะเหล่านีส้ ามารถนำ�ไปพัฒนาต่อยอด สร้างตัวชีว้ ดั ทีเ่ ป็นรูปธรรมและเป็น ระบบมากขึน้ ได้ เช่น การส่งดินไปตรวจวัดคุณภาพประจำ�ปี เพือ่ ใช้เป็นตัวชีว้ ดั หนึง่ ของคุณภาพของระบบนิเวศทีด่ ขี นึ้ หรือการสร้างตัวชีว้ ดั เชิงกระบวนการ (process indicators) เช่น จำ�นวนชัว่ โมงทีเ่ กษตรกรมาพบปะหารือกันโดยสมัครใจ จำ�นวน เกษตรกรทีร่ วมกลุม่ กันเจรจาต่อรองกับภาครัฐ ผลลัพธ์ทเี่ ป็นรูปธรรมในชุมชนจาก


292

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

การเจรจาต่อรอง ฯลฯ 4. ตัวชี้วัดระดับสากล vs. ระดับท้องถิ่น กิจการเพือ่ สังคมหลายแห่งถือกำ�เนิดขึน้ เพือ่ แก้ปญ ั หาทางสังคมหรือสิง่ แวดล้อม ประเด็นใดประเด็นหนึง่ เป็นการเฉพาะ เพือ่ ตอบโจทย์ผมู้ สี ว่ นได้เสียในท้องถิน่ โดย ออกแบบกิจกรรมหลักให้สอดคล้องกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ของพืน้ ทีน่ นั้  ๆ ดังนัน้ จึงไม่จ�ำ เป็นทีจ่ ะต้องอ้างอิงตัวชีว้ ดั จากสากลแต่อย่างใด อย่าง น้อยก็ในระยะเริม่ ต้นกิจการ แต่เมือ่ เวลาผ่านไป กิจการมีความประสงค์ทจี่ ะขยาย กิจการออกไปนอกพื้นที่หรือนำ�แบบจำ�ลองทางธุรกิจไปทำ�ซํ้าในพื้นที่อื่น เริ่มมอง หาแหล่งทุนสนับสนุนระดับภูมิภาค ความจำ�เป็นของการเลือกตัวชี้วัดอย่างน้อย บางรายการที่มีความเป็นสากลก็จะทวีคูณขึ้นเป็นเงาตามตัว ฉะนั้นเพื่อเป็นการ เตรียมพร้อม กิจการที่ประสงค์จะขยายการดำ�เนินงานและแสวงหาแหล่งทุน ก็ ควรจะศึกษาฐานข้อมูลตัวชี้วัดในระดับสากลตั้งแต่เนิ่น ๆ และทดลองใช้ตัวชี้วัดที่ เหมาะสมกับผลลัพธ์ทางสังคมทีย่ ดึ โยงกับกิจกรรมหลัก เพือ่ เปรียบเทียบ (benchmark) การดำ�เนินงานของตนเองกับกิจการอื่น ในแวดวงการลงทุนเพือ่ สังคม ผูใ้ ห้ทนุ ทางสังคมรายใหญ่ของโลกมีการพัฒนา มาตรฐานหรือข้อแนะนำ�ด้านตัวชี้วัดทางสังคมมาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้าง “คลัง” หรือแค็ตตาล็อกตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐาน (metrics) ให้องค์กรต่าง ๆ ใช้ร่วมกันได้ รวมถึงกิจการเพื่อสังคม คลังตัวชี้วัดที่มีองค์กรใช้มากที่สุดในโลกในปัจจุบันได้แก่ Impact Reporting and Investment Standards หรือ IRIS จากองค์กรไม่ แสวงหากำ�ไร Global Impact Investing Network (GIIN) IRIS เป็นคลังตัวชี้วัดที่เริ่มใช้ใน ค.ศ. 2009 โดยมีกองทุน Acumen Fund, มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และ B Lab เป็นองค์กรหลักในการศึกษา รวบรวมและ พัฒนาตัวชี้วัดเพื่อสร้างวิธีปฏิบัติในการวัดผลลัพธ์ทางสังคมที่โปร่งใส เชื่อถือได้ แสดงความรับผิดได้ และใช้ได้ทั่ววงการการลงทุนทางสังคม (Global Impact Investing Network, n.d.) การสำ�รวจนักลงทุนทางสังคมใน ค.ศ. 2016 พบว่า นักลงทุนทางสังคมถึงร้อยละ 65 ใช้ตัวชี้วัดของ IRIS หรือเครื่องมือประเมินที่ อ้างอิงตัวชีว้ ดั ของ IRIS (GIIN Research Team, 2016) บนเว็บไซต์ของ GIIN เอง ก็ได้แสดงรายชื่อขององค์กรที่ใช้คลังตัวชี้วัด IRIS ในปัจจุบัน จำ�นวน 197 แห่ง


��������������������������������������

293

จากทั่วโลก (Global Impact Investing Network, n.d.) ตัวชี้วัดของ IRIS ทุก ตัวถูกพัฒนาขึ้นโดยยึดหลักการว่า เป็นตัวชี้วัดที่สามารถเก็บข้อมูลได้ สัมพันธ์กับ การตัดสินใจ และมีประโยชน์กับการวิเคราะห์ในภาพรวม กิจการเพือ่ สังคมบางแห่งใช้แบบจำ�ลองทางธุรกิจในระดับสากล เช่น สหกรณ์ กรีนเนทมุง่ ส่งเสริมเกษตรอินทรียต์ ามมาตรฐาน IFOAM หรือมุง่ สร้างผลลัพธ์ทาง สังคมที่สอดคล้องกับแนวคิดระดับโลก เช่น โลเคิล อไลค์ ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชน (community-based tourism) ซึ่งในระดับสากลมีการพัฒนาชุด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมอย่างต่อเนื่อง กิจการเพื่อสังคมที่แบบจำ�ลองทางธุรกิจมี “ความเป็นสากล” ระดับหนึง่ เช่นนี้ ควรติดตามพัฒนาการของการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมระดับโลกในธุรกิจนัน้  ๆ และนำ�ตัวชีว้ ดั ทีส่ อดคล้องกับกิจกรรมหลักของ ตนมาใช้ในการประเมินผลลัพธ์ และปรับปรุงการดำ�เนินงานอย่างต่อเนื่อง ไม่วา่ จะเลือกใช้ตวั ชีว้ ดั ระดับสากลหรือไม่กต็ าม ตัวชีว้ ดั ที่ “ดี” ควรมีลกั ษณะ “SMART” ดังต่อไปนี้ •  จำ�เพาะเจาะจง (Specific) ไม่เหวี่ยงแหตีขลุม มีความเฉพาะเจาะจงใน ระดับพื้นที่หรือกลุ่มเป้าหมาย •  วัดได้ (Measurable) รวมถึงมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องตามหลักวิชาการ ใช้เปรียบเทียบข้ามองค์กรได้ •  บรรลุได้ (Achievable) สามารถบรรลุได้ในความเป็นจริง มิใช่เลือ่ นลอยหรือ เป็นไปไม่ได้ •  เกีย่ วข้องกับประเด็น (Relevant) ตรงตามประเด็นทีต่ อ้ งการจะศึกษา และ เป้าหมายของโครงการ •  มีเงื่อนเวลา (Time-bound) สามารถใช้ติดตามความคืบหน้าเมื่อเวลาผ่าน ไป และแยกย่อยการวัดตามหน่วยเวลาแต่ละช่วงได้ (เช่น รายปี รายเดือน รายไตรมาส ฯลฯ) 5. เครื่องมือประเมินที่เหมาะสมสำ�หรับแต่ละช่วงอายุของกิจการ จากการจัดทำ�รายงานการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสำ�หรับกิจการเพื่อสังคม 6 แห่ง คณะผู้วิจัยไม่พบความแตกต่างในสาระสำ�คัญระหว่างกิจการที่มีอายุยังไม่ มากนัก และกิจการที่ดำ�เนินงานมานาน ในแง่ความเหมาะสมของเครื่องมือ


294

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

แผนภาพ 23 ระยะเวลาให้ทุน อายุของกิจการ และเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิจัย

ประเมินที่ใช้ เนื่องจากไม่มีกิจการใดเลยที่เคยทำ�การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม มาก่อน หรือเคยเก็บข้อมูลฐาน (baseline data) ตั้งแต่ก่อนเริ่มเข้าไปในพื้นที่ อย่างไรก็ดี จากการทบทวนวรรณกรรมดังรายละเอียดในบทที่ 3–5 ของ หนังสือเล่มนี้ คณะผูว้ จิ ยั พบว่าแหล่งทุนทีส่ นับสนุนกิจการเพือ่ สังคมทัว่ โลกจำ�นวน มากไม่ได้จำ�กัดเครื่องมือประเมินผลลัพธ์อยู่เพียงเครื่องมือเดียว แต่ใช้เครื่องมือ หลายชนิดประกอบกันและทับซ้อนกัน โดยมีระยะเวลาการให้ทุน และอายุของ กิจการเป็นตัวแปรสำ�คัญ กิจการที่ดำ�เนินงานมานาน สร้างผลลัพธ์ทางสังคมเป็น ทีป่ ระจักษ์ และได้รบั ทุนสนับสนุนค่อนข้างมาก มีแนวโน้มทีจ่ ะได้รบั การสนับสนุน ให้ท�ำ การศึกษาเชิงทดลอง (experimental study) เพือ่ ทำ�การ “พิสจู น์” ผลลัพธ์ ทางสังคมด้วยวิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้ทำ�ซํ้าหรือขยายผลแบบจำ�ลองทาง ธุรกิจในอนาคต (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป) ในขณะที่กิจการซึ่งยัง ดำ�เนินงานมาไม่นานพอที่จะเกิดผลลัพธ์ และได้รับทุนสนับสนุนไม่มาก มักจะถูก คาดหวังให้เลือกและวัดผลตามชุดตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคม (social impact indicators) ที่สะท้อนเป้าหมายหลักของกิจการเป็นหลัก แหล่งทุนบางแห่งใช้


��������������������������������������

295

เครื่องมือวัดผลที่คิดค้นขึ้นเอง (proprietary) เช่น balanced scorecard เพื่อติดตามผลการดำ�เนินงานของผู้รับทุนสนับสนุนเปรียบเทียบกับเป้าหมายของ แหล่งทุนเอง และบางแห่งใช้การเปรียบเทียบต้นทุนกับประโยชน์ (cost-benefit analysis) หรือการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ประกอบ กับตัวชี้วัด สรุปได้ดังแผนภาพ 23 8.4 สรุปข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการ จากการทดลองเลือกตัวชีว้ ดั ผลลัพธ์ทางสังคม และประเมินผลลัพธ์ทนี่ า่ จะเกิดขึน้ จริงตามตัวชี้วัดดังกล่าว คณะวิจัยย่อยได้นำ�เสนอข้อเสนอต่อกิจการเพื่อสังคม ในกรณีศึกษา 6 แห่ง โดยแบ่งประเภทของข้อเสนอแนะได้เป็นประเภทต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้ •  ด้านการจัดการธุรกิจและการตลาดเพื่อการดำ�เนินธุรกิจและการสร้าง ผลลัพธ์ทางสังคมอย่างยั่งยืน (OCC มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ ร้านคนจับปลา สัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อมและสหกรณ์กรีนเนท) •  ด้านการเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น และสหกรณ์กรีนเนท) •  ดา้ นการระบุขอบเขตผลลัพธ์ทางสังคมและการกำ�หนดตัวชีว้ ดั (โลเคิล อไลค์) รายละเอียดข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการแต่ละกิจการเพื่อสังคมมีดังนี้ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ

คณะวิจัยย่อยมีข้อเสนอเรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการ โครงการฯ เพือ่ การพัฒนาธุรกิจของศูนย์ OCC ให้เกิดความยัง่ ยืนในอนาคต ดังนี้ 1. การพัฒนาระบบบริหารจัดการศูนย์ OCC ศูนย์ OCC ควรมีการบริหารการขายและการตลาดมากขึน้ ได้แก่ การติดต่อ และเจรจาตกลงทำ�ธุรกิจกับบริษทั ผูจ้ า้ งงาน การพัฒนางานทีเ่ หมาะสมกับผูพ้ กิ าร


296

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ด้านอื่น ๆ เพื่อเพิ่มตำ�แหน่งงาน และการขยายโอกาสให้ผู้พิการในด้านอื่น ๆ มี โอกาสในการจ้างงานจากศูนย์ OCC มากขึ้น ด้วยความทีศ่ นู ย์ OCC เป็นกิจการหนึง่ ทีม่ กี ารดำ�เนินธุรกิจ กิจการจึงมีความ จำ�เป็นจะต้องพัฒนาศักยภาพของพนักงานทั้งในด้านการทำ�งานและการใช้ชีวิต ศูนย์ OCC ควรมีการบริหารทรัพยากรบุคคลทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากขึน้ ได้แก่ กระบวนการรับสมัครผู้พิการ การพัฒนาและอบรมผู้พิการ การพัฒนาด้านสายอาชีพ ระบบสวัสดิการ การประเมินผลอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการวางโครงสร้างเงิน เดือนพนักงานที่เหมาะสม นอกจากนี้ ผูป้ ระกอบการควรเน้นปรับปรุงกระบวนการบริหารงานภายในให้ มีประสิทธิภาพ ซึง่ ในระหว่างการประเมินฯ บริษทั ผูจ้ า้ งงานบางรายได้ระบุถงึ ความ ล่าช้าในการติดต่อสือ่ สารงาน ทีอ่ าจทำ�ให้ศนู ย์ OCC พลาดโอกาสในการสร้างงาน ให้ผู้พิการได้ และอาจมีบริษัทอื่นได้งานในส่วนนี้ไปแทน 2. การบริหารการเงินและบัญชี การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินและบัญชีอย่างเป็นระบบเป็นสิ่งจำ�เป็น อย่างยิง่ ทีจ่ ะสะท้อนถึงความโปร่งใสของกิจการ เพราะศูนย์ OCC ต้องการพัฒนา​ การวัดผลลัพธ์ทางสังคมในอนาคตโดยใช้เครื่องมือการวัด​ผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุน (SROI) ที่จะช่วยตอบคำ�ถามผู้ให้ทุนและผู้มีส่วนได้เสียว่าทุกเงิน ลงทุน 1 บาทที่ศูนย์ OCC ได้นั้น สร้างคุณค่าต่อสังคมเป็นเงินเท่าไร ซึ่งจะช่วย สะท้อนประสิทธิภาพและความคุ้มค่าด้านสังคมของศูนย์ OCC และแสดงให้เห็น ความแตกต่างของผลลัพธ์ทางสังคมของ OCC กับองค์กรอืน่  ๆ ทีท่ �ำ งานในประเด็น เดียวกันได้ 3. การบริหารคุณภาพ (Quality Assurance) เนือ่ งจากศูนย์ OCC มีแนวโน้มการขยายตัวไปยังจังหวัดอืน่ ในอนาคต ผูป้ ระเมิน เห็นว่า OCC ควรมีการรับรองคุณภาพของศูนย์ OCC ทุกสาขาให้มีมาตรฐาน เดียวกันหรือรักษาให้ได้มาตรฐานตามที่ลูกค้าต้องการอย่างสมํ่าเสมอ ซึ่งจะส่งผล ต่อคุณภาพ ชือ่ เสียงและภาพลักษณ์ของ OCC และส่งผลให้เกิดการจ้างงานผูพ้ กิ าร ที่มากขึ้น


��������������������������������������

297

4. การกำ�หนดตัวชี้วัดของ OCC ในการวัดผลสำ�เร็จของกิจการ ศูนย์ OCC ควรกำ�หนดเป้าหมายทีค่ รอบคลุม เรื่องความมั่นคงในชีวิตที่เกิดจากการมี “อาชีพที่มั่นคง” ร้านคนจับปลา

คณะวิจัยย่อยมีข้อเสนอแนะต่อร้านคนจับปลาเพื่อการพัฒนาการดำ�เนินงาน ของกิจการให้ยั่งยืน ดังนี้ 1. การเพิ่มปริมาณการรับซื้อจากชาวประมง การขยายช่องทางการจัด จำ�หน่ายและการทำ�การตลาด เนื่องจากร้านคนจับปลายังมีกำ�ลังการรับซื้อสัตว์นํ้าไม่มากนัก ทำ�ให้ผลลัพธ์ ทางสังคมที่กิจการต้องการสร้าง ได้แก่ การเพิ่มรายได้ของชาวประมง ยังเป็นข้อ จำ�กัด การขยายตลาดทั้งในแง่ปริมาณและประเภทสินค้าที่มากขึ้นจะทำ�ให้ยอด ขายโดยรวมเพิ่มขึ้น และเพิ่มการรับซื้อสินค้าจากชาวประมง เมื่อคนจับปลาซื้อ สินค้าจากชาวประมงได้มากขึน้ ก็จะทำ�ให้ชาวประมงทีเ่ ป็นสมาชิกมีรายได้ทเี่ พิม่ ขึน้ ช่วยทำ�ให้เกิดผลลัพธ์ในระยะยาวที่กิจการต้องการ คือ สร้าง “ความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น” และส่งผลต่อชาวประมงได้ในวงกว้างขึ้น 2. การเข้าถึงผู้บริโภค การขยายช่องทางของสินค้า วิธีการทางการตลาด การจัดจำ�หน่าย และการ สื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจและการยอมรับจากลูกค้า เกี่ยวกับที่มาของ การผลิตและแนวทางการประกอบอาหารจากสัตว์นาํ้ ทีผ่ บู้ ริโภคในเมืองใหญ่ไม่คนุ้ เคย รวมทัง้ การสร้างความเข้าใจผูบ้ ริโภคในเรือ่ งคุณค่าทางอาหารของอาหารทะเล แช่แข็งในรูปแบบบรรจุภัณฑ์สุญญากาศว่ามีความสดและคุณค่าไม่ต่างกับแบบแช่ นํ้าแข็ง จะช่วยให้ผู้บริโภคในวงกว้างสามารถเข้าถึงอาหารทะเลปลอดภัยในราคา ทีเ่ ป็นธรรมมากขึน้ อีกทัง้ ยังสามารถเพิม่ ส่วนต่างของราคาขายและต้นทุน (profit margin) จากการขายสินค้าที่มีคุณภาพและความปลอดภัยดังกล่าวผ่านช่องทาง ทางการตลาดที่ขยายเพิ่มนั้นด้วย ร้านคนจับปลาควรพิจารณาขยายฐานลูกค้าทีส่ งั่ สินค้าโดยตรงผ่าน Line และ


298

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

โทรศัพท์ เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้เจาะจงซื้อสินค้าร้านคนจับปลา รวมถึงมีความถี่ และปริมาณการซื้อแต่ละครั้งสูง อาจมีการเพิ่มแผนการตลาดเชิงรุกในช่องทาง สื่อสังคมออนไลน์ การขยายพลังสนับสนุนของเครือข่ายผูบ้ ริโภคผ่านโครงการของร้านคนจับปลา เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำ�คัญในการส่งเสริมทั้งด้านการกระตุ้นความตระหนักรู้ของ สังคม การเข้ามามีสว่ นร่วมและการสนับสนุนทรัพยากรเพือ่ ส่งเสริมการทำ�ประมง ที่ยั่งยืนและการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เสริมจาก มาตรการทางกฎหมายที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น

คณะวิจัยย่อยมีข้อเสนอแนะสำ�หรับกิจการเพื่อสังคมดังต่อไปนี้

1. การเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในอนาคต เลิรน์ เอ็ดดูเคชัน่ ควรจัดทำ�กรณีศกึ ษาในโรงเรียนต่าง ๆ เพิม่ เติม เพือ่ เปรียบ เทียบความแตกต่างระหว่างกรณีศกึ ษาต่าง ๆ ว่านักเรียนมีการเปลีย่ นแปลงหลังจาก ทีใ่ ช้เครือ่ งมือของบริษทั อย่างไร และเหมือนหรือต่างกับโรงเรียนอืน่  ๆ อย่างไรบ้าง รวมทั้งควรเพิ่มขนาดจำ�นวนประชากรในการศึกษาผลลัพธ์ทางสังคมในอนาคต เพื่อให้ผลการศึกษามีความเป็นตัวแทนประชากรมากขึ้น โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ควรทำ�การเก็บข้อมูลเพื่อ สำ�รวจผลลัพธ์ของนักเรียนแต่ละรุน่ เพือ่ วัดผลลัพธ์ทางสังคมทีเ่ กิดขึน้ โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อใหญ่ดังต่อไปนี้ ด้านการศึกษา

• ผลคะแนน ONET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 • จำ�นวนนักเรียนที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่ได้เรียนในระบบเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น • จำ�นวนนักเรียนที่สอบชิงทุนการศึกษาได้ • จำ�นวนนักเรียนที่สอบเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมปลายได้ • สำ�รวจสัดส่วนของการมีส่วนช่วยให้การเรียนดีขึ้นโดยระบบเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น

ด้านการลดความ เสี่ยงในอนาคต

• จำ�นวนนักเรียนที่เรียนต่อ แยกตามสายการเรียน • จำ�นวนนักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อ และเหตุผลการตัดสินใจไม่เรียนต่อ


��������������������������������������

ด้านเจตคติ

299

• สำ�รวจความคิดเห็นของนักเรียนที่บอกว่าตนเองเห็นความสำ�คัญของการศึกษา •  สำ�รวจความคิดเห็นของนักเรียนที่บอกว่าตนชอบที่จะเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และวิชา คณิตศาสตร์มากขึ้น • การสำ�รวจความมั่นใจในการเรียนต่อในเส้นทางที่มุ่งหวังไว้

โลเคิล อไลค์

คณะวิจัยย่อยมีข้อเสนอแนะสำ�หรับกิจการเพื่อสังคมดังต่อไปนี้

1. การพิจารณาขอบเขตของผลลัพธ์ทางสังคมที่กิจการสร้างขึ้น ผลจากการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสะท้อนว่าแกนนำ�การท่องเทีย่ วในชุมชน ถือเป็น “คานงัด” สำ�คัญในการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมของโลเคิล อไลค์ ขอบเขต ผลกระทบที่กิจการเพื่อสังคมสามารถกล่าวอ้างได้ว่าเกิดจากการลงทุนของกิจการ เองควรอยู่ที่ระดับผลลัพธ์เชิงศักยภาพของแกนนำ�ที่เปลี่ยนแปลงไป ในส่วนผลกระทบต่อชุมชนด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้นและชุมชนที่พัฒนาขึ้นถือเป็น ผลกระทบสืบเนื่องที่เกิดจากผลของการตัดสินใจและลงมือปฏิบัติการของแกนนำ� ชุมชนมากกว่าเกิดจากการทำ�งานของกิจการ จากการใช้เครื่องมือแผนที่ผลลัพธ์ (outcome mapping) ชีใ้ ห้เห็นว่าผลกระทบทางสังคมไกลสุดทีก่ จิ การจะสร้างได้ คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของภาคีที่กิจการทำ�งานด้วยโดยตรง ดังนั้น กิจการจึงควรระวังการกล่าวอ้างถึงผลกระทบที่เกินความเป็นจริง (over claim) และรายงานผลลัพธ์เฉพาะในส่วนที่กิจการสร้างขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ ผูป้ ระกอบการควรนำ�แนวคิดเรือ่ งการกำ�หนดและการประเมินผล​ กระทบโดยรวม (collective impact) มาใช้เพื่อลดความผิดพลาดที่จะเกิดจาก กรณีฐาน เนือ่ งจากผลกระทบทางสังคมเป็นผลกระทบโดยรวมไม่สามารถแยกออก มาได้ว่า ใคร องค์กรใด มีส่วนในการสร้างมากน้อยเท่าใด เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม

คณะวิจัยย่อยมีบทสรุปและข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อพัฒนาการ ดำ�เนินงานของเครือข่าย ดังนี้


300

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

1. การบริหารจัดการเครือข่าย ควรมีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นนอกเหนือจาก การรับฟัง และควรพัฒนาระบบหรือวิธีการที่ช่วยแก้ปัญหาหนี้เกินตัว ระบบการ คัดกรองผู้คํ้าประกัน รวมไปถึงระบบที่จะสามารถอุดช่องว่างของการปล่อยกู้เพื่อ ผลประโยชน์ของตนเองและคนรู้จัก การบริหารงานจากส่วนกลางควรเป็นไปในรูปแบบการคิดร่วมกันกับกลุม่ ย่อย และปรับปรุงกฎระเบียบในการบริหารจัดการกลุ่มให้สามารถยืดหยุ่น สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของชาวบ้านมากขึ้น มีการส่งบุคลากรเข้ามาช่วยทำ�บัญชี เครือข่ายฯ ควรพัฒนามาตรฐานของหลักเกณฑ์สัญญาเงินกู้ให้เหมือนกันทุก กลุม่ เพือ่ ป้องกันความขัดแย้งและควรหาวิธกี ารดึงคนรุน่ ใหม่เข้ามาช่วยงานในอนาคต สหกรณ์กรีนเนท

คณะวิจัยย่อยมีข้อเสนอแนะสำ�หรับกิจการเพื่อสังคมดังต่อไปนี้

1. การเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในอนาคต กิจการควรมีการเก็บข้อมูลอย่างสมํ่าเสมอเพราะการประเมินฯ ในครั้งนี้ขาด ข้อมูลในหลาย ๆ ส่วน เช่น ด้านสุขภาพของเกษตรกร และควรมีการคำ�นึงถึงตัว​ ชี้วัดที่เหมาะสมในด้านการส่งเสริมการทำ�เกษตรอินทรีย์ เช่น การประยุกต์หลัก การเกษตรยั่งยืนมาใช้ 2. การรักษาผลลัพธ์ทางสังคมในระยะยาว การคำ�นึงถึงปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรที่เป็นผลลัพธ์ทาง สังคมหลักของกิจการเป็นสิง่ จำ�เป็น เพราะธุรกิจการปลูกมะพร้าวในปัจจุบนั ได้รบั ผลจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกหลายรายการ ได้แก่ ราคามะพร้าวที่ผันผวน สถานการณ์แมลงศัตรูพชื ระบาด การเติบโตของการนำ�เข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ การ ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ และพืน้ ทีม่ ะพร้าวทีล่ ดลงทุกปี อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ ของมะพร้าวในตลาดก็ยงั มีสงู ดังนัน้ สหกรณ์กรีนเนทยังมีโอกาสทางธุรกิจและทาง สังคมอีกมากในฐานะผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่เข้ามาส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการ ผลิต แปรรูป และการตลาดของสินค้าเกษตรอินทรีย์ ควบคูก่ บั การส่งเสริมการค้า


��������������������������������������

301

แบบมีจริยธรรม (fair trade) อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยมีข้อสงสัยว่าหากในอนาคตไม่มีสหกรณ์กรีนเนทเข้า มาทำ�งานกับเกษตรกรแล้ว สมาชิกจะยังรวมกลุ่มปลูกมะพร้าวอินทรีย์ต่อหรือไม่ เพราะสหกรณ์ฯ เป็นผูอ้ �ำ นวยความสะดวกให้เกษตรกรทุกขัน้ ตอนการจำ�หน่ายรวม ถึงยอมรับในราคาที่เกษตรกรตั้งมา ซึ่งในอนาคตหากขาดกลไกส่วนนี้ไปจะเป็น อุปสรรคสำ�คัญของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวอินทรีย์ได้ 8.5 แนวทางปรับปรุงการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ด้วยข้อจำ�กัดของเวลาและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจการเพื่อสังคม การทดลอง ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกรณีศึกษานำ�ร่องจึงให้ผลส่วนใหญ่ในรูปข้อมูลเชิง บรรยาย และยืนยันได้ระดับหนึ่งว่า “เกิด” หรือ “ไม่เกิด” การเปลี่ยนแปลงที่ ผูป้ ระกอบการคาดหวังหรือไม่ การประเมินในอนาคตจะมีความชัดเจนมากขึน้ หาก ผู้ประกอบการดำ�เนินการดังนี้ 1. วางแนวทางการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถนำ�ผล การประเมินไปเปรียบเทียบกับแหล่งข้อมูลอื่น และเปรียบเทียบปีต่อปีได้ 2. พยายามเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยเฉพาะข้อมูลฐาน (ก่อนเริ่มกิจการ) 3. เก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่องทุกปี 4. ควรเปรียบเทียบผลลัพธ์กับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ สามารถประเมิน “กรณีฐาน” หรือความแตกต่างระหว่างผู้ที่เข้าร่วมกับผู้ที่ไม่ได้ เข้าร่วมโครงการได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยอาจขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอนาคต หลังจากที่กิจการดำ�เนินไปได้ระยะหนึ่งแล้ว (ไม่ ตํ่ากว่า 5 ปี เป็นต้น) การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมโดยใช้การทดลอง (Experimental Design)

การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมทีเ่ ป็นทีน่ ยิ มและใช้กนั อย่างแพร่หลาย เช่น การ เปรียบเทียบก่อนหลัง (pre-post analysis) ที่เน้นวัดผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึน้ ในช่วงระยะเวลาหนึง่ ของผูเ้ ข้าร่วมโครงการผ่านดัชนีชวี้ ดั ต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบ


302

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

ระหว่างผลลัพธ์เกณฑ์ฐาน (baseline outcomes) และผลลัพธ์เมื่อสิ้นสุดโครงการ (endline outcomes) การวัดผลลัพธ์ทางสังคมโดยใช้เครื่องมือดังกล่าวมี สมมติฐานสำ�คัญคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาจากการเข้าร่วมโครงการเพียง ลำ�พัง โดยไม่คำ�นึงถึงการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อม หรือการเปลี่ยนแปลง ของตัวผู้เข้าร่วมโครงการตามอายุที่มากขึ้น การละเลยสมมติฐานดังกล่าวอาจนำ� ไปสู่ผลลัพธ์ที่มีอคติ และความสัมพันธ์ที่อาจไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลกันระหว่างการ ดำ�เนินการของโครงการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เครื่องมือหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมมากขึ้นในการวัดผลลัพธ์ทาง สังคมจากโครงการหรือนโยบายต่าง ๆ คือ การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trials: RCTs) ซึง่ จะเริม่ จากการกำ�หนดกลุม่ ตัวอย่าง ทีจ่ ะทำ�การประเมิน และเลือกกลุม่ ผูไ้ ด้รบั ประโยชน์จากนโยบายหรือโครงการแบบ สุ่ม กระบวนการดังกล่าวจะทำ�ให้สามารถมั่นใจได้ว่ากลุ่มผู้ได้รับประโยชน์จาก โครงการ (treatment group) และกลุม่ ควบคุม (control group) จะไม่มคี วาม แตกต่างกันอย่างมีนยั สำ�คัญ ทัง้ ในแง่คณ ุ ลักษณะทีว่ ดั ได้และวัดไม่ได้ (observable and non-observable characteristics) การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงใน ประเด็นผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการและกลุ่ม ควบคุม จะให้ภาพที่ชัดเจนถึงผลลัพธ์ท่ีเกิดขึ้นจากโครงการโดยเฉพาะ ภายใต้ สมมติฐานที่ค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ดี เครื่องมือการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม มีข้อจำ�กัดหลาย ประการ เช่น ปัญหาทางศีลธรรมในการเลือกช่วยเหลือคนบางกลุ่มในขณะที่ไม่ ช่วยเหลือคนบางกลุ่ม หรือการให้ความช่วยเหลือที่ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อย่างไร ก็ดี นักสังคมศาสตร์ได้พฒ ั นาการวิจยั แบบกึง่ ทดลอง (quasi-experiment) ซึง่ จะ กำ�หนดผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการโดยไม่ใช้วิธีการสุ่ม แต่ผลลัพธ์ที่ประเมินได้ อาจอยู่ภายใต้ข้อจำ�กัดบางประการ เนื่องจากกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ และกลุ่มควบคุมอาจไม่ได้มีคุณลักษณะแรกเริ่มที่ใกล้เคียงกัน การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมยังอาจประสบปัญหาที่ผู้ที่ถูกเลือกให้ อยู่ในกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ ปฏิเสธที่จะรับประโยชน์ดังกล่าว ปัจจัย ข้างต้นเป็นปัจจัยทีค่ วบคุมได้ยาก และหากอัตราการเข้าร่วมโครงการตํา่ มาก อาจ ทำ�ให้ผลลัพธ์ทางสังคมจากการทดลองดังกล่าวมีอคติได้


��������������������������������������

303

จาก 6 กรณีศกึ ษานำ�ร่องในโครงการวิจยั นี้ คณะวิจยั มองว่ากิจการเพือ่ สังคม 2 แห่ง ได้แก่ เลิรน์ เอ็ดดูเคชัน่ และเครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์วดั ไผ่ลอ้ ม น่าจะ ขอรับการสนับสนุนงานวิจยั ทีม่ กี ารนำ�เครือ่ งมือการทดลองแบบสุม่ และมีกลุม่ ควบคุม มาใช้ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมจากกิจการ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการประกอบการ เนื่องจากกิจการทั้งสองแห่งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพือ่ สร้างผลลัพธ์ทมี่ คี วามเป็นสากลสูง (ผลสัมฤทธิด์ า้ นการเรียนของนักเรียน และ เงินออมและสวัสดิการของคนในชุมชน) และอาจได้รับผลกระทบจากนโยบาย ภาครัฐ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง รวมถึงการหนุนเสริมจากหน่วยงานต่าง ๆ  ที่นอกเหนือไปจากการดำ�เนินกิจการ ผลลัพธ์ด้านการศึกษาของ เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น สำ�หรับการวัดผลลัพธ์ทางการศึกษา ผู้ประเมินอาจเลือกหน่วยในการสุ่ม (unit of randomization) เป็นโรงเรียนหรือห้องเรียน ตามข้อจำ�กัดด้านทรัพยากร เมื่อคัดกลุ่มเป้าหมายเพื่อการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแล้ว คณะวิจัย จะต้องทำ�การสุ่มว่าโรงเรียนหรือห้องเรียนใด จะอยู่ในกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จาก โครงการหรือกลุม่ ควบคุม แล้วจึงปฏิบตั ติ ามแนวทางของโครงการทีว่ างแผนไว้ เช่น การนำ�ระบบการศึกษาของ เลิรน์ เอ็ดดูเคชัน่ ไปใช้เพือ่ พัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมปลายเป็นเวลา 3 ปี เมือ่ สิน้ สุดระยะเวลาโครงการ ผูท้ �ำ การประเมินอาจออกแบบชุดข้อสอบมาตรฐานในการวัดผลลัพธ์ดา้ นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และจัดการสอบทัง้ กลุม่ ที่ เข้าร่วมโครงการและกลุ่มควบคุม เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางการศึกษาที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ด้านการออมเงินของ กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม สำ�หรับการวัดผลลัพธ์ด้านการออม ผู้ประเมินอาจเลือกหน่วยในการสุ่มเป็น หมู่บ้านหรือตำ�บล ตามข้อจำ�กัดด้านทรัพยากร เมื่อคัดกลุ่มเป้าหมายเพื่อการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแล้ว คณะวิจัยจะต้องทำ�การสุ่มว่าหมู่บ้านหรือตำ�บลใด จะอยู่ในกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากโครงการหรือกลุ่มควบคุม แล้วจึงปฏิบัติตาม แนวทางของโครงการที่วางแผนไว้ เช่น การจัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ในชุมชน โดยยึดแนวทางการดำ�เนินการของวัดไผ่ล้อมเป็นต้นแบบ


304

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

เนือ่ งจากโครงการข้างต้นอาจไม่มรี ะยะเวลาทีช่ ดั เจน ผูท้ �ำ การประเมินอาจใช้ แบบสอบถามเพือ่ ประเมินการเปลีย่ นแปลงในมิตดิ า้ นการออมเงิน ทัง้ กลุม่ ทีไ่ ด้รบั ประโยชน์และกลุ่มควบคุม เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางการออมเงินที่เกิดขึ้น ทัง้ สองกรณีขา้ งต้นมีขอ้ ควรระวังคือผลลัพธ์ทางสังคมทีอ่ าจ “ไหล” จากกลุม่ ทีไ่ ด้รบั ประโยชน์ไปสูก่ ลุม่ ควบคุม (spillover effect) เช่น การทีน่ กั เรียนห้องหนึง่ ในโรงเรียนมีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดขี นึ้ อาจช่วยติวเพือ่ น ห้องอื่น ๆ ให้มีความเข้าใจที่ดีขึ้นตาม หากเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น อาจ ทำ�ให้ผลลัพธ์ทางสังคมมีค่าตํ่ากว่าความเป็นจริง 8.6 สรุป การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมยังเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย งานวิจัยและกรณี ศึกษาในบริบทของกิจการเพือ่ สังคมในประเทศไทยยังมีนอ้ ย ขาดแคลนมาตรฐาน ที่เหมาะสม ส่งผลให้กิจการเพื่อสังคมในประเทศไทยจำ�นวนมากยังไม่สามารถ สือ่ สารผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการได้อย่างชัดเจนต่อผูม้ สี ว่ นได้เสีย และไม่อาจนำ� ผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงกิจการได้ คณะผู้วิจัยหวังว่า รายงานสังเคราะห์กรณีศึกษานำ�ร่อง การประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคม 6 แห่ง ฉบับนี้ ประกอบกับเอกสารอีก 2 ชิ้นใน โครงการเดียวกัน ได้แก่ คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทาง สังคมจากการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) และรายงานวรรณกรรมปริทศั น์การประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคม จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ทุกฝ่ายร่วมกันสนับสนุนการ พัฒนาเครื่องมือ แนวทาง และรูปแบบการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม สำ�หรับ ผู้ประกอบการ นักวิจัย แหล่งทุน และผู้ดำ�เนินนโยบายสืบไปในอนาคต



306

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

บรรณานุกรม

บทที่ 2.1 ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม

Adams, W. M. (2001). Green development: Environment and sustainability in the Third World (2nd ed.). New York: Routledge. Bowen, H. R. (1953). Social responsibilities of the businessman. New York: Harper & Row. Broomhill, R. (2007). Corporate social responsibility: Key issues and debates. Adelaide, Australia: Dunstan Papers Series, Don Dunstan Foundation. Brundtland, G. H. (1987). Our common future: The world commission on environment and development. Oxford: Oxford University Press. Carroll, A. B. (1991). The pyramid of corporate social responsibility: Toward the moral management of organizational stakeholders. Business Horizons, 34(4), 39–48. Carroll, A. B. (1999). Corporate social responsibility: Evolution of a definitional construct. Business and Society, 38(3), 268–295. Carroll, A. B. (2008). A history of corporate social responsibility: Concepts and practices. In A. Crane, A. McWilliams, D. Matten, J. Moon, D. Siegal (Eds.), The Oxford handbook of CSR. Oxford: Oxford University Press. Connolly, W. (1983). The terms of political discourse (2nd ed.). Oxford: M. Robertson. Dahlsrud, A. (2008). How corporate social responsibility is defined: An analysis of 37 definitions. Corporate Social Responsibility and Environmental Management, 15(1), 1–13.


บรรณานุกรม

307

Davis, K. (1973). The case for and against business assumption of social responsibilities. The Academy of Management Journal, 16(2), 312–322. Frederick, W. C. (2006). Corporation, be good!: The story of corporate social responsibility. Indianapolis, IN: Dog Ear Publishing. Freeman, R. E. (1984). Strategic managment: A stakeholder approach. Boston, MA: Pitman. Friedman, M. (1970, September 13). The social responsibility of business is to increase its profits. The New York Times. Gallagher, S. (2005). A strategic response to Friedman’s critique of business ethics. Journal of Business Strategy, 26(6), 55–60. Handy, C. (2002). What’s a business for? Harvard Business Review, 80(12), 49–55. Margolis, J., Walsh, J. (2003). Misery loves companies: Rethinking soicial initiatives by business. Administrative Science Quarterly, 48(2), 268–305. Moon, J. (2007). The contribution of corporate social responsibility to sustainable development. Sustainable Development, 15(5), 296–306. Moon, J. (2013). Corporate social responsibility: An idea whose time has come? If so, what idea? Manchester Business School Nottingham University Business School. Murray, A. (2006, February 16). Twelve angry CEOs––The ideal Enron Jury, Wall Street Journal, A2. Srisuphaolarn, P. (2013). From altruistic to strategic CSR: How social value affected CSR development – a case study of Thailand. Social Responsibility Journal, 9(1), 56–77. Van Marrewijk, M. (2006). Corporate sustainability and sustainable development. In J. Allouche (Ed.), Corporate social responsibility


308

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

volume 1: concepts, accountability and reporting. Basingstoke [England]: Palgrave MacMillan. Van Marrewijk M., & Werre, M. (2003). Multiple levels of corporate sustainability. Journal of Business Ethics, 44(2&3), 107–119. Virakul, B., Koonmee, K., & McLean, G. (2009). CSR activities in award–winning Thai companies. Social Responsibility Journal, 5(2), 178–199. Wade, M. (2005). Good company citizenship. In U. Petschow, J. Rosenau, E. von Weizsacker (Eds.), Governance and Sustainability: New challenges for states, companies and societies (pp. 186– 199). Sheffield, UK: Greenleaf Publishing. WBCSD. (1998). Corporate Social Responsibilities: Meeting changing expectations. Retrieved March 20, 2013, from WBCSD: http:// www.wbcsd.org/pages/edocument/edocumentdetails.aspx?​ id=82nosearchcontextkey=true. Werther, W. B., & Chandler, D. (2011). What is CSR? In Strategic corporate social repsonsibility: Stakeholders in a global environment (2nd ed.). Los Angeles: Sage. บทที่ 2.2 ผู้ประกอบการทางสังคม และบทที่ 2.3 กิจการเพื่อสังคม

Abarca, K. I. (2013). Essays on social venture antecedents, consequences, and strategies. (Doctoral dissertation, The Kent State University Graduate School of Management). Retrieved August 25, 2016, from https://etd.ohiolink.edu/rws_etd/document/get/ kent1365953475/inline. Abu–Saifan, S. (2012). Social entrepreneurship: Definition and boundaries. Technology Innovation Management Review, 22–27. Artz, N. & Sutherland, J. (2010). Low–profit limited liability companies (L3Cs): Competitiveness implications. Competition Forum,


บรรณานุกรม

309

8(2), 279–286. Banks, K. (Ed.). (2016). Social entrepreneurship and innovation: International case studies and practice. London: Kogan Page Limited. Bidet, E., & Eum, H. S. (2011). Social enterprise in South Korea: History and diversity. Social Enterprise Journal, 7(1), 69–85. Borzaga, C. & Defourny, J. (2011). The emergence of social enterprise. London: Routledge. British Council. (2012). Social enterprise in Vietnam: Concept, context and policies. Hanoi: British Council Vietnam. Retrieved July 29, 2016, from British Council: https://www.britishcouncil.org/ sites/default/files/vietnam_report.pdf. Brouard, F., & Larivet, S. (2011). Essay of clarifications and definitions of the related concepts of social enterprise, social entrepreneur and social entrepreneurship. In A. Fayolle & H. Matlay (Eds.), Handbook of research on social entrepreneurship (pp. 29–56 ). Cheltenham: Edward Elgar. Chell, E., Nicolopoulou, K., & Karatas–Özkan, M. (2010). Social entrepreneurship and enterprise: International and innovation perspectives. Entrepreneurship & Regional Development, 22(6), 485–493. Crutchfield, L. R., & Grant, H. M. (2008). Forces for good: The six practices of high–impact nonprofits. San Francisco: Jossey–Bass. Dart, R. (2004a). Being “Business–Like” in a nonprofit organization: A grounded and inductive typology. Nonprofit and Voluntary Sector Quarterly, 33(2), 290–310. Dart, R. (2004b). The legitimacy of social enterprise. Nonprofit management & leadership, 14(4), 411–424. Defourny, J. (2001). Introduction: From third sector to social enter-


310

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

prise. In C. Borzaga & J. Defourny, The emergence of social enterprise (pp. 1–28). London: Routledge. Defourny, J., & Kim, S. Y. (2011). Emerging models of social enterprise in Eastern Asia: A cross–country analysis. Social Emterprise Journal, 7(1), 86–111. Drucker, P. F. (1990). Managing the non–profit organization: Practices and principles. New York: HarperCollins. Egger, R. (2004). Begging for change: The dollars and sense of making nonprofits responsive, efficient, and rewarding for all. New York: HarperCollins. Evans, M. et al. (2000). The Contribution of social capital in the social economy to local economic development in western Europe: Key concepts, measures and indicators. Middlesex: Middlesex University. European Commission. (2014). A map of social enterprises and their eco–systems in Europe: Synthesis report: Brussels. London: European Commission. European Commission. (2014). A map of social enterprise and their eco–systems in Europe country report: Italy. London: European Commission. European Commission. (2014). A map of social enterprise and their eco–systems in Europe country report: Malta. London: European Commission. European Commission. (2014). A map of social enterprises and their eco–systems in Europe country report: Finland. London: European Commission. European Commission. (2014). A map of social enterprises and their eco–systems in Europe Country report: Finland. London: European Commission.


บรรณานุกรม

311

European Commission. (2014). A map of social enterprises and their eco–systems in Europe Country Report: United Kingdom. London: European Commission. Frances, N. (2008). The end of charity: Time for social enterprise. Crows Nest, N.S.W.: Allen & Unwin. [with Maryrose Cuskelly] Giulia, G., & Borzaga, C. (2009). Social enterprise: An international overview of its conceptual evolution and legal implementation. Social Enterprise Journal, 5(3), 210–228. Hackett, M. T. (2010). Challenging social enterprise debates in Bangladesh. Social Enterprise Journal, 6(3), 210–224. Haugh, H. (2007). Community-led social venture creation. Entrepreneurship Theory and Practice, 31(2), 161–182. Hopper, K. (1990). Public shelter as “a hybrid institution”: Homeless men in historical perspective. Journal of Social Issues, 46(4), 13–29. Hyde, C. A. (2000). The hybrid nonprofit: An examination of feminist social movement organizations. Journal of Community Practice, 8(4), 45–67. Intellecap. (2012). On the path to sustainability and scale: A study of India’s social enterprise landscape. Hyderabad, India: Intellecap. Jäger, U.P. (2010). Managing social business: Mission, governance, strategy and accountability. Hampshire: Palgrave Macmillan. Jeong, B. (2015). The developmental state and social enterprise in South Korea. Social Enterprise Journal, 11(2), 116–137. Kerlin, J. A. (2006). Social enterprise in the United States and Europe: Understanding and learning from the differences. Voluntas, 17(3), 247–263. Kerlin, J. A. (2013). Defining social enterprise across different contexts: A conceptual framework based on institutional factors.


312

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

Nonprofit and Voluntary Sector Quarterly, 42(1), 84–108. Leadbeater, C. (1997). The Rise of the social entrepreneur. London: BDW Associates. Leadbeater, C. (2007, March 25). Mainstreaming of the mavericks. Retrieved from The Guardian: https://www.theguardian.com/ society/2007/mar/25/voluntarysector.business. Lumpkin, G. T., Moss, T. W., Gras, D. M., Kato, S., & Amezcua, A. S. (2013). Entrepreneurial process in social contexts: How are they different, if at all? Small Business Economics, 40(3), 761–783. Mair, J., & Marti, I. (2005). Social entrepreneurship research: A source of explanation, prediction, and delight. Journal of World Business, 41(1), 36–44. Mair, V. (2013, January 7). New government legislation contains definition of social enterprise. Retrieved July 14, 2016 from Civil Society: http://www.civilsociety.co.uk/finance/news/content/​ 14094/new_government_legislation_contains_definition_of_so​ cial_enterprise. Maretich, M. & Bolton, M. (2010). Social enterprise: From definitions to developments in practice. London: European Venture Philanthropy Association Knowledge Centre. Retrieved from http:// evpa.eu.com/wp–content/uploads/2011/06/Social–Enterprise_ From–Definitions–to–Development–in–Practice1.pdf. Martin, R. L., & Osberg, S. (2007). Social entrepreneurship: The case for definition. Stanford Social Innovation Review, 30–39. Meehan, W. F., III, K. D. & O’Flanagan, M., (2004). Investing in society: Why we need a more efficient social capital market - and how we can get there. Stanford Social Innovation Review, 34–43. Non Profit Answer Guide. (n.d.). What are social ventures and how are they funded? What about PRIs? Retrieved from Non Profit


บรรณานุกรม

313

Answer Guide: http://nonprofitanswerguide.org/faq/leadership/ what-are-social-ventures-and-how-are-they-funded/. NUS Business School. (2015, November 26). Social impact assessment 3–day workshop conducted for TSEO. Bangkok: National University of Singapore. Nyssens, M. (Ed.). (2006). Social enterprise: At the crossroads of market, public policies, and civil society. London: Routledge. OECD. (n.d.). The social enterprise sector: A comceptual framework. Retrieved July 15, 2016, from Organization for Economic CO– operation and Development, Local Economic and Employment Development Programme: https://www.oecd.org/cfe/leed/​377​ 53595.pdf Pearce, J. (2003). Social enterprise in anytown. London: Caluste Gulbenkian Foundation. Schwab Foundation. (2015). Schwab Foundation for social entrepreneurship annual report 2014–2015. Geneva: World Economic Forum. Retrieved July 13, 2016, from http://www3.weforum.org/ docs/WEF_Schwab_Foundation_Annual_Report_2015.pdf. Skoll Foundation. (n.d.). What is social entrepreneurship?. Retrieved July 9, 2016, from Skoll World Forum: http://archive.skoll.org/ about/what–is–social–entrepreneurship/. Social Enterprise Alliance. (n.d.). Social enterprise. Retrieved 12 July 2016, from Social Enterprise Alliance: https://socialenterprise.us/ about/social–enterprise/. Social Enterprise UK. (n.d.). FAQs. Retrieved 12 July 2016, from Social Enterprise UK: http://www.socialenterprise.org.uk/about/about-​ social-enterprise/FAQs. Swissnex India. (2015). Social entrepreneurship in India: Unveilling the unlimited opportunities. Bangalore: Swissnex India.


314

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

The Guardian. (2014, December 16). Approved! social enterprise receives legal status in Vietnam. Retrieved July 14, 2016, from The Guardian: https://www.theguardian.com/british–council–part​ ner–zone/2014/dec/16/approved–social–enterprise–receives–le​ gal–status–in–vietnam. The Guardian. (2015, March 31). It’s not charity: The rise of social enterprise in Vietnam. Retrieved July 29, 2016, from The Guardian: https://www.theguardian.com/sustainable–business/2015/mar/31/ its–not–charity–the–rise–of–social–enterprise–in–vietnam. The Guardian. (n.d.). Vietnam takes inspiration from British social enterprise. Retrieved July 29, 2016, from The Guardian: https:// www.theguardian.com/british–council–partner–zone/vietnam–in​ spiration–british–social–enterprises Tripathi, D. I. (2013). Social entrepreneurship – A tool for social change. IRC’s International Journal of Multidisciplinary Research in Social & Management Sciences, 1(1), 71–77. UnLtd. (n.d.). What is a social entrepreneur and a social venture or entreprise. Retrieved August 23, 2016, from UnLtd: https://unltd. org.uk/portfolio/1-2-more-on-what-is-social-venture/. Vidal, I., (2005). Social enterprise and social inclusion: Social enterprise in the sphere of work integration. International Journal of Public Administration, 28(9–10), 807–825. Young, D. (2008). Alternative perspectives on social enterprise. In J.J. Cordes & C.E. Steuerle (Eds.), Nonprofits Business. Washington DC: The Urban Institute Press Zahra, S. A., Gedajlovic, E., Neubaum, D. O., & Shulman, J. M. (2009). A typology of social entrepreneurs: Motives, search processes and ethical challenges. Journal of Business Venturing, 24(5), 519–532.


บรรณานุกรม

315

กรวรวัฎฐ์ วรรัตนวงศ์. (2559, 15 กรกฎาคม). Ashoka Fellows Thailand สัมภาษณ์โดย ธัญธิดา สาสุนทร. เกวลิน มะลิ. (2557). กิจการเพือ่ สังคมในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และ กลยุทธ์การจัดการ, 1(2), 104–112. ประชาชาติธุรกิจ. (2555, 21 สิงหาคม). ต้องให้สังคมเป็นใหญ่ ชุมชนจึงจะเข้ม แข็งอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2559 จาก ประชาชาติธุรกิจ: http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1345522855 ผูจ้ ดั การรายวัน. (2559, 12 พฤศจิกายน). ดัน Social Enterprise ปฏิวตั แิ นวคิด ธุรกิจใหม่. สืบค้นจาก ผู้จัดการรายวัน: http://www.manager.co.th/ Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000113062. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 621. (2559, 30 สิงหาคม). สืบค้นจาก ราชกิจจานุเบกษา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/ DATA/PDF/2559/A/076/13.PDF ภัทราพร แย้มละออ. (2559, 16 มิถุนายน). ทำ�ความเข้าใจกับ 8 ประเด็น “สับสน” เรื่องกิจการเพื่อสังคม. สืบค้นจาก ป่าสาละ: http://www.salfor​ est.com/blog/8–issues–se ภาษีเงินได้. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก กรมสรรพากร: http://www.rd.go.th/pub​ lish/2597.0.html รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. (2557, 27 ตุลาคม). มี B = มีดี การันตีธุรกิจเพื่อสังคม. สืบค้นจาก ป่าสาละ: http://www.salforest.com/blog/bcorporation สินี จักรธรานนท์. (2559, 8 กรกฎาคม). The Ashoka Globalizer: กระบวนการ และเครื่องมือที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการสังคมขยายผลกระทบทางสังคม (Scaling). สืบค้นจาก Scaling–impact: http://www.scaling–im​pact. com/the–ashoka–globalizer/ สํานักข่าวอิศรา. (2554, 19 พฤษภาคม). ระเบียบสำ�นักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การสร้างเสริมกิจการเพือ่ สังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔. สืบค้นจาก สำ�นักข่าว​ อิ ศ รา: https://www.isranews.org/thaireform/thaireform-data​ /14998-2011-05-19-05-32-01.html. สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). สภาปฏิรูปแห่งชาติ วาระปฏิรูป


316

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

พิเศษ ๑: วิสาหกิจเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทน ราษฎร. เอลคิงตัน, เจ. และ ฮาร์ตแิ กน, พี. (2552). พลังของคนหัวรัน้ [The Unreasonable People] (สฤณี อาชวานันทกุล, แปล). กรุงเทพฯ: มติชน. Ashoka ประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ผู้ ป ระกอบการสั ง คมคื อ ? สื บ ค้ น เมื่ อ 10 กรกฎาคม 2559 จาก Ashoka ประเทศไทย: http://thailand.ashoka. org/ผู้ประกอบการสังคมคือ Nise Corporation. (2557). กิจการเพื่อสังคม ทำ�ดี โตได้. กรุงเทพฯ: กิจการ เพื่อสังคมไนส์คอร์ป. บทที่ 2.4 ธุรกิจเพื่อสังคม

Aydin, M. (2015). Islamic social business for sustainable development and subjective wellbeing. International Journal of Islamic and Middle Eastern Finance and Management, 8(4), 491–507. Baker, M. J. (2011). Why ‘social business’? Social Business, 1(1), 1–15. Grameen Creative Lab. (2016). The social business concept. Retrieved from http://www.grameencreativelab.com/a–concept– to–eradicate–poverty/the–concept.html. Grove, A., & Berg, G. (Eds.). (2014). Social business: Theory, practice, and critical perspectives. Heidelberg: Springer. Kickul, J., Terjesen, S., Bacq, S., & Griffiths, M. (2012). Social business education: An interview with Nobel Laureate Muhammad Yunus. Academy of management: Learning and Education, 11(3), 453–462. Yunus, M. (2007). Creating a world without poverty: Social business and the future of capitalism. New York: PublicAffairs. Yunus, M. (2009). Economic security for a world in crisis. World Policy Journal, 26(2), 5–12. Yunus, M. (2011). Vision 2050: A poverty–free world. The Journal of


บรรณานุกรม

317

Social Business, 1(1), 7–23. Yunus, M., & Weber, K. (2010). Building social business: The new kind of capitalism that serves humanity’s most pressing needs. New York: PublicAffairs. บทที่ 3 พัฒนาการของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม

Arvidson, M., Lyon, F., McKay, S., & Moro, D. (2013). Valuing the social?: The nature and controversies of measuring social return on investment (SROI). Voluntary Sector Review, 4(1), 3–18. Bielefeld, W. (2009). Issues in social enterprise and social entrepreneurship. Journal of Public Affairs Education, 15(1), 69–86. Retrieved from http://www.naspaa.org/JPAEMessenger/Article/ JPAE–Vol.15–No1–Winter2009–Bielefeld.pdf Brest, P., & Born, K. (2013, August 14). Unpacking the impact in impact investing. Retrieved from Stanford Social Innovation Review: https://ssir.org/articles/entry/unpacking_the_impact_in_ impact_investing Christensen, R. A., & Ebrahim, A. (2006). How does accountability affect mission? The case of a non–profit serving immigrants and refugees. Nonprofit Management and Leadership, 17(2), 195–209. Clark, C., Rosenzweig, W., Long, D., & Olsen, S. (2003). The double bottom line: Methods catalog. The Rockefeller Foundation. Clifford, J. (2014). Impact evaluation by social enterprises: Measuring the un–measurable? Stockholm: 10th Annual Meeting of the OECD LEED Forum on Partnerships and Local Development. Edwards, M., & Hulme, D. (1996). Too close for comfort? The impact of official aid on nongovernmental organisations. World Development, 24(6), 961–973. Emerson, J., Wachowicz, J., & Chun, S. (2000). Social return on


318

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

investment: Exploring aspects of value creation in the non– profit. San Francisco: The Roberts Foundation. European Union; OECD. (2015). Policy Breif on social impact assessment for social enterprises. Luxembourg: Publication Office of the European Union. Retrieved September 25, 2016, from OECD: http://www.oecd.org/industry/Policy–Brief–social–impact.pdf. Florman, M., Klingler–Vidra, R., & Facada, M. J. (2016). A critical evaluation of social impact assessment methodologies and a call to measure economic and social impact holistically through the External Rate of Return platform. London: LSE Enterprise. Retrieved September 12, 2016, from http://www.lse.ac.uk/busi​ nessAndConsultancy/LSEConsulting/pdf/Assessing–social–impact– assessment–methods–report.pdf Floyd, D. (2014, April 29). Social impact: Can it be demonstrated? Retrieved April 1, 2017, from The Guardian: https://www.the​ guardian.com/social–enterprise–network/2013/may/13/mythbust​ ing–demonstrate–social–impact Flynn, J., Young, J., & Barnett, C. (2015). Impact Investments: A Literature Review, CDI Paper. Brighton: IDS. Foundation Center. (2015). Tools and resources for assessing social impact. Foundation Center. Foundation Center. (n.d.). Tools and Resources for Assessing Social Impact (TRASI) – About TRASI. Retrieved September 18, 2016, from Foundation Center: http://trasi.foundationcenter.org/about. php. GECES Sub–group on Impact Measurement. (2014). GECES Sub– group on impact measurement: Proposed approaches to social impact measurement. GECES Sub–group on Impact Measurement. Retrieved September 23, 2016, from http://ec.europa.eu/


บรรณานุกรม

319

internal_market/social_business/docs/expert–group/social_im​ pact/140605–sub–group–report_en.pdf. GIIN Research Team. (2016). 2016 annual impact investor survey. New York: Global Impact Investing Network (GIIN). Retrieved April 1, 2017, from GIIN: https://thegiin.org/assets/2016%20 GIIN%20Annual%20Impact%20Investor%20Survey_Web.pdf. Global Impact Investing Network. (n.d.). IRIS Users. Retrieved April 1, 2017, from Global Impact Investing Network: https://iris.thegi​in.org/users. Greico, C. (2015). Assessing social impact of social enterprises: Does one size really fit all? New York: Springer. Halder, S. R. (2004). The BRAC microfinance approach and its impact at individual, household, and beyond household levels: A synthesis. Dhaka: BRAC. Retrieved September 12, 2016, from https://www.microfinancegateway.org/sites/default/files/mfg–en– case–study–the–brac–microfinance–approach–and–its–impact– at–individual–household–and–beyond–household–levels–a–syn​ thesis–2004.pdf. Hayat, U. (2013, September 23). Impact investing: How do you measure social and environmental impact? Retrieved September 14, 2016, from CFA Institute: https://blogs.cfainstitute.org/ investor/2013/09/23/impact–investing–how–do–you–measure– social–and–environmental–impact/. IRIS. (2016). IRIS Users. Retrieved from IRIS: https://iris.thegiin.org/ users. Jackson, E. T. (2013). Interrogating the theory of change: Evaluating impact investing where it matters most. Journal of Sustainable Finance & Investment, 3(2), 95–110. Jany–Catrice, F. (2015). Puissance et limites des indicateurs ou


320

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

mesures d’impact: Objectifs, enjeux, acteurs. Paris: Confrontations Europe et Institut CDC. Kolodinsky, J., Stewart, C., & Bullard, A. (2006). Measuring economic and social impacts of membership in a community development. Journal of Family and Economic Issues, 27(1), 27–47. Lingane, A., & Olsen, S. (2004). Guidelines for social return on investment. California Management Review, 46(3), 116–135. Maas, K., & Liket, K. (2011). Social impact measurement: Classification of methods. In R. Burritt, S. Schaltegger, M. Bennett, T. Pohjola, & M. Csutora, (Eds.), Environmental management accounting and supply chain management (pp. 171–202). New York: Springer. MaRS Centre for Impact Investing. (n.d.). Logic Models – How Social Impact Measurement Tools and Methods fit into your Logic Model. Retrieved September 15, 2016, from MaRS Centre for Impact Investing: http://impactinvesting.marsdd.com/social–im​ pact–measurement/how–social–impact–measurement–tools– and–methods–fit–into–your–logic–model/ McCreless, M., Fonzi, C., Edens, G., & Lall, S. (2014, June 4). Metrics 3.0: A new vision for shared metrics. Retrieved September 1, 2559, from Stanford Social Innovation Review: https://ssir.org/ articles/entry/metrics_3.0_a_new_vision_for_shared_metrics. Millar, R., & Hall, K. (2013). Social return on investment (SROI) and performance measurement: The opportunities and barriers for social enterprises in health and social care. Public Management Review, 15(6), 923–941. Mulgan, G. (2010, Summer). Measuring social value. Stanford Social Innovation Review, 38–43. Mullins, D., Watson, C., & Ham, C.-J. (2010). Social investment per-


บรรณานุกรม

321

formance management toolkit for housing organisations. Birmingham: University of Birmingham. Najam, A. (1996). NGO accountability: A conceptual framework. Development Policy Review, 14(4), 339–353. Nicholls, A. (2007). What is the future of social enterprise in ethical markets. London: Cabinett Office. Nicholls, A. (2009). "We do good things, don’t we?": Blended value accounting in social entrepreneurship. Accounting, Organizations and Society, 34(6–7), 755–769. Nino–Zarazua, M., & Copestake, J. (2016). CDS briefing paper: Social impact investment and the attribution challenge. Bath: Centre of Development Studies, University of Bath. Retrieved from BSDR: http://qualitysocialimpact.org/wp–content/uploads/​ 2016/05/QUIP–SII–Briefing–Paper–May–2016.pdf O’ Donohoe, N., Leijonhufvud, C. Sultuk, Y., Bugg-Levine, A., & Brandenburg, M. (2015). Impact investments. An emerging asset class. J.P. Morgan. OECD/European Union. (2013). Policy brief on social entrepreneurship: Entrepreneurial activities in Europe. Luxembourg: Publications Office of the European Union. Olsen, S., & Galimidi, B. (2008). Catalog of approaches to impact measurement: Assessing social impact in private ventures. San Francisco: SVT Group with Support of the Rockefeller Foundation. Pritchard, D., Ní Ógáin, E., & Lumley, T. (2012). Making an impact: Impact measurement among charities and social enterprises in the UK. London: New Philanthropy Capital. Saltuk, Y., & Idrissi, A. E. (2015). Impact assessment in practice: Experience from leading impact investors. J.P. Morgan, Global Social Finance.


322

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

Saltuk, Y., Idrissi, A. E., Bouri, A., Mudaliar, A., & Schiff, H. (2015). Eyes on the horizon: The impact investor survey. Retrieved April 1, 2017, from J.P. Morgan, the GIIN: https://thegiin.org/assets/doc​ uments/pub/2015.04%20Eyes%20on%20the%20Horizon.pdf. Sheridan, K. (2011). Measuring the impact of social enterprise. British Journal of Health Care Management, 17(4), 152–156. Social Enterprise Partnership UK. (2003). SEP Project overview October. Social Enterprise Partnership UK. Social Impact Investment Taskforce. (2014). Measuring impact: Subject paper of the impact measurement. Social Impact Investment Taskforce, Established under the UK’s. Retrieved September 25, 2016, from Social Impact Investment Taskforce: http://www. socialimpactinvestment.org/reports/Measuring%20Impact%20 WG%20paper%20FINAL.pdf. Trelstad, B. (2008). Simple measures for social enterprise. Innovations: Technology, Governance, Globalization, 3(3), 105–118. Retrieved from http://www.mitpressjournals.org/doi/pdf/10.1162/itgg.2008.3.3.105 Twersky, F., & Lindblom, K. (2012). Evaluation principles and practices: An internal working paper. The William and Flora Hewlett Foundation. Wainwright, S. (2002). Measuring impact: A guide to resources. London: NCVO Publications. Wilkes, V., & Mullins, M. (2012). Community investment by social housing organisations: measuring the impact. Third Sector Research Center Survey Report for HACT. Birmingham: University of Birmingham. William, A. P., & Taylor, J. A. (2013). Resolving accountability ambiguity in nonprofit organizations. Voluntas: International Journal of Voluntary and Nonprofit Organizations, 24, 559–580.


บรรณานุกรม

323

เดชรัต สุขกาํ เนิด, ศิรวัฒน์ แดงซอน, และสุพรรณี ศฤงฆาร. (2555). เส้นทางการ สร้างอาชีพอิสระของคนพิการและการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมคนพิการ (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, สถาบันสร้าง เสริมสุขภาพคนพิการ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สุชาติ เอกไพฑูรย์. (2554). การศึกษาการประเมินผลด้วยเครือ่ งมือวัดผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุน Social Return on Investment: SROI) ต่อการ ประกอบการทางสังคม: กรณีศกึ ษาธนาคารปู จังหวัดชุมพร. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(131), 61–79. สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2557). การวิเคราะห์ ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment / SROI): กรณี ศึกษาการดำ�เนินงานของสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรุงเทพฯ: สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้น จาก http://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/dbfdf5da-938ce711-80e3-00155d65ec2e. บทที่ 4 การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมท่ีใช้กับกิจการเพ่ือสังคม

Acumen Fund Metrics Team. (2007). Acumen Fund concept: The best available charitable option. New York: Acumen Fund. Retrieved April 1, 2017, from http://acumen.org/wp–content/ uploads/2013/03/BACO–Concept–Paper–final.pdf. Big Society Capital. (n.d.). Social Outcome Matrix. Retrieved April 1, 2017, from Big Society Capital: https://www.bigsocietycapital. com/sites/default/files/pdf/1%20Employment,%20Training%20 and%20Education_2.pdf Clark, C., Rosenzweig, W., Long, D., & Olsen, S. (2003). The double bottom line: Methods catalog. The Rockefeller Foundation. d.light & IDInsight. (2015). d.light solar home system impact evaluation. Retrieved from d. light: http://www.dlight.com/index.php/ download_file/view/362/129/.


324

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

European Union; OECD. (2015). Policy breif on social impact assessment for social enterprises. Luxembourg: Publication Office of the European Union. Retrieved September 25, 2016, from OECD: http://www.oecd.org/industry/Policy–Brief–social–impact.pdf. Floyd, D. (2014, April 29). Social impact: Can it be demonstrated? Retrieved April 1, 2017, from The Guardian: https://www.the​ guardian.com/social–enterprise–network/2013/may/13/mythbust​ ing–demonstrate–social–impact. GIIN Research Team. (2016). 2016 annual impact investor survey. Global Impact Investing Network (GIIN). Retrieved April 1, 2017, from GIIN: https://impactinvestingaustralia.com/wp–content/up​ loads/2016–GIIN–Annual–Impact–Investor–Survey_Web.pdf. Global Impact Investing Network. (n.d.). About IRIS. Retrieved April 1, 2017, from Global Impact Investing Network: https://iris.thegi​ in.org/about–iris. Global Impact Investing Network. (n.d.). IRIS Users. Retrieved April 1, 2017, from Global Impact Investing Network: https://iris.thegi​ in.org/users. Grameen Foundation. (n.d.). Strengthen Organization. Retrieved April 1, 2017, from Grameen Foundation: http://www.grameenfoun​ dation.org/what–we–do/strengthening–organizations. Mettgenberg–Lemiere, M. (2016). Venture philantropy practices in Asia: A guide to effective impact assessment. Singapore: AVPN. Millar, R., & Hall, K. (2013). Social return on investment (SROI) and performance measurement: The opportunities and barriers for social enterprises in health and social care. Public Management Review, 15(6), 923-941. New Philantropy Capital. (2010). Social return on investment position paper. New Philantropy Capital.


บรรณานุกรม

325

Office of the Third Sector. (2009). A guide to social return on investment. London: Cabinet Office. Olsen, S., & Galimidi, B. (2008). Catalog of Approaches to impact measurement: Assessing social impact in private ventures. San Francisco: SVT Group with Support of the Rockefeller Foundation. Parsons, J., Gokey, C., & Thornton, M. (2013). Indicators of inputs, activities, outputs, outcomes and impacts in security and justice programming. Department for International Development, UK. Proximity Designs. (2013). Quarterly Report Q4 FYE 2013|1 APRIL–​ 30 JUNE 2013. Yangon: Proximity Designs. Retrieved September 17, 2016, from Proximity Designs: http://proximitydesigns.org/ images/uploads/Prox​imity_Q4_FY2013_Report_small.pdf. Saltuk, Y., & Idrissi, A. E. (2015). Impact assessment in practice: Experience from leading impact investors. J.P. Morgan, Global Social Finance. Saltuk, Y., Idrissi, A. E., Bouri, A., Mudaliar, A., & Schiff, H. (2015). Eyes on the horizon: The impact investor survey. J.P. Morgan. Retrieved April 1, 2017, from GIIN: https://thegiin.org/assets/ documents/pub/2015.04%20Eyes%20on%20the%20Horizon.pdf. Shahnaz, D., & Ming, P. T. (2009). Social enterprises in Asia: Context and opportunities. Singapore: Lee Kuan Yew School of Public Policy; National University of Singapore. So, I., & Staskevicius, A. (2015). Measuring the “impact” in impact investing. Harvard Business School (MBA 2015). Social Ventures Australia Consulting. (2012). Social return on investment: Lessons learned in Australia. Retreived from https://so​ cialventures.com.au/assets/SROI-Lessons-learned-in-Australia.pdf Stannard–Stockton, S. (2010, July 26). Getting results: outputs, outcomes and impacts. Retrieved from Stanford Social Innovation


326

องค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และกรณีศึกษานําร่อง

Review: https://ssir.org/articles/entry/getting_results_outputs_out​ comes_impact. Trelstad, B. (2008). Simple measures for social enterprise. Innovations: Technology, Governance, Globalization, 3(3), 105–118. Retrieved from http://www.mitpressjournals.org/doi/pdf/10.1162/itgg.2008.3.​ 3.105. Weiss, C. H. (1972). Evaluation research: Methods for assessing program effectiveness. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. บทที่ 8 สรุปบทเรียนจากการจัดทํากรณีศึกษานําร่อง

Mercy, J. et al. (2015). Quality of life: Facts and views. Eurostat Statistical Books. Luxembourg: Publications Office of the European Union.



ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.